โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

รำลึกครบรอบ 63 ปี นายพลอู ออง ซาน ผู้นำการประกาศเอกราชของพม่า

Posted: 19 Jul 2010 02:37 PM PDT

มูลนิธิศักยภาพชุมชน และเครือข่ายไทย–พม่ารากหญ้า จัดงานรำลึกครบรอบ 63 ปี นายพลออง ซาน ผู้นำการประกาศเอกราชของพม่าซึ่งถูกลอบสังหาร พร้อมส่งกำลังใจถึงประชาชน-ชนกลุ่มน้อยในพม่าให้ยืนหยัดต่อสู้เพื่อเจตจำนงของประชาธิปไตยสมบูรณ์

<!--break-->

วานนี้ (19 ก.ค.53) มูลนิธิศักยภาพชุมชน และเครือข่ายไทย–พม่ารากหญ้า จัดงานรำลึกครบรอบ 63 ปี นายพลออง ซาน ผู้นำการประกาศเอกราชของพม่าซึ่งถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่ 19 ก.ค.2490 (ค.ศ.1947) พร้อมด้วยรัฐมนตรี 6 คน และเจ้าหน้าที่ 2 คน ก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราชจากอังกฤษเพียง 6 เดือน ณ มัสยิดกลาง รามคำแหงซอย 2
 
ภายในงานระลึก มีกิจกรรมประกอบด้วย การประกาศเจตนารมณ์นายพลอองซาน และแนวทางการสืบทอดเจตนารมณ์นายพลออกซาน การจำลองเวทีสมัชชาชนกลุ่มน้อย “ปางโหลง” ย้อนยุคสภาการประชุมร่วมของนายพลอองซาน โดยตัวแทนจาก มอญ กระเหรี่ยง ฉาน โรฮิงยา และนักศึกษาพม่า การกล่าวถึงพม่าในอนาคต และวิเคราะห์การเลือกตั้งในพม่า รวมทั้งการออกแถลงการณ์ในภาษาไทย ภาษาพม่า และภาษาอังกฤษ
 
ที่มาภาพ: http://sayaba.blogspot.com/2007/07/bogyoke-aung-san.html
 
ทั้งนี้แถลงการณ์ระบุรายละเอียดดังนี้
 
 
แถลงการณ์รำลึก 19 กรกฎาคม 2490
การลอบสังหาร นายพล อู ออง ซาน บิดาแห่งเอกราชพม่า
 
เป็นที่น่าสลดใจ อย่างยิ่งกับ 63 ปีการจากไปของนายพล อู ออง ซาน บิดาแห่งเอกราชพม่าที่ถูกลอบสังหารในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2490 ภายใต้สถานการณ์การเมืองที่สับสน วุ่นวายและคลุมเครือของพม่า หกสิบสามปีที่ไม่มีการรำลึกถึงเจตนารมณ์ที่ยิ่งใหญ่ของท่านผู้นำผู้นี้ ให้เป็นที่ประจักษ์ มูลนิธิศักยภาพชุมชนและเครือข่ายไทย-พม่ารากหญ้า ขอคารวะและแสดงความเคารพอย่างสูงสุดถึงภารกิจที่ยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติและต่อประชาชนพม่าที่ท่านนายพล อู ออง ซานได้กระทำไว้ให้กับประชาชนชาวพม่า และชนกลุ่มน้อยต่างๆ เช่น คะฉิ่น ฉาน และฉิ่น
 
การเกิดขึ้นและการลงนามในสนธิสัญญาปางโหลง เป็นการตกผลึกผสมผสานทางความคิด จิตวิญญาณ และประสบการณ์การต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติครั้งสำคัญ เป็นการแสดงถึงจิตสำนึกทางการเมืองที่สูงส่งของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ เช่นนายพล อู ออง ซาน “สนธิสัญญาปางโหลง” เป็นสนธิสัญญาที่แสดงถึงความเคารพ ความเสมอภาคและศักดิ์ศรีของพี่น้องชนกลุ่มน้อยในพม่า เป็นสนธิสัญญาที่ยืนยันถึงวิถีชีวิตของพี่น้องชนกลุ่มน้อยต่างๆอย่างเสมอภาค เท่าเทียมกับประชาชนชาวพม่า ความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา วัฒนธรรม ของพี่น้องชนกลุ่มน้อยต่างๆทำให้การจัดการเพื่อเอกราชในประเทศพม่าเป็นไปอย่างยากลำบากไม่ง่ายดายเลย สนธิสัญญาปางโหลง เป็นสนธิสัญญาที่ก้าวหน้า เคารพในหลักการสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยที่งดงามที่สุดฉบับหนึ่ง
 
เราขอสนับสนุน ยืนยัน เคารพในเจตนารมณ์สมบูรณ์ของการเป็นสหพันธรัฐของพม่าตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสนธิสัญญาปางโหลงเมื่อ 63 ปีที่แล้ว และขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับการสูญเสียครั้งสำคัญที่เปลี่ยนโฉมหน้าทางการเมืองของพม่า เราขอแสดงความปรารถนาดี ความรัก ความห่วงใยและขอส่งกำลังใจถึงประชาชนชาวพม่าและพี่น้องชนกลุ่มน้อยทั้งปวงในพม่าให้ยืนหยัดต่อสู้เพื่อเจตจำนงของประชาธิปไตยสมบูรณ์ของพวกท่านทุกคน
 
มูลนิธิศักยภาพชุมชน
เครือข่ายไทย –พม่ารากหญ้า
19 กรกฎาคม 2553
 
 
ส่วนในประเทศพม่าพิธีรำลึกจัดขึ้นทุกปีที่สุสานใกล้ฐานของเจดีย์ชเวดากองในกรุงย่างกุ้ง แต่รัฐบาลทหารพม่าค่อย ๆ ลดความสำคัญของพิธีนี้ นับตั้งแต่นางออง ซาน ซู จี บุตรสาวของนายพลออง ซาน เริ่มโดดเด่นทางการเมือง ในปี 2531 จากเหตุการณ์ลุกฮือเรียกร้องประชาธิปไตย 
 
ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา หนังสือพิมพ์ของรัฐบาลพม่างดการตีพิมพ์อัตชีวประวัติของ นายพล ออง ซาน และรัฐมนตรีที่ถูกลอบสังหาร ยกเว้นข้อความที่คัดลอกมาจากสุนทรพจน์ และในปีนี้ไม่มีแม้กระทั่งบทความหรือบทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์รายวันของรัฐบาลที่เขียนเกี่ยวกับนายพล ออง ซาน กองทัพพม่าใช้โอกาสวันรำลึก นายพลออง ซาน ถูกลอบสังหารย้ำเตือนประชาชนถึงบทบาทของกองทัพในการรักษาความเป็นเอกราชของประเทศชาติ
 
ในปีนี้พิธีการรำลึกจัดขึ้นอย่างเงียบๆ ทางการพม่าได้ลดธงครึ่งเสาที่สุสาน โดยมีเจ้าหน้าที่ บุคคลในครอบครัวและนักการทูตร่วมกันวางพวงหรีดหน้าหลุมศพ และมีนายออง เต็ง ลิน นายกเทศมนตรีนครย่างกุ้งเป็นเจ้าหน้าที่สูงสุดที่เข้าร่วมพิธี ทั้งนี้ ในอดีตพิธีนี้จะมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน แต่ต่อมาลดลงมาเหลือรัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายใน โดยนางออง ซาน ซูจี ไม่ได้เข้าร่วมพิธีนาน 8 ปีแล้ว เพราะถูกกักบริเวณในบ้านพัก มีเพียงนายออง ซาน อู พี่ชายคนโต ซึ่งมีอาชีพวิศวกรและไม่มีบทบาททางการเมืองเหมือนน้องสาว และภริยาร่วมพิธีวางพวงหรีดที่หลุมศพ
 
 
 
ที่มาภาพ: http://sayaba.blogspot.com/2007/07/bogyoke-aung-san.html
 
วีรบุรุษ อู ออง ซาน บิดาแห่งเอกราชพม่า
 
ในอาณาจักรพุกามอันเก่าแก่ หลังการล้มตายของนักต่อสู้เพื่อเอกราชด้วยรูปแบต่างๆ นับแสนชีวิต ช่วงที่อังกฤษเข้าไปพัวพันกับสงครามโลกครั้งที่ 2 วีรบุรุษชาวพม่ารายหนึ่งก่อกำเนิดขึ้นอย่างเต็มภาคภูมิ เขาเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง ในหมู่ผู้รักเอกราชในพม่า ตั้งแต่เขายังเป็นแค่นักศึกษาปีสุดท้ายในมหาวิทยาลัย ปู่ของเขาเคยเป็นผู้นำกองโจรกบฏมาก่อน และถูกประหารชีวิตไปก่อนหน้านั้น นักศึกษาหนุ่มผู้นี้มีชื่อว่า “ อู ออง ซาน “ นักศึกษาประวัติศาสตร์พม่า กล่าวถึงบุคคลิกภาพของเขาว่า “ อู ออง ซาน เป็นผู้ที่มีความจริงใจ มีบุคคลิกลักษณะที่เป็นผู้ใหญ่กว่าอายุสำหรับชายหนุ่มเช่นนั้น แม้แต่นักศึกษารุ่นราวคราวเดียวกันก็ยกย่องให้เขาเป็นหัวหน้า “
 
สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้อังกฤษไม่ไว้วางใจบรรดาผู้เรียกร้องเอกราชในพม่า และสั่งจับทำลายขบวนการต่างๆอย่างรุนแรง อู ออง ซานไม่มีแผนการใดๆเลยในการกวาดจับของอังกฤษ เขาปลอมตัวลงเรือสินค้าของจีนไปขึ้นบกที่เมือง “เอ้หมึง” ว่ากันว่าเดิมที อู ออง ซาน พยายามติดต่อกับพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายของจีน ที่กำลังเรียกร้องเอกราชอยู่แต่บุคคลิค ของ อู ออง ซานนั้นทำให้พันเอก ซู ซู กิ สายลับญี่ปุ่น ในพม่า ที่ปลอมตัวเป็นนักหนังสือพิมพ์มีความประทับใจ เดินทางมาติดต่อ อู ออง ซานที่เมืองเอ้หมึง และนำ อู ออง ซานมาที่เมืองโตเกียว หลังจากนั้นก็คัดเลือกบรรดาผู้นำนักศึกษาหรือคนหนุ่มที่รักชาติอีก 29 คนเดินทางไปญี่ปุ่นร่วมกับ อู ออง ซาน จัดตั้งขบวนการทางการเมืองที่เรียกว่า “คณะพรรคสามสิบ” ไม่ใช่แค่เคลื่อนไหวทางการเมืองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คนเหล่านี้ยังได้รับการฝึกอาวุธที่เกาะไต้หวันที่ญี่ปุ่นยึดครอง เตรียมแผนการรบที่จะปลดปล่อยพม่าจากอังกฤษ
 
คณะพรรคสามสิบ ของ อู ออง ซาน ได้เปลี่ยนภารกิจกลายเป็น “กองทัพพม่าอิสระ” เมื่อญี่ปุ่นบุกเข้าโจมตีอังกฤษในพม่าเพื่อยึดเส้นทางยุทธศาสตร์ ร่วมกับกองทัพญี่ปุ่นในการผลักดันอังกฤษให้แตกพ่าย แต่หลังจากนั้นไม่นานนัก อู ออง ซานเริ่มคลางแคลงใจต่อ “ชาวเอเชีย” ด้วยกันเองเนื่องจากญี่ปุ่นเริ่มแสดงตัวให้เห็นการเข้ามาเป็นผู้นำคนใหม่ ญี่ปุ่นหน่วงเหนี่ยวการประกาศเอกราชของพม่าตามที่ได้สัญญาเอาไว้ ไม่วายึดพม่าใต้ได้เบ็ดเสร็จแล้ว ย่างกุ้งแตกแล้ว เครื่องบินญี่ปุ่นทิ้งระเบิดทำลายเมืองต่างๆของพม่าแหลกยับ ญี่ปุ่นไม่ได้ปฏิบัติต่อพม่าเหมือนกับเป็น “คนเอเชียด้วยกัน” ญี่ปุ่นต้องการให้ดินแดนนี้และประชากรทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นแปร “กองทัพพม่าอิสระ” เป็น “กองทัพพิทักษ์พม่า” ให้ อู ออง ซานเป็นแม่ทัพ แต่คำสั่งทั้งหมดอยู่ใต้การชี้นำของคณะที่ปรึกษาชาวญี่ปุ่น
 
อู ออง ซานได้แสดงให้เห็นว่า จุดประสงค์ของเขาไม่ใช่เพียงแค่เพื่อ “ มีอำนาจ” จากอดีตนักศึกษาปีสุดท้าย กลายมาเป็นแม่ทัพแห่งกองทัพพิทักษ์พม่าเท่านั้น ไม่ได้ทำให้ ออง ซาน ปลาบปลื้ม ปิติแต่อย่างใด กับความเป็นหัวหน้าทาสของญี่ปุ่น เมื่อไม่มีทางเลือก อู ออง ซานก็หันหน้าไปหา “ศัตรูของศัตรู” เขาได้ตัดสินใจส่งสหายคู่ใจ “ตะขิ่นเตียนปีมยิน” เดินทางลับๆไปอินเดีย เพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่อังกฤษทำการจัดตั้ง “ขบวนการพม่าเสรีต่อต้านญี่ปุ่น” ขึ้นทันที
 
ท่าทีทำนองนี้เป็นไปคล้ายๆ กันทั้งสิ้นสำหรับการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินโดจีนและกระทั่งชาวอินโดจีนส่วนใหญ่ การเผชิญหน้ากับผู้กดขี่ สองรายพร้อมๆกัน ในระยะเวลาคาบเกี่ยวกับหัวเลี้ยวหัวต่อการเปลี่ยนแปลงภายในแผ่นดินของตัวเอง การดิ้นรนออกจากเงื้อมมือประเทศ
 
ตะวันตก พร้อมๆกับการมองเห็นมหาอำนาจเอเชียพยายามเข้ามาครอบครองแผ่นดินของตัวเองในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน ความเป็น “ชาตินิยม” ของคนในแหลมอินโดจีนนั้น ไม่ได้เป็น “ชาตินิยม” แบบเยอรมัน หรือญี่ปุ่น ที่อาศัยพลังชาตินิยมเพื่อขยายอาณาจักรตัวเองออกไปรุกรานผู้อื่น ชาตินิยมของประเทศในแหลมอินโดจีนนั้นเป็นไปเพื่อ “ปลดปล่อยประเทศตัวเอง” เป็นไปเพื่อเอกราชตัวเอง ไม่ใช่เพื่อมุ่งหมายทำลายเอกราชของชาติอื่นๆ
 

ความพยายามยืดเวลาการให้เอกราชพม่าของอังกฤษ และยุแหย่ให้ชาวพม่ากันเองแบ่งแยกความเป็นชนชาติออกจากกัน นำเอาอดีตมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความแตกแยกร้างฉานของขบวนการเอกราช และใช้ประสบการณ์ที่เยาว์วัยของของบรรดาวีรบุรุษที่เติบโตมาจากรากฐานสร้างความเกลียดชังกันเองภายในขบวนการเอกราช อู ออง ซานเพิ่งเดินทางกลับจากการตกลงในเรื่องเอกราชกับนายกรัฐมนตรีแอตลีย์ของอังกฤษไม่นานนัก ข้อตกลงของเขาไม่สามารถทำให้สมบูรณ์ที่สุดได้เนื่องจากความไม่สำนึกของชาวอังกฤษที่จะคลายมือออกจากผลประโยชน์ในพม่า ความสำเร็จของ อู ออง ซานถูกให้ค่าน้อยมากจากพันธมิตรขบวนการเอกราชพม่า วันที่ 19 กรกฎาคม 1947 ขณะที่ อู ออง ซานกำลังประชุมคณะรัฐมนตรีอยู่ในห้องประชุมของรัฐบาล นักแม่นปืน 3 คนชาวพม่า บุกเข้าไปยิงกราดในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี อู ออง ซานตายคาที่ เชื่อกันว่าผู้อยู่เบื้องหลังแผนพิฆาตคือ “อูซอ” พันธมิตรในขบวนการเอกราชที่ร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับ อู ออง ซาน มาตั้งแต่เขายังเป็นนักศึกษานั่นเอง เลือดของชาวพม่าได้ไหลนองด้วยน้ำมือของเผ่าพันธุ์เดียวกัน เพียงเพราะต้องการ “อำนาจ” ที่หอมหวนเท่านั้น
 
 
 
เก็บความจากบทที่ 35 และ 36 “วีรบุรุษยุคใหม่” หนังสือ “สุวรรณภูมิ เกมพระราชา” โดยชัชรินทร์ ไชยวัฒน์
สำนักพิมพ์สมาพันธ์ มิถุนายน 2541
 
 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กรณีไข่แพง กับ ความไม่เป็นธรรมในสังคมไทย

Posted: 19 Jul 2010 01:30 PM PDT

<!--break-->

เป็นที่น่ายินดีว่า ครม.ได้มีมติให้ยกเลิกระบบโควต้าการนำเข้าพ่อแม่พันธ์ไก่เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา แต่คำถามก็คือ เรื่องเช่นนี้ทำไมต้องให้ ครม.ตัดสินใจ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) และสำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ทำไมไม่ดำเนินการใดๆ แม้ปัญหาการผูกขาดพ่อแม่พันธ์ไก่ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมการบังคับขายพ่วงไก่กับอาหารไก่ซึ่งทำให้เกษตรกรเลี้ยงไก่จำนวนมากต้องได้รับความเดือดร้อนนั้น มีการร้องเรียนมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว และคำถามอีกคำถามคือ หากนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็นตัวแทนหรือมีผลประโยชน์เกี่ยวโยงกับกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่ถูกร้องเรียน ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรเหล่านี้จะได้รับการแก้ไขหรือไม่ หรือเกษตรกรยังคงต้องก้มหน้าก้มตารับสภาพความไม่เป็นธรรมดังที่เป็นมาในอดีต

 
ปัญหาที่เรื้อรังของอุตสาหกรรมนี้สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจไทย ที่ทุนขนาดใหญ่สามารถครอบงำกลไกของภาครัฐได้ การที่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจตกอยู่กับกลุ่มธุรกิจที่มีเส้นสายทางการเมืองยิ่งทำให้ช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยยิ่งนับวันยิ่งถ่างมากขึ้น ปัญหาในลักษณะดังกล่าวมีอยู่ทั่วทุกมุมของเศรษฐกิจไทย กรณี “ไข่ไก่” เป็นประเด็นขึ้นมาเพียงเพราะประเทศไทยมีลักษณะพิเศษที่มีการวัดขีดความสามารถของรัฐบาลในการบริหารเศรษฐกิจด้วย “ราคาไข่ไก่” ซึ่งนับว่าเป็นโชคดีของเกษตรไก่ไข่ ทั้งนี้ ยังมีเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยอีกจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อนจากพฤติกรรมทางการค้าที่ส่อความไม่เป็นธรรมในหลายสาขาธุรกิจที่รัฐไม่เคยให้การเหลียวแล
 
แม้การยกเลิกโควตาการนำเข้าพ่อแม่พันธ์ไก่ไข่ครั้งนี้ จะช่วยแก้ปัญหาการผูกขาดพ่อแม่พันธ์ไก่ในตลาดได้ แต่ก็จะสร้างปัญหาไข่ล้นตลาดและการทุ่มตลาดไข่ไก่ของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ซึ่งเป็นปัญหาเดิมก่อนที่จะมีการนำระบบโควต้ามาใช้เพื่อจำกัดปริมาณพ่อแม่พันธ์ไก่ในปี พ.ศ.2545 ทั้งนี้ ได้มีการร้องเรียนปัญหาดังกล่าวต่อสำนักแข่งขันทางการค้าตั้งแต่ในปี พ.ศ.2544 [1] หากแต่ในขณะนั้นมิได้มีตรวจสอบว่ามีการทุ่มตลาดจริงหรือไม่อย่างจริงจัง แต่กลับมีข้อเสนอแนะให้จำกัดปริมาณพ่อแม่พันธ์ไก่ที่นำเข้าโดยการสร้างระบบโควต้า เพื่อจำกัดจำนวนไก่สาวและปริมาณไข่ไก่ในตลาด โดยคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่ฯ ได้กำหนดให้มีผู้ได้รับอนุญาตให้นำเข้าเพียง 9 ราย ในปี พ.ศ.2548 บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สุดในตลาด ได้รับการจัดสรรโควต้าถึงร้อยละ 41 ของจำนวนพ่อแม่พันธ์ไก่ที่สามารถนำเข้าได้ในแต่ละปี สัดส่วนดังกล่าวยังคงเหมือนเดิมในปี 2553 [2] การจำกัดการนำเข้าดังกล่าวยิ่งเป็นการเอื้อให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ยิ่งมีอำนาจผูกขาดมากขึ้นไปอีก
 
การผูกขาดตลาดพ่อแม่พันธุ์ไก่ส่งผลให้ราคาไก่สาวในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว [3] การที่เกษตรกรรายย่อยต้องพึ่งพาทั้งพ่อแม่พันธุ์ไก่ อาหารไก่ จากผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดซึ่งเป็นคู่แข่งในตลาดไข่ไก่ด้วย จึงมีความเสี่ยงอย่างยิ่งในการถูก “บีบ” ออกจากตลาด โดยผู้ประกอบการรายใหญ่อาจขึ้นราคาไก่สาว หรือ ราคาอาหารไก่ที่ขายพ่วง (ผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายสามารถควบคุมราคาวัตถุดิบบางประเภทที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์) ซึ่งจะมีผลทำให้ต้นทุนของเกษตรกรเพิ่มขึ้นและในขณะเดียวกันก็ทุ่มราคาไข่ไก่ที่ตนผลิตได้ ทำให้รายได้จากการขายไข่ไก่ของเกษตรกรหดหายไปในขณะที่ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้เกษตรกรต้องประสบภาวะการขาดทุน ทั้งนี้ คุณ ธนเดช แสงวัฒนกุล ผู้จัดการ หจก. อุดมชัยฟาร์ม ได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจว่า เกษตรกรจำนวนมากต้องเลิกธุรกิจเพราะขาดทุนจากพฤติกรรมที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าว ข้อมูลดังกล่าวตรงกับข้อมูลที่ผู้เขียนเคยรวบรวมจากกรมปศุสัตว์ว่า จำนวนผู้ประกอบการไก่ไข่เชิงพาณิชย์ลดลงโดยตลาด จาก 7,459 รายในปี พ.ศ.2543 เหลือ 3,279 รายในปี พ.ศ.2547
 
วิบากกรรมของเกษตรกรเลี้ยงไก่คงไม่มีทางจะหมดสิ้นไป ตราบใดที่กลไกของรัฐยังคงเข้าข้างผู้ประกอบการรายใหญ่มากกว่าพวกเขา แม้วันนี้ปัญหาการผูกขาดพ่อแม่พันธุ์ไก่จะสิ้นสุดลง แต่ปัญหาการผูกขาดวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ เช่น ปลาป่น หรือ กากถั่วเหลือง ซึ่งอยู่ภายใต้ระบบโควต้าเช่นกัน หรือ ปัญหาการทุ่มตลาดราคาไข่ไก่ ก็ยังคงอยู่ และอาจทวีความรุนแรงมากขึ้น
 
การที่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไข่ไก่จำนวน 113 ฟาร์ม ในนาม บริษัท เอเอฟอี จำกัด ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่ฯ ต่อศาลปกครองนับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี เพราะแสดงถึงการลุกขึ้นมาต่อสู้ของกลุ่มผู้ที่ถูกเอาเปรียบเพื่อให้เขาได้รับความเป็นธรรม นอกจากนี้แล้ว กรณีนี้น่าจะเป็นกรณีตัวอย่างสำหรับปัญหาการมีส่วนได้เสียของกรรมการในคณะกรรมการของภาครัฐหลายแห่งที่มีส่วนได้เสียกับธุรกิจที่ตนเองกำกับ แม้ มาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ได้ห้ามกรรมการที่มีส่วนได้เสียพิจารณาทางปกครองดังนี้
 
มาตรา 16 ในกรณีมีเหตุอื่นใดนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 [4] เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณา ทางปกครองไม่เป็นกลาง เจ้าหน้าที่ หรือกรรมการผู้นั้นจะทำการพิจารณาทางปกครองในเรื่องนั้นไม่ได้
 
ผู้เขียนมีความเห็นว่าคณะกรรมการของรัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่ได้จงใจละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ที่จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรแม้จะได้รับเรื่องร้องเรียนมาเป็นเวลานานนับปีก็ควรที่จะต้องถูกตรวจสอบในลักษณะเดียวกันเช่นกัน ภายใต้กลไกของรัฐที่ถูกครอบงำโดยทุนขนาดใหญ่ ผู้ประกอบอาชีพรายย่อยคงจะต้องยอมรับว่าตนเท่านั้นที่สามารถเป็นที่พึ่งแห่งตน
 
 
........................................
 
[1] สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (2544) โครงการสร้าง แนวร่วมในการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้า นำเสนอต่อ ธนาคารโลก
[2] ข้อมูลการจัดสรรโควต้าปี พ.ศ. 2548 และ 2553 ได้จากสหกรณ์ผู้เลี้ยงไข่ไก่
[3] สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (2549) บทที่ 4: อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ใน รายงานวิจัยเนื่อง “โครงการปรับปรุงนโยบายการแข่งขันของประเทศไทย. นำเสนอต่อ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
[4] มาตรา 13 ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นญาติ เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือตัวแทนของคู่กรณีพิจารณาทางปกครอง 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กวีประชาไท: ใครจะลืม ก็ลืมไป เราไม่ลืม!

Posted: 19 Jul 2010 01:01 PM PDT

<!--break-->

 แต่งเนื่องในวันครบรอบ 2 เดือนเหตุการณ์ที่ราชประสงค์ 19 พฤษภาคม 2553

 
ใครจะลืม ก็ลืมไป เราไม่ลืม!
 
เก้าสิบศพ ทบลง ตรงที่นี่
ปฐพี ราชประสงค์เดือด เลือดแดงฉาน
ทาแผ่นดิน กลิ่นคาวไพร่ ไหลเป็นธาร
เพื่อประจาน ว่าที่นี่ มีคนตาย
 
ตายจริงจริง ยิงมา ฆ่าเห็นเห็น
คนเป็นเป็น ล้มกลิ้ง วิ่งหลบหาย
หนีไม่ทัน พลันร่วงหล่น เป็นคนตาย
ช่างง่ายดาย ที่ตายเกลื่อน นั้นเพื่อนเรา
 
ยิงเข้าไป! ยิงให้กลิ้ง! ยิงให้เรียบ!
ยิงให้เพียบ! ยิงให้เพลิน! ยิงเกินเป้า!
ยิงแม่งเลย! ยิงไม่เลี้ยง! ให้เกลี้ยงเกลา
พวกโง่เง่า! พวกผู้ร้าย! พวกควายแดง!
 
เออใช่สิ! พวกเราแดง เลยยิงได้
เออใช่สิ! พวกเราร้าย เรากำแหง
เออใช่สิ! เราคิดต่าง ช่างร้ายแรง
เออใช่สิ! มึงเลยแย่ง เพื่อนกูไป!
 
สองเดือนแล้ว เจ้านาย ที่เคารพ
เก้าสิบศพ ที่ตาย จำได้ไหม
ช่วยจำด้วย! ชีวิตคน ถูกปล้นไป!
ช่วยจำด้วย! เพื่อนคนไทย ถูกฆาตกรรม
 
ช่วยเยียวยา ครอบครัว ของเราบ้าง
เอาแต่สร้าง ข้อหา มาเหยียบย่ำ
ช่วยฟังด้วย เราขอถาม ความเป็นธรรม
ช่วยจดจำ ว่าคนตาย ก็คนไทย!
 
กี่ร้อยวัน พันชาติ ไม่อาจลบ
ไม่อาจจบ เรื่องเก่า ด้วยวันใหม่
เพื่อนเราตาย! เราจำได้! จำขึ้นใจ!
ใครจะลืม! ก็ลืมไป! เราไม่ลืม!
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

'ผู้บริโภค' จี้ 'ผู้ให้บริการ' เร่งเปลี่ยนเครือข่ายใหม่ 'เบอร์เดิม'

Posted: 19 Jul 2010 12:48 PM PDT

ผู้บริโภค ชี้ขอใช้สิทธิชาตินี้ เปลี่ยนเครือข่ายใหม่ใช้เบอร์เดิม จี้ผู้ให้บริการเร่งดำเนินการอย่าเป็นโรคเลื่อนไปเรื่อยๆ ชี้ยืดเวลาผู้เสียหายคือผู้ใช้บริการ เผยเตรียมพบ กทช.เรียกร้องลดเก็บค่าธรรมเนียมบริการเปลี่ยนเครือข่ายใหม่เบอร์เดิม พรุ่งนี้ 

<!--break-->

วันที่ 19 ก.ค.53 นายชัยรัตน์ แสงอรุณ กรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (กบท.) เปิดเผยว่า จากการที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ได้ยื่นความจำนงขอเลื่อนการเปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ออกไปอีกจนถึงเดือนตุลาคมนั้น คณะกรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (คบท.) เห็นว่า ผู้ให้บริการใช้เวลาในการดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว และควรเร่งเปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายกับผู้บริโภคให้เร็วที่สุด 

เนื่องจากหากนับจากวันที่ 3 สิงหาคม 2552 ซึ่ง กทช.ได้ประกาศ หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และมีข้อกำหนดที่ต้องให้บริการภายใน 3 เดือนแต่ผู้ให้บริการยังไม่พร้อม จึงขอยืดระยะเวลาออกมา ซึ่งจนถึงขณะนี้ก็เป็นเวลาเกือบ 1 ปี แล้ว หากไม่เร่งดำเนินการให้เสร็จเร็ว หรือมีการยืดเวลาออกไปเรื่อยๆ ผู้เสียหายก็คือ ผู้ใช้บริการเนื่องจากต้องอดทนกับบริการที่ไม่พอใจโดยไม่มีสิทธิเลือกเครือข่ายที่ดีกว่าได้

นายชัยรัตน์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ได้ออกประชาสัมพันธ์เพื่อรณรงค์ ให้ผู้ให้บริการให้ความสำคัญกับสิทธิเปลี่ยนเครือข่ายเบอร์เดิม ตามสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ว่า เราขอใช้สิทธิชาตินี้ เพื่อต้องการบอกไปยังผู้ให้บริการว่า เรื่องนี้เป็นสิทธิที่ผู้บริโภคพร้อมใช้และไม่ต้องการรออีกต่อไป

 “จากข้อมูลของต่างประเทศพบว่า ในแต่ละประเทศสามารถเปิดให้บริการได้ภายใน 9 เดือนแทบทั้งนั้น เช่น ประเทศกรีซดำเนินการได้ภายใน 7 เดือน มาเลเซีย 9 เดือน ซาอุดิอาระเบีย 8 เดือน อเมริกาใต้ 3 เดือน จึงเห็นว่า ระยะเวลาที่ผู้ให้บริการไทยได้รับเพื่อเตรียมระบบนั้นเพียงพอแล้ว” นายชัยรัตน์กล่าว

และในวันพรุ่งนี้ (20 ก.ค.) เวลาประมาณ 11.00 น. เครือข่ายผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม จะเข้ายื่นหนังสือกับ กทช.เพื่อเรียกร้องให้ลดเก็บค่าธรรมเนียมในการคิดการบริการเปลี่ยนเครือข่ายใหม่เบอร์เดิมด้วย

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เปิดตัวศูนย์ข้อมูลเหยื่อสลายการชุมนุม หวังคู่ขนานตรวจสอบ คปอ.

Posted: 19 Jul 2010 12:43 PM PDT

เครือข่ายสันติประชาธรรม แถลงข่าวเปิดตัวศูนย์ข้อมูลประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือน เม.ย.- พ.ค.2553 โดยใช้ชื่อย่อว่า ศปช.

<!--break-->

19 ก.ค. 53 ที่คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เครือข่ายสันติประชาธรรม แถลงข่าวเปิดตัวศูนย์ข้อมูลประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือน เม.ย.- พ.ค.2553 โดยใช้ชื่อย่อว่า ศปช. เพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมเข้าร้องเรียนและให้ข้อมูล ทั้งในกรณีผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ ผู้สูญหาย ผู้ถูกจับกุม ผู้ถูกดำเนินคดี และผู้ถูกคุกคาม โดยศูนย์ดังกล่าวประกอบด้วยบุคลากรที่เป็นนักวิชาการสาขาต่างๆ อาทิ กฤตยา อาชวนิชกุล ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล พวงทองภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาฯ ธรมศาสตร์ ร่วมกับนักสิทธิมนุษยชน นักกฎหมาย และองค์กรพัฒนาเอกชน โดยจะเป็นการทำงานคู่ขนานกับคณะกรรมกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)

ทั้งนี้ข้อมูลและข้อเท็จจริง จะนำเสนอรายงานต่อสาธารณชนเป็นระยะๆ และจะจัดทำรายงานเสนอต่อสหประชาชาติ โดยผู้ได้รับกระทบที่ต้องการร้องเรียนหรือให้ข้อมูลเบาะแส หรือผู้สนใจ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์สันติประชาธรรม www.peaceandjusticenetwork.org หรือติดต่อได้ที่โทรศัพท์หมายเลข 086 060 5433

 
โลโก้ ศปช. ออกแบบโดย Bundit Uawattana

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เตรียมปรับเนื้อหาใหม่ "ขอโทษประเทศไทย" ให้ฉายในฟรีทีวี ด้านกก.เซ็นเซอร์แจงมี "ภาพธงชาติไทยฉีกขาด" เหตุโดนแบน

Posted: 19 Jul 2010 07:42 AM PDT

เครือข่ายพลังบวกเตรียมปรับเนื้อหาใหม่ภาพยนตร์โฆษณาชุด "ขอโทษประเทศไทย"  เพื่อให้สามารถเผยแพร่ทางฟรีทีวีได้ ด้านนายกฯ ระบุคณะกรรมการเซ็นเซอร์น่าจะลองทบทวนใหม่ กก.เซ็นเซอร์แจงมีภาพธงชาติไทยฉีกขาด ต้นเหตุให้โดนแบน

<!--break-->

 
(19 ก.ค.) กรณีที่ภาพยนตร์โฆษณาชุด "ขอโทษประเทศไทย" ถูกห้ามออกอากาศทางฟรีทีวี เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่า นายภาณุ อิงคะวัต นักโฆษณาชื่อดัง และผู้ก่อตั้งกลุ่มเครือข่ายพลังบวก http://www.facebook.com/PositiveNetwork กล่าวว่า ทราบว่าคณะกรรมการเซ็นเซอร์ ที่มาจากการตั้งกันเองจากทุกสถานีโทรทัศน์ไม่อนุญาตให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกอากาศ โดยได้เข้าไปคุยกับคณะกรรมการมาก่อนหน้านี้ และได้รับคำชี้แจงว่า ภาพยนตร์ไม่ได้รับอนุญาตให้ออกอากาศ เนื่องจากเกรงว่าวิธีเล่าเรื่อง หรือการลำดับภาพที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาขึ้น เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กลุ่มผู้จัดทำภาพยนตร์โฆษณาเรื่องนี้ก็กำลังปรับ เพื่อให้โฆษณาสามารถออกอากาศได้
 
"ในฐานะที่เป็นกลุ่มคนจัดทำโฆษณาชิ้นนี้ ก็รู้สึกเสียใจที่ไม่ได้ออกอากาศ เพราะโฆษณาชิ้นนี้ถือเป็นโฆษณาที่ดี แต่เราไม่กล้าเอาความจริงมาพูดคุยกันในที่สาธารณะ เพราะอาจจะไปโดนใจดำของบางคน แต่เรารู้สึกว่าต้องมีการกระตุกกันบ้าง การทำโฆษณาชิ้นนี้ เราไม่ได้บอกว่าใครคนใดคนหนึ่งเป็นคนผิด แต่ทุกคนผิดกันหมด ปัญหาที่เกิดขึ้นมันถูกทับถมทับซ้อน เราจึงอยากกระตุกให้เห็นถึงปัญหาที่มีมานานแต่ก็ไม่มีใครแก้" นายภาณุ กล่าวว่า กลุ่มเครือข่ายพลังบวกยังมีโครงการที่จะทำภาพยนตร์โฆษณาอีก หรือในลักษณะของโปสเตอร์โฆษณาต่อไป
 
ขณะที่เนชั่นทันข่าวรายงานการให้สัมภาษณ์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ถึงกรณีดังกล่าว โดยนายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เคยดูโฆษณาดังกล่าวทางอินเทอร์เน็ตมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งเข้าใจเจตนาที่ดีของผู้จัดทำว่าต้องการที่จะกระตุ้นเตือนว่าพวกเราทุกคนมีส่วนในการรับผิดชอบได้ต่อสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วก็มาแก้ไขให้ดีขึ้น แม้กระทั่งคนที่ไม่ได้มีส่วนสร้างปัญหาแต่ก็ต้องฉุกคิดเหมือนกัน เพราะต้องยอมรับว่าปัญหาของสังคมและของประเทศในปัจจุบันก็มีที่มาจากเกือบ ทุกวงการซึ่งต้องทำหน้าที่ของตัวเอง 
 
อย่างไรก็ตาม เขาไม่ทราบเหตุผลของผู้ที่สั่งห้ามไม่ให้โฆษณาชุดนี้ถูกนำมาออกอากาศ เพราะปัจจุบันกลไกตรงนี้จะเป็นกลไกของทางสถานีที่เขาไปทำ ทั้งนี้ ได้สอบถามนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งนายองอาจบอกว่ายังไม่ได้รับทราบเหตุผลว่าที่เขาตัดสินใจอย่างนั้นเป็นเพราะอะไร 
 
เมื่อถามว่าอยากให้คณะกรรมการฯ ทบทวนเรื่องนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่าคิดว่าขณะนี้สังคมก็พูดชัด ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวคงต้องออกมาชี้แจงความคิดของตัวเองก่อน รวมถึงน่าจะลองไปรับฟังและทบทวนดู แต่โดยปกติ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่ทางราชการจะเป็นผู้เข้าไป เพราะไม่อยากจะเข้าแทรกแซง แต่จะให้เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการฯ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นฝ่ายวิชาการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อถามต่อว่ามีการอ้างว่าเนื้อหาของโฆษณานี้มีความเข้มข้นเรื่องของการเมืองมากเกินไป นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตอนที่ดูไม่ได้รู้สึกอย่างนั้นเลย
 
ส่วนมติชนออนไลน์ รายงานข่าวจากคณะกรรมการเซ็นเซอร์ เปิดเผยว่า ในการโฆษณาชุด "ขอโทษประเทศไทย" นั้น คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยตัวแทนสถานีโทรทัศน์ช่อง 3, 5, 7, โมเดิร์นไนน์ทีวี มหาวิทยาลัยหลายแห่งและสมาคมโฆษณามีมติเป็นเอกฉันท์ไม่ให้นำออกเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ เนื่องจากเห็นว่าในโฆษณามีภาพธงชาติไทยฉีกขาด ซึ่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 22 วงเล็บ 4 ห้ามไม่ให้แพร่ภาพสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกแยก เสื่อมเสีย หรือความสามัคคีในหมู่ประชาชน
 
 
(ภาพกรณีปัญหา)
 
 
 
 
(ตัวอย่างภาพยนต์โฆษณาเดิม)
 

 

 
 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สรุปข่าวพม่ารอบสัปดาห์ (14 - 19 ก.ค.53)

Posted: 19 Jul 2010 06:50 AM PDT

ทหารปะโอ 3 นายเสียชีวิต หลังปะทะกับทหาร SSA –ใต้/รัฐบาลเตรียมย้ายคนพม่าเข้ารัฐคะฉิ่น หวังดึงคะแนนเสียงเลือกตั้ง/กลุ่มสิทธิแรงงานเรียกร้องไทย คุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ/พม่าปิดด่านนำเข้าสินค้าจากไทย 3 แห่ง/ทางการพม่าไม่อนุญาตให้ตลกชื่อดังเข้าร่วมงานศพพ่อ/ชาวบ้านไม่พอใจตำรวจปาดคอผู้ต้องสงสัยคดีฆาตกรรม

<!--break-->

 
14 ก.ค.53
ทหารปะโอ 3 นายเสียชีวิต หลังปะทะกับทหาร SSA –ใต้ 
ทหารปะโอจากองค์กรแห่งชาติปะโอ (Pa-O National Organization -PNO) ซึ่งเป็นกองกำลังหยุดยิงและสนับสนุนรัฐบาลพม่าเสียชีวิต3 นาย หลังปะทะกับทหารไทใหญ่กองกำลัง SSA – ใต้ เมื่อวันที่ 7 ก.ค.ที่ผ่านมา ในเมืองทางตอนใต้ของรัฐฉาน
 
มีรายงานว่า หลังจากเกิดเหตุปะทะ ทหารจาก PNO ได้เข้าโจมตีและทำร้ายชาวบ้านซึ่งเป็นชาวไทใหญ่ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ที่ทั้งสองฝ่ายปะทะกัน โดยทหาร PNO กล่าวหาชาวบ้านไม่แจ้งข่าวการเคลื่อนไหวของทหาร SSA – ใต้ ซึ่งทหาร PNOได้ขู่ว่าจะฆ่าชาวไทใหญ่และโจมตีหมู่บ้านชาวไทใหญ่ต่อไป
 
ด้านอูขุนมิ้นทุน เลขาธิการกองกำลังปลดปล่อยแห่งชาติปะโอ (Pa-O National Liberation Front - PNLF) กองกำลังปะโออีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า พม่าเป็นตัวการสำคัญที่สร้างความขัดแย้งระหว่างชาวปะโอและชาวไทใหญ่ลุกลามในขณะนี้ ด้านจายหลาวใส โฆษกกองกำลัง SSA – ใต้กล่าวว่า การสู้รบระหว่างทั้งสองฝ่ายควรจะยุติ และควรเริ่มกระบวนการเจรจากัน โดยให้ตระหนักว่า ทั้งสองฝ่ายต่างมาจากรัฐฉานเหมือนกัน (Network Media Group)
 
15 ก.ค.53
รัฐบาลเตรียมย้ายคนพม่าเข้ารัฐคะฉิ่น หวังดึงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 
มีรายงานว่า รัฐบาลพม่าวางแผนที่จะย้ายคนพม่าจำนวน 1 แสนคนเข้าไปอยู่ในรัฐคะฉิ่น หวังชนะการเลือกตั้งจากคะแนนเสียงของคนพม่า นอกจากนี้ยังวางแผนที่จะให้คนพม่าเข้าควบคุมทรัพยากรธรรมชาติในรัฐคะฉิ่น ทั้งนี้ ทางการเตรียมย้ายชาวพม่า ทั้งจากในเขตที่ประสบภัยพิบัติพายุไซโคลนนาร์กิสเข้ามายังหมู่บ้านฮูกวาง ทางภาคตะวันตกของรัฐคะฉิ่น
 
มีรายงานว่า รัฐบาลได้คิดวางแผนที่จะย้ายคนพม่าเข้ามาในรัฐคะฉิ่นนับตั้งแต่ปี 2549 ที่ผ่านมา โดยแผนการนี้ได้คิดร่วมกับบริษัท ยูซานาร์ บริษัทซึ่งมีความใกล้ชิดกับรัฐบาลพม่า และเข้ามาทำธุรกิจในรัฐคะฉิ่น ในปีเดียวกัน บริษัทแห่งนี้ยังยึดที่ดินของชาวคะฉิ่นในหมู่บ้านฮูกวางไปเป็นจำนวนมาก เพื่อนำไปทำเป็นไร่มันสำปะหลังและไร่อ้อย และในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา บริษัทยูซานาร์เองได้นำแรงงานที่เป็นชาวพม่าเข้ามาอยู่ในพื้นที่แล้วหลายหมื่นคน (KNG)
 
กลุ่มสิทธิแรงงานเรียกร้องไทย คุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ
14 องค์กร ซึ่งรวมถึง สหภาพแรงงานระหว่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการเพื่อผู้ลี้ภัยและผู้อพยพแห่งสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย(US Committee for Refugees and Immigration) ร่วมยื่นหนังสือเปิดผนึกถึง นายไพฑูรย์ แก้วทอง เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยเรียกร้องให้แผนจ่ายค่าชดเชยแก่แรงงานที่ได้รับอุบัติเหตุในที่ทำงาน ควรครอบคลุมไปถึงแรงงานข้ามชาติด้วย
 
ทั้งนี้ ได้ย้ำว่าที่ผ่านมา แรงงานเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แต่กลับได้รับการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่อย่างไม่เป็นธรรม บ่อยครั้งที่ถูกปฏิเสธ ในการเข้าถึงการศึกษาและการรักษาพยาบาล ซึ่งในจดหมายดังกล่าวได้ระบุว่า “แรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ทำงานและมีชีวิตอยู่ในสภาพที่เลวร้าย”
 
ด้านนายเส่งเท จากมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (Human Rights and Development Foundation) ระบุว่า แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ที่ได้รับบาดเจ็บในที่ทำงานถูกบังคับให้ขอค่าชดเชยจากนายจ้าง แต่กฎหมายแรงงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้บางครั้ง นายจ้างปฏิเสธที่จะจ่ายค่าชดเชยให้กับแรงงานข้ามชาติ (DVB)
 
16 ก.ค.53
พม่าปิดด่านนำเข้าสินค้าจากไทย 3 แห่ง
พม่าได้ปิดด่านและสั่งระงับนำเข้าสินค้าโดยเฉพาะจากไทยตามด่านสินค้าหลักๆ ทั้งบริเวณด่านชายแดนด้านเมืองเมียวดี ตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่สั่งระงับสินค้าจากไทยตรงด่านท่าขี้เหล็ก ตรงข้าม อ .แม่สาย จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน และด่านตรงเกาะสอง ตรงข้าม จ .ระนองเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
 
การปิดด่านในครั้งนี้เริ่มส่งผลกระทบต่อการค้าตรงชายแดนแล้ว ขณะที่มูลค่าการค้าระหว่างไทยและพม่าได้เพิ่มขึ้นจาก 1. 59 พันล้านดอลลาร์เป็น 3.2 พันล้านดอลลาร์ในรอบสามปีที่ผ่านมา โดยมูลค่าการซื้อขายตรงชายแดนอยู่ที่ 327 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2551 – 2552 ที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน
 
ขณะที่บริเวณเชิงสะพานมิตรภาพไทย-พม่า ด่านการค้าชายแดนแม่สอด-เมียวดี พม่าได้สั่งห้ามทั้งประชาชนและรถบรรทุกสินค้าข้ามผ่านเด็ดขาด ส่งผลให้มีประชาชนจากฝั่งพม่าบางส่วนตกค้างอยู่ฝั่งไทย อย่างไรก็ตามการปิดด่านติดชายแดนไทยครั้งนี้ ทางการพม่าอ้างว่าต้องการจัดระเบียบการค้าชายแดนใหม่ เนื่องจากที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีรถบรรทุกเข้าออกเป็นจำนวนมาก แต่พม่ากลับเก็บภาษีได้น้อย (Irrawaddy)
 
17 ก.ค.53
ทางการพม่าไม่อนุญาตให้ตลกชื่อดังเข้าร่วมงานศพพ่อ
ซากานาร์ ตลกและนักแสดงชื่อดังชาวพม่า ซึ่งขณะนี้ถูกตัดสินโทษจำคุกเป็นเวลา 35 ปี ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมงานศพของพ่อที่เสียชีวิตไปเมื่อวันพุธ (14 ก.ค.) ที่ผ่านมา มีรายงานว่า ก่อนหน้านี้ นันยุ้นต์ส่วย พ่อของซากานาร์ เคยเขียนจดหมายไปร้องขอไปยังทางการพม่าให้อนุญาตซากานาร์เข้าร่วมงานศพของแม่ครั้งสุดท้าย ที่เสียชีวิตไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน แต่ก็ไม่มีคำตอบใดๆ จากทางการพม่า
 
จนมาถึงงานศพของนันยุ้นส่วยเอง ซากานาร์ก็ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมงานศพแต่อย่างใด ทั้งนี้ ซากานาร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อโก ทุระ ถูกจับเมื่อปี 2551 ที่ผ่านมา หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกค้นบ้านของเขา พร้อมกับของกลางที่เป็นดีวีดีที่เกี่ยวกับผู้ประสบภัยนาร์กิส รวมไปถึงดีวีดีที่เกี่ยวกับงานแต่งของบุตรสาวตานฉ่วยและภาพยนตร์แรมโบ้ 4 โดยเขายังถูกจับในข้อหา ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยนาร์กิส ก่อนหน้าซากานาร์ถูกจับมาแล้วหลายครั้ง และขณะนี้เขาถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ ในรัฐคะฉิ่น และล่าสุดมีรายงานว่า เจ้าหน้าที่เรือนจำไม่อนุญาตให้ญาติเข้าเยี่ยมซากานาร์ (Irrawaddy)
 
19 ก.ค.53
ชาวบ้านไม่พอใจตำรวจปาดคอผู้ต้องสงสัยคดีฆาตกรรม
เจ้าหน้าที่ตำรวจในเขตกรุงย่างกุ้ง ถูกกล่าวหาว่าทรมานร่างกายผู้ต้องสงสัยที่อาจเชื่อมโยงกับการเสียชีวิตของครูวัย 53 รายหนึ่งเมื่อเดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้จับกุมผู้ต้องสงสัยจำนวนกว่า 10 ราย โดยทั้งหมดเป็นศิษย์เก่าของครูที่เสียชีวิตรายนี้ มีรายงานว่า ผู้ที่ถูกจับทั้งหมดถูกสอบสวนและถูกทรมานร่างกายหนัก ขณะที่นายซอลินอูเป็นอีกรายหนึ่งที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทรมานร่างกายหนักที่สุด โดยเขาถูกปาดคอในระหว่างการสอบสวน และต่อมาเขาถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลแต่ก็ยังถูกควบคุมตัว
 
มีรายงานว่า หลังชาวบ้านจากหมู่บ้านฉ่วยโบสู่ เขตกรุงย่างกุ้ง ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่นายซอลินอูอาศัยอยู่ทราบข่าวต่างออกมาแสดงความไม่พอใจตำรวจ โดยชาวบ้านราว 40 คน ได้เดินทางไปยังสถานีตำรวจและขอพบนายซอลินอู แต่เจ้าหน้าที่ไม่อนุญาต
 
ทั้งนี้ ชาวบ้านกล่าวว่า หากในวันพรุ่งนี้ ตำรวจยังไม่อนุญาตให้เข้าพบนายซอลินอู ชาวบ้านจากหมู่บ้านฉ่วยโบซูทั้งหมู่บ้านจะเดินทางมาประท้วงหน้าสถานีตำรวจ ในอีกด้านหนึ่ง แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะจับกุมผู้ต้องสงสัย 10 คนไว้ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถจับคนร้ายทีลงมือก่อเหตุได้ (DVB)

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทหารกองกำลังไทใหญ่แจงเหตุปะทะกลุ่มปะโอ ปกป้องประชาชน - ไม่ก่อความขัดแย้งชนชาติ

Posted: 19 Jul 2010 06:31 AM PDT

กองกำลังทหารไทใหญ่ (SSA) เผยเหตุปะทะกับกลุ่มหยุดยิงปะโอ (PNO) ในรัฐฉานภาคใต้ เพราะร่วมมือทหารพม่ารังแกชาวบ้าน ระบุ ไม่ได้สร้างความขัดแย้งชนชาติในแผ่นดินเดียวกัน 

<!--break-->

 

มีรายงานจากแหล่งข่าวว่า ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ในพื้นที่อำเภอหมอกใหม่ รัฐฉานภาคใต้ ได้เกิดเหตุปะทะกันบ่อยครั้งระหว่างทหารกองกำลังไทใหญ่ (SSA) กับ กองกำลังองค์กรแห่งชาติปะโอ (Pa-O National Organization – PNO) ซึ่งเป็นกองกำลังหยุดยิงและอยู่ภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลทหารพม่า

ทั้งนี้ การปะทะของสองฝ่ายเกิดขึ้นแล้วอย่างน้อย 4 ครั้ง โดยเหตุปะทะเกิดขึ้นหลังจากกองกำลังปะโอ PNO ซึ่งมีนายอ่องคำถี่ เป็นผู้นำสูงสุด ร่วมกับทหารพม่าประจำเมืองลางเครือ ไปเคลื่อนไหวในพื้นที่อำเภอหมอกใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของกองกำลังไทใหญ่ SSA ด้วย โดยเหตุปะทะกันครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ก.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทหาร PNO เสียชีวิต 3 นาย

พ.ต.หลาวแสง โฆษกกองกำลังไทใหญ่ SSA เปิดเผยว่า การปะทะกันของทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้น เนื่องจากกองกำลังปะโอ PNO ได้ร่วมกับทหารพม่าไปกดขี่ข่มเหงรังแกชาวบ้านในพื้นที่ กล่าวหาชาวบ้านให้การสนับสนุนและไม่แจ้งข่าวการเคลื่อนไหวกองกำลังไทใหญ่ SSA ซึ่งมีการจับกุมชาวบ้าน รวมถึงผู้ใหญ่บ้านไปทำร้ายเป็นประจำ ทางกองกำลังไทใหญ่ SSA จึงจำเป็นต้องปกป้องช่วยเหลือชาวบ้าน

พ.ต.หลาวแสง กล่าวด้วยว่า การปะทะกันระหว่างกองกำลังปะโอ PNO กับกองกำลังไทใหญ่ SSA เป็นเพราะกองกำลัง PNO ร่วมกับทหารพม่ารังแกชาวบ้าน ไม่ได้เป็นการสร้างความขัดแย้งชนชาติในแผ่นดินเดียวกัน จึงอยากขอให้ประชาชน โดยเฉพาะชนชาวปะโอพิจารณาทำความเข้าใจในเรื่องนี้ 

"เหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากความพยายามของรัฐบาลทหารพม่า ที่ต้องการสร้างความขัดแย้งระหว่างชาวปะโอและชาวไทใหญ่ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายควรหาทางเจรจาและยุติการสู้รบกัน" พ.ต.หลาวแสง กล่าว

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า หลังเกิดเหตุปะทะกัน ทหารกลุ่มหยุดยิงปะโอ PNO ได้เข้าโจมตีและทำร้ายชาวบ้านซึ่งเป็นชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นมากขึ้น โดยทหาร PNO ยังได้ข่มขู่ด้วยว่าจะสังหารชาวไทใหญ่เพื่อเป็นการล้างแค้นต่อไปด้วย 

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/

________________________________________

"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทยใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปลดป้าย "แยกราชประสงค์" ผอ.ปทุมวันแจงมือดีพ่นสีทับ เลยถอดไปซ่อม

Posted: 19 Jul 2010 03:28 AM PDT

ป้าย "แยกราชประสงค์" ถูกปลด หลังกิจกรรม "วันอาทิตย์สีแดง" ผอ.ปทุมวัน แจงรื้อถอนป้ายไปซ่อมแซม เนื่องจากได้รับการเสียหายจากกิจกรรมต่างๆ โดยตัวหนังสือถูกพ่นด้วยสีเปรย์ จนอ่านไม่ได้ 

<!--break-->


ภาพจากผู้ใช้เฟซบุ๊ค (ไ้ด้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพแล้ว)
 

(19 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ป้ายบอกจุด "แยกราชประสงค์" ฝั่งห้างสรรพสินค้าเกษรพลาซ่า ถูกถอดออก หลังจากวานนี้ มีการทำกิจกรรม "วันอาทิตย์สีแดง" เพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตกว่า 90 รายจากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา

เนชั่นทันข่าว สัมภาษณ์ นายวรพจน์ อินทุลักษณ์ ผู้อำนวยการเขตปทุวัน กทม. ถึงกรณีดังกล่าว นายวรพจน์ชี้แจงว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตปลดป้ายดังกล่าวออกเอง เนื่องจากตรวจสอบพบว่าป้ายดังกล่าวถูกพ่นสีสเปรย์ทั้งสีขาว และสีดำทับคำว่าแยกราชประสงค์ มีสภาพเลอะเทอะ ไม่มีความสวยงาม ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จึงจำเป็นต้องเอาออก โดยขณะนี้เตรียมทำหนังสือนำส่งไปยังสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. ให้ดำเนินการแก้ไข และทำความสะอาด เบื้องต้นคาดว่าจะทำความสะอาดและกลับมาติดตั้งได้ภายใน 2-3 วันนี้

นายวรพจน์กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ที่ทำลายป้ายแยกราชประสงค์นั้น คาดว่าจะเป็นฝีมือของผู้ที่ต่อต้านรัฐบาลโดยนำสีมาพ่นไว้ แต่เนื่องจากไม่ทราบว่าเป็นฝีมือใคร ทางเขตปทุมวันจึงได้แจ้งความไว้ที่ สน.ลุมพินี เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตรวจสอบและดำเนินการต่อไป เพราะป้ายสี่แยกถือเป็นทรัพย์สมบัติของทางราชการ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการปลดป้ายดังกล่าวไม่ได้มีคำสั่งจากนักการเมือง หรือผู้บริหาร กทม.แต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าว "ประชาไท" รายงานด้วยว่า วานนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมากได้ยืนรักษาความปลอดภัยที่ป้ายอยู่ตลอด และตั้งแต่เริ่มทำกิจกรรมจนถึงเวลาประมาณ 22.50 น. ป้ายดังกล่าวยังอยู่ในสภาพปกติ มีเพียงผู้นำผ้าแดงมาผูกเท่านั้น

ภาพกิจกรมที่แยกราชประสงค์วานนี้ (18 ก.ค.)

 

เวลาประมาณ 22.50น. วันที่ 18 ก.ค.53

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสียงจากเวียนนา: "ตัดงบ-ตัดชีวิต" เรียกร้องผู้นำทั่วโลกเพิ่มงบสู้เอดส์

Posted: 19 Jul 2010 02:25 AM PDT

<!--break-->

 

 

 
ป้ายเล็กๆ ถูกแปะไว้ในทุกประตูทางเข้า ประตูห้องน้ำ ของที่ประชุมนานาชาติเรื่องเอดส์ ครั้งที่ 18 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เพื่อกระตุ้นเตือนถึงความใหญ่โตของโรคเอดส์ที่คุกคามมนุษยชาติ
 
“ระหว่างการประชุม 6 วัน จะมีผู้ติดเชื้อ HIV ในยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง (EECA) เพิ่มขึ้น 3000 คน”
 
ออสเตรียเป็นประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมเอดส์นานาชาติในปีนี้ (2010) ระหว่างวันที่ 18 – 23 ก.ค. ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 20,000 คน จาก 185 ประเทศทั่วโลก ประเทศอันสวยงามและผู้คนมีคุณภาพชีวิตดีที่สุดในโลกนี้เป็นประเทศกึ่งกลางเชื่อมระหว่างยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง (Eastern Europe and Central Asia – EECA) ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการเพิ่มของผู้ติดเชื้อสูงที่สุดในโลก
 
 

 

(* ที่มาภาพนี้จาก: IAS/Marcus Rose/ Worker's photo)
 
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดเชื้อ HIV ใน EECA ระบุว่า ภูมิภาคนี้เป็นภูมิภาคเดียวที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนและอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2001 การแพร่ระบาดของ HIV ในภูมิภาคนี้สูงขึ้นเป็น 2 เท่า จนมีผู้ติดเชื้อ 1.5 ล้านคนในปี 2008 หรือเพิ่มขึ้น 66% โดยเฉพาะในรัสเซียและยูเครนมีผู้ติดเชื้อคิดเป็น 90% ของทั้งภูมิภาค
 
การแพร่ระบาดมักเกิดในหมู่ผู้ใช้ยาเสพติด ผู้ขายบริการทางเพศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีข้อมูลชัดเจนว่า “ผู้หญิง” ติดเชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างน่าตกใจ  ในยูเครนการแพร่เชื้อในหมู่ผู้ให้บริการทางเพศเพิ่มจาก 13% เป็น 30% ในไม่กี่ปี
 
การติดยาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของภูมิภาคนี้ที่นำมาซึ่งการแพร่ระบาดของเอดส์ ในรัสเซีย ผู้ให้บริการทางเพศมากกว่า 30% ก็ติดยาเสพติดด้วย
 
ขณะที่การรักษา การป้องกัน และการให้ความรู้เรื่องนี้กลับเดินไปในทางตรงกันข้าม โดยเฉพาะผู้ติดยาเสพที่ติดเชื้อนั้นมักถูกเลือกปฏิบัติ ถูกตีตรา โดยเฉพาะในภูมิภาคนี้ พวกเขามักถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงบริการสุขภาพและการเข้าสังคม แม้ว่ารัฐธรรมนูญและนโยบายของหลายประเทศจะรับประกันสิทธิว่าพลเมืองทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันก็ตาม ในขณะที่โครงการเกี่ยวกับการป้องกันเอดส์ก็ไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนมากนักในหลายประเทศโครงการนำร่องทั้งหลายหยุดชะงักลงกลางคัน
 
สำหรับการได้รับยาต้านไวรัสขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ติดเชื้อนั้น ในภูมิภาคนี้ก็ถือว่าอยู่ในอัตราต่ำ มีผู้ใหญ่เพียง 23% ที่ได้รับยาในปี 2008 ถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับอัตราเฉลี่ยของบรรดาประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 42% แน่นอน ผู้ที่ได้รับยาต้านไวรัสน้อยที่สุดคือ ผู้ติดยาเสพติด ในรัสเซีย ตัวเลขอย่างเป็นทางการของผู้ติดเชื้อที่ยังมีชีวิตมีประมาณ 416,000 คน  จากประมาณการจริงเกือบล้านคน แม้รัสเซียจะได้รับทุนสำหรับยาต้านไวรัส แต่ก็มีผู้ติดเชื้อเพียง 60,000 คน ที่ได้รับการรักษาโดยยาต้านไวรัส ปัญหาสำคัญคือราคาที่แสนแพงนั่นเอง
 
ภายในงานมีการประชุมมากมายหลายหัวข้อ มีทั้งเรื่องความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ประเด็นทางกฎหมาย การค้า กำแพงขวางกั้นการเข้าถึงการรักษาของผู้ติดเชื้อ การป้องกันและการสร้างการยอมรับผู้ติดเชื้อ ประสบการณ์ของประเทศต่างๆ ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ผู้หญิง กลุ่มผู้ให้บริการทางเพศ กลุ่มชายรักชาย รวมไปถึงแรงงานข้ามชาติ
 
 

 

 
นอกจากนี้ยังมีส่วนของนิทรรศการ และหมู่บ้านโลก (Global Village) ซึ่งเป็นพื้นที่ของภาคประชาชนที่ทำงานด้านเอดส์จากทั่วโลกมาออกบูธให้ข้อมูลของกลุ่มคนทำงาน สถานการณ์ของประเทศตนเอง รวมไปถึงขายของที่ระลึก และจัดกิจกรรมร่วมกัน        
 
ในพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการในช่วงเย็นวันที่ 18 พ.ค. มีสีสันของบรรดานักกิจกรรมและผู้ติดเชื้อจากหลายประเทศจัดขบวนประท้วง ส่งเสียงกันลั่นห้องประชุม พร้อมชูป้าย “Broken Promises Kill, No Retreat, Fund AIDS”
 
ปัญหาเรื่องเงินสนับสนุนที่ลดลงเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจกำลังเป็นปัญหาใหญ่ ทุกประเทศ ตลอดจนแหล่งทุนใหญ่ทั้งหลายดูเหมือนจะลดหรือยุติการสนับสนุนบางอย่างซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคเอดส์โดยตรง ซึ่งผู้นำระดับโลก เช่น บิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา, นายบัน คีมุน เลขาธิการสหประชาชาติ ต่างก็ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในงานประชุมนี้โดยเรียกร้องต่อผู้นำทั่วโลกตระหนักและเร่งแก้ปัญหาดังกล่าว
 
 

 

 
 “5 ปีที่แล้ว การรักษา HIV ในประเทศที่รายได้ต่ำและรายได้ปานกลางมีอัตราเพิ่มเป็นสิบเท่า สามารถเข้าถึงผู้ติดเชื้อได้ถึง 5 ล้านคน และเพิ่ง 10 ปีหลังจากการประชุมเอดส์นานาชาติปี 2000 ที่แอฟริกาใต้ เราสามารถแสดงให้เห็นได้ว่าการเข้าถึงการรักษาอย่างทั่วถึงนั้นประสบความสำเร็จได้ เราต้องทำให้พวกเราและผู้นำทางการเมืองทั้งหลายไปสู่เป้าหมายนี้ โดยเฉพาะกองทุนโลกที่จะต้องสนับสนุนแนวทางอันท้าทายนี้ต่อไป” ดร.บริกิตต์ ชมิท ประธานร่วมของงานประชุมครั้งนี้กล่าว
 
กองทุนโลก หรือ The Global Fund เป็นองค์กรระดับโลกที่ดูแลวิกฤตโรคเอดส์ และต้องบริจาคงบประมาณ 10% ให้ทุนสนับสนุนเรื่องนี้ในช่วง 2 ปีแรก หลังจากนั้นต้องให้ทุน 25% ของงบประมาณใน 3 ปีสุดท้าย แต่มันก็ยังเหลือช่องว่างอีกมโหฬารในการจัดสรรงบประมาณในให้ทุนสนับสนุนด้านเอดส์ อย่างไรก็ตาม ปี 2010 ผู้สนับสนุนรายใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาก็ยังตัดลดงบประมาณ จากที่เคยให้กองทุนโลก 1.05 พันล้านดอลล่าร์ เหลือ 1 พันล้านดอลล่าร์ ทั้งที่ตามสัดส่วนแล้วควรต้องให้อย่างน้อย 2 พันล้านดอลล่าร์ เพื่ออุดช่องว่างของกองทุน
 
ก่อนเริ่มงาน 1 วัน บิล เกตส์ มหาเศรษฐีแห่งวงการคอมพิวเตอร์ ประธานร่วมกองทุนการกุศล "บิล แอนด์ เมลินดา เกตส์" ก็ได้ออกมากล่าวถึงวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกและส่งผลกระทบต่อการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ก่อนประชุมด้วยว่า ความพยายามที่จะช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์กำลังได้รับผลกระทบครั้งใหญ่จากวิกฤตเศรษฐกิจที่โลกกำลังเผชิญอยู่ เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจนำไปสู่การตัดงบประมาณของรัฐบาลในแต่ละประเทศที่เคยให้แบ่งงบประมาณไว้ให้สำหรับการต่อสู้กับโรคร้ายแรงนี้
 
"เรากำลังเผชิญกับความท้าทายในเรื่องเงินทุนเพราะการที่ทุกประเทศกำลังประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจทำให้รัฐบาลไม่สามารถแบ่งงบประมาณเพียงพอต่อความต้องการ และมีการตัดงบประมาณสำหรับสาธารณสุขโดยเฉพาะสำหรับการบรรเทาโรคเอดส์" บิล เกตส์ กล่าว
 
เกตส์ยังเรียกร้องให้รัฐบาลและองค์กรพัฒนาเอกชน พยายามประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เงินช่วยเหลือได้ประโยชน์สูงสุด และให้เน้นวิธีเชิงป้องกัน ซึ่งพิสูจน์ว่าได้ผลในช่วงที่ผ่านมา เช่น การขลิบอวัยวะเพศชาย
 
 

 
นายแพทย์แอนโตนี ฟาวซี ประธานสถาบันแห่งชาติเพื่อโรคภูมิแพ้และป้องกันโรคติดต่อของสหรัฐอเมริกา (NIAID) กล่าวว่า ความต้องการช่วยเหลือผู้ป่วยอยู่ในปริมาณที่สูงกว่างบประมาณที่ได้รับ ซึ่งเกิดขึ้นช่วงเวลาที่การช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์กำลังไปได้ดี ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อมากถึง 5 ล้านคนในประเทศยากจนที่กำลังได้รับการรักษาตัวหรือได้รับการช่วยเหลือด้านการรักษา ขณะที่เมื่อ6 ปีก่อนผู้ติดเชื้อ 1 ใน 10 เท่านั้นที่ได้รับการช่วยเหลือ นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวก็ลดลงเช่นกันจากเดิม 15,000 ดอลลาร์ (480,000 บาท) ต่อคนต่อปีเมื่อปี2544 ลดเหลือ 120 ดอลลาร์ (3,840 บาท) ต่อคนต่อปีในปัจจุบัน ขณะเดียวกันผู้ติดเชื้อลดลง 17 เปอร์เซ็นต์เทียบกับเมื่อปี 2544 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลกก็เพิ่มขึ้นประมาณปีละถึง 27 ล้านคน
นายแพทย์จูเลีย มอนตาเนอร์ ประธานสมาคมโรคเอดส์ระหว่างประเทศ (IAS) เตือนถึงความหายนะที่จะเกิดขึ้นหากรัฐบาลในแต่ละประเทศไม่เพิ่มความช่วยเหลือทั้งในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพของยา และขยายความช่วยเหลือให้ทั่วถึง
 
ทั้งนี้ เมื่อปี 2549 สมาชิกสหประชาชาติให้คำมั่นว่าภายในปี 2553 นี้ผู้ป่วยโรคเอดส์สามารถเข้าถึงยา แต่ปรากฏว่าทุกประเทศล้มเหลวที่จะปฏิบัติตามและบรรลุเป้าหมาย
 
พอล ไซท์ ผู้ก่อตั้งกองทุนพันธมิตรโรคเอดส์โลก (GAA) ให้ความเห็นว่า การที่ผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้น สวนทางกับเงินสนับสนุนกองทุนต่อสู้เอดส์ที่ลดลง จะทำให้ประชากรโลกหลายล้านคน ตกอยู่ในความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวแอฟริกาที่ประเทศผู้ช่วยเหลือยกเลิกการสนับสนุนเงินทุนเพื่อซื้อยาบรรเทาอาการโรคเอดส์ไปทีละประเทศ นอกจากนี้ไซท์ยังเรียกร้องให้ผู้นำโลกทำตามสัญญาที่ให้ไว้ในการร่วมต่อสู้โรคเอดส์ รวมทั้งนายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ที่เคยหยิบประเด็นการต่อสู้โรคเอดส์ขึ้นมาใช้หาเสียงกับประชาชน และสัญญาว่าจะให้เงินช่วยเหลือกองทุนต่อสู้โรคเอดส์เพิ่มขึ้น 3 เท่า แต่ปรากฏว่านายโอบามาไม่ได้แตะเรื่องนี้ตั้งแต่รับตำแหน่ง
 
อย่างไรก็ดี ในวันที่ 2 ของการประชุม บรรดานักวิทยาศาสตร์ นักกิจกรรมจากทั่วโลกได้ร่วมกันเรียกร้องกับผู้นำทั่วโลกให้สนับสนุนงบประมาณเข้าสู่กองทุนโลกอย่างต่ำ 20 พันล้านดอลล่าร์เพื่อต่อสู้กับโรคเอดส์ วัณโรคและมาลาเรีย ในการประชุมกองทุนโลกที่จะมีขึ้นอีกครั้งเดือนตุลาคมนี้ และพวกเขายังหวังว่าการค้นพบใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ ที่ปรากฏในเวทีเอดส์นานาชาตินี้จะเป็นหลักฐานอย่างดีสำหรับผู้นำในการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณดังกล่าว และนอกจากจะเรียกร้องให้สนับสนุนงบประมาณด้านการป้องกันรักษาอย่างทั่วถึงแล้ว พวกเขายังเรียกร้องให้มีการสนับสนุนด้านการวิจัยศึกษานวัตกรรมต่างๆ รวมถึงการปฏิบัติตามปฏิญญา Abuja ซึ่งประเทศในทวีปแอฟริกาสัญญาว่าจะจัดสรร 15% ของงบประมาณของชาติไปในเรื่องสุขภาพ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

องค์กรแรงงาน-สิทธิฯ จี้นายกฯ แก้ปัญหาแรงงานข้ามชาติถูกไถเงิน-ซ้อมทรมาน-ค้ามนุษย์

Posted: 19 Jul 2010 02:12 AM PDT

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมองค์กรเครือข่ายด้านสิทธิเเรงงาน เเละสิทธิมนุษยชน ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ จี้ตรวจสอบกรณีข่าวกองกำลังกะเหรียง DKBA ละเมิดสิทธิเเรงงานข้ามชาติที่ถูกผลักดันออกจากประเทศไทย 

<!--break-->

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2553 เวลา 10.30 น. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เเละคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เเละองค์กรเครือข่ายด้านสิทธิเเรงงาน เเละสิทธิมนุษยชน ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี เรื่อง "จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ตรวจสอบข้อกล่าวอ้างว่าเเรงงานข้ามชาติที่ถูกผลักดันออกจาก ประเทศไทย ต้องเผชิญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากกองกำลังกะเหรียง DKBA" ต่อนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอให้ตรวจสอบข้อกล่าวอ้างว่า กองกำลังกะเหรียง DKBA ละเมิดสิทธิเเรงงานข้ามชาติที่ถูกผลักดันออกจากประเทศไทยบริเวณเเนวชายแดนไทย-พม่า เนื้อหาของจดหมายเปิดผนึก มีดังนี้

จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ตรวจสอบข้อกล่าวอ้างว่าเเรงงานข้ามชาติที่ถูกผลักดันออกจากประเทศไทย ต้องเผชิญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากกองกำลังกะเหรียง DKBA

ด่วนที่สุด
๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๓

เรื่อง ขอให้ตรวจสอบข้อกล่าวอ้างว่าเเรงงานข้ามชาติที่ถูกผลักดันออกจากประเทศไทยต้องเผชิญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากกองกำลังกะเหรียง DKBA

กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
สิ่งที่ส่งมาด้วย
๑. บทรายงานข่าว สำนักข่าว อัล จาซีรา วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เรื่อง "เเรงงานพม่าในวังวนหายนะ ("Migrants Caught in Vicious Cycle")
๒.บทรายงานหนังสือพิมพ์ The Nation ฉบับวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓ หน้า ๑๕ เรื่อง "โกงเเรงงานผิดกฎหมาย: การกวาดล้างหนุนสินบนชายเเดน" ("Illegal Labour Scam: Crackdown Boosts Border Rackets,")
๓. บทรายงานหนังสือพิมพ์อิรวดี ฉบับวันที่๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓, เรื่อง "กองกำลังกะเหรี่ยงพุทธทำกำไร จากการกวาดล้างเเรงงานข้ามชาติในประเทศไทย," (DKBA Profits from Migrant Worker Crackdown in Thailand,)
๔. รายงานขององค์กรฮิวแมนไรท์วอช ( Human Right Watch ) เรื่อง "ความทุกข์ของเเรงงานข้ามชาติระหว่างถูกส่งตัวกลับที่ชายเเดนไทย-พม่า" ( "Extortion During Deportation at the Thai-Burma Border"), กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จากเรื่อง The Tiger to the Crocodile, หน้า ๖๙ เป็นต้นไป

เมื่อไม่นานมานี้ บรรดาสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ และองค์กรฮิวเเมนไรท์วอช (Human Rights Watch) ได้ออกรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานข้ามชาติที่มาจากประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา ที่มีอยู่กว่า ๒ ล้านคนในประเทศไทย โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติที่มิได้ยื่นคำขอพิสูจน์สัญชาติภายในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ตามที่รัฐบาลกำหนด ได้ถูกกวาดจับเเละผลักดันกลับไปประเทศพม่าผ่านจุดผ่านแดนในจังหวัดตาก โดยอ้างว่าแรงงานที่ถูกส่งกลับต้องเผชิญกับการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงในประเทศพม่าโดยกองกำลังกะเหรี่ยง DKBA

รายงานดังกล่าวข้างต้นระบุว่า เมื่อแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า (ซึ่งมีจำนวนถึงร้อยละ ๘๐ ของเเรงงานข้ามชาติทั้งหมดในประเทศ) ถูกผลักดันออกจากประเทศไทย ทางอำเภอเเม่สอด จังหวัดตาก แรงงานเหล่านั้นมักจะถูกผลักดันออกไปโดยผ่านด่านต่างๆตามแนวชายแดนจังหวัดตาก-อำเภอเมียวดีในฝั่งพม่า ในพื้นที่ที่ควบคุมโดยกองกำลังกะเหรี่ยง DKBA แรงงานที่ถูกผลักดันเล่าว่า เมื่อเข้าไปในฝั่งพม่า พวกเขาจะถูกควบคุมตัวและถูกบังคับให้นำเงินจำนวนมากมาเสียค่าไถ่เพื่อที่จะแลกกับการปล่อยตัว มีแรงงานจำนวนมากจะถูกส่งต่อไปยังนายหน้าที่จะจัดการให้พวกเขาได้กลับเข้าประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะในฐานะแรงงานที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หรือในฐานะแรงงานที่ถือหนังสือเดินทางชั่วคราวที่ทางการพม่าออกให้ตามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่า ที่เพิ่งมีการนำมาใช้อย่างจริงจังในเมื่อเร็วๆ นี้

จากการให้ปากคำแก่ผู้สื่อข่าว แรงงานหลายคนระบุว่า กองกำลังกะเหรี่ยง DKBA ได้ทำการขู่เข็ญทำร้ายพวกเขา บางครั้งมีการซ้อม-ทรมาน และกระทำการอันทารุณโหดร้ายผิดมนุษยธรรมเเละย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อบังคับให้พวกเขาจ่ายเงิน แรงงานบางคนต้องถูกบังคับใช้แรงงาน จนกว่าจะหาเงินมาชำระค่าไถ่ให้แก่กองกำลังดังกล่าวได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีรายงานว่าแรงงานหญิงบางคนถูกส่งให้นายหน้าและถูกขายเข้าสู่การค้ามนุษย์เพื่อให้บริการทางเพศ ในขณะที่เเรงงานชายบางคนถูกบังคับให้เป็นลูกหาบของกองกำลังทหาร ส่วนพวกเด็กๆ ก็ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆ เช่นเดียวกับผู้ใหญ่

การที่เจ้าหน้าที่ของทางราชการได้ผลักดันแรงงานข้ามชาติออกนอกประเทศให้ตกไปอยู่ในการควบคุมของกองกำลังกะเหรี่ยง DKBA และมีผลทำให้ผู้ที่ถูกผลักดันต้องตกอยู่ในชะตากรรมอันเลวร้ายเช่นนี้ ย่อมทำให้เจ้าหน้าที่ของไทยที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองบางคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งตัวแรงงานข้ามชาติกลับประเทศพม่าในพื้นที่อำเภอแม่สอด ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าวของกองกำลังกะเหรี่ยง DKBA

การที่เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒๕/๒๕๕๓ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจปราบปราม จับกุม เเละดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวลักลอบทำงาน ซึ่งจะตามมาด้วยการกวาดจับและส่งแรงงานข้ามชาติกลับประเทศพม่าอย่างขนานใหญ่ อาจส่งผลให้สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในลักษณะดังกล่าวข้างต้นเลวร้ายยิ่งขึ้น

ที่ผ่านมานโยบายของรัฐบาลในการกวาดจับแรงงานข้ามชาติที่ “ผิดกฎหมาย” และผลักดันส่งกลับออกไปนอกประเทศ นอกจากไม่สามารถลดการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านได้แล้ว ยังมีผลทำให้แรงงานข้ามชาติซึ่งเป็นกำลังแรงงานที่จำเป็นสำหรับการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายเเรงอีกด้วย ทั้งโดยเจ้าหน้าที่รัฐ เเละนายจ้าง แรงงานที่หลบเลี่ยงการจับกุมหลายรายต้องเสียชีวิตไปเพราะอุบัติเหตุ หรือจากการกระทำที่เกินเลยของเจ้าหน้าที่บางคน การกวาดล้างจับกุมยิ่งเป็นการผลักดันให้แรงงานจำต้องตกอยู่ในอำนาจครอบงำของนายจ้างและนายหน้าค้ามนุษย์ หรือไม่ก็ต้องตกเป็นเหยื่อการทุจริตคอร์รัปชั่นที่ทำกันอย่างเป็นระบบของเจ้าหน้าที่บางคน ซึ่งมักเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของการจับกุมและการผลักดันออกนอกประเทศ

สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของปัญหาก็คือ กระบวนการพิสูจน์สัญชาติเเรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า ที่ดำเนินการโดยรัฐบาลของ ฯพณฯ และรัฐบาลพม่าไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร มีแรงงานจำนวนนับแสนคนต้องตกหล่นจากกระบวนการดังกล่าว กลายเป็นแรงงานผิดกฎหมาย ต้องอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ เพื่อมิให้ถูกจับกุมเเละไม่ให้ถูกผลักดันออกนอกประเทศ เเรงงานเหล่านี้ต้องตกอยู่ในสภาพที่ไม่อาจได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายและไม่ได้รับการปกป้องจากเจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อเกิดปัญหาหรือเป็นเหยื่อของอาชญากรรม ก็ไม่สามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้ ต้องเป็นเหยื่อของการขูดรีดเอารัดเอาเปรียบที่ทำกันอย่างเป็นระบบโดยนายจ้างเเละเจ้าหน้าที่บางคน ส่งผลให้เเรงงานถูกเเบ่งเเยกจากสังคมไทย ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ฐานะที่เป็นแรงงานที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน ทำให้พวกเขาและครอบครัวไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะและปัจจัยพื้นฐาน เช่น การศึกษา เเละบริการด้านสาธารณสุข รวมทั้งถูกปฏิเสธสิทธิมนุษยชนพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย เเละกฎหมายอื่นๆ ซึ่งเป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกคนพึงได้รับอีกด้วย

จากสภาพปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดกับแรงงานข้ามชาติ ทั้งที่ถูกส่งกลับไปประเทศพม่า และที่ยังอยู่ในประเทศ ข้าพเจ้าจึงเรียนมายัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้โปรดพิจารณานโยบายต่อแรงงานข้ามชาติ และการปฏิบัติ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติ ทั้งความจำเป็นที่ประเทศไทยยังคงต้องอาศัยแรงงานข้ามชาติซึ่งคิดเป็นจำนวนถึงร้อยละ ๕- ๑๐ ของเเรงงานทั้งหมด ซึ่งรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบ ต่อปัญหาการขาดการเเคลนเเรงงาน ”ที่จดทะเบียนแรงงานเเล้ว” ที่กำลังเกิดขึ้น รวมทั้งปัญหาเเรงงานข้ามชาติจำนวนมากที่ไม่ได้ยื่นความจำนงในการพิสูจน์สัญชาติ กลายเป็นแรงงานที่ "ไม่จดทะเบียนแรงงาน" ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเนื่องจากความล้มเหลวของรัฐบาลในการประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจให้กับนายจ้างเเละเเรงงานข้ามชาติเกี่ยวกับการพิสูจน์สัญชาติ

นอกจากนั้น กระบวนการพิสูจน์สัญชาติและการจัดหา “แรงงานใหม่ๆ” จากประเทศเพื่อนบ้าน ตามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ฉบับใหม่นั้น กระบวนการทั้งสองยังล่าช้า ซับซ้อน มีค่าใช้จ่ายสูง เเละไม่โปร่งใส นายจ้างที่ต้องการเเรงงาน “ถูกกฎหมาย” ต้องเสียเงินจำนวนไม่น้อย เพื่อให้ได้แรงงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติและเดินทางเข้าประเทศไทยอย่างถูกต้อง จึงมีผลทำให้นายจ้างหันไปจ้างแรงงานที่ไม่ถูกกฎหมายโดยการรู้เห็นเป็นใจของเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นบางคนที่ทุจริต

ในฐานะที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนเเห่งสหประชาชาติ จึงสมควรที่จะดำเนินการทุกวิถีทาง เพื่อปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนที่เป็นที่ยอมรับนับถือกันในสากล ปฏิบัติตามสนธิสัญญา และกลไกสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี รัฐบาลพึงปฏิบัติตามคำมั่นที่ได้ให้ไว้ต่อนานาชาติในคราวที่สมัครเป็นประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนเเห่งสหประชาชาติ โดยเฉพาะด้านการส่งเสริม คุ้มครองสิทธิของคนชายขอบ เช่น เเรงงานข้ามชาติ ทั้งยังควรปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของผู้รายงานพิเศษเเห่งองค์การสหประชาชาติด้านสิทธิเเรงงาน ที่เเถลงต่อสาธารณะเมื่อ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เเสดงความห่วงใยต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายเเรง ที่อาจเกิดจากการผลักดันเเรงงานข้ามชาติกลับประเทศพม่า เเละควรเชิญผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของผู้อพยพมาเยือนประเทศไทยด้วย เพื่อหารือนโยบายแรงงานข้ามชาติดังกล่าวในช่วงเวลาที่จำเป็นยิ่งเช่นนี้

อนึ่ง มูลนิธิสิทธิมนุษยชนเพื่อการพัฒนา (มสพ.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เเละ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เเละผู้ลงนามข้างท้าย ใคร่ขอเสนอเเนะเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณาดังนี้

๑. รัฐบาลควรตรวจสอบการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อเเรงงานข้ามชาติ ตามที่ปรากฏในจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ อย่างจริงจังและโปร่งใส และควรลงโทษหากมีเจ้าหน้าที่เเละบุคคลเกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว ทั้งควรหยิบยกปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อแรงงานข้ามชาติที่ถูกส่งกลับประเทศพม่าขึ้นหารือกับรัฐบาลพม่าเพื่อให้มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังด้วย

๒. รัฐบาลควรยุติการผลักดันเเรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าออกนอกประเทศ จนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อกล่าวอ้างว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าวให้ถ่องแท้เสียก่อน เเละควรดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อประกันว่าการส่งกลับเเรงงานข้ามชาติกลับประเทศพม่าในอนาคต จะเป็นไปด้วยความปลอดภัย

๓. รัฐบาลควรยกเลิกนโยบายกวาดจับแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๑๒๕/๒๕๕๓ พร้อมเปิดให้มีการจดทะเบียนเเรงงานข้ามชาติใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้เเรงงานข้ามชาติที่ยังมิได้จดทะเบียน และยังไม่ได้ยื่นความจำนงในการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๑-๑.๔ ล้านคนสามารถเป็นผู้ที่ทำงานได้อย่าง "ถูกต้องตามกฎหมาย" เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติต่อไป

จึงกราบเรียนมาเพื่อทราบ เเละโปรดพิจารณาดำเนินการโดยเร่งด่วน เพื่อรักษาชื่อเสียงอันดีของประเทศ เเละยืนยันว่าประเทศไทยเคารพหลักสิทธิมนุษยชนของบุคคลทุกคน ดังที่รัฐบาลได้ให้คำมั่นสัญญาไว้ต่อนานาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนพื้นฐานของเเรงงานข้ามชาติ ชนกลุ่มน้อย เเละผู้ด้อยโอกาส

ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง

นายสาวิทย์ แก้วหวาน
(เลขาธิการ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์)

นายสมชาย หอมลออ
(เลขาธิการ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา)

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย
(ประธาน คณะกรรมการ สมานฉันท์แรงงานไทย)

สำเนาถึง
๑) ประธานกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าว (กบร.)
๒) เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
๓) ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
๖) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
๗) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
๘) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
๙) ผู้บัญชาการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
๑๐) ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา
๑๑) ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
๑๒) ประธานคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

รายงานข่าว "เเรงงานพม่าในวังวนหายนะ ("Migrants Caught in Vicious Cycle") 
โดยสำนักข่าว อัล จาซีรา วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ (มีคำแปลภาษาไทย)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"การเมืองใหม่" แนะรัฐบาลใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเท่าที่จำเป็น

Posted: 18 Jul 2010 07:39 PM PDT

"พรรคการเมืองใหม่" แนะรัฐบาลใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเท่าที่จำเป็น และควรใช้กฎหมายตรงไปตรงมาแทน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน "สุริยะใส กตะศิลา" เสนอประชุม 4 ฝ่ายประเมินสถานการณ์ก่อนจะยกเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่ใดๆ ไม่ให้มีแต่ฝ่ายการเมือง-ความมั่นคงประเมินเพราะอาจถูกมองเป็นประเด็นการเมือง ด้าน "บุญส่ง ชเลธร" ลง ส.ก.บึงกุ่ม พรรคการเมืองใหม่

<!--break-->

ASTVผู้จัดการออนไลน์ รายงานเมื่อวานนี้ (18 ก.ค.) ว่า นายสำราญ รอดเพชร โฆษกพรรคการเมืองใหม่ (ก.ม.ม.) กล่าวถึงการเลือกตั้งซ่อมล่วงหน้า ส.ส.เขต 6 กรุงเทพมหานคร โดยเรียกร้องไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.ว่า การที่ กกต.ผ่อนปรนให้ผู้ที่ไม่มีเหตุจำเป็นสามารถเลือกตั้งล่วงหน้าได้ อาจจะเป็นสาเหตุให้มีการขนคนไปลงคะแนน รวมถึงทำให้มีการทุจริตต่างๆ กกต.จึงควรมีความเข้มงวดมากขึ้น

พร้อมทั้งกล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีระบุว่าอาจมีการพิจารณายกเลิก การประกาศพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในบางพื้นที่ โดยกล่าวว่าทางพรรคเห็นด้วยหากจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินตามเหตุและผล เนื่องจากที่ว่ายังมีขบวนการใต้ดิน แต่ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และควรบังคับใช้กฎหมายอย่างตรงไปตรงมาทดแทนการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ขณะที่ นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ เห็นว่า การจะยกเลิกหรือคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้ ขณะนี้กลายเป็นประเด็นทางการเมือง จึงเสนอให้มีการประชุม 4 ฝ่ายประเมินสถานการณ์ว่าจังหวัดใดควรยกเลิก พ.ร.ก.หรือไม่ เพื่อไม่ให้มีเพียงฝ่ายการเมืองหรือฝ่ายความมั่นคงในการตัดสินใจเท่านั้น เพราะอาจทำให้ถูกมองเป็นประเด็นทางการเมือง

นอกจากนี้ยังมีรายงานด้วยว่า นายพิเชฏฐ พัฒนโชติ ว่าที่รองหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ (ก.ม.ม.) และผู้อำนวยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และสมาชิกสภาเขต (ส.ข.) ได้เปิดตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ก. ของพรรคชุดแรก 18 คน ที่จะมีการเลือกตั้งในเดือนสิงหาคมนี้ด้วย

โดยผู้ที่เสนอตัวลงสมัคร ส.ก.ที่น่าสนใจ อาทิ "นายรัชต์ชยุตม์ ศิรโยธินภักดี" หรือ "อมรเทพ อมรรัตนานนท์" แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ลงสมัครเขตพระนคร นายถนอม พิมพ์ใจชน น้องชายนายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงสมัครเขตจตุจักร 1  นายบุญส่ง ชเลธร หนึ่งใน 13 ผู้ถูกจับกรณีเรียกร้องรัฐธรรมนูญ เดือนตุลาคมปี 2516 ลงเขตบึงกุ่ม โดยหลังจากนี้พรรคจะจัดสัมมนาที่โรงเรียนผู้นำ จ.กาญจนบุรี เพื่ออบรมตัวผู้สมัครทั้ง ส.ก.และ ส.ข

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น