โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

สบท. เผย “คิดเงินผิด” ติดอันดับปัญหาโทรคมครึ่งปี 53

Posted: 07 Jul 2010 10:12 AM PDT

<!--break-->

7 ก.ค. 53 - นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยว่า ผลการรับเรื่องร้องเรียนตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน 2553 สบท. ได้รับเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 1,083 เรื่อง เป็นปัญหาจากการใช้บริการโทรศัพท์มือถือจำนวน 671 เรื่อง หรือ ร้อยละ 61.95 ปัญหาจากการใช้บริการอินเทอร์เน็ตจำนวน 272 เรื่อง หรือร้อยละ 25.11 ปัญหาจากการใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานจำนวน 101 เรื่อง หรือ ร้อยละ 9.32 และเรื่องอื่นๆ จำนวน 39 เรื่อง หรือ ร้อยละ 3.60 เช่น เสาส่งสัญญาณโทรคมนาคม โทรศัพท์สาธารณะ เป็นต้น
ความเดือดร้อนจากการใช้บริการโทรศัพท์มือถือที่พบมากที่สุดคือ การคิดค่าบริการผิดพลาดจำนวน 226 เรื่อง หรือ ร้อยละ 33.68 ของจำนวนผู้ร้องเรียนปัญหาโทรศัพท์มือถือ ตามด้วยปัญหาคุณภาพบริการ เช่น โทรข้ามเครือข่ายยาก อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือคุณภาพไม่ดี จำนวน 111 เรื่อง หรือร้อยละ 16.54 ปัญหาระบบเติมเงิน เช่น เติมเงินไม่ทันถูกยึดเงิน วันหมดต้องการวันเพิ่ม หรือเติมเงินไม่ได้ตามที่เติม มีจำนวนผู้ร้องเรียน 107 เรื่อง หรือร้อยละ 15.94
ทั้งนี้ในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริษัท เอไอเอส อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ บริษัททรูมูฟ จำกัด ถูกร้องเรียนมากที่สุดในปัญหาเดียวกันคือ เอสเอ็มเอสรบกวนและถูกคิดเงินทั้งที่ไม่ได้สมัครใช้บริการ โดยเอไอเอสมีจำนวน 94 เรื่อง หรือ ร้อยละ 46.30 ทรูมูฟ มีจำนวน 69 เรื่อง หรือร้อยละ 39.42 บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด ถูกร้องเรียนมากที่สุดในปัญหา โทรข้ามเครือข่ายยากจำนวน 98 เรื่อง หรือร้อยละ 52.12 บริษัท ดีแทค ถูกร้องเรียนมากที่สุดในปัญหาเกี่ยวกับการใช้บริการบัตรเติมเงิน เช่น ถูกยึดเงินในระบบ จำนวน 15 เรื่อง หรือ ร้อยละ 20
ความเดือดร้อนจากการใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่พบมากที่สุดคือ มาตรฐานการให้บริการ เช่น สัญญาณล่ม ใช้งานไม่ได้ สัญญาณหลุดบ่อย จำนวน 98 เรื่องหรือร้อยละ 36.02 ของผู้ร้องเรียนอินเทอร์เน็ต รองลงมาคือ คุณภาพการให้บริการ เช่น อินเทอร์เน็ตช้า ไม่เป็นไปตามโฆษณา จำนวน 56 เรื่อง หรือร้อยละ 20.58 และอันดับสามคือ ต้องการยกเลิกบริการ จำนวน 52 เรื่อง หรือร้อยละ 19.11 และในการให้บริการอินเทอร์เน็ต บริษัท ทริปเปิ้ลทรี อินเทอร์เน็ต ถูกร้องเรียนมากที่สุดในเรื่อง การยกเลิกบริการ บริษัท ทีโอที จำกัด ถูกร้องเรียนมากที่สุด คือ ความเร็วอินเทอร์เน็ตต่ำกว่าสัญญา         
ขณะที่โทรศัพท์พื้นฐาน หรือโทรศัพท์บ้าน ความเดือดร้อนจากการใช้บริการที่พบมากที่สุดคือ การคิดค่าบริการผิดพลาดจำนวน 44 เรื่อง หรือร้อยละ 43.56 ของจำนวนผู้ร้องเรียนปัญหาโทรศัพท์พื้นฐาน รองลงมาคือ ปัญหามาตรฐานการให้บริการ เช่น เสียใช้งานไม่ได้ จำนวน 32 เรื่อง หรือร้อยละ 31.68 โดยบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรูคอปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ถูกร้องเรียนมากที่สุดในปัญหาการคิดค่าบริการผิดพลาด คือจำนวน 18 เรื่อง และ 21 เรื่อง ตามลำดับ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน: 1 ปี 10 เดือนในเรือนจำของ ‘บุญยืน’ อดีตนักโทษคดีหมิ่นเบื้องสูง

Posted: 07 Jul 2010 10:10 AM PDT

<!--break-->

  
บุญยืน ประเสริฐยิ่ง อดีตนักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ข้อหาอันหนักหน่วงสำหรับสังคมไทย เพิ่งได้รับอภัยโทษ ออกจาก “คุก” พร้อมๆ กับเพื่อนนักโทษจำนวนหนึ่ง รวมถึง สุวิชา ท่าค้อ’ ในโอกาสวันฉัตรมงคลที่ผ่านมา
เธอไม่เปลี่ยนไปมากนักเทียบกับครั้งยังอยู่ในเรือนจำ ดูเหมือนสุขภาพจะไม่ดีนักและยังเดินกระโผลกกระเผลกจากอุบัติเหตุถูกรถมอเตอร์ไซด์ชนเมื่อครั้งเก่าก่อน แต่แววตายังเต็มเปี่ยมด้วยความกระตือรือร้น เรานัดสัมภาษณ์เธอในวันหนึ่งของเดือนมิถุนายน เธอใส่เสื้อสีชมพูมีตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติเฉกเช่นเดียวกับคนอื่นในสังคม เพื่อเป็นเครื่องยืนยันถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
เธอบอกเล่าว่า ด้วยแนวคิดที่ไม่ต้องการให้ใครแอบอ้างสถาบันเพื่อประโยชน์ในทางการเมืองนั่นเองที่ทำให้เธอโดนจับกุม เพราะเธอได้ปราศรัยโจมตีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) อย่างรุนแรง และได้พาดพิงถึงสถาบันในบางแง่มุมโดยไม่ได้ตั้งใจ ท่ามกลางคนฟังไม่กี่สิบคนที่ท้องสนามหลวง ก่อนที่การเมืองไทยจะเป็นการเมืองกีฬาสีเสียอีก สำหรับโทษทัณฑ์ต่อกรณีดังกล่าวคือ จำคุก 12 ปี รับสารภาพลดกึ่งหนึ่งเหลือ 6 ปี
บุญยืน ถูกจับกุมตัวเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2551 ในข้อหาหมิ่นรัชทายาท บรรยากาศสังคมตอนนั้นยังเต็มไปด้วยการต่อต้านการรัฐประหารจากผู้คนกลุ่มเล็กๆ หลากหลายกลุ่มโดยอาศัยพื้นที่ “สนามหลวง” ด้วยบุคลิกตรงไปตรงมา โผงผาง กล้าได้กล้าเสีย เธอจึงเป็นหนึ่งในดาวเด่นสนามหลวง โดยมีสมญานามว่า ‘นางพญาอินทรีย์’
 
ดีกรีการเคลื่อนไหวทางการเมืองเมื่อ 2-3 ก่อน เป็นภาพที่บุญยืนถูกโจมตีในอินเตอร์เน็ต

เธอเล่าถึงประวัติความคิด และการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองว่าติดตามการเมืองในระดับเดียวกับคนหาเช้ากินค่ำทั่วไปในสังคม ไม่เคยร่วมเหตุการณ์ทางการเมืองใดๆ แต่เมื่อรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่เธอชื่นชอบในแนวทางการบริหารและนโยบายถูกรัฐประหารโดยคมช. เธอจึงได้ออกมาร่วมชุมนุมสนับสนุนอดีตนายกฯ และต่อต้านการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในขณะนั้น สรุปให้ง่ายได้ใจความ เธอเห็นว่า ยุคของทักษิณเป็นยุคที่คนจนลืมตาอ้าปากได้ และคนจนอีกเช่นกันได้ลงคะแนนเสียงของพวกเขาเลือกรัฐบาลนี้ไปแล้วตามกกติกา  
ในเรื่องส่วนตัว แม้จะพยายามไถ่ถามหลายครั้ง แต่เราก็ไม่ได้ข้อมูลมากนัก เพราะเมื่อพูดเรื่องส่วนตัวได้ไม่นาน เธอก็จะวกมาพูดเรื่องคนอื่น หรือเรื่องเหตุบ้านการเมืองตลอดเวลา เท่าที่รับรู้ คือ เธอเติบโตในกรุงเทพฯ เป็นเด็กบ้านแตกที่ดิ้นรนปากกัดตีนถีบ และอาศัยเรียน กศน. จนจบม.3 ปัจจุบันมีลูก 2 คนซึ่งดูแลตัวเองได้แล้ว ช่วงหลายปีมานี้เธอมีอาชีพรับซื้อของเก่า อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่หัวเรือใหญ่ของครอบครัวอยู่ในเรือนจำ เราได้ข่าวมาว่าสถานะทางบ้านเธอง่อนแง่นลงไปถนัดตา หลายอย่างที่ผ่อนไว้ถูกยึด แต่เมื่อออกมาข้างนอกเธอกลับไม่ยอมบอกกล่าวถึงความยากลำบากส่วนตัวมากนัก หากเอาแต่ถามไถ่ถึงโศกนาฏกรรมทางการเมืองที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้
 

 

บุญยืน เป็นนักโทษที่ปฏิบัติตัวอย่างดียิ่งในเรือนจำ ทุกครั้งที่ไปเยี่ยม เธอมักกล่าวถึงผู้คุมอย่างเคารพและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวทางสู้คดี เธอเลือกทางเดินที่แตกต่างจาก ‘ดา ตอร์ปิโด’ นักโทษหญิงคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอีกคนหนึ่งอย่างสิ้นเชิง ในขณะที่คนหนึ่งไม่ยอมรับข้อกล่าวหา ต่อสู้คดีและถูกตัดสินจำคุก 18 ปี และยังอยู่ในเรือนจำจนถึงปัจจุบัน แต่บุญยืนรับสารภาพและยืนยันถึงความจงรักภักดี แม้ว่าในตอนนั้นจะมีผู้ให้กำลังใจจากภายนอกบางส่วนที่เอาใจช่วยให้เธอสู้คดีนี้ก็ตาม
เวลา 1 ปี 10 เดือน ในเรือนจำทำให้เธอได้พบเห็นเรื่องราวต่างๆ มากมายผ่านชีวิตของนักโทษคนอื่น ซึ่งล้วนเป็นเรื่องอัศจรรย์พันลึก ขณะเดียวกันก็ชวนรันทดหดหู่ จนเป็นแรงบันดาลใจให้เธออยากเขียนหนังสือรวบรวมประสบการณ์เหล่านั้น กระทั่งถึงการวางแผนเดินสายเรียกร้องให้ปรับปรุงกฎหมาย ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมบางอย่างที่กดทับ รังแก ประชาชนตัวเล็กๆ ไร้ทางสู้
เธอตั้งใจจะเขียนหนังสือถึง 2 เล่ม ว่าด้วยชีวิตความลำเค็ญของคนคุก ที่ส่วนใหญ่เป็นคนชั้นล่างในสังคม ชีวิตพวกเขาพอจะเรียกได้ว่า “บัดซบ” ตั้งแต่อยู่นอกคุกจนกระทั่งถึงวันเข้าไปนอนในซังเต อีกเล่มหนึ่งคือ ปัญหาของข้อกฎหมายไทย และกระบวนการจับกุมตัวผู้ต้องหาของเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเฉพาะคดีเกี่ยวกับยาเสพติด กลั่นจากประสบการณ์ตรงมาเป็นคำบอกเล่า ซึ่งพิสูจน์แล้ว (ด้วยเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง) ว่ามากมายและเร้าใจ ราวกับเธอเป็นนักกฎหมาย นักสิทธิมนุษยชน หรือนักวิจัยที่เข้าไปเก็บข้อมูลแบบลึกถึงก้นบึ้ง
หากสนใจโปรดรอติดตามผลงานของเธอ แน่ล่ะ เธอยังคิดชื่อหนังสือไม่ออก และคงอยากให้คนอื่นๆ ช่วยคิดด้วย
 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชาธรรม: ความรู้สึกทางการเมืองของ “เกษตรกรแดง”

Posted: 07 Jul 2010 08:11 AM PDT

<!--break-->

หลังเหตุการณ์ “พฤษภามหาโฉด” ทุกอย่างที่เกิดขึ้นเงียบหายไปกับสายลม เหลือเพียงความเวิ้งว้าง อาลัยอาวรณ์อยู่กับสถานที่ที่หักผัง ชาวกรุงโศกเศร้ากับความเสียหายในเมือง และยังคงดำเนินชีวิตไปตามปรกติสุข แต่หวาดกลัวกับ “การก่อการร้าย” ที่อาจจะเกิดขึ้นจากกลุ่มคนเสื้อแดง ทำให้การใช้ พ.ร.ก ฉุกเฉิน เป็นเรื่องที่ยอมรับได้เพราะไม่กระทบต่อวิถีชีวิต
ในขณะที่ความรู้สึกอีกด้านหนึ่งยังอยู่ในความมืด ถูกกดทับด้วยอำนาจอันเหลือล้นของ พ.ร.ก ฉุกเฉิน พวกเขารอเวลาที่จะบอกอารมณ์ ความรู้สึกที่ขับข้องใจ เหตุการณ์ที่พวกเขาเห็น ให้แก่สังคมได้รับรู้ว่า พวกเขาไม่ได้เป็นอย่างที่คนในกรุงรับรู้ พวกเขาก็เป็นคนไทยคนหนึ่งที่มีความเห็นทางการเมืองแบบหนึ่งที่ไม่รู้ว่าความคิดตนเองจะตรงกับคนส่วนใหญ่ของประเทศหรือไม่ จึงมาเรียกร้องให้ยุบสภา แต่สิ่งที่พวกเขาได้รับ คือ ความเจ็บแค้นและความตาย
ประชาธรรมจึงขอใช้พื้นที่นี้สะท้อน มุมมองความรู้สึกทางการเมืองของ คนเสื้อแดง ที่เหลือพื้นที่เหล่านี้น้อยเต็มที เพราะอย่างน้อยการทำความเข้าใจความคิด ความรู้สึกของพวกเขา เป็นพื้นฐานสำคัญ ที่อาจนำมาสู่การอยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความแตกต่างทางความคิด หรือที่รัฐบาลเรียกว่า “ปรองดอง”
บทสัมภาษณ์ในตอนนี้เป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าวประชาธรรมและ เกษตรกรหญิงสองคนในจังหวัดเชียงใหม่คือ นางแดง ปัญโญ (อุ้ยซอน) อายุ 76 ปี อาชีพเกษตรกรรม และ นางลำตัด ทาชัย (ป้าดวน)อายุ 54 ปี  อาชีพ ค้าขายและทำการเกษตรซึ่งเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงมาตั้งแต่ปี 52 รวมถึงเข้าร่วมชุมนุมในปี 53 ด้วย แต่ขณะถูกปราบในเหตุการณ์พฤษภา 53 พวกเขากลับมาทำกิจที่บ้าน เมื่อจะเข้าไปร่วมชุมนุมก็ถูกสกัดจากทหารไว้ พวกเขารู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อะไรคือแนวคิดเบื้องหลังความรู้สึกของพวกเขา อะไรทำให้เกษตรกรหญิงทั้งสองคนทิ้งงานไว้เบื้องหลังแล้วมุ่งหน้าไขว่คว้าหาสิ่งที่ พวกเขาเรียกว่า “ประชาธิปไตย
อุ้ยซอนกับป้าดวนเข้าร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดงเมื่อไหร่และทำไมถึงเข้าร่วมครับ
อุ้ยซอน : เข้าร่วมเสื้อแดงเต็มตัว เมื่อปี 2552 โดยเริ่มจากการประท้วงที่พัทยา ก่อนหน้านี้ดูทีวีเห็นว่ามีกลุ่มที่ทำอะไรก็ไม่ผิด แต่พวกเราทำผิดหมดจนเริ่มรับไม่ได้ ลองคิดดู ณ ปัจจุบัน เราเป็นผู้ก่อการร้าย อย่างอุ้ยเหรอ เป็นผู้ก่อการร้าย มันอ้างขึ้นมาได้ยังไง ทำอย่างนี้มันลำเอียง พันธมิตรยึดสนามบิน ยึดทำเนียบ ไม่โดนอะไร แต่เราปิดถนนโดน อุ้ยไม่ชอบพันธมิตร พอมีเสื้อแดงที่ต่อต้านพันธมิตร เหตุผลดูเข้าท่าน่าเชื่อถือกว่าพันธมิตร เลยเข้าร่วม อีกอย่างนายกคนใหม่เป็นคนชอบโกหก อุ้ยไม่ชอบ พูดตรงๆ คือมันสองมาตรฐาน อย่างอุ้ยดูทีวี เห็นว่ามันโจมตีว่าทักษิณผิดที่ไปเซ็นซื้อที่ดินให้เมีย ซึ่งฟังศาลดูแล้วไม่เห็นว่าจะผิดตรงไหน เป็นผัวเมียกัน ก็ย่อมต้องพึ่งกัน แค่คดีเดียวเอาผิดเขาจนถึงปัจจุบัน แล้วจะเอาผิดถึงโคตรตระกูล ดูแล้วมันเป็นการกลั่นแกล้งเสียมากกว่า
ป้าดวน : คล้ายกับอุ้ยซอน คือ เห็นว่าพวกเราถูกกลั่นแกล้งมากเกินไป เริ่มตั้งแต่เลือกรัฐบาลแล้วก็ถูกล้มทั้งสองคน ในคดีที่พวกเราเห็นว่าไม่สมเหตุสมผล ทำให้รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม พอมีกลุ่มเสื้อแดงก็เข้าร่วมทันทีเพราะมันตรงกับความรู้เรา
ไปร่วมชุมนุมกี่ครั้งครับ แล้วทำอย่างไรไป
อุ้ยซอน : อุ้ยไปทุกครั้งที่มีการชุมนุม ไม่ว่าจะที่กรุงเทพหรือว่าต่างจังหวัด บางครั้งไปชุมนุมแล้วกลับมาได้สัก 3-4 วันก็ไปอีก ทุกครั้งที่ไปชุมนุม เดินทางด้วยรถกระบะร่วมกับคนรู้จักกันในหมู่บ้าน
ป้าดวน : เหมือนกันนะ แต่ตอนถูกปราบกลับมาทำงานที่บ้านก่อน
เอาเงินจากไหนมาเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
อุ้ยซอน : พวกเราเสื้อแดงที่ไม่ได้ไปร่วมชุมนุมด้วยจะช่วยบริจาคเงินกันคนละ 10-20 บาท คนที่มีฐานะก็จะบริจาค 100-200 บาท นอกจากนี้ก็จะมีเงินกองทุนที่เราจัดผ้าป่า จัดคอนเสริท และเงินบริจาค ซึ่งยอดที่ได้แต่ละครั้งหลายแสนบาท เอาใช้เป็นค่าน้ำมันรถ โดยคนที่เอารถไปเองจะได้รับการสนับสนุนคันละ 5,000 บาท ไม่ได้ว่าไปรับจ้างนะ อุ้ยสามารถสาบานต่อหน้าดวงตะวันเลย เคยมีคนมาถามยายว่าไปชุมนุมได้เงินเท่าไหร่ ยายโมโหมากเลยตบปาก แล้วถามว่าพูดอย่างนี้หมายความว่าอย่างไร อุ้ยไปชุมนุมด้วยความสมัครใจและไม่ใช่ไปเรื่องส่วนตัว แต่ไปเพื่อประชาธิปไตยของส่วนรวม ไปชุมนุมไปนอนกลางดิน กินกลางทราย ฝนตกครั้งหนึ่ง ต้องนั่งยองๆ หลับ ตอนไปร่วมชุมนุมครั้งแรกๆเราก็ไม่ได้ไปทำกินเอง เพราะไปช่วงสั้นๆ จะซื้อกินเองบ้าง มีคนบริจาคข้าวกล่องให้กินบ้าง แต่ครั้งล่าสุดชุมนุมยาวนาน พวกเราทำกินกันเอง ทำแจกคนอื่นด้วย พวกเราเตรียมข้าว เตรียมหม้อ กระทะ ทุกอย่างมาเอง
ป้าดวน : เงินที่ได้รับบริจาคจัดตั้งเป็นกองทุน เราจะใช้เป็นค่าเดินทางเช่นเติมน้ำมัน เป็นหลัก และอีกส่วนจะเป็นการซื้อของดิบมาทำอาหาร ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนตัว พวกเราออกกันเอง เช่น แฟ้บ สบู่ ยาสีฟัน การไปชุมนุมแต่ละครั้ง เรื่องกินไม่ห่วงเพราะส่วนหนึ่งเราเตรียมไปทำกินเอง ซึ่งวัตถุดิบก็มาจากการบริจาคของคนในหมู่บ้านที่ไม่ได้ไป เช่น ผักกาด ฟัก ถั่วพูล
 
นอกจากไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มเสื้อแดงแล้วทำกิจกรรมอื่นๆบ้างหรือเปล่า
อุ้ยซอน : ไม่มีมีแต่หัวใจกับมือตบ
ป้าดวน :ไม่มี เข้าร่วมกับกลุ่มเสื้อแดงเพื่อเป็นกำลังและแสดงพลังอย่างเดียว
 
อุ้ยซอนกับป้าดวนติดตามข่าวสารของคนเสื้อแดงอย่างไร
ป้าดวน: ข่าสารจากเสื้อแดงส่วนกลางเราจะดูผ่าน D-station แต่ข่าวยุทธศาสตร์การเคลื่อนไหวจะมาจากแกนนำในแต่ละระดับไล่ลงมา แล้วก็จะมีการบอกปากต่อปากไปยังคนในหมู่บ้าน เมื่อ D-station โดนปิด ข่าวสารมาจากทางวิทยุที่ออนไลน์ การชุมนุมผ่านเน็ต วิทยุโดนปิด ข่าวก็จะมาทางลับ เช่นใบปลิวที่ออกมาเป็นระยะๆ และก็จะมีการบอกกันปากต่อปาก
อุ้ยซอน :ดูทีวีดาวเทียมและฟังวิทยุ
 
แล้วดูผ่านสื่ออื่นบ้างหรือเปล่า
ป้าดวน : สื่ออื่นช่อง 3-5-7-9 ฟังแทบไม่ได้เพราะข่าวที่ออกเกี่ยวกับชุมนุมไม่ใช่เรื่องจริง เราชุมนุมที่นั้นเรารู้ว่าอะไรเป็นอะไรเมื่อสื่ออกมาไม่ตรงเราก็ไม่ดู เพราะดูแล้วมันจะเกิดความแค้นสุ่มอก เราเลยไม่ดู
อุ้ยซอน : ก็เหมือนกันนั้นแหละ
 
รู้สึกว่าเราได้อะไร เมื่อเข้าร่วมกับขบวนการเสื้อแดง
อุ้ยซอน : เมื่อก่อนเราไม่ค่อยได้รู้ได้เห็นอะไร เราอยู่ที่นี้ ไม่ค่อยได้ไปไหน พอเข้าร่วมเสื้อแดงแล้วได้รู้ ได้เห็นอะไรมากขึ้น และติดตามข่าวสารเรื่องการเมืองมากขึ้น แม้ว่าเรายังไม่ได้สิ่งที่เราหวัง(ประชาธิปไตยและความยุติธรรม) เรามานั่งคิดว่าทำไมข้อเรียกร้องแค่ยุบสภามันถึงได้ยากนัก แต่เราก็รู้สึกว่าเรารักกันมากขึ้น ขอให้มีการเคลื่อนไหว อุ้ยพร้อมจะเข้าร่วม เพราะตอนนี้อยู่หรือตายก็ไม่ต่างกัน
ป้าลำดวน : คล้ายๆกับอุ้ยซอนคือเราได้รู้อะไรมากขึ้น สิ่งที่เรารู้ไม่ได้มาจากการถ่ายทอดแกนนำหรือทางทีวีของคนเสื้อแดงเพียงฝ่ายเดียว เราได้รับข้อมูลจากทั้งสื่อหลัก (ก่อนการชุมนุม)ด้วย เมื่อได้ข้อมูลมาเราลองมานั่งคิดวิเคราะห์ว่าอันไหนมันจริงกว่ากัน บางเรื่องอย่างที่ได้กล่าวไป เราอยู่ในเหตุการณ์แต่สื่อมันออกไปคนละอย่าง เราถึงรู้ว่าอันไหนน่าเชื่อถือกว่ากัน แล้วเลือกที่จะเชื่อแบบนั้น อีกอย่าง เรื่องความไม่เป็นธรรมมันเป็นเรื่องใหญ่นะเพราะจากสิ่งนี้มันทำให้เราไม่กลัวตาย
 
บอกได้ไหมครับว่า คนเสื้อแดงเป็นใคร มาจากไหน
ป้าลำดวน : คนเสื้อแดงคือประชาชนธรรมดา ที่ต้องการความเป็นธรรมในเรื่องต่างๆ โดยสิ่งที่อยากเห็นคือคนไหนผิดก็ว่าไปตามผิด คนไหนถูกก็ว่าไปตามนั้น และส่วนหนึ่งเป็นคนกลุ่มที่ไม่ชอบพันธมิตร เพราะคิดว่าเป็นกลุ่มที่มีอภิสิทธิ เหนือคนอื่นทำอะไรก็ไม่ผิด ที่สำคัญเป็นต้นเหตุให้ประเทศเสียหายมาจนถึงทุกวันนี้ การปิดสนามบินทำให้คนที่ไม่ใช่พันธมิตรเสียหายอย่างหนัก เราจึงคิดว่าต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อเรียกร้องให้เกิดความเป็นธรรม
อุ้ยซอน : คนเสื้อแดงคือ คนที่มาเรียกร้องประชาธิปไตย ความเป็นธรรม จากกฎหมายและสังคม เพราะเห็นว่าในประเทศนี้มันไม่มี
 
เป้าหมายคนเสื้อแดงคืออะไร
ป้าลำดวน : ส่วนตัวแล้วอยากเห็นการบังคับใช้กฎหมายที่มีมาตรฐานเดียวกัน เพราะถ้ามีมาตรฐานเดียวกันแล้วทุกๆคนจะอยู่ร่วมกันได้โดยไม่หวาดระแวง ทุกคนจะอยู่ภายใต้กฎเดียวกัน
ยายซอน : อยากเห็นความเป็นธรรมในสังคม
 
คนทั่วไปมองว่าเสื้อแดงกับคุณทักษิณ สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก คนเสื้อแดงกับคุณทักษิณมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ป้าลำดวน : โดยส่วนตัวป้าไม่เคยสัมพันธ์ ไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว ไม่เคยเห็นหน้า แต่รู้จักเพราะงานที่เขาเคยทำ ตอนที่เขาเป็นนายกรู้สึกว่าชีวิตมีความสุข มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ฉะนั้นแล้วจะว่าคนเสื้อแดงสัมพันธ์กับท่านทักษิณก็ใช่ แต่ไม่ได้สัมพันธ์ส่วนตัว เรารู้สึกชอบนโยบายกับสิ่งที่เขาทำจึงอยากให้เขากลับมา
ยายซอน : ยายก็ไม่เคยเห็นหน้า แต่รู้สึกได้ว่า เวลาที่ท่านเป็นนายก กับไม่เป็นมันต่างกันมาก
 
ลองบอกได้ไหมครับว่า ได้ประโยชน์นโยบายของทักษิณ อย่างไร
ป้าดวน : นโยบาย 30 บาท มันทำให้คนที่ทุกข์ยากอย่างเราไม่ต้องไปขายไร่ ขายนา เพื่อรักษาตัวเอง บางครั้งคนเราป่วยเป็นโรคไม่ได้ตายทันที เป็นญาติ พี่น้องเราก็ต้องคอยดูแลรักษากันเพื่อยื้อชีวิตไว้ให้นานทีสุด บางคนเป็นโรคเรื้อรังก็ต้องใช้เงิน เงินที่เราเก็บออมได้ 10,000-20,000 บาท ก็ต้องเอามารักษา เมื่อเงินเก็บหมดก็ต้องขายไร่ ขายนาเพื่อเอามาเป็นค่ารักษา ถ้าไม่พอก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสิน แต่เมื่อมีนโยบายนี้ออกมาทำให้เราตัดความกังวลนี้ออกไปได้ ไม่ต้องคิดมาก เรามีเวลาทำมาหากิน มีเงินเก็บ
กองทุนเงินล้าน หรือหมู่บ้านละล้าน หรือ s m l ซึ่งให้มาเปล่าแล้วแต่ว่าหมู่บ้านจะนำไปใช้อย่างไร ส่วนหมู่บ้านเราตั้งเป็นกองทุนหมุนเวียนให้คนในหมู่บ้านกู้ยืมโดยคิดอัตราเบี้ยต่ำเพื่อจะได้ใช่กันอย่างทั่วถึง เมื่อก่อนตอนยังไม่มีนโยบายเหล่านี้ แม่ค้าในตลาดอย่างพวกเราจะต้องใช้เงินมาลงทุนค้าขาย หรือหมู่ชาวไร่ ชาวนา ที่จะต้องมาลงทุนทำการเกษตร เลี้ยง หมู เลี้ยงสัตว์ เมื่อไม่มีทุนก็ต้องกู้เงินรายวัน เสียดอกเบี้ยเป็นวัน เช่น ป้ากู้มา 1000 บาท ป้าต้องเสียดอกเบี้ยให้เขาทันที 200 บาท จากนั้นถ้าไม่มีให้วันต่อไปเสียวันละ 20 บาท ถ้าเรากู้มา 10000 บาท ก็ต้องเสียให้เขาวัน 200 บาท ตลอดระยะเวลาที่ผ่อนคืนให้หมดทั้งต้นทั้งดอก คือ 40 วัน ถ้าเราผ่อนระยะ 20 วัน เราจะเสียดอกเบี้ยถึง 4,000 บาท ถ้าเราจะเอาเพิ่ม เราก็ต้องหักกับหนี้เก่าก่อน บางครั้งกู้เพิ่มมาหมื่นบาท เหลือใช้ไม่กี่พัน มันทำให้ติดหนี้ไม่รู้จักหมด แต่เมื่อนโยบายนี้เข้ามาเราก็ไม่ต้องไปเอาเงินกู้รายวัน เรามากู้กองทุนหมู่บ้าน ใครเดือดร้อนอะไรก็เดินเข้าไปหากรรมการเงินล้าน เพื่อขอกู้โดยเสียดอกเบี้ยร้อยละ 50 สตางค์ กู้ 10000 บาทก็เสียดอกปีละ 600 บาท แล้วกองทุนมีเงินเป็นล้าน ปีหนึ่งได้หลายหมื่นบาท ส่วนเงื่อนไขที่เราจะสามารถกู้ได้คือเราต้อง มีเงินออมทรัพย์ให้กองทุนทุกปี โดนเสียปีละ 600 บาทเรียกว่า “เงินสัจจะออมทรัพย์” ซึ่งกองทุนก็เพิ่มขึ้น จากหนึ่งล้านบาทตอนนี้มีประมาณ 4-5 ล้านแล้ว เมื่อเรากู้เงินเราก็ยังเหลือเท่าเดิมไม่ได้ลดลง เป็นต้น นโยบายมันดีมันทำให้เรามีกินมีใช้ มีชีวิตที่สุขสบายขึ้นแล้วจะไม่ชอบได้อย่างไร
ยายซอน : เมื่อก่อนไม่สบายครั้งหนึ่งก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อรักษา แต่พอมีนโยบาย 30 บาท ก็ไม่ต้องเป็นหนี้เพื่อมารักษา นอกจากนี้มีกองทุนเพื่อการศึกษาให้ลูกหลานมีโอกาสเรียนหนังสือด้วย
ส่วนเรื่องกองทุนเงินล้าน ยายก็เคยกู้มาลงทุนให้ลูกชาย เลี้ยงหมู ปลูกผัก ตอนนี้ยายไม่ได้เดือดร้อนอะไรก็ไม่ได้กู้แล้ว แต่ก็ยังเห็นว่านโยบายนี้มันดี เราพึ่งพาได้ในยามเดือดร้อน พอปัญหาเราหมดไปชีวิตเราก็มีความสุข บางคนมีรถจักรยานอยากมีรถจักรยานยนต์เพื่อทุนแรงที่จะนำผัก ฟัก ถั่วไปขายในตลาดได้มากกว่าเดิม รอมาเป็น 10 ปี ยังไม่ได้แต่พอมีกองทุนเงินล้าน สามารถกู้ซื้อได้ มันดีอย่างนี้แล้วจะไม่ให้ชอบได้อย่างไร
 
ตอนทักษิณถูกโค่น มีข้อมูลออกมามากมายว่าทักษิณโกงอย่างไร และเป็นเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้ทหารนำมาเป็นข้ออ้างในการปฏิวัติ อุ้ยซอน กับป้าดวนคิดอย่างไร คิดไหมครับว่าทำไมทักษิณถึงถูกโค่นล้ม
ป้าดวน : ตอนที่มีข่าวการชุมนุมขับไล่ท่านทักษิณของกลุ่มพันธมิตร ป้าก็สงสัย (เพราะตอนนั้นยังไม่ได้ติดตามการเมืองอย่างใกล้ชิด) ว่าทำไมทักษิณถึงเป็นคนอย่างนั้น ทั้งที่นโยบายท่านก็ดี แต่ว่าท่านคงเป็นคนไม่ดี มาสร้างภาพหลอกพวกเรา ความรู้สึกก็เห็นใจเขา และไม่ได้ต่อต้านการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร และยังคิดไปอีกว่า ทักษิณนี่ร้ายลึก มาทำดีหลอกพวกเรา จากนั้นเราก็ติดตามฟังข้อมูลว่าทักษิณไม่ดีอย่างไร เราติดตามมาจนกระทั่ง ป้าเห็นว่า มันไม่ใช่ เราหาข้อไม่ดีของเขาไม่เจอเลย คิดดู ผ่านมา 3 ปี หาได้แค่ซื้อที่ดินรัชดาอย่างเดียว ที่ว่าโกงกิน ไม่เห็น คอรัปชั่นก็ไม่มี เราก็เริ่มเอะใจ คราวนี้พอเราเลือกนายกสมัครเข้าไปก็โดนคดี จนหลุดจากนายก นายกสมชายเข้ามาก็โดนออกอีก เราก็เลยเข้าใจว่าความยุติธรรมไม่มีแล้ว เหตุนี้มันทำให้คิดว่าสาเหตุที่ท่านทักษิณถูกโค่นล้ม คือ “ดีเกินไป” อยู่ร่วมกับคนเลวไม่ได้ ไปขัดแข้งขัดขาคนอื่น อย่างเรื่องหวยใต้ดิน หวยใต้ดินทำให้เจ้ามือรวย ทักษิณตัดวงจรนี่ออกไปโดยการเอาหวยขึ้นมาบนดิน ทำให้เจ้ามือไม่พอใจ พอเอาขึ้นมาท่านก็เอาไปเป็นกองทุนการศึกษา เอาไปสร้าง 1 อำเภอ 1 ด๊อกเตอร์ มันดีแค่ไหน พวก “อำมาตย์”มันไม่อยากให้คนฉลาดเพราะมันจะไม่สามารถควบคุมเราได้ เลยอ้างว่าเป็นการมอมเมา ทำให้เราไม่เชื่อสิ่งกลุ่มนี้อ้าง เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่เคยหายไป ถึงไม่มีหวยบนดินคนก็ยังเล่นหวยใต้ดิน หวยใต้ดินก็เป็นการมอมเมา แต่เราไม่ได้อะไรคืนมา คนที่รวยคือเจ้ามือ
อุ้ยซอน : มันเป็นการกลั่นแกล้งกันของพวกคนที่เสียประโยชน์
 
ในความคิดของป้าดวน กับอุ้ยซอน “ไพร่” มีความหมายว่าอะไร
ป้าดวน : ไพร่คือชนชั้นที่ไม่มีอำนาจจะไปต่อรองอะไรได้ ได้แต่ทำมาหากิน ไม่มียศถาบรรดาศักดิ์
อุ้ยซอน : ไพร่คือชนชั้นที่ถูกอำมาตย์หลอก ไม่มีความรู้
 
แล้ว “อำมาตย์” ละครับ
ป้าดวน : อำมาตย์ คือ พวกที่สามารถบงการทุกอย่างได้ พวกนี้มันไล่เรียงลงมาเป็นเส้นสาย ตั้งแต่คนที่มีอำนาจสูงสุด จนถึงคนที่ได้รับคำสั่งแล้วมาใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมกับเรา กล่าวคือ อำมาตย์คือ พวกทหาร ที่ควบคุมนายกอีกที แต่นายกคืออำมาตย์ เพราะรับคำสั่งมา นายกส่งลงมาที่ผู้ว่าฯ แล้วส่งมาที่นายอำเภอ นายอำเภอส่งมาที่กำนัน ผู้ใหญ่แล้วมาใช้อำนาจกับพวกเรา นี่คื่อระบบของอำมาตย์
อุ้ยซอน : “อำมาตย์” คือ ทำทุกอย่างได้โดยไม่ผิดกฎหมาย เป็นอำนาจที่ควบคุมเรา ทำให้เราไม่สามารถใช้อำนาจของเราได้ ซึ่งมันไม่ใช่ประชาธิปไตย
 
คำว่า “สองมาตรฐาน” เข้าใจว่าอย่างไร
ป้าดวน : สองมาตรฐาน คือ ฝ่ายหนึ่งทำอะไรก็ผิด แต่อีกฝ่ายทำอะไรก็ไม่ผิด เช่น ช่วงชุมนุมที่ราชประสงค์ รัฐบาลประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ห้ามเสื้อแดงชุมนุมมันผิดกฎหมาย แต่เสื้อหลากสีชุมนุมได้ ไม่ผิด เพราะไม่ได้สร้างความเดือดร้อน นี่คือ สอง มาตรฐาน
ยายซอน : สองมาตรฐาน คือ คนที่มีอำนาจ ทำอะไรก็ไม่ผิด แต่คนอย่างเราทำอะไรก็ผิด
 
คิดอย่างไร กับคนเสื้อเหลือง
ป้าดวน : ต้องแยกระหว่าง แกนนำ กับ คนเสื้อเหลือง พวกแกนนำรู้หมดว่าอะไรผิด อะไรถูก แต่คิดเอาผลประโยชน์ของตัวเองก่อนเป็นหลัก การตั้งเสื้อเหลืองเกิดขึ้นจากการขัดผลประโยชน์กับนายกทักษิณ ส่วนในระดับคนที่ไปร่วมชุมนุม เกิดจากความรู้สึกอย่างพวกเราคือรัก ประเทศชาติ รักในหลวง อย่างยิ่ง พอแกนนำ มาปลุกระดม ก็เข้าด้วยเพราะเกิดความรู้สึกอย่างเดียวกัน คนระดับนี้ไม่ได้มีพิษ มีภัยอะไร เป็นกลุ่มคนเหมือนพวกเรานี่แหละ  ซึ่งคนเสื้อเหลืองก็จะประกอบไปด้วยคนหลายกลุ่ม ได้แก่ ชาวบ้านอย่างพวกเรา แกนนำที่เสียผลประโยชน์ ส่วนข้าราชการที่เป็นเสื้อเหลืองเข้าใจว่าเป็นด้วยเรื่องผลประโยชน์ ได้ผลประโยชน์และเสียประโยชน์จากทักษิณจึงเข้าข้างเหลือง และมีพวกเสียประโยชน์จากทักษิณอย่างพวก เจ้ามือหวยเถื่อน ผู้ค้ายาเสพติด เจ้าของเงินกู้ เจ้าพ่อมาเฟีย กลุ่มนี้ก็เป็นเหลือง และพวกนี้จับมือกันเป็นพันธมิตร มีเป้าหมายเดียวคือล้มทักษิณ เพราะไปขัดผลประโยชน์ ซึ่งประเทศจะเป็นอย่างไร ไม่สน
นอกจากนี้การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรเราก็ไม่เห็นด้วยเพราะไปยึดทำเนียบ ปิดสนามบิน และทำลายข้าวของคนอื่น ทำให้คนอื่นเดือดร้อน พอทำแล้วไม่ผิด เรายิ่งไม่พอใจ สรุปแล้วไม่พอใจทั้งเป้าหมายและการเคลื่อนไหวของเสื้อเหลือง
อุ้ยซอน : คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ได้รับการปฏิบัติจากผู้มีอำนาจต่างจากเรา คือ ได้รับการประคบประงม ปกป้อง คนกลุ่มนี้ได้แก่กลุ่มคนที่เสียประโยชน์จากทักษิณ และได้ประโยชน์จากอำมาตย์ แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นคนอย่างพวกเรานี่แหละ คนกลุ่มนี้ชุมนุมเคลื่อนไหว แต่ก็มีอาวุธ ทำลายข้าวของ ทำอะไรก็ไม่ผิด
 
ป้าดวนกับอุ้ยซอน คิดอย่างไรกับการทำหน้าที่ของทหาร
ป้าดวน : มีแต่ความเกลียดชัง เพราะเห็นว่าทหารมันใช้อำนาจเกินขอบเขตกับประชาชน และจะทำอย่างไรกับเราก็ได้ อย่างการชุมนุมที่ผ่านมา มันคิดจะจับก็จับ คิดจะตบใครก็ตบ อยากจะฆ่าก็ฆ่า แม้ว่าประชาชนอย่างเราจะเป็นผู้บริสุทธิ์ ทั้งที่กินเงินเดือนภาษีของเรา แต่มาทำกับพวกเราอย่างนี้ เงินภาษีที่ใช้ซื้ออาวุธก็เป็นเงินของเรา ควรที่จะนำไปป้องกันประเทศไม่ใช่นำมาฆ่าประชาชน
อุ้ยซอน : ที่ดีก็มี ที่เลวก็มี แต่อุ้ยไม่ชอบเพราะมันฆ่าพวกเรา
 
ตำรวจ
ป้าดวน : ตำรวจยังมีอำนาจไม่เท่าทหาร ไม่ได้ทำร้ายเรา เราก็ไม่ได้เกลียดชัง แต่คิดว่าเรื่องการเมืองตำรวจมักจะไม่ยุ่ง ตำรวจจะใช้อำนาจกับชาวบ้านในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่ก็ยังอยู่ในกรอบของกฎหมาย
อุ้ยซอน : เหมือนกันนั้นแหละคือมันก็มีทังดีและเลว
 
สื่อมวลชน
ป้าดวน : เห็นว่าสื่อมวลชนกระแสหลักมีสองแบบ 1.ถูกบังคับจากรัฐบาลให้เสนอข่าวตามที่รัฐบาลต้องการ (ทำแบบไม่เต็มใจ) 2.สื่อที่ได้ประโยชน์จากรัฐและเสียผลประโยชน์จากทักษิณพวกนี้จะบิดเบือนข่าวสารอย่างเต็มใจ   ซึ่งการนำเสนอข่าวของสื่อมันอยู่ที่หัวหน้าหรือกองบก. ตอนเราไปร่วมชุมนุมเห็นสื่อที่มาทำข่าว นิสัยดี เข้าใจเราทุกคน บางครั้งทำข่าวให้เรา แต่ปรากฏว่าพอส่งขึ้นไปแล้วไม่ได้ออกก็มี ส่วนสื่อเล็กที่ไม่ได้เป็นสื่อกระแสหลักนิสัยดี พอมีความเป็นกลางอยู่บ้าง
อุ้ยซอน : ไม่เป็นกลาง ยังมาหาว่าเราเป็นผู้ก่อการร้าย
 
พรรคการเมือง
ป้าดวน : การทำหน้าที่ของพรรคการเมือง ต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนเรา ยอมรับการเลือกตั้งของเรา ไม่ใช่ยอมถูกลากตั้งเข้าไป เพราะถ้าลากตั้งเราไม่มีส่วนร่วม เราไม่สามารถเลือกคนที่เราต้องการได้
อุ้ยซอน : พรรคดีก็มี พรรคแล้วก็มี แล้วแต่ว่าพรรคนั้นทำประโยชน์ให้คนส่วนใหญ่หรือเปล่า
 
ตุลาการ
ป้าดวน : ระบบตุลาการของเราไม่มีความเป็นธรรม ไม่มีความเป็นกลาง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการถูกควบคุมอำนาจของกลุ่มอำมาตย์ ทำให้จริยธรรมของตุลาการไม่สามารถเกิดขึ้นได้
อุ้ยซอน : สองมาตรฐาน
 
องคมนตรี
ป้าดวน : “อำมาตย์” ตัวจริง เป็นทหาร ไม่ได้เป็นทำหน้าที่ช่วยเหลือในหลวง เป็นพวกที่เราอยากกำจัดที่สุด ถ้ากำจัดได้ ระบบตุลาการ สื่อมวลชน ทุกอย่างที่ถูกควบคุมก็จะดำเนินการได้
อุ้ยซอน : มันคืออำมาตย์
 
แล้วถ้าเราจะปฏิรูปสถาบันการเมืองเหล่านี้ ควรทำอย่างไร
ยายซอน : ต้องกันอำมาตย์ออกไปไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ให้ผู้แทนทำหน้าที่ในสภา แทนเรา ผู้แทนราษฎรที่เราเลือกไป ทุกอย่างก็จะดำเนินไปตามกลไกของมันเอง อย่างน้อยก็มีจิตสำนึกว่าประชาชนได้เลือกขึ้นไปทำหน้าที่ ดังนั้นก็จะทำหน้าที่แทนประชาชน ต่างจากระบบเจ้านายจะไม่นึกถึงใคร จะใช้อำนาจอย่างเดียว ไม่ต้องตอบแทนใคร มันคิดว่ามันเป็นใหญ่ขึ้นมาด้วยตัวเอง รักแต่พวกตัวเอง
ป้าดวน : เมื่อไล่อำมาตย์ได้ เราต้องกำจัดกฎหมายที่ให้อำนาจอำมาตย์ อย่างรัฐธรรมนูญปี 50 เพราะปล่อยให้ยังอยู่ก็เหมือนว่าอำมาตย์ยังอยู่ มีอำมาตย์ใหม่ขึ้นมา มีการใช้อำนาจแบบอำมาตย์ ส่วนจะใช้กฎหมายอะไรก็ต้องมาว่ากันอีกที เพราะเราไม่รู้เรื่องกฎหมาย รู้แต่ว่ารัฐธรรมนูญ 50 เป็นต้นเหตุของปัญหาทุกอย่าง เพราะเป็นกฎหมายของอำมาตย์ 
 
อยากให้ช่วยเล่าว่า การสลายการชุมนุมที่ กทม. เป็นอย่างไรบ้างครับ ทั้งช่วงที่อยู่ชุมนุมและช่วงที่ไม่อยู่
ป้าดวน : ตอนล้อมปราบวันที่ 19 พ.ค.53 นั้นเป็นช่วงที่กลับมาทำกิจที่บ้าน ก่อนหน้าที่มีข่าวการสลายชุมนุมพยายามจะไปเข้าร่วมชุมนุมแต่ถูกทหารในพื้นที่สกัดไม่ให้เข้าไปร่วมชุมกับส่วนกลาง แต่ก็ติดตามสถานการณ์ผ่านวิทยุ ที่ถ่ายทอดเสียงออนไลน์ของอินเตอร์เน็ต และมีการส่งข่าวสารของคนเสื้อแดงผ่าน Sms ทำให้รู้สถาการณ์อยู่ตลอดเวลา
ยายซอน : ตอนล้อมปราบวันที่ 19 พ.ค.53 ไม่ได้อยู่เพราะกลับมาอยู่บ้าน แต่ช่วงตอนปราบครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 เม.ษ. กลุ่มเสื้อแดงของเราที่ไปนั้นจะตั้งเต็นอยู่แถววัดเบญฯ ซึ่งอยู่นอกแนวการปราบ วันสลายการชุมนุมในวันที่ 10 เม.ษ.มีการประกาศว่าทหารเข้ามาทางคอกวัว และอีกทางหนึ่งที่จะไปราชประสงค์ซึ่งอุ้ยจำไม่ได้ว่าเขาเรียกว่าอะไร พอพวกทหารเข้ามา ก็มีนายทหารซึ่งอยู่บนรถ ประกาศว่า เหยียบแม่งมันให้หมด ไถแม่มันไปเลย แต่ก็มีเสียงมาจากทหารอีกฝั่งว่าอย่าไปทำลายของเขา เสียงอึกทึก คึกโคมมาจากทุกทิศทุกทาง ทางนู้นก็ไล่มา ทางนี้ก็ไล่มา   พอทหารมาถึงสะผ่านผ่านฟ้า อุ้ยก็พยายามจะไปยืนดู แต่พอดีการยิงแก๊สน้ำตาเข้ามา มีทหารนายหนึ่งถือโล่กับกระบองเข้ามาแล้วพูดว่า แม่อย่าไปทางนั้นเขากำลังยิงแก๊สน้ำตา แล้วลากแม่ออกไปจากแนวปะทะ เข้าไปในวัดเบญฯ พอไปถึงในวัดเบญฯเห็นรถคันหนึ่งที่ทหารจับคนเสื้อแดงไป ซึ่งคนเสื้อแดงกำลังเปลี่ยนเสื้ออยู่ถูกทหาร ถีบเข้าไปในรถ แต่ยายไม่โดนนะ ทหารคงคิดว่ายายเป็นคนแถวนั้น เลยไล่ไปทางที่จะไปราชประสงค์ ยายก็ไปรวมกับคนแถวนั้น จนเหตุการณ์สงบ ความจริงวันนั้นจะเรียกว่าเราโดนสลายก็ไม่ถูกเพราะเราโดนสลาย โดนจับ บางคนโดนเหยียบ เพียงแต่มันไม่ฆ่าเหมือนวันที่ 19 พ.ค. เท่านั้นเอง 
 
รู้สึกอย่างไรบ้าง
ยายซอน : รู้สึกแค้นในใจ ทำไมทำกับพวกเราอย่างนี้เหมือนพวกเราไม่ใช่คน ไม่ให้ความเป็นธรรมแก่เราและยังจะมาฆ่าพวกเราอีก ทั้งซ้ำเติมพวกเราว่าเป็นผู้ก่อการร้าย มีดที่จะใช้ปอกผลไม้ก็ไม่ได้เอาไป แล้วจะเป็นผู้ก่อการร้ายได้อย่างไร มันยิ่งทำให้เราเจ็บช้ำน้ำใจมากขึ้นไปอีก
ป้าดวน : พวกเราก็มานั่งร้องไห้เสียใจ สงสารพวกเราที่ถูกยิง สิ่งที่เราเรียกร้องไป ไม่ได้อะไรคืนมาสักอย่าง แม้แต่เครื่องครัวก็ไม่คืนให้ แล้วยังมาฆ่าเรา แล้วใส่ความว่าพวกเสื้อแดงฆ่า ซึ่งเป็นสิ่งที่เรารับไม่ได้ ใครจะมาฆ่ากันเอง เพราะพวกเรารักและรู้สึกผูกพันกันมาก
 
คิดอย่างไรกับการเผาห้างและสถานที่ราชการ
ป้าดวน : คิดว่าการเผาเซ็นทรัลเวิลด์และสถานที่ต่างๆในกรุงเทพฯไม่ใช่ฝีมือของเสื้อแดงเพราะว่า เวลานั้นทหารได้ล้อมเสื้อแดงเอาไว้หมดแล้ว เสื้อแดงหนีตายอย่างเดียว จะเอาเวลาที่ไหนมาเผา เวลาประมาณ 12.00 น.ทหารได้ประกาศว่ายึดพื้นที่ได้หมดแล้ว ยึดได้แล้วปล่อยให้เสื้อแดงเผาได้อย่างไร แต่การเผาศาลกลางและสถานที่ต่างๆน่าจะเป็นฝีมือของเสื้อแดงเพราะเกิดจากความแค้นในใจที่ถูกสั่งปราบ สั่งฆ่า
ยายซอน : ไม่คิดว่าการเผาเซ็นทรัลเวิลด์และสถานที่ต่างๆในกรุงเทพฯเป็นฝีมือของเสื้อแดง เพราะถูกคุมพื้นที่และเดินไปมอบตัวเพื่อกลับบ้าน ส่วนการเผาสถานที่ราชกลางในต่างจังหวัดเป็นความกดดันที่ทหารฆ่าพวกเราเสื้อแดง
 
รู้สึกอย่างไรบ้างที่แกนนำที่ถูกจับ
ป้าดวน : รู้สึกเสียใจ และรู้สึกถึงคำว่า สองมาตรฐาน หนักขึ้นไป เพราะตอนแกนนำพันธมิตรไปรายงานตัวก็ไม่ได้ถูกคุมขัง แต่แกนนำเราไปรายงานตัวกลับถูกขัง
ยายซอน : รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมแม้แต่เปอร์เซ็นเดียว เพราะพันธมิตรปิดสนามบินแกนนำสามารถมาเดินลอยหน้าลอยตาได้ แต่เราชุมนุมแกนนำถูกคุมขัง อย่างนี้จะปรองดองกันได้อย่างไร
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กสม. แถลง พ.ร.ก.ฉุกเฉินกระทบสิทธิ เรียก ศอฉ. แจงกรณีค่ายเมืองกาญจน์ 13 ก.ค.นี้

Posted: 07 Jul 2010 06:42 AM PDT

"กรรมการสิทธิฯ" แถลงชี้  พ.ร.ก. ฉุกเฉิน กระทบสิทธิมนุษยชน เรียก "ศอฉ." แจงกรณีมีข่าวว่าคุมขังคนเสื้อแดงไว้ค่ายที่ จ.กาญจนบุรี 13 ก.ค.นี้ ด้านแดงเมืองกาญจน์เชื่อพวกถูกย้ายออกนอกค่าย "ดีเอสไอ" แยก 3 กลุ่มท่อน้ำเลี้ยง "เทพไท" เผยกลุ่มเสื้อแดงใต้ดินเคลื่อนไหว 3 จุด
<!--break-->

7 ก.ค. 53 - ที่ประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้มีการหารือเกี่ยวกับกรณีการประกาศคง พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามที่คณะ อนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมืองเสนอมา โดยนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกสม. เปิดเผยว่าที่ประชุมมีมีมติออกแถลงการณ์ต่อเรื่องนี้โดยมีเนื้อหาว่า ตามที่ ครม. มีมติเห็นชอบให้บังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปใน 19 จังหวัด กสม.เห็นว่าการคง พ.ร.ก.ต่อไปรัฐบาลต้องมีข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เข้าขั้นฉุกเฉินอย่างเพียงพอ กสม.เข้าใจว่า รัฐบาลต้องการให้ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย ประชาชนมีความปลอดภัย แต่การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็กระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสิทธิมนุษยชน ดังนั้น รัฐบาลต้องใช้ความระมัดระวัง ทำด้วยความสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และ ไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรือ เกินกว่ากรณีจำเป็น เพราะ พ.ร.ก.ดังกล่าวเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจมากกว่าปกติ ทั้งนี้ การดำเนินการของรัฐต้องคำนึงถึง 3 มาตรการ

คือ 1.การใช้อำนาจของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ต้องมีข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ชัดเจน เพียงพอ และสามารถอธิบายหรือชี้แจงได้ทันทีทุกกรณี 2.รัฐบาลต้องมีกลไกการติดตามและตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ให้อยู่ใน กรอบหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด หากมีข้อสงสัยว่าเจ้าหน้าทีใช้อำนาจไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม เกินกว่าเหตุ ไม่สุจริตหรือเลือกปฏิบัติ รัฐบาลต้องชี้แจงหรือแก้ไขในทันที และ 3.เมื่อสถานการณ์ฉุกเฉินคลี่คลายลง หรือหมดความจำเป็นในการบังคับใช้รัฐบาล ต้องรีบยกเลิก พ.ร.ก.ในทันที โดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดตามที่ ครม. มีมติไว้ และ กสม.จะเฝ้าระวังติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รายงานให้ สาธารณชนทราบเป็นระยะ ๆ

ด้าน นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชน ด้านสิทธิพลเมือง สิทธิการเมือง และสิทธิชุมชน กล่าวภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือร่วมกับนักวิชาการ นักกฎหมายที่ติดตามเรื่องราวของการชุมนุม ตัวแทนองค์กรภาคเอกชน ถึงผลของการลงพื้นที่ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จ.สระบุรี และ เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ที่มีการควบคุมตัวผู้กระทำผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พบว่า ยังมีการปฏิบัติในลักษณะละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยผู้ถูกควบคุมตัว 28 ราย ไม่มีทนายความคอยให้คำแนะนำในการสู้คดี บางรายไม่รู้ว่าถูกควบคุมตัวด้วยข้อหาอะไร รวมทั้งไม่สามารถติดต่อกับครอบครัวที่อยู่ในต่างจังหวัดได้ และไม่ได้รับการรักษาพยาบาลตามโรคประจำตัวที่เป็น

จึงมีข้อสรุปว่าจะมีการเชิญหน่วยงานรัฐ ประกอบด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ อัยการ กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของกระทรวงยุติธรรม มาหารือ และ รับทราบว่า แม้อยู่ในช่วงของการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รัฐก็ต้องปฏิบัติต่อผู้ที่ถูกควบคุมตัว โดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือกรณีที่ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย มายื่นขอให้ตรวจสอบการคุมขังผู้ชุมนุมที่ค่ายทหารใน จ.กาญจนบุรี โดยที่ประชุมอนุกรรมการฯ มีมติให้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องคือญาติของผู้ที่ได้รับผลกระทบ และตัวแทนของ ศอฉ.มาชี้แจงในช่วงบ่ายของวันที่ 13 ก.ค. เพื่อรับทราบข้อเท็จจริงก่อนที่จะมีการลงพื้นที่ตรวจสอบต่อไป

"เจ๊ซี" แกนนำคนเสื้อแดงเมืองกาญจน์ เชื่อ เพื่อนร่วมสี ถูกนำตัวควบคุมนอกค่ายทหาร หลังตกเป็นข่าว

นางอนัญญา หรือ เจ๊ซี แกนนำเสื้อแดง จ.กาญจนบุรี เปิดเผยว่า หลังจากที่ตนได้ลงพื้นที่ในจุดต่างๆ ของค่ายทหาร ใน จ.กาญจนบุรี เพื่อตรวจถึงความเคลื่อนไหวที่ กลุ่ม นปช. ที่อาจจะถูกกักตัวอยู่ประมาณ 70 คน ตามคำบอกเล่าของคนเสื้อแดงที่ถูกปล่อยตัวไปก่อนหน้านั้น โดยสังเกตได้ว่า กลุ่ม นปช. ที่ยังเหลืออยู่

อาจจะถูกย้ายออกไปควบคุมตัวนอกค่ายทหารของ จ.กาญจนบุรี แล้ว หลังจากที่เป็นข่าวใหญ่โต รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ในวันที่ 8 ก.ค.นี้ เวลา 17.00 น. ทาง นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี ผู้ว่าฯ กาญจนบุรี พร้อมด้วย พล.ต.อุทิศ สุนทร ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ พ.ต.อ.มนต์ชัย เรืองจรัส ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 13 กาญจนบุรี จะร่วมกันแถลงข่าว ที่ศาลากลาง จ.กาญจนบุรี กรณีขังลืม นปช.ที่ศาลากลาง

พท.ปูดที่คุมแดง ค่ายไทรโยค มีไม่ต่ำกว่า 70 ชีวิต

เมื่อวันที่ 6 ก.ค. นายพร้อมพงศ์ นพฤททธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยนำคนเสื้อแดงที่ถูกควบคุมตัวไว้ที่ค่ายแห่ง หนึ่งมาแถลงข่าวเมื่อวันที่ 5 ก.ค. ว่า ล่าสุดทีมงานของพรรคได้ไปสืบหาสอบถามพยานทั้ง 11 คน และรวบรวมหลักฐานต่างๆ ว่าค่ายที่ใช้ควบคุมกลุ่มคนเสื้อแดงที่เชื่อว่ายังมีอีกไม่ต่ำกว่าอีก 70 คน คือค่ายใด เบื้องต้นค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าเป็นค่ายไทรโยค หรือค่ายฝึกทหารไทย-สิงคโปร์ และสถานที่แห่งนี้น่าจะใช้ตั้งแต่เหตุการณ์เมษาเลือด 2552 แล้ว โดยพบว่าเมื่อช่วงกลางวันของวันที่ 5 ก.ค.ที่ทีมงานของพรรคเพื่อไทยเก็บภาพ ปรากฏว่าไม่มีทหารอยู่ แต่มาวันนี้ปรากฏว่ามีทหารมารักษาการเพิ่มมากขึ้นผิดปกติ เรื่องนี้พรรคเพื่อไทยปรึกษากับฮิวแมน ไรท์ วอทช์ ก็ได้รับคำแนะนำว่าให้ยื่นเรื่ององค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ ซึ่งพรรคก็จะได้ดำเนินการ รวมทั้งจะไปยื่นเรื่องต่อศาลจังหวัดกาญจนบุรีให้มีคำสั่งปล่อยตัวผู้ที่ถูก ควบคุมตัวด้วย เพราะเรายังเชื่อว่ายังมีคนที่อยู่ในนั้นไม่ต่ำกว่า 70 คน และจะยื่นคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร และประสานหน่วยงานต่างๆให้ลงพื้นที่ตรวจสอบร่วมกันด้วย

นางบุญสร้าง ประสาทศิริศักดิ์ อายุ 47 ปี ชาวนครปฐม มารดาของนายศุภณัฐ ประสาทศิริศักดิ์ บุตรชาย อายุ 22 ปี ที่หายตัวไปตั้งแต่สลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงกล่าวด้วยน้ำตานองหน้าและเสียงสั่นเครือว่า แม่เองก็ตามหาลูกมา 2 เดือน ไม่ได้หลับไม่ได้นอน ไม่รู้ว่าจะไปตามหาลูกที่ไหน ถ้าหากใครพบเห็นก็ขอให้แจ้งด้วยลูกชายแม่อายุ 22 ปี เลี้ยงมาตั้งแต่เล็ก ทุกคนทราบดีของหัวอกคนเป็นแม่ ว่ารู้สึกอย่างไร วันนี้ต้องอยู่อย่างทรมาน เคยคิดฆ่าตัวตายหลายครั้ง ขับรถอยู่บนสะพานอยากจะพุ่งลงไปให้รู้แล้วรู้รอด ถ้าแลกได้ให้เอาชีวิตแม่ไปดีกว่า เขายังมีอนาคตอีกไกล

นายพร้อมพงศ์ กล่าวเพิ่มว่า หวังว่านายอภิสิทธิ์ และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ที่มีลูกเหมือนกัน จะเข้าใจหัวอกของคนเป็นพ่อแม่ ถ้าหากมีการขังคนไว้ในค่ายทหารจริงก็ขอให้ปล่อยตัวมา ถ้าทำเรื่องนี้ได้การปรองดองก็จะอยู่ไม่ไกลเลย

ผบ.ทบ.ปฎิเสธนำคนเสื้อแดงควบคุมที่ค่ายทหาร จ.กาญจนบุรี

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 6 ก.ค. ที่ผ่านมาพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก เปิดเผยก่อนเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่ภาคใต้ หลังเกิดเหตุการณ์กลุ่มก่อความไม่สงบดักซุ่มโจมตีทหารจนบาดเจ็บและเสียชีวิต จำนวนมาก  โดยยอมรับจะต้องดูแลมาตรการป้องกันความปลอดภัยของทหาร รวมถึงการข่าวให้มากขึ้น ส่วนเหตุผลที่ ศอฉ.ยังคงประกาศบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เนื่องจากพิจารณาจากข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับถึงความเคลื่อนไหวทางการเมือง เชื่อว่า การคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะทำให้เกิดความเรียบร้อยของบ้านเมือง และส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ ครม.อีกครั้งในวันนี้  ยืนยันไม่เกี่ยวกับข่าวการลอบสังหารบุคคลสำคัญ

ส่วนกรณีที่กลุ่มคนเสื้อแดง ออกมาระบุว่า ตั้งแต่เหตุการณ์กระชับพื้นที่วันที่ 19 พฤษภาคม มีคนเสื้อแดงบางส่วนถูกควบคุมตัวอยู่ที่ค่ายทหารจังหวัดกาญจนบุรี ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวว่าตรวจสอบแล้วไม่มีการคุมขังกลุ่มคนเสื้อแดง ที่กองพลทหารราบที่ 9  จังหวัดกาญจนบุรี แต่อย่างใด.

ผบ.พล.ร.9 ปฏิเสธซุกคนเสื้อแดงในค่ายทหาร

ด้านพล.ต.อุทิศ สุนทร ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9 (ผบ.พล.ร.9) ค่ายสุรสีห์ จังหวัดกาญจนบุรี ได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวถึงกรณีที่ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย พล.ท.มะ  โพธิ์งาม ส.ส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย ได้นำกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงจำนวน 8 คน ออกมาแถลงข่าวว่าทั้งหมดถูกจับตัวไปคุมขังไว้ในค่ายทหารแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ภายหลังจากที่ทหารเข้าสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ว่า ตนขอยืนยันว่ากรณีดังกล่าวไม่เป็นความจริง และในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีไม่มีการควบคุมหรือคุมขังกลุ่มคนเสื้อแดงตามที่ออกมากล่าวอ้าง ทั้งนี้กรณีที่เกิดขึ้นไม่ได้สร้างความเสียหายต่อกองพลทหารราบที่9 ดังนั้นเราคงจะไม่มีการดำเนินการใดๆ กับผู้ที่ออกมากล่าวอ้าง ในขณะเดียวกันก็ได้รายงานข้อเท็จจริงให้กับผู้บังคับบัญชาทราบแล้ว 

ในพื้นที่กองพลทหารราบที่9 ไม่มีเรือนจำ แต่จะมีในส่วนของจังหวัดทหารบกกาญจนบุรี และยืนยันว่าเรือนจำของจังหวัดทหารบกกาญจนบุรีก็ไม่มีกลุ่มคนเสื้อแดงถูกคุมขังอยู่อย่างแน่นอน ซึ่งจุดที่ใช้ควบคุมตัวกลุ่มคนเสื้อแดงก็เป็นไปตามที่รัฐบาลกำหนดไว้เท่านั้น แต่ในส่วนของพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมแต่อย่างใด

กรณีที่เกิดขึ้นจะเป็นเกมส์การเมืองหรือไม่ คงจะต้องไปถามนักการเมือง ซึ่งตนไม่ทราบว่าการออกมาแถลงข่าวดังกล่าวมีวัตถุประสงค์อะไร แต่หากกลุ่มคนเสื้อแดงยังเคลือบแคลงสงสัยและจะขอเข้าตรวจสอบในพื้นที่ความรับผิดชอบของตน ก็คงจะต้องขออนุญาตทางกองทัพบกก่อน อย่างไรก็ตาม ล่าสุดยังไม่มีกลุ่มคนเสื้อแดงติดต่อเพื่อขอเข้ามาพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว 

"ดีเอสไอ" แยก 3 กลุ่มท่อน้ำเลี้ยงแดง

ด้านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แถลงประเด็นการเรียกบุคคลและนิติบุคคลเข้าชี้แจงการทำธุรกรรมการเงิน มีความคืบหน้า เมื่อวันที่ 7 ก.ค. คือ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ พยายามให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพราะถือว่าการทำธุรกรรมต่างๆ ต้องชี้แจง และเมื่อชี้แจงเสร็จสิ้นจะประมวลเรื่องว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ ที่ผ่านมาเราได้ประชุมปรึกษาหารือกันและเชื่อว่าจะคัดกรองออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มสีขาว คือชี้แจงจนสิ้นสงสัย กลุ่มสีดำ คือมีความเชื่อมโยงชัดเจนว่าสนับสนุนก่อการร้ายชัดเจน ซึ่งจะแจ้งเป็นผู้ต้องหาก่อการร้าย และกลุ่มสุดท้ายสีเทา มีความชัดเจนแต่ไม่หนักแน่นเป็นพฤติกรรมแวดล้อมกรณีอาจจะสนับสนุนก่อการร้าย และมีกระแสเงินหมุนเวียนเป็นพิรุธและยังชี้แจงไม่ได้ พนักงานสอบสวนจะต้องสอบต่อไปเพื่อความชัดเจน

วันเดียวกันนี้ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษเรียกผู้เข้าชี้แจงเรื่องธุรกรรมทางการเงิน ประกอบด้วย นางวิยดี สุตะวงศ์ นายพศิน หอกลาง เพื่อนคุณหญิงพจมาน ชินวัตร นางมยุรี เศวตาศัย แกนนำคนเสื้อแดง จ.อยุธยา และ นายทัศ เชาวนเสถียร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร G-NETและนายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส. นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ได้เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนคดีพิเศษพร้อมด้วยทนายความเพื่อชี้แจงเรื่องการทำธุรกรรมทางการเงินต้องสงสัย ตามคำสั่งศอฉ.ในขณะที่ นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เจ้าของห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลลาดพร้าว นายสมหวัง อัศราษี เจ้าของบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้ามิตซูชิต้า และนางจุฑารัตน์ เมนะเสวต เพื่อนคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ไม่ได้เดินทางเข้าชี้แจงด้วยตนเอง แต่ได้มอบอำนาจให้ทนายความดำเนินการแทน

นางมยุรี กล่าวก่อนเข้าชี้แจงกับดีเอสไอว่า นำบัญชีย้อยหลัง 1 ปี มาชี้แจงกรณีเงินเข้าออกในบัญชี 4 ล้านบาท จากการขายบ้าน วันนี้มารับทราบประเด็นข้อสงสัยของพนักงานสอบสวน เงินถูกอายัดไว้หลายล้านแต่เราต้องทำธุรกิจดาวเทียมเบิกเงินให้คนงาน ไม่ได้รับเงินมาจากใคร ส่วนเรื่องอาหารที่บริจาคให้คนเสื้อแดงก็เป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่เราทำได้ ใช้เงินประมาณ 1 แสนบาท ส่วนเงินที่เบิกออกจากบัญชีได้เอาไปทำโรงงานจานดาวเทียมกรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบริจาคให้เยอะแยะทำไมไม่เล่นงาน กลับมาเล่นงานแต่คนเสื้อแดง พันธมิตรทำไม่มีปัญหาอะไร ส่วนเสื้อแดงหายใจผิดที่ก็มีปัญหาแล้ว

รายงานข่าวแจ้งว่า สาเหตุที่ ศอฉ.เรียกนางมยุรีเข้าชี้แจงธุรกรรมทางการเงิน นั้น เนื่องจากที่ผ่านมาบัญชีเงินฝากของนางมยุรี มีการถอนออกจากบัญชีจำนวนหลายหมื่นบาทในบริเวณพื้นที่การชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงเมื่อช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมที่ผ่านมา

ด้าน นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความที่ได้รับมอบหมายอำนาจจาก นายสมหวัง กล่าวว่า ได้นำบัญชีเงินฝากของนายสมหวังที่เกี่ยวข้องกับรายได้ค่าสมาชิกกลุ่มนปช. รวมถึงการขายของในช่วงที่มีการชุมนุมมาชี้แจงจำนวน 4 บัญชีมาตอบข้อซักถามในเบื้องต้น เนื่องจากยังไม่ทราบว่าพนักงานสอบสวนจะตั้งประเด็นสงสัยในเรื่องใดบ้าง ส่วนภายหลังจาก ที่รับฟังข้อสงสัยที่ต้องการให้ชี้แจงเพิ่มประมาณ 3-4 ประเด็นแล้ว ก็จะกลับไปเตรียมคำตอบก่อนมาเข้าพบพนักงานสอบสวนอีกครั้งในวันที่ 30 ก.ค.
อย่างไรก็ตามเงินที่ปรากฏในบัญชีของนายสมหวังไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวในการทำกิจกรรมของกลุ่มคนเสื้อแดง รวมทั้ง บัญชีหนึ่งในจำนวนที่ต้องสงสัยก็เป็นบัญชีที่มาจากการทำธุรกิจโรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า

ล่าสุดนายพันธ์เลิศ ใบหยก ได้เดินทางเข้าชี้แจงการทำธุรกรรมด้วยตัวเอง แต่บอกว่ายังไม่ได้เตรียมเอกสารมาเพราะต้องการทราบข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวนก่อน

นายอุดมเดช กล่าวว่า มาฟังสิ่งที่พนักงานสอบสวนตั้งข้อสงสัยจึงได้รับทราบรายการธุรกรรมอะไรบ้าง น่าเห็นใจคนที่ตรวจสอบเพราะเค้าไม่รู้พฤติกรรมการใช้เงินของแต่ละคนเป็นอย่างไร บางคนเป็นผู้แทนมีภารกิจค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไป การที่จะเบิกมาไปเพื่อไปใช่จ่ายเรื่องช่วยงานชาวบ้าน ลงพื้น ใช้จ่ายบ้าง บางครั้งคนตรวจสอบเบื้องต้นเค้าไม่รู้ หลังจากได้ชี้แจงคิดว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ ไม่ได้ธุรกรรมมากมาย ของตนประมาณ 8 แสนบาท เบิกครั้งละแสนสองแสน โดยเบิกมา 4-5 ครั้ง ก็เป็นเรื่องปรกติออกจากบ้านมาต้องเติมน้ำมันอยู่แล้ว ไปกินอาหารต้องเลี้ยงเค้าเพราะเราเป็นผู้แทน คนที่เป็นผู้แทนที่ถูกเรียกมาชี้แจงการทำธุรกรรมคงมีรายการใช่จ่ายเหมือนตนอยู่แล้ว ส่วนกรณีที่ ศอฉ.ตั้งข้อสงสัยว่าเป็นท่อน้ำเลี้ยงของกลุ่มเสื้อแดงนั้น นายอุดมเดช กล่าวว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปสนับสนุนเนื่องจากกลุ่มเสื้อแดงเขามาชุมนุมของเขาเองและพร้อมจะซื้อข้าวปลากินเองอยู่แล้ว ตนไม่จำเป็นต้องซื้อให้ ถึงจะให้เลี้ยงก็ไม่สามารถเลี้ยงได้ไหมโดยพนักงานสอบสวนจะเรียกตนเข้ามาชี้แจงอีกครั้งในวันที่ 22 ก.ค. นี้ ซึ่งตนจะนำเอกสารการใช้จ่ายส่วนตัวเข้ามาชี้แจง

"เทพไท" เผยกลุ่มเสื้อแดงใต้ดินเคลื่อนไหว 3 จุด

นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกส่วนตัวหัวหน้าพรรค ปชป.เปิดเผยว่ามีคนใกล้ชิดและผู้ที่รับทราบข้อมูลแจ้งเบาะแสเข้ามาว่า มีการซ่องสุมกำลังและฝึกอาวุธของกลุ่มใต้ดิน 3 จุดคือ ที่เขาโลมฟาน อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา, ตะเข็บชายแดน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี (ฝึกอาวุธให้ชายไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง) และที่แฟลตการเคหะ 53 ซ.คู้บอน กทม. (มีการชุมนุมของกลุ่มคนชุดดำเป็นประจำ) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้แจ้งไปยัง ศอฉ.ให้เข้าไปตรวจสอบติดตามความเคลื่อนไหวแล้ว เพราะมีตัวบุคคล และแหล่งที่มาขอข้อมูลชัดเจน นอกจากนี้ยังพบว่า การจัดงานบุญของกลุ่มเสื้อแดงบางพื้นที่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองและการปลุกระดมแฝงด้วย หากกลุ่มเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยยุติการเคลื่อนไหว รัฐบาลก็พร้อมยกเลิกประกาศภาวะฉุกเฉิน ตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ใน 19 จังหวัดที่เหลือทันที

นอกจากนี้นายเทพไท ยังขอให้ กกต.เร่งชี้ขาดคุณสมบัติ นายก่อแก้ว พิกุลทอง ให้เสร็จก่อนวันเลือกตั้งซ่อม เพราะข้อบังคับพรรคเพื่อไทยเขียนไว้ชัดอยู่แล้วว่า ห้ามผู้ต้องคุมขังโดยหมายศาลเป็นสมาชิกพรรค โดยเรื่องนี้นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ปี 1 ก็พิจารณาได้ว่า นายก่อแก้ว มีคุณสมบัติเป็นผู้สมัคร ส.ส.ในการเลือกตั้งซ่อมเขต 6 กทม.ได้หรือไม่ เพราะข้อบังคับพรรคเพื่อไทยข้อ 10 (5) เขียนเอาไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า บุคคลต้องคุมขังอยู่โดยหมายศาล หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายห้ามสมัครเป็นสมาชิกพรรค เมื่อไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคก็สมัคร ส.ส.ไม่ได้ จึงอยากให้ กกต.เร่งชี้ขาดให้ชัดเจนก่อนวันเลือกตั้งซ่อม 25 ก.ค.เพราะจะได้ไม่ต้องเสียงบประมาณจัดการเลือกตั้งใหม่

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก:

กสม.แถลงชี้พ.ร.ก.ฉุกเฉินกระทบสิทธิ (ไทยรัฐ, 7-7-2553)
http://www.thairath.co.th/content/pol/94519

แดงเมืองกาญจน์เชื่อพวกถูกย้ายออกนอกค่าย (ไอเอ็นเอ็น, 7-7-2553)
http://www.innnews.co.th/local.php?nid=233934

พท.ปูดที่คุมแดง ค่ายไทรโยค มีไม่ต่ำกว่า 70 ชีวิต (ไทยรัฐ, 6-7-2553)
http://www.thairath.co.th/content/pol/94270

ผบ.ทบ.ปฎิเสธนำคนเสื้อแดงควบคุมที่ค่ายทหาร จ.กาญจนบุรี (สำนักข่าวไทย, 6-7-2553)
http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/74981.html

ผบ.พล.ร.9 ปฏิเสธซุกคนเสื้อแดงในค่ายทหาร (มติชนออนไลน์, 6-7-2553)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1278406127&catid=01

"ดีเอสไอ" แยก 3 กลุ่มท่อน้ำเลี้ยงแดง (แนวหน้า, 7-7-2553)
http://www.naewna.com/news.asp?ID=218381

ปชป.เผยกลุ่มเสื้อแดงใต้ดินเคลื่อนไหว 3 จุด (ครอบครัวข่าว, 7-7-2553)
http://www.krobkruakao.com/kkn/?a=news&s=detail&news_id=21319

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวดัตช์เชื่อทหารเป็นคนยิงตนจนได้รับบาดเจ็บ ขณะสลายชุมนุม นปช.

Posted: 07 Jul 2010 06:32 AM PDT

<!--break-->

 


ไมเคิล มาอาส (Michel Maas) ผู้สื่อข่าววิทยุและโทรทัศน์ชาวเนเธอร์แลนด์
ที่ได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช. เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 53 (ที่มาภาพ: freemedia.at)

 

7 ก.ค. 53 - สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น รายงานว่านายไมเคิล มาอาส (Michel Maas) ผู้สื่อข่าววิทยุและโทรทัศน์ชาวเนเธอร์แลนด์ได้ให้สัมภาษณ์ ต่อ ดิ อินเตอร์เนชั่นแนล เพรส อินส์ทิทิวท์( The International Press Institute) หรือ IPI ซึ่งเครือข่ายอิสระในการนำเสนอข่าวระหว่างประเทศ เกี่ยวกับเหตุการร์ถูกเขายิงในระหว่างทำข่าวการชุมนุมประท้วงในกรุงเทพกรุงเทพมหานคร

(ดูบทสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษ: Q&A: Dutch Journalist Michel Maas Talks to IPI about Being Shot in Thailand Clashes)

โดย IPI ได้เรียกร้องในรัฐบาลไทยทำการ เพื่อเปิดการสอบสวนอย่างเร่งด่วนและอย่างโปร่งใส ในการสอบสวนการที่นักข่าวเสียชีวิตจากการถูกยิง และ บาดเจ็บอีกหลายคน ในเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงในเดือน เมษายน และ พฤษภาคมที่ผ่านมา พร้อมทั้งมีการเปิดเผยคำให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ของ นายไมเคิล มาอาส (Michel Maas)

ผู้สื่อข่าววิทยุและโทรทัศน์ชาวเนเธอร์แลนด์ หนึ่งในเหยื่อผู้ถูกทำร้ายซึ่งเชื่อว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่ทหาร โดย มาอาส กล่าวว่า อันตรายที่สุดคือกองทัพ ที่ยิงทุกคนไม่มีเว้นหรือตรวจสอบก่อนว่าคนคนนั้นคือใคร พร้อมทั้งกล่าวว่า บางครั้งการรายงานของสื่อต่างประเทศต้องอ้างอิงไปตามสื่อท้องถิ่น แต่ในบางครั้งก็ไม่มีแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือได้ จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลมากกว่า 1 ครั้ง อีกทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อต่างชาติยังต้องได้รับการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ทหารที่ไม่ชอบช่างภาพข่าวอยู่เป็นเป็นทุนเดิม แต่ต่อมาเขาก็มีวิธีบอกปัดไปว่าเขาไม่มีภาพของเหตุการณ์ในกรุงเทพ ฯ

ทหารออกคำเตือนบ่อยครั้งว่า ผู้สื่อข่าวต่างชาติกำลังตกเป็นเป้าหมายของผู้ก่อการร้าย และเตือนไม่ให้เข้าใกล้ สถานที่ชุมนุมของคนเสื้อแดง ซึ่งโดยส่วนตัวเขาเอง ไม่เคยถูกคนเสื้อแดงรบกวนใดๆ และ เชื่อว่า ผู้ประท้วงเสื้อแดงจะไม่ทำการก่อกวนผู้สื่อข่าวคนอื่นๆทั้งของในประเทศเองหรือจากต่างประเทศ และเขาก็คิดว่าคำเตือนจากเจ้าหน้าที่ เพียงต้องการให้นักข่าวออกห่างจากกลุ่มเสื้อแดง หรือ ห้ามเข้าไปในค่ายของคนเสื้อแดง

ทั้งนี้เขายังเล่าถึงเหตุการณ์ในวันที่ 19 พ.ค. ว่าการเปิดฉากยิงเริ่มจากฝ่ายทหาร พวกเขาไม่ได้ยิงปืนขึ้นฟ้า แต่ยิงมาที่ประชาชนซึ่งในนาทีนั้นต่างคนต่างหนีเอาตัวรอด และด้วยประสบการณ์ในครั้งนั้นสอนให้รู้ว่าวิธีการเอาตัวรอดได้ดีที่สุด คือการปฏิบัติตามคนในพื้นที่ ซึ่งต้องวิ่งหาที่กำบัง แต่ในวินาทีนั้นเขาคิดผิดที่วิ่งออกมานอกอาคาร จนถูกยิงเจ้าที่หลัง แต่โชคยังดีที่กระสุนปืนเฉียดปอดเขาไปเพียงครึ่งนิ้ว

ส่วนในประเด็นคำถามที่ว่า ใครเป็นคนยิง อามาส กล่าวอย่างเชื่อมั่นว่า ทหารเป็นคนยิง และระบุว่า กองทัพมีสไนเปอร์ อยู่บรางรถไฟฟ้าเหนือศรีษะของเขา , อยู่ในส่วนครอบคลุมทุกพื้นที่ และอยู่ในทิศทางที่เขาถูกยิง

นอกจากนี้ ตัวเลขของผู้เสียชีวิตที่เป็นชาวต่างชาติปนอยู่ด้วย และจากคำเตือนที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ทหารได้ไปเพิ่มความสงสัยว่าเป้าหมายการทำร้ายที่แท้จริงไม่ได้เกิดจากผู้ก่อกาารร้าย แต่โดย"ทหาร" ที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ระหว่างคนเสื้อแดง และนักข่าว ซึ่งเขาก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่อยู่ในฝูงชน ทั้งความสูงที่มากกว่าคนไทยทั่วไป , เสื้อผ้าที่มีสีสันต่างจากคนเสื้อแดง สีผิวแบบยุโรป , สวมเสื้อเกราะอ่อน , สวมหมวกกันน็อก ที่แสดงให้เห็นถึงแตกต่างอย่างชัดเจนกับผู้ประท้วง อีกทั้งทหารซึ่งไม่ชอบวิธีการรายงานของสื่อต่างชาติต่อเหตุการณ์ความรุนแรงนี้ อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขายิงผู้สื่อข่าวต่างชาติ ก็เป็นได้

อย่างไรก็ดี เขาได้พูดคุยกับ นายชัคโก้ แวน เดน เฮ้าท (H.E. Mr. Tjaco van den Hout) เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยแล้ว โดยเขากล่าวว่า รัฐบาลเนเธอร์แลนด์จะขอชี้แจงกับรัฐบาลไทย แต่อย่างไรก็ดีเขาไม่มีข้อมูลเกี่ยวมากพอเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น

ที่มาข่าว:

สื่อดัตช์เชื่อทหารยิงตนเหตุปะทะเสื้อแดง (ไอเอ็นเอ็น, 7-7-2553)
http://www.innnews.co.th/around.php?nid=233816

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"มาร์ค" ระบุ "เอเชีย อัพเดต" เปิดไม่ได้ หวั่นเสื้อแดงชุมนุมปลายปี

Posted: 07 Jul 2010 05:28 AM PDT

<!--break-->

7 ก.ค. 53 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์สื่อถึงความพยายาม ในการติดตั้งสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่องใหม่ "เอเชีย อัพเดต" ของกลุ่มคนเสื้อแดงว่า ถ้าตั้งขึ้นมาผิดกฎหมายก็ทำไม่ได้ ส่วนจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดปัญหาอีกรอบหรือไม่นั้น เชื่อว่าเขามีความพยายามที่เคลื่อนไหวอยู่ แต่ในส่วนของรัฐบาลสามารถทำได้เท่าที่มีอำนาจตามกฎหมาย เราคงไม่สามารถที่จะไปใช้วิธีการอื่นได้ แต่บางเรื่องก็ยังมีช่องโหว่ในทางกฎหมายอยู่

เมื่อถามว่าจะมีการปิดช่องโหว่ในทางกฎหมายหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่สามารถทำได้ง่ายๆ เพราะบางเรื่องมันเป็นอำนาจ ซึ่งโดยหลักการไม่ได้อยู่กับรัฐบาลแล้วแต่ไปอยู่กับองค์กรอิสระ อย่างไรก็ดี

"มาร์ค" ชี้เสื้อแดงรวมพลปลายปีแน่ เร่งบังคับใช้กฎหมายงัดข้อ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวถึงกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เป็นห่วงปัญหาการเมืองที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จะกลับมาอีกในปลายปีนี้อีกครั้งว่า กลุ่มที่มีความต้องการที่จะเคลื่อนไหวในระยะเวลาอันใกล้มีแน่นอนและคงขึ้นอยู่กับสถานการณ์และเงื่อนไขที่จะใช้ในการเคลื่อนไหว เราพยายามจะดูแลให้ดีที่สุด โดยขณะนี้ทางฝ่ายรัฐบาล ได้พยายาม 2 ทางควบคู่กันในการป้องกันเรื่องดังกล่าว คือ

1.การบังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มคนที่โน้มเอียงไปในเรื่องความรุนแรง 

2.การพยายามทำความเข้าใจกับประชาชน ไม่ให้ถูกชักนำมาเป็นเครื่องมือของคนที่จะใช้ความรุนแรง

อย่างไรก็ดียอมรับว่า เป็นเรื่องที่ยังไม่ง่ายนัก ที่จะเข้าถึงกลุ่มคนดังกล่าว เพราะหน่วยงานที่เข้าไปทำ ก็รายงานกลับมาว่ายังไม่ง่ายนัก ซึ่งเหตุผลที่ต้องดึงเอาภาคส่วนต่างๆ เข้ามาช่วยกันทำมากขึ้น

ชี้ กม.นิรโทษฯอาวุธสงคราม ต้องการดึงคืนราชการ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ ครม.เห็นชอบร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ผู้ครอบครองอาวุธสงคราม ว่า ขณะนี้มีการใช้อาวุธสงครามเข้ามาเกี่ยวข้องกับการชุมนุมมากขึ้น ก็ต้องหาทางที่จะมีกลไกหรือแรงจูงใจให้อาวุธซึ่งอยู่ในเมืองของบุคคลต่างๆ คืนกลับมาอยู่ที่การครอบครองของภาครัฐ จึงมีแนวคิดดังกล่าวออกมา แต่จะทำในช่วงเวลาที่จำกัดความตั้งใจของรัฐบาล คือ ภายใน 60 วัน หลังจากที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ถ้านำมาคืนก็จะไม่มีความผิดในเรื่องการครอบ ครองอาวุธเหล่านี้

ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าวต้องรอการพิจารณาของสภา คิดว่าจะทันต่อการนำมาแก้ไขสถานการณ์หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เราพยายามที่จะเร่ง ตั้งใจว่าจะให้มีการพิจารณาในสภาให้สั้นที่สุด โดยจะพยายามให้ดำเนินการใน 3 วาระรวด โดยเมื่อสภาเปิดสมัยประชุมสามัญรัฐบาลก็จะเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวทันที เพราะขณะนี้ไม่มีทางเลือกอื่น เรื่องนี้เป็นความพยายามในการที่จะทำให้เราบังคับใช้กฎหมายได้ง่ายขึ้น เมื่อถามว่าถ้าคิดว่ามีความจำเป็นทำไมไม่ประกาศใช้เป็นพรก. นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อาจจะมีปัญหาได้ถ้าเกิดถูกตีความ เพราะถ้า ถูกตีความแล้วกฎหมายก็จะใช้ไม่ได้เลย

ส่วนกฎหมายฉบับดังกล่าวจะครอบคลุมไปถึงกรณีทรัพย์สินของสภาความมั่นคงแห่ง ชาติ (สมช.) ที่ถูกขโมยไปสมัยที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) ยึดทำเนียบฯด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ ไม่ตอบคำถามดังกล่าวก่อนจะแหวกวงล้อมผู้สื่อข่าวไปทันที

"บุญจง" เผยเล็งเสนอ กม.นิรโทษกรรม "ขโมยปืน" เข้าสภาสมัยหน้า ไม่ขวางเปิดทีวีแดงถ้าไม่ผิดกฎหมาย

ด้านนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรี ระบุว่ามีการเตรียมการก่อความเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงในลักษณะการชุมนุม ว่า จะมีการประมวลข้อมูลจากหลายฝ่าย ทั้งในส่วนของกระทรวงมหาดไทย หน่วยงานทหาร และตำรวจ ในการคง พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ใน 19 จังหวัด และยกเลิกประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯใน 5 จังหวัด ซึ่งในแต่ละหน่วยงานได้มีการเสนอข้อมูลร่วมกัน

เมื่อถามว่าการเปิดสถานีโทรทัศน์เอเชียอัพเดต ของกลุ่มคนเสื้อแดง เกรงว่าจะเป็นการปลุกระดมมวลชนหรือไม่ นายบุญจง กล่าวว่า การเปิดสถานีโทรทัศน์ ถือว่าเป็นสื่อ หากสิ่งที่ดำเนินการไม่ขัดต่อกฎหมายก็สามารถทำได้ หากไม่มีการปลุกระดม ไม่สร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย ก็ถือว่าทำได้โดยชอบ แต่หากมีการที่ฝ่าฝืน เจ้าหน้าที่ของรัฐก็สามารถดำเนินการได้

นายบุญจง ยังกล่าวถึงการรับคืนอาวุธของทหาร ที่ถูกขโมย ในช่วงที่มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ว่า ขณะนี้กำลังมีการร่างกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับผู้นำที่อาวุธ ทั้งปืนและระเบิดของเจ้าหน้าที่ไป ให้นำกลับมาคืนและไม่ต้องรับโทษทางกฎหมาย ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวจะมีการนำเข้าสู่สภา ในการประชุมสมัยหน้า

เมื่อถามว่า หากประชาชนที่ประสงค์จะนำอาวุธมาคืนในช่วงที่ยังไม่มีกฎหมายนิรโทษกรรม ก็จะต้องถูกจับดำเนินคดีหรือไม่ นายบุญจง กล่าวว่า ถูกต้อง ดังนั้นจึงเชื่อว่าในระหว่างนี้จะยังคงไม่มีประชาชนนำอาวุธมาคือ เพราะกลัวจะถูกจับกุม แต่หากเปิดประชุมสภาแล้ว สามารถนำกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่สภาได้ โดยจะใช้ขั้นตอนประมาณ 60 วัน เมื่อประกาศใช้เป็นกฎหมาย ประชาชนจะสามารถนำอาวุธมาคือได้ที่นายทะเบียนท้องที่ ในแต่ละอำเภอทั่วประเทศได้ ดังนั้นการออกกฎหมายนี้ถือว่าประชาชนได้ประโยชน์ เพราะการครอบครองอาวุธปืนของรัฐมีความผิดทั้งแพ่งและอาญา มีโทษจำคุก

ปชป.ต้านตั้งทีวีแดงภาค 2

น.พ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย ออกมาระบุว่าจะมีการเปิดสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมช่องใหม่โดยใช้ชื่อว่า “เอเชีย อัพเดท” ซึ่งมีพรรคเพื่อไทยและสมาชิกพรรคเป็นผู้ดำเนินการว่า เชื่อว่าเป็นการดำเนินการภายใต้การรับรู้ของพรรคการเมือง ทั้งนี้พรรคอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มาดำเนินการตรวจสอบ เพราะจำเป็นต้องมีการตรวจสอบว่าเข้าข่ายขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในมาตรา 48 ที่ระบุว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคมได้หรือไม่ ดังนั้น ขอให้ กกต.ตรวจสอบว่าพรรคเพื่อไทยสามารถดำเนินการดังกล่าวได้หรือไม่

ด้านนายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่นายจิรายุออกมาแถลงข่าวในทำนองว่า พรรคเพื่อไทยพร้อมเปิดสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่องใหม่ โดยเบื้องต้นจะมีนายจิรายุ, นายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม. และ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย เป็นผู้ดำเนินรายการหลัก และอาจมีรายการความจริงวันนี้ โดยจะหารือกับนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่ม นปช.ก่อนว่าพร้อมหรือไม่นั้น ตนคิดว่าไม่ว่าจะถือครองในนามของตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทน หรือจะดำเนินการโดยวิธีการอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมที่สามารถบริหารกิจการดังกล่าวได้คงไม่ได้ เพราะถือว่าผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 48

นายบุญยอด กล่าวอีกว่า ทั้งนี้นายจิรายุและนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ออกมาแถลงข่าวหรือดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่ขัดแย้งต่อกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญมาหลายครั้งแล้ว ดังนั้น คณะกรรมการบริหารพรรคควรพิจารณาอย่างเข้มงวดก่อนปล่อยออกมา เพราะทำให้ประชาชนสับสนว่าอะไรที่ทำได้หรือทำไม่ได้ สิ่งใดที่นักการเมืองควรทำหรือไม่ควรทำ อย่างไรก็ตาม อยากเรียกร้องให้สมาคมวิชาชีพวิทยุ โทรทัศน์และสื่อสารมวลชนต่างๆ ที่มีอยู่ รวมทั้งนักวิชาการสื่อสารมวลชนว่าไม่ควรนิ่งดูดาย ควรออกมาจับตามองรวมทั้งเคลื่อนไหวปฏิเสธ ไม่ให้นักการเมืองหรือพรรคการเมืองมาทำตัวเป็นเจ้าของสื่อเสียเอง เพราะจะทำให้การปฏิรูปสื่อไม่สามารถเกิดขึ้นได้ และผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญด้วย

 

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก:

"มาร์ค"ลั่น! TVเสื้อแดงเปิดไม่ได้ หวั่นรวมพลใหญ่ปลายปีงัดกม.จัดการ ชี้นิรโทษฯอาวุธสงครามหวังดึงคืน (มติชนออนไลน์, 7-7-2553)
บุญจงไม่ขัดแดงเปิดเอเชียอัพเดตถ้ายังไม่ป่วน (คม-ชัด-ลึก, 7-7-2553)
ปชป.ต้านตั้งทีวีแดงภาค 2 (บ้านเมือง, 7-7-2553)
 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘May 18’ ภาพสะท้อนจากแผ่นฟิล์ม-ภาพสะท้อนจากความจริง

Posted: 07 Jul 2010 04:59 AM PDT

ผู้คนอัดแน่นกันเต็มห้องฉายภาพยนตร์เล็ก ๆ ต่างจับตาดูภาพเหตุการณ์ในโลกของภาพยนตร์ที่สะท้อนภาพบางส่วนของโลกจริง พวกเขาหัวเราะในฉากเฮฮา เศร้าสลดกับภาพของคนที่ถูกทำร้าย แต่ไม่เพียงภาพยนตร์เท่านั้นที่ทำหน้าที่เล่าเรื่องในวันนี้ ผู้ชมภาพยนตร์บางคนก็อัดอั้นอยากเล่าเรื่องของพวกเขาด้วยเช่นกัน และหลายฉากของพวกเขานั้นคือประสบการณ์จริงที่สะเทือนใจไม่แพ้ในภาพยนตร์

<!--break-->

 
เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2553 ที่ผ่านมา กลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน (CCP) จัดกิจกรรมฉายภาพยนตร์เกาหลีเรื่อง 'May 18' ว่าด้วยเหตุการณ์ลุกฮือของประชาชนที่เมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ในเดือนพฤษภาคม 2523 ซึ่งรัฐบาลทหารชุน ดูฮวานได้ยึดอำนาจ ปกครองโดยเผด็จการ และปราบปราบประชาชนผู้ต่อสู้เรียกร้อง ประชาธิปไตยอย่างนองเลือด โดยยัดเยียดให้ผู้ถูกสังหารเป็นผู้ก่อการร้ายและกบฎคอมมิวนิสต์
 
ทำให้ประชาชนทั่วประเทศก่อความเคลื่อนไหวคัดค้าน นายพลชุนดู-ฮวาน และนายพลโรห์ แตวู ต้องสั่งการให้กองทัพใช้กำลังปราบปรามประชาชนอย่างเด็ดขาด ยกเว้นอยู่ที่เดียว คือที่เมืองกวางจู ที่นักศึกษาและประชาชนร่วมมือกันต้านทานกองทัพได้อย่างเข้มแข็ง แต่ท้ายที่สุดทหารก็เข้ายึดเมืองกวางจูไว้ได้ เหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 200 คน
 
ต่อมามีการสอบสวนรื้อฟื้นเหตุการณ์ และลงโทษจำคุกตลอดชีวิตจอมเผด็จการ และสร้างอนุสาวรีย์คืนเกียรติยศแก่วีรชน
 
 
 
518 : ตัวเลขแห่งความทรงจำของกวางจู
ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ สมาชิกกลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน (CCP) บอกกับผู้สื่อข่าวว่า เหตุผลที่เลือกเรื่อง May 18 มาฉายมาจากความเห็นที่ตรงกันของกลุ่ม เนื่องจากเรื่องนี้กำลังได้รับการกล่าวถึง ความที่เป็นภาพยนตร์เกาหลีจึงน่าจะดึดดูดให้มีผู้คนสนใจมากขึ้น รวมถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ยังสะท้อนความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในบ้านเราด้วย
 
ก่อนการฉายภาพยนตร์ พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงภาพยนตร์เรื่องนี้คร่าว ๆ บอกว่าตนมีโอกาสไปร่วมรำลึกครบรอบ 30 ปีเหตุการณ์กวางจูที่ประเทศเกาหลีใต้ในช่วงเดียวกับที่ประเทศไทยมีการปราบปรามผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยพอดี จึงคิดว่าเป็นเรื่องน่าเศร้ากับการที่ไปร่วมงานรำลึกในอีกประเทศหนึ่ง แต่กลับได้เห็นภาพการปราบปรามผู้ชุมนุมในอีกประเทศผ่านจอโทรทัศน์
 
ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในเมืองกวางจู (Gwangju Democratization Movement) ระบุถึงการลุกฮือของประชาชนในเมืองกวางจูตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. ถึง 27 พ.ค. ปี 2523 ซึ่งบางครั้งเหตุการณ์นี้ประชาชนเกาหลีจะเรียกว่าเหตุการณ์ '518' ซึ่งระบุถึงวันและเดือนที่เกิดเหตุการณ์
 
พิชญ์ กล่าวว่าประเทศเกาหลีมีเมืองหลวงคือกรุงโซลอยู่ใกล้กับชายแดนทางเหนือทำให้มีเรื่องให้ต้องทำสงครามบ่อยจึงทำให้รูปแบบของรัฐทหารในเกาหลีเข้มแข็ง ขณะที่เมืองกวางจูเป็นเมืองที่ไม่ได้รับการพัฒนามากเท่าที่ควรในสมัยนั้น
 
พิชญ์เล่าอีกว่าหลังเหตุการณ์ที่ประชาชนถูกล้อมปราบ อีก 3 ปีถัดมาก็มีการจัดระลึกถึงเหตุการณ์นี้ทุก ๆ ปี มีประชาชนและญาติของผู้เสียชีวิตรวมตัวกันสร้างสุสานอย่างเป็นทางการให้ผู้เสียชีวิต หลังจากนี้ก็มีคนยอมรับว่าเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมากขึ้น รวมถึงต่อมาก็มีการตั้งรางวัลสิทธิมนุษยชนกวางจู ต้องใช้เวลาเกือบ 20 ปีกว่าที่ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นี้จะได้รับความยุติธรรม ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
 
"ถ้าหากเป็นสังคมไทยจะจดเรื่องราวความรุนแรงที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้อย่างไร" พิชญ์ตั้งคำถาม
 
โดยที่ประธานาธิบดีคิมยังซัม และคิมแดจุง-ผู้ที่ในอดีตเป็นหนึ่งในนักโทษจากเหตุการณ์กวางจู ประกาศนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ถูกตัดสินโทษข้อหาสังหารหมู่เหตุการณ์กวางจูเพื่อความสมานฉันท์
 
"คำว่าสมานฉันท์ในประชาธิปไตยแบบเกาหลีคือการที่ฝ่ายเคยถูกกระทำ มีโอกาสได้เอาคืนแต่ก็มีการนิรโทษกรรม ไม่เอาคืน" พิชญ์กล่าว
 
 
ภาพสะท้อนจากแผ่นฟิล์ม-ภาพสะท้อนจากความจริง
ภาพยนตร์เรื่อง May 18 จัดเป็นภาพยนตร์แนวชีวิต (Drama) ที่สะท้อนภาพประวัติศาสตร์ ตัวเอกของเรื่องคือมินวู คนขับแท็กซี่ที่ต้องเลี้ยงดูน้องชายจินวูที่เป็นนักศึกษา
 
พวกเขาดำเนินชีวิตประจำวันอย่างสงบสุขกับเพื่อนคนขับแท็กซี่และนางพยาบาลปักชิน-เอ จนกระทั่งในวันที่ 17 พ.ค. ภายใต้รัฐบาลจากการรัฐประหาร นายพลชุนดู-ฮวาน ประกาศกฏอัยการศึกเพื่อปราบปรามการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษา ภาพยนตร์ฉายให้เห็นการนำกองทัพเข้ามาในเมืองกวางจู และที่มาผู้ประท้วงขับไล่ทหารก็ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันฝ่ายรัฐก็สร้างภาพให้ผู้ชุมนุมกลายเป็น "กลุ่มกบฏ"
 
การใช้ความรุนแรงของทหารทำให้ประชาชนไม่พอใจและเริ่มจัดตั้งกองกำลังป้องกันตนเองขึ้นมาจำนวนหนึ่ง การต่อสู้ยืดเยื้อไปจนถึงปลายเดือน พ.ค. เมื่อฝ่ายทหารยกทัพใหญ่รวมถึงรถถังเข้าปิดล้อมเมืองไม่ให้ติดต่อสื่อสารหรือขนส่งเสบียงกับภายนอก และท้ายที่สุดทหารก็ใช้กำลังเข้าปราบอย่างหนักจนได้รับชัยชนะ
 
 
 
ภาพจาก http://eng.gjcity.net/
 
หรือที่เขาว่า 'ชีวิตจริงยิ่งกว่าในหนัง' ?
หลังการฉายภาพยนตร์มีผู้เข้าร่วมรายหนึ่งที่บอกว่าตนเป็นการ์ดพยาบาลผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมในไทยทั้งวันที่ 10 เม.ย. และวันที่ 19 พ.ค. เขาให้ความเห็นเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ว่ามีความใกล้เคียงเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมากตั้งแต่วันแรกถึงวันสุดท้าย
 
โดยเขาเล่าประสบการณ์ส่วนตัวให้ฟังว่าตนเห็นคนเสียชีวิตต่อหน้าต่อตา 4-5 ศพ ในวันที่ 10 เม.ย. และไม่มีใครมีอาวุธเลย และในวันที่ 19 พ.ค. หลังจากที่รัฐบาลล้อมปราบโดยอ้างคำสวยหรูว่า "กระชับพื้นที่" ก็มีการปิดล้อมทำให้ส่งเสบียงไม่ได้ เขาเปรียบเทียบจุดนี้กับในภาพยนตร์ May 18 ฉากที่มีคนทำอาหารเลี้ยงกันเอง
 
"ต่างคนต่างต้องช่วยเหลือแบ่งปันอาหารกันในนั้นมีคนทุกภาพส่วนของสังคม ทั้งเด็ก ครูบาอาจารย์ นักกฏหมาย นักการเมือง จากภาคเหนือ ภาคอิสาน ภาคใต้ ทุกคนก็แบ่งกันกินอย่างประหยัด ๆ" การ์ดพยาบาลกล่าวถึงผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ของไทย "คนใต้ก็มานั่งกินส้มตำทั้งที่ไม่น่าจะชอบกินปลาร้า"
 
การ์ดพยาบาลเล่าเหตุการณ์ 19 พ.ค. ต่ออีกว่า มีเหตุหนึ่งที่เขาเสียใจมากคือมีคน ๆ หนึ่งสวมชุดสีขาว ถือหนังสติ๊กวิ่งเข้าไปทางรางรถไฟ BTS ซึ่งในตอนนั้นมีทหารอยู่บนรางแล้ว ชายผู้นั้นตะโกนว่า "ยิงพวกเราทำไม" แล้วเขาก็ยิงหนังสติ๊กขึ้นไปบนรางรถไฟ BTS ทหารก็ยิงสวนเขามา 2 นัดเสียชีวิต
 
นอกจากนี้เขายังเล่าถึงเหตุที่มีศพหาย เล่าถึงการที่หน่วยอาสาพยาบาลและผู้สื่อข่าวต่างประเทศถูกยิง "คิดว่าใส่ชุดพยาบาลแล้วพวกเขาจะไม่ยิง" การ์ดพยาบาลกล่าวถึงกรณีกมลเกดและอัครเดช "พอตอนไปปั้มหัวใจอยู่เขาสาดมา 2 แม็ก ราว 30 นัด ยิงเข้าไปที่เต็นท์พยาบาล"
 
"มีนักข่าววิ่งเข้ามาใส่หมวกคำว่า Press ให้เห็นว่าเป็นผู้สื่อข่าวก็โดนยิงที่ขา" ผู้เห็นเหตุการณ์เล่า เขาบอกอีกว่ามีความยากลำบากในการทำหน้าที่ และรู้สึกเสียใจที่ไม่อาจทำหน้าที่ได้เต็มที่เนื่องจากมีทหารคอยยิง อีกทั้งสภาพผู้หลบภัยอยู่ในวัดปทุมก็ต้องอยู่อย่างแออัด อยู่ในความมืด พูดเสียงดังก็ไม่ได้ ทั้งยังมีการยิงแก๊สน้ำตาเข้ามาในวัดด้วย
 
โดยการ์ดพยาบาลผู้เป็นพยานทิ้งท้ายไว้ว่าอยากให้ทุกคนจดจำผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ไว้ ว่าอย่างน้อยพวกเขาก็สู้เพื่อเรา "มีประโยคหนึ่งที่กล่าวบนเวทีเสื้อแดงที่ผมชอบมากคือ ' สงครามมันมีวันจบ แต่เพื่อนร่วมรบอยู่ในใจเราตลอดไป' "
 
การต่อสู้ต้องไม่ลืม มิติด้านประวัติศาสตร์
ขณะเดียวกันผู้ชมอีกท่านหนึ่งที่บอกว่าตนชื่อวันเฉลิม เสนอความเห็นจากการได้ชมภาพยนตร์ว่า อยากให้ภาพยนตร์ชุดนี้เป็นบทเรียนในเรื่องการเรียกร้องประชาธิปไตยที่ต้องระวังไม่ให้นำไปสู่เงื่อนไขของการถูกล้อมปราบ และการใช้หัวใจอย่างเดียวไม่พอ

"เนื่องจากการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยเป็นกระบวนการที่ยาวนาน" วันเฉลิมกล่าว เขายังบอกอีกว่าการพยายามถ่ายทอดเรื่องการต่อสู้ประชาธิปไตยไปสู่อนาคต เช่นเดียวกับในเกาหลีใต้สามารถประยุกต์ใช้กับไทยได้เสมอ
 
"นักกิจกรรมทางการเมืองต้องรู้ว่าการกระตุ้นมวลชนอย่างเดียวไม่เพียงพอ ขณะเดียวกันก็ต้องมีมิติด้านทางประวัติศาสตร์ กระตุ้นทางประวัติศาสตร์ด้วย ให้มีสำนึกร่วมกัน ผนึกตัวเองร่วมกับประวัติศาสตร์" วันเฉลิมกล่าวและเสริมว่าการคำนึงถึงมิติทางประวัติศาสตร์จะช่วยสร้างความคงทนในกระบวนการประชาธิปไตย
 
มีความเห็นหนึ่งกล่าวถึงภาพยนตร์ว่า ฉากที่มีการกอดลูกกอดเมียในภาพยนตร์ก็สะท้อนถึงชีวิตจริง ทำให้ตนนึกถึงตอนที่บอกกับครอบครัวก่อนไปในที่ชุมนุม "แน่นอนว่าเราต้องอย่าลืมเพื่อนร่วมรบ แต่อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือไม่ลืมว่าใครสั่งฆ่าเรา"
 
อีกความเห็นหนึ่งบอกว่าพวกเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นเครื่องมือของนักการเมือง ซึ่งไม่อยากให้ประเด็นนี้มาบั่นทอนการต่อสู้ของประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มักจะมีคนตั้งคำถามว่าผู้ชุมนุมไปด้วยใจหรือเปล่า หรือใครจ้างวานหลอกลวงมา "คำพูดเหล่านี้มักจะมาจากคำพูดของคนที่ไม่ได้ไปร่วมชุมนุมเสื้อแดง ซึ่งดิฉันปฏิเสธ"
 
 
ทางออกของความยุติธรรมและความคับแค้น
ความเห็นในห้องประชุมอีกรายหนึ่งมองว่าการนิรโทษกรรมคนที่สั่งปราบปรามประชาชนเป็นเรื่องไม่ยุติธรรมต่อผู้เสียชีวิต และอยากให้ถามคนเสื้อแดงทั่วประเทศก่อนหากจะมีการนิรโทษกรรมผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ "อย่าลืมว่าอภิสิทธิ์ไม่เคยพูด 'ขอโทษ' เลย มีแต่พูดคำว่า 'เสียใจ' ที่ใคร ๆ ก็พูดได้"
 
ซึ่งตรงจุดนี้พิชญ์ให้ความเห็นว่า ความยุติธรรมมี 2 ระดับ คือในระดับตาต่อตา ฟันต่อฟัน คือคุณทำเราคุณต้องถูกลงโทษ ขณะที่ในอีกระดับหนึ่งคือแบบ Transformative ซึ่งไปไกลกว่าระดับตาต่อตา ฟันต่อฟัน ซึ่งเป็นการให้อภัย-แต่ก็จำไม่ลืม ซึ่งคนในสังคมเกาหลีมีการให้อภัยแต่ก็มีการจดจำ เขาเปลี่ยนเมืองให้เป็นเมืองประชาธิปไตย เป็นเมืองที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ มีการระลึกถึงและให้รางวัลกวางจูกับคนทั่วเอเชียซึ่งเรียกร้องในเรื่องประชาธิปไตย
 
"เขามองว่าจะช่วยเหลือคนทั่วเอเชียอย่างไรต่อ ไม่ให้ซ้ำบทเรียนของเขา" พิชญ์กล่าว "คือในความยุติธรรมในระดับที่คนผิดถูกตัดสินตามกระบวนการยุติธรรมแล้ว เขาก็แปลงตรงนี้ให้กลายเป็นพลังด้านบวกต่อไป"
 
แต่พิชญ์ก็กล่าวว่ากรณีของเกาหลีต่างจากการ 'ปรองดอง' ของไทยที่ให้คนถูกกระทำเป็นฝ่ายให้อภัย
 
 
"ถึงมันจะเป็นแค่หนัง แต่มันก็เป็นส่วนหนึ่งของความจริง"
ผู้เข้าร่วมอีกรายหนึ่งซึ่งอยู่ในเหตุการณ์การปราบปรามผู้ชุมนุมในไทยตอน 10 เม.ย. เล่าให้ฟังว่าเขาไปนั่งอยู่ที่พื้นขณะที่ทหารเอากำลังบุกเข้ามา จนกระทั่งมีเด็กหนุ่มคนหนึ่งเข้ามาหาถามว่า "แม่ทำไมไปนั่งตรงนั้น " ซึ่งเขาเป็นทหารจากราบฯ 11 เขาบอกเขาทนไม่ได้ถึงมาช่วย แล้วตอนนี้เขาก็ต้องหนีอยู่ "เขาบอกว่า 'ขนาดแม่เป็นผู้หญิงแม่ยังสู้เลย แล้วผมเป็นใคร' "
 
นอกจากนี้ยังเล่าถึงช่วงที่ต้องหลบภัยอยู่ในวัดปทุมฯ ว่าต้องทานอาหารอย่างยากลำบาก อาหารมีเพียงข้าวต้มหรืออย่างดีหน่อยก็มีไข่ เวลาตอนกลางคืนมีใครส่องไฟมาก็ต้องเอาผ้าปิดไว้ไม่ให้เขาเห็น
 
ผู้เข้าร่วมอีกรายยังคงมีผ้าปิดตาข้างหนึ่งในขณะที่ร่วมงาน เขาบอกว่าเขาเป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่สี่แยกคอกวัวจนต้องผ่าตัดดวงตา "ถ้าถามว่าผมเสียดวงตาข้างนึกแลกกับประชาธิปไตยได้ไหม ผมบอกว่าผมไม่เสียใจ"
 
"ตัวผมอาจจะมาจากบ้านนอกมักจะมีคนหาว่าผมความรู้ต่ำ แต่ถึงผมจะจบ ป.4 แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้มาเดินเคียงบ่าเคียงไหล่พี่น้องเสื้อแดงทุกท่าน" เขาบอกอีกว่าอยากให้นิสิตนักศึกษาและคนรุ่นใหม่ช่วยกันสานต่อการต่อสู้ และคิดว่าแม้อีก 20 ปีข้างหน้าพวกเขาถึงจะได้รับความยุติธรรม แต่ก็ยังไม่สายเกินไป
 
"ถึงมันจะเป็นแค่หนัง แต่มันก็เป็นส่วนหนึ่งของความจริง" ชายผู้มีผ้าปิดตากล่าว
 
ข้อมูลบางส่วนจาก
http://www.facebook.com/event.php?eid=133544099999235
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใต้เท้าขอรับ : 'เว็บบอร์ด'...แล้ววันนี้ก็มาถึง

Posted: 07 Jul 2010 03:42 AM PDT

<!--break-->

จดหมายฉบับนี้ควรจะส่งถึงผู้อ่านประชาไทและเพื่อนสมาชิกเว็บบอร์ดประชาไทหนึ่งเดือนมาแล้ว
แต่ทว่า..ดิฉันเองก็ตกอยู่ในอาการอ้ำอึ้งพูดไม่ออก ไม่รู้จะบอกอะไรได้มากไปกว่า

“ขอโทษ”

เว็บบอร์ดในประชาไทเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับเว็บไซต์ประชาไท เริ่มจากการเป็นพื้นที่เล็ก ๆ ในการที่จะให้ผู้อ่านประชาไทได้แลกเปลี่ยน ถกเถียงกันอย่างอิสระ

จากกระดานสนทนาเล็ก ๆ ใช้เวลาแรมปีที่เริ่มมีขาประจำ ตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มีเหลืองมีแดง ทว่าเป็นชุมชนมีทั้งคนที่ชอบ/ไม่ชอบทักษิณ, ชอบพันธมิตร แต่ไม่ชอบข้อเรียกร้องเรื่องมาตรา 7 ซึ่งพื้นที่นี้ก็คุยกันได้เสมอมา ดิฉันเองในฐานะผู้ดูแลพื้นที่ ก็พยายามที่จะเข้าไปชี้แจง, แลกเปลี่ยนในเรื่องราวที่เป็นจุดยืนต่อการเปิดกว้างให้ทุกเสียง ทุกฝ่าย ได้มีพื้นที่แสดงออก มีทั้งดอกไม้และก้อนอิฐเป็นกำนัลเสมอมา

รัฐประหาร 19 กันยายน 2549...
ในห้วงเวลาที่พื้นที่การสื่อสารเพื่อแสดงออกถึงการต้านรัฐประหารและการยืนยันในความนิยมชื่นชมอดีตนายกฯทักษิณ ดูจะคับแคบและไร้ที่ทาง เว็บบอร์ดประชาไทซึ่งอหังการ์ประกาศตนเองว่าเชื่อในสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกความคิดเห็นจึงเติบโตขยายตัวเป็นชุมชนที่กว้างขวางขึ้น จนในที่สุดทีมงานประชาไทตัดสินใจว่าชุมชนแห่งนี้เติบโตเกินกว่าที่จะเป็นเพียงพื้นที่หนึ่งของเว็บไซต์ประชาไท

ประชาไทเว็บบอร์ด [http://www.prachataiwebboard.com] จึงเกิดขึ้น มีสถานะเป็นอิสระมีหน้าตา, ที่ทาง, ท่าทีเฉพาะของตนเองตามแต่ที่เพื่อนสมาชิกในเว็บบอร์ดจะสร้างสรรค์ให้เป็นอารมณ์ขัน, ขื่น, ข้น, เข้าใจ และกวนประสาทอย่างเหลือร้ายของนักโพสต์ในประชาไทอย่างที่ไม่มี บรรณาธิการคนใดจะมาบรรณาธิกรณ์

คงไม่เป็นการกล่าวเกินเลยไปถ้าจะบอกว่าประชาไทเว็บบอร์ดผ่านห้วงร้อนฉ่าในวิกฤติการเมืองและทำหน้าที่เป็นความฉ่ำชื่นใจในยามที่รู้สึกอ่อนแอและแพ้พ่าย..

ในยุคสมัยที่สิทธิและเสรีภาพเต็มไปด้วยเครื่องหมายคำถาม ??? และความน่าตื่นตระหนกตกใจ !!!
คดีความที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากการทำหน้าที่ดูแลเว็บบอร์ดประชาไทยังคงรอการต่อสู้พิสูจน์และตัดสินตามกระบวนการยุติธรรม

สถานการณ์การจับกุมผู้โพสต์แสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งที่เป็นข่าว และไม่เป็นข่าว

เหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงภัยคุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สิน สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ทั้งสำหรับผู้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเปิดพื้นที่สื่อสาร หรือผู้ที่ได้แสดงออกถึงความรู้สึก ความคิดเห็น และข้อมูล ที่ยังมีกรอบอันกว้างขวางและพร่าเลือนของข้อกล่าวหา “เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ” ที่สามารถจับกุมคุมขังผู้เห็นต่าง ผ่านเครื่องมือ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, พรก.สถานการณ์ฉุกเฉิน และ มาตรา 112 ในประมวลกฎหมายอาญา

ด้วยขีดจำกัดในการที่ปกป้องคุ้มครองตัวเองของประชาไท ที่สำคัญการไม่สามารถที่จะมีหลักประกันความปลอดภัยให้แก่ผู้ที่เข้าแสดงความคิดเห็นผ่านพื้นที่เว็บบอร์ดประชาไท การสอดส่อง แกะรอยเพื่อติดตามหาตัวผู้โพสต์เหมือนจะเกิดขึ้นได้ไม่ยากเย็นนัก และโดยไม่จำเป็นต้องมาขอความร่วมมือ/ขอข้อมูลจากประชาไทเลยด้วยซ้ำ

สถานการณ์อันล่อแหลม เปราะบาง และดิ่งเหวของสิทธิเสรีภาพในสังคมไทย จึงกลายเป็นความจริงที่ทีมงานประชาไทต้องยอมรับด้วยความรวดร้าวใจ และตัดสินใจปิดเว็บบอร์ดประชาไทลง โดยเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2553 เป็นต้นไป

ในช่วงเวลาที่ยังพอมีให้เราได้สื่อสารกัน..
คาดว่ายังพอมีเวลาสำหรับการบันทึกเนื้อหาในกระทู้ที่น่าสนใจสำหรับแต่ละท่าน
การสื่อสารข้อความระหว่างเพื่อนสมาชิก..สำหรับคนที่ยังผูกพันและอยากติดต่อสื่อสารกันต่อไป
น่าจะยังพอมีเวลาให้แลกเปลี่ยนกันผ่านกล่องข้อความ

และหากไม่โกรธเคืองกันเกินไป ยังอยากพูดคุย สอบถาม ติดต่อสื่อสารกัน อีเมล chiranuch@prachatai.com ยังเปิดรับทุกความคิดเห็นค่ะ

นับถือ

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทางการพม่าแจกบัตรประชาชน เพื่อลงคะแนนเลือกตั้ง 2010

Posted: 07 Jul 2010 02:55 AM PDT

<!--break-->

6 ก.ค. 53 - แหล่งข่าวจากทางการพม่าประจำเมืองมงดอว์ ในรัฐอาระกันแจ้งว่า ทางการพม่ามีแผนที่จะออกบัตรประชาชนให้กับผู้ที่อาศัยอยู่ในพม่า เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิ์เลือกตั้งในปีนี้

พม่ากำลังจะจัดการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 20 ปี  โดยรัฐบาลทหารกำลังผลักดันให้ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเพิ่มจำนวนขึ้น เพราะฉะนั้น จึงมีการวางแผนที่จะออกบัตรประชาชนให้กับประชาชนชาวพม่า

เจ้าหน้าที่จากทางการพม่าเปิดเผยว่า “เรามีแผนที่จะออกบัตรประชาชนบางประเภทให้กับผู้ที่อาศัยอยู่ในพม่าจนถึงวันที่ 31 ตุลาคมนี้ ซึ่งพวกเขาจะสามารถลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งที่จะมาถึงได้ โดยทางการจะออกบัตรให้แก่บุคคลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เพื่อใช้สำหรับการเลือกตั้ง” เจ้าหน้าที่กล่าว

ขณะที่ปัจจุบัน ทางการพม่าได้กำหนดให้มีบัตรประชานชนอยู่ทั้งหมด 5 ประเภทคือ 1.บัตรประจำตัวประชาชน (National ID Card) ซึ่งออกให้กับชาวพม่า 2.บัตรประจำตัวให้แก่บุคคล ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาเป็นพลเมือง (Scrutinized Citizen Card) 3.บัตรประจำตัวพลเมืองต่างชาติ (Foreign Citizen Card) 4.บัตรประจำตัวชั่วคราว (Temporary National ID Card) และบัตรประจำตัวประเภทสุดท้าย ซึ่งเรียกตามภาษาพม่าว่า ผิ่วไนงัน ตา (Pyu Naingan Tha) หรือบัตรประจำตัวสีขาว

ทั้งนี้ ทางการพม่าได้ออกบัตรประจำตัวชั่วคราวซึ่งเป็นสีขาวให้กับชุมชนชาวมุสลิมโรฮิงยา ในรัฐอาระกัน โดยระบุเชื้อชาติเป็นชาวมุสลิมและนับถือศาสนาอิสลาม อย่างไรก็ตาม ทางการพม่าได้ระบุด้านหลังของบัตรประเภทนี้ว่า ผู้ถือบัตรไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องเป็นพลเมืองพม่าได้

ด้านนักธุรกิจชาวมุสลิม ในเมืองมงดอว์กล่าวว่า “บัตรสีขาวไม่ใช่บัตรประชาชนพม่า เราต้องการบัตรอื่นที่ระบุสถานะว่าเราคือ พลเมืองของประเทศพม่า เมื่อครั้งพลเอกโพนส่วย (Phone Swe) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยของพม่ามาเยือนเมืองมงดอว์ ได้บอกพวกเราว่า สำหรับชาวมุสลิมในภาคเหนือของรัฐอาระกัน จะได้รับบัตรประชาชนสีชมพู ซึ่งจนถึงขณะนี้เราก็ยังไม่ได้รับบัตรดังกล่าว” นักธุรกิจกล่าว

ทั้งนี้ มีรายงานว่า ทางการพม่าในรัฐอาระกันได้เตรียมการที่จะจัดทำบัตรประชาชนใหม่ให้กับชุมชนชาวมุสลิมในรัฐอาระกัน โดยหวังให้ชุมชนมุสลิมให้การสนับสนุนพรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา (USDP= Union Solidarity and Development Party) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีรัฐบาลทหารหนุนหลัง

นักศึกษาในรัฐอาระกันประท้วง – เหตุรถแท็กซี่หยุดรับส่ง 
 
นักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่งในรัฐอาระกัน ภาคตะวันตกของประเทศออกมาเดินประท้วงตามท้องถนน หลังรถแท็กซี่หยุดรับส่งให้บริการนักศึกษา  ขณะที่มีรายงานว่า นักศึกษากว่า 300 คน ได้เข้าร่วมการประท้วงในครั้งนี้

มีรายงานว่า นักศึกษาได้เริ่มประท้วงเมื่อเวลา 15.00 น. และยุติการประท้วงเมื่อเวลา 21.30 น.นักศึกษาคนหนึ่งกล่าวว่า “เราได้ออกไปประท้วงหน้าสำนักงานของรัฐบาลพม่า เหตุที่เราประท้วงในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากที่รถแท็กซี่หยุดให้บริการรับส่ง อย่างไรก็ตาม ภายหลังเจ้าหน้าที่จากวิทยาลัยได้พูดคุยกับกลุ่มนักศึกษาและสัญญาว่าจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน กลุ่มนักศึกษาจึงยุติการประท้วง” นักศึกษากล่าว 

ขณะที่พบว่า วิทยาลัยเทคนิคดังกล่าวอยู่ในเขตพื้นที่ชานเมือง ซึ่งห่างจากเมืองชิตต่วย เมืองหลวงของรัฐอาระกันไป 16 กิโลเมตร ซึ่งนักศึกษาจำเป็นต้องไปกลับโดยรถแท็กซี่

ส่วนสาเหตุที่รถแท็กซี่หยุดให้บริการครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากที่เมื่อเร็วๆนี้ รัฐบาลได้ถ่ายโอนธุรกิจด้านพลังงานเชื้อเพลิงให้กับบริษัททู เทรดดิ้ง (Htoo Company) ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนซึ่งมีอิทธิพลในภาคธุรกิจในพม่าและมีความใกล้ชิดกับผู้นำรัฐบาลพม่า โดยมีรายงานว่า ในเวลาต่อมาบริษัททู เทรดดิ้งไม่สามารถจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับรถแท็กซี่ได้ จึงทำให้รถแท็กซี่ในพื้นที่เป็นจำนวนมากต้องหยุดให้บริการ ซึ่งรวมถึงหยุดให้บริการแก่นักศึกษาด้วย

ในขณะเดียวกัน มีรายงานว่า คนขับรถแท็กซี่ได้เรียกเก็บเงินค่าโดยสารสูงขึ้นกว่าปกติทำให้นักศึกษาได้รับความเดือดร้อน นักศึกษารายหนึ่งเปิดเผยว่า ถึงแม้ตั้งแต่เกิดเหตุประท้วง ทางวิทยาลัยได้ร่วมหารือกับทางการพม่าในรัฐอาระกันแล้ว แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ขณะที่กลุ่มนักศึกษากล่าวว่า จะออกมาประท้วงอีก หากปัญหาเรื่องนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข

ก่อนหน้านี้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาก็เคยเกิดเหตุการณ์ประท้วงในลักษณะนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อคนขับรถแท็กซี่ในพื้นที่ขึ้นค่าโดยสารสูงกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ท้ายสุดคนขับรถเรียกเก็บค่าโดยสารในราคาเดิมหลังรัฐบาลเข้ามาแทรกแซง (Narinjara 6 ก.ค.53)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทำไมมันถึงเรียกว่าสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

Posted: 07 Jul 2010 02:46 AM PDT

<!--break-->

       บทนำ
      
       บทความนี้มุ่งตั้งคำถามพื้นฐาน ที่สุดสำหรับนักกฎหมาย และอธิบายความให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจ
       ทำไม สิทธิเสรีภาพ ในรัฐธรรมนูญจึงมีทั้งสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และสิทธิเสรีภาพอื่นๆ
      
       บทความนี้มุ่งเผยแพร่ความรู้เท่า นั้น โปรดอ่านและตรองโดยปราศจากอคติ แต่อย่าอ่านโดยปราศจากสติปัญญา และเหตุผล กรุณาอย่าเอาไปโยงกับการเมืองเด็ดขาด หากแต่จะเนื่องอยู่บ้าง ก็แต่โดยที่ผู้เขียนและท่านผู้ อ่านทุกท่านเป็น "มนุษย์" ที่ทรงไว้ซึ่ง "สิทธิ" "เสรีภาพ" "สติปัญญา" และ "เหตุผล" เท่านั้น
      
       การกำเนิดขึ้นของสิทธิเสรีภาพ
      
       นับตั้งแต่ยุโรปยุคกลาง หรือที่เรียกว่า "ยุคมืด"(Dark age) อันเป็นยุคที่ศาสนจักรเรืองอำนาจ อย่างสูงสุดหากพิจารณาโดยแท้จริ งแล้ว ศาสนจักร ไม่ได้เรืองอำนาจมากมายขนาดนั้น ที่ถูกต้อง จะต้องเรียกว่า "ผู้คลั่งศาสนจักร" ได้เรืองอำนาจถึงจะถูก เพราะลำพังศาสนจักรเอง แม้มีอำนาจ แต่หากไม่มีผู้ศรัทธาหรือคลั่งศาสนจักรแล้ว เหตุการณ์เลวร้ายต่างๆจะเกิดขึ้น หรือไม่?
      
       การทำลายล้างผู้ที่ไม่เห็นด้วย กับตนเอง ด้วยการตั้งตนเป็น "ผู้ล่าแม่มด" หรือ "ผู้กำจัดคนนอกรีต" แท้จริงแล้วก็คือการกำจัด "ผู้ที่เห็นไม่เหมือนตน" เท่านั้นเอง โดยเอาศาสนจักรเป็นที่ตั้งความชอบธรรมในการฆ่า ทารุณมนุษย์ด้วยกันเยี่ยงสัตว์ ป่ากระหายเลือด ไม่ว่าจะเผาทั้งเป็น หรือจับตรึงกางเขน ล้วนแล้วเป็นผลลัพธ์โดยตรงมาจาก "การเห็นต่าง" ไปจากพวกของตนเท่านั้น
      
       หลังจากความเสื่อมอย่างถึงขีดสุด นักคิด นักปรัชญา ได้นำพาสติปัญญา และเหตุผล กลับเข้าสู่พิภพของยุโรปโดยการรื้อฟื้นการศึกษาปรัชญากรีก ที่ยึดถือว่า มนุษย์ มีคุณค่าในตัวเอง เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล และสติปัญญาเป็นแนวคิดที่เรียกว่า "ปัจเจกชนนิยม(Individualism)" ซึ่งเป็นข้อความคิดพื้นฐาน ในการจัดทำรัฐธรรมนูญของรัฐเสรี ประชาธิไตย ในกาลต่อๆมา ท่ามกลางความืดมิดของยุคสมัย แนวคิดปัจเจกชนนิยมจึงเหมือนแสงสว่างที่ขับไล่ความชั่วร้าย อันไร้เหตุผล และสติปัญญาของยุคกลาง เราจึงเรียกยุคนี้ว่า "ยุคความรุ่งเรืองทางสติปัญญา" หรือ Enlightenment(1)
      
       จากแนวคิดปัจเจกชนนิยมสู่รัฐธรรมนูญเสรีประชาธิปไตย
      
       การจัดทำรัฐธรรมนูญของรัฐเสรี ประชาธิปไตย ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลมาจากแนวคิด "ปัจเจกชนนิยม" ที่นับถือคุณค่าของมนุษย์ โดยยอมรับว่ามนุษย์ เกิดมาพร้อม "สิทธิ" และ "เสรีภาพ" โดยไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายใดๆมารับรองอีก
      
       อย่างไรก็ตาม “ฌอง ฌาค รุสโซ”( Jean Jaques Rousseau) นักปรัชญาและนักทฤษฎีการเมืองชาวสวิสต์ ได้กล่าวว่า "มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกแห่งหนเขาอยู่ในพันธนาการ" ที่เป็นเช่นนี้เพราะการที่มนุษย์ จะมาอยู่ร่วมกันอย่างสงบ สุขนั้น เราต่างจำต้องสละสิทธิ เสรีภาพบางประการ เพื่อสร้างภราดรภาพให้การรวมตัว ของเราดำเนินไปได้โดยดี เช่นนี้เองจึงเป็นที่มาของบทบัญญัติ รัฐธรรมนูญที่ว่า รัฐอาจกำจัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ เท่าที่พอสมควรกว่าเหตุ จำเป็น และไม่กระเทือนสาระสำคัญของสิทธิ เสรีภาพนั้นๆ
      
       แนวคิดนี้ สอดคล้องกับนักปรัชญาชาวอังกฤษนามว่า "จอห์น ล็อค"(John Locke) โดยเขากล่าวว่า เรามารวมตัวกันเป็นรัฐ เพื่อมุ่งประโยชน์ในการรักษาความ ปลอดภัยทั้งภายในและภายนอก มุ่งประโยชน์ในทางการยุติระงับ ข้อพิพาท การจะทำเรื่องดังกล่าวนี้ ล้วนเรียกว่า "ภารกิจพื้นฐานของรัฐ" หากรัฐใดไม่อาจจะปฏิบัติภารกิจ เหล่านี้ได้ ย่อมไม่อาจควรดำรงอยู่เป็นรัฐอีกต่อไป โดยประชาชนจะต้องเสียสละสิทธิเสรีภาพบ้างเพื่อเข้าทำสัญญากับรัฐ เรียกว่า "สัญญาประชาคม"(The Social Contract)
      
      
       สิทธิขั้นพื้นฐานกับความเป็นมนุษย์และการก่อกำเนิดนิติรัฐ
      
       เมื่อเรายอมรับนับถือว่า มนุษย์มีคุณค่าในตัวเองตามธรรมชาติ การออกแบบรัฐธรรมนูญในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ย่อมต้องคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ ด้วย กล่าวคือ ลักษณะตามธรรมชาติของมนุษย์คืออะไรบ้าง? ซึ่งหากไม่มีสิ่งเหล่านี้แล้ว เราไม่อาจถือได้ว่าเขาเป็นมนุษย์ได้อีกต่อไป ตัวอย่างเช่น มนุษย์นั้นต้องคิด ต้องพูด ต้องเคลื่อนไหว ต้องมีชีวิต ร่างกาย สุขภาพอนามัย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะกำจัด หรือพรากเอาไปจากมนุษย์มิได้เลย มิเช่นนั้นแล้ว มนุษย์นั้นก็จะกลายเป็น "สัตว์" หรือ "วัตถุ" และการปฏิบัติให้มนุษย์เป็นเช่นนั้น เราเรียกว่า "การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์"
      
      
       เมื่อเราไตร่ตรองและทราบว่า การจะเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์นั้น จำต้องมีสิ่งใดบ้าง เพื่อให้เขาพัฒนาศัยภาพตามที่ใจสมัคร และสามารถกำนหดชะตากรรมของตนเองได้ สิ่งเหล่านั้น คือ "สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน"
      
       รัฐไม่อาจจะจำกัดสิทธิเสรีภาพขั้น พื้นฐานได้อย่างเกินควร หรือขัดต่อหลักความได้สัดส่วน แดนแห่งสิทธิเสรีภาพเหล่านี้ เหมือนปราการอันแน่นหนาที่รัฐ จะไปรุกรานตามอำเถอใจไม่ได้ จะต้องมีกฎหมายให้อำนาจเพื่อการ นั้นๆ เหล่านี้เองจึงเป็นที่มาของ "หลักนิติรัฐ(État de droit)" อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่า เมื่อมีกฎหมายแล้วรัฐจะทำอะไร ก็ได้ รัฐและผู้ใช้อำนาจรัฐพึงสังวรณ์ ไว้ด้วยว่า หลักนิติรัฐที่ให้รัฐเข้าไปกระทำการใดๆ กระทบกระเทือนสิทธิเสรีภาพได้นั้น ให้รัฐกระทำได้เท่าที่พอสมควรกว่าเหตุ และที่สำคัญ หลักนิติรัฐเกิดขึ้น "เพื่อจำกัดอำนาจรัฐ" ไม่ใช่ "ใบอนุญาต" ให้รัฐกระทำกับสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนโดย "อ้างกฎหมาย" หรือ "การปฏิบัติการตามกฎหมาย" เพราะแท้จริงแล้ว ต้องไม่ลืมว่า หลักนิติรัฐ มีเนื้อหาเพื่อ "คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน" เป็นหลัก 
       
       บทสรุป
       
       สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานเป็นสิ่ง ที่ไม่อาจพรากเอาไปจากมนุษย์ ตราบเท่าที่มนุษย์ยังคงมีความเป็น มนุษย์ตามธรรมชาติ การกำเนิดขึ้นของหลักนิติธรรมก็ดี หลักนิติรัฐก็ดี ล้วนแล้วเกิดมาเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชน จากการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ หรือผู้ถืออำนาจรัฐ แต่ก็มิได้หมายความว่า สิทธิเสรีภาพจะเป็นดินแดนที่ไร้อาณาเขต การสละสิทธิเสรีภาพบางประการนั้น จะต้องกระทำภายใต้สัญญาประชาคมที่เรียกว่า "รัฐธรรมนูญ" และที่ประชาชนสละนั้น ด้วยเหตุเพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างฉันท์มิตรที่เรียกว่า "ภราดรภาพ"( Fraternité)
      
       การใช้อำนาจรัฐไม่ว่าทางใดก็ดี ต้องพิจารณาให้รอบคอบ ประชาชนเองก็ควรตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวนี้ด้วย มิใช่เพียงเพื่อเอาอำนาจรัฐไป กำจัด ประหัตประหาร ผู้ที่มีความเห็นต่างจากตน และมิได้ให้การปฏิบัติเยี่ยงมนุษย์กับเขา สำหรับผู้ที่เห็นดีเห็นงานกับการกระทำอันร้ายกาจนี้ ก็คงอุปมาได้ดั่งบุคคลชื่มชมปรบมือกับพลุ สีเลือด หากแม้นพลุนั้นยังมิได้ตกต้องโดนบ้านเรือนของตนหรือญาติพี่น้องตน ก็ยังมิรู้สึกอะไร และสำคัญที่สุดคือ หากรัฐที่มิอาจทำภารกิจขั้นพื้นฐานในการรักษาความสงบและปกป้องชีวิตของราษฎรได้ ก็มิสมควรดำรงชีวิตอยู่เป็นรัฐอีกต่อไป
       
       
       เชิงอรรถ
       
       1. en light - เป็นรูปศัพท์ที่สอดคล้องกับคำ ว่าจุดไฟ หรือทำให้เกิดแสงสว่าง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ก.ต่างประเทศแจงกรณีย้ายหมุดที่บุรีรัมย์ ไม่ใช่หลักเขตแดนไทย – กัมพูชา

Posted: 07 Jul 2010 01:31 AM PDT

<!--break-->

7 ก.ค. 53 - ตามที่มีข่าวว่าได้มีการค้นพบหมุดหลักฐาน หรือที่มีการเข้าใจว่าเป็น “หมุดปักพรมแดน” ที่บริเวณสันเขื่อนห้วยเมฆา อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งถูกเคลื่อนย้ายเข้ามาในดินแดนไทยประมาณ 12 กิโลเมตรครึ่ง และอาจทำให้ไทยเสียดินแดนนั้น กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของหมุดหลักฐานดังกล่าว และสถานะล่าสุดของการดำเนินงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา ภายใต้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ดังนี้

1. หมุดหลักฐานดังกล่าว ไม่ใช่หลักเขตแดนที่แสดงแนวแบ่งเขตระหว่างไทย - กัมพูชา แต่เป็นหมุดหลักฐานดาวเทียม GPS ที่ใช้งานทางเทคนิค ซึ่งกรมแผนที่ทหารสร้างขึ้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2550 เพื่อใช้เป็นหมุดขยายโครงข่าย GPS สำหรับเป็นค่าพิกัดอ้างอิงในการถ่ายทอดค่าพิกัดให้กับหลักเขตแดนไทย - กัมพูชา หมายเลข 25 และ 26 โดยหมุดหลักฐานดาวเทียม GPS ดังกล่าวสร้างในฝั่งไทย 1 หมุด สร้างในฝั่งกัมพูชา 1 หมุด และอยู่ห่างจากแนวเขตแดนประมาณ 7 – 8 กิโลเมตร สาเหตุที่ใช้ข้อความว่า “เขตแดนไทย - กัมพูชา”นั้น ในทางเทคนิคมีจุดประสงค์เพื่อต้องการสื่อความหมายว่าหมุดนี้เป็นหมุดขยายโครงข่าย GPS ในงานเขตแดนไทย - กัมพูชา ทั้งนี้เพราะว่าที่หมุดดังกล่าวจะมีหมุดทองเหลืองฝังอยู่ตรงกลางซึ่งมีข้อความว่า GPS กรมแผนที่ทหาร อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามเพื่อมิให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความเข้าใจผิดว่าจุดนี้เป็นแนวเขตแดนไทย – กัมพูชา  กรมแผนที่ทหาร จึงได้ดำเนินการเปลี่ยนข้อความบนหมุดดังกล่าวจากเขตแดนไทย – กัมพูชา เป็น “หมุดขยายโครงข่าย” เมื่อกันยายน 2552  ซึ่งในวันที่ 22 มกราคม 2553 และ 20 มิถุนายน 2553 กรมแผนที่ทหารได้ชี้แจงและประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนและส่วนราชการในพื้นที่ทราบว่า หมุดหลักฐานดาวเทียม GPS ไม่ใช่หลักเขตแดนไทย – กัมพูชา แต่อย่างใด

2. การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนด้านไทย – ลาว และไทย – มาเลเซีย ก็ได้มีการสร้างหมุดหลักฐานขยายโครงข่าย GPS เพื่อใช้เป็นค่าพิกัดอ้างอิงเช่นเดียวกัน

3. หมุดหลักฐานขยายโครงข่าย GPS มีขนาดประมาณ 30 X 30 เซนติเมตร จะสร้างเสมอพื้นดิน ซึ่งมีขนาด รูปร่าง และลักษณะการสร้างที่แตกต่างจากหลักเขตแดนไทย - กัมพูชา โดยสิ้นเชิง       ซึ่งมีขนาด 40 X 40 เซนติเมตร สูงเหนือพื้นดินประมาณ 1 เมตร ตามรูปภาพที่แสดงให้เห็นข้างล่างนี้ อนึ่ง หากเป็นหลักเขตแดนซึ่งทั้งสองฝ่ายตกลงสร้างขึ้นมา ฝ่ายไทยย่อมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแต่ฝ่ายเดียวได้

4. การดำเนินงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา ดำเนินการไปตามข้อกำหนดอำนาจหน้าที่และแผนแม่บทในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา (Terms of Reference and Master Plan for the Joint Survey and Demarcation of Land Boundary : TOR) ฉบับวันที่ 25 สิงหาคม 2546 ซึ่งได้กำหนดขั้นตอนต่าง ๆ สำหรับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมกันเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้
                     1) การค้นหาที่ตั้งและสภาพของหลักเขตแดนเดิม 73 หลัก รวมถึงการซ่อมแซมหลัก    เขตแดนเดิม
                     2) การจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ (Orthophoto Maps) มาตราส่วน 1/25,000 ตลอดแนวเขตแดน
                     3) การลากแนวที่จะเดินสำรวจบนแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ
                     4) การตรวจสอบภูมิประเทศ
                     5) การปักหลักเขตแดน

5. ปัจจุบัน งานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา รวมทั้งการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา 3 ครั้งที่ผ่านมา เป็นการดำเนินการในขั้นตอนที่ 1 เท่านั้น กล่าวคือ การค้นหาที่ตั้งของหลักเขตแดนเดิม 73 หลัก จึงมิได้มีการขยับหลักเขตแดนตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด การที่จะทราบว่าตำแหน่งหลักเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาทั้งหมดจะอยู่ที่ใดอย่างแน่นอนนั้น จะต้องรอให้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา ดำเนินการครบ 5 ขั้นตอนก่อน

6. เมื่อครบ 5 ขั้นตอนแล้ว ผลงานของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ก็ยังไม่มีผลผูกพันประเทศทั้งสอง เจ้าหน้าที่ต้องนำผลการสำรวจปักหลักเขตแดนเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณานำเสนอรัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ต่อไป เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว รัฐบาลไทยจะต้องให้สัตยาบันข้อตกลงดังกล่าวเป็นทางการ การสำรวจและปักหลักเขตแดนจึงมีผลทางกฎหมาย

ที่มา: กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาล รธน.นัดตรวจพยานหลักฐานคดียุบประชาธิปัตย์ 28 ก.ค.

Posted: 07 Jul 2010 01:18 AM PDT

<!--break-->

7 ก.ค. 53 - สำนักข่าวไทยรายงานว่าองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ออกนั่งบัลลังก์เพื่อนัดพร้อมในคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ในกรณีการใช้เงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้านบาท ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยได้กำหนดกระบวนการพิจารณาคดี  กำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 28 กรกฎาคม 2553 และได้นัดไต่สวนพยานผู้ร้องในวันที่ 9 สิงหาคม 2553 เวลา 10.00 น.  จากเดิมที่นัด ในวันที่ 11 สิงหาคม เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ได้ร้องขอให้ตุลาการฯ เลื่อนวันและให้นัดไต่สวนในทุกวันจันทร์ เนื่องจากวันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี พรรคประชาธิปัตย์ติดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และวันศุกร์ ได้มีการพิจารณาในเรื่องการถือครองหุ้น ส.ส. และ ส.ว.

สำหรับแนวทางการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย 5 ประเด็น คือ กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่  การกระทำของผู้ถูกร้องอยู่ในข้อบังคับตามกฎหมายพรรคการเมืองปี 2541 และปี 2550 หรือไม่  ผู้ถูกร้องใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ปี 2548 ตามโครงการที่ได้อนุมัติหรือไม่   การทำรายงานการจ่ายเงินถูกต้องตามจริงหรือไม่  และการพิจารณายุบพรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคต้องถูกตัดสิทธิทางการเมืองตามพระราชบัญญัติพรรคการเมืองปี 2541 , ปี 2550 และประกาศคณะปฏิรูปหรือไม่

ที่มาข่าว:

สำนักข่าวไทย
http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/75463.html

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กลุ่มไม่เอาสงครามกลางเมืองวอนยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน

Posted: 07 Jul 2010 12:39 AM PDT

<!--break-->

7 ก.ค. 53 - กลุ่มประชาชนผู้ไม่เอาสงครามกลางเมือง ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ วอนยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน จี้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมที่ไม่มีเหตุผลสมควร โดยมีรายละเอียดทั้งหมดดังนี้..

 

 

แถลงการณ์จากกลุ่มประชาชนผู้ไม่เอาสงครามกลางเมือง
ถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

 
 

กลุ่มประชาชนผู้ไม่เอาสงครามกลางเมือง ขอคัดค้านรัฐบาลที่ยกเลิกการใช้พรก.ฉุกเฉิน เพียง 5 จังหวัด และยังต่ออายุ พรก.ออกไปอีกถึง 19 จังหวัด เพราะรัฐบาลไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะเดินหน้าใช้พรก.ในภาวะที่ประเทศไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ฉุกเฉิน และการดำเนินการดังกล่าวจะยิ่งสร้างความแตกแยกเพิ่มขึ้น ประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล และสะท้อนว่าระบบยุติธรรมปกติไม่สามารถทำงานได้

จนถึงขณะนี้เพิ่งจะมีคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงต่อวิกฤตที่เกิดขึ้น ทั้งประชาชนผู้บาดเจ็บ-เสียชีวิตจากการ “ขอคืนพื้นที่” “กระชับพื้นที่” “การรักษาพื้นที่” และผู้อยู่เบื้องหลังการ “ก่อจลาจล” “เผาบ้านเผาเมือง” ทั้งที่เหตุการณ์มาเกือบ 2 เดือน ท่ามกลางการคง พรก. ฉุกเฉินจะทำให้ยิ่งยากต่อการค้นหาหลักฐาน และหาผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์และความสูญเสียที่เกิดขึ้น

เห็นได้ชัดว่าขณะที่รัฐบาลยังคง พรก.ฉุกเฉิน ทั้งที่ไม่มีภาวการณ์อันสมเหตุผล อยู่นั้น รัฐบาลกำลังชินกับการใช้ “อำนาจ” พรก.ดังกล่าวเป็นขบวนการข้ามขั้นตอนระบบยุติธรรมที่โปร่งใสและเป็นธรรม กลายเป็นอำนาจมืดที่เจ้าหน้าที่รัฐสามารถละเมิดสิทธิประชาชนได้ โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม อย่างที่เกิดขึ้นในกรณี การใช้อำนาจ พรก.จับกุม รศ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ฯลฯ และล่าสุด นายสมบัติ บุญงามอนงค์ นอกจากจะไม่แก้ปัญหาแล้ว สุดท้ายจะส่งผลเสียต่อประเทศชาติ หรือแม้แต่จะให้เกิดความปรองดองก็เป็นไปอย่างยากยิ่ง รังแต่จะทำให้ประชาชนที่เห็นต่างเพิ่มความชิงชังและเคียดแค้นอำนาจรัฐ

การจะสร้างความปรองดองอย่างแท้จริงทั้งคำพูดและการกระทำ และการปฏิรูปประเทศเชิงโครงสร้างเพื่อแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรม และความเหลื่อมล้ำจะสามารถเดินหน้าไปได้อย่างมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย รัฐบาลต้องสร้างบรรยากาศแห่งความเชื่อมั่น ไว้วางใจ โปร่งใส และเสมอภาคให้กับประชาชน

กลุ่มประชาชนผู้ไม่เอาสงครามกลางเมืองที่ยืนหยัดในหลักการการไม่เอาความรุนแรงมาตลอด มีความกังวลเป็นอย่างยิ่งว่า หากรัฐบาลของท่านยังคงไว้ซึ่ง พรก.ฉุกเฉิน กระแสความรุนแรงอาจถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งเพื่อต่อต้านรัฐบาล ซึ่งอาจทำให้ประเทศบอบช้ำเสียหายมากไปกว่านี้ พวกเราจึงมีข้อเรียกร้องดังนี้
1. ยกเลิก พรก.ฉุกเฉินในทุกจังหวัดโดยทันที 
2. ปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมโดยอำนาจ พรก.ฉุกเฉิน ที่ไม่มีเหตุผลสมควร เพราะเป็นการแสดงออกทางการเมือง เช่น นายสมบัติ บุญงามอนงค์ และนำกระบวนการยุติธรรมปกติมาใช้กับผู้ต้องสงสัยแทน
3. ให้ทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคง ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ กับคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และเลิกคุกคามผู้ที่เห็นต่าง เพื่อนำไปสู่การดำเนินคดีผู้กระทำความผิดอย่างโปร่งใสตรงไปตรงมา ไม่มีการเลือกปฏิบัติ 
 
7 กรกฏาคม 2553
กลุ่มประชาชนผู้ไม่เอาสงครามกลางเมือง

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสวนา “70 ปีประเทศไทย: ประชาชน ประชาชาติ กับประชาธิปไตย” (ตอนที่ 1)

Posted: 06 Jul 2010 05:49 PM PDT

เสวนาในโอกาสครบรอบ 78 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่คณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ “อานันท์ กาญจนพันธุ์” เสนอไปให้พ้นกรอบชาตินิยมไปสู่โลกไร้พรมแดน และใช้ปัญญาใหม่พัฒนาประชาธิปไตย “ยศ สันตะสมบัติ” เปิดประเด็น เมื่อชนชั้นกลางสมาทานคณาธิปไตย และการยึดอำนาจรอบล่าสุด ส่วน “ธเนศวร์ เจริญเมือง” ชี้ประชาธิปไตยติดขัดอยู่ที่รัฐรวมศูนย์อำนาจ พร้อมเสนอสรุปบทเรียน "19 พฤษภาคม 53" ยกโมเดล “18 พฤษภาคม 23” ที่กวางจู

<!--break-->

เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 53 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันครบรอบ 78 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร และครบรอบ 70 ปีเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นประเทศไทย ที่ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีโครงการเสวนาทางวิชาการ “70 ปีประเทศไทย: ประชาชน ประชาชาติ กับประชาธิปไตย” โดยช่วงเช้า มีปาฐกถานำเรื่องเกี่ยวกับสังคมศาสตร์กับความขัดแย้งในสังคมไทย โดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

ไปให้พ้นชาตินิยมสู่โลกไร้พรมแดน และใช้ปัญญาใหม่พัฒนาประชาธิปไตย

อานันท์ กาญจนพันธุ์ กล่าวปาฐกถาว่า การเปลี่ยนแปลงของประชาธิปไตยที่ทุกคนต่างแสวงหาเสรีภาพอย่างแท้จริงยังไม่เกิดขึ้นจริง เพราะทุกฝ่ายได้มองความขัดแย้งว่าเป็นปัญหา แท้จริงแล้วความขัดแย้งเป็นเพียงปลายเหตุของปัญหาที่ต้องค้นหา คือ สาเหตุในก้นบึงของปัญหาที่เกิดจากการครอบงำซึ่งทำให้ มองสิ่งที่เกิดขึ้นในเชิงลบ ถ้านำหลักคิดทางด้านสังคมศาสตร์เพื่อให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของระบอบประชาธิปไตยว่ามีปัญหาบางอย่างที่ฝั่งรากลึกในการครอบงำสังคมไทยอยู่ 3 ประการ

ประการแรก การมองความขัดแย้งเป็นปัญหาผลกระทบด้านเดียวที่เกิดจากการครอบงำ มองความขัดแย้งเป็นเชิงลบด้านเดียวโดยไม่มีการสร้างสรรค์เท่ากับเป็นการปิดหูปิดตาไม่ให้เรามองเห็นอะไรได้เลย ที่จริงแล้วความขัดแย้งเป็นเพียงปรากฏการณ์ของปัญหาหรือปลายเหตุของปัญหา ทำให้เราไม่เข้าใจว่าปัญหาที่เจออยู่คืออะไร

ในสังคมไทยมีปัญหาที่ซ้อนอยู่อีก สังคมไทยปล่อยให้มีการตักตวงเอาส่วนเกินออกไปจากสังคมมากเกินไป กล่าวคือมีคนได้ประโยชน์จากคนจำนวนมาก ทั้งจากระบบภาษีที่บิดเบือน นโยบายที่เบี่ยงเบน เช่น มีการค้าอย่างเสรีแต่ไม่เน้นความเป็นธรรม ทำให้เกิดการบิดเบือนในระบบทุนนิยมแบบเสรี มีการค้าที่เสรีแต่ไม่เป็นธรรม การใช้ทุนนิยมมากเกินไปจะนำสังคมเข้าสู่ภาวะความเจ็บ ซึ่งเป็นความเจ็บที่เกิดจาก มนุษย์กระทำต่อมนุษย์ มิใช่ธรรมชาติที่ทำให้เกิด ผลกระทบจากคนบางส่วนที่ไม่รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุเช่น การลงทุนที่มาบตาพุดที่บริษัทต่างๆ ที่เข้ามาลงทุน ต่างก็ได้รับผลประโยชน์แต่ผู้ที่เดือดร้อนคือคนในพื้นที่ได้รับผลกระทบและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงคนบางส่วนในสังคมหลุดออกไปจากความเข้าใจของคนทั่วไปในสังคม ซึ่งในอดีตที่มีชนชั้นสูง ชนชั้นต่ำ ชาวไร่ชาวนาจะมีบทบาทที่ชัดเจน แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงจึงเกิดกลุ่มคนกลุ่มใหม่ๆ ขึ้นมา แต่เรากลับมองไม่เห็นเช่นในอดีตชนบทที่มีแต่ชาวไร่ชาวนาแต่เดี๋ยวนี้มีคนงาน หรือที่เราเรียกคนงานนอกระบบซึ่งไม่อยู่ในสายตา กลุ่มคนเหล่านี้จึงกลายเป็นมนุษย์ล่องหน ที่บางกลุ่มเกิดความไม่ใยดีกับเขาเพราะเพียงแต่ถือว่าเป็นกลุ่มคนที่เรามองไม่เห็นจึงเป็นปัญหาในสังคมไทย

ประการที่สอง ขณะที่เกิดปัญหา ก็ยังใช้มรดกเดิมจากสถาบันเก่าในการแก้ไข ซึ่งถือว่าเป็นการครอบงำ ของสถาบันแบบเดิม ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน หรือเรียกย่อๆ ว่า บวร. ซึ่งเราพูดง่ายๆ มีอะไรใหม่ๆ บ้างไหม ส่วนข้อเสนอในเรื่องชุมชน ก็เป็นชุมชนดั้งเดิม ไม่ได้ลองใช้สถาบันใหม่เช่น ระบบภาษีที่เป็นธรรมระบบกรรมสิทธิ์ ซึ่งปัญหาในปัจจุบัน เช่น คนรวยที่มีการซื้อที่ดินต่างกักตุนไว้มีการจ่ายภาษีที่น้อยต้นทุนต่ำเราต้องแก้ที่สถาบันการเสียภาษีที่มีความไม่ถูกต้องไปปรับปรุงระบบกรรมสิทธิ์ คือ ทุกอย่างเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐและเอกชนเท่านั้นรัฐก็ไม่สามารถควบคุมได้นำไปสู่การทำลายทรัพยากรอย่างมหาศาลกลไกที่มีอยู่มันผุกร่อนไม่สามารถแก้ไขระบบเสี่ยงนี้ได้ อีกระบบคือตุลากรเวลานี้เราปล่อยให้รัฐเป็นผู้เสียหายหลักประชาชนเป็นผู้เสียหายไม่ได้นั้นประชาชนต้องเป็นผู้เสียหายให้ได้ให้มีศาลที่ให้ประชาชน เป็นผู้ที่ยื่นฟ้องในความไม่ถูกต้องได้การมีปัญหาแล้วพึ่งสถาบันเดิมมันเป็นสิ่งที่ครอบงำต้องมีสถาบันใหม่เพื่อให้สถาบันก้าวหน้าได้

ประการที่สาม เรามีปัญหาเพิ่มจากเรื่องของสถาบันเดิม นั่นเป็นอันที่ 3 คือ ความเป็นบ้าชาตินิยม ทำให้เห็นสังคมไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งเห็นแบบนี้แล้วปรองดองกันไม่ได้ ถ้าคิดแต่เรื่องอันหนึ่งอันเดียวเท่านั้น ซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียว ก็คือ ชาตินิยม

ซึ่งเราต้องยอมรับความหลากหลาย เพราะความเป็นไทยแท้ถือเป็นการครอบงำมหาศาล ทำให้เราไม่ยอมรับความแตกต่างของความคิดเรื่องประชาธิปไตยที่มาจากหลักคิดของเสรีนิยม แม้เราไม่เห็นด้วยกับเขา ก็ต้องให้โอกาสเขาได้พูดออกมาในสังคมไทย แต่ในสังคมไทย ถ้าคุณไม่เห็นด้วยก็ไม่ได้ออกทีวี และถ้าเราไม่สามารถคิดได้อย่างเสรี เพราะเราติดอยู่ในรากเหง้าของชาตินิยม ซึ่งจริงๆ แล้ว สังคมเราเป็นโลกไร้พรมแดน แต่ว่าสังคมไทยยังยึดติดกับพรมแดน ขณะที่สังคมกำลังเคลื่อนไปสู่ภูมิภาคและโลก ส่วนประเทศของเรายังยึดติดพรมแดน ดังนั้นก็ต้องหลุดพ้นพรมแดนในการครอบงำของชาตินิยม

ซึ่งสังคมประชาธิปไตยคือการนำความขัดแย้งที่มีมาสร้างความคิด ปัญญาใหม่ในการพัฒนาประชาธิปไตย แต่ในประเทศไทยเมื่อเกิดความขัดแย้งก็ปัดมันทิ้งซึ่งสิ่งที่พูดไปใน 3 ข้อคือสิ่งที่ครอบงำการพัฒนาหรืออาจทำให้เรากลับมองเห็นวิธีการแก้ปัญหาการมองตามหลักสังคมศาสตร์มาพลิกแพลงโดยต้องลงสู่เนื้ออย่ายึดติดกับรูปแบบ การมีประชาธิปไตยต้องมาพร้อมกับสติปัญญา ประชาธิปไตยที่มืดบอดไร้จิตวิญญาณคงจะไม่ทำให้ประชาธิปไตยก้าวเดินตามความต้องการของประชาชนได้ อานันท์กล่าว

 

ยศ สันตสมบัติชี้หลัง 24 มิ.ย. ยังเป็นได้แค่คณาธิปไตย มีการผลิตซ้ำระบอบเดิม

ต่อมามีการอภิปราย หัวข้อ “จากสยามเป็นไทย: ประชาธิปไตยไปถึงไหนแล้ว?” โดย ศ.ดร.ยศ สันตสมบัติ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ รศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และดำเนินรายการโดย รศ.ดร. วัฒนา สุกัณศีล ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ยศ สันตสมบัติ เริ่มต้นอภิปรายโดยกล่าวถึงการทำ “โพลส่วนตัว” ว่า เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาได้ถามนักเรียนมัธยมปลายกลุ่มหนึ่ง และนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ชั้นปีที่ปีหนึ่ง ว่าเดือนมิถุนายนสำคัญกับชีวิตอย่างไร คำตอบทั้งหมดมาเรียงได้คือ รับน้องขึ้นดอย ไมเคิล แจ็คสันตาย

ยศอภิปรายต่อไปว่า โพลนี้บอกกับผมว่าระบบการศึกษาบ้านเรามันแย่ ไม่มีใครพูดถึง 24 มิถุนา มันถูกปล้นไปจากสังคมไทย ไปจากความทรงจำของเด็กรุ่นใหม่ ไม่มีใครพูดถึงคณะราษฎร พูดแค่วันที่ 10 ธันวาคม ไม่ได้พูดถึงอุดมการณ์ของคนกลุ่มหนึ่งที่พยายามสร้างและใช้ในสังคมไทย โดยสิ่งที่ทำให้อุดมการณ์คณะราษฎรล้มเหลวมีปัจจัยอยู่ 2 อย่างคือ

หนึ่ง คณะราษฎรที่ประกอบด้วยชนชั้นนำใหม่ ได้แก่ ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ผลิตซ้ำระบบเดิม มีการแย่งอำนาจกัน การทะเลาะกันเอง ทำให้การปูพื้นฐานหรือสร้างประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้ยาก คณะราษฎร์ไม่สามารถสร้างวัฒนธรรมการเมืองได้ สังคมไทยถูกครอบอุดมการณ์บุญกรรมมากกว่าเรื่องประชาธิปไตย ไม่มีกระบวนการที่จะสร้างวัฒนธรรมการเมืองแบบใหม่ ที่จะสร้างความหมายให้แก่สังคมได้

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตยเป็นได้แค่ คณาธิปไตย เกิดวัฒนธรรมการเมืองแบบรัฐข้าราชการ คือมีข้าราชการเป็นตัวนำ ในด้านของการพัฒนาประเทศ ยิ่งเริ่มมีการพัฒนาเป็นต้นมา การผลิตมูลค่าส่วนเกินก็มากขึ้น และสร้างความลักลั่นของรูปแบบและเนื้อหาของระบบการเมือง คนไทยถูกบอกมานานแล้วว่าประชาธิปไตยมันคือการเลือกตั้งเท่านั้น

ยศเสนอว่า ตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา ระบบการเมืองของเราเป็นคณาธิปไตย เป็นเผด็จการทหารเต็มรูปแบบ 20 กว่าปี รากเหง้าของเผด็จการทำลายหลัก 6 ประการของคณะราษฎรไปจนหมด แม้แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่เคยพูดถึง

พอถึงสมัยจอมพลสฤษดิ์ เป็นยุคของการเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ แบบที่ทักษ์ เฉลิมเตียรณ เคยเขียนหนังสือกล่าวไว้ นั่นก็คือผลิตซ้ำอุดมการณ์ผู้มีบุญ ทหารกับราชสำนักแยกกันไม่ออกในเรื่องของการอุปถัมภ์ซึ่งกันและกัน

เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราเรียนในทางทฤษฎีว่าด้วย รัฐของไทยเป็นแบบนาฏลักษณ์ ในลักษณะรัฐพิธีกรรมเหมือนการแสดง และลักษณะของมันดาลา (Mandala) ซึ่งแสดงขอบเขตของอำนาจทางอาณาจักรของไทย และระบอบเทวราชา หรือทฤษฎีมหาบุรุษ จนกระทั่งเวลาผ่านไป 78 ปีของความพยายามสถาปนาประชาธิปไตย โดยสลับกับคณาธิปไตย กับชนชั้นนำกลุ่มเดิม และสื่อมวลชน ก็อยู่ในชะเงื้อมของรัฐบาล

สิ่งที่เราได้เรียนในวิชาประวัติศาสตร์ อุดมการณ์พวกนี้ได้รับการสถาปนาใหม่ จนปี 2516 ที่ว่ามีการท้าทายของระบบเผด็จการทหาร แต่ความจริงไม่ใช่ทหารทะเลาะกันเอง แต่ชนชั้นนำใช้เงื่อนไขการชุมนุม ของนักศึกษาเพื่อล้มจอมพลถนอม และพอปี 2519 รัฐบาลทหารก็ทวงคืนอำนาจกลับมาอีก

เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ส่งผลให้นักการเมืองอาชีพ ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ มีอำนาจมากขึ้น เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า 2 นครา สิทธิล้มรัฐบาลถูกผูกขาดโดยคนกทม.มา นาน เมื่อคนบ้านนอกจะล้มบ้างก็ไม่ยอม ไล่คนบ้านนอกกลับไป

ในช่วงพลเอกเปรม 8 ปี ที่เรียกว่าประชาธิปไตยครึ่งใบ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กทม.โตเร็ว อาศัยความได้เปรียบไปดึง ทรัพยากรจากชนบทมาเลี้ยง กทม. เกิดปรากฎการณ์รวยกระจุกจนกระจาย

 

เมื่อชนชั้นกลางสมาทานคณาธิปไตย และการยึดอำนาจรอบล่าสุด

78 ปี ก็ เรียกว่า คณาธิปไตย ชนชั้นนำเป็นคนกลุ่มเดิม นักธุรกิจ นักการเมือง และสื่อมวลชนก็อยู่ภายใต้รัฐอย่างแนบแน่น เราเห็นความ เสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ เกิดสภาวะด้อยโอกาส ในทุกด้าน ทรัพยากรพวกนี้มาจากภาษีของชนบท กทม.กลายเป็นเมืองโตเดี่ยว เกษตรกร เปลี่ยนจากกระดูกสันหลัง เป็นพวกบ้านนอก โง่ จนเจ็บ รอบรับคำสั่งจากศูนย์กลาง 20 ปี ทนไม่ไหว ก็เริ่มออกไปเป็นแรงงานรับ จ้าง คนเริ่มเรียนรู้ที่จะปรับตัว เพราะหนี้สินจากการเกษตรมันเยอะ

คนชนบทเริ่มแสวงหาทางเลือกใหม่ๆ ให้กับตัวเอง เกิดอาชีพใหม่ๆ เกิดจินตนาการอนาคต เกิดชนชั้นกลางระดับล่าง ชนชั้นใหม่เริ่มพัฒนาจิตสำนึกขึ้นมา ที่จนเพราะไร้สิทธิ และถูกกีดกันการมีส่วนร่วม แต่ คนกทม.ก็ยังยึดติดวาทกรรม คนบ้านนอก พวกตาสีตาสา สกปรกมอมแมม ในบริบทแบบนี้ นักการเมืองอย่างทักษิณสามารถฉกฉวยจินตนาการใหม่ของชนบทมาเป็นนโยบายการเมือง เช่น กองทุนหมู่บ้าน โอท็อป เป็นต้น มันเข้าได้กับความเปลี่ยนแปลงชนบท เป็นปัจจัยที่ สำคัญกว่าเงิน เป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์การ เมืองไทยที่จัดตั้งพรรครัฐบาลพรรคเดียวได้

คนชั้นกลางมีศรัทธาต่อการใช้ชีวิตอยู่กับคณาธิปไตย ใช้วิธีการแบบเดิมๆ คือยึดอำนาจ การยึดอำนาจครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการเมืองไทย เพราะจบลงด้วยการมีการเลือกตั้ง ฉากที่สองที่จบเมื่อพฤษภาคม 53 ตอนนี้กำลังเริ่มฉากที่สาม ดังนั้นสิ่งที่รียกว่า ประชาธิปไตยยังไม่เกิดขึ้น มีแต่คณาธิปไตยที่ติดฉลากประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้ง ประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งที่ใครจะมาหยิบยื่นให้เรา หากเราไม่สร้างขึ้นมาเอง มีคำถามฝากไว้ว่าเราควรจะถามตัวเองว่า ท่ามกลางบริบทการเมืองที่ชนกันระหว่างชนชั้นนำ เราอยู่ตรงไหน เราจะเลือกข้างเพราะชนชั้นนำไปทำไม คนพวกนี้มาแล้วก็ไป 78 ปี เราต้องลุก ขึ้นมาเพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของคณะราษฎร

ยศ เสนอประเด็นที่อยากให้ผลักดันร่วมกันมี 4 ประเด็น ได้แก่ หนึ่ง พลิกระบบการศึกษาที่ห่วยแตก สอนให้เด็กคิดเป็น ให้หวงแหนเสรีภาพ ถ้าคนเห็นความยุติธรรมแล้วรู้สึกโกรธ เราก็เป็นเพื่อนกันได้ แต่เดี๋ยวนี้ไม่รู้สึกอะไร สอง สื่อที่เปิดกว้าง และเสรีมากกว่าที่เป็นอยู่ สาม สังคมไทยถึงเวลาต้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ สี่การแบ่งพื้นที่ในการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ไม่ใช่การกระจายอำนาจ ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นการแบ่งจากส่วนกลาง เช่น ภาคใต้ ที่เรียกว่า พื้นที่ยกเว้น ซึ่งจะต้องมีการอาศัยความรู้เข้าไป

ทั้งนี้ยศกล่าวสรุปว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งที่เราได้รับการหยิบยื่นถ้าเราไม่ได้สร้างประชาธิปไตย และประชาชนต่างหากที่เป็นคนสร้างสรรค์สังคม

 

"วรวิทย์" โยงปัญหาการเมืองกับโครงสร้างเศรษฐกิจหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540

ด้าน วรวิทย์ เจริญเลิศ กล่าวถึงปัญหาเศรษฐกิจ ที่เขามองว่าเป็นปัญหาการเมือง ก็คือ เรื่องโครงสร้างของแรงงานที่มีความโยงใยกับโลกาภิวัฒน์ กัน คือ ตั้งแต่ปี 2540 ในเรื่องการเงิน และต่อมาวิกฤติปี 2550 ทำให้เกิดการเลิกจ้างกันมาก จนเกิดแรงงานนอกระบบ และการจ้างแรงงานแบบยืดหยุ่น และรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์อยู่ในช่วงของการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

เมื่อวิกฤติการเมืองเกิดขึ้น กับคนงานเขามองกันอย่างไร คือ ส่วนใหญ่มองว่า ผลที่เกิดจากการชุมนุมของคนเสื้อแดง แล้วก็เกิดผลกระทบต่อคนงาน ที่ถูกเผาตึกห้าง และร้าน แล้วทำให้เกิดโครงการแรงงานเป็นการเยียวยาดังกล่าว ซึ่งการมองอย่างนี้ คือ การมองปรากฏการณ์เฉพาะหน้า ไม่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของต้นเหตุการณ์ และชีวิตคนที่สูญเสีย และการไม่ชอบธรรมของอำนาจรัฐ

อยากตั้งคำถามว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิด ถี่ขึ้น ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเราเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ และการเคลื่อนย้ายทุน  ซึ่งสหประชาชาติบอกว่ามันเป็นการขยายความเหลือมล้ำ ถ้ามองให้ลึกไปแล้วความเหลื่อม ล้ำนั้นเป็นปัญหาของสังคมไทยมาตลอด มีการกระจุกตัวของรายได้อยู่ในกลุ่มชนชั้นสูง ช่อง ว่างขยายตัวยิ่งขึ้น เมื่อมีการเร่งรัดการพัฒนาและการส่งออก เพราะฉะนั้นข้อมูลนี้ก็ชี้ชัดว่าความเหลื่อมล้ำนั้นมีมาก่อนกระแสโลกาภิวัตน์ วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 มีคนงานจำนวนหนึ่งไม่ได้กลับชนบท แต่ได้ผันตัวเองมาเป็นคนจนเมือง

เหล่านี้ก็มีปัญหาในวิธีคิด โยงไปสู่การตั้งคำถาม ในเรื่องที่ว่า ปัญหาความเลื่อมล้ำมาจากไหน สำหรับผม การกำหนดของการกระจายรายได้อยู่ที่การเมือง และมันอยู่กับความสัมพันธ์ทางอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกัน เพราะว่าประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม และปัญหาการเมืองจากรัฐรวมศูนย์ ซึ่งผมรู้สึกว่า รัฐรวมศูนย์แบบสมบูรณ์ (absolute) และการดึงคนเข้าร่วม (co-opt) กับคน โดยใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นยุคเริ่มต้น ทั้งการครอบงำ และการกระทำ มันจะต้องมีการใช้อำนาจ ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนเกิน หรือทุนในการปราบปราม

ทั้งนี้ รศ.ดร. วรวิทย์ เจริญเลิศ กล่าวทิ้งท้ายว่า ในเรื่องของความคิด ถ้าเป็นความขัดแย้งธรรมดา ก็เป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่ไม่ยอมใคร ซึ่งผมได้คุยกับคนงานบางกลุ่ม ที่เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องทางความคิดกับตัวเอง แน่ละ ประชาธิปไตยที่กินได้ ย่อมเกี่ยวข้องต่อเนื่องกับ หนึ่ง ปัญหาความยากจน และ สอง ปัญหาในเรื่องสองมาตรฐาน เพราะฉะนั้น อุดมการณ์ในการต่อสู้ คือ ปัญหาความยากจน และ สองมาตรฐาน เป็นอุดมการณ์ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และประเด็นสุดท้าย เรามีรัฐรวมศูนย์ ก็ผ่านผู้ว่าราชการไปปกครองพวกเรา จึงต้องมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงก็ได้ เป็นขั้นตอนหนึ่งสำหรับประชาธิปไตย

 

"ไชยันต์ รัชชกูล" ตั้งคำถามจะรักกันอย่างไร เพราะข่าวเขาใหญ่กลบกรณี 90 ศพ

ด้าน ไชยันต์ รัชชกูล กล่าวว่าจะอภิปรายสองประเด็น ประเด็นแรก คือการมองย้อนเข้าไปในอดีต หรือ เรามองปัจจุบันจากความเข้าใจอดีต และประเด็นที่สองมีข้อคิดอะไรบ้างกับสถานการณ์ปัจจุบัน

โดยประเด็นแรก วันที่ 19 พฤษภาคม เขาเรียกว่า กระชับวงล้อม ก็ตายไปไม่รู้กี่คน ซึ่งผมเชื่อว่า เรารู้สึกหดหู่ว่า ขบวนการของคนเสื้อแดงพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ แต่ว่าการประเมินเช่นนี้เป็นการประเมินช่วงสั้น ทำนองเดียวกับการประเมินเหตุการณ์ 24 มิถุนา 2475 คือ เมื่อสมัยสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นมามีอำนาจก็ประเมินว่าเป็นการปิดฉากคณะราษฎร จนกระทั่งในสมัย 2516 ก็มีการกลับมาประเมินเรื่อง 2475 และล่าสุดในการเมืองสมัยปัจจุบัน บนเวทีการชุมนุมก็มีการปราศรัยเรื่องคณะราษฎร มีการกล่าวถึงปรีดี พนมยงค์ ซึ่งแสดงว่า เราก็ได้ประเมิน 2475 ไปตามเวลาเช่นเดียวกับเหตุการณ์วันนี้

ไชยันต์กล่าวต่อไปว่า มรดกความคิดของการเปลี่ยนแปลง หรือ พลวัต อาจจะแสดงในอนาคต เหมือนเราประเมิน 2475 ได้ดีกว่าคณะราษฎร และสมมติว่า วิญญาณปรีดี ส่องกล้องมาจากสวรรค์ ซึ่งอาจารย์ปรีดี มองว่าตอนนั้นฉันทำอย่างนี้ไม่ได้ และคนก็น้อยมากสำหรับคณะราษฎร สื่อก็จำกัด ซึ่งผิดกับยุคปัจจุบันที่มีเครื่องมือเทคโนโลยีสื่อมากขึ้น อาจถือว่าการขยายเรื่องประชาธิปไตย ของประชาชนก็ขยายกลุ่มคนไปแล้วขบวนการประชาธิปไตยก็สืบเนื่องมาจนปัจจุบันนี้

ไชยันต์กล่าวด้วยว่า ความแตกแยกในสังคมไทยเกิดขึ้นในทุกหน่วย ไม่มีหน่วยไหนที่ไม่แตกแยกทางความคิด แม้โดนอบรมสั่งสอนเยอะ แต่ไม่มีผล กลับเชื่อหนักขึ้น ในสังคมไทยไม่เคยมีปรากฏการณ์แบบนี้ ถามว่าดีหรือไมดี บางคนก็บอกว่าต้องรักกัน เมื่อต้องปฏิรูปประเทศไทย เราจะรักกัน ข่าวตัดต้นไม้เขา ใหญ่มันกลบ 90 ศพ คนอีกนับพันที่พิการ ก็ถูกลบไปเลย คำถามเดิมแล้วเราจะรักกันได้อย่างไร คณะกรรมการ "ปูดอง" จะเห็นปัญหานี้หรือไม่

บทความของ อ.ธงชัย วินิจจะกูล เล่าถึงตอนที่คนเสื้อแดงไปที่ รพ.จุฬา (อ่านบทความของธงชัย) มีคนมองว่า คนเสื้อแดงเป็นเชื้อโรคที่ต้องกำจัด จุดนี้ถือเป็นจุดพลิก ที่คนกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับคนเสื้อแดงอย่างมาก มองคนเสื้อแดงเป็นส่วนเกินของสังคมไทย สกปรก ผ้าขี้ริ้ว เป็นบ้านนอก ต้องกำจัด หลังสลายการชุมนุมมีการกวาดล้างที่ราชประสงค์ ไม่มีการทำบุญให้คนตาย แต่ทำบุญเพื่อกำจัดเสนียดที่ราชประสงค์ คำถามเดิม คือ เราจะรักกันได้อย่างไร

คำถามของสังคมไทยคือขัดแย้งกันมาตลอด ไม่ใช่ดีกัน รักกัน เมื่อเกิดความขัดแย้งแล้วก็จะใช้วิธีปราบปราม ซึ่งไม่ถูกต้อง ความหมายของปรองดอง หมายความว่าอย่างไร เราต้องตั้งคำถาม ถามต่อไปอีก ภาษาที่ใช้กับความเป็นจริงด้วยกันหรือไม่ เช่นขอคืนพื้นที่กระชับวงล้อม หมายความว่าอย่างไร ปรองดอง หมายความว่า คำพูดเป็นอย่างหนึ่ง ความเป็นจริงเป็นอย่างหนึ่ง กระนั้นหรือ

ส่วนเรื่องความขัดแย้งคืออะไร ซึ่งสังคมไทยก็ต้องหาคำตอบมากกว่าจะบอกว่าให้รักกัน ซึ่งจะเห็นว่าความขัดแย้งของการชุมนุมที่ผ่านมามีทั้งความขัดแย้งทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม ดังนั้นถ้าคำว่า "ปรองดอง" ใช้ตรงความหมายจริงๆ ไม่ใช่แปลว่า "กดเอาไว้ไม่ให้หือ" หรือไม่ สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเวลานี้ เป็นการสร้างบรรยากาศความกลัวขึ้นมา ใครเป็นคนสร้าง ก็จะเห็นว่าใครคือผู้ก่อการร้ายตัวจริง เพราะคนที่สร้างบรรยากาศความกลัวคือรัฐบาลไม่ใช่หรือใครกันแน่คือผู้ก่อการร้ายต้องถาม

 

"ธเนศวร์ เจริญเมือง" ชวนมองรัฐรวมศูนย์อำนาจ ต้นตอปัญหาประชาธิปไตย

ธเนศวร์ เจริญเมือง กล่าวว่า เมื่อประมาณสามเดือนที่แล้วมีผู้ส่งจดหมายมาให้ เป็นเรื่องของหญิงสาวที่เขียนถึงแม่ระดับดาวมหาวิทยาลัย พูดถึงความรักที่มีต่อแม่ พูดถึงความรักต่อสามี และฆ่าตัวตาย แม่ก็เขียนถึงลูกว่าลูกน่ารัก แม่ดูแลอย่างดีทุกอย่าง เรียนหนังสือเก่ง นี่คือชะตากรรมของหญิง สาวที่ไม่เคยเผชิญความทุกข์ยากลำบากใดๆ เลย เรื่องนี้ตนคิดว่ามีความเกี่ยวพันกับสังคมไทย หญิงสาวนี้คือสังคมไทย เราเป็นสังคมที่ไม่เคยทุกข์ยาก ไม่เคยมีประสบการณ์การต่อสู้ทางการเมือง มีความขัดแย้งกัน เมืองไทยเป็นสังคมที่ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นมาก่อน ก็เราไม่รู้ว่าฝรั่ง ซึ่งนิสัยไม่ดีอย่างไร แล้วเราไม่เคยมีประสบการณ์ต่อสู้ทางการเมือง และเราไม่ได้เผชิญความขัดแย้งแบบอาณานิคมและสังคมกึ่งเมืองขึ้น ซึ่งทุกอย่างดีตลอดมา และหลังสนธิสัญญาเบาวริ่ง ชนชั้นนำดิ้นรนเอาตัวรอด ซึ่งสถาบันชนชั้นนำเขาปรับตัวเอง คือ ด้านหนึ่งเล่นเกมกับนักล่าเมืองขึ้น คือเอาอีสาน ล้านนา มาเป็นเมืองขึ้น และดูดกลืนทีละขั้น ให้ภูมิภาคนี้เป็นสยามประเทศอย่างนุ่มนวล สมัยรัชกาลที่ 6 ก็มีเอกสารบางชิ้นระบุว่า เมื่อรัชกาลที่ 6 นั่งช้างมาเชียงใหม่และพระองค์ฟังภาษาเหนือไม่ออกเลย ก็รู้สึกว่ามาเชียงใหม่เหมือนกับต่างประเทศ และเมื่อ พ.ศ. 2453 ก็เป็นการสถาปนารัฐรวมศูนย์ แล้ววัดหายไป กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการ คือ สถาบันสีเหลือง และ สถาบันสีเขียว คือ กองทัพ

ระบบราชการใหญ่โตขึ้นจากความเป็นรัฐรวมศูนย์ การเป็นรัฐรวมศูนย์แข็งแกร่งตั้งแต่ปี 2453 จนถึง 2475 ทำให้สังคมไทยอ่อนแอ เมื่อคณะราษฎรเข้ามา แต่อีกฝั่งหนึ่งแข็งแกร่งกว่ามาก เพราะได้พัฒนารัฐรวมศูนย์มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ทำลายความเป็นท้องถิ่นอย่างราบคาบ เรื่องนี้มีการพูดถึงน้อยมาก ดังนั้น คณะราษฎรจึงเชิญปัญหามากมาย คือการสถาปนาระบบราชการส่วนภูมิภาค กลายเป็นมือเท้าของส่วนกลางอย่างชัดเจน

อีกเรื่องคือระบบการศึกษาไม่ให้ความสนใจเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 เลย เราไม่รู้จัก 24 มิถุนายน วัฒนธรรมอำมาตย์ก็โตวันโตคืนมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจากนี้แล้วเราก็ต้องพูดถึง และที่สำคัญคือในทศวรรษที่ 2490 เป็นต้นมา จีน เวียดนาม กัมพูชา ยุโรปตะวันออก กลายเป็นสังคมนิยม ในเวลาถ้าไทยมีขบวนการแข็งแกร่ง ไทยก็อาจจะเป็นสังคมนิยม แต่เราเป็นหญิงสาวที่อ่อนเยาว์ สหรัฐอเมริกาก็เข้ามา สถาปนาอำมาตย์มาจนถึงปัจจุบันกล่อมเกลาให้เราเป็นอย่างทุกวันนี้ จนกระทั่งเกิดความขัดแย้งในปัจจุบัน

ที่ผ่านมาเราศึกษาบทเรียนต่างประเทศน้อยไป เราต้องรู้ว่า EU กับ สหรัฐ จีน คิดกับเราอย่างไร ทำไมกัมพูชาหันไปสนับสนุนรัฐบาลเพราะอะไร สหรัฐที่มีผลประโยชน์ในประเทศไทยอย่างมหาศาล ถ้าจะเปลี่ยนแผ่นดิน เขาต้องคิดว่ามวยคู่นี้ เขาจะยืนอยู่ตรงไหน สรุปคือเราต้องศึกษาปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อประเทศไทยด้วย

ธเนศวร์ อภิปรายต่อว่า การเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตย เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมด้วย การที่วัฒนธรรมของนักศึกษาเป็นเช่นนี้ กล่าวคือนักศึกษาไม่สนใจเรื่องการเมือง เราจะไปกันอย่างไร เราจะต้องมีการปฏิวัติวัฒนธรรมในบ้านเราในสถาบันการศึกษาด้วย ซึ่งเราต้องคุยกันให้มาก อีกอย่างคือสถาบันศาสนา เราจะจัดการและแก้ไขอย่างไร

ธเนศวร์ ยังกล่าวด้วยว่า ประชาธิปไตยต้องไม่ใช่แค่มีในระดับชาติ แต่ต้องมีในระดับท้องถิ่นด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะมีบทบาทอย่างไรที่จะช่วยดูแลประชาธิปไตยให้อยู่ได้ ไม่ใช่ไล่ล่าเสื้อแดง

 

เสนอสรุปบทเรียน 19 พฤษภาคม ยกกรณี 18 พฤษภาคม ที่กวางจู

ทั้งนี้ธเนศวร์ กล่าวด้วยว่า ประทับใจเหตุการณ์หนึ่ง คือเรื่องการระลึกถึงการสังหารหมู่ที่เมืองกวางจู ในปี 2523 ที่เกาหลีใต้ ซึ่งต่อมาประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งได้ดำเนินการไต่สวน แล้วนายทหารเกาหลีก็ถูกตัดสินประหารชีวิต มีการจัดพิธีใหญ่บนสถานที่สังหารประชาชน มีการระลึกถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2523 และถ่ายทอดเรื่องนี้ไปสู่ทั่วโลก มีการทำหนังสือ History of 18 May uprising ในนั้นมีข้อมูลละเอียดมาก บทวิเคราะห์ละเอียดมาก มีประสบการณ์ของพี่น้อง ก็คือเขาไม่ลืมเลือนเลย และเขาต้องการสรุปบทเรียนนี้ ส่วนของไทยเราพึ่งระลึกถึงเหตุการณ์เดือนพฤษภาคมผ่านไปหนึ่งเดือนเอง แต่เขาสามสิบปี เป็นหนังสือสำหรับการพัฒนาประชาธิปไตยของเกาหลีใต้ ก็เหมือนกับประเทศไทย ที่น่าจะทำไว้สำหรับวันนี้ ซึ่งเราต้องเตรียมพร้อมการเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เกิดขึ้น แต่มันก็ล้มแล้วล้มอีก โดยถ้าเราสรุปบทเรียนดีๆ ที่บรรพชนทำไว้ยังไม่ดี และผมคิดว่าสำคัญ คือ คนเราทำงานในสถาบันการศึกษา จะทำให้อุดมการณ์บ้านเมืองดีขึ้น แล้วลูกหลานเราไม่เหน็ดเหนื่อย

หลักการประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานคือความเท่าเทียมกันด้านปกครอง สิทธิเสรีภาพ ไม่ใช่ของแปลกปลอมจากต่างประเทศ มันอาจมาจากต่างประเทศ เพราะในต่างประเทศเขาเกิดประชาธิปไตยก่อน เพราะความไม่เท่าเทียมกันนั้นเป็นเรื่องสำคัญเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่อยากเห็นความเท่าเทียมกันไม่มีสองมาตรฐาน คนเราต้องมีเลือดเนื้อมีชีวิตเท่านั้นเอง และมันจะสร้างประเทศของตัวเอง ไม่ใช่การลอกเลียนแบบจากต่างประเทศ

เราเห็นต่างกันได้ไม่มีปัญหา คนไม่มีสี เพราะไม่ค่อย active ก็ไม่เป็นไรก็อยู่ไป คนที่มีสีก็เป็นพลเมืองเข้มแข็ง ประเด็นที่ว่าคือไม่พอใจการเรียกร้องของอีกฝ่ายหนึ่งแล้วเอาลูกปืนไปให้ ดังนั้น ปัญหาของอำมาตยาธิปไตยคือการไม่ยอมรับเสียงส่วนใหญ่

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น