ประชาไท | Prachatai3.info |
- เวทีถกร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ เห็นพ้องคว่ำทั้งฉบับ ชี้ละเมิดสิทธิ-ขัด รธน.
- ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน: ลดงบกองทุนสุขภาพคนไร้สถานะ บทพิสูจน์ความจริงใจกระทรวงสาธารณสุข
- ชำนาญ จันทร์เรือง: ดูฟุตบอลแล้วย้อนดูการเมืองไทย
- กระทรวงวัฒนธรรมสั่งห้ามฉาย "ซอร์ เกม ตัด ต่อ ตาย 6"
- Deep South Watch: นิธิ เอียวศรีวงศ์: "วัฒนธรรมมลายูนอกมุมมองฟอสซิล"
- ผอ.ศอ.บต.ชี้สถานการณ์ใต้ดีขึ้น คนกล้าช่วยเหยื่อไม่ปล่อยให้ตายก่อนถึงเจ้าหน้าที่
- นายกสมาคมต้านโลกร้อนเยี่ยมชาวบ้านแม่รำพึง
- ทนายยื่นคำร้องปล่อยตัวบก.ลายจุด ศาลนัดไต่สวน 2 ก.ค.
- นัดตรวจพยานหลักฐานคดีหมิ่นฯ กรณีผู้แลเว็บ นปช. ยูเอสเอ 9 ส.ค.
- วุฒิเชิญ ตร.คุมพื้นที่เผา 4 จว.แจง ระบุรัฐสลาย 19 พ.ค. ไม่แจ้ง เหตุรับมือไม่ทัน
- สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ไทย 5 เดือนแรกของปี 53 มีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วร้อยละ 5
- อนุมัติ 4 ข้อแก้ปัญหาสื่อ เล็งปรับเพิ่มโทษกฎหมายมุ่งปราบปราม “สื่อ” ที่เป็นภัยต่อสังคมไทย
- แอฟริกาใต้ 2010 : กระแสฟุตบอลโลกถล่มเครือข่ายทางสังคมออนไลน์
- แกนนำสตรีที่ชื่อ ‘รัตนา’ กับ 3 ปีที่ขังตัวเอง ชีวิตเหยื่อจากความไม่สงบ
- กวีประชาไท: "สันติภาพบนคราบเลือด" - "คืนความสุขให้ใคร"
เวทีถกร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ เห็นพ้องคว่ำทั้งฉบับ ชี้ละเมิดสิทธิ-ขัด รธน. Posted: 29 Jun 2010 03:12 PM PDT ภาคประชาชนลั่นค้านร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด ระบุเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญ-จำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึง สิทธิต่างๆ การจำกัดเสรีภาพการชุมนุมตาม พ.ร.บ. ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้าย แรง ด้านที่ปรึกษาสมัชชาคนจนแนะกรรมการสิทธิลาออก เหตุสนับสนุนร่างกฎหมายจำกัดเสรีภาพ <!--break--> (29 มิ.ย.53) เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน จัดเวทีสาธารณะว่าด้วย “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ” ที่ห้องประชุม 12 ตึก 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีภาคประชาชนจากหลายเครือข่ายเข้าร่วมแลกเปลี่ยนและเสนอความเห็น ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอไปเมื่อวันที่ 4 พ.ค.
สาระร่างพระราชบัญญัติการชุมนุม สาธารณะ พูนสุข พูนสุขเจริญ ตัวแทนจากเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวสรุปสาระร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอสู่สภาฯ ว่า พ.ร.บ.นี้จะบังคับเฉพาะการชุมนุมที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ ทั้งนี้ ไม่มีองค์ประกอบด้านจำนวนว่าผู้เข้าร่วมจำนวนเท่าใดจึงจะเป็นการชุมนุม อย่างไรก็ตาม มีองค์ประกอบคือ เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน หรือแสดงความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เปิดให้บุคคลอื่นเข้าฟัง เข้าร่วม สนับสนุนการชุมนุมได้ ส่วน "ที่สาธารณะ" หมายถึงที่ที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ประชาชนทั่วไปมีความชอบธรรมในการ ใช้ประโยชน์ร่วมกัน สำหรับการชุมนุมที่กฎหมายนี้ยกเว้น ได้แก่ งานพระราชพิธี งานศาสนา การแสดงกิจกรรมมหรสพ การชุมนุมในสถานศึกษา การชุมนุมตามกฎหมาย สัมมนาวิชาการ ข้อยกเว้นตามกฎหมายเฉพาะ เช่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก และการชุมนุมในสถานการณ์การเลือกตั้ง การชุมนุมในที่สาธารณะที่เข้าองค์ประกอบข้างต้น ซึ่งจะกระทบความสะดวกของประชาชน ผู้จัดการชุมนุมต้องแจ้งต่อหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ หรือบุคคลตามที่รัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ วิธีรับแจ้งไม่ได้ระบุใน พ.ร.บ. แจ้งก่อนจัดการชุมนุม 72 ชั่วโมง กรณีฉุกเฉินสามารถผ่อนผันได้ โดยผู้รับแจ้งต้องพิจารณาภายใน 24 ชั่วโมง หากขอผ่อนผันแล้วเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาต สามารถยื่นคำร้องต่อศาลได้ โดยคำสั่งศาลเป็นที่สุด การชุมนุมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสะดวกของประชาชน ซึ่งต้องแจ้งการชุมนุมได้แก่ การชุมนุมสาธารณะที่ขัดขวางความสะดวกของประชาชนที่จะใช้หรือเข้าออกที่ สาธารณะนั้นตามปกติ หรือขัดขวางการให้บริการหรือใช้บริการท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีขนส่งสาธารณะ ระบบการขนส่งสาธารณะ หรือการสื่อสารสาธารณะอื่น หรือกีดขวางทางเข้าออกตามสถานที่ตามมาตรา 8 (การชุมนุมต้องห้ามตามกฎหมาย) ได้แก่ สถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระรัชทายาท และสถานที่พำนักของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ศาล และหน่วยงานของรัฐ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล สถานศึกษา และศาสนสถาน ตลอดจนสถานทูตหรือสถานกงสุลของรัฐต่างประเทศ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.นี้ คือ ผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรตุลาการ และประชาชนทั่วไป โดยผู้จัดการชุมนุม คือ ผู้จัดให้มีการชุมนุมสาธารณะ เป็นผู้เชิญชวนผู้อื่นให้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีหน้าที่ต้องอยู่ร่วมการชุมนุมโดยตลอด ประกาศให้ผู้ชุมนุมทำตามหน้าที่ในการชุมนุม ไม่ส่งเสริมให้ผู้ชุมนุมไม่ปฎิบัติตามมาตรา 17 นั่นคือ ผู้ชุมนุมมีหน้าที่ไม่ก่อความไม่สะดวกกับประชาชนทั่วไป ไม่ปิดหน้า ไม่พกอาวุธ ไม่บุกรุกทำลายทรัพย์สินผู้อื่น ไม่ทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตราย ไม่ประทุษร้าย ไม่ขัดขวางเจ้าหน้าที่ในการปฎิบัติงาน และปฎิบัติตามคำสั่งด้วยวาจาของเจ้าพนักงาน การชุมนุมต้องแจ้งระยะเวลาในการชุมนุม และชุมนุมตามระยะเวลาที่แจ้งไว้ การเดินขบวน ต้องแจ้งล่วงหน้าและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานก่อน ขณะที่ รัฐมีหน้าที่คุ้มครองความสะดวกของประชาชนและผู้ชุมนุม ประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าจะมีการชุมนุม อำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง ดูแล รักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวกตามที่ผู้จัดการชุมนุมร้องขอ ควบคุมการชุมนุมให้ถูกต้องตามกฎหมาย ประกาศให้ผู้ชุมนุมทราบถึงหน้าที่ สามารถดำเนินการให้เลิกการชุมนุมได้ ถ้าการชุมนุมก่อให้เกิดความวุ่นวาย จินตนา แก้วขาว แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านกรูด แสดงความเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายชุมนุมสาธารณะ เพราะมีกฎหมายอื่นบังคับใช้อยู่แล้ว เช่น กฎหมายอาญา อย่างไรก็ตาม ถ้าจำเป็นต้องมี ก็ต้องเลือกใช้กับเฉพาะกลุ่ม เพราะภาคประชาชนที่ต่อสู้กับโครงการขนาดใหญ่ เรื่องสิทธิที่ทำกินนั้นไม่มีผู้มีบารมีช่วยเหลือ ขณะที่กลุ่มที่ต่อสู้ทางการเมือง เช่นเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ รัฐบาล หรือการเลือกตั้ง มีคนคอยให้ความช่วยเหลือ เธอวิจารณ์ว่า รัฐบาลกลัวผีการเมือง อยากจัดการทั้งสองสีให้อยู่ในระเบียบตามกรอบคิดของรัฐบาล จึงออกกฎหมายเช่นนี้ แต่ทั้งสองสีมีคนที่มีบารมีอยู่เบื้องหลัง กฎหมายนี้จึงจัดการได้แต่กับคนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีบารมีอย่างพวกเธอเท่านั้น ใน รายละเอียดของร่าง พ.ร.บ. เธอระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการต้องแจ้งล่วงหน้าว่าจะจัดการชุมนุม เพราะบางครั้งการชุมนุมเป็นเรื่องเฉพาะหน้า เช่น เมื่อคืนเราเพิ่งรู้ว่าวันนี้จะมีการขุดดิน จึงต้องรีบชุมนุม นอกจากนี้ ยังมีความไม่ชัดเจนอีกหลายประการเช่น บางครั้งก็ต่างคนต่างไปชุมนุม จะเอาอะไรมาวัดว่าใครเป็นผู้จัดการชุมนุม ชาวบ้านเพิ่งมาจากสวน มีมีดพร้าติดตัวมาด้วยจะถือว่าเป็นอาวุธหรือไม่ หรือเจ้าหน้าที่ให้หยุดการชุมนุมได้ ถ้าการชุมนุมมีความวุ่นวาย ถามว่าเอาอะไรมาวัดว่าวุ่นวาย การชุมนุมของชาวบ้านไม่มีใครนั่งพับเพียบ ทุกคนชูธง ใช้เสียง เอะอะ เดินขวักไขว่ แล้วอะไรที่เรียกว่าเรียบร้อย บารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กล่าวถึงการอ้างความเดือดร้อนจากการชุมนุมว่า ส่วนใหญ่เป็นความเดือดร้อนของคนกรุงเทพฯ โดยไม่คำนึงเลยว่า ที่อยู่ได้ทุกวันนี้มาจากการแย่งชิงทรัพยากรจากคนชั้นล่าง เมื่อชนชั้นล่างมาเรียกร้องคัดค้าน ชนชั้นกลางก็โวยวาย ขณะที่เราพลัดที่นาคาที่อยู่ ถูกจับ ถูกตีให้ชนชั้นกลางได้รับประโยชน์ นี่เป็นการเอาเปรียบทางชนชั้น นอกจากนี้ กฎหมายนี้ยังเป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ในการคุกคามผู้ชุมนุม รวมถึงอาจนำไปสู่การเรียกรับผลประโยชน์ด้วย บารมี กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา ไม่เคยได้รับการอำนวยความสะดวกในการชุมนุมเลย ไม่ว่าเรื่องน้ำดื่ม หรือห้องน้ำ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังเข้าไปประกบแกนนำ ข่มขู่ไม่ให้มา โดยบอกว่าจะทำให้บ้านเมืองเดือดร้อน ดังนั้น เสนอว่า ก่อนออกกฎหมายแบบนี้ รัฐควรไปฝึกคนให้มีประสิทธิภาพในการเจรจาต่อรองและแก้ปัญหาก่อน รวมถึงควรออก พ.ร.บ.ส่งเสริมเสรีภาพในการชุมนุมด้วย ทั้งนี้ เขาวิจารณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ออกมาสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ ด้วยว่า คณะกรรมการสิทธิฯ ควรมีหน้าที่ปกป้องการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่จำกัดเสรีภาพ โดยเขาได้เสนอให้คณะกรรมการสิทธิฯ ลาออกจากตำแหน่ง สมศักดิ์ สุขยอด กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก มองว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบและปราศจากอาวุธ นอกจากนี้ การต้องแจ้งก่อนจัดชุมนุม 72 ชั่วโมงนั้น มากกว่ากฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งให้แจ้งการนัดหยุดงานก่อน 24 ชั่วโมงเสียอีก เขาระบุด้วยว่า ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดสถานที่ห้ามชุมนุม โดยมองว่า ไม่ว่าผู้ใช้แรงงาน หรือ เกษตรกร ก็ต้องเดินทางไปเรียกร้องต่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่แล้ว แต่ร่างนี้กลับห้ามการชุมนุมในที่ต่างๆ เช่น หน้าสถานทูต เขายกตัวอย่างว่า หากมีผู้มาลงทุน แล้วกดขี่ประชาชน ก็ต้องไปชุมนุมที่สถานทูตประเทศนั้น แต่กฎหมายกลับไม่ให้ชุมนุม การทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้เห็นว่ารัฐบาลไม่สนับสนุนให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการเรียก ร้องแล้ว ยังเปิดโอกาสให้คนต่างชาติมาทำลายคนไทยอีกด้วย พร้อม เข้าสู่กระบวนการ กม. หากละเมิดสิทธิผู้อื่น กรณ์อุมา พงษ์น้อย ประธานกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก กล่าวถึงกรณีที่มีผู้แย้งว่า หากไม่มี พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ผู้ชุมนุมอาจละเมิดสิทธิของประชาชนที่ไม่ได้ชุมนุมได้ว่า พวกเธอไม่เคยปฎิเสธกฎกติกาของบ้านเมือง ตลอดเวลาที่ต่อสู้ เจอคดีจำนวนมาก ซึ่งพวกเธอก็พร้อมเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย เพราะเข้าใจว่าการต่อสู้จำเป็นต้องแลก "เมื่อคิดว่าเรากระทบ สิทธิคนอื่น ก็ดำเนินคดีอาญากับเราได้ เราพร้อมเข้าสู่การพิจารณา" กรณ์อุมา กล่าวและว่า ไม่ว่ากฎหมายนี้จะมีขึ้นเพื่อจัดการกับกลุ่มใดก็ไม่เห็นด้วยทั้งนั้น โดยตั้งคำถามว่า หากมีกฎหมายนี้แล้ว วันหนึ่งมีรัฐบาลที่ทุจริตโกงกิน ใช้อำนาจเกินขอบเขต จะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้น จึงมองว่า ทุกวันนี้มีกฎหมายอาญาที่ใช้ได้อยู่แล้ว ไม่ควรมีซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก ชี้ กม.ช่วยรัฐบาลได้เปรียบ ไม่ต้องแก้ปัญหา แค่รอม็อบกลับ พงษ์อนันต์ ช่วงธรรม เครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะทั้งฉบับ โดยระบุว่า การออกกฎหมายแบบนี้ คนที่ได้เปรียบคือรัฐบาล เพราะไม่ต้องกังวลว่าจะแก้ปัญหาหรือไม่ เพราะเมื่อผู้จัดการชุมนุมแจ้งว่าจะมีการชุมนุม รัฐมนตรีก็เตรียมหนีไปแล้ว หากผู้ชุมนุมไม่ชุมนุมตามระยะเวลาที่แจ้ง ก็จะถูกสลาย สุดท้ายรัฐมนตรีก็ไม่ต้องแก้ปัญหา เขามองว่า แนวคิดนี้น่าจะมาจากทหาร ตำรวจ ที่ขี้เกียจตากแดดฝน รัฐบาลที่กลัวคนอยู่ตรงข้ามจะมาล้มตัวเอง เลยพยายามผลักกฎหมายออกมา ทำให้ความเดือดร้อนตกกับคนจน ทั้งนี้ การต้องแจ้งว่าจะชุมนุมกี่วันนั้นทำได้ยากเพราะผู้ชุมนุมเองก็ไม่อาจทราบ ได้ว่า ปัญหาของพวกเขาจะได้รับการแก้ไขเมื่อใด รวมถึงสถานที่ต่างๆ ที่ห้ามชุมนุมนั้นก็ล้วนแต่เป็นที่ที่ประชาชนต้องไปชุมนุมเพราะต้องการให้คน ที่อยู่ในที่เหล่านั้นแก้ปัญหาให้ หากไม่อนุญาตให้ชุมนุม จะมีอะไรที่เอื้อให้ปัญหาของประชาชนได้รับการแก้ไข นอกจากนี้ เขายังมองว่า การชุมนุมทางการเมืองก็ควรได้รับสิทธิเช่นเดียวกัน พวกเขามีสิทธิบอกว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร ทั้งนี้ มองว่า ตำรวจ ทหาร มีหน้าที่เพียงควบคุมการชุมนุมให้อยู่ในขอบเขต ไม่ลิดรอนสิทธิจนเกินเหตุ ส่วนเรื่องการชุมนุมที่อาจขัดขวางการใช้บริการท่าอากาศยานหรือท่าเรือนั้นก็ มีกฎหมายเฉพาะของแต่ละที่ควบคุมอยู่แล้ว
จี้ยกเลิก ร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ชี้ขัด รธน. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเวทีสาธารณะดังกล่าว องค์กรภาคประชาชนที่เข้าร่วมมีความเห็นร่วมกันว่าองค์กรภาคประชาชนจะคัดค้าน ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด และขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยกเลิกหรือขอถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงสิทธิต่างๆ อันพึงมีพึงได้ การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง ทั้ง นี้ องค์กรภาคประชาชนจะติดตาม ประมวลข้อมูล เหตุผล และรายชื่อเพื่อยื่นเสนอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อนกยกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ พรรคการเมืองต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถึงที่สุด และจะเดินหน้ารณรงค์ขยายแนวร่วมภาคประชาสังคมและสาธารณชนเพื่อคัดค้านร่าง พระราชบัญญัตินี้อย่างต่อเนื่องต่อไป
000 คำแถลงองค์กรภาคประชาชนต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ…… สืบเนื่องจากการจัดเวทีสาธารณะว่าด้วย “ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ” ขึ้นในวันอังคารที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๑๒ ตึก ๓ (เกษมอุทยานิน) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ……นำเสนอมุมมองของภาคประชาชนต่อร่างกฎหมายดังกล่าว ตลอดจนรวบรวมข้อเสนอแนะในการจัดการการใช้เสรีภาพในการชุมนุมเพื่อเป็นไปใน ทางคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้น จากเวทีสาธารณะดังกล่าว องค์กรภาคประชาชนดังมีรายชื่อท้ายคำแถลง มีความเห็นร่วมกันว่าองค์กรภาคประชาชนขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ อย่างถึงที่สุด และขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยกเลิกหรือขอถอนร่างพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทำให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงสิทธิต่างๆ อันพึงมีพึงได้ การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และกระทบต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ องค์กรภาคประชาชนจะติดตามประมวลข้อมูล เหตุผล และรายชื่อเพื่อยื่นเสนอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อนกยกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐ พรรคการเมืองต่างๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างถึงที่สุด และจะเดินหน้ารณรงค์ขยายแนวร่วมภาคประชาสังคมและสาธารณชนเพื่อคัดค้านร่าง พระราชบัญญัตินี้อย่างต่อเนื่องต่อไป
ด้วยจิตคารวะ วัน ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ๑. เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ๒. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ๓. โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม ๔. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ๕. กลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก ๖. กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด ๗. เครือข่ายสลัมสี่ภาค ๘. สมัชชาคนจน ๙. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (อิสาน) ๑๐. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) ๑๑. เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน ๑๒. กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก ๑๓. กลุ่มอนุรักษ์บ้านเกิดอ่าวน้อย ๑๔. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน ๑๕. ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤตแรงงาน ๑๖. กลุ่มแรงงานภาคตะวันออก ๑๗. กลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจภาคตะวันออก ๑๘. สมานฉันท์แรงงานไทย ๑๙. กลุ่มเพื่อนประชาชน (F.O.P) ๒๐. RSA. ๒๑. เครือข่ายแรงงานตรวจสอบผลกระทบเงินกู้ของรัฐ (ALNI) ๒๒. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคประชาชน ๒๓. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) ๒๔. สหภาพแรงงานรถไฟไทย ๒๕. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย ๒๖. สมานฉันท์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ๒๗. สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สค.ปท.) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน: ลดงบกองทุนสุขภาพคนไร้สถานะ บทพิสูจน์ความจริงใจกระทรวงสาธารณสุข Posted: 29 Jun 2010 11:52 AM PDT เมื่อสำนักงบประมาณลดงบประมาณด้านบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขให้กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ เหลือเพียง 1,521.81 บาทต่อหัว ซึ่งลดลงกว่าเดิมถึง 545.19 บาทจากที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือ สปสช. ได้เสนอให้ ครม.พิจารณาคือ 2,067 บาทต่อหัว <!--break--> ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2553 สำนักงบประมาณได้ทำหนังสือถึงปลัด สธ. ที่ นร 0713/22862 เรื่อง ขออนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตามมติคณะรัฐมนตรี โดยเนื้อความในหนังสือกล่าวถึง การที่สำนักงบประมาณได้อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเบิกจ่ายงบประมาณได้จำนวน 348,044,795 บาท (สามร้อยสี่สิบแปดล้านสี่หมื่นสี่พันเจ็ดร้อยเก้าสิบห้าบาทถ้วน) เพื่อใช้ในการจัดบริการขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขให้แก่บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ในอัตราเหมาจ่ายรายหัวไม่เกิน 1,521.81 บาท/คน/ปี ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 ไปแล้วนั้น ทั้งนี้บุคคลที่เข้าข่ายจะได้รับการคืนสิทธิการรักษาพยาบาลภายใต้กองทุนนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 457,409 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.บุคคลที่ครม.รับรองให้อยู่ในประเทศไทยถาวร ประมาณ 90,000 คน 2.บุคคลที่ครม.ผ่อนผันให้อยู่ชั่วคราวเพื่อรอพิสูจน์สถานะและมีแนวโน้มที่จะได้สัญชาติไทย 296,863 คน และ 3. นักเรียนที่ได้รับสิทธิเรียนฟรีตามนโยบายของรัฐบาล มีการทำทะเบียนและประวัติที่ชัดเจนแล้ว แต่ยังไม่ได้รับบริการด้านการรักษา 70,513 คน อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า มติครม.วันที่ 23 มีนาคม 2553 ได้อนุมัติงบประมาณให้กระทรวงสาธารณสุขจำนวน 472,823,683.30 บาท (สี่ร้อยเจ็ดสิบสองล้านแปดแสนสองหมื่นสามพันหกร้อยแปดสิบสามบาทสามสิบสตางค์) ในอัตราเหมาจ่ายรายหัวไม่เกิน 2,067 บาท/คน/ปี จึงเห็นได้ชัดว่ามีงบประมาณหายไปถึง 124,778,888.30 บาท (หนึ่งร้อยยี่สิบสี่ล้านเจ็ดแสนเจ็ดหมื่นแปดพันแปดร้อยแปดสิบแปดบทสามสิบสตางค์) แหล่งข่าวคนหนึ่งให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า การที่สำนักงบประมาณลดงบรายหัวเพื่อใช้ในการบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขให้กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 นั้น ได้ก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่อการจัดบริการสุขภาพอย่างมาก ทั้งนี้เพราะเดิมนั้น ตัวเลขงบรายหัวที่ สปสช. (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ได้เสนอให้ครม.พิจารณาคือ 2,067 บาทต่อประชากรนั้นก็น้อยกว่างบรายหัวของบุคคลสัญชาติไทยในปี 2553 อยู่แล้ว เพียงแต่สปสช.คำนวณจากหลักการ เฉลี่ยความเสี่ยงร่วมกับกลุ่มประชากร 47.7 ล้านคน ที่ สปสช. ให้การดูแลอยู่ ซึ่งเป็นการยึดตามหลักการประกันสุขภาพที่ว่า รวมความเสี่ยงและเฉลี่ยความเสี่ยง (Pooling risk sharing risk) ดังนั้นตัวเลข 2,067 บาทต่อประชากร แม้จะน้อยกว่างบรายหัวของประชากร 47.7 ล้านคน แต่สามารถบริหารจัดการได้ เพราะไปเฉลี่ยความเสี่ยงกับประชากร 47.7 ล้านคน แต่เมื่อมติ ครม.ให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นจัดการงบกองทุนนี้ ระยะแรกได้มีการท้วงติงไปว่า ในระยะยาวจะมีปัญหาเรื่องงบประมาณไม่พอ เพราะมีประชากรจะเฉลี่ยความเสี่ยงในอัตราที่ต่ำ คือ 4.7 แสนคน ทั้งยังเป็นกลุ่มประชากรที่ยากจน สุขภาพไม่แข็งแรง ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดสิทธิสุขภาพก่อนหน้านี้ แต่เมื่อสำนักงบลดงบประมาณลงเหลือเพียง 1,521.81 บาทต่อประชากร ซึ่งลดลงกว่าเดิมถึง 545.19 บาท ปัญหาก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นไปอีก นั่นคือ มีงบประมาณไม่พอสำหรับการรักษาผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ดังนั้นจึงไม่สามารถทำในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค รวมถึงการดูแลโรคค่าใช้จ่ายสูงได้ เท่ากับว่า บุคคลกลุ่มนี้จะไม่ได้รับการดูแลเหมือนกับคนไทยที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างแน่นอน โดยเฉพาะโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคเอดส์ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง การรักษาจะเป็นไปยถากรรม มีเท่าไหร่ก็รักษาเท่านั้น ใครที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ ก็จะถูกปล่อยทิ้งเช่นนั้น และกลายเป็นภาระโรคที่สร้างปัญหาต่อไปอีก ขณะเดียวกันการที่มีมติคณะรัฐมนตรีออกมาเช่นนี้ ส่วนหนึ่งคือสัญญาประชาคมที่ให้ไว้กับประชาชนและประชาชนจะเกิดความคาดหวัง ซึ่งจะส่งผลถึงจำนวนผู้มารับบริการจะมีมากขึ้น เพราะทราบว่าได้สิทธิ แต่งบประมาณที่ได้รับลดลงเป็นจำนวนกว่า 124 ล้านบาทนั้น ขณะที่รูปแบบการบริหารจัดการก็ยังมีปัญหา เท่ากับว่าปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข รวมถึงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามแนวชายแดนก็ไม่สามารถทำได้ ท้ายที่สุดโรงพยาบาลจะแบกรับภาระเหมือนเดิม เพราะงบประมาณมีไม่เพียงพอ ทั้งนี้ตามขั้นตอนนั้นแม้สำนักงบประมาณจะปรับลดงบตรงส่วนนี้ลง ทางกระทรวงสาธารณสุขต้องยืนยันในตัวเลขเดิม เพราะนี้เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลประชาธิปัตย์ โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่ให้ความสนใจและผลักดันนโยบายนี้มาตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งและสามารถผลักดันจนสำเร็จในระยะเวลาไม่นาน ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขต้องทำหนังสือชี้แจงและยืนยันตัวเลขงบรายหัวเดิมที่ สปสช.เสนอ จึงจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ และนี้จะเป็นบททดสอบสำคัญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขว่าให้ความสนใจ และตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องการคืนสิทธิสุขภาพให้กลุ่มคนไร้สถานะอย่างแท้จริงหรือไม่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ชำนาญ จันทร์เรือง: ดูฟุตบอลแล้วย้อนดูการเมืองไทย Posted: 29 Jun 2010 11:43 AM PDT <!--break--> ผมก็เหมือนกับคนค่อนโลกที่นั่งและนอนดูการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก๒๐๑๐จากอาฟริกาใต้ด้วยความตื่นเต้นและสนุกสนาน ที่แน่นอนที่สุดก็คือในบางครั้งก็เกิดความเซ็งในอารมณ์ที่กรรมการตัดสินผิดพลาดหรือตามเกมไม่ทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคืนวันที่ทีมอังกฤษเตะไปโดนคานแล้วล้ำเข้าไปในเขตประตูของเยอรมันเรียบร้อยแล้วแต่กระเด้งออกมาหน้าประตูซึ่งจบลงด้วยการที่ผู้รักษาประตูของเยอรมันสามารถรับลูกเอาไว้ได้ แต่อังกฤษก็ไม่ได้ประตูทั้งๆ ที่คนทั้งโลกที่ชมการถ่ายทอดโทรทัศน์เห็นอยู่ชัดๆว่าได้ประตูแล้ว ต่อมารอบดึกก็เกิดปรากฏการณ์ในทำนองเดียวกันอีกระหว่างทีมอาร์เจนตินากับเม็กซิโกที่เห็นได้ว่าผู้เล่นของอาร์เจนตินาที่ยิงเข้าประตูไปนั้นล้ำหน้าแต่ทว่ากลับได้ประตู ซึ่งปรากฏการณ์แบบนี้มิได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่ FIFA กลับไม่ยอมแก้ไขโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เช่นกีฬาอื่นๆ อาทิ เทนนิส รักบี้หรืออเมริกันฟุตบอล ฯลฯ ที่สามารถรีเพลย์หรือเล่นซ้ำเทปการแข่งขันในทันทีและกลับคำตัดสินหากเห็นว่ากรรมการหรือผู้ตัดสินวินิจฉัยหรือตัดสินผิดพลาด หากเรามองเผินๆโดยไม่คิดอะไรมากก็ดูเหมือนว่า FIFA นั้นนับถือในความเป็นมนุษย์มากกว่าเครื่องจักรกลหรือด้วยเหตุผลว่าต้องการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมของกีฬาฟุตบอลไว้เช่นครั้งในอดีตที่ผ่านมา แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ความตั้งใจของ FIFA ที่ไม่ยอมนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ล้วนแล้วแต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจ เพราะ FIFA ไม่ต้องต้องการลดอำนาจของกรรมการที่ตนเองเป็นคนตั้งมากับมือและสามารถบงการหรืออย่างน้อยก็การควบคุมกำกับลงไป ดังจะเห็นได้จาการที่เกาหลีใต้สามารถล้มอิตาลีโดยความช่วยเหลือของกรรมการจนได้ที่สี่ในการแข่งขันเมื่อครั้งปี 2002 ที่เกาหลีใต้กับญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพร่วมกันมาแล้วนั่นเอง การที่ FIFA ให้อำนาจกรรมการหรือผู้ตัดสินมากก็เพื่อให้ทีมที่เป็นแม่เหล็กหรือเจ้าภาพได้เข้าไปเล่นในรอบลึกๆ เพื่อดึงดูดผู้ชมและโฆษณาให้เพิ่มมากขึ้นนั่นเองถึงแม้ว่าในบางครั้งตั๋วหรือโฆษณาจะถูกขายล่วงหน้าไปหมดแล้วในบางนัดก็ตาม ซึ่งหากปล่อยให้ทีมโนเนมอย่างทีมจากยุโรปตะวันออกหรือทีมจากอาฟริกาหรือแม้กระทั่งเอเชียเองก็ตามหลุดเข้าไปแทนทีมแม่เหล็ก ที่เคยเป็นอดีตแชมป์โลกทั้งหลายแล้วไซร้กำไรของFIFAย่อมลดลงอย่างแน่นอน ฉะนั้น กรรมการหรือผู้ตัดสินจึงถูก FIFA สร้างขึ้นให้เป็นเทวดาหรือยาวิเศษที่จะทำให้ทีมดังๆ หรือทีมเจ้าภาพหลุดเข้าไปในรอบลึกๆ ส่วนทีมกระจอกงอกง่อยที่หลุดรอบคัดเลือกจากโซนต่างเข้าไปนั้นก็เพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นฟุตบอลโลก มิใช่เป็นเพียงฟุตบอลยุโรปตะวันตกกับอเมริกาใต้เท่านั้นเอง เมื่อดูปรากฏการณ์ในฟุตบอลโลกหันแล้วหันกลับกลับมาดูปรากฏการณ์การเมืองไทยในปัจจุบันแล้วแทบจะไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย เพียงแต่ FIFA เน้นไปทางด้านธุรกิจที่แฝงไว้ด้วยการเมืองซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง (political economy) แต่ปรากฏการณ์การเมืองไทยเน้นไปที่การเมืองที่เป็นเรื่องของการยึดกุมอำนาจไว้ให้ได้นานที่สุด ซึ่งก็ส่งผลต่อผลประโยชน์อื่นอันที่เป็นผลพวงของการถือครองอำนาจรัฐนั่นเอง การที่ FIFA ไม่ยอมใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการตัดสินก็เปรียบได้กับการที่รัฐบาลอภิสิทธ์ไม่ยอมใช้กรรมการที่เป็นกลางหรือผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศที่สามารถตรวจสอบเหตุการณ์การสลายการชุมนุมในถ้อยคำว่าขอพื้นที่คืนหรือการกระชับพื้นที่จนมีคนเสียชีวิต 90 ศพและบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนนับพันคน และที่มีปัญหามากที่สุดก็คือเหตุการณ์ 6 ศพที่วัดปทุมวนารามทั้งๆที่อยู่ในเขตอภัยทาน แน่นอนว่าหากรัฐบาลอภิสิทธิ์ยอมให้ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นจากองค์การนิรโทษกรรมสากล หรือองค์การเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนต่างๆหรือแม้กระทั่งกลไกอื่นขององค์การสหประชาชาติเข้ามาตรวจสอบย่อมสุ่มเสี่ยงที่จะพบเห็นความไม่ชอบมาพากลของการสลายการชุมนุมหรือการกระทำที่เกินกว่าเหตุของเจ้าที่หน้าที่ที่อาจกระทำการนอกเหนือคำสั่งได้ แต่ในทำนองกลับกันผู้เชี่ยวจากองค์การระหว่างประเทศนั้นอาจได้ข้อเท็จจริงที่อาจเป็นผลดีต่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ได้ หากความเป็นจริงเป็นดัง ศอฉ. หรือผู้นำรัฐบาลพร่ำบอก (ข้างเดียว) อยู่เสมอว่ากระทำตามกฎหมายพอสมควรแก่เหตุแล้ว หรือฝ่ายเสื้อแดงเป็นผู้ที่มีอาวุธร้ายจนเข้าข่ายเป็นผู้ก่อการร้ายที่สมควรจะต้องถูกปลิดชีวิตหรือถูกจับกุมคุมขังด้วย “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฉบับถาวร” นี้ แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ไม่กล้า เพราะเกรงภัยจะถึงตัวและอำนาจที่มีอยู่จะหลุดลอยไป โดยลืมไปว่าการใช้ พรก.ฉุกเฉินอย่างยาวนานเช่นนี้ย่อมมีวันที่จะสิ้นสุดลงสักวันหนึ่ง อย่างช้าที่สุดก็ภายในอายุของสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ที่จะสิ้นสุดลงภายในปลายปี 2554 และจะต้องเลือกตั้งใหม่อยู่ดี และก็ไม่แน่ว่าตนเองจะได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็นรัฐบาลเช่นเดิมอีกหรือไม่ การคงอยู่ของ พรก.ฉุกเฉินนี้มีผลดีเฉพาะแต่ทางด้านการเมืองของรัฐบาลในระยะสั้นเหมือนกับการเอาหินทับหญ้าไว้เท่านั้น แต่ผลเสียอื่นกลับมีมากมายนักไม่ว่าจะเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนอย่างสาหัสสากรรจ์โดยไม่ได้แก้ปัญหาความมั่นคงตามที่รัฐบาลว่าไว้แต่อย่างใด ดังจะเห็นได้จากการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินในภาคใต้อย่างยาวนานแต่ปัญหาความไม่สงบก็ไม่ได้ดีขึ้นแต่อย่างใด ผลเสียที่สำคัญที่สุดก็คือผลเสียทางด้านเศรษฐกิจการลงทุนของประเทศนั่นเอง ตราบใดที่ประเทศยังอยู่ในภาวะฉุกเฉิน (state of emergency) อย่าว่าแต่นักท่องเที่ยวจะไม่เข้ามาเลย นักลงทุนทั้งหลายก็ต้องคิดหนัก อย่างน้อยที่สุดต้นทุนที่จะต้องลงทุนเพิ่มขึ้นก็คือการที่ต้องทำประกันภัยการก่อการร้ายซึ่งแพงมากและต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจากปกติอีกหลายเท่าตัว ทั้งๆที่ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นการก่อการร้ายจริงหรือไม่ แต่รัฐบาลกลับประกาศซ้ำแล้วซ้ำอีกออกไปเสียแล้วโดยที่ยังไม่มีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดออกมาแต่อย่างใด ดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัวฉันใด ดูฟุตบอลโลกแล้วก็ย้อนดูการดำเนินการทางการเมืองของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เราจะพบว่าแทบจะไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย ซึ่งก็คือผลประโยชน์ของFIFAและผลประโยชน์ของรัฐบาลอภิสิทธิ์กับผู้ที่หนุนหลังอยู่เท่านั้น ส่วนคนดูฟุตบอลหรือประชาชนไทยนั้นก็ต้องก้มหน้ารับกรรมในผลแห่งความละโมบของ FIFA และการเสพติดอำนาจของผู้ที่ถือครองอำนาจรัฐไทยอยู่ต่อไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
กระทรวงวัฒนธรรมสั่งห้ามฉาย "ซอร์ เกม ตัด ต่อ ตาย 6" Posted: 29 Jun 2010 11:30 AM PDT <!--break--> เว็บไซต์มติชนออนไลน์ รายงานวานนี้ (29 มิ.ย.) ว่า นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยหลังประชุมคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ว่า ที่ประชุมมีมติไม่รับอุทธรณ์คำขอให้ตรวจพิจารณาภาพยนตร์ "ซอร์ เกม ตัด ต่อ ตาย 6" (SAW 6) ของบริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด หลังจากเคยมีมติให้อนุมัติห้ามฉาย เนื่องจากอาจส่งผลกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของ ประชาชน เหตุที่ยกคำร้องเพราะเกินกำหนดระยะเวลาการอุทธรณ์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
Deep South Watch: นิธิ เอียวศรีวงศ์: "วัฒนธรรมมลายูนอกมุมมองฟอสซิล" Posted: 29 Jun 2010 11:24 AM PDT <!--break--> หมายเหตุ: เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 53 ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ กล่าวปาฐกถาในงาน "โครงการเปิดพื้นที่ศิลปะและวัฒนธรรมตันหยงบุหงา...อุทยานศิลปวัฒนธรรมมาลายู-ปาตานี" ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยเว็บไซต์ "ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้" นำมาเผยแพร่ โดยการปาฐกถามีรายละเอียดดังนี้
ชื่อหรือคำว่า ‘มลายู’ ที่เราพบในหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในหลักฐานของจีน ในดินแดนเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อเมืองจามบี ที่อยู่แถวๆ สุมาตราฝั่งตะวันออก ในเซอญาเราะห์มลายู (ตำนานมลายู) ก็ไม่ได้หมายถึงประเทศในดินแดนประเทศมาเลเซียหรือประเทศไทยปัจจุบันนี้ แต่หมายถึงดินแดนที่อยู่ใกล้ๆ แม่น้ำ แถบภูเขาบูกิตสกุนตัง ซึ่งอยู่ในปาเล็มบังอีกทีหนึ่ง การจำกัดความหมายของคำว่ามลายูให้เหลือแคบๆ ปรากฏต่อมาแม้แต่ในหลักฐานของโปรตุเกสรุ่นแรกๆ หลังจากตีมะละกาได้แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าเราวิเคราะห์จากเซอญาเราะห์มลายูก็ตาม วิเคราะห์จากหลักฐานต่างๆ เหล่านี้ ชื่อมลายูจึงเป็นชื่อที่ค่อนข้างจำกัดในระยะแรก ในเซอญาเราะห์มลายูจึงมีความหมายค่อนข้างชัดว่าเป็นกลุ่มคนที่มากับ ‘ปรเมศวร’ คือที่ข้ามจากสุมาตรามาอยู่ที่มะละกา หมายเฉพาะคนกลุ่มนี้นะครับ ที่ผมต้องย้ำเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ต้นก็เพื่อจะบอกว่า จริงๆ แล้วหลังจากมันเกิดมะละกาแล้ว ถามว่าประชากรของมะละกาเป็นใคร กล่าวอย่างกว้างๆ ในพื้นฐานเลย ผมคิดว่าเป็นคนสองจำพวก พวกหนึ่งในหลักฐานมลายูเองเรียกว่า ‘โอรังลาอุต’ คนที่อยู่ในทะเล นะครับ อีกพวกหนึ่งคือที่เรียกว่า ‘โอรังอัสรี’ ปัจจุบันเวลาเรา พูดว่า โอรังอัสรี หรือคนพื้นเมือง เราจะไปนึกถึงพวกซาไก ไปนึกถึงพวกนิกิโต้ ซึ่งอยู่ที่นี่มาก่อนเป็นเวลานาน แต่โอรังอัสรีที่ใช้ในเซอญาเราะห์มลายูไม่จำเป็นต้องหมายถึงพวกซาไกเสมอไป อันที่จริงอาจหน้าตาเป็นอย่างเราแบบนี้ แต่ว่าเขาไม่ได้มากับปรเมศวรก็แล้วกัน เพราะดินแดนตรงนี้มันไม่ได้ว่างเปล่าเสียทีเดียว มันก็มีคนอื่นที่เขาอยู่มาก่อนหน้าปรเมศวรจะข้ามมาแล้วด้วยซ้ำไป ฝั่งตะวันตกตรงนั้นอาจไม่มีแต่ที่อื่นๆ ในแหลมมลายูมันมีคนอื่นอยู่มาแล้ว นอกจากนั้น หลังจากเกิดมะละกาเข้ามาแล้ว ยังมีคนอพยพเข้ามามากมาย ทั้งจากอินเดีย จากจีนมาในภายหลัง จากตะวันออกกลาง จากมินังกาเบา ซึ่งก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่อพยพข้ามสุมาตรามาเข้ามามีบทบาทในคาบสมุทรแยะมาก อาจารย์ลออแมน (อับดุลเลาะห์ ลออแมน หรือนามปากกา อ.บางนรา) ที่เสียชีวิตไปแล้ว ท่านเคยบอกกับผมว่าจริงๆ แล้วพวกมินังกาเบายังกระจายไปในมาเลเซียปัจจุบันเข้ามาในดินแดนที่เป็น ประเทศไทยปัจจุบันอีกจำนวนไม่น้อย เพราะฉะนั้นจึงมีบทบาทค่อนข้างมาก และอย่างที่ทุกท่านทราบดีอยู่แล้ว คือว่าในเวลาต่อมาพวกบูกิตก็ยังเข้ามาอีก ถึงแม้ว่าเราเรียกว่าบูกิต แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วเข้ามาตั้งหลักฐาน เข้ามามีอำนาจ ในที่สุดก็ถูกกลืนหายไปกับคนเหล่านี้ ซึ่งแน่นอนผมเชื่อว่ามีคนไทยอยู่ด้วย ในที่สุดก็ถูกกลืนอีกเหมือนกัน ก็แล้วแต่ใครจะไปอยู่ที่ไหนที่มีคนหมู่มากมากกว่าก็จะถูกกลืนไป ประเด็นที่ผมจะพูดในทีนี้คือว่า ในที่สุดมันเกิดชื่อของชาติพันธุ์หนึ่งที่เรียกว่ามลายูซึ่งประกอบด้วยคน หลากหลายมาก เวลาเราพูดถึงมลายูเราอย่าคิดว่ามันเป็นคนกลุ่มเดียวกัน อย่าคิดว่ามันเป็นวัฒนธรรมที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เบื้องหลังคำนี้มันก็เหมือนคำว่าไทย คำว่าจีน คำว่าอะไรก็แล้วแต่ในโลกนี้ จริงๆ แล้วมันไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนะครับ แต่แน่นอน ในปัจจุบันนี้ เราเอาคำว่ามลายูมาขาย จะขายในตลาดสินค้าหรือจะขายในตลาดการเมืองก็ตามแต่ คุณก็ต้องไปทำให้มันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นยี่ห้อ เป็น Steriotype (ลักษณะเหมารวม) เป็นแบบเฉพาะตายตัว มันจะได้ขายง่ายเท่านั้นเอง แต่ในทางวิชาการเราต้องยอมรับก่อนว่า ชื่อมลายูเป็นชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ เมื่อไหร่ที่เราพูดถึงชาติพันธุ์ มันประกอบด้วยวัฒนธรรมที่หลากหลายในตัวมันเอง มันประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติในตัวของมันเอง ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วมันมากลืนหายกันไปในสิ่งที่เรียกว่ามลายู เพราะเดิมทีเดียวคำนี้มันจำกัดใช้เฉพาะกลุ่มที่มากับปรเมศวรที่ข้ามมาจาก สุมาตรา กลุ่มนี้ที่เข้ามาสร้างวัฒนธรรมที่เป็นคลาสสิก เป็นแบบอย่าง เป็นสิ่งที่คนแถบนี้ทั้งหมดถือว่ามันเป็นวัฒนธรรมที่สูง ทุกคนก็อยากเป็นมลายู เดิมทีเดียวคุณอาจไม่ได้เป็น อย่างเช่นที่ปัตตานีเองคุณก็ทราบอยู่ว่าที่ยะรังมีเมืองเก่าแก่โบราณมาก เมืองหนึ่ง คนตรงนั้นเรียกตัวเองก่อนหน้าที่ยังเป็นเมืองอยู่ อาจจะไม่ได้เรียกตัวเองว่ามลายู เรียกตัวเองว่าอะไรผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่ว่าหลังจากมะละกามันมีอิทธิพลมากขึ้น คนเหล่านั้นก็ไม่ได้หายไปไหน อพยพย้ายเมืองหลวงมาอยู่แถวกรือเซะ ที่ตรงยะรังก็มีเป็นเมืองอยู่ มีคนอยู่ แต่เปลี่ยนมารับวัฒนธรรม เปลี่ยนมาหมายตัวเองเป็นมลายู เปลี่ยนมารับวัฒนธรรมที่ถือกันในดินแดนแถบนี้ว่าเป็นวัฒนธรรมที่สูงส่งที่ สุด ทุกคนก็เปลี่ยนมาเป็นมลายูเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น แม้แต่ในปาตานีเอง ผมคิดว่าเมื่อเปรียบเทียบกับมะละกา ก็คงประกอบด้วยคนหลายประเภท หลายจำพวกที่อพยพเข้ามา ถูกกลืนเข้ามา จนกระทั่งกลายเป็นมลายูของปาตานีในภายหลังนั่นเอง ฉะนั้นประเด็นแรกที่ผมอยากจะย้ำก็คือว่า เราไม่ควรจะมองวัฒนธรรมมลายูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้เข้าใจว่ามันมีความ สลับซับซ้อนอยู่ภายในของวัฒนธรรมมลายูค่อนข้างมาก เมื่อมาดูตัวมลายูปาตานี ที่จริงแล้วไม่ใช่มลายูเดิมกว้างๆ เฉพาะท้องถิ่นแถบนี้ แต่หลังจากสมัยศรีวิชัยแล้ว ดินแดนแถบนี้แทบจะไม่เคยเข้ามาอยู่ในอาณาจักรเดียวกัน ในสมัยมะละกา มะละกาขยายอำนาจมาค่อนข้างไกลและกว้างขวางมาก แต่ก็ไม่ถึงขนาดรวบรวมได้กว้างขวางเท่ากับศรีวิชัย มะละกามีอำนาจทั้งในฝั่งสุมาตราด้วย จนกระทั่งมาถึงปาหัง เปรัค หรือในที่ต่างๆ ตลอดมา แต่ว่าพอยิ่งไกลเข้ามาอิทธิพลของมะละกาก็ไม่มี เพราะมันต้องมาเผชิญหน้ากันกับอิทธิพลของพวกไทยจากนครศรีธรรมราชลงไปอีกที หนึ่ง เพราะฉะนั้นมะละกาจึงมีอายุอยู่เพียงศตวรรษเดียว หลังจากนั้นมาเมื่อโปรตุเกสเข้ามาตีมะละกาแล้ว ดินแดนแถบนี้ก็ไม่เคยเข้าไปอยู่ในอาณาจักรเดียวกัน แต่ว่ามันมีพัฒนาการทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน ในทางประวัติศาสตร์หรือทางการเมือง รัฐมลายูต่างๆ ในแถบนี้ทั้งหมดมันแข่งกันเองด้วยซ้ำไป แข่งกันเป็นผู้สืบมรดกของมะละกา แข่งกันว่าใครคือศูนย์กลางของวัฒนธรรมมลายูกันแน่ เพราะฉะนั้นมันจึงทะเลาะกันเองบ้าง แต่ในขณะเดียวกันมันก็แต่งงานกันเอง ค้าขายกันเองอยู่ด้วย แล้วก็แข่งกันเองอยู่ด้วยตลอดเวลาในดินแดนแถบนี้ เพราะฉะนั้นมันจึงไม่สามารถที่จะรวมอยู่ในอาณาจักรเดียวกันได้ ทำให้แต่ละแห่งมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมแตกต่างกันไป สิ่งเดียวที่มันรวมกันไว้คือยังใช้วัฒนธรรมและภาษามลายูอยู่เท่านั้นเอง คือทุกฝ่าย ทุกแคว้น ทุกรัฐมลายู ก็ยังนับถือวัฒนธรรมที่เรียกว่ามลายูเป็นอุดมคติ คือในความเป็นจริงมันไม่ได้เหมือนกัน แต่ว่ามันนับถืออุดมคติอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ผ่านศาสนาอิสลาม ผ่านการค้าการแต่งงานของผู้ปกครองต่างๆ และการอพยพโยกย้ายของพลเมือง ผมควรกล่าวด้วยว่า จริงๆ แล้ว ดินแดนมลายูหรือในคาบสมุทรมลายูมีการอพยพเคลื่อนย้ายภายในสูงมาก สูงมากกระทั่งในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ก็จะเห็นการอพยพเคลื่อนย้ายของผู้คนมากทีเดียวตลอดเวลา เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นสิ่งผูกพันคนเหล่านี้ไว้ใต้ชื่อรวมๆ ว่าวัฒนธรรมมลายูได้ แต่ในขณะเดียวกัน แต่ละรัฐ แต่ละแคว้นก็มีความสัมพันธ์กับมหาอำนาจแตกต่างกันไป แต่ละแคว้นแต่ละรัฐมีความสัมพันธ์กับมหาอำนาจฝรั่ง ไม่ว่าจะเป็นเนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส อังกฤษ อะไรก็แล้วแต่ไม่เหมือนกัน มีความสัมพันธ์กับพวกบูกิตไม่เหมือนกัน พวกบูกิตนั้นเข้ามามีอิทธิพลในยะโฮร์ แต่ไม่ได้ขยายมาทั่วทั้งคาบสมุทรมลายู เพราะฉะนั้นบางแคว้นตกอยู่ใต้อิทธิพลของบูกิตค่อนข้างมาก แต่บางแคว้นก็ตกอยู่ใต้อิทธิพลของบูกิตน้อย หรือไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพลเลย สมัยหนึ่งพวกอาเจ๊ะห์ขยายอิทธิพลเข้ามา พยายามรบกับพวกยะโฮร์เพื่อที่จะมีอำนาจในคาบสมุทรมลายู เข้ามาคุมช่องแคบมะละกา แต่อาเจะห์ก็ไม่ได้มารบรุกรานทั่วไปหมด ก็รบรุกรานค่อนข้างมากในแถบยะโฮร์ปัจุบันนี้ สยามเองก็เหมือนกัน สยามเองนั้นก็พยายามจะแผ่อำนาจเข้าไปในคาบสมุทรมลายู จนบางครั้งเลยจากคาบสมุทรมลายูเข้าไปถึงสุมาตราด้วย แต่ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยาก็ตาม รัตนโกสินทร์ก็ตามกับรัฐมลายูต่างๆ เหล่านี้ก็ไม่เหมือนกัน ไอ้ที่มันไกลหน่อยไม่เป็นประโยชน์กับสยามหรือกับอยุธยาเขาก็ไม่ได้สนใจเท่า ไหร่นัก ในที่สุดก็ล้มไป แต่ในรัฐที่อยู่ใกล้เคียงมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับอยุธยามาก อยุธยาก็พยายามเข้าไปคุมมากกว่าเป็นต้น เพราะฉะนั้นพัฒนาการในแต่ละรัฐของมลายูจึงมีความแตกต่างกันอย่างค่อนข้างมาก เหตุดังนั้นเมื่อเราพูดถึงวัฒนธรรมมลายู แล้วก็ใช้คำว่าวัฒนธรรมมลายูปาตานีด้วยแสดงว่าเราต้องยอมรับว่ามันมีความแตก ต่างเฉพาะระหว่างวัฒนธรรมมลายูปาตานีกับวัฒนธรรมมาเลเซีย เรียกว่าอย่างนั้นแล้วกัน มันมีความแตกต่างกัน ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะในมาเลเซียเองก็ยอมรับว่ามันมีวัฒนธรรมมลายูเหนือกับวัฒนธรรมมลายูใต้ ซึ่งแตกต่างกันอีกเหมือนกัน เหนือนี่ค่อนข้างโบราณหน่อย ค่อนข้างอนุรักษ์นิยมหน่อย ถ้าใต้ก็จะเปิดตัวเองกับการค้ากับการเปลี่ยนแปลงมากกว่า เป็นต้น ฉะนั้นความเป็นวัฒนธรรมมลายูปาตานีจึงมีความเฉพาะของมันเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้หมายความว่าเราจะดึงเอาวัฒนธรรมมลายูปาตานีไปศึกษา โดยลืมวัฒนธรรมมลายูโดยรวม เพราะจริงๆ แล้ว ถามว่าเซอญาเราะห์มลายูมีอิทธิพลต่อวิธีคิดของคนในมลายูปาตานีหรือไม่ ก็มี เป็นต้นว่าจะเข้าใจอะไรในเรื่องของวัฒนธรรมมลายูปาตานี เราสามารถที่จะใช้สิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมมาเลเซียก็แล้วกัน ผมขอเรียกว่าอย่างนั้น ส่องสว่างให้วัฒนธรรมมลายูปาตานีได้ด้วย แต่แม้กระนั้นก็ขอย้ำว่ามันเป็นสองอย่างที่ไม่ใช่อันหนึ่งอันเดียวกันนะครับ ผมคิดว่าถ้าเราสับสนเรื่องนี้ ระหว่างความเป็นวัฒนธรรมมลายูปาตานีกับความเป็นวัฒนธรรมมาเลเซีย ผมคิดว่าอาจทำให้เราละเลยหลายอย่างด้วยกัน ที่มีความสำคัญที่จะทำให้มีความเข้าใจวัฒนธรรมมลายูปาตานีหรือมลายูท้องถิ่น เช่นเป็นต้นว่าเราไม่สามารถจะพูดถึงวรรณกรรมมลายูปาตานีโดยไม่ลงสนามเพื่อจะ เก็บ เพราะว่าจำนวนมากเหลือเกินที่วรรณกรรมมลายูมันเป็น ‘มุขปาฐะ’ มันออกด้วยปากคุณต้องไปเก็บมา ซึ่งมันเก็บไม่ได้มาก ผมมีตัวอย่างที่นึกออกทันที คือเพลงบอกของพวกปักษ์ใต้ ซึ่งเป็นการพูดด้วยปากเปล่าเหมือนกัน ไม่มีบันทึกไว้ที่ไหน แต่เพลงบอกที่ดังๆ เพลงบอกเป็นที่จดจำกันมันมีจำนวนหนึ่ง แล้วก็มีคนไปเก็บเพลงบอกเหล่านี้จดเอาไว้ ก็ทำให้คุณเข้าถึงวรรณกรรมมุขปาฐะของสงขลา นครฯ อะไรต่างๆ เหล่านี้ได้ ผมคิดว่า ‘ปันตุน’ เด่นๆ ในมลายูปัตตานีคงมีเยอะเลย ที่คนจำได้ เพราะมันเด่น มันประทับใจ อะไรก็แล้วแต่ สิ่งเหล่านี้ต้องจดลงมา เราไม่สามารถที่จะไปเอาวรรณกรรมของมาเลเซียมาแทนของมลายูปัตตานีได้ การแสดงก็เหมือนกัน ภาษาก็เหมือนกัน มีความต่างกัน แต่ในเมืองไทยเรามักศึกษาเรื่องของท้องถิ่นเหล่านี้โดยลักษณะค่อนข้างจะรวมศูนย์ค่อนข้างมาก ที่ว่ารวมศูนย์ก็คือว่า สร้างทัศนคติที่มองข้ามท้องถิ่น หรือไปมองท้องถิ่นจากส่วนกลาง เราจะชินนักวิชาการไทยจะชินกับเรื่องนี้ ศึกษานครศรีธรรมราช มองนครศรีธรรมราชจากสายตาของอยุธยาเหมือนกันนะครับ แล้วเราเอาเรื่องนี้มาใช้กับปาตานีเหมือนกัน แต่ก่อนเราพูดถึงปาตานี เราพูดถึงความสัมพันธ์ของปาตานีกับไทย ซึ่งกลายเป็นหัวข้อเดียวตลอดเวลา แต่นี่เราเริ่มมาสนใจวัฒนธรรมมลายูปาตานีโดยเฉพาะก็ยังเอานิสัยแบบการศึกษา ท้องถิ่นแบบไทย คือไปเอามะละกาเป็นศูนย์กลางแล้วมองกลับมาที่ปาตานี ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ ปาตานีต้องเป็นตัวโฟกัสของมันเอง มากกว่าวิธีการที่เราใช้กันในประเทศไทยเป็นระยะเวลานาน ประเด็นต่อมาที่อยากพูดถึงก็คือว่า เวลาเราพูดถึงวัฒนธรรม ไม่ว่าเวลาเราพูดถึงวัฒนธรรมมลายูปาตานีหรือวัฒนธรรมปักษ์ใต้ จะเป็นวัฒนธรรมอีสาน หรือวัฒนธรรมอะไรก็แล้วแต่ในประเทศไทย ผมรู้สึกว่าเราชอบมองวัฒนธรรมเหล่านี้ในฐานะที่มันสถิต มันหยุดนิ่งกับที่ ไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย ซึ่งในแง่นี้ผมคิดว่ามันไม่มีวัฒนธรรมที่ไหนในโลกนี้ที่มันหยุดนิ่งกับที่ มันเปลี่ยนตลอดเวลา ขึ้นชื่อว่าวัฒนธรรมแล้ว มนุษย์เราใช้มันเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต เพราะฉะนั้นมันจึงไม่สามารถหยุดอยู่กับที่ได้ เพราะฉะนั้นการศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เรียกว่ามลายูปัตตานี ผมคิดว่า อย่าเลียนแบบในสิ่งที่เคยทำกันมาในภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน คืออย่ามองมันเป็นรูปแบบตายตัว ผมคิดว่ามันมีการปรับตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าเรามองมันตายตัวเราก็จะไม่รู้ว่าแล้วมันมีความสัมพันธ์เกี่ยว ข้องอย่างไรกับคนในปัจจุบันนี้ จำเป็นที่จะต้องมองว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นว่ามีพลวัตรในตัวของมันเอง มันสามารถปรับเปลี่ยนตัวของมันเองเพื่อเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจ ในการเมือง ในสังคมได้ตลอดเวลาด้วย แน่นอนว่าไอ้ที่มันปรับเปลี่ยนไม่ได้แล้วมันตายไปแล้วมันมีอย่างแน่นอนในทุก ภาคของโลกนี้ แต่ว่าไอ้ที่มันสามารถปรับเปลี่ยนได้มีความสำคัญค่อนข้างมาก เนื่องจากเหตุที่วัฒนธรรมมลายูปาตานีมีความแตกต่างจากวัฒนธรรมไทยที่ส่วนกลางอย่างมากเลย เหตุดังนั้นจะเรียกว่าโชคดีก็ได้ คือคุณสามารถที่จะมองวัฒนธรรมมลายูปาตานีได้อย่างมีพลวัตมากกว่าที่จะมองวัฒนธรรมของภาคอีสาน เพราะมันไม่มีตัวครอบงำจากส่วนกลางที่บอกว่านี่คือวัฒนธรรมไทย จริงๆ แล้ว ผมคิดว่าในปัจจุบันนี้ สิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมมลายูปาตานีมันถูกคุกคามหรือถูกเผชิญหน้าจากสองทาง ด้วยกัน ทางแรกคือความทันสมัย ข้อนี้เป็นของปกติธรรมดา วัฒนธรรมทั้งหลายในโลกนี้เผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงหรือความทันสมัยทั้ง สิ้น ผมสนใจการศึกษาการปรับเปลี่ยนตัวเองของวัฒนธรรมมลายูปาตานีกับวัฒนธรรมกับ การเผชิญหน้ากับความทันสมัย ผมคิดว่ามีการศึกษาเรื่องเหล่านี้น้อยเกินไป ผู้หญิงมลายูปาตานีสมัยหนึ่งอยู่แต่ในหมู่บ้าน สมัยนี้ในหมู่บ้านไม่มีงานให้คุณทำแล้ว คุณต้องออกมาทำงานข้างนอก เพราะฉะนั้นระบบการสมรสก็ตาม ระบบการนับเครือญาติก็ตามมันย่อมต้องเปลี่ยน แล้วมันเปลี่ยนอย่างไรที่จะทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองยังเป็นคนมลายูต่อไปได้ ผมว่าส่วนนี้มีความสำคัญที่จะต้องศึกษา อีกอย่างหนึ่งที่วัฒนธรรมมลายูปาตานีต้องเผชิญอยู่ ผมคิดว่า ... ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไรดี การตีความศาสนาอิสลามแบบตะวันออกกลาง ขอเรียกกว้างๆ ว่าอย่างนั้นก็แล้วกัน ข้อนี้ก็เป็นของใหม่เหมือนกัน เพิ่งเข้ามาประเทศไทยหลัง พ.ศ.2500 ด้วยซ้ำไป คือกลุ่มคนที่ไปศึกษาในตะวันออกกลางแล้วกลับเข้ามาเผยแพร่หลักปฏิบัติ เพราะหลักศาสนาอิสลามนั้นค่อนข้างเข้ามากำกับวิถีชีวิตคนค่อนข้างละเอียดมาก ฉะนั้นพอคุณมองศาสนาอีกลักษณะหนึ่งมันก็ไปกระทบการแต่งกายขึ้นมาหมดทุกอย่าง มากทีเดียว ทั้งหมดเหล่านี้มันทำลายโครงสร้างวัฒนธรรมแต่เดิม คิดง่ายๆ คนมีเกียรติยศของสังคมมลายูมุสลิมเมื่อร้อยปีที่แล้วกับปัจจุบันนี้เป็นคนละ คนกันเลยหรืออาจเปลี่ยนสถานะเป็นตรงกันข้ามไปเลย เป็นต้นว่า ‘บอมอ’ ไม่ใช่ ‘บาบอ’ นะครับ บอมอ คล้ายๆ ‘หมอผี’ สมัยหนึ่งมีเกียรติยศค่อนข้างสูง พอการสอนศาสนาอิสลามเข้ามา บอมอเป็นคนนอกรีตด้วยซ้ำ ไปเป็นคนที่อาจถูกดูถูกด้วยซ้ำไปว่าคุณทำอะไรผิดหลักศาสนา เกียรติยศหายไป นักแต่งปันตุนสมัยหนึ่งมีเกียรติยศค่อนข้างมากเช่นเดียวกับเพลงบอกของภาคใต้ แต่ว่าปัจจุบันนี้ไม่ใช่แล้ว เป็นต้น เพราะฉะนั้นคุณจะพบกับความขัดแย้งในลักษณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นดิเกร์ฮูลูก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นมะโย่งก็ตาม อะไรก็ตาม บางทีการเล่นก็จะถูกกลุ่มพวกสอนศาสนาตามคำสอนแบบใหม่ ตามการตีความแบบใหม่ขมวดคิ้วใส่ ไม่น่าพอใจเท่าไหร่ที่คุณจะทำ มันพลิกกลับเลย เพราะฉะนั้นผมคิดว่า นี่คือสิ่งที่วัฒนธรรมมลายูปาตานีกำลังเผชิญอยู่ในเวลานี้ คือเผชิญกับความทันสมัย ซึ่งแน่นอน ในโลกนี้ทุกแห่งต้องเผชิญหมด ความเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่คุณจะปรับตัวเองอย่างไร กับอันที่สองคือการตีความศาสนาแบบตะวันออกกลาง ที่ครั้งหนึ่งไม่เคยมีอิทธิพลสูงขนาดนี้ในดินแดนแถบนี้ ด้วยเหตุดังนั้น ผมคิดว่ามันมีความตึงเครียดอยู่ ถ้าพูดถึงเรื่องวัฒนธรรมก็มีความตึงเครียดภายในสังคมมลายูปาตานีค่อนข้างสูง ไม่พูดถึงเรื่องรัฐ แม้แต่ภายในก็มีความตึงเครียดสูงมาก อย่าเพิ่งคิดว่ามันพิสดารอะไรนะครับ ผมคิดว่าสังคมไทยทั้งสังคมกำลังเผชิญความตึงเครียดภายในสูงมาก เพราะสมมติคนอีสานไม่ได้เผชิญหน้ากับครูสอนศาสนาแบบใหม่ แต่ก็มีเหตุอื่นๆ ที่ทำให้โครงสร้างทางวัฒนธรรมของอีสานมีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว และคนก็ยังไม่รู้จะเผชิญการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วนี้อย่างไร คนค่อนข้างมีความตึงเครียดภายในสูงเหมือนกัน ในส่วนนี้ของวัฒนธรรมมลายูปาตานีถูกละเลยค่อนข้างมาก ไม่ค่อยมีงานวิชาการที่ศึกษาเรื่องความตึงเครียดภายในของสังคมมลายูปัตตานี มากนัก สรุปสั้นๆ ที่ผมพูดถึงคือมันมีความตึงเครียดภายในของความเป็นมลายูและความเป็นมุสลิม สมัยหนึ่งที่เราพูดถึงมลายูมุสลิมประหนึ่งมันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่างที่มาเลเซียที่ทราบดีว่าถ้าคุณเป็นมาเลเชี่ยนได้คุณต้องเป็นมุสลิมด้วย แต่ในตรงนี้ไม่ได้มีกฎหมายแบบนั้น คุณจะเป็นมุสลิมแค่ไหน คุณจะเป็นมลายูแค่ไหนจึงจะไม่ขัดแย้งกัน มันก็เป็นความตึงเครียดภายใน อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าสังคมไทยทั้งสังคมกำลังปรับตัวเอง เพราะฉะนั้นการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ขึ้นมาในสังคมไทยหรือการเปิดพื้นที่จึงมี ความสำคัญ เพราะถ้าท้องถิ่นต่างๆ ไม่สร้างอัตลักษณ์ขึ้นมาให้เข้มแข็งมันก็จะถูกครอบงำและเอาเปรียบจากส่วน กลางอย่างที่มันเป็นมาเป็นเวลานับร้อยปี มันมีความสำคัญ เพราะการสร้างอัตลักษณ์ขึ้นมาเผชิญกับการคุกคามของส่วนกลาง ซึ่งก็ไม่ได้เป็นรัฐอย่างเดียวนะครับ ส่วนกลางที่คุกคามท้องถิ่นอยู่ในเวลานี้ยังมี ‘ทุน’ ผมว่าทุนนั้นคุกคามได้น่ากลัวกว่าที่รัฐคุกคามด้วยซ้ำไป ประเด็นสุดท้ายคือ เราสามารถมองวัฒนธรรมมลายูปาตานีได้อย่างมีพลวัตรได้อย่างไร ผมคิดว่า เราอย่ามองแต่มะโย่ง อย่ามองแต่ดิเกร์ฮูลู อย่ามองแต่ตัวภาษาหรือวรรณกรรม ผมคิดว่าเมื่อไหร่ที่คุณจะมองพลวัตรของวัฒนธรรมมลายูคุณต้องเอา ‘คน’ เป็นศูนย์กลาง คุณต้องมองดิเกร์ฮูลูเพื่อเข้าถึงคนนะครับ อย่ามองดิเกร์ฮูลูเพื่อดิเกร์ฮูลูอย่างเดียว เพราะว่าดิเกร์ฮูลูมันสัมพันธ์กับชีวิตของคน หรือไม่สัมพันธ์ ทำไมมันไม่สัมพันธ์ก็แล้วแต่ แต่คนมันคือหัวใจสำคัญที่เราจะต้องศึกษา ผมจะขอพูดซ้ำถึงทฤษฎีของอาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดมนิดนึงนะครับ อาจารย์ศรีศักดิ์บอกว่า มนุษย์เราทุกคนถูกแวดล้อมด้วยสามอย่างด้วยกัน อย่างแรกท่านเรียกว่าภูมิวัฒนธรรม คำว่าภูมิวัฒนธรรมไม่ได้แปลว่าภูมิประเทศ แต่หมายถึงความสัมพันธ์ของคนที่มีต่อภูมิประเทศ ไม่ใช่ภูเขาแต่คนใช้ภูเขาอย่างไร คิดถึงภูเขาอย่างไร คนมีความสัมพันธ์กับภูเขาอย่างไร อย่างนี้เรียกว่าภูมิวัฒนธรรม ภูเขา แม่น้ำ ทะเล อะไรก็แล้วแต่ ข้อนี้เป็นสิ่งแวดล้อมที่หนึ่งที่เวลาเราจะศึกษาคนต้องเข้าใจตรงนี้ อย่างที่สองต่อมาท่านเรียกว่านิเวศน์วัฒนธรรม คือ ในภูเขา แม่น้ำ ทะเล มีนิเวศน์ของมันด้วย แล้วมนุษย์เข้าไปใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศน์นั้นอย่างไร อย่างสุดท้ายผมตั้งชื่อให้ท่านเองเพราะท่านไม่ได้พูดละเอียดคือสังคม วัฒนธรรม หลังจากสองอย่างนั้นแล้วคุณก็เริ่มประเพณี สร้างดิเกร์ฮูลู เริ่มสร้างอะไรก็แล้วแต่ขึ้นมาแวดล้อมตัวเองสำหรับเผชิญกับสองอย่างแรกนั้น เพราะฉะนั้นถ้าเราจะศึกษาวัฒนธรรมอย่างมีพลวัตรแล้วจะต้องมีศูนย์กลางศึกษา อยู่ที่คน และถ้าจะให้มีศูนย์กลางอยู่ที่คนได้ต้องใช้ทฤษฎีของอาจารย์ศรีศักดิ์ คือต้องเข้าใจว่าคนอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมอะไร แต่ไม่ใช่ศึกษาสิ่งแวดล้อม แต่ศึกษาว่าคนสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนั้นอย่างไร ทั้งสามอย่างไม่ว่าจะเป็น ภูมิวัฒนธรรม นิเวศน์วัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นสังคมวัฒนธรรมก็จะพบว่ามันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งจากปัจจัยภายในหรือปัจจัยภายนอก ผมอยากจะย้ำเรื่องนี้เพราะไม่อยากให้เราพูดถึงคนมลายูเหมือนกับฟอสซิลที่มันอยู่นิ่งกับที่ มันไม่ใช่ เพราะคนมลายูก็เหมือนคนไทยหรือคนทั้งโลกนี้ที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา และผมคิดว่าการปรับเปลี่ยนตัวเองมีความสำคัญอย่างยิ่ง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ผอ.ศอ.บต.ชี้สถานการณ์ใต้ดีขึ้น คนกล้าช่วยเหยื่อไม่ปล่อยให้ตายก่อนถึงเจ้าหน้าที่ Posted: 29 Jun 2010 11:14 AM PDT กรมคุ้มครองสิทธิฯ เปิดเวทีเผยแพร่แผนฉบับที่ 2 นำร่อง 4 ภูมิภาคเป็นต้นแบบสู่ภาคปฏิบัติ ผอ.ศอ.บต.ชี้สถานการณ์ใต้ดีขึ้น ชาวบ้านกล้าช่วยผู้ประสบเหตุ ไม่ปล่อยให้ตาย ก่อนถึงมือเจ้าหน้าที่ เดินหน้าสร้างความเข้าใจต่ <!--break--> เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ (29 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมพญาตานี 2 โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม จัดโครงการเผยแพร่แผนสิทธิมนุ นายภานุ อุทัยรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริ นายภานุ กล่าวว่า ทั้งนี้ เนื่องจาก ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ที่มีการประชุมโอไอซี มีการหยิบยกสถานการณ์ความไม่ นายภานุ กล่าวต่อว่า แต่ในการประชุมปีนี้ เมื่อวันที่ 18 – 22 พฤษภาคม 2553 ที่ประเทศทาจิกีสถาน เป็นปีแรกที่ไม่ได้มีการหยิบยกเรื่องนี้ “ที่เป็นเช่นนั้นไม่ใช่เพราะถู นายภานุ กล่าวอีกว่า สำหรับการดำเนินการที่ผ่านมา มีการเชิญทูตานุทูตมาดูงานในพื้ นายภานุ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา ตนเคยคุยกับนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุ นายภานุ กล่าวเสริมว่า ขณะเดียวกัน ศอ.บต. ก็มีการตั้งสำนั นายภานุ ยังได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ไม่
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
นายกสมาคมต้านโลกร้อนเยี่ยมชาวบ้านแม่รำพึง Posted: 29 Jun 2010 11:07 AM PDT นายกสมาคมต่อต้านโลกร้อนลงพื้นที่สำรวจป่าพรุแม่รำพึงร่วมกับชาวบ้าน เผยร่วมกันฟ้อง 11 หน่วยงานราชการฐานออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบกว่า 310 ไร่ในป่าพรุแม่รำพึงต่อศาลปกครองกลาง คาดจะมีการตัดสินเร็วๆ นี้ <!--break--> นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน (ซ้าย) และนายวิฑูรย์ บัวโรย แกนนำกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง (ขวา) ระหว่างการลงพื้นที่สำรวจป่าพรุแม่รำพึงเมื่อ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา
วานนี้ (29 มิ.ย.) นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดีร่วมกับชาวบ้านแม่รำพึง ซึ่งร่วมกันฟ้องหน่วยงานราชการ 11 หน่วยงาน ต่อศาลปกครองกลาง ในกรณีการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบ จำนวน 18 แปลง รวมพื้นที่ 310 ไร่ 74 ตารางวา ในพื้นที่ป่าพรุแม่รำพึง ได้ลงเยี่ยมชาวบ้านในพื้นที่และเข้าสำรวจความสมบูรณ์ของป่าพรุแม่รำพึงซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ความสำคัญระดับชาติ ตามมติ ครม. วันที่ 3 พ.ย. 52 ที่ผ่านมา โดยนายศรีสุวรรณได้บอกเล่าถึงความคืบหน้าของคดีว่า ในขณะนี้ ทางสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนได้ทำคัดค้านการให้การของผู้ถูกฟ้องทั้ง 11 หน่วยงานเรียบร้อยแล้วและส่งให้ศาลปกครองกลางพิจารณาในขั้นตอนต่อไป และคาดว่าจะมีการตัดสินคดีเร็วๆ นี้ จากนั้นนายศรีสุวรรณ ได้เดินทางไปที่สถานีวิทยุชุมชนคนบางสะพาน FM 93.75 MHz เพื่อพูดคุยกับชาวแม่รำพึง และนำกรณีมาบตาพุดมาพูดคุย และเทียบเคียงกับการต่อสู้ของชาวแม่รำพึงที่รวมตัวกันคัดค้านโครงการโรงถลุงเหล็ก ซึ่งเป็น 1 ใน 8 กิจการที่มีผลกระทบรุนแรง และต้องมีการดำเนินการตามมาตรา 67 วรรค 2 ในครบทั้ง 4 ขั้นตอน เหมือนกรณีโครงการที่มาบตาพุด 65 โครงการ ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้ นายศรีสุวรรณได้ให้กำลังใจแก่ชาวบ้านว่า “มีเพียงพลังของชาวบ้านเท่านั้นที่จะเลือกว่าชุมชนของเขาต้องการอะไร หากมีโครงการใดๆที่จะเข้ามาแล้วทำร้ายชีวิต ทำลายวิถีชุมชน ชาวบ้านผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญในการปกป้องตนเองและชุมชนได้เช่นกัน โดยเฉพาะ มาตราที่ 57 วรรค 2, มาตรา 67 วรรค 2 และมาตรา 87(2) และสำหรับพี่น้องกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงผมก็ขอเป็นกำลังใจให้มีพลัง และมีการรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งอย่างนี้ เพราะพลังของชุมชนจะเป็นเกราะที่สามารถปกป้องตนเอง รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนไว้ได้อย่างแน่นอน” นายศรีสุวรรณกล่าว
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ทนายยื่นคำร้องปล่อยตัวบก.ลายจุด ศาลนัดไต่สวน 2 ก.ค. Posted: 29 Jun 2010 08:12 AM PDT <!--break--> 29 มิ.ย.53 นายอานนท์ นำภา ทนายความของนายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือบก.ลายจุด หรือหนูหริ่ง นักกิจกรรมซึ่งถูกคุมตัวตามหมายควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อยู่ที่บก.ตชด. คลอง5 ปทุมธานี ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอปล่อยตัวเนื่องจากการควบคุมตัวไม่ชอบ ศาลนัดไต่สวนในวันที่ 2 ก.ค.นี้ เวลา 9.00 น. ที่ศาลอาญา ถนนรัชดา อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ทนายความได้ยื่นคำร้องขอคัดถ่ายคำร้องที่เจ้าหน้ คำร้องขอปล่อยตัว ระบุว่า วันที่ 26 มิ.ย.เวลาประมาณ 17.20 น.ตำรวจได้เข้าควบคุมตัวผู้ร้องที่ทำกิจกรรมผูกผ้าแดงรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมอยู่ที่แยกราชประสงค์ โดยแสดงหมายควบคุมตัวตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ 116/2553 ลงวันที่ 21 พ.ค.53 อ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้ต้องสงสัยตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้กระทำการหรือร่วมกระทำการอันจะทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง ให้นำผู้ร้องไปควบคุมตัวที่ บก.ตชด. ซึ่งการควบคุมตัวดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายประการ เพราะการออกหมายดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จและบิดเบือน ผู้ร้องมิได้มีพฤติการณ์ที่จะกระทำการหรือร่วมกระทำการอันจะทำให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงดังที่เจ้าพนักงานกล่าวอ้าง นอกจากนี้การควบคุมตัวดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจโดยไม่สุจริต มีเจตนากลั่นแกล้งผู้ที่มีความเห็นต่างทางการเมือง เพราะตั้งแต่มีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รัฐบาลได้กระทำการอันเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างรุนแรงหลายประการอย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่น การปิดกั้นการรับรู้ข่าวสารของประชาชน ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 45 ซึ่งมิได้บัญญัติข้อยกเว้นไว้แต่อย่างใด, การห้ามมิให้ประชาชนชุมนุมทางการเมืองอันเป็นสิทธิพื้นฐาน โดยรัฐบาลพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริงให้การชุมนุมเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ผู้ชุมนุมเป็นผู้ก่อการร้าย, มีการใช้กำลังสลายการชุมนุมอย่างอำมหิต ไร้มนุษยธรรม ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก, มีการจับกุม ควบคุมตัวประชาชนผู้เห็นต่างกับรัฐอย่างกว้างขวาง รวมทั้งมีการคุกคามประชาชนผู้เห็นต่างกับรัฐบาล ใช้กฎหมายกลั่นแกล้ง พยายามดำเนินคดีโดยตั้งข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งล้วนเป็นการใช้อำนาจไปตามอำเภอใจของรัฐบาล ขัดต่อหลักนิติธรรม เป็นการลุแก่อำนาจซึ่งศาลทราบดีอยู่แล้ว คำร้องระบุอีกว่า คำร้องขอควบคุมตัวผู้ร้องนั้น มิได้เป็นดังที่เจ้าพนักงานกล่าวอ้าง เพราะรัฐบาลได้สลายการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 14-19 พ.ค.โดยใช้กำลังทหารทั้งที่การชุมนุมเป็นไปโดยสงบ ก่อให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากซึ่งข้อเท็จจริงทั้งหลายเหล่านี้ศาลทราบดีอยู่แล้ว ผู้ร้องเป็นประชาชนคนหนึ่งที่ไม่อาจนิ่งดูดาย ในวันที่ 21 พ.ค.ผู้ร้องและประชาชนจำนวนหนึ่งจึงนัดพบปะทำกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร นำภาพถ่ายมาแสดงในเชิงนิทรรศการโดยมิได้ก่อความรุนแรงแต่อย่างใด และการแสดงความคิดเห็นก็เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ การจงใจใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินมาควบคุมตัวผู้ร้องจึงเป็นการใช้กฎหมายโดยไม่สุจริต นอกจากนี้การจะจำกัดสิทธิในการแสดงความคิดเห็นก็ต้องทำเท่าที่จำเป็นและจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธินั้นไม่ได้ ซึ่งอำนาจตุลาการเป็นองค์กรเดียวที่สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร และอำนวยความยุติธรรมแก่ผู้ร้องได้ จึงขอศาลได้โปรดมีคำสั่งเรียกและเบิกตัวผู้ร้องมาไต่สวนต่อหน้าศาล ไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง และมีคำสั่งปล่อยตัวผู้ร้องเนื่องจากเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ร้องด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานของสังคมและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแก่ผู้ร้องและประชาชนผู้ถูกจับและควบคุมตัวอีกเป็นจำนวนมากสืบไป
อ่านคำร้องขอปล่อยตัวฉบับเต็มได้ในไฟล์แนบด้านล่าง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||
นัดตรวจพยานหลักฐานคดีหมิ่นฯ กรณีผู้แลเว็บ นปช. ยูเอสเอ 9 ส.ค. Posted: 29 Jun 2010 07:53 AM PDT <!--break--> 29 มิ.ย.53 รายงานข่าวแจ้งว่า ศาลนัดตรวจสอบพยานหลักฐาน คดีของนายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในวันที่ 9 ส.ค.นี้ ที่ศาลอาญา รัชดาภิเษก ส่วนนายธันย์ฐวุฒิ ขณะนี้ถูกคุมตัวอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ระบุว่าขอขอบคุณสำหรับจดหมายให้กำลังใจที่ส่งให้เขายังเรือนจำ เพราะมีผลต่อกำลังใจอย่างมากในระหว่างที่ไม่สามารถประกันตัวออกไป ต่อสู้คดีได้ ทั้งนี้ นายธันย์ฐวุฒิ อายุ 37 ปี หรือนามแฝง “เรดอีเกิ้ล” ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.norporchorusa.com และ www.norporchorusa2.com ถูก พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) พล.ต.ต.เกรียงศักดิ์ อรุณศรีโสภณ ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับ อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ปอท.) นำกำลังเข้าจับกุม เมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา ที่ห้องพักในเขตบางกะปิ กทม.ในความผิดข้อหาหมิ่นสถาบัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3)(5) และมาตรา 15 และถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยไม่ได้รับการประกันตัวในชั้นสอบสวน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
วุฒิเชิญ ตร.คุมพื้นที่เผา 4 จว.แจง ระบุรัฐสลาย 19 พ.ค. ไม่แจ้ง เหตุรับมือไม่ทัน Posted: 29 Jun 2010 06:02 AM PDT กก.ติดตามสถานการณ์วุฒิสภา เชิญผู้บังคับการตำรวจ 4 จว. ระบุ รัฐบาลเข้าทำ 19 พ.ค. โดยไม่แจ้งพื้นที่ เหตุป้องกันเผาศาลากลางไม่ทัน ชี้ชาวบ้านไม่พอใจรัฐบาลกล่าวหาคนเสื้อแดงล้มสถาบัน <!--break--> เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 28 มิถุนายน ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการติดตามสถานการณ์บ้านเมือง วุฒิสภา มีนายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา รองประธานคณะกรรมการ เป็นประธานการประชุม โดยที่ประชุมเชิญพล.ต.ต.ศักดา เตชะเกรียงไกร ผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.ขอนแก่น พล.ต.ต.ปราโมทย์ เอี่ยมทัศน์ ผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.มุกดาหาร พล.ต.ต.เดชา ชายบุญชม ผู้บังคับการตำรวจภูธรจ.อุดรธานี และพล.ต.ต.สมพงษ์ ทองวีระประเสริฐ ผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.อุบลราชธานี มาชี้แจง ซึ่งทั้งหมดถูกย้ายมาช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (สตช.) หลังจากที่ทั้ง 4 จังหวัด มีการเผาศาลากลางจังหวัดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาพรวมของการชี้แจง ผู้บังคับการทั้ง 4 นายระบุว่า ไม่คาดคิดว่า สถานการณ์จะบานปลายเพราะวันที่ 18 พฤษภาคม วุฒิสภาไปเจรจากับแกนนำ นปช.และรัฐบาล มีสัญญาณที่ดี แต่เมื่อเช้าวันที่ 19 พฤษภาคม รัฐบาลเข้าปฏิบัติการณ์ที่ราชประสงค์จึงรู้สึกผิดหวัง ส่วนการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ ทั้งกำลังและอุปกรณ์ไม่พร้อม มีกำลังน้อยกว่าผู้ชุมนุม 10 เท่า เพราะต้องแบ่งกำลังมาที่ กทม. อย่างไรก็ดี ได้เน้นการเจรจาและไม่ใช้อาวุธกับประชาชน เพราะต้องทำงานร่วมกับประชาชนในพื้นที่ต่อไปอีกนาน และยังมีปัญหาการประสานกับส่วนกลางทำให้ไม่มีใครทราบว่าเช้าวันที่ 19 พฤษภาคม ฝ่ายรัฐจะเข้าสลายการชุมนุม จึงเตรียมความพร้อมในพื้นที่ได้ไม่เต็มที่ แต่ก็ได้บันทึกภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวของเหตุการณ์และตามจับกุมผู้ก่อเหตุในภายหลัง เพราะช่วงเกิดเหตุไม่สามารถไปจับกุมได้เลย นอกจากนี้ ฝ่ายตำรวจยังระบุตรงกันว่า ได้ไปสอบถามชาวบ้านที่มาชุมนุมที่ศาลากลางจังหวัด ได้รับคำตอบว่า ชาวบ้านต้องการมาเรียกร้องประชาธิปไตยที่แท้จริง และรู้สึกโดนดูถูก ไม่พอใจกับปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสองมาตรฐาน ไม่พอใจที่โดนกล่าวหาว่าเป็นพวกล้มสถาบัน พล.ต.ต.ปราโมทย์ กล่าวว่า คนเสื้อแดงในจังหวัดมุกดาหารส่วนใหญ่เป็นอดีตผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย และเป็นกลุ่มแดงนิรนามซึ่งเป็นชาวญวนที่เพิ่งได้สัญชาติไทย ที่น่าสนใจคือ ไม่มี ส.ส.พรรคเพื่อไทยในจังหวัด สำหรับสถานการณ์การเผาศาลากลาง ผู้ชุมนุมเริ่มรวมตัวตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม และขอใช้พื้นที่ข้างศาลากลางจังหวัดชุมนุม ซึ่งเช้าวันที่ 19 พฤษภาคม วิทยุชุมชนคนเสื้อแดงแห่งหนึ่งประกาศตั้งแต่เวลา 06.00 น. ที่สถานการณ์ที่ราชประสงค์ว่า ทาหารล้อมสลายชุมนุมแล้วและมีคนบาดเจ็บ จึงให้มารวมตัวกันที่ข้างศาลากลางจังหวัด ซึ่งจำนวนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นพันคน ส่วนตำรวจที่อุดรฯทั้งจังหวัดมี 700 นายเศษ แต่ขณะนั้นก็เพิ่งส่ง 1 กองร้อยมาผลัดที่สน.ลุมพินี ทำให้เหลือกำลัง 3 กองร้อยประมาณ 500 นาย จึงเอาไม่อยู่ ประกอบกับพื้นที่กว้าง เมื่อคนเฮโลเข้ามาจึงทำอะไรไม่ได้ และตอนนั้นยังไม่มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่จังหวัด ทำให้ตำรวจทำอะไรรุนแรงไม่ได้ เครื่องมือสำหรับดำเนินการตามหลักสากล 7 ขั้นตอนในการสลายการชุมนุมก็ไม่มี มีแค่รถฉีดน้ำ และยังถูกสั่งห้ามใช้ปืนจนกว่าจะประกาศ พ.ร.ก. จึงไม่สามารถระงับเหตุได้ ด้าน พล.ต.ต.สมพงษ์ กล่าวว่า ที่อุบลราชธานี มีคนเสื้อแดงเคลื่อนไหวมาโดยตลอด แต่พอมีการประกาศภาวะฉุกเฉินก็ไม่มีการชุมนุมจนเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม เริ่มมีการเคลื่อนไหว เช่น ปิดสะพานเชื่อมเขตอำเภอ เผายางหลายจุด แต่ผู้ว่าฯก็ให้นโยบายว่าให้เจรจา ตอนนี้มีแค่เผายางยังรับได้ แต่เมื่อข่าวออกไปที่ส่วนกลาง ภาพคงกลายเป็นว่า สถานการณ์เริ่มหนัก ส่วนกลางจึงประกาศภาวะฉุกเฉินเมื่อคืนวันที่ 16 พฤษภาคม ซึ่งคืนวันที่ 18 พฤษภาคม มีหน่วยคุมฝูงชนอยู่ 2 กองร้อย ส่วนอีก 1 กองร้อยส่งมากทม. แต่เมื่อเห็น ส.ว.เป็นคนกลางเจรจากับแกนนำ นปช.และรัฐบาล ก็เห็นสัญญาณที่ดี และฝ่ายทหารยืนยันว่า ถ้าจะสลายชุมนุมจะแจ้งล่วงหน้ามาที่อุบลราชธานีก่อน 12 ชั่วโมง ซึ่งตนก็เห็นว่า พอเตรียมกำลังในพื้นที่ดูแลความเรียบร้อยได้ทัน เพราะระดมกำลังตำรวจทุกอำเภอมาที่ส่วนกลางของจังหวัดได้ภายใน 4 ชั่วโมง แต่ปรากฏว่า เช้าวันที่ 19 พฤษภาคม ก็เกิดเหตุ ฝ่ายปกครองทุกคนตกใจ จึงเอาตำรวจไปเตรียมในศาลางกลางจังหวัด 300 นาย แต่เมื่อตอนเที่ยง มีข่าวออกมาว่า แกนนำ นปช.ที่ กทม.จะมอบตัว ที่อุบลฯก็หวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้น และชะลอการไปปิดวิทยุชุมชนตามที่ส่วนกลางสั่งการมาเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม แม้เช้าวันที่ 19 พฤษภาคม จะได้หมายค้นแล้วก็ตาม เพราะผู้ว่าฯ เห็นว่า ไม่ควรสร้างประเด็นให้ประชาชนโกรธเคืองเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี สุดท้ายเวลาประมาณ 13.00 น. ก็มีการเผาศาลากลาง พล.ต.ต.สมพงษ์ กล่าวว่า เมื่อมีการเผา ตำรวจมีเพียงโล่และหมวก และก็มีไม่ครบคน แต่ละคนก็อายุ 40 ปีขึ้นไป ผู้ชุมนุมมีหนังสติ๊กยิงหิน หัวน็อต ตำรวจจึงถูกผลักดันให้ล่าถอยไปข้างหลังศาลากลางแทน ส่วนพนักงานดับเพลิงก็ไม่กล้าปฏิบัติหน้าที่ เพราะเข้ามาฉีดน้ำก็เจอหนังสติ๊ก และรถดับเพลิงก็โดนกักและเผา การจะให้ทำตาม 7 ขั้นตอนสากลในการสลายการชุมนุม ความเป็นจริงคงทำยากมาก เพราะคนเฮโลเข้ามา และตำรวจที่นี่ไม่เคยใช้ความรุนแรงกับมวลชนเลย "ด้านหนึ่งถามว่า ถ้าตำรวจใช้ความรุนแรงแล้วสุดท้ายมีความผิด คนสั่งการระดับที่สูงกว่าก็จะบอกว่า ให้แนวทางชัดเจนในการใช้อาวุธไปแล้วว่าให้ยิงต่ำกว่าเข่า ระยะไม่เกิน 35 เมตร ถามว่า ตอนเกิดเหตุจริงไม่มีใครทำได้แน่ และตำรวจที่นี่ก็ไม่เคยฝึกแบบนี้มา แต่พอตำรวจไม่ดำเนินการ ส่วนกลางก็มองว่า เราเป็นตำรวจมะเขือเทศ ซึ่งความเป็นจริงเราไม่มีสี แต่เราต้องทำงานกับประชาชนในพื้นที่ มันก็เลยรู้จักกันดีแล้วจะให้ทำอย่างไร และเขาก็ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย ไม่เหมือนทหารที่ส่งเข้ามา ทำเสร็จแล้วก็กลับกรมกองไม่ต้องสัมผัสประชาชนอีก ถามว่า ถ้าย้อนหลังได้ วันที่ 19 พฤษภาคม ถ้าผมสั่งยิงจริงๆ เพื่อป้องกันศาลากลางจังหวัด แล้วมีคนตาย ตำรวจก็กลายเป็นจำเลยอีก สรุปคือ เราลำบาก เพราะถูกคนที่มีอำนาจรังแกตลอด พอไม่ได้ดั่งใจเขาก็เล่นงานเรา ผมเสนอว่า เมื่อประชาชนมีสิทธิการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ ต่อไปก็ตั้งตำรวจปราบจลาจลมาเป็นหน่วยต่างหากไปเลย และไม่ต้องให้ทำงานแบบตำรวจปกติ ให้เขาฝึกรอเหตุการณ์ไป ไม่เช่นนั้น ใช้ตำรวจปกติ จะทำอะไรก็ยาก" พล.ต.ต.สมพงษ์ กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น ส.ว.หลายคน อาทิ นายเจริญ ภักดีวานิช ส.ว.พัทลุง นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้สอบถามว่า ฝ่ายตำรวจมองว่า อนาคตนับจากนี้สถานการณ์ในจังหวัดจะเป็นอย่างไร ถ้าจะเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะทำได้หรือไม่ และคนในพื้นที่ตอนนี้มั่นใจกรรมการอิสระ 4-5 ชุดที่รัฐบาลตั้งขึ้นหรือไม่ และปัญหาที่ฝ่ายตำรวจว่ามา ผู้บริหาร สตช.ได้สรุปบทเรียนเพื่อแก้ไขแล้วหรือยัง ซึ่ง พล.ต.ต.เดชา กล่าวว่า การเลิก พ.ร.ก.หรือไม่ คงแนะนำไม่ได้ เพราะตำรวจเป็นฟันเฟืองของการบริหาร แต่จะมีหรือไม่มี พ.ร.ก. ที่อุดรฯก็บังคับใช้กฎหมายไปตามปกติ แต่การมี พ.ร.ก.แล้วจะสนธิกำลังเร็วกว่าหรือไม่นั้น อยู่ที่การสนับสนุนของหน่วยที่เกี่ยวข้องมากกว่า ส่วนเรื่องการปรองดอง ตนเปรียบเทียบว่า เหมือนรถโดนชน แม้จะซ่อมแล้วแต่ความรู้สึกในใจก็ยังมีอยู่ จึงขึ้นกับระยะเวลาและการแสดงออกของภาครัฐที่ต้องจริงใจ จริงจัง เสมอต้นเสมอปลาย แต่ถ้ารถไม่ชนเลยจะดีที่สุด ส่วน พล.ต.ต.สมพงษ์ กล่าวว่า แนวโน้มจากนี้ต่อไป คนเสื้อแดงน่าจะมีการเคลื่อนไหว ตนได้ลงพื้นที่ตั้งแต่แรก ตอนแรกๆ ผู้ชุมนุมอาจมาด้วยสินจ้างบ้าง แต่พอมากันเรื่อยๆ คนก็อิน มาด้วยใจเพราะอยากฟังข้อมูลอีกด้านหนึ่ง ทั้งนี้ ต่างฝ่ายต่างเสนอข้อมูลด้านเดียว แต่รัฐบาลไม่สามารถเอาไปจูงใจคนในพื้นที่ได้ สรุปแล้วคือ ไม่มีใครดีกว่าใคร แต่จะไปโทษใครก็คงไม่ได้ ส่วน พ.ร.ก.จะให้ประกาศใช้อยู่หรือไม่นั้น ถึงจะมีหรือไม่มี การเคลื่อนไหวมีแน่ เพียงแต่ตอนนี้ที่นิ่งๆ อยู่ เพราะผู้ชุมนุมเจอเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนชีวิตและจิตใจอย่างรุนแรง ส่วนกรรมการอิสระชุดต่างๆ เท่าที่ตนได้ไปสอบถามคนเสื้อแดงที่อุบลฯ คนที่นี่ไม่มั่นใจ ซึ่งถ้าเป็นตนเป็นคนตั้ง ตนจะไม่เลือกบุคคลที่เป็นเป้าหมายของคนเสื้อแดงเลย มีคนพูดกันว่า คนเก่งกว่าอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์หรือนิด้าก็มีเยอะ ทำไมไม่เอามา หรือบางคนก็ประชดว่า ถ้าตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ครบชุดเลย ส่วนกรรมการชุดนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกฯและนพ.ประเวศ วะสี คนที่นี่ไม่ได้พูดถึง ทั้งนี้ตนคิดว่า ฝ่ายรัฐปากบอกว่า ปรองดอง แต่อีกด้านไล่ล่า ถ้าตอนนี้ฝ่ายรัฐหยุดและทอดเวลาออกไปให้คนที่เห็นตรงข้ามมีที่ยืนบ้าง น่าจะดีขึ้น เพราะตอนนี้คนรู้สึกว่า แทบไม่มีที่ยืนบนแผ่นดินแล้ว ด้านพล.ต.ต.ปราโมทย์ กล่าวว่า ที่มุกดาหาร การเลิก พ.ร.ก.หรือไม่เลิก พ.ร.ก.ไม่มีผล เพราะคนที่นี่ตัดสินใจตามแกนนำที่ กทม. ส่วนการสรุปบทเรียนของฝ่ายตำรวจ ทราบว่า ฝ่ายอำนวยการที่มี พล.ต.อ.อดุล แสงสิงแก้ว เป็นประธาน ได้สรุปบทเรียนของฝ่ายอำนวยการแล้ว แต่ฝ่ายปฏิบัติแบบที่พวกตนในพื้นที่ทำงาน ยังไม่มีการสรุป ขณะที่พล.ต.ต.ศักดา กล่าวว่า ที่ขอนแก่น จากการที่ตนไปสอบถาม ผู้ชุมนุมบอกว่า ไม่มีใครคิดล้มสถาบัน ซึ่งตนไปสังเกตการการชุมนุมพบว่า การปราศรัยก็ไม่มีการพาดพิงสถาบัน และเมื่อชุมนุมกันเสร็จเขาก็ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี แต่เมื่อรัฐบาลโจมตีว่า ผู้ชุมนุมคิดล้มล้างสถาบัน เขาจึงรู้สึกว่าถูกปรักปรำ ตอนนี้ตนกลัวว่า การปิดช่องทางทุกช่อง เช่น วิทยุชุมชน จะทำให้มีการไหลลงใต้ดิน ซึ่งน่ากลัว ส่วนตอนนี้จะมี พ.ร.ก.หรือไม่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตนคิดว่า ไม่แตกต่าง เพราะยังไงคนก็ชุมนุม ฉะนั้นถ้าให้คนเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยเปิดเผย น่าจะดีกว่าเพราะจะได้รู้เขารู้เรา แต่ยิ่งไปจำกัดก็จะยิ่งรุนแรง ส่วนเรื่องการตั้งกรรมการอิสระเพื่อปรองดองและปฏิรูปประเทศ 4-5 ชุดนั้น คนเสื้อแดงที่นี่บอกว่า ไม่เชื่อมั่น และบอกว่า มีคนอื่นตั้งเยอะแยะทำไมไม่ตั้ง ทำไมตั้งคนที่ดูแล้วเป็นพวกของตนเอง ตนคิดว่า ตอนนี้ฝ่ายรัฐไม่ควรทำอะไรที่เป็นการผลักให้คนที่ไม่เห็นด้วยเป็นฝ่ายตรงข้าม แต่ควรเปิดเผยให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างเสมอภาค ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ผู้บังคับการทั้ง 4 คนชี้แจงเสร็จ นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว.อุทัยธานี กรรมการ กล่าวว่า ส.ว.ที่ไปเจรจา พอจะรู้ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคมแล้วว่า รัฐบาลจะไม่ถอย แต่ส.ว.ก็หวังว่า จะชะลอได้บ้าง เปรียบเทียบว่า เวลาหมากัดกัน เราเอาน้ำไปสาด ก็พอชะลอได้ ส่วนตอนนี้ เมื่อคู่กรณีทะเลาะกัน แล้วฝ่ายหนึ่งก็เป็นคนตั้งกรรมการขึ้นมา ตนคิดว่า ต่อให้ตั้งเทวดา ก็แก้ไขปัญหาความขัดแย้งไม่ได้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ไทย 5 เดือนแรกของปี 53 มีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วร้อยละ 5 Posted: 29 Jun 2010 01:03 AM PDT ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าทรัพย์สินไทย (AREA) แถลงเกี่ยวกับสถานการณ์ล่าสุดของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 5 เดือนแรกเปิดตัวแล้ว 111 โครงการรวมมูลค่า 6.5 หมื่นล้านบาท โดยจำนวนหน่วยเปิดขายมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 45 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 5 คาดทั้งปี 53 จะมีโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ 266 โครงการ รวม 69,233 หน่วย มูลค่า 1.5 แสนล้านบาท <!--break--> ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าทรัพย์สินไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ได้สำรวจการเปิดตัวโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่อเนื่องรายเดือนตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ.2537 ได้สรุปรวบรวมสถานการณ์เฉพาะในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 เทียบกับปี 2552 มีผลสรุปดังนี้ 1. ในรอบ 5 เดือนแรกมีการเปิดตัวโครงการทั้งหมด 111 โครงการ 28,374 หน่วย รวมมูลค่า 65,019 ล้านบาท เฉลี่ยหน่วยละ 2.291 ล้านบาท 2. เมื่อเทียบกับ 5 เดือนแรกของปีที่แล้วจำนวนโครงการใกล้เคียงกัน แต่ปี 2553 มีจำนวนหน่วยเปิดขายมากขึ้นถึง 45% แต่มูลค่ากลับลดลงกว่า 5 เดือนแรกของปีที่แล้ว 5% ที่สำคัญราคาเฉลี่ยลดลง 35% เนื่องจากปีที่แล้วราคาสินค้าใหม่เปิดตัวเฉลี่ยหน่วยละ 3.504 ล้านบาท 3. คาดว่าในปี 2553 ทั้งปี จะมีโครงการที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ 266 โครงการ รวม 69,233 หน่วย รวมมูลค่า 156,046 ล้านบาท หรือเฉลี่ยหน่วยละ 2.254 ล้านบาท 4. ในกรณีโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดที่รวมอสังหาริมทรัพย์อื่นแล้ว ทั้งปี 2553 นี้จะเปิดตัว 271 โครงการ ลดลงกว่าปีที่แล้ว 6% แต่จะมีจำนวนหน่วยเพิ่มขึ้น 24% คือเป็น 72,576 หน่วย อย่างไรก็ตามมูลค่าโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั้ง หมดในปี 2553 จะมี 258,938 ล้านบาท ซึ่งลดลง 15% 5. ที่น่าสนใจมากประการหนึ่งคือ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดตัวโครงการถึง 24 โครงการในรอบ 5 เดือนแรกของปี 2553 หรือเท่ากับ 22% ของทั้งตลาด รวมจำนวน 8,630 หน่วย หรือ 31% ของทั้งตลาด และมีมูลค่าประมาณ 11,834 ล้านบาท หรือเท่ากับ 19% ของทั้งตลาด
เกี่ยวกับผู้แถลง: สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
อนุมัติ 4 ข้อแก้ปัญหาสื่อ เล็งปรับเพิ่มโทษกฎหมายมุ่งปราบปราม “สื่อ” ที่เป็นภัยต่อสังคมไทย Posted: 28 Jun 2010 04:42 PM PDT รมว.วัฒนธรรม เผย 4 มาตรการแก้ปัญหาสื่อ เตรียมขยายสื่อปลอดภัยลงสู่ท้องถิ่น พร้อมขอความร่วมมือสื่องดเสนอภาพความรุนแรงจากเหตุการณ์ไม่สงบ เน้นรณรงค์ความปองดอง แถมปรับปรุงกฎหมาย เพิ่มโท ษมุ่งปราบปรามสื่อที่เป็นภัยต่อสังคม <!--break--> เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2553 ซึ่ง พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบมีแผนดำเนินการเกี่ยวกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เบื้องต้น 4 ข้อดังนี้ 1.ขยายสื่อปลอดภัยลงสู่ท้องถิ่น โดย วธ.จัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จังหวัด เพื่อขับเคลื่อนงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นำองค์ความรู้และแนวทางที่ได้จากการสัมมนาระดับประเทศและจากจังหวัดนำร่อง 10 จังหวัด มาเป็นแนวทางการปฏิบัติให้สอดคล้องกับท้องถิ่น ขณะนี้คณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ฯ ได้จัดทำร่างคู่มือการจัดทำนโยบายและการปฏิบัติการด้านสื่อปลอดภัยและ สร้างสรรค์ในระดับจังหวัด เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับดำเนินภารกิจและจัดทำยุทธศาสตร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า 2.ขอความร่วมมือสื่อต่างๆ งดการเสนอภาพที่มีความรุนแรงจากเหตุการณ์ไม่สงบที่ผ่านมา โดยขอให้รายงานข่าวและรณรงค์ให้คนไทยมีความปรองดองกันตามนโยบายของรัฐบาล 3.จัดงานมหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระดับชาติ ครั้งที่ 1 โดยร่วมมือกับสมัชชาสื่อสร้างสรรค์ในการทำแผนแม่บทและเวทีแลกเปลี่ยนเรียน รู้ระหว่างภาคีเครือข่ายและสร้างระบบการสนับสนุนแบบมีส่วนร่วมเชิงสมานฉันท์ ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดพื้นที่การนำเสนอผลงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จากจังหวัด นำร่อง 4. การปรับปรุงกฎหมายที่มีผลต่อการจัดการปัญหาเรื่องสื่อ “สำหรับการปรับปรุงกฎหมายนั้น จะเน้นกลุ่มกฎหมายที่มีผลต่อการปราบปรามสื่อที่เป็นภัยต่อสังคมไทย ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 287 โดยให้มีการกำหนดบทลงโทษให้สูงขึ้น พ.ร.บ.การกระทำผิดความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2551 ให้ครอบคลุมวัตถุที่ยั่วยุพฤติกรรมอันตราย และ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2540 ด้านการพิสูจน์ยืนยันบุคคลเป็นต้น และกลุ่มกฎหมายที่มีผลต่อการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล ผู้ชม ผู้ฟัง ผู้อ่าน ได้แก่ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ควรมีกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็ก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวโดยให้มีการคุ้มครองข้อมูลของเด็ก เป็นต้น” รมว.วัฒธรรมกล่าว
ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
แอฟริกาใต้ 2010 : กระแสฟุตบอลโลกถล่มเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ Posted: 28 Jun 2010 04:13 PM PDT เกมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 รอบแรกนัดสุดท้ายที่ญี่ปุ่นเอาชนะเดนมาร์กไปได้ 3-1 ได้ทำ tweets-per-second เป็นสถิติใหม่ 3,283 ทวีตต่อวินาที ส่วนเฟซบุ๊คเองก็คึกคักเมื่อคนโพสต์เนื้อหาและรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันอย่างเป็นประวัติกาล สถิติใหม่ของเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคมอย่าง “ทวิตเตอร์” ในการ ทวีตต่อวินาที (tweets-per-second) เกิดขึ้นในเกมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 รอบแรกนัดสุดท้ายที่ญี่ปุ่นเอาชนะเดนมาร์กไปได้ 3-1 โดยทำสถิติไป 3,283 ทวีตต่อวินาที ทำลายสถิติการทวีตต่อวินาที ของเกมการแข่งขันบาสเก็ตบอล NBA นัดชิงระหว่าง Los Angeles Laker กับ Boston Celtics ที่มีอัตราการทวีต 3,085 ครั้งต่อนาที เช่นเดียวกับเฟซบุ๊คที่มียอดการทำกิจกรรมพุ่งสูงสุดในเกมระหว่างอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ส่วนการอัพเดทโพสต์และรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันฟุตบอลโลกพุ่งขึ้น 30% โดยนักเตะที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของผู้เล่นเฟซบุ๊คคือ Cristiano Ronaldo เทพบุตรลูกหนังของทีมชาติโปรตุเกส โดยมี Wayne Rooney, Landon Donovan และ Didier Drogba ตามมาตามลำดับ ฟุตบอลโลกหนนี้มีการทำการตลาดบนเครือข่ายทางสังคมออนไลน์อย่างคึกคัก แคมเปญโฆษณาของ Coca-Cola ใช้โฆษณากว่า 85 ล้านแอดในทวิตเตอร์ นอกจากนี้มีการเปิดวีดีโอผ่านเฟซบุ๊คของ Nike กว่า 5.6 ล้านครั้ง ใน 24 ชั่วโมงแรกของแคมเปญที่ทางบริษัทตั้งเป้ายอดผู้ติดตามเฟซบุ๊คของบริษัทเพิ่ม 6 ล้านคน โดยมุ่งหวังว่าจะใช้เครือข่ายทางสังคมออนไลน์นี้กรุยทางไปหาผู้บริโภคในยุโรปมากขึ้น ที่มา: สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
แกนนำสตรีที่ชื่อ ‘รัตนา’ กับ 3 ปีที่ขังตัวเอง ชีวิตเหยื่อจากความไม่สงบ Posted: 28 Jun 2010 03:33 PM PDT สัมภาษณ์ “รัตนา ดือเระซอ” หรือ กะเจ๊ะ เหยื่อความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบในชายแดนใต้ กับการก้าวข้ามความสูญเสีย และสามารถสยบคำว่า “แม่ม่าย” คำต้องห้ามสำหรับตัวเธอเอง จนกลายเป็นแกนนำสตรีที่นำพาคนในชุมชนสู่ความเข้มแข็งได้ <!--break--> พูดถึงเหยื่อสถานการณ์ความไม่สงบ หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบแล้ว คนไทยทั่วไปก็มักนึกถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพมหานครในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา แต่คงไม่ลืมไปว่า ประเทศไทยไม่ได้มีเหยื่อของความรุนแรงในกรุงเทพมหานครเท่านั้น เพราะสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ก็ได้สร้างยอดสะสมของเหยื่อมานับไม่ถ้วน มากกว่าความขัดแย้งแบ่งฝ่ายเลือกข้างสีเสื้อมาก ซึ่งหากใครมีโอกาสได้ลองไล่เรียงดูผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว จะพบว่าแต่ละคนต้องประสบพบกับการทดสอบจิตใจแตกต่างกันไป หนักบ้างเบาบ้าง
นางรัตนา ดือเระซอ หรือ กะเจ๊ะ ประธานกลุ่มมะกรูดหวานกับเครื่องจักรสานภูมิปัญญาชาวบ้าน
จากสาวสระบุรีสู่แกนนำสตรีชายแดนใต้ นางรัตนา ดือเระซอ หรือ กะเจ๊ะ อายุ 52 ปี ชาวบ้านปากา ลีมาปูโระ (โคกมะกรู) ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ก็เป็นคนหนึ่งที่ต้องประสบกับเหตุการณ์ไม่สงบและกลายเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง แม้กะเจ๊ะเป็นคนต่างศาสนามาก่อน อีกทั้งยังเป็นคนต่างถิ่น แต่เธอก็ไม่คิดจะย้ายหนีไปไหน ซ้ำยังลุกขึ้นสู้จนสามารถเอาชนะความโศกเศร้าเสียใจ ที่กักขังตัวเองอยู่แต่ในบ้านถึง 3 ปีครึ่ง เดิมกะเจ๊ะเป็นคนจังหวัดสระบุรี นับถือศาสนาพุทธ เมื่อต้องแต่งงานกับมุสลิมชาวจังหวัดปัตตานี จึงเข้ารับอิสลาม เมื่อปี 2520 หลังจากได้เจอกันครั้งแรกสมัยมหาวิทยาลัยรามคำแหงที่กรุงเทพมหานคร จากนั้นได้ย้ายมาอยู่ที่จังหวัดปัตตานีบ้านเกิดสามี กะเจ๊ะต้องเผชิญกับบททดสอบที่หนักที่สุดในชีวิต เมื่อสามีถูกยิงเสียชีวิตบริเวณชุมชนจาบังตีกอในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2548 ขณะขับรถจักรยายนต์ไปซื้อกับข้าวในตอนเย็น ซึ่งกะเจ๊ะอยู่ในเหตุการณ์ด้วย
บททดสอบแห่งชีวิต กะเจ๊ะ เล่าถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า ได้ยินเหมืองเสียรถยางแตก 2 ครั้ง ยังไม่รู้ว่าสามีถูกยิง พอรถจักรยานยนต์ล้ม จึงรู้ว่าสามีถูกยิง “ก็รู้สึกช็อกมาก ร้องขอให้คนช่วย แต่ไม่มีใครเข้ามาช่วยเลย มีแต่ขับรถผ่านไป แม้แต่คนในหมู่บ้านเองก็ยังปฏิเสธ บอกว่าของเต็มรถ” “รู้สึกเหมือนอยู่ในทะเลทรายคนเดียว เพราะไม่มีใครมาช่วยเลย พยายามเรียกสามีตลอดว่า พ่ออย่าเพิ่ง แต่สามีก็เสียชีวิตตรงนั้น" นั่นคือความรู้สึกแรกที่เธอได้สัมผัส กะเจ๊ะเล่าต่อว่า ตอนเกิดเหตุ ไม่กล้ามองหน้าคนร้าย เพราะกลัว แต่ต่อมาก็ทราบจากตำรวจว่า คนร้ายที่ยิงสามี ถูกตำรวจยิงเสียชีวิตด้วย ตรงบริเวณเดียวกับที่สามีถูกยิงเสียชีวิต สามีกะเจ๊ะชื่อ จ.อ.มากาตา ดือเระซอ เป็นข้าราชการบำนาญ โดยเป็นอดีตทหารเรือสงขลา ขณะเกิดเหตุสามีได้เออร์ลี่รีไทร์แล้ว ตอนนั้นเขาอายุ 49 ปี ส่วนกะเจ๊ะอายุ 47 ปี
3 ปีครึ่งที่กักขังตัวเอง แน่นอนว่า หลังจากที่สามีเสียชีวิต กะเจ๊ะเสียใจมากกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังกลัวว่า คนร้ายจะกลับมาฆ่าตัวเองอีก และยังคิดว่าชาวบ้านรังเกียจที่เป็นตนเองกลายเป็นผู้หญิงหม้าย จึงเก็บตัวอยู่แต่ในบ้านถึง 3 ปีครึ่ง แม้ว่าหลังจากสามีเสียชีวิตไม่นาน ทางราชการได้นำเงินช่วยเหลือเบื้องต้นมามอบให้ก็ตาม ประกอบด้วยเงินช่วยเหลือจากกองทัพเรื่องที่ฝากมากับหน่วยทหารในพื้นที่มามอบให้ในวันแรกที่สามีเสียชีวิต จำนวน 9,000 บาท ตามมาด้วยเงินช่วยเหลือจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย จำนวน 40,000 บาท และเงินช่วยเหลือจากรัฐอีก 100,000 บาทก็ตาม
‘แม่หม้าย’คำต้องห้าม “บางครั้ง เราเคยคิดจะฆ่าตัวตายด้วยซ้ำ แต่ลูกๆ ห้ามไว้ บอกว่าถ้าแม่ตายไปแล้ว แล้วลูกๆ จะอยู่อย่างไร” สิ่งที่กะเจ๊ะยิ่งช้ำใจอีก เมื่อได้ยินใครเรียกตัวเองว่า แม่หม้าย จนถึงกับร้องไห้ทุกครั้ง “เวลามีคนอยู่ตรงไหนก็ไม่กล้าเดินผ่าน เพราะกลัวเขาจะพูดตามหลังว่า แม่หม้าย” คำถามก็คือ แล้วกะเจ๊ะอยู่ได้อย่างไรในบ้านคนเดียว ในขณะที่ลูกสาว 2 คนก็มีครอบครัวและมีหน้าที่การงานที่ต้องทำอยู่แล้ว และกะเจ๊ะเองก็ไม่ได้ทำงานอะไร กะเจ๊ะ เล่าต่อว่า ช่วงนั้นไม่ได้ทำงานอะไร ทำอะไรไม่ถูกเลย เพราะยังทำใจไม่ได้ ญาติสามีกับเพื่อนบ้านนี่แหละที่คอยช่วยเหลือ มีอะไรก็เอามาให้กิน “ตอนนั้นไม่รู้สึกตัวเลย ใครมาขออะไรก็ให้หมด มีคนมาขอเงิน บอกว่าทำบุญเพื่อให้สามีได้บุญ เราก็อยากให้สามีได้อยู่สบาย เราก็ให้ไป ใครขออะไรก็ให้ไปหมด” สภาพเช่นนี้ก็คงไม่ต่างกับผู้ที่ได้รับผลกระทบรายอื่นๆ มากนัก แล้วแต่ว่าใครจะฟื้นตัวได้เร็วกว่ากัน โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีอยู่ของแต่ละคนด้วย สำหรับกะเจ๊ะก็เช่นกัน สิ่งหนึ่งที่น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญและมีส่วนช่วยเยียวยาจิตใจได้ในระดับหนึ่ง นอกจากเครือญาติของสามีที่อยู่ในหมู่บ้านแล้ว ยังมีผู้นำศาสนา อย่างโต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดบ้านปากาลีมาปูโระแห่งนี้ ก็มีส่วนช่วยเหลือกะเจ๊ะด้วย โดยเฉพาะทางด้านจิตใจ ครั้งหนึ่งโต๊ะอิหม่ามเอาหนังสือยาซีน (บทหนึ่งในคัมภีร์อัล – กุรอ่าน) ที่เขียนเป็นภาษาไทยมาให้อ่าน เพื่ออุทิศผลบุญให้กับสามีที่เสียชีวิต เนื่องจากกะเจ๊ะไม่ได้เป็นมุสลิมและไม่ได้เรียนภาษาอาหรับมาตั้งแต่ต้น จึงไม่สามารถอ่านยาซีนจากต้นฉบับภาษาอาหรับได้ “หลังละหมาดได้ขอดุอา (ขอพร) จากพระเจ้าและอ่านยาซีน อุทิศผลบุญให้สามี ครบทุก 5 เวลาทุกวัน ตอนนี้อ่านมาเกือบจำทั้งบทแล้ว รู้สึกว่าศาสนาเป็นตัวช่วยได้เยอะทีเดียว” คือคำยืนยันของกะเจ๊ะ
จุดเปลี่ยนและการก้าวข้าม แต่จุดเปลี่ยนจริงๆ เริ่มต้นมาจากการได้เข้าร่วมเวทีประชุมกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบด้วยกัน ซึ่งเสมือนหนึ่งว่า มีใครซักคนไปเปิดก๊อกน้ำที่ถูกปิดตายมานาน แล้วความอัดอั้นตันใจก็พรั่งพรูออกมาโดยมีเพื่อนผู้ได้รับผลกระทบด้วยกันคอยรับฟัง แล้วต่างคนต่างก็ได้ระบายออกมา ใครเล่าจะเข้าใจความรู้สึกได้ดีกว่าคนที่ได้รับผลกระทบด้วยกัน กะเจ๊ะ เล่าว่า ตอนนั้นกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มอบหมายให้เขตพื้นที่การศึกษาดูแลเรื่องการเยียวยา ได้พาผู้ที่ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้หลายคนไปเที่ยวที่จังหวัดเชียงใหม่ “การได้เจอกับผู้ที่ได้รับผลกระทบคนอื่นๆ ทำให้เรามีเพื่อนคุยในเรื่องที่คนอื่นไม่เข้าใจ หรือไม่ได้มีความรู้สึกเหมือนเรา ทำให้รู้สึกดีมาก และจะดีใจทุกครั้ง ถ้าจะมีเวทีประชุมของคนที่ได้รับผลกระทบ” “จนกระทั่งเราคิดได้ว่า ความเสียใจเป็นเรื่องธรรมดาที่ใครๆ ก็ต้องเจอเมื่อมีความสูญเสีย แต่จะทำอย่างไรที่จะให้ชีวิตที่ยังเหลือยู่ มีความสุข จะมัวนั่งเสียใจต่อไปไม่ได้ พวกเราผู้หญิงต้องช่วยตัวเองให้ได้ เพราะพวกผู้ชายก็ไม่ค่อยเหลือแล้วในจังหวัดชายแดนภาคใต้” สาเหตุที่กะเจ๊ะตัดสินใจเดินทางไปประชุมครั้งนั้นด้วย ก็เพราะทุกครั้งที่มีเจ้าหน้าที่หรือนักเยียวยาเข้ามาเยี่ยมและพูดคุย เธอมักร้องไห้ทุกครั้ง เจ้าหน้าที่พวกนั้นจึงพยายามปลอบประโลม พร้อมกับย้ำว่า ถ้ายังเป็นอย่างนี้อยู่ต่อไป อนาคตจะอยู่อย่างไร ไม่มีอะไรดีขึ้นแน่นอน จึงแนะนำให้เริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ดีกว่า เช่นเดียวกับเพื่อนบ้านที่มาคอยให้กำลังใจด้วย จากนั้นจึงได้เข้าร่วมประชุมหรือทำกิจกรรมกับหน่วยงานต่างๆ มากขึ้น เช่น สำนักงานสุขภาพจิตที่ 15 สงขลา รวมทั้งศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศวชต. เป็นต้น กะเจ๊ะ บอกว่า การเข้าร่วมกิจกรรม ทำให้ได้เจอกับผู้ที่ได้รับผลกระทบคนอื่นๆ ที่มีสภาพเหมือนกับกะเจ๊ะด้วย แต่บางคนแย่กว่าด้วยซ้ำ “ตอนหลังเลยคิดใหม่ว่า ต้องเอาสิ่งที่เป็นปมด้อยของตัวเองมาเป็นปมเด่นให้ได้ ต้องทำอะไรก็ได้ที่ทำให้สังคมหมู่บ้านเราดีขึ้น”
กำเนิดกลุ่ม‘มะกรูดหวาน’ แน่นอนว่าการได้ร่วมกิจกรรมต่างๆ นั้น ทำให้กะเจ๊ะรู้ว่า ตนเองยังมีโอกาส คนอื่นไม่ได้รังเกียจ เมื่อเข้มแข็งแล้ว จึงคิดว่า ต้องทำอะไรเพื่อช่วยเหลือเพื่อนผู้ได้รับผลกระทบด้วยกัน และตอบแทนชาวบ้านที่คอยให้กำลังใจ จึงเป็นที่มาของการจัดตั้ง “กลุ่มมะกรูดหวาน” ซึ่งเป็นกลุ่มจักรสาน โดยอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านจากคนแก่ในหมู่บ้าน ให้เพื่อนผู้ได้รับผลกระทบและชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม และยังถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนด้วย กะเจ๊ะ เล่าว่า เดิมไม่ได้ตั้งชื่อกลุ่มมะกรูดหวาน แต่เป็นชื่อ “กลุ่มกระดังงา” เพราะเป็นดอกไม้ที่ทนทาน แข็งแกร่งเหมือนผู้หญิงที่เข้มแข็ง ไม่ได้หมายถึงหญิงหม้ายอย่างเดียวเท่านั้น การตั้งกลุ่มกระดังงาเริ่มจากการที่ กะเจ๊ะ ได้เข้าร่วมประชุมกับ ศวชต. ซึ่งมีการประชุม 2-3 เดือนครั้ง โดยมีอาจารย์ศุภวรรณ พึ่งรัศมี จาก ศวชต.เป็นที่ปรึกษาและคอยให้คำแนะนำต่างๆ โดยได้แนะนำให้ของบสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการทำวิจัยแห่งชาติ หรือ สกว. ทั้งนี้ เนื่องจาก สกว.มีโครงการสนับสนุนทุนวิจัยกิจกรรมทางเลือก (Alternative Activity Research: AAR) เพื่อเด็ก เด็กกำพร้า เยาวชน สตรี สตรีหม้าย และผู้นำศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ อำเภอจะนะและเทพา จังหวัดสงขลา) ซึ่งให้การสนับสนุนเงินทุนมา 5,000 บาท จากนั้นจึงชวนเพื่อนๆ มาร่วมกลุ่มด้วย โดยใช้สำนักงาน ศว.ชต. ที่... เป็นที่ตั้งกลุ่มชั่วคราว ก่อนจะย้ายมาตั้งที่บ้านเพื่อนในหมู่บ้าน กลุ่มกระดังงาตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2551 ช่วงแรกมีสมาชิก 6 คน ที่เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบ แต่เป็นคนในตัวเมืองปัตตานี ส่วนคนอื่นๆ ในหมู่บ้าน ยังไม่กล้าเข้ามาเป็นสมาชิก เพราะเห็นว่า เป็นกลุ่มแม่หม้าย หลังจากได้รับทุนจาก สกว.มา 5,000 บาท แล้ว ทางผศ.ปิยะ กิจถาวร คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี ในฐานะที่ปรึกษาหน่วยประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่าง สกว. แนะนำให้ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาเข้ามามีส่วนร่วมด้วย โดยผศ.ปิยะ เห็นว่า ผู้นำท้องถิ่นควรจะมีส่วนในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านของตัวเองด้วย นั่นจึงทำให้โต๊ะอิหม่ามได้เข้ามามีส่วนร่วมในกลุ่มกระดังงาด้วย โดยโต๊ะอิหม่าม แนะนำให้ทำกิจกรรมที่เป็นจุดเด่นของหมู่บ้านซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน นั่นคือการทำเครื่องจักรสาน ได้แก่ การทำเสลียงรองหม้อ หรือที่ชาวมุสลิมชายแดนใต้ เรียกว่า “ลือกา” กระเชอ หรือ “บาโก” และกระด้ง หรือ “บาแด” โต๊ะอิหม่ามยังได้เสนอให้ตั้งชื่อกลุ่มใหม่ที่แสดงให้เห็นถึงจุดเด่นของหมู่บ้าน จึงมีการปรึกษาหารือกันว่า ในเมื่อหมู่บ้านที่อาศัยอยู่มีชื่อว่า ปากาลีมาปูโระ แปลว่า โคกมะกรูด ก็น่าจะนำมาตั้งเป็นชื่อกลุ่มได้ ครั้งนั้นโต๊ะอิหม่ามอธิบายต่อว่า ถ้ามะกรูดเปรี้ยว คนก็รู้อยู่แล้วว่า มะกรูดต้องเปรี้ยวแน่นอน ถ้าจะให้เด่นขึ้นก็ต้องตั้งชื่อว่า “มะกรูดหวาน” จะทำให้มีความหมายที่ดีขึ้น ปัจจุบัน กลุ่มมะกรูดหวาน มีสมาชิก 23 คน ส่วนเป็นแม่บ้าน มีกะเจ๊ะคนเดียวที่เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน แล้วก็เพื่อนๆ ของกะเจ๊ะที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองปัตตานีอีก 5 คน แต่ช่วงหลังๆ สมาชิกที่อยู่ในตัวเมือง ไม่กล้าเข้ามาทำกิจกรรมกลุ่มมากนัก บางคนก็มานอนเป็นเพื่อนกะเจ๊ะ ที่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากในพื้นที่ใกล้เคียงเกิดเหตุไม่สงบบ่อย ก่อนหน้านี้มีคนถูกทำร้ายเดือนละถึง 5 ราย แต่ตอนนี้ยังไม่มีเหตุการณ์มาหลายเดือนแล้ว ปัจจุบันที่ทำการกลุ่มได้ย้ายไปตั้งที่อาคารเรียนร้างใกล้กับมัสยิด เพราะโรงเรียนได้ย้ายออกไปอยู่ริมถนนหน้าหมู่บ้านเพื่อหนีน้ำท่วม สำหรับผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มผลิตได้ ได้แก่ เฉลียงหม้อ กระด้ง กระเชอซึ่งมีทั้งแบบโปร่งและแบบทึบ ที่รองแก้วน้ำ ที่ใส่ปากกา เป็นต้น ราคาขายชิ้นละประมาณ 40 บาท
สมาชิกกลุ่มมะกรูดหวานกำลังสาน “ลือกา” หรือเฉลียงรองหม้อจากก้านมะพร้าว
เครื่องจักรสานภูมิปัญญาชาวบ้าน สำหรับวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตเครื่องจักรสาน ก็เป็นของหาได้ในหมู่บ้าน ได้แก่ ก้านมะพร้าวที่นำมาสานเฉลียงรองหม้อ ไม้ไผ่ที่นำมาสานกระเชอกับเครื่องใช้อื่นๆ รวมทั้งเถาวัลย์ที่นำมาใช้เย็บหรือร้อย ส่วนสีที่ใช้ก็เป็นสีธรรมชาติ เช่น แก่นขนุน เปลือกประดู่ สีจากเปลือกไม้หลายชนิด กะเจ๊ะ บอกว่า บางครั้งมีคนแนะนำให้ใช้สิ่งนั้นสิ่งนี้บ้าง ให้เอามาต้มกับเครื่องจักรสาน ใช้ทางบ้าง บางอย่างไม่ค่อยได้ผล แต่บางอย่างก็ผล เรียกว่าเป็นการลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ ก่อน ครั้งแรกที่ผลิตได้ สินค้าจำนวนหนึ่ง ได้ลองนำไปขายในงานชักพระที่อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ปรากฏว่าขายได้หมด จึงผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเฉลียงรองหมอที่ผลิตได้มากกว่าอย่างอื่น โดยลูกค้าส่วนใหญ่ เป็นพ่อค้าแม่ค้าที่นำไปจำหน่ายในงานต่างๆ รวมทั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ที่นำไปจำหน่ายในงานของดีชายแดนใต้ที่จัดขึ้นตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ร่วมกับผลิตภัณฑ์ของผู้ที่ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ บางครั้งเวลามีการประชุมที่ไหน กะเจ๊ะก็มักจะพาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไปขายหรือไปประชาสัมพันธ์ด้วย เช่น ครั้งหนึ่ง กะเจ๊ะได้ไปพักผ่อนกับกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบที่เกาะยาว จังหวัดพังงา ก็ได้แนะนำที่รองแก้วน้ำให้กับเจ้าของรีสอร์ทที่พักด้วย ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นลูกค้าของกลุ่มมะกรูดหวานไปด้วย สำหรับรายได้จากการขายของ นำมาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเก็บเอาไว้ซื้อวัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ส่วนที่สองเก็บไว้เป็นเงินสวัสดิการของสมาชิก และส่วนที่สามเอาไว้จัดเลี้ยงสังสรรค์ของสมาชิก “รู้สึกว่าเงินส่วนที่สามนี้ถูกใช้ไปเกือบทุกสัปดาห์” กะเจ๊ะเล่าไปพร้อมกับหัวเราะไปด้วย นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกองทุนสัจจะวันละบาทด้วย ตอนนี้มีเงินในกองทุนเกือบ 10,000 บาทแล้ว กะเจ๊ะบอกว่า ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มถือว่าขายดี มียอดสั่งซื้อเข้ามาตลอด ยังไม่เคยขาดทุน แต่ก็พออยู่ได้ รายได้ที่ได้สามารถช่วยจุนเจือครอบครัวของสมาชิกได้บ้าง เพราะเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ บางครั้งก็เอาสินค้าไปแลกเปลี่ยนกับกลุ่มอื่นๆ ที่เป็นกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบด้วย เป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หรือช่วยขายของคนอื่นให้ด้วย อย่างในงานของดีชายแดนใต้ เพราะกะเจ๊ะไปขายของในนามผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กะเจ๊ะ เล่าต่อว่า ที่ผ่านมา หลังจากตั้งกลุ่มมะกรูดหวานขึ้นมาแล้ว มีคนนอกมาศึกษาดูงานกันมาก มาดูว่ากลุ่มสตรีที่ได้รับผลกระทบแต่สามารถตั้งกลุ่มขึ้นมาได้อย่างเข้มแข็งได้อย่างอย่างไร จากนั้นก็มีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาสนับสนุน นอกจาก ศอ.บต.แล้ว ก็มีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดปัตตานี ก็ได้สนับสนุนวิทยากรมาช่วยสอนเรื่องการจักรสารผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้มีคุณภาพและประณีตมากขึ้น ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บาราเฮาะให้มา 20,000 บาท แต่ได้จริง 15,000 บาท นอกจากนี้เคยของบประมาณจากหน่วยทหารในพื้นที่ 25,000 บาท เนื่องจากเห็นว่ามีงบประมาณที่ลงมาจำนวนมาก แต่ได้มาจริงๆ 3,000 บาท ซึ่งการของบประมาณจากทหารมีปัญหาพอสมควร เนื่องจากชาวบ้านไม่ยอมรับ ตอนนี้มีทุนจากสหภาพยุโรป หรือ อียู (EU) เข้ามาให้แกนนำกลุ่มต่างๆ กู้รายละ 5,000 บาท ซึ่งกะเจ๊ะบอกว่า อาจจะขอกู้เพื่อนำมาสนับสนุนการทำงานของกลุ่มด้วย รวมทั้งโครงการไทยเข้มแข็งที่สนับสนุนค่าวิทยากรจากกลุ่มหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ โอท็อปที่มาสอนเรื่องการสานเครื่องใช้ต่างๆ ด้วย สำหรับช่วงเวลาที่สมาชิกส่วนใหญ่สามารถเข้ามาทำกิจกรรมของกลุ่มได้ มักจะเป็นวันศุกร์ เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่ทำงานในโรงงานโดยหยุดวันศุกร์ หรือช่วงสายๆ สำหรับคนที่ว่างเว้นจากงานบ้านแล้ว ส่วนกะเจ๊ะเอง ก็ต้องสานด้วย แต่เจ้าตัวบอกว่า ทำเองไม่ค่อยสวย ไม่เหมือนพวกแม่บ้านคนอื่นๆ จะทำได้สวยกว่า ตัวเองจึงทำหน้าที่ประธานกลุ่มที่ช่วยหาลู่ทางการตลาด รวมทั้งหางบประมาณหรือโครงการมาสนับสนุน การทำงานในกลุ่มทุกครั้ง จะมีการจดบันทึกไว้อย่างเป็นระบบ ที่การจัดทำบัญชี บันทึกการประชุม การทำกิจกรรมของสมาชิกด้วย
เปิดมุมมองชาวบ้านสู่โลกกว้าง กะเจ๊ะ บอกว่า การที่มีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานต่างๆ หลายครั้ง เห็นว่า ควรต้องพาสมาชิกในหมู่บ้านมีโอกาสเข้าไปร่วมด้วย “แรกๆ ชาวบ้านไม่กล้าไป เพราะคิดว่าโรงแรมหรือรีสอร์ทที่เขาจัดประชุมกัน เป็นที่ผู้ชายกับผู้หญิงไปนอนกัน จึงไม่อยากไปร่วม แต่พอได้ไปร่วมซักครั้งหนึ่งแล้ว ชาวบ้านก็เข้าใจว่า หน่วยงานต่างๆ เขาจัดประชุมกันอย่างไร ทำให้ชาวบ้านมีมุมมองที่กว้างขึ้น” อีกตัวอย่างหนึ่งกะเจ๊ะยกขึ้นมา ก็คือ เมื่อครั้งพาของไปขายในงานของดีชายแดนใต้ที่จังหวัดอุดรธานี กะเจ๊ะ ได้พาเด็กผู้หญิงในหมู่บ้านคนหนึ่งไปช่วยขายของด้วย “วันแรกแทบไม่พูดอะไรซักคำเลย พอวันที่สองเราบอกให้พูดบ้างว่า ช่วยซื้อของด้วย เป็นการทำบุญช่วยพี่น้องที่เดือดร้อนที่ชายแดนภาคใต้ ช่วยเหลือคนที่ได้รับผลกระทบ ของที่ขายเป็นผลงานของผู้ได้รับผลกระทบ จะทำให้เขาได้มีชีวิตที่ดีขึ้น ที่อาชีพที่ยั่งยืน” ปรากฏว่าวันนั้นขายของได้ตั้ง 3,000 บาท !
บททดสอบครั้งที่สอง เครียดกับทหาร แม้กลุ่มมะกรูดหวานจะไปได้สวย แต่ก็ไม่วายที่กะเจ๊ะถูกทดสอบอีกครั้ง “ช่วงทำเรื่องของบประมาณจากทหาร เป็นช่วงที่เครียดมาก เพราะชาวบ้านกล่าวหาว่า เอาทหารเข้ามาในหมู่บ้าน” อาจเป็นเพราะช่วงนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่ยังเกลียดทหารอยู่ กะเจ๊ะ บอกว่า ตัวเองเครียดจนตัวผอม ซ้ำยังต้องขายวัวที่เลี้ยงไว้ด้วย เพื่อเอามาเป็นค่าใช้จ่ายในบ้านและของกลุ่ม แต่ก็ถูกกดราคาจากคนซื้ออีก เพราะเห็นว่า กะเจ๊ะต้องการเงินด่วน “ตอนนั้น เราคิดในแง่ดีว่า ต้องการดึงทหารให้มาช่วยสอนชาวบ้านเรื่องการทำไม้กวาดฟรีๆ อาทิตย์ละครั้งเท่านั้น แต่ชาวบ้านไม่ชอบ สุดท้ายก็ไม่ได้ตามที่ขอ” ที่เป็นเช่นนั้น อาจเป็นเพราะครั้งหนึ่งมีตัวแทนประเทศแถบตะวันออกกลางเดินทางมาเยี่ยมที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร กะเจ๊ะได้ไปร่วมต้อนรับด้วย แล้วก็มีโอกาสได้พูดต่อหน้านายทหารหลายคนว่า ได้ทำเรื่องของบประมาณมาตั้งนานแล้ว ยังไม่ได้ ทั้งๆ ที่ทหารในพื้นที่ก็รับปากว่าจะให้ พูดเสร็จก็มีนายทหารในพื้นที่คนหนึ่งมาพูดเชิงตำหนิว่า ทำไมกะเจ๊ะถึงได้พูดอย่างนั้น “เขาคงรู้สึกเสียหน้า เลยทำให้ทหารไม่ชอบเราไปด้วย” ขณะที่ญาติๆ ของสามีก็บอกให้เลิกคิดเรื่องตั้งกลุ่มได้แล้ว แถมยังเตือนให้ระวังตัวด้วย “ตอนนั้นเราก็บอกกับชาวบ้านไปว่า ไม่เอาแล้วกับทหาร” แล้วกะเจ๊ะก็ตั้งหน้าตั้งตาทำเรื่องกลุ่มต่อไป “ส่วนพวกแม่บ้านบางคนที่มาแอบดูเวลาเราทำงานกลุ่ม ก็เริ่มเข้ามาเป็นสมาชิกหลายคน ซึ่งเราคิดว่าไม่ได้ทำอะไรผิด ทำอย่างเปิดเผยและจริงใจต่อหมู่บ้านที่เราอยู่ เขาก็เลยเข้ามาร่วม” “เราบอกชาวบ้านไปว่า เราจะทำความดีต่อหมู่บ้าน จึงคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร”
สยบคำต้องห้าม ได้ใจที่เข้มแข็ง สำหรับกะเจ๊ะแล้ว ดูเหมือนว่า ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างกับหน้ามือเป็นหลังมือ คำต้องห้ามสำหรับกะเจ๊ะอย่างคำว่า “แม่หม้าย” กลายเป็นคำที่สามารถฟุ้งออกมาจากปากของกะเจ๊ะเองได้แล้ว “ตอนนี้อยู่ได้สบาย คำว่าแม่หม้ายนะหรือ ฟังได้ แถมยังพูดเองได้ด้วย” คือคำยืนยันที่สะท้อนถึงความเข้มแข็งที่ปรากฏออกมา กะเจ๊ะ บอกต่อว่า ตอนนี้กล้าเผชิญปัญหามากขึ้น และคิดว่าสามารถช่วยเหลือคนอื่นได้ด้วย สิ่งที่ทำมาได้หลายอย่าง คุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยเฉาพะทางด้านจิตใจ กล้าคิดกล้าทำมากขึ้น กล้าเผชิญกับอุปสรรค รู้จักคิดและรู้จักแก้ปัญหามากขึ้น “ที่สำคัญ เราได้กลุ่ม ได้รู้จักเพื่อนใหม่ มีประสบการณ์ใหม่ๆ อะไรที่เรายังทำไม่ดี ต้องแก้ไขปรับปรุง ก็มีคนมาแนะนำ มาบอกให้ ที่ประชุมต่างๆที่ เราไปเข้าร่วม เขาก็แนะนำให้” ซึ่งนั่นหมายถึงองค์กรเครือข่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือกลุ่มมะกรูดหวาน และเธอเองก็ยืนยันว่า ไม่คิดจะย้ายหนีไปไหนด้วย เพราะมาอยู่ที่ปัตตานีถึง 30 ปี ดูเหมือนว่าเธอจะผ่านบททดสอบครั้งนี้ได้แล้ว
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
กวีประชาไท: "สันติภาพบนคราบเลือด" - "คืนความสุขให้ใคร" Posted: 28 Jun 2010 02:54 PM PDT <!--break--> สันติภาพบนคราบเลือด มือกวีมีไว้ใช้กล่อมโลก จารึกโศกนาฏกรรมบนผืนหล้า ใช่ยกนิ้วพลิ้วประจบนบวันทา อักษราอย่ารับใช้ทรชน ศิลปินเพ่งเนตรเจตน์พินิศ คร่ำครวญคิดอิสรีย์มีเหตุผล ใช่เพ้อฝันตัณหาอัตตาล้น เฝ้าเปรอปรนคนพาลคอยหว่านเงิน ศักดิ์ศรีแห่งศิลปินนั้นยิ่งใหญ่ อาจฆ่าได้หยามไม่ได้มานานเนิ่น เปรียบพันธะดวงฤทัยได้เผชิญ แม้ถูกมองเป็นส่วนเกินของสังคม ทุกหยดหมึกรฦกย้ำร้อยคำหยาด แปรงที่ปาดวาดหวังมุ่งสั่งสม คุณธรรมดั่งคทาทานระทม ประหนึ่งคมความคิดจิตจำนรรจ์ แต่วันนี้กวีวรรณพลันหลับใหล ปลายปากกาแผ่วไร้พลังฝัน จิตรกรอ่อนล้าลาพู่กัน ล้วนแต่หันหลังหลบลบสัจจา ไม่มีหรอก “สันติภาพ บนคราบเลือด” น้ำใจแล้งแห้งเหือดเกินค้นหา เลิกหลอกลวงปวงชนปล้นศรัทธา ความพิสุทธิ์ถูกฆ่าด้วยซาตาน ดัดจริตร้องหา “สันติภาพ” ซึ้งกำซาบอาบไอรักสมัครสมาน ไม่เลือกข้าง... แท้ยอบกายขายวิญญาณ กู่ประจานตัวตนคนของใคร ไม่ใช่คนของมหาประชาราษฎร์ หมอบแทบเท้ทุรชาติโฉดไฉน สันติภาพดูสดสวยด้วยสีใด ตราบคราบเลือดข้นไหลยังขื่นคาว หักปากกากวีนี้เสียเถิด ขว้างพู่กันบรรเจิดหยุดร้องป่าว เป็นได้เพียงเศษฝันอันแหลกร้าว “ชีวิตยาว ศิลปะสั้น”* ชั่วกัลปา. * ล้อคำว่า "ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น" ของศ.ศิลป์ พีระศรี คืนความสุขให้ใคร โศกนักหรือสังคม จึงระดมขอความสุข แท้ใครเป็นฝ่ายทุกข์ หมดสิทธิ์ลุกมาทวงคืน เมืองป่วนเพราะใครปั่น กระสุนปันกระสันปืน สุขพับกับแดงผืน ธงสะอื้นบ่คืนคลาย เพียงแค่คุณหยุดฆ่า เลิกข้อหาก่อการร้าย ฟังเสียงกี่ล้านสาย ต่างมุ่งหมายเสรีธรรม “อภัย ผู้พลั้งผิด” อ้างสิทธิ์ใดมาบ่นพร่ำ คนผิดคือผู้นำ อำนาจฟ้าสั่งฆ่าคน ฆ่าควายเสียดายเกลือ ตายเป็นเบือกลัวเปื้อนถนน เหม็นซากไพร่ยากจน นครป่นต้องล้างคาว ปัดกวาดต้นไม้ปลูก คืนความสุขด้วยสีขาว พ่อค้านั่งคว้าดาว สาวไฮโซโชว์แบรนด์เนม ดาราและนักร้อง ขอปรองดองอย่างปรีดิ์เปรม รอยยิ้มอันอิ่มเอม เป็นเหยื่อเกมประกวดกัน ความสุขบนความโศก หฤโหด - หฤหรรษ์ ทุกข์-สุขเรารู้ทัน หยุดปั่นหัวเลิกยุแยง ยอมรับเถิดผองไท สุขที่ใจใช่เสแสร้ง ยิ่งย้ำยิ่งยั่วแย้ง ระแวงทุกข์เพราะสุขเทียม สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น