ประชาไท | Prachatai3.info |
- กรุงเทพธุรกิจออนไลน์:น้ำยังท่วม 30จังหวัด เสียชีวิตแล้ว185ราย
- ไทยรัฐ:"ไตรรงค์"ห่วงภาษาวิบัติ ชี้คำว่า "ชิมิ" ปัญหาระดับชาติ
- มติชน:ศอฉ.ดำเนินคดี "นาวาอากาศตรี" โพสต์หมิ่นสถาบันลงเฟซบุ๊ค "ทัพฟ้า"สั่งพักราชการ
- ผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นได้รับการปล่อยตัวแล้ว เผยภาพจากกล้องปากกายังไม่ถูกลบ
- ตุลาการ รธน.แจ้งจับมือปล่อยคลิปฉาว โกงข้อสอบ
- ภาพยนตร์ “Insects in the Backyard” โดนแบน
- กลุ่มอนุรักษ์อุดรฯ จี้พ่อเมืองคนใหม่ให้เป็นกลางกรณีเหมืองโปแตช
- อภิสิทธิ์แจงองค์กรนิรโทษกรรมสากล กฎหมายหมิ่นฯ ไม่จำกัดการถกเถียงทางวิชาการ
- ทบ.ชี้ สถานการณ์ชายแดน “สังขละบุรี-แม่สอด” คลี่คลาย เร่งส่งกลับผู้อพยพ
- สมชาย ปรีชาศิลปกุล :ความเที่ยงธรรมของสถาบันตุลาการ
- รายงาน: บ้านแหงเยือนแม่เมาะ...ลมหนาวยังโหดร้าย
- หน้าเฟซบุ๊กของราชวงศ์อังกฤษกลายเป็นเวทีดีเบตเรื่องสถาบันกษัตริย์
- เปิดฉากประชุมอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดลูกปรายที่ประเทศลาว
- ภาคประชาชนย้ำอย่าดองพ.ร.บ.คุ้มครองเสียหายฯ จี้ ‘มาร์ค’ทำตามสัญญา
- “สุขุมพันธุ์” พร้อมรับ “กฎกระทรวง” ให้คนจนเมืองสร้างบ้านอย่างถูกกฎหมาย
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์:น้ำยังท่วม 30จังหวัด เสียชีวิตแล้ว185ราย Posted: 10 Nov 2010 09:26 AM PST กรมป้องกันฯ สรุปยอดน้ำท่วมถึง10พ.ย. 30 จังหวัด เสียชีวิต 185 ราย เตือน 6 จว.ภาคใต้รับมือท่วม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ( ปภ. ) รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวม 18 จังหวัด 87 อำเภอ 670 ตำบล 4 , 919 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 474 , 497 ครัวเรือน 1 , 421 ,140 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 6 ,316,156 ไร่ ผู้เสียชีวิต 127 ราย แบ่งเป็น ภาคเหนือ 1 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด ภาคกลาง 9 จังหวัด ส่วนภาคใต้เกิดสถานการณ์อุทกภัย ใน 12 จังหวัด 130 อำเภอ 818 ตำบล 5 , 643 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 540 , 843 ครัวเรือน 1 , 733 ,972 คน ขณะนี้ทั่วประเทศมีพื้นที่ประสบอุทกภัย รวม 30 จังหวัด 217 อำเภอ 1 ,488 ตำบล 10 , 562 หมู่บ้าน 1 ,015,340 ครัวเรือน 3,155,112 คน ผู้เสียชีวิต 185 ราย กรม ปภ.ยังได้แจ้งเตือน 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ระวังน้ำท่วมฉับ พลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ในที่ลาดเชิงเขา ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำในภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตั้งแต่ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง กระบี่ และตรัง เตรียมรับมือภาวะฝนตกหนัก ระหว่างวันที่ 10-11 พฤศจิกายน 2553 โดยติดตามพยากรณ์อากาศและหมั่นสังเกตสัญญาณการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติอย่าง สม่ำเสมอ ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตและสำนักงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์ภัย ตลอด 24 ชั่วโมง และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์พร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัยแล้ว
ที่มา:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ไทยรัฐ:"ไตรรงค์"ห่วงภาษาวิบัติ ชี้คำว่า "ชิมิ" ปัญหาระดับชาติ Posted: 10 Nov 2010 09:03 AM PST “ไตรรงค์” จวกวัยรุ่นใช้ “ชิมิ” แทน “ใช่ไหม” หวั่นทำภาษาไทยวิบัติ พร้อมเรียกร้องให้ที่ประชุมบอร์ดภาพยนตร์แห่งชาติเสนอให้พิจารณาชื่อหนัง “หอแต๋วแตก แหวกชิมิ” ใหม่... เมื่อวันที่ 10 พ.ย. ที่อาคารสำนักงานสวนสัตว์ดุสิต นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติครั้งที่ 9/2553 โดยมีนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) รายงานการเดินทางไปสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อตกลงความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม และการเจรจาความร่วมมือด้านภาพยนตร์ของทั้งสองประเทศ โดยทางการจีนต้องการนำเข้าภาพยนตร์ ละครไทย ขณะนี้ อยู่ระหว่างการประสานงานกับผู้ผลิตและคัดเลือกภาพยนตร์ ละครที่จะนำไปเสนอขายในจีน ขณะนี้เดียวกัน จะมีความร่วมมือระหว่างสองประเทศสร้างภาพยนตร์สองสัญชาติ เช่น ภาพยนตร์ที่มีพระเอกเป็นคนไทย นางเอกเป็นคนจีน และนำไปฉายทั้งสองประเทศ นาย ไตรรงค์ กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ครั้งที่ผ่านมาได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลจีนมีข้อระมัดระวังเกี่ยวกับ การเผยแพร่ภาพยนตร์ ละคร ใน 2 ประเด็นคือ ไม่ให้มีการเผยแพร่ภาพเด็กนักเรียนทำผิดกฎหมาย หรือผิดวัฒนธรรม เช่น กอดจูบ ยืนสูบบุรี่ และไม่ให้มีการเผยแพร่ภาพเพศที่สาม ตุ๊ด กระเทย เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ประชาชนชาวจีน จึงขอให้ที่ประชุมบอร์ดภาพยนตร์แห่งชาติมีการพิจารณาถึงความเหมาะสม และข้อระมัดระวังดังกล่าวสำหรับการเผยแพร่ภาพยนตร์ ละครทั้งในไทยและการนำไปฉายต่างประเทศด้วย นอกจากนี้โดยส่วนตัวมีความเป็นห่วงวัฒนธรรมของไทยที่มีความเสื่อมถอยมากขึ้น เห็นได้จากการใช้ภาษาผ่านเพลง ละคร ภาพยนตร์ มารยาทของวัยรุ่น โดยใช้คำที่ไม่เหมาะสม บางคำไม่ทราบว่าเป็นภาษาไทย หรือภาษาต่างประเทศ เช่นคำว่า “ชิมิ” “ผมได้สอบถาม ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ราชบัณฑิต ว่า รู้จักคำว่า ชิมิ หรือไม่ ท่านตอบว่า ไม่รู้จัก ผมเลยบอกไปว่าคำนี้เป็นคำที่ทันสมัยที่วัยรุ่นใช้กัน แปลว่า "ใช่ไหม" เกรงว่าต่อไปภาษาไทยจะเสื่อมและวิบัติ หากไม่มีการช่วยกันรักษา ดังนั้น อยากให้บอร์ดภาพยนตร์แห่งชาติ ช่วยกันดูแลภาษาในละคร ภาพยนตร์ที่ปรากฎต่อสายตาประชาชน ไม่ให้ภาษาเสื่อมและต้องรู้ว่าอะไรควรใช้หรือไม่ควรใช้” รองนายกรัฐมนตรี กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมได้มีการยกประเด็นการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมผ่านภาพยนตร์ มาหารือกันอย่างกว้างขวาง โดยมีการยกตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง "หอแต๋วแตก แหกชิมิ" ได้มาของตรวจพิจารณาจากบอร์ดภาพยนตร์แห่งชาติ แต่ไม่ผ่านการพิจารณา และให้ทางผู้สร้างกลับไปพิจารณาแก้ไขชื่อภาพยนตร์ดังกล่าวจากนั้นผู้สร้าง ได้แก้ไขมาเป็น "หอแต๋วแตก แหวกชิมิ" แต่ทางบอร์ดภาพยนตร์แห่งชาติก็ยังเห็นว่า ไม่เหมาะสมอยู่ดี ทางนายไตรรงค์ จึงของให้ที่ประชุมมีการตรวจสอบชื่อภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว และยืนยันว่าไม่ควรใช้คำว่า "ชิมิ" ในภาพยนตร์ ละครไทยเลย เพราะอาจจะทำให้ภาษาไทยวิบัติ
ที่มา:ไทยรัฐออนไลน์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
มติชน:ศอฉ.ดำเนินคดี "นาวาอากาศตรี" โพสต์หมิ่นสถาบันลงเฟซบุ๊ค "ทัพฟ้า"สั่งพักราชการ Posted: 10 Nov 2010 08:51 AM PST ผู้สื่อข่าว "มติชนออนไลน์" รายงานเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนว่า ในการประชุมศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่ประชุมได้มีการอนุมัติให้ดำเนินการกับนายทหารกองทัพอากาศ ยศ "นาวาอากาศตรี" ก่อนหน้านี้ เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมากองทัพอากาศได้แจ้งความดำเนินคดีกับนายทหารยศ "นาวาอากาศตรี" ที่ได้โพสท์ ข้อความในเฟซบุ๊กที่อาจเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่ สน.ดอนเมือง โดยพนักงานสอบสวนได้รวบรวมหลักฐานเพื่อนำขึ้นฟ้องศาล ฐานเข้าข่ายกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และมีทหารเรือสองนายได้ไปพบข้อความจึงแจ้งไปที่กองทัพอากาศให้ดำเนินการ "ผู้สื่อข่าวมติชนออนไลน์" จึงได้โทรศัพท์ไปยัง พ.ต.อ.ณรงค์ฤทธิ์ พรหมสวัสดิ์ ผู้กำกับการ สน.ดอนเมือง แต่ได้รับการปฏิเสธ โดยอ้างว่า ยังไม่ทราบเรื่อง ขอตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน เช่นเดียวกับ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวปฏิเสธว่ายังไม่ทราบเรื่อง และไม่สะดวกที่จะให้สัมภาษณ์ พร้อมกับถามว่า รับทราบเรื่องมาจากที่ไหนและไม่ขอตอบในประเด็นดังกล่าว ในขณะที่ พล.อ.ต. มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยว่า กองทัพอากาศได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง พร้อมให้นายทหารพระธรรมนูญ เข้าสอบสวน น.ต.ชนินทร์ คล้ายคลึง หัวหน้าฝ่ายกรมช่างทหารอากาศ โดยต้นสังกัดของทหารนายดังกล่าวได้ไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เบื้องต้นมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งไว้ก่อน เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนดำเนินคดีทางกฎหมาย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเกิดจากการแจ้งเข้ามาว่าพบการโพสต์ข้อความที่ไม่ เหมาะสมหลายครั้ง และนำข้อความเหล่านี้ลิงค์ไปที่อื่นด้วย ทั้งนี้ ผู้บัญชาการทหารอากาศให้ความสำคัญเรื่องดังกล่าว เพราะเคยให้นโยบายกับหน่วยขึ้นตรงกองทัพอากาศ ให้กำลังพลทุกคนยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ และปกป้องสถาบัน สำหรับเรื่องดังกล่าวได้รายงานให้ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้รับทราบเมื่อสัปดาห์ก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบไปยัง แหล่งข่าวจาก ศอฉ. ได้รับการเปิดเผยด้วยท่าทีอึดอัดใจ ว่า กรณีดังกล่าวเป็นความจริง แต่เนื่องจากเป็นเคสที่ค่อนข้างอ่อนไหวอย่างมาก โดยเฉพาะกระทบต่อภาพลักษณ์ของกองทัพทำให้ได้มีการขอร้องในที่ประชุมให้ปิด เป็นความลับก่อน รอจนกว่าได้มีการจับกุมตัวและสอบสวนเป็นที่เรียบร้อยจึงจะได้เปิดเผยเรื่อง นี้ อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบกรณีดังกล่าวเป็นการ ดำเนินการของกองทัพอากาศเองที่รู้ถึงพฤติกรรมไม่เหมาะสมของนายทหารคนดัง กล่าว พร้อมกับได้สั่งพักราชการไปแล้ว ก่อนไปแจ้งความกับตำรวจและอยู่ในระหว่างการรวบรวมหลักพร้อมกับขอศาลออกหมาย จับแล้ว อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่าศาลจะออกหมายจับนายทหารทั้งสองแล้ว "เชื่อว่าศาลน่าจะออกหมายจับเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว แต่ด้วยความที่การดำเนินการเป็นไปในทางลับ ได้มีการกำชับในที่ประชุมให้ปิดเป็นความลับ จนกว่าจะได้มีการจับกุม และสอบสวนเป็นที่เรียบร้อยก่อน จึงไม่มีใครกล้าที่จะออกมาให้ข่าวกรณีนี้" แหล่งข่าวรายเดิมกล่าว พร้อมกับโยนให้ไปถามทางกองบัญชาการตำรวจนครบาล และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) แทน
ที่มา:มติชนออนไลน์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นได้รับการปล่อยตัวแล้ว เผยภาพจากกล้องปากกายังไม่ถูกลบ Posted: 10 Nov 2010 08:40 AM PST “โทรุ ยามาจิ” ผู้สื่อข่าวสำนักข่าว APF ของญี่ปุ่นได้รับการปล่อยตัวจากทางการพม่าเมื่อเย็นวานนี้แล้ว เจ้าตัวทวิตเตอร์ระบุไม่คิดว่าจะได้กลับแบบมีชีวิตเนื่องจากสถานีตำรวจถูกโจมตี เผยโชคดีที่ภาพในกล้องปากกายังไม่ถูกลบ เชื่อเจ้าหน้าที่พม่าไม่รู้วิธีดูภาพและลบไฟล์ไม่เป็น แฟ้มภาพนายโทรุ ยามาจิ หัวหน้าสำนักข่าว APF ล่าสุดนายยามาจิ ได้รับการปล่อยตัวจากทางการพม่าแล้วเมื่อเย็นวันที่ 9 พ.ย. ที่ผ่านมา (ที่มา: สถานีโทรทัศน์ NHK) สำนักข่าว APF ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ยืนยันเมื่อเวลาประมาณ 17.22 น. วานนี้ (9 พ.ย.) ว่านายโทรุ ยามาจิ อายุ 49 ปี ซึ่งถูกทางการพม่าควบคุมตัวที่เมืองเมียวดีเมื่อวันอาทิตย์ (7 พ.ย.) ที่ผ่านมา หลังพยายามข้ามแดนโดยเรือเข้าไปทำข่าวการเลือกตั้งในพม่า ได้รับการปล่อยตัวแล้ว โดยสำนักข่าว APF ยืนยันว่านายยามาจิปลอดภัยดี ขณะเดียวกัน นายยามาจิได้โพสต์ทวิตเตอร์ส่วนตัวของเขาเมื่อคืนวานนี้ (9 พ.ย.) ว่า [1], ตอนแรกเขาคิดว่าอย่างเลวร้ายที่สุดน่าจะถูกตัดสินจำคุก 5-7 ปี และคิดว่าไม่น่าจะได้กลับบ้านแบบมีชีวิตเนื่องจากถูกควบคุมตัวอยู่ภายในสถานีตำรวจที่กำลังถูกโจมตี ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงที่เขาถูกควบคุมตัวในเมียวดี รอบเมืองกำลังถูกโจมตีโดยกองกำลังกะเหรี่ยงดีเคบีเอ กองพลน้อยที่ 5 ที่พยายามเข้ายึดเมืองเมียวดีจากทหารพม่า นอกจากนี้เขายังโพสต์ด้วยว่า [2] เป็นความโชคดี เนื่องจากภาพในกล้องปากกาของเขาไม่ถูกลบและกล้องยังสามารถใช้งานได้ โดยคิดว่าเจ้าหน้าที่พม่าไม่รู้วิธีดูภาพหรือลบภาพจากอุปกรณ์ของเขา ทั้งนี้นายโทรุ ยามาจิ อายุ 49 ปี เป็นหัวหน้าสำนักข่าว APF ของญี่ปุ่น ถูกตำรวจพม่าจับที่เมืองเมียวดี ตรงข้ามกับ อ.แม่สอด จ.ตาก เมื่อเวลาประมาณ 9.00 น. หลังจากเขาลักลอบข้ามเข้าไปในเมืองเมียวดีเขตพม่า ทั้งนี้นายยามาจิยังเป็นเพื่อนร่วมงานกับนายเคนจิ นากาอิ ผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าวเดียวกัน ซึ่งถูกทหารพม่ายิงเสียชีวิต ช่วงการประท้วงของพระสงฆ์เมื่อเดือนกันยายนปี 2550 โดยนายยามาจิเป็นผู้เดินทางไปรับศพนายเคนจิด้วย ทั้งนี้ ทางการพม่าห้ามผู้สื่อข่าวต่างประเทศและผู้สังเกตการณ์เข้าประเทศในช่วงที่มีการเลือกตั้ง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ตุลาการ รธน.แจ้งจับมือปล่อยคลิปฉาว โกงข้อสอบ Posted: 10 Nov 2010 08:37 AM PST 11.30 น. วันที่ 10 พฤศจิกายน ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) นายณพล อรุณอาศิรกุล ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก นายจรูญ อินทจาร นายสุพจน์ ไข่มุกด์ และนายเฉลิมพล เอกอุรุ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.ชวลิต หาญเสน่ห์ลักษณ์ พนักงานสอบสวน (สบ3) กก.1 บก.ป. เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษ ให้ดำเนินคดีกับผู้ที่นำคลิปวีดีโอชุดที่ 3 ซึ่งเป็นการสนทนากันระหว่าง นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ กับกลุ่มบุคคลที่มีการกล่าวอ้างถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 3 คน เกี่ยวกับการช่วยเหลือในการสอบเข้าเป็นเจ้าหน้าที่lสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ไปเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ในความผิดข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 และความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา โดยทำคำร้อง ประกอบสำเนา น.ส.พ.มติชน ฉบับวันที่ 9 พฤศจิกายน 2553 สำเนาข้อมูลจากเว็บไซต์"มติชนออนไลน์" ซีดีบันทึกคลิปดังกล่าว และสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องมอบให้พนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาดำเนินคดี พ.ต.ท.ชวลิต กล่าวว่า ได้รับเรื่องไว้แล้วพร้อมกับรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ ก่อนจะประสานไปยังพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เนื่องจากเป็นคดีเดียวกันที่เกี่ยวเนื่องกับคลิปวีดีโอชุดที่ 2 (กรณีนายพสิษฐ์ สนทนากับบุคคลที่ถูกอ้างว่า เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2คน) ซึ่ง นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ ได้เข้าร้องทุกข์ไว้แล้วก่อนหน้านี้ เพื่อให้ทาง บก.ปอท.สืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานต่อไป
ที่มา:มติชนออนไลน์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ภาพยนตร์ “Insects in the Backyard” โดนแบน Posted: 10 Nov 2010 08:17 AM PST ภาพยนตร์ “Insects in the Backyard” ไม่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ได้เรตห้ามฉาย เหตุ "มีเนื้อหาขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน" หลังเพิ่งลาโรงจากการฉายใน “เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 8” วันนี้ (22 พ.ย.) Facebook ของ Bioscope Magazine แจ้งข้อมูลว่าภาพยนตร์ในโครงการ Indy Spirit Project หมายเลข 2 เรื่อง Insects in the Backyard ไม่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ โดยได้เรตห้ามฉาย เนื่องจาก “มีเนื้อหาขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” และขณะนี้ทีมผู้สร้างกำลังทำเรื่องอุทธรณ์อยู่ Insects in the Backyard เป็นผลงานภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของผู้กำกับภาพยนตร์สั้นมือ รางวัลจากมูลนิธิหนังไทย ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ซึ่งเคยเข้าร่วมประกวดที่เทศกาลภาพยนตร์เมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา นอกจากนั้น ธัญญ์วาริน ยังเป็นเจ้าของรางวัลรัตน์ เปสตันยี จากการประกวดภาพยนตร์สั้นไทยครั้งที่ 12 เรื่อง I’m fine.สบายดีค่ะ ในปี 2551 ในส่วนของเนื้อหา ภาพยนตร์ดังกล่าวบอกเล่าชีวิตของคนในครอบครัวหนึ่งประกอบด้วย เจนนี่ และจอห์นนี่ พี่น้องกำพร้าพ่อแม่ พวกเขาถูกดูแลโดย ธันย่า พี่สาวคนโตซึ่งเป็นเพศที่สาม เธอแต่งตัว กินอาหาร สูบบุหรี่ และทำตัวเหมือนดาราที่ชื่นชอบ ซึ่งสร้างบรรยากาศประหลาดให้กับคนทั้งสอง และค่อยๆ ห่างเหินจากบ้านที่พวกเขาอาศัยอยู่จนหนีออกไปในที่สุด ภาพยนตร์นำแสดงโดยตัวธัญญ์วารินเอง และนักแสดงวัยรุ่นหน้าใหม่ พร้อมด้วยอัญชลี สายสุนทร จาก Wonderful Town ในบทสมทบเล็กๆ แต่มีความสำคัญ ตัวภาพยนตร์ถ่ายทำในหลายจังหวัดของประเทศไทย ตั้งแต่กรุงเทพฯ จนถึงแม่ฮ่องสอน ด้วยงบในการถ่ายทำมีไม่มากนัก โดยเงินทุนในการผลิตมาจากบรรดาเพื่อนฝูงของธัญญ์วาริน และกล้องที่ได้รับการอนุเคราะห์จากอุรุพงษ์ รักษาสัตย์ นอกจากนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ยังมีโปรดิวเซอร์อย่างโสฬส สุขุม และอาทิตย์ อัสสรัตน์แห่งป็อบ พิคเจอร์ มาช่วยดูในเรื่องของการเผยแพร่ไปยังต่างประเทศด้วย ทั้งนี้ ในส่วนโครงการ Independent Spirit Project เป็นความร่วมมือระหว่าง SF Cinema และ BIOSCOPE โดยเปิดพื้นที่ฉายหนังอิสระต่อเนื่องทั้งปี ประเดิมด้วย “ลุงบุญมีระลึกชาติ” เมื่อวันศุกร์ที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา ส่วน Insects in the Backyard มีกำหนดฉายในเดือนธันวาคมนี้ นอกจากนี้ Insects in the Backyard เป็นส่วนภาพยนตร์โดดเด่นที่น่าจับตา ซึ่งกำหนดฉาย ในเทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 8 ระหว่างวันที่ 5-14 พ.ย.2553 ซึ่งได้ทำการเปิดฉายไปเมื่อวันเสาร์ที่ 6 และจันทร์ที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา ตัวอย่างหนัง: ที่มาข้อมูล: Insects in the backyard ผลงานใหม่ของธัญญ์วาริน (http://www.thaicinema.org/kits194insects.asp) เครือข่ายคนดูหนัง (http://thaiaudience.wordpress.com/2010/11/10/insectsinthebackyard/) popcorn magazine bbs (http://www.popcornmag.com/bbs/index.php?showtopic=10932) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กลุ่มอนุรักษ์อุดรฯ จี้พ่อเมืองคนใหม่ให้เป็นกลางกรณีเหมืองโปแตช Posted: 10 Nov 2010 07:46 AM PST เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 53 เวลา 09.30 น. ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จำนวนกว่า 100 คน ได้รวมตัวกันเพื่อรอยื่นหนังสือกับนายคมสัน เอก ชัย ผู้ว่าราชการจังหวัด ณ ที่ว่าการอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี เนื่องในโอกาสที่นายคมสัน ย้ายมารับตำแหน่งผู้ว่าฯ คนใหม่ และได้เดินทางมามอบแนวนโยบายการปฏิบัติราชการแก่ผู้นำ และหัวหน้าส่วนราชการในท้องที่ดังกล่าว จนกระทั่งเวลา 10.00 น. เศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ได้เดินทางมาถึง ก็ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มชาวบ้านเข้าพบเพื่อยื่นหนังสือและพูดคุยกันเป็นเวลานานประมาณ 20 นาที ก่อนเข้าห้องประชุมต่อไป โดยนายทองหล่อ ทิพย์สุวรรณ์ รองประธานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี เป็นผู้ยื่นหนังสือและกล่าวต่อผู้ว่าฯ ว่า ตั้งแต่ผู้ว่าฯ มารับตำแหน่งใหม่ และช่วงที่มีการลงพื้นที่มาปักหมุด รังวัดเขตเหมืองของเจ้าหน้าที่ กพร. (กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่) จนเกือบมีการปะทะกันของกลุ่มชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รังวัด หลังจากนั้นชาวบ้านเข้าไปหาผู้ว่าฯ ที่จังหวัดหลายครั้งแต่ก็ไม่พบ แต่พอผู้ว่าฯ มาในวันนี้กลุ่มชาวบ้านจึงอยากขอนัดหมายเข้าพบเพื่อพูดคุยชี้แจงให้ข้อมูลในพื้นที่กรณีโครงการเหมืองแร่โปแตช และอยากขอให้ผู้ว่าฯ วางตัวเป็นกลางในเรื่องนี้ “อยากให้พ่อเมืองอุดรคนใหม่ทำตัวเป็นกลาง พร้อมทั้งขอให้ช่วยกำชับผู้นำ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ ไม่ให้มีพฤติกรรมเข้าข้างบริษัท เพราะพฤติกรรมดังกล่าวเป็นต้นเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยกกันภายในชุมชนอยู่ทุกวันนี้” นายทองหล่อกล่าว ทางด้านนายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า การที่ตนเป็นผู้ว่าฯ อยู่จังหวัดอื่นมาแล้วหรือย้ายมารับตำแหน่งผู้ว่าฯ อุดร ก็ตาม ตนมีความตั้งใจจริง ที่จะดูแลทุกข์ สุข ให้แก่พี่น้องประชาชน เรื่องอะไรที่จะนำความขัดแย้งแตกแยกมาสู่ชุมชนซึ่งตนไม่ทำอย่างแน่นอน “ในเรื่องโปแตชผู้ว่าฯ ต้องวางตัวเป็นกลาง และปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ว่าฝ่ายใดก็ตามจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งหากฝ่ายชาวบ้านเห็นว่ามันผิดก็สามารถฟ้องร้องได้ เพราะทุกวันนี้ศาลปกครองก็มีแล้ว ส่วนเรื่องวันที่ชาวบ้านนัดหมายจะคุยกับผู้ว่าฯ นั้น เดี๋ยวผู้ว่าฯ จะเช็คดูวันว่าง แล้วจะประสานผ่านมาทางนายอำเภออีกทีก็แล้วกัน” นายคมสันกล่าว ขณะที่นายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ที่ปรึกษากลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า กรณีโครงการเหมืองแร่โปแตช เป็นประเด็นระดับชาติที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจ และเป็นเรื่องใหม่สำหรับชาวอุดรและคนไทยทั้งประเทศ ขณะเดียวกันชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ ก็ได้มีการติดตามและผลักดันข้อเสนอมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 10 ปี จนเกิดข้อเสนอร่วมกันกับนักวิชาการ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ว่าฯ คนก่อน เพื่อเสนอให้มีการจัดทำการศึกษายุทธศาสตร์แร่โปแตชและเกลือหิน หรือที่เรียกว่า SEA ทั้งระบบในภาคอีสาน และจังหวัดอุดรธานีเองด้วย ดังนั้นผู้ว่าฯ คนใหม่มาก็ควรศึกษาให้รอบด้านก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไปเพราะผลกระทบมันย่อมเกิดขึ้นกับชาวบ้านในพื้นที่ ดังที่เห็นแล้วจากการลงปักหมุดรังวัดของ กพร. เมื่อวันที่ 30 ต.ค.-1 พ.ย. ที่ผ่านมา สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
อภิสิทธิ์แจงองค์กรนิรโทษกรรมสากล กฎหมายหมิ่นฯ ไม่จำกัดการถกเถียงทางวิชาการ Posted: 10 Nov 2010 06:07 AM PST เลขาธิการองค์กรนิรโทษกรรมสากลเข้าพบนายกรัฐมนตรี พร้อมซักถามประเด็นสถานการณ์การเมือง สถานการณ์ภาคใต้ และการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รวมถึงประเด็นผู้พลัดถิ่นจากพม่า เว็บไซต์รัฐบาลรายงานเมื่อวันที่ 10 พ.ย. ว่า นายซาลิล เชตตี้ เลขาธิการองค์กรนิรโทษกรรมสากล (เอไอ) เข้าพบนายกรัฐมนตรีในโอกาสที่เยือนประเทศไทย ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยเลขาธิการองค์กรนิรโทษกรรมสากลได้ถามนายกรัฐมนตรีในประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจในสื่อมวลชนและสาธารณชน เช่น สถานการณ์ทางการเมือง สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนใต้ สถานการณ์ของผู้อพยพจากการสู้รบในพม่า และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นายรัฐมนตรีของไทยอธิบายว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นวางอยู่บนหลักการพื้นฐานและคำนึงถึงเจตนาของผู้ที่กระทำผิด โดยกฎหมายดังกล่าวมิได้จำกัดการถกเถียงในเชิงวิชาการ ประเทศไทยเป็นสังคมเปิด ซึ่งเคารพและเชื่อมั่นในเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบันซึ่งทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลต่างสามารถเข้าถึงสื่อและหนังสือพิมพ์ รวมถึงทีวีสาธารณะและเคเบิ้ลทีวี เป็นสภาพการณ์ที่แตกต่างจากอดีต เรื่องของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น นายกรัฐมนตรีอธิบายว่า ขณะนี้ยังประกาศใช้อยู่เพียงไม่กี่จังหวัด ในพื้นกรุงเทพมหานครนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อการปกป้องความปลอดภัยของสาธารณะ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับอพาร์ทเมนท์ในจังหวัดนนทบุรีนั้นสะท้อนว่ามีความจำเป็นที่จะต้องจับตาดูสถานการณ์เพราะว่ายังคงมีการเคลื่อนไหวอยู่ พร้อมกล่าวว่าโดยส่วนตัวแล้ว หากเป็นไปได้ก็อยากจะยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกจังหวัดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หากไม่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว ก็ไม่อยากจะเห็นความปั่นป่วนหรือการประท้วงใหญ่ๆ อีก สำหรับสถานการณ์ในภาคใต้ รัฐบาลได้พยายามที่จะแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเชื่องว่าเดินมาถูกทางแล้ว อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรียอมรับว่า มีคดีหลายคดีที่เกิดขึ้นก่อนที่รัฐบาลนี้จะเข้าสู่อำนาจ และยังคงค้างอยู่ในกระบวนยุติธรรม ซึ่งเมื่อรัฐบาลนี้เข้าดำรงตำแหน่งก็พยายามที่จะจับตาคดีเหล่านี้อย่างใกล้ชิด แต่รัฐบาลก็ต้องเคารพในกระบวนการยุติธรรมซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานที่เป็นอิสระด้วย และประเด็นผู้พลัดถิ่นจากพม่านั้น รัฐบาลได้ดำเนินการบนหลักการพื้นฐานด้านมนุษยธรรม ในระหว่างการเยือนพม่าครั้งล่าสุด นายกรัฐมนตรียังได้แสดงความวิตกกังวลในประเด็นนี้ต่อผู้นำของพม่าด้วย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ทบ.ชี้ สถานการณ์ชายแดน “สังขละบุรี-แม่สอด” คลี่คลาย เร่งส่งกลับผู้อพยพ Posted: 10 Nov 2010 04:19 AM PST “เพื่อนพม่า” รายงานสถานการณ์ “ชายแดนพม่า” ที่ อ.แม่สอดยังไม่น่าวางใจ ขณะที่สื่อรายงานข่าว “รัฐบาลพม่า” ปล่อยตัว “นักข่าวญี่ปุ่น” เข้าไทยแล้ว คาดอยู่ กทม. ด้านผลการเลือกตั้ง ผู้นำระดับสูง USDP ซึ่งหนุนหลังโดยรัฐบาลทหารพม่า เผยพรรคชนะการเลือกตั้ง กวาดที่นั่งในรัฐสภาได้ถึงร้อยละ 75
ภาพ: บรรยากาศ บริเวณสนามฟุตบอลที่ร้อย ตชด.346 อ.แม่สอด จ.ตาก โดยองค์กรเพื่อนพม่า “เพื่อนพม่า” รายงานสถานการณ์ “ชายแดนพม่า” ยังไม่น่าวางใจ วันนี้ (10 พ.ย.53) องค์กรเพื่อนพม่ารายงานบรรยากาศจากในพื้นที่ว่า บริเวณสนามฟุตบอลที่ร้อย ตชด.346 อ.แม่สอด จ.ตาก ขณะนี้มีตัวเลขผู้อพยพโดยประมาณ 18,000 – 22,000 คน ได้ถูกส่งกลับไปยังอำเภอเมียวดี ประเทศพม่าตั้งแต่เมื่อวาน ( 9 พ.ย.) อย่างไรก็ตามยังมีชาวบ้านอีกว่า 500 คน ซึ่งมีบ้านอยู่ในหมู่ที่ 1 – 5 ของ อ.เมียวดี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการเผาทำลายสถานที่ราชการ และมีการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลทหารพม่า (The State Peace and Development Council: SPDC) และกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย (Democratic Karen Buddhist Army: DKBA) ยังไม่ได้เดินทางกลับ เนื่องจากยังตื่นกลัวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และไม่มั่นใจในความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ไทยจึงอนุญาตให้ชาวบ้านกลุ่มนี้นอนพักที่ค่าย ตชด.ต่ออีกหนึ่งคืน กระทั้งเช้ามืดของวันที่ 10 พ.ย.นี้ ผู้ลี้ภัยทั้งหมดได้ถูกส่งกลับไปยัง อ.เมียวดี ประเทศพม่า อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวในพื้นที่รายงานว่า ขณะนี้มีชาวบ้านประมาณ 1,800 คนที่ถูกส่งกลับวันที่ 9 พ.ย.53 ได้อพยพกลับเข้ามาในประเทศไทยในเย็นวันเดียวกัน โดยอาศัยอยู่ตามวัด และโรงเรียนตามแนวชายแดน โดยมีเจ้าหน้าที่ไทย กิ่งกาชาติแม่สอด และองค์กรเอกชนต่างๆ ร่วมกันให้ความช่วยเหลือ ทั้งนี้ องค์กรเพื่อนพม่ายังประกาศรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้อพยพ จึงขอปิดการรับบริจาค และแจ้งว่าจะได้ทำรายงานการรับบริจาคแจ้งให้ทราบในภายหลัง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในขณะยังไม่น่าไว้วางใจ แหล่งข่าวในพื้นที่คาดว่าจะมีการโจมตีและมีผู้อพยพเข้ามายังฝั่งไทยอีก โดยเพื่อนพม่าจะรายงานสถานการณ์ให้ทราบเป็นระยะ ด้านเนชั่นทันข่าว รายงานวันเดียวกันนี้ด้วยว่า ผู้อพยพที่ อ.พบพระ จ.ตาก ราว 600 คน ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยงมวลชนของ DKBA ยังคงอาศัยอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดน บริเวณบ้านวาเล่ย์ ต.วาเล่ย์ อ.พบพระ จ.ตาก โดยคอยระมัดระวังการสู้รบกับกองกำลังทหารรัฐบาลพม่ากับฝ่าย DKBA ทั้งนี้ บริเวณค่ายวาเล่ย์ เป็นฐานกองบัญชาการของกองกำลัง DKBA กองพลน้อยที่ 5 บัญชาการโดย พ.อ.ซอว์ ลา เพว (Saw Lah Pwe) หรือ นะคามวย (Na Kham Mwe) ที่ส่งกำลังทหารเข้าไปโจมตีพื้นที่ จ.เมียวดี ตรงข้าม ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด เมื่อ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา แหล่งข่าวรายงานว่า ทหารพม่าได้เสริมกำลังทหาร 7 กองพัน เข้ามา หลังได้รับคำสั่งจากพลจัตวาทูนเล วิน แม่ทัพภาคตะวันออกเฉียงใต้ เตรียมปราบกองกำลัง DKBA ให้หมดไปโดยเร็วที่สุด ทำให้ชาวกะเหรี่ยง สัญชาติพม่า ที่เป็นมวลชนของ DKBA ต้องหนีภัยเข้ามาที่บ้านวาเล่ย์ และที่บ้านมอเกอร์ไทย ต.วาเล่ย์ โดยเฉพาะตอนกลางคืน จะหลบเข้ามาอาศัยอยู่ในเขตไทย ส่วนกลางวันก็จะกลับไปดูแลทรัพย์สินที่บ้าน ซึ่งมีทหารไทยคอยรักษาการณ์บริเวณแนวชายแดน ขณะที่ทหารกะเหรี่ยง DKBA ได้ส่งกำลังทหาร 3 กองพัน ออกจากพื้นที่ค่ายวาเล่ย์ ซึ่งเป็นฐานที่มั่นใหญ่ ไปบริเวณแนวหน้า ห่างออกไปประมาณ 3-4 กิโลเมตร มาอยู่บริเวณด่านหน้าแนว บ.วาเล่ย์ และ บ.อเกอร์ไทย จ.เมียวดี ซึ่งเป็นหมู่บ้านติดชายแดน ทางฝั่ง อ.พบพระ จ.ตาก เพื่อรับมือกับทหารพม่า ส่วนในตัวเมือง จ.เมียวดี ทหารพม่าจำนวน 7 กองพัน ติดอาวุธปืน ค.60 ค.80 อาร์พีจี ปืนไร้แสงสะท้อนถอยหลัง (ปรส.) กำลังเคลียร์พื้นที่ทางใต้ จ.เมียวดี ลงไปถึง จ.พญาตองซู ทางด้านตรงข้าม อ.พระเจดีย์สามองค์ จ.กาญจนบุรี ทั้งนี้ ทางพม่าได้นำเฮลิคอปเตอร์ กรรชิดติดปืนกล และจรวดนำวิถี 2 ลำ จอดอยู่ที่บ้านกอกาเลก จ.กอกาเลก ประเทศพม่า ห่างจาก อ.แม่สอด จ.ตาก ลึกเข้าไปทางตะวันตก ประมาณ 60 กิโลเมตร เพื่อเตรียมการกวาดล้าง โดยอาวุธดังกล่าวเป็นยุทโธปกรณ์ที่มีอานุภาพ ซึ่งทหารพม่านำออกมาใช้ ส่วนนายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก กล่าวว่า การสู้รบตามแนวชายแดนที่น่าห่วงที่สุดคือ บริเวณพื้นที่อำเภอพบพระ เพราะมีฐานที่มั่น DKBA และมีบ้านพักของ พ.อ.นะคามวย อยู่ตรงข้ามบ้านมอเกอร์ไทย โดยมีการเผาบ้านอีกฝ่ายมาแล้ว จึงวิตกสถานการณ์ที่พบพระ มากกว่าที่ อ.แม่สอด ชายแดนเมืองกาญจน์ สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย สำหรับพื้นที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งมีรายงานว่าชาวพม่าจำนวนมากได้อพยพเข้ามายังประเทศไทยนั้น เนชั่นทันข่าว รายงานว่า เวลา 07.30 น. ผู้อพยพชาวพม่ากว่า 3,500 คนทยอยเดินทางออกจากบริเวณโรงเรียนบ้านซองกาเรีย สาขาย่อยโรงเรียนบ้านพระเจดีย์สามองค์ หมู่ 9 ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นสถานที่พักคอยชั่วคราวสำหรับผู้ลี้ภัยในการสู้รบระหว่างทหารพม่ากับทหารกะเหรี่ยง DKBA เดินทางกลับประเทศ โดยก่อนหน้านี้เมื่อเวลา 02.30 น. วันที่ 10 พ.ย.ผู้สื่อข่าวรายงานว่าได้ยินเสียงปืนเล็กยิงมาจากฝั่งประเทศพม่าประมาณ 5 นัด จากนั้นเวลา 04.00 น.ได้ยินเสียงปืนเล็กอีกครั้งหนึ่ง ส่วนสถานการณ์การสู้รบคาดว่าอาจจะยืดเยื้อต่อไป ซึ่งผลการปะทะกันเมื่อคืนที่ผ่านมา มีครอบครัวชาวกะเหรี่ยง 4 คนที่อาศัยอยู่ในบ้านตองซอย อ.พญาตองซู เด็กหนุ่มหนีเข้าป่าไปได้ แต่มีผู้เสียชีวิต 2 คน เป็นคนชรา เนื่องจากไม่สามารถหลบหนีได้ทัน ขณะที่บรรยากาศการค้าขายในบริเวณด่านพระเจดีย์สามองค์ ยังคงปิดตัวเงียบ เนื่องจาเกรงจะไม่ปลอดภัยจากสถานการณ์สู้รบ ทั้งนี้ นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ได้เดินทางมาที่สถานที่พักชั่วคราว เพื่อตรวจเยี่ยมผู้อพยพ และได้พูดคุยปรึกษากับ พล.ต.ตะวัน เรืองศรี ผบ.กกล.สุรสีห์ เพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการต่อไป พร้อมกันนี้ยังได้ลงพื้นที่ไปตรวจความเรียบร้อยบริเวณด่านเจดีย์สามองค์ นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดี ประชาชนบางส่วนได้เริ่มทยอยเดินทางกลับบ้าน คาดว่าอีก 1 - 2 วัน สถานการณ์คงเข้าสู่สภาวะปกติ กองทัพเผย สังขละบุรี-แม่สอด สู้รบยุติแล้ว เนชั่นทันข่าว รายงานวันนี้ (10 พ.ย.53) ว่าพ.อ.หญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก เปิดเผยถึงความคืบหน้าสถานการณ์ชายแดนไทย-พม่าว่า ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกรายงานสถานการณ์ชายแดนไทย-พม่าว่า ขณะนี้การปะทะกันระหว่างทหารพม่ากับชนกลุ่มน้อยบริเวณตรงข้าม อ.แม่สอด และอ.พบพระ จ.ตาก และ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ได้ยุติลงแล้ว โดยผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวพม่าทั้ง 3 จุดได้ทยอยเดินทางกลับประเทศ คงเหลืออยู่ที่ อ.สังขละบุรี ประมาณ 200 คน ซึ่งคาดว่า ภายในวันที่ 10 พ.ย.นี้ ผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวพม่าจะเดินทางกลับประเทศทั้งหมดส่วนบรรยากาศที่ตลาดริมเมย อ.แม่สอดนั้น ผู้ประกอบการร้านค้าในตลาดได้เริ่มทยอยเปิดค้าขายตามปกติแล้ว “แม้สถานการณ์จะคลี่คลายลง แต่กองทัพบกยังคงให้หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 และหน่วยเฉพาะกิจลาดหญ้าที่ตั้งกองบังคับการส่วนหน้าตั้งแต่เกิดสถานการณ์ให้มีการติดตามข่าวและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน ทั้งนี้ยังได้มีการประสานงานระหว่างหน่วยทหารในพื้นที่กับทหารพม่าผ่านคณะกรรมการชายแดนไทย-พม่าส่วนท้องถิ่น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแจ้งให้ทางการพม่าทราบถึงผลกระทบของประเทศไทยที่ได้รับจากการสู้รบครั้งนี้ รวมถึงหาแนวทางป้องกันและแก้ไขร่วมกันต่อไป ส่วนเรื่องผู้หลบหนีเข้าเมือง กองทัพบกได้ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้ดูแลตามหลักมนุษยธรรมและดำเนินการส่งกลับทันทีเมื่อเหตุการณ์สงบ โดยจะไม่มีการจัดตั้งพื้นที่พักพิงขึ้นอีก” รองโฆษกทบ.กล่าว สื่อรายงานข่าว “รัฐบาลพม่า” ปล่อยตัว “นักข่าวญี่ปุ่น” เข้าไทย ส่วนกรณีที่องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน และสมาคมสื่อพม่า เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักข่าวชาวญี่ปุ่นชื่อ โทรุ ยามาจิ ผู้อำนวยการสำนักข่าว AFP สาขากรุงโตเกียว ที่ถูกทางการพม่าจับกุมตัวที่เมืองชายแดนทางฝั่งตะวันออกของเมียวดี ในช่วงที่มีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมา หลังจากที่เขาเข้าประเทศพม่าผ่านไทย มีรายงานว่าเขาถูกส่งตัวขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังเมืองหลวงใหม่ของพม่า กรุงเนปิดอว์ เพื่อรับการไต่สวนโดยหน่วยข่าวทหารพม่า ล่าสุด เนชั่นทันข่าว รายงานว่าฝ่ายพม่าได้ปล่อยตัวมาโดยทางสถานทูตญี่ปุ่น ได้ติดต่อรัฐบาลพม่าที่เมืองเนปิดอว์ และทางการพม่า จ.เมียวดี ได้ประสานผ่านชุดประสานงานชายแดนไทย-พม่า ฝ่ายไทยให้รับตัวบริเวณท่าข้ามแถวสะพานมิตรภาพไทย-พม่า อย่างลับๆ และหลังจากกลับมาแล้ว ชาวญี่ปุ่นดังกล่าวได้เก็บตัวเงียบอยู่ในแม่สอด ทำให้บรรดานักข่าวและเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวของรัฐติดตามหาตัว แต่ยังไม่พบประการใด ขณะที่บางกระแสข่าวแจ้งว่านายโตรุ ได้เดินทางเข้า กทม.ไปแล้ว พรรค USDP กวาด 878 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งพม่า เนชั่นทันข่าว รายงานด้วยว่า พรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา หรือ USDP ของพม่าที่รัฐบาลทหารพม่าให้การหนุนหลัง เปิดเผยว่า ทางพรรคชนะการเลือกตั้ง โดยสามารถค้าที่นั่งในรัฐสภาได้มากถึงร้อยละ 75 ผู้นำพรรคคนหนึ่ง ซึ่งไม่ประสงค์เปิดเผยตัว เนื่องจากไม่มีหน้าที่ด้านการแถลงข่าว เปิดเผยว่าพรรคคว้ามาได้ 878 ที่นั่ง ในทั้ง 2 สภาของประเทศ และสภาท้องถิ่นอีก 14 แห่ง ในการเปิดเผยที่ที่ทำการพรรค เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวบอกว่า จนถึงตอนนี้ ผู้ที่พรรคส่งลงสมัครรับเลือกตั้งร้อยละ 80 ถือว่าชนะการเลือกตั้ง แต่หากคิดเฉพาะในส่วนของรัฐสภา ซึ่งมีอยู่ 2 สภา ร้อยละ 77 กำชัยชนะการเลือกตั้งไว้เรียบร้อยแล้ว การเลือกตั้งของพม่าครั้งแรกในรอบ 20 ปีที่จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ถูกหลายฝ่าย ทั้งในและนอกประเทศโจมตีว่าไม่มีความเสรีและยุติธรรม และล่าสุด พรรคการเมืองใหญ่อันดับ 2 ซึ่งมีความใกล้ชิดกับกองทัพพม่าอย่างพรรค NUP ของนายพลเน วิน อดีตเผด็จการทหารผู้ล่วงลับ ก็ออกมาโจมตีการเลือกตั้งเช่นกันว่าไม่ยุติธรรม โดยอ้างว่ามีการโกงและการกระทำผิดในการเลือกตั้งมากมาย ทางพรรค NUP ส่งผู้สมัครเข้าร่วมการเลือกตั้งมากถึง 995 คน พวกเขาหวังอย่างมากมากในการเป็นพรรคทางเลือกในเขตเลือกตั้งที่มีแต่คนของพรรค USDP ลงสมัคร เพราะพรรคแนวต่อต้านรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุด อย่างพรรคพลังประชาธิปไตยแห่งชาติ ส่งผู้สมัครลงชิงตำแหน่งแค่ 164 คนเท่านั้น สำหรับกรณีการปะทะกันตามแนวพรมแดนไทย ระหว่างทหารพม่ากับกองกำลังชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงนั้น ทางการพม่าเพิ่งออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสียหายของฝ่ายพม่าเป็นครั้งแรก โดยบอกว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 ราย และบาดเจ็บ 23 คน โดยทหารพม่าเสียชีวิต 3 นาย และบาดเจ็บ 20 นายที่เมียวดี ส่วนการสู้รบแถวด่านเจดีย์ 3 องค์ ตำรวจเสียชีวิต 1 นาย และเจ้าหน้าที่ป่าไม้บาดเจ็บ 3 คน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สมชาย ปรีชาศิลปกุล :ความเที่ยงธรรมของสถาบันตุลาการ Posted: 10 Nov 2010 03:32 AM PST ระบบตุลาการเป็นสถาบันที่มีความสำคัญในสังคมเสรี/ประชาธิปไตย โดยในด้านหนึ่งจะทำให้เกิดความมั่นคงแก่ชีวิตและเสรีภาพของปัจเจกบุคคลจาก การล่วงละเมิดตามอำเภอใจขององค์กรเจ้าหน้าที่รัฐ และในอีกด้านหนึ่งสถาบันตุลาการที่มีความชอบธรรมและได้รับการยอมรับ อย่างกว้างขวาง จะเป็นกลไกที่ทำให้สังคมสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ลงได้ องค์กรตุลาการจึงมีความหมายสำหรับสังคมการเมืองทั้งในด้านที่ เป็นการปกป้องปัจเจกบุคคลด้วยการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในฝ่ายบริหาร ว่าจะดำเนินการไปภายใต้กรอบของกฎหมายที่มีความเป็นธรรม ทั้ง องค์กรตุลาการที่สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพก็จะเป็นการสร้าง ความมั่นคงให้กับสังคม ดังเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างฝ่ายต่างๆ ก็จะมีความมั่นใจในการใช้องค์กรตุลาการเป็นกลไกในการยุติข้อพิพาท โดยไม่เลือกใช้วิธีการอื่นซึ่งอาจนำมาซึ่งความรุนแรงและสั่นคลอนความมั่นคง ของสังคมโดยรวม หลักการพื้นฐานสำคัญประการหนึ่งอันเป็นที่ยอมรับกันในนานาอารยประเทศว่าจะทำให้สถาบันตุลาการสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าวก็คือ การดำรงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม (Impartiality) เมื่อ กล่าวถึงความเที่ยงธรรมของสถาบันตุลาการโดยทั่วไปมีความหมายว่าประชาชนมี สิทธิได้รับการพิจารณาจากคณะผู้พิพากษาที่ไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วน เสียใดๆ กับคู่ความในคดี ดังเช่นการมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ การเป็นหุ้นส่วนด้านธุรกิจการค้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดี เป็นต้น การ มีส่วนเกี่ยวข้องในลักษณะที่กล่าวมาทำให้เห็นได้ว่าอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ ผู้ที่ทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาทนั้นอาจเอนเอียงไปยังฝ่ายที่ตนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงความเที่ยงธรรมของตุลาการแล้ว ไม่ได้มีความหมายจำกัดเฉพาะเพียงผลประโยชน์ที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนเป็น รูปธรรมเท่านั้น หากยังมีความหมายรวมไปถึงการกระทำอื่นที่แสดงให้เห็นได้ว่าบุคคลที่ทำ หน้าที่ในระบบตุลาการไม่อยู่ในฐานะที่มีความเป็นกลาง หากเอนเอียงไปหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังเช่นการแสดงความคิดเห็นไว้ล่วงหน้าไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งและเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทที่กำลังได้รับการวินิจฉัย หลักการพื้นฐานว่าด้วยความเป็นอิสระของศาล (Basic Principle on the Independence of the Judiciary) ซึ่งรับรองโดยที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติ ต่อผู้กระทำความผิด ครั้งที่ 7 เมื่อ ค.ศ.1985 และได้รับการรับรองโดยที่ประชุมทั่วไป โดยมติที่ 40/32 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ.1985 และโดยมติที่ 40/32 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ.1985 ได้บัญญัติรับรองหลักการเรื่องความเที่ยงธรรมของสถาบันตุลาการไว้ ดังนี้ "ข้อ 2 ศาลพึงตัดสินคดีด้วยความยุติธรรม บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและเป็นไปตามกฎหมาย โดยปราศจากการตัดทอน การใช้อิทธิพลโดยมิชอบ การชักนำ การกดดัน การข่มขู่หรือแทรกแซง ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมจากบุคคลใดๆ หรือเพื่อวัตถุประสงค์ใด" การ วินิจฉัยข้อพิพาทต่างๆ ของศาลจึงต้องวางอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและตัดสินให้เป็นไปตามบท บัญญัติของกฎหมาย ในการที่จะบรรลุถึงความเที่ยงธรรม รัฐ สถาบันและบุคคลจึงมีพันธะในการละเว้นจากการกดดันหรือโน้มน้าวให้ผู้พิพากษา ตัดสินไปในทางใดทางหนึ่ง และอีกด้านหนึ่งซึ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันก็คือ ผู้พิพากษาก็มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตนเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเที่ยงธรรม ของตนเองควบคู่ไปด้วย อันจะทำให้เกิดความมั่นใจว่าการตัดสินในข้อพิพาทนั้นได้กระทำอย่างเป็นธรรม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสากลแห่งสหประชาชาติมีความเห็นต่อความเที่ยงธรรมของศาลในส่วนการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา ดังนี้ "การ ทรงความเที่ยงธรรมของศาล มีนัยยะว่าผู้พิพากษาจะต้องไม่มีความคิดล่วงหน้าใดๆ เกี่ยวกับประเด็นที่กำลังพิจารณา และผู้พิพากษาจะต้องไม่ปฏิบัติไปในทางที่ส่งเสริมผลประโยชน์ของคู่กรณีฝ่าย หนึ่งฝ่ายใด เมื่อมีการกำหนดลักษณะที่ทำให้ผู้พิพากษาขาดคุณสมบัติในการทำหน้าที่ไว้ใน กฎหมาย ก็เป็นหน้าที่ของศาลที่จะพิจารณาคุณสมบัติเหล่านี้ และหาผู้มาแทนที่สมาชิกของศาลคนที่มีพฤติกรรมที่ทำให้ขาดคุณสมบัติในการดำรง ตำแหน่งนี้" (Communication 387/1989, Arvo O. Karttunen V. Finland จากหลักการสากลว่าด้วยความเป็นอิสระและความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้พิพากษา ทนายความ และอัยการ. จัดพิมพ์โดย International Commission of Jurists) ความ เที่ยงธรรมของสถาบันตุลาการจึงสัมพันธ์กับสถานะ ผลประโยชน์และการปฏิบัติตัวของผู้พิพากษาอย่างใกล้ชิด การดำรงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรมก่อให้เกิดหน้าที่ของผู้พิพากษาที่จะต้อง ปฏิบัติตนเพื่อแสดงให้ขึ้นความเที่ยงธรรม มีการสร้างมาตรฐานในระดับระหว่างประเทศเกิดขึ้นเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติอัน เหมาะสมของผู้พิพากษาไว้ อาทิ หลักการบังกาลอร์ว่าด้วยการปฏิบัติ หน้าที่ทางตุลาการ (The Bangalore Principle of Judicial Conduct) รับรองโดยกลุ่มตุลาการว่าด้วยการเสริมสร้างบูรณภาพทางตุลาการ (Judicial Group on Strengthening Judicial Integrity) ปรับแก้ตามที่ประชุมโต๊ะกลมของประธานศาลสูงสุด ณ Peace Palace กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ 2002 มีบทบัญญัติดังนี้ "คุณค่าที่ 2 การดำรงความเที่ยงธรรม 2.1 ผู้พิพากษาจะต้องปฏิบัติหน้าที่ทางตุลาการของตนโดยปราศจากความชอบ ความเอนเอียงหรืออคติ 2.2 ผู้พิพากษาจะดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของตนทั้งภายในและภายนอกศาล รักษาและส่งเสริมความเชื่อมั่นของสาธารณะ ผู้ปฏิบัติวิชาชีพทางกฎหมาย และคู่ความในคดี ในเรื่องการดำรงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรมของผู้พิพากษา 2.3 ผู้พิพากษาจะปฏิบัติตนเพื่อลดโอกาสในการถูกถอดถอนจากการพิจารณาคดีหรือตัดสินคดีให้น้อยที่สุด 2.4 ในระหว่างพิจารณาคดี หรือระหว่างที่อาจจะได้พิจารณาคดีหนึ่งๆ ผู้พิพากษาจะต้องไม่แสดงความเห็นใดๆ อย่างตั้งใจอันอาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อการพิจารณาคดี หรือเป็นผลเสียต่อภาพความเป็นธรรมของกระบวนพิจารณาคดี ผู้พิพากษาต้องไม่แสดงความเห็นต่อสาธารณะหรืออื่นๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมของบุคคล" ในกรณี ที่ผู้พิพากษาไม่สามารถให้ความยุติธรรมได้อย่างเที่ยงธรรมหรือเมื่อความ เที่ยงธรรมถูกตั้งข้อสงสัย ผู้พิพากษาไม่ควรให้คู่กรณีท้าทายความเที่ยงธรรมของตนเอง หลักการบังกาลอร์ฯ ได้ระบุถึงแนวทางที่ผู้พิพากษาควรปฏิบัติไว้ ดังนี้ 2.5 ผู้พิพากษาควรจะต้องถอนตัวออกจากการมีส่วนร่วมในกระบวนการใดๆ ที่ผู้พิพากษาจะไม่สามารถตัดสินคดีได้อย่างเที่ยงธรรม หรือในกระบวนการที่อาจปรากฏแก่วิญญูชนว่าผู้พิพากษาไม่สามารถตัดสินคดีได้ อย่างเที่ยงธรรม กระบวนการเช่นนั้นรวมถึงกรณีที่ 2.5.1 ผู้พิพากษามีอคติที่แท้จริงหรือมีความโน้มเอียงต่อคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือมีความรู้ส่วนบุคคลในข้อเท็จจริงที่เป็นหลักฐานเกี่ยวกับคดีที่กำลังถูก โต้แย้งอยู่ 2.5.2 ฯลฯ บทความนี้เกิดขึ้น ด้วยความตระหนักว่าปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่สถาบันตุลาการไทยกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับศาลรัฐธรรมนูญคือ ประเด็นเรื่องความเที่ยงธรรมของสถาบันตุลาการในการปฏิบัติหน้าที่ หลักการเรื่องความเที่ยงธรรมเกิดขึ้นในนานาอารยประเทศจึงเป็นส่วนหนึ่งที่อาจนำมาเป็นหลักในการพิจารณาและรวมถึงการแสวงหาทางออกซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจต่อความเที่ยงธรรมของสถาบันตุลาการให้เกิดขึ้นมากกว่าเพียงความพยายามในการหันเหประเด็นไปสู่การกล่าวอ้างเรื่องการทำลายความน่าเชื่อของสถาบันตุลาการซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อทั้งสถาบันตุลาการและสังคมไทยในระยะยาวแต่อย่างใด สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
รายงาน: บ้านแหงเยือนแม่เมาะ...ลมหนาวยังโหดร้าย Posted: 10 Nov 2010 12:51 AM PST เมื่อชาวบ้านบ้านแหง จ.ลำปาง เดินทางดูงานที่เหมืองแม่เมาะ เหมืองซึ่งใหญ่กว่าตำบลบ้านแหงทั้งตำบล พวกเขาศึกษาประสบการณ์บอบช้ำของคนที่นั่น เพื่อกลับไปต่อสู้กับนายทุนพรรคการเมืองหนึ่งที่กว้านซื้อที่ดินเตรียมทำเหมืองลิกไนต์ แต่หลอกชาวบ้านว่าจะทำโรงงานกระดาษ
ชาวบ้านแหง เยือนตรงจุดชมวิวดูการทำเหมืองถ่านหินแม่เมาะ หน้าบ้านผู้อพยพ บ้านฉลองราช แวววรินทร์ บัวเงิน ร่วมชาวบ้านแหง และชาวแม่เมาะ ยืนยันจะคัดค้านเหมืองถ่านหิน เครื่องจักรทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ลำเลียงดินที่เกิดจากการขุดเหมืองมาทิ้งยังจุดทิ้งดินที่กลายเป็นภูเขาขนาดใหญ่ อบต. บ้านดง สำรวจจุดทิ้งดินจะมีถ่านหินไม่มีคุณภาพเจือปนอยู่และจะเกิดการสันดาบปล่อยสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในพื้นที่
ถ่านหินสันดาปอยู่บนจุดทิ้งดินซึ่งอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ จุดทิ้งดินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เริ่มกลายเป็นเนินสูงถมฐานภูเขาที่อยู่ด้านหลังลำห้วยธรรมชาติถูกปิดกั้น ต้นเดือนพฤศจิกายน ลมหนาวยังคงพัดโชยผ่านภูเขาประดิษฐ์ที่เสียดสูงเรียงรายราวเทือกเขาธรรมชาติ “แสบตา...แสบคอ...หายใจไม่ทั่วท้อง” เสียงบ่นของชาวบ้านท้ายรถกระบะดังขึ้นเป็นระยะๆ แต่อาการคล้ายป่วยแทบจะมลายไปสิ้น พร้อมๆ กับภาพแอ่งกระทะเบื้องหน้าที่ทำให้หัวใจชาวบ้านสั่นระรัวและหวั่นวิตกมากยิ่งขึ้น ณ ลานดินเวิ้งว้างตรงนั้น ใน 24 ชั่วโมงจะมีรถตัก-ไถ และรถบรรทุกแร่กว่า 2,000 คัน เวียนวิ่งกันไปมาราวกับมดปลวกตัวเล็กๆ บนหน้าดินที่ถูกเปิดจนแดงฉานไปด้วยลายเส้นเป็นชั้นๆ หลายพันไร่ “ใจหายใจคว่ำหมด...นี่หรือเหมืองแม่เมาะ?...เหมืองที่ใหญ่กว่าตำบลบ้านแหงทั้งตำบลเสียอีก” ความรู้สึกของชาวบ้านเหล่านี้ แวววรินทร์ บัวเงิน แม่บ้านสาวที่เพิ่งผันตัวเองมาเป็นแกนนำกลุ่มรักษ์บ้านแหง เข้าใจดี เพราะเธอกับสามีก็เคยรู้สึกตระหนกเช่นกันเมื่อมาเห็นเหมืองแม่เมาะในครั้งแรก แวววรินทร์ ย้อนเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เมื่อ บริษัท เขียวเหลือง จำกัด กลุ่มทุนของนักการเมืองพรรคภูมิใจไทย ได้เข้ามากว้านซื้อที่ดินในหมู่บ้านของเธอ คือ ในบ้าน หมู่ 1 และหมู่ 7 ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง ไปกว่า 1,200 ไร่ โดยหลอกลวงชาวบ้านว่าจะนำพื้นที่ไปใช้เพื่อปลูกต้นยูคาลิปตัสส่งเข้าโรงงานทำกระดาษ แต่ต่อมากลับขอประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ลิกไนต์ จำนวน 2 แปลง พื้นที่ 1,200 ไร่ ในทั้งสองหมู่บ้าน โดยมีสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เป็นผู้ให้อนุญาต รวมถึงการที่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหง ใช้วิธีมิชอบทำให้สมาชิกสภาฯ ลงมติเห็นชอบให้บริษัท เขียวเหลือง ขอประทานบัตรได้โดยไม่มีชาวบ้านร่วมสังเกตการณ์ ทั้งๆ ที่ขั้นตอนในการทำประชาสังคม เพื่อถามความคิดเห็นของชาวบ้านเรื่องการทำเหมืองถูกคัดค้านจนล่มทั้งสองครั้ง ทำให้บริษัทเปลี่ยนแผนสร้างภาพใหม่โดยจ้างคนมาปลูกป่าเป็นการบังหน้า มีการจัดตั้งกลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์ขึ้น โดยนำชาวบ้านในหมู่บ้านอื่นเข้ามาร่วมประชุมในพื้นที่บ้านแหง ซึ่งชาวบ้านแหงที่มีกลุ่มฌาปณกิจที่ดำเนินงานมากว่า 200 ปี พวกเขาเชื่อว่านี่คือเป็นการลักไก่ที่บริษัทจะใช้การประชุมนี้อ้างเป็นการลงประชามติของชาวบ้านในพื้นที่ที่ยินยอมให้เปิดเหมือง แวววรินทร์ และชาวบ้านแหงจึงรวมกลุ่มกันตั้งด่านสกัดปิดทางเข้าหมู่บ้าน 3 จุด ไม่ให้คนนอกพื้นที่ และคนของบริษัทเข้ามาในหมู่บ้าน ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเป็นลำดับๆ คือพฤติกรรมของทุนที่ทำให้ แวววรินทร์ และชาวบ้านได้เห็นเบื้องหลังการเข้ามาของบริษัทที่มีเจตนาทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์มาตั้งแต่แรกเริ่ม โดยที่พวกเขาไม่สามารถพึ่งพาข้าราชการ หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำในระดับพื้นที่ เพราะทุกฝ่ายต่างรู้เห็นเป็นใจ หรือสมประโยชน์กับทุนทั้งสิ้น แต่เสียงขับไล่ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. ที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ รวมถึงเสียงคัดค้านไม่ต้องการเหมืองถ่านหินของชาวบ้านแหงเพียงดังอยู่ในสองหมู่บ้าน คือ หมู่ 1 และ หมู่ 7 ซึ่งเป็นพื้นที่ขอประทานบัตรเท่านั้น ในขณะที่หมู่บ้านใกล้เคียงยังไม่เห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดตามมาภายหลัง หรือหลงเชื่อไปกับคำโฆษณาของกลุ่มทุนและผู้ได้รับผลประโยชน์ที่ชวนเชื่ออยู่ตลอดเวลาว่า เหมืองจะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆ ตามรูปแบบของโครงการพัฒนาที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบไม่เคยถอดบทเรียนความล้มเหลวที่สร้างความเจ็บปวดให้ชาวบ้าน บ่อนทำลายชุมชน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมมาทุกยุคทุกสมัย เช้ามืดของวันที่ 3 พฤศจิกายน 2553 ชาวบ้านแหง หมู่ 1,7 ร่วมร้อยคนตื่นแต่ฟ้ายังไม่สางทำกับข้าวกับปลาขนขึ้นท้ายรถกระบะ 7 คัน มุ่งหน้าสู่เหมืองแม่เมาะ พวกเขาหลายคนยังคงเจ็บช้ำเพราะขายที่ให้กับ บริษัท เขียวเหลือง และต่างพกพาความรู้สึกที่เหมือนกัน คือ ทุกคนอยากเห็นกับตาว่าเหมืองลิกไนต์เป็นอย่างไร เหมืองเปิดทำอย่างไร อยากรู้วิถีชีวิตของชาวแม่เมาะที่อยู่ท่ามกลางเหมืองและโรงไฟฟ้า อยากรู้จากปากคำของผู้ป่วย ผู้ได้รับผลกระทบ โดยหวังว่าพวกเขาจะเห็นลู่ทางในการต่อสู้ เพื่อหยุดยั้งการเปิดเหมืองของบริษัทเขียวเหลืองที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการกลางปีหน้า ที่ห้องประชุมขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง ชาวบ้านแหงได้รับฟังข้อมูลสภาพพื้นที่ และสถานการณ์ต่างๆ จากสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเหมืองแม่เมาะ และโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งเป็นที่ราบในหุบเขา มีภูเขาล้อมเกือบทุกด้าน ความกดดันอากาศค่อนข้างสูง อุณหภูมิค่อนข้างผกผัน ทำให้ในแต่ช่วงฤดูกาลของทุกปี ชาวแม่เมาะจะได้รับผลกระทบจากมลพิษต่อเนื่องยาวนานในหลายรูปแบบ “ฤดูฝน ถ่านหินคุณภาพต่ำที่ถูกเอามากองทิ้งไว้จะลุกใหม้ตัวเอง หรือเกิดการสันดาบขึ้นเองตามธรรมชาติ ทำให้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ขี้เถ้า กำมะถัน ลอยฟุ้งส่งกลิ่นไปไกลหลายร้อยกิโลเมตร ทำให้เกิดฝนกรดและหมอกควันพิษที่มีพิษร้ายแรง สารปรอท สารหนูจะถูกชะล้างลงแหล่งน้ำธรรมชาติ ฤดูหนาวแต่นี้เป็นต้นไป จะมีฝุ่น มีกลิ่นกระจายไปไกลมาก ฤดูร้อน ฝุ่นขนาดเล็กจะฝุ้งกระจาย ชาวแม่เมาะจึงเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเป็นจำนวนมาก...” ศุกร์ ไทยธนสุกานต์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง เล่า นายกฯ อบต. บ้านดง ชี้ให้ชาวบ้านแหงดูภูเขาที่มองเห็นได้ในทุกพื้นที่ รวมถึงภูเขาที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แม่เมาะ ใช้ปลูกทุ่งบัวตองที่กำลังจะบานสะพรั่งในไม่ช้า เพื่อการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์อยู่ทุกปี ที่เห็นบนพื้นที่ 23,000 กว่าไร่นี้เป็นเหมือง และภูเขาเกิดใหม่ที่เกิดจากการทิ้งดินที่ขุดขึ้นมาในเหมืองแม่เมาะ ด้านใต้ของภูเขาจะมีถ่านหินคุณภาพต่ำฝังอยู่ พอฝนตกถ่านหินจะลุกใหม้อยู่ข้างใต้ ต้นไม้ใหญ่ขึ้นไม่ได้เพราะพอหยั่งรากลงข้างล่างจะตายหมด ภูเขาจึงมีแต่พืชเล็กๆ เท่านั้น จากการลงพื้นที่ตรวจสอบของอบต. ในช่วงฤดูหนาวของปีนี้ยังพบถ่านหินสันดาบส่งควันฟุ้งอยู่หลายแห่ง ส่วนปัญหาฝุ่นฟุ้งกระจาย เสียงเครื่องยนต์รถขนส่งแร่ เครื่องจักรขนาดใหญ่ในการทำเหมือง และสายพานลำเลียงแร่ ยังส่งเสียงรบกวนชาวแม่เมาะอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง การปกปิดข้อมูลมลพิษ เสียงดัง กลิ่นเหม็นจากสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และมลพิษจากฝุ่น ประกอบกับเครื่องดักจับฝุ่นของโรงไฟฟ้าบางโรงเสีย ที่ดำเนินมาถึงปี 2535 ปรากฎพื้นที่ไร่นาเสียหายจากฝนกรด ชาวบ้านในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า และเหมืองเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ และทยอยเสียชีวิตมาถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ กฟผ. ต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ป่วยกว่า 4 ล้านบาท และลงทุนติดตั้งเครื่องดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ให้กับโรงไฟฟ้าหน่วยที่ 4-11 แต่ทิ้งท้ายด้วยการพ่วงเปิดโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้น 2 โรง ปี 2539 กฟผ. ตกลงที่จะดำเนินการพิจารณาอพยพโยกย้ายราษฎร จำนวน 4 ตำบล 16 หมู่บ้าน คือ ต.นาสัก ต.สบป้าด ต.แม่เมาะ และต.บ้านดง ประมาณ 3,500 ครอบครัว แต่ก็มาเกิดเหตุซ้ำในปี 2541 เมื่อเครื่องดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 10 เครื่อง ใช้การได้เพียง 2 เครื่อง ทำให้ชาวบ้านล้มป่วย 868 คน ส่วนปัญหาเรื่องฝุ่นมีการสำรวจต่อเนื่องเรื่อยมาที่พบว่าแม่เมาะมีปัญหาฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน มีค่าสูงเกินกว่ามาตรฐาน โดยจะสูงมากในช่วงฤดูร้อน ปัญหาเรื้อรังที่ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดนำไปสู่การอพยพโยกย้ายชาวบ้านรอบ 2 ในหมู่บ้านหางฮุง 493 หลังคาเรือน ปัจจุบันอพยพได้แล้ว 300 กว่าหลังคาเรือน รวมถึงการฟ้องร้องเพื่อให้ กฟผ. ชดเชยค่าเสียหาย ชาวบ้านในอำเภอแม่เมาะจำนวน 437 คน ในปี 2546 ผ่านหกปีในกระบวนการยุติธรรม ศาลปกครองเชียงใหม่ได้วินิจฉัยให้ กฟผ. ชดเชยค่าเสียหายเป็นค่าเสื่อมสุขภาพและจิตใจให้แก่ชาวบ้าน รายละ 246,900 บาท พร้อมดอกเบี้ย รวมทั้งให้จัดหาพื้นที่อพยพให้ชาวบ้านหมู่บ้านห้วยคิง ปัจจุบัน กฟผ. ขออุทธรณ์คดี นายกฯ อบต. บ้านดง เล่าถึงสถานการณ์ล่าสุดในพื้นที่ หลังจากเหมืองแม่เมาะเปิดเหมืองเฟส 6 และเฟส 7 ชาวบ้านดง ปิดถนนเรียกร้องให้ กฟผ. หยุดลำเลียงดินที่ได้จากการขุดเปิดเหมืองผ่านระบบสายพานมาทิ้งใน ต.แม่เมาะ และ ต.บ้านดง แรงกดดันของชาวบ้านในครั้งนั้นทำให้ กฟผ. ตั้งงบประมาณกว่า 20 ล้านบาทต่อปี เพื่อให้ อบต.บ้านดง แก้ไขปัญหามลพิษและสุขภาพจนกว่าชาวบ้านจะอพยพออกนอกพื้นที่ ส่วนกรณีของชาวบ้านห้วยคิงที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเหมืองเฟส 6 และเฟส 7 ที่ยังไม่มีการจัดพื้นที่อพยพที่ชัดเจน ปิดถนนเรียกร้องให้ กฟผ. ยุติการทำเหมืองเฟส 6 และ 7 ที่กำลังดำเนินการอยู่ ทาง อบต.บ้านดง ได้รวบรวมรายชื่อผู้ที่จะขออพยพในรอบที่สามและสี่ 700-800 ราย และตั้งคณะกรรมการพิจารณาแล้ว รวมถึงกรณีการคัดค้านของชาวบ้าน ในหมู่บ้านห้วยคิง หมู่ 6 และบ้านเมาะหลวง หมู่ 8 ต.แม่เมาะ ที่ได้รับผลกระทบจากการทิ้งดิน 7,026 ไร่ ในเขตป่าสงวน ที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง และเทศบาล อนุญาตให้กับ กฟผ. โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาเทศบาล และไม่ได้รับความยินยอมจากชาวบ้านทั้ง 2 หมู่บ้านที่อยู่ในข่ายผู้ได้รับผลกระทบ ณภัทร หวันแก้ว ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง ชี้แจงการทำงานของ อบต.บ้านดง ต่อกรณีนี้ว่า “อบต. ได้สำรวจพื้นที่ทิ้งดิน 3,000 ไร่ ที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ กรมป่าไม้อนุญาติให้ กฟผ. เอาดินมาทิ้งในพื้นที่อนุรักษ์ ป่าไผ่ ต้นไม้ธรรมชาติถูกตัดหมด ดินที่เอามาทิ้งตอนนี้เกือบ 200 ไร่ เริ่มกลายเป็นเนินสูงถมฐานภูเขาที่อยู่ด้านหลัง ลำห้วยธรรมชาติถูกปิดกั้นไปแล้ว ตอนนี้อบต. รวบรวมหลักฐานยื่นฟ้องศาลปกครองอาทิตย์ที่แล้ว รอหนังสือจากศาลปกครองให้ระงับการทิ้งดินของ กฟผ.” การบรรยายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ชาวบ้านแหงรับรู้ว่า ตลอดระยะเวลา 56 ปีที่เหมืองแม่เมาะดำเนินการ และ 50 ปี ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะผลิตกระแสไฟฟ้า กับความเป็นจริงของแม่เมาะที่ประสบปัญหามลพิษมาอย่างเรื้อรัง แต่การแก้ไขปัญหาและการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นบทเรียนของชาวบ้านแม่เมาะ หรือแม้แต่ชาวบ้านแหง และชุมชนอื่นๆ ที่ต้องรวมตัวกันต่อสู้ต่อต้านด้วยตัวเอง และเหมือนตอกย้ำอีกครั้งเมื่อ นฤดล สุชาติพงศ์ อดีตพนักงาน กฟผ. แม่เมาะ ที่ผันตัวมาเป็นแกนนำเรียกร้องเรื่องการอพยพให้ชาวบ้านแม่เมาะ สารภาพกับชาวบ้านแหงว่า “ตอนผมเป็นพนักงาน กฟผ. ทำหน้าที่สำรวจแหล่งถ่านหิน พื้นที่ทิ้งดิน ถ่านหินที่บ้านแหงผมเป็นคนเจาะสำรวจด้วยตัวเอง ถ่านหินที่บ้านแหงอยู่ลึกจากดิน 20 เมตร สามารถขุดขึ้นมาขายได้ 20-30 ล้านตัน ลักษณะเหมืองจะเป็นเหมืองเปิดเหมือนแม่เมาะ ถ้ามีการเปิดเหมืองจะมีอันตรายแน่นอน ฝุ่น PM10 จากที่ทิ้งดินจะฟุ้งกระจาย ปัญหาของคนบ้านแหงจะเหมือนกับพี่น้องที่แม่เมาะ” ออกจาก อบต.บ้านดง ชาวบ้านแหงเดินทางไปเยี่ยมเยียนบ้านใหม่ของผู้อพยพ และศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ บ้านฉลองราช อ.แม่เมาะ พวกเขาได้เห็นวิถีชีวิตใหม่ที่ยังไม่ได้ความสงบสุขคืนมาของชาวแม่เมาะที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ “ชาวบ้านชุดแรกอพยพมาแล้ว 22 ปี วันนี้ที่ดินยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ เพราะยังเป็นพื้นที่ป่าสงวน ชุดที่สองอพยพ 493 หลัง ยังไม่รู้ว่าจะได้เอกสารสิทธิ์หรือเปล่า บ้านแต่ละหลังจะมีพื้นที่เท่ากัน คือ 1 ไร่ ยังไม่มีพื้นที่ทำกิน... “เดิมพื้นที่ไข่แดงของแอ่งเหมืองแม่เมาะมีหมู่บ้านอยู่ 10 หมู่บ้าน มีโรงเรียน วัด ที่ว่าการอำเภอ เหมืองทำให้ชุมชนทั้งหมดล่มสลายต้องย้ายออกนอกพื้นที่ ส่วนชาวบ้านในพื้นที่ไข่ขาวไม่มีใครตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพิ่งจะมารู้ว่าป่วยเพราะมลพิษจากเหมืองก็ปี 2535 ถึงจะลุกขึ้นสู้ วันนี้คนป่วยยังตายไปเรื่อยๆ ที่ กฟผ. ตั้งกองทุนสำหรับดูแลผู้ป่วย 300 กว่าล้านบาทต่อปี แต่กว่าจะผ่านมือใครมา ก็มีเงินมาถึงชาวบ้านน้อยมาก ส่วนเงินที่ได้ก็เอาไปสร้างฝาย สร้างเขื่อน ไม่ได้เกี่ยวกับการเยียวยาสุขภาพ ชาวบ้านผู้ป่วยแม่เมาะยังไม่ได้รับการดูแลให้ดีขึ้น” มะลิวัลย์ นาควิโรจน์ ประธานเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ เล่า ตลอด 1 วันทั้งในและรอบเหมืองอันโหดร้าย แวววรินทร์ และชาวบ้านแหง ได้รับรู้ว่าพวกเขาไม่ใช่กลุ่มคนเดียวดายที่ต่อต้านเหมืองถ่านหิน ด้านหนึ่งเกิดกำลังใจ เห็นหนทางสู้ แต่เมื่อยังเห็นเหมืองแม่เมาะ เปิดเฟส 6 เฟส 7 และคงจะเปิดบ่อไปเรื่อยๆ จนกว่าถ่านหินในแม่เมาะที่จะเอามาใช้ได้อีก 20 ปี หมดลง ไม่นานจะมีการซื้อถ่านหินจากพม่า หรือจากแอ่งงาว ที่บ้านแหง แอ่งวังเหนือ แอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน แอ่งแม่ทะ แอ่งเสริมงาม แอ่งห้างฉัตร หรือแอ่งเวียงแหง แอ่งเชียงม่วน แอ่งปาย แอ่งฝาง แอ่งสันป่าตอง แอ่งพบพระ แอ่งอุ้มผาง แอ่งแพร่ แอ่งปัว แอ่งท่าวังผา แอ่งน่าน แอ่งบึงสามพัน แอ่งวิเชียรบุรี... และแหล่งอื่นๆ มาทดแทน ในขณะที่วันนี้แม่เมาะยังเป็นเมืองมลพิษ ชาวแม่เมาะที่อยู่อาศัยในพื้นที่รอบเหมือง 5 กิโลเมตรส่วนใหญ่ยังไม่ได้อพยพออกจากพื้นที่ ผู้ป่วยยังคงล้มตาย ส่วนคนอพยพออกนอกพื้นที่มาแล้วยังคงระทมทุกข์ “เรามาดูงานที่นี่ เราได้เห็นแล้ว เราจะกลับไปบ้านไปคุยกับคนที่บ้านเรา เราจะสู้ให้ถึงที่สุดไม่ให้เปิดเหมืองในบ้านเราให้ได้” แวววรินทร์ พูด ต้นเดือนพฤศจิกายน ลมหนาวยังคงพัดโชยผ่านภูเขาประดิษฐ์ที่เสียดสูงเรียงรายราวเทือกเขาธรรมชาติ “แสบตา...แสบคอ...หายใจไม่ทั่วท้อง” เสียงบ่นของชาวบ้านท้ายรถกระบะดังขึ้นเป็นระยะๆ แต่อาการคล้ายป่วยแทบจะมลายไปสิ้น พร้อมๆ กับภาพแอ่งกระทะเบื้องหน้าที่ทำให้หัวใจชาวบ้านสั่นระรัวและหวั่นวิตกมากยิ่งขึ้น ณ ลานดินเวิ้งว้างตรงนั้น ใน 24 ชั่วโมงจะมีรถตัก-ไถ และรถบรรทุกแร่กว่า 2,000 คัน เวียนวิ่งกันไปมาราวกับมดปลวกตัวเล็กๆ บนหน้าดินที่ถูกเปิดจนแดงฉานไปด้วยลายเส้นเป็นชั้นๆ หลายพันไร่ “ใจหายใจคว่ำหมด...นี่หรือเหมืองแม่เมาะ?...เหมืองที่ใหญ่กว่าตำบลบ้านแหงทั้งตำบลเสียอีก” ความรู้สึกของชาวบ้านเหล่านี้ แวววรินทร์ บัวเงิน แม่บ้านสาวที่เพิ่งผันตัวเองมาเป็นแกนนำกลุ่มรักษ์บ้านแหง เข้าใจดี เพราะเธอกับสามีก็เคยรู้สึกตระหนกเช่นกันเมื่อมาเห็นเหมืองแม่เมาะในครั้งแรก แวววรินทร์ ย้อนเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เมื่อ บริษัท เขียวเหลือง จำกัด กลุ่มทุนของนักการเมืองพรรคภูมิใจไทย ได้เข้ามากว้านซื้อที่ดินในหมู่บ้านของเธอ คือ ในบ้าน หมู่ 1 และหมู่ 7 ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง ไปกว่า 1,200 ไร่ โดยหลอกลวงชาวบ้านว่าจะนำพื้นที่ไปใช้เพื่อปลูกต้นยูคาลิปตัสส่งเข้าโรงงานทำกระดาษ แต่ต่อมากลับขอประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ลิกไนต์ จำนวน 2 แปลง พื้นที่ 1,200 ไร่ ในทั้งสองหมู่บ้าน โดยมีสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เป็นผู้ให้อนุญาต รวมถึงการที่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหง ใช้วิธีมิชอบทำให้สมาชิกสภาฯ ลงมติเห็นชอบให้บริษัท เขียวเหลือง ขอประทานบัตรได้โดยไม่มีชาวบ้านร่วมสังเกตการณ์ ทั้งๆ ที่ขั้นตอนในการทำประชาสังคม เพื่อถามความคิดเห็นของชาวบ้านเรื่องการทำเหมืองถูกคัดค้านจนล่มทั้งสองครั้ง ทำให้บริษัทเปลี่ยนแผนสร้างภาพใหม่โดยจ้างคนมาปลูกป่าเป็นการบังหน้า มีการจัดตั้งกลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์ขึ้น โดยนำชาวบ้านในหมู่บ้านอื่นเข้ามาร่วมประชุมในพื้นที่บ้านแหง ซึ่งชาวบ้านแหงที่มีกลุ่มฌาปณกิจที่ดำเนินงานมากว่า 200 ปี พวกเขาเชื่อว่านี่คือเป็นการลักไก่ที่บริษัทจะใช้การประชุมนี้อ้างเป็นการลงประชามติของชาวบ้านในพื้นที่ที่ยินยอมให้เปิดเหมือง แวววรินทร์ และชาวบ้านแหงจึงรวมกลุ่มกันตั้งด่านสกัดปิดทางเข้าหมู่บ้าน 3 จุด ไม่ให้คนนอกพื้นที่ และคนของบริษัทเข้ามาในหมู่บ้าน ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเป็นลำดับๆ คือพฤติกรรมของทุนที่ทำให้ แวววรินทร์ และชาวบ้านได้เห็นเบื้องหลังการเข้ามาของบริษัทที่มีเจตนาทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์มาตั้งแต่แรกเริ่ม โดยที่พวกเขาไม่สามารถพึ่งพาข้าราชการ หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำในระดับพื้นที่ เพราะทุกฝ่ายต่างรู้เห็นเป็นใจ หรือสมประโยชน์กับทุนทั้งสิ้น แต่เสียงขับไล่ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. ที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ รวมถึงเสียงคัดค้านไม่ต้องการเหมืองถ่านหินของชาวบ้านแหงเพียงดังอยู่ในสองหมู่บ้าน คือ หมู่ 1 และ หมู่ 7 ซึ่งเป็นพื้นที่ขอประทานบัตรเท่านั้น ในขณะที่หมู่บ้านใกล้เคียงยังไม่เห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดตามมาภายหลัง หรือหลงเชื่อไปกับคำโฆษณาของกลุ่มทุนและผู้ได้รับผลประโยชน์ที่ชวนเชื่ออยู่ตลอดเวลาว่า เหมืองจะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆ ตามรูปแบบของโครงการพัฒนาที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบไม่เคยถอดบทเรียนความล้มเหลวที่สร้างความเจ็บปวดให้ชาวบ้าน บ่อนทำลายชุมชน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมมาทุกยุคทุกสมัย เช้ามืดของวันที่ 3 พฤศจิกายน 2553 ชาวบ้านแหง หมู่ 1,7 ร่วมร้อยคนตื่นแต่ฟ้ายังไม่สางทำกับข้าวกับปลาขนขึ้นท้ายรถกระบะ 7 คัน มุ่งหน้าสู่เหมืองแม่เมาะ พวกเขาหลายคนยังคงเจ็บช้ำเพราะขายที่ให้กับ บริษัท เขียวเหลือง และต่างพกพาความรู้สึกที่เหมือนกัน คือ ทุกคนอยากเห็นกับตาว่าเหมืองลิกไนต์เป็นอย่างไร เหมืองเปิดทำอย่างไร อยากรู้วิถีชีวิตของชาวแม่เมาะที่อยู่ท่ามกลางเหมืองและโรงไฟฟ้า อยากรู้จากปากคำของผู้ป่วย ผู้ได้รับผลกระทบ โดยหวังว่าพวกเขาจะเห็นลู่ทางในการต่อสู้ เพื่อหยุดยั้งการเปิดเหมืองของบริษัทเขียวเหลืองที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการกลางปีหน้า ที่ห้องประชุมขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง ชาวบ้านแหงได้รับฟังข้อมูลสภาพพื้นที่ และสถานการณ์ต่างๆ จากสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเหมืองแม่เมาะ และโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งเป็นที่ราบในหุบเขา มีภูเขาล้อมเกือบทุกด้าน ความกดดันอากาศค่อนข้างสูง อุณหภูมิค่อนข้างผกผัน ทำให้ในแต่ช่วงฤดูกาลของทุกปี ชาวแม่เมาะจะได้รับผลกระทบจากมลพิษต่อเนื่องยาวนานในหลายรูปแบบ “ฤดูฝน ถ่านหินคุณภาพต่ำที่ถูกเอามากองทิ้งไว้จะลุกใหม้ตัวเอง หรือเกิดการสันดาบขึ้นเองตามธรรมชาติ ทำให้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ขี้เถ้า กำมะถัน ลอยฟุ้งส่งกลิ่นไปไกลหลายร้อยกิโลเมตร ทำให้เกิดฝนกรดและหมอกควันพิษที่มีพิษร้ายแรง สารปรอท สารหนูจะถูกชะล้างลงแหล่งน้ำธรรมชาติ ฤดูหนาวแต่นี้เป็นต้นไป จะมีฝุ่น มีกลิ่นกระจายไปไกลมาก ฤดูร้อน ฝุ่นขนาดเล็กจะฝุ้งกระจาย ชาวแม่เมาะจึงเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเป็นจำนวนมาก...” ศุกร์ ไทยธนสุกานต์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง เล่า นายกฯ อบต. บ้านดง ชี้ให้ชาวบ้านแหงดูภูเขาที่มองเห็นได้ในทุกพื้นที่ รวมถึงภูเขาที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แม่เมาะ ใช้ปลูกทุ่งบัวตองที่กำลังจะบานสะพรั่งในไม่ช้า เพื่อการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์อยู่ทุกปี ที่เห็นบนพื้นที่ 23,000 กว่าไร่นี้เป็นเหมือง และภูเขาเกิดใหม่ที่เกิดจากการทิ้งดินที่ขุดขึ้นมาในเหมืองแม่เมาะ ด้านใต้ของภูเขาจะมีถ่านหินคุณภาพต่ำฝังอยู่ พอฝนตกถ่านหินจะลุกใหม้อยู่ข้างใต้ ต้นไม้ใหญ่ขึ้นไม่ได้เพราะพอหยั่งรากลงข้างล่างจะตายหมด ภูเขาจึงมีแต่พืชเล็กๆ เท่านั้น จากการลงพื้นที่ตรวจสอบของอบต. ในช่วงฤดูหนาวของปีนี้ยังพบถ่านหินสันดาปส่งควันฟุ้งอยู่หลายแห่ง ส่วนปัญหาฝุ่นฟุ้งกระจาย เสียงเครื่องยนต์รถขนส่งแร่ เครื่องจักรขนาดใหญ่ในการทำเหมือง และสายพานลำเลียงแร่ ยังส่งเสียงรบกวนชาวแม่เมาะอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง การปกปิดข้อมูลมลพิษ เสียงดัง กลิ่นเหม็นจากสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และมลพิษจากฝุ่น ประกอบกับเครื่องดักจับฝุ่นของโรงไฟฟ้าบางโรงเสีย ที่ดำเนินมาถึงปี 2535 ปรากฎพื้นที่ไร่นาเสียหายจากฝนกรด ชาวบ้านในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า และเหมืองเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ และทยอยเสียชีวิตมาถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ กฟผ. ต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ป่วยกว่า 4 ล้านบาท และลงทุนติดตั้งเครื่องดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ให้กับโรงไฟฟ้าหน่วยที่ 4-11 แต่ทิ้งท้ายด้วยการพ่วงเปิดโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้น 2 โรง ปี 2539 กฟผ. ตกลงที่จะดำเนินการพิจารณาอพยพโยกย้ายราษฎร จำนวน 4 ตำบล 16 หมู่บ้าน คือ ต.นาสัก ต.สบป้าด ต.แม่เมาะ และต.บ้านดง ประมาณ 3,500 ครอบครัว แต่ก็มาเกิดเหตุซ้ำในปี 2541 เมื่อเครื่องดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 10 เครื่อง ใช้การได้เพียง 2 เครื่อง ทำให้ชาวบ้านล้มป่วย 868 คน ส่วนปัญหาเรื่องฝุ่นมีการสำรวจต่อเนื่องเรื่อยมาที่พบว่าแม่เมาะมีปัญหาฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน มีค่าสูงเกินกว่ามาตรฐาน โดยจะสูงมากในช่วงฤดูร้อน ปัญหาเรื้อรังที่ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดนำไปสู่การอพยพโยกย้ายชาวบ้านรอบ 2 ในหมู่บ้านหางฮุง 493 หลังคาเรือน ปัจจุบันอพยพได้แล้ว 300 กว่าหลังคาเรือน รวมถึงการฟ้องร้องเพื่อให้ กฟผ. ชดเชยค่าเสียหาย ชาวบ้านในอำเภอแม่เมาะจำนวน 437 คน ในปี 2546 ผ่านหกปีในกระบวนการยุติธรรม ศาลปกครองเชียงใหม่ได้วินิจฉัยให้ กฟผ. ชดเชยค่าเสียหายเป็นค่าเสื่อมสุขภาพและจิตใจให้แก่ชาวบ้าน รายละ 246,900 บาท พร้อมดอกเบี้ย รวมทั้งให้จัดหาพื้นที่อพยพให้ชาวบ้านหมู่บ้านห้วยคิง ปัจจุบัน กฟผ. ขออุทธรณ์คดี นายกฯ อบต. บ้านดง เล่าถึงสถานการณ์ล่าสุดในพื้นที่ หลังจากเหมืองแม่เมาะเปิดเหมืองเฟส 6 และเฟส 7 ชาวบ้านดง ปิดถนนเรียกร้องให้ กฟผ. หยุดลำเลียงดินที่ได้จากการขุดเปิดเหมืองผ่านระบบสายพานมาทิ้งใน ต.แม่เมาะ และ ต.บ้านดง แรงกดดันของชาวบ้านในครั้งนั้นทำให้ กฟผ. ตั้งงบประมาณกว่า 20 ล้านบาทต่อปี เพื่อให้ อบต.บ้านดง แก้ไขปัญหามลพิษและสุขภาพจนกว่าชาวบ้านจะอพยพออกนอกพื้นที่ ส่วนกรณีของชาวบ้านห้วยคิงที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเหมืองเฟส 6 และเฟส 7 ที่ยังไม่มีการจัดพื้นที่อพยพที่ชัดเจน ปิดถนนเรียกร้องให้ กฟผ. ยุติการทำเหมืองเฟส 6 และ 7 ที่กำลังดำเนินการอยู่ ทาง อบต.บ้านดง ได้รวบรวมรายชื่อผู้ที่จะขออพยพในรอบที่สามและสี่ 700-800 ราย และตั้งคณะกรรมการพิจารณาแล้ว รวมถึงกรณีการคัดค้านของชาวบ้าน ในหมู่บ้านห้วยคิง หมู่ 6 และบ้านเมาะหลวง หมู่ 8 ต.แม่เมาะ ที่ได้รับผลกระทบจากการทิ้งดิน 7,026 ไร่ ในเขตป่าสงวน ที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง และเทศบาล อนุญาตให้กับ กฟผ. โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาเทศบาล และไม่ได้รับความยินยอมจากชาวบ้านทั้ง 2 หมู่บ้านที่อยู่ในข่ายผู้ได้รับผลกระทบ ณภัทร หวันแก้ว ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง ชี้แจงการทำงานของ อบต.บ้านดง ต่อกรณีนี้ว่า “อบต. ได้สำรวจพื้นที่ทิ้งดิน 3,000 ไร่ ที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ กรมป่าไม้อนุญาติให้ กฟผ. เอาดินมาทิ้งในพื้นที่อนุรักษ์ ป่าไผ่ ต้นไม้ธรรมชาติถูกตัดหมด ดินที่เอามาทิ้งตอนนี้เกือบ 200 ไร่ เริ่มกลายเป็นเนินสูงถมฐานภูเขาที่อยู่ด้านหลัง ลำห้วยธรรมชาติถูกปิดกั้นไปแล้ว ตอนนี้อบต. รวบรวมหลักฐานยื่นฟ้องศาลปกครองอาทิตย์ที่แล้ว รอหนังสือจากศาลปกครองให้ระงับการทิ้งดินของ กฟผ.” การบรรยายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ชาวบ้านแหงรับรู้ว่า ตลอดระยะเวลา 56 ปีที่เหมืองแม่เมาะดำเนินการ และ 50 ปี ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะผลิตกระแสไฟฟ้า กับความเป็นจริงของแม่เมาะที่ประสบปัญหามลพิษมาอย่างเรื้อรัง แต่การแก้ไขปัญหาและการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นบทเรียนของชาวบ้านแม่เมาะ หรือแม้แต่ชาวบ้านแหง และชุมชนอื่นๆ ที่ต้องรวมตัวกันต่อสู้ต่อต้านด้วยตัวเอง และเหมือนตอกย้ำอีกครั้งเมื่อ นฤดล สุชาติพงศ์ อดีตพนักงาน กฟผ. แม่เมาะ ที่ผันตัวมาเป็นแกนนำเรียกร้องเรื่องการอพยพให้ชาวบ้านแม่เมาะ สารภาพกับชาวบ้านแหงว่า “ตอนผมเป็นพนักงาน กฟผ. ทำหน้าที่สำรวจแหล่งถ่านหิน พื้นที่ทิ้งดิน ถ่านหินที่บ้านแหงผมเป็นคนเจาะสำรวจด้วยตัวเอง ถ่านหินที่บ้านแหงอยู่ลึกจากดิน 20 เมตร สามารถขุดขึ้นมาขายได้ 20-30 ล้านตัน ลักษณะเหมืองจะเป็นเหมืองเปิดเหมือนแม่เมาะ ถ้ามีการเปิดเหมืองจะมีอันตรายแน่นอน ฝุ่น PM10 จากที่ทิ้งดินจะฟุ้งกระจาย ปัญหาของคนบ้านแหงจะเหมือนกับพี่น้องที่แม่เมาะ” ออกจาก อบต.บ้านดง ชาวบ้านแหงเดินทางไปเยี่ยมเยียนบ้านใหม่ของผู้อพยพ และศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ บ้านฉลองราช อ.แม่เมาะ พวกเขาได้เห็นวิถีชีวิตใหม่ที่ยังไม่ได้ความสงบสุขคืนมาของชาวแม่เมาะที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ “ชาวบ้านชุดแรกอพยพมาแล้ว 22 ปี วันนี้ที่ดินยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ เพราะยังเป็นพื้นที่ป่าสงวน ชุดที่สองอพยพ 493 หลัง ยังไม่รู้ว่าจะได้เอกสารสิทธิ์หรือเปล่า บ้านแต่ละหลังจะมีพื้นที่เท่ากัน คือ 1 ไร่ ยังไม่มีพื้นที่ทำกิน... “เดิมพื้นที่ไข่แดงของแอ่งเหมืองแม่เมาะมีหมู่บ้านอยู่ 10 หมู่บ้าน มีโรงเรียน วัด ที่ว่าการอำเภอ เหมืองทำให้ชุมชนทั้งหมดล่มสลายต้องย้ายออกนอกพื้นที่ ส่วนชาวบ้านในพื้นที่ไข่ขาวไม่มีใครตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพิ่งจะมารู้ว่าป่วยเพราะมลพิษจากเหมืองก็ปี 2535 ถึงจะลุกขึ้นสู้ วันนี้คนป่วยยังตายไปเรื่อยๆ ที่ กฟผ. ตั้งกองทุนสำหรับดูแลผู้ป่วย 300 กว่าล้านบาทต่อปี แต่กว่าจะผ่านมือใครมา ก็มีเงินมาถึงชาวบ้านน้อยมาก ส่วนเงินที่ได้ก็เอาไปสร้างฝาย สร้างเขื่อน ไม่ได้เกี่ยวกับการเยียวยาสุขภาพ ชาวบ้านผู้ป่วยแม่เมาะยังไม่ได้รับการดูแลให้ดีขึ้น” มะลิวัลย์ นาควิโรจน์ ประธานเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ เล่า ตลอด 1 วันทั้งในและรอบเหมืองอันโหดร้าย แวววรินทร์ และชาวบ้านแหง ได้รับรู้ว่าพวกเขาไม่ใช่กลุ่มคนเดียวดายที่ต่อต้านเหมืองถ่านหิน ด้านหนึ่งเกิดกำลังใจ เห็นหนทางสู้ แต่เมื่อยังเห็นเหมืองแม่เมาะ เปิดเฟส 6 เฟส 7 และคงจะเปิดบ่อไปเรื่อยๆ จนกว่าถ่านหินในแม่เมาะที่จะเอามาใช้ได้อีก 20 ปี หมดลง ไม่นานจะมีการซื้อถ่านหินจากพม่า หรือจากแอ่งงาว ที่บ้านแหง แอ่งวังเหนือ แอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน แอ่งแม่ทะ แอ่งเสริมงาม แอ่งห้างฉัตร หรือแอ่งเวียงแหง แอ่งเชียงม่วน แอ่งปาย แอ่งฝาง แอ่งสันป่าตอง แอ่งพบพระ แอ่งอุ้มผาง แอ่งแพร่ แอ่งปัว แอ่งท่าวังผา แอ่งน่าน แอ่งบึงสามพัน แอ่งวิเชียรบุรี... และแหล่งอื่นๆ มาทดแทน ในขณะที่วันนี้แม่เมาะยังเป็นเมืองมลพิษ ชาวแม่เมาะที่อยู่อาศัยในพื้นที่รอบเหมือง 5 กิโลเมตรส่วนใหญ่ยังไม่ได้อพยพออกจากพื้นที่ ผู้ป่วยยังคงล้มตาย ส่วนคนอพยพออกนอกพื้นที่มาแล้วยังคงระทมทุกข์ “เรามาดูงานที่นี่ เราได้เห็นแล้ว เราจะกลับไปบ้านไปคุยกับคนที่บ้านเรา เราจะสู้ให้ถึงที่สุดไม่ให้เปิดเหมืองในบ้านเราให้ได้” แวววรินทร์ พูด
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
หน้าเฟซบุ๊กของราชวงศ์อังกฤษกลายเป็นเวทีดีเบตเรื่องสถาบันกษัตริย์ Posted: 10 Nov 2010 12:22 AM PST เว็บไซต์ข่าวเดอะการ์เดี้ยน รายงานว่า เพียงแค่หนึ่งวันหลังจากที่เปิดเพจของราชวงศ์อังกฤษ บรรดาผู้สนับสนุนและผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์ก็หลั่งไหลเข้ามาแสดงความคิดเห็น สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธและเจ้าชายฟิลิปส์พระสวามี ในขณะที่สมเด็จพระราชินีทรงมีพระบรมราโชวาทในปี พ.ศ.2543/ความเห็นที่มีลักษณะหมิ่นประมาทราชวงศ์ถูกลบออกจากหน้าเพจของราชวงศ์ ภาพโดย: Mike Forster/Npa Rota/Rex Features เพียงแค่วันเดียว หลังจากที่พระราชินีของอังกฤษทรงเปิดหน้าเพจทางการของราชวงศ์ พื้นที่ในหน้าเพจนั้นก็กลายเป็นพื้นที่ถกเถียงเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ โดยที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายผู้ดูแลเว็บของสำนักพระราชวังได้ทำการเซ็นเซอร์อย่างเข้นข้ม ต่อบรรดาข้อความต่อต้านสถาบันที่หลั่งไหลเข้ามา มีผู้เข้ามากด "ถูกใจ" ให้กับหน้าเฟซบุ๊กของราชวงศ์อังกฤษจำนวนกว่า 150,000 คน (ตัวเลขล่าสุดคือราว 190,000 ราย-ประชาไท) หลังจากที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อวานนี้ (8 พ.ย.) และมีความเห็นอีกนับพันความเห็นต่อข่าวและภาพถ่ายของราชวงศ์ในหน้าดังกล่าว ในอีกด้านที่คู่ขนานไปกับฝ่ายสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ ก็มีความห็นของฝ่ายต่อต้านสถาบันเช่น ชาวอาร์เจนตินาที่ไม่พอใจต่อกรณีพิพาทหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ชาวคอร์นิช กลุ่มชาตินิยมและผู้นิยมในสาธารณรัฐเป็นต้น โฆษกของพระราชวังบักกิ้งแฮมกล่าวว่า ผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมนั้นถูกสั่งให้เอาข้อความที่มีลักษณะหมิ่นประมาทออก แต่ไม่ได้มีการเจาะจงแบนความเห็นที่โพสต์โดยฝ่ายสนับสนุนสาธารณรัฐ “สแปมเป็นปัญหาพื้นฐานของเฟซบุ๊ก” โฆษกสำนักพระราชวังกล่าวและว่า “เฟซบุ๊กมีระบบรายงานและบล็อกสแปมและทีมงานเว็บไซต์ก็ใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในการปิดความเห็นต่อต้าน” หน้าเพจราชวงศ์อังกฤษ: ภาพจากเว็ปไซต์ ดิ อินดิเพนเดนท์ ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กสามารถกด "ถูกใจ" หน้าเฟซบุ๊กของราชวงศ์ ซึ่งจะทำให้พวกเขาได้รับข้อมูลข่าวสารจากหน้าดังกล่าว แต่ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กไม่สามารถจะ “สะกิด” (Poke) หรือเป็น "เพื่อน" กับสมเด็จพระราชินีได้เพราะว่าหน้าเพจดังกล่าวไม่ใช่บัญชีส่วนพระองค์แต่เป็นแฟนเพจของราชวงศ์ หน้าเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการของราชสำนักอังกฤษเปิดช่องให้เกิดการโพสต์ภาพล้อเลียน เช่น รูปสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษทรงชุดยูนิฟอร์มของพนักงานแมคโดนัลด์ หรือทรงชุดของสโมสรฟุตบอลเรนเจอร์ (สโมสรฟุตบอลในสก็อตแลนด์) และทีมฟุตบอลอาร์เซนอล สำนักพระราชวังของอังกฤษใช้ทวิตเตอร์แล้ว โดยมีจำนวนผู้ติดตาม หรือ follower กว่า 70,000 ราย และมีรายการทางยูทูบว์โดยมีผู้ติดตามชมราว 33,0000 ราย แปลจาก: Queen's Facebook page becomes forum for monarchy debate สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เปิดฉากประชุมอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดลูกปรายที่ประเทศลาว Posted: 10 Nov 2010 12:05 AM PST 9 พ.ย.53 เจนีวา / กรุงเทพฯ– คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี ออกใบแถลงข่าวระบุว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นเจ้าภาพการประชุม รัฐภาคี อนุสัญญาว่าด้วยระเบิดลูกปรายระหว่างวันที่ 9 ถึง 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โดยมีจุดประสงค์ในการประชุมครั้งนี้คือ เพื่อต้องการให้รัฐภาคีที่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาก้าวสู่ภาคปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบ ประเทศลาวเป็นตัวอย่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากระเบิดลูกปรายที่ชัดเจนที่สุด มาดาม คริสติน เบียร์ลี (Christine Beerli) รองประธานคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross / ICRC) กล่าวว่า "ประเทศลาวเป็นตัวอย่างที่น่าสลดใจยิ่ง ถึงวันนี้ระเบิดลูกปรายที่ใช้ใน 40 ปีที่ผ่านมายังทำให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ ต้องเสียชีวิต หรือพิการ อย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ อีกทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการเกษตร และการพัฒนาประเทศ สิ่งเหล่านี้ไม่ควรที่จะเกิดขึ้นอีก " วัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้คือการแบ่งสรรและกำหนดแผนการดำเนินงาน ระหว่างรัฐภาคีในอนุสัญญา หน่วยงานสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศ ภาคประชาสังคม และผู้รอดชีวิตจากระเบิดลูกปราย รวมถึงการร่วมมือในการสังเกตการณ์ และประยุกต์ใช้แผนการเหล่านี้ "บทบาทของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ณ ตอนนี้คือจะต้องทำอย่างไรให้ชุมชน ผู้รอดชีวิต และ ผู้ประสบภัย มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยการลดความเสี่ยงที่ชาวบ้านได้รับอันตราย การกวาดล้างพื้นที่ที่แฝงไว้ด้วยระเบิดลูกปราย การรักษาพยาบาล และการบำบัดฟื้นฟู ทางสังคมและจิตใจ รวมไปถึงการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ" มาดาม เบียร์ลี กล่าวเพิ่ม ตามสถิติรัฐบาลลาวนั้น ประเทศลาวมีระเบิดลูกปรายถึง 80 ล้านลูกที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด และโดยเฉลี่ยทุกปีระเบิดลูกปรายนี้ได้คร่าชีวิต ชาวบ้านกว่า 300 คน "อนุสัญญานี้ประสบความสำเร็จในการประนามระเบิดลูกปรายว่าเป็นสิ่งที่สังคมโลกยอมรับไม่ได้ และระเบิดลูกปรายเป็นล้านๆลูกจะถูกทำลาย ถือเป็นชัยชนะที่สำคัญอันหนึ่งที่จะสามารถป้องกันไม่ให้มีผู้เคราะห์ร้ายเพิ่มมากขึ้น แต่กระนั้นการฟื้นฟูชีวิตของเหยื่อระเบิด และผู้ที่ได้รับผลกระทบต้องมีการวางแผนและการระดมความร่วมมือระดับชาติที่จำเป็นในการกวาดล้างพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยและชุมชนของพวกเขา" นาย ปีเตอร์ เฮอร์บี้ (Peter Herby) หัวหน้าแผนก "Arms Unit" ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ อธิบาย มากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศทั่วโลก ได้ลงนาม ที่จะเลิกใช้อาวุธเหล่านี้ และในหลายกรณีได้ให้สัตยาบัน อนุสัญญาว่าด้วยระเบิดลูกปราย ก่อนที่จะมีการทำสัตยาบันและปฏิญญาอนุสัญญานี้นั้น ทั่วโลกไม่มีวี่แววว่าจะหยุดผลิตและใช้ระเบิดลูกปราย มิหนำซ้ำอาวุธร้ายแรงเหล่านี้กลับเพิ่มจำนวนอย่างไม่มีขีดจำกัด จึงนับเป็นก้าวแรกที่ดีที่อนุสัญญาได้รับการตอบรับจากประเทศส่วนใหญ่ อนุสัญญาว่าด้วยระเบิดลูกปรายมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553 และ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 108 ประเทศได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาแล้ว ขณะที่ 43* ประเทศได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญานี้ ผลก็คือระเบิดลูกปรายเป็นล้าน ได้ถูกทำลายไป คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หวังว่าผลจากการประชุม ระหว่างรัฐภาคีครั้งนี้จะนำไปสู่การทำลาย และเลิกใช้ระเบิดลูกปรายมากขึ้นในอนาคต * แอลเบเนีย แอนติกาและบาร์บูดา ออสเตรีย เบลเยียม บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บูร์กินาฟาโซ บุรุนดี เคปเวิร์ด คอโมโรส โครเอเชีย เดนมาร์ก เอกวาดอร์ ฟิจิ ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอร์แลนด์ นครรัฐวาติกัน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เลโซโท ลักเซมเบิร์ก สาธารณรัฐมาซิโดเนีย มาลาวี มาลี มอลตา เม็กซิโก มอลโดวา โมนาโก มอนเตเนโกร นิวซีแลนด์ นิคารากัว ไนเจอร์ นอร์เวย์ ซามัว ซานมารีโน เซเชลส์ เซียร์ราลีโอน สโลวีเนีย สเปน ตูนีเซีย อุรุกวัย สหราชอาณาจักร และแซมเบีย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ภาคประชาชนย้ำอย่าดองพ.ร.บ.คุ้มครองเสียหายฯ จี้ ‘มาร์ค’ทำตามสัญญา Posted: 09 Nov 2010 11:52 PM PST 9 พ.ย.53 ตัวแทนภาคประชาชนออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีทำตามรับปาก เร่งผลักดันการพิจาณากฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข ฉบับ 10,000 ชื่อของภาคประชาชน หลังจากบรรจุเข้าวาระ 2 สมัยประชุมก็ยังไม่ได้พิจารณา รายละเอียดมีดังนี้ ภาคประชาชนตั้งคำถาม ใครคือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจผลักดันกฎหมายเพื่อประชาชน นายกรัฐมนตรี หรือวิปรัฐบาล หรือวิปฝ่ายค้าน คำตอบควรจะเป็นใคร พร้อมเรียกร้องนายกรัฐมนตรี ทำตามคำสัญญาให้เป็นจริง กลุ่มประชาชนออกแรงเรียกร้องอีกครั้ง ด้วยความหวังครั้งสุดท้ายว่านักการเมือง จะไม่เป็นอย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเชื่อคำสัญญาไม่ได้ บทเรียนจากการผลักดันกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขครั้งนี้ สอนให้รู้ว่า เราต้องการความกล้าหาญของนักการเมืองในการตัดสินใจบนความขัดแย้ง เพื่อผลประโยชน์ประชาชน เมื่อนายวิทยา แก้วภราดัย เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในปี ๒๕๕๒ เครือข่ายผู้ป่วยและภาคประชาชนที่ผลักดันร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ได้เข้าพบและประชุมร่วมกัน พร้อมรับทราบว่า รัฐบานี้มีนโยบายที่จะทำกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหาย และท่าทีที่เข้าใจปัญหาและความทุกข์ของผู้เสียหาย ทำให้ภาคประชาชนมีความหวังว่าจะมีกฎหมายฉบับนี้โดยเร็ว นายวิทยาทราบดีว่า กฎหมายฉบับนี้ ได้มีการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของสภาวิชาชีพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 136 คน เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2553 (ดังเอกสารรายละเอียดที่แนบมานี้) นอกจากนี้สภาวิชาชีพ และหน่วยงานต่างๆ มีโอกาสเข้าไปพิจารณากฎหมายในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกา ไม่น้อยกว่า ๑๑ เดือน นอกจากนี้นายวิทยาทราบดีว่ากฎหมายฉบับนี้มีหลักการและเหตุผลอย่างไร ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับกฎหมายฉบับนี้ แต่เมื่อนายวิทยา เปลี่ยนมารับตำแหน่งประธานวิปรัฐบาล เป็นช่วงเวลาที่ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้บรรจุอยู่ในวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีร่างของภาคประชาชนที่เสนอโดยการเข้า ๑๐,๐๐๐ ชื่อรวมอยู่ด้วย หากนับเวลาผ่านมา ๒ สมัยการประชุม ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็ยังไม่ได้นำเข้าสู่การพิจารณาแต่อย่างใด จากที่เคยช่วยผลักดัน หันหลังกลับมาประกาศให้กระทรวงสาธารณสุขไปทำความเข้าใจ ย้อนไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ทั้งที่กลุ่มทั้งหลายได้สรุปประเด็นความเห็นร่วมกัน ๑๒ ประเด็น ประชาชนมีบทเรียนที่สามารถเทียบเคียงกันได้ เมื่อมีการทำพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กลุ่มแพทย์กลุ่มเดียวกันนี้บางส่วนก็คัดค้านมาตรา 41 ว่าจะทำให้เกิดฟ้องร้องแพทย์ แต่อดีตนายกทักษิณ ชินวัตรเลือกเดินหน้าและมาตรานี้เป็นประโยชน์กับประชาชนในปัจจุบัน แต่แม้ว่าจะผิดหวังจากประธานวิปรัฐบาล แต่ประชาชนก็ยังไม่หมดความพยายาม และมีความหวังอีกครั้ง เมื่อนายกรัฐมนตรี ยืนยัน ไม่ถอน ไม่ชะลอ แต่รับปากอย่างเดียวไม่พอ ต้องดำเนินการให้ประชาชนเห็นเป็นรูปธรรมดังนั้นขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ดำเนินการเพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาโดยเร็ว เพราะ “ประชาชน ต้องมาก่อน ตามนโยบายของรัฐบาล” ลงชื่อ นางสาวบุญยืน ศิริธรรม เครือข่ายภาคประชาชนผู้ผลักดันกฎหมาย นายสุบิล นกสกุล ประธานชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย นางสายชล ศรทัต เครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
“สุขุมพันธุ์” พร้อมรับ “กฎกระทรวง” ให้คนจนเมืองสร้างบ้านอย่างถูกกฎหมาย Posted: 09 Nov 2010 11:52 PM PST ยันพร้อมเดินหน้าแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยสลัม 4 ภาค หลัง เจรจาร่วมหาทางออกทั้งเรื่องโฉนดชุมชน ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการตัดถนน การผ่อนปรนการก่อสร้างที่อยู่อาศัย โดยมีชาวชุมชนรวมตัวรอฟังคำตอบกว่า 500 คน วานนี้ (9 พ.ย.2553) เวลาประมาณ 09.00 น.เครือข่ายสลัม 4 ภาค ราว 500 คน รวมตัวที่บริเวณลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เพื่อรอฟังผลการเจรจาระหว่างผู้แทนเครือข่ายสลัม 4 ภาค และ มรว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งเดินทางมาเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดในเขต กทม.ครั้งที่ 3/2553 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) สำนักงานโฉนดชุมชน สำนักนายกฯ การเคหะแห่งชาติ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักงานเขตรวม 10 เขตที่ประสบปัญหา และตัวแทนเครือข่ายสลัม 4 ภาค เครือข่ายสลัม 4 ภาค เรียกร้องให้ทางผู้ว่ากทม.ต้องมีรูปธรรมที่ชัดเจนในการพิจารณาแก้ปัญหา โดยประเด็นในการเจรจาประกอบด้วย 1.กรณีการอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อเป็นไปตามนโยบายโฉนดชุมชนของชุมชนนำร่องใน 4 พื้นที่ ของกรุงเทพฯ 2.กรณีหาแนวทางแก้ปัญหาชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการตัดถนนของกรุงเทพมหานคร 3.กรณีการผ่อนปรนการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของผู้มีตามโครงการบ้านมั่นคง ภายหลังการประชุม ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ได้เดินทางลงไปบริเวณลานคนเมือง เพื่อรับมอบสิ่งของและเงินบริจาคช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดภาคใต้จากเครือข่ายสลัม 4 ภาค ส่วนคำตอบเรื่องการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในเขต กทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า วันนี้ได้รับฟังการรายงานการศึกษาและแนวทางแก้ไขปัญหาจากคณะอนุกรรมการฯ ใน 10 เขต รวมถึงการช่วยเหลือชาวเครือข่ายก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะการประสานความร่วมมือไปที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในการคิดค่าติดตั้ง รวมทั้งค่าไฟในอัตราที่เท่ากับประชาชนที่มีทะเบียนบ้าน ในส่วนของนโยบายของรัฐบาลเรื่องของโฉนดชุมนุมนั้น หลังนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชนว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการดำเนินงานโฉนดชุมชน พ.ศ.2553 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม รวมทั้งได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่ขณะนี้ กทม.ยังไม่ได้รับเรื่องอย่างเป็นทางการ แต่ตนได้สั่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอย่างเป็นทางการเพื่อดูแลปัญหา รวมทั้งดูว่าจะนำนโยบายของรัฐบาลมาปฏิบัติได้อย่างไรโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ เพราะนโยบายดังกล่าวครอบคลุมการบังคับใช้ทั่วประเทศ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวด้วยว่า หากเรื่องดังกล่าวมาถึง กทม.อย่างเป็นทางการแล้ว กทม.จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุมอีกครั้ง เพื่อดูว่าจะเดินหน้าแก้ปัญหาอย่างไร โดยเฉพาะการร่างกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับระยะร่น ซึ่งต้องรอคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความเสียก่อน เนื่องจากยังมีข้อกฎหมายบางตัวขัดกันอยู่ ซึ่งระหว่างนี้ตนได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมเอาไว้ เพราะเมื่อกฎกระทรวงบังคับใช้ กทม.ก็พร้อมที่จะเดินหน้าช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เพื่อให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยอย่างถูกกฎหมาย ทั้งนี้ การผลักดันให้ออกกฎกระทรวงเพื่อผ่อนปรนในเรื่องการปลูกสร้างอาคาร เนื่องจาก ที่ผ่านมา พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ได้มีกฎเกี่ยวกับระยะเว้น ระยะร่นของสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องเว้นด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง ด้านละไม่ต่ำกว่า 2 เมตร กฎระเบียบดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการปลูกสร้างบ้านของชาวชุมชนเนื่องจากได้ขนาดที่ดินแปลงเล็ก เช่น 4 x 10 เมตร, 5 x 8 เมตร เพราะพื้นที่ในเมืองมีราคาแพง ดังนั้นจึงไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบดังกล่าวได้ ที่ผ่านมาเครือข่ายสลัม 4 ภาค พยายามเคลื่อนไหวเพื่อให้กระทรวงมหาดไทย เร่งออกกฎทรวงผ่อนปรนระยะเว้น ระยะร่น โดยให้เว้นด้านหน้า ด้านหลัง ด้านละ 1 เมตร และด้านข้างด้านละ 0.5 เมตร ส่งผลให้รัฐบาลรับที่จะนำร่างกฎกระทรวงตามข้อตกลงร่วมกับชาวชุมชนเข้า ครม.เพื่อให้ความเห็นชอบ อย่างไรก็ตามยังไม่มีความคืบหน้าในเรื่องนี้
บางส่วนจาก: เนชั่นทันข่าว
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น