ประชาไท | Prachatai3.info |
- “สันติ สมานฉันท์” ครบรอบ ๑ ปี กับการชุมนุมเพื่อการแก้ปัญหาเขื่อนหัวนา-ราศีไศล
- สังคมแห่งการ 'ดูแลกันและกัน' กับสังคม 'ปรองดองซ่อนเหลื่อมล้ำ'
- คำให้การคนเสื้อแดงอีสาน กับความปรองดองแห่งชาติ
- ดึงศาลร่วมแก้ปัญหาละเมิดสิทธิ์ในคดีความมั่งคงชายแดนใต้
- เสวนาร้อน“ฟังนักข่าวเล่าเรื่อง”: มุมมองคนทำข่าวVSคนรับข่าว เหตุการณ์นองเลือด พ.ค.53
- เอ็นจีโอ-นักการเมืองเห็นตรงกัน จี้รัฐบาลหา“ความจริง”-ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
- นักกิจกรรมยื่น “ข้อเสนอแนะต่อบทบาทคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในสถานการณ์ฉุกเฉิน”
- สหพันธ์แรงงานสากลคนงานก่อสร้างฯ ประณามการจับกุมและเรียกร้องให้ปล่อยตัว 'สมยศ'
- BWI ประณามการจับกุมและเรียกร้องให้ปล่อยตัว “สมยศ”
- ยิ่งขยายถนนกว้างยิ่งสะท้อนความคิดที่คับแคบ
- นักปรัชญาชายขอบ : ในความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย อะไรหรือที่ไม่เหมือนเดิม?
“สันติ สมานฉันท์” ครบรอบ ๑ ปี กับการชุมนุมเพื่อการแก้ปัญหาเขื่อนหัวนา-ราศีไศล Posted: 10 Jun 2010 03:18 PM PDT <!--break-->
เมื่อวันที่ ๖-๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา สมัชชาคนจนเขื่อนเขื่อนหัวนาและราษีไศลประมาณ ๒,๕๐๐ คน ร่วมจัดงานรำลึกครบรอบ ๑ ปีการชุมนุม และจัดทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไปทั้ง ๑๑ คน ในระหว่างการชุมนุม ๑๘๙ วัน (๔ มิถุนายน – ๙ ธันวาคม ๒๕๕๒) รวมทั้งจัดเวทีประชุมติดตามและปรึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเขื่อน หัวนาและเขื่อนราษีไศล ระหว่างชาวบ้านสมัชชาคนจนเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนา กรมชลประทาน นำโดยนายวีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีกรมชลประทาน และตัวแทนฝ่ายรัฐบาล นำโดยนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งผลการประชุมและปรึกษาหารือ สร้างความพอใจให้กับทั้งสองฝ่าย และสามารถบรรลุข้อตกลงที่สำคัญๆเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการ แก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างราษฎร กรมชลประทาน และรัฐบาล ต่อไป สำหรับกิจกรรมในงาน วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ ได้มีการเชิญอ.ชัยพันธ์ ประภาสะวัต มาเป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับนโยบายกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ เคลื่อนไหวภาคประชาชนในสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งนิมนต์ พระมหาวีระ กิตฺติวณฺโณ ประธานกองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการผู้นำชุมชนคน สุรินทร์ และนายชุมพร เรืองศิริ คณะประสานงานงานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสุรินทร์ มาเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องแนวทางการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการ และการสร้างความเข้มแข็งองค์กรภาคประชาชน ภายหลังการประชุม นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ กล่าวปราศรัยกับชาวบ้านอีกครั้งหนึ่งว่า “หลังจากประชุมกัน เรื่องใหญ่ๆก็ได้ข้อยุติ ไม่ว่าการตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ การตั้งคณะกรรมการร่วมติดตามผลการศึกษาของเขื่อนราษีไศล ตรงนี้ตนรับหน้าที่กลับไปดำเนินการผลักดันต่อ แบกปัญหากลับไปแก้ไขปัญหาที่กรุงเทพ สรุปว่าเรื่องปัญหาต่างๆที่พี่น้องเดือดเนื้อร้อนใจ ที่มานั่งรอกันอยู่ที่นี่ พวกเราก็ได้มีการประชุมจนได้ข้อยุติเป็นส่วนใหญ่ หลายเรื่องต้องใช้เวลาอีกบ้าง แต่ทั้งหมดก็ต้องยอมรับว่าแกนนำทุกคนมีความตั้งใจมากในการประชุม เพื่อที่จะให้ได้ข้อยุติ ให้พี่น้องได้รับค่าชดเชย สำหรับผู้ที่ยังมีปัญหาอยู่ และพี่น้องจะได้รับการฟื้นฟูเยียวยาหลังจากได้รับค่าชดเชยแล้ว ตรงนี้เป็นเรื่องที่พวกเราทุกคนจะได้ตั้งอกตั้งใจทำงานกันต่อ หวังว่าพี่น้องก็คงจะสบายใจขึ้นและจะได้กลับไปตั้งใจทำงานกันต่อ พวกเราทุกคนหวังว่าการทำงานร่วมกันครั้งนี้ อย่างน้อยที่สุดพี่น้องจะได้รับการดูแลที่ถูกต้องที่ดี”
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
สังคมแห่งการ 'ดูแลกันและกัน' กับสังคม 'ปรองดองซ่อนเหลื่อมล้ำ' Posted: 10 Jun 2010 03:05 PM PDT <!--break-->
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา มาร์ตีน โอบรี (Martine Aubry) เลขาธิการพรรคสังคมนิยมของฝรั่งเศส (Parti Socialiste หรือ PS) ได้เสนอแนวคิดใหม่เพื่อการปฏิรูปอุดมการณ์และ ปรัชญาของพรรค หลังจากที่พรรคฝ่ายซ้ายแพ้การเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดี ให้กับนิโกลา ซาร์โกซีตัวแทนจากพรรคฝ่ายขวา (Union pour le Mouvement Populaire หรือ UMP) ในปี 2550 หนึ่งในเหตุผลที่สำคัญของการพ่ายแพ้ ครั้งนี้ก็คือพรรค PS ไม่สามารถเสนอวาทกรรมและแนวคิดใหม่ๆที่จะสามารถ แก้ปัญหาร่วมสมัยอันเกิดขึ้นจากลัทธิเสรีนิยมใหม่ได้ ในบทสัมภาษณ์ลงในเวปไซต์ข่าว Mediapart โอบรีเสนอแนวคิดเรื่อง “สังคมแห่งการดูแล” (la société du “care”) ว่า “สังคมแห่งการดูแลเกิดจากวิวัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจก เราต้องเปลี่ยนจากสังคมปัจเจกนิยมสู่สังคมของการ ‘ดูแล’ ในความหมายของคำภาษาอังกฤษซึ่งเราสามารถแปลได้ว่า ‘การดูแลซึ่งกันและกัน’ สังคมดูแลคุณ แต่คุณก็ต้องดูแลคนอื่นและสังคมเช่นเดียวกัน” 'Care' หรือการดูแลนี้เป็นแนวคิดทางปรัชญาและทางการเมืองที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ผ่านงานของ Francis Hutcheson, David Hume และ Adam Smith ซึ่งพยายามพิจารณารูปแบบใหม่ของ “การเห็นอกเห็นใจ” ผู้อื่นในสังคม แต่แนวคิดที่โอบรีอ้างถึงเป็นแนวคิดร่วมสมัยที่เริ่มต้นจากนักคิดสตรีนิยมช่วงทศวรรษ 80 ในสหรัฐอเมริกาและได้รับการพัฒนาเรื่อยมาสู่แนวคิดทางการเมือง หากกล่าวอย่างกระชับ “สังคมแห่งการดูแลซึ่งกันและกัน” (le soin mutuel) คือการหันกลับมาให้ความสำคัญกับคุณค่าทางศีลธรรมในการตัดสินใจหรือการกระทำทางการเมืองใดๆ เพราะคุณค่านี้ถักทอความสัมพันธ์ของมนุษย์กับมนุษย์ กับสิ่งของหรือแม้กระทั่งกับสิ่งแวดล้อมทั้งในพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะ ดังนั้น ท่ามกลางวิกฤติศรัทธาที่ฝรั่งเศสกำลังเผชิญอยู่ เลขาธิการพรรค PS เห็นว่าสถาบันทางการเมืองจะต้องได้รับการปฏิรูป โดยคำนึงถึงคุณค่าทางสังคมและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพราะ “จงอย่าลืมว่านโยบายการให้เงินช่วยเหลือใดๆ ก็ไม่อาจมาแทนที่สายโซ่ของการดูแล การช่วยเหลือซึ่งกันและกันฉันครอบครัวและฉันมิตรสหาย ความใส่ใจของผู้ที่อยู่แวดล้อม” โอบรีกล่าว นักคิดฝ่ายซ้ายหลายคนออกมาปกป้องว่าแนวคิดนี้ไม่ใช่การสังคมสงเคราะห์เพราะไม่ได้มุ่งปกป้องเพียง “ผู้ด้อยโอกาส” ทางสังคม หากแต่ทุกคนที่ถูกทำให้เป็น “คนนอก” โดยอำนาจ และเราทุกคนก็อาจตกอยู่ในตำแหน่ง “ที่อ่อนแอ” นั้นได้วันใดวันหนึ่ง และไม่ได้เสนอเพื่อแทนที่มาตรการสาธารณะต่างๆ แต่เพื่อเติมช่องว่างให้มาตรการเหล่านี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แม้แนวคิดนี้จะถูกวิจารณ์และโจมตีอย่างกว้างขวางจากหลายฝ่าย เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าแนวคิดนี้คือความพยายามของพรรค PS ในการตรวจทานแนวคิดหลักของฝ่ายซ้ายเองเรื่อง “รัฐสวัสดิการ” ซึ่งกำลังถูกตั้งคำถามเรื่องการปฏิรูปในสภาวะที่เศรษฐกิจโลกและ เศรษฐกิจอียูเองกำลังประสบกับปัญหาอย่างหนัก นี่คือโจทย์ที่พรรคการเมืองและรัฐบาลฝรั่งเศสพยายามหาคำตอบด้วยข้อเสนอที่แตกต่างหลากหลาย พร้อมกับการเปิดพื้นที่สาธารณะให้กับการถกเถียงแลกเปลี่ยนของทุกภาคส่วนเพราะ “ปริมณฑลของการสื่อสาร” ตามคำของฮาเบอร์มาส (Habermas) คือพื้นที่ก่อร่างของ “ความคิดเห็นสาธารณะ” ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นใน “ปริมณฑลของการบริหารจัดการ” การสร้างพื้นที่สาธารณะนี้ของฝรั่งเศสจึงเป็นการตั้งคำถามไปยังประชาชนถึง “รูปแบบของสังคม” ที่พวกเขาอยากจะเห็น โดยผ่านการเสนอแนวคิดเชิงอุดมการณ์และผ่านการถกเถียงต่อสู้ระหว่างความคิดเห็นที่แตกต่าง ในขณะที่ฝรั่งเศสเริ่มตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปรัฐสวัสดิการ ประเทศไทยของเรากำลังเดินหน้ากระบวนการปรองดองซึ่งหนึ่งในนั้นคือการสร้างรัฐสวัสดิการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคมด้วยการให้การศึกษาฟรี ให้สาธารณสุขฟรี ปลดหนี้ให้ (เกือบ) ฟรี ฯลฯ เป็นการเดินสวนทางกับกระบวนการพัฒนาสังคมการเมืองของฝรั่งเศส ในขณะที่ฝรั่งเศสเริ่มต้นจากการพัฒนาสวัสดิการให้เป็นสถาบัน อย่างมั่นคงแล้วจึงหันมาทบทวนถึงคุณค่าและความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจก ประเทศไทยกลับไม่เคยมองรัฐสวัสดิการในเชิงโครงสร้าง หากมองเป็นเพียงแค่นโยบายเอาใจคนบางกลุ่มที่อยากทำ “ดี” การลดความเหลื่อมล้ำของสังคมในตัวเองนั้นเป็นวาทกรรมที่ดูดี ถูกต้องตามจารีตทางการเมืองแบบที่ฝรั่งเรียกว่า political correctness คือ'พูดอีกก็ถูกอีก' แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา ปัญหาคือเราจะลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างไร ในเมื่อเรายังติดกับดักความหมายของรัฐสวัสดิการตามแนวคิดโบราณแบบพ่อปกครองลูก คนดีมีอำนาจเหนือคนชั่ว คนรวยจุนเจือคนยากจน ? นี่เป็นแนวคิดแบบสังคมอุปถัมภ์และสังคม สงเคราะห์ที่มีรากฐานมาจากความเชื่อว่าดุลยภาพของสังคมต้องประกอบด้วยคนที่ปกครองและคนที่ถูกปกครอง และทั้งสองต่างต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดไม่ก้าวล้ำพื้นที่ของกันและกัน แล้วสังคมจะสงบร่มเย็น แนวคิดนี้ถูกทำให้ขาวเนียนยิ่งขึ้นด้วยวาทกรรมที่ว่าสังคมไทยเราไม่เคยมีความขัดแย้งและอยู่กันฉันพี่ฉันน้องอย่างสงบสุขมาโดยตลอด นี่คือมุมมองแบบชนชั้นปกครองเป็นหลัก (บวกชนชั้นกลางจากเมืองหลวงและหัวเมืองใหญ่) เป็นมุมมองจากมุมสูง เป็นมุมมองเชิงสังเวชและสงสาร และก็เป็นมุมมองเดียวกันนี้เองที่เราเอาไว้ใช้มอง “คนชายขอบ” ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นคนพิการ คนยากจน ชาวนาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบโดยนายทุน กระเทย เกย์ เลสเบียน เด็กเร่ร่อน แม้กระทั่งหญิงที่ถูกสามีทอดทิ้งหรือนอกใจ ฯลฯ หลังจากเหตุการณ์ทวงคืนพื้นที่ด้วยการ 'กระชับวงล้อม' เรากำลังอยู่ในสภาพโคม่าที่คนกรุงเทพนิยามว่าสภาวะ “ขอความสุขคืนกลับมา” คนชนชั้นกลางร่วมมือร่วมใจกันช่วยเหลือประเทศ เพื่อแลกกับความสุขของตนด้วยการจับจ่ายใช้สอยให้เม็ดเงินสะพัดจน ปลิวว่อน กลบเกลื่อนตัวเลขของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บได้อย่างแนบเนียน เสียงเพลงผนวกกำลังกับแคมเปญ Together We Can ของกทม.คลอสถานีโทรทัศน์และวิทยุบดบังเสียงร่ำไห้ของญาติผู้เสียชีิวิต เสียงร้องขอความช่วยเหลือของผู้บาดเจ็บและเสียงคับข้องใจของผู้ที่จำต้องเดินทางกลับบ้าน ผู้คนรอบตัวเริ่มส่งฟอร์เวิร์ดเมล์เรื่องการออกค่ายพัฒนา การบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือโรงเรียน ตามชนบท แม้กระทั่งการรวมกลุ่มกันไป “เผยแผ่” ความรู้เรื่องประชาธิปไตยกับชาวบ้านรากหญ้าตาดำๆตามท้องนาท้องไร่ เฉกเช่นมิชชันนารีฝรั่งในยุคล่าอาณานิคมที่มีจิตใจเมตตาต้องการถ่ายทอด “ความรู้” เกี่ยวกับพระเจ้ากับชาวพื้นเมืองล้าหลังป่าเถื่อนในดินแดนอันไกลโพ้น นี่คือมุมมองของผู้ที่อยู่เหนือกว่า ซึ่งกำลังพยายามทำให้ความจริงที่รุนแรงและชัดแจ้งของความขัดแย้งกลายเป็นเพียงแค่ “เรื่องโรแมนติกป๊อบๆ” ที่เราควรจ้องมองอยู่ห่างๆไกลๆ โดยไม่เอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวพัน หากเรายังคงมองการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นผ่านทัศนคติเช่นนี้ ท้ายที่สุดแล้วสังคมแห่งการปรองดองก็จะเป็นได้เพียง มโนทัศน์ที่สวยหรูและมีไว้เพื่อสนองต่อปมของคนชนชั้นกลางเองเท่านั้น คือปมเรื่องคนดีมีศีลธรรมช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ที่ด้อยกว่า นี่คือความรุนแรงทางจิตวิญญาณและทางอุดมการณ์ของสังคมแห่งการประกอบกุศลทาน ในขณะที่ 'care' ของฝ่ายซ้ายฝรั่งเศสคือการกลับมาให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ เท่าเทียมกัน 'care' ของไทยในรูปของ 'การปรองดอง' กลับตอกย้ำความไม่เท่าเทียมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เหลื่อมล้ำ ในสังคมที่ทุกคนอยากจะ “ให้” แต่ในขณะเดียวกันทุกคนก็กลัวจะไม่ “ได้รับ” การตั้งคำถามอย่างจริงจังและอย่างถอนรากถอนโคนกับมุมมองของตนเอง ต่อ “คนนอก” ทั้งทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่จำเป็น ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของภาคประชาสังคม การวิพากษ์และตรวจสอบอุดมการณ์และการตัดสินใจทางการเมืองของรัฐบาล เป็นหน้าที่ที่เราทุกคนจะต้องร่วมกันทำ ไม่ใช่ “อวย” กับทุกๆสิ่งที่รัฐบาลนำเสนอให้เราเชื่อ ไม่เช่นนั้นโคม่าแห่งชาติครั้งนี้คงจะกินเวลาอีกยาวนานชั่วกัลป์ และระหว่างนั้นสังคมไทยก็จะมีแต่เผ่าพันธ์ุ “คนดี” เต็มไปหมดและ “คนจน” ก็จะยังคงเป็นเผ่าพันธุ์ส่วนใหญ่ที่ปกคลุมดินแดนอันไกลโพ้นห่าง ไกลจากหัวเมืองใหญ่ !
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
คำให้การคนเสื้อแดงอีสาน กับความปรองดองแห่งชาติ Posted: 10 Jun 2010 01:21 PM PDT "พวกเราไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ผมเองไม่อยากเชื่อว่ารัฐบาลจะทำ จะกล้าทำ กล้าฆ่าคน ในเมื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศเขาชนะการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเราไม่สนใจเสียงส่วนน้อยของประเทศ แต่เสียงส่วนน้อยของประเทศมีโอกาสมากกว่าพวกเราอยู่แล้ว" <!--break--> แม้กระแสข่าวการเสียชีวิต 88 ราย และผู้บาดเจ็บอีก 1,885 ราย จากการสลายการชุมนุมเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาจะสร่างซาลงไปบ้างในระยะนี้ แต่การที่ จนถึงขณะนี้รัฐบาลยังไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงในความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้ ในทางตรงกันข้ามกลับมีการออกหมายจับ หมายเรียก การจับกุม กักขัง หน่วงเหนี่ยวคนเสื้อแดงออกมาเป็นระยะ กรณีเหล่านี้ดูขัดแย้งกับวาทกรรม "ปรองดอง" ที่รัฐบาลชุดนี้ใช้อย่างพร่ำเพรื่อในระยะ 2-3 เดือนนี้มาโดยตลอด ภายหลังฝุ่นควันแห่งความรุนแรงในการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงจางลง หลายชีวิตหอบหิ้วความเจ็บปวดกลับภูมิลำเนา หนึ่งในนั้นคือ "เลื่อน ศรีสุโพธิ์" เกษตรกร อ.พังโคน จ.สกลนคร เลื่อน ศรีสุโพธิ์ ปัจจุบัน ในวัย 46 ปี ตัดสินใจทิ้งลูกเมียไว้เบื้องหลัง ขายวัว 2 ตัว เป็นทุนรอนในเข้าร่วมการเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มคนเสื้อแดงมาตั้งแต่ต้น ด้วยเหตุผลที่ไม่ซับซ้อนเกินที่สามัญชนคนธรรมดาพึงเข้าใจได้ นั่นคือความไม่เป็นธรรม ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตย และ .... หลังการสลายการชุมนุมที่กรุงเทพฯ ไม่นานนัก เลื่อน ศรีสุโพธิ์ ถูก สภ.พังโคน อ.พังโคน จ.สกลนคร ออกหมายเรียก เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2553 ด้วยข้อกล่าวหา ชุมนุมหรือมั่วสุมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป อันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง โดยปิดกั้นทางหลวง และกีดขวางทางจราจร เบื้องหน้า-เบื้องหลังแนวคิดของเลื่อน ในการเข้าร่วมกระบวนการเคลื่อนไหวกับคนเสื้อแดงคืออะไร ? ความไม่เป็นธรรมในความหมายของเลื่อนที่ว่าคืออะไร ? ไพร่-อำมาตย์, ประชาธิปไตยในทัศนะของเขาคืออะไร ? สองมาตรฐานหมายถึงอะไร ? อนาคตของคนเสื้อแดงจะเป็นอย่างไร ? อ่านความคิดของเขาได้ต่อไปนี้ ....
เริ่มเข้าสู่กระบวนการต่อสู้ร่วมกับคนเสื้อแดงอย่างไร เนื่องจากตลอดชีวิตได้เห็นความไม่เป็นธรรมในสังคม โดยเฉพาะสังคมไทยในปัจจุบันไม่มีความเป็นประชาธิปไตย พรรคการเมืองที่ ส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน และมี ส.ส.มากที่สุดในสภาไม่ได้จัดตั้งคณะรัฐบาลบริหารประเทศ ปัจจุบันคำว่า 2 มาตรฐานทางกฎหมายปรากฏชัดเจนในสังคมไทย ในฐานะที่ผมเป็นสมาชิกสมัชชาชาวนาชาวไร่เห็นชัดเจนว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันไม่ได้ทำอะไรเพื่อชาวบ้านทุกอย่างที่รัฐบาลทำล้วนเป็นการทำเพื่อพรรคพวก โดนเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์เห็นชัดเจนมาก ในสมัยที่ผมร่วมต่อสู้กับพี่น้องชาวบ้านเรื่องที่ดินปี 2540 รัฐบาลสมัยนั้นได้มีมติครม.ให้ประชาชนกับรัฐบาลใช้แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินอย่างมีส่วนร่วม กระบวนการพิสูจน์สิทธิในที่ดินให้ใช้พยานบุคคล พยานแวดล้อม และเอกสารประกอบการพิจารณา ต่อมาปี 2541 พรรคประชาธิปัตย์เข้ามาบริหาร แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินทั้งหมดถูกยกเลิก และให้เปลี่ยนมาใช้กฎหมายและเอกสารราชการเป็นหลัก โดยไม่สนในการมีส่วนร่วมของระบบการถือครองที่ดินของชาวบ้าน ในที่สุดประชาธิปัตย์ก็แจ้งเพราะการแก้ไขปัญหาที่ดิน หลายปีแล้วที่ผมไม่เคยลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง ทักษิณ ผมก็ไม่เคยเลือก เพราะต้องยอมรับว่ามีหลายอย่างที่ผมไม่พอใจเขา การฆ่าตัดตอนผู้ขายและผู้เสพยาเสพติดผมก็ไม่ชอบใจ แต่การที่ทหารมาทำปฏิวัติปี 2549 ฉีกรับธรรมนูญทิ้ง แล้วเขียนของตัวเองขึ้นมาใหม่ ปลดนายกสมัคร ยุบพรรคพลังประชาชน แต่งตั้งพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาบริหารประเทศ สิ่งนี้ไม่ใช่ประชาธิปไตย ผมรับไม่ได้ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ผมเข้าร่วมกับขบวนการเสื้อแดง แต่ผมสั่งสมความไม่พอใจต่อความไม่เป็นธรรมของสังคมไทยมานาน ปี 2549 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำประชาชนต้องลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
รูปแบบการเข้าร่วมต่อสู้กับ นปช.เป็นอย่างไร เข้าร่วมชุมนุมกับพี่น้องนปช.ที่กรุงเทพฯ 3 ครั้ง แต่ไม่เคยอยู่ตอนที่รัฐบาลกระชับพื้นที่ (หัวเราะ) อภิสิทธิ์เป็นคนพูดจาดี กระชับพื้นที่คือสลายการชุมนุมนั้นแหละ ผมไปชุมนุมที่กรุงเทพฯ 3 ครั้ง แต่ละครั้งจะอยู่ 10 วัน โดยจะเดินทางโดยรถกระบะ ไปร่วมกับพี่น้องในหมู่บ้าน
ค่าใช้จ่ายการร่วมชุมนุมมาจากไหน โดยส่วนตัวตั้งแต่ร่วมต่อสู้กับพี่น้อง นปช.อย่างเข้มข้นมาตั้งแต่เดือนมีนาคม ผมขายวัวไป 2 ตัวแล้ว ส่วนเงินทุนอื่นพี่น้องนปช.มีการสนับสนุนกันหลายรูปแบบ เช่น พี่น้องนปช.ที่ขับรถกระบะบรรทุกคนเข้าร่วมชุมนุมที่ไปลงทะเบียนที่ศูนย์อำนวยการ นปช.วังน้อย จะได้รับเงินสนับสนุนเป็นค่าน้ำมัน 5,000 บาท เป็นเงินของสายการเมือง แต่ในความเป็นจริงเงินแค่ 5,000 บาท ไม่คุ้มค่าหรอกสำหรับคนที่เอารถตัวเองไปร่วมชุมนุม แต่ทุกคนเขาไปกันด้วยใจ สำหรับผมและพี่น้องทางสกลนคร ไม่ได้ไปลงทะเบียนที่วังน้อย พวกเราที่เป็นเครือข่ายกันในภาคอีสานจะระดมเงินทุนบริจาคในหมู่บ้าน พวกเราจัดทำผ้าป่าประชาธิปไตยในพื้นที่มุกดาหาร สกลนคร ขอนแก่น ชุมแพ ใช้รถกระจายเสียงประกาศขอรับจากพี่น้อง ใครมีมากให้มาก มีน้อยให้น้อย 5 บาท 10 บาทเราไม่ว่ากัน บางคนก็บริจาคเป็นข้าวสาร ใครมีอะไรก็ให้มา เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นหลักการธรรมดาของนปช.ใครมีอะไรก็ให้ช่วยเหลือกัน
กิจกรรมอื่นๆ นอกจากร่วมชุมนุมในกทม.มีหรือไม่ ก่อนมีประกาศ พรก.กลุ่มคนที่มีปัญหาเรื่องที่ดิน จะมีประชุมกันทุกเดือน เป็นการประชุมร่วมกับภาครัฐ พูดคุยเรื่องสถานการณ์บ้านเมืองไทยเป็นประจำ กลุ่มพวกผมที่ทำเรื่องที่ดินในสกลนครมี 400-500 คน ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมายังไม่มีการจัดเวทีประชุมเรื่องที่ดิน ผมเองก็ไม่ได้มีเวลาว่างสำหรับปัญหาที่ดิน เพราะผมต้องเข้าร่วมกับขบวนใหญ่ของคนเสื้อแดง
คิดอย่างไรต่อสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน ผมเพิ่งได้รับรู้ความจริงก็วันนี้แหละ วันที่นปช.ร่วมกันต่อสู้จริงจัง ทุกปัญหามันเกี่ยวข้องกันทั้งหมด แยกออกจากกันไม่ได้เลย เพราะต้นตอของปัญหามันเกิดจากอันเดียวกัน ที่ผ่านมาผมไปเรียกร้องปัญหาที่ดินที่ทางปลายเหตุปัญหาก็เลยแก้ไขไม่ได้ ผมต่อสู้เรื่องที่ดินมานานแต่ไม่เคยรู้อะไร มาถึงบางอ้อว่าคนบางคนมีที่ดินมาก และมีที่ดินหลวง ที่ดินว่างเปล่าที่เขาใช้ประโยชน์กันเยอะมาก ปัญหาที่ดินของผมเลยไม่ได้รับการแก้ไข ความไม่เท่าเทียมในสังคมมีเยอะมาก ถ้าพูดกันถึงนโยบายก็คือว่าพี่น้องที่ร่วมต่อสู้กับ นปช.เป็นที่น้องที่ได้รับนโยบายที่ไม่เท่าเทียมอย่างทั่วถึง เช่น อาสาสมัครของราชการ อสม.ได้ค่าตอบแทน แต่ อพปร.ก็เป็นอาสาสมัครเหมือนกันแต่ไม่ได้ค่าตอบแทน ฯลฯ เบี้ยสำหรับคนมีรายได้ต่ำ รัฐบาลประชาธิปัตย์จ่ายให้สำหรับคนทำงานในระบบและมีเงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท แต่ชาวบ้านที่เงินไม่ถึง 1,500 บาท รัฐบาลไม่เคยให้อะไร ฯลฯ คราวนี้คนจนคงต้องหมดไปจริงๆแล้ว แรงงานอกระบบ แรงงานภาคเกษตรที่ทำการผลิตป้อนให้ระบบอุตสาหกรรมไม่เคยได้รับการเหลียวแล ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีการประกันรายได้ ไม่มีเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย ความจริงเป็นทุกรัฐบาล แต่รัฐบาลนี้ไม่สนใจเหลียวแลเลย หลังจากเข้าร่วมกับนปช. ทำให้ผมเห็นว่าประเทศไม่ได้มีปัญหาแค่เรื่องที่ดิน น้ำท่วม ภัยแล้ง มีปัญหาอีกหลายอย่างในสังคมไทย เราต้องร่วมกันต่อสู้กับโครงสร้างทางสังคม ไม่เช่นนั้นทุกปัญหาจะยังเป็นปัญหาต่อไป
คิดอย่างไรหลังรัฐบาลใช้อาวุธสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง พวกเราไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ผมเองไม่อยากเชื่อว่ารัฐบาลจะทำ จะกล้าทำ กล้าฆ่าคน ในเมื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศเขาชนะการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเราไม่สนใจเสียงส่วนน้อยของประเทศ แต่เสียงส่วนน้อยของประเทศมีโอกาสมากกว่าพวกเราอยู่แล้ว การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย มันคือความจริงที่ประชาชนต่อสู้เพื่อทักษิณ แต่ไม่ใช่ต่อสู้เพื่อตัวบุคคล เรื่องสังคมต้องทำความเข้าใจ ครั้งหนึ่งชาวบ้านเลือกทักษิณเพราะมีนโยบายถูกใจ ครั้งนี้คนเสื้อแดงสู้กับระบบ ไม่ได้สู้เพื่อทักษิณ คนเสื้อแดงรู้จักประชาธิปไตย สู้เพื่อประประชาธิปไตย คนที่อ้างว่าคนเสื้อแดงสู้เพื่อทักษิณนั้นแหละ คือคนที่ไม่รู้จักประชาธิปไตย ไม่ได้พูดถึงระบบ พวกเขากลัวทักษิณ พวกเขากลัวประชาธิปไตย คนเสื้อแดงเพียงแต่ไปต่อสู้เพื่อให้รัฐบาลยุบสภา ผมว่าข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดงชัดเจนมากๆ มากกว่าการสู้ของภาคประชาชนที่ผ่านมา คนเสื้อแดงในตอนนี้ต้องการแค่เลือกตั้ง ไม่ต้องการให้อำมาตย์และทหารมาแทรกแซงการเมือง คนเสื้อแดงได้แสดงออกชัดเจนว่าพวกเขายืนหยัดต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย โดยไม่เคยร้องขออำนาจเหนือมาสนับสนุนการเคลื่อนไหว
คนเสื้อแดงกับคุณทักษิณมีควมสัมพันธ์กันอย่างไร โดยส่วนตัวผมเข้าร่วมกับกระบวนการเสื้อแดงเพราะเห็นความไม่เป็นธรรมของสังคม การเลือกตั้งที่ผ่านมาผมไม่เคยเลือกพรรคการเมืองไทยเลย ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าคนเสื้อแดงคือทักษิณ แต่อย่างที่ผมบอกไปแล้วว่าทำไมประชาชนถึงทำเพื่อทักษิณ แต่ปรากฏการณ์ในปัจจุบันคือ ทักษิณไม่ได้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเสื้อแดงอีกต่อไป ไม่ได้เข้มข้นเหมือนที่เคย บนเวทีนปช.กลางช่วงหลังไม่ได้พูดถึงทักษิณ หลังการเจรจาระหว่างรัฐบาลและตัวแทนนปช. ไม่ได้มีทักษิณเป็นเงื่อนไขต่อรอง ข้อเสนอของนปช.ก็ไม่มีอะไรเกี่ยวกับทักษิณ เพราะข้อเสนอเดียวคือยุบสภา แต่รัฐบาลเบี่ยงประเด็นมาตลอด สิ่งที่คนเสื้อแดงชัดเจนในเวลานี้ คืนอำนาจให้ประชาชนทุกคน เสื้อเหลือง เสื้อหลากสีก็จะได้อำนาจคืนเช่นกัน จากนั้นทุกคนร่วมกันตัดสินใจใหม่อีกครั้ง บนพื้นฐานกติกาปกติ ผมว่าคนเสื้อแดงชัดเจนในการต่อสู้ไม่มีทักษิณมวลชนก็เพิ่มขึ้นทุกวัน ทุกคนในสังคมเห็นแต่ไม่ยอมรับ เป้าหมายของคนเสื้อแดงคือ ยุบสภา เป็นจุดเริ่มต้นของประชาธิปไตย จากนั้นค่อยประสานให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมกันแก้ไขกฎกติกาที่ใช้ไม่ได้ ไม่ใช่ยังไม่ยุบสภาเชิญผู้เชี่ยวชาญมาแก้กฎกติกา ทำแบบนี้ไม่ยุติธรรมกับคนเสื้อแดง และไม่มีความเป็นได้ตามหลักการประชาธิปไตย ชาวบ้านไม่ยอมรับแน่นอน การอนุมัติงบประมาณของรับอภิสิทธิ์ที่ให้กระทรวงเกษตร 70,000 ล้าน แต่ให้ กลาโหม 170,000 ล้านบาทก็สร้างความไม่พอใจให้แก่เกษตรมากพอแล้ว สำหรับประเด็นทักษิณ กับคนเสื้อแดง ผมคิดว่าต้องมองกันตั้งแต่ตอนที่ตั้งพรรคการเมือง ทักษิณได้ไปรวมเอาคนที่เคยต่อสู้และทำงานกับประชาชนมานาน เช่น กลุ่มคุณจาตุรนต์ ฉายแสง เข้าเป็นพรรคพวก จากนั้นได้จัดเวทีระดมความต้องการเขา ประชาชนในระดับจังหวัด ภาคอีสานมีโคราช ขอนแก่น สกลนคร อุบลราชธานี อุดรธานี จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ที่ได้จากเวทีไปประมวลและสังเคราะห์ออกมาเป็นนโยบาย เลยกลายเป็นนโยบายที่ถูกใจประชาชน ซึ่งชัดเจนว่าประชาชนเลือกนโยบาย เมื่อเลือกตั้งเข้ามาแล้วทักษิณทำตามนโยบายที่ใช้หาเสียง หลายคนเรียกว่าประชานิยม แต่สำหรับประชารากหญ้าคือนโยบายที่จับต้องได้ ส่งผลให้เลือกตั้งกี่ครั้งทักษิณและพรรคพวกก็ได้รับการยอมรับจากประชาชน สำหรับผมในฐานะเอ็นจีโอชาวบ้าน ผมไม่พอใจทักษิณเรื่องการฆ่าตัดตอน มีการตั้งเวทีวิพากษ์วิจารณ์ แต่ผมพอใจการบริหารของทักษิณมากว่ารัฐบาลอื่นๆ ที่ดินในเขตป่ามีกระบวนการเจรจาให้ทำมาหากินร่วมกันได้ เผด็จการรัฐสภาไม่ค่อยเห็นแก่ตัวเท่าไหร่เมื่อเทียบกับเผด็จการซ่อนรูป ผมว่าประชาชนรากหญ้ารักทักษิณไม่ผิดหรอก เพราะต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาไม่รัฐบาลไหนที่จะสนใจชนบทขนาดนี้
"ไพร่" ในความเข้าใจ คืออะไร คนทำงานหนัก ใช้แรงงาน ลงแรงเยอะ ลงทุนมาก แต่กินไม่อิ่ม
แล้ว "อำมาตย์" ล่ะ กลุ่มคนที่ไม่ต้องทำงานหนัก แต่กินอิ่ม สุขสบาย
คำว่าสองมาตรฐานในความเข้าใจว่าอย่างไร พันธมิตรบุกยึดสนามบินผ่านไป 1 ปีคดียังไม่มีความคืบหน้า แต่ปนช. ติดคุกทันที กรุงเทพฯประกาศ พรก.ฉุกเฉิน คนเสื้อแดงชุมนุมถือว่าผิดกฎหมาย แต่คนหลากสีสามารถชุมนุมได้ จัดเตรียมสถานที่สำหรับให้คนหลากสีได้ให้กำลังใจรัฐบาล แล้วมากล่าวอ้างว่านปช. ไม่ได้ชุมนุมทางการเมือง
คิดว่าการทำหน้าที่ของทหารเป็นอย่างไร ในช่วงที่ผ่านมา
แล้วการทำหน้าที่ของสื่อสารมวลชนล่ะ สื่อไม่มีความเป็นกลาง เอียงข้างไปรับใช้สถาบันทางการเมือง ประชาชนถูกยัดเยียดให้รับข้อมูลด้านเดียว เช่น นำเสนอความรุนแรงของคนเสื้อแดงฝ่ายเดียว ซึ่งย่อมส่งผลโดยตรงต่อความคิดความเชื่อของประชาชนที่ไม่ได้เข้าร่วมกับกระบวนการคนเสื้อแดง ทำให้เกิดอคติและความเกลียดชัง แต่สำหรับผู้ที่เข้าร่วมกับกระบวนการไม่มีปัญหา ทุกอย่างเห็นชัดแจ้งแดงแจ๋ด้วยตาตัวเอง
การทำงานของพรรคการเมือง ? พรรคการเมืองไทยในปัจจุบันไม่สามารถคาดหวังให้มาแก้ไขปัญหาประชาชน เป็นเรื่องยากที่จะคาดหวังอะไรจากพรรคการเมืองไทย ทางออกคือประชาชนต้องเข้มแข็ง มีการรวมกลุ่มเพื่อคานอำนาจ สร้างนโยบายเสนอฝ่ายการเมือง ประชาชนต้องกำกับดูแลการทำงานของพรรคการเมืองอย่างใกล้ชิด ทำงานควบคู่กันระหว่างประชาชนและพรรคการเมือง
การทำหน้าที่ของตุลาการ ? ตุลาการภิวัตน์ ไม่มีความเป็นธรรม ไม่มีความเป็นกลาง เอื้อประโยชน์ให้ผู้ที่มีอำนาจเหนือ ไม่ใช่กระบวนการยุติธรรมของประชาชน
ความคิดเห็นต่อการทำหน้าที่องคมนตรี ? ไม่มีความเป็นธรรม ไม่มีความเป็นกลาง เอื้อประโยชน์ให้ผู้ที่มีอำนาจเหนือ เข้าร่วมกับฝ่ายการเมือง โดยใช้ทหารเป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจ
บทบาท NGOs ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ผมเคยทำงานกับเอ็นจีโอ ผมเองก็เป็นเสมือนเอ็นจีโอชาวบ้าน ผมมองว่าการทำงานแบบเอ็นจีโอคือการทำงานแบบแยกประเด็น ทำแต่เรื่องของตัวเอง ไม่พูดถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง ทำหน้าที่บริหารโครงการเป็นหลักไม่ได้คิดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เอ็นจีโอถือว่าเป็นองค์กรที่ล้าหลัง สโลแกนยังคงเป็นคำตอบอยู่ที่หมู่บ้านเหมือนเดิม ยังคงนอนอยู่บ้านทั้งที่ชาวบ้านไปนอนห้องถนน ไม่อยากไปพูดถึงเลย ทำตัวเหมือนส.ส.นั่นแหละถ้าต้องการอะไรถึงลงไปหาชาวบ้าน
แล้วการทำงานของกลุ่มปฏิรูปประเทศไทย ? ปฏิรูปไม่ต้องพูดถึงแล้ว สังคมไทยในเวลานี้ต้องปฏิวัติ ปัจจุบันคนที่พูดถึงการปฏิรูปทุกวันนี้คือคนที่สนับสนุนรัฐบาลทั้งนั้น ตัวผมเองเสียใจมากนะเพราะหลายคนผมรู้จัก พวกเราเคยทำงานร่วมกัน
บทบาทของคณะกรรมการสิทธิฯ ทุกองค์ไม่มีความเป็นคนอีกแล้ว ไม่มีความเป็นธรรมและความเป็นกลางในสังคมไทย เสื้อเหลืองถูกกระทำกรรมการสิทธิฯจริงจังกับการทำงาน เสื้อแดงถูกกระทำไม่มีคณะกรรมการคนไหนอ้าปากพูดซักคำเดียว สรุปคือเอียงตามอำนาจเหมือนกันทั้งหมด
ความคิดเห็นต่อการทำหน้าที่ของนักวิชาการ เป็นที่รู้กันดีมาอย่างเนิ่นนานว่านักวิชาการส่วนใหญ่อยู่ห่างความเป็นจริง มีนักวิชาการส่วนน้อยมากที่เห็นความจริงและอยู่ใกล้ชิดกับชาวบ้าน แต่กลับเป็นนักวิชาการที่ไม่มีเสียง พูดอะไรสังคมไม่ได้ยิน นักวิชาการ นักเคลื่อนไหวอย่างพิภพ ธงชัย สุริยะใส กะตะศิลา เมื่อก่อนอยู่กับสมัชชาคนจน ผมเห็นพวกเขา พวกเราเคยนั่งกินเหล้าด้วยกัน พวกเขากินกับชาวบ้าน แต่วันนี้ก็อย่างที่เห็น ผมว่าชาวบ้านโดยเฉพาะกลุ่มคนที่เคยต่อสู้กับปัญหามาก่อนเห็นภาพสังคมไทยชัดเจนมากในเวลานี้
แล้วอย่างการทำหน้าที่ขององค์กรทางศาสนา เท่าที่เห็นในปัจจุบันยังไม่ชัดเจน ถึงแม้จะมีพระเข้าร่วมกับกระบวนการเสื้อแดงบ้าง องค์กรศาสนาก็มีกลุ่มก้อนไม่ต่างจากสถาบันทางการเมือง มียศถาบรรดาศักดิ์ อันนี้ไม่แน่ใจ ต้องยอมรับว่าทุกสถาบันในสังคมไทยเวลานี้มีแต่ความแตกแยก เด็กในหมู่บ้านผมพ่อแม่เป็นเสื้อแดง ลูกอยู่บ้านรับรู้เรื่องราวคนเสื้อแดง พอไปถึงโรงเรียนครูเป็นเหลืองก็พูดจาแบบเสื้อเหลือง เด็กสับสน แม้แต่ในโรงเรียนบรรยากาศยังไม่เหมาะกับการเรียนรู้
คิดอย่างไรกับสลายการชุมนุมที่ผ่านมา โดยส่วนตัวรู้ว่ารัฐบาลไม่ยอมง่ายๆ ต้องมีการสลายแต่ไม่คิดว่าจะฆ่าคนตายแบบนี้ เพราะกลุ่มคนที่แต่งตั้งนายอภิสิทธิ์ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ยอมแน่นนอน ไม่ยอมลงจากอำนาจ แต่คาดไม่ถึงว่าจะเสียหายขนาดนี้ ผู้ชุมนุมโดยรวมเสียขวัญกำลังใจ ช่วงนี้คนเสื้อแดงต้องให้กำลังใจกัน ไปร่วมงานศพ ใช้วัฒนธรรมนำการเมือง ทำบายศรีสู่ขวัญให้กับคนตายคนเจ็บ
คิดอย่างไรกับการเผาห้างและสถานที่ราชการ สิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริงของสังคมไทย ผมไม่ตั้งคำถามว่าใครเผา ที่ผ่านมาไทยหลอกตัวเองและชาวโลกมาตลอดว่าเป็นสยามเมืองยิ้ม ที่ผ่านมีแรงกดดันในสังคมไทยเยอะมากที่ถูกส่งต่อไปให้รัฐบาลและได้ถ่ายทอดความกดดันมาสู่ผู้ชุมนุม ซึ่งทั้งหมดล้วนปรากฏชัดเจนว่าสังคมไทยต้องการความรุนแรง ปรากฏชัดเจน ผมไม่มีคำถามว่าใครทำ ทำไมถึงทำ มันเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่คนไม่มีทางเลือกสามารถแสดงออกได้ รัฐบาลจะได้รู้ว่าตัวเองแก้ไขปัญหาผู้ชุมนุมผิดพลาด ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ แล้วรัฐบาลจะเอาปรากฏการณ์ 19 พ.ค. มาเป็นตัวตัดสินปัญหาทั้งหมดไม่ได้ ชาวบ้านถูกรัฐบาลสั่งสมความรุนแรงมาตั้งแต่ 19 กันยา 2549 ความรุนแรงเกิดขึ้นที่รัฐบาล เมื่อรัฐบาลส่งทหารไปยิงประชาชน วันที่ 28 เมษายน คนเสื้อแดงปทุมจะไปเยี่ยมคนเสื้อแดงที่ถูกจับตัวก็ถูกดักทำร้ายระหว่างทาง ความรุนแรงเกิดจากทหารใช้กระสุนจริง ทหารไม่ได้ถูกฝึกมาให้ดูแลการชุมนุม ทหารคือสัญลักษณ์ของการปราบปรามอริราชศัตรู เพราะฉะนั้นทั้งหมดของความรุนแรงรัฐบาลเป็นผู้สร้างขึ้น ทำให้เกิดขึ้น การชุมนุมในอดีตถ้ารัฐบาลประกาศสลายการชุมนุมคนจะน้อยลง คนจะกลัว แต่ในครั้งนี้ผู้ชุมนุมไม่กลัว คนที่อยู่กรุงเทพฯ สู้เต็มที่ คนที่ไม่สามารถไปร่วมที่กรุงเทพฯได้ก็ออกมาที่ศาลากลาง ไม่มีการประสานงาน ไม่มีคนจัดตั้ง ผมว่าประชาชนแสดงออกชัดว่าพวกเขาไม่ต้องการให้ข้าราชการภายใต้การนำของนายกอภิสิทธิ์ปกครองอีกต่อไป สำหรับผมถึงแม้รัฐบาลจะไม่ยุบสภาแต่การตื่นตัวทางการเมือง การเข้ามาร่วมกิจกรรมทางการของพี่น้องรากหญ้าคือชัยชนะระหว่างที่ยิ่งใหญ่กว่ารัฐบาลยุบสภา
รู้สึกอย่างไร ที่แกนนำ นปช.ถูกจับ รัฐบาลทำเกินไป รัฐธรรมนูญระบุไว้ชัดเจนว่าประชาชนมีสิทธิชุมนุมทางการเมืองได้โดยสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ ดังนั้นถ้าต้องการจับแกนนำปนช.ต้องจับโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายปกติ เช่น กีดขวางทางจราจร ไม่ใช่ตามกฎหมายพิเศษ โดยตั้งผู้ข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ล้มล้างสถาบัน เป็นข้อกล่าวหาที่เกินไป เป็นข้อกล่าวหาที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างความชอบธรรมในการใช้กำลังทหาร เป็นข้อกล่าวหาที่รัฐบาลใช้ทำลายคู่ต่อสู้ทางการเมืองเสมอ ไม่ต่างอะไรจากตุลาฯ ประเด็นนี้พี่น้องนปช.ต้องนำมาสรุปบทเรียนเพื่อวางแผนต่อสู้กับการใส่ร้ายป้ายสี ปิดสื่อ ล้อมปราบ
สถานการณ์ในพื้นที่ช่วงสลายการชุมนุมเป็นอย่างไรบ้าง วันที่ 8 เมษายน ผมออกจากพื้นที่ชุมนุมกทม.เพื่อไปร่วมประชุมที่มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) จากนั้นวันที่ 9 เมษายน ผมกลับมาที่ขอนแก่น วันที่ 10 ประชุมที่ขอนแก่น เพื่อนที่กรุงเทพฯโทรศัพท์มาบอกว่าเริ่มปราบปรามแล้ว และมีคนโดนยิงตายตั้งแต่เวลา 15.00 น. ความรู้สึกของผมตอนนี้มันว่างเปล่า ผมกำลังคิดถึงรัฐบาลปราบปรามประชาชนที่ประกาศชุมนุมด้วยมือเปล่า ตอนนี้ยังไม่มีเงื่อนไขที่จะนำไปสู้การปราบปรามด้วยอาวุธเลย ผมเสียใจมากที่ไม่ได้อยู่ร่วมต้อสู้กับคนอื่นๆ เพราะตามแผนเดินผมวางไว้คือเช้าของวันที่ 10 ผมจะเข้ากรุงเทพฯ แต่นักเคลื่อนไหวที่ผมรู้จักโทรมาบอกว่าไม่ต้องเข้า ผมจึงเดินทางไปร่วมชุมนุมที่ศาลากลางสกลนคร และพอกรุงเทพฯถูกสลายชาวบ้านอยู่ต่างจังหวัดก็ไปรวมตัวกันที่ศาลากลางโดยไม่ได้การนัดหมาย ภายหลังวันที่ 10 เม.ย. เงื่อนไขทางสังคมเริ่มเพิ่มขึ้น มีกลุ่มเสื้อหลากสีที่บอกว่าตัวเองเป็นพลังเงียบในสังคมต้องการความสงบ แต่ในความเป็นจริงคือสนับสนุนรัฐบาล บวกกับชาวบ้านถูกสกัดกั้นไม่สามารถเข้าร่วมการชุมนุมที่กทม.ได้ จึงได้ไปชุมนุมที่ศาลากลางเพื่อแสดงพลังสนับสนุนคนเสื้อแดง หลัง 25 เม.ย. ในพื้นที่มีการเคลื่อนไหวกันตลอด ผมไม่ได้ไปกรุงเทพฯ อีกเลย เพราะภารกิจในพื้นที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ช่วงนี้สัญญาณสื่อสารถูกปิดกั้น ผมทำจึงทำหน้าที่สื่อสารในพื้นที่กับชาวบ้านผ่านแผ่นซีดีที่พรรคพวกอยู่กรุงเทพฯนำมาให้ ผมและพรรคพวกจัดเวทีเวียนไปเรื่อยๆ ในเขตอ.เขาวง อ.ภูพาน ศาลากลาง หลังเสธ.แดงถูกยิง การชุมนุมเข้มข้นขึ้น มีข่าวปล่อยว่ารัฐจะสลายตลอดเวลา ในพื้นที่สกลนครก่อนวันที่เสธ.แดงตายมีข่าวปล่อยว่าเปรมตาย ชาวบ้านทุกคนดีใจมากๆ แต่พอวันต่อมาชาวบ้านได้รับรู้ว่าเสธ.แดงตายก็เสียใจมาก ต้องยอมรับผู้ชุมนุมในกรุงเทพฯเริ่มรู้สึกไม่ปลอดภัยหลังเสธ.แดงตาย เพราะตอนเสธ.แดงอยู่พวกเราเชื่อว่าทหารไม่กล้าใช้กำลัง
แสดงว่าในพื้นที่ชุมนุมมีกองกำลังคุ้มครองจริง การชุมนุมของ นปช.ครั้งนี้ประกาศชัดเจนว่า นปช.แดงทั้งแผ่นดินจะยึดแนวทางสันติ ส่วนแดงสยาม หรือเสธ.แดงถ้าอยากใช้ความรุนแรงให้แยกตัวออกจากขบวน ประเด็นกองกำลังชุดดำซึ่งภายหลังยกระดับเป็นผู้ก่อการร้ายเป็นเรื่องที่รัฐบาลสร้างขึ้น ผมอยู่ในที่ชุมนุม 30 วัน เห็นคนใส่ชุดดำซึ่งเป็นการ์ดเดินไปมาตลอดเวลา บางคนมีวิทยุสื่อสาร บางคนมือเปล่า แต่ผมไม่เคยเห็นใครถือปืน หลังรัฐบาลใช้กำลัง 10 เมษายนพวกเราเริ่มเชื่อแล้วว่ารัฐบาลปราบแน่ๆ แต่ผู้ชุมนุมไม่มีทางเลือก จำเป็นต้องต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย สิ่งที่ปรากฏชัดเจนในวันที่ 19 พ.ค. คือ ผู้ชุมนุมไม่กลัวถึงแม้รัฐบาลจะประกาศสลายการชุมนุมก็ตาม และถึงแม้แกนนำจะประกาศยุติการชุมนุม ผู้ชุมนุมก็ยังไม่ยินดีออกจากพื้นที่ การปราบปรามที่รุนแรงไม่ได้ทำให้ผู้ชุมนุมกลัว การสู้ต่อของคนเสื้อแดงข้ามเส้นความตาย แต่ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจะฆ่าทิ้งได้ฟรีๆ คนเสื้อแดงชนะทางการเมือง แต่แพ้ทางการทหาร เพราะไม่คาดคิดว่ารัฐบาลจะใช้อาวุธ การต่อสู้เพิ่งเริ่มต้น ผู้ชุมนุมเชื่อว่าเลือกตั้งใหม่อีกกี่รอบพวกเราก็จะชนะการเลือกตั้ง หลังเหตุการณ์ 19 พ.ค. ชาวบ้านที่ตลาดมุกดาหารบางส่วนเริ่มโต้ตอบรัฐบาลด้วยวิธีการสันติ เช่น ไม่ค้าขายกับทหาร จะไม่เสียรายภาษีได้ส่วนบุคคล ฯลฯ
แต่ก็มีทหารแตงโม ตำรวจมะเขือเทศ ทหารแตงโมกับตำรวจมะเขือเทศคาดหวังได้เพียงแค่เรื่องข่าววงใน ไม่คิดว่าพวกเขาจะขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา พวกเขาเป็นกลไกหลักของรัฐที่ได้รับคำสั่งให้มาจัดการคนเสื้อแดงอยู่แล้ว ทหารเมื่อนายสั่งยิงต้องยิงถ้าไม่ยิงเขาต้องโดนยิง นปช.ต้องทำงานกับทหารที่เป็นลูกหลานตัวเอง
มีแนวทางต่อสู้ในอนาคต อย่างไร ผมคิดว่าคนเสื้อแดงจะปล่อยให้ถูกกระทำอยู่ฝ่ายเดียวไม่ได้ พวกเราเริ่มคุยกันเรื่องติดอาวุธทางปัญญาเพื่อสร้างสภาพจิตใจให้เข้มแข็ง มีใจต่อสู้อย่างมุ่งมั่น เพราะปัจจุบันรัฐบาลส่งคนมาติดตามปราบปรามในพื้นที่ คนที่ถูกหมายเรียกไม่ไปมอบตัว ไม่ยอมรับกระบวนการเยียวยาแบบรัฐบาลมีโอกาสถูกฆ่าทิ้ง
ชีวิตหลังมีหมายเรียก เปลี่ยนไปมากไหม ไม่เหมือนชีวิตปรกติแน่นอน แต่ผมสามารถอยู่ได้สบายดี ถึงแม่จะอยู่บ้านตัวเองไม่ได้ก็ตาม ผมอาศัยอยู่ตามบ้านเพื่อนที่เคยเคลื่อนไหวเรื่องที่ดีด้วยกัน ผมดีใจที่เพื่อนผมช่วยเหลือเราในยามตกยาก ตอนนี้ที่ จสกลนครมีคนได้รับหมายเรียก 3 คน เป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. 1 คน พราหมณ์ทำพิธีเทเลือด 1 คน และก็ผม จะต้องปรึกษากันว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะต้องสู้ด้วยกัน ไปคนเดียวเสร็จรัฐบาลแน่ๆ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ดึงศาลร่วมแก้ปัญหาละเมิดสิทธิ์ในคดีความมั่งคงชายแดนใต้ Posted: 10 Jun 2010 01:06 PM PDT <!--break--> นับจากการตายของ ‘สุไลมาน แนซา’ ผู้ต้องสงสัยตามหมายพรก.ฉุกเฉินตายปริศนาในค่ายอิงคยุทธฯ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา นับเป็นรายที่สอง ที่ผู้ต้องสงสัยเสียชีวิตระหว่างการควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหาร ต่อจากกรณีอิหม่ามยะผา คาเซ็ง เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงกระบวนการยุติธรรมภายใต้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ชายแดนใต้อย่างมาก รายงานข่าวแจ้งว่า ศชต- ศป.กตร.สน สรุปรายงานการปฏิบัติงานตั้งแต่ 21 กค. 2548 – 31 มีนาคม 2553 ได้ปิดล้อมตรวจค้นจำนวน 21,606 ครั้ง 42,737 เป้าหมาย ออกหมายจับตามพ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 4,171 หมาย จับกุมผู้ต้องสงสัย 2,962 หมาย ปิดล้อมปะทะคนร้ายเสียชีวิต 46 คน ทั้งนี้ ตั้งแต่เกิดเหตุความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ปี 2547 พื้นที่นี้อยู่ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายพิเศษ 3 ฉบับ คือ พ.ร.บ.กฎอัยการศึก 2457 พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 และพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 2551 โดยบังคับใช้แล้วในพื้นที่ 4 อำเภอของจ.สงขลา คือ จะนะ เทพา สะบ้าย้อย และนาทวี นายสิทธิพงษ์ จันทร์วิโรธ เลขาธิการศูนย์ทนายความมุสลิม เปิดเผยว่า ขณะนี้มีชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนเข้ามาที่ศูนย์มากกว่า 1,000 คดี โดยทั้งหมดที่มาร้องเรียนเป็นชาวไทยมุสลิมทั้งหมด เนื่องจากรัฐตั้งธงว่าในสถานการณ์การก่อความไม่สงบในพื้นที่นี้ มีมูลเหตุจูงใจในการแบ่งแยกดินแดนโดยอาศัยเงื่อนไขเรื่องชาติพันธุ์และศาสนา การบังคับใช้กฎหมายพิเศษด้วยข้อกล่าวหาพิเศษเพื่อความมั่นคงจึงสร้างผลกระทบและมีผลต่อการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนมาโดยตลอด นายสิทธิพงษ์ กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนตกอยู่ในสภาพหวาดวิตก ไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม เพราะโดยหลักแล้ว เมื่อถูกจับตามอำนาจตามกฎอัยการศึก ผู้ถูกกักตัวควรได้รับการปล่อยภายใน 7 วัน แต่กลับเป็นว่าเมื่อกักตัวครบ 7 วันแล้ว การ ‘ซักถาม’ ยังไม่พบการกระทำผิด ทหารก็จะมาขอออกหมายกับศาล ในฐานะผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบแทน ซึ่งเป็นอำนาจตามพรก.ฉุกเฉินฯ กลายเป็นแนวปฏิบัติว่าเจ้าหน้าที่สามารถใช้กฎหมายพิเศษ 2 ฉบับ ควบคุมตัวบุคคลได้ 37 วัน ทั้งๆ ที่ควรจะเป็นเพียง 7 วัน หรือ 30 วันแล้วแต่กรณี ซึงน่าจะเป็นการใช้กฎหมายซ้ำซ้อน เนื่องจากพรก.ฉุกเฉินฯ ได้กำหนดชัดว่าการควบคุมตัว จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีการมาขออนุญาตศาลเพื่อออกหมายจับ แต่เจ้าหน้าที่กลับใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกจับมาก่อน แล้วขออนุญาตศาลภายหลัง นายสิทธิพงษ์ กล่าวว่า หลายคนหลังจากการตรวจค้น และถูกควบคุมตัวด้วยกฎอัยการศึก ครอบครัวและญาติของผู้ต้องสงสัย ยากลำบากในการติดตามผู้ถูกควบคุมตัวเนื่องจากไม่ได้รับแจ้งว่าถูกกักหรือควบคุมตัวที่ใด จะรู้ก็ต่อเมื่อได้รับหมายศาล ‘หมาย ฉฉ’ ให้ควบคุมตัวต่ออีก วิธีการเหล่านี้ทำให้ผู้ถูกควบคุมตัวถูกจำกัดสิทธิ ไม่สามารถเข้าถึงทนายความเพื่อร่วมรับฟังการสอบปากคำ รวมทั้งไม่ให้ญาติเยี่ยม จนกระทั่งปรากฎว่ามีการฟ้องร้องกลับว่าระหว่างกระบวนการซักถามมีการซ้อมทรมานระหว่างการกักตัวหรือควบคุมตัวบ่อยครั้ง ฝ่ายกองทัพจึงมีนโยบายยกเลิกกฎห้ามเยี่ยม 3 วันแรกโดยญาต แต่ยังห้ามพบทนายความอยู่ นายสิทธิพงษ์ กล่าวอีกว่า ผู้ถูกควบคุมตัวบางราย เจ้าหน้าที่มักหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำในการประกันสิทธิเสรีภาพของผู้ถูกควบคุมตัว โดยอ้างระเบียบกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 (ระเบียบกอ.รมนฯ) ที่เปิดช่องการขอขยายเวลาการควบคุมตัว ไม่ต้องนำตัวผู้ถูกควบคุมมาที่ศาล ทำให้ทนายและญาติไม่มีโอกาสได้สังเกตดูตามเนื้อตัวร่างกาย จึงมีรายงานและร้องเรียนการซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัวตามกฎหมายพิเศษเพื่อให้รับสารภาพจำนวนมาก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 11-13 มิถุนายนนี้ นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วชิระ กรรมการสิทธฺมนุษยชนแห่งชาติ และอนุกรรมการภาคใต้ ลงพื้นที่จังหวัดปัตตานี เพื่อติดตามปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในมิติต่างๆ ในคดีความมั่นคงภายใต้กฎหมายพิเศษ และเตรียมเข้าพบแม่ทัพภาค 4 เพื่อต่อรองให้มีนโยบายแจ้งญาติและครอบครัวทันที หลังการทำการบุกตรวจ และควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยว่านำไปกักหรือควบคุมตัวที่ใด เพื่อครอบครัวจะได้ไม่เป็นกังวลว่าถูกอุ้มหาย ถูกควบคุมตัวโดยมิชอบ หรือถูกลวงไปฆ่านอกกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งมาฟังข้อเท็จจริงการเสียชีวิตของนายสุไลมาน นอกจากนี้จะมารับฟังรายงานข้อเสนอต่อฝ่ายตุลาการต่อกระบวนการยุติธรรมโดยศูนย์ทนายความมุสลิม เพื่อผลักดันให้เป็นไปตามกรอบกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ที่ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีย่อมผูกพันในการประกันสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน แม้ในภาวะฉุกเฉิน ข้อเสนอต่อฝ่ายตุลาการต่อกระบวนการยุติธรรม คดีความมั่นคง โดยศูนย์ทนายความมุสลิม เช่น กรณีการออกหมายจับตามพรก.ฉุกเฉินฯ พยาน หลักฐานที่เจ้าหน้าที่ได้เสนอให้มีการออกหมายจับนั้น ศาลควรเรียกมาไต่สวนให้ทราบสาเหตุของการขออำนาจการจับกุมนั้น ควรกำหนดมาตรการในการให้ผู้ควบคุมตัวทำรายงานแสดงสถานะปัจจุบันของผู้ถูกควบคุมตัวต่อศาล เพื่อให้มีการจัดตั้งสารบบในการแจ้งสถานะอันนำไปสู่การป้องกันมิให้มีการออกหมายจับซ้ำ และขั้นตอนในการปลดหมาย การขยายระยะเวลาการควบคุมตัว ควรนำขั้นตอนของข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณท์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือหมายอาญา พ.ศ. 2548 มาบังคับใช้ โดยกำหนดให้มีการนำตัวผู้ถูกควบคุมตัวมาศาลเพื่อทำการไต่สวนว่าผู้ถูกควบคุมตัวนั้นจะคัดค้านการขยายระยะเวลาการควบคุมตัวหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันนี้ศาลยึดเอาแนวทางของระเบียบกอ.รมน.ฯ มาปฏิบัติ ซึ่งมีลำดับศักดิ์ทางกฎหมายด้อยกว่าพรก.ฉุกเฉินฯ ประมวลกฎหมายอาญาฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตรภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า 6 ปีกว่าในสถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ มีผู้เสียชีวิตกว่า 4,000 คน และบาดเจ็บนับหมื่นคน รัฐจำเป็นต้องเรียกผู้ต้องหาในคดีความมั่นคงหรือกลุ่มขบวนการที่ก่อเหตุว่า “ผู้ก่อความรุนแรง” ไม่ยกระดับเป็นผู้ก่อการร้ายเหมือนเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพฯ ที่ไม่ลังเลใจเรียก “ผู้ก่อการร้าย” เพราะในพื้นที่ชายแดนใต้นี้ กลุ่มขบวนการใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือรณรงค์ทางการเมือง โดยใช้ศาสนาและชาติพันธุ์เป็นเงื่อนไขสำคัญ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงเป็นการเมืองระหว่างประเทศได้ ดังนั้นรัฐต้องแสดงออกทุกวิถีทางว่า รัฐสามารถควบคุมเหตุการณ์และกุมสภาพการบังคับใช้กฎหมายได้ ท่าทีของรัฐที่ระมัดระวังการแทรกแซงจากองค์กรระหว่างประเทศนี้เอง ด้านหนึ่งก็ทำให้ไปละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนจำนวนมาก “ขณะเดียวกันรัฐไทยก็ขาดความชอบธรรมในนิติรัฐ เพราะทุกคนควรเท่าเทียมกันภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่เมื่อเลือกใช้กฎอัยการศึก พรก.ฉุกเฉินเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการบุกค้น กักตัวผู้ต้องสงสัย ความเสียหายที่เกิดขึ้น รัฐกลับออกกฎหมายห้ามเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐหากเกิดข้อผิดพลาดหรือเสียหายในการบังคับใช้กฎหมาย” อ่านเพิ่มเติม รายงานข้อเสนอต่อฝ่ายตุลาการต่อกระบวนการยุติธรรม ในคดีความมั่นคง ใน http://www.deepsouthwatch.org/node/523 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เสวนาร้อน“ฟังนักข่าวเล่าเรื่อง”: มุมมองคนทำข่าวVSคนรับข่าว เหตุการณ์นองเลือด พ.ค.53 Posted: 10 Jun 2010 12:45 PM PDT <!--break--> 10 มิ.ย.53 ที่ห้องประชุมคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดเสวนา “ฟังนักข่าวเล่าเรื่อง: จากราชดำเนินถึงราชประสงค์” โดยเป็นการฟังประสบการณ์จากนักข่าวภาคสนามที่เกาะติดสถานการณ์การชุมนุมของ นปช.ครั้งที่ผ่านมา จัดโดยศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไ
------------------ เสวนา รอบ 1 ----------------------- ฐปนีย์ จากช่องสาม กล่าวถึงการทำงานภาคสนามโดยเล่ากรณีเหตุการณ์ที่แยกศาลาแดงในคืนที่มีการยิงเอ็ม79 หลังจากนั้นมีกลุ่มวัยรุ่นสร้างสถานการณ์รุนแรง ไม่แน่ว่าเป็นฝ่ายไหน ตำรวจเข้าคุมสถานการณ์และวิ่งไล่ไปจนถึงจุดเกิดเหตุที่มีทหารอยู่และทหารไม่อนุญาตให้ตำรวจวิ่งตามต่อและใช้ปืนข่มขู่ เรื่องดังกล่าวนั้นตำรวจเล่าให้ฟัง พร้อมเอาภาพให้ดู ซึ่งใช้วิจารณญาณแล้วเห็นว่าภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉินและการขอความร่วมมือของศอฉ. ตลอดจนการที่ไม่มีภาพข่าวยืนยัน คงไม่สามารถนำเสนอผ่านทีวีได้และอาจเกิดผลกระทบหลายส่วน จึงใช้ทวิตเตอร์ส่วนตัวในการรายงานซึ่งเป็นเครื่องมือใหม่ที่ใช้กันโดยปกติเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกับเพื่อนนักข่าว แต่ข้อความของตนก็ถูกนำไปตั้งกระทู้ในพันทิปโดยสร้างความเข้าใจผิดว่าทหารเป็นฝ่ายใช้เอ็ม 79 นอกจากนี้แกนนำได้นำข้อความของตนไปเชื่อมโยงว่าทหารสร้างสถานการณ์ในคืนนั้น นี่จึงเป็นอันตรายอย่างหนึ่งของการใช้สื่อใหม่ที่ถูกนำไปบิดเบือนและเกิดผลกระทบมากมาย มีการขุดคุ้ยประวัติตนเองและกล่าวว่าในทางเสียหาย ซึ่งรู้สึกเสียใจเหมือนกันทั้งที่ทำหน้าที่เต็มที่ ตรงไปตรงมา แต่สถานการณ์ก็คลี่คลายเมื่อตำรวจออกมายอมรับว่าเป็นเรื่องจริงแต่น่าจะเป็นความเข้าใจผิดกันระหว่างเจ้าหน้าที่ หลังจากนั้นตนเองก็ถูกคำสั่งห้ามทำข่าวการชุมนุมเนื่องจากความเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย กระทั่งสถานการณ์คลี่คลายจึงเริ่มเกาะติดภาคสนามได้อีก สุรศักดิ์ จากบางกอกโพสต์ กล่าวว่า ได้ติดตามทำข่าวมาตั้งแต่การชุมนุมของเสื้อเหลืองจนถึงเสื้อแดง ซึ่งทำให้เห็นว่าเราไม่สามารถพูดถึงเสื้อแดงได้โดยไม่พูดถึงเสื้อเหลือง เพราะทั้งสองกลุ่มก็ใช้รูปแบบการเคลื่อนไหวมวลชนในทิศทางเดียวกัน ทั้งเสื้อเหลืองเสื้อแดงต่างก็มีความต้องการของตน ซึ่งรัฐบาลในสมัยนั้นๆ ก็ไม่ค่อยฟังเสื้อแดงเองก็ใช้รูปแบบยุทธวิธีทุกอย่างที่เสื้อเหลืองใช้ สำหรับการเกาะติดในพื้นที่นั้นตนเริ่มในช่วงสองสัปดาห์ก่อนการสลายการชุมนุม ซึ่งวันที่นักข่าวเริ่มกังวลกันมากคือวันที่เสธ.แดงถูกยิง ช่วงนั้นกองบก.มีนโยบายว่าไม่บังคับให้นักข่าวต้องลงสนาม แต่ตนก็ยังตัดสินใจเข้าพื้นที่ ส่วนสิ่งที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงคือวันที่ 18 พ.ค. ที่นักข่าวต่างจับตาว่าแกนนำจะประนีประนอมหรือไม่ หลัง ส.ว.เป็นตัวกลางในการเจรจาสันติภาพ ขณะที่ส.ว.แถลงข่าวและบอกว่าทหารไม่ได้ตั้งใจยิ่งผู้ชุมนุมนั้นเห็นได้ชัดว่าผู้ชุมนุมมีอารมณ์ต่อต้านที่รุนแรง แกนนำเริ่มคุมไม่ได้แล้ว และตนคิดว่าหากยุติการชุมนุมก็อาจควบคุมอารมณ์ของมวลชนไม่ได้ ด้านแกนนำได้ยืนยันว่ามีความพยายามจะเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลจริง แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมรัฐบาลไม่ยอมคุม ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าทั้งเสื้อแดง เสื้อเหลืองต่างก็ใช้ยุทธวิธีพูดวันต่อวันซึ่งทำให้รัฐบาลไม่เชื่อมั่นก็ได้ สำหรับกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นทั้งเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดงต่างก็มีความรู้สึกเกลียดชังอีกฝ่ายหนึ่งมากๆ เหมือนกันซึ่งส่วนหนึ่งอาจเกิดจากข้อความบนเวทีด้วย หลังเกิดความสูญเสีย ความรู้สึกนี้จะยิ่งมากขึ้น อย่างเช้าวันรุ่งขึ้นหลังจากที่วัดปทุมมีคนถูกยิงตาย 6 ศพแล้วตนได้ไปคุยกับผู้ชุมนุม พวกเขาเงียบ ไม่รุนแรง แต่รู้ได้เลยว่าเขาโกรธมากหากแต่อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถต่อต้านอะไรได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวกว่าการถูกวางเพลิงเสียอีก เพราะคนที่เขาโกรธมากเหล่านี้เขากลับไปแล้วจะทำอะไร โดยส่วนตัวแล้วไม่เชื่อว่าเรื่องจะจบลงเท่านี้ ในสถานการณ์ที่สื่อไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีอคติ การทำงานในสนามเป็นเรื่องยากไม่ว่ากับฝ่ายไหน อย่างไรก็ตาม คำถามทั้งวันที่ 7 ต.ค. ว่าตำรวจหรือพันธมิตรฯ กันแน่ที่ทำให้มีคนบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือวันที่ 19 พ.ค.ทหารหรือผู้ก่อการร้ายยิงกันแน่ที่ยิงประชาชน ตนไม่มั่นใจ 100% ไม่ว่ากรณีไหน แต่สิ่งที่รู้สึกได้คือการหาความจริงในอนาคตคงไม่ใช่เรื่องง่าย และจากการมีโอกาสเข้าไปในคณะกรรมการตรวจสอบเหตุการณ์ 7 ต.ค.ก็พบว่ากรรมการไม่ได้มีคำถามมากนักและไม่ได้ cross check ข้อมูลอะไรมากมาย สำหรับการทำงานในการชุมนุมของ นปช.ครั้งนี้ช่วงที่ทหารเริ่มกระชับพื้นที่นั้น ยอมรับว่าหวาดกลัวฝ่ายทหารมากกว่าเพราะมีปืนและมีกำลังเยอะ ตวงศักดิ์ จากมติชน กล่าวว่า ในช่วง 6 ต.ค.19 เป็นนักข่าวฝึกงาน ช่วงพ.ค.35 เป็นช่างภาพก็เห็นภาพผู้ชุมนุมถูกยิงหามออกมาเช่นกันแม้ไม่รู้ว่าใครยิง แต่ช่วงนั้นก็เป็นยุค รสช.ชัดเจน จนกระทั่งมาถึงยุคการชุมนุมของเสื้อเหลือง วิวัฒนาการการชุมนุมทางการเมืองก็เปลี่ยนไปจากที่คนชุมนุมไม่มีอาวุธก็เริ่มมีมือที่สามที่มีอาวุธ มีการใช้ปืนสั้นยิงตอบโต้กับตำรวจ แกนนำเสื้อเหลืองปฏิเสธบอกว่าเป็นมือที่สาม พอมาถึงเสื้อแดงจากตอนแรกที่คิดว่าตัวเองเสี่ยงชีวิตมีโอกาสปลอดภัย 50% ในช่วงพ.ค.35 ก็รู้สึกปลอดภัยน้อยลงอีกในช่วงเสื้อเหลือง และเหลือ 0% ในช่วงเสื้อแดง เพราะมีการบอกว่ามีกองกำลังไม่ทราบฝ่ายที่เข้ามาช่วยด้วยอาวุธสงคราม ส่วนวันที่ 19 พ.ค.นั้น ไปประจำที่แยกสารสิน เจอรถสายพานลำเลียงของทหาร 3-4 คัน ทหารร้อยกว่าคน ช่วงตีสามทหารบุกหลายจุดแล้ว จน 7 โมงเช้าจึงยึดบริเวณสวนลุม สายๆ ทหารก็เคลียร์ได้หมด ซักพักมีเสียงปืนสั้นยิงมาจากแยกสารสินทหารก็ถอยไปตั้งหลัง แล้วเอารถสายพานลำเลียงดันเข้าไปใหม่ เจอศพคนเสื้อแดง 2 ศพ ไม่ทราบว่าถูกใครยิง แต่หนึ่งในนั้นถูกยิงศีรษะ ส่วนที่ราชประสงค์ก็มีการยิงเอ็ม 79 ลงห่างจากกลุ่มนักข่าวและทหารประมาณ 8 เมตร สักพักก็ตามมาอีก 6-7 ลูก มีทหารแขนขาดที่ต่อมาก็เสียชีวิต ผู้สื่อข่าวฝรั่งที่บาดเจ็บโดยส่วนใหญ่ก็ประเมินไม่ถูก คิดว่าการต่อสู้ทางการเมืองคงไม่มีการใช้อาวุธ แต่นี่มันเหมือนสงคราม และนักข่าวเองก็มีข้อจำกัดในการรายงาน เพราะอาวุธที่ใช้ก็เป็นอาวุธระยะทำการไกล เรามองไม่เห็นหน้าว่าใครคือคนยิงแม้จะพอประเมินวิถีและจุดที่ยิงได้บ้างก็ตาม ทวีชัย บก.ภาพจากเครือเนชั่น กล่าวว่า เพื่อนร่วมงานโดนยิงที่ต้นขาขวาโดยกระสุนปืนทราโว เขาระบุชัดเจนว่าทหารเป็นคนยิงเขาแน่นอน และถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้รับคำตอบจากรัฐ และไม่เคยบอกว่าจะช่วยเหลืออะไร ทั้งที่เขากระดูกแตก หายไป 2 นิ้วและไม่แน่ว่าจะกลับมาถ่ายภาพได้อีก มันสะท้อนว่าที่ผ่านมาตั้งแต่ พ.ค.35 ถึง พ.ค.53 ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงนอกจากความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น กลุ่มเก่าๆ จะใช้ยุทธวิธีเดิมๆ มีการใช้คนรากหญ้าที่มีปัญหาเรื่องการศึกษาซึ่งที่ผ่านมาก็เขาไม่ได้อะไรเพิ่มเติมมากนักและถูกหยิบฉวยมาใช้ ทุกครั้งที่มีเหตุปะทะต้องมีการเผา กระทั่งเข้าสู่โลกยุคไซเบอร์ นักข่าวซึ่งเก็บกดทำอะไรไม่ได้ก็เริ่มหันมาใช้พื้นที่เหล่านี้ เช่นตนเองก็เริ่มเขียนบล็อก เพราะอย่างที่ทราบว่าบ้านเราไม่ใช่ประชาธิปไตยทั้งหมด แม้แต่ภายในองค์กรเองก็ตาม อย่างไรก็ตาม โลกยุคไฮเทคก็ทำให้อาชีพช่างภาพถูกท้าทายมากเช่นกัน เพราะจากที่รูปภาพเคยเป็นเครื่องยืนยันความจริงได้อย่างดี ปัจจุบันก็เต็มไปด้วยคำถามว่า ภาพจริงไหม ตัดต่อหรือเปล่า ข้อเท็จจริงต่างๆ ถูกแชร์อย่างรวดเร็วกว้างขวางและถูกใช้บิดเบือนได้ง่าย “ตอนนี้พูดไปก็ไม่มีผีที่ไหนเชื่อ ซึ่งมันเป็นเรื่องเจ็บปวด” ทวีชัยกล่าว ทวีชัยยังระบุว่าในการทำงานภาคสนามนั้นก็ไม่สามารถเอ่ยถึงสังกัดของตนเองได้ เพราะจะถูกกดดันอย่างหนักจากมวลชนไม่ว่าฝ่ายใดก็ตาม นอกจากนี้ยังพบว่าอารมณ์ของมวลชนเสื้อแดงในช่วงหลังนั้นเป็นแบบแพ้ไม่ได้ เช่น กรณีที่ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ สั่งปิดเวทีที่บ่อนไก่ก็ถึงกับถูกหินขว้าง เมื่อผู้ชุมนุมขาดแกนนำ เขาก็นำกันเองโดยใช้อารมณ์เป็นหลัก กรณีเผาช่องสามเกิดขึ้นง่ายๆ เพียงเพราะมีผู้ชุมนุมที่ตะโกนชักชวนไปเผาสถานีโทรทัศน์ที่เขาเห็นว่าเคยด่าเขา ซึ่งตรงนี้น่ากลัวมาก และถือว่าโหดร้ายกับประเทศมาก ที่ผ่านมาไม่เคยเจออะไรแบบนี้ ส่วนข้อมูลต่างๆ นั้นบางทีมันก็สลับซับซ้อนซ่อนเงื่อนเสียจนเราไม่สามารถพูดอะไรได้มากนัก เสถียร จากเครือเนชั่น วิเคราะห์โครงสร้างของคนเสื้อแดงจากประสบการณ์ที่ทำงานในพื้นที่ยาวนาน โดยแบ่งเป็นส่วนของแกนนำและมวลชน ในส่วนแกนนำเสื้อแดงนั้นมีความหลากหลายสูงมาก ต่างจากกลุ่มเสื้อเหลืองที่มีเอกภาพสูงในแกนนำ 5 คนและอันที่จริงคนหลักก็เป็นเพียงสนธิ ลิ้มทองกุล และจำลอง ศรีเมือง ความหลากหลายของแกนนำเสื้อแดงทำให้การตัดสินใจในการเคลื่อนไหวนั้นมีปัญหามากตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้าย ความหลากหลายดังกล่าวอาจแบ่งเป็นเรื่องของวิธีการ บางคนเป็นสายฮาร์ดคอร์ บางคนเป็นสายพิราบ หรืออาจแบ่งเป็นเรื่องเป้าหมาย บางคนต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสุดโต่งและกระทันหัน บางคนต้องการแค่ยุบสภาเลือกตั้งใหม่และใช้เวทีเสื้อแดงหาเสียง บางคนมีความสัมพันธ์กับคุณทักษิณและออกมาให้เห็นเพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณ นักวิชาการน่าจะลงไปทำวิจัยกลุ่มก้อนทางความคิดเหล่านี้เพราะเป็นเรื่องซับซ้อนและน่าสนุกมาก เสถียรเปรียบเทียบการเคลื่อนไหวคนเสื้อแดงว่าเหมือนรถเมล์คันหนึ่งที่บรรทุกคนหลายกลุ่ม ขึ้นจากคนละป้ายและจะลงคนละป้ายด้วย รถคันนี้เลยวิ่งสะเปะสะปะ เราจะเห็นคนคุมรถค่อยๆ ลงไปทีละคน เพราะไม่แน่ใจว่าจุดจบอยู่ตรงไหนในการนำมวลชน และเป็นสาเหตุให้การเจรจาไม่บรรลุผล เพราะเป้าหมายของแกนนำแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทำให้ปัญหาบานปลาย สำหรับมวลชนนั้น ตนมีโอกาสสัมผัสไม่น้อยและพบว่าคนเสื้อแดงไม่ได้มีอะไรมากกว่าความต้องการนโยบายที่ดี จับต้องได้ อิ่มเหมือนสมัยที่ทักษิณเป็นนายกฯ เขาต้องการทักษิณหรือเปล่ายังไม่แน่ใจ แต่เขาอยากได้อะไรแบบที่ทักษิณทำ พูดอย่างเป็นธรรมเขารู้ด้วยซ้ำว่าทักษิณกับเขาห่างกันไกลแล้ว และเป็นเรื่องยากที่ทักษิณจะกลับมา อย่างไรก็ตาม รัฐบาลนี้ก็พยายามทำสิ่งต่างๆ เหล่านั้น อาจมีการเปลี่ยนชื่อบ้าง แต่คนมาชุมนุมเขาติดของเดิม เหมือนติดสินค้าเจ้าแรก แนวทางการแก้ไขปัญหาของัฐบาลจะต้องตอบโจทย์เหล่านี้ มวลชนเสื้อแดงไม่ใช่แค่ที่เห็นเพราะนั่นแค่เพียงตัวแทนของคนเหนือ คนอีสาน ควรมีนโยบายที่จับต้องได้ ทำให้เขาไม่แตกต่างจากคนกรุงเทพฯ ไม่มีความเหลื่อมล้ำ ที่ผ่านมารัฐบาลอาจมองว่า การบอกว่าพวกเขาเป็นผู้ก่อการร้าย หรือพวกล้มเจ้า อาจเป็นทางที่ง่ายในการจัดการปัญหา และเรื่องนโยบายที่ดีอาจจะยาก อย่างไรก็ตาม คนเมืองส่วนใหญ่ก็มีทัศนะที่ไม่ดีต่อคนเสื้อแดงด้วย เช่น มองว่าเขาไม่มีการศกึษา เป็นผู้ก่อการร้าย แม้เราต้องเห็นใจคนที่ถูกเผา แต่อยากให้คนเมืองมองให้เห็นที่มาที่ไปของปัญหาที่ทำให้เขามารวมกันด้วย นอกจากนี้การทำมิวสิควิดีโอให้คนรักกัน สามัคคีกันของ ศอฉ.ก็เป็นตัวอย่างการกีดกันพวกเขาที่ชัดเจน เพราะเห็นทุกสีในนั้นยกเว้นสีแดง ซึ่งถ้าตนเป็นคนเสื้อแดงก็อาจคิดได้ว่านี่สามัคคีกันกระทืบฉันหรือเปล่า สถาพร จากทีวีไทย กล่าวยกตัวอย่างการสนทนากับผู้ชุมนุมจากต่างจังหวัดว่าเข้าหน้าฝนแล้วทำไมจึงไม่ทำนา พวกเขาตอบว่าไม่รู้จะทำนาไปทำไม เพราะขายข้าวไปก็ขาดทุน ซึ่งนี่คือคำตอบว่าทำไมคนถึงมาชุมนุม เขาเรียกร้องการยุบสภาเพราะเขาเชื่อว่าชีวิตเขาจะดีขึ้น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องตอบ ส่วนในมุมของแกนนำนั้นก็มีความหลากหลายมาก แม้มีมติจากแกนนำหลักออกมาแล้วแต่ก็ใช่ว่าจะควบคุมได้ทั้งหมด ยุทธวิธีย่อยต่างๆ ของแกนนำระดับย่อยพร้อมจะแทรกแหกมติหลักได้ตลอดเวลา เช่น กรณีการบุกรพ.จุฬาฯ ซึ่งเป็นปัญหาความไม่เป็นเอกภาพของแกนนำ อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดของการชุมนุม ไม่ว่าเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดงก็คือ ความชอบธรรม ซึ่งเรื่องนี้ นปช.รู้ดีและพูดมาก่อนแล้ว ท้ายที่สุดแม้มีผู้ถูกยิงเสียชีวิตก่อนเป็นจำนวนมาก แต่พอมีไฟไหม้ก็เสียความชอบธรรมเช่นกัน การไม่เป็นเอกภาพจึงทำให้ขบวนเสียความชอบธรรมได้ง่าย “เราทุกคนต่างก็อยากให้มันจบด้วยสันติวิธี เกิดการปรองดองขึ้นจริงๆ แต่เราก็ทำไม่สำเร็จ เรากระจอก เราไม่สามารถช่วยบ้านเมืองได้ ทั้งที่เรามีโทรทัศน์ มีหนังสือพิมพ์ในมือ” สถาพรกล่าวและว่าโดยส่วนตัวเห็นว่าถ้าอยากปรองดอง รัฐบาลก็ต้องทำให้ข้าวได้ราคา ทำให้เงื่อนไขที่คนจะออกมาทั้ง พันธมิตรฯ หรือ นปช. หมดไป บ้านเมืองจะได้ไม่เป็นแบบนี้เพราะคนไม่กี่คนทะเลาะกัน ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าเรายิ่งแก้ปัญหา ปัญหาก็ยิ่งรุนแรงขึ้น วันที่ 19 พ.ค.เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่โล่งใจที่เรื่องจบ แต่ตนเองรวมถึงเพื่อนผู้สื่อข่าวภาคสนามหลายคนกลับหนักใจ เพราะมีภาระข้างหน้ารออยู่อีกมาก และจะหนักกว่าเดิม เพราะต้นตอของปัญหาทุกอย่างยังไม่ถูกแก้ไขเลย -------------------------- ช่วงซักถาม ----------------------- วิภา ดาวมณี จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : ทำไมสื่อทีวีกับสื่อสิ่งพิมพ์นำเสนอเนื้อหาต่างกัน , ทำไมสื่อต่างประเทศกับสื่อไทยจึงนำเสนอต่างกัน, สื่อการเมืองที่เป็นลักษณณะการเมืองจัดตั้งชัดเจน อย่างเอเอสทีวี ซึ่งมีการนำเสนอข้อมูลที่ล่อแหลมว่าเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ สื่อด้วยกันเองจัดการอย่างไร พญ.เยาวลักษณ์ รพ.สมิติเวช : จากการลงไปตรวจรักษาฟรีให้กับชุมนุมบ่อนไก่ ขอบอกกับทุกคนที่สนับสนุนให้มีการสลายการชุมนุมในวันที่ 19 พ.ค.ไว้เลยว่า ความเจ็บปวดไม่มีทางจาง และไม่มีทางที่จะแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการใช้ความรุนแรงแน่นอน นอกจากนี้ขอเรียกร้องให้แพทย์ทุกคนประณามการเข่นฆ่าทุกชีวิต ไม่ว่าสีใดก็ตาม หากแพทย์คนใดสนับสนุนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมให้เกิดความทรุนแรงก็ขอเรียกร้องให้เอา นพ. หรือ พญ. ที่นำหน้าชื่อออกเสีย เพื่อไม่ให้วงการแพทย์เสื่อมเสีย ส่วนคำถามคือวันที่ 18 พ.ค. กลุ่มส.ว.ได้ลงไปเจรจากับ นปช.แล้ว ทุกคนโล่งอกเพราะมีแนวโน้มจะประนีประนอมกันได้ แต่เกิดอะไรขึ้นในคืนนั้น ทำไมรัฐบาลกับกองทัพจึงยังคงใช้การสลายการชุมนุม จิรวดี จากสถานทูตเยอรมัน : ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องขอทั้งอย่างเป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการ จากรัฐบาลในเรื่องการนำเสนอข่าวบ้างหรือไม่ ผู้ร่วมฟังเสวนา: การสูญเสียที่เกิดขึ้น เกิดจากการใช้อาวุธทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายเดียว คนชุดดำมีจริงไหม กลุ่มก่อการร้ายมีจริงไหมหรือแค่ข้ออ้าง ผู้ร่วมฟังเสวนา: พูดในฐานะผู้หญิงแก่ๆ คนหนึ่ง นักข่าวย้ำตลอดว่าที่วุ่นวายทุกวันนี้เพราะรากหญ้าเป็นตัวปัญหา ขอถามว่าเอาอะไรมาวัด ส่วนเรื่องความปรองดองนั้น ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลต้องการอย่างแท้จริง ยกตัวอย่างว่า ถ้าดิฉันเดินไปตบหน้าคุณเสถียรซักที แล้วบอกว่าขอโทษนะลูก ไม่ได้ตั้งใจ ถือเป็นการขอโทษด้วยสมานฉันท์ไหม ส่วนเรื่องสองมาตรฐานนั้น จนบัดนี้กษิต ภิรมย์ ซึ่งไม่คู่ควรกับการเป็นรมว.ต่างประเทศโดยสิ้นเชิงก็ยังไม่ถูกดำเนินคดีเสียที ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ : ความรุนแรงที่มากขึ้น เป็นเพราะกองกำลังไม่ทราบฝ่ายเป็นผู้เผา และฆ่าใช่หรือไม่ โดยส่วนตัวไม่เชื่อว่าฝ่ายไหนจะทำได้ แต่น่าจะเป็นฝ่ายที่มีอำนาจนอกเหนือกว่าอำนาจประชาชนทั้งเหลืองและแดง คิดว่าเป็นไปได้ไหม และขอเรียกร้องว่าเราคงแก้ไขอะไรไม่ได้มากนัก จึงอยากให้ช่วยกันทำบุญดีกว่า อดีตนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬา: (มาพร้อมเพื่อนหน่วยกู้ชีพอาสาอีก 3 คน) ขอเรียกร้องความยุติธรรให้หน่วยอาสากู้ชีพ พยาบาลที่เสียชีวิตในวัดปทุม ขอถามว่ามีประเทศไหนในโลกที่ยิงคนในวัด ธรรมเนียม: คาดหวังว่าจะได้คำตอบจากคนในเหตุการณ์ แต่ก็ต้องผิดหลัง ในอดีตผู้สื่อข่าวมีจรรยาบรรณในการทำหน้าที่ พวกเขายอมถูกเผาโรงพิมพ์ ติดคุก แต่ก็ไม่กลัวและยังกล้าพูดความจริง ทำไมปี 2553 จึงไม่กล้าพูดความจริงกัน เพราะทุกคนบอกว่า ศอฉ. มีหนังสือขอความร่วมมือไม่ให้เสนอข่าว ทำไมจึงไม่มีจรรยาบรรณ รักษาความเที่ยงธรรม นวลทอง อาสาสมัครกู้ชีพ : วันที่ 18 พ.ค. เป็นคนเรียกให้น้องๆ มาช่วยลำเลียงคนเจ็บเอง เพราะไม่คิดว่าจะมีใครยิงหน่วยกู้ภัย ตนเองเป็นคนกลาง ไม่เกี่ยวกับการชุมนุมเลย แต่ต้องการช่วยคนเจ็บ ไม่ว่าฝ่ายไหนก็ช่วย แต่ทำไมรถตนจึงโดนเอ็ม 79 จนลอยละลิ่ว โชคดีที่รอดชีวิตมาได้ หัวหน้าหน่วยปอเต็กตึ๊ง : ตนสูญเสียลุกน้องไป 2 คน คนหนึ่งที่ซอยงามดูพลี ถูกยิงขณะคลานเข้าไปช่วยคนเจ็บและมือถือธงกาชาด หรือว่าธงกาชาดเป็นสัญลักษณ์ให้โดนยิง เพราะมันเป็นสีแดง เขาคนนี้เป็นอาสาสมัครด้านนี้มาตั้งแต่อายุ 13 ปี และในปีนี้เขาเพิ่งได้บัตรปอเต๊กตึ๊งเป็นปีแรกและเป็นปีสุดท้าย พอเขาโดนยิงข่าวออกเลยว่าเป็นการ์ด นปช. แล้วตนจะพึ่งพาสื่อคนไหนได้ จนกระทั่งต้องไปแถลงข่าวกับจตุพรที่เวที พอเราแย้งไป รัฐบาลก็บอกว่าเป็นผู้ก่อการร้ายยิง ตอนซีเอ็นเอ็นถามตนว่าใครยิงเพราะทหารบอกไม่ได้ยิง ผมก็บอกว่าคงเป็นหมาสั่งและหมายิง นอกจากนี้วันที่ 13 พ.ค.ตนอยู่ในพื้นที่และได้ทักทหารว่า ออกมาอย่างนี้ทำไมไม่ใช่โล่ กระบอง เขาบอกว่า “หมดเวลาแล้วที่จะใช้” ได้ยินกับหู วสันต์ หน่วยกู้ชีพในเหตุการณ์วัดปทุม : (มีภาพและคลิปประกอบ) กล่าวถึงกรณีของอัครเดช ขันแก้ว ผู้ชุมนุมที่ไปช่วยเป็นอาสาสมัครที่เต๊นท์พยาบาลในวัดปทุมซึ่งถูกยิง และทรมานเป็นชั่วโมง สุดท้ายต้องเสี่ยชีวิตคามือวสันต์ ทั้งที่ได้พยายามประสานรถพยาบาลทุกหน่วยแล้ว แต่ปรากฏว่าได้รับคำตอบว่าทหารไม่ให้เข้า อาจารย์คณะศิปลศาสตร์ มธ. : ฝากถึงสื่อมวลชนภาคสนามว่า ถึงเวลาแล้วหรือเปล่าที่สื่อต้องออกมาขบถต่อองค์กรของตัวเอง ไม่ใช่แค่การปฏิรูปสื่อง่ายๆ อย่างการพูดเรื่องจรรยาบรรณ ต้องหยุดหลอกสังคมเรื่องความเป็นกลางได้แล้ว แต่ต้องยอมรับว่าตัวเองมีจุดอ่อน -------- เสวนา รอบ 2 ---------- ฐปนีย์: ต้องยอมรับว่าประชาชนในประเทศมีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกแยกกันอย่างรุนแรง ถ้าเราตั้งต้นด้วยความปรองดอง เราต้องพูดคุยโดยปราศจากอคติทางการเมือง ยอมรับข้อเท็จจริง ยอมรับความคิดเห็นของทุกคน ส่วนการทำงานของนักข่าวนั้นมันก็มีข้อจำกัดของมัน ไม่ใช่ไม่มีจรรยาบรรณ เราเอาชีวิตของเราเข้าไปเสี่ยงกระสุน ระเบิดก็เพราะต้องการนำเสนอข่าว นำเสนอข้อเท็จจริงที่เราเห็น ถามว่าทำหน้าที่ต่างกันอย่างไรระหว่างนักข่าวทีวีกับนักข่าวหนังสือพิมพ์ ทำไมนำเสนอต่างกัน ต้องเข้าใจโครงสร้างสื่อมวลชนในบ้านเรา สื่อกระแสหลักนั้น หนังสือพิมพ์จะค่อนข้างทำงานได้อย่างอิสระในทุกยุค แต่ทีวียังคงอยู่ในการควบคุมของรัฐทุกช่อง แม้เอกชนก็ยังต้องได้รับสัปทานจากรัฐ มันจึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ทุกส่วนสร้างสื่อของตัวเองขึ้นมา และตอบคำถามได้ว่าทำไมศอฉ.ออกทีวีพูลได้ทุกเวลาไม่จำกัด อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ที่เรื่องของเสื้อแดงถูกแทรกแซง ถูกบล็อก มันก็ไม่ต่างจากช่วงที่เสื้อเหลืองชุมนุม หรือช่วงที่ คมช. ร้องขอให้ไม่เสนอภาพทักษิณหรือนปก. ถามว่าทำไมนักข่าวยอม ทุกคนปฏิเสธที่จะยอม และขอใช้วิจารญาณของเราเองว่าเราจะดำรงการทำหน้าที่ของเราอย่างไร และเราต้องใช้วิจารณญาณในการรายงานให้ไม่ไปซ้ำเติมความรุนแรงด้วยเช่นกัน ยืนยันได้ว่าในฐานะนักข่าวสนามทำเต็มที่ที่สุดให้ความถูกต้องตามที่เราเห็น เช่น กรณีบ่อนไก่ ซึ่งเป็นจุดที่รุนแรงที่สุดจุดหนึ่งและมีผู้เสียชีวิตเยอะตนก็ได้ลงไปทำข่าว โดยในวันที่ 14 พ.ค.ที่ลงไปประจำมีการศึกษาและสำรวจพื้นที่โดยรอบ เห็นการเผายางรถยนต์ มีกลุ่มประชาชนซึ่งไม่แน่ใจกลุ่มไหนเพราะไม่ใส่เสื้อแดงกระจายตัวแต่ละจุด ถามว่าทำไมไม่พูดเลยว่าใครยิง ก็เพราะมันยากมากที่จะทำหน้าที่ชี้ชัดแบบนั้น ทำได้แค่ว่าเราเห็นอะไรก็รายงานไปตามที่เห็นว่า ทหารเริ่มกระชับพื้นที่โดยใช้แก๊ซน้ำตา ผู้ชุมนุมตอบโต้ด้วยระเบิดเพลิง และทหารก็มีการยิงตอบโต้โดยใช้กระสุนจริง แต่พูดไม่ได้ว่าพอทหารยิงไปแล้วทำให้ นาย ก. อีกฝั่งหนึ่งตาย เพราะเป็นข้อจำกัดในการรับรู้และการมองเห็น ณ จุดใดจุดหนึ่งของผู้สื่อข่าว แต่เราจะไม่พูดในสิ่งที่ไม่เห็น แม้แต่ตนเองก็ถูกยิงและพูดไม่ได้ว่าใครเป็นคนยิงเพราะไม่เห็น นี่คือความยากของการทำงานยุคนี้ หลายคนพูดว่านี่คือ สงคราม ขณะนั้นมีผู้ร่วมเข้าฟังเสวนา ถามคำถามขึ้นมากลางวงด้วยท่าทีดุดันว่า เห็นคนเสื้อแดงใช้อาวุธปืนยิงหรือไม่ ขอให้ตอบเดี๋ยวนี้ ฐาปนีย์ตอบว่า ยืนยันได้ว่าไม่เห็นคนเสื้อแดงหรือประชาชนที่บ่อนไก่ยิง และที่มีการบอกว่าทหารยิงประชาชนตายก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน ตอนที่ทหารยิงเขาก็บอกว่าต้องยิงเพราะมีชุดดำเดินถือปืน แต่เราไม่เห็นอีกฝ่ายหนึ่ง อีกทั้งพื้นที่ก็กว้างใหญ่ไม่รู้ว่าวิถีกระสุนมาจากไหน สุรศักดิ์ จากบางกอกโพสต์ กล่าวว่า ตนพูดในฐานะนักข่าวคนหนึ่งซึ่งไม่สามารถกุมบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับได้ แต่ขอตั้งข้อสังเกตว่า ตั้งแต่มีกลุ่มเสื้อเหลืองทำให้เกิดบรรยากาศการในการทำให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นปีศาจ คนทำงานส่วนหนึ่งก็อาจเห็นด้วยหรือมีใจกับตรงนั้น ทำให้เมื่อถึงเวลาอาจตั้งคำถามน้อยไปทั้งกับกลุ่มเสื้อเหลืองหรือรัฐบาล ขณะที่สื่อเทศนั้นอาจดึงตัวเองออกมาได้มากและมองสถานการณ์ครอบคลุมกว่า อีกทั้งไม่ติดอยู่กับประเด็นดีเลว ถามว่าทำไมไม่กล้าพูดข้อเท็จจริง เท่าที่เห็นตอนนี้ก็ยังไม่มีใครพูดความเท็จ แต่ยังไม่มีใครเห็นความจริงทั้งหมด สำหรับคำถามเรื่องหนังสือของ ศอฉ.นั้น ในส่วนของสื่อสิ่งพิมพ์ไม่เคยได้รับ แต่ได้รับการบอกกล่าวว่า สื่ออาจตกเป็นเป้าถูกทำร้าย เหมือนบอกกลายๆ ว่าไม่ให้เราลงสนามหรือเปล่า แต่ตนก็ไม่ได้เชื่อตรงนั้น สุรศักดิ์ ย้ำว่า ที่เป็นปัญหาอย่างมากในการรายงานข่าวอีกประการคือ เคอร์ฟิว ซึ่งทำให้สื่อกลับบ้านหมด กรณีของวัดปทุมฯ ก็เหลือผู้สื่อข่าวต่างประเทศเพียง 2-3 คนเท่านั้น ถามว่าการประกาศเคอร์ฟิวนั้นจำเป็นไหม เพราะมันปิดกั้นการทำงานของสื่อและทำให้ต้องนำเสนอข่าวจากการบอกเล่าเป็นหลัก กลายเป็นจุดอ่อนของเหตุการณ์ แม้ไม่มีการปิดปากจากศอฉ.โดยตรงก็ตาม ส่วนกรณีคนตายนั้น สื่อไม่ตั้งคำถามว่าทำไมคนถึงตาย ทหารใช้อาวุธเป็นเรื่องเหมาะสมไหม นอกจากนี้เรายังยอมรับโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลเรื่องก่อการร้ายมากไปหรือไม่ ให้พื้นที่เยอะเกินไปหรือไม่ “พอมีการสลายการชุมนุม ทุกคนก็ประโคมข่าวการทำความสะอาดราชประสงค์ เป็นความล้มเหลวของสื่อ เพราะไม่ถามเลยว่าทำไมมีเคอร์ฟิว มีคนตาย ใครคือผู้ก่อการร้าย ซึ่งผมมองว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย” สมศักดิ์กล่าว ส่วนเรื่องรากหญ้าเป็นต้นเหตุของความวุ่นวายนั้น ตนอาจเห็นต่างจากคนอื่นบ้าง เหตุที่ทำให้เขาออกมาชุมนุมอาจเป็นเพราะเขาถูกแย่งชิงสิทธิที่จะได้รับตามระบอบประชาธิปไตย “เสื้อเหลืองแย่งรัฐบาลของเขาไปด้วยวิธิการที่ไม่ชอบ เขาเลยมาแย่งรัฐบาลกลับมาด้วยวิธีเดียวกัน แต่เขาไม่ได้” สมศักดิ์กล่าว ส่วนเรื่องที่ถกเถียงกันนั้น มองว่าไม่ใช่เรื่องของข้อเท็จจริงอย่างเดียวในสถานการณ์แบบนี้ แต่สิ่งสำคัญคือการตั้งคำถาม และเราจำเป็นต้องตั้งคำถามที่สำคัญๆ ให้ใหญ่โตอย่างที่ควรจะเป็น ตวงศักดิ์ จากมติชน กล่าวว่า ศอฉ.นั้นสั่งตนไม่ได้แน่นอน ถ้าเขาจะสั่งเขาก็คงสั่งระดับบก. สิ่งที่อยากบอกคือ การสูญเสียที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตนับร้อย บาดเจ็บนับพันเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น และน่าเศร้าใจ ทวีชัย จากเนชั่น กล่าวว่า ถ้าถามว่าใครยิง ตอบตรงๆ ก็คือ ทหาร ประสบการณ์ตรงส่วนตัวและปากคำเพื่อนที่นอนโรงพยาบาลเชื่อว่า คนธรรมดาฝึกอาวุธ สร้างเครือข่ายได้ขนาดนี้เป็นไปไม่ได้ ชุดดำชุดอะไรเป็นเรื่องที่เขาตั้งธงไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่ารัฐบาลถูกบีบคั้นอย่างหนัก อีกทั้งเชื่อว่าอภิสิทธิ์ไม่น่าจะมีธรรมชาติที่ก้าวร้าว สถานการณ์ที่เกิดขึ้นคาดว่ามีหน่วยทหารหลายหน่วยได้เสียกับงานนี้ ส่วนตำรวจนั้นเท่าที่เช็คข่าวดูเห็นว่างานนี้ตำรวจไม่กล้าวยุ่ง สิ่งที่น่ากลัวมากคือ ตนเองเดินทางบ่อยและได้เห็นภาพความแตกแยกหนัก หากเราไม่กลับมาคุยกันจริงจัง งานนี้น่าจะเละมากกว่านี้ กระแสการแบ่งภาคปกครองก็เริ่มมีให้ได้ยินเยอะขึ้น เพราะคนคงเริ่มคิดว่า “ทำไมกูโดนอยู่เรื่อย” นอกจากนี้ยังอยากฝากว่าอย่าตั้งเป้าที่สื่อมากไป เพราะโลกการสื่อสารทุกวันนี้เปิดมาก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรับรู้ข่าวสารให้รอบด้าน ส่วนการบล็อกข่าวอีกฝ่ายของรัฐบาลก็รังแต่จะยิ่งทำให้คนเกิดข้อสังสัยเหมือนกรณีพ.ค.35 เสถียร จากเครือเนชั่น กล่าวว่า เงื่อนไขต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพราะนโยบายทางการเมืองไม่ชัดพอ ไม่ตอบสนองคนอย่างทั่วถึง ทำให้มีคนจำนวนมากมาร่วมขึ้นรถเมล์คันนี้ สถาพร จากทีวีไทย กล่าวว่า คำถามว่าวันที่ 18 พ.ค.เกิดอะไรขึ้น ทำไมรัฐบาลยังจะ “กระชับวงล้อม” จากการพยายามพูดคุยหลายฝ่ายแล้วก็เป็นดังข้อสรุปว่า ปัญหาคือใครจะชอบธรรมมากกว่ากัน หากใครชอบธรรมกว่า ณ ตอนนั้นก็มีสิทธิที่จะไม่เจรจา เวลานั้น นปช.เสียความชอบธรรม เพราะตอบรับโรดแมพช้า แต่รัฐบาลก็ยังมีทางเลือกอื่น แต่เท่าที่สอบถามพบว่า การตัดสินใจนั้นเกิดขึ้นก่อนที่ส.ว.จะเดินทางไปยังที่ชุมนุม เรื่องการแทรกแซงเนื้อหานั้น ตนไม่ได้รับการร้องขอใดๆ จากรัฐบาลทั้งแบบเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ แต่บางครั้งต้องปรับเปลี่ยนวิธีการนำเสนอเพราะมีพรก.ฉุกเฉิน เช่น การเชิญชวนให้คนออกมาชุมนุมเยอะๆ นั้นรายงานไม่ได้ตามถ้อยคำตรงๆ แต่ยังสามารถใช้ถ้อยคำอื่นเพื่อนำเสนอนัยยะนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าถ้าจะตั้งคำถามกับการทำหน้าที่ของสื่อ โดยไม่ตั้งอยู่บนฐานว่าสื่อก็เป็นคนเหมือนกันอาจไม่แฟร์นัก คนรับข้อมูลข่าวสารก็ต้องถูกตั้งคำถามเช่นกันว่าคุณรับอย่างครบถ้วนรอบด้านไหม ส่วนเรื่องจรรยาบรรณนั้น ตนก็ยืนยันว่าพูดได้เท่าที่เห็น ตรงไหนมีปัญหาข้อกฎหมายทำให้การรายงานข่าวของเราไปต่อไม่ได้ ตนเลือกจะไปต่อได้แล้วใช้วิจารณญาณเอาว่าจะรายงานมันอย่างไรให้ดีที่สุด โดยเชื่อว่าคนไทยมีวิจารณาญาณในการรับรู้ข่าวสารอยู่แล้ว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เอ็นจีโอ-นักการเมืองเห็นตรงกัน จี้รัฐบาลหา“ความจริง”-ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน Posted: 10 Jun 2010 12:31 PM PDT <!--break--> 10 มิ.ย.53 เวลา 13.30 น. อนุกรรมการสื่อสารสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จัดสัมมนา “สิทธิหลังไฟมอด” ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิฯ โดยมี สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, สุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, พีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโยสธร พรรคเพื่อไทย และพิเชษฐ์ พัฒนโชติ อดีตรองประธานวุฒิสภา ร่วมเป็นวิทยากร สารี กล่าวถึงกรณีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและในส่วนพ่อค้า-แม่ค้าที่ได้รับความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ว่าความเสียหายหลังไฟมอดถือว่ามหาศาลโดยเฉพาะเรื่องชีวิตคน โดยรวมแล้วรู้สึกหมดหวังกับระบบการเมืองแบบตัวแทนที่ไม่ได้ช่วยคลี่คลายปัญหา ในทางกลับกันแล้วกลับเป็นฝ่ายทำให้เกิดปัญหาเอง ไม่อยากให้เกิดวงจรแบบนี้ มันต้องคิดถึงประโยชน์กลุ่มตนให้น้อย ประโยชน์สาธารณะให้มาก และสิ่งที่สังคมไทยอยากเห็นจริงๆ คือการฟังความเห็นจากทุกฝ่าย ตอนนี้แต่ละฝ่ายไม่ฟังสิ่งที่มาจากฝ่ายที่ไม่ใช่พวกของตน ต่างมีอคติ ทำให้ขณะนี้สังคมหาคนเป็นกลางที่ทุกฝ่ายยอมรับไม่ได้ นอกจากนี้ ต้องไม่มองเฉพาะความเสียหายที่มาจากการชุมนุมและจลาจล แต่ควรมองว่าทิศทางของประเทศจะไปทางไหน ควรมีการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างไร และคิดว่ารัฐบาลต้องให้ความเป็นธรรม มีการเยียวยาทุกฝ่าย ที่สำคัญคือต้องทำความจริงให้ปรากฏโดยเร็วที่สุด และถ้าสืบค้นจนได้ความจริงปรากฏชัดว่าการเผาที่เกิดขึ้นมีการวางแผนจริง มูลนิธิฯ ก็จะร่วมกับสภาทนายความฟ้องร้องเช่นกัน “ต่างฝ่ายต่างมีอนุสาวรีย์ของตัวเอง ของผู้เสียหายอย่างเราคือ อาคารที่ไหม้ ส่วนผู้ที่เสียชีวิตคือรูปถ่าย อยากให้มันเป็นอนุสาวรีย์สุดท้ายและฝากว่าอยากเห็นบรรทัดฐานของการชุมนุม ที่จะทำยังไงให้การชุมนุมเป็นการชุมนุมจริงๆ ไม่ใช่จลาจล” เลขามูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคกล่าว สารี กล่าวต่อมาว่า ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลจะออกกฎหมายควบคุมการชุมนุม เพราะไม่เชื่อว่าจะห้าม นปช.หรือพันธมิตรฯ มาชุมนุมได้ สิ่งที่รัฐควรทำคือสร้างบรรทัดฐานการชุมนุมว่าชุมนุมอย่างไรสามารถทำได้ หรือทำไม่ได้และไม่ควรทำ โดยไม่จำเป็นต้องออกเป็นกฎหมาย อย่างเช่น กรณีที่เกิดขึ้นกับ ร.พ.จุฬา หรือการตั้งด่านตรวจค้นตามจุดต่างๆ สังคมต้องช่วยกันบอกว่าทำไม่ได้ รวมถึงในสถานการณ์ขณะนี้รัฐบาลไม่ควรคิดว่า นปช.จะกลับมาชุมนุมอีก ดังนั้นจึงควรที่จะมีการยกเลิกการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ด้านนายพีรพันธุ์ ในฐานะทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า แม้ไฟที่ปะทุขึ้นจะมอดไปแล้ว แต่ในใจผู้ถูกกระทบกลับลุกโชนขึ้น แต่ในสายตาผู้บริหารประเทศแกล้งมองไม่เห็น การที่รัฐบาลประกาศ พ.ร.ก ฉุกเฉินโดยไม่มีเหตุจำเป็นก็ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิที่รุนแรงมากขึ้น ตัวเนื้อหาของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้นไม่ต่างจากกฎอัยการศึก กฎเหล่านี้ไม่ควรนำมาใช้กับการชุมนุม ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญระบุว่าประชาชนสามารถชุมนุมเพื่อแสดงออกได้ และถ้าดูในหลักสากลที่ไทยเป็นภาคีอนุสัญญาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน 7 ฉบับจาก 9 ฉบับ เชื่อว่ารัฐไม่ปฏิบัติตามอนุสัญญาถึงได้มีคนตายในเหตุการณ์เดือนพฤษภาเลือดจำนวนมาก การที่คนเป็นหมื่นมาชุมนุมกันเป็นเดือน จะผิดก็แค่กีดขวางการจราจร แต่เวลานี้รัฐกำลังจะออกกฎหมายห้ามชุมนุม ถ้าเอาตามที่ยกร่างไว้ การชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญไม่มีทางจะทำได้ เพราะที่สาธารณะที่กำหนดให้ชุมนุมได้นั้นไม่มี นายพีรพันธุ์ กล่าวอีกว่า เมื่อมีผู้ถูกกักตัว ฝ่ายรัฐก็บอกว่าจะเข้าไปช่วยเหลือ แต่ตั้งข้อแม้ด้วยคำถามว่า "ใครให้มาชุมนุม ?" หลอกล่อให้ซักทอด เอาคำให้การเพื่อโยงไปถึงพรรคเพื่อไทย แม้ว่ารัฐจะเคยบอกว่าจะแยกผู้บริสุทธิ์เหลือแต่ผู้ที่ก่อการ แต่ตอนนี้ก็ยังแยกไม่ได้ นายพีรพันธุ์ กล่าวด้วยว่า เมื่อนายกฯ ไปพูดกับต่างประเทศว่าไทยสงบและเสนอแผนปรองดองแล้ว ก็ต้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ให้เจ้าหน้าที่รัฐได้ปฎิบัติงานอย่างเต็มที่ และเฉพาะหน้าต้องรีบทำให้ความจริงปรากฎ คนที่ไม่เกี่ยวก็ต้องรีบปล่อยตัว ใครทำผิดแล้วมีหลักฐานก็ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม นายพีรพันธุ์ ได้ตั้งคำถามถึงการที่รัฐบาลตั้งนายคณิต ณ นคร เป็นประธานสอบสลายการชุมนุม เพราะตามระบบ กรรมการสิทธิฯ ก็ควรทำหน้าที่ของตนในการสอบสวนการละเมิดสิทธิจากการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อยู่แล้ว ส่วนนางสุวณา กล่าวต่อมาว่า ในช่วงสถานการณ์ไม่ปกติ ทางกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพไม่ใช่หน่วยงานแรกที่เข้าไปดูแล แต่กรมฯ จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือเมื่อภาวะคลี่คลายลงโดยมีศูนย์คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้ความช่วยเหลือ หากประชาชนคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถยื่นขอคำปรึกษา รวมถึงมีกองทุนที่ช่วยค่าธรรมเนียมศาล ค่าทนาย และค่าประกันตัวชั่วคราว ส่วนจำเลยก็สามารถเข้ามาขอคำปรึกษาได้เช่นกัน “หวังว่าจะทำวิกฤตให้เป็นโอกาส ให้กรมฯ ได้สร้างความเข้าใจในการเคารพสิทธิของผู้อื่นแก่ประชาชน” นางสุวณากล่าว ขณะที่ นายพิเชฐกล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เพียงสร้างความเสียหายให้กับประเทศ แต่ยังสร้างบาดแผลลึกให้กับคนไทย ซ้ำยังสร้างตัวอย่างที่ไม่ดีให้กับเยาวชน ดังจะเห็นจากการที่นักเรียน ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ เผาห้องสมุดโรงเรียนแล้วบอกว่าผู้ใหญ่เผาบ้านเผาเมืองยังไม่เห็นเป็นไร ดังนั้นจึงน่าคิดว่าเก็บบทเรียนจากการชุมนุมที่เกิดขึ้นได้อย่างไร การที่พูดว่าการมาชุมนุมเป็นแค่การกระทำผิดกฎหมายจราจร คงจะไม่ได้ เพราะความเสียหายที่ตามมามีมากกว่านั้น จึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินการกับผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง ช่วงท้ายของการสัมนานายพิเชษฐ์ ฝากคำพูดของจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ว่า “จงอย่าถามว่าประเทศชาติเคยให้อะไรกับคุณ แต่จงถามว่าคุณให้อะไรกับประเทศบ้าง” อีกทั้งได้ฝากพุทธพจน์ว่า “ได้ทำกรรมอะไรไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลตกทอดของกรรมนั้น” สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
นักกิจกรรมยื่น “ข้อเสนอแนะต่อบทบาทคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในสถานการณ์ฉุกเฉิน” Posted: 10 Jun 2010 05:24 AM PDT “ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลจากการปราบปรามทางการเมือง” ยื่น “ข้อเสนอแนะต่อบทบาทคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในสถานการณ์ฉุกเฉิน” ต่อผู้แทน กสม. จดหมายระบุความรุนแรงครั้งนี้ละเมิดสิทธิมนุษยชนทางการเมืองอย่างร้ายแรง ขอ กสม. เป็นธรรมและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง <!--break--> วันนี้ (10 มิ.ย.) “ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลจากการปราบปรามทางการเมือง” (ศปป.) ซึ่งประกอบด้วยนักกิจกรรมและนักสิทธิมนุษยชนกลุ่มหนึ่ง ได้ยื่น “ข้อเสนอแนะต่อบทบาทคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในสถานการณ์ฉุกเฉิน ต่อผู้แทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) พร้อมกันนี้ได้มอบสำเนาจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ถูกควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตั้งแต่ 24 พ.ค. และมอบสำเนาจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ที่รวบรวมรายชื่อองค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรแรงงาน และผู้บริโภคทั่วโลกกว่า 700 รายชื่อ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายสมยศโดยทันที เพื่อขอให้ กสม. ให้ความสำคัญกับปัญหาการควบคุมตัวบุคคลตาม พ.รก.ฉุกเฉินฯ ดังกล่าว สำหรับรายละเอียดของ “ข้อเสนอแนะต่อบทบาทคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในสถานการณ์ฉุกเฉิน” ที่ยื่นให้กับ กสม. มีรายละเอียดดังนี้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
สหพันธ์แรงงานสากลคนงานก่อสร้างฯ ประณามการจับกุมและเรียกร้องให้ปล่อยตัว 'สมยศ' Posted: 10 Jun 2010 04:57 AM PDT สหพันธ์แรงงานสากลในกิจการก่อสร้างและคนงานไม้ (BWI) ส่งจม. ถึง 'อภิสิทธิ์' ร้องรัฐบาลบาลไทยปล่อยตัว 'สมยศ' ซึ่งถูกกักขังโดยปราศจากกระบวนข้อกล่าวหาและการไต่สวนที่มีความเหมาะสม และทาง BWI กับองค์กรสากลอื่น ๆ จะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด <!--break-->
สหพันธ์แรงงานสากลในกิจการก่อสร้างและคนงานไม้ (BWI หรือ Building and Wood Workers' International) เหตุการณ์การสลายการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมาไม่นานนี้ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนสากล จากการที่รัฐบาลไทยดำเนินการจับกุมผู้รักประชาธิปไตยและนักกิจกรรมสิทธิมนุษยชนโดยปราศจากปฏิบัติตามกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งรวมไปถึงการจับกุมและกักขังนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2553 BWI ได้แสดงความกังวลต่อการจับกุมนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และส่งจดหมายตรงไปยังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี การส่งจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีของไทยในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์สมานฉันท์สากลที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรแรงงานในประเทศต่างๆ ทั่วโลก แถลงการณ์ยังระบุอีกว่า “สมยศ พฤกษาเกษมสุข ถูกจับกุมพร้อมกับ ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ จากที่ได้เข้ามอบตัวที่ศูนย์อำนวยการรักษา ความสงบแห่งชาติ (ศอฉ.) หลังจากการแถลงข่าวที่หน้ามูลนิธิบ้านเลขที่ 11 ในนามของกลุ่ม '24 มิถุนาประชาธิปไตย' ซึ่งการแถลงข่าวเป็นกิจกรรมที่สันติและเป็นกลางอย่างที่สุด" ทั้งนี้ BWI เป็นองค์กรสหพันธ์แรงงานที่มีสมาชิก เป็นสหภาพแรงงาน 318 แห่งทั่วโลกเป็นตัวแทนของคนงานที่เป็นสมาชิกราว 12 ล้านคนอยู่ใน 130 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ ที่มา BWI Condemns the Arrest of Thailand Labour Activist
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
BWI ประณามการจับกุมและเรียกร้องให้ปล่อยตัว “สมยศ” Posted: 10 Jun 2010 04:52 AM PDT <!--break--> สหพันธ์แรงงานสากลในกิจการก่อสร้างและคนงานไม้ (BWI หรือ Building and Wood Workers' International) เหตุการณ์การสลายการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมาไม่นานนี้ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนสากล จากการที่รัฐบาลไทยดำเนินการจับกุมผู้รักประชาธิปไตยและนักกิจกรรมสิทธิมนุษยชนโดยปราศจากปฏิบัติตามกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งรวมไปถึงการจับกุมและกักขังนาย สมยศ พฤกษาเกษมสุขตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2553 BWI ได้แสดงความกังวลต่อการจับกุมนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และส่งจดหมายตรงไปยังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี การส่งจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีของไทยในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์สมานฉันท์สากลที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรแรงงานในประเทศต่างๆ ทั่วโลก Apolinar Tolentino เจ้าหน้าที่ของ BWI ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค กล่าวว่า “ BWI ได้รูสึกถึงความจำเป็นในการเรียกร้องเนื่องมาจากการกักขังนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข การดำเนินการในลักษณะนี้มากขึ้นต่อไปจะทำให้สถาณการณ์การเมืองไทยเลวร้ายลงไปอีก เราขอเรียกร้องอย่างหนักแน่นให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวสมยศ พฤษาเกษมสุข โดยทันที แถลงการณ์ยังระบุอีกว่า “ สมยศ พฤกษาเกษมสุข ถูกจับกุมพร้อมกับ ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ จากที่ได้เข้ามอบตัวที่ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบแห่งชาติ (ศอฉ.) หลังจากการแถลงข่าวที่หน้ามูลนิธิบ้านเลขที่ 11 ในนามของกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ซึ่งการแถลงข่าวเป็นกิจกรรมที่สันติและเป็นกลางอย่างที่สุด ทั้งนี้ BWI เป็นองค์กรสหพันธ์แรงงานที่มีสมาชิกเป็นสหภาพแรงงาน 318 แห่งทั่วโลกเป็นตัวแทนของคนงานที่เป็นสมาชิกราว 12 ล้านคนอยู่ใน 130 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ http://www.bwint.org/default.asp?Index=2771&Language=EN สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ยิ่งขยายถนนกว้างยิ่งสะท้อนความคิดที่คับแคบ Posted: 10 Jun 2010 04:36 AM PDT <!--break-->
เพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัดจากรถยนต์ส่วนตัวของนักท่องเที่ยว ทำให้เกิดโครงการขยายถนนขึ้นเขาใหญ่เป็น 4 เลน และมีการตัดต้นไม้ไปมากมาย บางต้นอายุกว่า 100 ปี เรื่องนี้รัฐมนตรีคมนาคมยืนยันว่าโครงการดังกล่าวดำเนินการได้เพราะเข้าหลักเกณฑ์การสร้างถนน 4 เลน และไม่ต้องศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เป็นงานปกติของกรมทางหลวงที่ต้องสร้างถนนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน หากโครงการนี้ถูกยกเลิกก็ต้องยกเลิกโครงการขยายเส้นทาง 4 เลนทั่วประเทศเช่นกัน เพราะยังมีโครงการขยายเส้นทางอื่นๆ ในลักษณะเดียวกันอีกที่อยู่ในปีงบประมาณ 54 และถนนบางสายต้องตัดต้นไม้ขนาดใหญ่กว่าถนนธนะรัชต์ซะอีก หากกรมทางหลวงไม่สร้างต่อก็จะถูกกล่าวหาว่าทำงาน 2 มาตรฐาน และอาจจะถูกฟ้องจากผู้รับเหมา สรุปก็คือ การขยายถนนเขาใหญ่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ต้องทำ EIA เพราะไม่อยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ถ้าไม่ให้ทำก็ต้องยกเลิกขยายถนน 4 เลนทั่วประเทศตามงบไทยเข้มแข็ง และถ้าไม่ทำก็ 2 มาตรฐาน รัฐมนตรีคมนาคมได้โชว์วิสัยทัศน์อดีตครูบ้านนอกด้วยการแถข้างๆ คูๆ ว่าตัวเองทำถูกทุกอย่าง เป็นที่น่าสมเพชเวทนาให้คนเขาด่ากันทั้งเมือง และก็เป็นวิบากกรรมของคนไทยจริงๆ ที่มีแต่รัฐมนตรีขี้ตะแบง กะอีแค่ใครก็ไม่รู้ที่ถูกคนโตเมืองแปะ จับมาอาบน้ำ ปะแป้ง แต่งตัว แล้วก็ถีบขึ้นมาเป็นเสนาบดี กลับหลงตัวเองว่าเก่งกล้าสามารถไม่ฟังใคร ส่วนรัฐมนตรีตีกินแห่งกระทรวงสิ่งแวดล้อม ก็ออกมาโวยเรียกคะแนนอีกเช่นเคย ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ก็นั่งเงียบตั้งนาน แล้วก็ทำท่าว่ารัฐมนตรีต่างพรรคทั้ง 2 คนนี้ต่างแกว่งปากตอบโต้ใส่กันว่าฝ่ายตนเองถูก ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะมาเอาชนะกัน เพราะเป็นเรื่องหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยภาพรวม เป็นเรื่องเทรนด์ของโลกที่เขาใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการปกป้องมรดกโลก ไม่ใช่มาตะแบงว่า “รถติด ขยายถนน ถูกแล้วไง” หรือ “ถ้ารถติด ก็ปล่อยให้มันติดอย่างนั้นล่ะ เพราะต้องรักษาต้นไม้เอาไว้” ถ้าคิดได้แค่นี้ เด็กอนุบาลก็อาจจะมีแนวคิดดีกว่ารัฐมนตรีทั้ง 2 ท่านก็เป็นได้ แต่ก็เป็นที่แน่นอนแล้วว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ 8 มิ.ย. 53 มีมติให้ยุติโครงการนี้ ให้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) และให้ฟื้นฟูสภาพต้นไม้ที่สูญเสียไป นายกรัฐมนตรีก็บอกว่าต้องตรวจสอบทั้งกรมทางหลวง กรมป่าไม้ และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ว่ามีอะไรที่ผิดปกติหรือไม่ ล่าสุด รมว.สิ่งแวดล้อม บอกว่าจะฟ้ององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ก็ไม่รู้จะไปถึงขั้นไหนก็ต้องติดตามดู อย่ายึดหลักปรองดองระหว่างนักการเมืองกลายเป็นมวยล้มต้มคนดู แทนที่จะปรองดองระหว่างคนกับธรรมชาติ จะเอาอย่างไรกันแน่ก็ให้มันชัดเจนว่าต้นไม้ที่ตัดไปแล้วจะทำอย่างไร ยังจะขยายถนนในช่วงที่ตัดไปแล้วหรือไม่ หรือจะฟื้นฟูสภาพให้กลับมาดีดังเดิม ก็ต้องบอกสังคมให้ชัด แต่จริงๆ แล้วแค่นี้ก็คงยังไม่พอ นายกรัฐมนตรีจะต้องสร้างวิธีคิดในการทำงานใหม่ เกี่ยวกับการสร้างถนนทั่วประเทศ เปลี่ยนวิธีคิดและวัฒนธรรมองค์กรใหม่ เพราะสองข้างเขตทางนั้นหลายแห่งเต็มไปด้วยต้นไม้ ขยายทีไรก็ตัดกันเกลี้ยงทุกที แล้วที่ตัดๆ ไปก็ไม่รู้เอาไปไหน จริงๆ ต้นไม้ข้างทางน่าจะเป็นสมบัติของชุมชน ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นสมบัติของกรมทางหลวงอย่างเช่นปัจจุบัน กรณีต้นไม้เกาะกลางถนนก็เห็นตัดแต่งกันทุกปี แล้วก็ตัดในฤดูร้อนด้วย (แทนที่จะได้ร่มเงาให้รถวิ่งหลบร้อน) แล้วก็ไม่รู้กิ่งไม้ที่ตัดไปนั้นเอาไปไหน แค่คิดว่าถ้าขายเป็นไม้ฟืน หรือส่งเข้าโรงงานไฟฟ้าชีวมวลก็หลายเงินอยู่ ใครกันที่ได้ประโยชน์ส่วนนี้ หรือการขยายทางบางพื้นที่ก็แทบไม่มีรถวิ่ง ก็เพราะขยายไปในเส้นทางป่าเขา กลายเป็นเส้นทางขนแร่เถื่อน เอื้อประโยชน์ให้นายทุนไปอีก หรือไม่ก็ทำให้คนเข้าไปบุกรุกแผ้วถางป่าได้ง่ายขึ้นซะงั้น เรื่องแนวคิดขยายถนนนี้ เป็นแนวคิดเก่าแก่โบร่ำโบราณที่คู่มากับกรมทางหลวง พอๆ กับการสร้างเขื่อนที่คู่กับกรมชลประทาน ไม่ว่าจะน้ำท่วม ฝนแล้ง นายว่าเขื่อนแก้ได้หมด ท่องกันมาแบบนี้ ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ เคยสนทนากับวิศวกรทางหลวง ถามว่าทำไมจึงไม่ปลูกต้นไม้บริเวณเกาะกลางถนน เป็นเพราะรากต้นไม้จะไปทำลายโครงสร้างของถนนรึเปล่า ก็ได้คำตอบว่าเรื่องนั้นไม่สำคัญ สิ่งสำคัญเพราะผิดหลักวิศวกรรมการทาง การมีเกาะกลางถนนจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ไม่ว่าจะจากกิ่งไม้ที่อาจจะหักลงมา จากการรถเสียหลักชนกับต้นไม้ จึงปลูกแต่ไม้พุ่มเล็กๆ ไม่ได้ร่มเงาอะไร จึงให้ข้อสังเกตกลับไปว่า ปลูกไม่ปลูกก็ไม่น่าจะแตกต่างกันเพราะรถอาจจะชนต้นไม้ข้างทางได้ เช่นกัน เขาก็บอกว่า การมีต้นไม้ข้างทางก็ใช่ว่าจะดี ถ้ามีพื้นที่ข้างทางโล่งๆ จะดีกว่า สรุปคือ “ถนนโล่งๆ ไม่มีต้นไม้ดีที่สุด” ก็เลยสงสัยว่า แม้ไม่มีต้นไม้ การเสียหลักชนขอบปูนเกาะกลางถนนนี่ก็อันตรายมากแล้วนะ บางทีรถเหาะไปชนกับรถฝั่งตรงข้ามก็มี หรือบางทีทางหลวงก็ถมถนนซะสูง (ไม่รู้จะสูงไปไหน) ไม่ต้องชนอะไรหรอก แค่เสียหลักตกข้างทางรถก็คงคว่ำอยู่ดี เขาก็ไม่โต้ตอบอะไร ก็เลยถามว่าเคยวิจัยหรือไม่ว่าระหว่าง 1) ถนนที่ปลูกต้นไม้ริมขอบทาง ปลูกต้นไม้ที่เกาะกลางถนน กับ 2) ถนนที่โล่งๆ ตัดไม้ออกจากขอบทางจนโล่ง ไม่ปลูกต้นไม้บนเกาะกลางถนนด้วย เส้นทางไหนจะเกิดอุบัติเหตุมากกว่ากันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เขาก็บอกว่าในเมืองไทยไม่มีใครวิจัยอะไรแบบนี้หรอก เราก็บอกเขาไปว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าถนนแบบไหนจะดีกว่ากัน สรุปเขาก็เลยชวนคุยเรื่องอื่น นี่คือปัญหาใหญ่ ไม่ใช่เรื่องมาเถียงกันว่าจะถูกหรือไม่ถูกหลักวิชา หรือหลักกฎหมาย แต่เป็นเรื่องที่ต้องพยายามหาวิธีการที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด มองข้ามให้พ้นไปจากศาสตร์ของตัวเอง กรณีขยายถนนขึ้นเขาใหญ่ (ถนนธนะรัชต์) ยังมีเรื่องอื่นที่สำคัญกว่าหลักการทาง เช่น การขยายถนนส่งผลกระทบอย่างไรบ้างต่อสัตว์ป่าที่ใช้เส้นทางข้ามไป มาระหว่าง 2 ฝั่งถนน ไม่ต้องเอาขนาดช้างป่าหรอก แค่กิ้งก่า จิ้งเหลน กบ เขียด งู เหี้ย อีเห็น มันก็เดือดร้อนเหมือนกัน ในต่างประเทศเขาถึงขนาดทำรั้วตาข่ายกั้น ทำอุโมงค์ให้รถลอด หรือสะพานให้สัตว์ข้าม เรื่องนี้ท่านเสนาบดีคิดอย่างไรนอกจากเรื่องรถติดก็เลยขยายถนน ถ้ารถติดมากกว่านี้ก็จะขยายจาก 4 เลน เป็น 8 เลน อีกใช่หรือไม่ แล้วเท่าไหร่ถึงจะพอ ถ้าคิดแต่จะอำนวยความสะดวกด้วยการขยายถนนจนถึงที่เที่ยว คงต้องทำถนนให้นักท่องเที่ยวขับรถไปถึงตีนน้ำตกเหวนรกเลยอย่างนั้น หรือ คิดบ้างหรือไม่ว่าจะมีวิธีการลดจำนวนรถยนต์ลงอย่างไร เช่น การมีที่จอดรถที่สะดวกสบายปลอดภัยไว้ข้างล่าง แล้วให้ใช้รถรับส่งนักท่องเที่ยวที่แสนสบายขึ้นไปแทน แล้วในระหว่างทางก็บรรยายถึงสภาพธรรมชาติของเขาใหญ่ ให้ความรู้กับนักท่องเที่ยว เพื่อให้เห็นคุณค่าและสร้างความเข้าใจต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ไม่ใช่แค่ย้ายที่กินเหล้าโปกฮาโดยไม่ได้เกิดสำนึกอะไร ก็จะเป็นการสร้างงาน สร้างมูลค่าจากการท่องเที่ยวได้อีก โดยไม่ต้องขยายถนน รวมไปถึงการขยายแค่ไหล่ทางให้กว้างขึ้นโดยไม่ต้องไป ตัดต้นไม้ หรือตัดให้น้อยที่สุด ให้รถหลีกกันได้และทำเส้นทางจักรยานเพื่อให้นัก ท่องเที่ยวปั่นขึ้นไปได้ รวมถึงการลดแรงกดดันต่อพื้นที่ธรรมชาติด้วยการแสวงหาจุดสมดุลระหว่าง จำนวนนักท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว และความสามารถการรองรับของพื้นที่ ตามหลัก 'Carrying capacity' หรือ ขีดจำกัดที่ธรรมชาติจะสามารถรองรับได้ สิ่งเหล่านี้เป็นทางเลือกที่น่าสนใจทั้งนั้น
เรื่องแบบนี้จึงเป็นเรื่องแนว คิดใหม่ (สำหรับข้าราชการและนักการเมืองไทย) ไม่ใช่คิดอยู่ในกรอบเดิมๆ ยิ่งมาบอกว่าการขยายถนนทั่วประเทศที่ต้องทำ 4 เลน ก็ต้องตัดต้นไม้มากมายเหมือนกัน ถ้าทำอย่างนี้ก็ 2 มาตรฐาน ก็ยิ่งน่าหมั่นไส้ที่รัฐมนตรีมีแนวคิดแบบนี้ คำว่า 2 มาตรฐานมันไม่สำคัญ จะมีซัก 10 มาตรฐานก็ได้ ถ้าบริบทพื้นที่มันไม่เหมือนกัน เช่น การขยายถนน 4 เลนขึ้นเขาใหญ่ จะใช้มาตรฐานเดียวกันกับขยายถนน 4 เลนที่บ้านแสลงคง จ.บุรีรัมย์ ก็คงไม่ได้ เพราะความบอบบางในเชิงระบบนิเวศของพื้นที่มันไม่เหมือนกัน ถ้าอย่างนั้นก็คงต้องทำถนนขึ้นภูกระดึงด้วยจะได้เป็นมาตรฐานเดียว กันกับเขาใหญ่ หรืออีกหน่อยก็คงต้องขยายถนนขึ้นดอยอินทนนท์อีก เพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะหนาแน่นขึ้นอีก ถ้ายังคิดกันอยู่แค่นี้อีกไม่นานก็คงจะมีแต่ถนน 4 เลนเต็มไปหมดตามอุทยานแห่งชาติต่างๆ เพราะเรามีแต่รัฐมนตรีสมองอึ่ง วันๆ เอาแต่เบ่งตะแบง สังคมไทยกำลังเป็นบ้ากับคำว่า 2 มาตรฐานจนไม่รู้ว่าอะไรคือถูกต้อง ถูกธรรม ถูกกาลเทศะ แต่ถึงแม้จะขยายถนนจริงก็ไม่เห็นต้องเป็น 4 เลนเสมอไป ในต่างประเทศหลายพื้นที่เขาทำถนน 3 เลน คือเลนกลางเอาไว้แซงร่วมกัน ก็แค่ระวังอย่าแซงพร้อมกัน รวมทั้งเขาทำไหล่ทางให้กว้างขึ้นอีกหน่อยเพื่อให้หลบกันได้ ให้จักรยาน มอเตอร์ไซด์ มีที่วิ่งบ้าง ก็อยากรู้เหมือนกันว่าถ้าเอาแบบนี้มาลองใช้กับถนนซักสายในเมืองไทย จะมีอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นรึเปล่า ลองทำแล้วก็เก็บข้อมูลดู คนปกติขับรถน่ะกลัวตายทั้งนั้น แต่ที่ตายๆ ส่วนใหญ่ก็เพราะเมาแล้วขับ จะมี 4 เลน หรือ 8 เลน มันก็ตาย ก็ต้องไปกวดขันกันจริงจังเรื่องนั้น รวมทั้งเรื่องวินัยจราจรและความมีน้ำใจในการขับขี่ด้วย ทุกวันนี้พอหลีกกันได้ก็ไม่หลบไม่หลีกกัน มารยาทในการขับขี่นับวันจะเลวทรามลงเรื่อยๆ ก็ต้องทำกันจริงๆ จังๆ ไม่ใช่เอะอะอะไรก็เอาให้ถนนกว้างไว้ก่อน อะไรสองข้างทางจะบรรลัยก็ช่างมัน ถ้าคิดได้แค่นั้นก็ออกไปทำอย่างอื่นเถอะท่าน... สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
นักปรัชญาชายขอบ : ในความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย อะไรหรือที่ไม่เหมือนเดิม? Posted: 10 Jun 2010 03:46 AM PDT <!--break--> เราได้ยินประโยคเช่นนี้กันบ่อยขึ้น “นับแต่นี้ต่อไปสังคมไทยจะไม่เหมือนเดิม” แต่อะไรหรือที่ไม่เหมือนเดิม? นิธิ เอียวศรีวงศ์ เคยวิเคราะห์ว่า การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ (อย่างน้อยในช่วงสองทศวรรษหลังมานี้) ทำให้เกิดการขยายฐานจำนวนคนชั้นกลางระดับล่างเพิ่มมากขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเหล่านี้ เช่น การมีสวัสดิการในการรับบริการสาธารณสุข โอกาสทางการศึกษา การประกันราคาพืชผล การเข้าถึงแหล่งทุน หรือกระทั่งการรักษา/พัฒนาคุณค่า (และมูลค่า) ของทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาของชุมชน ต้องพึ่งพาหรือมีมิติเชื่อมโยงกับอำนาจรัฐมากขึ้น ในยุครัฐธรรมนูญ 2540 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญคือ มีการ “แข่งขันทางนโยบาย” ค่อนข้างเด่นชัด แม้การเลือกตั้งจะมากด้วยการซื้อเสียง (ซื้อเสียงกันทุกพรรค) แต่ไม่ได้หมายความว่าประชาชนที่รับเงินซื้อเสียง จะปราศจากการใช้ “เหตุผล” ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เพราะผลของการเลือกตั้งบ่งชี้ข้อเท็จจริง (ที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนเลือกอย่างมีเหตุผล) ที่ชัดเจนอย่างข้อย 2 ประการ คือ 1) ประชาชนเลือกเพราะชอบนโยบายพรรค 2) ประชาชนเกิดศรัทธาอย่างเหนียวแน่นต่อนักการเมืองหรือพรรคการ เมืองที่ใช้นโยบายที่หาเสียงไว้มาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ที่พวก เขามองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม แน่นอนว่า เราอาจวิจารณ์นโยบายประชานิยม และรัฐบาลที่คนชั้นกลางระดับล่างและคนรากหญ้าเลือกได้หลายแง่มุม แต่เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การเลือกนโยบายพรรค และการที่ประชาชนศรัทธาต่อนักการเมืองหรือพรรคการ เมืองเพราะทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้นั้นไม่ใช่ความก้าวหน้าของ การเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน และความก้าวหน้าดังกล่าวนี้เองที่ทำให้คนชั้นกลางระดับล่าง และคนชั้นล่างซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมไทยได้ค้นพบว่าพวกเขามี “อำนาจ” อยู่จริงในการกำหนดทิศทางการเมืองระดับชาติ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพวกเขา การที่ประชาชนส่วนใหญ่ค้นพบว่า พวกเขามีอำนาจ “อยู่จริง” ดังกล่าว ทำให้เกิดการตระหนักในคุณค่าของการใช้อำนาจนั้นให้เอื้อประโยชน์ ต่อชนชั้นของพวกเขามากขึ้น และมีความรู้สึก “หวง” อำนาจของตนเองมากขึ้น จึงทำให้พวกเขาตระหนักว่า “การเลือกตั้ง” มีความหมายต่อการกำหนดอนาคตของพวกเขาเอง ไม่ใช่ “ประชาธิปไตยเพียง 4 วินาที” ดังที่แกนนำพันธมิตรฯ “เข้าใจ” (และพยายามชี้นำให้สังคมเชื่อตาม) ฉะนั้น การออกมาทวงคืนอำนาจในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจากรัฐบาลหุ่นเชิด ของอำมาตย์ จึงไม่ใช่การเรียกร้องของคนไม่รู้ประชาธิปไตย หรือไม่ได้มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยอย่างที่ถูกดูแคลน (และถูกซ้ำเติมด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็นเครื่องมือนักการเมืองโกง ขบวนการก่อการร้าย ขบวนการล้มเจ้า ฯลฯ) ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ทำให้ เกิดการขยายฐานจำนวนคนชั้นกลางระดับล่างเพิ่มมากขึ้น (คนเหล่านี้สามารถเข้าถึงสื่อ การศึกษา เทคโนโลยีการสื่อสารหลากหลายขึ้นกว่าเดิม) และความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ การแข่งขันทางนโยบาย ประชาชนลงคะแนนเลือกตั้งอย่างมีเหตุผล และตระหนักว่าพวกเขามีอำนาจ “อยู่จริง” มากขึ้น นี่คือ “ความไม่เหมือนเดิม” ของสังคมไทย แต่ “ความไม่เหมือนเดิม” ดังกล่าวนั้น ต้องปะทะกับ “ความเหมือนเดิม” ของชนชั้นนำไทย ซึ่งประกอบด้วยชนชั้นอภิสิทธิชน ชนชั้นปกครอง ปัญญาชน นักวิชาการ สื่อสายอนุรักษ์นิยม หรือสายก้าวหน้ากึ่งอนุรักษ์นิยม “ความเหมือนเดิม” ของชนชั้นนำเหล่านี้คือ การยึดติดว่าพวกตนเป็นเจ้าของ “อำนาจปกครอง” และ “อำนาจทางศีลธรรม” หรือ อำนาจชี้ถูกชี้ผิดและ/หรือกำหนดทางเลือกทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง แล้วโศกนาฏกรรมจึงเกิดขึ้นเมื่อพวก เขาเผชิญกับ “การท้าทาย” จากความเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้ากว่า ด้วยการพยายาม “กระชับ” อำนาจปกครองให้เข้มแข็งเฉียบขาดมากขึ้น โดยอาศัย “ลมปาก” ของนักการเมืองรุ่นใหม่ภาพลักษณ์งดงามว่า เพื่อปกป้องนิติรัฐ ปกป้องสถาบัน สร้างความปรองดอง คืนความสงบสุขให้บ้านเมือง ฯลฯ และพยายาม “กระชับ” อำนาจทางศีลธรรม ด้วยข้อเสนอแผนปรองดอง ปฏิรูปประเทศไทย ปฏิรูปสื่อ แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ (หรือกระทั่งเสนอให้ “ถวายคืนพระราชอำนาจ” ใช้เวลา 3 ปี ปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปตำรวจ) สรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ว่า “ความไม่เหมือนเดิม” มาขอ “การมีส่วนร่วม” ในการกำหนดอนาคตของประเทศผ่าน “การเลือกตั้ง” แต่ “ความเหมือนเดิม” นอกจากจะไม่ยอมให้เกิดการมีส่วนร่วม (ย้ำ การเลือกตั้งเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เป็นรูปธรรมและ กว้างขวางที่สุด) ดังกล่าวแล้ว ยังพยายาม “กระชับ” อำนาจปกครองและอำนาจทางศีลธรรมของชนชั้นของพวกตนให้เข้มแข็งกว่าเดิม! แต่การไม่ยอมรับ “ความไม่เหมือนเดิม” ด้วยการพยายามกระชับอำนาจของชนชั้นนำดังกล่าวดำ เนินไปท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ไม่เหมือนเดิมอ ย่างสำคัญ คือ หากเปรียบเทียบกับความขัดแย้งทางการเมืองเดิม เช่น เหตุการณ์ 14 ตุลา 6 ตุลา และพฤษภา 35 ความขัดแย้งทางความคิดของคนในสังคมไม่ได้ขยายกว้าง ร้าวลึก และยืดเยื้อมากขนาดนี้ การที่รัฐบาลอภิสิทธิชนพยายามปกครอง ประเทศด้วยการสร้างความกลัว (คง พรก.ฉุกเฉิน ปิดสื่อฝ่ายตรงข้าม สื่อที่มีความเห็นต่าง อย่างไม่มีกำหนด) เดินหน้าแผนปรองดองพร้อมกับกวาดล้างฝ่ายตรงข้าม ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ถูกตั้งคำถามถึง “ความเป็นกลาง” และอ้างว่า เมื่อบ้านเมืองเข้าสู่บรรยากาศของความปรองดองสมานฉันท์แล้วจึงจะ มีการเลือกตั้ง ก็ยิ่งแสดงถึงวิธีคิดและรูปแบบการเผชิญกับ “ความไม่เหมือนเดิม” ของสังคมไทยที่สะท้อนถึงความเห็นแก่ตัว ลุแก่อำนาจ และไม่เคารพต่อ “อธิปไตย” ของประชาชน ของบรรดาชนชั้นนำไทยที่ไม่รู้จักเรียนรู้และปรับตัวต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว คำถามคือ อำนาจปกครอง และอำนาจศีลธรรมของชนชั้นนำไทยที่เสื่อม “ความชอบธรรม” (เพราะเป็นอำนาจบน “ฐานคิด” ที่ดูถูกประชาชน สืบทอดรัฐประหาร ฆ่าประชาชน! ฯลฯ) ไปมากแล้ว จะยังคงอยู่ได้นานแค่ไหน? ชนชั้นนำเหล่านี้เกิดการเรียนรู้หรือไม่ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่หูตาสว่างมองเห็น “ความไม่เหมือนเดิม” ที่ก้าวหน้ากว่า เขาเบื่อหน่ายแค่ไหนกับการที่ได้เห็น “วิธีการแบบเดิมๆ” โดยให้บรรดา “ทหารหาญ” (ที่ควรไปปฏิบัติ “หน้าที่” ใน 3 จังหวัดภาคใต้) ลงพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเพื่อปฏิบัติการจิตวิทยา (ปจว.) ชิงมวลชนกลับคืน คนเสื้อแดงและประชาชนทั่วไปที่ต้องการเปลี่ยนประเทศไปสู่ “ความไม่เหมือนเดิม” ที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่า ต้องไม่ท้อถอย ต้องมีขันติธรรม ไม่เผาโรงเรียน สถานที่ราชการ ต้องชัดเจนในเป้าหมาย มั่นคงในอุดมการณ์ เรียกร้องรัฐบาลด้วยการใช้เหตุผลที่เหนือกว่า และอดทนที่จะรอคอย “สั่งสอน” ชนชั้นนำที่ยึดติดอำนาจปกครองและอำนาจทางศีลธรรมอย่าง หน้ามืด ใน “การเลือกตั้ง” ครั้งต่อไป! สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น