โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

นักข่าวพลเมือง: บก.ลายจุดในเงื้อมมือความปรองดอง

Posted: 26 Jun 2010 12:42 PM PDT

<!--break-->

ที่มาของคลิป: Thailand Mirror

คลิป "บก.ลายจุดในเงื้อมมือความปรองดอง" ความยาวประมาณ 1.19 นาที เผยแพร่โดยนักข่าวพลเมืองกลุ่ม "Thailand Mirror" เมื่อคืนวานนี้ (26 มิ.ย.) โดยเป็นการบันทึกเหตุการณ์ที่นายสมบัติ บุญงามอนงค์ แกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง และผู้สนับสนุนร่วมกันทำกิจกรรมผูกผ้าแดงที่ป้ายสี่แยกราชประสงค์เมื่อช่วงเย็นวันที่ 26 มิ.ย. ก่อนที่นายสมบัติจะถูกตำรวจจับตามหมายจับ ศอฉ.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักสิทธิฯ รณรงค์ต้าน "ซ้อมทรมาน" ระบุเป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่ยอมรับไม่ได้

Posted: 26 Jun 2010 10:52 AM PDT

เนื่องในวันป้องกันและต่อต้านการซ้อมทรมานสากล ซึ่งตรงกับวันที่ 26 มิ.ย.ของทุกปี นักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน รวมตัวกันบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ทำกิจกรรมรณรงค์ให้สังคมรับรู้ว่าการทรมานเป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่ไม่สามารถยอมรับได้ ระบุไม่มีข้อยกเว้นใดๆ แม้ในภาวะสงครามหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน

<!--break-->

(26 มิ.ย.53) เนื่องในวันป้องกันและต่อต้านการซ้อมทรมานสากล ซึ่งตรงกับวันที่ 26 มิ.ย.ของทุกปี นักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนจากองค์กรต่างๆ ประมาณ 20-30 คน ได้รวมตัวกันบริเวณลานวิคตอรี่ พอยต์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อทำกิจกรรมรณรงค์ให้สังคมรับรู้ว่าการทรมานเป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่ไม่สามารถยอมรับได้ และไม่มีข้อยกเว้นใดๆ แม้ในภาวะสงครามหรือสถานการณ์ฉุกเฉินก็ตาม

เวลาประมาณ 14.30 น. นางสาวจันทร์จิรา จันทร์แผ้ว ผู้อำนวยการเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้อ่านแถลงการณ์ร่วมของเครือข่ายองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน 8 องค์กร เรียกร้องให้รัฐบาลตรากฎหมายให้การทรมานเป็นความผิดเฉพาะ โดยให้เจ้าหน้าที่รัฐด้านความมั่นคงนำมาตรการในการป้องกันและห้ามการทรมาน ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศมาบังคับใช้อย่างเคร่งครัด และให้รัฐมีมาตรการเยียวยาชดเชยผู้ถูกทรมาน ลงโทษผู้กระทำการทรมาน และให้รัฐแสดงความรับผิดชอบหากมีการซ้อมทรมานเกิดขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

นอกจากนี้ยังมีการจัดการแสดงสาธิตการซ้อมทรมานผู้ต้องหาโดยเจ้าหน้าที่รัฐ มีการแจกใบปลิว พวงกุญแจ สติ๊กเกอร์รณรงค์สร้างความเข้าใจกับประชาชนทั่วไป ว่าการซ้อมทรมานถือเป็นอาชญากรรม โดยเคลื่อนขบวนรณรงค์ไปตามทางเดินลอยฟ้ารอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จนถึงเวลาประมาณ 16.00 น. จึงสลายตัว

นางสาวจันทร์จิรา กล่าวถึงกิจกรรมวันนี้ว่า เป็นการร่วมเดินรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนรู้ว่าวันนี้เป็นวันป้องกันและต่อต้านการซ้อมทรมานสากล และเรียกร้องให้มีกฎหมายป้องกันและต่อต้านการซ้อมทรมาน

"เราต้องการให้คนในสังคมไม่ยอมรับการทรมาน ไม่ว่าในกรณีใดๆ ก็ตาม ไม่มีกรณียกเว้น เพราะคอนเซ็ปต์ในการรณรงค์ของเราคือ ถ้ายอมให้มีการทรมานได้แล้ว ในที่สุด ระบบในสังคมก็จะบิดเบี้ยวไปสุดท้ายใครก็ตามก็สามารถตกเป็นเหยื่อการทรมานได้ และเราก็พยายามรณรงค์ร่างพระราชบัญญัติต่อต้านการทรมาน เพราะเราเห็นว่า การแก้ไข ประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพจารณาความอาญายังไม่เพียงพอ ถ้าหากว่าใครอยากสนับสนุนร่างนี้ก็สามารถเข้าไปดูในเว็บไซต์ [www.naksit.org] ได้"

ขณะที่ นางสาวยูฮานี เจ๊ะกา นักสิทธิมนุษยชนจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม หนึ่งในผู้ร่วมรณรงค์ กล่าวว่า ปัญหาการซ้อมทรมานที่ยังอยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกวันนี้ ชาวบ้านจะถูกจับตัวไปเข้ากระบวนการตามกฎหมายพิเศษ ซึ่งเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐซ้อมทรมานและจะมีการซัดทอด ข้อมูลที่ได้จากการซัดทอดก็จะนำไปขยายการจับกุมตัวต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นผู้บริสุทธิ์ พอเข้าสู่การซักถามก็จะไม่มีหลักฐานใดๆ ที่จะส่งฟ้อง คนที่ถูกฟ้องศาลก็จะยกฟ้อง

 

---------------------------------------------------

แถลงการณ์เครือข่ายองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน
“การซ้อมทรมานเป็นอาชญากรรม”
รัฐบาลต้องยุติและป้องกันการทรมานอย่างเป็นระบบ
เผยแพร่วันที่ 26 มิถุนายน 2553

ปัจจุบันไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การทรมานยังดำรงอยู่ในสังคมไทย โดยการทรมานดังกล่าวเป็นการทำให้เกิดความเจ็บปวด ทางร่างกาย หรือทางจิตใจ หรือความทุกข์ทรมานของบุคคลที่สาม โดยการกระทำ สั่งการ หรือยินยอมโดยเจ้าพนักงานของรัฐ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล หรือเพื่อลงโทษ หรือเพื่อข่มขู่ โดยรูปแบบการทรมานส่วนใหญ่ เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกายหรือทางจิตใจ แต่ยังมีการกระทำที่ไม่ถึงกับเป็นการก่อให้เกิดการทรมานแต่เป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ลง เนื่องจากการกระทำดังกล่าวยังไม่เป็นสาเหตุให้เกิดความเจ็บปวดทางด้านร่างกายและจิตใจ เช่น การใส่ตรวนหรือกุญแจมือตลอดเวลา เป็นต้น คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2550 ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอในการพิจารณาเข้าเป็นภาคี “อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี” และกระทรวงต่างประเทศได้มอบภาคยานุวัติสารต่อสหประชาชาติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550 โดยอนุสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับกับประเทศไทย มาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นมา

อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศไทยมีพันธะกรณีตามอนุสัญญาการต่อต้านการทรมานดังกล่าว ก็มิได้ทำให้สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนดีขึ้นแต่อย่างใด โดยเฉพาะการทรมานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการจัดการกับปัญหาการก่อความไม่สงบ ยังคงใช้วิธีการทรมาน เช่น การทุบตี การเตะหรือกระทืบ และการเอาถุงคลุมศีรษะจนแทบหายใจไม่ออก และไม่ปรากฏว่า ได้มีการบัญญัติกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานตามอนุสัญญาดังกล่าวแต่อย่างใด แม้จะมีความพยายามจากภาครัฐในการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อกำหนดให้การทรมานเป็นฐานความผิดตามกฎหมายโดยเฉพาะ ก็ยังไม่สามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนจากการตกเป็นเหยื่อการทรมานได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่กระทำความผิดฐานการทรมานจะถูกสืบสวนสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่ด้วยกันเอง ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการตรวจสอบถ่วงดุลแต่อย่างใด ดังข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่ละเมิดสิทธิประชาชนด้วยการทรมานเป็นจำนวนมาก และบางกรณี เป็นการกระทำที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม แต่กลับปรากฏว่า เหยื่อจากการทรมานดังกล่าวไม่ได้รับการเยียวยาฟื้นฟู และเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดยังไม่ถูกลงโทษ จนเกิดภาวะลอยนวล ซึ่งนอกจากจะไม่ได้ตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษแล้ว ยังจะส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนในสังคมที่อาจตกเป็นเหยื่อการทรมานเพื่อให้รับสารภาพได้โดยง่ายดาย

ดังนั้น การทรมานคืออาชญากรรมที่ไม่อาจยอมรับได้ หรือไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ให้เจ้าหน้าที่สามารถทรมานบุคคลใดได้ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่ ไม่เช่นนั้น ปัญหาการทรมานจะหยั่งรากลึกและแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ถือเป็นส่วนหนึ่งในปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบกระบวนการยุติธรรม และระบบยุติธรรมในสังคมไทย และการทรมานมิได้เป็นคำตอบหรือทางออกสำหรับการจัดการกับปัญหาความไม่สงบหรือการรักษาความมั่นคงภายในแต่อย่างใด มีแต่จะทำให้สถานการณ์และความเชื่อมั่นในรัฐและระบบกระบวนการยุติธรรมเสื่อมถอยลง

องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ในประเด็นการต่อต้านการทรมานดังกล่าว จึงขอเสนอให้รัฐบาลและสังคมไทย

1. ให้รัฐบาลตรากฎหมายซึ่งกำหนดให้การทรมานเป็นฐานความผิดเฉพาะ โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลเพื่อการสนับสนุนและคุ้มครองเหยื่อจากการทรมาน ตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี โดยกระบวนการการมีส่วนร่วมจากประชาชน

2. ให้หน่วยงานความมั่นคง ทหาร ตำรวจ ราชทัณฑ์ และเจ้าพนักงานของรัฐ ตลอดทั้งผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหน้าที่รัฐ นำมาตรการในการป้องกันและห้ามการทรมาน ที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ที่ประเทศไทยได้รับรองไว้ มาบังคับใช้โดยเคร่งครัด แม้ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะ และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

3. รัฐจะต้องมีกลไกปกป้องคุ้มครองผู้ที่ถูกทรมาน ให้ได้รับการเยียวยาอย่างเป็นธรรม และค่าชดเชยที่เพียงพอเหมาะสม
4. การทรมานเป็นอาชญากรรม ผู้กระทำจะต้องได้รับการลงโทษ ให้รัฐบาลไทยห้ามอย่างเด็ดขาด ไม่ให้มีการทรมาน และการกระทำหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรี และการทรมานไม่สามารถกระทำได้แม้ในสภาวะสงคราม หรือสถานการณ์ฉุกเฉินใดๆ

5. รัฐต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบเป็นเบื้องต้นหากพบว่าการทรมานกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ โดยการขอโทษเพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นแก่เหยื่อและครอบครัวจากการถูกทรมาน

ด้วยความเคารพในสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (CCHR)
คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA)
เครือข่ายเยาวชนสิทธิมนุษยชน(YPHR)
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF)
มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ (WGJP)
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (UCL)
คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (AHRC)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ปล่อยตัว "บก.ลายจุด"

Posted: 26 Jun 2010 10:28 AM PDT

นักศึกษาและประชาชนหลายสาขาอาชีพร่วมกันลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ปล่อยตัว "สมบัติ บุญงามอนงค์" ทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข ชี้การจับกุมสะท้อนการคุกคามพลเมือง รัฐบาลไม่จริงใจปรองดอง

<!--break-->

ภายหลังจากที่ช่วงเย็นวานนี้ (26 มิ.ย.) นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ประธานกลุ่มวันอาทิตย์สีแดงเดินทางไปผูกผ้าแดงที่แยกราชประสงค์ และถูกตำรวจ สน.ลุมพินีควบคุมตัวตามหมายจับข้อหาฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จากกรณีที่นายสมบัติร่วมชุมนุมในช่วง 19 พ.ค. บริเวณเลียบทางด่วน บริเวณลาดพร้าว 71 นั้น ล่าสุดในช่วงหัวค่ำนักศึกษาและประชาชนหลายสาขาอาชีพกว่า่ 100 คน ร่วมกันลงชื่อในจดหมายเปิดผนึก "ขอให้ปล่อยตัวนายสมบัติ บุญงามอนงค์ ทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข" โดยรายละเอียดของจดหมายและผู้ร่วมลงชื่อ มีรายละเอียดดังนี้

 

000

จดหมายเปิดผนึก "ขอให้ปล่อยตัวนายสมบัติ บุญงามอนงค์ ทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข"

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน 2553

ในท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งที่กำลังจะมุ่ง ไปสู่ความพยายามปรองดองโดยรัฐบาลยังคงมีการบังคับใช้พระราชกำหนด บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง ซึ่งเป็นการ ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ในการปฎิบัติงานโดยไม่ต้องรับผิด จับกุมคุมขังโดยไม่มีข้อกล่าวหา ทำให้ความปรองดองที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการปรองดองที่จอมปลอมและหลอกลวง เป็นเพียงการสร้างภาพไปวันๆของรัฐบาล ในวันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน 53 เวลาประมาณ 18.00 น. ได้มีกิจกรรมรำลึกถึงความสูญเสียในการเรียกร้องประชาธิปไตย ด้วยการผูกผ้าแดงที่สี่แยกราชประสงค์ โดยมิได้ก่อความไม่สงบ หรือก่อความเดือดร้อนให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด เป็นเพียงกิจกรรมตามมโนธรรมสำนึกและสิทธิของประชาชน รวมทั้งมิได้มีแกนนำแม้แต่ผู้เดียว

ทว่า เมื่อเวลา 18.00 น. ปรากฏว่ามีการจับกุมนายสมบัติ บุญงามอนงค์  ซึ่งเป็นนักกิจกรรมทางสังคม ที่ทำงานด้านศิลปวัฒนธรรม งานอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ ประสบภัยน้ำท่วมอุตรดิตถ์ ช่วยเหลือแรงงามข้ามชาติ ผู้ถูกกดขี่ ต่อต้านการค้ามนุษย์ ส่งเสริมประชาธิปไตย มีการทำงานกับเด็กไทยภูเขาเพื่อให้เรียนรู้เรื่องสิทธิทางการศึกษา รวมทั้งเป็นผู้ริเริ่มในการดำเนินกิจกรรมติดตามผู้สูญหายจากการสลายการ ชุมนุมของรัฐบาล ซึ่งนับเป็นนักกิจกรรมทางสังคมที่มีคุณค่าต่อสังคมไทย สมบัติ บุญงามอนงค์ คือ ผู้บุกเบิกงานอาสาสมัครยุคใหม่ในสังคมไทย  และเป็นนักกิจกรรมทางสังคมที่ไม่เพิกเฉยความไม่เป็นธรรม

การจับกุมนาย สมบัติ บุญงามอนงค์ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการคุกคามพลเมืองที่มีคุณูปการต่อสังคม และแสดงให้เห็นถึงรัฐบาลไม่มีความจริงใจดำเนินงานตามแผนปรองดองแห่งชาติ

พวกเราตามราย นามดังต่อไปนี้ เป็นนักกิจกรรมทางสังคม เป็นสามัญชน ขอประณามการกระทำของรัฐบาลในครั้งนี้ ขอให้ปล่อยตัวนายสมบัติ บุญงามอนงค์รวมทั้งบุคคลอื่นๆในทันที โดยไม่มีเงื่อนไข และพวกเราขอเรียกร้องให้มีการยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน เพื่อเป็นก้าวแรกในการนำไปสู่การปรองดอง

“ด้วยความหวาดกลัว พ.ร,ก.ฉุกเฉิน”

   1. นายกิตติชัย  งามชัยพิสิฐ
   2. นายประดิษฐ์  ลีลานิมิต
   3. นายบารมี  ชัยรัตน์ สถาบันสันติประชาธรรม
   4. นายเขมทัศน์  ปาลเปรม    กลุ่มปฎิบัติการเพื่อสิทธิคนจน
   5. นาง สาวพรพิมล  สันทัดอนุวัตร  
   6. นายวรรณเกียรติ  ชูสุวรรณ
   7. นายพันศักดิ์  ศรีเทพ  รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการเยียวยาสถานการณ์ฉุกเฉิน
   8. นางสาวศิริพร  พรมวงศ์
   9. นางสาวจา รุวรรณ สาทาลัย
  10. นางสาววลสุดา  โพเย็น
  11. นางสาวจิราพร  หิรัญบูรณะ
  12. นายรัชพงษ์  โอชาพงศ์
  13. นาย สันติ  โชคชัยชำนาญกิจ
  14. นางสาวพัชรี  อังกูรทัศนียรัตน์
  15. นางสาววิรพา  อังกูรทัศนียรัตน์
  16. นางสาว วัชรินทร์ สังขาระ
  17. นางสาววนิดา  สุรคาย
  18. นางสาวอุลัยรัตน์  ชูด้วง
  19. นางสาวพนิดา  บุญเทพ
  20. นาย ญัฐพงษ์  ภูแก้ว
  21. นายอรรถพล  บุญไพโรจน์
  22. นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย
  23. นางสาวปาริดา ปะการะโพธิ์
  24. นางสาวสลิลทิพย์  ณ พัทลุง
  25. นาง สาวอรุณวนา สนิกะวาที
  26. นายสุพัดตรา  ธานีวรรณ
  27. นายสุวิทย์ นาดี
  28. นายธิติ มีแต้ม
  29. นาย วิทยา  แสงระวี
  30. นายกิตติศักดิ์  จันทร์ใหม่
  31. นายอรรถพร ขำมะโน
  32. นายกิตติเดช บัวศรี
  33. นาย ตะวัน พงศ์แพทธ์
  34. นางสาวสุปราณี คันธะชัย
  35. นางสาวปณิธิตา เกียรติ์สุขพิมล
  36. นายธิกานต์ ศรีนารา
  37. นายเจษฎา โชติกิจวิภาค
  38. นาย ปราการ กลิ่นฟุ้ง
  39. นายรอมฎอน ปันจอร์
  40. นางสาวอัญญรัตน์ อ่อนสุทธิ
  41. นายชล เจนประภาพันธ์
  42. Edward Creed
  43. นายชัยวัฒน์ ไชยจารุวณิช
  44. นาง ภาวิณี ไชยจารุวณิช
  45. นางสาวแก้วตา ธิมอิน
  46. นางสาวสุธารี วรรณศิริ
  47. นาย อภิศักดิ์ สุขเกษม
  48. นางสาวกิ่งกร นรินทรกุล
  49. นางสาวอรชพร  นิมิตกุลพร
  50. นางสางสุลักษณ์ หลำอุบล
  51. นางสาวขวัญระวี วังอุดม
  52. นายติรัฐสรรพ์  ประมวลศิลป์
  53. นางสาวนฤมล ทักชุมพล
  54. นางสาวอธิษฐาน์ คงทรัพย์
  55. นางสาวปาริชาด สุวรรณบุปผา
  56. นางสาวแก้วตา เพชรรัตน์
  57. นางสาวพรพิมพ์ แซ่ลิ้ม
  58. นายสันติ ศรีมันตะ
  59. นาง สาวประไพ กระจ่างดี
  60. นางสาวพัชรี พาบัว
  61. นายสุรชาติ ไตรสูงเนิน
  62. นาย กิตติศักดิ์ สุจิตตารมย์
  63. นายธัญสก พันสิทธิวรกุล
  64. นายฮาเมอร์ ซาวาลา
  65. กลุ่ม Anti Social Sanction
  66. นายเรืองฤทธิ์ โพธิพล
  67. นาง สาวอุมาภรณ์ ตั้งเจริญบำรุงสุข
  68. นายอภิสิทธ์ มีภาทัศน์
  69. นายอาคม ตรีแก้ว
  70. นายอนุวัฒน์ พรหมมา
  71. นาง สาวสุนิสา ปุ่มวงศ์
  72. นางสาวปางทิพย์ มั่นธร
  73. นางจิรพา มูลคำมี
  74. นาย ซะการียา อมาตยา
  75. นายมูฮัมหมัด ฮาลัสกาเหย็ม
  76. นายภัทรดนัย จงเกื้อ
  77. นางสาวปชาบดี พุ่มพวง
  78. นาย อุเชนทร์ เชียงแสน
  79. นายโชติศักดิ์ อ่อนสูง
  80. นายประพนธ์ สิงห์แก้ว
  81. นาย ชาติชาย ธรรมโม
  82. นายอิทธิพล สีขาว
  83. นายสมรักษ์ อุตห์จันดา
  84. นาง สาวสาวิตรี พูลสุขโข
  85. นายเก่งกิจ กิตติเรียงลาภ
  86. นายศิววงศ์ สุขทวี
  87. นางสาวสายัณห์ ข้ามหนึ่ง
  88. นาง สาวศิวพร ปัญญา
  89. นางสาววิลาวรรณ เพเดอร์เซ่น
  90. นางสาวเพิ่มสุข อัมพรจรัส
  91. นางสาววรรณ รัตน์ อุนสวัสดิ์อาภา
  92. นายกรชนก แสนประเสริฐ
  93. Miss.Pornthip Weinhold
  94. นายธีรพงษ์ เงินถม
  95. นายจามร ศรเพชรนรินทร์
  96. นาย พงศธร ศรเพชรนรินทร์
  97. นายศิริโชค เลิศยโส
  98. นายนิธิวัต วรรณศิริ
  99. นาย คมลักษณ์ ไชยยะ
 100. นายไชยวัฒน์ ตระกาลรัตนสันติ
 101. นายขจรศักดิ์ แกล้วการไร่
 102. นางสาวปัททุมมา ผลเจริญ
 103. นางสาวพัชณีย์ คำหนัก
 104. รศ.สุชาย ตรีรัตน์
 105. นาย วัฒนา สุขวัจน์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จับ "บก.ลายจุด" ไป ตชด.คลอง 5 ปทุมธานีข้อหาฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

Posted: 26 Jun 2010 04:12 AM PDT

"สมบัติ บุญงามอนงค์" นำสมาชิกกลุ่มไปผูกผ้าแดงที่ป้ายสี่แยกราชประสงค์ ก่อนตำรวจคุมตัวไป สน.ลุมพินี ตามหมายจับของ ศอฉ. เดิม ฐานฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินกรณีชุมนุมที่ลาดพร้าว 71 ใต้ทางด่วนช่วง 19 พ.ค. ล่าสุดมีการคุมตัวไปกองบังคับการ ตชด.ภาค 1 ที่คลอง 5 ปทุมธานีรอ จนท.ศอฉ.สอบปากคำ ขณะที่มีประชาชนอีกกลุ่มนำสติ๊กเกอร์ค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และสติ๊กเกอร์ข้อความ "เราเห็นคนตาย" ไประดมติดบริเวณทางเดินเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส

<!--break-->

นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ถ่ายภาพบนทางเดินรถไฟฟ้าระหว่างรณรงค์กิจกรรมวันอาทิตย์สีแดงที่แยกราชประสงค์ เมื่อ 26 มิ.ย. ก่อนถูกควบคุมตัวไปที่ สน.ลุมพินี ตามหมายจับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ออกมาตั้งแต่ 21 พ.ค. และต่อมาถูกส่งไปยัง กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 ต.คลอง 5 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เพื่อรอ ศอฉ. มาสอบปากคำ  (ที่มาของภาพ: คุณยี่หร่า/Thailand Mirror)

นายสมบัติ บุญงามอนงค์ และสมาชิกกลุ่ม "วันอาทิตย์สีแดง" ร่วมกันผูกผ้าแดงที่ป้ายจราจรแยกราชประสงค์ ก่อนที่นายสมบัติจะถูกตำรวจควบคุมตัวตามหมายจับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค. (ที่มาของภาพ: คุณยี่หร่า/Thailand Mirror)

หมายศาลควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เลขที่ 116/2553 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2553 สำหรับควบคุมตัว "นายสมบัติ บุญงามอนงค์" ตรงชื่อนายสมบัติเขียนด้วยลายมือ ส่วนคำที่เป็นตัวพิมพ์ซึ่งเขียนผิดแล้วถูกขีดฆ่า อ่านว่า "นายสมชาย ไพบูลย์" (ที่มา: คุณ Deerhunter 14)

สติ๊กเกอร์ข้อความ "ยกเลิก พ.ร.ก. เสียที อยากมีชีวิตปกติ" ซึ่งมีประชาชนกลุ่มหนึ่งนำมาติดทับช่วงเย็นวันนี้ (26 มิ.ย. 53) ท่ามกลางข้อความทำนองรักห้างเซ็นทรัลเวิร์ลด์ คิดถึงห้างเซ็นทรัลเวิร์ลด์ หรือขอให้กรุงเทพฯ กลับมาเหมือนเดิม (ที่มา: คุณ Deerhunter 14)

สติ๊กเกอร์ข้อความเดิม ซึ่งผู้สื่อข่าวประชาไทไปบันทึกภาพเมื่อเวลาประมาณ 20.30 น. วันที่ 26 มิ.ย. ปรากฏว่ามีผู้พยายามฉีกออก

สติ๊กเกอร์เขียนข้อความ "ฉันเห็นคนตาย 19 พ.ค. 2010" (I saw dead people! 19 May 10) ถูกติดที่บริเวณแยกราชประสงค์วันนี้ (26 มิ.ย.) (ที่มา: คุณ Deerhunter 14)

สติ๊กเกอร์ข้อความเดิม ซึ่งผู้สื่อข่าวประชาไทบันทึกภาพเมื่อเวลา 20.30 น. ของวันที่ 26 มิ.ย. ยังคงอยู่ปกติ

 

เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. วันนี้ (26 มิ.ย.) นายสมบัติ บุญงามอนงค์หรือ บก.ลายจุด นักกิจกรรม ได้นัดสมาชิกกลุ่มในเฟซบุคไปผูกผ้าสีแดง ที่ป้ายสี่แยกราชประสงค์ บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเวทีปราศรัยของแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคมที่ผ่านมา ก่อนถูกสลายการชุมนมุวันที่ 19 พ.ค.

ต่อมาเวลาประมาณ 17.30 น. มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาพูดคุยกับนายสมบัติ และเชิญตัวไปสอบถามเพิ่มเติมที่ สน.ลุมพินี โดยขณะที่รายงานอยู่นี้ (18.00 น.) นายสมบัติยังอยู่ระหว่างการถูกสอบถามโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ สน.ลุมพินี ขณะที่ภายนอก สน.ลุมพินี มีกลุ่มผู้สนับสนุน และเพื่อนของนายสมบัติมาให้กำลังใจจำนวนมาก

นอกจากนี้มีประชาชนอีกกลุ่มนำสำสติ๊กเกอร์รณรงค์ยกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และสติ๊กเกอร์ที่มีข้อความ "เราเห็นคนตาย" หลายร้อยแผ่น มาติดบริเวณทางเดินเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม ถึงสถานีรถไฟฟ้าชิดลม และป้ายบริเวณห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ด้วย

โดย พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง ผบก.น.5 กล่าวว่า ที่จับกุมนายสมบัติ เพราะนายสมบัติมีหมายจับของศาลเลขที่ 116/2553 ออกเมื่อ 21 พ.ค. ฐานฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลังนายสมบัติจัดการชุมนุมที่บริเวณลาดพร้าว 71 เลียบทางด่วน ช่วงสลายการชุมนุม 19 พ.ค. เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นนายสมบัติปรากฏตัวในที่สาธารณะจึงจับกุมทันที

โดยล่าสุดเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ลุมพินี ไปนำนายสมบัติเดินทางไปยังกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 ต.คลอง 5 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เพื่อให้พนักงานสอบสวนของ ศอฉ. เดินทางมาสอบสวนนายสมบัติที่นั่น

นายสมบัติไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ กับผู้สื่อข่าว กล่าวเพียงแต่ว่ามาสี่แยกราชประสงค์เพื่อเตรียมรณรงค์กิจกรรม "วันอาทิตย์สีแดง" ที่จะจัดในวันพรุ่งนี้ (27 มิ.ย.) เนื่องจากเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมดังกล่าว จึงคิดว่าต้องมาเตรียมกิจกรรมเอง โดยก่อนถูกตำรวจควบคุมตัวไปที่กองบังึคับกรตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 นายสมบัติได้ตะโกนว่า "ทำวันอาทิตย์สีแดงต่อ"

ส่วนสถานการณ์ที่แยกราชประสงค์ เมื่อเวลา 20.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสติ๊กเกอร์ "ที่นี่มีคนตาย เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2010" และอีกหลายๆ ข้อความคล้ายคลึงกัน รวมทั้งสติ๊กเกอร์คัคค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังคงอยู่ แต่มีบางอันมีผู้พยายามแกะออก ขณะที่ผ้าแดงที่ผูกไว้เพื่อเตรียมจัดกิจกรรมไม่ปรากฏให้เห็นแล้ว

สำหรับนายสมบัติ บุญงามอนงค์ ก่อนหน้านี้เคยถูกควบคุมตัวมาแล้ว โดยเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 50 ถูกตั้งข้อหาละเมิดกฎอัยการศึก หลังปราศรัยคัดค้านการรับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่สถานีขนส่ง อ.เมือง จ.เชียงราย ก่อนถูกทหารจากจังหวัดทหารบกเชียงราย ค่ายเม็งรายมหาราชควบคุมตัวและสอบปากคำ ก่อนทหารยอมปล่อยตัวเช้าวันถัดมา

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กวีประชาไท:เพ็ญ ภัคตะ "กรุงเทพมหานรก"

Posted: 26 Jun 2010 03:53 AM PDT

<!--break-->

 

กรุงเทพมหานรก สกปรกแสนอัปรีย์
เทพาคว้าเทพี กระเจิดหนีกระเจิงไหน
 

ผ่านฟ้าเหมือนพ้นฝัน ผ่านคืนวันวิเวกใจ
คอกวัวหรือคอกใคร ขังคนไว้ในขื่อคา
 

บ่อนไก่แท้บ่อนเหยี่ยว ขย้ำเขี้ยวขยุ้มฆ่า
สวนลุมสังหารา แสนแสบคร่าร่ำอาลัย
 

ล่ามโซ่ราชประสงค์ ราชดำรงด้วยเกียรติใด
ปรารภกี่ศพไซร้ ดำเนินไฉนไกลราษฎร

ขึงพืดวัดปทุม จีวรวิ่นสบงว่อน
เผายางแค่ย่างร้อน เมืองอมรพ่นหมอกควัน
 

ทวงคืนทุกพื้นที่ แผ่นดินนี้ของใครนั่น
ตึกทรุดกี่สิบชั้น วิมานสวรรค์ชนชั้นกลวง
 

ไพร่คือผ้าเช็ดเท้า ใต้ฝุ่นเถ้าเป็นตัวถ่วง
ปัดกวาดสะอาดสรวง ลับ ลวง พราง ก่อการร้าย
 

กรุงเทพมหานรก ยังปิดปกประโคมป้าย
เบิกฟ้าบังอบาย สาปให้หายจมธรณี!

 

เพ็ญ ภัคตะ
๖ มิถุนายน ๒๕๕

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น