ประชาไท | Prachatai3.info |
- "ชาวสะเอียบ"จัดขบวนพบผู้ว่าฯ จี้กรณีออกหนังสือคำสั่งราชการ"ล่าชื่อ"หนุนเขื่อนแก่งเสือเต้น
- วิดีโอคลิป: สัมภาาษณ์พิเศษ - สมบัติ บุญงามอนงค์
- นักวิชาชีพไทยในต่างแดน ยกกรณีศึกษา “ฟื้น สิ่งแวดล้อมจากสารพิษในญี่ปุ่น”
- DKBA จับ ครอบครัวทหารหนีกองทัพรีดเงิน
- คาดเลือกตั้งพม่า อาจเลื่อนเป็นเดือนธันวาคม
- สมัชชาคนจนร้องสอบวินัยผู้ว่าฯแพร่หนุนสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
- ม.เที่ยงคืนเสนอ “ปฏิรูป” การ “ปฏิรูปประเทศ”
"ชาวสะเอียบ"จัดขบวนพบผู้ว่าฯ จี้กรณีออกหนังสือคำสั่งราชการ"ล่าชื่อ"หนุนเขื่อนแก่งเสือเต้น Posted: 16 Jul 2010 01:07 PM PDT ชาวบ้าน ต.สะเอียบ กว่า 1,000 คน เดินขบวนไปยังศาลากลาง จ.แพร่ เพื่อยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯ ค้านเขื่อนแก่งเสือเต้น พร้อมเรียกร้องให้ชี้แจงกับชาวบ้าน กรณีออกคำสั่งให้หน่วยงานราชการทุกหน่วยงานสนับสนุนโครงการเขื่อนฯ <!--break--> เมื่อวันที่ 15 ก.ค.53 ชาวบ้าน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ กว่า 1,000 คน เดินขบวนไปยังศาลากลาง จ.แพร่ เพื่อยื่นหนังสือถึงนายสมชัย หทยะตันติ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ คัดค้านการผลักดันโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น พร้อมเรียกร้องให้นายสมชัยชี้แจงกับชาวบ้าน กรณีการออกคำสั่งให้หน่วยงานราชการทุกหน่วยงานสนับสนุนโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น โดยรวบรวมรายชื่อ อีกทั้งยังมีการระดมคนให้ออกมาเรียกร้องการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นด้วย สืบเนื่องจาก วันที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมาผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้เรียกประชุมด่วนฝ่ายการศึกษาจังหวัดแพร่ เพื่อขอให้มีการล่ารายชื่อนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาทั่วทั้งจังหวัดเพื่อสนับสนุนการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น พร้อมมีหนังสือเอกสารด่วนที่สุดไปยังโรงเรียนทั้งหมด โดยระบุให้สถานศึกษาต่างๆ ให้ความร่วมมือกับทางจังหวัด 4 ข้อ คือ 1.ให้รณรงค์ให้มีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นแก่ครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษา 2.ให้ครู นักเรียน และบุคลากรดังกล่าว ร่วมมือกันลงชื่อสนับการสร้างเขื่อน 3.นำรายชื่อทั้งหมดส่งผู้ว่าราชการในเช้าวันที่ 16 กรกฎาคม 4.นำครู นักเรียน และบุคลากร มาร่วมชุมนุมสนับสนุนการสร้างเขื่อนในวันที่ 16 ก.ค.ที่หน้าศาลากลาง หลังจากนั้นพบว่าได้มีหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 15 ก.ค.53 เรื่องสนับสนุนการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นของจังหวัดแพร่ ถึงหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง โดยให้หน่วยงานรวบรวมรายชื่อ-นามสกุล ลายมือชื่อ เลขประจำตัวประชาชน ของข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างพร้อมด้วยสมาชิกในครอบครัว นอกจากนี้ยังมีคำสั่งให้ทุกคนเข้าร่วมชุมนุมที่หน้าศาลากลางเพื่อเรียกร้องแก่งเสือเต้นในวันที่ 16 ก.ค.ด้วย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเดินขบวนของชาวบ้านเริ่มต้นจากตลาดในหมู่บ้านตั่งแต่ช่วงเช้าและมีการไปจัดขบวนกันอีกครั้งที่สนามกีฬา อ.เมือง จ.แพร่ ออกก่อนเดินทางไปยังศาลากลาง ในเวลา 8.00 น. โดยตลอดการเดินทางได้มีการปราศรัยคัดค้านการก่อสร้างโครงการและโจมตีการกระทำของผู้ว่าฯ กระทั่งไปถึงจุดหมายชาวบ้านสะเอียบ ถูกกันจากตำรวจห้ามเข้าบริเวณศาลากลางและห้ามตั้งเวทีหน้าศาลา แต่มีการหลังเจรจาชาวบ้านยังมีการชุมนุมและปราศรัยกันอยู่บริเวณหน้าศาลากลาง กดดันให้ผู้ว่าออกมาชี้แจงพร้อมรับหนังสือการคัดค้านโครงการดังกล่าว จนกระทั่งเวลาประมาณบ่ายสามโมง ทางจังหวัดอนุญาตให้ตัวแทนชาวบ้านบางส่วนขึ้นไปพูดคุยและยื่นข้อเสนอต่อการก่อสร้างโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น นายสมชัยได้ลงมารับหนังสือร้องเรียนจากตัวแทนชาวบ้านสะเอียบด้วยตนเองแต่ไม่ได้กล่าวชี้แจงหรือให้ข้อมูลใดๆ แก่ชาวบ้านที่มารวมตัวกัน ทั้งนี้ นอกจากหนังสือที่มอบต่อนายสมชัยผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ และหนังสื่อต่อนายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ในการคัดค้านโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น คณะกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ยังได้ออกแถลงการณ์แฉผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เกณฑ์ราชการ รัฐวิสาหกิจ ลูกจ้าง นักเรียน นักศึกษา ชุมนุมหน้าศาลากลางนับหมื่น ลงชื่อหนุนโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น มีรายละเอียดดังนี้ แถลงการณ์คณะกรรมการอนุรักษ แฉผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เกณฑ์ราชการ รัฐวิสาหกิจ ลูกจ้าง นักเรียน นักศึกษา ชุมนุมหน้าศาลากลางนับหมื่น ตามที่หนังสือด่วนที่สุด ที่ พร 0017.1 / ว 2558 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2553 เรื่อง สนับสนุนการก่อสร้างเขื่อนแ คณะกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล คณะกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล ด้วยจิตคารวะ ..........................
วันที่ 15 กรกฎาคม 2553 เรื่อง ขอให้ยุติการผลักดันโครงการ เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ผ่าน ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ได้มีแนวคิดในการรื้อฟื้นโค คณะกรรมการกลุ่มราษฎรรักษ์ป 1.การจัดการโดยใช้แนวทางทาง นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษา การวิจัยของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ออกมามีความชัดเจนแล้วว่ 1.จากการศึกษาของกรมทรัพยาก ดังนั้นคณะกรรมการกลุ่มราษฎ 1.ให้ยกเลิกโครงการเขื่อนแก จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ขอแสดงความนับถือ (นายอุดม ศรีคำภา) (นายชุม สะเอียบคง) (นายเส็ง ขวัญยืน) (นายอำนวย สะเอียบคง) (นายอ้วน ขันทะบุตร) (นางสุดารัตน์ ไชยมงคล) (น.ส.พจนีย์ ขวัญยืน) ..........................
วันที่ 15 กรกฎาคม 2553 เรื่อง ขอให้ยุติการผลักดันโครงการ เรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ นายสมชัย หทยะตันติ ตามที่ท่านได้มีบัญชาให้หน่ คณะกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล ทั้งนี้ ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กจาก นอกจากนี้ยังได้ก่อให้เกิดค พวกเราจึงขอให้ท่านยุติการด ขอแสดงความนับถือ (นายอุดม ศรีคำภา) (นายชุม สะเอียบคง) (นายเส็ง ขวัญยืน) (นายอำนวย สะเอียบคง) (นายอ้วน ขันทะบุตร) (นางสุดารัตน์ ไชยมงคล) (น.ส.พจนีย์ ขวัญยืน) ..........................
ทั้งนี้ แนวความคิดก่อสร้างโครงการ "เขื่อนแก่งเสือเต้น " ในพื้นที่ อ.สอง จ.แพร่ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 โดยกรมชลประทาน ด้วยเหตุผลเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง และป้องกันน้ำท่วมช่วงฤดูฝน โดยเบื้องต้น จะสร้างเป็นเขื่อนหินถมคอนกรีต ตั้งอยู่ในเขต อ.สอง เหนือจุดบรรจบแม่น้ำยมและแม่น้ำงาวขึ้นไปทางเหนือประมาณ 7 กิโลเมตร หรือห่างจาก อ.เมืองแพร่ ไปทางเหนือประมาณ 50 กิโลเมตร งบประมาณ ณ ปี 2541 คือ 8,280.82 ล้านบาท หลังนำการเสนอโครงการฯ มีเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะประเด็นความศูนย์เสียของระบบนิเวศวิทยา เนื่องจากพื้นที่ป่าสักทองผืนใหญ่ผืนสุดท้ายของประเทศ และป่าไม้เบญจพรรณกว่า 30,000 ไร่ จะถูกน้ำท่วม รวมทั้งสัตว์ป่าคุ้มครองก็จะได้รับผลกระทบ สำหรับชาวบ้านโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นโครงการที่หลายสถาบันได้เคยมีการศึกษาทั้งในและนอกประเทศมาแล้ว ซึ่งระบุถึงความไม่เหมาะสมของโครงการทั้งในเชิงเศรษฐศาสตร์และนิเวศวิทยา นอกจากนี้ชาวบ้านสะเอียบ จ.แพร่ ได้ปกป้องผืนป่าสักทองมากว่า 20 ปี จนกระทั่งรัฐบาลสมัยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้มีมติ ครม. 29 เม.ย.2540 ให้ชะลอโครงการฯ ไว้ จนล่าสุดรัฐบาลนำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้พยายามปลุกกระแสการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นขึ้นมาอีกครั้ง โดยอ้างสถานการณ์ความแห้งแล้งและน้ำท่วมในลุ่มน้ำยม และใช้วิธีการล่ารายชื่อเพื่อเรียกร้องการสร้างเขื่อน เอกสารด่วนที่สุดที่ออกโดยจังหวัดแพร่
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
วิดีโอคลิป: สัมภาาษณ์พิเศษ - สมบัติ บุญงามอนงค์ Posted: 16 Jul 2010 10:39 AM PDT <!--break--> ประชาไท สัมภาษณ์พิเศษ สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ บก.ลายจุด หลังจากถูกตำรวจจับไปคุมตัวที่ ตชด.ปทุมธานี นานกว่า 10 วัน ในข้อหา ฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
นักวิชาชีพไทยในต่างแดน ยกกรณีศึกษา “ฟื้น สิ่งแวดล้อมจากสารพิษในญี่ปุ่น” Posted: 16 Jul 2010 08:04 AM PDT นักวิชาชีพไทยในต่างแดนยกตัวอย่างเทคโนโลยีและกรณีศึกษาที่ ใช้ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมจากปัญหาสารพิษในญี่ปุ่น เพื่อเป็นแนวทางปรับใช้ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในไทย <!--break--> เมื่อเร็วๆ นี้ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) โดยโครงการสมองไหลกลับ ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนัก งานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดงานประชุมวิชาการ “Thai Professionals Conference 2010 : Green Thailand และ ก้าวต่อไปของความร่วมมือระหว่างการ อุดมศึกษาไทยและนักวิชาชีพไทยในต่างประเทศ” ดึงเครือ ข่ายนักวิชาชีพไทยในประเทศต่างๆ มาร่วมถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ระดมสมองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการแก้วิกฤตการณ์ต่างๆ ซึ่งหนึ่งในหัวข้อที่น่าสนใจคือ อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Greening of Thai Industries) โดยมีการนำเสนอกรณีตัวอย่าง เครื่องมือและแนวทางการในการฟื้นสิ่งแวดล้อมจากสารพิษ “ภาค อุตฯ-ภาคเกษตร” ใช้ระบบ พึ่งพาแก้ปัญหา “น้ำบาดาลลด” “พื้นที่นาในจังหวัดคุมาโมโตะส่วนมากเป็นดินจากเถ้าภูเขาไฟ ดังนั้น ในฤดูทำนา น้ำจากในนาจะซึมผ่านดินไปยังแหล่งน้ำบาลได้ประมาณ 10 เซนติเมตรต่อวัน แต่ในช่วงฤดูนอกการทำนา ชาวบ้านมีการสูบน้ำออกจากนาเพื่อปลูก พืชชนิดอื่นๆ แทน ปริมาณน้ำที่เคยซึมกลับลงสู่แหล่งน้ำบาดาลจึงลดลงไป ด้วย สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาของบริษัท คือ ได้มีการลงไปพูดคุยและขอความร่วมมือจากชาวนาท้องถิ่นในการใส่น้ำ(น้ำ จากแม่น้ำหรือมีการซื้อมาจากพื้นที่อื่น)ให้เต็มที่นาตลอดนอกฤดู ทำนา เพื่อให้มีการเติมน้ำกลับคืนสู่แหล่งน้ำบาดาล โดยบริษัททำสัญญาการรับซื้อข้าวจากชาวนาที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด มาทำเป็นอาหารขายในบริษัท ซึ่งจากข้อตกลงดังกล่าว ทำให้ปัจจุบันมีชาวนาท้องถิ่นร่วมโครงการ 52 ครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่ 320,000 ตารางเมตร ขณะเดียวกัน ทางโรงงานก็สัญญากับคนในท้องถิ่นว่าจะ หาแนวทางในการใช้น้ำบาดาลให้น้อยลง ด้วยการกักเก็บน้ำฝนมาใช้มากขึ้น พร้อมทั้งมีการบำบัดน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง 80% การสูบน้ำบาดาลมาใช้ใหม่จึงลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลจากความร่วมมือทั้งภาคอุตสาหกรรมและประชาชนครั้งนี้ทำให้ ตั้งแต่ปี 2003 ถึง 2007 ที่ผ่านมา มีการเติมน้ำ(น้ำจากการซึมผ่านพื้นที่ นา และการลดใช้น้ำของโรงงาน)คืนสู่แหล่งน้ำบาดาลได้สูงถึง 7 ล้านตัน ทั้งนี้พื้นที่จังหวัดคุมาโมโตะ ถือเป็นพื้นที่ที่มีการนำแนวคิดนี้มา ทดลองใช้และประสบความสำเร็จเป็นแห่งแรก” ฟื้นฟูสารพิษปนเปื้อนดิน ที่โทโยสุ(TOYOSU) “ทางภาครัฐได้ลงพื้นที่ศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมในที่ดินดัง กล่าว และพบว่า สารพิษที่มีความเข้มข้นสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน (0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร)ถึง 10 เท่า นั้น มีอยู่จริง แต่ไม่ได้กระจายไปทั่วบริเวณ โดยจะพบเป็นจุดๆ สามารถฟื้นฟูได้ ทั้งนี้ได้มีการทุ่มงบประมาณราว 155,400 ล้านบาท ในการก่อสร้างพื้นที่และแก้ไขปัญหาฟื้นฟูดินในบริเวณดังกล่าว สำหรับวิธีการฟื้นฟูที่ภาครัฐวางแผนไว้จะมีการขุดหน้าดินลึก 2 เมตร ออก เพื่อนำดินใหม่ใส่เข้าไปแทน 2.5 เมตร และนำแผ่นยางแอลฟัลต์กับคอนกรีตมา ปูไว้ด้านบน ส่วนด้านล่างที่เป็นชั้นดินที่มีน้ำบาดาล อยู่ จะมีการทำแนวกั้นไม่ให้น้ำบาดาลขึ้นมาสัมผัสกับดิน พร้อมทั้งต่อท่อที่ใช้สังเกตการณ์ระดับน้ำบาดาลไว้ หากน้ำบาดาลเพิ่มสูงกว่าระดับที่กำหนดเครื่องจะปั๊มน้ำบาดาลขึ้นมา เพื่อกลั่นแยกสารพิษออกทันที ส่วนเบนซินที่ปนเปื้อนอยู่ในดินจะใช้ เทคนิคการระเหยเพื่อดูดก๊าซเบนซินออกมา นอกจากนี้ ยังมีการสร้างแนวหินเป็นกำแพงหนาด้วยซีเมนต์ที่มีคุณสมบัติกันน้ำ ทะเล เพื่อไม่ให้น้ำทะเลซึมมาสัมผัสกับดิน” อย่างไรก็ดีแผนการย้ายตลาดได้มีมานานกว่า 10 ปีแล้ว แต่ด้วยแรงคัดค้านทำให้ถูกเลื่อนมา แต่ในปีนี้คาดว่าจะเริ่มมีการฟื้นฟู สภาพสิ่งแวดล้อมและดำเนินการก่อสร้างตามแผนที่วางไว้แล้ว”ดร.ปฐม กล่าวทิ้งท้าย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
DKBA จับ ครอบครัวทหารหนีกองทัพรีดเงิน Posted: 16 Jul 2010 07:50 AM PDT กองกำลังกะเหรี่ยงพุทธ หรือ DKBA (Democratic Karen Buddhist Army) ซึ่งสนับสนุนรัฐบาลพม่า เข้าจับกุมสมาชิกในครอบครัวนายทหารในกองทัพของตน ที่หันไปเข้าร่วมกับฝ่ายตรงข้าม <!--break--> เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีทหารDKBA จำนวน 7 นาย ประจำอยู่ในกองพลน้อยที่ 999 ได้หนีไปพร้อมอาวุธและกระสุนปืนจำนวนหนึ่ง โดยไปเข้าร่วมกับ กองกำลังปลดปล่อยแห่งชาติ หรือ KNLA (Karen National Liberation Army) กองกำลังในสังกัดของกลุ่มกะเหรี่ยงคริสต์ หรือ KNU (Karen National Union) ในวันถัดมา สมาชิก 3 คนในครอบครัวของนายซอเมียวเมียว นายทหารที่หนีออกจากกองกำลังDKBA ถูกกลุ่มทหาร DKBA จากฐานทัพในเมืองฉ่วยก่อโก ใกล้กับชายแดนรัฐกะเหรี่ยง-ไทย จับกุมตัวไว้ ทั้งนี้ ทหารที่หลบหนีไปร่วมกับ KNU มี รายงานว่า อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของพันเอกซิตตู ผู้บัญชาการกองพล 999 ของ DKBA ขณะที่มีรายงานว่า พันเอกชิดตูค่อนข้างจะมีชื่อเสียงในทางลบและเป็นผู้ที่มีความสนิท สนมกับรัฐบาลเผด็จการ ด้านนายอ่องเมียวมิน หัวหน้าสถาบันสิทธิมนุษยชนและการศึกษาแห่งพม่า หรือ HREIB (Human Rights and Education Institute of Burma) กล่าวว่า “การจับเด็กเป็นเชลยในพื้นที่สู้รบเป็นการ ละเมิดสิทธิเด็กอย่างรุนแรงที่สุด” อ่องเมียวมินกล่าวเพิ่มเติมว่า การกักขังหน่วงเหนี่ยวเด็กและผู้สูงอายุ ถือเป็นการละเมิดข้อบัญญัติที่ 1612 ของยูเอ็น ซึ่งพูดถึงสิทธิเด็กในพื้นที่ความขัดแย้งและในพื้นที่สู้รบ “กองกำลังDKBA ได้ตกเป็นผู้ต้องหาจากการใช้เด็กมาก่อนแล้ว และขณะนี้ ยังได้กระทำความผิดทางอาญาเพิ่ม ในข้อหาที่จับเด็กไปเป็นเชลย เราต้องการให้พวกเขาหยุดการกักขังเด็กโดยเร็วที่สุด และเด็กเหล่านั้นควรจะได้การปกป้องตามสิทธิที่เหมาะสม” เขากล่าว อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า เคยเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้แบบนี้มาแล้วในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เมื่อพ่อแม่ของนายทหาร DKBA ที่ชื่อโพต่อต่อ ถูกกักตัวและถูกบังคับให้จ่ายเงิน จำนวน 160,000 บาท เพื่อชดใช้ค่าปืนที่เขานำติดตัวไปหลังหลบหนีออก จาก DKBA ภายหลังทั้งสองก็ถูกปล่อยตัว เพราะยอมจ่ายเงินจำนวน 80,000 บาท ที่ได้มาจากการขายทรัพย์สินส่วนตัว (DVB: By NAW NOREEN 14 กรกฎาคม 2553) หมายเหตุ แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊ค http://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
คาดเลือกตั้งพม่า อาจเลื่อนเป็นเดือนธันวาคม Posted: 16 Jul 2010 07:47 AM PDT สาละวินโพสต์รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า รัฐบาลพม่าอาจเลื่อนกำหนดการเลือกตั้งออกไปเป็นเดือนธันวาคมปลาย ปีนี้ โดยข้อมูลนี้เล็ดลอดออกมาจากเจ้าหน้าที่คณะกรรมการเลือกตั้งของพม่า <!--break--> หัวหน้าพรรคการเมืองพรรคหนึ่งใน กรุงย่างกุ้งเปิดเผยว่า จากข้อมูลเจ้าหน้าที่คณะกรรมการเลือกตั้งเปิดเผยว่า ก่อน หน้านี้ รัฐบาลพม่าเตรียมจัดการเลือกตั้งในเดือนตุลาคมของปีนี้ แต่ขณะนี้กำหนดการดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลง “ตอนนี้อยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคมแล้ว ซึ่งมีเวลาน้อยกว่า 90 วัน ถ้าหากจะจัดการเลือกตั้งในวันที่ 10 เดือนตุลาคม ในขณะที่พรรคการเมืองต่างๆกำลังอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมสมาชิกพรรค ดังนั้นสถานการณ์เช่นนี้ จึงยังไม่น่าจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 10 เดือนตุลาคมนี้อย่างแน่นอน” หัวหน้าพรรคการเมืองพรรคหนึ่งกล่าว สอดคล้องกับแหล่งข่าวในกรุงย่างกุ้ง ที่เปิดเผยว่า พรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Party - USDP) พรรคของนายกรัฐมนตรีเต็งเส่งเอง จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เริ่มรณรงค์หาเสียงอย่างจริงจัง เช่นยังไม่มีป้ายหาเสียงของพรรค USDP ในหลายเมือง ใหญ่ แม้แต่ในกรุงย่างกุ้งและในมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นไปได้ว่า จะยังไม่มีการจัดการเลือกตั้งในเดือนตุลาคมนี้ อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีการเคลื่อนไหว ใดๆจากพรรค USDP แต่กลับพบว่า สมาคมเพื่อการพัฒนาและความเป็นเอกภาพ (USDA) ซึ่งเป็นองค์กรแม่ของพรรค USDP ได้หันมาเริ่มทำงานในโครงการพัฒนาชุมชนเพิ่มมากขึ้น ทั้งการสร้างถนนและเปิดห้องสมุดทั่วประเทศ เพื่อหวังได้รับคะแนนจากการเลือกตั้งครั้งนี้ ก่อนหน้านี้ นักการทูตจากในและ นอกประเทศคาดการณ์เช่นเดียวกันว่า นายพลพม่าจะจัดการเลือกตั้งในวันที่ 10 เดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ แต่จากกระแสข่าวนี้ อาจทำให้นายพลอาวุโสตานฉ่วยและคณะตัดสินใจเปลี่ยนแปลงกำหนดการ เลือกตั้งเดิมไปเป็นกำหนดการใหม่ ซึ่งขณะนี้ ยังไม่ได้รับการเปิดเผยแต่อย่างใด ด้านแหล่งข่าวจากเนปีดอว์ เมืองหลวงแห่งใหม่รายงานว่า ตานฉ่วยและผู้นำระดับสูงคนอื่นๆได้ประชุมเรื่องการเลือกตั้งร่วม กับผู้บัญชาการทหารเมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยทางกองทัพได้ส่งโทรเลขไปยังผู้บัญชาการทหารในแต่ ละเขตพื้นที่ว่า ต้องเดินทางถึงเนปีดอว์ภายในวันที่ 9 ก.ค. 53 ที่ผ่านมา ทางด้านในส่วนของคณะกรรมการเลือก ตั้งพม่า ได้จัดประชุมร่วมกับพรรคการเมืองต่างๆเมื่อวัน พุธ(14 ก.ค.53)ที่ผ่านมา โดยเรียกร้องให้พรรคการเมืองเข้าร่วมงานวันวีรบุรุษ พม่า ที่จะมีขึ้นในวันที่ 19 ก.ค.ที่จะถึงนี้ เพื่อเป็นการทำความเคารพแก่ผู้ที่ เสียสละชีพเพื่อชาติ ซึ่งรวมถึงนายพลอองซาน บิดาของนางอองซาน ซูจี ผู้นำคนสำคัญของพรรคฝ่ายค้านรวมอยู่ด้วย มีรายงานว่า ถึงแม้จะมีพรรคการเมืองกว่า 21 พรรค ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในกรุงย่างกุ้งถูก เชิญให้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ แต่พบว่า มีเพียง 14 พรรคการเมืองเท่านั้นที่ส่งตัวแทนเข้าร่วมการ ประชุม ในอีกด้านหนึ่ง อ่องลินทุต อดีตเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองของรัฐบาลพม่า ซึ่งขณะนี้อาศัยอยู่ในสหรัฐแสดงความคิดเห็นว่า ตานฉ่วยและหม่องเอ ผู้นำหมายเลข 1 และ 2 อาจไม่ลงจากอำนาจแม้หลังการเลือกตั้ง โดยเขาวิเคราะห์ว่า ตานฉ่วยอาจใช้เวลานานถึง 3 – 4 ปีหากจะลงจากตำแหน่งผู้นำสูงสุดของ รัฐบาลพม่า อ่องลินทุตยังวิเคราะห์ต่อไปว่า ตานฉ่วยอาจดำเนินการตามแผน 3 ข้อ เพื่อให้ตัวเองยังสามารถดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำสูงสุดของ ประเทศได้ต่อไปได้ แผนแรกคือ หากกรณีที่พรรค USDP ของรัฐบาลพม่าชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น ตานฉ่วยมีแผนจะแต่งตั้งตัวเองเป็นผู้นำเหมือนอย่างเติ่งเสี่ยวผิง ของจีน และอดีตผู้นำ อะยาโตเลาะฮ์ โคไมนีของอิหร่านและถ้าหากพรรค USDP ไม่ ชนะการเลือกตั้งทั้งหมด อ่องลินทุตวิเคราะห์ว่า ตานฉ่วยจะจัดตั้งองค์กรอย่าง คณะกรรมการทหารพิเศษขึ้นมาเหมือนอย่างจีนและเกาหลีเหนือ โดยตานฉ่วยจะยังคงดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำสูงสุดขององค์กรนี้ และคอยคุมเกมการเมืองอยู่เบื้องหลัง มีรายงานว่า นายพลตานฉ่วยได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ภายใต้บังคับบัญชาศึกษาถึงบ ทบาทของคณะกรรมการทหารในประเทศจีน อิหร่านและเกาหลีเหนือ รวมถึงการทำงานของเจ้าหน้าที่รักษาชายแดน (Border Guard Force - BGF) ในประเทศบังกลาเทศด้วยเช่นกัน อ่องลินทุตกล่าวว่า “การที่ พรรคเอ็นแอลดีออกมาคว่ำบาตรการเลือกตั้งพม่า 2010 ได้ทำลายความน่าเชื่อถือของการเลือกตั้งพม่าอยู่ไม่น้อย รวมไปถึงประเด็นที่กลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มออกมาปฏิเส ธการเข้าร่วมตามแผน BGF ของรัฐบาลพม่า ได้สร้างความแปลกใจให้แก่นาย พลอาวุโสตานฉ่วยอยู่ไม่น้อย เพราะตานฉ่วยไม่คิดว่าเรื่องมันจะกลายเป็นแบบนี้ ซึ่งผมได้ยินมาว่า ทั้งสองเรื่องนี้ทำเอาตานฉ่วยสับสนกับการเลือกตั้งที่จะมาถึงอยู่ ไม่น้อยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม กำหนดการที่จะต้องปล่อยตัวนางซูจีในเดือนพฤศจิกายนที่จะ ถึงนี้ต่างหาก อาจกำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้ตานฉ่วยปวดหัวมากที่สุด” อ่องลินทุตกล่าว อ่องลินทุตกล่าวเพิ่มเติมว่า “หากท้าย ที่สุดแล้ว แผนการทั้งหมดผิดพลาดจากที่ตานฉ่วยคาดไว้ เชื่อว่า ตานฉ่วยจะตัดสินใจใช้แผนสุดท้าย นั่นคือสั่งการให้กองทัพการทำรัฐประหารครั้งใหม่ เพื่อประกันตำแหน่งของเขาต่อไป” อ่องลินทุตกล่าว (Irrawaddy 15 ก.ค.53) หมายเหตุ แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊ค http://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สมัชชาคนจนร้องสอบวินัยผู้ว่าฯแพร่หนุนสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น Posted: 16 Jul 2010 07:38 AM PDT สมัชชาคนจนแถลงเรียกร้องให้ตรวจสอบวินัยผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เนื่องจากออกหนังสือถึงหน่วยราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในจังหวัดแพร่ให้สนับสนุนการสร้างเขื่อนแก่งเสื้อเต้น แฉบังคับนักเรียนลงชื่อเรียกร้องสร้างเขื่อน <!--break--> โดยสมัชชาคนจนเรียกร้องให้รัฐยุติโครงการดังกล่าวเนื่องจากส่งผลกระทบต่อป่าสักทองผืนใหญ่ของประเทศด้วย แถลงการณ์ ยืนยันคัดค้าน เขื่อนแก่งเสือเต้น และ ให้ตรวจสอบวินัยผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ จากการที่ผู้ ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้มีหนังสือถึงหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในจังหวัดแพร่ ให้สนับสนุนการก่อสร้างเขื่อนแก่ง เสือเต้น โดยให้รวบรวมรายชื่อและระดมคนออกมาเรียกร้องเขื่อนแก่งเสือเต้นใน วันที่ 16 กรกฎาคม 2553 ที่ศาลากลางจังหวัดแพร่ ซึ่งแม้แต่เด็กนักเรียนยังถูกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่เขต 1 บังคับให้ลงชื่อเรียกร้องเขื่อนอย่างน่าละอายด้วยนั้น โครงการเขื่อน แก่งเสือเต้นเป็นโครงการที่ได้เคยมีการศึกษาทั้งในและนอกประเทศ ที่น่าเชื่อถือหลายสถาบันระบุถึงความไม่เหมาะสมของโครงการทั้งใน เชิงเศรษฐศาสตร์ และนิเวศวิทยา นอกจากนี้ชาว บ้านสะเอียบ จ.แพร่ ชาวเชียงม่วน จ.พะเยา ได้ร่วมกับสมัชชาคนจน ประชาชนและนักวิชาการเพื่อปกป้องป่าสักทองอันทรงคุณค่าและเหลืออ ยู่น้อยเต็มที มากว่า 20 ปี จนกระทั่งรัฐบาลสมัยนายกฯ ชวลิต มีมติ ครม. 29 เมษายน 2540 ให้ชะลอโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น รวมทั้งเขื่อนที่ยังไม่สร้าง 4 เขื่อนตามข้อตกลงกับสมัชชาคนจน แต่เมื่อไม่ นานนี้กลับมีความเคลื่อนไหวที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งครั้งใหม่เกิด ขึ้น โดยมีความพยายามปลุกกระแสการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น โดยอ้างสถานการณ์ความแห้งแล้งในเขตภาคเหนือตอนล่าง ทั้งที่ผลการศึกษาจำนวนมากบ่งชี้ว่าเขื่อนแก่งเสือเต้นไม่สามารถ แก้ไขปัญหาความแห้งแล้งและน้ำท่วมในลุ่มน้ำยมอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีความขัด แย้งครั้งใหม่นี้ ถูกจุดชนวนโดยผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ที่เป็นข้าราชการระดับสูง ที่ถูกเรียกว่า “พ่อเมือง” แต่กลับมีพฤติกรรมสร้างความแตกแยกในหมู่ประชาชน ซึ่งควรเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลในการสอดส่องดูแลการกระทำอันจะ ก่อให้เกิดความขัดแย้งและทำลายทรัพยากรของชาติ สมัชชาคนจนมี ข้อเสนอต่อรัฐบาลดังนี้ 2.ให้ มีการตั้งกรรมการตรวจสอบทางวินัยต่อผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ในกรณีมีคำสั่งให้ลงชื่อและระดมคนเพื่อสนับสนุนเขื่อน แก่งเสือเต้น ถือเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบและสร้างความแตกแยกในหมู่ประชาชน สมัชชาคนจนและ เครือข่าย ยืนยันจะคัดค้านโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นอย่างถึงที่สุดและพร้อม ที่จะเคลื่อนไหวสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเพื่อปกป้องทรัพยากรอัน ทรงคุณค่าของโลกและวิถีชีวิตอันปกติสุขของประชาชนต่อไป ประชาชนต้องกำหนด อนาคตตนเอง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ม.เที่ยงคืนเสนอ “ปฏิรูป” การ “ปฏิรูปประเทศ” Posted: 16 Jul 2010 07:28 AM PDT ม.เที่ยงคืนชี้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีอำนาจกว้างขวาง ไม่มีหลักประกันเสรีภาพการแสดงความเห็นของฝ่ายที่คิดต่างจากรัฐบาล เสนอให้เลิก พ.ร.ก. เพื่อให้ความคิดเรื่องปฏิรูปไม่ออกมาแต่ข้างฝ่ายรัฐบาล ชี้การพิสูจน์ข้อเท็จจริงกรณีสลายชุมนุมเมษา-พฤษภามีความสำคัญต่อการปฏิรูป พร้อมเรียกร้องสังคมกดดันให้เกิดการ “ปฏิรูป” การ “ปฏิรูปประเทศ” <!--break--> เวลา 16.00 น. วันนี้ (16 ก.ค.) ที่ห้อง 102 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณาจารย์กลุ่มมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ประกอบด้วย รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ อาจารย์ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และ อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ ร่วมกันออกแถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เรื่อง “ปฏิรูปการปฏิรูปประเทศไทย” โดยมี นายสมชาย เป็นผู้อ่านแถลงการณ์ ใจความตอนหนึ่งของแถลงการณ์ “ปฏิรูปการปฏิรูปประเทศไทย” ระบุว่า “ภายใต้การประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่มีหลักประกันสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝ่ายที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากรัฐบาล เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวให้อำนาจอย่างกว้างขวางแก่เจ้าหน้าที่ในการกล่าวหาและควบคุมบุคคลที่เห็นว่ากระทำการขัดต่อกฎหมาย ซึ่งแม้กระทั่งถึงปัจจุบันก็ยังมีการกล่าวหาและการควบคุมบุคคลจำนวนมากโดยไม่เคารพต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และมีจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าได้กระทำความผิดในลักษณะใด อำนาจที่ฉ้อฉลของกฎหมายฉบับนี้จึงย่อมเป็นผลให้บุคคลที่มีจุดยืนแตกต่างจากฝ่ายผู้กุมอำนาจรัฐไร้หลักประกันว่าจะสามารถแสดงความเห็นอย่างบริสุทธิ์ใจได้อย่างปลอดภัย เมื่อเป็นเช่นนี้กระบวนการปฏิรูปประเทศไทยจึงยากที่จะเกิดขึ้นท่ามกลางการแลกเปลี่ยนทัศนะอย่างกว้างขวางและการต่อรองอย่างเป็นธรรม จึงต้องมีการยกเลิก พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้ความคิดในการปฏิรูปประเทศไม่ปรากฏออกมาสู่สังคมเฉพาะที่มาจากฝ่ายของรัฐบาล ชนชั้นนำ และปัญญาชนที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปคณะต่างๆ เท่านั้น” แถลงการณ์ยังระบุด้วยว่า กระบวนการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เข้าใจ “ความจริง” และต้องมีผู้ “รับผิด” ต่อการตัดสินใจและการกระทำของตนเอง ตลอดจนการที่สังคมโดยรวมจะได้หาทางแก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขแวดล้อมต่างๆ ที่เป็นเหตุปัจจัยแห่งความรุนแรง เพื่อจะสามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันมิให้เกิดความรุนแรงซ้ำอีก กระบวนการดังกล่าวนี้สำคัญอย่างมากต่อการที่จะดึงให้ทุกฝ่ายทุกสีให้หันหน้าเข้าหากันโดยต่างก็ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปประเทศ และเกิดความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศในวิถีทางที่ตนสามารถกระทำได้ “มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอเรียกร้องให้สังคมร่วมกันกดดันเพื่อให้เกิดการปฏิรูป “การปฏิรูปประเทศไทย” เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการปฏิรูปอย่างแท้จริง ซึ่งการมีส่วนร่วมของสังคมนี้นับเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดที่จะทำให้การปฏิรูปประเทศบรรลุผล หรืออย่างน้อยที่สุดก็จะเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างกว้างขวางอันจะเป็นผลดีต่อสังคมไทยในระยะยาว” ตอนท้ายของแถลงการณ์ระบุ หลังการแถลงข่าวนายอรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ตอบคำถามและอธิบายข้อเสนอเรื่องการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการเมืองและเปิดเผยต่อสังคมว่า การมีส่วนร่วมไม่ใช่แค่การเปิดเวที ระดมคนร้อยคน หรือสองร้อยคนไปฟัง นอกจากนี้ต้องมีการพิมพ์เอกสารและสื่อทั้งหมดที่คณะกรรมการฯ กำลังดำเนินการสู่สาธารณะชนในวงกว้างและง่ายต่อการเข้าถึง อาจจะพิมพ์สิ่งที่คณะกรรมการฯ จะเสนอในหนังสือพิมพ์หรืออื่นๆ รวมทั้งในบางกรณีเช่นกรรมการที่เป็นชุดตรวจสอบข้อมูลฯ ก็มีความจำเป็นต้องเผยแพร่ข้อมูลหรือหลักฐานด้วยซ้ำ เพื่อที่สังคมทั้งหมดจะได้เห็นข้ออ่อนหรือจะทำอะไร การเปิดเวทีเพียงครั้งๆ เกรงว่าถ้าทำอย่างนั้นจะคล้ายการทำประชาพิจารณ์จอมปลอมซ้ำรอยรัฐธรรมนูญปี 2550 ท้ายสุดจะไม่ได้อะไรขึ้นมา นายชำนาญ จันทร์เรือง กล่าวหลังการแถลงข่าวว่า คณะกรรมการปฏิรูปทั้ง 2 ชุดที่ตั้งขึ้น เป็นเรื่องซื้อเวลาของฝ่ายบริหาร เพราะจริงๆ แล้วฝ่ายบริหารมีหน้าที่ปฏิรูปอยู่แล้ว ไม่ต้องตั้งกรรมการอะไรอยู่แล้ว อำนาจเต็มอยู่ที่ฝ่ายบริหาร คณะรัฐบาลอยู่แล้ว คณะกรรมการทั้งสองชุดตั้งโดยคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีเท่านั้นเอง ถ้ามีการเสนอขึ้นมาถ้ารัฐบาลไม่เอาด้วยก็จบ และระยะเวลาทำงานก็เนิ่นนาน 2-3 ปี และไม่แน่ว่ารัฐบาลชุดหน้าจะเอาหรือไม่เอาอย่างไร ก็เป็นการซื้อเวลา แต่การปฏิรูปไม่สามารถเคลื่อนได้ถ้ามี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่ใช่ยกเลิกประกาศธรรมดา แต่ต้องเลิกกฎหมายนี้ไปเลย พ.ร.บ.ความมั่นคงก็ร้ายแรงเต็มที ยังมี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปิดปาก เซ็นเซอร์ ปิดกั้นอินเทอร์เน็ต ซึ่งขัดต่อหลักการรัฐธรรมนูญโดยชัดแจ้ง และประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มากี่เดือนแล้ว ไม่ใช่แค่ฉุกเฉิน แต่เป็นฉุกเฉินฉบับถาวรไปแล้ว โดยรายละเอียดของแถลงการณ์เป็นไปดังแนบท้าย 000 แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ในห้วงเวลาที่สังคมไทยกำลังเผชิญหน้ากับความขัดแย้งอย่างรุนแรง รัฐบาลได้นำเสนอกระบวนการ “ปฏิรูปประเทศไทย” เพื่อเป็นหนทางในการจัดการกับความขัดแย้งและนำสังคมไทยกลับคืนสู่ภาวะสันติสุข โดยได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่ได้เข้ามาร่วมในการปฏิรูปประเทศไทยในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายประเด็นที่สังคมควรพิจารณาเพื่อให้การปฏิรูปประเทศไทยมีความชอบธรรมและบรรลุผลอันพึงปรารถนา 1. ปัญหาสำคัญอย่างยิ่งของสังคมการเมืองไทยในหลายทศวรรษที่ผ่านมาก็คือ การที่อำนาจในการอธิบายปัญหา การเสนอทางเลือกในการแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจหรือการวินิจฉัยต่างๆ ตกอยู่ในมือของชนชั้นนำเพียงหยิบมือเดียว แม้ว่าการปฏิรูปประเทศครั้งนี้จำเป็นจะต้องมีปัญญาชนและชนชั้นนำเข้ามาร่วมอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ แต่ก็จำเป็นจะต้องมีภาคสังคมเข้ามามีบทบาทในกระบวนการปฏิรูปประเทศอย่างแท้จริง อย่างน้อยที่สุดก็ต้องเปิดโอกาสให้ภาคสังคมสามารถควบคุมตรวจสอบความคิดและการตัดสินใจของคณะกรรมการปฏิรูปแต่ละชุดได้อย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของคณะกรรมการแต่ละชุดต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส เปิดเผย เพื่อให้สาธารณชนได้มีโอกาสรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทั้งหมด ทั้งเพื่อการวิพากษ์วิจารณ์และการเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป 2. ภายใต้การประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่มีหลักประกันสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝ่ายที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากรัฐบาล เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวให้อำนาจอย่างกว้างขวางแก่เจ้าหน้าที่ในการกล่าวหาและควบคุมบุคคลที่เห็นว่ากระทำการขัดต่อกฎหมาย ซึ่งแม้กระทั่งถึงปัจจุบันก็ยังมีการกล่าวหาและการควบคุมบุคคลจำนวนมากโดยไม่เคารพต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และมีจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าได้กระทำความผิดในลักษณะใด อำนาจที่ฉ้อฉลของกฎหมายฉบับนี้จึงย่อมเป็นผลให้บุคคลที่มีจุดยืนแตกต่างจากฝ่ายผู้กุมอำนาจรัฐไร้หลักประกันว่าจะสามารถแสดงความเห็นอย่างบริสุทธิ์ใจได้อย่างปลอดภัย เมื่อเป็นเช่นนี้กระบวนการปฏิรูปประเทศไทยจึงยากที่จะเกิดขึ้นท่ามกลางการแลกเปลี่ยนทัศนะอย่างกว้างขวางและการต่อรองอย่างเป็นธรรม จึงต้องมีการยกเลิก พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้ความคิดในการปฏิรูปประเทศไม่ปรากฏออกมาสู่สังคมเฉพาะที่มาจากฝ่ายของรัฐบาล ชนชั้นนำ และปัญญาชนที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปคณะต่างๆ เท่านั้น อนึ่ง แม้ว่าบุคคลหลายคนที่เข้าร่วมในคณะกรรมการปฏิรูปฯ จะยืนยันถึงเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของตนว่ามิได้เป็นเครื่องมือของรัฐบาล แต่ความมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นของสังคมต่างหากที่มีความสำคัญมากกว่า หากสังคมขาดเสรีภาพอย่างแท้จริงในการแสดงความเห็น เสรีภาพของคณะกรรมการแต่ละคนก็จะไม่มีความหมายใดเลย 3. ความขัดแย้งที่ยังคงดำรงอยู่ในสังคมไทย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการสูญเสียที่เกิดขึ้นในระหว่างเหตุการณ์เดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา มีการกล่าวหาและการตอบโต้กันว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ที่สร้างความรุนแรง กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญของความไม่ไว้วางใจรวมถึงความเกลียดชังระหว่างผู้คนต่างสีในสังคมไทย กระบวนการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เข้าใจ “ความจริง” ทั้งในเรื่องของตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงและเงื่อนไขแวดล้อมของความรุนแรง เพื่อนำไปสู่การที่แต่ละฝ่ายจะได้มีความเข้าใจต่อกันมากขึ้น และการที่จะต้องมีผู้ “รับผิด” (accountability) ต่อการตัดสินใจและการกระทำของตนเอง ตลอดจนการที่สังคมโดยรวมจะได้หาทางแก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขแวดล้อมต่างๆ ที่เป็นเหตุปัจจัยแห่งความรุนแรง เพื่อจะสามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันมิให้เกิดความรุนแรงซ้ำอีก กระบวนการดังกล่าวนี้สำคัญอย่างมากต่อการที่จะดึงให้ทุกฝ่ายทุกสีให้หันหน้าเข้าหากันโดยต่างก็ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปประเทศ และเกิดความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศในวิถีทางที่ตนสามารถกระทำได้ กระบวนการพิสูจน์ข้อเท็จจริงต้องดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ก่อนที่พยานหลักฐานจะถูกจัดการหรือสูญหาย และเพื่อให้กระบวนการนี้ไม่ถูกมองว่าเป็นแต่เพียงเครื่องมือในการซื้อเวลาของรัฐบาล ซึ่งความระแวงสงสัยดังกล่าวนี้ย่อมไม่เอื้อต่อการดึงความร่วมมือจากทุกฝ่ายให้เข้ามาสู่กระบวนการปฏิรูปประเทศ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอเรียกร้องให้สังคมร่วมกันกดดันเพื่อให้เกิดการปฏิรูป “การปฏิรูปประเทศไทย” เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการปฏิรูปอย่างแท้จริง ซึ่งการมีส่วนร่วมของสังคมนี้นับเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดที่จะทำให้การปฏิรูปประเทศบรรลุผล หรืออย่างน้อยที่สุดก็จะเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างกว้างขวางอันจะเป็นผลดีต่อสังคมไทยในระยะยาว มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น