โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

นักศึกษาพม่าแจกใบปลิวต้านรัฐบาล เรียกร้องสิทธิ์จัดตั้งสหภาพ

Posted: 10 Jul 2010 02:27 PM PDT

มีรายงานว่านักศึกษาในย่างกุ้งแจกใบปลิวใกล้กับย่านที่มีประชาชนพลุกพล่าน ในย่างกุ้งวานนี้ โดยนักศึกษาเรียกร้องให้ประชาชนคว่ำบาตรการเลือกตั้ง เรียกร้องตั้งสหภาพนักศึกษา - ด้านทางการพม่าห้ามพรรคการเมืองรับบริจาคเงิน

<!--break-->

ผู้เห็นเหตุการณ์คนหนึ่งในกรุงย่างกุ้งเปิดเผยว่า พบเห็นกลุ่มนักศึกษาแจกใบปลิวใกล้กับย่านที่มีประชาชนพลุกพล่าน ในย่างกุ้งวานนี้ (9 ก.ค.) โดยนักศึกษาเรียกร้องให้ประชาชนคว่ำบาตรการเลือกตั้งที่ใกล้เข้ามา นอกจากนี้ยังเรียกร้องจัดตั้งสหภาพนักศึกษาอย่างชอบธรรม 

ทั้งนี้ มีนักศึกษาอย่างน้อย 7 คน ได้แจกใบปลิวให้กับผู้คนที่ผ่านไป มาบริเวณใกล้กลับแยก เลดัน (Hledan) ในเขตกะมายุต (Kamayut) กรุงย่างกุ้ง โดยข้อความในใบปลิวระบุว่า กำหนดการเลือกตั้งของรัฐบาล ทหารที่กำลังจะมีขึ้นในปีนี้เป็นเพียงการสร้างภาพและเป็นเรื่อง โกหกเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การออกมาเคลื่อนไหวของนักศึกษาครั้งนี้ ยังเป็นการชุมนุมเพื่อระลึกถึงวันครบรอบ 48 ปี ของเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1962 (2505) ที่มีนักศึกษาถูกสังหารหมู่ในมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ในยุครัฐบาลเผด็จการภายใต้การนำของนายพลเนวิน

ทั้งนี้ ชายคนหนึ่งกล่าวกับนักข่าวว่า “ผมเห็นกลุ่มนักศึกษาแจกใบปลิวและผมก็อยากรู้ว่า เขาพูดว่าอะไร ในใบปลิวเรียกร้องสิทธิ์ในการจัดตั้งสหภาพนักศึกษาได้ อย่างอิสระและชอบธรรมตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังเรียกร้องประชาชนคว่ำบาตรการเลือกตั้งจอมปลอมและร่วมกันต่อต้านเผด็จการทหาร” โดยชายคนนี้ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ผมรู้สึกกลัวที่จะเก็บใบปลิวนั้นไว้ ผมก็เลยทิ้งมันไป” เขากล่าว 

ขณะที่ตามข้อมูลของชายอีกคนหนึ่งที่พักอยู่ในคอนโดมเนียมใกล้บริเวณแยกดังกล่าวเปิดเผยว่า มีวัยรุ่น 7 คน ซึ่งอาจจะเป็นนักศึกษาได้ชุมนุมกันประมาณ 10 โมง เช้าของวานนี้ ทั้งนี้ กลุ่มที่ออกมาแจกใบปลิวน่าจะมีอายุมากกว่า 20 ปี 

ด้านเจ้าหน้าที่จากกระทรวงอุตสาหกรรมพม่าได้เปิดเผยว่า กลุ่มนักศึกษายังได้ยืนแจกใบปลิวให้กับผู้โดยสารที่รอขึ้นรถบริเวณ ป้ายรถเมล์

ขณะที่เหตุการณ์ในวันที่ 7 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2505 นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยย่างกุ้งได้ประท้วงอย่างสันติเพื่อต่อต้านรัฐบาลของนายพลเนวิน สืบเนื่องจากที่นักศึกษาไม่พอใจกับกฎข้อบังคับของมหาวิทยาลัยที่ไม่มีความชอบธรรม ซึ่งในเวลาต่อมา นายพลเนวินได้ส่งกำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมทันที และทำให้มีนักศึกษาถูกยิงเสียชีวิตจำนวน 12 คน นอกจากนี้ทหารยังได้ยิงระเบิดเข้าใส่ตึกกิจกรรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยย่างกุ้งในเช้าวันถัดมา ขณะที่ยังมีนักศึกษายังอยู่ในตึก

ทั้งนี้ เว็บไซต์ชื่อประชาธิปไตยเพื่อพม่า (Democracy for Burma) รายงานว่า ในเหตุการณ์ครั้งนั้น กองทัพได้นำร่างของนักศึกษาไปไว้ที่อื่น แม้ว่านักศึกษาบางคนยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม นอกจากนี้ ทหารได้ทำลายหลักฐาน โดยการนำร่างของนักศึกษาไปบดขยี้ในโรง งานบำบัดน้ำเสียแห่งหนึ่ง ในกรุงย่างกุ้ง 

ทั้งนี้ หลังจากที่นายพลเนวิน ยึดอำนานในเดือนมีนาคมปี 2505 มหาวิทยาลัยย่างกุ้งก็ถูกควบคุมภายใต้ คณะกรรมการการศึกษาระดับสูง ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาล และภายหลังเหตุการณ์ประท้วงดังกล่าว ได้มีการเปิดเผยตัวเลขของนักศึกษาที่เสียชีวิตอย่างเป็นทางการว่ามีจำนวน 16 คนและได้รับบาดเจ็บ 70 คน

“ตามข้อมูลของแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ เรารู้ว่ามีคนอย่างน้อย 100 คนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้น มีคนรับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลย่างกุ้งจำนวน 86 คน และอีก 68 คน ถูกนำส่งตัวไปที่โรงพยาบาลมินกาลาดง” อดีตเลขาธิการนักศึกษารุ่น 62 ของ สหภาพนักศึกษาพม่า (All Burma Federation of Student Unions - ABFSU) กล่าวกับนักข่าว พร้อมระบุเพิ่มเติมว่า ชะตากรรมของนักศึกษาที่เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลมินกาลาดงจนถึงขณะนี้ ยังไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร

ด้วยเหตุที่สหภาพนักศึกษาพม่าหรือ ABFSU ยังคงดำเนินการต่อต้านการปกครองระบอบเผด็จการอย่างลับๆ อย่างต่อ เนื่อง ในขณะเดียวกัน รัฐบาลพม่าก็ยังคงห้ามไม่ให้มีสหภาพนักศึกษาด้วยเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยย่างกุ้งได้กลายเป็นศูนย์กลางของการแสดงออกถึงความไม่พอใจของประชาชนมาโดยตลอดในประวัติศาสตร์การเมืองพม่าที่ผ่านมา ในปี ค.ศ.1920  ปี 1936  ทั่วทั้งประเทศต่อต้านอาณานิคมอังกฤษ และในปี 1938 ได้มีผู้นำต่อต้านอาณานิคมอังกฤษอย่างนายพลอองซาน นายอูนุ นายอูทันเกิดขึ้น รวมถึงนายเนวิน นิสิตเก่าของมหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ตาม การประท้วงในมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่สืบทอดต่อเนื่องมาตลอด และเช่นเดียวกันในปี ค.ศ.1974 และปี 1988 จนล่าสุดเหตุการณ์การเดินขบวนประท้วงของเหล่านักศึกษา ในปี 1996 (Mizzima : 8 กรกฎาคม 53)

 

 

ทางการพม่าห้าม พรรคการเมืองรับบริจาคเงิน

คณะกรรมการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง (The Yangon [Rangoon] City Development Committee -YCDC) องค์กรปกครองท้องถิ่นกล่าวหาพรรคการเมืองพรรคหนึ่งว่าละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง หลังจากที่พยายามรับบริจาคเงินจากประชาชนในตลาดในเมืองโอกาลาปาเหนือ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของกรุงย่างกุ้ง

พรรคการเมืองชื่อ Union of Myanmar Federation of National Politics – UMFNP ซึ่งมีนายเอลิน เป็นหัวหน้าพรรคได้พยายามรับบริจาคเงินจากชาวบ้านทั่วไปในตลาด ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโอกาลาปาเหนือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2553 โดยเหตุที่ทางพรรคต้องออกมารับบริจาคเช่นนี้ เนื่องจากพรรค UMFNP ยังขาดแคลนงบที่จะนำไปใช้ในกิจกรรมรณรงค์หาเสียงของลูกพรรค

มีรายงานว่า YCDC ได้กล่าวหาว่า การรับบริจาคของพรรค UMFNP ถือเป็นการละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังกล่าวหาทางพรรคว่าไม่แจ้งเรื่องดังกล่าวให้กับทาง YCDC ทราบ

ด้านนายเอลิน หัวหน้าพรรค UMFNP กล่าวว่า ทางพรรคไม่ได้ละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง และยืนยันว่า ทางพรรคปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายเลือกตั้งทุกประการ และตามกฎหมายของการจดทะเบียนพรรคการเมืองวรรคที่ 15 พรรคการเมืองมีสิทธิ์ที่จะขอรับบริจาคจากทั้งส่วนบุคคลหรือจากภาคธุรกิจได้

“และถ้าหากผมจำเป็นต้องเดินทางไปขึ้นศาล ผมจะถามพวกเขาว่า กฎหมายของเทศบาลท้องถิ่นนั้นสามารถนำมาแทนที่กฎหมายที่นายพลอาวุโสตานฉ่วยเป็นผู้เซ็นรับรองได้หรือไม่” นายเอลินกล่าว

นายเอลินยังกล่าวเพิ่มเติมว่า พรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา(Union Solidarity and Development Party - USDP) ของนายกเต็งเส่ง และองค์กรปกครองท้องถิ่นในพื้นที่กำลังพยายามจำกัดและเข้มงวดกับ พรรคการเมืองอื่นๆในการรวมตัวและรณรงค์หาเสียง

“ผมรู้สึกไม่พอใจพวกเขา พวกเราควรมีอิสรภาพและเสรีภาพตามกฎหมายเลือกตั้งและข้อกำหนดของ การจดทะเบียนพรรคการเมือง” นายเอลินกล่าวเพิ่มเติม

ขณะที่พรรคพรรคสหภาพเอกภาพและ การพัฒนา ซึ่งว่ากันว่าเป็นพรรคตัวแทนของสมาคมสหภาพเอกภาพและการพัฒนา USDA (Union Solidarity and Development Association) ซึ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลทหารพม่า ขณะนี้พบว่า มีสิทธิมากกว่าพรรคการเมืองอื่นๆที่เตรียมลงสนามเลือกตั้งที่จะมา ถึงนี้

ถึงแม้จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการประกาศให้พรรคการเมืองเริ่มหาเสียง หรือแม้กระทั่งยังไม่มีการประกาศวันเลือกตั้งชัดเจน แต่กลับพบว่า พรรค USDP ได้เริ่มหาเสียงแล้วในหลายพื้นที่ทั่ว ประเทศ โดยไม่ถูกแทรกแซงหรือถูกจำกัดจากทางการพม่าแต่อย่างใด

มีรายงานว่า พลจัตวาอ่องเต็ง ลิน ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงย่างกุ้งและเป็นผู้ อำนวยการของกลุ่ม YCDC ได้เป็นตัวแทนของพรรคUSDP ในการลงชิงชัยเลือกตั้งในเขตกรุงย่างกุ้งด้วยเช่นกัน   

ในส่วนของพรรค UMFNP เอง ก่อนหน้านี้สมาชิกของพรรคนี้เคยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัดมัณฑะเลย์ สั่งห้ามแสดงธงประจำพรรคต่อสาธารณชนมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ขณะที่ เมื่อเร็วๆ นี้ นายเอลิน หัวหน้าพรรคก็ยังถูกคณะกรรมการเลือกตั้งในเมืองกะมายุต (Kamayut) ในเขตย่างกุ้ง สั่งให้เซ็นรับรองว่าจะไม่ดำเนินกิจกรรมรณรงค์หาเสียงที่ละเมิดต่อ กฎหมายเลือกตั้งด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตามกลับพบว่า นายเอลินเองก็ถูกมองว่ามีความใกล้ชิดกับรัฐบาลทหารพม่า โดยกลุ่มพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งยืนตรงข้ามกับรัฐบาลเป็นต่างหลีกเลี่ยงที่จะเข้าร่วมกับพรรคของนายเอลินด้วยเช่นกัน   

ในอีกด้านหนึ่ง กฎหมายเลือกตั้งของรัฐบาลพม่ากำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง หลังสั่งห้ามพรรคการเมืองปราศรัยในพื้นที่สาธารณหรือในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านเช่น ตลาด โรงเรียนเป็นต้น และก่อนการปราศรัย พรรคการเมืองจะต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังออกกฎหมายห้ามพรรคการเมืองโบกธง หรือตะโกนคำขวัญประจำพรรคของตัวเอง (Irrawaddy 8 ก.ค.53)

 

แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทาง เลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบทความ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊ค http://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ข้อมูลประกอบการเชียร์ฟุตบอลโลกนัดชิงชนะเลิศ

Posted: 10 Jul 2010 09:45 AM PDT

"กรรณิการ์ กิจติเวชกุล" เสนอข้อมูลประกอบการดูบอลโลกนัดชิงชนะเลิศ ที่คู่ชิง ทั้งอดีตประธานสหภาพยุโรปจากสเปน และประเทศเนเธอร์แลนด์ กำลังขัดขวางการเข้าถึงยาของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา ด้วยความพยายามปกป้องสิทธิบัตรของอุตสาหกรรมยาของตน

<!--break-->

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม หนึ่งวันก่อนหน้าฟุบอลโลกนัดชิงชนะ เลิศ ระหว่าง ฮอลแลนด์ และ สเปน จะเริ่มขึ้น ดิฉันได้รับอีเมล์จาก ลูน กังเก (Loon Gangte) ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ อินเดีย และ คาจาล บราดวัจ (Kajal Bhardwaj) ทนาย ความด้านสิทธิมนุษยชนและการเข้าถึงยา ชั้นแนวหน้าของอินเดีย ถามว่า “Who’s play football with your access to medicine”
 
ทุกคนคงกำลังตั้งตารอชมการแข่งฟุตบอล โลกนัดชิงชนะเลิศระหว่าง ฮอลแลนด์ และ สเปน อยู่ใช่ไหม

สเปน: เพิ่งลงจากตำแหน่งประธานสหภาพยุโรปเมื่อไม่กี่วันก่อน

* สหภาพยุโรปกำลังเจรจาการค้าเสรีระดับทวิภาคี (FTA) กับประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก (อเมริกาใต้, เอเชีย* และแอฟริกา) โดยมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของอุตสาหกรรมยาด้วยการทำลายอุตสาหกรรมยาในประเทศเหล่านั้น ซึ่งความน่าวิตกขณะนี้ คือ การที่สหภาพยุโรปกำลังเจรจากับอินเดีย ประเทศที่เป็นแหล่งยาชื่อสามัญสำคัญของประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะ ยาต้านไวรัสเอชไอวีเอดส์ สหภาพยุโรปกำลังผลักดันให้ขยายอายุสิทธิบัตร, สร้างรูปแบบการผูกขาดการขายยาด้วยการผูกขาดข้อมูลทางยา (data exclusivity), เพิ่มการใช้มาตรการตรวจจับชายแดน เช่นที่ยอมให้เนเธอร์แลนด์ยึดยาชื่อสามัญจากอินเดีย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง) และบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทาง ปัญญาที่เกินเลยจนละเมิดสิทธิพลเมือง, สิทธิทางการเมือง และคุกคามการผลิตและส่งออกยาชื่อสามัญ

* สหภาพยุโรปกำลังผลักดันให้ขยายการคุ้มครองและปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาใน หลายเวที (ก.) สนธิสัญญาลับๆเกี่ยวกับการต่อต้านสินค้าปลอมแปลง (ข.) ผ่านการเจรจาการค้าทวิภาคี (FTA) และ (ค.) มีรายงานว่า สหภาพยุโรปเข้าไปสนับสนุนการแก้กฎหมายภายในประเทศต่างๆ เกี่ยวกับสินค้า ปลอมแปลง คำว่าสินค้าปลอมแปลง (counterfeit) ถูกนำมาสร้างความสับสนระหว่างยาปลอมกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ภายใต้ความตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญา (TRIPS) ขององค์การการค้าโลก คำๆ นี้ถูกใช้ในกรณีการละเมิดเครื่องหมายการค้า แต่จากประสบการณ์ของอินเดียที่ต้องเผชิญกับการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินเลย ชี้ให้เห็นว่า สิทธิบัตรจำนวนมากได้มาอย่างไม่สมเหตสมผลกำลังสร้างผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการเข้าถึงยาชื่อสามัญของประชาชน

* สหภาพยุโรปภายใต้การทำหน้าที่ประธานของสเปนได้บ่อนทำลายการเข้าถึงยาของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา ขณะที่เมื่อสเปนต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตการเงินในประเทศยังต้องเลือก ใช้วิธีการบังคับปรับลดราคายา     

เนเธอร์แลนด์: สมาชิกสหภาพยุโรป

* เนเธอร์แลนด์ยึดยาชื่อสามัญที่ถูกกฎหมายซึ่งถูกส่งจากอินเดียเพื่อไปยังผู้ป่วยที่รอในอเมริกาใต้และแอฟริกา ดังนี้ การยึดยาต้านไวรัสสูตรสำรอง ‘อบาคาเวีย’ ที่ สนามบินซีฟอล ในเนเธอร์แลนด์ เมื่อพฤศจิกายน 2551 โดยอ้างว่ายาดังกล่าวละเมิดสิทธิบัตรของบริษัทแกล็กโซในเนเธอร์แลนด์ ยาดังกล่าว เป็นยาที่ ยูนิเทด (UNITAID) องค์กรการกุศลภายใต้องค์การอนามัยโลกจัดซื้อจากอินเดียเพื่อส่งไปยังไนจีเรีย ยานี้ไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรทั้งในอินเดียและประเทศปลายทางแค่อยู่ ในคาร์โก้ของเนเธอร์แลนด์ระหว่างรอส่งต่อไปยังจุดหมายปลายทางเท่านั้น ซึ่งสหภาพยุโรปแก้กฎหมายของตัวเอง (และกำลังไปผลักดันการแก้กฎหมายในประเทศอื่นๆ ผ่านช่องทางต่างๆ) เพื่อยึดยารอส่งเหล่านี้

* เนเธอร์แลนด์ยังเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปที่กำลังเจรจาการค้าระดับทวิภาคีกับอินเดียและอีกหลายประเทศ กำลังพัฒนาโดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้สูงไปกว่าเดิมซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยาของประชาชนในประเทศนั้นๆ โดยตรง

คุณจะเลือกเชียร์ชาติใด

ลุกขึ้นร่วมต่อต้านการยึดยาชื่อสามัญ
ลุกขึ้นร่วมต่อต้าน FTA กับสหภาพยุโรป
แจกใบแดงแก่สหภาพยุโรปซะ

ด้วยความสมานฉันท์

ลูน และ คาจาล
 

 

หมายเหตุ:

* สหภาพยุโรปกำลังขอเจรจาทวิภาคีกับประเทศไทย หลังจากไม่สามารถผลักดันการเจรจากับอาเซียนให้ลุล่วงไปได้ - ผู้เรียบเรียง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใบตองแห้งออนไลน์: อินจันแฝดสยอง

Posted: 10 Jul 2010 12:33 AM PDT

<!--break-->

ไม่แปลกใจอะไรเลยที่ระบอบอภิสิทธิ์ต่ออายุประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไป อีก 3 เดือน และพอใกล้จะถึง 3 เดือนก็คงมีมือมืดเอาอาร์พีจีไปยิงถังน้ำมันเปล่าที่ไหนสักแห่ง  ทำให้ต้องต่ออายุไปจนถึงต้นปีหน้า จากนั้นอภิสิทธิ์ก็โชว์ฟอร์มสง่างาม ยุบสภาเลือกตั้งใหม่พอดี

ที่น่าสมเพชคือคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการ “กระชับพื้นที่” 9 อรหันต์ของ อ.คณิต ณ นคร ซึ่งถ้าพอจะมีเกียรติภูมิความน่าเชื่อถือหลงเหลืออยู่บ้าง ก็หมดกันทันทีในมติ ครม.ที่คลอดรายชื่อออกมาพร้อมประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

9 อรหันต์จะเหลือความเป็นอิสระเป็นกลางในการทำงานได้อย่างไร ในเมื่อมีอาสากู้ภัยออกมาให้ข่าวว่า ทหารยิง 6 ศพที่วัดปทุมวนาราม ก็ถูก ศอฉ.ออกหมายเรียกไปรายงานตัว ไม่ไปมีโทษจำคุก โฆษกพรรคเพื่อไทยออกมาแถลงข่าวขังลืมคนเสื้อแดง ก็ถูก ศอฉ.ออกหมายเรียกไปรายงานตัว ไม่ไปมีโทษจำคุก

ภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน คุณไม่มีสิทธิกล่าวหาว่า “ทหารฆ่าประชาชน” ไม่มีสิทธิตำหนิติติงว่า ศอฉ.กระทำเกินกว่าเหตุ แล้วใครจะกล้าไปให้การกับ 9 อรหันต์ ให้การวันนี้ พรุ่งนี้ก็ถูก ศอฉ.ออกหมายเรียก

แล้วมันจะเป็นการสอบสวนที่อิสระและเป็นกลางได้อย่างไร

การสอบสวนที่เป็นอิสระและเป็นกลางยังไม่ใช่เพียงแค่เรียกคน เข้าไปให้ปากคำ แต่ต้องเปิดให้เผยแพร่ข้อมูลอย่างกว้างขวางจากทั้งสองฝ่ายต่อสาธารณะ ผ่านสื่อต่างๆที่มีเสรี ตั้งแต่สื่อทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ ไปจนอินเตอร์เน็ต เพื่อเอาข้อเท็จจริงมาหักล้างกันอย่างมีเหตุมีผล แต่นี่นอกจากปิดสื่อแล้วยังปิดปาก ห้ามให้ข้อมูลในทางลบต่อพระเอกสีขี้ม้า ฉะนั้นจะตั้งคณะกรรมการสอบสวนไปหาพระแสงของ้าวอันใด

ที่บอกว่าอาจจะพอมีความน่าเชื่อถืออยู่บ้าง ก็เพราะผมเชื่อว่าบางคน เช่น ไพโรจน์ พลเพชร ยังมีความเป็นธรรมและเป็นกลาง

แต่ที่ไหนได้ ไพโรจน์ออกมาปฏิเสธแล้วว่าเขาไม่รับ มีการทาบทามจริงแต่ไม่รับ กลับเอาชื่อไปใส่เฉยเลย

ความน่าเชื่อถือก็กลายเป็นติดลบ เพราะคนอื่นก็งั้นๆ สมชาย หอมลออ จะเป็นอะไรแน่ระหว่างพันธมิตรฯ กับนักสิทธิมนุษยชน ควรบอกสังคมให้แน่ชัด ตัวแทนสื่ออย่างคุณมานิจ สุขสมจิตร ไม่รู้จักเป็นส่วนตัว ได้ยินกิตติศัพท์ว่าท่านเป็นคนดี แต่โทษที ผมเห็นรัฐบาลไหนตั้งกรรมการอะไรที่เอาตัวแทนสื่อเข้าไป ก็มานิจ สุขสมจิตร แทบทุกที ไม่เคยเห็นจะมีบทบาทโดดเด่นหรือแสดงความคิดเห็นอะไร นอกจากเขาว่าไงก็ว่าตามกัน  (อ้าว ไปโผล่ในกรรมการสมัชชาปฏิรูปอีกแล้ว)

มติ ครม.ที่คลอดออกมา 2 เรื่องพร้อมกัน (ไม่นับเรื่องเอาสิงโตไปตั้งหน้าแบงก์ชาติเพื่อปรับฮวงจุ้ย-ฮา) จึงขัดกันอย่างอัปยศ คือตั้งคณะกรรมการสอบสวนที่อ้างว่าอิสระและเป็นกลาง กับยืดอายุประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อปิดกั้นการเผยแพร่ข้อมูลด้านตรงข้าม

นั่นแสดงว่าประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมีเจตจำนง 2 ประการเท่านั้นคือ หนึ่ง ปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร และสอง ปิดกั้นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ เคลื่อนไหวทางการเมืองโดยสันติและเปิดเผยของฝ่ายเสื้อแดง แต่ใช้ข้ออ้าง “ใต้ดิน” หรือวินาศกรรมมาเป็นเครื่องมือ ทั้งที่ความจริงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไม่สามารถป้องกันการก่อวินาศกรรม ดูภาคใต้ก็ยังตูมๆ ทุกวัน

แต่ต่างกันนิดนึงที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้ทหารตำรวจกรุงเทพฯ ได้เบี้ยเลี้ยง เงินเพิ่ม สิทธิพิเศษต่างๆ เช่น นับอายุราชการทวีคูณ โดยไม่ต้องลงไปเสี่ยงตายเหมือน “จ่าเพียร” ที่ 3 จังหวัดใต้

ต้องชื่นชมหมอนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ที่ผ่านมาไม่ว่าจะมีบทบาทอย่างไร แต่การคัดค้าน พรก.ฉุกเฉินก็ถือว่าได้ทำหน้าที่กรรมการสิทธิฯ อย่างตรงไปตรงมา

ถามว่าประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินส่งผลร้ายต่อการต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตยหรือไม่ ย่อมส่งผลแน่นอนเพราะมันปิดกั้นสื่อและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร แต่ก็มีด้านดีเหมือนกันคือทำให้จตุพรไม่สามารถรวบรวมมวลชนมาแพ้ครั้งที่สาม (ไม่ฮา) ช่วงเวลา 3 เดือนหรืออาจจะ 6 เดือนต่อไปนี้ ฝ่ายประชาธิปไตยจึงต้องท่องคำว่า “อดทน” รอให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินส่งผล “ย้อนศร” อย่างที่มีหลายคนทักไว้ ไม่ต้องกลัว “แมลงสาบธิปไตย” ฆ่าตัวตายทุกยุคทุกสมัย ยิ่งเหิมเกริมยิ่งได้ใจยิ่งพังเร็ว

ดูง่ายๆ ก็อย่างที่ออกมาให้ข่าวมั่วว่ามีการฝึกอาวุธที่สวนผึ้ง ปักธงชัย แล้วโดน กอ.รมน.ตบปาก โห มันคงนึกว่าสวนผึ้งยังเป็นป่าสมัยก๊อดอาร์มี เดี๋ยวนี้ลองไปดูสิครับ รีสอร์ทราคาแพงระยับ ปักธงชัย วังน้ำเขียว ก็คนกรุงไปกว้านซื้อที่เพียบ

การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งที่ไม่มีเหตุผลอันควร จะทำให้ “แมลงสาบธิปไตย” เสียหายในทางสากล ภาพลบในสายตาต่างประเทศ แต่ในประเทศพวกเขาจะยังได้คะแนนนิยมจากคนกรุงคนชั้นกลางที่หลับตาข้างหนึ่ง ลืมตาข้างหนึ่ง ใช้อำนาจเผด็จการพลเรือนกดหัวคนชั้นกลางเสรีนิยมและมวลชนเสื้อแดง โดยอ้างว่านี่คือความปรองดอง ประโคมสร้างภาพความสงบเพื่อปั่นตัวเลขทางเศรษฐกิจ

สิ่งที่เราจะต้องต่อสู้คือทำให้เห็นว่ามัน “ไม่สงบ” และไม่มีทางสงบ ตราบใดที่ยังไม่ได้รับความยุติธรรมและความเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ เพียงแต่แนวทางการต่อสู้ไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรง หรือการก่อวินาศกรรม พวกที่ทำอย่างนั้นอาจมี แต่ไม่ถือเป็นแนวทางที่ถูกต้อง คือใครเขาจะทำเราห้ามไม่ได้ ไม่รู้ไม่เห็นไม่เกี่ยว (นี่หว่า) แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วเราก็มีหน้าที่พูด 2 อย่างคือหนึ่ง ไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องเราไม่สนับสนุน แต่สอง ก็เพราะคุณทำให้เขาคับแค้น ได้รับความอยุติธรรม ถูกกดดันจนต้องไปหาวิธีทำระเบิดในอินเตอร์เน็ต

การทำให้เห็นว่า “ไม่สงบ” สามารถทำได้ด้วยสันติวิธี สมมติเช่นการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ (แบบโหวตให้ V11-ฮา) หรือการแข็งขืนอำนาจรัฐในรูปแบบที่ไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งต้องใช้หัวคิด ลูกเล่น เช่นวันสองวันนี้ผมขึ้นรถตู้ เจอสติกเกอร์สีแดงตรงประตู “ไม่ต้อนรับเผด็จการ ประชาธิปไตยเชิญครับ” เข้าท่าดี ใครจะทำไม ไม่ผิดกฎหมาย (นี่หว่า) ใครไม่พอใจก็เป็นพวกเผด็จการ ถ้าเอาไปต่อยอด สมมติเช่นทำสติกเกอร์ “เรารักประชาธิปไตย” สีแดงแจ๋ แจกกันให้ทั่ว ใครจะห้ามได้ เป็นถ้อยคำที่ถูกต้องที่สุด มีตรงไหนผิดสักนิด

หรือไม่ก็อาจจะนัดกัน ใส่เสื้อแดงวันอาทิตย์ ผิดกฎหมายตรงไหน ใส่เสื้อแดงไปเดินเที่ยวราชประสงค์ เอ้า ใครจะทำไม ทำบุญ 100 วัน 19 พ.ค.ก็จัดให้ยิ่งใหญ่ทุกจังหวัด เฮ้ย ทำบุญให้คนตาย ศอฉ.มึงห้ามได้หรือ

แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือทำอย่างไรจะใช้ช่วงเวลานี้ให้มวลชน พัฒนาความคิดทางการเมือง อย่างลึกซึ้งและมีเหตุผล อย่างน้อยก็สร้างความผูกพันภราดรภาพซึ่งกันและกัน เพราะต้องยอมรับว่ามวลชนเสื้อแดงที่ปลุกขึ้นมาด้วยพีเพิลแชนเนลและวิทยุ ชุมชน มีแต่อารมณ์ร้อนแรงแต่ในเชิงความคิดอุดมการณ์ยังผิวเผิน เพื่อนที่เป็นเสื้อแดงยังบอกว่าเวลาที่มาม็อบ แต่ละเต้นท์ก็ต่างคนต่างอยู่ ไม่มีระเบียบวินัย ไม่มีความเอื้อเฟื้อ สร้างความผูกพัน หรือทำงานความคิดกัน แกนนำเสื้อแดงส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองที่มีเป้าหมายของตน มีนักคิดนักวิชาการน้อย เวลาพูดถึงประชาธิปไตยสมบูรณ์ จริงๆ แล้วคืออะไรก็ไม่ใช่ว่าจะเข้าใจถ่องแท้ ผมถึงเรียกร้องว่าจะต้องกำหนดเป็นข้อๆ คล้ายนโยบายเฉพาะหน้า ว่าอะไรคือเป้าหมายของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

และที่สำคัญอีกอย่าง ทำอย่างไรจะให้ช่วง 3-6 เดือนนี้ ลดบทบาทการนำของทักษิณ สรุปบทเรียนความผิดพลาดที่เกิดจากการยอมให้ทักษิณนำแต่ผู้เดียว แล้วไล่ทักษิณไปอยู่หางแถวหรือไปไกลๆ ยิ่งดี

Who’s Who ในคณะปฏิรูป

และแล้วก็ไม่ผิดคาด พี่เปี๊ยกฉายเงาอยู่ในคณะกรรมการปฏิรูปจริงๆ เพราะส่งพี่แอ๊ว รัชนี ธงไชย มาแทน (ไม่อยากใช้ศัพท์แบบที่ใช้กับนักการเมือง ฮิฮิ)

ส่วนที่ผิดคาดคือ ไม่คาดว่า อ.นิธิยอมรับเป็นกรรมการปฏิรูปกับเขาด้วย ไม่ทราบว่าท่านคิดอย่างไร จะรอฟัง แต่ไม่เป็นไร ต้องเคารพการตัดสินใจ ท่านอาจเห็นเป็นช่องทางเสนอความคิดเห็น ซึ่งก็ต้องพิสูจน์กันต่อไปว่าท่านจะทำอะไรได้หรือไม่ แต่ถ้าหวังจะให้ท่านเป็นตัวเชื่อมดึงนักวิชาการนักเคลื่อนไหวฝ่าย ประชาธิปไตยไปมีส่วนร่วม ขอบอกว่าไม่มีทาง

ส่วนที่เซอร์ไพรส์สุดๆ ก็คือ อานันท์ ปันยารชุน สามารถไปอัญเชิญ อ.เสกสรรค์มาร่วมด้วย (โดยอ้างว่าเคยถูกกล่าวหาเป็นซ้ายเหมือนกัน) ซึ่งผมเห็นเป็นเรื่องดี เพราะที่ผ่านมา ศิลปินแห่งชาติหมาดๆ ท่านนี้ไม่เคยให้ความเห็นต่อวิกฤตความขัดแย้งทางการเมือง นอกจากจะแสดงปาฐกถาธรรมชั้นสูง ซึ่งพวกสมองทึบอย่างผมฟังแล้วม่ายเข้าจายตุ้ม คือไม่รู้ว่าพี่เสกแกจะบอกอะไรกันแน่

อย่างน้อยคราวนี้แกจะได้พูดอะไรชัดๆ ซะที

องค์ประกอบของคณะกรรมการทั้งสองชุดส่วนใหญ่มาจาก NGO หรือนักวิชาการ NGO ซึ่งก็คือคนดีๆ นักต่อสู้ นักเคลื่อนไหว แต่ปัญหาคือเราต้องแยกแยะการทำงานของ NGO ว่า การลงไปทำงานให้ชาวบ้านกล้าต่อสู้เรียกร้องเพื่อความเป็นธรรม คัดค้านการตัดสินใจของรัฐและทุนโดยไม่ฟังเสียงชาวบ้าน คือการกระตุ้นให้ชาวบ้านตื่นตัวใช้สิทธิประชาธิปไตยที่ต้องยกย่องและสนับ สนุน แต่ขณะเดียวกัน NGO ส่วนหนึ่งก็ถลำเข้าไปเป็นพวกต่อต้านทุนนิยมหัวชนฝา กระทั่งต่อต้านความคิดเสรีนิยม เสรีประชาธิปไตย กลายเป็นพวกอนุรักษ์นิยมใหม่ Neo-conservative แบบชาตินิยม ไทยนิยม วัฒนธรรมนิยม รื้อฟื้นของเก่า จนกระทั่งไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคทักษิณ ซึ่งก็ต้องโทษทักษิณด้วยว่าเข้าไปปิดพื้นที่ทางการเมืองของ NGO จนเขาต้องต่อต้าน แต่ในการต่อต้านมันก็มีปัญหาเรื่องแนวคิดการพัฒนาประเทศ พูดง่ายๆว่า ทักษิณต้องการดึงชนบทเข้าสู่ระบบตลาดโลกาภิวัตน์ นั่นคือการทำให้ “หายจน” ขณะที่ NGO ยังเพ้อฝันจะให้ชาวบ้านอยู่อย่างสุขสงบ พอใจกับสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ ก้มหน้าก้มตาทำการเกษตรแบบพึ่งตัวเอง ไม่พึ่งทุนนิยม

ผมไม่ได้คิดว่าทักษิณถูกหมด แต่ขณะเดียวกันถ้าเอา NGO มากำหนดทิศทางของประเทศ ก็ท่าจะผิดเพี้ยนไปสุดกู่

องค์ประกอบของคณะกรรมการ โซนแรกคือพวกที่มาตามตำแหน่ง ซึ่งไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมต้องเอาตามตำแหน่ง เพราะไม่ใช่ตั้ง สสร.หรือสภาสนามม้า แล้วตำแหน่งที่เอามาก็ไม่ได้มีหลักเกณฑ์ เช่นทำไมเอาปลัดยุติธรรม ไม่เอาปลัดกระทรวงอื่น ทำไมเอาอดีตเลขา สกอ. ทำไมเอาอดีตเลขา สพฐ.

แต่คนที่มาตามตำแหน่งก็มีอะไรซ่อนอยู่ อย่างเช่นเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อ้าว หมอชูชัย ศุภวงศ์ สายตรงหมอประเวศ (นี่หว่า) ผมน่ะได้ยินข่าวมา 2 อาทิตย์แล้วว่าเขาจะเอาหมอชูชัยไปร่วมด้วย แต่ไม่เข้าใจว่าจะไปแบบไหน จะลาออกจาก กสม.เลยหรือ เพิ่งรู้ว่าไปแบบนี้เอง

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตเลขา สพฐ. ถ้าดูเผินๆไม่มีอะไร แต่ต้องย้อนดูประวัติ คุณหญิงคือบุตรสาวของท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช ประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นป้าสะใภ้ของกรณ์ จาติกวณิช เปล่า ไม่ได้จะบอกว่ามาสาย ปชป. แต่ท่านผู้หญิงสุมาลีคือประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) คนแรก ระหว่างปี 2529-2532

ฉะนั้น คุณหญิงกษมาอาจจะเรียกว่ามาสาย NGO ก็ได้

ในชุดแรก 27 คน ที่เป็นสายตรง “ลัทธิประเวศ” ได้แก่ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม, หมอพลเดช ปิ่นประทีป, หมอวิชัย โชควิวัฒน์ และหมอชูชัย

สารี อ๋องสมหวัง แม้ระยะหลังความเห็นต่างกันบ้างแต่ก็อยู่สายหมอประเวศมาตั้งแต่ 20 ปีผ่านไปไวเหมือนโกหก (สมัยยังเป็นสาว)

เรวดี ประเสริฐเจริญสุข อดีตประธาน กป.อพช. ไม่ใช่ศิษย์ก้นกุฎีหมอประเวศ เพราะทำงานมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สืบทอดมาจากอาจารย์ป๋วย ปัจจุบันเป็น NGO รุ่นใหญ่ของวงการเป็นรองแค่รุ่นหมอประเวศ, ไพบูลย์, ส.ศิวรักษ์

ในช่วงวิกฤติการเมืองที่ผ่านมาเรวดีไม่ใส่เสื้อสีชัดเจน แต่สามีคือ ทวีเกียรติ ประเสริฐเจริญสุข รองคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต ซึ่งแค่เห็นชื่อ ม.ก็คงไม่ต้องบอกต่อว่าสีอะไร ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น เธียรธรรม เธียรสิริไชย ไม่ทราบว่าต้องการแยกบทบาทกันหรือเปล่า อดีตเป็นคนเดือนตุลา เข้าป่า 3 จังหวัด แล้วลงมาทำงาน NGO แถวนครสวรรค์อยู่พักหนึ่ง (สืบไปสืบมาเป็นเพื่อนของเพื่อนซี้ผม) บทบาทเร็วๆ นี้ก็คือไปอภิปรายสนับสนุนตุลาการภิวัตน์คดียึดทรัพย์ และร่วมกับพรรคการเมืองใหม่กล่าวหาเพื่อนพ้องในอดีตว่าจะรับใช้ทักษิณทำ “สงครามประชาชน”

พี่สน รูปสูง นี่ก็ออกจากป่า ก่อนเข้าป่าแกเป็นครู ถือเป็นบุคคลปรัมปราของขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนในอีสาน จะสมัชชาคนจนสมัชชารายย่อยสมัชชาอะไรก็แล้วแต่ พี่สนมีเอี่ยวทั้งนั้น เป็นคนทำงานเพื่อชุมชนอย่างจริงจัง แต่กลายเป็นปราชญ์ชาวบ้านไปเมื่อไหร่ไม่รู้เหมือนกัน

ช่วงเหลือง-แดง พี่สนเก็บเนื้อเก็บตัวไม่ออกอาการ แต่ลูกชายคือ ประกาศิต รูปสูง เป็นผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนเพื่อประชาธิปไตยภาคอีสาน แกนนำพันธมิตร จ.ขอนแก่น เคยไปตั้งเวทีประจัญกับเสื้อแดงอุดร ขวัญชัย ไพรพนา มาแล้ว

ปรีดา คงแป้น อาจจะไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก เธอเป็นผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท เคยอยู่ พอช.สามีคือสุวัฒน์ คงแป้น ผู้ชำนาญการประจำสำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ พอช. สมัยก่อนเคยทำงานสำนักข่าว INN อยู่ในกลุ่มของสนธิญาณ หนูแก้ว, สมชาย แสวงการ

มีข่าวว่าปรีดาเพิ่งได้โครงการอะไรซักอย่างจาก สสส. (แด่น้องผู้หิวโหยอะไรเทือกนี้แหละ) วงเงินร่วม 10 ล้านบาท ลองไปถามดูเผื่อ สสส.เขาจะเปิดเผยข้อมูล

ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์  นักวิชาการอิสระ เป็นคนเชียงใหม่ เป็น NGO สายวัฒนธรรม คือพวกฟื้นฟูของเก่าดั้งเดิม เช่น ผ้าทอพื้นเมือง มีชื่อเสียงเมื่อเขียนหนังสือพุทธทาสกับทฤษฎีไร้ระเบียบ เป็นผู้อำนวยการการสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม ทำโครงการสร้างความแข็งแกร่งและยั่งยืนแก่เครือข่ายปฏิรูปประเทศไทย เรื่อง “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้”

โดยได้ทุนสนับสนุนจาก สสส. ไป “จินตนาการ” อีกเช่นกัน แต่วงเงินเท่าไหร่ไม่ทราบ ต้องให้ สสส.เปิดเผยเอง

เตือนใจ ดีเทศน์ “ครูแดง” คงไม่ต้องพูดถึง บทบาทชัดเจนอยู่แล้วสมัย พธม.

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ชัดเจนอยู่แล้วว่าเหลืองอ๋อย เพียงแต่ไม่เข้าใจว่าพี่เนาว์แกเข้ามาในฐานะอะไร ถ้าบอกว่าครูแดงเป็นตัวแทนชาวเขา พี่เนาว์ก็ไม่ใช่ตัวแทนศิลปิน ถ้าจะพูดถึงความคิดอ่านทางการเมืองการพัฒนาอย่างเป็นระบบ พี่เนาว์ก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าอารมณ์ศิลปิน สันนิษฐานได้อย่างเดียวว่าเอาแกมาเขียนกลอนขายฝัน

ปรีดา เตียสุวรรณ ครบเครื่องเหลืองจ๋าอีกเช่นกัน ใครบอกว่าผู้บริจาคเงินให้พรรคการเมืองใหม่ พูดให้ถูกต้องบอกว่า “พ่อยก” ของยะใส พ่อทูนหัวของ ครป.มานมนานนักหนาแล้ว ไม่มีแพรนด้าจิวเวลรี ครป.ก็ไม่รอดชีวิตมาจนถึงยุคไล่ทักษิณ

แพรนด้าจิวเวลรีเพิ่งได้อานิสงส์จากการที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ยก เว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ จาก 7% เหลือ 1% บริษัทแถลงว่าลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 1-3% ช่วยให้ความสามารถการทำกำไรขั้นต้นน่าจะอยู่ที่ 35-38% เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 32%

ก็สมควรสนับสนุนการปฏิรูปประเทศไทย ลดความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ

อ.ณรงค์ เพชรประเสริฐ เป็นคนที่น่านับถือทางส่วนตัว แต่ทางความคิดไม่รู้จะเอาไงแน่ สมัยที่ใครๆ เขาเลิกเป็นซ้ายกันแล้ว แกก็ยังซ้ายจ๋าอยู่ แต่เอ้า พอทักษิณตั้งรัฐบาลไทยรักไทย แกก็โดดเข้าไปร่วม พอผิดหวัง (ที่ผมสงสัยมากคือแกไปตั้งความหวังอะไรกับทักษิณ) ก็สวิงมาไล่ทักษิณ ปกป้อง พธม.

ก็ประหลาดดีที่ อ.ณรงค์อยู่ในกรรมการทั้งสองชุด จะเอาความคิดส่วนไหนของแกไปใช้

คนอื่นๆ ในชุดนี้ก็มาจากตัวแทนโน่นนี่ แต่ที่ตลกคือไปเอานายกเทศมนตรีพิษณุโลกมาด้วย เปรมฤดี ชามพูนท เมียสุชน ชามพูนท ส.ส.พรรคเพื่อไทย ฮิฮิ จะบอกว่าเอาสีแดงด้วยหรือเปล่า แต่เข้าใจว่าคงได้รับเลือกในฐานะผู้บริหารเทศบาลดีเด่น

ชุดของอานันท์ นอกจากจะมี อ.นิธิ อ.เสกสรรค์ ยังมีพระไพศาล ที่ถือว่าจุดยืนมั่นคง ถึงเป็นพระท่านก็ไม่ใช่พวกสันติวิธีหน่อมแน้ม แล้วก็มีแม่สมปอง เวียงจันทร์ มี อ.บัณฑร อ่อนดำ นักวิชาการ NGO เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ นักวิชาการผู้ต่อสู้เรื่อง พรบ.ป่าชุมชนมายาวนาน

ชัยอนันต์ สมุทรวณิช อาจพูดได้ว่าเป็นเสื้อเหลืองสายสนธิคนเดียว ที่ติดโผเข้ามา เพราะคนอื่นๆ เป็นเหลืองสาย NGO นอกกระนี้ก็มี อ.อคิน อ.ศรีศักดิ์ ร่วมกันเป็นตัวแทน Neo-cons ตามที่เก็งกันไว้

สมสุข บุญญะบัญชา อดีตผู้อำนวยการ พอช. นี่ก็ลัทธิประเวศ แต่กินเกาเหลากับไพบูลย์-พลเดช เพราะตอนสรรหาผู้อำนวยการ พอช.คนใหม่ ไพบูลย์-พลเดช ดันเอนก นาคะบุตร อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีพัฒนาสังคม “พี่เขียว” สมสุขดันคนใน เลยโดนใครไม่ทราบอ้างตัวเป็น “แหล่งข่าว” อาศัยความคุ้นเคยสื่อมวลชน ให้ข่าวถล่มทางหน้าหนังสือพิมพ์เป็นชุด ว่าสืบทอดอำนาจเผด็จการ (ฮา) แต่ผลสุดท้าย คนในได้ เอนกปิ๋ว มิน่า ถึงต้องจับ “พี่เขียว” แยกมาชุดนี้

คีย์สำคัญอีกส่วนที่ต้องรอดูคือ สำนักงานปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งจะตั้งอยู่ใน สช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่หมออำพล จินดาวัฒนะ สายตรงหมอประเวศอีกนั่นแหละ เป็นเลขาธิการ มีข่าวว่าจะดึง ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผอ.สำนักสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่และชุมชน สสส. มาช่วยงาน แต่ตัวหัวหน้าสำนักงานอานันท์จะดึงคนมาจากปูนซีเมนต์ไทย

แฝดกับใคร

เพื่อนพ้องใน NGO อธิบายว่า ต้องเห็นใจมวลชนที่เขาต่อสู้มานาน เจรจากันไม่รู้กี่รอบ จั๊กกะแหล่นๆ จะบรรลุผลอยู่แล้ว อีกนิดเดียวเอง

ฉะนั้นการเข้ามาร่วมมือปฏิรูปประเทศไทย ก็แปลว่าเราจะได้ พรบ.ป่าชุมชน ชาวปากมูลได้เปิดเขื่อน กลุ่มอนุรักษ์เมืองกาญจน์ บ้านกรูด บ่อนอก บางสะพาน มาบตาพุด จะได้ปลอดมลพิษ ชาวเขาจะได้สัญชาติ สมัชชาโน่นนี่จะได้ตามร้องขอ ฯลฯ

เพื่อแลกกับการค้ำจุน “ระบอบอภิสิทธิ์ชน” ให้ครองอำนาจต่อไป

ถามว่านี่หรือคือจุดยืนของ NGO เอาแค่เรื่องเฉพาะ เอาแค่การแก้ปัญหาบางอย่าง แต่ทิ้งหลักการทำงานเพื่อให้ประชาชนตื่นตัวมีจิตสำนึกประชาธิปไตย หันมาสนับสนุนรัฐราชการ ขุนนางอำมาตย์ ที่มองประชาชนเป็นผู้ถูกปกครอง

ทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาของหมอประเวศ พูดง่ายๆ คือพยายามเสนอสิ่งดีๆ ให้ผู้มีอำนาจรับไปทำ โดยไม่สนใจว่าอำนาจนั้นมีความเป็นธรรมและชอบธรรมหรือไม่ ไม่ใส่ใจแม้จะเป็นการค้ำจุนอำนาจที่ไม่ชอบธรรม คิดเพียงว่าเมื่อทำแล้ว ประชาชนจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาของหมอประเวศ ต้องรอให้เกิดวิกฤต แล้วจึงจะฉวยโอกาส เกิดความรุนแรง มีคนตายมากมาย เกิด Chaos แล้วจึงเข้ามา “ชุบมือเปิบ” บนกองเลือด (อานันท์ใช้คำว่า “โอกาสทอง”) วางมาดเป็นผู้สูงส่ง เสนอแนวทางบรรเทาปัญหาสังคมที่ทำให้อำนาจอันไม่ชอบธรรมดำรงอยู่ต่อไปได้ ให้ประชาชนได้อะไรติดไม้ติดมือสักอย่างสองอย่างแต่ไม่ได้แก้ปัญหาโครงสร้าง อำนาจโครงสร้างเศรษฐกิจที่แท้จริง

อานันท์บอกว่ากรรมการสองชุดนี้จะเป็นเหมือนแฝดสยาม “อิน-จัน” ผมอยากบอกว่า กรรมการปฏิรูปฯ จะเป็นเหมือนแฝดสยามกับ “ระบอบอภิสิทธิ์ชน” มากกว่า เคยดูหนังไหมครับ ที่แฝดคนหนึ่งตายไปแล้วตามกลับมาหลอกหลอน แฝดสยาม อิน-จัน พอคนหนึ่งตายอีกคนก็ตายตามกัน คุณเอาตัวเองไปผูกไว้กับสิ่งที่ใกล้ตาย ไม่ตายตามก็จะโดนหลอกหลอนไปชั่วชีวิต

 

                                                                    ใบตองสีส้ม

                                                                   10 ก.ค.53

 

ป.ล.ออรันเย่-เย่-เย่ ท่าจะแย่ ไม่ใช่เพราะปลาหมึกพอล แต่เป็น “ปลาหมอมาร์ค” ตะหาก เชียร์ทีมไหนทีมนั้นล่องจุ๊น เวรแท้ น่าจะเชียร์แค่นิวคาสเซิลทีมเดียวก็พอ ว่าแต่แอบไปสมัครทวิตเตอร์ดาราหนังฮอลแลนด์หรือยัง จุ้กกรู๊!

..............................

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น