โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

มองต่างมุม เรื่องชายแดนใต้: รักเด็ก....การปกป้องเด็กชายแดนใต้ในภาวะสงคราม

Posted: 21 Jul 2010 12:02 PM PDT

<!--break-->

“ครู! ครู! บ้านผมอยู่ในพื้นที่สีแดง ถ้างั้นครอบครัวผมเป็นโจรใช่ไหมครู! ”

นี่เป็นหนึ่งในคำถามที่ถูกถามขึ้นอย่างเสียงดังด้วยภาษาไทย (ทองแดง) ของเด็กนักเรียนชั้น ป.5 ในวิชาอิสลามศึกษาของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส

ถึงแม้มันจะเป็นคำถามแค่หนึ่งคำถามจากเด็กประถมแค่หนึ่งคนแต่เมื่อเรามาครุ่นคิดวิเคราะห์แล้วจะเห็นว่า เด็กในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหา แน่นอนปัญหามันมีมากมายแต่ในบริบทนี้มันสะท้อนถึงปัญหาความหวาดระแวงของสังคมในภาวะสงคราม  เป็นภาวะสงครามเพราะรัฐบาลได้ประกาศกฎอัยการศึก เพราะประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะประกาศเคอร์ฟิว เพราะส่งกำลังพลติดอาวุธสงครามเฉียดแสนลงมา หากไม่เรียกว่าภาวะสงคราม เขาเรียกว่าภาวะอะไร ? เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องธรรมดาและเรื่องไม่ใช่เรื่องตลก

มันไม่ธรรมดาซิ! เพราะว่าจะส่งผลต่อระยะยาวต่อเด็กๆที่จะเป็นผู้ใหญ่ในสังคมสันติภาพแห่งนี้ในอนาคต พวกเขาจะได้รับผลเสียหายอย่างร้ายแรงจากภาวะสงครามที่ยืดเยื้อ และมันอาจจะยืดเยื้ออีกใช่ไหม ? หากใช่! แน่นอนเด็กๆในพื้นที่จะตกอยู่ในเบ้าหลวมความรุนแรงของสงครามซึ่งส่งผลเสี่ยงต่อการเป็นสังคมอาชญากรรมในอนาคต ซึ่งมันจะขัดแย้งกับนโยบายการสร้างสังคมสันติสุข ใช่ไหม?  เพราะกลัวว่าจะเป็นเด็กมีปัญหาเหมือนเด็กๆในอูกันดาหรือไม่ก็เหมือนเด็กในรวันดา

เด็กในจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในภาวะสงครามที่เขาสามารถมองเห็นและสามารถสัมผัสได้ เช่น จากการใช้ความรุนแรงของกองกำลังไม่ทราบฝ่ายเป็นผลให้ครูของพวกเขาถูกยิงเสียชีวิต  โรงเรียนถูกเผา  ไปจนถึง  พ่อแม่หรือญาติใกล้ชิดถูกกองกำลังของทางการควบคุมตัวด้วยข้อหาต้องสงสัยว่าเป็นผู้ให้การสนับสนุนขบวนการแบ่งแยกดินแดน  ซึ่งเหล่านี้เป็นผลให้เด็กเกิด ภาวการณ์แค้นฝังใจ  ซึ่งสอดคล้องกับรายงานผลวิจัยของ UNICEF พบว่าเด็กชายแดนภาคใต้มีอารมแก้แค้นและรู้สึกถึงความไม่ยุติธรรม

การตั้งฐานกองกำลังฝ่ายความมั่นคงของรัฐในบริเวณโรงเรียนมันเป็นผลตามมาจากที่ได้กล่าวข้างต้น ด้วยเหตุผลบางส่วนคือ เพื่อปกป้องโรงเรียนจากการถูกเผาและดูแลบุคคลากรทางการศึกษา ดูแล้วเหตุผลน่าฟัง ใช้ได้ และเหมาะสมในหน้าที่ของการเป็นทหาร

แต่หากมามองในมุมกลับกัน (หรือมุมข้างๆก็ได้) การตั้งฐานทหารในโรงเรียนจะส่งผลต่อเด็กๆในสังคมในพื้นที่นี้ตกอยู่ใน  วงจรความรุนแรงเต็มรูปแบบ  คือ  เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติการทางอาวุธถึงแม้ว่าเด็กๆเหล่านั้นไม่ใช่เป้าหมายหลักแต่มีโอกาสเสี่ยงสูงและเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองตื่นตระหนก  ตัวอย่างเช่น  โรงเรียนบ้านปากาลือซง  อ.หนองจิก  จ.ปัตตานี  เมื่อสองปีที่ผ่านมาเด็กนักเรียนจำนวนมากไม่กล้าไปเรียนเพราะเกรงจะได้รับอันตรายจากการปะทะเนื่องจากทหารเข้าไปตั้งฐานภายในโรงเรียน  และในพื้นที่ดังกล่าวก็เกิดเหตุความรุนแรงบ่อยครั้ง กรณีนี้เบื้องต้นผู้ปกครองนักเรียนก็ได้เคยร่วมกันเข้าพูดคุย  ทำความความเข้าใจปัญหาเรื่องผลกระทบดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ทหารและครูในโรงเรียน  แต่เจ้าหน้าที่ทหารก็ยืนยันที่จะตั้งฐานต่อด้วยเหตุผลเพื่อรักษาความปลอดภัยในชุมชน  ภายหลังคณะครูก็ได้ไปทำความเข้าใจให้ผู้ปกครองให้ส่งลูกไปเรียนตามปรกติซึ่งบางครอบครัวก็ส่งลูกไปเรียนตามปรกติแต่ก็มีหลายครอบครัวตัดสินใจส่งลูกเรียนที่โรงเรียนใกล้เคียงแทนด้วยเหตุผลความปลอดภัยของลูก เช่นกัน

ยาเสพติดก็เป็นหนึ่งในปัญหาของเด็กและเยาวชนไม่แพ้กันซึ่งมันวิ่งอยู่ในวงจรความรุนแรงนี้เช่นกัน  เมื่อสิบปีก่อนสถิติผู้ติดยาเสพติดในหมู่บ้านโดยเฉลี่ยแล้วต่ำมากเพราะความเป็นชุมชนมุสลิมเคร่งครัดเข้มแข็งยังสามารถดูแลจัดการได้  ต่อมาภายหลังเมื่อไม่กี่ปีมานี้ซึ่งอยู่ในภาวะความไม่สงบ  ยาเสพติดประเภทใบกระท่อมผสมยาแก้ไอ  และยาเสพติดอื่นๆ มันแทรกเข้าไปทุกที่  ทุกมุมของหมู่บ้าน  ขนาดหลังมัสยิดก็ยังมีการต้มกิน มันขยายตัวอย่างรวดเร็วอย่างกับผื่นคันหรือกลาดเกลื้อนและมันยิ่งหาซื้อกันง่ายด้วยซ้ำ  ทั้งๆที่ในพื้นที่ถูกคุมเข้มทุกตารางนิ้ว  ใช่ไหมครับพี่น้อง

สำนักข่าวอัลจาซีราห์  รายงานเมื่อไม่กี่วันมานี้ว่าเยาวชนในชายแดนใต้ติดยาเสพติดจำนวนมากและมันเป็นเชื้อไฟที่เติมความรุนแรงเพิ่มขึ้น  เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้ไม่หวังดีใช้โอกาสในสถานการณ์ความรุนแรงเอายาเสพติดมามอมเมาเยาวชนไม่ใช่เพราะเยาวชนติดยาสถานการณ์ไฟใต้จึงเกิดขึ้น ขอรับ

เรื่องที่ได้กล่าวมาข้างต้นเรากำลังคุยถึงปกป้องเด็กจากวงจรความรุนแรงแต่เรายังไม่พูดถึงการพัฒนาเด็กในสภาวะสงครามอีกซึ่งมันเป็นสิ่งที่เราต้องพัฒนาเด็กเหล่านี้เป็นสองเท่าของเด็กที่อยู่ในภาวะปรกติทั้งด้านการศึกษา  สภาพจิตใจ  และอื่นๆ ดังนั้นเรื่องนี้ชุมชุนและผู้นำชุมชนจะต้องคิดหนัก ชุมชนจะต้องเป็นตัวนำในการ ทำการจัดการ เรื่องของเด็กเหล่านี้เป็น วาระแห่งชาติของชุมชน ถึงแม้ว่ารัฐบาลมีนโยบาลชัดเจนที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ แต่ลำพังจะรอการจัดการขององค์กรภาครัฐมันต้องใช้เวลาและเข้าถึงยากแต่หากรัฐมีงบประมาณมากก็เอาไปให้ชุมชนใช้จัดการปัญหากันเองดีกว่าเพราะมันจะได้ผลมากกว่าและช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันของชาติด้วย ครับผม

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนระนองต้านออกใบขับขี่แรงงานข้ามชาติ

Posted: 21 Jul 2010 11:27 AM PDT

<!--break-->

กลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างจังหวัดระนอง ในนามเครือข่ายพิทักษ์สิทธิชาวระนอง ประมาณ 200 คน นำโดยนายเสนาะ ณ ระนอง ประธานชมรมรถจักรยานยนต์รับจ้างจังหวัดระนองและประธานเครือขายพิทักษ์สิทธิชาวระนอง และนายเรวัต ชูช่วย เลขานุการเครือข่ายพิทักษ์สิทธิชาวระนอง ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ป้ายเหลือง ไปรวมตัวกันที่หน้าศาลากลางจังหวัดระนอง เพื่อยื่นหนังสือข้อเรียกร้องให้สำนักงานขนส่งจังหวัดระนองชะลอการออกใบอนุญาตขับรถให้กับแรงงานต่างด้าวชาวพม่า และขอให้แก้ไขกฎกระทรวง

ทั้งนี้มีนายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ รองผวจ.รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นผู้รับหนังสือ และได้ชี้แจงข้อเท็จจริงร่วมกับ พล.ต.ต.วิทยเดช วรดิลก ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดระนอง และนางชริตว์จาร์ คล่องการยิง ขนส่งจังหวัดระนอง

นายเสนาะ กล่าวว่า ขณะนี้ขนส่งจังหวัดระนองได้ออกใบขับขี่ให้ชาวพม่าจำนวนมาก และชาวระนองไม่เห็นด้วย ถ้าไม่เชื่อขอให้ทำประชาพิจารณ์ก็ได้ ซึ่งในทางปฏิบัติไม่น่าทำได้เนื่องจากหนังสือเดินทางชั่วคราวที่ทางการพม่าออกให้กับแรงงานชาวพม่าที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยนั้นไม่น่าจะนำมาออกใบขับขี่ได้เนื่องจากไม่เป็นสากล เป็นเพียงข้อตกลงเฉพาะ 2 ประเทศเท่านั้น เมื่อแรงงานพม่าได้ใบขับขี่ไปแล้วจะส่งผลกระทบต่อประชาชนชาวระนองและความมั่นคงของชาติ

ทั้งนี้เมื่อเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกันแล้วชาวพม่าจะหลบหนีไป จ.เกาะสอง ไม่รู้เอาความผิดกับใคร นอกจากนี้ยังมาขับขี่รัถรับจ้างแย่งอาชีพคนไทยด้วย และขอให้ตั้งคณะกรรมการภาคประชาชนเข้าตรวจสอบว่าการออกใบอนุญาตขับรถถูกต้องทุกขั้นตอนหรือไม่

นางชริตว์จาร์ กล่าวว่า การออกใบขับขี่ให้ชาวพม่าที่เข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมายกับการทำใบขับขี่ให้กับชนกลุ่มน้อยเป็นระเบียบคนละฉบับกัน ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวง โดยจะได้รับใบขับขี่ส่วนบุคคล ใช้ขับรถส่วนตัวเท่านั้น ใช้ระบบการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ มีภาษาให้เลือก 5 ภาษา ถ้าอ่านไม่ออก ก็สามารถใช้หูฟังได้

อย่างไรก็ตามปฏิบัติทุกขั้นตอนเช่นเดียวกับคนไทย ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาได้ออกใบขับขี่ให้กับแรงงานชาวพม่าเพียงเดือนละ 10 คนเท่านั้น ไม่ได้มากตามที่เข้าใจกัน ส่วนการทำใบขับขี่ให้กับชนกลุ่มน้อยตามประกาศของ สมช. จำนวน 14 กลุ่ม และมีมติคณะรัฐมนตรีรองรับนั้น ได้ออกไปแล้วประมาณ 600 คน

พล.ต.ต.วิทยเดช กล่าวว่า ทางตำรวจได้พยายามกวดขันจับกุมแรงงานต่างด้าวที่ขับขี่ยวดยานพาหนะมาอย่างต่อเนื่อง หากใครไม่ปฏิบัติตามกฎหมายก็จะถูกจับกุมดำเนินคดีทุกราย

นายนิรวัชช์ กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่ทางจังหวัดรับทราบและพยายามแก้ไขมาตลอด ซึ่งขณะนี้ได้ให้ขนส่งจังหวัดชะลอการออกใบขับขี่ให้กับแรงงานชาวพม่า และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ แล้วตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา ส่วนที่ออกไปแล้วก็ก็กำลังมีการตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่ พร้อมทั้งทำหนังสือหารือไปยังกรมการขนส่งทางบกแล้ว หากไม่ถูกต้องก็จะยกเลิกเพิกถอนต่อไป ส่วนข้อเรียกร้องที่ให้แก้ไขกฎหมายเกินอำนาจของจังหวัด ซึ่งจะเสนอไปยังกรมการขนส่งทางบก ซึ่งขอให้ส่งตัวแทนมารับคำตอบและหารือร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้

สำหรับกลุ่มผู้ชุมนุมได้พยายามขอให้ขนส่งจังหวัดระนอง ระบุตัวเลขที่ชัดว่าได้ออกใบขับขี่ให้พม่าไปแล้วกี่ราย แต่ขนส่งจังหวัดบ่ายเบี่ยงที่จะตอบ แต่ยอมรับว่าในส่วนของชนกลุ่มน้อยได้ออกใบขับขี่ไปแล้วประมาณ 600 ใบ แต่ขณะนี้ทางจังหวัดได้ขอให้ระงับไว้ก่อนและให้ตรวจสอบหลักฐานใหม่ทั้งหมด เนื่องจากมีการเข้าใจผิดเกี่ยวกับหมายเลขประจำตัวของชนกลุ่มน้อยกับผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนที่เลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 089 เหมือนกัน ซึ่งข้อเท็จจริงจังหวัดระนองมีเฉพาะชาวมอแกนหรือชาวเลเท่านั้นที่เข้าหลักเกณฑ์ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะอยู่ตามเกาะหากินในทะเล ไม่สนใจทำใบขับขี่อยู่แล้ว

ที่มาข่าว:

คนระนองต้านออกใบขับขี่แรงงานต่างด้าว (โพสต์ทูเดย์, 21-7-2553)
http://bit.ly/czG586
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสียงจากเวียนนา: เมื่อประเทศร่ำรวยเชือดนิ่มๆ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผ่านข้อตกลงการค้า

Posted: 21 Jul 2010 10:42 AM PDT

ว่าด้วยปัญหาของทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวด กีดกันการเข้าถึงยา ซึ่งปรากฏในเอฟทีเอของ อียู สหรัฐ ญี่ปุ่น ฯและกำลังเจรจากับประเทศยากจนหลายประเทศ มันจะให้การคุ้มครองสิทธิบัตรยาอย่างดีมากถึงมากที่สุด และส่งผลให้ยาราคาแพงมากถึงมากที่สุดเช่นกัน

<!--break-->

 
มีผู้ติดเชื้อทั่วโลก 33.4 ล้านคน
ผู้ใหญ่ 31.3 ล้าน
ผู้หญิง 15.7 ล้าน
เด็ก 2.1 ล้าน
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2.7 ล้าน
97% ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ อยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ-ปานกลาง
70% ของผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ในทวีปแอฟริกา
มีอัตราการตายเนื่องจากเอดส์ 2 ล้านรายต่อปี
เฉลี่ยแล้วในแต่ละวัน มีคนตายจากโรคเอดส์มากกว่า 5,000 ราย
(รายงานตัวเลขประมาณการณ์ของ UNAIDS เมื่อสิ้นปี 2008)
 
ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อทั่วโลกที่ต้องการยาต้านไวรัสประมาณ 10 ล้านคน
ขณะที่ผู้ที่ได้รับยามีประมาณ 5 ล้านคน
 
 

นับตั้งแต่ประเทศอย่างอินเดีย บราซิล สามารถผลิตยาชื่อสามัญ หรือ generic drug สำหรับผู้ติดเชื้อได้ และเริ่มมีการแข่งขันในตลาดยาชื่อสามัญมากขึ้น ก็ทำให้ราคายาลดลงมากกว่า 90% ยาเหล่านี้มีคุณสมบัติไม่ต่างจากยาติดสิทธิบัตรของบรรษัทยายักษ์ใหญ่ทั้งหลาย เพียงแต่ผลิตขึ้นในอีกแบบหนึ่งในประเทศอื่นๆ ที่มีขีดความสามารถ อย่าง อินเดีย บราซิล ฯ ด้วยราคาที่ต่างกันมหาศาลทำให้ผู้คนเข้าถึงยาต้านไวรัสเพิ่มขึ้นอย่างมากผ่านกองทุนใหญ่ๆ ระดับโลกหลายแห่งที่สนับสนุนงบประมาณ ส่งผลให้อัตราการตายทั่วโลกลดลงอย่างเห็นได้ชัด
แต่ความหวังที่จะเห็นคนมีชีวิตยืนยาวขึ้นก็มีอันสั่นคลอน เพราะท่ามกลางเศรษฐกิจตกต่ำ ประเทศร่ำรวยต่างๆ ปรับลดการบริจาคเข้ากองทุน กระทั่งตัดลดการช่วยเหลือโดยตรงในโครงการเกี่ยวกับเอดส์ มันทำให้ผู้ป่วยรายใหม่ไม่สามารถได้รับยาและการรักษาและทำให้ต้องพบจุดจบอย่างรวดเร็ว ขณะที่ผู้ป่วยรายเก่าหากไม่ได้รับยาต่อเนื่องก็ต้องพบจุดจบไม่ต่างกัน
จึงไม่แปลกที่ภายในงานประชุมเอดส์โลกปี 2010 ที่เวียนนา การเรียกร้องให้ทำตามสัญญาที่เคยตั้งเป้าจะให้คนเข้าถึงยาเพิ่มขึ้นอีกหลายล้านคน แม้กระทั่งประธานาธิบดีโอบามาของสหรัฐอเมริกาเองก็เคยประกาศเมื่อกลางปี 2009 ว่าจะสนับสนุนเงินให้กับโปรแกรมการดำเนินการด้านสุขภาพซึ่งมีเรื่องเอดส์เป็นประเด็นใหญ่ที่สุด 63,000 ล้านเหรียญ แต่ท้ายที่สุดทุกอย่างก็ยังคงดำเนินไปตามเดิม และทำให้ไม่สามารถสนับสนุนการรักษาด้วยยาต้านไวรัสให้กับผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้
ขณะที่เงินทุนสนับสนุนจากประเทศร่ำรวยโดยเฉพาะG8 ลดน้อยถอยลง ขณะเดียวกันปัญหาเรื่องราคายาแพงยังคงไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งกลับมีความพยายามโดยประเทศร่ำรวยเอง ไม่ว่า สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ที่พยามสร้างกำแพงขวางกั้นการเข้าถึงยาให้ทั้งสูงทั้งหนามากขึ้นผ่านการทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) รวมถึงเครื่องมืออื่นๆ ที่ทำกับประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาทั้งหลาย
การมีสิทธิบัตรเป็นการคุ้มครองผลการค้นคว้าวิจัย แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ทำให้บริษัทยาผูกขาดตลาดเพียงผู้เดียวอย่างยาวนานและกำหนดราคาได้ตามใจชอบโดยอ้างว่าต้องใช้งบในการวิจัยมากมาย แต่ขณะเดียวกันมีการศึกษายืนยันแล้วว่างบประมาณมากที่สุดที่บริษัทยาใช้ทุ่มไปกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ยกตัวอย่าง ยาต้านไวรัสที่มีสิทธิบัตร ทำให้ราคายาในการรักษาผู้ติดเชื้อในสหรัฐอเมริกาเอง อยู่ที่ 15,000 เหรียญ/คน/ปี ขณะที่ยาแบบเดียวกันที่เป็นยาชื่อสามัญ อยู่ที่ 80 เหรียญ/คน/ปี
ในงานประชุมนานาชาติว่าด้วยเรื่องเอดส์ในปีนี้ มีธีมหลักของงานว่า Right here! Right now! อันหมายถึงการผลักดันเรื่องสิทธิมนุษยชน และการเข้าถึงยาของผู้ติดเชื้อให้เกิดขึ้นเดี๋ยวนี้ ดังนั้นจึงมีการประชุมย่อยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องกำแพงขวางกั้นการเข้าถึงยา โดยเฉพาะกรณีการทำเอฟทีเอของสหภาพยุโรป (เจ้าภาพจัดงานเอง)
Sanya Reid Smithจากเครือข่ายโลกที่สาม (Third World Network) ระบุว่า ในข้อตกลงการค้าเสรีของสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอาจรวมถึงแคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ที่ทำกับบรรดาประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนากว่า 90 ประเทศ ได้กำหนดให้ประเทศคู่สัญญาเคร่งครัดกับระบบทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น มากกว่าที่องค์การการค้าโลกกำหนดไว้ตามข้อตกลงทริปส์(TRIPS) หรือที่เราเรียกกันว่าทริปส์พลัส ( TRIPS+)
ขณะที่ทริปส์ธรรมดายังพอมีข้อยืดหยุ่นให้ประเทศเล็กๆ ได้หายใจ แต่ทริปส์พลัสกลับบังคับให้ประเทศยากจนบีบคอตนเองในหลายกรณี เช่น การบังคับให้ต้องยอมรับการเชื่อมโยงสิทธิบัตรแบบ one stop service เจ้าของสิทธิบัตรจดที่เดียวใช้ได้เกือบทั่วโลก, การอนุญาตให้จดสิทธิบัตรได้ง่ายขึ้น แม้เพียงปรับปรุงเล็กๆ น้อยๆ , การขยายเวลาของสิทธิบัตรจากเดิม 20 ปี เป็น 25-30 ปี, ห้ามคัดค้านก่อนจดสิทธิบัตรสำเร็จ , การคุ้มครองข้อมูลการค้า , ห้ามใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ หรือ ซีแอล เพื่อนำเข้าหรือผลิตยาชื่อสามัญ อย่างกรณีที่ไทยเพิ่งใช้กับยาต้านไวรัส และยารักษาโรคมะเร็ง เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา
การบังคับให้ประเทศต่างๆ เข้มงวดเรื่องทรัพย์สินทางปัญญานี้ เป็นความร่วมมือกันอย่างสำคัญระหว่างรัฐบาลประเทศมหาอำนาจและบรรษัทยายักษ์ใหญ่ หลังจากที่แนวทางดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จในเวทีพหุภาคีระดับโลก พวกเขาก็เดินสายทำข้อตกลงกับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายทีละประเทศ โดยใช้พิมพ์เขียวเดียวกันในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา
เราลองมาดูตัวอย่างผลกระทบด้านราคายาจากเอฟทีเอที่สหรัฐทำกับหลายๆ ประเทศ ซึ่งในข้อตกลงนั้นเรียกร้องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแบบทริปส์พลัสด้วย
กรณีโคลัมเบีย ต้องจ่ายค่ายาเพิ่มขึ้น 15,000 ล้านเหรียญภายในปี 2030 หรือไม่ก็ต้องลดการใช้ยาลง 44%
กรณีเกาหลีใต้ สำหนักงานประกันสังคมแห่งชาติประมาณการว่าการขยายเวลาคุ้มครองสิทธิบัตรไปอีก 4 ปี จะทำให้มีค่าใช้จ่ายเรื่องยาพิ่มขึ้นอีก 757 ล้านเหรียญ
ส่วนการคุ้มครองข้อมูลการค้า (data exclusivity) จะเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการสั่งยาของประเทศแคนาดาเพิ่มขึ้น 600 ล้านเหรียญ ในอีก 5 ปีข้างหน้า
กรณีจอร์แดนที่ทำเอฟทีเอกับสหรัฐอเมริกา ก็พบว่า ราคายาเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 20% โรงพยาบาล 1 แห่งต้องจ่ายค่ายาจากเดิมเพิ่มขึ้น 6 เท่า กระทรวงสาธารณสุขต้องกันงบ 1 ใน 4 ไปกับค่าใช้จ่ายด้านยาและยังกระทบกับโครงการด้านสาธารณสุขของรัฐจนคลอนแคลนหนัก
ส่วนการคุ้มครองข้อมูลทางการค้าที่มาพร้อมเอฟทีเอสหรัฐก็ทำให้ราคายาแพงในกัวเตมาลาแพงขึ้น 845600% !!
นอกจากนี้ในกรณีของสหรัฐอเมริกายังมีกลไกพิเศษเรียกว่า รายงานพิเศษ 301 ใช้มาตั้งแต่ปี 1988 โดยให้ผู้แทนการค้าสหรัฐคอยจัดอันดับประเทศที่มักมีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้สหรัฐอเมริกาประเมินการสิทธิคว่ำบาตรทางการค้า
ศ.ฌอน ฟลินน์ นักกฎหมายประจำมหาวิทยาลัยอเมริกัน วอชิงตันดีซี บอกว่า มาตรการนี้มีขึ้นก่อนจะมีมาตรฐานเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในองค์การการค้าโลก แต่แม้มีมาตรฐานนั้นแล้วทุกคนก็คิดว่าอเมริกาคงใช้มาตรฐานสากลและหยุดกลไกนี้ แต่อเมริกาก็ยังใช้เครื่องมือนี้มาจนถึงปัจจุบัน ในรายงานดังกล่าวจะเห็นได้ว่าประเทศไหนที่พยายามจะใช้มาตรการยืนหยุ่นขององค์การการค้าโลกเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงยา เช่น มาตรการบังคับใช้สิทธิ (ซีแอล) ก็จะถูก “ใบเหลือง” จัดอันดับในประเทศต้องจับตา และจะค่อยๆ โดนตัดสิทธิทางการค้า รวมถึงประเทศไทยด้วย
ด้วยเหตุนี้ เมื่อวันที่ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา เครือข่ายประชาสังคมจากหลายประเทศที่มาร่วมประชุมเอดส์โลก จึงร่วมกันยื่นจดหมายร้องเรียนถึงนายอนัน โกรเวอร์ ผู้แทนพิเศษยูเอ็นในสิทธิด้านสุขภาพที่ได้มาร่วมประชุมครั้งนี้ด้วยเพื่อให้ตรวจสอบรัฐบาลสหรัฐฯ เนื่องจากใช้นโยบายการค้าระหว่างประเทศที่เรียกว่า Special 301 Report (รายงาน 301 พิเศษ) และสิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) ในการขัดขวางการเข้าถึงยาของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา
เหล่านี้คือกลไกหลักอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังขยายตัวไปในหมู่ประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง นอกจากพวกเขาจะได้รับเงินสนับสนุนเพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคร้าย การรักษาผู้เจ็บป่วยแล้ว เขายังจะได้รับราคายาที่แพงขึ้นหลายเทาจากข้อกำหนดในเอฟทีเอที่สร้างการผูกขาดการค้าให้บรรษัทยักษ์ใหญ่
“บริษัทยาแสนตะกละกำลังฆ่าพวกเรา” เสียงแอคติวิสต์และผู้ติดเชื้อตะโกนซ้ำๆ และถือป้ายประท้วงไปทั่วที่ประชุม พวกเขาแวะไปเยี่ยมเยียนบูธของบริษัทยายักษ์ใหญ์หลายแห่ง ตะโกนสุดเสียง “จงละอายๆๆๆๆ” เป็นสีสันสำหรับผู้พบเห็น แต่เป็นเรื่องเศร้าสำหรับคนที่ต้องกินยา

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อับดุลสุโก ดินอะ: เหตุผลของการปิดหน้าของสตรีมุสลิม

Posted: 21 Jul 2010 10:11 AM PDT

<!--break-->

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสดามูฮัมมัด  ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน

เมื่อ 14 ก.ค.53  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส ลงมติด้วยคะแนนเสียง 335 ต่อ 1 เสียง เห็นชอบกฎหมายห้ามหญิงชาวมุสลิมสวมเครื่องแต่งกายที่ปกคลุมใบหน้าอย่างมิดชิด หรือที่เรียกว่า “นิกอบ” และ “บุรกา” ตามที่สาธารณะ

สำหรับผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับเงิน 150 ยูโร (ประมาณ 6,100 บาท) และหากใครบังคับให้สตรีมุสลิมสวมผ้าปิดบังใบหน้า จะต้องโทษจำคุกสูงสุด 1 ปี และปรับ 15,000 ยูโร (มากกว่า 610,000 บาท) โดยร่างกฎหมายดังกล่าวเตรียมถูกส่งให้วุฒิสภาพิจารณาลงมติในเดือน ก.ย.นี้ ก่อนจะบังคับใช้เป็นกฎหมาย

ด้านกระทรวงมหาดไทยของฝรั่งเศส ประเมินว่า ขณะนี้มีหญิงชาวมุสลิมสวมผ้าปิดบังทั้งร่างกายเพียง 1,900 คน จากจำนวนชาวมุสลิมทั้งประเทศที่มีมากกว่า 5 ล้านคน

จากกฎหมายดังกล่าวจะทำให้สตรีมุสลิมที่มีความต้องการจะปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามไม่สามารถปฏิบัติได้ในกรณีดังกล่าวหากวุฒิสภาลงมติรับรองในเดือน ก.ย.นี้

ในขณะที่ผู้ที่เห็นด้วยในกฎหมายนี้มองว่าเป็นกฎหมายที่ช่วยปลดปล่อยสตรีมุสลิมเองให้เป็นไทจากจากการกดขี่สตรีเพศ

อะไรคือหลักการของศาสนาอิสลามที่ทำให้บรรดาสตรีมุสลิมมีความประสงค์อย่างแรงกล้าที่จะปฏิบัติตามหลักศาสนาซึ่งเป็นกฎหมายของพระเจ้าและอาจจะทำให้หลายคนยอมฝ่าฝืนกฎหมายของฝรั่งเศสซึ่งพวกเขามองว่าเป็นกฎหมายของมนุษย์ และสตรีผู้ศรัทธาอันแรงกล้ากลับมองว่า การปิดหน้า เป็นสัญลักษณ์ของอิสรภาพในการปกป้องสตรีจากความเหลวทรามของยุคเซ็กซ์เสรีที่ผู้ชายพยายามใช่สตรีเป็นเครื่องมือหรือสินค้าหรือทาสทางวัตถุให้กับพวกเขาต่างหาก

จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ผู้เขียนได้อธิบายเหตุผลของสตรีมุสลิมที่เคร่งครัดหรือสุดโต่งตามทัศนะตะวันตกและแนวร่วมดังนี้

1.การแต่งกายของสตรีมุสลิมตามหลักการอิสลาม

สตรีมุสลิมเมื่อบรรลุศาสนภาวะ มีความจำเป็นจะต้องแต่งกายที่มิดชิดซึ่งเรียกว่า ฮิญาบ เพื่อการปกป้อง ศักดิศรีของความเป็นสตรีจากบุรุษเพศที่ใช้สายตาตามอารมณ์ฝ่ายต่ำในการลวนลาม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการก่ออาชญากรรม หรือความเสื่อมทรามทางสังคมทีไม่อาจคำนวณนับได้นั้น

2.คำนิยามของฮิญาบ

คำว่า ฮิญาบ มาจากรากศัพท์คำว่า (  hajaba yahjibu hijba wa hijabba ) แปลว่า ซ่อน ปกปิด กีดกั้น

ในขณะคำนิยามของฮิญาบตามศาสนบัญญัติหมายถึงการปกปิดร่างกายและเครื่องประดับเว้นแต่สิ่งที่พึงเปิดเผยได้ [1] ยกเว้นผู้ที่ได้รับการยกเว้น [2] ดั่งที่อัลลอฮ์ได้โองการไว้ความว่า  “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) แก่บรรดาสตรีผู้ศรัทธาให้พวกเธอลดสายตาของพวกเธอลงต่ำ และให้พวกเธอรักษาของสงวนของพวกเธอไว้ อย่าเปิดเผยเครื่องประดับของพวกเธอ เว้นแต่สิ่งที่พึงเปิดเผยได้ และให้เธอปิดด้วยผ้าคลุมศีรษะของเธอลงมาถึงหน้าอกของเธอ อย่าให้เธอเปิดเผยเครื่องประดับของพวกเธอ เว้นแต่แก่สามีของพวกเธอ หรือบิดาของพวกเธอ หรือบิดาของสามีของพวกเธอ หรือลูกชายของพวกเธอ หรือลูกชายสามีของพวกเธอ หรือพี่ชายน้องชายของพวกเธอ หรือลูกชายของพี่ชายน้องชายของพวกเธอหรือลูกชายของพี่สาวน้องสาวของพวกเธอ หรือพวกผู้หญิงของพวกเธอ หรือที่มือขวาของพวกเธอครอบครอง (ทาสและทาสี) หรือคนใช้ผู้ชายที่ไม่มีความรู้สึกทางเพศ หรือเด็กที่ยังไม่รู้เรื่องเพศสงวนของผู้หญิง และอย่าให้เธอกระทืบเท้าของพวกเธอ เพื่อให้ผู้อื่นรู้สิ่งที่พวกเธอควรปกปิดในเครื่องประดับของพวกเธอ  และพวกเจ้าทั้งหลายจงขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮฺเถิด โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ” (อัลกุรอาน บทอันนูร / 31)

3.การคลุมหน้า

เมื่อพิจารณาคำว่าฮิญาบในความหมายตามทัศนะศาสนบัญญัตินั้นสตรีมุสลิมไม่จำเป็นต้องคลุมหน้า [3] และเหตุใดมีสตรีมุสลิมหลายคนทั้งในประเทศอาหรับหรือในฝรั่งเศสคลุมหน้าอย่างเปิดเผยซ้ำยอมเสี่ยงในการทำผิดกฎหมายของฝรั่งเศสหากกฎหมายดังกล่าวประกาศใช้และถูกรับรองจากวุฒิสภาพิจารณาลงมติในเดือน ก.ย.นี้

ปราชญ์อิสลามศึกษาในอดีตได้ให้ทัศนะที่สอดคล้องกันว่าสตรีมุสลิมปกติสามารถเปิดเผยใบหน้าและฝ่ามือได้ [4] หากไม่เกิดอันตรายต่อสตรี เช่น สตรีวัยรุ่นหรือผู้มีใบหน้าสวยอาจจะทำให้ชายมองแล้วหลงใหล แต่มิได้หมายความว่าการปิดหน้าเป็นสิ่งที่ผิดในทางกลับกันปราชญ์ในอดีตมองว่าควรส่งเสริมไม่ถึงขั้นจำเป็นต้องทำ หากไม่ทำจะบาป

ซึ่งสอดคล้องกับปราชญ์ร่วมสมัย อย่างเช่น ชัยค์ ดร. ยูซุฟ อัล-ก๊อรฏอวีย์ ปราชญ์ส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร และมหาวิทยาลัยอิสลามเก่าแก่อื่น ๆ อย่างชัยตูนะฮฺ(ตฺนิเซีย)และกอรอวียีน(มอร็อคโค)และชัยค์นาศิรุดดีนอัล-อัลบานียฺ    

จากเหตุผลดังกล่าวทำให้สตรีบางท่าน [5] (ผู้ปกครองบางท่านบังคับสตรีภายใต้ปกครอง) คลุมหน้า หรือ นิกอบและบุรกาเมื่อต้องออกจากที่พักอาศัยดังเช่นในภาคใต้ของประเทศไทย  ตะวันออกกลางหรือฝรั่งเศสในปัจจุบัน

4. ปิดหน้ากับปลดปล่อยสตรีเป็นไท

นักสิทธิมนุษยชนตะวันตกส่วนใหญ่ รวมทั้งผู้ที่เห็นด้วยในกฎหมายของฝรั่งเศสฉบับนี้ มองว่าเป็นกฎหมายการห้ามปิดหน้าเป็นการช่วยปลดปล่อยสตรีมุสลิมเองให้เป็นไทจากจากการกดขี่สตรีเพศ

อัลอัค นักวิชาการมุสลิมไทยร่วมสมัยได้ให้ทัศนะพอสรุปใจความได้ว่า การแสดงการเป็นผู้ปลดปล่อยสตรีทำแค่เพียงแค่กระชากผ้าปิดหน้าผืนหนึ่งออกจากใบหน้าของสตรีมุสลิมกระนั้นหรือ ? การไม่มีผ้าปิดหน้าถือเป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะแห่งการปลดปล่อยสตรีมุสลิมให้เป็นไท สู่ความเสมอภาคระหว่างชายหญิงกระนั้นหรือ? ขณะที่ภาพสตรีจำนวนมากมายในเอเชียใต้ที่ถือกะลาขอทาน ถูกพูดในแง่มุมนี้น้อยเกินไป หรือว่าพวกเธอเหล่านั้นไม่มีผ้าปิดหน้า … ความยากจนไม่มีอันจะกินของผู้หญิงจำนวนหลายร้อยล้านถือว่าเป็นประเด็นอื่นไม่เกี่ยวกับสิทธิของสตรีกระนั้นหรือ?  การกระแหนะกระแหนของบางคนที่มีต่อผ้าคลุมหน้าเป็นเรื่องที่ไม่วางอยู่บนตรรกะ และบางทีก็ขาดความยุติธรรมอย่างเห็นได้ชัด เป็นไปได้ว่าบางคนปิดหน้าอย่างไม่เข้าใจ ปิดหน้าตามกลุ่มชนที่ตนอาศัยอยู่ และก็เป็นไปได้ว่าคนปิดหน้าจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้หนังสือ แต่นี้ไม่ใช่ความผิดของผ้าคลุมหน้า    การกล่าวถึงมุสลิมะฮฺที่ปิดหน้าว่าเป็นพวกสุดโต่งหรือเลยเถิดนั้น จัดว่าเป็นถ้อยคำที่อธรรม การปฏิบัติตามทัศนะทางนิติศาสตร์แบบเข้มงวดใด ๆ ที่ได้มาจากปราชญ์มุสลิมนั้นมิใช่ความสุดโด่ง แต่ความสุดโต่งอยู่ที่การไปบังคับคนอื่นทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ปฏิบัติตามทัศนะของตนเองต่างหาก

กฏหมายอิสลามนั้น ไม่ใช่กฎหมายที่มองอะไรเพียงด้านเดียว หรือไม่มีเหตุมีผล ในแง่หนึ่งนั้น อิสลามก็มุ่งปกป้องคุ้มกันจริยธรรมของมนุษย์ให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง และในอีกแง่หนึ่งก็คำนึงถึงความจำเป็นต่าง ๆ ของมนุษย์ด้วย ดังนั้น จึงก่อให้เกิดความสมดุลทั้งสองด้านของชีวิต ….ดังนั้น นางก็อาจเปิดใบหน้าได้ถ้าต้องการเมื่อมีความจำเป็น ขอเพียงว่านางอย่าได้ประสงค์จะอวดความงาม ... บทบัญญัติที่มีเหตุผลนั้นยืดหยุ่นได้ มีทั้งความเข้มงวดเคร่งครัดและโอนอ่อนผ่อนตามสถานการณ์ มีข้อยกเว้นในตัวบทตามกาลเทศะ บทบัญญัติเช่นนี้ ไม่ใช่ให้หลับหูหลับตาตาม แต่ต้องมีการพินิจพิเคราะห์ด้วย...” (ดู การคลุมหน้ากับสถานภาพสตรีในอิสลาม โดย อบุล อะอฺลา เมาดูดียฺ น. 405-407 )

ผ้าปิดหน้าจึงกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญในอารยธรรมมุสลิม แต่มิใช่สัญลักษณ์แห่งการกดขี่ แต่เป็นสัญลักษณ์ของอิสรภาพในการปกป้องตัวเองที่สตรีมุสลิมสามารถเลือกได้ มิใช่การนำไปใช้แบบแข็งทื่อที่มีรูปแบบเดียว และมิใช่การประกาศความเคร่งในศาสนาว่าใครเหนือกว่าใคร แต่เป็นสัญลักษณ์ของการปลดปล่อยตนเองจากการแสดงอำนาจของผู้ชายด้วยการเลือกที่จะใช้มันอย่างไร?

เป็นที่น่าเสียดายว่าสังคมโลกในยุคประชาธิปไตย และ  สิทธิมนุษยชนเบ่งบานพยายามไปบังคับสตรีผู้ที่แสดงเจตนารมณ์อย่างแรงกล้าที่ต้องการปิดหน้าเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของตัวเขาเองแต่กลับเมินเฉยกับสตรีหรือบุรุษเพศที่พยายามเปลือยกาย สร้างความหายนะทางศีลธรรมต่อสังคมโลกและเซ็กซ์เสรีจนนำสู่การแพร่ระบาดของโรคร้ายมากมายทั้งสังคมไทยและสังคมโลก

เชิงอรรถ 

[1] ใบหน้าและฝ่ามือ
[2] เว้นแต่แก่สามีของพวกเธอ หรือบิดาของพวกเธอ หรือบิดาของสามีของพวกเธอ หรือลูกชายของพวกเธอ หรือลูกชายสามีของพวกเธอ หรือพี่ชายน้องชายของพวกเธอ หรือลูกชายของพี่ชายน้องชายของพวกเธอหรือลูกชายของพี่สาวน้องสาวของพวกเธอ หรือพวกผู้หญิงของพวกเธอ หรือที่มือขวาของพวกเธอครอบครอง (ทาสและทาสี) หรือคนใช้ผู้ชายที่ไม่มีความรู้สึกทางเพศ หรือเด็กที่ยังไม่รู้เรื่องเพศสงวนของผู้หญิง และอย่าให้เธอกระทืบเท้าของพวกเธอ
[3] “นิกอบ” และ “บุรกา”
[4] ทั้ง 4 สำนักคิดไม่ว่าจะเป็นหะนาฟียะฮ์ มาลิกียะห์ ชาฟิอียะห์และฮัมบาลียะห์โปรดดู Abd  al – Rahman  al-Jaziri. N.d. al-Figh ala al- Mazhab al-Arbaah. 5/54
[5] ในที่นี้หมายถึงพ่อ  สามีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลสตรีตามศาสนบัญญํติ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ภาระจิกกัดเพื่อสร้างชาติรู้คิด: สัมภาษณ์จอห์น วิญญู

Posted: 21 Jul 2010 09:06 AM PDT

<!--break-->

ที่มาภาพ: http://www.facebook.com/notes/jumpingfish-at-tilopahouse/building-an-inquisitive-nation-interview-with-john-winyoo/414406646630 

วิญญู “จอห์น” วงศ์สุรวัฒน์ ไม่ใช่หนุ่มลูกครึ่งหน้าตาคมคายแบบที่คุณเห็นทั่วไป

ภายใต้หน้าตาหล่อคมแบบพิมพ์นิยมขวัญใจวัยรุ่นและพิธีกรรายการทีวีที่สนุกสนานเฮฮา ลึกลงไปภายใต้เปลือกนอกนั้นคือ นายวิญญู นักล้อเลียนเสียดสีการเมืองและสังคม รายการทีวีทางอินเทอร์เน็ตสถานี iHere TV ของเขามีรายการที่หลากหลาย และมีอะไรมากกว่าความจำเจซ้ำซากและเสียงที่ถูกอุดปากไว้ของฟรีทีวี

รายการ “เจาะข่าวตื้น” และ “เก้าอี้เสริม” ซึ่งเป็นผลผลิตจากมันสมองของวิญญู พี่สาวและเพื่อนพ้อง เป็นรายการที่พูดถึงประเด็นปัญหาที่ซีเรียสจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมืองและวัฒนธรรมไปจนถึงปัญหาสังคมต่าง ๆ ที่กำลังท้าทายสังคมอยู่ในขณะนั้น วิญญูทำหน้าที่พิธีกรด้วยตัวเอง รายการออนไลน์นี้นำเสนอข่าวร้อนที่กำลังฮ็อตในประเทศไทยด้วยการขยายภาพให้เห็นชัดเจนขึ้น เหมือนเรามองผ่านกล้องส่องทางไกลที่มีแง่มุมของการวิเคราะห์วิจารณ์ แน่นอน ฟังดูอาจไม่ลึกซึ้งเหมือนพวกรายการคุยข่าวประเภทเดียวกันทั้งหลายที่ชอบอ้างว่า “เจาะลึกอัดแน่นไปด้วยข้อมูล” แต่เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดแบบฟรีทีวี สถานี iHere TV จึงสามารถแสดงความคิดเห็นที่ผ่านการกลั่นกรองมาอย่างดีได้อย่างตรงไปตรงมาสมราคาคุย

รายการ “เจาะข่าวตื้น” ที่มีสโลแกนหลักว่า “ดูถูกสติปัญญา” ถึงขนาดถูกนำไปเปรียบเทียบกับรายการ The Daily Show ของ Jon Stewart ทั้งยังได้รับคำชมว่าคมกริบแสบสันต์กว่าด้วยซ้ำ รายการนี้จึงมีแฟนคลับติดตามรับชมเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นตอนกีฬาสี ความอีนุงตุงนังของโอ-เน็ท การเก็บภาษี การกระจายรายได้ ข่าวฉาวเกี่ยวกับจีที-200 และพฤติกรรมไร้สาระของตระกูลนักการเมือง วิญญูนำเสนอประเด็นเหล่านี้อย่างเสียดเย้ย อารมณ์ขันเจ็บ ๆ กวน ๆ คมคายและทะลึ่งเล็กน้อยพองาม การหยิบประเด็นของเขาในตอน “เจาะวันกีฬาสีเหลืองแดง” ทั้งกระชับและน่าขัน แต่ก็เต็มไปด้วยข้อคิดให้เก็บไปขบ เขาเป็นคนบัญญัติคำว่า “คนเสื้อแพง” ไว้เรียกกลุ่มคนที่สนใจแต่ความสะดวกสบายของตัวเอง และคำ ๆ นี้ฮิตกระจายเหมือนไฟลามทุ่ง

ล่วงเข้าปีที่สาม ยอดคลิกคนดูของช่อง iHere TV พุ่งพรวดจากหลักพันไปเป็นสี่ล้านคนในเดือนนี้ สไตล์การนำเสนอและการหยอดคำพูดเสียดสีของวิญญูมีส่วนอย่างมากต่อความสำเร็จอย่างล้มหลามของรายการ “เจาะข่าวตื้น” ทางอินเทอร์เน็ต พิธีกรวัย 25 ปีคนนี้ไม่ได้เสนอความคิดเห็นแบบตรง ๆ ทื่อ ๆ แต่ใช้การแฝงนัยยะอย่างมีศิลปะพร้อม ๆ กับสร้างเสียงหัวเราะงอหาย หากมองอย่างผิวเผิน รายการนี้ก็ดูสนุกเฉย ๆ แต่หากตั้งใจดูอีกนิด ผู้ชมจะตระหนักทันทีว่า มันต้องอาศัยคนที่มีความรู้ความเข้าใจและมีข้อมูลอย่างดี จึงจะสามารถสื่อสาระที่ซีเรียสออกมาได้ตลกโปกฮาขนาดนี้ วิญญูเป็นคนที่สร้างความสมดุลได้พอดิบพอดีระหว่างความเป็นปัญญาชนและการเข้าใจได้ง่าย ในขณะเดียวกันก็ติดดินด้วย

“ทั้งหมดเป็นเรื่องของการตั้งคำถาม ในประเทศไทยนี้ เรามักยอมรับหลายสิ่งหลายอย่างโดยไม่ตั้งคำถาม เรามักปล่อยให้เรื่องที่น่าสงสัยหลาย ๆ อย่างกลายเป็นบรรทัดฐาน....เป็นเรื่องที่เรายอม ๆ กันไปอยู่ ๆ กับมันไป เป้าหมายของเราคือการทำให้คนดูตั้งคำถามต่อสิ่งต่าง ๆ และมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น” วิญญูกล่าว

ตรงกันข้ามกับการพูดรัวเร็วในช่องทีวีอินเทอร์เน็ต บุคลิกร่าเริงตลกขบขันในรายการทีวีและรายการวิทยุที่ 91.5 Hot FM ที่จัดตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ วิญญูตัวจริง ๆ พูดจามีจังหวะจะโคนช้ากว่าและคิดใคร่ครวญก่อนพูดออกมา เขาดูเป็นคนนิ่ง ๆ และเลือกคำพูดอย่างระมัดระวัง พร้อมกับหยอดคำคมอย่างมีอารมณ์ขันเป็นครั้งคราว หน้าตาหล่อ ๆ ของวิญญูยังไม่น่าประทับใจเท่ากับความฉลาดเฉียบคมของเขา โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับคนรุ่นเดียวกันที่ทำงานในแวดวงเดียวกัน ถึงเขาจะพูดจาโผงผางบ้าง แต่ก็ไม่ได้ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเขาข่มคนอื่นเหมือนพวกปัญญาชนจอมปลอมที่ชอบวางมาด

เขาเติบโตมาในครอบครัวที่ดีพร้อม มีคุณพ่อคุณแม่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย คอยดูแลอย่างใกล้ชิดและอบรมขัดเกลาลูกทั้งสี่คน ทั้งในด้านวิชาการ สติปัญญาและสุนทรียะ วิญญูเป็นลูกคนสุดท้อง

คุณพ่อของวิญญู ดร.โกวิท สอนที่คณะรัฐศาสตร์และเขียนบทความให้สื่อสิ่งพิมพ์ชั้นนำหลายแห่ง ส่วนคุณแม่ชาวอเมริกันสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นผู้บ่มเพาะความรู้ด้านสุนทรียศาสตร์แก่วิญญูที่บ้าน พี่ของวิญญูสองคนสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์และสถาบันเอไอที ส่วนพี่สาวคนโตสุดของวิญญู (จรรยา วงศ์สุรวัฒน์) คือผู้ก่อตั้งบริษัท Cotton Bud (Digital Soundlab) ซึ่งเปรียบเสมือนสปริงบอร์ดให้แก่บริษัท Helipad ซึ่งเป็นต้นสังกัดของ iHere TV นั่นเอง

คุณพ่อคุณแม่ของวิญญูเลือกส่งเขาให้เรียนและเติบโตในโรงเรียนไทย แต่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักประจำบ้านเสมอ

“ผมดีใจที่ผมได้เรียนในโรงเรียนไทย มันไม่เหมือนสังคมของโรงเรียนนานาชาติที่อู้ฟู่กว่ามาก ผมคิดว่าผมได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างสมดุลดีมาก อย่างที่คนพูดกันว่า ได้รับส่วนที่ดีที่สุดของทั้งสองโลก คุณพ่อเข้มงวดมากในเรื่องการเรียน และคุณพ่อคุณแม่ก็ให้เวลาในการให้ความรู้แก่เราอย่างจริงจัง ทุกปิดเทอมใหญ่ ผมต้องอยู่บ้านเพื่อศึกษารัฐธรรมนูญหรือพระไตรปิฎก ผมเติบโตมาในครอบครัวที่เป็นนักวิชาการมาก และได้รับการส่งเสริมตลอดเวลาในเรื่องของการคิดต่าง การมีความคิดเป็นของตัวเอง” เขาเล่า

แมวมองที่กำลังมองหานายแบบไปเจอวิญญูตอนเขาอยู่ ม.4 เขาเริ่มต้นด้วยการแสดงผาดโผนในหนังโฆษณา (advertising stunts?) แต่คุณพ่อคุณแม่กลับไม่ค่อยดีใจสักเท่าไร คุณพ่อของวิญญูเห็นว่า ลูกชายควรใช้เวลาทบทวนเนื้อหาที่เรียนในโรงเรียนมากกว่า ส่วนคุณแม่ก็ไม่สบายใจและเป็นห่วงความปลอดภัยของลูกชาย

แต่วิญญูก็พิสูจน์ให้เห็นว่า การเรียนของเขาไม่ได้รับผลกระทบจากงานนายแบบแต่อย่างใด และเงินรายได้ที่ได้มาก็ใช้ไปกับการดูแลตัวเอง หลังจากจบชั้นมัธยมปลาย เขาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร เอกการแสดงและกำกับการแสดง แต่ระหว่างเรียนชั้นปีที่สอง เขาก็ตัดสินใจลาออกด้วยความรู้สึกอึดอัดและสมัครเข้าศึกษาต่อในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงแทน

“ผมเพียงแค่รู้สึกว่าไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เลย และความที่ผมมีความสนใจทางด้านการเมืองมาตั้งแต่ยังเด็ก ผมอยากรู้เสมอมาว่า คนบางกลุ่มฉวยประโยชน์จากช่องโหว่ [ทางกฎหมาย] และเอาเปรียบสังคมอย่างไร” เขากล่าว

ในไม่ช้า วิญญูก็ค้นพบว่า อาชีพที่เขาถนัดอีกอย่างหนึ่งก็คือ พิธีกรรายการทีวี

เขาทำงานเป็นพิธีกรรายการทีวีหลายรายการในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่รายการ “Wake Club” และ “IT Centre” ไปจนถึงรายการ “Siam Square” กับวู้ดดี้ มิลินทจินดา ตอนนี้เขารับเป็นพิธีกรสองรายการด้วยกันคือ “รถโรงเรียน” และ Bang Channel รวมทั้งเป็นพิธีกรรายการวิทยุร่วมกับพลอย หอวัง

“ถึงจุดหนึ่ง ผมรู้สึกว่าตัวเองกำลังติดภาพของการเป็นพรีเซนเตอร์รายการทีวีวัยรุ่น และนั่นคงเป็นจุดจบของอาชีพในวงการบันเทิงของผม แต่พอดีตอนนั้นเอง พี่สาวของผมตั้งบริษัทผลิตรายการเล็ก ๆ ร่วมกับเพื่อน ๆ พี่รู้สึกว่าบริษัทมีศักยภาพพอที่จะขยายไปในด้านอื่น ๆ ตอนแรกเราคิดว่า เราจะลองผลิตรายการสำหรับฟรีทีวี แต่พอมาคิดดูแล้ว มันต้องใช้เงินลงทุนสูงเกินไป ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ เราอยากทำสิ่งที่เราอยากทำโดยไม่ต้องมีข้อจำกัดมากด้วย

“ดังนั้นจึงมาลงเอยที่รายการทีวีออนไลน์” เขาอธิบาย

หลังจากเปิดตัวเมื่อสามปีก่อน iHere TV ผลิตรายการหลากหลาย นับตั้งแต่รายการทำอาหาร “iCook” ไปจนถึงรายการ “Good English with Momay” อย่างไรก็ตาม รายการเสียดสีและตลกแสบแบบ “เจาะข่าวตื้น” นี่แหละที่เป็นตัวผลักดันสถานี iHere และวิญญูขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง

“เราเริ่มต้นอย่างไม่มีทิศทาง มันเป็นการลองผิดลองถูกมากกว่า จนกระทั่งปลายปีที่แล้วนี่แหละที่เรารู้สึกว่าเริ่มจับทางถูกแล้ว ตอนนี้ทุกรายการมีเอกลักษณ์ชัดเจนและเราจับกลุ่มผู้ชมที่เป็นเป้าหมายได้.....เรารู้แล้วว่าผู้ชมต้องการอะไรจากเรา” เขากล่าว

“สำหรับเจาะข่าวตื้น เราไม่ได้อยากให้มันตลกขนาดนั้น แต่ผมเดาว่าเมื่อไรก็ตามที่คุณเสียดสีมาก ๆ มันก็จะกลายเป็นตลกร้าย ผมคิดว่าเสียงหัวเราะ [ที่เราได้รับ] เป็นเหมือนโบนัสพิเศษ เราเริ่มต้นด้วยความอยากจะเสียดสีและจิกกัดประเด็นทางการเมืองและสังคมหลาย ๆ ประเด็นที่ไม่เคยถูกแก้ไขหรือถูกมองข้ามไปในประเทศไทย บางทีอาจเป็นบุคลิกแบบคนไทยที่ยอมอะไรง่าย ๆ แต่เราควรเริ่มต้นตั้งคำถามกับอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นรอบตัวเราเสียที ทำไมเราต้องทนกับนักการเมืองโกง ๆ? เกิดอะไรขึ้นกับเงินภาษีของเรา? รัฐบาลถลุงใช้เงินที่เราอุตส่าห์หามาอย่างเหนื่อยยากอย่างไร?”

วิญญูรู้สึกผิดหวังกับสื่อมวลชนไทยในปัจจุบันด้วย เขารู้สึกอย่างรุนแรงว่า สิ่งที่เรียกว่าการวิเคราะห์ “เจาะลึก” ที่สื่อเสนอนั้น ยังไม่ลึกพอและไม่เคยตั้งคำถามที่ควรถามอย่างจริงจัง

“เวลาที่คุณดูรายการข่าว มันเหมือนพวกเขาทำรายการไปตามวาระซ่อนเร้นของตัวเอง พูดถึงอะไรก็ได้ที่อยากพูด บางทีมันรู้สึกเหมือนโฆษณาชวนเชื่อทางโทรทัศน์มากกว่า”

ถ้าเช่นนั้น เขาคิดอย่างไรกับ “การปฏิรูปสื่อ”? มันเป็นแค่การประโคมข่าวให้หวือหวา? ประเทศไทยจะไปถึงเป้าหมายได้บ้างไหม?

“ตราบเท่าที่สื่อยังไม่เป็นอิสระจากรัฐอย่างแท้จริง แล้วจะปฏิรูปสื่อไปเพื่ออะไร? เพราะคนที่อยู่ในอำนาจก็คนกลุ่มเดิม คนที่สั่งเซนเซอร์ก็คนกลุ่มเดิม มันก็คนหน้าเก่า ๆ เดิม ๆ นั่นแหละ คำว่าเสรีภาพของสื่อ มันก็แค่คำพูดที่มีตัวอักษรหลายตัวแค่นั้นเอง

“แล้วพอคนที่มีอำนาจทะเลาะกันผ่านสื่อ ก็ไม่เห็นมีใครได้ประโยชน์ แล้วก็มีเรื่องเซเลบบางคนไปพัวพันรักสามเส้ากับหนุ่มเกย์ลงเป็นข่าวหน้าหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ที่ไหนสักแห่งในประเทศไทย อาจมีป้าแก่ ๆ คนหนึ่งกำลังจะสูญเสียบ้านเพราะช่องโหว่ทางกฎหมายบางอย่าง อะไรสำคัญกว่ากันล่ะ?”

แฟนขาประจำของรายการ “เจาะข่าวตื้น” กลับได้รับสาระมากกว่า เพราะรายการนี้นำเสนอมากกว่ามุกตลกจำเจ มันกระตุ้นให้คนคิดและแจกแจงประเด็นปัญหาในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ในขณะเดียวกันก็พยายามไม่ทำให้ปัญหานั้นกลายเป็นเรื่องหยาบตื้นเกินไปเหมือนอย่างที่พวกสื่อกระแสหลักชอบทำ และก็ไม่ทำให้มันซับซ้อนเข้าใจยากเกินไปด้วย เหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้วิญญูสามารถนำเสนอประเด็นได้อย่างชัดเจนโดยไม่ก้าวร้าวหรือยกตนข่มคนดู ย่อมเป็นผลมาจากหลักการคุณค่าที่คุณพ่อคุณแม่หัวก้าวหน้าปลูกฝังไว้ในตัวเขา

“จนถึงทุกวันนี้ ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ พวกเราจะกินข้าวเย็นพร้อมหน้ากัน มันเป็นเวลาที่พวกเราทุกคนได้แสดงความคิดเห็น คนอื่นชอบบอกว่าไม่ควรคุยกันเรื่องการเมือง เชื้อชาติหรือศาสนา แต่มันไม่เป็นอย่างนั้นในครอบครัวของเรา

“ผมเดาว่าพวกเราหัดเรียนรู้ที่จะถกเถียงกันโดยไม่อารมณ์เสียใส่กันมาตั้งแต่ยังเด็ก” เขาเล่า

“ผมคิดว่าผมค่อนข้างโชคดีด้วย ตรงที่ผมเริ่มทำงานตั้งแต่อายุยังน้อยและผ่านประสบการณ์หลายอย่างก่อนคนส่วนใหญ่ในวัยเดียวกัน....ผมก็เลยอยากแบ่งปันความคิดให้พวกเขารู้ว่า โลกมีอะไรมากกว่านั้น

“ผมรู้สึกว่าปัญหาของคนรุ่นใหม่ก็คือ เราบริโภคข่าวสารไม่มากพอ และถึงบริโภคมากพอ ก็ไม่ได้คิดพิจารณาให้มากพอ ดังนั้น ถ้าคุณไม่มีข้อมูลรูปธรรมมากพอ คุณก็จะรู้สึกถูกผลักให้เลือกข้าง เพราะคุณไม่รู้เรื่องราวรอบด้าน

“แล้วทีนี้คุณก็จะมีอารมณ์รุนแรงเกินไปกับปัญหาที่ซีเรียส ทั้ง ๆ ที่ควรใช้เหตุใช้ผลและใช้การคิดวิเคราะห์มากกว่าตอบโต้ด้วยอารมณ์พลุ่งพล่าน” วิญญูบอก

แน่นอน วิญญูก็เช่นเดียวกับคนทำงานสื่อคนอื่นหลาย ๆ คน เขามักถูกถามซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่ายืนอยู่ข้างไหนหรือมีอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างไร นับตั้งแต่เป็นพิธีกรรายการ “เจาะข่าวตื้น” เป็นต้นมา

“จริง มีคนเยอะแยะถามผมอย่างนั้น ผมจะบอกอะไรให้....มีบางช่วงที่ผมโอนเอียงไปหาสีหนึ่ง แล้วก็มีบางช่วงที่ผมเชื่ออีกสีหนึ่งมากกว่า พอเป็นอย่างนั้น ผมก็พยายามหยุดตัวเองและมองย้อนกลับไปทบทวน โดยพื้นฐานแล้ว มันอยู่ที่ผมบริโภคข่าวสารของฝั่งไหนมากกว่าในช่วงเวลานั้น ๆ แต่ตอนนี้ผมคิดว่า ทั้งสอง [สี] ต่างก็มีข้อดีและข้อเสีย แต่บางครั้งพวกเขาใช้อารมณ์กันมากเกินไป และนั่นนำไปสู่การต่อสู้จนทำลายกันเอง เรื่องมันซับซ้อน” เขาอธิบาย

แน่นอน วิญญูยืนคร่อมอยู่ระหว่างสองโลก ขาข้างหนึ่งของเขาอยู่ในธุรกิจบันเทิงที่หรูหรา ทุกสิ่งทุกอย่างมีสีสันลูกกวาดสดใสในโลกของพิธีกรรายการฟรีทีวี อีเวนต์ รายการวิทยุ ในขณะที่ขาอีกข้างหนึ่งก็หยั่งลึกในดินแดนของอินเทอร์เน็ตที่คาดเดาไม่ได้ ที่ที่เขาเชื่อมั่นว่า จิตใจที่รู้จักค้นคว้าตั้งคำถามจะนำพาประเทศนี้ไปสู่ทางรอด กระนั้นก็ตาม ไม่ใช่เรื่องธรรมดาสำหรับคนในวงการบันเทิงที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา ส่วนใหญ่มักเลือกหุบปากเงียบมากกว่า

“รู้ไหม แม้กระทั่งพี่สาวผมเอง ตอนแรกยังบอกผมเลยว่า ผมน่าจะลดความแรงลงสักหน่อย เพราะผมยังทำงานในธุรกิจกระแสหลักอยู่ แต่ผมบอกพี่ว่า ผมไม่คิดว่าสิ่งที่ผมพูด [ในรายการ] มันแย่หรือหยาบคาย และผมคิดว่ามันเกี่ยวกับสถานะในวงการด้วย แต่ผมก็เข้าใจคนที่ไม่อยากแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะนะ เพราะถึงยังไง นี่ก็เมืองไทย ยังไงคุณก็ต้องเกรงใจคนอื่น

“คนที่ออกมาส่งเสียง [บอกถึงความเชื่อและทัศนะของตน] มักถูกแปะป้ายเป็นพวก ‘หัวรุนแรง’ ผมว่ามันคงโอเคที่จะถ่ายภาพดาราผู้หญิงใส่แค่ชุดชั้นในกางเกงในลงหน้าปกหนังสือ แต่ถ้าเมื่อไรพวกเธอเกิดอยากพูดอะไรที่เกี่ยวกับการเมืองขึ้นมา คนอื่นก็พร้อมที่จะจิกกัดพวกเธอขึ้นมาทันที ผมไม่รู้ว่ามาตรฐานมันอยู่ตรงไหน”

สถานี iHere TV กำลังประสบความสำเร็จในตอนนี้ก็จริง แต่วิญญูก็รู้ดีว่า “มือแห่งการควบคุม” อาจเข้ามายุ่มย่ามกับเสรีภาพบนอินเทอร์เน็ตไม่ช้าก็เร็ว วิญญูเคยได้รับข้อเสนอให้ย้ายรายการทีวีออนไลน์มาออกทางฟรีทีวี แต่เขาตัดสินใจไม่รับข้อเสนอ เพราะเกรงว่าสุดท้ายแล้วก็คงถูกจำกัดและเซนเซอร์

“ผมไม่ได้บอกว่าสถานี iHere TV ดีเลิศที่สุด หรือเป็นทางเลือกที่ฉลาดที่สุดที่มีอยู่ตอนนี้ เราแค่ทำในสิ่งที่เราอยากทำ เราแค่นำเสนอทางเลือกให้แก่ประชาชนมากขึ้นเท่านั้นเอง” วิญญูตบท้าย
 

*ได้รับการเอื้อเฟื้อต้นฉบับจาก Jumpingfish At Tilopahouse และ Kay Jirawanidchakorn

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กฟผ.เตรียมสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 9 โรงช่วงปี 62-73 กำลังผลิตรวม 7.2 พันMW

Posted: 21 Jul 2010 05:55 AM PDT

<!--break-->

21 ก.ค. 53 - นายสมบูรณ์ อารยะสกุล รองผู้ว่าการพัฒนา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.วางแผนสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ในการผลิตไฟฟ้า หรือโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด 9 โรง ตั้งแต่ปี 2562-2573 กำลังการผลิตโรงละ 800 เมกะวัตต์ รวมกำลังการผลิตทั้งหมด 7,200 เมกะวัตต์ โดยพื้นที่เป้าหมายคาดว่าจะอยู่ในจังหวัดที่อยู่ติดทะเล เช่น ชุมพร สุราษฎรธานี นครศรีธรรมราช เป็นต้น

สำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดได้ถูกบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าในระยะยาว (พีดีพี 2010) ซึ่งตามแผนพีดีพี กฟผ. จะต้องเริ่มสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดในเดือนมิถุนายน 2562ในเดือนมิถุนายน ปี 2564 สร้างโรงที่ 2 เดือนมกราคม 2566 สร้างโรงที่ 3 เดือนมกราคม 2569 สร้างโรงที่ 4 และ 5 เดือนมกราคม 2571 สร้างโรงที่ 6 และ 7 เดือนมกราคม 2572 สร้างโรงที่ 8 และเดือนมกราคม 2573 สร้างโรงที่ 9

โดยเห็นว่าในอนาคตโรงไฟฟ้าถ่านหินจะต้องถูกสร้างขึ้น เพื่อรองรับความต้องการใช้ที่สูงขึ้น ประกอบกับเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติในอนาคตจะมีน้อยลง เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงขึ้นในระบบ อย่างไรก็ตามโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ กฟผ.จะสร้างขึ้นเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งจะลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม แม้ว่าจะมีการลงทุนสูงกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินปกติ แต่เพื่อลดการต่อต้านการก่อสร้างจึงมีความจำเป็นต้องลงทุน โดยได้มีการศึกษาแล้วพบว่าแม้จะลงทุนในอีก 4-5 ปีข้างหน้า ต้นทุนค่าไฟฟ้าก็จะเฉลี่ยไม่เกิน 3 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งยังถูกกว่าการใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่น และอาจจะถูกกว่าก๊าซฯ และน้ำมัน ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าในอนาคตราคาจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไร

นอกจากนี้ กฟผ.ยังมองว่าจะต้องมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นในประเทศ เพราะเป็นเชื้อเพลิงที่ลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม และมีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูงมากเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่น โดยตามแผนพีดีพีจะต้องก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรง โรงละ 1,000 เมกะวัตต์ รวมกำลังการผลิตทั้งสิ้น 5,000 เมกะวัตต์ โดยจะก่อสร้างโรงแรกในเดือนมกราคม 2563 เครื่องที่ 2 ในเดือนมกราคม 2564 เครื่องที่ 3 ในเดือนมกราคม 2567 เครื่องที่ 4 ในเดือนมกราคม 2568 และเครื่องที่ 5 ในเดือนมกราคม 2571

สำหรับแผนการรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่คาดว่าจะสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วง 5 ปีข้างหน้า และการที่โรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) 2 โรง ของ บริษัท สยามเอ็นเนอยี่ จำกัด ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าก๊าซฯ ขนาด 1,600 เมกะวัตต์ และของบริษัท เนชั่นแนล พาวเวอร์ ซัพพลาย จำกัด ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาด 600 เมกะวัตต์ โดยทั้ง 2 สองจะก่อสร้างใน จ.ฉะเชิงเทรา อาจจะต้องเปลี่ยนสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้า ทำให้ต้องเลื่อนระยะเวลาการจ่ายไฟฟ้าไปอย่างน้อย 1-2 ปี ซึ่งตามแผนจะเข้าประมาณปี 2556 และจะทำให้ในช่วงปี 2557-2558 สำรองไฟฟ้าในระบบลดลงเหลือ 9%

กฟผ.ได้เตรียมแผนที่จะเลื่อนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะนะ 2 และโรงไฟฟ้าวังน้อย 4 กำลังการผลิตโรงละ 800 เมกะวัตต์ ให้สามารถเข้าระบบได้ในปลายปี 2556 หรือต้นปี 2557 แต่เกรงว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซฯ ขนาดใหญ่จะอยู่ใน 18 ประเภทกิจการที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำลังจะประกาศออกมา

กฟผ.ได้หารือกับกระทรวงพลังงานแล้วยื่นเรื่องไปที่นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้พิจารณานำโรงไฟฟ้าก๊าซฯ ออกจากประเภทโครงการที่ส่งผลกระทบดังกล่าว และได้ชี้แจงไปที่คณะกรรมการเพื่อการแก้ไขปัญหามาบตาพุดตามมาตรา 67 วรรค 2 แห่งรัฐธรรมนูญปี 2550 แล้ว เพื่อให้โรงไฟฟ้าทั้งสองสามารถดำเนินการก่อสร้างได้เร็วขึ้น แต่หากต้องติดอยู่ใน 18 ประเภทกิจการ ก็อาจจะทำให้การก่อสร้างต้องล่าช้าออกไปและไม่ทันต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในด้านการใช้ไฟฟ้าที่น่าเป็นห่วงมาก

ที่มาข่าว:

กฟผ.เตรียมสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 9 โรงช่วงปี 62-73 กำลังผลิตรวม 7.2 พันMW (สำนักข่าวอินโฟเควสท์, 21-7-2553)
http://www.ryt9.com/s/iq03/946219

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กรรมการสิทธิฯ สอบ 32 เรื่อง ซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัวชายแดนใต้

Posted: 21 Jul 2010 05:46 AM PDT

กรรมการสิทธิฯ สอบ 32 เรื่อง เหตุซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัวในชายแดนใต้ ชี้เหตุสุไลมาน แนซา ตายในค่ายทหาร สรุปไม่ได้ว่าถูกทำให้ตายหรือไม่ พร้อมตรวจสอบสภาพการควบคุมตัวว่า สร้างความกดดันให้ผู้ถูกควบคุมตัวหรือไม่

<!--break-->

 

21 ก.ค. 53 - นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะคณะอนุกรรมการชายแดนภาคใต้ เปิดเผยถึงผลการตรวจสอบกรณีนายสุไลมาน แนซา ผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคง เสียชีวิตในระหว่างการคุมตัวของเจ้าหน้าที่ทหารภายในค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ไม่สามารถยืนยันได้ว่า ถูกทำให้ตายโดยผู้อื่นหรือผูกคอตายเอง เนื่องจากพ่อแม่ของนายสุไลมาน ไม่ยอมให้มีการผ่าพิสูจน์ศพ แม้ว่าได้เชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) พิจารณาจากภาพถ่ายศพก็ตาม
นางอมรา กล่าวด้วยว่า ในขณะที่เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมตัวยืนยันว่านายสุไลมานผูกคอตายเอง และยืนยันว่าไม่มีกระทำการใดที่ทำให้นายสุไลมานเกิดความกดดันจนนำมาสูการตาย แต่ในส่วนของพ่อแม่ของนายสุไลมาน ยังสงสัยถึงสาเหตุที่นำมาสู่ความดังกล่าวอยู่
นายอมรา เปิดเผยด้วยว่า อย่างไรก็ตามคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติยังไม่ได้ตรวจสอบว่า ระหว่างการควบคุมตัวเจ้าหน้าที่มีส่วนทำให้นายสุไลมานเกิดความกดดันจนนำมาสู่การตายด้วยหรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะเข้าตรวจสอบประเด็นนี้อีกครั้งว่า
นางอมรา เปิดเผยด้วยว่า การตรวจสอบดังกล่าว จะกระทำในภาพรวมของการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยทั้งหมดด้วย เช่นเดียวกับการตรวจสอบในเรื่องการซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัวหรือผู้ถูกจับกุมระหว่างถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมการชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการชายแดนภาคใต้ กำลังตรวจสอบกรณีการร้องเรียนเรื่องการซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัวทั้งหมด 32 เรื่อง ซึ่งเป็นคำร้องที่มีมาตั้งแต่ปี 2550 แยกเป็นปี 2550 – 51 จำนวน 18 เรื่อง ปี 2552 – 53 จำนวน 14 เรื่อง โดยคำร้องทั้งหมดเป็นกรณีที่ผู้ถูกควบคุมตัวไม่ได้เสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัว
นายไพบูลย์ เปิดเผยต่อว่า การร้องเรียนว่าถูกซ้อมทรมานดังกล่าว มีทั้งการทุบตี ทำร้ายร่างกาย การสวมถุงดำครอบศีรษะ การควบคุมตัวในห้องเย็น เป็นต้น ซึ่งจะตรวจสอบต่อไปว่ามีการซ้อมทรมานจริงหรือไม่
นายไพบูลย์ เปิดเผยต่อว่า จากนั้นก็จะจัดทำข้อสรุปพร้อมกำหนดมาตรการต่างๆ เสนอต่อรัฐบาลให้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการซ้อมทรมานจนนำมาสู่การร้องเรียนอีก เพราะจะเป็นเงื่อนไขในการเพิ่มปัญหาให้กับจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะในมิติของการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่
นายไพบูลย์ เปิดเผยอีกว่า สำหรับมาตรการที่กำหนดไว้เบื้องต้น ประกอบด้วย มาตรการทางด้านกฎหมาย ด้านสิทธิมนุษยชนศึกษา ด้านกลไกการควบคุมตัว ด้านการเยียวยา รวมถึงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การป้องกันและการควบคุมมิให้มีการละเมินสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะนำเสนอรายงานฉบับสมบูรณ์อีกครั้งเร็วๆ นี้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ตำรวจเตรียมเรียก "พงษ์พัตน์" สอบคดีหมิ่นฯ "ยะใส" ชี้ไร้มาตรฐาน-เลือกปฏิบัติ

Posted: 21 Jul 2010 05:32 AM PDT

เตรียมเรียก "อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์" ให้ปากคำหลังนักร้องลูกทุ่งแจ้งความเอาผิดฐานหมิ่นสถาบันบนเวทีนาฎราช “สุริยะใส” ระบุตำรวจออกหมายเรียกเลือกปฏิบัติ-ไร้มาตรฐาน เหมือนที่ "สนธิ" โดน "มาร์ค" แนะตำรวจหารือคณะที่ปรึกษาฯ

<!--break-->

 

21 ก.ค. 53 - เมื่อเวลา 10.00 น. พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. พร้อมด้วย พ.ต.ต.พัลลภ สุวรรณบัตร รอง ผบก.น.2 พ.ต.อ.หาญ เลิศทวีวิทย์ ผกก.สน.คันนายาว และ พนักงานสอบสวนร่วมประชุมคดีหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้แทนพระองค์ที่ห้องประชุมปารุสกวัน 2 กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.)

พล.ต.ต.อำนวยกล่าวภายหลังการประชุมว่า เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา นายภูมิพัฒน์ วงศ์ยาชวลิต หรือ "แน๊ต พีรกร" ศิลปินเพลงลูกทุ่ง ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีนายพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ดารานักแสดงชื่อดังที่สน.คันนายาว ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้แทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีขึ้นกล่าวบนเวทีขณะรับรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ในงานประกาศรางวัลนาฏราช เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยนำหลักฐานเอกสารถอดเทปคำพูดในงานดังกล่าวและประวัตินายพงษ์พัฒน์มามอบให้พนักงานสอบสวน

ทั้งนี้หลังจากสอบปากคำผู้มาร้องทุกข์แล้ว ต่อไปก็จะเรียกนายพงษ์พัฒน์ เข้ามาให้ปากคำ โดยคาดว่าหลังจากนี้ 8 วัน หรือวันที่ 29 ก.ค. เวลา 10.00 น. ก็จะนัดมาสอบปากคำที่ บช.น.ได้ ซึ่งต้องรอสอบปากคำก่อนว่าเหตุใดจึงมีอากัปกิริยาอย่างนั้นขณะรับรางวัล เจตนาล่วงเกินสถาบันหรือไม่ และทำไมจึงเรียกว่า “พ่อ” เฉยๆ รวมถึงจะเรียกผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ หรือบุคคลทั่วไปที่ได้รับฟัง ทั้งนักกฎหมาย อาจารย์ภาษาไทย มาฟังว่ารู้สึกอย่างไร โดยหลังจากที่เรียกว่าแล้วไม่มาพบ ก็จะออกหมายเรียกครั้งที่ 2 แต่หากยังไม่มาพบอีกและไม่มีเหตุผลอันสมควรก็จะออกหมายจับทันที เชื่อว่าคดีนี้ไม่เกิน 1 เดือนก็สามารถสรุปได้

"ยะใส" ระบุตำรวจออกหมายเรียกเลือกปฏิบัติไร้มาตรฐาน-กลายเป็นแนวร่วมมุมกลับขบวนการล้มเจ้า

ด้านนายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) กล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจออกหมายเรียกให้ นายพงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง เข้ารับทราบข้อกล่าวหากรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นว่า น่าจะเป็นวาระซ่อนเร้นของทางเจ้าหน้าที่ที่พยายามจะใช้กฎหมายจัดการกับผู้ที่กล่าวถึงสถาบันไม่ว่าจะทางบวกหรือลบ โดยไม่จำแนกแยกแยะ คล้ายกับว่าเป็นมาตรการห้ามทุกคนกล่าวอ้างถึงสถาบัน ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ผิด เพราะการกล่าวอ้างถึงสถาบันในทางที่เป็นการเทิดทูนควรจะเป็นนโยบายของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ต้องสนับสนุนส่งเสริม

นายสุริยะใส กล่าวว่า การออกหมายเรียก นายพงษ์พัฒน์ ครั้งนี้คล้ายกับกรณีนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ที่ถูกอัยการสูงสุดสั่งฟ้องข้อหาหมิ่นฯ กรณีเผยแพร่คำปราศรัยของดา ตอปริโด เป็นภาพสะท้อนความอ่อนแอของรัฐบาลและกลไกรัฐราชการว่าในที่สุดจะไม่สามารถจัดการกับขบวนการล้มเจ้าได้ เพราะไม่สามารถสร้างแนวร่วมกับประชาชนหรือพสกนิกรที่มีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัว ซ้ำร้ายการพูดถึงพระปรีชาสามารถและพระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระองค์ท่านจะทำได้ลำบากมากขึ้นเพราะผู้ที่พูดก็อาจกลัวถูกดำเนินคดี และอาจจะไม่กล้าออกมาต่อต้านขบวนการล้มเจ้าด้วยเช่นกัน

“วิธีการจัดการขบวนการล้มเจ้า รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ต้องดูที่เจตนาของผู้พูด เพราะถ้าเป็นการพูดในลักษณะเทิดทูนสถาบันควรจะส่งเสริม ไม่ใช่ให้เจ้าหน้าที่ไปไล่ออกหมายเรียกหรือหมายจับแบบนี้  แทนที่จะเอากำลังหรือเวลาไปดำเนินการกับกลุ่มคนหรือขบวนการล้มเจ้าที่เคลื่อนไหวโจมตีสถาบันกันอย่างเปิดเผยและกว้างขวางในขณะนี้ ถ้านี่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในการจัดการกับขบวนการล้มเจ้าก็ต้องบอกว่า รัฐบาลและเจ้าหน้าที่กลายเป็นแนวร่วมมุมกลับของขบวนการล้มเจ้าไปโดยไม่รู้ตัว” นายสุริยะใส กล่าว

เลขาธิการการเมืองใหม่ กล่าวว่า การบังคับใช้กฎหมายไร้มาตรฐานแบบนี้ รัฐบาลต้องทบทวนและควรให้นโยบายกับเจ้าหน้าที่ ถึงหลักปฏิบัติที่เป็นธรรมและเป็นประโยชน์กับการปกป้องสถาบันอย่างถูกทิศถูกทางกว่าที่เป็นอยู่ ไม่เช่นนั้นการจัดการกับขบวนการล้มเจ้าโดยรัฐบาลชุดนี้ก็คาดหวังไม่ได้อย่างแน่นอน

นายกฯ แนะ ตร.หารือคณะที่ปรึกษาฯคดีหมิ่นหลังออกหมายเรียก “พงษ์พัฒน์” 

ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีนโยบายของรัฐบาลในการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นสถาบัน แต่ล่าสุดตำรวจมีหมายเรียกนายพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ดารานักแสดงชื่อดัง ฐานหมิ่นประมาทดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้แทนพระองค์ ในการพูดคำว่า “พ่อ” ในงานประกาศรางวัลนาฏราช เมื่อวันที่16พ.ค.2553ว่า ตนยังไม่ทราบรายละเอียดและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่แน่ใจเรามีคณะที่ปรึกษาอยู่ซึ่งจะดูแลเรื่องนี้ได้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีใครสรุปว่าเป็นความผิด แต่ต้องรอดูว่ากระบวนการที่เกิดขึ้นคืออะไร

ด้านนายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงคณะที่ปรึกษาที่นายกฯระบุว่า หมายถึงคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านคดีความมั่นคงของรัฐที่เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ ที่นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งแต่งตั้งเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งมีปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน และตั้งปลัดกระทรวงจากทุกกระทรวงร่วมเป็นคณะกรรมการ มีอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นเลขานุการ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านคดีความมั่นคงของรัฐที่เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ นั้นมีหน้าที่ในการให้คำปรึกษาการดำเนินคดีความมั่งคงที่เกี่ยวกับ สถาบันพระมหากษัตริย์ แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ดีเอสไอ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อให้การดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ มีความรอบคอบ เป็นธรรมและเกิดความเหมาะสม โดยคณะกรรมการชุดนี้จะเป็นศูนย์รวมของข้อมูลเกี่ยวกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพ เพื่อเป็นฐานข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ทำคดีความมั่นคงด้วยความชัดเจน แม่นยำมากขึ้น และป้องกันไม่ให้มีการนำคดีดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก:

ตร.เตรียมเรียกพงษ์พัฒน์ให้ปากคำคดีหมิ่นฯ (โพสต์ทูเดย์, 21-7-2553)
http://bit.ly/b0zvf2

ชี้ ตร.กลายเป็นแนวร่วมขบวนการล้มเจ้า (เดลีนิวส์, 21-7-2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=8&contentID=79747

นายกฯ แนะ ตร.หารือคณะที่ปรึกษาฯคดีหมิ่นหลังออกหมายเรียก “พงษ์พัฒน์”  (แนวหน้า, 21-7-2553)
http://www.naewna.com/news.asp?ID=220232

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชาสังคมทั่วโลกจับมือร้องผู้แทนพิเศษยูเอ็น ชี้อเมริกาขวางการเข้าถึงยา

Posted: 21 Jul 2010 04:00 AM PDT

<!--break-->

 
เมื่อวันที่ 20 ก.ค.53 ในงานประชุมนานาชาติเรื่องเอดส์ ครั้งที่ 18 ที่เวียนนา ประเทศออสเตรีย ภาคประชาสังคมไทย นำโดย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ ประเทศไทย, คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.), มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา, มูลนิธิเภสัชชนบท, และกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) ได้ร่วมกับภาคประชาสังคมทั่วโลก นำโดย ศ.ฌอน ฟลินน์ นักกฎหมายประจำมหาวิทยาลัยอเมริกัน วอชิงตันดีซี ได้ทำหนังสือร้องผู้แทนพิเศษแห่งสหประชาชาติในสิทธิด้านสุขภาพ ตรวจสอบรัฐบาลสหรัฐฯ ฐานใช้นโยบายการค้าระหว่างประเทศที่เรียกว่า Special 301 Report (รายงาน 301 พิเศษ) และสิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) ในการขัดขวางการเข้าถึงยาของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา โดยตัวแทนของภาคประชาสังคมทั่วโลกได้ร่วมกันแถลงข่าวในการประชุมเอดส์โลกที่กำลังดำเนินอยู่ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ขณะนี้ พร้อมทั้งยื่นหนังสือต่อนายอนัน โกรเวอร์ ผู้แทนพิเศษยูเอ็นในสิทธิด้านสุขภาพที่ได้มาร่วมประชุมนานาชาติครั้งนี้ด้วย
 
นางสาวสุภัทรา นาคะผิว คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) ตัวแทนภาคประชาสังคมไทยกล่าวในการแถลงข่าวว่า ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา รายงานมาตราพิเศษ 301 และคำขู่ว่าจะใช้มาตรการโต้ตอบทางการค้าในรูปแบบต่างๆ ถูกใช้เป็นเครื่องมือบีบบังคับประเทศไทยให้เปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศมาตลอด ทั้งนี้ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่บรรษัทยาข้ามชาติโดยไม่คำนึงถึงการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายของไทยและความจำเป็นด้านสาธารณสุข  รายงานนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่หลวงสำหรับประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย เพราะเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ต้องพึ่งพาการส่งออกไปสหรัฐฯ เป็นหลัก  เมื่อใดที่ประเทศถูกขึ้นบัญชีไว้ในรายงานฉบับนี้ ประเทศนั้นจะสุ่มเสี่ยงที่จะเผชิญกับมาตรการตอบโต้ทางการค้าของสหรัฐฯ ถ้าไม่ดำเนินการตอบสนองข้อเรียกร้องตามที่ผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ ต้องการ
 
ประเทศไทยถูกบังคับให้แก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรในปี พ.ศ. 2535 และ 2542 หลังจากที่ถูกขึ้นบัญชีเป็นประเทศที่ต้องจับตามองและผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ขู่ที่จะตัดสิทธิประโยชน์ทางการค้า  การแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรในปี พ.ศ. 2535 ส่งผลให้ไทยต้องเร่งเปลี่ยนแปลงไปใช้ระบบสิทธิบัตร “ผลิตภัณฑ์” ก่อนกำหนดและขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรจาก 15 เป็น 20 ปี  ไทยต้องละทิ้งสิทธิ์ที่จะใช้ระยะเวลาผ่อนผัน 6 ปีเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตยาในประเทศไป ซึ่งเป็นสิทธิ์ที่กระทำได้ตามความตกลงทริปส์  ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 คณะกรรมการทบทวนสิทธิบัตร ที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมราคายา ก็ถูกยุบทิ้ง  ทั้งนี้ เป็นผลจากการกดดันโดยใช้นโยบายการค้าของสหรัฐฯ
 
ในประเทศไทย ยาจำเป็นส่วนใหญ่เป็นยาที่มีสิทธิบัตรและมีราคาแพง เมื่อเทียบกับราคาสากล  เนื่องจากการสาธารณสุขของไทยตกอยู่ในภาวะเสี่ยง ประเทศไทยไม่มีทางเลือก นอกจากใช้สิทธิอันชอบธรรมและรับรองโดยกฎหมายเพื่อนำมาตรการคุ้มครองสาธารณสุขภายใต้ความตกลงทริปส์ หรือที่รู้จักกันในชื่อมาตรการใช้สิทธิ์ตามสิทธิบัตรมาบังคับใช้ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนยาจำเป็นในราคาไม่แพงในช่วงปลายปี พ.ศ. 2549 และต้นปี พ.ศ. 2550  เฉกเช่นเดียวกับสหรัฐฯ ประเทศไทยได้ปฏิบัติยึดตามกรอบกฎหมายภายในประเทศและระหว่างประเทศ ที่จะนำมาตรการใช้สิทธิ์ตามสิทธิบัตรมาบังคับใช้เป็นรูปธรรม  อย่างไรก็ดี ประเทศไทยกลับถูกคัดค้านอย่างรุนแรงจากรัฐบาลสหรัฐฯ และถูกตอบโต้อย่างดุดันจากอุตสาหกรรมผลิตยาในสหรัฐฯ  บริษัทยารายหนึ่งในสหรัฐฯ ได้ถอนการขึ้นทะเบียนยาหลายรายการในไทย ซึ่งรวมถึงยาต้านไวรัส และผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ได้ปรับลดอันดับให้ไทยอยู่ในบัญชีประเทศที่ต้องจับตามองในปี พ.ศ. 2551 2552 และ 2553
 
ผลจากมาตรการใช้สิทธิตามสิทธบัตร ในปัจจุบันผู้ป่วยคนไทยจำนวนมากสามารถเข้าถึงยาจำเป็นได้ฟรีภายใต้ระบบประกันสุขภาพของประเทศ และสามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดี  จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 50,000 คนได้รับยาต้านไวร้สที่เป็นยาชื่อสามัญที่ชื่อว่าเอฟฟาไวเรนส์ ซึ่งคิดเป็นจำนวนผู้ป่วยที่เข้าถึงยาเพิ่มขึ้นสามเท่า  ผู้ป่วยมากกว่า 10,000 คนสามารถเข้าถึงยาโลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ที่เป็นยาชื่อสามัญได้ ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าเมื่อเทียบกับตอนที่มียาที่มีสิทธิบัตรใช้เพียงอย่างเดียว  ยิ่งไปกว่านั้น ปรากฎการณ์นี้ในไทยยังส่งผลให้ยาชื่อสามัญและยาต้นแบบมีราคาลดลงอย่างมากทั่วโลก
 
รายงานข่าวเจ้งว่า ขณะนี้ผู้แทนการค้าสหรัฐจัดประเทศไทยให้ต้องเข้ากระบวนการพิจารณาทบทวน (out of cycle review) เพื่อปลดไทยจากประเทศที่ถูกจับตาเป็นพิเศษ ซึ่งพบว่า มีความพยายามร่างบันทึกความตกลงในการต่อต้านสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้า แต่ไปบังคับให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องมาร่วมปฏิบัติการด้วย ซึ่งหลังจากที่นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยพาณิชย์ เรียนประชุมภาคส่วนต่างๆ เพื่อผลักดันเรื่องดังกล่าวได้มีการประชุมทางไกล (เทเลคอนเฟอร์เร้นซ์) เพื่อรายงานเรื่องดังกล่าวให้ทางสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐรับทราบ  
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใบตองแห้งออนไลน์: เหม็นศพ ‘สื่อ-สิทธิ’

Posted: 21 Jul 2010 01:37 AM PDT

<!--break-->

เพื่อนพ้องน้องนุ่งโทรมาบอกว่า ได้อ่านที่ผมเขียนวิพากษ์ “ลัทธิประเวศ” ทางฟอร์เวิร์ดเมล์ที่ส่งต่อๆกันแล้วชอบอกชอบใจ จะเอาไปถ่ายทอดต่อ

ฟังแล้วก็อดครึ้มไม่ได้ นี่ถ้าหลงตัวเองหน่อย คงยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ว่าเมริงแน่เหมือนกันนิ ใบตองแห้ง

แต่ความจริงแล้วเปล่าเลย ผมไม่คิดว่าผมเขียนได้ถูกต้องแหลมคมดีเด่จับใจอะไรปานนั้น ความจริงก็คือ ผมคิดว่าหลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตทางการเมืองครั้งนี้ด้วยซ้ำ คนทำงานภาคประชาสังคมที่แท้จริง สื่อรุ่นใหม่ นักวิชาการรุ่นใหม่ ไม่ได้ศรัทธาเลื่อมใสอะไรนักหนากับหมอประเวศหรอก เพียงแต่ทุกคนเห็นว่าเป็นคนดี ก็ปล่อยให้พูดเรื่อยเปื่อยของแกไป ไม่มีใครอยากคัดค้าน จนหมอประเวศหลงผิด คิดว่ามีสานุศิษย์ล้นหลามทั่วประเทศ

กระทั่งจะเอาความคิดของแกมาเป็นจริงเป็นจัง “ปฏิรูปประเทศไทย” จึงได้รู้ว่ามีคนคัดค้านกันอื้ออึง

ยกตัวอย่างที่เขียนไปก่อนนี้ ผมตั้งข้อสังเกตว่าหมอประเวศพูดจาล่องลอย โดยทวนความจำที่ผมเคยสัมภาษณ์ ปรากฏว่าเขียนไปแล้วก็มีน้องที่ทำงาน NGO โทรมาบอกว่าเขารู้กันตั้งนานแล้วละลุง น้องอีกคน อดีต NGO ช่วยผมตั้งฉายาว่า “บิ๊กจิ๋วแห่งภาคประชาสังคม” (นอกจากพูดไม่รู้เรื่องเหมือนกันแล้วยังมีบางอย่างที่เหมือนกันคือ บิ๊กจิ๋วไม่เคยฟ้องสื่อ ปากก็พูดรักทุกคน แต่มีทหารพรานไปพังบ้านคึกฤทธิ์ หมอประเวศก็รักทุกคนเหมือนกัน แต่สานุศิษย์ลัทธิประเวศไปเย้วๆ ปลุกความเกลียดชังอยู่ในม็อบเสื้อเหลือง)

ที่จริงน้องที่ทำงาน NGO ยังบอกว่าผมเขียนได้ไม่ถึงกึ๋นด้วยซ้ำ ผมก็บอกว่าผมไม่ใช่สาวกลัทธิประเวศนี่หว่า ขี้เกียจนั่งอ่านงานของแกแล้ววิพากษ์ คงต้องให้สานุศิษย์ที่เคยเป็นปลื้มแล้วมา “ตาสว่าง” ภายหลัง เป็นคนวิพากษ์จึงจะถึงกึ๋น

สรุปได้ว่าที่ผมเขียนถึงลัทธิประเวศเนี่ยแค่ผิวๆ เท่านั้น เหมือนอย่างข้อมูลโยงใยในคณะกรรมการปฏิรูปก็เหมือนกัน ผมยกหูถามเพื่อนพ้องน้องนุ่งในวงการ NGO แค่ 2-3 ราย ก็ได้รับรู้เรื่องราวที่ไม่เคยรู้มาก่อน โห เขาเป็นเครือข่ายกันขนาดนี้

นี่แค่ผิวๆ นะครับ แล้วยังผิดพลาดไปหน่อยด้วย ตรงคุณชัยวัฒน์ ถิระพันธ์ คนให้ข้อมูลคงจำผิด ที่จริงแกเป็นคนใต้ไม่ใช่คนเหนือ ก่อตั้งสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม (Civicnet Institute) ได้งบจาก สสส.มาจัดอบรม “ทฤษฎีกระบวนระบบ” หรือ System Thinking ของนักคิดเยอรมัน ประวัติที่เคยเล่าไว้ในสื่อคือไปเรียนเยอรมัน แต่ได้อ่านหนังสือสิทธารถะ และได้สนทนากับอาจารย์ปรีดี จึงทิ้งการศึกษาในมหาวิทยาลัยมาเลือกชีวิตที่มี “ความหมาย” หลังกลับเมืองไทยปี 2517 ก็มาทำงานจัดตั้งสหภาพแรงงาน

ที่มีคนเล่าลึกกว่านั้นคือแนวคิดแกค่อนไปทางมาร์กซิสม์ยุโรป แล้วก็เคยทำงานให้บุญชู โรจนเสถียร (ซ้ายเก่าเหมือนกัน) ถูกผิดลองไปถามแกดู

แต่ที่สำคัญคือ ปรากฏว่า Civicnet เนี่ยตั้งอยู่ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เก่า หัวถนนโบ๊เบ๊ ที่เดียวกับสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ของหมอพลเดช หรืออีกนัยหนึ่ง ศูนย์บัญชาการลับของลัทธิประเวศ (ฮา) นั่นเองแหละครับ

ยิ่งไปกว่านี้ อ.ชัยวัฒน์ยังเป็นรองประธานสมาคมองค์กรสาธารณะประโยชน์เพื่อสังคมไทยเข้มแข็ง ที่มีหมอพลเดชเป็นประธาน กรรมการคนหนึ่งคือภุชงค์ กนิษฐชาต ที่ออกมาเคลื่อนไหวในนามเครือข่ายพลเมืองชุมชนคนกรุงเทพฯ แต่ถูกจับได้ว่าใส่เสื้อเหลืองอ๋อย

นี่ถ้าทำข่าวสืบสวนแบบที่มติชนชอบตามสืบบริษัทผีฮั้วประมูล (ฮา) ก็ต้องไปแอบถ่ายภาพป้ายสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา คู่กับสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม อ้าว! อยู่ตึกเดียวกันนี่หว่า

เปล่า ผมไม่เถียงว่า อ.ชัยวัฒน์ไม่ใช่คนเก่งคนดีมีความสามารถ แต่อยากถามว่าแล้วแนวความคิดของสมัชชาปฏิรูป มันจะหลากหลายได้อย่างไรละครับ ในเมื่อพวกท่านมาจากข้องเดียวกัน

เพื่อนพ้องทางเหนือ เล่าให้ฟังว่าเขาไปสืบๆ ดูแล้วว่าสมัชชาปฏิรูปจะชักชวนเครือข่ายไหนเข้าร่วมบ้าง ไม่ผิดจากที่คิด ก็เครือข่าย NGO ในสาย สสส.พอช.ของลัทธิประเวศ ซึ่งชาวบ้านเสื้อแดงเขาคันไม้คันมืออยาก “ใต้ดิน” ให้หัวแบะหลายทีแล้ว แต่มีคนห้ามไว้ สาเหตุไม่ใช่เพราะสีเสื้อหรอก แต่เขาหมั่นไส้ที่พวกนี้ชอบไปอบรมชาวบ้านให้รู้จักพอเพียง โดยได้ทุนสนับสนุนมาจาก “ภาษีบาป” ที่ไหนได้ตกเย็นก็นั่งกินเหล้ากินลาบกันควันโขมง

อ้อ แต่อย่าไปกล่าวหาเลื่อนลอยแบบว่ากรรมการปฏิรูป กรรมการสมัชชา เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์นะครับ อย่างที่ใครเที่ยวไปกล่าวหา อ.ณรงค์ว่าถอยรถป้ายแดง เหลวไหล ผมไม่เชื่อ สิ่งที่เราต่อสู้คือแนวคิดและวิธีการ ซึ่งก็คือการบอกว่าที่พวกคุณเอาเงินภาษีจากควันบุหรี่ของผมมานั่งพูดๆๆๆๆ กัน หรืออ้างว่าไปสร้างเครือข่ายประชาสังคมน่ะ ส่วนใหญ่มันไร้สาระ และไม่สามารถวัดผลว่าทำอะไรได้แค่ไหน

นี่มีข้อมูลใหม่อีกแล้ว แหล่งข่าวกระซิบว่าคุณปรีดา คงแป้น กรรมการสมัชชา ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท ใช่แต่จะได้งบ สสส.ยังได้งบจากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิฯ ไปทำโครงการประเภท “สร้างเครือข่ายพลเมือง” ในภาคใต้อีก 9 ล้านกว่าบาท

ย้ำนะครับ ผมไม่มีอคติที่จะจ้องจับผิดว่าทุจริตหรือหาผลประโยชน์ แต่ผมข้องใจเรื่องความคุ้มค่าของโครงการพวกนี้ ที่มักเอาชาวบ้านมาอบรม เอาวิทยากรมาพูดๆๆ หรือเอาเงินลงไปอุดหนุนเพื่อหลอกชาวบ้านว่าสามารถอยู่ได้ “โดยไม่พึ่งทุนนิยม”

บอกแล้วว่าสมัยนี้ของบกันง่ายซะด้วย ถ้าคุณอยู่ในจังหวัด ในอำเภอ รวบรวมกัน 10-20 คนตั้งกลุ่มอนุรักษ์โน่นนี่ ก็ของบได้แล้ว น้องบางคนทำงานภาคประชาสังคม เจอกับตัวเอง กลับไปบ้านเกิด แล้วมาเล่าให้ผมฟังว่า เฮ้ยพี่ ผมเพิ่งรู้นะนี่ว่าที่บ้านผมมีกลุ่มอนุรักษ์ แม่-ไม่เห็นทำหง่าอะไรเลย! (ดีเท่าไหร่แล้วที่ไม่ตั้งโต๊ะสนุ้ก)

ฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ อยากเรียกร้องว่า องค์กรทั้งหลายที่รับทุนจาก สสส.พอช.หรือหน่วยงานใดของรัฐ ช่วยเปิดเผยขึ้นเว็บไซต์ได้ไหมว่าปีหนึ่งคุณได้เงินจากใครมาเท่าไหร่ ทำโครงการอะไรบ้าง ซ้ำซ้อนกันหรือเปล่า เช่นโครงการเดียวของบ 2 แหล่ง แล้วคุณใช้อะไรไปบ้าง จ่ายเบี้ยเลี้ยงจ่ายค่าเดินทางเอาชาวบ้านมาสัมมนา จ่ายเงินเดือนบุคลากร ค่าวิทยากร ค่าเบี้ยประชุม ค่าน้ำมันรถ ค่าเครื่องบิน ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ซ้ำซ้อนกันในผู้บริหารคนเดียวหรือเปล่า หรือบางคนอยู่หลายองค์กร รับค่าที่ปรึกษาค่าวิทยากรค่าเดินทางซ้ำซ้อนกันไปทั่วหรือเปล่า

โดยเฉพาะอย่างยิ่งนะครับ ท่านที่มาเป็นกรรมการปฏิรูปหรือกรรมการสมัชชา ช่วยบอกสาธารณชนหน่อยว่ามีความผูกพันทางการเงินอย่างไรกับ สสส.พอช.ซึ่งจะทำให้ขว้างงูไม่พ้นคอไม่มีทางมีความเห็นต่างกับลัทธิประเวศ

ในความสงบ

2 เดือนหลังปฏิบัติการ “กระชับพื้นที่” นอกจากข่าวฟุตบอลโลกและปลาหมึกพอล (เสียดายบอลโลกครั้งหน้ามันจะตายก่อน ต้องจับปลาหมอมาร์คเข้ากรงให้เลือกกินหอยแทน เลือกกล่องไหนทีมนั้นแพ้) ถามว่าเราเห็นอะไรบนหน้าสื่อ

วันก่อนผมเปิดเว็บผู้จัดการ อ่านสนธิพูดเรื่องปราสาทพระวิหาร แล้วดูท้ายข่าวว่าช่วงที่ผ่านมาสนธิพูดเรื่องอะไรบ้าง
..........................
คำต่อคำ "สนธิ" ยก "ไช่ฉิน" นักร้องเสียงสวรรค์ เทียบชั้น "เติ้ง ลี่จวิน"
คำต่อคำ "สนธิ"ย้ำฟ้องอัยการสั่งฟ้องคดีหมิ่นเบื้องสูง-จี้ล้มเอ็มโอยูเขมรยุค"ชวน-แม้ว" ป้อง 1.5 ล้านไร่
คำต่อคำ “สนธิ”เผยเกร็ดชีวิต “เติ้งลี่จวิน”-เตือนระวังภัยน้ำมันพืช
คำต่อคำ “สนธิ”ย้ำภัยไมโครเวฟ-จี้ “มาร์ค”หยุดรับโทรศัพท์ เร่งทวงคืนแผ่นดินเขมร
คำต่อคำ “สนธิ” เปรียบ 3 พี่น้องตระกูลซ่งกับ “เจ๊ดา-วิระยา-พจมาน” – เตือนภัยไมโครเวฟ-น้ำอัดลม
...........................

ผมอดหัวร่อไม่ได้ นอกจากปกป้องตัวเอง ปลุกคลั่งชาติ ตอนนี้ศาสดาพันธมิตรต้องลงไปรบกับเตาไมโครเวฟ น้ำอัดลม และน้ำมันพืชแล้ว

อ้อ ศาสดาพันธมิตรยังเป็นผู้สันทัดเพลงจีนด้วย นี่ถ้าสนธิชอบดูบอล ตอนบอลโลก รายการเมืองไทยรายสัปดาห์คงวิเคราะห์บอลกันสนุก

ไม่ได้ว่าอะไร เพราะเป็นสิทธิของคุณสนธิที่จะพูดเรื่องอะไรก็ได้ แต่ผมยกมาเป็นตัวอย่างการทำหน้าที่ของสื่อกระแสหลัก ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ว่าสื่อทำหน้าที่ตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล “ลัทธิมาร์ค-เนวิน” (คำของผู้จัดการเองนั่นแหละ) น้อยไปจนถึงน้อยมาก

เลยต้องตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์น้ำอัดลม น้ำมันพืช กะเตาไมโครเวฟแทน หวังว่าคงบรรจุไว้ในนโยบายพรรคการเมืองใหม่ตอนหาเสียง สก.เพื่อไม่ต้องวิจารณ์ประชาธิปัตย์

การทำหน้าที่ของสื่อในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แยกแยะได้คร่าวๆ 3 ส่วน คือ พวกหนึ่งก็อุทิศวิญญาณหนังสือพิมพ์ให้กับการไล่ล่า “โจรแดง” มีธาริต เพ็งดิษฐ์ เป็นพระเอกรายวัน มี พรก.ฉุกเฉินเป็นอุดมการณ์สูงสุด

พวกที่สองคือพวกที่ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีคนตาย 90 ศพ ชวนชาวบ้านดูหนังดูละคร เล่นหุ้น ลงทุน ส่งเสริมการท่องเที่ยว และช็อปช่วยชาติ

พวกที่สามที่ยังมีเหลืออยู่น้อยนิดก็เช่นมติชน ที่ยังพยายามติดตามตรวจสอบ อย่างเช่นฝูงบินกริพเพน ยุค รศ.112 ซึ่งเอาหัวแม่เท้าตรองดูก็รู้ว่าซื้อถูกหรือแพงเกินจริง

สถานการณ์นี้ต่างจากปีที่แล้ว หลังสงกรานต์ปราบม็อบเสื้อแดง ชะรอยสื่อคงได้สำนึกว่าการตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลเช่น โครงการรถเมล์ 4,000 คัน นอกจากจะสาวไส้ให้กากิน เป็นประโยชน์กับทักษิณและ “โจรแดง” แล้ว ยังทำให้หน้าแหกอีกต่างหาก เพราะที่ลั่นปากไว้ว่าถ้ารัฐบาลอนุมัติโครงการนี้ก็จะอยู่ไม่รอด ที่ไหนได้ สื่อกลับต้องมาอุ้มรัฐบาลเสียเอง

ใครพูดไว้พ่อแม่พี่น้องคงจำได้ ฮิฮิ แล้วตอนนี้เขาครบวงจรกันตั้งแต่รถไฟฟ้าลงมาถึงถนนไร้ฝุ่น ไม่เห็นสื่อมีปากสักแอะ โฉนดเขาแพง ประมูลสร้างโรงพัก ฯลฯ อะไรที่พรรคเพื่อไทยยกมาตรวจสอบรัฐบาล นอกจากสื่อไม่ตามแล้วยังช่วยแก้ต่างอีกต่างหาก

พาดหัวข่าวมีอยู่แค่เนียะ อ้อ-อ้าย หรั่ง หรือไม่ก็อมน้ำลายเทพไทมาละเลงในหน้าหนังสือพิมพ์ตัวเอง ฝึกอาวุธ 3 จุด วินาศกรรม 68 จุด ฯลฯ

สื่อมีหน้าที่ตรวจสอบผู้มีอำนาจ ผู้ใช้อำนาจ แต่ตอนนี้สื่อกลับมาตรวจสอบ-ไม่ใช่สิ ใช้คำนี้ไม่ได้ด้วยซ้ำ ต้องบอกว่าจองล้างฝ่ายที่จะโค่นอำนาจ เพราะตัวเองมีส่วนร่วมในอำนาจนั้น

อภิสิทธิ์ถึงได้เดินสายไปพบสื่อ เวียนไหว้ทุกสำนัก แต่ไม่เคยเดินสายพบประชาชน เพราะสื่อสำคัญกว่าประชาชน

สังเวชก็แต่มวลชนพันธมิตรประเภทที่ถูกปลุกให้เชื่อว่าไล่ทักษิณแล้วบ้านเมืองจะใสสะอาด ปราศจากคอรัปชั่น ไหนว่าเป็นพลังของคนชั้นกลางที่จะมาล้างคอรัปชั่น

ไมโครเวฟจงพินาศ! (น้ำอัดลมออกไป)

สิทธิมนุษยชนมีให้ “โจรใต้”

เหตุการณ์พฤษภาอำมหิต นอกจากมีคนตาย 90 คน มากที่สุด มากกว่าทุกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทย 2 เดือนที่ผ่านมานี้ ยังมีการกวาดจับประชาชนไปจับกุมคุมขัง 400 กว่าคน มากที่สุดนับแต่รัฐบาลหอยใช้ข้อหาภัยสังคมกวาดจับหลัง 6 ตุลา

มิหนำซ้ำยังมีการควบคุมตัวบุคคลไปกักขัง ละเมิดสิทธิเสรีภาพโดยไม่ต้องตั้งข้อกล่าวหา ตั้งแต่อาจารย์ยิ้ม, สมยศ พฤกษาเกษมสุข มาจน บก.ลายจุด

นี่คือการละเมิดสิทธมนุษยชนที่ร้ายแรงที่สุดนับแต่หลัง 6 ตุลา ถ้าไม่นับเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดภาคใต้

แต่ถามว่าสื่อและนักสิทธิมนุษยชนทำอะไรบ้าง เปล่าเลยครับ แล้วก็ไม่ได้อยู่เฉยๆ แต่กลับยุยงเหยียบย่ำซ้ำเติม

ผมเองก็ไม่ได้เป็นปลื้มชื่นชมบทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ซึ่งผมเห็นว่าไม่ได้ทำหน้าที่สมกับเป็นกรรมการสิทธิฯ ในช่วงพฤษภาอำมหิต และช่วงที่มีการกวาดจับคนเสื้อแดงใหม่ๆ

แต่อย่างน้อย การที่หมอนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กล้าออกมาคัดค้านการต่ออายุ พรก.ฉุกเฉิน และส่งเจ้าหน้าที่ไปเยี่ยมคนเสื้อแดงในเรือนจำทั่วประเทศ ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็ต้องปรบมือชมว่า หมอนิรันดร์ตื่นขึ้นมาทำหน้าที่ที่สมควรจะทำแล้ว แม้จะยังทำไม่เต็มที่ และควรทำมากกว่านี้

โดยส่วนตัวผมยังเห็นว่าจุดยืนของหมอนิรันดร์ยังกึ๊กๆกั๊กๆ แต่อย่างน้อยแกก็ตระหนักว่าต้อง “ทำหน้าที่” แม้สวนทางกับทัศนะ (ที่รู้กันว่าออกไปทางเหลืองอื๋อ) แต่หน้าที่ต้องเป็นหน้าที่ สิทธิมนุษยชนไม่สามารถเลือกข้าง เราจึงต้องยกย่องหมอนิรันดร์ในขณะที่นักสิทธิมนุษยชนผู้มีชื่อเสียงทั้งหลายเงียบเป็นเป่าสาก

แต่ผลปรากฏว่าการทำหน้าที่ของหมอนิรันดร์ กลับถูกคอลัมนิสต์ใหญ่โจมตีว่าเป็น “อีแร้ง” เกาะศพ พร้อมกับตั้งข้อหา “เอาใจโจร” ทำไมไม่พิทักษ์สิทธิ์ของคนกรุงเทพฯ หลายล้านคนบ้าง

ให้ตายเถอะ คำพูดทำนองนี้ผมเคยได้ยินที่ไหน จากปากใครที่หน้าเหลี่ยมๆ เมื่อ 5-6 ปีก่อน ทำไมนักสิทธิมนุษยชนต้องเอาใจโจร ทำไมไม่พิทักษ์สิทธิของคนบริสุทธิ์ที่โดนโจรทำร้ายบ้าง

ทำไมเราต้องคัดค้านการออก พรก.ฉุกเฉินในยุคทักษิณ เพราะมันละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือเพราะมันเป็นของทักษิณ ทำไมเราประณามกรณีกรือเซะ ตากใบ แต่เอาหูไปนาเอาตาไปไร่กับพฤษภาอำมหิต อ้าว ก็นั่นมัน “โจร” ชัดๆ เด็กนักฟุตบอลทั้งทีมที่สะบ้าย้อยควงมีดสปาต้าบุกโรงพัก ถ้าคิดแบบนี้คุณก็ต้องปรบมือชมเชยพัลลภ ปิ่นมณี กับตำรวจ ที่กวาดซะให้เรียบ

สิทธิมนุษยชนไม่ใช่เรื่องของการเลือกข้าง ผมเนี่ยไม่เคยชอบพวกมุสลิมเล้ย เพราะไม่ชอบพวกที่บังคับให้ผู้หญิงใส่ผ้าคลุมหน้า ไม่ชอบพวก fundamental ที่ตีความศาสนาแบบตายด้านจนละเมิดสิทธิเสรีภาพ (ไม่เหมือนพวกแกนนำพันธมิตรที่พากันไปดูงานตะวันออกกลาง) แต่การฆ่าคนไม่มีอาวุธ ฆ่าเด็กนักฟุตบอลที่มีแค่มีด โดยบ้างก็มีข้อสงสัยว่าถูกจ่อยิง (ถาวร เสนเนียม นั่นแหละสงสัย) หรือการใช้ พรก.ฉุกเฉินบุกเข้าไปตรวจค้นหมู่บ้าน สงสัยใครไม่มีหลักฐานก็เอาเขาไปกักตัวไว้ก่อน ครบกำหนด พรก.ฉุกเฉินก็ใช้กฎอัยการศึกต่อ มันคือการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของเขา ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยกับเขาหรือไม่ก็ตาม

ไม่ว่าเขาจะคิดอย่างไร คิดถูกคิดผิด เขาก็มีสิทธิที่ต้องได้รับความคุ้มครอง การดำเนินคดีต้องมีหลักฐานเพียงพอ ตราบใดที่ศาลยังไม่พิพากษาก็ต้องถือว่าเขายังเป็นผู้บริสุทธิ์ รัฐธรรมนูญมาตรา 40(7) บัญญัติว่า ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว

การที่กรรมการสิทธิเข้าไปตรวจสอบคนเสื้อแดง 400 กว่าคนที่ถูกจับกุมคุมขัง จึงเป็นการทำหน้าที่ตรวจสอบตามมาตรา 40(7) เพราะไม่ใช่ว่าคน 400 กว่าคนนี้ถูกตัดสินว่าผิดแล้ว กรรมการสิทธิต้องตรวจสอบว่าการใช้อำนาจภายใต้ พรก.ฉุกเฉินของตำรวจทหาร มีการจับกุมโดยมีพยานหลักฐานเพียงพอหรือเปล่า เหวี่ยงแหหรือเปล่า มีจุดประสงค์ทางการเมืองหรือเปล่า เลือกปฏิบัติหรือเปล่า

เหมือนอย่างที่ครูหยุยออกมาโวยว่ามีการจับกุมคุมขังเยาวชนจำนวนมาก ทั้งที่ก่อนกระชับพื้นที่ ไปป่าวประกาศให้เอาเด็กออกมาจะพาเด็กกลับบ้าน แต่เสร็จแล้วกลับจับเด็กไปขัง (ต้องชมครูหยุยด้วยว่าที่ผ่านมาแม้เอียงกะเท่เร่แต่กล้าพูดเรื่องนี้)

คนเสื้อแดงที่ถูกจับ 400 กว่าคนทั่วประเทศ เป็นคน “เผาบ้านเผาเมือง” จริงหรือเปล่า มีพยานหลักฐานชัดเจนหรือเปล่า ไม่เคยมีใครตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะสภาทนายความก็ทิ้งการทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ ถ้าไอ้ประชาชนคนนั้นมันใส่เสื้อแดง

คนเสื้อแดงจำนวนไม่น้อยที่ถูกจับเป็นคนยากคนจน ที่ผมได้ยินได้ฟังมาก็เช่นถูกออกหมายจับทั้งผัวเมีย ผัวหนี เมียติดคุก ทิ้งลูกเล็กๆ 3 คนไว้กับยาย

แต่ไม่เป็นไร โห ก็ทักษิณกับเครือข่ายใช้เงินหมุนเวียนตั้ง 6 หมื่นล้าน ไอ้พวกที่มาม็อบอย่างน้อยมันก็คงได้ไปคนละล้าน ปล่อยให้มันติดคุกซะให้สม... อย่างนั้นใช่ไหม

นี่คือประเด็นเดียวกันที่สภาทนาย สมาคมนักข่าว องค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ แห่ลงไปปกป้องสิทธิของ “โจรใต้” เรียกร้องให้มีการ “สมานฉันท์” “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” แต่ถ้าเปลี่ยนหน้ามาเป็นเสื้อแดง กลับกลายเป็นฆ่ามันๆๆ เอามันให้หนัก ปราบมันให้เหี้ยน

โทษที คุณนึกถึงสิทธิของคนบริสุทธิ์ที่โดน “โจรใต้” มันฆ่ามันยิงบ้างหรือเปล่า ผมย้อนถามอย่างนี้เพราะผมคิดว่าถ้าสื่อและนักสิทธิมนุษยชนเหล่านี้ เกิดเป็นคนไทยพุทธในยะลา ปัตตานี นราธิวาส ก็คงไม่ออกมาเรียกร้องให้ “สมานฉันท์” มีแต่จะเรียกร้องให้ “ฆ่ามันๆๆๆ”

ผงไม่เข้าตาตัวเอง เข้าตาแล้วถึงรู้ว่าตัวเองไม่ได้แยแสสิทธิมนุษยชนอะไรนั่นซักเท่าไหร่หรอก

สิทธิมนุษยชนจึงมีให้แต่ “โจรใต้” แต่ไม่มีให้ “โจรทักษิณ” หรือ “โจรแดง” ตลกร้ายน่าสังเวชคือเรามีนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนมากมาย เรียกร้องให้เอาผิดทักษิณกรณีฆ่าตัดตอนยาเสพย์ติด แต่เมินเฉยการกระชับพื้นที่ ที่มีสไนเปอร์ส่องหัวคนเสื้อแดง

เรามีนักสิทธิมนุษยชนมากมาย ที่เรียกร้องให้พม่าปล่อยตัวอองซานซูจี โจมตีเผด็จการทหารพม่าว่าเล่นเล่ห์ลวงโลก ลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแล้วสกัดกั้นฝ่ายค้านลงเลือกตั้ง ขณะที่ตัวเองไปลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญของ คมช.และปกป้องจะเป็นจะตาย

เรามีนักสิทธิมนุษยชนมากมาย ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิของคนชายขอบ อย่างเช่นบรรเจิด สิงคะเนติ ที่ต่อสู้เพื่อคืนสัญชาติไทยให้คนไทยพลัดถิ่น ชาวไทยภูเขา (ยกเว้นแม้ว-ฮิฮิ) แต่พวกเสื้อแดงบางคนบอกว่า อยากฝากบัตรประชาชนไทยคืนให้บรรเจิด มึงจะเอาไปให้ม้งเย้าอีก้อหรือคุณพ่อผีตองเหลืองที่ไหนก็ตามใจ

นี่เพิ่งได้ข่าวว่าบรรเจิด, กิตติศักดิ์ ปรกติ เพิ่งเข้าไปเป็นอนุกรรมการสิทธิร่วมกับวีระ สมความคิด, สมชาย หอมลออ, บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ ขอให้จำเริญๆ

องค์กรสิทธิมนุษยชนที่แสนจะเฟื่องฟูในบ้านเรา (ได้เงินสนับสนุนอู้ฟู่) จึงทำหน้าที่สำคัญสองประการ คือหนึ่ง สอดส่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน 3 จังหวัดภาคใต้ แล้วรายงานข้ามโลกไปให้ฝรั่ง กับสอง สอดส่องการละเมิดสิทธิประชาธิปไตยของเผด็จการทหารพม่า แล้วรายงานข้ามโลกไปให้ฝรั่ง ส่วนการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือประชาธิปไตยไทยกูไม่เกี่ยว แถมกูยังหนับหนุนด้วย

สิทธิกับสื่อเกี่ยวข้องกันไหม เกี่ยวสิครับ ในทัศนะผม หน้าที่สำคัญข้อแรกของสื่อไม่ใช่การชี้ถูกชี้ผิด ปลุกระดมชาวบ้าน และยังไม่ใช่การตรวจสอบคอรัปชั่นหรือความไม่ชอบมาพากลด้วยซ้ำ นั่นอาจเป็นข้อสองข้อสาม แต่ข้อแรกที่สำคัญที่สุด-เหมือนรัฐธรรมนูญบทที่หนึ่งของสหรัฐอเมริกา คือการปกป้องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของเสียงข้างน้อย

เพราะหลักการสำคัญที่สุดของประชาธิปไตยคู่กับการยอมรับเสียงข้างมาก ก็คือคุ้มครองเสียงข้างน้อย ให้มีเสรีภาพในการแสดงความเห็น เพื่อกลับมาเป็นเสียงข้างมากถ้าเหตุผลดีพอ นี่คือบทบาทหน้าที่โดยตรงของสื่อและนักสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่การปกปักคุณธรรมจริยธรรมความถูกต้องดีงามในทัศนะของคุณ เพราะคุณไม่ใข่ศาสดา

สื่อและนักสิทธิมนุษยชนเคยต่อสู้กับการแทรกแซงของทักษิณ เมื่อครั้งที่ตัวเองเป็นเสียงข้างน้อย แต่พอตัวเองพลอยพยักกับเสียงข้างมาก ก็กลับกลายเป็นอิเหนา เน่าไปหมดทั้งยวง

อันที่จริง สื่อและนักสิทธิมนุษยชนน่ะตายมานานแล้วครับ แต่ 2 เดือนที่ผ่านมา คือการส่งกลิ่นเน่าเพราะว่ายังไม่ได้เข้าพิธีฌาปนกิจเท่านั้นเอง

      ใบตองแห้ง
      21 ก.ค.53

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น