ประชาไท | Prachatai3.info |
- “สดศรี” เผยรอตั้งอนุกรรมการสอบ “ปชป.-ก.ม.ม.” ฮั้วกัน ขู่พบผิดจริงอาจยุบพรรค
- จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณไปวิพากษ์บุคคลที่คนอื่นว่าเป็นคนดี : ปัญหาพื้นฐานของสังคมไทย
- "นพดล" ไปสหรัฐหวังขอเป็นตัวกลางเปิดเจรจาสันติภาพ
- สรุปข่าวพม่ารอบสัปดาห์ (23 - 29 มิ.ย.53)
- ยกคำร้องก่อแก้วออกคุกชั่วคราว ทนายเตรียมขอยื่นประกันต่อ
- ทหารช่างเล็งจ้างคนเร่ร่อนสนามหลวงเป็นคนงานก่อสร้าง
- ย้ายที่ทำการศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนและกฎหมายจากความรุนแรงทางการเมือง (ศรส.)
- แอฟริกาใต้ 2010: ในความเป็น ‘อริ’ ของ “อังกฤษ – เยอรมัน”
- ความเป็นหนึ่งเดียวของไทยและแค็ปซูลวิเศษ วัฒนธรรมสื่อไทยในสายตาต่างชาติ
- ศอฉ.ใช้งบสลายชุมนุมเสื้อแดง 2 เดือน 5 พันล้าน
- มาร์คสั่งต่ออายุมาตรการรถเมล์-รถไฟ-ค่าไฟฟรีอีก 6 เดือน
- ครม.ชงงบ 600 ล้านตั้งสำนักปฏิรูปฯ "บรรหาร" เย้ยเห็นชื่อกรรมการแล้วเหนื่อย ชาตินี้จะปรองดองกันได้หรือเปล่า
- ความผิดพลาดของประเทศไทย
“สดศรี” เผยรอตั้งอนุกรรมการสอบ “ปชป.-ก.ม.ม.” ฮั้วกัน ขู่พบผิดจริงอาจยุบพรรค Posted: 30 Jun 2010 07:34 AM PDT <!--break--> 30 มิ.ย.53 - เว็บไซต์เดลินิวส์รายงานว่าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวถึง กรณีที่พรรคเพื่อไทยร้องขอให้ กกต. ตรวจสอบพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ฮั้วกับพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) เพื่อไม่ให้ส่งผู้สมัครลงในการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 ว่า เมื่อมีการนำเรื่องเข้าเสนอมา ที่ประชุม กกต.ก็ต้องตั้งอนุกรรมการไต่สวน เพื่อตรวจสอบ แม้ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการร้องในลักษณะดังกล่าว จริงอยู่ตุลาการรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทยจากกรณีมีการฮั้วกับพรรคการเมืองอื่นลงสมัครแข่งขันด้วยกัน เพื่อหนีเกณฑ์การได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 จนนำไปสู่การยุบพรรค แต่การที่พรรคการเมืองประกาศว่าจะลงสมัคร แต่ต่อมาไม่ลงสมัคร และมีการระบุว่าอาจเป็นการฮั้วกัน ก็อาจเข้าข่ายฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง ซึ่งเรื่องนี้จะต้องรอให้มีการตั้งอนุกรรมการไต่สวน เพื่อวินิจฉัย โดยจะดูว่าเข่าข่ายพฤติการณ์ที่มีการร้องเรียนเข้ามาหรือไม่ อาจจะเข้าความผิดตามมาตรา 94 และ 95 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งมีโทษยุบพรรค ที่มาข่าว: เว็บไซต์เดลินิวส์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณไปวิพากษ์บุคคลที่คนอื่นว่าเป็นคนดี : ปัญหาพื้นฐานของสังคมไทย Posted: 30 Jun 2010 07:22 AM PDT <!--break--> ผมยังคงยืนยันความคิดเดิมว่า ผมศรัทธาใน "ระบบ" ไม่ใช่ "คน" และไม่เคยคิดจะตั้งความหวัง หรือเซ่นสังเวยความศรัทธาให้คนที่ทุกคนว่าดี เพราะคนเรานั้น ต้องยอมรับว่ามันมีทั้ง "ดี" และ "เลว" ในตัว (ปัญหาว่าใครมีอะไรมากกว่ากันระหว่าง ดีกับเลว เป็นเรื่องที่ปลีกย่อย) ณ วันหนึ่ง เราอาจพบว่ามันดีมากที่เป็น "คนนี้" หรือ "คนกลุ่มนี้" เป็นผู้ลงมือกระทำ หรือขับเคลื่อนอะไรบางอย่าง แต่เราต้องไม่ลืมว่า ตราบใดที่เรายังเป็นคนไม่มีอะไรรับประกันได้เลยว่ามันจะดีอย่างนี้ได้ตลอดไปหรือเปล่า และซ้ำร้าย หากคนเหล่านี้ล้ม หาย ตาย จากไป ก็เท่ากับว่าเราต้องเริ่มกลับไป “เสี่ยง” นับหนึ่งอีกรอบสำหรับการควานหา และตั้งความหวังกับ "คน" อีกรอบ ในทางกลับกัน หากเป็นระบบที่ดี ย่อมเป็นเครื่องมือรับประกันว่าอย่างน้อยที่สุด เราจะไม่ต้องแขวนผลสำเร็จของอะไร บางอย่างไว้กับคนที่ไม่แน่นอน หากคนเหล่านี้ล้มหายตายจากไป คนที่เข้ามาใหม่ ก็มีการรับประกันได้ว่าผลสำเร็จ หรือการทำงานจะยังคงเป็นระบบระเบียบอย่างเดิม วัฒนธรรมการนับถือคน และพร้อมใจกันสถาปนาว่าคนนั้น เป็น "คนดี" เหมือนกับการหลงลืมชั่วคราวว่านี่คือคน ที่มีทั้งดีและไม่ดี ที่น่าสนใจ คือ บางครั้งคนดีที่คนอื่นยกย่องเหล่านี้พร้อมจะนำเสนอ และทำการตลาดความดีของตน ไม่ว่าจะด้วยตนเอง หรือบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ภายใต้ใบหน้าของอุดมการณ์ หรือความดีงาม เรามักพบว่าความฟอนเฟะอันน่าสมเพช และความตื้นเขินอันหาแก่นสารไม่ได้ ความมีแก่นแท้จริงแล้วเป็นความกลวงและลวงตาอย่างที่สุด แต่คนก็ยังยกย่องอย่างไม่ลืมหู ลืมตา!!! ความเดือดร้อนมันจะไปเกิดขึ้น หากคุณไม่ไปแตะต้อง หรือพยายามแตะต้องบุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ของความดีนั้น คำถามอย่างน้อยที่สุดสำหรับบทความนี้ คือ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณไปวิพากษ์บุคคลที่คนอื่นว่าเป็นคนดี ? แน่นอน สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการเผชิญหน้าอย่างบ้าคลั่งกับผู้นิยมคนดีคนนั้นๆ ความรุนแรงย่อมขึ้นอยู่กับระดับของความบ้าคลั่ง ตั้งแต่การด่าทอ การรวมกลุ่มกดดัน หรือการทำร้ายกันทั้งร่ายกายและจิตใจ ใครไม่ยกย่อง หรือชื่นชม เอ็งผิด เอ็งเลว โสกราติสนักปราชญ์เรืองนามชาวกรีกได้กล่าวว่า "ชีวิตที่ปราศจากการตรวจสอบ มิควรค่าที่จะดำรงอยู่ต่อไป" เช่นเดียวกันกับคนดีของทุกคน หากเราไม่อาจแตะต้องหรือวิพากษ์ได้ ย่อมเป็นเรื่องที่น่าหดหู่ และการปรักปรำคนที่พยายามตั้งคำถามและวิพากษ์คนดีคนนั้นว่า เป็น "คนไม่ดี" "คนผิด" หรือ "คนเลว" ย่อมเป็นเรื่องตลกร้ายที่น่าเวทนาสุดๆ แต่มันเกิดขึ้นแล้วในสังคมเรา สังคมที่เรามองว่าเรายอมรับในความเห็นต่างได้ จริงๆ แล้วไม่!!! หลักฐานชิ้นสำคัญว่าเราไม่พร้อมในการรับฟังซึ่งกันและกัน คือ คนไทยไม่เคยประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมเป็นหมู่คณะมาก่อน เราไม่เคยเห็นกีฬาที่เล่นเป็นทีมอย่างฟุตบอลประสบความสำเร็จ เท่าเล่นคนเดียวอย่าง "ชกมวย" "ยกน้ำหนัก"เพราะทักษะในการพร้อมรับการวิจารณ์และวิจารณ์ได้ของเรามีน้อยมาก ในขณะเดียวกัน เรายังนิยมระบบบริหารคนเดียวอย่าง CEO มากกว่าการบริการเป็นกลุ่มอย่างในยุโรป สภาพสังคมแบบนี้ล่ะ ที่ทำให้เรา "สมองฝ่อ" ไม่คิดอะไรใหม่ หรือไม่กล้าจะคิดให้ต่างออกไป เอาง่ายๆ หลายชื่นชม สตีฟ จ๊อบ และชื่นชอบ iphone และเราก็เลียนแบบตามในสิ่งที่เขา คิดมาแล้ว ความคิดอันสวยหรูก็เช่นเดียวกัน หลายคนเอาแต่ชื่นชมจนหลงลืมการคิดในมุมต่างๆ และเราก็ลืมที่จะคิดให้ดีขึ้น บางคนกด "ชื่นชอบ" "Like" ความคิดคนอื่น แต่ชีวิตก็ไม่เคยจะคิดหรือเขียน อะไรให้คนอื่นมากด Like ตนเองบ้างเลย นี่เป็นความสลดของผลกระทบระดับมหภาคในการที่เราถูกล้อมกรอบไม่ให้กล้าวิพากษ์ "คนดี" มันทำให้เราไม่กล้าคิดอะไรที่ต่าง ไปจากอื่นๆ เพราะจะถูกพิพากษาทันทีว่าเป็นคนไม่ดี ตอนนี้ผมเริ่มคิดว่า "คนดี" นี่เหมือนอะไรกัน พอมือเราไม่แตะโดนกลับเหม็นหึ่งติดมืออย่างไม่จางหายไป ลองคิดดู!!! สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
"นพดล" ไปสหรัฐหวังขอเป็นตัวกลางเปิดเจรจาสันติภาพ Posted: 30 Jun 2010 07:13 AM PDT "นพดล ปัทมะ" เยือนสหรัฐฯ หวังขอเป็นตัวกลางเปิดเจรจาสันติภาพ แจงรัฐบาลไทยกล่าวหาเสื้อแดงเป็นผู้ก่อการร้าย "อภิสิทธิ์" เย้ยแค่รักษาผลประโยชน์ "ทักษิณ" 30 มิ.ย. 53 - แนวหน้ารายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. ที่พรรคเพื่อไทย นายนพดล ปัทมะ อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวผ่านระบบวีดีโอลิงค์จากกรุงวอชิงตันดีซี สหรัฐอเมริกา มายังประเทศไทย ระหว่างการเดินทางไปพบปะกับกลุ่มคนไทยในสรัฐอเมริกา นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารของประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อชี้แจงเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศไทย โดยนายนพดล กล่าวว่า ตนเดินทางมาถึงประมาณ 2-3 วันแล้ว การเดินทางมาครั้งนี้เป็นการเดินทางตามคำเชิญเพื่อเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในรอบ 1-2 เดือนที่ผ่านมา โดยตนได้พบปะกับคนไทยในสหรัฐรวมถึงภาคส่วนต่างๆในสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นนักคิด นักวิชาการ สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารของสหรัฐ แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าเป็นใครบ้าง สื่อมวลชนคงเข้าใจทัศนคติรัฐบาลไทย นายนพดล กล่าวว่า จุดประสงค์ของการมาสหรัฐอเมริกาเพื่อเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ที่ทางสหรัฐอเมริกาได้ฟังจากรัฐบาลมามากพอสมควร ตอนนี้เราจะขอชี้แจงบ้าง ประกอบด้วย 1.ข้อกล่าวหา โดยยืนยันว่าคนที่มาชุมนุมไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายแต่เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและความยุติธรรม 2. พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย และ3. ประเทศไทยต้องมีการปรองดองแท้จริง เพราะสหรัฐและไทยเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน หากประเทศไทยเข้มแข็งก็จะเป็นพันธมิตรที่เกื้อกูลกันได้ โดยตนได้นำเสนอการเจรจาสันติภาพ หรือ “Peace Talk” คือการเจรจาของทุกฝ่าย ขณะเดียวกันเราก็ไม่ขัดขวางเป้าหมายตามแผนสร้างความปรองดองหรือโรดแมป ของนายกรัฐมนตรี แต่ยืนยันว่าโรดแมป ของนายกรัฐมนตรีไทยไม่ใช่การปรองดองที่แท้จริง แต่เป็นวิธีการปฏิรูปสังคมระยะยาว เช่น ข้อสามบอกว่าจะปฏิรูปสื่อ แต่รัฐบาลกลับสั่งปิดเว็บไซต์ วิทยุชุมชนของฝ่ายเสื้อแดง “ผมเข้าใจว่าในการประชุมพรุ่งนี้ รัฐสภาสหรัฐอเมริกาอาจมีการออกข้อมติใน 2 ประเด็นคือ 1.รัฐสภาสหรัฐสนับสนุนการเจรจายุติปัญหาทางการเมืองโดยการพูดคุยและ 2.สนับสนุนเป้าหมายของโรดแมป ของนายรัฐมนตรีไทย ทั้งนี้เราได้เสนอการเจรจาสันติภาพ ให้ทางสหรัฐอเมริกาได้เข้าใจว่าคนเสื้อแดงที่มีจำนวนมากในประเทศไทยนั้น พร้อมและต้องการที่จะปรองดองกับทุกคนในชาติ เพื่อให้ชาติเดินต่อไปได้ แต่เราก็ต้องยอมรับว่าถ้าใครกระทำผิด ในตลอด 2 เดือนที่ผ่านมาก็ต้องมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งผมคิดว่าประเทศไทยสามารถปรองดองกันได้ หากรัฐบามีความจริงใจหรืออย่างน้อยก็ควรพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วปล่อยตัวผู้ถูกกล่าวหาทางการเมือง หรืออย่างน้อยก็ควรแจ้งข้อกล่าวหาที่ชัดเจนโดยเร็วที่สุด ไม่ใช่การกักขังไว้โดยไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาใดๆ” นายนพดล กล่าว นายนพดล กล่าวว่า การเดินทางมาครั้งนี้ไม่ได้เป็นการมาเพื่อเชื้อเชิญให้สหรัฐฯ แทรกแซงกิจการภายในประเทศไทย แต่เป็นการมาชี้แจงเหตุการณ์ในประเทศไทยให้ทุกคนเข้าใจถึงจุดยืนสิ่งที่คนเสื้อแดงได้เรียกร้อง รวมไปถึงจุดยืนและท่าทีของ พ.ต.ท.ทักษิณ และสถานการณ์ล่าสุดในประเทศไทย เกี่ยวกับการคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และการละเมิดสิทธิของประชาชน ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์อาจจะกล่าวหาว่าเรามาเพื่อชักศึกเข้าบ้าน แต่ยืนยันได้ว่าเป็นการมาสร้างความมั่นใจให้กับชาวต่างประเทศ ซึ่งก็มีกระแสตอบรับกลับมาชัดเจนว่าหลายคนเข้าใจสถานการณ์ในประเทศไทยมาก และรับทราบเกี่ยวกับตัวละครต่างๆดีพอๆกับคนไทยที่อยู่ในประเทศไทย แม้จะมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนบ้างก็ได้ชี้แจงไป “โดยภาพรวมคือทางสหรัฐอเมริกาอยากเห็นความปรองดองของแต่ละฝ่าย โดยควรจะหาทางเจรจากันด้วยการที่ทุกฝ่ายโอนอ่อนผ่อนปรนบางเรื่อง และอย่าถือว่าอีกฝ่ายคือผู้ก่อการร้ายและตั้งป้อมว่าจะไม่มีการเจรจาพูดคุยกับผู้ก่อการร้าย โดยยังไม่มีการพิสูจน์ความผิด และพี่น้องคนไทยไม่ใช่ศัตรูของชาติ แต่เป็นคนที่พร้อมจะคุยและพัฒนาบ้านเมืองร่วมกัน ที่สำคัญคือทุกฝ่ายสามารถเดินหาเสียงได้ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศได้โดยไม่มีปัญหา” นายนพดล กล่าว ทั้งนี้สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ว่า นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย ซึ่งอยู่ระหว่างเดินทางเยือนสหรัฐ กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า เขาหวังว่ารัฐบาลสหรัฐจะเข้ามาเกี่ยวพันกับสถานการณ์ในเมืองไทยมากกว่านั้ โดยสหรัฐสามารถใช้ช่องทางกระตุ้นให้รัฐบาลไทยพิจารณาถึงข้อเสนอของเราได้ การกระทำเช่นนี้ไม่การแทรกแซงการเมืองไทย แต่เป็นการให้คำแนะนำแก่มิตรของสหรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา และว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับไทยเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าหากเพื่อน(ประเทศไทย)อ่อนแอ หรือแตกแยก เพื่อนของสหรัฐก็จะไม่สามารถบรรลุศักยภาพที่มีอยู่ได้ นอกจากนี้ นายนพดล ยังได้กล่าวหารัฐบาลไทยว่า นำเสนอภาพกลุ่มเสื้อแดงอย่างผิด ๆ ต่อสหรัฐว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย ทั้งที่จริงคนเหล่านี้เป็นเพียงเกษตรกรชาวไร่ชาวนาที่รักประชาธิปไตย และไม่ชอบการเมืองแบบสองมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม นายนพดลปฎิเสธว่า เขามีแผนจะพบกับนักการเมืองรายใดของสหรัฐ แต่นักการทูตระบุว่า เขาจะพบปะกับสมาชิกสภาคองเกรสของสหรัฐ รายงานระบุว่า การเยือนของนายนพดลมีขึ้นหลังจากนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ได้ส่งตัวแทนพิเศษของไทย ไปยังกรุงวอชิงตัน เพื่ออธิบายถึงแผนปรองดองแห่งชาติของสหรัฐ แก่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ผู้นำสหรัฐ ซึ่งตัวแทนดังกล่าวชี้ว่า แผนปรองดองดังกล่าวไม่น่าจะขจัดความตึงเครียด และสถานการณ์อาจยุ่งยากได้ในอนาคต "นายกฯ" เย้ย "นพดล" แจงมะกันแค่รักษาผลประโยชน์นายปัดปรองดองซื้อเวลาแม้ยากก็ต้องทำ ไม่เสียกำลังใจที่ "เติ้ง" หยัน เมื่อถามว่าไม่คิดว่าจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเป็นการเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของไทยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "เขาต้องพยายามนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ของนายเขาอยู่แล้ว ผมมีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของประเทศ ส่วนคุณนพดลจะรักษาผลประโยชน์ของนายเขาก็เป็นหน้าที่ของเขา ผมก็อยากให้เขามารักษาผลประโยชน์ของประเทศมากกว่า แต่เป็นเรื่องที่เขาเลือกเอง" เมื่อถามว่า กลไกของรัฐที่จะดำเนินการรับมือเรื่องนี้เพียงพอหรือไม่ และจำเป็นต้องจ้างบริษัทประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เวลานี้กลไกลที่มีทำงานเต็มที่แต่จริงๆแล้วประชาชนทุกคนสามารถช่วยได้ ปัจจุบันตนเห็นประชาชนที่ต้องการเห็นภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย ความเข้าใจที่ถูกต้องเผยแพร่ออกไปเขาก็แสดงออกได้หลายรูปแบบ ขณะนี้รัฐบาลวางกลไกแต่ละด้านอยู่โดยกระทรวงการต่างประเทศเป็นหลัก ปัดปรองดองซื้อเวลาแม้ยากก็ต้องทำ ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกฯเสียกำลังใจกับคำพูดของนายบรรหารหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "ไม่หรอก จริงๆแล้วภาระของเรื่องนี้มันไม่ได้ตกอยู่กับรัฐบาลฝ่ายเดียว ขณะนี้มีหลายฝ่ายเข้ามาร่วมกันทำ มันเป็นภาระของทุกคนและถ้าไม่สำเร็จคนที่เดือดร้อนคือคนไทยทุกคน เป็นเรื่องที่เราต้องสร้างความตื่นตัวให้ทุกคนเข้าใจ ถ้าไปคิดว่าเป็นเรื่องยากแล้วไม่ต้องทำหรือปล่อยให้คนอื่นทำมันยิ่งไม่สำเร็จ เวลามันไม่สำเร็จไม่ต้องเป็นห่วงเพราะรัฐบาลสามารถทำงานไปตามปกติได้ แต่สิ่งที่จะเดือดร้อนคือประชาชน หากงานปฏิรูปงานปรองดองไม่สำเร็จจะกระทบงานทุกงาน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน ประชาชนเองจะเดือดร้อนขึ้น เมื่อถามว่าปัญหาคือแม้แต่ผู้ใหญ่ในพรรคร่วมรัฐบาลอย่างนายบรรหารยังไม่เข้าใจ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงไม่ใช่ไม่เข้าใจ คิดว่าจากประสบการณ์ของท่านคงเป็นเรื่องยากมาก แต่เรามีหน้าที่ที่ต้องทำให้ได้ ตนคิดว่าในช่วง 4-5 เดือนข้างหน้าจะมีความชัดเจนในกระบวนการปฏิรูปปรองดองเพราะกลไกเริ่มเดินแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับบรรยากาศความร่วมมือความเอาจริงเอาจังเอาใจใส่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการปฏิรูปมีความพร้อมเต็มที่ เมื่อถามว่านายบรรหารบอกว่าจะปรองดองจะเกิดขึ้นได้ต้องยอมทุกอย่างในสิ่งที่อีกฝ่ายต้องการ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่หรอก นั่นไม่ใช่แนวคิดของเราในเรื่องการไปยอม ตนย้ำไปแล้วเรื่องปรองดองไม่ใช่เป็นเรื่องไปปรองดองกับใคร เป็นเรื่องการปรองดองที่จะทำให้เกิดขึ้นกับสังคมในภาพรวม เมื่อถามว่ามีการมองว่าการตั้งกรรมการปฏิรูปปรองดองต่างๆขึ้นมาเป็นการซื้อเวลาของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ได้ซื้อเวลา ตั้งหรือไม่ตั้งอายุรัฐบาลก็เท่าเดิม การทำงานต่างๆก็เหมือนเดิมเพียงแต่เรากำลังบอกกับสังคมว่าปัญหาในช่วง 2-3 เดือนหรือ 2-3 ปีที่ผ่านมาถ้าไม่คิดจริงจังถึงงานในโครงสร้าง หรืองานที่มันเกินอายุรัฐบาลหรือนายกฯคนนั้นคนนี้ เราจะอยู่ในวังวนอย่างนี้ไปเรื่อยซึ่งคิดว่าคนไทยไม่ควรยอมอย่างนั้น ตนคิดว่าคนไทยอยากให้บ้านเมืองมีการเปลี่ยนเดินไปข้างหน้าพ้นจากวงจรนี้ไปสักที ดังนั้นก็ต้องทำ มันไม่ได้มีผลกระทบอะไรกับรัฐบาลว่าจะอยู่หรือไม่อยู่ ซื้อเวลาหรือไม่ซื้อเวลา รัฐบาลจะอยู่จะไปคณะกรรมการปฏิรูปฯก็ทำงานได้อยู่แล้วไม่เกี่ยวกันเลย บัวแก้วจับตาความเคลื่อนไหว "นพดล" ในวอชิงตัน ประธานผู้แทนการค้าไทยมึน “นพดล” พูดเป็นนัย ไม่เจรจา“แม้ว” ปัญหาไม่จบ อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นายเกียรติ เดินทางไปพูดคุยกับ ส.ส., ส.ว. ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มนักคิด นักวิชาการ และคนไทยในสหรัฐอเมริกา รวมถึงกลุ่มนักธุรกิจ เพื่ออธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยไปแล้ว รวมถึงแจงวิธีการดำเนินการในแต่ละช่วง และความพยายามในการเจรจากับทางแกนนำผู้ชุมนุม จนกระทั่งเหตุการณ์การเข้ากระชับพื้นที่ ซึ่งสหรัฐอเมริกายืนยันว่า เข้าใจดีในสิ่งที่รัฐบาลทำ ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: แนวหน้า, คมชัดลึก, มติชน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สรุปข่าวพม่ารอบสัปดาห์ (23 - 29 มิ.ย.53) Posted: 30 Jun 2010 06:17 AM PDT <!--break--> 23 มิ.ย.53 พม่าจัับช้างเผือกได้ในรัฐอาระกัน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยกคำร้องก่อแก้วออกคุกชั่วคราว ทนายเตรียมขอยื่นประกันต่อ Posted: 30 Jun 2010 01:34 AM PDT ศาลยกคำร้อง "ก่อแก้ว" แกนนำ นปช. ร้องขอออกเรือนจำชั่วคราว ศาลชี้ประกาศ กกต.มอบคนทำแทนได้ ทนายเล็งยื่นขอประกันตัวต่อ คม ชัด ลึก รายงานว่าเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน นายก่อแก้ว พิกุลทอง ผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม.เขต 6 พรรคเพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำกลางคลองเปรม มอบอำนาจให้นายคารม พลทะกลาง ทนายความ ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวจากเรือนจำเพื่อไปเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคารกรุงเทพ สาขาราชวัตร สำหรับใช้เป็นหลักฐานบัญชีค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง นายคารมกล่าวว่า ศาลพิเคราะห์แล้วตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไม่ได้กำหนดบังคับให้ผู้สมัครต้องทำบัญชีเงินฝากด้วยตัวเอง เพียงแต่กำหนดให้แต่งตั้งสมุห์บัญชีและสำเนาบัญชีเงินฝากให้แก่ผู้อำนวยการเขตเลือกตั้งเท่านั้น จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง นายคารมกล่าวอีกว่า เมื่อศาลมีคำสั่งยกคำร้อง ตนจะกลับไปหารือกับทีมทนายความเพื่อหาทางยื่นขอประกันตัวนายก่อแก้วต่อไปเพื่อความสะดวกในการลงแข่งขันเลือกตั้งซ่อมส่วนที่ได้ยื่นคำอุทธรณ์ขอประกันตัว 10 แกนนำนปช.ไปเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ที่ผ่านมานั้น ศาลอุทธรณ์ยังไม่มีคำสั่งใดๆ ออกมา วันเดียวกัน นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ กกต.ขอให้ตรวจสอบ กรณีการถอนตัวจากการสมัครรับเลือกตั้งของ พล.อ.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ สมาชิกพรรคการเมืองใหม่ ว่า เข้าข่ายสมยอมกับพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ โดยยืนยันว่าหากการถอนตัวไม่ส่งผู้สมัครของพรรคการเมืองใหม่เป็นการสมยอมกับพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะทำให้การเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 ไม่เป็นธรรมและถ้า กกต.ละเลยไม่ทำเรื่องนี้ให้กระจ่างเป็นแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ก็จะกลายเป็นบรรทัดฐานในการเลือกตั้งครั้งหน้าที่พื้นที่ภาคอีสาน ภาคเหนือ ก็จะมีการใช้วิธีการนี้อย่างแน่นอน ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม.เขต 6 ว่า มีข่าวสารแจ้งมายังศูนย์อำนวยการเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ว่า มีการใช้วิชามารในพื้นที่เลือกตั้ง โดยใช้ไดเรกเซลส์เครือข่ายจดชื่อลูกข่าย ที่จะดำเนินการในบางสิ่งบางอย่าง และมีประสบการณ์ในการดำเนินการการชุมนุมของคนเสื้อแดง ดังนั้นจึงอาจจะนำมาใช้และปรับปรุงใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเลือกตั้งซ่อมส.ส.กทม. จึงอยากให้ผู้สมัครทุกคนรณรงค์หาเสียงแบบสุภาพบุรุษและเปิดเผย สามารถตรวจสอบได้ ที่สำคัญ กกต.ต้องศึกษาวิธีการหาเสียงให้รู้เท่าทันนักการเมืองบางกลุ่มที่เคลื่อนไหวผิดกฎหมายและเอาเปรียบคนอื่นด้วย ที่มา: คม ชัด ลึก สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทหารช่างเล็งจ้างคนเร่ร่อนสนามหลวงเป็นคนงานก่อสร้าง Posted: 30 Jun 2010 01:14 AM PDT <!--break--> 30 มิ.ย. 53 - เนชั่นทันข่าวรายงานว่าเวลา 10.00 น. ที่สนามหลวง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.ลงนามความร่วมมือกับพล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ฐานะเป็นผู้กำกับหน่วยงานกองพลพัฒนาที่ 1 เพื่อตกลงในความร่วมมือดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์สนามหลวง และขุดลอกคูคลอง ในเขตกทม. โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.ได้ส่งมอบพื้นที่ให้กับกองพลพัฒนาที่ 1 แล้ว และต่อจากนี้อีก 300 วันจะปิดพื้นที่เพื่อปรับปรุงสนามหลวง อย่างไรก็ตามสำหรับงานพระราชพิธี เช่น งานวันแม่ 12 สิงหา, งานวันพ่อ 5 ธันวามหาราช นั้น หากรัฐบาลยืนยันว่าจะใช้พื้นที่สนามหลวง ต้องมาหารือร่วมกับกทม. ก่อน เพราะตามจริงแล้วกทม.อยากใช้เวลา 300 วันเพื่อปรับปรุงพื้นที่ให้มีความสวยงามมากกว่า ส่วนงานพระราชพิธีนั้น ตนมองว่ามีพื้นที่อื่นที่รองรับ เช่น ลานพระบรมรูปทรงม้า ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองพลพัฒนาที่ 1 ได้เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ไว้ประมาณ 300 นาย เพื่อทำงานปรับปรุง ส่วนงานปรับปรุงไม่สามารถเริ่มได้ทันที เพราะกรมศิลปากรยังไม่อนุมัติแบบก่อสร้างที่ได้แก้ไขรอบใหม่ ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวกับการขุด วางท่อ เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เวลาสักระยะ สำหรับมาตรการป้องกันผู้บุกรุกนั้น เจ้าหน้าที่ได้เตรียมเจ้าหน้าที่มวลชนไว้ 20-30 นาย เพื่อดูแล ซึ่งก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ได้สำรวจคนเร่ร่อนพบว่าส่วนใหญ่เป็นคนงานก่อสร้าง และในระหว่างงานปรับปรุงหากกำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอมีความเป็นไปได้ที่กองพลพัฒนาที่ 1 จะจ้างแรงงานดังกล่าวให้เป็นกำลังเสริม ที่มา: เนชั่นทันข่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ย้ายที่ทำการศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนและกฎหมายจากความรุนแรงทางการเมือง (ศรส.) Posted: 30 Jun 2010 01:05 AM PDT <!--break--> 30 มิ.ย. 53 - ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนและกฎหมายจากความรุนแรงทางการเมือง (ศรส.หรือ HLAC) จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะกิจเพื่อให้ความช่วยเหลือจากเรื่องร้องเรียนกรณีคนตาย สูญหาย ผู้บาดเจ็บ และผู้ถูกจับกุมอันเนื่องจากความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครและพื้นที่อื่น เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบสามารถเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมาย โดย ศรส. เปิดรับร้องเรียนมาตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ที่มูลนิธิ 14 ตุลา 16 สี่แยกคอกวัว นับตั้งแต่วันอังคารที่ 29 มิถุนายน 2553 เป็นต้นไป ศรส. ได้ย้ายที่ทำการมายัง อาคารสำนักงานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ชั้น 3 ที่อยู่ 111 ซอยสิทธิชน ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 (สถานีรถไฟใต้ดินสุทธิสาร ทางออกที่ 3 แยกสุทธิสารตัดรัชดา) โดยยังคงหมายเลขโทรศัพท์เดิมสองหมายเลขคือ 086-0808-767 และ 086-0808-477 โดยเปิดรับเรื่องร้องเรียนทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 10.00 – 17.00 น. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แอฟริกาใต้ 2010: ในความเป็น ‘อริ’ ของ “อังกฤษ – เยอรมัน” Posted: 30 Jun 2010 12:49 AM PDT <!--break-->
“ฟุตบอลเป็นเกมง่ายๆ: ผู้เล่น 22 คนวิ่งไล่ลูกบอลกัน 90 นาที, และท้ายที่สุดเยอรมันเป็นฝ่ายชนะ” Gary Lineker, อดีตกองหน้าทีมชาติอังกฤษ “เข้าไม่ได้แต่ไม่เข้ากลับได้” อีกหนึ่งมนต์เสน่ห์ของเกมลูกหนังที่ทีมชาติอังกฤษและเยอรมันได้เปลี่ยนกันลิ้มรสความ “ขมและหวาน” สลับกันมาแล้ว ก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2006 ที่เยอรมัน เว็บไซต์ myfootballforum.com (ปัจจุบันเข้าหน้าเว็บนี้ได้ที่ http://www.myfootballforum.com/forum.php) ได้ทำแบบสำรวจเล็กๆ ถามแฟนบอลเมืองผู้ดีว่า ทีมฟุตบอลชาติไหนที่เป็นคู่อริที่ทรงเกียรติที่สุดของทีมชาติอังกฤษ ผู้ตอบแบบสอบถามให้เยอรมันเป็นอริอันดับแรก 78% ตามมาด้วย อาร์เจนตินา 16% และฝรั่งเศส 8% (ไม่มีสก็อตแลนด์และไอร์แลนด์?) ภาพที่ถูกฉายซ้ำครั้งแล้วครั้งเล่าในวงการฟุตบอลเหตุการณ์หนึ่ง ก็คือประตูปริศนาในนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 1966 ของ Geoff Hurst ที่ยิงกระแทกคานลงมาบนเส้นประตู โดยมีผู้กำกับเส้นที่มีชื่อที่สุดอย่าง Tofik Bakhramov ให้เป็นลูกได้ประตู และอังกฤษชนะเยอรมันตะวันตกไป 4-2 ซึ่งเป็นถ้วยแชมป์โลกครั้งแรกครั้งเดียวของอังกฤษ -- เยอรมันผู้พ่ายแพ้ในวันนั้น กลับฟื้นคืนชีพในวงการฟุตบอลกลายเป็นมหาอำนาจลูกหนัง และได้แก้แค้นอังกฤษไปมากมายหลายหน มาครั้งนี้ในรอบ 16 ทีมของการแข่งขันฟุตบอลโลกแอฟริกาใต้ 2010 เยอรมันชำระแค้นได้อีกครั้ง บาปจากลูกยิงของ Hurst นั้นนักเตะรุ่นลูกอย่าง Frank Lampard กลับต้องมาชดใช้เมื่อผู้กำกับเส้นและกรรมการปฏิเสธลูกยิงชนคานตกผ่านเส้นประตูไปทั้งใบไปแล้ว – อังกฤษแพ้เยอรมัน (แบบซ้ำซาก) ไป 1-4 หลังเกมการแข่งขันนอกจากการวิจารณ์เรื่องการตัดสินแล้ว Fabio Capello ผู้จัดการทีมชาติอังกฤษชาวอิตาเลี่ยน ยังได้ระบุถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุของความพ่ายแพ้ของอังกฤษว่ามาจากระบบการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศที่มีแมตซ์การแข่งขันเยอะเกินไป รวมถึงไม่มีการพักเบรกหนีหนาวเช่นเดียวกับลีกต่างๆ ในยุโรป ทำให้นักเตะอ่อนล้า นอกจากนี้บรรดานักวิจารณ์เกมลูกหนังยังออกมาตั้งคำถามเกี่ยวกับนักเตะของอังกฤษว่าเป็นของแท้จริงหรือไม่ เพราะทีมดังๆ ในพรีเมียร์ลีกล้วนแล้วมีแต่นักเตะอังกฤษเป็นตัวประกอบของดารานักเตะต่างชาติ (จากข้อมูลของพรีเมียร์ลีกพบว่า ในฤดูกาลแข่งขัน 2008/09 พบว่ามีนักเตะต่างชาติ 337 คน จาก 66 ประเทศ) โดยก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลกหนนี้ เยอรมันถูกบริษัทพนัน Ladbroke จัดวางไว้เป็นเต็งแชมป์ในอันดับที่ 7 ส่วนอังกฤษเป็นเต็ง 3 ต่อจากสเปนเต็ง 1 และบราซิลเต็ง 2 สำหรับวัฒนธรรมและธุรกิจการสื่อสารด้านกีฬาที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก แฟนฟุตบอลทั่วโลกจะรับรู้เรื่องราวของฟุตบอลอังกฤษเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมบันเทิงจากฮอลลีวูด ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกเป็นลีกที่ได้รับความนิยมอันดับหนึ่งของโลก และไม่มีครั้งไหนที่อังกฤษเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลกแล้วไม่ได้รับการจับตามอง เช่นเดียวกับข่าวฉาวโฉ่ของบรรดาแม่บ้านนักฟุตบอล (WAGs) ในพรีเมียร์ลีก การโฟกัสไปยังที่นั่นที่เดียว อาจเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้พวกเขาถูกตีราคาเกินจริงในเกมระดับนานาชาติ เพราะในความเป็นจริงสำหรับชาติอย่างอังกฤษแล้ว นอกจากจะเป็นประเทศแม่แบบของเกมลูกหนังสมัยใหม่ พวกเขาอาจเป็นประเทศที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอลได้ดีที่สุด – แต่ไม่ใช่ชนชาติที่เล่นฟุตบอลได้เก่งที่สุด “อังกฤษ” ที่หยิ่งผยอง ทีมจากสหราชอาณาจักรอย่าง อังกฤษ สก็อตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์ ปฎิเสธที่จะร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกหนแรกๆ (ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2) โดยให้เหตุผลว่ามาตรฐานการแข่งขันระดับโลกก็คือการแข่งขันที่พวกเขาเตะกันอยู่ในบ้านแล้วไง? หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในด้านการเมือง-เศรษฐกิจ พวกเขาสูญเสียการเป็นมหาอำนาจโลกให้กับสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ดังนั้นสังเวียนฟุตบอลระดับโลกอาจเป็นที่สุดท้ายที่รำลึกถึงความยิ่งใหญ่ ก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 1950 พวกเขาขออภิสิทธิ์ไม่ลงเล่นรอบคัดเลือกแบบปกติ แต่ขอใช้ศึก British Home Championship เป็นรอบคัดเลือกของทีมจากสหราชอาณาจักรเอง อังกฤษบุกไปชนะสก็อตแลนด์ถึงในบ้าน ได้อันดับ 1 สก็อตแลนด์ที่ได้อันดับ 2 ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายทั้งๆ ที่มีสิทธิ์ ด้วยความหยิ่งในศักดิ์ศรีที่ไม่สามารถพิชิตอังกฤษได้ สำหรับความสำเร็จในการแข่งขันในระดับนานาชาติ พวกเขาเคยได้เหรียญทองกีฬาโอลิมปิกในนามของทีมสหราชอาณาจักร ปี 1990 (ปารีส), ปี 1908 (ลอนดอน) ปี 1912 (สต็อคโฮม) แชมป์ฟุตบอลโลกปี 1966 (เป็นเจ้าภาพเอง) อันดับที่ 4 ปี 1990 (ที่อิตาลี) อันดับสามฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปปี 1968 (ที่อิตาลี) และเข้ารอบรองชนะเลิศปี 1996 (เป็นเจ้าภาพเอง)
“เยอรมัน” จากลูกไล่สู่มหาอำนาจลูกหนัง เยอรมันถือว่าเป็นประเทศลูกไล่ของอังกฤษมาตลอดจวบจนทศวรรษที่ 1970’s โดยในช่วงเริ่มต้นของกีฬาฟุตบอลในประเทศ พวกเขาลงเตะกับทีมจากอังกฤษเมื่อไรเป็นเละเทะเสียทุกที ในช่วงทศวรรษที่ 1880s ปัญญาชนและนักธุรกิจอังกฤษนำกีฬาฟุตบอล, รักบี้และคริกเก็ต พร้อมกับการศึกษาแบบอังกฤษ เข้าไปอบรมให้แก่ลูกหลานชนชั้นนำของเยอรมัน ปี 1899 ทีมฟุตบอลอังกฤษออกทัวร์ไปยังเยอรมันและออสเตรีย สองนัดแรกอังกฤษยำใหญ่เยอรมันไป 13–2 และ 10–2 นัดที่สามเยอรมันเอานักเตะออสเตรียมาร่วมทีมด้วยแต่ก็ยังต้านอังกฤษไม่อยู่ โดนถลุงไปอีก 8–0 ปี 1901 เยอรมันนำทีมไปทัวร์อังกฤษบ้าง นัดแรกพวกเขาโดนทีมสมัครเล่นของอังกฤษถล่มไป 12–0 ที่ White Hart Lane และที่ West Bromwich พวกเขาโดนยำไปอีก 10–0 (ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ยังมีตำนานเล่าขานกันสืบต่อมาว่าทหารของทั้งสองฝ่ายเคยพักรบและเตะฟุตบอลกัน) การแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างเป็นทางการของทั้งคู่เริ่มต้นในปี 1930 เยอรมันไม่เคยชนะอังกฤษเลยจนถึงปี 1970 ในการแข่งขันฟุตบอลโลกที่เม็กซิโก เยอรมันถือเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของเกมลูกหนัง โดยมีเกียรติประวัติเป็นแชมป์ฟุตบอลโลกปี 1954 (ที่สวิสเซอร์แลนด์), ปี 1974 (เป็นเจ้าภาพเอง), ปี 1990 (ที่อิตาลี) รองแชมป์ในปี 1966 (ที่อังกฤษ), ปี 1982 (ที่สเปน), ปี 1986 (ที่เม็กซิโก), ปี 2002 (ที่ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้) อันดับ 3 ในปี 1934 (ที่อิตาลี), ปี 1970 (ที่เม็กซิโก), ปี 2006 (ที่เยอรมัน) ส่วนการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ได้แชมป์ในปี 1972 (ที่เบลเยียม), ปี 1980 (ที่อิตาลี), ปี 1996 (ที่อังกฤษ) รองแชมป์ในปี 1976 (ที่ยูโกสลาเวีย), ปี 1992 (ที่สวีเดน), ปี 2008 (ที่สวิสเซอร์แลนด์-ฮังการี) เข้ารอบรองชนะเลิศปี 1988 (เป็นเจ้าภาพเอง) ส่วนกีฬาโอลิมปิกพวกเขาเคยได้เหรียญทองแดงในปี 1988 (ที่โซล) ผลการแข่งขันระหว่าง “อังกฤษ-เยอรมัน”
แหล่งข้อมูล: Don't Mention the World Cup: A History of England-Germany Rivalry from the War to the World Cup (Ed West, Summersdale Publishers Ltd, West Sussex, 2006) England vs. Germany: Rivalry For the Ages (Bruce Jenkins, sfgate.com, 26-6-2010) http://en.wikipedia.org/wiki/England_and_Germany_football_rivalry (เข้าดูเมื่อ 28-06-2010) http://en.wikipedia.org/wiki/British_Home_Championship (เข้าดูเมื่อ 28-06-2010) http://en.wikipedia.org/wiki/Tofik_Bakhramov (เข้าดูเมื่อ 30-06-2010) http://en.wikipedia.org/wiki/Germany_national_football_team (เข้าดูเมื่อ 30-06-2010) http://en.wikipedia.org/wiki/England_national_football_team(เข้าดูเมื่อ 30-06-2010)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความเป็นหนึ่งเดียวของไทยและแค็ปซูลวิเศษ วัฒนธรรมสื่อไทยในสายตาต่างชาติ Posted: 30 Jun 2010 12:14 AM PDT <!--break--> ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เชื่อกัน ในความเห็นผู้เขียน เสื้อแดงและเสื้อเหลืองมีลักษณะพื้นฐานบางอย่างร่วมกันมากกว่าความแตกต่าง ทั้งคู่นั้นมีลักษณะ ชาตินิยม ปิตาธิปไตย นิยมกองทัพ สนับสนุนทุนนิยมและบริโภคนิยม และนับถือคนที่ความร่ำรวยและอำนาจ ไม่คำนึงถึงความถูกต้องทางการเมืองทั้งในแง่จิตสำนึกและวิธีปฏิบัติ ฉวยประโยชน์จากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประชาธิปไตย (แกนนำฉวยประโยชน์จากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับว่าสิทธิมนุษยชนเช่นกัน) อยู่บนพื้นฐานของอารมณ์มากกว่าอุดมคติ...ลิสต์รายการนั้นมีไม่มีสิ้นสุด ไม่สำคัญว่าผู้มีอำนาจจะพยายามสร้างภาพของเสื้อแดงว่าเป็นขบวนการต่อต้านสถาบันกษัตริย์ ทั้งพยายามฟื้นโวหารแห่งสงครามเย็นอย่างไร ความแตกแยกระหว่างเสื้อเหลืองและเสื้อแดงนั้นไปไกลเกินกว่าที่จะหดแคบอยู่ที่ประเด็นที่ว่าเสื้อแดงซึ่งเป็นกลุ่มฝ่ายซ้ายตามรูปแบบของการแบ่งขั้ว วิธีแบ่งขั้วฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวานั้น เราอาจจะเคยคุ้นอยู่ตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่แล้วในโลกตะวันตก (รวมถึงละตินอเมริกา) โดยฝ่ายซ้ายเท่ากับฝ่ายต่อต้านทุนนิยม, ข้ามรัฐ, ต่อต้านโลกาภิวัตน์, อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ, สนับสนุนเกย์และเลสเบี้ยน, มีนโยบายที่ก้าวหน้าในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ, สนับสนุนเสียงส่วนน้อย, ต่อต้านทหาร, ส่งเสริมระบบรัฐสวัสดิการ, ส่งเสริมทางเลือกของปัจเจกบุคคล ขณะที่ฝ่ายขวา เท่ากับนิยมระบบทุนนิยม ให้ความสำคัญกับธุรกิจมากกว่าเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม, ชาตินิยม, ส่งเสริมคุณค่าพื้นฐานของความเป็นครอบครัว, นิยมทหาร, ต่อต้านการอพยพ, ต่อต้านการทำแท้ง เป็นต้น เสื้อแดงและเสื้อเหลืองนั้นไม่อาจแบ่งขั้วได้โดยวิธีที่กล่าวมา, เพราะเหตุผลหลักคือเสื้อแดงไม่ได้มีวาระของฝ่ายซ้ายมากพอในขณะที่ฝ่ายเหลืองนั้นมีลักษณะของความเป็นฝ่ายขวามากกว่า ในห้วงแห่งวิกฤตของไทย, เราได้เห็นภาพของคนฟิลิปปินส์ประท้วงต่อต้านการสลายการชุมนุมโดยทหารที่หน้าสถานทูตไทยในกรุงมะนิลา ก่อนหน้านั้นไม่นานในกรุงมะนิลาเช่นกัน กลุ่มนักกิจกรรมชาวฟิลิปปินส์อีกกลุ่มเรียกร้องการเลือกตั้งที่เป็นธรรมที่หน้าสถานทูตพม่า อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย เราไม่เห็นภาพใดๆ ของคนเสื้อแดงไปทำการประท้วงต่อต้านประธานาธิบดีอาโรโยกรณีการแต่งตั้งหัวหน้าผู้พิพากษาที่หน้าสถานทูตฟิลิปปินส์ รวมทั้งเราไม่อาจจะเห็นแกนนำคนเสื้อแดงถือภาพของออง ซาน ซูจี ทำการประท้วงอยู่ที่หน้าสถานทูตพม่าด้วย เราได้เห็นผู้ประท้วงที่โกรธเกรี้ยวต่อต้าน "เหตุการณ์กองเรือรบ" ในหลายประเทศทั่วโลก แต่เจ้าหน้าที่สถานทูตอิสราเอลในประเทศไทยไม่จำต้องกังวลว่าจะถูกรบกวนจากเสียงตะโกนใดๆ เราไม่เห็นรายการวิเคราะห์เกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในมาดากัสการ์เช่นกัน ไม่ว่าจะในพีทีวีหรือเอเอสทีวี และแทนที่เราอาจหาข้อเท็จจริงที่แสดงความเหมือนระหว่างเหตุการณ์และสถานการณ์ของประเทศอื่นๆ กับสิ่งที่ประเทศไทยก็กำลังเผชิญเราไม่สามารถที่จะหากิจกรรมใดๆ ของเสื้อแดงว่าเป็นรูปแบบที่จัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกับฝ่ายซ้ายได้เลย ยิ่งไปกว่านั้น การเชื่อมโยงระหว่างเสื้อเหลืองและเสื้อแดงต่อโลกภายนอกก็มีเพียงการที่พวกเขาอ้างถึงฮิตเลอร์อยู่บ่อยๆ (ในความหมายแทน อภิสิทธิ์ หรือทักษิณ) หรือรัฐบาลทหารพม่า (ในความหมายถึงรัฐบาลหลังการรัฐประหารและกองทัพไทย) รวมถึงข้อความที่พวกเขาใช้เป็นภาษาอังกฤษในบางโอกาส (ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย เราเป็นนักเคลื่อนไหวที่สันติ, คนเสื้อแดงไม่มีการศึกษา (ภาษาอังกฤษแบบผิดไวยากรณ์) ขณะเดียวกันสหประชาชาติก็ดูเหมือนว่าจะอยู่ในใจของพวกเขาแต่ยังไม่ชัดเจนในหลักการ แกนนำเสื้อแดงเรียกร้องให้สหประชาชาติเข้าแทรกแซง ทั้งที่สหประชาชาตินั้นเป็นองค์กรที่อดีตผู้นำสูงสุดของพวกเขาอย่างทักษิณเพิกเฉยมาก่อน สิ่งเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับเรื่องอื่นๆ ด้วย คนเสื้อแดงเผาห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เหตุผลของผู้เผานั้นชัดเจนว่า ไม่ใช่เพราะห้างสรรสินค้าเป็นสัญลักษณ์ของทุนนิยมซึ่งฝ่ายซ้ายมักกล่าวอ้าง เมื่อพวกเขาเลือกหนทางที่รุนแรง เหตุผลในการจุดไฟเผานั้นในความเป็นจริงแล้วไม่ได้รับการคำอธิบายจากใครและไม่เคยถูกทำให้ชัดเจนว่ามีเจตนาใด นัยยะซ่อนเร้นประการเดียวสำหรับเหตุผลในการเผาก็คือ จากคลิปวิดีโอที่ทางโฆษกกองทัพและพรรคร่วมรัฐบาลนำมาฉายซ้ำบ่อยๆ คือสิ่งที่แกนนำพูดว่า "ถ้าพวกเขาจับเรา กรุงเทพฯก็จะลุกเป็นไฟ เผา! เผา!" นี่ไม่ใช่เหตุผลแต่เป็นอารมณ์ที่ถูกจุดขึ้น เรื่องทำนองเดียวกันนี้เกิดขึ้นในการแสดงอาการเหยียดหยามประฌามเกย์บ่อยครั้งผ่านการเรียกขานผู้ชายที่พวกเขาถือว่าอ่อนแอ หรือไม่ชัดเจนว่าเป็น "เกย์" โดยไม่มีเหตุผลอะไรนอกจากความเข้าใจผิด ในการอภิปรายกับนักคิดสายทรอตสกี้ ไจล์ อึ๊งภากรณ์ ในเรื่อง "ประชาธิปไตยเดี๋ยวนี้" ฟิลิปส์ เจ. คันนิงแฮม เรียก นปช. ว่าองค์กรฟาสซิสต์เพราะพวกเขาต่อต้านเกย์และใช้ความรุนแรง ตั้งแต่การเดินขบวนของเสื้อแดงปีที่แล้ว มีข่าวลือว่าชาวเขมรและพม่าถูกจ้างมาฆ่าและโจมตี เพราะ "เป็นเรื่องง่ายสำหรับคนเหล่านั้นที่จะฆ่าคนไทยมากกว่าการที่คนไทยฆ่ากันเอง" มันน่าฉงนที่คนเสื้อแดงเชื่อว่ากองทัพว่าจ้างคนเขมร และผู้มีอำนาจและคนเสื้อเหลืองก็เชื่อเช่นนั้น-เป็นความเชื่อเช่นเดียวกันว่ามือสไนเปอร์ ถูกว่าจ้างโดยอีกฝ่ายหนึ่ง ด้วยเหตุที่กล่าวมา เมื่อจัดประเภทตามแบบตะวันตกแล้ว เสื้อแดงจึงเป็นฝ่ายขวามากกว่าฝ่ายซ้าย และมีวาระร่วมกันกับเสื้อเหลือง รวมถึงรัฐบาล กองทัพ และ ศอฉ. เป็นต้น ทั้งหมดนั้นตกอยู่ภายใต้การประเภทเดียวกัน และอยู่ในตระกูลเดียวกัน ตระกูลนี้โดดเดี่ยวตัวเองมากจากวาทกรรมในระดับโลกและในท้ายที่สุดพวกเขาเห็นว่าศัตรูที่เลวร้ายที่สุดมาจากภายนอก เช่น นักฆ่าชาวเขมร จอร์จ โซรอส แดน ริเวอร์ และซีเอ็นเอ็น ในสายตาของคนนอก ตระกูลนี้ดูเหมือนจำกัดตัวเองอยู่ในแค็ปซูลขนาดใหญ่ แค็ปซูลนี้มีลักษณะอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่นดัดงอได้ แต่ยากที่จะกลืน มีฉลากยากำกับว่ารับประทานครั้งละ 1 เม็ด ห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ห้ามรับประทานมากกว่า 4 ครั้งต่อวัน นี่เป็นคำเตือน ถ้าคุณฝ่าฝืนกฎนี้ ก็จะได้รับผลกระทบที่ร้ายแรง คำโฆษณาเป็นแบบสูตรสำเร็จ แสดงตัวเองเหมือนว่าสวยงามและกลมกลืน แต่การโฆษณาไม่สามารถอ้างอิงได้ในทางวิทยาศาสตร์ และไม่สามารถอธิบายได้ว่าสูตรของแค็ปซูลนี้ทำงานอย่างไร มันฟังดูคล้ายเป็นสูตรที่มาจากยาวิเศษยุคโบราณ คนนอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวตะวันตกกล่าวว่า "โอเค เราต้องทดลองมันโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ของเรา" หรือ "เราจะเชื่อถือแค็ปซูลตัวนี้ได้ก็ต่อเมื่อมันผ่านมาตรฐานของเรา" เราต้องการเสียงของคนไทย โลกต้องการคนไทยที่จะช่วยสร้างความเข้าใจในสูตรลับนี้ ด้วยข้อจำกัดในความแตกต่างด้านภาษาและวัฒนธรรม เราต้องการสื่อมวลชนที่จะช่วยสร้างคำอธิบาย คนที่สามารถเชื่อมโยงประเทศไทยกับเรา ซึ่งเป็นคนนอก และเชื่อมโยงไทยเข้ากับโลก เราต้องการสื่อที่สามารถจะหยิบยกเอาตัวอย่างเล็กๆ แต่มีนัยยะสำคัญจากท้องถิ่นเชื่อมโยงเข้ากับปัญหาและวาทกรรมในประเทศอื่นๆ เราต้องการสื่อมวลชนไทยที่สามารถทำให้ประเด็นในท้องถิ่นเป็นประเด็นสากล ด้วยเหตุนี้อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้ได้รับรางวัลปาล์มทองคำในช่วงเวลาวิกฤตจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ด้วยวิสัยทัศน์และความมหัศจรรย์ของเขา เขาเป็นสื่อวัฒนธรรมที่สามารถทำให้พื้นที่ที่ไม่เป็นที่รู้จัก ซึ่งถูกเรียกว่าอีสานเข้าไปอยู่ในจินตนาการของผู้คนได้ ในทุกๆ คน ในทุกๆ ที่ โลกต้องการสิ่งนี้จากประเทศไทย และเพื่อที่จะบรรลุความสามารถในการเชื่อมโยงนี้ เขาต้องอยู่นอกแค็ปซูล และต้องจ่ายราคาให้กับมัน เป็นเรื่องยากสำหรับประชาชนในประเทศไทยที่จะได้ชมภาพยนตร์ของอภิชาติพงศ์ด้วยเหตุผลเรื่องความไม่แน่ใจว่าจะประสบความสำเร็จในทางพาณิชย์หรือไม่ และเหตุผลอีกส่วนหนึ่งก็คือการเซ็นเซอร์ ภาพยนตร์ของเขาตกเป็นเป้าของการเซ็นเซอร์ที่อันน่าอับอายและขบขัน เมื่อผู้เขียนได้ดูภาพที่เขาที่ขึ้นรับรางวัลปาล์มทองคำผ่านทางจอโทรทัศน์ คิดว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยจะต้องรู้สึกแย่กับเขา ที่เขาไม่ได้กล่าวแสดงสำนึกถึงบางสถาบันในความสำเร็จของเขา เหมือนอย่างที่ตัวแทนของไทยทั้งหลายทำกันเป็นประเพณีแต่เขากลับไปขอบคุณผีและวิญญาณแทน คนไทยกล่าวว่าภาพยนตร์ของอภิชาติพงศ์นั้นยากและไม่สามารถเข้าใจได้ พวกเขากล่าวว่าภาพยนตร์เหล่านั้นทำให้ฝรั่งดู โดยแท้จริงแล้วภาพยนตร์ของเขานั้นยากและเข้าใจยากสำหรับคนต่างชาติเช่นกัน แม้แต่กับคนยุโรปที่ใช้ศิลปะอย่างซับซ้อน และมีแนวทางที่เรียกว่า "ภาพยนตร์ที่เน้นมุมมองของผู้กำกับ" เพื่อที่จะเข้าใจนัยยะซ่อนเร้น การเปรียบเทียบและสัญลักษณ์ภายในวัฒนธรรมนั้น โดยธรรมชาติแล้วไม่ใช่ง่าย มันยังสร้างความแตกต่างหากคุณชอบความยากและการทำความเข้าใจเหมือนเสมือนว่าเป็นทรัพย์สิน ซึ่งทำให้คุณพินิจ พิเคราะห์ พยายาม หรือแสวงหา แทนที่จะรอการนำเสนอแบบง่ายๆ เมื่อเราตัดสินใจที่จะทำเช่นนี้ กรอบที่เราคุ้นเคยก็คือ กรอบภายใต้สภาพแวดล้อมที่ใกล้ชิดของเรานั้นช่วยเราได้ในระดับพื้นฐานให้เข้าใกล้สิ่งที่ไม่รู้ ในขั้นแรก เราทั้งหลายใช้กรอบเหล่านี้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งในฐานะที่เป็นเครื่องมือเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่ไม่รู้ ในประเทศตะวันตกการแบ่งขั้วเป็นกรอบเครื่องมือที่เคยถูกใช้มากในหมู่พวกเรา ซึ่งต้องการทำความเข้าใจโลก การแบ่งขั้วได้แบ่งสังคมออกเป็นซ้ายและขวา โดยฝ่ายซ้ายมองสังคมในกรอบของคู่ขัดแย้งระหว่างผู้ถูกกดขี่กับผู้กดขี่ ขณะที่ฝ่ายขวามองสังคมเดียวกันในกรอบของการละเมิดความมั่นคง กับการรักษาความมั่นคง เพื่อที่จะเข้าใจศิลปะ เช่นภาพยนตร์ของอภิชาติพงศ์ เราต้องทำให้ตัวเองมีเวลาที่จะออกมาจากกรอบพื้นฐานและพัฒนาความคิดของเราสู่ระดับที่สองและสาม เราต้องอนุญาตให้ตัวเองเปิดกว้างอย่างที่สุดจากกรอบคิดและอคติ และรางวัลที่ได้จากการทำเช่นนี้ก็คือประสบการณ์ทางศิลปะ ในอีกด้านหนึ่ง สื่อใหม่นั้นแตกต่างในแง่ที่ว่าสื่อเหล่านี้ต้องทำงานภายใต้เวลาอันจำกัดและความเร็วนั้นเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการนำเสนอข้อมูล ผู้ชมส่วนใหญ่ไม่มีเวลาพอที่จะไปให้พ้นจากความคิดในระดับพื้นฐานเมื่อเขาดูข่าว ด้วยเงื่อนไขนี้ สื่อกระแสหลักก็มีข้อจำกัดเช่นเดียวกับที่มีความได้เปรียบ ผู้เขียนทำงานอยู่ในภาคของการศึกษาประเด็นวัฒนธรรมสื่อในประเทศต่างๆ รอบโลก ทำวิจัยเกี่ยวกับสื่อและวัฒนธรรมสื่อและพบปะผู้คนจำนวนมากที่ทำงานสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่ออิสระจากทวีปต่างๆ เพราะมักจัดการประชุมและสัมมนาโดยเชิญคนที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรมเหล่านี้มาพบปะและถกเถียงกัน ผู้เขียนต้องการที่จะเข้าใจให้ได้ว่าใครและสื่อไหนในแต่ละประเทศที่สามารถจะเชื่อมโยงวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้ากับชุมชนระหว่างประเทศได้ ในประเทศไทยผู้เขียนตระหนักว่า ในบางครั้ง ณ ปัจจุบันนี้ อาจมองหาสื่อเหล่านี้ได้เฉพาะกรณีที่พวกเขาอยู่นอกแค็ปซูล ผู้เขียนยังได้เป็นพยานว่า ด้วยเหตุดังนี้เอง เส้นทางของพวกเขาไม่เคยง่ายดายเช่นเดียวกับกรณีของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ด้วยเหตุนี้ สื่อที่สามารถเลือกเป็นสะพานเชื่อมไทยกับโลกอย่างมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ฟ้าเดียวกัน ประชาไท และเควชชั่นมาร์ก ต่างถูกแบบและบล็อคไปเมื่อเร็วๆ นี้ และ บ.ก.ของสื่อเหล่านี้ก็มีประวัติถูกจับกุมหรือตั้งข้อกล่าวหาอย่างน้อยหนึ่งครั้ง เพื่อจะอยู่ใกล้กับชุมชนในขณะที่ก็อยู่ห่างไกลจากการถูกดูดกลืนตัวตนมันเป็นเรื่องยากสำหรับสื่อมืออาชีพ มันเป็นเรื่องพื้นฐานแต่ยากที่จะปฏิบัติ สื่อเหล่านี้ทำงานได้อย่างดีภายใต้ภาวะเช่นนี้และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมไม่เฉพาะผู้เขียน แต่นักวิชาการและนักวิจัยในต่างประเทศจำนวนมากเชื่อถือพวกเขา น่าสนใจว่า ยกเว้นนักวิชาการบางคนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แล้ว ไม่มี บ.ก.คนไหนเลย ที่จบจากต่างประเทศหลายคนไม่พูดภาษาอังกฤษ พวกเขาทำอย่างไรจึงมีความเป็นสากลอยู่ในใจ ผู้เขียนไม่มีเบาะแสอะไร คิดว่าพวกเขาต้องมีสัญชาตญาณแห่งการปฏิเสธการถูกดูดกลืนตัวตน หรือไม่ก็มีสายตาคมกล้าที่สามารถมองผ่านสิ่งที่ฉาบเคลือบของแค็ปซูล หรือไม่อย่างนั้นก็พวกเขามีสติปัญญาชาญฉลาดมาก แต่ด้วยบุคลิกของพวกเขาที่เข้าใกล้เรามากกว่า ทำให้พวกเขาเป็นไทยน้อยกว่า และนั่นเป็นวิธีที่ทำให้การแบนและการจับกุมเกิดขึ้น เพราะพวกเขาตีพิมพ์ในสิ่งที่ "มีความเป็นไทยอยู่น้อย" โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสื่อที่ได้รับความนิยมอย่างมาก คือ ฟ้าเดียวกันและประชาไททั้งคู่ได้รับการปฏิบัติอย่างที่ว่าผู้ที่อยู่ในแค็ปซูลไม่รู้จะทำอย่างไรดีกับพวกที่ "มีความเป็นไทยอยู่น้อย" เหล่านี้ เสื้อเหลือง เสื้อหลากสี กองทัพ และรัฐบาลจัดประเภทเขาไว้ในกลุ่มของผู้เห็นใจเสื้อแดง และคนเสื้อแดงก็เข้าใจผิดว่าสื่อเหล่านี้คือผู้สนับสนุนฝ่ายตน ฟ้าเดียวกันเป็นสื่อเอียงซ้ายความหมายของตะวันตก และพวกเขาก็มีงานวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของทักษิณ ประชาไทก็มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงต่อสิ่งที่ทักษิณทำลงไปอย่างผิดๆ เช่นกัน ทำไมพวกเขาถึงถูกเข้าใจผิดได้เพียงนี้ แม้ว่าสื่อทั้งสองจะแตกต่างจากกัน แต่ทั้งสองนั้นต่างมีแนวปรัชญาเดียวกันในการเปิดพื้นที่ให้กับเสียงที่ถูกปฏิเสธจากจารีตและไม่ได้รับการได้ยิน เสียงเหล่านี้โดยธรรมชาติแล้วก็มาจากฝ่ายสนับสนุนเสื้อแดง สื่อทั้งสองนั้นยังมีประเด็นบางอย่างร่วมกัน (ผู้เขียนพูดว่า "บางอย่าง") กับเสื้อแดง เช่นการต่อต้านรัฐประหาร ดังนั้น พวกเขาจึงถูกเข้าใจผิด สำหรับความแตกแยกระหว่างผู้หนุนหลังกลุ่มต่อต้านสถาบันกษัตริย์ (คนไทยชั่ว) กับผู้รักในสถาบัน (คนไทยที่ดี) อำนาจรัฐพยายามที่จะสร้างฉากทัศน์ใหม่ นั่นก็คือ ผู้ก่อการร้ายกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ และโดยแนวทางนี้ ก็ได้ผนวกเอาแนวทางของรัฐบาลบุชหลังเหตุการณ์ 19 กันยายน เข้าไว้ ซึ่งถือเป็นการแบ่งขั้วระหว่างตะวันตกและโลกมุสลิม โดยฉายอยู่บนโวหารแห่งสงครามเย็น ปัจจุบันนี้ ในประเทศไทย นโยบายนี้ถูกใช้ในเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนใต้อยู่บางครั้ง เพื่อที่จะให้เครื่องมือนี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและกระตุ้นระดับความกลัวให้มากขึ้นในหมู่ประชาชนผู้ " บริสุทธิ์" ผู้มีอำนาจจำเป็นต้องสร้าง "ผู้ก่อการร้าย" ขึ้นอย่างเบลอๆ เท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้น การเซ็นเซอร์ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อที่จะปิดกั้นข้อมูลใดๆ ที่จะแสดงตัวตนของ "ผู้ก่อการร้าย" หากมีสื่อใดที่สงสัยในเครื่องมือนี้ และพยายามที่จะแสดงให้เห็นตัวตนของผู้ก่อการร้าย หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ก่อการร้ายนั้น, แปลว่าพวกเขาทำเพราะได้รับเงินจากฝ่ายตรงข้ามใช่หรือไม่? ระดับของความไม่มีน้ำอดน้ำทนที่ต่อต้านเสียงของผู้อื่นที่เราได้เห็นในประเทศไทยนั้น เป็นการย้อนเตือนให้เรานึกถึงประโยคที่ว่า "ถ้าคุณไม่ใช่พวกเรา คุณก็ต่อต้านเรา" อันเป็นนโยบายภายใต้รัฐบาลของบุช ขอเพิ่มเติมข้อมูลว่า อดีตประธานาธิบดีผู้นี้ถูกรังเกียจและไม่ได้รับความเคารพเนื่องด้วยแนวคิดนี้ ระบอบและแนวทางเดียวกันนี้ถูกนำมาใช้ประสานเสียง โดยฝ่ายที่ต่อต้านอย่างไร้ความอดทนต่อแดน ริเวอร์ และซีเอ็นเอ็น คนไทยคับข้องใจต่อชาวต่างชาติและสื่อต่างชาติ ที่ไม่มีความเข้าใจประเทศไทยเพียงพอ และตำหนิว่าสื่อเหล่านี้พยายามทำให้วัฒนธรรมที่ซับซ้อนเป็นเรื่องง่ายเกินไป เมื่อพวกเขาได้รับชมข่าวเกี่ยวกับประเทศไทย-หากเขาได้ดูทั้งหมด-เป็นเรื่องแน่นอนว่าข่าวนั้นถูกทำให้ง่ายขึ้น คำวิพากษ์โดยปกติสำหรับซีเอ็นเอ็นที่เราได้ยินกัน เช่น ข่าวและโศกนาฏกรรมของผู้คนถูกทำให้ง่ายนั้นไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้พวกเขาไม่พอใจ พวกเขาไม่ได้มีประเด็นเหล่านี้อยู่ ไม่มีปัญหาสำหรับคนไทย ในการที่ข่าวระดับโลกทำให้ประเด็นที่มีความซับซ้อนมากกลายเป็นเรื่องเข้าใจง่าย เช่น ผู้ก่อการร้ายที่ถูกยึดครอง, ความขัดแย้งระหว่างนิกายซุนนี่และชีอะห์, สถานการณ์หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต, ภาพลักษณ์ของผู้นำในละตินอเมริกา เป็นต้น เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาสำหรับคนไทย พวกเขาขอบคุณซีเอ็นเอ็นสำหรับการย่อยข้อมูลที่ซับซ้อนให้กับทุกคน และเช่นเดียวกัน สื่อไทยก็ย่อยข้อมูลให้ง่ายแบบที่สุดในกรณีของข่าวจากประเทศอื่นๆ (และก็ทำเช่นกันนั้นบ่อยๆ กับข่าวในประเทศตัวเอง) ไม่มีปัญหาสำหรับคนเหล่านี้เช่นกัน ในเวทีที่มีหัวข้อว่า "ไทยในสายตาคนนอก" ซึ่งจัดขึ้นที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย สุเมธ ชุมสาย แสดงความไม่พอใจต่อสื่อระดับโลกอย่างบีบีซีว่า "บีบีซีเคยเป็นฮีโร่ของผม เป็นต้นแบบ...แต่ตอนนี้อยู่ในภาวะตกต่ำ..." มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือ บีบีซีนั้นเป็นสื่อที่ทำข่าวภายใต้กรอบแบบอังกฤษ ไม่เคยแสร้งทำเป็นอย่างอื่น แม้กระทั่งหลังจากที่พวกเขาก้าวสู่การทำสื่อระดับโลกแล้ว จริงหรือที่เพียงแค่เราผู้ชมที่เคยเพิกเฉยต่อประเทศที่เคยถูกนำเสนอผ่านรายการข่าวต่างๆ นั้น สามารถที่จะตัดสินว่าสิ่งที่สื่อเหล่านี้นำเสนอถูกต้องหรือมีอคติหรือไม่ ผู้ชมชาวไทย, หลังจากที่ข่าวเกี่ยวกับวิกฤตทางการเมืองในประเทศตัวเอง กลายเป็นข่าวพาดหัวในสื่อทั่วโลก เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของประเทศ คนไทยจึงมีโอกาสที่จะตระหนักถึงเรื่องนี้เนื่องจากเป็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับพวกเขาเอง สื่อหลักนั้นมักจะแบกเอาข้อจำกัดเหล่านี้เอาไว้ กล่าวคือ หากเป็นสื่อของรัฐบาลก็มีแนวโน้มที่จะเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อให้กับรัฐบาล และหากเป็นสื่อภาคธุรกิจ ทรรศนะก็จะมาจากผู้ที่นำเสนอ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากเรตติ้งและผลประโยชน์ ซึ่งทำให้สื่อธุรกิจมีแนวโน้มที่จะเน้นอารมณ์ตื่นเต้น และทำให้เนื้อหาเป็นง่าย และเรา ในฐานะผู้ชม เราเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องถูกตำหนิ เพราะผู้ชมไม่สามารถดูข่าวได้หากมันไม่ได้ถูกทำให้ง่ายและย่อยมาแล้ว ทำให้เข้าใจได้ และหลายๆ ครั้งก็เน้นการเร้าอารมณ์ ผู้เขียนหวังว่าเราอาศัยอยู่ในโลกแห่งอุดมคติที่ทุกคนมีความสนใจอย่างจริงใจต่อประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนจน และคนกลุ่มน้อยในประเทศอื่นๆ และให้เวลาในการดูสารคดี หรือภาพยนตร์ ถกเถียงถึงเรื่องเหล่านี้ อ่านหนังสือเพื่อเพิ่มความเข้าใจในประเด็นเหล่านี้ และถกเถียงอีกครั้ง แต่ความเป็นจริงคือ เราส่วนใหญ่ไม่ได้ทำอย่างนี้ ซีเอ็นเอ็นได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเพราะมันทำให้ทุกอย่างง่าย และเพราะความนิยมอันนี้เองสื่อแบบนี้จึงมีความได้เปรียบ เมื่อเราทำงานในประเด็นระดับท้องถิ่นซึ่งเราต้องการให้โลกรู้ เริ่มแรกนั้นเราต้องทำงานด้วยสื่อของเราเอง โดยที่สื่อท้องถิ่นหยิบประเด็นเหล่านี้ขึ้นมา และจากนั้นเมื่อสื่อระดับโลกอย่างซีเอ็นเอ็นหรือบีบีซีหยิบเอาประเด็นเหล่านี้แล้ว คนนับแสนจากรอบโลกก็จะสามารถส่งเสียงเพื่อหนุนเสริมประเด็นของคุณ และการประชาสัมพันธ์นั้นวัดความสำเร็จจากการเป็นที่รับรู้ เราจึงต้องการสื่อที่มีความหลากหลายทั้งรูปแบบและประเภท, สื่อที่หลากหลายจะทำให้เราสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างทางความคิดและก้าวไปสู่การวิเคราะห์ที่ลึกขึ้นได้หากเราต้องการ, และทำให้เสียงของเราได้รับการฟังด้วยเช่นกัน คนไทยได้รับการปลูกฝังให้เชื่อว่าสื่อนั้นเป็นตัวแทนของการเสนอภาพที่ได้รับการตรวจสอบและระบายสีมาเรียบร้อยแล้ว พวกเขาสร้างความเชื่อนี้เพราะนี่คือวิธีที่ผู้มีอำนาจระดับสูง หรือที่เรียกว่า 3 เสาหลักของชาติ (ซึ่งคนไทยได้รับการปลูกฝังให้เชื่อเช่นเดียวกัน) ได้ใช้มาเป็นเวลานาน ดังนั้น โดยทันทีที่สื่อใหม่ซึ่งมีความแตกต่างเหล่านี้ปรากฏขึ้นแก่ประชาชน และประชาชนก็ถูกทำให้สับสนโดยสื่อเหล่านี้มากพอๆ กันกับความสับสนเกี่ยวกับชาติ ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ประชาชนเริ่มคิดถึงสื่อที่นำเสนอภาคที่พวกเขาวาดขึ้นได้ พวกเขาคิดว่านี่คือสิ่งที่สื่อประชาธิปไตยควรจะนำเสนอ พวกเขาเริ่มรู้สึกคับข้องใจเมื่อสื่อไม่สามารถที่จะสร้างภาพที่พวกเขาวาดขึ้น โลกของสื่อไม่สามารถนำเสนอได้เพียงความสวยงามของหาดทราย ผู้คน วัดและอาหารอย่างที่คุณต้องการให้โลกได้เห็นเกี่ยวกับประเทศไทย ทว่ากลับแทนที่ด้วยการนำเสนอภาพของหญิงค้าบริการ คนที่ต้มตุ๋นนักท่องเที่ยว โรห์ฮิงญา และเรื่องอื้อฉาวต่างๆ ที่ไม่พูดกันในประเทศมันผิดหวังมาก เมื่อพวกเขาค้นพบเฟซบุ๊ก ซึ่งดูเหมือนสื่อพลเมืองมาก พวกเขาพบว่ามันมีเสน่ห์เพราะว่าไม่ต้องใช้ความพยายามอะไร แต่พวกเขาสามารถจะระดมคน "หนึ่งล้านคน" ด้วยการพิมพ์คำสองสามคำลงบนแป้นคีย์บอร์ด! "เพื่อน" จำนวนล้านคนของฉัน! มาล่าควายกันเถอะ มาช่วยกันส่งครีมทาตาให้นายพันผู้เป็นที่รักของเรากันเถอะ! สิ่งที่พวกเขาไม่ตระหนักก็คือ ขณะที่พวกเขาหมกมุ่นอยู่กับเกม แบบทดสอบส่งของขวัญให้เพื่อน ฯลฯ อัตลักษณ์ของพวกเขาก็ถูกทำให้เป็นสินค้าและขายเพื่อประโยชน์ทางการค้า เฉกเช่นซีเอ็นเอ็น เฟซบุ๊ก และเครือข่ายสังคมออนไลน์อื่นๆ มีทั้งด้านที่เป็นข้อดีและด้านที่เป็นข้อเสีย การตระหนักถึงกุญแจทั้งสองด้านจะทำให้เกิดความสำเร็จในการใช้สื่อ เพื่อการศึกษาที่ดีกว่าและความเข้าใจในสื่อมวลชน การอนุญาตให้สื่อทุกแขนงได้มีพื้นที่นั้นเป็นความจำเป็น การห้ามไม่เคยแก้ปัญหาภายใต้เงื่อนไขนี้เท่านั้นที่พลเมืองจะได้เรียนรู้ด้วยการทดลองและความผิดพลาด และไปสู่การมีวุฒิภาวะและฉลาดขึ้นในการใช้สื่อ หากรัฐบาลและกองทัพทำให้ประชาชนถูกสาป ประเทศก็จะโดดเดี่ยวตัวเองจากโลกภายนอก คงอยู่ในแค็ปซูล และสำหรับประชาชน หากคุณไม่ชอบสื่อบางแห่ง แทนที่จะโจมตีไปที่ตัวบุคคล ยังคงมีหนทางอื่นอยู่เสมอที่คุณจะสร้างสื่อของคุณเองและทำให้มันเป็นแรงบันดาลใจไม่เฉพาะแต่กับคนไทยเท่านั้น แต่สำหรับประชาชนที่ไม่รู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของคุณด้วย นี่เป็นหนทางที่สร้างสรรค์มากพอ และเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่รากฐานมากกว่าการแข่งกันล่าแม่มด
หมายเหตุ : ผู้เขียนสอนวิชาการวัฒนธรรมสื่อในเยอรมนี สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย โคเอเชีย และเซอร์เบีย (แต่ไม่ได้สอนในมอนเตเนโกร) เธอเลือกใช้นามปากกาสำหรับงานเขียนชิ้นนี้เพราะไม่ต้องการถูกข้อกล่าวหาจากฝ่ายที่มีความเห็นแตกต่างว่าทำงานให้ฝ่ายตรงข้าม หรือทำงานให้กับอดีตนายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาล รวมถึงข้อกล่าวหาว่าเธอทำให้เกิดรอยแปดเปื้อนแก่ภาพลักษณ์ในทางระหว่างประเทศของไทยและขาดไร้ความเคารพในสถาบันระดับสูงของชาติ ซึ่งจะทำให้ไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าประเทศนี้อีกต่อไป เธอใช้นามปากกาในการทำงานในประเทศพม่า เพื่อป้องกันการถูกคุมคามจากรัฐบาลปีศาจ และข้อเท็จจริงคือเธอเศร้าใจอย่างที่สุด เพราะขณะนี้เธอต้องทำเช่นเดียวกันในประเทศไทยเพื่อจะปกป้องตัวเองจากคนไทยทั่วไป
หมายเหตุ: บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกที่ หน้า 6, หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 29 มิถุนายน 2553
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศอฉ.ใช้งบสลายชุมนุมเสื้อแดง 2 เดือน 5 พันล้าน Posted: 29 Jun 2010 10:48 PM PDT <!--break--> เว็บไซต์ข่าวสด รายงานว่า ค่าใช้จ่ายในภารกิจ ศอฉ.ที่เริ่มตั้งแต่มีการเรียกทหารทำหน้าที่รักษาความสงบ ตั้งแต่วันที่ 12-23 มี.ค. ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 280 ล้านบาท หรือประมาณวันละ 30-40 ล้านบาท แต่หลังจากขยายเวลาออกไปอีก ได้ปรับเปลี่ยนกำลังตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค. เป็นต้นไป จากเดิมที่มีกำลังพลเพียง 5 หมื่นอัตรา เพิ่มมาอยู่ที่ 6.4 หมื่นอัตรา ทำให้มียอดค่าใช้จ่ายสูงขึ้น โดยตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค. -30 พ.ค. รวมถึงวันประกาศยกเลิกเคอร์ฟิว รวมยอดค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 3,400 ล้านบาท(เฉพาะเบี้ยเลี้ยง) มีการเบิกจ่ายเป็นล็อตๆ ในรูปแบบของงบสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินและจำเป็น โดยขอเบิกจ่ายจากสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลังเป็นผู้ดูแล ขั้นตอนงบสำรองจ่าย เฉพาะแค่ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าอาหารให้แก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคสนามและภายในหน่วย แต่หากรวมไปถึงค่าเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายแบบรายยิบรายย่อยคงมียอดสูงถึงกว่า 5,000 ล้านบาท ก่อนหน้านี้จากการสนธิกำลังจาก 3 เหล่าทัพ คือกองทัพบก-กองทัพเรือ-กองทัพอากาศ ตามการประกาศการเคลื่อนใช้กำลังจำนวน 5 หมื่นอัตรา ซึ่งจำนวน 3.3 หมื่นอัตราเป็นการปฏิบัติภารกิจจริง ส่วนอีก 1.7 หมื่นอัตรา ให้เตรียมกำลังในที่ตั้งของแต่ละหน่วย โดยมีผลการปฏิบัติตามพ.ร.บ.ความมั่นคง ระหว่างวันที่ 12-23 มี.ค. โดยกำลังพลจะได้ค่าเบี้ยเลี้ยงพิเศษในทุกชั้นยศที่มาทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยคนละ 300 บาท นอกเหนือจากเบี้ยเลี้ยงสนามคนละ 120-280 บาทต่อวันตามชั้นยศที่กำหนดไว้ นอกจากนี้แล้วยังมีการจัดเสบียงอาหารให้กำลังพลรวม 3 มื้อด้วย และค่าขวัญกำลังใจกำลัง 100 บาทต่อคน งบประมาณในส่วนของกองทัพที่ใช้ทหารประมาณ 6.7 หมื่นนาย โดยได้ค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 300 บาท และค่าอาหารอีกวันละ 100 บาท รวมแล้วใช้งบประมาณไปราวๆ 3,000 ล้านบาท ส่วนสตช.ใช้กำลังประมาณ 2.5 หมื่นนายใช้งบประมาณกว่า 700 ล้านบาท โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่กลุ่มคนเสื้อแดงเริ่มมาชุมนุมที่กรุงเทพฯ เรื่อยไปจนถึงวันที่มีการยกเลิกเคอร์ฟิวภายใต้อำนาจของพ.ร.ก. ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 30 พ.ค. และในระหว่างที่ยังคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน การเบิกจ่ายงบประมาณในส่วนนี้ก็จะยังคงดำเนินต่อไป "คณิต"ระดมสมองวันที่2 เมื่อเวลา 09.30 น.ที่โรงแรมสยามซิตี นายคณิต ณ นคร ประธานคอป. จัดประชุมระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรทั้งภายในและภายนอกประเทศ เป็นวันที่ 2 เพื่อหาแนวทางและวิธีปฏิบัติในการแสวงหาความจริงและหลักฐานการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเหตุการณ์ไม่สงบช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อนำไปสู่การสมานฉันท์ปรองดองของชาติ ซึ่งที่ประชุมส่วนใหญ่มีข้อสรุปตรงกันว่า ภารกิจเร่งด่วนของคอป.คือแสวงหาข้อเท็จจริงสาเหตุความขัดแย้งและการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้ได้ความจริงมากที่สุด แต่กระบวนการแสวงหาความจริงของคอป.จะไม่ใช้แนวทางการสอบสวนแบบตำรวจตามมาตรฐานคดีอาญา และจะไม่ตีกรอบดำเนินงานตั้งแต่ช่วง 10 เม.ย.-19 พ.ค.53 เพราะการตีกรอบเวลาอาจทำให้ไม่ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง จากนั้นจึงจะเริ่มกระบวนการเยียวยาโดยเดินสายพบปะพูดคุยกับเหยื่อและผู้ได้รับผลกระทบทั้งสองฝ่ายทั่วประเทศ เพื่อรับฟังความคิดเห็นแล้วถึงนำเข้าสู่กระบวนการสร้างความปรองดองได้ นายโคทม อารียา ผอ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คอป.ควรค้นหาความจริงมากกว่าใครผิดถูก โดยรับฟังข้อมูลจากทุกฝ่าย แน่นอนว่าความจริงที่ได้จะหลากหลายและชัดเจนแตกต่างกัน และยากที่จะให้คนเชื่อได้ทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นคอป.ควรเรียบเรียงข้อมูลทั้งหมดให้เป็นเรื่องพอเชื่อถือได้เมื่อเผยแพร่ต่อสังคม นอกจากนี้กรอบการทำงานของคอป.ควรนำความยุติธรรมมาใช้ในเชิงฟื้นฟู หมายความว่าต้องตั้งคำถามต่างจากกระบวนการยุติธรรมปกติ โดยเอาผู้ที่เห็นว่าเป็นคนทำความเสียหายกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความเสียหายมาพูดคุยกัน ว่าอะไรคือข้อเรียกร้องของบุคคลเหล่านั้น แล้วให้ความยุติธรรมเพื่อฟื้นฟูด้านความรู้สึก ต้องหาความจริง-ผู้รับผิดชอบ นายฮาเวิร์ด วานนี่ ที่ปรึกษาด้านการค้นหาความจริงสถาบันนานาชาติการเปลี่ยนผ่านเพื่อความยุติธรรม แอฟริกาใต้ กล่าวว่า ก่อนการทำงาน คอป.ต้องวางแผนวางกรอบการทำงาน โดยมีภาคประชาชนเข้ามาเพื่อร่วมจัดทำแผนว่าจะเริ่มสิ่งใดก่อน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิ ภาพมากขึ้น เช่น ต้องรู้ว่าสัมภาษณ์ใคร จำนวนมากแค่ไหน ซึ่งการทำงานต้องมองความขัดแย้งในภาพรวม ไม่ใช่สนใจแค่ 1-2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากรวบรวมรายละเอียดทั้งหมดแล้วต้องจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลเพื่อวิเคราะห์เรื่องราวทั้งหมดทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น นอกจากนี้ในการหาข้อมูลจากบุคคลที่เป็นเหยื่อต้องเปิดโอกาสให้พูดตามเวทีประชาพิจารณ์ต่างๆ โดยไม่มุ่งการซักถามต่อหน้าสาธารณชน มุ่งเน้นเค้นความจริงบางเรื่องออกมา "คอป.ควรตั้งคณะทำงาน 2 ชุดคือดูแลกรณีเหยื่อความรุนแรง และสอบสวนเหตุการณ์ โดยเน้นการรับฟังเหยื่อในเหตุความรุนแรง รับฟังเขาอย่างแท้จริง ที่แอฟริกาใต้ประธานาธิบดีมานั่งฟังเองจึงเข้าใจปมปัญหาว่าประชาชนมีปัญหาตรงไหนเพื่อแก้ได้ถูกทาง" นายฮาเวิร์ด กล่าว 6 ก.ค. รู้ผลต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ในฐานะผอ.ศอฉ. ให้สัมภาษณ์ก่อนประชุมครม. เรื่องการต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินว่า ในการประชุมครม.วันที่ 6 ก.ค. ตนจะนำเสนอเรื่องนี้เพื่อครม.พิจารณา "มาร์ค"ชี้เครือข่ายไม่ธรรมดา ผู้สื่อข่าวถามว่าจำเป็นต้องให้ทหารออกมาเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานควบคุมสถานการณ์หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ศอฉ.ประเมินทุกวัน แต่ที่ต้องการคือสภาพความเป็นปกติ อาจต้องใช้เวลาในบางพื้นที่ โดยสัปดาห์หน้าจะสิ้นสุดอายุของพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และต้องตัดสินใจว่าจะต่ออายุในพื้นที่ใดบ้าง จะชัดเจนมากขึ้นว่าทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในฝ่ายต่างๆ จะใช้ไปจุดไหนอย่างไร เมื่อถามว่าการเดินหน้าแผนปรองดองจะสะดุดเพราะการก่อวินาศกรรมหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ต้องพยายามไม่ให้ใครมาทำสิ่งเหล่านี้สะดุด เพราะเป็นหน้าที่ จะต้องเดินต่อ แต่มีคนกลุ่มหนึ่งที่ต้องการให้บ้านเมืองมีปัญหา เราต้องแก้ไข เมื่อถามว่าเพราะอะไรจึงไม่สามารถเข้าไปจัดการต้นตอได้ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เราดำเนินการตามกฎหมายโดยลำดับ และจากที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น มีหลายกรณีที่ศาลลงโทษ ซึ่งคิดว่าหนักพอสมควรและมีมาตรการหลายอย่างช่วยปรามได้ แต่ต้องยอมรับว่าเครือข่ายของคนสร้างความวุ่นวายก็มีทรัพยากรเยอะพอสมควร เราต้องเผชิญกับความยากลำบาก แต่มั่นใจว่าในภาพรวมสังคมส่วนใหญ่ต้องการให้บ้านเมืองเป็นปกติและเดินไปข้างหน้า ซึ่งมีอุปสรรคบ้างแต่ถ้าหลายฝ่ายร่วมมือกัน จะแก้ปัญหาได้มากขึ้น เลิกพ.ร.ก.ก็ยังใช้พ.ร.บ.มั่นคง นายปณิธานกล่าวอีกว่า ฝ่ายปกครองมองว่าน่าจะยกเลิกพ.ร.ก.ได้ แต่พื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ยังเปราะบาง เรื่องความมั่นคงเป็นห่วงเรื่องผลกระทบ พื้นที่เป้าหมายก็ต้องรักษาไว้ ต้องสร้างความมั่นใจกับประชาชน อย่างพื้นที่รอบกทม.หลายพื้นที่ หากยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินก็ต้องคุมสถานการณ์ให้ได้ เพราะอย่างภาคกลาง หรืออีสานบางพื้นที่การบริหารจัดการอาจจะง่ายกว่าพื้นที่รอบกทม. ขณะที่ฝ่ายตำรวจอยากให้คงพ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้ เพราะหากยกเลิกตำรวจต้องทำงานหลัก แต่หากตำรวจยืนยันว่าดูแลได้ก็แล้วแต่ หากยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินก็ต้องกลับไปใช้พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เพื่อเฝ้าระวัง และควบคุมพื้นที่ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าตำรวจกับฝ่ายปกครองจะดูแลร่วมกันได้หรือไม่ ซึ่งต้องให้ศอฉ.ประเมิน นายปณิธานกล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องการเคลื่อนไหวก่อวินาศกรรมนั้น ขณะนี้จับตาความเคลื่อนไหวอยู่แล้ว ในกลุ่มที่มีกิจกรรมชุมนุมทางการเมืองช่วงที่ผ่านมา มีปัญหาถูกจับตาเรื่องธุรกรรมทางการเงิน การปลุกระดมยั่วยุ การก่อวินาศกรรม เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะต้องคงพ.ร.ก. ฉุกเฉินไว้ โดยเฉพาะการก่อวินาศกรรมนั้นเห็นว่ายังมีศักยภาพอยู่ โดยมีการเคลื่อนไหวเตรียมการที่มีข้อมูลข่าวสารพอสมควร เช่นการเข้าไปที่กรมพลาธิการทหารบก ที่เข้าออกได้ไม่ยาก หรือการใช้โรงเรียนบริเวณนั้นเคลื่อนไหว ซึ่งมีเครือข่ายต้องสงสัยที่เรากำลังเฝ้าระวัง กดดัน และจับตาดูอยู่ โดยกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่มีกิจกรรมในช่วงชุมนุมที่ผ่านมา มีเครือข่ายที่มีข้อมูลเอามาใช้ในการปฏิบัติการโดยเฉพาะการยิงระเบิดอาร์พีจี ที่ไม่ได้ยิงกันได้ง่ายๆ ในพื้นที่แบบนั้น และการรู้ว่าถังน้ำมันมีหรือไม่มีน้ำมันเหลืออยู่ เมื่อถามว่ากลุ่มคนดังกล่าวเป็นนายทหารในหรือนอกราชการหรือคนมีสี นายปณิธานกล่าวว่า เราดูทุกกลุ่มที่มีแนวโน้มไม่ได้ระบุกลุ่มใดเฉพาะ แต่มองว่าเป็นกลุ่มที่มีความชำนาญ ซึ่งคนที่ก่อเหตุนี้ได้มีไม่มาก ซึ่งช่วงที่มีการชุมนุมก็เคลื่อนไหวแบบนี้มาก่อน มีเครือข่ายโยงใยสนับสนุนข้อมูล เส้นทางหลบหนี และมีประสบการณ์การใช้อาวุธพอสมควร มีกลุ่มสนับสนุนการเคลื่อนไหวเป็นระบบ เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ฝ่ายความมั่นคงประเมินวิเคราะห์ จับตาดูอยู่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มาร์คสั่งต่ออายุมาตรการรถเมล์-รถไฟ-ค่าไฟฟรีอีก 6 เดือน Posted: 29 Jun 2010 06:45 PM PDT อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะสั่งต่ออายุมาตรการรถเมล์-รถไฟ-ค่าไฟฟ้าฟรี 6 เดือน เผยรัฐแบกค่าใช้จ่าย 9 พันล้าน แถมลั่นจะตั้งคณะกรรมการภายในสัปดาห์นี้ เพื่อแก้ปัญหาไข่แพงทั้งระบบ <!--break--> มาร์คเดินหน้าต่ออายุรถเมล์-รถไฟ-ค่าไฟฟ้าฟรีอีก 6 เดือน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ส่วนสองเป็นผลสืบเนื่องมาจากมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่ประชุมเมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยครม.เห็นชอบต่ออายุมาตรการ 4 มาตรการไปถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 คือเรื่องของการตรึงราคาก๊าซหุงต้ม หรือ LPG ตรึงราคา NGV ให้การสนับสนุนแท็กซี่ในการเปลี่ยนจาก LPG มาเป็นNGV และมีการประสานกับทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในเรื่องของค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) ซึ่งในส่วนของค่าเอฟทีนี้จะต่ออายุถึงสิ้นเดือน ธันวาคม 2553 ถือเป็นมาตรการในการช่วยเหลือประชาชนในช่วงที่ค่าครองชีพยังสูงอยู่ ผู้สื่อข่าวถามว่า มาตรการที่จะเข้าสู่ระบบบริการสาธารณะน่าจะเป็นค่ารถเมล์และรถไฟหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ถ้าดูเบื้องต้นกรณีของรถไฟชั้น 3 รถเมล์ไม่ปรับอากาศน่าจะเข้าข่ายได้ ส่วนค่าไฟฟ้านั้น ก็จะมีประเด็นถึงความเหมาะสมการกำหนดเพดานเรื่องจำนวนหน่วยที่ใช้ด้วยว่าสมควรหรือไม่อย่างไร ค่าไฟฟ้านั้นจะต้องเป็นเรื่องที่ต้องศึกษา ส่วนเรื่องรถเมล์ รถไฟ นั้นคิดว่ามีความชัดเจนในตัวของมันเองว่าเป็นบริการของผู้มีรายได้น้อย ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่าจะให้บริการฟรีตลอดไปเลยใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หมายความว่าอาจจะใช้เป็นระบบที่ว่าถ้าจัดให้ฟรีก็แยกบัญชีออกมา โดยถือว่าเป็นบริการสังคมและทางกระทรวงการคลังก็จะได้ทำการชดเชยไป เหมือนกับหลักที่เราใช้กับธนาคารของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มีนโยบายเฉพาะที่เราถือว่าเป็นนโยบายสนับสนุนผู้ที่ประสบความเดือดร้อน ชี้เป็นบริการสังคม รัฐแบกรับตรงไปตรงมา เผย 6 เดือน รัฐบาลแบกค่าใช้จ่าย 9,000 ล้าน ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนของค่ารถเมล์รถไฟและค่าไฟฟ้า เป็นจำนวนเท่าไหร่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ถ้ารวมค่าไฟฟ้าด้วยในระยะเวลา 6 เดือนรัฐต้องแบกรับค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 9,000 ล้านบาท ผู้สื่อข่าวถามว่า ครม. ได้มีการหารือถึงการลดราคาน้ำมันลง 2 บาทต่อลิตร หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา ในที่ประชุม กพช. นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้หยิบยกเรื่องนี้เข้าสู่การหารือ ซึ่งใน 2 ส่วนที่รัฐมนตรีเสนอเป็นแนวความคิดคือ กรณีของภาษีสรรพสามิต กับ เรื่องกลไกการซื้อขาย ซึ่งส่วนนี้ยังไม่ได้หารือในรายละเอียด ตนจึงบอกว่าถ้ามีข้อเสนอก็สามารถเสนอผ่าน กพช.ได้ ส่วนเรื่องของภาษีสรรพสามิต เรามองว่าควรจะดูแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลก คือถ้าเราเห็นว่าราคาในอนาคตยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น มาตรการที่จะใช้ในทางภาษีหรือกองทุนน่าจะเก็บไว้ในจังหวะนั้นมากกว่า มาร์คลั่นจะตั้งคณะกรรมการภายในสัปดาห์นี้ เพื่อแก้ปัญหาไข่แพง ผู้สื่อข่าวถามว่า จะรื้อโครงสร้างใหม่ทั้งหมดเลยหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เบื้องต้นให้ไปดูว่าโครงสร้างที่ถูกวางไว้ขณะนี้มีผลทำให้ไข่แพงนั้นจะสามารถคลายได้อย่างไร เพราะว่าถ้าไปใช้คำว่า “รื้อ” อาจจะเข้าใจผิดเพราะว่าเราก็คงไม่ต้องการให้กลับไปสู่สถานการณ์ซึ่งราคาตกต่ำจนเกษตรกรเดือดร้อนและจะเป็นวงจรที่ไม่จบไม่สิ้น เพราะฉะนั้นจะหาความสมดุลตรงนี้ “การคุมโควตาการนำเข้าแม่ไก่ในขณะนี้มีการบริหารตั้งแต่ต้นน้ำ ซึ่งเป็นที่มาของโครงสร้างต้นทุนในขณะนี้ ถ้าเราดูแล้วว่ามันเพิ่มสูงขึ้นมากก็ต้องไปปรับแก้ตรงนั้น ส่วนจะเปิดเสรีการนำเข้าแม่ไก่หรือไม่ยังไม่ได้สรุปว่าจะไปจบลงตรงไหน เพราะอย่างที่เรียนคือว่าเราไม่ต้องการกลับเข้าไปในวงจร ซึ่งมีปัญหาในเรื่องของเกษตรกรที่ได้รับราคาที่ไม่เหมาะสมด้วย”นายกรัฐมนตรีกล่าว นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า เรื่องนี้เป็นปัญหาเฉพาะที่เกิดขึ้น เพราะตัวของอุตสาหกรรมเองก็ผ่านปัญหามาค่อนข้างหลากหลาย ตั้งแต่ไข้หวัดนก มาจนถึงเรื่องราคาตกต่ำ และตอนนี้ราคาแพง เพราะฉะนั้น ยังไม่มีส่วนไหนที่จะเทียบเคียงได้ชัดเจน ทั้งนี้ในส่วนของลักษณะของอุตสาหกรรมก็อาจจะมีประเด็นที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งไม่เหมือนกับตัวอื่นๆ เช่น ปัญหาเรื่องอาหารสัตว์ ธุรกิจซึ่งบางรายทำครบวงจรและบางรายทำไม่ครบวงจร เป็นต้น ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่าคณะกรรมการของภาคราชการเองไปเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้เกิดการฮั้วกันในภาคเอกชน จะแก้ปัญหาตรงนี้อย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มติ ครม.นั้นทางเลขาธิการนายกรัฐมนตรีจะเข้าไปดูแลเรื่องนี้ด้วย ผู้สื่อข่าวถามว่า เมื่อดูแล้วจะปรับให้มีความเป็นธรรมอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็จะดูทั้งหมดว่าโครงสร้างที่เป็นปัญหาอยู่มันมีอะไรบ้าง ผู้สื่อข่าวถามว่า กรอบการทำงานคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไข่ไก่และผลิตภัณฑ์ หรือ Egg Board ควรอยู่แค่ไหน แล้ววันนี้คณะกรรมการฯ ทำเกินบทบาทหน้าที่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะกรรมการฯ ชุดนี้มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีรองรับ อำนาจหน้าที่มีอยู่เท่าที่กำหนดในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนปัญหาการร้องเรียนจากการใช้อำนาจก็มีคดีอยู่ที่ศาลปกครองอยู่แล้ว “แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องการขณะนี้คือการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าให้ได้ โดยเข้าไปที่ต้นตอของปัญหา ถ้าเป็นเรื่องของโครงสร้างก็ต้องมีการปรับโครงสร้าง ซึ่งการแข่งขันต้องมีมากขึ้นที่จะเป็นการลดภาระ แต่เราจะไปรื้อทั้งหมดก็ต้องไม่ให้ย้อนกลับไปสู่ภาวะซึ่งอาจจะนำมาสู่ปัญหาของเกษตรกรถ้าราคาตกต่ำเกินไป” นายกรัฐมนตรีกล่าว ที่มา: เรียบเรียงจาก นายกรัฐมนตรีมอบก.คลังศึกษามาตรการที่จะเข้าข่ายบริการทางสังคม, ศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล, 29 มิ.ย. 53 http://media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=471&directory=1779&contents=46096 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Posted: 29 Jun 2010 06:31 PM PDT คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการตั้งสำนักงานปฏิรูปมี หมอเวศ-อานันท์ นั่งประธาน 3 ปี ใช้งบไม่เกิน 600 ล้านบาท "มาร์ค" ลั่นไม่แทรกแซงแน่นอน "บรรหาร" เย้ยเห็นชื่อกรรมการแล้วเหนื่อย ไม่แน่ใจ ชาตินี้จะปรองดองกันได้หรือเปล่า <!--break--> ครม.ตั้งสำนักปฏิรูปฯ 3 ปี งบ 600 ล้าน หมอประเวศ-อานันท์นั่งประธาน มติชนออนไลน์ รายงานเมื่อวานนี้ (29 มิ.ย.) ว่า นพ.มารุต มัสยวาณิช รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูป พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ที่ให้ตั้งสำนักงานปฏิรูป มีคณะกรรมการ 2 คณะ ประกอบด้วยคณะกรรมการปฏิรูป มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ให้ตั้งกรรมการเพิ่มเติมได้ไม่เกิน 25 คน และคณะกรรมการสมัชชา มีนพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน ให้ตั้งกรรมการเพิ่มเติมได้ไม่เกิน 30 คน ให้เวลาในการทำงานต่อเนื่อง 3 ปี ใช้งบประมาณปีละไม่เกิน 200 ล้านบาท เบิกจ่ายผ่าน สช.สำหรับการกำหนดเงินเดือนและค่าตอบแทน กรรมการคณะต่างๆ นายอานันท์และนพ.ประเวศจะเป็นผู้กำหนดภายหลัง ตามระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ไม่ใช่จะตั้งเท่าไรก็ได้
"มาร์ค" ลั่นไม่แทรกแซงแน่นอน ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงถึงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ที่จะเดินหน้าเรื่องการปฏิรูปประเทศ โดยจะมีคณะกรรมการปฏิรูป 1 ชุดและคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป 1 คณะซึ่งตนจะเป็นผู้ลงนามแต่งตั้งประธาน 2 คณะ โดยนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูป และน.พ.ประเวศ วะสี จะเป็นประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ซึ่งประธานทั้ง 2 คนจะเป็นผู้ไปตั้งคณะกรรมการเอง โดยมีสำนักงาน ซึ่งจะตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานภายในของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่จะทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขาฯ ซึ่งมีกรอบการทำงาน 3 หน้า ปีโดยมีอำนาจที่กว้างขวางพอสมควร ตามเจตนาที่ได้ประกาศเอาไว้ว่าเป็นส่วนสำคัญของแผนเรื่องการปรองดอง เมื่อถามว่าคณะกรรมการจะ ดำเนินการโดยปราศจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าจากโครงสร้างและระเบียบที่ออกไปนั้นจะเห็นได้ชัดมากกว่าการเมืองจะเข้าไปแทรกแซงอย่างแน่นอน แล้วก็มีความเป็นอิสระมากพอสมควรในการทำงานแต่ละส่วน ซึ่งในรายละเอียดหลังจากนี้จะเป็นเรื่องของประธานคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดจะเป็นผู้ชี้แจงเอง เมื่อถามว่าผู้ที่มาร่วมเป็นคณะกรรมการเป็นห่วงว่ารัฐจะไม่นำสิ่งที่คณะกรรมการได้ดำเนินการมาทำอย่างจริงจัง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "คำตอบเรื่องนี้มันอยู่ที่การกระทำ แต่ที่ผ่านมาเรามีการทำงานกับภาคประชาชนและภาคส่วนอื่นๆ หลายครั้งแล้วในรัฐบาลชุดนี้ แม้กระทั่งการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง จะเห็นได้ว่าในทุกกรณีเราได้มีการดำเนินการจนผมพูดได้ว่ามีความไว้วางใจซึ่ง กันและกัน แม้กระทั่งเมื่อวานนี้ (28 มิ.ย.) ผมก็ได้ไปร่วมประชุมครั้งสุดท้ายของคณะกรรมการ 4 ฝ่าย เรื่องมาบตาพุด เป็นบรรยากาศที่ดี แม้ข้อเสนอบางเรื่องยังไม่ผ่านขั้นตอนทั้งหมด แต่ตลอดเวลาการทำงานที่ผ่านมา คนที่เคยกังวลว่าคณะกรรมการ 4 ฝ่ายมีข้อยุติอย่างไรแล้วรัฐบาลจะดำเนินการหรือไม่ มันก็ชัดเจนแล้วว่าเราได้พยายามผลักดันตามอำนาจหน้าที่" เมื่อถามว่าการปฏิรูปประเทศอาจจะไปกระทบฝ่ายการเมืองหรือกลุ่มทุนทางการเมือง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตัวอย่างที่ตนยกมาทั้งหมดนั้นแม้จะมีอะไรกระทบก็ตรงไปตรงมา ซึ่งตนยืนยันได้ว่ารัฐบาลสนับสนุนการทำงานเต็มที่
"บรรหาร" เย้ยชาตินี้จะปรองดองได้หรือไม่ ด้านนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวถึงคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ ที่รัฐบาลได้ตั้งขึ้นว่า "ยากจริงเลย เห็นกรรมการที่ตั้งขึ้นมาเหนื่อย ไม่แน่ใจ ชาตินี้จะปรองดองกันได้หรือเปล่า เพราะความคิดเห็นมันแตกแยกกัน ชาตินี้ไม่แน่จะปรองดองกันได้หรือเปล่า ตอบไม่ได้" เมื่อถามว่าแล้วรัฐบาลจะตั้งขึ้นมาทำไม นายบรรหาร กล่าวว่า ต้องไปถามรัฐบาล ตั้งขึ้นมาเป็นประโยชน์อะไร ตั้งมาแล้วปรองดองกันได้หรือไม่ ต้องถามรัฐบาลเอง ถามตนไม่ได้ แต่ยากเพราะความคิดเห็นไปคนละทาง ยากที่จะปรองดอง นอกจากยอมเขาหมดปรองดองได้ ถ้าทุกฝ่ายตกลงก็ปรองดองได้ แต่ก็ต้องถูกด่าอีก สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Posted: 29 Jun 2010 03:25 PM PDT "กานดา นาคน้อย" เขียนบทบรรณาธิการจดหมายข่าว สมาคมเศรษฐศาสตร์และการเงินไทยในต่างประเทศ โดยระบุว่า ประเทศไทยเป็นระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ สาเหตุทางเศรษฐศาสตร์มหภาคของวิกฤตการเมืองได้สั่งสมมานานหลายปี สาเหตุที่ว่าคือปัญหาการกระจายรายได้ที่แย่ลงและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตเงินบาทในปี 2540 <!--break--> ขณะที่ฉันกำลังรวมเล่มจดหมายข่าวฉบับนี้ได้ตั้งคำถามกับตัวเองว่าควรเขียนบทความเกี่ยวกับวิกฤตการเมืองไทยหรือไม่? วิกฤตครั้งนี้เป็นวิกฤตการเมืองซึ่งไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับจุดประสงค์ของสมาคมเศรษฐศาสตร์และการเงินไทยในต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้ทำให้เกิดความสูญเสียทางมนุษยชนและทางเศรษฐกิจมากเป็นประวัติการณ์ มีผู้เสียชีวิตประมาณ 90 คน บาดเจ็บ 2,000 คน [1] และคาดว่าผลผลิตประชาชาติ (จีดีพี) จะปรับตัวลดลง 2.5% [2] ในเชิงปริมาณผลกระทบเหล่านี้เป็นตัวเลขที่ใหญ่มากจนฉันตัดสินใจเขียนบทความเกี่ยวกับวิกฤตการเมืองครั้งนี้ บทความนี้ตอบคำถามจากเพื่อนร่วมงานและมิตรสหายที่มักถามว่า เกิดความผิดพลาดอะไรขึ้นกับประเทศไทย? ฉันคิดว่าประเทศไทยเป็นระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ สาเหตุทางเศรษฐศาสตร์มหภาคของวิกฤตการเมืองได้สั่งสมมานานหลายปี สาเหตุทางเศรษฐศาสตร์มหภาคที่ว่าคือปัญหาการกระจายรายได้ที่แย่ลงและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตเงินบาทในปี2540 ประการแรก ขอเริ่มอธิบายปัญหาการกระจายรายได้ก่อน การกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับประเทศไทย เพียงแต่ไม่เคยมีกลุ่มมวลชนนำมาเป็นประเด็นเพื่อเดินขบวนต่อต้าน แล้วทำไมถึงเกิดขึ้นตอนนี้? แม้ว่าเศรษฐกิจไทยได้เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านมา ปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันกลับแย่ลง จากการอ้างอิงด้วยดัชนีจินี (Gini Coefficient) เมื่อ 40 ปีที่แล้วไทยมีการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกว่ามาเลเซียและฟิลิปปินส์ แต่ปัจจุบันอันดับดัชนีจินีของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวได้กลับตาลปัตรแม้ว่าปัญหาความไม่เท่าเทียมได้บรรเทาลงชั่วคราวในปีแรกๆของรัฐบาลทักษิณ [3] ในทางภูมิศาสตร์ดัชนีจินีบ่งชี้ว่าปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นสาหัสกว่าภาคอื่นๆ [4] ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลายเป็นฐานเสียงที่แข็งแกร่งให้พรรคการเมืองของอดีตนายกฯ ทักษิณ ประการต่อมา วิกฤตเงินบาทในปี2540 ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยในหลายอุตสาหกรรม หลังจากที่บางบริษัทล้มหายตายจากไปในช่วงวิกฤต บริษัทใหม่ได้เกิดขึ้นมาแทน กลุ่มธุรกิจของอดีตนายกฯ ทักษิณและเพื่อนพ้องกลายเป็นกลุ่มธุรกิจที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจการสื่อสารและสื่อมวลชน การแข่งขันในภาคธุรกิจเหล่านี้ไม่เพียงแต่นำความร่ำรวยมาสู่ผู้ประกอบการใหม่แต่ยังทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ ในราคาที่ถูกลงด้วย ข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ เหล่านี้ทำให้กลุ่มผู้ลงคะแนนเสียงในต่างจังหวัดได้ตระหนักถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ ยิ่งไปกว่านั้น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ ในราคาถูกผ่านโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตทำให้กลุ่มผู้ลงคะแนนเสียงที่ไม่พอใจ [กับการเมืองที่ผ่านมา-ผู้แปล] สามารถรวมตัวกันอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม นอกจากนี้ประชาชนจำนวนมากมองว่าวิกฤตเงินบาทเป็นผลมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาดโดยกลุ่มข้าราชการ ด้วยเหตุนี้เองวิกฤตเงินบาทจึงกลายเป็นใบเบิกทางไปสู่การปฎิรูปหน่วยราชการและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้กลายเป็นเอกชน ตั้งแต่ปี 2543 รัฐบาลทักษิณได้ดำเนินนโยบายปฎิรูปหน่วยราชการและแปรรูปรัฐวิาสหกิจทำให้เกิดการต่อต้านจากข้าราชการระดับสูงและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ผลสุดท้ายข้าราชการระดับสูงและพนักงานรัฐวิสาหกิจกลายเป็นเครื่องมือรณรงค์ต่อต้านรัฐบาลทักษิณให้กับนักธุรกิจด้านสื่อมวลชนที่ธุรกิจล่มสลายในช่วงวิกฤตเงินบาท ความขัดแย้งที่ยังไม่ยุติระหว่าง “กลุ่มข้าราชการที่ต่อต้านการปฎิรูป” กับ “กลุ่มที่สนับสนุนการปฎิรูป” สะท้อนชัดเจนจากการจลาจลต่อต้านข้าราชการในหลายจังหวัดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กล่าวโดยสรุปคือ วิกฤตเงินบาทส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยซึ่งทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับปัญหาความไม่เท่าเทียมของรายได้ที่สั่งสมมานาน ปัจจุบันรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้เสนอนโยบายเพื่อแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมของรายได้ด้วยการปฎิรูประบบภาษี กล่าวคือด้วยการเริ่มจัดเก็บภาษีทรัพย์สินและภาษีที่ดินแบบก้าวหน้า รัฐบาลอภิสิทธิ์จะจริงจังกับการปฎิรูประบบภาษีหรือไม่นั้นเป็นประเด็นที่ต้องติดตามกันต่อไป
เอกสารต้นฉบับภาคภาษาอังกฤษ อ้างอิง: สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น