โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

ไทยรัฐออนไลน์:ปิดเว็บปลุกระดมเกือบสองพัน ทวิตเตอร์ทักษิณยังอยู่

Posted: 05 Jun 2010 12:55 PM PDT

ศอฉ.เผยยอดปิดเว็บปลุกระดมพุ่ง 1900 เว็บ จากสัปดาห์ที่ผ่านมา 1150 เว็บ ย้ำหากมีข้อความปลุกระดมก็ต้องปิดแม้เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์ค ขอบคุณทุกหน่วยงานแจ้งเบาะแส ขณะที่ทวิตเตอร์ทักษิณยังเข้าได้...

<!--break-->

เมื่อ วันที่ 5 มิ.ย. แหล่งข่าวจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เปิดเผยว่า หลังจากเกิดสถานการณ์ทางการเมืองขึ้น ศอฉ.มีคำสั่งให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ปิดเว็บไซต์ที่เข้าข่ายปลุกระดมและปิดแล้ว 1,900 เว็บไซต์ จากสัปดาห์ที่ผ่านมามีเพียง 1150 เว็บไซต์

ทั้งนี้ สาเหตุที่เว็บปลุกระดมเพิ่มจำนวนขึ้น เนื่องจากประชาชนสามารถเข้าถึงสื่ออินเทอร์เน็ตได้ง่ายกว่าช่องทางอื่น อีกทั้งยังมีปัญหาจากการที่ปิด เพราะจะมีพวกที่ยุยงปลุกปั่นให้โจมตีรัฐบาล ขณะที่ การดำเนินการปิดกั้นของ ศอฉ.ก็ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ในการแจ้งเบาะแส สืบค้นข้อมูล และชี้เป้า นอกจากนี้ ยังดำเนินการกันทางลับ กับผู้ที่เปลี่ยนแนวความคิดให้มีโอกาสกลับตัว หลังจากสำนึกผิด แต่ต้องโดนคุมขังระหว่างการสอบสวน ที่ผ่านมา ได้จับกุมไปแล้ว 2 ราย อย่างไรก็ตาม การจับกุมแต่ละหน่วยงานที่เข้าข่ายไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน และใช้พระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 (พรบ.ข้อมูลข่าวสาร)โดยใช้เวลาจับกุมเฉลี่ยประมาณ 4-5 เดือน

แหล่ง ข่าวกล่าวด้วยว่า ส่วนเว็บไซต์ทวิตเตอร์ส่วนตัวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ประชุม ศอฉ. มีมติว่า ทุกทวิตเตอร์ หากมีข้อความยั่วยุ ปลุกระดมให้เกิดความแตกแยก หรือหมิ่นสถาบันฯ ก็ต้องดำเนินการปิดกั้นทั้งหมด แม้จะอยู่ในกลุ่มของโซเชียลเน็ตเวิร์คก็ตาม เพราะอยู่ภายใต้อำนาจพรก.ฉุกเฉิน โดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นทวิตเตอร์ของพ.ต.ท.ทักษิณ ขณะเดียวกัน ทวิตเตอร์ดังกล่าวยังสามารถเข้าได้อยู่

"การปิดกั้น ต้องมีคณะกรรมการรวบรวมตรวจสอบข้อมูล หากเข้าข่ายก็ดำเนินการทันที รวมทั้ง การโพสข้อความผ่านอินเทอร์เน็ต และคลิปวิดีโอด้วย ส่วนการยกเลิก พรก.ฉุกเฉินนั้น ยังต้องประเมินสถานการณ์อยู่".

 

ที่มา:ไทยรัฐออนไลน์  http://www.thairath.co.th/content/tech/87510

หมายเหตุประชาไท: อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ พบว่า twitter.com/thaksinlive ถูกปิดกั้นแล้วโดยเชื่อมต่อไปที่ http://58.97.5.29/www.capothai.org/ ปรากฎข้อความประกาศของ ศอฉ. ขณะที่ http://twitter.com/Thaksinlive ยังเข้าถึงได้

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เพลงประกอบภาพเหตุการณ์จากกลุ่มประกายไฟ : 'เหมือนไม่มีอะไร'

Posted: 05 Jun 2010 12:44 PM PDT

ตึกสามารถสร้างใหม่ได้ แต่ชีวิตคนสร้างใหม่ไม่ได้ ภายใต้สังคมที่เราเผชิญอยู่ กระแสที่มองเห็นความสำคัญของตึกมากกว่าชีวิตคนชนชั้นล่างที่สูญเสียและบาดเจ็บ จะแปลกอะไรที่เสียงพวกเขา พื้นที่ๆพวกเขาจะยืน จึงถูกทำให้ไม่มีและไม่ได้ยิน

<!--break-->

เพลง  'เหมือนไม่มีอะไร'
ขับร้องโดย Homo erectus
ทำนอง/เนื้อร้อง โดย เฉื่อย ประกายไฟ
ตัดต่อ MV โดย กอล์ฟ ประกายไฟ

เหมือนไม่มีอะไร เหมือนเมื่อวานไม่มี ทุกเรื่องราวคงเดิม ยังไม่เปลี่ยนแปลงอะไร
เหมือนไม่มีคนตาย เหมือนไม่มีคนเจ็บ เหมือนชีวิตคนจนไม่มีคุณค่าเท่าใด
เหมือนไม่มีคนสั่ง ไม่มีเลยคนผิด และไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบอะไร

เสียงบางเสียงตะโกนเท่าไหร่ ผู้คนก็ยังเมินเฉย เสียงบางเสียงมากมายเท่าไหร่ ก็ไม่มีใครมองเห็น
เสียงบางเสียงตะโกนเท่าไหร่ ผู้คนก็ยังเมินเฉย เสียงบางเสียงมากมายเท่าไหร่ ก็ไม่มีใครมองเห็น

เหมือนไม่มีอะไร เหมือนเมื่อวานไม่มี ทุกเรื่องราวคงเดิม จะไม่เปลี่ยนแปลงอะไร
ทั้งที่เป็นคนสั่ง ทั้งที่เป็นคนผิด เหมือนชีวิตคนจนไม่มีคุณค่าทั้งนั้น
เหมือนไม่มีคนสั่ง ไม่มีเลยคนผิด และไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบอะไร
เหมือนไม่มีคนสั่ง ไม่มีเลยคนผิด และไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบอะไร

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงานจาก3จังหวัด:ว่าด้วย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก่อการร้าย และปริศนาการตายของ “สุไลมาน แนซา”

Posted: 05 Jun 2010 12:09 PM PDT

ถึงวันนี้คำว่า “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” ซึ่งหมายถึงพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 กลายเป็นคำคุ้นหูและติดปากคนไทยไปเสียแล้ว เพราะมีถึง 24 จังหวัดทั่วประเทศที่รัฐบาลประกาศ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายฉบับนี้ ไม่นับรวมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประกาศมาก่อนล่วงหน้าถึง 5 ปี

<!--break-->

การใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ใน 24 จังหวัดทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ และอีสาน นำไปสู่การจับและประกาศจับบุคคลต้องสงสัยว่าเป็นปฏิปักษ์กับรัฐ (บาล) ทั้งแนวคิดและการกระทำ กระทั่งคลี่คลายเป็นหมายจับในข้อหา “ก่อการร้าย”

ขณะที่สถานการณ์ฉุกเฉินที่ชายแดนภาคใต้ เป็นการใช้อำนาจผ่านชุดความคิดความเข้าใจของรัฐต่อขบวนการที่ว่าคนเหล่านั้น มีแนวคิดเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐไทย โดยไล่เรียงมาตั้งแต่ “แผนปฎิบัต ิการ 7 ขั้น” ของกลุ่มองค์กรที่รัฐเชื่อว่าเป็น "บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต" โดยเรียกขานกลุ่มคนเหล่านี้ว่า "กลุ่ม ก่อความไม่สงบ" หรือ "กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง"

แต่ไม่ว่าจะเป็นการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในจังหวัดต่างๆ หรือที่ชายแดนใต้ ผลของมันดูจะไม่ต่างกัน คือการมุ่งจับกุมบุคคลที่มีแนวคิดเป็นปฏิปักษ์กับรัฐ (บาล) เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการสอบสวน ซักถาม สอบเค้น และมีบุคคลทั้งที่เป็น “ตัวจริง” และ “ไม่รู้อิโหน่อิเหน่” ต้องสิ้นอิสรภาพ

ทว่าที่ชายแดนใต้ ณ วันนี้ดูจะรุดหน้าไปกว่าจังหวัดอื่นๆ เพราะมีการตายเกิดขึ้นระหว่างการคุม ขังผู้ต้องสงสัยที่ถูกจับกุมตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้ว ซ้ำยังเป็นการตายถึงใน "ค่ายทหาร" อย่างค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ด้วย

เขาคือ นายสุไลมาน แนซา เด็กหนุ่มวัย 25 ปี

สุไลมานถูกพบกลายเป็นศพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 พ.ค.2553 ในสภาพมีผ้าขนหนูผูกคอติดกับเหล็กดัดหน้าต่าง ในห้องควบคุมตัวภายในศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ ค่ายอิงยุทธบริหาร จากการชันสูตรศพเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ สรุปว่าสุไลมานฆ่าตัวตายเอง โดยใช้ผ้าเช็ดตัวที่ญาติฝากมาให้ใช้เป็นอุปกรณ์ในการปลิดชีพ ซึ่งได้สร้างความสงสัยและความคลางแคลงให้กับบรรดาญาติพี่น้องและองค์กรภาค ประชาสังคมในพื้นที่ที่ติดตามเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง

หลังจากเพื่อนพ้องกลุ่มสื่อทางเลือกในพื้นที่ได้เก็บภาพการเสียชีวิตของสุไล มานและส่งกระจายไปทั่ว ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตอย่าง “ไม่แน่ใจ” และ “ไม่เชื่อ” ว่าสุไลมานฆ่าตัวตายเอง เช่น ศพมีรอยช้ำหลายจุด ลิ้นของสุไลมานก็ไม่ได้จุกปากเหมือนคนที่ผูกคอตาย ที่อวัยวะเพศมีคราบเลือด ที่คอและต้นขามีร่องรอยบางอย่าง และที่สำคัญคือขาของนายสุไลมานติดพื้น ไม่ได้ลอยเหนือพื้นอย่างที่น่าจะเป็น

ยิ่งไปกว่านั้น การฆ่าตัวตายของคนมุสลิมถือว่าเป็นการ “บาป ใหญ่” และจะไม่ได้กลิ่นอายของสรวงสวรรค์ตามความเชื่อทางศาสนา น่าสังเกตว่า หากสุไลมานเข้าร่วมขบวนการต่อสู้ (ญิฮาด) ที่ยอมทุ่มเทพลังกายและพลังใจให้กับขบวนการถึงขั้นยอมเสี่ยงชีวิตของตนเอง เพื่อความเป็นธรรม (ในสายตาของขบวนการ) ก็ยิ่งทำให้เหตุผลของการฆ่าตัวตายแทบจะไม่มีเลย

เพราะหลักการที่เชื่อกันของขบวนการฮิญาดทั่วโลก ถือว่าการตายจากการกระทำของฝ่ายศัตรูย่อมเป็นส่วนหนึ่งของการตายในหนทาง ศาสนา (ชาฮีด)

ด้วยเหตุนี้ในทัศนะของหลายคนๆ ในพื้นที่จึงยังไม่ตัดทิ้งประเด็นเรื่อง "การซ้อมทรมาน" ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วระหว่างถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว กรณีตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ การเสียชีวิตของ อิหม่ามยะผา กาเซ็ง (มี.ค.2551) อิหม่ามประจำมัสยิดบ้านกอตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ที่เจ้าหน้าที่อ้างในเบื้องต้นว่าเสียชีวิตจากโรคประจำตัว แต่ภายหลังผลชันสูตรทางการแพทย์ก็ชัดเจนว่า อิหม่ามยะผาถูกทำร้ายจนตาย

หากมองสาเหตุการฆ่าตัวตายของสุไลมาน ผ่านทฤษฎีของ อี มิล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ผู้ทำการศึกษาเรื่องการฆ่าตัวตาย จะพบว่า เดอร์ไคม์เชื่อว่าการฆ่าตัวตายเป็นผลจากสาเหตุรวม ไม่ใช่สาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงสาเหตุเดียว แต่ทั้งหมดมีสาเหตุหนึ่งที่เหมือนกัน คือความรู้สึกเป็นคนแปลกถิ่น เป็นคนนอกสังคม และความรู้สึกเป็นคนละพวกกับคนกลุ่มใหญ่

เดอร์ไคม์ แบ่งการฆ่าตัวยตายออกเป็น 3 กลุ่ม กล่าวคือ

1. Egoistic Suicide หมายถึงการฆ่าตัวตายที่เกิดจากบุคคลรู้สึกว่าตนเองไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ สังคม เป็นคนนอกกลุ่ม มีความสัมพันธ์และผูกพันกับคนในสังคมน้อย เป็นผู้ที่ถูกตัดขาดจากกลุ่ม

2. Altruistic Suicide เป็นการฆ่าตัวตายด้วยสาเหตุตรงกันข้ามกับกลุ่มแรก คือจะมีความผูกพันกับกลุ่มมากเกินไปจนขาดความเป็นตัวของตัวเอง ไม่สามารถแยกตัวออกจากกลุ่มได้ การฆ่าตัวตายจึงเป็นการเสียสละเพื่อกลุ่มและสังคม เช่น การอดอาหารประท้วง การระเบิดพลีชีพของนักรบชาวตอลีบัน หรือซามูไรที่ทำฮาราคีรี เป็นต้น

3. Anomic Suicide หมายถึงการฆ่าตัวตายที่เกิดจากการตัดขาดจากกลุ่มที่ตนเองอยู่ร่วมด้วย มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอ่อนแอลง เช่น นักธุรกิจผู้เคยประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อเกิดภาวะขาดทุน ทำให้สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมตกต่ำ เขาจึงแยกและถอนตัวออกจากกลุ่มหรือสังคมเดิม แล้วการฆ่าตัวตายจะเกิดภายหลังการแยกตัว

คำอธิบายเกี่ยวกับแนวคิดการฆ่าตัวตายของ อีมิล เดอร์ไคม์ หากพิจารณาเทียบกับกรณีของสุไลมานแล้ว จะพบข้อมูลที่ลักลั่นพอสมควร โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงอ้างว่า สุไลมานเป็นแกนนำที่เคลื่อนไหวอยู่ใน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เคยร่วมก่อเหตุรุนแรงมาแล้วหลายครั้ง หากพิจารณาจากข้อมูลพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าสุไลมานเลือกที่จะตายจริงๆ ก็น่าจะมีสาเหตุตามข้อ 2 ในทฤษฎีของเดอร์ไคม์ คือต้องการตอบสนองทั้งตนเองและศาสนา จึงน่าจะเลือกต่อสู้อย่างถึงที่สุดมากกว่าการยอมให้จับกุม หรือพาเจ้าหน้าที่กลับไปค้นวัตถุพยานในหมู่บ้านของตนเอง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พิจารณาประกอบกับทฤษฎีและข้อมูลต่างๆ จึงชวนให้เราขบคิดและเกิดคำถามที่หนักแน่นขึ้นว่า ทำไมสุไลมานจึงเลือกที่จะฆ่าตัวตาย?

 

--------------------------------------------------------------------

* เอกรินทร์ ต่วนศิริ เป็นนิสิตปริญญาโท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นอดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

**เผยแพร่ครั้งแรกที่ ศูนย์ข่าวอิศรา  http://www.isranews.org/isranews/index.php?option=com_content&view=article&id=372:2010-06-04-19-12-51&catid=21:2009-11-21-16-38-50&Itemid=5

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงานจาก3จังหวัด:ว่าด้วย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก่อการร้าย และปริศนาการตายของ “สุไลมาน แนซา”

Posted: 05 Jun 2010 12:07 PM PDT

ถึงวันนี้คำว่า “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” ซึ่งหมายถึงพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 กลายเป็นคำคุ้นหูและติดปากคนไทยไปเสียแล้ว เพราะมีถึง 24 จังหวัดทั่วประเทศที่รัฐบาลประกาศ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายฉบับนี้ ไม่นับรวมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประกาศมาก่อนล่วงหน้าถึง 5 ปี

<!--break-->

การใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ใน 24 จังหวัดทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ และอีสาน นำไปสู่การจับและประกาศจับบุคคลต้องสงสัยว่าเป็นปฏิปักษ์กับรัฐ (บาล) ทั้งแนวคิดและการกระทำ กระทั่งคลี่คลายเป็นหมายจับในข้อหา “ก่อการร้าย”

ขณะที่สถานการณ์ฉุกเฉินที่ชายแดนภาคใต้ เป็นการใช้อำนาจผ่านชุดความคิดความเข้าใจของรัฐต่อขบวนการที่ว่าคนเหล่านั้น มีแนวคิดเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐไทย โดยไล่เรียงมาตั้งแต่ “แผนปฎิบัต ิการ 7 ขั้น” ของกลุ่มองค์กรที่รัฐเชื่อว่าเป็น "บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต" โดยเรียกขานกลุ่มคนเหล่านี้ว่า "กลุ่ม ก่อความไม่สงบ" หรือ "กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง"

แต่ไม่ว่าจะเป็นการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในจังหวัดต่างๆ หรือที่ชายแดนใต้ ผลของมันดูจะไม่ต่างกัน คือการมุ่งจับกุมบุคคลที่มีแนวคิดเป็นปฏิปักษ์กับรัฐ (บาล) เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการสอบสวน ซักถาม สอบเค้น และมีบุคคลทั้งที่เป็น “ตัวจริง” และ “ไม่รู้อิโหน่อิเหน่” ต้องสิ้นอิสรภาพ

ทว่าที่ชายแดนใต้ ณ วันนี้ดูจะรุดหน้าไปกว่าจังหวัดอื่นๆ เพราะมีการตายเกิดขึ้นระหว่างการคุม ขังผู้ต้องสงสัยที่ถูกจับกุมตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้ว ซ้ำยังเป็นการตายถึงใน "ค่ายทหาร" อย่างค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ด้วย

เขาคือ นายสุไลมาน แนซา เด็กหนุ่มวัย 25 ปี

สุไลมานถูกพบกลายเป็นศพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 พ.ค.2553 ในสภาพมีผ้าขนหนูผูกคอติดกับเหล็กดัดหน้าต่าง ในห้องควบคุมตัวภายในศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ ค่ายอิงยุทธบริหาร จากการชันสูตรศพเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ สรุปว่าสุไลมานฆ่าตัวตายเอง โดยใช้ผ้าเช็ดตัวที่ญาติฝากมาให้ใช้เป็นอุปกรณ์ในการปลิดชีพ ซึ่งได้สร้างความสงสัยและความคลางแคลงให้กับบรรดาญาติพี่น้องและองค์กรภาค ประชาสังคมในพื้นที่ที่ติดตามเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง

หลังจากเพื่อนพ้องกลุ่มสื่อทางเลือกในพื้นที่ได้เก็บภาพการเสียชีวิตของสุไล มานและส่งกระจายไปทั่ว ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตอย่าง “ไม่แน่ใจ” และ “ไม่เชื่อ” ว่าสุไลมานฆ่าตัวตายเอง เช่น ศพมีรอยช้ำหลายจุด ลิ้นของสุไลมานก็ไม่ได้จุกปากเหมือนคนที่ผูกคอตาย ที่อวัยวะเพศมีคราบเลือด ที่คอและต้นขามีร่องรอยบางอย่าง และที่สำคัญคือขาของนายสุไลมานติดพื้น ไม่ได้ลอยเหนือพื้นอย่างที่น่าจะเป็น

ยิ่งไปกว่านั้น การฆ่าตัวตายของคนมุสลิมถือว่าเป็นการ “บาป ใหญ่” และจะไม่ได้กลิ่นอายของสรวงสวรรค์ตามความเชื่อทางศาสนา น่าสังเกตว่า หากสุไลมานเข้าร่วมขบวนการต่อสู้ (ญิฮาด) ที่ยอมทุ่มเทพลังกายและพลังใจให้กับขบวนการถึงขั้นยอมเสี่ยงชีวิตของตนเอง เพื่อความเป็นธรรม (ในสายตาของขบวนการ) ก็ยิ่งทำให้เหตุผลของการฆ่าตัวตายแทบจะไม่มีเลย

เพราะหลักการที่เชื่อกันของขบวนการฮิญาดทั่วโลก ถือว่าการตายจากการกระทำของฝ่ายศัตรูย่อมเป็นส่วนหนึ่งของการตายในหนทาง ศาสนา (ชาฮีด)

ด้วยเหตุนี้ในทัศนะของหลายคนๆ ในพื้นที่จึงยังไม่ตัดทิ้งประเด็นเรื่อง "การซ้อมทรมาน" ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วระหว่างถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว กรณีตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ การเสียชีวิตของ อิหม่ามยะผา กาเซ็ง (มี.ค.2551) อิหม่ามประจำมัสยิดบ้านกอตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ที่เจ้าหน้าที่อ้างในเบื้องต้นว่าเสียชีวิตจากโรคประจำตัว แต่ภายหลังผลชันสูตรทางการแพทย์ก็ชัดเจนว่า อิหม่ามยะผาถูกทำร้ายจนตาย

หากมองสาเหตุการฆ่าตัวตายของสุไลมาน ผ่านทฤษฎีของ อี มิล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ผู้ทำการศึกษาเรื่องการฆ่าตัวตาย จะพบว่า เดอร์ไคม์เชื่อว่าการฆ่าตัวตายเป็นผลจากสาเหตุรวม ไม่ใช่สาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงสาเหตุเดียว แต่ทั้งหมดมีสาเหตุหนึ่งที่เหมือนกัน คือความรู้สึกเป็นคนแปลกถิ่น เป็นคนนอกสังคม และความรู้สึกเป็นคนละพวกกับคนกลุ่มใหญ่

เดอร์ไคม์ แบ่งการฆ่าตัวยตายออกเป็น 3 กลุ่ม กล่าวคือ

1. Egoistic Suicide หมายถึงการฆ่าตัวตายที่เกิดจากบุคคลรู้สึกว่าตนเองไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ สังคม เป็นคนนอกกลุ่ม มีความสัมพันธ์และผูกพันกับคนในสังคมน้อย เป็นผู้ที่ถูกตัดขาดจากกลุ่ม

2. Altruistic Suicide เป็นการฆ่าตัวตายด้วยสาเหตุตรงกันข้ามกับกลุ่มแรก คือจะมีความผูกพันกับกลุ่มมากเกินไปจนขาดความเป็นตัวของตัวเอง ไม่สามารถแยกตัวออกจากกลุ่มได้ การฆ่าตัวตายจึงเป็นการเสียสละเพื่อกลุ่มและสังคม เช่น การอดอาหารประท้วง การระเบิดพลีชีพของนักรบชาวตอลีบัน หรือซามูไรที่ทำฮาราคีรี เป็นต้น

3. Anomic Suicide หมายถึงการฆ่าตัวตายที่เกิดจากการตัดขาดจากกลุ่มที่ตนเองอยู่ร่วมด้วย มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอ่อนแอลง เช่น นักธุรกิจผู้เคยประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อเกิดภาวะขาดทุน ทำให้สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมตกต่ำ เขาจึงแยกและถอนตัวออกจากกลุ่มหรือสังคมเดิม แล้วการฆ่าตัวตายจะเกิดภายหลังการแยกตัว

คำอธิบายเกี่ยวกับแนวคิดการฆ่าตัวตายของ อีมิล เดอร์ไคม์ หากพิจารณาเทียบกับกรณีของสุไลมานแล้ว จะพบข้อมูลที่ลักลั่นพอสมควร โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงอ้างว่า สุไลมานเป็นแกนนำที่เคลื่อนไหวอยู่ใน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เคยร่วมก่อเหตุรุนแรงมาแล้วหลายครั้ง หากพิจารณาจากข้อมูลพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าสุไลมานเลือกที่จะตายจริงๆ ก็น่าจะมีสาเหตุตามข้อ 2 ในทฤษฎีของเดอร์ไคม์ คือต้องการตอบสนองทั้งตนเองและศาสนา จึงน่าจะเลือกต่อสู้อย่างถึงที่สุดมากกว่าการยอมให้จับกุม หรือพาเจ้าหน้าที่กลับไปค้นวัตถุพยานในหมู่บ้านของตนเอง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พิจารณาประกอบกับทฤษฎีและข้อมูลต่างๆ จึงชวนให้เราขบคิดและเกิดคำถามที่หนักแน่นขึ้นว่า ทำไมสุไลมานจึงเลือกที่จะฆ่าตัวตาย?

 

--------------------------------------------------------------------

* เอกรินทร์ ต่วนศิริ เป็นนิสิตปริญญาโท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นอดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

**เผยแพร่ครั้งแรกที่ ศูนย์ข่าวอิศรา  http://www.isranews.org/isranews/index.php?option=com_content&view=article&id=372:2010-06-04-19-12-51&catid=21:2009-11-21-16-38-50&Itemid=5

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อารยะ/อนารยะ

Posted: 05 Jun 2010 10:56 AM PDT

<!--break-->

มีคำถามว่า ฝ่ายเชียร์คนเสื้อแดงที่เอาแต่วิจารณ์ว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์ใช้วิธีสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าและราชประสงค์ไม่เป็นไปตามหลักสากลอย่างอารยประเทศเขาทำกัน ควรย้อมกลับมามองด้วยว่า ม็อบเสื้อแดงเป็นม็อบที่เคลื่อนไหวต่อสู้ทางการเมืองแบบม็อบอารยะประเทศหรือไม่ (โดยไม่ต้องพูดถึงไอ้โม่งชุดดำ ระเบิดขวด เอ็ม 79 แม้แต่อาวุธ เช่นท่อนไม้ เสาธง บ้องไฟ หนังสะติ๊ก ฯลฯ ม็อบอารยประเทศเขาทำกันแบบนี้หรือไม่?)

คนที่ตั้งคำถามเช่นนี้ อาจไม่ได้ต้องการจะบอกว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์มีความชอบธรรมที่จะสลาย “ม็อบอนารยะ” ด้วยวิธีที่อนายระยิ่งกว่า แต่สำหรับเสื้อเหลือง เสื้อหลากสีที่คัดค้านการยุบสภาและเรียกร้องให้ใช้กฎอัยการศึกจัดการม็อบเสื้อแดงเพื่อ “คืนความสุขให้คนกรุงเทพฯ” ย่อมเห็นว่า รัฐบาลมีการชอบธรรมในการปราบม็อบและอยู่ในอำนาจต่อไปบนกองศพของประชาชน

เรามาทบทวนความเป็น “อนารยะ” กับ “อารยะ” กันหน่อยดีไหม ก่อนที่จะเดินหน้าปรองดอง (หรือไม่ปรองดอง) กันต่อไป!

1. อนารยะ/อารยะ ของ “คู่กรณี”

ทักษิณ (ถูกกล่าวหาว่า) คอร์รัปชัน ขายหุ้นไม่เสียภาษี = วิธีอนารยะ ...ประชาธิปัตย์ขอเสียง ส.ส.ฟากไทยรักไทยมาร่วมลงชื่อเพื่อเปิดอภิปรายทักษิณในประเด็นข้อกล่าวหาดังกล่าว = วิธีอารยะ ...ทักษิณยุบสภาให้ประชาชนตัดสิน=วิธีอนารยะ ...ประชาธิปัตย์โจมตีว่ายุบสภาหนีการตรวจสอบและชวนพรรคการเมืองอื่นร่วมบอยคอตการเลือกตั้ง พันธมิตรฯ รณรงค์ให้โนโหวด ฉีกบัตรเลือกตั้ง (ศาลตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ) =วิธีอารยะ

ทักษิณให้ขอมีการเลือกตั้งใหม่ และประกาศหลังชนะการเลือกตั้งจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี =วิธีอนารยะ ...พันธมิตรฯ พรรคประชาธิปัตย์ ประธานองคมนตรี องคมนตรี นักวิชาการ สื่อ คนชั้นกลางในเมือง เสนอให้ “ถวายคืนพระราชอำนาจ” และเรียกร้อง สนับสนุน หรือสมรู้ร่วมคิดให้ทหารทำรัฐประหาร = วิธีอารยะ

สรุป – ฝ่ายถูกทำรัฐประหารเป็นฝ่ายอนารยะ! ฝ่ายทำรัฐประหารเป็นฝ่ายอารยะ!

2. อนารยะ/อารยะ ของ “เสื้อสี” และ “รัฐบาล”

เกิด นปก.(ต่อมาเปลี่ยนเป็น นปช.) ชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร ลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ขับแท็กซี่ชนรถถังเสียชีวิต และต่อมามีการใช้เสื้อสีแดงเป็นสัญลักษณ์ชุมนุมและใช้สื่อวิพากษ์วิจารณ์ต่อต้านรัฐประหาร = วิธีอนารยะ ...ฝ่ายเสื้อเหลืองจัดฉากมอบดอกไม้ให้ทหารที่ออกมาทำรัฐประหาร ดารา นักร้อง คนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ร่วมถ่ายรูปกับรถถังแสดงความยินดีต้อนรับรัฐประหาร บรรดาแกนนำ นักวิชาการ สื่อฟากเสื้อเหลืองเดินหน้าโฆษณาชวนเชื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐประหารทั้งในและต่างประเทศ = วิธีอารยะ

รัฐบาลอำมาตย์ “เขายายเที่ยง” เป็นรัฐบาลอารยะ! รัฐบาลสมัคร “พ่อครัวทำกับข้าวออกทีวี” เป็นรัฐบาลอนารยะ! รัฐบาลสมชาย “ตาย 2 ศพ” เป็น “รัฐบาลอนารยะ” ที่ไร้ความรับผิดชอบต่อชีวิตประชาชน ใส่ร้ายผู้ชุมนุม ต้องยุบสภา! (ไม่ยอมยุบสภาถูกศาลสั่งยุบพรรค) รัฐบาลอภิสิทธิ์ “ตาย 89 ศพ” เป็น “รัฐบาลอารยะ” ที่มีความสามารถขอคืนพื้นที่จากผู้ชุมนุมด้วยวิธีที่ดีที่สุด ทำให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด มีความชอบธรรมที่สุดที่จะอยู่ในอำนาจและเดินหน้านำพาประเทศชาติสู่การปรองดองภายใต้คำเชิญอันแสนโรแมนติกของ “สุภาพบุรุษแห่งอ๊อกฟอร์ด” ที่ว่า “รัฐบาลต้องไล่ล่าโจรเผาบ้านมาติกคุก และพวกเราทุกฝ่ายมาร่วมซ่อมแซมบ้านด้วยกัน”

3. มหกรรมอวตารปราบมารการเมือง

การ์ตูน “อวตาร: มารการเมือง” ของ เรณู ปัญญาดี (วารสาร “อ่าน” มกราคม-มีนาคม 53) แสดงเรื่องราวของ “กองทัพยักษ์แดง” บุกเมืองสวรรค์เพื่อขอ “ประชาธิปไตยที่กินได้” และขอ “1 คน หนึ่งเสียง” เหล่าเทวดา “ผู้ทรงศีลธรรม” ทั้งหลายซึ่งประกอบด้วย ราษฎรอาวุโส สื่อผู้ทรงศีล กูรูสันติภาพ ปราชญ์ชาวบ้าน ฤษีสถาปนิก ที่ร่วมมหกรรมอวตารลงมาสอนศีลธรรมกำราบกองทัพยักษ์แดงไม่ให้ใช้วิธีรุนแรง ต่างประสานเสียงว่า...

“ปราศจากศีลธรรม ประชาธิปไตยจะมีความหมายแค่การเลือกตั้ง”... “ปราศจากศีลธรรม การเมืองเป็นเพียงการแย่งชิงอำนาจ”... “ปราศจากศีลธรรม การชุมนุมประท้วงจะมีแต่ความรุนแรง”... “ถ้าคนไทยไร้ศีลธรรม ประชาธิปไตยจะไปไม่รอด”

แล้วบรรดาผู้ทรงศีลธรรมเหล่านั้นก็ระดมสอนศีลธรรมเพื่อเปลี่ยนใจกองทัพยักษ์แดง พวกเขาต่างเสนอว่า...

“ศีลธรรมต้องไม่รุนแรง-ท่องบ่นและตะโกนคำว่าความรุนแรงใส่การชุมนุม/สันติวิธีคือยอมรับความเจ็บปวดเสียเอง” ... “ศีลธรรมยิ่งใหญ่กว่าตัวเลข-จำนวนไม่สามารถบ่งบอกความถูก/ผิด ดี/เลว คะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นตัวเลขที่ไร้ศีลธรรมกำกับ” ... “ศีลธรรมอยู่เหนือชนชั้น- เมื่อยักษ์ประกาศสงครามชนชั้น ป่วยการไปโต้ว่าสังคมไทยไม่มีชนชั้น เพียงแต่บอกว่าชนชั้นต้องมีศีลธรรมกำกับ/ทำไมคนไทยไม่รักกัน?” ... “ศีลธรรมต้องมาก่อนเสรีภาพ-การปิดทีวีและเว็บไซต์ที่พวกยักษ์ชอบดูเป็นมาตรการทางศีลธรรมที่เทวดาต้องสนับสนุน”... “ศีลธรรมเฟซบุ๊ค-สร้างเครือข่ายสื่อเทวดา ทำเมืองไทยให้เป็นประเทศของเฟซบุ๊ค”

“ศีลธรรมต้องสะอาด-เวลายักษ์อ้างสัญลักษณ์หรืออ้างศีลธรรมของฝ่ายตน เช่น ทำพิธีเอาเลือดไปเทหน้าทำเนียบ เทวดาต้องสู้ด้วยจำนวนและตัวเลข เช่น เอาจำนวนเชื้อโรคในเลือดมาข่มขู่”... “ศีลธรรมต้องไม่ปิดศูนย์การค้าและทำรถติด-สอนยักษ์ให้เข้าใจว่าการปิดศูนย์การค้าและทำรถติดมีสองแบบ คือแบบมีกับไม่มีศีลธรรมกำกับ ถ้าเทวดาทำจะเป็นแบบแรก ถ้ายักษ์ทำจะเป็นแบบหลัง”

เข็มทิศทางศีลธรรมของเทวดา คือ ...ปิดทำเนียบ ปิดสนามบิน = มีศีลธรรม...ปิดเกษร บิ๊กซี เวิลด์เทรด พารากอน = ก่อการร้าย

แต่ปรากฏว่า กองทัพยักษ์ไม่ยอมฟังคำสอนศีลธรรมของเทวดา “ผู้ทรงศีลธรรม” ที่อวตารลงมากำราบ “มารประชาธิปไตย” ฉะนั้น เหล่าผู้อวตารจึงแก้ปัญหาประชาธิปไตยด้วยการใช้ “มาตรการทางศีลธรรม” ตาม “แผนสอง”

ภาพสุดท้ายที่สากลโลกได้เห็นคือ...กองกำลังติดอาวุธของ “รัฐบาลเทวดา” ปิดล้อมกองทัพยักษ์ พร้อมเสียงตะโกนจากกองเชียร์ ฆ่ามัน! ฆ่ามัน!...

(นี่มันเป็นเรื่องราวของเทวดาผู้ทรงศีลธรรมอวตารลงมาปราบมาร หรือเป็นเรื่องราวดังวรรคหนึ่งในบทกวีของ อังคาร กัลยาณพงศ์ “เทพไท้เบื่อหน่ายวิมาน ทะยานลงดินมากินขี้” กันแน่? – ผมสงสัย!)

สรุป – ใครจะวิจารณ์ความไม่อารยะของม็อบเสื้อแดง (กองทัพยักษ์แดง) อย่างไรก็เชิญวิจารณ์กันไปเถิด! แต่คุณยังตั้งคำถามกับ “วิถีอารยะ” ของเหล่าเทวดาแห่งเมืองสวรรค์น้อยเกินไปหรือไม่?
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เพลงจากนักร้องนิรนาม "เขตอภัยทาน นะ"

Posted: 05 Jun 2010 05:27 AM PDT

ชายไทยไม่ประสงค์ออกชื่อ แต่งเพลงนี้ขึ้นในเช้าวันที่ 4 มิ.ย. เขาหวังเพียงเผยแพร่บทเพลง จากมุมหนึ่งของคนที่ยัง (อยาก) เชื่อว่าไทยเป็นสังคมพุทธ

<!--break-->

 

เพลง เขตอภัยทาน นะ

เขตอภัยทาน อภัยทาน เธอรู้จักไหม
เป็นอะไรกันไปถึงจองเวรได้ในขอบขตนี้
เขตอภัยทาน เขตแห่งความรักเมตตาปราณี
จะไม่ให้เหลือเลยหรือสักที่
จะยอมละเว้นไม่เข่นฆ่ากัน

ประเทศเอ๋ยประเทศใคร
แต่นี้ต่อไปไม่มีเขตอภัยทาน
ประเทศเอ๋ยประเทศใคร
ไร้ที่ปลอดภัยเพราะไม่มีใครอภัยทาน

ฆ่ากันให้เกลื่อนไม่เลือกที่ทาง
วัดวาอารามก็ไม่ยั้ง ช่างกระไร
ปล่อยนกปล่อยปลา เรายังปล่อยไป
นี่มันอะไร บ้านเมืองไหนกันเล่า

ทำกันได้ทำกันลงคอ
แล้วเราจะขอคืนดีกับใคร
ดับไฟเอ๋ย ช่วยกันดับไฟ
เพราะไฟกำลังไหม้บ้านเรา
ดับไฟเอ๋ยช่วยกันดับไฟ
 เพราะตอนนี้ไฟกำลังโหมไหม้บ้านเรา

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสวนาภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน: จี้ยกเลิก "ภาวะฉุกเฉิน" คืนพื้นที่เสรีภาพ

Posted: 05 Jun 2010 12:06 AM PDT

นักวิชาการเมิน "ปฎิรูปประเทศไทย" ที่ไม่ยอมรับการเลือกตั้ง ภาค ปชช.เตรียมรวบรวมประเด็นละเมิดสิทธิฯ กังขาปราบ "ก่อการร้ายมือเปล่า" นัก กม.ย้ำ "ศาล" ต้องปกป้องสิทธิเสรีภาพประชาชนจากอำนาจรัฐ จวกนิติรัฐกลายเป็น "นิติลวง" นศ.เรียกร้อง "อภิสิทธิ์" ลาออกแสดงความรับผิดชอบ สร้างบรรทัดฐาน

<!--break-->

(4 มิ.ย.) กลุ่มประชาคมธรรมศาสตร์คัดค้านอำนาจนอกระบบ และกลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน จัดงานเสวนาเรื่อง “ขอพื้นที่พวกเราคืน” : งานเสวนาว่าด้วยพื้นที่ทางสิทธิ เสรีภาพ ความเป็นมนุษย์ ภายใต้นิติรัฐแห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ห้อง ศ. 201 คณะศิลปศาสตร์ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ดำเนินรายการโดย ประกีรติ สัตสุต นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิิสัน


(จากซ้าย-ขวา) ปิยบุตร -ศราวุธ-เกษม-อับดุลเราะมัน-ประกีรติ

จี้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คืนพื้นที่เสรีภาพ
เกษม เพ็ญภินันท์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ กลุ่มสันติประชาธรรม กล่าวว่า เมื่อดูสิ่งที่รัฐบาลกระทำต่อการชุมนุมของคนเสื้อแดง รัฐบาลไม่เคยพูดว่า "สลายม็อบ" "ล้อมปราบ" "ล้อมฆ่า" แต่พูดในลักษณะ "ขอพื้นที่คืน" "กระชับพื้นที่" "Big Cleaning day" เพื่อตอบโจทย์พื้นที่ทางกายภาพของคนเมือง โดยทำให้เห็นว่าคนที่มาชุมนุมไม่มีตัวตนอยู่ในทางสังคมและทางการเมือง แม้ว่าจะพวกเขาจะชุมนุมจริงอยู่ที่ผ่านฟ้าและแยกราชประสงค์

"มันยุติธรรมแล้วหรือที่คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ได้พื้นที่ในเชิงกายภาพคืน แต่ในทางกลับกันเราไม่มีพื้นที่ทางเสรีภาพ" เกษมตั้งคำถามและว่า พ.ร.ก.ฉบับนี้หน้าตาดีกว่ากฎอัยการศึกหรือการประกาศเคอร์ฟิวซึ่งจำกัดพื้นที่ทั้งทางกายภาพและเสรีภาพ เพราะ พ.ร.ก.ฉุกเฉินจำกัดพื้นที่ทางเสรีภาพ แต่ให้คนใช้ชีวิตตามปกติผ่านพื้นที่ทางกายภาพ

นอกจากนี้ เกษมกล่าวถึงพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเป็นพื้นที่แสดงออกสิทธิเสรีภาพ สิทธิการเป็นพลเมือง ที่ทุกคนสามารถสร้างวิวาทะทางสังคมต่อกันว่า ช่วงที่ผ่านมามีสองกลุ่มที่ถูกปิดกั้นตลอดเวลา กลุ่มแรก คือกลุ่มตรงข้ามกับรัฐบาล กลุ่มที่สอง คือพื้นที่ส่วนกลาง ที่พยายามเปิดข้อวิวาทะ นำเสนอข้อคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่าง การปิดกั้นพื้นที่เหล่านี้เป็นการผลักให้เป็นการเมืองขั้วตรงข้าม ถ้าไม่เหลืองก็ต้องแดง ทั้งที่มันมีเฉดจากเหลืองถึงแดง หรือแม้แต่ภายในแดงหรือเหลืองเอง ทุกคนสามารถเห็นด้วยและแตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย อย่างไรก็ตาม เขามองว่า การจัดการแบบนี้บีบให้คนยิ่งพยายามแสดงออก และพยายามหาทางเลือกใหม่ผ่านพื้นที่ต่างๆ เช่น การเขียนข้อความ-วาดภาพตามกำแพง ในที่ชุมนุม หรือกระทั่งบนตัวสุนัข

สิ่งที่สำคัญคือ การคิดพื้นที่ใหม่เพื่อใช้ปะทะกับวาทกรรมของรัฐอย่างการขอพื้นที่ทางกายภาพ การมีพื้นที่ทางสังคมหรือปริมณฑลที่มีความเป็นสาธารณะนั้นสำคัญเพราะเป็นพื้นที่สร้างวิวาทะทางสังคม ให้คนสามารถมาแลกเปลี่ยนความคิดกันได้ ซึ่งการขอคืนพื้นที่ดังกล่าวนี้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถูกยกเลิก

ปฎิรูปประเทศไทย?
นอกจากนี้ เกษมวิจารณ์แนวคิดการปฎิรูปประเทศไทยในภาวะประกาศใช้สภาวะฉุกเฉินด้วยว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยเพราะเป็นการดึงอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยมาสู่เครื่องมือหรือกลไกของรัฐ ที่คนกลุ่มหนึ่งเข้ามาสนับสนุน โดยเพิกเฉยต่อสิทธิทางพลเมืองของรัฐภายใต้ระบอบประชาธิปไตย

"เรากำลังถูกผลักออกจากระบอบประชาธิปไตยภายใต้เงื่อนไขประชาธิปไตย" เกษมกล่าวและว่า แนวคิดปฎิรูปประเทศไทยเป็นการกล่าวโทษกลไกประชาธิปไตยแบบตัวแทน กระบวนการเลือกตั้ง โดยพยายามหารูปแบบใหม่ของสิ่งที่เรียกว่า "ประชาธิปไตยทางตรง" "ภาคประชาชน" ซึ่งเขามองว่า ไม่มีจริง เพราะทุกคนต่างเป็นตัวแทนในกระบวนการประชาธิปไตยทั้งสิ้น เพียงแต่ไม่ยอมรับการเลือกตั้ง

ภาค ปชช.รวมประเด็นละเมิดสิทธิฯ กังขาปราบ "ก่อการร้ายมือเปล่า"
ศราวุธ ประทุมราช นักสิทธิมนุษยชนอิสระ ตั้งคำถามถึงการประกาศภาวะฉุกเฉินร้ายแรงที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลจำกัดสิทธิหลายด้าน รวมถึงปิดกั้นการนำเสนอของสื่อมวลชนว่า มีความจำเป็นที่จะต้องทำหรือไม่ โดยเขามองว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญหลายมาตรา โดยเฉพาะมาตรา 29 ที่ระบุว่า การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญ รับรองไว้จะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็นเท่านั้นและจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้

โดยนอกจากการจำกัดสิทธิในการชุมนุมเกิน 5 คนแล้ว ยังมีการจำกัดเสรีภาพในการเดินทาง ห้ามเข้าพื้นที่ชุมนุม มีเคอร์ฟิว รวมถึงจำกัดสิทธิในชีวิตและร่างกาย เรียกบุคคลมาให้ข้อมูลโดยห้ามไม่ให้มีทนาย ทั้งที่ยังไม่เป็นผู้ต้องหา การจับกุมผู้ชุมนุมโดยใช้ผ้าผูกตา มัดข้อมือไพล่หลัง และนอนคว่ำกับพื้นคล้ายกรณีตากใบ

รวมถึงกรณีคนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างในพื้นที่ชุมนุม เมื่อสลายชุมนุมจึงเดินออกมา ก็เจอตำรวจกักตัวไว้และส่งฟ้องศาลในสองวัน ศาลพิพากษาว่ามาชุมนุมขัด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้จำคุกสองปี แต่ไม่เคยทำความผิดจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คำถามคือ ทำถูกต้องไหม ผู้ต้องหาเข้าใจข้อหาไหม นี่เป็นปัญหาทางข้อกฎหมาย

นอกจากนี้ เขาเล่าถึงกรณีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งถูกคุมขังจะครบเจ็ดวันด้วยว่า ตอนแรกมีหมายเรียกมาที่บ้าน เมื่อบริสุทธิ์ใจมารายงานตัว ก็ถูกแจ้งหมายจับ และถูกคุมตัวไว้ โดยเมื่อเขาไปเยี่ยม พบว่า นายสมยศถูกให้นอนในเต๊นท์ ขณะที่บ่ายวันเดียวกัน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไปเยี่ยม ปรากฎว่า นายสมยศถูกย้ายไปนอนห้องติดแอร์

ศราวุธ กล่าวว่า ที่เป็นปัญหามาก คือ การใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธครบมือ โดยอ้างว่ามีผู้ก่อการร้าย ทั้งที่คนที่เสียชีวิต 80 กว่าคนไม่มีอาวุธในมือเลยซึ่งตามปกติถ้ามีการตายโดยเจ้าหน้าที่ ต้องมีการไต่สวนการตายโดยศาล อย่างไรก็ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินระบุให้เจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง อาญา หรือทางวินัย ขณะที่กระทรวงต่างประเทศเองก็ออกประกาศว่าทำตามกฎหมายสากลอย่างโดยเคร่งครัด ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ภาคประชาชนกำลังรวบรวมข้อมูลการปฎิบัติที่ไม่เป็นไปตามหลักสากล เพราะการฆ่ากลางเมืองโดยอ้างการก่อการร้าย แต่จับผู้ก่อการร้ายไม่ได้สักคน แม้จะมีอาวุธมากมาย เรื่องนี้ต้องมีคำตอบ

ย้ำ "ศาล" ต้องปกป้องสิทธิเสรีภาพประชาชนจากอำนาจรัฐ
ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวถึงบทบาทของศาลว่า จะต้องปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจรัฐ ศาลไม่อาจสงวนตัวเองไม่ควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินได้ โดยยกตัวอย่างกรณีเว็บประชาไทฟ้องศาลแพ่งให้ตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลในการสั่งปิดเว็บ หรือกรณีนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ฟ้องนายกฯ และศอฉ.หมิ่นประมาทจากการระบุว่าเขาอยู่ในผังล้มเจ้าว่าทั้งสองกรณี ศาลไทยไม่รับฟ้อง โดยพิจารณาว่า ในสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐบาลมีอำนาจ

เขาตั้งคำถามว่า จะไม่มีอำนาจใดถ่วงดุลรัฐบาลเลยหรือ เมื่อแถลงการณ์ของนักวิชาการเป็นเศษกระดาษ สื่อ-เอ็นจีโอไม่ทำงาน ศาลไม่ลงมาช่วย จะไปพึ่งใคร และว่า แม้ในยามสงคราม ศาลก็ต้องทำหน้าที่ ความผิดพลาดของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน ยังร้ายแรงไม่เท่าความผิดพลาดของฝ่ายตุลาการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรมจะถูกจารึกเอาไว้ว่าช่วงหนึ่งศาลยอมหรี่ตาเพื่อวัตถุประสงค์อะไรบางอย่าง

"ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ศาลควรอยู่ข้างนอก ไม่ใช่อยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินเอง พ.ร.ก.ที่ห่วยๆ ศาลช่วยบรรเทาความห่วยลงได้ด้วยการรับฟ้อง การใช้อำนาจของ พ.ร.ก.ฉบับนี้แล้วดูว่าเหมาะสมหรือไม่"

ปิยบุตรมองว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทุกวันนี้จะอยู่กับเราไปอีกนาน เพราะการทำงานของ State of Exception ทำให้คนรู้สึกชินชา ไม่รู้สึกกระทบกับชีวิต ออกไปกินข้าวได้เหมือนเดิม รัฐก็จะบอกว่า สถานการณ์ฉุกเฉินจะกระทบกับคนที่เป็นแดง ฉะนั้นอย่าเป็นแดง หรือถ้าเป็นก็กลับใจเสีย

ที่น่าเศร้าคือ นักสิทธิมนุษยชนขาประจำที่ออกมาคัดค้านการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในภาคใต้เมื่อปี 2548 อย่างแข็งขัน แต่กลับไม่คัดค้านการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน มาตรฐานจริยธรรม-สิทธิมนุษยชนของนักวิชาการ เอ็นจีโอ ใช้กับกรณีทนายสมชาย คนชายขอบ คนสามจังหวัด คดีฆ่าตัดตอนยาเสพติด แต่เมื่อนำมาเทียบกับกรณีคนเสื้อแดงแล้วมีแต่ความเงียบ

"นิติรัฐ-นิติลวง"
ปิยบุตรวิจารณ์หลักนิติรัฐที่แพร่หลายในสังคมไทยว่ากลวงมาก โดยเป็นนิติรัฐที่แปลงร่างเป็น "นิติลวง" คือลวงว่ามีนิติรัฐ เป็นคำใหญ่ที่โก้เก๋ ใช้สร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำของตัวเอง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีมักอ้างนิติรัฐตลอด โดยที่ไม่ทราบว่าไม่รู้จริงๆ หรือแกล้งไม่รู้ว่า นิติรัฐในสากลนำมาเพื่อใช้จำกัดอำนาจรัฐ ไม่ใช่เพื่อให้รัฐไปทำคนนู้นคนนี้ได้

เขากล่าวถึงการที่นายอภิสิทธิ์ระบุว่าการสั่งสลายการชุมนุมเป็นนิติรัฐ เป็นการบังคับใช้กฎหมายด้วยว่าเป็นพาราด็อกซ์อย่างยิ่ง เพราะจริงๆ แล้วการสลายการชุมนุมในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเป็นข้อยกเว้นของนิติรัฐ

สุดท้าย เขาเตือนว่า วันพระไม่ได้มีหนเดียว เมื่อไหร่ที่ฟ้าเปิด อภิสิทธิ์และพวกก็อาจจะถูกนำไปขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ พลังทั้งหลายที่หนุนอภิสิทธิ์ไม่ได้เป็นนิรันดร มันมีอานุภาพอยู่แค่อาณาเขตเดียวเท่านั้น

เรียกร้อง "อภิสิทธิ์" ลาออกแสดงความรับผิดชอบ สร้างบรรทัดฐาน
อับดุลเราะมัน มอลอ โฆษกสหพันธ์นิสิตนักศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เล่าถึงประสบการณ์ภายใต้ภาวะฉุกเฉินจากประสบการณ์ในปัตตานี โดยระบุว่า สถานการณ์ฉุกเฉินเป็นสภาวะฉุกเฉินของ "รัฐบาล" โดยรัฐบาลไหนก็ตามที่มีประชาชนลุกฮือขึ้นมาต่อต้านอำนาจรัฐเป็นแสนคน รัฐบาลย่อมมองว่าเป็นเรื่องฉุกเฉิน

ต่อการขอคืนพื้นที่นั้น เขามองว่า ประชาชนขอพื้นที่ทางการเมืองคืนเพื่อตัดสินใจเลือกผู้มีอำนาจขึ้นมาใหม่ แต่รัฐบาลต้องการขอพื้นที่ขยายเวลาบริหารราชการต่อไป จึงเกิดคำถามว่า อำนาจที่แท้จริงในประเทศเป็นของใครกันแน่ อยู่ที่ประชาชน รัฐบาล หรือใครคนอื่น

อับดุลเราะมันกล่าวว่า การก่อเหตุที่กรุงเทพฯ ซึ่งมีการใช้ M79 รัฐบาลประกาศว่าเป็น "การก่อการร้าย" ขณะที่ที่ภาคใต้ มีทั้งการวางระเบิดและมีอาวุธสงคราม ถูกรัฐบาลเรียกว่าเป็น "ผู้ก่อการไม่สงบ" เขามองว่านี่เป็นการใช้วาทกรรมของรัฐเพื่อยกระดับความไม่ชอบธรรมของการชุมนุม และเพื่อยกระดับความชอบธรรมในการปราบปรามกลุ่มที่ต่อต้าน

เขามองว่า การเมืองไทยกำลังมาถึงจุดที่สร้างบรรทัดฐานใหม่ที่รัฐบาลปราบปรามประชาชน มีผู้เสียชีวิต แล้วรัฐยังอยู่ได้ ซึ่งนี่อันตราย ต่อไปเมื่อมีการชุมนุม รัฐบาลจะอ้างความชอบธรรมเหมือนที่ผ่านมา และสร้างสถานการณ์ "ก่อการร้าย" ในการชุมนุมอีก ดังนั้น เขาจึงเห็นว่า นายกฯ ควรสร้างบรรทัดฐานให้ดีที่สุด โดยลาออกเพื่อรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้จะเป็นการออกจากอำนาจเพื่อให้กระบวนการตรวจสอบสามารถตรวจสอบตนเองได้ในฐานะที่ไม่มีอำนาจด้วย

โฆษกสหพันธ์นิสิตนักศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทิ้งท้ายถึงเรื่องสองมาตรฐานด้วยว่า "วันหนึ่งที่ทุกท่านในที่นี้ไปอยู่ในจุดที่พอใจแล้ว รู้สึกว่านี่คือมาตรฐานเดียวกันแล้ว ขออย่าลืมคนสามจังหวัดก็อยากได้ตรงนี้เหมือนกัน"

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ : การสอบสวนวิกฤติประเทศไทย

Posted: 04 Jun 2010 03:17 PM PDT

<!--break-->

 
ถึงแม้ว่าความขัดแย้งในสังคมไทยดูเหมือนจะบรรเทาเบาบางลงไปบ้างแล้วในขณะนี้ ประเทศไทยยังคงไปไม่ถึงปลายทางของปัญหาการเมืองที่ถูกทำให้ยืดเยื้อออกไปอีก สมาชิกของกลุ่มคนเสื้อแดงบางส่วนหวนคืนกลับบ้านทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ, บางคนยังหายตัวไปไม่ทราบชะตากรรม 

รัฐบาลนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ รู้ดีว่าพวกหัวรุนแรงที่ปะปนอยู่ในขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงยังคงเป็นอิสระ และพวกเขาจะลุกฮือขึ้นมาอีกครั้ง แต่ขณะนี้เป็นเวลาที่รัฐบาลควรหันไปสนใจเรื่องอื่นซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนไม่แพ้กัน: ประเด็นเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่แค่สำหรับคนไทยเพียงอย่างเดียว หรือเฉพาะผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไปในการปะทะระหว่างกองกำลังความมั่นคงของรัฐบาลและผู้ชุมนุมกลุ่มเสื้อแดง แต่ยังรวมไปถึง ‘สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้’ หรือ ‘อาเซียน’ ซึ่งเพิ่งจะเริ่มปรับตัว – อย่างล่าช้า - ให้กลายเป็นองค์กรที่มีความจริงจังและยึดหลักกฎหมายมากขึ้น ประเด็นที่ว่ามาจึงเป็นเรื่องท้าทายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ของ ‘คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียน’ ซึ่งเพิ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์และปกป้องสิทธิมนุษยชนผ่านการกระตุ้นจิตสำนึกสาธารณะและการศึกษา

เมื่อคณะกรรมาธิการฯ ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียนถือกำเนิดขึ้นในเดือน ต.ค.ปีที่แล้ว ผู้ติดตามการทำงานของอาเซียนได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีตั้งแต่ต้นว่าคณะกรรมาธิการฯ ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เพราะคณะกรรมาธิการฯ ไม่มีอำนาจไปตรวจสอบรัฐบาลหรือกำหนดมาตรการคว่ำบาตรใดๆ 

แต่นายกฯ อภิสิทธิ์  ผู้ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในขณะนั้น ตอบโต้นักวิจารณ์อย่างอาจหาญว่า “สิ่งที่ดำรงอยู่จะเป็นภาระของอาเซียนในการพิสูจน์ให้เห็นว่าคณะกรรมาธิการฯ สิทธิมนุษยชน สามารถบรรลุในสิ่งที่สมาชิกได้ร่วมตกลง, ร่วมประกาศเจตนารมย์ หรือเล็งเห็นประโยชน์ร่วมกันได้”

เวลานี้จึงเป็นห้วงยามที่เหมาะสมสำหรับรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าประเด็นสำคัญสำหรับอาเซียนเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับประเทศไทยเช่นกัน ยอดรวมผู้เสียชีวิตซึ่งเป็นผลมาจากการเผชิญหน้าด้วยความรุนแรงอยู่ที่ 85 ราย ในขณะที่มีผู้บาดเจ็บอีกกว่า 1,400 ราย 

ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดเป็นพลเรือน และส่วนใหญ่เป็นผู้ชุมนุมกลุ่มเสื้อแดง ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกของอาเซียน จึงจำเป็นต้องรับผิดชอบและปกป้องชื่อเสียง รวมถึงความน่าเชื่อถือของอาเซียนให้เท่ากับที่ต้องรับผิดชอบและปกป้องชื่อเสียงของตน อีกทั้งนายกฯ อภิสิทธิ์ยังเคยให้คำมั่นสัญญาไว้ด้วยว่าจะสอบสวนข้อเท็จจริงการสังหารประชาชนอย่างละเอียดถี่ถ้วน เขาอาจต้องการให้อาเซียน “ดำรงอยู่ในกระบวนการสอบสวน” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กล่าวไว้ข้างต้น 

หากถามว่าเหตุใดจึงใช้คำว่า “อยู่ในกระบวนการสอบสวน” แทนการใช้คำว่า “มีส่วนร่วม” เป็นผลจากการที่อาเซียนยึดหลักว่าจะไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน ซึ่งอันที่จริงก็คลายความเข้มงวดลงไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่ถึงกับล้มเลิกไปเสียทีเดียว สิทธิมนุษยชนจึงเป็นประเด็นที่อ่อนไหว และไม่ใช่ว่าสมาชิกอาเซียนทั้งหมดจะมีความกระตือรือร้นที่จะถกเถียงในประเด็นนี้ โดยเฉพาะสมาชิกอาเซียนที่สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษนชนภายในประเทศยังเป็นที่น่าเคลือบแคลงสงสัย

ทว่าการเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดของประธานาธิบดีสุสิโล บัมบัง ยุดโดโยโน ผู้นำอินโดนีเซีย ซึ่งเรียกร้องให้อาเซียนจัดการประชุมวาระพิเศษเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤติในเมืองไทย เป็นเรื่องที่สมควรแก่การยกย่องอย่างยิ่ง เพราะถึงแม้ว่าการประชุมจะมิได้เกิดขึ้นจริง แต่ก็แสดงให้เห็นว่าสมาชิกอาเซียนบางประเทศพร้อมก้าวข้ามไปสู่จุดหมายใหม่ ซึ่งประเทศสมาชิกสามารถถกเถียงประเด็นอ่อนไหวบางประการได้อย่างเปิดเผย แม้ว่าการถกเถียงนั้นอาจมิได้นำไปสู่การปฏิบัติจริงใดๆ เลยก็ตาม

พรรคประชาธิปัตย์ของอภิสิทธิ์มักแสดงตนเป็นผู้ยึดมั่นในหลักการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด ดังนั้นประชาธิปัตย์จึงเป็นที่รู้จักดีในฐานะผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลเผด็จการทหารของพม่าอย่างรุนแรง 

นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ  อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน เรียกร้องให้มีการกำหนดนโยบายยืดหยุ่นด้านการมีส่วนร่วมในปี 2542 ซึ่งนโยบายดังกล่าวเปิดไฟเขียวอนุญาติให้ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถหยิบยกประเด็นที่วิตกกังวัลเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศเพื่อนบ้านมาเจรจาถกเถียงกันได้ และคาดการณ์ว่านโยบายดังกล่าวอาจข้ามพรมแดนไปได้จนทำให้การแก้ปัญหาต่างๆ บังเกิดผลสำเร็จ แต่นโยบายดังกล่าวยังไม่เคยเริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจังเสียที

เมื่อพิจารณาจากสิ่งที่กล่าวมาแล้ว การที่รัฐบาลประชาธิปัตย์จะอนุญาติให้ประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นสมาชิกอาเซียนได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทยจึงเป็นเรื่องยุติธรรมดี ทั้งยังเป็นแรงผลักดันให้เกิดสันติภาพและความมั่นคงขึ้นในภูมิภาคได้อีกด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้วรัฐบาลควรทำอะไรให้ได้มากกว่านี้ เหมือนที่ ‘กวี จงกิจถาวร’ ผู้สื่อข่าวชาวไทยซึ่งมีประสบการณ์มากมายเกี่ยวกับอาเซียน เคยเสนอให้รัฐบาลไทยเชื้อเชิญคณะกรรมมาธิการฯ สิทธิมนุษยชน มาเป็น ‘ผู้สังเกตการณ์’ ในคณะทำงานเพื่อการสอบสวนข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น

การตั้งคำถามอย่างจริงจังว่าขอบเขตของสมาชิกอาเซียนที่จะ ‘ดำรงอยู่’ ในกระบวนการสืบสวนสอบสวนควรเป็นเช่นไร ไม่เพียงแต่จะไม่เคยเกิดขึ้นเลยในสังคมไทย แต่ถึงขั้นไม่เคยเกิดขึ้นที่ใจกลางเมืองหลวงของประเทศสมาชิกใดๆ ในภูมิภาคนี้เลย และบางประเทศแสดงอย่างออกชัดแจ้งว่าไม่คิดยอมรับบทบาทใหม่ของอาเซียนในการเข้าร่วมแก้ปัญหาหลังจากเกิดความขัดแย้งขึ้น ขณะเดียวกัน หลักการปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกมองว่าเป็นมาตรฐานใหม่ที่อาจทำให้การจัดการกิจการภายในของสมาชิกอาเซียนยากลำบากขึ้นกว่าเดิม

แต่หากมองในหลายๆ แง่ วิกฤติประเทศไทยเป็นบททดสอบที่สมบูรณ์แบบของอาเซียนที่จะปรับเปลี่ยนลำดับความสำคัญของแต่ละประเด็นที่ต้องจัดการแก้ไข ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงประเทศไทย จะต้องถามตัวเองว่าต้องการให้ข้อด้อยเพียงประการเดียวกลายเป็นอุปสรรคกีดขวางไม่ให้ไปถึงเป้าหมายสูงสุดของการสร้างประชาคมขึ้นในภูมิภาคจริงหรือไม่ เพราะอาเซียนได้มาไกลจากจุดเริ่มต้นในปี 2510 มากแล้ว ขณะนี้อาเซียนมีกฎบัตรเป็นของตัวเองและได้สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ ภารกิจในการสร้างประชาคมระดับภูมิภาคจะไม่มีวันสำเร็จลุล่วงได้ หากประเทศสมาชิกบางส่วนยังเลือกที่จะรับรู้การดำรงอยู่ของอาเซียนผ่านทัศนคติที่คับแคบของตนเพียงฝ่ายเดียว

อภิสิทธิ์ยังมีเวลาที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องโดยไม่คำนึงว่าผลการสอบสวนจะออกมาเป็นเช่นไร รัฐบาลของเขาแปดเปื้อนและจะถูกบันทึกลงในแบบเรียนประวัติศาสตร์ว่าเป็นผู้สั่งให้ทหารปฏิบัติการล้อมปราบ จนนำไปสู่การเสียชีวิตและบาดเจ็บของพลเรือน 

การทำให้กระบวนการสืบสวนสอบสวนดำเนินไปอย่างโปร่งใส โดยเปิดให้ภาคประชาสังคมทั้งในระดับท้องถิ่นและสากลเข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงการตั้งคณะกรรมการสังเกตุการณ์ จะช่วยให้รัฐบาลอภิสิทธิ์สามารถกอบกู้ความชอบธรรมกลับคืนมาได้บางส่วน และในขณะเดียวกันก็ช่วยผ่อนคลายแรงกดดันจากฝ่ายตรงข้ามลงได้บ้าง ที่สำคัญกว่านั้นคือมันอาจช่วยประกอบสร้างประชาคมอาเซียนให้กลายเป็นนักต่อสู้เพื่อพิทักษ์สิทธิมนุษยชนอันดับหนึ่ง ทั้งยังจะช่วยให้กระบวนการก่อตั้งประชาคมในภูมิภาคมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

[บทความนี้เป็นทัศนะส่วนบุคคลของ ‘ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธุ์’ นักวิชาการประจำศูนย์อาเซียนศึกษา, สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งประเทศสิงคโปร์ - ASEAN Studies Centre, Institute of Southeast Asian Studies, Singapore]

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น