โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

เปิดรายชื่อ 80 พันธมิตรฯ ถูกแจ้งข้อกล่าวหาบุกรุกสุวรรณภูมิ - ดอนเมือง

Posted: 11 Jul 2010 10:05 AM PDT

<!--break-->

11 ก.ค. 53 - เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจรายงานว่า หลังจากที่พล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ผู้ช่วย ผบ.ตร.ได้เรียกประชุมคณะพนักงานสอบสวนคดีพันธมิตรฯบุกยึดสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง เมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา ตามคำสั่งที่ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รรท.ผบ.ตร.ได้ลงนามมีความเห็นสั่งการให้พนักงานสอบสวนดำเนินการกับผู้ต้องหาทั้งหมดไปตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยจะเริ่มออกหมายเรียกให้ผู้ต้องหามารับทราบข้อกล่าวทันทีแล้วนั้น ล่าสุดมีรายงานว่า ผู้ต้องหาทั้ง 80 ราย ได้ทยอยรับหมายเรียกให้เข้าชี้แจงต่อพนักงานสอบสวน ที่กองบังคับปราบปราม แล้ว โดยจะนัดผู้ต้องหาทั้งหมดเข้าชี้แจงในวันที่ 28 ก.ค. - 6 ก.ย.

โดยข้อหาดังกล่าวประกอบด้วย 1.มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ 2.เข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข หรือโดยไม่มีเหตุอันควรเข้าไปหรือซ่อนตัวในอาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่น หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้น เมื่อผู้มีสิทธิห้ามมิให้เข้าไป ได้ไล่ให้ออก โดยใช้กำลังประทุษร้าย และโดยมีอาวุธ หรือร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป 3.ฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งออกตามมาตรา 9, 10 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 4.ทำลาย หรือทำให้เสียหายอย่างร้ายแรงต่อสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศ ยานที่ให้บริการการบินพลเรือน หรือต่ออากาศยานที่ไม่อยู่ในระ หว่างบริการและแยู่ในท่าอากาศยานนั้น หรือทำให้การให้บริการของท่าอากาศยาน หยุดชะงักลง ทั้งนี้ โดยใช้กลอุปกรณ์ วัตถุ หรืออาวุธใดๆ และการกระทำนั้นเป็นอันตรายหรือน่าจะ เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของท่าอากาศยานนั้น 5.กระทำด้วยประการใดๆ ให้ทางสาธารณะอยู่ในลักษณะอันน่าจะเป็นเหตุให้เกิด อันตรายแก่การจราจร 6.กระทำด้วยประการใดๆ ให้การสื่อสารสาธารณะ ทางไปรษณีย์ ขัดข้อง

สำหรับรายชื่อผู้ต้องหาทั้งหมดที่ถูกพนักงานสอบสวนเรียกชี้แจงมีดังนี้

วันที่ 28 ก.ค. มีนายบัณฑิต ปิ่นมงคลกุล พิธีกรรายการทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี นายสุรวิชช์ วีรวรรณ บก.บห.สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี นายชนะ ผาสุกสกุล

วันที่ 29 ก.ค. นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ ผู้ประสานงานกองทัพธรรม นายสมชาย วงศ์เวศ ประธานสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทยภาคเหนือตอนล่าง

วันที่ 30 ก.ค. นายยศ เหล่าอัน ประธานชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพแรงงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นางราตรี ชวนบุญ

วันที่ 2 ส.ค. นายวสันต์ วานิช แกนนำกลุ่มยังแพด พล.อ.อ.เทิดศักดิ์ สัจจะรักษ์ อดีตผู้ว่าการการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก

วันที่ 3 ส.ค. นายพินิจ สิทธิโห อดีตส.ส.เลย พรรคชาติพัฒนา นางสาวศิริลักษณ์ ผ่องโชค นักแสดง นางมาลีรัตน์ แก้วก่า แกนนำพันธมิตรฯรุ่น 2

วันที่ 4 ส.ค.พ.ต.ท.สันธนะ ประยูรรัตน์ อดีตรองผู้กำกับสันติบาล นายสุมิตร นวลมณี รองประธานฝ่ายปฏิบัติการ พันธมิตรฯ สงขลา นายการุณ ใสงาม อดีตส.ว.บุรีรัมย์

วันที่ 5 ส.ค. นายถาวร ศรีอำนวย ศิลปินจิตรกรรม นายประทีป ขจัดพาล ศิลปินเพลงเพื่อชีวิต นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรฯ

วันที่ 6 ส.ค. นางแจ่มศรี สุกโชติรัตน์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย พล.ร.ต.มินท์ กลกิจกำจร อดีตข้าราชการ นายสมบูรณ์ ทองบุราณ อดีตส.ว.ยโสธร

วันที่ 9 ส.ค. นายอนันต์ กาญจนสุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังเกษตรกร นายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำพันธมิตรฯ นายสุนทร รักรงค์ ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ 16 จังหวัดภาคใต้

วันที่ 10 ส.ค. พล.อ.ปานเทพ ภูวนาทนุรักษ์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 นางลักขณา ดิษยะศริน ผู้จัดการโรงเรียนนานาชาติ ดิ อเมริกัน สกูล ออฟ แบงค็อก นายยุทธิยงค์ ลิ้มเลิศวาที พิธีกรรายการสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี

วันที่ 11 ส.ค.นางสมพร วงค์ป้อ นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ นายสุริยนต์ สุวรรณวงศ์ ที่ปรึกษาสหภาพครูแห่งชาติ

วันที่ 16 ส.ค.นายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสหรัฐอเมริกา นายเสกน สุทธิวงศ์ ศิลปินเพลงลูกกรุง นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แกนนำสมัชชาประชาชนอีสาน 19 จังหวัด

วันที่ 17 ส.ค. นายปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการ นายสุทิน วรรณบวร ผู้สื่อข่าวอาวุโส นายสุชาติ สีสังข์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันที่ 18 ส.ค. พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ น.พ.เกรียงศักดิ์ หลิวจันพัฒนา แกนนำพันธมิตรสงขลาเพื่อประชาธิปไตย น.ส.ต้นฝัน (โย) แสงอาทิตย์ แกนนำพันธมิตรเชียงใหม่

วันที่ 19 ส.ค. น.พ.ตุลย์ สุทธิสมวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายจุฬาฯ เชิดชูคุณธรรมนำประชาธิปไตย น.ส.วรรษมน ช่างปรีชา ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี นายประพันธ์ คูณมี โฆษกเวทีพันธมิตรฯ

วันที่ 20 ส.ค. นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ แกนนำพันธมิตรฯ นายสมบูรณ์ สุพรรณฝ่าย แกนนำพันธมิตรฯสุรินทร์ น.ส.เมธาวดี เบญจราชจารุนันท์ อดีตผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี

วันที่ 23 ส.ค.นายอัมรินทร์ คอมันตร์ นักธุรกิจ นายปราโมทย์ หอยมุก แกนนำพันธมิตรฯบุรีรัมย์ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ

วันที่ 24 ส.ค. นายสำราญ รอดเพชร โฆษกเวทีพันธมิตรฯ นายเทิดภูมิ ใจดี อดีตประธานกลุ่มสหภาพกรรมกรโรงแรม นายชัชวาล ชาติสุทธิชัย คอลัมน์นิสต์หนังสือพิมพ์เอเอสทีวี-ผู้จัดการ

วันที่ 25 ส.ค. นายไทกร พลสุวรรณ แกนนำขบวนการอีสานกู้ชาติ นายอธิวัฒน์ บุญชาติ แกนนำขบวนการอีสานกู้ชาติ นายพิเชษฐ์ พัฒนโชติ อดีตรองประธานวุฒิสภา

วันที่ 26 ส.ค. พล.อ.ปฐมพงษ์ เกสรศุกร์ นายแสงธรรม ชุนชฎาธาร แกนนำสาธิตมัฆวาน น.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยอาเซียนเน็ทเวิร์ก

วันที่ 27 ส.ค. น.ส.กมลพร วรกุล พิธีกรรายการทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี นายศรัณยู วงศ์กระจ่าง นักแสดง นายสุริยนต์ ทองหนูเอียด แกนนำพันธมิตรเพื่อปฏิรูปการเมืองภาคเหนือ

วันที่ 30 ส.ค. นายพิชิต ไชยมงคล โฆษกบนเวทีพันธมิตรฯ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ น.ส.จินดารัตน์ ชโยธิน (เจริญชัยชนะ) พิธีกรรายการทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี

วันที่ 31 ส.ค. น.ส.อัญชะลี ไพรีรักษ์ พิธีกรรายการทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี นายอำนาจ พละมี รองเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ นายณรงค์ ดูดิง รองประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม

วันที่ 1 ก.ย. นายรัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี (อมรเทพ อมรรัตนานนท์) โฆษกเวทีพันธมิตรฯ นายสุนันท์ ศรีจันทรา ผู้สื่อข่าวอาวุโสสำนักข่าวเนชั่น นายจำรูญ ณ ระนอง อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ 2 ก.ย. นายบรรจง นะแส เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน

วันที่ 3 ก.ย. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ นายเติมศักดิ์ จารุปราณ พิธีกรรายการทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี

และวันที่ 6 ก.ย. กรรมการบริษัทเอเอสทีวี ประกอบด้วย นายวริษฐ์ ลิ้มทองกุล น.ส.ธิดาลักษณ์ วรรณวัฒนากิจ นายปัญจภัทร อังสุวรรณ และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
 

ที่มาข่าว:

เปิดรายชื่อ 80 พันธมิตรฯ ถูกแจ้งข้อกล่าวหาบุกรุกสุวรรณภูมิ - ดอนเมือง (เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจ, 11-7-2553)
http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=35625:2010-07-11-11-46-08&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บุญยืน สุขใหม่: “การเมือง” คือ “เรื่องของเรา”

Posted: 11 Jul 2010 09:39 AM PDT

<!--break-->

 
หลายครั้งและหลายโอกาสที่ผมมักได้ยินผู้นำแรงงานและผู้ใช้แรงงานพูดอยู่เสมอว่า “เราเป็นผู้ใช้แรงงานไม่ควรเข้าไปยุ่งกับเรื่องการเมือง” ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวนั้นอย่างยิ่ง เพราะว่าการเมืองเป็นเรื่องของคนทุกคนที่จะต้องให้ความสำคัญ เพราะตั้งแต่ตื่นนอนจนหลับตาลง หรือตั้งแต่เกิดจนตาย การเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตของเราตลอดเวลา เราต้องเรียนรู้เพื่อนำสิ่งที่ได้รู้มาวิเคราะห์ข้อมูล ว่าอะไรควรทำหรืออะไรไม่ควรทำ ในขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองที่มีการแบ่งขั้วอย่างชัดเจนและสุดโต่งทางความคิด เราในฐานะที่เป็นกรรมกรเป็นชนชั้นล่างหรือรากฐานของสังคมและเศรษฐกิจ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาระยะห่างและความสัมพันธ์ทางการเมืองกับแต่ละฝ่ายให้ชัดเจน แต่ไม่ใช่เป็นกลางเพราะในโลกแห่งความเป็นจริงนั้นความเป็นกลางมันไม่มี
 
จากบทเรียนของแรงงานในอดีตจนถึงปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่มาจากทหารหรือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญที่หลายคนบอกว่าเป็นประชาธิปไตย ชนชั้นกรรมาชีพหรือผู้ใช้แรงงานก็ยังเป็นชนชั้นที่ถูกกดขี่ขูดรีดและถูกเอาเปรียบอยู่ตลอดเวลา เราไม่สามารถที่จะปลดปล่อยพันธนาการอันหนักหน่วงที่ถูกกดทับอยู่บนบ่าลงได้ เราไม่มีแม้แต่โอกาสที่จะเลือกผู้แทนที่เป็นของชนชั้นผู้ใช้แรงงานของเราเองอย่างแท้จริงได้
 
มีสิ่งที่น่าเป็นห่วงในปัจจุบัน คือ การตีความหมายหรือการเข้าใจความหมายของคำว่า “กรรมกร” มักถูกบิดเบือนไป กรรมกรที่อยู่ในโรงงานก็ถูกแบ่งออกเป็นคอปกขาวกับปกน้ำเงิน และที่สำคัญคือ แรงงานนอกระบบซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรมก็ถูกแบ่งออกเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคนงานไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของสังคมก็แล้วแต่ทุกคนถือว่าเป็นกรรมกร เพราะต้องใช้แรงงานเพื่อให้ได้ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนซึ่งอาจเป็นเงินหรือสิ่งของก็ได้
 
วันนี้กรรมกรได้เรียนรู้อะไรบ้างจากความขัดแย้งทางการเมืองในครั้งนี้ การต่อสู้กันของสงครามตัวแทนระหว่างชนชั้น“คือชนชั้นผู้กดขี่กับผู้ถูกกดขี่” ในครั้งนี้ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายชนะกรรมกรอย่างเราก็จะไม่ได้อะไร เพราะสิทธิ์และเสียงของเรานั้นมันถูกกลืนหายเข้าไปในระบบอุตสาหกรรมแล้ว โอกาสที่กรรมกรอย่างเราจะกลับไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นมีไม่ถึง ๕๐% หรือถ้าคิดเป็นจำนวนของเสียงก็ไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ เสียง จากจำนวนแรงงานในระบบประมาณเกือบสิบล้านคน ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมนักการเมืองจึงไม่ให้ความสำคัญกับพี่น้องกรรมกรอย่างเรา ทั้งที่ในความเป็นจริงเราคือพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
 
มีท่านที่อยากเป็นผู้นำกรรมกรแต่ความสามารถไม่ถึงหลายคนออกมาบ่นว่าการชุมนุมของคนเสื้อแดง ทำให้ต้องมีคนตกงานได้รับความเดือดร้อนจาการเรียกร้องทางการเมือง ซึ่งแท้จริงแล้วคนที่ออกมาชุมนุมเหล่านั้นก็ คือ พ่อ แม่ หรือพี่น้องของเราเอง แต่กรรมกรทั้งหลายกลับเพิกเฉย ช่างเป็นเรื่องน่าประหลาดใจยิ่งนัก หลายคนออกมาโอดครวญว่าต้องตกงานขาดหนทางในการประกอบอาชีพ
 
แต่ผมกลับมองว่ามันไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะตอนวิกฤติเศรษฐกิจ ปี ๒๕๔๐ และ ปี ๒๕๕๑ นั้นมีคนตกงานมากมายแต่ไม่เห็นมีใครหน้าไหนออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลต้องปกป้องผลประโยชน์ของคนงาน แต่ในทางตรงกันข้ามกลับไปเร่งเชิญชวนให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทยโดยเอาทรัพยากรธรรมชาติที่เรามีอยู่อย่างจำกัดเป็นสิ่งล่อใจและที่สำคัญคือไปบอกกับชาวต่างชาติว่าแรงงานไทยฝีมือดีและราคาถูก ท่านผู้นำประเทศที่เคารพครับท่านดูถูกและเหยียบย่ำศักดิ์ศรีของชนชั้นกรรมกรอย่างเราโดยไร้ยางอายจริงๆ
 
เมื่อเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองสิ้นสุด นับจำนวนคนตายได้เก้าสิบพอดี มีคนแอบกระซิบบอกว่า“ขาดไปอีกเพียงเก้าคนไม่งั้นตัวเลขจะสวยกว่านี้”เก้าสิบชีวิตกับผู้บาดเจ็บกว่าสองพันมันคือการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่มากมายนักสำหรับครอบครัวของเขา นี่คือรางวัลสำหรับผู้กล้าหรือผู้ที่บังอาจร้องขอให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือผู้ที่ต้องการประชาธิปไตย
 
หลังสิ้นเสียงปืนและยังไม่สิ้นกลิ่นคาวเลือดดีนัก ก็ได้ยินเสียงเชิญชวนของผู้นำแรงงานขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อเยียวยาคนตกงานจากเหตุการณ์ทางการเมือง “โอ้พระเจ้า!คนตกงานช่างน่าสงสารยิ่งนัก ?” ส่วนคนเจ็บและคนตายจะเป็นใครหรือเป็นอย่างไรช่างหัวมัน “ไม่ใช่เรื่องของกรู........” หลายคนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นกรรมกร เป็นผู้ใช้แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ หลายคนที่รอดชีวิตออกมาต้องอยู่อย่างวิตกหวาดหวั่นและความกลัวจากการตามล่าหรือข่มขู่ทุกรูปแบบ นี่หรือประเทศที่ได้ชื่อว่ามีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย นักวิชาการหรือนักสิทธิมนุษยชนต่างๆ ก็เกิดอาการหูหนวกตาบอดกะทันหันอย่างไม่น่าเชื่อ หรือเขาเหล่านั้นดูหนัง Hollywood มากเกินไปจนลืมตัวว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเหตุการณ์จริง และคิดว่าเป็นหนังที่มีผู้กำกับการแสดงจบจากสถาบันอันลือชื่อจากต่างประเทศ
 
ในการลุกขับเคลื่อนต่อสู้ของกลุ่มคนเสื้อแดงในครั้งนี้ ยากนักที่จะลืมเลือนในความรู้สึกของผม เพราะผมรู้สึกว่า พวกเขาต่อสู้แบบลืมโลกทั้งโลก และใจจดใจจ่ออยู่กับเหตุการณ์ข้างหน้าคว้าหนังสติกออกมายิงทายท้ากับห่ากระสุนปืนข้างหน้าอย่างไม่เกรงกลัวใดๆ เขาคิดเพียงว่า “เขาทำในสิ่งที่ถูกต้อง” หลอมหัวใจและจิตวิญญาณของตัวเองเข้ากับสิ่งที่เขาทำ ห้วงเวลานั้นเป็นห้วงเวลาที่เขามีความสุข สุขจากการได้ทำในสิ่งที่ตนเองรัก ถึงแม้ว่าสิ่งตอบแทนมันอาจหมายถึงความตายที่รออยู่ตรงหน้า สิ่งที่พวกเขาทำนั้นไม่ต้องมานั่งตีราคาคิดถึงค่าตอบแทนหรือเสียงแซ่ซ้องสรรเสริญใดๆ เพราะค่าตอบแทนที่ได้มัน คือ “ความตาย”
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"มาร์ค" ระบุยังมีคนไม่อยากให้การเมืองนิ่ง

Posted: 11 Jul 2010 09:16 AM PDT

<!--break-->

วันนี้ (11 ก.ค.) เวลา 09.00 น.  ณ  สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี  กล่าวกับพี่น้องประชาชนในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” เป็นครั้งที่ 76 ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย  และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ดังนี้  

ช่วงที่ 1   

สวัสดีครับพี่น้องประชาชนที่เคารพรักทุกท่านครับ กลับมาพบกันเช่นเคยนะครับเช้าวันอาทิตย์  สำหรับสัปดาห์นี้นะครับรายการจะมีด้วยกัน 3 ช่วงด้วยนะครับ ช่วงแรกผมจะทำหน้าที่ในการรายงานพี่น้องประชาชนถึงการทำงานในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาเหมือนกับที่เคยปฏิบัติมาทุกสัปดาห์  ช่วงที่ 2 จะมีการสนทนากับพิธีกรรับเชิญ และช่วงสุดท้ายจะมีการเก็บเอาบรรยากาศที่มีการจัดเวทีต่าง ๆ โดยทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยทางภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการที่จะมาร่วมกันในการเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งจะมีทั้งความคิดเห็นต่าง ๆ ที่ได้มีการสะท้อนออกมา และรวมทั้งมีข้อคิดที่ผมได้ไปฝากไว้กับองค์กรต่าง ๆ ด้วย

ยกเลิกการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 5 จังหวัด

แต่ว่าเริ่มต้นจากการทำงานในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาก่อนนะครับ  เรื่องแรกคงจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในเรื่องของสถานการณ์โดยทั่วไป  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นการครบรอบ 90 วันหลังจากที่ได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉินร้ายแรงเมื่อวันที่ 7 เมษายน ซึ่งตามกฎหมายนั้นทำให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องมาพิจารณาว่าเมื่อการประกาศนั้นสิ้นสุดลง 90 วันจะมีการขยายอายุหรือไม่อย่างไร  ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีการพิจารณาทั้งหมดเลย คือวันที่ 7 เมษายนนั้นเราประกาศเพียงบางจังหวัดคือกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล  ต่อมาได้มีการประกาศทั่วประเทศ 24 จังหวัด เพราะฉะนั้นก็ได้มีการนำเอาสถานการณ์ในภาพรวมมาประเมิน โดยทางศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) นั้นได้มีการนำเสนอมา ศอฉ.นั้นความจริงแล้วคิดว่าอยากจะให้เรามีความรัดกุมระมัดระวังเป็นพิเศษ ก็เสนอว่าอยากจะให้ขยายเวลาเรื่องของภาวะฉุกเฉินร้ายแรงในทุกจังหวัดที่ได้เคยมีประกาศภาวะฉุกเฉินไป แต่ว่าทางคณะรัฐมนตรีนั้นได้มีการพิจารณา และเห็นว่าในบางจังหวัดซึ่งสถานการณ์ได้คลี่คลายกลับเข้าสู่ภาวะที่เป็นปกติแล้ว ก็สมควรที่จะได้เร่งในการที่จะคืนความเป็นปกติให้  โดยมีการยกเลิกเรื่องของสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง ซึ่งในที่สุดก็ได้มีการพิจารณากันแล้วเห็นว่ามี 5 จังหวัดที่สามารถที่จะยกเลิกภาวะฉุกเฉินได้ ส่วนในจังหวัดที่ยังมีการประกาศอยู่  ก็ได้มีการพูดกันชัดเจนว่าก็ต้องพยายามเร่งในการที่จะทำให้สภาวะกลับเข้าสู่ความเป็นปกติ  

และสิ่งที่สำคัญคือว่าเราก็ไม่พยายามที่จะมีกฎหมายพิเศษหรือใช้อำนาจพิเศษนานจนเกินไป และที่สำคัญคือว่าเสียงเรียกร้องที่อยากจะให้มีการยกเลิกนั้น ก็จะมาจาก 2 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มแรกคือเรื่องของกลุ่มที่มีความรู้สึกว่าอาจจะมีการไปจำกัดและละเมิดสิทธิเสรีภาพของพี่น้องประชาชนมากจนเกินไป ซึ่งตรงนี้ก็ได้มีการพิจารณาและทำความเข้าใจกันว่าโดยทั่ว ๆ ไปแล้วการจำกัดสิทธิ์ก็มีค่อนข้างน้อย จริงๆ  แล้วข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ออกมานั้นมีความยืดหยุ่นพอสมควร และโดยทั่ว ๆ ไปพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่ยังมีการประกาศภาวะฉุกเฉินร้ายแรงก็สามารถที่จะใช้ชีวิตได้ตามปกติได้ เพียงแต่ว่าการมีอำนาจพิเศษตรงนี้ก็ช่วยให้ทางรัฐบาลนั้นสามารถที่จะบูรณาการทางเจ้าหน้าที่ซึ่งสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยความมั่นใจ มีขวัญกำลังใจมากยิ่งขึ้น และในบางพื้นที่ซึ่งยังมีลักษณะของการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจจะมีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงได้ ก็จะได้สามารถที่จะป้องกัน และแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที  

กำชับทุกหน่วยงานตรวจสอบการร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ์

นอกจากนั้นผมเองก็ได้ติดตามข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งบางทีก็มีการนำเสนอว่ามีการละเมิดสิทธิของพี่น้องประชาชน โดยการใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) หรือไม่ ก็ขอเรียนนะครับว่า ข้อแรกเลยก็คือหลายครั้งก็มีความสับสนคิดว่าการมีการประกาศภาวะฉุกเฉินร้ายแรงหมายความว่าทางรัฐบาลโดยเจ้าหน้าที่อาจจะไปจับกุมใคร ขังใคร บางคนพูดถึงขั้นขนาดว่าไปขังลืม ไม่มีนะครับ และก็เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าตามกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้อย่างนั้น เช่น การที่จะไปควบคุมตัวใครก็จะต้องมีการออกหมาย ขอหมายศาล ศาลจะเป็นผู้ที่จะพิจารณา แล้วจะมีห้วงเวลา เช่น 7 วัน และถ้าหากว่าจะมีการขยายเวลานั้น ศาลก็จะเป็นผู้วินิจฉัยอีกว่าจะอนุญาตให้มีการควบคุมตัวไว้หรือไม่อย่างไร อย่างไรก็ตามครับผมได้กำชับทุกหน่วยงานว่าทุกครั้งที่มีกรณีการร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ์ ขอให้มีการตรวจสอบ และขอให้มีการปฏิบัติโดยเคารพสิทธิมนุษยชน และทุกอย่างต้องเป็นไปตามเกณฑ์ของกฎหมาย นอกจากนั้นครับระบบข้อมูลและฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่นว่ามีการเชิญตัวใคร มีการออกหมายจับใครอย่างไรนั้น ก็ควรที่จะได้มีการเปิดเผยทั้งหมดเพื่อจะได้ตรวจสอบได้ และหลีกเลี่ยงการที่มีบุคคลไปให้ข่าวหรือปล่อยข่าวว่า มีการไปควบคุมตัว มีการไปจับกุม ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามพระราชกำหนด อย่างนี้เป็นต้น  

นอกจากนั้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาผมยังได้มีโอกาสทำความเข้าใจกับสื่อมวลชนและองค์รกรต่างประเทศอยู่หลายกลุ่มด้วยกัน ซึ่งได้อธิบายให้ชัดเจนครับว่าในบางกรณีก็ไม่ใช่การดำเนินการตามพ.ร.ก.ด้วยซ้ำไป แต่ ว่า เข้าสู่กระบวนการของประมวลวิธีพิจารณาความอาญาหรือตามกฎหมายตามปกติ  อย่างกรณีของแกนนำผู้ชุมนุม อย่างนี้เป็นต้น อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เป็นการตัดสินใจของรัฐบาล และเราจะมีการประเมินสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา ไม่ได้หมายความว่าการขยายอายุไปแล้วแปลว่าจะต้องมีการใช้ครบ 90 วัน เพราะว่าในหลายจังหวัดที่เรามีการยกเลิกไปก็ยังไม่ครบ 90 วันด้วยซ้ำ แต่เมื่อสถานการณ์คลี่คลายได้ เจ้าหน้าที่มีความมั่นใจ  มากขึ้นว่าจะควบคุมสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ก็สามารถที่จะยกเลิกได้ก่อน ไม่จำเป็นต้องรอให้ครบกำหนดเวลา  

ออกกฎหมายเฉพาะกิจให้ผู้ครอบครองอาวุธสงครามนำมาคืนรัฐโดยไม่มีความผิด

มีอีกเรื่องหนึ่งซึ่งทางคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของเหตุการณ์ ก็คือปัญหาในเรื่องของอาวุธสงคราม ซึ่งตลอดระยะเวลาตั้งแต่ก่อน แม้กระทั่งมาถึงช่วงการชุมนุม และแม้กระทั่งหลังจากการชุมนุมซึ่งมีการก่อเหตุวินาศกรรมนั้น เราก็จะมีปัญหาในเรื่องของอาวุธสงครามมาโดยตลอด คณะรัฐมนตรีก็เห็นว่าถึงเวลาที่จะได้มีการออกกฎหมาย เป็นกฎหมายในลักษณะที่เป็นกฎหมายเฉพาะกิจ  ก็คือว่าเมื่อกฎหมายฉบับนี้ออกมาจะเปิดโอกาสให้ประชาชนที่ครอบครองอาวุธสงคราม หรืออาวุธต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายสามารถที่จะนำอาวุธมาคืนทางรัฐได้ โดยไม่มีความผิด ซึ่งอันนี้ก็จะเปิดโอกาสให้ จะมีห้วงเวลาครับ เช่น 60 วันหลังจากที่กฎหมายบังคับใช้  ซึ่งกฎหมายนี้ขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปตรวจพิจารณาอยู่ รัฐบาลก็ตั้งใจที่จะผลักดันเรื่องนี้เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรเมื่อเปิดสมัยประชุมต้นเดือนสิงหาคม และอยากจะขอความร่วมมือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ให้ตรากฎหมายฉบับนี้ออกมาโดยเร็วที่สุด เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชนซึ่งอาจจะครอบครองอาวุธที่ไม่ถูกต้องอยู่สามารถนำมาคืนรัฐโดยไม่มีความผิดได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นนะครับจะไม่ไปยกเว้นความผิดให้กับคนที่ได้มีการนำอาวุธเหล่านี้ไปใช้หรือถูกจับกุมหรือถูกดำเนินคดีก่อนที่กฎหมายใช้บังคับ เราก็หวังว่าช่องทางนี้จะเป็นช่องทางที่ช่วยทำให้ปัญหาในเรื่องของอาวุธสงครามซึ่งตกไปอยู่ในมือของผู้ที่ก่อความไม่สงบบ้าง ก่อวินาศกรรมบ้าง หรือแม้กระทั่งนำไปใช้ในการก่ออาชญากรรมปกติ ก็จะได้ลดลง อันนี้ก็เป็นอีกมาตรการหนึ่งซึ่งรัฐบาลก็ได้มีการดำเนินการเพื่อที่จะหาทางที่จะใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยและก็เดินหน้าประเทศไทยต่อไป  

กำหนดให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ รายงานความคืบหน้าทุก 6 เดือน

สำหรับในความคืบหน้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผนปรองดอง รวมไปถึงแผนปฏิรูป คณะกรรมการที่จะมาตรวจสอบข้อเท็จจริงคือคณะกรรมการที่อาจารย์คณิต ณ นคร เป็นประธานนั้น คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อที่จะเปิดให้ท่านประธานคณะกรรมการชุดนี้นั้นมีอิสระในการไปแต่งตั้งบุคคลที่ท่านเห็นสมควรว่าจะเป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดนี้ เพื่อความเป็นอิสระแล้วก็ได้มีการออกระเบียบเพื่อรองรับการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้ โดยกำหนดอายุของคณะกรรมการชุดนี้ไว้ว่าทำงานให้เสร็จภายใน 2 ปีแต่ว่าขอให้มีการรายงานความคืบหน้าเป็นระยะ ๆ ทุก 6 เดือน เหตุผลที่ใช้เวลานานเพราะว่าท่านประธานคณะกรรมการได้เสนอว่านอกเหนือจากการตรวจสอบในเรื่องของข้อเท็จจริงในเหตุการณ์แล้วก็ควรจะได้มีการศึกษาย้อนกลับไปจนถึงเรื่องของสาเหตุที่มาของปัญหาความขัดแย้งทั้งหลายทั้งปวง และนำไปสู่การมีข้อเสนอแนะด้วยในเรื่องของการที่จะนำไปสู่การปรองดอง  

สำหรับคณะกรรมการปฏิรูป และสมัชชาปฏิรูป ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีไปตั้งแต่สัปดาห์ก่อน และได้มีการแต่งตั้งประธาน 2 ท่านคือ ท่านอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน และนพ.ประเวศ วะสี ขณะนี้ประธานทั้ง 2 ท่านได้ตั้งคณะกรรมการเป็นที่เรียบร้อย และคงจะเดินหน้าทำงานได้แล้ว เพราะฉะนั้นทั้งหมดนี้ก็เป็นความคืบหน้าในเรื่องของการผลักดันเรื่องของแผนปรองดองและการปฏิรูป สำหรับเรื่องของสื่อสารมวลชน นอกเหนือจากการประสานงานซึ่งกำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันนั้น เมื่อช่วงที่ผ่านมานะครับ ความจริงวันนี้เป็นวันที่ครบรอบ 22 ปีของช่อง 11 แต่ว่าเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมได้มีการจัดงาน ผมก็ได้ใช้โอกาสนั้นในการแถลงว่าเราก็กำลังเดินหน้าในการปฏิรูปสื่อ แม้กระทั่งช่อง 11 เองหรือสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยเอง ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยน จะพยายามเปิดพื้นที่ให้เกิดความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป ผมก็คงจะต้องทำหน้าที่ในการเดินสายเพื่อจะพูดคุยกับทางสื่อสารมวลชนด้วย ซึ่งจะได้รับข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการปฏิรูปสื่อ หรือปัญหาข้อจำกัดการทำงานของสื่อในสภาวะปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วงการชุมนุม ในช่วงที่มี พ.ร.ก. และเรื่องอื่น ๆ ด้วย และต้องครอบคลุมไปถึงสื่ออื่น ๆ เช่นกรณีของสื่ออินเตอร์เน็ตด้วย อันนี้ก็เป็นการทำงานของรัฐบาลในสัปดาห์ที่ผ่านมาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารของสถานการณ์ของบ้านเมือง 

นักลงทุนชั้นนำในภูมิภาคสนใจเข้าร่วมสัมมนางานยูโรมันนี่ปีนี้เพิ่มสูงสุด

สำหรับในเรื่องเศรษฐกิจมีเรื่องที่อยากจะรายงานอยู่พอสมควร  เรื่องแรกคืออยากจะยืนยันครับว่าความสนใจของนักลงทุนชาวต่างประเทศ นักธุรกิจชาวต่างประเทศในศักยภาพของเศรษฐกิจไทยยังมีมาก เมื่อวันอังคารผมไปเปิดการประชุมสัมมนาที่เขาจัดขึ้นโดยยูโรมันนี่  ก็เป็นการดึงเอานักลงทุนชั้นนำในภูมิภาคมาร่วมสัมมนา ปรากฏว่าความสนใจในปีนี้เพิ่มสูงสุดนับตั้งแต่ได้มีการจัดงานเช่นนี้มาทุกปี ๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสัดส่วนของนักลงทุนต่างชาติก็สูงที่สุดด้วย  ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี  นอกจากนั้นยังมีนักลงทุนรายใหญ่ เช่น ประธานของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ ก็เดินทางมา เพราะว่าปีนี้เป็นปีที่เขาผลิตรถยนต์ครบ 2 ล้านคันและกำลังมีการที่จะขยายการผลิตในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือรถยนต์ประหยัดพลังงาน เมื่อสัปดาห์ก่อนก็มีการประกาศการลงทุนของฟอร์ด เพราะฉะนั้นการยืนยันสถานะของประเทศของเราในการเป็นศูนย์กลางของการผลิตยานยนต์ ซึ่งป้อนเข้าสู่ตลาดไม่ใช่เฉพาะในประเทศ แต่ว่าส่งออกไปในภูมิภาคด้วย แม้กระทั่งในภูมิภาคอื่นด้วย ก็ดูจะมีความเข้มแข็งขึ้น   

การให้บริการเริ่มต้นธุรกิจ ณ จุดเดียว

ส่วนการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนในสัปดาห์ที่ผ่านมาก็มีความคืบหน้าอยู่อีก 2 เรื่อง เรื่องแรกคือเรื่องที่ทางกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการคลัง ได้ร่วมมือกันจัดทำการปรับปรุงขั้นตอนในเรื่องของการที่จะเริ่นต้นธุรกิจ โดยทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร และสำนักงานประกันสังคม ปัจจุบันได้ร่วมกันปรับปรุงบริการ ให้นักธุรกิจที่ต้องการที่จะเริ่มต้นธุรกิจไปออกเลขทะเบียนนิติบุคคล เลขประจำตัวผู้เสียภาษี และเลขที่บัญชีนายจ้าง ที่จุดเดียวกัน ภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า Single Point ผมก็ได้ไปเปิดสำนักงานที่ให้บริการในเรื่องนี้ ในเรื่องของการบริการจุดเดียว ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการลดขั้นตอน ซึ่งจากเดิมขั้นตอนนี้ใช้เวลาถึง 4 วันก็จะเหลือเพียง 90 นาที และจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้การจัดอันดับเกี่ยวกับเรื่องของความง่ายในการทำธุรกิจที่ทางธนาคารโลกทำ และเราเคยอยู่ในอันดับที่ 12 ของโลก อันดับที่ 3 ในเอเชียมีโอกาสที่จะมีอันดับที่ดีขึ้นไปอีก อันนี้ก็เป็นการอำนวยความสะดวก

กำหนดแนวทางแก้ปัญหาการกำจัดขยะติดเชื้อทั้งระบบ

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งซึ่งยังค้างอยู่แม้ว่าจะยังไม่มีข้อยุติ แต่ว่าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีการพิจารณาข้อยุติของคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ในเรื่องของปัญหาเกี่ยวกับกิจการซึ่งมีผลกระทบรุนแรงในเรื่องของสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 67 วรรสอง มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง แต่ว่ารายละเอียดในเรื่องของ 18 กิจการนั้นมีมาก เพราะฉะนั้นก็จะมีการนัดให้มีการประชุมเป็นพิเศษเพื่อที่จะได้ดูข้อมูลให้ลึกที่สุด โดยได้ยึดเอาเจตนารมณ์ของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายที่ได้มีการเสนอบัญชีรายชื่อ 18 กิจการมา ที่จะต้องใช้เวลาเพราะว่าใน 18 กิจการนี้อาจจะไปเกี่ยวกับกฎหมายหลายฉบับ และรูปแบบของประกาศที่จะออกมา อาจไปเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ยกตัวอย่างเช่นบางกิจการนั้นก็จะเป็นเรื่องของการนิคมฯ  อย่างนี้เป็นต้น หรือบางเรื่องก็ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของสาธารณสุข เช่น กิจการหนึ่งซึ่งได้มีการหยิบยกขึ้นมาก็คือปัญหาในเรื่องของเตาเผาขยะติดเชื้อ ซึ่งตรงนี้ทางคณะกรรมการก็บอกว่าจะดูเฉพาะตัวการผลิตหรือการใช้เตาเผาอย่างเดียวคงไม่ได้ น่าจะต้องดูในเรื่องของปัญหาการกำจัดขยะติดเชื้อทั้งระบบ ว่าจะมีการกำหนดแนวทางอย่างไร อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งจะได้มีการเรียกประชุมเป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือนข้างหน้า โดยได้เร่งรัดให้ทางฝ่ายเลขาฯของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ นั้นไปรวบรวมเหตุผลข้อเท็จจริง ข้อมูลต่าง ๆ รวมไปถึงมาตรฐานที่มีอยู่ในโลกที่เกี่ยวข้องกับ 18 กิจการ  

นำร่องแจกโฉนดชุมชนใน 33 พื้นที่

นอกจากนั้นครับในการแก้ปัญหาของพี่น้องประชาชนขอรายงานสั้น ๆ  อีก 2 เรื่องคือว่าได้มีการเปิดสำนักงานในเรื่องของโฉนดชุมชนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และขณะนี้ได้มีการกำหนดพื้นที่ซึ่งจะทำงานในเรื่องของการแจกโฉนดชุมชนได้ประมาณ 33 พื้นที่แล้ว และจะมีอย่างน้อย 2 พื้นที่ที่ได้มีความพร้อมในการไปแก้ระเบียบของชุมชนของสหกรณ์เรียบร้อย รองรับการใช้เรื่องของโฉนดชุมชนเข้าไปแก้ปัญหาที่ทำกิน อันนี้ก็เป็นความคืบหน้าที่สำคัญอีกข้อหนึ่งในเรื่องของการทำงานแก้ไขปัญหาพื้นฐานของพี่น้องประชาชน 

ออกมาตรการเพิ่มเติมแก้ปัญหาราคาไข่ไก่

สุดท้ายครับเรื่องที่ยังเป็นปัญหาต่อเนื่องกันอยู่ก็คือราคาไข่  ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีการพิจารณาตามข้อเสนอที่ได้มีการไปปรึกษาหารือกันก่อนหน้านี้ และผมก็ได้เกริ่นนำไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในเรื่องมาตรการที่จะไปบริหารจัดการในเรื่องของการส่งออกก็ดี  การเพิ่มไข่เข้าสู่ตลาดโดยการยืดอายุของแม่ไก่ที่เป็นไก่ไข่ ไปจนถึงการที่จะมีการแจกลูกไก่ให้กับทางกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นมาตรการเบื้องต้นซึ่งจะรวมกับมาตรการที่ทางกระทรวงพาณิชย์ดำเนินการอยู่ในเรื่องของธงฟ้าก็ดี ในเรื่องของการที่จะขอความร่วมมือจากห้างใหญ่ ๆ ให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบรรจุไข่ เพื่อที่จะลดต้นทุนลง เพื่อที่จะให้ราคาเริ่มลดลงมา แต่คณะรัฐมนตรีจะติดตามอย่างต่อเนื่อง และจะมีการออกมาตรการเพิ่มเติมในวันอังคารนี้เพราะได้มีการตกลงกันไว้แล้วว่าจะต้องมีการหารือเพิ่มเติมในมาตรการซึ่งจะต้องย้อนกลับไปถึงต้นน้ำ ก็คือกรณีของแม่พันธุ์ไปจนถึงเรื่องของโครงสร้าง ไม่ให้โครงสร้างของธุรกิจนี้เป็นลักษณะของการที่จะมีการผูกขาดตัดตอน หรือไม่เป็นการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม  โดยกระทรวงพาณิชย์ก็ต้องไปดูเรื่องนี้ด้วยตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย  จริง ๆ ก็มีอีกหลายเรื่องนะครับซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ว่าเดี๋ยวพักกันสักครู่นะครับ แล้วจะกลับไปคุยกับพิธีกรรับเชิญและช่วงท้ายรายการอย่างที่ได้เรียนไว้แล้วคือว่าจะให้ได้ดูบรรยากาศของการระดมความคิดเห็นที่เกิดขึ้นในภาคธุรกิจก็ดี ภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ดี เพื่อเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทยครับ

ช่วงที่ 2

พิธีกร สวัสดีค่ะมาถึงช่วงที่ 2 ของรายการนะคะ ขออนุญาตแนะนำตัวเองค่ะ วันนี้ดิฉัน อัญชลีพร กุสุมภ์ ค่ะเป็นพิธีกรรับเชิญนะคะ ได้รับเกียรติจากท่านนายกรัฐมนตรีให้มาร่วมสนทนาในช่วงนี้ค่ะ สวัสดีค่ะท่านนายกฯ คะ

นายกรัฐมนตรี สวัสดีครับ

พิธีกร 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาจะเรียกว่า 2 สัปดาห์แล้วถ้าหากว่านับงานจบตั้งแต่เริ่มนะคะ 6 วัน 63 ล้านความคิด ท่านนายกฯ ประเมินว่าได้ดั่งที่ใจต้องการไหมคะ

นายกรัฐมนตรี คือก็คงจะตอบอย่างนี้นะครับว่าถ้าเราอยู่ในโลกของอุดมคติ เราก็อยากจะได้ความเห็นเกือบจะเรียกว่าครบถ้วนทุกคน ซึ่งเราก็รู้อยู่แล้วเป็นไปไม่ได้นะครับ กับสอง เราก็อยากจะให้คนได้มีโอกาสมาช่วยออกความคิดในเรื่องว่าจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทย จะเปลี่ยนแปลงสังคม จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอะไรอย่างไรนะครับ แต่ว่าในความเป็นจริงผมก็อยู่การเมืองมา ผมทราบ เวลาเราเปิดช่องทางอย่างนี้ ก็จะมีพี่น้องประชาชนที่เขาเดือดร้อน เป็นเรื่องส่วนตัวบ้างอะไรบ้าง เขาก็จะโทรมา เพราะฉะนั้นก็เป็นธรรมดา ในที่สุด 6 วันเราก็ได้ 60,000 กว่าความคิดเห็นนะครับและปัญหา และมีทั้งในส่วนที่เสนอแนะมา และก็มีทั้งในส่วนที่เป็นการร้องเรียนร้องทุกข์มา

พิธีกร คืออาจจะบ่นแสดงอารมณ์

นายกรัฐมนตรี บ่นแสดงอารมณ์ก็เหมือนกันนะครับก็ทำได้ แต่ว่าอย่างสัปดาห์ที่แล้วนี้ผมก็ได้บอกว่ามีหลายแง่มุมที่เราคิดว่ามันเป็นผลพลอยได้ 1. ก็คือส่วนของอาสาสมัคร ซึ่งอันนั้นก็คุยกันไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว 2. ก็คือแม้แต่ปัญหาเรื่องของการร้องเรียนร้องทุกข์ มันก็เป็นตัวที่ทำให้เราสามารถมาวิเคราะห์ ขณะนี้เราเอาทั้งหมด 61,681 สายที่เข้ามานี้มานั่งวิเคราะห์แล้วและมีศูนย์ที่เราใช้ ที่เรียกว่าศูนย์นวัตกรรมเพื่อสังคมและความร่วมมือ

พิธีกร คนที่เอาข้อมูลนี้มาวิเคราะห์คือหน่วยไหนคะ

นายกรัฐมนตรี ท่านที่ปรึกษาฯ อภิรักษ์ กับท่านรัฐมนตรีฯ สาทิตย์ นะครับเป็นบุคคลหลักในการที่จะมาช่วยแจกแจงตรงนี้ เขาก็จะเริ่มทำอย่างนี้ครับคือ 1. ไปแจกแจงเลยว่าแบ่งเป็นหมวดหมู่เป็นอย่างไร เช่น เศรษฐกิจก็จะมาอันดับ 1 ที่เป็นเศรษฐกิจชาวบ้าน ก็มีเรื่องการเมือง กระบวนการยุติธรรม ถัดมาก็เป็นสวัสดิการสังคม การศึกษา สาธารณูปโภค อย่างนี้เป็นต้น แล้วก็ในแต่ละหัวข้อนี้ครับเขาเริ่มทำวิเคราะห์มาให้ผมแล้วครับว่า อย่างเศรษฐกิจ จัดตามความถี่นี้ ปัญหาหนี้นอกระบบมาที่ 1 อย่างนี้เป็นต้นนะครับ และสินค้าอุปโภคบริโภคราคาแพงมาที่ 2 ถ้าเรื่องสวัสดิการก็จะบ่นในแง่ของบริการ

พิธีกร ส่วนใหญ่จะมองปัญหาที่เป็นเรื่องครัวเรือนหรือว่าเรื่องใกล้ตัวมากกว่าเรื่องภาพรวมใช่ไหมคะท่านนายกฯ

นายกรัฐมนตรี มีทั้งสองแบบนะครับ ถ้าเป็นเรื่องการศึกษานี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่มองภาพรวม ว่าแนะนำมาว่ายังไม่พึงพอใจกับระบบการศึกษาอย่างไร อย่างนี้เป็นต้น แต่ถ้าเป็นเศรษฐกิจ มันคล้าย ๆ เป็นปัญหาที่ยังประสบด้วยตัวเอง มีความเดือดร้อน ก็สะท้อนออกมา แต่ว่าในแง่ของเรานี้ พอเราได้ตัวเลขเหล่านี้ แล้วก็มีการแจกแจงความถี่ มันก็เป็นประโยชน์ เพราะมันทำให้เราเห็นภาพว่า ถ้าเราถือว่านี่เหมือนกับเป็นกระจกที่สะท้อนสังคมโดยรวม อาจจะไม่แม่นยำมากนัก เราพอมองเห็นนะครับว่า แสดงว่าปัญหาในเชิงโครงสร้างแต่ละเรื่องนี้มันอยู่ที่ไหน ถึงเขาไม่ได้พูดในเชิงระบบ เขาพูดเรื่องของเขา แต่พอเรามาประมวลเราจะเห็นภาพในระบบว่า หนี้ ปัญหาหนี้สิน ปัญหาเรื่องของแพง ปัญหาเรื่องที่ทำกินอะไรต่าง ๆ เป็นอย่างไร และตอนนี้ผมก็จะเริ่ม เมื่ออาทิตย์ที่แล้วก็ได้เคยพูดเอาไว้เหมือนกันนะครับว่า ทางศูนย์เขาจะเริ่มไปสำรวจ ตรวจสอบว่า ในการแก้ไขปัญหาพวกนี้มันมีนวัตกรรมในเชิงนโยบายใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ อย่างไร หรือว่าข้อเสนอจากประชาชน นโยบายรัฐบาลปัจจุบันเป็นอย่างไร ก็เริ่มทำตารางเปรียบเทียบ

พิธีกร แล้วจะเอาไปลงในหน่วยไหนที่ออกมาเป็นพิมพ์เขียวคะ ส่งไปที่สำนักงานสถิติ หรือว่าส่งไปให้คณะกรรมการปฏิรูปชุดไหน

นายกรัฐมนตรี ส่งหลายหน่วยครับ เช่น ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับใครเลย เป็นหน่วยเฉพาะหน่วยเดียวอย่างนี้เราก็ส่งไปได้เลย อย่างหนี้นอกระบบตอนนี้ก็มีโครงการเฉพาะอยู่ ก็ไปให้เห็นเลยว่ามันเป็นอย่างไร ถ้าเป็นที่ดินก็อาจจะหลายส่วนหน่อย แต่ว่าถ้าเกิดไปถึงเรื่องที่จะต้องมีการปรับกฎหมาย โครงสร้างอะไรต่าง ๆ นี้คณะกรรมการปฏิรูปก็จะเป็นจุดที่เหมาะสม

พิธีกร เพราะฉะนั้นแต่ละเรื่องที่ออกมานี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้อง 3 ปีถึงจะสรุปออกมา

นายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ครับ ไม่หรอกครับ อันนี้ย้ำตั้งแต่ต้นแล้วว่าแม้แต่ที่บอกว่าสิ้นปีจะมีแผนไม่ได้หมายความว่าจะต้องไปรอสิ้นปี อย่างปัญหาของบางคนเขาอยากได้ที่ขายของอะไรอย่างนี้

พิธีกร อะไรทำได้ทำเลย

นายกรัฐมนตรี ทำได้เราก็ทำเลย

พิธีกร เรื่องปัญหานี้ครัวเรือนทำได้ก็ทำเลย

นายกรัฐมนตรี ครับ

พิธีกร อยากจะให้ไปฟังสัก 3 ตัวอย่างนะคะท่านนายกฯ ก็คือว่าเป็นประชาชนที่โทรศัพท์เข้ามา ก็จะมีแบบฟอร์ม เพิ่งเห็นเหมือนกันนะคะ เจ้าหน้าที่เขาจะลงรายละเอียด 3 ท่านนี้ถูกเลือกมาเพราะว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจ แล้วก็เลยไปทำ ไปถามเพิ่มเติมนะคะที่บ้าน มีจากทางภาคใต้ ที่พูดคุยเรื่องการอยู่ร่วมกัน ความเป็นมลายู นะคะจะทำอย่างไรที่จะปกครองกันอย่างมีความสุข อยู่ร่วมกันได้ มีคนที่บอกว่าน่าจะปรับเรื่องของการศึกษา จริยธรรมควรจะเข้าไปอยู่ในการศึกษาด้วย และรวมถึงปัญหาที่ส่วนตัวแต่มันก็สะท้อนเรื่องการทำงานของรัฐด้วยนะคะ เรื่องการรังวัดที่มีปัญหา อยากจะให้ไปฟังชัด ๆ นะคะว่าตัวอย่าง 3 ท่านนี้เป็นอย่างไร และจะลงไปที่รูปธรรมว่าจะแก้ปัญหา 3 ท่านนี้ไปอยู่ในส่วนไหนของการทำปฏิรูปในครั้งนี้ค่ะ

ผู้สื่อข่าว นายพารน โอฬารกิจเจริญ ชาวบ้านในซอยสายไหม 72 เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร ร้องเรียนกับโครงการ 6 วัน 63 ล้านความคิดว่า สำนักงานที่ดินเขตบางเขน รังวัดที่ดินไม่ถูกต้อง ทำให้ตนเองและชาวบ้านในซอยเดียวกันได้รับความเสียหาย นายพารนชี้แจงกับทีมข่าวว่าตนซื้อที่ดินจัดสรรจากบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เพื่ออยู่อาศัยเมื่อปี 2522 จำนวน 51 ตารางวา จากนั้นแจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินเขตบางเขนให้ทำการรังวัดเพื่อทราบแนวเขตที่แน่นอน แต่ปรากฏว่าที่ดินคลาดเคลื่อนไปจากเดิม และถนนสาธารณะลดลงจาก 6 เมตรเหลือเพียง 4 เมตร ในขณะที่เจ้าหน้าที่ยืนยันความถูกต้องและให้เหตุผลว่าเครื่องมือที่ใช้วัดในอดีตแตกต่างจากปัจจุบัน

นายพารน ...แสดงชัดเจนว่า 6 เมตร ผมถึงบอกว่านี่ไงนี่หลักฐานชัดเจน ทำไมเจ้าหน้าที่ในอดีต คุณอ่านอย่างนี้คุณก็ต้องรู้อยู่แล้ว แต่ทำไมคุณมาบอกเราว่า 4 เมตร ซึ่งทุกคนไปถามได้เลย ทุกก็ได้ยิน ทุกคนที่รังวัดถูกเจ้าหน้าที่ต่อว่าทุกคน เพราะทุกคนก็พูดเหมือนกับพูดว่า เราซื้อนี้เขาบอก 6 เมตร แต่เจ้าหน้าที่บอก 4 เมตร ทุกคนก็ต้องยอมเจ้าหน้าที่คือ 4 เมตรก็ 4 เมตร ไปถามแปลงข้างในก็ได้

ผู้สื่อข่าว ขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งซึ่งเห็นด้วยว่าสำนักงานที่ดินทำผิดพลาด และควรรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว แต่เมื่อนายพารนขอคำปรึกษาจากหัวหน้าสำนักงานที่ดินเขตบางเขน กลับได้รับการบ่ายเบี่ยง สภาทนายความจึงแนะนำให้นายพารนฟ้องศาลปกครองเพื่อเอาผิดต่อสำนักงานที่ดิน ตนจึงตัดสินใจฟ้องร้อง แต่จนขณะนี้คดีความก็ยังไม่สิ้นสุด จึงไม่ชัดเจนว่าบ้านแต่ละหลังในซอยเดียวกันจะถูกรื้อถอนไปในทิศทางใด ...รายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ รายงานจากเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร

ประชาชน เสนอความคิดเห็นว่าป้าอยากจะได้วิชาศีลธรรม หน้าที่พลเมือง จริยธรรม เข้าเป็นวิชาหลักของการศึกษาของเด็กไทย เริ่มตั้งแต่อนุบาลเลย เพราะว่าผู้ใหญ่แล้วอย่างเรานี้จะกี่คนจะมาสอนเราได้ว่าให้คุณเปลี่ยน ไม่ได้แล้วไม้มันแก่ มันดัดไม่ได้แล้ว มันต้องเริ่มตั้งแต่เด็ก ๆ เพราะว่าคนเราถ้ามีจิตใจที่ดีแล้วนี้ ความซื่อสัตย์ต่อชาตินี้มันจะมี เขารู้ว่าเขาเป็นคนไทย ประเทศไทยให้อยู่ ให้กิน ให้อาศัย ให้ทำมาหากิน แล้วเขาให้อะไรกับประเทศบ้าง ป้าสงสารประเทศไทยมากนะ และก็ฝากนิดหนึ่ง ฝากว่าช่วยประชาสัมพันธ์คำว่าประชาธิปไตยให้กับคนในระดับรากหญ้า ให้รู้ ให้เขาเข้าใจมากหน่อย ดีใจที่ว่าสิ่งที่เราพูดไปมันไม่ลอยไปตามสายลม

ผู้สื่อข่าว ดิฉันอยู่ที่บ้านเลขที่ 100 / 58 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาค่ะ บ้านประเสริฐสันต์ บ้านของนายธวัช ประเสริฐสันต์ หรือคุณตาธวัช ค่ะ ซึ่งเมื่อครั้งที่รัฐบาลเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้น ความคิดของคุณธวัชน่าสนใจทีเดียวนะคะ คุณธวัชเสนอรัฐบาลว่าให้ยอมรับความหลากหลายของคนในสังคมนี้ เป็นเหมือนดอกไม้หลากสี ชนกลุ่มน้อยรัฐบาลก็ต้องปฏิบัติเขาเสมือนว่าเป็นคนไทยคนหนึ่ง โดยเฉพาะเรื่องของปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คุณลุงธวัชก็เสนอขึ้นมาเช่นกันค่ะ

นายธวัช ประเทศไทยมีคนอยู่หลายกลุ่มนะ เพราะฉะนั้นการปกครองต้องไม่ทำลายขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม ภาษาของชนกลุ่มเหล่านั้น ท้องถิ่นอย่างไร ส่งเสริมเขาให้เขาเจริญในกลุ่ม มีประเพณีมีขนบธรรมเนียมของเขา

ผู้สื่อข่าว คุณตายังได้สะท้อนมายังปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยบอกว่าแม้ตนเองจะมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ แปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา แต่มารับราชการที่จังหวัดยะลายาวนานกว่า 30 ปีจนเกษียณอายุราชการ จากการสัมผัสพื้นที่อย่างยาวนาน มองว่าปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่ฝังตัวมาอย่างยาวนาน รัฐบาลจะต้องยอมรับกลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าเป็นมุสลิม และหาทางปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างไร

นายธวัช เราปกครองเขามาตั้ง 100 กว่าปีนะครับ เขายังพูดไทยไม่ได้เลย เป็นบางส่วนเท่านั้นที่พูดไทย ออกไปข้างนอกสิครับ พูดภาษาไทยได้เมื่อไร ผมอยู่ในพื้นที่มาตั้ง 40 - 50 ปี ยิ่งลึก ๆ เข้าไปครับ แล้วคำว่ามลายูนี้ครับ มันฝังในหัวใจเขาครับ

ผู้สื่อข่าว คุณตาธวัชยังได้สะท้อนว่านโยบายเปิดรับฟังความคิดเห็นของรัฐบาลในครั้งนี้เป็นสิ่งที่ดี เพราะรัฐบาลจะได้ความคิดเห็นที่หลากหลาย แต่อยากจะเสนอให้ผู้ที่ร่วมแสดงความคิดเห็นได้สะท้อนปัญหานั้น สะท้อนถึงปัญหาของส่วนรวมมากกว่าส่วนตน จึงจะเป็นการปฏิรูปสังคมไทยอย่างแท้จริง ทีมข่าวโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดสงขลา รายงาน

พิธีกร 3 ตัวอย่างที่พูดถึงนี้นะคะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาที่ดิน การรังวัด อันนี้สะท้อนถึงการทำงานทุกระบบของหน่วยราชการเลยนะคะ พอมาถึงเรื่องการศึกษา เราพูดกันเสมอ สอนคนเก่งแต่ว่าขาดจริยธรรม และอันที่ 3 คือเรื่องทางภาคใต้ เรื่องการอยู่ร่วมกันยังมีความแตกต่าง ทั้งหมดไม่ใช่เรื่องใหม่ค่ะท่านนายกฯ คะ แต่ 3 อย่างนี้เวลาที่จะเอามาพูดเรื่องการปฏิรูปประเทศไทย มันจะไปอยู่ในส่วนไหนคะ

นายกรัฐมนตรี อย่างกรณีแรกนะครับ เราไม่ได้มองในมุมของเรื่องปัญหาเทคนิคที่ดินรังวัดอย่างเดียว แต่ 1. สะท้อนปัญหาเรื่องของระบบราชการ โดยเฉพาะการที่เจ้าหน้าที่เองบางทีก็ขัดแย้งกันเอง กับ 2. คือว่าบางทีเวลาที่ทางฝ่ายราชการผิดพลาดอะไรไปแล้ว

พิธีกร ไม่ยอมรับ

นายกรัฐมนตรี ไม่ยอมรับ เพราะถือว่าถ้ายอมรับเดี๋ยวมีปัญหานะครับ แล้วก็เลยต้องเข้าไปสู่กระบวนการของศาลขณะนี้ กระบวนการยุติธรรม ซึ่งก็มีปัญหาเรื่องความล่าช้า นี่ละครับ 3 ส่วนนี้เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าตอนที่เราออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในเรื่องของคณะกรรมการปฏิรูปของท่านนายกฯ อานันท์ ก็มีการเสนอว่าอำนาจหน้าที่ครอบคลุมแค่ไหน ถึงต้องใส่เรื่องระบบราชการ ระบบยุติธรรมอะไรต่าง ๆ ไปด้วย ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงในเชิงของดุลยพินิจ ของคนเหล่านี้นะครับ หรือว่ากระบวนการยุติธรรมเอง แต่เป็นการที่ทำอย่างไรว่าจะต้องมาทบทวน ว่าเราจะมีช่องทางอย่างไร ให้ประชาชนสามารถที่จะรักษาสิทธิ์ของเขาได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้น ส่วนกรณีของเจ้าตัว กรณีนี้ก็คงต้องเป็นเรื่องของศาลไปแล้วนะครับ เพราะว่าเข้าสู่กระบวนการไปแล้ว

พิธีกร เข้าไปทำอะไรยาก แต่หมายถึงว่าถ้าเราดูในครั้งต่อไป ในการที่จะแก้ไข เราจะต้องแก้ทั้งกระบวนการทั้งหมด ปัญหาแบบนี้

นายกรัฐมนตรี ถูกต้องครับ คือระบบราชการก็ดี หรือว่าระบบการให้บริการประชาชน และระบบยุติธรรม

พิธีกร และก็ต้องตัดตอนปัญหาให้สั้นให้เร็วที่สุด

นายกรัฐมนตรี ถูกต้องครับ อย่างเรื่องของการศึกษานี้ ขณะนี้ก็จะตรงกับที่คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษากำลังทำอยู่นะครับ และก็ช่องทางขณะนี้ก็คือว่า ที่เราลดเอาหลักสูตรที่เราเห็นว่าซ้ำซ้อนออกไปประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์นี้ เพื่อมาเป็นเรื่องของการเรียนรู้ เราใช้คำว่าทักษะชีวิตก็แล้วกันนะครับ เพราะฉะนั้นคุณธรรม จริยธรรม ประชาธิปไตย แต่รูปแบบที่จะสอนนี้ครับ คือสิ่งที่ยังเป็นประเด็นที่กำลังพยายามที่จะหาความลงตัวอยู่ เพราะว่าพูดตามจริงนี้ถ้าบอกว่าไปสอนประชาธิปไตย หรือคุณธรรม จริยธรรรมด้วยการให้ท่องจำ มันก็รู้กันอยู่แล้ว

พิธีกร ต้องมีตัวอย่างค่ะ

นายกรัฐมนตรี ต้องปฏิบัติด้วยนะครับ เราก็อยากจะทำอย่างนั้น อย่างนี้เป็นต้น ส่วนข้อคิดเรื่องของความหลากหลายในภาคใต้ ก็จะตรงกับแนวทางของเราที่ขณะนี้จะเน้นเรื่องของการพัฒนากับการยุติธรรม แต่ว่าสิ่งที่เป็นมุมมองที่สำคัญก็คือว่า ที่ใช้คำว่าคุณลุงก็แล้วกันพูดนะครับ

พิธีกร อายุ 85 นะคะ

นายกรัฐมนตรี คงไม่ใช่เรื่องของ คือไม่ได้มองจากมิติความมั่นคงเท่ากับทางวัฒนธรรม ซึ่งอันนี้เป็นจุดหนึ่งซึ่งผมยอมรับนะครับว่า เวลาที่เราจะใช้นโยบายโดยเอาเรื่องของวัฒนธรรมเป็นตัวนำนี้ เราอาจจะยังทำน้อยไป ซึ่งอันนี้ก็เป็นข้อคิดที่ดี และก็เป็นข้อคิดซึ่งคงไม่ได้เจาะจงเฉพาะภาคใต้ด้วยแล้ว เพราะเวลานี้เราจะมีคนอีกหลายกลุ่ม จะเป็นภาคเหนือ ภาคอีสาน แม้กระทั่งเดี๋ยวนี้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ก็มี เราก็คงจะต้องคิดถึงความหลากหลายในสังคมไทยมากยิ่งขึ้น ว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างไร

พิธีกร ท่านนายกฯ คะ หลังจากเสร็จตรงนี้แล้วนะคะ คนยังคงมีความรู้สึกว่าอยากจะทวงถามให้มันมีความต่อเนื่อง หรือบางครั้งความรู้สึกอยากจะระบายก็มี ยังมีกระบวนการรับฟังตรงนี้อยู่ไหมคะ

นายกรัฐมนตรี ที่จริงแล้วนี้การเปิดให้ประชาชนสามารถร้องเรียนเข้ามานะครับ ที่ทำเนียบฯ ก็มีศูนย์บริการประชาชน และความจริงคนที่เขาส่งจดหมายหรือส่ง

พิธีกร มีตู้ ปณ.

นายกรัฐมนตรี อีเมล์เข้ามา ถึงส่วนตัว ส่ง sms ถึงผมก็ยังมี

พิธีกร โทรศัพท์ด้วยใช่ไหมคะ

นายกรัฐมนตรี แม้กระทั่งปัญหาคล้าย ๆ กันเรื่องของที่ดิน ผมก็เพิ่งได้จดหมายเมื่อวานนี้ จากรายหนึ่ง เขาไม่มีที่ทำกินเขาไม่อึดอัดเท่ากับความเป็นจริงว่า เขาบอกเขาเป็นคนจน แล้วก็ที่อยู่ติดกับนายทุน แต่นายทุนไปออกโฉนดได้ เขาทำมาเท่าไรก็ออกไม่ได้

พิธีกร สิทธิ์มันน่าจะเท่ากัน มันแสดงถึงความไม่เท่าเทียมกัน

นายกรัฐมนตรี ประเด็นอย่างนี้ครับที่ก็คงจะต้องเร่งทำไป และช่องทางการเปิดรับฟังก็จะมีอย่างต่อเนื่องนะครับ เพียงแต่ว่าอาจจะไม่เหมือนกับ 6 วันที่เราเปิดเรียกว่าหลายร้อยคู่สายพร้อม ๆ กัน

พิธีกร ท่านนายกฯ คะอีกเรื่องหนึ่ง ท่านนายกฯ อยากจะพูดเรื่องของชายแดนกัมพูชา อยากจะอธิบายอะไรไหมคะ คือมีความสงสัยอยู่เรื่องหลักหมุดนี่นะคะ แล้วก็เรื่องเรียกว่าบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชา ในเรื่องของการปักปันเขตแดน เขาใช้คำว่าการจัดทำเขตแดน มันมีผลต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ไหมคะ ที่ทำให้เราอาจจะสูญเสียดินแดน

นายกรัฐมนตรี คือปัญหาปราสาทพระวิหาร เขตแดนไทย-กัมพูชา และ 2 - 3 อาทิตย์นี้ จะใช้คำว่าอาจจะร้อนขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง มีเรื่องมรดกโลกด้วย ผมอยากจะย้ำอย่างนี้ก่อนนะครับ จุดยืนรัฐบาลไทย และจุดยืนรัฐบาลนี้ เขตแดนเราถือว่ากำหนดโดยสนธิสัญญา ระหว่างไทยกับกัมพูชานะครับ ก็คือใช้สันปันน้ำ ส่วนที่เหลือนี้ถือว่าเป็นเรื่องเทคนิค ให้เป็นไปตามสนธิสัญญา ก็มีกรณีของคำวินิจฉัยของศาลโลกในเรื่องตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งเราก็เคารพในการตัดสิน ก็สงวนสิทธิ์ไว้ว่าถ้ามีข้อมูลใหม่อะไรเราก็จะไปว่ากัน ทีนี้ปัจจุบันนี้การที่จะไปกำหนดทางเทคนิคว่าตกลงเขตแดนอยู่ที่ไหนนี้ มันก็มีบันทึกความเข้าใจปี 43 ที่เรียกว่า MOU ปี 43

พิธีกร สมัยท่านนายกฯ ชวน

นายกรัฐมนตรี ครับ ก็รู้สึกว่าท่านรัฐมนตรีช่วยฯ ขณะนี้ก็คือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ฯ เป็นคนลงนาม ก็มีการไปพูดอีกบอก ในบันทึกนั้นนอกจากสนธิสัญญา พูดถึงแผนที่ ก็มาบอกว่าเราไปยอมรับแผนที่

พิธีกร ของฝรั่งเศส

นายกรัฐมนตรี ซึ่งทางกัมพูชาใช้ในการต่อสู้ในคดีศาลโลกหรือเปล่า ผมก็ต้องบอกอย่างนี้นะครับ บังเอิญภาษาอังกฤษนี้ใช้คำว่า Maps มี S

พิธีกร หลาย ๆ ฉบับ

นายกรัฐมนตรี มันมีหลายฉบับนะครับ หลายระวาง แต่พอไปแปลเป็นภาษาไทยบอกแผนที่ ก็เลยนึกว่าไปเจาะจงที่ใดที่หนึ่ง ก็อยากจะบอกอย่างนี้ครับว่าตอนที่เราต่อสู้ในศาลโลก และศาลโลกเองก็ไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ ตามที่กัมพูชาร้องขอนะครับ

พิธีกร คือกัมพูชาขอให้ใช้ของฝรั่งเศส

นายกรัฐมนตรี คือบอกว่านั่นน่ะให้ยอมรับแผนที่นั้น ทางศาลได้ดูข้อต่อสู้ของเราว่าแผนที่มันมีหลายระวาง บางระวางถือว่าเป็นผลงานของคณะกรรมาธิการร่วม แต่บางระวางก็ไม่ใช่ เพราะมันยังไม่ได้รับรอง พื้นที่ที่เป็นเจ้าปัญหาอยู่นี้ยังไม่ได้รับรอง เพราะฉะนั้นถ้าเราดูตามบันทึกปี 43 บันทึกปี 43 จะบอกว่าแผนที่ที่เป็นผลงานของกรรมาธิการร่วม

พิธีกร ซึ่งก็หมายถึง

นายกรัฐมนตรี ก็ต้องไปถกเถียงกัน เราก็ไม่ยอมรับบางฉบับ เขาก็บอกว่ามันใช่ ก็ต้องเป็นเรื่องที่จะต้องมาพิจารณา

พิธีกร แล้วจุดยืนของรัฐบาล

นายกรัฐมนตรี รัฐบาลไทยก็ยืนเหมือนเดิมครับ ว่าเราถือว่าบางฉบับนี้มันไม่ใช่ แต่บางฉบับมันใช่ และบางฉบับที่ใช่นี้เป็นคุณกับเรานะครับ เพราะฉะนั้นการที่เราเขียนแผนที่ลงไปนี้ไม่ได้เจาะจงไปที่ระวางใดระวางหนึ่ง หรือฉบับใดฉบับหนึ่ง เพราะแผนที่มันตลอดแนว

พิธีกร ฉบับที่พูดถึงประจำก็คือฉบับของฝรั่งเศส ที่บอกว่าถ้าหากว่าเรายอมรับอันนั้น

นายกรัฐมนตรี คือฝรั่งเศส คำว่าฝรั่งเศส

พิธีกร หลายฉบับอีกเหมือนกัน

นายกรัฐมนตรี มันมีการที่ไปเดินสำรวจหลายระวาง ในบางแนวเขตนี้เขาก็บอกว่าเราได้เปรียบ บางแนวเขตเขาบอกเขาได้เปรียบ แต่เฉพาะฉบับตรงบริเวณนี้นะครับ เราก็ยืนมาตลอด และต่อสู้ในศาลโลกว่ามันไม่ใช่ เพราะยังไม่ได้มีการรับรอง ก็ต้องว่ากันไป แต่จะอย่างไรก็ตามนี้นะครับ การที่จะได้ข้อยุติตรงนี้ตาม MOU นี้ มันต้องมีการเจรจา และปัจจุบันตามรัฐธรรมนูญนี้จะเจรจานี้รัฐบาลต้องเสนอกรอบเจรจาเข้าสภาฯ เจรจาเสร็จกลับมานี้ก็ต้องให้สภาฯ รับรองถึงจะเป็นผล เพราะฉะนั้นผมยืนยันให้ความมั่นใจ ว่าจุดยืนรัฐบาลเป็นอย่างนี้ ทีนี้คนจะกังวลว่าระหว่างที่ยังมีการทำงานตรงนี้ไม่เสร็จนี้ เดี๋ยวต้องมีเรื่องของคนมาตั้ง

พิธีกร หลักหมุดหรือคะ

นายกรัฐมนตรี หลักหมุดส่วนหนึ่ง บางก็เรื่องคนเข้ามาอยู่ มาตั้งร้านขายของอะไรต่าง ๆ ผมก็ยืนยัน

พิธีกร ตัดถนนด้วย

นายกรัฐมนตรี ตัดถนนด้วย ก็ยืนยันว่าผมก็ได้กำชับกระทรวงการต่างประเทศนะครับ และก็ได้คุยกับท่านรัฐมนตรีฯ กษิตอยู่เป็นระยะ ๆ บอกว่าทุกครั้งที่มีรายงานเรื่องนี้ต้องทำหนังสือประท้วงเอาไว้ เพื่อเป็นการที่จะรักษาสิทธิ์ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศก็จะทำนะครับ ส่วนหลักหมุดนี้ก็อยากจะเรียนว่า

พิธีกร เขยิบเข้ามาจริงหรือเปล่าคะ

นายกรัฐมนตรี ที่บอกเขยิบเข้ามานี้ คืออย่างนี้ครับ เวลานี้พอจะต้องทำงานทางเทคนิคเพื่อที่จะมากำหนดหลักเขตแดนกันนี้ ทั้งสองฝ่ายเขาก็จะไปมีการพิจารณาทางเทคนิคที่จะกำหนดแนว เพราะฉะนั้นที่เขาทำอยู่ในขณะนี้ในฝั่งไทย ก็คือเอาหมุดมาตรึงจุดที่เป็นพิกัด เพื่อที่จะรู้ว่าหมุดที่เป็นเขตแดนนี้มันควรจะอยู่ตรงไหน เผื่อตรงนั้นมันถูกขยับ เราก็จะได้ท้วงว่าที่เราตรึงเอาไว้นี้มันไม่ใช่ตรงนั้น

พิธีกร แล้วทางฝั่งกัมพูชาเขาทำไหมคะ

นายกรัฐมนตรี ผมเข้าใจว่าเขาทำด้วยครับ เพราะมันเป็นวิธีการทางเทคนิคของทั้งสองฝ่าย

พิธีกร คือถ้าไปดูกัมพูชาก็จะเห็นว่ามีอีกหมุดหนึ่งอยู่ในเขตแดนกัมพูชา

นายกรัฐมนตรี ผมเข้าใจว่าเขาก็ทำอย่างนั้น แต่ว่าที่เราทำนี้เป็นอย่างนี้ บังเอิญผมเข้าใจว่าเกิดความสับสนตอนไปทำ เพราะว่าไปทำให้เกิดความเข้าใจว่านั่นเป็นเขตแดน ซึ่งเข้าใจว่าทางเจ้าหน้าที่เขาไปทำงานทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่แล้ว ก็อยากให้ความมั่นใจว่าตรงนี้ ถึงอย่างไรนะครับเขตแดนไม่ใช่ใครจะนึกย้ายหมุดไปแล้วเขตแดนเปลี่ยนอย่างที่บอก ทั้งหมดนี้ต้องเข้าสู่กระบวนการของการรับรอง ของกรรมการร่วม เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ด้วยนะครับ ส่วนอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นปัญหายืดเยื้อมา 2 ปีแล้วก็คือมรดกโลก เพราะเราก็กังวลว่าพอเขาไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้วนี้

พิธีกร เราจะสูญเสียพื้นที่

นายกรัฐมนตรี มันจะมีเขตที่เป็นการบริหารจัดการ ก็ขอเรียนว่าเรื่องนี้ผมมอบหมายท่านรัฐมนตรีสุวิทย์ คุณกิตติ แล้วท่านก็ทำงานค่อนข้างที่จะต่อเนื่อง แข็งขันพอสมควร เดินสายไปพบกับทางยูเนสโก เดินสายไปพบกับทางมรดกโลก

พิธีกร เขาเข้าใจใช่ไหมคะ

นายกรัฐมนตรี ก็เดือนกรกฎาคมนี้เขาจะประชุมกัน ทีนี้บางคนก็ไปบอกว่าเราอย่าไปร่วมประชุมได้ไหม ยิ่งเราไม่ไปเรายิ่งเสียเปรียบนะครับ ขณะนี้เราก็พยายามไปทำความเข้าใจ และก็คิดว่าในชั้นนี้เราก็ได้แสดงจุดยืนว่า เขาไม่ควรจะเดินหน้าต่อตรงนี้ จนกว่าความชัดเจนว่าเขตแดนมันอยู่ตรงไหน อย่างไร เพราะถ้าหากว่าไปเดินตรงนี้ เขตแดนยังไม่แน่นอนนี้ มันมาละเมิดสิทธิ์เราได้

พิธีกร น่าจะเป็นประโยชน์ด้วยซ้ำไปที่ทำให้กัมพูชาหันมาร่วมมืออย่างเต็มที่ในการกำหนดเขตแดนให้ชัดเจนขึ้น

นายกรัฐมนตรี ถูกต้องครับ เราก็พยายามยืนยันจุดนั้นอยู่นะครับ ทุกอย่างที่ทำก็รักษาสิทธิ์ประเทศไทย แต่ก็ระมัดระวัง เพราะเราก็ไม่อยากให้ต้องมาสู้รบเสียเลือดเสียเนื้อกันนะครับ อันนี้ก็เป็นแนวที่เราทำอยู่

พิธีกร ขอบพระคุณมากค่ะท่านนายกฯ คะ สำหรับวันนี้ค่ะ ในช่วงหน้ายังมีส่วนที่น่าสนใจรออยู่ค่ะ

ช่วงที่ 3

(การประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางในการปฏิรูปประเทศไทยโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี วันที่ 5 กรกฎาคม 2553)

พิธีกร การประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางในการปฏิรูปประเทศไทยโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัตถุประสงค์ในการจัดการประชุมครั้งนี้ก็เพื่อที่จะระดมความคิดเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพวกเราชาวองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในท้ายของการประชุมก็จะได้นำข้อสรุปต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อเสนอแนะต่อท่านนายกรัฐมนตรี เพื่อไปกำหนดทิศทางในการปฏิรูปประเทศไทยที่เหมาะสมกันต่อไป

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี วันนี้เป็นการชุมนุมนายกฯ มากที่สุดในประเทศไทย ทั้งนายกอบต. นายกเทศมนตรี นายกอบจ. นายกสันนิบาต นายกสมาคมทั้งหมด ท่านคือคนที่สำคัญที่สุดในการปฏิรูปประเทศไทย ที่พูดอย่างนั้นเพราะว่าชุมชนท้องถิ่น คือกุญแจในการแก้วิกฤตชาติ การเมือง ประชาธิปไตย จะทำแต่การเมืองระดับชาติ ทำมา 78 ปีไม่สำเร็จและจะฆ่ากันตาย เพราะว่าไม่มีประชาธิปไตยที่ไหนทำได้สำเร็จโดยทำแต่ระดับชาติ ประชาธิปไตยสำคัญที่สุดคือประชาธิปไตยที่ชุมชนท้องถิ่นที่ฐาน เพราะฉะนั้นต้องทำให้ฐานเข้มแข็งทุก ๆ ด้าน ผมมาวันนี้ก็เพื่อมาให้กำลังใจท่านผู้นำท้องถิ่น และท่านทั้งหลายคือผู้แก้วิกฤตชาติที่แท้จริง แล้วชุมชนท้องถิ่นคือตัวช่าง เราจะต้องตั้งรูปของประเทศไทยใหม่ที่เรียกว่าปฏิรูป คือเอาชุมชนท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง นอกนั้นทั้งหมดแล้วเป็นการมาสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การศึกษา การสื่อสาร การเมือง การปกครอง ทั้งหลายทั้งปวงต้องมาหนุนชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง อันนั้นคือข้อใหญ่ใจความของการปฏิรูปนะครับ

ผู้เข้าร่วมการประชุม กราบเรียนท่านนายกรัฐมนตรีที่เคารพ ประเด็นที่ 1 ที่ได้สรุปได้ เป็นเรื่องของบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ เพื่อนำไปสู่การปรองดองของคนในชนบท และการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทย ประเด็นที่ 2 ในเรื่องของการใช้กระบวนการทางการศึกษาและประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจารีตประเพณี การกีฬาท้องถิ่น เพื่อมาสนับสนุนเกื้อกูลให้สังคมมีความผูกพัน เพื่อพัฒนาให้องค์กรท้องถิ่น เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง และในเรื่องของการเมืองการปกครอง ก็จะเป็นเรื่องของการระดมความคิด ในการดูแลการเมืองภาคประชาชนเพื่อให้หลุดพ้นจากการเมืองระดับชาติ ประการสุดท้ายเป็นเรื่องของการสร้างกลไกและกระบวนการเพื่อการปฏิรูปในการป้องกันระบบทุจริต และเป็นการส่งเสริมบทบาทให้องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่น ๆ ที่ปฏิบัตินะครับ เป็นองค์กรที่ดำเนินนโยบายภายใต้หลักธรรมาธิบาลเพื่อให้พี่น้องประชาชนมีความเชื่อมั่น ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นองค์กรที่เป็นเครื่องมือของประชาชนอย่างแท้จริง กระผมขออนุญาตนำเรียนสรุปต่อท่านนายกรัฐมนตรีเพื่อให้ท่านนายกรัฐมนตรีได้มีข้อเสนอแนะประการใดต่อผู้เข้าร่วมประชุมเป็นลำดับต่อไปครับ ขอเรียนเชิญครับ

นายกรัฐมนตรี ผมเรียน 2 เรื่องซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่อยากจะให้เห็นภาพนิดหนึ่งว่า เราพยายามดำเนินการแก้ไขปัญหากันนะครับ เรื่องแรกก็คือที่มีการหยิบยกขึ้นมาว่ากฎหมายท้องถิ่นขณะนี้ต้องปรับปรุงใหม่หมดตามรัฐธรรมนูญปี 50 ซึ่งมีกฎหมายหลัก ๆ อยู่ 4 ฉบับนะครับ ประเด็นที่ 2 คือ 1 ปีกว่า ๆ ที่ผ่านมาบังเอิญเป็นปีที่เรามีความยากลำบากเป็นพิเศษเรื่องของงบประมาณ เพราะว่าผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจปลายปี 51 ก็ทำให้เงินในระบบหายไปเยอะ เพราะฉะนั้นงบประมาณที่เป็นเงินอุดหนุนของปีงบประมาณปัจจุบันก็จะเป็นปัญหาเป็นพิเศษนะครับ เหมือนกับงบของทุกกระทรวง ทบวง กรม ไม่เว้นแม้กระทั่งงบกลาง ซึ่งขณะนี้ก็เหลือน้อยมากนะครับ แต่ว่าปีงบประมาณที่จะถึงนั้นก็คงจะคลายปัญหาไปได้บ้าง

นอกจากนั้นนี้ นอกจากกฎหมายเรื่องของรายได้ท้องถิ่นซึ่งอยู่ใน 4 ฉบับแล้ว กฎหมายภาษีที่ดินจะเป็นกฎหมายสำคัญอีกกฎหมายหนึ่งซึ่งจะช่วยทำให้ท้องถิ่นมีหลักประกันในเรื่องของรายได้ดียิ่งขึ้น เพราะว่าภาษีที่ดิน ภาษีทรัพย์สินนั้น ปกติก็จะเป็นรายได้หลักของท้องถิ่นในต่างประเทศด้วยนะครับ อันนี้ก็จะได้เห็นภาพว่าเป็นสิ่งที่เราอยากจะผลักดัน และก็สนับสนุนทิศทางการกระจายอำนาจ แต่ว่าปีที่ผ่านมาก็มีข้อจำกัดหลายข้อ

ผมก็เห็นด้วยกับเกือบทุกท่านนะครับที่ขึ้นมาพูดเช้าวันนี้ ที่บอกว่าท่านทั้งหลายพูดไปแล้ว รวมกันทั้งหมดก็คือครอบคลุมทุกตารางนิ้วของประเทศไทยอยู่แล้ว เพราะทุกพื้นที่จะมีทั้งอบต. และ อบจ. หรือเทศบาลกับ อบจ. จะยกเว้นก็มีกรณีของกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นจริง ๆ แล้วถ้าหากว่าท้องถิ่นทั้งหมดขับเคลื่อนในเรื่องนี้ นอกเหนือจากครอบคลุมทุกพื้นที่แล้ว ก็จะเป็นหน่วยย่อยซึ่งมีความใกล้ชิดอย่างยิ่งกับประชาชน ฉะนั้นข้อเสนอที่พูดมาเมื่อสักครู่เกี่ยวกับการที่จะให้ท้องถิ่นมีบทบาทนั้นผมคิดว่า เป็นสิ่งที่รัฐบาลพร้อมที่จะให้การสนับสนุน แล้วก็จะดูแลในเรื่องของรูปแบบว่าจะเดินหน้าทำกันอย่างไรนะครับ

ผมเรียนเริ่มต้นจากเรื่องของปัญหาการเยียวยา ซึ่งนอกเหนือจากที่ได้มีการดำเนินการโดยส่วนกลาง และที่กำลังทำอยู่ เช่น กรณีของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งออกไปในหลายพื้นที่ในขณะนี้ ยอมรับครับว่าก่อนหน้านี้งานนี้ค่อนข้างที่จะเป็นงานซึ่งทำโดยส่วนกลางค่อนข้างมาก ในระยะแรกนี้ ศอฉ. ก็ยังมีบทบาทอยู่มากพอสมควร รวมไปทั้งหน่วยงานส่วนกลางซึ่งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ ศอฉ. นี้ก็เข้าไปดำเนินการหลายอย่าง และการเยียวยาในบางเรื่อง เช่น กรณีของกรุงเทพมหานคร กรณีของพื้นที่ราชประสงค์เอง ก็จำเป็นจะต้องมีคณะกรรมการซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานระดับชาติได้

ส่วนการทำงานของท่านเองนี้ ผมก็ชอบที่ท่านหนึ่งได้พูดนะครับว่า การทำงานนี้คงไม่ทำในลักษณะที่มันตรง ๆ ว่าเป็นเรื่องเข้าไปเยียวยาหรืออะไร แต่มันเป็นศิลปะมากกว่า ของแต่ละท้องถิ่นที่จะหยิบยกว่ากิจกรรมใด โครงการใดซึ่งมีลักษณะของความสร้างสรรค์ และสามารถที่จะรวมพลังของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ของท่านได้ นั่นก็คือวิธีการเยียวยาและสร้างความปรองดองที่ดีที่สุด ขั้นตอนจากนี้ไป การทำงานในเรื่องของการปฏิรูป และเรื่องของการปรองดองจะมีการขับเคลื่อนที่ค่อนข้างจะหลากหลายมาก ทุกท้องถิ่น ผมว่าน่าจะลองคิดดูว่าจะมีส่วนร่วมในการที่จะให้ประชาชนมาสะท้อนความต้องการความคิดเห็นในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างไร

ผมคงขอเรียนให้ข้อคิดในหลาย ๆ เรื่องที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการปรองดองในปัจจุบันนะครับ เรื่องเกี่ยวข้องกับการระดมกำลังของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อที่จะเทิดทูนสถาบัน และเป็นศูนย์รวมในการหลอมรวมจิตใจของผู้คน สิ่งซึ่งท้องถิ่นได้ทำไปหลายแห่งแล้วก็คือการเชื่อมโยงกับโครงการ เช่น โครงการปิดทองหลังพระ โครงการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งก็จะมาเกี่ยวโยงกับเรื่องของการลดความเหลื่อมล้ำ ในแง่ของการสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ ผมว่าตรงนี้ยังมีช่องทางในการขยายได้อีกมาก และศูนย์หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการตามแนวพระราชดำริ ยังมีความพร้อมในการที่จะไปช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ท้องถิ่นสามารถรับแนวคิดหรือนำเอาโครงการเหล่านี้ไปขยายผลได้ อันนี้ก็เป็นประเด็นแรกที่อยากจะเรียน

ประเด็นที่สองครับคือเรื่องของการปฏิรูป โดยเฉพาะเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ มันจะมีงานสองด้านที่จะมีความสำคัญมาก ด้านหนึ่งก็คือเรื่องของการส่งเสริมรายได้และอาชีพที่เป็นลักษณะของเศรษฐกิจครัวเรือน เศรษฐกิจในชุมชน ส่วนที่สองก็คือว่า ในภาวะการแข่งขันทางเศรษฐกิจซึ่งก็จะเกิดปัญหาของคนด้อยโอกาส คนยากคนจน สิ่งที่รัฐบาลพยายามเดินหน้าก็คือเรื่องของระบบสวัสดิการที่กำลังเกิดขึ้น รวมไปถึงเรื่องปัญหาพื้นฐานอีก 2 ปัญหา คือที่ทำกินกับเรื่องหนี้สิน ท้องถิ่นกำลังจะต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้น อย่างกรณีหนี้สินนี้ ที่ผมได้รายงานประชาชนไปก็คือว่า ที่เปิดขึ้นทะเบียนมาและก่อนหน้านี้ เมื่อกี้มีเสียงต่อว่าต่อขานว่าท้องถิ่นยังไม่ได้มีส่วนร่วม ผมเชื่อว่าใน 1 ล้านกว่าคนนี้ ตามที่เราเดินอยู่ขณะนี้จะแก้ปัญหาไปได้ประมาณกว่าครึ่ง ก็คือประมาณอาจจะ 500,000 - 600,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ปัญหาครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นะครับ ก่อนหน้านี้เคยมีรัฐบาลมาขึ้นทะเบียนในลักษณะนี้ ขึ้นทะเบียนไป 1,700,000 คนนั้น แก้ไปได้ 80,000 ราย แต่นี่ที่ทำไปแล้วประมาณ 200,000 และภายในสิ้นเดือนนี้จะถึง 400,000 และปลายทางน่าจะได้ประมาณ 600,000 สิ่งที่สำคัญก็คือว่าอีก 600,000 ที่มาขึ้นทะเบียนแล้วแก้ไม่ได้ บวกกับที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ตรงนั้นคงจะต้องใช้ท้องถิ่นเข้ามาช่วย

ภาพรวมของวิกฤตในวันนี้จริงอยู่ ความสนใจส่วนใหญ่จะอยู่ที่การเมืองระดับชาติ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเสื่อมศรัทธาในระบบการเมือง และนักการเมืองทั้งระดับชาติและท้องถิ่นเป็นปัญหาใหญ่ และการกอบกู้วิกฤตศรัทธาที่มีต่อการเมืองนี้ ประชาชนสัมผัสใกล้ชิดที่สุดคือท้องถิ่น เพราะฉะนั้นถ้าท่านมีความริเริ่มในเรื่องของการที่จะทำให้การเมืองของท้องถิ่นเอง มีความใกล้ชิดกับการเมืองภาคประชาชนมากยิ่งขึ้น ถ้าท่านทำการเมืองท้องถิ่นให้ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือการแข่งขัน หรือการแก่งแย่ง ในลักษณะที่ไม่สร้างสรรค์นะครับ แต่ว่าไปเพิ่มความขัดแย้ง ตรงนี้จะเป็นหัวใจของความสำเร็จ ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการเมือง

(งาน "ภาคธุรกิจ : พลังขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศไทย เพื่อกระตุ้นให้ภาคธุรกิจมีส่วนร่วมในการลดความขัดแข้งและความเหลื่อมล้ำในสังคม" ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ วันพุธที่ 7 กรกฎาคม 2553) 

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์  ผู้จัดการกองทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผมคงเป็นหนึ่งในคนเดียวที่เป็นตัวแทนจากภาคสังคม ที่จะมาพูดในเวทีครั้งนี้ บทบาทธุรกิจคงอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญ ปรับเปลี่ยนจากการที่ธุรกิจอาจจะมองไปที่ผลกำไรหรือการแยกตัวจากสังคม มาสู่บทบาทใหม่ที่ธุรกิจคงจะต้องอยู่กับสังคม และเป็นตัวกลไกขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง สำหรับประเทศไทยผมอยากเสนออย่างนี้นะครับว่า ธุรกิจเพื่อสังคมของประเทศไทยอาจจะต้องมอง 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เราพูดถึงเรื่องของปรับปรุง CHR หรือว่าธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมให้ชัดเจนขึ้น เป็นมากกว่าการมองในเชิงของประชาสัมพันธ์ แต่ต้องมองให้เป็นธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมจริง ๆ จริง ๆ องค์กรธุรกิจไม่ต้องทำอะไรมาก ดูแลชุมชนที่อยู่รอบตัวเอง 1 ธุรกิจกับ 1 ชุมชน สามารถที่จะร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนาตัวสังคมให้เติบโตได้ นอกจากการดูชุมชนรอบ ๆ แล้ว ดูในองค์กรตัวเองนะครับ ปัจจุบันมีธุรกิจที่เริ่มส่งเสริมเรื่องของความสุขในองค์กร หรือเป็นโครงการที่เราทำร่วมกับองค์กรขนาดใหญ่หลาย ๆ องค์กร เช่น โครงการ Happy Work Place เป็นตัวอย่างที่ดี มองพนักงานทั้งระบบ มองเรื่องการเป็นหนี้เป็นสินของพนักงาน มองเรื่องของพัฒนาด้านจิตใจด้านสังคม ให้ควบคู่กันไป อันนี้เป็นด้านที่ 1 นะครับ ด้านที่ 2 นี้ ธุรกิจจำนวนมากสามารถที่จะมาเป็นธุรกิจสายพันธุ์ใหม่เพื่อสังคมได้ หรือที่เราเรียกว่าธุรกิจ Social Enterprise นะครับ องค์กรใหญ่ ๆ จำนวนมาก ไม่ว่าจะทำเรื่องไฟฟ้า ทำเรื่องพลังงาน ทำเรื่องการเงิน สามารถที่จะคลอดเป็นบริษัทลูก มาทำทุก ๆ ด้านเพื่อการพัฒนาสังคมได้ ประเทศไทยนับเป็นที่น่ายินดีมากนะครับว่า มีแผนแม่บท 5 ปี ซึ่งคณะกรรมการชาติ ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธานนี้ได้อนุมัติแผนแม่บทแล้ว กำลังจะเข้าสู่คณะรัฐมนตรีเพื่อ โดยมีการเป้าหมายนะครับว่าอยากให้เกิดธุรกิจพันธุ์ใหม่เติบโตขึ้นปีละ 20 เปอร์เซ็นต์หรือประมาณ 100 เปอร์เซ็นต์ใน 5 ปีนะครับ ทั้งหมดนี้นะครับคงเป็นคร่าว ๆ ในมุมมองว่าธุรกิจกับสังคมจะอยู่ร่วมกันอย่างไร

พิธีกร ท่านพอจะมองเห็นโอกาสในการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันอย่างไรและท่านคาดหวังจะให้ภาครัฐเข้ามาให้การสนับสนุนตรงไหนอย่างไรครับ

ผู้ร่วมเสวนา  เราควรจะสนับสนุนให้ธุรกรรมทางด้านเศรษฐกิจจริง ๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ในที่นี้ก็หมายถึงให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้าถึงบริการทางการเงินในราคาและคุณภาพที่เหมาะสม

ผู้ร่วมเสวนา ผมสามารถใช้เครือข่ายที่ผมมีทั่วประเทศมาช่วยกันประสานและประสานผลประโยชน์ทั้งหมด และผมเชื่อมั่นครับถ้าเราทำกันอย่างจริงจังแล้ว ความสำเร็จที่เกิดขึ้นไม่ไกลความจริงครับ

ผู้ร่วมเสวนา เรื่องของการปฏิรูปประเทศคงต้องทำทุกหน่วยงาน รัฐบาลจะเป็นกลไกที่มีความสำคัญ ไม่ว่าจะรัฐบาลไหนก็แล้วแต่ที่จะเข้ามาจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง และการทำเรามีความคิดเห็น มีการดำเนินการที่หลากหลายอยู่แล้ว  ซึ่งทุกอย่างก็สอดคล้องประสานกัน  เพราะทุกหน่วยทำด้วยกัน  มันก็จะเป็นพลังที่สำคัญให้กับการพัฒนาปฏิรูปประเทศในอนาคต

ผู้ร่วมเสวนา ทางเรายินดีที่จะให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนถ้าได้ทำอะไรร่วมกัน ควรจะเป็นพลังขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

ผู้ร่วมเสวนา สภาท่องเที่ยวฯ คงจะสร้างเครือข่ายของสภาท่องเที่ยวฯ ในการรับผิดชอบต่อสังคมลงให้ถึงระดับจังหวัดอย่างน้อยที่สุด หากว่าลึกลงไปกว่าจังหวัดได้ก็จะดี นอกจากนั้นก็คงจะต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในเรื่องของ CG ของแต่ละองค์กรในระหว่าง 7 ภาคส่วนนี้ด้วยกัน ผมคิดว่าก็คงจะเป็นการสร้าง Network ทั้ง 2 มิติที่จะลงพื้นที่ที่องค์กรสภาฯ จะทำ และคงมีการเชื่อมประสานกับองค์กรภาคเอกชนด้วยกัน คงขอพึ่งตัวเองในระหว่างเอกชนด้วยกันก่อนครับ

ผู้ร่วมเสวนา ในเรื่องของการเชื่อมโยงกันของการทำ CSR ในระดับปฏิบัติการในแง่ของคนทำงาน เราได้มีการเชื่อมโยงกันบ้างแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะต้องทำมากขึ้น ก็คือการเชื่อมโยงในระดับสมาชิกหรือสภาฯ ด้วยกัน  

พิธีกร  ในลำดับต่อไปก็จะเป็นการกล่าวปาฐกถาในหัวข้อพิเศษ ซึ่งมีชื่อว่า "ภาคธุรกิจ : พลังขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศไทย เพื่อกระตุ้นให้ภาคธุรกิจมีส่วนร่วมในการลดความขัดแข้งและความเหลื่อมล้ำในสังคม"

นายกรัฐมนตรี  วันนี้สิ่งที่ผมอยากจะมาร่วมแสดงความคิดเห็นก็คือ เราเคยเรียกร้องความเรียบร้อยของสังคมและความเรียบร้อยทางการเมือง พูดง่าย ๆ ก็คือเวลาที่เราเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ ปัญหาทางการเมืองเกิดขึ้น  นอกจากจะเป็นปัญหาในตัวของมันเอง ซึ่งมีปัญหาในเรื่องการถกเถียงความแตกแยก ความขัดแย้งแล้ว  สิ่งที่ประชาชนหรือสังคมก็จะวิตกกังวลกันมากก็คือผลกระทบที่มีต่อธุรกิจและเศรษฐกิจ เราจึงได้ยินเสียงเรียกร้องจากภาคธุรกิจมาโดยตลอดว่าต้องการการเมืองที่นิ่ง ต้องการสังคมที่สงบ  สิ่งที่ผมอยากจะย้ำวันนี้ก็คือว่าเหตุการณ์ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มันพิสูจน์แล้ว ว่าไม่มีใครสามารถจะเรียกร้องการเมืองที่นิ่ง หรือสังคมที่สงบจากคนอื่นได้ แต่การเมืองที่นิ่งและสังคมที่สงบทุกคนก็จะต้องร่วมสร้าง วันนี้เราจึงต้องกลับโจทย์แทนที่จะถามว่าจะให้สังคมเป็นอย่างไรเพื่อส่งเสริมธุรกิจ เราก็ต้องมาเรียกร้องกับภาคธุรกิจว่าท่านจะทำอะไรเพื่อส่งเสริมให้เกิดสังคมที่ดี คงไม่ได้ขัดแย้งกันละครับ แต่เป็นการย้ำเตือนว่าแม้ว่า พวกเราแต่ละคนจะมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างกันไป แต่ว่าเราแยกส่วนตัวเองออกมาจากสังคมส่วนอื่นไม่ได้  และก็ในที่สุดความสำเร็จของพวกเราแต่ละคนแต่ละส่วนแต่ละฝ่ายก็จะขึ้นอยู่กับการทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่น ๆ ด้วย นี่คือโจทย์ใหญ่ที่สุดถ้ามองในแง่ของการฟื้นฟูและการปฏิรูปและการปรองดอง  

งานข้างหน้ายังอีกยาวครับและเป็นงานยาก ต้องขออภัยเดินเข้ามาผู้จัดบอกให้มาให้กำลังใจภาคธุรกิจ  ผมบอกวันนี้ไม่ได้มาให้กำลังใจ วันนี้มาให้โจทย์เพราะว่าวันนี้ทุกคนต้องช่วยกันตอบโจทย์ของประเทศ และถ้าเราตอบได้ กำลังใจทุกคนจะมีขึ้นมาเอง สิ่งที่เราจะต้องเดินหน้าทำในเรื่องเหล่านี้  มันอาศัยความเปลี่ยนแปลงในเชิงความคิด ในเชิงทัศนคติต่อสิ่งที่เราต้องทำ ผมมาพูดกับภาคธุรกิจวันนี้ ผมก็ยอมรับว่าภาคการเมืองก็ต้องไปทบทวนความคิด ทัศนคติและวิธีการทำงานของตัวเองเหมือนกัน และก็ไม่ปฏิเสธครับว่าปัจจุบันภาคการเมืองก็ยังทำไม่ได้ แต่ที่จะพูดก็คือว่าไม่ใช่ภาคการเมืองภาคเดียวที่มีปัญหาในขณะนี้  ทุกภาคส่วนในประเทศต้องทบทวนต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง และคิดที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตที่ดีกว่า  ผมก็เลยอยากจะจบลงด้วยประเด็นสุดท้ายที่ภาคธุรกิจก็เขี่ยลูกแล้ว ภาครัฐก็อยากจะให้มันเดินหน้าได้อย่างจริงจัง ซึ่งเป็นรูปธรรมอย่างดีในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและการทำงาน คือปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น  

ขอบคุณที่ภาคธุรกิจตอนนี้พร้อมที่จะบอกว่าเป็นจำเลยร่วมกับภาคการเมือง ผมว่าภาคการเมืองยังเป็นจำเลยที่ 1 อยู่ แต่ว่ามีจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่วันนี้ต้องมาคิดทำงานร่วมกัน  ผมเห็นการทำงานในต่างประเทศขณะนี้ การแก้ปัญหานี้ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่กัดกร่อนระบบการเมือง แล้วก็เป็นตัวที่สร้างความขัดแย้งด้วยในสังคม หรือแม้กระทั่งสร้างวิกฤตที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ต้นตอก็มาจากตรงนี้ค่อนข้างมาก ในต่างประเทศขณะนี้เขาไปเกินเลยมาตรการต่าง ๆ ที่มีจากภาครัฐแล้ว ภาครัฐเราก็พยายามทำมาหมดแล้ว มีองค์กรอิสระ มีกฎหมายที่เข้มงวดกวดขันมากขึ้น มีการแสดงบัญชีทรัพย์สิน มีการกำหนดบทบัญญัติเรื่องของการขัดกันของผลประโยชน์  แต่ว่าก็ยังมีปัญหาเรื่องการบังคับใช้ เรื่องการปฏิบัติ แต่ว่าในต่างประเทศเวลานี้เขาก็เรียกร้องแล้วว่าภาคเอกชนก็ต้องจัดการกันเอง เช่น ต้องสามารถที่จะตกลงกันว่าจะไม่มีบริษัทไหนไปติดสินบนเพื่อให้ได้งาน เพื่อทำธุรกิจ ตกลงกันเองในภาคเอกชน  ตกลงที่จะทำธุรกิจอย่างสุจริต ไม่ใช่ตกลงกันเพื่อฮั้วและแบ่งผลประโยชน์  ต้องก้าวมาสู่จุดนี้ให้ได้ครับ และต้องสามารถที่จะรวมตัวกันและต่อต้านธุรกิจใดก็ตามซึ่งไม่เดินตามแนวทางนี้  ขณะนี้ทางหอการค้าได้รับโจทย์นี้ไป และเห็นบอกว่าทางหอการค้าต่างประเทศก็พร้อมที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนส่งเสริมในเรื่องนี้ ผมว่าเรื่องอย่างนี้ครับถ้าหากเรายังตอบโจทย์ใหญ่ไม่ได้ ทำไม่ได้สักเรื่องหนึ่ง ถ้าเป็นเรื่องนี้ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ผมไม่คาดหวังละครับ ไม่ฝันถึงขั้นว่าสิ่งร้าย ๆ จะหายไป แต่ว่าให้เห็นสิ่งดี ๆ และให้เริ่มเปลี่ยนแปลงลดปัญหาที่มันเกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะสุดท้ายแม้ว่าเราจะเรียกร้องให้ธุรกิจมาทำงานเพื่อสังคมหรืออะไร ธุรกิจต้องอยู่กับการแข่งขัน แต่ว่าการแข่งขันถ้าเราแข่งขันกันด้วยความสามารถ  แข่งขันกันด้วยคุณภาพ จริงอยู่ครับผลตอบแทนอาจจะยังเป็นเรื่องเงินเรื่องกำไร  แต่ถ้าเราทำให้ทุกคนแข่งขันกันบนพื้นฐานแบบนี้ ผลกระทบทางสังคมไม่มากละครับในทางลบ และผลตอบแทนที่มันจะกลับคืนสู่สังคมมันจะเกิดขึ้น แต่ถ้าเราไม่แข่งขันกันด้วยวิธีนี้  แต่ว่าเราแข่งขันกันบนพื้นฐานของการเอารัดเอาเปรียบ การไม่ปฏิบัติตามกติกา การใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวไปเรื่อย ๆ ผลกระทบทางสังคมก็จะเป็นอย่างที่เห็นอยู่  และก็การเรียกร้องให้มีการคืนกำไรสู่สังคมจะไม่สามารถชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ 

เพราะฉะนั้นวันนี้ผมต้องขอขอบคุณผู้จัดงานเป็นอย่างยิ่งที่ได้จัดให้มีเวทีนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อคิดต่าง ๆ จะนำไปสู่การทำงานร่วมกันในช่วงระยะเวลาต่อไป ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสังคมและประเทศชาติบ้านเมืองของเรา ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้แสดงความกระตือรือร้น และมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะมาช่วยกันปฏิรูปเพื่อประโยชน์ของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ  และขออวยพรให้ทุกท่านที่มีความตั้งใจที่ดีที่แน่วแน่นี้ประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมายทุกประการ ขอบคุณครับ  

พิธีกร ครับเป็นเวลาสำคัญครับที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจจะขอส่งมอบ 100 ความคิดปฏิรูปประเทศไทยแด่ท่านนายกรัฐมนตรีครับ  นี่คือกล่อง 100 ความคิดปฏิรูปประเทศไทยนะครับ ณ เวลาแห่งนี้ซึ่งถือได้ว่าเป็นเวทีความร่วมมือธุรกิจเพื่อสังคมพลังขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศไทยนะครับ

 

ที่มาข่าว:

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก
http://media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=471&directory=1779&contents=46563

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

การจัดการความมั่นคงในกรุงด้วยกฎหมายพิเศษ: บทเรียนจากภาคใต้

Posted: 11 Jul 2010 09:00 AM PDT

<!--break-->

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสดามูฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อให้ทราบถึงผลกระทบของการใช้กฎหมายพิเศษในการจัดการความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็นข้อควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งต่อการจัดการความรุนแรงต่อกลุ่มคนเสื้อแดงและแนวร่วมซึ่งเคลื่อนไหวในจังหวัดที่ประกาศใช้กฎหมายพิเศษไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคเหนือ

หลังจากเหตุการณ์ที่มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่กรุงเทพมหานคร จนถึงปัจจุบันทำให้คนจังหวัดชายแดนภาคใต้รู้สึกว่า การแก้ปัญหาความมั่นคงโดยใช้กฎหมายพิเศษที่ใช้สารพัดวาทกรรมของรัฐและหน่วยความมั่นคงซึ่งต้องการแสดงให้คนทั้งประเทศเห็นด้วยถึงความจำเป็นของการใช้กฎหมายและแนวทางการจัดการกับปัญหาดังกล่าวนั้นทำให้คนกรุงเทพมหานครและจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคเหนือซึ่งเป็น คนเสื้อแดงและแนวร่วมได้รู้รสชาติของการต้องทนอยู่กับปัญหาของคนจังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น (หรือแม้กระทั่งนักวิชาการ)

การปะทะกันระหว่างทหารกับกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณสี่แยกคอกวัวหรือที่อื่นๆในกรุงเทพมหานครจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บมากมายนั้น ทำให้วาทกรรม “ผู้ก่อการร้าย” ได้เริ่มปรากฏสู่สาธารณชนเป็นครั้งแรกจากฝ่ายผู้กุมอำนาจรัฐ ในขณะที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เขาคือผู้ก่อความไม่สงบ หรือกบฏ หรือใช้คำว่าแนวร่วม เพียงแต่การชุมนุมที่ภาคใต้หลายต่อหลายครั้งไม่ว่าที่ตากใบ ตันหยงลิมอ กูจิงลือปะ และที่อื่นๆประชาชนชุมนุมอย่างสงบ สันติอหิงสาจริงๆและใช้เวลาไม่ถึง หนึ่งวันขณะเดียวกันไม่มีกลุ่มไอ้โม่ง ถืออาวุธชุดดำเหมือนที่กรุงเทพมหานคร

ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพรให้ทัศนะว่า ความเป็นจริงการนิยามคำว่า “การก่อการร้าย (terrorism)” นับว่าเป็นปัญหาอย่างยิ่ง เนื่องจากนัยความหมายนั้นมีความเกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติ ซึ่งอาจเป็นทั้งพฤติกรรมที่ซ่อนเร้นของกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่มุ่งหมายเป็นปรปักษ์กับรัฐ และรวมไปถึงแนวทางการแสดงออกของรัฐต่อกลุ่มที่เป็นปรปักษ์กับรัฐเองด้วย ดังที่พบว่ารูปแบบการก่อการร้ายมีหลายลักษณะที่เกี่ยวโยงกับพฤติกรรมดังกล่าวของทั้ง ๒ ฝ่าย อาทิ ระเบิดพลีชีพ การอุ้มฆ่า/ลักพาตัว และการลอบสังหารเป้าหมาย [1] เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การสร้างคำนิยามจึงย่อมสัมพันธ์กับฝ่ายที่เป็นผู้ถูกกระทำจากการก่อการร้าย ดังเช่น กรณีของประเทศสหรัฐอเมริกาหลังเหตุการณ์ ๑๑ กันยายน โดย Central Intelligence Agency (CIA) ได้ให้คำจำกัดความการก่อการร้ายไว้ว่า การก่อการร้าย หมายถึง "ปฏิบัติการรุนแรงที่มีการคิดและเตรียมการไว้ก่อนล่วงหน้า โดยมีเหตุจูงใจทางการเมือง กระทำต่อเป้าหมายซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสงคราม และไม่มีศักยภาพในการทำการรบโดยกลุ่มขบวนการที่มิได้เป็นตัวแทนของรัฐในทางการเมืองระหว่างประเทศ หรือโดยกลุ่มสายลับของรัฐที่กระทำการในทางลับ" [2]

แม้คำว่า “กลุ่ม” จากนิยามข้างต้น จะสะท้อนให้เห็นถึงตัวแสดงทางการเมือง (actor) ที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายจากทั้ง (๑) ผู้ที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของรัฐ กับ (๒) สายลับของรัฐ แต่นิยามนี้ก็ชี้ให้เห็นอย่างมีนัยว่า สายลับของรัฐนี้ย่อมมิใช่ตัวแทนของรัฐตน ดังหมายถึงสายลับของรัฐอื่นมากกว่า การนิยามข้างต้นจึงพยายามสร้างสังกัปให้การก่อการร้ายเป็นการแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและท้าทายอำนาจของกลุ่มต่างๆ ต่อสหรัฐอเมริกา

ในการประชุมคณะกรรมการกฎหมายของสมาคมสหประชาชาติแห่งมิชิแกนครั้งที่ ๒๔ หลายประเทศต่างพยายามเรียกร้องการนิยามคำว่าการก่อการร้ายให้มีความชัดเจนมากขึ้น [3] ดังเช่น อิหร่านชี้ว่าผู้ก่อการร้ายบางรายทำงานภายใต้ชื่อปลอมรวมทั้งชื่อขององค์การเอ็นจีโอด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อหาแหล่งหลบภัยในประเทศอื่น อีกทั้งยังชี้ด้วยว่าเทคโนโลยีทั้งหลายแหล่กำลังสร้างกลวิธีโจมตีใหม่ๆ ที่น่าตื่นตระหนกต่อบรรดารัฐ ซึ่งไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือ ท้ายที่สุดอิหร่านยอมรับว่าตนคัดค้านข้อเสนอให้กองกำลังปลอดพ้นความรับผิดชอบในยามสันติเพราะกองกำลังเหล่านี้มักเป็นผู้ก่อการร้ายเอง ส่วนกรณีอิสราเอลกลับห่วงใยในประเด็นที่บางรัฐเชื่อว่า การวางระเบิดไม่ใช่การก่อการร้าย หากทำไปเพื่อปลดปล่อยประชาชาติ ซึ่งย่อมทำให้การก่อการร้ายแผ่ขยายออกไปได้ เพราะการต่อสู้กับการก่อการร้ายจำเป็นต้องมีการกระทำที่สอดประสานกันอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่ที่กว้างขวางครอบคลุม และไม่ลดละเลิกลา โดยกลุ่มกวมซึ่งประกอบไปด้วยบรรดาอดีตสาธารณรัฐสังกัดสหภาพโซเวียตเตือนว่า ประเด็นการก่อการร้ายนั้นเชื่อมโยงกับลัทธิแยกดินแดนแบบก้าวร้าวรุกราน กลุ่มกวนนี้จึงมีแนวคิดที่สอดคล้องไปกับอิสราเอล พร้อมกับเสนอเพิ่มเติมไว้อีกว่า การนิยามไม่ควรเอาวัตถุประสงค์ของการก่อการร้ายไปเชื่อมโยงกับการกระทำซึ่งไม่อาจอ้างความชอบธรรมใดๆ ได้เลย นอกจากนี้ในกรณีของคองโก พยายามชี้ให้เห็นว่า การก่อการร้ายโดยรัฐได้เปิดช่องให้ประเทศข้างเคียงปล้นสะดมทรัพยากรธรรมชาติของประชาชนประเทศตน โดยเยเมนยังชี้ให้เห็นเพิ่มเติมอีกว่าทุกวันนี้การโจมตีของผู้ก่อการร้ายมุ่งก่อความบาดหมางระหว่างประเทศ (เช่น สหรัฐอเมริกากับเยเมนภายหลังการระเบิดเรือรบยูเอสเอสโคล) ซึ่งซีเรียได้ร่วมเรียกร้องเรื่องนี้ด้วย โดยตั้งข้อสังเกตว่า การก่อการร้ายโดยรัฐของอิสราเอลส่งผลให้ผู้หญิงและเด็กเล็กๆ ชาวปาเลสไตน์ล้มตาย อีกทั้งยังชี้ให้เห็นว่าเป้าหมายที่อิสราเอลเลือกโจมตีโดยเนื้อแท้แล้ว มักมีลักษณะเชิงสัญลักษณ์มากกว่าทางการทหาร จึงทำให้การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายการก่อการร้ายตามการนิยามบางแบบ

 จากข้างต้นย่อมพบว่า การสรุปนิยามของคำว่า “การก่อการร้าย” จึงไม่ใช่เรื่องที่กระทำได้โดยง่าย เพราะรัฐต่างๆ ล้วนที่จะปฏิเสธว่าพฤติกรรมของตนนั้นเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย อีกทั้งยังยัดเยียดให้กับกลุ่มที่มีแนวคิดติ่ต้านอำนาจรัฐ

 ดังนั้นอาจสรุปความหมายอย่างกว้างๆ ของการก่อการร้ายได้ว่า “เป็นกระบวนการต่อสู้ของกลุ่มต่างๆ ทั้งที่อาจเป็นตัวแทนของรัฐเอง หรือกลุ่มต่างๆ ที่มุ่งเป็นปรปักษ์กับรัฐ ด้วยการใช้ยุทธวิธีการต่อสู้ต่างๆ ทั้งในแบบที่สามารถเล็งเห็นได้จากรูปแบบสงครามปกติและไม่อาจพบเห็นได้จากวิธีการต่อสู้แบบทางทหารโดยทั่วไป ซึ่งล้วนแล้วไม่อาจอ้างความชอบธรรมได้ด้วยเหตุผลใดๆ”

ภายใต้วาทกรรม "ก่อการร้าย" ของรัฐไทยต่อกลุ่มเสื้อแดงและแนวร่วม ยิ่งหนุนเสริมให้สถานการณ์ตึงเครียด บทเรียนของการที่รัฐบาลใช้กฎหมายพิเศษฉบับต่างๆโดยเฉพาะ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯเพื่อ แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาแล้วเกือบ 6 ปีเต็ม คือตั้งแต่เดือน ก.ค.2548 และต่ออายุทุกๆ 3 เดือนมาแล้ว 19 ครั้ง ออกหมายเชิญตัวบุคคลไปแล้ว 3,935 หมาย (ข้อมูลเมื่อสิ้นปี 2552) แต่สถานการณ์ในภาคใต้ก็ยังไม่ใกล้เคียงกับความสงบ เพราะยิ่งปิดล้อม ตรวจค้น จับกุม ดูจะยิ่งสร้างปัญหาตามมาไม่รู้จบ

ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) [4] ระบุว่า ช่วง 73 เดือน นับตั้งแต่มกราคม 2547 ถึงมกราคม 2553 เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้รวม 9,446 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตประมาณ 4,100 คน บาดเจ็บ 6,509 คน รวมทั้งสิ้น 10,609 คน มีผู้ได้รับผลกระทบจากความสูญเสียประมาณ 53,045 คน ในกลุ่มผู้เสียชีวิตเป็นคนมุสลิมมากกว่าพุทธ ส่วนในกลุ่มผู้ได้รับบาดเจ็บ ส่วนใหญ่จะเป็นคนพุทธมากกว่ามุสลิม แยกเป็น กลุ่มผู้เสียชีวิตเป็นมุสลิม ร้อยละ 58.95 (2,417 คน) คนพุทธร้อยละ 38.02 (1.559 คน) ในกลุ่มผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นคนพุทธร้อยละ 59.82 (3,894 คน) คนมุสลิมร้อยละ 32.17 (2,094 คน)

การกระทำเพียงแต่ก่อกวนและสร้างความวุ่นวายหลายต่อหลายครั้งแน่นอนเป็นการกระทำที่ท้าทายอำนาจรัฐ แต่รัฐบาลออกมาแถลงต่อสื่อมวลชนและมีท่ามีแข็งกร้าวต่อกลุ่มที่ปฏิบัติการที่เรียกว่าการก่อการร้าย อาจทำให้ “ผู้ก่อการร้ายในคำนิยามของรัฐ” มีความฮึกเหิมและท้าทายมากขึ้น ปัญหาก็คือต้องยอมรับว่าการจะเดินหน้าหาตัว “ผู้ก่อการร้าย” ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการกระทำของคนกลุ่มนี้มีการวางแผนมาเป็นอย่างดี เข้าข่ายเป็นองค์กรอาชญากรรม และมีการ “ตัดตอน” 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครดังกล่าวพอจะเทียบเคียงได้กับเหตุการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีปฏิบัติการในลักษณะใกล้เคียงกันนานว่า 6 ปีแล้ว แต่รัฐก็ยังไม่สามารถหาตัวผู้กระทำผิดได้ แม้จะประกาศใช้กฎหมายพิเศษมากมายหลายฉบับ และแม้จะมีพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งอ้างว่าเป็นพรรคของคนใต้ รู้และเข้าใจปัญหาภาคใต้มากที่สุดมาเป็นแกนนำรัฐบาลก็ตาม

เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว เชื่อว่าคนไทยทั้งประเทศคงต้องเตรียมตัวรับมือกับวาทกรรม “การก่อการร้าย” ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการวางระเบิดสถานที่สำคัญ กราดยิงบุคคลตามสถานที่ต่างๆ หรือการวางเพลิงเผาสถานที่ราชการ

สภาพการณ์ของกรุงเทพฯหรือตามหัวเมืองใหญ่ในระยะเวลาอันใกล้นี้ก็อาจจะเหมือนกับที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทางด้านภาวะวิสัยคือ จังหวัดชายแดนภาคใต้มีระเบิด กรุงเทพฯก็มีระเบิด จังหวัดชายแดนภาคใต้มีรั้วลวดหนามล้อมรอบสถานที่ราชการ ที่กรุงเทพฯก็อาจมีรั้วลวดหนามที่รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล หน่วยทหาร หรือแม้แต่สถานที่ราชการสำคัญๆ เช่นเดียวกัน และล่าสุดมีคนพยายามวางระเบิดเสาไฟฟ้าแรงสูงหวังให้ไฟดับทั่วทั้งกรุงเทพฯ ที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เคยมีเหตุการณ์ระเบิดเสาไฟฟ้าเช่นเดียวกัน

สถาบันข่าวอิศราได้สรุปว่า สังคมไทยไม่ว่าจะเป็นที่กรุงเทพฯหรือจังหวัดชายแดนภาคใต้ คงต้องเผชิญสภาพที่เรียกว่า “การก่อการร้าย” ไปอีกเนิ่นนาน

ประเด็นปัญหาร่วมสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งสามารถเปรียบเทียบกับในกรุงเทพมหานคร นั้นเป็นเรื่องของความชอบธรรมของรัฐและประชาธิปไตย

ในขณะที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น มีความพิเศษแตกต่างจากกรุงเทพมหานครในประเด็นความเป็นสองมาตรฐานของรัฐในการจัดการประเด็นทางวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็น ศาสนา ภาษาและเชื้อชาติอันเป็นอัตลักษณ์ร่วมกล่าวคืออิสลาม มลายู และผูกโยงกับประวัติศาสตร์ความเป็นปาตานี

เมื่อเป็นสองมาตรฐาน ใน การจัดการของรัฐที่ยังไม่สอดคล้องกับความชอบธรรมดังกล่าวทำให้คนในพื้นที่ ไม่ยอมรับอำนาจของรัฐในเรื่องการจัดการปัญหา(โดยเฉพาะการใช้กฎหมายพิเศษภายใต้รัฐทหาร) อันส่งผลสู่การต่อสู้ทั้งบนดินและใต้ดิน ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้กำลังเกิดขึ้นจากกลุ่มคนเสื้อแดงและแนวร่วม

กฎหมายพิเศษภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 นั้น ทำให้ คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้และกลุ่มคนเสื้อมีอารมณ์ร่วมกัน ว่า ประชาธิปไตยนั้นยังไม่ถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่

ระบบของรัฐบาลในแง่ของการจัดการในขณะนี้มีการท้าทายว่าไม่ถูกต้องชอบธรรม บวกกับปัญหาที่สะสมมาอีกมากมายของปัญหาสังคม หรือปัญหาความแตกต่างทางชนชั้น ทำให้รู้สึกต่างๆมันหลอมรวมกันเข้าไป 

การใช้กฎหมายพิเศษตลอดหกปีกว่าทำให้คนทำงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนภาคใต้รู้สึกว่าผู้ต้องหาหลายคนถูกละเมิดสิทธิหลายต่อหลายครั้ง [5]

เมื่อสำรวจข้อมูลในช่วงเหตุการณ์ที่กรุงเทพมหานครที่คนเสื้อแดงและแนวร่วมกำลังถูกละเมิดก็พบว่า ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นับตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 นั้นองค์กรสิทธิมนุษยชนได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีที่ผู้ถูกควบคุมตัวในศูนย์เสริมสร้างสมานฉันท์ (ศูนย์ซักถาม) อย่างน้อย 6 ราย ถูกจำกัดในการเยี่ยมจากญาติอย่างผิดปกติ

บางคนได้รับอนุญาตให้ญาติพบหน้าในระยะห่าง ๆ เพียงหนึ่งถึงสองนาทีเท่านั้น บางรายไม่ได้รับอนุญาตให้พูดคุยกับญาติอย่างเช่นที่เคยปฏิบัติกันมาตามปกติ ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ญาติร้องเรียนขอให้แพทย์ตรวจร่างกายผู้ถูกควบคุมตัวสองราย โดยสงสัยว่าอาจถูกซ้อมทรมานเนื่องจากพบเห็นผู้ถูกควบคุมตัวมีสภาพร่างกายอ่อนเพลีย ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 มีรายงานว่านายสุไลมาน แนซา เสียชีวิตในห้องขังระหว่างการควบคุมตัวในศูนย์ ด้วยสาเหตุที่ยังสรุปไม่ได้ว่าเป็นการผูกคอตายเอง หรือถูกผู้อื่นทำให้เสียชีวิต
 
ศูนย์เสริมสร้างสมานฉันท์ ซึ่งเป็นศูนย์ซักถามผู้ต้องสงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยตั้งอยู่ในค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ใช้เป็นสถานที่ควบคุมตัวผู้ถูกเชิญตัว ซึ่งในทางกฎหมายแล้ว มีสถานะเป็นเพียงผู้ต้องสงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบเท่านั้น ไม่มีการตั้งข้อหาว่าบุคคลเหล่านั้นได้กระทำความผิดทางอาญา แต่กลับมีการปฏิบัติต่อผู้ถูกควบคุมตัวเหล่านั้น(บางคน)โดยมาตรฐานทางด้านสิทธิมนุษยชนที่ต่ำกว่าการควบคุมตัวผู้ต้องหา ผู้ถูกควบคุมตัวตาม พรก.ฉุกเฉิน ณ ศูนย์ดังกล่าว ไม่ได้รับอนุญาตให้พบปะกับทนายความเพื่อปรึกษาหรือร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิของตน แม้ญาติจะได้รับอนุญาตให้เยี่ยมได้แต่ในเวลาที่จำกัด การพูดคุยอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด และในบางกรณีการเยี่ยมญาติหมายถึงเพียงการพาตัวมาให้ญาติได้เห็นหน้าเท่านั้น มีการร้องเรียนว่าผู้ถูกควบคุมตัวบางรายถูกขังเดี่ยวในห้องขังที่ล๊อคกุญแจจากภายนอก ส่งอาหารให้ทางช่องรับอาหาร และไม่อนุญาตติดต่อกับบุคคลภายนอก โดยอาจอนุญาตให้เดินออกมาพบญาติได้เพียงวันละหนึ่งหรือสองนาที ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการร้องเรียนเกี่ยวกับวิธีการสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่ในศูนย์ซักถามเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือคำรับสารภาพจากผู้ถูกควบคุมตัว ซึ่งวิธีการหรือกระบวนการในการสอบปากคำหลายกรณีอาจถือได้ว่าเป็นการทรมานหรือการการปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม โดยตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2552- ปัจจุบัน มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมและมูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้รับเรื่องร้องเรียนอย่างน้อย 30 กรณี ที่หลังจากมีการสอบข้อเท็จจริงแล้วน่าเชื่อได้ว่ามีการทำร้ายร่างกายผู้ต้องสงสัยในระหว่างการควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงด้วยวิธีการต่างๆ บางรายถูกทำร้ายร่างกายโดยการทุบตีด้วยของแข็ง ถูกผู้สอบปากคำใช้ถุงพลาสติกครอบศีรษะเพื่อไม่ให้หายใจ บางรายถูกบังคับให้ยืน และถูกบังคับไม่ให้นอนโดยใช้ผู้สอบปากคำหลายชุดหมุนเวียนกันเข้ามาสอบ รวมทั้งการสอบปากคำผู้ต้องสงสัยเป็นระยะเวลานานๆ ในห้องเล็กๆที่เปิดเครื่องปรับอากาศในอุณหภูมิที่ต่ำ เป็นต้น เหล่านี้เป็นการกระทำที่ขัดต่ออนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment- CAT) โดยย่อ “อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน” ซึ่งประเทศไทยเป็นรัฐภาคีตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีพ.ศ. 2550 และเป็นการละเมิดบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 อย่างชัดแจ้ง

การซ้อมทรมานหรือการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี โดยเจ้าหน้าที่รัฐบางคนหรือโดยการรู้เห็นเป็นใจของเจ้าหน้าที่รัฐบางคน ที่กระทำต่อผู้ต้องสงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับการก่อความมาสงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ยังเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในสถานที่และเงื่อนไขต่างๆ เช่น ในระหว่างการจับกุม ระหว่างการควบคุมตัวมายังสถานีตำรวจหรือสถานที่ควบุคมตัวเพื่อซักถาม หรือการสอบสวน รวมทั้งที่เกิดขึ้นต่อผู้ที่ถูกควบคุมตัวในฐานปฏิบัติการเฉพาะกิจ (ฉก.) อย่างน้อยสองแห่งในจังหวัดนราธิวาส และหนึ่งกรณีมีการร้องเรียนว่าการทำร้ายร่างกายผู้ถูกควบคุมตัวในศูนย์ปฏิบัติการของตำรวจตระเวนชายแดน และล่าสุดมีการร้องเรียนว่าในเรือนจำแห่งหนึ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ต้องขังในคดีความมั่นคงรายหนึ่งถูกทำร้ายร่างกายจนสลบโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งกรณีนี้ทนายความได้ยื่นคำร้องต่อศาลและศาลจังหวัดปัตตานีได้มีคำสั่งให้ไต่สวนในวันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้น

สำหรับเหตุการณ์ที่กรุงเทพมหานครนั้น ก่อน ๑ วันที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) จะมีมติให้ต่ออายุการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปอีก 3 เดือนใน 19 จังหวัดจาก 24 จังหวัดที่ประกาศไว้เดิม โดยหนึ่งใน 19 จังหวัดมีกรุงเทพมหานคร (กทม.) รวมอยู่ด้วยนั้นได้มี รายงานของอินเตอร์เนชั่นแนลไครซิสกรุ๊ป ระบุว่า เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจอย่างกว้างขวางภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ก่อนหน้านี้บังคับใช้อยู่ใน 24 จังหวัด หรือหนึ่งในสามของประเทศ เจ้าหน้าที่ได้ห้ามการชุมนุมทางการเมือง ปิดสื่อ คุมขังแกนนำคนเสื้อแดงและระงับการทำธุรกรรมการเงินของคนที่ถูกมองว่าเป็นผู้สนับสนุนทางการเงิน

นายสุนัย ผาสุก ที่ปรึกษา องค์กรฮิวแมนไรท์วอชท์ประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ในรายการช่วยกันคิด ทิศทางข่าว สถานี เอฟเอ็ม 100.5 อสมท. เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม ที่ผ่านมาในประเด็นพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก. ฉุกเฉิน )ว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือกฎหมายพิเศษใด ๆก็ตาม ที่มีลักษณะลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ในทางระหว่างประเทศเขายอมให้เกิดขึ้นได้ในเงื่อนไขแคบๆ ว่า การลิดรอนสิทธิเสรีภาพเบื้องต้น เช่น เสรีภาพในการแสดงออกแสดงความคิดเห็น หรือเสรีภาพในการรวมตัวไปไหนมาไหน จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีภัยคุกคามต่อสาธารณะอย่างชัดแจ้ง แล้วในการที่รัฐจะตอบโต้ต่อภัยคุกคามร้ายแรงนั้น ก็ต้องมีจำกัดใน 2 ส่วนก็คือ 1. การจำกัดเวลา และ 2. จำกัดพื้นที่ คือ ต้องบอกว่าบังคับใช้ในเวลาเท่าไหร่ และในพื้นที่ไหนบ้าง แต่ตอนนี้ เมื่อตั้งตามเกณฑ์แบบนี้ ก็ต้องมาตามดูว่าปัจจุบัน เงื่อนไขที่บอกว่าเป็นภัยคุกคามเฉพาะหน้าต่อสาธารณะมันหมดไปแล้วหรือยัง แล้วก็ดูว่าพื้นที่ไหนหมดไปแล้วบ้าง ขณะนี้ ข้อเรียกร้องต่อนานาชาติที่เข้ามาในประเทศไทย ก็บอกว่ารัฐบาลไทยต้องตอบแล้วว่า ภัยคุกคามที่เคยมีก่อนหน้านี้ แล้วอาจจะรองรับได้ว่าทำไมต้องประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปัจจุบันพื้นที่ไหนหมดไปแล้วบ้าง หรือพื้นที่ไหนยังมีอยู่ และมีอยู่ในระดับใด มีอยู่ในระดับที่ต้องใช้กฎหมายพิเศษ หรือมีอยู่ในระดับที่ใช้กฎหมายธรรมดา ก็จัดการได้ 

ผู้ต้องหาหลายคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกเหมารวมและท้ายสุดถูกยกฟ้องหรือปล่อยแต่เขาต้องถูกตราหน้าว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบหรือกบฏ 

จากรายงานศูนย์ทนายความมุสลิมได้รายงานว่า คดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นคดีที่มีความสำคัญดังนั้นเจ้าพนักงานตำรวจจะต้องรวบรวมพยานหลักฐานให้เป็นที่แน่ชัด การที่รวบรวมพยานหลักฐานได้เฉพาะพยานบอกเล่าแล้วออกหมายจับจับกุมดำเนินคดีกับจำเลย นั้นจะต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่งเพราะเป็นคดีที่มีความละเอียดอ่อนกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนและท้ายที่สุดกระทบต่อความมั่นคง

มีคดีหนึ่งคือ การร่วมใช้อาวุธปืนยิงดาบตำรวจบุญธรรม ถาวรศิลป์ จนถึงแก่ชีวิต ต่อมา มีการนำสืบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เชื่อมโยงไปสู่การเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายขบวนการก่อการร้าย จนมีการดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายมากถึง 20 คน แต่ถึงที่สุดแล้ว ศาลกลับมีคำสั่งยกฟ้องจำเลยทั้งหมด การยกฟ้องของศาลจึงมีนัยยะสำคัญที่ย้อนกลับไปเป็นบทเรียนแก่เจ้าหน้าที่ ที่ต้องความละเอียดอ่อนมากขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ไม่ปกติ [6]
 
แม้วันนี้หลายคนจะพ้นผิดทางกฎหมาย แต่การเป็นผู้อยู่ใน ‘Black List’ หมายถึง การจะถูกจับจ้องจากทุกฝ่ายนับจากนี้ วันดีคืนดีอาจมีเจ้าหน้าที่ที่บกพร่องใส่ชื่อพวกเขาไปในคดีใดคดีหนึ่งอีกครั้ง หรือถ้าร้ายกว่า พวกเขาอาจเสียชีวิตโดยไม่รู้ผู้กระทำ...ความตายที่นี่ไม่เหมือนที่กรุงเทพมหานคร เกือบ 4,000 ชีวิตที่สูญเสียไปยังไม่มีรัฐบาลใดแสดงความรับผิดชอบอย่างจริงใจ..และยังไม่มี ‘ฝ่ายค้าน’ ในรัฐสภาชุดใดเรียกร้องให้มีการอภิปรายเพื่อตามหาความจริง 

ความห่วงใยจากคำพิพากษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำคัญก่อนการตั้งข้อหาฉกรรจ์ของเจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะใน ‘จังหวัดชายแดนใต้’ หรือที่ ‘กรุงเทพมหานคร’ ก็ตาม.

สำหรับกรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน แม้แต่ ฮิวแมนไรท์ วอซท์ ได้ออกมายอมรับว่า การชุมนุมของคนเสื้อแดง มีกองกำลังติดอาวุธ สวนหนึ่งมาปะปนอยู่ แต่ก็ไม่ได้หมายถึงคนเสื้อแดงทั้งหมด และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 19-20 พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงการสลายการชุมนุม มาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ฮิวแมนไรท์ วอซท์ ยังไม่เห็นรูปแบบการแยกแยะที่ชัดเจนระหว่างคนเสื้อแดงที่มาชุมนุมปกติ กับกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ โดยรัฐบาลไม่ได้ทำข้อมูลส่วนนี้ให้ชัดเจนว่า กองกำลังติดอาวุธที่ปะปนอยู่ในการชุมนุมเป็นใคร มีจำนวนเท่าไหร่ ใครบังคับสั่งการ

ซึ่งส่งผลให้ บรรยากาศที่ไม่มีการแยกแยะ ทำให้คนเสื้อแดงโดนเหมารวม และคนเสื้อแดงถูกตราหน้า ท้ายสุดบางส่วนต้องลงใต้ดินหรือหนีไปต่างประเทศซึ่งไม่ต่างจากภาคใต้ที่หนี้ไปมาเลเซียหรือที่อื่นๆ

อย่างกรณีอาจารย์วรพล พรหมิกบุตร จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดนเรียกไปรายงานตัว และโดนควบคุม ไปที่ค่ายทหารที่สระบุรี หรือกรณีบก.ลายจุด คุณสมบัติ (บุญงามอนงค์) ก็อาจจะบอกว่าทำผิดกฎหมาย พรก.ฉุกเฉิน เรื่องการชุมนุม ในเวลาที่เขาไม่ให้ชุมนุม แต่ก็คงต้องทบทวนว่าคนอย่างบก.ลายจุด เป็นคนที่เป็นภัยคุกคามถึงขั้นที่ ให้ประกันตัวไม่ได้เลยหรือไม่
 ดังนั้นการให้ความเป็นธรรมกับกลุ่มคนทีถูกกล่าวหา ที่ถูกจับกุมและดำเนินคดีไม่ว่าจากจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือกรุงเทพมหานครเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ที่สำคัญซึ่งเป็นข้อควรระมัดระวังยิ่งคือ อย่าพยายามใช้ช่องทางตามกระบวนการยุติธรรมกลั่นแกล้งเพื่อผลทางการเมือง ในทางกลับกันกระบวนการต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ และรัฐพร้อมให้พวกเขาได้มีโอกาสพิสูจน์หลักฐาน พยานพร้อมทนาย ในการต่อสู้ในชั้นศาลด้วยเพราะมิฉะนั้นจะเกิดปัญหาเหมือนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 
 
รัฐบาลและหน่วยงานด้านความมั่นคงต้องรีบทบทวนการนโยบาย ยุทธศาสตร์ และปฏิบัติงานของฝ่ายรัฐและค้นหาแนวทางและนโยบายที่แตกต่างไปจากเดิมเพื่อส่งเสริมให้เกิดการปรองดอง สมานฉันท์ และสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้และกรุงเทพมหานคร โดยเริ่มจากการพิจารณาถึงปมปัญหาพื้นฐานของความขัดแย้ง เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการของการแก้ปัญหา สร้างกระบวนการเจรจา เพื่อนำความขัดแย้งที่ใช้อาวุธและการเข่นฆ่า ไปสู่ความขัดแย้งที่แก้ไขโดยสันติวิธี โดยอาจนำประสบการณ์จากต่างประเทศมาศึกษาและถอดบทเรียนอย่างจริงจัง เช่น แนวทางของการสร้างกระบวนการยุติความขัดแย้งโดยมีคนกลาง การสานเสวนากับทุกภาคส่วนด้วยกลไกใหม่ เพื่อเป็นกลไกให้เกิดการเจรจาทุกระดับ เพื่อหาทางออกทางการเมืองด้วยหนทางประชาธิปไตย พร้อม ๆ กับการใช้มาตรการทางกฎหมายปกติ(ไม่ใช่กฎหมายพิเศษ)ให้เกิดความเป็นธรรมทั้งการปราบปรามและการนำคนผิดมาลงโทษที่คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการเคร่งครัดต่อระเบียบวินัยของเจ้าหน้าที่ พิจารณาสอบสวนกรณีมีข้อกล่าวหาเรื่องการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่อย่างจริงจังเปิดเผยและลงโทษกรณีพบว่ามีการกระทำตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อป้องปรามการก่อเหตุร้ายอันเป็นภัยต่อชีวิตทุกชีวิตและต่อทรัพย์สินสาธารณะของทุกภาคส่วนซึ่งเป็นสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม 
 
รัฐบาลควรหันมาให้ความสำคัญกับนโยบายด้านการปรองดองแห่งชาติสำหรับกรณีความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ไม่น้อยไปกว่าการสร้างการปรองดองแห่งชาติในระดับประเทศ รวมทั้งการพิจารณาถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกันด้วยมาตรฐานขั้นต่ำในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญเดียวกัน

อย่าให้ การตั้งกรรมการพิเศษหลายต่อหลายชุดไม่ว่าของอาจารย์คณิต ณ นคร นายแพทย์ประเวศ วะสี และนายอนันต์ ปัญญารชุณ นั้นเหมือนชะตากรรมเดียวกับข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ในสมัยนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชิณวัตร ที่ตั้งไว้เพื่อการเมืองและถ่วงเวลา กล่าวคือหมดทั้งเงินและเสียเวลาบุคลากรเพราะได้รายงานรวบเล่มสวยหรูแต่เก็บไว้บนหิ้ง 

ที่สำคัญ “มีความเป็นไปได้น้อยมากที่การปรองดองอย่างแท้จริงจะเกิดขึ้นได้เมื่อเป็นข้อเสนอจากรัฐบาลที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงซึ่งทำให้ผู้คนบาดเจ็บและเสียชีวิต รวมถึงยังคงมีการปรามปรามอยู่ในขณะนี้” ซึ่งเป็นคำกล่าวของนายจิม เดลา-จิอาโคม่า ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอินเตอร์เนชั่นแนลไครซิสกรุ๊ป และท่านยังกล่าวอีกว่า “สัญญาณแรกที่จะบ่งบอกถึงความพยายามที่จะเชื่อมสะพานอีกครั้งหนึ่งก็คือการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข” [7]

 

เชิงอรรถ

[1] พิจารณาตัวอย่างเพิ่มเติมได้จาก สุรสีห์. 2544. Top Secret ลับสุดยอดของตำรวจโลก. กรุงเทพฯ: บริษัท ไพลินบุ๊คเน็ต จำกัด.
[2] โปรดดู ธันยวัต ชูส่งแสง. 2548.การก่อการร้าย.[Online] Available URL ; http://www.wing2.rtaf.mi.th/w2data/kkr00.html
[3] โจนาธาน บาร์เกอร์ (เขียน). เกษียร เตชะพีระ (แปล). ๒๕๕๐. คู่มือศึกษาการก่อการร้ายแบบไม่งี่เง่า. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คบไฟ. น.๒๒ – ๒๓
[4] โปรดดู เพาซีย์ จูเกงลูแล, โยฮาลือมี เปาะจิ. เปิดตัวเลขมาตรการเยียวยา ชุมนุมกรุงเทพฯ-ชายแดนใต้ [Online] Available URL ; http://macmuslim.com/index.php?option=com_content&view=article&id=208%3A2010-06-08-04-03-49&lang=th
[5] โปรดดู แถลงการณ์ วันต่อต้านการทรมานสากล 26 มิถุนายน 2553 โดย มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม มูลนิธผสานวัฒนธรรม. [Online] Available URL ; http://macmuslim.com/index.php?option=com_content&view=article&id=211%3A-26-2553&lang=th)
[6] โปรดอ่านรายละเอียดได้ที่ผ่าคดีความมั่นคงในปัตตานี ย้อนรอยคดี แห่ง กอลำ – เขาตูม ทำไมศาลจึง ‘ยกฟ้อง’ [Online] Available URL ; http://macmuslim.com/index.php?option=com_content&view=article&id=206%3A2010-06-02-08-10-38&lang=th
[7] โปรดดู ไครซิสกรุ๊ป ชี้ ความหวังปรองดองในไทยแค่ริบหรี่ แนะเลือกตั้งเร็วให้รัฐบาลใหม่"ประสานรอยแยก" สถาบันข่าวอิศรา. [Online] Available URL ; http://www.isranews.org/isranews/index.php?option=com_content&view=article&id=423:-qq&catid=10:2009-11-15-11-15-01&Itemid=3
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ครป.ตั้งกรรมการชุดใหม่ "สุริยันต์ ทองหนูเอียด" เป็นเลขาธิการ

Posted: 11 Jul 2010 08:45 AM PDT

"คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย" แถลงวิกฤตการเมืองเกิดจากการใช้อำนาจของนักการเมืองและกลไกราชการที่ไม่สนองต่อประโยชน์ประเทศ - ประชาชน ชี้ถ้ามีปฏิรูป - การเข้าสู่อำนาจของนักการเมืองต้องออกแบบใหม่ การจะแก้ รธน.50 ต้องเริ่มจากความริเริ่มของประชาชน พร้อมเปิดตัวคณะกรรมการ ครป. ชุดใหม่ มี "ศิริชัย - สาวิทย์ - นิติรัตน์ - หงา คาราวาน" ร่วมนั่งที่ปรึกษา

<!--break-->

ASTVผู้จัดการออนไลน์ รายงานวันนี้ (11 ก.ค.) ว่า คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ได้ออกแถลงการณ์ เรื่องท่าทีและบทบาท ครป.ต่อสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบัน โดยมีใจความระบุว่า ตามที่คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ได้จัดให้มีการประชุมสมัชชาคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ขึ้นในระหว่างวันที่ 10 – 11 กรกฎาคม 2553 ณ ห้องประชุมสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กรุงเทพมหานคร เพื่อกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์แผนงานและสมัชชาคณะกรรมการชุดใหม่นั้น ครป. แถลงผลการประชุมสมัชชาดังต่อไปนี้

1. ท่าทีและบทบาทต่อสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ดังนี้

1.1 กรณีปัญหาวิกฤตทางการเมือง อันเกิดจากการใช้อำนาจรัฐของนักการเมืองและกลไกราชการที่ไม่สนองต่อประโยชน์ของประเทศ ประชาชน เราเห็นว่ามีความจำเป็นปฏิรูปการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของนักการเมืองและข้า ราชการอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลไกองค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่น ของนักการเมืองและข้าราชการ ซึ่งการทำงานที่ผ่านมาถือว่าล้มเหลวเกือบสิ้นเชิงจะต้องทบทวนเพื่อปฏิรูป กลไกใหม่ ให้ภาคประชาชนการเข้าถึงเครื่องมือในการตรวจสอบและใช้งานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

1.2 เราเห็นว่าเพื่อให้เกิดการปฏิรูปการเมืองใหม่ สร้างกลไกประชาธิปไตยที่สามารถแก้ปัญหาวิกฤติประเทศที่เป็นอยู่ได้ จำเป็นต้องออกแบบการเข้าสู่อำนาจของนักการเมืองใหม่ ทั้งการปรับปรุงกฎหมายเลือกตั้งและพรรคการเมืองที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของ ประเทศ ปฏิรูปสถาบันบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการอย่างรอบด้าน รวมทั้งสร้างสถาบันทางเมืองของประชาชนที่ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าสู่อำนาจทาง การเมืองมากยิ่งขึ้น ดังนั้น หากต้องมีแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เพื่อให้สอดคล้องการปฏิรูปการเมืองจะต้องเริ่มต้นจากริเริ่มของภาคประชาชน ด้วยการสรุปบทเรียนการใช้รัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านมา ทั้งกระบวนการยกร่างและการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ

1.3 เราเห็นว่า การปฏิรูปประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางโครงสร้าง ความยากจนของประชาชนที่ยากไร้เพราะเข้าไม่ถึงสิทธิและโอกาสสังคม จะต้องเชื่อมโยงถึงการใช้อำนาจของนักการเมือง ข้าราชการ กลุ่มทุนทั้งภายในและทุนข้ามชาติ และระเบียบกฎหมายที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมที่ เกิดขึ้น อันเป็นต้นตอสาเหตุของปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและความยากจนของประชาชน อันเป็นวิกฤติของแผ่นดิน

2. ผลจากการประชุมสมัชชา ครป. ภายใต้ความซับซ้อนของสถานการณ์ทางการเมือง และความขัดแย้งทางความคิดของประชาชนในสถานการณ์ปัจจุบัน ครป.จึงขอเสนอ “ยุทธศาสตร์ปฏิรูปประเทศอย่างรอบด้านกับการรณรงค์ประชาธิปไตยภาคประชาชน” เพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานของประเทศอันเกิดจากการกระทำของนักการเมืองที่สร้าง ปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนส่งเสริมการสร้างเครือข่ายประชาชนให้มีความ เข้มแข็ง สร้างประชาธิปไตยที่เป็นธรรมและยั่งยืน อันจะนำไปสู่การปกป้องประโยชน์ของประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์นี้

2.1 ลดอำนาจรัฐ ตรวจสอบ ถ่วงดุลและต่อสู้

2.1.1 ติดตามและตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล และการทำหน้าที่นิติบัญญัติของนักการเมืองการปฏิบัติหน้าที่ของราชการ ทุกระดับและการทำงานของกระบวนยุติธรรมและองค์กรอิสระ

2.1.2 รณรงค์ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายและนโยบายให้สอดคล้องกับการปฏิรูปประเทศ ร่วมทั้งริเริ่มการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยการรับฟังความเห็นจากทุกส่วนและให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

2.1.3 สร้างกลไก การตรวจสอบ ถ่วงดุลและองค์กรต่อสู้การเมืองภาคประชาชน เพื่อลดทอนอำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรมทั้งปวง

2.2 เพิ่มอำนาจประชาชน

2.2.1 ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าสู่การใช้อำนาจรัฐอย่างทั่วถึงตั้งแต่ท้องถิ่น จนถึงส่วนกลาง

2.2.2 ผลักดันให้มีการแก้ปัญหาความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชน ทั้งปัญหาเฉพาะและนโยบาย

2.2.3 สร้างเข้มแข็งให้กับองค์กรประชาชน ให้สามารถพึ่งตนเองและมีอำนาจในการจัดการตนเองได้อย่างแท้จริง ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและวัฒนธรรม

2.2.4 ส่งเสริมการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้ถึงประชาชนอย่างแท้จริง

 

โดยผลการประชุมสมัชชาได้คณะกรรม ครป.ชุดใหม่โดยมีรายชื่อต่อไปนี้

ที่ปรึกษา 1.อาจารย์สุธี ประศาสน์เศรษฐ 2.นายสุริชัย หวันแก้ว 3.นายชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ 4.นายศิริชัย ไม้งาม 5.นายสาวิทย์ แก้วหวาน 6.นายสุรชัย จันทิมาธร 7.นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ 8.นายประยงค์ ดอกลำใย 9.นายทวีป กาญจนวงศ์ 10. นายนุภาพ สวันตรัจฉ์ 11.อาจารย์เฉลิมพล แซมเพชร 12.นายสันติ คุณพิสิฐวงศ์

กรรมการบริหาร 1.อาจารย์บัณฑร อ่อนดำ ประธาน 2.อาจารย์พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธาน 3.นายประวัติ บุญนาค รองประธาน 4.นายบำรุง คะโยธา รองประธาน 5.นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด เลขาธิการ 6.นางสาวอารีวรรณ จตุทอง รองเลขาธิการ 7.นายเมธา มาสขาว กรรมการ 8.นายเนรมิตร จิตรรักษา กรรมการ 9.นายสมควร พรหมทอง ผู้อำนวยการ 10.นางสาวอ้อมใจ หนูแดง เหรัญญิก

กรรมการภาคเหนือ 1.นายสุมิตรชัย หัตถสาร 2.นายจรัส ไหมยศ 3.นายสาคร สงมา 4.นายสมเกียรติ ใจงาม 5.นายสุริยา บุญโชติ 6.อาจารย์พิมานา ธิฉลาด 7.อาจารย์สุมิตร วอพะพอ 8.นายพอพันธ์ จินันทุยา 9.นายประสิทธิพร กาฬอ่อนศรี 10.นายศุภพล จริงจิตร 11.นายสุพล พูลพิพัฒน์

กรรมการภาคอีสาน 1.นายปราโมทย์ ผลภิญโญ 2.นายจักรพงศ์ ธนวรพงษ์ 3.ดร.ธีรพล เพ็งจันทร์ กรรมการภาคใต้ 1.ดร.ณัฐพงษ์ จิตนิรัตน์ 2.นายธนู แนบเนียร 3.นายกิตติชัย ใสสะอาด กรรมการภาคกลาง ได้แก่ 1.นายประยุทธ วีระกิตติ 2.นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ 3.นายชัยวัฒน์ ตรีวิทยา กรรมการภาคตะวันออก-ตะวันตก ได้แก่ 1.นายสุทธิ อัชฌาศัย 2.นายวิชาญ อุ่นอก 3.นายอัมรินทร์ ยี่เฮง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ......” ทำร้ายแพทย์หรือทำร้ายคนไข้?

Posted: 11 Jul 2010 06:12 AM PDT

<!--break-->

ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มีข่าวเกี่ยวกับปฏิกิริยาในทางต่อต้านของบุคลากรด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับ “ร่างพ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ......” (ต่อไปจะเรียกว่า ร่างพ.ร.บ.ฯ) ซึ่งเป็นร่างที่เสนอโดย ผู้เสียหายและผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 และนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จึงมีประเด็นที่น่าพิจารณาในทางกฎหมายว่าร่างพ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวนี้จะส่งผลเสียต่อบุคลากรทางการแพทย์และการบริการสาธารณะสุขจริงหรือไม่ อย่างไร? เนื่องจากหลายสัปดาห์ที่ผ่านมานี้มีบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเท่าที่ปรากฏก็คือ “คุณหมอ” ทั้งหลายออกมาตีโพยตีพายไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.ฯ ฉบับดังกล่าว จึงเห็นควรว่าน่าจะพิจารณาร่างพ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวที่คุณหมอทั้งหลายหวาดกลัวและเห็นว่าเป็นร่างกฎหมายที่ไม่ควรผ่านออกมาเป็นกฎหมายใช้บังคับ หาไม่แล้วความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้จะต้องเลวร้ายลงอย่างยิ่ง ในบทความนี้จึงขอนำเสนอออกเป็น 4  ส่วน คือส่วนที่หนึ่งโครงสร้างของร่างพ.ร.บ.ฯ ส่วนที่สองเนื้อหาสำคัญในร่างพ.ร.บ.ฯ ส่วนที่สามข้ออ้าง/ความกังวลของคุณหมอทั้งหลายเป็นเรื่องที่รับฟังได้หรือไม่ ส่วนที่สี่บทสรุป
 

1. โครงสร้างของร่างพ.ร.บ.ฯ

ร่างพ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวมีจำนวนทั้งสิ้น 50 มาตรา ประกอบไปด้วย

1.1 ส่วนทั่วไปประกอบด้วยชื่อพ.ร.บ.ฯ(มาตรา 1) วันที่พ.ร.บ.มีผลใช้บังคับ(มาตรา 2) บทนิยาม(มาตรา 3) และบทกำหนดรัฐมนตรีรักษาการ(มาตรา 4)

1.2 การคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข (หมวด 1 มาตรา 5-6)

1.3 คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข (หมวด 2 มาตรา 7-19)

1.4 กองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข (หมวด 3 มาตรา 20-24)

1.5 การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชย (หมวด 4 มาตรา 25-37)

1.6 การไกล่เกลี่ยและการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข (หมวด 5 มาตรา 38-41)

1.7 การพัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย (หมวด 6 มาตรา 42-44)

1.8 การฟ้องคดีอาญาและบทกำหนดโทษ (หมวด 7 มาตรา 45-46)

1.9 บทเฉพาะกาล (มาตรา 47-50)
 

2. เนื้อหาสำคัญในร่างพ.ร.บ.ฯ

2.1 บทนิยาม ในร่างพ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวได้กำหนดนิยามไว้ในมาตรา 3 โดยนิยามที่สำคัญได้แก่นิยามของ คำว่า “ผู้เสียหาย”, “สถานพยาบาล” และ “บริการสาธารณสุข” ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้ 

“ผู้เสียหาย” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขจากสถานพยาบาล

“สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล สถานพยาบาลของรัฐ และของสภากาชาดไทย ทั้งนี้ ให้รวมถึงสถานบริการสาธารณสุขตามที่คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุขประกาศกำหนด

“บริการสาธารณสุข” หมายความว่า บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งได้แก่ การประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ การประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ การประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม การประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพกายภาพบำบัด การประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเทคนิคการแพทย์การประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม หรือการปะรกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และให้รวมถึงการให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

2.2 คณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการตามร่างพ.ร.บ.ฯ ร่างพ.ร.บ.ฯ ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการตามลำดับดังนี้

2.2.1 คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข(ต่อไปจะเรียกว่า คณะกรรมการ)ตามมาตรา 7 ประกอบไปด้วย (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ (2) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (3) ผู้แทนสถานพยาบาล จำนวนสามคน (4) ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพ จำนวนสามคน (5) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ สื่อสารมวลชน สิทธิมนุษยชน และการเจรจาไกล่เกลี่ยสาธารณสุข ด้านละหนึ่งคน รวมจำนวนคณะกรรมการทั้งสิ้น 18 คน

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการมีกำหนดไว้ในมาตรา 10 ซึ่งร่างพ.ร.บ.ฯ กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่หลายประการ แต่ทั้งนี้คณะกรรมการดังกล่าวไม่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น และเงินชดเชยแต่ประการใด 

2.2.2 คณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น(ต่อไปจะเรียกว่า คณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือ)ตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข และด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านละหนึ่งคน และผู้แทนสถานพยาบาลและผู้แทนผู้รับบริการสาธารณสุข ฝ่ายละหนึ่งคน รวมทั้งสิ้น 5 คน

อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือมีการกำหนดไว้ในมาตรา 27 คือมีหน้าที่พิจารณาคำร้องขอรับเงินค่าเสียหาย(ในที่นี้คือเงินช่วยเหลือเบื้องต้น)

2.2.3 คณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชย(ต่อไปจะเรียกว่า คณะอนุกรรมการเงินชดเชย)ตามมาตรา12 วรรคหนึ่ง (2) ประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพและด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านละหนึ่งคน รวมทั้งสิ้น 5 คน

อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการเงินชดเชยมีการกำหนดไว้ในมาตรา 30 คือมีหน้าที่พิจารณาเกี่ยวกับเงินชดเชย

2.2.4 คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์(ต่อไปจะเรียกว่า คณะกรรมการอุทธรณ์)ตามมาตรา 13 ประกอบไปด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ และด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

ด้านละหนึ่งคน และผู้แทนสถานพยาบาลและผู้แทนผู้รับบริการสาธารณสุข ฝ่ายละหนึ่งคน รวมทั้งสิ้น 8 คน

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอุทธรณ์มีการกำหนดไว้ในมาตรา 28(การวินิจฉัยเกี่ยวกับคำขอเงินช่วยเหลือเบื้องต้น), มาตรา 31(การวินิจฉัยเกี่ยวกับจำนวนเงินชดเชย)

2.2.5 คณะอนุกรรมการอื่นๆ ที่อาจถูกตั้งขึ้นได้ตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง (3)

2.3 การใช้สิทธิขอรับค่าเสียหาย

2.3.1 สิทธิของผู้เสียหายและเงื่อนไขในการได้รับสิทธิตามร่างพ.ร.บ.ฯ มาตรา 5 กำหนดหลักการพื้นฐานไว้ว่าผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยจากกองทุนตามร่างพ.ร.บ. นี้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด นอกจากนี้ในมาตรา 6 ผู้เสียหายไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 5 ได้หากเป็นกรณีดังต่อไปนี้  (1) ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามปกติธรรมดาของโรคนั้น แม้มีการให้บริการสาธารณสุขตามมาตราฐานวิชาชีพ (2) ความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้จากการให้บริการสาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพ (3) ความเสียหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการให้บริการสาธารณสุขแล้วไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติ

2.3.2 กระบวนการใช้สิทธิของผู้เสียหายในการขอรับเงินค่าเสียหาย ตามร่างพ.ร.บ.ฯ ผู้เสียหายสามารถใช้สิทธิที่ถูกรับรองไว้ในมาตรา 5 ตามลำดับดังนี้

2.3.2.1 ผู้มีสิทธิยื่นคำขอรับเงินค่าเสียหาย ได้แก่ผู้เสียหายเอง(มาตรา 25 วรรคหนึ่ง) หรือ บุคคลอื่นอันได้แก่ บิดามารดา คู่สมรส ทายาท หรือผู้อนุบาล หรือบุคคลใดซึ่งได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย ในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ชีวิต เป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือไม่สามารถยื่นคำขอด้วยตนเองได้แล้วแต่กรณี(มาตรา 25 วรรคสอง)

2.3.2.2 แบบของคำขอ การยื่นคำขอรับเงินค่าเสียหายสามารถกระทำได้ด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้(มาตรา 25 วรรคสาม) คำขอดังกล่าวต้องยื่นต่อสำนักงาน(กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ) หรือยื่นต่อองค์กรที่สำนักงานกำหนด

2.3.2.3 ระยะเวลาในการยื่นคำขอ ผู้เสียหายต้องยื่นคำขอภายใน 3 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ให้บริการสาธารณสุขซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย

2.3.2.4 ผลของการยื่นคำขอต่ออายุความละเมิด เมื่อมีการยื่นคำขอให้อายุความทางแพ่งในมูลละเมิดนั้นสะดุดหยุดอยู่จนกว่าการพิจารณาคำขอเงินชดเชยนั้นจะถึงที่สุดหรือมีการยุติการพิจารณาคำขอมาตรา 34 วรรคหนึ่ง(มาตรา 26)

2.3.2.5 การพิจารณาคำขอรับเงินค่าเสียหาย 

- เมื่อได้รับคำขอให้หน่วยงานที่รับคำขอไว้ส่งคำขอดังกล่าวให้คณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ คณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือต้องพิจารณาคำขอดังกล่าวให้เสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ(ระยะเวลาในการพิจารณาดังกล่าวในกรณีที่มีเหตุจำเป็นสามารถขยายได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 วัน และต้องระบุเหตุผลและความจำเป็นในการขยายเวลาทุกครั้งไว้ หากคณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือไม่สามารถพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาระยะเวลาที่ขยายดังกล่าวให้ถือว่าคณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือวินิจฉัยจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและให้จ่ายเงินดังกล่าว) หากคณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือเห็นว่าผู้ยื่นคำขอเป็นผู้เสียหายตามมาตรา 5 และไม่ใช่กรณีตามมาตรา 6 ให้วินิจฉัยจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาท คำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือที่วินิจฉัยให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้เป็นที่สุด(มาตรา 27)

- หากคณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือมีคำวินิจฉัยไม่รับคำขอ ให้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการอุทธรณ์ และแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยเร็ว ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิที่จะเสนอข้อมูลหรือเอกสารเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ คณะกรรมการอุทธรณ์ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องอุทธรณ์ ระยะเวลาดังกล่าวสามารถขยายออกไปได้อีกไม่เกิน 30 วัน ถ้าคณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยรับคำขอ ให้คณะอนุกรรมการ กำหนดจำนวนเงินช่วยเหลือเบื้องต้นด้วย คำวินิจฉัยจองคณะกรรมการอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด(มาตรา 28) 

- กรณีที่คณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือตามมาตรา 27 หรือคณะกรรมการอุทธรณ์ตามมาตรา 28 ส่งคำขอให้คณะอนุกรรมการเงินชดเชยภายใน 7 วันนับแต่วันที่คณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือมีคำวินิจฉัยหรือถือว่ามีคำวินิจฉัยให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น หรือนับแต่วันที่คณะกรรมการอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้รับคำขอ(มาตรา 30 วรรคหนึ่ง)

- คณะอนุกรรมการเงินชดเชยมีหน้าที่พิจารณาจ่ายเงินชดเชยโดยอาศัยหลักการเกี่ยวกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยต้องวินิจฉัยคำขอให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากคณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือ หรือคณะกรรมการอุทธรณ์แล้วแต่กรณี กรณีที่มีเหตุจำเป็นให้ขยายระยะเวลาออกไปได้อีกสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน โดยต้องบันทึกเหตุผลและความจำเป็นในการขยายระยะเวลาทุกครั้งไว้ด้วย(มาตรา 30 วรรคสอง และวรรคสาม)

- กรณีที่ผู้ขอไม่เห็นด้วยกับจำนวนเงินชดเชยที่คณะอนุกรรมการเงินชดเชยได้วินิจฉัยกำหนด ผู้ขอสามารถอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการเงินชดเชย โดยยื่นอุทธรณ์ต่อสำนักงาน และให้สำนักงานส่งคำอุทธรณ์ให้คณะกรรมการอุทธรณ์ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ถ้ายังไม่แล้วเสร็จสามารถขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 30 วัน คำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด(มาตรา 31)

 - เมื่อผู้เสียหายหรือทายาทตกลงยินยอมรับเงินชดเชย ให้ผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อกับความเสียหายและผู้เสียหายจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความ(มาตรา 33)

 - หากคณะอนุกรรมการเงินชดเชยหรือคณะกรรมการอุทธรณ์ ได้กำหนดจำนวนเงินชดเชยแล้ว หากผู้เสียหายหรือทายาทไม่ตกลงยินยอมรับเงินชดเชยและได้ฟ้องให้ผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายเป็นคดีต่อศาล ให้ยุติการดำเนินการตามพ.ร.บ.นี้ และผู้เสียหายหรือทายาทไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอได้อีก(มาตรา 34 วรรคหนึ่ง)

หากศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้ผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวจ้องกับความเสียหายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย ให้คณะอนุกรรมการเงินชดเชยพิจารณาว่าจะจ่ายเงินจากกองทุนเพื่อชำระค่าสินไหมทดแทนตามคำพิพากษาหรือไม่เพียงใด(มาตรา 34 วรรคสอง)

หากศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดยกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยว่าผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายไม่ต้องรับผิด คณะกรรมการอาจพิจารณาจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายหรือไม่ก็ได้(มาตรา 34 วรรคสาม)

 - กรณีที่ผู้เสียหายหรือทายาทได้นำเหตุแห่งความเสียหายฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสียหาย โดยขอรับเงินค่าเสียหายตามพ.ร.บ.นี้ด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะขอรับเงินค่าเสียหายก่อนหรือหลังฟ้องคดี ให้ดำเนินการให้มีการพิจารณาเฉพาะการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเท่านั้น เมื่อศาลมีคำพิพากาษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วให้นำความในมาตรา 34 วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม(มาตรา 35)

 - กรณีที่มีการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายแล้วหากศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้ผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย ให้หักเงินช่วยเหลือเบื้องต้นออกจากค่าสินไหมทดแทนด้วย(มาตรา 36)

 - กรณีที่มีความเสียหายปรากฏขึ้นภายหลังจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยผลของสารที่สะสมอยู่ในร่างกายของผู้เสียหายหรือเป็นกรณีที่ต้องใช้เวลาในการแสดงอาการ ให้ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นขอรับเงินชดเชยตามพ.ร.บ.นี้ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ให้บริการสาธารณสุขซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายที่ปรากฏขึ้นภายหลัง คำขอดังกล่าวให้สำนักงานส่งให้คณะอนุกรรมการเงินชดเชยภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอโดยให้นำมาตรา 30, 31, 32 และ 33 มาใช้โดยอนุโลม

2.4 การไกล่เกลี่ย

ตามร่างพ.ร.บ.ฯ ได้ระบุถึงการไกล่เกลี่ยที่ผู้เสียหายและผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการไกล่เกลี่ยกันได้ โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้
- เรื่องที่สามารถไกล่เกลี่ยกันได้ มาตรา 38 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ว่าต้องเป็นเรื่องอื่นนอกจากเงินค่าเสียหายตามร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว
- การไกล่เกลี่ยจะดำเนินการก่อนหรือภายหลังผู้เสียหายได้ยื่นคำขอรับเงินค่าเสียหาย หรือหลังจากากรพิจารณาคำขอรับเงินค่าเสียหายเสร็จแล้วก็ได้
- หากมีการไกล่เกลี่ยกันสำเร็จให้มีการจัดทำสัญญาประนีประนอมในเรื่องที่ไกล่เกลี่ยกันดังกล่าว(มาตรา 39 วรรคสาม)
- เมื่อมีการไกล่เกลี่ยให้อายุความฟ้องร้องคดีแพ่งสะดุดหยุดอยู่จนกว่าจะมีการยุติการไกล่เกลี่ย(มาตรา 40)
- การกำหนดห้ามไม่ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยใช้ข้อมูลที่กำหนดในการดำเนินคดีในศาล(มาตรา 41)

2.5 การฟ้องคดีอาญาและบทกำหนดโทษ

ร่างพ.ร.บ.ฯ ได้กำหนดระบุถึงการพิจารณาการกำหนดโทษโดยศาล โดยในมาตรา 45 กำหนดให้ศาลในคดีอาญาฐานกระทำการโดยประมาทที่เกี่ยวเนื่องกับการให้บริการสาธารณสุข หากศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิด ให้ศาลนำข้อเท็จจริงต่างๆของจำเลยเกี่ยวกับประวัติ พฤติการณ์แห่งคดี มาตรฐานวิชาชีพ การบรรเทาผลร้ายแห่งคดี การรู้สำนึกในความผิด การที่ได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ การชดใช้เยียวยาความเสียหาย และการที่ผู้เสียหายไม่ติดใจให้จำเลยได้ รับโทษ ตลอดจนเหตุผลอื่นอันสมควร มาพิจารณา ประกอบด้วยในการนี้ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้

นอกจากนั้นในมาตรา 46 ได้กำหนดโทษของการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการ คณะกรรมการอุทธรณ์ หรือคณะอนุกรรมการ ตามมาตรา 18 ซึ่งการฝ่าฝืนดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 

3. ข้ออ้าง/ความกังวลของคุณหมอทั้งหลายเป็นเรื่องที่รับฟังได้หรือไม่

เมื่อได้พิจารณาถึงเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวนี้แล้ว กรณีจึงเป็นที่น่าพิจารณาว่าข้ออ้าง/ความกังวลของคุณหมอที่ปรากฏในทางสื่อสารมวลชนนั้นรับฟังได้หรือไม่เพียงใดโดยในที่นี้ได้หยิบยกข้อสังเกต, ความเห็น และทัศนคติของ “คุณหมอ” (ที่ต้องเน้นตัวหนาก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเจ้าของความเห็นดังกล่าวว่าเป็น “คุณหมอ” ที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวอย่างแท้จริง ไม่ใช่ประชาชนคนธรรมดาหรือเด็กอนุบาลที่ไหนแต่อย่างใด) ที่ปรากฏในเนื้อหาข่าวในช่วงระยะเวลา 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมาในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์มติชนอันได้แก่ ข่าว 1) พ.ร.บ.เยียวยาผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 14:30:03 น.  มติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1277192915&catid=02 2) นายแพทย์-โรงพยาบาล ช็อก ! พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข ลากหมอติดคุก-จ่ายสินไหม เลิกปรองดอง โทษแรงกว่าในสหรัฐ วันที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 17:08:19 น.  มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1278238349&grpid=00&catid=
3) แพทย์ขู่!ประท้วงร่างพ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหาย จากบริการสาธารณสุข ชี้ข้อเสียเพียบ ประชาชนรับกรรม วันที่ 08 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 11:24:39 น.  มติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1278563507&grpid=00&catid=

ในที่นี้ผู้เขียนจะได้พยายามรวมรวมประเด็นปัญหาที่เป็น “สาระสำคัญ” ที่ “คุณหมอ” ได้แสดงความเห็นไว้ในข่าว โดยผู้เขียนจะแสดงความเห็นต่อความเห็นของ “คุณหมอ” ในเรื่องต่างๆ ตามลำดับดังนี้

3.1 ประเด็นเรื่องเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาสำคัญของร่างพ.ร.บ.ฯ

มีการกล่าวว่า “จากหลัก การและเหตุผลจะพบว่า บุคลากรสาธารณสุข นอกจากต้องทำงานหนักทั้งกลางวันกางคืน ไม่ว่าวันราชการหรือวันหยุด เพื่อรับผิดชอบดูแลรักษาผู้ป่วยแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกร้องเรียน /ฟ้องร้อง/ต้องจ่ายเงินช่วยเหลือ/ชดเชยและถูกไล่เบี้ย/หรือถูกตัดสินจำคุกใน คดีอาญาเหมือนเป็นฆาตกร และยังต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน เพื่อเตรียมไว้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้อง ต้นทุกราย และยังต้องจ่ายชดเชยค่าเสียหาย และยังต้องถูกฟ้องร้องต่อศาลได้อีก”

เมื่อผู้เขียนอ่านความเห็นดังกล่าวแล้วเห็นว่ากรณีไม่ใช่เรื่องปกติหรอกหรือที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทำการโดยประมาทหรือจงใจแล้วก่อให้เกิดความเสียหายกับบุคคลอื่นขึ้น แล้วบุคคลที่เสียหายนั้นใช้สิทธิทางศาลไม่ว่าจะเป็นทางคดีแพ่งละคดีอาญา 

นอกจากนั้นในบางข่าวยังมีการกล่าวอ้างถึงตัวอย่างที่ว่า “มีบริการสาธารณะใดบ้างที่ต้องมีเงินประกันความเสียหาย โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูก/ผิด ทั้งนี้การบริการสาธารณะที่จัดขึ้นโดยรัฐบาล เช่นการศึกษานั้น ถ้านักเรียนสอบตก ไม่เห็นมีการฟ้องร้องครู ว่าทำให้นักเรียน “เสียหาย” มีแต่จะลงโทษเด็กนักเรียน ให้เรียนซ้ำชั้น/ไล่ออก และไม่เห็นมีการออกกฎหมายมาคุ้มครองเด็กนักเรียนที่เสียหายจากการรับบริการ การศึกษาแต่อย่างใด หรือในระบบราชการตำรวจ ไม่เห็นมีการออกพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการที่ถูกตำรวจยิงตาย โดยที่ประชาชนคนนั้นไม่ได้เป็นผู้ร้าย  (หรือถ้ามีพ.ร.บ.เช่นว่านี้ ก็โปรดบอกข้าพเจ้าผู้เขียนเรื่องนี้ด้วย)”

กรณีดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่หากถามว่าหากนักเรียนที่สอบตกคนนั้นไปใช้สิทธิทางศาลสามารถทำได้หรือไม่ คำตอบคือทำได้ ทั้งนี้ความเสียหายที่เกิดขึ้นกรณีต่างๆ นั้นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการออกกฎหมายเฉพาะมาคุ้มครองในทุกกรณีแต่ประการใด เพราะผู้เสียหายก็ไปใช้สิทธิทางศาลเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนได้อยู่แล้ว ส่วนการสอบถามหากฎหมายที่คุ้มครองผู้เสียหายจากการที่ถูกตำรวจยิงตายโดยที่ประชาชนคนนั้นไม่ได้เป็นผู้ร้ายนั้น กฎหมายดังกล่าวก็ได้มีการออกมาใช้บังคับตั้งแต่ปี 2544 อันได้แก่ พระราชบัญญัติค่าตอบแทน ผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา  พ.ศ.2544

นอกจากนั้นก็มีการกล่าวว่า “นอกจากจะต้องทำงานบริการประชาชนแล้ว ยังต้องจ่ายเงินล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดความเสียหายอีก ถ้าเป็นโรงพยาบาลรัฐบาล ก็คงไม่มีปัญหาอะไร โรงพยาบาลก็ต้องขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลที่จะต้องเอาเงินภาษีจากหยาด เหงื่อแรงงานของประชาชนมาเพิ่มงบประมาณให้โรงพยาบาลเพื่อส่งเข้ากองทุน  คุ้มครองผู้เสียหายนี้  ส่วนโรงพยาบาลเอกชนก็คงต้องผลักภาระนี้ให้แก่ประชาชนที่ต้องจ่ายเงินเอง อย่างแน่นอน เพราะเป็นต้นทุนที่ถูกบังคับ (โดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า)”

ก็เป็นความเห็นที่น่ารับฟังประการหนึ่ง แต่หากเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีร่างพ.ร.บ.ฯ นี้ที่กำหนดให้มีการจัดเก็บเงินกองทุน(เป็นการแชร์ความเสี่ยงในการรับผิดของบุคลากรทางการแพทย์) ท่านก็ต้องรับผิดชอบทั้งในทางแพ่ง ทางอาญาตามกฎหมายทั่วไปที่ใช้บังคับตามปกติไป อีกทั้งกรณีก็ไม่ผิดปกติประการใดที่จะนำเงินภาษีของประชาชนมาชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประชาชน

3.2 ประเด็นเรื่องของสิทธิของผู้เสียหาย

มีความเห็นว่าเมื่อผู้เสียหาย ““เชื่อ” ว่าตัวเองได้รับความเสียหายก็สามารถยื่นคำขอเงินค่าเสียหายได้นั้น” ต้องไม่ลืมว่าตามร่างพ.ร.บ.ฯ แล้วจะเห็นว่าเพียงแค่ความเชื่อว่าตนเองเป็นผู้เสียหายนั้นไม่สามารถทำให้ได้รับเงินค่าเสียหายโดยอัตโนมัติแต่ประการใดไม่ ยิ่งไปกว่านั้นการมีสิทธิยื่นหรือไม่มีสิทธิยื่นคำขอนั้นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจก็ต้องพิจารณาตามเงื่อนไขที่ร่างพ.ร.บฯ กำหนดเอาไว้ ทั้งนี้ตามมาตรา 5 และมาตรา 6  

3.3 ประเด็นเรื่องของคณะกรรมการ

มีการกล่าวถึงคำว่า “คณะกรรมการ” ในเนื้อข่าวหลายจุดด้วยกัน แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าหมายถึง “คณะกรรมการ” ใดกันแน่ เพราะในร่างพ.ร.บ.ฯ มีการกำหนดให้มีคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ทั้งนี้ในการกล่าวถึงคณะกรรมการในร่างพ.ร.บ.ฯดังกล่าว นั้นหากไม่ระ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"มาร์ค" เตือน "เทพไท" ระวังการให้ข้อมูล

Posted: 10 Jul 2010 08:47 PM PDT

กรณี "เทพไท เสนพงศ์" ปูดข่าวเสื้อแดงฝึกอาวุธ แต่ไม่มีมูลนั้น ล่าสุด "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ออกมาตำหนิ โอดเคยเตือนมาแล้วหลายครั้ง ออกตัวเทพไทอาจพูดในฐานะ ส.ส. ไม่ใช่โฆษกหัวหน้าพรรค ปชป. ขณะที่ "เทพไท" ยังยันได้ข้อมูลจากประชาชนเรื่องค่ายฝึก จึงส่งข้อมูลให้ ศอฉ. ตรวจสอบต่อ

<!--break-->

วานนี้ (10 ก.ค.53) เวลา 09.30 น. ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกส่วนตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาให้ข่าวการฝึกอาวุธกลุ่มคนเสื้อแดงแล้วไม่ได้เป็นไปตามนั้นว่า เห็นนายเทพไท บอกได้ส่งข้อมูลให้ศอฉ.ไปแล้ว ซึ่งตนเองไม่ทราบ แต่ก็ต้องสอบถามนายเทพไทว่าไปได้ข้อมูลมาจากไหน อย่างไร ซึ่งก็ต้องมีความระมัดระวัง ทั้งนี้ก็เคยได้เตือนไปแล้ว 2-3 ครั้ง ว่าการจะให้ข้อมูลอะไรก็ต้องมีการตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนก่อนที่จะให้มีข้อมูลออกมา

ส่วนจะให้นายเทพไท ยังทำหน้าที่โฆษกส่วนตัวหัวหน้าพรรค ต่อไปหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เจ้าตัวคงรู้ว่าจะทำอย่างไร อย่างไรก็ตามก็ขอความเป็นธรรมกับนายเทพไทฯ ก่อน เพราะนายเทพไทฯ ได้มีการยืนยันว่ามีข้อมูลอยู่ ขณะเดียวกันนายเทพไทก็เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ ซึ่งหลายครั้งที่พูดส่วนใหญ่ก็จะเป็นการแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวกับประเด็น ทางการเมือง

ต่อข้อถามว่า นายกรัฐมนตรียอมรับหรือไม่ว่าการแสดงความคิดเห็นของโฆษกส่วนตัวหัวหน้าพรรคฯ นั้นดูเหมือนเชื่อถืออะไรไม่ได้อีกแล้ว นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เคยได้บอกไปว่าต้องมีความระมัดระวัง เพราะบางครั้งการตอบโต้นั้น เมื่อมีปัญหาข้อมูลตรงหรือไม่ตรงก็จะทำให้ถูกตำหนิและกระทบกับความเชื่อถือ ซึ่งก็ได้เตือนไปแล้วอย่างที่บอก ส่วนจะแสดงความคิดเห็นอะไรตรงนี้นายเทพไท ได้บอกนายกรัฐมนตรี ก่อนหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ครับ เพราะบางครั้งที่นายเทพไท แสดงความคิดเห็นก็ถือว่าเป็นสิทธิของ ส.ส.ที่จะแสดงความคิดเห็นทางเมืองได้จึงได้พูด เพราะจริงๆ แล้วในเวลาที่ได้ออกมาพูดว่าเป็นโฆษกส่วนตัวหัวหน้าพรรคฯ ก็จะเป็นกรณีที่คนมาพาดพิงถึงตัวตนเองในฐานะหัวหน้าพรรคฯ นายเทพไทฯ ก็จะทำหน้าที่ในการชี้แจงไป แต่บางเรื่องก็จะเป็นเรื่องที่นายเทพไทฯแสดงความคิดเห็นส่วนตัวหรือมีข้อมูล ของเขาที่เสนอต่อสาธารณะในฐานะ ส.ส.

ต่อข้อถามว่า แสดงว่านายกรัฐมนตรี กำลังบอกว่าที่พูดในเรื่องดังกล่าวพูดในฐานะ ส.ส. นายรัฐมนตรี กล่าวว่า แล้วแต่เรื่อง บางเรื่องเวลามีการชี้แจงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตนในฐานะหัวหน้าพรรคฯ นั้น นายเทพไทฯ ก็ทำหน้าที่ในฐานะโฆษกฯ แต่บางครั้งสิ่งที่นายเทพไทฯ พูดก็เป็นเรื่องของการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในฐานะ ส.ส.ของพรรคฯ ซึ่งตรงนี้ก็ได้เตือนไปแล้วแต่ก็จะมีการพูดคุยกันอีกครั้ง

ต่อข้อถามว่า ผู้ใหญ่ในพรรคฯอย่างนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ มีความวิตกกังวลต่อเรื่องดังกล่าวหรือไม่ เพราะอาจจะกระทบต่อนายกรัฐมนตรีและภาพลักษณ์รัฐบาลเสียหายไปด้วยเนื่องจากจะ เป็นการขัดแย้งกันเองกับหน่วยงานด้านการข่าว นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่ได้ยินคนอื่นในพรรคมีปัญหาอะไร เพราะตอนที่เสนอว่าตนเองควรจะมีโฆษกที่คอยชี้แจงเรื่องในส่วนของหัวหน้าพรรค นั้น ก็จะมาจากสมาชิกพรรคเองที่เป็นผู้เสนอให้ทำ

ด้านนายเทพไท เสนพงศ์ ออกมากล่าวด้วยว่า การที่ตนเปิดเผยข้อมูลว่ามีกลุ่ม นปช. ซ่องสุมกำลังในพื้นที่ต่างๆ เป็นเพียงการได้รับข้อมูลจากประชาชน จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยได้ทำหนังสือให้ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ตรวจสอบ

ดังนั้น อยากถามว่าขัดกับหลักการปรองดองอย่างไร เพราะอดีตที่ผ่านมีขบวนการก่อการร้ายและกองกำลังติดอาวุธที่มีการฝึกฝนในพื้นที่ต่างๆ จริง และนำมาปฏิบัติการในการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าและสี่แยกราชประสงค์ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้กระบวนการเหล่านี้กลับคืนมา จึงจำเป็นต้องตรวจสอบไปตามหน้าที่

ที่มา:
นายกรัฐมนตรีแจงได้เตือนนายเทพไทฯแล้วให้มีความระมัดระวังในการให้ข้อมูล,
ศูนย์สื่อ ทำเีนียบรัฐบาล, 10 ก.ค. 53
"มาร์ค"ปราม "เทพไท"จ้อมั่ว, ข่าวสด, 11 ก.ค. 53

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ส่ง "สมเกียรติ ตั้งนโม" ผู้ก่อตั้งเว็บ ม.เที่ยงคืน

Posted: 10 Jul 2010 05:30 PM PDT

ญาติมิตรและลูกศิษย์จำนวนมากร่วมพิธีฌาปนกิจ "สมเกียรติ ตั้งนโม" คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน

<!--break-->

เวลา 13.00 น. วานนี้ (10 ก.ค. 53) ที่สุสานหายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ มีพิธีฌาปนกิจศพ รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยมีคณาจารย์และผู้บริหารในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน นักกิจกรรมทางสังคม ศิลปินสาขาต่างๆ ตลอดจนลูกศิษย์ และญาติมิตรของ รศ.สมเกียรติ  มาร่วมพิธีจำนวนมาก

ทั้งนี้ ก่อนการฌาปนกิจศพ มีการมอบเอกสาร ตำรา งานเขียน รวมถึงเครื่องมือในการค้นคว้าของ รศ.สมเกียรติ ให้กับสาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มช. เพื่อเป็นประโยชน์สาธารณะตามเจตนารมณ์ของ รศ.สมเกียรติ นอกจากนี้ สำนักพิมพ์สมมติ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และลูกศิษย์ของ รศ.สมเกียรติ จะร่วมกันรวบรวมผลงานทางวิชาการของ รศ.สมเกียรติ เพื่อจัดพิมพ์เผยแพร่ต่อไป

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน : บันทึกการเดินทางสู่กัมพูชา เข้าใจเขา-เข้าใจเรา

Posted: 10 Jul 2010 03:44 PM PDT

ทั้ง ๆ ที่ประวัติศาสตร์ในตำราอาจบิดเบือน ทั้ง ๆ ที่คำว่า ‘พี่-น้อง’ ที่เราใช้เรียกประเทศเพื่อนบ้านมันอาจมีความหมายมากกว่าการทะนงตนว่าเป็น ‘พี่ใหญ่’ ทั้ง ๆ ที่คนที่อยู่ห่างกันเพียงข้ามเส้นเขตแดนก็มีความเป็นมนุษย์ทัดเทียมเรา แล้วจริงหรือที่เราจะเข้าใจกันไม่ได้....

<!--break-->

เมื่อพูดถึง ‘ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ’ ก็ย่อมยากจะหลีกเลี่ยงการพูดถึงเรื่องการเมือง และในระดับรัฐแล้ว การเลือกผูกมิตรหรือสร้างศัตรูกับประเทศหนึ่ง ๆ ย่อมมีการหวังผลทางการเมือง แต่ต้องไม่ลืมว่า ไม่ว่าเกมการต่างประเทศจะดำเนินไปอย่างไร ประชาชนในประเทศนั้น ๆ ก็เป็นผู้ได้รับผลกระทบ

ในเมื่อแต่ละชาติล้วนมีแบบเรียนของตนเอง ล้วนมีเรื่องเล่า ‘ชนชาติอื่น’ ในแบบของตนเอง การปลูกฝังเรื่องความเป็นศัตรูต่อชาติก็เป็นเรื่องง่าย และถูกหยิบยืมไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ (บางประเทศนำเครื่องมือสร้างความเป็นศัตรูชุดนี้มาใช้กับคนในประเทศตัวเองด้วยซ้ำ)

ทั้งๆ ที่ประวัติศาสตร์ในตำราอาจบิดเบือน ทั้งๆ ที่คำว่า ‘พี่-น้อง’ ที่เราใช้เรียกประเทศเพื่อนบ้านมันอาจมีความหมายมากกว่าการทะนงตนว่าเป็น ‘พี่ใหญ่’ ทั้งๆ ที่คนที่อยู่ห่างกันเพียงข้ามเส้นเขตแดนก็มีความเป็นมนุษย์ทัดเทียมเรา

แล้วจริงหรือที่เราจะเข้าใจกันไม่ได้....

000

 

ไทย - กัมพูชา

เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มูลนิธิศักยภาพชุมชนจัดโครงการแลกเปลี่ยนภาคประชาชน เขมร-ไทย เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง โดยมีการจัดกิจกรรมเยี่ยมเยียนระหว่างชุมชนของภาคประชาชนกัมพูชาและไทย รวมถึงมีการจัดเวทีอภิปรายที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และที่วัดอินทรโกศา เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา

ที่มาของโครงการนี้มาจากเหตุการณ์หลังวันที่ 28 ส.ค. 2552 ที่มีกลุ่มภาคประชาชนของกัมพูชาราว 110 คนที่เสนอแผนเรียกร้องให้รัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี ทันทีที่มีการเผชิญหน้ากันระหว่างกองทัพไทยและกัมพูชา และหลังการประชุมอาเซียนภาคประชาชนมูลนิธิศักยภาพชุมชนก็สรุปว่า กรณีความบาดหมางของไทยและกัมพูชาในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมีรากฐานมาจากประวัติศาสตร์ของทั้ง 2 ประเทศ จึงจัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อเสริมความสัมพันธ์และความเข้าใจ เชื่อใจกันระหว่างประชาชนไทยกับกัมพูชา เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ของทั้ง 2 ประเทศ และเพื่อร่วมสร้างสันติภาพของภาคประชาชนทั้ง 2 ประเทศในระยะยาว

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ผู้สื่อข่าว The Nation ให้ความเห็นไว้ว่า สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจให้มีโครงการเช่นนี้ขึ้นมา ไม่ใช่เพราะประชาชนทั้ง 2 ฝ่ายทะเลาะกัน แต่มาจากเรื่องความขัดแย้งของฝ่ายรัฐบาลและจากประชาชนจำนวนไม่มากที่ทะเลาะกัน และส่วนหนึ่งก็เป็นประชาชนไทยด้วยกันด้วย

 

 

กรุงเทพฯ – อำเภอกันทรลักษ์

กลุ่มผู้เข้าร่วมเดินทางโดยรถโดยสารจากกรุงเทพฯ ในคืนวันที่ 24 มิ.ย. และทานอาหารเช้ากันที่หมู่บ้านภูมิซรอล ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยก่อนหน้านี้มีการหยุดพักที่ตลาดสดช่วงเช้า ซึ่งเดินดูแล้วก็ไม่ต่างจากตลาดสดอื่น ๆ มากนัก แต่สิ่งที่ได้รับรู้จากการเห็นเมืองรอบ ๆ พบว่าที่นี่เจริญกว่าที่คิดไว้ อย่างน้อยอาคารบ้านเรือนและกิจการบางอย่างก็บ่งบอกถึงความมีอันจะกิน

ร้านอาหารในภูมิซรอลที่เราหยุดพักนั้นดูคล้ายร้านอาหารริมทางขายคนผ่านทาง เช่น คนขับรถขนส่งสินค้า ขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะปรับตัวเป็นร้านสุรายามค่ำคืน ถนนหน้าร้านในช่วงเช้า-สาย ดูเงียบสงบ ขณะเดียวกันมันก็อาจสะท้อนความเซื่องซึม ซึ่งยังมองไม่ออกว่าชีวิตของคนที่ค้าขายอยู่ในพื้นที่นี่จะดำเนินต่อไปอย่างไร

“พวกเขาแค่อยากสร้างเรื่องให้เป็นข่าว” เจ้าของร้านอาหารในภูมิซรอลพูดถึงเรื่องที่มีกลุ่มพันธมืตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เคยเดินทางมาเพื่อพยายามทวง ‘อธิปไตย’ กรณีปราสาทเขาพระวิหาร จนเป็นเหตุให้มีการปะทะกับชาวบ้าน

“พอฝ่ายนั้นเขามาตี ชาวบ้านก็ตีคืนไปหน่อยเท่านั้น ไม่ได้มีอะไรรุนแรงกว่านั้น” เจ้าของร้านอาหารยังคงกล่าวถึงเรื่องเดิม

 

 

จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ – เสียมเรียบ

ที่จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ มีสภาพเป็นถนนดินที่ดูร้อนแล้ง มีคนรับจ้างขนสัมภาระด้วยรถลากไปพร้อมกับคณะเดินทาง เมื่อเดินทางมาถึงอีกฝั่งหนึ่งก็มีคนของทางกัมพูชาเตรียมดอกไม้มาต้อนรับพร้อมน้ำดื่มใส่ขวดแจกให้ทุกคน

จุดหมายของการเดินทางออยู่ที่เมืองเสียมเรียบ เมืองที่ท่องเที่ยวอันดับ 2 ของกัมพูชารองจากพนมเปญ ที่มีแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกขึ้นชื่ออย่าง นครวัด-นครธม

ระหว่างทางซึ่งต้องนั่งรถต่อจากชายแดนฝั่งกัมพูชา มีคนนำทางชาวกัมพูชาที่สามารถพูดสื่อสารด้วยภาษาไทยได้ ภาพชนบทที่เต็มไปด้วยต้นไม้และทุ่งเขียวขจีข้างทางแฝงเรื่องเล่าซ่อนความเจ็บปวดไว้

“ต้นไม้เหล่านี้เขาห้ามประชาชนตัด มีแต่ตำรวจเท่านั้นที่มาตัดได้” ผู้บรรยายชาวกัมพูชาเล่าสลับกับการแนะนำชื่อหมู่บ้านต่าง ๆ ที่รถแล่นผ่าน ซึ่งส่วนใหญ่มีสภาพเป็นบ้านไม้ กระท่อมหลังเล็ก ๆ แซมอยู่กับบ้านหลังใหญ่ที่ไม่แน่ใจว่าจะมีคนอยู่หรือไม่ ผู้บรรยายเล่าให้ฟังว่าชาวกัมพูชาจะนิยมสร้างบ้านให้สูงๆ

เมืองเสียมเรียบเท่าที่ได้สัมผัสมามีทั้งสถาปัตย์กรรมสมัยใหม่ที่บ่งบอกถึงความเป็นเมือง มีอาคารแบบโคโลเนียล (Colonial) มีสวนสาธารณะและพื้นที่สีเขียวโดยรอบ ขณะที่ในเขตใกล้กับวัดอินทรโกศา เป็นเขตที่เป็นชานเมือง มีอาคารบางแห่งที่ดูเหมือนทิ้งร้าง มีบ้านไม้สร้างอยู่ริมคลอง ส่วนใหญ่ขายของเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้างก็เป็นร้านตัดผม ร้านกาแฟ

ในเวทีอภิปรายที่วัดอินทรโกศา โซธา รอส ตัวแทนของกัมพูชากล่าวว่าประเทศกัมพูชายังมีปัญหาเรื่องช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ขณะเดียวกันในวงอภิปรายก็มีการพูดถึงความสำคัญของพุทธศาสนา ศาสนาพุทธเป็นสิ่งที่มีบทบาททางการเมืองและมีอิทธิพลต่อวิถีวีชิตของชาวกัมพูชาค่อนข้างมาก จากการสังเกตของผู้สื่อข่าว เห็นว่าชาวกัมพูชาที่เข้าร่วมจะก้มลงกราบเพื่อสักการะทุกครั้งที่เขาเห็นพระพุทธรูป ไม่ว่าจะในฝั่งกัมพูชาหรือฝั่งไทย

สงครามกลางเมืองสิ้นสุดลงในเดือนเมษายน ค.ศ.1975 ด้วยชัยชนะของเขมรแดง รัฐบาลเขมรแดงปกครองประเทศอย่างเข้มงวด และเปลี่ยนแปลงสังคมกัมพูชาอย่างถึงรากถึงโคน รัฐธรรมนูญคอมมิวนิสต์ได้ถูกประกาศใช้โดยกล่าวถึงเสรีภาพทางศาสนาในมาตรา 20 ว่า "พลเมืองกัมพูชาทุกคนมีสิทธิที่จะนับถือศาสนาหรือไม่นับถือศาสนาก็ได้ ศาสนาปฏิกิริยาซึ่งขัดขวางกัมพูชาประชาธิปไตยและประชาชนเป็นสิ่งต้องห้าม"

ภายใต้รัฐบาลเขมรแดง พุทธศาสนาต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงทั้งในด้านคำสอน คณะสงฆ์ และวัด พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าถูกตีความให้รับใช้การปฏิวัติ พระสงฆ์ต้องเข้ารับการศึกษาใหม่ และต้องใช้แรงงานเช่นเดียวกับฆราวาสทั้งในท้องนา การก่อสร้างถนนและเขื่อน มีการทำลายวัดวาอารามและพระพุทธรูป มีการเผาคัมภีร์และตำราทางศาสนา ภายในระยะเวลาเพียงสี่ปีพุทธศาสนาเกือบสูญสิ้นไปจากประเทศ [1]

การยึดครองกรุงพนมเปญของกองทัพเวียดนามเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1979 ทำให้การปกครองของเขมรแดงสิ้นสุดลง  ระบอบเฮงสัมริน (Heng Samrin) ได้ถูกสถาปนาขึ้นภายใต้การควบคุมของเวียดนาม รัฐบาลใหม่ได้ฟื้นฟูพุทธศาสนาในระดับหนึ่ง โดยซ่อมแซมวัดและพระพุทธรูปจำนวนหนึ่ง รวมทั้งอนุญาตให้ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปบวชเป็นพระภิกษุได้ แทนที่จะตำหนิพุทธศาสนาว่าเป็นฝิ่นของประชาชนดังเช่นเขมรแดง เฮงสัมริน กลับยกย่องพุทธศาสนาว่าเป็นพลังทางศีลธรรมที่สำคัญในการสร้างสังคมใหม่ [2]

ภายใต้รัฐบาลปัจจุบันของสมเด็จฮุนเซน (Hun Sen) สถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ โดยเจ้านโรดม สีหมุนี (พระโอรสของเจ้านโรดมสีหนุ) ทรงเป็นกษัตริย์องค์ปัจจุบัน พุทธศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีได้รับการส่งเสริมสนับสนุน พร้อมกับระบอบประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค สำหรับชาวกัมพูชาแล้วพุทธศาสนาและเอกลักษณ์ความเป็นกัมพูชาคือสิ่งเดียวกัน [3]

สงครามกลางเมืองของกัมพูชาในช่วงราว 40 ปีที่ผ่านมา ทำให้ศาสนาพุทธถูกปราบปรามโดยกลุ่มเขมรแดง และชีวิตของของประชาชนชาวกัมพูชาจำนวนมากต้องสูญเสียไปทั้งจากฝ่ายเขมรแดงและจากการทิ้งระเบิดของกองทัพสหรัฐฯ [4]

อาจารย์อัครพงษ์ ค่ำคูณ จากสถาบันปรีดี ม.ธรรมศาสตร์ โครงการนานาชาติ กล่าวในการบรรยายให้ผู้เข้าร่วมโครงการฟังว่า ในยุคนั้นรัฐไทยก็มีส่วนต้องรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากมีข้อตกลงให้ฐานทัพสหรัฐฯ มาตั้งฐานทัพในไทย

 

ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง - เส้นเขตแดนที่เพิ่งขีด

ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาที่นำเสนอในแบบเรียนดูไม่น่าพิศมัย ปลูกฝังความรู้สึกเกลียดชัง ดูแคลน และไม่เป็นมิตร ไม่นับการขีดเส้นแบ่งเขตแดนที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการทำสนธิสัญญากับประเทศตะวันตกในช่วงยุคล่าอาณานิคม

“เมื่อก่อนชาวบ้านแถวนั้นก็ค้าขายไปมาหาสู่กัน” เสียงสะท้อนจากผู้ที่อยู่ในอำเภอติดชายแดนเอ่ยขึ้นช่วงที่กำลังเดินไปตามเมืองเสียมเรียบ

“เจ้าอาณานิคมก็ออกไปตั้งนานแล้ว ทำไมยังไม่หันหน้ามาคุยกันล่ะ” อ.อัครพงษ์ กล่าวในช่วงที่มีการนำเสนอข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ให้กับทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชาฟัง “คนที่สร้างปัญหาคือคนในกรุงเทพฯ แต่คนที่มีปัญหาคือคนในพื้นที่” อ.อัครพงษ์กล่าวถึงการที่คนบางกลุ่มพยายามแย่งชิงความเป็นเจ้าของปราสาทเขาพระวิหารจนเกิดความขัดแย้งทั้งกับฝ่ายกัมพูชาและกับชาวบ้านในพื้นที่ที่ต้องการความสงบ

 

ศาสนา – ภาษา – อาหาร

ความสงบศานติจากข้างในจิตใจตามแนวทางของพุทธศาสนา เป็นเรื่องที่ผู้เข้าร่วมหลายคนในโครงการนี้ทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชาเห็นว่ามีความสำคัญ และในขณะเดียวกันก็มีบางคนมองว่าพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ไทยและกัมพูชามีร่วมกันในด้านความเชื่อ จารีต ประเพณี

ไม่เพียงแค่ศาสนาเท่านั้น แต่ในเรื่องวัฒนธรรมทั้งทางด้านอาหารการกิน วิถีชีวิตในบางมุม ตัวเลข-ตัวอักษร รวมถึงคำศัพท์อีกหลายคำก็เป็นสิ่งที่กัมพูชาและไทยมีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งบางอย่างก็อาจเป็นสิ่งที่คนในท้องถื่นไทย-กัมพูชาแลกเปลี่ยนไปมาหาสู่กันในสมัยที่ยังไม่มีการ ‘สร้างรัฐชาติ’ ก่อนจะถูกรัฐส่วนกลางของไทยมาหยิบยืมไปและบอกว่าเป็นของตนเอง

อ.อัครพงษ์กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ก่อนหน้านี้ไทยยังไม่มีขอบเขตอำนาจที่ชัดเจน จนกระทั่งในยุคอาณานิคมได้ทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษซึ่งสั่งให้จัดระเบียบหลายจังหวัดในภาคอิสานให้มาขึ้นตรงกับกรุงเทพฯ และเริ่มตีเส้นแบ่งขอบเขตอำนาจรัฐชัดเจน ขณะเดียวกันมีอะไรหลายอย่างที่ไทยนำมาจากกัมพูชา แต่ในยุคนั้นกัมพูชาตกอยู่ใต้อาณานิคมของฝรั่งเศสทำให้ไม่มีโอกาสหรือศักยภาพในการแสดงอัตลักษณ์ของตน ขณะที่รัฐไทยก็เอาแต่ฝันไปเองว่าสิ่งที่นำมานั้นเป็นของตนเอง

 

‘หนมปันจ๊ก’ มีลักษณะคล้าย ‘ขนมจีน’ แต่มีรสชาดต่างกัน

 

ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่ที่เราจะได้เห็นหน้าตาอาหารหลายอย่างคล้ายไทย เพียงแต่ชาวกัมพูชานิยมกินรสหวาน และไม่ค่อยกินเผ็ด ขณะเดียวกันในด้านภาษา กัมพูชาก็มีความพยายามพัฒนาให้สามารถติดต่อกับผู้คนต่างประเทศได้ และหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย

ที่วัดอินทรโกศา ซึ่งนอกจากจะมีพระในวัดอาศัยอยู่แล้ว ยังมีประชาชนบางส่วนมาอาศัยอยู่เช่น คนที่ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ในวัดนี้มีการเรียนการสอนภาษาไทย ซึ่งมีทั้งพระสงฆ์และบุคคลทั่วไปมาเรียน ในร้านค้า ร้านกาแฟละแวกนั้นก็มีชาวกัมพูชาที่เข้าใจภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษอยู่บ้าง ขณะที่ชาวไทยส่วนใหญ่ต้องอาศัยล่ามเพื่อที่จะเข้าใจภาษากัมพูชา

มีหลายครั้งที่ผู้สื่อข่าวต้องอาศัยเพื่อนชาวกัมพูชาที่เข้าร่วมโครงการอย่าง ดานี ในการสื่อสารกับผู้ที่ใช้ภาษากัมพูชา เธอสามารถที่พูดคุยภาษาอังกฤษได้ดีมาก พูดภาษาไทยได้เล็กน้อยแล้วก็ดูกระตือรือร้นในการเรียนภาษาไทย ผู้เข้าร่วมชาวไทยตั้งข้อสังเกตว่า แม้ชาวกัมพูชาหลายคนอาจจะยังสื่อสารด้วยภาษาไทยได้ไม่เต็มที่แต่ก็ดูพยายามเข้าหาคนไทย

 

“ปล่อยให้อดีตเป็นอดีต”

ในขณะที่บทเรียนประวัติศาสตร์แบบชาตินิยมสอนว่ากัมพูชาเป็นประเทศที่เข้ามารุกรานไทย เข้ามาลอบโจมตีอยุธยาในช่วงที่อาณาจักรอ่อนแอ และคนไทยหลายคนก็มองภาพกัมพูชาในปัจจุบันว่าเป็นประเทศล้าหลัง ไม่พัฒนา

แต่กัมพูชาในยุคปัจจุบันกำลังพยายามพัฒนาตัวเองอย่างมากหลังเปิดประเทศและไทยก็ถือเป็นคู่ค้ารายสำคัญ จากการสำรวจในปี 2551 พบว่ากัมพูชานำเข้าสินค้าจากประเทศไทยมากที่สุด รองลงมาคือเวียดนาม [5]

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจนอกจากเรื่องการค้าขายแล้ว ยังมีเรื่องของการแลกเปลี่ยนแรงงาน มีแรงงานชาวกัมพูชาจำนวนมากเข้ามาทำงานในประเทศไทย ทั้งอย่างถูกกฏหมายและไม่ถูกกฏหมาย แต่ก็ยังมีการกดขี่เอารัดเอาเปรียบ การถูกบีบบังคับจากมาตรการของรัฐ รวมถึงไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ

หลายสิ่งหลายอย่างเหล่านี้ถูกสะท้อนออกมาในเวทีสรุปความรู้สึกร่วมกันของชาวไทยและชาวกัมพูชาที่เข้าร่วมโครงการในวันสุดท้าย

แล้วจะทำอย่างไรเพื่อช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาดีขึ้น ในเรื่องนี้ฝ่ายไทยเสนอว่าควรมีการชำระประวัติศาสตร์ที่ไม่ถูกต้องให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน มีการเปิดเสรีการค้าของทั้ง 2 ประเทศ มีการสนับสนุนการท่องเที่ยวระหว่างไทย-กัมพูชาให้ดีขึ้น

ทางฝ่ายกัมพูชาเสนอในเวทีสรุปความรู้สึกว่า สิ่งดี ๆ ที่พวกเขาเคยได้รับจากไทยคือการก่อสร้างสะพาน/โรงเรียน การให้นักศึกษากัมพูชาเข้ามาเรียนในไทย โดยยังเสนออีกว่าอยากให้ไทยทำสิ่งดี ๆ เหล่านี้ต่อไปและอยากให้รัฐบาลไทยรักษาความสามัคคีระหว่างไทย-กัมพูชา ไว้

ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาอาจสะท้อนเรื่องของความขัดแย้งในระดับรัฐ และการที่ประเทศไทยเคยมีส่วนที่ทำร้ายและเอาเปรียบกัมพูชา ตัวแทนของฝ่ายไทยที่นำเสนอเรื่องนี้ก็แสดงความเสียใจและกล่าวขอโทษแทนประเทศไทย ขณะที่ทางฝั่งกัมพูชากล่าวในเวทีว่า ไม่อยากให้คิดมากกับเรื่องในอดีต เพราะในปัจจุบันเราถือเป็น ‘พี่น้อง’ กันแล้ว

“เรามีอะไรที่คล้ายกันอย่างมาก ทำไมเราถึงเข้ากันไม่ได้” โซธา รอส ตัวแทนจากเขมรกล่าวบนเวที “เราไม่ควรจะรบกันเอง เราเป็นคนมีความรู้ มีปัญญา การจะรบกันมันเป็นเรื่องในอดีตไปแล้ว ตอนนี้เป็นยุคใหม่แล้ว”

 

 

“ตอนนี้เป็นยุคใหม่แล้ว”

สิ่งที่เป็นความหวังอีกอย่างหนึ่งของไทยกับกัมพูชาคือการสร้างความเข้าใจโดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ ดานี หนึ่งในผู้เข้าร่วมชาวกัมพูชาบอกว่าตอนที่เธอจะเข้าร่วมโครงการนี้ ครอบครัวของเธอแสดงความเป็นห่วงต่อการพบปะกับคนไทย และตัวเธอเองก็มีความลังเลว่าจะไม่สามารถเข้ากับคนไทยได้ดีเท่าที่ควร เพราะไม่เคยเจอคนไทยมาก่อน

“พอได้เจอคนไทยแล้วพวกเขาใจดีมาก คนไทยส่วนใหญ่คอยให้ความช่วยเหลือฉัน” ดานีกล่าว

“มีบางคนที่ซื้อของขวัญให้ฉัน ฉันแปลกใจที่ได้พบว่าคนไทยทำสิ่งดี ๆ ให้ เพราะในมุมมองของฉันแล้ว ฉันออกจะกลัวคนไทยจากการที่แม่และเพื่อนของฉันพูดถึงคนไทย รวมถึงจากที่ฉันเรียนรู้มาในวิชาประวัติศาสตร์ แต่พอได้มาเจอคนไทยจริง ๆ แล้วก็ไม่ได้มีอะไรเลวร้ายขนาดนั้น ฉันเข้ากับคนไทยได้ดีมาก”

มีอยู่ช่วงหนึ่งในกิจกรรมที่ชาวบ้านภูมิซรอลบางส่วนบอกอยากไปเที่ยวชมนครวัด และออกปากขอให้ดานีเป็นคนนำทาง ในตอนก่อนกลับประเทศไทย พวกเขาก็ซื้อเสื้อผ้าให้ดานีเป็นการขอบคุณ

สุนีย์ กรุมรัมย์ นักศึกษาไทยที่เข้าร่วมโครงการนี้ มีความสามารถสื่อสารภาษากัมพูชาได้ เนื่องจากบ้านเกิดของเธอที่บุรีรัมย์ก็มีการสื่อสารกันด้วยภาษากัมพูชา

“ก็อยากไปดูว่า ชีวิตสภาพความเป็นอยู่ของพวกเขาเป็นอย่างไร” สุนีย์กล่าวถึงสาเหตุที่เข้าร่วมโครงการ เธอบอกอีกว่าแม้จะไม่ได้รับสิ่งที่คาดหวังไว้เต็มที่แต่ก็ได้พบปะพูดคุยกับชาวกัมพูชา และรู้สึกว่าเข้ากับพวกเขาได้ดี

“รู้สึกว่าพวกเขาเป็นคนมีจิตใจดี ดูคล้ายคนชนบทแถวบ้านเรา” สุนีย์พูดถึงชาวกัมพูชา “ความเป็นอยู่ของเขาอาจจะไม่ดีเท่าบ้านเรา แต่เขาก็อยู่ได้ สภาพชนบทของเขาใกล้ ๆ กับบ้านเรา”

ก่อนกลับประเทศไทยมีชาวกัมพูชาคนหนึ่งซึ่งเป็นคนเฝ้าวัดมาส่งสุนีย์ถึงที่รถโดยสาร และเขียนข้อความลงบนพื้นทราย ชาวกัมพูชาผู้นี้บอกว่าตัวเขาเองวันหนึ่งก็อยากไปเที่ยวประเทศไทยบ้าง

เมื่อถามถึงแนวทางที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต สุนีย์บอกว่าแม้เรื่องการปรองดองกันของไทย-กัมพูชา จะดูเป็นเรื่องยาก แต่การเข้าร่วมโครงการนี้ทำให้ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับชาวกัมพูชา คิดว่าปัญหาความขัดแย้งควรแก้ไขด้วยการเปิดอกพูดคุยกัน

“อาจไม่ใช่ว่ามันจะสำเร็จได้เลย แต่แนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือการคุยกัน” สุนีย์กล่าว

 

กัมพูชา – ไทย

เกี่ยวกับเรื่องอนาคตของความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ในเวทีก็มีการเสนอแนะแนวทางกิจกรรมด้านความสัมพันธ์ เน้นสร้างความสัมพันธ์เชิงบอกกับทั้ง 2 ชาติ โดยมีคำขวัญอย่าง “การอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานขความหลากหลายที่ยั่งยืนไร้พรมแดน” และ “เข้าใจ ใส่ใจ เห็นใจ” , การจัดคอนเสิร์ทสันติภาพไทย-กัมพูชา โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปินกัน และการจัดเสวนาในประเด็นกลุ่มย่อยต่าง ๆ เช่น เรื่องสื่อ, เรื่องการค้ามนุษย์, แรงงานข้ามชาติ เป็นต้น

โดยในเวทีวันสุดท้ายก็มีมติว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะตั้งคณะกรรมการในระดับของภาคประชาชนจากหน่วยงานหลาย ๆ ด้าน ทั้งจาก เกษตรกร, แรงงาน, ศาสนา, สื่อ, ประชาชน

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะกรรมการในครั้งนี้ว่า คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาควรจะเน้นไปที่ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งชัดเจนมากกว่าปัญหากว้าง ๆ

“คณะกรรมการควรพูดเรื่องที่สัมผัสได้ในชีวิตประจำวันมากกว่านี้ เช่น ปัญหาจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนชายแดน หรือการทำการเกษตร” สุภลักษณ์กล่าว

ในเรื่องความขัดแย้ง สุภลักษณ์มองว่าส่วนใหญ่ที่มีปัญหาคือคนกรุงเทพฯ มากกว่าจะเป็นคนที่อยู่ชายแดน ซึ่งเป็นปัญหามาจากระบบการศึกษาประวัติศาสตร์ของไทย

 

โดยในกิจกรรมยังมีชาวไทยและชาวกัมพูชาร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ กล่าวถึงการที่ประชาชนชาวไทยและกัมพูชาได้ร่วมกระชับความสัมพันธ์กัน และเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาและไทยทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ เนื้อหาของแถลงการณ์มีดังนี้

“ประชาชนชาวกัมพูชา-ไทย ที่เข้าร่วมในโครงการฯ องค์กรพุทธศาสนาของกัมพูชา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และชุมชนหมู่บ้านภูมิซรอล มีความเห็นร่วมกัน ว่าจะร่วมกันสานสัมพันธ์ที่ดี ที่สร้างสรรค์ ใกล้ชิดระหว่างประชาชนไทย-กัมพูชา และเราต้องการให้รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ ทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยวิถีทางการทูต เพื่อคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกันระหว่างทั้ง 2 ประชาชาติ”

ยังมีอีกหลายมุมมองที่เรายังไม่ได้เรียนรู้จากกัมพูชา ประเทศที่เราเรียกว่าประเทศเพื่อนบ้าน และไม่รู้อีกว่านานเท่าไหร่ที่เราจะสามารถเรียนรู้เพื่อนบ้านของเราด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่เพียงจากแบบเรียนประวัติศาสตร์และชาตินิยมที่มืดบอด

 

ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม

[1][2][3] ดร.ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ ,คอลัมน์ "หน้าต่างความจริง" หนังสือพิมพ์มติชนรายวันฉบับประจำวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๑๐๔๗๓. คอลัมน์หน้าต่างความจริง, หน้า ๖.
[5] Cambodia Trade, Exports and Imports, Economy Watch, http://www.economywatch.com/world_economy/cambodia/export-import.html

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น