โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

สัมภาษณ์นิธิ เอียวศรีวงศ์: อย่าไว้ใจ และอย่าคาดหวังจนเกินไป

Posted: 18 Jul 2010 01:19 PM PDT

<!--break-->

นิธิ เอียวศรีวงศ์ (แฟ้มภาพ/ประชาไท)

 

กลางเดือนมิถุนายน ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ คอลัมน์นิสต์ประจำหนังสือพิมพ์มติชน เสนอบทความเรื่อง “ไพ่ใบสุดท้าย ในอ้อมกอดอำมหิต” อธิบายสภาพที่ “อ้อมกอดอำมหิต” ค้ำจุนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นอกจากนี้ในบทความนิธิยังเสนอว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์ “คือไพ่ใบสุดท้ายของเกมที่ยังใช้กติการัฐธรรมนูญ หมดไพ่ใบนี้ก็หมดหน้าตัก”

ล่าสุด นิธิ ได้รับการแต่งตั้งเป็น 1 ใน 19 คณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย (คปร.) ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุนเป็นประธาน และเมื่อวันที่ 15 ก.ค. “ประชาไท” สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ นิธิ เกี่ยวกับแนวคิดและกรอบการทำงานของ คปร. ในทัศนะของนิธิ โดยนิธิเปิดเผยว่าหลังการหารือเบื้องต้นของ คปร. เห็นพ้องกันว่าหน้าที่หลักของ คปร. จะไม่ใช่ผู้ไปผลักให้เกิดการปฏิรูปแต่จะเป็นหน้าที่ของสังคม

“คุณอาจจะคิดอย่างไรก็แล้วแต่ ดึงความคิดของใครต่อใครมาก็แล้วแต่ แต่ว่าเมื่อคุณได้แนวทางการปฏิรูปแล้ว คุณต้องผลักให้เป็นภาระของสังคม คุณต้องมีวิธีในการที่จะไปทำให้สังคมรู้สึกตื่นตัวว่าจะต้องผลักดันแนวทางการปฏิรูปต่างๆ นั่นเป็นหน้าที่ของสังคม ไม่ใช่หน้าที่เรา”

นอกจากนี้นิธิกล่าวถึงผู้ที่ตั้งความหวังกับคณะกรรมการปฏิรูปฯ ว่า “อย่าคาดหวังจนเกินไป” ขณะที่ผู้ที่ไม่ไว้วางใจคณะกรรมการปฏิรูปฯ นิธิกล่าวว่าเห็นใจ และยังกล่าวด้วยว่า “ตัวผมเองก็ไม่ไว้วางใจ”

อะไรคือ “อย่าคาดหวังจนเกินไป” และความ “ไม่ไว้วางใจ” ของนิธิ คำขยายความอยู่ในบทสัมภาษณ์ “นิธิ เอียวศรีวงศ์” ต่อไปนี้

 

000

ประชาไท - ความคิดเรื่องการปฏิรูปประเทศ เป็นสิ่งที่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศคิดกันมาก่อนอยู่แล้วหรือเป็นสิ่งที่คณะกรรมการฯ จะมาร่วมกันคิด

นิธิ - คนไทยคงไม่มีใครที่ไม่คิดเรื่องการเปลี่ยนแปลง คณะกรรมการฯ แต่ละท่านก็คงคิดเรื่องนี้มาก่อนแล้ว

คณะกรรมการฯ คงพยายามในการตะล่อมความคิดต่างๆ เหล่านี้ซึ่งอาจจะไม่ตรงกัน แต่ให้อยู่ในกรอบเดียวกัน แน่นอนคงจะมีบางเรื่องบางประเด็น ที่บางคนอาจจะไม่ได้คิดถึงเรื่องเหล่านี้เลยก็ได้ ถึงตอนนั้นถ้าเผื่อว่ากรรมการฯ เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ ก็คงมีกรอบ

ขอยกตัวอย่างซึ่งไม่จริง เช่นเป็นต้นว่า บางคนอาจไม่ได้คิดเรื่องการศึกษาเลย ถ้ามีกรอบการศึกษาคนที่ไม่ได้คิดเลยอาจไม่ได้พูดอะไรเลย เขาก็อาจนั่งฟังเฉยๆ ก็ได้

 

ก็แบ่งเป็นเรื่องๆ ใครมีอะไรก็คุยกันหรือครับ

ครับ แต่ว่าวิธีการทำงานในอนาคตเรายังตกลงกันไม่แน่ รู้แต่เพียงว่าประธานฯ (นายอานันท์ ปันยารชุน) เสนอว่าควรจะแบ่งเป็นกลุ่ม คือกลุ่มเพื่อภารกิจเฉพาะบางอย่าง ไม่ใช่กลุ่มเพื่อทำเรื่องปฏิรูป เพราะบางทีอาจต้องมีการหาข้อมูล บางทีอาจต้องออกไปคุยกับคนอื่นๆ เขา เป็นต้น

 

อาจารย์เคยพูดบ่อยว่า ประชาธิปไตยคือการต่อรองที่เท่าเทียม หรือเรื่องของการปฏิรูปก็ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมไม่ใช่คนมาทำแทน ก็คือรูปแบบในอนาคตของคณะกรรมการฯ เหมือนจะระดมความเห็นจากส่วนอื่นๆ?

ที่ทำอยู่เวลานี้มีคณะกรรมการปฏิรูปอยู่สองด้าน ด้านหนึ่งคือ สมัชชาปฏิรูปประเทศไทย ตามหลักการคือสมัชชาปฏิรูปฯ จะเอาความเห็นและการรับฟังความเห็นของคนให้มาก ก็เป็นข้อมูลหลักอันหนึ่งที่คณะกรรมการปฏิรูปฯ ชุดคุณอานันท์จะเอามาใช้ แต่ไม่ใช่อยู่เพียงแค่นั้น คณะกรรมการปฏิรูปฯ ก็อาจจะไปหาเอง อาจมีกรอบของตนเองที่ไม่ตรงกับชุดของอาจารย์ประเวศก็ได้

ในส่วนของสมัชชาที่เหมือนเป็นคณะทำงานที่คู่ขนานก็อาจมีการระดมความเห็น ในส่วนของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศจะระดมความเห็นเองด้วย แต่เราคงทำให้กว้างเท่าเขาไม่ได้ ก็คงระดมความเห็นเองในบางเรื่องที่เราเห็นว่ามีความสำคัญ นี่ผมเดาอีกเหมือนกันนะครับ เช่น เรื่องเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ ผมเชื่อว่าทุกคนคิดถึงเรื่องนี้เหมือนๆ กัน

ทีนี้รูปแบบของมันก็ตาม มีการกระจายไปถึงไหนตาม อะไรบ้างที่จะต้องมีการกระจายนั้น อันนี้อาจไม่จำเป็นต้องตรงกัน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าคนในระดับท้องถิ่น คิดถึงเรื่องนี้แยะ และอาจคิดดีกว่าคณะกรรมการเองด้วยซ้ำไป ก็อาจจะมีการไปรับฟังสิ่งเหล่านี้ แต่ไม่ใช่ไปรับฟังแบบชนิดที่ว่าจังหวัดเชียงใหม่เชิญทั้งหมด คงไม่ใช่อย่างนั้น แต่คงเจาะคน ขอให้เขาช่วยพูดความคิดเขาให้ฟังเป็นต้น หรือชุมชนบางชุมชนที่จะไปฟังเขา ก็อาจเป็นเพียงบางชุมชนเพื่อเป็นตัวอย่างให้ชุมชนอื่น ไม่ใช่ว่าเปิดแบบชนิดที่ว่ามาเลยทุกจังหวัด แบบนี้ไม่ใช่ ไม่มีเวลาทำแบบนั้นแน่ๆ

 

ตามความเข้าใจของผม กรอบการทำงานของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย คงไม่ใช่ สสร. แน่นอน แต่จะใกล้เคียงกับคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) หรือเหมือนสภาพัฒน์ฯ ไหม หรือจะไม่เหมือนกับอะไรเลย

สภาพัฒน์ฯ ไม่เหมือนแน่ๆ สภาพัฒน์มีกรอบของเขา 5 ปี 6 ปี ครั้งหนึ่ง จะเน้นเรื่องอะไรก็แล้วแต่ คงไม่ใช่

ผมคิดว่าคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ พยายามหลีกเลี่ยงที่จะทำอะไรเชิงเทคนิค เอาเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์อย่างโน้นอย่างนี้และออกมาเป็นเทคนิคอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งผมคิดว่าก็ไม่น่าจะมีคณะกรรมการฯ ชุดนี้ สภาพัฒน์ฯ ก็ทำอยู่แล้ว และมีหน่วยงานอื่นๆ ทำอีกตั้งหลายแห่ง

 

จะไม่ใช่ช่างเทคนิค

ไม่ใช่ลักษณะเป็นเชิงเทคนิคแบบนั้น

 

แต่คณะกรรมการฯ ก็มีวาระการทำงานประมาณ 3 ปี และเหมือนเฉพาะกิจด้วย

ครับ ทีนี้หัวใจสำคัญ ของคณะกรรมการฯ ซึ่งค่อนข้างเห็นพ้องกันหลังคุยกันมาแล้ว 2 ครั้งคือ หน้าที่หลักของคณะกรรมการฯ ไม่ใช่ผู้ไปผลักให้เกิดการปฏิรูป

คุณอาจจะคิดอย่างไรก็แล้วแต่ ดึงความคิดของใครต่อใครมาก็แล้วแต่ แต่ว่าเมื่อคุณได้แนวทางการปฏิรูปแล้ว คุณต้องผลักให้เป็นภาระของสังคม คุณต้องมีวิธีในการที่จะไปทำให้สังคมรู้สึกตื่นตัวว่าจะต้องผลักดันแนวทางการปฏิรูปต่างๆ นั่นเป็นหน้าที่ของสังคม ไม่ใช่หน้าที่เรา

คุณไม่มีกำลังอำนาจ หนึ่ง ไม่มีอำนาจเชิงบริหารที่จะทำอะไรทั้งสิ้น อันที่สองต่อมา ไม่ว่าคุณจะคิดอะไรก็แล้วแต่ คนที่จะทำจริงคือพวกนักการเมือง หรือพวกนักรัฐประหารอะไรผมก็ไม่รู้กับเขาหละ ซึ่งมันจะไม่ทำแน่ๆ จนกว่าจะมีพลังทางสังคมบีบบังคับ

 

พอจะขยายความคำว่าพลังทางสังคมบีบบังคับได้หรือไม่

เช่นเป็นต้นว่า ถ้าเผื่อว่าสังคมมีความต้องการอย่างนั้นจริง พรรคการเมืองย่อมใช้เป็นแนวทางการหาเสียงของตัวเองแน่นอน แต่ไม่ใช่พรรคประชาธิปัตย์นะ ทุกพรรคการเมืองย่อมใช้แนวทางในการหาเสียง ตัวคณะกรรมการฯ สมมติว่าถ้าเกิดรัฐประหารขึ้นหลังจาก 3 ปีไปแล้ว คณะรัฐประหารก็ต้องเอาใจสังคม อย่างน้อยที่สุดต้องอ้างว่าตัวจะมาทำโน่นทำนี่อะไรก็แล้วแต่ ก็อาจโดนสังคมโห่อีก

สรุปก็คือว่า พลังจากสังคมเป็นตัวขับเคลื่อนจริง อย่าไปหวังกับราชการ นักการเมือง หรือนักรัฐประหาร อย่าไปหวังกับคนเหล่านี้

 

ในเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์มองอย่างไรบ้างครับ ซึ่งมีกระแสทั้งสองฝ่ายสองขั้ว

ขั้วที่ชื่นชมยินดี ก็ไม่มีอะไรนอกจากจะบอกแต่เพียงว่า อย่าไม่หวังอะไรมาก อย่าไปคาดหวังจนเกินไป คน 19-20 คนก็ทำเต็มที่แค่ระดับหนึ่ง เอาคิดง่ายๆ แต่เพียงว่า ถ้าเป็นอย่างที่ผมคิดว่าความพยายามผลักดันกับสังคมนั้นพูดด้วยปากง่าย ทำจริงง่ายหรือ ไม่ใช่ง่ายนะ อย่างนี้เป็นต้น ถูกไหมครับ ผลักดันกับสังคมเขาอาจไม่รับก็ได้ ถูกนักการเมืองเอาไปฉ้อฉลก็ได้

เพราะฉะนั้นข้อที่หนึ่ง สำหรับทางฝ่ายที่เห็นบวก ก็ฟังหูไว้หู อย่าไปหวังอะไรมากนัก อย่าคาดหวังจนเกินไป คาดหวังก็มีกันทุกคน แต่อย่าคาดหวังจนเกินไป มันไม่มีคณะกรรมการเทวดาหรอกในโลกนี้

ทีนี้ในทางฝ่ายลบ ต้องเข้าใจก่อนว่า ลบนี้มีตั้งแต่เรื่องความไม่ไว้วางใจรัฐบาล ไม่ไว้วางใจว่ารัฐบาลจะใช้คณะกรรมการทุกชุดเหล่านี้เพื่อจะกลบเกลื่อนสิ่งที่ตัวเองทำเป็นเฉยเมย คือการสลายการชุมนุมอย่างนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทย เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะเฉยเมยไม่ได้ เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบกับมัน แม้แต่มีผู้ก่อการร้ายจริง ก็คุณต้องรับผิดชอบอยู่ดี เพราะคุณเสือกสั่งวิธีการที่ทำให้ผู้ก่อการร้ายใช้เงื่อนไขนี้เป็นประโยชน์ในการทำร้ายบ้านเมืองได้อย่างไร แต่รัฐบาลเฉยเลย

เพราะฉะนั้นในการที่คนจำนวนมากไม่ไว้วางใจ ไม่ไว้วางใจตั้งแต่บุคคล ไม่ไว้วางใจตัวรัฐบาล ไม่ไว้วางใจว่าพวกนี้ลืมคนตายไปแล้ว อะไรก็แล้วแต่เถิด ทั้งหมดนี้คือความไม่น่าไว้วางใจ ซึ่งผมเห็นว่า น่าเห็นใจเขานะ เป็นผม ผมก็เห็นใจเขา และตัวผมเองก็ไม่ไว้วางใจ ว่าการทำงานของเราโดยบริสุทธิ์ใจจะถูกฉ้อฉลหรือเปล่า

มีกรรมการบางคนคุยกับผม เขาก็ระวังเรื่องนี้อย่างยิ่งที่จะไม่ให้ถูกนักการเมืองเอาไปฉ้อฉล แต่เราก็ไม่ได้เก่งมาจากไหน นึกว่าเก่งๆ ปรากฏว่าอาจจะโดนหลอกก็ได้ เราระวังอย่างไรก็แล้วแต่ ก็ต้องระวังทุกฝีก้าว เพราะว่าคุณมาจัดทำทั้งหมด ไม่ว่าการแก้รัฐธรรมนูญ สอบสวนข้อเท็จจริง โดยที่คุณเฉยทำเป็นเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นได้อย่างไร คนตายไปตั้งเกือบร้อยคนหรือกว่าร้อยคนเราก็ไม่รู้

 

คือคาดหวังก็ไม่ได้ ไว้ใจก็ไม่ได้

ใช่สิ อย่าไปคาดหวังเกินไป ไม่ใช่คาดหวังไม่ได้ คาดหวังเกินไปไม่ได้ ในขณะเดียวกัน ความไม่ไว้วางใจเหล่านี้ ผมก็เห็นใจที่เกิดความไม่ไว้วางใจขึ้น ไม่ใช่ไม่ได้ ต้องไม่ไว้วางใจนั่นแหละ

ที่เขาไม่ไว้วางใจ ผมเข้าใจได้ แต่จะไว้วางใจได้มากขึ้นหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับตัวคณะกรรมการฯ ว่าจะทำงานอย่างไรให้เกิดความไว้วางใจแก่ประชาชนขึ้น คือประชาชนไว้วางใจคณะกรรมการฯ ไม่ใช่ไว้วางใจรัฐบาลนะ ผมคิดว่ากรรมการฯ ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความน่าไว้วางใจของรัฐบาล

เพราะว่าถ้าเผื่อ (คณะกรรมการปฏิรูปฯ) ปราศการไว้วางใจจากประชาชน ผมเชื่อว่าทำงานไปก็ไม่ได้ผลอะไรหรอก เพราะฉะนั้นในระยะหนึ่งคุณต้องค่อยๆ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจต่อคณะกรรมการฯ เองจากประชาชนกลับคืนมาให้ได้ ไม่ใช่ทำไป 3 ปี ท่ามกลางความไม่ไว้วางใจ

 

คาดหวังว่าจะมีบทสนทนาระหว่างคนที่มีความไม่ไว้วางใจกับรัฐ หรือไม่ไว้วางใจกับกรรมการฯ ไหมครับ เพราะดูเหมือนว่าถ้าจะปฏิรูปประเทศแบบที่มีส่วนร่วมกันจริงๆ บทสนทนาหรือการแสดงความคิดเห็นกันรู้สึกจะเป็นเรื่องสำคัญ

แสดงความคิดเห็นไม่เป็นปัญหาทั้งสิ้น เป็นแต่เพียงว่า กรรมการฯ ได้ตัดสินใจที่จะ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องของความปรองดองเฉพาะหน้า อันนี้ไม่เกี่ยว ทีนี้ถ้าความไม่ไว้วางใจนี้ สนทนากับกรรมการฯ เรื่องความไม่น่าไว้วางใจของตัวกรรมการฯ เอง ในเรื่องที่ว่ารัฐบาลไม่ได้ขยับทำอะไร ไม่แสดงความรับผิดชอบอะไรต่อชีวิตของคนจำนวนมากที่ต้องสูญเสียไปกับการสลายการชุมนุมครั้งนี้ ถามว่า คุยกับกรรมการได้ไหม อันนี้ผมไม่ตอบแทนกรรมการนะ ตอบแทนใจตัวเอง ผมว่าได้ แต่ไม่มีประโยชน์ เพราะตัวผมเองก็เห็นด้วยกับเขานั่นแหละว่า ใช่ รัฐบาลนี้ไม่น่าไว้วางใจ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อย่าให้เรื่องความปลอดภัย เป็นเพียงวาระแห่งชาติเฉพาะแรงงานไทยเท่านั้น!

Posted: 18 Jul 2010 12:36 PM PDT

<!--break-->

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวถึงประเด็นความปลอดภัยเมื่อครั้งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครั้งที่ 24 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2553 อย่างน่าสนใจตอนหนึ่งว่า “...ปัญหาการประสบอันตรายจากการทำงาน มีผลกระทบต่อสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ถูกนำมาเป็นประเด็นในเวทีระดับโลกหลายๆ เวที รวมทั้งถูกนำมาเชื่อมโยงกับภาพลักษณ์ของความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่ทั้งผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้รับบริการต่างแสวงหาและนำมาเป็นเงื่อนไขในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน เรื่องของความปลอดภัยและอาชีวอนามัย จึงไม่ใช่เรื่องของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจในเวทีโลกขณะนี้...”

จากท่าทีดังกล่าวจึงนำมาสู่การสานต่อเรื่องความปลอดภัยในฐานะเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ “Zero Accident” หรือ “อุบัติเหตุเป็นศูนย์” โดยเฉพาะในอุบัติเหตุหนักที่ถึงขั้นต้องสูญเสียชีวิตหรืออวัยวะ เพื่อเป็นตัวชี้วัดทั้งปริมาณและคุณภาพที่บ่งบอกถึงความสำเร็จในการยกระดับคุณภาพชีวิตและการดูแลศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

แน่นอนประเด็นดังกล่าวนี้คงไม่ได้หมายความเฉพาะแรงงานไทยเท่านั้น แต่หมายรวมถึงแรงงานข้ามชาติที่กำลังทำงานทั้งถูกกฎหมายและลักลอบทำงานอยู่ในประเทศไทยขณะนี้ด้วยเช่นกัน เพราะพวกเขาและเธอต่างอยู่ในสายพานการผลิตระบบอุตสาหกรรมเดียวกัน รมต.แรงงานคงเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้ดี

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ขาดหายไปจากการมองเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของกระทรวงแรงงานในฐานะของการเป็นวาระแห่งชาติเสมอมา ก็คือ การมองไม่เห็น “คนบางกลุ่ม” ในฐานะที่เป็น “ผู้ใช้แรงงาน” ก่อนการเข้าทำงานในสถานประกอบการ โรงงาน ในบ้านเรือน หรือเรือกสวนไร่นา กระทรวงแรงงานจะเห็น “การเป็นแรงงานของคนๆหนึ่ง” เมื่อบุคคลผู้นั้นได้อ้างอิงหรือสัมพันธ์ตนเองกับพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้มิพักต้องกล่าวถึง เพราะเขาหรือเธอได้จบชีวิตก่อนที่จะได้มีโอกาสทำงานหรือได้มีโอกาสอ้างอิงว่าเป็นผู้ใช้แรงงานเหมือนกับแรงงานกลุ่มอื่นๆในสังคมไทย

จากการเก็บสถิติ “แรงงานข้ามชาติไม่ถูกกฎหมายจาก 3 ประเทศเพื่อนบ้าน คือ พม่า ลาว กัมพูชา” ที่ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองมาหางานทำในประเทศไทย ในรอบ 6 เดือนครึ่งที่ผ่านมา (มค. – กค. 53) พบว่า มีแรงงานกลุ่มนี้ประสบอุบัติเหตุระหว่างเดินทางจากเมืองชายแดนเพื่อเข้าไปทำงานในหัวเมืองชั้นใน หรือจากเมืองอุตสาหกรรมหนึ่งไปยังเมืองอุตสาหกรรมอีกแห่งหนึ่ง ถึง 9 ครั้ง มีผู้ได้รับผลกระทบ 141 คน โดยถึงขั้นเสียชีวิต 29 คน และบาดเจ็บ 112 คน

- 12 กรกฎาคม 53 แรงงานกัมพูชาตาย 1 คน บาดเจ็บ 13 คน ที่จังหวัดสงขลา เนื่องจากรถบรรทุกแรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชาที่จะเดินทางไปทำงานที่จังหวัดปัตตานี เสียหลักชนต้นไม้บริเวณเกาะกลางถนน สาเหตุน่าจะมาจากคนขับหลับใน (เดลินิวส์ 14 กค. 53)
- 7 กรกฎาคม 53 แรงงานพม่าบาดเจ็บ 38 คน ที่จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากคนขับที่กำลังนำพาแรงงานชาวมอญจากด่านเจดีย์สามองค์เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ อยู่ในสภาพที่มึนเมา ประกอบกับขณะนั้นเกิดฝนตกถนนลื่น ที่เกิดเหตุเป็นทางโค้ง จนทำให้รถเสียหลักพลิกคว่ำจนเกิดอุบัติเหตุในที่สุด (สำนักข่าวเนชั่น 7 กค. 53)
- 28 มิถุนายน 53 แรงงานพม่าบาดเจ็บ 13 คน ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากถูกคนร้ายลอบยิงโดยไม่ทราบสาเหตุ ระหว่างที่นายหน้าชาวไทยกำลังพาแรงงานกลุ่มนี้ลักลอบเดินทางจากจังหวัดสมุทรสาครลงไปทำงานที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและสงขลา แต่เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุมีรถยนต์ไม่ทราบยี่ห้อวิ่งมาประกบด้านท้ายแล้วใช้อาวุธปืนยิงใส่ จนแรงงานได้รับบาดเจ็บ (คมชัดลึก 30 มิย. 53)
- 22 มิถุนายน 53 แรงงานลาวตาย 11 คน บาดเจ็บ 8 คน ที่จังหวัดสระบุรี เนื่องจากคนขับหลับในจนชนต้นไม้ข้างทาง ระหว่างนำพาแรงงานข้ามชาติชาวลาวจากจังหวัดอุบลราชธานีไปส่งทำงานที่สถานประกอบการแห่งหนึ่งย่านพระราม 2 กรุงเทพฯ (MCOT 22 มิย.53)
- 11 มิถุนายน 53 แรงงานพม่าบาดเจ็บ 9 คน ที่จังหวัดตาก เนื่องจากรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ ที่รับขนส่งแร่สังกะสีจากอำเภอแม่สอดมาส่งที่จังหวัดตากและเดินทางต่อเข้ากรุงเทพฯ เกิดพลิกคว่ำจนเกิดไฟลุกไหม้ ทำให้แรงงานข้ามชาติจากพม่าที่ซ่อนอยู่ที่ท้ายกระบะพ่วงปิดคลุมด้วยผ้าใบเพื่อหลบเลี่ยงจากการถูกจับกุม จนได้รับบาดเจ็บทุกคน (พิมพ์ไทย 14 มิย.53)
- 23 พฤษภาคม 53 แรงงานพม่าตาย 9 คน บาดเจ็บ 19 คน ที่จังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากคนขับรถที่กำลังพาแรงงานพม่าจากจังหวัดระนองเดินทางเข้าไปทำงานที่กรุงเทพฯ เมื่อถึงที่เกิดเหตุที่เป็นถนนวงแหวน รถได้เสียหลักพุ่งลงชนต้นไม้ในร่องริมถนนข้างทาง เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก (ข่าวสด 25 พค. 53)
- 1 พฤษภาคม 53 แรงงานพม่าตาย 4 คน บาดเจ็บ 2 คน ที่จังหวัดกำแพงเพชร  เนื่องจากคนขับรถที่กำลังพาแรงงานพม่าจากจังหวัดตากที่กำลังจะเข้าไปทำงานที่กรุงเทพฯ ได้ขับรถด้วยความเร็วสูงจนเสียหลักตกลงไปในร่องกลางถนนแล้วพลิกคว่ำ ทำให้แรงงานที่นั่งมาในตอนท้ายของกระบะกระเด็นตกลงมาอยู่กลางถนนได้รับบาดเจ็บและบางคนต้องเสียชีวิต (ไทยรัฐ 2 พค.53)
- 30 มีนาคม 53 แรงงานกัมพูชาตาย 1 คน บาดเจ็บ 10 คน ที่จังหวัดสงขลา เนื่องจากคนขับรถที่กำลังพาแรงงานชาวกัมพูชาจากจังหวัดสระแก้วลักลอบไปทำงานที่จังหวัดสงขลา ขับรถด้วยความเร็วสูงหลบหนีตำรวจทางหลวงพัทลุงที่ขับรถไล่ติดตาม จนเสียหลักพลิกคว่ำเนื่องจากเป็นทางโค้งและฝนตกหนัก (มติชน 1 เมย. 53)
- 25 กุมภาพันธ์ 53 แรงงานพม่าตาย 3 คน  ที่จังหวัดระนอง เนื่องจากทหารหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 25 (ฉก.ร.25) ได้ขอตรวจรถกระบะที่กำลังพาแรงงานที่พึ่งเดินทางมาจากเกาะสองมาขึ้นรถกระบะที่จอดรออยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำกระบุรี เพื่อไปส่งที่ตัวเมืองระนอง แต่เมื่อด่านทหารของตรวจ คนขับกลับขับรถหนี ทหารจึงยิงรถเพื่อสกัด ปรากฏว่าในกระบะมีแรงงานจากพม่า 13 คน ในจำนวนนี้ถูกกระสุนเสียชีวิตคาที่ 3 ศพ บาดเจ็บ 5 คน

ตัวเลขเหล่านี้มีนัยยะสำคัญกับประเทศไทยและเวทีโลกอย่างไรบ้าง ? นี้อาจเป็นคำถามที่รมต.คนใหม่คงจะต้องใคร่ครวญอย่างจริงจัง

ทั้งนี้คงไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวย้ำถึงรูปแบบการอพยพย้ายถิ่นที่มีลักษณะพิเศษหรือลักษณะเฉพาะในแถบพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า ไทย-ลาว ไทย-กัมพูชาที่มีความสัมพันธ์กับการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ มีปัจจัยมากกว่าเพียงเรื่องเศรษฐกิจ สภาวะแวดล้อมในประเทศต้นทาง เช่น ในพม่า ผู้หญิงอายุระหว่าง 16 – 25 ปี ตามกฎของ SPDC ต้องเดินทางกับผู้ปกครองตามกฎหมายเท่านั้น หรือผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 30 ปี มีความยุ่งยากในการขอหนังสือเดินทางเพื่อไปทำงานต่างประเทศ เป็นต้น ความเกี่ยวพันกับระบบนายหน้าหรือกระทั่งขบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้มีผู้กล่าวถึงและอธิบายอย่างละเอียดในหลายบทความหรืองานวิจัยไปแล้ว

พบว่า

ประการแรก : แรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน 3 ประเทศ เป็นตัวแปรสำคัญในการเพิ่มหรือลด GDP ประเทศไทย ดังเช่นการศึกษาของ TDRI ได้ระบุชัดว่า ในปี 2550 ไทยมีแรงงานรวมประมาณ 36 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้มีแรงงานข้ามชาติรวมอยู่ราว 1.8 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 5 แรงงานเหล่านี้มีส่วนช่วยให้ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (GDP) ของประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 หรือคิดเป็นมูลค่าราว 839 ล้านดอลลาร์ จากจีดีพี ณ ราคาปัจจุบันทั้งหมด 168 พันล้านดอลลาร์ การที่ประเทศไทยต้องสูญเสียความสามารถในการทำงานของแรงงานข้ามชาติไปถึง 141 คน จึงส่งผลไม่มากก็น้อยต่อระบบเศรษฐกิจไทยที่ยังต้องพึ่งพา/ไม่สามารถปฏิเสธการจ้างงานแรงงานกลุ่มนี้อยู่

ประการที่สอง : เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าประเด็นหลักของ CSR นั้น มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับ “มาตรฐานแรงงาน” และเรื่อง “งานที่มีคุณค่า” (decent work) ซึ่งเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในเชิงสภาพการจ้างงานรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการจ้างงานที่มีความมั่นคง การรับรู้ข้อมูลก่อนเริ่มทำงานเพื่อป้องกันความเสี่ยง เงื่อนไขในการทำงาน เรื่องของค่าตอบแทน สวัสดิการ รวมไปถึงในเรื่องของความปลอดภัยในการทำงาน และยิ่งในกลุ่มแรงงานอพยพข้ามชาติ พวกเขาหรือเธอยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษ เพราะต้องทำงานในประเภทอาชีพเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นก่อสร้าง ประมง ประมงทะเลต่อเนื่อง ผู้รับงานไปทำที่บ้าน หรือลูกจ้างทำงานรับใช้ในบ้าน แต่สิ่งเหล่านี้กระทรวงแรงงานก็ขาดความตระหนักอย่างจริงจัง จนนำมาซึ่งการสูญเสียชีวิตของแรงงานอพยพจำนวนมาก ปล่อยให้กลายเป็นเรื่องของความเอื้อเฟื้อของนายจ้างหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารเพียงเท่านั้น เพราะแรงงานกลุ่มนี้ คือ พวกลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ไม่มีเอกสารรับรอง จึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องได้รับการดูแลเหมือนผู้ใช้แรงงานไทยกลุ่มอื่นๆ

ประการที่สาม : แม้ว่าคนกลุ่มนี้จะถือว่าเป็น “คนผิดกฎหมาย” แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าประเทศไทยหรือกระทรวงแรงงานเอง ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรงในฐานะที่พวกเขาและเธอจะกลายเป็น “แรงงานในอนาคต” ก็ยังไม่มีการสร้างฉันทานุมัติทางนโยบาย ปล่อยให้แรงงานต้องเผชิญชะตากรรมตามลำพัง ทั้งๆที่ตอนนี้ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยมีแรงงานที่ลักลอบผิดกฎหมายทำงานอยู่จำนวนมาก การขาดการสร้างนโยบายที่คุ้มครองแรงงานตั้งแต่เริ่มข้ามพรมแดนยิ่งสร้างให้เกิดกระบวนการฉวยโอกาสจากแรงงานราคาถูก โดยไม่คำนึงว่าพวกเขาและเธอก็คือพลเมืองโลกคนหนึ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกัน ประเทศไทยอยู่ในสภาพที่จำเป็นต้องอาศัยแรงงานผิดกฎหมาย แต่ก็กลับไม่ยอมรับในหลักการคุ้มครองแรงงานตั้งแต่ก่อนเริ่มทำงาน ระหว่างทำงาน หรือหลังทำงาน จากการคุ้มครองจึงแปรเปลี่ยนเป็นไล่ล่าจับกุมปราบปรามโดยกระทรวงกลาโหมหรือมหาดไทยแทน กระทรวงแรงงานกลับเพิกเฉยและตั้งรับ นิ่งดูดาย หรือกระทั่งผลักภาระไปให้หน่วยงานอื่นๆแทน ขาดการตระหนักร่วมว่าเป็นความรับผิดชอบของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ประการที่สี่ : ในช่วงนี้มีการกล่าวถึงกระแสการปฏิรูปประเทศไทยหรืออนาคตของประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะโน้มเอียงไปทางเศรษฐกิจ ตัวเลข GDP อย่างไรก็ตามประเทศไทยจะน่าอยู่ได้คงไม่ได้มีเพียงตัวเลขทางเศรษฐกิจเท่านั้น การพูดถึงแผ่นดินไทยที่ร่มเย็น ปกป้องชีวิตทั้ง “คนไทย” และ “คนที่ไม่ใช่ไทย” การสร้างสังคมที่ดูแลสิทธิมนุษยชนและชีวิตคนทุกคน แม้ว่าเขาหรือเธอจะเดินทางมาจากแผ่นดินอื่น จึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถแยกขาดกันได้จากระบบเศรษฐกิจที่รุดหน้า

ประการสุดท้าย : ความตายและการบาดเจ็บจากการย้ายถิ่นของแรงงานอพยพข้ามชาติกลุ่มนี้ถือเป็นโอกาสที่จะทำให้สังคมไทยได้เรียนรู้ถึงการจัดการกับวิกฤติเรื่อง ความไม่ปลอดภัยจากการเดินทางเพื่อเข้ามาหางานทำในประเทศไทย จากเดิมอาจมองเป็นเพียงเรื่องอุบัติเหตุชั่วครั้งชั่วคราว (เหมือนกรณี 54 ศพ ที่เป็นบทเรียนสาหัสสำหรับสังคมไทยในช่วงเวลาหนึ่งมาแล้ว) ก็ยกระดับจากการแยกส่วนแยกหน่วยงาน มาเป็นการทำงานเชิงรุกเพื่อรับมือทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบาย เพื่อสร้าง/แสวงหาความสมดุลในการจ้างงานทางเศรษฐกิจกับความมั่นคงของมนุษย์ไปพร้อมกัน

เมื่อแรงงานข้ามชาติยังมีความสำคัญกับสังคมไทย ถึงเวลาหรือยังที่เราจำต้องตั้งคำถามอย่างจริงจังเสียทีว่า ความมุ่งหวังที่จะสร้างสังคมน่าอยู่ที่เป็นธรรมสำหรับคนทุกคนมีหน้าตาอย่างไร และแรงงานอพยพข้ามชาติจะมีส่วนร่วมในการสรรค์สร้างสังคมไทยอย่างไร นี้อาจเป็นโจทย์ที่ท้าทายกระทรวงแรงงานกว่าการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการย้ายถิ่นก็เป็นได้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘โต๊ะแนแบ’ ของเรา ชีวิตคนข้างหลัง ‘ศักดิ์เสนา เจะปอ’

Posted: 18 Jul 2010 11:59 AM PDT

สัมภาษณ์อีกหนึ่งเหยื่อของความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นางเจ๊ะฮาบีบะห์ เจะปอ กับลูกอีก 2 คน จะอยู่อย่างไร เมื่อไร้หัวหน้าครอบครัวจากเหตุการณ์ไม่สงบ ‘ศักดิ์เสนา เจะปอ’ ผู้ใหญ่บ้านของมวลชน กลไกรัฐในชายแดนใต้

<!--break-->

 

นางเจ๊ะฮาบีบะห์ เจะปอ กับลูกชายคนเล็ก

จากอดีตลูกจ้างกรีดยางพารา มีรายได้รวมกันทั้งสองสามีภรรยา แค่วันละ 200 บาท แต่ด้วยความมีน้ำใจชอบช่วยเหลือผู้อื่น จึงทำให้ “ศักดิ์เสนา เจะปอ” ได้รับแรงสนับสนุนจากคนในหมู่บ้าน โดยเฉพาะผู้สูงอายุและกลุ่มคนรุ่นใหม่ ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 บ้านกล้วย ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และได้รับเลือกมาด้วยคะแนนท่วมท้น

ด้วยความเสียสละ ทุ่มเททำงานเพื่อหมู่บ้าน ทำให้นายศักดิ์เสนา เจะปอ ผู้ใหญ่บ้าน หรือ ที่คนมลายูมุสลิมในชายแดนใต้เรียกว่า “โต๊ะแนแบ” หนุ่มวัย 38 ปี มีผลงานโดดเด่น มาตลอดในสายตาชาวบ้าน นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งนี้มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2552

โดยเฉพาะการดึงโครงการต่างๆ ของรัฐบาลเข้ามาดำเนินการในหมู่บ้าน เช่น โครงการไทยเข้มแข็ง จนทำให้หมู่บ้านมีชื่อเสียงสามารถส่งประกวดการในระดับตำบลได้ อีกทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนตัวของศักดิ์เสนาเอง ก็ได้รับรางวัลเป็นผู้ประสานงานดีเด่นด้วย

แต่ไม่ทันทีศักดิ์เสนาจะดำรงตำแหน่งได้ครบปี เช้าวันที่ 27 มิถุนายน 2553 เหตุร้ายก็เกิดขึ้นกับตัวเขา เมื่อคมกระสุนที่เชื่อว่ามาจากปากกระบอกปืนของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ได้ปลิดชีวิตของเขาลง ณ พื้นที่สวนยางพาราของนายจ้างที่บ้านเชิงเขา ห่างออกไปเพียงไม่กี่กิโลเมตรจากบ้านพัก

“วันเกิดเหตุ ดิฉันกับสามีออกไปกรีดยางตามปกติตั้งแต่ช่วงหัวรุ่ง เสร็จแล้วก็กลับมาอาบน้ำ กินข้าวแล้วก็นอนพัก จนเกือบๆ เที่ยง สามีก็ออกไปเก็บน้ำยางไปขาย แต่วันนั้นไปนานผิดปกติ แต่ก็ไม่ได้เอะใจอะไร จนกระทั่งมีชาวบ้านมาบอกว่า ผู้ใหญ่ถูกยิงเสียชีวิตที่สวนยางพารา” นางเจ๊ะฮาบีบะห์ ภรรยาของศักดิ์เสนา เล่าถึงเหตุการณ์ในวันนั้นทั้งน้ำตา

หลังจากทราบข่าว เธอรีบเดินทางไปที่เกิดเหตุทันที เมื่อพบร่างของสามีนอนเสียชีวิตจมกองเลือด ตามตัวมีรอยแผลถูกยิงหลายแห่ง เธอทรุดลงกับพื้น พร้อมส่งเสียงร้องไห้ออกมาทันทีด้วยความเสียใจ

ความรู้สึกนั้น คงไม่ต่างจากเหยื่อหรือผู้ได้รับผลกระทบอีกจำนวนมากมากมายในชายแดนใต้แห่งนี้

ร่างของสามีถูกนำไปประกอบพิธีทางศาสนาที่บ้านบางปลาหมอ พร้อมกับๆ การย้ายกลับไปอยู่บ้านเกิดของภรรยา พร้อมกับการหอบลูกน้อยอีก 2 คนไปด้วย ในขณะที่มีเงินติดตัวแค่พันกว่าบาท

แม้ว่าเธอจะได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นจากราชการสำหรับค่าจัดการศพ โดยปลัดอำเภอเมืองปัตตานี นำมามอบให้ 10,000 บาท บวกกับเงินที่เธอต้องหยิบยืมมาจากแม่อีก 10,000 บาท แต่ก็เชื่อว่าจะได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาตามหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของราชการอีกอย่างน้อย 500,000 บาท

ทั้งนี้ หากได้รับการรับรอง 3 ฝ่าย คือ ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครองในพื้นที่ ซึ่งก็คงไม่มีปัญหามากนักในการพิจารณาเพื่อรับรองในกรณีนี้ เนื่องจากหลังเกิดเหตุไม่กี่วันเจ้าหน้าที่สามารถจับกุมผู้ก่อเหตุได้ 2 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีหมายจับในคดีความมั่นคงหลายคดี

นางเจ๊ะฮาบีบะห์ เจะปอ ในวัย 33 ปี เล่าถึงสามีว่า ไม่เพียงแต่ทางราชการที่ชมเชยการทำงานของสามี ลูกบ้านต่างพึงพอใจและรักใคร่เขา เพราะรับภาระมากกว่าหน้าที่เสียอีก จนบางครั้งถึงกับต้องใช้เงินส่วนตัวเข้าไปแก้ปัญหาของลูกบ้าน ในขณะที่ตัวเองก็ทำงานรับจ้างกรีดยางหารายได้เท่านั้น

ส่วนลูกชายของเธอทั้ง 2 คนนั้น มีแต่คนโตกำลังเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนคนเล็กอายุ 4 ขวบ

นางเจ๊ะฮาบีบะห์ บอกว่า ลูกคนโตรู้เรื่องดีแล้วก็ร้องไห้ตลอดที่พ่อเสีย ส่วนคนเล็กบอกแค่ว่า พ่อนอนหลับอยู่ แต่ก็ถามหาพ่ออยู่หลายครั้ง เธออยากให้ลูกโตกว่านี้แล้วค่อยๆ เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้ฟัง

แม้เหตุการณ์ผ่านมาแล้วหลายวัน ซึ่งดูเหมือนว่าเธอจะเข้มแข็งขึ้นมากแล้ว แต่เธอก็มักจะร้องไห้ทุกครั้งที่พูดถึงสามี จนญาติๆ ตลอดจนเพื่อนบ้านต้องคอยปลอดโยนอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เธอมีความเข็มแข็งขึ้น ให้สามารถมาสลัดความโศกเศร้าเสียใจให้ได้ แล้วดำเนินชีวิตต่อไปข้างหน้าให้ได้อย่างมีความหวัง

แต่ปัญหาไม่ได้จบอยู่แค่นั้น เนื่องจากเธอยังมีภาระที่ต้องรับผิดชอบตามมาด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเธอยังมีหนี้สินที่สร้างขึ้นมาร่วมกับสามี นั่นคือเงินกู้ทั้งในและนอกระบบ เพื่อนำมาสร้างบ้านและซื้อที่ดินทำสวนยางพาราเป็นเงินหลายแสนบาท

แต่เธอจะทำอย่างไร ในเมื่อตอนนี้เธอเองก็ไม่กล้ากลับไปที่บ้านสามีและทำงานที่นั่นได้อีกแล้ว แม้ว่าจะมีลูกบ้านของสามี มาร้องขอให้กลับไปเป็นผู้ใหญ่บ้านแทนสามี

ตอนนี้เธอยังผวา และยังทำใจไม่ได้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับสามีของตัวเอง

ที่สำคัญ เธอบอกว่า ยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงที่สามีถูกยิง หากเป็นเรื่องส่วนตัวก็ตาม สถานการณ์ก็ยังไม่น่าไว้วางใจ

“บางครั้งก็อยากกลับไปสานต่อโครงการต่างๆ ที่สามีได้ก่อร่างสร้างแบบไว้ เพราะเป็นโครงการที่ชาวบ้านได้รวมตัวกันคิดและปรึกษาหารือกัน”

ส่วนภาระอื่นๆ ที่เธอยังหนักใจอยู่ด้วย ก็คือ เรื่องค่าเล่าเรียนของลูก รวมทั้งตัวเองก็ยังไม่มีรายได้ที่จะนำมาเลี้ยงตัวเองและลูกอีก 2 คน ซึ่งหากจะมีผู้ช่วยเหลือ สิ่งที่เธออยากได้ก่อนก็คือมีเงินส่งลูกไปโรงเรียนก่อน

“ตอนนี้ยังหาทางออกไม่ได้เลยค่ะ”
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

2 ผู้เฒ่าทะเลสาบสงขลาฉายภาพผลกระทบท่าเรือน้ำลึกที่บ้านสวนกง

Posted: 18 Jul 2010 11:50 AM PDT

2 ผู้เฒ่าทะเลสาบสงขลา ฉายภาพผลกระทบท่าเรือน้ำลึกสงขลา ในเวทีสาธารณะที่บ้านสวนกง ที่ตั้งโครงการท่อเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ชี้ชาวบ้านได้งานทำแน่ แต่ไม่ทุกคน ส่วนอาชีพประมงรอวันสูญพันธ์
<!--break-->

ความเคลื่อนไหวในเรื่องการโครงการพัฒนาที่มาเป็นแพ็กอย่างแลนด์บริดจ์สงขลา – สตูล เป็นไปอย่างสำคัญในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งจากฝ่ายรัฐในฐานะเจ้าของโครงการกับชาวบ้านฝ่ายต่อต้าน ทั้งในฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งจะเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกสงขลา และทางฝั่งอ่าวไทย ที่จะเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2

โดยฝ่ายรัฐเริ่มรุกคืบไปถึงความพยายามในการยกเลิกเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราและอุทยานแห่งชาติตะรุเตาบางส่วน เพื่อเปิดทางให้กับการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา เริ่มมีการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อการเวนคืน ในส่วนของสำนักนโยบายและการขนส่งและจราจร หรือ สนข.ดำเนินการศึกษาแนวทางวางรางรถไฟเชื่อม 2 ท่าเรือดังกล่าวอย่างเข้มข้น

ขณะที่ข้อมูลโครงการต่างๆ ที่ประกอบเข้ากันจนกลายเป็นแลนด์บริดจ์ หรือ สะพานเศรษฐกิจทั้งระบบ ได้ถูกตีแผ่ออกมาให้เห็นกันแล้ว ทั้งแนวท่อน้ำมัน ที่ตั้งคลังน้ำมัน และพื้นที่รองรับเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม 150,000 ไร่

ส่วนความเคลื่อนไหวของชาวบ้านในฝ่ายคัดค้านโครงการ ก็เป็นไปอย่างเข้มขึ้นเช่นกัน เช่น มีการจัดเวทีให้ความรู้ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น การร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อแสดงถึงการคัดค้าน เป็นต้น

หนึ่งในการเคลื่อนไหวดังกล่าว คือ การจัดเวทีสาธารณะสิทธิชุมชนกับการมีส่วนร่วมพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลสงขลา ที่จัดโดยกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร และกลุ่มมหาลัยชาวบ้านลานหอยเสียบ ที่บ้านสวนกง หมู่ที่ 11 ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่จะเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา

แม้ชาวบ้านยังไม่อาจคาดเดาได้ว่า ผลกระทบจากท่าเรือน้ำลึกจะเป็นอย่างไร เพราะโครงการยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นไฮไลท์ของงาน จึงอยู่ที่ การนำเสนอบทเรียนและผลกระทบจากท่าเรือน้ำลึกที่มีอยู่แล้ว อย่างท่าเรือน้ำลึกสงขลา ที่ตั้งอยู่ห่างจากบ้านสวนกงไม่ถึง 30 กิโลเมตร

โดยผู้ที่มาถอดบทเรียนครั้งนี้คือ นายล้วน โรสิกะ ชาวบ้านตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และนายหมัด หมัดอารีย์ ชาวบ้านตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ซึ่งเชื่อว่าตัวเองได้รับผลกระทบจากท่าเรือน้ำลึกสงขลา ที่ตั้งขวางปากน้ำทะเลสาบสงขลา ในพื้นทีหมู่ที่ 7 ตำบลหัวเขาแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ดังนี้


ล้วน โรสิกะ
 “ทะเลอย่าไปหยอก รบกวนเมื่อไรจะไม่ได้รับความปราณี”

“เมื่อเห็นสภาพชายทะเลสวนกงขณะนี้แล้ว แทบจะตอบพี่น้องได้เลยว่า อนาคตหลังจากสร้างท่าเรือแล้วจะเกิดปัญหาอะไรบ้าง

แต่ที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกสงขลาปัจจุบัน มีสภาพแกต่างจากนี้บ้านสวนกง เพราะที่ตั้งท่าเรือน้ำลึกสงขลาปัจจุบัน อยู่บริเวณปากน้ำทะเลสาบ เมื่อก่อนมีชายหาดอยู่กลางทะเลมากมาย แต่ปัจจุบันหาดูไม่ได้แล้ว สมัยนั้นเราไม่เคยนึกเลยว่า สิ่งเหล่านี้จะหายไป

เราเคยคิดว่า เมื่อมีท่าเรือน้ำลึกแล้ว จะมีการสร้างงาน มีการสร้างความเจริญ มีการสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นเพิ่มขึ้น มันก็น่าจะสบายขึ้น ประกอบกับสมัยนั้น ไม่มีการทำประชาพิจารณ์ เพียงแต่เจ้าของโครงการหรือทางราชการไปขอความเห็นชอบต่อสภาตำบลเท่านั้น

สมัยนั้นผมเป็นเลขานุการสภาตำบล ต่างคนต่างก็ไม่เคยรู้ว่าท่าเรือน้ำลึกเขาจะทำกันอย่างไร แต่ตัวเองเห็นว่า ถ้าทำให้เกิดความเจริญกับท้องถิ่น ทำให้มีรายได้เพิ่ม มีการสร้างงานเพิ่ม ก็น่าจะให้ความเห็นชอบ

จนกระทั่งประมาณปี 2528 โครงการท่าเรือน้ำลึกสงขลาก็เริ่มสร้างขึ้น บริเวณปากน้ำทะเลสาบสงขลา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จนกระทั่งปี 2532 จึงก่อสร้างเสร็จ

ตอนนั้นยังไม่มีปัญหาอะไรมาก แต่รู้ว่าชาวประมงขนาดเล็กที่หากินอยู่แถวปากน้ำทะเลสาบสงขลา เจอกับกระแสน้ำที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่สามารถวางอวน วางกัดได้

เมื่อกระแสน้ำเปลี่ยน ปลาที่เคยเข้ามาในพื้นที่ชายฝั่ง ก็ไม่เข้ามาอีกแล้ว แต่ไปอยู่ตามนอกชายฝั่ง เราก็ไปหากินตามนอกชายฝั่งอยู่ได้ไม่กี่ปี ด้วยอิทธิพลของลม ทำให้เนินทรายที่โผล่ขึ้นมากลางทะเลกลายเป็นหาด ก็หายไปหมดเพราะกระแสน้ำเปลี่ยน

ในอนาคตเด็กๆ จะไม่รู้ว่า คำว่าหาดที่ว่า มีลักษณะเป็นอย่างไร จะมีก็เพียงแต่ผู้เฒ่านั่งเล่าให้ฟัง

อนาคตถ้ามีการสร้างท่าเรือน้ำลึกที่บ้านสวนกงได้สำเร็จ ยืนยันได้ว่า ท้องถิ่นจะได้รับประโยชน์ คือการสร้างงาน สร้างความเจริญ สร้างรายได้ แต่ปัญหาและอุปสรรคอย่างอื่นไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

แต่ที่แน่ๆ ผลที่ตามมาก็คือ จะเกิดปัญหาการกัดเซาะริมตลิ่ง อย่างที่เห็นกันอยู่ปัจจุบัน เช่น ตั้งแต่ชายหาดบ้านเก้าเส้งไปจนถึงแหลมสนอ่อน ในเขตเทศบาลนครสงขลา ที่อำเภอสิงหนคร เคยมีหาดผลุบๆโผล่ๆ ขึ้นมา ก็หายไปหมด

แม้แต่หาดทรายแก้ว ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของธรรมสถานหาดทรายแก้ว ก็ไม่เหลือแล้ว มิหนำซ้ำคลื่นยังกัดเซาะฝั่งเข้าไปถึงบริเวณข้างๆ โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท ที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งอำเภอสิ่งหนครแล้ว

นี่คือผลมาจากท่าเรือน้ำลึกน้ำลึกสงขลา

ทำไมถึงเกิดปัญหาขึ้นตรงนี้ ก็เพราะเมื่อมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ซึ่งขวางปากน้ำทะเลสาบสงขลา ก็ทำให้ทะเลตื้น มีสันทรายทับถมขวางร่องน้ำ เรือก็เข้าออกไม่ได้ ก็จำเป็นต้องใช้เรือขุดลอกร่องน้ำ

ขุดลอกได้ไม่กี่วัน ทรายก็ไปทับถมร่องน้ำตามเดิม จำเป็นต้องทำรอหรือเขื่อนกันทรายทางฝั่งแหลมสนอ่อน เพื่อไม่ให้ทรายไหลลงร่องน้ำ ช่วงแรกก่อสร้างยื่นออกมาในทะเลยาวประมาณ 1,000 เมตร แต่ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ จนต้องทำยื่นออกไปอีกประมาณ 2,000 เมตร

จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ทรายถูกคลื่นลมพัดออกไปจากหาดเก้าเส้ง ต่อเนื่องไปจนถึงหาดชลาทัศน์ และหาดสมิลา เนื่องจากทรายจะไหลไปตามกระแสน้ำ ที่ซัดกลับไป แล้วก็ซัดกลับมาที่เดิมตามฤดูกาล แต่เมื่อไปเจอกับเขื่อนที่สร้างไว้ ทรายก็ไปกองอยู่บริเวณเขื่อน คลื่นไม่สามารถซัดกลับมาได้ ส่วนร่องน้ำก็ต้องขุดลอกอยู่อีก ขุดลอกจนไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้แล้ว

ตอนนี้ทราบมาว่า ปีนี้ทางเทศบาลนครสงขลา ได้รับงบประมาณกว่า 40 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาชายฝั่งถูกกัดเซาะบริเวณหาดชลาทัศน์ โดยอาจารย์จาก ม.อ.(มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) ได้ของบประมาณมาทำปะการังเทียม เพื่อชะลอคลื่นที่เข้าซัดเข้าหาตลิ่ง ส่วนจะเป็นแบบไหนนั้น ยังไม่ได้เข้าไปดู

เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา ทำให้เกิดการทำลาย ตอนนั้นนักวิชาการก็ยืนยันขึ้นว่า สร้างเสร็จแล้วจะเกิดแต่ผลดี ไม่มีผลเสียตามหลัง แต่ไม่เคยมองไปข้างหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะฉะนั้นพวกนักวิชาการที่เรียนมาจากตำรา ก็ให้ฉีกตำราทิ้งไปเถอะ ที่บอกว่า ทำแล้วจะดีตลอดมันเป็นไปไม่ได้

ผู้เฒ่าเคยบอกไว้ว่า ทะเลเราอย่าไปหยอก เพราะถ้าเราไปหยอกเขา ไปกวนเขาเมื่อไร เราจะไม่ได้รับความปราณีใดๆ เลย ปีนี้เอาศอก ปีหน้าเอาวา ปีต่อๆไป เอา 2 - 3 วา

ตั้งแต่หาดเก้าเส้งไปจนถึงหาดแก้ว เมื่อก่อนไม่มีใครทำโครงการอะไร หาดทรายก็ผลุบๆโผล่ๆ ตามฤดูกาล แต่พอมีการตัดถนน ทำโน่นทำนี่ขึ้นมา มีการสร้างเครื่องกีดขวางทางน้ำขึ้นมา ธรรมชาติก็ไม่ยอม ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา จนรัฐบาลต้องทุ่มเงินปีละหลายร้อยล้านเพื่อแก้ไขปัญหา แต่ก็ไม่ทราบว่าจะแก้ได้จริงหรือไม่

เพราะฉะนั้นถ้ามีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่นี่ มีงานทำเกิดแน่ๆ แต่จะเกิดกับทุกคนหรือไม่ ไม่รู้ มันจะคุ้มกันหรือไม่กับสิ่งที่เราต้องแลกไป

ถ้ามีโครงการนี้ในอนาคตประมงชายฝั่งต้องเลิกแน่นอน ถ้าได้เข้าไปเป็นคนงานให้เขา จะคุ้มกันหรือไม่ แต่วันใด ถ้าเราไม่สามารถดูแลทะเลของเราได้ ทะเลก็จะไม่ดูแลเรา เราไม่สามารถพึ่งพาทะเลได้ เราก็จำต้องเลิกอาชีพที่ทำกันมาแต่บรรพบุรุษ”

หมัด หมัดอารีย์
“คนเมืองเดือนร้อนจากท่าเรือโดยไม่รู้ตัว”

“ก่อนก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา ผมไม่เห็นด้วยในที่ประชุมครั้งแรก แต่แพ้เสียงจากที่ประชุม จนกระทั่งท่าเรือน้ำลึกสงขลาก็เกิดขึ้น ที่หมู่ที่ 7 ตำบลหัวเขาแดง อำเภอสิงหนคร

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากท่าเรือสงขลา มาถึงที่บ้านสวนกงแล้วแน่นอน เพราะไม่เพียงแต่พี่น้องบ้านสวนกงเท่านั้นที่กินกุ้งกินปลา คนเมืองก็กิน ดังนั้นทุกชุมชนได้รับผลกระทบแล้วโดยที่เขาไม่รู้ตัว

เหตุที่ผมไม่เห็นด้วยตอนนั้นก็คือว่า ทะเรือน้ำลึกสงขลา ไม่ได้กระทบแต่บ้านผมเท่านั้น แต่กระทบทะเลสาบสงขลาทั้งสามตอนและตลอดชายฝั่งทะเล

ท่าเรือน้ำลึกสงขลาเริ่มมีการคิดโครงการเมื่อปี 2515 โดยพวกนายทุนกับฝ่ายรัฐบาล แต่นับตั้งแต่เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2532 จริงๆแล้วเขาขาดทุน

ต่อมาปี 2546 เกิดลมมรสุมรุนแรง ทำให้คลื่นซัดโคลนและทรายเข้ามา ทำให้ต้องมีขุดลอกร่องน้ำ ใช้งบประมาณในการขุดลอกปีละหลายล้านบาท แล้วก็ดันทุรังสร้างเขื่อนหิน เอาหินจากไหนมาถมก็ไม่ทราบ ก้อนเท่าๆ บ้าน ทำเป็นเขื่อนกันคลื่นกันทราย ความยาวออกไปทางเกาะหนู เกาะแมว 450 เมตร หินที่ถมจากน้ำลึก 10 เมตร จนสูงพ้นจากผิวน้ำ 6 เมตร

ที่นี่คือปากอ่าวที่เป็นทะเลสาบ มีพันธุ์สัตว์น้ำมากกว่า 700 ชนิด ปัจจุบันเกือบไม่เหลือแล้ว นี่คือผลกระทบง่ายๆ ที่ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น เพราะขณะนี้เหลือไม่กี่ชนิดแล้ว

ผลกระทบต่อมาคือ ในตำบลสะทิ้งหม้อ มี 6 หมู่บ้าน ไม่เคยมีคนหนุ่มสาวออกไปหางานในโรงงาน ไม่เคยไปทำงานก่อสร้าง งานรับจ้างในเมือง แต่หลังจากมีท่าเรือน้ำลึกสงขลา คนไปวางกัดจับปลาไม่ไหว ไม่คุ้มกับค่าน้ำมันที่ต้องออกเรือไป

บางคน บางคืนจ้างลูกน้อง 1 คน ก็ได้ไม่คุ้มกับค่าจ้าง จึงเปลี่ยนใจไปทำงานก่อสร้าง ทั้งที่ตัวเองเคยทำอาชีพประมงมาตลอด ก็ต้องต่อสู้กันไป พอกินบ้าง ไม่พอกินบ้าง

อดีตร่องน้ำทะเลสาบสงขลาบริเวณปากน้ำทะเลสาบ มี 3 ร่องน้ำ แต่หลังจากที่มีการถมหินทำเขื่อน ทำให้เหลือร่องน้ำเดียว ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวประมงทั้ง 3 ตอน ครอบคลุมทั้ง 3 จังหวัด ที่อยู่ติดทะเลสาบสงขลา คือ สงขลา พัทลุงและนครศรีธรรมราช

นอกจากนี้ท่าเรือน้ำลึก ยังมีผลทำให้ทะเลสาบสงขลาตื้นเขิน เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง เช่น ธรรมสถานหาดทรายแก้ว ที่อยู่ทางทิศเหนือของท่าเรือน้ำลึกสงขลา จากที่มีเนื้อที่ 80 ไร่ มีทั้งโบสถ์ อาคารสถานที่ต่างๆ ขณะนี้เหลือพื้นที่เพียง 2 งาน

ระบบนิเวศที่เกิดจากการน้ำขึ้นน้ำลงเปลี่ยนแปลงไป เพราะเมื่อน้ำขึ้น น้ำทะเลก็จะไหลขึ้นไปในทะเลสาบ เวลาน้ำลงก็จะไหลลงทะเลตามธรรมชาติช้าลง แรงของน้ำไหลมีน้อยลง

รู้สึกดีใจที่ชาวสวนกง มีสำนึกแล้ว แต่ถามว่าจะยับยั้งเขาอยู่หรือไม่ ก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน ถ้าพี่น้องเริ่มคิด เริ่มแสดงออกถึงสิทธิชุมชนที่พึงกระทำได้ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารสำคัญที่สุด ต้องช่วยกัน บอกต่อ ปากต่อปาก ช่วยกันกระจายข่าวสารให้มาก นี่คือสิ่งที่ทำได้ในขณะนี้”

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประมวลภาพ: กิจกรรม "วันอาทิตย์สีแดง" 18 ก.ค.53

Posted: 18 Jul 2010 11:20 AM PDT

<!--break-->

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปล่อยตัวแล้ว นักกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง โดนปรับ 100 บาท อ้างส่งเสียงดังในที่สาธารณะ

Posted: 18 Jul 2010 08:45 AM PDT

นายนที สรวารี นักกิจกรรมผู้เข้าร่วมการรำลึกถึงคนตายจากเหตุการณ์พฤษภาคม 2553 ซึ่งถูกจับกุมเมื่อบ่ายนี้ ได้รับการปล่อยตัวแล้ว หลังจากถูกขังอยู่ในรถขนนักโทษนานหลายชั่วโมง ตร. ระบุความผิดฐานส่งเสียงดังในที่สาธารณะ ปรับ 100 บาท

<!--break-->

เวลา 22.40 น. นายนที สรวารี เปิดเผยกับประชาไทว่า ได้รับการปล่อยตัวแล้ว หลังจากที่ถูกจับกุมเมื่อบ่าย เนื่องจากส่งเสียงตะโกนว่า "ที่นี่มีคนตาย" ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนให้ทราบมูลความผิดหากมีการชุมนุมเกินกว่า 5 คนที่สี่แยกราชประสงค์บ่ายนี้

โดยเวลาประมาณ 16.30 น. นายนทีถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบเกือบ 10 นายอุ้มขึ้นรถขนนักโทษของ ส.น.บางโพงพาง ขณะตะโกนส่งเสียง ว่าที่นี่มีคนตาย และได้รับการปล่อยตัวในที่สุด โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่ามีความผิดฐานส่งเสียงดังในที่สาธารณะ ปรับ 100 บาท

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทุนไทยรุกจับคู่ธรกิจพม่า ส่งออกคอนแทร็คฟาร์มมิ่งให้พม่าป้อนอุตสาหกรรมไทย

Posted: 18 Jul 2010 07:08 AM PDT

เผยผลหารือร่วมสภาหอการค้าไทยและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพพม่า ทุนไทยเตรียมรุกจับคู่ธุรกิจในพม่า ส่งออกคอนแทร็คฟาร์มมิ่งไปพม่า เล็งภาคเกษตรเป็นฐานการผลิตป้อนอุตสาหกรรมอาหาร
<!--break-->

18 ก.ค. 53 - นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงผลการหารือร่วมกับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพพม่า (UMFCC) ว่า ภาคธุรกิจของไทยและพม่ามีความเห็นตรงกันที่จะเพิ่มมูลค่าการค้า การลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้นในอนาคต โดยฝ่ายไทยมีแนวคิดที่จะจัดทำ Business Matching กับพม่าให้มากขึ้นเพื่อขยายฐานการผลิตและการลงทุนระหว่างสองประเทศ

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นคาดว่าจะเริ่มจากกลุ่มธุรกิจด้านการเกษตรก่อนเป็นลำดับแรก เนื่องจากเห็นว่าประเทศพม่ามีความอุดมสมบูรณ์ในด้านพืชผลทางการเกษตร เหมาะที่ไทยจะใช้เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำสำหรับการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป และสินค้าอาหารเพื่อการส่งออกของไทย ประกอบกับพม่ายังมีแรงงานที่เพียงพอ

แนวทางนี้นอกจากจะช่วยหนุนเรื่องการทำคอนแทรกฟาร์มมิ่งแล้ว ยังสอดคล้องกับนโยบายที่ทั้งสองประเทศต้องการจะเดินหน้านโยบายเศรษฐกิจบนพื้นฐานทางการเกษตรด้วย อันจะเป็นการช่วยผลักดันเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมตามแนวชายแดนให้เติบโตได้ดีขึ้นในอนาคต

"เราจะทำการตลาดเชิงรุก และจะทำ Business Matching กับพม่าให้มากขึ้นเพื่อขยายฐานการผลิต และการลงทุนโดยเฉพาะด้านการเกษตรเพราะถือว่าเป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร กับอุตสาหกรรมอาหารให้ไทยได้" ประธาน ส.อ.ท.ระบุ

พร้อมกันนี้ ส.อ.ท.และ UMFCC ยังได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันการดำเนินงานใน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านเขตการค้าชายแดน, ด้านการพัฒนาโลจิสติกท์, ด้านการส่งเสริมและพัฒนาแรงงานบุคลากร และการจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นการหารือในเชิงลึกมากขึ้น และเชื่อว่าปัญหาอุปสรรคที่มีอยู่จะได้รับการแก้ไขให้ลดน้อยลง และช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจให้แก่เอกชนของสองประเทศได้ดียิ่งขึ้น

ที่มาข่าว:
ไทยรุกจับคู่ธุรกิจในพม่า เล็งภาคเกษตรเป็นฐานการผลิตป้อนอุตสาหกรรมอาหาร (สำนักข่าวอินโฟเควสท์, 18-7-2553)
http://www.ryt9.com/s/iq03/943927

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สำนักงานสถิติสำรวจ คนอีสานคิดว่าตัวเองจนสุด รองลงมาคือคน กทม.

Posted: 18 Jul 2010 06:56 AM PDT

สำนักงานสถิติแห่งชาติสัมภาษณ์ 100,920 คนทั่วประเทศ คนอีสานคิดว่าตัวเองจนสุดรองลงมาคือคน กทม. ส่วนคนใต้ รู้สึกว่าตัวเองจนน้อยกว่าภาคอื่น
<!--break-->

18 ก.ค. 53 - ผลสำรวจ "ความเดือดร้อน และความต้องการของประชาชน" จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ออกไปสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างมากถึง 100,920 คน ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ระหว่างวันที่ 18 - 24 มิถุนายนที่ผ่านมา

โดยให้ประชาชนประเมินฐานะความเป็นอยู่ของตนเอง โดยพบว่าคนภาคอีสาน รู้สึกว่าตัวเองจนที่สุด 14.9 เปอร์เซ็นต์ เพราะส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาต้องมาขายแรงงานในเมืองหลวง ได้ค่าแรงไปวันๆ

และพบข้อมูลที่น่าสนใจ ว่า คนกรุงเทพฯ มากถึง 14.5 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกว่าตัวเองจนกว่าคนภาคอื่น ทั้งๆ ที่อยู่ในเมืองใหญ่ มีหน้าที่การงานมั่นคง รองลงมาจากคนภาคอีสาน

หลายคน บอกว่า เศรษฐกิจเริ่มถดถอย ตั้งแต่มีเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ทุกอาชีพได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด ส่งผลให้รายได้ไม่พอกับรายจ่ายและความต้องการ จึงรู้สึกว่าตัวเองจน

ส่วนคนใต้ รู้สึกว่าตัวเองจนน้อยกว่าภาคอื่น แต่หากเทียบกับเส้นความยากจน ที่วัดจากค่าใช้จ่ายความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ทั้งค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายอื่น จะเห็นได้ว่า ฐานะตามจริงของคนกรุงเทพฯ มีเพียง 0.8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่มีฐานะยากจนส่วนคนภาคอีสาน ใกล้เคียงกับความจริง คือ 14.6 เปอร์เซ็นต์

มาตรฐานเส้นความยากจน มีการสำรวจเมื่อปี 2551 พบว่า คนกรุงเทพฯ มีรายจ่ายความจำเป็นขั้นพื้นฐาน อยู่ที่ 2,159 บาท ต่อคน ต่อเดือน หากใช้จ่ายน้อยกว่านี้ ถือว่าเป็นคนจน ส่วนภาคอีสาน ถ้าจ่ายต่ำกว่า 1,467 บาท จึงนับเป็นคนจน

สาเหตุของความจน 5 อันดับแรก ได้แก่ ไม่มีทุนประกอบอาชีพขาดโอกาส , เรียนน้อย , เกิดมาจน และขี้เกียจไม่ขวนขวาย

จึงเสนอให้รัฐบาล ควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันลดภาระค่าครองชีพ และ เพิ่มสวัสดิการในการครองชีพ เป็น 3 เรื่องด่วนที่ต้องเร่งแก้ไข โดยทุกเสียงสะท้อน คาดหวัง รัฐแก้ปัญหาได้ตรงจุด ช่วยเศรษฐกิจฟื้นตัว ทั้งระดับครัวเรือน และระดับชาติ หมดความเหลื่อมล้ำในสังคม

ที่มาข่าว:

ผลสำรวจความเดือดร้อนความยากจน (ช่อง 7, 18-7-2553)
http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=376&d=94709

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เผยงานวิจัย "ใครคือคนเสื้อเหลือง - เสื้อแดง"

Posted: 18 Jul 2010 06:43 AM PDT

ราชดำเนินเสวนา “จุดเปลี่ยนชนบท จุดเปลี่ยนฐานการเมือง” ผศ.ดร.อภิชาต  สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เปิดงานวิจัย  "ใครคือคนเสื้อเหลือง - เสื้อแดง" เผยคนชนบทคับแค้นถูกหยามเหตุเข้าร่วมเสื้อแดง

<!--break-->

 

ที่มาภาพ: www.tja.or.th

วันนี้ (18 ก.ค.) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรามูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดราชดำเนินเสวนา โครงการร่วมปฏิรูปประเทศไทยครั้งที่ 10/2553 เรื่อง “จุดเปลี่ยนชนบท จุดเปลี่ยนฐานการเมือง” มีนายวิลาส  สุวี รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ , ผศ.ดร.อภิชาต  สถิตนิรามัย จากคณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , นายอภิชาต ทองอยู่ ประธานมูลนิธิสวัสดี และศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมเสวนา

นายวิลาส กล่าวว่า ตั้งแต่ ปี 2533 ประชากรในสังคมไทยเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ทำให้โครงสร้างของครัวเรือน ปรับเปลี่ยนมีครัวเรือนขยายเพิ่มมากขึ้น ทั้งประเภทอยู่คนเดียวหรือไม่ใช่ญาติ และเปลี่ยนบทบาทของผู้หญิงเป็นหัวหน้าครัวเรือน ซึ่งคนในชนบทย้ายเข้าสู่ชุมชนเมืองมากขึ้น

“ผลสำรวจความเดือดร้อนของประชากร ระหว่างวันที่ 18-24 มิ.ย. 53 ที่ผ่านมา ทั่วประเทศ พบว่า 14.5 % คิดว่าเป็นคนจน  ซึ่งสาเหตุของความจนนั้น นอกเขตเทศบาล คิดว่า คือ ไม่มีทุนการประกอบอาชีพ และในกรุงเทพมหานคร คิดว่าขาดโอกาส การเรียนน้อย เกิดมาจน ขี้เกียจไม่ขวนขวาย ตามลำดับ”

นายวิลาส กล่าวต่อว่า นอกจากนั้น ผลการสำรวจรายได้รายจ่าย พบว่า มีความห่างกันมากขึ้น ระหว่างชุมชนเมือง กับชุมชนชนบท เนื่องจาก โครงสร้างชนบทอยู่ในภาคเกษตร แต่จุดเด่นของสังคมเมืองคือ การบริการ ซึ่งจากสถานการณ์ความไม่สงบในบ้านเมืองเมื่อเร็วๆ นี้  คนในเมืองมองว่า ความขัดแย้งทางเมืองเป็นปัญหา 72 % ในขณะที่คนชนบทคิดเป็นปัญหาเพียง 58 %

ผศ.ดร.อภิชาติ  กล่าวว่า จากผลวิจัยที่ได้สำรวจในเบื้องต้น เรื่อง ใครคือเสื้อเหลืองเสื้อแดง พบว่า ในด้านอาชีพ เสื้อแดง มีแนวโน้มเป็นเกษตรกร แรงงาน รับจ้างนอกระบบ ส่วนคนเสื้อเหลือง มีอาชีพ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ ค้าขาย ส่วนการศึกษา คนเสื้อเหลืองจะสูงกว่าคนเสื้อแดง อยู่ในระดับอนุปริญญาตรีขึ้นไป และสำหรับรายได้ คนเสื้อเหลือง มีรายได้สูงกว่า แต่หากเทียบเส้นความยากจน ตามสำนักงานสถิติแห่งชาติ ไม่จัดว่าไม่มีคนกลุ่มใดเป็นคนจน แต่มีเพียงเศรษฐกิจต่างกันเท่านั้น

“สิ่งที่น่าสนใจคือ คนเสื้อแดงคิดว่ามีรายได้น้อยเพียง 18 % แต่คนเสื้อเหลืองบอกว่ายากจนกถึง 23 % ถือเป็นความเหลื่อมล้ำรุนแรงที่คนเสื้อเหลืองรู้สึกว่าห่างมากจนรับไม่ได้ มากกว่าเสื้อแดง ที่บอกว่า ห่างมากแต่พอรับได้”

ผศ.ดร.อภิชาติ กล่าวต่อว่า คนเสื้อแดงได้ประโยชน์จากประชานิยมอย่างชัดเจน จากโครงการ 30 บาท และกองทุนหมู่บ้าน เพราะอยู่นอกระบบประกันสังคม รายได้ผันผวนตามราคาพืชผล ไม่มีความมั่นคงทางด้านรายได้ โครงการต่างๆจึงสอดคล้องกับความต้องการ กลุ่มคนเหล่านี้จึงตอบรับนโยบายของพรรคไทยรักไทย ส่วนสาเหตุการประท้วง  คือ ต่อต้านการเมืองจากการแทรกแซงจากทหาร ปัญหาสองมาตรฐานและความยุติธรรม การที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง โดยที่ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจนไม่มีคนใดเลือกเป็นเหตุผลจากการต่อสู้

“สรุปได้ 4 ประเด็นว่า ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ไม่ได้เป็นสาเหตุของความคับข้องใจของคนเสื้อแดง 2.ความเหลื่อมล้ำไม่ได้เป็นที่มาของคนเสื้อแดง 3.ฐานะเศรษฐกิจเสื้อแดงน้อยกว่าเสื้อเหลือง นโยบายประชานิยม จึงตอบโจทย์มากกว่า 4.หากปฏิรูปประเทศเน้นที่ความไม่เป็นธรรมในการกระจายรายได้เพียงอย่างเดียว ไม่แน่ใจว่าจะแก้ได้ นอกจากนั้นความรู้สึกโดนเหยียดหยาม ว่าเป็นคนอีสาน เป็นสีแดง ความรู้น้อย รู้สึกว่าสังคมมีการแบ่งชนชั้น ไม่ยุติธรรม เพราะคนเสื้อแดงทำอะไรก็ผิด รู้สึกต้องต่อสู้ ประท้วงเพื่อประชาธิปไตย ขอสิทธิคืน”

ดร.ยุกติ  กล่าวว่า อยากให้ทำความเข้าใจชนบทในภาพใหม่ว่า ปัจจุบันชนบทเป็นตัวแบบชนชั้นกลางรุ่นใหม่และเป็นพลเมืองที่กำลังตื่นตัว เพราะจากการเมืองไทยหลังเหตุการณ์พฤษภา 2535 เกิดเป็นการเมืองของชนชั้นกลางเก่า คือ เสื้อเหลือง กับชนชั้นกลางใหม่ เป็นกลุ่มเสื้อแดง เกิดขึ้นคู่ขนาน เป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนไป

“โดยกลุ่มชนชั้นกลางใหม่ที่เกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องสิทธิ อาจจะประชดตนว่า เป็น ไพร่ เพื่อชี้ความเหลื่อมล้ำทางการเมืองมากกว่าเศรษฐกิจ มาจากชุมชนท้องถิ่น จากเครือข่ายทางการเมืองแบบใหม่ ก้าวพ้นชุมชนแบบเก่า มีแนวความคิดที่ถูกปลูกฝังจากวิทยุชุมชน ปัญญาชนท้องถิ่น ต่อยอดกับคนที่เป็นปัญญาชนในกรุงเทพที่เข้าไปให้ข้อมูลข่าวสารสู่ชนบทในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสิ่งที่ควรจะได้รับมากขึ้น มากกว่าการรอคอยไม่มีปากเสียงเช่นเดิม และมองว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่มีสิทธิเรียกร้อง”

นายอภิชาต  กล่าวว่า  ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนของชนบท แต่เป็นเพราะ วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดกระแสโลกาภิวัฒน์ ครัวเรือนเปิดกว้าง ร่วมสมัย และผลจากการเมือง โครงสร้างการเมืองเปลี่ยนไปที่คอร์รัปชั่นอย่างมหาศาล และการเปลี่ยนแปลงที่ขับเคลื่อนแนวประชานิยมที่ไม่มุ่งสร้างเงื่อนไขการสร้างสังคมสวัสดิการอย่างถาวรทำให้เกิดการผลิตซ้ำของระบบอุปถัมภ์ใหม่

“ขณะนี้ชาวนากำลังออกจากอาชีพดั้งเดิม เป็นปัญหาที่ต้องรอให้จัดการสะสาง สร้างทัศนคติขึ้นใหม่ จากที่ชนบท ถูกกดทับจากพาณิชย์ จากนักการเมืองท้องถิ่นที่ใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเงื่อนไข สร้างเกิดความเหลื่อมล้ำ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพได้ยาก”

ศ.ดร.ผาสุก  กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสังคมไทยเกิดขึ้นกว่า 15 ปี หากดูสังคมโดยรวม มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ทำให้คนท้องถิ่น มีสิทธิ์เลือกตั้ง กระบวนการเลือกตั้งส่งผลกับวิถีชีวิต ทัศนคติ สำคัญ คือ ได้เรียนรู้ ว่าเป็นช่องทางนำมาซึ่งงบประมาณต่างๆ ที่สามารถเรียกร้อง ให้มีบทบาทตัดสินใจนโยบายต่างๆ ในกระบวนการโหวตและสามารถจะปรับปรุงชีวิตได้ดีขึ้น
 
“ปรากฏการณ์ทักษิณจึงทำให้เกิดความมุ่งหวังของชาวบ้าน ว่าไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน เพราะรัฐบาลยุคนั้นได้ทำทุกอย่างที่ได้สัญญาไว้  เป็นสิ่งที่ชาวบ้านได้รับรู้ และสัมผัสได้จริง จุดประกายอะไรที่ทำให้เกิดกระบวนการขึ้น ซึ่งต่อไป การต่อสู้ของคนเสื้อแดงไม่ใช่เรื่องความยากจน แต่เป็นเรื่องของการไม่มีทางออกเมื่อผู้นำจากไป นำไปสู่ความต้องการกลับไปสู่การเมืองก่อนปี 2516 ”

 

 

เปิดผลวิจัย "ใครคือคนเสื้อเหลือง/เสื้อแดง"

โดย...อภิชาติ สถิตนิรามัย และคณะ

ทีมวิจัยเรื่องจุดเปลี่ยนชนบทไทย ซึ่งนำโดยอาจารย์ อภิชาติ สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   พร้อมด้วยคณะ ได้จัดทำผลวิจัย  เรื่อง “จุดเปลี่ยนชนบท จุดเปลี่ยนฐานการเมือง ?”   ผ่านรายการ ราชดำเนินเสวนา โครงการร่วมปฏิรูปประเทศไทย  ครั้งที่ ๑o / ๒๕๕๓  เมื่อวันที่ 16 ก.ค. ที่ผ่าน โดยคณะวิจัยเห็นว่า ผลจากการสนทนากลุ่มในทุกพื้นที่ การวิจัยเชิงมานุษยวิทยา และข้อมูลจากแบบสอบถามสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ได้คาดการณ์ไว้  ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

บางคลองโยง จังหวัดนครปฐม

ชาวบ้านคลองโยงเป็นผู้อพยพมาจากพื้นที่ “เจริญ”  ซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน มีผู้คนจับจองที่ดินทำกินอันอุดมสมบูรณ์มาเก่าแก่บริเวณลุ่มน้ำนครชัยศรี เพื่อมาหักร้างถางพง หรือบุกเบิกที่ดินแห่งใหม่เพื่อทำนาที่ห่างไกลจากชายแม่น้ำและมีผู้คนจับจองอยู่น้อย ดังครอบครัวของ ลุงต๊าบ (นามสมมติ)  วัย 83 ปี ที่อพยพมาจาก ต.ท่ากระชับ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ตั้งแต่สมัยรุ่นปู่และย่า

“แต่ก่อนมันเป็นเฟือย ต้นเฟือย ต้นพง ก็ไม่มีที่ทำกิน ก็ตรงนี้มันเป็นที่น้ำคลึง น้ำไม่แห้ง แต่ก่อนปู่ย่าตายายก็มาถางกันจับจองที่ริมคลอง ใครมีแรงมากก็ถางได้มากหน่อย ใครมีแรงน้อยก็ถางได้น้อยหน่อย แล้วก็ขุดโคก ขุดถมโคกแล้วก็ปลูกบ้านกระต๊อบอยู่กัน” ลุงต๊าบ กล่าว

การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของชาวบ้านคลองโยงส่วนใหญ่จึงอยู่บริเวณริมคลอง ส่วนที่ทำกินซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่นาจะอยู่ถัดขึ้นไปจากหลังบ้านเรือน  การครอบครองที่ดินทำกินจะแตกต่างไปตามความสามารถในการบุกเบิกจับจอง ดังเช่น ครอบครัวประธานสหกรณ์คลองโยงคนปัจจุบัน(พ.ศ. 2553) เคยมีการบุกเบิกจับจองเอาไว้ถึง 80 ไร่  ความเปลี่ยนแปลงในด้านการถือครองที่ดินเกิดขึ้นหลังการพัฒนาคูคลองในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางช่วงรัชกาลที่ 4 และ 5 คลองใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกหลายคลอง เช่น คลองชัยขันธ์หรือคลองเจ๊ก คลองกำนันขาว ฯลฯ   ความเปลี่ยนแปลงด้านการถือครองที่ดินสำคัญในช่วงที่มีการขุดคลองมหาสวัสดิ์ในปี 2400 ซึ่งขุดขึ้นในรัชกาลที่ 4  และมีการจับจองที่ดินโดยพระบรมวงศานุวงศ์ ทำให้ชาวบ้านคลองโยงต้องกลายเป็นผู้เช่านาทั้งหมด 

“ที่นี้นายอำเภอนครชัยศรี เค้ามาเยี่ยมราษฎร ถามว่าทำไมตรงนี้มีบ้านคนเยอะแยะหมด อยู่ตรงโน้นหลังนี่หลัง อยู่ไม่เป็นหมู่ ใครอยากอยู่ตรงไหนก็อยู่ตรงนั้น เค้าก็ว่านี่ที่มันเป็นที่รกร้างว่างเปล่า แต่จริงๆไม่ใช่ ที่มันเตียนหมดแล้ว คนทำหมดแล้ว ไม่ได้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าอย่างที่เค้าว่า ก็เลยไปจ้างเจ๊กมาขุดคลอง ขุดเสร็จแล้วเค้ายิงข้างละกิโลเลย ข้างละ 25 เส้น  ข้างนี้ 25 เส้น ที่หักร้างถางพงไว้ เราต้องมาเช่าเขาทำ เขาเอา แต่ก่อนคนเราไม่รู้กฎหมาย เจ้าขุนมูลนายว่าอย่างไร ก็ต้องว่าตามกัน เค้าจะให้เช่าก็เช่า เราหักร้างถางพงกันแทบตาย เรามาถางเอง แต่ก่อนเป็นป่าทั้งนั้นครั้งแรกที่หลวงเก็บหลังจากขุดคลองใหม่ๆ เค้าเอา ไร่ละ 50 สตางค์ก็เยอะแล้วนะ น้ำแข็งถ้วยนึงแล้ว ก๋วยเตี๋ยวชามนึง เค้าเก็บค่าเช่าเป็นเงินไร่ละ 50 ตังค์ ต่อปี”   ลุงต๊าบ กล่าว

คลองชัยขันธ์หรือคลองเจ๊กเป็นคลองที่อยู่ในพื้นที่การพัฒนาคูคลอง ที่เรียกว่าคลองเจ๊กเพราะใช้แรงงานจีนขุด ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “เจ๊ก” เมื่อขุดคลองแล้วแรงงานจีนเหล่านี้ก็จับจองที่ดินบริเวณปากคลอง ปักหลักทำมาอาชีพค้าขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือเป็นพ่อค้ารับซื้อข้าวเปลือก และขายปัจจัยการผลิตให้แก่ชาวนาในพื้นที่คลองโยง ต่อมา กลายเป็นผู้มีฐานะดีที่สุดในหมู่บ้าน กลายเป็นเถ้าแก่ให้กู้เงินหรือตกเขียวแก่ชาวนาแถบนี้ซึ่งมักจะต้องขายข้าวให้กับพ่อค้าเหล่านี้ เนื่องจากต้องเอาปัจจัยการผลิตและเงินไปลงทุนก่อน และมี 2 ครอบครัวที่พัฒนาจนกลายเป็นเจ้าของโรงสีขนาดใหญ่   

บ้านคลองโยงจึงเกิดและมีพัฒนาการอยู่ภายใต้การพัฒนาระบบเศรษฐกิจการปลูกข้าวเพื่อส่งออกของที่ราบลุ่มภาคกลาง ในพื้นที่การพัฒนาระบบชลประทาน ระบบคูคลอง และการจับจองที่ดินโดยพระบรมวงศานุวงศ์ซึ่งเกิดขึ้นก่อนการพัฒนาคลองรังสิตในที่ราบลุ่มด้านตะวันออกของเมืองหลวง ปัจจุบันยังมีสภาพเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ชาวบ้านยังมีอาชีพหลักคือ การทำนาและพืชการเกษตรที่เป็นต้องการของตลาดในเมือง 

แม้สภาพบ้านคลองโยงในสายตาคนนอกอาจไม่แตกต่างไปจากสภาพหมู่บ้านในชนบทภาคกลางอื่นๆ  กล่าวคือ การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนกระจัดกระจาย และล้อมรอบด้วยนาข้าว นาบัว แปลงผัก และสวนผลไม้ยืนต้น มีแนวมะพร้าวและกล้วยแบ่งผืนนาออกเป็นแปลงขนาดใหญ่ภายใต้ระบบชลประทานสมัยใหม่ ซึ่งสามารถปลูกข้าวได้ถึง 5 รุ่นใน 2 ปี  ดูเผินๆ แล้ว พื้นที่นี้คือ ภาพแทนตนของสังคมชาวนาชนบท ซึ่งเกือบจะไม่เปลี่ยนแปลงจากอดีต ยกเว้นถนนหนทางที่เข้าถึงเกือบทุกตัวบ้าน  แต่เอาเข้าจริงแล้ว กายภาพของหมู่บ้านกลับหุ้มห่อ-บดบังเศรษฐกิจสังคมสมัยใหม่ไว้ ดังจะพิจารณาในส่วนต่อไป

ภาพชีวิตและวิถีการทำมาหากิน

ข้อมูลจากการเก็บแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 73 ชุดในวันที่ 2 และ 4 พฤษภาคม 2553  ณ หมู่ 1 และหมู่ 8 ในบ้านคลองโยง ซึ่งมีครัวเรือนทั้งสิ้นประมาณ 190 หลังคาเรือน(หมู่ 1 จำนวนครัวเรือน 80 ครัวเรือน คน หมู่ 8 จำนวน 111 ครัวเรือน)     สะท้อนให้เห็นว่า  สภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่เป็นหมู่บ้านเกษตรกรรม  เนื่องจากตัวอย่างถึง 53 รายมีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร และมีรายได้จากนอกภาคการเกษตรไม่มากนัก  มีครัวเรือนเพียง 19 หลังคาเท่านั้นที่มีรายได้นอกภาคการเกษตรมากกว่า 60% ของรายได้ทั้งหมด  หรือมีเพียง 10 ครอบครัวเท่านั้นที่ไม่มีรายได้จากภาคเกษตรเลย   ส่วนใหญ่ของเกษตรกรเหล่านี้เป็นวัยกลางคนมีอายุระหว่าง 31-60 ปี (49 คน) โดยมีผู้สูงวัยอายุมากกว่า 60 ปี 21 คน ในขณะผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปีมีเพียง 3 คนเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วจึงเป็นคนวัยกลางคน  และส่วนข้างมากมีการศึกษาไม่เกินระดับประถม  ภาพนี้จึงไม่แตกต่างไปจากความรับรู้ทั่วไปว่า เกษตรกรเป็นคนมีอายุและมีระดับการศึกษาต่ำ 
 
ไม่ได้มีนัยยะว่า “ชาวนา” เหล่านี้ต้องเป็นคนจน  ในทางตรงข้าม ส่วนใหญ่ของคนคลองโยงคือ “ชาวนาชั้นกลาง” ไม่ใช่รากหญ้า แต่มีลักษณะ “ยอดหญ้า” เมื่อพิจารณาจาก “งบดุล” ของครัวเรือนต่อไปนี้คือ หนึ่ง มีระดับรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อเดือนถึง 6,278 บาท ซึ่งสูงกว่าเส้นความยากจนของไทยมาก  สอง มีสินทรัพย์มาก  กล่าวคือ ชาวนายอดหญ้าเหล่านี้เป็นเจ้าของที่ดินโดยเฉลี่ย 14.35 ไร่  และทุกครอบครัวจะมีรถปิกอัพ 1.5 คัน และมีรถยนต์ 1.1 คัน การมีรถยนต์และรถปิกอัพถือเป็นเครื่องมือการผลิตที่สำคัญ เพราะชีวิตการทำมาหากินของคนคลองโยงไม่ได้มีลักษณะเป็นชาวนาอิสระรายย่อยที่ผลิตข้าวแต่เพียงอย่างเดียว มีลักษณะอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำนาบัว และการผลิตพืชผัก ที่ต้องใช้รถในการขนส่งเข้าสู่ตลาด สภาพชีวิตเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่า ชาวบ้านคลองโยงได้สัมพันธ์กับชีวิตในเมืองตลอดเวลา  

ส่วนในด้านหนี้สิน พบว่า ชาวบ้านคลองโยงมีหนี้สินสูง กล่าวคือมีหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนละ 94,375 บาท และจำนวน 50 ครอบครัวที่มีหนี้สินมากกว่าเงินออม และโดยเฉลี่ยแล้วแต่ละครอบครัวจะมีหนี้สินสุทธิ 49,771 บาท  เมื่อพิจารณาจากงบดุลข้างต้น จึงอาจจัดได้ว่า ชาวนาคลองโยง ซึ่งมีวิถีการผลิตแบบสมัยใหม่-มุ่งตลาด (modern and market oriented) และเป็นผู้ประกอบการเกษตรขนาดเล็ก-กลาง (small-medium size entrepreneur)  สภาพเช่นนี้เป็นผลของการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่การจัดตั้งสหกรณ์คลองโยงเป็นต้นมา

ช่วงหลังการจัดตั้งสหกรณ์คลองโยง ปี 2524

หลังจากการจัดสรรแปลงที่ดินทำกิน การพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ระบบชลประทาน และสร้างถนนในคลองโยง ประกอบกับเทคโนโลยีในการผลิตที่มีความซับซ้อนสูงขึ้นกว่าในยุคแรก ทำให้วิถีการผลิตและวิถีชีวิตของคนคลองโยงเปลี่ยนแปลงไปมาก การทำนาในยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตที่แตกต่างจากการทำนาในยุคดั้งเดิม

การจัดตั้งเป็นนิคมสหกรณ์เช่าที่ดินคลองโยงเกิดขึ้นสมบูรณ์ในปี 2524  การจัดตั้งสหกรณ์ทำให้เกิดการจัดสรรที่ดินเป็นแปลงชัดเจน สมาชิกสหกรณ์จะได้รับที่ดินที่ถูกจัดสรรให้ครัวเรือนละ 20 ไร่  ในยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตไปจากเดิมมาก นาเส้นได้ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นผืนนาแบบทั่วไปแบบภาคกลางคือมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื่องจากสหกรณ์ ฯ  ได้เข้ามาจัดสรรที่ดินในพื้นที่คลองโยงเสียใหม่ เพื่อการแบ่งที่นาให้ชาวบ้านเป็นผู้เช่ารายละประมาณ  20 ไร่  ทำให้ลักษณะของที่นาอำนวยความสะดวกในการขนย้ายปัจจัยการผลิต เอื้ออำนวยการทดน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรมากขึ้น อีกทั้งประมาณ  2 ปีหลังจากการจัดสรรที่ดินที่เสียใหม่ของสหกรณ์ ได้มีการตัดถนนเข้ามายังชุมชน ทำให้เส้นทางถนนช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับชาวนาเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการจัดระบบชลประทาน ทำให้วิธีการทำนาแบบนาดำถูกเปลี่ยนเป็นนาหว่าน   ด้วยสาเหตุข้างต้นทำให้ระบบการผลิตมีความเข้มข้นขึ้น  จากการทำนาปีละหนึ่งครั้ง เป็นปีละ 2-3 ครั้ง

การเปลี่ยนแปลงการผลิตจากแบบดั้งเดิมเป็นแบบเกษตรกรรมในแบบที่เข้มข้นขึ้น   ในยุคนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงการก้าวเข้าสู่การผลิตสมัยใหม่ที่ชัดเจน เนื่องจากมีการใช้พื้นที่ในการทำเกษตรกรรมในการผลิตอย่างเต็มที่ และมีการนำใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลงศัตรูพืช และเทคโนโลยีการผลิตเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงผลผลิตให้มีประสิทธิภาพมากกว่าในยุคแรก  มีการเปลี่ยนแปลงพันธุ์ข้าวเพื่อให้ทันกับการปลูกในแต่ละครั้ง จากเดิมใช้พันธุ์ข้าวที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ครั้งเดียวต่อปี เมื่อระยะการทำนาเพิ่มมากขึ้นเป็นปีละสามครั้งชาวนาก็ต้องเปลี่ยนพันธุ์ข้าวที่มีการระยะเวลาการเก็บเกี่ยวที่เร็วขึ้นตามไปด้วย

หลังจากมีการพัฒนาระบบคลองส่งน้ำในคลองโยง  ทำให้เกษตรกรทำนาได้มากขึ้น จึงต้องมีเทคโนโลยีในการตอบสนองการทำนาที่มีความเข้มข้น  เทคโนโลยีที่เข้ามาในท้องถิ่นในช่วงนี้ ได้แก่ เครื่องสูบน้ำเพื่อใช้สูบน้ำเข้านา เป็นต้น และที่สำคัญการเข้ามาของเครื่องจักรที่ใช้ในการทำการเกษตร ทำให้แรงงานในการทำนาในยุคนี้มีเริ่มบทบาทลดลงบ้าง เนื่องจากการใช้รถไถแทนแรงงานควาย และหันมาใช้ลูกทุบหรือ “ลูกขลุก”  ส่วนแรงงานในการดำนายังคงใช้แรงงานผ่านระบบการเอาแรง (ลงแขก)

การมีเทคโนโลยีการผลิตที่ดีขึ้นสะดวกขึ้นและใช้เวลาน้อยลงมาก   พัฒนาการของเครื่องจักรที่เข้ามายังคลองโยงทำให้การใช้แรงงานจากควายหมดไป และในช่วงปี พ.ศ. 2522 การเข้ามาของเครื่องนวดข้าวยุคแรกที่เรียกว่า  “รถนวดยัด”  ทำให้ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวและการนวดข้าวสามารถลดจำนวนแรงงานลงจากการใช้รถนวด แต่ยังต้องใช้คนเกี่ยวและคนหอบข้าวเข้ามาใส่ในรถนวดข้าว  กระบวนการดังกล่าวสามารถลดทั้งระยะเวลาและแรงงานในการผลิตมากกว่าการระบบการทำนาแบบดั้งเดิม  ชาวบ้านได้เล่าให้ฟังถึงการเปลี่ยนแปลงของวิถีการทำนาของพวกเขาว่า

“ไฟมาประมาณ ปี 26 เปลี่ยนจากนาดำ นาหว่านประมาณปี 30 เริ่มทำบัวถึงจะเริ่มทำนาหว่าน เหลือนาบ้านลุงต๊าบ (นามสมมติ)  ควายบ้านเราหมดก่อน ปี 25  ลงล็อคปี 19  เริ่มเปลี่ยนแปลง  เรา(ช่างยิ้ม--นามสมมติ) อายุ 15 ไม่มีควายแล้ว  พ.ศ. 10 ต้นๆ ก็ไม่มีควายแล้ว  จากช่วงควายหมดก็เป็นช่วงนาดำ หว่านจะไวกว่า ใช้ลูกทุบใช้รถไถ รถไถเดินตาม  ถ้าหว่านบางบ้านหว่านกันสองสามคนวันเดียวก็เสร็จแล้ว รถตีดินเกิดมาประมาณ 5 ปี  เครื่องนวด มีก่อนเครื่องเกี่ยว คือ ประมาณ ปี 2522 เครื่องนวดยัด ( ช่างนวยอายุ 27 ปีมีเครื่องนวด ตอนนี้อายุ 55 )    เครื่องเกี่ยว เข้ามาประมาณปี  2530 กว่า   เปลี่ยนจากนาดำเป็นนาหว่านประมาณปี 30 ก่อนนาดำ ลงแขกดำ ใช้มือดำ  เครื่องนวดและรถนวดตัวเดียวกัน รถเกี่ยวสมัยบรรหาร  เริ่มใช้ปุ๋ยตอนอายุประมาณ พ.ศ. 2520- 22  แต่ก่อนทำนาครั้งเดียว เริ่มทำสองครั้งประมาณ พ.ศ.2519  ตอนลงแปลงสหกรณ์  ปี 2524  เป็นนาดำก็ทำสองครั้ง  ถ้าทีแรกเป็นเส้นๆทำสองครั้งไม่ได้  ใช้เครื่องจักรหลังปี 2526    ใช้ปุ๋ยปีแรกประมาณ ปี 30” ช่างยิ้ม (นามสมมติ)กล่าว 

 (ข้อมูลจากการเสวนากลุ่ม, วันที่ 3 พฤษภาคม 2553)

รถนวดข้าวแบบนวดยัดได้ช่วยย่นระยะเวลาในการทำนาได้มากกว่าการใช้แรงงานควายในการนวดข้าวหลายเท่าตัว กล่าวคือ จากใช้ระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนราวครึ่งเดือน การใช้เวลานวดข้าวจะเหลือเพียง 2- 3 วันต่อที่นา 20 ไร่ อย่างไรก็ดี รถนวดข้าวยุคแรกยังต้องใช้แรงจำนวนมากในขั้นตอนการเกี่ยวข้าว และขนหรือหอบข้าวที่แห้งบนซังข้าวมาใส่รถเกี่ยว รวมทั้ง ต้องใช้แรงงานแบกกระสอบข้าวจากนามายังรถขนข้าว (หรือเรือในช่วงแรกๆ ที่ถนนยังไม่ได้ตัดเข้ามาในหมู่บ้าน) เนื้อที่นาข้าว 20 ไร่จำเป็นต้องมีแรงงานในการนวดข้าว(ด้วยรถนวด) 15-20 คน เพราะการใช้รถเกี่ยวแบบนี้ยังต้องใช้แรงงานในการขนฟางเข้ามาใส่ในรถเกี่ยว คนยัดฟาง คนถือกระสอบ และคนมัดฟาง ต่างจากการเกี่ยวข้าวในปัจจุบันที่ไม่ใช้แรงงาน เพราะเป็นภาระของเจ้าของรถทั้งหมดและสามารถเกี่ยวข้าวจำนวน 20 ไร่ ให้เสร็จและขนไปยังโรงสีได้ภายในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง

การใช้รถนวดข้าวแบบเดิมได้เลิกไปในช่วงเวลาประมาณปี พ.ศ. 2530 หลังจากนั้นได้มีการนำรถเกี่ยวข้าวเข้ามาใช้แทน ซึ่งหากเปรียบเทียบการเก็บเกี่ยวโดยใช้รถนวดแบบเดิมกับรถเกี่ยวแล้ว จะเห็นได้ว่าปริมาณแรงงานที่ต้องใช้กับรถนวดข้าวมีมากกว่า นอกจากนี้ การใช้รถเกี่ยวแบบใหม่ยังสามารถลดขั้นตอนในการเก็บเกี่ยวมาเหลือเพียงขั้นตอนเดียว  เพราะรถเกี่ยวสามารถลงไปเกี่ยวข้าวในนาได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นข้าวเปลือกได้ในขั้นตอนเดียว โดยใช้คนขับคนเดียวในการเก็บเกี่ยว  ดังนั้น จึงสามารถลดจำนวนแรงงาน ระยะเวลาและความยุ่งยากในการเก็บเกี่ยวได้มาก

ชาวบ้านที่มีฐานะในพื้นที่คลองโยงจะซื้อรถเกี่ยวมาจากภายนอกพื้นที่ ในระยะแรกจะซื้อมาจากจังหวัดฉะเชิงเทรา แล้วมารับจ้างเกี่ยว แล้วพอซื้อรถเกี่ยวมาแล้วไม่สะดวก ก็จะนำมาให้ช่างปรับแต่งให้ หลังจากมีรถเกี่ยวเข้ามาในพื้นที่ ช่างซ่อมในพื้นที่ก็ปรับตัวหันมาทำอุปกรณ์เกี่ยวกับรถเกี่ยว ซึ่งในสมัยก่อนการขนรถเกี่ยวมาให้ช่างซ่อมจะขนส่งมาทางเรือผ่านมาทางคลองเจ๊ก ขึ้นมาซ่อมกันที่โป๊ะท่าน้ำของโรงซ่อม  โดยที่ช่างซ่อมอุปกรณ์/ เครื่องจักรทางการเกษตรได้บรรยายถึงการเจริญเติบโตของธุรกิจของเขาซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างมากกับอาชีพการทำนาว่า

“ผมซ่อมเครื่องจักรทางการเกษตร รถไถ เครื่องเกี่ยวข้าวนวดข้าว ถ้าเศรษฐกิจดีพวกนี้จะเยอะ คนก็คุ้มจะซ่อม ซ่อมด้วยซื้อด้วย พอมาตอนหลังมันเกิดกับรถเกี่ยวข้าว วิถีชีวิตมันสัมพันธ์กับวิถีการผลิตด้วย ถ้ายังใช้ควายอยู่ชีวิตพี่ไม่เจริญ เจริญไม่ได้ อย่างตาใจเค้าทำนา ผมเป็นช่าง ถ้าไม่ใช้ควายก็ใช้รถไถ ผมก็ซ่อมอุปกรณ์รถไถ ผมไม่ได้ขาย ซ่อมอย่างเดียว  เราอยู่กับรากหญ้า เราเลยรู้ พอรากหญ้ามันเกิดได้ อะไรมันก็เกิด”  ช่างยิ้ม (นามสมมติ ) กล่าว

ยุคชาวนาแบบ part-time ตั้งปี 2540 – ปัจจุบัน 

ในช่วงต่อมา การพัฒนาการของระบบการผลิตในพื้นที่คลองโยงที่เปลี่ยนแปลงไป สู่การผลิตโดยเครื่องจักรและการเข้ามาของเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยมากขึ้น  ส่งผลให้ชาวนาทำการเกษตรได้อย่างเข้มข้นขึ้น  ความเปลี่ยนแปลงในด้านวิถีการผลิตได้ทำให้การทำนาสมัยใหม่มีลักษณะเป็นแบบ “ผู้จัดการนา” และเป็นการทำนาแบบ “งานไม่ประจำ” (part-time) กล่าวคือ เจ้าของนาใช้เวลาอยู่ในนาเพียงฤดูการทำนาเพียงราว 10-15 วันเท่านั้น แต่ค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนการผลิตสูงมาก ในขณะที่ราคาผลผลิตหรือการขายข้าวเปลือกมีความผันแปรเป็นอย่างมาก   

โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540  มีการเข้ามาของเครื่องจักรขนาดใหญ่ เช่น เครื่องเกี่ยวข้าวระบบไฮโดรลิค รถไถแทรคเตอร์ขนาดกลาง เป็นต้น  โดยเฉพาะเครื่องเกี่ยวข้าวระบบไฮโดรลิค สามารถเกี่ยวข้าวและนวดข้าวได้ในครั้งเดียวกัน ทำให้ลดแรงงานคนในการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ชาวนาได้ปรับแปลงนาเพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี โดยการล้มหัวคันนาซึ่งเป็นแปลงเล็กๆ แบบเดิมมาสู่แปลงขนาดใหญ่ที่มี “คันล้อม” ที่สูงพอที่จะกั้นน้ำเข้าออก และกว้างพอที่จะใช้เครื่องจักรเข้าไปสู่ผืนนาได้ และพื้นนาจะถูกปรับโดยรถแทรกเตอร์ให้หน้าดินเรียบเสมอเท่ากันเพื่อสะดวกแก่การใช้เครื่องจักรเดินในผืนนา 

“พอมีรถเกี่ยวข้าวเข้ามา  คิดว่ามันทำให้เกิดการทำนาหลายหนมากขึ้นเหมือนกันนะ เพราะว่ามันมี รถเกี่ยว มันทำให้ย่นระยะเวลาในการทำนา เพราะรถเกี่ยวมันเกี่ยวแล้วนวดออกมาเลย  อย่าง ใน  7 วันรถเกี่ยวมันสามารถเกี่ยวได้ 50 ไร่ มันเกี่ยวหมด พอเกี่ยวแล้วก็ไม่ต้องเอาคนไปนวดอีก  7 วันเสร็จเรียบร้อย เข้าวันที่ 8 เราก็รับเงินได้เลย  ถ้าเป็นเมื่อก่อนมันไม่มีรถเกี่ยวแต่มันมีรถนวด ใช้คนเกี่ยว เกี่ยวเสร็จก็หอบเอามากองไว้  แล้วให้เครื่องนวดมันลากไป จากนั้นก็เอาคนมารอยัดข้าวเข้าไป ยัดเข้าไป  มันก็เร็วกว่าใช้ควายนิดหนึ่งเร็วกว่าหลายเท่าตัว 2-3 วันก็นวดหมด 30 ไร่  แต่ก็ใช้คนเยอะเพราะต้องมีคนขนฟางเจ้ามา จากนั้นก็คนยัดฟาง อีกคนถือกระสอบ อีกคนรองกระสอบ  คนยัดฟางเข้ามา คนมัดอีก แต่ถ้าเป็นรถเกี่ยวมันจะเร็วกว่านั้นเพราะว่า มีคนเกี่ยวคนเดียวแล้วคนรองกระสอบอีก 4 คน แต่ตอนนี้ก็มีพัฒนาไปอีกมันเกี่ยวคนเดียวเลยเพราะมันเกี่ยวใส่ในฉางของมัน บรรทุกได้สองเกวียน  แล้วมันก็ค่อยวิ่งไปชายถนนแล้วก็เอาข้าวเทใส่ไซโลแล้วใส่รถ 10 ล้อมันเลย แล้วมันก็วิ่งไปเกี่ยวใหม่ทำให้เร็ว ” ช่างยิ้ม กล่าว

ช่างยิ้ม กล่าวว่าตนเองนั้นเป็นคนแรก ๆ ที่บุกเบิกให้มีการนำเครื่องยนต์ไฮโดรลิคเข้ามาใช้ในการทำการเกษตร เนื่องจากช่างอำนวยเป็นช่างคนแรกในคลองโยงซึ่งมีความสามารถที่จะซ่อมเครื่องยนต์ในระบบไฮโดรลิคได้  ทำให้การใช้เครื่องเกี่ยวข้าว นวดข้าวแบบไฮโดรลิคได้พัฒนาและนำมาใช้มากขึ้นในการทำการเกษตร

“ทำไปทำมามันเกิดเครื่องเกี่ยวข้าวขึ้นมา แต่มันยังมีระบบธรรมดาอยู่ พอเรามีความรู้เรื่องระบบไฮโตรลิก เราก็เอาระบบไฮโดรลิกเข้ามาใส่เอาไว้ให้มันเดินได้  เพราะเรามีความรู้เรื่องนี้จากเรือขุดแร่ที่เราเคยซ่อม  เราเอาระบบเรือขุดแร่มาทำใส่รถเกี่ยวข้าวเราเป็นผู้ออกแบบตัวนี้ให้กับประเทศไทย เราเราเป็นผู้คิดระบบเดินของเครื่องเกี่ยวข้าวนี้เอง  พอเราใส่เข้าไปคนรู้จักก็จริงแต่ก็ซ่อมไม่เป็น เสียก็ต้องมาซ่อมที่เรา คนอื่นรู้จักไหมก็รู้จักแต่เขาไม่เคยซ่อม ทำให้เวลามีรถที่ซื้อมาแล้ว เขาก็ให้เราเอาระบบนี้ใส่เข้าไป ทำให้คนรู้จักเราไปเรื่อย ๆ...”

เครื่องจักรช่วยให้ทำการเกษตรได้สะดวกรวดเร็ว  อีกทั้งเครื่องดำนายังช่วยให้ชาวนาดำนาได้เสร็จเร็วขึ้น และไม่ต้องใช้วิธีลงแขกในการขอแรงเพื่อนบ้านเพื่อมาช่วยดำนา  ส่วนการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงถึงแม้จะฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหลายครั้งในการทำนาครั้งหนึ่งๆ แต่เมื่อมีเครื่องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงทำให้ฉีดพ่นยาได้เร็วโดยอาศัยแรงงานคนที่น้อยลง  การที่รถเกี่ยวข้าวแบบเครื่องนวด รวมถึงเครื่องจักรที่ทันสมัยต่างๆ เมื่อเข้าสู่ช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา จึงมีบทบาทมากในการทำนาของชาวนาในพื้นที่คลองโยง นอกจากจะช่วยให้มีความสะดวกและรวดเร็วในการทำการเกษตรแล้ว  ยังทำให้ชาวนาผลิตข้าวมากขึ้น ชาวนาบางรายทำนาปีละ 3 ครั้ง การทำนาจึงไม่ต้องพึ่งพาธรรมชาติอีกต่อไป ชาวนาสามารถกำหนดช่วงเวลาในการไถว่านเพื่อทำนาได้ด้วยตนเอง หรือแม้แต่การแบ่งที่นาเป็นส่วนๆ  เพื่อทำการเกษตรอย่างอื่นไปพร้อมๆ กันก็ยังสามารถทำได้ เมื่อชาวนาในปัจจุบันมีช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำนานานขึ้น ทำให้ชาวนาหันไปประกอบอาชีพอื่นๆได้ด้วยเพื่อเป็นการเสริมรายได้จากการทำนาอย่างเดียว เช่น นาบัว สวนผัก (ผักชีฝรั่ง แตงกวา ถั่วฝักยาว ตระไคร้ ฯลฯ) เลี้ยงปลา สวนผลไม้ (ส้มโอ กล้วยหอม ฝรั่ง ฯลฯ) และการเข้าไปเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม

โดยสรุปแล้ว ข้อมูลจากบ้านคลองโยงชี้ให้เห็นว่า เกษตรกรที่นี้มีวิถีการผลิตแบบสมัยใหม่-มุ่งตลาด (modern and market oriented) เป็นผู้ประกอบการเกษตรขนาดเล็ก-กลาง (small-medium size entrepreneur) เขาไม่ใช่เป็นชาวนา (peasant) แบบในอดีต ที่เน้นการผลิตเพื่อบริโภคเองเป็นหลัก และ/หรือใช้เทคนิกแบบเก่าที่ใช้แรงงานเข้มข้น แต่เป็นการผลิตเพื่อตลาด และใช้ทุนเข้มข้น  การตัดสินทั้งด้านการผลิตและการตลาดเป็นการตัดสินใจเชิงธุรกิจ ซึ่งต้องพิจารณาปัจจัยและสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านราคาขาย ด้านต้นทุนการผลิต แบบเดียวกับผู้ประกอบการในภาคธุรกิจอื่นๆ นอกภาคเกษตร ดังนั้น ความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจมหภาคย่อมส่งผลโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่นี่เช่นกัน  ในแง่นี้แล้ว “ชาวนา-ชาวสวน” คลองโยงก็มีวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจไม่ต่างจากผู้ประกอบการภาคอื่นในเขตเมือง  นอกจากนี้แล้ว แม้ว่าภาคเกษตรจะยังคงมีความสำคัญอยู่มาก แต่ความสำคัญของเศรษฐกิจนอกภาคเกษตรก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้ผู้คนในพื้นที่นี้มีอาชีพที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น  ทั้งหมดนี้ ย่อมทำให้การวิเคราะห์แบบแบ่งขั้ว-แยกข้างระหว่างเมืองกับชนบทำไม่สามารถเข้าใจสภาพความเป็นจริงที่เปลี่ยนไปนี้ได้

แน่นอนว่า คลองโยงมิใช่ตัวแทนของหมู่บ้านชนบททั้งหมด แต่ก็มิใช่กรณียกเว้น  แม้ว่าหมู่บ้านคลองโยงมีสภาพแตกต่างกับกับงานวิจัยเศรษฐกิจสังคมหมู่บ้านในรอบสิบปีที่ผ่านมาอยู่บ้าง เช่น Rigg and Sakunee (2001) ซึ่งศึกษาตำบล “ทุ่งสโดค” (Thung Sadok) ในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และ Rigg (et.al., 2008) ซึ่งวิจัยสองหมู่บ้านในตำบล Khan Haam อำเภออุทัย จังหวัดอยุธยา  แต่สิ่งที่คลองโยงเหมือนกับงานทั้งสองชิ้นนี้คือ วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจของคลองโยง ซึ่งเป็นการผลิตแบบสมัยใหม่-มุ่งตลาด (modern and market oriented) และมีวิถีชีวิตแบบ “ยืนสองขา” ทั้งในและนอกภาคเกษตรมากขึ้น อันมีรายละเอียดต่อไปนี้

งานของ Rigg and Sakunee (2001) สรุปว่า ในทุ่งสโดค ซึ่งภายนอกเป็นผืนนาชลประทานและที่สวนนั้น วิถีชีวิต (livelihood) แบบยืนสองขาระหว่างเกษตรกรรมและนอกภาคเกษตร ซึ่งเชื่อมโยงกับตลาดโลก กลายเป็นแบบวิถีหลัก เอาเข้าจริงแล้ว เศรษฐกิจของพื้นที่นี้ขึ้นกับกิจกรรมนอกภาคเกษตร นับตั้งแต่งานโรงงานในนิคมลำพูน การทำดอกไม้ประดิษฐ์ ทอเสื่อ มากกว่าการเกษตร  และแม้แต่ในครอบครัวที่ทำการเกษตรอย่างเดียว ซึ่งมีอยู่น้อยรายมาก เช่นในกรณีของนายอุทิศ  เขาเช่าที่นาแปดไร่เพื่อการปลูกข้าวสองรอบ และปลูกหัวหอมอีกหนึ่งรอบในหนึ่งปี  การตัดสินใจผลิตก็เป็นการตัตสินใจเชิงธุรกิจล้วนๆ  แม้แต่ข้าวนาปีที่ปลูกก็มิได้เก็บไว้กินเองเลย  การเอาแรงซึ่งกันและกันแม้ว่ายังคงอยู่ แต่ก็เป็นเพียงแค่สัญลักษณ์ตกค้างจากอดีตเท่านั้น (p.949)  ยิ่งไปกว่านั้น 10% ของพื้นที่ปลูกข้าวในตำบลก็เป็นการผลิตแบบพันธะสัญญา ปลูกข้าวพันธุ์ญี่ปุ่นเพื่อนำไปทำเหล้าสาเก (p.950)  ในแง่นี้จึงยากมากที่จะจัดครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งว่า มีวิถีชีวิตแบบเมือง หรือชนบท  เพราะว่าในครอบครัวหนึ่งนั้น พ่ออาจจะทำนาในหมู่บ้าน แม่นั่งทำดอกไม้ประดิษฐ์ที่บ้าน ในขณะที่ลูกๆ ทำงานในโรงงานที่ลำพูน  ชีวิตในครอบครัวนี้จึงก้าวข้ามทั้งสาขาเศรษฐกิจ (sectoral) และพื้นที่กายภาพ (spatial) แต่ทั้งหมดใช้ชีวิตในหมู่บ้านชนบท

ส่วน Rigg, (et.al., 2008) พบว่า วิถีชีวิตของสองหมู่บ้านในจังหวัดอยุธยานั้น มิใช่สังคมเกษตรกรรมเลย  ทั้งๆที่ในทศวรรษ 2503-2513 ทั้งสองแห่งเป็นภาพตัวแทนสังคมชาวนาแบบดั่งเดิม  ดูได้จากตัวเลขที่ระบุว่า 98% และเกือบ 100% ของประชากรในสองหมู่บ้านนี้ ถ้าไม่เป็นนักเรียนก็มีอาชีพนอกภาคเกษตร  ยิ่งไปกว่าวิถีการผลิต วิถีชีวิตแบบ “สมัยใหม่” ทั้งในแง่ ความอยากได้ใคร่มี ความหวัง-การคาดฝัน (aspiration) ปทัศสถาน (norm) ความคาดหวัง (expectations) และมุมมอง (outlook) ซึ่งเชื่อมโยงและไม่ต่างจากสังคมเมืองใหญ่ ได้เข้าแทนที่วิถีแบบเก่าโดยสิ้นเชิง ในแง่นี้แล้ว สังคมหมู่บ้าน ในฐานะชุมชนแบบในอดีต จึงระเหดเหยไปหมดแล้ว

จากสภาพของพื้นที่ทั้งสามแห่งข้างต้น สิ่งหนึ่งที่สรุปได้คือ การวิเคราะห์แบบแบ่งขั้ว-แยกข้างระหว่างเมือง-นอกภาคเกษตร กับชนบทเกษตรกรรม ซึ่งมีอิทธิพลมากต่อสังคมศาสตร์ไทยมาระยะหนึ่ง น่าจะหมดภาระกิจทางประวัติศาสตร์ไปแล้ว

ใครคือคนเสื้อเหลือง/แดงแห่งบางคลองโยง

หากมองในแง่เศรษฐกิจแล้ว จะเห็นได้ว่าคนเสื้อแดงและคนเสื้อเหลืองในคลองโยงไม่ได้มีฐานสินทรัพย์ที่แตกต่างกัน กล่าวคือทั้งสองกลุ่มเป็นเจ้าของที่ดินและยานพาหนะในจำนวนเท่าๆกัน ถึงแม้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วคนเสื้อเหลืองจะเป็นเจ้าของรถกระบะมากกว่าเล็กน้อยก็ตาม คนเสื้อแดงมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินโดยเฉลี่ย 14.93 ไร่ต่อครัวเรือน ส่วนคนเสื้อเหลืองนั้นมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินโดยเฉลี่ย 12.46 ไร่ต่อครัวเรือน  อย่างไรก็ตามสิ่งที่สรุปได้จากการทำแบบสอบถามที่คลองช้างก็คือคนเสื้อแดงโดยเฉลี่ยแล้วจะทำธุรกรรมทางการเงินที่มีขนาดเล็กกว่าคนเสื้อเหลือง แต่มีภาระหนี้ที่หนักกว่า เมื่อกล่าวถึงรายได้ คนเสื้อแดงโดยเฉลี่ยแล้วจะมีรายได้ต่อหัวต่ำกว่าคนเสื้อเหลืองคือ ประมาณ 5,195 บาทค่อตนต่อเดือนและ 11,849 ต่อคนต่อเดือนตามลำดับ ส่วนในแง่ของเงินกู้ คนเสื้อแดงเป็นหนี้โดยเฉลี่ยน้อยกว่าคนเสื้อเหลืองเช่นกันคือประมาณ 85,200 บาทต่อครัวเรือนและ 135,231 บาทต่อครัวเรือนตามลำดับ แต่ถึงแม้ว่าทั้งรายได้และเงินกู้ของคนเสื้อแดงจะน้อยกว่าก็ตาม สัดส่วนของเงินกู้ต่อรายได้ครัวเรือนของคนเสื้อแดงก็ยังสูงกว่า (5.6 เท่า) ในขณะที่ สัดส่วนเงินกู้ต่อรายได้ของคนเสื้อเหลืองคือ 4.9 เท่า แสดงให้เห็นว่าคนเสื้อแดงรับภาระหนี้มากกว่าคนเสื้อเหลือง ในแง่นี้แล้ว สรุปได้ว่า ทั้งคนเสื้อเหลืองและคนเสื้อแดงบ้านนี้ไม่ใช่คนจน แต่คนเสื้อเหลืองจะมีฐานะดีกว่าคนเสื้อแดง ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ แหล่งรายได้ของคนเสื้อเหลืองจากนอกภาคการเกษตรจะมีมากกว่าเสื้อแดงเล็กน้อย พิจารณาได้จากการที่คนเสื้อเหลือง 28% มีสัดส่วนของรายได้เกษตรต่อรายได้รวมน้อยกว่า 40%  ในขณะที่คนเสื้อแดงมีเพียง 24%

ผลการสนทนากลุ่มจังหวัดนครปฐม เชียงใหม่ และอุบลราชธานี

“คนเสื้อเหลือง” ที่เราพูดคุยด้วยในทั้งสามจังหวัด มักเป็นผู้ที่มีรายได้สม่ำเสมอ หรือเป็นเงินเดือน ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นข้าราชการครู-อาจารย์ (นครปฐม เชียงใหม่ และอุบล) พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชน-นักวิชาชีพ (อุบล)  นักพัฒนา (NGO เชียงใหม่)  แต่เป็นเกษตรกรก็มี (นครปฐม)  ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า  มักมีฐานะดี เช่นรายหนึ่งเคยเป็นผู้จัดการธนาคาร ปัจจุบันเปิดบริษัทสอบบัญชี และเป็นประธานโรตารี่จังหวัด  อีกสองราย แม้เป็นเกษตรก็มีฐานะพอส่งเสียลูกๆ จนกระทั่งเรียนจบมหาวิทยาลัยชั้นนำขอรัฐได้

“คนเสื้อแดง” ที่เข้าร่วมในการสนทนากลุ่มย่อยส่วนใหญ่ทำการผลิตเพื่อตลาด หรือการค้าทั้งในและนอกภาคการเกษตร แต่ขาดความมั่นคงทางรายได้ แม้ว่าหลายคนจะมีกิจการของตนเองก็ตาม เนื่องจากเป็นรายได้ที่ไม่แน่นอน บางครั้งก็ขาดทุน ส่วนน้อยเป็นข้าราชการ หรือมีเงินเดือนประจำ

เกือบทั้งหมดของเสื้อแดงนครปฐมที่พูดคุยด้วยทำนาข้าว และ/หรือนาบัว เสริมด้วยการปลูกผักชีฝรั่งด้วยวิถีการเกษตรแผนใหม่ นาข้าวทั้งหมดเป็นนาหว่านในเขตชลประทาน ใช้พันธุ์ข้าวสมัยใหม่ (เลิกปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง-นาปีตั้งแต่พ.ศ. 2517-18) ใช้เครื่องจักรในทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่เตรียมดิน พ่นข้าว ฉีดปุ๋ย ตลอดจนใช้รถเกี่ยวข้าว ขายผลผลิตทุกเมล็ด และซื้อข้าวสารบริโภค  ส่วนผู้ทำนาบัวและปลูกผักชีนั้น มีทั้งที่ปลูกขายส่งอย่างเดียว และนำมาขายเองที่ปากคลองตลาด เช่นกรณีของนายสมใจ  ส่วนนายอำนวยนั้นเป็นช่างซ่อมเครื่องจักรการเกษตร เปิดอู่บริการของตนเอง 

เมื่อถามว่า ให้จัดลำดับชั้นทางเศรษฐกิจของตนเอง หากให้แบ่งทั้งหมดออกเป็นห้าชั้น โดยชั้นที่หนึ่งจนที่สุด และชั้นห้ารวยที่สุด  เกือบทั้งหมดตอบว่าตนอยู่ในชั้นที่สอง ยกเว้นอำนวยคนเดียวที่ยอมรับว่าตนอยู่ชั้นที่สาม  ไม่มีใครเลยที่จัดว่าตนอยู่ในชั้นที่หนึ่ง

คนเสื้อแดงอุบลที่พูดคุยด้วยมีความหลากหลายในแง่อาชีพและฐานะทางเศรษฐกิจกว่านครปฐม  แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ไม่มีผู้ใดเลยที่มีรายได้ประจำ หรือเป็นมนุษย์เงินเดือน นับตั้งแต่เกตุสุรีและนงคราน ซึ่งเป็นเกษตรกร คนแรกปลูกไม้ตัดดอก เลี้ยงวัว เลี้ยงเป็ด และขายก๋วยเตี๋ยวในหมู่บ้าน คนหลังปลูกยาง ดอกไม้ และขายเองในตลาด  ส่วนเสาวคนเป็นแม่บ้านขายน้ำข้าวโพดเป็นอาชีพเสริม  ในขณะที่นายผลเปิดร้านขายเครื่องไฟฟ้าและจานดาวเทียมในตัวเมืองอุบล  ส่วนนายน้อยทำธุรกิจรับเหมา-ประมูลงานภาครัฐ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี

เสื้อแดงเชียงใหม่ มีความแตกต่างมากทั้งด้านอาชีพและฐานะทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่เกษตรกร (นา สวน) นักธุรกิจ (โรงแรมและร้านอาหาร รับเหมาก่อสร้าง เจ้าของบ้านเช่า) นักการเมืองท้องถิ่นในเวียง ช่างทอง (เจ้าของร้านห้องแถว) นักพัฒนาและนักกิจกรรม (NGO, DJ วิทยุชุมชน) ข้าราชการบำนาญ (เจ้าของร้านของชำ) ข้าราชการระดับล่าง (ตำรวจ ทหาร สรรพากร) ลูกจ้างร้านอาหาร หมอนวดแผนโบราณ รับจ้างทั่วไป (รายได้ไม่แน่นอน) คนงานโรงงาน (อดีตพ่อค้าตลาดนัด) 

แม้ว่าคนเสื้อแดง-เสื้อเหลืองทั้งหมดที่เราได้พูดคุยด้วยนั้น จะมีความหลากหลาย-แตกต่างทั้งด้านอาชีพและฐานะทางเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่พอสรุปได้มีดังนี้

โดยรวมแล้ว ฐานะทางเศรษฐกิจและการศึกษาของคนเสื้อเหลืองจะสูงกว่า และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจมากกว่า เช่นมีเงินเดือนประจำ เป็นนักวิชาชีพ หรือมีธุรกิจที่มั่นคงแล้ว และน่าสนใจว่า ไม่มีตัวอย่างเสื้อเหลืองคนใดเลยที่มีฐานะต่ำกว่าคนชั้นกลาง  ในขณะที่ส่วนใหญ่ของคนเสื้อแดงจะมีกระแสรายได้ที่ผันผวน ขึ้นกับผลผลิต ภาวะการค้า และปริมาณงานที่รับจ้าง ตัวอย่างเช่นอดีตพ่อค้าขายเสื้อผ้าตามตลาดนัด ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ทำงานโรงงานก่อนที่จะลาออกมาค้าขาย เคยผ่อนรถกระบะมาทำการค้า แต่เมื่อเศรษฐกิจแย่ลงจึงขาดทุน รถถูกยึด และต้องกลับไปทำงานโรงงานเช่นเดิม  มีเสื้อแดงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีเงินเดือนประจำ แต่ทั้งหมดก็เป็นเพียงข้าราชการระดับล่าง หรือเป็นนักพัฒนาซึ่งมีเงินเดือนระดับไม่สูง อย่างไรก็ตามจากการสังเกตุ ไม่มีผู้ใดเป็น “คนจน” ในระดับที่เป็นผู้ยากจนใต้เส้นความยากจนของทางการเลย ตัวอย่างเช่น สามสาวจากจังหวัดเชียงใหม่ผู้มีอาชีพรับจ้างทั่วไปในเขตชานเมือง ซึ่งเป็นคนจนที่สุดในหมู่คนที่เราพูดคุยด้วย และจัดตัวเองอยู่ในชนชั้นที่จนที่สุดของสังคมไทยนั้น ปัจจุบันก็มีรายได้หลายพันบาทต่อเดือน ส่วนในช่วงเศรษฐกิจดีมีรายได้เกือบสองหมื่นบาท หรือในกรณีของหมอนวด (ชาย) ก็เช่นเดียวกัน  ทั้งหมดนี้มิได้หมายความว่า ไม่มีคนรวยเป็นคนเสื้อแดง จากตัวอย่างทั้งที่จังหวัดเชียงใหม่และอุบล เสื้อแดงหลายรายเป็นนักธุรกิจ ทั้งรับเหมาก่อสร้าง เจ้าของบ้านเช่า เจ้าของโรงแรม

ข้อมูลจากแบบสอบถาม

จากการประมวลผลการตอบแบบสอบถาม 99 ชุดที่ได้สุ่มจากหมู่บ้านคลองโยง (73 ชุด) และพื้นที่อื่นๆในประเทศไทย (26 ชุด) พบว่า ในแง่ของเศรษฐกิจสังคมเราพบว่า คนเสื้อแดงที่ตอบแบบสอบถามนั้นมีแนวโน้มที่จะประกอบอาชีพทางการเกษตร และรับจ้าง(นอกระบบมากกว่า) คนเสื้อเหลือง

จากที่ได้บรรยายข้างต้น ข้อมูลของเราสอดคล้องกับสมมติฐานของ ผาสุก พงษ์ไพจิตร ที่เสนอว่าฐานเสียงของพรรคไทยรักไทยคือ “มวลชนไร้การจัดตั้งจากภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ” (unorganized informal mass) ซึ่งประกอบด้วยสองกลุ่มย่อยคือ แรงงานจากภาคการเกษตรและแรงงานนอกระบบซึ่งคิดรวมเป็น 67% ของประชากรไทยในปี 2547 แต่สิ่งที่เราพบอาจจะแตกต่างตรงที่ว่าไม่ใช่ทั้งหมดของมวลชนไร้การจัดตั้งกลุ่มนี้จะเป็นเสื้อแดง ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ของพวกเขาจะเป็นก็ตาม

 

 

 

 

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก:

ราชดำเนินเสวนา โครงการร่วมปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ ๑o / ๒๕๕๓ “จุดเปลี่ยนชนบท จุดเปลี่ยนฐานการเมือง ?” (สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, 18-7-2553)
http://www.tja.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1980:-o-ooo-oo-&catid=32:rachdmenin-talk&Itemid=25

เปิดผลวิจัย "ใครคือคนเสื้อเหลือง/เสื้อแดง" (อภิชาติ สถิตนิรามัย และคณะ, มติชนออนไลน์, 18-7-2553)
http://matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1279434966&grpid=01&catid=
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"มาร์ค" ยันรัฐบาลไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่ทำให้ชาติเสียประโยชน์หรือเสียดินแดน

Posted: 18 Jul 2010 05:31 AM PDT

นายกรัฐมนตรีเดินสายพบสื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการปฏิรูปสื่อ ย้ำไม่ก้าวก่ายแทรกแซงการทำ หน้าที่ของสื่อ ขณะที่ปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชานั้น รัฐบาลยึดถือในเรื่องของสนธิสัญญาคือการกำหนดว่าสันปันน้ำคือเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา
<!--break-->

วันนี้ (18 ก.ค.) เวลา 09.00 น.  ณ  สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี  กล่าวกับพี่น้องประชาชนในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” เป็นครั้งที่ 77 ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย  และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ดังนี้ 
ช่วงที่ 1

สวัสดีครับพี่น้องประชาชนที่เคารพรักครับ  กลับมาพบกันทุกเช้าวันอาทิตย์นะครับ รายการในวันนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงนะครับ ช่วงแรกนั้นจะเป็นการรายงานการทำงานของรัฐบาลในชช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาตามปกติ  สำหรับช่วงที่ 2 นั้นจะมีการสัมภาษณ์โดยพิธีกรรับเชิญ ในวันนี้จะไปคุยกันโดยเฉพาะก็คือเรื่องการแก้ไขปัญหาไข่ โดยเฉพาะอย่างเมื่อมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นการที่จะปรับระบบในเรื่องของการทำธุรกิจในเรื่องของไข่อีกครั้งหนึ่งก็คือแสดงออกชัดเจนถึงการที่จะกลับไปสู่ระบบที่มีความเป็นเสรีมากขึ้น หลังจากที่เราพบปัญหาว่าเมื่อมีความพยายามในการที่จะจำกัดปริมาณตั้งแต่แม่ไก่ คือแม่พันธุ์แล้ว ก็มีผลกระทบอย่างมากต่อราคาไข่ในปัจจุบัน และในช่วงสุดท้ายครับก็เป็นการไปเก็บบรรยากาศของการประชุมของสภาเด็กและเยาวชนที่เป็นการจัดสมัชชา  ซึ่งจะมีข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปด้วย และก่อนที่จะจบรายการนั้นจะมีสกู๊ปต่อเนื่องจากที่เราได้ชมกันมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็คือจากการที่เราไปติดตามผู้ที่ได้แสดงความคิดเห็นเข้ามาในโครงการ 6 วัน 63 ล้านความคิด ซึ่งก็มีความคิดดี ๆ จากพี่น้องประชาชนที่อยากจะมีเสียงในการที่จะช่วยกำหนดทิศทางของการปฏิรูปต่อไป

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสื่อสารมวลชนในการปฏิรูปสื่อ

สำหรับช่วงแรกนั้นก็อยากจะคุยถึงงานทางด้านการปฏิรูป 2 เรื่องที่อาจจะยังไม่ได้มีการพูดหรืออธิบายในรายละเอียดมากนัก เรื่องแรกก็คือเรื่องของสื่อสารมวลชน การทำงานในเรื่องของการปฏิรูปสื่อคงจะแตกต่างจากงานทางด้านอื่น ๆเพราะว่าคงจะไม่มีคณะกรรมการซึ่งทำขึ้นมาเป็นการเฉพาะ เนื่องจากว่าคงไม่ค่อยเหมาะสมที่จะดำเนินการในรูปแบบอย่างนั้น เพราะโดยหลักแล้วเรื่องของสื่อสารมวลชน สิ่งที่เราต้องการทำก็คือทำอย่างไรที่จะให้สื่อสารมวลชนนั้นมีเสรีมาก และการใช้เสรีนั้นเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือการกำกับดูแลจุดยืนของรัฐบาลก็คือต้องการที่จะให้สื่อสามารถทำหน้าที่ในการกำกับดูแลตัวเองให้ได้มากที่สุด  ที่ผ่านมานั้นองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ ก็ได้มีการจัดประชุมสัมมนา และในขณะเดียวกันในส่วนของภาครัฐก็มีท่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี องอาจ คล้ามไพบูลย์  พร้อม ๆ กับทางคณบดีคณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งช่วยทำงานในด้านการประสานงานด้วย  

ก่อนหน้านี้มีความห่วงใยครับว่าการปฏิรูปสื่อจะเป็นความพยายามของรัฐบาลในการที่จะเข้าไปแทรกแซงหรือไปก้าวก่ายการทำงานของสื่อหรือไม่ เพื่อที่จะให้เกิดความมั่นใจนะครับ  ผมเลยได้ไปพบปะกับบรรดาสื่อสารมวลชนในสัปดาห์ที่ผ่านมา ไปพบกับค่ายสื่อ 2 ค่ายใหญ่ และจะพยายามพบปะกับกลุ่มอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความหลากหลายต่อไป  ได้มีการแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นกัน  ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยดี และได้ประโยชน์อย่างมาก มีงานหลายเรื่องซึ่งเป็นงานซึ่งทำงานด้วยกันมาก่อนหน้านี้ ก็คือการพยายามที่จะผลักดันในเรื่องของกฎหมายการคุ้มครองวิชาชีพสื่อก็ดี หรือการที่จะเร่งรัดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการมากำหนดแนวทางในการกำกับดูแลกิจการในเรื่องของวิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง และก็มีองค์กรกำกับที่เป็นอิสระ ซึ่งก็เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ  แต่ว่าที่ได้พูดคุยกันเพิ่มเติมครับก็คือมองว่าทางรัฐบาลนั้นควรจะได้มีการช่วยส่งเสริมสนับสนุนเพิ่มความเข้มแข็งขององค์กรวิชาชีพ  สื่อขณะนี้ก็มีหลายประเภทหลายแขนงที่มีความเข้มแข็งมีความต่อเนื่องมาโดยตลอดก็คือหนังสือพิมพ์  

แต่ว่าสิ่งที่ได้มีการแลกเปลี่ยนกันก็มองค่อนข้างตรงกันว่ากรณีของวิทยุโทรทัศน์ กรณีของวิทยุกระจายนั้น ยังมีปัญหาอยู่ว่าองค์กรที่มาทำงานดูแลกันเองในส่วนของสื่อในสาขาเหล่านี้ อาจจะยังไม่ได้มีประสบการณ์ยาวนาน และต้องทำงานท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างจะรวดเร็วมาก ซึ่งจะต้องมีการส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็ง  ขณะเดียวกันครับอีกจุดหนึ่งซึ่งจะมาช่วยงานทางด้านของการปฏิรูปสื่อได้ก็คือองค์กรของภาคประชาชนที่เข้ามาติดตามในเรื่องของการทำงานของสื่อ ปัจจุบันก็มีนะครับได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แต่ยังค่อนข้างอยู่ในระดับที่จำกัด ก็จะมีองค์กรที่มาติดตามเฝ้าระวังประเมินเรื่องของพื้นที่สื่อ เช่นว่าการนำเสนอข่าวนั้นให้พื้นที่อย่างเป็นธรรมหรือไม่อย่างไร รวมไปถึงเรื่องของการที่จะดูความเหมาะสมของรายการต่าง ๆ ซึ่งสามารถที่จะร้องเรียนไปได้  เป็นลักษณะของการคุ้มครองผู้บริโภคไปในตัวด้วย แต่ว่าที่เห็นตรงกันนะครับจากการไปแลกเปลี่ยนกับสื่อก็คือว่าตรงนี้น่าจะเพิ่มความเข้มแข็งขึ้น แน่นอนรัฐบาลคงไม่เข้าไปทำหน้าที่เสียเอง แต่คงต้องอาศัยกลไกอย่างเช่น สสส. หรือว่าหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งมีความเป็นอิสระ มีระยะห่างพอสมควร ที่จะเข้าไปสนับสนุนส่งเสริมองค์กรที่มาทำงานด้านนี้มากยิ่งขึ้น และคงจะต้องประสานใกล้ชิดมากขึ้นกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต่อไป 

อย่างไรก็ตามครับยังมีบางสื่อซึ่งยังจะต้องมีการหาแนวทางในการที่จะทำงานให้มีความพอดีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาของสื่ออินเตอร์เน็ต  ซึ่งบางครั้งจะมีเสียงร้องเรียนเข้ามาถึงเรื่องของการใช้พื้นที่ดังกล่าวไม่เหมาะสม แต่ในอีกด้านหนึ่งก็พบว่าบางครั้งการเข้าไปดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ดูจะหนักเกินไป นั่นคือว่ายกตัวอย่างเช่น เวลามีเว็บไซต์ซึ่งมีปัญหาจากการแสดงความคิดเห็นผ่านกระดานสนทนา แต่ว่าสุดท้ายมีการเข้าไปดำเนินการกับเว็บทั้งหมด ซึ่งอย่างนี้ก็คงจะต้องมาหาแนวทางและความพอดี ซึ่งทั้งหมดนี้อาจจะต้องไปเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหลายฉบับเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อที่จะให้สื่อสารมวลชนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ทำงานในการตรวจสอบได้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ไปจนถึงอาจจะต้องปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นประมาทก็ดี หรือความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ด้วย

ในส่วนของสื่อของรัฐเองก็ต้องมีการดำเนินการที่จะมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงปฏิรูปเช่นเดียวกัน ซึ่งขณะนี้ท่านรัฐมนตรีกำลังดำเนินการที่จะให้มีการเปิดพื้นที่ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของช่อง 11 เองก็จะมีการผลักดันให้มีรายการที่มีฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน สามารถที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อที่จะเป็นเวทีที่มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ผมก็อยากจะขอยืนยันว่างานทางด้านการปฏิรูปสื่อก็จะยึดเจตนารมณ์นี้ และแนวทางการทำงานของรัฐบาลชุดนี้ก็ยึดในเจตนารมณ์นี้เช่นเดียวกัน  ผมจะให้ความสำคัญกับการทำงานของทุกหน่วยงาน ทั้งองค์กรกลไกของสภา และองค์กรอิสระ อย่างสัปดาห์ที่ผ่านมาแม้กระทั่งในเรื่องของไข่ ทางคณะกรรมาธิการการเกษตรของสภาผู้แทนราษฎร ก็มาพบกับผม ก็ได้ทำงานทำการบ้านมาอย่างดี และก็มีข้อเสนอแนะ ซึ่งในที่สุดก็ปรากฏว่าสอดคล้องกับมติของคณะรัฐมนตรี การทำงานในลักษณะนี้ที่เราให้ความสำคัญกับตัวแทนของประชาชนทั้งในสภาผู้แทนราษฎร ทั้งในกรรมาธิการ  จะเป็นแนวทางที่จะทำให้ระบบรัฐสภาและประชาธิปไตยของเรามีความเข้มแข็งขึ้น พร้อม ๆ กันไปนะครับก็จะมีกลไกขององค์กรอื่น ๆ เช่น สภาที่ปรึกษา หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งจะมีข้อเสนอแนะหรือมีข้อสังเกตที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของรัฐบาล ซึ่งในบางเรื่องนั้นจะได้มีการพูดคุยในรายการนี้ในช่วงนี้ แต่เป็นในช่วงท้าย  

แต่ว่าอีกด้านหนึ่งที่เป็นงานทางด้านการปฏิรูปซึ่งได้มีการเคลื่อนไหวคืบหน้าไป ก็คือในเรื่องของตำรวจ  คณะกรรมการซึ่งจะเข้ามาดูแลในเรื่องนี้จะได้หยิบเอางานซึ่งเคยมีการนำเสนอตั้งแต่สมัยรัฐบาลของท่านพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แต่ว่าไม่สามารถดำเนินการได้เสร็จสิ้น ขณะนั้นก็มีข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปตำรวจค่อนข้างกว้างขวาง  แต่ว่าผมได้คุยกับท่านประธานคือท่านพล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร  ท่านก็ยอมรับว่าคงมีความจำเป็นที่จะต้องมาปรับปรุงและจัดลำดับความสำคัญในข้อเสนอแนะ ซึ่งเคยได้มีการดำเนินการมาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และให้สามารถปฏิบัติได้จริงค่อนข้างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 

กต.ตร.เป็นกลไกที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำงานกับตำรวจได้

เมื่อวานนี้เองผมได้มีโอกาสเรียกประชุมเชิญคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ  (กต.ตร.) ทั่วประเทศมาประชุม พี่น้องประชาชนหลายคนอาจจะไม่ทราบว่า กต.ตร.คืออะไร กต.ตร.นั้นเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่เรามีการเปลี่ยนกรมตำรวจมาเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ความคาดหวังก็คือว่าเราจะมีกลไกที่เรียกว่า กต.ตร. คือคณะกรรมการที่ตรวจสอบและติดตามการบริหารงานของทางตำรวจ ซึ่งจะมีตั้งแต่ในระดับของกรุงเทพมหานคร ในระดับจังหวัด และมีทุกสถานีตำรวจ ไม่ว่าจะเป็นนครบาล หรือภูธร องค์ประกอบของคณะกรรมการนี้จะมีทั้งในส่วนของตำรวจด้วยกันเอง และในสถานีตำรวจมีตำรวจชั้นประทวนด้วย แล้วจะมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคประชาชน เราหวังเป็นอย่างยิ่งครับว่ากลไกนี้จะสามารถทำให้ประชาชนเข้ามามีความใกล้ชิด และมีส่วนร่วมกับงานของตำรวจมากยิ่งขึ้น ผมอยากจะเชิญชวนพี่น้องประชาชนนะครับ ใครที่ยังไม่ทราบว่ามีกลไกนี้อยู่น่าจะได้พยายามที่จะมีส่วนร่วมกับคณะกรรมการชุดนี้ เพื่อที่จะให้คณะกรรมการเหล่านี้สามารถติดตามการทำงานของตำรวจได้ ปัญหาที่เป็นปัญหาในชุมชนของท่าน เช่น ปัญหาอบายมุข ปัญหาการจราจร อย่างในกรณีของกรุงเทพมหานคร หรือความต้องการที่จะเห็นการทำงานในเชิงรุกของตำรวจ  ผมคิดว่าไม่มีใครดีไปกว่าพี่น้องประชาชนเองที่จะให้ข้อมูล และกต.ตร. จะเป็นช่องทางสำคัญในการที่พี่น้องประชาชนจะมีส่วนร่วมกับตำรวจได้  อันนี้ก็เป็นความคืบหน้าอีกด้านหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับงานการปฏิรูป ซึ่งผมก็หวังว่าจะมีการเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ด้าน 

สำนักงานสถิติฯ สำรวจความคิดเห็นประชาชน

ในสัปดาห์หน้าสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่เราได้ไปทำพร้อม ๆ กับโครงการอื่น ๆ ในการรับฟังความคิดเห็นของพี่น้อง  ก็ได้สรุปมาแล้วซึ่งได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะในเรื่องของความต้องการของประชาชน มีการให้จัดลำดับความสำคัญของปัญหาในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง สังคม  สิ่งแวดล้อม และปัญหาอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะมีการดำเนินการไปให้กับทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการต่าง ๆ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่  จะได้ดำเนินการงานทางด้านนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป  

รัฐบาลไทยยึดสันปันน้ำคือเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา

ประเด็นสุดท้ายที่อยากจะถือโอกาสรายงานพี่น้องประชาชนในสัปดาห์นี้ก็คือ ข้อห่วงใยของพี่น้องประชาชนจำนวนไม่น้อยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชา สัปดาห์ที่ผ่านมากรรมการสิทธิมนุษยชนฯ พร้อมทั้งสภาที่ปรึกษาฯ และองค์กรอื่น ๆ ได้มาให้ข้อคิดเห็นและสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแนวทางของรัฐบาลในการดำเนินการในเรื่องนี้  ก็ขอเรียนยืนยันจุดยืนที่ชัดเจนนะครับว่ารัฐบาลไทยโดยเฉพาะรัฐบาลชุดปัจจุบันและผมนั้น ยึดถือในเรื่องของสนธิสัญญาก็คือการกำหนดว่าสันปันน้ำคือเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ยกเว้นกรณีของตัวปราสาทพระวิหารซึ่งมีคำวินิจฉัยของศาลโลกไปแล้ว และรัฐบาลไทยก็เคารพตามคำวินิจฉัยของศาลโลกนั้น แม้จะมีการแถลงสงวนสิทธิ์ไว้ อยากจะขอเรียนครับว่าที่ห่วงใยกันมากว่ามีการจะไปยอมรับในเรื่องของแผนที่ ซึ่งเป็นแผนที่ที่ทางกัมพูชาใช้ในการฟ้องร้องในคดีนั้นมากำหนดเส้นเขตแดน 

ขอยืนยันนะครับว่าทุกหน่วยงานที่ปฏิบัติอยู่ในขณะนี้ ไม่ได้มีการยอมรับแผนที่ แต่การดำเนินการในการที่จะกำหนดหลักเขตแดนซึ่งเรามีข้อตกลงเมื่อปี 2543 เพื่อที่จะได้ข้อยุติในเรื่องนี้ ก็เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาการปะทะหรือการสู้รบกัน แต่ขณะเดียวกันเราก็ได้ยึดสันปันน้ำอย่างชัดเจนเป็นแนวทาง ส่วนการจะทำแผนที่ แผน ที่ใดจะใช้ได้หรือไม่ ก็ต้องมาทาบดูกับพื้นที่ตามสภาพความเป็นจริง  ซึ่งฝ่ายไทยเรามั่นใจนะครับว่าเมื่อกำหนดจากแนวสันปันน้ำแล้ว ความเข้าใจของเราน่าจะถูกต้องว่าเส้นเขตแดนอยู่ที่ไหน และจะไม่ต้องมีข้อ วิตกกังวลว่าจะนำไปสู่การสูญเสียดินแดน ขณะเดียวกันพื้นที่ซึ่งมีการอ้างสิทธิ์ทับซ้อนกันอยู่ เราก็เป็นของเรา เขาก็เป็นของเขา สภาพในพื้นที่นั้นก็ต้องบอกครับว่ามีทั้งสองฝ่ายปะปนกันอยู่  แต่ด้วยข้อตกลงปี 2543 ทำให้ไปกระทบกระเทือนกับเรื่องของสิทธิ แล้วขณะเดียวกันการดำเนินการในเรื่องนี้ก็ต้องผ่านกระบวนการของสภาฯ ตามรัฐธรรมนูญของไทย  เพราะฉะนั้นผมอยากจะเรียนว่าเวลาที่มีการรุกล้ำหรือมีการเข้ามาของ ประชาชนฝ่ายกัมพูชานั้น ทางกระทรวง การต่างประเทศจะใช้วิธีการในการทำหนังสือประท้วง และในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ก็จะพยายามมีวิธีการในการที่จะแสดงสิทธิเหนือพื้นที่ตรงนั้น เพื่อบ่งบอกว่าเรามีอธิปไตยเหนือพื้นที่ตรงนั้น ซึ่งก็เป็นแนวทางซึ่งทำกันมา แล้วก็อาจจะมีการกระทบกระทั่งกับทางกัมพูชาในบางช่วง แต่ว่าโดยรวมแล้วทั้งสองฝ่ายก็พยายามหลีกเลี่ยงที่จะมีการปะทะกัน แล้วจะใช้กระบวนการตามที่ผมได้เล่าให้ฟังนะครับ คือตามข้อตกลงเมื่อปี 2543 ผ่านกระบวนการทางรัฐสภาของเรา 

ผมก็ขอเรียนครับว่าการที่ยังไม่มีข้อยุติตรงนี้ ก็เป็นเหตุผลหนึ่งซึ่งเราจะใช้ในการที่กัมพูชากำลังเดินหน้าในการที่จะบริหารพื้นที่ในการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกในเรื่องของปราสาทพระวิหาร ซึ่งจะมีการประชุมที่บราซิลในช่วงปลายเดือนนี้  ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุวิทย์ คุณกิตติ ได้รับมอบหมายจากทางรัฐบาลให้เป็นหัวหน้าคณะในการที่จะไปประชุมและแสดงจุดยืนที่ชัดเจน และได้ทำงานมาต่อเนื่องหลายเดือนแล้ว มีการรายงานให้ผมทราบอยู่ตลอดเวลา ซึ่งขณะนี้เราได้โน้มน้าวหลายประเทศว่าตราบเท่าที่ปัญหาเรื่องของการจัดทำหลักเขตแดนตามข้อตกลงต่าง ๆ ยังไม่ยุตินั้น ก็ไม่น่าที่จะสมควรที่จะอนุมัติในเรื่องของการบริหารจัดการพื้นที่ในส่วนของปราสาทพระวิหารให้กับทางฝ่ายกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ปรากฏชัดเจนว่ากัมพูชานั้นได้ยื่นแผนหรือเอกสารได้ครบถ้วน ในการที่จะดำเนินการบริหารพื้นที่ตรงนั้นเป็นลักษณะของมรดกโลก  

สิ่งที่ผมอยากจะย้ำก็คือว่าแน่นอนนะครับเรื่องนี้มีมุมมองข้อคิดเห็นในทางกฎหมายที่อาจจะแตกต่างกัน แต่ ขอยืนยันว่ารัฐบาลพร้อมรับฟังทุกความเห็นแล้วจะเชิญทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันแก้ปัญหา แต่ว่าท่านสบายใจและมั่นใจได้ครับว่ารัฐบาลนี้ไม่ได้มีผลประโยชน์ทับซ้อนอะไรในการที่จะไปทำให้ประเทศไทยนั้นเสียประโยชน์หรือว่าถึงขั้นกับเสียดินแดนโดยเด็ดขาด การทำงานนั้นยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติ และจะทำทุกวิถีทางด้วยความเข้มแข็ง  แต่ขณะเดียวกันก็จะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาความรุนแรงและกระทบกระทั่งในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อันนี้ก็คือสิ่งที่อยากจะถือโอกาสรายงานพี่น้องประชาชนในสัปดาห์นี้นะครับ พักกันสักครู่นะครับ เดี๋ยวไปดูการสัมภาษณ์โดยพิธีกรรับเชิญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของปัญหาไข่ และในช่วงท้ายของรายการจะมีบรรยากาศของการประชุมสมัชชาของเด็กและเยาวชน และต่อท้ายด้วยการแสดงความคิดเห็นของพี่น้องประชาชน ซึ่งได้แสดงความคิดเห็นมาในโครงการ 6 วัน 63 ล้านความคิดครับ

ช่วงที่ 2

พิธีกร สวัสดีครับ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์วันนี้ ผม กฤษนะ ละไล มาทำหน้าที่เป็นพิธีกรรับเชิญ นะครับ ในวันนี้ ท่านนายกฯ ก็เดินทางมาถึงสถานที่นี้แล้วครับ สวัสดีครับท่านนายกฯ ครับ เบื้องหลังการถ่ายทำ นี่ก็กำลังฟังรายงานจากคณะผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เราจะมาพูดคุยกันในวันนี้ด้วยส่วนหนึ่ง สวัสดีครับท่านนายกฯ ครับ

นายกรัฐมนตรี สวัสดีครับ

พิธีกร วันนี้มาลุยฟาร์มไก่นะครับ

นายกรัฐมนตรี ตอนนี้ได้ยินแต่เสียงอยู่ ยังไม่ได้เข้าไปดู

พิธีกร ผมมาตอนแรกนึกว่าประมาณตี 4 ตี 5 เห็นไก่ขัน ท่านนายกฯ เคยมาฟาร์มไก่บ้างไหมครับก่อนหน้านี้

นายกรัฐมนตรี ผมยังไม่เคยมาที่เกษตร ที่นี่นะครับ ตอนนั้นไปก็ไปเยี่ยมที่กำแพงแสนด้วย แต่ก็ไม่ได้มาดูเรื่องไก่ แต่มาคราวนี้ไม่ดูไม่ได้ เรื่องไข่

พิธีกร ท่านนายกฯ ข่าวน่าหวาดเสียว บอกไข่มาร์คแพงมาก

นายกรัฐมนตรี มันก็เป็นความแปลกอย่างหนึ่งครับว่า รู้สึกว่าประเทศเรานี้จะวัดราคาสินค้าที่ไข่เป็นหลัก และไข่ก็จะผูกติดอยู่กับชื่อนายกฯ เป็นอย่างนี้มาตลอด

พิธีกร และราคาไข่นี้จะว่าไปแล้วก็เป็นตัวพิสูจน์ฝีมือรัฐบาลด้วยนะครับท่านนายกฯ ว่าจะมีกึ๋นในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจขนาดไหน

นายกรัฐมนตรี ที่จริงก็เป็นเรื่องแปลกนะครับอย่างที่ผมบอกว่าทุกอย่างวัดกันที่ไข่ และไข่ก็มาอยู่กับนายกฯ นี้นะครับ ก็เป็นปัญหาซึ่งเราก็ย้อนกลับไปดูนี้ ช่วงหลังนี้เริ่มจากตอนไข้หวัดนก ไข้หวัดนกก็ถือว่ามีผลกระทบกระเทือนรุนแรงมากต่ออุตสาหกรรมทั้งหมด เพราะว่าตอนแรกก็มีความตื่นตระหนก ก็คงจำกันได้ พอหลังจากนั้นมานี้ก็ต้องมีการจัดระบบในเรื่องของการทำ ก็เป็นความ พยายามในขณะนั้นว่าคงจะต้องหาทางที่จะมีกลไกพิเศษขึ้นมาบริหารในเรื่องนี้ แล้วก็จริง ๆ เท่าที่ผมสอบถามกลับไป ตอนนั้นประมาณปี เริ่มตั้งแต่ปี 45 - 46 - 47 อะไรแถวนั้นมานี้ มาจนถึงกระทั่งออกระเบียบมาประมาณปี 49 ความคิดของเขาจริง ๆ แล้วอยากจะให้มันเป็นเรื่องของเอกชน เพื่อที่จะมาควบคุมในเรื่องของปริมาณอะไรต่าง ๆ ทั้งหมด แต่ว่ามันก็คงทำกันยาก เขาก็เลยต้องอาศัยภาครัฐเข้าไปด้วย เป็นระเบียบสำนักนายกฯ มา แล้วก็เลยมีคณะกรรมการที่เขาเรียกเอ้กบอร์ด ซึ่งก็มีทั้งฝ่ายราชการ และผู้ทรงคุณวุฒิ และก็จะมีการประสานงานกับเอกชนผ่านคณะกรรมการที่ปรึกษา ทีนี้ก็พยายามทำให้มันเกิดเสถียรภาพ ทำมาอย่างนั้น แต่ว่าปรากฏว่าก็มีการร้องเรียนและก็มีเสียงบ่นกันมา สุดท้ายเหมือนกับเป็นการจำกัดโอกาส ซึ่งก็เข้าใจได้นะครับว่า

พิธีกร ขออภัยครับ ตอนนี้ฝนเริ่มตก เข้าสู่หน้าฝนอย่างเป็นทางการ อยู่นี่เปียกแน่ เดี๋ยวเข้าไปชมในฟาร์มไก่ วันนี้นายกฯ อภิสิทธิ์จะพาไปดูชีวิตวงจรชีวิตไก่ไข่ ทำไมราคาแพง ว่าวันนี้ดีขึ้น

นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์คุณทีเดียวฝนตกเลย

พิธีกร วันนี้เรามาสัมภาษณ์นายกฯ กลางสายฝนเลย ท่านนายกฯ ครับเดี๋ยวสักครู่ครับ ขออภัยครับเขาต้องมีการฆ่าเชื้อ ก่อนจะเข้าไปสู่ฟาร์มไก่ไข่ที่นี่นะครับ ครบขั้นตอนนะครับเดี๋ยวจะเข้าไปข้างใน วันนี้เป็นรถเข็นผมเลย นายกฯ ช่วยยกด้วย ราคาขึ้นนะคันนี้ นายกฯ อภิสิทธิ์ ครับ เข้ามาในฟาร์มไก่ เสียงมันเจี๊ยวจ๊าวเลย มันดีใจนายกฯ มาเยี่ยม

นายกรัฐมนตรี ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าใช่หรือเปล่า แต่ว่าเมื่อกี้ที่เล่าอยู่ก็คือว่า พอหลังจากนั้นมา หนึ่ง ก็มีการเลี้ยงระบบปิดมากขึ้น แล้วเขาก็พยายามที่จะจำกัดในเรื่องของปริมาณไข่ที่ออกมาสู่ตลาด ทีนี้เขาก็มีการตั้งเป้ากันว่าปีหนึ่งนี้มีการนำเข้าแม่พันธุ์ไก่กี่ตัว เพื่อที่จะคุมตั้งแต่เรื่องราคาลูกไก่อะไรต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งความจริงต้องบอกว่าแม้กระทั่ง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ราคาไข่ก็ยังมีขึ้นและมีลงด้วย เพราะว่าตอนที่ผมเข้ามาตอนแรก ๆ ก็ยังมีช่วงหนึ่งที่บอกว่าไข่ถูก ต้องมารณรงค์กันให้กินไข่

พิธีกร ผมจำได้ปลายปีที่แล้วก็ยังถูกอยู่เลย ต้นปีก็ยังถูก

นายกรัฐมนตรี ถูกต้อง

พิธีกร มาตอนนี้มันแพงเอา ๆ

นายกรัฐมนตรี แต่ว่าตอนนี้ที่เราเห็นก็คือว่า พอมองย้อนกลับไปประมาณ 2 ปีที่ผ่านมานี้ ที่บอกจะควบคุมเรื่องของปริมาณนี้ ปรากฏว่าเอาเข้าจริงไก่ที่เข้ามาก็น้อยกว่าที่กำหนดกันไว้

พิธีกร แม่พันธุ์ไก่ไข่

นายกรัฐมนตรี ใช่ และก็มีเกษตรกรที่มาร้องว่าพอเขาอยากเลี้ยงเขาก็ไม่มีโอกาส เพราะฉะนั้นตอนหลังนี้ก็เลยไม่แปลกว่าของนี้มันขาด มันน้อย

พิธีกร พอน้อยก็...ปกติทั่วไป

นายกรัฐมนตรี ใช่ ๆ ทีนี้เราก็ต้องมาดูที่รัฐบาลพยายามทำไปแล้วตอนนี้ก็คือว่า หนึ่ง ทำอย่างไรจะให้มีไข่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น ตอนนี้ 1. ก็ใช้วิธีว่าที่เคยส่งออกได้เยอะนี้บอกอย่าส่ง ซึ่งก็ลดลงมาโดยลำดับ

พิธีกร เอามากินในประเทศก่อน ให้ชาวบ้านบริโภค

นายกรัฐมนตรี เอามาขายในประเทศ 2. ไก่นี้เขามีอายุของเขา ที่เขาพอปรับได้ พอมันอายุมากเข้า ๆ มันก็ไข่น้อยลง ทีนี้บางช่วงนี้ตอนที่เขาพยายามจะกำกับปริมาณนี้ เขาก็กำหนดอายุมันสั้นหน่อย ตอนนี้เราก็บอก

พิธีกร ขยายเวลา

นายกรัฐมนตรี ขยายไปหน่อยเพื่อให้มีไข่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น

พิธีกร ท่านนายกฯ ครับ ตอนนี้ดูเหมือนว่ามันจะหายเครียดแล้ว เพราะก่อนหน้านี้มันหน้าร้อนจัด อากาศมันอุณหภูมิ 30 ปลาย ๆ 40 ต้น ๆ

นายกรัฐมนตรี ผมต้องบอกว่าเรื่องอากาศก็มีผลนะครับ แต่ว่าตัวหลักจริง ๆ ที่เราดูนี้ต้องเป็นเรื่องของโครงสร้างมากกว่า เพราะฉะนั้นพอเราทำเรื่องอายุไก่ พอทำเรื่องส่งออกเสร็จ กระทรวงพาณิชย์ก็มาช่วยอีก เพราะว่าไข่ก็ต้องบอกว่าตอนหลังนี้มันก็มีเหมือนกับการไปซื้อของตลาด ถ้าไปซื้อตลาดสดตอนนี้ก็ 3 บาทกว่า แต่ว่าถ้าเข้า Super คำนวณก็ออกมาแล้ว 5 บาท 6 บาท เพราะตัวการบรรจุหีบห่อ Pack นี้เป็นตัวที่ราคาสูงขึ้น

พิธีกร ตอนนี้ราคาหน้าฟาร์ม นายกฯ ครับ วันนี้เรามาฟาร์มไก่ ถ้าจะมาซื้อไข่ไก่ไปขาย

นายกรัฐมนตรี 2.80 บาท

พิธีกร มันก็ยังเท่าเดิมสิครับนายกฯ มันก็ยังแพงอยู่ดี

นายกรัฐมนตรี เราต้องพยายามสิครับ ตอนนี้ก็พยายามกันครับว่าพอเรายืดตัวนี้ออกไปนี้ และก็ที่สำคัญเมื่อวันอังคารที่ผ่านมานี้ ก็เลยตัดสินใจแล้วว่าถ้าปล่อยบริหารในโครงสร้างเดิม มันจะยาก เพราะว่าเวลาที่มีการไปตกลงอะไรกันนี้ เกิดมีการไปจำกัดปริมาณมากขึ้นนี้ ในที่สุดราคาก็จะแพงมาก เพราะฉะนั้นเราก็เลยต้องบอกว่าไม่ได้แล้ว ต่อไปนี้ต้องกลับมาทำเสรีดีกว่า ถ้าจะมีการบริหารจัดการต้องไม่ใช่ในรูปแบบที่นำมาสู่ปัญหาแบบนี้ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย เขาก็มาร้องเรียนกับผมว่าเขาไม่ค่อยมีโอกาส เพราะฉะนั้นเราก็ต้องมาจัดระบบใหม่ แต่ว่าเอาละช่วงนี้เราก็ถือว่าทำความเข้าใจชัดเจน กรมปศุสัตว์ หน่วยงานต่าง ๆ ว่า จะต้องมีการเปิดเสรี แต่ว่าในส่วนของโครงสร้างที่ว่าเอ้กบอร์ดนี้ เราก็เอาผู้เชี่ยวชาญจากที่นี่ ที่เกษตร ไปช่วยเราศึกษาหน่อย ให้เวลาไป 2 เดือน ตอนนี้ก็เหลือสักเดือนครึ่ง บอกหน่อยสิว่าวันข้างหน้าจะทำอย่างไร ว่าเราสามารถบริหารให้พอมีเสถียรภาพได้ แต่ไม่เป็นการกีดกันจนกระทั่งทำให้เกิดการณ์ภาวะอย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้ที่มันแพง

พิธีกร มีคนเขาบอกว่าราคาไข่ไก่นี้ วันละ 25 ล้านฟอง ถูกไหมครับ ที่มันไข่ออกมาให้คนไทยบริโภค บางส่วน จะทำให้มันราคาแพงมันก็ไม่ยาก ราคาถูกก็ไม่ยาก แต่ที่มันยากสุดนี้คือราคาพอดี นายกฯ ครับ

นายกรัฐมนตรี นั่นหละ

พิธีกร ราคาพอดีที่คนเลี้ยงก็โอเคพอใจ คนซื้อก็ไม่มันแพง

นายกรัฐมนตรี ผมคิดอย่างนี้นะ ผมดูคนซื้อก่อนนะครับ เพราะว่าจริง ๆ แล้วนี้โปรตีนที่ถูกที่สุดอยู่ที่นี่

พิธีกร นี่เลย จะ 3 บาท 5 บาท ก็สุดแท้แต่....

นายกรัฐมนตรี แม้กระทั่งสมัยก่อนนี้มีช่วงหนึ่งหมอห้ามไม่ค่อยอยากให้คนอายุมาก ๆ หน่อยกินไข่ ตอนหลังนี้เขาไม่ค่อยว่าแล้ว ผมยังคิดว่าอันนี้สำหรับประชาชนส่วนใหญ่นี้ นี่คือโปรตีนในราคาที่เรียกว่าถูกที่สุด

พิธีกร จับต้องได้

นายกรัฐมนตรี และผมก็ไม่รู้นะ ผมไม่รู้ว่าคุณกฤษนะกับผมนี่ทานไข่ทุกวันเหมือนกัน

พิธีกร ระดับนายกฯ ทานไข่ทุกวันเลยหรือครับ

นายกรัฐมนตรี คืออะไรถ้ามีไข่ต้ม ไข่เจียว ไข่อะไรมันก็เห็นแล้วอดไม่ได้ กินข้าวกะเพราก็มีไข่ดาวอีก

พิธีกร ทานทุกวันเลย

นายกรัฐมนตรี เกือบจะทุกวัน

พิธีกร ถ้ามีโอกาสเมนูไข่ ไม่มีพลาด

นายกรัฐมนตรี ใช่ ๆ

พิธีกร วันนี้ท่านนายกฯ พาผมมาดูฟาร์มไก่ที่นี่นะครับ เป็นอาหารที่อยู่กับคนไทยทุกระดับ ตั้งแต่ล่างสุดจนถึงบนนี้

นายกรัฐมนตรี อันนั้นอันที่หนึ่ง อันที่สอง เอาละ ถ้าเกิดการแข่งขันมันทำให้เกิดภาวะล้นตลาดจริง ๆ ผมว่ามันก็เป็นแรงจูงใจให้ทุกคนหาวิธีการในการปรับตัว อย่างเช่น อย่างตอนที่เรายืดอายุไก่ ตอนนั้นก็อาจจะให้มันยืนกรงสั้นลงก็ได้ และก็จริง ๆ คิดไกลไปถึงขั้นว่า ตอนที่เรามีปัญหาเรื่องนม เราก็ทำเรื่องนมโรงเรียน ตอนนี้ถ้าเราคิดว่าจริง ๆ เราก็อยากให้เด็กกินไข่ ก็อาจจะ

พิธีกร ไข่โรงเรียน

นายกรัฐมนตรี ยังไม่ได้คิดชื่ออย่างนั้น

พิธีกร ก็อาจจะมีในอนาคตใช่ไหมครับ

นายกรัฐมนตรี ครับ

พิธีกร นี่เยอะจริง ๆ นะครับ แต่ดูวงจรนี้ดูแล้วมันก็แออัดกันแบบนี้นะครับ กว่ามันจะไข่ให้เราได้กินกัน แล้วเห็นเขาบอกนี้ครับ นายกฯ พอดีเห็นอาหารไก่ นี่ละที่เขาบอกตัวการทำให้ไข่ไก่ราคาแพง

นายกรัฐมนตรี คือต้นทุนนี้นะครั ต้นทุนมันก็มีตั้งแต่เรื่องของตัวลูกไก่ แล้วก็เป็นอาหารสัตว์ อาหารสัตว์ก็ไปขึ้นอยู่กับเรื่องราคาข้าวโพด ถั่วเหลืองอะไรต่าง ๆ เราก็พยายามไล่ดูนี้ ปรากฏว่าที่ขึ้นมากช่วงหลังคือลูกไก่ อาหารสัตว์มันก็มีสวนทางกันนะครับ ข้าวโพดกับถั่วเหลืองนี้สวนทางกันอยู่ แล้วต้นทุนที่ขึ้นไปมากจริง ๆ ตอนนี้เป็นเรื่องลูกไก่ ก็ยิ่งทำให้เรามั่นใจว่าปัญหานี้มาจากต้นทางเลย ก็คือเรื่องของแม่พันธุ์ ลูกไก่ ไข่สาว ที่ตอนนี้ต้องมาแก้ไขปัญหา ทีนี้มันก็จะมีการร้องเรียนเพิ่มเติมด้วยว่า เนื่องจากคนทำธุรกิจจะมีตั้งแต่พวกที่ทำครบวงจร บริษัทใหญ่ ๆ เขามีทั้งอาหารสัตว์ มีทั้งแม่พันธุ์ มีทั้งอะไรต่าง ๆ และก็ทำธุรกิจไข่ไก่ แต่ว่ารายย่อยอาจจะไม่ได้ทำครบวงจร ก็มีเสียงร้องเรียนว่า อุตสาหกรรมที่มันมีการผูกขาด หรือว่ามีการค้าขายไม่เป็นธรรมนี้เราก็บอกอันนี้กระทรวงพาณิชย์ก็ต้องดูโครงสร้างด้วย เพราะว่าถ้าเกิดซื้อลูกไก่ พวกอาหารสัตว์อะไรทำนองนี้ครับก็มีการร้องเรียนกันอยู่

พิธีกร ราคาไข่ไก่ในวิสัยของท่านเป็นแบบไหนครับ

นายกรัฐมนตรี ตอนนี้เราก็คิดว่าภายในระยะเวลาอันใกล้นี้ราคาจะค่อย ๆ ปรับตัวลง แต่ว่าสิ่งที่สำคัญกว่าก็คือว่า ที่กำลังปรับโครงสร้างครั้งนี้ก็จะทำให้ระยะยาวไม่เกิดปัญหาในลักษณะนี้อีก แต่ว่าที่แก้ต้นทางนี้ต้องเข้าใจนะครับ แม่พันธุ์ที่บอกจะเอาเข้ามานี้ กว่าจะมาสู่ไข่ฟองแรกนี้ ประมาณ 12 - 13 เดือน

พิธีกร ก็มีช่วงเวลาของเขา

นายกรัฐมนตรี ใช่ แต่ว่าอย่างน้อยที่เราเห็นคือการนำเข้าแม่พันธุ์ปีนี้ ยังค่อนข้างเป็นไปตาม อาจจะเกินเป้าที่กำหนดไว้ แต่ว่าที่ปีที่แล้วที่มันหายไปประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ 20 เปอร์เซ็นต์ อันนั้นคือที่มาของปัญหาในวันนี้

พิธีกร สรุปในยุคสมัยของท่าน ราคาไข่ไก่ควรอยู่ที่ฟองละ

นายกรัฐมนตรี ขยับลง ๆ

พิธีกร ต้องต่ำกว่า 2.80 บาท

นายกรัฐมนตรี ครับ

พิธีกร วันนี้ก็มาดูในฟาร์มไก่เลย เดี๋ยวเราไปชมกันข้างหน้าเลยครับนายกฯ เดี๋ยวผมต้องไปคุยกับท่านนายกฯ ตรงหน้าฟาร์มไก่เลย

นายกรัฐมนตรี ได้ ๆ

พิธีกร มีอีกหลายเรื่องเลยนายกฯ ครับ ตอนนี้ต้องถามนายกฯ ล่วงหน้าถึงเรื่องของเหตุการณ์ความรุนแรง และความปรองดอง Roadmap เพื่อชาติ เดี๋ยวไปคุยกันข้างหน้า

นายกรัฐมนตรี ไก่ไม่เกี่ยวงานนี้

พิธีกร ไก่ไม่เกี่ยวแล้วครับ ดูท่านนายกฯ เข็นแบบเชี่ยวชาญมาก ด้วยความคุ้นเคย เพราะว่าพี่สาวท่านก็นั่งวีลแชร์ คุณงามพรรณ เวชชาชีวะ เจ้าของผลงานความสุขของกะทิ ออกมาหน้าฟาร์มไก่ครับท่านนายกฯ ยังมีกลิ่นตามมาหน่อย ๆ เลย มาเจอนายกฯ อภิสิทธิ์ทั้งทีต้องถามเรื่องการบ้านการเมืองด้วย นี่ก็ผ่านมาประมาณ 2 เดือนเต็มแล้ว จากเหตุการณ์เมษา พฤษภา โดยเฉพาะ 19 พฤษภา จะถามว่า 2 เดือนที่ผ่านมามันมีสัญญาณอะไรบ่งชี้ว่าบ้านเมืองเราเริ่มกลับฟื้นคืนสู่ความปกติแล้ว

นายกรัฐมนตรี คือถ้าพูดถึงภาพกว้าง ๆ นะครับ ผมว่าพี่น้องประชาชนก็คงสัมผัสได้ รู้สึกได้ว่า ความสงบเรียบร้อย ความเป็นปกตินี้กลับเข้ามามากขึ้น อาจจะมีข่าวคราวอยู่เป็นครั้งเป็นคราว เหตุการณ์หรือว่าผลที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ รัฐบาลก็พยายามที่จะเดินหน้าให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ 2 อาทิตย์ก่อนเราเลิก พ.ร.ก.ไปได้ 5 จังหวัดนะครับ ผมคาดว่าอาทิตย์นี้เลิกได้อีกบางจังหวัด ก็จะค่อย ๆ พยายามที่จะนำทุกอย่างกลับเข้าไปสู่กติกา ภาวะที่เป็นปกติที่สุด แต่ว่าส่วนไหนที่ไม่ปกตินี้ก็ติดตามใกล้ชิดเพราะว่าก็กังวลว่า เดี๋ยวจะมีการไปพูดว่า ไปใช้อำนาจในลักษณะที่ไปละเมิดสิทธิ์ หรือเป็นเงื่อนไขความขัดแย้งอีก ก็มีการตรวจสอบตลอด ตอนนี้ผมก็ให้ทางทั้ง ศอฉ. ทั้งตำรวจ เขาได้ให้ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ทั้งในเรื่องการใช้ พ.ร.ก. ไปควบคุมตัวอะไรใครอย่างไร ซึ่งความจริงตอนหลังนี้ส่วนใหญ่มันเข้าสู่กระบวนการคดีอาญาตามปกติอยู่แล้ว ทีนี้เราก็ไม่ประมาท ต้องยอมรับ และเราก็ต้องพยายามที่จะทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน พร้อม ๆ กันไปนี้ งานเยียวยา งานที่เป็นการปฏิรูป งานปรองดอง การตรวจสอบเหตุการณ์ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ก็กำลังเคลื่อนไปข้างหน้า กลไกทุกอย่างก็เรียกว่าเกือบจะครบถ้วนแล้ว ก็จะเหลือคณะกรรมการของอาจารย์คณิต ที่ตรวจสอบเหตุการณ์ ที่ระเบียบซึ่งผ่านการตรวจของฝ่ายกฎหมายมา ผมก็เพิ่งลงนามไป ท่านก็จะไปตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบ

พิธีกร แล้วชีวิตนายกฯ ละครับ กลับมาปกติหรือยังครับ

นายกรัฐมนตรี ผมก็ ถ้าถามผมก็บอกว่ากลับไปอยู่ที่บ้านมานานแล้วครับ ไม่ได้ต้องนั่งอยู่ในสถานการณ์ของ ศอฉ. อยู่

พิธีกร ไม่ต้องอยู่ราบ 11 แล้ว

นายกรัฐมนตรี ไม่ต้องอยู่แล้ว

พิธีกร เดือนกว่าแล้วใช่ไหมครับ

นายกรัฐมนตรี ครับ นานแล้วครับ แล้วการทำงานก็ อย่างที่เห็นนี้ละครับ ออกไปไหนมาไหนที่จะต้องไปติดตามงานก็มีความเป็นปกติมากขึ้น

พิธีกร เสื้อเกราะก็ไม่มี มีแต่พระเยอะขึ้น

นายกรัฐมนตรี ส่วนใหญ่ให้มาแล้วก็กำชับว่าต้องอยู่กับตัวครับ

พิธีกร คดีการลอบสังหารนายกฯ ตอนนี้ยังมีอยู่ไหมครับ

นายกรัฐมนตรี ต้องถามฝ่ายความมั่นคง คือพูดตรง ๆ นี้ข่าวคราวการเคลื่อนไหวของบางกลุ่มมีอยู่ ข่าวคราวว่ามีความพยายามของบางกลุ่มที่อาจจะใช้ความรุนแรงมีอยู่ เป็นปกติธรรมดา

พิธีกร แล้วเมื่อไรนายกฯ จะไปอีสาน คำถามคลาสสิคเลย อีสาน ภาคเหนือ เป็นปกติ อย่างไม่ต้องมีกำลังอะไรอย่างนี้

นายกรัฐมนตรี ผมต้องบอกคุณกฤษนะอย่างนี้นะครับ ที่จริงการไปนี้ ก่อนหน้าที่ผมจะมาเป็นนายกฯ อะไรต่าง ๆ ก็ไปกันอยู่ตลอดเวลา เพิ่งมามีระยะหลังนี้ ที่มีกระบวนการที่บอกว่า ถ้าฝ่ายหนึ่งไปตรงนี้ ก็จะมีอีกฝ่ายยกพวกมาอะไรทำนองนี้ ซึ่งเราก็พูดมาตั้งแต่ต้นว่าเราไม่สนับสนุน ทีนี้ผมก็ลงพื้นที่มา ก่อนเกิดเหตุการณ์ก็ไปนะครับ ภาคเหนือไปมา 2 - 3 ครั้ง ภาคอีสานก็ไป ภาคกลางก็ไป บางครั้งก็มีคนมาชุมนุม แต่ว่าหลายครั้งที่มาชุมนุมนี้ก็ไม่ใช่คนในพื้นที่ที่เราไปด้วยซ้ำ มันก็มีการระดมมาได้ ปัจจุบันก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร ทีนี้ถามว่าไปได้ไหมผมบอกผมไปได้ ผมก็มั่นใจว่าเจ้าหน้าที่เขาดูแลผมได้ แต่ผมถามว่าถ้าผมไปแล้วนี้มันเกิดเรื่องขึ้น เช่น เจ้าหน้าที่เขาต้องไปปะทะกับคนที่มานี้

พิธีกร ก็วุ่นวาย

นายกรัฐมนตรี เกิดเลือดตกยางออก เลวร้ายกว่านั้นเกิดมีความรุนแรงไปกว่านั้นนี้มันก็ไม่เป็นผลดีกับใครทั้งสิ้น ต้องแก้ก่อน

พิธีกร แก้ที่ต้นทางปัญหา

นายกรัฐมนตรี ผมก็ถามว่าจะต้องแก้ที่ใคร ผมบอกว่าถ้าเราเรียกร้องความเป็นธรรม เราเรียกร้องประชาธิปไตย สิ่งแรกที่เราต้องยอมรับกันก่อนคือ 1. ต้องไม่ละเมิดสิทธิ์ซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นสังคมต้องเรียกร้องคนที่มาขัดขวางคนต่างหาก ไม่ใช่มาเรียกร้องว่า ทำอย่างไรจะไปปราบปราม หรือจะต้องไปดื้อดึง หรือจะไปอย่างนั้นอย่างนี้ สังคมทั้งสังคมต้องบอกว่าอยากจะเป็นประชาธิปไตยกันจริงไหม มีประเทศประชาธิปไตยไหนบ้างที่เขาบอกว่าคนกลุ่มหนึ่งสามารถไปขัดขวางการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของคนอีกกลุ่มหนึ่ง ผมก็เลยบอกว่า ก็ถึงเวลาจำเป็นเหมาะสมผมก็ไปครับ แต่ว่าถ้าไปนี้เพียงเพื่อบอกว่าผมได้ไปแล้ว ปรากฏว่าไปเสร็จก็มีคนมาปะทะกับเจ้าหน้าที่ เลือดตกยางออก ไปก็อยากจะไปให้มัน ใครอยากจะมาชุมนุมแบบเรียบร้อยก็ไม่มีปัญหานะครับ ก็ว่ากันตามที่เคยเป็นมาเหมือนก่อนนี้ในอดีต

พิธีกร นี่เผลอแป๊บเดียวก็ทำงานมา 1 ปี 7 เดือนแล้ว เกินครึ่งทางแล้วนะครับ

นายกรัฐมนตรี ผมก็ไม่ได้นับนะครับ

พิธีกร นับวาระสภาฯ จริง ๆ 23 ธันวาใช่ไหมครับ อีกประมาณ 1 ปี 5 เดือน

นายกรัฐมนตรี อันนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผมก็ได้พูดมาตลอดนะครับว่า จริง ๆ แล้วยังไงมันไม่ใช่ว่ารัฐบาลชุดนี้จะอยู่ไปจนชั่วฟ้าดินสลาย มีวาระของมันอยู่แล้ว ปีหน้าสภาฯ ก็หมดวาระอยู่แล้ว

พิธีกร นี่กะให้ครบวาระเลยหรือครับ

นายกรัฐมนตรี เปล่าครับ ผมบอกว่ายังไงนี้ปีหน้ามันก็หมดวาระอยู่แล้ว อยากเลือกตั้งเร็วขึ้น ผมก็บอกว่าก็ทำให้บ้านเมืองสงบสิ ถ้าบ้านเมืองสงบได้เลือกตั้ง แต่ถ้าจะเอากำลังมาข่มขู่คุกคามเพื่อหวังให้มีการเลือกตั้งนี้ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ไม่ยอมครับ คนไทยไม่อยากเห็นว่ามีประเพณีของการใช้การข่มขู่คุกคามมาเพื่อต้องตอบสนองความต้องการ เพราะฉะนั้นพิสูจน์กันนี้ผมบอกว่าอยากเลือกตั้งเร็วผมไม่เคยมีปัญหา ผมถามมีนายกฯ กี่คนบ้างเคยเสนอ บอกผมตัดวาระตัวเองไป 1 ปีเลย เลือกตั้งเร็วขึ้น ไม่มีหรอกครับ นี่ก็เสนอแล้ว แต่บอกให้เพียงว่าจะทำอย่างนั้นคุณก็ช่วยกันดูแลให้บ้านเมืองสงบ แต่ว่าถ้าจริงใจอยากจะได้สิ่งนี้ก็ทำบ้านเมืองให้สงบ ถ้าไม่ทำบ้านเมืองสงบก็แสดงว่าไม่ได้จริงใจที่จะทำอันนี้ อยากจะได้อย่างอื่นมากกว่า

พิธีกร ที่ผมถามเรื่องเวลารัฐบาล 1 ปีกว่าที่ผ่านมา ก็คือจะถามคำถามทิ้งท้าย เพราะว่าท่านคิวทองเหลือเกิน วันนี้ไปอีกหลายงานเลยนะครับ นี่เกินเวลาแล้ว วันนี้กี่งานครับ

นายกรัฐมนตรี ก็เมื่อเช้าก็มีไปงานของตำรวจ กต.ตร. เพราะว่าเป็นดูเหมือนจะเป็นครั้งแรกที่ นายกฯ ได้พบกับ กต.ตร. ทั่วประเทศ กต.ตร. รู้จักไหมครับ

พิธีกร คืออะไรครับ คณะกรรมการ

นายกรัฐมนตรี นี่ไงมันมีมา 10 กว่าปีแล้ว

พิธีกร คณะกรรมการของกรรมการตำรวจ

นายกรัฐมนตรี ก็ไม่เชิงอย่างนั้นครับ มันเป็นกรรมการที่เขาตั้งขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ ทั้งในต่างจังหวัด ประจำทุกสถานีตำรวจที่มีประชาชนเข้าไปร่วม

พิธีกร ท้ายสุดครับ สิ่งที่ผมอยากจะให้นายกฯ พูดบอกประชาชนด้วย และผมก็จะรอฟังตรงนี้ด้วยนะครับ ในฐานะที่ทำงานมา 1 ปี 7 เดือน งานต่าง ๆ ก็แล้วแต่ท่านนะครับ ผมอยากจะเห็นภาพเสก็ตช์ประเทศไทยอีก 5 ปี หรือ 10 จากนี้ไป เพื่อที่ผมจะเตรียมตัวด้วย ว่าชีวิตผมอย่างมนุษย์ล้อจะดีขึ้นไหม

นายกรัฐมนตรี พูดอย่างนี้เดี๋ยวเขาตกใจว่าผมจะประกาศอยู่ 5 ปี 10 ปี เอาอย่างนี้ ผมทำงาน 1 ปี 7 เดือนนี้จุดหนึ่งที่ผมยืนยันเลยก็คือว่าสิ่งที่ผมอยากเห็น คนไทยทุกคนมีหลักประกันมากขึ้น คำว่าหลักประกันคืออะไร คือความมั่นคงในชีวิต เมื่อก่อนนี้คนที่เราบอกว่ามีหลักประกันมั่นคงก็ข้าราชการ ใช่ไหมครับ และรัฐวิสาหกิจ ต่อมาคนทำงานบริษัทเอกชนอาจจะเงินเดือนสูง สิทธิประโยชน์ดี มีประกันสังคม แต่มีคนอีกตั้ง 30 - 40 ล้านคนซึ่งไม่มีตัวนี้ เราก็เริ่มทำประกันรายได้เกษตรกร ถูกไหมครับ ใครแก่เฒ่าก็มีเบี้ยยังชีพให้ ลูกหลานก็เรียนฟรี และตอนนี้เบี้ยคนพิการก็จัดให้ครบตามที่มีการขึ้นทะเบียนกัน

พิธีกร นี่ในส่วนของผู้ด้อยโอกาส

นายกรัฐมนตรี ใช่ครับ เพราะฉะนั้นเราก็จะทำแนวอย่างนี้ต่อไป เพื่อให้สิทธินี้มี แล้วก็คงจะไม่ได้ให้รัฐบาลให้เปล่าอย่างเดียว เราก็จะทำระบบที่เรียกว่าให้เขานี้มีการมาสมทบเงิน ก็จะมีกองทุนเงินออมอะไรต่าง ๆ อันนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดที่ผมคิดว่าอยากจะเห็นเกิดขึ้นใน 5 ปี 10 ปีข้างหน้าว่า คนไทยเกิดมาทุกคนนี้จะอยู่ชนบท จะเป็นชาวนา ชาวไร่ เกิดมาแล้วเป็นผู้ด้อยโอกาส อย่างน้อยที่สุดมีความมั่นใจว่าพื้นฐานชีวิตของเขามีบางสิ่งบางอย่าง มีโอกาสนะครับ ทีนี้อย่างอื่นก็เป็นเรื่องปัญหาหลายเรื่องที่เราอยากจะทำ ก็ทำไปได้เยอะนะครับ เช่น เราก็ฟื้นเศรษฐกิจขึ้นมา มีความริเริ่มที่จะให้เศรษฐกิจของเราก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจฐานความรู้มากขึ้น เศรษฐกิจสร้างสรรค์อะไร อันนี้ก็ว่าไปตามปกติ แต่ว่าเรื่องใหญ่ที่สุดคือชีวิตของชาวบ้านทุกคน ให้มีความมั่นคง ที่ตรงนี้ก็จะต้องทำเพิ่มเติม และปัญหาที่เป็นปัญหาเฉพาะ เช่น ที่ทำกิน หนี้สิน ก็กำลังไล่ทำ อย่างชนิดที่เรียกว่าผมกล้ายืนยันได้ว่าใน 1 ปี 7 เดือน หรือเมื่อพ้นวาระไปนี้ รับรองได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาให้กับจำนวนคนได้ค่อนข้างที่จะมากที่สุด อย่างนี้นอกระบบตอนนี้ก็ประมาณ 400,000 ในอดีตก็เคยทำมากสุดก็ 80,000 - 90,000 คน อย่างนี้เป็นต้น

พิธีกร หลายเท่านะครับ แล้วอย่าลืมทางลาดนะครับนายกฯ ครับ

นายกรัฐมนตรี อันนี้ก็มีมติแล้ว ในตอนสมัยท่านนายกฯ ชวน เราก็ออกมาบังคับเฉพาะที่เขาก่อสร้างใหม่ ใช่ไหมครับ มันก็จะมีพวกอาคารเก่า ๆ ที่มันไม่มี

พิธีกร นี่คือสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการโดยตรงเลย

นายกรัฐมนตรี ใช่ ๆ ทีนี้พอมาชุดนี้เราก็บอกว่า ถึงเวลาที่ต้องมาไล่ดูของเก่าบ้าง ตอนนี้ก็กำหนดไปแล้วว่า บรรดาสถานที่ราชการที่คนใช้บริการเยอะ ๆ นี้ให้มี ซึ่งส่วนใหญ่โรงพยาบาลเขาไม่ค่อยมีปัญหาอยู่แล้ว แต่ว่าพวกประเภทที่ว่าการอำเภออะไรต่าง ๆ พวกนี้

พิธีกร สถานที่ราชการ

นายกรัฐมนตรี ถูกต้อง

พิธีกร ซึ่งต้องเป็นต้นแบบด้วยซ้ำไป

นายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วตอนนี้ก็จะมีพวกขนส่งมวลชนนะครับ รถเมล์ใหม่เขาก็กำลังสู้กันอยู่ว่าต้องมีพื้นต่ำ  แล้วก็รถไฟฟ้า ส่วนต่าง ๆ เขาก็ทำมากขึ้น ตอนนี้เราก็กำหนดให้ทำมากขึ้น แอร์พอร์ตลิงค์ มีปัญหารางกับตัว

พิธีกร นี่ไง รู้ปัญหาจริง

นายกรัฐมนตรี วันนี้อาจจะต้องไม่สวยงามเพราะต้องมีอะไรมาพาดหน่อย แต่ว่าเขาก็อธิบายว่ามันไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะรถที่ความเร็วสูงมันจำเป็นจะต้องมีระยะห่างอยู่ ดูละเอียดครับเพราะว่าผมตัดสินใจว่าเป็นนายกฯ นี้ คือนายกฯ มีกรรมการที่เป็นประธานอยู่เป็นหลายร้อยชุด ก็ต้องเรียกว่าจะต้องมอบรองนายกฯ เรื่องไหนอย่างไรบ้าง เรื่องสังคมนี้ผมรับมาดูหมด เด็ก เยาวชน คนพิการ ผู้สูงอายุ ผมจะดู เพราะผมถือว่าเรื่องเศรษฐกิจนี้ผมคุมได้มี ครม.เศรษฐกิจ นะครับ ก็มาดูประเด็นเหล่านี้ละเอียดครับ เรื่องของคนพิการ ผู้สูงอายุ และเด็กเยาวชน ก็ตั้งใจที่จะทำให้ดีที่สุดครับ

พิธีกร ผมฟังแล้วเชื่อมั่นมากขึ้นแล้ว ว่าจากนี้ไปผมจะได้ไปใช้แอร์พอร์ตลิงค์ และห้องน้ำท่านนายกฯ ฝากด้วยห้องน้ำ

นายกรัฐมนตรี ครับ ห้องน้ำก็ให้ปรับแล้วครับ ให้ทั้งรางและที่จับ

พิธีกร ขอบคุณมากครับ วันนี้ถ้าจะถามต่อคงยกเลิกอีก 3 หมายงานข้างหน้านี้ วันนี้ก็เวลามีจำกัด ต้องขอขอบคุณท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ครับ ขอบคุณมากครับ

นายกรัฐมนตรี สวัสดีครับ

พิธีกร เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์นะครับ วันนี้ลาไปก่อนครับสวัสดีครับ

ช่วงที่ 3

ตัวแทนเด็กและเยาวชน ในการจัดงานรวมพลังเยาวชนไทย พลังแห่งแผ่นดิน เทิดไท้องค์ภูมินทร์ นวมินทร์มหาราชา เฉลิมพระเกียรติในมหามงคลสมัยทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554เด็กและเยาวชนในวันนี้มาจากสภาเด็กและเยาวชนทั้ง 76 จังหวัด สภานักเรียน สภานิสิตนักศึกษา และองค์กรเอกชนต่าง ๆ ที่เด็กและเยาวชนได้จัดขึ้นเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมดี ๆ ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน

นายรัชฎะ ศรีบุญรัตน์ ประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ข้อสรุปทั้ง 7 ประเด็นสำคัญจากสมัชชาเด็กและเยาวชนแห่งชาติที่เราระดมความคิดเห็นกันมาเพื่อสรุปผลว่าเด็กและเยาวชนต้องการเห็นประเทศไทยได้รับการแก้ปัญหา และได้รับการพัฒนาในมุมมองใดบ้างประเด็นที่ 1 ว่าด้วยเรื่องของประเด็นการศึกษา อยากให้มีการศึกษา ให้ผู้พิการและเด็กพิเศษให้มีผู้ดูแลผู้พิการประจำสถานศึกษา ให้รัฐบาลสนับสนุนให้มีการจัดสมัชชาเด็กและเยาวชนต่อการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ให้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยส.) เพิ่มวงเงินกู้ยืมในระดับอุดมศึกษา และมัธยมศึกษา ส่งเสริมและเปิดโอกาสสำหรับเด็กและเยาวชนในระบบการศึกษา และมีมาตรการรองรับอย่างต่อเนื่อง เพิ่มความเข้มงวดในการจัดการกับอบายมุขรอบสถานศึกษา ข้อเสนอประเด็นด้านสื่อ เด็กและเยาวชนอยากได้ช่วงเวลา prim time ตั้งแต่ 16.00-21.30 น. เป็นรายการที่เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ต่อเด็กเยาวชน ครอบครัว ควรส่งเสริมให้มีการต่อลิขสิทธิ์หรือสนับสนุนสื่อที่มีคุณภาพผ่านกองทุนสื่อสร้างสรรค์ ประเด็นด้านสวัสดิการ อยากให้รัฐบาลมอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณสมทบเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุ คนพิการ ส่งเสริมให้มีกองทุนเด็กและเยาวชนประจำจังหวัด ให้มีการสอบวัดสมรรถนะของลูกจ้างชั่วคราว เส้นทางของสวัสดิการไทยในมุมมองของเยาวชน เราอยากให้รัฐรับภาษีเพิ่ม จัดทำประชาพิจารณ์เวทีประชาคมจากทุกภาคส่วนเพื่อระดมความคิดเห็น ประเมินข้อวิเคราะห์วิจารณ์ประชาสังคม ความต้องการและสร้างภาพอนาคตจำลองประเทศไทยที่มีรัฐสวัสดิการ ข้อเสนอประเด็นด้านเศรษฐกิจ อยากให้รัฐบาลจัดทำรูปแบบการพัฒนาระบบการเกษตรไทยอย่างใกล้ชิด โดยให้มีความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาที่พร้อมกับหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนในพื้นที่อย่างจริงจัง ข้อเสนอประเด็นด้านการเมือง  เสนอให้มีคณะเยาวชนที่ปรึกษาประจำกระทรวง 3 กระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนโดยตรง จัดตั้งอนุกรรมการในเรื่องเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในทุกเรื่องให้มีสัดส่วนของเด็กและเยาวชนเข้าไปมีส่วนร่วม การประกวดนักการเมืองต้นแบบ สร้างมาตรฐานทางจริยธรรมในมุมมองของสังคม และมอบรางวัลให้นักการเมืองดีเด่น ข้อเสนอประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เราอยากให้นำขยะมาใช้เป็นพลังงานทดแทน และเปลี่ยนขยะเป็นเงิน เปลี่ยนจากปัญหาให้เป็นโอกาส เด็กและเยาวชนอยากเห็นครับ อยากเห็นภาพอนาคตที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายต่อปีที่จะเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ อยากให้มีการควบคุมดูแลมากขึ้นโดยส่งเสริมสนับสนุนในนโยบายของพระราชบัญญัติป่าชุมชนให้เป็นจริง ข้อเสนอประเด็นด้านสาธารณูปโภค ให้รัฐบาลส่งเสริมและให้ข้อมูลด้านการใช้พลังงานทางเลือก ออกมาตรการ และสร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่อง ประเด็นสำคัญทั้ง 7 ประเด็นก็เป็นข้อเสนอจากสมัชชาเด็กและเยาวชนแห่งชาติประจำปี 2553 ครับ

นายกรัฐมนตรี  7 ประเด็นที่ได้มีการนำเสนอมาก็ต้องขอแสดงความชื่นชมว่าค่อนข้างที่จะครอบคลุมปัญหาหลัก ๆ ของสังคม โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เยาวชน  ข้อแรกในเรื่องของการศึกษาก็ยืนยันนะครับว่าเป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญมากทั้งในเรื่องของโอกาส และเรื่องของคุณภาพในปัจจุบัน  ก็เรียนตรง ๆ ว่าข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดเรื่องนี้คือเรื่องบุคลากร  เพราะว่าบุคลากรที่จะมาทำงานทางด้านนี้ต้องได้รับการฝึกอบรมและต้องมีทักษะที่เหมาะสม ขอเรียนว่าแม้แต่ในกรณีซึ่งเราบอกว่ามีเงินก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีคนที่จะมาทำ เพราะฉะนั้นกระบวนการที่คงจะต้องไปเร่งรัดตรงนี้เป็นพิเศษจากข้อเสนอตรงนี้น่าจะเป็นเรื่องของการสร้างบุคลากรที่จะมารองรับการทำงานตรงนี้  

เรื่องการปฏิรูปการศึกษาซึ่งมีคณะกรรมการขับเคลื่อนอยู่ในปัจจุบัน เวลานี้ที่เรียกกันง่าย ๆ ที่สุดคือเหมือนกับ สสส.ทางด้านการศึกษาขึ้นมา ซึ่งผมเป็นประธานในคณะกรรมการได้กันเงินเอาไว้แล้ว ที่จะมาส่งเสริมหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐ มาทำงานในเรื่องของการปฏิรูปการศึกษาด้วย เพราะฉะนั้นผมคิดว่าช่องทางที่เหมาะสมที่สุด น่าจะเป็นการที่สภาหรือสมัชชาของเด็กและเยาวชนถือเป็นหน่วยที่ไปทำโครงการและขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหรือคณะกรรมการชุดนี้ เพื่อที่จะเดินหน้าต่อไป กยส. รัฐบาลก็พยายามทั้งเพิ่มเงิน ทั้งบริหารจัดการให้มีเงินมากขึ้น แต่ที่อาจจะต่างอยู่สักนิดคือเสนอมานี่คืออยากได้วงเงินเพิ่ม ขณะนี้รัฐบาลจัดลำดับความสำคัญว่าอยากให้จำนวนคนที่ได้กู้เพิ่มมากขึ้นก่อน ส่วนที่ได้ไปแล้วยังไม่จุใจ อยากให้คิดถึงเพื่อนที่จะมีโอกาสมาได้ เพราะต้องยอมรับนะครับ พอเงินมีจำกัด ถ้าเราเพิ่มวงเงินก็หมายถึงว่าเราก็ตัดโอกาสคนที่กำลังจะเข้ามา เรียนว่าอยากให้จำนวนคนเพิ่มก่อน ส่วนวงเงินนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง

เรื่องสื่ออันนี้ก็ขอเรียนครับว่ารวมทั้งเรื่องของการจัดเวลา prim time ต่าง ๆ หลักจริง ๆ ก็คือหน่วยงานก็คือ กสทช. ที่จะเกิดขึ้น เขาจะต้องเป็นคนทำ และปัญหาที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ก็เพราะว่าเรากำลังอยู่ในรอยต่อระหว่าง กทช. ไปสู่ กสทช. แต่ว่าอันนี้ใกล้จะจบ สภาฯ ก็จะพิจารณากฎหมายใหม่เสร็จน่าจะภายในสมัยประชุมหน้า และจะเร่งตั้ง กสทช. ขึ้นมา เขาจะเป็นคนที่จะคุมกติกาตรงนี้ 

เรื่องสวัสดิการนั้นที่เสนอมาดีมากเรื่องว่าจะทำอย่างไรให้อาสาสมัครเข้าไปดูแล อันนี้ อสม.ยังไงก็ต้องทำอยู่ แต่เบี้ยยังชีพกับเบี้ยคนพิการแนวของเราขณะนี้ก็คือว่าจะส่งเสริมให้มีการโอนเงินเข้าบัญชีโดยตรง สำหรับการวาดภาพจำลองเส้นทางรัฐสวัสดิการหรือระบบสวัสดิการ ก็ยืนยันนะครับว่ากำลังดำเนินการกันอยู่ขณะนี้ รวบรวมตัวเลขต่าง ๆ เดิมคิดว่าจะปรับทุกอย่างเข้าสู่ความเป็นระบบสวัสดิการที่สมบูรณ์ได้ ก็คือ 2559 แต่ว่าดูจะช้าเกินไป ก็พยายามที่จะดึงเขากลับเข้ามา และผมเข้าใจว่าคณะกรรมการปฏิรูปของท่านอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ก็คงจะเข้ามาทำงานทางด้านนี้ด้วย 

สิ่งที่ผมยืนยันว่าจะพยายามเพิ่มขึ้นต่อไปคือภาษีเหล้า ภาษีบุหรี่  แล้วภาษีที่ดินและทรัพย์สินยืนยันว่าจะเดินหน้าเพื่อที่จะให้มีการจัดเก็บเต็มเม็ดเต็มหน่วย และเป็นรายได้หลักของท้องถิ่นต่อไป  ส่วนภาคการเกษตรนั้นขอเรียนว่าจริง ๆ โครงการประกันรายได้เป็นโครงการซึ่งปูทางไปสู่การสร้างความมั่นคงให้กับอาชีพเกษตรกรรมอยู่  ด้านการเมือง ผมไม่แน่ใจว่า 3 กระทรวงอยากจะมีที่ปรึกษาเพิ่มเติมหรือเปล่านะครับ และถ้าถามใจผมนี่ ผมคิดว่าผมอยากให้ช่องทางของสภาเด็กและเยาวชนเป็นกลไกที่ป้อนการมีส่วนร่วมของพวกเราไปที่กระทรวงอยู่แล้ว มากกว่าที่จะไปมีคณะขึ้นมาอีกคณะหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นวงที่เล็กลงไปอีก และจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรกันต่าง ๆ ตลอดเวลา  แต่ว่าอันนี้ก็เป็นเรื่องซึ่งคงจะไปดูว่าเป็นอย่างไรนะครับ ประกวดนักการเมืองต้นแบบ ผมไม่ทราบใครจะเป็นคนตัดสินครับ  

สิ่งแวดล้อม เรื่องของหลักของการแก้ปัญหาพื้นที่ป่า และการถือครองที่ดิน โดยหลักของการให้ชุมชนเข้ามาจัดการตรงกับโครงการโฉนดชุมชนอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้เปิดสำนักงานแล้ว จะสำรวจพื้นที่นำร่องให้ได้ประมาณ 30 กว่าพื้นที่ทั่วประเทศ เดินหน้าภายใน 3-4 เดือนข้างหน้านี้ และการที่จะรณรงค์จูงใจ รวมทั้งการส่งเสริมในเรื่องพลังงานทางเลือก ก็มีการดำเนินการ เรื่องถุงพลาสติกก็เป็นเรื่องที่ดีที่มีการนำเสนอมา ถ้ารณรงค์กันเฉย ๆ บางทีก็เอาความสะดวก เอาความง่าย ถ้าเกิดลองเราบอกว่าขอให้ทุกห้างคิดค่าถุงพลาสติก ผมรับรองมีคนถือตระกร้ามากขึ้นแน่นอน หรือว่าถ้าเราพยายามทำให้กล่องโฟมแพงขึ้น คนก็จะกลับไปใช้ปิ่นโตมากขึ้น  อันนี้ผมว่ามันต้องพยายามทำกันอย่างนี้  ก็อยากจะขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่งสำหรับข้อเสนอต่าง ๆ ยังมีการประชุมต่อเนื่อง แล้วก็ทั้งหมดจะไปนำเสนอในคณะกรรมการอีกครั้งหนึ่ง และขอขอบคุณทางกรรมาธิการและผู้เกี่ยวข้องที่ได้จัดเวทีในวันนี้ และเป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ คนที่ให้ความสำคัญและเสียสละเวลามา เพื่อที่จะมาช่วยกันคิด ช่วยกันสร้างบ้านเมืองของเราให้เป็นบ้านเมืองที่ดีขึ้น ขอบคุณครับ

ความคิดเห็นของตัวแทนเด็กและเยาวชน

 - ขอขอบคุณผู้ใหญ่ทุกท่านได้ให้โอกาสเด็กและเยาวชนได้มาแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบัน คือจะเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคตข้างหน้า

- สิ่งที่ผมอยากจะฝากให้นายกรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือปัญหาด้านครอบครัว ถ้าครอบครัวของทุกคนในประเทศไทยเข้มแข็ง จะเป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาเด็ก ๆ  ที่จะเป็นอนาคตสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปให้ร่วมกันมีต้นทุนชีวิตที่ดีขึ้นในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

- อยากให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและศีลธรรมในเด็กและเยาวชน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ดีได้ในอนาคต

- ร่วมกันนะครับ ถ้าเราอยากจะมีโลกที่สีเขียว แต่ตัวเรากลับมองโลกเป็นสีขาวดำ แล้วยังจะไม่ช่วยกัน แค่ต้นไม้ต้นเดียว หนทางที่ง่ายที่สุดสำหรับพวกเราแค่เพียงต้นเดียว 63 ล้านคน 63 ล้านต้น มันจะแตกกิ่งก้าน แตกหน่อออกลูกได้มากสักเท่าไหร่ ช่วยกันครับ ต้นไม้ในวันนี้อาจจะเป็นต้นไม้ที่ใหญ่โตที่ให้ร่มเงาของลูกหลานคุณในช่วงต่อไปได้อย่างสมบูรณ์ ก็เป็นได้ครับ

- เดี๋ยวนี้เด็กดูสื่อกันเยอะมาก ละครทุกวันนี้สื่อออกมาตบตีกัน  การพนัน สุรา อยู่หมด แล้วเด็กก็จะลอกเลียนแบบ ละครหลังข่าวไม่ต้องเลื่อนเวลาก็ได้ ขอให้เปลี่ยนเนื้อหาในละครให้มีสาระและประโยชน์สำหรับเด็กและเยาวชนให้มากที่สุดเท่านั้นก็พอแล้วค่ะ

- อยากให้แก้ไขเรื่องยาเสพติดในเด็กและเยาวชนครับ

- วันนี้ได้มาร่วมกับสมัชชา วันนี้หนูไม่ได้มาในนามของสภาเด็ก แต่ก็ถือว่าเป็นโอกาสดีที่สภาเด็กได้เชิญ หนูเป็นสภาของสภานักเรียนก็มีความดีใจมาก ก่อนอื่นต้องบอกดีใจมาก ๆ ค่ะเพราะมีไม่กี่เวทีหรอกค่ะที่ทำให้เด็กได้มีโอกาสได้พูด วันนี้หนูเลยมองว่าทุกปัญหาที่เพื่อนเสนอไป มีหลายครั้งที่เราได้เสนอปัญหา แต่มีแค่กี่ครั้งที่ปัญหาของเราได้ถูกนำไปใช้หรือได้ถูกไปแก้ปัญหาจริง ๆ เป็นเพราะผู้ใหญ่ยังไม่เปิดใจ หรือยังไม่คิดว่าความคิดของเด็กมีค่ามากพอ ผู้ใหญ่ชอบพูดว่าคบเด็กสร้างบ้าน เดี่ยวนี้เด็กไม่สร้างบ้านแล้วค่ะ เดี๋ยวนี้เด็กสร้างชาติค่ะ เพราะว่าลองคิดดูนะคะผู้ใหญ่คิดแค่ว่าปลูกต้นไม้ ๆ ไปปลูกในป่าสิคะ เด็กคิดมากกว่านั้นค่ะ เด็กสามารถคิดได้ว่าทำไมถึงต้องปลูกต้นไม้ และปลูกต้นไม้เพื่ออะไร เดี๋ยวนี้เด็กอลังการค่ะ เด็กปลูกต้นไม้ใน facebook ค่ะ สิ่งแรก ๆ ที่เด็กทำเป็นสิ่งใหญ่ ๆ ในประเทศชาติถูกไหมคะ ฉะนั้นแล้วอยากบอกผู้ใหญ่ทุกคนว่าอย่าลืมนะคะว่าเด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า และเด็กวันนี้ก็คือผู้ใหญ่ในวันนี้ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

(ช่วงสกู๊ปการแสดงความคิดเห็นเพื่อร่วมการปฏิรูปประเทศไทย ในโครงการ 6 วัน 63 ล้านความคิด จาก จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดแม่ฮ่องสอน)

ที่มาข่าว:

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก
จินตนา - วิมลมาส ถอดเทป 

http://media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=471&directory=1779&contents=46800

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 12-18 ก.ค. 2553

Posted: 18 Jul 2010 05:19 AM PDT

<!--break-->

 
สั่งปิด โรงงานจิวเวลรี่อยุธยา ทำสารเคมีรั่วสังเวยแรงงาน 1 ชีวิต
 
 
จากกรณีโรงงานผลิตเครื่องประดับเพชรพลอย ของบริษัท แมริกอท จิวเวลรี่ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ถนนสายเอเชีย เลขที่ 200 หมู่ 1 ต.บ้านเลน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เกิดการรั่วไหวของสารเคมีจากท่อระบบบำบัดมลพิษ 2 ครั้งซ้อน ในวันที่ 15 และ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทำให้พนักงานร่วม 4,000 คน ต้องหนีตายอลหม่าน และมีพนักงานที่สูดดมสารเคมีเข้าไปถูกนำส่งโรงพยาบาลหลายคน และมีผู้เสียชีวิต 1 คนนั้น
 
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม นางวิมล ไชยวัฒน์ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ต้องปิดโรงงานทุกสายการผลิต เพื่อให้วิศวกรของโรงงานดำเนินการแก้ไข โดยเฉพาะในห้องบำบัดสารเคมีที่เกิดเพลิงไหม้ นอกจากนี้ยังให้ตรวจสอบแก้ไขระบบท่อระบายอากาศและระบบท่อทั้งหมดของโรงงาน ให้ปลอดภัยตามมาตรฐาน และจะต้องไม่มีกลิ่นสารเคมีที่เกิดจากการเผาไหม้ท่อพีพีตกค้าง โดยคณะกรรมการทุกฝ่ายจะเข้าตรวจสอบว่าแก้ไขถูกต้องและปลอดภัยหรือไม่ ในวันที่ 19 กรกฎาคม หากเห็นว่าผ่าน ก็สามารถเปิดโรงงานได้ แต่หากไม่ผ่านก็ต้องแก้ไขให้ได้มาตรฐานในทุกๆ ด้าน
 
ด้าน พ.ต.อ.ธนภณ โพธิสุข ผกก.สภ.บางปะอิน กล่าวว่า กรณีนายมาโนช หอมบางจาก อายุ 28 ปี คนงานของบริษัท เกิดแน่นหน้าอกและเสียชีวิตนั้น ได้ส่งศพไปชันสูตรที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ รังสิตแล้ว ขณะนี้กำลังรอผลการตรวจสอบอยู่ เพราะทางโรงงานให้ข้อมูลว่า นายมาโนช ไม่ได้เป็นทำงานในจุดเกิดเหตุ ขณะที่คนงานคนอื่นที่ทำงานใกล้ที่เกิดเหตุมากกว่า ถึงแม้ต้องหามส่งโรงพยาบาลก็ไม่มีใครเสียชีวิต ดังนั้นจึงต้องรอผลตรวจสอบก่อน
 
(แนวหน้า, 18-7-2553)
 
สสส.จัด กิจกรรม ลด ละ เลิก แอลกอฮอล์ในกลุ่มแรงงาน
 
กระทรวงแรงงาน มูลนิธิเพื่อนหญิง เครือข่ายองค์กรงดเหล้า และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกันจัดงานรณรงค์ "แรงงานไทยร่วมใจ งดเหล้าเข้าพรรษา" เพื่อรณรงค์ให้แรงงานรุ่นใหม่เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งทำให้เกิด ปัญหาสุขภาพส่งผลกระทบต่อการทำงาน และปัญหาความรุนแรงตามมา โดยมีนางอัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เป็นประธาน ซึ่งภายในงานมีการจัดกิจกรรมรณรงค์มากมาย อาทิ การปฏิญาณตนของกลุ่มผู้ใช้แรงงานจำนวน 200 ราย เพื่องดเหล้าเข้าพรรษา การเปิดตัวครอบครัวคนงานต้านน้ำเมา การแสดงละครชุด "ปีศาจน้ำเมา ทำร้ายแรงงานไทย" พร้อมทั้งแจกสื่อรณรงค์เชิญชวนให้ผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปงดเหล้าเข้า พรรษา
 
นายจะเด็จ เชาว์วิไล ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนหญิงกล่าวว่า ปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดการสูญเสียในหลายด้าน จากข้อมูลการศึกษาต้นทุนผลกระทบทางสังคม สุขภาพ และเศรษฐกิจ ของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย โดยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ในส่วนที่เกี่ยวกับแรงงาน ปี 2549 พบว่า แอลกอฮอล์ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจมากถึง 156,105 ล้านบาท หรือประมาณ 2,391 บาทต่อราย และยังก่อให้เกิดการขาดประสิทธิภาพในการทำงาน มีมูลค่าถึง 45,500 ล้านบาท นอกจากนี้ สถิติกลุ่มแรงงานที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพราะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มี มากถึง 40,000 ราย ซึ่งผู้ที่ดื่มหรือเคยดื่มจะขาดงานเพราะปัญหาสุขภาพ ทำให้ประสิทธิภาพขณะทำงานลดลงกว่าผู้ไม่ดื่มถึง 1.7-5.7 %
 
"ปัญหาดังกล่าว ทางมูลนิธิเพื่อนหญิงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงถือโอกาสใช้เทศกาลเข้าพรรษาในวันที่ 27 ก.ค.นี้ ซึ่งตรงกับวันงดดื่มสุราแห่งชาติ เป็นจุดเริ่มต้น นำไปสู่จุดเปลี่ยนของการลด ละ เลิกเหล้า และอบายมุข ของผู้ใช้แรงงาน โดยจะเน้นรณรงค์ในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เน้นให้กลุ่มเพื่อนในโรงงานมีบทบาทสำคัญชวนเพื่อนเลิกเหล้า พร้อมทั้งการปฏิญาณตนว่าจะเป็นคนงานรุ่นใหม่ไร้แอลกอฮอล์ ซึ่งขณะนี้มีกลุ่มผู้ใช้แรงงานร่วมปฏิญาณตนแล้วจำนวน 200 ราย จากโรงงาน 80 แห่งทั่วประเทศ" นายจะเด็จ กล่าว
 
นายพิทักษ์ เสียงหอม นายจ้าง บริษัท บางกอกรับเบอร์ สหรัตน จำกัดกล่าวว่า พนักงานที่บริษัทส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงมากถึง 80% จึงไม่ค่อยมีปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีเพียงผู้ชายบางส่วนเท่านั้นที่ยังมีพฤติกรรมการดื่มจนไม่สามารถมาทำงานได้ พนักงานบางคนถึงขั้นขาดงาน เข้างานสาย และแอบหลับในเวลาทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เพราะมีสาเหตุมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทได้มีการว่ากล่าวตักเตือนและส่งเสริมให้เกิดค่านิยมที่ช่วยให้ลด ละ เลิก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีกว่าการลงโทษให้พนักงานพักงาน หรือออกจากงาน ทั้งนี้ ในช่วงงานบุญเข้าพรรษาตลอด 3 เดือนนี้ บริษัทได้เชิญชวนให้พนักงานทุกคนปฏิญาณตนเพื่องดเหล้าเข้าพรรษา ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของบริษัทที่จะไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยง เทศกาลประจำปี
 
ด้าน นายราคิต สร้อยสูงเนิน ประธานสหภาพแรงงานน้ำใจไทยสัมพันธ์ และพนักงานบริษัท ยางโอตานิ จำกัด กล่าวว่า พนักงานในบริษัทส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ซึ่งมีมากกว่า 70% ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และดื่มเหล้าขาวมากที่สุด ทั้งนี้ จากการสอบถามคนงานที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ยอมรับว่า เขาต้องสูญเสียรายได้ไปกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกือบ 500 บาทต่อสัปดาห์ บางครั้งเงินเดือนที่ได้รับไม่เพียงพอกับรายจ่ายในครอบครัว และยังพบปัญหาการทะเลาะวิวาท ปัญหาหย่าร้าง ครอบครัวแตกแยก ดังนั้น การรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาจึงเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตนเชื่อว่ามีผู้ใช้แรงงานหลายคนที่ต้องการเลิกดื่มแอลกอฮอล์ และคงไม่มีบริษัทนายจ้างที่ไหนต้องการแรงงานดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานควรมีมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานประกอบการด้วย
 
(บ้านเมือง, 18-7-2010)
 
ร้องช่วย 84 คนงานไทยคูนเลิกจ้าง
 
 
นายชัชวาล สมเพชร ประธานสหภาพแรงงานบริษัท ไทยคูน เวิลด์ไวด์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตลวดเหล็กสัญชาติไต้หวัน ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงานกรณีพนักงานจำนวน 84 คน ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โดยเหตุเกิดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมา
 
ทั้งนี้ นายธานินทร์ ใจสมุทร ที่ปรึกษา รมว.แรงงาน เป็นผู้รับหนังสือแทน แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากคำร้องของพนักงานทั้งหมดต้องการให้ รมว.แรงงาน ตรวจสอบกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน และเรียกร้องให้บริษัทรับพนักงานกลับเข้าทำงานด้วย ซึ่งทางกระทรวงแรงงานเตรียมส่งเจ้าหน้าที่แรงงานเข้าเจรจากับบริษัทในวันที่ 20 ก.ค.นี้
 
ปัจจุบันบริษัท ไทยคูน เวิลด์ไวด์กรุ๊ป (ประเทศไทย) เลขที่ 99 หมู่ 1 ต.พัฒนานิคม อ.พัฒนานิคม จ.ระยองเจ้าของเป็นชาวไต้หวัน มีพนักงานทั้งหมดประมาณ 1,000 คน แยกเป็นคนงานไทยราว 600 คน ส่วนที่เหลือเป็นแรงงานต่างด้าว
 
ก่อนหน้านี้ ได้เกิดข้อพิพาทแรงงานขึ้นภายในโรงงาน และพนักงานเพิ่งกลับเข้าทำงานเมื่อวันที่ 1 ก.ค. แต่ปรากฏว่าแค่วันแรกที่เริ่มงาน บริษัทก็มีคำสั่งเลิกจ้างพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพ 13 คน โดยอ้างเหตุผลว่าพนักงานกลุ่มนี้แสดงความก้าวร้าวต่อผู้บังคับบัญชา แต่ยอมจ่ายเงินชดเชยให้ และในช่วงที่ผ่านมายังโยกย้ายพนักงานไปในแผนกต่างๆ ที่ไม่ใช่ตำแหน่งเดิมด้วย
 
ต่อมาวันที่ 6 ก.ค. ทางสหภาพได้จัดประชุมเพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ สมาชิกสหภาพ พร้อมร่วมให้กำลังใจเพื่อนร่วมงานที่ถูกเลิกจ้าง จนสร้างแรงกดดันต่อพนักงานที่เป็นสมาชิกของสหภาพ
 
กระทั่งบริษัทได้มีหนังสือเลิกจ้าง พนักงานชุดล่าสุดอีก 84 คน โดยยกเหตุผลว่าได้รวมกลุ่มกันก่อความไม่สงบ ติดตั้งเครื่องเสียง โดยกล่าวหาว่านายชัชวาลเป็นผู้กล่าวให้ร้ายบริษัท ซึ่งการกระทำดังกล่าวผิดกฎระเบียบบริษัท โดยการเลิกจ้างครั้งนี้บริษัทไม่จ่ายค่าชดเชยแก่สมาชิกของสหภาพ ทำให้พนักงานเดือดร้อนหนัก แม้ว่าได้เข้าร้องเรียนสำนักงานสวัสดิการแรงงานจังหวัดระยองแต่ก็ไม่คืบหน้า
 
 โพสต์ ทูเดย์ (17-7-2553)
 
สมานฉันท์แรงงานไทยเร่งหารือปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 10บ./วัน
 
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เตรียมเรียกสมาชิกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 10 บาทต่อวันให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ หลัง ครม.ไฟเขียวขึ้นเงินเดือนข้าราชการ
 
(เนชั่นแช นแล, 17-7-2553)
 
โรงงานอัญมณีอยุทธยาสารเคมีรั่วรอบ 2 คนงานเสียชีวิตแล้ว 1 ราย
 
เกิดการรั่วของสารเคมีรอบ 2 ในโรงงานของบริษัท บริษัท แมริกอท จิวเวลลี่ (ประเทศไทย)   จำกัด   ภายในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคจ.พระนครศรีอยุธยา หลังจากที่เมื่อวานรั่วครั้งแรกมีคนงานถูกนำส่งโรงพยาบาลจำนวน 300 คน   แต่ในวันนี้โรงงานกลับเปิดสายพายการผลิตอีกครั้ง โดยทำงานได้ไม่นานเกิดเคมีรั่วไหลอีก จนต้องนำคนงานกว่า 50 คนส่งโรงพยาบาลโรงพยาบาลนวนคร 2    โรงพยาบาลบางปะอิน   โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา และโรงพยาบาลราชธานีเพื่อช่วยเหลือชีวิตอย่างเร่งด่วน
 
อย่างไรก็ตามการนำส่งเป็นไปด้วยความ ยากลำบากเพราะเจ้าของโรงงานและรปภ.ไม่อนุญาตให้คนภายนอกและมูลนิธิเข้าไปนำ คนเจ็บออกจากโรงงาน ขณะที่ทางจังหวัดใบ้กิน ไม่สามารถบอกได้ว่าสารที่รั่วไหลออกมาคือสารอะไรแต่ที่แน่ชัดคนงานทุกคนมี อาการเกร็ง ชักกระตุก หายใจไม่ออก
 
พนักงานรายหนึ่ง กล่าวว่า เมื่อวานเกิดสารเคมีรั่วไหลออกมาแต่ทางโรงงานอ้างว่าเป็นท่อบำบัดมลพิษของ โรงงานแตกเพราะผลกระทบจากการก่อสร้างขยายโรงงานเท่านั้นโดยเมื่อวานช่วงบ่าย ( 15 ก.ค. ) พนักงาน 4,000 กว่าคนต้องวิ่งหนี้ตายมีคนเจ็บกว่า 300 คนถูกนำส่ง รพ.เจ้าของโรงงานกลับไม่ยอมหยุดงานในวันนี้ ให้พนักงานมาทำงานตามปกติโดยวันนี้มีพนักงานกว่า 3,000 คน มาทำงาน
 
โดยโรงงานดังกล่าวได้เปิดโรงงานในช่วง 08.00 น. และในเวลา 10.00 น.ก็เกิดเหตุแบบเมื่อวานทุกประการ โดยมีกลิ่นเหม็นของสารเคมีและพนักงานเป็นลมและมีอาการเมื่อวานเมื่อทุกอย่าง ซึ่งพนักงานมีการแจ้งให้มูลนิธิช่วยนำส่ง รพ. แต่ รปภ.และผู้บริหารโรงงานไม่ยอมให้คนภายนอกเข้าโรงงานเพื่อช่วยเหลือคนงานที่ รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลทำให้เกิดความลำบากในการนำส่ง โรงพยาบาล เพื่อนคนงานต้องช่วยกันนำคนเจ็บออกจากโรงงานและนำมาขึ้นรถมูลนิธิที่จอดหน้า โรงงาน เพื่อนนำส่ง รพ.และในจำนวนคนที่เจ็บครั้งนี้มีคนงานที่ตั้งครรภ์อยู่ด้วย
 
ขณะที่เจ้าหน้าที่กู้ภัย ระบุว่า ในวันนี้ผู้บริหารบริษัท ไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยเข้าไปภายในเพื่อนำพนักงานที่บาดเจ็บส่งรักษา ตัวยังโรงพยาบาลโดยไม่ทราบเหตุผล
 
ส่วนภายในบริษัทฯ ขณะนี้เจ้าหน้าที่จากอุตสาหกรรมจังหวัดตัวแทนจากสำนักงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยจังหวัดฯตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลังเข้าไปตรวจสอบร่วมกับเจ้าหน้าที่ของบริษัทว่าสาเหตุที่เกิดขึ้นในครั้ง นี้เกิดจากสาเหตุใด
 
อย่างไรก็ตามในวันนี้เวลาประมาณ 13.00 น. นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรมจะลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น   นอกจากนี้จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ามีพนักงานของบริษัทดังกล่าวเสียชีวิต แล้ว 1 ราย คือ นายมาโนช   หอมบางจาก หลังจากสูดดมเคมีและถูกนำส่งเข้ารับการรักษาที่ รพ.ช่วงเย็นวันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมาที่โรงพยาบาลบางปะอินและเสียชีวิต
 
ขณะนี้ศพถูกส่งไปที่โรงพยาบาลธรรม ศาสตร์ รังสิต เพื่อรอญาติมารับในเวลา 13.00 น. วันนี้ อย่างไรก็ตามทางภาครัฐยังไม่ออกมายืนยันว่านายมาโนชหอมบางจาก พนักงานของบริษัทเสียชีวิตเพราะสารเคมี
 
(โพสต์ทู เดย์, 16-7-2553)
 
ตัวเลขว่างงาน พ.ค.53 สูงกว่า เม.ย.ถึง 1.35 แสนคน
 
นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยเมื่อวันที่ 16 ก.ค. ถึงผลการสำรวจการทำงานของประชากร ประจำเดือน พ.ค.2553 พบว่า มีจำนวนผู้ว่างงาน 586,000 คน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.5% และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับปี 2552 มีจำนวนผู้ว่างงานลดลง 70,000 คน หรืออัตราการว่างงานลดลง 0.2% แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 135,000 คน หรือจาก 451,000 คน เป็น 586,000 คน โดยเมื่อพิจารณาผู้ว่างงานจากประสบการณ์การทำงาน พบว่าผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 201,000 คน ลดลง 36,000 คน ส่วนผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน มีจำนวน 385,000 คน ลดลง 34,000 คน จากช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2552 โดยเป็นผู้ว่างงานจากภาคการผลิต 185,000 คน ภาคการบริการและการค้า 114,000 คน และภาคเกษตรกรรม 59,000 คน
 
(ไทยรัฐ, 16-7-2553)
 
ไทย-พม่า ร่วมหารือนำเข้าแรงงานเพิ่มแก้ปัญหาขาดแคลน-หลบหนีเข้าเมือง
 
เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยก่อนหารือกับนายหม่อง มิ้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศพม่า ว่า ไทยและพม่าจะพิจารณาข้อตกลงร่วมกันเพื่ออนุญาตให้ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ แรงงานพม่าในไทยต่อไปเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกฝ่าย ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง อาจพิจารณาเพิ่มจุดพิสูจน์สัญชาติให้มากขึ้น โดยตั้งเป้าพิสูจน์สัญชาติให้ได้ 600,000-700,000 คนในปี 2555 และยังจะหารือถึงการนำแรงงานพม่ารายใหม่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาการหลบหนีเข้าเมืองของแรงงานพม่าและยังทำให้แรงงานพม่าได้รับการคุ้ม ครองตามกฎหมายด้วย โดยการนำเข้าแรงงานพม่าอย่างถูกต้องอาจเป็นระบบ G to G รัฐบาล 2 ฝ่ายตกลงกันเรื่องระยะเวลาจ้างงาน การรับประกันที่อยู่ให้แรงงานอยู่ทำงานอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีแรงงานพม่านำเข้าเป็นระบบแล้ว 534 คน อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ทอดทิ้งแรงงานไทยเพื่อรองรับแรงงานที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต กระทรวงฯ ได้เร่งจัดอบรมเพิ่มทักษะให้แรงงานไทยโดยเฉพาะสาขาช่าง รองรับภาคอุตสาหกรรมได้มากขึ้น.
 
 
(สำนัก ข่าวไทย, 15-7-2553)
 
รง.ทั่ว โลกจ่อทะลักคาด 5 ปีขาดกว่า 3 แสนคนปั๊มแรงงานฝีมือป้อนค่ายรถ
 
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสถาบันยานยนต์ว่า สถาบันอยู่ระหว่างการเจรจากับประเทศญี่ปุ่นในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรด้าน ยานยนต์ร่วมกันตามข้อตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับ ญี่ปุ่น (เจเทป้า) โดยมีเป้าหมายพัฒนาบุคลากร 3 แสนคนภายใน 10 ปี (53-62) เพื่อรองรับการขยายตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และการเข้ามาลงทุนเพิ่มของ ค่ายรถยนต์ทั่วโลกในไทย โดยเบื้องต้น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน และกระทรวงศึกษาธิการ ได้เตรียมงบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท ในการพัฒนาบุคลากร ส่วนญี่ปุ่นให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีและการฝึกอบรมเพราะหากไม่เร่งดำเนินการ เชื่อว่า 3-5 ปี กลุ่มยานยนต์จะประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมืออย่างหนัก
 
นายวิฑูรย์กล่าวว่า การพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์จะทำให้สองประเทศได้รับประโยชน์ ร่วมกันอย่างมาก เพราะผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วน ในไทย 80% ต้องผลิตให้ค่ายรถยนต์ของญี่ปุ่น ซึ่ง ช่วงที่ผ่านมาทั้งสองประเทศมีการเจรจาจัดทำแผนร่วมกันแล้ว แต่ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ เพราะฝ่ายญี่ปุ่นซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ ของญี่ปุ่น (ไจก้า) และเจโทร ยังไม่สามารถหาข้อสรุปถึงแนวทางที่จะช่วยเหลือไทย
 
"แผนงานดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการ 1 ต.ค.53 ดังนั้น จึงอยากให้ฝ่ายญี่ปุ่นเร่งจัดทำแผนงานในการช่วยเหลือ โดยเบื้องต้นแม้ว่าฝ่ายไทยจะสามารถดำเนินการ เช่น การพัฒนาช่างยนต์ ช่วงการผลิต การทดสอบ การบริหาร และการวิจัยพัฒนา แต่สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งคือการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากญี่ปุ่นให้กับ แรงงานยานยนต์ และมั่นใจว่าแผนการพัฒนาฝีมือแรงงานร่วมกันระหว่างไทยกับญี่ปุ่นจะทำให้แรง งานยานยนต์เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูงกว่าแรงงานภาคอุตสาหกรรมกลุ่มอื่นแน่นอน และในอนาคตก็จะทยอยเลื่อนขั้นตำแหน่งแก่ผู้ที่ได้รับการฝึกอบรม 300,000 คน ในการคุมงานต่อไป"
 
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า ข้อตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ด้านการพัฒนาบุคลากรนั้นทางฝ่ายญี่ปุ่นต้องการที่จะช่วยพัฒนาบุคลากรใน 2 อุตสาหกรรม ประกอบด้วยยานยนต์และเหล็ก ซึ่งการพัฒนาคุณภาพแรงงานจะทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นในไทยได้รับประโยชน์อย่าง มาก เพราะ ผู้ผลิตรถยนต์ 80% เป็นของญี่ปุ่น
 
ทั้งนี้ การเพิ่มศักยภาพแรงงาน สถาบันยานยนต์ได้ตั้งเป้าให้แรงงาน 1 คน สามารถผลิตรถยนต์จาก 3 คัน เป็น 6 คันต่อปี ภายในปี 2559 เพราะปัจจุบันศักยภาพการผลิตรถของไทยยังต่ำเมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตรถ ยนต์รายใหญ่ของโลก เช่นญี่ปุ่น ที่มีแรงงานด้านนี้ 700,000 คน แต่ผลิตรถยนต์ปีละ 10 ล้านคัน หรือเฉลี่ย 1 คน ผลิตรถได้ 11-12 คันต่อปี "ปัจจุบันแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอยู่ที่ 450,000 คน ส่วนใหญ่ เป็นแรงงานระดับล่าง 70% และที่เหลืออีก 30% เป็นระดับช่างและผู้บริหาร ดังนั้น จำเป็นต้องฝึกอบรมเพื่อเพิ่มช่างเทคนิคให้มากขึ้น เพื่อรองรับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่".
 
(ไทยรัฐ, 14-7-2553)
 
รม ต.ไทย-พม่าเยี่ยมศูนย์พิสูจน์สัญชาติ ระนอง
 
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของไทย พร้อมนายหม่องมิ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศพม่า พร้อมนายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เดินทางตรวตเยี่ยมศูนย์พิสูจน์สัญชาติและออกหนังสือเดินทางชั่วคราวที่ทาง การพม่าได้ย้ายสำนักงานจาก จ.เกาะสองมายังบริเวณแพปลาโกฟุก ต.ปากน้ำ อ.เมืองระนอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับแรงงานพม่าที่เข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ พร้อมทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ หลังจากที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งสามารถดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้กับแรงงานพม่าได้วันละ 800 คน
 
นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ทางการพม่าเปิดให้บริการศูนย์พิสูจน์สัญชาติและออกหนังสือเดินทางชั่วคราว ที่จังหวัดระนอง ซึ่งถือเป็นการบริการโดยเฉพาะการออกหนังสือเดินทางชั่วคราวบนฝั่งไทยเป็น ครั้งแรก และพื้นที่แรกที่มีการดำเนินการในลักษณะนี้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ทั้งสองฝ่ายได้พยายามหารือร่วมกันเพื่อหาทางในการร่วม มือในเรื่องดังกล่าว เพื่อลดขั้นตอนและกระบวนการในการดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ
 
"การจัดตั้งศูนย์พิสูจน์สัญชาติแรง งานพม่า ที่จังหวัดระนอง เป็นผลสืบเนื่องมาจากการประชุมที่เมืองพุกามประเทศพม่า ซึ่งทางฝ่ายไทยมีความเป็นห่วงในเรื่องของความปลอดภัยของแรงงานที่ต้องเดิน ทางไปพิสูจน์สัญชาติฝั่งพม่า ในช่วงฤดูมรสุม จึงได้เสนอให้ทางการพม่าส่งเจ้าหน้าที่มายังฝั่งไทย ซึ่งทางการพม่าได้รับข้อเสนอ จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่มาดูสถานที่และประชุมร่วมกัน คาดว่าศูนย์ดังกล่าวสามารถเริ่มเปิดให้บริการได้ภายในต้นเดือนกรกฎาคมนี้ ไปสิ้นสุดประมาณเดือนตุลาคม 2553 โดยจะส่งเจ้าหน้าที่มาประจำที่ศูนย์พิสูจน์สัญชาติที่จังหวัดระนองประมาณ 20 คน สามารถพิสูจน์สัญชาติได้วันละ 800 คน ส่วนในอนาคตจะมีการขยายเวลาหรือไม่ต้องมีการหารือกันต่อไป และอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การตั้งศูนย์พิสูจน์สัญชาติที่ อ.แม่สอด จ.ตาก และ อ.แม่สาย จ.เชียงรายในอนาคตด้วยก็เป็นได้"
 
 (เนชั่นแชนแล, 14-7-2553)
 
เครือ ข่าย ปชช.ตะวันออก นำชาวบ้านยื่นเรียกร้องหน้า รง.อูเบะ รับผิดชอบกรณีปล่อยสารเคมี
 
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก นำชาวบ้านกว่า 50 คน เดินทางไปรวมตัวกันที่บริเวณหน้าบริษัท อูเบะ เคมิคอลส์(เอเชีย) จำกัด(มหาชน) กลุ่ม อูเบะ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด หมู่ 4 ต.ตะพง อ.เมืองระยอง ชูป้าย” อูเบะ รั่วตลอด ปอดใคร ชิบหาย” “หยุดของเก่ายังไม่ดี มีแต่เพิ่ม” “อูเบะ ก๊าซรั่วซ้ำซาก เลิกพัฒนาบนน้ำตาประชาชน”
 
นายสุทธิ กล่าวว่า วันนี้ชาวบ้านเดินทางมายื่นหนังสือผู้บริหาร บริษัท อูเบะ เคมิคอลส์ เอเชีย จำกัด(มหาชน) ให้แสดงความรับผิดชอบกรณีเกิดเหตุคนงานบริษัทรับเหมาก่อสร้าง สูดดมควันพิษจากการเปิดฝาหัวฉีดเตาเผากำมะถันเหลวต้องหามส่งรพ.กรุงเทพระยอง รวม 9 คนเหตุเกิดเมื่อเช้าวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมารวม 6 ข้อ มีนายสุริยน วันเพ็ญ กรรมการรองผู้อำนวยการ บมจ. อูเบะ เคมิคอลส์(เอเชีย) จำกัด เป็นผู้รับหนังสือ
 
1.ให้บริษัท อูเบะ เคมิคอลส์ (เอเชีย ) จำกัด(มหาชน) ปรับปรุงแก้ไขระบบอุ่นเตาเผากำมะถันเหลวจากระบบเปิดเป็นระบบปิด ควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติ , 2.ส่งผลรายงานการตรวจสอบประสิทธิภาพและการแก้ไขข้อบกพร่องระบบมลพิษทางอากาศ ของเตาเผากำมะถันเหลว(ในรอบ 6 เดือน) ให้เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกและประชาชนโดยเร็ว 3. ชี้แจงเปิดเผยข้อมูลอย่างละเอียดถูกต้องกับความเป็นจริง , 4. แสดงความรับผิดชอบ ผู้ที่ได้รับผลกระทบ , 5.กำหนดมาตรการแผนฟื้นฟู และมาตรการป้องกันมิให้เกิดซ้ำอีก , 6. เข้าสู่ความรับผิดชอบทั้งอาญาและทางแพ่ง
 
เพื่อเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า โรงงานในฐานะผู้รับผิดชอบ ขาดประสิทธิภาพในการบริหารงาน จึงขอให้หยุดการขยายโรงงานไว้ก่อนและให้ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 57,66,และ67 เพื่อไม่เป็นการละเมิดกฎหมายสูงสุดและเป็นการสร้างมาตรฐานน่าเชื่อถือในการ พัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต
 
(เนชั่นแชนแล, 14-7-2553)
 
มาเลย์หวังดึงแม่บ้านไทย เสียบแทนแรงงานอินโด
 
ปัญหามึนตึงระหว่างประเทศ รวมถึงการเจรากับอินโดนีเซียยังไม่ได้ข้อยุติ รัฐบาลมาเลเซียเตรียมหาทางออก แสวงหาแรงงานจากภาคใต้ของไทยและฟิลิปปินส์แทน...
 
ความพยายามเจรจาตกลงกันต่อปัญหาแรง งานแม่บ้าน ระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซียกับมาเลเซียยังไม่ได้ข้อยุติ หลังเกิดเรื่องร้องเรียนบ่อยครั้ง กรณีแม่บ้านอินโดนีเซียถูกนายจ้างใน มาเลเซียปฏิบัติด้วยอย่างไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดปัญหามึนตึงระหว่างประเทศ ทำให้อินโดนีเซียหยุดการส่งแรงงานแม่บ้านเข้ามาเลเซียมาตั้งแต่เดือน มิ.ย.ปีท่ีแล้ว
 
ขณะที่รัฐบาลมาเลเซียเตรียมหาทางออก ด้วยการแสวงหาแรงงานใหม่จากพื้นที่ภาคใต้ของไทยและฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ มาเลเซียระบุแต่ละปีมีเรื่องร้องเรียนกรณีแม่บ้านราว 50 ราย แต่อินโดนีเซียระบุมีเรื่องมากราว 1,000 กรณี.
 
(ไทยรัฐ, 13-7-2553)
 
แห่ พิสูจน์สัญชาติหลังทางการพม่าเปิดด่านเมียวดี-แม่สอด
 
ชาวพม่าที่เข้ามาค้าแรงงานในไทยกว่า 1,200-1,500 คน ได้เดินทางข้ามจากฝั่งไทยไปพิสูจน์สัญชาติที่จังหวัดเมียวดี ประเทศพม่า ที่บริเวณด่านพรมแดนไทย – พม่า อ.แม่สอด จ.ตาก หลังจากที่ทางการพม่า ได้เปิดด่านพรมแดนให้ชาวไทย และชาวพม่าสามารถสัญจรไปมาได้ตามปกติ ขณะที่ชาวพม่าบางส่วนต้องรีบเข้ามาซื้อสินค้าเพื่ออุปโภค – บริโภค แบบรายย่อย ในเมืองแม่สอด แต่ยังห้ามรถยนต์จากฝั่งไทยเข้าไป
 
ขณะที่นักธุรกิจทั้งชาวไทยและพม่ายังไม่มั่นใจที่จะนำสินค้ามาส่ง เพราะยังหวั่นว่าพม่าอาจจะปิดพรมแดนซ้ำอีก จะมีเพียงการนำลังหรือถังใส่อาหารทะเล เพื่อนำข้ามไปรับอาหารจากทะเลอันดามัน มาจำหน่ายที่ อ.แม่สอด เท่านั้น ส่วนสินค้าที่จะส่งออก-นำเข้า ซึ่งเป็นสินค้าเครื่องอุปโภค-บริโภค คาดว่าจะเริ่มมีการส่งออกในวันพรุ่งนี้เมื่อนักธุรกิจมีความมั่นใจมากขึ้น ที่จะนำสินค้ามาส่งออก
 
(โพสต์ทูเดย์, 13-7-2553)
 
รมว.แรงงาน เตรียมร่วมสังเกตการณ์พิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าในไทย
 
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ว่า ที่ประชุมอยู่ระหว่างการหารือถึงการเบิกจ่ายสวัสดิการของพนักงานสำนักงานธนา นุเคราะห์ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยพิจารณากรณีเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของตนและครอบครัว ซึ่งจะต้องตีความความหมายของคำว่า “ครอบครัว” ว่าครอบคลุมถึงบุคคลใดบ้าง โดยยังไม่มีข้อสรุปในการประชุมครั้งนี้ พร้อมกันนี้ นายเฉลิมชัย ยังกล่าวถึงกำหนดการในการพิสูจน์สัญชาติแรงงานชาวพม่าในประเทศไทย ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 14 กรกฎาคมนี้ ที่จังหวัดระนอง ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับแรงงาน จากเดิมที่แรงงานจะต้องเดินทางด้วยเรือไปพิสูจน์สัญชาติที่เกาะสองของประเทศ พม่า ซึ่งในขณะนี้เป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจากเป็นฤดูมรสุม แต่ในปีนี้เจ้าหน้าที่พม่าจะเดินทางมาให้บริการที่ประเทศไทย ทำให้เชื่อว่าจะได้จำนวนแรงงานมาพิสูจน์สัญชาติมากขึ้น ซึ่งตนจะร่วมเดินทางไปสังเกตการณ์พิสูจน์สัญชาติดังกล่าวด้วยตนเอง ร่วมกับรัฐมนตรีแรงงานของพม่า
 
(สำนักข่าวไทย, 12-7-2553)
 
เตรียมตั้งสหภาพข้าราชการออกเป็น พ.ร.ฎ.
 
นายนนทิกร กาญจนะจิตรา รองเลขาธิการ ก.พ. เปิดเผยว่าในวันที่ 12 ก.ค. เวลา 14.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน โดยจะการเสนอร่างพ.ร.ฏ.การจัดตั้งสหภาพข้าราชการ พ.ศ....ให้นายกรัฐมนตรีรับทราบ ก่อนนำร่างกฎหมายเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาต่อไป
 
ร่างพ.ร.ฎฉบับดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มข้าราชการที่ผ่านการศึกษาวิจัยและความ เห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมการรวมกลุ่มปกป้องสิทธิและสวัสดิการตามกรอบกฎหมาย ตามพ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือนกำหนด
 
หากกระทรวง ทบวง กรมใดต้องการจดทะเบียนสหภาพข้าราชการสามารถดำเนินการได้โดยทางเลขาธิการ ก.พ.จะเป็นนายทะเบียนให้
 
ขณะเดียวกันการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 13 ก.ค.นี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ 2552 ให้แก่ส่วนราชการ จังหวัด และสถาบันอุดมศึกษาที่ไม่มีเงินเหลือจ่ายประจำปี 2552
 
ทั้งนี้เป็นไปตามตามมติของก.พ.ร.ที่ เสนอให้ครม.ใช้เงินงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายการปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐที่คงเหลือจากการจัดสรร เงินรางวัลและเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหารก่อนปีงบประมาณ 2552 ซึ่งมีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีและขยายเวลาการเบิกจ่ายเงินไว้แล้ว วงเงิน 1,073 ล้านบาท เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการพัฒนาองค์กรและการพัฒนาบุคลากร
 
อย่างไรก็ดี ก.พ.ร. เสนอให้จัดสรรเงินรางวัลให้แต่ละหน่วยงานตามความเหมาะสม โดยยึดตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลงานตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้า ราชการพลเรือน (ก.พ.) กำหนด โดยให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติและไม่ควรนำเงินรางวัลที่ได้รับ จัดสรรไปหารเฉลี่ยให้เท่ากันทุกคน
 
ทั้งนี้ต้องมีการประเมินผลการ ปฏิบัติราชการและควรให้กับผู้ที่มีความร่วมมือในการสร้างผลงานให้ส่วนราชการ รวมทั้งผู้ที่มีความทุ่มเทและมีผลงานบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการและ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี
 
(โพสต์ทู เดย์, 12-7-2553)
 
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ภาคประชาชนออกแถลงการณ์หยุดสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น จี้รัฐบาลลงมาแก้ปัญหา

Posted: 18 Jul 2010 05:08 AM PDT

<!--break-->

18 ก.ค. 53 - องค์กรภาคประชาชนออกแถลงการณ์หยุดสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น หยุดสร้างความร้าวฉานให้กับชุมชน รัฐบาลอภิสิทธ์ต้องลงมาแก้ไขปัญหา ก่อนเหตุการณ์จะบานปลาย

แถลงการณ์
หยุดสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ...หยุดสร้างความร้าวฉานให้กับชุมชน...รัฐบาลอภิสิทธ์ต้องลงมาแก้ไขปัญหา ก่อนเหตุการณ์จะบานปลาย

 
 

จากสถานการณ์การสนับสนุนให้มีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น  โดยในวันที่ 15 กรกฎาคม 2553 ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้ดำเนินการล่ารายชื่อนักเรียนในจังหวัดแพร่  หากใครไม่ลงชื่อก็จะตัดคะแนน  รวมทั้งจัดเวทีเยาวชนนักเรียนนักศึกษาให้สนับสนุนโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น  อีกทั้งในวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา ได้มีกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและนักเรียนนักศึกษา กว่า 3,000 คน จากจังหวัดแพร่  มาชุมนุมหน้าศาลากลางจังหวัดแพร่ และเวลา 11.30 น. ในวันเดียวกัน ได้มีนายกสมาคมเครือข่ายสถาบันเกษตรกร (คสก.) พร้อมแกนนำชาวบ้านลุ่มน้ำยม  จ.พิจิตร กว่า 50 คน ได้ยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร  เพื่อทวงถามความคืบหน้าการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

เหตุการณ์ดังกล่าว  ได้มีชาวบ้าน ต.สะเอียบ  ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะมีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น  ได้ออกมาคัดค้านการกระทำดังกล่าว ประมาณ 1,000 คน  โดยได้มีการกล่าวประณาม พล.ต.สนั่น ขจรประศาสตร์ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการเกณฑ์ประชาชนออกมายื่นหนังสือสนับสนุนในการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น  ด้านพล.ต.สนั่น ได้กล่าวถึงการที่ชาวบ้านสะเอียบ รวมตัวต่อต้านการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นว่า เป็นเพราะชาวบ้านยังไม่เข้าใจ  เนื่องจากความจริงแล้วการสร้างเขื่อนไม่ได้ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน  ซึ่งได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่  ได้ชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจต่อไป  อย่างไรก็ตาม ก็ต้องเดินหน้าสร้างเขื่อนต่อไป  เพราะไม่เช่นนั้นประชาชนส่วนใหญ่กว่า 90 เปอร์เซ็นต์จะต้องเดือดร้อน

นี่คือเหตุการณ์ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองที่ต้องการการเยียวยาและสมานฉันท์   แต่กลับมีเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งสะท้อนภาพความไม่เป็นกลางและความอ่อนด้อยทางปัญญาของเจ้าหน้าที่รัฐนับตั้งแต่ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่และจังหวัดพิจิตร  สำนักงานเขตการศึกษาแพร่ เขต 1 รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐระดับท้องถิ่นที่วางตัวเป็นลิ่วล้อนักการเมืองที่มีผลประโยชน์จากการสร้างเขื่อนและต้องการสร้างฐานเสียงทางการเมืองของตนเอง   ออกมาปลุกปั่นให้ประชาชนเกิดความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากรในพื้นที่          โดยไม่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน   และผลของรายงานการศึกษาของสถาบันต่างๆ ที่ออกมาแสดงความคิดเห็น เช่น ผลการศึกษาของกรมทรัพยากรธรณี ได้ชี้ว่า บริเวณที่สร้างเขื่อนใกล้กับรอยเลื่อนของเปลือกโลก  เสมือนหนึ่งเป็นการวางระเบิดบนหลังคาบ้านของตัวเอง , จากการศึกษาของ องค์การอาหารและการเกษตรโลก(FAO), ด้วยเหตุผลเรื่องการป้องกันน้ำท่วม กรณีเขื่อนแก่งเสือเต้น สามารถเยียวยาปัญหาน้ำท่วมได้ เพียง 8 เปอร์เซ็นต์ , จากการศึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย (TDRI.) ด้วยเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์  ได้ข้อสรุปว่า  เขื่อนแก่งเสือเต้นไม่คุ้มทุน  เป็นโครงการที่รัฐไม่ควรให้การสนับสนุน , จากการศึกษาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ด้วยเหตุผลทางนิเวศวิทยา มีข้อสรุปว่าหากสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นจะกระทบต่อระบบนิเวศของอุทยานแห่งชาติแม่ยมเป็นอย่างมาก  ,จากการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ด้วยเหตุผลทางด้าน ป่าไม้  สัตว์ป่า  ที่มีข้อสรุปว่า  พื้นที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น  เป็นทั้งอุทยานแห่งชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่  อีกทั้งยังเป็นแหล่งป่าสักทองธรรมชาติผืนเดียวในประเทศไทยที่ยังเหลืออยู่ ดังนั้น ควรเก็บรักษาไว้ เพื่ออนาคตของประชาชนไทยและมวลมนุษยชาติ

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้  เห็นได้ชัดเจนว่าผลของกระแสการปลุกปั่นและยุแยงโดยนักการเมืองในพื้นที่จะมีความขัดแย้งรุนแรงและบานปลายออกไปเรื่อยๆ  โดยเป็นผู้อยู่เบื้องหลังข้าราชการ  สนับสนุนให้ข้าราชการใช้อำนาจโดยมิชอบสั่งการ ข้าราชการชั้นผู้น้อยที่ไม่มีอำนาจออกมาสนับสนุนการสร้างเขื่อน  สร้างกระแสให้ข้อมูลเท็จทำให้เกิดความขัดแย้งในชุมชนโดยไม่มีการคิดถึงความเป็นจริงในด้านข้อมูลการศึกษาของนักวิชาการสถาบันต่างๆ ที่แสดงความคิดเห็นต่อปัญหาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น 

เพื่อระงับข้อขัดแย้งที่จะบานปลายและไม่ให้กรณีเขื่อนแก่งเสือเต้นเป็นประเด็นให้นักการเมืองนำมาสร้างความร้าวฉานให้กับประชาชนในพื้นที่อีก   จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาล  นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ลงมาแก้ไขปัญหากรณีเขื่อนแก่งเสือเต้นโดยให้ยกเลิกการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น  ซึ่งการยกเลิกนี้อิงกับผลการศึกษาของสถาบันต่างๆ ที่ได้ศึกษามาแล้ว  อีกทั้งต้องหาทางออกให้กลุ่มที่มาเรียกร้องให้สร้างเขื่อน ว่าแท้จริงกลุ่มนี้มีปัญหาอะไรและเยียวยาช่วยเหลือกลุ่มนั้นตามปัญหาที่เกิดขึ้นจริง
 
ด้วยความสมานฉันท์
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)อีสาน
โครงการทามมูน
สถาบันชุมชนอีสาน
สมาคมป่าชุมชนอีสาน
กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
เครือข่ายนักวิชาการนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ(ศสส.)ภาคอีสาน
กลุ่มศึกษาปัญหาดินเค็มและการจัดการทรัพยากรแร่ อีสาน
คณะทำงานติดตามปัญหาทรัพยากรเหมืองแร่ ประเทศไทย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถาปัตยกรรม (Guggenheim Museum) คนพื้นเมือง (Bilbao) และความขัดแย้ง (Conflict)

Posted: 18 Jul 2010 04:21 AM PDT

ทันทีที่ Iniesta ส่งลูกบอลผ่านประตู ในนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 2010 Mark Lawrenson (BBC Football pundit) ถึงกับเอ่ยออกมาว่า “นี่อาจจะเป็นประตูประวัติศาสตร์ที่รวมประเทศสเปนเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว” คำพูดนี้ฟังดูแล้วเหมือนจะเป็นคำถามมากกว่าความหวัง
<!--break-->

ก่อนจะมีสเปนในปัจจุบัน พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นพื้นที่ของแคว้นใหญ่ๆหลายแคว้น คือ Catalonia ที่มี Barcelona เป็นเมืองหลวง, Basque Country ที่มี Bilbao เป็นศูนย์กลาง และพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เหลือมี Madrid เป็นมหานคร

ถ้าพูดถึง Basque Country สถาปนิกหลายคนอาจไม่รู้จัก แต่ถ้าพูดถึงสถาปัตยกรรมระดับโลก Guggenheim Museum ของ Frank Gehry แล้วเราก็คงร้องอ๋อ เรารู้จักและชื่นชมความสวยงามตัวสถาปัตยกรรมที่แปลกใหม่ เรารู้ซึ้งถึงความสามารถอันล้ำสมัยของตัวสถาปนิก แต่อาจจะไม่รู้เลยว่า Bilbao อยู่ตรงไหนของประเทศสเปน และอาจไม่รู้เลยว่า Basque Country มีอยู่ในแผนที่โลกด้วยนี้ด้วย

ซึ่งหากเอาเข้าจริงๆ ถ้าเราเปิดแผนที่โลกปัจจุบันดูเราจะไม่เห็น Basque Country หรอกครับ มันไม่มีในแง่กายภาพ แต่มันมีอยู่ในแง่ความรู้สึกของชาว Basque

รัฐบาลสเปนตั้งใจเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ชื่อของ Bilbao เป็นที่รู้จักในระดับโลก Guggenheim Museum จึงกำเนิดขึ้นภายใต้แนวคิดการทำให้ Bilbao เป็นเมืองการท่องเที่ยว โดยใช้สถาปัตยกรรมสมัยใหม่เป็นตัวดึงดูด นอกจาก Guggenheim Museum โครงการที่อาจจะตามมาในอนาคตอันใกล้ คือกลุ่มอาคารบิดเบี้ยวกลางเมือง ที่ออกแบบโดย Zaha Hadid หากการประท้วงของคนท้องถิ่นชาว Basque ไม่เป็นผล

ขณะที่ Guggenheim Museum ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากจากทุกมุมโลกให้มาเยี่ยมชม Bilbao นำเงินจำนวนมากมายมหาศาลมาสู่ชาวเมือง แต่ความพยายามของรัฐบาลสเปนนี้ถูกตีความจากชาวเมืองผู้ไม่ยอมรับชาติสเปนว่า เป็นความพยายามที่จะลบอัตลักษณ์ (Identity) ความเป็นชาติ และวัฒนธรรมของชาว Basque ออกไปจากพื้นที่ความทรงจำของชาว Basque รุ่นหลัง ความล้ำสมัยของ Guggenheim Museum แทนที่จะเป็นสัญลักษณ์ของการก้าวเข้าสู่ศตวรรษใหม่ของ Bilbao อย่างที่รัฐปราถนา แต่กลับกลายเป็นสัญลักษณ์ของความกดขี่และข่มเหงในความหมายของชาวเมืองหัวรุนแรง การไม่มีภาษาใดๆทางสถาปัตยกรรมของ Guggenheim ที่เชื่อมโยงและสะท้อนความเป็น Basque เลยแม้ซักนิด จึงเป็นเหตุให้อาคารหลังนี้เป็นสิ่งแปลกแยกและไม่สามารถกลมกลืนเข้ากับประวัติศาสตร์ของเมืองได้

การประท้วงเพื่อเรียกร้องอธิปไตยและการแบ่งแยกดินแดนยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องเกือบทุกสัปดาห์ รวมถึงการก่อการร้ายใต้ดินในรูปแบบต่างๆ แผนการสร้างสถาปัตยกรรมสมัยใหม่อื่นๆจึงถูกเลื่อนออกไปและเลื่อนออกไป ส่วนหนึ่งก็เพื่อบรรเทาความขัดแย้งทางความคิด

เพื่อนชาว Basque คนนึงของผมระบายความรู้สึกของเขาให้ผมฟัง เมื่อครั้งที่ผมไป Bilbao เขาเล่าว่า “มันจะเจ็บปวดมากมายแค่ไหน ถ้ามีคนมาสร้างสิ่งประหลาดๆในบ้านคุณ ผู้คนมากมายมาเยี่ยมบ้านคุณ โดยที่เขาไม่รู้เลยว่า เรายินดีกับสิ่งเหล่านี้หรือไม่ เราอยากจะได้มันหรือไม่ เขาเคยถามเราก่อนหรือเปล่า ก่อนที่จะลงมือสร้างมันขึ้นมา”

ผมไม่มีข้อสงสัยเลยว่า Guggenheim Museum เป็นสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่ชื่นชมกว้างขวางในวงการการออกแบบและนำผลประโยชน์ต่างๆมากมายมาสู่เมืองและประเทศสเปน มันอาจเป็นมรดกของมนุษยชาติในโลกสมัยใหม่ และอาจเป็นนวัตกรรมของวงการออกแบบ

แต่ครั้งนี้เป็นประสบการณ์แรกของผมที่มองสถาปัตยกรรมด้วยจิตใจเป็นอื่นในมุมมองอื่น มันเป็นสถาปัตยกรรมที่ตอกย้ำรอยแผลที่เคยสร้างความเจ็บปวดร้าวลึกให้ลึกมากยิ่งขึ้น มันขับเน้นให้ความแตกแยกภายในให้แตกแยกมากขึ้น

มันเป็นสถาปัตยกรรมที่พยายามจะลบความเป็น Basque Country ออกจากโลกใบนี้

หมายเหตุ
ป.ล.(ก) นักฟุตบอลชาวสเปนไม่ร้องเพลงชาติ เพราะเพลงชาติเสปนไม่มีเนื้อร้อง
ป.ล.(ข) เมื่อครั้งทีมชาติเสปน ได้แชมป์ยูโร 2008 ผมส่งข้อความไปแสดงความยินดีกับเพื่อนชาว Basque เขาตอบกับมาด้วยความสุภาพว่า เขาชอบเล่นบาสเกตบอล
ป.ล.(ค) เพื่อนอีกคนเล่าว่า Del Bosque นอกจากเป็นผู้จัดการที่เก่งแล้ว ยังเป็นนักการเมืองที่ยอดเยี่ยม เพราะเขาสามารถรวมทีมคาตาลันเข้ากับผู้เล่นจากแคว้นอื่นๆ และทำให้พวกเขาเล่นเพื่อสเปนได้ อย่างที่ผู้จัดการคนอื่นไม่เคยทำได้มาก่อน

อ่านเพิ่ม :
http://info.matichon.co.th/weekly/member/wk_txt.php?srctag=ODUxNjA3NTM=
http://info.matichon.co.th/weekly/member/wk_txt.php?srctag=ODUxODA2NTM=
http://www.building.co.uk/news/zaha-hadid%E2%80%99s-radical-plans-for-bilbao/3097193.article

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสวนาประกายไฟ-iLaw: ปรองดองไม่ได้ถ้ายังใช้ กม.กดขี่

Posted: 18 Jul 2010 03:30 AM PDT

งานเสวนา “กฎอัยการศึก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ความมั่นคง มีไว้เพื่อใคร” หนูหริ่งและนักศึกษาภาคใต้ สะท้อนประสบการณ์ตรงจากกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง ด้านนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนยืนยันต้องยกเลิกกฎหมายให้อำนาจพิเศษ
<!--break-->

เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 53 กลุ่มประกายไฟ และโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ร่วมกันจัดงานเสวนาเรื่อง “กฎอัยการศึก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ความมั่นคง มีไว้เพื่อใคร” ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา วิทยากรได้แก่ ศราวุฒิ ประทุมราช นักวิชาการด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน สมบัติ บุญงามอนงค์ นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย ไลลา เจ๊ะซู เครือข่ายบัณฑิตอาสาพัฒนาสังคมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้  (InSouth)

ศราวุฒิ ประทุมราช กล่าวว่า กฎหมายหลักๆ ทั้งสามฉบับ ถ้าวัดระดับความรุนแรง รัฐบาลบอกว่า พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ อ่อนสุด แรงรองมาคือพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถัดมาคือกฎอัยการศึก

แต่สถานการณ์ปัจจุบัน กฎหมายตัวที่ใช้มากที่สุด คือพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และถือว่าเป็นยาแรง เขาเปรียบเทียบการใช้กฎหมายเหล่านี้ว่า เหมือนสมัยนักเรียนที่ครูมักพูดว่า ใครทำผิดให้บอกมาไม่งั้นจะลงโทษทั้งห้อง เหมือนกับการเมืองไทยที่เวลามีการชุมนุม แล้วมีคนพูดเรื่องความรุนแรงก็ไปหาว่าการชุมนุมทั้งหมดไม่ชอบด้วยกฎหมาย เวลาพบว่าพรรคการเมืองซื้อเสียง ผลคือประกาศยุบพรรค

ศราวุฒิกล่าวว่า กฎอัยการศึกเป็นกฎหมายที่ประกาศใช้ได้ตลอด โดยทหารภาคต่างๆ เป็นผู้ประกาศ เหตุผลของการประกาศมีเรื่องเดียว คือ มีข้าศึกรุกรานจากต่างประเทศ แต่ปรากฏว่า กฎอัยการศึกถูกเบี่ยงเบนเจตนาในการใช้มาใช้ควบคุมคนในประเทศ โดยรัฐมักอ้างว่า ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ นั้น กฎหมายอื่นที่มีอยู่ใช้ได้ไม่ทันการ นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้กฎอัยการศึกจะถูกใช้ทุกครั้งที่จะมีรัฐประหาร

กรณีชายแดน นอกจากมีการรุกรานจากต่างชาติแล้ว ยังมีปัญหายาเสพติด ดังนั้นฝ่ายทหารก็ดูเหมือนจะมีอำนาจป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญาด้วย ตรงนี้จึงเหมือนกับว่าทหารมีอำนาจเต็มที่เลยโดยไม่มีการกำกับดูแล เพราะตอนท้ายกฎหมายมีการนิรโทษกรรม ที่บอกว่าฟ้องร้องไม่ได้ ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จของกฎหมายความมั่นคง

"ในภาวะปรกติ เราควรจะมีกฎหมายนี้อยู่หรือเปล่า กฎอัยการศึกให้อำนาจละเมิดสิทธิมนุษยชน ทหารจับได้เลยโดยไม่ต้องมีหมาย อำนาจอธิปไตยอยู่ในมือทหารฝ่ายเดียว"

สำหรับพ.ร.บ.ความมั่นคง ศราวุฒิเห็นว่าเป็นกฎหมายที่เขียนมาเพื่อกอ.รมน. ซึ่งเดิมเป็นองค์กรที่ไม่มีสถานะตามกฎหมาย ตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลถนอม เมื่อรัฐบาลเปลี่ยน ก็ใช้งบประมาณลำบาก จนมาในสมัยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็เขียนกฎหมายฉบับนี้ขึ้นเพื่อให้อำนาจและให้งบประมาณ มีโครงสร้างคือ นายกรัฐมนตรีบวกกับกอ.รมน.

ศราวุฒิกล่าวต่อ เกี่ยวกับพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ว่า ต้องยกเลิกทั้งฉบับ ไม่ใช่แค่ยกเลิกประกาศ เช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ความมั่นคง ที่เนื้อหาอาจจะดูอ่อนๆ กว่า คล้ายว่าสถานการณ์ที่ไม่ร้ายแรงถึงขั้นประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็ให้ประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคง

"ในภาวะที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง เราไม่ควรมีกฎหมายเหล่านี้อยู่ เพียงแค่กฎหมายอาญาก็น่าจะเพียงพอ ขอให้ปฏิบัติตามนิติรัฐ ซึ่งหมายถึงปฏิบัติภายใต้กฎหมาย และถ้ากฎหมายนั้นไม่มีความเป็นธรรม แล้วรัฐบาลยังใช้กฎหมายนั้น ก็ถือว่ารัฐบาลไม่เป็นธรรม"

"ถ้าเราจะอยู่อย่างปรองดอง ท่านจะปรองดองกับใคร ในขณะที่กฎหมายเหล่านี้ยังมีอยู่ เพราะต้นตอของปัญหามาจากการไม่ยอมรับฟังความเห็นที่ต่าง ผมเชื่อว่าบ้านเมืองจะยุติความขัดแย้งลงได้ ถ้ายกเลิกกฎหมายเหล่านี้" ศราวุฒิกล่าว

สมบัติ บุญงามอนงค์ เล่าประสบการณ์ในฐานะที่เคยเผชิญหน้ากับกฎหมายสองฉบับ คือ กฎอัยการศึก และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่า ประสบการณ์ครั้งแรกคือ กฎอัยการศึก สมัยหลังรัฐประหารใหม่ๆ เขาและเพื่อนๆ แต่งชุดดำออกมายืนที่หน้าสยามเซ็นเตอร์ มีตำรวจทหารมาเต็มแต่ไม่มีการจับ แต่ขณะที่เขาอยู่ที่ตึกของมูลนิธิกระจกเงา ก็มีทหารใส่ชุดเต็มรูปแบบพร้อมปืนเอ็ม 16ไปหาที่ตึก นำรูปภาพของเขาไปถามยามของตึกว่า รู้จักผมไหม คือทหารไม่ได้ตั้งใจจะไปคุยกับนายสมบัติ แต่ตั้งใจข่มขู่ สิ่งเหล่านี้ทำให้เห็นว่ากฎอัยการศึกเป็นเครื่องมือในการคุกคามประชาชน

เหตุการณ์ครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 50 เขาไปที่บขส.เชียงราย เวลานั้นรัฐบาลกำลังจะเริ่มกระบวนการประชามติรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญ ขณะที่สมบัติกำลังปราศรัยว่าไม่รับรัฐธรรมนูญ 2550 มีทหารเข้ามาแจ้งว่าขอใช้อำนาจกฎอัยการศึกมาควบคุมตัวไปที่ค่ายทหารบกเชียงรายอยู่ 24 ชม.

“มีนายทหารขู่ผมทุกรูปแบบ ตอนจับ มีทหารจากหน่วยข่าวกรองบอกว่า ผมจะถูกสอบในฐานะศัตรูของชาติ ไม่ว่าคุณไปทำความผิดอะไรมาตั้งแต่เกิดมา ผมจะรื้อให้หมด รวมถึงโคตรเหง้าของคุณด้วย”

“เขาสอบผม เขาบอกว่า คุณรู้ไหมว่าคุณละเมิดกฎอัยการศึก คุณรู้ไหมว่ากฎอัยการศึกมันโทษรุนแรงแค่ไหน ผมก็บอกว่าผมรู้ครับ กฎหมายนี้พัฒนามาตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ และที่ผ่านมาเอาไว้ใช้เวลาที่มีปฏิวัติ” สมบัติเล่า

จนครั้งล่าสุด สมบัติถูกควบคุมตัวจากหมายจับที่ไปร่วมกิจกรรมที่ใต้ทางด่วนที่ลาดพร้าว 71 ในวันที่ 20 พ.ค. 53

“ผมได้ยินว่าตอนนั้นทุกด่านเขาเลิกหมดแล้ว แต่ยังมีคนเสื้อแดงอยู่แถวอิมพีเรียลลาดพร้าว ผมก็ไป ในวันที่ 20 มีคนอยู่ 20-30 คน เป็นพื้นที่สวนหย่อม มีม้านั่งหินอ่อน มีเสาตอม่อ และมีคนนั่งที่เก้าอี้ คนก็เอารูปถ่ายที่มาจากในเว็บ ปริ้นท์ออกมา มาดูมาคุยกัน เพื่อนเขาตาย แต่ทีวีไม่ให้ข่าวอะไร เขามากอดคอกันร้องไห้ มาปรับทุกข์กัน มาเล่าว่าเหตุการณ์มันเกิดอะไรขึ้น ตอนนั้นนั่งคุยกันอยู่ ยังคุยไม่จบ วงก็แตก ตำรวจแจ้งข้อกล่าวหาว่าผมเอายางรถยนต์มาเผา ตำรวจคนที่ทำสำนวน เขาก็อยู่ในเหตุการณ์ ผมก็ถามเขาว่า พี่ ผมพูดเหรอว่าให้คนเอายางรถยนต์มาเผา ตำรวจตอบกลับมาว่า พี่ ลูกผมยังเล็ก รัฐบาลเขาสั่งว่าให้เขียนข้อหานี้ มันตลกมาก วังทองหลางซึ่งเป็นพื้นที่ในเหตุการณ์ไม่ใช่คนกล่าวหาผม คนที่กล่าวหาผมมาจากพื้นที่อื่น ที่เดินไปบอกให้ตำรวจสน.วังทองหลางดำเนินคดีกับผม สุดท้ายคือมันมีใบสั่งมาให้ดำเนินคดีแบบนี้

นายสมบัติเล่าว่า ตลอดระยะเวลาที่ถูกควบคุมตัวสองสัปดาห์ จะมีทีมสอบสวนสองชุด ชุดหนึ่งเป็นชุดปกติที่สมบัติสามารถแจ้งสิทธิตัวเองได้ว่าจะขอไม่กล่าวอะไร ขอไปให้การในชั้นศาล และยังมีอีกทีมซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ศอฉ. ซึ่งมาทุกวัน ถามคำถามวกไปวนมา ลักษณะคำถาม มีบางส่วนที่ถามลึกไปถึงเรื่องสมัยเรียน ถามเบอร์โทรศัพท์บ้านคุณพ่อ

"มีคำถามหนึ่งคือ หลังจากที่ปล่อยแล้ว คุณจะไปทำกิจกรรมทางการเมืองต่อหรือไม่ ผมก็ตอบว่า แน่นอน" คือ มันมีทางสองทางเท่านั้น ระหว่าง ตอแหล กับตอบว่า โอยไม่หรอกครับ ผมกลัวแล้ว แบบนั้นผมก็พูดได้นะ แต่นั่นคือผมตอแหล คือยังไงผมก็ต้องทำกิจกรรมอีก มันเป็นพฤติกรรมของมนุษย์คนหนึ่งที่ยืนอยู่บนจุดยืนเรื่องสิทธิมนุษยชน เรามีความคิด เรามีจิตใจ เราเสียใจ เราแสดงออก ไม่รู้จะเรียกว่าท้าทายหรือไม่ แต่ผมจะทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ นั่นเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์คนหนึ่ง เช่น ใส่เสื้อสีแดง”

นายสมบัติกล่าวทิ้งท้ายว่า “ผมจะรณรงค์ใส่เสื้อสีแดงทุกวันอาทิตย์ ทำไปเรื่อยๆ ทำจนกว่าจะมีกฎหมาย การกระทำผิดอันเป็นเสื้อแดง”

ไลลา เจ๊ะซู จากสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจากภาคใต้ กล่าวในฐานะคนที่มาจากพื้นที่รุ่นพี่ ที่มีการบังคับใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงมาอย่างต่อเนื่อง ไลลาเห็นว่า กฎอัยการศึก มันก็เหมือนกฎของการรับน้อง กฎข้อแรกคือ ทหารทำอะไรก็ไม่ผิด กฎข้อที่สองคือให้ไปดูกฎข้อแรก

ไลลาเล่าถึงสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ นับแต่ปี 2547 โดยตั้งข้อสังเกตว่า ช่วงก่อนปี 2550 มีเหตุซ้อมทรมานเกิดขึ้นเยอะมาก ซึ่งเป็นเพราะประชาชนไม่รู้ถึงขอบเขตของกฎหมาย ไม่รู้ถึงสิทธิตามกฎหมาย

"คดีในสามจังหวัดภาคใต้ ส่วนใหญ่เป็นคดีความมั่นคง และส่วนใหญ่ถูกยกฟ้อง แต่ว่าก่อนที่จะมีการยกฟ้อง คนเหล่านั้นที่ถูกจับก็ถูกจองจำไม่ได้รับการประกันตัว" ไลลากล่าว

ตัวแทนจากสามจังหวัดภาคใต้เห็นว่า เราจำเป็นต้องมีการรวมตัวกัน จากเดิมที่เยาวชนไม่ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน อาจไม่เคยรู้สึกร่วมกับน้ำตาของชาวบ้านที่มันไหลออกมา แม้เราอาจจะร้องไห้ด้วย แต่ไม่ได้รู้สึกร่วม ในเวลานี้เห็นได้ชัดว่า การรวมตัวกันเพื่อติดตามปัญหาและข้อมูลเป็นเรื่องจำเป็น มีตัวอย่างกรณีของจ่าเพียร ซึ่งมันไม่ถูกต้องที่เจ้าหน้าที่ต้องพบเหตุเช่นนี้ แต่ก็มีข้อสังเกตด้วยว่า ทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่รัฐสูญเสีย เยาวชนในพื้นที่ก็ต้องตกเป็นเป้าหมายเช่นกัน

"นโยบายสวยหรู เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา มันไม่มีทางแก้ปัญหาได้ วิธีที่จะแก้ปัญหาได้คือต้องทำความเข้าใจก่อน" ไลลาปิดท้าย

มีการแสดงความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมในงาน นครินทร์ วิศิษฎ์สิน นักศึกษา แสดงความเห็นว่า กฎหมายด้านความมั่นคงทั้งสามฉบับอนุญาตให้รัฐบาลขณะนั้นใช้อำนาจใดๆ ได้นอกเหนือจากกฎหมายสามัญในภาวะปกติทั่วไป ซึ่งโดยมากรัฐบาลไม่ได้เป็นผู้ใช้อำนาจโดยตรง แต่รัฐบาลมอบอำนาจอันไร้ขีดจำกัดให้หน่วยงานปราบปราม โดยเฉพาะหน่วยทหาร

“กระบวนการปราบปรามอย่างหน่วยทหารเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบไม่ได้ ทำให้การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินควบคู่กับกระบวนการทหาร มันเลยทำให้ปัญหามันหนักหน่วงยิ่งขึ้น”

เขากล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกืดจากตัวกฎหมายอย่างเดียว แต่กฎหมายฉบับอื่นๆ ที่กำหนดว่าเงื่อนไขใดให้ใช้กฎหมายพวกนี้ได้ มันก็มีความคลุมเครือในตัวของมันเอง โดยเฉพาะในหมวดก่อการร้าย ที่ทางสากลบอกว่าหมายถึงการกระทำที่ทำให้เกิดความหวาดกลัวที่จะส่งผลให้เกิดการล้มล้างระเบียบเดิม และก่อให้เกิดระเบียบใหม่บนพื้นฐานของการสยบยอมต่อความหวาดกลัว ขณะที่การตีความในเมืองไทยช่วงที่ผ่านมา มองว่าการก่อการร้ายคือเรื่องการรวมกลุ่ม ก่อความวุ่นวาย ใช้กำลังประทุษร้ายต่อรัฐหรือพลเมือง

นครินทร์เสนอว่า นอกเหนือจากการยกเลิกพ.ร.กฉุกเฉินฯ จำเป็นต้องมีการปฏิรูปตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนิยามการการะทำทางสังคม ให้ชัดเจนว่าอะไรคือการก่อการร้าย และอะไรที่ไม่ใช่การก่อการร้าย โดยไม่ให้เกิดผลเสียต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย เพราะหาก การนิยามเรื่องความมั่นคงเป็นเรื่องตีความได้อย่างคลุมเครือ กฎหมายเรื่องนี้ก็จะหยิบใช้อย่างเลือกปฏิบัติ แม้จะมีการยกเลิกกฎหมายด้านความมั่นคงทั้งสามฉบับก็อาจหนีไม่พ้น ให้มีเหตุเพื่อการผลิตกฎหมายด้านความมั่นคงขึ้นใหม่ใช้แทนได้

ในงานเสวนาครั้งนี้ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน ได้นำแบบฟอร์ม ขก.1 เพื่อระดมรายชื่อให้ครบหมื่นชื่อ เพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายด้านความมั่นคงที่ขัดต่อสิทธิและเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย พ.ศ.... มาแจกในงานด้วย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้นำความเปลี่ยนแปลงและความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย (ตอนที่ 1)

Posted: 18 Jul 2010 03:07 AM PDT

สังคมหรือชนชาติใดก็ตามเมื่อผู้ปกครองใช้อำนาจไม่ยุติธรรม ปกครองตามอำเภอใจ การต่อสู้และต่อต้านของประชาชนหรือผู้อยู่ใต้ปกครองก็จะลุกฮือขึ้นของ ปัญญาชน แรงงาน พระสงฆ์ นักบุญ  สตรีเพศ ด้วยวิธีการที่รุนแรงหรือสันติวิธีนั้นก็ขึ้นอยู่กับบริบทของปัญหา ความสุขงอมและความรุนแรงของปัญหา
<!--break-->

จากประสบการณ์จากต่างประเทศกลุ่มหรือมวลชนที่ต่อต้านรัฐบาลหากใช้สันติวิธี  เช่น มหาตมะ  คานธี  เขาและมวลชนที่สนับสนุนจะรวมตัวประท้วงสันติอหิงสา ประท้วงอดอาหาร จนกระทั่งอารยะขัดขืน สุดท้ายหมู่คนส่วนใหญ่สามารถกดดันให้รัฐบาลลดอำนาจลงในจีน นักศึกษาและหมู่ประชาชนประท้วงรัฐบาลเผด็จการอย่างสันติที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน แต่ถูกรัฐบาลเข้าปราบปรามอย่างรุนแรงจนเป็นเหตุหนองเลือด ในออสเตรเลีย ชาวพื้นเมืองอะบอริจิน ตั้งกองบัญชาการที่หน้ารัฐสภาในเมืองหลวงเป็นประจำทุกปีเพื่อเรียกร้องสิทธิของตนในดินแดนในฐานะบรรพบุรุษและผู้ถูกบุกรุกเพื่อให้รัฐบาลคนขาวให้เกียรติและสิทธิที่เท่าเทียมกับคนขาวและผู้เพิ่งมาตั้งถิ่นฐาน จนรัฐบาลของออสเตรเลียได้ไห้สิทธิแก่ชนพื้นเมืองมีตัวแทนในรัฐสภาและมีส่วนร่วมการเมืองทุกระดับชั้นตลอดจนกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศให้การคุ้มครองชาวพื้นเมืองอะบอริจินดังเดิม ในประเทศไทยกองทัพธรรมยาตราที่นำโดยอาจารย์โคทม  อารียา เดินเท้ารณรงค์การใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหาและให้สังคมไทยตระหนักถึงผลกระทบของการใช้ความรุนแรงระหว่างคนในชาติเพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของคนทั้งชาติที่ต้องช่วยกันแก้ไข้ไม่ใช่เป็นของคนสองคน คือ มาร์ค กับสุเทพ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผลที่ได้รับจากการใช้สันติวิธีบ้างประเทศได้รับผลสำเร็จแต่บางประเทศก็ถูกรัฐบาลใช้อำนาจไม่ยุติธรรมปราบปราม

หากมาศึกษาประสบการณ์ในมุมที่กลุ่มต้อต้านรัฐบาลใช้วิธีการใช้ความรุนแรง เช่นกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลมจัดตั้งกองทัพมีแสนยานุภาพเทียบเท่ากับรัฐบาลศรีลังกาเพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลศรีลังกายอมรับสิทธิของตนเหนือดินแดนทมิฬ กองกำลังติดอาวุธติมอร์ตะวันออกได้รับการสนับสนุนจากมวลชนประชาชนบางส่วนเพื่อปฏิบัติการบีบบังคับรัฐบาลอินโดนีเซียให้ยอมรับสิทธิเหนือดินแดนของตนเช่นกัน เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมากลุ่มคนงาน ประชาชน ในกรีก หยุดงานประท้วงเผาเมืองหลวงเพราะเหตุไม่พอใจกับนโยบายการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกในมือกลุ่มนายทุน เป็นต้น ดังนั้นการแก้ปัญหาในกรณีดังกล่าวของรัฐบาลยุคใหม่ที่มีปัญหาภายในประเทศก็ต้องศึกษาความล้มเหลวซึ่งจะนำไปสู่เงื่อนไข้ความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้นหากใช้วิธีการแบบแข็งกร้าวดังตัวอย่างข้างต้น และการร่วมกันแก้ปัญหากับประชาชนชนนั้นเป็นวิธีการอันชาญฉลาดของผู้ปกครองเพราะปัญหาไม่ใช่เป็นเรื่องของคนสองคน

เช่นเดียวกับปัญหาในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยปัจจุบันนี้เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองต้องยอมรับว่ากำลังมีการต่อสู้ซึ่งอาจจะมาจากหลายปัจจัยแต่ในบริบทนี้ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงการต่อสู้ของประชาชนเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมอย่างสันติวิธี เขาเหล่านั้นเป็นผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ไม่สงบ เป็นญาติผู้สูญเสีย เป็นปัญญาชน และเป็นประชาชนจากรากหญ้าสู่คนชนชั้นนำในสังคม เขาเหล่านั้นเรียกร้องความยุติธรรมในฐานะผู้อยู่ใต้ปกครองต่อผู้ปกครองที่กุมอำนาจของประเทศอยู่ที่ส่วนกลาง

การเรียกร้องความยุติธรรมของประชาชนจากรากหญ้าจนถึงชนชั้นนำของสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาใหม่ที่เพิ่งปะทุขึ้นมาหรือเป็นการเรียกร้องที่ตกทอดมาจากประชาชนรุ่นก่อนและเปลี่ยนปัญหาการและวิธีการเรียกร้องตามปัญหาของยุคสมัยแต่ประเด็นหลักก็เป็นปัญหาเดิมๆที่ได้รับการแก้ไข้แต่ไม่ถึงรากถึงโคนคือการไม่ได้รับความยุติธรรมของพลเมืองที่นับถือศาสนาอิสลามมีเชื้อสายมลายู หากเราจะมองถึงรากเหง้าต้นตอถึงการเรียกร้องเพื่อแก้ปัญหาของคนในพื้นที่แห่งนี้อย่างทะลุลุล่วงถึงรากถึงโคนจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมอย่างสันติวิธีของผู้นำของพื้นที่แห่งนี้จากอดีตตลอดจนปัจจุบัน

การศึกษาสิ่งดังกล่าวสำหรับประชาชนในพื้นที่นี้รู้สึกหวาดกลัว บางก็รู้สึกผิดกฎหมาย เพราะเคยชินอยู่กับภาวะบ้านเมืองที่ผ่านมาอยู่ในยุครัฐบาลระบอบเผด็จการ แต่หลังจากเปลี่ยนการปกครองและปัญญาชนมุสลิมได้เข้ารับการศึกษาที่สูงขึ้นนับได้ว่าเป็นมิติใหม่ที่พวกเขากล้าที่จะเขียนประวัติศาสตร์ชุดความจริงสู่สาธารณะ ปัญญาชนรุ่นใหม่และประชาชนก็เริ่มเข้าใจถึงสิทธิเสรีภาพของความเป็นพลเมืองในประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยมากขึ้นและเป็นการดีด้วยซ้ำที่การเรียกร้องของประชาชนอยู่ในครรลองระบอบประชาธิปไตยดีกว่าการเรียกร้องของพวกเขาที่จะนำไปสู่การร่วมสนับสนุนการใช้ความรุนแรง  ส่วนรัฐบาลก็ต้องเปิดกว้างกับประชาชนทุกระดับชั้นที่จะรับฟังและนำไปใช้ในแผนยุทศาสตร์ในการแก้ปัญหาที่สำคัญพอๆกับแผนปรองดองแห่งชาติและถึงเวลาที่รัฐสภาของไทยจะมีแผนกระบวนการสร้างสันติภาพเป็นวาระแห่งชาติ ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่ารายการนี้ไม่ใช่เรื่องของคนสองคน คือ มาร์ค กับ สุเทพ

ผู้เขียนจะสะท้อนถึงวิวัฒนาการการต่อสู้เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมอย่างสันติวิธีของผู้นำในจังหวัดชายแดนภาคใต้และจะนำบทความของ ฯพณฯ ดร.สุรินทร์  พิศสุวรรณ  ที่เผยแพร่ต่อสาธารณะชนเมื่อ 20 ปีก่อนมาสะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมของสถาณการณ์การต่อสู่ที่ผ่านมา

จุดที่น่าสนใจที่สุดจุดหนึ่งของปัญหาทางชายแดนภาคใต้ และกรณีของชาวไทยมุสลิม ก็คือความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำทางสังคมในแต่ละยุคสมัยกับแนวนโยบาย ตลอดจนยุทธวิธีทางการเมืองที่ผู้นำเหล่านั้นเลือกใช้ในการติดต่อ ต่อรองกับอำนาจของรัฐบาล ถ้าหากเราเข้าใจจุดอันสำคัญนี้แล้ว แนวนโยบายใหม่อาจจะปรากฏตัวเองขึ้น และอาจจะนำไปสู่การยอมรับสิทธิและขอบข่ายของอำนาจของกันและกันมากขึ้น  โดยท้ายที่สุดแล้วอาจนำไปสู่รูปแบบของการปกครอง และความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจที่จะลดหย่อนความตึงเครียดลงได้

จะเห็นได้ว่าตั้งแต่มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองเมื่อปี ค.ศ.1902 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ผู้นำของสังคมมุสลิมไทย ได้เปลี่ยนรูปของตัวเองไปตามยุคตามสมัยในการวิเคราะห์ปัญหานี้  ผู้เขียนแบ่งออกเป็น 4 ช่วงระยะเวลาคือ

1.การปฏิรูปหัวเมือง ถึง การปฏิวัติของคณะราษฎร (1902-1932)

2.การปฏิวัติของคณะราษฎร ถึง สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 (1932-1945)

3.สิ้นสุดสงคราโลกครั้งที่ 2 ถึง การโค่นล้มรัฐบาลเทื่อปี 1973 (1945-1973)

4.การโค่นล้มรัฐบาลเมื่อ 14 ตุลาคม 1973 ถึง ปัจจุบัน

ทั้ง 4 ช่วงตรงกับตรงกับความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญๆในสังคมไทยทั้งในการการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โครงสร้างทางอำนาจในสังคมเปลี่ยนไปและคุณค่าทางการเมืองก็เปลี่ยนไปชาวมุสลิมก็ปรับตัวเองเข้ากับความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ตลอดมาทุกระยะในความพยายามที่จะได้มาซึ่งสิทธิในการกำหนดกฎเกณฑ์การปกครองตนเองในระดับต่างๆ แต่น่าสังเกตคือศาสนาอิสลามเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญยิ่งและเป็นตัวร้อยประสานส่วนต่างๆของสังคมให้สมานฉันท์กันตลอดมาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในทุกระยะ

ในช่วงแรก (1902-1932) เมื่อมีการจัดรูปแบบการปกครองท้องถิ่นใหม่โดยจำกัดอำนาจเจ้าเมืองเก่าออกไป และให้ข้าราชการจากส่วนกลางออกไปปฏิบัติราชการแทน นับเป็นระยะแรกของความพยายามที่จะต่อสู้ที่จะปกครองตนเองของชาวไทยมุสลิมหลังจากการปราบปรามครั้งยิ่งใหญ่ตามบันทึกของหลวงอุดมสมบัติ ในรัชสมัยของพระบาลสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้นำในระยะนี้ส่วนใหญ่นี้เป็นพวก “กษัตริย์นิยม” (Royalists) ผู้สูญเสียอำนาจไปในความเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะสร้างความชอบธรรมการรณรงค์แก่พวกตน ผู้นำรุ่นนี้เน้นเรื่องความแตกต่างทางศาสนา เชื้อชาติ ภาษาและประวัติศาสตร์ และเมื่อมีการปฏิวัติเปลี่ยนระบอบการปกครองในปี 1932 หลักการของ “สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค” ก็ได้ถูกนำเข้ามาผสมผสานกับการเรียกร้องให้มีการรวมตัวกันเรียกร้องสิทธิบางประการ แต่เมื่อระบบการเมืองเปิดเผยมากขึ้นการเข้าร่วมระบบรัฐสภาก็มีมากขึ้น การเมืองรัฐสภาลดกระแสการเมืองทางศาสนาลงบ้าง จุดสนใจหันไปอยู่ที่การเมืองระดับชาติ และการแก้ไขระบบการปกครองผ่านระบบราชการ

ช่วงที่สอง (1932-1945) เหตุการณ์ในระยะก่อน ระหว่าง และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สภาพการทางการเมืองภายในและภายนอกประเทศเปลี่ยนไป ผู้นำรุ่นเก่าเจ้าของอำนาจเดิมก็หันเข้ามาหามหาอำนาจตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษ เพื่อหวังที่จะพึ่งในการต่อรองกับรัฐบาลไทยเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองในช่วงระยะที่รัฐบาลไทยตกอยู่ภายใต้อำนาจของญี่ปุ่นนั้นเอง ความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่อังกฤษของผู้นำชาวไทยมุสลิมก็มีมากขึ้นพอดีกับความพยายามที่จะเรียกร้องขอความเป็นอิสรภาพภายในรัฐมลายูเองจากอังกฤษจึงมีการส่งเสริมให้ดำเนินกิจกรรมต่อต้านญี่ปุ่นตลอดแหลมมลายู บทบาทของศาสนาซึ่งมีส่วนอย่างมากในการต่อสู้กับการยึดครองของญี่ปุ่นในอินโดนีเซียและมลายูแพร่อิทธิพลเข้ามาใน 4 จังหวัดทางภาคใต้ของไทยด้วย ในช่วงนี้เองผู้นำทางศาสนามีบทบาทมากขึ้นและเข้ารับฐานะทางการเมืองสืบแทน “พวกนิยมกษัตริย์” ที่สูญสิ้นบทบาทลงไป ฮัจยีสูหลงมีบทบาทสูงสุดในช่วงนี้เอง

(โปรดติดตามต่อในตอนที่ 2)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น