โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

เครือข่ายชุมชนอุบลฯ ระดมสมองเตรียมชงข้อมูลให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย

Posted: 20 Jun 2010 11:42 AM PDT

<!--break-->

 
20 มิ.ย.53 เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมืองจังหวัดอุบลราชธานี (คปสม.อุบลฯ) ร่วมกับคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจัดเวทีปฏิรูปประเทศไทยขึ้นเพื่อระดมปัญหาและแนวทางการปฏิรูปประเทศไทย ณ ห้องประชุมพิบูลมังสาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีเครือข่ายเข้าร่วมจำนวนกว่า 100 คน
นางปรีดา คงแป้น ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท ซึ่งทำงานด้านการสนับสนุนการทำงานของเครือข่าย คปสม.เพื่อแก้ไขปัญหาระดับนโยบาย กล่าวว่าปัจจุบันประเทศไทยประสบภาวะวิกฤติ เนื่องจากปัญหาต่างๆถูกสะสมมายาวนาน ทำให้นักวิชาการ และกลุ่มคนทำงานมาคุยกันว่าจะหาทางออกให้กับประเทศไทยอย่างไร วันนี้ถือเป็นโอกาสที่จะกระตุ้นให้ชาวบ้านร่วมคิด ร่วมเสนอปัญหาของตัวเอง ร่วมผลักดันให้เกิดการปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งเครือข่ายจะรวบรวมข้อมูลนำเสนอต่อคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย
ส่วนกลไกการทำงานจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการติดตามความเคลื่อนไหวของการปฏิรูป ประเทศไทย โดยเป็นแกนนำหรืออาสาสมัครในเครือข่ายเพื่อติดตามผลการปฏิรูปประเทศไทย ว่าเป็นไปตามความต้องการของชาวบ้านหรือไม่ โดยจะมีการพัฒนาศักยภาพกลุ่มแกนนำ ให้มีความรู้ และทักษะในการติดตามข้อมูลข่าวสารด้วย
กระบวนการปฏิรูปประเทศไทย ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนจริงๆ ต้องเริ่มต้นจากการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนก่อน ส่วนประชาชนต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดให้สนใจ กระตือรือร้นที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสาร หากไม่เข้าใจ ต้องมีการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และที่สำคัญคือสื่อมวลชน ต้องกล้าขุดปัญหาของชาวบ้านออกมานำเสนอให้สังคมทุกภาคส่วนรับรู้และตระหนัก ถึงความสำคัญ เพื่อสร้างกระแสสังคมภายนอกกดดันให้ธุรกิจ และระบบราชการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและแนวทางการทำงาน
ด้าน นายพงษ์ศักดิ์ สายวรรณ คปสม.อุบลฯ สรุปปัญหาและแนวทางการแก้ไขที่ได้จากการระดมความคิดเห็นของเครือข่าย ว่ามีปัญหามี 3 ระดับ คือปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องรีบดำเนินการแก้ไข ได้แก่ ปัญหาที่ดิน การไร้สัญชาติ ความเป็นอยู่และการเข้าถึงสิทธิต่างๆ ทั้งสิทธิการเข้าถึงทรัพยากรที่เท่าเทียม สิทธิในที่อยู่อาศัย สิทธิการเข้าถึงสาธารณูปโภคและสวัสดิการของรัฐ เป็นต้น ส่วนปัญหาที่ต้องแก้ไขระยะยาวคือการแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ พรบ. ต่างๆ ที่ละเมิดสิทธิชุมชน และขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และสุดท้ายคือการแก้ไขปัญหาเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเสนอให้มีสภาประชาชนบรรจุในรัฐธรรมนูญ เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับประชาชนทุกกลุ่มได้เข้าไปมีส่วนร่วม
สำหรับการนำเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขที่ได้จากการประชุมในวันนี้ เครือข่ายฯจะรวบรวมข้อมูลเฉพาะประเด็นปัญหาที่ดิน ไปจัดเวทีระดมปัญหากับเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมืองทั่ว ประเทศ จำนวน 20 เครือข่าย ในวันที่ 28 มิถุนายน 2553 ที่กรุงเทพมหานคร เพื่อสรุปข้อมูลเสนอต่อคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยต่อไป
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก 20 มิถุนายน 2553

Posted: 20 Jun 2010 11:32 AM PDT

<!--break-->

 
 
หนึ่งปีผ่านไป นับจากวันผู้ลี้ภัยโลกปีที่แล้ว วันเดียวกับที่ผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงที่หนองบัวส่งสัญญาณผ่านสื่อมาว่า พวกเขาได้รับทราบจากทหารไทยว่าพวกเขาจะถูกส่งกลับภายในไม่กี่วัน หลังจากที่เพิ่งข้ามชายแดนมาได้เพียงราว 2 สัปดาห์
 
ปี 2553 คนไทยในกรุงเทพฯจำนวนไม่น้อย ได้มีประสบการณ์การใช้ชีวิตท่ามกลางสงครามและความหวาดกลัวเป็นครั้งแรก เพื่อนของดิฉันคนหนึ่งเล่าว่า เธอต้องลุกลี้ลุกลนคว้ากระเป๋าถือกับแลปท็อปหนีออกจากอพาร์ทเมนต์ใกล้แยกดินแดงโดยไม่มีอะไรติดตัว และไปอาศัยอยู่ในที่ทำงานตนที่อยู่ในระยะที่ยังได้ยินเสียงปืนและระเบิดตลอดเวลา ยามเสียงสงบลงบ้าง เธอพยายามแวะเวียนไปดูว่าจะเข้าบ้านของตนได้หรือไม่ แต่ก็ได้แต่มองบ้านในระยะห่าง เข้าไปไม่ได้ ค่ำคืนก็ได้แต่สวดมนต์ภาวนาให้ไฟที่กำลังไหม้ตึกถัดจากบ้านเธอเพียงราว 40 เมตรไม่ลามมาเผาทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอมี
 
ถึงตอนนี้ คนไทยเราจะเข้าใจสภาพจิตใจของมนุษย์ด้วยกัน ที่ต้องหนีกระสุนปืนและลูกระเบิด ลนลานข้ามแดนมาหาถิ่นปลอดภัยในเมืองไทยมากขึ้น ใช่หรือไม่นะ?
 
เรากำลังพูดถึงผู้ลี้ภัย ในความหมายที่เข้าใจได้ง่าย ๆ (และอันที่จริงก็ตรงกับมาตรฐานสากล) นั่นคือคนที่ต้องหนีออกจากประเทศเกิด ด้วยความหวาดกลัวการประหัตประหาร ความรุนแรง สงคราม และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันแผ่กว้าง ผู้ลี้ภัยที่ว่านี้จะอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยหรือไม่ก็ได้ จะยืนอยู่ในประเทศไทยด้วยสถานะใดหรือไม่มี หรือจะถูกเรียกว่าอะไรก็ตาม พวกเขาก็ย่อมมีสิทธิและศักดิ์ศรีของคนลี้ภัย ด้วยข้อเท็จจริงที่แผ่นดินรับรู้
 
ประเทศไทยเราให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยมาแสนนานนับแต่ยุคสงครามอินโดจีน และปัจจุบันนี้เราก็ยังมีผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในค่ายพักริมขอบแดนอยู่กว่าแสน (ผู้มีทะเบียนกับ UNHCR 104,254 คน บวกกับที่ยังไม่มีทะเบียนอีกกว่าสามหมื่นรวมเป็น 139, 239 คน, เมษายน 2553, TBBC) อีกส่วนหนึ่งกระจัดกระจายตามหมู่บ้านชายขอบหรือปะปนอยู่ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติในเมือง รวมถึงผู้ลี้ภัยไทใหญ่ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีค่ายพักทางการ นอกจากนี้ผู้ลี้ภัยจากนานาประเทศ ทั้งใกล้บ้านและห่างไกลหลายพันไมล์ ก็ยังมาแสวงหาความคุ้มครองอยู่ที่นี่
 
ผู้ลี้ภัยทุกคนที่ดิฉันรู้จัก มีความรักและผูกพันกับประเทศนี้ไม่มากก็น้อย แล้วแต่ประสบการณ์และจำนวนปีที่ใช้ชีวิตร่วมกับคนไทย แม้แต่คนที่มีประสบการณ์ย่ำแย่กับการปฏิบัติของรัฐไทยก็ยังอดรู้สึกผูกพันกับเมืองไทยไม่ได้ เพราะอย่างน้อยที่สุด มันได้กลายเป็นบ้านหนึ่งของเขาไปแล้ว แม้ใครหลายคนจะไม่อยากยอมรับให้พวกเขานับที่นี่เป็นบ้าน และไม่ยอมรับด้วยซ้ำว่าเขาเป็น "คนลี้ภัย" ที่จะต้องได้รับความคุ้มครอง
 
ผ่านมาแสนนาน รัฐไทยจนบัดนี้ก็ยังไม่ยอมเอ่ยปากรับว่าเรามีผู้ลี้ภัยในประเทศไทย เราได้จัดให้คนกลุ่มหนึ่งได้อยู่ใน "พื้นที่พักพิงชั่วคราว" (ซึ่งได้ชั่วคราวมาเป็นระยะเวลา 26 ปีแล้ว) โดยความช่วยเหลือทั้งหมดมาจากองค์กรมนุษยธรรมต่างประเทศ และให้สำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) มีบทบาทในด้านการให้ความคุ้มครอง
 
โดยหลักแล้ว ผู้ลี้ภัยไม่ได้รับอนุญาตให้ออกนอกค่ายมาทำงาน และโดยหลักแล้ว พวกเขาจะไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการดำรงชีวิตเพราะได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรต่างประเทศอยู่ สถานะของพวกเขาเป็นเพียงผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายที่อยู่ในระหว่างรอการส่งกลับตามมาตรา 54 ของพ.ร.บ.คนเข้าเมืองเท่านั้น เมื่อออกจากพื้นที่พักรอการส่งกลับ ซึ่งก็คือค่ายผู้ลี้ภัย ก็จะต้องถูกจับกุมส่งกลับประเทศ อย่างไรก็ดีในความเป็นจริง หากเราผ่านไปตามค่ายผู้ลี้ภัยบางแห่ง เราก็จะเห็นพวกเขาเดินอยู่หน้าค่ายบ้าง รับจ้างในไร่นาชาวบ้านบ้าง บางคนออกมาทำงานบ้านหรือทำสวนให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่นก็มี
 
นั่นเพราะในความเป็นจริง (อีกเช่นกัน) เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นย่อมเข้าใจดีว่า ผู้ลี้ภัยไม่ได้อยู่โดยไม่ต้องใช้จ่ายใด ๆ ไม่มีองค์กรเอกชนใดจะสามารถหางบประมาณมาครอบคลุมทุกสิ่งที่มนุษย์คนหนึ่งจะพึงต้องการ ไม่มีมนุษย์คนใดจะสามารถอยู่ได้ด้วยอาหารปันส่วนที่แม้ปริมาณและคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอ ก็จะเป็นแบบเดียวกันทั้งปีโดยไม่มีเนื้อสัตว์ผักสด ที่สำคัญการเข้าโรงเรียนในค่ายผู้ลี้ภัยก็ไม่ได้ปราศจากค่าใช้จ่าย
 
นอกจากนี้ ในฐานะมนุษย์สามัญคนหนึ่ง พ่อแม่ย่อมไม่สามารถอยู่ได้โดยไม่ปรารถนาจะให้ลูกได้กินขนมหรือมีของเล่นราคาไม่กี่บาทไว้หยิบจับ หนุ่มสาวไม่อาจอยู่ได้โดยไม่ปรารถนาจะทาแป้งทานาคาบนใบหน้าหรือมีเสื้อตัวใหม่สวยสมวัย หากเราจะบอกว่า คนลี้ภัยควรจะเจียมตัว และไม่ต้องมาปรารถนาจะกินขนม แต่งตัว เขียนจดหมาย ฟังเพลง ดูหนัง ติดต่อสื่อสารกับพี่น้องเพื่อนฝูงภายนอก ฯลฯ เราคงต้องถามตัวเองว่า เราเองสามารถจะดำรงอยู่ในสภาพเช่นนี้ได้หรือไม่ ชั่วคราวอาจจะได้ แต่คงไม่ใช่หลายปี หรือกว่ายี่สิบปีเช่นนี้
 
ทั้งหมดที่ดิฉันเล่ามานี้ คือสุขและทุกข์ของผู้ลี้ภัยในค่ายที่ดำเนินมาเนิ่นนานยังไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับผู้ลี้ภัยนอกค่ายก็ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนักเช่นกัน พวกเขาอาจอยู่ในสภาพเสรีกว่า ทว่าก็ต้องหวาดกลัวกับการถูกจับกุมคุมขัง เพราะไม่มีกฎหมายใดรองรับแม้กระทั่งผู้ที่ผ่านการพิจารณาจาก UNHCR แล้วว่าเป็นผู้ลี้ภัยจริง บางคนต้องอยู่ในห้องกักตรวจคนเข้าเมืองเพื่อรอจนกว่าจะมีประเทศที่สามยอมรับเสียด้วยซ้ำ
 
เมื่อมีคนถามดิฉันถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งที่งดงามและดำมืดภายในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ดิฉันจึงคิดว่าเราคงจะต้องย้ำเตือนตัวเองถึงความน่ารักและไม่น่ารักของประเทศไทยที่ได้เป็นมาอยู่ก่อนหน้าหนึ่งปีที่ผ่านมาเช่นกัน เพราะทุกสิ่งที่เกิดในหนึ่งปีที่แล้วนี้ ล้วนเป็นผลพวงหรือภาคต่อก็สิ่งที่เคยเกิดหรือดำเนินมาตลอดทั้งนั้น
 
แล้วหนึ่งปีที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้น? ในส่วนที่เราพอจะยิ้มกันได้ เพื่อนหลายคนเล่าให้ฟังว่า ดูเหมือนความร่วมมือระหว่างราชการท้องถิ่นกับองค์กรเอกชนและ UNHCR ในการให้ความคุ้มครองทางกฎหมายต่อผู้ลี้ภัยก้าวหน้าไปได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ เจ้าหน้าที่มีความเข้าใจภัยมากขึ้นที่จะรับแจ้งความ ดำเนินการต่าง ๆ รวมถึงทางมหาดไทยก็อนุญาตให้ผู้เสียหายและพยานออกมาสถานีตำรวจหรือศาลได้โดยสะดวก ที่น่ายินดีก็คือ ผู้ลี้ภัยหลายคนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทั้งทางอาญาและแพ่ง บางคนต่อสู้คดีจนได้ค่าชดเชยความเสียหายที่ตนได้รับ นี่คือสิ่งที่เมื่อราว 5 ปีก่อนจะไม่เกิดขึ้น
 
ตุลาคม 2552 สำนักทะเบียนกลางได้มีหนังสือสั่งการเรื่อง"การแจ้งเกิดและตายสำหรับคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยในกลุ่มผู้ลี้ภัยในศูนย์พักพิงชั่วคราว" ซึ่งเป็นเรื่องต่อเนื่องมาจากพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร
ปีพ.ศ. 2551 นี่หมายความว่า ลูกของผู้ลี้ภัยในค่ายจะได้รับการจดทะเบียนการเกิด มีสูติบัตร ได้รับการรับรองว่ามีตัวตน มีสถานะบุคคลในประเทศไทย ต่างจากพ่อแม่ของพวกเขาที่มีเพียงบัตรประจำตัวของ UNHCR/มหาดไทยซึ่งไม่มีความหมายหรือสถานะใด ๆ ตามกฎหมายไทยเลย ถึงแม้ในทางปฏิบัติ ท้องถิ่นจะยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ ดิฉันก็ยังเชื่อว่า นี่คือก้าวสำคัญก้าวแรกที่จะยอมรับตัวตนของผู้ลี้ภัย (เด็ก) ในประเทศไทย
 
ข่าวดีมีนาคม 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ผู้มีปัญหาสถานะหลายกลุ่มได้เข้าถึงหลักประกันสุขภาพ แน่นอนว่าตรงนี้ไม่เกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในค่ายที่ได้รับการบริการสุขภาพจากองค์กรมนุษยธรรมต่างประเทศอยู่แล้ว แต่นับว่าเป็นประโยชน์กับกลุ่มเด็กนักเรียนที่มีทะเบียนประวัติชัดเจนซึ่งส่วนหนึ่งเป็นลูกหลานของผู้ลี้ภัยนอกค่าย จะว่าไปแล้ว นโยบายที่เกี่ยวข้องกับผู้มีปัญหาสถานะบุคคลและแรงงานข้ามชาติ ทั้งดีหรือล้วนส่งผลต่อผู้ลี้ภัยกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในค่ายพักด้วยกันทั้งสิ้น
 
แต่ในหนึ่งปีที่ผ่านมาไม่ได้มีแต่รอยยิ้ม ทุกข์ที่สาหัสที่สุดแห่งปี เห็นจะเป็นการที่ผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงที่ที่พักพิงชั่วคราวหนองบัวและอุสุทะ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ถูกกดดันให้กลับถิ่นฐานทั้งที่จำนวนไม่น้อยไม่เต็มใจ และยังอยู่ในความหวาดกลัว
 
ผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้ คือคนกว่าสามพันคนที่อพยพหนีเข้าประเทศไทยเมื่อราวสองสัปดาห์ก่อนวันผู้ลี้ภัยโลกปีที่แล้ว พวกเขาได้พักพิงอยู่ในที่พักที่ไม่เป็นทางการและชั่วคราวขนานแท้ (เพราะพื้นที่พักพิงที่เป็นทางการทั้ง 9 แห่งนั้น เป็นพื้นที่ที่ติดป้ายไว้ว่า "ชั่วคราว" เช่นกัน) ได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรมนุษยธรรมในระดับหนึ่ง และอยู่ในการดูแลของทหารแทนที่จะเป็นมหาดไทยดังเช่นในค่ายพักทางการ
 
สัญญาณการส่งกลับเกิดขึ้นเพียง 16 วันให้หลังจากที่พวกเขาก้าวเข้ามาบนแผ่นดินไทย เงียบหายไปชั่วคราว และตามมาอีกในสามเดือนถัดมา ไม่ว่าจะเป็นการจับกุมผู้นำบางคน การห้ามไม่ให้ซ่อมหลังคาโรงเรียนชั่วคราว การกำหนดกฎเกณฑ์เข้มงวดสารพัด การตรวจยึดโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ การไล่ตามถามซ้ำทุกวันว่าจะกลับเมื่อไร การย้ำซ้ำว่าอย่างไรเสียพวกเขาก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้อยู่เมืองไทย การจัดการส่งกลับ 3 ครอบครัวที่ย้อนข้ามน้ำกลับมาในเพียงวันรุ่งขึ้น ฯลฯ (ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน ม.ค.-เม.ย. 2553) ทั้งนี้ ในขณะที่ผู้ลี้ภัยส่วนหนึ่งกล่าวชัดเจนว่าไม่สามารถและไม่กล้ากลับไปยังหมู่บ้านเดิมด้วยหวาดกลัวกองกำลังฝ่ายตรงข้ามและกับระเบิด
 
แม้จะมีหลายฝ่ายพยายามยื่นมือเข้ามาเรียกร้องความยุติธรรมและความคุ้มครองให้กับผู้หนีการประหัตประหารกลุ่มนี้ สถานการณ์ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง ผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้ไม่เคยประสงค์จะลี้ภัยในเมืองไทยระยะยาวในค่ายผู้ลี้ภัยทางการ แต่ถ้าจะให้เลือกระหว่างกลับไปสู่อันตรายกับเข้าค่ายผู้ลี้ภัย พวกเขาก็จำเป็นต้องเลือกอย่างหลัง ซึ่งอย่างไรก็ดี ทางเลือกที่จำกัดจำเขี่ยนี้ไม่ได้รับการเสนอให้แก่พวกเขาเลยด้วยซ้ำ ในที่สุดพื้นที่พักพิงทั้งสองแห่งก็ปิดลงสำเร็จในวันที่ 1 - 2 เมษายน 2553
 
ผู้ลี้ภัยจากกลุ่มหมู่บ้านที่แจ้งแต่แรกว่าจะกลับถิ่นฐานเพียงอยากรอดูข้อตกลงระหว่างคู่สงครามที่แน่ชัด และเป็นห่วงเรื่องอาหารการกินเพราะไร่นาถูกทิ้งร้างไว้ ก็จำเป็นต้องกลับหมู่บ้านตนเองหรือไม่ก็ไปหลบอยู่ในลักษณะเป็นคนพลัดถิ่นในประเทศ หากประชากรนับพันของอีกหมู่บ้านหนึ่งซึ่งยืนยันไม่กล้ากลับ ก็ได้กระจัดกระจายกันไปตามยถากรรม ทั้งไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ ในฝั่งพม่า แอบอาศัยในกับญาติพี่น้องหรือคนรู้จักในหมู่บ้านหรือค่ายผู้ลี้ภัยฝั่งไทย หรือไม่ก็เข้าเมืองไปทำงาน
 
นี่ไม่ใช่ปรากฏการณ์ "Refoulement" (การบังคับหรือกดดันส่งกลับ) ครั้งแรกของประเทศไทย แต่ใครหลายคนคงภาวนาให้มันเป็นครั้งสุดท้าย เรามีประวัติการผลักดันผู้ลี้ภัยกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยกลับเป็นระยะจนจำแทบไม่ได้ เช่น การผลักดันผู้ลี้ภัยที่กาญจนบุรีเมื่อปี 2540 การผลักดันผู้ลี้ภัยจากค่ายแม่ลามาหลวง 58 คนเมื่อปี 2551 การส่งกลับแรงงานข้ามชาติรวมทั้งชาวโรฮิงญาอย่างเหมารวมโดยไม่มีการพิสูจน์ว่ากลับได้หรือไม่ เป็นต้น
 
แต่เราจะมีหลักประกันอะไรให้กับผู้ลี้ภัยได้บ้างล่ะ? ในเมื่อหนึ่งปีที่ผ่านมา ยังไม่มีกฎหมายหรือระเบียบใด ๆ รองรับความเป็นผู้ลี้ภัยของคนนอกค่ายว่าจะมี "สิทธิที่จะไม่ถูกผลักดันกลับไปสู่อันตรายในประเทศตน" อันเป็นจารีตสากลพื้นฐานเลย ในขณะที่กระบวนการรับผู้ลี้ภัยใหม่ในค่ายผู้ลี้ภัยก็ปิดตัวเงียบสนิท
 
กระบวนการนี้ที่ดิฉันว่านี้ หมายถึงการคัดกรองเพื่อให้ได้สถานะอันไม่เป็นทางการ (คือมีบัตรประจำตัวที่กฎหมายไม่ได้รองรับดังกล่าว) แต่จะนำมาซึ่งความช่วยเหลือความคุ้มครองที่ชัดเจน และผู้ลี้ภัยใหม่ที่ว่านี้ ไม่ได้หมายถึงคนไม่กี่คนที่เพิ่งเข้ามาใน "เร็ว ๆนี้" แต่หมายถึงคนที่เข้ามาหลังกระบวนการคัดกรองของคณะกรรมการระดับจังหวัดในปีพ.ศ. 2548 ราวกว่า 3 หมื่น (ตัวเลขส่วนต่างระหว่างผู้ที่อยู่ในค่ายกับผู้ที่มีทะเบียนกับ UNHCR/มหาดไทยแล้ว ต่างกัน 34, 392 คน, TBBC เม.ย. 53) คณะกรรมการจังหวัดต่าง ๆ นี้ไม่ได้ประชุมอีกเลยนับจากนั้น ยกเว้นของแม่ฮ่องสอนซึ่งประชุมครั้งสุดท้ายไปเมื่อ 4 มีนาคม 2552 โครงการทดลองการคัดกรองที่จะทำในระดับอำเภอแทน (pre-screening pilot project) ได้เริ่มขึ้นวันเดียวกันในบางค่าย แต่ก็ไม่เคยมีผลใด ๆ ออกมากระทั่งบัดนี้ แม้จะได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอยู่ ผู้ลี้ภัย "ใหม่" จึงยังอยู่ในสถานะอันง่อนแง่นเปราะบางต่อการส่งกลับ และเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายที่ดิฉันเอ่ยถึงในข้างต้นไปแล้วได้ยาก อีกทั้งสิทธิในการทำงานเป็นอาสาสมัครกับองค์กรมนุษยธรรมในค่ายก็ยังเป็นปัญหา 
 
นอกค่าย นโยบายให้แรงงานจากประเทศพม่าไปพิสูจน์สัญชาติในประเทศตนกับเจ้าหน้าที่รัฐตน แม้จะเอื้อประโยชน์ให้คนจำนวนหนึ่งได้ถือพาสปอร์ตและเดินทางได้โดยไม่ต้องหวั่นเกรงการจับกุมอีก ก็กลับส่งผลร้ายต่อผู้ลี้ภัยนอกค่ายที่ไม่มีทางจะกล้ากลับไปสู่มือเจ้าหน้าที่รัฐที่พวกเขาหนีมา การประกาศชัดเจนว่าผู้ที่ไม่ไปหรือไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติจะต้องถูกส่งกลับ ทำให้ผู้ลี้ภัยนอกค่ายต้องแอบซ่อนตัว หลายคนที่เคยถือใบอนุญาตทำงานชั่วคราวก็ตัดสินใจที่จะทิ้งสถานะทางกฎหมายนี้ กลับไปหลบซ่อนอยู่แบบใต้ดินเหมือนเก่าก่อน
 
 
แล้วหนึ่งปีถัดไป เราจะได้เห็นอะไรกัน ผู้ลี้ภัยเกินแสนทั้งนอกและในค่ายคงจะยังรู้สึกขอบคุณที่พวกเขาได้พ้นจากภัยประหัตประหารมาเสียได้ แต่เมื่อไรจะถึงเวลาที่รัฐไทยจะยอมรับความจริงเสียทีว่า การไม่ยอมรับผู้ลี้ภัย ไม่ยอมคัดกรองพิสูจน์สถานะให้ชัดเจน หรือกระทั่งการสร้างกรอบจำกัด กดดัน ส่งกลับ ไม่ยอมให้เข้าประเทศ โดยอ้างว่าทุกคนควรจะไปเรียกร้องกับรัฐบาลและกองกำลังชนเผ่าในพม่าเสียก่อน ไม่สามารถทำให้ผู้ลี้ภัยหายตัวไปเป็นอากาศธาตุ เมื่อพวกเขาเป็นผู้ลี้ภัยที่แท้ที่กลับบ้านไม่ได้ พวกเขาก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากทำตัวล่องหนอยู่ในประเทศไทย
 
อย่างน้อยที่สุด หากครั้งหนึ่งเราเคยหวาดกลัว สูญเสีย และเผชิญกับความรุนแรงที่เราควบคุมอะไรไม่ได้ดังที่เพิ่งเกิดขึ้นมา เราคงจะได้ตระหนักถึงความจริงแล้วใช่หรือไม่ที่ว่า มนุษย์คนหนึ่งนั้นมีเลือดเนื้อและความปรารถนาในชีวิตที่สันติและมีศักดิ์ศรี อาจจะมีหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตที่เราไม่ได้อยากให้เกิดขึ้น ดังเช่นการอพยพหลั่งไหลของคนลี้ภัย แต่เมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้ว เราก็จำต้องเดินหน้าต่ออย่างยอมรับความจริง
 
ดิฉันเชื่อว่า การกล้าสู้กับความจริงอย่างกล้าหาญ จะทำให้เราทั้งหลายอยู่กันได้ ด้วยความมั่นคง
 
 
 
บทความเรื่องนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน
และโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล สสส.
โดยพรสุข เกิดสว่าง
---ท่านสามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์ และอ้างอิงตามสมควร---
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 14 - 20 มิ.ย. 2553

Posted: 20 Jun 2010 09:32 AM PDT

<!--break-->

ชุมพรขาดแรงงานต่างด้าวอย่างหนัก
เสียงใต้รายวัน (18 มิ.ย. 53)
- หอการค้าจังหวัดชุมพร เผยถึงสถานการณ์แรงงานต่างด้าวในภาคเกษตรกรรมและประมงขาดแคลนอย่างหนัก สาเหตุเสียค่าใช้จ่ายในการทำพิสูจน์สัญชาติแพงและล่าช้า เป็นผลให้ต้องลดแรงงานต่างด้าวลง ชี้มีบริษัทโบรกเกอร์เสนอนำเข้าแรงงานต่างด้าวให้อ้างถูกกฎหมายจากกรมการจดหางานในราคาสุดโหด พร้อมเสนอการใช้แรงงานต่างด้าวชุมพรโมเดล ถ้า ตม.ยอม 
ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน หรือ กรอ. เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของจังหวัดชุมพร ณ ห้องประชุมเกาะมัตรา ศาลากลางจังหวัดชุมพร โดยมีนายไพโรจน์ แสงภู่วงษ์ รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในการประชุมเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. หอการค้าจังหวัดชุมพรได้เสนอเรื่องการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรกรรมและประมงและปัญหาการใช้แรงงานต่างด้าว เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณา
นายธงชัย ลิ้มตระกูล ประธานหอการค้าจังหวัดชุมพร กล่าวว่า จังหวัดชุมพรเป็นจังหวัดที่ต้องใช้แรงงานในภาคเกษตรกรรมและธุรกิจประมง ซึ่งเป็นงานที่หนักและใช้คนจำนวนมาก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงหันมาใช้แรงงานต่างด้าวชาวพม่า เนื่องจากหาได้ง่ายและค่าจ้างถูก แต่หลังจากที่กรมการจัดหางานได้กำหนดให้สถานประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าว ต้องนำแรงงานต่างด้าวของตนเองไปขึ้นทะเบียนเพื่อพิสูจน์สัญชาติประกอบกับขึ้นตอนยุ่งยาก ล่าช้า มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง ทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่หลายรายถึงกับต้องปลดแรงงานต่างด้าวให้เหลือเพียงครึ่งเดียว แล้วหันไปลักลอบการจ้างแรงงานเถื่อนชาวพม่าแทน แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการการใช้แรงงานอยู่ดี เนื่องจากแรงงานต่างด้าวเกรงกลัวกฎหมายไม่ยอมกลับมาทำงาน
ด้านนายศิริกูล วารีรัตนวิบูลย์ กรรมการหอการค้าจังหวัดชุมพร กล่าวว่า หลังจากที่จังหวัดชุมพรขาดแคลนแรงงานต่างด้าวอย่างหนัก ได้มีบริษัทโบรกเกอร์ หัวใสเสนอตัวเข้ามาว่า เป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากกรมการจัดหางานให้สามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าวได้อย่างถูกกฎหมาย โดยจะเป็นผู้ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้ทั้งหมด แต่เนื่องจากมาตรวจสอบราคาค่าใช้จ่ายต่อหัว พบว่า บริษัทดังกล่าวมีการเรียกเก็บต่อหัวสูงถึงหัวละกว่า 20,000 บาท ขณะที่บางบริษัทมีค่าใช้จ่ายเพียงไม่กี่พันบาท จึงเป็นที่สงสัยว่า มีกติกาหรือกฎเกณฑ์อะไรในการกำหนดราคา และมีความน่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน
นายศิริกูล ยังได้เสนอวิธีการใช้แรงงานต่างด้าวตามแนวทาง ชุมพรโมเดล เหมือนกับที่จังหวัดระนองดำเนินการอยู่ในขณะนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาการจ้างแรงงานเถื่อน ให้ที่ประชุม กรอ.ได้พิจารณา โดยมีขั้นตอนให้นายจ้างนำแรงงานต่างด้าวของตนเองไปมอบตัวกับพนักงานสอบสวน (ไม่ดำเนินคดีกับนายจ้าง) แล้วให้อัยการจังหวัดดำเนินการฟ้องร้องศาล พิจารณาโทษตามมาตรา 84 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 อยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ต่อมาให้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองให้ด่านตรวจคนเข้าเมืองทำประวัติบุคคล (ตม.35) และให้ด่านตรวจคนเข้าเมืองใช้อำนาจตามมาตรา 54 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ในระหว่างรอการส่งกลับ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจขออนุญาตให้แรงงานต่างด้าวไปพักอาศัย อยู่ ณ ที่ใด โดยคนต่างด้าวต้องมาพบเจ้าหน้าที่ ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด โดยต้องมีประกันทั้งประกันตนและหลักประกันก็ได้ ในขั้นตอนสุดท้ายให้นายจ้างที่ขาดแคลนแรงงาน มาขอแจ้งความประสงค์ที่จะรับตัวแรงงานต่างด้าวกลุ่มดังกล่าวไปควบคุมกำกับดูแลในระหว่างรอการส่งกลับ และอนุโลมให้ทำงานได้จนกว่าจะมีการส่งตัวกลับ ด้านนางปัทมา ผุดเพชรแก้ว จัดหางานจังหวัดชุมพร ได้ออกมาเปิดเผยถึง บริษัทโบกเกอร์ดังกล่าวว่า บริษัทดังกล่าวไม่สามารถที่จะนำเข้าแรงงานต่างด้าวได้ การนำเข้าแรงงานต่างด้าวจะเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาลจะไม่มีบริษัทจัดหาแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นเพียงบริษัทที่อนุญาตให้ทำเรื่องพิสูจน์สัญชาติจากกรมการจัดหางานเท่านั้นไม่ได้ให้ทำเรื่องนำเข้าแรงงาน แต่กรณีที่มีการนำเข้าแรงงานจริง ทางรัฐบาลพม่าจะต้องส่งราชื่อมาให้ก่อน เพื่อให้นายจ้างมาขอใช้แรงงานจากจัดหางานจังหวัดก่อน ซึ่งบริษัทที่สามารถดำเนินการพิสูจน์สัญชาติได้มีเพียง 14 บริษัท ผู้ประกอบการสามารถไปขอดูรายชื่อบริษัทดังกล่าวได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด ส่วนแผนชุมพรโมเดลก็ต้องอยู่กับดุลยพินิจหลายๆ ฝ่าย แต่โดยปกติแล้ว แรงงานที่เข้ามาจะต้องอยู่ตามวันเวลาตามที่มติ ครม. อนุญาตเท่านั้น
ทางด้านนายไพโรจน์ รกก.ผวจ.ชุมพร กล่าวว่า ในเรื่องดังกล่าว เบื้องต้นได้มอบหมายให้ทางจัดหางานจังหวัดเข้าไปดำเนินการเข้าไปควบคุมดูแลสถานประกอบการที่มีแรงงานต่างด้าว ไม่ให้เกิดการแย่งแรงงานกัน และดูแลเรื่องนายจ้างและลูกจ้างที่ผิดประเภทต่างๆ ส่วนเรื่องวิธีการใช้แรงงานต่างด้าวตามแนวทาง ชุมพรโมเดล นั้นจะต้องไปหารือกับหลายๆ ฝ่ายก่อนว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ อย่างไร ซึ่งจะต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุม กรอ. จังหวัดชุมพรครั้งต่อไป
พนง.สัญญาจ้าง มศว ประท้วงมหาวิทยาลัย ยกเลิกสัญญาไม่เป็นธรรม นัดรวมตัวแสดงพลัง 18 มิ.ย.นี้
มติชน (18 มิ.ย. 53) -
ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 17 มิถุนายนว่า เกิดความไม่พอใจของพนักงานสัญญาจ้างของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิต (มศว) กว่า 500 คน โดยมีการนัดรวมตัวกันในวันที่ 18 มิถุนายน 2553 เวลา 12.30 น. ที่อาคารการวิจัยและการศึกษาต่อเนื่องสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มศว ประสานมิตร (ข้างสนามฟุตบอล) เพื่อขอความเป็นธรรมกับฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยฯ
เนื่องจากพนักงานเหล่านี้ได้ทำสัญญาจ้างในการเข้าทำงานเป็นพนักงาน โดยมีเงื่อนไขการบรรจุเป็นข้าราชการหลังจากนั้น 5 ปี แต่พบว่า บางคนมีอายุงานเกือบ 10 ปี ก็ไม่ได้รับการบรรจุ สุดท้ายมหาวิทยาลัย แทนที่จะบรรจุพนักงานตามกฎหมาย กลับหาทางออก ด้วยการยกเลิกระเบียบมหาวิทยาลัย ว่าด้วยพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2544 และออกข้อบังคับมหาวิทยาลัย ว่าด้วย พนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2552 ฉบับ ใหม่ และประกาศใช้ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2552 มีผลให้พนักงานมหาวิทยาลัยทุกคนต้องทำสัญญาจ้าง มีระยะเวลาจ้างครั้งละไม่เกิน 5 ปีงบประมาณ
ทั้งนี้ พนักงานกลุ่มดังกล่าวที่ถูกละเมิดสัญญาจ้าง ไม่สามารถใช้กฎหมายแรงงาน ไม่มีทางออกมากนัก จึงจำเป็นต้องออกมาร้องขอความเป็นธรรม สำหรับความกังวลและผลกระทบที่ได้รับนั้น มีดังนี้
1.อายุสัญญาจ้างที่จำกัดทำให้พนักงานขาดโอกาสในการขอสินเชื่อและทำนิติกรรมกับสถาบันการเงินหลาย แห่งที่อนุมัติการกู้เงินตามอายุสัญญาจ้าง เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ มศว หรือ ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ พบว่าพนักงานหลายคนถูกปฏิเสธการขอกู้ซื้อบ้าน
2.การเป็นพนักงานตามอายุสัญญาของบุคลากรสายวิชาการ อาจนำไปสู่ การคุกคามต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการของ คณาจารย์ที่มีต่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัย การแสดงความเห็นอาจถูกจำกัดด้วยความกังวลว่าจะไม่ได้รับการต่อสัญญา
3.มหาวิทยาลัยไม่สามารถรักษาคนดีคนเก่งไว้ในองค์กร โดยสะท้อนจากข้อมูลอัตราการลาออกที่สูงของพนักงานในปีที่ผ่านมา
4.พนักงานมหาวิทยาลัยไม่ได้รับการคุ้มครองความมั่นคงในการทำงาน ดังที่เคยคาดไว้เมื่อเข้าทำงานครั้งแรก ซึ่งหากทราบว่าจะมีการแก้ไขสัญญาจ้างอาจมีผลต่อการพิจารณาเข้าทำงานตั้งแต่ต้น
คนงานเซ็งสปส. ปัดเพิ่มเงิน ปล่อยกู้ซื้อบ้าน
ไทยรัฐ (18 มิ.ย. 53)
- เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ให้สัมภาษณ์ “ไทยรัฐออนไลน์” ว่า ไม่เคยคิดและไม่มีการวางแผน ถึงกรณีการนำเงินกองทุนประกันสังคมจำนวน 10,000 ล้านบาทไปฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์เพื่อปล่อยกู้ให้กับผู้ประกันตนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ 2% คงที่ 5 ปี ต่อยอดโครงการเดิมที่นำเงินกองทุนจำนวน 10,000 ล้านบาทไปฝากกับธนาคารปล่อยกู้ไปแล้วก่อนหน้านี้ ทั้งนี้สำหรับโครงการเดิมนั้น สปส.จะโอนเงินให้กับธนาคารครบ 10,000 ล้านบาทในสัปดาห์หน้า โดยปล่อยให้ผู้ประกันตนกู้ทั้งสิ้น 9,000 คน ยืนยันว่าไม่ต่อยอดและไม่ได้คิดในโครงการ 2 ตามที่เป็นข่าว ตนไม่ทราบข่าวมาได้อย่างไร
“คิดง่ายๆเงิน 10,000 ล้านบาท สปส.ได้ 1% หรือ 100 ล้านบาท ขณะเดียวกันถ้าเราเงินจำนวนนี้ไปลงทุนที่อื่นเราจะได้อย่างน้อย 4% ถ้าเอามาลงโครงการนี้ เราหายไป 3% เท่ากับ 5 ปีหายไป 1,500 ล้านบาท ผมเสียดายมั้ยเนี่ย ผมคิดในแง่นั้น 1,500 ล้าน เอามาจ่ายบำนาญได้จำนวนมาก ไม่ใช่บาทสองบาทนะครับ แล้วถ้าคุณเอาเงิน 1,500 ล้านไปลงทุน 20 ปี เพิ่มเป็น 4,000 ล้านบาท ผมคิดในแง่เศรษฐศาสตร์ ไม่คิดในแง่สังคม คิดในแง่ผลประโยชน์ของผู้ประกันตนระยะยาว”
นายปั้น กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่คนงานระบุว่าตนทำโครงการนี้สนองการเมือง และ ต้องการมุ่งไปที่เห้าอี้ตำแหน่งปลัดกระทรวงนั้น ตนไม่สนใจเพราะมุ่งมั่นทำงานรักษาผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานทุกคน ประชาชนทุกคน ทำงานอยู่อย่างนี้ ใครจะว่าอย่างไรก็ช่าง วิจารณ์ไป เพราะข้อเท็จจริงมันปรากฎด้วยเนื้องานอยู่แล้ว
ศพคนไทยถูกแทงตาย กลับถึงบ้านเกิดแล้ว
ช่อง
7 (18 มิ.ย. 53) - เช้าวันนี้นายเกรียงศักดิ์ สุดเสน่ห์ น้องชายนายอภิชาติ สุดเสน่ห์ แรงงานไทยที่ถูกคนร้ายแทงเสียชีวิต ได้รับศพของพี่ชาย จากสนามบินสุวรรณภูมิ ที่ส่งมาจากประเทสแคนาดา เดินทางกลับถึงบ้านเกิด ที่บ้านเขื่อนคำลือ ตำบลเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ท่ามกลางเสียใจของญาติมิตร โดยเฉพาะนางวาน ผู้เป็นแม่ของนายอภิชาติ ที่พึ่งทราบข่าวก็ร่ำไห้สะอื้นตลอกเวลา โดยญาติยังไม่กำหนดวันเผาศพ
สำหรับคดีที่ประเทศแคนาดา นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า เพื่อนโทรจากแคนาดา บอกว่า ทางการจับคนร้ายได้แล้ว แต่ยังไม่ทราบความคืบหน้า ทางคดี ซึ่งหลังจากเสร็จจากงานศพแล้ว จะเดินทางเข้าไปติดต่อกับสถานฑูต อีกครั้ง
ส่วนความช่วยเหลือ ได้เซ็นต์รับเงินประกัน จากบริษัทจัดหางาน เอสพีที ซัพพลายอินเจอร์เนอริ่ง ก่อนหน้านี้แล้วระหว่างที่เข้าไปติดต่อขอรับศพกลับมา
กว่า 400 คนตกงานประท้วงเจรจา1เดือนไร้ผล
กรุงเทพธุรกิจ (17 มิ.ย. 53) -
พนักงานบริษัท ไทยคูน เวิลด์ไวด์ กรุ๊ป(ประเทศไทย) จำกัด จำนวนกว่า 400 คน ต้องใช้ชีวิตกินอยู่หลับนอนริมถนนหน้าโรงงานในตำบลนิคมพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง มานานเกือบ 1 เดือน จากการรวมตัวกันประท้วงเรียกร้องให้นายจ้างชาวไต้หวัน ปรับเงินเดือน และโบนัส ตามกฎหมายไม่ได้ผล พนักงานต้องผลัดเวรยามทำอาหาร โดยใช้ผักและหอยที่หาได้เองมาปรุงเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
นายจารึก บุญยัง พนักงานร่วมประท้วงกล่าวยอมรับว่า การมากินอยู่หลับนอนริมถนน ทั้งอันตรายและลำบาก แต่ก็ต้องทำ เพื่อเรียกร้องให้นายจ้างให้ยอมทำตามข้อกฏหมาย คือปรับขึ้นเงินเดือนให้พนักงาน และยอมจ่ายโบนัส เพื่อช่วยเหลือพนักงานที่รายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย
นางเบญจวรรณ ราชวงศ์ บอกว่าการรวมตัวกันประท้วง ทำให้นายจ้างไม่พอใจ สั่งไล่ออกจากหอพัก แต่กลับนำคนงานต่างด้าวเข้าไปสวมอยู่แทน ทำให้พนักงานที่ถูกไล่ออกจากหอเดือดร้อนมาก พากันไปร้องต่อศาล จากนั้นนายจ้างจึงอนุญาติให้เข้าอยู่ได้อีก แต่ไม่ใช่ห้องเดิม ให้ไปอยู่ชั้นล่างของหออยู่กันอยู่อย่างแออัด ทำความลำบากให้พนักงานที่เป็นกลุ่มสหภาพแรงงาน ถือว่าเป็นการกลั่นแกล้งและไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง เพราะพนักงานที่อาศัยอยู่ในหอ ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างรายวัน เงินน้อยอยู่แล้ว เมื่อมาประท้วงเกือบเดือน ก็ไม่ได้ค่าแรง ทุกคนลำบากมาก ต้องออกไปหาหอย เก็บผักบุ้งตามคลอง มาทำอาหารกินประทังชีวิต
ทั้งนี้ สหภาพแรงงานไทยคูนประเทศไทย มีพนักงานคนไทย 700 คน คนงานต่างด้าว 400 คน มีนายจ้างเป็นชาวไต้หวัน ได้ยื่นข้อเรียกร้อง 2 ข้อ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2553 คือ 1.ให้พิจารณาปรับขึ้นเดือนของพนักงานทุกคน ขั้นต่ำ 7 เปอร์เซ็นต์ของฐานเงินเดือน และจ่ายโบนัสประจำปี 4 เดือน ที่ผ่านมามีการเจรจาแก้ข้อพิพาทรวม 16 ครั้ง แต่ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ เพราะนายจ้างอ้างขาดทุน
สอศ.เร่งตั้งสถาบันอาชีวะผ่าตัดระบบผลิตนักศึกษา
คม ชัด ลึก (
17 มิ.ย. 53) - น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ว่าที่เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวถึงการจัดสถาบันการอาชีวศึกษาว่า จะเริ่มนำร่องในปีนี้โดยเปิดสอน 3 ด้าน ได้แก่ อุตสาหกรรม เกษตรกรรมและการบริการ ทั้งนี้ การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาในอนาคต และการผลิตนักศึกษาของทุกแห่ง จะปรับให้เข้ากับความต้องการของในพื้นที่โดยทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากปัจจุบันการผลิตนักศึกษาอาชีวศึกษาไม่ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและเกษตร เพราะดูจากความพร้อมด้านบุคลากรของวิทยาลัยเป็นหลักมากกว่าดูความต้องการแรงงานในพื้นที่
“จะนำแผนนี้ไปหารือกับ น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศึกษาธิการ และบอร์ด กอศ. หากเห็นชอบจะเร่งดำเนินการโดยในปี 2554 จะนำร่องจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษาซึ่งที่น่าจะเป็นไปได้คือ ด้านปิโตรเคมี ประมง เกษตรโดยเฉพาะข้าว และตามแผนการจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษาทำได้ใน 3 ลักษณะ คือ รวมกลุ่มวิทยาลัยแบบกลุ่มจังหวัด หรือแบบกลุ่มอาชีพเฉพาะทาง และพัฒนาขึ้นมาจากวิทยาลัยแห่งเดียวโดยกรณีที่มีความพร้อมสูงอาจจัดตั้งเหมือนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์" น.ส.ศศิธารากล่าว
นายรังสรรค์ มณีเล็ก ผอ.สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ได้เลื่อนกำหนดเวลาที่เปิดให้โรงเรียนสังกัดสพฐ. แจ้งยอดนักเรียนที่สละสิทธิ์รับเงินอุดหนุนค่าเครื่องแบบนักเรียนและค่าอุปกรณ์การเรียน ในโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพไปเป็นวันที่ 30 มิถุนายนนี้ คาดว่าจะสรุปยอดได้ในวันดังกล่าว
ฉันทนาแปดริ้วโอดนายปิดโรงงานหนีซ้ำยังเบี้ยวจ่ายค่าแรง
โพสต์ทูเดย์ (
16 มิ.ย. 53) - พนักงานของบริษัท อีเกิ้ล แพ็ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า ประกอบการร่วมทุนระหว่าง บริษัท อีเกิ้ล และ บริษัท ซีพีซีพี ( CPCP ) เจ้าของเดิมในเครือของกลุ่มบริษัทผู้ผลิตอาหารยักษ์ใหญ่ชื่อดัง ตั้งอยู่เลขที่ 55 ม.1 ต.พิมพา อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา จำนวนกว่า 200 คน ได้เดินทางมารวมตัวที่บริเวณอาคารศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา ชั้น 1 ไร้องเรียนต่อหน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้อง ให้หาทางช่วยเหลือ เนื่องจากเกิดปัญหา เกี่ยวกับการถูกเลิกจ้าง โดยที่นายจ้างไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า และเบี้ยวการจ่ายค่าแรงงานงวดสุดท้าย
นางทองคำ เนติพัฒน์ อายุ 33 ปี อยู่บ้านเลขที่ 66 ม.3 ต.สิงโตทอง อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา พนักงานตัดเย็บเสื้อผ้า กล่าวว่า โรงงานอีเกิ้ล ดังกล่าวนี้ เป็นโรงงานรับจ้างผลิต ตัดเย็บเสื้อผ้า ให้แก่บริษัทผู้ผลิตเสื้อผ้า แบรนด์ดังหลายราย ทั้ง SALAMON, RIPCURL, Nike, และ PUMA
โดยก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ทางโรงงานได้ให้พนักงานหยุดทำงานทั้งโรงงาน เป็นเวลา 2 วัน โดยอ้างว่าต้องการเช็กสต๊อก หลังครบ 2 วันพนักงานได้เดินทางไปทำงานตามปกติ แต่ทางโรงงานได้แจ้งให้ทราบว่าให้พนักงานหยุดงานต่ออีก 3 วัน แต่หลังจากหยุดงานครบ 3 วัน พนักงานได้เดินทางไปทำงานตามปกติอีก ในวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งในครั้งนี้จึงได้ทราบว่าโรงงานได้ปิดกิจการลงแล้ว ด้วยการนำแผ่นป้ายประกาศเลิกกิจการ มาติดไว้ยังด้านหน้าประตูรั้วของโรงงาน จึงทำให้พนักงานทั้งหมด ถูกลอยแพ ไม่มีงานทำ ตกงาน รวมทั้งยังไม่ได้ค่าจ้างแรงงานในส่วนที่ยังเหลือ ที่ทางโรงงานยังไม่ได้จ่ายค่าแรงอีก 19 วันทำงาน
"ขณะนี้พวกตนจึงได้รับความเดือดร้อน เพราะไม่มีงานทำ ไม่มีรายได้ และยังมาถูกนายจ้างโกงค่าแรงงานอีก ซึ่งในครั้งแรก ทางนายจ้างได้บอกว่าจะจ่ายเงินค่าจ้างในส่วนที่เหลือให้ ในวันที่ 15 มิ.ย.53 คือวันนี้ แต่ก็ยังถูกเบี้ยวการจ่าย จึงได้มารวมตัวกันเข้าร้องเรียนกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ให้ช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ " นางทองคำ กล่าว
“พล.ต.สนั่น” ขู่คาดโทษ ขรก.นอกรีตช่วยเหลือแรงงานต่างด้าว
สำนักข่าวไทย (16 มิ.ย. 53) -
ทำเนียบรัฐบาล 16 มิ.ย. - พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการอำนวยการปราบปรามจับกุมดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวลักลอบทำงาน ครั้งที่ 1 ว่า ที่ประชุมได้ตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้นมา 5 ชุด เพื่อตรวจสอบ ปราบปราม จับกุม และดำเนินคดีแรงงานต่างด้าว โดยเป็นการสนธิกำลังระหว่างตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง ดูแลรับผิดชอบปัญหาแรงงานต่างด้าวในแต่ละพื้นที่ โดยภารกิจแรก คือ ติดตามจับกุมและปราบปรามอย่างเด็ดขาด ในส่วนของแรงงานต่างด้าวที่ไม่มารายงานตัวกว่าแสนคนและแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ต่ออายุอีกกว่า 3 แสนคน รวมกว่า 5 แสนคน รวมถึงผู้ให้ความช่วยเหลือที่พักอาศัย พร้อมกันนี้ยังกล่าวด้วยว่า ขอเตือนไปยังข้าราชการนอกรีตที่ให้การช่วยเหลือแรงงานต่างด้าว ทั้งนำรถส่วนตัวหรือนำรถที่ใช้ในราชการไปขนแรงงานต่างด้าว จะถูกดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด โดยนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำในเรื่องเหล่านี้ จึงขอให้นายจ้างที่มีแรงงานต่างด้าวนำแรงงานต่างด้าวมาจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะหากพบมีการกระทำผิด จะมีโทษทั้งจำคุกและปรับ
ค้านประกันสังคม ใช้ 210 ล้าน พิมพ์ผลงานบอร์ด
ไทยรัฐ (14 มิ.ย.53) -
ผู้บริหารประกันสังคม เตรียมควักเงินกองทุนประกันสังคม 210 ล้านบาท จัดพิมพ์ผลงานบอร์ด 4 แสนเล่ม คนงานระดมล่ารายชื่อค้าน ชี้ไม่เหมาะ ขู่เคลื่อนไหว ด้านรัฐมนตรีคนใหม่รับปากตรวจสอบ พร้อมชะลอโครงการหากส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย
หลังจากการประชุมคณะกรรมการประกันสังคม หรือบอร์ด สปส. เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ที่มีนายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธาน ได้พิจารณาอนุมัติโครงการจัดพิมพ์หนังสือรวบรวมผลงานและประวัติของคณะกรรมการประกันสังคมในอดีต ตั้งแต่ชุด 1-9 จำนวน 4 แสนเล่ม โดยจะใช้งบประมาณจากกองทุนประกันสังคมจำนวน 210 ล้านบาท หนังสือจะถูกเผยแพร่ไปยังกลุ่มเป้าหมาย เช่น สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมกว่า 3 แสนแห่ง ที่มีพนักงานเป็นผู้ประกันตน และมีเป้าหมายที่จะแจกให้กับสถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ
ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว และกำลังรวบรวมรายชื่อของผู้ประกันตนที่ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการเอาเงินมาทิ้งโดยใช่เหตุ ควรเอาเงิน 210 ล้านบาท ไปช่วยในส่วนอื่นที่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง กับผู้ประกันตนจะดีกว่า อีกทั้งไม่แน่ใจในเรื่องความโปร่งใส หากบอร์ด สปส.ยังยืนยันที่จะดำเนินการ ก็จะหารือกับเครือข่ายและผู้ประกันตนกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวต่อไป
ส่วน น.ส.อรุณี ศรีโต อดีตประธานสหภาพไทยเกรียงและในฐานะผู้ประกันตน มาตรา 39 กล่าวว่า เป็นการใช้เงินอย่างไม่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับจำนวนเงิน 210 ล้านบาท กับจำนวนหนังสือที่จัดพิมพ์ 400,000 เล่ม ถึงแม้จะมีประโยชน์อยู่บ้าง ตามที่มีการกล่าวอ้างว่าเป็นประโยชน์เชิงวิชาการ แต่ในความรู้สึกของคนงาน แม้ สปส. จะมีอายุร่วม 20 ปี แต่สิทธิประโยชน์ ที่เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลาคลอด หรือสิทธิ์การประกันการว่างงาน ล้วนแต่เกิดขึ้นได้จากการผลักดันของขบวนการแรงงานที่ออกมาเรียกร้องเป็นหลัก โดยความเห็นส่วนตัวผลงานของ สปส.ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ยังไม่เป็นที่ประทับใจของผู้ใช้แรงงาน ดังนั้น ควรมีการปรับปรุงการบริหารงานให้ผู้ประกันตน มีสิทธิประโยชน์ที่ดีขึ้น และเห็นว่าไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องจัดพิมพ์ผลงานบอร์ด สปส.
"หาก บอร์ด สปส. ยืนยันที่จัดพิมพ์ผลงาน ด้วยเงินจำนวนมาก ในฐานะที่เป็นผู้ประกันตน ตั้งแต่เริ่มแรกที่มีการก่อตั้งประกันสังคม จะชวนเพื่อนพ้องคนงานให้ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านเรื่องนี้ เพราะเงินสะสมทุกบาทในกองทุน สปส.เป็นเงินจากหยาดเหงื่อของผู้ใช้แรงงาน"
ด้านนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า เรื่องนี้ได้พูดไว้ตั้งแต่วันแรก ที่มารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ว่า หากใครไม่พอใจการบริหารงานในหน่วยงานใด ก็พร้อมรับคำแนะนำ ส่วนเรื่องการจัดพิมพ์หนังสือผลงานนั้น ขอเวลาศึกษาข้อมูลสักระยะ หากพิจารณาแล้วเห็นความไม่โปร่งใส ก็จะสั่งชะลอโครงการทันที

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไทยโพสต์สัมภาษณ์ สมยศ พฤกษาเกษมสุข: ปรองดองกับใคร?

Posted: 20 Jun 2010 08:19 AM PDT

<!--break-->

 

"เป็นการเคลื่อนไหวโดยอิสระของประชาชนที่เขาต่อสู้ ซึ่งอันนี้น่ากลัวยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา รัฐบาลผลักดันให้พวกเขาไปอยู่ในสนามรบ ซึ่งจริงๆ พวกผมไม่ปรารถนาสถานการณ์เช่นนั้น เราก็อยากจะเคลื่อนไหวโดยสันติ เคลื่อนไหวโดยเปิดเผย และก็เคลื่อนไหวตามสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้นถ้าเป็นได้ต้องเตือนสติรัฐบาลว่าอย่าลุแก่อำนาจ และก็ทำให้สังคมมืดไร้ทางออก ที่สำคัญคืออย่าหลอกลวงประชาชน และประชาชนก็ต้องเท่าทันรัฐบาลที่จะไม่คล้อยตามสิ่งที่รัฐบาลกำลังสร้าง"

"ตอนนี้ถือว่ารัฐบาลกำลังนั่งอยู่บนปล่องภูเขาไฟ ไม่รู้มันจะระเบิดเมื่อไหร่ และจะรุนแรงไหม มันจะต้องระเบิดขึ้นมาอีกแน่ การจัดงาน 24 มิถุนาเราก็หวังว่าจะเป็นช่องหนึ่งที่ทำให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย มีสิทธิเสรีภาพ แต่ถ้ารัฐบาลยังเห็นการเคลื่อนไหวแบบนี้ในทางที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลและหวังจะใช้อำนาจต่างๆ มันก็ปิดประตูทุกปัญหา ผลักไสไล่ส่งให้ประชาชนอยู่เป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ก็เท่ากับว่าทำตนเป็นเผด็จการทุกรูปแบบ"

หลังออกแถลงการณ์ถามหาความรับผิดชอบการสลายการชุมนุมของรัฐบาล และประกาศจัดงาน 24 มิถุนา 78 ปีประชาธิปไตย แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนา และ บ.ก.นิตยสาร Voice of Taksin, ไทยเรดนิวส์ ก็ถูกจับกุมตัวพร้อมๆ กับ อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ โดยไม่มีความผิดทางอาญา ผ่านไป 2 สัปดาห์อาจารย์ยิ้มได้รับการปล่อยตัว กระทั่ง 13 มิ.ย. ศาลยกคำร้องขอควบคุมตัวต่อเป็นครั้งที่ 3 ของ ศอฉ. สมยศ พฤกษาเกษมสุข จึงได้รับอิสรภาพ และเขายังยืนยันว่าการรวมตัววันที่ 24 มิ.ย.นี้ จะเป็นการพิสูจน์ว่าประชาชนยังมีสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย

ที่ยืนของเสรีภาพ

"คือมันเป็นงานประเพณีอยู่แล้ว และเราก็ต้องจัดไม่ว่าจะมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่มี"

แต่ไม่ใช่ที่สนามหลวงแล้ว
"โรงแรมรัตนโกสินทร์ ไม่อยากทำให้เป็นเรื่อง แต่ก็ไปจัดโรงแรมสัมมนาพูดคุยกัน ถ้าเขาห้ามอีกหรือมาจับอีกก็จะได้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร งานนี้ก็คงเป็นกิจกรรมปกติ เป็นการรวมตัวและก็การประชุม การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองตามปกติ คนเสื้อแดงเขาก็เข้มแข็งและก็เรียกว่าผ่านประสบการณ์การต่อสู้ด้วยตัวเองมา 3-4 ปีแล้ว คืออย่างไรไม่มีทางที่จะทำให้เขาเปลี่ยนใจไปอย่างอื่นได้ เพราะฉะนั้นคนพวกนี้ก็ยังอยู่เหมือนเดิม การเคลื่อนไหวก็อาจจะมากขึ้นด้วย และทั้งนี้ทั้งนั้นต้องโทษรัฐบาลที่ทำให้เขาไปเคลื่อนในทางใต้ดิน เพียงแต่ว่าทางเลือกของกลุ่ม 24 มิถุนา รัฐบาลน่าจะยอมรับให้เป็นการชุมนุมเคลื่อนไหวตามสิทธิเสรีภาพ และก็ยังสามารถเจรจาหรือพูดคุยกันได้"

มีความเป็นไปได้ว่าจะถูกจับด้วยข้อหาชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน
"ก็จับตัวไปขัง ก็ได้แค่นั้น ไม่รู้จะทำอย่างไร เราอยากจะให้คนตรวจสอบแล้ว เป็นงานประเพณีทำมาทุกปี จะเรียกว่ากิจกรรมทางการเมืองก็แล้วแต่ ถ้าถูกจับก็เดินเข้าคุก ก็เข้าไป ก็สู้กันไป ถ้าสั่งจำคุกก็ไปอยู่ 2 ปี ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรในระยะ 2 ปี แต่ว่ารัฐบาลต้องเจอกับคำถามที่สังคมจะถาม และต่อไปก็ไม่ใช่แค่คนไทยเท่านั้น กรณีผมมันอาจจะมีลักษณะพิเศษ เพราะผมไม่มีประวัติก่อความรุนแรง อย่างน้อยก็มีผลงานให้กับกรรมกรมาบ้าง อันนี้ก็แล้วแต่รัฐบาลจะคิด เพราะคนเขาจะถามว่าเขามาจัดงาน 78 ปีประชาธิปไตย แล้วคุณไปจับกุมเขา และมันไม่ใช่มีกลุ่มเดียวที่จะจัดนะ เขาจัดกันทุกกลุ่ม เชียงใหม่ก็มี คุณจะทำยังไง แต่เราหวังว่านี่คือการต่อสู้อย่างสันติจริงๆ ถ้าเกิดคุณยังคุกคามอยู่นั่นคือคุณปิดประตูการต่อสู้อย่างสันติ คุณก็ต้องไปศึกษาบทเรียนจากถนอม-ประภาส"

"ครั้งที่ผมแถลงข่าวหน้ามูลนิธิ 111 เจ้าหน้าที่เขาบอกว่าไม่อยากให้จัดงานวันที่ 24 มิ.ย.เลย แต่เราก็ยืนยันว่ามันไม่ใช่งานที่มีปัญหา เราก็อยากจะต่อสู้ เพราะว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินมันต้องใช้เฉพาะ จะมาใช้มั่วไม่ได้ ผมไม่ใช่คนที่ไปทำการยึดถนน ปิดสนามบิน เราก็จัดมาไม่เคยมีปัญหา ที่สนามหลวงเดินขบวนก็สั้นๆ และส่วนใหญ่ของเราไม่ปักหลัก ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร เพราะฉะนั้นถ้าคิดว่าสิ่งเหล่านี้มีปัญหาแล้วจะอธิบายกรณีหมอตุลย์อย่างไร หมอตุลย์จัด 3-4 ครั้ง คนมากกว่าเราอีก มากกว่ากลุ่ม 24 มิถุนาอีก และก็เป็นการชุมนุมทางการเมืองชัดเจนกว่าเราอีก อย่างของเราไปแถลงข่าวหน้าบ้านเลขที่ 111 ไป 3 คน (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, ยอดเยี่ยม ศรีมันตระ) ศอฉ.ตั้งข้อกล่าวหาว่าชุมนุมกันเกิน 5 คน นี่จะต้องอาศัยนักข่าวเป็นพยาน วันนั้นผมไป 3 คน มีนักข่าวอีกรวมกันแล้วก็เกือบ 30 คน เจ้าหน้าที่มูลนิธิอีกประมาณ 4-5 คน หมายจับผมในศาลก็คิดว่ากิจกรรมครั้งนั้นเป็นการชุมนุมทางการเมือง ผมยืนกัน 3 คน ให้สัมภาษณ์แล้วก็กลับบ้าน ก็ตั้งข้อกล่าวหาว่าชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน พันธมิตรฯ แถลงข่าวมากกว่าผมอีก ไม่เห็นเป็นไร เพราะฉะนั้นนี่เป็นเรื่องที่เราต้องการให้พิสูจน์"

น่าสังเกตว่ากรณี อ.ยิ้ม (ดร.สุธาชัย) จู่ๆ เจ้าหน้าที่ก็ปล่อยตัว แต่สำหรับสมยศศาลยกคำร้องของ ศอฉ.ที่ขอคุมตัวเขาต่อครั้งที่ 3
"จริงๆ ก็ไม่แปลกอะไรนะ เพราะว่า อ.สุธาชัยแกเป็นข้าราชการ อยู่จุฬาฯ ด้วย มีสถานภาพทางสังคม ส่วนผมเป็นสามัญชน เป็นไพร่ก็ต้องติดคุกนานหน่อย โดนลงโทษแตกต่าง ความผิดเดียวกัน แต่เลือกปฏิบัติได้ เพราะฐานะทางสังคมแตกต่าง อันนี้คือความเป็นจริง ก็ต้องขอบคุณ ศอฉ.ที่ทำให้ซาบซึ้งคำว่าไพร่ ถูกเลือกปฏิบัติอย่างไร ผมก็อยู่นานกว่าหน่อย ที่จริงเขาก็อยากจะให้ครบกำหนดและก็ขออนุญาต แต่ศาลเห็นว่าตำรวจไม่ค่อยทำการบ้าน เขียนคำร้องแบบเดิม ส่งมาอีกแล้ว 3 อาทิตย์ 3 รอบคำร้อง ก็เลยเห็นว่าไม่มีเหตุที่จะต้องคุมตัวต่อ ก็เป็นอำนาจของศาลที่จะให้ปล่อย"

สมยศ เริ่มเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหาร 19 ก.ย. กับกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ กระทั่งมาเป็นแกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย แต่ไม่ได้เข้าร่วมกับการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงหนนี้

"ไม่ได้ยุ่งเลยนะ จริงๆ ไม่เข้าร่วมมานานแล้ว ไม่เคยขึ้นเวทีกับกลุ่มสามเกลอตั้งแต่เขาจัดครั้งแรกที่ธันเดอร์โดม ครั้งที่สองที่ราชมังคลาฯ ครั้งที่สามสนามศุภชลาศัย ไม่เคยเข้าร่วม ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งมาถึงจุดที่ขัดแย้งแบบแยกกันชัดๆ คือกรณีถวายฎีกา ซึ่งขณะนั้นเราเห็นว่าการถวายฎีกาควรจะครอบคลุมคนทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหาร รวมไปถึงดารณี ชาญเชิงศิลปกุล (ดา ตอร์ปิโด) ซึ่งก็ควรได้รับการนิรโทษกรรมหรือว่าถวายฎีกา ทุกคนที่ได้รับผลกระทบมีเยอะแยะไปหมดที่ติดคุกติดตะรางด้วยคดีต่างๆ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการรัฐประหาร 19 ก.ย. นี่คือจุดที่เห็นแตกต่างกันและหลังจากนี้ก็ไม่ได้มีความสัมพันธ์อะไร เราก็ดำเนินการในกลุ่ม 24 มิถุนา แยกออกมา"

จุดยืนที่กลุ่ม 24 มิถุนา ต่างจาก นปช.แดงทั้งแผ่นดิน และแดงสยาม คือการเคลื่อนไหวในประเด็นสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย

"มันมีความต่างทั้งในแง่การรวมตัวและความต่างในแง่เป้าหมาย และกลุ่มบุคคลก็แตกต่าง พื้นฐานที่แตกต่างกันมากที่สุดคือว่าถ้าเป็น นปช.มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นผู้ที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกตั้ง นั่นหมายความว่าเขามีเป้าหมายไปสู่อำนาจรัฐ หรือเข้าไปสู่สภาผู้แทนราษฎร แต่ว่ากลุ่ม 24 มิถุนา เป็นลักษณะการรวมตัวของประชาชน มีเป้าหมายทางการเมืองที่ชัดเจนในแง่ที่ไปสานต่อภารกิจของคณะราษฎร คือนโยบาย 6 ประการ ซึ่งเราเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนา และก็หลัก 6 ประการยังไม่บรรลุเป้าหมาย ประชาธิปไตยที่ฝ่ายคณะราษฎรปรารถนาหรืออำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลายยังไม่บรรลุเป้าหมาย เพราะภารกิจนี้ยังไม่แล้วเสร็จ เราก็มารวมตัวกันเป็นกลุ่ม 24 มิถุนา เพราะฉะนั้นแนวหลักๆ ของเราจะเป็นลักษณะผลักดันนโยบายมากกว่ามุ่งเข้าสู่อำนาจรัฐ เพราะฉะนั้นคนของเราก็จะเป็นประชาชนคนธรรมดา มากกว่ามุ่งเข้าสู่อำนาจรัฐ เป็นนักธุรกิจบ้าง เป็นคนขับแท็กซี่ เป็นกรรมกรโรงงาน ชาวบ้าน และก็ไม่มีเส้นสายหรือเชื่อมโยงกับพรรคการเมือง เป็นความสัมพันธ์ที่ชัดเจนในแง่ที่ว่าเราไม่ใช่มีเป้าหมายทางการเมืองและก็ไม่ใช่สมาชิกพรรคการเมือง"

"การชุมนุมวันที่ 12 มี.ค. นปช.เขามีเป้าหมายเรื่องยุบสภา และก็การเลือกตั้ง เพราะเขามองว่ารัฐบาลได้อำนาจมาโดยไม่ถูกต้อง มาโดยวิถีทางที่เรียกว่ามาทางลัด จัดตั้งในค่ายทหาร และก็ใช้ยุทธวิธีงูเห่า ดึงกลุ่มเนวินเข้ามาจัดตั้งด้วย ตรงนี้เขาก็มองว่าไม่ชอบธรรม อันที่สองเขาว่ามีปัญหาเรื่องสองมาตรฐาน ก็เลยต่อสู้เรียกร้องให้ยุบสภาเพื่อเลือกตั้ง ในขณะที่ทางพวกผมไม่เห็นด้วยตั้งแต่ครั้งแรกกับคำว่ายุบสภา ตอนที่อภิสิทธิ์เข้ามาใหม่ๆ เพราะจริงๆ คำว่ายุบสภามันไม่ใช่เพิ่งเกิดเมื่อ 12 มี.ค. มันเกิดมาเป็นปีแล้ว ทันทีที่ประชาธิปัตย์มาเป็นรัฐบาลทางนี้ก็มีข้อเรียกร้องให้ยุบสภา เรียกร้องให้ลาออก ตอนนั้นเราก็ยังรู้สึกไม่ตื่นเต้นกับข้อเรียกร้องนี้ แต่ก็ไม่ได้คิดว่าเป็นข้อรังเกียจกับข้อเรียกร้องพวกนี้ เราก็ไปเข้าร่วมได้ อย่างที่ผ่านฟ้าฯ ราชประสงค์ ครั้งที่ผ่านมาผมก็ไปดูเหตุการณ์ ไปทำข่าวบ้าง ไปพบปะคนที่รู้จัก"

แต่ไม่เคยขึ้นเวที
"ไม่เคยขึ้นเวที ไม่ได้ชุมนุม ไม่ได้ค้างคืน ไปชั่วโมงสองชั่วโมงก็กลับ ไปดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง"

สาเหตุหลักที่ถูกค้นบ้านจึงน่าจะมาจากการแถลงข่าววันที่ 21 พ.ค.
"ก่อนหน้านั้นก็มีอยู่บ้างในแง่ของหนังสือ Voice of Taksin ซึ่งกล่าวหาว่ามีลักษณะหมิ่นเหม่ต่อสถาบัน ก็มีการดูแลตรงนี้อยู่บ้าง และที่เป็นปัญหาอีกอันคือ การทำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย. อันนี้เราทำออกมาชุดหนึ่ง เป็นการเผยแพร่ภาพ ซึ่งเขาบอกว่าภาพพวกนี้ก่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาล ตรงนั้นเราก็ยืนยันว่าเป็นภาพปกติ เป็นการทำงานตามวิชาชีพสื่อมวลชนธรรมดาที่มีภาพและก็มาเผยแพร่ ก็มีการยึดภาพนั้นจากที่นี่ จับไปหนหนึ่ง แต่ว่าก็ไม่มีประเด็นที่จะจับกุมคุมขัง และภาพบางภาพก็เผยแพร่กันทั่วไป"

เป็นหนึ่งในขบวนการปลุกกระแสเรื่องล้มเจ้า เช่นเดียวกับชื่อของ อ.สุธาชัย ที่ปรากฏอยู่ใน mind map ศอฉ.
"ใช่ แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะว่าข้อมูลที่ตำรวจจะนำมาใช้เป็นข้อมูลของ ASTV ซึ่งเป็นการตีความของ ASTV ไปตีความกันเอง ก็ไปเชื่อมโยงว่าแกไปประกันตัวดา ตอร์ปิโด แค่นี้ก็บอกว่ามีความเชื่อมโยงกัน หรือนิตยสารที่นี่จักรภพ เพ็ญแข เขียนอยู่เรื่อย อย่างนี้ก็บอกว่าเชื่อมโยงกันแล้วว่ามีความสัมพันธ์กับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในทางกฎหมายก็ไม่เพียงพอที่จะเอาผิด แต่ว่าเขาเชื่อมโยงกันง่ายๆ หยาบๆ"

ด้านหนึ่งก็ต้องยอมรับว่าปกของนิตยสาร Voice of Taksin หมิ่นเหม่ให้อีกฝ่ายตีความได้
"มันต้องดูให้ครบ ไม่ใช่ดูแค่หน้าปก หรือดูรูปแล้วตีความ มันต้องไปดูเนื้อความที่เรานำเสนอด้วย ที่เรานำเสนอนี่เรานำเสนอในลักษณะที่ว่า คือเราไม่ต้องการให้เกิดการให้ร้ายป้ายสีหรือนำสถาบันมาใช้ทำลายคนอื่น เพราะเราจะเห็นได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือตอนพันธมิตรฯ ปิดสนามบิน ปิดถนนราชดำเนิน ยึดทำเนียบรัฐบาล ยึด NBT ก็คือว่าได้ใช้ข้ออ้างเรื่องสถาบัน เพราะฉะนั้นเราก็เห็นว่าการกระทำเช่นนั้นไม่เหมาะสม ดังนั้นเราก็ไม่เห็นด้วยที่จะปกป้องตนเองด้วยการอ้างสถาบัน และไปทำลายคนอื่น เรื่องนี้เราก็เลยนำเสนอสถานการณ์บ้านเมืองด้วยความห่วงใยว่าในที่สุดแล้วจะเกิดอะไรขึ้น-บางรายการของ NBT ก็เลยเอาปกไปตีความเป็นประเด็น ซึ่งเรื่องนี้ถ้าดำเนินคดีฝรั่งคงจะหัวเราะ คือมันไม่รู้จะสื่ออะไร ไพ่สำรับหนึ่ง 52 ใบ possibility ก็มีเยอะแยะ เราก็ชี้แจงไปแล้วว่าอาจจะหมายถึงประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ได้ไพ่ใบนั้น และเราก็ไม่ได้บอกว่านี่เป็นไพ่ นี่คือไพร่ ฉะนั้นนี่ก็เป็นเรื่อง แล้วแต่คนตีความ"

ต้องถือว่ากรณี อ.สุธาชัย และสมยศ เป็นความผิดพลาดในการใช้อำนาจของรัฐบาล เพราะแบ็กกราวด์ของทั้งสองคือนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวด้านแรงงาน จึงไม่แปลกที่จะมีกระแสกดดันจากเอ็นจีโอและนักสิทธิมนุษยชนทั่วโลกให้ปล่อยตัว

"เราก็งงนะที่ออกหมายจับ และของอาจารย์ยิ้มนี่ก็คือว่าแกยังไม่รู้เลยว่าโดนจับ รู้แต่ว่าให้ไปรายงานตัว แกก็นัดตำรวจรับไปรายงานตัว รายงานตัวเสร็จ อ้าว ถูกจับด้วย ถูกจับเพื่อไปควบคุมตัวในฐานะผู้ต้องสงสัย ทีนี้เรามาดูข้อกฎหมายมันก็น่าเศร้า คือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมันต้องเป็นสถานการณ์เฉพาะ สองมันต้องภาวะคับขัน สามสงคราม สี่ก่อการร้าย ซึ่งเราไม่เข้าเลย การแถลงข่าว 3 คนก็ไม่สามารถนำมาสู่ความวุ่นวายทางการเมือง สองภาวะสงครามไม่ต้องพูดถึง และที่เราประกาศจะทำนั่นทำนี่ เช่น ไปชุมนุมที่ราชบุรีก็เป็นนอกเขต พ.ร.ก. การจัดงานวันที่ 24 มิ.ย. ก็จัดกันทุกปี เพราะฉะนั้นเราก็เลยเห็นว่าไม่สามารถนำมาใช้กับเราได้ แต่รัฐบาลก็เอามาใช้ และตัวร่างของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมันเป็นกฎหมายที่ถูกใช้ในสถานการณ์ความรุนแรงของ 3 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งอันนั้นชัดเจนมีการสู้รบกัน แต่การชุมนุมแยกราชประสงค์เป็นปัญหาที่ต้องตั้งคำถามว่ามีความชอบธรรมในการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่ ลักษณะการสลายการชุมนุมก็ผิด หนึ่งผิดตั้งแต่เอาตัวกฎหมายมาใช้ สองผิดเพราะใช้กำลังทหาร กำลังทหารที่นำมาใช้ก็ผิดอีก คือใช้สไนเปอร์ เขาเรียกพลซุ่มยิง บวกกับหน่วยจู่โจมซึ่งคนเหล่านี้ถูกฝึกมาอีกแบบหนึ่ง หน่วยจู่โจมก็ฝึกมาอีกแบบหนึ่ง การยิงฝ่ายตรงข้ามด้วยอาวุธสงคราม เช่น เอ็ม 16 ปืนทราโว จะต้องวางแผนยุทธการ ต้องมีรถหุ้มเกราะบุกเข้าไปทลายสิ่งกีดขวาง รถหุ้มเกราะก็ติดปืนกล เพราะฉะนั้น หนึ่งตัวกฎหมายก็ผิด กำลังทหารก็ผิด วิธีการสลายก็ผิด ยกตัวอย่างสไนเปอร์หลักของมันต้องใช้เพื่อยิงสไนเปอร์ฝ่ายศัตรู สองคุณเห็นแล้วว่าฝ่ายตรงข้ามกำลังถือปืน เป็นหัวหน้าหน่วย คุณถึงจะยิงฝ่ายตรงข้าม ในสถานการณ์สู้รบที่เป็นสงคราม สไนเปอร์ถูกฝึกมาแบบนั้น หน่วยจู่โจมก็คือว่าประชิดศัตรูเลย จะเข้ามายึดพื้นที่ทำลายศัตรู ซึ่งก็ต้องชัดเจนว่าศัตรูอยู่ตรงหน้า คืออริราชศัตรู กำลังมาละเมิดอธิปไตยในดินแดน อย่างนี้ถึงจะใช้ แต่คนที่มาชุมนุมคุณไปพลิกศพดูก็ได้ว่าไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย จำนวนมากเป็นคนที่อายุอย่างพวกเรา มีอายุ 50, 60 ซึ่งไม่มีศักยภาพก่อความรุนแรง อย่างอายุพวกนี้ถ้าจับปืนก็ต้องใส่แว่นตาเล็ง เพราะฉะนั้นมันไม่สามารถทำได้"

พูดอย่างนี้อีกฝ่ายหนึ่งก็เถียงว่าเสื้อแดงเองก็ติดอาวุธ
"คือเท่าที่เห็นเป็นภาพเดียว คือวันที่ 10 เม.ย. ภาพนั้นเป็นภาพที่เอามาหมุนเวียนในสถานนีโทรทัศน์ เท่าที่นับดูมี 4 คน ในภาพเหตุการณ์นั้น ซึ่งขณะนี้ก็ยังจับกุม 4 คนนั้นไม่ได้ ผู้ก่อการร้ายก็เป็นคำที่ถูกสร้างขึ้น เป็นนิยายที่ถูกสร้างขึ้น เหมือนเหตุการณ์ 6 ตุลา นักศึกษากลายเป็นผู้ก่อการร้าย เอาปืนไปไว้ในธรรมศาสตร์ มีการถ่ายรูปออกมาโชว์สื่อมวลชน ก็เห็นได้ชัด เหตุการณ์ก็ซ้ำรอย และในที่สุดนักศึกษา 3,000 คน ก็กลายเป็นผู้ก่อการร้ายตามที่รัฐบาลสร้างภาพ ต้องไปสู้รบในชนบทจนกระทั่ง พล.อ.เกรียงศักดิ์เห็นว่าไปไม่ไหวก็นิรโทษกรรม ขณะนั้นถือว่ารัฐบาลของคณะรัฐประหารเติมกำลังให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ ตอนนี้โชคดีที่ในชนบทไม่มีแล้ว พวกเขาก็ไม่รู้จะหนีไปไหน แต่ว่ามันทำให้คนคิดว่าเขาเป็นผู้ก่อการร้าย ซึ่งถือว่ารัฐบาลเป็นคนสร้างขึ้นมา"

สถานการณ์บนปล่องภูเขาไฟ

เวลานี้ยังมีคนเสื้อแดงที่ถูกควบคุมตัวและถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยไม่มีข้อหาความผิดทางอาญาอีกจำนวนมาก จนรัฐบาลมีแนวคิดที่จะนิรโทษกรรมบางส่วนที่เข้าร่วมชุมนุมแต่ไม่ได้ทำความผิดร้ายแรงเข้าข่ายก่อการร้าย     

"เอาเข้าจริงๆ ผมว่างานนี้จะเป็นปัญหามาก คำว่าผู้ก่อการร้ายมันก็น่าจะมี แต่ว่าใครล่ะ มันต้องจำแนก ทีนี้มันจะไปเชื่อมโยงกับคนจำนวนมากอย่างไร จะไปเชื่อมโยงกับแกนนำก็ไม่ถึงเพราะฉะนั้น DSI ปวดหัว จะหาหลักฐานอะไรมาบอกเขา นอกจากความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วมันจะจับเขายังไง จับไป 400 แล้วคนอีก 5,000 ทำยังไง ก็เป็นปัญหาในทางปฏิบัติ แล้วครั้นจะไปเชื่อมโยงกับแกนนำทุกคนไหม ก็ไม่ได้ ก็เชื่อว่าไม่ถึง นี่คือปัญหาในทางปฏิบัติ"

ในที่สุดข้อหาก่อการร้ายก็แค่การสร้างความหวาดกลัว
"คุณต้องหาหลักฐานให้เจอว่าใครเป็นคนนำอาวุธเข้ามาไว้ในที่ชุมนุม ไอ้โม่งคือใครมันต้องไปตาม และเอาเข้าจริงๆ ไอ้โม่งเหล่านี้ก็คือใครก็ไม่รู้ ถึงแม้จับได้คุณก็ต้องเอาผิดเฉพาะคนกลุ่มนี้เท่านั้น นี่คือปัญหาใหญ่ อันที่สองเรื่องวางเพลิง คือมันเป็นลักษณะของจลาจลทั่วไป ซึ่งประเทศไทยก็เคยเกิดมาแล้ว 14 ตุลาก็มีการเผากรมประชาสัมพันธ์ กองสลาก พฤษภาก็เผา สน.นางเลิ้ง ทำลายสัญญาณจราจร ราชประสงค์ก็จบที่เผา เพราะอะไร ถ้าสมมติว่าคนเหล่านี้มีการเตรียมการก็หมายความว่า 14 ตุลามีการเตรียมการ 6 ตุลาก็เตรียมการ พฤษภาทมิฬก็เตรียมการ นี่เหตุการณ์ผ่านมา 30 กว่าปี แต่ตรงนี้หมายความว่าอย่างไร หมายความว่าถ้าเกิดสถานการณ์จลาจลรัฐบาลต้องรู้ทันทีว่าโอกาสจะเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้มีขึ้นแน่นอน และก็แน่นอนถ้าคุณใช้กำลังทหารไปเข่นฆ่าอีกฝ่าย โอกาสที่จะก่อจลาจลด้วยการเผามีมากที่สุด เพราะฉะนั้นงานนี้ถือว่ารัฐบาลบกพร่องในการปกป้องทรัพย์สิน คุณจะต้องรู้ว่าอาจจะเกิดความโกรธแค้น ดังนั้นถ้ามองในแง่วิธีการสลายการชุมนุมคุณทำแบบกระชับวงล้อมไม่ได้ การกระชับวงล้อมเป็นการกระทำที่สามานย์ที่สุด โหดเหี้ยมอำมหิตที่สุด ไม่ใช่การสลายการชุมนุม ถ้าเกิดคุณตั้งใจจะสลายการชุมนุม คุณต้องเข้าทางประตูน้ำ เพื่อให้คนหนีลงไปข้างล่าง คุณอาจจะปิดแค่สี่แยกตรงพารากอน เพลินจิต และก็บีบเขาลงมา เพื่อให้คนมีโอกาสหนีออกไป หนีออกไปคลองเตย หนีออกไปหัวลำโพง สีลมอาจจะต้องปิดเพราะทรัพย์สินมันเยอะ ธุรกิจเยอะ และพอคุณบีบมาทางนั้นได้คุณค่อยมาปกป้องทรัพย์สิน ใครย่างกรายเข้ามาจะเผาคุณก็ยิงเขา นี่คือโหดที่สุดแล้วที่พอจะมองเห็น แต่รัฐบาลทำด้วยวิธีการกระชับวงล้อม พอคุณกระชับวงล้อมคือทุกคนรู้ว่าตัวเองตาย ต้องหนีความตาย ไปวัดปทุมฯ ซึ่งเป็นภาพที่ไม่ถูกต้อง และมีคนตายที่วัดปทุมฯ ยิ่งไปกันใหญ่ เขาวางแผนแบบทหาร กระชับวงล้อมตั้งแต่วันที่ 14 ใครเข้าไปยิงๆ คนตายจำนวนมากสะสมตั้งแต่วันที่ 14 และก็บีบวงล้อม จริงๆ มันก็คือการสลายการชุมนุม แต่อย่างว่าผิดตั้งแต่ตัวกฎหมาย ผิดตั้งแต่ยุทธวิธีทางการทหาร เราถึงสูญเสียมากทั้งชีวิตคนและก็ทรัพย์สิน"

จึงยากที่รัฐบาลจะทำความจริงให้ปรากฏได้ ซึ่ง 'ความจริง' เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่ความปรองดอง   
"เรื่องปรองดองถ้าเกิดคนมีสติฟังดีๆ จะรู้ว่าเป็นเรื่องเหลวไหล อภิสิทธิ์รับปากว่าจะมีการเลือกตั้ง 14 พ.ย.ทำไมไม่ทำ แสดงว่าขณะที่เสนอแผนปรองดองในขณะนั้นมีเป้าหมายเพื่อทำลายฝ่ายตรงข้ามมากกว่าการปรองดอง ไม่ได้มาจากสำนึก ถ้ามาจากสำนึกคุณก็ต้องทำแล้ว 14 พ.ย.ประกาศให้แล้วเสร็จ ซึ่งปรองดองมากที่สุด เพราะหมายถึงว่าประชาชนก็ตัดสินใจ อยากได้เพื่อไทยก็เอากลับมา อยากได้ประชาธิปัตย์ท่านก็ได้กลับมาอยู่แล้ว ทำไมไม่เลือกตั้ง นี่ก็เป็นประเด็นที่สะท้อนว่าไม่จริงใจ สองมันก็เหมือนกับคณะกรรมการสมานฉันท์ของคุณดิเรก ถึงฝั่ง สุดท้ายจบตรงไหน ได้เอกสารมาชิ้นหนึ่งมีใครได้อ่านไหม ไม่มีใครได้อ่าน ไม่มีรู้เรื่อง แต่มีข้อเสนอ 6 ประเด็นปรากฏเป็นข่าว คุณอภิสิทธิ์ก็ไม่ทำ ขณะนั้นคุณอภิสิทธิ์ใช้คำว่าสมานฉันท์ ไม่ต่างจากคำว่าปรองดอง สุดท้ายไม่มีอะไร ฉะนั้นสุดท้ายแผนปรองดองก็คงจะเหมือนกัน แล้วคุณก็จะเอาแผน 6 ข้อมาปัดฝุ่นกันใหม่อีกเหรอ ตลกไหม"

ก็ไม่ต่างอะไรกับการตั้งคณะกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้
"แล้วยังไง คุณก็ไม่ต้องทำอะไร มาเถียงกัน เชิญนักวิชาการบ้าบอคอแตกมานั่งเถียงกันแล้วก็กินกาแฟ ได้ข้อเสนอแล้วรัฐบาลก็บอกว่าทำไม่ได้ หรือไม่ทำ สมัยหนึ่งเคยมีหมอประเวศเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง สมัยคุณชวน หลีกภัย ตั้งขึ้นมาขนาบ สุดท้ายคุณชวนก็ไม่ทำ ข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองของหมอประเวศ แล้วมาทำเอาสมัยคุณบรรหาร ฉะนั้นโดยบุคลิกภาพ วิธีการทำงานแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของประชาธิปัตย์ เขาทำอยู่สองอย่าง อย่างที่หนึ่งตั้งคณะกรรมการ เกิดปัญหาอะไรไม่รู้ตั้งไว้ก่อน คณะกรรมการก็จะตั้งอนุกรรมการตามมา นี่คือ step ของเขาเลย พอตั้งอนุกรรมการเสร็จก็จะตั้งคณะทำงาน ใช้เวลาก็ 2-3 เดือน แค่ตั้งอย่างเดียวนะ อันนี้คือสไตล์การทำงาน อันที่สองใช้วาทกรรม เหมือนขอคืนพื้นที่ กระชับวงล้อม ปรองดอง ซึ่งไม่มีสาระเลย ถ้าใครติดตามจะรู้จักคุณอภิสิทธิ์โดยลึกซึ้ง ผมเคยเขียนจดหมายถึงคุณอภิสิทธิ์ ตอนที่อยู่ค่ายทหาร ส่งไปให้ เพราะติดตามดูแล้วแกเป็นคนไม่อยู่กับร่องกับรอย พูดอย่างทำอย่าง จับได้หลายครั้ง เช่นเรื่องรัฐธรรมนูญ ตอนเป็นหัวหน้าฝ่ายค้านก็บอกว่ารับๆ ไปก่อนมาแก้ทีหลัง คนเขาก็รับไปก่อน ถึงเวลาเขาเป็นผู้นำรัฐบาลก็ไม่แก้ หรือบอกว่าวิกฤติชาติเกิดจากนักการเมือง เพราะนักการเมืองโสเภณี นักการเมืองให้เช่า นักการเมืองที่เร่ร่อน สุดท้ายคุณอภิสิทธิ์ก็ต้องยอมที่จะจับมือกับนักการเมืองเร่ร่อนแบบคุณเนวิน ส.ส.ให้เช่าก็ยังต้องเกรงใจ ต้องทำงานร่วมกับเขาทั้งที่คุณอภิสิทธิ์เคยบอกจะไม่ทำงานกับเขาเพราะตัวเองเป็นนักการเมืองอาชีพ คุณอภิสิทธิ์บอกว่าต้องเปลี่ยนแปลงอย่างสันติตอนที่พันธมิตรฯ สู้กับรัฐบาลสมชาย มีคนตาย 2 คนรัฐบาลต้องรับผิดชอบลาออก ยุบสภา พอวันนี้คนตาย 80 กว่าศพ คุณอภิสิทธิ์ลืมคำพูด ทีนี้ถ้าเป็นผู้ก่อการร้ายมันก็ไม่ใช่อีก แสดงว่าผู้บริสุทธิ์ตาย ความรับผิดชอบต้องมีแน่นนอน"  

ที่ประหลาดคือคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ไม่รู้สึกว่ารัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของคนเกือบร้อย
"เพราะว่าสังคมยังเป็นอย่างนี้ ไม่น่าเชื่อ แล้วรัฐบาลก็ยังทำตัวเป็นนักเลงไล่จับคนนั้นตั้งข้อหาคนนี้ไปค้นบ้านนั้นไปค้นบ้านนี้ สังคมก็ยืนดูเฉยๆ สมน้ำหน้าพวกเสื้อแดง เราทำให้บทเรียนในอดีตลืมไป คนชั้นกลางเป็นคนไร้ราก และเป็นชนชั้นที่หาผลประโยชน์อยู่ตลอดเวลา ต้องการความสะดวกสบาย ต่อไปก็ขึ้นอยู่กับคนชั้นล่างที่จะเป็นความหวังมากที่สุด แต่ว่าประชาธิปไตยมันไปถึงข้างล่าง มันหยั่งรากลึกพอสมควร มันถึงมีเสื้อเหลืองเสื้อแดง มีการเรียกร้องมีการต่อสู้ทางการเมือง ช่วงนี้เป็นช่วงที่มันจะพัฒนาการต่อ"

คนชั้นกลางเป็นฐานสนับสนุนรัฐบาล และก็เป็นข้ออ้างที่รัฐบาลยังคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปเพื่อไม่ให้บ้านเมืองวุ่นวาย
"ก็คงเป็นภาวะชั่วคราว สถานการณ์จะคลี่คลาย ความเป็นจริงก็จะค่อยๆ ปรากฏ ไม่น่ามีปัญหา แต่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินถ้าคงต่อไปนานแค่ไหนมันก็เป็นผลร้ายต่อรัฐบาลกับระบบเศรษฐกิจ คำว่าภาวะฉุกเฉินคือภาวะสงคราม ดังนั้นการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบแน่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรม การประชุมสัมมนา สองรัฐบาลจะพูดได้อย่างไรว่าบ้านเมืองนี้สงบ การยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินคือการทำให้การสมานฉันท์เกิดขึ้น การผ่อนคลายเกิดขึ้น แต่ไม่ใช่คุณไปนั่งบีบอีกฝ่ายขณะที่คุณบอกว่าปรองดอง คือคุณเอาตีนถีบหัวคนอยู่แล้วคุณพูดสมานฉันท์"

การปรองดองควรจะเกิดในภาวะที่เป็นจริงของประเทศ ไม่ใช่เอากฎหมายมากดอีกฝ่ายไว้
"มันเป็นการปรองดองฝ่ายเดียว สร้างเพื่อกลบกระแส คู่ขัดแย้งของคุณไปกดเอาไว้แล้วคุณปรองดองกับใครล่ะ ในเมื่อคู่ขัดแย้งที่คุณควรปรองดองคือคนเสื้อแดง แต่คุณพยายามจะไล่ล่าฆ่าเขาให้ตาย มันเป็นน้ำยาบ้วนปากของอภิสิทธิ์เท่านั้นเอง และบ้วนออกกี่ครั้งก็แล้วแต่ยังลบกลิ่นคาวเลือดไม่ได้ ยังคละคลุ้งไปทั่วแผ่นดินไทย เพราะคนตายจำนวนไม่ใช่น้อย แค่ยิงเสธ.แดงก็น่าเกลียดแค่ไหน การสลายการชุมนุมกับการสไนเปอร์ยิงหัวฝ่ายตรงข้าม เพราะอะไร เพราะว่าคนพวกนี้เขาไม่รู้ตัวว่าจะตายด้วยสไนเปอร์ เขาไม่ได้สู้กับคุณ คุณไม่นักเลงจริงไม่ใช่สุภาพบุรุษจริง การซุ่มยิงมันไม่ใช่สุภาพบุรุษแล้ว แม้กระทั่งในทางการสงครามเขาก็เยาะเย้ยคุณ คุณไม่ใช่นักรบ คุณรบกับใครคุณซุ่มยิงเขา"

ถือได้ว่าหนนี้เสื้อแดงเพลี่ยงพล้ำมาก ทำลายตัวเองจนถูกปฏิเสธจากกระสังคมวงกว้าง
"ก็คงเป็นบทเรียนที่สำคัญ เพราะว่ามันไปผูกพันกับการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจรัฐ ก็ถือว่าเป็นบทเรียนครั้งใหญ่ที่ประชาชนคนเสื้อแดงจะได้สรุปบทเรียน น่าจะเป็นก้าวสำคัญที่ดี แต่ตอนนี้ถือว่ารัฐบาลกำลังนั่งอยู่บนปล่องภูเขาไฟ ไม่รู้มันจะระเบิดเมื่อไหร่ และจะรุนแรงไหม มันจะต้องระเบิดขึ้นมาอีกแน่ คราวนี้ที่เราจัดเราก็หวังว่าจะเป็นช่องหนึ่งที่ทำให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย มีสิทธิเสรีภาพ แต่ถ้ารัฐบาลยังเห็นการเคลื่อนไหวแบบนี้ในทางที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลและหวังจะใช้อำนาจต่างๆ มันก็ปิดประตูทุกปัญหา ผลักไสไล่ส่งให้ประชาชนอยู่เป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล ก็เท่ากับว่าทำตนเป็นเผด็จการทุกรูปแบบ เราถึงยืนยันว่าจะต้องจัดกิจกรรมนี้ต่อ"

"เวลานี้คนเสื้อแดงก็จะเป็นการเคลื่อนไหวโดยอิสระของประชาชนที่เขาต่อสู้ ซึ่งอันนี้น่ากลัวยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา รัฐบาลผลักดันให้พวกเขาไปอยู่ในสนามรบ ซึ่งจริงๆ พวกผมไม่ปรารถนาสถานการณ์เช่นนั้น เราก็อยากจะเคลื่อนไหวโดยสันติ เคลื่อนไหวโดยเปิดเผย และก็เคลื่อนไหวตามสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้นถ้าเป็นได้ต้องเตือนสติรัฐบาลว่าอย่าลุแก่อำนาจ และก็ทำให้สังคมมืด ไร้ทางออก ที่สำคัญคืออย่าหลอกลวงประชาชน และประชาชนก็ต้องเท่าทันรัฐบาลที่จะไม่คล้อยตามสิ่งที่รัฐบาลกำลังสร้าง"

ความเข้มแข็งเทกลับมาที่กลุ่มอำมาตย์ ฝ่ายจารีตนิยม
"ก็เข้มแข็งขึ้นในลักษณะที่ยังยิ้มได้บนปล่องภูเขาไฟ รอวันระอุและระเบิด ซึ่งวันนั้นคุณอภิสิทธิ์อาจจะพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ว่าบ้านเมืองจะพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินขนาดไหน นี่เรากำลังทำหน้าที่เตือนรัฐบาล แต่รัฐบาลไม่ฟังเสียงตือน คือเหมือนกับว่าเวลานี้รัฐบาลพอมาดูกระจกยี่ห้อ Voice of Taksin แล้วเห็นหน้าตัวเองรู้สึกว่ามีรอยเปื้อนเลือด หน้าหม่นหมอง คุณอภิสิทธิ์ก็เลยทุบกระจกบานนี้ทิ้ง ในเมื่อเลือกที่จะหลีกหนีความจริง คุณอภิสิทธิ์ก็ต้องหนีความจริงไปตลอด ต้องหนีประชาชนคนอีสานที่ลูกหลานเขาเสียชีวิตหรือพ่อแม่เขาเสียชีวิต หลีกหนีความจริงจากภาคเหนือเพราะไปไม่ได้ ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในเมื่อประชาชนเขาคับแค้นใจ ฉะนั้นถ้าคุณอภิสิทธิ์ตั้งสติ อนาคตยังอีกไกล ถอยออกมา พ้นจากตำแหน่ง คุณอภิสิทธิ์ได้กลับมาอีกก็จะมั่นใจขึ้น สถานะดีขึ้น แต่ ณ วันนี้หลงเข้าไปในกับดักของฝ่ายอำมาตย์ คุณอภิสิทธิ์ควรเรียนรู้จากผู้นำทางการเมือง สุดท้ายคุณอภิสิทธิ์ต้องรู้ตัวว่าวันนี้มันเป็นแค่ภาวะชั่วคราวของอำนาจ หลายคนจบจากอำนาจอย่างน่าเจ็บปวดขมขื่นใจ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อีกหลายๆ คน พล.อ.ชาติชาย กระทั่งทักษิณ ชินวัตร จอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ตกอยู่ในสภาพนี้ ระบอบอำมาตย์ใช้แล้วก็เขี่ยทิ้ง คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ก็น่าจะรู้ดี ไม่อย่างนั้นคงไม่โดนยิง หลายคนเริ่มรู้แล้ว"

 

 "ถ้าปิดอีก ก็ต้องสู้กัน"                          
 

 

คุยกับสมยศที่ออฟฟิศ Voice of Taksin ในสภาพที่มีเพียงโต๊ะ-เก้าอี้ไม่กี่ตัว เพราะคอมพิวเตอร์นับสิบเครื่องถูกตำรวจยกไปตรวจสอบก่อนหน้านี้และยังไม่มีทีท่าว่าจะเอามาคืน พร้อมๆ กับชื่อของเขาที่ยังติดอยู่ในโผห้ามทำธุรกรรมการเงิน

"ประกาศมา 3 ครั้งก็มีชื่อผม เขาตั้งใจอย่างมากที่จะ freeze ให้ได้ 3 ครั้ง ก็ freeze ไปก็ไม่มีปัญหา เราก็จะผลิตต่อ เป็น Red Power จะออกวันที่ 1 ก.ค.นี้ เปลี่ยนหัวหนังสือ"

ถ้าโดนปิดอีกล่ะ
"เหลืออีกตัวสุดท้ายแล้ว ถ้าปิดอีกก็จะเลิกกิจการ เจ๊งเลยถ้ามันปิดบ่อยๆ ไม่รอด ไม่ได้เจ๊งเพราะไม่มีคนอ่านแต่เจ๊งเพราะถูกไล่ล่า แต่คิดว่าถ้าปิดอีกรอบก็ต้องสู้กัน ไม่อย่างนั้นจะทำมาหากินยังไง และเสรีภาพแสดงความคิดเห็นผมไม่มีเหรอ"

นั่นเพราะชื่อของนิตยสารที่ทำให้ถูกโยงว่าเป็นสื่อของทักษิณ 

"มันเป็นแค่เครื่องหมายการค้า และถ้าคุณอ่านด้วยความระมัดระวัง Tak ไม่ใช่ทักษิณ แต่เป็นตากสิน รวมทั้งคำว่าทักษิณก็อาจจะหมายถึงภาคใต้ด้วย แต่ถึงอย่างไรก็ตามเราต้องทำเพราะว่าคนอ่านของเราเป็นคนที่เขานิยมทักษิณ เป็นกลุ่มเป้าหมายของหนังสือ เป็นฐานคนอื่นที่ปริมาณมากและก็พูดได้ว่าธุรกิจมันฟื้นขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินของทักษิณ เพราะว่าคนที่รักศรัทธาทักษิณเป็นผู้สนับสนุนเรา บัญชีที่หมุนเวียนอยู่แค่ 3 แสน เราผลิตก็ใช้เงิน 2 แสน กำไรก็ 4-5 หมื่นต่อเดือน หมุนกันไปใช้หนี้บ้างอะไรบ้าง มันก็เป็นธุรกิจปกติ"

แม้สมยศจะเป็นนักต่อสู้เคลื่อนไหวด้านแรงงานมานาน แต่การถูกคุมตัวในค่ายอดิศรถือเป็นการถูกจำกัดอิสรภาพเป็นครั้งแรก

"เป็นสนามขี่ม้า ก็จะมีรั้วสีขาว สำหรับเวลาคนไปหัดขี่ม้าหรือฝึกม้า เขาก็เอาเต็นท์ไปวาง 2 เต็นท์ เต็นท์หนึ่ง อ.สุธาชัย เต็นท์หนึ่งของผม มีลวดหนามขึงล้อมรอบเต็นท์ และก็มีทหารเฝ้าทุกจุดประมาณ 20 นาย กลางคืนนอนก็ต้องนอนมองไฟ ปิดไฟไม่ได้เพราะเขาจะได้เห็นว่าเรานอน"

ออกนอกเต็นท์ได้ไหม

"ได้ ภายในรั้วลวดหนาม แต่ไม่อนุญาตให้คุยกัยใคร กับ อ.สุธาชัยต้องตะโกนใส่กัน คุยได้ก็แค่ เป็นไงอาจารย์ นอนหลับไหมครับ ก็พยักหน้า คุยมากกว่านี้ไม่ได้ กลางวันต้องถอดเสื้อ ร้อนมาก ต้องนั่งสมาธิเอา ต้องปรับจิตใจให้มันเป็นไปตามหลักธรรมะ กินข้าวรสชาติเดียวตลอด กินเพื่อมีชีวิตอยู่ไม่ได้กินเพื่อรสชาติ อากาศร้อนไม่เป็นไรทำใจให้เย็น ควบคุมไว้ไม่ให้คลั่ง ไม่ได้ติดต่อกับใครคุยคนเดียวก็ได้ ฝึกสมาธิไปในตัว"

อยู่ในเต็นท์เกือบสองอาทิตย์ เขาก็ตัดสินใจเขียนจดหมายลงบนกล่องขนมฝากไพโรจน์ พลเพชร ผ่านไปถึงคณะกรรมการสิทธิฯ 

"ผมเขียนเอาไว้ก่อนนั้น เพราะไม่มีอะไรทำ เขาห้ามติดต่อสื่อสาร เลยหาเศษกระดาษเขียนใส่กล่องขนม พอไพโรจน์เขามาก็เลยฝากกลับไป ฝากไป 3 ฉบับที่เขียนไว้ล่วงหน้า ปรากฏว่าหลังจากนั้นเขาก็ห้ามเลย ใครมาเยี่ยมเขาก็เช็กเลยว่าไม่มีเอกสารหลุดออกไป คนที่มาเยี่ยมก็ต้องดูว่าไม่มีหนังสือการเมือง ไม่มีหนังสือพิมพ์"

สามฉบับนั้นคือส่งให้คณะกรรมการสิทธิฯ ฉบับที่สองถึงนายกฯ และในฉบับสุดท้ายเขียนถึงความรู้สึกส่วนตัว เล่าถึงการสอบสวน วันรุ่งขึ้นหมอนิรันดร์ก็มาเยี่ยม

"หลังจากส่งจดหมาย หมอนิรันดร์มาเยี่ยมเขาเลยย้ายจากที่เต็นท์ขึ้นมาที่ห้อง แล้วเอาลวดหนามมากั้นหน้าห้อง"

ได้รับการปฏิบัติเสมือนหนึ่งเป็นบุคคลผู้กระทำความผิดแล้ว

"คือเขายังไม่เคยมีประสบการณ์ว่าต้องทำยังไง แต่ว่าทหารที่นั่นนี่ดีมาก เขาก็ดูแลช่วยเหลือเราเต็มที่ ส่วนใหญ่ก็เข้าใจว่าเราไม่ใช่ผู้ต้องหา เขาก็อำนวยความสะดวก"

แต่ ศอฉ.ก็ยังยื่นคำร้องขอคุมตัวต่อเป็นครั้งที่ 3

 "ตอนนี้มันใช้อำนาจโดยเหิมเกริม โดยไม่จำแนกแยกแยะ ใช้เพื่อทำลายฝ่ายตรงข้าม" 

 

นี่คือเนื้อความจากจดหมายร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ สมยศ เขียนลงในกล่องขนมฝากผ่าน ไพโรจน์ พลเพชร เลขาธิการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน:

จากการที่รัฐบาลโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อาศัยอำนาจ ศอฉ.ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกหมายจับเพื่อควบคุมตัวข้าพเจ้านายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และ ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ว่าเป็นผู้ต้องสงสัยจะก่อเหตุร้ายแรงขัดต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยที่ข้าพเจ้าและ ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ได้เข้ามามอบตัวต่อพนักงานตำรวจกองปราบปรามเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา และถูกนำตัวมาควบคุมไว้ที่ค่ายอดิศร จ.สระบุรี การกระทำของรัฐบาลเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพและละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงโดยมีข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้

1.ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นแกนนำ นปช.มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2552 เป็นต้นมา ไม่เคยมีส่วนร่วมการประชุมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับแกนนำ นปช.ทุกระดับชั้น ไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าฯ และที่ราชประสงค์ ระหว่างวันที่ 14 มีนาคม-19 พ.ค.2553

2.ข้าพเจ้าเป็นบรรณาธิการบริหารนิตยสารรายปักษ์ Voice of Taksin ทำหน้าที่สื่อมวลชนวิชาชีพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารความเป็นจริง แสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลตามปกติ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวของใดๆ กับอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ชื่อหนังสือ Voice of Taksin เป็นเพียงเครื่องหมายการค้าและได้จดทะเบียนชื่อหนังสือนิตยสารถูกต้อง

3.การที่ข้าพเจ้า, ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, อ.เยี่ยมยอด ศรีมันตะ ได้จัดการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 53 เวลา 12.30 น.ที่หน้าสำนักงานมูลนิธิบ้านเลขที่ 111 มีเพียง 3 คน จึงไม่ใช่การชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป การแถลงข่าวในวันดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นแตกต่างไปจากรัฐบาลและได้เสนอข้อเรียกร้อง 5 ข้อเพื่อสร้างความสงบสุขและการปรองดองอย่างแท้จริง

การแถลงว่าจะจัดการชุมนุมในวันที่ 30 พ.ค.53 ที่สวนสาธารณะเขาแก่นจันทร์ จ.ราชบุรี เป็นการประกาศล่วงหน้า 10 วัน มีกำหนดการเริ่มต้นเวลา 15.00 น.และสิ้นสุดเวลา 21.00 น.เป็นการประชุมที่ศาลาอเนกประสงค์ บรรจุผู้เข้าร่วมได้ราว 500 คนเท่านั้น

การชุมนุมดังกล่าวจัดขึ้นในจังหวัดราชบุรี นอกเขต พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และการจัดกิจกรรมในสวนสาธารณะมีกำหนดการแน่นอน และหัวข้ออภิปรายชัดเจน จึงเป็นการชุมนุมโดยสงบ ไม่ก่อความเดือดร้อนต่อสาธารณะ ไม่ก่อให้เกิดสถานการณ์ร้ายแรง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

ส่วนการประกาศจัดงานครบรอบ 78 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นกิจกรรมวิชาการเป็นการให้ความรู้ต่อประชาชน ซึ่งกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยจัดให้มีขึ้นทุกปีอยู่แล้ว โดยจัดขึ้นที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ หรือที่สนามหลวง

ถ้าหากรัฐบาลเห็นว่าการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่สงบ รัฐบาลมีอำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกคำสั่งให้ยุติหรือมีคำสั่งห้าม แต่รัฐบาลกลับใช้อำนาจควบคุมตัว จำกัดสิทธิเสรีภาพอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

4.การควบคุมตัวโดยไม่ให้ติดต่อสื่อสาร ทำให้ข้าพเจ้าและ ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ไม่มีโอกาสปรึกษาหารือกับทนายความ ไม่มีโอกาสนำเสนอข้อเท็จจริง พยานหลักฐานในกระบวนการยุติธรรม จึงเป็นการกล่าวหาตั้งข้อสงสัยฝ่ายเดียวทำให้ข้าพเจ้าไม่ได้รับความเป็นธรรม

5.รัฐบาลเสนอแผนปรองดอง แต่กลับใช้อำนาจเกินขอบเขตควบคุมกักขังข้าพเจ้าโดยไม่มีการพูดเจรจาเพื่อการปรองดอง

6.การใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐบาลในการจับกุมตัวและควบคุมตัวข้าพเจ้าและ ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ก่อให้เกิดความเสียหายในชีวิต ทรัพย์สิน ทั้งในด้านครอบครัว และอาชีพการงานอย่างรุนแรง

ระหว่างการควบคุมตัว ข้าพเจ้าได้รับความสะดวกสบายและมิตรไมตรีจากทหารในค่ายอดิศรเป็นอย่างดีทุกประการ แต่การใช้อำนาจเกินขอบเขตของรัฐบาลเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

จึงขอร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาข้อร้องเรียนของข้าพเจ้าและ ดร.สุธาชัยเป็นกรณีเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนต่อไป.
 

ที่มา: เว็บไซต์ไทยโพสต์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสวนา "ประวัติศาสตร์ชาติไทย: ความทรงจำสั้นความรุนแรงยืนยาว แล้วประชาชนจะอยู่อย่างไร"

Posted: 20 Jun 2010 06:08 AM PDT

"ถ้าเราอยู่ในสังคมซึ่งเห็นว่าการทำลายชีวิตเป็นเรื่องปกติ หรือเห็นว่าการทำลายชีวิตเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ การจินตนาการถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมก็เป็นปัญหามากขึ้น"

<!--break-->

19 มิ.ย. 2553 ศูนย์อำนวยการเยียวยาสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอย.) จัดกิจกรรมรำลึกถึงผู้ที่จากไป : In Memory of Lost People ที่ โดยในงานมีทั้งการเสวนา พิธีกรรมทางศาสนา การแสดงดนตรี การอ่านบทกวี และกิจกรรมอื่น ๆ

 ประมวลภาพกิจกรรมทางวัฒนธรรมในงาน "กิจกรรมรำลึกถึงผู้ที่จากไป : In Memory of Lost People" โดยมีการแสดงสด การอ่านบทกวี และกิจกรรม “ปลดปล่อยความโกรธเกลียดเคียดแค้นชิงชัง แต่เราจะไม่มีวันลืม” ด้วยการให้ผู้เข้าร่วมเขียนข้อความแทนสิ่งที่อยากจะปลดปล่อยบนลูกโป่ง แล้วปล่อยขึ้นฟ้าพร้อมกัน

000

โดยในการเสวนา “ประวัติศาสตร์ชาติไทย: ความทรงจำสั้นความรุนแรงยืนยาว แล้วประชาชนจะอยู่อย่างไร” ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ กล่าวในการเสวนาว่า ความรู้สึกของตัวเขาเองกับคนอื่น ๆ หลังเกิดเหตุการณ์ 19 พฤษภาฯ 2553 ก็ยังรู้สึกสับสน และหลายคนคงรู้สึกว่าความเชื่อมั่นว่าคนเราพูดกันด้วยเหตุด้วยผลได้ ว่าคนเราใช้การเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อตกลงทางการเมืองที่จะรับกันทุกฝ่ายได้ พังทลายลงไป รวมถึงทำให้เกิดสภาวะอิหลักอิเหลื่อ เป็นความรู้สึกไม่มั่นใจว่าความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคมจะเกิดขึ้นต่อไปได้อย่างไร และไม่แน่ใจว่าคนที่อยู่ร่วมในสังคมกับเรารู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมที่เกิดขึ้น

ศิโรตม์ ยังได้กล่าวว่าเหตุการณ์ที่ผ่านมามีบางคนที่เห็นด้วยกับการสังหารผู้ชุมนุม เห็นว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมชอบธรรม ซึ่งนี่ถือเป็นสิ่งที่เรียกว่า 'จิตวิญญาณฆาตกร'

"ถ้าเราอยู่ในสังคมซึ่งเห็นว่าการทำลายชีวิตเป็นเรื่องปกติ หรือเห็นว่าการทำลายชีวิตเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ การจินตนาการถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมก็เป็นปัญหามากขึ้น" ศิโรตม์กล่าว "โดยพื้นฐานแล้วคงไม่มีใครอยากอยู่ร่วมในสังคมที่คนจำนวนมากเห็นว่าการฆ่าเป็นเรื่องธรรมดา"

ศิโรตม์ กล่าวอีกว่าการสลายการชุมนุมครั้งที่ผ่านมาเทียบได้กับรัฐประหารสำหรับปี 2553 เนื่องจากฝ่ายรัฐมีการใช้อำนาจพิเศษของ ศอฉ. มีมาตรการระงับการใช้รัฐธรรมนูญโดยไม่มีเหตุผลอะไร ซึ่งในตอนนี้ก็ยังเป็นอยู่ มีการใช้กำลังทหารเข้ามาจัดการสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นรัฐประหารที่รุนแรงกว่า 19 ก.ย. 2549 ด้วยซ้ำ การปิดสื่อ การควบคุมสื่อ การไล่ล่า ก็มีมากกว่า

"พอหลังจาก 'รัฐประหารปี 53' ก็มีการพูดถึงการปรองดองขึ้นมา คล้ายกับการใช้คำว่าสมานฉันท์ใน 3 จังหวัดภาคใต้คือเป็นการปรองดองในความหมายของการที่รัฐบอกกับคนที่ถูกรัฐกระทำรุนแรงว่าให้ลืมเรื่องเก่า ๆ ไป" ศิโรตม์กล่าว

ศิโรตม์กล่าวอีกว่าเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นแต่ละคนก็มีความทรงจำแบบของตัวเอง ฝ่ายที่เป็นผู้ฆ่าก็มีความทรงจำแบบหนึ่ง ฝ่ายที่เป็นผู้ถูกกระทำก็มีความทรงจำอีกแบบหนึ่ง ฝ่ายผู้สังเกตการณ์ก็มีอีกแบบหนึ่ง และความต้องการปรองดองของรัฐใช้เพื่อพยายามปิดความทรงจำหนึ่ง โดยมีการใช้วาทกรรมว่าเป็นศัตรูของชาติ ซึ่งนอกจากจะหมายถึงเสื้อแดงแล้ว ยังหมายถึงอินเตอร์เน็ตด้วย จากการที่กระทรวงไอซีทีออกมาพูดถึงผลงานการปิดเว็บไซต์จำนวนมากอย่างภาคภูมิใจ ซึ่งในประเทศอย่างสหรัฐฯ คงไม่มีใครกล้าออกมาพูดเรื่องแบบนี้

อับดุล ราวัล ชาวไทย-มลายูมุสลิม จากปัตตานี มาเล่าถึงสถานการณ์ความขัดแย้งในภาคใต้ ตั้งแต่เหตุการณ์ปล้นปืนมาจนถึง ความปราบปรามเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2547 ซึ่งมีข้อสังเกตว่าสถานการณ์ทางภาคใต้รุนแรงขึ้นกว่าเดิม

อับดุล เล่าย้อนถึงเหตุการณ์วันที่ 28 เม.ย. 2547 หรือเหตุการณ์ที่มัสยิส "กรือเซะ" ว่าในวันนั้นมีคนเสียชีวิต 100 กว่าศพ มีอาวุธจำพวก มีด พร้า และปืนไม่กี่กระบอก ในหมู่คนที่เสียชีวิตพบอาวุธอยู่ไม่มากเพียง 4-6 ศพ ที่อำเภอสะบ้าย้อยก็มีนักฟุตบอลทีมซูโซะเสียชีวิต 22 คน

"ที่น่าสังเกตก็คือว่าคนเหล่านี้ใช้อะไรขับเคลื่อนตัวเองใช้มีดไปสู้กับปืน" อับดุลกล่าว นอกจากนี้ยังกล่าวถึงกรณี "ตากใบ" ที่การสลายการชุมนุมและเคลื่อนย้ายศพทำให้มีผู้เสียชีวิต 80 กว่าศพ อับดุลให้ความเห็นว่าการปราบปรามของรัฐบาลทำให้อีกฝ่ายคือกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบมีความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงโต้ตอบกลับไป

อับดุลบอกว่าความรุนแรงจากการก่อเหตุและความรุนแรงการตรวจตราและกระบวนการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ ทำให้เกิดวิกฤติศรัทธาต่อเจ้าหน้าที่รัฐ กระบวนการสอบสวนที่มีคนถูกจับแล้วไม่สามารถประกันตัวได้ทำให้เกิดความสูญเสียกับตัวบุคคล

อับดุลพูดถึงเรื่อง การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยอ้าง พรก. ฉุกเฉิน ซึ่งเกิดกับพื้นที่อื่น ๆ นอกจากภาคใต้ในช่วงที่ผ่านมา และเขาเกรงว่าอาจจะเกิดสถานการณ์ความรุนแรงแบบเดียวกันขึ้นในภาคเหนือและภาคอิสาน

ใบตองแห้ง คอลัมนิสต์หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา เริ่มต้นโดยกล่าวว่าจากการที่ได้ฟังเรื่องของภาคใต้ ทำให้นึกถึงเรื่องตลกร้ายว่าคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ไม่ว่าจะเป็นอานันท์ หมอประเวศ พิภพ ก็กลายมาเป็นฝ่ายที่ไม่สนับสนุนก็พยายามที่จะช่วยเหลือรัฐในการปกป้องเหตุการณ์ปราบปรามประชาชนที่เกิดขึ้นในเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา

ใบตองแห้ง เผยว่าคนที่เคยมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 กลับพลิกข้างมายืนสนับสนุนรัฐบาลในการใช้กำลังเข้าปราบปรามเมื่อวันที่ 19 บางคนเป็นคนที่ร่วมปรักปรำเสื้อแดงว่าล้มเจ้าทั้ง ๆ ที่ตนเองก็เคยเจ็บปวดจากเหตุการ 6 ตุลาฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่เขารับไม่ได้

ใบตองแห้งเล่าเปรียบเทียบเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ กับเหตุการณ์ปราบผู้ชุมนุมเสื้อแดง เม.ย.-พ.ค. 2553 ว่าในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ มีการพยายามโดดเดี่ยวกระบวนการนักศึกษา ว่าเป็นพวกคอมมิวนิสม์ เป็นพวกสร้างความเดือดร้อน ปั่นป่วนวุ่นวาย สิ่งที่คล้าย ๆ กับเหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค. ที่ผ่านมาคือ นักศึกษาในตอนนั้นคือเสื้อแดง, พรรคคอมมิวนิสม์กับทักษิณ, ลูกเสื้อชาวบ้านคือกลุ่มพันธมิตรฯ

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง 6 ตุลาฯ กับเหตุการณ์ปราบเสื้อแดง คือ เมื่อ 6 ตุลาฯ กระบวนการนักศึกษามีแนวโน้มที่เป็นสังคมนิยมอยู่บ้าง มีแนวโน้มที่จะไปถึงการพลิกสังคมใหม่ ซึ่งเป็นเรี่องธรรมชาติที่คนจะไปถึงตรงนั้นแล้วคิดอย่างนั้น แต่ในกระบวนการของเสื้อแดงมันมีความต้องการเอาชนะของนักการเมือง มีการใช้กำลังรุนแรงของขบวนจัดตั้งของนักการเมือง แต่อย่างไรก็ตามประชาชนส่วนใหญ่ที่มาชุมนุมก็เป็นประชาชนบริสุทธิ์ ที่มีข้อเสนอให้ยุบสภาโดยลึก ๆ แล้วมีเรื่องของความต้องการความเท่าเทียมต้องการที่จะให้อำนาจไปสู่ระบบการเลือกตั้ง ทั้งสองเหตุการณ์ก็ต่างมีด้านที่ถูกและด้านที่ผิด

ในเรื่องของการปราบปราม ใบตองแห้งบอกว่า 6 ตุลาฯ การปราบปรามจะรุนแรงมาก มีการยิงสังหาร มีการลากศพเอาไปแขวนคอแล้วเอาเก้าอี้ตี มีผู้หญิงถูกเอาไม้ทิ่มอวัยวะเพศ แต่ก็ต่างจากปัจจุบันตรงที่ 6 ตุลาฯ แม้จะมีการสร้างความเกลียดชังแต่ก็ยังไม่ได้กว้างขวางเท่ากัย 19 พฤษภาฯ 2553 ซึ่งจะเห็นได้ว่าสังคมแตกแยกมากและมีคนเห็นด้วยกับรัฐบาลมาก แล้วก็มีคนอื่นที่นอกจากพันธมิตรมาสนับสนุน เช่นพวกคนในเฟสบุค พวกชนชั้นกลางที่มีฐานะดี มีการศึกษาสูง โดยทำเป็นเชื่อรัฐบาลว่าผู้ก่อการร้ายเป็นคนยิงเสื้อแดง ทั้ง ๆ ที่ระดับการศึกษาระดับสติปัญญาก็น่าจะรู้ว่ามันไม่ใช่ แต่ก็ยังยอมรับ ขณะที่ 6 ตุลาฯ ถึงแม้รัฐบาลเผด็จการจะขึ้นมามีอำนาจแต่สังคมก็รู้สึกผิด กระแสสังคมก็ไม่ได้ซ้ำเติมเท่าไหร่ แม้จะมีการปิดกั้นในช่วงแรก ๆ แต่ก็มีภาพข่าวอะไรออกมาในเวลาต่อมา จนเป็นเหตุให้เกิดการโค่นล้มรัฐบาลถัดมาโดยยังเติร์ก

ใบตองแห้งเล่าอีกว่าหลัง 19 พฤษภาฯ มีกระแสความนิยมของของเสธ. ไก่อู ในชนชั้นกลางบางส่วนที่อาจจะไม่ใช่พันธมิตรฯ ด้วยซ้ำ "บางคนพูดกับผมว่า พี่เขาไม่มีใครดูเอเอสทีวีกันแล้ว เขาดูไก่อู เขาดูเฟสบุ๊ค เพราะ เอเอสทีวีมันสุดขั้ว คราวนี้ไก่อูเป็นพระเอก มันไม่ใช่สนธิ ไม่ใช่ปองอัญชลี" แต่มันก็มาพร้อมกับความอคติของคนชนบท ความอคติต่อทักษิณ ความอดติต่อชนชั้นในเชิงวัฒนธรรม

ใบตองแห้งให้ความเห็นในช่วงตอนท้ายของการเสวนาว่า ในครั้งนี้เป็นความขัดแย้งที่ใหญ่ที่สุดในสังคมไทยแล้ว คิดว่าสุดท้ายแล้วจารีตนิยมจะต้องถอยออกจากประเทศไทย ในอีก 20-40 ปีข้างคงไม่มีความรุนแรงแบบนี้เกิดขึ้นอีก

นอกจากนี้ในงานช่วงบ่ายยังมีกิจกรรม “ปลดปล่อยความโกรธเกลียดเคียดแค้นชิงชัง แต่เราจะไม่มีวันลืม”
ซึ่งให้ผู้เข้าร่วมเขียนข้อความแทนสิ่งที่อยากปลดปล่อยบนลกโป่ง แล้วปล่อยให้ลอยขึ้นฟ้าไปพร้อมกัน ซึ่งมีผ้เข้าร่วมบางคนเขียนเรียกร้องให้ "ยกเลิกพรก. ฉุกเฉิน"
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

หลายเมืองทั่วโลกร่วมอวยพรวันเกิด “ออง ซาน ซูจี” ปีที่ 65

Posted: 20 Jun 2010 05:09 AM PDT

ออง ซาน ซูจี ซึ่งถูกกักบริเวณในบ้านพักริมทะเลสาบ ในย่างกุ้ง เลี้ยงอาหารคนงานที่มาซ่อมแซมบ้าน ในโอกาสวันเกิดปีที่ 65 ส่วนสมาชิกพรรคเอ็นแอลดีจัดทำบุญเลี้ยงพระ ปล่อยนก และปลูกต้นไม้ 2 หมื่นต้น ผู้นำหลายประเทศส่งสารอวยพรวันเกิด ขณะที่หลายเมืองทั่วโลก ร่วมจัดกิจกรรมอวยพรวันเกิด “ออง ซาน ซูจี”

<!--break-->

 

เมื่อ 18 มิ.ย. แนวร่วมปลดปล่อยพม่าในฟิลิปปินส์ (Free Burma Coalition Philippines) จัดชุมนุมหน้าสถานทูตพม่าในกรุงมะนิลา เพื่อฉลองวันเกิดนางออง ซาน ซูจี ปีที่ 65 (ที่มาของภาพ: Burma Partnership)

เมื่อ 18 มิ.ย. ที่ปราก สาธารณรัฐเช็ค นักกิจกรรมร่วมกันระบายสีกำแพงที่ย่านกลางเมือง เป็นภาพนางออง ซาน ซูจี และเชิญชวนผู้คนที่นั่นเขียนอวยพรวันเกิดออง ซาน ซูจี (ที่มาของภาพ: Burma Partnership)

ในช่วงวันเกิดของนางออง ซาน ซูจี ปีนี้ สถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า (DVB) สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ซึ่งมีที่ตั้งที่ประเทศนอร์เวย์ เผยแพร่มิวสิควิดีโอเพลง “Morther 64” แต่งโดยศิลปินพม่ากลุ่ม Generation Wave เพลงนี้แต่งในโอกาสวันเกิดของนางออง ซาน ซูจี ปีที่ 64 หรือเมื่อปีที่แล้ว (ที่มา: DVBTVEnglish/youtube.com)

 

ออง ซาน ซูจี เลี้ยงอาหารคนงานก่อสร้างในวันเกิดปีที่ 65

นางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และปัจจุบันถูกกักบริเวณในบ้านพักริมทะเลสาบอินยา ในนครย่างกุ้ง ฉลองวันเกิดปีที่ 65 ที่บ้านพักเมื่อวาน (19 มิ.ย.) ด้วยการเลี้ยงอาหารกลางวันบรรดาคนงานก่อสร้าง ที่มาช่วยซ่อมแซมเรือนพักขนาด 2 ชั้นที่นางพำนักอยู่ โดยไม่สามารถเดินทางไปร่วมงานเลี้ยงที่สมาชิกพรรคฝ่ายค้านร่วมกันจัดให้ โดยรัฐบาลทหารพม่าอนุญาตให้ผู้สนับสนุนนำของขวัญไปให้กับนาง แต่ต้องมีการบันทึกภาพการเข้าออกในบริเวณบ้านพักไว้

ในย่างกุ้งแม้ว่านางซูจีจะไม่ได้มาร่วมงานด้วย ได้ผู้สนับสนุนซูจีกว่า 300 คน ได้จัดงานฉลองเล็กๆ ที่บ้านพักแกนนำพรรค NLD คนหนึ่ง มีการทำบุญเลี้ยงพระ จุดเทียน 65 เล่ม ปล่อยนกพิราบ 65 ตัว ปลูกต้นไม้ 20,000 ต้น รวมทั้งแจกของให้กับเด็กยากไร้

ทั้งนี้ พม่าขยายเวลาในการกักบริเวณนางซูจี เมื่อปีที่แล้ว หลังจากนางถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดฐานละเมิดกฎการควบคุมตัว เมื่อมีชายจอห์น ยิตทอว์ ชาวอเมริกันว่ายน้ำไปยังบ้านพักของนาง

 

นักกิจกรรมหลายประเทศอวยพรวันเกิดพร้อมเรียกร้องปล่อยตัว “ออง ซาน ซูจี”

นอกจากนี้มีรายงานการจัดงานวันเกิดให้กับนางออง ซาน ซูจี ในหลายประเทศ ทั้งในลอนดอน ประเทศอังกฤษ ดับลิน ในไอร์แลนด์ ไทเป ในไต้หวัน ปารีสและสตาร์สบูร์ก ในฝรั่งเศส เบลเยี่ยม หลายเมืองในสวีเดน บาร์เซโลน่าในสเปน ทรอนด์เฮม แบร์เกน และคริสเตียนซุน ในนอร์เวย์ โตรอนโตในแคนาดา นิวยอร์กและวอชิงตันดีซี ในสหรัฐอเมริกา ซิดนีย์ในออสเตรเลีย โอ๊คแลนด์ในนิวซีแลนด์ กรุงเทพ ตาก และเชียงใหม่ ในประเทศไทย มะนิลา และดาเวาในฟิลิปปินส์ นิวเดลี ในอินเดีย

นอกจากนี้มีการจัดงานวันเกิดให้ออง ซาน ซูจี ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ค โดยเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. นักกิจกรรมได้เขียนภาพนางออง ซาน ซูจีที่ย่านกลางเมือง และเชิญชวนผู้คนเขียนข้อความอวยพรวันเกิดนางออง ซาน ซูจี ที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกงนักกิจกรรมพยายามประท้วงที่อาคารที่ตั้งสถานทูตพม่าในฮ่องกง เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี นอกจากนี้มีการจัดวันเกิดให้นางออง ซาน ซูจี ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ที่ประเทศสิงคโปร์ ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และที่เมืองบูชอน ทางตะวันตกของกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ด้วย

 

ผู้นำหลายประเทศส่งสารอวยพรวันเกิดออง ซาน ซูจี

ด้านนายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เรียกร้องให้ผู้นำรัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวนางซู จี และนักโทษการเมืองคนอื่นๆ ทั้งหมด โดยกล่าวว่า นักโทษการเมืองทั้งหมดในพม่า รวมทั้งนางซูจี ควรได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไขโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ได้เข้าร่วมกระบวนการทางการเมืองในขณะที่พม่ากำลังจะมีการเลือกตั้งในปีนี้

ด้านประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บารัก โอบาม่า ระบุในสารอวยพรวันเกิดของนางออง ซาน ซูจี ว่าขอส่งสารแสดงความปรารถนาดีของข้าพเจ้าไปยังนางออง ซาน ซูจี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเพียงคนเดียวที่ยังถูกจองจำ ในโอกาสที่วันคล้ายวันเกิดของท่านเวียนมาในปีที่ 65 ในวันที่ 19 มิ.ย. ขอชื่นชมความมุ่งมั่น ความกล้าหาญ และการเสียสละส่วนตัวทุ่มเททำงานเพื่อมนุษยชนและการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยในพม่า จะเป็นแรงบันดาลใจให้พวกเราทุกคนผู้ยืนอยู่เคียงข้างเสรีภาพและความยุติธรรม

ด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาส่งคำอวยพรไปถึงนางออง ซาน ซูจี โดยนายฟิลิป โครวลีย์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ กล่าวในแถลงการณ์ว่า การต่อสู้อย่างทรหดของนางซูจี เพื่อสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคนในพม่า เพื่อให้พวกเขาได้มีเสรีภาพ จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับประชาชนไปจนวาระสุดท้ายของโลก

รัฐบาลอังกฤษออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวนางซูจีทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยนายวิลเลียม เฮก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ กล่าวว่า การกักบริเวณนางออง ซาน ซูจี ต่อไปพร้อมกับนักโทษการเมืองอีกกว่า 2,100 คนในพม่า เป็นการฝ่าฝืนกฎสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และทำให้การเลือกตั้งในปลายปีนี้ไร้ความสง่างาม ส่วนนายเจเรมี บราวนี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ฝ่ายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า รัฐบาลทหารพม่าควรยอมรับข้อเสนอการเจรจาของนางออง ซาน ซูจี เพื่อช่วยนำพาประเทศไปสู่การมีรัฐบาลพลเรือนที่โปร่งใสตรวจสอบได้

 

“ดิ เอลเดอร์” เรียกร้องปล่อยตัวออง ซาน ซูจี

ด้านกลุ่มผู้นำอาวุโสโลก หรือดิ เอลเดอร์ ก่อตั้งโดยเนลสัน แมนเดลา อดีตประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ และมีสมาชิกเป็นผู้นำเก่าของนานาประเทศ เช่น นายโคฟี่ อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ นายจิมมี่ คาร์เตอร์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ อาร์กบิชอป เดสมอนต์ ตูตู เดินทางมาประชุมร่วมกันที่แอฟริกาใต้ และออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี ผู้นำประชาธิปไตยที่ยังถูกกักบริเวณ

อาร์กบิชอปตูตู กล่าวว่า “ความแตกแยกร้าวลึกในสังคม” อันเกิดจากการปกครองโดยรัฐบาลทหารพม่ามากว่าครึ่งศตวรรษ และเรียกร้องให้มีการปรองดองเพื่อ “สร้างสรรค์สันติภาพและความมั่งคั่งให้กับประชาชนพม่า”

จิมมี่ คาร์เตอร์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และผู้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2002 กล่าวว่า ในขณะที่นางออง ซาน ซูจี ถูกจองจำมาหลายปี ขอเรียกร้องไปยังประชาคมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นส่วนของพม่าในอาเซียนให้ตระหนักว่า นี่เป็นการกดขี่และเป็นการชี้นำที่ผิดของรัฐบาลทหารพม่าที่กีดกันนางออง ซาน ซูจี และนักกิจกรรมทางการเมืองนับพันๆ ให้พ้นจากการเป็นส่วนหนึ่งของอนาคตประเทศของพวกเขา

ทั้งนี้กลุ่มประเทศอาเซียนหรือสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถูกวิจารณ์อย่างหนักอันเนื่องมาจากอาเซียนมีนโยบายไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิกรวมทั้งพม่า

 

อดีตนักโทษการเมืองส่ง จม. ถึง นสพ.อังกฤษ ลั่นชาวพม่าต้องการและรอคอยเสรีภาพ

นอกจากนี้ นายวินติน (Win Tin) หนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคเอ็นแอลดีอาวุโสอายุ 81 ปี ซึ่งเพิ่งถูกปล่อยตัวในเดือนกันยายนปี 2551 หลังถูกรัฐบาลทหารพม่าจองจำ 19 ปี ได้เขียนจดหมายด้วยลายมือส่งไปถึงหนังสือพิมพ์ดิ อินดิเพนเดนท์ (the Independent) ของอังกฤษ นายวินตินเขียนจดหมายว่า “ข้าพเจ้าต้องการกล่าวซ้ำและป่าวประกาศข้อความของนางออง ซาน ซูจีที่ว่า ‘โปรดใช้เสรีภาพของท่านเพื่อบอกเล่าเรื่องของพวกเรา’ ข้าพเจ้าอยากเพิ่มข้อความเข้าไปอีกว่า โปรดนำเสรีภาพมาให้พวกเรามากยิ่งๆ ขึ้นไปอีก เพื่อพม่า อันเป็นประเทศของเรา พวกเรากระหายเสรีภาพ พวกเรารอคอยบางคน บางองค์กร บางชาติจะนำเสรีภาพมาสู่พวกเรา”

ขณะที่หนังสือพิมพ์ดิการ์เดียน (the Guardian) ของอังกฤษเผยแพร่ภาพที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ไหนของนางออง ซาน ซูจี เพื่อระลึกถึงวันเกิดของเธอ โดยเป็นภาพที่ได้รับจากครอบครัวของนางออง ซาน ซูจี เป็นภาพของนางออง ซาน ซูจี ก่อนที่จะกลับไปยังพม่าในปี 1988 เป็นภาพก่อนที่จะถูกกักบริเวณภายในบ้าน

 

ที่มาของข่าว:

World unites to honour Suu Kyi, DVB, 19 June 2010, http://www.dvb.no/news/world-unites-to-honour-suu-kyi/10348

Aung San Suu Kyi's desperate plea to the world, By Andrew Buncombe, Asia Correspondent, The Independent, Friday, 18 June 2010 http://www.independent.co.uk/news/world/asia/aung-san-suu-kyis-desperate-plea-to-the-world-2003669.html

Aung San Suu Kyi: the unseen photo album, the Guardian, 17 June 2010, http://www.guardian.co.uk/world/gallery/2010/jun/17/aung-san-suu-kyi-photographs

Aung San Suu Kyi’s 65th Birthday Celebrated In Over 22 Cities Worldwide, Burma Campaign, 18 Jun 2010 http://www.burmacampaign.org.uk/index.php/news-and-reports/news-stories/aung-san-suu-kyis-65th-birthday-celebrated-in-over-22-cities-worldwide/2

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มองอนาคต ‘ผู้ลี้ภัย’ กับแผ่นดินใหม่ที่เรียกว่า ‘บ้าน’ NGO ยื่น 7 ข้อเสนอต่อรัฐบาลไทย

Posted: 20 Jun 2010 03:14 AM PDT

<!--break-->

สัมมนาวันผู้ลี้ภัยโลก ทนายนักสิทธิฯ จวกรัฐฯ ทำตรงกันข้ามหลักการสากล เผยสหรัฐขึ้นทะเบียนไทยเป็นประเทศค้ามนุษย์ เหตุส่งกลับม้งลาวและผู้ลี้ภัยกะเหรี่ยง เตือนหากไม่เร่งแก้ใน 1 ปีถูกคว่ำบาตร ส่วนนักข่าวเรียกร้องเพื่อน “ปฎิรูปสื่อ” ปรับทัศนคติมองคนอื่นให้เป็นมนุษย์

วานนี้ (19 มิ.ย.) ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล สสส.ร่วมกับคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน ด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน และ Asylum Access Thailand จัดเสวนา ‘มองอนาคตผู้ลี้ภัย กับแผ่นดินใหม่ที่เรียกว่าบ้าน’ และชมภาพยนตร์ ‘บท เพลงของแอ้โด้ะฉิ’ (The Songs of Eh Doh Shi) เนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลกในวันที่ 20 มิ.ย.ของทุกปี 

สำหรับสถานการณ์ผู้ลี้ภัยในประเทศไทย ปัจจุบันผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่มากจากประเทศพม่า และจากรายงานของ TBBC เมื่อเดือนเมษายน 2553 ระบุว่าในค่ายพักพิงริมขอบชายแดน 9 แห่งใน 4 จังหวัดของไทย มีผู้ลี้ภัยที่ลงทะเบียนกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) กว่า 104,254 คน เมื่อรวมกับผู้ที่ขอลี้ภัยแต่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนอีกกว่าสามหมื่น พบว่ามีจำนวนรวมถึง 139,239 คน

สุรพงษ์ กองจันทึก อนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติแรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่นสภาทนายความ กล่าวว่า ตามหลักการปฏิบัติสากลเมื่อมีผู้ลี้ภัยเข้ามาอยู่ในประเทศใดๆ ประเทศนั้นๆ จะต้องดูแลผู้ลี้ภัยในการจัดหาที่อยู่ที่ปลอดภัยและประสานหน่วยงานซึ่งเป็นองค์กรระหว่างปรเทศเข้ามาดูแลความเป็นอยู่ของผู้ลี้ภัยเพื่อเตรียมส่งต่อไปยังประเทศที่ 3 หากแต่รัฐบาลของไทยได้ทำตรงกันข้ามในหลายกรณี โดยพยามผลักดันผู้ลี้ภัยให้กลับไปสู่ความตายในประเทศของเขา ซึ่งเป็นหลักตรงกันข้ามในการปฏิบัติของสากล 

ยกตัวอย่างกรณีของรัฐบาลชุดปัจจุบันเช่น การออกคำสั่งให้ส่งม้งลาวกลับประเทศ และการให้ส่งผู้ลี้ภัยกะเหรี่ยงที่บ้านแม่อูสุกลับ เพราะการส่งผู้ลี้ภัยทั้งสองส่วนนี้กลับประเทศเดิมนั้น เขาไม่ได้รับการดูแลอย่างดี โดยเฉพาะกรณีของ ม้งลาวทำให้เกิดข้อวิพากย์วิจารณ์จากนานาชาติในหลายส่วนโดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้ขึ้นทะเบียนประเทศไทยเป็นประเทศผู้ค้ามนุษย์ ถ้าเราไม่รีบแก้ไขในระยะเวลา 1 ปีสหรัฐอเมริกาก็จะตัดความช่วยเหลือในหลายส่วนต่อประเทศไทยได้

อย่างไรก็ตาม สุรพงษ์ ได้กล่าวถึงสถานการณ์ผู้ลี้ภัยที่ดีขึ้นใน 3 ข้อคือ 1.การมีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่สามารถบังคับใช้ในทุกตารางนิ้วของประเทศ โดยเริ่มเอาไปใช้ในค่ายผู้ลี้ภัยให้มีการบังคับใช้กฎหมายไทยอย่างเสมอภาค 2.มติ ครม.5 พฤษภาคม 2548 เกี่ยวกับการให้การศึกษาแก่บุตรหลานผู้ลี้ภัยในค่าย เพื่อให้มีทัศนคติที่ดีต่อสังคม และประเทศไทย 3.พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎรปี 2551 ที่เปิดให้มีการจัดทำทะเบียนประวัติและใบแจ้งเกิดแก่ทุกคนในประเทศไทย รวมทั้งผู้ลี้ภัยและผู้ไม่มีสัญชาติไทยในกรณีต่างๆ

ส่วนกรณีคำพูดที่ว่า “รัฐฯ สามารถทำร้ายคนได้โดยถูกกฎหมาย” สุรพงษ์แสดงความเห็นว่า การกระทำของรัฐฯ ที่จะถูกหรือไม่ถูกกฎหมายนั้นขึ้นอยู่กับการยอมรับ คือ ถ้ารัฐฯ ใช้กฎหมายแล้วคนไม่ยอมรับนั่นคือไม่ถูกต้อง แต่ถ้ารัฐฯ ใช้กฎหมายในทางที่ไม่ถูกแต่คนไม่ทำอะไร สิ่งที่ผิดก็จะกลายเป็นสิ่งที่ถูก ดังนั้นการอ้างว่าใช้กฎหมาย จะต้องมีการต่อสู้ เคลื่อนไหวเพื่อให้การใช้กฎหมายเป็นไปอย่างถูกต้อง และไม่ยอมให้กฎหมายผิดๆ มาทำร้ายคนต่อไป 

ทั้งนี้ นายสุรพงษ์ ยกตัวอย่างกรณีของลี ยูจง อดีตสายลับ และเข้าร่วมขบวนการเรียกร้องต่อรัฐบาล โดยได้หนีเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งถูก UNHCR ตัดสินยกเลิกสถานะ"ผู้ลี้ภัย" ส่งผลให้เขา ภรรยา และลูกอีก 2 คน ต้องถูกส่งกลับไปประเทศจีน ซึ่งในปีที่แล้วสภาทนายความได้ยื่นอุทธรณ์จนคำตัดสินดังกล่าวยืดเยื้อมาถึงปัจจุบัน โดยนายลีและครอบครัวยังไม่ต้องถูกส่งกลับ กรณีนายยุทธนา ฝามวัน นักเรียนชั้น ม.6 ใน จ.สกลนคร ที่เอ็นทรานซ์ติดคณะแพทยศาสตร์ แต่ อาจไม่ได้เรียนเพราะไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน แต่ก็ได้ต่อสู้ทางกฎหมายขนสามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้ และล่าสุดกรณีของ ด.ช.หม่อง ทองดี เด็กไร้สัญชาติที่ต่อสู้จนได้ไปแข่งขันพับเครื่องบินกระดาษที่ญี่ปุ่น

 

นักข่าวเรียกร้องเพื่อน “ปฎิรูปสื่อ” ปรับทัศนคติมองคนอื่นให้เป็นมนุษย์

ขณะที่ชวิดา วาทินชัย ผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าวไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาปัญหาของผู้ลี้ภัยจะได้รับความสนใจและได้รับการแก้ไขก็ต่อเมื่อมีการนำเสนอเป็นข่าวใหญ่ แต่อุปสรรค์ในการรายงานข่าวผู้ลี้ภัยคือความเสี่ยงและซับซ้อนของข้อมูล เพราะการจะได้ข้อมูลจะต้องเข้าถึงตัวผู้บังคับบัญชาของทหารซึ่งเป็นผู้ดูแลกลุ่มคนเหล่านี้ อีกทั้ง แม้ว่าทางทหารจะยืนยันถึงความปลอดภัยหรือความสมัครใจในกรณีการส่งกลับผู้ลี้ภัย และเชิญชวนให้นักข่าวลงพื้นที่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหากไปแล้วนักข่าวจะได้ความจริง เนื่องจากอาจมีการจัดเตรียมการให้ข้อมูลต่อสื่อ และในส่วนตัวของผู้ลี้ภัยเองหากมีการเข้าไปของข้อมูลโดยมีทหารอยู่ด้วยก็จะเกิดความกลัว ไม่กล้าพูด นอกจากนี้ยังมีกรณีของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ที่การทำงานและการดูแลผู้ลี้ภัยมักไม่มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ นักข่าวไม่สามารถเข้าถึงได้

ชวิดากล่าวต่อมาถึงอุปสรรค์ในส่วนของทัศนคติของคนทำงานสื่อว่า ทัศนคติในเรื่องการมองคนทุกคนในฐานะที่เป็นมนุษย์คือสิ่งที่สื่อต้องมีการปฎิรูป ซึ่งไม่ใช่เฉพาะในกรณีผู้ลี้ภัย แต่รวมถึงกรณีความขัดแย่งทางการเมืองของสีเหลืองสีแดง เพราะสีทุกสีก็เป็นมนุษย์ โดยจะต้องทำความเข้าใจถึงเหตุและผลในการกระทำของเขา อย่างไรก็ตาม แม้แต่ทัศนคติของรัฐฯ ที่ยังไม่ยอมรับการใช้คำว่า “ผู้ลี้ภัย” และไม่ยอมรับสถานะของพวกเขาก็เป็นส่วนสำคัญ ทั้งนี้ เธอได้เรียกร้องไปถึงสื่อมวลชนที่ยังมีพลัง มีความใกล้ชิดติดตามทำข่าวนายกทุกวัน ให้ค่อยๆ ทบทวนตัวเองในเรื่องดังกล่าว และช่วยสื่อสารข้อมูลเหล่านี้ด้วย 

“หากไปถามเขาว่ามนุษยธรรมคืออะไร เขาอาจจะไม่รู้ แต่สางสำคัญมันขึ้นอยู่กับเราว่าจะปฎิบัติต่อเขาอย่างมีมนุษยธรรมได้อย่างไร” ชวิดากล่าว

 

เตือนอย่ายึดติดกับการเลือกตั้งพม่า หวั่นเป็นปัญหาอีกในอนาคต

ส่วนอดิศร เกิดมงคล ผู้จัดการโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล สสส.กล่าวแสดงความเห็นถึงการเลือกตั้งในประเทศพม่าที่กำหนดให้มีขึ้นในปลายปีนี้ว่า การเลือกตั้งจะทำให้ปัญหาไม่สิ้นสุด เพราะสาเหตุของปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข นโยบายของรัฐบาลพม่าไม่ได้เปลี่ยน การสู้รบในประเทศยังคงมีอยู่ ดังนั้น อย่างเชื่อว่าการเลือกตั้งจะเป็นคำตอบทุกอย่าง และจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของพม่าเองการเลือกตั้งไม่ใช่ทางออกเลย 

อดิศร กล่าวย้ำว่าอย่าได้ยึดติดกับการเลือกตั้งในพม่า เพราะมันจะส่งผลกระทบกับสถานภาพและความปลอดภัยของผู้ลี้ภัยในอนาคต โดยเฉพาะในส่วนของภาครัฐที่อาจใช้เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในการเพิกเฉยต่อการช่วยเหลือผู้ลี้ภัย 

อดิศรกล่าวด้วยว่า สิ่งที่เป็นความจริงในทุกวันนี้คือความรู้สึกของผู้ลี้ภัยที่รู้สึกว่า ถึงแม้จะมีคนเอาบ้านไปจากเขาได้ แต่ก็ไม่สามารถมีใครเอาความหวังไปจากเขาได้ เพราะสิ่งที่สำคัญที่ผู้ลี้ภัยต้องการคือบ้านในการลงหลักปักฐานและบ้านที่ให้ความปลอดภัยกับอนาคตของเขาได้ เพราะบางคนเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็น 10-20 ปี หรือบางคนเกิดในประเทศไทยตั้งแต่เด็กด้วยซ้ำ ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ต้องการพื้นที่ที่ให้ความรู้สึกถึงความเป็นบ้านและต้องการเห็นความหวังและอนาคต

“สังคมไทยยังตระหนักในเรื่องนี้น้อยและเรายังมองเขาเป็นผู้อยู่อาศัยแบบชั่วครั้งชั่วคราว ซึ่งเราในฐานะที่เป็นประเทศแม่จะต้องทำใจเปิดกว้างในเรื่องนี้ แต่ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือรัฐไทยต้องมองผู้ลี้ภัยในมิติที่เข้าใจเขามากขึ้นและควรมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องนี้เพื่อให้เขามีบ้านและอนาคตที่ดีในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง” นายอดิศรแสดงมุมมองของคนทำงานด้านผู้ลี้ภัย

 

เพื่อนไร้พรมแดนเปิดข้อมูลผู้ลี้ภัยค่ายแม่ละไร้สถานะนับพันเสี่ยงถูกละเมิดสิทธิ

พรสุข เกิดสว่าง ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดนกล่าวถึงปัญหาเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยว่า ขณะนี้มีผู้ลี้ภัยอยู่ค่ายพักพิงจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการลงทะเบียน ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะเข้าถึงสิทธิต่างๆ ไม่ได้โดยสมบูรณ์ หากเกิดปัญหาขึ้นนอกแคมป์ก็ไม่สามารถต่อสู้ในทางกฎหมายได้เนื่องจากไม่มีสถานะบุคคล โดยจำนวนตัวเลขของผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้สะสมมาตั้งแต่ปี 2548-2552 ในค่ายพักพิงแม่หละ (จ.ตาก) มีมากกว่าหนึ่งพันคน 

“ขั้นพื้นฐานผู้ลี้ภัยก็ได้รับการดูแลตามปกติ แต่การคุ้มครองทางด้านกฎหมายไม่สามารถคุ้มครองผู้ลี้ภัยได้ โดยรัฐบาลไทยใช้เรื่องความมั่นคงมาเป็นประเด็นหลักในการกีดกันผู้ลี้ภัย” พรสุข กล่าว

 

เอ็นจีโอต่างประเทศ เผยกลุ่มผู้ลี้ภัยผุดใหม่ อิรัก อัฟกานิสถาน ซบไทยนับแสน

ด้านพรหมลักษณ์ ศักดิ์พิชัยมงคล รักษาการแทนผู้อำนวยการงานด้านนโยบายฝ่ายองค์กร Asylum Access กล่าวว่า งานที่องค์กรทำอยู่นั้นเป็นการทำผู้ลี้ภัยนอกค่าย ส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลที่หนีร้อนมาพึ่งเย็น โดยคนเหล่านี้จะมีปัญหาที่แตกต่างกัน เช่น เรื่องศาสนา เรื่องการแสดงความคิดเห็นทางด้านการเมือง และจะไม่ได้รับสิทธิใดๆ เลยจากภาครัฐ มีทั้งที่เข้ามาแบบถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมายซึ่งจะมีความแตกต่างกับผู้ลี้ภัยในค่าย

ในประเทศไทยกลุ่มคนเหล่านี้มาจากประเทศที่หลากหลาย เช่น แอฟฟริกา อิรัก ปากีสถาน กัมพูชา ลาว จีน เวียดนาม ฯลฯ โดยจะเข้ามาเป็นในลักษณะขอวีซ่านักท่องเที่ยว เมื่อวีซ่าหมดอายุกลับไม่ต่ออายุ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง และจะถูกปรับวันละ 500 บาท โดยไม่มีสิทธิในการทำงาน ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ซึ่งผู้ลี้ภัยเหล่านี้จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คืออยู่แบบหลบๆ ซ่อน และอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม รวมแล้วราวหนึ่งแสนคน

ยื่น 7 ข้อเสนอต่อรัฐฯ วันผู้ลี้ภัยโลก ย้ำงดส่งกลับถ้าสันติยังไม่เกิด

สำหรับกิจกรรมในวันนี้ ได้มีการเผยแพร่เอกสารระบุข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลไทย 7 ข้อ คือ 1.รัฐจะต้องไม่ส่งผู้ลี้ภัยที่หลบหนีการประหัตประหารและการละเมิดสิทธิมนุษยชนกลับ ตราบใดที่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย ว่าสันติภาพและการเคารพสิทธิมนุษยชนได้กลับคืนสู่ประเทศพม่า 2.รัฐควรเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยให้กว้างกว่า “ผู้หลบหนีการสู้รบ” หากรวมถึงผู้หลบหนีการประหัตประหารจากประเทศพม่าตามหลักการสากล โดยให้ UNHCR เข้ามาแบ่งเบาภาระในการให้ความคุ้มครองอย่างเต็มตัว

3.คณะกรรมการจังหวัดซึ่งมีหน้าที่พิจารณารับผู้ลี้ภัย ควรประกอบไปด้วยภาคี 3 ฝ่าย คือ รัฐ องค์กรระหว่างประเทศ (UNHCR) และภาคประชาชนหรือองค์กรเอกชนในพื้นที่ และควรมีกระบวนการตัดสินใจที่โปร่งใสเปิดเผยได้ต่อสาธารณชน 4.การดำเนินการเตรียมพร้อมให้ผู้ลี้ภัยกลับถิ่นฐานเป็นขั้นตอนสำคัญยิ่งที่ควรเริ่มต้นดำเนินการอย่างจริงจังนับแต่บัดนี้ โดยรัฐจะต้องเปิดโอกาสให้องค์กรเอกชนทำงานพัฒนากับผู้ลี้ภัยได้มากขึ้น 5.รัฐควรสนับสนุนผลักดันให้องค์กรเอกชนที่ทำงานกับผู้ลี้ภัยและองค์กรอื่น ๆ เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนชายแดนไทยอย่างจริงจัง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนชายแดน กับผู้ลี้ภัย ซึ่งจะส่งผลดีต่อความมั่นคงของชาติในระยะยาว 

6.ในด้านนโยบายระยะยาว รัฐควรจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติที่มีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะนโยบายทั้งระยะสั้นและยาวเกี่ยวกับผู้พลัดถิ่น ซึ่งรวมทั้งแรงงานข้ามชาติและผู้ลี้ภัย โดยคณะกรรมการจะต้องมีสัดส่วนที่เท่าเทียมกันระหว่างภาคประชาชน นักวิชาการ และฝ่ายรัฐ และ 7.รัฐควรมุ่งหาความร่วมมือจากนานาชาติ ในการช่วยเหลือฟื้นฟูการเมืองและสันติภาพในประเทศพม่า หากรัฐจะสนับสนุนการเจรจาทางการเมืองในพม่า ก็ควรทำให้แน่ใจว่า ชนกลุ่มน้อยจะได้มีโอกาสอยู่ในการเจรจาดังกล่าว และเป็นการคลี่คลายปัญหาทางการเมืองระยะยาว ไม่ใช่เพียงการหยุดยิงชั่วคราวเท่านั้น 

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า หลังการเสวนา ได้มีการฉายภาพยนตร์เรื่อง “บทเพลงของแอ้โด้ะฉิ” (The Songs of Eh Doh Shi) ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทำโดยชาวกะเหรี่ยง และได้รับความช่วยเหลือจากทีมงานผู้กำกับชาวไทย เนื้อหาของภาพยนตร์ เล่าถึงการต่อสู้หลากวิถีของคนตัวเล็กๆ จากดินแดนที่ถูกโลกหลงลืม ซึ่งสร้างจากเรื่องจริงของผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงและชาวบ้านกะเหรี่ยงไทย โดยนักแสดงหลายคนในเรื่อง คือชาวบ้านเล่อป่อเฮอที่ข้ามน้ำเมยเข้ามาลี้ภัยในเขตไทย

ทั้งนี้ ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวได้รับคัดเลือกฉายในเทศกาลภาพยนตร์ผู้ลี้ภัย พนมเปญ พ.ศ.2549 และในเทศกาลภาพยนตร์สิทธิมนุษยชนกรุงโซล เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ พ.ศ.2550 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อภิปรายโศกนาฏกรรมราชประสงค์: วิเคราะห์การเมืองไพร่-คนชนบท พ.ศ. 2553

Posted: 20 Jun 2010 02:46 AM PDT

<!--break-->


19 มิ.ย.53 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการจัดการอภิปรายทางวิชาการ เรื่อง “โศกนาฏกรรมจากราชดำเนินสู่ราชประสงค์” จัดโดย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิศักยภาพชุมชน บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้ร่วมฟังจำนวนมาก มีกำหนดจัดงานในวันที่ 19-20 มิ.ย.นี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามการถ่ายทอดสด และอ่านบทวิเคราะห์ต่างๆ ในฉบับเต็มได้ใน www.peaceandjusticenetwork.org

ในวงเสวนาช่วงบ่าย หัวข้อ เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร วิทยากรได้แก่ พฤกษ์ เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน, พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ดำเนินรายการโดย อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มธ.

พฤกษ์ เถาถวิล
จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า โศกนาฏกรรมที่เห็นชัดคือเรื่องคนตาย แต่โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นและอาจมองเห็นได้ไม่ชัด คือปฏิกิริยาของคนต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การออกใบอนุญาตฆ่า และเมื่อฆ่าแล้วก็ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น และปัจจุบันก็กำลังเห็นดีเห็นงามกับึความปรองดองกำมะลอ
 
นักวิชาการจากม.อุบลราชธานีกล่าวว่า อาการชาด้านและความอำมหิตของชนชั้นกลางมีที่มาซึ่งอาจแบ่งได้เป็นสองประเด็น ประเด็นแรกคือเรื่องการเปลี่ยนแปลงในชนบท ในช่วง 50 ปีผ่านมาโดยเฉพาะ 20 ปีให้หลัง มีการเปลี่ยนแปลงในชนบทอย่างมหาศาล เราพบว่ามันมีโรงงานใหญ่น้อยซึ่งเป็นที่มาของแรงงาน มีการจ้างงานในลักษณะเกษตรพันธะสัญญา ชาวบ้านที่ทำนาให้เห็นนั้นเป็นชาวนาพาร์ทไทม์ ไม่มีใครมีอาชีพทำนาตลอดเวลา โดยเราอาจเรียกคนในชนบทผ่านคำว่า แรงงานนอกระบบ บ้างเรียกว่าชนชั้นกลางระดับล่าง ทั้งนี้คือ พื้นที่ของความเป็นชนบทในอุดมคติที่เราคิด มันอาจจะหาไม่ได้แล้ว
 
พฤกษ์กล่าวว่า ความจริงของชีวิตชาวชนบทในปัจจุบัน คือต้องเข้ามามีความสัมพันธ์กับระบบตลาด ซึ่งกลายเป็นสถาบันที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดชีวิต และธรรมชาติของตลาดก็คือความไม่แน่นอน และสิ่งที่ค้ำความไม่แน่นอนก็คือนโยบายรัฐ ซึ่งไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม วิถีชีวิตของคนชนบทได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว และคนชนชทเป็นผู้ที่ต้องตื่นตัว เขาต้องหาวิธีเข้าถึงข่าวสาร ซึ่งก็น่าประหลาดใจที่ชนชั้นกลางและชนชั้นนำยังคงสมัครใจที่จะมองคนชนบทว่า มีชีวิตที่เรียบง่าย
 
 
สร้างภาพแทนคนชนบท เพื่อให้สวามิภักดิ์ต่อรัฐ
ประเด็นที่สอง เป็นเรื่องการยึดติดกับกระบวนการสร้างภาพแทน คือการให้ความหมายต่อคนชนบทเพื่อทำความเข้าใจแบบหนึ่ง อันนำไปสู่การปฏิบัติการต่อพวกเขา พฤกษ์เห็นว่า ถ้าเราจะทำความเข้าใจกระบวนการสร้างภาพแทนที่มีต่อชาวชนบท อาจต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจปฏิบัติการของรัฐในท้องถิ่น ในทางวิชาการมีข้อสรุปที่ว่า ชนบทคือพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่รัฐต้องการเข้าถึงมาโดยตลอด เพราะการกระด้างกระเดื่องในชนบทมีผลต่อรัฐบาล ดังนั้นหากสังเกตบางพื้นที่ ยกตัวอย่างพื้นที่อีสาน นับแต่อดีตมา ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ต่อเนื่องมาจนระยะหลัง พื้นที่อีสานเป็นพื้นที่ที่รัฐสนใจเข้าไปควบคุมให้อยู่หมัดเพื่อสร้างตัวตนการเมืองให้สวามิภักดิ์ต่อรัฐ ขณะที่ยี่สิบปีให้หลังมานี้ ชาวบ้านมีความเปลี่ยนแปลง มีความตื่นตัวในลักษณะเป็นเสรีชนมากขึ้น หรือปรับตัวเข้าสู่ระบบทุนนิยมมากขึ้น ซึ่งมีผลให้รัฐพะวงว่าการตื่นตัวดังกล่าวจะเป็นอันตรายต่ออำนาจรัฐ ซึ่งทำให้นำไปสู่กระบวนการทำให้เกิดความเป็นไพร่ (พฤกษ์อ้างถึงพิชญ์ ผู้ริเริ่มใช้คำนี้จากหนังสือ การเมืองของไพร่)
 
พฤกษ์ยกตัวอย่างเรื่องนี้ จากกรณีในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เมื่อสามปีก่อน ในสมัยที่พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เวลานั้นเกิดวาระแห่งชาติขึ้นกับชนบททั่วประเทศว่าด้วยเศรษฐกิจพออยู่พอกิน แม้โครงการนี้จั่วหัวชื่อเศรษฐกิจ แต่การปฏิบัติการของรัฐไม่มีการวิเคราะห์เรื่องเศรษฐกิจเลย ทั้งที่ความยากจนเกิดจากการเสียเปรียบในระบบตลาด แต่การปฏิบัติการของรัฐคือการบอกว่า ความจนเกิดจากการติดอบายมุข เกียจคร้าน ดังนั้นปฏิบัติการที่เกิดขึ้นก็คือ การจับชาวบ้านมาอบรมศีลธรรม ให้ปลูกผัก และจับชาวบ้านไปสาบานด้วย นี่ไม่ใช่ปฏิบัติการทางเศรษฐกิจ แต่เป็นปฏิบัติการทางการเมือง หรือก็คือการ “กระชับอำนาจในหมู่บ้าน”
 
อีกกรณีที่พฤกษ์ชี้ให้เห็นว่าเป็นปัญหา คือปฏิบัติการของเอ็นจีโอที่ไปลดทอนความเป็นการเมืองออกจากการพัฒนา และเสนอหาทางออกสุดท้ายด้วยการพึ่งตัวเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐก็ไม่ต้องเหนื่อย ส่วนฝ่ายทุนก็ไม่ต้องเดือดร้อนอะไร พฤกษ์ยังมองว่า การเคลื่อนไหวของเอ็นจีโอเกิดขึ้นบนการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่แสนจะคับแคบ ประชาชนของเอ็นจีโอก็คือประชาชนกลุ่มที่ไม่มีความเกี่ยวข้อกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง เอ็นจีโอส่วนใหญ่รังเกียจการเมืองในระบบ มองว่าเป็นเรื่องสกปรก ดังนั้นอย่าไปยุ่งกับมัน และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นปัญหาอย่างใหญ่หลวง ซึ่งประเด็นสำคัญที่เกิดเป็นปัญหาในตอนนี้ก็คือ วิธีคิดและการทำงานดังกล่าวทำให้เกิดการลากเส้นแบ่งภาคประชาชนขึ้นมา ซึ่งเมื่อลากเส้นแบบนี้ผนวกกับท่าทีที่ผ่านมาต่อการชุมนุม มันจึงไม่แปลกเลยถ้าไปคุยกับชาวบ้านแล้วเขาบอกว่า การคุยกับเอ็นจีโอมันเหมือนกับการคุยกับอำมาตย์
 
พฤกษ์กล่าวถึงการปฏิรูปการเมืองที่เป็นข่าวเมื่อสองสามวันที่ผ่านมาว่าคือตัวอย่างขั้นสุดยอดของการร่วมมือระหว่างรัฐกับเอ็นจีโอ สิ่งที่เราได้จากการปฏิรูประเทศไทย คือการได้รู้ว่า 30 ปีที่ผ่านมาของการพัฒนาในประเทศไทย คือการทำให้เอ็นจีโอกับอำมาตย์เป็นพวกเดียวกัน และเกิดการลากเส้นแบ่งอย่างมโหฬารของภาคประชาชนที่มีส่วนในการปฏิรูปทางการเมือง
 
“การปฏิรูปประเทศไทยจะไม่เกิดขึ้นเลย นอกจากจะเป็นกระบวนการเบี่ยง ความขัดแย้ง และสร้างการควบคุมประชาชนขนานใหญ่ ก็อาจมีคนอาวุโสมากขึ้น มีเอ็นจีโอเป็นส.ว.มากขึ้น มีปราชญ์ชาวบ้านมากขึ้น และรัฐบาลก็คงได้ไม้ค้ำยันไปได้อีกหลายเดือน” อาจารย์พฤกษ์กล่าว
 
นักวิชาการจากม.อุบลราชธานี ขยายความเรื่องการสร้างภาพแทนให้คนชนบทว่า มีการสร้างภาพ ผลิตซ้ำ และตีแผ่ออกไปในวงกว้าง ยกตัวอย่างเมื่อดูทีวีทั้งรายการข่าว ละคร และเกมโชว์ มันหนีไม่พ้นเรื่องโง่-จน-เจ็บ รายการเกมโชว์หนีไม่พ้นเรื่องปลดหนี้และตามหาพ่อแม่ ละครก็เป็นเรื่องเจ้าพ่อท้องถิ่น นี่คือภาพของสังคมไพร่ที่เขาอยากให้เป็นอยากให้เห็นอยากให้เข้าใจ กรณีเกี่ยวกับปราชญ์ชาวบ้านที่แม้จะมีแค่หนึ่งในล้านก็จะหามาเสนอ เรื่องราวในหมู่บ้านหลังเขาที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ไม่มีมาม่ากิน แม้เพียงหนึ่งในล้านก็จะไปหามา เพื่อให้ดูแล้วมีกำลังใจ
 
แม้ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม แต่ทั้งหมดนี้คือภาพผลลัพธ์สุดท้ายที่คนชั้นกลางทำความเข้าใจคนชนบท ซึ่งเมื่อมีคนมาชุมนุมแล้วชนชั้นกลางทำความเข้าใจไม่ได้ ก็โยนง่ายๆ ว่าให้ทักษิณรับไป ดังนั้น โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้น ทั้งการออกใบอนุญาตฆ่า ความเร่าร้อนของคนที่ออกมาช้อปปิ้ง คือโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นและดูเหมือนว่าเราจะต้องเผชิญต่อไป
 
พฤกษ์กล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลกังวล ก็คือการลงใต้ดิน การเผยแพร่ข่าวสารต้องห้าม และการกลับมารวมตัวกันใหม่ และสิ่งที่รัฐบาลกำลังทำก็คือการบริหารความกลัว เช่นการออกหมายเรียกศอฉ. ซึ่งมีไว้ทำให้กลัว ปฏิบัติการทหารก็ส่อให้เห็นถึงการกลับไปใช้โมเดลสงครามเย็น แต่สิ่งที่รัฐกำลังทำอยู่นั้นไม่ได้เกิดผลดีอะไรเลย
 
“ผมมีข้อเสนอเพื่อเห็นแก่ความสงบสุขของสังคมไทย รัฐบาลต้องยกเลิกการบริหารความกลัว นายกฯ ต้องเสียสละลาออก ในฐานะที่ท่านเป็นคู่กรณี ท่านไม่สามารถมาดำเนินการปรองดองได้” อาจารย์พฤกษ์กล่าว
 
 
คนกลุ่มใหม่ผุดทั่วหัวเมือง กระชับช่องว่างรับข่าวสาร
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน กล่าวถึงคนกลุ่มใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยว่าเป็นกลุ่มระดับกลางๆ ทางเศรษฐกิจ เกิดและเติบโตขึ้นในหัวเมืองหลายๆ แห่ง มีวิถีชีวิตคล้ายๆ คนในเมืองหลวง หรืออักนัยหนึ่งคือสังคมไทยอาจจะไม่มี “ชนบท” อีกแล้ว
 
คนกลุ่มดังกล่าวมีการขับเคลื่อนทางการเมือง มีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายทางการเมือง เกิดแนวทางการสื่อสารและสารสนเทศใหม่ๆ อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงค่านิยมและสำนึก สื่อสารสนเทศที่ว่านี้ได้แก่ เคเบิลท้องถิ่น ดาวเทียม ฯลฯ ซึ่งประชาชนเป็นสมาชิกได้โดยอิสระ มีผลในการระดมคนและสร้างเครือข่ายใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นซ้อนทับกันหลายชั้น บทบาทที่ทำให้เกิดการรวมตัวกันของคนนี้ทำให้รัฐหนักใจ
 
นักวิชาการด้านสื่อชี้ว่า แนวทางการสื่อสารก็เปลี่ยนไปอย่างมาก การสื่อข่าวเปลี่ยนทิศจากแบบเดิมที่เป็นจากบนลงล่าง มาเป็นการเสนอจากท้องถิ่น พูดด้วยภาษาถิ่น มีความใกล้ชิด เกิดอัตลักษณ์ใหม่ๆ รวมถึงข่าวที่เกิดโดยท้องถี่นนี้ยังพบว่า พิธีกรสื่อนำข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศไปแปลรายงานต่อด้วย ดังนั้น คนในชนบทอาจจะรับข่าวสารไม่ต่างจากคนกรุง และสิ่งที่เคยคิดว่า สังคมไทยมีช่องว่างในการรับข่าวนั้น อาจจะไม่จริงก็ได้
 
อุบลรัตน์เห็นว่า นอกจากเรื่องสารสนเทศที่เปลียนไปนั้น ยังมีค่านิยมทางการศึกษาที่เปลี่ยนไปด้วย ปัจจุบันการศึกษาระดับปริญญาตรี ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏ เกิดขึ้นแล้วทั่วประเทศ ดังนั้น คนกลุ่มใหม่นี้ ไม่ได้มีกระบวนทัศน์ว่าตัวเองว่าโง่ แต่มีความเท่าเทียม และต้องการเกียรติยศไม่ต่างจากคนอื่น
 
 
ม็อบ “ปิดถนน” เรียกร้อง การปรองดองก็ “ปิดถนน” ให้คนช้อป
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในสองประเด็นคำถามหลัก คือ หนึ่ง เราจะหาทฤษฎีอะไรมาอธิบายเรื่องการกระชับพื้นที่ และสอง เราจะหาทฤษฎีอะไรมาอธิบายระบอบอานันท์ ประเวศ อภิสิทธิ์
 
ประเด็นแรก เรื่องการกระชับพื้นที่ คนจำนวนมากเห็นว่าคนเสื้อแดงไม่ยอมประนีประนอมกับรัฐในช่วงหลังที่มีนโยบายปรองดองออกมาแล้ว มีภาพว่า นายกรัฐมนตรีถอยแล้วทำไมเสื้อแดงไม่ถอย แต่สิ่งที่ไม่มีใครพูดคือ ท่ามกลางการปรองดองนั้น พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินไม่ได้ถูกยกเลิก และคนในสังคมไทยไม่ได้ช่วยขับเน้นว่า การเจรจาไม่ได้อยู่ที่จะเลิกพระราชกำหนดในกี่วัน แต่เป็นเรื่องจะทำยังไงกับพระราชกำหนด ซึ่งที่ผ่านมาเป็นเครื่องมือในการปราบคน
 
พิชญ์ยังชี้ให้เห็นถึงปัญหาเกี่ยวกับประเด็นสันติวิธี ที่เมื่อเสื้อแดงเข้าไปอยู่ในเกมของสันติวิธี พยายามใช้ภาษาสันติวิธี แต่พื้นที่ที่ตัวเองจะอธิบายเรื่องสันติวิธีนั้นไม่มีเลย เมื่อเกิดความรุนแรงมีการยิงกัน คนที่พูดเรื่องสันติวิธีก็หายไปหมด และเมื่อจะมีการพูดเรื่องสันติวิธี ก็ถูกอธิบายจากมุมมองอื่น ที่เข้ามาจับจ้องคนเสื้อแดง
 
พิชญ์กล่าวถึงตรรกะของการจัดการพื้นที่ว่า “พื้นที่” มีความสำคัญต่อชีวิต เมืองมีการบริหารจัดการพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและระบบการบริโภค ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเมื่อ “พื้นที่” เป็นที่ที่น่าสนใจที่จะมีคนเข้ามายึด ขณะเดียวกันก็เห็นพลังของทุนมหาศาล ซึ่งพลังนี้ไม่ได้เพียงแค่เกิดจากเม็ดเงิน แต่เกิดจากการที่มีคนจำนวนมากหลงใหลการบริโภค และเมื่อชีวิตประจำวันของการบริโภคอันเป็นวิถีอันเป็นปรกติของเขาถูกขัดถูกสกัด มันจึงเป็นความรู้สึกที่รุนแรงเป็นพิเศษ
 
การร้องเรียนหาชีวิตปกติ และการปรองดองขั้นที่หนึ่ง คือการหาพื้นที่ให้คนช้อปปิ้ง ก็เป็นการหาพื้นที่ที่อันตรายมาก ที่ใช้ตรรกะเดียวกันในการขอคืนพื้นที่ คือไปยกเว้นพื้นที่เพื่อให้คนเอาสินค้าไปขาย คุณต้องปิดถนนให้คนเอาสินค้าไปขาย และคุณต้องปิดถนนเพื่อให้เกิดการล้างคราบบนถนน มันไม่สามารถเกิดความยุติธรรมได้เลยเมื่อคุณกำลังใช้อำนาจรัฐจัดการพื้นที่ทั้งสองแบบเพื่อนำไปสู่การบริโภค คุณบริโภคไม่ได้ คุณก็เอารถถังมาไล่เขา พอคุณต้องการกระตุ้นให้คนบริโภค คุณก็ใช้กฎหมายพิเศษในการขอยกเว้น วันนี้ฉันอยากจะปิดถนนสีลม ฉันก็ปิด ตรระกะของการที่ทุนกับการบริโภคมันทำงานบนอำนาจของรัฐซึ่งใช้อำนาจที่เรียกว่าอำนาจอธิปไตยในการจัดการพื้นที่และสร้างข้อยกเว้น นี่เป็นเรื่องปกติมาก และก็สร้างความหมายว่าพื้นที่นี้มีไว้ใช้บรอโภค ใช้อย่างอื่นไม่ได้ นี่ก็คือตรรกะของการขอคืนพื้นที่ ขอกระชับพื้นที่ เพื่อให้เกิดชีวิตอันเป็นปรกติ
 
หนีให้พ้นความกลวงเปล่า ใต้ระบอบ อานันท์ ประเวศ อภิสิทธิ์
ประเด็นที่สอง เกี่ยวกับการทำความเข้าใจระบอบอานันท์-ประเวศ-อภิสิทธิ์ ซึ่งนี่คือภาพอุดมคติสูงสุดของภาคประชาชนและภาคธุรกิจ นั่นคือ “ทหาร-ศาล-ราชสำนัก” ประเด็นคือเราเห็นความสัมพันธ์ที่พึงปรารถนาที่สุดของการเมืองไทย เป็นภาพที่ไอ้พวกฝ่ายซ้ายตายไปซะ ภาคธุรกิจกับภาคประชาชนจับมือกันแก้ปัญหาประเทศภายใต้การเมืองที่เลวร้าย นี่เป็นภาพอุดมคติสูงสุดของภาคประชาชนและภาคธุรกิจ คำว่าอำมาตย์ยังไม่พอสำหรับกลุ่มนี้ แต่มันคือเป็นภาพจากภาคธุรกิจและประชาชนที่จับมือกัน เป็นภาพอุดมคติของการเมืองเสรีนิยมใหม่ นี่คืออุดมคติของสิ่งที่เรียกว่าประชาสังคมที่ต้องการสร้างอะไรที่น่าสนใจเข้ามาเชื่อมโยงกับความเป็นชาติ
 
พิชญ์กล่าวว่า ถ้ามองแบบทฤษฎีชาตินิยม ตามอาจารย์เบน แอนเดอร์สันที่ว่า ชาติเกิดขึ้นในเวลาที่ว่างเปล่าแต่เป็นเวลาเดียวกันหมด เราอยู่ในความกลวงเปล่าซึ่งทุกคนอยู่ร่วมกันได้ มันคือ “พื้นที่หนึ่ง เวลาเดียวกันหมด” อยากให้มีแนวคิดอะไรก็ยัดเข้าไปในพื้นที่นี้ อยากแต่งเพลงแนวคิดอะไรก็ยัดเข้าไปในพื้นที่นี้ พื้นที่นี้ถูกรวบอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง (Centralized) ผ่านการกระชับอำนาจให้เกิดระบบราชการด้วยเอ็นจีโอไทย ผ่านเงินภาษีบาปจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สสส. พัฒนาเอ็นจีโอไทย พัฒนาให้เกิดสภาชุมชน เชื่อมโยงให้เกิด Homogeneous Empty Time (สุญกาลสหมิติ: ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเมื่อไร ก็รับเรื่องราวชุดเดียวกัน - ประชาไท) นี่เป็นภาพอุดมคติ ทุกคนอยู่ร่วมกัน มีชุดเวลาเดียว แบบแผนปฏิบัติเดียวตามสามเหลี่ยมเขยิ้อนภูเขา มีหลักการให้ท่อง เช่นต้องมีที่ดินเท่าไร ต้องงดเหล้า ฯลฯ เพื่อจะได้อยู่ในเวลาที่กลวงเปล่าด้วยกันหมด
 
พิชญ์กล่าวว่า ทฤษฎีที่จะไปให้พ้นจากสิ่งนี้ คือ ทฤษฎีเรื่องการเมืองของไพร่ (The Politics of the Governed) เป็นการเมืองที่ไม่ได้อยู่ในเวลาช่วงเดียวกัน แต่เรากำลังพูดถึงสิ่งที่ไปพ้นจาก Civil Society (ประชาสังคม) แต่ไปให้ถึง Political Society (การเมืองของไพร่)การเมืองของการต่อรอง มีการเจรจา มีการเลือกตั้ง เพราะว่าในโลกแห่งความเป็นจริง การเรียกร้องเรื่องสวัสดิการไม่เป็นเหตุเป็นผล เพราะไม่มีทางทำได้ เอ็นจีโอก็ทำอะไรได้ไม่มาก ทำให้สายพอเพียงมาแรง ประชาชนถูกเรียกร้องให้ดูแลตัวเอง เพราะถ้าเข้าสู่ระบบรัฐสวัสดิการแล้วไม่มีทางดูแลได้จริง ดังนั้น สำหรับพลเมืองก็มีสองทางเลือก คือ พัฒนาจิตให้ไม่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และอีกแนวทางคือ ใช้การเมืองบี้ให้ตัวเองได้มากที่สุด โดยระบบเลือกตั้งทำหน้าที่นี้ และนำไปสู่คำว่า ประชานิยม ทีเกิดขึ้น
 
“มันคือชีวิตมหาศาลของผู้คน มันเป็นความหวังว่าถ้าเลือกคนนี้แล้วจะได้ ถ้าใช้ศัพท์โบราณ มันก็คือคนข้างมากที่เห็นแก่ตัว แต่ถ้าทำความเข้าใจ มันคือการดิ้นรน เพราะระบบมันทำให้คนอยู่ไม่ได้” ดร.พิชญ์กล่าว
 
นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์กล่าวต่อว่า เพราะเรารู้ว่า มันมีสิ่งที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ มันจึงเป็นเหตุผลที่เราต้องการ Political Society หรือการเมืองของไพร่ ที่การเลือกตั้งไม่ใช่ระบบอันเป็นอุดมคติที่ต้องการคนดีมาปกครองบ้านเมือง แต่มันคือระบบการต่อรองเพื่อให้ได้คนที่ต้องการมามากที่สุด และเรื่องนี้ยังเป็นประเด็นที่เราต้องตั้งคำถามต่อ Civil Society ด้วย
 
พิชญ์กล่าวถึงคำถามดั้งเดิมที่มักถามกันว่า ทำอย่างไรให้การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมีเสถียรภาพ เงื่อนไขสำคัญคือ ชนชั้นนำต้องยอมสละอำนาจและประนีประนอมกับชนชั้นล่าง ต้องดูว่าต้นทุนในการอยู่ในอำนาจมันสูงกว่าการประนีประนอมในอำนาจไหม เราบอกว่าการเลือกตั้งซื้อเสียงมันใช้เงินไปละลาย แต่ไอ้ระบอบที่ไม่มีการตรวจสอบนี้ ต้นทุนมันสูงกว่าไหม
 
พิชญ์กล่าวปิดท้ายว่า สังคมไทยถูกผลักให้เข้าไปเผชิญปัญหาใหญ่เรื่องกฎหมาย รัฐบาลบอกว่ามีหน้าที่ทำตามกฎหมาย แต่รัฐบาลละเมิดกฎหมายด้วยการละเมิดประชาชนที่มีหน้าที่ในการออกกฎหมาย วิธีคิดของรัฐบาลคือ กฎหมายเป็นคำสั่งของรัฐบาล แต่ในสังคมอารยะ สังคมประชาธิปไตย กฎหมายเป็นสิ่งที่ประชาชนออก ประชาชนมีสิทธิเปลี่ยน ต้องเป็น Rule of Law ไม่ใช่ Rule by Law สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญ แต่รัฐบาลพยายามออกกฎหมายเองโดยไม่ผ่านสภา และเรากำลังเผชิญปัญหาที่เราไม่สามารถทำความเข้าใจในการตัดสินคดีของศาล เราจะไปหาความยุติธรรมที่ไหน เรากำลังเผชิญปัญหาระหว่างการเมืองกับศาล
 
 
ผ่ายีนส์สังคมไทย คุ้นเคยกับการฆ่า ติดกับระบบตายตัว กลัวการเปลี่ยนแปลง
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ กล่าวว่า ความรุนแรงพฤษภาคม 2553 เกิดขึ้นมาหลังจากมีการต่อสู้ทางการเมืองหลายระดับมาก่อนหน้า ในช่วงแรกของการชุมนุมที่ประชาชนเคลื่อนขบวนมาจากต่างจังหวัดจนเป็นการชุมนุมขนาดใหญ่นั้น มันทำให้คนรู้สึกว่ามีคนกลุ่มใหม่เกิดขึ้นมาอธิบายประวัติศาสตร์การเมืองแบบใหม่ และนิยามการเมืองแบบใหม่ๆ ด้วย การชุมนุมของคนเสื้อแดงช่วงแรกที่ถนนราชดำเนิน สิ่งที่เสื้อแดงทำและทำให้นักทฤษฎีเรียกว่า เป็นการสร้างระบบความหมายการเมืองแบบใหม่ คือการพูดเรื่องไพร่กับอำมาตย์ อันนำมาสู่การตั้งคำถามเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคม และตั้งคำถามกับประวัติศาสตร์การเมืองไทยนับจากอดีต และยังพูดถึงประวัติศาสตร์การเมืองแบบทางเลือกด้วย คนเสื้อแดงได้สร้างความหมายของการเมืองในชุดหนึ่งขึ้นมา และพูดอย่างเปิดเผยทุกวัน ซึ่งสิ่งนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในชีวิตเรามาก่อน
 
ตัวอย่างประวัติศาสตร์การเมืองไทยผ่านเวทีเสื้อแดง เช่นการพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ว่าเกิดขึ้นจากสามัญชน ไม่ใช่โดยรัชกาลที่ 7 และยังเสริมด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบประชาธิปไตยนั้น ไม่ใช่ว่าประชาชนไม่พร้อม แต่เป็นชนชั้นนำต่างหากที่ไม่พร้อม ซึ่งการสร้างความหมายใหม่แบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่การสร้างความหมายใหม่นี้เกิดปัญหา เมื่อมันมาพร้อมกับการพยายามสร้างเจตจำนงทางการเมืองใหม่ มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมือง มากับแนวคิดที่ว่าให้คนเดินถนนเป็นผู้ตัดสินใจ และยังมาสั่นคลอนความคิดความเชื่อของคนในสังคม ลักษณะนี้ สำหรับชนชั้นนำจำนวนมากที่แม้ไม่ใช่คู่ขัดแย้งกับทักษิณโดยตรง เช่น อานันท์ ปันยารชุน และ ประเวศ วะสี ต่างรู้สึกว่าความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่กำลังจะเกิดขึ้นกำลังเป็นเรื่องที่คลุ้มคลั่ง เป็นประชาธิปไตยที่คุมไม่ได้ ทำให้ชนชั้นนำไทยจำนวนมากที่ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งกับทักษิณโดยตรงต้องเลือกข้าง และมีความรู้สึกว่าสิ่งที่คนเสื้อแดงกำลังจะทำมันไกลเกินไปแล้ว สภาวะแบบนี้ทำให้ชนชั้นนำหันไปยอมรับการใช้เครื่องมือบางอย่าง ยอมรับให้มีการใช้อำนาจพิเศษบางแบบ มีการพูดถึงพ.ร.ก.ฉุกเฉิน อำนาจศอฉ. ที่ออกมาแล้วระงับรัฐธรรมนูญไป
 
ศิโรตม์ กลับไปย้ำถึงหลักการพื้นฐานที่ว่า ในสังคมประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ซึ่งอำนาจอธิปัตย์ต้องไม่ผูกขาดที่รัฐ แล้วถ้าคนในสังคมจำนวนหนึ่งมีความเห็นพ้องที่จะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล เขามีสิทธิ์ที่จะสถาปนาพื้นที่บางแบบ หรือถ้าพูดก่อน 19 กันยา 2549 คือ ประชาชนมีสิทธิ์ล้มรัฐบาลได้ แต่ในปัจจุบัน คำพูดนี้คงพูดไม่ได้แล้ว
 
ศิโรตม์ชี้ว่า ประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า สังคมไทยอาจเคยชินกับการมองการเมืองไทยในแบบระบบตายตัว จนใครที่จะเปลี่ยนระบบเป็นความผิด เห็นได้ชัดว่าหลายต่อหลายครั้งที่มีการเรียกร้องทางการเมือง มันนำไปสู่การประหัตประหารชีวิต ซึ่งนี่อาจจะมาจากยีนส์ของคนไทยที่อยู่และเคยชินในสังคมที่มีความรุนแรงและฆ่ากันอยู่ตลอด การฆ่าคือส่วนหนึ่งของชีวิตทางการเมืองของสังคมไทย แล้วจะทำอย่างไรเราถึงจะไม่สามารถยอมรับการฆ่าได้ ทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยที่มักจบลงด้วยการถูกปราบ
 
นอกจากนี้เขายังตั้งเสนอว่า เวลาที่คนในสังคมการเมืองพบว่า เขามีชีวิตที่หดหู่และอยากเปลี่ยนสังคม เขาควรจะทำได้ แต่เราจะทำอย่างไร เมื่อสังคมไทยอยู่ในแบบแผนที่คิดว่า คนที่ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบจะคิดว่าการสู้ไปก็ชีวิตไม่ได้ดีขึ้น
 
แล้วการสมานฉันท์หรือการปรองดอง ที่เกิดขึ้นมักเกิดขึ้นหลังความรุนแรงขนาดใหญ่ แต่เมื่อคณะกรรมการถูกตั้งด้วยรัฐบาล มันไม่มีทางแก้ไขอะไรได้ มันไม่อิสระ มันมีเพื่อทำให้รัฐบาลไม่ผิด คณะกรรมการฯ ไม่สนใจเรื่องการสอบสวน พูดคำว่าปรองดองและปฏิรูปสังคม ซึ่งเจตจำนงก็คือการบอกว่าอย่าพูดเรื่องการเมืองมากเกินไป และการฆ่าในสังคมไทย เป็นการฆ่าแบบมีอารยะ เป็นการฆ่าด้วยกฎหมาย 
 
เขาล่าวเสริมว่า หากดูประสบการณ์เปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราต้องยอมรับว่าเราเข้าสู่ระบอบกึ่งอำนาจนิยมแล้ว และต้องเตรียมทำใจว่า เราจะอยู่ภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไปอีกยาวนาน
 
“โจทย์ตอนนี้คือ ทำยังไงให้รัฐบาลยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่าไปคิดว่าจะรอพ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วค่อยทำอะไร เขาไม่เลิกแน่ เพราะเมื่อมีพ.ร.ก.ก็มีอำนาจเด็ดขาด แล้วไม่มีใครว่าอะไรสักแอะ” ศิโรตม์กล่าว
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน 1 เดือนโศกนาฏกรรมวัดปทุมฯ: เมื่อ ‘ลุงบัวศรี’ เสื้อแดงชัยภูมิกลับมายืนที่เดิม

Posted: 20 Jun 2010 01:44 AM PDT

<!--break-->

 
วัดปทุมวนาราม ในวันที่ 19 มิถุนายน 2553 กลายสภาพเป็นอนุเสาวรีย์ผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมเดือนพฤษภาคม 53 ชั่วคราว เนื่องจากเป็นวันครบรอบ 1 เดือนการสูญเสีย อาจเพราะที่นี่เป็นเขตอภัยทานที่มีหลักฐานการตายอันสะเทือนใจปรากฏอยู่จำนวนมาก มากกว่าที่อื่นๆ ที่เป็นความตายอันกระจัดกระจาย เป็นความตายอันไร้ซึ่งสักขีพยาน   

ประชาชนหลายร้อยคนร่วมทำบุญ รำลึกถึงผู้เสียชีวิตตั้งแต่เช้า หลายคนยังคงใส่เสื้อสีแดง กระทั่งในช่วงบ่ายมีผู้บาดเจ็บภายในวัดปทุมฯ เข้ามาร่วมรำลึกโศกนาฏกรรมครั้งนี้ด้วย จากนั้นจึงมี “การกระชับวงล้อม” ของบรรดาประชาชนผู้สนใจพากันล้อมวงเข้าสอบถามเหตุการณ์-อาการกับผู้บาดเจ็บ บ้างพยายามรวบรวมเงิน แบ้งค์ยี่สิบ แบ้งค์ร้อยกอบเป็นกำส่งให้ผู้บาดเจ็บ เพื่อสบทบทุนค่ารักษาพยาบาล ค่ารถ พร้อมด้วยคำอวยพรสารพัน ผู้รับบางคนถึงกับน้ำตาไหลด้วยความซาบซึ้งใจ

 
                       
                                             เก่งล้างแผลให้ลุงบัวศรี ข้างๆ คือภรรยาชื่อป้าจำนงค์

                                     

เก่ง หรือ วสันต์ สายรัศมี อาสาสมัครกู้ชีพฯ ที่เดินสายป่าวประกาศ เป็นพยานปากสำคัญในเหตุการณ์ในวัดปทุมฯ เมื่อเย็นวันที่ 19 พ.ค. เข้ามาสวัสดีลุงบัวศรี ทุมมา ผู้ชุมนุมชาวชัยภูมิที่โดนยิงเข้าฝ่าเท้าด้านบนทะลุฝ่าเท้าด้านล่าง พวกเขาทักทายกันอย่างสนิทสนม เพราะเก่งคือผู้ที่ปฐมพยาบาลให้ลุงบัวศรีในวันนั้นนั่นเอง จากนั้นเก่งก็เปิดแผล ล้างแผลให้ลุงบัวศรีเพื่อแสดงให้เห็นบาดแผล ซึ่งกระสุนได้ทำลายกระดูกเท้าและเส้นเอ็นรวมทั้งสร้างบาดแผลใหญ่มากบริเวณฝ่าเท้า ท่ามกลางเสียงฮือฮา ก่นด่า สาปแช่งรัฐบาลของผู้ที่ล้อมวงดู ราวเสียงหึ่งกังวานของวูวูเซล่าในสนามแข่งขันฟุตบอลโลก

ลุงบัวศรี อายุ 67 ปี เป็นชาวไร่ชาวนาจากชัยภูมิ ด้วยความที่แกอายุมากที่สุดในบ้านแต่ยังพอแข็งแรง ดูแลตัวเองได้ จึงได้รับสิทธิพิเศษให้เป็นตัวแทนของบ้านเดินทางร่วมชุมนุมกับกลุ่ม นปช. ปล่อยให้การทำมาหากินเป็นหน้าที่ของลูกๆ 4 คน และการอยู่บ้านเลี้ยงหลานเป็นหน้าที่ของภรรยา
แกเดินทางคนเดียวนั่งรถโดยสารออกจากพื้นที่มายังตัวจังหวัด ระยะทางกว่า 40 กม. จากนั้นนั่งรถประจำทางลงมายังกรุงเทพฯ โดยลงมาตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย.
วันที่ 10 เม.ย. ลุงบัวศรีก็ยังร่วมเดินขบวนเข้าไปกดดันทหารที่ทัพภาค 1 ซึ่งดูเหมือนการปะทะ ณ จุดนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรงวันที่ 10 เม.ย. ลุงบัวศรีวิ่งไปอยู่ด้านหน้าดันกับทหารและถูกตีจนปอดฉีกต้องนอนโรงพยาบาลหลายวัน พอหายดีแกก็ยังไม่เข็ด เก็บสัมภาระออกเดินทางมาร่วมชุมนุมอีก
“ก่อนมาแกก็นึ่งข้าวเหนียว ตำปลาร้าใส่กระปุกมาด้วย บอกว่าเที่ยวนี้ต้องมาหลายวัน คงไม่มีคนส่งอาหาร กระเป๋าเสื้อผ้าแกมีใบหนึ่ง แกก็เอาใส่กระเป๋าแกมา” ป้าจำนงค์ เนียมขุนทด วัย 49 ปี ภรรยาของลุงบัวศรีเล่าให้ฟัง พร้อมกับบอกว่าก่อนหน้านี้ เมื่อปีที่แล้วแกยังไม่ถึงกับลงมากรุงเทพฯ เพียงแต่คอยตระเวนดูทีวีช่องเสื้อแดงตามบ้านเพื่อนในบางครั้ง และขี่มอเตอร์ไซด์ไปนั่งฟังปราศรัยที่ตัวจังหวัดทุกครั้งที่มี
ในวันเกิดเหตุ 19 พ.ค.ลุงบัวศรีนั่งหมดอาลัยตายอยากอยู่บริเวณลานจอดรถหน้าวัด ภายหลังแกนนำสั่งยุติการชุมนุมให้มวลชนกลับบ้าน ระหว่างนั้นเวลาประมาณห้าโมงกว่าเห็นทหารเดินมาเป็นแถวบนรางรถไฟฟ้า พร้อมทั้งมีเสียงปืนยิงไล่ดังใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ผู้ชุมนุมที่อยู่บริเวณนั้นจึงพากันหลบ ตัวลุงมุดไปอยู่ใต้ท้องรถกระบะคันหนึ่ง  มันเป็นเวลาที่พระอาทิตย์ยังไม่จากไปทำให้ลุงบัวศรีเห็นชัดเจนว่ากระสุนมาจากกลุ่มทหารที่อยู่บนรางบีทีเอส
ลุงบอกว่าตอนนั้นนึกว่าหลบพ้นแล้วแต่ขาดันยื่นออกมานอกรถ จึงโดนยิงที่เข้าที่เท้า รู้สึกเจ็บมากและเลือดไหลเป็นกอง จากนั้นมีทหารตะโกนสั่งลงมาว่าให้คนที่อยู่ใต้ท้องรถออกมาให้หมดแล้วถอดเสื้อออก มิฉะนั้นจะยิงให้ตาย ตอนนั้นมีชายคนหนึ่งที่หมอบอยู่ด้านข้าง ลุกขึ้นแล้วยกมือชูเหนือหัว แต่ทหารก็ยิงลงมาอีก ถูกมือชายคนดังกล่าว เมื่อล้มลงก็ถูกยิงซ้ำอีก ลุงจึงหมอบเอาหน้าแนบพื้นใต้ท้องรถไม่ยอมออกมา ท่ามกลางเสียงกระสุนที่สาดเป็นระยะ และมีคนถูกยิงล้มลงอีกหลายคน จนกระทั่งพักใหญ่เจ้าหน้าที่อาสาฯ จึงเข้ามาลากตัวช่วยเหลือลุงไว้ได้ ระหว่างปฐมพยาบาลเบื้องต้นลุงก็หมดสติไปก่อนถูกส่งโรงพยาบาลอย่างทุลักทุเล

                         
ช่วงเวลาเดียวกันในอีกฝั่งหนึ่งที่จังหวัดชัยภูมิ ภรรยาและลูกๆ ของลุงได้ยินเสียงทุกอย่างอย่างชัดเจนราวกับถ่ายทอดสด มันทำให้หัวใจของผู้เป็นภรรยาแทบสลายเพราะเชื่อว่าสามีคงไม่รอดแน่
ป้าจำนงค์เล่าว่า ป้าติดต่อกับลุงทางโทรศัพท์ก่อนที่จะถูกยิงไม่นาน และทำให้สามารถรับรู้ความเคลื่อนไหวระหว่างลุงหลบลูกกระสุนได้โดยตลอด
“ตาบอก มันยิงมาใกล้แล้วยายๆ หลบดีๆ นะตา ใครยิงตาๆ พวกทหารมันยิงมาจากทางรถไฟยาย ซักพักนึง ปังๆ เงียบ พยายามกดโทรศัพท์อีก มันติด แต่ไม่มีคนรับแล้ว ก็บอกลูก ลูกก็บอกทำใจนะแม่ เหลือมาเท่าไหร่เราก็เลี้ยงแค่นั้น”เธอย้อนเล่าเหตุการณ์ทั้งน้ำตา และบอกว่าเมื่อเธอต้องเล่าเหตุการณ์นี้ทีไรก็อดร้องไห้ไม่ได้ทุกที
การถ่ายทอดสดวันนั้นดำเนินการผ่านลำโพงโทรศัพท์เครื่องเก่าแก่ของป้าจำนงค์ มีลูกๆ 4 คน กับหลานเล็กๆ อีก 2 คน ล้อมวงนั่งฟัง ทุกคนคิดว่าพ่อ/สามี/ปู่/ตา ของพวกเขาคงไม่รอดแน่
การตามหาลุงบัวศรีเป็นไปอย่างอยากลำบาก อาศัยว่าได้ผู้ใหญ่บ้านที่คอยประสานส.ส.ในพื้นที่ให้คอยอำนวยความสะดวกให้
“ขอให้ผู้ใหญ่เจริญ ช่วยติดต่อส.ส.ให้ เพราะเราเคยเลือกตั้งส.ส.ไว้แล้ว ทางส.ส. เขาก็มาดูแลให้ทันทีที่เราแจ้งไป แล้วพาตามารักษาที่รพ.ชัยภูมิอีก 3 อาทิตย์” คู่ทุกข์คู่ยากของลุงว่า
                

แม้ลุงจะมีบาดแผลถูกยิงชัดเจน มีพยานยืนยันหลายคนว่าแกถูกยิงอย่างแน่แท้ แต่ใบรับรองแพทย์ รพ.ชัยภูมิเขียนเพียงว่า กระดูกเท้าแตก บาดแผลลึกจากหลังเท้าถึงฝ่าเท้า ขณะที่ใบรับรองแพทย์จากรามาระบุชัดเจนขึ้นมาอีกหน่อยว่า เป็นแผลขอบไม่เรียบ กระดูเท้าซ้ายด้านนิ้วก้อยหัก มีเศษเหล็กในบาดแผล พร้อมทั้งหมายเหตุว่าบาดแผลดังกล่าวอาจเกิดจากกระสุนปืนได้  
เมื่อถามว่ารู้สึกเช่นไร หลังจากได้กลับมายืนที่เดิมอีกหลังจากผ่านเหตุการณ์มา 1 เดือน ลุงบัวศรีบอกว่า “ผมดีใจที่ได้กลับมายืนที่นี่อีก มีความสุขในใจแล้วก็มีความเสียใจในเรื่องเบื้องหลัง มันไม่น่าจะสูญเสียแบบนี้ คนไทยทำไมมันฆ่ากันขนาดนี้”
นักข่าวคนหนึ่งถามลุงและป้าว่า ถ้ามีการชุมนุมอีกจะมาไหม คำตอบของทั้งคู่ตรงกันคือ “มา” และ “ให้มา”
“อุทิศตาให้ นปช.แล้ว เราห่วง เรารัก แต่เรายอม เพราะเราอยากได้ความถูกต้อง ความยุติธรรม” ป้าจำนงค์ผู้มีอาชีพทำไร่และเลี้ยงหลานกล่าว
ส่วนลุงบัวศรีบอกถึงเหตุผลที่เคยมาและยังจะมาร่วมชุมนุมว่า “ผมอยากช่วยให้ประชาธิปไตยกลับคืนมา ไม่อยากได้รัฐธรรมนูญ 50 มันร่างกันเอง เออกันเอง แล้วมันก็สองมาตรฐาน คนผิดก็ผิดลูกเดียว คนถูกก็ถูกลูกเดียว ไม่เป็นธรรมเลย”
การลงมากรุงเทพฯ เพื่อเข้าร่วมรำลึกเหตุการณ์ครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกจากผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ นั่นคือ ผู้ใหญ่ เจริญ เจสันเที๊ยะ
ผู้ใหญ่เจริญเล่าว่า สภาพบรรยากาศในพื้นที่หมู่บ้านในชัยภูมินั้นเต็มไปด้วยความโกรธแค้นของลูกบ้าน ท่ามกลางแรงกดดันจากทางภาครัฐ ซึ่งเขาเองก็ไม่ค่อยเห็นด้วยนัก
“เขาโกรธมากเลยครับที่มาทำร้ายประชาชน เขามาเรียกร้อง เขาก็มามือเปล่า เขาไม่ได้มาต่อสู้อะไร มาขอความเป็นธรรมเฉยๆ ไม่น่าจะทำกับเขาแบบนี้ เขาพูดกันเรื่อยๆ เลย ผมก็ได้แต่ฟังความคิดเห็น ไม่ห้ามเขา”
“ส่วนทางจังหวัดก็ไม่อยากให้เขาชุมนุม ทางอำเภอได้ประชุมผู้ใหญ่บ้านว่าอย่าให้เขามั่วสุมกันเกิน 5 คน ถ้าเขาจะเดินขบวนอะไรก็ให้บอกทางรัฐ ที่จริงถ้าเขาชุมนุมก็น่าจะต้องฟังเขาว่าต้องการอะไร ต้องการให้ช่วยเหลือแบบไหน ไม่ใช่ไม่ให้เขารวมกัน ไม่ให้ชุมนุม ทางการไม่บอกให้เราถามชาวบ้านเลย” ผู้ใหญ่เจริญพยายามเล่าด้วยภาษากลางเหน่อๆ อย่างตรงไปตรงมา
เมื่อถามว่ามีทหารหน่วยงานความมั่นคงเข้าไปดูแลในหมู่บ้านไหม ผู้ใหญ่เจริญบอกว่า ไม่มี จะมีก็แต่เพียงทหาร 2 กองร้อยที่คอยคุ้มกันศาลากลางทุกวัน
“ผมพาเขามาเพราะอยากให้คนกรุงเทพฯ รู้ว่าคนที่ชัยภูมิเขาเป็นยังไงบ้างแล้ว อยู่ยังไงบ้างแล้ว แล้วมันเกิดอะไรขึ้นกับเขา” ผู้ใหญ่เจริญว่า พร้อมกับแนะนำให้รู้จักป้าค้าว เบอร์ขุนทด แม่ของเหยื่อเหตุการณ์ความรุนแรงอีกหนึ่ง
                                 
                                                               
ป้าค้าว

                                
                                                                   นิคม

ป้าค้าว อายุราว 65 ปีพูดภาษากลางไม่คล่องนักและขี้อายเกินกว่าจะไปนั่งให้นักข่าวสัมภาษณ์ดังเช่นลุงบัวศรี เมื่อค่อยๆ สอบถามเธอจึงได้ความว่า ลูกชายของเธอคือ นายนิคม เบอร์ขุนทด อายุ 42 ปี มีอาชีพขี่รถมอเตอร์ไซด์รับจ้างในกรุงเทพฯ ได้ขี่มอเตอร์ไซด์มาดูการชุมนุมเป็นประจำ และในวันเกิดเหตุก็ขี่รถมาส่งผู้โดยสารในที่ชุมนุม ระหว่างทางกลับนั้น เจอคนกลุ่มหนึ่ง คำสุดท้ายที่ลูกชายได้ยินคือ “ไอ้นี่มันเสื้อแดง” จากนั้นก็ถูกรุมตีจนสลบ
เมื่อถามถึงรายละเอียดเวลา สถานที่ รวมถึงลักษณะของกลุ่มคนดังกล่าว ผู้ใหญ่เจริญเล่าว่า นิคมจำอะไรไม่ได้มากนัก และมีอาการเบลอๆ เนื่องจากถูกตีจนหัวแตก และกระดูกคอต่อกระดูกสันหลังเคลื่อนจนต้องดามไว้จนถึงทุกวันนี้ และอาจต้องพักฟื้นอีกนาน
“ไม่รู้ว่าจะกลับมาเป็นปกติได้ไหม ตอนนี้เขาก็ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ ต้องนอนตลอด พอลุกนั่งก็เจ็บ” ผู้ใหญ่ว่า
นิคม มีภูมิลำเนาในชัยภูมิเช่นกันแต่อยู่คนละอำเภอกับลงบัวศรี เขาถูกนำส่งมารักษาตัวในโรงพยาบาลเดียวกัน นอนเตียงข้างๆ กันจึงได้รู้จักกัน ขณะนี้นิคมฯ ย้ายไปพักฟื้นที่บ้านแล้วหลังนอนโรงพยาบาลเกือบเดือน โดยมีแม่และลูกสาววัย 14 ปีที่ต้องหยุดเรียนคอยดูแล นอกเหนือจากนี้พ่อของเจริญก็มีขาพิการ ทำงานไม่ได้ ครอบครัวนี้จึงอยู่ในสภาพไร้เสาหลักโดยสิ้นเชิง และไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ จากรัฐ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กรุงเทพธุรกิจ: เผยเบื้องหลัง24ศพราชปรารภ-สามเหลี่ยมดินแดง

Posted: 19 Jun 2010 10:30 PM PDT

<!--break-->

หลังแผ่นป้าย "เขตใช้กระสุนจริง" บนถนนราชปรารภ-ซอยรางน้ำ-ซอยหมอเหล็ง-สามเหลี่ยมดินแดง เสียชีวิตกว่า 24 คนบาดเจ็บเกือบ 200 คน

จากจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด 58 ราย ผลจากการสลายชุมนุม หรือการกระชับพื้นที่ระหว่าง วันที่ 14-20 พฤษภาคม บอกได้ถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณนั้น

บาดแผลผู้เสียชีวิตทั้ง 24 ศพเข้าศีรษะ หน้าอก และลำตัว

หนึ่งเดือนหลังการสลายชุมนุม ความจริงยังคงซุกซ่อนใต้พรม เสียงจากครอบครัวผู้สูญเสียแผ่วเบาราวเสียงกระซิบ....อะไรเกิดขึ้นในพื้นที่รอบนอก ก่อนสลายการชุมนุมบนพื้นที่ราชประสงค์ "ทีมข่าวคุณภาพชีวิต" ลงพื้นที่ย้อนรอยเหตุการณ์ บริเวณราชปรารภ ซอยรางน้ำ สามเหลี่ยมดินแดง เนื่องจากพบว่าพื้นที่ดังกล่าว มีผู้เสียชีวิตในช่วงหลังการประกาศ กระชับพื้นที่จำนวนมากถึง 24 ราย โดยในจำนวนดังกล่าวเกือบครึ่งหนึ่งเป็นประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้เข้าร่วมชุมนุมเสียชีวิต

"พื้นที่ราชปรารภ-ดินแดง ซอยรางน้ำ มีประชาชนคนทั่วไปได้รับบาดเจ็บ-เสียชีวิตค่อนข้างมาก โดยเฉพาะประชาชนทั่วไป เพราะตอนนั้นชาวบ้านไม่ค่อยรู้ว่ามีการกระชับพื้นที่ มาถึงแถวนี้ทำให้ใช้ชีวิตปกติ" พ.ต.ท.เทพพิทักษ์ แสงกล้า พนักงานสอบสวน (สบ 2) สถานีตำรวจนครบาลพญาไท บอก

พ.ต.ท.เทพพิทักษ์ เล่าว่า ตั้งแต่วัน 14-20 พ.ค. ทาง สน.พญาไทได้รับผิดชอบในการสอบสวนชันสูตรพลิกศพทั้งหมด โดยศพถูกส่งมาจากย่านราชปรารภ สามเหลี่ยมดินแดงและประตูน้ำ จากการชันสูตรศพพบว่า โดยมากมีบาดแผลตั้งแต่ลำตัวจนถึงศีรษะ อาวุธที่โดนส่วนใหญ่แพทย์จะบอกว่าวัตถุความเร็วสูง แต่เท่าที่ดูเป็นกระสุนความเร็วสูง
“ผลการตรวจสอบ ทุกศพไม่มีอาวุธข้างกาย หลังการตรวจสอบลายนิ้วมือบางรายพบเพียงแค่คดีการพนันเล็กๆ น้อยเท่านั้น ผมคิดว่าน่าจะเป็นชาวบ้านธรรมดานี้แหละครับ” พ.ต.ท.เทพพิทักษ์

พ.ต.ท.เทพพิทักษ์ บอกอีกว่า ลักษณะบาดแผล ส่วนใหญ่เป็นกระสุนความเร็วสูงไม่ใช่ปืนพกสั้น น่าจะเป็นอาวุธสงคราม ซึ่งหลังจากทำสำนวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน จะจัดส่งไปยังดีเอสไอ เนื่องจากคดีเหล่านี้เป็นคดีพิเศษ

"ศพส่วนใหญ่มีญาติมารับหมดแล้ว เหลือเพียง 3 รายเท่านั้นที่ยังไม่มีญาติมารับ โดยรายแรกเป็นเด็กชายอายุประมาณ 10-14 ขวบ ถูกยิงด้วยกระสุนทะลุผ่านหน้าท้องเสียชีวิต เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม 2553 เวลาประมาณ 23.30 น.โดยมีลักษณะบาดแผลเกิดจากกระสุนปืนความเร็วสูงจากบริเวณเอวด้านหลังทะลุท้องด้านหลังบริเวณกระดูกซี่โครงไขสันหลังข้อที่ 4-5"

ส่วนอีกรายเป็นชายไม่ทราบชื่อ ถูกยิงบริเวณถนนราชดำริ ด้านหน้าตึก สก รพ.จุฬาลงกรณ์ ลักษณะผอมเหมือนอดข้าวมานาน ถูกยิงที่ศีรษะ ในวันที่ 19 พ.ค. เวลาประมาณ 10.00 น.

"ลักษณะศพรายนี้ เหมือนคนเร่ร่อน เพราะว่า ผอมมาก มีความเป็นไปได้ว่าเขาไม่น่าจะมีญาติพี่น้อง แต่ศพเด็กชายไม่น่าจะเป็นเด็กเร่ร่อน เพราะดูจากเสื้อผ้าที่เขาสวมใส่ สะอาด แต่น่าแปลกที่ไม่มีญาติมาตามหาเลย และรายสุดท้ายเป็นหญิงอายุประมาณ 50 ปี ถูกยิงที่ขา โดยกระสุนตัดเส้นเลือดใหญ่ขณะกำลังเก็บของเก่าบริเวณแยกสามเหลี่ยมดินแดง หญิงดังกล่าวยังไม่มีญาติมารับเช่นเดียวกัน"

ผลการสอบสวนจากจุดที่เกิดเหตุเพื่อสรุปสำนวนคดี พ.ต.ท.เทพพิทักษ์ บอกว่า จากการสอบสวนที่จุดเกิดเหตุส่วนมากไม่รู้ว่าใครยิง รู้แต่ว่าถูกกระสุนปืนบาดเจ็บแล้วนำส่งโรงพยาบาลและเสียชีวิต แต่ไม่มีประจักษ์พยานว่าใครยิง เนื่องจากเหตุการณ์ส่วนมากเกิดในช่วงกลางคืน รู้แต่ว่ามีเหตุกระชับพื้นที่ระหว่างฝ่ายทหารและชาวบ้าน สำนวนทั้งหมดจะส่งไปที่กรมสอบสวนคดีพิเศษและจะมีคำสั่งในการร่วมกันสอบสวนอีกครั้งหนึ่ง

แม้เจ้าหน้าที่พนักงานสอบสวนจะไม่สามารถระบุได้ว่า ใครยิงในพื้นที่ราชปรารภ สามเหลี่ยมดินแดง แต่สำหรับ นิค นอสติทซ์ ผู้สื่อข่าวอิสระชาวเยอรมัน จดจำเหตุการณ์วันที่ 15 พ.ค.ได้ไม่มีวันลืมและเขาคิดตลอดชีวิตของเขาคงลืมเหตุการณ์นี้ได้ยาก

วันนั้นผมติดในปั๊มเชลล์ ห่างจากซอยรางน้ำประมาณ 80 เมตร ผมเห็นกลุ่มคนที่ยิงมีเพียงฝ่ายเดียวคือทหาร และยิงไม่หยุด" นิคบอกว่า ประมาณบ่ายสามโมงของวันนั้น เขาเข้าไปทำข่าวในพื้นที่ ราชปรารภเพราะคิดว่า บริเวณนั้น คงไม่มีเหตุการณ์รุนแรงมากนัก และคิดว่า หากมีการปะทะกัน คงมีการยิงและมีผู้เสียชีวิตบ้างแล้วคงหยุดยิง ไม่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ ที่เขาไปทำข่าว เขาจึงตรงไปที่ ถนนราชปรารภ

"ผมพาตัวเองมาในจุดที่อันตรายที่สุด" นิดบอก ก่อนจะเริ่มเล่าว่า ช่วงเวลาบ่ายสามโมง ยังไม่มีเหตุการณ์อะไรรุนแรง ชุมนุมในพื้นที่ไม่มากนักเขาได้เดินสำรวจ เพื่อตรวจสอบว่ามีทหารอยู่จุดไหนและมีผู้ชุมนุมจุดไหน เขาพบว่าบริเวณปากซอยรางน้ำมีทหารตั้งบังเกอร์ จากนั้น เขากลับมาประจำบริเวณหน้าปั๊มเชลล์

เวลาใกล้ๆ บ่ายสี่โมง ผู้ชุมนุมบางคนย้ายยางรถยนต์หลายสิบอันมากองสุมเป็นด่านบริเวณหน้าปั๊มเชลล์ ผู้ชุมนุมรายหนึ่งได้โชว์หนังสติ๊ก แล้วบอกเขาว่า "นี้ไงอาวุธที่เราจะเอาไปสู้กับทหาร"

จากนั้นประมาณ บ่ายสี่โมง "ยังไม่ทันที่ ผู้ชุมนุมจะตั้งยางรถยนต์เสร็จ กระสุนมาจากทิศทางที่ทหารตั้งบังเกอร์ เริ่มยิงและจากนั้นก็ยิงตลอดเวลาไม่หยุด" นิคบอกว่า ผู้ชุมนุมคนคนแรกซึ่งเป็นคนเดียวกับที่เอาหนังสติ๊กมาโชว์ ถูกยิงที่แขนและหน้าท้องของเขา อาการสาหัส ซึ่งทราบชื่อภายหลังว่า คือ นายชาญณรงค์ พลศรีลา อายุ 45 ปี

นิคเข้าไปหลับบริเวณกำแพงปั๊มเชลล์ห่างจากจุดบังเกอร์ยางรถยนต์ของผู้ชุมนุมไม่มาก มีผู้ชุมนุมบางคนหลบอยู่ใกล้ๆ กับเขาพยายามโยนเชือกเข้าไปช่วยดึงผู้บาดเจ็บออกมา แต่ทำไม่สำเร็จ การยิงไม่เคยหยุดลงเลย ผู้ชุมนุมอีกคนหนึ่งพยายามคลานหนีออกมาถูกยิงแนวยางรถยนต์เข้ามาหลบในปั๊มน้ำมันเขาถูกยิงที่ ขาและไหล่

ประมาณสี่ถึงห้านาที ผู้ชุมนุมบริเวณแนวยางรถยนต์คนหนึ่งข้ามมาในปั๊มเชลล์ได้ อีกคนหนึ่งถูกยิงทีแขน หลังจากนั้น สักพักสองคนที่บาดเจ็บไม่มากวิ่งเข้ามาที่ปั๊มเชลล์ได้

"คนหนึ่งล้มลงและคลานต่อไปจนถึงที่ปลอดภัย ผมเกรงว่าเขาจะถูกยิงอีกแล้ว เสียงปืนดังขึ้นตลอดเวลาไม่หยุด ผู้ได้รับบาดเจ็บสามคนหลบออกมาสำเร็จ ข้างหลังของปั๊มน้ำมันมีห้องสุขาซึ่งกลายเป็นโซนปลอดภัยชั่วคราว" นิดบอกว่าเสียงปืนยังยิงตามหลังเขาไม่ยอมหยุด เขาวิ่งไปรวมกับผู้ชุมนุมบริเวณหน้าห้องสุขา

ผมวิ่งกลับไปที่ห้องสุขา ประมาณ 40 เมตรถัดไป รู้สึกว่าผมถูกไล่ยิงขณะวิ่ง ขาของผมล้าจนแทบล้มลง มันน่ากลัวมากตั้งแต่ผมทำข่าวมาไม่เคยกลัวมากขนาดนี้ เพราะเขายิงไม่เลือกเลย"

หลังจากนั้นผู้บาดเจ็บ และผู้ชุมนุมพยายามจะปีนกำแพงออกไปหลังห้องน้ำ เพราะทหารเข้ามายังพื้นที่ "ผมเห็นมีคนพยายามยกตัวคนเจ็บออกมา ผมไปที่กำแพงเพื่อพยายามช่วย และผมก็กระโดดข้ามกำแพงเข้าไปในบ้านสวยหลังหนึ่งติดปั๊ม พร้อมกับผู้ชุมนุมและผู้บาดเจ็บ"

นิคบอกว่า เขาเอาตัวแนบกำแพงเพราะกระสุนยังคงวิ่งตามเขาเข้ามา หลังกำแพงเขาได้ยินเสียงทหารวิ่งเข้ามาในปั๊ม และเขาได้ยินเสียงรองเท้าทหารทำร้ายร่างกาย ผู้ชุมนุมที่ข้ามกำแพงเข้ามาภายในบ้านหลังนั้นไม่ได้

ผมเห็นคนเจ็บหลบเข้าไปในบ่อเลี้ยงปลาในบ้านหลังนั้นห่างจากผมไปประมาณ 10 เมตร ผมได้ยินเสียงทหารตะโกนจากหลังกำแพงฝั่งปั๊มน้ำมัน ผมก็ได้ยินเสียงปืนรัวติดกันหลายนัด เห็นปลอกกระสุนบินข้ามกำแพงมา ได้ยินเสียงร้องขอชีวิต ผมได้ยินเสียงทหารสั่งว่า ให้ออกมาไม่อย่างนั้นจะยิงตาย ตอนแรกผมนึกว่าเขาหมายถึงผม จนผมเห็นหัวทหารโผล่พ้นกำแพง ตะโกนเข้ามา"

นิคบอกว่า เขาตัดสินใจเลยตะโกนออกไปว่าผมเป็นนักข่าวต่างชาติ ขอร้องว่าอย่ายิงผมเลยครับ ผมตะโกนอยู่สองสามครั้ง ก่อนที่ทหารจะมองเห็นผมชูมือให้เห็นว่าว่างเปล่า เขาสั่งให้ผมเดินออกมา ผมเดินไปหาเขาและอธิบายว่าคนที่อยู่ในน้ำ ถูกยิงที่ท้องและแขน อาการสาหัส เขาลอยตัวอยู่ในน้ำ ทหารคนหนึ่ง สั่งให้นิคดึงชายบาดเจ็บออกมาแต่ชายคนนั้นตัวใหญ่ทำให้นิดไม่สามารถช่วยได้คนเดียว ขณะที่นิดพยายามดึงตัวเขาขึ้น ผู้บาดเจ็บวิงวอนด้วยเสียงอ่อนว่าเขาทนไม่ได้แล้ว

"ผมขอให้ทหารคนหนึ่งมาช่วยผม ดึงคนเจ็บเพื่อไปส่งโรงพยาบาล แต่ทหารคนหนึ่งตะโกนว่าผู้ชายบาดเจ็บสมควรตาย ไม่ควรจะมีชีวิตอยู่ แล้วเขาก็เดินออกไปผู้ชายบาดเจ็บคนหนี้ ร่วงลงไปในน้ำอีกครั้ง จนมีทหารคนที่สองช่วยผมดึงตัวเขาขึ้นมา ขณะที่ทหารคนแรกยังตะโกนไม่หยุดว่า คนเหล่านี้สมควรตาย"

นิคบอกว่า ทหารสั่งให้นำเปลมาช่วยคนเจ็บออกไป และสั่งไม่ให้ผมถ่ายรูป ซึ่งภายในบ้านหลังนั้นมีทั้งผู้ชุมนุม และผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ผู้สื่อข่าวไทยคือช่างภาพหนังสือพิมพ์แนวหน้า นักข่าวของ Spiegel, ทีมช่างภาพจากอินโดนีเซีย, ช่างภาพท้องถิ่นทีทำงานให้กับ ABC News, โดย ผู้ชุมนุมหลายคนที่อยู่กับพวกเรา กลายเป็นคนขับรถจำเป็นให้กับพวกเราเหล่านักข่าวต่างชาติเพราะเราต้องรักษาชีวิตพวกเขา

นิคยืนยันว่า วันนั้น ทหารไทยทำผิดกฎและขาดระเบียบวินัย ผู้ชุมนุมยังไม่ทันได้ทำอะไร ไม่ได้ต่อสู้ พวกเขามือเปล่า แต่ ทหารยิง ทหารทำผิดกฎของเขาเอง ทหารไม่ได้ทำตามขั้นตอนจากหนักไปหาเบา เขาไม่ได้ยิงแก๊สน้ำตา เขาไม่ได้ใช้กระสุนยาง แต่กระสุนใช้กระสุนจริงและไม่หยุดยิง

"ผมจะยอมรับได้หากวันนั้น มีการยิงปะทะ แต่ การยิงเกิดขึ้นฝ่ายเดียว จากฝ่ายทหารเท่านั้น ผู้ชุมนุมมีจำนวนไม่มาก สองมือเปล่า ไม่มีอาวุธ ผมไม่ต้องการเห็นใครสักคนตาย ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือผู้ชุมนุม แต่ ผู้ชุมนุมเหล่านี้ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย ไม่ใช่ชุดดำ เขาเป็นผู้ชุมนุม ซึ่งผมคิดว่า รัฐบาลไทยจะต้อง ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในบริเวณนี้"

นิค บอกว่า เขาได้ถาม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในวันที่ชี้แจงต่อสื่อมวลชนต่างชาติ นายอภิสิทธิ์ บอกว่า ให้เขาไปเป็นพยานในเรื่องนี้ ซึ่งเขาพร้อม เพราะทุกอย่างที่เขาเห็นเป็นข้อเท็จจริงที่เขามีหลักฐาน ที่จะบอกถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติของทหารไทย

ผู้สื่อข่าวชาวเยอรมันรายนี้บอกว่า เขาเป็นชาวต่างชาติที่พูดและฟังภาษาไทยได้ เขามีครอบครัวเป็นคนไทย เขาเป็นพ่อของลูก เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญเหนือการเมืองคือความเป็นมนุษย์ นิดและเพื่อนผู้สื่อข่าว และผู้ชุมนุม 11 คนติดอยู่บ้านหลังนั้น กระทั่ง 2 ทุ่มพวกเขาจึงพยายามหลบออกมาได้

เขาบอกทิ้งท้ายว่าผู้ชุมนุมจำนวนไม่มาก การปฏิบัติการไม่ควรจะยิงตรงเข้ามา และยิงไม่หยุด ผมเข้าใจว่าทหารกลัวชุดดำแต่เขาควรจะแยกออกว่าระหว่างผู้ชุมนุมกับชุดดำ ซึ่งผมเชื่อว่าเขาแยกออกได้ แต่ครั้งนี้ ผมเห็นเพียงการยิงซ้ำ โดยที่ชุมนุมไม่มีอาวุธ แม้แต่คนที่บาดเจ็บ เขายังไม่เปิดโอกาสให้หนี ทหารทำผิดกฎอย่างชัดเจน เรื่องนี้รัฐบาลไทยต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง เพราะสำหรับเขาคิดว่ามันคือการฆาตกรรม

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใบตองแห้งออนไลน์:ภูเขาสามเหลี่ยม

Posted: 19 Jun 2010 10:00 PM PDT

<!--break-->

แล้วเราก็ได้เห็นเครื่องมือ “ปรองดอง” ของระบอบอภิสิทธิ์อย่างชัดเจนเต็มรูป ประกอบด้วยคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงพฤษภาอำมหิต คณะกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญชุด 18+1 อรหันต์ และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศชุด “คนคู่” อานันท์-ประเวศ

นี่หรือคือการปรองดองกับ 90 ศพ มองมุมไหนก็ไม่เห็นทางเป็นไปได้ มันก็แค่การสร้างภาพให้คนไม่รู้อิโหน่อิเหน่หลงเชื่อว่ามีการปรองดอง เพื่อโดดเดี่ยวทั้งคนเสื้อแดงและไม่แดงที่เรียกร้องต้องการประชาธิปไตยที่แท้จริง

รัฐบาลจะตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมาทำไมในเมื่อยังไม่ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ปิดกั้นสื่อที่ไม่ใช่พวกของตัว    ไม่ยอมให้เผยแพร่ภาพเหตุการณ์และการให้ข้อมูลจากทุกฝ่าย นอกจากฝ่ายของตัวฝ่ายเดียว คณะกรรมการจะเอาใครมานั่ง    หัวหงอก หัวดำ หัวใส ก็ไร้ประโยชน์ เพราะปราบเอง ตั้งเอง แล้วก็ยังปิดปากฝ่ายตรงข้าม ฉะนั้น การที่เสื้อแดงไม่ยอมเข้าร่วมคณะกรรมการชุดนี้จึงถูกต้องแล้ว

คณะกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญชุด 18+1 อรหันต์ยิ่งตลก คือไม่มีเครดิตตั้งแต่แรกแล้วที่เอาสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ บุคคลผู้ตกถังข้าวสารทางประวัติศาสตร์ (บังเอิญเป็นเลขาศูนย์นิสิตตอน 14 ตุลา เลยมีเครดิตติดตัวตลอดชาติ) มาเป็นประธาน ยิ่งเมื่อเห็นชื่อคณาจารย์อย่าง สมคิด เลิศไพทูรย์, วุฒิสาร ตันไชย, นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, จรัส สุวรรณมาลา ยิ่งหัวร่อกลิ้ง อ้าว เฮ้ย ก็พวกทั่นเป็น สสร.กันมาทั้งนั้น 3 ท่านแรกเป็นกรรมาธิการยกร่าง รธน.50 อ.สมคิดเป็นเลขานุการ พูดได้ว่าร่างมากับมือ

แล้ววันนี้ทั่นจะมาแก้ รัฐธรรมนูญที่ทั่นเคยบอกว่าดีที่ซู้ดในโลก อย่างนั้นหรือครับ ยังไม่ต้องกล่าวถึงว่าท่านมีทัศนะอย่างไร เอียงข้างไหน แต่เอาแค่ร่างเองแก้เอง ก็ต้องถามกันแล้วว่าทั่นยังมีจุดวางหัวแม่ทีนอยู่หรือไม่ เป็นนักวิชาการต้องมีหลักนะครับ ไม่ใช่วันหนึ่งตวัดลิ้นทางซ้ายบอกว่าอย่างนี้ถูก แล้วอีกวันตวัดลิ้นทางขวาบอกว่าไม่ถูกซะแล้ว แบบนี้จะสอนลูกศิษย์อย่างไร

อ้อ ลืมไป บางทั่นเคยเขียนหนังสือยกย่องการปฏิวัติ 2475 แล้วกลับมาสดุดีรัฐประหาร 2549 แต่ทั่นก็ยังสอนลูกศิษย์อยู่ได้   ไม่น่าแปลกใจอะไร

ผมเพียงอยากรู้ว่าถ้าอดีต สสร.4 ทั่นเห็นชอบให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 แล้ว ทั่นจะชี้แจงอย่างไร หรือไม่ต้องชี้แจง สมมติทั่นเห็นสมควรให้แก้ไขมาตรา 237 ทั่นต้องไปค้นบันทึกการประชุม สสร.ปี 50 มาให้ดูนะครับว่าทั่นเคยสงวนคำแปรญัตติไว้ ไม่งั้นทั่นก็ต้องแลบลิ้นให้ดูว่ามีกี่แฉก

นี่ยังไม่นับนักวิชาการหลายคนที่เป็นคอหอยลูกกระเดือกกับพันธมิตร คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญหัวชนฝา อย่างพิชาย รัตนดิลก, เจษฎ์ โทณะวณิก ส่วนบรรเจิด สิงคะเนติ ไม่ต้องพูดถึง การเป็น คตส.เท่ากับคุณหลุดพ้นจากความเป็นนักวิชาการไปเป็นอุปกรณ์ทางการเมืองตั้งนานแล้ว

โอ้ พระเจ้าช่วยกล้วยหักมุก ยังมีไชยา ยิ้มวิไล อีก นักวิชาการวิทยุทหารเนี่ยนะ น่าจะเอาไก่อูมาเป็นด้วยเผื่อจะได้กองเชียร์สาวๆ เฟซบุคมาเข้ากระบวนการมีส่วนร่วม (กรี๊ดดด...)

คณะกรรมการชุดที่ 3 น่าจะเป็นชุดที่ระบอบอภิสิทธิ์ฝากความหวังไว้มากที่สุด คือคณะกรรมการปฏิรูปประเทศกลบ 90 ศพ ที่แยกเป็น 2 ชุด มีอานันท์กับหมอประเวศเป็นประธาน

คณะกรรมการ 2 ชุดนี้คงจะระดมคนดีๆ ภาพลักษณ์ดีๆ มาร่วมกันสานฝัน อาทิเช่น ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม, อาจารย์อคิน รพีพัฒน์, อาจารย์ระพี สาคริก, บัณฑร อ่อนดำ, หมอพลเดช ปิ่นประทีป, ครูหยุย, ครูแดง, ไสว บุญมา.........ฯลฯ (ลองช่วยกันนึกและเติมคำในช่องว่าง มีอยู่ไม่กี่ตัวเลือกหรอก เช่นชุดของอานันท์ก็ต้องมีประสาน มฤคพิทักษ์ มามะลึกกึ๊กกั๊กอยู่แน่นอน และน่าจะต้องหาที่นั่งให้รสนาหรือผัวรสนาด้วย)

อ้อ ยังมีพี่เปี๊ยกยืนแอบๆ อยู่หลังฉากเพราะติดแบรนด์พันธมิตรอาจเป็นกรรมการโดยตรงไม่ได้ (แต่ถ้าไม่เขินก็เป็นได้นะ) อาจจะส่งพวกมือรองเข้ามา เช่น นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ เพราะเป็นโอกาสอันดีงามมากเลยที่พวกพี่เปี๊ยกจะโดดหนีจากรถเมล์สายพรรคการเมืองใหม่ไร้อนาคต มาเกาะล้อรถบีอาร์ทีสายปฏิรูป

บังเอิญเสียจังว่าเห็นภาพอภิสิทธิ์ อานันท์ หมอประเวศ แล้วก็เหมือนเป็นตัวแทนคน 3 กลุ่ม ที่พยายามจะ “ปฏิรูป” เพื่อกลบกลิ่น 90 ศพ และเป็นเสาค้ำของ “ระบอบประชาธิปไตยอำนาจพิเศษ”

นั่นคืออภิสิทธิ์เป็นตัวแทนรัฐราชการ ทหาร ตุลาการ อานันท์เป็นตัวแทนผู้ดี เซเลบส์ กลุ่มทุนที่ร่ำรวยเหลือล้นแล้วค่อยอยากมีธรรมาภิบาล ส่วนหมอประเวศคือตัวแทนของขุนนาง NGO ภาคประชาสังคม ที่ชอบคิดแทนประชาชนและสังคม

นี่คือภูเขา 3 ยอดที่เป็นอุปสรรคสำคัญของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง ภูเขารูปสามเหลี่ยม ไม่ใช่สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เพราะเจ้าทฤษฎีสามเหลี่ยมเองกลายเป็นส่วนหนึ่งของภูเขาไปเสียแล้ว

การปฏิรูปภายหลังจากปราบปรามเข่นฆ่า “ไพร่” แล้ว ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไรอื่น ถ้าไม่ใช่ตีหัวเลือดสาดแล้วลูบหลัง ภายหลังจากโค่นอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งด้วยรัฐประหาร ตุลาการภิวัตน์ ความอยุติธรรม 2 มาตรฐาน ทำให้คนจนคนชั้นล่างตลอดจนผู้รักประชาธิปไตยคับแค้นแน่นอก แล้วอานันท์กับหมอประเวศจะมาบอกว่า เราจะลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ลดความไม่เป็นธรรมในสังคม ยอมให้เรากดหัวต่อไปเถอะ อย่างนั้นหรือ

“ระบอบทักษิณ” ทุนโลกาภิวัตน์ที่มีฐานจากรากหญ้าคนชนบท ถูกโค่นล้มโดย “ระบอบอภิสิทธ์ชน” ที่แบ่งอำนาจให้หัวขบวนคนชั้นกลาง มันก็คือการพลิกข้างกันที่สร้างความไม่เป็นธรรมทั้งสองอย่าง วันนี้คุณไม่ยอมให้คนชนบทคนชั้นล่างและคนชั้นกลางเสรีนิยม มีส่วนร่วมในอำนาจ แต่คิดจะเอาการปฏิรูปมาทำให้ “ไพร่” เป็นคนหัวอ่อนว่านอนสอนง่ายเหมือนในอดีต อย่างนั้นหรือ ฝันไปเถอะ ผู้ดีรัตนโกสินทร์

ผมเชื่อว่าหมอประเวศกับอานันท์คงมีข้อเสนอดีๆ หลายข้อที่จะ “ลดความเหลื่อมล้ำ” ซึ่งในยามปกติผมก็คงเห็นด้วย แต่ปัญหาอยู่ที่จุดยืนว่าคุณทำเพื่ออะไร เพื่อสลายพลังการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย ใช่ไหมใช่ เพื่อคุ้มครองอำนาจ ให้อยู่ในมือชนชั้นนำ ทำให้คนจนคนชั้นล่าง กลับไปแบมือรอรับความเมตตา ความอนุเคราะห์ แทนที่จะลุกขึ้นมาทวงอำนาจของตัวเอง ใช่ไหมใช่

หมอประเวศไปพูดล่าสุด ยังพูดว่าต้องส่งเสริมให้คนจนมีอำนาจ อ้าว ก็คนจนเขาลุกขึ้นมาทวงอำนาจ กลับถูกยิงหัว แล้วจะไปปฏิรูปตรงไหน

หมอประเวศบอกว่าพลังทางสังคมเป็น 1 ในสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ว่าวิกฤตครั้งนี้คนตื่นตัวเยอะ สังคมจะเปลี่ยนโครงสร้างจากทางดิ่งมาเป็นทางราบ อ้าว แล้วไปปราบคนที่เขาตื่นตัวมาทำไม แล้วหมอประเวศจะมาช่วยคนที่ปราบให้ครองอำนาจได้ต่อไป ให้เป็นโครงสร้างทางดิ่งต่อไป

แล้วเมื่อไหร่มันจะเกิด “ประชาธิปไตยทางตรง” ละครับ ในเมื่อเอาเข้าจริงแล้วหมอประเวศปฏิเสธ “ประชาธิปไตยตัวแทน” เพียงเพื่อสร้างความชอบธรรมให้ “ประชาธิปไตยอำนาจพิเศษ” เท่านั้น

หมอประเวศพูดถึงธรรมาภิบาลทางการเมือง การปกครอง ความยุติธรรมและสันติภาพ โห! กล้าๆ พูดเลยหรือ “มนุษย์จะอยู่ร่วมกันได้ต้องมีความยุติธรรม” แล้วตอนนี้มันมีหรือเปล่า

วิกฤตที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งครั้งใหญ่ในสังคม จากการต่อสู้ของประชาชน ที่ไม่ได้หมายถึงแค่เสื้อแดงฝ่ายเดียว แต่ทุกสี กำลังจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมไทยในคุณภาพใหม่ แต่หมอประเวศกับอานันท์สอดเข้ามา เอาเกียรติประวัติส่วนตัวมาเป็นภูเขาสามเหลี่ยม พยายามจะยับยั้งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

อย่างไรก็ดี ผมไม่เชื่อว่าหมอประเวศกับอานันท์จะยับยั้งได้ คุณจะแก้ความเหลื่อมล้ำในระบอบที่อยุติธรรม คุณจะสร้างจิตสำนึก สร้างความเข้มแข็งของสังคม ในภาวะที่ใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ใช้อำนาจทหารและกฎหมายไม่เป็นธรรมกดหัวฝ่ายตรงข้ามอยู่ อย่างนั้นหรือ

ยิ่งถ้าพูดลึกลงไปถึงแนวคิด “ลัทธิประเวศ” ด้วยแล้ว ยิ่งสวนโลกสวนสังคมสิ้นเชิง เพราะลัทธิประเวศที่ฝังอยู่ใต้จิตสำนึก NGO ส่วนใหญ่คือการปฏิเสธทุนนิยม จะพาชาวบ้านถอยออกจากทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ซึ่งไม่มีใครเขาเอาด้วยแล้ว

ผมเคยคุยกับหมอประเวศ 1-2 ครั้งตั้งแต่สมัยยังไม่เกิดวิกฤต มาย้อนคิดดูตอนนั้นผมก็ไม่ได้ประทับใจอะไร คือหมอประเวศจะพูดอะไรที่มันถูกเสมอ ดีเสมอ สูงส่งเข้าไว้ เหมือนจะลึกซึ้ง มีปรัชญา แต่จริงๆ แล้วเลื่อนลอย ไม่มีขั้นตอนวิธีการว่าจะไปถึงเป้าหมายอย่างไร ไม่มีการวิเคราะห์ศึกษาความเป็นไปได้ของโปรเจกท์ ถ้าเป็นโครงการธุรกิจคงถูกตีตกหมด แต่โครงการ NGO เขาดูกันที่ตัวคนกับความฝัน เขียนอะไรให้ดีๆ เข้าไว้ ก็ได้เงินทุนช่วยเหลือ

ผมมีคำถามเสมอมาว่าหมอประเวศทำอะไรสำเร็จบ้าง บางโครงการในชนบทที่ลูกศิษย์หมอประเวศลงไปทำ อยู่ได้ด้วยตัวเองจริงหรือ ต้องใช้เงิน สสส. พอช. กี่สิบล้านถึงทำให้ชาวบ้าน “ไม่ต้องพึ่งทุนนิยม”

ได้ยินใครไม่รู้พูดตอนแรกว่าอาจจะมีการตั้งสำนักงานปฏิรูปประเทศไทยทุกจังหวัด ดีเหมือนกัน อย่างน้อยถ้าทำอะไรไม่สำเร็จก็จะได้เป็นสำนักงาน NGO ประจำจังหวัด บรรจุ NGO เป็นพนักงานองค์กรมหาชน มีรถประจำตำแหน่งมีเลขาหน้าห้องมีงบประชุมสัมมนา สมมติเอาเงินภาษีหุ้นมาใช้ ก็จะเป็นแหล่งเงินทุนใหญ่ของเครือข่ายลัทธิประเวศเหมือน สสส.พอช.(กลายเป็นสามเหลี่ยมทองคำ)

ไม่ได้หยามหมิ่นนะครับ หมอประเวศเป็นคนดีเสมอในสายตาผม แต่หมอประเวศคิดทุกอย่างแบบคนดีเหนือโลก หมอประเวศไม่ได้คิดบนพื้นฐานของปุถุชนที่กินปี้ขี้นอน อานันท์เสียอีก ยังมองโลกได้เป็นจริงกว่า เพราะแกยังเป็นปุถุชนที่ชอบกินปี้ขี้นอน (อิอิ)

ถ้าผมคาดผิด หมอประเวศทำสำเร็จ ออกพิมพ์เขียวมาผลักดันการปฏิรูปสำเร็จ ก็ขออนุโมทนาด้วย แต่ประวัติศาสตร์ก็จะซ้ำรอย เหมือนที่มีการนองเลือดทุกครั้งแล้วแก้ปัญหาแบบลูบหน้าปะจมูกเพียงเพื่อประคองอำนาจ เหมือน 6 ตุลาปราบความคิดก้าวหน้าอย่างเหี้ยมโหด แล้วค่อยคลายอำนาจ เปลี่ยนจากรัฐบาลหอยเป็นเกรียงศักดิ์ เปรม ประชาธิปไตยครึ่งใบ ทำให้คนรู้สึกว่าดีขึ้น แต่โครงสร้างของปัญหาไม่ได้แก้ไข สังคมไทยก็ถูกสยบยอมอยู่ต่อไป เป็นสังคมที่ไม่สามารถใช้สมองส่วนหน้าสร้างสรรค์ หรือคิดต่าง คนไม่กล้าแสดงออก นอกจากต้องแสดงออกแบบพนมมือกันเป็นแถวตอนเรียงหนึ่ง นั่นแหละปัญหาที่ทำให้สังคมไทยไม่เข้มแข็งอย่างที่หมอประเวศพูด แต่ไม่พูดให้ถึงแก่น

เอาเถอะครับ ก็ทำกันไป แต่คนที่รักประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คงได้แต่นั่งดู เพราะถึงอย่างไรเขาก็ไม่ให้มีส่วนร่วม แต่ถ้าจับพลัดจับพลูเขาชวนไปร่วม ก็ต้องปฏิเสธ ใครที่ร่วมมือกับกระบวนการปฏิรูปกลบ 90 ศพ ถือว่าไม่อยู่ฝ่ายประชาธิปไตย ขีดเส้นกันได้เลย ไปแล้วอย่ากลับ เพราะสิ่งที่เราต้องการคือต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจและทวงความยุติธรรม ไม่ใช่การอนุเคราะห์ให้ “ความเป็นธรรม” แค่บางส่วน

คนไทยมีความสุขที่สุดในโลก

สัปดาห์ก่อนอ่านข่าวรอยเตอร์ สถาบันบ้าบออะไรไม่ทราบของฝรั่ง จัดอันดับดัชนีความสุขสงบให้ประเทศไทยอยู่อันดับ 124 จาก 149 ประเทศ ต่ำกว่าอิหร่าน ลาว เขมร สูงกว่าฟิลิปปินส์กับพม่าหน่อยเดียว

บ้าบอจริงๆ มันเอาความคิดฝรั่งมาวัดความรู้สึกคนไทย ฝรั่งมันคิดว่าการ “กระชับพื้นที่” ทำให้คนตายไป 90 ศพ บาดเจ็บเกือบ 2 พัน คงทำให้คนไทยทั้งชาติจมอยู่กับความเศร้าโศก ฝรั่งมันคิดว่ามีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน “ร้ายแรง” มานานกว่า 2 เดือนและจะฉุกต่อไปอีกเป็นเดือน คงทำให้คนไทยทั้งชาติจมอยู่กับความตึงเครียด

เอาเข้าจริงหาใช่ไม่ เพราะเหตุการณ์ “พฤษภาอำมหิต” ผ่านไปแค่ไม่ถึงเดือน คนไทยก็กลับมามีความสุข-เผลอๆ จะมากกว่าเก่า มหกรรมขายของจัดกันถี่ยิบ พ่อค้าแม่ขายแย่งที่ขายกันชุลมุน แย่งกันอ้างว่าเป็นผู้เสียหายจากการเผาบ้านเผาเมือง มหกรรมเที่ยวไทยได้ลดภาษี (ของชอบ มีใครมั่งอยากเสียภาษี) คนตรึมรถติดยาวเหยียด

แม้แต่ร้านอาหารร้านเหล้าผับบาร์ แทบว่าจะแย่งกันกิน เพราะอัดอั้นมานาน ไม่ได้ใช้เงินใช้บัตรเครดิต เศรษฐกิจก็ทำท่าจะไปโลด เพราะต้องสร้างซ่อมทั้งเซ็นทรัลเวิลด์ สยาม และศาลากลางจังหวัดอีก 4 แห่ง บริษัทประกันจ่ายแต่ไม่สะดุ้งสะเทือน แถมคุยว่าต่อไปจะขายประกันก่อการร้ายได้เพิ่ม

สถานการณ์ฉุกเฉินหรือ ไอ้พวกบ้าองค์กรนิรโทษกรรมสากลไม่เข้าใจ เขามีไว้คุ้มครองความสุขของคนไทย ระหว่างดูบอลโลก ครึ่งลูก ครึ่งควบลูก ปป.=แปะปั่ว อย่างน้อยก็อุ่นใจไปจนถึงรอบรอง ถ้าสถานการณ์ไม่ชอบมาพากล รัฐบาลทั่นก็อาจจะขยายให้ถึงรอบชิง

เสียอย่างเดียว ศอฉ.ไม่มีน้ำยา ไม่สามารถออกประกาศยกเลิกคำสั่งฟีฟ่า คนไทยเลยต้องดูบอลโลกโดยเอามือจับหนวดกุ้งหมุนไปหมุนมา

ฝรั่งมันไม่เข้าใจนิสัยคนไทยครับ สยามเมืองยิ้ม เรามีความสุขได้ เพราะ “สุขอยู่ที่ใจ” ไม่ได้อยู่ที่ความถูกต้องยุติธรรมหรือสิทธิเสรีภาพ อันนั้นมันของนอกกาย

ใช่ว่ามี พรก.แล้วไม่มีสิทธิเสรีภาพ เพราะเราเอาไว้ใช้กับพวกเสื้อแดงเท่านั้น แต่ตำรวจโง่ๆ ดันคิดว่ามี พรก.แล้วต้องใช้มาตรฐานเดียวกันหมด ไล่กระชับพื้นที่จนคนตาบอดตกน้ำ โดนทั่นนายกฯ ผู้มีเมตตาธรรมด่าเช็ด สั่งให้ปล่อยแกนนำคนพิการไม่เอาผิดฐานชุมนุมฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉิน ขณะที่พวกไพร่แดงถูกยิงด้วยเอ็ม 16 นอนเจ็บเกือบตายยังถูกล่ามตรวน

สังคมไทยเรารู้ว่าจะใช้มาตรฐานไหนกับใคร อย่างไร แต่ฝรั่งมันไม่รู้ มันถึงประหลาดใจว่าทีคนตาย 90 ศพไม่เห็นมีใครโวยวาย ทีตัดต้นไม้ขยายถนนขึ้นเขาใหญ่จะเป็นจะตายซะให้ได้ ยังกะต้นไม้เป็นญาติผู้ใหญ่ ไม่ยอมให้ตัดแม้แต่ต้นเดียว แห่ออกมาคัดค้านเป็นพระเอกนางเอกทางเฟซบุค ทั่นนายกฯ ก็ดีเหลือใจ ยินดีรับฟังกระแสสังคม สั่งระงับทันที

แหม มันน่าเปลี่ยนชื่อถนนจาก “ถนนธนะรัชต์” เป็น “ถนนเวชชาชีวะ” ให้เข้ากับยุคสมัย

1 เดือนผ่านไปไวเหมือนโกหก สังคมไทยลืมเหตุการณ์นองเลือดไปหมดแล้ว คนกรุงคนชั้นกลางได้ความสุขคืนมาจากปากกระบอกปืน (หนังสือ “หนึ่งนัด หนึ่งศพ” ของนพดล เวชสวัสดิ์ พิมพ์นานแล้ว จู่ๆ กลายเป็นเบสต์เซลเลอร์ เพราะคนชั้นกลางอ่านแล้วสะใจ)

นี่หรือคือบรรยากาศที่จะ “ปฏิรูปประเทศไทย”

 

ใบตองแห้ง
................................

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อภิปรายโศกนาฏกรรมราชประสงค์: นักวิชาการซัด “อำพราง - อัปลักษณ์ - อำมหิต”

Posted: 19 Jun 2010 08:54 PM PDT

<!--break-->

19 มิ.ย.53 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการจัดการอภิปรายทางวิชาการ เรื่อง “โศกนาฏกรรมจากราชดำเนินสู่ราชประสงค์” จัดโดย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิศักยภาพชุมชน บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้ร่วมฟังจำนวนมาก มีกำหนดจัดงานในวันที่ 19-20 มิ.ย.นี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามการถ่ายทอดสด และอ่านบทวิเคราะห์ต่างๆ ในฉบับเต็มได้ใน www.peaceandjusticenetwork.org

 

พฤษภา 53 ข้อมูลการตายพร่าเลือน – ไม่ระบุอาวุธสังหาร
กฤตยา อาชวนิชกุล ศูนย์สิทธิมนุษยชน มหิดล ซึ่งเคยมีประสบการณ์เป็นแกนหลักในการรวบรวมข้อมูลคนเจ็บ คนหาย คนตาย จากเหตุการณ์พฤษภาเลือด 2535 กล่าวว่า วันนี้ตั้งใจใส่เสื้อรณรงค์ช่วงเหตุการณ์พฤษภามหาโหด 2535  ซึ่งมีข้อความว่า“Killers have no right to rule” และขอเรียกพฤษภาในปีนี้ว่า พฤษภาอำมหิต

จากนั้นกฤตยานำเสนอบทความเรื่อง “เชิงอรรถความตาย ในการปราบปรามประชาชนเดือนเมษา-พฤษภา 53 อำพราง อัปลักษณ์ อำมหิต” โดหยิบยกข้อมูลการตายจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติมาวิเคราะห์ ระบุว่าผู้ตาย 90 คนที่ปรากฏ ข้อมูลการตายวันที่ 10 เม.ย. มีข้อมูลครบ แต่ช่วง 14-19 พ.ค. เป็นข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนอย่างยิ่งทำให้ภาพการตายในช่วงเหตุการณ์นั้นพร่าเลือน ไม่ชัดเจน ไม่แน่ใจว่าเป็นความจงใจหรือไม่

ทั้งนี้ ในจำนวนผู้เสียชีวิต 90 คน เป็นหญิง 4 คน, อายุส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน, มีเยาวชน 2 คน อายุ 14 ปี (ชาย1 หญิง1) เจ้าหน้าที่รัฐ 10 คน ในจำนวนนี้ 5 คนเสียชีวิตวันที่ 10 เม.ย. มีทหาร 1 รายเสียชีวิตจากกระสุนปืนเมื่อวันที่ 28 เม.ย. ข่าวต่างประเทศระบุว่าเป็นการยิงกันเองของทหาร ส่วนตำรวจเสียชีวิต 2 นายที่สีลม, มีทหารอากาศนอกเครื่องแบบถูกยิงศีรษะซึ่งข่าวระบุว่าเจ้าหน้าที่เข้าใจผิดกัน, ทหาร 1 นายเสียชีวิตจากระเบิดที่ถนนสารสิน, นักข่าวต่างชาติเสียชีวิต 2 ราย สาเหตุของการเสียชีวิตประมาณ 3 ใน 4 ถูกยิง สันนิษฐานได้ว่าเป็นปืนที่ใช้ในสงคราม ตั้งใจยิงใส่หัว23 ราย หน้าอก24 ราย และมีหลายรายมีการถูกยิงมากกว่า 1 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตามวันที่ 10 เม.ย. มีการระบุชัดเจนว่าอาวุธที่ใช้เกือบทั้งหมดเขียนว่า ปืนสงคราม แต่หลังจากนั้นไม่มีการระบุเลย

ผลชันสูตรไม่ตรงความจริง – วงการหมอเงียบฉี่ ไม่เหมือนพฤษภา 35
ส่วนปัญหาของการชันสูตรพลิกศพนั้น ข้อมูลตำรวจโรงพักพญาไท ยังระบุว่า ทางโรงพักได้ชันสูตรศพบริเวณราชปรารภ ประตูน้ำ ดินแดง  พบว่า มีบาดแผลตั้งแต่ตัวถึงศีรษะ หน้าไปหลัง หลังไปหน้า  จำนวน 22 ศพ แพทย์ระบุว่าถูก”วัตถุความเร็วสูง” โดยหลีกเลี่ยงที่จะเขียนว่ากระสุนความเร็วสูง

อย่างไรก็ตาม หลังวันที่ 10 เม.ย.พบว่าประมาณ 1 ใน 3 หรือ 31 ราย ไม่มีการชัสูตรศพ ทั้งที่เป็นสิ่งสำคัญมากในการชี้ว่าการตายของแต่ละศพเป็นอย่างไร เหตุการณ์ปี 2535 มีการชันสูตรศพอย่างครบถ้วน 39 ราย จากผู้เสียชีวิต 44 ราย ทำให้เห็นว่ารัฐบาลในสมัยนั้นใช้ความรุนแรงอย่างไร โดยได้รับความร่วมมือจากแพทย์ประจำบ้าน มีการศึกษาทางระบาดวิทยาของผู้ชุมนุมที่เข้ารักษาพยาบาล แต่การเคลื่อนไหวลักษณะนี้จากแพทย์ในเหตุการณ์ปี 2553 ไม่มีเลย ขณะเดียวกันยังมีข่าวลือมากมายที่แพทย์ทำกับผู้บาดเจ็บไม่เหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้นยังมีกรณีที่ญาติประท้วงเพราะแพทย์ชันสูตรแล้วระบุว่า “ถูกของแข็งกระแทก” ทั้งที่เห็นอย่างชัดเจนว่าถูกยิง หรือกรณีน.ส.กมนเกด อัคฮาด ที่ระบุว่าไม่มีกระสุนในร่างกายทั้งที่มีหลักฐานว่ามี ซึ่งในเชิงระบบไม่พบความพยายามของภาครัฐและสถานพยาบาลที่จะทำเรื่องนี้ให้ชัดเจนขึ้น เพื่อให้คณะกรรมการอิสระที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตใช้เป็นหลักฐาน และน่าเสียดายที่ศพส่วนใหญ่ถูกฌาปนกิจแล้วแต่ก็ยังเหลือผู้บาดเจ็บจำนวนมากซึ่งเป็นพยานที่มีชีวิต อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการอิสระไม่น่าใช่ชุดของคณิต ณ นคร แม้ท่านจะน่านับถือ แต่ถูกตั้งคำถามในเชิงที่มาของการแต่งตั้งจากคู่กรณี

อำพราง อัปลักษณ์ อำมหิต
กฤตยากล่าวต่อว่า ความตายเหตุการณ์นี้สะท้อนอะไรบ้าง สิ่งที่พบนั้นเรียกว่า อำพราง อัปลักษณ์ อำมหิต โดยอำพรางคือเสื้อแดงถูกกระบวนการอำพรางให้กลายเป็นอื่น สิ่งสกปรก ต้อยต่ำ เป็นมลทิน  ดังนั้น การจะพูดถึงความสะอาดจึงพูดถึงมาตรฐานทางศีลธรรม และกลับมาให้อำนาจกับผู้ที่มีอำนาจอยู่เองในการทำให้สังคมอยู่ในระเบียบอย่างที่ควรเป็น โดยเห็นชัดเจนว่าในวันที่ 12 เม.ย. มีการสร้างวาทกรรมเรื่องก่อการร้ายขึ้นมาและใช้ตลอดมา ทั้งที่ในเหตุการณ์ภาคใต้ยังใช้ “ผู้ก่อความไม่สงบ” ในมาตรฐานสากล “ก่อการร้าย” มีความหมายชัดเจนกว่านี้ ส่วนความอัปลักษณ์ เช่นกรณีจุฬาฯ ช่วงนั้นตนคิดว่าสามารถทำบทละครได้เลย รายการข่าวโทรทัศน์ออกเต็มไปหมด แต่ไม่มีที่ใดที่ไปขุดเบื้องหลังในการบุกรพ.จุฬา ไม่มีการนำเสนออีกด้าน การนิยามให้เป็นแก๊งค์ป่วนเมือง เช่น การรณรงค์ด้วยรถไปทั่วกทม. เรื่องเหล่านี้ดำเนินไปต่อเนื่องมาถึงจุดที่ “มันต้องทำให้สะอาด” กระบวนการใช้อำนาจจึงทำด้วยความอำมหิต

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ "โมฆะบุรุษ"
“แต่ที่อำมหิตกว่านั้นคือสังคมจำนวนหนึ่งเห็นพ้องกับการใช้อำนาจอำมหิตเหล่านี้ เพื่อจัดการสิ่งซึ่งถูกมองว่าสกปรก เป็นมลทินออกไปให้หมด และพยายามบอกว่าให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยการลืมความอำมหิตเกี่ยวกับคนเสื้อแดงไว้ข้างหลัง” กฤตยากล่าว และว่าแผนการปรองดองก็อำมหิตเพราะเท่ากับบอกให้สังคมไทยควรทิ้งและลืมอดีตที่โหดร้ายไว้ข้างหลัง มีคนน้อยมากที่พูดถึงศีลธรรมของผู้ปกครอง ซึ่งไม่มีสิทธิเกลียดประชาชน หรืออำนาจที่ใช้กับประชาชน คำสั่งฆ่าประชาชนในเหตุการณ์ 7 ตุลา เคยมีคำอภิปรายของอภิสิทธิ์ต่อนายกฯ สมชายว่า เป็นคนหรือเปล่า อภิสิทธิ์เคยอภิปรายนายกฯ บรรหาร เรียกว่า เป็นโมฆะบุรุษ แต่กรณีที่เกิดขึ้นแล้วอภิสิทธิ์ยังอยู่ในอำนาจ ไม่แน่ใจว่าตกอยู่ในข่ายที่เคยเรียกคนอื่นเป็น โมฆะบุรุษ เช่นเดียวกันหรือไม่ และรัฐบาลนี้เป็นโมฆะรัฐบาลหรือไม่

“ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั้ง เมษา พฤษภา และเหตุการณ์ที่เกิดในภาคใต้ ประวัติศาสตร์ต่างๆ ย้ำเตือนเราซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า สังคมไทยมีวัฒนธรรมที่อดทนต่อความแตกต่างทางความคิดน้อยมาก หรือไม่มีเลย เราไม่มีระบบการศึกษาที่ทำให้คนตั้งคำถามได้เหมือนที่เราบอกว่าอยู่ในสังคมประชาธิปไตย” กฤตยากล่าวสรุปถึงมุมมองทางสังคมศาสตร์ และว่านอกจากนี้ยังมีระบบความเชื่อ กฎหมาย กลไกที่บีบให้คนกลัว ทำให้สังคมไทยเกิดความเงียบ

“อย่าลืมว่าเราอยู่ในรัฐบาลเลือกตั้ง รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลพลเรือนชุดแรกที่ทำให้เกิดการฆ่าฟันล้มตายในบ้านเมืองมากที่สุดเท่าที่ตั้งประเทศไทยมา” กฤตยากล่าวและว่า ความเป็นรัฐบาลพลเรือนแล้วยังละเมิดสิทธิ จึงทำให้การละเมิดในลักษณะเชิงโครงสร้างอย่างสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมืองกลายเป็นความปกติของประเทศไทย รวมไปถึงการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินยาวนานจนเป็นสิ่งปกติด้วย ทั้งที่ตั้งแต่แรกเริ่มนั้นไม่มีความจำเป็นและสามารถแก้ปัญหาด้วยวิถีทางทางการเมือง
 
สำหรับข้อเสนอนั้น กฤตยากล่าวว่า 1. รัฐบาลต้องคืนความยุติธรรมให้ผู้เสียชีวิตและผู้เสียหายทุกฝ่าย 2.ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินเร็วสุด 3. ตั้งคณะกรรมการอิสระตรจสอบข้อเท็จจริง โดยที่ไม่ใช่รัฐบาลจัดตั้ง แต่ควรมีที่มาดังเช่นข้อเสนอของไกรศักดิ์ ชุณหะวัณที่ให้รัฐสภาเลือก และมาจากหลากหลายฝ่าย ควรมีตัวแทนจากกมธ.สิทธิมนุษยชนของอาเซียนด้วย

ความชอบธรรมที่ทำให้การตายสูญเปล่า
เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงบทวิเคราะห์ปฏิบัติการทางทหาร ว่า โดยหลักการแล้ว การใช้กำลังทหารเข้าสลายและล้อมปราบการชุมนุมทางการเมืองในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยไม่ควรเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแนวทางการเจรจาเพื่อยุติปัญหาโดยสันติยังเป็นไปได้ นอกจากนี้รัฐบาลควรถูกตั้งคำถามตั้งแต่การใช้อาวุธหนักเข้าสลายการชุมนุมแล้ว  แม้อ้างว่าผู้ชุมนุมมีอาวุธแต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วก็ไม่ได้มีน้ำหนัก ร้ายแรงเท่ากำลังทหารกว่า 50,000 นายพร้อมอาวุธครบมือซึ่งมากเกินกว่าข้ออ้างเรื่องการป้องกันตัว

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความชอบธรรมที่ใช้สลายการชุมุนม รัฐใช้การกล่าวหา 3 เรื่องหลัก คือ 1. ผู้ก่อการร้าย ซึ่งเริ่มใช้ 12 เม.ย.เพื่อตอบโต้กลุ่มคนชุดดำที่โจมตีทหาร คำถามคือทำไมเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของรัฐจึงไม่ทราบและไม่มีมาตรการที่สามารถจัดการได้ แต่รัฐกลับเหมารวมและสร้างมายาคติของสังคมให้เชื่อว่าคนมาชุมนุมพร้อมจะใช้อาวุธสู้รบ เป็นผลักให้คนเหล่านี้เป็นจำเลยไม่ว่าความรุนแรงจะมาจากไหนก็ตาม 2.ผู้ร่วมชุมนุมได้รับอามิสสินจ้างจากทักษิณและเครือข่าย เรื่องนี้แม้แกนนำจะมีความสัมพันธ์อันดีกับทักษิณ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนส่วนใหญ่ถูกซื้อมา สิ่งที่สำคัญกว่าคือประเด็นสิทธิทางการเมืองที่พวกเขาต้องสามารถแสดงออกได้ 3.แดงล้มเจ้า แม้ประเด็นนี้ไม่ได้นำมาซึ่งประเด็นทางกฎหมาย แต่สร้าง “ม็อบชนม็อบ” ทั้งในพื้นที่จริงหรือในไซเบอร์สเปซ กระตุ้นเร้าให้สังคมเผชิญหน้ากันและให้ฝ่ายหนึ่งเป็นปรปักษ์ในสังคม

“ความชอบธรรมมาจากการอ้างข้อกล่าวหาทั้งสามนำมาซึ่งการใช้กำลัง เพราะข้อหาเหล่านี้ร้ายแรงและชอบธรรมพอที่จะใช้กำลังสลายได้ และความตายของคนเหล่านี้ไม่เท่ากับตึกรามบ้านช่องที่ถูกเผา ซึ่งด้านหนึ่งมันคือความน่าสลดใจของสังคมไทย”เกษมกล่าว

เทียบมาตรฐานสากลกับการสลายการชุมนุมแบบไทยๆ
ขวัญระวี วังอุดม นักสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า เราสามารถเทียบเคียงปฏิบัติการครั้งนี้กับหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศไม่ว่า ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่กำหนดให้ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีมีพันธกรณีที่จะต้องเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะสิทธิในการมีชีวิต แม้แต่หลักการสากลที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในภาวะความขัดแย้งที่จำเป็นต้องมีการใช้อาวุธก็ยังย้ำความสำคัญของสิทธิดังกล่าว และระบุว่าต้องมีสัดส่วนการใช้กำลังและอาวุธที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ต้องเริ่มจากเบาไปหาหนัก ซึ่งศอฉ.ประกาศ 7 มาตรการเบาไปหาหนัก แต่กระสุนจริงไม่ได้แค่ยิงขึ้นฟ้า เพราะมีผู้บาดเจ็บจากกระสุนจริงตั้งแต่ช่วงบ่ายวันที่ 10 เม.ย.ที่สะพานผ่านฟ้า นอกจากนี้การปฏิบัติการทางทหารของศอฉ. มีการยิงแบบไม่เลือกเป้า ใช้อาวุธกับคนมือเปล่า มีการใช้กระสุนจริงเหนือเข่า มีการยิงรัวไม่ใช่ยิงทีละนัด รวมทั้งยังใช้กำลังเกินกว่าเหตุกรณียิงหน่วยกู้ชีพ

ส่วนหลักการการรับผิดนั้น ตามหลักสากลทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้สั่งการจะต้องรับผิด แต่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาตรา 17ระบุว่าเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิด ทั้งทางแพ่ง อาญา วินัย ในเรื่องการตรวจสอบตามหลักสากลแล้วเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นรัฐบาลต้องให้ความร่วมมือกับกลไกตรวจสอบระหว่างประเทศ เพื่อให้น่าเชื่อถือและแสดงความจริงใจของรัฐบาล

ศราวุฒิ ประทุมราช นักสิทธิมนุษยชน กล่าวถึงปฏิบัติการจับกุมและการคุกคามของรัฐภายในพ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงได้แก่ 12-18 พ.ค., 19 พ.ค., และหลัง 19 พ.ค. ในช่วงแรกมักเป็นการเรียกตัวไปสอบสวนและอบรมตักเตือน ใช้หมาย ศอฉ. ส่วนในต่างจังหวัดมีการสั่งการให้ผู้ว่าฯ ใช้กลไกรัฐติดตามแกนนำ ส่วนการจับกุมนั้นเป็นไปอย่างเหวี่ยงแห มีการจับตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินทั้งก่อนและหลังสลายการชุมนุม หลังเหตุการณ์ สตช.ระบุว่าทั้งประเทศมีหมายจับ 819 ราย บางส่วนจับกุมแล้ว ช่วงสองคือวันสลายการชุมนุม  19 พ.ค. มีภาพข่าวของต่างประเทศปรากฏว่ามีการผูกตา มัดมือไพร่หลัง มัดขาผู้ชุมนุมซึ่งเหล่านี้เข้าข่ายการทรมาน และในช่วงสามคือหลังสลายการชุมนุมก็ยังปรากฏว่ามีการจับกุมดำเนินคดีต่อเนื่อง รวมถึงการคุกคามแกนนำท้องถิ่นที่เพิ่มมากขึ้น

ศราวุฒิระบุว่า หากยังประกาศใช้พ.ร.ก. อยู่ก็จะเป็นการปิดกั้นโอกาสประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิในการเรียกหาความรับผิดชอบและเรียกร้องความเสียหายจากรัฐ เป็นเงื่อนไขให้รัฐใช้อำนาจข่มขู่คุกคามได้อย่างเกินขอบเขต สร้าง “บรรยากาศแห่งความหวาดกลัว” ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการแสวงหาความจริงและความยุติธรรม จึงสนับสนุนให้ยกเลิกพรก.ฉกเฉินทั่วประเทศ รวมถึงสามจังหวัดภาคใต้ด้วยถ้าอยากจะปรองดองกับพี่น้องสามจังหวัด ควรใช้ประมวลกฎหมายอาญาฉบับเดียวกันทั่วประเทศ

สารพัดวิธีโฆษณาชวนเชื่อของ ศอฉ.
จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงปฏิบัติการโฆษณาชวนเชื่อของศอฉ.ว่า สาระและวิธีการเสนอของศอฉ. ที่ออกทีวีพูลนั้นเข้าข่ายโฆษณาชวนเชื่อ นำเสนอภาพให้ประชาชนหวาดกลัว เกลียดผู้ชุมนุม ทำให้ข้อถกเถียงหลายอย่างกลายเป็นข้อสรุปไปโดยไม่ได้หาความจริง หรือตั้งคำถาม

จักกริชได้แบ่งเทคนิคการโฆษณาชวนเชื่อของ ศอฉ.ออกเป็น 1.การเลือกกล่าวโจมตีที่ตัวบุคคล มากกว่าข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อเรียกร้องของเขา ศอฉ.ไม่ได้สนใจประเด็นข้อเรียกร้องผู้ชุมนุมอย่างเปิดกว้างเป็นธรรม โจมตีเป็นผู้ป่วนเมือง ผู้ไม่รู้ ไร้การศึกษา 2. ใช้คำ วลี ประโยค และพูดสอดแทรกซ้ำๆ ในแถลงการณ์ให้รับฟังไปโดยไม่รู้ตัวและทำให้เชื่อ ทำให้ผู้ชุมนุมน่ากลัวเป็นผู้ร้าย เช่น ผู้กระทำผิดกฎหมาย เหิมเกิรม ป่วนเมือง ทำตามอำเภอใจ ผู้ก่อการร้าย ผู้ก่อความไม่สงบ ผู้มีพฤติกรรมล้มเจ้า ฯลฯ เต็มไปด้วยอคติ ประณามหยามเหยียด ไม่ใช่การชี้แจงข้อมูลปกติ ในทางตรงกันข้ามยังสอดแทรกคำที่ละมุนละไมที่จะสร้างความชอบธรรมของตนเอง ปิดบังการสลายการชุมนุมด้วยอาวุธ เช่น การอำนวยการรักษาความปลอดภัย, การกระชับวงล้อม, การขอคืนพื้นที่ 3.  การตัดต่อภาพและการอ้างอิงนอกบริบท ตัดต่อภาพต่างกรรมต่างวาระเข้ามาเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น การเตรียมการก่อวินาศกรรม 4.พูดความจริงบางส่วน เช่น กรณีคนตาย เห็นภาพ 5 คนบนถนนราชปรารภ พยายามบอกว่าตายเพียงคนเดียวที่เหลือไม่ตาย แต่สิ่งที่ควรพูดและไม่พูดคือที่ตายนั้นเพราะอะไร

5.การเบี่ยงเบนความสนใจจากประเด็นหลัก โดยไม่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นจริง เช่น กรณีทหารซุ่มยิง มีขึ้นเพื่อแก้ต่างคลิปที่เผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต คนหนึ่งสั่ง คนหนึ่งเล็งยิง ล้มแล้วก็ยังไม่หยุดยิง ศอฉ.อธิบายปืน ลักษณะทหาร ซ้ำไปซ้ำมา คำถามคือ มีทหารซุ่มยิงหรือเปล่า แต่กลับไปอธิบายเรื่องอื่นแทน 6.สร้างความนิยมชมชอบในตัวผู้โฆษณาชวนเชื่อ เช่น การขึ้นโฆษณาบนปกหนังสือหลายฉบับ เทคนิคเสริม ระดมคนดังมาพูดโน้มน้าวให้รักกัน โดยไม่สนใจปัญหาเชิงลึก

สื่อถูกทำให้เงียบ ทหารพอใจบอกสื่อช่วยรัฐบาล
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ อดีตอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงการใช้สื่อเพื่อสร้างความชอบธรรม ว่า ที่ผ่านมาสื่อทำงานโดยไม่เป็นอิสระ ถูกข่มขู่คุกคาม หวาดกลัว ขณะเดียวกันก็ไม่กล้าตั้งคำถาม “ถูกทำ” ให้เงียบเสียง ภาพสะท้อนการทำงานสื่อที่สำคัญคือการให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.อภิชาติ เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหมต่อทีวีไทยที่ว่า ขอบคุณสื่อ เพราะสื่อช่วยให้รัฐบาลอยู่ได้ ช่วยรัฐบาลสร้างความเข้าใจกับประชาชน รายงานอย่างเป็นกลาง

ในพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ม.9(3) ก็เป็นปัญหาเพราะให้อำนาจในการควบคุมสื่อ ส่วนกลไกที่ใช้ที่ทำให้เงียบที่สำคัญ คือ การปิดปากฝ่ายตรงข้าม การปิดสื่อท้องถิ่นอย่างวิทยุชุมนุมในพื้นที่สีแดงหลายจังหวัด บางสถานีส่งกำลังทหารหลายร้อยนายไปปิดสถานี จับแกนนำไป 20 กว่ารายที่เป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุชุมชน มีการปิดเว็บไซต์เท่าที่เห็นคำสั่งชัดเจนมี 36 เว็บ แต่เอาเข้าจริงลือกันว่าปิดประมาณ 30,000-40,000 เว็บ เว็บไซต์ประชาไทไม่ยอมรับคำสั่งไปฟ้องศาลให้คุ้มครองชั่วคราว ศาลไม่สอบพยาน ตัดสินยกฟ้องเพราะรัฐบาลมีอำนาจได้ตามพรก.ฉุกเฉิน จะเห็นว่าพ.ร.ก.ฉุกเฉินมีอำนาจสูงกว่ารัฐธรรมนูญเสียอีก 

ในส่วนของสื่อกระแสหลัก มีนักข่าวพยายามรายงานข่าวต่างๆ อยู่แต่ถ้ารายงานมากไปก็ถูกปิดคอลัมน์ หรือรายการไปมีคำสั่งโดยตรงไปยังช่องต่างๆ ห้ามเสนอภาพทหารเล็งปืน และให้ใช้ถ้อยคำ วลี วาทกรรมของรัฐ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นภาษาทหาร คนทั่วไปไม่ใช่แต่สื่อกระแสหลักใช้จนติดปาก ส่วนการข่มขู่คุกคามขั้นสูงสุดคือ การยิงผู้สื่อข่าว รัฐบาลต้องพิสูจน์ว่าตั้งใจยิงหรือไม่ ทำไมสื่อจึงตกเป็นเป้าหมาย ต้องการปกปิดภาพที่จะถูกเผยแพร่หรือไม่ และที่ปกปิดนั้นภาพอะไรบ้าง ท้ายที่สุดต้องยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยเร็วที่สุด

ทีมอาสาบุกฉาย-แจกคลิปเหตุการณ์วัดปทุมฯ
จากนั้นทีมอาสาสมัครกู้ชีพได้มีการฉายคลิปวีดิโอเหตุการณ์ในวัดปทุมวนาราม รวมถึงแจกซีดีรวมภาพและคลิปให้กับผู้ร่วมฟังอภิปรายด้วย โดย วสันต์ สายรัศมี หรือเก่ง ได้ออธิบายคลิปให้เห็นว่าอัครเดช ขันแก้ว หรืออ๊อฟ อาสาฯ ที่ถูกยิงนั้นดิ้นอยู่นานกว่าจะเสียชีวิตโดยไม่มีใครช่วยได้เพราะเกรงจะถูกยิง ส่วนกระสุนในตัวกมนเกด อัคฮาด นั้นมีหลายนัดไม่ใช่ไม่มีกระสุนในตัวอย่างที่เป็นข่าว เธอถูกยิงขณะกำลังช่วยลุงกิตติชัยที่ถูกยิงก่อนหน้านั้นทั้งที่ยกมือยอมแพ้แล้ว, มงคล เข็มทอง หนึ่งในอาสาฯ ที่เสียชีวิตไปช่วยอัฐชัยที่โดนยิงก่อนแล้วลากเข้ามา เขาโดนยิงที่เครื่องหมายปอเต๊กตึ๊งตัดขั้วหัวใจ โดยที่ขณะนี้ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ จากรัฐบาลด้วยเนื่องจากถูกระบุว่าเป็นผู้ก่อการร้าย

“ที่พวกผมออกมาฉายคลิปพูดคุยในเวทีเสวนาต่างๆ ก็เพราะต้องการเรียกร้องความยุติธรรมให้อาสาสมัครที่พร้อมช่วยทุกฝ่าย และที่ผ่านมารัฐบาลไม่เคยพูดถึงกรณีเหล่านี้เลย” เก่งกล่าว

โต้สุเทพ คนตายในวัดไม่มีอาวุธ ประชาชนมือเปล่าปีนต้นไม้ดูแนวทหาร
ส่วนกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แถลงว่า ผู้เสียชีวิตในวัดปทุมมี 1 นายมีผ้าเหลืองห่อนั้นมีอาวุธปืนและโดนยิงด้วย วสันต์กล่าวว่า ข้อเท็จจริงคือเขาเป็นประชาชนที่ขึ้นไปอยู่บนต้นไม้ในวัดเพื่อสังเกตแนวทหาร เขายังช่วยนักข่าวคนหนึ่งด้วยซ้ำ แต่สุดท้ายเขาต้องมาเสียชีวิต และในภาพจะเห็นว่าเขานอนอยู่บนจีวร เขาไม่ใช่พระแต่หลวงพ่อสละจีวรเพื่อยกศพเขาเข้าวัดอย่างทุลักทุเล

พยานวัดปทุมฯ ร้องโดนคุกคาม ต้องเร่ร่อน
หัวหน้าทีมปอเต๊กตึ๊ง หนึ่งในทีมอาสาสมัคร กล่าวถึงประวัติของเบิร์ด ลูกน้องที่ถูกยิงเสียชีวิตที่ซอยงามดูพลีว่าเริ่มทำงานอาสาตั้งแต่อายุ 13 ปี ขี่จักรยานจากบ่อนไก่มาทองหล่อ ปีนี้เพิ่งได้บัตรปอเต๊กตึ๊งอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม ในวันเกิดเหตุเขานั่งกินข้าวบนบ้านซอยงามดูพลี และอาสาฯที่อยู่ในพื้นที่เข้ามาบอกว่ามีคนเจ็บเยอะ เขาทิ้งจานข้าวมาช่วยคน ในระหว่างเข้าช่วยเหลือมือขวาเขาถือธงกาชาด ใช้วิธีคลานเข้าไปช่วยเหยื่อที่โดนยิง 3 คนออกมาได้ 2 คน แต่เมื่อตนเองหันไปอีกทีเบิร์ดก็โดนยิงเข้าท้ายทอยทะลุตาขวาแล้ว ข่าวออกทันทีว่าเป็นการ์ดนปช. จึงต้องหันไปประกาศบนเวที นปช. หลังตนเองออกมาให้ข่าวก็โดนติดตามราว 1 อาทิตย์ นอนบ้านไม่ได้

“ผมเป็นใครพี่ เป็นแกนนำเหรอ ทุกวันนี้ก็นอนบ้านไม่ได้ ต้องเปลี่ยนไปทุกวัน ลูกผมก็เล็ก ผมทำแล้วได้อะไร ประเทศเราจะมีกู้ภัย กู้ชีพอีกดีไหม ที่ทุกคนพูดเพราะสงสารเพื่อนเรา เราอยู่แบบพี่แบบน้อง ทางบ้านก็แอนตี้ผมมาก กลัวมีปัญหาทางบ้านเดือดร้อน ผมทำเพื่ออะไร แนะนำผมหน่อยว่าผมจะทำต่อดีไหม หรือควรเลิกทำไปเลย” หัวหน้าทีมปอเต๊กตึ๊งกล่าว
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น