โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

มาร์คโผล่ช่วย "พนิช" หาเสียง ระบุกระแสตอบรับดี

Posted: 17 Jul 2010 01:08 PM PDT

<!--break-->

กาบัตรล่วงหน้าฉลุย ไร้คนร้องเรียน ให้พท.นอนเฝ้าหีบ
ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า เมื่อวันที่ 17 ก.ค. นายมนัส ปสาทรัตน์ ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง (กกต.) ประจำเขตเลือกตั้งที่ 6 กทม. เปิดเผยกับ "ไทยรัฐออนไลน์" ถึงการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม.เขต 6 ล่วงหน้าวันแรก ว่า เป็นไปด้วยความเรียบร้อยไม่มีอะไรเป็นอุปสรรคต่อการเลือกตั้ง และผู้มาใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง ไม่มีเหตุการณ์หรือข้อร้องเรียนใดๆ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วแต่ละเขตเลือกตั้งคนเดินทางมาใช้สิทธิ์ล่วงหน้าประมาณ 1,000-2,000 คน

"วันนี้ถือว่าประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ให้คนมาเลือกตั้ง คนมาใช้สิทธิค่อนข้างมาก มีแนวโน้มที่ดีในวันที่ 25 ก.ค. ดูแล้วการเลือกตั้งถือว่าเป็นปกติจะมีประชาชนเดินทางมาเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 70% ตามที่ตั้งเป้าไว้" ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำเขตเลือกตั้งที่ 6 กล่าว

อย่างไรก็ตาม กกต.ได้มีการระมัดระวังดูแลความปลอดภัย การเก็บรักษาหีบบัตร ให้เจ้าหน้าที่อยู่เวรอย่างเข้มงวดไม่ละเว้น ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาร้รองเรียนได้ ส่วนเรื่องที่ทางฝ่ายผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยแจ้งมาว่าจะมีการนอนเฝ้าหีบบัตรเลือกตั้งและมีการถ่ายทอดซีซีทีวีนั้น ทาง กกต.ก็ไม่ขัดข้อง เนื่องจากทำไปตามหน้าที่ ยืนยันความโปร่งใส จะส่งใครมาอย่างไรก็ยินดี เพื่อแสดงความบริสุทธิ์เรื่องการดูแลการเลือกตั้ง

"อภิสิทธิ์"โผล่เซอร์ไพร์ส ช่วย"พนิช"หาเสียงแฟชั่นไอส์แลนด์
ทีม"ก่อแก้ว" เลี่ยงแจกใบปลิวแค่หน้าประตูห้าง

ด้านมติชนออนไลน์รายงานว่า เมื่อเวลา 13.00 น. ขณะที่นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีพร้อม ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) จำนวนหนึ่ง ช่วยนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ผู้สมัครเลือกตั้งซ่อมส.ส.กทม.เขต 6 หมายเลข 1 หาเสียงที่ห้างสรรพสินค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ จู่ๆก็มีขบวนรถสีดำวิ่งเข้ามาเทียบ ก่อนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าปชป. จะเดินลงมาในชุดเสื้อเชิ้ตสีฟ้า ก่อนเดินมาชูมือนายพนิช นายองอาจ และนายสมัย เจริญช่าง ส.ส.กทม. ปชป.ให้สื่อมวลชนได้ถ่ายภาพด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม โดยนายองอาจแอบกระซิบกับนักข่าวว่า "กำหนดการนี้ พี่รู้คนเดียว"

จากนั้นนายอภิสิทธิ์พร้อมคณะก็เดินเข้าไปในห้างเพื่อช่วยหาเสียงให้กับนายพนิช โดยนายอภิสิทธิ์ได้เดินเข้าไปในร้านต่างๆ ก่อนขึ้นบันไดเลื่อนไปหาเสียงที่ชั้นสองที่เป็นแผนกเสื้อผ้าและรองเท้ากีฬา จากนั้นเดินไปที่แผนกเครื่องเสียง ก่อนเดินทางกลับ ท่ามกลางประชาชนที่นิยมชมชอบเข้ามาขอถ่ายรูปคู่ ทั้งนี้โดยนายอภิสิทธิ์ใช้เวลาหาเสียงให้นายพนิช ท่ามกลางวงล้อมของบอดี้การ์ดอยู่ประมาณ 45 นาที

แม่พาลูกทิ้งไก่ทอดแอบเดินหนีบอกยิ่งเกลียดยิ่งเจอ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อย่างไรก็ตาม มีแม่ลูกคู่หนึ่งนั่งกินไก่ทอดอยู่ในร้านเคเอฟซี เมื่อนายอภิสิทธิ์เดินเข้ามาภายในร้าน แม่ก็พยายามจูงลูกสาวเดินออกจากร้าน โดยลูกสาวพยายามยื้อเอาไว้ เพราะยังกินไก่ทอดไม่หมด แต่แม่ก็บอกว่า "แม่ไม่ชอบคนๆนี้ ยิ่งเกลียดยิ่งเจอ"

นอกจากนี้ เวลาประมาณ 14.00 น. ระหว่างที่นายอภิสิทธิ์และคณะกำลังเดินหาเสียงอยู่ภายในห้าง เวลาประมาณ 14.00 น. ทีมหาเสียงให้กับนายก่อแก้ว พิกุลทอง ผู้สมัครเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม.หมายเลข 4 จากพรรคเพื่อไทย (พท.) ซึ่งไม่มีแกนนำพท.นำมา ก็เดินเข้ามาหาเสียงภายในห้างพอดี แต่เมื่อเห็นคณะใหญ่โตของนายอภิสิทธิ์ จึงทำได้เพียงยืนแจกแผ่นพับอยู่ที่หน้าประตู โดยมีประชาชนเข้ามารับแผ่นพับอยู่บ้างประปราย

นายกฯเผยกระแสตอบรับดี 
นายอภิสิทธิ์ กล่าวภายหลังการลงพื้นที่ช่วยนายพนิชหาเสียงว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าคะแนนความนิยมของนายพนิชเป็นอย่างไร แต่จากการพบปะประชาชนก็ให้การตอบรับดี ทั้งนี้อยากจะเชิญชวนประชาชนให้ออกมาใช้สิทธิกันให้มากๆ ใครที่ไปใช้สิทธิในวันเลือกตั้งจริงไม่ได้ เนื่องจากเป็นช่วงวัดหยุดยาว ก็สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีกำหนดขึ้นเวทีปราศรัยใหญ่ของปชป. หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ยังไม่ทราบรายละเอียด ตนทำหน้าที่ตามคำสั่งของผู้อำนวยการเลือกตั้ง

"หมอท็อป"ชี้นายกฯ ลงพื้นที่ช่วย"พนิช"หาเสียง ส่งสัญญาณการเมืองเริ่มปกติ
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ส.ส.สัดส่วน โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงเมื่อวันที่ 17 ก.ค. ว่า ในช่วงเช้าที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ลงพื้นที่ช่วยนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อมเขต 6 กทม. หาเสียง ปรากฏว่า ประชาชนตอบรับเป็นอย่างดี จึงเป็นสัญญาณดีของการเมืองไทยเข้าสู่สภาวะปกติ ดังนั้นการเลือกตั้งใหญ่ในปลายปีหน้าน่าจะเรียบร้อย

ส่วนเมื่อการเมืองไทยเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ จะยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินในทุกพื้นที่หรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะพิจารณาตามข้อเท็จจริงในระดับพื้นที่ ซึ่งนายกฯ ให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) เสนอต่อครม.ทุกครั้ง บางพื้นที่จึงอาจมีการลดระดับมาใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงก่อนจะเข้าสู่ภาวะปกติ
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แบนโฆษณา "ขอโทษประเทศไทย" เหตุประเด็นเข้มข้นเกิน-เสี่ยงถูกฟ้อง

Posted: 17 Jul 2010 12:25 PM PDT

หนังโฆษณา "ขอโทษประเทศไทย" ของเครือข่ายพลังบวกไม่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการเซ็นเซอร์ ทำให้ไม่ได้เผยแพร่ทางฟรีทีวี

<!--break-->

สมาชิกคนหนึ่งในกลุ่มเครือข่ายพลังบวก ซึ่งใช้ชื่อ 'นักเรียนละคร' โพสต์กระทู้หัวข้อ "โดนแบน!! หนังโฆษณา "ขอโทษประเทศไทย" โดยเครือข่ายพลังบวก" ในห้องเฉลิมไทย เว็บไซต์พันทิป เมื่อวันที่ 15 ก.ค. เวลา 22.32 น. โดยระบุว่า เครือข่ายพลังบวก ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของนักโฆษณาและกลุ่มโซเชียลมีเดีย เพื่อนพ้องน้องพี่จากแวดวงอินเทอร์เน็ต ซึ่งร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาการทะเลาะของคนในชาติ โดยอาศัยหลัก "ทำความเข้าใจ" กับทุกกลุ่มคนในชาติ จนเกิดแนวความคิดในการดำเนินงานว่า "ต่อไปนี้ ถ้าเธอพูด ฉันจะฟัง.. " ได้สร้างหนังโฆษณาขึ้นชิ้นหนึ่ง โดยหวังว่าจะเป็นแรงกำลังขับเคลื่อนให้ทุกคนได้สู้ต่อไป โดยมีกำหนดการฉายในโทรทัศน์ช่องต่างๆ ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าของรายการต่างๆ เป็นอย่างดีในการจะนำภาพยนตร์โฆษณาปลุกพลังบวกชิ้นนี้ออกอากาศในเวลาที่เหมาะสม เพื่อไปสู่สายตาคนไทยทั้งประเทศ

"ล่าสุึด! กับการประชุมในวันนี้ที่ทำผมแทบช็อค.. "ภาพยนตร์โฆษณาชุด "ขอโทษประเทศไทย" ชุดนี้ ไม่ผ่านการพิจารณาจากคณะเซ็นเซอร์ชิป" ห้ามนำแพร่ภาพทางฟรีทีวี เนื่องด้วยเป็นประเด็นที่เข้มข้นเกินไป เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง (ความเห็นจากคณะกรรมการ)" 'นักเรียนละคร' ระบุ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังกระแสถูกแบน ทำให้หนังโฆษณาเรื่องนี้ได้รับการพูดถึงและส่งต่อจำนวนมากในโลกอินเทอร์เน็ต รวมถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินของคณะกรรมการเซ็นเซอร์ด้วย 

หนังโฆษณา "ขอโทษประเทศไทย" ที่โดนแบน

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"อภิสิทธิ์" ยันไม่ได้แกล้งคนสนิทเสธ.แดง เชื่อดำเนินการโปร่งใสทุกขั้นตอน

Posted: 17 Jul 2010 11:52 AM PDT

นายกรัฐมนตรีตอบคำถามกรณีหลายฝ่ายสงสัยว่า การจับกุมตัวสุรชัย เทวรัตน์ หรือ หรั่ง ลูกน้องคนสนิท เสธ.แดง อาจเป็นการจับผิดตัว รวมถึงมีข้อสังเกตว่า เหตุใดสุรชัยจึงพัวพันถึง 8 คดี โดยนายกฯ ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้กลั่นแกล้ง และดำเนินการทุกขั้นตอนด้วยความโปร่งใส

<!--break-->

 

มติชนออนไลน์ รายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวเมื่อวันที่ 17 ก.ค. ถึงกรณีหลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่า การจับกุมตัว นายสุรชัย เทวรัตน์ หรือ หรั่ง ลูกน้องคนสนิทของพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก อาจจะเป็นการจับผิดตัวหรือจับแพะ ว่า ต้องปล่อยให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการ ในการสอบสวนและตรวจสอบรายละเอียด โดยยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ไม่มีเหตุผลที่จะกลั่นแกล้ง เพราะการดำเนินการทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน โปร่งใส และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย แต่ขณะนี้คงต้องปล่อยให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการสอบสวนก่อน เพราะระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นก็มีบุคคลหลายฝ่ายเข้าไปเกี่ยวข้อง

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดนายสุรชัยถึงเข้าไปพัวพันถึง 8 คดีตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวหา นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เข้าใจว่าคงยังไม่ได้สรุปทั้งหมด เอาเป็นว่าขณะนี้ต้องให้เจ้าหน้าที่ทำงานไป และยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ไม่มีความตั้งใจจะไปกลั่นแกล้งใคร ก็ต้องพยายามทำหน้าที่อย่างดีที่สุด ส่วนที่มีการซัดทอดไปถึงพล.ต. ขัตติยะนั้น ยังไม่ทราบรายละเอียด ต้องให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงาน และคงจะมีการสรุปผลออกมา

"หรั่ง" มือขวาเสธ.แดงขอเวลาไตร่ตรอง ก่อนเล่ารายละเอียด
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กล่าวเมื่อวันที่ 17 ก.ค. ถึงความคืบหน้าการสอบปากคำนายสุรชัย ว่า ภายหลังศาลอาญาอนุญาตให้ฝากขังนายสุรชัย ซึ่งตนได้สั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการให้เสร็จสิ้นเพื่อรายงานผลการสอบสวนมายังสำนักงานอธิบดีดีเอสไอในวันที่ 19 ก.ค.นี้

"เท่าที่ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับนายหรั่ง เขาบอกว่าขอเวลานอนไตร่ตรองอีก 1-2 วัน แล้วจะเล่ารายละเอียดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้ฟัง แม้ตอนนี้ผู้ต้องหาจะยังไม่รับสารภาพ แต่ท่าทีของนายหรั่งสงบลงมาก เนื่องจากพยานหลักฐานจากการสืบสวนสอบสวนชัดเจน" นายธาริต กล่าว

--------------

คนสนิท เสธ.แดง พัวพัน 8 คดีหลัก

อนึ่ง วานนี้ (16 ก.ค.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ พร้อมด้วย พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวนันท์ รองอธิบดีดีเอสไอ พ.ต.ท.ถวัลย์ มั่งคั่ง พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ แถลงข่าวถึงความคืบหน้าการสอบปากคำ นายสุรชัย เทวรัตน์ หรือหรั่ง ผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย และลูกน้อง พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล

โดยนายธาริต เปิดเผยว่า เบื้องหลังการเข้าจับกุมตัวนายสุรชัย ดีเอสไอได้ร่วมกับหน่วยอรินทราชของตำรวจ และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการสะกดรอยจนสามารถจับภาพใหญ่ให้ชัดเจนขึ้นกระทั่งรู้ที่พักและเลขที่ห้องพักของผู้ต้องหา อย่างไรก็ตาม ผลการสอบปากผู้ต้องหารับว่าเป็นลูกน้องคนสนิทของเสธ.แดง และเคยเดินทางไปประเทศจีน ซึ่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วพบว่ามีการเดินทางออกไปนอกประเทศจริงในวันที่ 8 มี.ค.2552 โดยมีภาพถ่ายวงจรปิดยืนยันที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ

นายธาริต กล่าวอีกว่า จากการสอบปากคำเบื้องต้น ผู้ต้องหายังให้การรับสารภาพว่าเป็นผู้ยิงปืนใส่โรงแรมดุสิตธานี ด้วยปืนทราโวล เนื่องจากโกรธแค้นที่เสธ.แดงถูกลอบยิง และเชื่อว่าผู้ยิงซุ่มอยู่ที่โรงแรมดุสิตธานี

นอกจากนี้ นายสุรชัยยังเกี่ยวข้องอีก 8 คดีหลัก
1. คดียิงเอ็ม 79 เข้าไปที่ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 28 มี.ค. มีทหารบาดเจ็บ 4 นาย
2. การปะทะที่สี่แยกคอกวัว เมื่อวันที่ 10 เม.ย. มีผู้เสียชีวิต 24 ราย เป็นทหาร 5 ราย ประกอบด้วย พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม รองเสนาธิการกองพลที่ 2 รักษาพระองค์ ,พลทหารสิงหา อ่อนทรง ,ส.อ.อนุพันธ์ หอมมาลี , ส.ท.อนุพงษ์ เมืองอำพัน , ส.ท.ภูริวัฒน์ ประพัฒน์
3. คดียิงอาร์พีจีใส่คลังน้ำมัน 22 ล้านลิตที่จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 21 เม.ย.
4. ยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่รถไฟฟ้าบีทีเอสที่แยกศาลาแดง และสีลม เมื่อวันที่ 22 เม.ย. ทำให้มีผู้เสียชิวิต 1 ราย
5. คดียิงอาร์พีจีใส่โรงแรมดุสิตธานี เมื่อวันที่ 17 พ.ค.
6. ดคียิงเอ็ม 79 ใส่สน.ลุมพินี เมื่อวันที่ 19 พ.ค.
7. คดียิงเอ็ม 16 ใส่ตำรวจที่ตั้งด่านหน้าธนาคารกรุงไทยแยกศาลาแดง เมื่อวันที่ 7 พ.ค. มีตำรวจเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 2 ราย และ
8. คดียิงเอ็ม79 ใส่ด่านตรวจตรงข้ามอาคารอื้อจื่อเหลียง จำนวน 3 ลูก เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 4 ราย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 8 พ.ค.

นายธาริต กล่าวอีกว่า ภายหลังเหตุการณ์ชุมนุมสงบลงนายสุรชัยได้กลายเป็นขบวนการใต้ดิน โดยเจ้าหน้าที่ดีเอสไอร่วมกับทหารเรือได้ติดต่อล่อซื้ออาวุธปืนจากกลุ่มดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2553 โดยพ.ต.อ.ณรัชต์ ได้เข้าพบกับผู้บังคับการหน่วยนาวิกโยธิน เพื่อจัดชุดล่อซื้ออาวุธสงครามทานายสุรชัย ขนย้ายมาจากการชุมนุม โดยคดีดังกล่าวดีเอสไอใช้สายลับล่อซื้อโดยใช้เงิน 60,000 บาท ซื้อปืนอาก้า 2 กระบอก เครื่องยิงเอ็ม 79 จำนวน 2 กระบอก และระเบิดชนิดขว้าง 25 ลูกและอาวุธร้ายแรงอีกจำนวนหนึ่ง โดยขณะนี้ดีเอสไอกำลังเร่งขยายผลถึงขบวนการค้าอาวุธของนายสุรชัย ซึ่งแนวทางการสืบสวนพบว่ามีการซื้ออาวุธมาจากขบวนการค้าอาวุธในต่างประเทศนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ และตรวจสอบว่าเป็นอาวุธของทหารหรือไม่ ทั้งนี้ ของกลางทั้งหมดหน่วยนาวิกโยธินจะนำมาแถลงข่าวร่วมกับดีเอสไอในวันจันทร์ที่ 19 ก.ค. เพื่อยืนยันว่ามีกองกำลังติดอาวุธทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่ด้วยอาวุธร้ายแรง ไม่ใช่การจับแพะ ส่วนคดีที่นายสรุชัยให้การว่าเกี่ยวพันกับคดีทำร้ายผู้นำท้องถิ่นนั้น หลังจากนี้ตำรวจจะเข้ามาขยายผลต่อไป

นายธาริต กล่าวอีกว่า ในชั้นสอบสวนนายสุรชัยให้การเพียงว่าเป็นลูกน้องคนสนิทของเสธ.แดง โดยได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าหน่วยดูแลความปลอดภัยให้กับแกนนำคนสำคัญตลอดการชุมนุมในวันเกิดเหตุที่เสธ.แดงถูกยิง นายสุรชัยยอมรับว่าโกรธแค้นจึงได้ใช้ปืนทราโวที่ยึดมาจากทหารยิงใส่โรงแรมดุสิตธานี แต่การสืบสวนพบว่าเป็นการยิงอาร์พีจี นอกจานี้นายสุรชัยยังรับสารภาพว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ยิงอาวุธในเหตุปะทะที่สี่แยกคอกวัว ทั้งนี้ นายสุรชัย ถือเป็นคนร้ายรายสำคัญ ที่ไม่ยอมให้การซึ่งจะส่งผลร้ายแรงต่อตัวเอง การสอบสวนของดีเอสไอจึงไม่สามารถใช้คำรับสารภาพของผู้ต้องหาเป็นหลักฐานสำคัญในคดี แต่จะใช้พฤติการณ์และพยานแวดล้อมอื่นที่บ่งชี้ว่านายสุรชัยเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายในหลายระดับ

ด้านพ.ต.ท.ถวัลย์ มั่งคั่ง พนักงานสอบสวนคดีพิเศษคดีก่อการร้าย กล่าวว่า จากการตรวจสอบประวัติเชิงลึกของดีเอสไอพบว่านายสุรชัยไม่เคยรับราชการแต่สนใจการใช้อาวุธปืนเป็นพิเศษ เข้ามาอยู่กับเสธ.แดงเป็นเวลา 3 ปี โดยมีเสธ.แดง เป็นครูฝึกอาวุธ นอกจากนี้เสธ.แดง ยังพานายสุรชัยพร้อมกองกำลังชุดดำไปเที่ยวเมืองจีน เพื่อเสริมกำลังให้กับการปฏิบัติหน้าที่ในการชุมนุมของคนเสื้อแดง ในส่วนของกลุ่มชายชุดดำนายสุรชัย สนิทสนมกับนายสุกเสก พลตื้อ ผู้ต้องหาคดีก่อการร้าย ซึ่งทำงานด้วยกันตลอด ซึ่งหลังจากนี้ดีเอสไอจะเร่งสอบสวนถึงเส้นทางการหลบหนีของนายสุรชัยว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐให้การสนับสนุนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในวันนี้พนักงานสอบสวนจะนำตัวนายสุรชัยไปฝากขังในเวลา 13.00 น.

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: กลุ่มต้านในม.อุบลฯ กังขาจุดประเด็นที่ดินไทย-กัมพูชา พัวพันคดีพธม.ยึดสนามบิน

Posted: 17 Jul 2010 11:28 AM PDT

สองกระแสสวนกันในม.อุบลฯ หลังมีการรณรงค์ให้คัดค้านการยึดครองที่ดินชายแดนไทย-กัมพูชา 1.8 ล้านไร่ กลุ่มต้านกังขา ประเด็นถูกจุดขึ้นเพื่อต่อรองรัฐบาลคดีพันธมิตรยึดสนามบิน แนะหาทางออกด้วยสติ-เปิดใจกว้าง

<!--break-->

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังเกิดกระแสข้อพิพาทดินแดนระหว่างไทย-กัมพูชา รอบใหม่ ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ที่จ.อุบลราชธานี มีกลุ่มบุคคลและนักศึกษาบางส่วนออกมาเคลื่อนไหวให้ชาวมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีไปปกป้องดินแดนไทยจากการรุกล้ำของกัมพูชา ขณะที่มีกลุ่มบุคคลใน ม.อุบลฯ อีกส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวครั้งนี้ โดยมีการออกแถลงการณ์ในนาม "กลุ่มชาว ม.อุบลฯ ที่รักชาติอย่างมีสติ และต้องการอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้านอย่างสันติ" ตั้งคำถามกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มรณรงค์ดังกล่าว โดยระบุว่า การจุดประเด็นครั้งนี้ด้วยว่า เป็นไปเพื่อต่อรองกับรัฐบาลกรณีตำรวจออกหมายเรียกแกนนำพันมิตรฯ 79 คน ในคดียึดสนามบินสุวรรณภูมิหรือไม่

โดยแถลงการณ์เสนอว่า เรื่องข้อพิพาทชายแดนนั้น ต้องหาทางออกอย่างมีสติ ด้วยวิถีการทางการทูต ด้วยการใช้เหตุผล ใช้ความรู้ความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ และด้วยใจที่เปิดกว้าง มีเจตจำนงที่จะอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้านอย่างสันติ หากประเทศเพื่อนบ้านใช้ลัทธิชาตินิยมล้าหลัง ก็ไม่ควรโต้ตอบด้วยวิธีการเดียวกัน เพราะรังแต่จะทำให้เกิดความร้าวฉานที่ไม่รู้จบ 


ภาพการรณรงค์ของกลุ่มปกป้องชายแดนตามสถานที่ต่างๆ 

 

 

 

แถลงการณ์

ในหลายวันที่ผ่านมา มีการปลุกระดมให้ชาว ม.อุบลฯ ตื่นตระหนกกับเหตุการณ์ที่คนกลุ่มหนึ่งอ้างว่า “ประเทศไทยกำลังจะสูญเสียดินแดน 1.8 ล้านไร่” ให้กับกัมพูชา โดยกัมพูชากำลังปักปันเขตแดนใหม่ที่ล้ำแดนเข้ามาในประเทศไทย มีการถอนหมุดพรมแดนของไทยออก พร้อมกับมีกองทหารและประชาชนชาวกัมพูชารุกเข้ามาปักหลักยึดครองดินแดนซึ่งเป็นของไทย (กรณีนี้กองทัพภาคสองออกมาชี้แจงแล้วว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิด หมุดพรมแดนที่หายไป เป็นหมุดจีพีเอสสำหรับทำแผนที่ ไม่ใช่หมุดพรมแดน ซึ่งหมุดดังกล่าวนายวีระ สมความคิดแกนนำพันธมิตรฯได้ขุดออกไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และทหารได้แจ้งความดำเนินคดีอยู่ ดู http://mekong.human.ubru.ac.th/) คนกลุ่มนี้ปลุกเร้าด้วยความเร่าร้อนให้ชาว ม.อุบลฯ ออกมาร่วมกิจกรรมคัดค้านการกระทำของกัมพูชาจนถึงที่สุด แม้ว่าจะต้องทำสงครามกันก็ตาม

เหตุการณ์นี้สอดรับกับการนำเสนอข่าวสารในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ที่หยิบยกเรื่องการทำ MOU ระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชา เรื่องการปักปันเขตแดน ซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อปี 2543 สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย คอลัมน์นิสต์ของผู้จัดการเห็นว่า MOU ดังกล่าวนั้นวางอยู่บนพื้นฐานสนธิสัญญาในอดีตที่ถูกทำขึ้นอย่างมัดมือชกโดยฝรั่งเศสเมื่อร้อยกว่าปีก่อน และไทยไม่เคยยอมรับสนธิสัญญานั้นมาก่อน จนกระทั่งนายชวน หลีกภัยได้ไปยอมรับใน MOU ที่ทำให้ไทยเสียเปรียบ ความเหลวใหลของรัฐบาลยังสืบเนื่องมาถึงสมัยรัฐบาลทักษิณ รัฐบาลสมชาย จนถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ในปัจจุบัน เหล่าคอลัมน์นิสต์ผู้จัดการประโคมข่าวนี้อย่างเผ็ดร้อนในช่วงที่ผ่านมา นายสนธิ ลิ้มทองกุลประกาศว่า เรื่องอื่นๆ เป็นเรื่องเล็กมาก หากเปรียบเทียบกับการสูญเสียอธิปไตยเหนือดินแดนครั้งใหญ่ของไทยในครั้งนี้ พวกเขาเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีความกล้าหาญที่จะยกเลิก MOU หรือไม่เช่นนั้นก็เป็นบุคคลล้มละลายทางการเมืองและควรถูกไล่ออกจากการเป็นนายกฯไปเสีย (ดู http://www.manager.co.th/home/)

กรณีพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา ได้เกิดขึ้นมาเป็นระยะๆ แทบทุกครั้ง “ลัทธิชาตินิยม” จะเป็นเครื่องมือปลุกใจให้คนไทยต่อสู้กับ “ศัตรูต่างชาติ” นับจากสมัยรัฐบาล จอมพลป.พิบูลสงคราม สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ จนถึงช่วงใกล้ที่ผ่านมา ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ได้ให้บทเรียนว่า ลัทธิชาตินิยมได้ถูกใช้อย่างบิดเบือน ขาดข้อเท็จจริงและความรู้ความเข้าใจเรื่องราวอย่างที่ควรจะเป็น หรือขาดหลักคิดที่ก้าวหน้าสร้างสรรค์ แต่เป็นเรื่องของการปลุกเร้าอารมณ์ ให้หลงยึดมั่นในตัวตน และเกลียดชังเพื่อนบ้านซึ่งเป็นคู่อริต่ำต้อย ชาตินิยมเช่นนี้เป็นชาตินิยมที่คับแคบ ล้าหลัง และขาดสติ เหตุการณ์หลายครั้งที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าชาตินิยมได้กลายเป็นเพียงเครื่องมือทางการเมืองเพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่ม แต่สิ่งที่ทิ้งไว้เบื้องหลังคือความขัดแย้งร้าวลึกระหว่างชาติ การสูญเสียชีวิตของชาวบ้านหรือทหารชั้นผู้น้อย ผลกระทบต่อความสัมพันธ์และการทำมาหากินของผู้คนในพื้นที่ชายแดน

ต่อคำถามที่ว่า แล้วเราจะยอมให้กัมพูชาเดินหน้าปักปันเขตแดนตาม MOU จนทำให้ไทยต้องสูญเสียดินแดนเช่นนั้นหรือ เราเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ แต่ต้องหาทางออกอย่างมีสติ ด้วยวิถีการทางการทูต ด้วยการใช้เหตุผล ใช้ความรู้ความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ และด้วยใจที่เปิดกว้าง มีเจตจำนงที่จะอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้านอย่างสันติ หากประเทศเพื่อนบ้านใช้ลัทธิชาตินิยมล้าหลัง เราก็ไม่ควรโต้ตอบด้วยวิธีการเดียวกัน เพราะรังแต่จะทำให้เกิดความร้าวฉานที่ไม่รู้จบ ประเด็นที่เราอยากชวนให้พิจารณาในที่นี้ก็คือ ทำไมเรื่องนี้จึงถูกจุดระเบิดขึ้นในช่วงนี้ โดยสื่อฉบับเดียวคือผู้จัดการ เหตุการณ์นี้จะเชื่อมโยงหรือไม่กับ กรณีการเมืองล่าสุดที่ตำรวจได้ออกหมายเรียกแกนนำพันมิตรฯ 79 คน ในคดียึดสนามบินสุวรรณภูมิ กรณีการเสียดินแดนนี้ได้พุ่งเป้าการกดดันไปที่นายกฯอภิสิทธิ์ เป็นไปได้หรือไม่ว่านี้จะเป็นเพียงเกมส์การเมือง ที่พวกเขาจุดขึ้นเพื่อต่อรองกับรัฐบาล ?

เรื่องที่น่าสนใจอีกสำหรับชาว ม.อุบลฯ ก็คือ การเคลื่อนไหวภายใน ม.อุบลฯ ครั้งนี้ ได้มีบุคคลภายนอกอาศัยความสัมพันธ์กับบุคลากรหรือบางหน่วยงานในม.อุบลฯ เข้ามาโน้มน้าวองค์กรนักศึกษา นักศึกษาในบางหลักสูตร หรือนักศึกษาทั่วไปให้ออกมาเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวเป็นไปด้วยท่วงทำนองปลุกปั่น สร้างกระแสชาตินิยมล้าหลัง และการใช้อารมณ์ที่ร้อนแรง มีการเชิญชวนแกมขู่เข็ญให้ออกมาร่วมกิจกรรม และมีนัยว่าคนที่ไม่ร่วมกับพวกเขาคือคนที่ไม่รักชาติล้าหลังเห็นแก่ตัว มีการกระจายเสียงและใช้พื้นที่สาธารณะด้วยท่าทีดุเดือดก้าวร้าว และทำราวกับต้องการให้มีภาพของ ชาว ม.อุบลฯ ทั้งหมดมีความเห็นร่วมกับพวกเขา คำถามคือ เกิดอะไรขึ้นกับประชาคม ม.อุบลฯ ทำไมความเห็นทางการเมืองของคนกลุ่มหนึ่ง จึงแทรกตัวเข้ามาในกลไกของ ม.อุบลฯอย่างสะดวกราบรื่นกลมกลืน ตอนนี้ชาว ม.อุบลทั้งหมด กำลังจะถูกเหมารวมว่าเป็นพวกเดียวกับเขา หรือถ้าไม่เป็นพวกเดียวกับเขาก็เป็นผู้ไม่รู้ร้อนรู้หนาวไม่รักชาติ ม.อุบลฯ กำลังถูกดึงเข้าไปเป็นเครื่องมือทางการเมืองของคนบางกลุ่ม กำลังถูกดึงไปอยู่กับขั้วความขัดแย้งอีกขั้วหนึ่ง แล้วอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตในบรรยากาศทางการเมืองที่อ่อนไหวอย่างมากในเวลานี้ เราจะทำอย่างไรกันดี?

กลุ่มชาว ม.อุบลฯ ที่รักชาติอย่างมีสติ
และต้องการอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้านอย่างสันติ

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จุดเปลี่ยนที่ (ยัง) ไม่มี “ประชาชน”

Posted: 17 Jul 2010 09:28 AM PDT

<!--break-->

ความหมายของ “ประชาชน” แยกไม่ออกจากความหมายของ “ประชาธิปไตย” เพราะประชาธิปไตย หรือภาษาอังกฤษ democracy มาจากภาษากรีกโบราณ demos หมายถึง people หรือ ประชาชน กับ kretia ที่หมายถึงการปกครอง (to rule) ประชาธิปไตยจึงหมายถึง “การปกครองโดยประชาชน” หรือ “ประชาชนมีอำนาจปกครองตนเอง”

ปัญหาคือ ประชาชนคือใคร? demos ในภาษกรีกหมายถึง “เสรีชน” ที่ไม่ใช่ทาส และไม่ใช่สตรี แสดงว่า ประชาธิปไตยทางตรง (direct democracy) ในกรุงเอเธนส์เมื่อกว่าสองพันปีที่แล้ว ประชาชนหรือเสรีชนที่เป็นเจ้าของอำนาจในการปกครอง คือ “สุภาพบุรุษ” เท่านั้น

ในประชาธิปไตยสมัยใหม่ ที่ (ส่วนใหญ่) เป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน (representative democracy) ประชาชน หมายถึง คนทุกคน (ไม่ว่าเพศใดๆ ก็ตาม) ที่เป็นเสรีชน และมีความเป็นคนเท่าเทียมกัน เพราะเรายอมรับสมมติฐานที่ว่า โดยสภาวะธรรมชาติแล้วมนุษย์เกิดมามีเสรีและเท่าเทียมกัน

ฉะนั้น ประชาชนจริงๆ คือ ผู้มีเสรีภาพและความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์ และหรือมีจิตวิญญาณรักเสรีภาพและความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์อย่างลึกซึ้ง มีจิตสำนึกและมีความกระตือรือร้นที่จะปกป้องเสรีภาพและความเสมอภาคดังกล่าว รัฐประชาธิปไตยจึงต้องวางระบบรองรับการอยู่ร่วมกันของประชาชนเช่นนั้นบนหลักการพื้นฐานที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1.หลักเสรีภาพ (freedom) ประชาชนต้องมีเสรีภาพขั้นพื้นฐานต่างๆ อย่างเท่าเทียม
กัน เช่น เสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็น การนับถือศาสนา การก่อตั้งสมาคม การมีส่วนร่วมทางการเมือง การเลือกดำเนินชีวิตตามความพึงพอใจ ฯลฯ
2.หลักความเสมอภาค (equality) ประชาชนต้องมีความเท่าเทียมภายใต้ขอบเขต
หรือกติกาเดียวกัน มีความเท่าเทียมทางโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ
3.หลักนิติรัฐ หรือหลักความถูกต้องตามกฎหมาย (rule of law or legality or
due process of law) กระบวนการยุติธรรมต้องเป็นอิสระ เที่ยงธรรม และเป็นหลักประกันให้ประชาชนได้รับการปฏิบัติในทางกฎหมายอย่างเสมอภาคกัน

แต่ปัญหาคือ ในวัฒนธรรมไทยเราไม่มีคำว่า “ประชาชน” ที่หมายถึง “เสรีชนที่มีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน” มาก่อน มีแต่คำว่าทาส ไพร่ พสกนิกร ราษฎร ซึ่งมีความหมายว่า เป็นผู้รับใช้ ผู้อาศัย ผู้อยู่ในหรือพึ่งพาอำนาจของ “ฟ้า” หรือชนชั้นศักดินา และหรือผู้ถูกปกครองโดยชนชั้นนำ (elite) ที่เป็นเจ้าขุนมูลนาย หรือชนชั้นอภิสิทธิชน (privileged social class)

ฉะนั้น เมื่อมีการใช้คำว่า “ประชาชน” ในสังคมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 อาจเป็นไปได้ว่าเรายังไม่ได้ใช้คำๆ นี้ อย่างตรงตามความหมายที่แท้จริงของ people หรือ demos และแม้จนกระทั่งบัดนี้ก็ยังน่าสงสัยว่า ความหมายของ “ประชาชน” ที่ใช้กันอยู่ในบ้านเรามันหมายถึงอะไรกันแน่?!

ในความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำเนินมา 4-5 ปีนี้ “ประชาชน” ไม่ใช่รากฐานสำคัญ (key element) ของการวิเคราะห์ถกเถียง หรือประเด็นการต่อสู้ในความขัดแย้งทางการเมืองไม่ได้เน้นหรือชูสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของ “ประชาชน” อย่างเข้มข้น

ในมวลชนเสื้อเหลือง เราเห็น (การเน้น) ภาพของ “พสกนิกรผู้จงรักภักดี” ขณะที่มวลชนเสื้อแดง เราเห็นการทาสีภาพ “พสกนิกรผู้ไม่จงรักภักดี” และเห็นความพยายามที่จะปกป้องตนเองว่าเป็นพสกนิกรผู้จงรักภักดีด้วยเช่นกัน

ประชาชนหายไปไหน? มนุษย์ที่เกิดมาเท่าเทียมกัน มนุษย์ที่รักเสรีภาพเนื่องจากตระหนักว่าเสรีภาพคือแก่นสารรองรับความมีศักดิ์ศรีหรือความสง่างามของตนเองหายไปไหน? เราเห็นแต่ “ผู้จงรักภักดี” หรือ “ผู้ถูกปกครอง” ที่รัฐไม่จำเป็นต้องปกป้องเสรีภาพและความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์ของพวกเขา!

โดยเฉพาะเสรีภาพในการพูดความจริง รัฐไทยแทบไม่เคยให้การรับรองอย่างจริงจัง ปราศจากหลักประกันเสรีภาพในการพูดความจริงโดยรัฐ (เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ) ประชาชนที่เป็นเสรีชนจริงๆ ย่อมไม่มีที่ยืนในพื้นที่นอกคุก!

เป็นเพราะการต่อสู้ไม่ได้ชู “ประชาชน” อย่างจริงจังใช่หรือไม่? มวลชนทั้งเหลือง-แดง จึงถูกใช้เป็นเครื่องมือของบรรดาชนชั้นนำที่ต่างมุ่งฉกฉวยประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายศักดินาอำมาตย์ ฝ่ายทักษิณ พรรคเพื่อไทย หรือพรรคประชาธิปัตย์ ฉะนั้น ความตายของมวลชนที่เป็นเพียงผู้ถูกปกครอง จึงเป็นความตายที่ไม่มีความหมายต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่การมีเสรีภาพและความเท่าเทียมมากขึ้นแต่อย่างใด

ตรงกันข้ามมันเป็นความตายที่ทำให้ระบบอำนาจนิยมแข็งแกร่งขึ้น เสรีภาพถูกจำกัดมากขึ้น มันมีความหมายเพียงเป็นการแพ้-ชนะของชนชั้นนำที่ใช้มวลชนเป็นเครื่องมือ!

ผมไม่ได้สรุปเหมารวมว่า ในมวลชนเหลือง-แดง ไม่มี “เสรีชน” แต่กระบวนการต่อสู้ทางการเมืองถูกทำให้กลายเป็นเพียงกระบวนการของ “พสกนิกร” ผู้จงรักภักดี/ไม่จงรักภักดี และเหตุผลสำคัญของความตายก็เป็นเรื่องของ “การเน้น” หรือการ “ทาสี” ความจงรักภักดี/ไม่จงรักภักดีเป็นหลัก

เรื่องตลกร้ายที่น่าเศร้า คือ นักวิชาการไทย (ทั้งพวกที่เคยร่วมเป็น สนช. ร่วมเป็นคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 50 และที่ร่วมเป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศตามแผนปรองดองของอภิสิทธิ์ 100 ศพด้วย) ต่างมองว่า ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนของไทย ไม่มี “ผู้แทน” (หรือกระทั่ง “พรรคการเมือง”) ที่เป็น “ตัวแทน” ของ “ประชาชน” จริงๆ มีแต่ “นักเลือกตั้ง” ที่เป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ของชนชั้นนำ

แต่ทว่าทัศนะเช่นนี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้เป็น “วาทกรรม” ทางการเมืองมากนักในยุคที่นักเลือกตั้งแทบไม่เคยสนใจใยดีกับประชาชนเลย พอในยุครัฐธรรมนูญ 2540 ที่มีข้อเท็จจริงยืนยันว่าชาวบ้านเลือกนโยบายพรรค แล้วพวกเขาก็พบว่าพวกเขามีอำนาจอยู่จริง การเลือกตั้งเริ่มมีความหมายสำหรับพวกเขา สำนึกในความเป็น “เสรีชน” (น่าจะ) เกิดขึ้นมากในชาวบ้านทั่วไป แต่การเลือกตั้งกลับถูกทำลายความน่าเชื่อถือลง โดยฝ่ายที่อ้างว่าชาวบ้านถูกซื้อด้วยเงิน รู้ไม่ทันนักการเมือง เป็นเครื่องมือของนักเลือกตั้ง ซึ่งหมายความตรงๆ ว่า ชาวบ้านยังไม่มีความสามารถจะเป็น “ประชาชน” ที่เป็น “เสรีชน” (หรือกระทั่งยังไม่สามารถจะมี “ความเป็นคน” ที่เท่าเทียมกับบรรดาผู้ไม่เชื่อถือในระบบการเลือกตั้ง หรือเสื่อมศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนทั้งหลาย?)

ตั้งแต่พรรคประชาธิปัตย์ชวนพรรคการเมืองอื่นๆ ไม่ลงเลือกตั้ง นักวิชาการฉีกบัตรเลือกตั้ง เมื่อ 2 เมษายน 2549 เกิดขบวนการปฏิเสธการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นอีก (ทั้งที่ทักษิณประกาศเว้นวรรคตำแหน่งนายกฯ แล้ว) ด้วยการทำและสนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยา 49 มาจนถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ยอมแลกชีวิตคนนับ 100 ศพ กับการไม่ยอมให้เลือกตั้งในทันที (หรือใน 15 วัน, 3 เดือน...) และกระทั่งเกิดคณะกรรมการปฏิรูปประเทศโดย “ผู้ทรงศีลธรรมและทรงภูมิปัญญา” ทั้งหลายภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน อยู่ในขณะนี้ แท้ที่จริงแล้วแสดงให้เห็นถึง “การขาดศรัทธา” ในการเลือกตั้งอย่างลึกซึ้งถึงแก่น!

เป็นการขาดศรัทธาในการเลือกตั้งในยุคสมัยที่ชาวบ้าน (ผู้ซึ่งไม่สามารถจะเป็น “ประชาชน” ?!) ตระหนักว่า การเลือกตั้งมีความหมาย เห็นคุณค่าของการเลือกตั้ง ออกมาเรียกร้องการเลือกตั้งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ กระทั่งกล้ายอมตายเพื่อแลกกับการเลือกตั้ง! แต่คนที่เป็นฝ่ายกำหนดว่าชาวบ้านควรจะได้อะไร ยังคงเป็นกลุ่มชนชั้นนำอยู่เช่นเดิม โดยเฉพาะคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยที่ดูเหมือนจะสถาปนาตัวเองให้เป็น “ผู้แทนของปวงชน” ไปแล้วกระมัง!

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บท บก.วอชิงตันโพสต์: พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะนำไปสู่ความปรองดองได้หรือไม่?

Posted: 17 Jul 2010 08:23 AM PDT

<!--break-->

หลังจากเหตุการณ์ปะทะระหว่างทหารกับผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลในใจกลางกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 90 คนในช่วงเดือนพฤษภาคม รัฐบาลซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้คำมั่นว่าจะเริ่มสิ่งที่เขาเรียกว่า "แผนปรองดองแห่งชาติ" แต่หลังจากนั้นรัฐบาลได้จับกุมแกนนำของผู้ต่อต้านรัฐบาลไปนับร้อยคน, สั่งปิดสื่อ, สั่งอายัดบัญชีของผู้ที่ต้องสงสัยว่าให้การสนับสนุนผู้ประท้วง และตั้งข้อหาก่อการร้ายกับ ทักษิณ ชินวัตร ผู้นำกลุ่มต่อต้านรัฐบาลซึ่งอยู่ระหว่างลี้ภัย

ในวันที่ 6 ก.ค. นายอภิสิทธิ์ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีกครั้ง (หลังจากที่ พ.ร.ก.เดิมหมดอายุ) ในกรุงเทพฯ และอีก 18 จังหวัด เพื่อให้อำนาจแก่รัฐบาลของเขาในการจับกุมและคุมขังบุคคลโดยไม่จำเป็นต้องมีข้อหา, เซ็นเซอร์สื่อ และห้ามไม่ให้มีการชุมนุม ในขณะเดียวกันเขาก็ประกาศเลื่อนการเลือกตั้ง ซึ่งเขาเคยเสนอว่าจะให้มีในเดือนพฤศจิกายน ออกไปเป็นปีหน้า หากการกระทำเหล่านี้คือสิ่งที่นายอภิสิทธิ์เรียกว่า "การปรองดองแห่งชาติ" นายอภิสิทธิ์ ซึ่งจบจากโรงเรียนอีตัน และมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดคงต้องถูกสอนมาเป็นภาษาออร์เวลเลียน (Orwellian) เป็นแน่แท้

ในความเป็นจริง สิ่งที่รัฐบาลไทยกำลังทำนั้นเกือบจะตรงกันข้ามกับการเยียวยาความขัดแย้งเสียด้วยซ้ำ รัฐบาลไทยกำลังบดขยี้กลุ่ม "เสื้อแดง" ซึ่งยังสนับสนุนทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งถูกรัฐประหารในปี 2549 - รัฐประหารครั้งนั้นได้ฉุดประชาธิปไตยของไทย ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีแนวโน้มสดใสให้ตกต่ำกลายเป็นความวุ่นวายไม่รู้จบ การกระทำเช่นนี้ของอภิสิทธิ์เป็นการเพิ่มโอกาสที่จะทำให้กลุ่มต่อต้านรัฐบาลมุดลงใต้ดินและใช้ความรุนแรง และนั่นจะเป็นหลักประกันว่านักท่องเที่ยวและเงินลงทุนจากต่างชาติจะหดหาย และประเทศประชาธิปไตยตะวันตกจะเลิกให้การสนับสนุน

ทักษิณและคนเสื้อแดงมีส่วนร่วมในการทำให้ประเทศหยุดนิ่ง ด้วยการบล็อคใจกลางกรุงเทพฯ ถึงสองเดือน และด้วยการปฏิเสธข้อเสนอของอภิสิทธิ์ก่อนที่ทหารจะเริ่มเข้าสลายและเกิดการปะทะ แต่ต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหานั้นเกิดจากการที่กลุ่มอำนาจเดิม กองทัพและเครือข่ายราชสำนัก ซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจที่อภิสิทธิ์เป็นตัวแทนอยู่นั้น ไม่ยอมรับผลของการเลือกตั้งตามประชาธิปไตย

การปราบปรามผู้ต่อต้านนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาได้เลย ถ้านายอภิสิทธิ์ต้องการความปรองดองจริงๆ ทางที่เขาต้องเดินนั้นชัดเจนอยู่แล้ว คือ เขาจะต้องเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, ปล่อยตัวแกนนำเสื้อแดงที่ถูกจับ และเจรจาเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้ง โดยที่ทุกฝ่ายต้องให้คำมั่นที่จะยอมรับว่าผู้ชนะการเลือกตั้งจะต้องได้ตั้งรัฐบาล ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่จะต้องถูกแก้ไข

 

 ...........................................
ที่มา: http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2010/07/14/AR2010071405048.html
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน: คนงานไทยคูณ หัวใจการผลิตที่ต้องพิการ

Posted: 17 Jul 2010 07:46 AM PDT

<!--break-->

 

ท่ามกลางการเรียกร้องเพื่อขอเพิ่มสวัสดิการ ค่าจ้าง โบนัส ของคนทำงานนับตั้งแต่ปี 2539 ที่ทางบริษัทไทยคูณเปิดกิจการมา 14 ปี ซึ่งนายจ้างไม่เคยคิดที่จะจัดให้คนทำงานเลย ยังมีเสียงของความเจ็บปวดของคนทำงานอีกหลายสิบคนที่นิ้วขาด ตาบอด และมีบาดแผลที่เกิดจากเหล็กแทงทิ่มเข้าหางตา แขนขา ที่คอยบอกเล่าประสบการณ์การทำงานอย่างเจ็บปวดให้ผู้เข้าไปถามไถ่เยี่ยมเยือนฟัง

บริษัทไทยคูณ เวิลด์ไวด์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2539 ทะเบียนเลขที่ 0107546000172 (เดิมเลขที่ 40854600018) ทุนจดทะเบียน 6,035,039,000.00 บาท นำเข้าตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2546 ที่ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ 1 ตำบล นิคมพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง 21180 นายจ้างเป็นชาวไต้หวันกรรมการบริษัทฯ ผู้มีอำนาจในหนังสือรับรอง คือ 1.นายหวง เหวิน สง 2.นางลู เยน เจียน 3.นายหยาง โป๋ หลง 4.นายเจิน เตอ จีน 5.นายสุรพล ขวัญใจธัญญา 6.นายจิรวัฒน์ หวาง 7.นายพิพัฒน์ หวังพิชิต 8.นายหวง ปิ่น หลุน ประกอบกิจการจำหน่ายเหล็กลวด, เหล็กลวดอบอ่อน, สกรูและสลักเกลียว ส่งขายต่างประเทศเช่น จีน อินเดีย อเมริกา เวียดนามปากีสถาน ฯลฯ ขายในประเทศเช่น บริษัทไทยวา บริษัทเมอร์เจอไทยบริษัททาทา บริษัทโนวาเสตียล บริษัทโกเบ

มีพนักงานทั้งหมด 779 คน (รวมพนักงานไต้หวัน) และยังมีพนักงานที่เป็นซับคอนแทรกชาวไทยและกัมพูชารวม 413 คน มีการจ้างงานเป็นพนักงานรายวันขั้นต่ำ 178 บาทต่อวัน และรายเดือนค่าจ้างเฉลี่ยที่ 6,000 กว่าบาท ส่วนพนักงานที่เป็นซับคอนแทรกคนไทยและกัมพูชาได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 178 บาทต่อวันและสวัสดิการชุดทำงาน อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการทำงานบ้างแต่ไม่เท่าพนักงานประจำ

นายไพรัตน์ อนุอัน คนงานไทยคูณฯ เล่าถึงเหตุการณ์ที่ต้องเป็นคนพิการนิ้วขาดว่า ตนทำงานมานาน 10 ปีแล้ว รับค่าจ้างประมาณเดือนละ 8,600 บาท เนื่องจากค่าจ้างไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพ เพราะมีภาระครอบครัวต้องรับผิดชอบ ทำให้ต้องทำงานวันละ 16 ชั่วโมงทุกวันไม่เว้นวันหยุด คือทำงานตั้งแต่เวลา 24.00 -16.00 น. คนทำงานส่วนใหญ่ก็ต้องทำงานล่วงเวลากันทุกคน วันที่เกิดอุบัติเหตุเป็นช่วงกลางคืนเมื่อเดือนกันยายน 2552 เนื่องจากเครื่องจักรเสียและหยุดทำงาน จึงเข้าไปตรวจสอบเบื้องต้น ซึ่งจริงๆ ก็ทำเป็นปกติเพราะก็เคยเป็นอย่างนี้ตลอด เมื่อเข้าไปดู เครื่องจักรเกิดเลื่อนทำงานเลยหนีบนิ้ว เขาจึงรีบดึงมือออกแล้วไปหาเพื่อนเพื่อให้นำส่งโรงพยาบาล

“ไม่มีฝ่ายบุคคล ไม่มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย คือไม่มีผู้บริหารเพราะเป็นวันอาทิตย์ จึงขอให้รถบริษัทขับไปส่งโรงพยาบาล เขาพาไปโรงพยาบาลบ้านค่าย ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กไม่มีอุปกรณ์ผ่าตัด หรือแพทย์ ก็ได้มีการทำใบส่งตัวไปโรงพยาบาลจังหวัดระยอง แต่คนขับรถไม่กล้าพาไปกลัวนายจ้างจะเอาผิด จึงพาผมกลับมาหอพักเพื่อนอนพัก วันต่อมาผมก็ไปโรงพยาบาลระยองเอง แพทย์ก็เย็บแผลให้บอกว่ากระดูกไม่เป็นอะไร แต่เมื่อกลับมาพักที่หอพัก ประมาณ 2-3 วัน นิ้วผมคล้ำดำเกือบเน่า ผมก็ไปที่บริษัทให้รถนำส่งโรงพยาบาลอีก แต่ไม่ได้รับอนุญาตผมเลยขับรถไปเอง ตอนนี้ก็กำลังประเมินความสูญเสียนิ้ว ทางกองทุนประเมินว่าสูญเสียประมาณ 3% ก็เห็นว่าเดือนกันยายนปีนี้จะได้เงินทดแทนค่าเสียนิ้ว"

นายพรโพธิ์เจริญ ศรีละเลิง คณะกรรมการความปลอดภัยฝ่ายลูกจ้างเล่าว่า ตนเองก็ได้รับบาดเจ็บจากการทำงานเหมือนกัน "เห็นที่หางตาผมไหม เป็นแผลเป็นเย็บไปหลายสิบเข็ม โดนเหล็กเส้นตะหวัดใส่เกือบโดนตา มีคนที่ตาบอดอีกราย ตอนนี้ไปพักฟื้นต่างจังหวัดเพิ่งโดนเมื่อไม่นาน ยังไม่ได้ประเมินความสูญเสียจากกองทุนเลย"

นายไพรัตน์เล่าต่ออีกว่า กรณีพี่หมูซึ่งตาบอดเขาทำงานไม่มีเวลาพักเลย ช่วงที่โดนเหล็กหักมาทิ่มตาบอดก็เป็นช่วงพักกินข้าว พี่หมูแกกินข้าวไปทำงานไป คือต้องวิ่งดูเครื่องทำงานตลอดเวลา เพราะเครื่องต้องทำงานหยุดไม่ได้ มีกฎระเบียบที่ใช้ประเมินการทำงานด้วยว่าหากเครื่องจักรตัวใดหยุดทำงานจะถูกตัดแต้มการปรับขึ้นค่าจ้างว่าขาดประสิทธิภาพ ไม่รับฟังคำสั่งหัวหน้างาน ทำให้คนงานส่วนใหญ่ไม่กล้าหยุดกินข้าวแม้ว่าจะเป็นเวลาพัก แกก็กินข้าวคำสุดท้ายพอดีเครื่องติดเหล็ก ก็เลยรีบไปดูเหล็กเป็นลวดขนาด 17 เมตร เกิดหักเลยตวัดเข้าที่ตาทำให้ตาบอด นายหมูก็เป็นอีกรายที่นิ้วขาดเหมือนกัน

นายพรโพธิ์เจริญเล่าว่า เดือนเมษายนที่ผ่านมามีคนที่ได้รับอุบัติเหตุประมาณ 10 กว่ารายภายในเดือนนั้น ซึ่งก็ถือว่าลดลง เพราะปกติมี 20-30 รายทีเดียว พอมีคนงานตาบอด นายจ้างก็จัดให้มีแว่นตา แต่ก็เป็นพลาสติกธรรมดา หากพูดถึงอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยตอนนี้ก็มี ถุงมือผ้าธรรมดา ที่ขายตามตลาดนัดคู่ละ 3 บาท กำหนดให้ใช้เดือนละไม่เกิน 13 คู่ แต่ละแผนกไม่เหมือนกัน เพราะบางแผนกก็ให้แค่ 3-4 คู่ต่อเดือน โดยคนงานต้องมีซากมาเปลี่ยนทุกครั้งต้องตรวจดูว่าสภาพขาดประมาณไหนประเมินก่อนถึงมีสิทธิเปลี่ยนให้ใหม่แต่ต้องไม่เกินกำหนด

เขาพูดถึงเครื่องแบบว่า บริษัทมีชุดทำงานให้ เป็นกางเกงผ้าโทเร เสื้อแขนยาว และเสื้อยืด ภายใต้การทำงาน 1100-700 องศา โดยประมาณรองเท้าหนังที่เย็บตะปูทะลุเพราะมีคนโดนมาแล้ว มีบางแผนกก็ได้รับหน้ากากอนามัย 3M แต่เนื่องจากมีไม่เพียงพอทางบริษัทมีนโยบายให้ใช้ร่วมกัน ผลัดกันใช้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเมื่อไรบริษัทจะเปลี่ยนไส้กรอกหน้ากากให้ใหม่ นี่คือสวัสดิการด้านความปลอดภัย หากเพื่อนป่วยก็จะติดกันครบในแผนก นอกจากนี้ ปัญหาที่เกิดอุบัติเหตุคิดว่ามาจากแสงสว่างไม่เพียงพอด้วย เพราะเคยมีพนักงานตรวจแรงงานมาตรวจแล้วเสนอให้เพิ่มไฟให้สว่างแต่ทางบริษัทไม่ได้ดำเนินการ

นายชัชวาล สมเพชร ประธานสหภาพแรงงานไทยคูณแห่งประเทศไทย กล่าวว่าสภาพการทำงานของคนงาน ในส่วนของสวัสดิการตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 สิทธิในการลาป่วย นายจ้างกำหนดว่าลาได้แต่ต้องมีใบรับรองแพทย์ ส่วนห้องพยาบาลในโรงงานก็มีเตียงพยาบาลไม่เพียงพอ มีพยาบาลมาประจำเฉพาะวันและเวลาทำงานปกติ ไม่มีแพทย์ และยาสามัญประจำบ้านก็มีไม่เพียงพอ

ปัญหาหนักที่คนงานสะท้อนมากคือสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี มีกลิ่นเหม็นของสารเคมีที่ใช้ล้างสนิมและอากาศไม่ถ่ายเท และแสงสว่างไม่เพียงพอ อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยไม่ได้มาตรฐาน มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยเช่น นิ้วมือขาด นิ้วเท้าขาด ตาบอด และมีข้อสงสัยว่าคงมีคนงานอาจป่วยเป็นโรคที่เกิดจากการทำงาน ซึ่งบริษัทฯ เองก็ไม่ดูแลเท่าที่ควร ซึ่งเดิมทำงานในวันหยุดจะได้ 3 เท่าบริษัทฯ ก็มายกเลิก พนักงานลืมตอกบัตรก็ถูกหักเงิน ส่วนการปรับค่าจ้างไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน และเลือกปฏิบัติซึ่งพนักงานบางคนไม่เคยได้ปรับขึ้นค่าจ้างเลย

จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้พนักงานได้รวมตัวกันจัดตั้งสหภาพแรงงานเมื่อต้นปี 2552 เพราะบริษัทฯไม่เคยให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาให้กับพนักงาน ซึ่งตลอดเวลาที่ทำงานมาบริษัทฯ มีผลผลิตเพิ่มขึ้นตลอดและรายได้จากการขายก็เพิ่มขึ้น ยกเว้นปี 2552 ที่วิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งเป็นผลให้บริษัทฯ ขยายโรงงานทุกปีเพิ่มเป็น 16 อาคาร ทำการผลิตครบวงจรและซื้อเครื่องจักรเข้ามาใหม่เป็นจำนวนมาก และซื้อสินค้ามากักไว้เวลาราคาถูก แต่บริษัทฯ จะอ้างว่าขาดทุนทุกปี

ต้นปี 2553 เป็นต้นมาบริษัทฯ มีงานเข้ามาเป็นจำนวนมาก พนักงานทุกคนก็ช่วยกันทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อต้องการให้ได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเพิ่มขึ้น ทำให้สหภาพแรงงานฯ ต้องยื่นข้อเรียกร้องให้กับบริษัทฯ เพื่อปรับปรุงเกี่ยวกับสหภาพการจ้างของปี 2553

สหภาพแรงงานฯ ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้กับบริษัทฯเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2553 ทั้งหมด 3 ข้อดังนี้ (1) ให้บริษัทฯ ปรับค่าจ้างประจำปีให้กับพนักงานทุกคน ทุกระดับในอัตรา 7% /คน ( 2) ให้บริษัทฯ จ่ายเงินโบนัสประจำปีให้กับพนักงานทุกคน ทุกระดับ ในอัตรา 4 เดือน/คน /ปี (3) สภาพการจ้างอื่นใด ที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมาในข้อเรียกร้องนี้ ให้คงสภาพไว้เหมือนเดิม

หลังจากที่ยื่นข้อเรียกร้องแล้วบริษัทฯไม่ได้เจรจาภายใน 3 วัน ทำให้สหภาพแรงงานฯต้องแจ้งข้อพิพาทแรงงานให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยองเข้ามาไกล่เกลี่ยตามที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากผลการไกล่เกลี่ยหลายครั้งไม่สามารถตกลงกัน หลายต่อหลายครั้งกลับตัวแทนบริษัทฯ ก็ยังไม่ได้ตอบรับ จนถึง วันที่ 25 เม.ย. 2553 สมาชิกสหภาพแรงงานจึงได้ทำการประชุมใหญ่วิสามัญ เพื่อลงมติลับในการขอใช้สิทธิ์นัดหยุดงานตามกฎหมาย

ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ทางบริษัทได้เรียกนัดประชุมพนักงานทั้งหมดเพื่อทำการแถลงการณ์ชี้แจงเรื่องการขาดทุนของบริษัทฯ และก็ยังคงให้ความหวังกับพนักงานอีกเช่นเคยว่าสิ้นปี 2553 ว่าหากบริษัทได้กำไรจากการประกอบกิจการก็จะเจรจาเรื่องจ่ายเงินโบนัสประจำปีกันอีกครั้งหนึ่ง

หากดูข้อมูลทางบริษัทได้มีการขยายการก่อสร้างโรงงานเพิ่ม รวมถึงการนำเครื่องซื้อเครื่องจักรในการผลิตเป็นต้น ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2553 หลังจากเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานครั้งที่ 9 แล้วยังไม่ได้ผลสรุป ทางสหภาพแรงงานฯได้ทำการยื่นหนังสือต่อตัวแทนฝ่ายบริหารของบริษัทและเจ้าหน้าที่ประนอมข้อพิพาท เพื่อขอใช้สิทธิ์นัดหยุดงาน แต่ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2553 ที่หน้าบริษัท ทางฝ่ายบริหารได้มารอแจ้งพนักงาน ว่าใครที่ต้องการเข้าไปทำงานในโรงงานจะต้องทำการเซ็นต์ชื่อ แต่ถ้าพนักงานท่านใดที่เห็นด้วยกับมตินัดหยุดงาน ก็ให้ทำการสแกนบัตรพนักงาน พร้อมกับห้ามไม่ให้พนักงานเข้าไปในโรงงาน และการเข้าประชุมเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานครั้งที่ 10 แต่ก็ไม่สามารถหาข้อตกลงกันได้

นายชัชวาล เล่าอีกว่า ในช่วงนี้บริษัทฯก็มีมาตรการชักชวนไม่ให้พนักงานมาร่วมชุมนุม เช่น โทรศัพท์ไปตาม และบริษัทฯได้ให้ทหารเรือจากสัตหีบมายืนอยู่หน้าบริษัทฯและภายในโรงงาน ซึ่งบริษัทฯ รู้จักกับผู้นำท้องถิ่น และคนมีสีจำนวนมาก ทำให้เป็นที่หวั่นเกรงของพนักงานที่มาชุมนุม ตลอดเวลาที่มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงาน บริษัทฯก็อ้างว่าขาดทุนและข่มขู่ว่าจะปิดโรงงานทั้งที่ไม่ยอมให้คนที่มีอำนาจตัดสินใจเข้ามาเจรจาเพื่อหาข้อยุติ ข้อเรียกร้องดังนี้

1. ให้บริษัทฯปฏิบัติตามกฎหมายเช่น - ยกเลิกลาป่วย 1 วันต้องมีใบรับรองแพทย์ - จัดเตียงพยาบาลให้เพียงพอ มีแพทย์ และยาเพียงพอ - ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ดีมีกลิ่นเหม็นของสารเคมีที่ใช้ล้างสนิมและอากาศไม่ถ่ายเทไม่สะดวก ให้ดีขึ้นกว่าเดิม พร้อมทั้งเพิ่มแสงสว่างให้เพียงพอ - จัดอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยให้ได้มาตรฐาน แก้ไขปัญหาที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยเช่น นิ้วมือขาด นิ้วเท้าขาด ตาบอด และเป็นโรคที่เกิดจากการทำงาน บริษัทฯก็ควรดูแลเป็นอย่างดี - ยกเลิกการหักเงินค่าจ้างกรณีลืมตอกบัตรลงเวลา

2. ให้บริษัทฯส่งคนที่มีอำนาจตัดสินใจเช่น ประธานบริษัทฯมาเจรจาเพื่อหาข้อยุติในข้อเรียกร้อง

3. ให้บริษัทฯจ่ายค่าจ้างและสวัสดิการพนักงานเหมาค่าแรงทั้งคนไทยและคนกัมพูชาให้ได้เท่ากับพนักงานประจำของบริษัทฯ

4. ให้ตรวจสอบการที่ทหารเรือว่าเอาเวลาราชการมาทำงานให้กับนายจ้างว่าถูกต้องหรือไม่

โดยสหภาพแรงงงานไทยคูน ประเทศไทยเรียกร้องให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกส่วน ให้เข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดความถูกต้อง รวมถึงขอการสนับสนุนการต่อสู้ในครั้งนี้จากพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ประชาชนและสื่อมวลชนทุกท่านในเพื่อเป็นกำลังใจสำหรับผู้ที่ถูกกระทำให้ได้ประสบผลสำเร็จในการต่อสู้ในครั้งนี้ด้วย

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2553 ได้มีการทำข้อตกลงสภาพการจ้างระหว่างฝ่ายนายจ้างบริษัทไทยคูณ เวิลด์ไวด์ กรุ๊ป ประเทศไทย กับฝ่ายลูกจ้าง สหภาพแรงงาน ไทยคูน (ประเทศไทย) โดยมีข้อตกลงดังนี้ บริษัทฯ ตกลงปรับเปลี่ยนวิธี และหลักเกณฑ์การพิจารณาการปรับขึ้นเงินประจำปีคงเหลือ 5 เกรด และจ่ายโบนัสประจำปีให้กับคนงานที่ร่วมหยุดงานทุกคนๆละ 2,000 บาท โดยจ่ายวันที่ 5กรกฎาคม 2553 โดยมีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555

ต่อมาเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2553 นางสาวดวงดาว วิเศษสมบัติ กรรมการสหภาพแรงงานไทยคูณฯได้เล่าว่า นายจ้างได้มีการประกาศเลิกจ้าง กรรมการสหภาพแรงงาน และกรรมการลูกจ้างราว 9 คน ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2553 ในข้อกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่เชื่อฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ มีทัศนะคติในการทำงานเป็นลบ

“คำกล่าวหานี้หนูไม่รู้ว่าเขาคิดตอนไหน เพราะว่าเราเป็นแกนนำชุมนุมของคนงานหรือ เราเพิ่งกลับเข้าไปทำงานไม่เท่าไรเลย ยังไงคงต้องต่อสู้เพื่อพิสูจน์และขอกลับเข้าทำงานไม่เช่นนั้นสหภาพแรงงาน สมาชิกจะเป็นอย่างไร และหนูไม่รู้ว่าทำผิดอะไรถึงถูกเลิกจ้าง” ดวงดาวกล่าว

ขณะนี้นายจ้างได้เลิกจ้างคนงาน และกรรมการสหภาพแรงงาน เพิ่มอีก รวม 85 คนในข้อหาชุมนุมหน้าบริษัทฯ ก่อความไม่สงบ โดยการติดตั้งเครื่องเสียง โดยมีนายชัชวาล สมเพชรประธานสหภาพแรงงานฯเป็นผู้ประกาศโฆษณาให้ร้ายบริษัทฯโดยจงใจให้บริษัทฯเสียหาย ซึ่งถือเป็นการผิดกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงาน

นายชัชวาลกล่าวว่า จริงๆ แล้วเป็นการรับฟังการชี้แจงของทางสหภาพแรงงานกรณีที่บริษัทฯมีการเลิกจ้าง เพื่อทำความเข้าใจต่อสมาชิกและเป็นช่วงที่คนงานเลิกงานแล้ว และชี้แจงไม่นานนัก ตรงนี้เองได้มีคนของฝ่ายนายจ้างยืนถ่ายรูปคนงานมายืนรับฟังการชี้แจง และต่อมาก็ประกาศเลิกจ้างคนงานในวันที่ 13 กรกฎาคม 2553 ซึ่งในวันที่ 14 กรกฎาคม 2553 คนงานได้เข้าร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ที่สำนักงานแรงงานจังหวัดระยอง เพื่อให้บริษัทฯรับคนงานกลับเข้าทำงานโดยเร็ว

“ผมคิดว่าครั้งเป็นการกลั่นแกล้งเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เมื่อกลับเข้าไปทำงานคนงานหลายคนถูกโยกย้ายงานกัน” นายชัชวาลกล่าว

ล่าสุด เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 คนงานไทยคูณฯได้เดินทางมาขอเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน แต่ไม่ได้พบ โดยมอบหมายให้นายธานินทร์ ไกรสมุทร ที่ปรึกษาฯมารับหนังสือแทน โดยกำหนดว่าจะเข้าไปคุยกับทางนายจ้างในวันอังคารหน้า (20 ก.ค. 53) เพื่อให้รับคนงานกลับเข้าทำงาน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน: “พิพิธภัณฑ์ชีวิต” แห่งวัดพระบาทน้ำพุ: พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา?

Posted: 17 Jul 2010 03:44 AM PDT

<!--break-->

ถ้าพูดถึงเรื่องเอชไอวี/เอดส์ คน (ส่วนใหญ่) ในสังคมคงหนีไม่พ้นที่จะคิดถึง “วัดพระบาทน้ำพุ” จ.ลพบุรี สถานที่ที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเอดส์มายาวนานหลายสิบปี ซึ่งนอกจากจะดูแลผู้ป่วยฯ แล้ว วัดพระบาทน้ำพุยังเป็นแหล่งที่ให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาเรียนรู้เรื่องเอดส์อีกด้วย

“พิพิธภัณฑ์ชีวิต” สถานที่จัดแสดงศพถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการให้ “ ความรู้” ของวัดแห่งนี้

“พิพิธภัณฑ์ชีวิต” คือส่วนแสดงศพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ โดยนำร่างของผู้ตายมาแสดง พร้อมบอกประวัติและรูปถ่ายว่าเป็นใคร มาจากไหน ทำอาชีพอะไร และติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ได้อย่างไร ทั้งนี้ศพที่นำมาแสดงจะได้รับการเซ็นยินยอมจากเจ้าของร่างเพื่อมอบให้โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ มูลนิธิธรรมรักษ์ วัดพระบาทน้ำพุก่อนหน้านี้แล้ว


บริเวณด้านหน้าของ “พิพิธภัณฑ์ชีวิต”

การนำเสนอของ “พิพิธภัณฑ์ชีวิต” ( Life museum ) นี่เอง ที่ทำให้คนที่ทำงานเรื่องเอดส์จำนวนหนึ่งรวมตัวกันยื่นหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเมื่อเดือนกันยายน ปีที่ผ่านมา ว่าการกระทำดังกล่าวของวัดพระบาทน้ำพุขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ที่แม้ผู้ป่วยจะได้ทำหนังสือยินยอมอุทิศร่างกายเพื่อใช้ในการศึกษา แต่ผู้รับบริจาคจะต้องเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ตายและครอบครัว ซึ่งการนำร่างกายที่ไม่มีชีวิต โดยไม่มีอาภรณ์ปกปิดมาแสดง พร้อมเปิดเผยประวัติส่วนตัวเช่นนี้เป็น “การประจาน” ผู้ตายมากกว่าที่จะให้ความรู้ เป็นการตอกย้ำความคิด ความเชื่อเดิมๆ ที่ว่าการติดเชื้อเอชไอวีเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่มีพฤติกรรม “ไม่ดี” บางกลุ่มเท่านั้น เช่น พนักงานบริการทางเพศ ผู้ใช้สารเสพติด รวมถึงการเผยแพร่ดังกล่าวยังส่งผลต่อทัศนคติของคนในสังคมที่มีต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทำให้เกิดการรังเกียจ ไม่ยอมรับ ทำให้ผู้ติดเชื้อฯ ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างยากลำบากมากขึ้น


มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์และเครือข่ายฯ ยื่นหนังสือต่อกรรมการสิทธิมนุษยชน
ภาพจาก 
www.nhrc.or.th

จากกรณีข้างต้น ทำให้คณะกรรมการสิทธิฯ จัดเสวนาเพื่อร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหากรณีพิพิธภัณฑ์ชีวิตของวัดพระบาทน้ำพุขึ้น โดยเชิญตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ที่ผ่านมา


การเสวนาเพื่อหาทางออก กรณีวัดพระบาทน้ำพุ

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ให้ความเห็นว่า การจัดแสดงศพนั้นต้องดูว่าเกิดประโยชน์ต่อสังคมหรือไม่ และควรอยู่ภายใต้เงื่อนไข หรือสถานที่ใด อย่างกรณีของต่างประเทศที่มีการนำเสนอนิทรรศการ “ Body Worlds ” (การจัดแสดงศพต่อสาธารณชน) จะมีการปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลของศพ และมุ่งนำเสนอด้านกายวิภาคเป็นหลัก

“หากผมต้องการนำเสนอคนเป็นโรคจิต ซึ่งไม่แสดงออกทางกายก็ทำไม่ได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการบริจาคศพต้องชัดเจนว่าทำเพื่ออะไร หรือการบอกข้อมูลส่วนบุคคล เช่น อาชีพขายบริการทางเพศ หรือสถานะการเจ็บป่วยที่ไม่เห็นจากศพ แทนที่คนมาชมจะได้รับความรู้ แต่เขาจะถูกเบี่ยงเบนประเด็นเหล่านั้นว่าคนนี้ป่วยด้วยโรคอะไร คนนี้ดีหรือไม่ดีอย่างไร ตัวความรู้ที่อยากเผยแพร่อาจไม่ถึงเป้าหมาย”

ขณะที่ แสวง บุญเฉลิมวิภาส ศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ ให้ความเห็นว่า ในมุมของกฎหมายนั้น การล่วงล้ำสิทธิส่วนบุคคลต้องบอกได้ว่าทำเพื่ออะไร เกิดประโยชน์อะไร ทำเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือไม่ โดยหลักใหญ่ๆ คือการจะทำอะไรกับมนุษย์ต้องทำด้วยความยินยอม ซึ่งต้องเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ใจจริงๆ ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยในต่างประเทศจะหลีกเลี่ยงการให้แพทย์เจ้าของไข้ไปขอความยินยอมจากคนไข้ เพื่อป้องกันเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน

ผู้อำนวยการ สบท. ยังตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าบอกว่าเรื่องการแสดงศพทำเพื่อการศึกษาก็ต้องดูว่าใครบ้างที่จะสามารถรับศพได้ แล้วให้การศึกษาแก่ใคร ควรจะมีขอบเขตหรือไม่ เพราะศพเป็นสิ่งที่มีความแปลก หรือมีความพิเศษ ไม่ใช่สิ่งของธรรมดา อาจต้องมาพูดคุยกันว่าใครบ้างที่มีอำนาจในการรับหรือไม่รับบริจาค ไม่ใช่นิติบุคคลธรรมดาก็บริจาคกันไปมาได้

“ประเทศเราจะมีระบบกำกับดูแลเรื่องนี้อย่างไร ใครเป็นผู้มีอำนาจในการบอกว่าควรหรือไม่ควร สมมติเราจะให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งแสดงศพได้ เกิดองค์กรอื่นๆ เห็นว่าแสดงได้ เลยแสดงด้วย อย่างนี้มันสมควรหรือไม่ อย่างไร ต้องดูว่ามันมีความเหมาะสมมากน้อยแค่ไหน เพราะไม่ใช่เรื่องเสรีภาพแน่นอน แต่ต้องมีคนมาดูแล และต้องใช้เกณฑ์มาตัดสิน เพื่อคนจะได้เข้าใจตรงกัน”

กรณีปัญหาของ “พิพิธภัณฑ์ชีวิต” ไม่ได้มีเพียงแค่มุมของกฎหมาย หรือทางการแพทย์เท่านั้น แต่ในด้านของการเป็น “พิพิธภัณฑ์” ก็ต้องมีการกำกับดูแลด้วยธรรมนูญพิพิธภัณฑ์ อย่างที่ สมลักษณ์ เจริญพจน์ ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กล่าวถึงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ว่า สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติมีธรรมนูญพิพิธภัณฑ์ ที่ต้องคำนึงถึง Collection โดยพิพิธภัณฑ์ควรมีการทำวิจัยว่า Collection ที่ได้มา สร้างความรู้อะไรให้กับคนชม

“ในอดีตการตั้งพิพิธภัณฑ์ต้องขออนุญาตจากกรมศิลปากร แต่เนื่องจากตอนนี้มีพิพิธภัณฑ์เกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ หรือสาขาอื่นๆ เลยเปลี่ยนให้เป็นการแจ้งแทนการขออนุญาต”

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของคนที่ทำงานด้านเอดส์อย่าง อนันต์ เมืองมูลไชย สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อดีตรองประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย สะท้อนว่า เขาไม่ต้องการให้เห็นภาพว่านี่คือผู้ติดเชื้อฯ ที่เป็นผู้หญิงขายบริการ และเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ เพราะการทำเช่นนั้นไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ แต่ทำให้คนกลัว เกลียด และทำให้สังคมแบ่งแยก

“การรณรงค์แบบนี้ไม่ได้สร้างความตระหนักในการป้องกันการติดเอชไอวีของคนที่เข้าไปดูพิพิธภัณฑ์ ทั้งที่นวัตกรรมการรักษาในวันนี้ แพทย์มีการรักษาภาวะโรคติดเชื้อฉวยโอกาส หรือภาวะเอดส์ มียาต้านไวรัสที่กดเชื้อไวรัสให้คนกลับมามีสุขภาพแข็งแรง ผมอยากให้เห็นศักยภาพของคน เพราะทุกคนมีคุณค่าศักดิ์ศรีของตัวเอง

“การที่จะเดินดูผู้ป่วยเอดส์ที่เสียชีวิต แล้วทำให้ผู้ชมรู้จักตัวเอง มีความตระหนักในการป้องกันตัวเอง ขอตั้งคำถามว่าใช้อะไรไปเป็นการตัดสินว่าเขาเรียนรู้แล้วทำให้ตัวเองปลอดภัยจากเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ถ้าในเมื่อวันนี้การแพร่ระบาดของเอชไอวีคือการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน ซึ่งกระบวนการของสังคมไทย ไม่เรียนรู้และไม่รู้ว่าปัจจัยเสี่ยงของตัวเองอยู่ตรงไหน มันถึงเกิดการระบาด ตรงนี้จะแก้ไขจัดการอย่างไร”

อดีตรองประธานเครือข่ายฯ ยังให้ความเห็นต่อการขอความยินยอมเพื่อบริจาคร่างกายว่า แม้จะมีการเซ็นชื่อเพื่อขอความยินยอม แต่คนที่ไปอยู่ที่วัดเหมือนกับไปพึ่งพิง การเซ็นยินยอมอาจไม่เป็นไปโดยบริสุทธิ์ใจ

“ถ้าหมอไปขอการยินยอมจากคนไข้ มันมีบางอย่าง มีความเหนือบางอย่างที่ทำให้คนไข้ต้องยอม ในขณะเดียวกัน คนที่ไม่มีที่ไป จำเป็นต้องพึ่งพิงวัด ทางเลือกเขาก็ไม่มีเช่นกัน ซึ่งมันไม่ใช่กระบวนการที่เรายอมรับได้” อนันต์กล่าว

ด้าน พระอุดมประชาทร (อลงกต ติกฺขปญฺโญฺ) เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ ที่ปรึกษามูลนิธิธรรมรักษ์ อธิบายว่า วัดพระบาทน้ำพุมีการดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ วัด และมูลนิธิธรรมรักษ์ มีคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นประธานบริหารโครงการ และพระอลงกตเป็นที่ปรึกษาของคณะทำงาน มูลนิธิฯ มีหน้าที่ดูแลโครงการต่างๆ ที่ทางวัดคิดทำขึ้นมา และหนึ่งในโครงการนั้นก็มีโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ ซึ่งเป็นส่วนที่ให้การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์ เด็กที่ติดเชื้อฯ เด็กกำพร้า คนชรา รวมถึงผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ

“เรื่องพิพิธภัณฑ์ อาตมภาพไม่ได้เป็นผู้จัดตั้งขึ้นมา เดิมทีมันไม่ใช่พิพิธภัณฑ์ เขาใช้ชื่อเป็นศาลามรณานุสติ ซึ่งตั้งขึ้นโดยผู้จัดการของโครงการฯ ที่อยู่ภายใต้มูลนิธิฯ อาตมภาพไม่เคยบอกให้ตั้งพิพิธภัณฑ์ แต่เห็นด้วยกับการที่มีศาลามรณานุสติ เพราะผู้ป่วยในสมัยนั้นที่นอกจากสวดมนต์ทำวัตรแล้ว ก็ยังได้ทำมรณานุสติกรรมฐาน ทำให้คนเกิดความรู้ และความรู้สึก รู้ถึงสัจธรรมความเป็นจริงในชีวิต คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ทำให้เราเห็นสัจธรรมความจริง ซึ่งเป็นสิ่งสูงสุดที่มีอยู่ในโลกนี้ อาตมภาพเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่ทำกิจกรรมนี้ขึ้นมา เพื่อให้คนมีสติ มีปัญญา นำไปสู่การปล่อยปละละวางร่างกายสังขาร”


พระอุดมประชาทร

พระอลงกต เล่าต่อไปว่า ช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ผู้จัดการของโครงการฯ ได้ทำป้ายพิพิธภัณฑ์ชีวิตไปติด แล้วเชิญท่านไปเปิดพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการ ท่านก็ยินดี โดยที่ไม่รู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ว่าจะต้องเป็นอย่างไร รู้แต่ว่ามีประโยชน์ต่อสาธารณชน เพราะพ่อแม่พาลูกชายอายุ 13 – 16 ปี เข้ามาดูพิพิธภัณฑ์ก็อยากให้ลูกเกิดสติ เกิดปัญญา ตระหนักรู้ในการป้องกันตัวเองถึงเหตุต่างๆ และก็รู้สึกดีใจว่าท่านช่วยให้คนเกิดความตระหนักจากองค์ความรู้ที่เขาไปที่พิพิธภัณฑ์ฯ


ลูกโลกคนโอบเอชไอวี

“อาตมภาพว่าเจตนารมณ์ดีและเห็นด้วยกับการแสดงศพ จะว่าเราว่าศพคนที่มาแสดงเป็นเฉพาะผู้หญิงบริการหรือโสเภณี อาตมภาพอยากจะเจริญพรให้ทราบว่าไปเดินดูสักรอบ และดูให้หมดว่าใครเป็นใคร เด็กที่เพิ่งเกิดมาใหม่ 2 ขวบ 3 ขวบ 7 ขวบ รวมทั้งเจ้าหน้าที่เราที่ตกต้นไม้ตายก็ได้ศพเขามาแสดงด้วย ไม่ใช่เฉพาะคนเป็นเอดส์ ก็ยอมรับว่าสิ่งที่เราทำไปไม่ได้ดีที่สุด ไม่ได้ถูกที่สุด แต่ก็ขอให้ดูด้วยเจตนารมณ์ว่าที่เราทำขึ้นมาเราทำขึ้นไปเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน ที่จะระมัดระวังป้องกันตัวเองให้มากขึ้น และนำไปสู่การเกิดสติปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนา” พระอลงกตกล่าว

เจ้าอาวาสฯ ยืนยันว่า วัดพระบาทน้ำพุไม่ได้เป็นผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชีวิตขึ้นมา และจะไม่ดึงดันให้เรื่องนี้ดำเนินต่อไป ถ้าหากว่าคณะกรรมการสิทธิฯ มีข้อสรุปอย่างไรเมื่อถึงที่สุดแล้ว โดยตอนนี้ท่านก็ให้ปลดชื่อ ปลดป้ายพิพิธภัณฑ์ออกไปหมดแล้ว และให้ใช้ชื่อว่าศาลาธรรมสังเวชแทน ซึ่งก็น่าจะเป็นสิทธิของวัดที่จะทำได้

พระอลงกต เล่าต่อไปว่า ทุกวันนี้มีคนเข้าไปศึกษาดูงาน ไปทำบุญที่วัดตกปีละ 200,000 – 300,000 คน ในมุมที่บอกว่าวัดไปตอกย้ำภาพให้คนรังเกียจผู้ป่วยฯ ให้กลัว ในขณะที่มีคนไปเยี่ยมผู้ป่วย นำนม นำผลไม้ไปให้ถึงเตียง พูดคุย จนผู้ป่วยดีใจน้ำตาไหล เพราะญาติพี่น้องของตัวเองทิ้งหมด แต่ท่านก็ยังไม่ค่อยเห็นมูลนิธิที่ทำงานเรื่องสิทธิไปเยี่ยมผู้ป่วยเท่าไหร่ มีแต่ประชาชนทั่วไปที่ไม่ค่อยรู้เรื่องสิทธิ เข้าไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ

“อาตมภาพต้องเข้าเยี่ยมผู้ป่วยทุกอาทิตย์ ทุกคน จับมือ ลูบหัว ลูบหลังให้กำลังใจทุกคน ถ้าเกิดว่าเราอยู่ในฐานะที่ไปดูถูกเหยียดหยามซ้ำเติม ให้เขามีความรู้สึกด้อยในศักดิ์ศรี หรือเกียรติ ก็ยังไม่เห็นว่าเป็นความรู้สึกที่ผู้ป่วยเขารู้สึกอะไรอย่างนั้น อีกทางหนึ่งกลับเป็นวัดที่เป็นผู้สอนให้คนเข้าใจ และยอมรับในสิ่งเหล่านี้ว่าเราควรให้กำลังใจ ให้โอกาส และความช่วยเหลือ อย่างมีเมตตา มีมนุษยธรรม และก็เชื่อได้ว่าวัดพระบาทน้ำพุก็มีบริบทที่ทำให้สังคมไทยเข้าใจเรื่องเอดส์ได้มากทีเดียว เพราะไม่เช่นนั้นคนคงไม่ไปสนับสนุนที่วัดอยู่ทุกวันนี้

 


ป้ายแนะนำระบบการศึกษาภายในวัด

“ท่านทั้งหลายที่ไม่ได้เป็นเอดส์ที่นั่งอยู่ที่นี่นึกเอาเอง ถ้าท่านดูศพแล้วนึกสงสารแล้วอยากบริจาค ว่ามันใช่เหตุผลไหม ก่อนหน้านั้นเราไม่ได้มีการแสดงศพ ไม่ได้มีพิพิธภัณฑ์ คนก็มาทำบุญที่วัด”

ที่ปรึกษามูลนิธิฯ เล่าว่า ทุกวันนี้มีคนที่ต้องการบริจาคร่างกายให้จำนวนมาก ด้วยความที่เขาอยากให้ร่างกายเป็นประโยชน์กับคนที่เข้ามาศึกษาในวัด จนทางวัดไม่รับแล้ว อย่างไรก็ตาม ท่านมองว่าเรื่องนี้จะต้องแก้ปัญหาให้ถูกต้อง ถ้าจะมีพิพิธภัณฑ์ก็ต้องมีอย่างถูกต้อง เพราะต่อไปก็จะใช้ชื่อว่าศาลาธรรมสังเวช

“ถ้าอยากดูศพคนที่เป็นเอดส์ตายที่เขาอุทิศไว้ให้ ก็เชิญเข้าไปดู” พระอลงกตบอกและว่า กระบวนการเรียนรู้ของวัดมีมาก มีการบรรยาย มีการแสดง มีการนำเอาผู้ติดเชื้อมาเล่าประสบการณ์ต่างๆ ให้ฟัง ซึ่งไปวัดพระบาทน้ำพุไม่ใช่แค่ไปเดินดูศพแล้วจบไป แต่มีเรื่องราวมากมาย เพราะฉะนั้นโรงเรียนต่างๆ จะเข้าไปเป็นประจำทุกปี


ป้ายขอบคุณผู้ที่มาศึกษาดูงานภายในวัด

ตัวแทนผู้ติดเชื้อฯ จากวัดพระบาทน้ำพุ เล่าในที่ประชุมว่า ผู้ป่วยแต่ละคนที่ไปอยู่วัดเป็นคนที่ค่อนข้างยากจน เพราะเขาไม่มีที่ไป และที่วัดก็ให้อาหารทุกวัน มีผู้ดูแลเวลาที่เจ็บป่วย

“สำหรับคนจนอย่างพวกเราแล้ว ไม่มีทางเลือกอื่น วัดพระบาทน้ำพุไม่จำกัดเวลาว่าเราจะอยู่ได้มากน้อยแค่ไหน ทุกคนอยู่ที่นั่นจนตาย คนที่เขาไม่มีจะกินไปอยู่วัด โดยไม่มีอะไรจะตอบแทนวัดเลย สิ่งสุดท้ายที่จะให้ได้ ถ้าร่างกายเรามีประโยชน์ เราก็จะให้ เพราะสิ่งที่ทำได้คือให้คนเขาเห็นว่าชีวิตของคนๆ หนึ่งที่เกิดมาแล้วผิดพลาด สามารถที่จะทำให้คนอีกหลายคนเขามีชีวิตใหม่กลับมา”

ในขณะที่ เสียงสะท้อนจากมุมมองของ เฉลิมชัย ตัวแทนจากเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ กล่าวว่า กรณีพิพิธภัณฑ์ชีวิต เขาไม่ได้มองแค่การเอาคนมาแสดง แต่มองถึงคนป่วยที่นอนอยู่บนเตียงในวัด หลายสิ่งหลายอย่างที่วัดพระบาทน้ำพุทำ ไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องสิทธิ เช่น สิทธิผู้ป่วย สิทธิเรื่องเด็ก สิทธิของการเสียชีวิต หรือการนำกระดูกมาทำเรซิ่น (ศิลปะเรซิ่นกระดูก – กระดูกของผู้ติดเชื้อฯ นำมาผสมกับเรซิ่นเพื่อทำประติมากรรมเป็นรูปร่างของคนในอิริยาบถต่างๆ เช่น รูปปั้นคู่ชายหญิง เพื่อสื่อความหมายของการรักเดียวใจเดียว ซื่อสัตย์ต่อกัน เป็นหนทางป้องกันเอดส์ได้) ทั้งนี้ก็อาจต้องนำมาพิจารณาว่าแต่ละเรื่องมีปัญหาอะไรบ้าง
“ผมคิดว่าถ้าจะพูดเรื่องวัตถุประสงค์ของพิพิธภัณฑ์แล้วอ้างถึงหลักศาสนา ผมก็ไม่มีข้อขัดแย้งว่าอยากให้คนเจริญมรณานุสติ แต่ในความเป็นจริง มันต้องมองว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่ไปเกี่ยวโยงกับเรื่องเอดส์ด้วย เพราะถ้ามองถึงเรื่องเอดส์ มันมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ในมุมผม ข้อดียังนึกไม่ออก แต่ผมเห็นข้อเสียหลายข้อ เช่น การเสนอภาพพจน์อย่างนี้ทำให้คนรังเกียจผู้ป่วย และทำให้คนป้องกันเอชไอวีได้จริงหรือไม่”

เฉลิมชัย ทิ้งท้ายว่า ขอฝากไปดูวัตถุประสงค์จริงๆ ของพิพิธภัณฑ์ชีวิตว่าทำแล้วจะเกิดประโยชน์จริงหรือไม่ โดยวัตถุประสงค์นั้นต้องเป็นสิ่งที่จับต้องได้ด้วย


ศิลปะเรซิ่นกระดูกเอดส์

แม้ว่าผลจากการพูดคุยในเวทีเสวนานี้ ยังคงเป็นโจทย์ให้ทั้งคณะกรรมการสิทธิฯ คนทำงานเอดส์ วัดพระบาทน้ำพุ และภาคส่วนต่างๆ ในสังคม กลับไปช่วยกันแก้ปัญหากรณีของพิพิธภัณฑ์ชีวิต วัดพระบาทน้ำพุนี้ต่อไป แต่ข้อสรุปของกรณีนี้จะเป็นอย่างไร ยังคงต้องติดตาม...

00000

จากการลงเก็บข้อมูลที่วัดพระบาทน้ำพุ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พบว่า ในส่วนที่แสดงศพ ซึ่งเดิมเคยเรียกว่าพิพิธภัณฑ์ชีวิตนั้น อยู่โซนด้านหน้าของวัด หากประชาชนที่ไปศึกษาดูงาน เมื่อพบกับเจ้าหน้าที่แล้ว จะถูกพามา “ดูงาน” ที่พิพิธภัณฑ์ชีวิตเป็นแห่งแรก โดยป้ายชื่อพิพิธภัณฑ์ได้ถูกนำออกไปแล้ว เหลือเพียงป้าย “ยินดีต้อนรับ” และเมื่อเดินเข้าไปในบริเวณส่วนแสดง จะมีร่างที่บริจาคไว้ทั้งสิ้น 20 ร่าง ในอิริยาบถทั้งยืน และนอน โดยในร่างที่ยืนนั้นจะบรรจุในกล่องกระจกใส ขณะที่ร่างนอนจะมีผ้าลูกไม้สีขาวขึงเอาไว้แทนกล่อง ซึ่งป้ายที่บอกข้อมูล หรือสถานภาพส่วนบุคคลประจำร่างผู้บริจาคนั้นๆ ได้ถูกปลดออกไปแล้ว

ร่างทั้ง 20 ร่างมีทั้งที่เป็นร่างของเด็กและผู้ใหญ่ โดยเป็นร่างของผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งหมด และมีเพียงร่างเดียวที่มีเสื้อผ้าปกคลุมร่างกาย นอกจากนี้ จากการให้ข้อมูลของเจ้าหน้าที่ที่วัด บอกว่า ศพที่เพิ่งนำมาแสดงล่าสุดคือ นำมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พร้อมกันนี้ยังมีอัฐิของผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งแสดงอยู่ด้วย

ที่เจ้าอาวาสฯ ชี้แจงว่าไม่ได้มีเพียงแค่ศพของผู้ติดเชื้อฯ เท่านั้น ยังมีศพของเจ้าหน้าที่ที่ตกต้นไม้ตายด้วย จากการลงพื้นที่ก็จะเห็นเพียงโกศที่บรรจุอัฐิ ไม่มีร่างศพของเจ้าหน้าที่อย่างที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลว่าวัตถุประสงค์ของการนำร่างผู้ตายมาแสดง เพื่อเป็นวิทยาทาน และเป็นอุทาหรณ์ ขณะที่ป้ายที่บอกถึงกิจกรรมที่วัดทำนำเสนอว่าเป็น “ห้องศึกษาอาจารย์ใหญ่ที่จัดแสดงเพื่อให้เกิดข้อคิดในการดำรงชีวิต ถ้าไม่มีความรอบคอบในการดำเนินชีวิต ปัจจัยเสี่ยงของชีวิตก็จะตามมา จงใช้ชีวิตด้วยการมีสติ ด้วยความไม่ประมาท”

ส่วนระบบงานการศึกษาของวัดแห่งนี้มีทั้งหมด 10 ส่วนคือ 1.ต้อนรับและส่งกลับ 2.พิพิธภัณฑ์ชีวิต 3.เตาเผาศพ 4.ลูกโลกคนโอบเอชไอวี 5.ศิลปะเรซิ่นกระดูกเอดส์ 6.บ้านพักผู้ป่วยเอดส์ระยะสุดท้าย 6.อาคารเมตตาธรรม 8.ห้องนิทรรศการเอดส์ 9.ศาลากระดูก และ 10.พิพิธภัณฑ์อวัยวะเอดส์

 

หมายเหตุ รายงานนี้เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://www.teenpath.net/content.asp?ID=12344 ประชาไทเห็นว่าน่าสนใจจึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่อีกครั้ง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น