โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

กวีประชาไท : ที่นี่..มีคนตาย

Posted: 15 Jul 2010 01:25 PM PDT

 

 

เธอ...เค้าว่าที่นี่มีคนตาย
ศพนอนเรียงราย..บนท้องถนน
เค้าบอกว่าตายกันมากกว่าเก้าสิบคน
เลือดนองเกลื่อนกล่น..น่าเศร้าใจ

เธอ..เค้าบอกว่าที่นี่มีคนตาย
ยังมีอีกที่สูญหาย..ไม่รู้ไปอยู่ไหน
น่ากลัวเหลือเกิน..สังคมไทย
ทำไมถึงโหดร้ายกันนัก

เธอ..ตรงนี้..ที่นี่มีคนตาย
ตอนที่ทหารเข้าบุกสลาย..เห็นประจักษ์
ลูกกระสุนปืนมันพุ่งเข้าปัก
แตกหัก..จากการกระชับวงล้อมวันนั้น

เธอ..ตรงนี้ล่ะ..ที่มีคนตาย
ในเมืองใจร้าย..บนแผ่นดินของฉัน
จำได้ไหม..ผู้คนเขาออกมาช่วยกัน
กวาดซากเลือดเนื้อ..ตรงนั้น..ที่ราชประสงค์

เธอ..เธอ..ที่นี่มีคนตาย
เขาลืมกันง่าย ง่าย ปฏิรูปกันไปส่ง ส่ง
เขาจับมือร้องเพลงกัน..แล้วปลดปลง
ตอนนี้คง..ลืมกันไปหมดแล้ว..

เธอ..ที่นี่..มี..คนตาย
ที่นี่..มี..คนตาย
มี..คนตาย
คนตาย
.....

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ภัควดี แปล 'ชีวิตภายใต้เงาอำมหิตของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ'

Posted: 15 Jul 2010 10:45 AM PDT

<!--break-->

สัญญาณที่จับต้องได้ส่วนใหญ่ของ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน อาจไม่มีเหลือให้เห็นมากนักในภาคอีสานของประเทศไทย รั้วลวดหนามที่ล้อมรอบศาลากลางจังหวัดถูกรื้อออกไปแล้ว ทหารจากกองทัพที่เข้ามาคุมเชิงตามหมู่บ้านต่าง ๆ หลังจากการสลายการประท้วงต่อต้านรัฐบาลในกรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤษภาคม ก็ถอนตัวออกไปหมดแล้วเช่นกัน สภาพการณ์ทั่วไปดูเหมือนกลับมาเป็นปรกติ

กระนั้นก็ตาม หลังจากทยอยกลับมาบ้านจากกรุงเทพฯ ผู้สนับสนุนแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือที่เรียกกันว่า “คนเสื้อแดง” ยังคงรู้สึกถูกคุกคาม   ในบรรดาผู้คนจำนวน 417 คนที่ถูกจับตัวไว้ภายใต้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ด้วยข้อหาต่าง ๆ นับตั้งแต่การเข้าร่วมชุมนุมโดยผิดกฎหมาย มีอาวุธอยู่ในครอบครอง ไปจนถึงวางเพลิง  มีถึง 134 คนที่มาจากภาคอีสาน หมายจับอีกกว่า 800 คนที่รัฐบาลออกคำสั่งหลังสลายการชุมนุม ผู้ต้องหาส่วนใหญ่ตามหมายจับนี้ก็เป็นคนในต่างจังหวัด ข่าวการสังหารผู้นำเสื้อแดงสองคน คนหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลสะเทือนอย่างลึกซึ้งและทำให้เกิดข่าวลือต่าง ๆ นานาเกี่ยวกับผู้นำคนอื่น ๆ ที่หายไปอย่างไร้ร่องรอย

เป็นเรื่องยากที่จะหาข้อมูลว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ด้วยความกลัวว่าจะถูกจับหรือประสบชะตากรรมเลวร้ายกว่านั้น ผู้นำจำนวนมากจึงหนีไปที่อื่น  หลบไปกบดานหรือปิดปากเงียบ พวกเขาวิตกว่าตัวเองถูกจับตามองและถูกดักฟังโทรศัพท์ หลายคนไม่เต็มใจที่จะพบปะกับผู้สื่อข่าวหรือคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชน มีความรับรู้อย่างหนึ่งในหมู่คนเสื้อแดงว่า รัฐบาลสามารถทำได้ทุกอย่างตามอำเภอใจภายใต้พระราชกำหนดฉุกเฉิน ในส่วนรัฐบาลเองนั้น รัฐบาลก็ไม่เคยแสดงจุดยืนชัดเจนว่ามีแผนการจะจัดการกับคนเสื้อแดงอย่างไร หลังจากปล่อยผู้ต้องขังจำนวนหนึ่งออกมาเมื่อเดือนที่แล้ว นอกจากพูดว่า คนเสื้อแดงที่มีโทษสถานเบาอาจได้รับนิรโทษกรรม

ดูเหมือนรัฐบาลยังใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อรื้อทำลายความสามารถในการจัดตั้งของคนเสื้อแดงตามท้องถิ่นต่าง ๆ จากปากคำของแหล่งข่าวเสื้อแดงคนหนึ่งในภาคอีสานที่ขอร้องไม่ให้ระบุชื่อเพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย สถานีวิทยุชุมชนของคนเสื้อแดงเกือบทั้งหมดได้ส่งมอบเครื่องส่งสัญญาณวิทยุให้ทางราชการเมื่อเดือนที่ผ่านมา ตามคำบอกเล่าของแหล่งข่าวผู้นี้ สำนักผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นได้อ้าง พ.ร.ก.ฉุกเฉินและภายใต้แรงกดดันของ ศอฉ. จากกรุงเทพฯ กำลังพิจารณาที่จะรื้อทิ้งเสาอากาศของสถานีวิทยุชุมชนของคนเสื้อแดงในขอนแก่น แต่เพราะคำยืนกรานของเจ้าของสถานีว่าจะฟ้องรัฐบาลหากทำเช่นนั้นจริง ๆ ทำให้เงื้อมมือของรัฐบาลชะงักไปก่อน อย่างน้อยก็ในตอนนี้

ในระยะสั้น ดูเหมือนการตัดสินใจของรัฐบาลไทยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วให้ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไปอีกในหลายจังหวัดของภาคอีสาน จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ผล มีความเงียบงันอย่างเด่นชัดครอบคลุมไปทั่วทั้งดินแดนแถบนี้ แม้กระทั่งตามบ้านเรือนของผู้คนจำนวนมากก็เงียบกริบ  เมื่อไม่มีวิทยุหรือโทรทัศน์เสื้อแดงเหลือให้รับฟังรับชม หลาย ๆ ครอบครัวก็เลือกไม่ฟังอะไรเลย พวกเขาบอกว่า ถ้าต้องดูข่าวที่รัฐคุมเข้มหรือแม้แต่อ่านหนังสือพิมพ์ก็พาลให้โมโหเปล่า ๆ

เมื่อรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจัดโครงการเปิดรับสายโทรศัพท์จากประชาชน เพื่อรับฟังทัศนะเกี่ยวกับ “การปรองดองแห่งชาติ”  คำแนะนำจากคนเสื้อแดงที่โกรธแค้นจำนวนมากที่โทรเข้าไป เช่น บอกให้นายกฯ ยุบสภาและสอบสวนรองนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในข้อหาการใช้กำลังปราบปรามเกินขอบเขต ฯลฯ  แน่นอน รัฐบาลย่อมมองว่าคำพูดเหล่านี้เป็นคำแนะนำที่ไม่สร้างสรรค์  แต่อันที่จริง ก่อนที่รัฐบาลอภิสิทธิ์จะประกาศ “โรดแม็ป” แผนปรองดองเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ฝ่ายเสื้อแดงบอกว่าพวกเขาเสนอโรดแม็ปอันหนึ่งมาตั้งนานแล้ว นั่นคือ  ยุบสภา  ยกเลิกการสั่งปิดสื่อของเสื้อแดงและยุติปัญหาสองมาตรฐานในระบบยุติธรรม เพราะเหตุนี้เอง คนเสื้อแดงจำนวนมากจึงไม่อยากเสียเวลาโทรศัพท์เข้าไปในรายการ “6 วัน 63 ล้านความคิด”  พวกเขาเลือกความเงียบดีกว่า

แต่ความเงียบและสภาพที่ดูผิวเผินเหมือนปรกติในภาคอีสานเป็นแค่ภาพลวงตา มันคือหน้าฉากที่อำพรางความรู้สึกหวาดกลัว คับข้อง รังเกียจและเคียดแค้น

ถ้ามองในเชิงประวัติศาสตร์แล้ว อารมณ์ความรู้สึกแบบนี้ไม่เหมือนสภาพหลังการรัฐประหาร 2549 หรือแม้กระทั่งสภาพหลังการปราบปรามประชาชนของกองทัพเมื่อ พ.ศ. 2535 ทั้ง ๆ ที่ครั้งนั้นก็มีผู้ประท้วงถูกสังหารจำนวนมาก สภาพในตอนนี้มีบรรยากาศคล้ายประเทศไทยสมัยหลังการกวาดล้างนองเลือดนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2519 มากกว่า เช่นเดียวกับผู้นำเสื้อแดงในตอนนี้ ผู้นำนักศึกษาในตอนนั้นก็ถูกกล่าวหาว่าก่อการร้าย ล้มเจ้าและปลุกปั่นก่อความไม่สงบเช่นกัน เหตุการณ์ตุลาคม 2519 เป็นจุดเริ่มต้นที่สังคมไทยเสื่อมถอยไปสู่ระบอบเผด็จการทหาร ความแตกแยกอย่างลึกซึ้งและการกดขี่ปราบปรามประชาชนเป็นระยะเวลายาวนาน

คนไทยจำนวนมาก และไม่ใช่เฉพาะคนเสื้อแดงเท่านั้น เริ่มตั้งข้อสงสัยว่า วิธีการของรัฐบาลอภิสิทธิ์กำลังนำพาประเทศไทยถอยหลังกลับไปสู่ระบอบเผด็จการด้วยการขยายภาวะฉุกเฉินไปอย่างไม่มีกำหนดหรือไม่ ตัวอย่างก่อนหน้านี้ก็มีให้เห็นใน พ.ศ. 2501 มีการประกาศงดใช้ระบบกฎหมายตามปรกติ และสั่งให้ยึดถือเอาประกาศของคณะปฏิวัติมีความสำคัญเหนือกว่ากฎหมายอาญาและกฎหมายรัฐธรรมนูญ มองจากในแง่ของกฎหมายแล้ว ประเทศไทยอยู่ภายใต้สภาวะนี้ต่อมาอีกถึง 4 ทศวรรษ มีแต่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 เท่านั้นที่มีความก้าวหน้าในแง่ของการรื้อทิ้งเศษซากตกค้างของระบอบเผด็จการ แต่การรัฐประหารของกองทัพเมื่อ พ.ศ. 2549 เพื่อขับไล่นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ที่ได้รับการเลือกตั้งมาตามระบอบประชาธิปไตย ได้ผลักไสประเทศไทยจมลงสู่ความไร้เสถียรภาพอีกครั้ง

รัฐบาลอภิสิทธิ์บอกว่า การปราบปรามคนเสื้อแดงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาหลักนิติรัฐ แต่การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินกลับเป็นสิ่งที่สวนทางตรงกันข้าม  มันจะกัดเซาะความเข้มแข็งและความมั่นคงระยะยาวของระบอบนิติรัฐ ถึงแม้มีการยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินในห้าจังหวัด แต่การขยาย พ.ร.ก. ฉุกเฉินไปอีก 3 เดือนใน 18 จังหวัดและในกรุงเทพฯ เป็นแค่สัญญาณบ่งบอกครั้งล่าสุดถึงภาวะความไม่มั่นคงทางกฎหมายที่จะเพิ่มขึ้นในระยะยาว

เป็นเรื่องยากที่จะคิดว่า รัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำจะสามารถทลายกำแพงความเงียบหรือบรรเทาความโกรธแค้นของคนจำนวนมากในภาคอีสาน แน่นอน การยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินหรือการอนุญาตให้วิทยุโทรทัศน์เสื้อแดงกลับมาออกอากาศ อาจไม่ทำให้รัฐบาลชนะใจคนในภาคอีสานได้ง่าย ๆ  ตราบใดที่รัฐบาลยังไม่สามารถ “คืน” สิทธิที่ประชาชนรู้สึกว่าเป็นของเขาในระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งผู้วางนโยบายในกรุงเทพฯ ก็ไม่ควรประหลาดใจด้วย หากการคืนสิทธินี้จะทำลายความเงียบในภาคอีสานและเปิดช่องให้การส่งเสียงที่โกรธแค้นยิ่งกว่าเดิม
 

 

*David Streckfuss เป็นนักเขียนที่อาศัยอยู่ใน จ.ขอนแก่น

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อภิสิทธิ์บอก 'มาร์ค V11' ไม่ติดใจเรื่องวิจารณ์ แต่ขอให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม

Posted: 15 Jul 2010 09:15 AM PDT

นายกรัฐมนตรีเผยยังไม่ได้รับการติดต่อมากรณี มาร์ค V.11จะมาขอขมา พร้อมย้ำไม่เคยติดใจเรื่องใครจะวิพากษ์วิจารณ์ แต่ขอให้การวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในรูปแบบที่เหมาะเท่านั้นเอง

<!--break-->

15 ก.ค. 2553 - เว็บไซต์รัฐบาลไทย รายงานว่า เวลา 16.30 น. ที่ ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายวิทวัส ท้าวคำลือ (มาร์ค) นักล่าฝันจากเวทีเอเอฟ 7 แถลงข่าวพร้อมครอบครัว ยอมรับว่าได้โพสต์ถ้อยคำหยาบคายพาดพิงถึงนายกรัฐมนตรีจริง พร้อมทั้งยกมือไหว้ขอโทษโดยหากมีโอกาสก็อยากไปขอขมาด้วยตนเอง ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการติดต่ออย่างเป็นทางการ แต่ว่าตนเคยถูกสอบถามเรื่องนี้เฉพาะในส่วนที่มาพาดพิงถึงตนเอง ซึ่งก็ได้ย้ำไปว่า ความจริงการที่จะชอบหรือไม่ชอบใคร และแสดงความคิดเห็นก็ไม่เป็นปัญหา เพียงแต่ตอนที่ได้รับทราบมาก็มีการพูดถึงว่าการใช้ถ้อยคำอาจจะไม่เหมาะสม ซึ่งถ้านายวิทวัสฯ ได้กลับไปคิดและเห็นว่าการใช้ถ้อยคำที่เกี่ยวข้องกับผู้ใหญ่ไม่เหมาะสมและ รู้สึกแล้วก็เป็นเรื่องที่ดี ไม่ได้มีปัญหาอะไร เพราะส่วนตัวก็ไม่ได้ติดใจอะไรตั้งแต่แรกในส่วนที่เกี่ยวกับตนเอง

เมื่อถามว่า แสดงว่านายกรัฐมนตรีให้อภัยแล้ว และถ้าอยากจะมาขอโทษจำเป็นต้องมาด้วยหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องจำเป็นนั้น คงไม่มีความจำเป็นนะครับ เพราะส่วนตัวไม่ได้ติดใจอะไร ซึ่งตั้งแต่วันแรกตนก็ได้พูดไปแล้วว่าในสวนที่เกี่ยวกับตนเองนั้น ตนถือว่าการถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องปกติ แต่เห็นว่านายวิทวัสฯ ใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมก็ไม่ว่าจะเป็นใคร เด็กหรือผู้ใหญ่เราก็ไม่สนับสนุนเท่านั้นเอง

เมื่อถามว่า มองว่าเป็นเรื่องส่วนไปหรือไม่เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างนายก รัฐมนตรีกับนายวิทวัสฯ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนก็เป็นบุคคลสาธารณะ และเมื่อนายวิทวัสฯ ได้เข้าสู่รายการเอเอฟแล้วเขาก็เป็นบุคคลสาธารณะไปด้วย และเป็นเรื่องที่เป็นข่าวสารขึ้นมา

"ผมก็เพียงแต่ย้ำครับว่า จริง ๆ แล้วผมไม่เคยติดใจเรื่องใครจะวิพากษ์วิจารณ์ แต่ขอให้การวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในรูปแบบที่เหมาะเท่านั้นเอง" นายกรัฐมนตรี กล่าว

เมื่อถามว่า มีการไปบีบหรือกดดันอะไรหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนไม่เคยไปเกี่ยวข้องอะไรเลย

เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้มีการออกมาระบุผ่านทวิตเตอร์ว่าเป็นเรื่องของการเมืองเข้าไปแทรกแซงวงการ บันเทิง นายกรัฐมนตรี ได้ถามกลับว่า พ.ต.ท.ทักษิณฯ เป็นฝ่ายแทรกแซงหรือเปล่าครับ ถึงได้ยืนยันว่าการเมืองแทรกแซง เพราะทางนี้ไม่มีอะไรเลย

เมื่อถามว่า แต่ถูกมองกลายเป็นว่าการเมืองไปลามถึงวงการอื่น ๆ หรือความคิดเห็นของประชาชนด้วย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็มี พ.ต.ท.ทักษิณฯ นะครับมาเล่นการเมืองเรื่องนี้ คนอื่นก็ไม่มีใครไปเล่นการเมือง

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อดีตผู้ช่วยส่วนตัวนางซูจีได้รับการปล่อยตัวแล้ว

Posted: 15 Jul 2010 09:00 AM PDT

<!--break-->

อดีตผู้ช่วยส่วน ตัวนางซูจีได้รับการปล่อยตัว
อูวินเต่ง วัย 69 ปี อดีตผู้ช่วยส่วนตัวของนางอองซาน ซูจี ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำกาทา (Katha) ภาคสะกายแล้วในวันนี้ หลังจากที่ถูกกุมขังเป็นเวลานานกว่า 14 ปี

เท็ดหน่าย เลขาธิการร่วมสมาคมช่วยเหลือเพื่อนนักโทษพม่า (Assistance Association for Political Prisoners - Burma) เปิดเผยว่า อูวินเต่งได้รับการปล่อยตัวแล้วในเช้าวันนี้ อย่างไรก็ตาม สมาชิกครอบครัวของอูวินเต่งในกรุงย่างกุ้งเปิดเผยว่า อูวินเต่งยังเดินทางกลับไม่ถึงบ้าน

อูวินเต่งเข้าร่วมกับพรรคเอ็นแอล ดีในปี 2531 ในปีเดียวกับที่นางซูจีก่อตั้งพรรคเอ็นแอลดี ทั้งนี้ อูวินเต่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นทหารยศร้อยเอกในกองทัพพม่า แต่ในปี 2513 เขาถูกไล่ออกจากกองทัพและถูกจับกุม และถูกตั้งข้อหาว่า มีส่วนร่วมคบคิดกับร้อยเอกโอจ่อมิ้น ซึ่งถูกประหารในข้อหาทรยศชาติ

มีรายงานว่า อูวินเต่งเคยถูกกุมขังอย่างน้อย 3 ครั้ง หลังการประท้วงของนักศึกษาปี 1988 (2531) โดยถูกกุมขังอยู่ในเรือนจำอินเส่งระหว่างปี 1989 – 1995 (2532 - 2538) และในปี 2539 ได้ถูกศาลพม่าตัดสินจำคุกอีกเป็นเวลา 14 ปี ในข้อหาให้ข้อมูลบิดเบือนแก่นักข่าวต่างชาติ

ในปี 2551 อูวินเต่งได้รับการปล่อยตัว แต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น เพราะหลังจากได้รับการปล่อยตัวได้ไม่นานก็ถูกเจ้าหน้าที่จับกุม อีกครั้ง โดยที่ทางการไม่แจ้งเหตุผลใดๆแก่ครอบครัวของอูวินเต่งแต่อย่างใด (Irrawaddy 15 ก.ค.53)

ครอบครัวของผู้ ต้องสงสัยคดีวางระเบิด ถูกห้ามเข้าฟังการพิจารณาคดีในชั้นศาล
นายเพียวไวอ่อง ผู้ต้องสงสัยคดีลอบวางระเบิดในช่วงงานสงกรานต์ของพม่าที่ผ่านมา ตามที่ทากงารพม่าระบุ ถูกนำตัวขึ้นศาลเมื่อวานนี้ ขณะที่ครอบครัวของเขาถูกกีดกันไม่ให้เข้าฟังการไต่สวนคดีในชั้นศาล โดยนายเพียวไวอ่อง ซึ่งมีอาชีพเป็นวิศวกรได้ตกเป็นผู้ต้องสงสัย และถูกจับกุมตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา และขณะนี้ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำอินเส่ง

นายจ่อโฮ ทนายความของนายเพียวไวอ่องเปิดเผยว่า ถึงแม้ครอบครัวของผู้ต้องสงสัยในคดีลอบวางระเบิดจะได้รับอนุญาต จากศาลให้สามารถเข้าร่วมการพิจารณาคดีในชั้นศาลได้ แต่ปรากฏว่า เมื่อถึงเวลาการพิจารณาคดี กลับพบว่า เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองระดับเขตกลับไม่อนุญาตให้เข้าไปในห้องพิจารณา คดี

“ครอบครัวของนายเพียวไวอ่อง ทำได้แค่เพียงรออยู่นอกห้องพิจารณาคดี เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปร่วมฟังการพิจารณาคดีจากนายโซ โซเต่ง เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองระดับเขต แม้ก่อนหน้านี้ทางศาลจะประกาศอนุญาตให้ทุกคนสามารถเข้าร่วมฟังได้”นายจ่อโฮกล่าว 

ด้านนายเพียวไวอ่องขณะนี้ กำลังเผชิญกับข้อกล่าวหาลอบวางระเบิดเมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งในเหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตจำนวน 9 รายและบาดเจ็บอีกจำนวนนับร้อย นอกจากนี้เขายังโดนตั้งข้อหาเป็นสมาชิกของกลุ่มกบฏต่อต้านรัฐบาล รวมไปถึงข้อหาละเมิดพระราชบัญญัติเกี่ยวกับคนเข้าเมือง และพระราชบัญญัติเกี่ยวกับอิเล็คทรอนิค โดยเขาได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดตั้งแต่ต้น

ด้านนายจ่อโฮ ทนายความของนายเพียวไวอ่องกล่าวว่า เขาเตรียมเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐเข้ามาตรวจสอบ กรณีที่นายเพียวไวอ่อง ลูกความของเขาถูกทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจด้วยเช่นกัน ขณะที่การพิจารณาคดีนายเพียวไวอ่องในครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 22 กรกฎาคมที่จะถึงนี้

ด้านภรรยาของนายเพียวไวอ่องเปิดเผย ว่า ขณะนี้สามีของเธอถูกขังเดี่ยวเป็นเวลา 23 ชั่วโมงต่อวัน และได้รับอนุญาตให้ออกมาเดินเล่นวันละ 1 ชั่วโมงเท่านั้น

ทั้งนี้ รัฐบาลพม่ากล่าวหาว่า นายเพี่ยวไวอ่องเป็นสมาชิกของกลุ่มนักศึกษาพม่า (Vigorous Burmese Student Warriors - VBSW) ที่เคยเข้าบุกยึดสถานเอกอัครราชทูต พม่าเมื่อปี 2542 ส่วนเหตุลอบวางระเบิดที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่าน ซึ่งตรงกับในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของพม่ากลายเป็นเหตุลอบระเบิดที่มี ผู้เสียชีวิตมากที่สุดในรอบ 5 ปี

มีรายงานเช่นเดียวกันว่า พ่อลูกคู่หนึ่งซึ่งได้บันทึกภาพหลังเกิดเหตุการณ์ระเบิดไว้ ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าควบคุมตัวไว้เช่นเดียวกัน โดยทั้งสองกำลังถูกตั้งข้อหาเป็นสมาชิกขององค์กรผิดกฎหมาย และข้อหาละเมิดพระราชบัญญัติเกี่ยวกับอิเล็คทรอนิค ซึ่งจนถึงขณะนี้ ทั้งสองพ่อลูกยังถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำอินเส่ง ซึ่งเป็นเรือนจำที่ได้ชื่อว่าเลวร้ายที่สุดในพม่า 
(DVB 15 ก.ค. 53)

 
ตึกต่อเติมของมหา’ลัยในรัฐฉาน พังถล่ม
มีรายงานข่าวแจ้งว่า ซีกหนึ่งของอาคารเรียนในมหาวิทยาลัยด้านคอมพิวเตอร์ ในเมืองตองยี เมืองหลวงของรัฐฉาน ได้พังถล่มลงมา หลังจากที่เพิ่งมีโครงการปรับปรุง แต่ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด

แหล่งข่าวคนหนึ่งเปิดเผยว่า การปรับปรุงส่วนของตึกดังกล่าวเพิ่งแล้วเสร็จไปเมื่อเร็วๆ นี้  ขณะที่ทีมผู้ก่อสร้างกำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการตามแผนส่งมอบอาคารกลับคืนให้ทางมหาวิทยาลัย แต่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นก่อน

ด้านเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยปฏิเสธ ที่จะให้รายละเอียดใดๆแก่สำนักข่าวอิรวดีถึง โดย

อาจารย์ในมหาวิทยาลัยท่านหนึ่งกล่าวแต่เพียงว่า “แม้ตึกจะถล่มลงมาแต่ก็ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ” ด้านแหล่งข่าวรายงานว่า ขณะนี้ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยกำลังพยายามหาสาเหตุการพังถล่มของตึกในครั้งนี้

มหาวิทยาลัยด้านคอมพิวเตอร์แห่งนี้ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองตองยี เมืองหลวงของรัฐฉานประมาณ 4 ไมล์ (6.4 กิโลเมตร) โดยมหาวิทยาลัยดังกล่าว เปิดการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2543 โดยมีสถานะเป็นเพียงวิทยาลัยเทคนิคคอมพิวเตอร์ของรัฐบาล และต่อมาในปี พ.ศ.2550 ก็ได้รับการยกระดับให้เป็นมหาวิทยาลัย

ในรัฐฉานนั้น พบมีมหาวิทยาลัยเฉพาะด้านเทคโนโลยีอยู่ 4 แห่ง มหาวิทยาลัยด้านคอมพิวเตอร์อีก 4 แห่ง และอีก 1 วิทยาลัยการศึกษา นอกจากนั้นยังมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรอื่นๆ ตามปกติอีก  4 แห่งด้วยเช่นกัน

ตามข้อมูลสื่อของรัฐบาลระบุว่า ในประเทศพม่า มีมหาวิทยาลัยทั้งหมด 192 แห่ง โดยในปี พ.ศ. 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศได้ กล่าวว่า การศึกษาของพม่าเป็นไปมาตรฐานการศึกษาสากล

อย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตการณ์กลับชี้ให้เห็นว่า ในระหว่างที่ตัวเลขของมหาวิทยาลัยเพิ่มจำนวนขึ้น แต่คุณภาพในการศึกษาพม่ากลับต่ำลง

ทั้งนี้ หลังจากเหตุการณ์ลุกฮือประท้วงของนักศึกษาในปี 1988 (พ.ศ. 2531) มหาวิทยาลัยในพม่าถูกสั่งปิดโดยรัฐบาลทหารเป็นระยะ เวลาเกือบ 2 ปี รวมถึงเหตุการณ์การประท้วงของนักศึกษาในปี 1996 (พ.ศ. 2546) มหาวิทยาลัยก็ถูกสั่งปิดอีก 3 ปีด้วยเช่นกัน (Irrawaddy13 ก.ค.53)

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรไทย นัดชุมนุม 19 ก.ค. ร้องรัฐบาลแก้ไขปัญหาจริงจัง

Posted: 15 Jul 2010 08:28 AM PDT

สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศ ไทย (สค.ปท.) ออกแถลงการณ์นัดชุมนุมหน้าทำเนียบฯ วันที่ 19 ก.ค. นี้ เพื่อเรียกร้องรัฐแก้ไขปัญหาหนี้สินอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม โดยบอกว่าการชุมนุมนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง
<!--break-->

15 ก.ค. 2553 - สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศ ไทย (สค.ปท.) ฉบับที่ 1/2553 ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1/2553 เรื่อง นัดชุมนุมใหญ่ ในวันที่ 19 กรกฎาคม นี้ ณ ทำเนียบรัฐบาล

โดยในแถลงการณ์ระบุว่า ที่ผ่านมา สค.ปท.ได้ติดตามการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรผ่านกลไกต่างๆ ของรัฐ เช่น กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร(กฟก.) เป็นต้น พบว่าปัญหาหนี้สินของเกษตรกรยังมีความรุนแรงอยู่มาก กลไกการทำงานของรัฐล่าช้า กระบวนการแก้ไขปัญหาถูกแทรกแซงโดยนักการเมือง จนทำให้ไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการ  เกษตรกรหลายรายถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างต่อเนื่องและต้องสูญเสียที่ดินทำกินในที่สุด

ทาง สค.ปท. จึงนัดชุมนุม ณ ทำเนียบรัฐบาลในเวลา 8.00 น. ของวันที่ 19 ก.ค. นี้ เพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม โดยยังยืนยันในแถลงการณ์ว่าการชุมนุมในครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาปากท้องของ เกษตรกรอย่างแท้จริง และไม่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด

เนื้อหาแถลงการณ์ฉบับเต็มมีดังนี้...

 

 



แถลงการณ์สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศ ไทย (สค.ปท.) ฉบับที่ 1/2553

 

นัดชุมนุมใหญ่ ในวันที่ 19 กรกฎาคม นี้ ณ ทำเนียบรัฐบาล

พวกเราในนาม สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย (สค.ปท.) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวขององค์กรเกษตรกรเพื่อให้เกิดการแก้ไข ปัญหาหนี้สินและปัญหาต่างๆของเกษตรกร ที่ผ่านมา สค.ปท.ได้ติดตามการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรผ่านกลไกต่างๆของรัฐ เช่น กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เป็นต้น พบว่าปัญหาหนี้สินของเกษตรกรยังมีความรุนแรงอยู่มาก กลไกการทำงานของรัฐล่าช้า กระบวนการแก้ไขปัญหาถูกแทรกแซงโดยนักการเมือง จนทำให้ไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการ  เกษตรกรหลายรายถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างต่อเนื่องและต้องสูญเสียที่ดินทำกินในที่สุด

สค.ปท. ได้ยื่นข้อเรียกร้อง 15 ข้อ แก่รัฐบาลผ่านคุณหญิงสุพัตรา  มาศดิตถ์ ซึ่งรับผิดชอบดูแลแก้ไขปัญหาเกษตรกร ในวันที่ 11 มิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆแต่อย่างใด พวกเราเห็นว่าแผนปรองดองแห่งชาติและการปฏิรูปประเทศไทยจะเกิดขึ้น ได้นั้นรัฐบาลต้องมีความจริงใจในการแก้ปัญหาของประชาชนที่ได้รับ ความเดือดร้อนโดยเฉพาะเกษตรกร

ดังนั้น เพื่อให้ปัญหาของเกษตรกรได้รับการแก้ไขอย่า จริงจังและเป็นรูปธรรม สค.ปท. จึงนัดหมายให้มีการชุมนุม ณ ทำเนียบรัฐบาล  ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2553 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป

ในการนี้ สค.ปท. ขอยืนยันว่าการชุมนุมในครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาปากท้องของเกษตรกรอย่างแท้จริง และไม่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด

 

“ปลดเปลื้องหนี้  ขอพื้นที่คืน”
 
สภาเครือข่ายองค์ กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย(สค.ปท.)

 


 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือข่ายแรงงานข้ามชาติแม่สอด เปิดเวทีเชิงปฏิบัติการ “จดทะเบียนการเกิดถ้วนหน้า”

Posted: 15 Jul 2010 12:57 AM PDT

เครือข่ายแรงงานข้ามชาติแม่สอดเปิดเวทีเชิงปฏิบัติการ “จดทะเบียนการเกิดถ้วนหน้า” จี้โรงพยาบาลออกเอกสารรับรองการเกิดให้เด็กข้ามชาติตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่รัฐแฉกลลวงมารสังคมหาประโยชน์แจ้งเกิด แอบอ้างเป็นพ่อแม่เด็ก นำพาสู่วงจรค้ามนุษย์

<!--break-->

 

เมื่อวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2553 ณ โรงแรมรุจิรา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ ร่วมกับโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล ภายใต้การสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทำความเข้าใจสถานะทางกฎหมายและการจดทะเบียนการเกิด”(แม่สอด) แก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชนของแรงงานข้ามชาติ องค์กรพัฒนาสังคมแม่สอด เพื่อรับทราบถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และปัญหาอุปสรรคจากการทำงานในพื้นที่

นางสาวดรุณี  ไพศาลพาณิชย์กุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ กล่าวว่า ยังมีบุคคลที่ไม่มีเอกสารแสดงตนและไม่ถูกบันทึกชื่อลงในเอกสารใดๆ ในโลกนี้อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งบุคคลเหล่านี้สามารถที่จะพัฒนาสถานะบุคคลได้ดังต่อไปนี้  1) จดทะเบียนสมรสซึ่งวิธีนี้จะต้องมีหลักฐานข้อมูลอื่นที่สามารถแสดง ตนได้ก่อนการสมรส 2) แปลงสัญชาติแบบทั่วไป วิธีนี้จะต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก 3) การแปลงสัญชาติกรณีพิเศษ
 
สำหรับในเรื่องสิทธิเสรี ภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคลนั้น จะไม่ขึ้นอยู่กับเรื่องการให้สัญชาติแม้แต่น้อย แต่ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน อันจะนำไปสู่ในเรื่องของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  และถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานเหมือนกับในเรื่องของสิทธิทางด้านการ ศึกษา สิทธิในการเดินทาง  การจดทะเบียนสมรส การก่อตั้งครอบครัว สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม สำหรับการจดทะเบียนการเกิดถ้วนหน้า มีสิ่งที่สำคัญคือ จะต้องครบขั้นตอนและถูกต้อง จึงจะสามารถทำให้มนุษย์คนหนึ่งมีความสำคัญในสายตาของกฎหมายได้
 
“การจดทะเบียนการ เกิดอาจจะเปรียบเหมือนเป็นแว่นตาที่จะทำให้เด็กถูกมองอย่างชัดเจน ขึ้นในสายตาสังคม ซึ่งการบันทึกข้อมูลของเด็กเพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายถือเป็นเอกสาร ฉบับแรกของเด็ก ซึ่งภายหลังเมื่อมีการจดทะเบียนการเกิด เด็กจะมีรัฐที่จะรับเป็นเจ้าของตัวบุคคล โดยเด็กสามารถใช้เอกสารเพื่อการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานอื่นๆ และเด็กสามารถใช้เอกสารนี้เพื่อการเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ ได้
 
ตามหลักมาตรฐานสากลได้มี กำหนดว่า การจดทะเบียนการเกิดต้องกระทำทันทีภายหลังจากที่เด็กเกิดและจะ ต้องกระทำอย่างครบขั้นตอน ถ้วนหน้า และถูกต้องด้วย ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือจะต้องมีการรับรองการเกิดแจ้งเกิด และได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ซึ่งคนไทยมีทะเบียนบ้านหรือที่เรียกว่า ทร.14 คนต่างด้าวก็มีเหมือนกันเรียกว่าทะเบียนบ้านคนต่างด้าว หรือทร.13 สำหรับถ้วนหน้านั้นคือคนทุกคนจะต้อง ได้รับการจดทะเบียนการเกิดที่มีความถูกต้องคือตรงกับข้อเท็จจริง ทั้งนี้การรับรองจุดเกาะเกี่ยวการเกิดของเด็กจะต้องมีสองกรณีด้วย กัน กรณีแรกคลอดบุตรที่โรงพยาบาล โรงพยาบาลจะต้องออกเอกสาร ทร.1/2 ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของสถานพยาบาลในการปฏิบัติตามกฎหมายตาม มาตรา 23 กรณีที่สอง เด็กคลอดนอกสถานพยาบาลจะต้องให้กำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นคนออกใบรับรอง และผู้ปกครองจะต้องนำใบรับรองไปที่อำเภอที่หน่วยทะเบียน เรื่องสำคัญอีกอย่างคือการเขียนชื่อของ พ่อ แม่ เด็กควรเขียนให้ชัดเจนถูกต้องด้วย” ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ กล่าว
 
ด้านนางสาวอรพัน ทับรอด ตัวแทนโรงพยาบาลแม่สอด ระบุว่า บุคคลที่มาคลอดทุกคนที่โรงพยาบาลแม่สอดจะมีสมุดฝากครรภ์ กรณีที่มารับใบรับรองการเกิดถ้าไม่มีบัตรอะไรเลยสามารถนำสมุดฝากครรภ์ มาอย่างเดียว แต่คนที่มารับจะต้องเป็นพ่อแม่ของเด็กเท่านั้น ส่วนผู้ที่มารับใบรับรองการเกิดภายหลังจากที่มีการคลอดเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ทางโรงพยาบาลจะมีล่ามแนะนำถึงขั้นตอนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการรับ ใบรับรองการเกิด
 
สำหรับในประเด็นเรื่อง การเก็บหลักฐานเรื่องการแจ้งเกิด ทางโรงพยาบาลได้ทำการสำเนาและเก็บในรูปแบบเล่มเอกสาร แต่เนื่องจากเวลาผ่านไปเอกสารที่เก็บไว้อาจมีความชำรุดบ้าง เนื่องจากบางครั้งต้องอยู่นานถึง 10 ปี ซึ่งถ้ามีการเก็บไว้นานเอกสารเหล่านี้ก็จะเก่าไปตามกาลเวลาของมัน ที่ผ่านมาเคยมีคนมารับใบรับรองการเกิดซึ่งภายหลังจากเกิดมาเป็น เวลานานกว่า 10 ปี โดยมาบอกเพียงชื่อของแม่ เช่น แม่ชื่อเอ เป็นต้น โดยข้อเท็จจริงแล้วมีแรงงานข้ามชาติที่ชื่อเอ 100 คนที่มาคลอดที่โรงพยาบาล ก็จะเกิดความยุ่งยากมากขึ้น เหล่านี้เป็นปัญหาในการสืบค้นของเจ้าหน้าที่อย่างมาก
 
ปัญหาอีกประการหนึ่ง คือ ที่ผ่านมาแรงงานข้ามชาติเปลี่ยนชื่อบ่อยมากจึงเกิดการสับสน ซึ่งถ้าเป็นไปได้ขอให้แรงงานที่มาแจ้งชื่อไว้กับโรงพยาบาลให้ใช้ ชื่อเดิมชื่อเดียวไปตลอด ซึ่งถ้าเป็นกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีบัตรอะไรเลยก็ไม่มีปัญหา อะไร แต่จะมีปัญหาสำหรับคนที่มีบัตรแสดงตนเพราะเนื่องจากชื่อใหม่กับ หมายเลขบัตรไม่ตรงกัน พอไปดำเนินการเรื่องการแจ้งเกิดต่อเทศบาลก็จะมีปัญหาตามมาอีก
 
ขณะที่นายประกิจ ทองไชยภพ เจ้าหน้าทีทะเบียนเทศบาลแม่สอด กล่าวว่าทางสำนักทะเบียนเทศบาลแม่สอดจะมีล่ามภาษาที่คอยสื่อสาร ขั้นตอนการแจ้งเกิดและเจ้าหน้าที่สอบประวัติและข้อมูลเบื้องต้น อยู่แล้ว ที่ผ่านมามีกลุ่มคนที่คอยหาประโยชน์กับแรงงานข้ามชาติโดยมีการแอบ อ้างมาเป็นพ่อแม่เด็กจำนวนมากเพื่อหาประโยชน์จาการแจ้งเกิดของ เด็ก ส่วนหนึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์  
 
โดย ส่วนใหญ่แรงงานข้ามชาติที่เข้ามารับบริการกับสำนักทะเบียน จะมีนายหน้านำพามาซึ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่ามีเรื่องเงินทองและ ผลประโยชน์มาเกี่ยวข้องด้วย และสืบเนื่องจากกระแสเรื่องการทุจริตในส่วนของงานทะเบียนราษฎรจึง มีความจำเป็นที่จะต้องมีการทำหนังสือถึงผู้บังคับบัญชาตรวจสอบ ก่อนทุกครั้งที่จะมีการอนุมัติได้ โดยหลักสถานะของเด็กที่เกิดขึ้นมาก็ต้องขึ้นอยู่กับสถานะของ พ่อแม่เป็นหลักด้วย แต่ถ้าไม่มีหลักฐานใดๆทางฝ่ายทะเบียนจะต้องนำหลักฐานพยานบุคคลที่ น่าเชื่อถือมายืนยัน และอีกวิธีการหนึ่งคือการตรวจดีเอ็นเอถือว่ามีความน่าเชื่อถือ

 


 

หมายเหตุ
 

ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน เป็นศูนย์ข่าวออนไลน์ภาคภาษาไทย ทำหน้าที่รวบรวมข่าวภาษาไทยและนำเสนอบทวิเคราะห์ เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านแรงงานทุกกลุ่มในประเทศไทย (แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ แรงงานหญิง) รวมถึงผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศพม่า และกลุ่มผู้มีปัญหาสถานะบุคคลอื่นๆ ตลอดจนการวิเคราะห์ถึงสถานการณ์การ เมือง เศรษฐกิจ สังคม ภายในประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา ที่ส่งผลกระทบต่อการย้ายถิ่น

ดำเนินการผ่านเงินทุนส่วนตัว และการลงแรงกาย แรงใจ ของกลุ่มเพื่อนสนิท 4 คน คือ อดิศร เกิดมงคล, พรสุข เกิดสว่าง, บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ และ บัณฑิต แป้นวิเศษ เริ่มต้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2552

พวกเราเชื่อว่า “สังคมไทยต้องมีพื้นที่เรียนรู้ มากกว่าในห้องเรียนเพียงเท่านั้น การเรียนรู้มาพร้อมกับความเข้าใจและความอดกลั้นในความต่าง รวมถึงการเคารพคนอื่นที่ต่างจากเรา”

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น