โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

สหภาพแรงงานสวีเดนเผยแพร่เอกสารสำหรับคนงานไทยที่จะไปเก็บลูกเบอร์รี่ในปีนี้

Posted: 09 Jun 2010 02:11 PM PDT

<!--break-->

 สหภาพแรงงานส่วนท้องถิ่นแห่งสวีเดน หรือ (Swedish Municipal Workers' Union หนือ Kommunal) เผยแพร่เอกสาร "คุณทำงานอยู่ในสวีเดน? ข้อมูลสำหรับคุณที่ทำงานแบบชั่วคราวอยู่ในสวีเดน" สำหรับคนงานที่จะไปเก็บเก็บบลูเบอรรี่ปี พ.ศ. 2553 นี้

 

 

"คุณทำงานอยู่ในสวีเดน? ข้อมูลสำหรับคุณที่ทำงานแบบชั่วคราวอยู่ในสวีเดน"

ข้อมูลสำหรับคุณที่ทำงานแบบชั่วคราวอยู่ในสวีเดน
แผ่นพับฉบับนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎต่าง ๆ ที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณที่ทำงานอยู่ในไร่ ในสวน ฯลฯ ในประเทศสวีเดนเราหวังว่าคุณจะมีความสุขอยู่กับการทำงานดังกล่าวนี้ และได้รับประโยชน์มากที่สุดในช่วงเวลาที่คุณได้รับการว่าจ้างให้ทำงานอยู่ในประเทศสวีเดน

พวกเราเป็นใคร คอมมูนัล ?
คอมมูนัลได้เจรจาตกลงกับนายจ้างต่าง ๆ ในเรื่องเงินเดือนและเรื่องเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการว่าจ้างเราคือสมาคมแรงงานสำหรับผู้ที่ได้รับการว่าจ้างให้ทำงานอยู่ในไร่และทำงานสวน สมาคมเรามีสมาชิกที่ทำงานอยู่ในโรงม้าและสนามม้า ในสนามกอล์ฟ ฯลฯ ด้วย คอมมูนัลเป็นสหภาพแรงงานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสวีเดน สมาชิกของเรามีอยู่ทั้งในภาคการเกษตร และในภาคเทศบาล อันได้แก่ เทศบาลต่างๆ ในสภามณฑล โบสถ์ และบริษัทเอกชนอีกหลายบริษัท

คุณจะได้รับค่าแรงเท่าไร ?
ค่าแรงขั้นต่ำที่สุดในการทำงานในไร่ สำหรับปี ค.ศ.๒๐๐๙ นั้นมีระบุอยู่ในตารางค่าแรง (อนุญาตให้ตกลงค่าแรงในระดับที่สูงกว่านี้ได้) เมื่อคุณทำงานล่วงเวลา ค่าแรงต่อชั่วโมงของคุณจะสูงขึ้นนอกจากนั้น นายจ้างยังจะต้องจ่ายเงินพักร้อนอีก ๑๓ % ขอเงินค่าแรงทั้งหมดที่คุณได้รับ (รวมถึงค่าล่วงเวลาที่คุณได้รับด้วย) เงินพักร้อนนี้จะจ่ายล่าสุดก็เมื่อตอนที่คุณเลิกทำงานแล้วนายจ้างมีหน้าที่ที่จะต้องหักภาษีเงินได้ออกจากเงินค่าแรงของคุณและนำส่งให้กับรัฐ (ถ้าคุณทำงานในสวีเดนน้อยกว่า ๖ เดือน ภาษีเงินได้ของคุณจะมีเป็นจำนวน ๒๕ %)

คุณจะต้องทำงานมากน้อยเท่าไร ?
เวลาทำงานตามปรกติ คือ ๔๐ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตามปรกติแล้วจะทำงานวันละ ๘ ชั่วโมง คือระหว่างเวลา ๐๗.๐๐ น. ถึง ๑๗.๐๐ น. วันจันทร์ถึงวันศุกร์ สำหรับงานการดูแลสัตว์นั้น กำหนดเวลาการทำงานอาจเป็นช่วงเวลาอื่น ระยะเวลาทำงานที่นอกเหนือไปจากเวลาทำงานปรกติจะถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลา และคุณจะต้องได้รับเงินชดเชยพิเศษสำหรับระยะเวลาดังกล่าวตามข้อตกลงของคอมมูนัล คุณมีสิทธิที่จะทำงานล่วงเวลาได้ถึง ๗๐ ชั่วโมงต่อเดือน ถ้าที่สถานที่ทำงานของคุณไม่มีข้อตกลงดังกล่าว คุณก็จะได้รับอนุญาตให้ทำงานล่วงเวลาได้อย่างมาก ๕๐ ชั่วโมงต่อเดือน

ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ดีถ้าคุณจะจดบันทึกทุกวันด้วยว่าคุณทำงานล่วงเวลาไว้วันละกี่ชั่วโมง ในการที่เราจะสามารถช่วยคุณได้ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับค่าแรง เราจำเป็นต้องมีข้อมูลดังกล่าวเหล่านี้ ขอให้จดไว้ทุกวันว่าคุณเริ่มทำงานเวลาเท่าไร และหยุดทำงานเวลาเท่าไร และเวลาที่คุณพักนั้นนานเท่าไร

หลักฐานการว่าจ้าง
ตามกฎหมาย นายจ้างจะต้องมอบหลักฐานการว่าจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรให้กับคุณ ถ้าคุณจะทำงานอย่างน้อยเป็นเวลาหนึ่งเดือน ในหลักฐานการว่าจ้างนี้ อย่างน้อยจะต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ ไว้ด้วย:
• ชื่อนายจ้าง
• ชื่อของคุณ
• สถานที่ทำงานอยู่ที่ไหน และ หน้าที่ของคุณ (หรือระบุตำแหน่ง)
• รูปแบบการว่าจ้าง ถ้าเป็นแบบชั่วคราว จะต้องระบุวันทำงาน วันสุดท้ายไว้ด้วย
• ค่าแรง และผลประโยชน์อื่น ๆ ที่พึงได้ และจะจ่ายเงินค่าแรง บ่อยครั้งแค่ไหน
• เวลาการทำงาน
• การจ่ายเงินพักร้อน
• งานของคุณนี้ระบุอยู่ในข้อตกลงร่วมอันไหน

สภาพแวดล้อมของงาน
คุณจะต้องมีงานที่มีสภาพแวดล้อมที่มั่นคงปลอดภัย ความรับผิดชอบในเรื่องนี้ส่วนหนึ่งนั้นขึ้นอยู่กับคุณเอง คุณจะต้องปฏิบัติตามกฎต่าง ๆ ที่มีอยู่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ และเกิดสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่สถานที่ทำงานของคุณนั้นจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันตัวคุณอยู่ด้วย เช่น ในตอนจัดการกับสัตว์เลี้ยง หรือตอนที่เกิดเสียงรบกวนดัง ๆ หรือ ใน ตอนฉีดพ่นยาคอมมูนัล มีเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องการป้องกันเหล่านี้ ที่จะคอยตรวจตราดูแลสภาพแวดล้อมของงานให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย คุณสามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ดูแลประจำภาคของสหภาพฯ ได้โดยติดต่อผ่านแผนกของคุณ

เมื่อคุณป่วย
เมื่อคุณเกิดป่วยขึ้น นายจ้างจะเป็นผู้จ่ายเงินป่วยให้คุณ โดยเริ่มนับจากวันที่สองที่คุณป่วย ในจำนวน ๘๐ % ของค่าแรงวันแรกที่คุณป่วยนั้น คุณจะไม่ได้รับเงินชดเชยสำหรับเวลาที่คุณไม่ได้ทำงานเงินป่วยนี้จะจ่ายให้นานสุดจนถึงวันที่ ๑๔ ของการป่วยเงินชดเชยสำหรับการป่วยหลังจากนั้น กองเงินทุนประกันสังคมจะเป็นผู้จ่าย (ในการที่จะได้รับเงินชดเชยจากกองเงินทุนประกันสังคมนั้น คุณจะต้องมีภูมิลำเนาและลงทะเบียนราษฎร์อยู่ในประเทศสวีเดน)

ทำไมการมีข้อตกลงร่วมนี้ จึงเป็นประโยชน์สำหรับคุณ ?
ข้อตกลงร่วมของคอมมูนัลนี้เป็นหลักประกันสำหรับคุณต่อสัญญาที่นายจ้างได้สัญญาไว้: คือเรื่องค่าแรง เงินชดเชยค่าล่วงเวลา เงินชดเชยหยุดพักร้อน ฯลฯ

ขอให้จำไว้ว่า : ถ้าสถานที่ทำงานของคุณไม่มีข้อตกลงดังกล่าว ก็หมายถึงว่า นายจ้างไม่ได้ให้สัญญาอะไรไว้กับคุณเลย !ในข้อตกลงของคอมมูนัล จะมีการระบุถึงเรื่องการประกันภัยต่าง ๆ ถ้าเกิดอะไรขึ้นกับคุณในที่ทำงาน
การประกันภัยที่สำคัญที่สุดคือ การประกันภัย ทีเอฟเอ ซึ่งเป็นการประกันเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในการทำงาน

ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเข้าเป็นสมาชกของคอมมูนัล ?
สำหรับคุณที่ทำงานอยู่ในภาคการเกษตร คุณสามารถที่เข้าเป็นสมาชิกของคอมมูนัลได้ แม้ว่าจะเป็นงานแบบชั่วคราวก็ตามในฐานะสมาชิก คุณมีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือในเรื่องการเจรจาเกี่ยวกับเงื่อนไขการว่าจ้าง ถ้าข้อพิพาทที่มีต่อนายจ้างทำให้เกิดผลทางด้านกฎหมายขึ้นคุณก็จะได้รับการปกป้องทางกฎหมายโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

ค่าธรรมเนียมของการเป็นสมาชิกนั้นคลุมถึงการประกันภัยสองประเภทด้วย:
• การประกันอุบัติเหตุ ซึ่งคลุมถึงการได้รับบาดเจ็บในช่วงเวลาว่าง และ
• การประกันที่พักอาศัย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินที่คุณมีอยู่ในที่พักในประเทศสวีเดน

* วันหยุดราชการประเภทนี้ได้แก่: วันขึ้นปีใหม่ วันกู๊ดไฟรเดย์ วันอีสเตอร์ อีฟ วันอีสเตอร์ ซันเดย์ วันอีสเตอร์ มันเดย์ วันที่ ๑ พฤษภาคม วันวีต วันวีตซันเดย์ วันชาติ วันมิดซัมเมอร์ อีฟ วันมิดซัมเมอร์ ซันเดย์ วันครีสมาสต์ อีฟ วันครีสมาสต์ ซันเดย์ วันบ๊อกซิ่งเดย์ และวันส่งท้ายปีเก่า

คุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ?
คอมมูนัล มีอยู่ทั่วประเทศสวีเดน เรามีสาขาอยู่ในทุกเขตเทศบาลและมีแผนกต่าง ๆ ประจำอยู่ในทุกมณฑล และเปิดทำการตามเวลาปรกติ ศูนย์โทรศัพท์ของเราจะช่วยแนะนำให้คุณได้ติดต่อกับแผนกต่าง ๆ ที่ถูกต้อง
หมายเลขโทรศัพท์ ๐๑๐-๔๔๒ ๗๐ ๐๐

ข้อมูลสำหรับการติดต่อกับแผนกต่าง ๆ มีอยู่ใน www.kommunal.se/avdelningar

 

สหภาพคนทำงานต่างประเทศเผยสวีเดนมีมาตรการคุมเข้ม การหวังรายได้เป็นแสนๆ เหมือนที่ผ่านมาอาจจะไม่ได้แล้ว
ทั้งนี้ จรรยา ยิ้มประเสริฐ ประธานสหภาพคนทำงานต่างประเทศ แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าสหภาพ Kommunal ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานที่จะต้องตรวจสอบสัญญาจ้างงานทุกฉบับ ของชาวต่างชาติที่จะมาทำงานเก็บผลไม้ สำหรับเงื่อนไขการเก็บผล ไม้ป่าที่สวีเดนปี 2553 นี้ และคงจะเป็นอยู่อีกหลาย ปีกว่าจะสามารถแก้ไขได้ คือจะใช้ระบบการจ้างงานเป็น เงินเดือนโดยทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง เงินเดือนไม่ ต่ำกว่า 71,000 บาท แต่นายจ้าง ที่สวีเดนจะสามารถหักภาษี 25% (เดือน ละ 17,700) หักค่าที่พัก ค่ารถ ค่าอาหาร และค่าน้ามัน (ประมาณวันละ 250-350 Kroner/วัน =1,250 บาท x 30 วัน =33,700 บาท) ทั้งนี้นายจ้างจะเงินค่าพักร้อนคืนให้ 13% เมื่อทำงานเสร็จแล้ว แต่เมื่อคำนวณค่าใช้จ่าย ในสวีเดนจากค่าใช้จ่าย หลัก + ภาษี จะตกเดือนละ คนงานจะเหลือเงินแต่ละเดือน (ถ้าไม่มีการทำงาน ล่วงเวลา และทำงานในวันหยุด) จะมีค่าใช้จ่ายหลัก 51,450 บาท จะเหลือเงินเพียง 20,000 กว่าบาทเท่านั้น ซึ่งทำงานทั้งสองเดือนกว่ายังไม่พอจ่ายค่าใช้จ่ายและค่านายหน้าในการเดินทางไปเก็บเบอร์รี่

นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้สหภาพคนทำงานต่างประเทศหนักใจกันว่าแม้จะมีกฎหมายใหม่ แต่ถ้าคนงานต้องจ่ายเงินค่านายหน้ากันมากขนาดนั้นคนงานจะ เสียหายเช่นปีที่ผ่านมา นอกจากว่าจะมีการจ่ายค่า ทำงานล่วงเวลาให้คนงาน แต่กระนั้นก็ตามด้วยมาตร การคุ้มเข้มเข่นนี้ การหวังได้รายได้เป็นแสนเหมือนปีที่ผ่านๆ มาก็คง ไม่มีทางเป็นจริง และเอาเข้าจริงๆ จากรายงานของพ่อค้าเบอร์รี่ทั้งใน สวีเดนและฟินแลนด์เฉลี่ยปีที่ผ่านๆ มาคนงานมีเงินเหลือโดยเฉลี่ยเพียงคนละ 40,000 -50,000 บาทเท่านั้น เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงการ ขาดทุนซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า

ทั้งนี้ประเทศไทยต้องทบทวน มาตรการส่งเสริมให้เกษตรกรไทยมาเก็บเบอรรี่ ที่สวีเดนและฟินแลนด์  โดยในตอนนี้สหภาพคนทำงานต่างประเทศกำลังอยู่ในช่วงการ ปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงานที่สวีเดนถึงมาตรการช่วยเหลือคนงานที่เสียหายที่ประเทศไทยเมื่อปีที่ผ่านมา และการวางมาตรการป้องกันการเสียหายในปีนี้ ซึ่งมาตรการช่่วยเหลือรวมทั้งการตั้งกองทุนพัฒนาหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบและเสียหายในปีที่ผ่านมาด้วย

อนึ่งสหภาพแรงงาน Kommuna เป็นสหภาพแรงงานที่ใหญ่ที่สุดในสวีเดน ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1910 โดยในปี ค.ศ. 2005 มีสมาชิกถึง 570,000 คน โดยส่วนใหญ่สมาชิกเป็นลูกจ้างของเทศบาลและสภามณฑล รวมถึงแรงงานภาคเกษตรและภาคบริการ 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เปิด 417 รายชื่อ-ที่คุมขัง ผู้ถูกจับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

Posted: 09 Jun 2010 01:59 PM PDT

สตช.เปิดชื่อ 417 ผู้ต้องหา ถูกจับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และความผิดที่เกี่ยวเนื่องผ่านเว็บไซต์ ส่วนมติชนออนไลน์เผย 29 รายชื่อ ถูกคุมตัวในค่ายทหาร-ตชด.พร้อม 37 รายชื่อ ผู้ต้องหาคดี "ก่อการร้าย" ด้านสื่อผู้จัดการเผยแกนนำเสื้อแดง Los Angeles หนีออกนอกประเทศแล้ว

<!--break-->

วันนี้ (9 มิ.ย.53) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองสารนิเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยบัญชีรายชื่อผู้ต้องหาที่ถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) และความผิดที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งถูกควบคุมตัว ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.saranitet.police.go.th/ มีจำนวน 417 คน โดยระบุรายละเอียดทั้งข้อหา สถานที่ควบคุมตัว รวมทั้งชื่อพนักงานสอบสวนและหน่วยงานที่สังกัด

ส่วนการตรวจสอบผู้สูญหาย ข้อมูลในเว็บไซต์กองสารนิเทศ ได้ระบุว่ารายชื่อบุคคลที่ถูกแจ้งสูญหายนั้นตรวจสอบแล้วตรงกับผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัว 5 ราย ประกอบด้วย 1.นายอาทิตย์ ทรงเดช แจ้งหายตามบัญชีบุคคลสูญหาย พลัดหลง ของ สยศ.ตร.ปรากฎว่าเป็นบุคคลที่ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 ข้อหาร่วมกันชุมนุมโดยฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ร่วมกันพยายามวางเพลิง, ร่วมกันบุกรุกโดยมีอาวุธฯ ตามคดีอาญาที่ 1711/2553 ของ สภ.เมืองอุดรธานี ปัจจุบันถูกควบคุมที่เรือนจำกลางอุดรธานี 

2.นายวิชัย แสงแพง อายุ 30 ปี แจ้งหายตามข้อมูลของมูลนิธิกระจกเงา ปรากฎว่าเป็นบุคคลที่ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 20 พ.ค.53 ข้อหาร่วมกันชุมนุมโดยฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตามคดีอาญาที่ 445/2553 ของ สน.ปทุมวัน ปัจจุบันถูกควบคุมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ 3.นายวิจิตร ตรีกุล แจ้งหายตามข้อมูลของมูลนิธิกระจกเงา ปรากฎว่าเป็นบุคคลที่ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 18 พ.ค.53 ข้อหาร่วมกันชุมนุมโดยฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ตามคดีอาญาที่ 635/2553 ของ สน.ดินแดง ปัจจุบันถูกควบคุมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

4.นายชัชวาล ต้อนรับ แจ้งหายตามข้อมูลของมูลนิธิกระจกเงา ปรากฎว่าเป็นบุคคลที่ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 20 พ.ค.53 ข้อหาลักทรัพย์ หรือรับของโจร ตามคดีอาญาที่ 461/2553 ของ สน.ปทุมวัน ปัจจุบันถูกควบคุมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ และ5.นายวิศิษฏ์ แกล้วกล้า อายุ 33 แจ้งหายตามข้อมูลของมูลนิธิกระจกเงา (แจ้งชื่อนายวิศิษย์ แก้วกล้า อายุ 32 ปี) เป็นบุคคลที่ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 ข้อหาปล้นทรัพย์, ร่วมกันชุมนุมโดยฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตามคดีอาญาที่ 430/2553 ของ สน.ปทุมวัน ปัจจุบันถูกควบคุมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

http://www.saranitet.police.go.th/

ขณะที่ เนชั่นทันข่าว รายงานว่า พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษก บช.น.เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ได้ชี้แจงข้อมูลต่างๆ ทั้งกรณีผู้ถูกจับกุมคดีต่างๆ ทั้งตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และความผิดอาญา โดยให้สำรวจรายชื่อ สถานที่ควบคุมต่างๆ ว่าใครไปอยู่ที่ใด มีความผิดอะไร เพราะบางครั้งญาติหาไม่ได้ ส่วนอีกเรื่องคือ กรณีคนสูญหายหรือแจ้งว่าสูญหาย ซึ่งตำรวจก็ตรวจสอบไปทุก สน.หลายรอบแล้ว มีจำนวน 20 ราย ขณะเดียวกันมีข้อมูลปรากฏตามสื่อต่างๆ รวมทั้งที่มูลนิธิกระจกเงา ซึ่งมีการรายงานข้อมูลว่าคนหายไป 79 ราย ในที่ประชุม ศอฉ.

พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมฯ ได้ระบุให้ผู้ที่เข้าแจ้งกรณีคนสูญหายทั้งหมดให้แจ้งที่ สน.ซึ่งเป็นส่วนราชการด้วย เพื่อเป็นหลักฐานในการทำนิติกรรมทุกอย่าง อีกส่วนให้ตำรวจประสานมูลนิธิกระจกเงา รวมถึงพรรคฝ่ายค้านให้ส่งข้อมูลให้กับตำรวจด้วย ในกรณีมีผู้ที่แจ้งตามหาผู้สูญหาย ซึ่งอาจถูกคุมขัง หรืออาจติดคุก หรือเป็นการสูญหายในเรื่องอื่นจะได้ตามหา

พล.ต.ต.ปิยะกล่าวต่อมาว่า ศอฉ.แจ้งด้วยว่าในหลายกรณีอาจมีการแจ้งเพราะคนหายจริงๆ แต่กรณีเอาคนกลุ่มอื่นมาแจ้ง หรือแจ้งด้วยเหตุอื่นไม่เกี่ยวกับการเมือง ซึ่งต้องตรวจสอบว่าการแจ้งหายนั้นมีเจตนาใด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้นำข้อมูลผู้ที่ถูกควบคุมไปขึ้นเว็บไซต์ กองสารนิเทศในช่วงเย็นวันนี้

ทั้งนี้ ในส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สรุปยอดรวมผู้ต้องหาคดีอาญาที่ถูกควบคุม ขัง หรือกักขัง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้ง 417 คน แบ่งตามการควบคุมดูแลโดยหน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีดังนี้

1.กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) จำนวน 221 คน
 
2.ตำรวจภูธรภาค 1 (9 จังหวัด คือ สมุทรปราการ ปทุมธานีพระนครศรีอยุธยา นนทบุรี สระบุรี ลพบุรี อ่างทอง ชัยนาท และสิงห์บุรี) จำนวน 40 คน
2.1 จังหวัดปทุมธานี จำนวน 14 คน
2.2 จังหวดสมุทรปราการ จำนวน 8 คน
2.3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 18 คน
3.ตำรวจภูธรภาค 2 (8 จังหวัด คือ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว) จำนวน - คน
 
4.ตำรวจภูธรภาค 3 (8 จังหวัด คือ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี) จำนวน 29 คน
4.1 จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 29 คน
 
5.ตำรวจภูธรภาค 4 (11 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี) จำนวน 105 คน
5.1 จังหวัดขอนแก่น จำนวน 6 คน
5.2 จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 19 คน
5.3 จังหวัดอุดรธานี จำนวน 80 คน
 
6.ตำรวจภูธรภาค 5 (8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน) จำนวน 20 คน
6.1 จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 คน
6.2 จังหวัดเชียงราย จำนวน 10 คน
6.3 จังหวัดน่าน จำนวน 5 คน
 
7.ตำรวจภูธรภาค 6 (9 จังหวัด คือ พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุทัยธานี อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร ตาก นครสวรรค์) จำนวน - คน
 
8.ตำรวจภูธรภาค 7 (8 จังหวัด คือ นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี) จำนวน 2 คน
8.1 จังหวัดนครปฐม จำนวน 2 คน
 
9.ตำรวจภูธรภาค 8 (7 จังหวัด คือ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต กระบี่ พังงา ระนอง ชุมพร), ตำรวจภูธรภาค 9 (4 จังหวัด คือ สงขลา ตรัง สตูล พัทลุง), กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.), ศูนย์ปฏิบัติตํารวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.) จำนวน - คน
 
 
 
เผย 29 รายชื่อ ผิด พ.รก.ฉุกเฉินฯ ถูกคุมตัวใน ค่ายทหาร-ตชด.อีก 37 ชื่อโดนคดีก่อการร้าย 
 
ส่วน มติชนออนไลน์ รายงานวันเดียวกันนี้ ถึงรายชื่อผู้ต้องหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ถูกจับกุมและมอบตัวแล้ว 29 ราย และผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างติดตามจับกุม 50 ราย รวมถึงรายชื่อผู้ต้องหาในคดีก่อการร้าย โดยกรมสอบสวนพิเศษออกหมายจับ 37 ราย ซึ่งหลายคนโดนทั้ง 2 ข้อหา 
 
คุมตัวที่ บก.ตชด.ภาค 1 คลองห้า จ.ปทุมธานี
1.นางศิริวรรณ นิมิตศิลป์
2.นางวิกานดา ปักกาลัง (ปล่อยตัว)
3.น.ส.รัศมี มาลาม
4.นายธาดา บุญสุขศรี
5.นายชากิรีน บุญมาเลิศ
6.นายวายุภักดิ์ โนรี (ปล่อยตัว)
7.นายภาสกร หรือสมนึก ศิริรักษ์ (ปล่อยตัว)
8.พ.ต.ท.ศุภชัย ผุยแก้วคำ (ปล่อยตัว)
9.น.ส.ดวงมณี บุณรัตน์ (ปล่อยตัว)
10.นายไพโรจน์ แสงศรี
11.นายพิเชษฐ์ สุขจินดาทอง 
 
คุมตัวที่ค่ายนเรศวร อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
1.นายเมธี อมรวุฒิกุล
2.นายเขน แขนสันเทียะ
3.นายชยุต ใหลเจริญ
4.นายเรืองอำนาจ พุทธิวงศ์
5.นายมีชัย สินนาค (ปล่อยตัว)
6.นายอำนาจ อินทโชติ
7.นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก
8.นพ.เหวง โตจิราการ
9.นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
10.นายนิสิต สินธุไพร
11.นายวีระ มุสิกพงศ์
12.นายก่อแก้ว พิกุลทอง
13.นายขวัญชัย สาราคำ หรือไพรพนา
14.นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท 
 
คุมตัวที่ค่ายอดิศร ศูนย์การทหารม้า จ.สระบุรี
1.นายจรัญ หรือยักษ์ ลอยพูล
2.นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข
3.นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (ปล่อยตัว)
4.พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล (เสียชีวิต)
 
ติดตามจับกุมตัว
1.นายพายัพ ปั้นเกตุ
2.นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์
3.นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง
4.นายธนกฤต ชะเอมน้อย หรือนายวันชนะ เกิดดี
5.พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์
6.นางดารุณี กฤตบุญญาลัย
7.นายจรัล ดิษฐาอภิชัย
8.นายชินวัฒน์ หาบุญพาด
9.นายอดิศร เพียงเกษ
10.นายวรพล พรหมิกบุตร
11.พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์
12.นายสำเริง ประจำเรือ
13.นายวิสา คัญทัพ
14.นางไพจิตร อักษรณรงค์
15.นายอารี ไกรนรา
16.นายอร่าม แสงอรุณ
17.นายมงคล สารพัน
18.นายธนเดช เอกอภิวัชร์
19.นายราตรี หรือชาตรี ชื่นชม
20.นายพันธุ์ศักดิ์ ชาบุ 
21.นายธนกฤต นาคบรรจง
22.นายนิพนธ์ แสงสีนิล
23.น.อ.พิรัตน์ วัฒนพานิช
24.นายชุติพนธ์ ทองคำ
25.นางกัญญาภัค มณีจักร
26.นายเพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล
27.นายภูมิใจ ไชยยา
28.นายนิยม เหลืองเจริญ
29.นายอภิชาต อินสอน
30.น.ส.มาระตี วงศ์ไทย 
31.นายวินัย แสงสีนิล
32.น.ส.กัลยารัตน์ กาวีระ
33.นายประทีป ใจหาญ
34.นายสมเกียรติ สาระเนียม
35.นายธนานันท์ ศรีสุดดี
36.นายกิตติ์ดนัย พริ้งกุลเศรษฐ์
37.นายพีระ พริ้งกลาง
38.นายสมชาย ไพบูลย์
39.นายนาวิน บุญเสรฐ
40.นางประทีป อึ้งทรงธรรม 
41.ชายไทยไม่ทราบชื่อ
42.ชายไทยไม่ทราบชื่อ
43.นายอัครพล ขันธกาญจน์
44.ว่าที่ ร.ต.สุรภัศ จันทิมา
45.นายอรรณพ แซ่ตัน
46.นายจักรชลัช คงสุวรรณ์
47.นายสมบัติ มากทอง
48.นายศักดา แก้วผูกนาค
49.นายยงยุทธ ท้วมมี
50.นายเยี่ยมยอด ศรีมันตะ
 
ผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย
1.นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง
2.นายพายัพ ปั้นเกตุ
3.นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์
4.นายศิริวรรณ นิมิตศิลป์
5.นายยศวริศ ชูกล่อม
6.นายวีระ มุสิกพงศ์
7.นพ.เหวง โตจิราการ
8.นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
9.นายขวัญชัย สาราคำ
10.นายจตุพร พรหมพันธุ์ 
11.นายนิสิต สินธุไพร
12.นายพิเชษฐ์ สุขจินดาทอง
13.พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์
14.พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล
15.นายอดิศร เพียงเกษ
16.นายชินวัตน์ หาบุญพาด
17.นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท
18.นายก่อแก้ว พิกุลทอง
19.พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
20.นายสุรชัย เทวรัตน์ 
21.นายรชต วงค์ยอด
22.นายสุขเสก พลตือ
23.นายวิเชียร ขาวขำ
24.นายอารี ไกรนรา
25.นายชยุต ใหลเจริญ
26.นายการุณ โหสกุล
27.นายอำนาจ อินทโชติ
28.นายจรัญ ลอยพูล
29.นายมงคล สาระพัน
30.นายยงยุทธ ท้วมมี 
31.นายสมบัติ มากทอง
32.นายอร่าม แสงอรุณ
33.ร.ต.สุรภัศ จันทิมา
34.นายจักชลัช คงสุวรรณ
35.นายอัครพล ขันทกาญจน์
36.นายศักดา แก้วผูกนาค
37.นายอรรณพ แซ่ตัน
 
 
ดีเอสไอ ยัน “ศิริวรรณ” แกนนำคนเสื้อแดง L.A.หนีไปแล้ว
 
ด้าน เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ รายงานข่าวระบุถึง นางศิริวรรณ นิมิตศิลป์ แกนนำเสื้อแดง Los Angeles สหรัฐอเมริกาว่าทได้ถูกจับกุมตามหมายจับ เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา จากนั้นถูกควบคุมตามตาม พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินไว้ที่กองบังคับการตำรวจตระเวณชายแดนภาค 1 (บก. ตชด.ภ.1) คลอง 5 อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ต่อมามีพลเมืองดีแจ้งเข้ามายัง เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ ว่าพบนางศิริวรรณ เดินทางไปยัง Los Angeles สหรัฐอเมริกาแล้ว เมื่อผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบ และได้รับการเปิดเผยจากแหล่งข่าวในกองบัญชาการตำรวจนครบาล พบว่าได้มีการปล่อยตัวนางศิริวรรณไปแล้วจริง ซึ่งไม่ตรงกับการรายงานข่าวของมติชน จึงทำการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง 
 
เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ รายงานต่อมาว่า กองบัญชาการตำรวจนครบาล และกองปราบปราม ยืนยันตรงกันว่า นางศิริวรรณ ได้หลบหนีไปแล้ว หลังจากที่พนักงานสอบสวนปล่อยตัวในชั้นแรก ก่อนที่จะถูกออกหมายจับก่อการร้าย และหลังจากศาลออกหมายจับก่อการร้ายแล้ว ทางดีเอสไอ เรียกตัวให้มารับทราบข้อกล่าวหา แต่นางศิริวรรณ ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้ว 
 
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าว ยั้งได้รับการยืนยันจากนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอด้วย
 
 
รวบอีก 2 แนวร่วม นปช.อดีต สข.ทรท.- ผู้บริหารสถานีวิทยุชุมชน ตามหมายจับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 
 
ข่าวสดออนไลน์ รายงายเมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 9 มิ.ย.53 พ.ต.อ.พรศักดิ์ สุรสิทธิ์ ผกก.1 บก.ป. พ.ต.ต.จารุวัฒน์ พาหุมันโต สว.กก.1 บก.ป. พร้อมกำลังเข้าจับกุมนายสมชาย ไพบูลย์ อายุ 41 ปี อดีต สข.บางบอน ของพรรคไทยรักไทย ตามหมายจับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ 96/2553 ได้ที่หน้าบ้านเลขที่ 33 หมู่ 1 ต.ควนเกย อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช หลังจากนั้นจึงนำตัวเดินทางเข้ามาสอบปากคำ และลงบันทึกประจำวันเป็นหลักฐาน ที่กองปราบปราม 
 
นายสมชาย กล่าวว่าที่ตนโดนหมายจับ ก็เนื่องจากว่าได้ไปตั้งเวทีปราศรัยที่อนุสาวรีย์ชัยฯ เมื่อคืนวันที่ 17 พ.ค.ซึ่งอยู่ใกล้กับสามเหลี่ยมดินแดง ที่มีการปะทะกันจนทำให้มีผู้เสียชีวิต จึงได้มีผู้ใหญ่คนหนึ่งขอให้ไปช่วยดูแล เพราะถ้าการชุมนุมใดที่ไม่มีคนดูแลคอยห้ามปราม ก็อาจมีคนเสียชีวิตมากขึ้น ตนจึงรับอาสาไป 
 
“เราต่อสู้กันมาขนาดนี้แล้ว ก็ยินดีที่จะเข้าสู่กระบวนการ ผู้มีอำนาจเมื่อหมดอำนาจก็ต้องเข้าสู่กระบวนการเหมือนกัน เราชาวพุทธเชื่อว่าเวรกรรมมีจริงเท่านั้นเอง ไม่มีอะไร ผมมั่นใจว่า 86 ศพของพวกเรา ต้องคอยเป็นกำลังใจให้ผมอย่างแน่นอน” นายสมชาย กล่าว
 
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่านายสมชาย เป็นแกนนำกลุ่ม นปช.ที่ขึ้นเวทีปราศรัยบ่อยครั้ง โดยอยู่ในกลุ่ม “Thailandmirror” จัดรายการวิทยุชุมชนในเว็บไซต์ และเป็นแกนนำตั้งเวทีคู่ขนานอยู่ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา กระทั่งถูกออกหมายจับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ภายหลังการสอบสวนแล้วทางเจ้าหน้าที่ได้นำตัวนายสมชายไปควบคุมไว้ที่ บก.ตชด.ภาค 1 จ.ปทุมธานี
 
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า นอกจากในรายของนายสมชายแล้ว ชุดสืบสวนของกองปราบปรามนำโดยพ.ต.ท.พุทธพงศ์ เมฆเอี่ยมนภา สว.กก.1 บก.ป. ยังได้เข้าจับกุม นายพันธุ์ศักดิ์ ซาบุ ผู้บริหารสถานีวิทยุชุมชน “คนรักไทย” คลื่น 95.25 เอฟเอ็ม ตามหมายจับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ 49/2553 ได้ที่ ถ.ประชาราษฎร์ สาย 1 ซ. 28 แขวงและเขตบางซื่อ กทม. หลังจากนั้นได้นำตัวส่งไปควบคุมไว้ที่ บก.ตชด.ภาค 1 จ.ปทุมธานี
AttachmentSize
บัญชีรายชื่อผู้ต้องหาที่ถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และความผิดที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งถูกควบคุมตัว409.34 KB
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now

ตำรวจรวบมือเผาเผาเซ็นทรัลเวิลด์ - ศาลปล่อยตัว "จตุพร การุณ" เป็นอิสระชั่วคราว

Posted: 09 Jun 2010 12:36 PM PDT

<!--break-->

ศาลปล่อยตัว "จตุพร การุณ" เป็นอิสระชั่วคราว
ที่ศาลอาญา เมื่อเวลา 08.50 น. เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ที่ผ่านมานายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. พร้อมด้วย นายการุณ โหสกุล ส.ส.พรรคเพื่อไทย แนวร่วม นปช. เดินทางไปรายงานตัวตามหมายเรียกของ พ.ต.ท.ถวัลย์ มั่งคั่ง พนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในข้อหาร่วมกัน หรือใช้ให้ ผู้อื่น หรือสนับสนุนการกระทำความผิดอาญา ฐานก่อการร้าย โดยมีกองเชียร์กลุ่มคนเสื้อแดงไปมอบดอกกุหลาบให้กำลังใจประมาณ 300 คน ท่ามกลางการดูแลรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจคอมมานโด กองปราบปรามอย่างแน่นหนา ซึ่งนายจตุพรและนายการุณ มีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ขณะที่นายคารม พลทะกลาง ทนายความ นปช. เตรียมหลักทรัพย์ยื่นประกันตัวผู้ต้องหาทั้งสองคน เป็นเงินสดคนละ 1 ล้านบาท และใช้ตำแหน่ง ส.ส. ในการยื่นขอประกันตัวต่อศาล ขณะเดียวกันนายวิเชียร ขาวขำ ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ผู้ต้องหาอีกคนที่ดีเอสไอนัดให้มารายงานตัวนั้น ได้ทำหนังสือเลื่อนนัดรายงานตัวออกไปเป็นวันที่ 21 มิ.ย.53 เวลา 10.00 น. เนื่องจากหมายเรียกนัดกระชั้นชิดเกินไป ไม่สามารถหาหลักทรัพย์ประกันตัวได้ทัน รวมทั้งต้องการไปรายงานตัวที่ดีเอสไอ เมื่อเห็นว่าศาลอาญาไม่ใช่ที่ทำการของดีเอสไอ

ดีเอสไอยื่นคำร้องฝากขังครั้งที่ 1
ต่อมา พ.ต.ท.ถวัลย์ มั่งคั่ง พนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ยื่นคำร้องขอฝากขังนายจตุพรและนายการุณ ต่อศาลครั้งที่ 1 ระบุว่า เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 53 คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ได้ร่วมกันแจ้งข้อกล่าวหาและข้อหา กับนายจตุพรและนายการุณ ผู้ต้องหาว่า ร่วมกันหรือใช้ให้ผู้อื่น หรือสนับสนุนการกระทำความผิดอาญา ฐานก่อการร้าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 3 ปี-20 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000- 1,000,000 บาท เหตุเกิดระหว่างเดือน พ.ย. 52 ถึง พ.ค. 53 ที่ กทม. ปริมณฑล และเขตพื้นที่บางจังหวัดของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน

อ้างมีพฤติกรรมชุมนุมผิดกฎหมาย
พฤติการณ์กล่าวคือ ผู้ต้องหาเป็นแกนนำหลักบนเวทีชุมนุมของกลุ่ม นปช. หรือกลุ่มคนเสื้อแดงชุมนุมประท้วง โต้แย้ง เคลื่อนไหว เรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาโดยเร็ว มีพฤติการณ์ในการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย ใช้ความรุนแรง ก่อวินาศกรรม มีและใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดในราชการสงครามในการก่อการร้าย หรือตอบโต้เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ หรือประชาชนที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม เพื่อบังคับข่มขู่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ผู้ต้องหากับพวกสับเปลี่ยนกันบนเวทีชุมนุมปราศรัยปลุกระดม ปลุกปั่นให้ผู้ชุมนุมกระด้างกระเดื่อง เพื่อให้เกลียดชังรัฐบาล ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบหรือล่วงละเมิดกฎหมาย เพื่อบังคับข่มขู่คุกคาม ต่อต้านหรือปะทะกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมาหลายครั้ง เช่น เหตุการณ์บุกรุกรัฐสภา บุกรุกสถานีดาวเทียมไทยคม ต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่โรงแรมเอสซี ปาร์ค เหตุการณ์ปะทะกับเจ้าหน้าที่ทหารที่อนุสรณ์ สถานแห่งชาติ หรือเหตุการณ์ปะทะกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารที่สี่แยกคอกวัว หรือบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เผา สถานที่ราชการและเอกชน เผาห้างสรรพสินค้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และเผาศาลากลางจังหวัดอีกหลายแห่ง จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสจำนวนมาก

พ้นการคุ้มครองตามเอกสิทธิ์
ในคำร้องระบุว่า เนื่องจากผู้ต้องหาไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและพนักงานอัยการ ที่ร่วมสอบสวนร่วมกันพิจารณาเห็นว่า มีพยานหลักฐานตามสมควรเพียงพอ จึงได้แจ้งข้อหาให้ทราบดังกล่าว และมีเหตุที่จะขอให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหาได้ โดยผู้ต้องหาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และเป็นแกนนำหลัก สับเปลี่ยนกันพูดปราศรัยบนเวทีชุมนุมของกลุ่ม นปช. ได้ปลุกปั่น ยุยงส่งเสริมผู้ชุมนุม ให้เกลียดชังรัฐบาลหรือฝ่ายตรงข้าม จนกระทั่งกลายเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ หรือมีอาวุธปืนสงครามที่มีความร้ายแรง ก่อวินาศกรรม ก่อเหตุจลาจล เกิดการเผาบ้านเผาเมือง ห้างสรรพสินค้า ธนาคารต่างๆ รวมทั้งศาลากลางจังหวัดหลายแห่ง จนเป็นข่าวครึกโครมไปทั่วโลก ผู้ต้องหาได้ร่วมแรงร่วมใจหรือรู้เห็นเป็นใจ โดยมีเจตนาร่วมกันกระทำผิดอาญาฐานก่อการร้าย และ ขณะนี้ไม่อยู่ในระหว่างสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร จึงไม่ได้รับการคุ้มครองเอกสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 131

ฝากขังแล้วค้านการประกันตัว
ในคำร้องขอฝากขังยังระบุด้วยว่า การสอบสวนคดีนี้ยังไม่แล้วเสร็จ จำเป็นต้องสอบสวนพยานบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องในคดีอีกประมาณ 90 ปาก และรอผลการตรวจพิสูจน์หลักฐานต่างๆทางนิติวิทยาศาสตร์อีกจำนวนมาก อีกทั้งมีเหตุผลที่จะให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหาได้ จึงขออนุญาตศาลขอฝากขังผู้ต้องหา มีกำหนด 12 วัน นับแต่วันที่ 8 มิ.ย. 53 ถึงวันที่ 19 มิ.ย. 53 ท้ายคำร้องยังระบุด้วยว่า หากผู้ต้องหาขอประกันตัวต่อศาล คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ขอคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหา เนื่องจากมีเหตุผลดังกล่าวตามข้างต้นประกอบกับผู้ต้องหามีส่วนร่วมในการปลุกปั่น และยุยงส่งเสริมให้ประชาชนก่อความไม่สงบขึ้น หรือกระทำผิดกฎหมายดังกล่าวมาก่อน และสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน ยังไม่เป็นที่ไว้วางใจในเหตุการณ์รุนแรงต่างๆ หากปล่อยตัวไปอาจจะหลบหนีหรือไปก่อเหตุร้ายดังกล่าวขึ้นอีก

ศาลปล่อยตัวเป็นอิสระชั่วคราว
ขณะเดียวกัน นายคารม พลทะกลาง ทนายความของ นปช. ได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง นายจตุพร และนายการุณ ต่อศาล โดยระบุว่า 1. นายจตุพร และนายการุณได้เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนดีเอสไอไปแล้ว 2. ได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนจะรวบรวมเอกสารหลักฐาน ยื่นคำให้การชี้แจงภายใน 30 วัน และ 3. ทั้งสองไม่เคยมีพฤติการณ์ข่มขู่พยาน หรือหลบหนี โดยทั้ง 2 มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ซึ่งหลังจากศาลพิจารณาคำร้องแล้วได้ให้ประกันตัวทั้ง 2 คนไป

นอกจากนี้พนักงานสอบสวนกองปราบปราม ได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาควบคุมตัวนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นาย ขวัญชัย ไพรพนา นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก และนายนิสิต สินธุไพร 5 แกนนำ นปช. เป็นครั้งที่ 3 อีก 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ 9-15 มิ.ย.นี้ เนื่องจากยังต้องสืบสวนสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน ดำเนินการทั้งหลายต่างๆ เพื่อป้องกันมิให้เกิด เหตุการณ์ร้ายแรง และหรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรง ต้องรอผลการตรวจสอบต่างๆด้วย ศาลอนุญาตขยายเวลาควบคุมตัวทั้ง 5 คนได้

ไม่ขัดข้องวิเชียรเลื่อนพบ พงส.
ด้านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีก่อการร้าย กล่าวถึงกรณีศาลอาญาให้ประกันตัวนายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายการุณ โหสกุล ส.ส.พรรคเพื่อไทยว่า ศาลอาญาอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 2 คน ตามคำร้องของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ แต่ศาลอนุญาตให้ ปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักทรัพย์ประกันคนละ 1 ล้านบาท ส่วนแนวทางการดำเนินคดีหลังจากนี้ดีเอสไอ จะทำการสืบสวนสอบสวนก่อนสรุปสำนวนสั่งฟ้องต่ออัยการ ส่วนกรณีนายวิเชียร ขาวขำ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่ดีเอสไอนัดให้มาพบพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมนายจตุพรและนายการุณ ได้แจ้งขอเลื่อนการเข้าพบพนักงานสอบสวนในวันนี้ ให้เหตุผลว่าเตรียมหลักทรัพย์ไม่ทัน ดีเอสไอพิจารณาแล้วไม่ขัดข้องอะไร อย่างไรก็ตาม คงต้องนัดมาพบที่ศาลอาญาเพื่อขอศาลออกหมายขังอีกครั้ง ส่วนกลุ่มแกนนำ นปช.ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ค่ายนเรศวร จังหวัดเพชรบุรี ถ้าพ้นอำนาจการควบคุมตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็จะกลับเข้าสู่การควบคุมดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งดีเอสไอก็จะนำตัวขอฝากขังกับศาลอาญาต่อไป

จับการ์ดแดงมือเผาเซ็นทรัลเวิลด์
ส่วนที่ บช.น. เวลา 10.00 น. พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น. พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 แถลงข่าวจับกุมนายสายชล แพบัว อายุ 28 ปี อยู่บ้านเลขที่ 44 หมู่ 1 ต.บางชุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท พร้อมบัตรสมาชิก นปช.ออกโดย พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ แกนนำ นปช. ตามหมายจับศาลอาญา ข้อหา ร่วมกันวางเพลิงทรัพย์ของผู้อื่น โดยจับกุมได้บริเวณท้องสนามหลวง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม. พล.ต.ท.สัณฐาน กล่าวว่า หลังจากยุติการชุมนุมของกลุ่ม นปช. เมื่อวันที่ 19 พ.ค. เวลา 14.30 น. ผู้ต้องหากับพวกได้ร่วมกันทุบทำลายกระจก ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เข้าไปในห้างเหตุเกิดบริเวณโซน อี ชั้นที่ 1 ลักทรัพย์สินมีค่าและวางเพลิงเผาทรัพย์ จากการตรวจสอบกล้องวงจรปิด พนักงานสอบสวนได้ขออนุมัติหมายจับผู้ต้องหาแล้ว 4 คน นายสายชล เป็น 1 ใน 4 และให้การรับสารภาพว่า เป็นบุคคลตามภาพถ่ายจริง แต่ปฏิเสธว่าไม่ได้วางเพลิงและลักทรัพย์ ส่วนผู้ต้องหาอ้างว่าเป็นการ์ดของ นปช. ได้รับค่าจ้างวันละ 500 บาท จากหัวหน้าชุด วันที่ห้างเกิดเพลิงไหม้ได้อยู่หน้าประตูห้างคอยห้ามผู้ชุมนุมเสื้อแดงไม่ให้เข้าไปในห้างและเห็นชายชุดดำเดินแยกออกไป จากนั้นประมาณครึ่งชั่วโมง พอเพลิงไหม้ตนก็ไปหลบอยู่ในวัดปทุมวนาราม

ผู้กองแดงสนามหลวงก็โดนรวบ
ขณะเดียวกัน เวลา 13.30 น. พ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รักษาราชการแทน ผบก.ป. สั่งการ พ.ต.อ.พรศักดิ์ สุรสิทธิ์ ผกก.1 บก.ป. พ.ต.ท.ณัฐกร ประภายนต์ รอง ผกก.1 บก.ป. จับกุมตัวนายชุติพนธ์ ทองคำ อายุ 53 ปี อยู่บ้านเลขที่ 74/171 หมู่ 9 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กทม. ผู้ดำเนินรายการวิทยุธรรมะกับการเมือง สถานีวิทยุชุมชนเรดสกิลล์เรดิโอ คลื่น 96.35 FM ตั้งอยู่ที่ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ตามหมายจับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นายชุติพนธ์ กล่าวว่า จัดรายการวิทยุชุมชนแห่งนี้ทุกวัน วันละ 2 ชั่วโมง ช่วงเกิดเหตุการชุมนุมทางการเมืองและมีความรุนแรงขึ้นในหลายพื้นที่ ถูก ศอฉ.ออกหมายเรียก และได้ประสานอย่างไม่เป็นทางการไปยัง ศอฉ.ขอเลื่อนการเข้ามอบตัวออกไปก่อน จนกว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะสงบ ก่อนจะถูกจับกุมตัว ส่งไปที่ บก.ตชด.ภาค 1 คลองห้า จ.ปทุมธานี นอกจากนี้ พ.ต.ต.ต่อวงศ์ พิทักษ์โกศล สว.กก.1 บก.ป. พร้อมกำลังจับกุมนายสมบัติ มากทอง หรือแดง หรือ ผู้กองแดงสนามหลวง ผู้ต้องหาตามหมายจับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีกราย ที่ย่านพัทยา จ.ชลบุรี ทำบันทึกและนำตัวไปควบคุมไว้ที่ บก.สนับสนุนทางอากาศ บก.ตชด.ค่ายนเรศวร อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

ทั้งนี้ มีรายงานว่า นายชุติพนธ์นั้นถูก บช.ก.ขออนุมัติศาลออกหมายจับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 14-20 พ.ค. 2553 เนื่องจากพบว่ามีการนำคลิปตัดต่อเสียงของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ออกเผยแพร่ ทางสถานีวิทยุชุมชนดังกล่าว ส่วนนายสมบัติมาจากเหตุการณ์ ปลุกระดมโจมตีรัฐบาล

         

ที่มาข่าว: ไทยรัฐ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลรธน.ชี้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯไม่ขัด รธน. "สุเทพ" เผยลากยาว พรก.ฉุกเฉิน ตั้ง "คณิต" สอบเหตุสลาย นปช.

Posted: 09 Jun 2010 12:25 PM PDT

ศาลรธน.ชี้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯไม่ขัด รธน. ศอฉ.ชี้เลิก-ไม่เลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินชัดก่อน 7 ก.ค.นี้ "สุเทพ" เผยลากยาว พรก.ฉุกเฉิน ครม.อนุมัติให้ "คณิต ณ นคร" อดีตอัยการสูงสุดเป็นประธาน กก.สอบเหตุการเดือนพฤษภาคม
<!--break-->

9 มิ.ย. 53 -  ที่ศาลรัฐธรรมนญ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ประชุมกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดส่งความเห็นในคดีหมายเลขดำที่ ฟ.19/2553 เพื่อขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 211 ว่าพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาตรา 16 บัญญัติว่า "ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพ.ร.ก.นี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง" ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 223 หรือไม่ ทั้งนี้ ศาลได้แถลงด้วยวาจาก่อนลงมติและลงมติโดยผลปรากฎว่า ศาลมีมติเสียงข้างมากวินิจฉัยว่าพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 มาตรา 16 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญยังแถลงด้วยวาจาก่อนลงมติและลงมติโดยเอกฉันท์ในประเด็นที่ศาลปกครองสูงสุดขอให้ศาลวินิจฉัย พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 47 ตรี วรรคหนึ่ง (7) และมาตรา 47 ทวิ (2) ซึ่งบัญญัติถึงลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครและผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องเป็นผู้ที่ไม่มีพฤติกรรมในทางทุจริตนั้น ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 4 มาตรา 27 และมาตรา 39 วรรคสาม

ศอฉ.ชี้เลิก-ไม่เลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินชัดก่อน 7 ก.ค.นี้  เตรียมทำซีดีแจงเหตุทหารสลายแดง
เมื่อเวลา 16.00 น. ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.ประวิตร  วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะรองผู้อำนวยการศอฉ. เป็นประธานในการประชุม โดยมีตัวแทนจากเหล่าทัพต่างๆเข้าร่วมประชุม โดยใช้เวลาในการประชุมร่วม 1 ชั่วโมง  หลังจากที่ประชุมศอฉ.ได้มอบหมายให้แต่ละหน่วยงานไปพิจารณาขอบข่ายการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน เพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการยกเลิกประกาศใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น ในที่ประชุมวันนี้ทางกระทรวงมหาดไทยและกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้มีการเสนอการพิจารณาในส่วนของตน หลังจากที่ก่อนหน้านี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)ได้มีการเสนอไปแล้ว อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังเหลือบางหน่วยงานที่ยังไม่ได้เสนอข้อมูลพิจารณาเข้ามา ดังนั้นที่ประชุมจึงขอให้หน่วยงานที่เหลือพิจารณาและนำเสนอต่อที่ประชุมศอฉ.ในโอกาสต่อไป  ซึ่งที่ประชุมมั่นใจว่า จะมีการพิจารณาว่า จะยกเลิกหรือต่ออายุของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้ทันก่อนที่พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะครบกำหนด 3 เดือนในวันที่ 7 กรกฎาคมนี้  อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ในที่ประชุมศอฉ.เห็นว่า แม้ที่ผ่านมาจะยังคงประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอยู่ แต่ไม่ได้สร้างความวิตกกังวลให้กับสังคม และไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์แต่อย่างใด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังสอบถามถึงความคืบหน้าในการรวบรวมข้อมูล ภาพเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง และการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ศอฉ.ในการขอคืนพื้นที่แยกราชประสงค์ที่ผ่านมา เพื่อจัดทำเป็นซีดีนำไปสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อประชาชน ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ แต่คาดว่าจะนำเสนอต่อที่ประชุมศอฉ.ได้เร็ว ๆ นี้

ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อบ่ายวันที่ 8 มิถุนายน นายปณิธาน วัฒนายากร ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการแก้ไขสถานการฉุกเฉิน (ศอฉ.) แจ้งต่อที่ประชุม ครม.ถึงการปรับลดกำลังพลของศอฉ.เนื่องจากสถานการณ์ลดระดับความรุนแรงลง หลายพื้นที่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ทหารกลับเข้าสู่กรมกองเกือบหมดแล้ว เหลือเพียงสารวัตรทหารและตำรวจดูแลสถานการณ์เป็นหลัก

ปณิธานอ้างพบแดงก่อหวอดใต้ดิน
กระนั้นก็ตามในประเด็นการไม่ยกเลิก พรก.ฉุกเฉินใน 24 จังหวัดนั้น นายปณิธาน อธิบายว่าเพราะเกรงว่า จะมีการก่อวินาศกรรมต่อเนื่อง อีกทั้งการควบคุมตัวผู้ต้องหากลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)หรือกลุ่มเสื้อแดง ก็ต้องอาศัยกฎหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยขณะนี้ทางศอฉ.ขณะนี้ได้พยายามติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มที่อาจก่อความไม่สงบแก่บ้านเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยพบความเคลื่อนไหวของกลุ่มดังกล่าวมักจะเป็นการเคลื่อนไหวแอบแฝง มีการนัดพบปะกันประมาณ 200 - 300 คนในรูปแบบต่างๆ เช่นงานต่างๆที่ไม่ใช่การชุมนุมทางการเมือง ในขณะเดียวกันก็ได้มีการปลุกระดม

เกาะติดท่อน้ำเลี้ยงเสื้อแดง
เมื่อถามถึงกรณีคนที่อยู่ในต่างประเทศมีการจ่ายเงินเคลื่อนไหวอยู่ในขณะนี้นายปณิธานกล่าวว่า สำหรับข้อมูลทางด้านการเงินเป็นข้อมูลที่หลายหน่วยงานได้เริ่มนำมาใช้ในการดำเนินการได้อย่างได้ผลมากขึ้น เราจะสังเกตเห็นว่าข้อมูลย้อนหลังเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก ต่อไปการยุติและการขออนุญาตทำธุรกรรมจากต่างประเทศจะเป็นระบบ และถ้าย้อนหลังกลับไปจะเป็นพิมพ์เขียวว่ากิจกรรมใดบ้างที่ผ่านมาใครทำอะไรอย่างไรตรงไหน ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะเห็นภาพรวมที่ชัดเจนขึ้นมากกว่าในอดีต เพราะว่าการให้สถาบันทางการเงินต่างๆได้รายงานภาพรวมของเครือข่ายทั้งหมด ซึ่งที่ผ่านมาเราไม่เคยทำมาก่อน

แกะรอย 5 หมื่นล้านใช้เคลื่อนไหว
เมื่อถามว่าตอนนี้เหมือนมีตัวเลขคราวๆในการเคลื่อนไหวที่ท่านนายกฯไปคอนเฟิร์มแล้วประมาณ 5-6 หมื่นล้านบาทนายปณิธานกล่าวว่า ท่านนายกฯได้พูดในเวที WEF ว่ามีการเบิกเงินในลักษณะที่น่าสงสัยในเครือข่ายหรือในกลุ่มที่น่าจะมีความเกี่ยวข้อง ซึ่งนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังมีตัวเลขเบื้องต้นในช่วงแรกๆอยู่แล้ว และขณะนี้จำนวนเงินตรงนั้นจะมีการตรวจสอบอย่างชัดเจนในช่วงที่ใช้ กฎหมาย พ.ร.ก. ฉุกเฉินอยู่ ว่าส่วนไหนที่เกี่ยวข้องบ้าง และเพื่อความยุติธรรมถ้ามีความเกี่ยวข้องจะนำไปเข้าสู่ระบบการดำเนินคดี
นายปณิธานกล่าวต่อว่า เงินจำนวนมากจำนวนหนึ่งที่ขณะนี้ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมถึงสามรถเบิกเงินได้มากขนาดนี้ ต้องดูว่าเงินจำนวนดังกล่าวเบิกไปทำอะไรบ้าง ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวเป็นจำนวนเงินที่น่าสงสัย โดยตัวเลขของตัวบุคคลที่มีการเคลื่อนไหวทางการเงินผิดปกติ อยู่ในกลุ่มที่ถูกอายัดทางธุรกรรม

เทือกอ้างมีข่าว 2 เดือนแดงมาอีก
ด้าน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผอ.ศอฉ.ให้สัมภาษณ์ยอมรับมีความกังวลต่อกระแสข่าว ที่กลุ่มเสื้อแดง จะกลับมาเคลื่อนไหวในอีก2เดือนข้างหน้า ดังนั้นจึงต้องเตรียมการเอาไว้ไม่ให้ใครเผาบ้านเผาเมือง และต้องคงอำนาจ พรก.ฉุกเฉินไว้อีกระยะหนึ่ง

ลากยาวประกาศ พรก.ฉุกเฉิน
เมื่อถามว่า ตั้งแต่ช่วงนี้ไปจนถึง 7 กรกฎาคม ก็จะไม่มีการพิจารณาประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ยังจะไม่มีการประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังจะต้องใช้อยู่อีกระยะ ซึ่งตนจะต้องทำงานแข่งกับเวลา
นายสุเทพ ยังระบุว่า ทางกระทรวงต่างประเทศรายงานในที่ประชุม ศอฉ.ว่านานาประเทศเข้าใจและเห็นด้วยกับการที่รัฐบาลได้ดำเนินการเกี่ยวกับการชุมนุมทั้งหมด แต่สำหรับกรณีของประเทศบรูไน ที่อนุญาตให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ต้องหาก่อการร้ายเข้าออกประเทศได้นั้น เราก็จะทำหนังสืออธิบายไป เพราะไทยกับบรูไน มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมาตลอด

ตั้ง "คณิต" สอบเหตุสลายแดง
ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ศอฉ.มีการประเมินการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมตลอด และทางศอฉ.เห็นว่าต้อง คงไว้ซึ่ง พรก.ฉุกเฉินอีกระยะหนึ่งหลังมีกระแสข่าวว่ากลุ่มคนเสื้อแดงอาจจะกลับมารวมตัวอีกครั้งในช่วง 2 เดือนข้างหน้า

นายกรัฐมนตรี ยังแถลงด้วยว่า ครม.ได้อนุมัติให้ นายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุดเป็นประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงในเหตุการเดือนพฤษภาคม โดยให้นายคณิตไปเป็นผู้คัดเลือกผู้มาเป็นกรรมการให้แล้วเสร็จใน15วันจากนั้นก็ร่วมกันทำความจริงให้กระจ่าง ทั้งนี้ นายคณิต เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์

สำหรับอำนาจของคณะกรรมการฯชุดนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รวบรวมตรวจสอบเหตุการณ์ข้อเท็จจริงและนำเสนอผู้ที่เกี่ยวข้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงต่างๆ และถ้าพบว่ามีใครกระทำความผิดก็ต้องส่งข้อมูลดำเนินการตามกฎหมาย

เปิดทางสอบรัฐบาลด้วย
เมื่อถามว่า การทำงานคณะกรรมการฯชุดนี้จะเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยหรือเปล่า นายกฯ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับผลการสอบ และถ้ามีประเด็นอะไรที่มาเกี่ยวข้องกับตน หรือคนอื่นๆ ในรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบทางการเมือง เป็นเรื่องที่เราต้องพิจารณาตัดสินใจอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตามนายกฯกล่าวว่า มีบางเรื่องที่ตนต้องไปดูเป็นพิเศษ ที่เป็นผลกระทบต่อเนื่องตจากการชุมนุม โดยเฉพาะเรื่องของอาวุธสงครามที่มีการใช้กันมาก จะให้กระทรวงมหาดไทย และกลาโหม เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป

ชี้พท.ร้องเลิกพรก.มีแผนชั่ว
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่พรรคเพื่อไทย(พท.)เรียกร้องให้ยกเลิกพรก.ฉุกเฉินว่าเพราะมีวาระซ่อนเร้นดังนี้ 1.จะถือโอกาสสร้างสถานการณ์และเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งบนดินและใต้ดิน ขึ้นมาใหม่ 2.หวังผลด้านคดีความที่แกนนำ นปช.ถูกคุมขังด้วยอำนาจของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ และแกนนำส่วนหนึ่งกำลังหนีการจับกุมอยู่ก็หวังจะมอบตัวหลังจากที่ยกเลิก พ.ร.ก.แล้ว 3.เปิดทีวีดาวเทียมพีเพิลเชแนล และสถานีวิทยุชุมชน รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์เรดนิวส์ วอยส์ออฟทักษิณ และหนังสือพิมพ์ความจริงววันนี้ ปลุกระดมมวลชนคนเสื้อแดงต่อไป 4.หวังที่จะให้มีการยกเลิกการงดใช้ธุรกรรมทางการเงินของกลุ่มนิติบุคคล บุคคล ต่างๆ ซึ่งเป็นการตัดท่อน้ำเลี้ยงมาสู่แกนนำ และขยายผลต่อไปยังมวลชนกลุ่มต่าง ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ ต่อไปจนกว่าสถานการณ์จะปกติ

"คณิต"บอกขอตั้งหลักก่อน
วันเดียวกันนายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด ให้สัมภาษณ์ถึงการจะไปเป็นประธานสอบเหตุการพฤษภาคมว่ากล่าวว่า ขอตั้งหลักก่อน และต้องรอให้ทุกอย่างเรียบร้อยก่อน

ด้าน นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวว่าเห็นด้วยที่นายคณิต เข้าไปรับหน้าที่ดังกล่าว เพราะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถได้รับการยอมรับ

เพื่อไทยคัดค้านตั้ง"คณิต"
ก่อนหน้านี้สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ยื่นหนังสือถึงปปช.ให้สอบสวนกรณีที่พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ไม่ขอออกหมายจับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เข้าไปยึดสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง โดยอ้างว่า พล.ต.อ.ปทีป ละเว้นการปฎิบัติหน้าที่

นายพร้อมพงษ์ ยังกล่าวว่าไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลจะตั้งนายคณิต ณ นคร เป็นประธานสอบเหตุการเดือนพฤษภาคม และ ทางพรรคเพื่อไทยจะยื่นหนังสือคัดค้าน เนื่องจากว่า จากนายคณิตไม่เป็นกลาง เพราะใกล้ชิดกับแกนนำรัฐบาลบางคน แม้นายคณิตจะเป็นผู้ร่วมก่อนตั้งพรรคไทยรักไทย มาก่อน แต่ไม่ต่างกับนายเนวิน ชิดชอบ ที่เคยร่วมงานกับพรรคไทยรักไทยมาเช่นกัน ในเรื่องดังกล่าวโฆษกพรรคเพื่อไทย ยังเสนอให้องค์กรต่างประเทศเป็นผู้เข้ามาตรวจสอบเหตุการพฤษภาคมทั้งหมดอีกด้วย

หมอประเวศชี้ "คณิต" คนดี เชื่อทำให้รู้ความจริง
ด้าน นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ให้สัมภาษณ์ที่ จ.ขอนแก่น กรณีที่ ครม.มีมติแต่งตั้ง นายคณิต ณ นคร เป็นประธานการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ ว่า เท่าที่รู้จัก คุณคณิต เป็นคนดี มีความรู้ และเชื่อว่าจะทำให้รู้ความจริงและเกิดความสมานฉันท์ ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบ ตนมองว่าเป็นคณะกรรมการสัจจะสมานฉันท์มากกว่าที่จะไปสอบสวนเพื่อเอาคนผิดมาลงโทษ

หมอประเวศ ยังได้ยกตัวอย่างที่ประเทศอเมริกา ท่ามกลางกระบวนการทำงานที่มีความขัดแย้งว่าใครผิดใครถูก เช่นเรื่องสีผิว ระหว่างคนขาว คนดำ ซึ่งผู้พิพากษาไม่กล้าตัดสินเพราะกลัวว่าจะเกิดความขัดแย้ง จึงไปใช้กระบวนการแก้ไขปัญหาที่เรียกว่า "ความยุติธรรมเชิงฟื้นฟู เชิงสมานฉันท์

ส่วนกรณีที่ ครม.ได้มอบอำนาจใน นายคณิต ไปสรรหาคณะกรรมการเองนั้น ราษฎรอาวุโสมองว่า เนื่องจากคณะกรรมการเป็นคณะกรรมการอิสระ ซึ่งให้สิทธิประธานฯ ที่จะไปหาคณะกรรมการเพื่อร่วมทำงาน เพราะบางทีหากภาครัฐมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาให้สุดท้ายก็ทำงานไม่ได้ ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทยมองว่าประธานฯ ไม่เป็นกลาง นั้น หมอประเวศ ระบุว่า แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน คงห้ามได้

"ผมรู้จักคุณคณิต ท่านเขียนบทความเยอะ ท่านเป็นนักวิชาการ เป็นคนซื่อตรงต่อวิชาชีพ เป็นนักหนังสือ และที่ผ่านมาผมก็เคยเสนอให้ท่านเข้ามาช่วยในหลายๆ เรื่อง แต่ท่านไม่ค่อยรับ ครั้งนี้คงเห็นว่าบ้านเมืองคงลำบากมากก็เลยรับ ซึ่งเชื่อว่าคุณคณิตจะเป็นคณะกรรมการเพื่อสัจจะและสมานฉันท์แก้ไขวิกฤติความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มากกว่าจะไปตัดสินว่าใครผิดใครถูก" หมอประเวศ กล่าว

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจ, เว็บไซต์แนวหน้า, เนชั่นทันข่าว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บช.น.รายงานแจงงบใช้ช่วงเสื้อแดงชุมนุม ยังค้างจ่ายเบี้ยเลี้ยงตำรวจอีก 92 ล้าน

Posted: 09 Jun 2010 11:43 AM PDT

<!--break-->

9 มิ.ย. 53 - เว็บไซต์แนวหน้ารายงานว่า รายงานว่าทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.)ได้มีการสรุปการใช้จ่ายงบประมาณในการรักษาความสงบเรียบร้อย ช่วงการชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ระหว่างวันที่ 11 มีนาคม-31 พฤษภาคม 2553 โดยทาง บช.น.ขอรับการสนับสนุนงบประมาณไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) รวม 82 วัน เป็นเงินทั้งสิ้น 189,026,400 บาท ได้รับการสนับสนุนงบประมาณรวม 7 ครั้ง เป็นเงินทั้งสิ้น 97,000,000 บาท จัดสรรงบประมาณให้หน่วยในสังกัดเพื่อเบิกจ่ายได้ ถึงวันที่ 27 เมษายน ยกเว้นทาง ปจ.หญิง สามารถจัดสรรงบประมาณได้ถึงวันที่ 6 พฤษภาคม จนถึงวันที่ 9 มิถุนายน โดย บช.น.ยังขาดงบประมาณเพื่อเบิกจ่ายเงินให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจถึงวันที่ 31 พฤษภาคม เป็นเงินทั้งสิ้น 92,026,400 บาท

ทั้งนี้ รายงานสรุปการใช้งบประมาณฯ ยังระบุด้วยว่า ขณะนี้ คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้อนุมัติงบกลางเพิ่มเติม (งวดที่ 3) ให้กับ สตช.จำนวนทั้งสิ้น 285,120,000 บาท ซึ่งสำนักงบประมาณจะต้องอนุมัติเงินประจำงวดให้กับ สตช.เสียก่อน จึงจะสามารถจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยในสังกัดได้ ซึ่งคาดว่า น่าจะเป็นหลังวันที่ 16 มิถุนายนนี้ เป็นต้นไป

นอกจากนี้ ในตอนท้ายของการสรุปการใช้งบประมาณฯ ระบุอีกว่า เนื่องจาก บช.น.มีใบสำคัญค้างเบิกของหน่วยในสังกัด ระหว่างวันที่ 28 เมษายน จำนวนทั้งสิ้น 54,663,154 บาท ฝ่ายงบประมาณ บช.น.จึงประสานไปยังกองงบประมาณ สตช.เพื่อขอรับการสนับสนุนวงเงินงบประมาณให้เพียงพอต่อการเบิกจ่าย หากมีการจัดสรรงบประมาณดังกล่าวให้ บช.น.แล้วก็จะต้องส่งคืนวงเงินที่เกินให้กับ สตช.เมื่อได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากสำนักงบประมาณ

ที่มา: เว็บไวต์แนวหน้า

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จับ "สมชาย ไพบูลย์" แกนนำเสื้อแดงรุ่น 2 ส่วนผู้ต้องหาเผาศาลากลางอุดรฯ เสียชีวิตแล้ว

Posted: 09 Jun 2010 11:34 AM PDT

<!--break-->

เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 9 มิ.ย. พ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รักษาราชการแทน ผบก.ป. ได้สั่งการให้ พ.ต.อ.พรศักดิ์ สุรสิทธิ์ ผกก.1 บก.ป. พ.ต.ต.จารุวัฒน์ พาหุมันโต สว.กก.1 บก.ป. พร้อมกำลังจับกุม นายสมชาย ไพบูลย์ อายุ 41 ปี อดีต สข.บางบอน พรรคไทยรักไทย ตามหมายจับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ 96/2553 โดยจับกุมได้ที่หน้าบ้านเลขที่ 33 หมู่ 1 ต.ควนเกย อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช จึงนำตัวมาทำบันทึกที่กองปราบปราม โดยมีประชาชนจำนวนหนึ่งที่ทราบข่าวเดินทางมารอรับ และมอบดอกกุหลาบสีแดงเพื่อนเป็นกำลังใจ

ทั้งนี้ นายสมชาย เป็นแกนนำกลุ่ม นปช.ที่เคยขึ้นเวทีปราศรัยบ่อยครั้ง และเป็นแกนนำตั้งเวทีคู่ขนานอยู่ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา กระทั่งถูกออกหมายจับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อย่างไรก็ตาม ภายหลังทำบันทึกแล้วพนักงานสอบสวนจะนำตัวนายสมชายไปควบคุมไว้ที่ บก.ตชด.ภาค 1 คลองห้า จ.ปทุมธานี

นายสมชาย กล่าวว่า เรื่องการมอบตัวไม่ได้อยู่ในความกลัวของพวกเรา แต่ว่าอยากให้ยกเลิก พ.ร.ก.เสียก่อน ซึ่งก่อนหน้านี้คาดการณ์ว่าหลังจากมีการสลายการชุมนุมแล้วไม่เกิน 7 วันน่าจะมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แต่เมื่อถึงเวลารัฐบาลนี้ยอมให้ประเทศเสียหายโดยการคง พ.ร.ก.ไว้เพื่อไล่ตามจับพวกตน ตนเชื่อว่าหากยกเลิก พ.ร.ก.เมื่อใดพวกตนส่วนใหญ่พร้อมจะมอบตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

นายสมชาย กล่าวต่อว่า ตนถูกออกหมายจับเนื่องจากไปตั้งเวทีปราศรัยที่อนุสาวรีย์ชัยฯ ซึ่งอยู่ใกล้สามเหลี่ยมดินแดงที่มีการปะทะกันจนมีผู้เสียชีวิต จึงมีผู้ใหญ่คนหนึ่งขอให้ไปช่วยดูแล เพราะถ้าการชุมนุมใดไม่มีคนดูแลคอยห้ามปรามก็จะมีคนเสียชีวิตมากขึ้น ตนจึงรับอาสาไปเพื่อห้ามไม่ให้คนไปที่สามเหลี่ยมดินแดง

“เราต่อสู้กันมาขนาดนี้แล้วก็ยินดีเข้าสู่กระบวนการ แต่ผู้มีอำนาจเมื่อหมดอำนาจก็ต้องเข้าสู่กระบวนการเหมือนกัน เราชาวพุทธถือเสียว่าเวรกรรมมีจริงเท่านั้นเอง ไม่มีอะไร ผมมั่นใจว่า 86 ศพคงเป็นกำลังใจให้ผม” นายสมชาย กล่าว

ด้านนายคารม พลทะกลาง ทนาย นปช. ซึ่งเดินทางมาร่วมรับฟังการสอบสวนนายสมชาย กล่าวว่า นอกจากจะถูกหมายจับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯแล้วยังทราบว่านายสมชายถูกกล่าวหาว่าก่อการร้ายด้วย ตนจึงต้องเข้ามาช่วยดูแลและเตรียมเรื่องเอกสารต่างๆให้ อย่างไรก็ตาม อยากเรียกร้องรัฐบาลพิจารณากฎหมายตัวนี้ เพราะจะทำให้ถูกจับกันเรื่อยๆ ไม่รู้สิ้นสุดเมื่อใด เพราะเท่าที่ดูรายชื่อยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ถูกจับกุม ส่วนที่ถูกจับบางคนก็จะครบกำหนด 30 วันแล้วแต่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังคงอยู่ ซึ่งจะครบ 3 เดือนในวันที่ 7 ก.ค.นี้ จึงอยากจะถามว่าอยากให้คงอยู่ถึงวันที่ 7 ก.ค.อย่างนั้นหรือ เพราะไม่ได้ช่วยสร้างความปรองดองแต่อย่างใด

“ในฐานะที่เป็นทนาย นปช. อยากให้รัฐบาลยกเลิกกฎหมายนี้เสียทีแล้วจะได้ไปสู้กันตามกระบวนการยุติธรรมจริงๆ อีกส่วนหนึ่งอยากจะเรียนว่าคนที่ถูกคุมตัวโดยไม่คุมขังตาม มาตรา 12 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คือต้องคุมตัวที่อื่นที่ไม่ใช่เรือนจำ หรือทัณฑสถานนั้น ทราบว่ามีหลายคนถูกขังในเรือนจำ ถามว่าเรารู้ไหม เรารู้นะครับ แต่ปัญหาที่ต้องทำก่อนเรื่องนี้มีอยู่ ไม่ใช่ไม่รู้ ไม่ใช่ทำอะไรไม่สนใจผิดถูก พูดแต่นิติรัฐ แต่ไม่รู้ทำถูกหรือเปล่า นายกฯ ก็ดี คุณสุเทพก็ดี ผมเชื่อว่ากระบวนการต้องยุติธรรมจริงๆ” นายคารม กล่าว

นายคารม กล่าวอีกว่า สำหรับ นายวิเชียร ขาวขำ ส.ส.เพื่อไทย นั้นจะเข้ามอบตัวภายในสัปดาห์หน้า ไม่รอให้ถึงวันนัดหมาย ไม่ต้องไปดีเอสไอ แต่ไปที่ศาลเลย ส่วนแกนนำคนอื่นๆ ที่ยังไม่ถูกจับกุมนั้น ตนได้พูดคุยกับนายพายัพ ปั้นเกตุ นายชินวัฒน์ หาบุญพาด และนางดารณี กฤตบุญญาลัย ส่วนนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง และนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ นั้นยังไม่ได้คุย แต่ทราบว่าสบายดีและอยู่ด้วยกัน แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน ส่วนคนอื่นๆ เช่น น.ส.กัญญาภัค มณีจักร หรือ ดี.เจ.อ้อม หรือ นายเพชรวรรต วัฒน์พงศ์ศิริกุล ก็ไม่รู้อยู่ที่ไหน แต่เชื่อว่าพวกเขากลัวกฎหมายฉบับนี้ เพราะสามารถควบคุมตัวไปทำอะไรก็ได้ อย่างไรก็ตาม ตนพร้อมทีมงานกำลังรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมฟ้องกลับกรมสอบสวนคดีพิเศษกรณีกล่าวหาบรรดาแกนนำ นปช.ว่ากระทำผิดฐานก่อการร้าย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนายสมชาย แล้วชุดสืบสวน กก.1 บก.ป. นำโดย พ.ต.ท.พุทธพงศ์ เมฆเอี่ยมนภา สว.กก.1 บก.ป. พร้อมกำลังยังได้ติดตามจับกุม นายพันธุ์ศักดิ์ ซาบุ ผู้บริหารสถานีวิทยุชุมชน “คนรักไทย” คลื่น 95.25 เอฟเอ็ม ตามหมายจับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ 49/2553 ได้ที่ ถ.ประชาราษฎร์ สาย 1 ซ. 28 แขวงและเขตบางซื่อ เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา จึงนำตัวไปควบคุมไว้ที่ บก.ตชด.ภาค 1 คลองห้า จ.ปทุมธานี

ผู้ต้องหาเผาศาลากลางอุดรฯ เสียชีวิตแล้ว
เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 9 มิถุนายน พ.ต.ท.กมล อัปการัตน์ สารวัตรเวร สภ.เมือง อุดรธานี ปลัดอำเภอเมือง อุดรธานี อัยการ และนายแพทย์เวร รพ.ศูนย์อุดรธานี ร่วมกันชันสูตรพลิกศพลนายอภิชาต ระวิวัต อายุ 36 ปี อยู่บ้านเลขที่ 202 หมู่ 14 ต.สามพร้าว อ.เมือง จ.อุดรธานี ผู้ต้องหาก่อเหตุพยายามเผาที่ว่าการอำเภอเมืองอุดรธานี ก่อนถูกยิงอาวุธปืนไม่ทราบขนาด เข้าบริเวณด้านหลังทะลุหน้าอก เหตุเกิดเมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา จนได้รับบาดเจ็บสาหัส นอนรักษาตัวอยู่ที่ห้องไอซียู โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ได้เสียชีวิตลงในช่วงเช้า หลังจากแพทย์พยายามยื้อชีวิตมากว่า 21 วัน

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ที่ผ่านมา กลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 500 คน ได้บุกเผาศาลากลางหลังเก่าเสียหายทั้งหลัง ก่อนจะบุกไปเผาสำนักงานเทศบาลนครอุดรธานี โดยตำรวจไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ จากนั้นคนเสื้อแดงพยายามบุกไปเผาที่ว่าการอำเภอเมืองอุดรธานีและจวนผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ซึ่งทหารได้เข้าควบคุมสถานการณ์ และสามารถจับกุมกลุ่มคนเสื้อแดงที่ก่อเหตุได้ 49 คน

จากเหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือนายเพลิน วงษ์มา อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 145 ต.กุดจับ อ.กุดจับ จ.อุดรธานี บาดเจ็บ 3 ราย ซึ่งนายอภิชาต ระวิวัฒน์ เป็น 1 ในผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตเป็นรายที่ 2

ดีเอสไอยัน “ศิริวรรณ” แกนนำคนเสื้อแดง L.A.หนีไปแล้ว
ด้านเอเอสทีวีผู้จัดการรายงาน ตำรวจ และ ดีเอสไอ ยืนยัน “ศิริวรรณ นิมิตรศิลป์” แกนนำคนเสื้อแดง L.A.หลบหนีไปต่างประเทศแล้ว และไม่ได้ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ ตชด.ปทุมธานี ตามที่มติชนเสนอข่าว

จากกรณี เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทีมข่าวอาชญากรรม เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ ได้นำเสนอข่าวเรื่อง นางศิริวรรณ นิมิตรศิลป์ แกนนำเสื้อแดง Los Angeles สหรัฐอเมริกา ที่ถูกจับกุมตามหมายจับ เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา จากนั้นถูกควบคุมตามตาม พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินไว้ที่กองบังคับการตำรวจตระเวณชายแดนภาค 1 (บก. ตชด.ภ.1) คลอง 5 อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ต่อมามีพลเมืองดีแจ้งเข้ามายัง เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ ว่าพบนางศิริวรรณ เดินทางไปยัง Los Angeles สหรัฐอเมริกาแล้ว และเมื่อผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบ และได้รับการเปิดเผยจากแหล่งข่าวในกองบัญชาการตำรวจนครบาล พบว่าได้มีการปล่อยตัวนางศิริวรรณไปแล้วจริง

อย่างไรก็ตาม สำหรับเรื่องดังกล่าว วันนี้ (9 มิ.ย.) ทางมติชน ออนไลน์ ได้นำเสนอข่าว เรื่อง "เปิดรายชื่อผู้ต้องหาถูกคุมตัว 29 ราย 50 คนถูกขึ้นบัญชีตามไล่ล่า 37 รายเจอข้อหาหนักคดี"ก่อการร้าย"โดยมีรายชื่อของ นางศิริวรรณ นิมิตศิลป์ อยู่อันดับที่ 1 ว่ายังถูกคุมตัวที่ บก.ตชด.ภาค 1 คลองห้า จ.ปทุมธานี

หลังจากมติชนนำเสนอข่าวดังกล่าว ทีมข่าวอาชญากรรม เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ ได้สั่งให้ผู้สื่อข่าวทำการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง โดยกองบัญชาการตำรวจนครบาล และ กองปราบปราม ยืนยันตรงกันว่า นางศิริวรรณ ได้หลบหนีไปแล้ว หลังจากที่พนักงานสอบสวนปล่อยตัวในชั้นแรก ก่อนที่จะถูกออกหมายจับก่อการร้าย และหลังจากศาลออกหมายจับก่อการร้ายแล้ว ทางดีเอสไอ เรียกตัวให้มารับทราบข้อกล่าวหา แต่นางศิริวรรณ ได้เดินทางไปต่างประเทศแล้ว

ด้านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เปิดเผยกับ ทีมข่าวอาชญากรรม เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ โดยยืนยันว่า นางศิริวรรณ ไม่ได้ถูกควบคุมตัวอยู่ และได้หลบหนีไปแล้ว ตามที่ เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ นำเสนอข่าว ส่วนที่มติชน ออนไลน์ นำรายชื่อมาจากไหน เรื่องนี้ ตนไม่ทราบ

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: มติชนออนไลน์, คม ชัด ลึก, เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง : อุบลให้คนในจังหวัดมีส่วนร่วมในการออกแบบศาลากลางแห่งใหม่

Posted: 09 Jun 2010 10:38 AM PDT

<!--break-->

นายกสมาคมสถาปนิกสยามเสนอตัวร่วมคนอุบลฯออกแบบศาลากลาง จังหวัดใหม่ให้มีอัตลักษณ์ความเป็นอุบลฯตามความต้องการของคนในจังหวัด  คนเมืองดอกบัวหนุนสุดตัวแต่ห่วงนักการเมืองหวังกินเปอร์เซ็นต์คงเป็นไปได้ ยาก

นายนิกร วีสะเพ็ญ เครือข่ายภาคประชาชน แสดงความเห็นว่าสถาปัตยกรรม ศาลจังหวัด,ศาลแขวง สถานีอนามัย,ทำไมต้องเหมือนกันทุกจังหวัด ภูมิปัญญาท้องถิ่น สถาปัตยกรรมท้องถิ่นหายไปไหน คนมาเที่ยวอีสานก็อยากซึมซับความเป็นอีสาน ไปเที่ยวเหนือก็อยากซึมซับความเป็นเหนือ ยกตัวอย่างโรงแรมแห่งหนึ่งที่จ.เชียงใหม่เขาทำไม่เหมือนที่อื่น ทำเหมือนบ้านธรรมดา มีที่นา ให้ดำนาได้ด้วย ลูกค้าอุดหนุนแน่น เพราะมีความเป็นตัวของตัวเอง จ.อุบลฯยังไม่มี ถามว่าโรงแรมทุกโรงแรมในอุบลฯต่างอะไรกับต่างประเทศบ้าง ศาลากลางจังหวัดก็เช่นกันควรจะมีอัตลักษณ์ของตัวเองไม่ใช่แบบเหมือนกันทั่วประเทศ

นายทวีจิต จันทสาขา นายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์ กล่าวว่าสมาคมฯเป็นสมาคมวิชาชีพเก่าแก่ของประเทศ ภารกิจหลักคือส่งเสริมวิชาชีพเราเอง และสร้างประโยชน์สาธารณะ ก่อตั้งมานานก็มีความมั่นคง
จากเหตุวิกฤติบ้านเมืองที่ผ่านมาอยากจะมีส่วนร่วมที่จะช่วยเหลือบ้านเมือง ว่าจะทำอะไรได้บ้าง ก็มีหลายเรื่องที่ไปช่วยตั้งแต่ชุมชนผู้ค้าที่เดือดร้อน จากไฟไหม้ โดยเราไม่แยกสี สีไหนก็ช่วยทั้งนั้น

มีกรรมการหลายคนเสนอว่า ศาลากลางคราวนี้ถูกเผาอยู่ 4 แห่ง ก็เลยมีความคิดว่าเราน่าจะทำประโยชน์อะไรตรงจุดนี้ได้ ก็มีความคิดว่าถ้าหากประชาชนมาจัดประกวดแบบ ซึ่งเขาจะสร้างอยู่แล้ว ให้ศาลากลางนั้นมีลักษณะความเป็นท้องถิ่น

ที่ทุกท่านทราบดีคือศาลากลางทุกแห่งเหมือนกันหมด คราวนี้น่าจะเป็นโอกาสดีที่ศาลากลางจะมีแบบที่คนท้องถิ่นมีส่วนร่วมโดยการ ประกวดแบบ การดำเนินการทั้งหมดสมาคมจะจ่ายเอง ไม่ได้ขอเงินจากทางราชการหรือขอเรี่ยไร
เราเคยทำโครงการหนึ่งที่จ.นครสวรรค์ชื่อโครงการแม่น้ำเจ้าพระยา พบว่าในโลกนี้การทำอะไรที่เป็นอาคารสำคัญของเมืองเขามักจะให้ประชาชนมีส่วน ร่วม แม้กระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้สร้างแต่เราในฐานะประชาชนผู้เสียภาษีน่าจะมีส่วน ร่วม

วิธีคิดของเราคือจะร่วมกัน 3 ประสาน คือภาคประชาชน ภาคราชการ และภาควิชาชีพ มีการออกความคิดเห็นกัน แม้ว่าตัวอาคารอาจมีการกำหนดประโยชน์ใช้สอยอย่างชัดเจนจากทางราชการแล้ว แต่อยากให้ภาคประชาชนไปเสนอเพิ่มเติมว่า ถ้าเป็นของจังหวัดเราอยากให้มีลักษณะเป็นอย่างไร อยากจะมีประโยชน์ใช้สอยอะไรเพิ่มเติมไหม แต่ทั้งนี้ก็ต้องให้อยู่ในวงเงินที่รัฐบาลเขาตั้งไว้ แล้วจะเปิดให้สถาปนิกทั่วประเทศส่งแบบเข้ามา เป็นแบบแนวความคิด เหมือนอาคารรัฐสภา ไม่ใช่แบบก่อสร้างเมื่อมีคนส่งมาแล้ว ก็ใช้กรรมการ 3 ประสานคัดเลือกแบบให้เหลือ 3-5 ชิ้น ที่เราเห็นว่าตรงกับประโยชน์ใช้สอยที่ทางราชการอยากจะได้ ,อยู่ในวงเงินงบประมาณ ,สร้างได้จริง ,อยู่ในแนวของความเป็นอุบลฯ ก็นำมาเสนอแล้วให้ประชาชนโหวต อาจจะตั้งโชว์แล้วหย่อนบัตรก็ได้ แบบไหนได้เลือกเยอะก็นำไปใช้เป็นแบบก่อสร้างจริง นี่คือวิธีคิดเรา

นายจำนง จิตรนิรัตน์ เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมืองแสดงความเห็นว่าแต่ไหนแต่ไรมา ศาลากลางออกแบบมาจากส่วนกลาง ประชาชนในจังหวัดไม่เคยมีส่วนร่วม เขาก็จะไม่รู้สึกรักหวงแหน เสนอให้ศาลากลางแห่งใหม่ต้องมีสภาประชาชนด้วย จะได้เป็นที่พบปะแสดงความคิดเห็นจากเจ้าของประเทศ

สถานีวิทยุ cleanradio FM. 92.5 MHz จ.อุบลราชธานี ได้เปิดสายสอบถามความเห็นประชาชนคนอุบลฯในประเด็นนี้ ผลปรากฎว่า 100% ที่โทรศัพท์เข้ามาเห็นด้วยกับการออกแบบโดยมีอัตลักษณ์ของจังหวัด คนอุบลฯมีส่วนร่วม ไม่ต้องเหมือนกับที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ ถ้าทำได้จะเป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่อาคารสถานที่ออกแบบโดยคน ท้องถิ่นเอง เราจะภาคภูมิใจและรู้สึกเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง แต่ส่วนใหญ่ก็มีความกังวลเกรงว่านักการเมืองไม่ได้เปอร์เซ็นต์จากการออกแบบ นี้จะไม่ยอมทำตาม

แหล่งข่าวระดับสูงกล่าวว่า ถ้าทำตามแบบปกติของกรมโยธาใช้เวลาไม่ถึง 2 เดือนก็เริ่มประมูล แต่หากผ่านกระบวนการดังกล่าวอาจล่าช้าไปอีกไม่ต่ำกว่า 3-4 เดือน การเมืองก็ยังไม่นิ่ง นักการเมืองต้องเร่งทำให้เร็วที่สุด คิดว่าแนวคิดนี้คงประสบความสำเร็จได้ยาก เพราะในความเป็นจริงนักการเมืองไม่เคยคิดถึงประโยชน์ของประชาชนเลย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สั่งหยุดชั่วคราว โรงงานคลอรีนระยองรั่วหามส่งรพ.หลายสิบคน

Posted: 09 Jun 2010 10:37 AM PDT

<!--break-->

 
เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.52 นายวีระศักดิ์ เพิ่มแพงพันธ์ ผอ.นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) จ.ระยอง พร้อมตำรวจกองพิสูจน์หลักฐาน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เข้าตรวจสอบภายในบริษัทไทยคลอ คาลี ดีวิชั่น จำกัด ในเครือบริษัท อดิตยา เบอร์ร่า เคมิคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ใน ต.ห้วยโป่ง อ.เมืองหลังเกิดเหตุสารโซเดียมไฮโปคลอไรด์ หรือสารคลอรีน รั่วไหล ฟุ้งกระจายในอากาศ เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยพนักงานที่สูดดมเข้าไปแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก วิงเวียนศีรษะ อาเจียนและแสบจมูก ต้องรีบนำตัวส่งรพ.ในพื้นที่หลายสิบราย ผลการตรวจสอบพบถังไฟเบอร์กลาส ขนาดบรรจุ100 ลบ.ม. ที่มีอยู่หนึ่งในสามถัง ทรุดตัวล้มลงจนถังแตก เพราะฐานเหล็กที่รองรับเกิดหักทำให้คลอรีนในถังไหลเจิ่งนองทั่วพื้น มีกลิ่นคล้ายไฮเตอร์ฟุ้งกระจายไปทั่ว ทั้งนี้ โรงงานดังกล่าว เคยเกิดเหตุสารคลอรีนรั่วไหลจากท่อส่งเมื่อช่วงเดือน ธ.ค. 2551 และมีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมากเช่นกัน
นายฐากูร เกลี้ยงสุวรรณ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายความปลอดภัย/สิ่งแวดล้อม และฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ของบริษัท เปิดเผยว่าขณะเกิดเหตุคนงานกำลังถ่ายสารโซเดียมไฮโปคลอไรด์ จากท่อลงสู่ถังที่เกิดเหตุ แต่ถ่ายไปได้ประมาณ 80 ลบ.ม. ฐานเกิดทรุดตัวทำให้ถังเอียงและล้มแตก สารเคมีรั่วไหลออกมา แต่หลังเกิดเหตุรีบสกัดการรั่วไหลและการแพร่กระจาย โดยฉีดสเปรย์น้ำและใช้ปูนขาวโรยเพื่อให้กลิ่นเจือจาง ขณะที่ นายวีระศักดิ์ยืนยันว่าควบคุมสถานการณ์ได้เรียบร้อยแล้วส่วนยอดผู้ได้รับผลกระทบหรือล้มป่วย มีทั้งสิ้น 299 คน รักษาตัวอยู่ในรพ. 8 แห่ง ตอนนี้มี 82 รายต้องรักษาตัวต่อ ส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทดังกล่าว และบริษัทใกล้เคียงด้าน นางมณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)ได้สั่งให้โรงงานหยุดสายการผลิตทั้งหมดชั่วคราว เพื่อตรวจสอบสาเหตุที่แท้จริง
 
ที่มา: เดลินิวส์
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง : เด็กอุบลรวมตัวฝึกเล่นละครปราบเหล้า

Posted: 09 Jun 2010 10:14 AM PDT

เครือข่ายละครรณรงค์งดเหล้า(ดีดี๊ดี) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดอบรมหลักสูตรทักษะการแสดงละครให้กับเยาวชนจากหลายพื้นที่ของจังหวัดอุบล

<!--break-->

 

เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 53 ที่ผ่านมา  อิงนภารีสอร์ทแอนด์สปา  อำเภอเมืองอุบลราชธานี : เครือข่ายละครรณรงค์งดเหล้า(ดีดี๊ดี) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)เปิดอบรมหลักสูตรทักษะการแสดงละครให้กับเยาวชนจากหลายพื้นที่ของจังหวัดอุบลฯประมาณ 50 คน ที่เป็นแกนนำกลุ่มกิจกรรมขับเคลื่อนงานด้านงดเหล้าในโรงเรียน  ซึ่งหลังจากผ่านการอบรมครั้งนี้แล้ว  เด็กๆกลุ่มนี้จะกลับไปที่โรงเรียนและชุมชน  แล้วจะนำทักษะด้านละครไปประยุกต์ใช้ในงานการรณรงค์งดเหล้าของพวกเขาต่อไป

วิทยา  บุญฉวี  ประธานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดอุบลราชธานี  หัวแรงหลักของค่ายนี้  กล่าวว่า  ตอนนี้มองเด็กและครูในโรงเรียนเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการเคลื่อนงานงดเหล้า  เพราะจากการวิเคราะห์ที่ผ่านมาพบว่าครอบครัวของเด็กไม่สามารถบอกหรือสอนลูกหลานได้แล้ว  เพราะส่วนใหญ่มัวยุ่งอยู่กับการทำมาหากิน  จึงไม่มีเวลาให้เด็กได้อย่างเต็มที่  จึงเกิดปัญหาขึ้นมากมาย  โดยเฉพาะการดื่มสุราในเด็กและเยาวชนที่เป็นนักดื่มหน้าใหม่นั้นมีเพิ่มขึ้น  ฉะนั้นโรงเรียนจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยดูแลเด็กได้  แต่หากไปบอกแบบบีบบังคับมากเกินไปเด็กก็ไม่ทำตาม  เราจึงต้องหากิจกรรมที่เหมาะสมกับเขามาเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  และต้องเป็นเชิงบวกด้วย 

กิจกรรมละครก็เป็นเครื่องมือเหมือนกัน  วันนี้เรานำเด็กมาจาก 2 กลุ่มหลักๆ คือจากพื้นที่ ต.สำโรงซึ่งเป็นพื้นที่เดิมที่เราทำงานอยู่แต่เรื่องละครเป็นเรื่องใหม่สำหรับพวกเขา  และอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มเยาวชนจาก ต.กาบิน  อ.กุดข้าวปุ้นและกลุ่มที่อยู่ในเมืองอันนี้เป็นกลุ่มใหม่ที่เราทำงานด้วย  คือเราอยากให้เด็กมีความหลากหลายมากขึ้น  ที่มาทั้งหมดนี้เป็นแกนนำทั้งนั้นพอกลับไปพื้นที่พวกเขาก็จะได้เอาตรงนี้ไปประยุกต์ใช้ต่อได้  ซึ่งนอกจากพวกเขาจะได้ในเรื่องของทักษะการเล่นละครแล้วสิ่งที่ได้โดยไม่รู้ตัวคือการฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์  สิ่งนี้สามารถนำไปใช้ทั้งในการดำเนินชีวิตและการเรียนได้

นายสัญญา  โสภา  ผอ.โรงเรียนบ้านนาขาม  อ.โพธิ์ไทร  จ.อุบลฯ  บอกว่าเคยได้รับทราบความเคลื่อนไหวการทำงานของเครือข่ายงดเหล้าบ้าง  เพราะมาทำในพื้นที่ติดกัน  แต่ไม่เคยมาดูและนำเด็กมาเข้าร่วม  ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่พาเด็กเกือบ 10 คน มาร่วมกิจกรรมเอง  คิดว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับโรงเรียนเพราะที่ผ่านมากิจกรรมแบบนี้โรงเรียนทำเองได้ยาก  เพราะติดปัญหาทั้งเรื่องระบบราชการและเรื่องการเมืองท้องถิ่นที่ไม่เอื้ออำนวย  ครั้งนี้จึงตั้งความหวังเล็กๆว่าเด็กที่นำมาวันนี้  เขาจะเป็นตัวหลักในการพาเพื่อนๆพี่ๆและน้องๆที่โรงเรียนทำกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆได้ 
สำหรับค่ายละครครั้งนี้จัดขึ้น 2 วัน  คือในวันที่ 5-6 มิถุนายน 2553 ถึงแม้จะใช้เวลาน้อยกว่าหลักสูตรจริงซึ่งอยางน้อยต้อง 3 วัน  แต่อรทัย   ครั้งพิบูล หรือ วี จากกลุ่มสื่อใสวัยทีนบอกว่าเพียงพอสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้กับงานเดิม  ที่น้องๆต้องทำงานด้านการรณรงค์อยู่แล้ว  ส่วนในทักษะที่สูงกว่านี้ต้องใช้เวลาอีกพอสมควร  ซึ่งคิดว่าถ้าจะให้ดีน่าจะมีการจัดอีกเป็นครั้งที่ 2 หรือ 3 ซึ่งจะเรียนรู้ในสิ่งที่ลึกซึ้งขึ้น  สำหรับน้องๆกลุ่มที่มาในวันนี้พลังเขาเยอะมาก  ขนาดว่าพี่เลี้ยงเหนื่อยแล้ว  แต่น้องๆยังสนุกอยู่เลยโดยเฉพาะในวันที่ 2 หลังจากที่ทำกิจกรรมละลายพฤติกรรมไปหมดแล้ว  เด็กจะกล้าแสดงออกมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

น.ส.บุษยพรรณ  รัตนสีหา หรือพลอย  นักเรียนชั้น ม.5 จาก โรงเรียนปทุมพิทยาคม  อำเภอเมือง  บอกว่าเพิ่งเคยเข้าอบรมเกี่ยวกับละครครั้งแรก  รู้สึกสนุกมากและได้ความรู้และทักษะด้านละครเพิ่มขึ้นเยอะ  เพราะปกติจะเป็นประธานชมรม ทู บี นัมเบอร์วัน ของโรงเรียนอยู่แล้ว  แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีการแสดงละครเลยและคิดว่าจะเอาความรู้นี้กลับไปฝึกคนที่อยู่ในชมรมเพื่อทำเป็นละครรณรงค์เรื่องต่างๆในโรงเรียนได้  โดยเฉพาะเรื่องการดื่มสุราที่ตนมองว่าเป็นปัญหาใหญ่ของครอบครัว  เพราะมันทำให้เกิดความสูญเสียมากมาย  ทั้งอุบัติเหตุและเสียเงิน  วิธีแก้ไขก็คิดว่าไม่ควรมีเหล้าเบียร์จำหน่วยอีกต่อไป

ส่วนอีกหนึ่งพลอย คือ ด.ช.พลอย  ชุมสิงห์ นักเรียนชั้น ม.2 โรงเรียนเหล่างามพิทยาคม  อำเภอโพธิ์ไทร กล่าวว่านี่เป็นครั้งแรกที่ได้มาฝึกเล่นละคร  ตอนแรกนั้นคิดว่ายาก  แต่พอได้ลองทำแล้วกลับรู้สึกสนุกมาก  ได้เรียนรู้ทักษะการใช้เสียง  การควบคุมร่างกายและการจินตนาการต่างๆ  คิดว่าจะนำกลับไปใช้ที่โรงเรียนโดยเฉพาะเวลาทำกิจกรรมในชุมชน  อยากจะให้คนในชุมชนมาร่วมแสดงละครด้วย  ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดื่มเหล้านั้น  พลอยมองว่าทั้งเหล้า  บุหรี่และยาเสพติดถ้าเข้าไปยุ่งจะทำให้เราตายเร็วขึ้น  และมีแต่ความทุกข์เพราะต้องเอาเงินที่หาไดไปซื้อของพวกนี้  ต่างจากคนที่ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับมันก็จะมีความสุข  เพราะมีงานทำ  มีเงิน

สำหรับบรรยากาศในค่ายจากการสังเกตของผู้สื่อข่าวพบว่าเป็นไปด้วยความสนุกสนาน  โดยเฉพาะในวันที่ 2 เด็กและเยาวชนปลดปล่อยความเป็นตัวตนออกมาได้อย่างไม่เคอะเขินผิดจากวันแรกที่ยังเหนียมอายอยู่  เพราะหลักสูตรที่ผู้จัดกระบวนการใช้เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เข้ารับการฝึกมีส่วนร่วมมากที่สุด  และแต่ละกิจกรรมเน้นไปที่การปฏิบัติและให้ปลดปล่อยตัวเองให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด  ทำให้เป็นอีกหนึ่งค่ายการเรียนรู้ที่ไม่มีความซีเรียสใดๆ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สหภาพ ขสมก. เสนอคมนาคมเร่งจัดหารถโดยสารล่วงหน้า 500 คัน

Posted: 09 Jun 2010 09:09 AM PDT

<!--break-->

9 มิ.ย. 53 - โพสต์ทูเดย์รายงานว่า นายสนาน บุญงอก ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชน กรุงเทพ (ขสมก.) กล่าวหลังยื่นหนังสือต่อนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม และนายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร รมช.คมนาคม ว่า สหภาพฯ ขอให้กระทรวงคมนาคมเร่งแก้ปัญหา ขสมก. และความเดือดร้อนของพนักงาน โดยเสนอให้เร่งจัดหารถโดยสารอย่างน้อย 500 คัน เป็นการเร่งด่วน โดยไม่ต้องรอโครงการเช่ารถโดยสารเอ็นจีวี 4,000 คัน เพราะมีปัญหาจำนวนรถโดยสารไม่เพียงพอกับการให้บริการ

ทั้งนี้ ขสมก.มีรถโดยสารอยู่ประมาณ 3,750 คัน แต่ปัจจุบันมีรถโดยสารที่สามารถให้บริการได้เพียงวันละ 3,200-3,300 คันเท่านั้น เนื่องจากรถโดยสารมีสภาพเก่าต้องปลดระวาง ประกอบกับมีปัญหาผู้รับเหมาซ่อมไม่สามารถซ่อมบำรุงได้ตามเงื่อนไขสัญญา และเมื่อปี 2552 รถโดยสารถูกเผาไป 31 คัน ทำให้รถโดยสารไม่เพียงพอกับปริมาณผู้โดยสารและกระทบต่อการให้บริการกับประชาชน

นอกจากนั้น ยังขอให้กระทรวงคมนาคมประสานงานกับกระทรวงการคลัง เร่งอนุมัติเงินชดเชยรถโดยสารฟรีจำนวน 800 คันต่อวัน ซึ่งสำนักงบประมาณไม่โอนให้ ขสมก. มาเป็นเวลาเกือบ 1 ปีแล้ว ทำให้ ขสมก. ขาดสภาพคล่องทางการเงิน รวมทั้งเสนอให้ ขสมก. ขยายเวลาเช่าอู่จอดรถและสำนักงานเขตการเดินรถที่ 4 บริเวณคลองเตย เป็นเวลาอย่างน้อย 15 ปี แทนการต่อสัญญาครั้งละ 1-2 ปี เพื่อให้สามารถลงทุนปรับปรุงซ่อมแซมและทำเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารได้เต็มรูปแบบ

ด้านนายสุชาติ กล่าวว่า ได้สั่งการให้คณะกรรมการ ขสมก. ซึ่งมีนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต เป็นประธาน เร่งศึกษาแนวทางการจัดหารถโดยสารมาให้บริการเพิ่มเพื่อแก้ปัญหารถไม่เพียงพอ เช่น การซ่อมรถโดยสารเก่า การเช่าหรือการซื้อ โดยการพิจารณาความเหมาะสมนั้น จะต้องพิจารณาเรื่องงบประมาณควบคู่ด้วย รวมทั้งจะได้เร่งรัดการดำเนินโครงการเช่ารถโดยสารเอ็นจีวี 4,000 คัน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมเรื่องอัตราค่าเช่า โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปและสามารถเสนอให้ ครม.พิจารณาได้ไม่เกินเดือน ก.ค.นี้

นายวีระพงษ์ วงแหวน รองประธานสหภาพฯ กล่าวว่า ต้องการรถ 500 คัน แบ่งเป็นรถร้อน 200 คัน รถเอ็นจีวี 300 คัน ซึ่งรถเอ็นจีวีจะเอามาจาก 4,000 คันก็ได้ ส่วนจะเป็นระบบเช่าหรือซื้อในราคาเท่าใดขึ้นอยู่กับการจัดการของฝ่ายบริหาร

ที่มาข่าว: โพสต์ทูเดย์

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สัมภาษณ์พิเศษ: คำให้การคนเสื้อแดงอีสานกับความปรองดองแห่งชาติ

Posted: 09 Jun 2010 08:53 AM PDT

<!--break-->

แม้กระแสข่าวการเสียชีวิต 88 ราย และผู้บาดเจ็บอีก 1,885 ราย จากการสลายการชุมนุมเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาจะสร่างซาลงไปบ้างในระยะนี้ แต่การที่ จนถึงขณะนี้รัฐบาลยังไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงในความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้ ในทางตรงกันข้ามกลับมีการออกหมายจับ หมายเรียก การจับกุม กักขัง หน่วงเหนี่ยวคนเสื้อแดงออกมาเป็นระยะ กรณีเหล่านี้ดูขัดแย้งกับวาทกรรม “ปรองดอง” ที่รัฐบาลชุดนี้ใช้อย่างพร่ำเพรื่อในระยะ 2-3 เดือนนี้มาโดยตลอด

ภายหลังฝุ่นควันแห่งความรุนแรงในการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงจางลง หลายชีวิตหอบหิ้วความเจ็บปวดกลับภูมิลำเนา หนึ่งในนั้นคือ “เลื่อน ศรีสุโพธิ์” เกษตรกร อ.พังโคน จ.สกลนคร
 
เลื่อน ศรีสุโพธิ์ ปัจจุบันในวัย 46 ปี ตัดสินใจทิ้งลูกเมียไว้เบื้องหลัง ขายวัว 2 ตัว เป็นทุนรอนในเข้าร่วมการเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มคนเสื้อแดงมาตั้งแต่ต้น ด้วยเหตุผลที่ไม่ซับซ้อนเกินที่สามัญชนคนธรรมดาพึงเข้าใจได้ นั่นคือความไม่เป็นธรรม ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตย และ ....
 
หลังการสลายการชุมนุมที่กรุงเทพฯ ไม่นานนัก เลื่อน ศรีสุโพธิ์ ถูก สภ.พังโคน อ.พังโคน จ.สกลนคร ออกหมายเรียก เมื่อวันที่ 22 พ.ค.2553 ด้วยข้อกล่าวหา ชุมนุมหรือมั่วสุมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป อันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง โดยปิดกั้นทางหลวง และกีดขวางทางจราจร

เบื้องหน้า-เบื้องหลังแนวคิดของเลื่อน ในการเข้าร่วมกระบวนการเคลื่อนไหวกับคนเสื้อแดงคืออะไร? ความไม่เป็นธรรมในความหมายของเลื่อนที่ว่าคืออะไร? ไพร่-อำมาตย์ ,ประชาธิปไตยในทัศนะของเขาคืออะไร? สองมาตรฐานหมายถึงอะไร? อนาคตของคนเสื้อแดงจะเป็นอย่างไร?
อ่านความคิดของเขาได้ต่อไปนี้ ....
 
เข้ากระบวนการต่อสู้ร่วมกับคนเสื้อแดง
เนื่องจากตลอดชีวิตได้เห็นความไม่เป็นธรรมในสังคม โดยเฉพาะสังคมไทยในปัจจุบันไม่มีความเป็นประชาธิปไตย พรรคการเมืองที่ ส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน และมี ส.ส.มากที่สุดในสภาไม่ได้จัดตั้งคณะรัฐบาลบริหารประเทศ

ปัจจุบันคำว่า 2 มาตรฐานทางกฎหมายปรากฏชัดเจนในสังคมไทย ในฐานะที่ผมเป็นสมาชิกสมัชชาชาวนาชาวไร่เห็นชัดเจนว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันไม่ได้ทำอะไรเพื่อชาวบ้านทุกอย่างที่รัฐบาลทำล้วนเป็นการทำเพื่อพรรคพวก โดนเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์เห็นชัดเจนมาก ในสมัยที่ผมร่วมต่อสู้กับพี่น้องชาวบ้านเรื่องที่ดินปี 2540 รัฐบาลสมัยนั้นได้มีมติครม.ให้ประชาชนกับรัฐบาลใช้แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินอย่างมีส่วนร่วม กระบวนการพิสูจน์สิทธิในที่ดินให้ใช้พยานบุคคล พยานแวดล้อม และเอกสารประกอบการพิจารณา ต่อมาปี 2541 พรรคประชาธิปัตย์เข้ามาบริหาร แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินทั้งหมดถูกยกเลิก และให้เปลี่ยนมาใช้กฎหมายและเอกสารราชการเป็นหลัก โดยไม่สนในการมีส่วนร่วมของระบบการถือครองที่ดินของชาวบ้าน ในที่สุดประชาธิปัตย์ก็แจ้งเพราะการแก้ไขปัญหาที่ดิน
 
หลายปีแล้วที่ผมไม่เคยลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง ทักษิณ ผมก็ไม่เคยเลือก เพราะต้องยอมรับว่ามีหลายอย่างที่ผมไม่พอใจเขา การฆ่าตัดตอนผู้ขายและผู้เสพยาเสพติดผมก็ไม่ชอบใจ แต่การที่ทหารมาทำปฏิวัติปี 2549 ฉีกรับธรรมนูญทิ้ง แล้วเขียนของตัวเองขึ้นมาใหม่ ปลดนายกสมัคร ยุบพรรคพลังประชาชน แต่งตั้งพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาบริหารประเทศ สิ่งนี้ไม่ใช่ประชาธิปไตย ผมรับไม่ได้ ไม่ใช่อยู่ดีๆผมเข้าร่วมกับขบวนการเสื้อแดง แต่ผมสั่งสมความไม่พอใจต่อความไม่เป็นธรรมของสังคมไทยมานาน ปี 2549 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำประชาชนต้องลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
 
รูปแบบการเข้าร่วมต่อสู้กับ นปช.
เข้าร่วมชุมนุมกับพี่น้องนปช.ที่กรุงเทพฯ 3 ครั้ง แต่ไม่เคยอยู่ตอนที่รัฐบาลกระชับพื้นที่ (หัวเราะ) อภิสิทธิ์เป็นคนพูดจาดี กระชับพื้นที่คือสลายการชุมนุมนั้นแหละ ผมไปชุมนุมที่กรุงเทพฯ 3 ครั้ง แต่ละครั้งจะอยู่ 10 วัน โดยจะเดินทางโดยรถกระบะ ไปร่วมกับพี่น้องในหมู่บ้าน
 
ค่าใช้จ่ายการร่วมชุมนุม
โดยส่วนตัวตั้งแต่ร่วมต่อสู้กับพี่น้องนปช.อย่างเข้มข้นมาตั้งแต่เดือนมีนาคม ผมขายวัวไป 2 ตัวแล้ว ส่วนเงินทุนอื่นพี่น้อง นปช.มีการสนับสนุนกันหลายรูปแบบ เช่น พี่น้องนปช.ที่ขับรถกระบะบรรทุกคนเข้าร่วมชุมนุมที่ไปลงทะเบียนที่ศูนย์อำนวยการนปช.วังน้อย จะได้รับเงินสนับสนุนเป็นค่าน้ำมัน 5,000 บาท เป็นเงินของสายการเมือง แต่ในความเป็นจริงเงินแค่ 5,000 บาทไม่คุ้มค่าหรอกสำหรับคนที่เอารถตัวเองไปร่วมชุมนุม แต่ทุกคนเขาไปกันด้วยใจ สำหรับผมและพี่น้องทางสกลนคร ไม่ได้ไปลงทะเบียนที่วังน้อย พวกเราที่เป็นเครือข่ายกันในภาคอีสานจะระดมเงินทุนบริจาคในหมู่บ้าน พวกเราจัดทำผ้าป่าประชาธิปไตยในพื้นที่มุกดาหาร สกลนคร ขอนแก่น ชุมแพ ใช้รถกระจายเสียงประกาศขอรับจากพี่น้อง ใครมีมากให้มาก มีน้อยให้น้อย 5 บาท 10 บาทเราไม่ว่ากัน บางคนก็บริจาคเป็นข้าวสาร ใครมีอะไรก็ให้มา เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นหลักการธรรมดาของนปช.ใครมีอะไรก็ให้ช่วยเหลือกัน
 
กิจกรรมอื่นๆ นอกจากร่วมชุมนุมในกทม.
ก่อนมีประกาศ พรก.กลุ่มคนที่มีปัญหาเรื่องที่ดิน จะมีประชุมกันทุกเดือน เป็นการประชุมร่วมกับภาครัฐ พูดคุยเรื่องสถานการณ์บ้านเมืองไทยเป็นประจำ กลุ่มพวกผมที่ทำเรื่องที่ดินในสกลนครมี 400-500 คน ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมายังไม่มีการจัดเวทีประชุมเรื่องที่ดิน ผมเองก็ไม่ได้มีเวลาว่างสำหรับปัญหาที่ดิน เพราะผมต้องเข้าร่วมกับขบวนใหญ่ของคนเสื้อแดง
 
ช่องทางการติดตามข้อมูลข่าวสาร นปช.กลาง
ก็มีวิทยุ หนังสือพิมพ์ ชมการถ่ายทอดสดในช่วงที่ไม่ถูกตัดสัญญาณ และโทรประสานกับพรรคพวกที่อยู่เวทีกลางตลอดเวลา มีกลุ่ม “สร้างสรรค์ชีวิตและสังคมอีสาน” เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ผมเป็นสมาชิก เป็นกลุ่มที่ก่อตั้งกันมานาน วัตถุประสงค์เพื่อรวมกลุ่มกันต่อสู้ปัญหาชาวบ้าน และทำงานการเมืองด้วย ผมพึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มนี้ได้ 3 ปี ทุก 3-4 เดือน ช่วงนี้จะมีการประชุมแลกเปลี่ยนสถานการณ์การเมืองเป็นหลัก
 
ความคิดเห็นต่อสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน
ผมเพิ่งได้รับรู้ความจริงก็วันนี้แหละ วันที่ นปช.ร่วมกันต่อสู้จริงจัง ทุกปัญหามันเกี่ยวข้องกันทั้งหมด แยกออกจากกันไม่ได้เลย เพราะต้นตอของปัญหามันเกิดจากอันเดียวกัน ที่ผ่านมาผลไปเรียกร้องปัญหาที่ดินที่ทางปลายเหตุปัญหาก็เลยแก้ไขไม่ได้ ผมต่อสู้เรื่องที่ดินมานานแต่ไม่เคยรู้อะไร มาวันนี้ผมอ้อออออ
! ได้รู้ว่าฟ้ามีที่ดินเยอะมาก และมีที่ดินหลวง ที่ดินว่างเปล่าที่เขาใช้ประโยชน์กันเยอะมาก ปัญหาที่ดินของผมเลยไม่ได้รับการแก้ไข ความไม่เท่าเทียมในสังคมมีเยอะมาก
 
ถ้าพูดกันถึงนโยบายก็คือว่าพี่น้องที่ร่วมต่อสู้กับ นปช.เป็นที่น้องที่ได้รับนโยบายที่ไม่เท่าเทียมอย่างทั่วถึง เช่น อาสาสมัครของราชการ อสม.ได้ค่าตอบแทน แต่ อพปร.ก็เป็นอาสาสมัครเหมือนกันแต่ไม่ได้ค่าตอบแทน ฯลฯ เบี้ยสำหรับคนมีรายได้ต่ำ รัฐบาลประชาธิปัตย์จ่ายให้สำหรับคนทำงานในระบบและมีเงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท แต่ชาวบ้านที่เงินไม่ถึง 1,500 บาท รัฐบาลไม่เคยให้อะไร ฯลฯ คราวนี้คนจนคงต้องหมดไปจริงๆ แล้ว แรงงานอกระบบ แรงงานภาคเกษตรที่ทำการผลิตป้อนให้ระบบอุตสาหกรรมไม่เคยได้รับการเหลียวแล ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีการประกันรายได้ ไม่มีเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย ความจริงเป็นทุกรัฐบาล แต่รัฐบาลนี้ไม่สนใจเหลียวแลเลย 
 
หลังจากเข้าร่วมกับ นปช. ทำให้ผมเห็นว่าประเทศไม่ได้มีปัญหาแค่เรื่องที่ดิน น้ำท่วม ภัยแล้ง มีปัญหาอีกหลายอย่างในสังคมไทย เราต้องร่วมกันต่อสู้กับโครงสร้างทางสังคม ต้องต่อสู้กับตัวพ่อ ไม่เช่นนั้นทุกปัญหาจะยังเป็นปัญหาต่อไป
 
คิดอย่างไรหลังรัฐบาลใช้อาวุธสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง
พวกเราไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ผมเองไม่อยากเชื่อว่ารัฐบาลจะทำ จะกล้าทำ กล้าฆ่าคน ในเมื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศเขาชนะการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเราไม่สนใจเสียงส่วนน้อยของประเทศ แต่เสียงส่วนน้อยของประเทศมีโอกาสมากกว่าพวกเราอยู่แล้ว การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
 
มันคือความจริงที่ประชาชนต่อสู้เพื่อทักษิณ แต่ไม่ใช่ต่อสู้เพื่อตัวบุคคล เรื่องสังคมต้องทำความเข้าใจ ครั้งหนึ่งชาวบ้านเลือกทักษิณเพราะมีนโยบายถูกใจ ครั้งนี้คนเสื้อแดงสู้กับระบบ ไม่ได้สู้เพื่อทักษิณ คนเสื้อแดงรู้จักประชาธิปไตย สู้เพื่อประประชาธิปไตย คนที่อ้างว่าคนเสื้อแดงสู้เพื่อทักษิณนั้นแหละ คือคนที่ไม่รู้จักประชาธิปไตย ไม่ได้พูดถึงระบบ พวกเขากลัวทักษิณ พวกเขากลัวประชาธิปไตย คนเสื้อแดงเพียงแต่ไปต่อสู้เพื่อให้รัฐบาลยุบสภา ผมว่าข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดงชัดเจนมากๆ มากกว่าการสู้ของภาคประชาชนที่ผ่านมา คนเสื้อแดงในตอนนี้ต้องการแค่เลือกตั้ง ไม่ต้องการให้อำมาตย์และทหารมาแทรกแซงการเมือง คนเสื้อแดงได้แสดงออกชัดเจนว่าพวกเขายืนหยัดต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย โดยไม่เคยร้องขออำนาจเหนือมาสนับสนุนการเคลื่อนไหว
 
ความสัมพันธ์ของคนเสื้อแดงกับคุณทักษิณ
โดยส่วนตัวผมเข้าร่วมกับกระบวนการเสื้อแดงเพราะเห็นความไม่เป็นธรรมของสังคม การเลือกตั้งที่ผ่านมาผมไม่เคยเลือกพรรคการเมืองไทยเลย ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าคนเสื้อแดงคือทักษิณ แต่อย่างที่ผมบอกไปแล้วว่าทำไมประชาชนถึงทำเพื่อทักษิณ แต่ปรากฏการณ์ในปัจจุบันคือ ทักษิณไม่ได้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเสื้อแดงอีกต่อไป ไม่ได้เข้มข้นเหมือนที่เคย บนเวทีนปช.กลางช่วงหลังไม่ได้พูดถึงทักษิณ หลักการเจรจาระหว่างรัฐบาลและตัวแทน นปช.ไม่ได้มีทักษิณเป็นเงื่อนไขต่อรอง ข้อเสนอของ นปช.ก็ไม่มีอะไรเกี่ยวกับทักษิณ เพราะข้อเสนอเดียวคือยุบสภา แต่รัฐบาลเบี่ยงประเด็นมาตลอด สิ่งที่คนเสื้อแดงชัดเจนในเวลานี้ คืนอำนาจให้ประชาชนทุกคน เสื้อเหลือง เสื้อหลากสีก็จะได้อำนาจคืนเช่นกัน จากนั้นทุกคนร่วมกันตัดสินใจใหม่อีกครั้ง บนพื้นฐานกติกาปกติ ผมว่าคนเสื้อแดงชัดเจนในการต่อสู้ไม่มีทักษิณมวลชนก็เพิ่มขึ้นทุกวัน ทุกคนในสังคมเห็นแต่ไม่ยอมรับ
 
เป้าหมายของคนเสื้อแดงคือ ยุบสภา เป็นจุดเริ่มต้นของประชาธิปไตย จากนั้นค่อยประสานให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมกันแก้ไขกฎกติกาที่ใช้ไม่ได้ ไม่ใช่ยังไม่ยุบสภาเชิญผู้เชี่ยวชาญมาแก้กฎกติกา ทำแบบนี้ไม่ยุติธรรมกับคนเสื้อแดง และไม่มีความเป็นได้ตามหลักการประชาธิปไตย ชาวบ้านไม่ยอมรับแน่นอน การอนุมัติงบประมาณของรับอภิสิทธิ์ที่ให้กระทรวงเกษตร 70,000 ล้าน แต่ให้ กลาโหม 170,000 ล้านบาทก็สร้างความไม่พอใจให้แก่เกษตรมากพอแล้ว
 
สำหรับประเด็นทักษิณกับคนเสื้อแดง ผมคิดว่าต้องมองกันตั้งแต่ตอนที่ตั้งพรรคการเมือง ทักษิณได้ไปรวมเอาคนที่เคยต่อสู้และทำงานกับประชาชนมานาน เช่น กลุ่มคุณจาตุรงค์ ฉายแสง เข้าเป็นพรรคพวก จากนั้นได้จัดเวทีระดมความต้องการเขา ประชาชนในระดับจังหวัด ภาคอีสานมีโคราช ขอนแก่น สกลนคร อุบลราชธานี อุดรธานี จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ที่ได้จากเวทีไปประมวลและสังเคราะห์ออกมาเป็นนโยบาย เลยกลายเป็นนโยบายที่ถูกใจประชาชน ซึ่งชัดเจนว่าประชาชนเลือกนโยบาย เมื่อเลือกตั้งเข้ามาแล้วทักษิณทำตามนโยบายที่ใช้หาเสียง หลายคนเรียกว่าประชานิยม แต่สำหรับประชารากหญ้าคือนโยบายที่จับต้องได้ ส่งผลให้เลือกตั้งกี่ครั้งทักษิณและพรรคพวกก็ได้รับการยอมรับจากประชาชน
 
สำหรับผมในฐานะเอ็นจีโอชาวบ้าน ผมไม่พอใจทักษิณเรื่องการฆ่าตัดตอน มีการตั้งเวทีวิภากษ์วิจารณ์ แต่ผมพอใจการบริหารของทักษิณมากว่ารัฐบาลอื่นๆ ที่ดินในเขตป่ามีกระบวนการเจรจาให้ทำมาหากินร่วมกันได้ เผด็จการรัฐสภาไม่ค่อยเห็นแก่ตัวเท่าไหร่เมื่อเทียบกับเผด็จการซ่อนรูป
 
ผมว่าประชาชนรากหญ้ารักทักษิณไม่ผิดหรอก เพราะต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาไม่รัฐบาลไหนที่จะสนใจชนบทขนาดนี้
 
ไพร่ในความเข้าใจ
คนทำงานหนัก ใช้แรงงาน ลงแรงเยอะ ลงทุนมาก แต่กินไม่อิ่ม
 
แล้วอำมาตย์ล่ะ
กลุ่มคนที่ไม่ต้องทำงานหนัก แต่กินอิ่ม สุขสบาย
 
คำว่าสองมาตรฐานในความเข้าใจ
พันธมิตรบุกยึดสนามบินผ่านไป 1 ปีคดียังไม่มีความคืบหน้า แต่ ปนช. ติดคุกทันที กรุงเทพฯ ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คนเสื้อแดงชุมนุมถือว่าผิดกฎหมาย แต่คนหลากสีสามารถชุมนุมได้ จัดเตรียมสถานที่สำหรับให้คนหลากสีได้ให้กำลังใจรัฐบาล แล้วมากล่าวอ้างว่า นปช.ไม่ได้ชุมนุมทางการเมือง คนบางคนเสื้อเหลืองตายไปงานศพแต่คนเสื้อแดงตายไม่เห็นหัว
 
มุมมองต่อการทำหน้าที่ของทหาร
ทหารเป็นเครื่องมือฝ่ายการเมือง ระบบทหารต้องเปลี่ยนแปลงทันที ตำรวจก็เช่นกัน ไม่ได้ทำหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์ ทุกที่ที่มีทหารกับตำรวจ ที่แห่งนั้นคือสถานที่ไม่ปลอดภัยสำหรับคนเสื้อแดง สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรยกเลิกไปเลย ไม่ดูแลความปลอดภัยให้กับชาวบ้านจนชาวบ้านถูกยิงตาย ไม่แสดงความรับผิดชอบตรงกันข้ามกลับตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นโจรล้มเจ้า
 
บทบาท การทำหน้าที่ของสื่อสารมวลชน
สื่อไม่มีความเป็นกลาง เอียงข้างไปรับใช้สถาบันทางการเมือง ประชาชนถูกยัดเยียดให้รับข้อมูลด้านเดียว เช่น นำเสนอความรุนแรงของคนเสื้อแดงฝ่ายเดียว ซึ่งย่อมส่งผลโดยตรงต่อความคิดความเชื่อของประชาชนที่ไม่ได้เข้าร่วมกับกระบวนการคนเสื้อแดง ทำให้เกิดอคติและความเกลียดชัง แต่สำหรับผู้ที่เข้าร่วมกับกระบวนการไม่มีปัญหา ทุกอย่างเห็นชัดแจ้งแดงแจ๋ด้วยตาตัวเอง
 
การทำงานของพรรคการเมือง
พรรคการเมืองไทยในปัจจุบันไม่สามารถคาดหวังให้มาแก้ไขปัญหาประชาชน เป็นเรื่องยากที่จะคาดหวังอะไรจากพรรคการเมืองไทย ทางออกคือประชาชนต้องเข้มแข็ง มีการรวมกลุ่มเพื่อคานอำนาจ สร้างนโยบายเสนอฝ่ายการเมือง ประชาชนต้องกำกับดูแลการทำงานของพรรคการเมืองอย่างใกล้ชิด ทำงานควบคู่กันระหว่างประชาชนและพรรคการเมือง
 
การทำหน้าที่ของตุลาการ
ตุลาการภิวัตน์ ไม่มีความเป็นธรรม ไม่มีความเป็นกลาง เอื้อประโยชน์ให้ผู้ที่มีอำนาจเหนือ ไม่ใช่กระบวนการยุติธรรมของประชาชน
 
ความคิดเห็นต่อการทำหน้าที่องคมนตรี
ไม่มีความเป็นธรรม ไม่มีความเป็นกลาง เอื้อประโยชน์ให้ผู้ที่มีอำนาจเหนือ เข้าร่วมกับฝ่ายการเมือง โดยใช้ทหารเป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจ
 
บทบาท NGOs ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ผมเคยทำงานกับเอ็นจีโอ ผมเองก็เป็นเสมือนเอ็นจีโอชาวบ้าน ผมมองว่าการทำงานแบบเอ็นจีโอคือการทำงานแบบแยกประเด็น ทำแต่เรื่องของตัวเอง ไม่พูดถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง ทำหน้าที่บริหารโครงการเป็นหลักไม่ได้คิดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เอ็นจีโอถือว่าเป็นองค์กรที่ล้าหลัง สโลแกนยังคงเป็นคำตอบอยู่ที่หมู่บ้านเหมือนเดิม ยังคงนอนอยู่บ้านทั้งที่ชาวบ้านไปนอนห้องถนน ไม่อยากไปพูดถึงเลย ทำตัวเหมือน ส.ส.นั่นแหละถ้าต้องการอะไรถึงลงไปหาชาวบ้าน
 
การทำหน้าที่ของกลุ่มปฏิรูปประเทศไทย
ปฏิรูปไม่ต้องพูดถึงแล้ว สังคมไทยในเวลานี้ต้องปฏิวัติ ปัจจุบันคนที่พูดถึงการปฏิรูปทุกวันนี้คือคนที่สนับสนุนรัฐบาลทั้งนั้น ตัวผมเองเสียใจมากนะเพราะหลายคนผมรู้จัก พวกเราเคยทำงานร่วมกัน
 
บทบาทของคณะกรรมการสิทธิฯ
ทุกองค์ไม่มีความเป็นคนอีกแล้ว ไม่มีความเป็นธรรมและความเป็นกลางในสังคมไทย เสื้อเหลืองถูกกระทำกรรมการสิทธิฯจริงจังกับการทำงาน เสื้อแดงถูกกระทำไม่มีคณะกรรมการคนไหนอ้าปากพูดซักคำเดียว สรุปคือเอียงตามอำนาจเหมือนกันทั้งหมด
 
ความคิดเห็นต่อการทำหน้าที่ของนักวิชาการ
เป็นที่รู้กันดีมาอย่างเนิ่นนานว่านักวิชาการส่วนใหญ่อยู่ห่างความเป็นจริง มีนักวิชาการส่วนน้อยมากที่เห็นความจริงและอยู่ใกล้ชิดกับชาวบ้าน แต่กลับเป็นนักวิชาการที่ไม่มีเสียง พูดอะไรสังคมไม่ได้ยิน นักวิชาการ นักเคลื่อนไหวอย่างพิภพ ธงชัย สุริยะใส กะตะศิลา เมื่อก่อนอยู่กับสมัชชาคนจน ผมเห็นพวกเขา พวกเราเคยนั่งกินเหล้าด้วยกัน พวกเขากินกับชาวบ้าน แต่วันนี้ก็อย่างที่เห็น ผมว่าชาวบ้านโดยเฉพาะกลุ่มคนที่เคยต่อสู้กับปัญหามาก่อนเห็นภาพสังคมไทยชัดเจนมากในเวลานี้
 
แล้วอย่างการทำหน้าที่ขององค์กรทางศาสนา
เท่าที่เห็นในปัจจุบันยังไม่ชัดเจน ถึงแม้จะมีพระเข้าร่วมกับกระบวนการเสื้อแดงบ้าง องค์กรศาสนาก็มีกลุ่มก้อนไม่ต่างจากสถาบันทางการเมือง มียศถาบรรดาศักดิ์ อันนี้ไม่แน่ใจ
 
ต้องยอมรับว่าทุกสถาบันในสังคมไทยเวลานี้มีแต่ความแตกแยก เด็กในหมู่บ้านผมพ่อแม่เป็นเสื้อแดง ลูกอยู่บ้านรับรู้เรื่องราวคนเสื้อแดง พอไปถึงโรงเรียนครูเป็นเหลืองก็พูดจาแบบเสื้อเหลือง เด็กสับสน แม้แต่ในโรงเรียนบรรยากาศยังไม่เหมาะกับการเรียนรู้
 
ทัศนะต่อการสลายการชุมนุม
โดยส่วนตัวรู้ว่ารัฐบาลไม่ยอมง่ายๆ ต้องมีการสลายแต่ไม่คิดว่าจะฆ่าคนตายแบบนี้ เพราะกลุ่มคนที่แต่งตั้งนายอภิสิทธิ์ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ยอมแน่นนอน ไม่ยอมลงจากอำนาจ แต่คาดไม่ถึงว่าจะเสียหายขนาดนี้ ผู้ชุมนุมโดยรวมเสียขวัญกำลังใจ ช่วงนี้คนเสื้อแดงต้องให้กำลังใจกัน ไปร่วมงานศพ ใช้วัฒนธรรมนำการเมือง ทำบายศรีสู่ขวัญให้กับคนตายคนเจ็บ
 
คิดอย่างไรกับการเผาห้างและสถานที่ราชการ
สิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริงของสังคมไทย ผมไม่ตั้งคำถามว่าใครเผา ที่ผ่านมาไทยหลอกตัวเองและชาวโลกมาตลอดว่าเป็นสยามเมืองยิ้ม ที่ผ่านมีแรงกดดันในสังคมไทยเยอะมากที่ถูกส่งต่อไปให้รัฐบาลและได้ถ่ายทอดความกดดันมาสู่ผู้ชุมนุม ซึ่งทั้งล้วนปรากฏชัดเจนว่าสังคมไทยต้องการความรุนแรง ปรากฏชัดเจน ผมไม่มีคำถามว่าใครทำ ทำไมถึงทำ มันเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่คนไม่มีทางเลือกสามารถแสดงออกได้ รัฐบาลจะได้รู้ว่าตัวเองแก้ไขปัญหาผู้ชุมนุมผิดพลาด ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ แล้วรัฐบาลจะเอาปรากฏการณ์ 19 พ.ค.มาเป็นตัวตัดสินปัญหาทั้งหมดไม่ได้ ชาวบ้านถูกรัฐบาลสั่งสมความรุนแรงมาตั้งแต่ 19 กันยา 2549 ความรุนแรงเกิดขึ้นที่รัฐบาล เมื่อรัฐบาลส่งทหารไปยิงประชาชน วันที่ 28 เม.ย.คนเสื้อแดงปทุมจะไปเยี่ยมคนเสื้อแดงที่ถูกจับตัวก็ถูกดักทำร้ายระหว่างทาง ความรุนแรงเกิดจากทหารใช้กระสุนจริง ทหารไม่ได้ถูกฝึกมาให้ดูแลการชุมนุม ทหารคือสัญลักษณ์ของการปราบปรามอริราชศัตรู เพราะฉะนั้นทั้งหมดของความรุนแรงรัฐบาลเป็นผู้สร้างขึ้น ทำให้เกิดขึ้น
 
การชุมนุมในอดีตถ้ารัฐบาลประกาศสลายการชุมนุมคนจะน้อยลง คนจะกลัว แต่ในครั้งนี้ผู้ชุมนุมไม่กลัว คนที่อยู่กรุงเทพฯ สู้เต็มที่ คนที่ไม่สามารถไปร่วมที่กรุงเทพฯได้ก็ออกมาที่ศาลากลาง ไม่มีการประสานงาน ไม่มีคนจัดตั้ง แต่เป็นคำสัญญาใจร่วมกันถ้ารัฐบาลสลายการชุมนุมทุกคนจะออกมารวมกันที่ศาลากลางจังหวัดเพื่อกดดันให้รัฐบาลเลิกใช้กำลังทหาร การเผาศาลากลางหลายจังหวัดในประเทศไทย ผมว่าประชาชนแสดงออกชัดว่าพวกเขาไม่ต้องการให้ข้าราชการภายใต้การนำของนายกอภิสิทธิ์ปกครองอีกต่อไป สำหรับผมถึงแม้รัฐบาลจะไม่ยุบสภาแต่การตื่นตัวทางการเมือง การเข้ามาร่วมกิจกรรมทางการของพี่น้องรากหญ้าคือชัยชนะระหว่างที่ยิ่งใหญ่กว่ารัฐบาลยุบสภา
 
การจับตัวแกนนำ นปช.
รัฐบาลทำเกินไป รัฐธรรมนูญระบุไว้ชัดเจนว่าประชาชนมีสิทธิชุมนุมทางการเมืองได้โดยสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ ดังนั้นถ้าต้องการจับแกนนำปนช.ต้องจับโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายปกติ เช่น กีดขวางทางจราจร ไม่ใช่ตามกฎหมายพิเศษ โดยตั้งผู้ข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ล้มล้างสถาบัน เป็นข้อกล่าวหาที่เกินไป เป็นข้อกล่าวหาที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างความชอบธรรมในการใช้กำลังทหาร เป็นข้อกล่าวหาที่รัฐบาลใช้ทำลายคู่ต่อสู้ทางการเมืองเสมอ ไม่ต่างอะไรจากตุลาฯ ประเด็นนี้พี่น้องนปช.ต้องนำมาสรุปบทเรียนเพื่อวางแผนต่อสู้กับการใส่ร้ายป้ายสี ปิดสื่อ ล้อมปราบ
 
สถานการณ์ในพื้นที่ช่วงสลายการชุมนุม
วันที่ 8 เมษายน ผมออกจากพื้นที่ชุมนุมกทม.เพื่อไปร่วมประชุมที่มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) จากนั้นวันที่ 9 เมษายน ผมกลับมาที่ขอนแก่น วันที่ 10 ประชุมที่ขอนแก่น เพื่อนที่กรุงเทพฯโทรศัพท์มาบอกว่าเริ่มปราบปรามแล้ว และมีคนโดนยิงตายตั้งแต่เวลา 15.00 น.ความรู้สึกของผมตอนนี้มันว่างเปล่า ผมกำลังคิดถึงรัฐบาลปราบปรามประชาชนที่ประกาศชุมนุมด้วยมือเปล่า ตอนนี้ยังไม่มีเงื่อนไขที่จะนำไปสู้การปราบปรามด้วยอาวุธเลย ผมเสียใจมากที่ไม่ได้อยู่ร่วมต้อสู้กับคนอื่นๆ เพราะตามแผนเดินผมวางไว้คือเช้าของวันที่ 10 ผมจะเข้ากรุงเทพฯ แต่นักเคลื่อนไหวที่ผมรู้จักโทรมาบอกว่าไม่ต้องเข้า ผมจึงเดินทางไปร่วมชุมนุมที่ศาลากลางสกลนคร และพอกรุงเทพฯถูกสลายชาวบ้านอยู่ต่างจังหวัดก็ไปรวมตัวกันที่ศาลากลางโดยไม่ได้การนัดหมาย
 
 
ภายหลังวันที่ 10 เม.ย.เงื่อนไขทางสังคมเริ่มเพิ่มขึ้น มีกลุ่มเสื้อหลากสีที่บอกว่าตัวเองเป็นพลังเงียบในสังคมต้องการความสงบ แต่ในความเป็นจริงคือสนับสนุนรัฐบาล บวกกับชาวบ้านถูกสกัดกั้นไม่สามารถเข้าร่วมการชุมนุมที่กทม.ได้ จึงได้ไปชุมนุมที่ศาลากลางเพื่อแสดงพลังสนับสนุนคนเสื้อแดง หลัง 25 เม.ย. ในพื้นที่มีการเคลื่อนไหวกันตลอด ผมไม่ได้ไปกรุงเทพฯ อีกเลย เพราะภารกิจในพื้นที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ช่วงนี้สัญญาณสื่อสารถูกปิดกั้น ผมทำจึงทำหน้าที่สื่อสารในพื้นที่กับชาวบ้านผ่านแผ่นซีดีที่พรรคพวกอยู่กรุงเทพฯนำมาให้ ผมและพรรคพวกจัดเวทีเวียนไปเรื่อยๆ ในเขตอ.เขาวง อ.ภูพาน ศาลากลาง หลังเสธ.แดงถูกยิง การชุมนุมเข้มข้นขึ้น มีข่าวปล่อยว่ารัฐจะสลายตลอดเวลา ในพื้นที่สกลนครก่อนวันที่เสธ.แดงตายมีข่าวปล่อยว่าเปรมตาย ชาวบ้านทุกคนดีใจมากๆ แต่พอวันต่อมาชาวบ้านได้รับรู้ว่าเสธ.แดงตายก็เสียใจมาก ต้องยอมรับผู้ชุมนุมในกรุงเทพฯเริ่มรู้สึกไม่ปลอดภัยหลังเสธ.แดงตาย เพราะตอนเสธ.แดงอยู่พวกเราเชื่อว่าทหารไม่กล้าใช้กำลัง
 
แสดงว่าในพื้นที่ชุมนุมมีกองกำลังคุ้มครองจริง
การชุมนุมของ นปช.ครั้งนี้ประกาศชัดเจนว่า นปช.แดงทั้งแผ่นดินจะยึดแนวทางสันติ ส่วนแดงสยาม หรือเสธ.แดงถ้าอยากใช้ความรุนแรงให้แยกตัวออกจากขบวน ประเด็นกองกำลังชุดดำซึ่งภายหลังยกระดับเป็นผู้ก่อการร้ายเป็นเรื่องที่รัฐบาลสร้างขึ้น ผมอยู่ในที่ชุมนุม 30 วัน เห็นคนใส่ชุดดำซึ่งเป็นการ์ดเดินไปมาตลอดเวลา บางคนมีวิทยุสื่อสาร บางคนมือเปล่า แต่ผมไม่เคยเห็นใครถือปืน
 
หลังรัฐบาลใช้กำลัง 10 เมษายนพวกเราเริ่มเชื่อแล้วว่ารัฐบาลปราบแน่ๆ แต่ผู้ชุมนุมไม่มีทางเลือก จำเป็นต้องต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
 
สิ่งที่ปรากฏชัดเจนในวันที่ 19 พ.ค. คือ ผู้ชุมนุมไม่กลัวถึงแม้รัฐบาลจะประกาศสลายการชุมนุมก็ตาม และถึงแม้แกนนำจะประกาศยุติการชุมนุม ผู้ชุมนุมก็ยังไม่ยินดีออกจากพื้นที่ การปราบปรามที่รุนแรงไม่ได้ทำให้ผู้ชุมนุมกลัว การสู้ต่อของคนเสื้อแดงข้ามเส้นความตาย แต่ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจะฆ่าทิ้งได้ฟรีๆ คนเสื้อแดงชนะทางการเมือง แต่แพ้ทางการทหาร เพราะไม่คาดคิดว่ารัฐบาลจะใช้อาวุธ การต่อสู้เพิ่งเริ่มต้น ผู้ชุมนุมเชื่อว่าเลือกตั้งใหม่อีกกี่รอบพวกเราก็จะชนะการเลือกตั้ง
 
ผมเชื่อว่าเหตุการณ์เผาวันที่ 19 พ.ค. สืบเนื่องมาถึง 20 พ.ค. ชัดเจนมากนะ ว่าผู้ที่ร่วมกันเผาไม่ได้โกรธแค้นแกนนำที่ยอมแพ้ เพราะพวกเขารู้ว่าไม่ได้แพ้ แต่เขาแสดงออกชัดเจนว่าไม่ให้มึงปกครอง แต่มึงยังด้านปกครอง อย่างที่ผมบอกมันคือสัญญาใจ เมื่อกรุงเทพฯสลาย ทุกคนจะไปศาลากลาง สาเหตุที่ 19 พ.ค.รุนแรง ไม่ใช่เรื่องของผู้ก่อการร้าย หรือแพ้แล้วพาล แต่มันคือความเจ็บแค้น คับข้องหมองใจ ความไม่เป็นธรรม ที่กดทับใจจิตใจของประชาชนมานาน
 
หลังเหตุการณ์ 19 พ.ค. ชาวบ้านที่ตลาดมุกดาหารบางส่วนเริ่มโต้ตอบรัฐบาลด้วยวิธีการสันติ เช่น ไม่ค้าขายกับทหาร จะไม่เสียรายภาษีได้ส่วนบุคคล ฯลฯ
 
แต่ก็มีทหารแตงโม ตำรวจมะเขือเทศ
ทหารแตงโมกับตำรวจมะเขือเทศคาดหวังได้เพียงแค่เรื่องข่าววงใน ไม่คิดว่าพวกเขาจะขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา พวกเขาเป็นกลไกหลักของรัฐที่ได้รับคำสั่งให้มาจัดการคนเสื้อแดงอยู่แล้ว ทหารเมื่อนายสั่งยิงต้องยิงถ้าไม่ยิงเขาต้องโดนยิง นปช.ต้องทำงานกับทหารที่เป็นลูกหลานตัวเอง
เวลานี้มีข้อมูลจากข้างบนลงมาเยอะ

ความเคลื่อนไหวในพื้นที่
การจัดวงคุย การตั้งเวทีระดับจังหวัด และอำเภอมีเรื่อยๆ เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวของเวทีใหญ่ที่กรุงเทพฯ แต่ไม่มีความรุนแรงอะไร
 
ต้นเดือน พ.ค.ผมกลับมาจากกทม. อยู่บ้านมีคนบอกว่าเสธ.แดงถูกยิงแล้ว ผมจึงเดินทางไปที่ อ.เขาวง เห็นเขาเอารูปเสธ.แดงมาโชว์ ในใจคิดแล้วแหละว่าคราวนี้แย่กันแน่ๆ รัฐบาลเอาจริงแน่นอน
 
วันที่ 15-16 พ.ค. ผมจัดเวทีอยู่ที่ภูพานแต่ชาวบ้านมาร่วมน้อย ตำรวจจึงสามารถยึดเวทีตามกฎหมาย พรก. จากนั้นวันที่ 17 พ.ค. ผมไปต่อกับพรรคพวกที่ อ.พังโคน ในที่สุดการจัดเวทีที่สกลนครก็สิ้นสุดลงในวันที่ 17 พ.ค. เพราะแกนนำหลายคนถูกจับ ส่งผลให้ไม่มีเวทีปราศรัยในพื้นที่ จากนั้นอีก 2 วันรัฐบาลก็สลายในกรุงเทพฯ พอวันที่ 22 พ.ค.ผมโดนหมายเรียกเพราะผมขึ้นเวทีพูดคุยกับพี่น้อง ผมส่งจดหมายขอเลื่อนเข้าพบพนักงานโดยแจ้งไปว่าจะเข้าในวันที่ 7 พ.ค.แต่ไม่ได้เข้าพบและทำจดหมายเลื่อนไปอีกรอบโดยไม่ระบุวันเข้าพบและให้ตำรวจกำหนดวันและออกหมายเรียกมาใหม่อีกรอบ อีกเหตุผลที่ผมไม่อยากเข้ารายงานตัวคือ ผมกลัวเคลื่อนไหวทำงานในพื้นที่ไม่ได้ ไม่กลัวถูกจับขังคุกเพราะอยู่ขอนแก่นมีคนมอบตัวแต่ไม่ถูกขัง ปรับแค่ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา ถ้าทำอะไรไม่ได้ ผมเป็นห่วงเครือข่ายของผมในสกลนครชื่อกลุ่ม ไทยบ้านผู้ไร้สิทธิสกลนคร มีสมาชิก 7 อำเภอ คือ อ.กุดบาก อ.ภูพาน อ.เต่างอย อ.นิตมน้ำอูน อ.วาริชภูมิ อ.เจริญศิลป์ และอ.เมือง มีสมาชิกหลายพันคนและทุกคนมีบทบาทสำคัญในกระบวนการคนเสื้อแดงในพื้นที่ กลุ่มนี้จะไม่มีใครเป็นแกนนำ มีเพียงแกนกลางทำหน้าที่ประสานสมาชิก กลุ่มนี้ยังคงเข้มแข็งพร้อมทำงานกันอีกครั้ง
 
นอกจากนั้นผมยังมีเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน สภาพัฒนาการเมือง มีสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ให้งบ แต่ตอนนี้งบหมด ไม่รู้เหมือนกันว่าขอใหม่เขาจะให้หรือไม่ให้ เพราะที่ผ่านไม่ได้ทำงานมวลชนให้ภาครัฐ แต่ทำงานเพื่อสร้างให้มวลชนเป็นแนวร่วมของคนเสื้อแดง โดยพยายามทำให้เขาเข้าใจ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน ไม่ได้เกิดขึ้นโดยง่ายเพราะรัฐอยากให้อำนาจแก่ประชาชนอย่างแท้จริง แต่เกิดจาการต่อสู้ของพวกเราเพื่อสร้างช่องทางต่อสู้กับกลไกรัฐ
 
แนวทางการต่อสู้ในอนาคต
ผมคิดว่าคนเสื้อแดงจะปล่อยให้ถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียวไม่ได้ พวกเราเริ่มคุยกันเรื่องติดอาวุธทางปัญหาเพื่อสร้างสภาพจิตใจให้เข้มแข็ง มีใจต่อสู้อย่างมุ่งมั่น เพราะปัจจุบันรัฐบาลส่งคนมาติดตามปราบปรามในพื้นที่ คนที่ถูกหมายเรียกไม่ไปมอบตัว ไม่ยอมรับกระบวนการเยียวยาแบบรัฐบาลมีโอกาสถูกฆ่าทิ้ง
 
ชีวิตหลังมีหมายเรียก
ไม่เหมือนชีวิตปรกติแน่นอน แต่ผมสามารถอยู่ได้สบายดี ถึงแม่จะอยู่บ้านตัวเองไม่ได้ก็ตาม ผมอาศัยอยู่ตามบ้านเพื่อนที่เคยเคลื่อนไหวเรื่องที่ดีด้วยกัน ผมดีใจที่เพื่อนผมช่วยเหลือเราในยามตกยาก กลุ่มที่ดิน อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ช่วยเหลือผมเรื่องค่าใช้จ่าย 7,000 บาท ตอนนี้ที่ จ.สกลนครมีคนได้รับหมายเรียก 3 คน เป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. 1 คน พราหมณ์ทำพิธีเทเลือด 1 คน และก็ผม จะต้องปรึกษากันว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะต้องสู้ด้วยกัน ไปคนเดียวเสร็จรัฐบาลแน่ๆ
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แอมเนสตี้สากลจี้รัฐต้องไม่เพิกเฉยต่อสิทธิมนุษยชนในการมุ่งขจัดความยากจน

Posted: 09 Jun 2010 08:38 AM PDT

<!--break-->

9 มิ.ย. 53 - แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดเผยว่า มีความเสี่ยงว่ารัฐบาลประเทศต่าง ๆ อาจทำให้กลุ่มคนยากจนและอ่อนแอที่สุดในสังคมโลกต้องผิดหวัง เว้นแต่พวกเขาจะให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนในการขจัดความยากจน แอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนลกล่าวในวันนี้

ในรายงานฉบับใหม่ที่พิจารณาข้อเสนอเพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals [MDGs] มีการเน้นถึงเป้าหมายสำคัญซึ่งยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ ในรายงาน “จากสัญญาสู่การปฏิบัติ” (From Promises to Delivery) มีการเสนอขั้นตอนสำคัญที่รัฐบาลสามารถนำไปใช้เพื่อให้เกิดความสำเร็จอย่างจริงจังตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษในช่วงห้าปีข้างหน้า

“เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษให้สัญญากับกลุ่มยากจนและกลุ่มชายขอบมากสุดของสังคมโลกว่าพวกเขาจะมีอนาคตที่เป็นธรรมมากขึ้น แต่สภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในตอนนี้เป็นเรื่องน่าเจ็บปวด และหากรัฐบาลไม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วน จะทำให้ชุมชนชายขอบมากสุดของสังคมต้องผิดหวัง” Claudio Cordone เลขาธิการชั่วคราว แอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนลกล่าว

“เป็นที่ชัดเจนว่าสิ่งที่เราต้องการสื่อกับผู้นำโลก ซึ่งจะมาประชุมในเดือนกันยายนเพื่อทบทวนความก้าวหน้าตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษคือ พวกเขาต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อให้สิทธิมนุษยชนเป็นแกนหลักในความพยายามพัฒนาชีวิตของคนยากจน”

รายงานเรียกร้องรัฐบาลให้ประกันว่า กิจกรรมตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษต้องสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ทั้งการแก้ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง กำหนดเป้าหมายระดับชาติซึ่งต้องทำให้สำเร็จ ส่งเสริมสิทธิการมีส่วนร่วม และพัฒนากลไกเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบ

มีการเผยแพร่รายงานฉบับนี้ในวันนี้ที่กรุงนิวยอร์ก ระหว่างที่ตัวแทนจากรัฐบาล ภาคประชาสังคม และองค์การสหประชาชาติเข้าร่วมการประชุมขององค์กร Realizing Rights และแอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนล เพื่ออภิปรายถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชนในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ

ประเด็นหลักสามประการ ทั้งความเท่าเทียมทางเพศสภาพ สุขภาพของแม่ และสลัม เป็นจุดเน้นในรายงานซึ่งสะท้อนถึงช่องว่างอย่างใหญ่หลวงระหว่างกรอบของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษในปัจจุบันกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

ในแง่ความเท่าเทียมทางเพศสภาพ รายงานแสดงให้เห็นว่า เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษไม่สามารถประกันว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งที่เป็นองค์ประกอบหลักในการแก้ปัญหาความยากจน แม้เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษจะครอบคลุมถึงความเท่าเทียมด้านเพศสภาพ แต่ก็ถูกจำกัดอยู่เพียงเป้าหมายเพื่อกำจัดความแตกต่างด้านการศึกษาเท่านั้น

ประมาณว่า 70% ของคนยากจนในโลกเป็นผู้หญิง รายงานเสนอข้อมูลว่าผู้หญิงและเด็กผู้หญิงในทุกสังคมยังตกเป็นเหยื่อของการเลือกปฏิบัติทางเพศสภาพต่อไป รวมทั้งความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชน

รายงานยังระบุว่า มีความก้าวหน้าน้อยมากในแง่ของการพัฒนาสุขภาพของแม่ เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยเบื้องหลังหลายประการซึ่งส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตและการบาดเจ็บของแม่

ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน อย่างเช่น การแต่งงานแต่วัยเยาว์หรือถูกบังคับให้แต่งงาน ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิง เป็นเหตุให้ผู้หญิงไม่สามารถกำหนดชะตากรรมของตนเอง เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษยังไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างเพียงพอต่อสิทธิทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ รายงานให้ภาพรวมตั้งแต่ประเทศเปรูถึงเซียร่า ลีโอน ว่าผู้หญิงยากจนต้องเผชิญอุปสรรคมากน้อยเพียงใดเพื่อเข้าถึงการดูแลสุขภาพของแม่

รายงานระบุต่อไปว่า เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษที่มุ่งพัฒนาชีวิตของผู้อยู่ในสลัมอย่างน้อย 100 ล้านคน เป็นเป้าหมายที่ “บกพร่องและอ่อนแอเป็นอย่างยิ่ง” เนื่องจากคาดว่าภายในปี 2563 จะมีประชากรถึง 1.4 พันล้านคนอยู่ในสลัม เป้าหมายดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกับพันธกรณีของรัฐที่มีต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

แอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนลให้ข้อมูลถึงการบังคับโยกย้ายชุมชนสลัมในทุกภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อประชาชนที่อยู่ในภาวะยากจนอยู่แล้ว เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษมองข้ามพันธกรณีสำคัญของรัฐที่ต้องป้องกันและคุ้มครองบุคคลให้พ้นจากการละเมิดสิทธิเหล่านี้

จากบูร์กีนา ฟาโซ จนถึงชุมชนแออัดในบราซิล รายงานแสดงให้เห็นว่า การรับผิดชอบที่มีอยู่บกพร่อง ทำให้คนยากจนเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างยากลำบาก โดยไม่มีกลไกรองรับ อีกทั้งคนยากจนก็ไม่สามารถเข้าถึงกลไกเหล่านี้ได้

“สิทธิมนุษยชนเป็นกุญแจที่ทำให้เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษเป็นผลอย่างจริงจัง” Claudio Cordone กล่าว

“รัฐบาลต้องรับรองว่า การทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษจะสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน”

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ครอบครัวทหารพม่าเผยความลับนิวเคลียร์ ถูกรัฐบาลสอบ – สั่งห้ามออกพื้นที่

Posted: 09 Jun 2010 08:23 AM PDT

รัฐบาลทหารพม่าส่งเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงาน เข้าเมืองจ๊อกแม รัฐฉาน ติดตามสอบสวนครอบครัวนายทหารแปรพักตร์เผยความลับโครงการนิวเคลียร์ ขณะที่ญาติถูกสั่งห้ามเดินทางออกนอกพื้นที่ พร้อมให้เรียกบุตรหลานอยู่ต่างถิ่นกลับภูมิลำเนา

<!--break-->

แหล่งข่าวในรัฐฉานรายงานว่า หลังพ.ต.จายเต็งวิน ผู้เกี่ยวข้องโครงการอาวุธลับของรัฐบาลทหารพม่า หนีไปแปรพักตร์อยู่ในต่างประเทศ เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของรัฐบาล จนเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก ได้มีเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และหน่วยสืบราชการลับของรัฐบาลทหารพม่าไปเคลื่อนไหวในเมืองจ๊อกแม รัฐฉานภาคเหนือ บ้านเกิดของพ.ต.จายเต็งวิน เป็นจำนวนมาก

โดยเมื่อเร็วๆ นี้ เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปสอบสวนคนในครอบครัวของพ.ต.จายเต็งวิน ถึงบ้าน โดยได้สอบถามผู้เป็นแม่ว่า พ.ต.จายเต็งวิน ได้มีการติดต่อกับครอบครัวบ้างหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีญาติของ พ.ต.จายเต็งวิน คนใดถูกจับกุม

แหล่งข่าวเผยอีกว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลทหารพม่าได้มีคำสั่งห้ามไม่ให้ญาติพี่น้องของพ.ต.จายเต็งวิน เดินทางออกนอกพื้นที่ ขณะที่พี่ชายของพ.ต.จายเต็งวิน ซึ่งเปิดร้านจำหน่ายหนังสืออยู่ที่เมืองจ๊อกแม ได้ถูกสอบสวนและไม่ได้รับอนุญาตออกนอกพื้นที่ ขณะที่เขากำลังจะเดินทางไปจ่ายค่าหนังสือที่เมืองมัณฑะเลย์

นอกจากนี้ ทางเจ้าหน้าที่ยังได้มีคำสั่งให้ญาติพ.ต.จายเต็งวิน ที่มีบุตรหลานทั้งที่กำลังศึกษาอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ และทำงานอยู่ที่อื่นให้เดินทางกลับภูมิลำเนา ที่เมืองจ๊อกแม ด้วย

ล่าสุด เช้าวันนี้ (9 มิ.ย.) มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ได้เข้าทำการตรวจสอบร้านบริการอินเตอร์เน็ต 2 แห่ง ในเมืองจ๊อกแม โดยตรวจสอบการเข้าถึงเว็บไซท์ต่างๆ ของผู้ใช้บริการ ขณะที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์รายหนึ่งบอกว่า ไม่เคยมีเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นร้านอินเตอร์เน็ตในเมืองจ๊อกแม เช่นนี้มาก่อน

มีรายงานด้วยว่า ข่าวการเปิดเผยข้อมูลลับโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของพ.ต.จายเต็งวิน ถูกพูดคุยกันอย่างหนาหูทั่วในรัฐฉานภาคเหนือ ซึ่งหลายคนถึงกับตะลึงกับกระแสข่าวที่เกิดขึ้น ขณะที่มีประชาชนหลายคน รวมถึงเจ้าหน้าที่พม่าในท้องที่บางคน ได้กล่าวชื่นชมพ.ต.จายเต็งวิน ว่าเป็นผู้มีความกล้าหาญน่ายกย่องยิ่ง

พ.ต.จายเต็งวิน เป็นชาวไทใหญ่ มีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองจ๊อกแม รัฐฉานภาคเหนือ เกิดเมื่อวันที่ 20 ก.พ. ค.ศ. 1976 เป็นบุตรคนที่ 4 ของครอบครัวนายตานมิ้น นางมอนส่า จบการศึกษาระดับมัธยมปลาย (ชั้นสิบ) เมื่อปี ค.ศ. 1993 จากนั้น ได้เข้ารับการศึกษาต่อวิทยาลัยเทคนิคป้องกันชาติ Defense Service Technical Academy (DSTA) ก่อนจะถูกส่งตัวไปศึกษาเกี่ยวกับขีปนาวุธที่ประเทศรัสเซีย นาน 5 ปี

พ.ต.จายเต็งวิน รับราชการอยู่ในกองทัพพม่านาน 15 ปี ก่อนจะตัดสินใจหนีออกนอกประเทศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยได้เปิดเผยข้อมูลหลักฐาน ทั้งเอกสารและภาพถ่ายเกี่ยวกับโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งสำนักข่าว DVB และสำนักข่าวอัลจาซีรา ได้รายงานเป็นข่าวดังไปทั่วโลก โดยก่อนหนีออกนอกประเทศ พ.ต.จายเต็งวิน มีตำแหน่งเป็นรอง ผู้อำนวยการโรงงานผลิตอาวุธสำคัญ ที่เมืองเหมี่ยง จังหวัดปะโคกกู่ ภาคมะโกย
 
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/
สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) เป็นสำนักข่าวอิสระจัดตั้งโดยกลุ่มชนไทยใหญ่พลัดถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทยใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อธิบดีกรมการปกครองเผยคนแห่สมัคร "อาสาสมัครปกป้องสถาบัน"

Posted: 09 Jun 2010 07:34 AM PDT

<!--break-->

เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 53 - นายมงคล สุระสัจจะ อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า จากการที่กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินโครงการอาสาสมัครปกป้องสถาบัน ขณะนี้พบว่าประชาชนสนใจสมัครเป็นสมาชิกอาสาสมัครปกป้องสถาบันทั่วประเทศจำนวนมาก โดยเริ่มต้นให้มีอำเภอละไม่น้อยกว่า 1,000 คน ขณะนี้เกิน 1,000 คนแล้ว และจะขยายไปจนถึง 1 แสนคน และขณะนี้ได้ขยายไปจนถึงเยาวชนอาสาสมัครปกป้องสถาบันซึ่งโครงการดังกล่าวได้ส่งผลดีต่อประชาชนทั้งประเทศ เนื่องจากในขณะนี้บ้านเมืองได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางความคิด ประชาชนทุกคนต่างมีศูนย์รวมจิตใจ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทุกคนได้ร่วมกันทำในสิ่งที่ดีงาม ทำในสิ่งที่เป็นความรัก ความสมัคสมานสามัคคีของคนในชาติ และสร้างอุดมการณ์ร่วมกัน คือ อุดมการณ์ที่จะปกป้องสถาบันด้วยชีวิต อุดมการณ์ในการรักษาความสามัคคี รักษาความสมานฉันท์ รักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง และอุดมการณ์ในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ ให้บังเกิดขึ้นให้เป็นจริงทั่วประเทศ และได้รับความร่วมมือจากประชาชน ผู้นำชุมชน เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก

อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวอีกว่า อาสาสมัครปกป้องสถาบัน เกิดจากกลุ่มพลังมวลชนทุกหมู่เหล่า ไม่ว่า จะเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม.อปพร.อาสาสมัครพัฒนาชุมชน และกลุ่มเยาวชน ต่างก็มีกิจกรรมของกลุ่มเป็นหลักอยู่แล้ว ส่วนการสมัครเป็นสมาชิกอาสาสมัครปกป้องสถาบันจะเป็นการน้อมนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น

สมัครปกป้องสถาบันจังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า 2,000 คน รวมพลังปกป้องสถาบันเพื่อแสดงเจตนารมณ์เสริมสร้างความสมานฉันท์
ที่ จ. ยะลา พันเอก บรรพต พูลเพียร หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า เปิดเผยว่า วันนี้ (๘ มิ.ย.๕๓) เวลา ๑๐.๓๐ น. ที่ศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา พลตรี สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจยะลา ในฐานะผู้แทนผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ได้ให้การต้อนรับและร่วมพิธีในโอกาสที่ นายมงคล สุระสัจจะ อธิบดีกรมการปกครอง เป็นประธานพิธีเปิดโครงการรวมพลังอาสาสมัครปกป้องสถาบันจังหวัดชายแดนภาคใต้ (อสป.จชต.) โดยมีกลุ่มพลังมวลชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และข้าราชการ มารวมพลังกว่า ๒,๐๐๐ คน

นายมงคล สุระสัจจะ อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า การรวมพลังอาสาสมัครปกป้องสถาบันของกลุ่มพลังมวลชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งนี้ เพื่อประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ ความสามัคคีของคนในชาติ ร่วมปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทยด้วยชีวิต และให้คงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนทุกคนได้น้อมนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน นำสู่เป้าหมายแห่งความเป็นปกติสุขของบ้านเมืองอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจวัฒนธรรมการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้อย่างถูกต้องตามจารีตประเพณี และเพื่อเป็นการสร้างอุดมการณ์ของอาสาสมัคร ที่ร่วมปกป้องสถาบันให้เกิดผลการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ ในพิธีฯ ดังกล่าว ได้มีการมอบบัตรอาสาสมัครปกป้องสถาบัน (อสป.จชต.) ให้แก่ตัวแทนอาสาสมัครปกป้องสถาบันจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน ๓๓ อำเภอ และการกล่าวถวายราชสดุดี ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

 

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์, สำนักข่าวศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า (ศปชส.กอ.รมน.ภาค ๔ สน.)

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คณบดีอักษรศาสตร์ – หน.ภาคภาษาศาสตร์ จุฬาฯ ขออาจารย์เลี่ยงแสดงความเห็นการเมืองในชั้นเรียน

Posted: 09 Jun 2010 03:31 AM PDT

หัวหน้าภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เวียนหนังสือขอความร่วมมืออาจารย์เลี่ยงแสดงความเห็นทางการเมืองในชั้นเรียนและการชักจูงนิสิตร่วมชุมนุมทางการเมือง ด้านคณบดีอักษรศาสตร์ออกหนังสือเวียนซ้ำให้คณาจารย์ทั้งคณะ

<!--break-->

เมื่อวันที่ 26 พ.ค. ที่ผ่านมา รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล หัวหน้าภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกบันทึกข้อความ ลงเลขที่ ศธ.0512.23.09/298 ถึง คณาจารย์ภาควิชาภาษาศาสตร์ เรื่อง “ขอความร่วมมือหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในชั้นเรียนและการชักจูงนิสิตร่วมกิจกรรมการชุมนุมทางการเมือง” โดยขอความร่วมมืออาจารย์และผู้สอนในภาควิชา 6 ข้อ โดยบันทึกข้อความดังกล่าวสำเนาส่งถึง ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย

"อนึ่ง ภาควิชาฯ ตระหนักว่า ความคิดความเชื่อทางการเมืองเป็นสิทธิส่วนบุคคล อาจารย์แต่ละท่านย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ แต่ขอให้ตระหนักเช่นกันว่า การทำหน้าที่อาจารย์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิสิต กับอาจารย์คนอื่นๆ กับหน่วยงานทุกระดับ และยังอาจเกี่ยวพันกับบุคคลภายนอก เช่น ผู้ปกครองของนิสิต อีกทั้งอาชีพอาจารย์ยังเป็นอาชีพที่มีความคาดหวังสูงจากสังคมทุกภาคส่วน ในทางปฏิบัติการทำหน้าที่อาจารย์จึงไม่ใช่สิทธิส่วนบุคคลที่บุคคลผู้เป็นอาจารย์จะกระทำการใดใดตามใจชอบได้ ในภาวะที่มีความแตกแยกทางความคิดทางการเมืองเป็นอย่างมากในสังคมทุกระดับขณะนี้ หากอาจารย์จะแสดงตนหรือแสดงออกว่ามีความเชื่อทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างเด่นชัด ย่อมต้องมีนิสิตหรือผู้ปกครองที่มีความเชื่อตรงกันข้ามแสดงออกว่าเป็นปฏิปักษ์และไม่ยอมรับอาจารย์ผู้นั้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้อาจารย์ผู้นั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การสอนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อหน่วยงานต้นสังกัดได้ อีกทั้งเนื้อหาสาขาวิชาภาษาศาสตร์โดยส่วนใหญ่แล้วไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมือง จึงไม่มีความจำเป็นใดใดที่จะต้องนำเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองแทรกเข้ามา ในรายวิชาต่างๆ " รายละเอียดตอนหนึ่งในบันทึกข้อความของ รศ.ดร.วิโรจน์ ระบุ

ต่อมาในวันที่ 31 พ.ค. ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ได้ทำบันทึกข้อความถึง คณาจารย์คณะอักษรศาสตร์ เรื่อง ขอความร่วมมือหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในชั้นเรียนและการชักจูงนิสิตร่วมกิจกรรมการชุมนุมทางการเมือง โดยมีเนื้อหาใกล้เคียงกัน 

“อนึ่ง คณะตระหนักดีว่า ความคิดความเชื่อทางการเมืองเป็นสิทธิส่วนบุคคล อาจารย์แต่ละคนย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ แต่ขอให้ตระหนักเช่นกันว่า การทำหน้าที่อาจารย์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิสิต กับอาจารย์คนอื่นๆ กับ หน่วยงานทุกระดับ และยังอาจเกี่ยวพันกับบุคคลภายนอก เช่น ผู้ปกครองของนิสิต อีกทั้งอาชีพอาจารย์ยังเป็นอาชีพที่มีความคาดหวังสูงจากสังคมทุกภาคส่วน ในทางปฏิบัติการทำหน้าที่อาจารย์จึงไม่ใช่สิทธิส่วนบุคคลที่บุคคลผู้เป็นอาจารย์จะกระทำการใดใดตามใจชอบได้ ในภาวะที่มีความแตกแยกทางความคิดทางการเมืองเป็นอย่างมากในสังคมทุกระดับขณะนี้ หากอาจารย์จะแสดงตนหรือแสดงออกว่ามีความเชื่อทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเด่นชัด ย่อมต้องมีนิสิตหรือผู้ปกครองที่มีความเชื่อตรงกันข้ามแสดงออกว่าเป็นปฏิปักษ์และไม่ยอมรับอาจารย์ผู้นั้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้อาจารย์ผู้นั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การสอนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อหน่วยงานต้นสังกัดได้” รายละเอียดตอนหนึ่งในบันทึกข้อความของ ดร.ประพจน์ ระบุ

สำหรับรายละเอียดของบันทึกข้อความทั้ง 2 ฉบับ รายละเอียดมีดังนี้

 

 

 

 

บันทึกข้อความ

ส่วนงาน ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์

ที่ ศธ.0512.23.09/298      วันที่ 26 พฤษภาคม 2553

เรื่อง ขอความร่วมมือหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในชั้นเรียนและการชักจูงนิสิตร่วมกิจกรรมการชุมนุมทางการเมือง

เรียน คณาจารย์ภาควิชาภาษาศาสตร์

 

ตามที่สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันได้ส่งผลให้สังคมในทุกระดับมีความแตกแยกทางความคิดอย่างรุนแรง และในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีประชาชนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โทรศัพท์มาที่คณะและที่บางภาควิชาเพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการแสดงออกทางการเมืองของอาจารย์คณะอักษรศาสตร์บางคน เพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการปรองดองอันจะนำไปสู่ความสงบสุขในหน่วยงานและสังคม และเพื่อความมีประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ภาควิชาจึงใคร่ขอความร่วมมือจากอาจารย์และผู้สอนในภาควิชา ดังต่อไปนี้

 

1. ขอให้หลีกเลี่ยงการสอดแทรกเนื้อหาความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันในเนื้อหารายวิชาต่างๆ โดยไม่มีเหตุจำเป็น

2. หากมีความจำเป็นต้องยกเอาประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันเป็นตัวอย่างประกอบการสอนในชั่วโมงใด ก็ขอให้ยกเอาความคิดเห็นที่รอบด้านจากฝ่ายต่างๆ อย่างปราศจากอคติ ไม่จำกัดการแสดงความคิดเห็นจากเพียงฝ่ายเดียว และงดเว้นการให้ข้อมูลใดใดอันเป็นเท็จ

3. ขอให้งดเว้นการชักจูงนิสิตทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนให้เข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมทางการเมือง เพราะการชุมนุมทางการเมืองในปัจจุบันอาจมีเหตุรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อนิสิตได้ หากนิสิตคนใดจะร่วมชุมนุมทางการเมือง ขอให้เป็นเรื่องโดยสมัครใจของนิสิตเอง

4.ในกรณีที่ต้องมีการนัดหมายนิสิตเพื่อพูดคุยในเรื่องกิจกรรมวิชาการ ขอให้นัดมาพบกันในเขตมหาวิทยาลัย กรุณาอย่านัดนิสิตมาพบในที่ชุมนุมทางการเมือง

5. ห้ามใช้การให้คะแนนหรือผลสอบใดใดเป็นมาตรการบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อมให้นิสิตต้องตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับการเมืองในลักษณะอันเป็นที่พึงพอใจของอาจารย์เท่านั้น

6. ในการรับเชิญเป็นวิทยากรในที่ต่างๆ หากต้องมีการแสดงความคิดเห็นใดใดทางการเมือง ขอให้เป็นการแสดงความคิดเห็นในฐานะส่วนบุคคล ไม่ควรเอ่ยอ้างฐานะการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยหรือการเป็นนักภาษาศาสตร์ เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยท่านอื่นๆ หรือนักภาษาศาสตร์ท่านอื่นๆ อาจไม่เห็นด้วยกับวิธีคิดของท่านได้ และอาจเป็นเหตุให้ผู้อื่นเข้าใจผิดคิดว่าอาจารย์หรือนักภาษาศาสตร์ที่สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยท่านอื่นๆ มีความคิดเห็นในลักษณะเดียวกับท่าน

 

อนึ่ง ภาควิชาฯ ตระหนักว่า ความคิดความเชื่อทางการเมืองเป็นสิทธิส่วนบุคคล อาจารย์แต่ละท่านย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ แต่ขอให้ตระหนักเช่นกันว่า การทำหน้าที่อาจารย์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิสิต กับอาจารย์คนอื่นๆ กับหน่วยงานทุกระดับ และยังอาจเกี่ยวพันกับบุคคลภายนอก เช่น ผู้ปกครองของนิสิต อีกทั้งอาชีพอาจารย์ยังเป็นอาชีพที่มีความคาดหวังสูงจากสังคมทุกภาคส่วน ในทางปฏิบัติการทำหน้าที่อาจารย์จึงไม่ใช่สิทธิส่วนบุคคลที่บุคคลผู้เป็นอาจารย์จะกระทำการใดใดตามใจชอบได้ ในภาวะที่มีความแตกแยกทางความคิดทางการเมืองเป็นอย่างมากในสังคมทุกระดับขณะนี้ หากอาจารย์จะแสดงตนหรือแสดงออกว่ามีความเชื่อทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเด่นชัด ย่อมต้องมีนิสิตหรือผู้ปกครองที่มีความเชื่อตรงกันข้ามแสดงออกว่าเป็นปฏิปักษ์และไม่ยอมรับอาจารย์ผู้นั้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้อาจารย์ผู้นั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การสอนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อหน่วยงานต้นสังกัดได้ อีกทั้งเนื้อหาสาขาวิชาภาษาศาสตร์โดยส่วนใหญ่แล้วไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมือง จึงไม่มีความจำเป็นใดใดที่จะต้องนำเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองแทรกเข้ามาในรายวิชาต่างๆ

 

จึงเรียนมาเพื่อทราบและให้ความร่วมมือถือปฏิบัติตามนี้ด้วย จักขอบคุณยิ่ง

(ลงลายมือชื่อ)

รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล

หัวหน้าภาควิชาภาษาศาสตร์

 

สำเนาส่ง คณบดี คณะอักษรศาสตร์

 

 

  

บันทึกข้อความ

ส่วนงาน คณะอักษรศาสตร์

ที่ วันที่ 31 พฤษภาคม 2553

เรื่อง ขอความร่วมมือหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในชั้นเรียนและการชักจูงนิสิตร่วมกิจกรรมการชุมนุมทางการเมือง

เรียน คณาจารย์คณะอักษรศาสตร์

 

ตามที่สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันได้ส่งผลให้สังคมในทุกระดับมีความแตกแยกทางความคิดอย่างรุนแรง และในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีประชาชนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โทรศัพท์มาที่คณะและที่บางภาควิชาเพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการแสดงออกทางการเมืองของอาจารย์คณะอักษรศาสตร์บางคน เพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการปรองดองอันจะนำไปสู่ความสงบสุขในหน่วยงานและสังคม และเพื่อความมีประสิทธิภาพในการเรียนการสอน คณะจึงใคร่ขอความร่วมมือจากคณาจารย์ ดังต่อไปนี้

 

1. ขอให้หลีกเลี่ยงการสอดแทรกเนื้อหาความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันในเนื้อหารายวิชาต่างๆ โดยไม่มีเหตุจำเป็น

2. หากมีความจำเป็นต้องยกเอาประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันเป็นตัวอย่างประกอบการสอนในชั่วโมงใด ก็ขอให้ยกเอาความคิดเห็นที่รอบด้านจากฝ่ายต่างๆ อย่างปราศจากอคติ ไม่จำกัดการแสดงความคิดเห็นจากเพียงฝ่ายเดียว และงดเว้นการให้ข้อมูลใดใดอันเป็นเท็จ

3. ขอให้งดเว้นการชักจูงนิสิตทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนให้เข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมทางการเมือง เพราะการชุมนุมทางการเมืองในปัจจุบันอาจมีเหตุรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อนิสิตได้ หากนิสิตคนใดจะร่วมชุมนุมทางการเมือง ขอให้เป็นเรื่องโดยสมัครใจของนิสิตเอง

4.ในกรณีที่ต้องมีการนัดหมายนิสิตเพื่อพูดคุยในเรื่องกิจกรรมวิชาการ ขอให้นัดมาพบกันในเขตมหาวิทยาลัย กรุณาอย่านัดนิสิตมาพบในที่ชุมนุมทางการเมือง

5. ห้ามใช้การให้คะแนนหรือผลสอบใดใดเป็นมาตรการบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อมให้นิสิตต้องตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับการเมืองในลักษณะอันเป็นที่พึงพอใจของอาจารย์เท่านั้น

6. ในการรับเชิญเป็นวิทยากรในที่ต่างๆ หากต้องมีการแสดงความคิดเห็นใดใดทางการเมือง ขอให้เป็นการแสดงความคิดเห็นในฐานะส่วนบุคคล ไม่ควรเอ่ยอ้างฐานะการเป็นอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะอาจารย์คณะอักษระศาสตร์ จุฬาฯ คนอื่นๆ อาจไม่เห็นด้วยกับวิธีคิดของท่านได้ และอาจเป็นเหตุให้ผู้อื่นเข้าใจผิดคิดว่าอาจารย์ที่สังกัดคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนอื่นๆ มีความคิดเห็นในลักษณะเดียวกัน

 

อนึ่ง คณะตระหนักดีว่า ความคิดความเชื่อทางการเมืองเป็นสิทธิส่วนบุคคล อาจารย์แต่ละคนย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ แต่ขอให้ตระหนักเช่นกันว่า การทำหน้าที่อาจารย์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิสิต กับอาจารย์คนอื่นๆ กับ หน่วยงานทุกระดับ และยังอาจเกี่ยวพันกับบุคคลภายนอก เช่น ผู้ปกครองของนิสิต อีกทั้งอาชีพอาจารย์ยังเป็นอาชีพที่มีความคาดหวังสูงจากสังคมทุกภาคส่วน ในทางปฏิบัติการทำหน้าที่อาจารย์จึงไม่ใช่สิทธิส่วนบุคคลที่บุคคลผู้เป็นอาจารย์จะกระทำการใดใดตามใจชอบได้ ในภาวะที่มีความแตกแยกทางความคิดทางการเมืองเป็นอย่างมากในสังคมทุกระดับขณะนี้ หากอาจารย์จะแสดงตนหรือแสดงออกว่ามีความเชื่อทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเด่นชัด ย่อมต้องมีนิสิตหรือผู้ปกครองที่มีความเชื่อตรงกันข้ามแสดงออกว่าเป็นปฏิปักษ์และไม่ยอมรับอาจารย์ผู้นั้น ซึ่งอาจจะส่งผลให้อาจารย์ผู้นั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การสอนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อหน่วยงานต้นสังกัดได้

 

จึงเรียนมาเพื่อทราบและให้ความร่วมมือถือปฏิบัติตามนี้ด้วย จักขอบคุณยิ่ง

(ลงลายมือชื่อ)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ

คณบดีคณะอักษรศาสตร์

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น