โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

การท่องเที่ยว “ทะเลสตูล” กลางกระแสคลื่นเมกะโปรเจ็กต์แสนล้าน

Posted: 05 Jul 2010 02:13 PM PDT

<!--break-->

ท่ามกลางกระแสการผลักดันโครงการสะพานเศรษฐกิจสตูล – สงขลา เชื่อมสองฝั่งทะเลอันดามัน – อ่าวไทย ผ่านสารพัดเมกะโปรเจ็กต์มูลค่ารวมกันแล้วนับแสนล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือน้ำลึกปากบารา รถไฟรางคู่ ท่อและคลังน้ำมัน เขตอุตสาหกรรมแสนกว่าไร่

อันเป็นทิศทางที่จะนำจังหวัดสตูลไปสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมชนิดเต็มรูปแบบ ในขณะที่ธุรกิจการท่องเที่ยว ทั้งบนบกและในทะเลของจังหวัดสตูล กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการกระจายรายให้กับคนในพื้นที่ค่อนข้างทั่วถึง

อนุสรณ์ หมัดตาหมีน 1 ใน 7 ผู้ประกอบการสอนดำน้ำบนเกาะหลีเป๊ะ เพชรเม็ดงามกลางทะเลสตูล บอกเล่าให้เห็นภาพรวมการเติบโตการท่องเที่ยวจังหวัดสตูลในวันนี้ ดังนี้

อนุสรณ์ หมัดตาหมีน

………………………………………………………..

 

- นักท่องเที่ยวรู้จักเกาะหลีเป๊ะตั้งแต่เมื่อไหร่

ประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว เริ่มแรกคนไทยยังไม่ค่อยรู้จักเกาะหลีเป๊ะ คนที่มาท่องเที่ยวที่นี่ช่วงแรกๆ เป็นพวกแบคแพคต่างชาติ ส่วนใหญ่มาแบบเดี่ยวๆ หลังจากนั้นนักท่องเที่ยวก็เริ่มเข้ามา ผมก็เข้ามาช่วงนั้น พวกเรามากับเรือไม้ ตอนนั้นยังไม่มีเรือเฟอร์รี่ ยังไม่มีเรือสปีดโบ๊ท นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเข้ามาในช่วงเทศกาล

นักท่องเที่ยวที่นิยมมาที่นี่จริงๆ เมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว สภาพการท่องเที่ยวเริ่มเปลี่ยนไป มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น มีสถานบันเทิงมากขึ้น ลักษณะความเป็นธรรมชาติลดลง พวกนักท่องเที่ยวยุคแรกๆ ที่ชอบความเป็นธรรมชาติของที่นี่ ก็กลับมาเที่ยวน้อยลง

ก่อนนั้นเกาะหลีเป๊ะยังมีความเป็นธรรมชาติอยู่มาก ตอนนี้อะไรก็เข้ามามากขึ้น เกาะค่อยๆ เสื่อมโทรมลง นักท่องเที่ยวกลุ่มเดิมๆ ก็จะหาที่เที่ยวใหม่ๆ ตอนนี้นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะมุ่งไปที่เกาะพยาม จังหวัดระนอง ที่นั่นน้ำไม่ใสเหมือนเกาะหลีเป๊ะ หาดทรายออกสีแดงๆ แต่เทียบกับเกาะหลีเป๊ะแล้ว ค่าใช้จ่ายถูกกว่ามาก เพราะอยู่ใกล้ฝั่ง ตอนนี้ที่เกาะพยามสิ่งอำนวยความสะดวกยังไม่ค่อยมี พวกรถ พวกไฟฟ้าก็ยังไม่มี

 

- ตอนนี้นักท่องเที่ยวกลุ่มไหนที่เข้ามาเที่ยวเกาะหลีเป๊ะ 

ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากยุโรป ตั้งแต่ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี และโซนสแกนดิเนเวีย ส่วนนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกากับอังกฤษค่อนข้างน้อย แต่ละปีมาไม่กี่คน สองสามปีมานี้นักท่องเที่ยวจากรัสเซีย เริ่มเข้ามามากขึ้น

 

- มีกลุ่มทุนจากข้างนอกเข้ามาลงทุนบ้างหรือไม่ 

ก็มีกลุ่มทุนใหญ่ๆ จากข้างนอกเข้ามาลงทุน โดยให้คนในพื้นที่ออกหน้าแทน เขายังไม่กล้าเข้ามาตรงๆ จะมาในรูปแบบลงทุนแล้วให้คนในพื้นที่ออกหน้า ทุนที่เข้ามามีทั้งทุนท้องถิ่นจากบนฝั่ง และทุนระดับประเทศ

 

- เริ่มมีปัญหาเกิดขึ้นบ้างหรือยัง

เริ่มแรกที่นักท่องเที่ยวเข้ามายังไม่มีไฟฟ้าใช้ ทุกที่ทุกรีสอร์ทใช้ไฟปั่นกันหมด ในส่วนของชาวบ้านการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จะแจกแผ่นโซล่าเซลล์ให้ ถนนหนทางยังไม่มี เป็นทางเดินเล็กๆ เลาะเลี้ยวเข้าไปในหมู่บ้าน ยังไม่มีการตัดถนนหนทาง ต้นไม้ก็มีมาก ช่วงหลังมีการก่อสร้างมากขึ้น ก็เริ่มถางเริ่มตัดต้นไม้ ตอนนี้มีแนวโน้มว่าต้นไม้อาจจะหมด ทุกอย่างกลายเป็นธุรกิจไปหมดแล้ว ไม่ค่อยมีใครสนใจเรื่องอื่น

เกาะหลีเป๊ะไม่มีน้ำตก น้ำตกมีที่เกาะอาดัง เกาะราวี แหล่งน้ำบนเกาะหลีเป๊ะเป็นน้ำซับ ขุดบ่อลงไปประมาณ 5 – 6 เมตร น้ำจะซึมออกมา ที่ผ่านมามีน้ำใช้ตลอดปี ในส่วนของรีสอร์ท จะเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้

ปีนี้ 2553 ปัญหาเรื่องน้ำเริ่มมีแล้ว น้ำกำลังจะแห้ง ชาวบ้านไม่มีน้ำใช้ ผู้ประกอบการต่างคนต่างเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้กันทั้งนั้น

เรื่องขยะตอนนี้ถือว่าเป็นปัญหาหนัก เพราะการจัดการไม่มีประสิทธิภาพ ความจริงหน่วยงานของรัฐต้องเข้ามาดูแล เมื่อรัฐจัดเก็บภาษีภาษีต่างๆ เป็นรายได้เข้ารัฐไปแล้ว รัฐควรเข้ามาดูแลเรื่องเหล่านี้ ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่เข้ามาจัดการ จะอ้างว่าไม่ใช่หน้าที่ของรัฐไม่ได้ รัฐท้องถิ่นอย่างองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย ผมไม่เห็นเข้ามาจัดการเรื่องพวกนี้สักเท่าไหร่ ตอนนี้ปล่อยให้คนบางกลุ่มจัดเก็บขยะ ผมว่าไม่ถูกต้อง รายได้จากการจัดเก็บควรเข้ารัฐ ไม่ใช่เข้ากระเป๋าใครคนใดคนหนึ่ง

 

- องค์การบริหารส่วนตำบลตั้งอยู่ที่ไหน

องค์การบริหารส่วนตำบลตั้งอยู่ที่เกาะสาหร่าย ส่วนเกาะหลีเป๊ะเป็นหมู่ที่ 7 ขึ้นกับตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ตอนนี้ดูเหมือนองค์การบริหารส่วนตำบล ยังวางระบบอะไรไม่ชัดเจน คล้ายๆ กับยังไม่กล้าเข้ามาจัดการ เพราะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลไม่ใช่คนบนเกาะหลีเป๊ะ เลยไม่กล้าเข้ามายุ่ง

 

- การสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ปากบาราจะมีผลกระทบกับเกาะหลีเป๊ะหรือไม่

ระยะทางจากปากบารามายังเกาะหลีเป๊ะประมาณ 60 กิโลเมตร ถ้าหากมีการสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ปากบารา ผมคิดว่าผลกระทบไม่น่าจะมีกับคนบนเกาะ ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงน่าจะเป็นคนบนฝั่งมากกว่า เกาะหลีเป๊ะเป็นเพียงจุดรองรับนักท่องเที่ยวเท่านั้น

คนยังคิดไปไม่ถึงว่า จะเกิดอะไรขึ้นหลังจากมีท่าเรือน้ำลึกที่ปากบารา เพราะคนที่นี่ยังไม่เข้าใจว่า อะไรคือท่าเรือน้ำลึก อะไรคือท่าเรือท่องเที่ยว เหมือนกับคนที่ท่าเรือปากบารายังไม่รู้ว่าท่าเรือน้ำลึกเป็นอย่างไร แตกต่างจากท่าเรือท่องเที่ยวอย่างไร คนยังไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น หลังจากมีท่าเรือน้ำลึก

ตอนนี้ชาวบ้านเขาแค่รู้ว่า ถ้ามีท่าเรือน้ำลึกเกิดขึ้น อาชีพประมงที่อ่าวปากบาราของเขาจะหายไป เท่านั้นเอง

 

- ประเด็นที่กังวลและถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้คือ ผลกระทบต่อการท่องเที่ยว บางกลุ่มมองว่าถ้าท่าเรือน้ำลึกเกิดขึ้น จะทำให้กระแสและทิศทางน้ำเปลี่ยน ส่งผลกระทบโดยตรงกับทรัพยากรการท่องเที่ยวใต้น้ำ อีกประเด็นที่เป็นห่วงกันคือภาพพจน์ของแหล่งท่องเที่ยว เพราะถ้าหากเกิดท่าเรือน้ำลึก นักท่องเที่ยวต่างประเทศอาจจะไม่เข้ามา 

ผมถามว่า ถ้าพวกเราชาวบ้านบอกว่าไม่เอาท่าเรือน้ำลึก เราจะหยุดโครงการนี้ได้ไหม อย่าลืมว่าโครงการนี้เป็นโครงการระดับชาติ เขามองเห็นเม็ดเงินที่จะได้รับจากการพัฒนาตรงนี้มากมายมหาศาล มากกว่ารายได้ของคนในหมู่บ้านเล็กๆ อย่างเกาะหลีเป๊ะ ที่เทียบแล้วเป็นแค่เศษเงินเล็กๆ น้อยๆ

เวลามีการประชุมเกี่ยวกับโครงการนี้ เราไม่เคยได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุม ผู้ประกอบการท่องเที่ยวบนฝั่งในจังหวัดสตูลก็เข้าร่วมน้อย ไม่ค่อยมีใครสนใจ ข้อมูลที่รับรู้ส่วนใหญ่จะได้จากสื่อ จากข่าวทั่วๆ ไป จากข่าวในท้องถิ่น บางทีก็จากคำบอกเล่า องค์การบริหารส่วนตำบลก็ไม่ได้เข้าไปมีบทบาทตรงนี้ ทั้งที่น่าจะทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนรับรู้ เรื่องที่กำลังจะเกิดขึ้นกับท้องถิ่น

 

- นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มาพูดที่หาดใหญ่ จังหวัดสงขลาหลายรอบว่า คนใต้จะเอาหรือไม่เอาอุตสาหกรรม ถ้าไม่เอาอุตสาหกรรมจะได้คิดกันว่าจะพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างไร ยกเว้นจังหวัดสตูล คนสตูลส่วนใหญ่บอกว่าเอาท่าเรือน้ำลึกปากบารา ในส่วนนี้รัฐบาลจะเดินหน้าต่อไป 

คนเขาเอาท่าเรือน้ำลึกปากบารา เพราะเขาไม่ได้มองว่า สตูลเป็นจังหวัดท่องเที่ยว ไม่รู้และไม่เข้าใจว่า การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนทำอย่างไร เขาไม่มีวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาจังหวัดสตูลไปสู่การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน อย่างที่เห็นอยู่ในตอนนี้ บนเกาะหลีเป๊ะต่างคนต่างพยายามเอาสิ่งอำนวยความสะดวกเข้ามา ทั้งที่นักท่องเที่ยว ทั้งที่คนต่างประเทศรณรงค์ให้กลับคืนสู่ธรรมชาติให้มากที่สุด โดยเฉพาะธรรมชาติในแหล่งท่องเที่ยว

ดูอย่างประเทศสิงคโปร์ เขาพยายามซื้อดินซื้อทรายไปสร้างชายหาดเทียม แต่คนไทยกลับคิดไปอีกแบบ อยากให้ศิวิไลซ์ไปหมดทุกอย่าง ทั้งที่มันไม่ใช่ทิศทางที่ควรจะเป็น

สิ่งที่ควรจะคิดกันตอนนี้ก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสตูล รวมทั้งเกาะหลีเป๊ะคงความเป็นธรรมชาติให้ได้มากที่สุด ห้ามก่อสร้างอาคารด้วยอิฐหินทรายปูน ใครอยากสร้างด้วยไม้สร้างไปเลย หลังคามุงจาก อย่าพยายามใช้กระเบื้อง อิงกับธรรมชาติให้มากที่สุด 

ผมว่ามาคิดกันแบบนี้จะดูดีกว่า ที่สำคัญมันจะเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสตูล ของเกาะหลีเป๊ะดังไปทั่วโลก

ว่ากันเฉพาะแหล่งท่องเที่ยว วันนี้เหมือนกันทุกที่ไม่ว่าจะเป็นเกาะกูด เกาะหมาก เกาะพะงันทำเหมือนกันหมด จนไม่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง

เราจะโทษองค์การบริหารส่วนตำบลอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะบนฝั่งในเมืองทำอะไรกันบ้าง หลายหน่วยงาน ต่างทำแต่งานของตัวเอง ไม่มานั่งคุยกันว่าทิศทางจริงๆ ของจังหวัดเราควรจะไปทางไหน ควรจะทำควรจะจัดการกันอย่างไร

เราไม่เคยสนใจว่า อนาคตจะเกิดอะไรขึ้นกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสตูล จะเกิดอะไรขึ้นกับเกาะหลีเป๊ะ

ถ้าคิดจะสร้างเมกะโปรเจ็กต์ ทำโครงการขนาดใหญ่ คิดจะสร้างโรงแรมหรือที่พักให้หรูหรา เพื่อเอาเงินเยอะๆ มันอาจจะไม่ใช่ก็ได้

ผมเชื่อว่า ทุกอย่างอยู่ที่การจัดการกับทรัพยากรที่เรามีอยู่ให้เหมาะสมมากกว่า สร้างที่พักให้หรูแค่ไหน นักท่องเที่ยวก็สามารถเลือกไปเที่ยวที่อื่นได้ เพราะที่อื่นก็มีที่หรูหราให้พัก ไม่จำเป็นต้องมาที่เกาะหลีเป๊ะ หรือจังหวัดสตูล

ถ้าคุณสร้างห้องหนึ่งหลัง ตัวเรือนเป็นไม้ ฝาไม้ไผ่ หลังคามุงจาก อยากถามว่าต้นทุนเท่าไหร่ แล้วมาอัพเกรดขายห้องสามสี่พัน แบบนี้มีคนทำมาแล้ว ทุกอย่างทำด้วยไม้ ห้องพัดลม ปล่อยไฟฟ้าครึ่งคืน ทำไมเขาขายห้องได้หลายพันบาท บางแห่งทำห้องซีเมนต์อย่างดี ติดแอร์ ต้นทุนสูง กลับขายห้องได้คืนหนึ่งไม่เกินสองพันบาท มันต่างกันมาก หักต้นทุนแล้ว กำไรใครได้เยอะกว่า

นักท่องเที่ยวที่มาที่นี่ เพราะต้องการกลับสู่ธรรมชาติ ผมคิดว่าจังหวัดสตูลเรา คิดหาอะไรที่เป็นธรรมชาติมาเป็นจุดขายดีกว่า หาทางปลูกต้นไม้เพิ่ม เน้นขายบริการน่าจะดีกว่าไปพัฒนาในรูปแบบอื่น

 

- ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดสตูลมีการรวมตัวกันเป็นองค์กรหรือไม่

ที่นี่ไม่มีการรวมกลุ่มกันชัดเจน เท่าที่เห็นก็มีชมรมเรือหางยาวเกาะหลีเป๊ะ ที่เหลือก็ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างทำกันเอง ที่มีอยู่ในระดับจังหวัดก็สมาคมการท่องเที่ยว แต่เขารวมตัวดูแลผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มเท่านั้น

สำหรับเกาะหลีเป๊ะ ตอนนี้มีกิจการร้านค้า ร้านนวด คลับบาร์ ผับต่างๆ ประมาณ 200 กว่าราย เรือทุกประเภทมีทั้งหมดประมาณ 200 กว่าลำ 

รายได้ที่จะถึงชาวบ้านจริงๆ เป็นรายได้จากเรือหางยาว แต่ก็ไม่ทั้งหมด เพราะชาวบ้านบางคน โดยเฉพาะชาวเลไม่ได้มีเรือเป็นของตัวเอง รายได้ที่ได้มาต้องแบ่งกับเจ้าของเรืออีกที เขาไม่คิดจะมีเรือเป็นของตัวเอง ไม่อยากลงทุน ได้แค่ค่าแรงก็พอใจแล้ว

ถ้าหากคนบนเกาะคิดจะทำธุรกิจเรือหางยาวเอง คนข้างนอกจากเกาะบูโหลน จากปากบารา ไม่ได้นำเรือเข้ามาวิ่งทำมาหากินถึงเกาะหลีเป๊ะหรอก สังเกตได้เลยเรือที่มาจากข้างนอก เป็นเรือของตัวเอง ไม่ได้เป็นเรือของเถ้าแก่เหมือนคนบนเกาะ

 

- นอกจากเกาะหลีเป๊ะแล้ว มีเกาะไหนรับนักท่องเที่ยวอีกบ้าง

ก็มีเกาะบูโหลน อยู่ในอำเภอละงู ส่วนเกาะสาหร่ายไม่มีที่พักรับนักท่องเที่ยว มีแต่ที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน ส่วนเกาะปูยูมีรีสอร์ทอยู่บ้างแต่ไม่มาก เกาะอาดังกำลังจะเปิดรีสอร์ทหรูในฤดูการท่องเที่ยวหน้า เกาะตะรุเตามีที่พักของอุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา

สำหรับเกาะหลีเป๊ะ ถ้าหากไม่มีอะไรมากระทบ การท่องเที่ยวคงไปได้ดี ตอนนี้ นักท่องเที่ยวที่มา ไม่มีห้องพัก ห้องพักเต็มหมด ปีที่แล้วห้องพักไม่พอ ปีนี้มีห้องพักเพิ่มขึ้นมาเท่าไหร่ ก็ไม่พอรองรับนักท่องเที่ยว

ตอนนี้มีเรือขนนักท่องเที่ยวเข้ามายังเกาะเพิ่มขึ้นหลายบริษัท สมมติว่า เรือมาวันละ 4 บริษัท ลำละ 50 คน แต่ละบริษัทจัดเรือวิ่งหลายเที่ยว รับนักท่องเที่ยวมาจากหลายจุด ตั้งแต่ท่าเรือปากบารา อำเภอละงู มาจากท่าเรือตำมะลัง อำเภอเมืองสตูล มาจากหาดยาว จังหวัดตรัง จากเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ มาจากเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย และมาจากที่อื่นๆ อีก

วันหนึ่งๆ มีนักท่องเที่ยวเข้ามาที่เกาะหลีเป๊ะเท่าไหร่ ลองคิดดูเอาเอง ผมคิดเล่นๆ วันหนึ่งก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 300 คน ถ้าต่ำกว่า 300 คน บริษัทเรืออยู่ไม่ได้

พอนักท่องเที่ยวเข้ามากๆ ตลาดมันก็เปลี่ยนไปอีกแนว นักท่องเที่ยวแบบแบคแพคน้อยลง เปลี่ยนเป็นนักท่องเที่ยวที่มากันเป็นครอบครัว มีกลุ่มคนวันเกษียณ ส่วนใหญ่มาจากยุโรป มีฐานะทางเศรษฐกิจระดับกลางขึ้นไปจนถึงระดับสูง

นักท่องเที่ยวชาวไทยก็เช่นกัน คนมีฐานะทางเศรษฐกิจดีๆ เริ่มเข้ามาเยอะ เห็นได้จากตอนนี้มีห้องราคาแพงๆ ไว้บริการ จากเมื่อก่อนมีแต่นักท่องเที่ยวระดับล่าง มาแบบประหยัด แบบแบ็กแพ็ก ทุกวันนี้ราคาห้องแพงสุด อยู่ที่ 15,000 – 20,000 บาท ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 350 บาท ถ้าลูกค้ามาพักหลายคืนก็ลดราคาให้อีก

ลูกค้าที่มาพักนานๆ จะเป็นกลุ่มคนที่เข้ามาทำงาน อีกกลุ่มคือ กลุ่มที่เข้ามาพักผ่อนระยะยาวอย่างกลุ่มวัยเกษียณ พวกนี้จะอยู่นาน 3 – 4 เดือน บางคนอยู่จนหมดวีซ่าถึงจะกลับ ส่วนกลุ่มที่เข้ามาทำงานจะอยู่ไม่เกินสองเดือน พวกนี้จะวิ่งหางานตลอด ไม่ได้มาทำงานที่เกาะหลีเป๊ะที่เดียว แต่ย้ายไปทำงานตามแหล่งท่องเที่ยวอื่นด้วย

ส่วนใหญ่รับงานจ๊อบตามบาร์ หรือร้านดำน้ำ พวกนี้จะอยู่ไม่นาน เพราะไม่ได้ใช้วีซ่าทำงาน พอวีซ่าหมดก็ต้องกลับประเทศ เป็นพวกทำงานไปเที่ยวไป มาเที่ยวแล้วก็หาเงินนิดหน่อยเป็นค่าตั๋วเครื่องบินค่าที่พัก นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีความรู้ พอจะหาเงินเที่ยวได้สบาย

 

- สภาพของเกาะหลีเป๊ะเป็นอย่างไร

บนเกาะมีโรงเรียนขยายโอกาส จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเด็กนักเรียนประมาณ 300 กว่าคน มีสถานีอนามัย มีสายตรวจตำรวจ มีที่ว่าการอำเภอส่วนหน้า มีมัสยิด มีสำนักสงฆ์ มีโบสถ์คาทอลิก

ชาวเลบนเกาะรับได้ทุกศาสนา ผู้ประกอบการบนเกาะหลีเป๊ะส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมด นับถือศาสนาพุทธ จะมีพระจากบนฝั่งสลับสับเปลี่ยนกันมาอยู่ที่สำนักสงฆ์บนเกาะตลอด โดยมีผู้ประกอบการคอยดูแล

 

- มีปัญหาพิพาทที่ดินเหมือนกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ บ้างหรือไม่ 

เนื้อที่บนเกาะหลีเป๊ะประมาณ 2,000 กว่าไร่ บางส่วนมีเอกสารสิทธิ์ มีเพียงคนบนเกาะเท่านั้นที่ได้เอกสารสิทธิ์ ไม่มีคนนอกเกาะ ปัญหาที่เกิดจากที่ดิน จึงเป็นปัญหาในหมู่ญาติๆ

ในส่วนของที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ถ้าหากใครซื้อต้องรีบทำเลย เพราะบางทีพี่ขายที่ดินไปแล้ว คนที่เข้ามาซื้อปล่อยทิ้งไว้ น้องก็เอาไปขายคนอื่นอีก ที่แปลงเดียวกลายเป็นมีเจ้าของหลายคน อาจจะมีบ้างที่คนซื้อมีปัญหา ซื้อแล้วจ่ายเงินไม่ครบ เจ้าของที่เลยเอาที่คืน

อีกปัญหาที่เกิดขึ้นคือ พี่ขายแล้วไม่แบ่งเงินให้น้อง ไปไล่น้องออกจากเกาะ ปัญหาที่ตามมาคือ เมื่อขึ้นไปอยู่บนฝั่งก็ไม่มีที่อยู่ เมื่อไม่มีที่อยู่ก็ต้องกลับมาบุกรุกที่สาธารณะ โดยนายทุนจะให้ทุนทรัพย์ในการบุกรุก รุกไปเท่าไหร่ที่ดินก็ตกไปเป็นของนายทุนหมด ท้ายที่สุดชาวบ้านก็ไม่มีที่อยู่อาศัยเหมือนเดิม

 

สถิติการท่องเที่ยวจังหวัดสตูล


จำนวนนักท่องเที่ยว
ปี 2544 – 2550

นักท่องเที่ยวชาวไทย
(หน่วย : คน)

นักท่องเที่ยวต่างชาติ
(หน่วย : คน)

รวมนักท่องเที่ยว
(หน่วย : คน)
 

เพิ่มขึ้น / ลดลง
ร้อยละ

2544

344,536

58,767

403,303

-

2545

357,529

64,713

422,242

+4.70

2546

386,510

56,835

443,345

+5.00

2547

431,139

55,176

486,315

+9.70

2548

531,666

50,391

582,057

+19.69

2549

609,112

50,086

659,198

+13.25

2550

698,521

44,712

743,233

+12.74
 


รายได้จากการท่องเที่ยว
ในปี 2544 – 2550 ปี

รายได้จากการท่องเที่ยว
(หน่วย : ล้านบาท)
 

เพิ่มขึ้น / ลดลงร้อยละ

2544

621.89

-

2545

836.74

+34.55

2546

899.32

+7.48

2547

976.91

+8.63

2548

1,420.86

+45.45

2549

1,667.20

+17.34

2550

1,798.20

+7.85
 

ที่มา: สำนักงาน ททท.ภาคใต้ เขต 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชาธรรม: เสื้อแดงเชียงใหม่คิดอย่างไรในกระแสปรองดองและการปฏิรูป

Posted: 05 Jul 2010 01:43 PM PDT

<!--break-->

ขณะที่ถนนทุกสายกำลังมุ่งสู่การปฏิรูปประเทศไทย การปรองดองแห่งชาติ และการแก้รัฐธรรมนูญ ภายใต้การ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งนานาประเทศเริ่มจับจ้องมองไทย พร้อมกับการเรียกร้องให้มีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินร้ายแรงฉบับนี้ เพราะมีมุมมองว่าเป็นการกระชับวงล้อมการปฏิรูปประเทศไทย และการปรองดองแห่งชาติเหลือเพียงแค่คนบางกลุ่ม ขณะที่เสียงของคนเสื้อแดงที่มีจำนวนไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน หรืออาจมากกว่านั้นกลับถูกกลบเกลื่อน ลบเลือน และคนเสื้อแดงต้องอยู่หลบซ่อน โดนคดี และไม่มีใครพูดถึงคนตาย คนบาดเจ็บ สูญหายอีกต่อไป มหกรรมการซุกความเลวร้ายไว้ใต้พรมกำลังเริ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลองมาฟังเสียงคนที่ไม่มีพื้นที่ ไม่ปรากฏอยู่ในวงสัมมนาที่ไหน หรือสื่อใดๆ ต่อความเห็นที่รัฐบาลกำลังเดินหน้าการปฏิรูป สร้างภาพ หาเสียง ตลอดไปจนถึงกลุ่มองค์กร เครือข่ายประชาสังคมที่เข้าร่วมกับกระแสปฏิรูป และทิ้งคนเสื้อแดงไว้อย่างโดดเดี่ยวนั้น พวกเขาคิดอย่างไรในกระแสปรองดอง การปฏิรูป และการแก้รัฐธรรมนูญนั้น

เราพบกับกลุ่มคนเสื้อแดงอำเภอฝางกลุ่มเล็กๆ ที่บ้านสันทรายคลองน้อย ต.คลองศิลา อ.ฝาง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงวัยทำงาน และคนแก่ ที่อายุสูงสุดเกือบ 80 ปี แต่ยังแข็งแรง และในดวงตามีความมุ่งมั่น และไม่มีแววย่อท้อ ทั้งหมดนี้เข้าร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดงที่กรุงเทพฯ นานเป็นปี นับตั้งแต่ปี 2552 แล้ว และในช่วงที่มีการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ก็มีบางส่วนอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย จนถึงการสลายชุมนุมในเขตอภัยทาน ที่วัดปทุมวนาราม ที่เธอคนนั้นบอกกับเราว่า “เป็นประสบการณ์ที่เธอจะจำไปวันตาย” และเธอคนนี้อีกที่ประกาศสู้ตายก่อนที่จะไปเข้าร่วมชุมนุมกับ นปช.ในช่วง 19-20 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยได้ฝากฝังญาติพี่น้อง เรื่องทรัพย์สมบัติที่จะให้หลานๆ ไว้แล้ว รวมไปถึงการดูแลหมู ไก่ที่เธอเลี้ยงไว้ที่บ้าน

และเสียงที่จะถ่ายทอดนี้ เป็นเสียงของผู้หญิงหลายคนที่ช่วยกันเล่า ช่วยกันถ่ายทอดออกมา ด้วยความอัดอั้นอย่างที่สุด เธอบอกกับเราว่าดีใจที่สุดที่มีคนมาฟังพวกเธอบ้าง ทุกวันนี้รู้สึกอัดอั้น และคับแค้น ไม่มีสื่อไหนที่เปิดพื้นที่ให้คนเสื้อแดง ไม่เคยมีวันไหนที่จะนอนหลับเป็นอย่างสุข เพราะยังคงอยู่กับทหาร มีทหารมาป้วนเปี้ยนที่บ้านอยู่ตลอดเวลา 

 

ทำไมถึงไปร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง 

คนเสื้อแดงบ้านเฮา (หมายถึงในเขตอ.ฝาง-แม่อาย-ไชยปราการ) เริ่มมาจากเฮารู้สึกว่ามันบ่มีความเป็นธรรม มาตั้งแต่ปี 2549 แล้ว ตั้งแต่มีรัฐประหาร ติดตามข่าวทางทีวี ก็รู้สึกว่ามีความไม่ถูกต้องหลายเรื่อง ก็เลยตั้งกลุ่มพูดคุยกันวงเล็กวงน้อย ในตลาดบ้าง เวลาไปทำสวน ทำนาด้วยกันก็คุยกัน จากกลุ่มเล็กๆ ก็ค่อยขยายใหญ่ขึ้น พอปี 2550 -51 เฮาก็เริ่มได้ข่าวว่าในเมืองเชียงใหม่มีการจัดเวทีชุมนุมกันแถววัดพระสิงห์ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ หมู่เฮากลุ่มเล็กๆ ก็เลยพากันไปร่วมเวทีที่เชียงใหม่ ตอนนั้นก็ออกเงินกันเอง บ่มีใครมาชักจูงทั้งนั้น และเริ่มตั้งกลุ่มปี 2551 ตั้งเป็นกลุ่ม “ชมรักรักฝาง แม่อาย-ไชยปราการ” 

เฮารู้สึกบ่พอใจตั้งแต่เปิ้นมาไล่นายกฯ (ทักษิณ) ของเฮาออก ทำร้าย ส.ส. ก็เหมือนกับทำร้ายเฮา บ้านเมืองนี้มันบ่มีความเป็นธรรม มันมีปัญหาสองมาตรฐานมาตลอด พอสมชาย วงศ์สวัสดิ์มาเป็นนายกฯ ก็โดนไล่ออกอีก พอสมัครมาก็โดนไล่ออกอีก ที่อภิสิทธิ์มาเป็นนายกฯ ก็เหมือนกับอุ้มมาสำหรับพวกพ้องตัวเอง เฮาแค่ต้องการยุบสภา แล้วก็เลือกตั้งใหม่เท่านั้นเอง ต่อมาก็มีปัญหาสองมาตรฐานทุกเรื่องไม่จบสิ้น มีตลอด ตอนที่พันธมิตรไปยึดสนามบินก็ไม่มีใครดำเนินคดี แต่พอถึงคนเสื้อแดงชุมนุมบ้างกลับถูกจับ ถูกดำเนินคดี 

ตอนที่เปิ้นจะลงประชามติรัฐธรรมนูญ 50 ก็อีก เขามีคำสั่งมาทางอำเภอเลยว่าให้ชาวบ้านรับร่างรัฐธรรมนูญ 50 เฮาบ่ยอมเซ็น เพราะมันไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่เฮาต้องการ แต่เขาก็ยังมาบังคับขืนใจเฮา ที่ไม่เห็นด้วยเพราะรัฐธรรมนูญ 50 เพราะมันสร้างกลไกที่เฮาเข้าไม่ถึง ไม่มีกฎเกณฑ์ จะเอาถูกเอาผิดกับใครก็ได้ เลือกปฏิบัติ เลือกใช้ได้ อย่าง กกต.ก็เป็นพวกของเขา ตามใจฉัน บ่มีความเสมอภาค มันเหมือนกับเป็นกลไกของเขา พวกเขาเอง 

เฮาแค่ต้องการให้มีการยุบสภา แล้วเลือกตั้งใหม่เท่านั้นเอง แต่เฮาก็โดนว่าเป็นเพราะทักษิณ ความจริงมันบ่เกี่ยว ถึงเลือกตั้งใหม่ แล้วทักษิณไม่กลับมา เฮาก็ยอมรับ เฮาขอแค่เลือกตั้ง และพิสูจน์กันไปเลย และเมื่อใครมาเป็นรัฐบาลก็อย่ามาไล่ออกไป ต้องยอมรับกติกากันทุกฝ่าย บ้านเมืองถึงจะมีความเป็นธรรม

ในช่วงที่เฮาไปร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง ที่บ้านเฮาจะมีการฮอมเงินกันบ้านละ 10 บาท 20 บาท คนมีเงินหน่อยก็ 100 บาท 200 บาท ใครมีมากก็ฮอมมากหน่อย อย่างคนที่ค้าขายในตัวอำเภอก็จะลงขันมากหน่อย คนทำสวน ทำนาก็น้อยหน่อย เมื่อเราตกลงใจว่าจะไปร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดงที่เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ เฮาก็เริ่มทำผ้าป่าก่อน หลังจากนั้นก็เลี้ยงโต๊ะจีน ทำคอนเสริ์ต์ ทำทุกอย่าง ก็ได้เงินเป็นแสนๆ ก็ตั้งวิทยุชุมชนขึ้นมา พอตั้งวิทยุชุมชน กลุ่มของเรายิ่งขยายเพิ่มขึ้น มันเหมือนกับว่าคนที่บ่พอใจรัฐบาลมีมากขึ้น เพราะเขารู้สึกอย่างเดียวกัน คือ “มันไม่ถูกต้อง ไม่มีความเป็นธรรม ปัญหาสองมาตรฐาน” 

เมื่อตั้งวิทยุชุมชนขึ้นมา ชาวบ้านสนใจฟังข่าวสารกันมาก วิทยุทรานซิสเตอร์ที่ขายในตลาดแทบไม่พอ เพราะชาวบ้านแห่กันซื้อ เพราะอยากฟังข่าวสารที่ไม่ได้มาจากกระแสหลัก กลุ่มของเฮาก็ขยายไปถึงบนดอยในเขตเชียงราย ชาวเขาเผ่ามูเซอร์ เขาก็มาร่วมกับเฮาทั้งหมู่บ้าน เขาก็เห็นว่ามันไม่ถูกต้องเหมือนกันบ้านเมืองเราตอนนี้ ตอนที่ทำผ้าป่า เขาก็ร่วมบริจาคด้วย พอไปชุมนุมที่กรุงเทพฯ เขาก็เอาข้าวสารมาฮอม และการทำผ้าป่าก็อาจจะมีเงินของ ส.ส.บริจาคมาบ้างก็เป็นธรรมดา แต่เฮาไม่ได้เคลื่อนไหวเพราะเงิน หรือใครจ้างมา เงินที่มีการบริจาคกันมา ก็เอามาเป็นกองกลาง ไว้จ่ายค่ารถบัส ค่าน้ำมัน ส่วนอาหารที่เอาไปชุมนุม ชาวบ้านจัดจัดการเอง วันที่ไปกรุงเทพฯ เฮาจะสับเปลี่ยนกำลังกันไป ครั้งหนึ่ง แต่ละบ้านก็ไปเป็น 10 คันรถ ก็ประมาณ 100 กว่าคน 

เหตุการณ์ที่วัดปทุมนั้น เฮาก็บ่เข้าใจว่าทำไมต้องยิงเข้าไปในวัดด้วย ทั้งๆ ที่เป็นเขตอภัยทาน พี่บาน ผู้หญิงคนเดียวในหมู่บ้านที่ไปเข้าร่วมชุมนุมตอนนั้น สะท้อนว่า ณ วินาทีนั้นเธอพร้อมตายที่ราชประสงค์ แต่ก็มีคนกระชากแขนเธอไปที่วัดปทุม ฯ และในเวลาต่อไปไม่นาน เธอก็ได้ยินเสียงปืนดังระรัว แล้วก็มีคนตาย... 

 

จะปรองดอง ปฏิรูปแล้วคิดอย่างไร 

ตอนนี้ที่รัฐบาล และหลายฝ่ายกำลังเตรียมจะปรองดอง ปฏิรูป แก้รัฐธรรมนูญ และการระดมความเห็น 6 วัน 63 ล้านเสียงอะไรนั่น นั้น เฮาเห็นว่ามันไม่มีประโยชน์เลย มันแค่การสร้างภาพ จะปรองดองตอนนี้ได้อย่างไรในเมื่อยังไม่มีการพิสูจน์เรื่องคนตาย ใครยิงประชาชน ประชาชนตายไปขนาดนี้แล้ว ถ้าไม่มีใครพิสูจน์ความจริงก็ไม่ต้องพูดเรื่องอื่นเลย คณะกรรมการที่ตรวจสอบพิสูจน์ ตอนนี้ก็ไม่เป็นกลาง ถ้าจะให้เป็นกลางจริงต้องให้ต่างประเทศเข้ามาช่วยตรวจสอบ เพราะตอนนี้บ้านเมืองของเฮาไม่มีองค์กรไหนที่เป็นกลางสักองค์กรหนึ่ง ส่วนใหญ่เอียงหมด (เอียงเข้าข้างรัฐบาล) 

หลังปราบปรามประชาชนแล้ว คนเสื้อแดงที่กลับบ้านก็ยังไม่เป็นสุขเลย ต้องอยู่อย่างหลบซ่อน พอดูโทรทัศน์กระแสหลักก็รู้สึกว่ามันลำเอียง อยากทุบทีวีแล้ว และรู้สึกไม่มีเรื่องที่มันเป็นจริงเลย มีแต่โกหกกันไปวันๆ ชาวบ้านจะเลือกดูแต่เคเบิล เพราะยังทำให้ชาวบ้านรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงมากกว่า และเขาก็ยังเปิดพื้นที่ให้คนเสื้อแดงอยู่บ้าง ถ้าจะปฏิรูปและแก้รัฐธรรมนูญก็ต้องให้เกิดความยุติธรรมก่อน ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก่อน อย่างนี้มันเหมือนกับทำเพื่อเป็นการสร้างภาพเท่านั้นเอง แล้วคนเสื้อแดงก็อยู่กับความอึดอัดคับข้องใจ 

อย่างเรื่องปฏิรูปฯ ตอนนี้เฮาไม่รู้เรื่อง แต่ถ้าถามชาวบ้านจริงๆ คือจะปฏิรูปก็ต้องเป็นเป็นธรรม ปฏิรูปที่ดินที่เขาคุยกันเมื่อเร็วๆ นี้ ตามความคิดของชาวบ้านมันยังไม่ใช่การแก้ปัญหาที่แท้จริง เพราะมันก็จะมีคนบางกลุ่มเท่านั้นเองที่ได้รับ และคิดว่านายทุนอีกที่จะได้ประโยชน์

ประชาธิปไตย-การแก้ปัญหาชาวบ้าน

ประชาธิปไตยในความคิดของเฮาคือ ความยุติธรรม คือความเสมอภาค ถ้าจะยุติธรรมก็ต้องมีการเลือกตั้ง ไม่ใช่จะเปลี่ยนกฎกติกากันอย่างไรก็ได้ เอาใครมาเป็นนายกฯ ก็ได้ ยังมีการเลือกปฏิบัติอยู่ ไม่ใช่ประชาธิปไตย ปัญหาที่เป็นอยู่คือคนที่มีอำนาจเขาไม่เคยมาถามเฮาว่าต้องการอะไร แต่เขากลับยัดเยียดสิ่งที่เฮาบ่ต้องการ เช่น เมื่อเร็วๆ นี้ เฮาเสนอทางการไปว่าชาวบ้านต้องการอ่างเก็บน้ำ เพราะมันแล้งมาก ชาวบ้านบ่มีน้ำใช้ทำนา ทำสวน แต่สิ่งที่ทางมหาดไทยเปิ้นบอกกลับมาคือ ให้ทำโครงการฝายแม้ว หรือปลูกป่า ต้องเป็นโครงการแบบที่เขาคิดไว้แล้ว แต่ตามความคิดชาวบ้าน ฝายแม้ว และปลูกป่า มันเป็นแค่โครงการสวยหรู แต่ไม่ตอบสนองความเป็นจริง เพราะปลูกป่าไป ป่าก็ถูกทำลาย และไม่จำเป็นต้องใช้เงิน 

นโยบายที่ชาวบ้านเห็นว่าเป็นประโยชน์ คือสมัยที่ทักษิณยังอยู่ รู้สึกว่าสอดคล้องกับความต้องการของชาวบ้าน อย่างเรื่องเงินกองทุนหมู่บ้าน มันสามารถช่วยชาวบ้านได้ลืมตาอ้าปากหลายราย เขาไม่ระบุ ไม่บังคับว่าชาวบ้านจะเอาเงินไปทำอะไร บางคนเอาเงินไปต่อทุน ลงทุนทำธุรกิจใหม่ๆ ได้ แต่พอมาถึงสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เขาจะระบุมาเลยว่าคนที่จะมากู้เงินต้องเอาเงินไปทำเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าชาวบ้านจะซื้อรถไถนา เขาก็บอกให้เราซื้อควาย มันถึงจะเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ความเป็นจริงยุคนี้มันทำอย่างนั้นไม่ได้แล้ว เฮาไม่มีแรงขนาดนั้น ลูกหลานเฮาก็ไปเรียนในเมือง มันต้องมีเครื่องทุนแรงบ้าง 

สิ่งที่จะบอกว่ามันเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ให้ดูจากสื่อด้วย ตอนนี้ไม่มีสื่อไหนที่มีความเป็นกลาง สื่อเอียงข้างหมด มีแต่เรื่องโกหกของรัฐบาล ตอนนี้เฮาไม่ได้ดูสื่อหลักแล้ว มันดูไม่ได้เลย เฮาต้องมานั่งคุยกันเอง แล้วก็ดูเคเบิลที่ยังพอดูได้บ้าง 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พระสงฆ์กับสำนึกความเป็นธรรมทางสังคม

Posted: 05 Jul 2010 12:41 PM PDT

<!--break-->

อยู่ใกล้ชิดร่วมทุกข์สุขกับชาวบ้าน เหล่านี้จะต้องเป็นผู้ปลุกปลอบ ให้กำลังใจ ให้แง่คิด ให้สติ ให้ปัญญาเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกความเป็นธรรมของชาวบ้านให้คงอยู่ และพัฒนาต่อไป

เมื่อวันที่ 3-4 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ผู้เขียนลงพื้นที่เก็บข้อมูลวิจัยที่จังหวัดขอนแก่น มีโอกาสได้ไปกราบนมัสการและสนทนากับ พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต (สุกันยา อรุโณ) รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น มีบางประเด็นที่เราน่าจะชวนกันขบคิด จึงอยากนำเสนอต่อผู้อ่าน

1. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ วิทยาเขตขอนแก่น นอกจากจะก่อตั้งเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาระดับปริญญาตรี โท เอก แก่พระภิกษุสามเณร และฆราวาสในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียงแล้ว ยังมีความหมายในเชิง “ประวัติศาสตร์ทางจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม” ของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (อาจ อาสภเถร) ซึ่งเป็นชาวขอนแก่นที่เป็นผู้บุกเบิกการศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์ การส่งพระธรรมทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนาในต่างประเทศ การขยายโอกาสทางการศึกษาให้ลูกคนยากจนในชนบทอีสานได้มีโอกาสบวชเรียนมากขึ้น ซึ่งถ้าเขาเหล่านั้นไม่ลาสิกขาบทก็เป็นกำลังสำคัญของพุทธศาสนา ถ้าลาสิกขาบทออกไปก็เป็นคนมีประโยชน์ต่อสังคม

แต่ทว่าด้วยความคิดนอกกรอบ ก้าวหน้า มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ประกอบกับในยุคนั้นมี “การเล่นการเมือง” ในวงการคณะสงฆ์เอง และการเมืองของรัฐก็เข้ามาแทรกแซงจึงทำให้สมเด็จพุฒาจารย์ (ขณะนั้นดำรงสมศักดิ์ที่ “พระพิมลธรรม”) แพ้ภัยการเมือง ถูกจับด้วยข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์ในสมัยรัฐบาลสฤษิ์ ธนะรัชต์ แต่ในขณะที่ถูกบังคับและถูกดึงจีวรออกจากร่างกาย ท่านไม่ยอมเปล่งวาจาสึก ยังยืนยันความเป็นพระภิกษุของตนเอง และประพฤติปฏิบัติเยี่ยงพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ใช้ชีวิตอยู่ใน “สันติปาลาราม”

ต่อมาเมื่อพ้นโทษ ท่านได้รับการถวายคืนสมณศักดิ์ และตำแหน่งสำคัญอื่นๆ พร้อมกับได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพุฒาจารย์ และก่อนมรณภาพท่านได้ดำรงตำแหน่งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ฉะนั้น สำหรับพระสงฆ์ชาวขอนแก่น เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ ที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า “หลวงพ่อพิมลธรรม” หรือ “หลวงพ่ออาจ” ท่านคือแบบอย่างของพระสงฆ์ผู้อุทิศตนเพื่อความเจริญทางการศึกษาและการเผยแผ่พุทธศาสนา ให้โอกาสทางการศึกษากับลูกคนจน เข้าถึงจิตใจของชาวบ้าน รักความเป็นธรรม และต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมอย่างโดดเดี่ยวแบบ “ไม้ซีกงัดไม้ซุง” ทว่าในที่สุด “ธรรมย่อมชนะอธรรม”

ท่านรองอธิการบดีกล่าวว่า “สถานที่ก่อตั้งวิทยาเขตแห่งนี้คือสถานที่ใกล้เคียงกับวัดที่พระสงฆ์และชาวขอนแก่นทำพิธีบายศรีสู่ขวัญให้หลวงพ่อพิมลธรรมตอนที่ท่านเพิ่งออกจากคุก มันจึงมีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ทางจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม อาตมาจึงย้ำกับพระนิสิตที่นี่อยู่เสมอว่า เป็นนิสิตมหาจุฬาฯ ต้องรู้ประวัติหลวงพ่อพิมลธรรม ต้องซึมซับจิตวิญญาณที่รักความเป็นธรรม และต้องไม่ลืมคำเตือนของหลวงพ่อที่เคยตอกย้ำอยู่เสมอๆ ว่า เราต้องไม่ลืมรากเหง้าของตนเองที่มาจากลูกชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นที่เสียเปรียบในสังคม”

2. วิทยาเขตแห่งนี้ต้องการสร้างพระที่ฉลาดขึ้น หมายความว่าการศึกษาต้องเน้น “มิติศาสนาเพื่อสังคม” มากขึ้น คือไม่ใช่เรียนวิชาการอย่างเดียวโดยไม่เชื่อมโยงกับทุกข์ของชาวบ้าน เราต้องรู้หลักคำสอนและวิธีคิดแบบพุทธอย่างถูกต้อง พร้อมกับเข้าใจ “ทุกขสัจจะ” ของชาวบ้าน และต้องสามารถเชื่อมโยงความรู้แบบพุทธเพื่อแบ่งเบาบรรเทาทุกข์ของชาวบ้านได้ เป็นที่พึ่งทางความคิด ทางปัญญาของชาวบ้านได้

“ทุกวันนี้ชาวอีสานขาดผู้นำทางความคิด” ท่านรองอธิการบดีกล่าว “แม่ค้าขายลูกชิ้นเล่าให้อาตมาฟังว่า ที่ออกไปชุมนุมทางการเมืองไม่ใช่เพราะจนนะ เรื่องความยกจนนี่มันจนมาแต่พ่อแม่ปู่ย่าตายายแล้ว มันอยู่กับความจนได้ ไม่มีใครปล่อยให้ตัวเองอดตาย แต่ที่ป้าไปชุมนุมกับคนเสื้อแดงเพราะมันทนไม่ได้ บ้านเมืองมันไม่ยุติธรรม ทำไมรัฐบาลที่คนอีสานเลือกมา ทำประโยชน์ให้คนจน จึงถูกทหารปฏิวัติ”

ท่านเล่าต่อว่า “มันเป็นปรากฏการณ์ที่อาตมาไม่เคยเห็นมาก่อน ตั้งแต่เด็กเล็ก หนุ่มสาว ป้า ลุง คนเฒ่าคนแก่พูดคุยกันแต่เรื่องการเมือง แต่ก่อนคนบ้านเราแทบไม่เคยสนใจการเมือง แต่ตอนนี้เขามองเห็นปัญหาการเมืองว่ามันเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของเขาจริงๆ เขาคุยกันไปไกลมาก...แต่ที่ชัดเจนมากคือชาวบ้านอีสานเกิดจิตสำนึกเรื่องความเป็นธรรม เขาเห็นว่ารัฐประหารล้มรัฐบาลที่เขาเลือกคือความไม่เป็นธรรม สองมาตรฐานคือความไม่เป็นธรรม และเขาเรียกร้องความเป็นธรรมผ่านการเลือกตั้งที่ทุกคนได้ใช้สิทธิ์อย่างเท่าเทียมกัน...แต่มันเป็นเรื่องน่าเศร้าที่คนอีสานไม่มีผู้นำทางความคิดที่เป็นคนอีสานด้วยกันเอง” 

3. ในมุมมองของท่านรองอธิการบดี “สำนึกความเป็นธรรมทางสังคม” ที่ท่านเห็นว่าเกิดขึ้นแล้วในคนอีสานจำนวนมาก เป็นสำนึกที่มี “คุณค่า” ที่จะต้องไม่เสื่อมสลายไปพร้อมกับความพ่ายแพ้ ความสูญเสียจากการที่ชาวบ้านออกมาต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม

ฉะนั้น ท่านจึงเห็นว่าพระสงฆ์ที่เป็นลูกของชาวบ้านส่วนใหญ่ที่เสียเปรียบในสังคม อยู่ใกล้ชิดร่วมทุกข์สุขกับชาวบ้าน พึ่งพาปัจจัยสี่จากชาวบ้าน และเป็นผู้มีโอกาสศึกษาซึมซับคำสอนของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่มองว่ามนุษย์มีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน ไม่ได้แบ่งแยกคุณค่าของคนจากความต่างทางฐานะ หรือชาติกำเนิด พระสงฆ์เหล่านี้จะต้องเป็นผู้ปลุกปลอบ ให้กำลังใจ ให้แง่คิด ให้สติ ให้ปัญญาเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกความเป็นธรรมของชาวบ้านให้คงอยู่ และพัฒนาต่อไป 

ท่านกล่าวว่า “มหาวิทยาลัยสงฆ์ไม่ได้ปิดกั้นการแสดงออกทางการเมืองของพระนิสิต เพราะที่จริงพระพุทธเจ้าก็เกี่ยวข้องกับการเมืองเมื่อมีความจำเป็น เช่น การห้ามทัพไม่ให้พระญาติฆ่ากันเองเป็นต้น หากพระนิสิตเห็นใจชาวบ้าน เข้าใจความทุกข์ของชาวบ้าน ร่วมต่อสู้กับชาวบ้านที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยพยายามรักษาความสำรวม หรือสมณสารูปก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดอะไร...”

และกล่าวทิ้งท้ายว่า “ที่จริงเราอยากสร้างเครือข่ายของพระสงฆ์ทั่วภาคออีสาน เพื่อดำรงรักษา สานต่อจิตสำนึกความเป็นธรรมของชาวบ้านให้มีพลังในการต่อสู้ต่อไป โดยต้องทบทวนบทเรียนที่ผ่านมา และหาทางต่อสู้ที่เป็นสันติวิธีจริงๆ”

นี่คือ “เสียง” อีกด้านของพระสงฆ์ที่อยู่ใกล้ชิดชาวบ้านอีสาน และมองเห็น “จิตสำนึกความเป็นธรรมทางสังคม” ของชาวบ้านว่า เป็น “จิตสำนึกพลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตยที่มีคุณค่าควรถนอมรักษา สานต่อ และพัฒนาให้มีพลังต่อไป!

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กอ.รมน.พร้อมส่ง 1,200 วิทยากรลงพื้นที่ หากเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

Posted: 05 Jul 2010 11:56 AM PDT

'เพื่อไทย’ แฉแดงถูกกักค่าย จ.กาญจน์ เกิน 30 วัน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ด้านองค์กรสิทธิ จี้ ศอฉ.แจงข้อเท็จจริงการละเมิดสิทธิ์ก่อนให้ยกเลิก ส่วน ตร.เผยคดีชุมนุม พธม.152 คดี เหลือสอบอยู่ 25 ส่วน นปช.รวมคดีจากสงกรานต์ 52-53 มีกว่า 466 คดี ขณะที่สื่อตีข่าวพบ ‘ผู้พัน’ ทหารม้าเครียดยิงตัวดับ สะพัดปมครอบครัว-สลายม็อบ

<!--break-->

 

เตรียมส่ง 1,200 วิทยากร แจงสลายแดง หากเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

เมื่อวันที่ 5 ก.ค.53 ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า เวลา 15.00 น. ที่กองบัญชาการกองทัพบก พ.อ.หญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก แถลงผลการประชุมผู้บังคับหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก ประจำเดือน ก.ค.ที่มี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นประธานในการประชุมว่า ที่ประชุมผู้บัญชาการทหารบก ให้ความสำคัญเรื่องการสานต่อ "โครงการสู้วิกฤติเศรษฐกิจ ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ในปีงบประมาณ 2553 โดยทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) จะมีการจัดวิทยากร ทั้งเจ้าหน้าที่ทหารจาก 3 เหล่าทัพ และพลเรือน จำนวน 1,200 คน เร่งลงพื้นที่เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และจะสร้างความรักความสามัคคี ให้เกิดขึ้นในชุมชนด้วย รวมถึงการสร้างความเข้าใจในบทบาทและภารกิจของกองทัพ ในการรักษาความสงบเรียบร้อยที่ปฏิบัติภารกิจที่ผ่านมาว่า เป็นการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมและประเทศชาติเป็นสำคัญ โดยในวันที่ 7 ก.ค.นี้ ที่สโมสรทหารบก จะเชิญชุดวิทยากรจากทั่วประเทศ มารับฟังแนวทางการชี้แจงและความรู้ในเรื่องดังกล่าว หลังจากนั้นในสัปดาห์ต่อไป ในแต่ละกองทัพภาคจะมีการอบรมย่อยวิทยากรอีก 4 วัน

"กอ.รมน.ยังได้สรุปการทำงานในช่วงที่ผ่านมา ให้ผู้บังคับหน่วยได้รับทราบ และพูดถึงการประชุม กอ.รมน.ที่มีการจัดเตรียมแผนการทำงานรองรับ กรณีที่จะมีการยกเลิกหรือคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในบางพื้นที่ ซึ่งทาง กอ.รมน.ได้มีการประชุมกับส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขณะนี้กำลังจะจัดทำแผนร่วมกับส่วนงานอื่นๆว่า หากไม่มีกฎหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และต้องใช้กฎหมายอื่นหรือการปฏิบัติอื่นนั้น จะต้องมีแผนการทำงานรองรับอย่างไร ซึ่ง กอ.รมน.จะมีการนำเสนอในโอกาสต่อไป" รองโฆษกกองทัพบก กล่าว

พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ กล่าวว่า ในช่วงท้ายการประชุมผู้บัญชาการทหารบก ได้กล่าวขอบคุณทุกหน่วยและกำลังพลทุกคน ที่ตั้งใจทำงานในช่วงวิกฤติของสถานการณ์บ้านเมือง จนสถานการณ์คลี่คลาย รวมถึงทหารทุกคนทำงานเพื่อให้บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อย โดยยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ การทำหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นบทพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนถึงจุดยืนของกองทัพ และแสดงให้เห็นถึงความเป็นปึกแผ่นของทหาร ที่สำคัญพี่น้องประชาชนมีความเข้าใจ และยังคงเชื่อมั่นศรัทธาในกองทัพ ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นพลังให้ทหารทุกคน ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถต่อไป

 

‘เพื่อไทย’ แฉแดงถูกกักค่าย จ.กาญจน์ เกิน 30 วัน

ไทยรัฐออนไลน์ รายงานด้วยว่า วันเดียวกันนี้ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย พล.ท.มะ โพธิ์งาม ส.ส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย ได้นำกลุ่มคนเสื้อแดงจำนวน 8 คน ที่ถูกคุมตัวไปเมื่อวันที่ 19 พ.ค. มาร่วมแถลงข่าว โดยนายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า ในวันที่ 19 พ.ค. ได้มีการนำประชาชนจำนวนหนึ่ง ขึ้นรถบรรทุกของทหาร โดย ศอฉ. บอกว่าจะส่งกลับภูมิลำเนา แต่ปรากฏว่ากลุ่มคนเหล่านี้ รวมทั้งประชาชนอีกหลายคน ถูกคุมตัวไปยังค่ายแห่งหนึ่งใน จ.กาญจนบุรี ในจำนวนนี้มีทั้งผู้หญิง ผู้ชาย คนแก่ วัยรุ่น ถูกนำไปควบคุมตัวไว้นานกว่าที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กำหนด 30 วัน เพราะเพิ่งมีการนำตัวมาปล่อยที่บริเวณสถานีรถไฟกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยสภาพความเป็นอยู่ตอนถูกควบคุมตัวนั้น มีสภาพลำบาก ได้กินอาหารเพียงมื้อเดียว 

นายพร้อมพงศ์ กล่าวต่อมาว่า ทางพรรคเพื่อไทยยังทราบอีกว่า มีคนที่ถูกควบคุมตัวลักษณะนี้อีกราว 70 คน หากสามารถทราบสถานที่คุมตัวชัดเจน ก็จะร้องต่อศาลกาญจนบุรีให้ปล่อยตัว ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนชัดเจน ก็อยากให้องค์กรสิทธิมนุษยชน ฮิวแมน ไรท์ วอช์ท เข้ามาดูการละเมิดสิทธิตรงนี้ เนื่องจากเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ 

พล.ท.มะ ยังตั้งข้อสังเกตถึงการนำตัวมาปล่อยครั้งนี้ว่า เหตุใดจึงมาปล่อยที่ข้างถนน คล้ายต้องการให้เป็นข่าว แตกต่างจากครั้งก่อนเมื่อเดือน เม.ย. 2552 ที่การปล่อยตัวจะปล่อยที่สถานีรถโดยสารพร้อมทั้งให้เงินเป็นค่ารถกลับบ้านทันที ซึ่งตนก็ยังไม่แน่ใจว่า การดำเนินการครั้งนี้ ใครเป็นคนทำกันแน่ 

ด้านนายประยงค์ อยู่เอี่ยม อายุ 61 ปี อาชีพรักษาความปลอดภัย อาศัยอยู่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นคนเสื้อแดงที่มาร่วมแถลงข่าวด้วย กล่าวว่า ตนถูกควบคุมตัวไปยังค่ายที่คุมตัวตั้งแต่คืนวันที่ 19 พ.ค. ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นสถานที่ใด และตลอดเวลาที่อยู่ภายในนั้น ไม่มีเจ้าหน้าที่มาชี้แจงสาเหตุที่ถูกคุมตัว หรือบอกว่าจะปล่อยเมื่อไร รวมทั้งได้ยึดบัตรประชาชนไปด้วย กระทั่งถูกปล่อยตัวก็ไม่ได้รับบัตรคืน ซึ่งระหว่างที่อยู่ที่ควบคุมตัว ไม่ได้คุยใครก็ได้แต่คุยกันเอง ไม่ค่อยกล้าคุย กล้าถามเจ้าหน้าที่ ในหนึ่งวันได้กินข้าว 1 มื้อ ในวันที่ถูกปล่อยตัวก็ถูกผ้าปิดตา และเอาตัวขึ้นรถมาทิ้งไว้ที่ริมถนนไม่รู้ว่าเป็นที่ใดพวกเราทั้งหมด 11 คน ต่างก็งงกันอยู่พักใหญ่ เพราะไม่รู้ว่าเป็นที่ไหน และไม่มีเงิน กระทั่งมีคนของ พล.ท.มะ เข้ามาให้การช่วยเหลือ พร้อมทั้งพามาที่พรรคเพื่อไทยและแถลงข่าวในวันนี้ โดยที่ญาติที่บ้านยังไม่ได้ติดต่อไปเลย ซึ่งนอกจากกลุ่มตนที่ออกมาแล้ว ก็ยังมีคนที่ถูกคุมตัวอีกประมาณ 50 คน ที่ยังถูกคุมตัวอยู่ 

ขณะที่นายสุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาประจำประเทศไทย องค์กรฮิวแมน ไรท์ วอทช์ ที่มาร่วมสังเกตการณ์การแถลงข่าว กล่าวว่า เรื่องที่พรรคเพื่อไทยนำมาเปิดเผยวันนี้ ทาง ศอฉ. ต้องมีคำตอบให้ชัดเจนว่าเป็นจริงหรือไม่ ถ้าเป็นจริงต้องถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ เพราะวันนี้จะมีการประชุมของ ศอฉ. เพื่อทบทวนการคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตนคิดว่า จะต้องเอาเรื่องนี้ไปพิจารณาด้วย เพราะการคุวบคุมตัวบุคคลภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นสิ่งที่ฮิวแมน ไรท์ วอทช์ ให้ความสำคัญ ที่ผ่านมาเราส่งตัวแทนไปเยี่ยมผู้ที่ถูกคุมขังหรือคุมตัวทุกที่ เว้นแต่ที่ จ.กาญจนบุรี ซึ่งเราไม่ทราบมาก่อน โดยหลักของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะมีอำนาจควบคุมตัวเพียง 30 วัน หากครบกำหนดแล้ว จะต้องมีการตั้งข้อกล่าวหาถึงจะควบคุมตัวได้ ถ้าควบคุมต่อเนื่องโดยไม่ได้แจ้งสาเหตุข้อหาอะไร ก็ถือว่ามิชอบ และขัดต่อกติการะหว่างประเทศ ซึ่ง ศอฉ.จะต้องชี้แจง และจะต้องนำเรื่องนี้ไปเป็นประเด็นพิจารณาว่า ควรต่อ พ.ร.ก.หรือไม่ เพราะหากเป็นเรื่องจริง จะถือเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง

 

ตร.เผยผลคืบหน้าคดีชุมนุม นปช.คดีเก่าบวกของปี 53 ร่วมแล้วมีกว่า 466 คดี

ขณะที่เนชั่นทันข่าว  รายงานว่า ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ในฐานะโฆษก ตร.กล่าวถึงความคืบหน้าของคดีเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง ว่า ขณะนี้ที่ประชุม ศปก.ตร.ได้แบ่งคดีออกเป็น 3 กลุ่มคดี ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 คดีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมี จำนวน 152 คดี สอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว 127 คดี อยู่ระหว่างการสอบสวน 25 คดี โดยคดีที่กลุ่มผู้ชุมนุมเข้าไปตั้งเวทีปราศรัยและชุมนุมในทำเนียบรัฐบาล ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานอัยการ ส่วนคดีที่ผู้ชุมนุมปิดล้อมรัฐสภาและการชุมนุมที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนเพิ่มเติมตามความเห็นของฝ่ายกฎหมาย

พล.ต.ท.พงศพัศกล่าวต่อว่า กลุ่มที่ 2 คดีของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ระหว่างเดือน เม.ย.52 - ม.ค.53 มีจำนวน 124 คดี สอบสวนเสร็จสิ้นไปแล้ว 105 คดี และอยู่ระหว่างการสอบสวน 19 คดี โดยคดีที่กลุ่มผู้ชุมนุมบุกรุกโรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล 

ส่วนกรณีที่ผู้ชุมนุมบุกทุบรถยนต์ของนายกรัฐมนตรี ที่กระทรวงมหาดไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานอัยการ และคดีที่ 3 คดีของกลุ่ม นปช.ระหว่างเดือน ม.ค.53 - ปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น 342 คดี ประกอบด้วย คดีเกี่ยวกับเหตุระเบิด 97 คดี คดีเกี่ยวกับความมั่นคง 245 คดี ซึ่งในจำนวนนี้ส่งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษไปแล้ว 89 คดี และส่งให้กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จำนวน 1 คดี รวมทั้งอยู่ระหว่างการสอบสวน 228 คดี และสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว 23 คดี

 

"ผู้พัน" ทหารม้าเครียดยิงตัวดับ สะพัดปมครอบครัว-สลายม็อบ

ข่าวสดออนไลน์ ระบุในวันเดียวกันนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเช้ามืด ได้เกิดเหตุสะเทือนขวัญภายใน กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2รอ.) เมื่อ พ.ท.ชัยยันต์ ปรีชา ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ (ผบ.ม.พัน 1รอ.) ได้ใช้ปืนพกสั้นยิงตัวเองตายในบ้านพักในหน่วย พล.ม.2รอ.สนามเป้า กรุงเทพฯ ท่ามกลางความตกใจของเพื่อนร่วมรุ่น และผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งมีการปิดข่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพื่อนร่วมรุ่น ตท.26ที่ใกล้ชิดกับผู้ตาย เปิดเผยว่า เป็นที่รับรู้กันในหมู่เพื่อนฝูงและคนใกล้ชิดว่า พ.ท.ชัยยันต์ เกิดความเครียด ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เพราะมีปัญหาครอบครัว แต่บางกระแส ก็ระบุว่า เครียดเพราะงานในหน้าที่ เป็นผลมาตั้งแต่ เหตุการณ์จลาจลของคนเสื้อแดง ที่ผ่านมา เพราะมักจะบ่นเสมอๆถึงการทำหน้าที่ที่ผ่านมา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ท.ชัยยันต์ เป็นผบ.หน่วย ในจำนวนหลายหน่วยของ พล.ม.2รอ. ที่เข้าปฏิบัติการกระชับพื้นที่การชุมนุมของคนเสื้อแดงที่ สี่แยกราชประสงค์ เมื่อ 19 พ.ค.ที่ผ่านมาด้วย นอกจากนี้ยังเป็นหน่วยที่ รับผิดชอบการดูแลสถานที่สำคัญ เช่น ทำเนียบรัฐบาล บ้านสี่เสาเทเวศร์

สำหรับพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ จะมีขึ้นในเย็นวันอังคาร ที่วัดโสมนัสวรวิหาร ซึ่งคาดว่า บรรดานายทหารม้า และนายทหารชั้นผู้ใหญ่จะมาร่วมงานกันมาก เพราะ พ.ท.ชัยยันต์ เป็น คนดี ตั้งใจทำงาน และเป็นนายทหารอาชีพ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘เพื่อไทย’ ฟื้นทีวีดาวเทียมช่องใหม่ ‘Asia Update’

Posted: 05 Jul 2010 10:59 AM PDT

‘Asia Update’ ทีวีสีแดงช่องใหม่ทดลองออกอากาศแล้ว เผยเนื้อหาเน้นตรวจสอบการทำงานรัฐบาลอย่างเข้มข้น ส่วน ‘ความจริงวันนี้’ จะคืนจอหรือไม่ต้องรอหารือจตุพร ด้าน ‘องอาจ’ เชื่อคนทำรู้กฎหมาย แต่ต้องดูขัด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือไม่ 

<!--break-->

วานนี้ (5 ก.ค.53) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงความคืบหน้าการเปิดสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม Asia Update ว่า ขณะนี้มีความคืบหน้ามาก คาดว่าจะออกอากาศได้ในสัปดาห์หน้า โดยมีการเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมจากต่างประเทศเพื่อแพร่ภาพในรูปแบบเดียวกับสถานีพีเพิลแชนเนลที่ถูกปิดไป และมีสำนักงานอยู่ที่ห้างอิมพีเรียลลาดพร้าว ส่วนผู้ให้การสนับสนุนและผู้อำนวยการสถานีนั้นไม่ขอเปิดเผย

นายจิรายุ กล่าวด้วยว่า ทีวีช่องดังกล่าวเนื้อหาไม่ได้ออกแนวโทนแดงมาก เหมือนพีเพิลแชแนล มั่นใจว่าหากแพร่ภาพออกอากาศได้นั้นจะไม่ขัดต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพราะเนื้อหาและรูปแบบรายการเราไม่ใช่การปลุกระดมหรือยั่วยุ แต่จะเน้นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างเข้มข้น เนื้อหารูปแบบรายการนั้น หากแบ่งเป็น 100% จะมีเนื้อหาด้านต่างประเทศ 40% ในประเทศและสถานการณ์การเมือง 25% ส่วนที่เหลือเป็นด้านบันเทิงและรายการของผู้ที่จะมาร่วมรายการ 

นายจิรายุ กล่าวต่อมาว่า เบื้องต้นจะมีตน นายการุณ โหสกุล น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม.ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการหลัก อีกส่วนจะเป็นผู้ดำเนินรายการเดิมจากสถานีพีเพิลแชนเนล ส่วนในอนาคตจะมีรายการความจริงวันนี้ มาจัดด้วยหรือไม่นั้น ขอหารือกับนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนและอดีตผู้จัดรายการก่อนว่าพร้อมหรือไม่ อย่างไรก็ตามขณะนี้สถานีมีความพร้อมมาก ทุกวันนี้ได้ทดลองออกมาอากาศระหว่างเวลา 19.00 - 20.00 น.มาระยะหนึ่งแล้ว ทั้งนี้ผู้ที่จะรับชมได้ต้องเป็นผู้ที่ใช้จาน PSI หรือ จานแดงเดิม เมื่อใกล้เวลาเปิดสถานีจะแจ้งให้ทราบถึงวิธีการปรับจูนเพื่อให้รับชม Asia Update ได้ นอกจากนี้ยังสามารถชมได้ที่ www.asiaupdate.tv

ด้านนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะควบคุมดูแลสื่อให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 16.00 น.ถึงกรณีดังกล่าวว่า รัฐบาลไม่มีกฎหมายใดไม่มีหน้าที่ให้ใครเปิดหรือปิดสถานีโทรทัศน์ การขอเปิดสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยไม่รู้ว่าจะไปขอกับใคร เพราะยังไม่มีคณะกรรมการขึ้นมาดูแลโดยตรง อย่างไรก็ตาม ต้องดูว่า เขาดำเนินการตามช่องทางใด ขัดต่อกฎหมายใดหรือไม่ ขณะนี้เขายังไม่ได้ดำเนินการ เราคงไปบอกอะไรก่อนที่เขาจะดำเนินการก่อนคงไม่ได้

เมื่อถามว่าหากมีการเปิดทีวีและมีเนื้อหาที่หมิ่นเหม่ต่อการผิดกฎหมาย รัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร นายองอาจ กล่าวว่า ก็ต้องติดตามดูว่าเขาทำอะไรที่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ ทั้งนี้จะต้องตรวจสอบด้วยว่าการกระทำดังกล่าวผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือไม่ ถ้าผิดก็ต้องดำเนินการ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าคนที่เปิดสถานีดังกล่าวก็ต้องรู้ว่ามีกฎหมายอะไรบ้างที่เขาต้องระมัดระวัง และดำเนินการไม่ให้ผิดกฎหมาย ถ้าเปิดมาแล้วทำผิดกฎหมายก็ไม่เกิดประโยชน์กับคนเปิด เพราะการเปิดทีวีขึ้นมานั้นก็มีเจตนาที่จะเผยแพร่ข้อมูล    

 

เรียบเรียงจาก: เนชั่นทันข่าวมติชนออนไลน์ข่าวสดออนไลน์ 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มติ ศอฉ.เป็นเอกฉันท์ ต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คุม 24 จังหวัด

Posted: 05 Jul 2010 10:01 AM PDT

เผยผลประชุม “ศอฉ.” ชี้ยังมีความจำเป็นต้องมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นเครื่องมือในการดูแลพื้นที่ทั้ง 24 จังหวัดต่อไป อ้างสถานการณ์ยังไม่น่าไว้วางใจ ยังมีการบิดเบือนข่าวสารปลุกระดมมวลชนในท้องถิ่นต่างๆ รวมถึงอาวุธที่ถูกยึดไปบางส่วน ยังไม่ได้คืน

<!--break-->

วันนี้ มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 17.00 น.ที่กองบัญชาการกองทัพบก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นประธานในการประชุมศอฉ. โดยมีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการเหล่าทัพ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง ขาดเพียง พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศที่ติดภารกิจไม่ได้เข้าร่วมประชุม โดยใช้เวลาในการประชุม 2 ชั่วโมง 

พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. แถลงผลการประชุมว่า ในที่ประชุม ศอฉ.พิจารณาเรื่องการต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งเมื่อพิจาณาจากสถานการณ์ข้อเท็จจริงที่ปรากฏประกอบกับงานด้านการข่าวต่างๆ ทั้งจากหน่วยงานด้านการข่าว กระทรวงมหาดไทย ตำรวจ และทหาร เมื่อให้น้ำหนักในเรื่องของการรักษาความสงบเรียบร้อยแล้ว ที่ประชุมมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า ศอฉ.ยังมีความจำเป็นต้องมีพ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นเครื่องมือในการดูแลพื้นที่ทั้ง 24 จังหวัดต่อไป เพราะศอฉ.ประเมินว่า สถานการณ์ขณะนี้ยังคงไม่น่าไว้วางใจ ทั้งในเรื่องของการนำข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริง มีการปลุกระดมมวลชนในท้องถิ่นต่างๆ อาวุธทางราชการที่ถูกยึดไปจากการชุมนุมของนปช.ครั้งที่ผ่านมา ยังไม่มีการส่งคืนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ทางหน่วยงานความมั่นคง ซึ่งเป็นฝ่ายข้าราชก่ารประจำจึงเสนอถึงความจำเป็น ในการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินดูแลความสงบเรียบร้อย ในพื้นที่ 24 จังหวัดต่อไป ซึ่งน่าจะส่งผลดีความสงบเรียบร้อยชาติบ้านเมือง และความมั่นทางด้านเศรษฐกิจด้วย ซึ่งในวันที่ 6 ก.ค.นี้ นายสุเทพ จะนำข้อเสนอดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาตกลงใจต่อไป

สำหรับ 24 จังหวัดที่มีการประกาศคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชลบุรี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดศรีษะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดสกลนคร จังหวัดกาฬสินธิ์ และ จังหวัดมุกดาหาร 

 

ที่มา: มติชนออนไลน์ 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มูลนิธิศักยภาพชุมชนพร้อมประชาชน ร่วมลงชื่อร้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ - ปล่อยตัว "บก.ลายจุด"

Posted: 05 Jul 2010 09:19 AM PDT

มูลนิธิศักยภาพชุมชนออกแถลงการณ์จี้ไทยในฐานะดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พร้อมปล่อยตัวนายสมบัติ บุญงามอนงค์ และนักโทษทางการเมืองที่ถูกควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

<!--break-->

 

 
แถลงการณ์มูลนิธิศักยภาพชุมชนเรียกร้องให้ยกเลิกพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
และให้ปล่อยตัวนายสมบัติ บุญงามอนงค์
 
ในฐานะที่ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (The United Nations Human Rights Council) ซึ่งต้องทำหน้าที่ดูแล ตรวจสอบ ปกป้อง ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ควรต้องรักษาหลักการสิทธิมนุษยชน และเป็นแบบอย่างให้กับสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งโลกกำลังจับตาดูการพัฒนาการสิทธิมนุษยชนในประเทศอย่างใกล้ชิดหลังเหตุการณ์ความรุนแรงในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ การคงพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ว่ามีปัญหาในการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในประเทศไว้ จะไม่เป็นผลดีต่อสถานะสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยในฐานะประธานขององค์การที่ทำงานเพื่อพิทักษ์สิทธิมนุษยชนอย่างแน่นอน
 
1. จึงขอให้ยกเลิกการใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนแล้วว่าสถานการณ์ความวุ่นวายในประเทศได้จบลงแล้วโดยรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ การคงพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินไว้ในขณะที่สถานการณ์ความวุ่นวายนั้นจบลงแล้ว จึงเป็นการใช้กฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิและเสรีภาพ เพื่อควบคุม และสร้างความหวาดกลัวให้กับผู้ที่มีความคิดทางการเมืองที่แตกต่างกับรัฐบาล (Rule by Law) ซึ่งแตกต่างจากการใช้กฎหมายเพื่อการปกป้อง คุ้มครองประชาชน และรักษาประเทศให้อยู่ระเบียบแบบแผน (Rule of Law) การคงไว้ซึ่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งเป็น Rule by Law ที่มุ่งควบคุม จำกัดสิทธิของประชาชนจึงเป็นการขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) ซึ่งเน้นหลักการ Rule of Law ที่มุ่งปกป้อง คุ้มครองสิทธิของพลเมืองและปัจเจกบุคคล ประเทศไทยได้ให้สัตยาบรรณและมีพันธะผูกผันที่ต้องปฏิบัติตามกติกานี้ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2540 ซึ่งกติการะหว่างประเทศฉบับนี้ว่าด้วยการเคารพและการประกันสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของพลเมือง ฯ ตามข้อ1. ในมาตราที่ 2. วรรค2. กล่าวไว้ว่า “รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับที่จะเคารพและประกันแก่ปัจเจกบุคคลทั้งปวงภายในดินแดนของตนและและภายใต้เขตอำนาจของตนในสิทธิทั้งหลายที่รับรองไว้ในกติกานี้โดยปราศจากการแบ่งแยกใดๆ อาทิ เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง หรือความคิดเห็นอื่นใด เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นๆ”
 
2. เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2553 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการควบคุมตัวนายสมบัติ บุญงามอนงค์ นักเคลื่อนไหวทางสังคม ตามหมายควบคุมตัวพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เลขที่ 116/2523 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2553 ในขณะที่นายสมบัติ และพวกได้ทำการจัดกิจกรรมอย่างสงบโดยมีการผูกผ้าสีแดงที่บริเวณป้ายแยกราชประสงค์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมรำลึกถึงผู้สูญเสียจากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 14 – 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งหมายควบคุมตัวฉบับนี้สืบเนื่องมาจากกรณีที่นายสมบัติ บุญงามอนงค์ และพวก ได้รวมตัวกันเพื่อจัดกิจกรรมพบปะแลกเปลี่ยนข่าวสาร และรำลึกถึงผู้สูญเสีย ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2553 ณ บริเวณซอยลาดพร้าว 71 การควบคุมตัวในครั้งนี้จึงเป็นการตั้งคำถามต่อการใช้อำนาจของรัฐ และความชอบธรรมของพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีทีท่าว่ารัฐบาลโดยนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จะทำการต่ออายุการใช้พระราชกำหนดฯ นี้ต่อไปอีก มูลนิธิศักยภาพชุมชนจึงขอยืนยันสิทธิทางการเมืองและพลเมืองของนายสมบัติ บุญงามอนงค์ และด้วยความเคารพต่อศาลขอให้มีการทบทวนคำสั่งศาลที่ให้มีการฝากขังนายสมบัติ บุญงามอนงค์ ต่ออีกเจ็ดวัน เนื่องจากการจัดกิจกรรมรำลึกถึงผู้เสียชีวิต และความสูญเสียที่เกิดขึ้นของนายสมบัติ บุญงามอนงค์ อันเป็นเหตุให้รัฐออกหมายควบคุมตัวนั้น เป็นการกระทำที่ได้รับการรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศ และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 45 ความว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายอื่น... การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่อาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงแห่งรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพเกียรติยศ ชื่อเสียงสิทธิในครอบครัวหรือความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน” และการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำมิได้ ตามมาตรา 29 แห่งราชอาณาจักรไทย
 
3. การปล่อยตัวนายสมบัติ บุญงามอนงค์ และนักโทษการเมืองคนอื่นๆ ซึ่งถูกควบคุมตัวตามพระราชกำหนดบริหารราชการให้สถานการณ์ฉุกเฉิน จะเป็นการแสดงความเคารพอย่างมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยต่อหลักการสากลสิทธิมนุษยชนและเป็นการสร้างบรรยากาศของการปรองดองแห่งชาติที่รัฐต้องการให้เกิดขึ้น ขณะนี้ประเทศชาติต้องการธรรมาภิบาล และคุณธรรมอันสูงส่งของผู้นำที่จะนำพาประเทศชาติให้รอดพ้นจากภัยพิบัติทางการเมือง รัฐบาลควรหามาตรการทางการเมืองที่มุ่งส่งเสริมการพัฒนา สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และคุ้มครองสิทธิทางการเมือง และสิทธิพลเมืองของประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อความสงบเย็นและสันติสุขของประชาชนทุกคนในชาติ รวมถึงการหามาตรการที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการจับกุม คุมขังนักโทษทางการเมือง หรือนักโทษความคิดในไทยอีกในอนาคต
 
 
มูลนิธิศักยภาพชุมชน
 5 กรกฎาคม 2553
 
 
รายชื่อผู้สนับสนุนแถลงการณ์
 
กฤตยา อาชวนิจกุล
กาญจน์ชนิษฐา เอกแสงศรี
กาญจนา จันทร์วิเมลือง
ก้าวหน้า เสาวกุล
กิตติกา บุญมาไชย
กิตติพล เอี่ยมกมล
เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร
เกียรติศักดิ์ ประทานัง
จิรพรรณ สิงห์โตทอง
จุฑิมาศ สุกใส
ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่
ชมพู สานุกิจไพศาล
ชัยพร พยาครุฑ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ณภัทร ศรีพันธุ์
ณัฐภรณ์ ทัศนภิรมย์
ณัฐยา เดวิดสัน
ตากวาง สุขเกษม
ธัญสก พันสิทธิวรกุล
ธิดา ผลิตผลการพิมพ์
นครินทร์ วิศิษฎ์สิน
นที สรวารี
นรินทร์ จีนเชื่อม
นริศ เทศประสิทธิ์
นิธินันท์ ยอแสงรัตน์
เนตรชนก แดงชาติ
บุญยืน สุขใหม่
ประสิทธิพร กาฬอ่อนศรี
ฝนทิพย์ กิติเรียงลาภ
พวงจันทร์ อุตมา
พวงทอง ภวัครพันธุ์
พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
พิชาพงศ์ ธีระวจี
พิฐชญาณ์ ธนรัฐภัสสรณ์
พิพัฒน์ สุยะ
พิมพ์พิมล นาคสุทิน
พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
พิสิต ศรีปราสาททอง
พีรดา จุ้ยนุช
เพ็ญพิณิช โชคบำรุง
เพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์
ไพโรจน์ พฤกษ์ปาริชาติ
ภมร ภูผิวผา
ภมรมาศ ตันฑุลทุกุล
มานะ สุขจันทร์
มินตา ภณปฤณ
เมษ จารุอมรจิต
รวินทร์ คำโพธิ์ทอง
รัตตินันท์ เรีองทวีโรจน์
วรพล รินสถิตนนท์
วัชรพงศ์ โทบุดดี
วัฒนชัย วินิจจะกูล
ศราวุฒิ ประทุมราช
ศิรดา เขมานิฏฐาไท
ศุภชัย ศรีพันธุ์
ส่งสุข สุขสวัสดิ์
สมภพ ลี้สุวรรณ
สังคม จิรชูสกุล
สิริพิม สุทธิสารากร
สิริรัฐ ทองเจริญ
สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์
สุดา รังกุพันธุ์
สุวรรณา เดอะเมลเดอร์
สุวรรณา ตาลเหล็ก
โสภา ต่อติด
อภิญญา เวชยชัย
อ้อมขวัญ เวชยชัย
  

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นิธิ เอียวศรีวงศ์: ทำไมการเมืองไทย จึงไม่ลงตัว

Posted: 05 Jul 2010 08:42 AM PDT

“นิธิ” อภิปรายตอบโจทย์ทำไมการเมืองไทยจึงไม่ลงตัว เชื่อใช้เวลาอย่างน้อยเป็นสิบปีปรับดุลยภาพทางการเมือง ชี้ “การปรองดอง” ส่วนต่างๆ ต้องร่วมกันคิด ไม่ใช่รัฐบาลทำ และไม่ใช่การคิดแทนสังคม พร้อมเสนออยากเป็นประชาธิปไตยต้องเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

<!--break-->

เมื่อวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดกิจกรรม “เสวนาวิชาการในดวงใจ” โดยสัปดาห์นี้เป็นการเสวนาหัวข้อ "ทำไมการเมืองไทย จึงไม่ลงตัว” โดยมี ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เป็นวิทยากร

 

การต่อสู้เพื่อที่ยืนครึ่งขา และการปรับจุดดุลยภาพที่กินเวลานาน

โดยนิธิ เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า มีคนเสนอว่าปรากฏการณ์ในตอนนี้คือการต่อสู้ระหว่างชนชั้นกลางในชนบทและชนชั้นกลางระดับล่างในเมือง กับ ชนชั้นกลางในเมือง ซึ่งผมคิดว่ามันง่ายเกินไปที่จะสรุปเช่นนั้น เพราะในระบบการเมือง ชนชั้นกลางในชนบทและชนชั้นกลางระดับล่างอยู่นอกเวที ถ้าชนชั้นกลางในเมืองเปิดพื้นที่ให้คนกลุ่มนี้ได้ยืนเพียงครึ่งขา ก็จะไปเบียดพื้นที่ของชนชั้นสูง นักวิชาการ กองทัพ ฯลฯ ซึ่งพวกเขาไม่ยอมให้โดนเบียด ดังนั้น มันจึงสะเทือนการจัดรูปแบบของเวทีทั้งหมด

กลุ่มที่ออกหน้าทางการเมืองในปัจจุบันมีทั้งกลุ่มที่ออกมาเรียกร้องให้ทุกคนมีสิทธิ์มีเสียงเท่าเทียมกัน ไม่มีการใช้อำนาจนอกระบบ กับอีกกลุ่มที่ยังต้องการให้มีเครื่องมือปกป้องตัวเอง จึงไม่ยอมรับความเท่าเทียม เพราะเชื่อว่าถ้าตัวเองยังไม่มีอำนาจในการปกป้องตนเองก็จำเป็นต้องขอยืมอำนาจนอกระบบมาใช้

ถ้าถามว่าจะใช้เวลาเท่าใดในการปรับจุดดุลยภาพทางการเมือง น่าจะกินเวลาประมาณ 5-7 ปี แบบพออยู่ได้ อย่างเช่นในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้เวลา 48 ปีในการปรับตัวเองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กว่าจะมาพูดถึงการปกครองระบอบต่างๆ เพราะเห็นข้อบกพร่องของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ 2475 เมื่อปี 2490 ก็กันกลุ่มเจ้าไม่ให้ขึ้นมาบนเวที แต่พอ 2520 กลับเปิดโอกาสให้กลุ่มเจ้าขึ้นมาบนเวทีแล้วขับพลเรือนกลุ่มนั้นออกไป

แต่ผมคิดว่าเหตุการณ์ตอนนี้กว่าจะปรับเข้าสู่จุดดุลยภาพได้ใช้เวลาค่อนข้างนาน อย่างน้อยเป็น 10 ปี และอาจนานกว่าครั้งอื่นๆ ในประวัติศาสตร์ เพราะความขัดแย้งครั้งนี้ทุกฝ่ายได้ช่วยกันทำลายสิ่งที่เป็นรากฐานสำคัญบางอย่างของการเมืองไปเยอะมาก การที่เสื้อแดงสามารถลากเอาองคมนตรีมาพูดจาแบบนั้นบนเวทีได้ การที่อาญาสิทธิ์ต่างๆ ถูกท้าทาย ไปจนถึงการฉีกรัฐธรรมนูญปี 2540 การหาจุดลงตัวคงต้องผ่านความขัดแย้งอีกหลายอย่าง และไม่รู้ว่าจะเห็นตัวกลางใดที่จะมาตัดสิน เช่น ศาล เพราะคนที่สังคมนับถือก็มีสี ส่วนคนที่ไม่มีสีก็ไม่เป็นที่นับถือ

ความยากก็คือเหตุการณ์ “พฤษภาฯ มหาโฉด” ที่เกิดขึ้นมันตัดจุดลงตัวที่ทุกฝ่ายพอจะรับได้ให้น้อยลง เพราะตอนนี้ไม่มีใครไว้วางใจใครได้เลย โอกาสใช้ความสงบมีน้อยมาก แต่ตราบใดก็ตามที่ใช้ความรุนแรง ต้นทุนทางสังคมที่ต้องจ่ายก็ย่อมจะสูงเสมอ

ในทางกลับกัน ถ้ากลุ่มเสื้อแดงชนะ พรรคเพื่อไทยได้ขึ้นมาเป็นรัฐบาล ผมคิดว่าไม่เป็นไร แต่ถ้าเสื้อแดงใช้ความรุนแรง ต้นทุนที่จะจ่ายก็จะเสียมาก เพราะคุณอภิสิทธิ์ที่ใช้ความรุนแรงก็เสียต้นทุนที่สูงเช่นกัน

 

ประชาธิปไตยคือการต่อรองที่เท่าเทียม

หลังนิธิอภิปรายจบ ได้ให้ผู้ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยน ผู้เข้าร่วมคนหนึ่งได้ตั้งคำถามว่า หากมีพรรคการเมืองจากกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่เป็นตัวแทนของชนชั้นนั้นๆ หากขึ้นมาบนเวทีแล้วจะมีหลักประกันอะไรที่เขาจะไม่ขูดรีดเหมือนกับนักการเมืองที่เคยทำมาแล้วในอดีต

นิธิกล่าวว่า “ผมรับประกันเลยว่าเขาทำแน่และถ้าจะคิดเช่นนี้ก็ไม่เป็นไร เพราะประชาธิปไตยคือการต่อรองที่เท่าเทียมกัน แต่ประชาธิปไตยที่แท้จริงคือการยกเลิกระบบกดขี่และให้อำนาจที่มากขึ้นในการต่อรองต่างหาก เราควรมีระบบในการคุมคนชั่วได้มากกว่าได้หวังให้คนดีขึ้นมามีอำนาจ ในขณะเดียวกันก็ให้อำนาจในการต่อรองกับคนชายขอบ คนจนดักดานที่ไม่มีต้นทุนหรือโอกาสในเศรษฐกิจได้ต่อรองได้ด้วยเช่นกัน”

“การวัดว่าเขามีอำนาจในการต่อรองนั้นมีกลไกในการต่อรองหลายอย่าง โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่ให้อำนาจในการต่อรองมากที่สุด อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี แม้จะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดแต่ก็ขาดไม่ได้แต่ตัวมันเองอย่างเดียวก็ไม่พอ อีกอันหนึ่งคือสื่อที่คุณสามารถแสดงออกและใช้ในการต่อรอง อีกประการคือมหาวิทยาลัยที่ไม่สามารถตอบคำถามให้กับคนชายขอบได้ เช่น ไฟฟ้าไม่พอจะทำอย่างไร ไม่ใช่บอกว่าต้องสร้างโรงไฟฟ้า ควรบอกข้อดีข้อเสียกับคนที่ได้รับผลกระทบด้วย ไม่ใช่แค่บอกแต่ข้อดีอย่างเดียว”

 

ปรองดองต้องไม่คิดแทนสังคม เสนอเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

ต่อมามีผู้ตั้งคำถามว่านิธิ มีมุมมองเรื่องแผนปรองดองและแผนปฏิรูปอย่างไร นิธิตอบว่า ผมคิดว่าควรแบ่งเป็นสองอย่างคือ หนึ่ง แผนปรองดอง มันหมายถึงการที่เราทะเลาะกันแล้วจะมาปรองดองกันได้อย่างไร ผมคิดว่าคุณอภิสิทธิ์ไม่มีความชอบธรรมในการปรองดองนอกจากการลาออก สอง แผนปรองดองควรเปิดให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาช่วยคิด ไม่ใช่การคิดแทนสังคม คือไม่ใช่รัฐบาลเป็นคนทำ แต่เป็นสังคมต่างหากที่ควรถกเถียงและหาทางออกร่วมกัน

การที่เราชอบพูดว่าเราเป็นเมืองพุทธแต่กลับไม่พูดถึงผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ที่ผ่านมา ผมคิดว่าเมื่อไรที่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะเห็นอะไรๆ เพิ่มขึ้นอีกเยอะ เพราะเมื่อคนมันดื้อขึ้นก็จะมีต่อต้านอำนาจมากขึ้น คุณก็ยืดเวลามากขึ้นไปอีก กลายเป็นวงจรอุบาทว์แล้วก็ลงเอยในลักษณะที่ใช้ความรุนแรง

 

ชี้รัฐธรรมนูญถูกฉีกไปค่อนเล่ม อยากเป็นประชาธิปไตยต้องเลิก พ.รก.ฉุกเฉินโดยเร็ว

นิธิอภิปรายต่อไปว่า ประเทศไทยตอนนี้ไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะฉีกรัฐธรรมนูญไปค่อนเล่ม เหลือแค่ราชอาณาจักรแบ่งแยกไม่ได้เพียงมาตราเดียว ถ้าคุณอยากเป็นประชาธิปไตยคุณต้องยกเลิกโดยเร็ว แต่คนไทยจำนวนไม่น้อยที่ไม่เดือดร้อนกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ รวมทั้งสื่อมวลชน ไม่ไม่ค่อยเข้าใจว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร หรือ ชนชั้นกลางในเมืองอยากได้อำนาจนอกระบบมาคุ้มครองตัวเอง

ผมคิดว่าในกรณีของการจับกุมคุณสมบัติและคุณสมยศ เมื่อไรที่ปล่อยให้ทหารจัดการภายใต้ พ.ร.ก.นี้ ทหารก็จะจัดการแบบไม่รู้เรื่อง การจับกลุ่มคนพวกนี้มันขาดทุน ซึ่งพลเมืองคิดหรือใช้อำนาจจะไม่ทำเช่นนั้น

 

ตอกทีวีสาธารณะไม่เป็นมืออาชีพ ราวทีวีสมัยอยุธยา

นิธิตอบคำถามเรื่องสื่อว่า สื่อที่ขายในตลาดตอนนี้เป็นธุรกิจชนิดหนึ่ง สิ่งที่คุมสื่อผมคิดว่าไม่ใช่รัฐแต่เป็นทุน อย่างที่ ศอฉ. ส่งหนังสือมาว่าอย่าลงเรื่องนั้นเรื่องนี้ เจ้าของธุรกิจก็จะคำนวณผลลัพธ์ว่าควรจะทะเลาะกับ ศอฉ. ดีหรือไม่ แต่เรามีสื่อแบบใหม่ที่ก็ยังไม่ลงตัวทั้งทางธุรกิจและการจัดการ แต่ก็ทำให้คนตัวเล็ก ๆ สามารถมีพื้นที่ต่อรองหรือสื่อสารได้ ส่วนทีวีธารณะของบ้านเรานอกจากจะไม่เป็นมืออาชีพทางเทคนิคแล้วการทำข่าวและการผลิตรายการก็ยังไม่เป็นมืออาชีพ เช่น การพูดถึงเมืองไทยก็ยังเป็นเมืองไทยในอดีตที่มีวัฒนธรรมหยุดนิ่ง ราวกับว่าเป็นทีวีสมัยกรุงศรีอยุธยา

 

เชื่อเสื้อแดงไม่ได้ล้มเจ้าตามผัง ศอฉ.

นอกจากนี้มีผู้ถามนิธิ เรื่องแผนผังขบวนการล้มเจ้า ที่ ศอฉ. เคยนำเสนอ นิธิตอบคำถามนี้ว่า ผมคิดว่าเวลาที่ใช้คำว่า “เจ้า” นั้น หมายถึงอะไรกันแน่ ถ้าหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมคิดว่าเสื้อแดงไม่ได้ล้มเจ้า เพราะจะเป็นการเคลื่อนไหวที่โง่ที่สุด แต่คำว่า “เจ้า” ที่ ศอฉ. ใช้ ไม่ได้หมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงองคมนตรีและการใช้อำนาจขององคมนตรีด้วย

การไม่ยอมรับการรัฐประหารแล้วกลุ่มเสื้อแดงต่อต้านสิ่งนี้ไหม ผมคิดว่าเขาต่อต้าน ถ้าเขาจะต่อต้านหรือทำจริงก็คงเก็บไว้ลึกซึ้งภายในจนไม่มีใครรู้ต่างหาก แต่เราไม่สามารถพูดถึงพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญได้อย่างเต็มที่ เพราะคนสับสนระหว่างการอาฆาตมาดร้ายในมาตรา 112 กับการบังคับให้จงรักภักดีซึ่งไม่มีในรัฐธรรมนูญ

ในช่วงท้ายของการเสวนามีผู้ถามนิธิว่า “เราจะอยู่ท่ามกลางคนรอบข้างที่สามารถทะเลาะกันเพราะความคิดเห็นทางการเมืองไม่ตรงกันนี้ได้อย่างไร” นิธิตอบว่า ว่าเราต้องเรียนรู้ว่าความคิดเห็นทางการเมืองแม้ว่าจะเลิศหรูอย่างไร สักวันหนึ่งความเชื่อนั้นมันก็จะเปลี่ยนไป แต่สิ่งที่สำคัญคือความเป็นเพื่อนที่อยู่ถาวรมากกว่าความคิดทางการเมือง

 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"สนธิ ลิ้มทองกุล"ได้ประกันคดีหมิ่นเบื้องสูง ลั่นขอเช็กบิลอัยการ-คดีนักรบศรีวิชัยบุกเอ็นบีทีเลื่อน

Posted: 05 Jul 2010 04:52 AM PDT

<!--break-->

 
อัยการฟ้องแล้วสนธิ ลิ้มทองกุล หมิ่นเบื้องสูง สอบคำให้การ 16 ส.ค.
 5 ก.ค.53 เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ศาลาอาญา ถนนรัชดาภิเษก พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10ได้เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อายุ 61 ปี เป็นจำเลย ในความผิดฐาน หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ หรือ พระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
 
ตามคำฟ้องบรรยายพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2551 เวลากลางคืน จำเลยได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ โดยนำคำปราศรัยของดารณี ชาญเชิงศลิปะกุล ( จำเลยคดีดูหมิ่นสถาบัน ที่ศาลอาญา พิพากษาจำคุกแล้ว 18 ปี ) ที่พูดบนเวทีปราศรัย สนามหลวง เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2551 ที่เป็นการพูดซึ่งมีถ้อยคำหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตพระมหากษัตริย์ และราชินี มาพูดซ้ำ อันทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง โดยการกระทำของจำเลยเป็นการกล่าวปราศรัยผ่านเครื่องการกระจายเสียงท่ามกลางประชาชนที่มาฟังจำนวนหลายคน และมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีและทางอินเตอร์เน็ตโดยผ่านทางเว็บไซต์ของเอเอสทีวี ด้วย กระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดต่อกฎหมาย และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2550 มาตรา 8 , ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ข้อ 1
 
โดยชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ ซึ่งอัยการขอให้นับโทษนายสนธิ จำเลย ต่อจากคดีหมายเลขดำที่ อ. 3323 /2550 ด้วย ซึ่งคดีดังกล่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องหมิ่นประมาท ฯ นายสนธิ โดยคดีอยู่ระหว่างสืบพยานโจทก์
 
ทั้งนี้ศาลประทับรับคำฟ้องไว้เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.2066/2553 โดยศาลสอบถามนายสนธิ แล้ว ยอมรับว่าเป็นบุคคลเดียวกับคดีหมายเลข อ.3323/2550 ซึ่งศาลนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 16 สิงหาคม นี้ เวลา 13.30 น.
 
ขณะที่นายสนธิ มอบหมายให้นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความ ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพ มูลค่า 500,000 บาท ยื่นขอประกันตัว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอฟังคำสั่งศาลว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่  
 
ต่อมา ศาลาอาญาให้ประกันตัวนายสนธิ ลิ้มทองกุล ด้วยวงเงินประกัน 5 แสนบาท

ด้านนายสนธิ กล่าวว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากอัยการในการสั่งคดี หากเทียบกับคดีนายจักรภพ เพ็ญแข ผู้ต้องหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ขณะนี้ผ่านมา 4 ปี แต่คดีไม่คืบ

"ศึกครั้งนี้ยังไม่จบพร้อมเช็คบิลกับอัยการทุกคน และขอสงวนสิทธิที่จะฟ้องคดีกลับอัยการ ฐานเป็นจนท.เจตนากลั่นแกล้งให้ได้รับโทษตามประมวลกม.อาญา ม. 200" นายสนธิกล่าว
 
เลื่อนตรวจหลักฐาน"85 นักรบศรีวิชัย"บุกเอ็นบีทีนัดอีกครั้ง 9 ส.ค.
วันเดียวกันที่ห้องพิจารณาคดี 704 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลมีคำสั่งให้เลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐาน คดีที่พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายธเนศร์ คำชุม กับพวกรวม 85 คน ซึ่งเป็นกลุ่มนักรบศรีวิชัยการ์ดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นจำเลยที่ 1-85 ในความผิดฐานสมคบกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป เพื่อกระทำการเป็นซ่องโจร , มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ร่วมกันบุกรุกโดยมีอาวุธในเวลากลางคืน และทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 , 33 , 83 , 91 , 92 , 210 , 215 , 309 , 358 , 364 , 365 , 371 และความผิด พ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ พ.ศ.2490 , พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2545 และ พ.ร.บ.วิทยุโทรคมนาคม พ.ศ.2535 กรณีร่วมกันบุกยึดอาคารสำนักงานสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) เมื่อเช้าวันที่ 26 สิงหาคม 2551 
 
น.ส.รัศมี เพ็ญสุข ทนายความ เปิดเผยว่า วันนี้ศาลเลื่อนนัดตรวจหลักฐานออกไปก่อน เนื่องจากอัยการ โจทก์ ยังส่งหมายถึงพยานไม่ครบถ้วน จึงเลื่อนนัดตรวจหลักฐานอีกครั้ง 9 สิงหาคม นี้ เวลา 09.00 น. ทั้งนี้สำหรับพยานที่อัยการ เตรียมไว้มีประมาณ 200 ปาก ส่วนจำเลยทั้ง 85 คน มีพยานประมาณ 100 ปาก ซึ่งนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกวันที่ 2 กันยายน นี้ เวลา 09.00 น.
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนงานทีเอฟโอ เทค โวยนายจ้างเลิกจ้างตัวแทนเจรจา

Posted: 05 Jul 2010 02:43 AM PDT

คนงาน บ.ทีเอฟโอ เทค โวยนายจ้างเลิกจ้างตัวแทนเจรจา หลังยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างและแจ้งพิพาทแรงงานให้พนักงานประนอมข้อพิพาทเพราะบริษัทฯ ไม่ได้แต่งตั้งผู้แทนเจรจาฝ่ายนายจ้างและไม่เจรจาภายใน 3 วัน

5 ก.ค. 53 - สืบเนื่องมาจากวันที่ 22 มิ.ย. 2553 พนักงานของบริษัท ทีเอฟโอ เทค (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ยื่นข้อเรียกร้องในนามพนักงานซึ่งพนักงานได้ลงลายมือชื่อและได้แต่งตั้งผู้แทนเจรจาข้อเรียกร้อง การยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างไปตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518
ซึ่งหลังจากยื่นข้อเรียกร้องทางบริษัทฯ ก็ไม่ได้แต่งตั้งผู้แทนเจรจาฝ่ายนายจ้างและไม่เจรจาภายใน 3 วัน ตามกฎหมายกำหนด ทำให้ตัวแทนพนักงานต้องแจ้งพิพาทแรงงานให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเข้ามาไกล่เกลี่ยโดยนัดไกล่เกลี่ยในวันที่ 30 มิ.ย. 2553 เวลา 09.00 น.สำนักงานสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน จ.ชลบุรี จากนั้นวันที่ 29 มิ.ย. 2553 และวันที่ 30 มิ.ย.2553 บริษัทฯ ได้เลิกจ้างตัวแทนเจรจาข้อเรียกร้องทั้งหมด 6 คน เหลือผู้แทนเจรจา 1 คน
และในวันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมาตัวแทนพนักงานจึงได้ทำจดหมายร้องเรียนประธานสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย โดยระบุว่าการเลิกจ้างดังกล่าวขัดต่อ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 มาตรา 31 และมาตรา 121 โดยคนงานตั้งข้อสังเกตการเลิกจ้างในครั้งนี้คือ
1. พนักงานที่ถูกเลิกจ้างทั้ง 6 คนเป็นผู้แทนเจรจาข้อเรียกร้องและลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องการเลิกจ้างครั้งนี้จึงขัดต่อ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 มาตรา 31 เมื่อได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แล้ว ถ้าข้อเรียกร้องนั้น ยังอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือกรรมการ หรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง

มาตรา 121 ห้ามมิให้นายจ้าง
 (1) เลิกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ สหภาพแรงงาน หรือกรรมการสหพันธ์แรงงาน ไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เพราะเหตุที่ ลูกจ้างหรือสหภาพแรงงาน ได้ชุมนุม ทำคำร้อง ยื่นข้อเรียกร้อง เจรจา หรือดำเนินการ ฟ้องร้อง หรือเป็นพยาน หรือให้หลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง แรงงาน หรือนายทะเบียน พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือ กรรมการแรงงานสัมพันธ์ ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือต่อศาลแรงงาน หรือเพราะเหตุที่ลูกจ้าง หรือสหภาพแรงงานกำลังจะกระทำการดังกล่าว
 (2) เลิกจ้างหรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ ต่อไปได้เพราะเหตุที่ลูกจ้างนั้นเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน
 (3) ขัดขวางในการที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือให้ลูกจ้างออกจากการเป็นสมาชิกของ สหภาพแรงงาน หรือให้ หรือตกลงจะให้เงินหรือทรัพย์สินแก่ลูกจ้าง หรือเจ้าหน้าที่ของสหภาพ แรงงาน เพื่อมิให้สมัครหรือรับสมัครลูกจ้างเป็นสมาชิก หรือเพื่อให้ออกจากการเป็นสมาชิกของ สหภาพแรงงาน
 (4) ขัดขวางการดำเนินการของสหภาพแรงงาน หรือสหพันธ์แรงงาน หรือขัดขวาง การใช้สิทธิของลูกจ้างในการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือ
 (5) เข้าแทรกแซงในการดำเนินการของสหภาพแรงงาน หรือสหพันธ์แรงงาน โดย ไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย

2. การเลิกจ้างครั้งนี้เป็นการละเมิดสิทธิแรงงาน
3. เหตุผลในการเลิกจ้างว่าทำให้บริษัทฯเสื่อมเสียชื่อเสียงก็ไม่เป็นความจริงเพราะพนักงานมีสิทธิยื่นข้อเรียกร้องและรวมตัวกันจัดตั้งสหภาพแรงงาน ตามที่กฎหมายกำหนดและไม่ได้ทำให้บริษัทฯ เสื่อมเสียชื่อเสียง
4. การเลิกจ้างครั้งนี้ก็ไม่มีการสอบสวนหาข้อเท็จจริงเป็นการกล่าวหาแต่เพียงฝ่ายเดียว
โดยคนงานระบุว่าจากข้อเท็จจริงที่กล่าวมาทั้งหมดผู้แทนเจรจาข้อเรียกร้องที่ถูกเลิกจ้าง จึงเรียกร้องเพื่อให้บริษัทฯรับกลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่การงานเหมือนเดิมพร้อมจ่ายค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างนับตั้งแต่วันที่ถูกเลิกจ้างจนถึงวันที่รับกลับเข้าทำงาน
อนึ่งบริษัท ทีเอฟโอ เทค (ไทยแลนด์) จำกัด (TFO TECH (THAILAND) CO.,LTD) ตั้งอยู่เลขที่ 700/173 หมู่ 1 ซ.9 ต.บ้านเก่า อ.พานทอง จ.ชลบุรี ผลิตชิ้นส่วนเหล็กทุบขึ้นรูปร้อน สำหรับยานยนต์ และเครื่องยนต์อเนกประสงค์ และการชุบแข็ง ผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้แก่ Crank Shaft, Hub Front Axle, Hub Ring, Outer Ring, Housing Perpeller Shaft, Gear, Shaft Balancer เป็นต้น ปัจจุบันมีคนงาน 138 คน
ทั้งนี้บริษัทก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2546 เงินทุนจดทะเบียน 127 ล้านบาท โดยบริษัท ทีเอฟโอ เทค (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นบริษัทฯในเครือของ บริษัททีเอฟโอ เทค คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (TFO Corporation) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ญี่ปุ่น เปิดดำเนินกิจการมาเป็นเวลา 75 ปี โดยมีโรงงานผลิตในญี่ปุ่น 2 แห่ง คือ Fukushima and Kumamoto factory นอกจากนี้ยังมีบริษัทในเครือ คือ บริษัท ทีเอฟโอ เทค จำกัด ตั้งอยู่ที่ รัฐ โอไฮโอ้ ประเทศสหรัฐอเมริกา และ บริษัท ทีเอฟโอ เทค (ไทยแลนด์) จำกัด ตั้งอยู่ที่ประเทศไทย
ลูกค้าที่สำคัญของบริษัทได้แก่ Hino motor manufacturing(Thailand) co.,Ltd. , Thai Honda manufacturing(Thailand) co.,Ltd. , NTN manufacturing(Thailand) co.,Ltd. , NSK Bearing manufacturing(Thailand) co.,Ltd. , Masashi Auto Part co.,Ltd , JTEKT Automotive (Thailand) co.,Ltd. , It Forging (Thailand) co.,Ltd. , Endo Forging (Thailand) co.,Ltd. , Siam At Industry co.,Ltd , Thai Thoken Thermo (Thailand) co.,Ltd.ITO (Thailand) co.,Ltd. , Miyake Seiki (Thailand) co.,Ltd. , Yanagawa (Thailand) co.,Ltd.
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พนักงานซุปเปอร์เมดเตรียมเข้าพบผู้ว่าชลบุรี นายจ้างปิดกิจการ-ค้างค่าจ้าง

Posted: 05 Jul 2010 01:48 AM PDT

<!--break-->

5 ก.ค. 53 – พนักงาน บ.ซุปเปอร์เมด โวยนายจ้างปิดกิจการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เตรียมเข้าพบผู้ว่าฯ ชลบุรี หาทางแก้ไขปัญหา ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายพร้อมทั้งพักร้อนและจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย ทั้งนี้เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ที่ผ่านมา กลุ่มคนงานได้เดินทางไปยื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายเต็มจำนวนในวันที่ปิดกิจการ ต่อนายเฉลิมชัย  ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มาแล้ว

 
แถลงการณ์พนักงานบริษัท ซุปเปอร์ เมดโปรดักส์ จำกัด
 ฉบับที่ ๑
กรณีนายจ้างปิดกิจการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
 
บริษัทซุปเปอร์เมด โปรดักส์ ประเทศไทย จำกัด ทุนจดทะเบียน ๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท มีโรงงานตั้งอยู่ที่เลขที่ ๒๖๒/๑๐ หมู่ ๓ ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ๒๐๒๓๐ ปัจจุบันมีพนักงานประมาณ ๔๘๐ คนโดยมี นาง อู๋ กง ไฮ เยน เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ขณะนี้ได้เดินทางออกนอกประเทศไทยแล้ว) และมีนายสำเริง ทองดีเจริญ เป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคล เริ่มดำเนินกิจการเมื่อ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ ประเภทกิจการ เป็นผู้ผลิต จำหน่าย และส่งออก อุปกรณ์ออกกำลังกาย Hospital Beds เช่น เหล็ก ล้อ อลูมิเนียม สติกเกอร์ กล่องกระดาษ เบาะ ฯลฯ
 
ต่อมาในวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ บริษัทฯ ได้ออกประกาศ “เรื่องการหยุดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทุกคน” ส่วนค่าจ้างและค่าชดเชยตามกฎหมายที่เหลืออยู่ทุกบาททุกสตางค์จะจ่ายให้หลังจากปิดกิจการไปแล้ว ๙๐วันแต่ไม่มีกำหนดการจ่ายเงินที่ชัดเจน
 
และเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ ผู้แทนลูกจ้างจำนวน ๑๓ คน ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายเต็มจำนวนในวันที่ปิดกิจการ ต่อนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนใหม่ และรัฐมนตรีฯ ได้รับเรื่องไว้ และได้มีการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาตรวจสอบและดูแลให้ความชัดเจนกับพนักงานแต่อย่างใด
 
วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ตัวแทนพนักงานได้เข้าไปคุยกับผู้บริหารของบริษัทฯ ว่าจะมีแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างไร ได้รับคำตอบจากผู้บริหารว่า “ไม่มีเงินจะจ่ายให้และไม่ทราบว่าในวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นวันปิดกิจการจะมีเงินจ่ายค่าจ้างให้หรือไม่”
 
หลังจากนั้นแกนนำได้มีการปรึกษาหารือกันเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ได้มีมติร่วมกันว่า จะเดินทางเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เพื่อมาร่วมหาทางแก้ไขปัญหาในวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็นต้นไป จึงขอแจ้งให้พี่น้องประชาชนทุกท่านที่จะเดินทางไปชลบุรี หลีกเลี่ยงการใช้เส้นทาง ปากร่วม-อ่าวอุดม-ศรีราชาในวันและเวลาดังกล่าว เนื่องจากพนักงานซุปเปอร์เมดฯ จะใช้เส้นทางดังกล่าวเดินทางเพื่อเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี โดยที่เรามีข้อเรียกร้องต่อนายจ้างดังนี้
 
๑.ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายพร้อมทั้งพักร้อนที่เหลือในวันปิดกิจการที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓
๒.ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายในวันปิดกิจการที่ ๙ กรกฏาคม ๒๕๕๓
 
พนักงานซุปเปอร์เมด ขออภัยในความไม่สะดวกในครั้งนี้
 
 

 
 

 
วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓
ลำดับเหตุการณ์ข้อเท็จจริงการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
บริษัท ซุปเปอร์ เมด โปรดักส์ จำกัด
 
๑)        บริษัทซุปเปอร์เมด โปรดักส์ ประเทศไทย จำกัด ทะเบียนนิติบุคคลเลขที่ ๐๑๐๕๕๓๓๐๑๖๔๖๔ ทุนจดทะเบียน ๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท มีโรงงานตั้งอยู่ที่เลขที่ ๒๖๒/๑๐ หมู่ ๓ ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ๒๐๒๓๐ ปัจจุบันมีพนักงานประมาณ ๔๘๐ คนโดยมี นาง อู๋ กง ไฮ เยน เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่และนายสำเริง ทองดีเจริญ เป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคล เริ่มจดทะเบียนบริษัทฯ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ ประเภทกิจการ เป็นผู้ผลิต จำหน่าย และส่งออก อุปกรณ์ออกกำลังกาย Hospital Beds เช่น เหล็ก ล้อ อลูมิเนียม สติกเกอร์ กล่องกระดาษ เบาะ ฯลฯ
ลูกจ้างส่วนใหญ่เป็นพนักงานรายวันอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ สวัสดิการที่บริษัทฯ จัดให้กับพนักงานมีดังนี้
- ค่าเช่าบ้านเดือนละ ๓๐๐ บาท ค่ารถวันละ ๑๐ บาท เบี้ยขยันเดือนละ ๒๐๐-๓๐๐-๔๐๐ บาท และค่าอาหารจ่ายเป็นคูปองวันละ ๓๐ บาท กรณีใช้ไม่หมดไม่สามารถแลกคืนเป็นเงินได้ กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ ๒๔ และวันที่ ๙ ของทุกเดือน ทำงานสัปดาห์ละ ๖ วัน และวันอาทิตย์เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์
 
๒)        ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น. ผู้บริหารโดยนายสำเริง ทองดีเจริญ ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคล และผู้บริหารชาวต่างชาติ ได้เรียกลูกจ้างระดับหัวหน้างานประมาณ ๔๐ คน เข้าประชุมที่ห้องประชุมของบริษัทฯ และนายสำเริง ทองดีเจริญ ได้แจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบว่าบริษัทฯ จะปิดกิจการตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ส่วนค่าจ้างงวดวันที่ ๒๔ บริษัทฯ จะจ่ายให้ตามปกติ ส่วนค่าจ้างค้างจ่ายนั้นจะจ่ายให้ในวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ส่วนประเด็นค่าชดเชยนั้นบริษัทฯ จะแจ้งให้ทราบในวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ อีกครั้ง
 
๓)        ต่อมาในวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น. นายสำเริง ทองดีเจริญ ได้เรียกหัวหน้างานระดับ Supervisor, Foreman and Sub Foreman ประมาณ ๑๕ คน เข้าร่วมประชุมและแจ้งให้ทราบว่านายจ้างไม่มีค่าชดเชยจะจ่ายให้ รอให้ขายทรัพย์สินของบริษัทฯ ให้ได้ก่อนจึงจะจ่ายให้แต่ไม่สามารถตอบได้ว่าจะเป็นเมื่อใด ต่อมาเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น. Supervisor ๒ คน คือ นายสำรวย กับนายเต๋า ซึ่งเป็นหัวหน้างานแผนก Packing and Store เรียกประชุมพนักงานประมาณ ๑๒๐ คน ส่วนในแผนกอื่นๆ หัวหน้างานก็มีการเรียกประชุมพนักงานเพื่อชี้แจงเช่นกัน โดยประเด็นในการชี้แจงคือ แจ้งให้กับพนักงานทุกคนทราบว่า ยังจะไม่ได้รับค่าชดเชยหลังจากที่นายจ้างปิดกิจการ ต้องรอให้นายจ้างขายทรัพย์สินได้ก่อนซึ่งไม่มีกำหนดว่าเมื่อไรจะขายได้
 
๔)        ต่อมาในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ พนักงานได้มีการประชุมหารือกันว่าจะทำอย่างไรดีที่จะทำให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย และได้ตั้งผู้แทนลูกจ้างจำนวน ๗ คน คือ ๑)นายสุริยา จำเนียรทรัพย์    ๒)นางสาววีระวรรณ ศรีราชัย ๓)นายเวฬุเทพ ผูกรัก ๔)นายชาติชาย จันทร์ผ่อง ๕)นายสมพงษ์ ค้ำกลาง ๖)นางสาววันดี คลองกลับ ๗)นางสาวกรรณิกา หนูจรเพชร เพื่อเป็นตัวแทนในการเจรจากับนายจ้าง เพื่อให้นายจ้างกำหนดให้ชัดเจนว่าจะมีการดำเนินการอย่างไรและเมื่อใด ในเรื่องต่อไปนี้
๑)      ให้นายจ้างออกประกาศปิดกิจการกำหนดวันที่แน่นอนให้กับพนักงานทุกคนได้ทราบ
๒)     ให้นายจ้างออกหนังสือเลิกจ้างให้กับลูกจ้างทุกคนเพื่อนำไปใช้สิทธ์กรณีว่างงาน
๓)     ให้นายจ้างออกหนังสือรับรองการทำงาน(ใบผ่านงาน)ให้กับพนักงานทุกคน
๔)     ให้นายจ้างกำหนดวันในการจ่ายค่าจ้าง และเงินค่าสวัสดิการอื่นๆ งวดสุดท้ายให้กับพนักงานให้ชัดเจน
๕)     ให้นายจ้างปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ดังนี้
-                      จ่ายค่าพักร้อนในส่วนที่ยังคงเหลือ
-                      จ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า(กรณีที่บอกกล่าวล่วงหน้าไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด)
-                      จ่ายค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘
 
๕)        และเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลาประมาณ ๐๙.๓๐ น. ได้มีเจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี ๒ คน เข้ามาที่บริษัทฯ และได้เข้าไปคุยกับนายจ้างโดยที่ไม่มีผู้แทนฝ่ายลูกจ้างเข้าไปร่วมด้วยแต่อย่างใด และเวลาเที่ยงได้เห็นเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี ทั้งสองท่านไปรับประทานอาหารเที่ยงด้วยกันกับนายจ้างข้างนอกบริษัทฯ ต่อมาในวันเดียวกันเวลาประมาณ ๑๔.๐๐ น. ผู้บริหารโดยนายสำเริง ทองดีเจริญ ได้เรียกตัวแทนฝ่ายลูกจ้างทั้ง ๗ คน และผู้สังเกตการณ์รวมประมาณ ๒๐ คนเข้าร่วมประชุมโดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี อยู่ร่วมรับฟังด้วย โดยที่ผู้แทนฝ่ายนายจ้างมีนายสำเริง ทองดีเจริญ และนายอู๋ ซัน จิ่ง ซึ่งเป็นสามีของนางอู๋ กง ไฮ เยน กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ และผู้บริหารอื่นที่เป็นชาวต่างชาติอีก ๓ คน
 
นายอู๋ ซัน จิ่ง ได้เป็นประธานในที่เจรจา โดยมี นายคิทลี เป็นผู้แปลจากภาษาจีนเป็นภาษาอังกฤษ และนายสำเริง ทองดีเจริญ แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยอีกทอดหนึ่ง นายอู๋ ซัน จิ่ง ได้แจ้งกับผู้แทนฯ ฝ่ายลูกจ้างและทุกคนในที่ประชุมให้ทราบว่าบริษัทฯ จะปิดกิจการในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป โดยจะจ่ายค่าจ้างงวดประจำวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ และงวดประจำวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ตามปกติให้กับพนักงานทุกคน ส่วนหนังสือเลิกจ้างและหนังสือรับรองการทำงานนั้นจะออกให้กับพนักงานทุกคนในวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓เช่นเดียวกัน ส่วนเงินค่าชดเชยและเงินอื่นๆ ตามกฎหมายนั้นยังไม่มีจ่ายให้ และไม่ทราบว่าจะสามารถจะจ่ายให้ได้เมื่อใด ถ้าสามารถขายทรัพย์สินได้ก็จะจ่ายให้บางส่วนก่อน ในส่วนที่ยังไม่ครบก็ไม่สามารถตอบได้ว่าจะมีจ่ายให้ได้เมื่อไร
 
หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานโดยนายสุทัศน์ ได้ทำบันทึกและจะให้ทั้งสองฝ่ายเซ็นชื่อ แต่ผู้แทนฝ่ายลูกจ้างได้โต้แย้งว่าขอให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายให้กับพนักงานทุกคนก่อนที่จะปิดกิจการเพราะเป็นสิทธิตามกฎหมายของทุกคนที่จะต้องได้รับและนายจ้างเองก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเช่นเดียวกัน จนในที่สุดทั้งสองฝ่ายก็ไม่สามารถตกลงกันได้จึงยุติการเจรจาเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น.
 
ต่อมาเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น. ผู้แทนของบริษัทฯ โดยนายสำเริง ทองดีเจริญ ได้เรียกพนักงานทุกคนมาประชุมและแจ้งให้กับพนักงานทุกคนทราบว่าได้เลื่อนการปิดกิจการออกไปเป็นวันที่ ๑๐ กรกกาคม ๒๕๕๓ ส่วนเรื่องค่าชดเชยในงวดแรกนั้นจะจ่ายให้กับพนักงานในบางส่วนก่อนแต่ไม่สามารถตอบได้ว่าจำนวนเท่าไร และในส่วนที่เหลือจะจ่ายให้หลังจากที่บริษัทฯ ได้ขายทรัพย์สินของบริษัทฯ ได้แล้วแต่ก็ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้ ทำให้พนักงานทุกคนออกมาโต้แย้งว่า นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยการจ่ายค่าชดเชยให้ถูกต้องในครั้งเดียวแล้วต้องกำหนดระยะเวลาให้ทุกคนทราบด้วย และต้องดำเนินการให้เสร็จก่อนที่จะปิดกิจการ
 
๖)        ต่อมาในวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. นายสำเริง ทองดีเจริญ ได้เรียกหัวหน้างานประมาณ ๔๐ คน เข้าประชุมและได้พุดกับทุกคนด้วยวาจาที่ไม่สุภาพและแสดงอารมณ์ว่า “พวกมึงรอกันไม่ได้หรือ” และได้มีการพูดในลักษณะข่มขู่ว่าถ้ามีการเรียกร้องนักทุกคนจะไม่ได้อะไรเลย เพราะตัวเขาเองเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการปิดกิจการทุกอย่าง
 
ผู้แทนเจรจาฝ่ายลูกจ้างยังคงยืนยันที่จะให้นายจ้างกำหนดระยะเวลาในการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายให้ชัดเจน แต่นายสำเริง ทองดีเจริญ ก็ไม่สามารถให้คำตอบได้ และพนักงานได้มีการสอบถามถึงผลกำไรของบริษัทฯ ซึ่งที่ผ่านมาผลประกอบการมีกำไรมาโดยตลอด แต่บริษัทฯ ได้อ้างว่าขาดทุน และไม่มีการจ่ายโบนัสประจำปี และไม่มีการปรับค่าจ้างประจำปีมาต่อเนื่อง ๒ ปีแล้ว พนักงานทุกคนก็ได้ช่วยบริษัทฯ มาโดยตลอด และจากที่ไปตรวจสอบงบการเงินของบริษัทฯ ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดชลบุรี บริษัทฯ ก็ไม่ได้ขาดทุนแต่อย่างใด แต่นายสำเริง ทองดีเจริญ ได้บอกว่าเอกสารงบการเงินที่ได้มาเป็นเอกสารเท็จไม่เป็นความจริง หลังจากนั้นนายสำเริง ทองดีเจริญ แจ้งว่าจะชี้แจงรายละเอียดทั้งหมดกับพนักงานด้วยตัวเองอีกครั้งในวันจันทร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ และเลิกการประชุมเวลาประมาณ ๑๑.๓๐ น.
 
๗)     ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น. นายสำเริง ทองดีเจริญ ได้มีคำสั่งให้โยกย้ายสถานที่ทำงานของผู้แทนเจรจาฝ่ายลูกจ้างจากสำนักงานชั้นบนลงมาอยู่สำนักงานชั้นล่างหน้าห้องของผู้จัดการ เพื่อดูการเคลื่อนไหวของตัวแทนลูกจ้างส่วนหน้าที่งานหรือลักษณะงานที่ทำนั้นยังคงเดิม เมื่อสอบถามถึงสาเหตุการย้ายสถานที่ทำงานก็ไม่สามารถตอบได้ และทั้ง ๓ คน คือ ๑)นางสาววีระวรรณ ศรีราชัย ๒)นางสาววันดี คลองกลับ ๓)นางสาวกรรณิกา หนูจรเพชร และในส่วนของนายสำเริง ทองดีเจริญ ก็ไม่ได้มีการเรียกประชุมพนักงานชี้แจงตามที่ได้พูดไว้กับตัวแทนของพนักงานแต่อย่างใด
 
๘)      วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ นายสุริยา จำเนียรทรัพย์ ได้ทำหนังสือถึงนายจ้างให้แสดงความชัดเจนเรื่องการปิดกิจการและกำหนดวันเวลาในการจ่ายค่าชดเชย และสิทธิตามกฎหมายที่ลูกจ้างพึงได้รับ แต่ในส่วนของนายจ้างโดยนายสำเริง ทองดีเจริญ ได้ตอบกลับด้วยวาจาว่าจะยังไม่ปิดกิจการ หลังจากนั้นเวลาประมาณ ๑๑.๓๐ น. ผู้แทนลูกจ้างได้ไปยื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายกรณีนายจ้างปิดกิจการต่อหัวหน้าสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี และเวลาประมาณ ๑๔.๐๐ น. ได้ไปที่ศาลากลางจังหวัดชลบุรีและเข้าพบเลขาผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เพื่อขอเข้าพบและยื่นหนังสือร้องทุกข์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี แต่เลขานุการผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี แจ้งว่าให้ไปยื่นเรื่องร้องเรียนที่สำนักงานแรงงานจังหวัดชลบุรีแทนหลังจากนั้นเรื่องก็จะมาถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเช่นเดียวกัน จึงได้ไปยื่นหนังสือที่สำนักงานแรงงานจังหวัดชลบุรี และเดินทางกลับ
 
๙)    ต่อมาในวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ บริษัทฯ ได้ออกประกาศ “เรื่องการหยุดกิจการ” โดยประกาศที่ออกไม่เป็นไปตามความต้องการของคนงาน ดังมีเนื้อหาในประกาศ ดังนี้
บริษัทขอเลิกจ้างพนักงานทุกท่าน ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไปฯ
  • ค่าแรงวันที่ ๑-๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๓ จะจ่ายให้ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
  • ค่าแรงวันที่ ๑๖-๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ จะจ่ายให้ในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓
  • ค่าแรงวันที่ ๑-๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ จะจ่ายให้ในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓
  • สิทธิพักร้อนที่เหลืออยู่จะจ่ายให้ในงวดวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓
  • ค่าชดเชยตามกฎหมายที่เหลืออยู่ทุกบาททุกสตางค์จะจ่ายให้หลังจากปิดกิจการไปแล้ว ๙๐วันหลังจากปิดกิจการ
  • บริษัทฯ จะขายทรัพย์สินบางส่วนที่ขายได้และจ่ายจะเฉลี่ยให้กับพนักงานทุกคน ๘% ของค่าชดเชยจะจ่ายให้ในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ส่วนที่เหลือจะจ่ายให้หลังจากปิดกิจการไปแล้ว ๙๐วันหลังจากปิดกิจการ(แต่ไม่ทราบว่าเมื่อไร)
๑๐)ต่อมาวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ ผู้แทนลูกจ้างจำนวน ๑๓ คน ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายเต็มจำนวนในวันที่ปิดกิจการ ต่อนายเฉลิมชัย  ศรีอ่อน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนใหม่ และรัฐมนตรีได้รับเรื่องไว้ และได้มีการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย
๑๑)วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ หัวหน้างานได้เข้าไปคุยกับผู้บริหารของบริษัทฯ ว่าจะมีแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างไร ได้รับคำตอบว่า “ไม่มีเงินจะจ่ายให้และไม่ทราบว่าในวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นวันปิดกิจการจะมีเงินจ่ายค่าจ้างให้หรือไม่”
 
 

 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 28 มิ.ย. - 4 ก.ค. 2553

Posted: 05 Jul 2010 12:18 AM PDT

<!--break-->

 
พม.หาวิธีเยียวยาผู้ได้รับผลการค้ามนุษย์
(ไอเอ็นเอ็น
, 4 ก.ค. 2553) นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กล่าวถึง ปัญหาการค้ามนุษย์ ว่า ปัจจุบันประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาการค้ามนุษย์ ที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ทั้งในรูปแบบของการบังคับขอทาน การล่อลวง เข้าสู่การค้าบริการทางเพศ การบังคับใช้แรงงาน และการบังคับค้าประเวณี ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในกลุ่มหญิงและเด็ก และได้ขยายครอบคลุม ไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ชาย โดยใช้วิธีการลักพาตัว หลอกลวง หรือ ล่อลวง เพื่อไปแสวงหาระโยชน์ในรูปแบบการบังคับใช้แรงงาน
ดังนั้น เพื่อให้ความช่วยเหลือ และคุ้มครองผู้เสียหาย เป็นไปอย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และทั่วถึงกลุ่มเป้าหมายทุกคน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จึงกำหนดให้บ้านพักเด็กและครอบครัว 76 แห่ง ทั่วประเทศ เป็นสถานรับตัวชั่วคราว เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา การค้ามนุษย์ และส่งต่อไปรับความช่วยเหลือในหน่วยงานหลัก 9 แห่ง ได้แก่ สถานคุ้มครอง และพัฒนาอาชีพทั้งชายและหญิง ทั้งหมด 8 แห่ง และสถานแรกรับเด็กชาย 1 แห่ง ซึ่งทำหน้าที่คุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ทั้งในด้านการฟื้นฟูเยียวยา การส่งกลับภูมิลำเนา และคืนสู่สังคม ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือในด้านกฎหมาย การฝึกทักษะทางด้านอาชีพ ให้แก่ผู้เสียหาย การช่วยเหลือในการส่งกลับ คืนสู่ครอบครัว และประเทศภูมิลำเนาอย่างปลอดภัย
ผู้ประกอบการตากร้องรัฐแก้ปัญหาถูกแย่งแรงงาน
(สำนักข่าวไทย
, 4 ก.ค. 2553) กลุ่มผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรประมาณ 80 คน ในพื้นที่ อ. แม่สอด จ.ตาก นำโดยนายชัยวัฒน์ ประเสริฐธรรม เดินทางมายังสำนักงาน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จ.ตาก เข้ายื่นหนังสือต่อนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ ส.ส.ตาก เพื่อขอความช่วยเหลือกรณีแรงงานต่างด้าวที่ชำนาญงานและรู้ภาษาไทย ซึ่งขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายแล้วถูกแย่งด้วยขบวนการต่าง ๆ พาไปทำงานในเขตจังหวัดชั้นใน โดยขณะนี้แรงงานร้อยละ 80 ที่มีบัตรได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และอีกหลายจังหวัดแล้ว ทำให้ผู้ประกอบรายย่อยเดือดร้อนมาก จึงอยากให้รัฐบาลเร่งหาทางแก้ปัญหาดังกล่าว เพราะการถูกแย่งแรงงาน ผู้ประกอบการจำเป็นต้องนำแรงงานใหม่เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานเฉพาะหน้า แต่ยังไม่ได้ดำเนินการทำบัตรแรงงานอย่างถูกต้อง ผู้ประกอบการจึงมีความเสี่ยงต่อการถูกจับกุม นอกจากนี้ การนำแรงงานที่มีอยู่เดิมไปพิสูจน์สัญชาติ อยากให้มีการเข้มงวดตรวจสอบอย่างละเอียด และขอดูใบทร.38/1 เดิมด้วย เพื่อป้องกันการสวมสิทธิแรงงานต่างด้าว
ทั้งนี้ นายชัยวุฒิรับปากว่า จะนำข้อเรียกร้องไปประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงแรงงาน และนายกรัฐมนตรี รวมถึงคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.)
ผู้ประกอบการแรงงานต่างด้าว แฉจ่ายส่วยไม่ถูกจับ
(เนชั่นทันข่าว
, 4 ก.ค. 2553) ที่สำนักงาน ส.ส.ตาก พรรคประชาธิปัตย์ ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก กลุ่มผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าวทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตร ราว 80 คน เดินทางไปพบนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม และส.ส.ตาก เพื่อยื่นหนังสือร้องเรียนจากกรณีแรงงานต่างด้าวที่ชำนาญงาน และรู้ภาษาไทยในพื้นที่ และได้ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายแล้วถูกแย่งนำไปส่งพื้นที่ชั้นใน และกรุงเทพฯ โดยเฉพาะผู้ประกอบรายย่อยได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด จึงขอให้นายชัยวุฒิช่วยเสนอรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ด้านนายชัยวุฒิ กล่าวว่า จะนำข้อร้องเรียนไปแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะกระทรวงแรงงานเกี่ยวข้องมากที่สุด ขณะเดียวกันจะไปปรึกษานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพราะผู้ประกอบการได้ส่งหนังสือให้กับนายกรัฐมนตรีด้วย
นายชัยวัฒน์ ประเสริฐธรรม แกนนำผู้ประกอบการแรงงานต่างด้าวภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม กล่าวว่า แรงงานต่างด้าวที่เคยใช้อยู่ได้ขึ้นทะเบียนโดยถูกต้อง แต่ขณะนี้ร้อยละ 80 ที่มีบัตรได้เดินทางเข้ากรุงเทพ และต่างจังหวัด โดยขบวนการต่างๆ ส่วนการแก้ปัญหาของผู้ประกอบการในพื้นที่ ก็นำแรงงานต่างด้าวรายใหม่มาทำงาน ก็ถูกจับ เว้นแต่รายใดจ่ายส่วย ก็จะไม่ถูกจับกุม
กทม.เปิดรับแรงงานไทย ไปดูแลผู้สูงอายุที่สวีเดน
(เดลินิวส์
, 2 ก.ค. 53) นายกิตพล เชิดชูกิจกุล ประธานสภากรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยความคืบหน้า โครงการความร่วมมือด้านการดูแลผู้สูงอายุในสวีเดน ว่า ตามที่สา กทม.ได้สถาปนาความสัมพันธ์สภาบ้านพี่เมืองน้องกับสภาเทศบาลรากุนด้า ราชอาณาจักรสวีเดน และทางรากุนด้า แสดงเจตจำนงสนับสนุนแรงงานไทยไปทำงานที่สวีเดนดูแลผู้สูงอายุนั้น เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทั้ง 2 หน่วยงาน ได้ลงนามทำบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมกับกระทรวงแรงงาน หาข้อสรุปรายละเอียดโครงการ เช่น การกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะไปทำงาน การอบรมเพิ่มเติมด้านภาษา การดูแลผู้สูงอายุ และความรู้ด้านวัฒนธรรม เบื้องต้นเทศบาลรากุนด้าระบุคุณสมบัติ อายุไม่เกิน 35 ปี วุฒิการศึกษาขั้นต่ำสุดระดับมัธยมปลาย สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี และมีความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุ ทดลองงาน 6 เดือน รายได้ประมาณเดือนละ 17,000 โครน หรือประมาณ 68,000 บาท
นายกิตพล กล่าวต่อว่า เนื่องจากการส่งแรงงานไปต่างประเทศเป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน ดังนั้น จึงกำหนดพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างผู้ว่าฯ กทม. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ภายในเดือน ก.ค.นี้ เพื่อเดินหน้าโครงการร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมเปิดรับสมัครคนไทยที่มีคุณสมบัติตรงไปทำงานที่สวีเดน โดยรอบแรกจะส่งไป 60 คนก่อน คาดว่า จะเปิดสมัครได้ราวปลายเดือน ก.ค.
ทั้งนี้ ในสวีเดนมีความต้องการผู้ดูแลผู้สูงอายุถึง 10,000 อัตรา เนื่องจากผลพวงของยุค Baby Boom หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้ปัจจุบันในราชอาณาจักรสวีเดนมีผู้สูงอายุประมาณ 20,000 คน ขณะที่ มีประชากรทั้งสิ้นเพียง 9 ล้านคนเศษ มีสภาพเป็นครอบครัวเดี่ยว และขาดคนดูแลผู้สูงอายุ จึงต้องการแรงงานไทยที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพราะชาวสวีเดนมีความชื่นชอบประเทศไทย ชื่นชม และไว้ใจคนไทย จึงเป็นโอกาสดีที่คนไทยจะได้เข้ามาทำงานนี้ โดยจะมีรายได้ และสวัสดิการที่ดีเท่าเทียมกับพลเมืองของราชอาณาจักรสวีเดน
 
พม.เผยแผนการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ระยะ ๖ ปี (๒๕๕๔-๒๕๕๙ )
(
ThaiPR.net, 2 ก.ค. 2553) พม.เผยแผนการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ระยะ ๖ ปี ชูแนวทางดำเนินงาน ๕ ยุทธศาสตร์ แนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานเชิงรุก ดูแลแก้ไขปัญหาร่วมกัน
นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การค้ามนุษย์ในปัจจุบัน ซึ่งทวีความรุนแรงและแพร่ขยายไปในวงกว้าง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงได้ดำเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์มาอย่างต่อเนื่อง ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งกำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์แห่งชาติ เพื่อกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ และมีคณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทวิภาคีกับประเทศใกล้เคียงที่มีอาณาเขตติดต่อกัน ได้แก่ ลาว เขมร เวียดนาม พม่า และในระดับพหุภาคี ส่วนอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ในกลุ่ม ๖ ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม จีน พม่า ลาว กัมพูชา และไทย เพื่อเป็นข้อตกลงร่วมกันที่จะดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหา ขณะนี้จึงถือได้ว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
พม่าเปิดศูนย์พิสูจน์สัญชาติชั่วคราว ที่ระนอง
(เนชั่นทันข่าว
, 1 ก.ค. 2553) นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เปิดเผยกับว่า วันนี้ 1 ก.ค. 2553 ซึ่งเป็นวันแรกที่ทางการพม่าจะเปิดให้บริการศูนย์พิสูจน์สัญชาติและออกหนังสือเดินทางชั่วคราวที่จังหวัดระนอง ซึ่งถือเป็นการบริการโดยเฉพาะการออกหนังสือเดินทางชั่วคราวบนฝั่งไทยเป็นครั้งแรก และพื้นที่แรกที่มีการดำเนินการในลักษณะนี้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ทั้งสองฝ่ายได้พยายามหารือร่วมกันเพื่อหาทางในการร่วมมือในเรื่องดังกล่าว
โดยล่าสุดทางกรมการจัดหางานได้จัดประชุมหารือระดับวิชาการไทย-พม่า เกี่ยวกับการจัดหาสถานตั้งศูนย์พิสูจน์สัญชาติและออกหนังสือเดินทางชั่วคราวให้กับแรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยมีนาย อู อ่องเตียน เอกอัครราชฑูตพม่า ประจำประเทศไทย และนายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งศูนย์พิสูจน์สัญชาติและออกหนังสือเดินทางชั่วคราวให้กับแรงงานพม่าที่จังหวัดระนอง บริเวณแพปลาโกฟุก อยู่ในซอยชาวประมง ย่านสะพานปลาระนอง ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ระนอง ซึ่งจะทำให้แรงงานสัญชาติพม่าที่ได้ยื่นเอกสารการพิสูจน์สัญชาติแล้วได้รับความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและประหยัดค่าใช้จ่าย
การจัดตั้งศูนย์พิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่า ที่จังหวัดระนอง เป็นผลสืบเนื่องมาจากการประชุมที่เมืองพุกามประเทศพม่า ซึ่งทางฝ่ายไทยมีความเป็นห่วงในเรื่องของความปลอดภัยของแรงงานที่ต้องเดินทางไปพิสูจน์สัญชาติฝั่งพม่า ในช่วงฤดูมรสุม จึงได้เสนอให้ทางการพม่าส่งเจ้าหน้าที่มายังฝั่งไทย ซึ่งทางการพม่าได้รับข้อเสนอ จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่มาดูสถานที่และประชุมร่วมกัน
คาดว่าศูนย์ดังกล่าวสามารถเริ่มเปิดให้บริการได้ภายในต้นเดือนกรกฎาคมนี้ ไปสิ้นสุดประมาณเดือนตุลาคม 2553 โดยจะส่งเจ้าหน้าที่มาประจำที่ศูนย์พิสูจน์สัญชาติที่จังหวัดระนองประมาณ 20 คน สามารถพิสูจน์สัญชาติได้วันละ 800 คน ส่วนในอนาคตจะมีการขยายเวลาหรือไม่ต้องมีการหารือกันต่อไป และอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การตั้งศูนย์พิสูจน์สัญชาติที่ อ.แม่สอด จ.ตาก และ อ.แม่สาย จ.เชียงรายในอนาคตด้วยก็เป็นได้
ผลสำรวจพบแรงงานควักมากกว่า 2 หมื่นบาทเล่นพนันฟุตบอล
(เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ
, 2 ก.ค. 2553) - นายสุชาติ ตระกูลหูทิพย์ หัวหน้าฝ่ายแรงงานหญิง มูลนิธิเพื่อนหญิง พร้อมด้วยตัวแทน กลุ่มสหภาพแรงงาน ต่างๆ ประกอบด้วย กลุ่มสหภาพแรงงาน อ้อมน้อยอ้อมใหญ่ สหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ สหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ สหภาพแรงงานกิจการสิ่งทอวาไทย เดินทางเข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกต่อ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อเรียกร้องให้กระทรวงแรงงานมีมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาการเล่นพนันฟุตบอล ในสหภาพแรงงาน
นายสุชาติ ตระกูลหูทิพย์ หัวหน้าฝ่ายแรงงานหญิง มูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า สนับสนุนนโยบายของทางกระทรวงและขอเสนอ 3 แนวทางคือ 1. ขอให้กระทรวงแรงงานสนับสนุนให้นโยบายโรงงานสีขาวขยายผลไปถึงประเด็นการพนัน 2. ขอให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทั่วประเทศประสานสถานีตำรวจเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง และ 3. สนับสนุนองค์ความรู้และงบประมาณให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและคณะกรรมการสวัสดิการที่ประจำอยู่ทุกสถานประกอบการทั่วประเทศ เป็นกลไกช่วยสอดส่องดูแลการพนันทุกชนิด
มูลนิธิเพื่อนหญิง ได้ร่วมกับเครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำรวจพฤติกรรมและผลกระทบจากการเล่นพนันฟุตบอลโลก 2010 ในกลุ่มผู้ใช้แรงงานจำนวน 1,000 คน ระหว่างวันที่ 24-27 มิ.ย.ที่ผ่านมา พบว่า 50% ไม่เคยมีประสบการณ์การเล่นพนันฟุตบอล ส่วน 23% เคยเล่นและปัจจุบันยังเล่นอยู่ และอีก 27% เคยแต่ปัจจุบันเลิกแล้ว สำหรับวิธีพบเห็นมากที่สุดในการเล่นพนันฟุตบอลคือ 60% เข้าไปแทงที่โต๊ะบอล/มีเด็กเดินโพย 21% แทงทางโทรศัพท์ และ 7% ทางอินเทอร์เน็ต โดยจำนวนเงินที่นำมาใช้เล่นพนันฟุตบอลโลกครั้งนี้ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2 พันบาท
ที่น่าสนใจคือมีจำนวนหนึ่งที่ใช้เงินถึง 20,000 บาทขึ้นไปในการเล่นการพนัน โดยปัจจัยที่ทำให้มีการเล่นพนันเพราะคิดว่าช่วยให้เชียร์สนุก ได้ลุ้น/ตื่นเต้น รองลงมา คือชอบเล่นการพนันเพราะอยากได้เงิน และเข้าถึงแหล่งพนันได้ง่าย ส่วนปัญหาหรือผลกระทบที่ตามมากับการเล่นพนันฟุตบอลนั้นทำให้มีหนี้สินจนทำให้ต้องจำนำหรือขายสิ่งของเพื่อใช้หนี้ จนเกิดความขัดแย้งกับครอบครัวหรือทะเลาะกับเพื่อน จึงอยากให้เจ้าหน้าที่จริงจังและจริงใจกับการปราบปราม
อนึ่งจากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า จะมีวงเงินสะพัดหมุนเวียน เพื่อเล่นพนันฟุตบอลโลก ของคนกรุงเทพฯในครั้งนี้ประมาณ 9,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2549 ซึ่งในครั้งนั้น คนกรุงเทพฯเล่นพนันฟุตบอลประมาณ 7,700 ล้านบาท
ลูกจ้างอัดกองทุนเงินทดแทน แท้งลูกระหว่างทำงานกลับไม่ได้รับสิทธิประโยชน์
(มติชน
, 2 ก.ค. 2553) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่กระทรวงแรงงาน กลุ่มผู้แทนกลุ่มผู้ใช้แรงงานจากอยุธยาและย่านใกล้เคียง ผู้แทนสภาผู้ป่วยจากการทำงาน และคนงานจากภาคตะวันออก 30 คนเข้าพบนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อให้สนับสนุนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งอยู่ในสภาวาระ 2
นายประวิทย์ โพธิ์หอม เลขาธิการกลุ่มคนงานอยุธยาและย่านใกล้เคียงกล่าวว่าการวินิจฉัยของแพทย์ใน จ.พระนครศรีอยุธยามีปัญหามาก อย่างกรณีลูกจ้างหญิงรายหนึ่งที่ตั้งท้อง แต่การทำงานต้องยกตะกร้าพลาสติคขึ้น-ลงบนโต๊ะวันละจำนวนมาก ในที่สุดจึงตกเลือดและแท้งขณะทำงานโดยที่หัวหน้างานและฝ่ายพยาบาลของโรงงานก็ไม่ให้ความสนใจเมื่อคนงานช่วยกันนำตัวส่งไปยังโรงพยาบาลแห่งหนึ่งกลับวินิจฉัยว่าไม่ได้ป่วยจากการทำงาน ส่งผลให้ไม่ได้รับเงินชดเชยจากกองทุนเงินทดแทน ในที่สุดลูกจ้างรายนี้จึงต้องฟ้องศาลซึ่งขณะนี้ยังไม่มีอะไรคืบหน้ามากนักและต้องสูญเสียชีวิตลูกไป ล่าสุดคนงานรายหนึ่งในโรงงานทำแบตเตอรี่ที่ป่วยเพราะรับสารพิษจนมือสั่นไปโรงพยาบาลหมอก็วินิจฉัยว่าไม่ได้ป่วยจากการทำงาน แต่เป็นกรรมพันธุ์ ไปโรงพยาบาลอีกแห่งจึงทราบว่าได้รับสารพิษจากการทำงาน
นายเฉลิมชัยกล่าวว่า ผู้ประกันตนที่ต้องเสียเงินทุกเดือนต้องได้รับการดูแลในสิทธิประโยชน์ต่างๆ ทั่วถึง โดยเฉพาะการเข้าถึงสิทธิรักษาพยาบาล ซึ่งแม้ขณะนี้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีคณะกรรมการคอยดูแลเรื่องมาตรฐานการรักษาพยาบาลอยู่แล้ว แต่อาจมีโรงพยาบาลหลายแห่งขาดประสิทธิภาพจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลอีกชุดหนึ่ง โดยให้ผู้ประกันตนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นกรรมการ
เผยสถานการณ์แรงงานครึ่งปี 53 เลิกจ้างลดลงกว่าร้อยละ 95
(สำนักข่าวไทย, 1 ก.ค. 2553)
นางอัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยถึงสถานการณ์แรงงานช่วงครึ่งปีแรกว่า ภาพรวมของดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอัตราการเลิกจ้างมีสัดส่วนลดลงชัดเจนเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือน ม.ค.- พ.ค. 2553 มีการเลิกจ้าง เพียง 1,568 คน ขณะที่ในช่วงเดียวกันของปี 2552 มีการเลิกจ้างสูงถึง 32,496 คน หรือลดลงร้อยละ 95.17 สอดคล้องกับข้อมูลการขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน จากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ตั้งแต่ช่วงเดือน ต.ค. 2552 – พ.ค. 2553 ที่มีผู้มาขอรับประโยชน์ทดแทนรวมทั้งสิ้น 63,916 คน แต่พบว่ามีลูกจ้างผู้ประกันตนมาร้องทุกข์เพียง 3,805 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 5.95 ของผู้ลงทะเบียนทั้งหมด คาดว่าผู้ที่ไม่ได้มาร้องทุกข์กว่าร้อยละ 90 ได้รับเงินชดเชยจากนายจ้างเรียบร้อยแล้ว
สำหรับแนวโน้มสถานการณ์แรงงานในครึ่งปีหลังยังคงมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยดูจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และจากการเข้าตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมพบว่า ยังมีความต้องการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพนักงานระดับปฏิบัติงานในโรงงาน ซึ่งทำให้โอกาสการทำงานยังคงเป็นของลูกจ้างที่มีอำนาจต่อรองมากขึ้นในอนาคต
ครูเอกชนเฮ!ศธ.ให้เงินเดือนเพิ่ม
(โพสต์ทูเดย์
, ‎1 ก.ค. 2553)‎ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผย ว่า ศธ.กำลังพิจารณาช่วยเหลือเงินเพิ่มการครองชีพครูชั่วคราว หรือเรียกว่า ค่าตอบแทนชั่วคราว แก่ครูโรงเรียนเอกชน ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามขั้นตอน หลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มีมติเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2553 อนุมัติในหลักการ ให้การช่วยเหลือเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวแก่ครูโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษา โดยเฉพาะครูที่ได้รับเงินเดือนน้อยกว่า 11,700 บาท ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2553 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนในขณะนี้ สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.)กำลังสำรวจรายละเอียด ข้อมูลการจ่ายเงินเดือนครูและบุคลากรของโรงเรียนเอกชนและจะต้องไปประสานงานกับสำนักงบประมาณเพื่อให้ได้ข้อยุติในการดำเนินการตามมติครม.
นายชินวรณ์ กล่าวว่า จากข้อมูลเบื้องต้น พบว่า จำนวนครูโรงเรียนเอกชนที่เงินเดือนต่ำกว่า 11,700 บาทและมีสิทธิรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวมีจำนวน 63,135 คน คาดว่าจะใช้งบประมาณ 89 ล้านบาทต่อเดือนและงบประมาณที่จะต้องใช้ระหว่างเดือนพ.ค. – ก.ย. 2553 จำนวน 499 ล้านบาท ส่วนปีงบประมาณ 2554 จะต้องใช้งบประมาณ 1,079 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากข้อมูลเงินเดือนครูโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศจำนวน 84,482 คนพบว่าอัตราเงินเดือนตั้งแต่ต่ำกว่า 5,310 บาทและสูงสุด 40,000 บาทขึ้นไป ซึ่งครูที่เงินเดือนต่ำกว่า 5,310 บาท มีจำนวน 883 คน และเงินเดือนสูงกว่า 11,700 บาท จำนวน 21,347 คน โดยครูโรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่มีอัตราเงินเดือนที่ต่ำ
สิงคโปร์มอบเงินช่วยครอบครัวแรงงานไทยเสียชีวิต
(สำนักข่าวไทย
, 1 ก.ค. 2553‎) นายศุภกิจ บุญญฤทธิพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นตัวแทนของกระทรวงแรงงาน ของประเทศสิงคโปร์ มอบเงินช่วยเหลือแก่ครอบครัวของนายเอกภาพ จันทร์ตา อายุ 35 ปี ชาวบ้าน ม.8 ต.เสริมขวา อ.เสริมงาม ที่ศาลากลางจังหวัดลำปาง วันนี้ (1 ก.ค.) หลังจากสำนักงานแรงงานประเทศสิงคโปร์ ตรวจสอบพบว่า นายเอกภาพ เป็นแรงงานไทยมาทำงานกับนายจ้างที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นบริษัทรับจ้างรื้อถอนโครงสร้างอาคาร และเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตขณะปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2553 ทางสำนักงานเงินทดแทน กระทรวงแรงงานของสิงคโปร์ จึงมอบเงินทดแทนตามกฎหมายแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตจำนวน 107,180 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือคิดเป็นเงินไทย 2,500,000 บาท โดยมอบเงินดังกล่าวผ่านกระทรวงแรงงานของไทย เพื่อจัดสรรให้ผู้เป็นบิดา และมารดา คนละ 5,359 ดอลลาร์สิงคโปร์ ส่วนภรรยา และบุตร ได้รับเงิน 96,462 ดอลลาร์สิงคโปร์
สปส.เผยเงินกู้หมื่นล้านเกลี้ยงลูกจ้างแนะปรับเงื่อนไข
(คม-ชัด-ลึก
, ‎30 มิ.ย. 2553‎) นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เงินกู้ยืมสำหรับผู้ประกันตน 1 หมื่นล้านบาทหมดแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประมวลผลเพื่อนำเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด)ประกันสังคมที่จะประชุมในวันที่ 13 กรกฎาคม โดยส่วนใหญ่เป็นการกู้เพื่อปรับปรุงหนี้สิน (รีไฟแนนซ์) ส่วนการกู้เพื่อซ่อมแซมบ้านนั้นมีจำนวนน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามโครงการนี้จะดำเนินการต่ออีกหรือไม่ เป็นเรื่องที่บอร์ดจะพิจารณา
ผู้สื่อข่าวถามถึงความคืบหน้าการนำงบประมาณกว่า 200 ล้านบาทไปจัดทำหนังสือผลบอร์ด นายปั้นกล่าวว่า ล่าสุดยังไม่มีการนำเสนอสู่บอร์ดแต่อย่างใด เพียงแต่มีการจัดทำเป็นพิมพ์เขียวไว้เท่านั้น แต่จะทำเป็นหนังสือหรือไม่ขึ้นอยู่กับที่ประชุม
ด้านนายทวีป กาญจนวงศ์ ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวว่า การปล่อยกู้ของสปส.ในครั้งที่ผ่านมาแทบไม่ถึงผู้ประกันตนที่มีรายได้น้อยเลย เพราะธนาคารตั้งเงื่อนไขไว้สูง เช่น ต้องกู้เงินทีละมากและต้องมีรายได้มากกว่า 2 หมื่นบาท แต่โดยข้อเท็จจริงคือผู้ประกันตนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีรายได้เพียงเดือนละ 6 , 000-8 , 000 บาท ดังนั้นหากจะมีการปล่อยกู้งวดใหม่ สปส.ควรปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกันตนระดับรากหญ้าได้เข้าถึงบ้าง เพราะบางคนต้องการกู้เงินเพียง 1-2 แสนบาท ซึ่งอย่างน้อยก็น่าจะมีการปล่อยกู้ให้ได้ตามกำลังที่ผู้ประกันตนสามารถใช้หนี้ได้
ก.วิทย์ฯจับมือแรงงาน ผุดโครงการรากฟันเทียมช่วยลูกจ้าง
(ไทยรัฐ
, 29 มิ.ย. 2553‎) เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. นายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปาก และการบดเคี้ยวอาหารเป็นจำนวนมาก อันนำไปสู่ความเสื่อมโทรมของสุขภาพร่างกาย ทำลายคุณภาพชีวิตที่ดี และนำไปสู่ปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างเป็นลูกโซ่ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติด้านทันตกรรม พบประชาชนที่สูญเสียฟันที่ใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร ตั้งแต่ 1 ซี่ขึ้นไปจนหมดทั้งปาก มีอยู่ถึง 18 ล้านคน หรือร้อยละ 28 ของประชาชนในประเทศ และมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อันมีสาเหตุเริ่มต้นจากเป็นโรคฟันผุ โรคเหงือก จนนำไปสู่การถอนฟันออกตั้งแต่ 1 ซี่ขึ้นไป
การรักษาโดยทันตกรรมรากฟันเทียม เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เป็นที่นิยม และให้ผลการรักษาที่ชัดเจน สามารถทำให้ผู้ป่วยกลับมามีฟันใช้บดเคี้ยวอาหารได้เป็นอย่างดีอีก แต่เนื่องจากค่าบริการการรักษามีราคาสูง ซี่หนึ่งมีราคาตั้งแต่ 60,000 บาท ไปจนถึง 120,000 บาท ทำให้ผู้ป่วยที่มีฐานะยากจน หรือผู้ใช้แรงงานหาเช้ากินค่ำ ซึ่งเป็นกลุ่มประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่มีโอกาสได้รับการรักษาด้วยวิธีการนี้
ดังนั้น วท.จึงร่วมกับกระทรวงแรงงาน จัดทำโครงการรักษาฟื้นฟูแก้ปัญหาประชาชนไทยผู้ใช้แรงงาน ที่ไม่มีฟันตั้งแต่ 1 ซี่ขึ้นไป ให้ได้รับการรักษาด้วยวิธีการทันตกรรมรากฟันเทียม ภายใต้ชื่อโครงการ “รากฟันเทียม เฉลิมพระเกียรติ สำหรับประชาชนไทยผู้ใช้แรงงาน” จำนวนเริ่มแรก 20,000 ราก ให้กับผู้ใช้แรงงาน โดยมีศูนย์เทคโนโลยีทางทันตกรรมขั้นสูง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ในฐานะหน่วยงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมรากฟันเทียมตามพระราชดำริ จะเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและการบริหาร จัดการ การให้บริการทันตกรรมรากฟันเทียม แก่สถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ กับสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เพื่อให้โครงการดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ และบรรลุเป้าหมายของโครงการต่อไป
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บันทึกของ วิสา คัญทัพ (ฉบับ1-2)

Posted: 04 Jul 2010 11:42 PM PDT

<!--break-->

บันทึกของวิสา คัญทัพ เผยแพร่ในเฟซบุ๊คของเขา (Visa Khanthap) ตอนแรกชื่อว่า “การยุทธและการหยุดฯ” ตอนที่สองชื่อว่า “ปัญหาสองแนวทางของการนำ” นับเป็นหนึ่งในมุมมองที่สำคัญของ “คนใน” ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นการวิพากษ์จุดอ่อนกันเองภายในขบวนอย่างเป็นระบบเพื่อการวิเคราะห์ไปข้างหน้า นี่เป็นบทวิพากษ์การนำและนำเสนอเหตุผลใน "การลงสถานทีบางซื่อ" ของเขาท่ามกลางแรงเสียดทานทางความคิดในขบวนเดียวกันอย่างหนักหน่วง อย่างน้อยก็ในโลกเฟซบุ๊คซึ่งมีทั้งผู้เห็นด้วยและผู้ไม่เห็นด้วย

 
บันทึกของวิสา คัญทัพ ฉบับที่ 2 : ปัญหาสองแนวทางของการนำ
(บันทึกนี้เขียนเสร็จ 11 มิถุนายน 2553)

ขั้นตอนการต่อสู้ หมายถึงยุทธวิธี มิใช่ยุทธศาสตร์ เหมือนที่ชอบเปรียบเทียบว่า กินข้าวหมดจาน แต่ต้องกินทีละคำ กินหมดจานเป็นยุทธศาสตร์ กินทีละคำเป็นยุทธวิธี อันที่จริง นปช.แดงทั้งแผ่นดิน มีแนวทาง นโยบาย ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีการต่อสู้ชัดเจน กรอบการปฏิบัติงานผ่านมติจากแกนนำ ลงสู่ผู้ปฏิบัติงานและสมาชิก นปช.โดยบรรจุเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน นปช.แดงทั้งแผ่นดิน เคลื่อนไหวทางความคิดอย่างเป็นเอกภาพ เพียงแต่ในความเป็นจริง ในแกนนำกลับไม่เป็นเอกภาพ และยึดกุมแนวทางการต่อสู้ของ นปช.ไม่ได้ ต้องยอมรับว่า คนเสื้อแดงทั้งหมด บางส่วนอาจเห็นด้วยกับ นปช. แต่บางส่วนก็อาจมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป จน นปช.ต้องแถลงย้ำยืนยันถึงจุดยืน แยกตัวเองออกจาก กลุ่มแดงสยาม และกลุ่ม เสธ.แดง อยู่บ่อยๆ

การนัดชุมนุมใหญ่เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศที่ผ่านมา กำหนดเป้าหมายการต่อสู้เรียกร้องชัดเจนคือ ยุบสภามติเรื่องยุบสภาเป็นมติเอกฉันท์ของแกนนำ นปช.เคลื่อนไหวเรียกร้องประเด็นเดียวชัดเจน ทั้งเนือหาเรื่องราวต่างๆ ที่จะพูดจาปราศรัยก็กำหนดกรอบแนวไว้ล้อมรอบเรื่องยุบสภา การยุบสภาจึงเป็นยุทธวิธี ซึ่งต้องคิดว่าเรียกร้องแค่นี้จะลงทุนลงแรงขนาดไหน ต้องสอดคล้องกับเรี่ยวแรงกำลังและสภาพความจริงที่ตนมีอยู่ ต้องเดินหน้าไปด้วยเหตุผล มิใช่เดินหน้าไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก ต้องคิดจากภววิสัยที่เป็นจริง มิใช่คิดจากอัตวิสัย

แต่ความจริงก็คือ องค์กรนำ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน อยู่ในระยะเริ่มต้นดำเนินงานจัดตั้ง การจัดตั้งยังไม่เข้มแข็งพอ แกนนำระดับต่างๆ ยังยอมรับและขึ้นต่อแกนนำระดับศูนย์กลางอย่างหลวมๆ การชุมนุมใหญ่ครั้งนี้ ถึงที่สุดแล้ว การนำยังไม่เป็นเอกภาพ การนำอยู่ในสภาพการณ์ที่ยังไม่พร้อม เพราะฉะนั้นการคุมทิศทางใหญ่บนเวทีว่าจะไปทางใด แม้จะกำหนดจากมติในที่ประชุมแล้วก็ตาม แต่เป็นการกำนดแบบวันต่อวัน อีกทั้งการปฏิบัติตามมติก็มิได้เคร่งครัดเป็นแนวเดียวกันอย่างมั่นคงก็หาไม่ มติพลิกผันเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุการณ์เฉพาะหน้า ดังกรณีการเคลื่อนกำลังส่วนหนึ่งไปชุมนุมกดดันที่ราชประสงค์ เดิมทีตกลงว่าไปแล้วกลับ หรือหากมีการตั้งเวทีก็จะตั้งชั่วคราวพอพูดจาปราศรัยได้ในเย็นวันนั้น แต่ต่อมาก็เปลี่ยนไป ไม่ทราบว่ามีการประชุมกันภายหลังอย่างไร เพราะมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่เวทีผ่านฟ้าลีลาศ เช่นนี้เป็นต้น

ลักษณะพิเศษของสังคมไทยอย่างหนึ่งคือ วัฒนธรรมเรื่องการพูดความจริง พูดความจริงทั้งหมด หรือพูดความจริงบางส่วน ด้วยเหตุผลอย่างใดอย่างหนี่ง เป็นต้นว่า พูดแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการทำงานทั้งหมด พูดแล้วจะส่งผลลบต่อผู้อื่น โดยลืมไปว่า บางครั้ง การข้ามไปไม่พูดจะส่งผลเสียหายให้กับส่วนรวมยิ่งกว่า เพราะอาจทำให้ข้อผิดพลาดสำคัญในเรื่องแนวทางใหญ่ผิดเพี้ยนไปด้วยการละเลยไม่พูดถึง

ดังนั้น ปัญหาใหญ่ที่จะพูดถึงในที่นี้เป็นเรื่องหลักการ ซึ่งก็คือปัญหาการยึดกุมแนวทางการต่อสู้ของ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน และการนำการต่อสู้ไปถูกทางหรือผิดทาง

แนวทางที่ 1 คือแนวทางต่อสู้ด้วยสันติวิธี มีเป้าหมายที่ ยุบสภาการประเมินชัยชนะจากการต่อสู้ในครั้งนี้ ต้องถือเป็นชัยชนะทางยุทธวิธี คือยุบสภาพอแล้ว ไม่ใช่ยุทธศาสตร์คือการโค่นอิทธิพลของระบบอำมาตยาธิปไตยในสังคมไทย เพราะฉะนั้น การต่อสู้ดังกล่าวต้องสอดคล้องกับภววิสัยที่เป็นจริง จริงอยู่ การพูดปลุกเร้าบนเวทีอาจเลยไกลแบบกลอนพาไปถึงอำมาตย์ ทว่าจะลืมเป้าหมายแท้จริงคือยุบสภาไม่ได้ ดังนั้น ความสำคัญของการประเมินสถานการณ์จึงเป็นเรื่องใหญ่ แม้ประเมินจากอัตวิสัยของผู้เคลื่อนไหวก็อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดได้

สถานการณ์การชุมนุมยืดเยื้อข้ามเดือน เมื่อเมษายน และพฤษภาคมเป็นอย่างไร ต้องย้อนกลับมาที่ ข้อเรียกร้องที่วางไว้แค่ ยุบสภาแต่เดิมรัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ยอมเจรจาใดๆ กับฝ่ายผู้ชุมนุมเสื้อแดง ยืนยันว่าตนเองมาจากการเลือกตั้ง และจะอยู่ครบเทอม ต่อมามีการเจรจาครั้งแรก เป็นการเจรจาโดยตรงกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้ารัฐบาล แม้ผลการเจรจาจะจบลงด้วยการตกลงอะไรกันไม่ได้เลย แต่ก็สามารถตรวจสอบผลบวกลบจากกระแสสังคมได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกระแสสังคม ตรงกลาง

สถานการณ์ในเวลาต่อมาเข้มข้นดุเดือดขึ้น และภาพลบตกอยู่กับฝ่ายรัฐบาลทันทีที่มีการ ขอคืนพื้นที่ที่สะพานผ่านฟ้า ราชดำเนิน มีการปราบปรามเข่นฆ่าประชาชน ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก กรณี 10 เมษายนทำให้รัฐบาลขาดความชอบธรรม ภาพพจน์ในทางสากลเสียหาย ผู้สื่อข่าวต่างประเทศรายงานไปทั่วโลก จนคณะฑูตจากประเทศต่างๆหลายประเทศต้องเข้ามาติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมเข้าพบทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน รวมถึงเข้าเยี่ยมเยียนผู้ชุมนุมที่ราชประสงค์ในเวลาต่อมาด้วย ต้องพูดว่า รัฐบาลไม่สามารถขอพื้นที่ที่สาพานผ่านฟ้าคืนได้ ประชาชนต้านการล้อมปราบด้วยสองมือเปล่าอย่างแข็งขัน ขณะที่เกิดการตอบโต้ด้วยความรุนแรงจากชายในชุดไอ้โม่งดำอันเป็นกองกำลังไม่ทราบฝ่าย ที่รัฐบาลก็ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นกำลังของใครกันแน่

กรณี 10 เมษายน ทำให้รัฐบาลอภิสิทธิ์มีภาพลบ ฆ่าประชาชน ใช้ความรุนแรง ส่งผลให้การชุมนุมที่ราชประสงค์เพิ่มจำนวนขึ้นคึกคักหนาตาจากคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ (รวมถึงคนที่อยู่ ตรงกลาง”) เสียงเรียกร้องให้รัฐบาลเจรจากับคนเสื้อแดงดังขึ้นจากทุกวงการ แกนนำ นปช.ได้มอบหมายให้มีผู้แทนไปเจรจากับเจ้าหน้าที่รัฐบาล ที่สุดรัฐบาลก็ยอมให้มีการเลือกตั้งภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน ซึ่งมีความหมายว่าวันยุบสภาจะเป็นวันที่ 15-30 กันยายน ตรงนี้หากเราจะลองลำดับขั้นตอนการเรียกร้องต่อสู้เพื่อการยุบสภาของคนเสื้อแดง จะเห็นว่าได้รับชัยชนะมาเป็นลำดับได้ดังนี้
1.
เริ่มต้นจากรัฐบาลประกาศจะอยู่ครบเทอม โดยรัฐบาลยังมีเวลาถึง 1 ปี 9 เดือน
2.
ต่อมา รัฐบาลขอเวลา 9 เดือน (เท่ากับลดไป 1 ปี)
3.
สุดท้าย รัฐบาลประกาศวันเลือกตั้ง ซึ่งมีความหมายว่าจะยุบสภาภายใน 4-5 เดือน

ความจริงก็คือ หากไม่มีการเคลื่อนไหวของ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน รัฐบาลย่อมไม่ยุบสภาอย่างแน่นอน ต่อเมื่อมีการเคลื่อนไหวของ นปช.ต่างหากเล่าจึงทำให้รัฐบาลเริ่มยื้อเรื่องเวลาในการยุบสภา ยื้อไปยื้อมาก็ต้องยอมยุบสภาในเวลาสั้นที่สุด หากถามว่า เป็นเช่นนี้จะถือป็นชัยชนะที่น่าพอใจได้หรือยังสำหรับ นปช.

ตรงนี้ต่างหากเล่าที่แกนนำ นปช.มีความคิดเห็นแตกต่างกัน

ตรงนี้ต่างหากเล่าที่เป็นปัญหาการนำสองแนวทางที่ไม่เหมือนกัน


ตรงนี้ต่างหากเล่า ที่ประธาน นปช.แดงทั้งแผ่นดิน นายวีระ มุสิกพงศ์ ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ไปเจรจาเริ่มถอดใจ และเห็นว่าเราเดินทางมาถึงสถานี
บางซื่อที่สมควรจะต้องลงจากรถไฟแล้ว

ตรงนี้ต่างหากเล่าที่จะสร้างความชอบธรรมให้ นปช.ที่จะสลายการชุมนุมอย่างสันติสงบ ขณะคลื่นความรุนแรงอันควบคุมไม่ได้กำลังก่อเค้ามืดทะมึนขึ้นมาอย่างที่แกนนำก็ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ (ขณะนั้นมีกรณียิงเอ็ม
79 และการปะทะที่ศาลาแดงเกิดขึ้นแล้ว)

ตรงนี้ต่างหากเล่าที่คนเสื้อแดงจะได้กลับบ้านอย่างปลอดภัยและยิ่งใหญ่ เหมือนขณะที่เมื่อขามาก็เข้ามาชุมนุมอย่างยิ่งใหญ่


ตรงนี้ต่างหากเล่าที่จะสงวนกำลังของคนเสื้อแดงไว้เคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อเป้าหมายที่ใหญ่กว่านี้ต่อไป


ตรงนี้ต่างหากเล่าที่กระแสสังคมทุกภาคส่วนจะซัดกลับไปกดดันที่รัฐบาลว่าจะทำตามคำมั่นสัญญาประชาคมหรือไม่อย่างไร


ตรงนี้ต่างหากเล่าที่จะทำให้รัฐบาลต้องตกเป็นจำเลยแห่งความรุนแรงในกรณีวันที่
10 เมษายน

ตรงนี้ต่างหากเล่าที่อภิสิทธิ์จะล้างมือที่เปื้อนเลือดถึงสองครั้งสองคราทั้งจากเมษาปี
52 และเมษาปี 53 ได้หมดหรือไม่

และตรงนี้ต่างหากเล่าที่จะทำให้รัฐบาลอภิสิทธิ์หมดความหมายกลายเป็นซากศพที่เดินได้ในที่สุด


คนจำนวนหนึ่งในแกนนำต้องการหยุดตรงนี้ เพราะถือว่าการเรียกร้อง
ยุบสภาได้มาแล้ว ทั้งคิดสงวนกำลังไว้เพื่อศึกที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ในอนาคต บางคนได้แสดงออกโดยการลดบทบาทไม่ขึ้นเวทีปราศรัย ลงไปเป็นคนเสื้อแดงที่นั่งดูเหตุการณ์อยู่วงนอก

ข้อต่อรองอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ เป็นต้นว่า เมื่อแกนนำ นปช.เข้ามอบตัวแล้ว ให้ประกันตัวหรือไม่ ให้ประกันตัวกี่คน เจ้าหน้าที่รัฐบาลอย่างนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ต้องไปมอบตัวด้วย ไม่น่าจะถือเป็นประเด็น เพราะแม้รัฐบาลจะบิดเบี้ยวไม่ให้ประกันตัว ต้องควบคุมตัวตาม พรก.ก็ไม่มีปัญหาใดๆ เพราะพี่น้องเราเสียสละชีวิตเมื่อ 10 เมษา ชีวิตสำคัญกว่าอิสระภาพของพวกเรา ข้อต่อรองเรื่องตัวเองจึงไม่ใช่สาระสำคัญ

แนวทางที่ 2 คือแนวทางที่ให้มีการชุมนุมต่อ ปฏิเสธการเจรจาที่ตกลงกันมาแล้ว ไม่เชื่อว่ารัฐบาลจริงใจที่จะทำตามคำมั่นสัญญา ทั้งวิเคราะห์ปัจจัยด้านบวกอีกหลายประการที่ทำให้เห็นว่า หากชุมนุมยืดเยื้อไปอีก จะได้ชัยชนะที่มากกว่าการยุบสภา มีบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้พวกเขาเชื่ออย่างนั้น อีกประการหนึ่ง หลังวันที่ 10 พฤษภาคม ความรุนแรงบางส่วนที่ควบคุมไม่ได้เริ่มเกิดขึ้นแล้ว ทั้งมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นอีกวันใดวันหนึ่งก็ได้ กระทั่งมีกระแสเข้มข้นข่มขู่ห้ามสลายการชุมนุมในลักษณะปัจเจกบุคคลของบางคนด้วยถ้อยคำกร้าวร้าวรุนแรง

อะไรคือสิ่งที่มากไปกว่านั้นที่ต้องการได้จากรัฐบาล อะไรคือจุดที่ทำให้แกนนำบางคนต้องเปลี่ยนความคิดกระทันหันจากการเลือกแนวทางที่ 1 มาเป็นแนวทางที่ 2 อะไรคือความคิดชี้นำที่ทำให้เชื่อมั่นว่า การสู้ต่อไปจะทำให้ได้ชัยชนะแบบเด็ดขาด ประเด็นก็คือ ชนะแค่ไหนและอย่างไร คุ้มต่อการต้องสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อของพี่น้องประชาชนต่อไปอีกหรือไม่ โดยเฉพาะหากได้มาแค่ยุบสภาในทันที แล้วต้องเสียชีวิตบาดเจ็บมากมายขนาดนี้ คุ้มหรือ จริงแล้วแม้เพียงชีวิตคนเดียวก็ไม่สมควรแลก

บัดนี้ รอยต่อของสังคมไทยแตกแยกอย่างยากที่จะเชื่อมกลับคืนได้สนิทเหมือนเดิม เราอาจผ่านช่วงแห่งการดำเนินสงครามประชาชนระหว่างรัฐเผด็จการกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและแนวร่วมมาแล้วในอดีต แต่นั่น หากกล่าวให้ถึงที่สุด ก็เป็นสงครามความขัดแย้งทางการเมืองของคนชั้นสูง คนชั้นกลาง และปัญญาชนที่ปฏิวัติ เท่านั้น สามัญชนธรรมดายังเป็นเพียงผู้ยืนดูอยู่วงนอก เป็นเพียงผู้ถูกแย่งชิงจากสองฝ่าย ยังไม่ตื่นตัวและเจ็บปวดล้ำลึกเท่าเหตุการณ์ในปี พ.ศ.นี้ เราจึงผ่านมาได้ด้วยนโยบายที่ใช้การเมืองนำการทหาร(66/23)

วันนี้รัฐบาลกลับมาใช้การทหารนำ ทั้งเข่นฆ่าโหดเหี้ยมยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซ้ำมิได้กระทำต่อนักเรียน นักศึกษา ปัญญาชนเหมือนเหตุการณ์เมื่อ 6 ตุลาคม 2519 หากกระทำต่อคนรากหญ้าสามัญชนคนจำนวนเรือนล้านผู้ต้องการประชาธิปไตยอย่างแท้จริง อำมหิตเกินกว่าอดีตที่ผ่านมาหลายเท่านัก เช่นนี้แล้วจะหานโยบายอันใดเล่าที่จะมาปรองดองสมานฉันท์ให้ไทยไม่แตกแยกได้ หลังเข่นฆ่าแล้ว เขายังจับกุมคุมขัง ลิดรอนสิทธิ์เสรี แบ่งขั้วแยกข้าง ปากปรองดองแต่ใจเชือดคอ ภาวะปริร้าวของสังคมจึงยากที่หาร่องรอยต่อติด

เมื่อไม่มีพื้นที่ของนิติรัฐนิติธรรม แล้วจะหาพื้นที่ของความเป็นกลางได้จากที่ไหน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีตลอดกาลอันรามลักษณ์ยักษ์ลิงจริงหรือไร สวมหัวให้จึงเป็นลักษณ์ยักษ์หรือลิงสักวันหนึ่งโขนละครต้องปิดฉากจบเรื่องใครก่อกรรมทำเข็ญเช่นใดไว้จักต้องเผชิญกรรมจริงที่ตนกระทำ หนีไม่พ้นผู้ปกครองต่างมาแล้วสาปสูญหากแต่ประชาชนยังอยู่ อยู่ตลอดไป ประชาชนสมบูรณ์นิรันดร์ไปประชาชนฆ่าไม่ตาย ทำลายไม่หมด การใช้การทหารยุติปัญหา ก็เหมือนใช้ฝ่ามือปิดฟ้า ปิดอย่างไรก็ไม่มิด ประเทศไทยเดินเข้าจุดอับจนอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงได้.
----------------------------------------------------------------------

 
บันทึกของวิสา คัญทัพ ฉบับที่ 1 : การยุทธและการหยุดเมื่อวัน ที่ 10 พฤษภาคม 2553
(บันทึกนี้เขียนวันที่ 13 พฤษภาคม 2553)

ทำไม วีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช.แดงทั้งแผ่นดิน จึงเขียนจดหมายประกาศยุติบทบาทการต่อสู้โดยประกาศลงที่สถานีบางซื่อ ไม่ขอเดินทางต่อไปถึงสถานีหัวลำโพง คำตอบย่อมมาจากการกลั่นกรองเหตุผลหลายประการจนตกผลึกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานที่ไม่ย อมให้มีการสูญเสียชีวิตและ เลือดเนื้อประชาชนอีกต่อไป
เป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานที่ยึด มั่นแนวทางสันติวิธีในการต่อสู้
เป็นการตัดสินใจที่เห็นว่าข้อเรียก ร้อง ?ยุบสภา?ได้รับการตอบรับจากรัฐบาล แล้วตามเงื่อนไขที่ได้เจร จากัน ดังที่ได้รับมอบหมายให้เป็นตัว แทนการเจรจา และผ่านมติเป็นเอกฉันท์ในทุกเรื่อง

รายละเอียดสุดท้ายคือการให้ประกัน ตัวแกนนำทั้ง 24 คน ซึ่งรัฐบาลยอมรับ ขณะที่แกนนำบางส่วนไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะทำตามคำพูด เพราะหลายคนยังหวั่น พรก.ฉุกเฉิน ทั้งยังเพิ่มข้อเรียกร้องเรื่องนายสุเทพ เทือกสุบรรณต้องมอบตัวให้ถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรมกรณีสั่งฆ่าประชาชน 10 เมษาฯ อ้างว่าเพื่อเป็นการรับผิดชอบ กับชีวิตวีรชนประชาธิปไตย ข้อเรียกร้องเรื่องสุเทพมอบตัว ทำให้เกิดความสับสนในข้อกฎหมาย ว่าจะสิ้นสุดลงอย่างไรจึง จะเป็นที่ยอมรับของแกนนำคน เสื้อแดง

วีระ มุสิกพงศ์ เลือกลดบทบาทจากแกนนำลงไปเป็นคนเสื้อแดงธรรมดาเพราะเห็นว่า การทำตามสัจจะที่ได้ประกาศไว้มีความสำคัญต่อสังคมอย่างที่สุด เมื่อประกาศร่วมกันว่าทั้งสองฝ่ายพร้อมเดินเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ไม่เอาการนิรโทษกรรม ย่อมถือว่าสังคมรับรู้แล้ว เมื่อประกาศจะยุบสภาตามวันเวลาที่ชัดแจ้งก็ผูกมัดรัฐบาลต่อสายตาสังคมโลก แกนนำคนเสื้อแดงสมควรมอบตัวโดย มิต้องหวั่นไหวใดๆ แม้จะมีการหักหลัง จับกุมกักขังไม่ให้ประกัน แม้อภิสิทธิ์ สุเทพจะหลบหลีกไม่ยอมมอบตัว ก็เป็นเรื่องปกติของฝ่ายที่ยึดกุมอำนาจรัฐที่สามารถกระทำเช่นนั้นได้

ส่วนเราจะยื้อยุดฉุดดึงไปก็ไร้ ประโยชน์ เพราะในความเป็นจริง กระบวนการเอาผิดทางกฎหมายต่อรัฐบาลอาชญากรมือเปื้อนเลือดก็มิได้ยุติลงใน รัฐบาลชุดนี้ อภิสิทธิ์ - สุเทพ หนีความผิดไม่พ้น ความไม่ชอบธรรมจะตกอยู่กับอภิ สิทธิ์ - สุเทพทันที

การเลือกยุติการชุมนุมในจังหวะ นี้ ความชอบธรรมจะอยู่กับฝ่าย นปช. สำคัญที่สุด ประชาชนไม่สมควรต้องสูญเสียเลือดเนื้อและชีวิตอีกเป็นอันขาด ประชาชนคนเสื้อแดงจะต้องกลับบ้านอย่างปลอดภัย องค์กร นปช.แดงทั้งแผ่นดินยังคงเคลื่อน ไหวในหนทางสันติวิธีต่อไป ได้ รัฐบาลจะถูกกดดันจากทุกภาคส่วน ของสังคมให้ดำเนินการทุกอย่าง ไปสู่การยุบสภา อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และสุเทพ เทือกสุบรรณ จะกลายเป็นซากศพที่เดินได้

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ อดิศร เพียงเกษ,ไพจิตร อักษรณรงค์ และผม เห็นด้วยและตัดสินใจลงสถานีเดียว กัน

แนวทางและชุดความคิดดังกล่าวถูก มองว่าเป็นจิตใจจำนนและถอย ยอมรัฐบาลมากเกินไป คนที่ยังไม่พร้อมจะลงจึงเดินทางต่อไป ถามว่า การเดินทางต่อมีความคิดชี้นำมาจากองค์ ประกอบอื่นๆ นอกเหนือจากแกนนำที่ร่วมประชุมกันหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นจริง จึงยังไม่อยากวิเคราะห์ล่วงหน้า

อย่างไรก็ตาม แนวทางและชุดความคิดนี้หากมองกลับเป็นตรงกันข้าม ย่อมสามารถมองว่าเป็นการ ?ต่อสู้? ได้ เพราะการที่แกนนำเดินทางเข้ามอบตัวโดยไม่หวั่นกลัวต่อการจับกุมคุมขัง เท่ากับ แกนนำยอมเสียสละอิสรภาพของตนเพื่อ แลกกับการให้ประชาชนกลับ บ้าน โดยไม่สูญเสีย ไม่ต้องตายกันอีก เป็นการลงอย่างสันติวิธี ไม่รุนแรง รักษาองค์กรให้คงอยู่และเคลื่อน ไหวต่อสู้ต่อไปได้

หลังการประชุมในตู้คอนเทนเนอร์ ที่เวทีราชประสงค์สิ้นสุดลง ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 วีระ มุสิกพงศ์ ไม่ได้ขึ้นพูดบนเวทีในคืนนั้น แล้วหายไปจากเวที ส่วน อดิศร เพียงเกษ,ไพจิตร อักษรณรงค์ และผม ยังอยู่ต่อ และเข้าร่วมประชุมครั้งสุดท้ายในวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 อดิศร ชี้แจงเหตุผลที่เขาต้องยุติบทบาท แล้วลงจากตู้คอนเทนเนอร์ไปก่อน การประชุมจะสิ้นสุดลง ส่วน ไพจิตรและผมได้แจ้งที่ประชุมว่าจะขอลงสถานีบางซื่อเช่นเดียวกับวีระและอดิศร เช้าวันรุ่งขึ้น ไพจิตร อักษรณรงค์ก็ล้มป่วยเป็นไข้หวัด เจ็บคอ ไม่มีเสียง นอนพักรักษาตัว เราสามคนไม่ได้กลับเข้าไปที่เวทีตั้งแต่วันนั้น

เมื่อครั้งที่ผมและไพจิตร อักษรณรงค์ได้รับมอบหมายให้ดูแลเวทีปราศรัยที่ผ่านฟ้าลีลาศ ก่อนเกิดเหตุการณ์ 10 เมษายน เราคุมสถานการณ์ด้วยสันติวิธี ขณะเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์มาบิน วนในช่วงบ่ายวันนั้น ผมประกาศให้คนออกมาจากเต็นท์ให้หมด มารวมกันหน้าเวที เพื่อให้เจ้าหน้าที่บนเครื่องบิน ที่บินสังเกตุการณ์ได้เห็น ว่ามีคนเสื้อแดงมากมาย ผมให้พี่น้องนั่งลง สงบนิ่ง ตั้งสติ ทำสมาธิ ยึดหลักการสันติอหิงสา ปล่อยให้ตำรวจทหารเข้ามาโดยไม่ขัดขวาง หากเขาจะมาจับแกนนำ ให้เปิดทางให้เขาเข้ามาจับบนเวที พวกเราพร้อม เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียใดๆกับพี่น้องประชาชน

หลังจากผมพูดจบลง ไมโครโฟนก็ถูกแย่งดึงโดยบางคนที่ปลุกเร้าเร่าร้อนระดมกำลังให้ออกไปปะทะ เผชิญสะกัดกั้นไม่ให้ตำรวจทหารผ่านเข้ามาตามด่านต่างๆ ผลักดันสถานการณ์ไปสู่ความรุนแรง ผมเดินลงจากเวที เพราะผมไม่อยู่ในฐานะที่ไปห้ามปรามแล้วเพื่อนๆจะฟัง และไม่มีประโยชน์อะไรที่จะพูดสวน ทางกันให้สับสน ในใจคิดว่าหากมีการสูญเสียเลือดเนื้อและชีวิตอีก คงรับไม่ไหว ผมติดต่อไปหาณัฐวุฒิ ใสยเกื้อที่เวทีราชประสงค์ให้มาคุมสถานการณ์ที่นี่ด้วยตัวเอง ก่อนที่มันจะลุกลามบานปลาย แต่ไม่เป็นผล ที่สุดก็ปะทะกันรุนแรง หลังเหตุการณ์นี้ผมเร่งเร้าให้ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ยุติเวทีที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ หากไม่มีคนนำที่แกนนำเชื่อฟังมา คุมเวที ก่อนที่ประวัติศาตร์นองเลือดจะ ซ้ำรอย ซึ่งเป็นผลสำเร็จในที่สุดเมื่อ ตกลงย้ายการชุมนุมไปรวมที่ราช ประสงค์จุดเดียว

กรณี 10 เมษายน 2553 คุกคามจิตใจผมให้หดหู่ ขมขื่น และเจ็บปวดอย่างหนัก สำหรับผม พอแล้ว มันเขียนอะไรไม่ออก มันบอกอะไรไม่ถูก มันไม่ได้สร้างพลังอะไรเลย นอกจากสำนึกแห่งธรรมที่ว่าการฆ่าคือบาป และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดการฆ่าเล่า จะพ้นบาปไปได้อย่างไร

วันที่ 10 พฤษภาคม 2553 เมื่อประธานวีระ มุสิกพงศ์ ลงขบวนรถไฟไป เหตุเพราะข้อเรียกร้อง ?ยุบสภา?บรรลุแล้ว และแนวทางการต่อสู้ส่อเค้าจะหลุดเฟรมแห่งสันติวิธี มีสำเนียงบางอย่างกระตุ้นเร้าความ รุนแรงแทรกซ้อนการนำของ นปช. ผมจึงเห็นด้วยและขอลงสถานีเดี ยวกับวีระ ใครจะชิงชังรังเกียจและหยามเหยียดอย่างไรก็ว่ากันไป เรารับเสียงร่ำไห้แห่งความโศก เศร้า เลือดเนื้อ น้ำตา การบาดเจ็บ สูญเสีย ไม่ได้อีกแล้ว

บันทึกนี้เขียนขึ้นเพื่อชี้แจง เหตุผลแห่งการยุติบทบาทอย่าง เป็นทางการของผมและไพจิตร อักษรณรงค์

หยุดคือหยุด ไม่ให้ใคร ต้องตายอีก
หยุดคือหลีก ความรุนแรง อันแฝงฝัง
หยุดแล้วมวลชนได้ไม่พ่ายพัง
หยุดเขาขังหลอกเราก็เข้าใจ

หยุดอาจมีความหมายว่าไม่หยุด
หยุดเพราะแท้ที่สุด หาหยุดไม่
หยุดการตาย เพื่อให้อยู่ สู้ต่อไป
หยุดสงวนกำลังไว้ใช้อีกนาน

ถ้าเราหยุดละวางตรงบางซื่อ
จักได้ความเชื่อถือมหาศาล
คลื่นอธรรมก็จะซัดใส่รัฐบาล
ดำเนินการต้องประกอบด้วยชอบธรรม

หยุดเพราะว่ายุบสภาได้มาแล้ว
เราได้แนวนำเสนอไม่เพ้อพร่ำ
เป็นไปตามยุทธวิธีที่ชี้นำ
ให้ค่อยกินทีละคำจดหมดจาน

เหมือนจะยอม เหมือนจะแพ้ แท้แล้วสู้
ข้างหน้าคุก รออยู่ ไม่สะท้าน
เพื่อหยุดการเข่นฆ่าอย่างสามานย์
นี้คือการ เรียกร้อง หยุดของเรา
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กวีประชาไท: สู่อิสรีย์

Posted: 04 Jul 2010 11:02 PM PDT

<!--break-->

 
 
 
ใครเอาตาข่ายเข้า      ครอบคลุม
ขังกักข้า ณ ขุม          ค่ายนี้
เรื่องราวรอบรายรุม     ร้าวรวด
ยิ่งขยับกลับถูกขยี้       คับข้องขื่อคา
 
อกระอุคุคลั่งแค้น       แดนคุก
ยังอาจเสพอวลสุข     โทษสิ้น
หัวใจที่ทานทุกข์        ทวีเทวษ
สิดับดวงแดดิ้น         บ่สิ้นพันธนา
 
เรียวปีกหักปีกแล้ว       ปักษา
กรงเปิดบ่อาจพา        ชีพพ้น
โปรยใจปาดปัญญา     เป็นเหยื่อ
พลีเซ่นกรีดเลือดข้น    ปีกข้าสังเวย
 
เคยร่วมเคยเรียกร้อง    อิสรีย์
อาวุธเพียงคมกวี         พรั่งพร้อม
เคยขบถเชิดธงสี         แดงสาด
หาญหักบ่ยอมน้อม      ยุดยื้ออยุติธรรม
 
เคยหนีไปสุดหล้า        ฟ้าเขียว
เห็นโลกโดยแสงเดียว หิ่งห้อย
วิญญาณบ่อาจเยียว     โอสถ
พรุนพร่างกระสุนพร้อย ผลึกน้ำตาเพลิง
 
 
ผกาโปรยกลีบแย้ม       ทางเลือก
เสียงมนุษย์กระสนกระเสือก   เกลือกไส้
ข้าดิ่งชีพจนเชือก         กระชับร่าง
ทิ้งทุ่งดวงดอกไม้         สู่ห้วงสมุทรเหว
 
 
มีใจไว้ต่อสู้                โลกเข็ญ
ศิลาเปื่อยเน่าเป็น         ซากร้าง
นามธรรมเบิ่งบเห็น       หายเปล่า
ยังหยัดยืนอยู่ข้าง         มนุษย์ช้ำอาดูรชน
 
บ่ควานบ่ไขว่คว้า         อิสรีย์
พันธะข้ายังมี             มากท้น
ใช่อ้างอวดบารมี         โพธิสัตว์
ตราบมนุษย์ยังถูกปล้น       ย่อมเปื้อนหัวใจกวี
 
ปัญญาชนมองผ่านข้าม     เมินไป
ปีนเถิดเนินไศล            รกร้าง
ข้าเพียงปีกปราชัย        นกป่า
อิสรภาพบ่อาจอ้าง   ปล่อยฟ้าปลิวสวรรค์
 
ข้าขังปีกหักไว้             ในกรง
ขนรุ่ยเป็นผุยผง            ผุสะบั้น
เพียงร่างที่ดำรง           รอเปื่อย
ชัยชนะเหนือปีกนั้น       ย่อมพ้นพันธนา.
 
* จากรวมบทกวี "ปุษปัญชลี" บุปผากวีเพื่อชีวิตอิสระ สนพ.แพรเดือน ปี ๒๕๓๒ รื้อค้นบทกวีอายุสองทศวรรษ เขียนขึ้นก่อนพฤษภาทมิฬ ๓๕ และ ๕๓ เพื่อมอบให้กับการต่อสู้ของกวี-นักเขียนประชาไท โดยเฉพาะกวีศรีประชา วิสา คัญทัพ ที่กำลังร่อนเร่ "ยิ่งขยับกลับถูกขยี้ คับข้องขื่อคา"
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“หนูน้อยหมวกแดง” พรุ่งนี้... จะทำอย่างไรต่อไป?

Posted: 04 Jul 2010 04:46 PM PDT

“หนูน้อยหมวกแดงกับยักษ์หน้าหล่อ” เรื่องราวการต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ของหนูน้อยหมวกแดง กับอำนาจนอกระบบของเหล่ายักษ์หน้าตาดีที่มีเทวดาอุ้มชู ภายหลังความสูญเสียครั้งใหญ่ เธอจะทำอย่างไรต่อไป? ... แล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป?

<!--break-->

ท่ามกลางแสงไฟสลัว... นักแสดงทั้งหมดได้ออกมายืนประจันหน้ากับคนดู บนพื้นที่กระเบื้องที่เท้าเหยียบได้เทียมกับ แล้วเสียงของหนึ่งในผู้แสดงก็พูดขึ้นว่า...

“ยังจำได้ไหม วันนั้นคนข้างๆ คุณหายไปรึเปล่า ยังจำได้ไหม วันนั้น ใครที่สูญเสียไป ใครที่ต้องเป็นกำพร้า ใครที่ต้องเป็นหม้าย ยังจำได้รึเปล่า ว่าความโหดร้ายของเผด็จการทำร้ายเราขนาดไหน ถ้าคุณยังจำได้ เราก็อยากให้คุณคิดต่อว่า... (นักแสดงพูดพร้อมกัน) แล้วคุณล่ะ จะทำยังไงต่อไป?”

...

“... จะทำยังไงต่อไป?”

คำถามนี้ถูกตั้งขึ้น ในตอนท้ายของการแสดงละครเวทีที่ชื่อว่า “หนูน้อยหมวกแดงกับยักษ์หน้าหล่อ” ภายหลังความสูญเสียครั้งใหญ่ของหนูน้อยหมวกแดง ที่เล่นเอาใครหลายๆ คน ณ ที่นั้นน้ำตาซึม ต้องหยิบผ้าเช็ดหน้ามาปาดน้ำตากันป้อยๆ 

ผู้ชมคนหนึ่งยอมรับว่า เธอรู้สึกสะเทือนใจเพราะภาพที่ได้เห็นในการแสดง มันช่างคล้ายกับสิ่งที่เธอและเพื่อนได้ประสบมาเมื่อไม่นานมานี้ 

ดูเหมือนว่าภาพเหตุการณ์ความสูญเสียจากการใช้กำลังทหารและอาวุธบรรจุกระสุนจริงเข้าสลายการชุมนุมของประชาชน โดยการสั่งการของรัฐบาลจนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บนับพันคน ยังไม่ลบเลือนไปจากหัวใจของใครหลายๆ คน อย่างน้อยก็ในห้วงความคิดของคนกว่า 50 คน ในห้องนี้ 

“เราไม่ได้จัดกิจกรรมเพื่อตอกย้ำสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ต้องการให้ทุกคนได้มาพบปะและได้พูดคุยกัน รวมถึงช่วยกันตอบคำถามด้วยว่า เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วเราจะทำอย่างไรต่อไปกับสิ่งที่เกิดขึ้น” ผู้สวมบทหนูน้อยหมวกแดงตามท้องเรื่อง บอกกับคนดู 

...

เมื่อเย็นวันอาทิตย์ ที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา ห้องสี่เหลี่ยมที่ดูเหมือนห้องประชุมมากกว่าเวทีการแสดง ตรงชั้นล่างของอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ได้ถูกจัดวางใหม่ เพื่อเตรียมใช้เป็นพื้นที่ในการแสดงละครเวทีเรื่องแรกของกลุ่ม Iskra Drama หนึ่งในแขนงย่อยๆ ของกลุ่มประกายไฟ กลุ่มกิจกรรมที่เกิดจากการรวมตัวกันของเยาวชนคนหนุ่มสาวที่สนใจศึกษาเรียนรู้ และต้องการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสังคมอย่างถึงราก 

ละครเวทีว่าด้วยเรื่องราวของนครรัฐไร้ชื่อแซ่แห่งหนึ่ง ที่เดิมปกครองโดยเทวดาและยักษ์ แต่ต่อมาคนธรรมดาได้ลุกขึ้นเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพื่อเลือกผู้นำของตัวเอง จากนั้น ผู้นำคนใหม่ทุจริตจึงถูกทำรัฐประหารโดยกลุ่มยักษ์และเทวดา แต่อนิจจาพวกเขาถูกสาปจากเทวดาให้ต้องพบกับความสูญเสียครั้งแล้วครั้งเล่า หากมีใครคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง และเมื่อผู้คนลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตยอีกครั้ง เขาก็ถูกเหล่ายักษ์เข่นฆ่า ก่อนจะจบด้วยคำถามทิ้งท้าย 

“... แล้วคุณล่ะ จะทำยังไงต่อไป”

...

หลังละครจบลง คำถามจากนักแสดงได้กลายมาเป็นกิจกรรมสำหรับคนดูที่จะร่วมกันคิดต่อ ด้วยการพูดคุยกับนักแสดงโดยจัดแบ่งกันเป็นกลุ่มย่อยๆ ตามอัธยาศัย ในแต่ละกลุ่มมีการพูดคุยถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่แต่ละคนประสบ ทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังจากที่มีการสลายการชุมนุม 

ชายคนหนึ่งเสนอในวงพูดคุยย่อย ให้กลุ่มนักศึกษารวบข้อมูลของผู้ที่เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม ให้รู้ว่าพวกเขาทำอาชีพอะไร มีชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างไร โดยอาจรวบรวมเป็นหนังสือรำลึก หรือบันทึกประวัติศาสตร์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายอย่างที่ถูกรัฐบาลกล่าวหา 

นอกจากนี้ แต่ละคนในกลุ่มนี้ต่างเห็นตรงกันว่าสำหรับพวกเขา ผู้ที่เสียชีวิตถือเป็นวีรชน แม้จะไม่เคยได้รู้จักหรือพูดคุยกันมากก่อน  

“เหตุการณ์อย่างนี้มันไม่น่าจะเกิดขึ้นเลย หากเขาฟังเราก่อนหน้านี้... ไม่น่าจะมารับฟังกันตอนนี้ ตอนที่มันสายไปแล้ว เราสูญเสียไปเยอะมากแล้ว” พี่เกตุผู้ชมอีกคนหนึ่งแบ่งปันความรู้สึกที่มีต่อการรับฟังความเห็นประชาชนในโครงการ “6 วัน 63 ล้านความคิด ร่วมเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย” ของรัฐบาล 

จากการสังเกต พี่เกตุเป็นผู้หญิงผิวขาวแบบคนเหนือสวมยืดเสื้อและรองเท้าสีแดง เธอนั่งปาดน้ำตาเมื่อละครจบลง แม้ตอนอยู่ในวงพูดคุย มือของเธอก็ยังถือผ้าเช็ดหน้าสีชมพูผืนเดิมและยกมันขึ้นมาปาดน้ำตาอยู่เป็นระยะ

พี่เกตุเล่าว่าตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว เธอไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงแล้วโดนแก๊สน้ำตาเธอก็คิดว่ามันหนักแล้ว แต่ปีนี้กลับหนักกว่ามาก เพราะมีคนตาย และสำหรับเธอ สื่อเองก็เล่นข่าวเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง คือบอกว่ามีคนตายเท่าไหร่ รายงานไปแล้วก็จบ จากนั้นข่าวก็เงียบหายไป

หลังการสลายการชุมนุม พี่เกตุบอกเหมือนหลายๆ คนว่าเธอไม่อยากรับสื่อ เพราะรู้สึกสื่อทุกวันนี้ว่าไม่มีความเป็นกลางหลงเหลืออยู่ แต่เมื่อมีคนบอกว่าในเฟซบุ๊คมีคนเสื้อแดงเยอะ เธอจึงลงทุนซื้อคอมพิวเตอร์มือสองและหันมาฝึกเล่นเฟซบุ๊คเพื่อใช้เป็นช่องทางรับข้อมูลข่าวสารอย่างจริงๆ จังๆ 

พี่เกตุ เล่าด้วยความภาคภูมิใจว่าจากเธอคนเดิมซึ่งเป็นลูกจ้างโรงงานที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์ และต้องกดจิ้มแป้นคอมพิวเตอร์ทีละตัว แต่วันนี้เธอพิมพ์ข้อความตามสัมผัสตัวอักษรได้คล่องและติดต่อสื่อสารได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง กิจกรรมในครั้งนี้เธอก็รู้มาจากในเฟซบุ๊ค ล่าสุดขณะนี้เธอกลายเป็นพี่เลี้ยงให้กับเพื่อนๆ อีกหลายคนที่เริ่มต้นใช้เฟซบุ๊ค

“เราต้องทำอะไรกันสักอย่างหนึ่ง เพื่อทำให้เรากลับมาเข้มแข็งดังเดิม” คำพูดจาก "กอล์ฟ" ผู้สวมบทบาทหนูน้อยหมวกแดง

กอล์ฟ มีชื่อจริงว่า ภรณ์ทิพย์ มั่นคง เธอเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หนึ่งในสมาชิกกลุ่มประกายไฟ ผู้รับบทหนูน้อยหมวกแดง อีกทั้งยังรับหน้าที่เขียนบทและกำกับการแสดงในละครเวทีเรื่อง “หนูน้อยหมวกแดงกับยักษ์หน้าหล่อ” ด้วย 

กอล์ฟเล่าว่าก่อนหน้านี้เธอและสมาชิกกลุ่มประกายไฟเคยแสดงละครตามที่ชุมนุมต่างๆ เช่น ในการชุมนุมของคนงานไทรอัมพ์ สมัชชาคนจน และการชุมนุมเรียกร้องในประเด็นต่างๆ ของกลุ่มนักศึกษา 

ด้วยความที่กอล์ฟ เคยเรียนด้านการละครมาบ้าง ประกอบกับเกิดเหตุการณ์สลายการชุมนุม เธอและเพื่อนๆ จึงตัดสินใจร่วมกันทำละครเวทีโดยหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม ด้วยการสื่อสารข้อมูลผ่านละคร รวมทั้งการพูดคุยหลังชมละครด้วย 

ทั้งนี้ โดยส่วนตัวแล้วเธอสนใจในประเด็น พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ความเหลื่อมล้ำในสังคม แรงงาน การตั้งพรรคการเมือง รวมถึงการใช้ศิลปะเพื่อประชาธิปไตย

สำหรับการแสดงละครเวทีเรื่องแรกของกลุ่ม Iskra Drama นี้ กอล์ฟบอกว่าต้องการทำละครสะท้อนสังคมการเมือง ส่วนชื่อ Iskra Drama เธออธิบายว่า “Iskra” เป็นภาษารัสเซีย แปลว่า “ประกายไฟ” นั่นเอง เพียงแต่คำมันดูสละสลวยกว่า เธอบอกพลางหัวเราะอย่างอารมณ์ดี 

“แล้วละครเรื่องต่อไปคืออะไร?”

กอล์ฟ เล่าถึงละครเรื่องต่อไปของกลุ่ม Iskra Drama มีชื่อว่า “กินรีสีแดง” ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยจะมีการแลกเปลี่ยนกับเพื่อนนักศึกษาจากสามจังหวัดภาคใต้ ซึ่งมีประสบการณ์การอยู่ภายใต้การบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินมาก่อนหน้านี้แล้ว

...

และตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่...

“เราคงต้องทำอะไรกันสักอย่างหนึ่ง”

 

หมายเหตุ: สำหรับผู้ที่สนใจติดตามความคืบหน้าการทำงานละครของกลุ่ม Iskra Drama สามารถเข้าไปดูได้ในเฟซบุ๊ค http://www.facebook.com/profile.php?id=100001269981064  

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น