ประชาไท | Prachatai3.info |
- สปิริตของผู้นำ..ที่ไม่เคยมี
- ทนายสืบสวนความจริงเหตุปราบผู้ชุมนุมเสื้อแดง เขียนบทความโต้บทบรรณาธิการเดอะ เนชั่น
- พบอีก! ชายแต่งชุดพลเรือนถือเอ็ม 16 ปฏิบัติการร่วมกับทหารเมื่อ 19 พ.ค.
- เอ็นจีโอทั่วโลกเรียกร้องนายกฯ ไทยปล่อยตัว “สมยศ”
- พลิกมุมคิดผ่าวิกฤติประเทศไทย
- กลุ่มนักกฏหมายสิทธิมนุษยชน ส่งจม.เปิดผนึกขอสำนักงานตำรวจฯ เปิดเผยชื่อผู้ถูกจับตาม พรก. ฉุกเฉิน
- ความจริงอีกด้านของ “คนห่มเหลือง”
- “สมยศ” เผยร่างหนังสือระหว่างถูกคุมตัวอยู่ค่ายทหาร เตรียมไว้ฝากเพื่อนนักสิทธิฯ ยื่นให้ กสม.
- “ใส่ร้าย-สวมรอย” ภัยรูปแบบใหม่จากโลกไซเบอร์
- ยกคำร้อง DSI ขอหมายจับ 20 นปช.ก่อการร้าย เดินหน้าต่อขอหมายขัง “จตุพร-วิเชียร-การุณ”
- สบท. ยันค่าโทรเมืองไทยยังถูกลงได้อีก
- ผลลงมติ “ชวรัตน์-โสภณ” รมต.จากภูมิใจไทย เจอ ส.ส.พรรคร่วมโหวตสวนไม่ไว้วางใจ
Posted: 03 Jun 2010 01:30 PM PDT ...ผมคิดว่าการเรียกร้องให้ผู้นำประเทศได้แสดงความรับผิดชอบที่มากกว่าเพียง กล่าวคำว่า “เสียใจ” ต่อชีวิตของผู้บริสุทธิ์ที่สูญเสียไปนั้น คงมิได้เป็นสิ่งที่เกินเลยไปนัก และหวังอย่างยิ่งว่าผู้คนในสังคมไทยจะได้กันร่วมเรียกร้องความรับผิดชอบดัง กล่าวด้วย เพราะผมเชื่อว่าผู้คนในสังคมของเรานั้นคงมีความตระหนักและมีสำนึกในคุณค่า ของชีวิตมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ในฐานะเพื่อนร่วมแผ่นดินบ้าง.. <!--break--> ผมได้อ่านข่าวใหญ่สองข่าวในห้วงเวลาเดียวกัน ข่าวแรก เรื่องนายยูกิโอะ ฮาโตยามะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งอย่างเป็นทางการแล้ว ในระหว่างการประชุมสมาชิกพรรคเดโมเครติค พาร์ตี ออฟ เจแปน (DPJ) เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2553 หลังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องการย้ายฐานทัพของสหรัฐออกไปจากเกาะโอกินาวาตามที่เขาสัญญาไว้ได้โดยการตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งของนายฮาโตยามะมีขึ้นในช่วงระหว่างที่เขากำลังเผชิญวิกฤตศรัทธาท่ามกลางคะแนนนิยมในคณะรัฐมนตรีที่ลดน้อยลง และการตัดสินใจดังกล่าวยังมีขึ้นหลังจากที่พรรคสังคมประชาธิปไตยถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล เพราะไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงเรื่องการคงฐานทัพสหรัฐไว้บนเกาะโอกินาวา อีกข่าวหนึ่ง ได้แก่ ข่าวการประชุมเพื่อการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2553 ของประเทศไทยเรานี่เอง โดยประเด็นสำคัญของการอภิปราย ได้แก่ การตัดสินใจใช้กำลังทหารในการสลายการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ที่มาชุมนุมเรียกร้องให้ยุบสภาและคืนอำนาจให้กับประชาชน ในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียชีวิตจำนวน 87 ราย และบาดเจ็บรวมทั้งสิ้น 1,406 ราย (สรุปจำนวนจากศูนย์เอราวัณ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2553 http://www.ems.bangkok.go.th/report/final-1-6-53.pdf ) ตลอดจนการเผาทำลายสถานที่ต่าง ๆในเขตกรุงเทพมหานครและศาลากลางจังหวัดหลายแห่ง โดยผลการลงมติ คือ นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นายกรัฐมนตรี , นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง รวมทั้งรัฐมนตรีอีกสามราย ทั้งหมดได้รับเสียงโหวตไว้วางใจจากพรรคร่วมรัฐบาล โดยยืนยันที่จะอยู่เป็นรัฐบาลและเดินหน้าแผนปรองดองแห่งชาติต่อไป ซึ่งหลาย ๆ คนคงได้รับทราบข่าวนี้แล้ว หลังจากอ่านสองข่าวนี้จบ ผมรู้สึกสะทกสะท้อนใจอย่างยิ่งกับภาวะและสำนึกของผู้นำทางการเมืองไทย ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่สร้างความแตกแยกอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปีของสังคมการเมืองไทยขณะนี้ ผมเชื่ออย่างยิ่งว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารประเทศแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการนั่นคือ “ความรับผิดชอบ” ในฐานะที่เป็นผู้นำต่อประชาชนด้วย
...
รัฐบาลไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดขึ้นนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการตัดสินใจใช้กำลังทางการทหาร ในการสลายการชุมนุมของกลุ่ม นปช. หรือที่เรียกด้วยภาษาใหม่ที่สละสลวยกว่าเดิมว่าเป็นการ “ขอคืนฟื้นที่” หรือ “กระชับวงล้อม” ทั้งที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์ ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีเหตุผลมากมายในการชี้แจงต่อสาธารณชนถึงการตัดสินใจดังกล่าว ไม่ว่าจะเพื่อคืนความสงบสุขให้แก่ประชาชนชาวกรุงเทพ เพื่อลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เพื่อจัดการกับ “ผู้ก่อการร้าย” หรือ ”กองกำลังไม่ทราบฝ่าย” ที่แฝงตัวอยู่ตามยุทธวิธีแยกปลาออกจากน้ำ เพื่อการปกป้องชีวิตของเจ้าหน้าที่ที่เข้าปฏิบัติการ หรือเหตุผลอะไรร้อยแปดพันประการก็ตาม เหตุผลความจำเป็นต่างๆ ที่รัฐบาลยกอ้างขึ้นนั้นไม่อาจปิดบังหรือลบเลือน “ความจริง” ที่ว่าการดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้มี “ประชาชนผู้บริสุทธิ์” ต้องสูญเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บไปได้ และถึงแม้ว่าการชุมนุมของ นปช. ที่ผ่านมาอาจจะไม่ใช่การชุมนุมที่สามารถพูดได้อย่าง เต็มปากว่าเป็นไปอย่างสงบ สันติ และอหิงสา อย่างที่แกนนำ นปช. ได้เอ่ยอ้างมาตลอดก็ตาม แต่อย่าลืม....ว่าก่อนหน้าที่จะมีการตัดสินใจใช้กำลังทหารในการขอคืนพื้นที่หรือกระชับวงล้อมนั้น ไม่ได้มีการสูญเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์ด้วยอาวุธสงครามในพื้นที่ของการชุมนุม และไม่ได้มีการเผาทำลายอาคารบ้านเรือนแต่อย่างใด รัฐบาลไม่สามารถเอ่ยอ้างได้ว่า ความรุนแรงและการลอบยิงระเบิดตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาในช่วงก่อนที่จะมีการตัดสินใจสลายการชุมนุม ไม่ว่าจะเป็นที่กองบัญชาการทหารบก พล ร. 11 กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม พรรคประชาธิปัตย์ ฯลฯ แม้กระทั่งในเหตุประทะบริเวณสี่แยกคอกวัว เมื่อวันที่ 10 เมษายน และเหตุปะทะบริเวณแยกศาลาแดงระหว่างกลุ่มผู้อ้างว่าเป็นผู้อยู่อาศัยในถนนสีลมกับกลุ่ม นปช. นั้น เกิดจากกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. เพราะแม้ในขณะนี้เองรัฐบาลก็ยังไม่สามารถจับกุมตัวผู้กระทำความผิดดังกล่าวและนำเข้าสู่กระบวนการสืบสวนสอบสวนได้เสร็จสิ้นตามกระบวนการยุติธรรม โดยมีหลักฐานที่ระบุแน่ชัดถึงขนาดที่จะบ่งชี้และเชื่อมโยงได้ว่านั่นเกี่ยวข้องกับการชุมนุมของ นปช. “ความจริง” ต่างๆ เกี่ยวกับการสูญเสียที่เกิดขึ้นตามข้อมูลหลักฐานที่ปรากฏในสื่อมวลชนและคลิปวิดีโอจำนวนมากที่แพร่หลายในอินเตอร์เน็ต ยังคงสร้างความเคลือบแคลงสงสัยแก่ประชาชนทั่วไป โดยฝ่าย นปช. อ้างว่า ความสูญเสียของประชาชนผู้บริสุทธิ์เกิดจากการที่ฝ่ายทหารได้ใช้กระสุนจริงยิงทำร้ายประชาชน แต่ฝ่ายรัฐบาลอ้างว่า เป็นการกระทำของกองกำลังไม่ทราบฝ่ายหรือผู้ก่อการร้ายที่แฝงตัวอยู่ในการชุมนุมที่ฉกฉวยสถานการณ์ดังกล่าวในการสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้น ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีข้อมูลเพื่อยืนยันและปกป้อง “ความจริง” ของตนเอง ซึ่งผมเคยได้กล่าวไว้แล้วว่า นั่นเป็นเพียงการ “เลือก” หยิบข้อมูลในส่วนที่เป็นประโยชน์และสร้างความชอบธรรมต่อฝ่ายของตนเอง อันเป็นเพียงส่วนเสี้ยวเดียวของ “ความจริง”ทั้งหมด เท่านั้น หรือแม้กระทั่ง การถูกลอบสังหารของ เสธ. แดง ที่ถึงวันนี้ก็ยังไม่ทราบว่าเกิดจากการกระทำของฝ่ายใด เพื่อหวังผลในสิ่งใดอย่างแน่ชัด และยังจับมือใครดมไม่ได้.. สุดท้าย ”ทฤษฎีมือที่สาม” ก็ยังคงถูกนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการอธิบายสถานการณ์ที่ทั้งสองฝ่ายไม่อยากจะรับผิดชอบได้อย่างทรงพลังเสมอ จึงไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง ที่จะกล่าวอ้างและสรุปว่าเหตุความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำของกลุ่ม นปช. และเพื่อลดการสูญเสียของทุกฝ่ายและปกป้องผู้บริสุทธิ์ จึงต้องนำกำลังทางการทหารและอาวุธจริงมาใช้ในปฏิบัติการดังกล่าว ดังที่นายกรัฐมนตรีและ ศอฉ. ได้แสดงออกผ่านแถลงการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่ตัวนายกรัฐมนตรีเองก็ได้กล่าวในแถลงการณ์ว่าทราบดีว่าผู้ชุมนุมส่วนใหญ่นั้นเป็นประชาชนผู้บริสุทธิ์โดยตลอด? และเหตุการณ์ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ ได้มีความพยายามจากหลายกลุ่มที่จะสร้างเจรจารอบใหม่ โดยเฉพาะการเจรจาซึ่งนำโดยกลุ่ม สว. กลุ่มหนึ่ง เมื่อคืนวันที่ 18 พฤษภาคม และฝ่ายแกนนำ นปช. ได้ประกาศว่าพร้อมที่ยุติการใช้กำลังและเข้าสู่การเจรจาโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ฝ่ายรัฐบาลและ ศอฉ. กลับเลือกตัดสินใจใช้มาตรการทางการทหารเข้าสลายการชุมนุมในเช้าวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งนำมาสู่ความแปลกประหลาดใจของทุกฝ่าย ดังนั้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม การตัดสินใจของรัฐบาลในครั้งนี้ จึงเป็นการตัดสินใจที่มิได้คำนึงถึงความสูญเสียของชีวิตประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างเพียงพอ..ยิ่งไปกว่านั้นรัฐบาลได้ประเมินหรือไม่ว่าหากดำเนินตามมาตรการดังกล่าวแล้ว อาจนำไปสู่การจลาจลและเผาทำลายบ้านเมืองดังที่ได้เกิดขึ้นซึ่งได้สร้างความตื่นตระหนกและเศร้าสลดใจให้แก่ผู้คนทั้งประเทศ รวมทั้งยังสร้างความโกรธแค้นและย้ำรอยแตกร้าวลึกของสังคมไทยอย่างยากยิ่งที่จะปรองดองได้ตามที่รัฐบาลคาดหวัง.. ... จากที่ได้กล่าวมา จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำรัฐบาล จะต้องแสดงความรับผิดชอบจากการตัดสินใจดำเนินมาตรการดังกล่าว ด้วยการประกาศ “ยุบสภา” หรืออย่างน้อยที่สุด คือการ “ลาออก” จากการเป็นนายกรัฐมนตรี ในแง่นี้ การลาออก อาจไม่ได้เป็นสิ่งบ่งชี้หรือยอมรับว่าสิ่งที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปนั้นเป็นความผิดพลาดเสียทั้งหมด แต่นี่คือการแสดงสปิริตของผู้นำประเทศและแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง เพื่อเปิดโอกาสให้มีกระบวนการสอบสวนและตรวจสอบสามารถดำเนินไปได้อย่างปราศจากข้อสงสัยและเคลือบแคลงใจในความเป็นกลาง เพื่อให้ “ความจริง” ต่าง ๆ ได้ปรากฏและเป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย พร้อมทั้งแสดงความบริสุทธิ์ใจในการเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบตามกระบวนการทางกฎหมายในฐานะผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง และเมื่อนายกรัฐมนตรีได้ประกาศลาออกแล้ว ต่อไปจึงเป็นกระบวนการของรัฐสภาในการสรรหาและเสนอชื่อผู้ที่สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยเปิดโอกาสให้พรรคต่างๆ ได้ตัดสินใจที่จะเลือกข้างจับขั้วจัดตั้งรัฐบาลใหม่อีกครั้งโดยปราศจากแรงกดดันในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลที่ยังคงผลประโยชน์ร่วมกันอยู่ (ซึ่งผมเองก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะมีปาฏิหาริย์ใดๆ ที่จะทำให้พรรคร่วมรัฐบาลของไทยในขณะนี้มีสปิริตทางการเมืองจนถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเหมือนพรรคสังคมประชาธิปไตยของญี่ปุ่นหรอกนะครับ) พรรคการเมืองต่างๆ อาจเลือกที่จะจับขั้วกันเช่นเดิมในการจัดตั้งรัฐบาล และรัฐสภาอาจเสนอชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งก็ได้ ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องที่เกินความคาดหมายใดๆ สำหรับระบบรัฐสภาไทยที่ยังคงยึดติดกับตัวบุคคลและเสียงตอบรับจากประชาชนมากกว่าจริยธรรมทางการเมือง และสิ่งเหล่านี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย ซึ่งกรณีนี้อาจไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองใด ๆ ที่ดำรงอยู่ได้ แต่อย่างน้อย การแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองของผู้นำต่อสาธารณชนในสิ่งที่เกิดขึ้นบ้าง ย่อมดีกว่าการยึดถือว่าตนเองนั้นเป็นฝ่ายที่ถูกต้องเป็นฝ่ายธรรมะและป้ายสีให้อีกฝ่ายเป็นอธรรม แล้วพยายามดำเนินแผนการปรองดองที่ไม่ทางที่จะเป็นจริงได้เลย พร้อมกับลากลู่ถูกังประเทศไปแบบไร้ความรับผิดชอบเช่นนี้ ...... ในวันนี้ ผมคงไม่ถกเถียงถึงความชอบธรรมและความสง่างามของการเข้ามาเป็นรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์อีก ไม่ว่ารัฐบาลนี้จะเป็นผลพวงจากการรัฐประหาร หรือเป็นผลมาจาก” อำนาจพิเศษ” ใดๆ หรือไม่ก็ตาม เพราะผมคิดว่าประเด็นเหล่านี้ย่อมขึ้นอยู่กับมุมมองทางการเมืองที่แตกต่างกันของแต่ละฝ่าย ซึ่งผมเคารพในความคิดของทุกคนทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเสื้อสีใดที่อาจคิดต่างจากผมไปบ้างก็ตาม แต่โดยส่วนตัว ผมคิดว่ารัฐบาลนี้ได้หมดความชอบธรรมไปแล้วตั้งแต่ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์สูญเสียตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 เมษายน เป็นต้นมา และผมคิดว่าการเรียกร้องให้ผู้นำประเทศได้แสดงความรับผิดชอบที่มากกว่าเพียงกล่าวคำว่า “เสียใจ” ต่อชีวิตของผู้บริสุทธิ์ที่สูญเสียไปนั้น คงมิได้เป็นสิ่งที่เกินเลยไปนัก และหวังอย่างยิ่งว่าผู้คนในสังคมไทยจะได้กันร่วมเรียกร้องความรับผิดชอบดังกล่าวด้วย เพราะผมเชื่อว่าผู้คนในสังคมของเรานั้นคงมีความตระหนักและมีสำนึกในคุณค่าของชีวิตมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ในฐานะเพื่อนร่วมแผ่นดินบ้าง.. แต่เมื่อมาถึงวันนี้...ผมคิดว่าบางทีสิ่งที่ผมหวังนั้นอาจสูงเกินไป.. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทนายสืบสวนความจริงเหตุปราบผู้ชุมนุมเสื้อแดง เขียนบทความโต้บทบรรณาธิการเดอะ เนชั่น Posted: 03 Jun 2010 11:24 AM PDT <!--break--> จากเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. บทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น ชื่อ "ทนายของทักษิณมีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือ" ซึ่งเตือนไม่ให้ ศาตราจารย์ เกอธ-แจน อเล็กซานเดอร์ นูปส์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาชญากรรมสงครามร่วมทีมสืบสวนของทนายความ โรเบิร์ท อัมสเตอดัม โดยในบทบรรณาธิการฉบับนี้บอกว่าทีมทนายของโรเบิร์ทได้รับการจ้างวานมาจากอดีตนายกฯ ทักษิณ อีกทั้งยังกล่าวหาอีกว่าโรเบิร์ท เป็นปากกระบอกเสียงให้ทักษิณและก่อนหน้านี้เคยทำตัวเป็นนักล็อบบี้ที่เรียกตัวเองว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมาย อีกทั้งยังแสดงความเห็นว่าทีมกฏหมายที่เข้ามาสืบสวนพิสูจน์หลักฐานการปราบปรามผู้ชุมนุมเสื้อแดงนั้นไม่น่าจะทำงานด้วยความสุจริต ในเว็บไซต์ของโรเบิร์ท อัมสเตอดัม ตีพิมพ์บทความตอบโต้ชื่อ "ภาวะล้ำจริง (Hyperreality) ของโฆษณาชวนเชื่อสื่อไทย : โต้ตอบเดอะ เนชั่น" ซึ่งกล่าวถึงการที่เนชั่นพาดพิงถึงตนและนูปส์ โดยชวนให้นึกถึงสื่อไทยที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลที่พยายามสร้างความสมจริงในรูปแบบของตัวเองขึ้นมาและชวนให้คนรับสื่อเชื่อโดยทำให้พวกเขาแยกระหว่างเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับเรื่องแต่งออกจากกันไม่ได้ โดยโรเบิร์ท ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มทนายที่จะเข้ามาสืบสวนการปราบปรามผู้ชุมนุมเสื้อแดงของรัฐบาล เป็นทนายผู้มีชื่อเสียงจากการทำคดีระดับโลก เช่นคดีของบริษัท Yukos-Group MENATEP ในรัสเซีย นิตยสาร เดอะ ลอว์เยอร์ ของอังกฤษเคยจัดอันดับให้โรเบิร์ทติดหนึ่งในร้อยอันดับทนายร้อนแรงของอังกฤษ ภาวะล้ำจริง (Hyperreality) ของโฆษณาชวนเชื่อสื่อไทย : โต้ตอบเดอะ เนชั่น จริงผมไม่ค่อยเน้นถึงเรื่องพวกนี้เท่าไหร่ เพราะจะทำให้ดูเป็นการจงใจหลีกเลี่ยงการพูดถึงประเด็นที่สำคัญจริง ๆ แต่เรื่องดังกล่าวนี้ชวนให้ไตร่ตรองถึงผู้อ่านต่างชาติ ในฐานะที่มันได้แสดงให้เห็นแนวทางที่รัฐบาลใช้จัดการ การปั่นกระแส (spin) ของข้อเขียนดังกล่าวแสดงตัวตนออกมาอย่างชัดเจน (พวกเขาแม้กระทั่งใช้คำว่า "ชั่ว") [1] แต่น้ำหนักของมันออกไปในทางการหลีกเลี่ยงการพูดถึงประเด็นอย่างการกักขังโดยอำนาจเบ็ดเสร็จ การสังหารโดยใช้ศาลเตี้ย และการใช้กำลังอย่างไม่เลือกเป้าหมายในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมที่ผ่านมา นี่เป็นประเทศที่เพิ่งจะมีประชาชน 88 คนถูกสังหารโดยทหารบนท้องถนนไปหมาด ๆ แต่บรรณาธิการหนังสือพิมพ์กลับใช้เวลาไปกับการโจมตีทนายอย่างเป็นส่วนตัวและด้วยข้อกล่าวหาที่สร้างขึ้นมาเอง เวลาที่เหลือนอกจากนั้นพวกเขาอุทิศให้กับการโจมตี CNN อย่างไม่มีเหตุผล ไม่มีที่ภาพแทนใด ๆ อีกแล้ว ทีจะแสดงให้เห็นธรรมชาติของรัฐบาลเผด็จการทหารได้น่าเศร้าไปกว่านี้ ก่อนที่จะนำเสนอบทบรรณาธิการเช่นนี้ออกมา นักข่าวหลายคนและบรรณาธิการควรหาแหล่งข้อมูลประกอบในเรื่องที่ตั้งคำถาม แต่ผมไม่เห็นมีการติดต่ออะไรเลย ทั้งนูปส์และผมไม่เคยได้รับโอกาสได้แสดงความเห็นกับ เดอะ เนชั่น ซึ่งอาจทำให้พวกเขาได้แสดงออกอย่างชัดเจนเลยว่าจุดประสงค์ของพวกเราคือการแสดงให้เห็นถึงสิทธิโดยพื้นฐานของผู้ชุมนุม นปช. และพิสูจน์หลักฐานความจริงที่ถูกปิดกั้นไว้ กลุ่มเฝ้าระวังอย่างองค์กรนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) และฮิวแมนไรท์วอทช์ ก็เคยวิจารณ์เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนไว้ และการเรียกร้องของพวกเราก็ใกล้เคียงกันมาก พวกเราสนับสนุนอย่างเต็มที่ให้มีการเรียกร้องการตรวจสอบอย่างเป็นอิสระของคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ นาวี พิลเลย์ และยินดีอย่างยิ่งหากมีการช่วยเหลือในการตรวจสอบ อย่างไรก็ตามพวกเรามีสิทธิโดยชอบธรรมในการสืบสวนอย่างเป็นอิสระ ไม่ว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์จะยอมรับหรือไม่ก็ตาม เมื่อรัฐบาลเผด็จการทหารปฏิเสธข้อเสนอเจรจาของ นปช. โดยไม่มีเงื่อนไขและเมื่อพวกเขาบอกปัดข้อเสนอให้มีตัวกลางในการเจรจา ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่ารัฐบาลนี้ทำตัวเหมือนกำลังซ่อนอะไรบางอย่างอยู่ ผมเป็นผู้เห็นเหตุการณ์คนหนึ่งจากในที่ชุมนุมของเสื้อแดงวันสุดท้าย พวกเราเริ่มตั้งคำถามเมื่อได้เห็นการโกหกอย่างหน้าด้าน ๆ ของสื่อรัฐ พวกเขากลัวว่าพวกเราจะเจออะไรหรือ? ถ้าหากมีความไม่แน่ชัดเกิดขึ้นมากมายเช่นที่เสียงของคนกลาง ๆ ว่าเอาไว้จริง ดังนั้นจะไปกลัวอะไรกับการสืบสวนข้อเท็จจริงอย่างอิสระ แต่แทนที่จะเป็นแบบนั้นพวกเรากลับได้เห็นอะไรที่ดูเหมือนแสดงออกเกินจริง (Hysteria) จากการที่รัฐบาลพูดเน้นย้ำอย่างออกหน้าออกตาเรื่องความไม่สงบทุกครั้ง เพื่อเบี่ยงเบนไม่ให้ถูกความจริงที่เจ็บปวดทิ่มแทง พวกเขาไม่อาจทนรับกับการถกเถียงอย่างเสรีและเปิดกว้างได้ ทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่เสียงของคนชายขอบที่สุดไปจนถึงทนายความและผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่แค่ทำงานของตนเท่านั้น แต่ก็โชคดีว่าทุกคนสามารถอ่านข้อเขียนเต็ม ๆ ของบทบรรณาธิการนี้ได้ เพราะไม่มีรัฐบาลเผด็จการที่ไหนมาสั่งปิด โชคดีจริง ๆ ที่ทุกคนได้รับรู้ถึงความบริสุทธิ์ผุดผ่องของพวกกองทัพที่กำลังยิ้มร่าไปกับนักเรียนอ็อกฟอร์ตที่มาเป็นนายกฯ โดยไม่ได้รับการเลือกตั้ง เพราะไม่มีใครเลยที่ส่งข้อความข่มขู่ทนายของเขาและให้ที่อยู่ของพวกเขากับพวกกลุ่มเสียบประจาน จากที่เคยทำงานในรัสเซีย ไนจีเรีย และ เวเนซุเอลลามาแล้ว ผมก็ยังไม่เคยเห็นอะไรที่หยาบช้าเท่านี้มาก่อนเลย ปัญหาก็คือ พอรัฐบาลเผด็จการทหารควบคุมสื่อและใช้เป็นเครื่องมือปราบปรามแล้ว พวกชนชั้นนำในกรุงเทพฯ ก็เริ่มสูญเสียความสามารถในการแยกแยะระหว่างความจริงที่แท้และสิ่งที่ดูสมจริงอย่างมาก (Hyperreality) [2] พวกเราเห็นสิ่งนี้เกิดขึ้นในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐสภาเมื่อกรณ์ จาติกวาณิช คนเดียวกับที่เคยปฏิเสธมาตรฐานประชาธิปไตยแบบตะวันตก บอกว่า "ต้องมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นแน่นอน คือการที่กองกำลังติดอาวุธของเสื้อแดงจงใจยิงพวกเดียวกันเองเพื่อใส่ร้ายรัฐบาล" พูดอีกอย่างหนึ่งคือ พวกเราถูกชวนเชื่อว่าเสื้อแดงยิงพวกเดียวกันเอง ถ้าหากพวกชนชั้นนำกองทัพเชื่อคำโกหกเหล่านี้จริง ๆ พวกเขาจะต้องเตรียมพร้อมอย่างมากในการปกป้องปฏิบัติการของตนเองก่อนจะมีการสืบสวนอย่างอิสระเกิดขึ้น ไม่ต้องพูดถึงเลยว่าพวกเขาจะคืนความน่าเชื่อถือให้ตัวเองได้อย่างไร เมื่อมีการพบเจอหลักฐานจากการปฏิบัติการของพวกเขา
เชิงอรรถ "...นอกจากนี้แล้ว ทักษิณ ยังได้จ้างทีมทนายเพื่อเก็บหลักฐานสนับสนุนคดีของตัวเขาเอง แม้แต่คนที่ชั่วร้ายที่สุดก็มีสิทธิ์นั้น..." [2] คำว่า Hyperreality (ไม่มีศัพท์เฉพาะในภาษาไทย) มาจากแนวคิดสัญวิทยาและปรัชญาหลังสมัยใหม่ อธิบายถึงการที่จิตสำนึกของคนเราอยู่ในสภาพไม่สามารถแยกแยะโลกความจริงกับโลกแฟนตาซีได้ โดยเฉพาะในภาวะหลังสมัยใหม่ คำว่า Hyperreality จึงหมายถึงวิธีการที่จิตสำนึกของเราเป็นผู้ให้ความหมายว่าอะไรคือ "ความจริง" ภายในโลกที่มีสื่อมากมายหลายระดับคอยดัดแปลงรูปร่างและกลั่นกรองเหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริง Jean Baudrillard นักคิดคนสำคัญของแนวคิดนี้ให้ความหมายของ Hyperreality ไว้ว่า "เป็นการจำลองบางสิ่ง ที่ไม่เคยมีอยู่จริง" สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พบอีก! ชายแต่งชุดพลเรือนถือเอ็ม 16 ปฏิบัติการร่วมกับทหารเมื่อ 19 พ.ค. Posted: 03 Jun 2010 11:01 AM PDT เผยคลิปกองกำลังแต่งกายแบบพลเรือนถือปืนเอ็ม 16 ปะปนอยู่กับทหารบริเวณบ่อนไก่ ระหว่างมีการสลายการชุมนุมเมื่อ 19 พ.ค. <!--break--> วันนี้ (4 มิ.ย. 53) ผู้สื่อข่าวประชาไทตรวจสอบคลิปในเว็บไซต์ยูทิวป์ของคุณ nasak33 ซึ่งระบุว่า "ทหารยิงคุ้มกันเพื่อเคลื่อนย้ายทหารที่บาดเจ็บสาหัสจากการ ถูกซุ่มยิง ขณะสังเกตการณ์อยู่บนตึกข้างอาคารลุมพินีทาวเวอร์ บ่อนไก่" โดยเป็นภาพทหารอยู่ท้ายรถบรรทุกทางทหารยิงปืนกระสุนจริงไปยังเป้าหมายทั้งแนวเฉียงและแนวระนาบ อย่างไรก็ตาม ในวินาทีที่ 35 ของคลิปหลังจากที่ทหารแบกเปลเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บผ่านกล้องไปแล้ว จะเห็นชายแต่งกายแบบพลเรือน สวมเสื้อยืดสีขาว ถือปืนเอ็ม 16 วิ่งผ่านกล้อง และมีทหารสวมชุดลายพรางถือปืนเอ็ม 16 และปืนลูกซองวิ่งตาม นอกจากนี้ยังมีทหารอีกนายถือปืนวิ่งผ่านกล้องมาอีก ภาพจากคลิปข่าวช่อง 9 อสมท. ซึ่งรายงานเมื่อ 19 พ.ค. เวลา 14.30 น. จากย่าน ถ.พระราม 4 ในคลิปตั้งแต่นาทีที่ 1.57 จะเห็นชายสวมชุดพลเรือนร่วมปฏิบัติการกับทหาร โดยในคลิปมีช่วงหนึ่งที่ชายผู้นี้ร่วมกับทหารใช้ปืนยิงไปยังเป้าหมายแห่งหนึ่งด้วย (ชมคลิป) โดยก่อนหน้านี้ประชาไทได้เคยตรวจสอบคลิปของช่อง 9 อสมท. ที่ออกอากาศเมื่อ 19 พ.ค. ที่นำเสนอข่าวทหารที่ปฏิบัติการบริเวณ ถ.พระราม 4 บริเวณบ่อนไก่ นอกจากจะสวมเครื่องแบบทหารแล้ว ยังมีชายสวมเสื้อยืดสีขาวถือปืน M16 อยู่ปะปนกับทหารที่มาปฏิบัติการ และร่วมกับทหารใช้ปืนยิงไปยังเป้าหมายแห่งหนึ่งด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวช่อง 9 อสมท. ไม่ได้บรรยายภาพดังกล่าว (อ่านข่าวย้อนหลัง) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เอ็นจีโอทั่วโลกเรียกร้องนายกฯ ไทยปล่อยตัว “สมยศ” Posted: 03 Jun 2010 04:30 AM PDT Clean Cloth Campaign ซึ่งทำงานรณรงค์คุ้มครองการละเมิดแรงงานในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าทั่วโลกรวมรวมรายชื่อเอ็นจีโอในต่างประเทศกว่า 100 องค์กรส่งจดหมายถึงนายกไทย ให้ปล่อยตัว “สมยศ พฤษาเกษมสุข” โดยทันทีเนื่องจากเป็นการละเมิดมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล
3 พ.ค. 53 - เว็บไซต์ของ Clean Clothes Campaign ได้รณรงค์ให้ปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน โดยระบุว่า “กรุณาติดต่อรัฐบาลไทยและขอให้ปล่อยตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักรณรงค์ด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีถูกจับกุมจากปัญหาทางการเมืองในประเทศไทย” องค์กรนี้ระบุอีกว่า “เขาถูกคุมตัวในค่ายทหารตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2553 Clean Clothes Campaign และองค์กรต่างๆ เป็นกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพ” โปรดติดต่อรัฐบาลไทยทันที http://www.cleanclothes.org/urgent-actions/thai-labour-advocate-arrested#action อนึ่ง The Clean Clothes Campaign เป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อปรับปรุงสภาพการทำงานและสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของคนงานในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าภคและสนับสนุนคนงานโดยตรง รวมถึง ต่อสู้ด้านสิทธิต่างๆ และสภาพการทำงานที่ดีขึ้น The Clean Clothes Campaign มีองค์กรพันธมิตรต่างๆ ใน 13 ประเทศในยุโรป และมีองค์กรเครือข่ายกว่า 200 องค์กรทั่วโลก รวมทั้งทำงานในลักษณะเดียวกันนี้ในสหรัฐฯ แคนาดา และออสเตรเลีย
รายชื่อ ณ เวลา 22.00 น. (3 มิถุนายน 2553) Henrik Lindholm, Stockholm, Sweden Anna birgersdotter, Stockholm, Sweden Hanna Igelstrom, Stockholm, Sweden kalle sigelius, copenhagen, denmark Mai Lijst, amsterdam, Netherlands Dominic Eagleton, London, UK Femke de Vries, Amsterdam, Netherlands Peter Dalin, Uppsala, Sweden Ajaltouni, Paris, France Timothy Newman, Washington, DC, USA daniela, valencia, spain Tatiana Hamboyan Harrison, Grasonville, United States of America Liz Pirnie, Calgary, canada Gennaro Varriale, Formia, ITALY Mikki Chalker, Binghamton, USA Marco, San Giovanni Valdarno, Italy Agostino Regnicoli, Montecassiano (MC), Italy Bill Sorochan, Craven, Canada Veronica Benassi , Roma, Italy John Rooke, Manchester, UK MIles & Erica Anderson, San Francisco, USA Paulo Rodriguez, Wolvertem, Belgium Dr. Heiner Koehnen TIE, Frankfurt, Germany Fabian Steiner, Willisau, Schweiz Anna Townsend, Watchfield, UK Victoria Sepulveda, Santiago, Chile Christine Margaret McCabe, Sandy , UK Christiane Sturm, Bonn, Germany Jane Speller, Brighouse, UK dan beveridge, quebec, canada Gervasoni-Guilbert, seynod, france Sharon M. Callahan, East Windsor, NJ, USA Rosemary Brown, Calgary, Alberta, Canada Patrizio Tressoldi, TREVISO, IT Sancho Brochella, Kriens, Switzerland Stefano Fragasso, Trani, Italy coanet, saffre, france Karen Gentleman, RYDE, UK orsola iora, brescia, italy Ed Nicholles / Canadian Union of Postal Workers, Maple Ridge, Canada Jeanne-Marie van Hulten, Delft, Netherlands A.G. van der Heijden, Zaandam, The Netherlands Judith Gellert, Aachen, Germany Barry Wilkinson retired, Calgary, CANADA caroline Williams, st Albans, united Kingdom Nik Berendonk, Berlin, Germany Robert Rutkowski, Topeka, USA Aaron M. Ucko, Washington, DC, US John Grayson UNITE, Barnsley, U.K. Susan Campbell, Montreal, QC, Canada Carol Dobson, New York, USA Jason Mcleod, Saskatoon, Canada Unison, Milton Keynes, UK Guido Notter, 8800 Thalwil, Switzerland Benjamin Hensler, San Francisco, USA Kjersti Velsand, Oslo, Norway Ralph Schwieger USW, Milwaukee, USA Ira Glazer, Barcelona, Spain Fashioning Change, San Diego, United States Roka Barcza hungarian journalist, Budapest, Hungary Giordano Schillaci, Palermo, Italy Anthony Dent, London, UK Juergen Wildner, Reggio Emilia, Italy Ceri Williams, Victoria, Canada Norunn Rindedal, Fyllingsdalen, Norway Davide Dalpane, San Lazzaro di Savena, Italy Francesca Pagani, San Lazzaro di Savena, Italy Franziska Sonnenmoser, 8400 Winterthur, Switzerland Joanne D. Ferguson, Sheffield Lake, USA Lisa Reitz, Reutlingen, Germany Kathleen Gutierrez, Berkeley, USA Mandy la combre mandate trade union, Dublin, Ireland Annika Torstensson, Stockholm, Sweden Alice Yap, Selangor, Malaysia Eva Lockner /NAFIA, Solna, Sweden Phil Miller, Vitoria, Spain Joan Peralta Mas, Terrassa, SPAIN kav laoved, tel aviv, israel Joakim Lindskog, KÃolls Nabbelov, Sweden Roberto Barbieri, Asciano, Italy Julienne Travers, Rome, Italy Barnier, Grilly, France Hellen Harty, Enicinitas, CA, USA freckmann, revel, france Dennis Arnold, Chapel Hill, USA PARMENTIER , TOULOUSE, FRANCE Irene Leger, Plympton, Canada Anne-Sylvie Crisinel, Oxford, United Kingdom Linda Kronman, Helsinki, Finland Rob Park, Ottawa, Canada fredrik kjellin, uppsala, sweden Nina Ascoly, Amsterdam, The Netherlands Lorenz Steininger, Hohenwart, Germany Lars Besterman, Eskilstuna, Sweden Mary Lou Finley, San Diego, USA Avinio Damiano, Como, Italy liesbeth sluiter, amsterdam, nederland Renato Magtubo, Manila, Philippines alberto rinaldi, Firenze, Italy Elisabeth Burleigh, Leicester, United Kingdom j.arens, amsterdam, netherlands Jose Padua, Front Royal, VA, USA irene gomez fernandez, venice, italy Jeroen Merk, Amsterdam, Netherlands Sara Davidson, Oxfordshire, UK Mathilde Nägeli, CH-8802 Kilchberg, Switzerland Ruth Conlock, Manchester, United Kingdom Linda Wright, South Croydon, UK Petra Schultz, Amsterdam, The Netherlands Rena van Lotringen, Assen, Netherlands Aina Sandrini, Tarvisio, Italy Marianne Dekker, Assen, Netherlands Dr. Ruth Needleman/ Indiana University, Gary, Indiana, USA Marla de Vries, Eibergen, Netherlands Clean Clothes Campaign Germany, Berlin, Germany Steinar Strandheim, Hornasand, Sweden Gerard Oonk, Utrecht, The Netherlands Paul Chislett, Windsor, Ontario, Canada norman biddlecombe, london, UK erik verkerk, harlingen, the netherlands vik sarakula, Sydney, australia Glenn Fletcher, Hamilton, Canada Clean Clothes Campaign Netherlands, Amsterdam, Netherlands Robert Carnevale, Wantage, N.J., USA Sarah, Hebo, USA nommensen, utrecht, netherelands Mr. Melvin Greer, Glendale Arizona, USA J Robert Miller, Grand Prairie, US Pam Frierson, Bandera, Texas, U.S.A. Peter Brantschen, San Juan de Labritja, Spain Stuart Gregory, Sheffield, United Kingdom Gubelmann Barbara, Zollikerberg, Switzerland Erin Dixon/Dossier Journal, Brooklyn, United States Mariella Fontana, Milano, Italy Natasha Shpiller, Chicago, USA koch irene, aarau rohr, switzerland Marion Sporing, Dundee, UK Richard Innes, North Shore City, New Zealand Sheila Dunnachie, Mayne Island, Canada Rachel Robbins, Coventry, United Kingdom Wayne Lessard, City of Windsor, Canada Regina Fels, Mainz, Germany Herbert Escher, Basel, Switzerland Friedemann Reich, 4123 Allschwil, Switzerland R Sheikh, Norwich, UK Susan Gilchrist, Ashtead, United Kingdom Tom Hudyma, Pittsburgh, USA Adele Winston, Barnet, UK Ming Lam, Bayside, USA Helen Pugh, Bath, UK Simone Bayer, Kleinwallstadt, Germany DOBIGNY Alain, Limoges, France James Mc Auley, Glasgow, Scotland Ursula Bolli, CH-8712 Staefa, Switzerland MANFRED OBENAUS, KREMS/DONAU, AUSTRIA Chris Patton Unite, Newry, Ireland Gerda Seaman/AFL, Chico, U.S.A. john johnson, rockford, usa Rachel Zatz, London, United Kingdom Agata Maciejewska, Warsaw, Poland Natalia Caj, Lodz, Poland Laura Forsstram, Joensuu, Finland Malin Pennlov, Uppsala, Sweden Mallika Henry, Cambridge, NY, USA Maureen Sheahan, Southfield, USA All Saints Anglican Church, Ottawa, Canada Rolf Stuber, Männedorf, Switzerland Steve Neubeck, Buffalo NY, USA Jessica Buchanan, San Pedro, USA Antony Schofield, Mancester, England Isabel Ballmer, Zurich, Switzerland Yasiu Kruszynski, Grudziadz, Poland Ms. Leonie Haverkamp, Herwijnen, The Netherlands Eva Waldispohl, Zarich, Switzerland Mr. Arno van Boheemen, Herwijnen, The Netherlands JOS DEKEUKELEIRE, DE PINTE, BELGIUM Amnesty International, Guildford, UK Sofia Schubert, Gothenburg, Sweden Jonathan Boud, London, England Gesine Heller, Reinach, Switzerland Sara Rigney, Dublin, Ireland Paul Pugh, Thundere Bay, Canada Patty Ralston, Fredericton, CANADA yvonne haarsma, the hague, NL hans-peter kohnke, toronto, canada Movimento dei Consumatori, Venice, Italy Trevor Pritchard, Manchester, United Kingdom John and Martha Stoltenberg, Elkhart Lake, USA charlie + mary, Amsterdam, The Netherlands Wesley Morgan, Ottawa, Canada G.P.M.C.Tari, maastricht, netherlands Daniel Ruprecht, CH-8308 Illnau, Switzerland MRFA (ret), Calgary, Canada Hilary Mobbs, Odda, Norway aat dekker, the hague, netherlands Tim, Washington, DC, USA Cecilia von Otter, Uppsala, Sweden Larry Carney, CCODP, Clifford, Canada John Mark Robertson, Belleville , Canada Jen McClelland, London, UK Esther van zetten, amsterdam, Netherlands Angus McConnell NZDWU , Hamilton , New Zealand Emily Jones, London, United Kingdom Duncan Allan, Wellington, New Zealand Emily Cornell, Colchester, UK Ulrika Gunnarsson Östling, Stockholm, Sweden alexis blanchard methot, montreal, canada Bob McAuliffe, Pittsburgh, USA Erik Schnabel, San Francisco, CA, USA canadian cuban friendship association, Calgary, Canada Bernward Budde IG Metall, Berlin, Germany Christy Knockleby, Sudbury, Ontario, Canada Rael Nidess, M.D., Marshall, USA Iris Maher, Amsterdam, netherlands Nese Kildaci, Istanbul, Turkey William Farrell, London, UK Notta Caflisch, Chur, Switzerland Helvetas Regionalgroup, Amriswil, Switzerland Kaja Fjørtoft, Oslo, Norway Ahmet Bekmen-Äostanbul University, Istanbul, Turkey MARK SALAMON, SAN MATEO, UNITED STATES Gaia, Paris, France Maritime Unnion of New Zealand, Local 13, Auckland, New Zealand Rosina Simmons, Guildford, United Kingdom Wim Van Caelenbergh, Wetteren, Belgium Bigot, Yvonand, Switzerland Katrien Melis/ACV, Wetteren, Belgium Julie Phillips, Amsterdam, Netherlands T.Kaufmann, Regensburg, Germany agata chromcewicz, amsterdam, the netherlands Nancy Macdonald, Victoria, Canada Marie Gutkowski, Ridgewood, United States Christa de Bruin, Utrecht, the Netherlands Shahin Shabanian/National Education Association, Williamsport, USA Johan Moller, Goteborg, Sweden Sheila Cheng, Chesham, United Kingdom Alberto Garcaa Fabregat, Orihuela, Spain wouter renkema, bedum, netherlands Denise Lytle, Fords, NJ, USA Ruth Valentine, Keith, UK Kevin Moloney, Toronto, Canada Aleksandra Mielnik, Warsaw, Poland bill galli, n.adams, usa shirley roiter, brisbane, australia Timothy Sears, Seattle, Washington, USA Dr Rosie Scott, Sydney, Australia Leah Jones, Bauple, Queensland, Australia CHEVROT, Saint SIXT, France Monika Setter, Edmonton, Canada Aphrodite Bilalis, Voula, Greece Shelby Creager, Seattle, United States Christine Habermann, Hannover, Germany Leon Edwards, Southampton, UK Norbert Mueller, Schwaebisch Gmuend, Germany Alison Flensburg, Saskatoon, Canada Patrycja Wibe, Gdynia, Poland terry steward, SYDNEY, AUSTRALIA chris clarke, Nowra NSW, Australia Vi Gerbrandt, Calgary, Alberta Nizza Siano, Sydney, Austrralia Publieke Zaken, Amsterdam, The Netherlands Rikje Maria Ruiter, Utrecht, the Netherlands Martina Meckel-Wille, Bonn, Germany Rod. MacLennan, Sydney, Australia Martha Goddard, Norwich, UK Fleur Leary, Canberra, Australia Dave Thorpe, London, England Joy and Don Pollard, Clonakilty, Ireland Janet Hudgins, Vancouver, Canada Arthur Mink / ILWU-PCPA, Seattle, United States Adriana Faria, Puyallup, WA, USA Alan Ket, New York, United States of America Michael Light, Perth, Australia Armin Kligge, ver.di, Iserlohn, Germany Jackie Lewis, London, UK Carla Meyer, Edmonton, Canada Marti Monique, Geneva, Switzerland Amy Luther, Melbourne, Australia Russell Hannah, shellharbour, australia Katherine Tildes, Providence, USA Kate, Melbourne, Australia mary smith, dublin, ireland Marguin Catherine, Lyon, France CPSU, Hamilton, Australia Jennifer Glass, Sydney, Australia Mitchell Roggenkamp, Bowral, Australia Douglas McNeill, Greenbelt, United States Jennifer Allwardt, Okemos, U.S. Mary B. Mills, Waterville, USA A M W U, GRANVILLE, AUSTRALIA Dae-oup Chang, University of London, London, UK Simon Boyce, Wellington, New Zealand Maritime Union of New Zealand, Wellington, New Zealand Susan Butson, Retail,Wholesale,depqrtment store Un, Regina, Saskatchewan, Canada adis, duderija, australia Deborah Dickson, Melbourne, Australia MUNZ UNION, tauranga, NEW ZEALAND Greg Elliott, Pearl City, Hawaii, USA EUGENE D BURLES, BRANTFORD, CANADA Nicholas Houston, Canberra, Australia Patrick Maurer, Geneva, Switzerland Gwynnyth Evans Australasian Meat Industry Employee, Melbourne, Australia Pam, Sydney, Australia Fahmi Panimbang, Jakarta, Indonesia doug olthuis, Toronto, Canada CLEC, Phnom Penh, Cambodia john Donaldson, toronto, canada P. A. Lowry, Berkeley, CA, USA Anna Clayton, Westhampton, United States AMRC, Hong Kong, Hong Kong Des Emery, St.Thomas, ON, Canada Shig Noguchi, USW Local 810, Anaheim, USA Bangladesh Center for Workers Solidarity (BCWS), Dhaka, Bangladesh Emelia Yanti - GSBI, Jakarta, Indonesia Andrew Campbell, Wellington, New Zealand Peter Eglin, Kitchener, Canada Annie Carroll, Canberra, Australia Kalpona Akter, Dhaka, Bangladesh Maritime Union of New Zealand, Local 13, Auckland, New Zealand Vanessa Gale, Somerset, Australia Janet Cairns, Perth, Australia Art Hanson, Lansing, Michigan, United States of America Gemma Freeman, Melbourne, Australia Ann-Louise Lemstrom, Kirkkonummi, Finland Catherine Wallace, Melbourne, Australia Eric Thomson, Sydney, Australia Amador Navidi, Sydney, Australia Annie Thomson, Sydney, Australia Daina, Toronto, Canada Owen Thompson, Auckland, New Zealand Elena, Bangkok, Thailand Pranom Somowng, Temerloh, Pahang Maxine Phillips, New York City, USA deborah nicholls, hanoi, vietnam Mrs. Jody Gibson, Des Moines, United States of America Corinne Coombs, Mandurah Ocean Marina, Australia Elfmagic Taylor, Ms, Adelaide, Australia Gordon Flett, Vancouver, Canada Nathan Cook, Sydney, Australia Irene Xavier, Kajang, Malaysia George Stadnik, Astoria, USA Walter McClatchey, Alexandria, Louisiana, USA Ron Avila, San Francisco, USA Hsiu-man Chen, Taipei, Taiwan Karen Page, Rockhampton, Australia Institute for Labour Rights Monitoring (INForM), Bandung, Indonesia Jonathan Grossman, Boston, USA Labourstart, Mauke, Cook Islands Rachael McGuin, darwin, Australia Michael W Evans, Los Angeles, USA Peter Gilfedder, Brisbane, Australia MJ Gentile, Philadelphia, USA AlisonVangel, Perth, Australia robert lujan, san gabriel, US Hannu Laakso, Teisko, Finland C. Arbour-Dokuchic, St. Joachim, Canada National Garment Workers Federation, Dhaka, Bangladesh Mary Cotter, Melbourne, Australia Rüedin Brigitte, Rheinfelden, Switzerland Daisy Arago, Center for Trade Union and Human Righ, Quezon city, Philippines John Welton, Bethesda, Maryland, United States of America Associated Labor Unions-Trade Union Congress of th, Quezon City, Philippines Angelique Sapolin, Bathune, France Howard J Cohen, Ph.D., Palo Alto, USA Jurg Keller, Oerlingen, Schweiz Bouclier Robert, saint laurent, France Janne Wachsmuth, Berlin, Germany Natalie Hanson, Lansing, Miichigan, USA Nigg Calanca Luzia, Zurich, Switzerland David Beddoes, Barrow-in-Furness, United Kingdom GIOVANNI ALIOTI, GENOA, ITALY Fritz Hofmann - IG Metall, Eisenach, Germany Maja Bleibler, 8001 Zürich, Switzerland François Quiniou, Louhans, France Andres Calatayud, Murcia, Spain roseglint, sydney, australia barbara schwarzler, zurich, switzerland Missy, La Heutte, Switzerland Jed Rosenstein, Barcelona, Spain Enrico Dal Checco, Torino, Italia Setem, Bilbao, Spain Heather Bellingham, Melbourne, Australia joseph peter tricase, ashfield, australia Shaun Martell, Norwich, UK Emily Vearing, Ararat, Australia Matthew Hughes, Sydney, Australia Pierre Lavanchy, Lutry, Switzerland Tessel Pauli, Amsterdam, Netherlands Rolf FELIX, CH-3011 Bern, Switzerland Pekka Ristel, Helsinki, Finland Saskia, Sydney, Australia Hans Christian Monsen, Oslo, Norway daniela pappalardo, monterosso almo, italia Malawi Congress of Trade Unions, Lilongwe, Malawi Lucia Del Siena, Poggibonsi (Si), Italy Caviglia Maria, Recco, Italy Ellen Vanhoutte, Antwerp, Belgium bilge sekin, istanbul, turkey Naomi, Amsterdam, The Netherlands Anu Rasanen, , Finland Marianne Dahinden, Biel, Switzerland Jini Park, Seoul, South Korea Kristina Eneroth, Stockholm, Sweden robyn fortescue, sydney, australia Emma Krug/Oxfam, Brussels, Belgium gioksiong, taipei, Taiwan Kristina Areskog Bjurling, Stockholm, Sweden Xavier Lapillonne, Lausanne, Switzerland Laurent Leemans, Tubize, Belgium Josi Mingo, Burgos, Spain Mattias Areskog, Stockholm, Sweden Ersilia Monti, Milano, Italy Stephen Black, Kettering, Uk DOLLAT amnesty international, gouvieux, france LHMU - South Australia, Adelaide, Australia Rodio Patrizia, Lausanne, Switzerland Clare Brandeberry, worcester, UK Glenn Kirkindall, Portland, Oregon, USA Magdalena Schmid Noerr, Munich, Germany Malin Eriksson, Stockholm, Swedenq Lia Weston, Kurralta Park, Australia Christopher Riddselius, Fair Trade Center, Stockholm, Sweden Sharon Bergin, Londonderry, Northern ireland drago gajzer, maribor, slovenia Saskia Boumans, Brussel, Belgium Jahwin Jeserich, Reuthbay, Germany Sophie Spillemaeckers, Meise, Belgium Joel Lindefors, Hägersten, Sweden Ida Gulbrandsen, Stockholm, Sweden Fair Trade Center, Stockholm, Sweden Dr. Paul Lim, Brussels, Belgium Norbert Nitsch, Erdmannhausen, Germany Clara Lindefors, Skavde, Sweden Fabrizio Nocera, Campobasso, Italy Eleonora Traversa, Brussels, Belgium Maria Valderh, Bergen, Norway Carol Lillith Andrews, Coonabarabran, Australia Horst Hesse, Labeck, Germany Annette Webb, Portsmouth, UK Danny Gillespie, Unison, Glasgow, Scotland Cajsa Unnbom, Stockholm, Sweden Angela, Napoli, Italia marina zazo, pisa, italy Bernhard Huber, Viena, Austria Marta Bajorek, Warsaw, Poland Bev Khan, Swansea, Wales Dr Fiona Haines, Associate Professor University of, Melbourne, Australia Dan Gallin, Global Labour Institute, Geneva, Switzerland Michaela Dev, Stockholm, Sweden R E Shepherd, Leeds, UK Jenny Webber GMB, Norwich, UK M. Vrieling, Amsterdam, Netherlands Elisabeth Buchner, Salzburg, Austria Jacqueline MESIERE, Annecy, France Marguerite Enz, 8053 Zürich, Switzerland Juliette Li, Amsterdam, Netherlands Burcu Birinci, Mannheim, Germany Britta Tegby Frisk, Stockholm, Sweden Andrew West, Stockholm, Sweden Conor Brian Scott, Dublin, Ireland Sophie Koers, Amsterdam, The Netherlands oxfamsolidariy, bruxelles, belgique Rhona MacSweeney, Dublin, Ireland Helen van den B erg, melbourne , Australia David Lee EPMU, Christchurch, New Zealand Jim Hunt, Brighton, Massachusetts, USA Virginia Sandjojo, Utrecht, Netherlands maaike, Amsterdam, The Netherlands iris van oort, amsterdam, netherlands Dr Lucy Zinkiewicz, Geelong, Australia Cecilia Tuico, Rosario, Cavite, Philippines Couttausse Marie-Pascale, Toulouse, France Gemma Freedman, London, UK Raffael Trimmel, Klostermarienberg, Austria Nantabhat Bhukkanasut, Bangkok, Thailand Petrina Reichman, Brisbane, Australia Joan Brennan, UNISON, London, UK Luisa Memore, Torino, Italy Ella Noyes, Southampton, UK Laura Prinzi, Napoli, Italy Jenny Lennox, National Union of Journalists, London, UK Dorothy Amos, Hastings, United Kingdom Lebreton, Bizerte, Tunisia Dorothy Amos, Hastings, UK Jane Faye, Glasgow, Scotland s willes, London, UK Tim Bresseleers, Brussels, Belgium Jerker Thorsell, Stockholm, Sweden Malin Hakansson, Stockholm, Sweden Knut Storstad, Finnoy, Norway Nicki Story, Suce-s/Erdre, France David Brown, Perth, Australia Zoe Robinson, London, UK Ton de Heij, Amsterdam, Netherlands member aeu, Melbourne, Australia Sabine Vinatzer, Ortisei- Bolzano, Italy Bert Schouwenburg GMB, London, UK Zuzanna Zajczenko - Polish Green Network, Krakow, Poland Lorraine Clay, Liverpool, United Kingdom Cecilia Kennberg, Stockholm, Sweden Alvar Metzner, Arendal, Norway Robinigg Claudia, 9493 Mauren FL, Liechtenstein rosie wagstaff, sydney, australia catusse, st eloy les mines 63, france Giovanni Paci, Serravalle Pistoiese, Italy Rhonda Spence, Ottawa, Canada Joanne van der Poel, Arnhem, the Netherlands simon dean, chorley, UK Paulina Szybi„ska, Warsaw, Poland Emilia Przybyl, Warsaw, Poland Arthur Kyle, Stevenage, UK amalia navoni, Milano, Italia Francesca Perico, Bergamo, Italy A. Brugman, Uithoorn, The Netherlands Montse Framis, Firenze, Italy Ann Hagelstedt, Stockholm, Sweden meier manfred, warenlingen, switzerland Caterina Di Francesco, Curtatone (MN), Italy Isabel Baumann, Luzern, Switzerland Jenny Chan (SACOM), Hong Kong, China Goran Anberg/IF Metall, Vasterljung, Sweden Yves JARDIN, Douarnenez, France Gernot Hochmueller, Vienna, Austria CCC, Amsterdam, nederland Mr. Bobbie Dee Flowers, New York City, U.S.A. Nicola Wareing, Manchester, England Lorenza Pirovano, Arona (NO), Italy L. Lamers, Den Haag, Netherlands Olga Maciaszek-Sharma, Warsaw, Poland Sabrina Lopp, Hamburg, Germany Mateusz, Rdzawka, Poland Liz Edwards, Lancashire, UK Deirdre OReilly, M.Ed., GLASGOW , SCOTLAND Kevin Thomas, Toronto, Canada Alex Macdonald, Toronto, Canada Aeschlimann Martine, Kriens, Switzerland Andrew Blanckensee, canberra, Australia Francesco Dalmasso, Florence, Italy daniela amati, bergamo, italy Matthew Joyce, London, UK); สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Posted: 03 Jun 2010 04:29 AM PDT <!--break--> มีคำพูดประโยคหนึ่งบอกว่า ลักษณะการจับไม้กอล์ฟกับการจับไม้กวาดมีท่าทางคล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็นการเหวี่ยงเพื่อที่จะพัดลูกกอล์ฟให้ลงหลุดหรือเหวี่ยงเพื่อกวาดขยะออกจากบ้าน การ Follow Through เปรียบเหมือนการกวาดขยะ ถ้าส่งปลายไม้กวาดขยะออกไปยาวๆ ขยะก็จะเคลื่อนที่ไปไกล แต่ถ้ายกเร็วก็จะทำให้ขยะเคลื่อนที่ไปได้น้อย แต่ทำไมความรู้สึกตอนเหวี่ยงมันต่างกัน ทุกครั้งที่จับไม้กวาดเพื่อที่จะกวาดขยะให้บ้านเรือนสะอาดดูเหมือนจะไม่มีเรี่ยวแรงไม่กระฉับกระเฉงเหมือนการจับไม้กอล์ฟเพื่อจะตีลูกกอล์ฟลงหลุม ที่เป็นเช่นนี้เพราะการกำหนดความคิดและความรู้สึกมีผลต่อการกระทำ ผู้คนทั่วไปมักคิดว่าการตีกอล์ฟเป็นกีฬาในแวดวงสังคมมีระดับ และถือเป็นการพักผ่อนในตัว ส่วนการกวาดบ้านเป็นการทำงานพื้นๆ ธรรมดาทั่วไป อีกทั้งคุณค่าเชิงประจักษ์สำหรับการตีกอล์ฟกับการกวาดบ้านของแต่ละบุคคลย่อมอาจแตกต่างกันออกไป เวลาที่มีปัญหาอะไรสักอย่างหนึ่ง คนเรามักจะหาทางออกหรือมีข้อถกเถียงต่อปัญหานั้นแตกต่างกันหลายประเด็น ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะว่ามันเกิดขึ้นมาจากกรอบความคิดของแต่ละคน ซึ่งตั้งต้นมาบนพื้นฐานไม่เหมือนกันทั้งด้านการศึกษา ความเชื่อ ทัศนคติ สถานะ และเบื้องหลังชีวิตของแต่ละคน ที่โปรยไว้อย่างนี้ก็เพื่อนำเข้ามาถึงเหตุการณ์วิกฤติที่เมืองไทยเราเพิ่งประสบมา ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ก็เพราะมีการคิดแบบแบ่งขั้วแบ่งฝ่ายแยกสีแยกข้าง นำไปสู่เหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองก่อให้เกิดความเสียหายด้านเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของประเทศอย่างคาดไม่ถึง ต้องยอมรับว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นต่อสังคมไทยมาจากฐานคิด ความเชื่อ ความชื่นชมในนโยบายประชานิยมและตัวบุคคล กอปรกับการรับรู้ขบวนการทางสังคมในลักษณะสองมาตรฐาน อีกด้านหนึ่งเป็นการตกผลึกด้านผลประโยชน์ที่บางส่วนยังแคลงใจว่ามุ่งเพื่อส่วนรวมหรือผลประโยชน์เฉพาะตัว เฉพาะกลุ่ม จึงเกิดขบวนร่วมกันเรียกร้องในสิ่งที่ตนคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม น่าปรารถนา เมื่อไม่ประสบผลตามแนวคิดจึงเกิดเหตุแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น ปรากฏการณ์ทางสังคมที่เพิ่งผ่านมา ได้ก่อปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองทั้งที่เป็นเงื่อนไขจากภายในและภายนอก ส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะวิกฤต ขณะเดียวกันสังคมไทยมีความแตกแยกและความขัดแย้งที่มีความรุนแรงมากที่สุดในรอบศตวรรษ เนื่องจากความเห็นที่แตกต่างกันในทางการเมือง การดำเนินโครงการพัฒนาประเทศในเรื่องต่าง ๆ ต้องหยุดชะงักลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ส่งผลเชิงลบต่อขวัญกำลังใจและภาวะความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งความเชื่อมั่นของนักลงทุน จากผลกระทบทั้งภายในและภายนอกประเทศ เริ่มมีมุมมองว่าปัจจุบันคนไทยนอกจากเก่งในการคิดแยกส่วน ยังมักชอบยกตัวอย่างแยกส่วน ยกเหตุการณ์แยกส่วน ยกเหตุผลแยกส่วนมาเพื่อให้ฝ่ายตนได้ประโยชน์และได้เปรียบฝ่ายตรงข้าม โดยไม่สนใจว่าเรื่องราวทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบมีที่มาที่ไปอย่างไร สังคมไทยในอดีตเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน มีอาชีพหลักทางการเกษตร เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ลักษณะของสังคมเกษตรได้หล่อหลอมชีวิตจิตใจของคนไทยให้รักอิสระอยู่อย่างเรียบง่าย มีจิตใจอ่อนโยนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เกื้อกูลกันและกัน แม้วิถีชีวิตในปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีการแข่งขันกันในทางธุรกิจมากขึ้น แต่จากการที่สังคมไทยเป็นสังคมชาวพุทธ ทำให้สมาชิกในสังคมสามารถปรับตัวเข้าหากันได้อย่างสงบสุข ไม่มีปัญหาการขัดแย้งกันเหมือนในสังคมประเทศอื่นๆ บางประเทศ สังคมไทยเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญในเรื่องอาวุโส ให้เกียรติยกย่องผู้ใหญ่ เป็นสังคมครอบครัวใหญ่มีพ่อแม่ ลูก หลาน ปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติอื่นๆ รวมอยู่ด้วย เป็นสายสัมพันธ์ทางระบบเครือญาติ เกิดความผูกพันห่วงใยดูแลทุกข์สุขกัน เป็นสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นที่ต้องอุปการะเกื้อกูลกัน กตัญญูต่อผู้มีพระคุณและญาติผู้ใหญ่ เทิดทูนสถาบันกษัตริย์ เนื่องจากมีการปกครองในระบอบกษัตริย์มาตั้งแต่โบราณ สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นมิ่งขวัญและศูนย์รวมแห่งความสามัคคีของคนในชาติ ได้รับการยกย่องเทิดทูนอย่างสูงในสังคมไทย วาทะกรรมเหล่านี้มีอยู่จริงและฝังลึกมาช้านาน แทบไม่ต้องพิสูจน์ในเชิงประจักษ์ แม้จะมีบางสิ่งมากระทบก็ยังไม่อาจบั่นทอดให้คลอนแคลนได้ อย่างไรก็ตาม วิกฤติที่เกิดขึ้นยากที่จะเยียวยาหรือลบเลือนได้ในระยะเวลาอันสั้น และหากจะผ่าวิกฤตินี้ไปและสร้างภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืนได้ เราต้องร่วมกันพลิกฟื้นฐานคิดที่เป็นต้นทุนทางสังคมของเราให้กลับมา พร้อมสรุปบทเรียนให้ความรู้แก่อนุชนรุ่นหลัง ให้มีวิธีคิดและความรู้ที่ถูกต้อง เพราะวิธีคิดและความรู้เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง อภิเชตเคยมีประสบการณ์ของตัวเองตอนไปซื้อของที่ตลาด แล้วบอกแม่ค้าว่าไม่ต้องใส่ถุงพลาสติก แม่ค้าบอกว่าไม่เป็นไร เอาไปเถอะ แม่ค้าไม่ขี้เหนียวหรอก อันนี้คือวิธีคิดของเขาที่ประกอบด้วยความไม่รู้และเอาสะดวกเข้าว่า แม่ค้าไม่รู้ว่าถุงพลาสติกนั้นส่งผลอะไรให้กับธรรมชาติบ้าง เหมือนกับเหตุการณ์ที่ผ่านมาคงไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดบานปลายรุนแรงถึงเพียงนี้ เหตุการณ์วิกฤตินี้ หากเราตั้งสติให้ดีจะเป็นการ “สร้างภูมิคุ้มกัน” ให้สังคมในระยะยาว ทำให้สมาชิกในสังคมสามรถมองปรากฏการณ์ทางสังคมในภาพกว้างไม่มองแบบแบ่งแยก มองออกว่าอะไรเป็นอะไร ใครจะมา “ล้างสมอง” ไม่ได้ ที่สำคัญสร้างความโปร่งใสไม่ให้มีเหตุที่จะทำสมาชิกในสังคมแคลงใจในมาตรฐานการปฏิบัติต่อกรณีต่างๆ ให้ทุกภาคส่วนร่วมกันแก้ปัญหา ทั้งนี้การจะแก้ปัญหาได้ จะต้องรู้สภาพปัญหา เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงสาเหตุของปัญหา สร้างองค์ความรู้ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพอย่างทัดเทียมกัน ให้รู้ว่าปัญหาต่างๆ สามารถขจัดปัดเป่าให้หมดไปได้และร่วมกันลงมือแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤติเช่นนี้อีกในอนาคต พระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเบื่อหน่ายการเวียนว่ายตายเกิด เบื้องแรกทรงรู้ตัวปัญหาและสาเหตุของปัญหา แต่ยังไม่ทรงทราบวิธีแก้ปัญหา ทรงคิดว่าการบำเพ็ญตบะทรมานตนเองให้ลำบากคือทางแก้ปัญหา ทรงอดอาหารถึงขั้นไม่เสวยอะไรเลยจนร่างกายผ่ายผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ต่อมาพระองค์ทรง “ได้คิด” ว่าทางแก้ปัญหาไม่ใช่การอดอาหาร เพราะกิเลสเป็นเรื่องจิตใจ การจะหลุดพ้นเครื่องรึงรัดจิตใจโดยการทรามานกายย่อมเป็นไปไม่ได้ จึงทรงค้นพ้น “ความพอดีของแนวคิด” และปฏิบัติทางสายกลางไม่สุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง ในที่สุดก็ทรงแก้ปัญหาเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดได้ เรียกว่า “บรรลุพระนิพพาน” การกลายกลับฉับพลันจากเจ้าชายสิทธัตถะไปเป็นพระพุทธเจ้า หรือการกลายจากคนธรรมดาไปเป็นพระเยซู มีความแตกต่างกับการกลายจากดักแด้ไปเป็นผีเสื้อ เพราะเป็นความสำเร็จของ “วิธีคิด” ที่ยกตัวอย่างวิธีคิดและวิธีแก้ปัญหาของพระพุทธเจ้าก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า ท่านเป็นถึงพระโพธิสัตย์ยังพลาดได้ในตอนแรก ประสาอะไรกับมนุษย์อย่างเราๆ ถ้าจะผิดพลาดบ้างเป็นครั้งคราว ขอเพียงแต่สมาชิกในสังคมรู้ปัญหาและรู้สาเหตุของปัญหา มีความมุ่งมั่นร่วมไม้ร่วมมือกันที่จะแก้ไขให้ผ่านพ้นไป ประเทศญี่ปุ่นเคยพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นหา “มุมคิด” หันมาเอาดีด้านเศรษฐกิจเร่งสร้างความร่วมมือพัฒนาประเทศจนกลายเป็นมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจในปัจจุบัน ต่างจากสหภาพโซเวียตประเทศผู้ชนะสงคราม ที่มุ่งแต่จะสร้างแสนยานุภาพทางทหารจนลืมพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ในที่สุดไม่สามารถรักษาความเป็นมหาอำนาจไว้ได้ แม้แต่ความเป็นประเทศสหภาพโซเวียตก็สูญสลาย เกาหลีใต้เคยโดนล่าอาณานิคมถูกปกครองโดยญี่ปุ่นกว่า 35 ปี พอได้รับอิสรภาพชาวเกาหลีใต้สร้าง “มุมคิดปลุกชาตินิยม” มุ่งพัฒนาด้านการศึกษา เทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงประเทศจนก้าวนำเป็นประเทศแถวหน้าอย่างรวดเร็ว วิธีคิดก็เปรียบเสมือนเส้นทางเดิน สังคมไทยผ่านร้อนผ่านหนาวมานานัปการ เราต้องสรุปเป็นบทเรียนให้รู้ว่าทางของเรามีอะไร ควรไปทิศทางไหน เราได้เห็นทางของคนอื่น เห็นเขาปลูกต้นไม้ สวย ต้นไม้ผลิดอกออกผลสมบูรณ์ เราจะไปขุดเอาต้นไม้ของเขามาปลูกบนบ้านของเรา ก็คงไม่ดี เพราะพันธุ์ไม้อาจไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมในบ้านเรา อีกทั้งก็จะได้ชื่อไปเอาของคนอื่นมา เราจะต้องรู้จักคิดว่าเราจะปลูกต้นไม้อย่างไรให้ได้เหมือนอย่างเขาหรือให้ดีกว่าเขา วิธีการปลูกของเราจะปลูกอย่างไร จะใช้น้ำแบบไหนรด จะพรวนดิน ตัดหญ้า ให้ปุ๋ยอย่างไร และวางแผนที่จะทำ ประโยชน์จากลำต้น จากดอก จากผล จากเมล็ดให้คุ้มค่าอย่างไร ที่สำคัญพันธุ์ไม้ที่เราจะนำมาปลูกต้องเหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของเรา ซึ่งเราได้เรียนรู้มาจากประสบการณ์ของตนเอง ไม่ถึงกับต้องไปเลียนแบบเขาทั้งหมด ให้เรารู้จักเลือกรับเลือกเอาว่าสิ่งไหนมันเหมาะกับเรามากที่สุด ให้เข้าถึงวิธีคิดที่ยึดถือ “คุณค่าของความจริง คุณค่าของความงาม และคุณค่าความความดี” ที่จะทำให้ก้าวย่างไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน ควรที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันหา “วิธีคิด” เพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญด้านเศรษฐกิจ ควบคู่กับเร่งสร้างความเชื่อมั่นและฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศไทยในระดับนานาชาติ และสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทย การจะก้าวไปถึงจุดนั้นได้ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวความแตกแยกที่เกิดขึ้นครั้งนี้ สรุปเหตุการณ์บันทึกเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของประเทศไทย โดยจะต้องวิเคราะห์และแยกแยะสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด เพื่อให้ลูกหลานได้ศึกษาและเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากนั้นระบบการศึกษายังต้องสอนให้เด็กไทยคิดอย่างมีเหตุมีผล ให้ยึดถือทั้งคุณค่าของความจริง คุณค่าของความดี และคุณค่าของความงาม เข้าใจเหตุการณ์บ้านเมืองอย่างภาพรวมเป็นระบบ ไม่หลงเชื่อใครง่ายๆ ขณะเดียวกันก็รักความยุติธรรมไม่เพิกเฉยดูดายต่อมาตรฐานการปฏิบัติทางสังคม เหตุการณ์ความรุนแรงที่ผ่านมาเราอย่ามัวแต่รำพันร่ำไห้ ต้องพลิกวิกฤติให้เป็นบทเรียน หาวิธีนำพาประเทศไปข้างหน้า จะเป็นทางแก้ปัญหาระยะยาวที่จะไม่ทำให้เกิดความแตกแยก ไม่เกิดมิคสัญญีให้คนร่วมชาติต้องสะเทือนขวัญ และไม่เกิดการเผาบ้านเผาเมืองอีกในอนาคต
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กลุ่มนักกฏหมายสิทธิมนุษยชน ส่งจม.เปิดผนึกขอสำนักงานตำรวจฯ เปิดเผยชื่อผู้ถูกจับตาม พรก. ฉุกเฉิน Posted: 03 Jun 2010 03:19 AM PDT วันที่ 3 มิ.ย. 2553 กลุ่มนักกฏหมายสิทธิมนุษยชน ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอให้เปิดเผยรายชื่อและสถานที่ควบคุมตัวของผู้ที่ถูกจับตามหมายจับ พรก. ฉุกเฉิน หลังเหตุการณ์เข้าสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช. <!--break--> เนื้อหาในจม. เปิดผนึกระบุว่า จากการสลายการชุมนุมโดนการใช้กำลังทหารและอาวุธสงครามของรัฐบาลเมื่อวันที่ 19 พ.ค. ที่ผ่านมานั้นส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และในเวลาต่อมาศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้มอบหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติออกหมายจับและควบคุมบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ในจม.กล่าวถึงข้อมูลจากเว็บไซต์ของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางว่ามีหมายจับภายในเขตกรุงเทพฯ และในเขตสำนักงานตำรวจภาค 1 จำนวน 99 หมาย แต่ไม่มีรายชื่อของผู้ถูกจับและไม่ระบุสถานที่ควบคุมบุคคลดังกล่าว ตลอดจนไม่มีการรายงานถึงจำนวนและสถานที่ของผู้ถูกควบคุมตัวหรือมีหมายจับในสำนักงานตำรวจภาคอื่น ๆ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนแก่ผู้ถูกจับและญาติมิตรที่ไม่อาจทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของผู้ถูกจับ และไม่ทราบว่าพวกเขายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ทางกลุ่มนักกฏหมาย ทนายความและคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ตามที่ระบุชื่อในจม. ได้แสดงความห่วงใยโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติต่อผู้ถูกจับกุมในลักษณะที่อาจมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ต้องได้รับความคุ้มครองตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) ที่ประเทศไทยมีพันธกรณี โดยสิทธิมนุษยชนตามหลักการดังกล่าวสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว กลุ่มนักกฏหมายสิทธิมนุษยชนจึงเรียกร้องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกาศสถานที่ควบคุมบุคคลดังกล่าวที่อยู่ในอำนาจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติทุกพื้นที่ที่ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้ญาติและทนายความสามารถติดต่อได้ทันที
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความจริงอีกด้านของ “คนห่มเหลือง” Posted: 03 Jun 2010 02:06 AM PDT ขณะที่คนของรัฐบาลพูดถึงพระที่มาร่วมชุมนุมกับเสื้อแดงเป็นเพียง 'คนห่มเหลือง' อย่างดูแคลน สุรพศ ทวีศักดิ์ ได้ลงพื้นที่ทำวิจัยกับพระสงฆ์ในการชุมนุม ทำให้ทราบว่าพระสงฆ์เหล่านี้มาเพื่อเตือนสติทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมและรัฐบาล ย้ำเตือนถึงวิธีการสันติและเมตตาธรรม ขณะเดียวกันก็มีพื้นเพอยู่ใกล้ชิดกับชาวบ้าน เข้าใจปัญหาความไม่เป็นธรรมที่ชาวบ้านได้รับ <!--break--> เห็นภาพพระสงฆ์ถูกจับมัดมือไพล่หลังติดกับเก้าอี้ (ดูจากหน้า 1 มติชน จะเห็นชัดกว่าดูจากช่อง “หอยม่วง”) ที่ ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ นำมาใช้ประกอบการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม แล้วรู้สึกหดหู่อย่างบอกไม่ถูก นึกไม่ถึงว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำได้เช่นนั้น ในทางกฎหมายเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจะจับกุมผู้กระทำความผิดที่เป็นนายทหารสัญญาบัตรใน “เครื่องแบบ” จะต้องดำเนินการโดยละมุนละม่อม เช่น ไม่ใส่กุญแจมือ ให้มีนายทหารพระธรรมนูญเข้าร่วมฟังการสอบปากคำของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย เป็นต้น แต่ทหารซึ่งได้รับ “สิทธิพิเศษ” ดังกล่าวนี้ กลับปฏิบัติต่อพระสงฆ์อย่างไม่เคารพต่อ “ผ้ากาสาวพัตร์” ซึ่งชาวพุทธถือว่าเป็นเสมือน “ธงชัยของพระอรหันต์” จริงอยู่ แม้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติอาจคิดเหมือน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งเป็นผู้ให้นโยบายในฐานนะรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และประธาน ศอฉ.ว่า ผู้ที่ถูกจับกุมไม่ใช่พระเป็นเพียง “คนห่มเหลือง” เพราะหากเป็นพระต้องอยู่ที่วัด ไม่ใช่มาอยู่ในสถานที่ “อโคจร” หรือในที่ชุมนุมทางการเมืองที่มีกลุ่มผู้ก่อการร้ายแฝงอยู่ แต่การปฏิบัติหากไม่เคารพความเป็นพระ ก็ควรเคารพ “ความเป็นมนุษย์” และ “ผ้ากาสาวพัตร์” มากกว่านี้ โดยที่ผู้เขียนได้ลงพื้นที่ทำวิจัยเกี่ยวกับการชุมนุมของพระสงฆ์กลุ่มดังกล่าว ได้ทราบข้อมูลบางด้านจากปากของพระสงฆ์เอง จึงอยากนำเสนอสู่ผู้อ่านเพื่อให้พิจารณาความจริงอีกด้านของกลุ่มพระสงฆ์ที่นายสุเทพพิพากษาว่าเป็นเพียง “คนห่มเหลือง” เหตุผลที่คล้ายกันคือ พระในชนบทจะผูกพันกับชาวบ้าน โดยปกติจะมีกิจกรรมหลายอย่างที่กระทำร่วมกัน เช่น งานบุญประเพณี การพัฒนาวัด พัฒนาชุมชน การมีส่วนร่วมปรึกษาหารือปัญหาต่างๆ ของชุมชน ในช่วงกว่าสี่ปีมานี้ปัญหาการแบ่งฝ่ายทางการเมืองไม่ได้มีการสนทนาถกเถียงกันเฉพาะในหมู่บ้านเท่านั้น แต่มีการไปพูดคุยกันในวัด หรือปรับทุกข์กับพระสงฆ์ และพระสงฆ์เองก็ซึมซับปัญหาต่างๆ ที่ชาวบ้านเขารู้สึกกัน เช่น ความไม่เป็นธรรม สองมาตรฐาน ความเหลื่อมล้ำ การสูญเสียสิทธิทางการเมืองที่เลือกรัฐบาลที่เขาชอบนโยบายแล้วต้องถูกล้มไปด้วยวิธีรัฐประหาร ฯลฯ ฉะนั้น เมื่อเห็นชาวบ้านเดินทางมาเผชิญความยากลำบาก เสี่ยงชีวิตเพื่อทวงความเป็นธรรม และสิทธิอำนาจของตนเอง พระท่านจึงตัดสินใจเดินทางมากับชาวบ้าน โดยเชื่อว่าการมาของท่านจะช่วยเป็นขวัญกำลังใจให้กับชาวบ้าน แต่เมื่อมาถึงสะพานผ่านฟ้า สนามหลวง ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2553 มีพระมาจากที่ต่างๆ กว่า 2,000 รูป จึงมีการจัดเต้นท์ให้พระสงฆ์ส่วนใหญ่รวมตัวกันอยู่ที่สนามหลวง มีบางส่วนอยู่เต้นท์ทางด้านประตูผี และมีการประชุมจัดตั้งกลุ่มของพระสงฆ์เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มอาสาพัฒนาสันติวิธี และกลุ่มสังฆสามัคคี มีพระระดับผู้บริหารของมหาวิทยาลัยสงฆ์บางรูป และอาจารย์มหาวิทยาลัยสงฆ์ที่เป็นฆราวาสบางคน มาคอยประสาน ดูแลให้การชุมนุมของพระสงฆ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยข้อตกลงของพระสงฆ์ที่มาร่วมชุมนุมที่สำคัญมี 3 ประการ คือ 1. ต้องการให้สติแก่ทั้งฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มผู้ชุมนุม 2. เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายมีจิตเมตตาต่อกันในฐานะเป็นคนไทยด้วยกัน 3. เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน มีการแสดงออกตามข้อตกลงดังกล่าว เช่น การขึ้นแถลงการณ์บนเวที ไปบิณฑบาตไม่ให้ฝ่ายรัฐบาลใช้ความรุนแรงที่กรมทหารราบที่ 11 ที่แยกราชประสงค์ ที่สี่แยกคอกวัว (ก่อนสลายการชุมนุมวันที่ 10 เมษายน) เมื่อเกิดเหตุปะทะคืนวันที่ 10 เมษายนมีการนำศพไปที่ด้านหลังเวทีให้พระสวดขณะที่เสียงปืนยังดังอยู่ และในเหตุการณ์คับขันที่ผู้ชุมนุมแตกตื่นบางครั้งพระสงฆ์ต้องขึ้นไปสวดมนต์บนเวทีเพื่อเรียกสติกลับคืน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ในการเคลื่อนไหวไปตามจุดต่างๆ ของกลุ่มผู้ชุมนุม บางครั้งเราได้เห็นภาพของพระสงฆ์บางรูปที่แสดงออกอย่างไม่สำรวม เช่น นั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ถือตีนตบ ถือเสาธง ฯลฯ แต่นั่นไม่ใช่การแสดงออกตามมติของกลุ่มพระสงฆ์ส่วนใหญ่ (เปรียบเทียบกับสันติอโศก จะเห็นว่าสมณสันติอโศกจะกำกับดูแลให้อยู่ในระเบียบได้ง่ายกว่า เพราะมาจากสำนักเดียวกัน) ปัญหาว่า พระสงฆ์มาร่วมชุมนุมขัดต่อพระธรรมวินัย และคำสั่งมหาเถรสมาคมหรือไม่? เป็นเรื่องที่ถกเถียงได้ หรือเป็นเรื่องที่องค์กรที่รับผิดชอบจะพิจารณา แต่สำหรับพระสงฆ์ที่มาชุมนุมท่านมองว่า ที่ออกมาชุมนุมไม่ใช่เพื่อผลทางการเมืองที่จะเป็นประโยชน์แก่ตัวบุคคลหรือพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งโดยเฉพาะ แต่มาชุมนุมเพราะเห็นว่าเป็นปัญหาของบ้านเมือง ชาวบ้านที่เป็นคนชั้นล่างเดือดร้อน ไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกเหยียดหยามว่าโง่ เป็นม็อบรับจ้าง ไม่มีอุดมการณ์ ฯลฯ ท่านจึงเห็นว่าการมาชุมนุมของท่านจะช่วยเป็นขวัญกำลังใจให้คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผู้เสียเปรียบ ให้รัฐบาลและสังคมเห็นว่า ปัญหาความแตกแยกของบ้านเมืองจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขด้วยสันติวิธี คือการปฏิบัติตาม “ครรลอง” ของระบอบประชาธิปไตย แต่ในที่สุดความรุนแรงและสงครามกลางเมืองก็เกิดขึ้น ข้อตกลง 3 ประการ ของพระสงฆ์ที่ออกมาชุมนุมไม่บรรลุผล ทว่าภาพของ “พระสงฆ์ที่ถูกจับมัดมือไพล่หลัง” และคำพิพากษาที่ว่าท่านเหล่านั้นเป็นเพียง “คนห่มเหลือง” ยิ่งสะท้อนทัศนะของฝ่ายผู้กุมอำนาจรัฐที่มองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่า ปัญหาความแตกแยกทางความคิดไม่เพียงแต่สนทนาถกเถียงกันในหมู่บ้านเท่านั้น แต่ถูกนำไปสนทนาถกเถียง ปรับทุกข์ในวัดจำนวนมากในภาคเหนือและอิสาน “ม็อบพระ” ที่เราเห็นผ่านสื่ออาจไม่น่าเลื่อมใสในสายตาของคนชั้นกลางในเมือง แต่สำหรับคนเสื้อแดง พระเหล่านั้นคือพระร่วมสุขร่วมทุกข์ที่พวกเขานับถือ ภาพของพระที่เดินไปมาในที่ชุมนุมของคนเสื้อแดงไม่ต่างอะไรกับพระที่เดินไปมาในงานวัดทางภาคเหนือ ภาคอิสาน กลมกลืนและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชาวบ้าน พวกเขานับถือพระเหล่านั้น ทำบุญกับพระเหล่านั้น ผูกพัน ดูแลเอาใจใส่เหมือนเมื่ออยู่บ้านที่จากมา บางทีเราไม่อาจตัดสินปรากฏการณ์ทางสังคมการเมืองด้วยทัศนะที่ยึดถูก-ผิด ขาว-ดำได้ การจะสร้างความปรองดองเราจำเป็นต้องมองความจริงหลายแง่มุม พระหนึ่งรูปถูกจับกุมราวผู้ก่อการร้าย ทำให้ชาวบ้านอีกเท่าไรที่เจ็บปวด พระคุณเจ้าระดับผู้บริหารของมหาวิทยาลัยสงฆ์ท่านหนึ่งเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า กว่าร้อยละ 90 ของพระนิสิตมหาวิทยาลัยสงฆ์ “มีใจ” ให้กับคนเสื้อแดง เนื่องจากท่านเหล่านั้นมีพื้นเพเดิมมาจากครอบครัวคนชั้นกลางระดับล่างและคนรากหญ้าเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้น ไม่ว่าใครจะเรียกท่านเหล่านั้นว่าเป็น “พระสงฆ์” หรือ “คนห่มเหลือง” ก็ตาม แต่ท่านเหล่านั้นคือพลเมืองของ “รัฐประชาธิปไตย” แสดงออกถึง “ความเป็นมนุษย์” ที่รู้สึกผูกพัน เห็นอกเห็นใจชาวบ้านที่มีปัญหา ยอมเสียสละมาลำบากร่วมทุกข์ร่วมสุขและเสี่ยงตายกับชาวบ้าน หากไม่เห็นด้วยกับการออกมาชุมนุมของท่านเหล่านั้น ก็ควรเปิดใจรับฟังความเห็นของท่านบ้าง ไม่ควรด่วนตัดสินอย่างหมิ่นแคลน เพราะนอกจากจะทำให้การปรองดองเป็นไปไม่ได้แล้ว ความแตกแยกยิ่งจะขยายกว้าง และร้าวลึกถึงจิตวิญญาณ! สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
“สมยศ” เผยร่างหนังสือระหว่างถูกคุมตัวอยู่ค่ายทหาร เตรียมไว้ฝากเพื่อนนักสิทธิฯ ยื่นให้ กสม. Posted: 02 Jun 2010 09:18 PM PDT ลูกชายพร้อมด้วยอดีตเพื่อนร่วมงานเข้าเยี่ยม “สมยศ” บก.นิตยสาร Voice of Taksin ที่ศายอดิศร หลังถูกคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เจ้าตัวฝากติดต่อถึงนักสิทธิมนุษยชน ให้มาพบ หวังเป็นตัวเชื่อมยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ เผยหวั่นถูกโยงกลุ่มคนชุดดำ <!--break--> วานนี้ (2 มิ.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น.ลูกชายพร้อมด้วยอดีตเพื่อนร่วมงานของ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และบรรณาธิการ นิตยสาร Voice of Taksin ได้เดินทางไปที่ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จ.สระบุรี เพื่อเข้าเยี่ยมนายสมยศซึ่งถูกควบคุมตัวไว้ที่นั่น ตั้งแต่ เมื่อวันที่ 24 พ.ค.หลังจากไปมอบตัวกับตำรวจ ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) พร้อมกับนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ 8 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในความผิดตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) มาตรา 11 (1) ซึ่งล่าสุดนายสุธาชัยได้รับการปล่อยตัวแล้วเมื่อวันที่ 31 พ.ค.ที่ผ่านมา นางสาวเยาวภา ดอนเส อดีตลูกจ้างโรงงานที่เคลื่อนไหวเรื่องการถูกเลิกจ้างกล่าวให้สัมภาษณ์ภายหลังการเข้าเยี่ยมว่า นายสมยศยังคงแข็งแรงดี แม้จะมีสีผิวคล้ำและซูบผอมลงไปบ้าง และจากการพูดคุยนายสมยศได้ฝากติดต่อไปยังนายไพโรจน์ พลเพชร เลขาธิการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) และศราวุฒิ ประทุมราช นักสิทธิมนุษยชนให้มาพบ เพราะต้องการยื่นหนังสือผ่าน สสส.เพื่อส่งต่อไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติภายในสัปดาห์นี้ โดยล่าสุดในช่วงบ่ายของวันก็ได้ติดต่อพูดคุยกับนายไพโรจน์ และศราวุฒิ ซึ่งทั้งสองตอบรับที่จะเข้าเยี่ยมนายสมยศในช่วงเช้าวันนี้ (3 มิ.ย.) ส่วนเนื้อหาของหนังสือ นางสาวเยาวภากล่าวว่านายสมยศไม่ได้พูดถึงรายละเอียดเนื้อหาที่ร่างไว้ แต่เมื่อตั้งคำถามว่าทางทหารอนุญาติให้เขียนหนังสือด้วยหรือ นายสมยศตอบว่าได้เขียนเอาไว้บนกระดาษทิชชู่ นางสาวเยาวภา กล่าวด้วยว่า นอกจากการไถ่ถามทุกข์สุข ยังได้เล่าให้นายสมยศฟังถึงกิจกรรมรณรงค์ของกลุ่มแรงงานเพื่อให้มีการปล่อยตัวเขา ซึ่งนายสมยศก็ได้ฝากถึงการร่วมกันรณรงค์เร่งให้ยกเลิกการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยเร็ว เพื่อให้คนที่ถูกควบคุมตัวโดยอาศัยข้อกล่าวหาตามกฎหมายดังกล่าว ทั้งตัวเขาและคนอื่นๆ อีกจำนวนมากได้รับอิสระ นางสาวเยาวภาเล่าอีกว่า นายสมยศได้กล่าวแสดงความกังวลต่อการควบคุมตัวว่า อาจมีการต่อเวลาในการควบคุมตัวไปเรื่อยๆ อีกทั้งหนึ่งวันก่อนหน้านี้ทางเจ้าหน้าที่กองปราบได้เข้ามอบสอบปากคำที่ค่าย ซึ่งทำให้รู้สึกได้ว่าถูกพยายามนำไปโยงกับกลุ่มคนชุดดำ ทั้งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนดังกล่าวเลย สำหรับบรรยากาศในการเข้าเยี่ยมนายสมยศ นางสาวเยาวภากล่าวว่าแม้จะมีเจ้าหน้าที่ทหารสังเกตการณ์การพูดคุยราว 4-5 นาย โดยส่วนหนึ่งพกพาอาวุธประจำกาย และมีเจ้าหน้าที่คอยจดบันทึกข้อมูลที่รวมทั้งถ่ายภาพขณะพูดคุยกันเอาไว้ แต่บรรยากาศก็เป็นไปด้วยดี ไม่มีความตึงเครียด นอกจากนี้ จากการได้มีการพูดคุยกับทหารทำให้ทราบว่าค่ายอดิศรขณะนี้มีเพียงนายสมยศคนเดียวที่ถูกควบคุมตัวไว้ที่นี่ โดยไม่มีผู้ถูกควบคุมตัวจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คนอื่นๆ อยู่เลย หลังจากที่นายสุธาชัยได้รับการปล่อยตัวไป ทั้งนี้ ก่อนหน้าถูกควบคุมตัว นายสมยศถือเป็นแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) รุ่น 2 โดยเมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้ร่วมกับนายสุธาชัย แถลงเรียกร้องรัฐบาลและ ศอฉ.ให้รับผิดชอบต่อการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงซึ่งทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ที่บริเวณด้านหน้าอาคารมูลนิธิ 111 พรรคไทยรักไทย พร้อมก่อตั้งขบวนการการต่อสู้รอบใหม่หรือเสื้อแดงภาค 2 ในชื่อ "สมัชชาประชาธิปไตย" เพื่อสานต่อภารกิจสร้างประชาธิปไตยและสร้างความเป็นธรรมในสังคมของคนเสื้อแดง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
“ใส่ร้าย-สวมรอย” ภัยรูปแบบใหม่จากโลกไซเบอร์ Posted: 02 Jun 2010 06:13 PM PDT นักวิชาการแนะตั้งพาสเวิรด์ด้วยตัวอักษรผสมตัวเลขและสัญลักษณ์อย่างน้อย 8 ตัว พร้อมล็อกเอาท์ทุกครั้งที่ใช้คอมพิวเตอร์-บริการเว็บไซต์ ป้องกันถูกล้วงข้อมูล หรือสวมรอยกระทำความผิด <!--break--> ทุกวันนี้ “อาชญากรรม” ในโลกอินเทอร์เนต ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การจารกรรมข้อมูลเพื่อทำลายข้อมูล สร้างความเสียหายต่อองค์กร หรือการทำธุรกรรมทางการเงินแทนเจ้าของเงินตัวจริงเท่านั้น แต่ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อกระทำการใส่ร้ายบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหายอย่างคาดไม่ถึง ดังเช่นกรณีของ น้องไอซ์ หรือ นางสาวกมลชนก ยิ้มพิมพ์ใจ ที่ได้เข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และยื่นเรื่องร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางว่า ถูกขโมยข้อมูลภาพ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ ไปใช้ประกอบกับข้อความที่ถูกตัดต่อในลักษณะของการหมิ่นสถาบัน พร้อมทั้งนำไปโพสต์ในเว็บไซต์ต่างๆ จนได้รับความเสียหาย รศ.ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. ได้ออกมาให้ความรู้เรื่องการจารกรรมข้อมูลว่า การถูกจารกรรมข้อมูลในรูปแบบนี้มีสองประเด็นหลักๆ หนึ่งคือ การเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย เช่น แฮกเกอร์ (hacker) หรือ นักเจาะระบบข้อมูล เป็นผู้ที่ใช้ความเชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ในการพยายามหาวิธีการ ลักลอบเข้าสู่ระบบ เพื่อล้วงความลับ แอบดูข้อมูลข่าวสาร หรือการพยายามล็อกอินในชื่อบัญชีของบุคคลใด บุคคลหนึ่ง เพื่อปลอมแปลงเป็นบุคคลนั้นในการกระทำความเสียหาย ซึ่งถึงแม้จะเป็นไปได้แต่กรณีนี้จะทำได้ยากมาก หากไม่ใช่ผู้ที่มีความรู้จริงๆ อีกทั้งเว็บไซต์ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้ เช่น ฮอทเมล จีเมล เฟซบุ๊ค หรือทวิตเตอร์ นั้นมักจะมีการวางระบบความปลอดภัยไว้เป็นอย่างดี แต่การสังเกตุโดยผู้ใช้ก็จะช่วยให้ตัวเองมีความปลอดภัยมากขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น เว็บไซต์ที่ดีจะมีการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อเพิ่มความปลอดภัย เวลาล็อกอินหรือส่งข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งสังเกตุได้จาก url จะมีคำว่า https อยู่ (ถ้าเป็นหน้าปกติก็จะเป็น http ซึ่งหากมีการส่งข้อมูลสำคัญผ่าน http ธรรมดาอาจจะโดน โปรแกรมพวก HTTP Sniffer ดักจับและขโมยข้อมูลสำคัญได้) ดังนั้น จึงต้องระวังการเข้าเว็บที่ไม่น่าไว้ใจเพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัวมากขึ้น ส่วนที่สอง คือ การนำข้อมูลที่ผู้ใช้เปิดเผยไว้ไปใช้ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะมีความผิดในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่แล้ว เช่น นำภาพหรือข้อความไปใช้โดยที่เจ้าของไม่ยินยอม แต่ปัจจุบันเริ่มมีการกระทำผิดรูปแบบใหม่ ด้วยการนำข้อมูลส่วนตัว ภาพ หรือข้อความที่เราไปโพสต์ไว้ในเว็บไซต์ต่างๆ ไปตัดต่อและอ้างอิงให้เกิดความเสียหาย หรือแม้แต่ถึงขั้นนำภาพ และข้อมูลส่วนตัวของเราไปสมัครใช้บริการของเว็บต่างๆ เพื่อปลอมแปลงเป็นตัวเรา แล้วเข้าไปใช้บริการของเว็บไซท์ในการทำความเสียหาย เช่น ไปโพสต์ข้อความหมิ่นประมาท หรือเข้าดูเว็บอนาจาร ซึ่งการกระทำความผิดในกรณีนี้ป้องกันได้ยากมาก เพราะเราไม่ทราบว่าจะมีใครเอาข้อมูล หรือภาพที่เราเปิดเผยไว้ ไปใช้ต่ออย่างไร ขณะที่การตรวจสอบเพื่ออ้างอิงตัวก็จะต้องมีความซับซ้อนและถี่ถ้วนมาก เพราะไม่แน่ว่าผู้กระทำผิดบางคนอาจจะทำแล้วอ้างว่าไม่ใช่ตัวเองก็เป็นได้ จึงต้องมีการตรวจสอบทั้ง IP Address เวลาโพสต์ สถานที่โพสต์ ด้วยเหตุนี้หากมีการตรวจสอบพบว่าโดนปลอมแปลง หรือแอบอ้างใช้ข้อมูลไปโพสต์ในเว็บไซต์ต่างๆ จะต้องรีบแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ในทันที เพื่อให้มีการติดตามผู้กระทำผิดได้ และในเบื้องต้นให้แจ้งเว็บมาสเตอร์ของเว็บที่เราพบให้ลบชื่อบัญชี หรือข้อความที่ถูกโพสต์ออกอย่างรวดเร็ว ตอนนี้ในด้านเทคนิคการป้องกันความปลอดภัยนั้น เว็บไซต์ต่างๆ จะนิยมป้องกันด้วยเลขบัญชี คือชื่อ login กับ password ดังนั้น ถ้าเรามีการตั้ง password ที่ดี คือ มีอักษรอย่างน้อย 8 ตัว ที่ประกอบด้วย ตัวเลข ตัวอักษร และหากมีการผสมสัญลักษณ์อื่นๆ เช่น !@# จะยิ่งมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยบางคนอาจจะใช้เทคนิคใช้คำภาษาไทย แต่เวลากดแป้นพิมพ์กำหนดเป็นภาษาอังกฤษ ก็จะได้รหัสที่มีความหลากหลาย เช่น สวัสดีครับ เมื่อพิมพ์จะได้ตัวอักษรผสมตัวเลขและสัญลักษณ์ดังนี้ l;ylfu8iy[ เป็นต้น ทั้งนี้ควรเป็นคำที่ไม่ใช่ชื่อ นามสกุล เพราะจะง่ายต่อการคาดเดา ซึ่งการตั้งรหัสผ่านที่รัดกุมในด้านเทคนิคถือได้ว่าข้างหลังบ้านก็จะมีความปลอดภัยระดับหนึ่ง แต่ส่วนที่เป็นข้อมูลด้านหน้าบ้าน ยกตัวอย่างเช่น หลายครั้งที่พบในเฟซบุ๊ค ไฮไฟว์ มักจะเห็นผู้เล่นให้ข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ทั้งชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ สถานที่ทำงาน ซึ่งตรงนี้จะต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะข้อมูลเหล่านี้ไม่เพียงถูกนำไปปลอมแปลงได้แล้ว ข้อมูลบางส่วนยังเป็นข้อมูลพื้นฐานในการตอบคำถามการทำธุรกรรมทางการเงิน ที่อาจมีผู้ไม่หวังดีนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้อีกด้วย "นอกจากนี้ข้อควรระวังที่ไม่ควรประมาทคือ การตั้ง login ถาวร โดยเฉพาะในกลุ่มบุคคลที่มีคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คส่วนตัว หรือใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับผู้อื่น ที่ไม่อยากเสียเวลาในการเข้ารหัสผ่านทุกครั้ง ทำให้เวลาที่โน้ตบุ๊คหาย หรือการลืม logout ออกจากระบบเมื่อเลิกใช้ ก็จะถูกขโมยข้อมูลได้ง่ายเพราะการ login ถาวรจะทำให้ระบบจดจำ password ไว้แม้จะปิดเครื่องและเปิดใหม่แล้วก็ตาม ทางที่ปลอดภัยคือการกด logout ทุกครั้งที่เสร็จภารกิจกับเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่มาใช้ต่อสวมรอยกระทำความผิดได้” รศ.ดร.บุญญฤทธิ์ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ดีด้วยโลกแห่งการสื่อสารยุคใหม่ ที่ทำได้ง่าย รวดเร็ว ส่งผลให้ข้อมูล ข่าวสาร ที่ได้รับผ่านการตรวจสอบความถูกต้องได้น้อยลง จึงอยากฝากถึงประชาชนที่ใช้บริการเว็บไซต์ต่างๆ ให้มีความระมัดระวังในการรับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น ฟังหูไว้หู อย่าเชื่อทั้งหมด 100% ในทันที แต่ควรมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ด้วยการเปรียบเทียบกับข้อมูลจากองค์กร หรือสถาบันที่น่าเชื่อถือ รวมถึงสำนักพิมพ์ เว็บไซต์ต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับ ขณะเดียวกันประชาชนเองก็ต้องระมัดระวังการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนให้มากขึ้นเพื่อความปลอดภัยของตนเองด้วย
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยกคำร้อง DSI ขอหมายจับ 20 นปช.ก่อการร้าย เดินหน้าต่อขอหมายขัง “จตุพร-วิเชียร-การุณ” Posted: 02 Jun 2010 05:16 PM PDT ศาลอาญายกคำร้อง DSI ขอหมายจับ นปช. 20 คน ก่อการร้ายชุด 3 ชี้ 7 คน แจ้งข้อหาเพิ่มได้ แต่การ์ด 12 คน หลักฐานยังไม่พอ DSI เตรียมเดินหน้าขอศาลออกหมายขัง “จตุพร-วิเชียร-การุณ” ส่วน “วีระ-หมอเหวง-ก่อแก้ว” ศาลให้ควบคุมตัวต่ออีก 7 วัน <!--break--> ศาลยกคำร้องหมายจับก่อการร้าย นปช. 20 คน ที่ห้องพิจารณา 912 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก วันที่ 2 มิ.ย.53 เวลา 14.00 น. ศาลไต่สวนคำร้องที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ยื่นคำร้องขออนุมัติหมายจับ 19 แนวร่วม นปช.ข้อหาก่อการร้าย โดยพ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีดีเอสไอ เบิกความว่า เหตุที่ต้องขออนุมัติหมายจับทั้ง 20 ราย (รวมนายการุณ โหสกุล) เนื่องจากเกี่ยวข้องความไม่สงบและมีพฤติการณ์ร่วมกันก่อการร้าย โดยแบ่งหน้าที่กันทำ ที่เป็นทั้งตัวการ และบางส่วนเป็นผู้สนับสนุน ด้านนายธานินทร์ เปรมปรีด์ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ เบิกความว่า ก่อนหน้านี้ดีเอสไอ ได้ขอออกหมายจับผู้ต้องหามาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรก แกนนำ นปช.รวม 9 คน ส่วนครั้งที่ 2 ขออนุมัติออกหมายเพิ่มอีก 10 คนโดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย ซึ่งศาลอาญาได้ไต่สวนเพิ่มเติมกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ก่อนอนุญาตออกหมายจับ ขณะที่ ดีเอสไอได้รวบรวมเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมแล้วเห็นว่าผู้ต้องหาทั้ง 20 รายที่ขออนุมัติหมายจับครั้งนี้เข้าร่วมการก่อการร้าย ที่มีการแบ่งหน้าที่เป็น 3 ส่วน 1.คือกลุ่มแกนนำ นปช. 2.กลุ่มนักการเมืองที่ให้ ส.ส.ในพื้นที่พูดปลุกระดมชาวบ้านในพื้นที่มาร่วมชุมนุม และ 3.กลุ่มกองกำลัง การขออนุมัติหมายจับครั้งนี้ ผู้ต้องหา 5 ลำดับแรกเป็นแกนนำ นปช.ที่ขึ้นปราศรัยบนเวทีปลุกระดมให้ ประชาชนล้มล้างรัฐบาล ส่วนลำดับที่ 6 เป็นพิธีกรบนเวทีแยกราชประสงค์และเวทีสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ส่วนลำดับที่ 7-20 เป็นกลุ่มการ์ดของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง และกองกำลังไม่ทราบฝ่าย ซึ่งเชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และทหารพรานที่ปลดประจำการเข้ามาเป็นกองกำลังก่อการร้าย นอกจากนี้ดีเอสไอ ยังมีคำให้การของนายเมธี อมรวุฒิกุล ที่กันไว้เป็นพยาน และ พล.ท.ศิริชัย ดิษฐกุล และเอกสารที่บันทึกการยึดอาวุธได้จากที่ชุมนุมแยกราชประสงค์ โดยการขอหมายจับนี้ พนักงานสอบสวนขอแก้ไขคำร้องในส่วนของนายการุณ โหสกุล ส.ส.พรรคเพื่อไทย เนื่อจากนายการุณ ได้เข้ามอบตัวต่อดีเอสไอไปแล้วเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา เมื่อเวลา 16.45 น.ศาลมีคำสั่งยกคำร้องออกหมายจับของ ดีเอสไอ เนื่องจากผู้ที่ถูกออกหมายจับลำดับที่ 1, 3, 5, 6, 12, 17และ19 เป็นผู้ถูกออกหมายจับ ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินอยู่แล้ว ซึ่ง ดีเอสไอ สามารถแจ้งข้อหาเพิ่มเติมได้ ส่วนนายการุณ โหสกุล ผู้ถูกขอออกหมายจับ ลำดับที่ 2 ได้เข้ามอบตัว เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาจากดีเอสไอ เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.แล้ว ส่วนผู้ถูกขออกหมายจับ ลำดับที่ 4, 7-11, 13-16, 18และ20 นั้นศาลเห็นว่าพยานหลักฐานในชั้นนี้ยังไม่เพียงพอ จึงยกคำร้องดังกล่าว สำหรับรายชื่อผู้ที่ถูกขอออกหมายจับครั้งนี้ ประกอบด้วย 1.นายก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำ นปช. 2.นายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย 3.นายนิสิต สินธุไพร แกนนำ นปปช. 4.นายชินวัฒน์ หาบุญพาด แกนนำ นปช. 5.นางศิริวรรณ นิมิตรศิลปะ แกนนำ นปช. 6.นายพิเชษฐ์ หรือ ภูมิกิตติ สุขจินดาทอง ซึ่งเป็นพิธีกรบนปราศรัยการชุมนุมเวทีราชประสงค์ และสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ส่วน 7.นายเจ็มส์ สิงห์สิทธิ์ 8.นายอรรณพ หรือหนุ่ม แซ่ตัน 9.นายจักรชลัช หรือพล คงสุวรรณ 10.นายศักดา หรือนัทสนามหลวง แก้วผูกนาค 11.นายยงยุทธ หรือบัง ท้วมมี 12.นายจรัญ หรือยักษ์ ลอยพูล 13.นาย มงคล สารพันธ์ 14.นายสมบัติ หรือผู้กองแดง มากทอง 15.นายอร่าม แสงอรุณ 16.ว่าที่ ร.ต.สุรภัศ หรือมดเอ็กซ์ จันทิมา 17.นายอำนาจ อินทโชติ 18.นายอัครพล หรือไจแอนท์ ขันทกาญจน์ 19.นายสมพงษ์ หรือป้อม บัวชม และ 20.นายมานพ ชาญช่างทอง เป็นกลุ่มการ์ด นปช. ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
คุมตัว "วีระ-เหวง-ก่อแก้ว" ต่ออีก 7 วัน เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 2 มิถุนายน ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยพนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาควบคุมตัวนายวีระ มุสิกพงศ์ นพ.เหวง โตจิราการ และนายก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นครั้งที่ 2 อีก 7 วัน จนถึงวันที่ 9 มิ.ย.นี้ เนื่องจากยังต้องสืบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน ดำเนินการทั้งหลาย เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง และเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรง ต้องรอผลการตรวจสอบต่างๆ ด้วย ทั้งนี้ ศาลได้สอบถามผู้ถูกควบคุมตัวทั้ง 3 ผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ ไปยังสถานที่ควบคุมตัว กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ค่ายนเรศวร อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี แล้วไม่คัดค้าน จึงอนุญาตขยายเวลาควบคุมตัวทั้ง 3 ได้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายขวัญชัย ไพรพนา นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก และนายนิสิต สินธุไพร 5 แกนนำ นปช.ที่เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 พ.ค.นั้น พนักงานสอบสวนกองปราบ ได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาควบคุมตัวต่อครั้ง ที่ 2 ไปเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.จนถึงวันที่ 8 มิ.ย.นี้ ที่มา: มติชนออนไลน์
DSI ขอศาลออกหมายขัง "จตุพร-การุณ-วิเชียร" เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 2 มิ.ย.2553 นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีก่อการร้าย เรียกประชุมพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ที่เกิดขึ้นในช่วงของการชุมนุมของคนเสื้อแดง เพื่อเร่งรัดติดตามความคืบหน้าการสอบสวน พร้อมหารือแนวทางในการดำเนินคดีกับนายจตุพร พรหมพันธุ์ นายวิเชียร ขาวขำ และนายการุณ โหสกุล ส.ส.พรรคเพื่อไทย ผู้ถูกกล่าวหาในคดีก่อการร้ายตามหมายจับของดีเอสไอ หลังจากมีพระบรมราชโองการปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญในวันพฤหัสบดีที่ 3 มิ.ย.ทำให้ ส.ส.พรรคเพื่อไทยทั้ง 3 คน หมดเอกสิทธิคุ้มครองในการดำเนินคดี ได้ข้อสรุปว่า ดีเอสไอจะขอศาลอาญาออกหมายขัง นายธาริตกล่าวหลังการประชุมว่า เรื่องขอออกหมายจับคดีก่อการร้ายกับกลุ่ม นปช.ชุดที่ 3 จำนวน 20 คน ล่าสุดศาลอาญาไต่สวนเสร็จแล้ว พร้อมนัดฟังคำสั่งเวลา 16.00 น. ตนยังได้เน้นย้ำเรื่องการคุ้มครองพยาน หากประชาชนมีเบาะแส คลิป ภาพถ่ายขอให้ส่งมาให้ดีเอสไอ ยืนยันจะให้ความปลอดภัย 24 ชั่วโมง พร้อมจัดสถานที่ดูแลให้ และจะมีมาตรการคุ้มครอง ส่วนกรณี นายจตุพร นายวิเชียร และ นายการุณ 3 ส.ส.พรรคเพื่อไทยนั้น นายธาริต กล่าวว่า วันพฤหัสบดีนี้ จะปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ทั้ง 3 คน หมดเอกสิทธิคุ้มครอง ดีเอสไอจะปฏิบัติกับทั้ง 3 คน เหมือนกับผู้ถูกกล่าวหาคดีก่อการร้ายทั้ง 39 คน แต่ไม่มีความจำเป็นต้องขอออกหมายจับแล้วเนื่องจากทั้ง 3 คน เข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ เหลือเพียงการดำเนินการให้ได้ตัวมาควบคุม ดังนั้น ในวันพฤหัสบดีนี้ ดีเอสไอจะมีหนังสือแจ้งไปยังทั้ง 3 คนให้ไปพบพนักงานสอบสวนคดีพิเศษที่ศาลอาญา ในวันอังคารที่ 7 มิ.ย.เวลา 09.30 น.เพื่อขอศาลออกหมายขัง พร้อมขออำนาจศาลฝากขังผู้ต้องหา โดยคัดค้านการประกันตัวตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ส่วนศาลจะมีดุลพินิจอย่างไร ก็แล้วแต่ศาล ก็ให้เวลาผู้ต้องหา 5 วัน ในการเตรียมหลักทรัพย์ในการยื่นขอประกันตัว ส่วนมาตรการป้องกัน ห้ามผู้ต้องหาเดินทางออกนอกประเทศ เป็นอำนาจของ ศอฉ.คงจะมีการหารือกันในที่ประชุม ศอฉ.การดำเนินการทุกอย่างจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สบท. ยันค่าโทรเมืองไทยยังถูกลงได้อีก Posted: 02 Jun 2010 04:41 PM PDT ผอ.สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมยันค่าโทรเมืองไทยยังถูกลงได้อีก แม้ กทช.กำหนดค่าโทรใน/นอกเครือข่ายเท่ากัน เหตุปัจจุบันค่าไอซีไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค เปรียบซื้อตั๋วเที่ยวเดียวแต่จ่ายแพงกว่าซื้อตั๋วไป-กลับ 4เท่า ชี้ ค่าโทรอัตราเดียวจะดีต่อผู้บริโภค ต้องลดค่าไอซีด้วย <!--break--> จากกระแสความวิตกกังวลของผู้บริโภคที่เกรงว่าค่าบริการโทรศัพท์จะแพงขึ้น เพราะการกำหนดให้อัตราค่าบริการโทรใน/นอกเครือข่ายคิดอัตราเดียวนั้น นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยว่า สาเหตุสำคัญมาจากอัตราค่าเชื่อมต่อข้ามโครงข่าย หรือค่าไอซี ที่สูงเกินจริง ดังนั้นทางออกของเรื่องอยู่ที่การต้องลดราค่าไอซีลง เพราะหากอัตราค่าไอซียังคงเดิม เมื่อมีการปรับกติกาให้คิดอัตราค่าบริการโทรใน/นอกเครือข่ายเป็นอัตราเดียว การกำหนดราคาค่าโทรภายในเครือข่ายต่ำๆ ก็จะทำไม่ได้อีกต่อไป แต่ต้องเป็นการกำหนดอัตราค่าโทรแบบเฉลี่ยระหว่างการโทรข้ามเครือข่ายกับภายในเครือข่าย การกำกับดูแลให้ค่าเชื่อมต่อโครงข่ายลดต่ำลงจนใกล้เคียงต้นทุนจริงจึงเป็นคำตอบที่สำคัญ ที่จะทำให้ต้นทุนค่าบริการโทรใน/นอกเครือข่ายมีความแตกต่างกันน้อยลง ค่าบริการโดยรวมก็จะไม่สูงขึ้น หรืออาจต่ำลง หากเป็นเช่นนั้นผู้บริโภคจะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง คำตอบจึงอยู่ที่การกำกับดูแลให้อัตราค่าเชื่อมต่อข้ามโครงข่ายลดต่ำลง “ถ้าไม่อยากให้ค่าบริการสูงขึ้น ต้องลดค่า ไอซี ยกตัวอย่างง่ายๆ ตอนนี้ ค่าไอซีระหว่าง 3 เครือข่าย เอไอเอส ดีแทค และทรู อยู่ที่นาทีละ หนึ่งบาท แต่ถ้าคุณและผมใช้เครือข่ายเดียวกัน เสียค่าโทรต่ำสุดแค่นาทีละ 25 สตางค์ได้ ทั้งที่การโทรภายในเครือข่ายเดียวกัน มีต้นทุนครบวงจรทั้งการเรียกสายและรับสาย ยังคิดค่าโทรเพียง 25 สตางค์ได้ แต่ทำไมเมื่อมีการโทรข้ามเครือข่ายและเครือข่ายปลายทางไม่มีต้นทุนค่าโทรออก มีต้นทุนแค่ส่วนรับสาย กลับคิดค่าไอซีสูงถึง 1 บาท เปรียบเทียบได้กับการซื้อตั๋วรถโดยสาร ออนเน็ตเหมือนกับตั๋วไป-กลับ คือมีทั้งส่วนโทรออกและรับสาย ค่าบริการทั้งหมดคิดสลึงเดียว ส่วนออฟเน็ตเหมือนซื้อตั๋วเที่ยวเดียว คือเครือข่ายปลายทางมีต้นทุนแค่รับสาย แต่คิดค่าไอซีบาทนึง กลายเป็นตั๋วไป-กลับคิดสลึง ตั๋วเที่ยวเดียวคิดบาทนึง นี่คือความไม่ยุติธรรม” ผอ.สบท.กล่าว นายประวิทย์กล่าวต่อไปว่า ดังนั้นหากลดค่าไอซีตามต้นทุนจริงให้เหลือราวๆ 20-50 สตางค์ ก็จะทำให้ค่าโทรข้ามเครือข่ายมีราคาต่ำกว่าหนึ่งบาทได้ อาจอยู่ที่ 50-75 สตางค์ต่อนาที ทำให้โดยรวมผู้บริโภคจะจ่ายถูกลง เพราะตอนนี้ต้องจ่ายอยู่ที่ราคา 1-1.50 บาท และค่าไอซีที่ผู้ประกอบการจ่ายกันไปมานั้นคิดกันเป็นวินาที แต่พอเก็บค่าบริการจากผู้บริโภค กลับคิดเป็นนาที เมื่อลดค่าไอซีจึงไม่มีใครขาดทุนอย่างแน่นอน สำหรับการกำหนดค่าบริการโทรใน/นอกเครือข่ายราคาเดียวนั้น ถือเป็นการทำตามกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 อีกทั้งการกำหนดอัตราค่าบริการที่แตกต่างกันระหว่างโทรใน/นอกเครือข่าย จะเป็นปัจจัยชักจูงให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการใช้เปลี่ยนไปจากธรรมชาติและผู้ประกอบการรายเล็กจะเสียเปรียบผู้ประกอบการรายใหญ่ซึ่งมีฐานลูกค้ากว้างกว่า สำหรับในเมืองไทยขณะนี้ เอไอเอส ดีแทค และทรู ทั้งหมดไม่ถือเป็นผู้ประกอบการรายเล็กแล้ว นอกจากนี้การกำหนดอัตราค่าบริการโทรใน/นอกเครือข่ายราคาเดียว จะลดปัญหาความสับสนที่เกิดจากการโอนย้ายผู้ประกอบการเมื่อมีบริการคงสิทธิเลขหมายด้วย
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลลงมติ “ชวรัตน์-โสภณ” รมต.จากภูมิใจไทย เจอ ส.ส.พรรคร่วมโหวตสวนไม่ไว้วางใจ Posted: 02 Jun 2010 04:15 PM PDT “มาร์ค-สุเทพ-กรณ์” ผลลงมติยังผ่านฉลุย ส่วน 2 รัฐมนตรีจาก “ภูมิใจไทย” โดน “ส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดิน” โหวตสวนไม่ไว้วางใจ “ชวรัตน์” 10 เสียง “โสภณ” 14 เสียง ขณะที่ส.ส.เพื่อไทย 1 คน แหวกกลุ่มหนุน “อภิสิทธิ์-สุเทพ” <!--break--> วันที่ 2 มิ.ย.53 เมื่อเวลา 10.00 น.เริ่มการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ หลังจากสภาได้เปิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล รวม 6 คน ตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค.ถึงวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานที่ประชุม ผลการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล มีดังนี้
จากนั้น นายชัยได้ปิดประชุมในเวลา 10.28 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านมี ส.ส.ทะเบียนจำนวน 189 คน แต่การลงมติครั้งนี้ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูร รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) และนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จากพรรคภูมิใจไทย ได้รับคะแนนไม่ไว้วางใจสูงถึง 194 และ 196 เสียงตามลำดับ โดยนายโสภณ ที่มีคะแนนเสียงไว้วางใจเกินกึ่งหนึ่งมาเพียง 2 เสียง ซึ่ง เป็นผลมาจากการลงมติของ ส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดิน (พผ.) ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล โดย ส.ส.ของพรรคร่วมรัฐบาลที่ลงมติไม่ไว้วางใจ นายชวรัตน์ เป็น ส.ส.ของพรรคเพื่อแผ่นดินจำนวน 10 คน ได้แก่ นายธีรทัศน์ เตียวเจริญโสภา ส.ส.สุรินทร์ นางรัชนี พลซื่อ ส.ส.ร้อยเอ็ด นายประนอม โพธิ์คำ ส.ส.นครราชสีมา นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ส.ส.นครราชสีมา นางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ ส.ส.สุรินทร์ นายวิทยา บุตรดีวงศ์ ส.ส.มุกดาหาร นายสมเกียรติ ศรลัมภ์ ส.ส.สัดส่วน นายสาธิต เทพวงศ์ศิริรัตน์ ส.ส.สุรินทร์ นายอนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ ส.ส.นครราชสีมา นพ.อลงกต มณีกาศ ส.ส.นครพนม ส่วน ส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดิน ลงมติไม่ไว้วางใจ นายโสภณถึง 14 คน ได้แก่ นายกิตติศักดิ์ รุ่งธนเกียรติ ส.ส.สุรินทร์ ม.ร.ว.กิติวัฒนา ไชยันต์ส.ส.สัดส่วน นายคงกฤช หงส์วิไล ส.ส.ปราจีนบุรี นายธีรทัศน์ เตียวเจริญโสภา ส.ส.สุรินทร์ นางรัชนี พลซื่อ ส.ส.ร้อยเอ็ด นายประนอม โพธิคำ ส.ส.นครราชสีมา นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ส.ส.นครราชสีมา นางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ ส.ส.สุรินทร์ นายอุดร ทองประเสริฐ ส.ส.อุบลราชธานี นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ส.ส.สัดส่วน นายสาธิต เทพวงศ์ศิริรัตน์ ส.ส.สุรินทร์ นายสุชาติ ตันติวาณิชชานนท์ ส.ส.อุบลราชธานี นายอนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ ส.ส.นครราชสีมา นายอลงกต มณีกาศ ส.ส.นครพนม ขณะเดียวกันมี ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่ลงมติไว้วางใจให้นายโสภณ ได้แก่ นายนิคม เชาว์กิตติโสภณ ส.ส.สัดส่วน นายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส.สกลนคร ร.ต.ปรพล อดิเรกสาร ส.ส.สระบุรี นายสมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์ ส.ส.สัดส่วน และ ส.ส.พรรคประชาราชที่ลงมติไว้วางใจ ได้แก่ นายจักรกฤษณ์ ทองศรี ส.ส.บุรีรัมย์ และนายสมชัย เจริญชัยฤทธิ์ ส.ส.นครสวรรค์ สำหรับ ส.ส.จากพรรคร่วมรัฐบาลลงมติไม่ไว้วางใจนายกษิต มีด้วยกัน 2 คน ประกอบด้วย นางจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล ส.ส.นครราชสีมา เพื่อแผ่นดิน และนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ส.ส.สัดส่วน เพื่อแผ่นดิน ขณะที่นายนิคม เชาว์กิตติโสภณ ส.ส.สัดส่วน ของพรรคเพื่อไทย เป็น ส.ส.คนเดียวของพรรคที่ลงมติให้ความไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และนายกรณ์ ในการลงมติครั้งนี้
"ชวรัตน์" อัด พผ.เสียมารยาททางการเมือง เมื่อเวลา 11.00 น.ที่รัฐสภา นายชวรัตน์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการลงมติในญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ถึงการทำงานร่วมกับพรรคเพื่อแผ่นดิน (พผ.) หลัง ส.ส.พผ. งดออกเสียง และลงมติไม่ไว้วางใจ 2 รัฐมนตรีจาก ภท.ว่า หลังจากนี้ขึ้นกับ พผ.ว่าจะอยู่ร่วมรัฐบาลต่อไปหรือไม่ แต่ ภท.คงไม่เสนอให้มีการปรับ พผ.ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล แต่สิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นการเสียมารยาททางการเมือง เพราะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน ถ้าอยู่ต่อก็ต้องทำงานร่วมกัน แต่ถ้าไม่อยู่ก็ไม่ต้องทำ ซึ่งเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผู้สื่อข่าวถามว่า ระหว่างการมีกับไม่มี พผ.ร่วมรัฐบาล อะไรจะทำให้รัฐบาลมีเอกภาพมากกว่ากัน นายชวรัตน์ กล่าวว่า ถ้าพูดถึงเรื่องจำนวนเสียง มันก็ต้องมีเสียงข้างมากถึงจะเข้มแข็งกว่า แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะวันนี้ถือว่ารัฐบาลสอบผ่านไปแล้ว โดยที่ พผ. ก็ไม่ได้โหวตให้เรา
"โสภณ"แค้นถูกดิสเครดิต-มองหน้ากับ พผ.ไม่ติด ขณะที่ นายโสภณ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีได้รับคะแนนเสียงไว้วางใจ 234 เสียง ซึ่งน้อยที่สุดในกลุ่มรัฐมนตรีที่ถูกอภิปราย ว่า การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการดิสเครดิตกัน เชื่อเป็นเกมการเมืองระหว่างพรรคภูมิใจไทยและเพื่อแผ่นดิน (พผ.) อย่างไรก็ตาม ต่อไปยังมองหน้ากันได้แต่อาจต้องใส่หน้ากากเข้าหากัน ด้านพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า การที่รัฐมนตรีในส่วนของพรรคภูมิใจไทย ได้คะแนนไว้วางใจน้อยนั้นถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นการลงมติ อย่างไรก็ตาม เห็นว่าช่วงนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมในการที่จะปรับครม.หลังการอภิปราย เพราะที่ผ่านมารัฐบาลทำงานมากว่า 1 ปีแล้ว จะต้องมีการปรับเปลี่ยนบ้าง
ให้เวลานายกฯ ตัดสินใจภายในสัปดาห์นี้ ด้านนายบุญจง วงศ์ ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า พรรคเพื่อแผ่นดินเสียมารยาทมาก ถือเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง พรรคภูมิใจไทย จึงมีมติให้นายพิจารณาในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน เพราะนายกฯเป็นผู้มีวิจารณญาณว่า ควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เมื่อถามว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะมีการแย่งชิงพื้นที่ในจ.นครราชสีมาหรือไม่ นายบุญจง กล่าวว่า ไม่เกี่ยว เพราะตอนนี้ไม่ใช้กำลังจะเลือกตั้ง ไม่จำเป็นที่จะต้องแย่งชิงพื้นที่กัน อีกทั้งในพื้นที่จ.นครราชสีมา ก็เป็นพื้นที่ของหลายพรรคการเมือง ทุกคนก็ทราบดี และยื่นยันว่าเร่องนี้ไม่ใช่ความขัดแย้งส่วนตัว นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า พรรคภูมิใจไทย มีมติให้นายกฯเลือกว่าจะเลือกพรรคภูมิใจไทย หรือพรรคเพื่อแผ่นดิน เพราะตอนนี้ ถือว่าเราไม่สามารถที่จะทำงานร่วมกันได้แล้ว ซึ่งพรรคภูมิใจไทย ให้เวลานายกฯตัดสินใจภายในสัปดาห์นี้ เมื่อถามว่า หากนายกฯ เลือกไม่ได้จะทำอย่างไร นายสุชาติ กล่าวว่า ต้องดูตอนต่อไป เมื่อถามว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากอะไร นายสุชาติ กล่าวว่า น่าจะเป็นเรื่องบประมาณ ที่เกี่ยวข้องกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
“เพื่อแผ่นดิน” ยันไม่มีมติพรรคคุม ส.ส.โหวต นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. ถึงกรณีที่จะมีการโหวตลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลใจ ว่า ทางพรรคไม่มีมติว่าจะให้ ส.ส.โหวตอย่างไร แต่ให้เป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ส. ซึ่งเชื่อว่า ส.ส.จะคำนึงถึง จริยธรรม คุณธรรม และประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก เมื่อถามถึงการโหวตให้รัฐมนตรีของทางพรรคภูมิใจไทย นายชาญชัย กล่าวว่า ต้องดูการบริหาร แต่โดยส่วนตัวแล้ว เห็นว่า ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ตำรงตำแหน่งอยู่นั้น น่าจะให้ทางพรรคประชาธิปัตย์ดูแลดีกว่า
ส.ส.กลุ่ม "ประชา พรหมนอก" เตือน รบ.โหวตหนุนเป็นแค่มารยาท นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดิน กลุ่ม พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก กล่าวว่า แม้รัฐบาลจะได้รับเสียงสนับสนุนให้อยู่บริหารประเทศต่อ แต่อยากให้ตระหนักว่า เป็นมารยาท ซึ่งตนเชื่อว่า ส.ส.ในสภา ที่ยกมือสนับสนุนยังต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งหากรัฐบาลและรัฐสภาไม่นำพาในจุดนี้ จะส่งผลให้กระบวนการทางรัฐสภาเสื่อมลง และจะกลายเป็นกระบวนการแสดงละครเท่านั้น นายสมเกียรติ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญให้อิสระ ส.ส.ตัดสินใจ ดังนั้น ส.ส.ควรใช้สติปัญญาที่เหมาะสมในการยกมือ และเห็นว่าประเด็นที่มีการอภิปรายเกี่ยวกับการสลายการชุมนุม เป็นเรื่องใหญ่กว่าประเด็นการทุจริต ซึ่งให้น้ำหนักในการนำประเด็นนี้มาตัดสินใจมากกว่า ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรุนแรงเกินไป และยังทำให้สังคมร้าวลึก
“อภิสิทธิ์” ให้ “สุเทพ” เคลียร์ “พรรคร่วม” แย้มโยงปรับ ครม. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ ภายหลังการลงคะแนนเสียงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยเฉพาะในส่วนของพรรคเพื่อแผ่นดิน (พผ.) ไม่โหวตให้รัฐมนตรีจากพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ว่า จะตรวจสอบการลงมติของส.ส.พรรคต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร หลังจากนั้น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ จะนัดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเราต้องไล่ดูว่า ส.ส.แต่ละคนลงมติอย่างไร ต่อคำถามว่าคะแนนที่ออกมาสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลกำลังไม่มีเสถียรภาพหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "เดี๋ยวจะให้นายสุเทพ เชิญพรรคร่วมเพื่อมาสอบถามเรื่องความคิด" เมื่อถามว่า หากมีพรรคที่แตกแถวออกไปจะพิจารณาอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "ให้นายสุเทพได้คุยแล้วจะมีข้อสรุปอีกที แล้วจะโยงไปถึงเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ด้วย" ส่วนภายในสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "จะทำให้เร็วจะได้มีเวลาทำงาน"
“สุเทพ” ให้คำตอบเลือกใคร 3 มิ.ย. ด้านนายสุเทพปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่าจะเลือกพรรคใดระหว่างพรรคภูมิใจไทยกับพรรคเพื่อแผ่นดิน โดยนายสุเทพกล่าวเพียงว่า ขอตอบในวันพรุ่งนี้ (3 มิ.ย.) เพราะวันนี้ให้สัมภาษณ์ไปแล้วก่อนที่จะเดินออกจากโรงแรมทันที
ที่มา: เรียบเรียงจากมติชนออนไลน์ ไทยรัฐออนไลน์ และ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น