โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

ศธ.เล็งตั้ง"ลูกเสือปชต."ในโรงเรียน-พ่อ"มาร์ค วี11"เผยโดนขมขู่หนัก เล็งส่งลูกไปนอก

Posted: 12 Jul 2010 03:00 PM PDT

ครูหยุยแฉเด็กถูกจับตั้งแต่ 20 พ.ค.กว่า 114 คน จำนวน 100 คนเพิ่งเป็นอิสระหลังโดนกระทุ้ง ชี้เป็นเรื่องแปลกรัฐบาลบอกไม่รู้ ด้านพ่อ “มาร์ค วี11” แจงตัดสินใจไม่ให้มาร์คขึ้นเวที เหตุห่วงความปลอดภัยคนในครอบครัว เผยที่ผ่านมาเจอทั้งจดหมายและโทรศัพท์ข่มขู่ 

<!--break-->

ครูหยุยแฉ ศอฉ.ขังลืมเด็กกว่า 100 คนคดีชุมนุม

เมื่อวันที่ 12 ก.ค. ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กและคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กล่าวตอนหนึ่งถึงความคืบหน้าการควบคุมตัวเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยแยกควบคุมตัวอยู่ตามสถานพินิจในจังหวัดต่างๆ ว่า ล่าสุดได้รับแจ้งมีเด็ก 114 คน ถูกควบคุมตัว แต่ประมาณ 100 คน ได้รับการปล่อยตัวแล้ว ส่วนอีก 14 คน ก่อคดีอุกฉกรรจ์ร่วมเผาสถานที่ หรือศาลากลาง ต้องควบคุมตัวไว้ ส่วนอีก 5-6 คน พ่อแม่ไม่มาประกันตัว โดยตนได้ประกันตัวช่วยออกมา 3 คน แต่ที่น่าห่วง คือไม่รู้ยังมีส่วนที่ถูกควบคุมตัวไว้ที่อื่นอีกหรือไม่นอกจากสถานพินิจ เพราะกรณีมีการปล่อยตัวชุดแรกนี้ เนื่องจากได้ข้อมูลว่าเด็กถูกควบคุมตัว 64 คน จึงออกมากระทุ้งทำให้สถานพินิจแจ้งเข้ามาเพิ่มอีก

"รัฐบาลก็ตกใจบอกว่าไม่รู้และน่าแปลกใจ ยังดีที่ รมต.ยุติธรรม กับ รมต.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สั่งให้เข้ามาดูเรื่องนี้ รายล่าสุดที่ปล่อยตัวออกมา อายุ 14 ปี ถูกขังตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค.โดยถูกจับที่แยกราชประสงค์ขณะกำลังออกจากบังเกอร์ ผมไม่เข้าใจว่าตอนเด็กอยู่ในม็อบให้ไปพูดคุยในการนำเด็กออกมา ให้เงินกลับบ้านไปส่งหมอชิต แต่พอเด็กออกมาไปจับ มาตรฐานไม่ดี ซึ่งเรื่องเด็กเป็นเรื่องใหญ่ถ้าถูกจับว่าไปมีส่วนร่วมวางเพลิงต้องไปสืบสาวราวเรื่อง แต่ที่พบว่าถูกจับไปมากที่สุดจากการชุมนุมเกิน 5 คน ขัด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ" นายวัลลภกล่าว

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

 

พ่อเล็งส่ง"มาร์ค วี11"ไปอยู่ต่างประเทศ โอดโดน"จดหมาย-โทรศัพท์"ข่มขู่เพียบ

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีนายวิทวัส ท้าวคำลือ หรือ มาร์ค วี 11 ผู้เข้าแข่งขันรายการทรู อคาเดมี แฟนเทเชีย ซีซั่น 7 (เอเอฟ 7) โพสท์ข้อความในเฟซบุ๊กวิจารณ์นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กรณีเข้าสลายการชุมนุมโดยใช้ข้อความไม่สุภาพ จนเกิดกระแสต่อต้าน เรียกร้องให้ทรูปลดออกจากรายการ จนครอบครัวตัดสินใจไม่ให้มาร์คขึ้นเวทีแสดงคอนเสิร์ตเมื่อวันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพราะห่วงเรื่องความปลอดภัย โดยนายวทัญญู ท้าวคำลือ บิดาของมาร์ค วี 11 ให้สัมภาษณ์มติชน ว่า ขณะนี้เป็นห่วงความปลอดภัยของมาร์คและคนในครอบครัวมาก เนื่องจากที่ผ่านมาเจอทั้งจดหมายและโทรศัพท์ข่มขู่ จนต้องดึงสายโทรศัพท์ที่บ้านออก และคิดว่าเพื่อความปลอดภัยอาจต้องส่งมาร์คไปอยู่ต่างประเทศ

"ไม่รู้ว่าถ้ามาร์คออกมาจากบ้านเอเอฟ จะสามารถอยู่ในไทยต่อไปได้หรือไม่ ก็มีความคิดว่าอาจจะให้ไปอยู่ต่างประเทศ แต่คงต้องใช้เงินค่อนข้างมาก เพราะเราไม่มีญาติอยู่ต่างประเทศเลย" นายวิทวัสกล่าว และว่า ในวันที่ 14 กรกฎาคมนี้อาจจะให้มาร์คออกมาขอโทษนายอภิสิทธิ์ หรือให้ทำอะไรก็ได้เพื่อให้กระแสในเรื่องนี้ลดลง

ส่วนข้อกล่าวหาเกี่ยวกับสถาบันนั้น นายวทัญญูกล่าวว่า ตอนแรกคิดจะใช้กฎหมายดำเนินการ เพื่อพิสูจน์ว่ามาร์คโดนกลั่นแกล้งโดยตัดต่อเฟซบุ๊ก แต่ตนไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ จึงตัดสินใจว่าจะไม่ดำเนินการต่อ แต่จะปรึกษากับทรูว่าในวันที่ 14 กรกฎาคมนี้ จะชี้แจงอะไรในเรื่องนี้ได้บ้าง

ขณะเดียวกันมีรายงานข่าวจากทรู วิชั่นส์ ผู้ผลิตรายการทรู อคาเดมีแฟนเทเชีย เปิดเผยว่า ผู้บริหารของทรูยังอยู่ในช่วงหารือกันว่าจะจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร เพราะเป็นประเด็นที่อ่อนไหว ถ้าตัดสินใจให้มาร์คออก ก็อาจเกิดกระแสตีกลับจากคนที่เชียร์ แต่ถ้าให้อยู่ต่อทีมงานก็ไม่แน่ใจว่าจะควบคุมสถานการณ์ในวันแสดงสดได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม การแถลงข่าวในวันที่ 14 จะลดกระแสความขัดแย้งลงได้ส่วนหนึ่ง

ที่มา: มติชนออนไลน์

 

รมว.ศึกษาธิการ เล็งตั้ง "ลูกเสือปชต." ในโรงเรียน

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ทางศธ. มีนโยบายให้มีการจัดตั้งหน่วยลูกเสือประชาธิปไตยในโรงเรียนขึ้น เนื่องจากสำนักงานการลูกเสือยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวง และสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ (สสช.) เสนอการจัดตั้งหน่วยลูกเสือประชาธิปไตยในทุกสังกัด โดยให้มีกองลูกเสือในโรงเรียนทุกโรงเรียน มีผู้บังคับบัญชาและลูกเสือที่ผ่านการอบรมลูกเสือประชาธิปไตยอย่างน้อย 36 คน ให้โรงเรียนรับใบจัดตั้งหน่วยลูกเสือ ให้ลูกเสือได้รับวุฒิบัตรและเครื่องหมายสัญลักษณ์ 

นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า โครงการลูกเสือประชาธิปไตยจะดำเนินการทั้งหมด 44 โรงเรียน 1,584 คน ภายในระยะเวลา 2 เดือน และนำหลักสูตรของลูกเสือประชาธิปไตย 6 ข้อ คือ 1.การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในระบอบประชาธิปไตย 2.ลูกเสือกับสถาบันหลักของชาติ 3.ลูกเสือกับการปกครองประชาธิปไตย 4.ลูกเสือกับอำนาจอธิปไตย 5.ลูกเสือกับหลักการความเป็นประชาธิปไตย และ 6.ลูกเสือกับการศึกษาเพื่อ ความเป็นพลเมือง สำหรับโครงการนี้จะเปิดตัวในวันที่ 28 ส.ค. ที่สนามศุภชลาสัย คาดว่าจะมีคนมาร่วมงาน 20,000 คน

"ลูกเสือประชาธิปไตยจะเป็นจุดเริ่มต้นในการบูรณาการ เพื่อใช้การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง และในหลักสูตรลูกเสือเอง ก็มุ่งเน้นเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ มุ่งเน้นการมีวินัย มีกติกา ซื่อสัตย์ เสียสละ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องคุณธรรม จริยธรรม โดยนำวิชาลูกเสือ มาบูรณาการให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน" นายชินวรณ์กล่าว

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์ 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กรรมการสิทธิฯ จัดสัมมนา "พ.ร.ก.ฉุกเฉินกับสิทธิในสังคมไทย" พฤหัสบดีนี้

Posted: 12 Jul 2010 01:49 PM PDT

แจงเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้เรื่อง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นกลไกที่มีส่วนในการคุ้มครองสิทธิหรือไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น รวมทั้งปกป้องผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก หวังยกระดับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สาธารณชน

<!--break-->

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการสื่อสารสาธารณเพื่อสิทธิมนุษยชน จัดสัมมนา "พ.ร.ก.ฉุกเฉินกับสิทธิในสังคมไทย" วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม 2553 เวลา 12.30 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมประชาธิปก ชั้น 5 สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ เรื่อง พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่าเป็นกลไกที่มีส่วนในการคุ้มครองสิทธิหรือไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น รวมทั้งปกป้องผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก เพื่อให้เกิดการยกระดับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สาธารณชน

จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์คณะกรรมการสิทธิฯ ระบุ จากเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. (เสื้อแดง) เพื่อต่อรองทางการเมืองกับรัฐบาลจากสะพานมัฆวานรังสรรค์สู่ราชประสงค์ โดยการสร้างเงื่อนไขต่อรองรัฐบาลให้ลาออกและยุบสภา ซึ่งการกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ เศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศเป็นลูกโซ่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักสำคัญของประเทศ ทำให้รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีต้องประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย.53 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งขยายครอบคลุมไปยังจังหวัดอื่นๆ ในส่วนภูมิภาค

การสัมมนาดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมการอภิปราย ดังนี้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย, นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (อยู่ระหว่างการประสานงาน), นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน, ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ดำเนินรายการโดย นายธีรพันธ์ นาทีกาญจนลาภ อนุกรรมการสื่อสารสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน


สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“อภิสิทธิ์” ยันยังไม่ขึ้นภาษี VAT จาก 7% เป็น 8% ทั้งในปีนี้และปีหน้า

Posted: 12 Jul 2010 01:10 PM PDT

ระบุขณะนี้ภาษีที่ดิน ภาษีทรัพย์สิน ผ่าน ครม.แล้ว ขณะนี้รอเข้าสภาฯ ย้ำยังไม่มีการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 1 เปอร์เซ็นต์ เพราะยังไม่มีความจำเป็น แค่อยู่ในขั้นตอนศึกษา ชี้ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 เปอร์เซ็นต์ ตอนเริ่มต้นว่าจะใช้ชั่วคราว แต่ก็ใช้มา 11 ปีแล้ว

<!--break-->

วานนี้ (12ก.ค.) เวลา 13.50 น. ณ หอประชุมสุขุมนัยประดิษฐ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จังหวัดนนทบุรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงถึงกรณีการปรับโครงสร้างภาษีว่า ขณะนี้งานด้านภาษีที่รัฐบาลกำลังดำเนินการเบื้องต้นมีเรื่องภาษีที่ดิน ภาษีทรัพย์สิน ซึ่งถือว่าได้ข้อยุติคือผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว ขณะนี้รอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ส่วนปัญหาเรื่องการปรับโครงสร้างภาษีนั้นยังอยู่ในขั้นตอนที่กระทรวงการคลังกำลังศึกษา เนื่องจากต้องการให้ฐานภาษีกว้างขึ้น และภาษีมีความสลับซับซ้อนน้อยลง อาทิ ขณะนี้มีระบบของการส่งเสริมการลงทุนจึงกลายเป็นว่าคนที่ได้รับยกเว้นภาษีก็ได้รับยกเว้นเลย ส่วนคนที่ไม่ได้รับการส่งเสริมก็เสียภาษีในอัตราที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงต้องพิจารณาทั้งเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและจะเกี่ยวโยงไปถึงภาษีในส่วนอื่นๆ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการศึกษา ทั้งนี้ ตนได้หารือกับนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาอย่างต่อเนื่อง และคิดว่ายังต้องใช้เวลาในการหาข้อยุติ 

ส่วนจะมีการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 1 เปอร์เซ็นต์ตามที่มีการศึกษาหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ยังไม่มีการขึ้นภาษี และในเวลานี้ยังไม่มีความจำเป็น เพราะอยู่ในช่วงกำลังประคับประคองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ดังนั้นคงยังไม่มีการเพิ่มขึ้น เพียงแต่เป็นข้อเท็จจริงคือภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 เปอร์เซ็นต์ในขณะนี้ตอนเริ่มต้นระบุว่าจะใช้ชั่วคราว แต่ก็ใช้มา 11 ปีแล้ว 

นายอภิสิทธิ์กล่าวด้วยว่า ในปีหน้า (พ.ศ.2554) ภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวก็จะยังไม่ปรับเพิ่ม รวมทั้งต้องดูทิศทางการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีทั้งหมดก่อน ซึ่งการปรับโครงสร้างภาษีมีหลายส่วน เพราะมีทั้งเรื่องท้องถิ่นด้วย เหมือนภาษีที่ดินที่ไม่ได้ทำเฉพาะเรื่องการกระจายการถือครองที่ดิน หรือเพื่อความเป็นธรรมเท่านั้น แต่จะต้องดูโครงสร้างในแง่ของรายได้ท้องถิ่นเทียบกับรายได้ส่วนกลางด้วย ดังนั้นจึงมีหลายประเด็นที่จะต้องศึกษาให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น เรื่องการเปิดการค้าเสรี เรื่องภาษีบาปที่ถูกนำมาใช้เป็นระบบกึ่งนอกงบประมาณ ทั้งนี้ จากการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคงต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งปี 

ส่วนที่ว่าการปรับโครงสร้างภาษีสอดรับกับทิศทางเรื่องการสร้างสวัสดิการจึงจำเป็นต้องสร้างระบบภาษี นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ไม่ใช่ เพราะตามที่เคยระบุแล้วว่า มาตรการที่ออกไป และไปวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานะทางการคลังก็จะเห็นได้ชัดว่าที่บริหารมาฐานะทางการคลังดีกว่าที่มีการประมาณการไว้ และค่าใช้จ่ายขณะนี้จะมีการคำนวณล่วงหน้าแล้ว และเมื่อมีข้อมูลเรื่องสำมะโนประชากรที่แม่นยำมากขึ้น ก็จะยิ่งเตรียมการได้ดียิ่งขึ้น 

“ยืนยันว่าถึงอย่างไรเราก็ต้องเดินทางไปสู่สังคมที่คนไทยทุกคนมีหลักประกันความมั่นคง แต่คงไม่ใช่ในลักษณะที่รับเพียงอย่างเดียว และแนวที่รัฐบาลจัดทำเรื่องกองทุนเงินออมเป็นตัวอย่างที่บ่งชี้อย่างดีที่สุดว่า เราไม่ได้คิดที่จะให้อย่างเดียว แต่ต้องการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม” นายอภิสิทธิ์กล่าว พร้อมระบุว่ารัฐบาลไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าเพิ่มสวัสดิการแล้วจะต้องเพิ่มภาษี แต่ดูในเชิงโครงสร้าง ความเป็นธรรม ลดความสลับซับซ้อนเพื่อจะเพิ่มหรือขยายฐานภาษีให้คนเสียภาษีถูกต้องมากขึ้น และลดช่องว่างการทุจริตของเจ้าหน้าที่ด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการปรับเพิ่มภาษีจะต้องเน้นให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ไม่ได้นำเรื่องนี้มาเป็นตัวตั้ง แต่ใช้โครงสร้างที่จะเอื้อให้เศรษฐกิจไทยแข่งขันได้ และเพียงพอที่จะมีบริการพื้นฐาน ซึ่งเวลานี้เราคำนวณตัวเลขอยู่ ในโครงสร้างปัจจุบันก็ไม่ได้มีปัญหา เพียงแต่เห็นว่าน่าจะทำให้ดียิ่งขึ้น และเป็นธรรมมากขึ้น 

ส่วนบทสรุป นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ได้สอบถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นระยะๆ ก็มีความคืบหน้าไปพอสมควร จึงอาจจะน่าได้ข้อสรุปประมาณสิ้นปี ซึ่งเมื่อดำเนินการเสร็จก็ต้องมาศึกษาดูขั้นตอนที่จะทำในแต่ละเรื่องว่าจะต้องดำเนินการเรื่องอะไรก่อนหรือหลัง รวมทั้งจะต้องแก้ไขกฎหมายอย่างไร 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศค.อยู่ระหว่างศึกษาการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสอดคล้องกับรายจ่ายภาครัฐ ที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายรัฐบาล ซึ่งเน้นเป็นรัฐสวัสดิการ และมุ่งหวังป้องกันผลกระทบต่อฐานะทางการคลัง โดยการพิจารณาจะต้องจัดทำในภาพรวมคือเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายส่วนใดบ้าง และหนึ่งในข้อเสนอของ สศค.เพื่อเพิ่มรายได้คือจัดเก็บเพิ่มจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่ 7% ของมูลค่าสินค้าต่าง ๆ ซึ่งหากขึ้นภาษีส่วนนี้แค่ 1% จะจัดเก็บเพิ่มได้ 50,000 ล้านบาท โดยเวลาที่เหมาะสมที่ควรปรับขึ้นคือช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ

สศค.ระบุว่า ปัจจุบันหากเปรียบเทียบกับต่างประเทศ พบว่าVAT ของไทยจัดเก็บในระดับต่ำ โดยสิงคโปร์อยู่ที่ 7% อินโดนีเซีย เวียดนามเก็บที่ 10% ฟิลิป ปินส์ 12% อินเดีย 13% จีน 17% อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย 20% ส่วนประเทศที่เป็นรัฐสวัสดิการเช่น นอร์เวย์ สวีเดน เดน มาร์ก อยู่ที่ 25% แต่จะยกเลิกการลดหย่อนหรือเพิ่มVATหรือไม่นั้นถือเป็นนโยบายรัฐบาลหรือฝ่ายการเมือง สศค.เพียงแต่จะเสนอ ผลการศึกษาและข้อดี ข้อเสียเท่านั้น ทั้งนี้ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ของรัฐบาลไทยมาจาก VAT ประมาณ 30% ภาษีเงินได้นิติบุคคล 27% ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 14% ภาษีสรรพสามิต 20% ภาษีศุลกากร รายได้จากรัฐวิสาหกิจและรายได้อื่น ๆ อยู่ที่ 5%

 

เรียบเรียงจาก: กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก และ มติชนออนไลน์

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือข่ายแรงงานค้าน “กองทุนพิเศษ” แรงงานข้ามชาติ โวยลูกจ้างโดยประกันสังคมกีดกันทำเข้าไม่ถึงสิทธิ

Posted: 12 Jul 2010 12:36 PM PDT

ร้องแรงงานข้ามชาติเข้าไม่ถึงสิทธิกองทุนเงินทดแทน ชี้สำนักงานประกันสังคมกีดกันผลักภาระให้คนงาน พร้อมจวกแนวคิดกองทุนเงินทดแทนพิเศษให้เอกชนจัดการละเมิดเจตนารมณ์กฎหมายแรงงาน-รัฐธรรมนูญ-ปฏิญญาสากลฯ

<!--break-->

วานนี้ (12 ก.ค.53) เวลา 14.00 น.ที่กระทรวงแรงงาน สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรแรงงานไทยและองค์กรแรงงานระหว่างประเทศได้เข้าพบ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อหารือในข้อห่วงใยต่อนโยบายการจัดตั้งกองทุนเงินทดแทน (กองทุนพิเศษ) สำหรับแรงงานข้ามชาติในรูปแบบของการประกันชีวิตที่ให้บริษัทประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบ โดยเสนอให้นำแรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบกองทุนเงินทดแทน

ทั้งนี้ หนังสือเรื่องขอให้นำแรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบกองทุนเงินทดแทน ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และสำเนาถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมระบุว่า จากการทำกิจกรรมของ สรส. มสพ. คสรท. องค์กรแรงงานและองค์กรพัฒนาเอกชน นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ในการให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าที่ประสบอันตรายจากการทำงาน และข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้แสดงให้เห็นว่าแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าที่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานถูกปฏิเสธไม่สามารถรับเงินจากกองทุนเงินทดแทนได้ 

โดยทางสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้อ้างเงื่อนไขตามหนังสือเวียนของสำนักงานประกันสังคม ที่ รส.0711/ว751 ลงวันที่ 25 ต.ค.2544 เรื่อง การให้การคุ้มครองแรงงานต่างด้าวประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน โดยตามหนังสือเวียนดังกล่าว แรงงานข้ามชาติจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนได้ก็ต่อเมื่อมี 1) ใบอนุญาตทำงาน 2) หนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว 3) นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน 4) แรงงานข้ามชาติต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากไม่มีหลักฐานเหล่านี้ นายจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินทดแทนให้ลูกจ้างเอง โดยที่ลูกจ้างจะขอรับเงินทดแทนและสิทธิใดจากกองทุนเงินทดแทนไม่ได้ 

เงื่อนไขตามหนังสือเวียนฉบับดังกล่าว ทำให้แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยกว่า 2 ล้านคนไม่สามารถเข้าถึงกองทุนเงินทดแทนได้ โดยจากการรวบรวมข้อมูลพบว่า แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่มักไม่ได้รับเงินทดแทนจาก นายจ้าง หรือได้รับในจำนวนที่น้อยกว่ากฎหมายกำหนดเป็นอย่างมาก อีกทั้ง กระบวนการ ขั้นตอนในการเรียกร้องสิทธิที่ไม่ชัดเจนและเงื่อนไขต่างๆ ที่ไม่เอื้อต่อการคุ้มครองสิทธิ รวมทั้งการไม่มีสภาพบังคับเพียงพอของคำสั่งของ สปส.ทำให้แรงงานต้องรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้วยตนเอง หรือไม่ได้รับเงินทดแทนแต่อย่างใด

สรส. มสพ. คสรท. องค์กรแรงงานและองค์กรพัฒนาเอกชน จึงเห็นว่าการกำหนดแนวปฏิบัติของ สปส.ที่มีลักษณะกีดกันแรงงานข้ามชาติ และนายจ้างที่มีลูกจ้างเป็นแรงงานข้ามชาติ ไม่ให้เข้าสู่ระบบกองทุนเงินทดแทน และผลักให้แรงงานข้ามชาติต้องตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิ ทั้งที่แรงงานข้ามชาติเองก็สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาลให้ประเทศไทย และสมควรที่จะได้รับความมั่นคงในชีวิตนั้น เป็นการกระทำที่ไม่ชอบธรรม และเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อแรงงานข้ามชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย นอกจากนี้ แนวปฏิบัติดังกล่าวยังขัดต่อเจตนารมณ์และขัดกับกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศหลายฉบับ 

หนังสือระบุด้วยว่า เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปตามเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองสิทธิของแรงงานทุกคนอย่างเคร่งครัดและไม่เลือกปฏิบัติ และเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีตามกฎหมายแรงงานของไทยและกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี จึงเรียนเสนอต่อกระทรวงแรงงานเพื่อพิจารณาดำเนินการ หรือสั่งการให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้ 

1.ทบทวน แก้ไข และเพิกถอนระเบียบอันเป็นการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติไม่ให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงสิทธิในกองทุนเงินทดแทนของ สปส. 2.หาแนวทางร่วมกันกับกระทรวงแรงงาน เพื่อแก้ปัญหาให้แรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบกองทุนเงินทดแทนได้ทุกคน 3.กำหนดนโยบายของสำนักงานประกันสังคมที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม สำหรับแนวทางการพิจารณาของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับเอกสารประกอบคำร้องทั้งนี้เพื่อลดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเอกสารประกอบ และกำหนดหน่วยงานที่แปลและรับรองเอกสารที่แปลแล้ว โดยเฉพาะในกรณีที่ทายาทของผู้เสียชีวิตเนื่องจากประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน อาศัยอยู่ในประเทศต้นทาง ผู้ที่รับมอบอำนาจจะพบอุปสรรคด้านเอกสารทำให้ไม่สามารถดำเนินการแทนได้ หรือต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะสามารถดำเนินการได้

4.ในกรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิตเนื่องจากการทำงาน สปส.ควรมีนโยบายที่จะผ่อนผันให้แก่ญาติ หรือทายาทของผู้เสียชีวิตเพื่อที่จะรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องจากประเทศต้นทางโดยให้ สปส. ออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทนก่อน และจ่ายเงินทดแทนให้แก่ทายาทของผู้เสียชีวิตเมื่อสามารถนำเอกสารมาแสดงได้ 5.กำหนดนโยบายของสำนักงานประกันสังคม ให้เอื้อต่อการแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อการพิจารณาคำร้องของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ต้องเป็นผู้แสวงหาข้อเท็จจริง หรือหลักฐานที่จำเป็นสำหรับการพิจารณาด้วยตนเอง 6.กำหนดนโยบายในการอำนวยความสะดวกให้แก่แรงงานข้ามชาติ เช่น การมีเอกสารเผยแพร่ความรู้เป็นภาษาของแรงงาน และการมีล่ามภาษาของแรงงานข้ามชาติในสำนักงานเพื่อให้แรงงานข้ามชาติสามารถแจ้งเรื่องได้

7.กำหนดนโยบายร่วมกันระหว่างสำนักงานประกันสังคม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรมการจัดหางาน เพื่อประกันให้แรงงานข้ามชาติที่ประสบอุบัติเหตุได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ได้รับอวัยวะเทียม และการฝึกอาชีพเพื่อสามารถประกอบอาชีพใหม่ ในกรณีที่อาการบาดเจ็บทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานแบบเดิมได้ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในการหางานใหม่ 8.กำหนดนโยบายร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานประกันสังคม เพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติโดยโรงพยาบาลทุกแห่ง สำหรับกรณีที่ลูกจ้างทั้งแรงงานในชาติและแรงงานข้ามชาติ เข้ารักษาพยาบาลเนื่องจากประสบอุบัติเหตุจากการทำงานนั้น ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยตนเอง แต่เป็นหน้าที่ของนายจ้างและสำนักงานประกันสังคม หรือโรงพยาบาล ที่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลนี้แทนลูกจ้าง กล่าวคือ การที่แรงงานข้ามชาติ (รวมทั้งแรงงานไทย) ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน (ต้องให้นายจ้าง สปส.หรือโรงพยาบาลเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปก่อน)

9.กำหนดนโยบายร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานประกันสังคม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และตำรวจ เพื่อให้มีการส่งเรื่องโดยอัตโนมัติในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการทำงาน โดยให้ส่งเรื่องไปที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและตำรวจสำหรับการสืบสวนสอบสวน/การฟ้องร้องดำเนินคดี และส่งเรื่องต่อไปยัง สปส. สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับเงินทดแทน 10.กำหนดนโยบายร่วมกันระหว่าง กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานประกันสังคม และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมการจัดหางาน และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อผ่อนผันให้สิทธิอาศัยชั่วคราวสำหรับแรงงานข้ามชาติที่พิการเนื่องจากอุบัติเหตุจากการทำงาน และให้มีสิทธิในการพำนักอย่างถาวรในประเทศไทยจนกว่าประเทศต้นทางจะสามารถอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตของผู้พิการได้อย่างเหมาะสม

11.ให้มีการบังคับใช้กฎหมายและนโยบายด้านการคุ้มครองแรงงานอย่างเคร่งครัด เพื่อกำกับดูแลให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และเพื่อเป็นการตรวจสอบนายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวะอนามัยในการทำงาน 12.กำหนดนโยบายจากกระทรวงแรงงานเพื่อให้มีการระดมความเห็นระหว่าง กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานประกันสังคม และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ทั้งนี้เพื่อเสนอแนะยุทธศาสตร์เพื่อป้องกันอุบัติเหตุได้อย่างเหมาะสม

นอกจากนั้นยังมีการออกแถลงการณ์เรื่องให้นำแรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบกองทุนเงินทดแทน โดยระบุว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมากระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามที่จะหาทางออกด้วยการจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อจ่ายเงินทดแทนให้แก่แรงงานข้ามชาติโดยให้บริษัทประกันชีวิตเอกชนเข้ามาบริหารจัดการกองทุนตามแนวคิดแต่การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดเจตนารมณ์ของกฎหมายแรงงานทุกฉบับ และ พ.ร.บ.กองทุนเงินทดแทน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และปฏิญญาสกลขององค์การสหประชาชาติ

แถลงการณ์ระบุข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังนี้ 1.ทบทวน แก้ไข และเพิกถอนระเบียบอันเป็นการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติไม่ให้เข้าถึงสิทธิกองทุนเงินทดแทน 2.หาแนวทางร่วมกันจากภาคส่วนต่างเพื่อหาแนวปฏิบัติและแก้ไขปัญหาเพื่อให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงสิทธิของกองทุนเงินทดแทน 3.ให้ยกเลิกกระบวนการจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างที่เป็นแรงงานข้ามชาติเพราะเป็นการละเมิดกฎหมาย

 

 
แถลงการณ์เรื่อง ให้นำแรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบกองทุนเงินทดแทน
 
ด้วยสถานการณ์แรงงานข้ามชาติในขณะนี้อยู่ในภาวะที่น่าห่วงใยเป็นอย่างยิ่งในหลายกรณีและประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังถูกนานาชาติติดตามอย่างใกล้ชิดและมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการที่รัฐบาลไทยปล่อยให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ รวมทั้งเรื่องการเข้าถึงสิทธิกองทุนเงินทดแทน
 
กองทุนเงินทดแทนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินทดแทน พ.ศ.๒๕๓๗ โดยมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างโดยไม่จำกัดว่าเป็นแรงงานไทยหรือแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานให้แก่นายจ้างไม่ว่าจะขึ้นทะเบียนหรือไม่ก็ตาม พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวได้กำหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์ และการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจนสำหรับการบริหาร การจัดการและการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ เสียชีวิต รวมทั้งการกำหนดโทษสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ แต่ดูเหมือนพฤติกรรมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองลูกจ้างกำลังมีการเบี่ยงเบนเจตนารมณ์และแปรความกฎหมายไปในทางที่ไม่ถูกต้อง และเข้าข่ายละเมิดสิทธิแรงงานของลูกจ้าง
 
แรงงานข้ามชาติในฐานะที่เป็นลูกจ้างและจะต้องได้รับการคุ้มครองเสมอแรงงานไทยอันเป็นหลักการที่กฎหมายแรงงานทุกฉบับ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันบัญญัติไว้เรื่องความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีเป็นชนชาติไหนที่มาอาศัยหรือทำงานในประเทศไทย รวมทั้งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติที่ประเทศไทยเป็นภาคีซึ่งเป็นหลักการใหญ่ที่ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตาม แต่ในความเป็นจริงแรงงานข้ามชาติถูกปฏิเสธไม่สามารถเข้าถึงกองทุนเงินทดแทนได้ โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้อ้างเงื่อนไขหนังสือเวียนที่ รส.๐๗๑๑/ว๗๕๑ ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๔ เรื่องการให้ความคุ้มครองแรงงานต่างด้าวที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานจะได้รับเงินทดแทนได้ก็ต่อเมื่อมี ๑)ใบอนุญาตทำงาน ๒)หนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ๓)นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน ๔)แรงงานข้ามชาติต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากไม่มีหลักฐานเหล่านี้นายจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างเองซึ่งข้อมูลจากการสำรวจพบว่าแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ไม่ได้รับเงินทดแทนจากนายจ้าง และไม่สามารถรับเงินทดแทนและสิทธิใด ๆ จากกองทุนเงินทดแทน และทำให้แรงงานข้ามชาติกว่า ๒ ล้านคนไม่สามารถเข้าถึงสิทธิของกองทุนเงินทดแทนได้ และแม้ว่าแรงงานข้ามชาติจะมีหลักฐานทะเบียนราษฎร์ ทร. ๓๘/๑ มีบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่ออกโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และมีใบอนุญาตทำงานที่ออกให้โดยกรมจัดหางานแล้วก็ตาม แต่สำนักงานประกันสังคมก็ยังคงปฏิเสธสิทธิกองทุนเงินทดแทนของแรงงานข้ามชาติ
 
ในช่วงเวลาที่ผ่านมากระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามที่จะหาทางออกด้วยการจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อจ่ายเงินทดแทนให้แก่แรงงานข้ามชาติโดยให้บริษัทประกันชีวิตเอกชนเข้ามาบริหารจัดการกองทุนตามแนวคิดแต่การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดเจตนารมณ์ของกฎหมายแรงงานทุกฉบับ และ พ.ร.บ.กองทุนเงินทดแทน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ และปฏิญญาสกลขององค์การสหประชาชาติตามที่กล่าวมา
 
ดังนั้น สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา(มสพ.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ประจำประเทศไทยจึงขอให้รัฐบาลดำเนินการดังนี้
 
๑.ทบทวน แก้ไข และเพิกถอนระเบียบอันเป็นการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติไม่ให้เข้าถึงสิทธิกองทุนเงินทดแทนของสำนักงานประกันสังคม
 
๒.หาแนวทางร่วมกันจากภาคส่วนต่างๆทั้งรัฐบาล องค์การแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนแรงงานข้ามชาติเองเพื่อหาแนวทางปฏิบัติ และการแก้ไขปัญหาเพื่อให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงสิทธิกองทุนเงินทดแทน
 
๓.ให้ยกเลิกกระบวนการจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างแรงงานข้ามชาติเพราะเป็นการละเมิดกฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ
 
ด้วยความสมานฉันท์
 
สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)
สหพันธ์แรงงานขนส่งระหว่างประเทศ (ITF-Thai)
สหพันธ์แรงงานการบริการและสาธารณูปโภคระหว่างประเทศ (PSI-Thai)
สหพันธ์แรงงานนานาชาติกิจการเคมี พลังงาน ปิโตรเลียม และแรงงานทั่วไป (ICEM-Thai)
สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมเหล็กโลหะระหว่างประเทศ (IMF-Thai)
เครือข่ายสหภาพแรงานสากล (UNI-Thai)
สหพันธ์แรงงานก่อสร้างและไม้ระหว่างประเทศ (BWI-Thai)
กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต และใกล้เคียง (R.A.T.G.)
กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล (คสรพ.)
สำนักงานคณะกรรมการเพื่อผู้ลี้ภัยและผู้อพยพแห่งสหรัฐอเมริกา (USCRI)
เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ (M.W.R.N.)
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สรุปข่าวพม่ารอบสัปดาห์ (6 - 12 ก.ค.53)

Posted: 12 Jul 2010 10:30 AM PDT

พม่าเลื่อนการสอบระดับมหาวิทยาลัยเร็วขึ้นหนึ่งเดือน/ทางการพม่าไม่อนุญาตให้สมาชิกเอ็นแอลดีค้างในเนปีดอว์/ หญิงสาวโรฮิงยาถูกแก๊งค์เจ้าหน้าที่พม่าข่มขืน/พบการซื้อ – ขายตำแหน่งข้าราชการเกลื่อนในรัฐคะเรนนี/อภิสิทธิ์ เตรียมเยือนพม่าเดือนหน้า/กองทัพพม่าฉาวอีกรอบ จับเด็กออทิสติกเป็นทหาร

<!--break-->

6 ก.ค.53
 
พม่าเลื่อนการสอบระดับมหาวิทยาลัยเร็วขึ้นหนึ่งเดือน
 
รัฐบาลพม่าได้ออกมาประกาศเลื่อนการสอบในระดับมหาวิทยาลัยเร็วขึ้นหนึ่งเดือน ซึ่งจะมีการสอบในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ ขณะที่ทุกปีมีการสอบในช่วงเดือนกันยายน โดยหลายฝ่ายคาดการณ์ว่า อาจเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งทั่วไปของพม่าที่กำลังจะมีขึ้น จึงทำให้ทางการต้องเลื่อนการสอบให้เร็วขึ้น
 
ขณะที่นายจิมเวบบ์ วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกาเชื่อว่า พม่าจะจัดการเลือกตั้งในวันที่ 10 เดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ (10 /10 /2010) มีรายงานว่า ครูในระดับมหาวิทยาลัยต่างเร่งสอนให้ทันการสอบที่จะมีขึ้นในเดือนหน้า อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ รัฐบาลพม่ายังไม่ได้ออกมาประกาศวันเลือกตั้งแต่อย่างใด (Irrawaddy)
 
 
 7 ก.ค.53
 
ทางการพม่าไม่อนุญาตให้สมาชิกเอ็นแอลดีค้างในเนปีดอว์
 
2 ตัวแทนจากพรรคเอ็นแอลดีไม่ได้รับอนุญาตให้พักค้างคืนในเนปีดอว์ มีรายงานว่า ทั้งสองถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจขับออกจากกรุงเนปีดอว์ ทั้งนี้ สาเหตุที่ตัวแทนทั้งสองคนเดินทางไปเนปีดอว์ก็เพื่อยื่นจดหมายร้องเรียนต่อสหภาพคณะกรรมการเลือกตั้ง ถึงกรณีที่พรรคแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Democratic Front) ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกพรรคเอ็นแอลดีที่แยกตัวออกมาจัดตั้งพรรคการเมืองต่างหาก ได้ใช้สัญลักษณ์สวมหมวกฟางเลียนแบบการหาเสียงของพรรคเอ็นแอลดี
 
ขณะที่เจ้าหน้าที่ในเนปีดอว์อ้างกับ 2 ตัวแทนสมาชิกเอ็นแอลดีถึงสาเหตุการที่ไม่อนุญาตให้เข้าพักในเนปีดอว์ในครั้งนี้ว่า เนื่องจากโรงแรมในเนปีดอว์มีไว้สำหรับให้บริการแก่เจ้าหน้าที่ของทางราชการเท่านั้น ด้านสมาชิกเอ็นแอลดีเชื่อ อาจเป็นคำสั่งตรงจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลพม่า และอาจทำไปเพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวของสมาชิกพรรคเอ็นแอลดี (Irrawaddy)
 
 
8 ก.ค.53
 
หญิงสาวโรฮิงยาถูกแก๊งค์เจ้าหน้าที่พม่าข่มขืน
 
นางสาวไมนารา บีกัม นามสมมุติวัย 20 ชาวมุสลิมโรฮิงยาถูกแก๊งเจ้าหน้าที่ทหารพม่านำตัวไปข่มขืนยังค่ายทหาร โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมาแต่เพิ่งได้รับการเปิดเผย มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ทหารพม่าจำนวน 5 นาย ได้เข้าตรวจเช็ครายชื่อของแขกที่มาพักบ้านของนางสาวไมนารา ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเมืองมงดอว์ รัฐอาระกัน เมื่อเวลา 24.00น.ในคืนวันที่ 30 มิถุนายน โดยเจ้าหน้าที่ทหารได้บังคับและจับกุมหญิงสาวไปยังค่ายทหารในพื้นที่
 
อย่างไรก็ตาม ทันทีที่เดินทางถึงค่ายทหาร เจ้าหน้าที่ทั้งหมดได้ลงมือข่มขืนนางสาวไมนารา ก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัวในวันถัดมา มีรายงานว่า ในระหว่างที่นางสาวไมนาราถูกกักขังอยู่ที่ค่ายทหาร สมาชิกครอบครัวของเธอได้ไปร้องขอให้เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวนางสาวไมนารา แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกาย
 
การละเมิดทางเพศยังคงเป็นปัญหาคุกคามชีวิตของหญิงชาวโรฮิงยา มีรายงานว่า เจ้าหน้าทหารพม่ามักเข้าตรวจค้นบ้านในยามวิกาล และหากพบหญิงสาวอยู่ตามลำพังก็จะลงมือข่มขืน ขณะที่เหยื่อจำนวนมากไม่กล้าร้องเรียนต่อทางการและเลือกที่จะปิดปากเงียบ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ติดตามคดี ในขณะเดียวกัน หวาดกลัวว่า อาจถูกข่มขู่และถูกกดขี่มากขึ้นจากเจ้าหน้าที่ทหารพม่าหากเปิดเผยเรื่องนี้ออกไป (Kaladan)
 
 
พบการซื้อ – ขายตำแหน่งข้าราชการเกลื่อนในรัฐคะเรนนี
 
แหล่งข่าวในรัฐคะเรนนีรายงานว่า พบเห็นการซื้อขายตำแหน่งข้าราชการอย่างครู หมอ หรือตำแหน่งข้าราชการอื่นๆในรัฐคะเรนนีเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ มีรายงานว่า ผู้ที่ต้องการเข้ารับราชการ หากไม่มีเงินจ่ายใต้โต๊ะ หรือไม่มีความใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ข้าราชการแล้ว โอกาสที่จะได้รับราชการมีน้อยมาก แต่หากต้องการรับราชการอาจต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะราว 5 แสนจั๊ต(ราว16, 892 บาท) ให้กับเจ้าหน้าที่
 
ขณะที่ตำแหน่งนางพยาบาลอาจต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะสูงถึง 4 – 5 ล้านจั๊ต (ราว 135,135 – 168,919 บาท) ในบางรายอาจต้องรอนานถึงครึ่งปีกว่าจะสามารถยื่นซื้อตำแหน่งนี้ได้ (Kantarawaddy)
 
 
9 ก.ค.53
 
นางเอกพม่าไม่พอใจ ถูกกล่าวหาแต่งตัวโป๊
 
Su Shoon Lei นางเอกพม่าได้ออกมากล่าวหาคณะกรรมการเซ็นเซอร์ของพม่าว่า ไม่มีความยุติธรรม หลังจากสั่งการให้วารสารชื่อ Envoy News Journal ปิดทำการเป็นเวลา 1 อาทิตย์ เนื่องจากวารสารฉบับนี้ตีพิมพ์ภาพของเธอในชุดกระโปรงสั้นลงในวารสาร ซึ่งคณะกรรมการเซ็นเซอร์อ้างว่า ชุดที่ Su Shoon Lei ถ่ายแบบลงวารสารฉบับนี้ไม่เหมาะสม เนื่องจากเผยให้เห็นขาอ่อน
 
ขณะที่นางเอกคนดังกล่าวออกมาโต้ว่า วารสารบางเล่มลงภาพนางแบบสวมชุดที่โป๊กว่าและใส่กระโปรงที่สั้นกว่าที่เธอสวมใส่ด้วยซ้ำ แต่คณะกรรมการเซ็นเซอร์พม่ากลับมองข้ามและไม่แบนวารสารเหล่านั้น ซึ่งไม่ความยุติธรรม
 
ด้านบรรณาธิการนิตยสารฉบับหนึ่งเปิดเผยว่า พันตรีตินส่วย ผู้อำนวยการคณะกรรมเซ็นเซอร์ของพม่าได้เชิญตัวแทนจากนิตยสารและวารสารจำนวน 30 ฉบับเข้าพบ และเตือนให้ระวังการนำภาพที่ไม่เหมาะสมลงในนิตยสารหรือวารสาร และถ้าหากขัดขืนจะถูกแบนเป็นเวลา 1 – 2 เดือน (Mizzima)
 
 
12 ก.ค.53
 
อภิสิทธิ์ เตรียมเยือนพม่าเดือนหน้า
 
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทยเตรียมเยือนพม่าในช่วงต้นเดือนหน้า แต่จะเป็นการเยือนในช่วงระยะเวลาเพียงสั้นๆ 1 – 2 วันเท่านั้น โดยนายอภิสิทธิกล่าวว่า พม่าเป็นประเทศเดียวในกลุ่มอาเซียนที่ตนยังไม่ได้ไปแนะนำตัว อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายละเอียดว่า นายกรัฐมนตรีของไทยจะเข้าพบปะกับผู้นำรัฐบาลพม่าคนใดบ้าง
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนกรกฎาคมของปีที่แล้ว นายกไทยวางแผนที่จะเยือนพม่ามาแล้วครั้งหนึ่ง แต่แผนดังกล่าวต้องเลื่อนออกไป เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวตรงกับช่วงที่รัฐบาลทหารพม่ากำลังนำตัวนางอองซาน ซูจี หัวหน้าพรรคเอ็นแอลดี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านไปสอบสวนในชั้นศาล กรณีที่มีชายอเมริกันลักลอบว่ายน้ำเข้าไปในบ้านพักของเธอ (DVB)
 
กองทัพพม่าฉาวอีกรอบ จับเด็กออทิสติกเป็นทหาร
 
DVB By AYE NAI : 9 กรกฎาคม 2553 กลายเป็นเรื่องวิพากษ์วิจารณ์กันทั่วเมือง เมื่อเด็กออทิสติก ซึ่งกำพร้าพ่อแม่และอาศัยอยู่กับพี่สาว ได้ถูกทหารในภาคมัณฑะเลย์เกณฑ์ไปเป็นทหารในกองทัพ
 
ผิ่วพวย (Phyu Phway ) เปิดเผยกับนักข่าวว่า เส่งโท น้องชายวัย 17 ปี จากเมืองไดก์อู ในภาคพะโค ถูกกองพันทหารราบที่ 99 ซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ที่เมืองเม๊กทิลา (Meikhtila)ภาคมัณฑะเลย์เกณฑ์ไปเป็นทหารนานกว่า 2 อาทิตย์แล้ว
 
ผิ่วพวยระบุว่า “น้องชายและเพื่อนของเขากลับจากทำงานชั่วคราวในร้านขนมปังแห่งหนึ่ง เมื่อเดินผ่านกองทหารที่สถานีรถไฟทาซี (Tharzi) ใกล้กับเมืองเม๊กทิลาจึงถูกจับตัว”

สถานีรถไฟทาซี เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีรายงานว่า มีการจับเด็กชายเพื่อนำไปเป็นทหาร โดยการเกณฑ์เด็กชายเข้ากองทัพ เป็นไปตามนโยบายที่ถูกกำหนดมาจากกองทัพ เพื่อสร้างกำลังพลให้มีจำนวนที่มั่นคงในแต่ละกองพัน แม้ว่าการนำเด็กไปเป็นทหารถือเป็นสิ่งผิดตามกฎหมายของประเทศพม่า แต่รัฐบาลทหารพม่าก็เป็นอีกหนึ่งรัฐบาลที่เกณฑ์ทหารเด็กมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆของโลก

ผิ่วพวย ยังเปิดเผยว่า “ที่สถานีรถไฟ เส่งโทและเพื่อนของเขาถูกตรวจบัตรประจำตัวจากทหารที่ติดยศ ซึ่งแสดงว่ามาจากกองพันทหารราบที่ 99 ในเวลาต่อมา ทหารได้บอกกับเด็กว่า กองทัพจะให้เงินจำนวน 100,000 จ๊ต (ประมาณ 3,200 บาท) และข้าวสารอีกหลายกระสอบ ถ้าหากเข้าไปอยู่ในกองทัพ” ผิ่วพวยกล่าว 

ผิ่วพวยกล่าวเพิ่มเติมว่า “จากคำบอกเล่าของหม่องกวาน (Maung Gwan) เพื่อนของน้องชายเธอ ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ด้วยเปิดเผยว่า หม่องหวานปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกองทัพ และบอกกับทหารพม่าว่ายังเรียนอยู่ชั้นสิบ (เทียบเท่ามัธยม 6) เขาจึงถูกปล่อยตัว แต่น้องชายของฉัน เขาตอบรับที่จะไปเป็นทหาร” ผิ่วพวยกล่าว 

ขณะที่มีรายงานว่า เส่งโท ได้รับความทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บป่วยอยู่เสมอๆ จากคำบอกเล่าของผิ่วพวย เส่งโทมีความบกพร่องด้านการพัฒนาทางสมองและร่างกาย แม้ว่าจะยังไม่เคยได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคก็ตาม ซึ่งพี่สาวอีกคนของเส่งโทเองได้เสียชีวิตไปเมื่อหลายปีก่อน และนั่นเป็นสาเหตุให้เส่งโท ต้องออกจากโรงเรียนตั้งแต่เด็ก

ผิ่วพวยกล่าวว่า สาเหตุที่น้องชายไปอยู่ที่เมืองเม๊กทิลา ก็เพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัวในระหว่างที่ตัวเธอเองกำลังตั้งครรภ์อยู่ “เขาเป็นน้องชายคนเดียวที่ฉันเหลืออยู่ ตอนนี้ฉันแค่ต้องการเขากลับคืนมา และฉันก็ไม่เห็นด้วยเลยที่เขาไปเป็นทหาร” ผิ่วพวยกล่าว 

ขณะที่เจ้าหน้าที่ประจำสถานีรถไฟทาซี ไม่สามารถออกความเห็นใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ประชาชนในเมืองทาซีกลับกล่าวตรงกันว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้คล้ายกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดในวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า ทหารจากกองพันที่ 420 กองกำลังภายใต้บังคับการของกองกำลังทหารราบที่ 99 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกณฑ์ทหารเด็กมาแล้วครั้งหนึ่ง

“มีเด็กผู้ชายสองคนที่ดูเหมือนว่ากำลังหนีจากทหารพม่า ซึ่งพยายามบังคับและเกณฑ์พวกเขา เด็กๆ ตัวสั่นด้วยความกลัว คนหนึ่งค่อนข้างสูงส่วนอีกคนตัวเล็กกว่า เมื่อเข้าไปถามว่าเกิดอะไรขึ้น เขาก็ตอบว่าหนีมาจากพวกทหาร และพวกเขาก็รอดพ้นจากทหารมาได้” ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าว 

ด้านผิ่วพวย ได้ขอความช่วยเหลือจากกลุ่มที่ทำงานด้านกฎหมาย โดยหวังว่า จะสามารถนำตัวน้องชายของเธอกลับคืนสู่บ้านเกิดได้อีกครั้ง 

เมื่อเดือนที่ผ่านมา มีรายงานเช่นเดียวกันว่า เด็กชายคนหนึ่งในเขตพะโค ถูกทหารพม่ายิงเสียชีวิต หลังจากปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกับกองทัพ ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าพยายามปกปิดเรื่องนี้ ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลยังคงละเมิดข้อตกลงครั้งแล้วครั้งเล่า ที่ทำไว้กับองค์กรระหว่างประเทศที่ระบุว่า จะยุติการเกณฑ์ทหารเด็กเข้ากองทัพ

 
....................................
 
แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบทความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์www.salweennews.org เฟซบุ๊ค http://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สมบัติ บุญงามอนงค์: ศอฉ. รุ่นสอง 14 วัน ในค่าย ตชด.

Posted: 12 Jul 2010 10:11 AM PDT

<!--break-->

 

"ไม่มีอะไรสูญเปล่า ทุกประสบการณ์เป็นการเรียนรู้" นี่คือสิ่งที่ผมสรุปได้จากการใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นในฐานะผู้ต้องสงสัยในคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

ณ อาคารหลังเก่าภายในค่าย ตชด.ถูกล้อมด้วยลวดหนามพิเศษที่หาซื้อไม่ได้ในท้องตลาด มันเป็นลวดหลามชนิดหีบเพลงซึ่งใช้กันเฉพาะราชการทหารและตำรวจ และลวดหนามนั้นคือสุดขอบอธิปไตยของผมในการอาศัยอยู่ 

ภายในอาคารปูนสองชั้น ข้างบนที่เรือนนอนเป็นหมู่ ส่วนด้านล่างเป็นลานสำหรับนั่งเล่นและห้องน้ำแบบอาบน้ำไม่มีประตูปิด แน่นอนว่าผมแก้ผ้าอาบน้ำในที่กึ่งเปิดกึ่งปิด แต่เป็นที่รู้กันว่าหากมีเสียงน้ำก็จะไม่มีใครโผล่หน้าเข้ามาในห้องน้ำ เข้าใจว่าเพราะมันจะอุจาด ขันที่ใช้อาบเอามาจากในห้องส้วม ตัวขันเป็นรอยแตก แหม... มันช่างได้อารมณ์เสียจริง

เรื่องที่ท้าทายที่สุดที่นี่คือยุงป่าที่อุดมเสียเหลือเกิน และไม่ว่าจะทายากันยุง ยืนเป่าพัดลม โดยเฉพาะตอนอาบน้ำ มันชอบมากัดจนเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นตุ่มแดงๆ จึงเต็มตัวผมไปหมด แต่เจ้าหน้าที่ที่นั่นบอกว่า ยุงพวกนี้ไม่มีเชื้อไข้เลือดออก

อาหารการกินที่นี่มีครบ เขาเตรียมอาหารกล่องให้สามมื้อครบจำนวนคน ด้วยงบของ ศอฉ. (ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน) ซึ่งที่นี่ปฏิบัติงานรับมือมาแล้วสี่เดือน แต่เงินยังไม่ตกลงมาถึงผู้ปฏิบัติงาน คนทำอาหารชื่อป้าแดง เป็นภรรยาของตำรวจ ตชด.ในค่าย แกเป็นคนน่ารักและดูแลพวกเราเป็นอย่างดี ไม่น่าเชื่อว่างบประมาณค่าอาหารครั้งแรกคือมื้อละ 15 บาท ซึ่งต่อมาคนทำเจ๊งไปแล้ว แถมยังไม่ได้รับเงินแม้แต่บาทเดียว หลังจากนั้นผู้ใหญ่ในค่ายได้เพิ่มค่าหารเป็นมื้อละ 35 บาทเพื่อให้สมจริง เอาเป็นว่าโดยสรุปเรื่องอาหารไม่ใช่ปัญหาเพราะกินกันจนเหลือ เพราะเมื่อญาติหรือเพื่อนเยี่ยมก็จะมีของกินมาสมทบ เลยได้โอกาสแบ่งปันให้กับเจ้าหน้าที่ ตชด.ที่มาเฝ้ายามดูแลพวกเรา

ตชด.ต่างกับตำรวจโดยทั่วไป และยิ่งต่างจากทหารอย่างเห็นได้ชัด เพราะวัฒนธรรมของ ตชด.ทำงานคล้ายๆ NGOs คือ ทำงานด้านชุมชนสัมพันธ์ ดังนั้น มุมมองของพวกเขามีความเข้าอกเข้าใจ และไม่วางตัวมาเบ่งใครทั้งนั้น เรียกว่าเจ้าหน้าที่อัธยาศัยเอาไปเต็ม 100 คะแนน ต่างแวะเวียนมาพูดุคุยกับพวกเราที่ถูกควบคุมตัว เพราะไม่ให้เราเครียด และบางส่วนก็อยากมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพวกเรา

ตั้งแต่ผมอยู่มาวันแรกจนถึงวันสุดท้าย มีคนถูกควบคุมตัวทั้งหมด 5 คน (รวมผมด้วย) ได้แก่

คุณพีระ พริ้งกลาง อดีต นักมวยแชมป์เวทีราชดำเนิน ฉายา พยัคฆ์น้อย ส.ธนิกุล คนนี้ประวัติเยอะ เอาเป็นว่าผลงานในอดีต เคยเป็นแกนนำในการปกป้องคลื่นวิทยุร่วมด้วยช่วยกันจากการเรียกคืนรายการของทางทหาร และยังเป็นคนที่จัดระเบียบที่จอดรถเท็กซี่ในสถานีขนส่งหมอชิด สู้กับมาเฟียรถผี ต่อมาเป็น ส.ข.ไทยรักไทย ตอนนี้เป็นหัวหน้าสถานีวิทยุชุมชนแถวสำโรง

ลุงบัง หรือ ผู้กองบัง คนเดินตามเสธแดง เป็นฝ่ายระวังหลังให้เสธแดง คนนี้คือลูกน้องของเสธแดงที่ได้คุยกับเสธฯ เพราะก่อนเกิดเหตุยิงเสธแดงเพียงห้านาที ลุงบังได้เดินไปบอกเสธแดงให้เดินเข้ามาในแนวป้องกัน "นายครับ เข้าด้านในครับที่นี่ไม่ปลอดภัย" แต่เสธแดงด่าแกว่า "ไอ้บังมึงมีหน้าที่อะไร" สุดท้ายเสธแดงก็โดนยิง ผมเก็บเรื่องราวแปลกๆ ที่ลุงบังเล่าให้ฟังหลายเรื่อง ไว้มีโอกาสจะทยอยเอามาเล่าให้ฟัง

คุณวินัย กรรมการวิทยุชุมชนแถวลำลูกกา และ คนสุดท้ายคือ ต๋อง บุรีรัมย์ หรือตลกค่ายเชิญยิ้มที่เข้ามาก่อนผมออกเพียงคืนเดียว

ทีนี่ไม่ซีเรียสเรื่องเวลากินเวลานอน มีทีวีให้ดูข่าวและฟุตบอล ขาดเหลืออะไรขอความช่วยเหลือให้เจ้าหน้าที่ไปซื้อของมาได้ โดยพวกเขายินดีที่จะช่วยเหลืออย่างไม่มีอิดออด 

ทุกวันจะมีตำรวจซึ่งทาง ศอฉ.เป็นคนแต่งตั้ง ชุดนี้เห็นเขาเล่าว่ามีประมาณยี่สิบกว่าคน ผลัดกันมาสอบทุกวัน ไม่ว่าคุณจะอยู่เพียง 7 วันหรือ 30 วัน เขาก็จะมาคุยด้วยทุกวัน โดยภาพรวมแล้วทีมนี้พูดจาดี มีท่าทีรับฟัง (คัดมาอย่างดี) แต่อาจมีบางคนอาจแข็งหน่อย แต่ไม่ได้ข่มขู่แต่ประการใด

การพิจารณาปล่อยตัวจะเกิดขึ้นทุก 7 วัน ช่วงหลังผู้ที่ถูกนำตัวมาควบคุมศาลจะอนุญาตให้ควบคุมเพียง 7 วัน จาก 30 วัน ส่วนผมได้รับเกียรติให้อยู่ 14 วัน

ผมขอบคุณมิตรสหายที่เคลื่อนไหวภายนอกและให้กำลังใจ และทีมงานทนายของกลุ่มทนายความด้านสิทธิมนุษยชน นี่เป็นครั้งแรกที่ชีวิตส่วนตัวได้ใช้บริการจาก NGOs พวกเขาทำให้ผมรู้สึกมีความหวังกับคนรุ่นใหม่ในแวดวง NGOs ที่ผมใช้ชีวิตมายี่สิบกว่าปี...

 

หมายเหตุ: งานเขียนกึ่งบันทึกชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊คส่วนตัวของ “สมบัติ บุญงามอนงค์”  หรือ บก.ลายจุด เมื่อวันที่ 9 ก.ค.53 หลังถูกปล่อยตัวจากการคุมขังที่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน คลอง 5 จังหวัดปทุมธานี นับตั้งแต่วันที่ 26 มิ.ย.53 เป็นเวลา 14 วัน ประชาไทเล็งเห็นแง่มุมบอกเล่าอันน่าสนใจ จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่อีกครั้ง 

ทั้งนี้ ในวันที่ 9 ก.ค.53  ศาลอาญามีคำสั่งไม่รับคำร้องให้ขยายเวลาควบคุมตัวนายสมบัติ ขณะที่ศาลแขวงพระนครเหนืออนุญาตให้ประกันตัวในวงเงินประกัน 3 หมื่นบาท และกำหนดนัดวันพร้อมหรือชี้สองสถาน ในวันที่ 9 ส.ค.53 ที่ศาลแขวงพระนครเหนือ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สนทนากับ พระเขมจิตโต (สุวิชา ท่าค้อ): อำนาจคือตัวกิเลสที่หยาบที่สุด ใยผู้คนมุ่งแสวงหาอำนาจกันเล่า

Posted: 12 Jul 2010 03:20 AM PDT

บทสนทนาถึงการเปลี่ยนผ่านของชีวิตและสิ่งที่เขาตั้งใจจะทำหลังจากออกจากคุกซึ่งจองจำเขาไว้เป็นเวลาเกือบปีครึ่ง ด้วยความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่า ด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

<!--break-->

วันที่ 11 ก.ค. ทีมข่าวพิเศษ ประชาไทมีโอกาสสนทนากับพระเขมจิตโต (สุวิชา ท่าค้อ) ซึ่งผ่านการอุปสมบทในช่วงเช้าของวันเดียวกันวัดชลธารบุญญาวาส ต.ท่าค้อ อ.เมือง จ.นครพนม

เราสนทนาถึงการเปลี่ยนผ่านของชีวิตและสิ่งที่เขาตั้งใจจะทำหลังจากออกจากคุกซึ่งจองจำเขาไว้เป็นเวลาเกือบปีครึ่ง ด้วยความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่า ด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

พระเขมจิตโตกล่าวตั้งแต่ช่วงแรกของการสนทนาว่า “ในทางโลก(เรื่องการเมือง) อาตมาก็จะไม่ขอพูดอะไรอีก เพราะอะไรก็ได้รู้ได้เห็นกันหมดแล้ว” พร้อมกล่าวถึงหน้าที่ของตนเองขณะนี้ว่า “ของชาวพุทธคือการเผยแพร่ธรรมะเป็นธรรมทาน เพราะถือว่าเป็นทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ธรรมะคือหนทางพ้นทุกข์ การช่วยเหลือคนอื่นให้พ้นทุกข์คือกุศลบุญที่ยิ่งใหญ่”

 IMG_0920

ประชาไท: ที่หลวงพี่ว่าการช่วยคนจากความทุกข์เป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่นั้น สำหรับคนที่กำลังตกอยู่ในความทุกข์เรื่องการเมืองจะช่วยได้ไหม ช่วยอย่างไร

พระเขมจิตโต: ความจริงแล้วพุทธศาสนาสอนไม่ให้เอาทุกข์เข้ามาใส่ตัวหรืออยู่กับทุกข์แต่ไม่ให้ทุกข์ พูดง่ายๆ คืออย่าเอาความทุกข์ของคนอื่นมาเป็นทุกข์ของตน แต่สิ่งที่อาตมายังคิดเป็นนิวรณ์อยู่บ้าง(กิเลสระดับกลางที่เป็นอุปสรรคของผู้ปฏิบัติ) คือ สงสารคนที่ยังอยู่ในความทุกข์จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา เพราะพวกเขาคือประชาชนผู้บริสุทธิ์แต่กลับต้องมารับเคราะห์อย่างน่าเศร้าใจยิ่งนัก การช่วยเหลือพวกเขาให้ลดหรือพ้นจากความทุกข์ คือ มหากุศลบุญ

สิ่งที่หลวงพี่จะช่วยได้คือ อยากให้พวกเขาเอาธรรมะเป็นที่พึ่ง ชีวิตเราเป็นของไม่เที่ยง เป็นของสมมุติ ยึดติดมากก็ทุกข์มาก เมื่อเราไม่ยึดติดเราก็จะไม่ทุกข์ สรุปคือต้องยอมรับกับสิ่งที่ได้เกิดขึ้น จากการสูญเสียอิสรภาพ พิการ สูญเสียคนที่รัก ฯลฯ ให้พิจารณาถึงโลกธรรม 8 คือธรรมทีอยู่คู่โลกที่ทุกคนจะต้องประสบ ได้แก่ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีสรรเสริญ มีนินทา มีสุข มีทุกข์ เราไม่มีทางหลีกหนีจากสิ่งเหล่านี้ไปได้เพราะมันเป็นธรรมชาติของเรา เมื่อมันเกิดขึ้นก็ให้พิจารณามาเป็นสิ่งที่สมมุติให้เป็นเพราะเรากำลังอยู่ในโลกของการสมมุติ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อเราคิดได้เช่นนี้เราก็ก็ปล่อยวางจากมัน อย่าไปทุกข์กับมัน ให้ถือว่าสิ่งที่ได้เกิดขึ้นเป็นเวรกรรมของเราเอง เมื่อได้ใช้แล้วก็หมดเวรกันไป และขอให้อโหสิกรรมแก่ผู้ที่ได้กระทำต่อเรา เพื่อเราจะได้สบายใจและมุ่งหน้าปฏิบัติธรรมต่อไป

 

ประชาไท: หลวงพี่เคยกล่าวว่าหากออกจากคุกได้แล้วก็จะบวช เมื่อได้บวชแล้วท่านรู้สึกอย่างไร
พระเขมจิตโต: ความใฝ่ฝันสูงสุดในชีวิตอาตมาก็ได้มาถึง คือการได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์จะได้ปฏิบัติธรรมเต็มที่ คือการเดินมรรค 8 เต็มกำลังในสถานที่สัปปายะเหมาะแก่การปฎิบัติธรรม หลวงพี่จะต้องตัดจากทางโลกโดยสิ้นเชิงเพื่อสิ่งที่ยิ่งใหญ่ (อริยทรัพย์) คือการเดินขึ้นไปสู่จุดสูงสุดของชีวิต แต่ก็ขึ้นอยู่กับบุญวาสนาประกอบกันด้วย ทางโลกและทางธรรมมันจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทางโลกผู้คนจะแข่งกันเพิ่มกิเลส (ความอยาก) และอาหารที่เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงกิเลสคือการก่อธรรมต่างๆ แต่ทางธรรมนักปฏิบัติธรรม (นักรบกิเลส) จะแข่งกันฆ่าทำลายล้างกิเลส ชัดเจนว่ามันจะเดินสวนทางกัน

 

ประชาไท: สิ่งที่ตั้งใจจะทำต่อไปคืออะไร
พระเขมจิตโต: ไม่อยากพูดถึงอนาคต เพราะพุทธศาสนาคือปัจจุบัน หน้าที่ขณะนี้ ชาวพุทธคือเผยแพร่พระพุทธศาสนาเป็นธรรมทาน การให้ธรรมทานเป็นการให้ที่สูงสุด เป็นการให้อริยทรัพย์ ถ้าได้กลับออกมาก็คงจะเผยแพร่พระพุทธศาสนาต่อไป ตอนนี้พยายามดึงญาติพี่น้องเดินเข้าสู่ทางธรรม ยอมรับว่าให้คนเห็นธรรมเป็นเรื่องที่ยากมาก หากเขาสร้างบุญบารมีมาก่อนจะไม่มีทางได้เห็นธรรมหรอก อาจจะมืดไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิตก็ยังมีให้เห็นมากต่อมาก ส่วนมากเราก็ต้องปล่อยวางไป ทุกวันนี้อาตมาอยากจะหนีไปสู่ที่สงบอยางเดียว การปฏิธรรมในที่ไม่สัปปายะก็เหมือนขับเรืออยู่ในคลื่นลมแรง แต่พระที่เก่งแล้วก็คือจะอยู่อย่างไรก็ได้ ส่วนยังคงไร้เดียงสาอยู่มาก

 

ประชาไท: น้องชายบอกว่า หลวงพี่เปลี่ยนไปเยอะ
พระเขมจิตโต: เห็นธรรมแล้วก็อยู่เป็น ถึงจะอยู่ในทุกข์แต่จะไม่เอาทุกข์ ปกติทางธรรมจะเดินสวนทางกับทางโลก คือ ทางโลกเป็นการสะสมกิเลสซึ่งจะเข้ามาได้ทุกทิศทุกทาง หากเปรียบจิตเป็นเหมือนบ้านกิเลสก็คือขโมยที่จ้องจะเข้าบ้านอยู่ตลอดเวลาเมื่อใดที่เราเผลอ ในทางโลก ที่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น คือเป็นการแข่งขันกันสร้างกิเลส ตัวหล่อเลี้ยงกิเลสก็คือสร้างเวรกรรม แต่ในทางพุทธศาสนาเดินในทางตรงกันข้าม คือนักปฏิบัติธรรมจะแข่งกันทำลายล้างกิเลส ด้วยเหตุนี้จิตใจของเราจะต้องเดินสวนทางกับเขา แต่จะทำอย่างไรถึงจะอยู่กลมกลืนด้วยกัน ทุกวันนี้ถึงเราจะไม่มีงานทำเราก็ไม่ทุกข์ใจเลยเพราะรู้จักพอ พูดง่ายๆ คืออยู่เป็น คนรวยก็คือคนที่รู้พอ คนจนก็คือคนที่ไม่รู้จักพอ

 

ประชาไท: สังคมไทยบอกว่าเป็นสังคมพุทธ แต่มีความเกลียดแค้นกันมาก
พระเขมจิตโต: ซึ่งก็ไม่ใช่พุทธจริง พุทธศาสนาสอนให้ทำลายกิเลส แต่อำนาจคือตัวกิเลสที่หยาบที่สุด ใยผู้คนมุ่งแสวงหาอำนาจกันเล่า อำนาจให้คนทำได้ทุกอย่าง ทำให้ฆ่าคนได้ ต้นเหตุปัญหาของมันคือ กิเลสอำนาจ ประชาชนที่รับเคราะห์เป็นปลายเหตุของปัญหาหรือพูดง่ายๆคือเหยื่อ เขาไม่รู้เรื่องอะไร แต่กลับต้องมารับความทุกข์เต็มๆ ก็เลยคิดว่าใครที่ช่วยให้คนเหล่านี้พ้นทุกข์ก็จะเป็นกุศลผลบุญที่ยิ่งใหญ่

 

ประชาไท: ที่ว่าช่วยประชาชนนั้น ต้องช่วยอย่างไร
พระเขมจิตโต: ในขั้นต้นเขาต้องช่วยตัวเองให้หลุดจากความทุกข์คือเข้าถึงธรรม แค่นี้ความทุกข์ก็จะบางเบาลงไปมาก แต่คนที่มีอำนาจในการช่วยเขาให้เขาพ้นทุกข์ ก็คือช่วยเยียวยา ปลดปล่อยเขาสู่อิสรภาพ และเยียวยาผู้รับผลกระทบ ทั้งความตาย ความพิการ การสูญเสียคนที่รักไป ถ้าทำได้ก็เป็นกุศลผลบุญที่ยิ่งใหญ่ ยังไงเราก็เป็นเพื่อนมนุษย์ ร่วมเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน
ในทางกลับกัน คนที่ไปทำบาปกับพวกเขาก็จะได้อกุศลผลบุญตอบกลับมาเหมือนกันเพราะไม่มีใครหนีพ้นกฎแห่งกรรมไปได้
วิธีการแก้ไขปัญหาที่ง่ายและดีที่สุด คือการเอาคำสอนท่านพุธทาสมาปฏิบัติ คือ มองในส่งดี “เขาจะดีบ้าง เลวบ้าง ช่างหัวเขา จงเลือกเอาสิ่งที่ดี เขามีอยู่ เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู สิ่งที่ชั่วอย่าไปรู้เรื่องเขาเลย หากจะเที่ยวหาส่วนดี แต่ฝ่ายเดียว อย่าเที่ยวหาเหนื่อยเปล่าสหายเอย เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่าตายเปล่าเอย ฝึกให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง สรุปง่ายๆๆ คือ หากคนเราคุยแต่เรื่องดีๆของกันและกัน ก็จะไม่ทะเลาะและมีปัญหากัน สังคมก็จะสงบสุขไปเอง

 

หมายเหตุ ติดตามคลิปสัมภาษณ์พิเศษ พระเขมจิตโต “ธรรมจากคุก” ได้ที่ประชาไท เร็วๆ นี้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บ.ก.ลายจุด ผูกผ้าแดงแยกราชประสงค์

Posted: 12 Jul 2010 02:25 AM PDT

<!--break-->

 

11 กรกฎาคม 2553 เวลา 17.00 น. นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ “บก.ลายจุด” ผู้ก่อตั้งมูลนิธิกระจกเงาและนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย เดินทางมายังสี่แเยกราชประสงค์ กทม.โดยได้นำผ้าเเดงมาผูกตรงเสาของป้ายสี่เเยกราชประสงค์เพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากเหตุรัฐบาลใช้กำลังทหารเข้าทำการปราบปรามผู้ชุมนุมกลุ่มคน

เสื้อแดงเมื่อวันที่ 19 พ.ค. โดยมีกลุ่มประชาชนมาร่วมสนับสนุนกว่า 100 คน ต่างพากันส่งเสียงเเละชูป้ายข้อความ “ที่นี่มีคนตาย”รวมถึงมีกิจกรรมการรณรงค์นำสีแดงมาราดตามตัวและลงไปนอนบนพื้นฟุตบาท แสดงเป็นคนตาย โดยในการชุมนุมได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 20 นายเฝ้าสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด

สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมกับครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนเสื้อแดงที่ติดต่อเป็นเครือข่ายกันผ่านเฟซบุ๊ก และสำหรับการนำผ้าเเดงมาผูกที่เสาสี่เเยกราชประสงค์ครั้งนี้เกิดภายหลังจากการที่ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บ.ก.ลายจุด ได้ถูก เจ้าหน้าที่จับกุมตัวไปขังยังค่ายตำรวจตระเวณชายแดนที่ คลอง 5 ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. และศาลเพิ่งอนุญาตให้ประกันตัวเมื่อวันที่ 9ก.ค.ที่ผ่านมา

นายสมบัติหรือผู้ใช้นามแฝงในโลกไซเบอร์ว่า บ.ก.ลายจุด กล่าวว่า วันนี้มาเพื่อเเสดงออกตามแนวทางสันติ ถือว่าเป็นสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญเเละสิทธิมนุษยชน ดังนั้น รูปเเบบการเเสดงออกเช่นนี้เป็นเรื่องที่คิดว่าสังคมจะต้องเปิดให้มีช่องทางในการเเสดงออก เเละยังมีข้อเท็จจริงว่าด้วยเรื่องของผู้เสียชีวิตเเละผู้บาดเจ็บจำนวนมากแต่ไม่ถูกนำขึ้นมาสู่กระบวนการยุติธรรม เเละเชื่อว่ายังมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บเเละเสียชีวิตยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการรับผิดชอบ อยากเรียกร้องให้ฝ่ายรัฐบาลเเสดงสปิริตต่อการกระทำของตัวเอง

“ผมเชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้บริสุทธิ์ เเละถ้าจะจับผมก็ไม่กลัว เราจะรับอาสาสมัครมาทำกิจกรรมเเบบนี้ขึ้นให้ทางรัฐบาลควบคุมตัวไปเรื่อยๆ จนสถานที่กักกันเต็ม จากนี้อยากจะเริ่มโครงการวันอาทิตย์สีเเดง ทุกวันอาทิตย์จะมีกิจกรรมเเบบนี้ จะเล็กหรือใหญ่ไม่รู้ ผมมาคนเดียวเเต่ว่าพอเพื่อนรู้ก็มากันเอง เราอยากเสนอว่าทุกวันอาทิตย์ควรมีกิจกรรมที่เป็นการเเสดงออกทางการเมืองอย่างสันติ เเละผมก็ยังไม่รู้ว่าคราวหน้าจะทำอะไร ขอกลับไปคิดดูก่อน ที่นำผ้าเเดงมาผูกที่ป้ายนี้เพื่อเป็นการย้ำเตือนว่าเคยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นที่นี่ เเละจะขอให้ประชาชนมาถ่ายรูปเก็บไว้กับป้ายเเห่งนี้เพื่อช่วยกันเป็นสักขีพยานย้ำเตือนว่าเราจะต้องกลับมาเเละให้ความจริงปรากฏขึ้นในสังคมไทยสักที อยากให้คนเสื้อเเดงนำผ้าเเดงมา ผูกหรือจะถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกเอาไปโชว์ในเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือเว็บไซต์ส่วนตัว

DSCF0973

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนงาน-นายจ้าง ทีเอฟโอ เทค เจรจายุติ ตกลงรับผู้แทนเจราจาฯ กลับเข้าทำงาน

Posted: 11 Jul 2010 11:19 PM PDT

คนงาน-นายจ้าง ทีเอฟโอ เทคเจรจายุติ หลังคนงานชุมนุม-บริษัทปิดงาน ตกลงรับผู้แทนเจราจาข้อตกลงสภาพการจ้าง กลับเข้าทำงาน และให้มีการเจรจาตามขั้นตอนกฎหมาย
<!--break-->

  

12 ก.ค. 53 - สหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์และโลหะ แห่งประเทศไทย (TAM) เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัท TFO Tech (Thailand) ตั้งอยู่ใน ในนิคมฯ อมตะนคร จ.ชลบุรี ได้ทำการเลิกจ้างผู้แทนเจรจาข้อเรียกร้อง เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 53 จำนวน 7 คน และได้ประกาศปิดงานในวันที่ 3 ก.ค. 53 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. ทำให้สมาชิกสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย (TAM) ในบริษัท TFO Tech (Thailand) ได้ชุมนุมเรียกร้องให้นายจ้างรับพนักงานกลับเข้าทำงานโดยไม่มีเงื่อนไข
โดยการชุมนุมเรียกร้องความถูกต้องและความเป็นธรรม ให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย เริ่มตั้งแต่วันที่ 3-7 ก.ค. 53 เป็นเวลา 7 วัน สหภาพแรงงานได้พาพนักงานเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน, อธิบดีเพื่อร้องเรียน และ เจ้าหน้าที่สวัสดิการคุ้มครองแรงงาน จ.ชลบุรี ประสานงานให้ประธานบริษัท เปิดการเจรจากับผู้แทนพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง วันที่ 7 ก.ค. 53 เวลา 19.00 น. ได้ข้อยุติร่วมกัน ดังนี้
1. รับพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง 7 คน กลับเข้าทำงานโดยไม่มีเงื่อนไข และจ่ายค่าจ้างให้ 100 %
2. บริษัท ให้พนักงานที่ถูกปิดงาน กลับเข้าทำงาน ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค. 53 และจ่ายค่าจ้างให้ 75 %
3. ข้อเรียกร้องของพนักงาน 6 ข้อ บริษัทให้มีการเจรจาตามขั้นตอนกฎหมาย ในวันที่ 16 ก.ค. 53
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสวนา “70 ปีประเทศไทย: ประชาชน ประชาชาติ กับประชาธิปไตย” (ตอนที่ 2)

Posted: 11 Jul 2010 03:31 PM PDT

เสวนาในโอกาสครบรอบ 78 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่คณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เสนอเป็นตอนจบ “สุชาติ เศรษฐมาลินี” สังคมไทยเป็นสังคมที่ฉีกขาด จากการใช้ความรุนแรง เกรงผลสอบซ้ำรอย “ตากใบ” “สมชาย ปรีชาศิลปกุล” ชี้ปรองดองแบบราชาชาตินิยมประชาธิปไตยสังคมสงเคราะห์ไม่ใช่ทางออก

<!--break-->

เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 53 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 78 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร และครบรอบ 70 ปีเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นประเทศไทย ที่ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีโครงการเสวนาทางวิชาการ “70 ปีประเทศไทย: ประชาชน ประชาชาติ กับประชาธิปไตย” โดยช่วงเช้ามีการปาฐกถาโดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และการอภิปราย หัวข้อ “จากสยามเป็นไทย: ประชาธิปไตยไปถึงไหนแล้ว?” ซึ่งประชาไทได้นำเสนอไปแล้วนั้น (อ่านข่าวย้อนหลัง)

ในช่วงบ่ายของการเสวนา เป็นการอภิปรายหัวข้อ “ปรองดองแห่งชาติ เยียวยาความเป็นไทย?” โดย รศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ.ดร.สุชาติ เศรษฐมาลินี สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ รศ.สมชาย ปรีชาศิลปะกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินรายการโดย ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ในท้ายที่สุด มีการสรุปการอภิปรายโดย รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี กล่าวนำการอภิปรายว่า ความขัดแย้งทางการเมืองเป็นที่น่าสนใจ ทำให้ 24 มิถุนายน ปรากฏอยู่ได้ ในช่วงที่ผ่านมามีคำที่ฟังไพเราะ เช่น ปรองดอง กระชับพื้นที่ คำเหล่านี้ในภาษาอังกฤษมันคือคำกลวงๆ ที่ฟังไพเราะ จอร์จ ออร์เวลล์ กล่าวว่า คำพูดทางการเมือง ความจริงแล้วคืออุปกรณ์ทางการเมืองที่ไม่มีความหมาย ฉะนั้นไม่ต้องถามหาความหมาย คำพวกนี้ มีหน้าที่ทางการเมือง ป่วยการที่จะหาความหมาย คำโกหกกลายเป็นเรื่องจริง คำเหล่านี้ผู้มีอำนาจเป็นผู้ใช้ และยังใช้เป็นเครื่องมือชักจูงประชาชนให้เห็นและเชื่อ คำเหล่านี้ต้องอาศัยผู้ฟังที่ฟังอย่างเชื่องๆ มันจึงมีความหมาย หน้าที่ของนักวิชาการคือต้องกะเทาะเปลือกออกมา

 

สุชาติ เศรษฐมาลินี: สังคมไทยเป็นสังคมที่ฉีกขาด จากการใช้ความรุนแรง

โดย สุชาติ เศรษฐมาลินี กล่าวว่า ได้มีโอกาสคุยกับเพื่อนบ้านที่เป็นคนเสื้อแดงที่พูดถึงแนวทางปรองดองของรัฐบาลว่า "มันฆ่ามา เราก็ฆ่าไป" ผมเห็นว่าความรู้สึกนี้เป็นความรู้สึกของคนจำนวนมาก ไม่ใช่เฉพาะปัจเจกบุคคล

สุชาติกล่าวว่า ตนมีความเป็นห่วงว่า ยิ่งมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความจริง คณะกรรมการ ปรองดองยิ่งทำให้รู้สึกว่าเหตุการณ์อาจจะรุนแรงขึ้น ถึงแม้ว่ามีการสอบสวนว่ามีความผิด แต่เวลาขึ้นศาลก็อาจจะถูกปล่อยไป เช่น กรณีตากใบ ผลการสืบสวนในครั้งนั้นชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่ทำเกินกว่าเหตุ แต่ ปรากฏถึงชั้นศาล ไม่มีการลงโทษเจ้าหน้าที่ คำพิพากษาบอกว่าคนตายเพราะไม่มีอากาศหายใจ ดังนั้นคณะกรรมการตรวจสอบในครั้งนี้ หวั่นเกรงว่าจะเป็นแบบนั้น

วัฒนธรรมหลายอย่างที่เกิดขึ้น ที่ไม่เคยเห็นคือ การสังหารด้วยปืนสไนเปอร์ ซึ่งเป็นอาวุธรุนแรง สังคมไทย มีความขัดแย้งรุนแรง ปรากฏการณ์เหลืองแดงนี้ไปทุกที่แม้ในครอบครัว สังคมปัจจุบันจึงเป็นสังคมที่ฉีกขาด ซึ่งเป็นผลพวงของการใช้ความรุนแรง

สิ่งที่รัฐบาลพยายามทำ เช่น การตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ที่มีคณะของ นพ.ประเวศ วะสี และนายอานันท์ ปันยารชุนนั้น มีการวิจารณ์ว่าคณะปฏิรูปนี้จะมีปัญหา ไม่มีน้ำยา แต่ นพ.ประเวศก็โต้ว่าไม่เกี่ยวกับรัฐบาล แต่อย่างไรก็ตามโมเดลที่รัฐบาลใช้อยู่ในเวลานี้ คือในหลายสังคมอาจจะมี คือไม่มีการพูดถึงอดีต เรื่องคนตายแล้ว แต่จะหันมาทำเรื่องใหญ่กว่า คำถามคือ ในสังคมไทยโมเดลนี้จะทำได้หรือไม่ สำหรับ ตัวเอง ผมไม่แน่ใจ

สุชาติ อภิปรายถึงเงื่อนไขว่าในทุกสังคมที่การเยียวยาเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อต้องทำให้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เกิดการยอมรับเพื่อให้เรียนรู้ เพราะถ้าบาดแผลเขาถูกมองข้าม การปรองดองก็ไม่เกิดขึ้น และต่อไปคือต้องมีการสารภาพผิด แสดงความเสียใจ สุชาติเห็นว่า ถ้ามีสองสิ่งดังกล่าว ก็จะนำไปสู่การให้อภัย ถ้าทำเรื่องนี้ก่อนได้แล้ว การปฏิรูปต่างๆ ถึงจะเกิดขึ้นตามมา ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปการศึกษา การ ทำให้เด็กมีคุณภาพมากขึ้น

สุชาติ อภิปรายต่อว่า เขาเห็นว่าประเด็นสื่อเป็นเรื่องใหญ่ เขาเพิ่งกลับมาจากฮาวาย เริ่มติดตามการชุมนุมของเสื้อแดงอย่างใกล้ชิด แต่พบว่าบัดนี้สื่อเว็บไซต์ถูกปิด ผมคิดว่าแบบนี้ไม่ใช่ สังคมไทยไม่ควรเป็นแบบนี้ สื่อต้องมีเสรีภาพได้คิด ได้แสดงออก แต่บ้านเมืองเราขณะนี้คืออะไร

ส่วนมาตรการระยะยาวที่ต้องทำ คือต้องมีการปฏิรูปสถาบันทหารซึงเราไม่ค่อยพูดถึงกันคือ "ความรับผิดชอบของสถาบันทหารในการสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อสร้างสันติภาพ" เราต้องมีการตั้งคำถามเชิงปรัชญา การอนุญาตให้มีการเข่นฆ่าต้องมีการรับผิดชอบหรือไม่ ความจริงก็ไม่ใช่เฉพาะสถาบันทหารเท่านั้น แต่สถาบันการศึกษา สถาบันอื่นๆ เมื่อเห็นการเข่นฆ่าแล้ว เราจะแสดงออกทางพลังที่จะหยุดยั้งได้อย่างไร

ทั้งนี้ สุชาติ กล่าวถึง มาตรการเร่งด่วนถ้าอภิสิทธิ์ต้องปรองดอง 3 ข้อ ได้แก่ หนึ่ง ต้อง พ.ร.ก.ฉุกเฉินทันที เพราะไม่ช่วยรักษาความสงบ

สอง การยุติภาษาที่เป็นเกมทางภาษา ถ้าเราเอาวิตเกนสไตน์ (Ludwig Wittgenstein) มาพูดว่า ศัพท์บางอัน ซึ่งรัฐบาลสื่อกันรู้เรื่องเฉพาะในรัฐบาล เช่น กระชับวงล้อม แต่มันคือการเอาเอ็ม-16 ไปแจก ซึ่งมันมีเกมภาษาที่ต่างกัน

อย่างคำศัพท์ “ผู้ก่อการร้าย” ผมเห็นว่ามาจากผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งในรัฐบาลของอภิสิทธิ์ และเขาก็เป็นคนเชี่ยวชาญเรื่องภาคใต้ ในการสถาปนาทฤษฎีผู้ก่อการร้าย เป็นการสร้างสภาวะความกลัวคนเสื้อแดงว่าเป็นผู้ก่อการร้ายให้เกิดขึ้น

สาม เราจำเป็นต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดการพูดคุย แสดงความคิดเห็น ความรู้สึก แต่ละกลุ่มจะมีจุดร่วมเพื่อทำให้สังคมไทย สุขสงบมากกว่าที่เป็นอยู่ ผมยังไม่อยากใช้ว่า "ปรองดอง" เพราะผมรู้สึกว่าเป็นคำ กลวงๆ ที่ฟังดูไพเราะเท่านั้นเอง

ตนคิดว่าตอนนี้จะเอาคนที่แตกต่างกันมาคุยกันยังยากอยู่ สังคมไทยยังมีกลไกอีกมากที่จะก้าวข้ามความขัดแย้ง แต่รัฐบาลก็ต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบด้วย

 

สมชายชี้ปรองดองแบบราชาชาตินิยมประชาธิปไตยสังคมสงเคราะห์ไม่ใช่ทางออก

ด้านสมชาย ปรีชาศิลปกุล ช่วงหลังเริ่มไม่ดูข่าว เพราะคิดว่าทำให้อารมณ์ขุ่นมัว มันทำให้ชีวิตที่สงบเย็น ดำรงอยู่ดีหายไป เรากำลังอยู่ในภาวะแตกแยก เรายังคุยกันไม่ได้มาก เมื่อผมเริ่มพูด ก็จะบอกว่าผมเป็นนักวิชาการเสื้อแดง เราอยู่ในภาวะแตกแยก "กูเกลียดมึง" รุนแรง ความรุนแรงในที่นี้ไม่ใช่การตีหัว ในบางพื้นที่มีการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุกคามหรือดำเนินการกับเสื้อแดง ความรุนแรงไม่ได้มีเฉพาะคนเสื้อแดงเท่านั้น เรามีพื้นที่น้อยมาก การที่ทำให้เราไม่สามารถพูด หรือแสดงความเห็นได้อย่างเสรี คือความรุนแรงอย่างหนึ่ง เป็นความริบหรี่ของสังคมไทย สมชายยังกล่าวถึง การใช้คำในทางการเมือง อย่างการใช้คำว่า "นิติรัฐ" ผลจากการหายใจเข้าออกเป็นนิติรัฐ แต่ทำให้มีคนตายเป็นจำนวนมาก ซึงไม่รู้ว่าเป็นนิติรัฐแบบไหน มีการปู้ยี้ปู้ยำความหมาย แต่ทำไมภาวะเช่นนี้จึงทำงานได้โดยไม่ถูกตั้งคำถาม จากสังคม

สมชาย กล่าวถึงโครงสร้างอภิปรายว่า จะพูดถึงสามเรื่อง หนึ่ง เกิดอะไรขึ้น สอง มองอย่างไร และ สาม ไปข้างหน้าอย่างไร

หนึ่ง ถามว่าได้อะไรเกิดขึ้น คือความเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง ได้เขย่า คือ ได้ท้าทายการล้มลงของรัฐบาล โดยประเด็นที่เราจะมองถึงปัญหา ณ จุดนี้ เขาจะบอกว่า ปัญหาความยากจน ทำให้คนมาเรียกร้อง และรากฐานของปัญหา คือ ความเหลื่อมล้ำของอำนาจที่กลุ่มคนมีความไม่เท่าเทียมกัน

สอง เราจะมองปัญหานี้อย่างไร สมชายอภิปรายต่อว่า คนจำนวนมากในสังคม มักจะบอกว่าเป็นปัญหาของความยากจน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ อันที่จริง รากฐานของปัญหา คือความเหลื่อมล้ำทางอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกัน

หมายความว่าพอยึดระบบเลือกตั้ง ผลของการเลือกตั้งก็ถูกเบี้ยว เมื่อมาชุมนุมก็ถูกกล่าวหาว่าถูกจ้าง ซึ่งข้อเรียกร้องในเรื่องสองมาตรฐาน คือ ไพร่และอำมาตย์ เป็นนัยยะของความไม่เท่าเทียมเชิงอำนาจซึ่งถูกฝังมาในสังคมไทยมานาน อาจารย์ไคน์ (Charles F. Keyes) เขียนบทความอภิบายว่าความเหลื่อมล้ำทางการเมืองนั้นอยู่ในทางวัฒนธรรมด้วย

สมชายกล่าวด้วยว่า เราสร้างวัฒนธรรมที่ทำให้คนชนชั้นกลางระดับล่างกลายเป็นตัวตลกในสังคมไทย ชาวบ้านกลายเป็นพวกขายเสียง และเลือก ส.ส. ในทางการเมือง เหมือนนิยายที่ปลูกฝังว่าชาวบ้านโง่ เลือกคนไม่เป็น  เลือกคนไม่ดี เป็นต้น เราไม่ทำความเข้าใจ เพราะชาวบ้าน เลือกไม่เป็น ฉะนั้นสิ่งที่หยิบยื่นให้ชาวบ้านก็ต้องเลือกให้ เช่น เคยมีการเสนอให้ใช้ระบบ 70:30 คือมีคนเลือกให้ เป็นต้น

สาม ไปข้างหน้าอย่างไร แล้วสังคมไทยจะปรองดองกันแบบไหน หมอประเวศบอกว่า ปฏิรูปเป็นเรื่องของอนาคต แต่คุณหมอกำลังพิจารณาเป็นส่วนๆ ไม่ได้เป็นองค์รวม ตนมองว่าการปรองดอง คือการทำให้สังคมไทยอยู่ภายใต้กฎกติกา แต่คือการฟังมากกว่า แต่สิ่งที่เราเห็นปรองดองในปัจจุบัน คือ "ราชาชาตินิยมประชาธิปไตยแบบสังคมสงเคราะห์" อ๋อพวกนี้มาแบบยากจน ก็แจกเบี้ย แต่ผมคิดว่าสิ่งที่เขาต้องการคืออำนาจที่เท่าเทียมกัน

และตอนนี้กลไกยัดเยียดของอำนาจ คือ การทำโปรเจกต์เพื่อแก้ไขความขัดแย้งเฉพาะหน้า และระยะยาวเราต้องการสร้างสถาบันที่ทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันได้บ้าง ไม่ใช่แบบไปคนละเรื่อง นี่คือสิ่งที่เป็นภาระหน้าที่ ผมคิดว่าขณะนี้สถาบันการเมืองที่มีความชอบธรรมได้พังทลาย ไม่เว้นแม้แต่สถาบันใดสถาบันหนึ่ง

หัวใจสำคัญ คือ สถาบันการเมืองที่ทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ สำหรับผม คือ หนึ่ง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นพื้นฐาน สอง ความพร้อมในการยอมรับฟังเพื่อความเข้าใจ ระหว่างกัน และการสร้างสังคมที่ปรองดองอย่างเสรี บนพื้นฐานที่เราต้องพูดคุยร่วมกันได้

 

อรรถจักรชี้ “ปรองดอง” คำประดิษฐ์ใหม่ และการขยายตัวของอำนาจเชิงวัฒนธรรมหลัง 2490

อรรถจักร สัตยานุรักษ์ กล่าวว่า เราจะเข้าใจสถานการณ์นี้อย่างไร และก็ทำความเข้าใจส่วนแรก คือ คำว่า  ”ปรองดอง” เป็นคำใหม่ คนเหนือ จริงๆ ก็ไม่มี คนลาวก็ไม่มี คนใต้ก็ไม่มี คำว่าปรองดอง น่าจะเป็นคำใหม่ และสันนิษฐานว่า น่าเกิดหลังปี 2490 คือ รัฐเผด็จการเป็นผู้ใช้คำนี้เพื่ออยู่ในอำนาจนั้น ดังนั้น คำว่า ปรองดองเป็นการจรรโลงระบบที่ดี ทำให้คนจำนวนไม่น้อยอึดอัด และจังหวะนี้ ทำให้รู้สึกว่าคุณอย่ามาปรองดองกับฉัน ดังนั้น เราต้องคิดว่า คำสะท้อนวิธีคิดของเครือข่ายของพระเอกลิเก โดยใช้บนฐานวิธีคิดของเผด็จการอำนาจ

แล้วเราต้องมาคิดคำใหม่ และ เราต้องการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์เชิงอำนาจของสังคมไทย ซึ่งถ้าเราเท้าความประวัติศาสตร์บ้าง ซึ่งอาจารย์ยศ สันตะสมบัติ เท้าความบ้าง คือความต้องการเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางอำนาจนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร จังหวะนั้น เกิด 3 จังหวะ คือ 2475, 2516 และปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เกิดจากการเกิดกลุ่มคนใหม่ที่ไม่สัมพันธ์กับอำนาจรัฐ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปี 2475 เกิดกลุ่มนักหนังสือพิมพ์ ที่ไม่มี่พื้นที่ในรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงทำให้เกิดความตึงเตรียด

ก่อนปี 2516 เกิดคนกลุ่มใหม่ คือกลุ่มนักศึกษาไม่สามารถอยู่ในระบบราชการ คนกลุ่มนี้เข้าไปเปลี่ยนรูปแบบรัฐ และปัจจุบันก็เกิดคนกลุ่มใหม่ขึ้นมา แต่อยู่ในความสัมพันธ์อำนาจแบบเดิม ทำให้เขาอึดอัด ที่ผ่านมารัฐไทยไม่สามารถดูดกลืนคนกลุ่มต่างๆ ได้ จึงก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น คือการเปลี่ยนแปลงของชนชนชั้นนำ เท่านั้นเอง

การเกิดคนกลุ่มใหม่ คือกลุ่มที่อยู่ในภาคผลิตไม่เป็นทางการ ซึ่งเหมือนๆ กับหลายๆ ประเทศในเอเชีย โครงสร้างของรัฐไทย เป็นผลของการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่สามารถดูดซับคนทั้งหมดเข้าไปได้ ดังนั้นคนกลุ่มใหม่นี้ ไม่ใช่คนจน มีรายได้เกินเส้นความยากจน แต่อยู่ในภาคการผลิตที่ไม่เป็นทางการ แต่คนกลุ่มนี้อยู่นอกกลไกรัฐ นี่เป็นต้นเหตุของความเหลื่อมล้ำในสังคม เกิดปัญหาสองมาตรฐานอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นคนกลุ่มที่อยู่นอกกลไกรัฐ เขายังต้องการโอกาสในการขายของได้มากขึ้น จะเห็นว่าในสมัยทักษิณ ได้เปิดโอกาสให้ภาคการผลิตไม่เป็นทางการมีโอกาสในชีวิตมากขึ้น และเขามีอำนาจการตัดสินใจได้มากขึ้น ในขบวนการนี้มันซ้อนทับของความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระดับบน แยกอำนาจการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

หลังยุคจอมพลถนอม กิตติขจร อำนาจวัฒนธรรมมีอำนาจในการกำกับอำนาจทางการเมือง ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมไทย ทำให้เกิดความขัดแย้งของอำนาจทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องการรักษาอำนาจเดิม และ กลุ่มที่อยู่นอกระบบรัฐมาต่อสู้กัน

การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างส่วนบน คือ ตั้งแต่ 2490 สิ่งที่เป็นอำนาจวัฒนธรรมมีมากขึ้น แล้วจุดเปลี่ยนที่สำคัญ คือ 2520 เป็นต้นมา กระบวนการของอำนาจวัฒนธรรม ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับประชาธิปไตย ก่อให้เกิดศูนย์อำนาจวัฒนธรรมซ้อนกัน ดึงเอากลุ่มที่ต้องการรักษาสถานภาพเดิมไว้ กับกลุ่มนอกระบบการเมือง เข้ารวมกัน ถ้าเราไม่คิดให้ดี จะถูกลากไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งทั้งสองกลุ่มพยายามผลักความจริง ช่วงชิงความหมายของตัวเอง

และเรามีทางสายอื่น ซึ่งจะทำอย่างไร และทางสายที่สาม ก็จะทำอย่างไร และเราคิดกันไหมว่าด้วยสังคมอุดมคติ สังคมอุดมคติของเราอย่างไร เราจะเรียนรู้คนที่ไม่เหมือนเราอย่างไร เราจะทำอย่างไรให้เราเข้าใจทั้งหมดได้ แม้จะถูกปิดกั้นเรื่องบางเรื่องในทางเปิดเผย แต่ในทางลับเราก็พูดกันได้ ทำอย่างไรจะเพิ่มมุมมองความเข้าใจในสังคมไทยอย่างไร เราต้องเข้าใจคนชั้นกลางที่เบาปัญญา อ่อนอารมณ์ได้อย่างไร   เรื่องคนตายก็ต้องเสียใจ ตนคิดว่าเราสามารถมีชัยชนะร่วมกันได้ที่ไม่นำสู่การเสียเลือดเนื้อ หากเราไม่หาทางสายที่สามที่จะผลักดันไปได้

ผมไม่คิดว่ากระแสสุดขั้วจะนำไปสู่สังคมสันติ ถ้าหากตอนนั้นในเหตุการณ์ไม่ถอยจะเกิดความรุนแรงมากขึ้น และผมเห็นด้วยกับสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เป็นครั้งแรกในชีวิต คือ มันไม่ใช่ชัยชนะด้วยเลือดเนื้อของประชาชน ซึ่งผมคิดว่า ถ้าหากเราไม่สามารถหาทางสายที่ 3 เราก็ตีกันอย่างนี้ไปเรื่อย แล้วเราจะทำอย่างไร เพื่อผ่านพ้น คงไม่ใช่นักวิชาการอย่างเดียว ซึ่งวิธีแก้รูปธรรม คือ เราต้องมีทางสายที่สาม ที่มีมากกว่าสองสี

 

ไชยันต์ รัชชกูล: การสรุปและข้อเสนอเยอรมันโมเดล

ไชยันต์ รัชชกูล กล่าวสรุปการอภิปรายว่า ในช่วงเช้ากับช่วงบ่าย คือ แนวคิดสังกัดสีกับไม่สังกัดสี ก็มีความเห็นว่า ช่วงบ่าย กับช่วงเช้า ในแง่นี้คล้องกัน คือ แบบประเภทสังกัดสี เสนอว่า ถ้ารัฐบาลทำผิด ก็มาขอโทษสิ แล้วการอภัยก็จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งอยากให้เราลองพิจารณากรณีเยอรมัน คือ นายกรัฐมนตรีเยอรมัน ไปหลุมฝังศพของผู้เสียชีวิตในโปแลนด์ ตอนหลังสงครามโลก คือ พอเขามาเป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมัน และเขาก็คุกเข่าไปที่หลุมฝังศพ ที่เป็นจารึกภาพประทับใจมาก ซึ่งผมพูดอย่างนี้เป็นการแก้ไขโดยสังกัดสี และแนวคิดของการไม่สังกัดสี ก็คือ อย่าไปแก้ด้วยการปรองดอง และก็มีการแก้ปัญหาในหลายระดับ เช่น การทำบ้านเมืองให้ยุติธรรม

โดยจัดระบบเศรษฐกิจการเมืองให้ยุติธรรม เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาระยะยาว ลดความขัดแย้งลงไป ซึ่งการแก้ไขทางการเมืองเพื่อความปรองดอง ต้องทำเป็นทั้งระดับโครงสร้างและระดับเฉพาะหน้า ให้เกิดการยอมรับต่อผู้เสียชีวิต ซึ่งเราย้อนกลับไปในการอภิปรายตอนเช้า เราจะเห็นว่า มีความเห็นต่างกันในเรื่องประชาธิปไตย ตั้งแต่ 2475 จากกลุ่มนั้นเป็นกลุ่มนี้ แล้วเมื่อต่อมาเราอยู่ใน กระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งเราต้องแก้ไขความขัดแย้ง ก็จัดกลุ่มเสื้อเหลืองและเสื้อแดงมาพูดคุยกัน สำหรับทำความเข้าใจเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยต่อไป ไชยันต์สรุป

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เบน แอนเดอร์สัน: ทำไมบทบาทของปัญญาชนสาธารณะจึงเสื่อมถอยลง?

Posted: 11 Jul 2010 12:59 PM PDT

<!--break-->

หมายเหตุ: แปลโดย ภัควดี วีระภาสพงษ์ แปลจาก Benedict Anderson, “Why is the role of Public Intellectuals in decline?” ปาฐกถาเพื่อฉลองวาระครบรอบ 10 ปีโครงการ Public Intellectuals Project ของ Nippon Foundation ที่มหาวิทยาลัย Ateneo de Manila, 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

 
ในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเพลิดเพลินกับการอ่านเอกสารวิชาการประจำปีของมูลนิธิ Nippon Foundation งานเขียนส่วนใหญ่ให้ความรู้เปิดหูเปิดตา ไม่ใช่แค่ในด้านคุณภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความกว้างขวางในการเปรียบเทียบ และประตูที่เปิดออกสู่เครือข่ายประชาชนมากมายหลายเครือข่าย ซึ่งใส่ใจเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียของนโยบายรัฐที่มีมากมายเป็นบัญชีหางว่าว กระนั้นก็ตาม โดยรวมแล้ว งานเขียนเหล่านี้สะกิดความความไม่สบายใจบางอย่างขึ้นมาในใจผม คงเป็นเพราะผมเคยใช้เวลาหลายปีในมหาวิทยาลัย ในฐานะนักวิชาการที่เรียกกันว่า “นักรัฐศาสตร์”

ทศวรรษที่ผ่านมา กล่าวคือ ค.ศ. 1998-2008 (พ.ศ. 2541-2551) เป็นช่วงเวลาที่เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลายๆ ด้าน ไม่เพียงเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มูลนิธิ Nippon Foundation สนใจศึกษาเท่านั้น แต่รวมถึงโลกทั้งหมดด้วยทศวรรษนี้ลงเอยด้วยวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกครั้งร้ายแรงที่สุด นับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression) เมื่อทศวรรษ 1930 และเป็นวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นหลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาคนี้เมื่อค.ศ. 1997-1998 (พ.ศ. 2540-2541)

กล่าวในด้านการเมืองนั้น ทศวรรษนี้เริ่มต้นด้วยการปะทุขึ้นมาของการเมืองแบบปฏิรูปที่น่าชื่นชม แต่ลงท้ายอย่างน่าผิดหวังด้วยการลงหลักปักฐานของระบอบคณาธิปไตยในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ประเทศไทยและมาเลเซีย ในทุกประเทศที่กล่าวมานี้ ระดับของความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง และการที่รัฐเข้าไปควบคุมสื่อมวลชนนับวันจะยิ่งหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ

สิ่งที่สะดุดใจผมเมื่ออ่านเอกสารจำนวนมากในรายงานประจำปีของมูลนิธิก็คือ ความปั่นป่วนวุ่นวายทั้งหมดนี้กลับแทบไม่ปรากฏให้เห็นเลย ลองยกประเทศไทยเป็นตัวอย่าง ตอนนี้ประเทศไทยกำลังตกอยู่ในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เข้มข้นยาวนาน ซึ่งมีสัญญาณส่อเค้าให้เห็นตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นศตวรรษใหม่ แต่เอกสารเกี่ยวกับประเทศไทยแทบไม่เอ่ยชื่อของทักษิณชินวัตร ปัญหาของสถาบันกษัตริย์ หรือปัญหาอันน่าขมขื่นของการก่อความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ที่คนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมพูดภาษามลายู ในเอกสารเหล่านี้ไม่มีคำเตือนถึงการเกิดขึ้นของขบวนการคนเสื้อแดงที่เราอ่านเจอทุกวันในหน้าหนังสือพิมพ์ เราสามารถอ่านเอกสารเกือบทั้งหมดเกี่ยวกับฟิลิปปินส์ โดยไม่ได้ความเข้าใจอะไรเลยเกี่ยวกับความหายนะที่เกิดจากการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของนางกลอเรียมาคาปากัล อาร์โรโย ฯลฯ

ทำไมจึงเป็นเช่นนี้?

เราอาจเริ่มต้นที่ความเสื่อมถอยระยะยาวของจารีตปัญญาชนสาธารณะ ซึ่งมีผู้อ่านหรือผู้ชมคือสาธารณชนทั่วไปในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 ปัญญาชนสาธารณะที่มีอิทธิพลมากที่สุดในฟิลิปปินส์คือเรนาโต คอนสตันติโน (Renato Constantino) เขาเขียนงานด้านประวัติศาสตร์ไว้มากมาย โดยมีบุคลิกแบบชาตินิยมฝ่ายซ้ายอย่างชัดเจน และแสดงตัวเป็นปฏิปักษ์อย่างรุนแรงต่อสิ่งที่เขาเรียกว่า “จิตใจแบบอาณานิคม” ที่ตกค้างอยู่ในเพื่อนร่วมชาติ เขาไม่ใช่คนเดียวที่มีลักษณะแบบนี้ ยกตัวอย่างเช่น วิลเลียม เฮนรี สกอตต์ (William Henry Scott) ชาวอเมริกันโปรเตสแตนท์ ก็เขียนหนังสือที่มีอิทธิพลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุคต้นของฟิลิปปินส์ และการละเมิดสิทธิ์ชนเผ่ากลุ่มน้อยในเขตกอร์ดีเยราของเกาะลูซอน ทั้งสองคนนี้ไม่ใช่นักวิชาการหรือนักหนังสือพิมพ์อาชีพ ทุกวันนี้ คนที่มีบารมีแบบนี้แทบไม่มีเหลืออีกแล้วไม่มีชาวอินโดนีเซียคนไหนที่มีผลงานยิ่งใหญ่เทียบชั้นได้กับปรามูเดีย อนันตา ตูร์ผู้ล่วงลับ ทั้งๆ ที่ปรามูเดียเรียนไม่จบไฮสกูลด้วยซ้ำ แต่เขาฝากผลงานนวนิยายและเรื่องสั้นอันวิเศษไว้ให้แก่สาธารณชน ถึงแม้ต้องใช้เวลาถึง 13 ปีอยู่ในคุก จนถึงบัดนี้ เขาก็ยังไม่มีผู้สืบทอด

ในประเทศไทย สุลักษณ์ ศิวรักษ์คือนักวิจารณ์สังคม-การเมืองที่มีอิทธิพลที่สุดในประเทศมาหลายทศวรรษ และโดนข้อหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหลายต่อหลายครั้ง สุลักษณ์ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการและไม่ใช่นักหนังสือพิมพ์ ตอนนี้เขาอยู่ในช่วงวัยเจ็ดสิบปีและไม่มีผู้สืบทอดที่ชัดเจน

มาเลเซียมีคนแบบนี้อยู่คนหนึ่ง ซึ่งยังค่อนข้างหนุ่ม เป็นนักเสียดสี บรรณาธิการ นักเขียนความเรียงและนักสร้างภาพยนตร์ที่โดดเด่น เขาชื่ออามีร์มูฮัมมัด (Amir Muhammad) ก็อีกนั่นแหละ เขาไม่ใช่นักวิชาการ นักหนังสือพิมพ์หรือข้าราชการแต่เขาก็ค่อนข้างโดดเดี่ยวเช่นกัน

เพื่อนๆ คงสังเกตเห็นแล้วว่า ผมจงใจเน้นย้ำการขาดหายไปของอาชีพนักวิชาการ จากประเด็นนี้ ผมต้องการชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งสองประการ ซึ่งทำให้การดำรงอยู่ของปัญญาชนสาธารณะเป็นไปได้อย่างยากลำบาก ประการแรกคือ การสร้างความเป็นวิชาชีพของมหาวิทยาลัย โดยใช้แนวทางตามอย่างอเมริกัน ซึ่งหยิบยืมลอกแบบมาจากเยอรมนีสมัยศตวรรษที่ 19 อีกทีหนึ่งการสร้างความเป็นวิชาชีพ (professionalisation) นี้เริ่มก่อตัวขึ้นมาจากการแยกสาขาวิชาอันกลายมาเป็นสถาบันที่ทรงพลัง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การแบ่งแยกความรู้และการศึกษาออกเป็นส่วนๆ ตามตรรกะของการแบ่งงานกันทำ การแบ่งแยกเช่นนี้กีดกันไม่ให้นักประวัติศาสตร์สนใจมานุษยวิทยาหรือนักเศรษฐศาสตร์สนใจสังคมวิทยา แต่มันมีความหมายอีกนัยหนึ่งว่า ผู้อาวุโสในสาขาวิชาต่างๆ จะมีบทบาทอย่างมากในการกำหนดชี้ชะตาความสำเร็จทางวิชาการของนักวิชาการรุ่นใหม่ๆ ด้วย

อนึ่ง การสร้างความเป็นวิชาชีพยังส่งเสริมการพัฒนาศัพท์เทคนิคที่เข้าใจกันเฉพาะในหมู่นักวิชาการที่อยู่ในสาขาวิชาเดียวกัน นี่หมายความว่ามันยิ่งทำให้นักวิชาการเขียนให้นักวิชาการด้วยกันเองอ่าน ตีพิมพ์ใน “วารสารทางวิชาการ” และในสื่อสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัยแนวโน้มเช่นนี้ทำให้สาธารณชนทั่วไปถูกกีดกันออกไปมากขึ้นเรื่อยๆ การเขียนหนังสือให้คนทั่วไปอ่านมักถูกตีตราว่าตื้นเขินและไม่มีความเป็นวิทยาศาสตร์ ภาษาที่สละสลวยได้รับการยกย่องน้อยลงๆ

อย่างไรก็ตาม อเมริกามีลักษณะเฉพาะในบางแง่มุม ประการแรกสุด อเมริกาไม่มีมหาวิทยาลัยรัฐในระดับชาติ ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่นๆ เกือบทุกประเทศทั่วโลก มหาวิทยาลัยระดับสุดยอดของอเมริกาเกือบทั้งหมดเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ประการที่สอง อเมริกาพัฒนามหาวิทยาลัยขึ้นมาหลายพันแห่งเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของมหาชน ในยุคสมัยที่ถือกันว่าปริญญาบัตรคือเงื่อนไขในการหางานรายได้ดี ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ประการที่สาม ประเทศนี้มีจารีตยาวนานของความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อปัญญาชนมหาวิทยาลัยโดยรวม นั่นหมายความว่า มีอาจารย์มหาวิทยาลัยเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีอิทธิพลเชื่อมโยงกับชนชั้นนำทางการเมืองหรือสื่อมวลชน

แต่ตัวอย่างของอเมริกาก็มีอิทธิพลอย่างยิ่งนับตั้งแต่ทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา สืบเนื่องจากการครองความเป็นใหญ่ในโลกระหว่างและหลังจากสงครามเย็น เยาวชนหลายหมื่นคนจากหลายๆ ส่วนของโลกที่เรียกว่า “โลกเสรี” ได้รับเชิญให้มาศึกษาต่อขั้นสูงที่อเมริกา และได้รับทุนอุดหนุนเหลือเฟือจากมูลนิธิเอกชนและหน่วยงานรัฐเมื่อกลับไปบ้าน คนหนุ่มสาวเหล่านี้มักเจริญรอยตามตัวอย่างของอาจารย์และสร้างชีวิตมหาวิทยาลัยขึ้นมาตามต้นแบบ โดยมักได้รับการสนับสนุนทางการเงินและการเมืองจากอเมริกาเป็นอย่างมาก แต่พวกเขาก็ประกอบภารกิจนี้ได้เพียงบางส่วน อันเนื่องมาจากลักษณะของสังคมบ้านเกิดของคนหนุ่มสาวเหล่านี้

ยกตัวอย่างเช่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยระดับสุดยอดมักเป็นของรัฐ และคณาจารย์เป็นข้าราชการในแบบใดแบบหนึ่ง มีจารีตยาวนานของการเคารพผู้มีการศึกษาสูง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากระเบียบสังคมทั้งในยุคก่อนอาณานิคมและยุคอาณานิคม ความเคารพต่อผู้มีการศึกษาสูงนี้ได้รับการตอกย้ำจากการมีเส้นสายเชื่อมโยงกับรัฐอย่างเหนียวแน่น อาจารย์มหาวิทยาลัยสามารถเข้าถึงชนชั้นนำทางการเมืองและสื่อมวลชนในลักษณะที่นึกคิดแทบไม่ออกเลยในสหรัฐอเมริกา ในอีกด้านหนึ่ง สถานะทางสังคมของพวกเขามักสวนทางกับการสนับสนุนทางการเงินที่พวกเขาได้รับ ในสหรัฐอเมริกาอาจารย์มหาวิทยาลัยได้รับค่าตอบแทนสูงมาก ศาสตราจารย์อาวุโสหลายคนมีรายได้ถึง 100,000 ดอลลาร์ (3.2 ล้านบาท) ขึ้นไปต่อปี ตรงกันข้าม ในอุษาคเนย์นั้น อาจารย์มหาวิทยาลัยมีรายได้ต่ำ จึงต้องหาทางออกด้วยการรับงานโครงการวิจัยของรัฐที่ไร้ประโยชน์ หาลำไพ่พิเศษด้วยการสอนที่มหาวิทยาลัยอื่น เก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์และอาศัยช่องทางต่างๆ ในสื่อมวลชน เช่น เขียนบทความในหนังสือพิมพ์ ทำรายการทีวี ฯลฯ อาจารย์เหล่านี้จึงมักละเลยหรือไม่สนใจนักศึกษา หรือไม่ก็ปฏิบัติต่อนักศึกษาแบบราชการนักวิชาการจำนวนไม่น้อยไม่ยอมสอนหนังสือเลย แต่เลือกไปกินตำแหน่งในสถาบันวิจัยที่แทบไม่มีผลงานใดๆ นี่คือเหตุผลที่นักศึกษาเก่งๆ จำนวนมากมักศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเองและดูแคลนอาจารย์เพียงในนามเหล่านี้

ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ นักวิชาการหลายคนจึงแสวงหาความสำเร็จด้วยการเข้าข้างชนชั้นนำทางการเมือง หรือไม่ก็แข่งขันแย่งชิงทุนจากหน่วยงานต่างๆ ของประเทศร่ำรวย ซึ่งก็มีวาระแฝงเร้นของตนเอง แนวโน้มแบบนี้มีข้อเสียในตัวมันเอง ผมจำได้ดีถึงเจ้าหน้าที่สตรีผู้ขยันขันแข็งอย่างยิ่งคนหนึ่ง ซึ่งคอยจัดการการให้ทุนของมูลนิธิโตโยต้าแก่สถาบันการศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เธอบอกว่าเธอรู้สึกตกใจจริงๆ ที่พบว่า นักวิชาการชาวฟิลิปปินส์ที่มาร่วมการประชุมสัมมนาที่มูลนิธิเป็นผู้สนับสนุนให้จัดขึ้น พวกเขาไม่เพียงคาดหวังว่ามูลนิธิต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด แต่ถึงขนาดเรียกร้องเงินสดตอบแทนการมาร่วมประชุมด้วย เงินตอบแทนมักถูกใช้ไปกับการช้อปปิ้งสินค้าราคาแพง

การหาลำไพ่พิเศษกับสื่อมวลชนก็มีปัญหาในแบบของมันการออกทีวีได้รับค่าตอบแทนดี แต่ไม่ว่าใครก็มักมีเวลาไม่เกิน 5 นาที ซึ่งไม่เพียงพอที่จะอธิบายสาระสำคัญอะไรได้ การเขียนคอลัมน์อย่างน้อยที่สุดก็ช่วยกระตุ้นให้นักวิชาการเขียนให้สาธารณชนในวงกว้างอ่าน แต่นักวิชาการที่จริงจังย่อมไม่สามารถเขียนอะไรออกมาได้ทุกสัปดาห์ โดยไม่พูดซ้ำซากวนไปวนมา หรือพูดถึงแต่ตัวเอง แถมยังต้องเชื่อฟังคำชี้นำของบรรณาธิการและเจ้าของหนังสือพิมพ์อีกต่างหาก นักวิชาการเหล่านี้กลายเป็นลูกจ้าง ลูกจ้างของรัฐ ของมูลนิธิต่างประเทศ หรือไม่ก็เป็นลูกจ้างของเจ้าพ่อหนังสือพิมพ์และผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมพวกเขาจึงมีเวลาน้อยมากที่จะทำงานวิจัยอย่างจริงจัง เขียนหนังสือที่มีความสำคัญ หรือท้าทายอะไรบางอย่างอย่างจริงจัง มิหนำซ้ำ พวกเขายังปิดหูปิดตาตัวเองอย่างประหลาดด้วย

ผมขอยกตัวอย่างที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง สองสามปีก่อน ผมไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยชั้นนำในกรุงเทพฯให้อาจารย์และนักศึกษาราว 300 คนฟัง ในระหว่างการบรรยายนั้น ผมกล่าวยืดยาวพอควรเกี่ยวกับอัจฉริยะแท้จริงคนแรกที่ประเทศไทยผลิตขึ้นมานับตั้งแต่ทศวรรษ 1960 นั่นคือ นักสร้างภาพยนตร์ชั้นยอดอย่างอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ซึ่งได้รับรางวัลใหญ่สองรางวัลที่เมืองคานส์ในช่วงเวลาแค่สามปี อีกทั้งยังได้รับรางวัลมากมายทั่วทั้งโลกภาพยนตร์ด้วย ในตอนท้าย ผมถามผู้ฟังว่าใครเคยได้ยินชื่ออภิชาติพงศ์ขอให้ยกมือขึ้น มีคนยกมือประมาณ 10 คน เป็นนักศึกษาทั้งหมด มีกี่คนที่เคยดูภาพยนตร์ของเขา? มีประมาณ 6 คน นักศึกษาทั้งหมดเช่นกัน

ชั่วขณะนั้นเองที่ผมตระหนักถึงการปิดหูปิดตาตัวเองอย่างโง่เขลาของเหล่าอาจารย์ทั้งหลาย ซึ่งคงดูแต่หนังฮอลลีวู้ด และความหยิ่งจองหองของพวกเขา ก็นักสร้างภาพยนตร์ไม่มีปริญญามหาวิทยาลัยน่ะสิ! แทบไม่มีสะพานเชื่อมระหว่างอาจารย์กับนักสร้างภาพยนตร์ นักเขียนนวนิยายและจิตรกรฯลฯ ไม่น่าแปลกใจที่นักสร้างภาพยนตร์และนักเขียนนวนิยายเองก็มีทัศนคติที่ไม่ค่อยดีนักต่ออาจารย์มหาวิทยาลัย มีเพียงนักศึกษาที่ยังไม่มีวิชาชีพเท่านั้นที่เชื่อมโยงระหว่างโลกทั้งสอง ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นเหตุผลบางประการว่าทำไมเราจึงไม่ค่อยพบปัญญาชนสาธารณะในมหาวิทยาลัย ถึงแม้มีข้อยกเว้นสำคัญอยู่เสมอก็ตาม ความเป็นวิชาชีพ สถานะข้าราชการ ความใกล้ชิดกับชนชั้นนำทางการเมือง ความไร้วัฒนธรรม การดูถูกดูแคลนนักศึกษา ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นองค์ประกอบที่มีบทบาททั้งสิ้น

แต่เราไม่สามารถกล่าวโทษมหาวิทยาลัยโดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมของมัน ผมจึงขอกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงสำคัญประการที่สองที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของปัญญาชนสาธารณะ ความเปลี่ยนแปลงนี้อาจนิยามได้ว่าเป็นวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปของชนชั้นนำและวิธีการที่พวกเขาใช้ประโยชน์จากอำนาจรัฐ

เรื่องแรกที่น่าสังเกตคือค่านิยมของชนชั้นนำที่มักส่งลูกหลานเรียนชั้นประถมและมัธยมในโรงเรียนที่เรียกว่า “โรงเรียนนานาชาติ” ในประเทศของตัวเอง จากนั้นก็ส่งไปต่างประเทศเพื่อทำปริญญาในสาขาต่างๆ ส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ และอังกฤษ ตลอดจนฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ฯลฯ ทัศนคติเช่นนี้มีความหมายชัดเจนคือความไม่แยแสหรือถึงขั้นดูถูกสถาบันการศึกษาในประเทศของตัวเอง ด้วยเหตุผลนี้ ชนชั้นนำจึงไม่ค่อยมีความสะดุ้งสะเทือนกับอิทธิพลทางการเมืองที่แทรกแซงชีวิตในมหาวิทยาลัยอย่างหนัก ถึงที่สุดแล้ว มีแต่ปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศเท่านั้นที่มีเกียรติภูมิอย่างแท้จริง

สถานการณ์นี้ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยได้เอกราชใหม่ๆ เมื่อทุกคนภาคภูมิใจกับโรงเรียนของตัวเอง และครูบาอาจารย์ก็ยังเป็นที่เคารพยกย่อง พวกลูกหลานชนชั้นนำไปเรียนอะไรมา ถ้าหากว่าพวกเขายอมเรียนหนังสือบ้าง? คุณแน่ใจได้เลยว่าปริญญาบัตรส่วนใหญ่ที่พวกเขาได้มามักเป็นสาขาวิชาชีพเชิงพาณิชย์ เช่น บริหารธุรกิจ การตลาด เศรษฐศาสตร์ไอที ฯลฯ ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ วรรณคดี มานุษยวิทยาหรือจิตวิทยาแน่ๆ เพราะสาขาวิชาเหล่านี้มักถูกมองว่า “ไร้ประโยชน์” และไม่ตรงกับความต้องการสำหรับ “ลูกหลานของเรา” ซึ่งจะต้องกลับมาสืบทอดตำแหน่งของพ่อแม่ในระบบการเมืองที่การเล่นพรรคเล่นพวกได้รับการส่งเสริมอย่างไร้ยางอายมากขึ้นทุกทีๆ

เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ: ครั้งล่าสุดที่ผมได้คุยกับอามีร์มูฮัมมัด เขาบอกผมว่า สำนักพิมพ์เล็กๆ ของเขาเพิ่งตีพิมพ์หนังสือรวมเรื่องสั้นของนักเขียนเกย์และเลสเบี้ยน เนื่องจากทราบดีว่า มาเลเซียมีกฎหมายลงโทษความสัมพันธ์ทางเพศที่ “อปกติ” ค่อนข้างหนักหน่วงทีเดียว ผมจึงถามเขาว่า เขาไม่กริ่งเกรงการลงโทษหรือ “ไม่เลย” เขาพูดกลั้วหัวเราะ “ชนชั้นปกครองของเราไม่เคยอ่านหนังสือ อย่างมากก็อ่านแค่คำแนะนำด้านนโยบายสองหน้ากระดาษกับหนังสือพิมพ์เท่านั้น อีกอย่างหนึ่ง หนังสือเล่มนี้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งพวกเขาก็ไม่ค่อยถนัดอยู่แล้ว”

ตัวอย่างที่สะท้อนภาพให้เห็นอีกแง่มุมหนึ่งก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในยุคเผด็จการยาวนานของซูฮาร์โต ในค.ศ. 1978 (พ.ศ. 2521) มีเหตุการณ์ที่นักศึกษามหาวิทยาลัยทั่วประเทศลุกฮือขึ้นแข็งข้อต่อรัฐบาล ซึ่งก็ถูกปราบปรามลงอย่างรวดเร็ว ผู้นำทางปัญญาส่วนใหญ่เป็นเยาวชนที่มีความเกี่ยวข้องกับสถาบัน Technical Institute of Bandung (ในภาษาอินโดนีเซียคือ Institut Teknologi Bandung--ITB) อันทรงเกียรติ แต่ในการลุกฮือขึ้นต่อต้านซูฮาร์โตใน ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) หรืออีกยี่สิบปีต่อมา สถาบันนี้กลับไม่หลงเหลือบทบาทและไม่ทำอะไรเลย ทำไม? เหตุผลนั้นง่ายมาก ซูฮาร์โตต้องการการพัฒนาโดยไม่ต้องพะวงกับเสียงคัดค้าน รัฐบาลของเขาจึงจ้างบัณฑิตจาก ITB จำนวนมาก และมักส่งไปศึกษาต่อในต่างประเทศ เพื่อให้กลับมาทำงานในกระทรวงต่างๆ ที่เน้นการใช้เทคโนโลยี ซึ่งต่อมาไม่นาน กระทรวงเหล่านี้ก็ขึ้นชื่อฉาวโฉ่ในด้านการเล่นพรรคเล่นพวกและการคอร์รัปชั่นผู้นำเผด็จการรู้ดีว่าคนเหล่านี้ไม่ใช่ภัยคุกคาม พวกเขาไม่มีฐานทางการเมืองหรือต้นทุนทางศีลธรรมในสังคมอินโดนีเซียอีกแล้ว นักศึกษาที่มาแทนที่คนเหล่านี้มาจากมหาวิทยาลัย “ชั้นสอง” ซึ่งมักเป็นมหาวิทยาลัยด้านศาสนาและมหาวิทยาลัยเอกชน

รัฐเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อผมยื่นขอวีซ่าสำหรับนักวิจัยใน ค.ศ. 1961 (พ.ศ. 2504) ผมต้องรอถึงเก้าเดือนกว่าวีซ่าจะได้รับอนุมัติ เหตุผลหลักคือความเกียจคร้านของระบบราชการ แต่ก็มีความกลัวที่เข้าใจได้ด้วยว่า นักวิจัยต่างชาติ โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกาอาจเป็นสายลับของซีไอเอภายใต้รัฐบาลซูฮาร์โต ซึ่งเป็นคนโปรดของสหรัฐฯ มีความเปลี่ยนแปลงที่ทำให้สถานการณ์แย่ยิ่งกว่านั้น รัฐบาลซูฮาร์โตต้องการมีอำนาจควบคุมเบ็ดเสร็จเหนือนักศึกษาต่างชาติทุกคน โดยสั่งห้ามไม่ให้ศึกษาเรื่องอะไรก็ตามที่รัฐบาลถือว่า “อ่อนไหว” การควบคุมนี้อยู่ภายใต้หน่วยสืบราชการลับของรัฐ โดยอาศัยหน้าฉากของสถาบันที่เคยดูเหมือนใจกว้าง นั่นคือ สถาบัน Indonesian Institute for the Sciences (ภาษาอินโดนีเซียคือ Lembaga Ilmu Pengetahuan Indonesia—LIPI) ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการของรัฐ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนี้คือนักวิจัยที่รัฐไว้วางใจ ซึ่งแทบไม่เคยสอนนักศึกษาและมีความเชื่อมโยงกับนักศึกษาน้อยมาก เทคนิคการบริหารจัดการแบบนี้แพร่ไปถึงมาเลเซียและประเทศไทย และมีบ้างเล็กน้อยในฟิลิปปินส์ อำนาจการยับยั้งของหน่วยงานสืบราชการลับในประเทศเหล่านี้มีมากถึงขนาดที่นักศึกษาที่มาขอวีซ่าวิจัยต้องหันไปหาโครงการที่ปลอดภัยไม่มีพิษมีภัย หรือไม่ก็เรียนรู้วิธีการโกหกอย่างฉลาดปราดเปรื่อง

นักศึกษาต่างประเทศส่วนใหญ่ได้รับเงินทุนจากมูลนิธิเอกชนหรือรัฐบาลในต่างประเทศ สถาบันเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันสัญชาติอเมริกัน ญี่ปุ่น ดัทช์ อังกฤษ ฝรั่งเศส แคนาดา ฯลฯ ต่างก็มีเป้าหมายระยะยาวในใจ และมีนักศึกษาหลายสิบหรืออาจถึงหลายร้อยคนที่ต้องพึ่งพาการสนับสนุนทางการเงินจากสถาบันดังกล่าว รัฐบาลต่างประเทศ ซึ่งมีผลประโยชน์มากมายทับซ้อนอยู่ในประเทศต่างๆ เช่นอินโดนีเซียหรือมาเลเซีย ย่อมต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดความบาดหมางกับรัฐบาลในประเทศนั้นๆ มูลนิธิเอกชนก็เผชิญปัญหาคล้ายๆ กัน กล่าวคือ ทำอย่างไรจะกระตุ้นให้เกิดงานวิจัยที่ดี ในขณะเดียวกันก็ไม่สร้างความขุ่นเคืองหรือไม่พอใจต่อกลไกรัฐ ถ้ากล้าหาญเกินไป ก็อาจถูกสั่งห้าม โครงการถูกสกัดขัดขวาง ความสัมพันธ์ที่มีกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ และเหนืออื่นใดคือหน่วยสืบราชการลับทั้งหลาย เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยลูกล่อลูกชนอย่างมาก ภายใต้ความกดดันเช่นนี้ เป็นเรื่องเข้าใจได้ที่หน่วยงานและมูลนิธิเหล่านี้รู้สึกจำเป็นต้องรอบคอบระแวดระวังและอนุรักษ์นิยม ดังนั้น เห็นได้โดยง่ายว่า เหตุใดโครงการที่มีจุดมุ่งหมายที่ดีมักไม่ค่อยเอื้ออำนวยต่อปัญญาชนสาธารณะ แต่มักเน้นโครงการวิจัยแบบเทคโนแครตหรือโครงการขนาดเล็กๆ ที่ไม่น่าจะสร้างปัญหา ทั้งต่อหน่วยงานและมูลนิธิเอง รวมทั้งเยาวชนที่พวกเขาส่งเสริมและให้ทุนสนับสนุนด้วย

ภายในรัฐหรือกลุ่มพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับรัฐ มักมีกลุ่มอิทธิพลที่มีอำนาจในการยับยั้ง (veto-groups) ซึ่งเราควรให้ความสนใจ ผมขอยกตัวอย่างจากแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการศึกษาของมูลนิธิ Nippon Foundation ในอินโดนีเซีย กลุ่มอิทธิพลที่มีอำนาจยับยั้งกลุ่มสำคัญคือกองทัพและนักการเมืองมุสลิม ผมคิดไม่ออกเลยว่ามีหนังสือดีๆ ที่เขียนเกี่ยวกับกองทัพอินโดนีเซีย (ในระดับชาติ) สักเล่มเดียวตีพิมพ์ออกมาในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเขียนโดยนักวิชาการชาวอินโดนีเซียหรือชาวต่างประเทศ งานเขียนที่ดีที่สุดส่วนใหญ่เท่าที่มีอยู่มาจากโลกของเอ็นจีโอ เช่น องค์กรนิรโทษกรรมสากล องค์กร Indonesia Watch ตลอดจนเอ็นจีโอท้องถิ่นเล็กๆ แต่งานเขียนเหล่านี้ไม่เป็นระบบมากนักและมักเน้นไปที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนในระดับต่างๆ และในท้องที่ต่างๆ มากกว่า แต่การศึกษาอาณาจักรธุรกิจอันกว้างใหญ่ของกองทัพ ทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย เป็นเรื่องต้องห้ามไม่มากก็น้อย คุณอาจคิดว่า มันน่าสนใจที่จะศึกษาสภาพการณ์อันแปลกประหลาดของอินโดนีเซีย ประเทศที่อ้างว่ามีคนมุสลิมถึง 90% แต่คะแนนเสียงรวมกันของพรรคการเมืองมุสลิมทั้งหมดในช่วงสิบปีที่ผ่านมาไม่เคยเกินครึ่ง หรือทำไมทั้งๆ ที่อิทธิพลของศาสนาอิสลามเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่เกียรติภูมิของนักการเมืองมุสลิมกลับตกต่ำอย่างที่สุด? มีแต่ความเงียบเป็นคำตอบ

ในประเทศฟิลิปปินส์ กลุ่มอิทธิพลที่มีอำนาจยับยั้งมากที่สุดคือศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งประสบความสำเร็จเสมอมาในการสกัดยับยั้งกฎหมายการหย่าร้างที่ก้าวหน้า ทำให้การแยกทางของคู่สมรสนับไม่ถ้วนสร้างความลำบากยากแค้นแสนสาหัสต่อผู้หญิงและเด็ก ศาสนจักรยังขัดขวางการเผยแพร่วิธีการและเครื่องมือในการคุมกำเนิด ซึ่งไม่เพียงทำให้เกิดปัญหาการขยายตัวของประชากรจนควบคุมไม่ได้ในประเทศที่ยากจนข้นแค้นและมีการอพยพของแรงงานจำนวนมาก แต่ยังเป็นอุปสรรคต่อการต่อสู้กับโรคเอดส์ด้วย ทรัพย์สินทั้งหมดและงบประมาณภายในของพระคาทอลิกเป็นความลับที่เก็บงำมิดชิด ผมนึกไม่ออกว่ามีหนังสือแม้สักเล่มเดียวที่ตรวจสอบผลประโยชน์และนโยบายของศาสนจักรอย่างเป็นระบบ รวมไปถึงผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ตามมาด้วย

ในประเทศมาเลเซีย กลุ่มอิทธิพลที่มีอำนาจยับยั้งอย่างสำคัญคือกลุ่มคณาธิปไตยภายในพรรคอัมโน ซึ่งครองอำนาจมานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว หลายปีที่ผ่านมา กลุ่มนี้อาศัยกฎหมาย “ความมั่นคง” ภายในที่เข้มงวดเด็ดขาด ซึ่งเป็นสิ่งตกค้างจากยุคอาณานิคมอังกฤษ แต่มีการนำมาพัฒนาเพื่อใช้กดขี่ฝ่ายกบฏ ผู้วิพากษ์วิจารณ์และผู้ไม่พอใจรัฐบาล ทั้งหมดนี้อาศัยข้ออ้างบังหน้าในการรักษาความสงบของสังคม ความรู้รักสามัคคีของชาติและความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นระหว่างชาติพันธุ์ต่างๆ จริงอยู่ ทุกวันนี้พรรคอัมโนอยู่ในภาวะตกต่ำ สืบเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ลึกซึ้งและกว้างขวาง กลุ่มผู้นำที่ไร้ความสามารถและฉ้อฉล รวมไปถึงความเบื่อหน่ายของประชาชนจริงอยู่ มีเอ็นจีโอด้านสิ่งแวดล้อมที่กระตือรือร้น มีเอ็นจีโอที่ทำงานต่อต้านการกีดกันด้านเชื้อชาติ โดยเฉพาะกับคนกลุ่มใหญ่ชาวอินเดียที่ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ฯลฯ แต่การโจมตีซึ่งหน้าต่อปัญหาการคอร์รัปชั่น ความไร้ประสิทธิภาพ ความหน้าไหว้หลังหลอก ทัศนคติแบบเลือกปฏิบัติ ฯลฯ ของชนชั้นนำในพรรคอัมโนเองนั้น ยังไม่มีหรอก ถึงแม้ว่านักวิชาการจะมีความกล้ามากขึ้นทีละน้อยๆ ก็ตาม

ท้ายที่สุดคือประเทศไทยกลุ่มอิทธิพลที่มีอำนาจยับยั้งในประเทศนี้คือ กลุ่มที่อยู่ล้อมรอบสถาบันกษัตริย์ ซึ่งได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เข้มงวดเฉียบขาด

-----------------------------------------------------skip--------------------------------------------------------

แต่ผลกระทบที่ลึกซึ้งกว่านั้นเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดในโลกวิชาการ ตัวอย่างเล็กๆ แต่บอกอะไรเรามากมายตัวอย่างหนึ่งก็คือ ประวัติศาสตร์ประเทศไทยที่จัดทำใส่กรอบสวยงามวิจิตรบรรจงในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของประเทศไทยนับตั้งแต่ต้นกำเนิดอันคลุมเครือเมื่อ 800 ปีก่อนมาจนถึงปัจจุบันเรื่องที่แปลกประหลาดอย่างแท้จริงก็คือ นิทรรศการถาวรนี้ถวายเป็นเกียรติแด่บุคคลเพียงสี่ห้าคน และทุกพระองค์คือพระมหากษัตริย์อันทรงเป็นที่เคารพรักยิ่ง ไม่มีนักเขียน นายพล นายแพทย์ กวี นักวิทยาศาสตร์ พระ ผู้พิพากษา นักปรัชญา นักสังคมสงเคราะห์หรือจิตรกรแม้แต่คนเดียว ยิ่งไม่ต้องเอ่ยถึงผู้หญิง นิทรรศการเช่นนี้เป็นสิ่งที่นึกคิดไม่ได้เลยในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์หรือกระทั่งในมาเลเซียเรื่องแบบเดียวกันนี้ แต่ในรูปแบบที่ซับซ้อนกว่า สามารถพบเห็นได้ในสาขาวิชาต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ไม่ว่าในประวัติศาสตร์ศิลปะ ประวัติศาสตร์ วรรณคดีประจำชาติ รัฐศาสตร์ ชาติพันธุ์วิทยา ฯลฯ แน่นอน มีวิญญาณเสรีอยู่บ้าง รวมทั้งอาจารย์บางคนที่อาวุโสจนน่าจะเกษียณได้แล้ว แต่ภาพรวมยังห่างไกลจากความน่ายินดี

เมื่อได้สาธยายเหตุผลข้างต้นไปแล้ว ซึ่งแน่นอนว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นท้าทายให้เกิดข้อถกเถียง เหตุผลที่ว่าการสร้างความเป็นวิชาชีพและความเป็นพาณิชย์นิยมของมหาวิทยาลัย อำนาจที่เพิ่มพูนมากขึ้นของระบบราชการและหน่วยงานตรวจพิจารณาข่าวสาร (เซนเซอร์) รวมทั้งแนวโน้มของคณาธิปไตยในชนชั้นนำระดับรัฐ-ชาติ พื้นที่ที่เหลือให้ปัญญาชนสาธารณะจึงค่อนข้างจำกัดมาก อย่างน้อยก็ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ผมขอพูดสรุปสั้นๆ อีกสักเล็กน้อยว่าทำไมสำหรับปัญญาชนสาธารณะ หนังสือยังมีความสำคัญอย่างยิ่ง หนังสือพิมพ์กับข้อเขียนในคอลัมน์เป็นงานเขียนที่มีอายุสั้น มันถูกกลืนหายไปทันทีที่ฉบับวันต่อไปออกมา โทรทัศน์อาจมีช่วงขณะที่มีชีวิตชีวาแจ่มชัด แต่ไม่มีใครดูรายการของปีที่แล้วหรอก บางครั้งภาพยนตร์ก็เป็นสื่อที่ยอดเยี่ยม แต่นอกจากผู้เชี่ยวชาญไม่กี่คน คนส่วนใหญ่ก็ดูหนังแต่ละเรื่องแค่ครั้งสองครั้ง อินเทอร์เน็ตให้ชั่วขณะที่ปลดเปลื้องจากพันธนาการ แต่การไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารมีมากเกินไป อีกทั้งข้อความในบล็อกเฟซบุ๊ก ฯลฯ ก็คงอยู่ได้แค่ประเดี๋ยวประด๋าว มีความหมายเฉพาะชั่วขณะนั้นๆ แต่หนังสือที่ดีสามารถอ่านซ้ำได้ครั้งแล้วครั้งเล่า หนังสือสามารถคงอยู่ คืนชีวิตได้ตลอดระยะเวลายาวนาน เรายังคงสามารถอ่านผลงานของท่านผู้หญิงมูราซากิด้วยความเพลิดเพลินและได้คติสอนใจ เช่นเดียวกับงานประพันธ์ของโฮเซริซัล, มิลตัน, ฮาฟิซ, วอลแตร์ ฯลฯ หนังสือให้พื้นที่ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่ซับซ้อนและยอกย้อน สามารถอ่านเงียบๆ ในใจ และไม่ระบุเจาะจงผู้อ่านไว้ล่วงหน้า ใครๆ ก็สามารถเรียนรู้จากหนังสือ ณ ที่นี้ ผมอยากกล่าวว่า การพัฒนาเครือข่ายดังที่มูลนิธิ Nippon Foundation สนับสนุนนั้น เป็นสิ่งที่ควรแก่การยกย่องและมีคุณค่าอย่างยิ่ง กระนั้นก็ตาม มันมีความหมายเฉพาะในกลุ่มที่เข้าใจกันเองและมีความคิดเกี่ยวกับปัญหาคล้ายๆ กันเท่านั้น แต่ในทัศนะของผม นี่ก็ยังไม่เหมือนกับคุณูปการของปัญญาชนสาธารณะ ซึ่งโดยหลักการแล้วย่อมพูดกับใครก็ได้และพูดกับทุกๆ คน ปัญญาชนสาธารณะมีผู้อ่าน ซึ่งอาจไม่เหมือนกับการมีเครือข่ายที่ใกล้ชิดแนบแน่น แต่ทุกสังคมพึงมีทั้งสองอย่าง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 5 -11 ก.ค. 2553

Posted: 11 Jul 2010 11:07 AM PDT

<!--break-->

กรมการจัดหางานเผยพบคนไทยขอวีซ่าท่องเที่ยวแฝงทำงานเก็บผลไม้ที่สวีเดนกว่า 5,000 คน
(ฐานเศรษฐกิจ, 11-7-2553)
นายสุภัท กุขุน รองอธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวถึง กรณีกรมการกงศุล กระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า ขณะนี้มีคนไทยยื่นขอวีซ่าไปท่องเที่ยวที่สวีเดนมากกว่า 5,000 คน ว่า จากการตรวจสอบพบว่า ทุกคนแจ้งความจำนงจะเดินทางไปเยี่ยมญาติ ที่เป็นคนไทยและเป็นภรรยาของชาวสวีเดน ซึ่งปีนี้ทางการสวีเดน ได้อนุญาตให้ไทยที่พักอาศัยในสวีเดน เรียกว่ากลุ่มมาดาม สามารถพาญาติเข้าไปทำงานเก็บผลไม้ป่าได้คนละไม่เกิน 3 คน และปราศจากเงื่อนไข ขณะที่แรงงานไทยที่จะเดินทางไปทำงานผ่านบริษัทจัดหางาน 4 แห่งประมาณ 3 พันคน โดยทุกคนจะต้องได้รับกาประกันรายได้ไม่ต่ำกว่า 75,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 2 เดือนครึ่ง และแรงงานจะต้องจ่ายค่าเดินทาง ค่าวีซ่า ค่าอาหารและค่าน้ำมันรถ รวมทั้งภาษีเงินได้เองทั้งหมด ส่วนค่าที่พัก ค่าเช่ารถ และอุปกรณ์การทำงาน บริษัทจะจัดหาให้ รวมทั้งจัดหาพื้นที่สำรองในการเก็บเกี่ยวผลไม้เพิ่มด้วย ซึ่งมีเงื่อนไขเดียวกับการจ้างตรงจากนายจ้างชาวสวีเดน ที่มีการประกันรายได้ให้แรงงาน แต่แรงงานจะต้องเสียค่าใช้จ่ายและภาษีเงินได้ร้อยละ 25 ของรายได้ ซึ่งมีประมาณ 200 คน
"การเดินทางผ่านบริษัทนำพาและการจ้างตรง จะต้องจองตั๋วเครื่องบินแบบเลื่อนวันและเวลาได้ เพื่อให้แรงงานสามารถเดินทางกลับประเทศได้ทันที หากเกิดปัญหา ซึ่งจะมีแรงงานทยอยเดินทางชุดแรกในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้คาดว่า ปีนี้อาจเกิดปัญหาแรงงานไทยสวีเดนหนักกว่าปีที่แล้ว โดยเฉพาะที่ไปทำงานผ่านกลุ่มมาดาม เพราะเกินอำนาจการดูแลของเจ้าหน้าที่สถานทูต" รองอธิบดีกรมการจัดหางานกล่าว
ลดสิทธิพิเศษธุรกิจใช้แรงงานต่างด้าว
(มติชน, 11-7-2553)
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ว่า ภาวะการลงทุนในช่วงครึ่งปี2553 มีโครงการลงทุนยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งสิ้น 632 โครงการ เพิ่มขึ้น 46.3%จากช่วงเดียวกันของปี 2552 และมีมูลค่าลงทุน 192,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.4%เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ สถิติการขอรับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งหมด โดยกลุ่มอุตสาหกรรมการบริการและสาธารณูปโภคยื่นขอรับส่งเสริมมากที่สุด มูลค่า 85,100 ล้านบาท ตามด้วยอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เซรามิค และโลหะขั้นพื้นฐาน มีมูลค่าลงทุน 26,400 ล้านบาทอุตสาหกรรมโลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง มูลค่า 23,200 ล้านบาท และอุตสาหกรรมเกษตร มูลค่าลงทุนรวม 22,800 ล้านบาท
นายชัยวุฒิกล่าวว่า สำหรับการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) ยื่นเข้ามาแล้วในครึ่งปีนี้มีจำนวน 375 โครงการมูลค่า 98,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 96% ปัจจัยหลักมาจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว และนักลงทุนต่างชาติยังมีความเชื่อมั่นประเทศไทย โดยจากการสำรวจพบว่าญี่ปุ่นยังเป็นนักลงทุนที่ยื่นขอรับส่งเสริมมากที่สุด มูลค่า 38,638 ล้านบาท สเปนเป็นอันดับสอง มีมูลค่า 22,000 ล้านบาท ซึ่งสเปนถือเป็นประเทศที่บีโอไอเพิ่งให้การอนุมัติส่งเสริมการลงทุน และ3.สิงคโปร์ มูลค่าลงทุน 8,299 ล้านบาท
นายชัยวุฒิกล่าวว่า ที่ประชุมได้หารือถึงกรณีการผ่อนผันให้ใช้แรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ โดยจากการหารือนายกฯได้สั่งการให้บีโอไอนำกลับไปพิจารณาอีกครั้ง เนื่องจากการส่งเสริมของบีโอไอนั้นมีวัตถุประสงค์หลักคือจะไม่ใช้แรงงานต่างด้าว เพียงแต่จะผ่อนผันให้เฉพาะแรงงานต่างด้าวที่ชำนาญการเท่านั้น ดังนั้น การพิจารณาให้โครงการลงทุนใช้แรงงานต่างด้าวได้จึงมีความเป็นไปได้ว่าโครงการนั้นๆ อาจจะได้รับสิทธิประโยชน์จากบีโอไอน้อยลงจากข้อตกลงเดิม
แหล่งข่าวจากบีโอไอเปิดเผยว่า ช่วง 6 เดือนแรกของบีโอไอมีการตั้งมูลค่าการลงทุนที่ 250,000 ล้านบาท แต่การขอรับส่งเสริมการลงทุนจริงอยู่ที่ 192,400 ล้านบาท ผิดจากที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้นในครึ่งปีหลังของปีนี้ บีโอไอต้องเร่งชักจูงนักลงทุนโดยต้องมีโครงการขอรับส่งเสริมการลงทุนมีมูลค่ารวมกันถึง 300,000 ล้านบาท เพื่อให้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ 500,000 ล้านบาท
ควัก 3 พัน ล.เก็บตกขึ้นเงินเดือนลูกจ้างประจำ
(ข่าวสด, 11-7-2553)
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ให้การบ้านแก่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เร่งพิจารณาภาพรวมค่าแรงงานทั้งระบบใหม่ให้เพิ่มรายได้แรงงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว และดูแลผู้ประกอบการให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังหารือกับ รมว.แรงงาน เพื่อดูแลประชาชนที่ยังไม่ได้รับโอนหนี้นอกระบบ เนื่องจากไม่มีรายได้ชัดเจน ดังนั้น จึงเตรียมหางานให้หลังจากนั้นจะโอนหนี้บางส่วนมาอยู่ในระบบ และหากมีศักยภาพมากขึ้นก็จะโอนหนี้เข้ามาอยู่ในระบบทั้งหมด
ด้านนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวถึงการจัดเตรียมงบสำหรับการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการในเดือนเม.ย.54 ว่า นอกจากส่วนของข้าราชการที่จะใช้เงิน 1.3 หมื่นล้านบาทแล้วยังมีส่วนของลูกจ้างประจำทั้งการปรับขึ้นเงินเดือนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และการจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญ คาดใช้เงินเพิ่ม 2-3 พันล้านบาท โดยจะเสนอให้ ครม. พิจารณาในคราวเดียวกัน และจะใช้เงินในส่วนของงบกลาง
นายมั่น พัธโนทัย รมช.คลัง กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายกรมบัญชีกลาง ว่า มอบหมายให้กรมบัญชีกลางเร่งลดการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลที่ขณะนี้เพิ่มสูงขึ้นทุกปีจากปีนี้ที่ตั้งงบไว้ 4.8 หมื่นล้านบาทเป็น 5 หมื่นกว่าล้านบาทและเพิ่มเป็น 6.2 หมื่นล้านบาทในปี"54 โดยให้ควบคุมการเบิกจ่ายยาและรักษาโรค 9 ชนิดให้รัดกุม นอกจากนั้นให้เร่งหาแนวทางโอนเงินช่วยเหลือ (อสม.) เข้าบัญชีโดยตรงเพื่อให้คนกลุ่มนี้ได้รับเงินโดยเร็วเหมือนกรณีโอนเงินให้ผู้สูงอายุ ซึ่งมีผู้มีสิทธิกว่า 7.4 ล้านคน วงเงินงบประมาณแต่ละปี 3 หมื่นล้านบาท
อุบัติเหตุจากการทำงานพุ่ง 1.4 แสนราย
(แนวหน้า, 8-7-2553)
ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 กรกฎาคม ภายใต้ชื่อว่า “แรงงานปลอดภัย สุขภาพอนามัยดี มีความรับผิดชอบต่อสังคม”พร้อมกับมอบรางวัลให้แก่สถานประกอบการจำนวน 182 แห่ง ที่ผ่านเกณฑ์ดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานระดับประเทศติดต่อกัน 5 ปีขึ้นไป   
นายเฉลิมชัย กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ เพื่อต้องการให้นายจ้างและผู้ใช้แรงงาน ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน เตรียมความพร้อมป้องอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นไว้ล้วงหน้า รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ใช้แรงงานมีวินัยในการทำงานอย่างเคร่งครัด ยืดระเบียบ กฎเกณฑ์ และข้อห้ามต่างๆ อย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะหากประมาทก็จะทำให้เกิดอันตรายระหว่างการทำงานได้
ทั้งนี้ จากรายงานของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคมในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2543-2552 พบว่า อัตราการประสบอันตรายจากการทำงานของลูกจ้าง กรณีหยุดงานเกินกว่า 3 วันขึ้นไป มีแนวโน้มลดลง โดยหากเปรียบเทียบอัตราการประสบอันตรายจากการทำงานระหว่างปี 2551 กับปี 2552 ซึ่งมีอัตราการประสบอันตรายจากการทำงานอยู่ที่ 6.08 และ 5.39 รายต่อลูกจ้าง 1,000 คน ซึ่งจะพบว่าลดลงจากปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 11.35 แต่ยังถือว่าการประสบอันตรายจากการทำงานยังคงมีจำนวนสูงอยู่มาก โดยในปี 2552 จำนวนการประสบอันตรายจากทุกกรณีมีจำนวน 149,436 ราย สำนักงานประกันสังคมต้องจ่ายเงินทดแทนเนื่องจากการประสบอันตรายจากการทำงานเป็นจำนวนกว่า 1,569 ล้านบาท สำหรับกิจการที่ประสบอันตราย 3 อันดับแรก ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ การค้าและการก่อสร้าง   
“สถิติคนงานที่ประสบอุบัติเหตุในสถานประกอบการมีจำนวนลดลงทุกปี โดยเราตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องลดลงให้เหลือน้อยที่สุดจนกระทั่งเป็นศูนย์ เพื่อเป็นการดูแลสวัสดิการของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งทางกระทรวงแรงงานจะต้องสร้างแรงจูงใจ กระตุ้นให้สถานประกอบการเข้าใจและให้ความสำตัญในเรื่องนี้” นายเฉลิมชัย กล่าว
ด้านนายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานได้กำหนดมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการลดอุบัติเหตุจากการทำงาน โดยจะใช้มาตรการทางกฎหมาย คู่ขนานไปกับมาตรการด้านการส่งเสริมจูงใจนายจ้างและลูกจ้าง โดย กสร.การตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการที่มีการประสบอันตรายสูง พร้อมกับจัดให้มีการฝึกอบรมสัมมนาให้ความรู้ด้านความปลอดภัยแก่นายจ้าง ลูกจ้าง และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย นอกจากนี้ จะดำเนินคดีกับผู้ที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 อย่างเคร่งครัด ซึ่งในปี 2552 ได้ดำเนินคดีทางอาญากับนายจ้างจำนวน 571 คดี เปรียบเทียบปรับเป็นเงินประมาณ 8.3 ล้านบาท
นายสมชาย กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานได้จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและคณะอนุกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานระดับจังหวัดทุกจังหวัด พร้อมกับเร่งรัดผลักดันร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเข้าพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 นอกจากนี้ จะได้ส่งเสริมสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ด้านความปลอดภัย อาทิ โครงการรณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ โครงการความปลอดภัยสู่สถานศึกษา โครงการเฝ้าระวังสถานประกอบการเพื่อลดการประสบอันตรายจากการทำงาน ซึ่งจะสามารถทำให้สถิติการประสบอันตรายมีแนวโน้มลดลงอย่างเป็นรูปธรรมได้
 
ขณะที่ลูกจ้างโรงงานแห่งหนึ่งใน จ.ปทุมธานี กล่าวว่า จากการแข่งขั้นทางธุรกิจ สร้างภาพพจน์ให้กับองค์กรในเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ส่งผลให้สถานประกอบการบางส่วน ไม่แจ้งการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน ที่จะต้องเบิกค่ารักษากับกองทุนเงินทดแทน แต่เข้ารับการรักษาในส่วนของกองทุนประกันสังคมแทน โดยที่สถานประกอบการไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาเพิ่ม ทั้งนี้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานขึ้น นายจ้างยอมที่จะควักเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาลหรือให้ลูกจ้างใช้สิทธิประกันสังคม โดยที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่ารักษาอีก ทำให้กองทุนประกันสังคมต้องแบกรับค่ารักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นภาระกองทุนประกันสังคม
พนักงานรายหนึ่ง กล่าวว่า เมื่อเกิดอะไรขึ้น ที่ไม่ถึงขั้นเลือดตกยางออกแล้ว หัวหน้าแผนกมักจะไม่รายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เพราะต้องรับผิดชอบด้วย ตามนโยบายในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานที่ภาคอุตสาหกรรมมักจะแข่งขันที่ให้การประสบอันตรายเป็นศูนย์
ก.คลัง-แรงงาน หารือช่วยลูกหนี้นอกระบบ
(เดลินิวส์, 8-7-2553)
เมื่อวันที่ 8 ก.ค. นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้หารือกับ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน เพื่อให้ช่วยหางานให้ลูกหนี้นอกระบบ ที่มาลงทะเบียนกับกระทรวงการคลัง แต่ไม่สามารถโอนหนี้เข้าสู่ในระบบได้ เนื่องจากไม่มีรายได้ที่เพียงพอ โดยกระทรวงการคลังจะรวบรวมข้อมูลให้กระทรวงแรงงาน เพื่อหางานที่เหมาะสมกับลูกหนี้ เมื่อลูกหนี้เริ่มทำงาน จะให้สถาบันการเงินของรัฐทยอยโอนหนี้เข้ามาในระบบบางส่วนก่อน เพื่อรอดูความตั้งใจจริงในการทำงานลูกหนี้ เมื่อพิสูจน์ว่ามีความความตั้งจริงในการทำงาน ก็จะรับโอนหนี้เข้าระบบทั้งจำนวน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยและการจ่ายงเงินต้นของลูกหนี้นอกระบบ ส่วนเรื่องการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้น ไม่ได้หารือกัน ซึ่งเห็นว่าการปรับค่าแรงขั้นต่ำขณะนี้ คงต้องดูตามความเหมาะสม ควบคู่ไปกับการปรับลดภาษีของรัฐบาล เพราะทั้ง 2 เรื่องถือว่ามีความละเอียดอ่อน ดังนั้นต้องพิจารณาให้รอบคอบ
แรงงานบุรีรัมย์โกยเงินเข้าประเทศปีละกว่า 3,000 ล้านบาท
(สำนักข่าวไทย, 8-7-2553)
จัดหางานจังหวัดบุรีรัมย์ เผยแรงงานบุรีรัมย์ที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศส่งเงินกลับมาให้ครอบครัวเฉลี่ยเดือนละ 15,000 บาท นำรายได้เข้าจังหวัดปีละกว่า 3,000 ล้านบาท
นายสุวรรณ์ ดวงตา จัดหางานจังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีแรงงานใน จ.บุรีรัมย์ เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศกว่า 24,000 คน แต่ละคนส่งเงินกลับมาให้ครอบครัวเฉลี่ยเดือนละประมาณ 15,000 บาท ซึ่งสามารถนำรายได้เข้าจังหวัดปีละกว่า 3,000 ล้านบาท โดยประเทศที่แรงงานเดินทางไปทำงานมากที่สุด คือ ไต้หวัน และเกาหลี
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือน ต.ค.ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ มีแรงงานที่ต้องการเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศถูกหลอกลวงจากสายและนายหน้าเถื่อน จำนวน 110 ราย มีมูลค่าความเสียหายกว่า 8 ล้านบาท ซึ่งสำนักงานจัดหางานจังหวัดได้นำผู้เสียหายเข้าแจ้งความดำเนินคดี และมีการยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อเอาผิดกับกลุ่มผู้หลอกลวง ทั้งสายและนายหน้าเถื่อนไปแล้วกว่า 70 ราย ส่วนที่เหลืออยู่ในระหว่างการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ จึงขอฝากเตือนประชาชนที่ต้องการไปทำงานยังต่างประเทศ ควรเข้าไปปรึกษาสอบถามและลงทะเบียนที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด เพื่อจะได้ตรวจสอบว่า ประเทศดังกล่าวมีตำแหน่งงานว่างจริงหรือไม่ บริษัทที่กล่าวอ้างว่าจะจัดส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศ เป็นบริษัทที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงจากแก๊งมิจฉาชีพ สายและนายหน้าเถื่อน
นายจ้างต่างด้าวโวยถูกดูดคนงานเข้ากรุงวอนรัฐบาลเร่งปราบขบวนการค้าแรงงาน
(พิมพ์ไทย - 7 ก.ค. 2553)
แหล่งข่าวจากจังหวัดตาก แจ้งว่า กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ประกอบการภาคการเกษตร 5 อำเภอชายแดนไทย-พม่า (อ.แม่สอดพบพระ-ท่าสองยาง-แม่ระมาด และ อ.อุ้มผาง)กว่า 100 ราย นำโดยนายชัยวัฒน์ ประเสริฐธรรมอายุ 59 ปี ได้เดินทางเข้าพบนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมส.ส.ตาก ที่สำนักงานพรรคประชาธิปัตย์ สาขาอ.แม่สอด จ.ตาก เมื่อวานนี้ (4 ก.ค.) เพื่อยื่นหนังสือและร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ระบุว่าได้รับความเดือดร้อนขาดแคลนแรงงานต่างด้าวที่มีฝีมือ เพราะหลังจากนำแรงงานต่างด้าว ขึ้นทะเบียน ทร.38/1 อย่างถูกต้องตามกฎหมายและเข้ามาทำงานในพื้นที่ 5 อำเภอชายแดน จ.ตากแล้ว กลับถูกนายจ้างจากจังหวัดพื้นที่ชั้นในรวมทั้งนายหน้าพาเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรปราการ ฯลฯ โดยใช้วิธีการต่างๆ หลายรูปแบบ รวมไปถึงการลักลอบเข้าไปทำงานยังจังหวัดชั้นในกับขบวนการค้าแรงงานต่างด้าวที่มีอยู่จำนวนมาก ทำให้ผู้ประกอบประสบปัญหาการขาดทุน มีหนี้สิน หากจะหาคนงานใหม่มาทำงานทดแทนก็จะเป็นแรงงานที่ผิดกฎหมาย เพราะยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน
ในช่วงนี้ก็มักจะถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐหลายหน่วยงานทั้งใน-ต่างพื้นที่เข้ามาหาผลประโยชน์ โดยการจับกุมและเรียกรับส่วยเป็นรายเดือน ถ้าไม่จ่ายก็จะเสี่ยงต่อการถูกจับและยัดเยียดข้อหา รวมทั้งถูกดำเนินคดี
กลุ่มผู้ประกอบการชายแดนต้องขาดแคลนแรงงาน ระบุอีกว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหานี้คือ 1.การพิสูจน์สัญชาติมีการทุจริต 2.มีการเปลี่ยนแปลงนายจ้าง 3.มีขบวนการค้าแรงงานต่างด้าว 4.ใช้วิธีทำ MOU โดยเลี่ยงการใช้ ทร.38/1 และ 5.มีการหาผลประโยชน์ในการจดทะเบียนพิสูจน์สัญชาติ
นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ต้องการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตรวจสอบข้อเท็จจริง ในประเด็นที่ยื่นเสนอ รวมทั้งให้รัฐบาลใช้นโยบายสกัดกั้นและปราบปรามขบวนการค้าแรงงานต่างด้าวอย่างจริงจัง
ขณะที่ นายชัยวุฒิ กล่าวว่า จะนำเรื่องนี้เสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำปัญหาเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการประกอบการธุรกิจด้านต่างๆ
แหล่งข่าวยังแจ้งอีกว่า ภายหลัง รมว.อุตสาหกรรมรับเรื่องและรับที่จะนำปัญหาเข้าสู่ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ ทำให้ผู้ประกอบการได้สลายตัวและเตรียมติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาต่อไป
เอกชนแนะรัฐงดอนุญาตนำแรงงานต่างด้าวเข้าระบบ
(โพสต์ทูเดย์, 6 ก.ค. 2553)
นายศุภชัย สุทธิพงษ์ชัย ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังการเข้าหารือร่วมกับยนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรรม ว่า กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยเสนอให้กระทรวงอุตสาหกรรมทบทวนนโยบายส่งเสริมการลงทุน โดยกำหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุนเป็นรายอุตสาหกรรมพร้อมด้วยเงื่อนไข เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ และไม่ควรอนุมัติให้มีการนำเข้าแรงงานไร้ฝีมือจากต่างประเทศเข้ามาทำงานในประเทศ ที่ปัจจุบันมีจำนวนมาอยู่แล้ว
ทั้งนี้ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศควรกำหนดยุทธศาสตร์ว่าจะส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมใดบ้าง โดยพิจารณาว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง แทนที่จะเน้นเป้าหมายจำนวนเงินทุนอย่างในปัจจุบัน เนื่องจากประเทศเริ่มขาดแคลนทรัพยากรที่ต้องใช้ในการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในทุกระดับ ตั้งแต่แรงงานไร้ฝีมือจนถึงระดับวิศวกรเชี่ยวชาญ ทรัพยยากรน้ำ ไฟฟ้า ซึ่งการที่ส่งเสริมการลงทุนโดยกำหนดเป้าหมายจำนวนเงินเป็นหลัก จะยิ่งทำให้ทรัพยากรเกิดความขาดแคลนมากยิ่งขึ้น ขณะที่ไทยได้ประโยชน์จากการลงทุนน้อยมาก
“การนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาเยอะจะทำให้เกิดปัญหาความมั่นคง ซึ่งการสนับสนุนการนำเข้าแรงงานต่างด้าวต้องพิจารณาด้วยว่าไทยได้ประโยชน์อะไร” นายศุภชัย กล่าว
ส่วนการที่ไทยไปชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศ ต้องคำถึงสิ่งที่ไทยจะได้รับด้วย เช่น การดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมชิ้นส่วน ก็ควรคำนึงถึงบริษัทชิ้นส่วนของไทยด้วย เพราะหากไปดึงนักลงทุนเข้ามาลงทุนแบบครบวงจร บริษัทในเมืองไทยก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไร เทคโนโลยีก็ไม่ได้รับการถ่ายทอด แรงงานก็ไม่ได้ใช้คนไทย สุดท้ายประเทศไทยก็ไม่ได้รับประโยชน์จากการลงทุนดังกล่าว เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีโรงงานอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายแห่งกำลังจะย้ายฐานการลงทุนออกมาจากจีน และไต้หวัน เพราะมีความกดดดันหลายด้าน และค่าแรงงานในจีนก็พุ่งสูงขึ้น ผู้ประกอบการจึงต้องมองหาแหล่งลงทุนใหม่
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รวม.อุตสาหกรรม กล่าวว่า รับข้อเสนอของภาคเอกชนและพร้อมเร่งรัดแก้ไขปัญหาที่คั่งค้างอยู่ให้เร็วที่สุด ส่วนข้อเสนอจะก็จะนำไปพิจารณา
สำหรับการที่มีนักลงทุนสนใจเข้าย้ายฐานการลงทุนจากจีนเข้ามาไทย คงเป็นเพราะแรงงานไทยมีฝีมือ ไม่เปลี่ยนงานบ่อย ไม่เป็นต้นทุนให้ผุ้ประกอบการต้องมาพัฒนาบุคลากรเพิ่มเติม รวมทั้งระบบสาธารณูปโภคก็มีความได้เปรียบมากกว่าประเทศอื่นๆ
 
"เท่าที่คุยก็มีหลายแหล่งที่ติดต่อเข้ามา และสนใจลงทุนในเมืองไทย โดยคาดว่าน่าจะมีโครงการลงทุนตัดสินใจเข้ามาลงทุนในปีนี้บ้าง"นายชัยวุฒิ กล่าว
เล็งขึ้นค่าแรงภาคอุตฯ 5-10%
(โพสต์ทูเดย์, 5 ก.ค. 2553)
นายสมเกียรติ อนุราษฎร์ รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมธนาคารไทย ว่า ที่ประชุมกกร. ได้ตั้งคณะทำงานศึกษาการปรับโครงสร้างค่าแรงในภาคอุตสาหกรรม ให้สอดคล้องกับลักษณะการทำงานของแรงงาน ซึ่งคาดว่าจะทำให้ค่าแรงเพิ่มขึ้นประมาณ 5-10% จากค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อสนับสนุนให้แรงงานมีรายได้ที่สูงขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
ทั้งนี้ จะพิจารณาให้สำหรับแรงงานในกลุ่มที่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ประมาณ 60-70% ของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม โดยคณะทำงานจะศึกษาโครงสร้างค่าแรงในแต่ละอุตสาหกรรม ความต้องการแรงงาน และลักษณะงานของแรงงานในแต่ละสาขาอาชีพ เพื่อนำมาหาจุดที่เหมาะสมสำหรับการจ่ายค่าแรง โดยจะใช้เวลาในการศึกษา 3 เดือน และนำมาหารือร่วมกันที่ประชุมอีกครั้ง โดยภาคเอกชนจะนำร่องขอความร่วมมือจากสมาชิกให้ดำเนินการก่อน
สำหรับอุตสาหกรรมนำร่อง ที่คาดว่าจะเริ่มนำระบบนี้มาใช้ได้น่าเป็นกลุ่มของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และอุตสาหกรรมที่มีการแบ่งแยกลักษณะงานที่ชัดเจน มีการผลิตเป็นจำนวนชิ้นงาน เป็นต้น เนื่องจากจะสามารถพิจารณาได้ง่ายกว่า ส่วนอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนอาจจะต้องใช้เวลาในการพิจารณานานกว่า
"การพิจารณาปรับโครงสร้างนี้จะเป็นการให้โอกาสแก่แรงงานไร้ฝีมือให้มีค่าแรงสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับแรงงาน และคาดว่าจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้"นายสมเกียรติ กล่าว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การเข้ามาดูแลแรงงานในกลุ่มนี้จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงานทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการสนับสนุนให้มีการทำโครงการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานอยู่แล้ว เพื่อยกระดับแรงงานในภาคอุตสาหกรรมของไทย และให้แรงงานมีค่าจ้างที่สูงขึ้น เพราะในระยะยาวไทยต้องมุ่งสู่การใช้ที่มีทักษะเข้ามาผลิตสินค้ามากขึ้น โดยในส่วนของการพัฒนานี้จะต้องทำงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน และกระทรวงศึกษาธิการด้วย
ทั้งนี้ ในฐานะของส.อ.ท. ที่เป็นกลุ่มของภาคอุตสาหกรรม และมีการใช้แรงงานสูงที่สุด จะเป็นแกนนำในการศึกษาการปรับโครงสร้างดังกล่าว และจะเชิญผู้แทนจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาศึกษาร่วมกัน โดยจะดูตัวอย่างจากต่างประเทศถึงการจัดโครงสร้างค่าแรง การแบ่งตำแหน่งงาน ลักษณะงานที่มีมากกว่า 1,200 ลักษณะงาน ว่าควรจะได้ค่าแรงงานในระดับใด รวมถึงจะดูในแง่การพัฒนาฝีมือของแรงงานแต่ละบุคคล และอายุการทำงานอีกด้วย
"คณะทำงานจะพิจารณาในแง่การพัฒนา และอายุการทำงาน เพราะบางคนทำงานมาหลายปีแต่ค่าแรงไม่เคยขึ้น รวมถึงจะต้องดูความต้องการแรงงานในแต่ละสาขาด้วย เพราะอาจทำให้เกิดการแย่งแรงงานกันในภาคอุตสาหกรรมได้"นายพยุงศักดิ์ กล่าว
สำหรับภาคเอกชน คาดว่าปีนี้จะมีการปรับเพิ่มเงินเดือนให้แก่พนักงานไม่น้อยกว่า 3-5% ไม่รวมโบนัส ตามการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจากภาคธุรกิจในปีนี้การส่งออก ยอดขายเติบโตขึ้นในอัตราที่ดีมาก ซึ่งการพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือนจะพิจารณาจากความสามารถในการประกอบการ อัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น ส่วนโบนัสจะพิจารณาจากผลประกอบการของธุรกิจในปีก่อน
อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยระบุได้เวลาย้ายฐานผลิต อ้างต้นทุนสูง
(เดลินิวส์, 5 ก.ค. 2553)
นายวัลลภ วิตนากร กรรมการและที่ปรึกษาสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันโรงงานเครื่องนุ่งห่มประสบปัญหาต้นทุนการผลิตในไทยที่สูง และการขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก ทำให้ผู้ผลิตหลายรายได้ย้ายฐานการผลิตจากไทยไปลงทุนประเทศอื่น หรือลดขนาดการเดินเครื่องลง รวมถึงการปิดกิจการจนฐานการผลิตของไทยหายไป 10% ส่งผลให้กำลังการผลิตสินค้าของประเทศลดลง โดยช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. 53 มีมูลค่าส่งออกเพียง 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.82% ทั้งที่เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวแล้ว
“ปัญหาการขาดแคลนแรงงานนั้น เพราะช่วงปีก่อนมีการปลดแรงงานออกไปค่อนข้างมาก แต่เมื่อเศรษฐกิจฟื้นทำให้การเรียกแรงงานกลับเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมจึงทำได้ยาก และแรงงานส่วนใหญ่ได้กลับเข้าสู่ภาคเกษตรแล้ว เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรหลายตัวมีแนวโน้มที่ดี”
สมาคมยั่งมั่นใจว่าในปีนี้ยอดการส่ง ออกเครื่องนุ่งห่มจะกลับมาขยายตัวในระดับ 5% ได้ เพราะในครึ่งหลังของปีมีออร์เดอร์เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้โรงงานทุกแห่งผลิตไม่ทัน และรับคำสั่งซื้อไว้เต็มแล้วแทบทุกโรงงาน
สำหรับตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป (อียู) เป็นตลาดที่มียอดคำสั่งซื้อลดลง ขณะที่อาเซียนและจีน มี คำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจีนจะกลายมาเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ในอนาคต และลดบทบาทในฐานะผู้ส่งออกลง เพื่อขายสินค้าในประเทศมากขึ้น เพราะมีกำลังซื้อสูงมากอยู่แล้ว ส่วนอาเซียนเป็นตลาดที่ไทยควรจะนำ สินค้าที่เน้นการออกแบบ และแบรนด์ของไทยไปขาย 
ส่วนตลาดญี่ปุ่นผู้ประกอบการ ไม่สนใจ เพราะแม้ว่าจะมีความต้องการสูง แต่ญี่ปุ่นต้องการสินค้าราคาถูก ตลาดที่น่าสนใจของญี่ปุ่น คือ ตลาดสินค้าแฟชั่นมากกว่า

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สัมภาษณ์: นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ “เรามั่นใจประชาธิปัตย์ไม่ถูกยุบ”

Posted: 11 Jul 2010 10:22 AM PDT

สัมภาษณ์พิเศษ "นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ" หนึ่งในทีมกฎหมายสู้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ เล่าบรรยากาศลุ้นระทึก และที่มาที่ไปของคดี ก่อนคณะทำงานร่วม กกต.กับอัยการสูงสุดมีมติเสนอศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์

<!--break-->

กลายเป็นเรื่องหนาวๆ ร้อนๆ สำหรับพรรคการเมืองเก่าแก่อย่างประชาธิปัตย์ หรือ ปชป. ถึงคราวที่จะถูกยุบพรรคบ้างแล้ว เมื่อที่ประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และอัยการสูงสุด เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2553 มีมติเห็นควรเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์

อันเนื่องมาจาก กรณีการรับเงินบริจาค 258 ล้านจากบริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ผ่านบริษัท แมสไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด

โดยขั้นตอนหลังจากนี้ คณะทำงานจะนำเสนอผลการหารือต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง เพื่อแจ้งต่ออัยการสูงสุดให้ดำเนินการยื่นเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ต่อไป

ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน ผู้สื่อข่าวประชาไท ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ “นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ” สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ที่เพิ่งขึ้นรั้งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม หนึ่งในคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ถึงความเคลื่อนไหวเรื่องนี้ ซึ่งไม่เฉพาะแต่อยู่ในความสนใจของชาวใต้ อันเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น

ด้วยเพราะจะมีนักการเมืองที่อยู่ในข่ายถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ เนื่องเพราะเป็นกรรมการบริหารพรรคในช่วงปี 2548 ซึ่งเป็นปีที่เกิดเหตุให้มีการยื่นคำร้องให้ยุบพรรคอยู่หลายคนกระจายอยู่หลายพื้นที่

โดยข้อเท็จจริงในประเด็นการยุบพรรคนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 1 คดี และที่คณะกรรมการการเลือกตั้งและคณะกรรมการร่วมระหว่างอัยการสูงสุดมีมติดังกล่าวแล้วอีก 1 คดี

ต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์ “นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ” เกี่ยวกับคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนที่คณะกรรมการร่วมดังกล่าว จะมีมติให้เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่กี่วัน ดังนี้

 
 

นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ

ที่มาที่ไปของคดียุบพรรคประชาธิปัตย์

คดียุบพรรคประชาธิปัตย์เริ่มต้นจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI กระทรวงยุติธรรม ได้รับเรื่องร้องเรียนจากบุคคลภายนอกว่า นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ทำผิดพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยนายประชัยนำเงินของบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ออกจากบัญชีของบริษัท โดยไม่ถูกต้อง

ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษสอบสวนพบว่า มีการนำเงินออกจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) 258 ล้านบาท มอบให้กับบุคคลใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ กรมสอบสวนคดีพิเศษจึงส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งกล่าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์รับเงินจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พุทธศักราช 2541 และพุทธศักราช 2550

นอกจากกรมสอบสวนคดีพิเศษจะส่งเรื่องไปที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว ยังมีคนในกรมสอบสวนคดีพิเศษบางคน ส่งข้อมูลเรื่องนี้ให้กับสมาชิกพรรคเพื่อไทยด้วย ทางสมาชิกพรรคเพื่อไทย จึงยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์อีกทางหนึ่งด้วย

ทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงนำเรื่องนี้ขึ้นมาสอบสวน โดยใช้สำนวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นหลัก กระทั่งผลการสอบสวนออกมาว่า ให้ยุติการสอบสวน ตั้งแต่เมื่อปี 2550

ต่อมา มีการกดดันคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีทั้งบุกไปที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งบ้าง ข่มขู่กรรมการการเลือกตั้งบ้าง จนในที่สุดคณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง จากนั้นได้กล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์มีความผิดใน 2 ข้อหาด้วยกัน

ข้อหาแรก พรรคประชาธิปัตย์รับเงินมาจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ 29 ล้านบาท มาใช้ในการทำป้ายหาเสียงเลือกตั้งผิดกฎหมาย ตอนนี้คดีนี้อยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว

สำหรับเงิน 29 ล้านบาท ตามข้อกล่าวหาระบุว่า เป็นเงินที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ นำออกมาจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) บริจาคให้พรรคประชาธิปัตย์ 258 ล้านบาทนั่นเอง

ส่วนข้อหาที่ 2 พรรคประชาธิปัตย์รับเงิน 258 ล้านบาท ที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ นำออกมาจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งน่าจะเป็นคดีหลัก ตอนนี้ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ ยังไม่ได้ชี้มูลความผิด การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น แต่กลับมาเอาผิดกับพรรคประชาธิปัตย์แล้ว

ขณะนี้คดีรับเงินจากนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ 258 ล้านบาท ยังอยู่ที่อัยการสูงสุด ทางอัยการสูงสุดมีความเห็นเหมือนกับนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองที่บอกว่า หลักฐานไม่พอฟ้อง

เมื่อหลักฐานไม่พอฟ้อง ก็ต้องตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุดกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งขึ้นมาสอบสวนเพิ่มเติม หลังจากนี้ถ้าทางอัยการสูงสุดยังเห็นว่าหลักฐานไม่พอฟ้อง คณะกรรมการการเลือกตั้งก็ต้องฟ้องเอง

 

ความคืบหน้าคดีทำป้ายหาเสียง 29 ล้านบาท

ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นคำให้การต่อศาลแล้ว ศาลนัดฟังคำสั่งในเดือนกรกฎาคม 2553

 

พรรคต่อสู้ในประเด็นไหนบ้าง

คดี 29 ล้านบาท พรรคต่อสู้ในประเด็นข้อกฎหมาย 3 ประเด็น

ประเด็นแรก เรื่องการทำป้ายหาเสียง ก่อนที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะอนุมัติเงินอุดหนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้านบาท ให้พรรคประชาธิปัตย์จัดทำป้าย

ประเด็นต่อมา พรรคถูกกล่าวหาว่า นำเงิน 29 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินที่พรรครับมาจากนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์มาใช้ โดยไม่แจ้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีความผิดตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง

ประเด็นที่สาม ทำป้ายผิดขนาดจากที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง

คดีทำป้าย 29 ล้านบาท พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่า เป็นเงินอุดหนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ที่เราได้รับมาจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่ได้เป็นเงิน 258 ล้านบาทของนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ตามที่ถูกกล่าวหา

ในเมื่อคดี 258 ล้านบาท กรมสอบสวนคดีพิเศษยังไม่ฟ้องนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ว่า เอาเงินออกมาจากบัญชีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาบริจาคให้พรรคประชาธิปัตย์ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย แล้วคดีใช้เงิน 29 ล้านบาททำป้ายหาเสียง จะผิดได้อย่างไร ในเมื่อยังไม่มีการลักทรัพย์ คดีลักของโจรย่อมเกิดขึ้นไม่ได้

อันที่จริงคณะกรรมการการเลือกตั้งเคยสั่งยุติเรื่องไป ตั้งแต่ปี 2550 แล้ว

ประเด็นที่ยุติก็เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่า เงินทำป้ายหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ 29 ล้านบาท เป็นเงินของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่นำเรื่องขึ้นมารื้อฟื้นตอนนี้ เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้งถูกกดดัน ถูกข่มขู่

ขณะที่คดี 258 ล้านบาท กรมสอบสวนคดีพิเศษ ยังไม่ได้กล่าวหานายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ กระทำผิด แต่เขาไม่สนแล้ว ถึงยังไม่ดำเนินคดีกับนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เขาก็คิดว่าต้องเอาเรื่อง 258 ล้านบาทนี่แหละฟ้องไปก่อน เพื่อลดแรงกดดันที่เขาได้รับ

การใช้เงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองมีการตรวจสอบทุกปี เพราะคณะกรรมการเลือกตั้งจ่ายมาให้พรรคการเมืองเป็นปีๆ เรื่องนี้มีการตรวจสอบมาตั้งแต่ปี 2548 จนมาถึงปี 2550

 

สมมุติว่านายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ นำเงินออกจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาบริจาคให้พรรคประชาธิปัตย์ถูกต้อง จะมีปัญหาอะไรอีกหรือไม่

ก็ต้องพิสูจน์ต่อไปว่าเงิน 29 ล้านบาท ที่พรรคประชาธิปัตย์นำมาใช้จ่ายในการทำป้ายหาเสียง เป็นเงินที่ได้จากนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์หรือไม่ ประเด็นนี้พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่า ไม่ได้เป็นเงินที่ได้มาจากนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นเงินที่เราได้มาจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ประเด็นสำคัญก็คือ ที่ผ่านมานายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ไม่เคยบริจาคเงินให้พรรคประชาธิปัตย์

 

ตอนนี้พรรคประชาธิปัตย์มั่นใจมากว่า จะไม่ถูกยุบพรรค

เรามั่นใจว่าเราไม่ได้ทำผิด

หนึ่ง เราไม่เคยรับเงินบริจาคจากนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์

สอง เงินที่เอามาทำป้าย 29 ล้านบาท เป็นเงินจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เงินที่นำมาใช้จ่ายในการเลือกตั้งก็เป็นเงินของพรรค เพราะเรามีเงินของเราอยู่แล้ว

สาม เราได้ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงขนาดป้ายที่ได้รับอนุมัติมาก่อนหน้านั้นแล้ว

 

ถ้าผลออกมาศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรค

ผมกับผู้ใหญ่ในพรรค ไม่ได้เตรียมทางเลือกสำรองเอาไว้เลย เพราะถ้าเราเตรียมไว้ คนก็จะคิดว่าเราคงจะทำผิดจริง เลยต้องเตรียมทางหนีทีไล่ไว้ เราจึงไม่ได้เตรียมตั้งพรรคใหม่ไว้รองรับ

ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ ผมก็ต้องยุติบทบาททางการเมือง 5 ปี เพราะตอนนั้นผมเป็นคณะกรรมการบริหารพรรคอยู่ด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ภาคใต้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองกันเยอะ เพราะเป็นกรรมการบริหารพรรคกันหลายคน

ส่วนคนที่เหลือจะแยกย้ายไปไหน ก็แล้วแต่ดุลยพินิจ

 

ตอนนี้วิตกกันมากไหม

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคส่วนใหญ่ จะไม่ทราบรายละเอียดของคดี ไม่ทราบว่าเราถูกกล่าวหาอย่างไร เรื่องอะไร เราผิดจริงหรือเปล่า ผมมีหน้าที่เพียงบอกกับสมาชิก อย่างที่เล่าให้ฟังว่าเราไม่ผิด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่เขากลัว เพราะไม่มีใครรู้เลยว่า อะไรผิดไม่ผิด

 

กรณีข้อร้องเรียนเรื่องป้ายหาเสียง ที่ผ่านมาคณะกรรมการการเลือกตั้งมักยกคำร้อง

ความจริงมันก็ควรจะเป็นอย่างนั้น

ส่วนเงิน 29 ล้านบาท เป็นเงินของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองของคณะกรรมการการเลือกตั้งล้านเปอร์เซ็นต์ เวลาเงินเข้ามามันมีช่องทางเข้าออกของเงินทั้งหมด เงินจำนวนนี้มันมีที่มาที่ไปชัดเจน

รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีวาระครบ 4 ปี ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2548 เมื่อการบริหารงานของรัฐบาลจะครบ 4 ปี ทุกพรรคการเมืองรู้โดยอัตโนมัติว่า หลังจากนั้นจะมีการเลือกตั้ง ถามว่าพรรคการเมืองจะสั่งทำป้าย ตอนที่จะจับหมายเลข หรือช่วง 45 วันก่อนเลือกตั้งละหรือ ต้องรอให้ได้หมายเลขก่อนแล้วค่อยสั่งทำป้ายใช่หรือไม่

ข้อเท็จจริงคือรอไม่ได้ ต้องสั่งทำป้ายก่อนล่วงหน้า ทุกพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งระดับชาติหรือระดับท้องถิ่นทำล่วงหน้าทั้งนั้น พอได้หมายเลขแล้วก็เอาไปสกรีนหมายเลขผู้สมัคร นำออกไปติดตั้งตามจุดต่างๆ ทันที

อันที่จริงเงินของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งโอนมาให้ก่อนแล้ว เงินมีอยู่ในถุงแล้ว เพียงแต่เรายังเอาไปใช้ไม่ได้ จนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง เมื่อพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งออกมาแล้ว เงินจำนวนนี้ก็นำออกมาจ่ายได้เลย เพราะฉะนั้นการสั่งให้ทำป้ายก่อน แล้วนำเงินไปจ่ายให้กับผู้รับจ้างทีหลัง ไม่น่าจะผิดตรงไหน

สิ่งที่คณะกรรมการการเลือกตั้งสงสัยก็คือ พอพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งออกมา เรามีป้ายออกมาติดตามจุดต่างๆ ทันที แสดงว่าเราทำป้ายมาก่อน

ข้อเท็จจริงก็คือว่า ไม่มีข้อห้ามไม่ให้สั่งทำป้ายก่อนมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง เพียงแต่กำหนดไว้ว่า การเบิกจ่ายเงินกองทุนเพื่อการพัฒนาการเมือง ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อมาจัดทำป้ายหาเสียง จะเบิกได้หลังจากมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งแล้ว

 

คณะกรรมการการเลือกตั้งให้เหตุผลอย่างไร

ประการแรก คณะกรรมการการเลือกตั้งให้เหตุผลว่า พอมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง พรรคติดตั้งป้ายหาเสียงพรึ่บ แสดงว่าทำมาก่อนออกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ถามว่าทำก่อนได้ไหม ไม่มีกฎหมายห้าม

ประการที่สอง เขาบอกว่า ป้ายที่มีปัญหาที่เขาฟ้องเราก็คือ เดิมเราสั่งทำป้ายใหญ่ เพื่อติดข้างทางด่วนในกรุงเทพมหานคร สมาชิกพรรคบอกว่า ไม่ต้องทำป้ายขนาดใหญ่ติดในกรุงเทพมหานครมากๆ เพราะค่าใช้จ่ายสูง ให้ทำป้ายขนาดเล็กลงนำไปติดในต่างจังหวัดให้เยอะๆ เพราะป้ายขนาดใหญ่ที่ติดตั้งในกรุงเทพมหานครราคา 3 – 4 ล้านบาท ค่าเช่าที่ติดตั้งก็แพงขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ติดป้าย ถ้าทำป้ายติดทางด่วนหลายแห่ง ก็ต้องใช้เงินหลายล้านบาท

เราพิจารณาดูแล้ว ถ้าติดป้ายขนาดใหญ่ เราต้องใช้เงินในกรุงเทพมหานครเป็น 10 ล้านบาท ถ้าเราเอาเงิน 10 ล้านบาท ไปทำป้ายแผ่นเล็กติดทั่วประเทศ จะได้ประโยชน์กับสมาชิกที่สมัครรับเลือกตั้งมากกว่า เราเลยขอปรับเปลี่ยนขนาดป้าย โดยลดจำนวนป้ายใหญ่ลง แล้วมาทำป้ายขนาดเล็กแทน โดยใช้วงเงินเท่าเดิมที่เราได้รับคือ 29 ล้านบาท ตรงนี้แหละครับที่เราทำไปก่อนที่จะได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง

เรื่องนี้ตรวจสอบได้ ถ้าเห็นว่าพรรคทำผิดจริง หมายถึงใช้เงินไปก่อนที่จะได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนเป็นป้ายขนาดเล็ก คณะกรรมการการเลือกตั้งสามารถเรียกเงินคืนได้

 

คดียุบพรรคประชาธิปัตย์แตกต่างกับคดียุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนตรงไหน

คดีของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งคดีทำป้ายหาเสียง 29 ล้านบาท และคดีรับเงินจากนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ 258 ล้านบาท ไม่ใช่คดีทุจริตการเลือกตั้ง เป็นเรื่องของการใช้เงินไม่ถูกต้อง ทำป้ายไปก่อนได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงขนาดของป้าย กรณีใช้เงินไม่ถูกต้อง อำนาจในการให้ความเห็นว่า ควรจะยุบพรรคการเมืองหรือไม่ เป็นอำนาจของนายทะเบียนพรรคการเมือง ไม่ใช่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ถ้านายทะเบียนพรรคการเมือง เห็นว่าควรยุบก็นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งขอความเห็นชอบ

ไม่เหมือนคดีพรรคไทยรักไทย พรรคชาติไทยพรรคพลังประชาชน เป็นคดีทุจริตการเลือกตั้ง การเลือกตั้งเป็นโมฆะหรือไม่เป็นโมฆะ อำนาจการวินิจฉัยว่าควรยุบพรรคหรือไม่เป็นของประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เห็นว่าควรยุบก็นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งขอความเห็นชอบ

พอดีประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งสวมสองหมวก หมวกหนึ่งคือ นายทะเบียนพรรคการเมือง อีกหมวกหนึ่งคือ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

กรณีการใช้เงินไม่ถูกต้อง ต้องให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นก่อนว่า ควรยุบหรือไม่ ถ้านายทะเบียนบอกว่าไม่ควรยุบเรื่องก็จบ ถ้านายทะเบียนบอกว่าควรยุบ ก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน ถึงจะส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดพิจารณาส่งฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ

ในกรณีของพรรคประชาธิปัตย์ นายทะเบียนพรรคการเมืองพิจารณาเห็นว่าไม่ควรยุบ เรื่องจึงควรจะจบไปตั้งนานแล้ว แต่พอนายทะเบียนพรรคการเมืองถูกกดดันเยอะๆ ก็ว่าอย่ากระนั้นเลย เอาเข้าที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง พิจารณาส่งฟ้องศาลรัฐธรรมนูญไปเลยน่าจะดีกว่า

ทั้งๆ ที่ตามขั้นตอนแล้ว นายทะเบียนพรรคการเมือง จะต้องมีความเห็นก่อนว่า ควรยุบพรรค ถึงจะนำเรื่องไปขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง

นักวิชาการด้านกฎหมายมหาชนอย่างนายแก้วสรร อติโพธิก็ดี นายคมสัน โพธิคง ซึ่งเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญประเด็นพรรคการเมืองก็ดี ต่างมีความเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ผิด แล้วจะเอาเรื่องนี้ไปโหวตในที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งได้อย่างไร เรื่องมันจบไปตั้งนานแล้ว จบตั้งแต่ตอนที่นายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ผิด

คดีเงินบริจาค 258 ล้านบาท จากนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ พอนำไปโหวตกันในคณะกรรมการการเลือกตั้ง เสียงออกมา 4 ต่อ 1 หนึ่งเสียงข้างน้อยที่บอกว่าไม่ผิด เป็นเสียงของนายทะเบียนพรรคการเมือง ส่วนอีก 4 เสียงที่บอกว่าผิด เป็นของกรรมการการเลือกตั้งที่เหลือ

คดีทำป้ายหาเสียง 29 ล้านบาท เสียงโหวตในคณะกรรมการการเลือกตั้งออกมา 5 ต่อ 0 นั่นหมายความว่านายทะเบียนพรรคเมืองโหวตว่าพรรคประชาธิปัตย์ผิดด้วย แต่นายทะเบียนพรรคการเมืองไปโหวตคดีนี้ ในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่ได้ให้ความเห็นว่าควรจะยุบพรรค ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง แล้วนำเรื่องนี้ไปขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ที่ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งทำอย่างนี้เพราะถูกดดัน บางวันมีรถมอเตอร์ไซค์ไปขับเวียนที่บ้านของประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งถึง 200 คัน

คดียุบพรรคประชาธิปัตย์มีประเด็นทางข้อกฎหมายเยอะ ทีมที่เข้ามาช่วยกันทำคดีจริงๆ ของพรรคประชาธิปัตย์มีไม่กี่คน เพราะบางเรื่องมันเป็นความลับ เราไม่อยากให้รู้กันเยอะ ก็เลยทำเฉพาะคนที่เก็บความลับได้ดี ก็มีผมและทีมงานในสำนักกฎหมายเสนีย์ ปราโมช มีนายวิรัช ร่มเย็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระนอง มีนายทศพล เพ็งส้ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี มีนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรค เป็นหัวหน้าทีม

 

ที่มาที่ไปคดียุบพรรคประชาธิปัตย์

ก่อนหน้านั้นคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มี นายชัช ชลวร เป็นประธานได้ออกนั่งบัลลังก์นัดพร้อมคู่กรณี ในคำร้องที่นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากกระทำการเข้าข่าย มาตรา 62 และ 65 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2541 และมาตรา 82 และ 93 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2550 กรณีใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้านบาทไม่ตรงตามความเป็นจริง

โดยศาลฯ เห็นว่ามีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย 5 ประเด็นคือ

1.กระบวนการยื่นคำร้องให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ของผู้ร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

2.การกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ตามคำร้องอยู่ในบังคับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2541 หรือ พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 หรือไม่

3.พรรคประชาธิปัตย์ใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองประจำปี 2548 เป็นไปตามแผนงานโครงการที่ขออนุมัติหรือไม่

4.พรรคประชาธิปัตย์ทำรายการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองประจำปี 2548 ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่

5.กรณีมีเหตุให้ต้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ กรรมการบริหารพรรคต้องถูกตัดสิทธิและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2541หรือประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (คปค.) ฉบับที่ 27 ซึ่งแก้ไขประกาศ คปค.ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 30 ก.ย. 49 หรือตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 หรือไม่อย่างไร

ทั้งนี้ ในประเด็นที่ 1และ 2 เป็นประเด็นข้อกฎหมายที่ศาลฯวินิจฉัยได้เอง ไม่ต้องนำสืบพยาน ส่วนในประเด็นอื่นให้มีการตรวจสอบพยานก่อนการไต่สวน โดยนัดตรวจพยานวันที่ 28 กรกฎาคม 2553 นี้ และกำหนดนัดไต่สวนพยานปากแรกในวันที่ 9 สิงหาคม 2553

 

 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น