ประชาไท | Prachatai3.info |
- ‘สมบัติ บุญงามอนงค์’ ขึ้นศาลพรุ่งนี้ – เชิญชวนเป็นพยาน “เราเห็นคนตาย”
- กวีประชาไท : "หยุด (เถอะนะ)"
- กรุงเทพโพลล์เผยความเชื่อมั่นประชาชนต่่อแผนปรองดองรัฐบาลคะแนนเฉลี่ย 3.57 เต็ม 10
- สุวิชา ท่าค้อ เตรียมบวชหนึ่งพรรษาหลังได้รับพระราชทานอภัยโทษ
- นายกฯ เปิดโครงการ 'ลูกเสือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต' (Cyber Scout)
- สหพันธ์แรงงานธนาคารฯ ประณามการสั่งพนักงานสละสิทธิ์หยุดงานในวันหยุดครึ่งปี
- ตานฉ่วย โกรธรายงานแฉนิวเคลียร์พม่า
- "สมยศ" ยื่นหนังสือถึงกรรมการสิทธิฯ วอนช่วย “สมบัติ”
- Facebook ในฐานะสัญญะทางสังคมและการเมือง
- การเดินทางของประชาธิปไตย
- นักปรัชญาชายขอบ: อำนาจเถื่อนและความกลัว
‘สมบัติ บุญงามอนงค์’ ขึ้นศาลพรุ่งนี้ – เชิญชวนเป็นพยาน “เราเห็นคนตาย” Posted: 01 Jul 2010 08:52 AM PDT <!--break--> 1 ก.ค.53 ที่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (บก.ตชด.) ภาค1 คลอง5 จังหวัดปทุมธานี ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในวันนี้มีผู้เข้าเยี่ยมนายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่ายกว่า 30 คน ก่อนที่เขาจะถูกเบิกตัวไปไต่สวนยังศาลอาญาในวันพรุ่งนี้ (2 ก.ค.) เวลา 9.00 น. ตามคำร้องขอปล่อยตัวของทนาย ทั้งนี้ ในเบื้องต้นศาลได้สั่งให้มีการไต่สวนผ่านระบบเทเลคอนเฟอเรนท์ แต่ในภายหลังศาลอนุญาตให้เบิกตัวมาไต่สวนยังศาลอาญาได้ตามคำร้องขอของทนายความ นอกจากนี้ นายสมบัติยังได้ฝากข้อความที่เขียนใส่กระดาษด้วยปากกาแดง เชิญชวนให้ประชาชนไปร่วมเป็นพยานที่ศาล โดยระบุว่า “ในนามของสมาชิกคนหนึ่งของสังคม ผมและพวกเรา “เห็นคนตาย” การที่ผมพูดว่า “เขาฆ่าคน” แล้วเอาผมมาขัง ผมผิดหรือ? 9.00 น. วันที่ 2 มิ.ย.ผมจะให้การต่อศาล พร้อมคลิปทหารฆ่าประชาชน ถ้าคุณเห็นคนตาย แล้วมาชี้ตัวคนฆ่า เรามาเป็นพยานร่วมกัน via: สมบัติ” ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในบ้านพักหลังเดียวกับนายสมบัติ ยังมีผู้ถูกควบคุมตัวอีก 2 คน ได้แก่ นายยงยุทธ ท้วมมี ผู้ติดตามใกล้ชิด พล.ต.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง และนายพีระ พริ้งกลาง ผู้จัดรายการวิทยุคลื่น 97.25 เมกะเฮิร์ต จังหวัดสมุทรปราการ นายยงยุทธ หรือ “บัง” อายุ 55 ปี กล่าวว่า เขาเป็นผู้ติดตาม เสธ.แดงมากว่า 3 ปี แล้วโดยเริ่มต้นเข้าร่วมการชุมนุมที่สนามหลวงตั้งแต่ยังเป็น นปก. จากนั้นได้สมัครเข้าเป็นนักรบพระเจ้าตากรุ่นแรก ทำการฝึกกับเสธ.แดง 39 วันที่สนามหลวง และเริ่มติดตามเสธ.แดงนับแต่นั้น คอยติดตามไปทุกที่ ในช่วงชุมนุมก็ติดตามเสธ.แดง ซึ่งคอยตระเวนเยี่ยมตามด่านต่างๆ ของคนเสื้อแดงโดยตลอด แต่นายยงยุทธไม่ได้เข้าร่วมเป็นการ์ด นปช.แต่อย่างใด ยงยุทธกล่าวต่อว่า เขาอยู่กับ เสธ.แดง ตลอดแม้แต่วันที่โดนยิง โดยเขานำตัวเสธ.แดงส่งโรงพยาบาลอย่างทุลักทุเล หลังจากลาเสธ.แดงแล้วก็ตัดสินใจเข้ามาร่วมชุมนุมอีกในฐานะผู้ชุมนุมปกติ จนกระทั่งวันที่ 19 พ.ค.ที่มีการสลายการชุมนุมก็ได้หลบเข้าไปอยู่ในวัดปทุมฯ ด้วยเพราะเกิดเหตุการณ์รุนแรงออกจากพื้นที่ไม่ได้ จนกระทั่งตำรวจมารับตัวไปที่ สน.ปทุมวัน มีการสอบปากคำเกี่ยวกับเหตุการณ์โดยทั่วไปและถ่ายรูป หลังจากนั้น 2 วัน จึงมีหมายจับไปติดที่บ้าน แต่เขาไม่อยู่บ้าน จากนั้นวันที่ 29 มิ.ย.ได้เดินทางไปพรรคเพื่อไทยและได้ค่ารถ 200 บาท ขากลับถูกจับบริเวณสี่แยกไฟแดงหัวลำโพง โดยตำรวจนอกเครื่องแบบ4-5 นาย ก่อนจะถูกนำตัวมาไว้ยัง บก.ตชด. ขณะนี้เขายังไม่ทราบข้อกล่าวหาที่ชัดเจน ด้านนายพีระ กล่าวว่า เขาเป็นผู้ดำเนินรายการวิเคราะห์ข่าวของสถานทีวิทยุชุมชน 97.25 เมกะเฮิร์ต จังหวัดสมุทรปราการ โดยคลื่นดังกล่าวนอกจากมีรายงานวิเคราะห์ สรุปข่าวแล้วยังมีการถ่ายทอดเสียงเวทีการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ด้วยในบางช่วงเวลา นายพีระกล่าวว่า เขาได้รับหมายควบคุมตัวของ ศอฉ.ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. และเดินทางมารายงานตัวตามหมายก่อนจะถูกนำตัวมาควบคุมตัวที่บก.ตชด. ก่อนหน้านี้เขาเคยได้รับหมายเรียกให้ไปรายงานตัวยัง ศอฉ. ที่กองพันทหารราบที่ 11 และเขาก็ได้เข้ารายงานตัวเรียบร้อย หลังจากนั้นก็ไม่ได้ไปร่วมชุมนุมกับกลุ่ม นปช.อีกเลย นายพีระ กล่าวว่าเหตุที่ถ่ายทอดเสียงเวทีการชุมนุมทางสถานี เนื่องจากสถานีวิทยุที่เปิดเพลงก็มีมากแล้ว ส่วนสื่อของรัฐก็เป็นไปในแนวเดียวกันหมด จึงอยากให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่แตกต่างบ้าง ส่วนรายการวิเคราะห์ข่าวนั้นก็กล่าวไปตามเนื้อผ้า หากรัฐบาลทำดีก็ชื่นชม ไม่ได้มุ่งโจมตีรัฐบาลอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม เมื่อได้รับหมายควบคุมตัวของศอฉ.เขาก็เดินทางเข้ารายงานตัวในทันทีเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ และคาดหวังว่าจะได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 5 ก.ค.นี้ซึ่งจะครบกำหนดควบคุมตัวครั้งละ 7 วันตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Posted: 01 Jul 2010 08:43 AM PDT <!--break-->
หยุดคือหยุด บอกใคร บ้างไหมหยุด หยุดย่อมมีความหมาย ว่าไม่อยู่ ตอน พี่หยุด เขาเคว้งคว้างตรงบางพลัด หยุด เพราะว่ายุบสภา ใช่สาเหตุ เหมือนจะยอม เหมือนจะแพ้ แท้ที่หยุด
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กรุงเทพโพลล์เผยความเชื่อมั่นประชาชนต่่อแผนปรองดองรัฐบาลคะแนนเฉลี่ย 3.57 เต็ม 10 Posted: 01 Jul 2010 06:32 AM PDT <!--break--> 1 ก.ค. 2553 - หลังรัฐบาลได้ประกาศแผนปรองดองแห่งชาติ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจเรื่อง "ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพประเทศไทยในปัจจุบัน และอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า" โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนในทุกภาคของประเทศจำนวน 1,483 คน เมื่อวันที่ 25 – 27 มิถุนายนที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้ ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยในด้านต่างๆ เฉลี่ยรวม 3.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพด้านเศรษฐกิจมากที่สุด (3.92 คะแนน) รองลงมาคือด้านสังคม (3.58 คะแนน) ส่วนด้านการเมืองประชาชนมีความเชื่อมั่นน้อยที่สุด (3.20 คะแนน) ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิสา ประวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในช่วงเดียวกันของปีก่อน (มิถุนายน 2552) ที่มีคะแนนความเชื่อมั่นเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.05 คะแนน พบว่าคะแนนความเชื่อมั่นลดลง 0.48 คะแนน หรือลดลงร้อยละ 13.4 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาคะแนนความเชื่อมั่นในแต่ละตัวชี้วัด พบว่า ความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันมีคะแนนต่ำที่สุด คือ 2.17 คะแนน ถัดขึ้นมาคือความเชื่อมั่นต่อการปฏิรูปการเมืองและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ได้ 3.16 คะนน และความเชื่อมั่นต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้ 3.16 คะแนนเท่ากัน (โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางที่ 1) เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นว่า ศักยภาพของประเทศไทยทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะยังคงเหมือนเดิม ทั้งนี้ สิ่งที่ประชาชนตั้งใจจะทำเพื่อมีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพของประเทศไทย อันดับแรกคือ ตั้งใจจะทำหน้าที่ของพลเมืองให้ดีที่สุด (ร้อยละ 34.6 ) รองลงมาคือ จะรักบ้านเมืองไม่ทำลายบ้านเมือง ไม่ก่อความวุ่นวายหรือสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น (ร้อยละ14.8) และ ตั้งใจว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสรรค์สร้างให้คนไทยรักกัน รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ (ร้อยละ11.3) ข้อมูลผลการสำรวจมีดังต่อไปนี้
1.ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพโดยรวมของประเทศไทยในปัจจุบัน ในด้านต่างๆ 1) ด้านสถานะทางเศรษฐกิจของคนในประเทศ 3.40 5) ด้านความรักและสามัคคีของคนในชาติ 3.26 9) ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น 2.17 เฉลี่ยรวมทุกด้าน 3.57 ความเชื่อมั่นต่อศักยภาพประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า 1. ด้านเศรษฐกิจ 2. ด้านการเมือง 3. ด้านสังคม เฉลี่ยรวมทุกด้าน 3. สิ่งที่ประชาชนคิดว่าเป็นปัญหาอุปสรรคสำคัญที่สุดในการพัฒนาศักยภาพโดยรวมของประเทศไทย อันดับ 1 ร้อยละ 45.5 ปัญหาคนไทยขาดความรักความสามัคคี/ขัดแย้งกัน/ขาดน้ำใจต่อกัน
อันดับ 1 ร้อยละ 34.6 จะเป็นคนดีทำหน้าที่ของพลเมืองให้ดีที่สุด
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สุวิชา ท่าค้อ เตรียมบวชหนึ่งพรรษาหลังได้รับพระราชทานอภัยโทษ Posted: 01 Jul 2010 05:38 AM PDT <!--break--> เมื่อวันที่ จันทร์ที่ 28 มิ.ย. ที่ผ่านมา นายสุวิชา ท่าค้อ นักโทษคดี พรบ. คอมพิวเตอร์และ กฎหมายอาญา มาตรา 112 ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำกลางคลองเปรมเนื่องจากได้รับพระราชทานอภียโทษ จากนั้นเดินทางไปลงนามถวายพระพรพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ ร.พ. ศิริราช ในวันอังคารที่ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยมีผู้สื่อข่าวให้ความสนใจติดตามรายงานข่าวจำนวนมาก นายสุวิชาระบุว่า หลังจากนี้ จะบวชเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งพรรษา สุวิชาปฏิเสธการให้สัมภาษณ์อื่นใดอีก กล่าวแต่เพียงจากนี้จะใช้ชีวิตอย่างปกติ ลำดับเหตุการณ์คดีสุวิชา ท่าค้อ 14 ม.ค. 2552 สุวิชา อายุ 34 ปี ทำงานตำแหน่งวิศวกรเครื่องจักร ของบริษัทขุดเจาะน้ำมันแห่งหนึ่ง ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัว หน้าร้านสุวรรณการช่าง อ.เมือง จ.นครพนม คำร้องของพนักงานสอบสวนระบุว่า เมื่อระหว่างวันที่ 27 เม.ย.-26 ธ.ค.2551 ผู้ต้องหากระทำผิดกฎหลายบท หลายกรรม ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลรูปภาพ ซึ่งเป็นการกระทำดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์และองค์รัชทายาท พนักงานสอบสวนติดตามจับกุมตัวผู้ต้องหาได้ตามหมายจับศาลอาญา ที่ 92/2552 16 ม.ค. 2552 สุวิชาถูกควบคุมตัวจาก นครพนมมายังศาลอาญา รัชดาภิเษกกรุงเทพฯ ด้วยสายการบินบางกอกแอร์เวย์ เจ้าพนักงานยื่นคำร้องขอฝากขังครั้งแรก 12 วัน ไปจนถึงวันที่ 27 มกราคม โดยระบุว่า ได้ควบคุมตัวผู้ต้องหามาจนครบกำหนดแล้ว แต่การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ต้องรอสอบปากคำพยานอีก 15 ปาก รอผลการตรวจพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์จำนวน 3 เครื่อง แผ่นซีดี และเอกสารอีกจำนวนหลายรายการ จึงขอฝากขังไว้ หลังจากนั้น ทนายความของสุวิชาได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งประกันตัว 2ครั้ง แต่ศาลยกคำร้อง 26 มี.ค. 2552 อัยการมีคำสั่งฟ้องคดีนายสุวิชา ท่าค้อ เป็นจำเลยฐานกระทำความผิดโดยร่วมกับพวกที่หลบหนี หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่า จะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ และเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร, นำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่ปรากฏภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กโทรนิกส์หรือวิธีการอื่นใดโดยประการที่น่า จะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย อัยการขอให้ลงโทษตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 8, 9 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83,91 และ 112 และพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 3, 14 และ 16 30 มี.ค. 2552 จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลในระหว่างนัดชี้สองสถาน และศาลนัดฟังคำตัดสินในวันที่ 3 เม.ย. 2552 เวลา 9.00 น. 3 เม.ย.2552 เวลา 9.00 น. ที่ศาลอาญา ผู้พิพากษาอ่านคำตัดสินคดีที่พนักงานอัยการ โจทก์ ฟ้องนายสุวิชา ท่าค้อ เป็นจำเลยฐานกระทำความผิดโดยร่วมกับพวกที่หลบหนี หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่า จะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ และเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร, นำ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่ปรากฏภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กโทรนิกส์หรือวิธีการอื่นใดโดยประการที่น่า จะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย อัยการขอให้ลงโทษตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 8, 9 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83,91 และ 112 และพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 3, 14 และ 16 ตัดสินว่ามีความผิดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 8, 9 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1), 83,91 และ 112 และพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14(2) และ 16(1) เนื่องจากเป็นความผิดหลายบท ให้ลงโทษตามมาตราที่มีโทษสูงสุด และความที่จำเลยกระทำความผิด 2 กระทง ให้ตัดสินให้ลงโทษ กระทงละ 10 ปี รวม 20 ปี แต่จำเลยให้การรับสารภาพ จึงลดโทษให้กระทงละ 5 ปี คงเหลือโทษจำคุก 10 ปี ไม่รอลงอาญา และให้ริบของกลาง 28 มิ.ย. ได้รับพระราชทานอภัยโทษ รวมเวลาถูกกักขังและจำคุก 1 ปี 5 เดือน 12 วัน
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
นายกฯ เปิดโครงการ 'ลูกเสือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต' (Cyber Scout) Posted: 01 Jul 2010 05:12 AM PDT <!--break--> 1 ก.ค. 2553 - เว็บไซต์โพสท์ทูเดย์ รายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประธานเปิดงานโครงการ 'ลูกเสือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต' (Cyber Scout) ที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือว่ามีบทบาทสำคัญมาต่อประชาชนส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสาร แต่ขณะเดียวกันเครื่องมือที่ทันสมัยไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ อื่นๆ หากใช้ผิดวิธี ก็จะเป็นดาบสองคม ดังนั้นการที่จะสร้างให้ประเทศไทยกลายเป็นสังคมของการเรียนรู้ จึงต้องมีการสร้างระบบเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีคุณภาพ แต่สิ่งสำคัญอีกประการคือการพัฒนาด้านบุคลากรที่มีความพร้อม ในการใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้องเหมาะสม และคุมค่าที่สุด นายกรัฐมนตรี ยังเชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการที่สร้างสรรค์ และเป็นการดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและทำให้เกิดการพัฒนาการใช้เทคโนโลยี ที่ถูกต้องต่อไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สหพันธ์แรงงานธนาคารฯ ประณามการสั่งพนักงานสละสิทธิ์หยุดงานในวันหยุดครึ่งปี Posted: 01 Jul 2010 04:57 AM PDT <!--break-->
1 ก.ค. 2553 - สหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ด่วนโดยมีมติประณามธนาคารพาณิชย์ที่สั่งการให้พนักงานละเมิดประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยการสั่งการให้เปิดสาขาในห้างสรรพสินค้าและสาขาที่เปิดดำเนินการ 7 วัน และกำหนดให้พนักงานต้องจำใจให้ความยินยอมโดยการสละสิทธิหยุดงานในวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ซึ่งเป็นวันหยุดภาคครึ่งปีของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ โดยธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งยึดถือเป็นประเพณีปฏิบัติที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานและต่อเนื่องจนเป็นที่ยอมรับของลูกค้าและประชาชนทั่วไป ว่าวันดังกล่าวเป็นวันหยุดธนาคาร โดยรายละเอียดของแถลงการณ์มีดังต่อไปนี้
สหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินแห่งประเทศไทย
แถลงการณ์ ด่วน !
เรื่อง มติประณามธนาคารพาณิชย์ที่สั่งการให้พนักงานละเมิดประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ปรากฏว่าในปี 2553 นี้ ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งกำลังร่วมมือกันสั่งการให้พนักงานสาขาในห้างสรรพสินค้าและสาขาที่เปิดดำเนินงาน 7 วัน ต้องเปิดทำการในวันที่ 1 กรกฏาคม 2553 โดยให้เหตุผลว่า มีความจำเป็นต้องเปิดให้บริการลูกค้า เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานการให้บริการอย่างต่อเนื่อง และไม่ทำให้สูญเสียลูกค้าเนื่องจากธนาคารอื่น ๆ ส่วนใหญ่ได้เปิดให้บริการ ไม่เพียงเท่านั้น ยังกล่าวอ้างว่าพนักงานยินยอมที่จะมาปฏิบัติงาน สำหรับพนักงานที่มีความจำเป็นและไม่สามารถทำงานในวันดังกล่าวได้ สามารถหยุดงานโดยให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาจัดหาพนักงานทดแทน พร้อมกับจ่ายผลตอบแทนให้แก่พนักงานตามระเบียบของธนาคาร การที่ธนาคารพาณิชย์สั่งให้สาขาเปิดดำเนินงานดังกล่าว เป็นการจงใจฝ่าฝืน ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารจะอ้างว่าได้รับการยินยอมจากพนักงานผู้ปฏิบัติงาน แต่ธนาคารไม่สามารถแสดงหลักฐานหนังสือยินยอมของพนักงาน,ไม่พบหนังสือขออนุญาตหรือหนังสืออนุมัติ จากธนาคารแห่งประเทศไทยว่าให้เปิดทำการในวันที่ 1 กรกฏาคม 2553 ได้ หากเจ้าหน้าที่ของธปท.ยอมผ่อนให้ธนาคารพาณิชย์ไทยที่ไม่เคารพประกาศดังกล่าว ก็เท่ากับส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์เอารัดเอาเปรียบประชาชนและทำหน้าที่กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ให้แข่งการทำธุรกิจอย่างไม่เท่าเทียมกันและไม่มีความโปร่งใสในการบริหารทรัพยากรบุคคลซึ่งหลายมาตรฐาน การกระทำดังกล่าวของธนาคารพาณิชย์ คำนึงถึงแต่เหตุผลทางด้านธุรกิจเพียงด้านเดียวอย่างเกินความสมดุลและไม่เป็นไปตามหลักมนุษยธรรมที่ดี ธนาคารไม่เห็นคุณค่าของคน มองพนักงานเป็นเพียงเครื่องจักรที่มีต้นทุนทางธุรกิจ ทำร้ายจิตใจของพนักงานอย่างร้ายแรง ที่ 1 ปีมีเพียงวันเดียวที่พนักงานทั้งหมดจะมีโอกาสได้พบหน้าค่าตาโดยพร้อมเพรียงกัน เพราะพนักงานที่ทำงานสาขาเดียวกันในห้างสรรพสินค้าและสาขาที่เปิดดำเนินการ 7 วัน แต่ละคนมีวันลาหยุดประจำสัปดาห์ไม่ตรงวันกัน ต้องหยุดสลับกันติดต่อกัน 2 วันเป็นจำนวน 2-4 คนในแต่ละครั้ง ในวันทำการทุกๆ วันจึงไม่เคยได้พบหน้าพนักงานทั้งหมดพร้อมกัน เมื่อถึงวันที่ 1 กรกฏาคม ต่างก็คาดหวังกันว่าจะได้มีโอกาสที่ดีที่จะร่วมกันสังสรรค์ มีการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวไว้เป็นการล่วงหน้าบ้างแล้ว บางสาขาได้ชำระค่าบริการทัวร์ต่างจังหวัด ไปแล้วเป็นบางส่วนหรือชำระไปทั้งหมดก็มี และมีการนัดหมายบุคคลในครอบครัวและคนใกล้ชิดจัดตารางวันลาวันหยุดให้ตรงกันไว้ เพราะต่างเข้าใจว่าวันที่ 1 กรกฏาคม 2553 เป็นวันหยุดธนาคารเช่นปีก่อน ๆ ที่ถือปฏิบัติกันมา แต่ทว่าปี 2553 ความหวังเหล่านี้ได้พังทลาย มลายสิ้นสูญไปอย่างสิ้นเชิงไปพร้อม ๆ กับความรักภักดีและการเคารพนับถือต่อผู้บริหารระดับสูงทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้จากประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดวันหยุดประจำปีของธนาคารพาณิชย์ ,บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ไว้เป็นการล่วงหน้า เพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสเตรียมตัวเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมและประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเฉลิมพระชนม์พรรษาพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ การเข้าฟังธรรมสวนะและการทำบุญตักบาตรตามประเพณีอันดีงามในวันสำคัญทางศาสนา การอยู่ร่วมกันอย่างพร้อมเพรียงของหน่วยงานด้านสังคมที่เรียกกันว่า ครอบครัวในวันมหาสงกรานต์ -วันแห่งครอบครัว –วันผู้สูงอายุและกิจกรรมอื่น ๆในวันสำคัญต่าง ๆ ที่มีผลทางด้านจิตใจที่ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน เพื่อผนึกเป็นความเข้มแข็งและรวมเป็นชาติเชื้อไทยเดียวกันที่จะสร้างความปรองดอง ความสมานฉันท์ ความเป็นปึกแผ่นของแผ่นดินไทยให้คงอยู่และยั่งยืนของชาติไทยตลอดไปอย่างยาวนาน ฉะนั้น สหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินแห่งประเทศไทย จึงขอความร่วมมือมายังธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งพึงละเว้นอย่าได้ใช้วีธีการแบบ“ศรีธนญชัย” หลีกเลี่ยงไม่ถือปฏิบัติตามประกาศวันหยุดประจำปีของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือขออนุญาต ธนาคารแห่งประเทศไทยให้วันหยุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย วันใดวันหนึ่งหรือทุกวัน โดยให้สามารถเปิดทำการได้ และให้ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารกำชับและสั่งการให้ทุกหน่วยงานทุกสาขาให้ยึดถือวันหยุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นวันหยุดอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการธำรงไว้ของขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชนชาติไทย และเพื่อเป็นรากฐานอันเป็นปึกแผ่นมั่นคงของแผ่นดินไทยและของพวกเราชาวไทยตลอดจนลูกหลานสืบไป สธง.จึงแถลงมาเพื่อแจ้งมติการประชุมร่วมกันของสหภาพแรงงานสมาชิกสธง. โดยให้ประณามธนาคารพาณิชย์ไทยที่ละเมิดประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยโดยสั่งการให้สาขาในห้างสรรพสินค้าและสาขาที่เปิดดำเนินงาน 7 วัน เปิดทำงานในวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 และกำหนดให้พนักงานต้องสละสิทธิในวันดังกล่าวและในวันหยุดทำการตามประกาศธปท. และให้ร่วมกันชมเชยธนาคารพาณิชย์ไทยที่เคารพและปฏิบัติตามประกาศของธปท.อย่างเคร่งครัด โปร่งใส และตรวจสอบได้ ทุกเรื่อง สหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินแห่งประเทศไทย
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ตานฉ่วย โกรธรายงานแฉนิวเคลียร์พม่า Posted: 01 Jul 2010 04:26 AM PDT มีรายงานว่า นายพลอาวุโสตานฉ่วย ผู้นำหมายเลข 1ของรัฐบาลพม่า แสดงความไม่พอใจเป็นอย่างมากต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบ โครงการนิวเคลียร์พม่า หลังอ่านรายงานของนายโรเบิร์ต เคลลี อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานปรมาณูสากล (International Atomic Energy Agency-IAEA) ที่ระบุว่า โครงการนิวเคลียร์ของพม่ายังล้าหลังและพม่ายัง ไม่ถือเป็นมืออาชีพในการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ แหล่งข่าวจากเนย์ปีดอว์เปิดเผยว่า หลังอ่านรายงานที่สำนักข่าวเสียงประชาธิปไตย (Democratic Voice of Burma - DVB) นำออกมาเผยแพร่จบ ตานฉ่วยได้แสดงความโกรธและไม่พอ ใจขึ้นมาทันที ซึ่งเป็นไปได้ว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตานฉ่วยอาจได้รับการรายงานเท็จจาก เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการนิวเคลียร์ โดยเฉพาะจากนายอูเถ่า รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งออกมารายงานก่อนหน้านี้ว่า เป้าหมายโครงการนิวเคลียร์ของพม่ากำลัง ใกล้บรรลุผลแล้ว ซึ่งขัดแย้งกับรายงานของนายโรเบิร์ตอย่างสิ้นเชิง จากหลักฐานอ้างอิงของพันตรีจายเต่งวิน นายทหารวิศวกรที่แปรพักตร์จากรัฐบาลพม่า ในรายงาน Nuclear Related Activities in Burma ของนายเคลลี่ระบุว่า ที่ตั้งซึ่งใช้สำหรับโครงการนิวเคลียร์พบว่า ยังอยู่ในขั้นแรกเริ่มเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่า สำนักงานใหญ่ของโครงการนิวเคลียร์ อย่างน้อยยังไม่พบว่า มีการทดสอบวัตถุหรือระเบิดนิวเคลียร์แต่อย่างใด นาย เคลลี่ระบุในรายงานว่า “รัฐบาลพม่ามีความหวังเพียงน้อยนิดเท่านั้น หากคิดจะสร้างพลังงานนิวเคลียร์เอง เพราะมันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า มันเป็นงานที่หนักมากที่รัฐบาล จะทำสำเร็จ” ขณะที่พันตรีจายเต่งวิน เขียนลงในรายงานด้วยเช่นกันว่า พม่ามีโอกาสเพียงน้อยนิดเท่านั้นที่จะประสบความสำเร็จกับสิ่งที่กำ ลังแสวงหา “การที่พยายามสร้างอาวุธนิวเค ลียร์ นั่นเป็นสัญญาณถึงความสิ้นหวังและความหวาดกลัว” พร้อมระบุด้วยเช่นกันว่า โครงการนิวเคลียร์ของรัฐบาลพม่ายังล้าหลังและไม่เป็นมืออาชีพอยู่ มาก (Irrawaddy 30 มิ.ย.53) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
"สมยศ" ยื่นหนังสือถึงกรรมการสิทธิฯ วอนช่วย “สมบัติ” Posted: 30 Jun 2010 10:20 PM PDT กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยร้องกรรมการสิทธิฯ ประสานกับรัฐบาลให้ปล่อยตัว สมบัติ บุญงามอนงค์ และยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ด้าน "หมอนิรันดร์" ชี้การจับกุมตัวเป็นการใช้กฎหมายที่ละเมิดสิทธิทางการเมืองของประชาชน เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 53 ที่ผ่านมา กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย นำโดย นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้เดินทางมายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เพื่อขอให้กรรมการสิทธิฯ มีมติให้รัฐบาลยกเลิกการขยายเวลา พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินทุกจังหวัด พร้อมทั้งขอเรียกร้องให้กรรมการสิทธิประสานกับรัฐบาลปล่อยตัว นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บ.ก.ลายจุด ทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งมี น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิฯ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง สิทธิการเมือง และสิทธิชุมชน เป็นผู้รับหนังสือ ทั้งนี้ ก่อนยื่นหนังสือ กลุ่ม 24 มิถุนาฯ ได้เดินจุดเทียนสีแดงจากด้านล่างของอาคารบีศูนย์ราชการขึ้นมาจนถึงชั้น 6 ที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิฯ โดยนายสมยศ กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้กรรมการสิทธิฯ ไปดำเนินการประสานกับรัฐบาล เพื่อให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพราะ พ.ร.ก.ไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์บ้านเมือง และไม่สามารถบังคับใช้ได้จริง ซึ่งเหตุการณ์รุนแรงที่ผ่านมาทั้งหมดไม่เกี่ยวกับ พ.ร.ก.เลย เพราะ พ.ร.ก.ล้มเหลวแต่ต้น และการที่รัฐบาลจะขยายเวลาการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นเพียงเพื่อการขยายขอบเขตของอำนาจ และใช้ไปละเมิดสิทธิของผู้ชุมนุม รวมทั้งนำมาเป็นเหตุในการจับกุมนายสมบัติ เพียงเพราะนายสมบัติ และกลุ่มเฟซบุ๊กไปทำกิจกรรมแสดงออกทางการเมืองที่แยกราชประสงค์ เป็นการแสดงให้เห็นว่า คุกคามเสรีภาพการชุมนุมโดยสันติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ และทำให้เสียเสรีภาพ ถูกควบคุมตัว พวกเราก็ห่วงใย และอยากให้กรรมการสิทธิเร่งรัด เพื่อปล่อยตัวนายสมบัติ นายสมยศ กล่าวต่อว่า อยากให้กรรมการสิทธิฯ ขอให้รัฐบาลยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพราะหากยังคงไว้ซึ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก็คงเกิดความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ประชาชนก็ไม่สามารถออกมาชุมนุมได้ จึงอยากให้กรรมการสิทธิฯ ปฏิบัติหน้าที่อย่างสมบูรณ์ เพราะจากที่ผ่านมา กรรมการสิทธิฯ ทำงานอย่างล่าช้า และไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ หนังสือที่ยื่นในวันนี้ มีการลงลายมือชื่อของประชาชน จำนวน 700 คน ทั้งนี้ หลังจากยื่นหนังสือให้กรรมการสิทธิฯ ตนก็จะไปยื่นหนังสือต่อสถานทูตต่าง ๆ เพื่อให้ช่วยกดดันให้รัฐบาลยกเลิก พ.ร.ก. ด้าน น.พ.นิรันดร์ กล่าวว่า ภายหลังจากที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กรรมการสิทธิฯ ก็ได้ติดตามรวบรวมข้อมูลหลักฐาน เพื่อตรวจสอบการละเมิดสิทธิตามการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และที่ผ่านมาซึ่งมีการควบคุมตัวประชาชน และแกนนำ เราก็ได้ประสาน และเข้าพบ ไม่ว่าจะเป็นนายสมยศ นายสมบัติ และในวันศุกร์ตนก็ได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ เพื่อขอเข้าพบผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ น.พ.นิรันดร์ กล่าวว่า กรรมการสิทธิฯ จะเร่งสรุปการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ว่า ไปกระทบ และละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างไรบ้าง เพราะที่ผ่านมา ได้เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น ศอฉ. และตัวแทนของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ มาให้ข้อมูล ซึ่งเราจะดูว่ากฎหมายฉบับนี้ไปละเมิดสิทธิทางการเมืองของประชาชน และขัดแย้งต่อนโยบายปรองดอง จนเป็นเหตุให้ละเมิดสิทธิหรือไม่ และจะลงพื้นที่ในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อติดตามว่ามีเจ้าหน้าที่ละเมิดสิทธิประชาชนหรือไม่ และยืนยันว่า กรรมการสิทธิฯ ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการต่อสู้ภาคประชาชนเพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพโดยใช้แนวทางสันติวิธี หากเป็นไปตามแนวทางที่รัฐธรรมนูญกำหนด เราก็พร้อมจะทำงานเพื่อช่วยเหลือ “เท่าที่คุยกันในอนุกรรมการฯ ก็เห็นค่อนข้างตรงกันว่า การจับกุมตัวนายสมบัติ นั้น เป็นการใช้กฎหมายที่ละเมิดสิทธิทางการเมืองของประชาชน” น.พ.นิรันดร์ กล่าว. นอกจากนี้มีการอ่านบทกวีเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนายสมบัติอีกด้วย
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Facebook ในฐานะสัญญะทางสังคมและการเมือง Posted: 30 Jun 2010 09:24 PM PDT <!--break--> ในตอนนี้ คงมีคนที่ใช้งานโลกอินเตอร์เน็ตน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักระบบ เครือข่ายทางสังคม (Social Network) ที่เรียกว่า ‘facebook’ (สามารถเข้าไป ดู ชม หรือใช้ได้จาก http://www.facebook.com – นี่คือการโฆษณาที่ไม่ได้รับเงินตอบแทนใดๆ) โดยนับวัน คนที่ “ติด” facebook นี้ก็ทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างน่าสงสัยว่าทำไม ทำไม ทำไม... ผมอยากจะเสนอลงไปอย่างชัดเจนในที่นี้ว่า ผมมองว่าแท้จริงแล้ว “การเล่น facebook นั้นมันก็คือ การสำเร็จความใคร่ทางจิต และสังคมของผู้ใช้” นั่นแหละ ฉะนั้นสภาพการ “ติด” facebook จึงไม่ได้ต่างอะไรจากการที่คุณ “ติดรสมือขวา (หรือซ้าย) ของตน ในการสำเร็จความใคร่ทางกายภาพ” เลย หากเราลองเปรียบเทียบด้วยฐานคิดที่ว่า การเข้าสังคม และปะทะสังสรรค์กันด้วยการพบปะกันโดยตรงนั้น เสมือนกับ “การร่วมเพศ” ที่คนอย่างน้อย 2 คนต้องมีการ “เข้าถึง” กันทั้งทางกายภาพ และทางผัสสะอื่นๆ แล้ว การเล่น facebook ที่ทำให้คุณเต็มตื้นทางจิต และสังคมได้โดยไม่ต้องสัมผัส หรือทำอะไรอื่น แม้แต่การก้าวออกจากปริมณฑลแห่งอำนาจของตนเองนั้น จึงทำให้ การเล่น facebook ไม่ได้ต่างอะไรไปจากการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ที่ทำให้คุณประสบกับความสุข ซูอาเว่ ของคุณได้ ภายในปริมณฑลแห่งอำนาจของคุณอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะด้วยแขนซ้าย หรือแขนขวา หรือสองแขนพร้อมๆ กันไป ไม่เพียงเท่านั้น หากเรามาลองมองบทบาทของการร่วมเพศผ่านกระบวนทัศน์แบบสายจิตพิเคราะห์ที่มองว่าแท้จริงแล้วการร่วมเพศนั้นก็คือ การเข้าสู่จุดสุดยอดด้วยตนเอง ซึ่งว่ากันในเชิงหลักการแล้วก็ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองเลย หรือก็คือ หากมองบนฐานนี้การเล่น facebook ก็ไม่ได้ต่างอะไรจากการไปพบเพื่อนที่โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยนัก ตราบเท่าที่มันยังนำไปสู่จุดสุดยอดได้ดุจเดียวกัน หรือก็คือ บนฐานของ The end justifies the means. นั่นเอง นอกไปจากนี้สภาวะที่เป็นดั่งการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองของ facebook นี้นั่นเอง ที่ทำให้ผมได้มานั่งนึกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเรียกได้ว่าเป็นแฟชั่นในทางวิชาการในระยะหลังๆ มานี้เลย นั่นก็คือ บทความที่มีเนื้อหาหลักๆ เกี่ยวกับการที่ facebook มัน “ให้นิยามใหม่ (Redefine)” ต่อ “พื้นที่ส่วนบุคคล” ของเรา แน่นอนว่า โดยมากแล้วงานเหล่านี้จะบ่งชี้ว่า facebook เข้าไปบุกทำลายความเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลต่างๆ นาๆ ... แต่ นั่นน่ะ จริงหรือ? หากเรามองว่าการสำเร็จความใคร่นั้นเป็นสัญญะแห่งการดำดิ่งสู่พื้นที่ความเป็นส่วนตัวอย่างเป็นที่สุดแล้ว (ซึ่งผมเชื่อว่าโดยทั่วไป ก็คงจะทำให้มันอยู่ในปริมณฑลส่วนตัวมากที่สุดอยู่แล้ว นอกจากจะถ่ายหนังโป๊อยู่) การใช้ facebook ในฐานะการสำเร็จความใคร่ทางสังคม ก็ย่อมหมายถึงการดำดิ่งสู่พื้นที่ส่วนบุคคลอย่างเต็มที่ แทนที่จะเป็นการลดทอนอย่างที่พยายามบ่นด่ากันไม่ใช่หรือ? ในโลกของ facebook ผู้ใช้จะได้เสพสุข, ดำดิ่งกับการกลายเป็นเจ้าอำนาจในการสื่อสารนั้นๆ ตัวผู้ใช้มีสิทธิอุปโลกน์ “โลกส่วนตัว ที่มีรูปธรรม” ของตนขึ้นมา และเลือกกรองเอาเฉพาะสิ่งที่ตนอนุมัติให้เข้ามาได้ ในดินแดนแห่งนี้ตัวผู้ใช้จะดำเนินการสนทนากับ “โลก” ในระนาบที่ผิดแปลกไป จากเดิมที่อยู่ในระนาบที่ “เท่าเทียมกัน” ก็จะกลายมาเป็นการอยู่ในระนาบที่ “ตัวผู้ใช้เหนือกว่าโดยสัมบูรณ์” ดังการใช้มือกับอวัยวะเพศของตนเองที่ตัวเจ้าของร่างกายมีอำนาจ และกรรมสิทธิ์เหนือร่างกายตนอย่างเต็มที่ ผิดกับการร่วมเพศที่เป็นการประลองอำนาจระหว่างบุคคล นั่นทำให้ใน facebook คุณสามารถเลือกที่จะ “สร้างตัวตนโดยสัมบูรณ์ที่ตัดขาดจากการรับรู้ภายนอก” ได้ คุณสามารถด่าทอในสิ่งที่คุณไม่กล้าที่จะทำเมื่ออยู่ในระนาบความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกัน, กด “ชอบ (like)” ข้อความที่คุณคิดว่าดูโก้เก๋ แม้ว่าคุณอาจจะไม่เคยเข้าใจมันเลย, หรือแสดงออกทางอารมณ์อย่างสุดฤทธิ์ ด้วยใบหน้าที่เรียบเฉยดังแก้มก้นเด็ก, ฯลฯ กล่าวคือ facebook ได้ทำให้เกิด “พื้นที่ส่วนบุคคล ที่คุณสามารถสร้างตัวตนโดยสัมบูรณ์ที่คุณต้องการ” จากนั้นก็สัมผัสกับความใคร่ทางสังคมเมื่อมีคนมาปฏิสัมพันธ์กับ “ตัวตนส่วนตัวสัมบูรณ์” ของคุณนั้น...”ซูอาเว่” กันไปข้างหนึ่ง ด้วยระนาบความสัมพันธ์ที่ทำให้คุณกลายเป็นเจ้าอำนาจนี้เองที่ทำให้คนเราเสพติด facebook กันมากขึ้นอย่างล้นหลาม จริงๆ แล้วก็เป็น irony อย่างหนึ่งทีเดียว ที่การเข้าถึงจุดสุดยอดทางสังคม – วัฒนธรรม มีลักษณะที่สวนทางกับการเข้าถึงจุดสุดยอดทางกายภาพ ที่ความนิยมนั้นจะพัฒนาไปจาก “การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เข้าไปสู่การร่วมเพศ” แต่ในทางสังคมแล้ว กลับกลายเป็น “การร่วมเพศ เข้าสู่การสำเร็จความใคร่” ซึ่งจะว่าไปแล้ว ส่วนหนึ่งนั้นก็อาจจะมาจาก “ทางเลือก” ก็เป็นได้ ในขณะที่ทางกายภาพนั้น การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ถูกบีบให้เป็นทางเลือกหลักเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งจะหาคู่ร่วมรักได้ (หากไม่นับข่มขืน) ในทางตรงกันข้าม ก่อนการมีระบบ social network อย่าง facebook เรากลับถูกบีบให้ร่วมเพศทางสังคม – วัฒนธรรม โดยไม่มีตัวเลือกในการสำเร็จความใคร่เลย ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ ที่แม้จะดูมีความเป็นส่วนตัว แต่ระนาบความสัมพันธ์ก็ยังคงไม่ได้แตกต่างอะไรจากเดิม และยังไม่ใช่การตัดขาดโดยสัมบูรณ์ระหว่างตัวผู้ใช้ กับโลกภายนอก มีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเป็นตัวตนในจินตกรรมอันแท้จริงมากำกับ เช่น น้ำเสียง ที่แม้จะเบื่อแสนเบื่อ แต่ก็ต้องทำสดใสร่าเริง ไปจนถึง MSN ที่แม้จะดูส่วนตัวมากขึ้น แต่ระนาบความสัมพันธ์ก็ไม่ได้แตกต่างเช่นกัน ปัจจัยอื่นๆ อันนำมาสู่ความไม่สมบูรณ์ของตัวตนในจินตกรรมก็คงอยู่เช่นกัน เช่น ความไวในการตอบสนอง หรือแม้แต่ท่าทีผ่านการตอบ อย่างการที่อีกฝ่ายพิมพ์มายืดยาว และตอบกลับแค่ “อืม” เป็นต้น กล่าวคือ ด้วยสภาพที่ถูกบีบคั้น และจำเจ ของการมีตัวเลือกเดียวมาโดยตลอดในระยะแรก (การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ในกรณีเชิงกายภาพ และการร่วมเพศ ในกรณีเชิงสังคม – วัฒนธรรม) ที่ทำให้เกิดการถ่ายเท ของการเสพติดมาสู่อีกทางเลือกหนึ่งได้อย่างง่ายดาย เมื่อได้ครอบครองอำนาจในการเลือกทางเลือกใหม่นั่นเอง สุดท้าย...ก็ขอให้ชาว facebook ทุกท่าน จงถึงจุดสุดยอดโดยทั่วกันเทอญ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Posted: 30 Jun 2010 08:31 PM PDT <!--break--> “วิญญาณของประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยัดเยียดจากภายนอกได้ แต่เป็นสิ่งที่ต้องมาจากข้างใน…..” Mahatma Gandhi, ค.ศ. 1869-1948 [1] “ประชาธิปไตยไม่เคยเป็นรางวัลที่หยิบยื่นให้โดยผู้ปกครอง ที่มีเมตตาและสายตายาวไกล. ผู้ปกครองนั้นหรือก็คือคนที่หาทางที่จะ สร้างความชอบธรรมให้แก่ตนเอง. อยากได้ประชาธิปไตยก็ต้องต่อสู้เอา ด้วยการแสวงหาพันธมิตรทางการเมืองที่มีผลประโยชน์-ทรัพย์สินและอำนาจ ร่วมกัน. ประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้และมั่นคงก็ต่อเมื่อมันฝังลึกเข้าไป ในชีวิตและความคาดหวังของพลเมือง และได้รับการตอกย้ำ อย่างต่อเนื่องในหมู่ประชาชนแต่ละรุ่น เมื่อประชาธิปไตยตั้งหลัก ปักมั่นเช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีวันถอยหลังเป็นอื่นอย่างเด็ดขาด...” Sean Wilentz,ค.ศ.2005 [2] “ว่ากันว่า ประวัติศาสตร์คือ เรื่องราวความทุกข์โศกของผู้คน, การประจบสอพลอ ครั้งแล้วครั้งเล่า, และความผิดและฆาตกรรมนับไม่ถ้วน แต่ที่จริง ก็ไม่ใช่เช่นนั้นตลอดเวลา การก้มหน้ายอมจำนนใช่ว่าจะมีอยู่ตลอดไป อย่างเช่นเมื่อ 2,600 ปีที่แล้ว เมื่อชาวกรีกที่อยู่บริเวณชายขอบด้านอาคเนย์ของยุโรปได้ประดิษฐ์สิ่งที่ บัดนี้มีความสำคัญระดับเดียวกับล้อรถ, แท่นพิมพ์, เครื่องจักรไอน้ำ, การโคลนนิ่ง...... ไม่ว่าที่ไหนในโลก คำว่าประชาธิปไตยมีความหมายในเชิงพัฒนาการหรือ ประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้ง... โดยทั่วไป ประชาธิปไตยหมายถึงรูปแบบการเมืองชนิดพิเศษที่ ประชาชนหรือตัวแทนบริหารประเทศโดยมีกฎหมายรองรับ ไม่ใช่บริหารโดยระบอบ เผด็จการทหาร, พรรครวบอำนาจเบ็ดเสร็จ หรือกษัตริย์...... นักคิดกลุ่มหนึ่ง เห็นว่าบัดนี้ ระบอบประชาธิปไตยนั้นได้ชัยชนะทั่วโลกแล้ว หรืออ้างว่าประชาธิปไตย นั้นได้กลายเป็นคุณงามความดีระดับสากลไปแล้ว...” John Keane, ค.ศ. 2009 [3] ระบอบประชาธิปไตยมีหลักการสำคัญหลายข้อ ที่สำคัญมี 7 ข้อ ได้แก่ 1. หลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (People’s sovereignty), 2. หลักการการปกครองโดยประชาชนหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การปกครองตนเอง (Self-Government) ซึ่งอาจเป็นทางตรงหรือทางอ้อม, 3. หลักการเคารพเสียงข้างมาก (Majority Rule), 4. หลักการว่าด้วยความเสมอภาคทางการเมือง (Political freedom) หมายถึงสิทธิ และเสรีภาพทางการเมืองของสมาชิกทุกคนในสังคมที่มีเท่าเทียมกัน, ไม่มีระบบอภิสิทธิ์ในสังคม, ไม่มีระบบสองมาตรฐาน 5. หลักการการปกครองโดยกฎหมาย (Rule of Law) 6. หลักการว่าด้วยกระบวนการพิจารณาความตามกฎหมาย (Due process of law) ที่ให้ความยุติธรรมแก่สมาชิกทุกคนอย่างเสมอภาค เช่น การจับกุม, การตรวจค้น, การสอบสวน, การยื่นฟ้อง, และการตัดสินคดี ฯลฯ ไม่ใช่ทำตามอำเภอใจหรือความไม่เป็นกลางของผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐคนหนึ่งคนใด 7. หลักการการกระจายอำนาจในการบริหาร (Administrative decentralization) รัฐบาลกลางไม่ควรผูกขาดอำนาจในการตัดสินใจในทุกเรื่อง ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นควรมีอำนาจในการตัดสินใจดูแลและบริหารจัดการกิจการในท้องถิ่นของตนเอง (Local Self Government) ทั้งนี้ กิจการใดที่บริหารโดยฝ่ายรัฐบาลกลางหรือท้องถิ่นก็ควรเกิดจากการปรึกษาหารือและตัดสินใจร่วมกัน ด้วยความหลากหลายดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักการที่ว่าเสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์ ต้องเคารพเสียงส่วนใหญ่ ประชาชนคือส่วนที่สำคัญที่สุดในระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งถ้อยคำประวัติศาสตร์ของอับราฮัม ลิงคอล์น – ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐที่ว่า “โดยประชาชน เพื่อประชาชน และของประชาชน” [4] ระบอบการปกครองนี้จึงมีมนต์เสน่ห์อย่างล้ำลึก ปลุกเร้าจิตใจของคนจำนวนมาก ด้วยเหตุนั้น แม้แต่พวกนิยมเผด็จการและระบบอภิสิทธิ์ ก็นำเอาคำว่าประชาธิปไตยไปใช้ แม้ทำสิ่งที่ขัดกับหลักการหลายข้อข้างต้น แต่ก็ยังเรียกว่าประชาธิปไตย หรือปฏิเสธข้อกล่าวหาต่างๆ ทั้งนี้เพื่อหวังให้ตนเองเป็นที่น่านับถือ มีเกียรติและความชอบธรรม และหวังที่จะให้ระบอบการปกครองดังกล่าวได้รับการยอมรับจากประชาชนว่าเป็นประชาธิปไตย ระบอบประชาธิปไตยอาจไม่ใช่ระบอบการปกครองที่ดีที่สุด แต่เมื่อพิจารณาถึงหลักการที่หลากหลายซึ่งเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ มีกติกาที่ฝ่ายต่างๆสามารถเข้าไปแข่งขันกันอย่างยุติ ธรรมและให้โอกาสแก่ทุกๆฝ่าย และเมื่อเปรียบเทียบกับระบอบการปกครองอื่นๆ และที่สำคัญพิจารณาจากประสบการณ์ในอดีตของประเทศต่างๆจำนวนมากที่ได้ผ่านระบอบการปกครองหลายแบบ ในที่สุด ระบอบประชาธิปไตยก็ได้พิสูจน์ให้เห็นการเป็นทางออกของการยุติความขัดแย้งในแต่ละสังคม เกิดการแข่งขันเสรี การตรวจสอบและขัดขวางอำนาจที่ฉ้อฉล การให้รางวัลแก่ผู้ชนะและการลงโทษผู้กระทำผิด สร้างคุณธรรมให้ทุกฝ่ายเคารพกติกา รู้แพ้รู้ชนะ สังคมมีระเบียบแบบแผน เมื่อสังคมมีกติกา มีความเสมอภาคและความยุติธรรม การยอมรับระบบ ความมั่นคง ความสามัคคีและสันติสุขในสังคมก็บังเกิดขึ้น ในหนังสือที่ยกย่องกันเป็นตำราของวิชารัฐศาสตร์ ผู้คนมักอ้างกันเรื่อยมาคือหนังสือชื่อ Republic (สาธารณรัฐ) เขียนโดยเพลโต้ นักปรัชญาชาวกรีกผู้ยิ่งใหญ่ (Plato, 429-347 B.C.) ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนให้ความสำคัญต่อผู้นำนักปกครองที่เป็นนักปราชญ์ด้วย (Philosopher King) ซึ่งหมายถึงผู้นำจำนวนน้อยที่ทรงความรู้และมีจริยธรรม บริหารรัฐเพื่อประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่ การตอกย้ำแนวความคิดเช่นนี้ทำให้ในที่สุด คนที่ได้เรียนรู้จึงเห็นว่านักปราชญ์เช่นเพลโต้ มีแนวความคิดแบบชนชั้นนำ (Elitist) ไม่เชื่อในสิทธิและเสรีภาพของคนส่วนใหญ่ ที่จริง เพลโต้เขียนหนังสือหลายเล่ม เล่มที่เพลโต้เขียนในตอนบั้นปลายของชีวิตและตำรารัฐศาสตร์ของไทยแทบไม่พูดถึงเลยก็คือ Laws (กฎหมาย) เป็นเล่มสำคัญเพราะหนังสือดังกล่าวสะท้อนให้เห็นจุดยืนเพื่อประชาธิปไตยของเขา เพลโต้ได้เขียนว่า ความปรารถนาที่จะเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ (Perfect citizen) นั้นเป็นคุณธรรมหรือความดี (Virtue) อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังกัน หาใช่สิ่งที่ติดมากับทุกคนไม่ มนุษย์เกิดมาไม่อาจเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์โดยอัตโนมัติ แต่จะต้องได้รับการปลูกฝังให้มีคุณธรรมข้อหนึ่ง นั่นคือ ความปรารถนาแรงกล้าที่จะเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ และการปลูกฝังคุณธรรมข้อนั้นจะต้องเริ่มตั้งแต่เยาวชน พลเมืองที่สมบูรณ์จะต้องรู้ทั้งหลักการปกครองและหลักการเป็นผู้ถูกปกครอง เป็นพลเมืองในสังคมที่ผู้บริหารมีวาระในการดำรงตำแหน่ง และประชาชนซึ่งเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ก็สลับกันเข้าไปบริหารรัฐตามวาระที่กฎหมายกำหนด การเมืองไม่ใช่เรื่องของการผูกขาดอำนาจเช่นที่ทำในระบอบอำนาจนิยม ในแง่นี้ ก็หมายความว่าเพลโต้เห็นด้วยกับแนวคิดว่าด้วยความ สำคัญและบทบาทของพลเมืองและรัฐประชาธิปไตย เพลโต้มีแนวคิดชนชั้นนำในระยะ แรกๆ (เนื่องจากมวลชนตัดสินลงโทษเอาชีวิตของครูของท่าน คือ โสเครตีส (Socrates, 469-399 B.C.) แต่ตอนท้าย ท่านก็ชี้ให้เห็นความสำคัญและยอมรับแนวคิดว่าด้วยระบอบประชาธิปไตย [5] และต่อจากนั้น อริสโตเติ้ล (Aristotle, 384-322 B.C.) ผู้เป็นศิษย์ได้พัฒนาแนวคิดประชาธิปไตยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความสำคัญของบทบาทการมีส่วนร่วมในการเมืองและกิจการสาธารณะของประชาชน และศักยภาพของมนุษย์ที่จะพัฒนายิ่งๆขึ้นไปเมื่อเขาเข้าร่วมในการจัดการกิจการสาธารณะ [6] กำเนิดและการเติบโต เอกสารที่ผ่านมาแทบทุกเล่มกล่าวตรงกันว่าประชาธิปไตยถือกำเนิดครั้งแรกที่กรีซเมื่อ 2,600 ปีก่อน ชาวกรีกในเวลานั้นเรียกระบอบการปกครองนี้ว่า Demokratia หรือระบอบการปกครองของประชาชนนั่นเอง เพราะคำว่า kratos แปลว่าการปกครอง ส่วนคำว่า demos แปลว่า ประชาชน [7] คำถามมีว่าเหตุใดระบอบดังกล่าวจึงเกิดขึ้นที่นั่น คำตอบก็คือเพราะที่นั่นมีปัจจัยสำคัญ 4 ด้าน ดังที่จะได้กล่าวต่อไป ในปี พ.ศ. 2552 นี้ มีงานสำคัญ 2 ชิ้นปรากฏขึ้น คืองาน The Life and Death of Democracy (ชีวิตและความตายของประชาธิปไตย) เขียนโดย John Keane เป็นงานระดับสากล และงานอีกชิ้นหนึ่งเป็นงานของคนไทยคือ ตะวันออก-ตะวันตก...ใครสร้างโลกสมัยใหม่. เขียนโดย เอนก เหล่าธรรมทัศน์ [8] ประเด็นหนึ่งที่จอห์น คีน เสนอคือ คำว่าประชาธิปไตย มิใช่เกิดขึ้นในกรีซ แต่เกิดขึ้นในยุคไมซีเนียน (Mycenaean period) ระหว่าง 7-10 ศตวรรษก่อนหน้านั้นในบริเวณตะวันออกของกรีซ และที่สำคัญ มีการค้นพบหลักฐานว่ามีชุมชนหลายแห่งที่ปกครองตนเองโดยใช้ระบบสภาชุมชน (self-governing assemblies) ในแถบตะวันออกกลางที่ปัจจุบันนี้คือ ซีเรีย อิรัก และอิหร่าน และประเพณีประชาธิปไตยดังกล่าวได้แพร่หลายไปยังอินเดียราว 1,500 ปีก่อนคริศตกาล [9] ข้อเสนอของจอห์น คีน สอดรับกับความเห็นหลักของเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ที่ว่าอารยธรรมตะวันออกนั้นมีความยิ่งใหญ่ในอดีต “ในช่วง ค.ศ. 500-1800 ตะวันออกเจริญก้าวหน้ากว่าตะวันตก และอารยธรรมที่ก้าวหน้าเหล่านั้นได้เผยแพร่เข้าสู่ตะวันตก... ต่อมา ด้วยยุทธวิธีและโอกาสบางอย่างต่างหาก ที่ทำให้มหาอำนาจตะวันตกทั้งหลาย ค่อยๆไล่แซงหน้าตะวันออกไปได้ แต่นั่นก็ต้องใช้เวลาอีกราว 3 ศตวรรษ (จากปี ค.ศ. 1500 ที่ตะวันตกเริ่มบุกเบิกแล่นเรือไปสำรวจและค้าขายกับเอเชีย...จับทาสผิวดำในอัฟริกา และยึดครองทวีปอเมริกาทั้งมวล) จึงทำได้สำเร็จ” [10] โลกใบนี้มีประชาชนที่หลากหลาย และส่วนใหญ่ที่สุดมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นๆและเรียนรู้จากกัน แทบไม่มีกลุ่มใดที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวตลอดไป ดังนั้น การเคลื่อนย้ายและเลื่อนไหลของอารยธรรมจึงเป็นปรากฎการณ์ปกติในสังคม คำถามที่สำคัญกว่า (ถ้าหากว่าข้อเสนอทั้งสองเป็นจริง) คือ 1. หากระบอบประชาธิปไตยมีมานานแล้วในเอเชียก่อนยุคกรีซ และ 2. หากอารยธรรมของตะวันออกยิ่งใหญ่เป็นเวลานานก่อนที่จะถูกตะวันตกแซงในระยะหลัง) อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมหนึ่งเป็นประชาธิปไตย ปัจจัยภายในของประชากร ชุมชน และรัฐมีบทบาทอย่างไร และสัมพันธ์อย่างไรกับปัจจัยระดับกลางนั่นคือสถาบันและโครงสร้างสังคมที่ประชากรของสังคมนั้นสร้างขึ้น และสัมพันธ์อย่างไรกับปัจจัยภายนอกได้แก่สภาพสิ่งแวดล้อม เช่น ขนาดและคุณภาพของดิน แม่น้ำ อากาศ ทำเลที่ตั้งและเพื่อนบ้านโดยรอบ ปัจจัยทั้งสามนี้มีบทบาทอย่างไร และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและนำไปสู่การสร้างบทบาทใหม่ๆต่อสังคมนั้นอย่างไรบ้าง เอเชียเป็นทวีปใหญ่ มีประชากรมากกว่าทวีปอื่น ทั้งยังมีความหลากหลาย และกระจายตัว ผิดกับยุโรปที่มีความใกล้ชิดกันมากทั้งด้านทำเลที่ตั้ง ภูมิอากาศ สภาพเศรษฐกิจ ตลอดจนลักษณะร่วมทางภาษาและวัฒนธรรม หลายส่วนเกิดขึ้นตั้งแต่จักรวรรดิโรมันที่ทำให้ยุโรปแทบทั้งหมดอยู่ภายใต้โครงสร้างอำนาจเดียวกัน หากเราคิดว่าตะวันออกจะกลับมายิ่งใหญ่ในศตวรรษนี้ เราก็ควรตอบคำถามว่าความยิ่งใหญ่ที่ว่านั้นคืออะไร การที่จีนประสบความสำเร็จอย่างสูงทางเศรษฐกิจ เริ่มแซงสหรัฐและยุโรปในด้านการลงทุนและการส่งออก ฯลฯ “ศตวรรษที่ 21 คือ ศตวรรษของตะวันออก” อินเดียก็ประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับญี่ปุ่น และ 4 มังกรน้อยแห่งเอเชีย (เกาหลีใต้-ไต้หวัน-ฮ่องกง-สิงคโปร์) แต่ประเทศอื่นๆ เล่า เช่น เกาหลีเหนือ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย พม่า เนปาล ศรีลังกา เป็นอย่างไร ตลอด 5 ศตวรรษที่ผ่านมา ไทยเคยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกในบางทศวรรษ ไม่เคยต้องเผชิญสงคราม โดดเด่นในด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวและการติดต่อกับโลกตะวันตก และเป็นศูนย์กลางการบินที่สำคัญระดับโลก แต่ยิ่งเวลาผ่านไป ความแตกต่างระหว่างรายได้ของผู้คนในสังคมกลับนับวันเป็นปัญหาใหญ่ การเมืองเรื่องประชาธิปไตยเกิดความแตกแยกขัดแย้งกันอย่างมากโดยเฉพาะ 3-4 ปีมานี้ ฯลฯ การเดินทางต่อของประชาธิปไตย การปกครองตนเองในระดับชุมชนอย่างที่จอห์น คีน พูดถึงบริเวณเอเชียตะวันกลางและอินเดียเมื่อ 3 พันปีก่อน คงเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงและมีในบริเวณอื่นๆอีกหลายแห่ง ขึ้นอยู่กับว่านักวิชา การมีข้อมูลมากเพียงใด และมีความสนใจที่จะศึกษาและวิเคราะห์ว่า ประชาธิปไตยมีการพัฒนาอย่างไรในพื้นที่ต่างๆ ความสำคัญในทางวิชาการจึงไม่น่าจะอยู่ที่ว่าประชาธิปไตยถือกำเนิดในดินแดนใดเป็นครั้งแรกของโลก เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับข้อมูลและความสามารถในการศึกษาค้นคว้าและการวิเคราะห์ (ที่พัฒนาต่อเนื่องมาเป็นลำดับ) แต่น่าจะอยู่ที่ว่า เราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากข้อมูลเท่าที่มีอยู่ และยังมีประเด็นใดอีกที่ต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม จากหลักฐานที่ปรากฏ การปกครองแบบประชาธิปไตยในกรีซซึ่งมีชุมชนมากมายบนเกาะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมืองเอเธนส์เมื่อ 2 พันกว่าปีที่แล้ว มิได้เกิดขึ้นตั้งแต่แรกเริ่มของชุมชนนั้น แต่เกิดขึ้นจากการต่อสู้กับระบอบราชาธิปไตยและอภิชนาธิปไตย (หรืออำมาตยาธิปไตย - Aristocracy). ประชาธิปไตยของเอเธนส์มิใช่เกิดขึ้นแบบทันทีทันใดหรือมีทฤษฎีชี้นำ [11] แต่เป็นผลของการคลี่คลายของภาวะเศรษฐกิจ-การเมืองและสังคมของชาวเอเธนส์ เช่น ในยุคราชาธิปไตย เมืองเอเธนส์มีทั้งสภาผู้อาวุโส และสภาประชาชน (อย่างหลังประกอบด้วยชายทุกคนในกองทัพ) ตัวอย่างเช่น กรณีกษัตริย์ไม่มีผู้สืบเชื้อสาย สภาผู้อาวุโสจะเป็นผู้คัดเลือกและขอความเห็นจากสภาประชาชน หรือระบอบอภิชนาธิปไตยที่อำนาจของขุนนางเพิ่มมากขึ้นทำให้เสรีชนไม่พอใจ ปัจจัยสำคัญ 4 ข้อที่ก่อให้เกิดระบอบประชาธิปไตยในกรีซ ก็คือ หนึ่ง วัฒนธรรมที่มีความอยากรู้อยากเห็น สงสัย ชอบตั้งคำถาม ใฝ่รู้ และแสวงหาคำตอบ มีการศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ดังคำในภาษากรีกที่ว่า Philosophy ซึ่งแปลว่าความรักในความรู้ (ซึ่งส่งผลให้กรีซสร้างองค์ความรู้ที่ยอดเยี่ยมในแทบทุกสาขาวิชา) [12] อีกคำหนึ่งก็คือ historia ซึ่งแปลว่า การค้นคว้าวิจัย [13] สอง วัฒนธรรมที่ชาวกรีกเห็นคุณค่า, บทบาทและศักยภาพของมนุษย์, ให้ความ สำคัญต่อความเป็นมนุษย์ ต่อการสร้างภูมิปัญญา และต่อความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ หรือที่เรียกว่าลัทธิมนุษยนิยม (Humanism) สาม วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่เน้นให้ความสำคัญของกิจการสาธารณะ (Public affairs) เหนือกว่าธุรกิจส่วนตัว และความสำคัญของการที่พลเมืองแต่ละคนควรเข้าร่วมในการบริหารจัดการกิจการดังกล่าว หรือที่ปัจจุบันชอบเรียกว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน มีการยกย่องวัฒนธรรมเหล่านั้นและดูถูกเหยียดหยามคนที่ไม่เอาใจใส่ในเรื่องส่วนรวม สนใจแต่เรื่องธุรกิจและผลประโยชน์ของตนเอง [14] สี่ ทำเลที่ตั้งและทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของกรีซโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองท่า เกาะจำนวนมากของกรีซ สร้างเมืองท่าที่ยอดเยี่ยม มีอากาศที่ไม่หนาวจัดหรือร้อนจัด สามารถเดินเรือได้ตลอดปี ล้อมรอบด้วยเมืองใหญ่แทบทุกทิศถึง 3 ทวีปที่มีการค้าขายและต้องการสินค้าต่างๆ และ ห้า บวกกับศักยภาพทางการผลิตภาคเกษตรและหัตถกรรม มีสินค้าสำคัญที่เป็นที่ต้องการอย่างมาก เช่น เหล้าองุ่น น้ำมันมะกอก เครื่องปั้นดินเผา แพรพรรณ ไม้ โลหะภัณฑ์โดยเฉพาะเครื่องมือและอาวุธที่ทำด้วยเหล็กคุณภาพดี ฯลฯ ชนชั้นพ่อค้า เจ้าของธุรกิจ ช่างฝีมือ แรงงานรับจ้างจึงเพิ่มพูนอำนาจและบทบาททางเศรษฐกิจ ต้องการแรงงานทาสจำนวนมาก ยิ่งมีการผลิตเหรียญจากโลหะ ก็ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมการค้าขายและเพิ่มพูนโภคทรัพย์ [15] อำนาจและบทบาททางเศรษฐกิจที่เติบใหญ่ทำให้พวกเขาคัดค้านการผูกขาดอำนาจของระบอบราชาธิปไตยและอภิชนาธิปไตย พวกเขาต้องการอำนาจ สิทธิและเสรีภาพที่ให้หลัก ประกันแก่พวกเขาในทางเศรษฐกิจ ตลอดจนอำนาจและบทบาททางการเมืองและการบริหารชุมชนของพวกเขา และนั่นคือระบอบประชาธิปไตยเพื่อพวกเขาและชุมชนของพวกเขา ประชาธิปไตยของเอเธนส์เป็นประชาธิปไตยทางตรง (Direct democracy) เป็นระบอบประชาธิป ไตยที่ชายชาวกรีกทุกคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและผ่านการเป็นทหาร 2 ปี มีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน เป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ มีสภาผู้แทนฯ พลเมืองแต่ละคนไม่ว่ามีรายได้หรือทรัพย์สินเท่าใดสามารถเข้าไปในสภาเพื่อออกความเห็นและตัดสินใจในกิจการสาธารณะได้ทุกเรื่อง (เช่น อัตราภาษี, การบริหารเมือง, นโยบายต่างประเทศ, และศาสนา) พลเมืองผลัดเปลี่ยนกันทำงานในสภาและเป็นลูกขุนในการตัดสินคดีความต่างๆ ส่วนสตรี ทาส และคนต่างด้าวมิได้เป็นพลเมือง จึงไม่มีสิทธิเสรีภาพหรือบทบาททางการเมืองใดๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น [16] การปกครองของประชาชนชาวเอเธนส์เริ่มก่อร่างในสมัยโซลอน (Solon, 638-558 B.C.) ในระยะดังกล่าว พลเมืองมีสิทธิในการเลือกตั้งและสมัครรับเลือกตั้งเข้าไปเป็นผู้แทนเพื่อทำงานในสภาและเป็นฝ่ายบริหาร ผลัดเปลี่ยนกันเป็นลูกขุน (juror) คำที่ใช้ในเวลานั้นสำหรับระบอบการปกครองดังกล่าวมีเพียงคำว่า Eunomia (Good order – ระบอบที่ดี) ผลงานสำคัญของโซลอนคือ การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือชาวนาจน ยอมให้ช่างฝีมือต่างชาติที่อพยพเข้าไปได้เป็นพลเมืองของเอเธนส์ มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อแบ่งพลเมืองตามระดับของรายได้ ทั้งนี้เพื่อให้ชาวเอเธนส์ทุกคนไม่ว่าจะมีรายได้เท่าใดเป็นพลเมืองที่มีสิทธิเลือกตั้ง และรับการเลือกตั้งเข้าไปในสภาได้ เป็นลูกขุนได้ แต่ไม่มีสิทธิในการเข้ารับตำแหน่งบริหาร [17] ต่อมาในยุคของไคลธีนิส (Cleisthenes, 565-500 B.C.) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเขาคือผู้สถาปนาระบอบประชาธิปไตยของเอเธนส์ (Creator of Athenian democracy) ก็ได้เกิดคำใหม่คือ Isonomia (หรือ Political equality – ความเสมอภาคทางการเมือง) เข้าแทนที่คำว่า ระบอบที่ดี ผลงานของไคลธีนิสคือ การลดอำนาจของชนชั้นขุนนาง แบ่งเขตการเมืองให้มากขึ้น พร้อมกับเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่พลเมืองทุกคน ชาวกรีกทุกคนรวมทั้งเกษตรกรที่ไร้ที่ดินทำกินมีสิทธิเสรีภาพเท่ากัน ให้พลเมืองในแต่ละเขตปกครองตนเอง แต่ละชุมชนต่างๆมีสภาของตนเอง เน้นหลักความเป็นอิสระของแต่ละชุมชน รูปแบบการปกครองของเมืองเอเธนส์ทั้งหมดจึงมีลักษณะที่ปัจจุบันเรียกว่า สมาพันธรัฐ (Confederation) ไคลธีนิส ได้จัดตั้งมาตรการที่เรียกว่า ostracism หมายถึงสภาของพลเมืองสามารถลงมติขับไล่สมาชิกที่ไม่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ผู้ที่ถูกขับออกจากสภาจะต้องถูกเนรเทศออกจากเมืองเป็นเวลาถึง 10 ปี [18] จนกระทั่งถึงยุคของ เพรีคลิส (Pericles, 490-429 B.C.) จึงเกิดคำว่า Demokratia เข้าแทนที่ และหมายถึงหลักการสำคัญคือ การปกครองโดยระบบกฎหมาย, เสรีภาพ และเสมอภาค ดังสุนทรพจน์ของเขาในปี 430 ก่อนคริสตกาล ต่อไปนี้ “อันรัฐบาลของเรานั้น จะได้ลอกแบบการปกครองมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ก็หามิได้ เราเป็นตัวอย่างให้เขา มิใช่เขาเป็นตัวอย่างให้เรา การปกครองของเรานั้น เรียกว่าประชาธิปไตย เพราะเหตุว่ามิได้อยู่ในมือของคนจำนวนน้อย หากอยู่ในมือ ของคนจำนวนมาก แต่กฎหมายของเราก็ให้ความยุติธรรมเสมอหน้ากันหมด... เรา เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนในการปกครองประเทศ...ในทางส่วนรวม เราทำกฎหมาย อย่างเคร่งครัด... เราเคารพกฎหมาย รวมทั้งกฎหมายอันมิได้จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร .... พลเมืองของเราทำการทั้งเพื่อส่วนตัวและส่วนรวม และไม่ปล่อยธุรกิจส่วนตัวมาก มายมาทำลายความเอาใจใส่เรื่องกิจการของรัฐ เราผิดกับรัฐอื่นๆ ตรงที่ถือว่าคนที่ไม่ มีส่วนร่วมใดๆในกิจการสาธารณะ สนใจแต่เพียงธุรกิจของตัวเอง นับเป็นคนไร้ค่า และเราชาวเอเธนส์สนใจและตัดสินใจปัญหาของส่วนรวมก็เพื่อตัวเราเอง หรืออย่าง น้อยก็พยายามเข้าใจปัญหาเหล่านั้นให้ดี ด้วยเชื่อมั่นว่าข้อขัดแย้งต่างๆไม่ใช่จะทำให้ เราไม่ทำอะไร ตรงกันข้าม ต้องถกเถียงกันก่อนจึงจะได้ข้อสรุป แล้วค่อยลงมือ...” [19] ถ้อยคำข้างต้นนี้สะท้อนให้เห็นจิตวิญญาณประชาธิปไตย (Democratic spirits) ที่ชาวเอเธนส์ได้สร้างขึ้น และห้อมล้อมหลักการที่สำคัญ 5 ข้อคือ 1. การปกครองด้วยระบบกฎหมาย 2. ความเสมอภาคทางการเมือง 3. เสรีภาพทางการเมืองของพลเมือง 4. การให้ความสำคัญต่อผล ประโยชน์สาธารณะ และ 5. หลักการการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน การให้ความสำคัญต่อระบบกฎหมาย, สิทธิและเสรีภาพตลอดจนความเสมอภาคของประชาชนที่มีมากขึ้นเป็นลำดับ และลิดรอนอำนาจการปกครองของกษัตริย์และขุนนางได้สะท้อนให้เห็นพัฒนาการอย่างเป็นขั้นตอนของระบอบประชาธิปไตย บทบาทและอำนาจทางเศรษฐกิจรวมทั้งจิตสำนึกของชาวกรีก โดยเฉพาะของเสรีชนที่เพิ่มขึ้นผลักดันให้ระบอบการเมืองมีลักษณะเปิดกว้างมากขึ้น เอื้อประโยชน์ให้แก่ประชาชนมากขึ้นๆ จนเกิดระบอบการปกครองของพลเมืองและโดยพลเมือง แทนที่ระบอบเอกาธิปไตยและคณาธิปไตย [20] ระบอบประชาธิปไตยของเอเธนส์ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างปี 479 – 322 ก่อนคริสตกาล (ดำรงอยู่ราว 157 ปี) มิได้ตกลงมาจากฟ้าหรือได้รับการมอบให้จากชนชั้นนำซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อย แต่เป็นการผลักดันและต่อสู้เพื่อให้อำนาจ สิทธิและเสรีภาพเป็นของเสรีชนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ [21] การปฏิวัติประชาธิปไตยของเอเธนส์เกิดขึ้นและพัฒนาขณะที่รัฐอื่นๆของกรีซที่อยู่ใกล้เคียงปกครองด้วยระบอบคณาธิปไตย ด้วยเหตุนี้ เอเธนส์จึงถูกรัฐอื่นมองเป็นศัตรู และเพื่อมิให้ลุกลามไปยังรัฐอื่นๆ เอเธนส์จึงถูกรุกรานและทำลายในเวลาต่อมา [22] การที่โรมันเป็นจักรวรรดิ ที่ครอบครองดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาล และปกครองประชา ชนจำนวนมาก และเพื่อธำรงรักษาสถานภาพและอำนาจดังกล่าว ระบอบการปกครองที่ให้สิทธิและเสรีภาพตลอดจนความเสมอภาคแก่ประชาชนจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ ความหมายของคำว่าพลเมืองที่กรีกใช้โดยหมายถึงผู้มีสิทธิเสรีภาพและอำนาจในการบริหารรัฐ จึงเปลี่ยนไปเป็นราษฎร หรือผู้ถูกปกครอง (Subjects) ที่ไม่มีสิทธิเสรีภาพใดๆ มีเพียงหน้าที่ที่ต้องฟังคำสั่งจากผู้ปกครองและปฏิบัติตาม แต่แม้ไม่มีการพัฒนาประชาธิปไตยในจักรวรรดิโรมัน แต่การให้ความสำคัญต่อกฎหมายและเคารพกฎหมายในจักรวรรดิโรมันก็ได้กลายเป็นหลักการสำคัญของการปกครองในยุคต่อๆมารวมทั้งยุคของระบอบประชาธิปไตย [23] ระบอบประชาธิปไตยกลับมาอีกครั้งอย่างค่อยเป็นค่อยไปในทวีปยุโรปเมื่อได้เกิดการเติบโตของการค้าและชนชั้นพ่อค้าในตอนปลายของยุคกลาง (Middle Ages, ค.ศ. 476-1300) การค้าขายที่ขยายตัวทำให้เกิดเมืองอันเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนและศูนย์ขนถ่ายสินค้าตามจุดต่างๆทั่วทั้งทวีป เมืองเหล่านั้นกลายเป็นที่ส้องสุมของพ่อค้าที่ร่ำรวยทั้งกำลังทรัพย์, ประสบการณ์ และความรู้-ความคิดอ่านที่สะสมมาจากการค้าขายในทุกสารทิศ เกิดความต้องการในสินค้า ทำให้ต้องเพิ่มการผลิต ต้องการแรงงานเพิ่ม เกิดการรวมตัวกันของช่างฝีมือเป็นสมาคมช่างฝีมือ (Gilds) ยิ่งผลักดันให้แรงงานไพร่หลบหนีออกจากแว่นแคว้นศักดินาเข้ามาอยู่ในเมือง จนเกิดความขัดแย้งกับระบอบศักดินาซึ่งต้องการควบคุมแรงงานไพร่ทาสไว้ ฯลฯ ในที่สุด ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา เมืองเหล่านี้จึงเติบโตขึ้นและแตกต่างจากแว่นแคว้นศักดินาทั้งหลายเพราะเมืองเป็นศูนย์กลางของเหล่าพ่อค้าและแรงงานเสรี ชาวเมืองสามารถบริหารเมืองได้อย่างเป็นอิสระ อีกทั้งได้รับการคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สิน โดยพ่อค้าได้ให้เงินตราและ/หรือสินค้าแก่กษัตริย์และเจ้าแคว้นศักดินาต่างๆเป็นการตอบแทน มีการจัดทำข้อตก ลงระหว่างทั้งสองฝ่ายเรียกว่าข้อตกลงเมือง (City Charter) ไพร่ทาสหนีการจองจำของแว่นแคว้นศักดินาเพื่อแสวงหาเสรีภาพและโอกาสใหม่ๆในเมือง สิทธิของพ่อค้าและแรงงานเสรีในเมืองทำให้เกิดความจำเป็นในการดูแลและบริหารเมือง มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งเพื่อดูแลปัญหาต่างๆของเมือง ซึ่งค่อยๆนำไปสู่การเสริมสร้างจิตสำนึกของชาวเมือง และเล็งเห็นความจำเป็นในการจัดการปัญหาต่างๆของเมืองโดยชาวเมือง เช่น ถนน สะพาน แสงสว่างริมถนน น้ำประปา ที่อาบน้ำสาธารณะ ขยะ ทางเท้า ฯลฯ นี่คือกำเนิดของประชาธิปไตยของเมืองหรือของท้องถิ่น (Local democracy) ชาวเมืองเห็นความสำคัญของการเลือกตั้งตัวแทนเข้าไปนั่งในสภาท้องถิ่นเพื่อทำหน้าที่ออกข้อกฎข้อบังคับและแต่งตั้งผู้บริหารชุมชนนั้น สิทธิและหน้าที่ของชาวเมือง การสร้างอัตลักษณ์ของเมืองหรืออัตลักษณ์ท้องถิ่น ฯลฯ การปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น (Local self government) มิใช่กระบวนการที่เกิดขึ้นทันทีทันใด แต่เป็นผลพวงของการเติบโตของการค้า การผลิต รายได้ที่เพิ่มพูนของพ่อค้า เจ้าของธุรกิจต่างๆ ช่างฝีมือ และแรงงานเสรีที่เพิ่มขึ้นๆ บวกกับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การเรียนรู้จากเมืองต่างๆ หมายความว่าเศรษฐกิจที่เติบโตบวกกับวัฒนธรรมที่หลากหลาย นำไปสู่การปฏิเสธระบบศักดินา และการสร้างระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบใหม่ที่สมาชิกแต่ละคนมีบทบาทในการบริหารพื้นที่ ประชาธิปไตยท้องถิ่นที่เติบใหญ่ในระหว่างศตวรรษที่ 10 ถึง 14 ได้กลายเป็นลักษณะพื้นฐานทางการเมืองอันจะนำไปสู่ประชาธิปไตยระดับชาติในขั้นถัดไป [24] นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา มีเมืองที่เติบโตจากการค้าขายและการผลิตเป็นจำนวนมาก เช่น เวนิส เจนัว ฟลอเรนซ์ มิลาน ในอิตาลี, มาร์เซยส์ ดีจ็อง ตูลูส ปารีส ในฝรั่งเศส, สตร๊าสบวร์ก ไมนซ์ โคโลญจ์ ในเยอรมนี, บรู๊จ ก๊องต์ บรัสเซลส์ ในเบลเยี่ยม, อันทเวิร์ป ในฮอแลนด์ อ๊อกซฟอร์ด, นอริช ลอนดอน ในอังกฤษ, วอร์ซอว์ เคียฟ โนฟการัด โพสท์นัน คราโคว์ ในยุโรปตะวันออก และแต่ละเมืองล้วนมีประสบการณ์ในการสร้างระบบการปกครองตนเองเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ [25] แต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10 – 18 มีปัจจัยสำคัญอีกหลายอย่างนอกจากการเติบโตของเมืองและการเติบโตของประชาธิปไตยในท้องถิ่น ที่ทำให้เกิดการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระดับชาติ ได้แก่ การเสื่อมและสิ้นสุดลงของระบบศักดินา, การเติบโตของรัฐชาติและระบอบกษัตริย์, การเกิดขึ้นของการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance) ซึ่งนำไปสู่การให้ความสำคัญแก่ลัทธิมนุษยนิยม (Humanism) การพัฒนาการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ซึ่งนำไปสู่การเสนอทฤษฎีว่าด้วยโลกกลม, การเดินทางพบโลกใหม่, ลัทธิล่าอาณานิคม, ลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism), การปฏิรูปศาสนา (Reformation), และการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) เราจะพบว่าเมื่อ John Locke (ค.ศ. 1623-1704) เสนอแนวคิดสำคัญเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยที่ว่า “ระบอบการปกครองที่จะต้องได้รับความเห็นชอบของประชาชน” ความคิดดังกล่าวก็คือความคิดของคนชั้นกลางในอังกฤษที่เกิดหลังจากความพยายามของขุนนางอังกฤษที่ต้องการมีสิทธิมีเสียงในการบริหารประเทศของกษัตริย์อังกฤษเริ่มเมื่อ 4 ศตวรรษก่อน แต่ในความเป็นจริง กลุ่มคนที่เรียกร้องเสรีภาพในการนับถือศาสนาในอังกฤษและคนชั้นกลางที่ใฝ่หาเสรีภาพทางการเมืองได้เริ่มมีบทบาทแล้วตั้งแต่สมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 (ค.ศ. 1491-1547) จนกระทั่งพวกเขาหนีไปตั้งรกรากในอเมริกา ไม่ยอมรับลัทธิล่าอาณานิคม ต้องการสถาปนารัฐประชาธิปไตย เช่นเดียวกับการลุกขึ้นคัดค้านระบบศักดินาของคนชั้นกลางและชั้นล่างในฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 [26] จากการสำรวจการเกิดขึ้นและพัฒนาการของประชาธิปไตยระดับชาติในประเทศที่พัฒนาแล้ว เราพบรูปแบบพัฒนาการของประชาธิปไตยอย่างน้อย 5 รูปแบบ คือ 1. รูปแบบวิวัฒนาการ (Evolution model) 2. รูปแบบการปฏิวัติของอเมริกัน (American Revolution model) 3. รูปแบบการปฏิวัติของฝรั่งเศส (French Revolution model) 4. รูปแบบการสถาปนาระบอบประชาธิปไตย (Creation of Democratic Regime model) และ 5. รูปแบบการสถาปนาเผด็จการทหารและถูกพลังประชาธิปไตยขับไล่ (Creation of Military Dictatorship model) 1. รูปแบบวิวัฒนาการ “โดยธรรมชาติ คนเราล้วนเกิดมามีเสรี เท่าเทียมกัน และมีอิสรภาพ ไม่มีใครที่จะถูกผลักไสออกจากที่พักของตน หรือต้องตกอยู่ใต้อำนาจ การปกครองของผู้อื่น โดยที่เจ้าตัวไม่ยินยอมพร้อมใจ...” John Locke, ค.ศ. 1632-1704 หมายถึงระบอบประชาธิปไตยที่มีพัฒนาการมายาวนาน ผ่านการต่อสู้ระหว่างสถาบันต่างๆ และได้จัดการแก้ไขข้อขัดแย้งต่างๆมาแล้วหลายครั้ง จนฝ่ายต่างๆยอมรับกติกาต่างๆร่วมกัน ส่งผลให้สถาบันดั้งเดิมและสถาบันใหม่อยู่ร่วมกันได้ ตัวอย่างสำคัญของรูปแบบนี้คืออังกฤษ ที่ขุนนางคัดค้านการใช้อำนาจของกษัตริย์ (พระเจ้าจอห์น, ค.ศ. 1199-1216) เกิดการบังคับให้กษัตริย์ยอมรับกฎบัตร ที่เรียกว่า Magna Carta ในปี ค.ศ. 1215 ซึ่งระบุว่ากษัตริย์ต้องอยู่ใต้กฎหมายเช่น เดียวกับคนอื่นๆในรัฐ และไม่อาจเก็บภาษีหากมิได้รับการยินยอมจากขุนนาง Magna Carta จึงถือเป็นจุดสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของอังกฤษ ส่วนรัฐสภาซึ่งประกอบ ด้วยขุนนาง พ่อค้า และสามัญชนหรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นตัวแทนของทุกฝ่ายรวมทั้งเมืองและชนบทได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1295 และแม้ว่ามีกษัตริย์หลายพระองค์ที่ไม่ยอมรับกฎบัตรดังกล่าว มีการต่อสู้และขัดแย้งกันหลายครั้ง จนกษัตริย์บางองค์ถูกขุนนางถอดถอน บางองค์ถูกประหาร เช่น ชาร์ลสที่ 1 ในปี ค.ศ. 1649 เนื่องจากพระองค์ยุบสภาในปี ค.ศ. 1625 บริหารประเทศแบบเอกาธิปไตย และได้ฉ้อฉลอำนาจหลายครั้ง [27] การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (Glorious Revolution, 1688-89) จบลงด้วยการถอดถอนกษัตริย์ เจมส์ที่ 2 เนื่องจากบริหารประเทศแบบเผด็จการ รัฐสภาได้ยึดกุมอำนาจการบริหารและแต่งตั้งกษัตริย์องค์ใหม่ ชัยชนะครั้งนี้ทำให้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สิ้นสุดลง และเป็นจุดเริ่มต้นของระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญมาจนถึงยุคปัจจุบัน [28] 2. รูปแบบการปฏิวัติอเมริกัน “ข้าพเจ้าได้สาบานต่อหน้าแท่นแห่งพระผู้เป็นเจ้าว่า จะขอ เป็นปฏิปักษ์กับทรราชทุกรูปแบบที่ครอบงำจิตใจผู้คนตราบชั่วนิรันดร์” Thomas Jefferson, ค.ศ. 1743-1825 การปฏิวัติของอเมริกันในปี ค.ศ. 1776 เป็นการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยที่มีลักษณะ เฉพาะหลายด้าน ที่สำคัญคือ ผู้คนส่วนใหญ่ที่ประกอบกันเป็นชาวอเมริกันรุ่นแรกๆนั้นหลบหนีภัยของระบอบเผด็จการในอังกฤษ หลายคนในหมู่พวกเขามีอุดมการณ์เพื่อสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ ความเสมอภาค และระบอบการปกครองที่เป็นธรรม พวกเขามีการศึกษาดี บวกกับการสร้างชุมชนบนแผ่นดินที่ไม่ถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมศักดินา โอกาสในการจัดระบบการปกครองตน เองในระดับท้องถิ่นตลอดจนโลกใหม่ที่มีดินแดนกว้างใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และเปิดโอกาสให้แก่ทุกคนในการสร้างสรรค์ชีวิตใหม่ เมื่ออังกฤษปกครองอาณานิคมในแผ่นดินใหม่แบบกดขี่ข่มเหงเกินกว่าที่เสรีชนจะรับได้ พวกเขาจึงลุกขึ้นสู้ด้วยระบบการจัดองค์กรและกองทัพประชาชน และด้วยอุดมการณ์แบบเสรีชนที่นำมาจากโลกเก่าผสมผสานกับวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมใหม่ พวกเขาได้สถาปนาสาธารณรัฐขึ้นพร้อมกับกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ประกันสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของเสรีชน เคารพอำนาจและสิทธิของแต่ละรัฐ วางหลักประกันการตรวจสอบรัฐบาล และระบบการถ่วงดุลอำนาจของ 3 ฝ่าย เพื่อป้องกันมิให้เกิดระบอบทรราชย์เช่นในยุโรป และเคารพหลักการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น [29] แต่คำว่าประชาธิปไตยที่รับรู้กันในโลกยุคปัจจุบันก็ไม่เคยปรากฏในคำประกาศอิสรภาพของคนอเมริกันแม้แต่ครั้งเดียว [30] ทั้งนี้เป็นเพราะ “คนอเมริกันมิได้เกิดมามีเสรีและเป็นประชาธิป ไตยตามนิยามในยุคปัจจุบัน พวกเขาเป็นประชาธิปไตย ที่สำคัญก็เพราะการปฏิวัติในปี ค.ศ. 1776 นั่นเอง” [31] ในการปฏิวัติครั้งนั้น คนอเมริกันเป็นกบฏต่อระบบกษัตริย์ของอังกฤษ พวกเขาดิ้นรนเสาะหาการปกครองแบบใหม่ที่สอดรับกับสังคมใหม่ ท่ามกลางผู้คนที่หลากหลายทั้งความคิด เชื้อชาติ วัฒนธรรม ชนชั้นนำการปฏิวัติอเมริกันได้วางรากฐานของระบอบการเมืองที่เคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย การตรวจสอบฝ่ายบริหาร ระบบตัว แทนของมลรัฐและความเป็นอิสระของท้องถิ่น ประกันเสรีภาพในการพัฒนาชีวิตและแสวงหาความสุข ด้วยรากฐานดังกล่าว ระบอบการเมืองของสหรัฐจึงมีลักษณะเปิด และขยายโอกาสให้พลเมืองกลุ่มอื่นๆได้สิทธิเสรีภาพเท่าเทียมในภายหลัง เช่น การยกเลิกระบบทาส ให้คนผิวดำมีสิทธิเท่าเทียมกับคนผิวขาวหลังสงครามกลางเมืองในปี ค.ศ. 1870 ส่วนสตรีทุกผิวสีมีสิทธิเลือกตั้งทัดเทียมกับชายในปี ค.ศ. 1920 และผ่านการต่อต้านการเหยียดผิว และต่อสู้เพื่อความเสมอภาคของคนผิวดำในช่วงทศวรรษ 1950-60 มาจนถึงการเลือกตั้งบารัก โอบาม่าเป็นประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 2008 [32] สะท้อนให้เห็นอุดมการณ์ที่ก้าวหน้า, วิสัยทัศน์และความสามารถของคนอเมริกันในศตวรรษที่ 18 ที่ออกแบบระบอบการเมืองให้มีความสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้ตลอด 2 ศตวรรษเศษที่ผ่านมา ใครจะคิดว่าจะมีผู้คนในประเทศใดที่สู้เพื่อเอกราช สร้างรัฐใหม่และสามารถแปรอุดมการณ์และวิสัยทัศน์แบบประชาธิปไตยให้เป็นจริงและยั่งยืนได้เมื่อปี ค.ศ. 1776 หรือ พ.ศ. 2319 ขณะที่ในเวลาเดียวกันนั้น อยุธยาถูกทำลายย่อยยับ สยามรัฐเพิ่งขับไล่พม่าออกไป และกำลังจะมีเมืองหลวงแห่งใหม่คือกรุงเทพฯ แต่ระบอบการเมืองการปกครองยังคงเป็นแบบเก่า 3. รูปแบบการปฏิวัติฝรั่งเศส “รัฐบาลปฏิวัติก็คือระบอบเผด็จการของเสรีภาพที่อยู่เหนือระบอบทรราชย์” Maximilien Robespiere, ค.ศ. 1758-1794 การเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองการปกครองของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1789 ถือกันว่าเป็นการปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่เพราะเป็นการลุกขึ้นสู้ของประชาชนทั่วประเทศเพื่อต่อต้านและล้มล้างระบอบการปกครองและสังคมเก่า (Ancien regime). เป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญที่สุดครั้งแรกของโลก เพราะนี่คือการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่จากล่างสู่บนเป็นครั้งแรก (การปฏิวัติอเมริกันเกิดก่อนการปฏิวัติของฝรั่งเศสก็จริง แต่เป็นเพียงการต่อสู้เพื่อเอกราช ขับไล่ลัทธิอาณานิคมออกไป ส่วนโครงสร้างทางการเมืองและสังคมเป็นการสถาปนาของใหม่ขึ้นมา ไม่มีการโค่นล้มสังคมแบบเก่า การปฏิวัติของฝรั่งเศสเริ่มต้นที่สามัญชนปฏิเสธสภาขุนนางแล้วสถาปนาสภาประชาชนขึ้นแทน คุกบาสติลในฐานะคุกที่กักขังนักโทษการเมืองถูกทำลาย หมายถึงการสิ้นสุดลงของโซ่ตรวนทางความคิดและร่างกาย พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระราชินีถูกสภาประชาชนตัดสินให้ประหารชีวิต ชาวนาในชนบทลุกขึ้นโค่นล้มชนชั้นเจ้าที่ดิน จับกุมเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะฝ่ายเก็บภาษีอากร ยึดทรัพย์สินของคนรวยมาแบ่งสรรให้คนจน ยึดศาสนจักรที่ถูกควบคุมโดยพระชั้นสูง สถาปนาองค์กรปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น และให้สภาประชาชนออกกฎหมายทำลายระบอบเศรษฐกิจ-การเมืองและสังคมแบบเก่าที่เอื้อประโยชน์แก่คนชั้นสูงในสังคม ฯลฯ [33] เนื่องจากการลุกฮือของคนค่อนประเทศเพื่อต่อต้านสังคมเก่าในทุกๆด้านเป็นงานใหญ่และมีความสลับซับซ้อน เมื่อเกิดการลุกฮืออย่างฉับพลันและขาดองค์กรนำที่มีความชัดเจนในด้านอุดม การณ์และนโยบายการสถาปนารูปแบบการปกครอง สังคมจึงเกิดการต่อสู้กันระหว่างสำนักต่างๆอีกหลายครั้ง มีการรื้อฟื้นระบบจักรพรรดิ เช่น นโปเลียน โบนาปาร์ต (ค.ศ. 1804-1814, 1814-15), นโปเลียนที่ 3 (ค.ศ. 1852-1870) มีการสถาปนาสาธารณรัฐถึง 3 ครั้งในช่วง 1 ศตวรรษหลังการปฏิวัติใหญ่ในปี 1789 [34] แน่นอน การปฏิวัติใหญ่ในปี 1789 ปลดปล่อยทำลายสังคมเก่าและวัฒนธรรมแบบเก่าไปได้มากก็จริง แต่เมื่อขาดอุดมการณ์ที่เป็นเอกภาพ การต่อสู้ขัดแย้งทางความคิดจึงเกิดขึ้น ระบอบอำนาจนิยมแบบเก่าจึงหวนคืนมาได้โดยอาศัยการทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านคอยปลุกใจประชาชนให้รักชาติและหันไปยอมรับผู้ปกครอง แต่ถึงกระนั้น พลังปฏิวัติที่ยังมีอยู่ก็ผลักดันให้ผู้ปกครองแบบอำนาจนิยมต้องยอมดำเนินนโยบายที่ก้าวหน้าบางส่วน เป็นการประนีประนอม เช่น ปล่อยนักโทษการเมือง ให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น พัฒนาคุณภาพของหนังสือพิมพ์ ให้สภามีอำนาจในการซักถามเพื่อตรวจสอบฝ่ายบริหาร ฯลฯ นอกจากนั้น ผลสะเทือนของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษทำให้เศรษฐกิจทุนนิยมขยายตัวมากขึ้นเป็นลำดับในฝรั่งเศส และด้วยเหตุนั้น ระบอบสาธารณรัฐในฝรั่งเศสก็เข้าแทนที่ระบบจักรพรรดิได้อย่างมั่นคงตั้งแต่ทศวรรษ 1870 เป็นต้นมา หรือ 80 ปีหลังการปฏิวัติใหญ่ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 [35] 4. รูปแบบการสถาปนาระบอบประชาธิปไตย “อเมริกาคือผู้ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่จะส่องทางไปสู่ระบอบศีลธรรมสากล เราจะต้องนำ พรบ.ว่าด้วยสิทธิ, คำประกาศอิสรภาพ, รัฐธรรมนูญของเรา, สินค้าอุตสาหกรรมอัน ยอดเยี่ยมของเรา, และทักษะทางเทคนิคไปมอบให้ประชาชนทั่วโลก” Henry R. Luce, “The American Century,” February 17, 1941 [36] “การประชุมยัลต้า (Yalta Conference) (กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945) ฝ่ายพันธมิตรตัดสินใจไม่แยก เยอรมนีออกจากกัน แต่ได้วางพื้นฐานสำหรับการปลดอาวุธอย่างเบ็ดเสร็จ กองกำลังทหาร ของเยอรมนีจะถูกยกเลิก และอาวุธทั้งหมดจะถูกทำลาย...” Reiner Pommerin, “The U.S. & the Armament of the FRG”, 1997 [37] “ฝ่ายพันธมิตรแต่งตั้งคณะกรรมการตะวันออกไกลซึ่งมีกรรมการ 11 คน แต่สหรัฐมีอำนาจสูงสุด เช่น ถ้าคณะกรรมการหาข้อตกลงเรื่องนโยบายไม่ได้ สหรัฐ จะได้รับอำนาจให้ตัดสินใจ ที่ญี่ปุ่นมีตัวแทนควบคุมอยู่ 4 ชาติคือสหรัฐ สหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียตและจีน เรียกว่าสภาพันธมิตรปกครองญี่ปุ่น (the Allied Council for Japan) แต่อำนาจแท้จริงอยู่ที่นายพลแม็คอาเธอร์ ของสหรัฐ” Mikiso Hane, Modern Japan. 3rded, 2001[38] เยอรมนีกับญี่ปุ่นเป็น 2 ประเทศสำคัญที่ก่อสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) สู้กับฝ่ายพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยสหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และจีน 2 ประเทศนั้นก่อสงครามก็เนื่องจากการแบ่งสรรผลประโยชน์ระดับสากลอันไม่เป็นธรรม ญี่ปุ่นกับเยอรมนีเป็นประเทศที่พัฒนาอุตสาหกรรมทีหลังและดำเนินนโยบายล่าอาณานิคมช้ากว่าประเทศอื่นๆ จึงเป็นประเทศที่เรียกว่าผู้มาทีหลัง (Late comer) หรือผู้พัฒนาทีหลัง (Late developer) ขณะที่อังกฤษและฝรั่งเศสพัฒนาอุตสาหกรรมล่วงหน้าไปก่อนและยึดครองอาณานิคมทั่วโลก ได้ชื่อว่าเป็นผู้มาก่อน (Early comer) หรือผู้พัฒนาก่อน (Early developer) [39] ประเทศที่พัฒนาทีหลังก่อสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914-1918) แล้วก็พ่ายแพ้ แต่เมื่อไม่ยอมแพ้พ่าย จึงก่อสงครามอีกครั้ง หวังเป็นผู้ชนะเพื่อจะได้กุมอำนาจในการแบ่งสรรผลประโยชน์ระดับสากลเสียใหม่ อังกฤษ ฝรั่งเศสและสหรัฐมีอาณานิคมหลายแห่ง โดยเฉพาะอังกฤษที่ครอบ ครองเมืองขึ้นแทบทุกมุมโลก พวกเขาจึงร่วมมือกันและย่อมสู้ทุกอย่างเพื่อชัยชนะในสงครามอีกครั้ง สาเหตุของสงครามโลกแต่ละครั้งจึงเป็นปัญหาระดับโครงสร้าง ความขัดแย้งส่วนบุคคลอาจมีส่วนบ้าง เป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็ง แต่มิใช่ปัจจัยหลัก ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนีเปิดฉากการรบ ได้บุกเข้าไปโจมตีทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ และสหภาพโซเวียตซึ่งแม้ทั้งสามเป็นผู้ชนะในสงครามนั้นแต่ก็เสียหายอย่างหนัก และเนื่องจากประเทศผู้แพ้ตัวสำคัญมีทำเลกลางใจยุโรปและห้อมล้อมโดยประเทศผู้ชนะ ผู้ชนะซึ่งเป็นมหา อำนาจถึง 4 ชาติและเห็นว่าเนื่องจากเยอรมนีคือผู้ก่อสงครามโลกถึง 2 ครั้ง จึงได้จัดการประชุมโพสต์ดัม (Postdam Conference) (17 ก.ค.-2 ส.ค. ค.ศ. 1945) และตกลงรับหลักการสำคัญ 4 ข้อ ในการสร้างประเทศเยอรมนีเสียใหม่ คือ 1. การลดความเป็นเผด็จการนาซี (denazification), 2. การลดกำลังทหาร (demilitarization) 3. การกระจายอำนาจด้านเศรษฐกิจ (economic decentralization) และ 4. การปฏิรูปการศึกษาให้เป็นประชาธิปไตย (reeducation along democratic lines). [40] ประเทศผู้ชนะเข้าไปจัดการควบคุมผู้แพ้ด้วยการแบ่งเยอรมนีออกเป็น 4 เขต ให้โซเวียตยึดครองเขตตะวันออก อังกฤษเข้ายึดครองตอนเหนือ ฝรั่งเศสยึดตอนกลาง และสหรัฐยึดครองตอนใต้ การจัดตั้งสาธารณรัฐเยอรมนีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1919 ซึ่งพัฒนาไปเป็นรัฐเผด็จการนาซีและก่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ฝ่ายต่างๆมีความเห็นร่วมกันว่าสมควรจัดตั้งเยอรมนีให้เป็นประเทศแบบสหพันธสาธารณรัฐ (Federal republic) ซึ่งประกอบด้วยหลายรัฐมารวมกัน ทั้งหมดนี้รับใช้เป้าหมายยุทธศาสตร์หลัก คือ ต้องการให้ประเทศนี้มีระบบการถ่วงดุลอำนาจ เป็นรัฐประชาธิป ไตย สิ้นสุดลักษณะเผด็จการ และไม่อาจก่อสงครามได้อีก [41] สำหรับญี่ปุ่น แม้ประเทศนี้จะร่วมก่อสงครามโลกกับเยอรมนี แต่ทำเลที่ตั้งของญี่ปุ่นซึ่งอยู่ระหว่างจีน-เกาหลีเหนือกับสหรัฐ ทำให้สหรัฐมีบทบาทสำคัญที่สุดในบรรดาประเทศกลุ่มพันธมิตรที่จะควบคุมและกำหนดทิศทางการพัฒนาอนาคตของญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะว่าญี่ปุ่นมีความ หมายสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงทางการทหารของสหรัฐฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก หากญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศสังคมนิยมเช่นเดียวกับจีนและเกาหลีเหนือ ฝั่งตะวันตกของสหรัฐก็จะไม่มีมิตรประเทศสำคัญหลงเหลืออยู่ มหาสมุทรแปซิฟิกที่กว้างใหญ่ก็จะกลายเป็นภัยต่อสหรัฐไปในทันที ในฐานะผู้นำของฝ่ายพันธมิตร ปฎิบัติการของสหรัฐในญี่ปุ่นที่มีนายพลแม็คอาเธอร์เป็นแม่ทัพมีสาระสำคัญคล้ายคลึงกับปฏิบัติการในเยอรมนี ความแตกต่างสำคัญมีเพียงญี่ปุ่นไม่ถูกแบ่งเป็นส่วนๆเหมือนเยอรมนี หลักการสำคัญในการสร้างญี่ปุ่นคือ 1. การลดบทบาททางการเมืองของจักรพรรดิให้เป็นประมุขของประเทศเท่านั้น 2. การลดกำลังทหาร 3. การพัฒนาประชาธิปไตยระดับชาติ 4. การพัฒนาประชาธิปไตยระดับท้องถิ่น 5. การพัฒนาเศรษฐกิจแบบประชาธิปไตย และ 6. การสร้างสังคมแบบประชาธิปไตย ในประเด็นที่ 2 ลดขนาดและฐานะของกองทัพของญี่ปุ่นให้เป็นเพียงหน่วยป้องกันตนเอง (self-defense units) นายทหาร 6,000 คนถูกส่งฟ้องศาลและดำเนินคดี 930 กว่าคนถูกตัดสินประหารชีวิต ที่เหลือส่วนใหญ่ที่สุดถูกคุมขัง 3 ปีหลังสิ้นสงคราม (ค.ศ. 1948) มีคนญี่ปุ่นราว 2.2 แสนคน (ในนั้นมีนายทหาร 1.8 แสนคน) ถูกปลดออกจากตำแหน่งหน้าที่ [42] ในประเด็นที่ 3 สร้างสถาบันทางการเมืองแบบประชาธิปไตยระดับชาติให้เป็นปึกแผ่น นั่นคือ สร้างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ให้สิทธิเสรีภาพทางการเมืองแก่ประชาชน ให้ทั้งสองสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนพรรคการเมือง และการเลือกตั้งให้มีความต่อเนื่อง ไม่ถูกโค่นล้มหรือถูกบงการครอบงำโดยกองทัพ การปรับปรุงระบบศาล สตรีญี่ปุ่นอายุ 20 ปี ขึ้นไปมีสิทธิเลือกตั้ง จากเดิม 25 ปี ในประเด็นที่ 4 พัฒนาประชาธิปไตยระดับท้องถิ่น ด้วยการจัดตั้งกระทรวงกิจการภายใน (Ministry of Home Affairs) ทำหน้าที่ดูแลและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็นการเฉพาะ ให้ฝ่ายบริหารขององค์กรปกครองท้องถิ่นทั้ง 2 ระดับคือ ระดับจังหวัด (ผู้ว่าฯ) และระดับเทศบาล (นายกเทศมนตรี) มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ไม่มีหน่วยบริหารราชการส่วนภูมิภาค และเพิ่มหลักการการลงประชามติ การถอดถอนและการเสนอข้อเรียกร้องของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นทั้ง 2 ระดับ [43] ในประเด็นที่ 5 พัฒนาเศรษฐกิจแบบประชาธิปไตย ด้วยการทำลายการผูกขาดของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ (ที่เรียกว่า Zaibatsu) ออกกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร จำกัดพื้นที่การ เกษตรของเจ้าที่ดิน, ยกเลิกระบบครอบครองที่ดินที่เจ้าของอยู่ห่างไกล (Absentee landlordism) รัฐซื้อที่ดินเหล่านั้นและนำไปขายให้ชาวนาไร้ที่ดินทำกิน, รัฐปกป้องราคาสินค้าเกษตรเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร, ส่งเสริมการจัดตั้งสหภาพแรงงานและประกันสิทธิและอำนาจในการต่อรองของกรรมกร, พนักงาน และครู [44] ส่วนในประเด็นสุดท้าย สังคมประชาธิปไตยประกอบด้วยอย่างน้อย 6 ด้าน คือ การ ศึกษา ศาสนา ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ชุมชน และครอบครัว หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการปฏิรูปสังคมญี่ปุ่นอย่างขนานใหญ่เพื่อให้เป็นสังคมแบบสมัยใหม่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เป้าหมายคือเพื่อกวาดล้างทัศนะนิยมทหาร, ลัทธิคลั่งชาติ, ลัทธิเผด็จการ, และลัทธิศักดินา และปลูกฝังทัศนะประชาธิปไตย เช่น ให้ครูอาจารย์ที่มีทัศนะล้าหลังออกจากตำแหน่งหน้าที่, การปรับปรุงตำรา, แก้ไขหลักสูตร, ยกเลิกการเรียนการสอนแบบท่องจำและขาดการวิเคราะห์วิจัย, เพิ่มการศึกษาภาคบังคับให้เป็น 9 ปี, ลดอำนาจรวมศูนย์ของกระทรวงศึกษา, กระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่สภาคนท้องถิ่นที่คนท้องถิ่นเลือกตั้ง, ลูกสาวมีสิทธิรับมรดกครอบครัวเช่นเดียวกับลูกชาย, ชายอายุ 18 ปีขึ้นไปและหญิงอายุ 16 ปีขึ้นไปมีสิทธิสมรสโดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ปกครอง, สามีกับภรรยามีสิทธิเท่ากัน, ภรรยามีสิทธิครอบครองทรัพย์สินโดยอิสระ มีสิทธิฟ้องหย่าจากสามี, และมีการผ่านกฎหมายอนุญาตการทำแท้งในปี ค.ศ. 1949 ฯลฯ [45] 5. รูปแบบการสถาปนาระบอบเผด็จการทหารและถูกพลังประชาธิปไตยขับไล่ “สังคมเกาหลีกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง ในทางการเมือง เรากำลัง สร้างประชาธิปไตย ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและศักดิ์ศรีของมนุษย์ ประชาสังคมกำลังเติบโต....ระบบครอบครัวแบบเจ้าขุนมูลนายได้สร้างครอบครัวที่ไม่เป็น ประชาธิปไตยมายาวนาน ได้จองจำสมาชิกของแต่ละครอบครัวให้ ตกอยู่ใต้อำนาจของหัวหน้าครอบครัวที่เป็นชายเท่านั้น” Bae-hee Kwak, ประธานศูนย์ช่วยเหลือครอบครัวด้านกฎหมาย, ค.ศ. 2000 [46] “เมื่อชีวิตที่เป็นเอกภาพของประเทศถูกแบ่งออกเป็นสอง... ประเทศของเราก็เหมือนกับตะปูที่ติดอยู่ในเส้นทางของประวัติศาสตร์” Paek Ki-wan, ค.ศ. 2003 [47] เกาหลีตกเป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่นเป็นเวลานาน 36 ปี (ค.ศ. 1909-1945) เมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 เกาหลีก็ได้รับเอกราช ในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากเกาหลีมีที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่อทั้งสหรัฐและโซเวียต โซเวียตกำลัง ขยายอิทธิพลในยุโรปตะวันออก และสนับสนุนฝ่ายคอมมิวนิสต์จีนต่อสู้กับรัฐบาลเจียงไคเช็ค สหรัฐจึงไม่เพียงแต่ดูแลญี่ปุ่น หากยังต้องใส่ใจในสถานการณ์ของเกาหลีและจีนด้วย ด้วยเหตุนี้การแบ่งเขตแดนกองกำลังของ 2 มหาอำนาจ ที่เส้นรุ้งที่ 38 หลังยุติสงครามโลก จึงสะท้อนให้เห็นความขัดแย้งและการต่อสู้ระหว่างมหาอำนาจริมมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งเอเชียตะวันออก การที่สหรัฐเข้ายึดครองญี่ปุ่นหลังสิ้นสุดสงคราม การที่สหรัฐส่งกำลังทหารเข้าไปในเกาหลีและจัดตั้งรัฐบาลทหาร 1 เดือนหลังสงครามสิ้นสุดจึงส่งความไปถึงทั้งสหภาพโซเวียตและ กองกำลังกู้ชาติของเกาหลี ส่งผลให้มีการจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนประชาธิปไตยเกาหลี (เหนือ) (DPRK) ในปี ค.ศ. 1948 ยิ่งพรรคคอมมิวนิสต์สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในตอนปลายปี 1949 ด้านหนึ่งทำให้ฝ่ายสังคมนิยมต้องการเอาชนะฝ่ายทุนนิยม และอีกด้านหนึ่ง ยิ่งสร้างความหวั่นเกรงให้แก่ฝ่ายทุนนิยม และทำให้ฝ่ายทุนนิยมต้องการทำลายฝ่ายสังคมนิยม ด้วยเหตุนี้ สงครามเกาหลีจึงเกิดขึ้นในระหว่าง ค.ศ. 1950-53 เกาหลีเหนือรบกับเกาหลีใต้ โดยมีมหาอำนาจโซเวียตและสหรัฐหนุนหลังทั้งสองฝ่าย ทหารและประชาชนชาวเกาหลีเสียชีวิตเกิน 2.5 ล้านคน ในระยะแรกๆหลังสงครามโลกยุติไม่นาน สาธารณรัฐเกาหลี (ใต้) ที่สถาปนาในปี ค.ศ. 1948 มีลักษณะประชาธิปไตย สหรัฐออกแบบให้เกาหลีมีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย นั่นคือ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ออกกฎหมายความเป็นอิสระของท้องถิ่นในปี 1949 ให้มีรูปแบบสภา-นายกฯ หรือฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม และเปลี่ยนเป็นการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงในระหว่างปี 1956-1960 สร้างระบบเศรษฐกิจแบบประชาธิปไตย ด้วยการยกเลิกการถือครองที่ดินของเจ้าที่ดิน และกระจายการถือครองที่ดินให้แก่เกษตรกร หลังจากนั้น เมื่อเกาหลีใต้กลายเป็นรัฐเผด็จการทหารเริ่มในยุคนายพลปาร์ค จุงฮี (ค.ศ. 1961-1979) และนายพลชุน ดู ฮวาน (ค.ศ. 1980-1988) รวมเวลาถึง 3 ทศวรรษ ความเป็นอิสระของการปกครองท้องถิ่นก็ถูกทำลายลง พร้อมๆกับการควบคุมหรือทำลายพรรคการเมืองและองค์กรที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย [48] ในด้านเศรษฐกิจ สหรัฐเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก (Export-led Industrialization) เนื่องจากเกาหลีใต้มีภาคเกษตรกรรมที่มีขีดจำกัด และสอดรับกับการขยายตัวของเศรษฐกิจทุนนิยมโลก และให้รัฐจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ [49] ในกระแสความขัดแย้งระหว่าง 2 ค่ายอุดมการณ์ที่รุนแรงขึ้น สหรัฐก็ออกแบบให้เกาหลีใต้เป็นรัฐเผด็จการทหารที่มีลักษณะสำคัญอย่างน้อย 4 อย่าง คือ 1. ให้เกาหลีมีกองทัพที่แข็งแกร่ง กองทัพได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวนมหาศาลทุกปีและความช่วยเหลืออย่างมากจากสหรัฐ 2. ให้นายทหารยึดอำนาจรัฐ ตำแหน่งประธานาธิบดีไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม แต่เนื้อหาก็คือการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จของผู้นำที่สนับสนุนนโยบายของสหรัฐ แข็งกร้าวต่อเกาหลีเหนือและคุกคามพรรคการเมืองที่มีความเห็นต่าง 3. จัดตั้งระบบความมั่นคงภายในและเคซีไอเอ (KCIA) ที่มีอำนาจล้นฟ้า เพื่อร่วมมือกับกองทัพในการสนับสนุนรัฐเผด็จการ ปราบ ปรามผู้เดินขบวนต่อต้านรัฐบาลเผด็จการอย่างรุนแรงและจับกุมคนที่วิพากษ์ วิจารณ์รัฐบาลและเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง และ 4. ทำลายการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น ยกเลิกสภาท้องถิ่น และต่อมา ยอมให้มีองค์กรปกครองท้องถิ่น แต่รัฐบาลทหารทำหน้าที่แต่งตั้งฝ่ายบริหาร [50] แต่ไม่ว่ารัฐเผด็จการทหารของเกาหลีใต้จะเข้มแข็งและพยายามกดขี่ข่มเหงไว้เพียงใด ตลอด 4 ทศวรรษแรกหลังจากสถาปนารัฐเผด็จการ มีประธานาธิบดีที่เป็นขุนนางและนายพลทั้งหมด และแต่ละคนอยู่ในอำนาจนานด้วยวิธีฉ้อฉล แต่พลังประชาธิปไตยของประชาชนชาวเกาหลีก็ไม่เคยย่อท้อหรือหวั่นเกรง พลังประชาธิปไตยดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา ปัญญาชน กรรมกรชาวนา พนักงาน นักธุรกิจ และองค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ ได้รวมตัวกันต่อสู้และเรียกร้องให้ระบอบประชาธิปไตยปรากฏเป็นจริงขึ้นเป็นลำดับ จากการต่อต้านการเลือกตั้งที่สกปรกและการปราบปรามประชาชนและในปี 1960 จนทำให้ซิง มานรีต้องลาออกและหลบหนีออกนอกประเทศ ถึงการต่อต้านระบอบเผด็จการของนักศึกษาประชาชนและถูกรัฐบาลนายพลปาร์ค จุงฮีปราบปรามอย่างหนัก เกิดวิกฤตทางการเมือง จนกระทั่งปาร์ค จุงฮีถูกสังหารในปี 1979; การจับกุมนักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย โดยเฉพาะคิม แดจุง ที่ถูกจับกุมหลายครั้ง การตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปีของนักสู้ เช่น คิม ยงซัม, การต่อต้านรัฐบาลเผด็จการและการถูกปราบปรามที่เมืองกวางจูในปี 1980 แต่พลังประชาธิปไตยก็ไม่เคยย่อท้อจนสามารถบีบบังคับให้ประธานาธิบดีรอ แทวู (ค.ศ. 1988-1992) ซึ่งแม้จะเป็นอดีตนายพลและเคยร่วมมือกับรัฐบาลเผด็จการในอดีตก็ต้องยอมรับนโยบายบางข้อของฝ่ายประชาธิปไตย เช่น ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นทั้งระดับเทศบาลและจังหวัดมาจากการเลือกตั้งในปี 1991 และแล้วปลายปี ค.ศ. 1992 ก็เกิดก้าวใหญ่ของประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ นั่นคือผู้ชนะการเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นนักการเมืองพลเรือนเป็นครั้งแรก และยังเป็นนักสู้ที่มุ่งมั่นเพื่อประชาธิปไตย (คิม ยงซัม, ค.ศ. 1993-1998) และคนต่อไปก็คือคิม แดจุง (ค.ศ. 1998-2003) ประธานาธิบดีคิม ยงซัม ได้ดำเนินนโยบายปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นและการพัฒนาประชาธิป ไตย เช่นในช่วงปี 1995-1997 ได้มีการจับกุมและฟ้องร้องนายทหารและข้าราชการชั้นสูงรวม 19 คน (รวมทั้ง 2 นายพลคือ ชุน ดูฮวาน และรอ แทวู) ที่ร่วมกันทำรัฐประหารและปราบปรามประชาชนอย่างโหดเหี้ยมในปี 1979 ผลการพิพากษาคือ นายพลชุน ดู ฮวาน ถูกตัดสินประหารชีวิต และนายพลรอ แทวูถูกตัดสินจำคุก 22 ปีครึ่ง, มีการฟ้องร้อง จับกุมและลงโทษข้าราชการและนักธุรกิจหลายพันคนเกี่ยวกับคดีคอรัปชั่น และต้นปี 1995 คิม ยงซัมได้ผ่านกฎหมายกำหนดให้ หัวหน้าฝ่ายบริหารท้องถิ่นทุกระดับมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน, ประธานาธิบดีคิม แดจุง มุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะรื้อฟื้นความสัมพันธ์อันดีกับเกาหลีเหนือ และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2000 ฯลฯ [51] การที่ระบอบประชาธิปไตยได้ชัยชนะเหนือทั้งหมดนี้เกิดจากปัจจัยสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1. การที่เกาหลีใต้ตกเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแบบตะวันตกมายาวนานทำให้รูปแบบสังคมประชาธิปไตยของตะวันตกเป็นแบบอย่างที่ใฝ่หา 2. ความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อของนักศึกษาประชาชนชาวเกาหลีผู้รักประชาธิปไตย 3. การเติบโตอย่างมากของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจเสรีทำให้พลังประชาธิปไตยขยายตัวต่อเนื่อง รัฐเกาหลีจึงพัฒนาออกห่างจากความเป็นเผด็จการสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นเป็นลำดับ แม้ว่ายังต้องเผชิญอุปสรรคอีกไม่น้อย เช่น ความเข้มแข็งเกินไปของฝ่ายทหารโดยอ้างว่าเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ-โซเวียต-จีนซึ่งเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ ตลอดจนวัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยมที่ตกค้างจากยุคศักดินาและได้รับการค้ำจุนในยุคเผด็จการทหาร การต่อสู้ที่องอาจกล้าหาญของชาวเกาหลีใต้เพื่อประชาธิปไตยจนประสบผลสำเร็จในระยะหลังและความทุ่มเทในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศทำให้เกาหลีใต้ผงาดขึ้นเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับที่ 11 ของโลกในปี 1995 ได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์กรประเทศที่พัฒนาแล้ว (OECD) หลังจากได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกก่อนหน้านั้น เรียกได้ว่าแม้จะออกแบบรัฐเผด็จการทหารเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้รัฐในการต่อสู้และต่อต้านลัทธิสังคมนิยม แต่ในที่สุดพลังประชาธิปไตยก็สามารถเอาชนะรัฐเผด็จการทหารได้ [52] สรุปภาพรวมของรูปแบบทั้ง 5 ประการแรก ระบอบประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นทั้ง 5 รูปแบบล้วนได้มาจากการต่อสู้ ชาวอังกฤษต้องต่อสู้กับระบอบราชาธิปไตยเป็นเวลานานมาก ชาวอเมริกันหลบหนีภัยเผด็จการในอังกฤษและยุโรปหรือแสวงหาอุดมการณ์ในการสร้างศาสนาของตนเองเพื่อสร้างรัฐใหม่ แต่ในที่สุด พวกเขาก็ต้องเผชิญกับลัทธิล่าอาณานิคมของอังกฤษ ชาวฝรั่งเศสลุกขึ้นต่อสู้กับระบอบศักดินา และต้องใช้เวลาถึง 7 ทศวรรษกว่าจะสามารถสถาปนาระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยได้อย่างถาวร และในกรณีของเกาหลีใต้ แม้ต้องตกอยู่ใต้อำนาจของรัฐเผด็จการทหารเพราะสหรัฐต้องการให้กองทัพเป็นกำลังหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและปกป้องการรุกรานของฝ่ายสังคมนิยม แต่ในที่สุด รัฐเผด็จการทหารของเกาหลีใต้ก็ไม่อาจต้านทานการเติบใหญ่และความมุ่งมั่นของพลังประชาธิปไตยของประชาชน-นักศึกษาชาวเกาหลีใต้ได้ ดังนั้น การต่อสู้เรียกร้องของประชาชน ทวงเอาหลายๆครั้ง ต้องทรหดอดทน ต้องสูญ เสียเลือดเนื้อ อวัยวะ ทรัพย์สิน ความรู้สึกและทัศนะ กระทั่งต้องสูญเสียชีวิตจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญชี้ขาด ระบอบประชาธิปไตยในประวัติศาสตร์จึงไม่เคยเป็นผลไม้ที่ตกลงมาเองจากต้นไม้ หากประชาชนไม่เรียกร้องต่อสู้ ประชาธิปไตยก็จะไม่มีวันเกิดขึ้น ประการที่สอง เส้นทางการต่อสู้ของทั้ง 5 รูปแบบสะท้อนให้เห็นระยะเวลาการต่อสู้ในแต่ละประเทศ ไม่มีประเทศไหนที่สามารถสถาปนาระบอบประชาธิปไตยได้ในเวลาอันสั้น หลายประเทศต้องเดินบนเส้นทางคดเคี้ยวเลี้ยวลด ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางการปฏิรูปแบบอังกฤษ หรือความพยายามในการสร้างสาธารณรัฐและปฏิเสธระบบจักรพรรดิของฝรั่งเศส ประชาชนมีแต่ต้อง สรุปบทเรียนความพ่ายแพ้ แก้ไขจุดอ่อนข้อบกพร่อง ไม่เคยมีระบอบประชาธิปไตยในประเทศใดที่ผู้ปกครองมอบให้แก่ประชาชนด้วยความเต็มใจ ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งคือมีการกล่าวว่าจะให้อำนาจแก่ประชาชน แล้วก็ลืมสัญญา หรือให้เล็กน้อย หรือส่งกำลังออกปราบปรามประชาชนแทน ประการที่สาม รูปแบบของการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในของแต่ละประเทศ และอาจมีปัจจัยภายนอกบางอย่างที่มีบทบาทสำคัญเช่นกัน ในกรณีของสหรัฐซึ่งแม้มีการสถาปนารัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นประเทศแรก เมื่อมีการวางกรอบของกฎหมายสูงสุดบนพื้นฐานหลักการสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และความเท่าเทียมกัน แต่สตรีอเมริกันผิวขาวและคนผิวดำทั้งสองเพศก็หาได้มีสิทธิเสรีภาพเช่นชายผิวขาวในระยะแรกๆไม่ จนเกิดการลุกขึ้นของคนผิวดำและสตรีผิวขาวในศตวรรษที่ 19-20 ใช้เวลายาวนานกว่าที่พวกเขาจะได้ชัยชนะ หรือการวางโครงสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยให้แก่เยอรมนีและญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และไม่ยอมให้ระบอบอำนาจนิยมและกองทัพเข้าแทรกแซงทางการเมืองได้อีก เยอรมนีและญี่ปุ่นจึงพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็ว และประเทศทั้งสองก็ไม่ต้องเสียเวลาปฏิวัติระบอบการเมืองของประเทศตนเอง และ ประการสุดท้าย หลักการประชาธิปไตยทั้ง 7 ข้อ ไม่ว่าจะสำคัญหรือมีความเลิศหรูเพียงใดก็ตาม หากปราศจากจิตใจของประชาชนส่วนใหญ่ที่เห็นความสำคัญของระบอบดังกล่าวและการลงมือทำเพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยปรากฏเป็นจริง เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันเพื่อสร้าง, ปกป้อง, หรือพัฒนา ก็ยากนักที่ระบอบประชาธิปไตยจักเกิดขึ้น ยิ่งมีปัจจัยบางส่วนในสังคมที่ไม่ยอมรับ โดยเฉพาะผู้มีอำนาจและได้รับประโยชน์จากระบอบสังคมเก่า สั่งการให้ใช้กำลังล้มระบอบ ฉีกรัฐธรรมนูญและปราบปรามเข่นฆ่าฝ่ายที่ต่อสู้เพื่อระบอบประชาธิปไตย ฯลฯ ทั้งหมดนี้ต่างหากที่เป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้ระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนและสังคมดังกล่าวเลือกเดินทางสายใด และต้องประสบความล่าช้าและปัญหาสังคมมากเพียงใด ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างและบทเรียนจากการต่อสู้เพื่อสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ คือเส้นทางของระบอบประชาธิปไตยที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ บัดนี้ ได้เวลาที่ประชาชนไทยจะต้องหันกลับมาศึกษาและพิจารณาการเดินทางของระบอบประชาธิปไตยในประเทศของเขาเอง เห็นความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ เก็บรับบท เรียนอันล้ำค่าจากประเทศต่างๆในอดีต และนำบทเรียนเหล่านั้นมาย้อนพินิจอดีตและปัจจุบันของประชาธิปไตยไทย เพื่อนำไปสร้างสรรค์สังคมไทยปัจจุบันและอนาคตที่ดีกว่า. เชิงอรรถท้ายบท [1] Mahatma Gandhi in Antony Jay, Dictionary of Political Quotations. Oxford: Oxford University Press, 1999 pp. 146-147 [2] Sean Wilentz, The Rise of American Democracy. Jefferson to Lincoln. NY: W.W. Norton & Company, 2005 p. xix [3] John Keane, The Life and Death of Democracy. London: Simon & Schuster, 2009 pp. ix, xiv-xv [4] สุนทรพจน์อันเรืองนามของประธานาธิบดี Abraham Lincoln (ค.ศ. 1809-1865) ที่สุสาน Gettysburg, วันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1863 [5] Plato, Republic. trans. by G.M.A. Grube, Indianapolis: Hackett Publishing Co., 1974; Plato, Laws. trans. by T.J. Saunders, London: Penguin, 1970; และโปรดดู ธเนศวร์ เจริญเมือง, “การศึกษากับความเป็นพลเมือง,” พลเมืองเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา, 2551 หน้า 50-60 [6] Aristotle, Politics. edited by C. Lord, Chicago: University of Chicago Press, 1984 [7] John Keane, The Life and Death of Democracy. op.cit., p. x [8] John Keane, ibid. and เอนก เหล่าธรรมทัศน์, ตะวันออก-ตะวันตก....ใครสร้างโลกสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2552 [9] John Keane, ibid., pp. x-xi [10] เอนก เหล่าธรรมทัศน์, อ้างแล้ว, หน้า 9 [11] ไชยันต์ ไชยพร, “กำเนิดประชาธิปไตยเอเธนส์: การเมืองในประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ในการเมือง” เอกสารวิจัยประกอบการประชุมและสัมมนาทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเรื่อง การศึกษาและวิจัยทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในประเทศไทยปัจจุบัน. จัดโดยภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ วันที่ 28-30 กรกฎาคม 2543 [12] โปรดดูใน ธเนศวร์ เจริญเมือง, การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น: อีกมิติหนึ่งของอารยธรรมโลก. ภาคแรก จากยุคกรีกถึงยุคทุนนิยมตะวันตก กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, พฤษภาคม 2550 หน้า 56-58 [13] Carl J. Richard, Greeks & Romans Bearing Gifts: How the Ancients Inspired the Founding Fathers. NY: Rowman & Littlefield Publishers, Inc., 2008 p. 1 [14] C. Warren Hollister, Roots of the Western Tradition: A Short History of the Ancient World. 3rd ed. NY: John Wiley and Sons, 1977 pp. 114-125 [15] เอกสารระบุว่าเฉพาะเมืองเอเธนส์มีทาสมากถึง 1 แสนคน มีพลเมือง (ชายทุกคน) 3 หมื่นคน สะท้อนให้เห็นการเติบโตของเศรษฐกิจการผลิตทั้งภาคเกษตรและหัตถกรรม การค้า และการขนส่งในบริเวณนั้น โปรดดู Charles Freeman, The Greek Achievement: The Foundation of the Western World. London: The Penguin Press, 1999 pp. 215-218, 225 [16] Ibid., pp. 223-224 [17] Lesley Adkins and Roy A. Adkins, Handbook to Life in Ancient Greece. NY: Oxford University Press, 1998 p. 30 [18] Charles Freeman, op.cit., p. 219 [19] สุนทรพจน์ของ Pericles กล่าวในพิธีปลงศพผู้เสียชีวิตจากสงครามระหว่างสปาร์ต้ากับเอเธนส์ ราวปี 430 ก่อนคริสตกาล John Dunn, Setting the People Free: the Story of Democracy. London: Atlantic Books, 2005 pp. 26-28 ผู้เขียน (Dunn)aได้อ้างงานประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่เรื่อง History of the Peloponnesian War. โดย Thucydides (460-400 B.C.) นักประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ชาวเอเธนส์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในสงครามดังกล่าวในปี 424 ก่อนคริสตกาล เมื่อพ่ายแพ้ เขาจึงถูกเนรเทศ และว่ากันว่าเขาได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับสงครามนี้อย่างเป็นกลาง จนได้รับการยกย่องให้เป็นงานประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดชิ้นแรกๆของมนุษยชาติ [20] Robin Lane Fox, The Classical World: An Epic History of Greece and Rome. London: Penguin Books, 2005 pp. 90-94 [21] Fox, ibid., p. 96 เสนอว่าประชาธิปไตยของเอเธนส์ดำรงอยู่นานเป็นเวลารวม 180 ปี [22] Fox, ibid., pp. 175-184 [23] Colin Wells, The Roman Empire. 2nd ed. London: Fontana Press, 1984 pp. 1-30 และ ศ.ดร.คุณหญิงสุริยา รัตนกุล, อารยธรรมตะวันตก อารยธรรมโรมัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดับเบิ้ลนายน์, 2537 หน้า 66-186 [24] J.H. Mundy & P. Riesenberg, The Medieval Town. Princeton: D. van Nostrand, 1968 and Charles Tilly & W.P. Blockmans, eds. Cities & the Rise of States in Europe. A.D. 1000 to 1800. Boulder: Westview Press, 1994 [25] Paul M. Hohenberg & Lynn H. Lees, The Making of Urban Europe. 1985 pp. 11-20 [26] William Woodruff, A Concise History of the Modern World. London: Abacus, 2005 pp. 38-66 [27] Christopher Daniell, History of England. Gloucentershire: the Windrush Press, 1993 และ กุลลดา เกษบุญชู มี๊ด, วิวัฒนาการรัฐอังกฤษ ฝรั่งเศส ในกระแสเศรษฐกิจโลกจากระบบฟิวดัลถึงการปฏิวัติ. กรุงเทพฯ: โครงการผลิตตำราและเอกสารการสอน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ, ตุลาคม 2545 หน้า 115-133 [28] Harry Judge, ed. World History from Earliest Times to 1800. Oxford Illustrated Encyclopedia. V. 3 Oxford University Press, 1988 p. 142 and Peter Kellner, Democracy: 1,000 Years in Pursuit of British Liberty. Edinburgh: Mainstream Publishing, 2009 pp. 24-32 [29] สมบัติ จันทรวงศ์, มหาชนรัฐและประชาธิปไตย: ความคิดทางการเมืองอเมริกัน ค.ศ. 1776-1800. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2529 หน้า 1-68 [30] เล่มเดียวกัน, หน้า 46 [31] Gordon S. Wood, The Radicalism of the American Revolution. NY: Vintage Books, 1991 Preface [32] ธเนศวร์ เจริญเมือง, “พลเมืองกับชุมชนอเมริกัน” ใน พลเมืองเข้มแข็ง. ปรับปรุงพิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา, 2551 หน้า 80-91; Charles E. Cobb, Jr., On the Road to Freedom: A Guide Tour of the Civil Rights Trail. Chapel Hill, NC: Algonquin Books, 2008; ธเนศวร์ เจริญเมือง, “ชัยชนะของโอบามากับความหมายของประชาธิปไตย” นิตยสาร วิภาษา. ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ลำดับที่ 17 – 16 มีนาคม – 30 เมษายน 2552 หน้า 5-13 [33] Henry W. Littlefield, New Outline-History of Europe, 1500-1848. NY: Barnes & Noble, 1951 pp. 101-105 [34] Robert Cole, History of France. 3rd ed. Gloucestershire: the Windrush Press, 1992, pp. 109-146 [35] George Rude, The French Revolution. Its Causes, Its History, and Its Legacy After 200 Years. NY: Grove Weidenfeld, 1988 pp. 179-183 [36] Henry R. Luce, “The American Century,” Life. February 17, 1941 in Ray A. Moore & Donald L. Robinson, Partners for Democracy: Crafting the New Japanese State under MacArthur. Oxford: Oxford University Press, 2002 p. v [37] Reiner Pommerin, “The United States and the Armament of the Federal Republic of Germany,” in R. Pommerin, ed. The American Impact on Postwar Germany. Provident, CN: Berghahn Books, 1997 p. 16 [38] Mikiso Hane, Modern Japan A Historical Survey. 3rded. Oxford: Westview Press, 2001 p. 367 [39] Alexander Gerschenkron, “Economic Backwardness in Historical Perspective,” originally in B. Hoselitz, ed. The Progress of Underdeveloped Countries. Chicago: The University of Chicago Press, 1952 reprint in Patrick O”Brien, ed. Industrialization: Critical Perspectives on the World Economy. Vol. 1 London: Routledge, 1998 pp. 218-219, 236-238 [40] Arno Kappler, ed. Facts About Germany. Frankfurt: Societats-Verlag, 1996 pp. 29-31 [41] David P. Conradt, The German Polity. 4th ed, NY: Longman, 1989 pp. 14-17 and Peter Hintereder, ed. Facts About Germany. Frankfurt: Societats-Verlag, 2005 pp. 44-48 [42] Mikiso Hane, Modern Japan. op.cit., pp. 369-371 [43] M. Hane, ibid., pp. 375-378 [44] M. Hane, ibid., pp. 372-374 [45] M. Hane, ibid., pp. 374-375, 378-379 [46] Bae-hee Kwak, ประธาน the Korea Legal Aid Center for Family Relations แห่งกรุงโซล ซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายประชาชนที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ (ก่อตั้ง พ.ศ. 2499) ใน Seungsook Moon, “Redrafting Democratization Through Women’s Representation and Participation in the Republic of Korea,”, Samuel S. Kim, ed. Korea’s Democratization. Cambridge: Cambridge University Press, 2003 p. 107 [47] Paek Ki-wan, in Bruce Cumings, Korea’s Place in the Sun: A Moderate History. NY: W.W. Norton & Co, p. 470 [48] http://www.unescap.org/huset/lgstudy/country/korea/korea.html p. 2 January 10, 2010 [49] Edward Friedman, ed. The Politics of Democratization: Generalizing East Asian Experiences. Boulder: Westview Press, 1994 pp. 19-60 [50] Samuel S. Kim, “Korea’s Democratization in the Global-Local Nexus,” in Samuel S. Kim, ed. Korea’s Democratization. op.cit., pp. 3-44 [51] Young Whan Kihl, Transforming Korean Politics: Democracy, Reform and Culture. Armonk, NY: M.E. Sharpe, 2005 pp. 39-61 [52] Bruce Cumings, Korea’s Place in the Sun: A Modern History. Updated ed. NY: W.W. Norton & Co., 2005 Chapter 10 “Korea’s Place in the World” pp. 470-513 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
นักปรัชญาชายขอบ: อำนาจเถื่อนและความกลัว Posted: 30 Jun 2010 08:15 PM PDT <!--break--> ต่อให้ผมรังเกียจทักษิณขนาดไหน แต่เพียงเปรียบเทียบแค่สองกรณีคือ 1) ตำนานเซ็นชื่อให้เมียซื้อที่ดิน กับตำนานเขายายเที่ยง และ 2) ตำนานถูกยึดทรัพย์ และตำนาน “รอด” ทุจริตกล้ายาง มโนธรรมของผมก็ย่อมสัมผัสได้ถึง “ความอยุติธรรม” ที่เขา (ทักษิณ) ได้รับ และนั่นย่อมเป็นความอยุติธรรมของสังคมนี้ด้วย และต่อให้ผมโกรธ “แกนนำเสื้อแดง” ขนาดไหนที่ (ในความรู้สึกของผม) พวกเขาขาดจิตสำนึกปกป้องชีวิตของมวลชน (และหรือ “อาจจะ” คิดใช้ชีวิตของมวลชนเป็นเครื่องมือเพื่อล้มรัฐบาลตั้งแต่แรก) แต่ผมก็ไม่มืดบอดพอที่จะมองไม่เห็นความอยุติธรรมที่พวกเขาไม่ได้รับการประกันตัว ในขณะที่แกนนำพันธมิตรที่โดนข้อหา “ก่อการร้าย” เช่นกัน ยังลอยนวล และตวัดลิ้นห้าแฉกสร้าง “วัฒนธรรมความเกลียดชัง” ต่อไปและต่อไป (ไม่ใช่อยากให้จับแกนนำพันธมิตร แต่ไม่อยากให้จับใครทั้งสิ้นด้วยข้อหาที่คลุมเครือแบบนี้) จะด้วยเหตุที่ผมพลัดหลงมาอยู่ใน “ดงคนชั้นกลางในเมือง” หรืออย่างไรไม่รู้ ที่ทำให้ผมมองเห็นความอยุติธรรมของสังคมนี้ช้ากว่าคนรากหญ้าอีสาน ซึ่งเป็นมนุษย์สายพันธุ์เดียวกับผม สำหรับพวกเขาแล้ว ความอยุติธรรมที่รับไม่ได้เลยคือ การที่สัญญาประชาคมแห่งสังคมประชาธิปไตยถูกฉีกทิ้งโดยอำนาจนอกเจตจำนงทั่วไปของประชาชน หรือ “อำนาจเถื่อน” เจตจำนงทั่งไปของประชาชนคือ ความต้องการมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐประหารล้มรัฐบาลที่ประชาชนเลือกคือการทำลายเจตจำนงทั่วไปของประชาชน ซึ่งเท่ากับฉีกสัญญาประชาคมแห่งสังคมประชาธิปไตยทิ้ง ฉะนั้น รัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร หรือที่ถูกสนับสนุนโดยกระบวนการรัฐประหาร จึงไม่ใช่รัฐบาลที่อาจแทนที่เจตจำนงทั่วไปของประชาชนได้ ด้วยเหตุนี้ “อำนาจรัฐที่ชอบธรรม” จึงไม่มีอยู่จริง! ประชาชนจึงมีสิทธิโดยชอบที่จะต่อต้าน “อำนาจเถื่อน” ที่ผุดขึ้นมาจากการฉีกสัญญาประชาคม เพราะในเมื่อสัญญา (รัฐธรรมนูญ 2540) ถูกฉีกทิ้งแล้ว ประชาชนย่อมไม่มีพันธะที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นอีกต่อไป นั่นคือไม่จำเป็นต้องเชื่อฟัง “อำนาจเถื่อน” ที่ไม่ได้มีที่มาจากเจตจำนงทั่วไปของประชาชน (เช่น การเลือกตั้ง) ในขณะที่อำนาจเถื่อนเคลื่อนขบวนรถถังออกมาฉีกสัญญาประชาคม และแสดงอำนาจที่ไร้ความชอบธรรมนั้นสร้างความอยุติธรรม หรือ “ตำนานสองมาตรฐาน” จนนับไม่ถ้วน คนเสื้อแดงพยายามต่อต้านอำนาจเถื่อนนั้นบนจุดยืนของการทวงคืนสัญญาประชาคมอย่างตรงไปตรงมา คือ “ขอคืนรัฐธรรมนูญ 2540” แต่อำนาจเถื่อนไม่ยอมคืนให้! และแล้ว จากความโกรธต่ออำนาจเถื่อน เกลียดชังความอยุติธรรม จลาจลนองเลือด เผาบ้านเผาเมือง ท่ามกลางการรักษาความสงบ “เรียบร้อย” อย่างสุภาพอ่อนโยนของ ศอฉ.(ที่ทุ่มทุนสร้างถึง 5,000 ล้านบาท จากเงินภาษีของประชาชนแห่งประชาคมประชาธิปไตย) บทสรุปก็คือ คนเสื้อแดงไม่รู้ประชาธิปไตย นิยมความรุนแรงและก่อการร้าย สมควรตาย พร้อมกับเสียงเสแสร้งของอำนาจเถื่อน (หมายเลข 2) ขอให้ลืมปัญหาในอดีตกันเถอะ เรามาร่วมปรองดอง ร่วมปฏิรูปประเทศไทย (อีกสัก 600 ล้าน!) แล้วความยุติธรรมอยู่ที่ไหน? ไม่มีความยุติธรรมก็ไม่มีเจตจำนงทั่วไปของประชาชน ไม่มีจุดร่วมของการปรองดอง และไม่มีอุดมการณ์ร่วมในการปฏิรูปประเทศ! ความยุติธรรมยึดโยงอยู่กับอำนาจรัฐที่ชอบธรรม และอำนาจรัฐที่ชอบธรรมย่อมมาจากเจตจำนงทั่วไปของประชาชน อำนาจเถื่อนไม่ได้ยึดโยงอยู่กับเจตจำนงทั่วไปของประชาชน จึงไม่อาจให้ความยุติธรรมได้ ให้ได้แต่ความหวาดกลัว เพราะคนที่เสวยอำนาจเช่นนั้นมีชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัว กลับไปนอนบ้านตัวเองไม่ได้ ไม่อาจลดตัวลงไปสัมผัสมือประชาชนส่วนใหญ่ที่ปฏิเสธเขา และไม่อาจ “สบตา” กับมโนธรรมของตนเอง ฉะนั้น เมื่อเขาถูกพันธนาการด้วยความหวาดกลัว เขาจึงสร้างพันธนาการมัดตรึงสังคมให้คงอยู่กับความหวาดกลัว (คง พรก.ฉุกเฉิน ปิดสื่อ โฆษณาชวนเชื่อข้างเดียว ไล่ล่า ฯลฯ) และเมื่อเขาไม่อาจหยั่งรู้อนาคตอันยาวนานของความเกลียดชังที่ประชาชนมีต่อเขา อนาคตความปรองดอง และการปฏิรูปประเทศที่เขา “คิดแทน” ประชาชน เขาก็ไม่มีทางหยั่งรู้ความสำเร็จของมันด้วยเช่นกัน! เราจะอยู่กับความกลัวที่อำนาจเถื่อนหยิบยื่นให้ต่อไปได้อย่างไร! ทั้งที่มันไม่มีสิทธิ์จะทำให้เรากลัวเกรง เพราะมันเป็นอำนาจที่ไม่ได้มาจากการยินยอมของเรา หรือไม่ใช่อำนาจแห่งเจตจำนงทั่วไปของประชาชน ยิ่งเรากลัวยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับมัน ฉะนั้น เราต้องต่อต้านมันทุกโอกาสที่เป็นไปได้ ด้วยมโนสำนึกที่ปฏิเสธ “ความอยุติธรรม” และการสร้าง “วัฒนธรรมหลอกตัวเอง!” สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น