ประชาไท | Prachatai3.info |
- เพื่อไทยปราศรัยใหญ่ที่อุดรฯ เล็งรวมพลสักการะพระพรหมแยกราชประสงค์ 19 พ.ย.
- น้ำท่วมประเทศไทย: ต้องเยียวยาทั้งกายและใจ
- ประมวลความเสียหายจากภัยพิบัตในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ วันที่ 5 – 6 พ.ย. 53
- รายงาน: บ้านแหงเยือนแม่เมาะ...ลมหนาวยังโหดร้าย
- นักข่าวพลเมือง: กลุ่มอนุรักษ์อุดรฯ บี้ ผู้ว่าฯ ยกเลิกผลการรังวัดเหมืองโปแตช
- ลูกชาย ซูจี ขอวีซ่าเข้าพม่าเยี่ยมแม่
- อภิเชต ผัดวงศ์: “ปาย 2” ที่พะเยา
- นักข่าว BBC หยุดงานประท้วงปรับเงินบำนาญ
- สัมภาษณ์ “ดีเจหนึ่ง” ประสบการณ์วิทยุชุมชน และความฝันกับสถานีวิทยุแห่งใหม่
- กวีตีนแดง: ภาพบางภาพที่ไม่ได้อยู่ตรงที่เดิม
- อานนท์ นำภา:บทกวีถึงมหาตุลาการ
เพื่อไทยปราศรัยใหญ่ที่อุดรฯ เล็งรวมพลสักการะพระพรหมแยกราชประสงค์ 19 พ.ย. Posted: 06 Nov 2010 06:34 AM PDT ในช่วงเย็นของวันนี้ (6 พ.ย. 53) พรรคเพื่อไทยได้เปิดการปราศรัยใหญ่ที่บริเวณลานทุ่งศรีเมือง อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยแกนนำพรรคและ ส.ส.ภาคอีสานของพรรคเพื่อไทย อาทิ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส. พรรคเพื่อไทย นายพายัพ ชินวัตร ประธานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส. สัดส่วน พ.อ.ภิวันท์ วิริยะ ชัย รองประธานสภาฯ ส.ส. นนทบุรี และส.ส. พรรคเพื่อไทย ซึ่งบนเวทีได้มี ส.ส.สลับขึ้นเวทีอภิปรายอย่างต่อเนือง เป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีประชาชนและคนเสื้อแดงเดินทางทยอยมาร่วมงานกันอย่างต่อเนื่องกว่าหมื่น คน เป็นครั้งแรกหลังการประกาศยกเลิก พรก.ฉุกเฉินฯ โดยนายพายัพ ชินวัตร ประธานภาคอีสาน พรรคเพื่อไทย ได้ขึ้นปราศรัยว่าสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะให้นายวิเชียร ขาวขำ ส.ส. อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ขยับจากการลง ส.ส. แบบแบ่งเขต มาเป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ และจะส่งภรรยาของนายวิเชียรลง ส.ส. แบบแบ่งเขตแทน พร้อมยืนยันว่าตนไม่เคยมีความคิดที่จะเล่นการเมือง แต่อยากให้ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้า และอยากให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้เดินทางกลับมายังประเทศไทย จึงต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง นายพายัพ กล่าวต่อว่า การเลือกตั้งซ่อมในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคอีสาน ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 12 ธ.ค.นั้น ขอให้ประชาชน ช่วยกันรณรงค์หาเสียงให้กับพรรคเพื่อไทย ให้ชนะการเลือกตั้งและมีที่นั่งเพิ่มขึ้นในสภาฯ ซึ่งมั่นใจว่าการเลือกตั้งครั้งหน้าพรรคเพื่อไทยจะได้กลับมาเป็นรัฐบาล และจะนำตัวพ.ต.ท. ทักษิณกลับประเทศได้แน่นอน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ปราศรัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวกับสมาชิกพรรคเพื่อไทย ถึงกรณีการเลือกตั้งใหญ่ที่จะมีขึ้นในเร็ววันนี้โดยขอให้ใจเย็นเพราะวันนี้ หากไม่มีชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ประชาชนก็จะไม่เชื่อถือ โดยพ.ต.ท.ทักษิณ ได้วางนโยบายเพื่อเตรียมไว้สำหรับบริหารประเทศหากพรรคเพื่อไทยได้กลับมาเป็น รัฐบาลอีกครั้ง 20 เรื่อง อาทิ การรับจำนำข้าวในราคาถังละ 15,000 บาท //ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 300 บาท/และขึ้นเงินเดือนผู้ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท พร้อมขอให้ทุกๆคนช่วยกันเพื่อพรรคเพื่อไทยชนะขาดได้กลับมาเป็นรัฐบาล ด้าน พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย ขึ้นปราศรัยบนเวทีเป็นครั้งแรกหลังจากเข้ารับตำแหน่งในพรรคเพื่อไทย โดยกล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ พรรคเพื่อไทยจึงปฏิเสธที่จะเข้าร่วม และสนับสนุนให้นำรัฐธรรมนูญ ปี 2540 มาใช้เพราะเห็นว่า มีประโยชน์ในการที่จะสร้างรัฐบาลที่เข้มแข็ง ขณะที่เห็นว่าวันนี้ประชาชนไม่สามารถพึงนายกรัฐมนตรีได้จึงมีเพียงหนทาง เดียวคือ เลือกพรรคเพื่อไทยเข้าไปบริหารประเทศ เพื่อแก้ปัญหาของบ้านเมืองในขณะนี้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ปราศรัยว่าไม่กังวลหากรัฐบาลจะแก้รัฐธรรมนูญ ที่ให้การเลือกตั้งเป็นแบบเขตเดียวแบอร์เดียว เพราะเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ เลือกพรรคเพื่อไทยไม่ใช่เลือกตัวบุคคล พร้อมกับมั่นใจว่าพรรคจะชนะการเลือกตั้งใหญ่ที่จะมีขึ้นในเร็วนี้ และจะคงนโยบายเดิมที่พรรคไทยรักไทยทำไว้ แต่จะเพิ่มเงินงบประมาณในนโยบายกองทุนหมู่บ้านเป็น 2 ล้านบาท และพักหนี้เกษตรกร โดยจะนำเงินจากรายได้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศ แต่หากจะให้นักท่องเที่ยวเข้าประเทศได้ จะต้องยกเลิก พรก ฉุกเฉินก่อน รวมถึงการปราบปรามยาเสพติด และสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นอย่างไรก็ตามหากพรรคได้เป็นรัฐบาลพรรคเดียว จะนำรัฐธรรมนูญปี 40 กลับมาใช้ แต่หากพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งที่มีคะแนนเสียงไม่เกินกึ่งหนึ่ง ขอให้พรรคประชาธิปัตย์ยอมรับการตัดสินและต้องไม่ตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคเพื่อไทย ร.ต.อ.เฉลิม ยังเชื่อว่ารัฐบาลจะอยู่ได้อีกไม่เกิน 1 ปี เนื่องจากต้นปีหน้าที่จะมีการเปิดประชุมสภา พรรคเพื่อไทยจะขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อซักฟอกนายกรัฐมนตรี เวลา 20.00 น.พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โฟนอินมายังเวทีประมาณ 20 นาที ว่า พร้อมที่จะกลับไปปลดหนี้เพื่อสร้างความมั่งคั่ง กลับไปใช้หนี้บุญคุณที่สนับสนุนมาขนาดนี้ ป็นคนธรรมดาคนหนึ่งแต่ได้รับความเมตตา โดยเฉพาะจากคนอีสานถือว่าเป็นบุญในชีวิต พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นที่ซึ่งแก้ปัญหาได้ห่วยมาก เกิดจาก 2 เรื่องกระทรวงมหาดไทยมีการหากินจากการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ผู้ว่าฯ ต้องจ่าย 20 ล้าน ตังค์ไม่มีก็ไปยืมนายกฯ อบจ.มาก่อน เมื่อเกิดปัญหาจะเอาน้ำหน้าอะไรไปสั่งใครได้และการแต่งตั้งเด็กข้ามหัว ผู้ใหญ่แล้วจะยอมเคารพกันได้อย่างไร นี่คือปัญหาที่ข้าราชการไม่ทุ่มเทเต็มที่ "วันนี้ผมสามารถสร้างนโยบายพลิกฟื้นประเทศไทยและทำให้ประชาชนหายจน ได้ในเวลาสั้นและให้ลูกหลานมีอนาคตที่ดีตนไปเห็นมาแล้วทำไม่ยาก โดยขอนิดเดียวเลือกตั้งครั้งหน้าขอให้เลือกพรรคเพื่อไทยให้ถ่มทลาย" ทั้งนี้พ.ต.ท.ทักษิณ ยังยืนยันว่าสุขภาพแข็งแรงดีอีกไม่นานจะเดินไปเยี่ยมพี่น้องชาวอุดรฯ นอกจากนี้ ได้มีการแสดงคอนเสิร์ตเสื้อแดง ได้มีการร้องเพลงสลับ การปราศรับ ระหว่างนั้น นายรังสี เสรีชัย หนึ่งในศิลปินคนเสื้อแดง ได้ประกาศเชิญชวน คนเสื้อแดง ไปรวมพล สักการะพระพรหม ที่แยกประราชประสงค์วันที่ 19 พ.ย.ครบรอบ 6 เดือนเหตุการณ์สลายม็อบเสื้อแดง อนึ่งก่อนหน้านั้นในช่วงเช้า พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย , นายพายัพ ชินวัตร น้องชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ส.ส.อีสาน พรรคเพื่อไทย เดินทางเข้าเยี่ยมผู้ต้องหาในคดีก่อการร้าย ที่ถูกคุมขังในเรือนจำกลาง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 25 คน ทั้งนี้ พล.อ.ชวลิต ได้กล่าวกับผู้ต้องหาตอนหนึ่งว่า ตั้งแต่เกิดมาจนถึงปัจจุบันอายุ 78 ปีแล้ว ก็ยังหาความยุติธรรมไม่ได้ ดังนั้น เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องสร้างความยุติธรรม ให้เกิดขึ้นบนแผ่นดินนี้ให้ได้ โดย พล.อ.ชวลิต ใช้เวลาพบผู้ต้องหาเป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมง ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: "แกนนำเพื่อไทย" บุกเรือนจำอุดรฯ เยี่ยมคนเสื้อแดง (แนวหน้า, 6-11-2553) พท.ปราศรัยใหญ่ ปลุก”เสื้อแดง”ประเดิมที่อุดรฯ เล็งรวมพลสักการะพระพรหม แยกราชประสงค์ 19 พ.ย. (แนวหน้า, 6-11-2553) "แม้ว"โฟนอินเสื้อแดงอุดรฯลั่นพร้อมกลับปลดหนี้ย้ำสุขภาพแข็งแรง (มติชนออนไลน์, 6-11-2553)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
น้ำท่วมประเทศไทย: ต้องเยียวยาทั้งกายและใจ Posted: 06 Nov 2010 05:47 AM PDT ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน อุทกภัยในประเทศไทยปีนี้หนักที่สุดในรอบหลายสิบปี เนื่องจากมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักทั้งชีวิตและทรัพย์สินในหลายพื้นที่ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ได้ประเมินความเสียหายต่อเศรษฐกิจประมาณ 50,0000 ล้านบาท รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่าพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายกว่า 2.4 ล้านไร่ เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน 1.5 แสนราย นาข้าวได้รับผลกระทบมากที่สุด คิดเป็น 1.7 ล้านไร่ ด้านปศุสัตว์และด้านประมงได้รับผลกระทบ 1 แสนราย ซึ่งเมื่อนับรวมกับความเสียหายจากอุทกภัยนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา พบว่าพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายเกือบ 4 ล้านไร่ รวมเกษตรกรได้รับความเดือนร้อน 2.9 แสนรายลดลงถึง 6.5% บีบให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. รายงานผลกระทบจากอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคใต้ตอนบนภาคกลาง ภาคตะวันออก และ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ระหว่างวันที่ 10 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2553 ทำให้มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม 39 จังหวัด โดยคลี่คลายสถานการณ์แล้ว 20 จังหวัดเหลืออีก 19 จังหวัดรวมความเสียหาย 545,447 ครัว และพื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะเสียหาย 6,300,000 ไร่ สำหรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ ที่เกิดจากอิทธิพลพายุดีเปรสชั่น บริเวณอ่าวไทยตอนล่างเคลื่อนตัวผ่านประชาชนยังคงประสบอุทกภัยทั้ง สิ้น 11 จังหวัด ได้รับความเดือดร้อน 200,000 กว่าครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 30 ราย และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ยังคงแจ้งเตือนให้ประชาชนติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์จากกรมอุตุนิยม วิทยาอย่างต่อเนื่อง ในการเฝ้าระวังสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นตลอดเดือนพฤศจิกายน เรือประมงขนาดกลางและขนาดใหญ่กว่า 3,000 ลำ ของ จ.ปัตตานี จอดเทียบท่าภายในอ่าวปัตตานี ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม ที่ผ่านมา หลังจากได้รับการแจ้งเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาว่า จะมีพายุดีเปรสชั่นในอ่าวไทย ซึ่งหลังจากพายุสงบลง ในที่ (6 พ.ย.) เริ่มมีเรือออกหาปลาแล้ว แต่ทุกลำยังคงติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดจากกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งการต้องจอดเทียบท่าเกือบ 1 สัปดาห์เต็ม ทำให้เรือประมงต้องขาดรายได้ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท ขณะที่นายกสมาคมการประมง แจ้งว่า เรือประมงพื้นบ้านขนาดเล็ก ที่ได้รับผลกระทบกว่า 100 ลำ และเกือบ 90 ลำ ไม่สามารถนำมาประกอบอาชีพได้ หลายชุมชนตามชายฝั่งไม่ใช่โดนอุทกภัยแต่โดนวาตภัยทำให้บ้านเสียหายทั้งหมู่บ้าน จึงไม่มีที่อยู่อาศัย บางบ้านดินถล่มทับบ้านอย่างหมู่บ้านหัวเขา จังหวัดสงขลาทำให้ลูกสองคนพร้อมแม่เสียชีวิตต่อหน้าต่อตาผู้นำครอบครัวที่รอดอย่างทุลักทุเล ด้านเครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งทะเลภาคใต้ แจ้งว่า พื้นที่ชายฝั่งทะเลปัตตานีได้รับความเสียหายจากดีเปรสชั่นครั้งนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพื้นที่ทำกินและเครื่องมือประกอบอาชีพ ที่คาดว่า จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 เดือน จึงจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งเบื้องต้นต้องการให้ภาครัฐเร่งสร้างความมั่นใจและให้ข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถนการณ์น้ำและอากาศในพื้น หลายพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ชาวสวนยางไม่สามารถกรีดยางได้ถึงแม้ราคายางจะมีค่ากิโลกรัมละร้อยกว่าบาทเช่นนางอมีเนาะ มะลีชาวบ้านอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลากล่าวว่านางไม่ได้กรีดยางกว่ากว่าสัปดาห์แล้ว จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รายงานจำนวนผู้ป่วยจากการประสบภัยอุทกภัยทั้งสิ้นมากว่า 200,000 ราย ในขณะเดียวกัน ช่วงน้ำท่วมทำให้ ประชาชนเครียดเพราะทรัพย์สินเสียหาย บ้านพัง ไม่เพียงชาวบ้านเครียด เจ้าหน้าที่บางคนก็เครียดตามถึงขนาดร้องไห้ หลายพื้นที่ชาวบ้านติดน้ำท่วมกลางหมู่บ้าน น้ำสูงมาก จนต้องอาศัยบนหลังคาบ้านรอคอยความช่วยเหลือจากหน่วยกู้ภัย ทำให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครหลายพื้นที่ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านโดยไม่คิดชีวิต หนึ่งในนั้นคือเหตุการณ์น้ำท่วมที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลากล่าวคือเมื่อกลางดึกของวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา นายวัชรัตน์ บุญฤทธิ์ ปลัดอำเภอจะนะ ได้เดินทาง โดยเรือพร้อมกับ อาสาสมัคร และทหาร และชาวบ้านนำทาง รวม 4 คน ไปช่วยชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมอย่างหนักในหมู่บ้าน ป่าชิง หมู่ 3ตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาได้ถูกระแสน้ำที่แรงมาก พัดจนเรือที่โดยสารเกิดล่ม และปลัดอำเภอ กับชาวบ้านที่นำทางไป สูญหายไป 2 คน ส่วนทหาร และอาสาสมัคร รอดชีวิตมาได้ ซึ่งทั้งคืนและทั้งวันได้ส่งเจ้าหน้าที่ ไปค้นหาตามต้นไม้และบริเวณใกล้เคียง ก็ไม่ยังไม่เจอ จนวันที่ 3 พฤศจิกายน ก็ได้พบร่างอันไร้วิญญาณของว่าที่ร้อยตรีวัชรัตน์ บุญฤทธิ์ โดยศพอยู่ห่างจากบริเวณที่เกิดเหตุประมาณ 1 กิโลเมตร โดยเจ้าหน้าที่ได้ใช้ธงชาติไทยคลุมศพของปลัดอำเภอจะนะ ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของนางพรรณี บุญฤทธิ์ ภรรยาและญาติ ๆ ที่มาเฝ้ารอการค้นหา รวมถึงชาวอำเภอจะนะหลายร้อยคน ที่มาร่วมค้นหา และเป็นกำลังใจให้กับครอบครัว โดยศพของปลัดอำเภอจะนะ นั้นประกอบพิธีรดน้ำศพที่อำเภอจะนะ จากนั้นมีการสวดพระอภิธรรมที่อำเภอจะนะ 2 วัน ก่อนจะนำกลับบำเพ็ญกุศลที่บ้านเกิดใน จ.สุราษฎร์ธานี นางพรรณี บุญฤทธิ์ มารดาของว่าที่ร้อยตรีวัชรัตน์ หรือ ปลัดเอ กล่าวด้วยน้ำตานองนาว่า บุตรชายเป็นคนดี ตั้งใจทำงาน พอสอบผ่านและได้รับการบรรจุเป็นปลัดฯ ก็ขอย้ายลงในพื้นที่สีแดง เพราะบุตรชายต้องการดูแลสารทุกข์สุขดิบ ตลอดจนความปลอดภัยของชาวบ้าน ตนเคยห้ามแต่เขาก็ไม่ฟัง บอกเพียงแต่ว่าสงสารชาวบ้านที่ต้องอยู่อย่างหวาดผวา “ลูกชายป้าเป็นคนดี ตั้งใจทำงาน เวลาเห็นชาวบ้านเดือดร้อน เขาจะไปช่วยเหลือทันทีไม่มีรีรอ โดยช่วงปี 2554 เขามีโครงการจะแต่งงาน ป้าไม่คิดว่าจะต้องสูญเสียลูกชายไปจากเหตุการณ์ครั้งนี้” จากบทเรียนอุทกภัย วาตภัยครั้งนี้ ถึงแม้ประชาชนชาวไทยจะได้รับผลทบอย่างถ้วนหน้าทั้งทางตรงและทางอ้อมแต่คนไทยทุกภาคส่วนยังคงหลั่งไหลช่วยเหลือพี่น้องร่วมชาติอย่างไม่ขาดสาย ขอเป็นกำลังใจแด่ทุกคนจงอดทนและต่อสู้ต่อไปโดยเฉพาะครอบครัววีรบุรุษปลัดวัชรัตน์ บุญฤทธิ์ ซึ่งสละชีพในหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับรัฐ การช่วยเหลือบางครั้งอาจจะไม่สามารถยึดระเบียบที่เป็นตัวหนังสือของราชการอย่างเดียวแต่ราชการควรประสานกับชุมชนต่างๆ ให้การดำเนินการช่วยเหลือเข้าถึงและครอบคลุมชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริงโดยให้ชุมชนรับรอง ส่วนกรณีบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายรัฐหรือองค์เอกชนที่มีความสามารถควรจัดศูนย์พักพิงชั่วคราวอย่างเร่งด่วน ที่สำคัญต้องปฏิรูประบบเตือนภัยในพื้นที่อย่างเร่งด่วนและเป็นรูปธรรมเพราะจะช่วยลดความเสียหายได้มากกว่านี้ นอกจากความสามัคคีของคนในชาติในการส่งความช่วยเหลือต่อผู้สูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นเงิน วัสดุและสิ่งของนับล้านๆ บาทซึ่งหลั่งไหลสู่ผู้ประสบภัยอย่างไม่ขาดสายแล้วอย่าลืมการเยียวยาจิตใจต่อผู้สูญเสียซึ่งเงิน วัสดุและสิ่งของนับล้านๆ บาทอาจช่วยไม่ได้ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เช่นหลักคำสอนของศาสนาอิสลามว่า ด้วยความอดทนต่อภัยพิบัติดังที่ท่านศาสนฑูตมุฮัมมัดได้เคยปลอบขวัญผู้ได้รับภัยพิบัติว่า "พระเจ้าได้ตรัสว่าเมื่อข้าได้ทดสอบผู้ศรัทธาต่อข้าในเรื่องใดแล้ว เขาผู้นั้นมีความอดทนโดยเขายอมรับไม่ได้ร้องทุกข์ในความปวดร้าว ซึ่งไม่พึงพอใจต่อข้า แน่นอนข้าได้ปลดปล่อยเขาให้พ้นจากเฉลยของข้า" ท่านยังได้กล่าวอีกว่า "พระเจ้าจะเปลี่ยนเลือดใหม่ให้ดีกว่าเก่า" เอกองค์อัลลอฮ์ได้โองการไว้ ความว่า แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเคียงข้างผู้อดทน ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด กล่าวไว้ความว่า "หากผู้ใดอดทนต่อภัยพิบัติที่ได้ประสบและยังสรรเสริญภักดีต่อพระเจ้าเพิ่มขึ้น แน่นอนเขาผู้นั้นเมื่อตื่นขึ้นมาจะสะอาดปราศจากบาปที่เคยทำความผิด และพระเจ้าจะประทานรางวัลที่มีค่ายิ่งแก่เขาผู้นั้น" (วัจนะศาสดาโดยสรุปบันทึกโดยอิมามอัลหะกีม อะห์มัดและอบูยะอ์ลา) และประมาณวันที่ ๑๘ พฤศจิกายนนี้ เป็นวันตรุษอีดิลอัฎฮามุสลิมที่มีความสามารถจะไปทำฮัจญ์ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย ส่วนผู้ไม่มีความสามารถจะประกอบศาสนกิจที่บ้านและเชือดสัตว์พลีทานแก่คนยากจน ซึ่งปีนี้น่าจะนำเนื้อดังกล่าวมอบแด่ผู้ประสบอุทกภัย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ประมวลความเสียหายจากภัยพิบัตในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ วันที่ 5 – 6 พ.ย. 53 Posted: 06 Nov 2010 05:40 AM PDT ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch – DSW) ประมวลความเสียหายจากภัยพิบัตในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ วันที่ 5 – 6 พ.ย. 53 ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินถล่มจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ประเมินความเสียหายของประชาชนในพื้นที่ ณ วันที่ 5 - 6 พ.ย. 53 โดยพบว่า จ.ปัตตานีมีผู้ประสบภัยจำนวน 405 หมู่บ้าน กว่า 95,305 คน ใน 12 อำเภอ และต้องอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ 1,160 คน และเสียชีวิต 19 ศพโดย 15 ศพ จากคลื่นซัดขึ้นฝั่งบริเวณบ้านดาโต๊ะ ม.4 ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี นอกจากนั้นยังพบว่า มีพื้นที่การเกษตรเสียหายรวม 88,102 ไร่ บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 133 หลัง เสียหายบางส่วน 4,917 หลัง ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่อยู่ในเขต อ.เมืองปัตตานี อ.แม่ลาน และ อ.หนองจิก ส่วนสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำสายหลักและเขื่อนบางลางนั้น พบว่า เขื่อนบางลางมีปริมาณน้ำในอ่าง 67.42% โดยสามารถรับน้ำได้อีก 4.62 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ระดับน้ำในเขื่อนปัตตานีเริ่มเข้าสู่ภาวะปรกติ แต่ยังมีปัญหาน้ำล้นตลิ่งในเขตเทศบาลเมืองปัตตานีเล็กน้อย เนื่องจากอิทธิพลน้ำทะเลหนุน ทั้งนึ้คาดว่า น้ำจะท่วมรอบๆ เขตชุมชนนอกเทศบาลเมืองปัตตานีไปอีกระยะหนึ่งและจะเริ่มลดลงประมาณ 4 - 5 วัน ส่วนใน จ.ยะลา มีผู้ประสบภัยรวม 13,616 หมู่บ้าน รวม 53,361 คน ต้องอพยพออกจากพื้นที่จำนวน 5,877 คน กว่า 341 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 30,119 ไร่บ้านเรือนของประชาชนเสียหายทั้งหลัง 1 ราย เสียหายบางส่วน 640 หลัง ถนนเสียหา 298 สาย โรงเรียน วัดและมัสยิดรวม 40 แห่งและ 10 แห่ง ตามลำดับ ส่วนสถานการณ์โดยรวมแม้จะมีเมฆและฝนฟ้าคะนองกระจาย ประมาณ 40% ของพื้นที่ แต่คาดว่า ฝนจะลดลงและเข้าสู่ภาวะปรกติ ขณะที่ใน จ. นราธิวาส มีพื้นที่ประสบภัยรวม 13 อำเภอ กว่า 15,687 คน ต้องอพยพชาวบ้านใน อ.สุไหงโก-ลก จำนวน 200 คน ทางจังหวัดอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหายของพื้นที่เกษตรกรรม โดยระดับน้ำใน 3 ลำน้ำหลัก คือ ลุ่มน้ำสุไหงโก-ลก ลุ่มน้ำสายบุรี และลุ่มน้ำบางนรา ระดับน้ำลดลงจนต่ำกว่าตลิ่งเป็นส่วนใหญ่ ส่วนปริมาณน้ำฝน (จนถึงเช้าวันที่ 6 พ.ย.) สูงสุดอยู่ที่ อ.ศรีสาคร 48 ม.ม. โดยคาดว่า ฝนจะหยุดตกและระดับน้ำเริ่มลดลงโดยลำดับ ดูเพิ่มเติม: http://www.deepsouthwatch.org/node/1084 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
รายงาน: บ้านแหงเยือนแม่เมาะ...ลมหนาวยังโหดร้าย Posted: 06 Nov 2010 05:16 AM PDT
ต้นเดือนพฤศจิกายน ลมหนาวยังคงพัดโชยผ่านภูเขาประดิษฐ์ที่เสียดสูงเรียงรายราวเทือกเขาธรรมชาติ “แสบตา...แสบคอ...หายใจไม่ทั่วท้อง” เสียงบ่นของชาวบ้านท้ายรถกระบะดังขึ้นเป็นระยะๆ แต่อาการคล้ายป่วยแทบจะมลายไปสิ้น พร้อมๆ กับภาพแอ่งกระทะเบื้องหน้าที่ทำให้หัวใจชาวบ้านสั่นระรัวและหวั่นวิตกมากยิ่งขึ้น ณ ลานดินเวิ้งว้างตรงนั้น ใน 24 ชั่วโมงจะมีรถตัก-ไถ และรถบรรทุกแร่กว่า 2,000 คัน เวียนวิ่งกันไปมาราวกับมดปลวกตัวเล็กๆ บนหน้าดินที่ถูกเปิดจนแดงฉานไปด้วยลายเส้นเป็นชั้นๆ หลายพันไร่ “ใจหายใจคว่ำหมด...นี่หรือเหมืองแม่เมาะ?...เหมืองที่ใหญ่กว่าตำบลบ้านแหงทั้งตำบลเสียอีก” ความรู้สึกของชาวบ้านเหล่านี้ แวววรินทร์ บัวเงิน แม่บ้านสาวที่เพิ่งผันตัวเองมาเป็นแกนนำกลุ่มรักษ์บ้านแหง เข้าใจดี เพราะเธอกับสามีก็เคยรู้สึกตระหนกเช่นกันเมื่อมาเห็นเหมืองแม่เมาะในครั้งแรก แวววรินทร์ ย้อนเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เมื่อ บริษัท เขียวเหลือง จำกัด กลุ่มทุนของนักการเมืองพรรคภูมิใจไทย ได้เข้ามากว้านซื้อที่ดินในหมู่บ้านของเธอ คือ ในบ้าน หมู่ 1 และหมู่ 7 ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง ไปกว่า 1,200 ไร่ โดยหลอกลวงชาวบ้านว่าจะนำพื้นที่ไปใช้เพื่อปลูกต้นยูคาลิปตัสส่งเข้าโรงงานทำกระดาษ แต่ต่อมากลับขอประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ลิกไนต์ จำนวน 2 แปลง พื้นที่ 1,200 ไร่ ในทั้งสองหมู่บ้าน โดยมีสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เป็นผู้ให้อนุญาต รวมถึงการที่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหง ใช้วิธีมิชอบทำให้สมาชิกสภาฯ ลงมติเห็นชอบให้บริษัท เขียวเหลือง ขอประทานบัตรได้โดยไม่มีชาวบ้านร่วมสังเกตการณ์ ทั้งๆ ที่ขั้นตอนในการทำประชาสังคม เพื่อถามความคิดเห็นของชาวบ้านเรื่องการทำเหมืองถูกคัดค้านจนล่มทั้งสองครั้ง ทำให้บริษัทเปลี่ยนแผนสร้างภาพใหม่โดยจ้างคนมาปลูกป่าเป็นการบังหน้า มีการจัดตั้งกลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์ขึ้น โดยนำชาวบ้านในหมู่บ้านอื่นเข้ามาร่วมประชุมในพื้นที่บ้านแหง ซึ่งชาวบ้านแหงที่มีกลุ่มฌาปณกิจที่ดำเนินงานมากว่า 200 ปี พวกเขาเชื่อว่านี่คือเป็นการลักไก่ที่บริษัทจะใช้การประชุมนี้อ้างเป็นการลงประชามติของชาวบ้านในพื้นที่ที่ยินยอมให้เปิดเหมือง แวววรินทร์ และชาวบ้านแหงจึงรวมกลุ่มกันตั้งด่านสกัดปิดทางเข้าหมู่บ้าน 3 จุด ไม่ให้คนนอกพื้นที่ และคนของบริษัทเข้ามาในหมู่บ้าน ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเป็นลำดับๆ คือพฤติกรรมของทุนที่ทำให้ แวววรินทร์ และชาวบ้านได้เห็นเบื้องหลังการเข้ามาของบริษัทที่มีเจตนาทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์มาตั้งแต่แรกเริ่ม โดยที่พวกเขาไม่สามารถพึ่งพาข้าราชการ หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำในระดับพื้นที่ เพราะทุกฝ่ายต่างรู้เห็นเป็นใจ หรือสมประโยชน์กับทุนทั้งสิ้น แต่เสียงขับไล่ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. ที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ รวมถึงเสียงคัดค้านไม่ต้องการเหมืองถ่านหินของชาวบ้านแหงเพียงดังอยู่ในสองหมู่บ้าน คือ หมู่ 1 และ หมู่ 7 ซึ่งเป็นพื้นที่ขอประทานบัตรเท่านั้น ในขณะที่หมู่บ้านใกล้เคียงยังไม่เห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดตามมาภายหลัง หรือหลงเชื่อไปกับคำโฆษณาของกลุ่มทุนและผู้ได้รับผลประโยชน์ที่ชวนเชื่ออยู่ตลอดเวลาว่า เหมืองจะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆ ตามรูปแบบของโครงการพัฒนาที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบไม่เคยถอดบทเรียนความล้มเหลวที่สร้างความเจ็บปวดให้ชาวบ้าน บ่อนทำลายชุมชน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมมาทุกยุคทุกสมัย เช้ามืดของวันที่ 3 พฤศจิกายน 2553 ชาวบ้านแหง หมู่ 1,7 ร่วมร้อยคนตื่นแต่ฟ้ายังไม่สางทำกับข้าวกับปลาขนขึ้นท้ายรถกระบะ 7 คัน มุ่งหน้าสู่เหมืองแม่เมาะ พวกเขาหลายคนยังคงเจ็บช้ำเพราะขายที่ให้กับ บริษัท เขียวเหลือง และต่างพกพาความรู้สึกที่เหมือนกัน คือ ทุกคนอยากเห็นกับตาว่าเหมืองลิกไนต์เป็นอย่างไร เหมืองเปิดทำอย่างไร อยากรู้วิถีชีวิตของชาวแม่เมาะที่อยู่ท่ามกลางเหมืองและโรงไฟฟ้า อยากรู้จากปากคำของผู้ป่วย ผู้ได้รับผลกระทบ โดยหวังว่าพวกเขาจะเห็นลู่ทางในการต่อสู้ เพื่อหยุดยั้งการเปิดเหมืองของบริษัทเขียวเหลืองที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการกลางปีหน้า ที่ห้องประชุมขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง ชาวบ้านแหงได้รับฟังข้อมูลสภาพพื้นที่ และสถานการณ์ต่างๆ จากสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเหมืองแม่เมาะ และโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งเป็นที่ราบในหุบเขา มีภูเขาล้อมเกือบทุกด้าน ความกดดันอากาศค่อนข้างสูง อุณหภูมิค่อนข้างผกผัน ทำให้ในแต่ช่วงฤดูกาลของทุกปี ชาวแม่เมาะจะได้รับผลกระทบจากมลพิษต่อเนื่องยาวนานในหลายรูปแบบ “ฤดูฝน ถ่านหินคุณภาพต่ำที่ถูกเอามากองทิ้งไว้จะลุกใหม้ตัวเอง หรือเกิดการสันดาบขึ้นเองตามธรรมชาติ ทำให้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ขี้เถ้า กำมะถัน ลอยฟุ้งส่งกลิ่นไปไกลหลายร้อยกิโลเมตร ทำให้เกิดฝนกรดและหมอกควันพิษที่มีพิษร้ายแรง สารปรอท สารหนูจะถูกชะล้างลงแหล่งน้ำธรรมชาติ ฤดูหนาวแต่นี้เป็นต้นไป จะมีฝุ่น มีกลิ่นกระจายไปไกลมาก ฤดูร้อน ฝุ่นขนาดเล็กจะฝุ้งกระจาย ชาวแม่เมาะจึงเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเป็นจำนวนมาก...” ศุกร์ ไทยธนสุกานต์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง เล่า นายกฯ อบต. บ้านดง ชี้ให้ชาวบ้านแหงดูภูเขาที่มองเห็นได้ในทุกพื้นที่ รวมถึงภูเขาที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แม่เมาะ ใช้ปลูกทุ่งบัวตองที่กำลังจะบานสะพรั่งในไม่ช้า เพื่อการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์อยู่ทุกปี ที่เห็นบนพื้นที่ 23,000 กว่าไร่นี้เป็นเหมือง และภูเขาเกิดใหม่ที่เกิดจากการทิ้งดินที่ขุดขึ้นมาในเหมืองแม่เมาะ ด้านใต้ของภูเขาจะมีถ่านหินคุณภาพต่ำฝังอยู่ พอฝนตกถ่านหินจะลุกใหม้อยู่ข้างใต้ ต้นไม้ใหญ่ขึ้นไม่ได้เพราะพอหยั่งรากลงข้างล่างจะตายหมด ภูเขาจึงมีแต่พืชเล็กๆ เท่านั้น จากการลงพื้นที่ตรวจสอบของอบต. ในช่วงฤดูหนาวของปีนี้ยังพบถ่านหินสันดาบส่งควันฟุ้งอยู่หลายแห่ง ส่วนปัญหาฝุ่นฟุ้งกระจาย เสียงเครื่องยนต์รถขนส่งแร่ เครื่องจักรขนาดใหญ่ในการทำเหมือง และสายพานลำเลียงแร่ ยังส่งเสียงรบกวนชาวแม่เมาะอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง การปกปิดข้อมูลมลพิษ เสียงดัง กลิ่นเหม็นจากสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และมลพิษจากฝุ่น ประกอบกับเครื่องดักจับฝุ่นของโรงไฟฟ้าบางโรงเสีย ที่ดำเนินมาถึงปี 2535 ปรากฎพื้นที่ไร่นาเสียหายจากฝนกรด ชาวบ้านในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า และเหมืองเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ และทยอยเสียชีวิตมาถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ กฟผ. ต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ป่วยกว่า 4 ล้านบาท และลงทุนติดตั้งเครื่องดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ให้กับโรงไฟฟ้าหน่วยที่ 4-11 แต่ทิ้งท้ายด้วยการพ่วงเปิดโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้น 2 โรง ปี 2539 กฟผ. ตกลงที่จะดำเนินการพิจารณาอพยพโยกย้ายราษฎร จำนวน 4 ตำบล 16 หมู่บ้าน คือ ต.นาสัก ต.สบป้าด ต.แม่เมาะ และต.บ้านดง ประมาณ 3,500 ครอบครัว แต่ก็มาเกิดเหตุซ้ำในปี 2541 เมื่อเครื่องดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 10 เครื่อง ใช้การได้เพียง 2 เครื่อง ทำให้ชาวบ้านล้มป่วย 868 คน ส่วนปัญหาเรื่องฝุ่นมีการสำรวจต่อเนื่องเรื่อยมาที่พบว่าแม่เมาะมีปัญหาฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน มีค่าสูงเกินกว่ามาตรฐาน โดยจะสูงมากในช่วงฤดูร้อน ปัญหาเรื้อรังที่ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดนำไปสู่การอพยพโยกย้ายชาวบ้านรอบ 2 ในหมู่บ้านหางฮุง 493 หลังคาเรือน ปัจจุบันอพยพได้แล้ว 300 กว่าหลังคาเรือน รวมถึงการฟ้องร้องเพื่อให้ กฟผ. ชดเชยค่าเสียหาย ชาวบ้านในอำเภอแม่เมาะจำนวน 437 คน ในปี 2546 ผ่านหกปีในกระบวนการยุติธรรม ศาลปกครองเชียงใหม่ได้วินิจฉัยให้ กฟผ. ชดเชยค่าเสียหายเป็นค่าเสื่อมสุขภาพและจิตใจให้แก่ชาวบ้าน รายละ 246,900 บาท พร้อมดอกเบี้ย รวมทั้งให้จัดหาพื้นที่อพยพให้ชาวบ้านหมู่บ้านห้วยคิง ปัจจุบัน กฟผ. ขออุทธรณ์คดี นายกฯ อบต. บ้านดง เล่าถึงสถานการณ์ล่าสุดในพื้นที่ หลังจากเหมืองแม่เมาะเปิดเหมืองเฟส 6 และเฟส 7 ชาวบ้านดง ปิดถนนเรียกร้องให้ กฟผ. หยุดลำเลียงดินที่ได้จากการขุดเปิดเหมืองผ่านระบบสายพานมาทิ้งใน ต.แม่เมาะ และ ต.บ้านดง แรงกดดันของชาวบ้านในครั้งนั้นทำให้ กฟผ. ตั้งงบประมาณกว่า 20 ล้านบาทต่อปี เพื่อให้ อบต.บ้านดง แก้ไขปัญหามลพิษและสุขภาพจนกว่าชาวบ้านจะอพยพออกนอกพื้นที่ ส่วนกรณีของชาวบ้านห้วยคิงที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเหมืองเฟส 6 และเฟส 7 ที่ยังไม่มีการจัดพื้นที่อพยพที่ชัดเจน ปิดถนนเรียกร้องให้ กฟผ. ยุติการทำเหมืองเฟส 6 และ 7 ที่กำลังดำเนินการอยู่ ทาง อบต.บ้านดง ได้รวบรวมรายชื่อผู้ที่จะขออพยพในรอบที่สามและสี่ 700-800 ราย และตั้งคณะกรรมการพิจารณาแล้ว รวมถึงกรณีการคัดค้านของชาวบ้าน ในหมู่บ้านห้วยคิง หมู่ 6 และบ้านเมาะหลวง หมู่ 8 ต.แม่เมาะ ที่ได้รับผลกระทบจากการทิ้งดิน 7,026 ไร่ ในเขตป่าสงวน ที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง และเทศบาล อนุญาตให้กับ กฟผ. โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาเทศบาล และไม่ได้รับความยินยอมจากชาวบ้านทั้ง 2 หมู่บ้านที่อยู่ในข่ายผู้ได้รับผลกระทบ ณภัทร หวันแก้ว ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง ชี้แจงการทำงานของ อบต.บ้านดง ต่อกรณีนี้ว่า “อบต. ได้สำรวจพื้นที่ทิ้งดิน 3,000 ไร่ ที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ กรมป่าไม้อนุญาติให้ กฟผ. เอาดินมาทิ้งในพื้นที่อนุรักษ์ ป่าไผ่ ต้นไม้ธรรมชาติถูกตัดหมด ดินที่เอามาทิ้งตอนนี้เกือบ 200 ไร่ เริ่มกลายเป็นเนินสูงถมฐานภูเขาที่อยู่ด้านหลัง ลำห้วยธรรมชาติถูกปิดกั้นไปแล้ว ตอนนี้อบต. รวบรวมหลักฐานยื่นฟ้องศาลปกครองอาทิตย์ที่แล้ว รอหนังสือจากศาลปกครองให้ระงับการทิ้งดินของ กฟผ.” การบรรยายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ชาวบ้านแหงรับรู้ว่า ตลอดระยะเวลา 56 ปีที่เหมืองแม่เมาะดำเนินการ และ 50 ปี ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะผลิตกระแสไฟฟ้า กับความเป็นจริงของแม่เมาะที่ประสบปัญหามลพิษมาอย่างเรื้อรัง แต่การแก้ไขปัญหาและการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นบทเรียนของชาวบ้านแม่เมาะ หรือแม้แต่ชาวบ้านแหง และชุมชนอื่นๆ ที่ต้องรวมตัวกันต่อสู้ต่อต้านด้วยตัวเอง และเหมือนตอกย้ำอีกครั้งเมื่อ นฤดล สุชาติพงศ์ อดีตพนักงาน กฟผ. แม่เมาะ ที่ผันตัวมาเป็นแกนนำเรียกร้องเรื่องการอพยพให้ชาวบ้านแม่เมาะ สารภาพกับชาวบ้านแหงว่า “ตอนผมเป็นพนักงาน กฟผ. ทำหน้าที่สำรวจแหล่งถ่านหิน พื้นที่ทิ้งดิน ถ่านหินที่บ้านแหงผมเป็นคนเจาะสำรวจด้วยตัวเอง ถ่านหินที่บ้านแหงอยู่ลึกจากดิน 20 เมตร สามารถขุดขึ้นมาขายได้ 20-30 ล้านตัน ลักษณะเหมืองจะเป็นเหมืองเปิดเหมือนแม่เมาะ ถ้ามีการเปิดเหมืองจะมีอันตรายแน่นอน ฝุ่น PM10 จากที่ทิ้งดินจะฟุ้งกระจาย ปัญหาของคนบ้านแหงจะเหมือนกับพี่น้องที่แม่เมาะ” ออกจาก อบต.บ้านดง ชาวบ้านแหงเดินทางไปเยี่ยมเยียนบ้านใหม่ของผู้อพยพ และศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ บ้านฉลองราช อ.แม่เมาะ พวกเขาได้เห็นวิถีชีวิตใหม่ที่ยังไม่ได้ความสงบสุขคืนมาของชาวแม่เมาะที่ต้องอพยพออกจากพื้นที่ “ชาวบ้านชุดแรกอพยพมาแล้ว 22 ปี วันนี้ที่ดินยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ เพราะยังเป็นพื้นที่ป่าสงวน ชุดที่สองอพยพ 493 หลัง ยังไม่รู้ว่าจะได้เอกสารสิทธิ์หรือเปล่า บ้านแต่ละหลังจะมีพื้นที่เท่ากัน คือ 1 ไร่ ยังไม่มีพื้นที่ทำกิน... “เดิมพื้นที่ไข่แดงของแอ่งเหมืองแม่เมาะมีหมู่บ้านอยู่ 10 หมู่บ้าน มีโรงเรียน วัด ที่ว่าการอำเภอ เหมืองทำให้ชุมชนทั้งหมดล่มสลายต้องย้ายออกนอกพื้นที่ ส่วนชาวบ้านในพื้นที่ไข่ขาวไม่มีใครตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพิ่งจะมารู้ว่าป่วยเพราะมลพิษจากเหมืองก็ปี 2535 ถึงจะลุกขึ้นสู้ วันนี้คนป่วยยังตายไปเรื่อยๆ ที่ กฟผ. ตั้งกองทุนสำหรับดูแลผู้ป่วย 300 กว่าล้านบาทต่อปี แต่กว่าจะผ่านมือใครมา ก็มีเงินมาถึงชาวบ้านน้อยมาก ส่วนเงินที่ได้ก็เอาไปสร้างฝาย สร้างเขื่อน ไม่ได้เกี่ยวกับการเยียวยาสุขภาพ ชาวบ้านผู้ป่วยแม่เมาะยังไม่ได้รับการดูแลให้ดีขึ้น” มะลิวัลย์ นาควิโรจน์ ประธานเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ เล่า ตลอด 1 วันทั้งในและรอบเหมืองอันโหดร้าย แวววรินทร์ และชาวบ้านแหง ได้รับรู้ว่าพวกเขาไม่ใช่กลุ่มคนเดียวดายที่ต่อต้านเหมืองถ่านหิน ด้านหนึ่งเกิดกำลังใจ เห็นหนทางสู้ แต่เมื่อยังเห็นเหมืองแม่เมาะ เปิดเฟส 6 เฟส 7 และคงจะเปิดบ่อไปเรื่อยๆ จนกว่าถ่านหินในแม่เมาะที่จะเอามาใช้ได้อีก 20 ปี หมดลง ไม่นานจะมีการซื้อถ่านหินจากพม่า หรือจากแอ่งงาว ที่บ้านแหง แอ่งวังเหนือ แอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน แอ่งแม่ทะ แอ่งเสริมงาม แอ่งห้างฉัตร หรือแอ่งเวียงแหง แอ่งเชียงม่วน แอ่งปาย แอ่งฝาง แอ่งสันป่าตอง แอ่งพบพระ แอ่งอุ้มผาง แอ่งแพร่ แอ่งปัว แอ่งท่าวังผา แอ่งน่าน แอ่งบึงสามพัน แอ่งวิเชียรบุรี... และแหล่งอื่นๆ มาทดแทน ในขณะที่วันนี้แม่เมาะยังเป็นเมืองมลพิษ ชาวแม่เมาะที่อยู่อาศัยในพื้นที่รอบเหมือง 5 กิโลเมตรส่วนใหญ่ยังไม่ได้อพยพออกจากพื้นที่ ผู้ป่วยยังคงล้มตาย ส่วนคนอพยพออกนอกพื้นที่มาแล้วยังคงระทมทุกข์ “เรามาดูงานที่นี่ เราได้เห็นแล้ว เราจะกลับไปบ้านไปคุยกับคนที่บ้านเรา เราจะสู้ให้ถึงที่สุดไม่ให้เปิดเหมืองในบ้านเราให้ได้” แวววรินทร์ พูด
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
นักข่าวพลเมือง: กลุ่มอนุรักษ์อุดรฯ บี้ ผู้ว่าฯ ยกเลิกผลการรังวัดเหมืองโปแตช Posted: 06 Nov 2010 03:09 AM PDT เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๓๐ น. ณ ห้องประชุมคำชะโนด ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จำนวนกว่า ๑๐๐ คน ได้เดินทางไปเพื่อขอเข้าพบและยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ในฐานะเจ้าพนักงานแร่ประจำท้องที่ เพื่อคัดค้านกระบวนการการรังวัดปักหมุดเขตเหมืองโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ของเจ้าหน้าที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่หรือ กพร. สืบเนื่องจากในช่วงระหว่างวันที่ ๓๐ ตุลาคม ถึง ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ที่ผ่านมานั้น กพร. ทำการปักหมุดรังวัดเพื่อขึ้นรูปแผนที่ขอบเขตพื้นที่เหมือง ขณะเดียวกันนั้นกลุ่มชาวบ้านจึงเข้าทำการขัดขวางซึ่งสร้างความตึงเครียดในพื้นที่เป็นอย่างมากจนหวิดที่จะเกิดการ ปะทะรุนแรงกัน แต่แล้ว กพร. พร้อมบริษัทดำเนินการ (บริษัท เอเชีย แปซิกฟิก โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด) ก็ประกาศว่าสามารถดำเนินการปักหมุดรังวัดจนเสร็จสิ้นทั้งหมด ๖ จุด ตามแผนที่วางเอาไว้ แต่เนื่องจากผู้ว่าฯ ติดราชการนอกสถานที่จึงไม่สามารถเดินทางมาพบเพื่อรับฟังปัญหาของกลุ่มชาวบ้านได้จนกระทั่งเวลา ๑๓.๐๐ น. จึงมอบหมายให้นายวรกร บำรุงชีพโชต หัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการรังวัด มาชี้แจงและรับข้อเสนอของกลุ่มชาวบ้านแทน โดย นางมณี บุญรอด รองประธานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีได้กล่าวว่า การดำเนินการระหว่างวันที่ ๓๐ ต.ค. - ๑ พ.ย. ที่ผ่านมา ของ กพร.ขาดความชอบธรรมและขาดการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในพื้นที่ เพราะการปักหมุดรังวัดที่เกิดขึ้นนั้นยังไม่ได้มีการเปิดเวทีชี้แจงแผนที่ผังเหมืองในการปักหมุดรังวัดในระดับชุมชน ไม่ได้ถามความคิดเห็นของชาวบ้าน ลักลอบดำเนินการ ผิดขั้นตอนตามกฎหมาย ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๕๐ มาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗ “กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีจึงขอคัดค้านและไม่ยอมรับการปักหมุดรังวัดดังกล่าว เพราะเป็นการดำเนินการที่ขาดความชอบธรรม และขาดการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในพื้นที่ อีกทั้งยังได้สร้างความขัดแย้ง และความแตกแยกอย่างรุนแรงแก่ประชาชนในพื้นที่จนเกือบจะฆ่ากันตาย ซึ่ง กพร.และบริษัทจะต้องรับผิดชอบ จึงขอเรียกร้องให้ยกเลิกผลการรังวัดดังกล่าวให้เป็นโมฆะเสีย” นางมณีกล่าว ด้าน นายวรกร บำรุงชีพโชต หัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี เข้ามาชี้แจงและรับข้อเสนอของกลุ่มชาวบ้านและบอกว่า ในส่วนบทบาทของตนที่ทำได้ คือยินดีจะเป็นคนประสานเพื่อให้เกิดเวทีการพูดคุยเจรจากันระหว่างกลุ่มชาวบ้านกับอธิบดี กพร. ซึ่งในเบื้องต้นตนก็พร้อมที่จะทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันแล้วส่งไปถึงอธิบดี กพร. และผู้ว่าฯ ก่อนให้ได้ “ผมไม่สามารถยกเลิกผลของการรังวัดได้ เพราะอำนาจทั้งหมดอยู่ที่ส่วนกลาง คืออธิบดีเท่านั้นเป็นผู้สั่งมา พวกผมก็มีหน้าที่ปฏิบัติตามเท่านั้น แต่ถ้าหากว่าพี่น้องชาวบ้านต้องการพูดคุยกับอธิบดีโดยตรงผมสามารถช่วยได้ จะให้นำพาลงที่ไปกรุงเทพฯ เลยก็ได้” นายวรกรกล่าว ท้ายที่สุดจึงได้ข้อตกลงร่วมกันของชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ กับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ว่า การรังวัดปักหมุดของ กพร. ในพื้นที่ทำให้ราษฎรกลุ่มสนับสนุนกับกลุ่มคัดค้านเกิดความขัดแย้งกัน เห็นควรให้ชะลอกระบวนการดำเนินการขั้นต่อไปไว้ก่อน และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานีจะเป็นผู้ประสานงานอธิบดี กพร.ในการลงพื้นที่ชี้แจงกับกลุ่มอนุรักษ์ โดยในส่วนของวัน เวลา และสถานที่ จะได้มีการประสานงานกันและแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ลูกชาย ซูจี ขอวีซ่าเข้าพม่าเยี่ยมแม่ Posted: 06 Nov 2010 03:04 AM PDT มีรายงานว่า นายคิม อริส บุตรชายคนเล็กของนางอองซาน ซูจี หัวหน้าพรรคเอ็นแอลดีเตรียมขอวีซ่าเข้าพม่า เพื่อเข้าเยี่ยมนางซูจี ผู้เป็นแม่ หลังมีการคาดการณ์กันว่า นางซูจี จะได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 13 พ.ย.นี้ ทั้งนี้ นายคิมวัย 33 ซึ่งขณะนี้อยู่ในอังกฤษได้พบกับนางซูจีครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2543 และที่ผ่านมา เขาถูกปฏิเสธจากรัฐบาลไม่ให้เข้าพม่า นายหน่ายวิน นักกฎหมายของนางซูจี เปิดเผยว่า ขณะนี้นายคิมอยู่ในกรุงเทพฯแล้ว และกำลังพยายามทำทุกอย่าง เพื่อที่จะได้พบกับนางซูจี ในวันที่นางซูจีได้รับอิสรภาพ แต่นายหน่ายวินไม่ได้เปิดเผยว่า นายคิมได้ยื่นขอวีซ่าต่อสถานทูตพม่าแล้วหรือยัง ซึ่งยังคงไม่มีรายละเอียดในเรื่องนี้ แม้รัฐบาลจะจัดการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 20 ปี และโทษกักบริเวณนางซูจีให้จะสิ้นสุดลงในวันที่ 13 พ.ย.ที่จะถึงนี้ก็ตาม แต่รัฐบาลพม่าก็ยังไม่ได้ยืนยันว่า จะปล่อยตัวนางซูจีในเร็วๆนี้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม นางซูจี ถูกกักบริเวณเป็นเวลา 15 ปีแล้ว ในช่วงที่ถูกกักตัวและถูกปล่อยตัวในรอบ 21 ปีที่ผ่านมา โดยนางซูจีถูกจับครั้งแรกในปี 2532 ตอนที่ลูกชายคนโตอายุ 16 ปี และลูกชายคนเล็กอายุ 11 ปีเท่านั้น ขณะที่นายไมเคิล อริส ชาวอังกฤษ สามีของนางซูจีเคยขอวีซ่าเข้าพม่า เพื่อพบกับนางซูจีก่อนที่จะเขาจะเสียชีวิตด้วยมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ท้ายสุดได้รับการปฏิเสธจากรัฐบาลพม่า นางซูจีไม่มีโอกาสที่จะได้พบหน้าสามีในช่วงที่เขาป่วยหนักและเสียชีวิต ทั้งนี้ นางซูจี สามารถเดินทางออกจากพม่าไปหาครอบครัวของเธอได้ทุกเมื่อ แต่เธอก็ตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ในพม่าต่อ เนื่องจากกลัวว่า หากเดินทางออกจากประเทศแล้วจะไม่สามารถกลับเข้าพม่าได้ รวมทั้ง ยังมีความต้องการที่จะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและเสรีภาพเพื่อประชาชนในพม่า ขณะที่ผ่านมา ครอบครัวของนางซูจีเองไม่เคยออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อแต่อย่างใด (Irrawaddy 5 พ.ย.53) แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบทความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์http://twitter.com/salweenpost สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
อภิเชต ผัดวงศ์: “ปาย 2” ที่พะเยา Posted: 06 Nov 2010 02:56 AM PDT ปลายฝนต้นหนาว นักท่องเที่ยวจำนวนมากคงอยากขึ้นมาสัมผัสทัศนียภาพและอากาศหนาวเย็นทางภาคเหนือ ผมเพิ่งกลับจากงานขึ้นบ้านใหม่ที่อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา บังเอิญได้นั่งโต๊ะร่วมกับผู้บริหารท้องถิ่นและข้าราชการผู้ใหญ่ระดับจังหวัด เรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นในวงสนทนาคือวันที่ 10 เดือนพฤศจิกายน 2553 จะมีการเปิดงานเมืองภูซางหุบเขาแห่งสายสัมพันธ์สองแผ่นดินที่ลานวัฒนธรรมบ้าน ฮวก บ้านฮวกเคยเป็นข่าวฮือฮา เมื่ออดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เรียกประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้แทนชุมชนแถลงข่าวเตรียมความพร้อมเปิดพื้นที่ท่องเที่ยว"บ้านฮวก" เป็น "ปาย 2 " โดยทางจัง หวัดมีแผนทุ่มงบประมาณเกือบร้อยล้านเพื่อการนี้ สำหรับแผนที่จะเนรมิต “ปาย 2” เป็นการพัฒนาเส้นทางคมนาคม 3 ระยะคือ ระยะแรกปรับปรุงถนนเดิม 7 ล้านบาท โดยมีกำหนดให้เสร็จภายในวันที่ 23 ต.ค.ที่ผ่านมา ระยะที่ 2 ปรับปรุงถนนสายเดิมนี้เช่นกัน 5.5 ล้านบาท และระยะที่ 3 ก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองจาก อ.เชียงของ จ.เชียงราย 2 เส้นทาง 86 ล้านบาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น 98.5 ล้านบาท อันที่จริงคำว่า “ปาย 2” เริ่มคุ้นเคยคำนี้มาแล้วระยะหนึ่ง สื่อมวลชนเรียกเชียงคาน จังหวัดเลย ด้วยคำนี้กันอยู่บ้าง นัยว่าจะเป็นการกระตุกให้นักท่องเที่ยวที่นิยมแนวธรรมชาติหลั่งไหลไปชมความงามที่แนวชายฝั่งแม่น้ำโขง มีจุดสนใจตรงการปั่นจักรยานเที่ยวชมบ้านโบราณ ชมวิวแม่น้ำโขงและฝั่งลาว ชมทะเลหมอกในตอนเช้ามืด จากนั้นร่วมกันตักบาตรตามถนนชายโขง เข้าพักแบบ Home Stay สัมผัสอัธยาศัยชาวบ้านที่บริการผู้มาเยือนอย่างไมตรีจิตถึงขั้นหุงหาอาหารพร้อมข้าวเหนียวให้ใส่บาตร ว่ากันว่าเสน่ห์ชองเชียงคานอยู่ที่เดินทางมาถึงเชียงคานทำให้รู้สึกว่าชีวิตเดินช้าลง ไม่ต้องไปเร่งรีบกับชีวิตให้วุ่นวาย ใช้จักรยานแทนมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ อาคารไม้เก่าแก่ดึงดูดให้ประทับใจ เดินไปทางไหนก็มีแต่รอยยิ้มและมิตรไมตรี อันนี้เท่าที่แอบเห็นตามรูปภาพนะครับ ผมเองก็ยังไม่เคยได้ไปกะเขา ผมนึกภาพเชียงคานอาจเปรียบได้กับสาววัยขบเผาะที่เพิ่งแตกเนื้อสาว ใครๆ ก็อยากไปเยือน อยากไปสัมผัส แต่ผมกลับคิดว่า ความงาม ในความเงียบ ของเชียงคานจะอยู่ได้นานอีกสักเท่าไหร่ ถ้าต่อไปจะต้องกลายเป็น “ปาย 2 ” การจุดประกาย บ้านฮวก เป็นปาย 2 อาจทำให้ดูตื่นเต้นได้บ้าง อย่างน้อยจะทำให้สื่อมวลชนและนักท่อง เที่ยวเงี่ยหูฟังสนใจใคร่รู้ว่า บ้านฮวก อยู่ไหน เป็นอย่างไร แม้หากมองด้านต้นทุนด้านท่องเที่ยวอาจเป็นคนละเรื่องเมื่อเทียบกับเชียงคาน บ้านฮวกเป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดชายแดนไทย-ลาว พื้นที่ครอบคลุมหมู่ 3,12 ต.ภูซาง อ.ภูซาง ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร ทำนา ปลูกพืชไร่ ซึ่งตอนนี้มีเสวนยางเกิดขึ้นแล้ว เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP Village Champion ขึ้นชื่อด้านหัตถกรรมผ้าทอของชาวไทยลื้อ ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดพะเยา ประมาณ 100 กิโลเมตร ตามถนนสาย พะเยา-จุน-เชียงคำ-ภูซาง อยู่ไม่ไกลกับน้ำตกภูซางและน้ำตกห้วยโป่งผา ที่มีเตาปูลูหาดูได้ยาก เป็นเต่าที่มีลักษณะพิเศษคือตัวเตี้ย มีขนาดเล็ก กระดองยาวเพียง15 -20 เซนติเมตร ส่วนหัวค่อนข้างโตและแบน ปากงุ้มเป็นตาขอและแข็งคมมีกรามที่แข็งแรง มีหางยาวมาก ขาทั้งสี่มีนิ้วยาวเล็บแหลมคม และไม่สามารถหดหัวเข้ากระดองที่เรียวยาวได้ ทั้งบ้านฮวกและน้ำตกภูซางได้รับการส่งเสริมและพัฒนาจาก อบต.ภูซางเป็นอย่างดี บ้านฮวกมีตลาดนัดนำสินค้าต่างๆ มาค้าขายกับประชาชนชาวลาว ทุกวันที่ 10, 20 และ 30 ของเดือน ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถแวะมาหาซื้อของฝากติดไม้ติดมือกลับไปได้ บางท่านที่กลับจากไปเที่ยวภูชี้ฟ้าและผาตั้งที่เชียงรายหรือภูลังกาอาจจะถือเอาที่นี่เป็นจุดแวะพักชมวิถีชีวิตชาวบ้านตามแนวชายแดนก็ยังพอไหว ยังมีแหล่งท่องเที่ยวบริเวณใกล้เคียงไม่กี่กิโลเมตรเช่น วัดนันตาราม เป็นวัดมีวิหารไม้หลังใหญ่รูปทรงแบบไทยใหญ่หลังคาหน้าจั่วยกเป็นช่อชั้น ลดหลั่นกันสวยงามมุงด้วยแป้นเกร็ด และวัดพระนั่งดิน Unseen Thailand พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มิยอมขึ้นประดิษฐานบนฐานชุกชี เหตุอัศจรรย์นี้เอง ผู้คนจึงเรียกกันว่า 'พระนั่งดิน' จากนั้นเข้าสู่เมืองพะเยาเที่ยวกว๊านพะเยา นมัสการพระเจ้าตนหลวงต่อ ที่บ้านฮวกนี้อำเภอภูซางได้ร่วมกับพี่น้องชาวลาว จัดพิธีทำบุญตักบาตรสองแผนดินขึ้นเป็นประจำทุกปีในห้วงเดือนธันวาคม เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของจังหวัด ข่าวการจะเนรมิตให้ด่านชายแดนบ้านฮวก เป็น “ปาย 2 “ เกิดเสียงสะท้อนจากคนในพื้นที่ที่ไม่ต้องการให้ภาพของบ้านฮวกต้องประสบชะตากรรมดั่งเช่นที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน วัชระ ศรีคำตัน นักวิชาการและสื่อท้องถิ่นได้เขียนบทความให้ความเห็นต่อการพัฒนาบ้านฮวก ดังนี้ * ทำไมจะต้องให้ “บ้านฮวก” เหมือน “อำเภอปาย” ทั้งที่อยู่ห่างไกลกัน วิถีชีวิต ชาติพันธุ์ และเอกลักษณ์ของท้องถิ่นก็แตกต่างกัน คิดอย่างไร ทำอย่างไรมันก็ไม่เหมือนกัน “ปาย” ปัจจุบันแตกต่างไปจากสิบปีก่อนอย่างไร เป็นสิ่งที่ชาวบ้านดั้งเดิมของปายต้องการหรือไม่ ปาย กลายเป็นขยะที่เหม็นเน่า สูญเสียทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เงียบสงบ กลายเป็นความวุ่นวายโกลาหล ทุกซอกมุมเต็มไปด้วย เทค ผับ ร้านอาหาร โคโยตี้ นักท่องเที่ยวต่างถิ่น ผู้หญิงหากิน ผู้ชายขายตัว เด็กวัยรุ่นติดยาเสพติด มั่วสุม ปัญหาโจร คนปายดั้งเดิมเขาอาจจะหวนคิดถึงอดีตอันเงียบสงบ แต่ก็สายเกินไปแล้วที่จะกลับคืน สิ่งที่น่าจะทำคือชวนคนบ้านฮวกมาช่วยกันดิดหาอัตลักษณ์ หรือเอกลักษณ์ของตัวเองที่เป็นทุนทางสังคม เช่น วัฒนธรรมท้องถิ่น อาหาร เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ฯลฯ ธรรมชาติอันสวยงาม ซึ่งเป็นจุดเด่น มาเป็นจุดขาย ไม่ใช่คิดหาแต่ความเจริญทางด้านวัตถุ แต่เน่าเสียด้านจิตใจมาใส่ใน “บ้านฮวก” แบบนั้นที่ไหนก็มี และหากไม่เตรียมพร้อมรับมือกับการท่องเที่ยวที่จะมาอย่างเป็นระบบ อาจได้รับผลกระทบเหมือน “ปาย” ในวันนี้ ไม่จำเป็นต้องเอาเงินตั้ง 100 ล้านไปเนรมิต “บ้านฮวก” ให้เป็น “ปาย 2” เพราะอย่างไร “บ้านฮวก” ก็คือ บ้านฮวก “ปาย” ก็คือปาย ไม่มีวันที่จะเหมือนกันได้ ความร่ำรวยที่สร้างฝันให้ชาวบ้านนั้นจริงหรือ ใครกันแน่ที่จะได้รับผลประโยชน์เต็มๆ ใครเป็นเจ้าของที่ดินบริเวณนั้น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอ ผู้ว่าฯ นักการเมืองท้องถิ่น หรือนักการเมืองระดับประเทศ ยอมรับกันตรงๆ มาเลยสิครับ. ครับ..! ผมไม่แน่ใจว่า เชียงคาน จังหวัดเลย หรือบ้านฮวก จังหวัดพะเยา ที่แห่งใดจะควรคู่กับการสถาปนาให้เป็น “ปาย 2” ได้เร็วกว่ากัน แต่ที่ทราบก็คือ ที่ดินแถบบ้านฮวกรวมถึงกิจการบ้านพัก ร้านตัดผม ร้านขายเสื้อผ้าพื้นเมืองฯลฯ ที่เคยเป็นทำเลและอาชีพให้ชุมชนท้องถิ่นเลี้ยงชีพ มีรายได้เพียงพอสำหรับส่งเสียลูกหลานให้ได้ร่ำได้เรียน
มาบัดนี้ มีนายหน้าและนักลงทุนทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด เข้ากว้านซื้อจำนวนมาก ไม่เว้นแม้แต่ที่ดินส.ป.ก.4-01 เพื่อทำแหล่งที่พักรองรับนักท่องเที่ยว และสวนยางพารา ซึ่งถือว่าเป็นทำเลทอง คนบ้านฮวกจริงๆ พากันขายที่ให้นายทุน ตอนนี้บางคนต้องเช่าจากนายทุนทำมาหากิน บางคนต้องไปเป็นลูกจ้างเขา วิถีชีวิตที่เคยเรียบง่ายเปลี่ยนไปอย่างไม่มีทิศทาง
เสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าการพัฒนาระยะที่ 1 และ 2 ไปได้ขนาดไหน การก่อสร้างถนน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวเนื่องของรัฐที่บ้านฮวก นอกจากจะช่วยปั่นให้เศรษฐกิจคึกคัก ทำให้พวกที่รู้เล่ห์สนกลในร่ำรวยกันอย่างเป็นกอบเป็นกำแล้ว การสร้างถนนเลี่ยงเมืองใหม่ตามแผนระยะที่ 3 ที่จะใช้งบประมาณ 86 ล้านบาท อาจมีการตัดต้นไม้ใหญ่ข้างทางหรือเบิกพื้นที่หน้าดินใหม่ซึ่งจะเป็นการทำลายสภาพแวดล้อม และจะส่งผลกระทบต่ออุทกภัยดังที่กำลังประสบกันอยู่
ประการสำคัญอย่าลืมว่าแถบนี้เป็นแนวชายแดน ฝ่ายเกี่ยวข้องต้องมีมาตรการเฝ้าระวังและปราบปรามการไหลทะลักเข้ามาของยาเสพติดที่เข้มงวด มิเช่นนั้นจะส่งผลร้ายต่อปัญหาสังคมระดับชาติในอนาคต
หากเป็นดังที่ว่า หนาวนี้....ดูท่าจะยิ่งหนาว บรื๊อส์ ๆๆๆๆ
อ้างอิง * http://phayaoforum.com/phayaorath/?p=1083&cpage=1#comment-253
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
นักข่าว BBC หยุดงานประท้วงปรับเงินบำนาญ Posted: 06 Nov 2010 02:46 AM PDT สหภาพแรงงานนักข่าว BBC หยุดงานประท้วง 48 ชั่วโมง ประท้วงการปรับแผนเงินบำนาญ ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนเริ่มเข้าวันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน ตามเวลาท้องถิ่น สำนักข่าว BBC ต้องงดการออกอากาศรายการโทรทัศน์และวิทยุหลายรายการ ซึ่งมีทั้งรายการอย่าง Radio 4's Today และ Newsnight เนื่องจากผู้ดำเนินรายการชื่อดังเช่น ฟิโอนา บรูซ และ เคิร์สตี วาร์ก เข้าร่วมการหยุดงานเป็นเวลา 48 ชั่วโมงเพื่อประท้วงการปรับแผนเงินบำนาญ ผู้ดำเนินรายการชื่อดังอย่างบรูซ หรือนิกกี แคมป์เบลล์ จะเข้าร่วมการหยุดงานประท้วงที่นำโดยสหภาพผู้สื่อข่าวแห่งชาติ การหยุดงานนี้จะเริ่มต้นในเวลาเที่ยงคืนตามเวลาท้องถิ่น และจะส่งผลกระทบต่อการรายงานข่าวของช่อง BBC1 และการรายงานข่าว 24 ชั่วโมงของช่อง BBC News วันนี้ผู้บริหารของสถานีต้องพยายามเร่งจัดสรรบุคลากรเพื่อยังคงดำเนินรายการหลักต่อไปทั้งในโทรทัศน์ วิทยุ และบนเว็บไซต์ โดยแหล่งข่าวภายในบรรยายว่าสถานการณ์นั้น "ดูตึงเครียด" รายการถ่ายทอดสดอย่าง Newsnight หรือรายการข่าวกีฬาจะต้องหยุดชะงัก ส่วนรายการสดของช่อง BBC News ก็จะถูกลดเวลาลงเหลือเพียงชั่วโมงละครั้ง และอาจสั้นเพียงครั้งละสองนาที รายการที่เหลือจะมีการนำเทปมาออกอากาศซ้ำ จะมีการรายงานข่าวสั้นแทนข่าวประจำวันทั้งสามครั้งของช่อง BBC1 การออกอากาศในสก็อตแลนด์ เวลส์ ไอร์แลนด์เหนือ และอาณาเขตอื่น ๆ ของสหราชอาณาจักรก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน มาร์ค ธอมป์สัน ผู้อำนวยการของ BBC ได้ออกมาแสดงการขอร้องในนาทีสุดท้ายต่อพนักงาน โดยกล่าวว่าการนัดหยุดงานนี้จะเป็น "การสูญเสียรายได้อย่างใหญ่หลวง" สำหรับสมาชิกสหภาพฯ "อย่างไม่มีประโยชน์อันใด" ธอมป์สันเตือนผู้ประท้วงว่าการประท้วงจะไม่ก่อให้เกิดความเห็นอกเห็นใจมากมายอะไร พนักงาน BBC ที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานอื่นยังคงต้องทำงานตามปกติ และเขียนอีเมลถึงพนักงานว่า "สาธารณชนที่กำลังประสบกับภาวะว่างงานและปัญหาเศรษฐกิจคงจะไม่เข้าใจการบกพร่องต่อหน้าที่ของ BBC เช่นนี้" ธอมป์สันอธิบายว่าข้อเสนอเรื่องบำนาญนี้ "ยุติธรรม" และเป็น "การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและดีขึ้น" ธอมป์สันกล่าวในการเจรจากับพนักงานและสหภาพฯ อีกว่า "BBC นั้นเป็นของสาธารณชนอังกฤษ และมีหน้าที่ดำเนินรายการข่าวที่มีคุณภาพอย่างไม่มีวันหยุด พวกเขาเชื่อใจเรา เราต้องไม่ทำให้พวกเขาผิดหวัง" เจเรมี เดียร์ เลขานุการสหภาพฯ เห็นว่าการนัดหยุดงานนี้จะสร้าง "ผลกระทบสำคัญ" ต่องานของ BBC เขาเสริมว่าสหภาพฯ นั้นพร้อมที่จะพูดคุย แต่ "ไม่มีอารมณ์" จะฟังการเจรจาจากทาง BBC "ที่ผ่านมาสมาชิกสหภาพฯ ใน BBC ก็เรียกแผนงบบำนาญนี้ว่าเป็นการปล้นกันชัด ๆ มันไม่เคยเปลี่ยน ตอนนี้ BBC ก็ไม่ให้ทางเลือกอื่นแก่สมาชิกทำให้ต้องออกมาเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องเงินบำนาญของตัวเอง" เดียร์กล่าว สมาชิกสหภาพฯ ได้ลงความเห็นว่าจะนัดหยุดงานเพื่อประท้วงการปรับเปลี่ยนแผนการจ่ายเงินบำนาญอันเหลือเฟือของ BBC ส่วนหนึ่งในแผนการคือการทำให้เงินบำนาญไม่ขึ้นกับเงินเดือนก่อนเกษียณอีกต่อไป โดยแผนการปรับเปลี่ยนบำนาญนี้มีเพื่อลดค่าใช้จ่ายลงประมาณ 1.5 - 2 ล้านปอนด์ แต่สหภาพฯ ลงความเห็นว่าไม่เห็นด้วยกับแผนที่ธอมป์สันบอกว่าเป็นฉบับปรับปรุงสุดท้าย สหภาพผู้สื่อข่าวแห่งชาติซึ่งเป็นตัวแทนผู้สื่อข่าว BBC ประมาณ 4,100 คน ประกาศนัดหยุดงานครั้งนี้ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว การหยุดงานครั้งที่สองจะมีขึ้นในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ และมีการขู่ว่าจะมีการเคลื่อนไหวอีกในช่วงคริสต์มาส การเคลื่อนไหวระดับนี้ในหมู่พนักงาน BBC เคยเกิดขึ้นเมื่อห้าปีก่อน สหภาพแรงงานหลายแห่งรวมทั้งสหภาพผู้สื่อข่าวแห่งชาติ และสหภาพผู้ประกอบอาชีพก ระจายเสียง ความบันเทิง ภาพยนตร์ และการละคร (BECTU) นัดกันหยุดงานเป็นเวลา 24 ชั่วโมงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 เพื่อประท้วงแผนเลิกจ้างงานกว่า 4,000 ตำแหน่งและปรับลดงบประมาณ 15% ในครั้งนั้นรายการข่าววิทยุถูกแทนด้วยการเปิดวนอัลบั้มเพลงแจ๊ซ และสารคดีดนตรี มีการหาผู้ดำเนินรายการข่าวมาแทนคนที่หยุดงาน การหยุดงานครั้งนั้นเพิ่มเรตติ้งให้กับรายการข่าว เนื่องจากผู้ชมต่างติดตามว่า BBC จะรับมือกับสถานการณ์อย่างไร สำหรับการหยุดงานในครั้งนี้ บางรายการเช่น ข่าวยามเช้าทางช่อง ITV1 อาจได้รับผลประโยชน์บ้าง เนื่องจากที่ผ่านมามีเรตติ้งไม่ดีนัก เมื่อรายการข่าวยามเช้าของช่อง BBC1 ต้องหยุดไป อาจจะเป็นโอกาสให้ช่อง ITV ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น ในคืนที่ผ่านมา รายการ Newsnight เปิดโอกาสให้มีการถกเถียงถึงพลังของสหภาพแรงงาน และประเด็นที่ว่าพลังนั้น "ลดน้อยลงไปจนไม่สามารถใช้ต่อรอง" จริงหรือไม่ ซึ่ง BBC คงเห็นว่าไม่เป็นความจริง ที่มาข่าว:
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
สัมภาษณ์ “ดีเจหนึ่ง” ประสบการณ์วิทยุชุมชน และความฝันกับสถานีวิทยุแห่งใหม่ Posted: 06 Nov 2010 02:00 AM PDT โดยปกติแล้วหากเราจะพูดถึงเรื่อง “สื่อใหม่” หลายคนคงจะนึกถึงช่องทางใหม่อย่างอินเตอร์เน็ต จนละเลยไปว่ามีสื่อใหม่ที่เกิดขึ้นมาในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันอย่าง “วิทยุชุมชน” ที่มีการแพร่ขยายไปในพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทย ควบคู่กันไป เพียงแต่เป็นคู่ขนานคอยรับใช้มวลชน ผู้บริโภค ตลาดแต่ละชั้นต่างกันไปตามระดับฐานะของคนในสังคม ยิ่งในสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่เป็นปกติตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยมาตั้งแต่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 - การชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย - จวบจนเลยเถิดมาถึงการปราบปรามประชาชนคนเสื้อแดงโดยฝ่ายรัฐบาลประชาธิปัตย์ต่อเนื่องกันในเดือนเมษายน 2552 และเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมานั้น ในสมรภูมิรบด้านสื่อใหม่ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ต ช่องทีวีดาวเทียว และวิทยุชุมชน ก็ต่างได้ทำหน้าที่อย่างสมภาคภูมิ และก็โดนตีโต้กลับจากฝ่ายรัฐอย่างเด็ดขาดด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการบล็อกเว็บ กวนสัญญาณดาวเทียม ปิดคลื่นวิทยุชุมชนเป็นว่าเล่น สำหรับดีเจคลื่นวิทยุชุมชน ที่นอกเหนือจากจะมีบทบาทในการทำสื่อ บอกเล่าเรื่องราวสถานการณ์ทางการเมืองสู่ชาวบ้านแล้ว ภาพลักษณ์ของดีเจวิทยุชุมชนคลื่นเสื้อแดงส่วนใหญ่ก็ถูกมองว่ากลายเป็น “นักเคลื่อนไหวทางการเมือง” ไปพร้อมกันด้วย และพวกเขามักจะถูกฝ่ายความมั่นคงเข้าประกบตัวทันที เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองมีแนวโน้มที่จะมีการเคลื่อนไหวของมวลชน วันนี้เราลองมาพูดคุยกับ “ดีเจหนึ่ง” ดีเจวิทยุชุมชนที่ถูกกล่าวขวัญมากที่สุดในเชียงใหม่ ในช่วงสถานการการเมืองร้อนระอุ เรื่องราวชีวิตจากที่เขาเคยเป็นแค่ผู้ฟังธรรมดาๆ คนหนึ่ง สู่การเป็นดีเจคลื่นเสื้อแดง - ติดโผแผนผัง “ล้มเจ้า” ของ ศอฉ.- ชีวิตถูกคุกคามหนัก … พร้อมด้วยฝันครั้งใหม่ การทำสถานีวิทยุชุมชน ที่แฟนรายการร่วมพันบริจาคเงินมากว่าแสนบาทแล้ว 1. “ก่อนหน้าที่จะมีการรัฐประหาร ความเกลียดชังมันไม่ได้มีถึงขนาดนี้ คนชอบทักษิณหรือคนเกลียดทักษิณ ก็ไม่ได้ชอบสุดขั้วหรือเกลียดสุดขั้วเหมือนในปัจจุบันนี้”
2. “ลองคิดดูว่าตอนนั้นมีคนเลือกคุณทักษิณ 19 ล้านเสียง แล้วต้องมาดูข่าวการชุมนุมของเวทีพันธมิตรที่ทำซ้ำตลอดเวลา เสนอข่าวความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ตอนนั้นใครตั้งกลุ่มด่าทักษิณดูเท่หมด มีการเสนอข่าวให้ดูเหมือนว่ามีการขับไล่ทักษิณอยู่ในทุกภาคส่วน แม้แต่ตั้งกลุ่มกันมา 3 – 4 คน ก็ได้ลงสื่อแล้ว แต่ในมุมกลับ คนที่เลือกทักษิณเข้ามา เขาก็มองสิ่งเหล่านี้ด้วยความไม่สบายใจ เจ็บปวดรวดร้าว บางคนต้องปิดทีวีไม่รับข่าวสาร นี่ถือว่าเป็นการสร้างความเกลียดชังมาตั้งแต่ต้น ยิ่งมามีการรัฐประหาร ก็เหมือนมาเป็นการตอกลิ่มความไม่พอใจนี้”
3. “ยังไงสำหรับชาวบ้านผมคิดว่าการใช้วิทยุชุมชนถือว่าเป็นสื่อที่เข้าหาชาวบ้านได้ดีที่สุด ส่วนอินเตอร์เน็ตนั้นสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งหาข้อมูล ส่วนวิทยุชุมชนเอาไว้เผยแพร่กระจายข้อมูล ควบคู่กันไป”
เป็นใครมาจากไหน? เป็นคนเชียงใหม่ เกิดและเติบโตที่เชียงใหม่ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พอเรียนจบก็ไปทำงานที่ กทม. กว่า 10 ปี ทำงานออฟฟิศ แล้วอยากออกมาทำธุรกิจเอง เลยออกมาตั้งออฟฟิศเล็กๆ ทำงานแบบฟรีแลนซ์ด้านการออกแบบจัดสวน Landscape พอดีไม่รู้จังหวะ ออกมาทำช่วงรัฐประหาร ปี 2549 รู้ได้เลยว่าเศรษฐกิจเริ่มแย่ เพราะงานออกแบบจัดสวนลูกค้าจะต้องเป็นคนที่มีกำลังจ่ายพอสมควร กอปรกับทุนเราน้อย เริ่มไม่มีเงินจ่ายคนงานจึงต้องอพยพกลับมาอยู่เชียงใหม่ เมื่อกลับมาเชียงใหม่ ก็มาทำธุรกิจค้าขายของที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ แต่ด้วยความที่เราไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจค้าขาย เลยไม่รู้ว่าทำเลไหนดีหรือไม่ดี อาศัยการมองแบบตอนที่อยู่ กทม. เป็นหลัก ที่ขายของที่ไหนก็ขายได้แม้แต่บนสะพานลอย แต่ที่เชียงใหม่ไม่เป็นแบบนั้น ที่เชียงใหม่แม้แต่ถนนเส้นเดียวกันแต่อยู่คนละฝั่งก็อาจจะขายได้ไม่เท่ากัน ปรากฏว่าเริ่มขาดทุนมาเรื่อยๆ จึงเปลี่ยนจากการขายหน้าร้านมาขายตามตลาดนัดแทน เพราะต้นทุนต่ำกว่าเดิม คนเดินจับจ่ายใช้สอยมากกว่า เลยมาอาศัยการขายแถวตลาดนัดแทน ก็เริ่มที่จะอยู่ได้ เพราะช่วงนั้นตรงกับช่วงพืชสวนโลกที่จัดที่จังหวัดเชียงใหม่พอดี แต่หลังพืชสวนโลกก็เริ่มจะย่ำแย่อีกครั้ง เพราะคนที่ทำธุรกิจที่ต้องอาศัยเรื่องการท่องเที่ยวนั้นถือว่าเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหาร โดยในช่วงนั้นรู้สึกว่านักท่องเที่ยวลดลง ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเป็นห่วงต่อเรื่องความปลอดภัยของตัวนักท่องเที่ยวเอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายๆ คนในธุรกิจท่องเที่ยว ไกด์ บริษัททัวร์ เจ้าของร้านอาหาร กระทบหมด เพราะเราอยู่เมืองท่องเที่ยวอย่างเชียงใหม่ มันก็ดูซบเซาเลยช่วงนั้น ยิ่งเราไม่มีสายป่าน ไม่มีเงินทุนมาก ต้องหากินวันต่อวันมันยิ่งกระทบต่อเราโดยตรง ปูมหลังความสนใจทางการเมืองช่วงนั้น? ต้องย้อนกลับตอนที่ไปอยู่ กทม. ด้วยความที่ตัวเองเรียนจบมหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่ได้ทำกิจกรรมนักศึกษาหรือกิจกรรมทางการเมืองใดๆ พอไปอยู่ที่ กทม. ก็สนใจแต่เรื่องปากท้องของตัวเองเป็นหลัก เพราะคน กทม. ผมเชื่อเลยว่าส่วนใหญ่คงไม่สนใจเรื่องการเมืองอย่างลึกซึ้ง แค่ตามกระแส โดยนิสัยคน กทม. ที่ผมได้สัมผัสมาอย่างหนึ่งก็คือ จะคิดว่าตัวเองจะดีกว่า จะสูงกว่า จะรู้มากกว่าคนต่างจังหวัด เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และคนพวกนี้จะไวต่อกระแสใหม่ๆ มากกว่าคนต่างจังหวัด ตอนนั้นผมอยู่ กทม. ผมชอบทักษิณ เพราะหนึ่งแกเป็นคนเชียงใหม่ เป็นคนบ้านเดียวกันเลยเลือกแก แต่ขณะเดียวกันผู้ว่าราชการ กทม. ผมกลับเลือกอภิรักษ์ ตอนนั้นไม่ได้มีความสนใจว่าจะเป็นพรรคไทยรักไทยหรือประชาธิปัตย์ เรื่องการเมืองในมุมมองส่วนตนยังเป็นเรื่องการเลือกตัวบุคคล ไม่ได้สนใจอะไรไปมากกว่านี้ สิ่งนี้ผมว่ามีความสำคัญ คือก่อนหน้าที่จะมีการรัฐประหาร ความเกลียดชังมันไม่ได้มีถึงขนาดนี้ คนชอบทักษิณหรือคนเกลียดทักษิณ ก็ไม่ได้ชอบสุดขั้วหรือเกลียดสุดขั้วเหมือนในปัจจุบันนี้ ตอนนั้นก็เหมือนเป็นสิ่งปกติของระบอบประชาธิปไตย มีพรรคโน้นพรรคนี้หลายๆ พรรค แล้วแต่คนจะเลือกและก็ไม่ได้มีความเกลียดชังกันมากมายถึงขนาดนี้ ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปก่อนหน้าที่จะมีการรัฐประหาร ก่อนหน้าที่จะมีความแตกแยกแบบทุกวันนี้ การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนส่วนใหญ่ในขณะนั้น ผมมองว่าเป็นส่วนสำคัญที่สร้างความเกลียดชังให้สังคมไทย เพราะลองคิดดูว่าตอนนั้นมีคนเลือกคุณทักษิณ 19 ล้านเสียง แล้วต้องมาดูข่าวการชุมนุมของเวทีพันธมิตรที่ทำซ้ำตลอดเวลา เสนอข่าวความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ตอนนั้นใครตั้งกลุ่มด่าทักษิณดูเท่หมด มีการเสนอข่าวให้ดูเหมือนว่ามีการขับไล่ทักษิณอยู่ในทุกภาคส่วน แม้แต่ตั้งกลุ่มกันมา 3 – 4 คน ก็ได้ลงสื่อแล้ว แต่ในมุมกลับ คนที่เลือกทักษิณเข้ามา เขาก็มองสิ่งเหล่านี้ด้วยความไม่สบายใจ เจ็บปวดรวดร้าว บางคนต้องปิดทีวีไม่รับข่าวสาร นี่ถือว่าเป็นการสร้างความเกลียดชังมาตั้งแต่ต้น ยิ่งมามีการรัฐประหาร ก็เหมือนมาเป็นการตอกลิ่มความไม่พอใจนี้ แล้วมาเป็นดีเจคลื่นรักเชียงใหม่ 51 ได้อย่างไร? ในแรกเริ่มก็เป็นเพียงคนที่ไม่พอใจกับสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรัฐประหาร หรือหลังจากการเลือกตั้งที่เราได้พรรคพลังประชาชนมาบริหารประเทศ แต่ก็กลับถูกกลุ่มพันธมิตรฯ ออกมาเคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาลนายสมัคร เลยเถิดไปถึงการยึดทำเนียบรัฐบาล ชุมนุมปิดสนามบิน ก็เลยอยากจะหาสื่อทางเลือกเพื่อรับข่าวสาร ซึ่งเชียงใหม่ในขณะนั้นคลื่นวิทยุทางเลือกสำหรับคนที่ไม่พอใจกับการรัฐประหารและกลุ่มพันธมิตร ก็มีเพียงคลื่น 92.5 ของกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ที่เปิดตัวเป็นคลื่นแรก ผมก็เริ่มจากการเป็นผู้ฟังก่อน ก่อนที่จะเข้ามาร่วมเป็นผู้จัดรายการ โดยมีเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้มีโอกาสเข้ามาเป็นผู้จัดรายการ คือหลังการลงเลือกตั้งซ่อม ส.ส. ที่ จ.ลำพูน โดย ผอ.เพชร (เพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล แกนนำกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 และผู้อำนวยการสถานีวิทยุคลื่น 92.5) ลงสมัครแต่สอบตก ผมก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรในสถานีตอนนั้น เพราะดีเจของคลื่นได้ออกยกแผง เหลือดีเจอ้อม ผอ.เพชร และดีเจอีกหนึ่งคน ทางสถานีจึงมีการประกาศรับสมัครดีเจ ว่าใครอยากมาเป็นก็ให้เข้ามาจัดรายการที่สถานี ช่วงนั้นผมว่างจากการขายของ ที่ขายในช่วงการคืน จึงว่างมาจัดรายการในช่วงกลางวัน จัดรายการลักษณะไหน? ต้องย้อนไปตอนก่อนที่จะมาเป็นดีเจ เราก็เป็นผู้ฟังคนหนึ่ง ซึ่งเราฟังรายการคลื่นเสื้อแดงเราก็จะรู้ได้เลยว่าเขาไม่ได้เป็นดีเจอาชีพ คือเป็นชาวบ้านมาเลย รวมถึงการนโยบายของ ผอ.เพชร ที่บอกว่าคลื่นเราเป็นคลื่นชุมชนชาวบ้าน ต้องเน้นชาวบ้านเป็นหลัก เวลาเราฟังช่วงนั้นก็รู้ได้เลยว่าเป็นการพูดออกมาจากใจชาวบ้านธรรมดาๆ แต่ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อเราไปฟังฝั่งของคลื่นพันธมิตร เห็นได้ว่าพวกเขานำเสนอได้อย่างเป็นระบบ เน้นเรื่องข้อมูลเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ประกอบกับผมไม่มีสื่อกระแสหลักจะเสพย์จะเอามาเป็นข้อมูลในช่วงนั้น ทำให้ต้องหันมาใช้สื่ออย่างอินเตอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูลตามเว็บไซต์ต่างๆ เช่น พันทิป, ประชาไท, ฟ้าเดียวกัน ซึ่งมันมีข้อมูลดีๆ บทความดีๆ ของนักวิชาการที่น่าสนใจอย่าง ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ เราเห็นทีแรกก็สนใจ เพราะคิดว่าเขาเป็นถึงระดับด็อกเตอร์ แต่เขาก็สนับสนุนเสื้อแดงนี่หว่า แล้วทำไมตอนนั้นกระแสมีแต่การพูดว่าเสื้อแดงมีแค่คนรากหญ้าอย่างเดียว พอผมมีโอกาสมาจัดรายการที่คลื่น 92.5 จึงนำข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตเหล่านี้มาจัดรายการ ย่อยบทความของนักวิชาการที่น่าเชื่อถือ เช่น อ.ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ หรือแม้แต่บทความของ อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และคนอื่นๆ นำมาถ่ายทอดผ่านวิทยุชุมชน ในช่วงนั้นการหาข้อมูลในการจัดรายการยากขึ้นไหม เพราะสื่อทางอินเตอร์เน็ตเริ่มโดนปิดกั้น? คิดว่าไม่ยาก เพราะเมื่อเว็บโดนปิด ก็มีโปรแกรมทะลวงการบล็อกต่างๆ ออกมาใช้ เราก็เริ่มได้ใช้ รวมถึงมีเว็บการเมืองที่งอกออกมาใหม่ๆ มีเฟซบุ๊คซึ่งเริ่มบูมในช่วงนั้น ทำให้ไม่ค่อยเป็นอุปสรรคต่อการหาข่าวทางอินเตอร์เน็ตเท่าไหร่ คิดว่ามีพลังไหม สื่ออินเตอร์เน็ต? มีพลังพอสมควร กลุ่มของผมเองก็มีเว็บไซต์ ในช่วงที่ไม่ได้จัดรายการในคลื่นวิทยุชุมชนก็มาจัดรายการทางเว็บไซต์ ปัจจุบันต้องยอมรับว่าอินเตอร์เน็ตมีผลต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างสูง แต่ก็อย่าลืมว่ามันไม่ได้สะดวกไปเสียทุกอย่าง เพราะว่าแม้แต่คนที่เล่นอินเตอร์เน็ตเป็น ก็ไม่มีสมาร์ทโฟนติดมือกันทุกคน เวลาออกไปข้างนอกก็ไม่ได้พกโน๊ตบุ๊คหรือคอมพิวเตอร์ติดตัวไปทุกคน ส่วนชาวบ้านยิ่งไปกันใหญ่ ถึงแม้ลูกหลานจะมีคอมพิวเตอร์มีอินเตอร์เน็ต แต่ชาวบ้านก็ยังเข้าถึงอยากอยู่ดี ยังไงสำหรับชาวบ้านผมคิดว่าการใช้วิทยุชุมชนถือว่าเป็นสื่อที่เข้าหาชาวบ้านได้ดีที่สุด ส่วนอินเตอร์เน็ตนั้นสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งหาข้อมูล ส่วนวิทยุชุมชนเอาไว้เผยแพร่กระจายข้อมูล ควบคู่กันไป ผลตอบรับจากการจัดรายการ? ต้องเข้าใจว่าวิทยุชุมชนมันมีกลุ่มผู้ฟังหลากหลายอยู่เหมือนกัน ในการจัดรายการผมก็จะมีช่วงให้ผู้ฟังโทรศัพท์เข้ามาแสดงความคิดเห็น ซึ่งเมื่อก่อนนั้นต้องยอมรับว่าช่วงที่ให้คนโทรเข้ามาจะเหมือนเป็นการให้โทรเข้ามาระบายอารมณ์ของชาวบ้าน โทรศัพท์มาด่าทอฝ่ายที่เขาไม่ชอบ แต่ในความเป็นจริงแล้วกลุ่มคนฟังมันกว้างกว่านั้น มีคนฟังที่มีความรู้ ซึ่งพอเราเอาบทความจากอินเตอร์เน็ตมาเผยแพร่ ก็เหมือนมันไปโดนใจคนอีกกลุ่มหนึ่งก่อน อันดับแรกก็คือไปถูกใจคนที่มีการศึกษา ปัญญาชนก่อน ก็เลยเริ่มมีแฟนรายการเป็นคนกลุ่มนี้ก่อน พอเราจัดรายการไปเรื่อยๆ ก็รู้สึกได้ว่าเริ่มมีชาวบ้านให้ความสนใจมากขึ้น เริ่มมีฐานแฟนรายการที่เป็นชาวบ้านเพิ่มมากขึ้น ลงไปพบปะแฟนรายการได้ยังไง? ช่วงแรกไม่คิดว่าจะได้รับผลตอบรับดีขนาดนี้ ผมจัดรายการในช่วง 12.00 – 14.00 น. โดยในช่วงนั้นกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 จะมีกิจกรรมที่สถานีบ่อย ไม่ว่าจะเป็นการปราศรัย งานบุญ งานคอนเสิร์ตหรือโต๊ะจีนต่างๆ ผมจึงมีโอกาสได้ร่วม ได้เจอผู้คนที่เข้ามาพูดมาฟัง มาทักทายอยากรู้จักเรา บอกว่าชอบรายการช่วงที่เราจัด ซึ่งส่วนใหญ่ที่มาทักทายก็เป็นชาวบ้าน เราก็เริ่มเห็นว่าชาวบ้านก็อยากรับรู้ข้อมูลที่มีสาระ ช่วงนั้นก็เลิกขายของ มาเป็นดีเจ แต่ก็ไม่ได้เลี้ยงชีพด้วยการเป็นดีเจ แต่ก็ได้รับความช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ จากสถานี เช่น ค่าน้ำมันรถบ้างพันสองพันในบางวัน ซึ่งเราก็ไม่มีเงินเดือนอะไรจากการจัดรายการ ตอนนั้นอยู่ได้ด้วยภรรยาคอยช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่าย โดยเราจัดรายการในช่วง 12.00 – 14.00 น. พอเลิกรายการก็มีคนโทรเข้ามาหาตลอด สอบถามข้อมูล อยากที่จะพูดคุยด้วย ซึ่งผมก็ไม่มีสถานที่ที่จะจัดพูดคุยกัน ก็เลยปรึกษากับแฟนรายการ เลยร่วมลงทุนเปิดร้านกาแฟ Red Cofee Corners แต่ก่อนหน้าที่จะมีร้านกาแฟ ต้องยอมรับว่าในการจัดรายการแบบที่ผมทำนี้ มันต้องอาศัยการหาข้อมูลทำการบ้านอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าไม่ทำการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม ให้ทำเต็มที่ก็คงจัดรายการได้เดือนเดียวก็ตันแล้ว ตอนนั้นจึงทำการค้นคว้าว่าเราจะหาเนื้อหาใหม่ๆ มาคุยในรายการด้วยวิธีใดได้บ้าง ไปสะดุดอยู่กับแนวทางหนึ่ง ที่เป็นแนวทางที่บอกว่าเราต้องลงไปจัดกลุ่มย่อยพบปะชาวบ้านเพื่อพูดคุยวิเคราะห์สถานการกัน ผมจึงเริ่มไปตั้งกลุ่มย่อยที่บ้านแฟนรายการท่านหนึ่งที่ อ.สันทราย มีการโฆษณาในรายการว่าเราควรจะพบปะกันนอกรอบ อาทิตย์ละ 2 ครั้ง ก็มีแฟนรายการไปร่วมฟังร่วมแลกเปลี่ยนกันทุกอาทิตย์ เริ่มต้นจากสิบกว่าคน จนบางครั้งถึงหลักร้อย พอมาทำร้านกาแฟก็กลับไปคุยกับกลุ่มเก่าว่าเราคงลงไปคุยอาทิตย์ละ 2 ครั้งไม่ไหวแล้ว ก็ให้ทำกลุ่มกันเอง ใครใกล้ที่ไหนก็ไปที่นั่น ถ้าผมว่างผมก็จะไปพูดคุยด้วย ผมต้องมาประจำอยู่ที่ร้านกาแฟ และมีการมาพูดคุยที่ร้านกาแฟบ้าง เริ่มมีการคุกคามจากรัฐยังไง? ในช่วงนั้น (ก่อนการชุมนุมเมษายน 2552) การแทรกซึมเข้ามาทำงานด้านข่าวกรองของฝ่ายรัฐก็คงจะมีแล้วในหมู่คนเสื้อแดง และผมคิดว่าการโฟกัสของฝ่ายรัฐน่าจะเป็น ผอ.เพชร และดีเจอ้อม มากกว่า ซึ่งฝ่ายรัฐคงมองเรื่องมวลชนของกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ในการทำกิจกรรมทางการเมืองมากกว่า ซึ่งการดำเนินรายการของผมก็ไม่เคยมีการปลุกระดมให้คนไปปิดสถานที่ใดมาก่อน จนในช่วงเมษาเลือด (การชุมนุมเมษายน 2552) ที่มีการระดมคนไปปิดถนนที่แยกดอยติ ทำให้เป็นคดีความมาจนถึงขณะนี้ โดยดำเนินคดีเลยทันที? คือในช่วงสงกรานต์เลือด ที่เชียงใหม่นั้นมีเหตุการณ์สำคัญสองเหตุการณ์ คือเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2552 ที่มีการรวมตัวกันปิดถนนที่บริเวณประตูท่าแพ ทางคลื่นรักเชียงใหม่ 51 ก็ได้ร่วมจัดรายการ มีคนบอกว่าผมเป็นคนร่วมจัดรายการในวันนั้น จากนั้นก็มาในวันที่ระดมคนปิดถนนตรงแยกดอยติในวันที่ 12 เม.ย. 2552 โดยคดีในวันที่ 10 เม.ย. 2552 นั้น ถูกดำเนินคดีในอีกหนึ่งเดือนถัดมา (พ.ค. 2552) ผมก็ได้ไปรับทราบข้อกล่าวหา และหลังจากนั้นอัยการก็ยกคำฟ้อง เพราะหลักฐานไม่เพียงพอ แต่คดีในวันที่ 12 เม.ย. 2552 นั้นมาออกหมายจับผมหลังจากการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ที่ผ่านมานี้ คือหมายจับออกมาหลัง 1 ปี ก่อนหน้านั้นผมก็ไม่ได้รับหมายเรียกใดๆ แต่มีหมายจับมาจับผมที่ร้านกาแฟเลย มาจับในตอนเย็นทำให้ต้องไปนอนคุกอยู่ 1 คืน จำได้ว่าถูกจับวันพฤหัส จากนั้นเช้าวันศุกร์ก็ถูกส่งตัวไปที่ศาล จึงได้ประกันตัวออกมา โดยผมต้องไปรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ทุกๆ 12 วัน ผมไปรายงานตัวได้ 3 ครั้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ปล่อยให้คดีขาดไป เพราะว่าไม่สามารถรวบรวมหลักฐานมาส่งฟ้องได้ ทางศาลจึงต้องปล่อยตัวผมออกมา แต่ปรากฏว่า 2 เดือนถัดมา ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รวบรวมหลักฐานใหม่และไปยื่นที่อัยการเพื่อจะส่งฟ้องผมใหม่อีกครั้ง และอัยการก็ได้รับฟ้อง ก็เลยเป็นคดีความกันใหม่อีกครั้ง ตอนนี้ผมจึงทำเรื่องขอความเป็นธรรมโดยขอให้มีการชะลอการสั่งฟ้องออกไปก่อน ในระหว่างการชุมนุมครั้งนี้มีชื่อเราไปโผล่ในแผนผังล้มเจ้าของ ศอฉ. คิดว่าการปัดฝุ่นคดีเมื่อปีที่แล้ว มาเล่นงานเราหลังสลายการชุมนุมครั้งล่าสุด มันเกี่ยวโยงกันไหม? ผมไม่คิดว่ามันเกี่ยวกับแผนผังฯ ผมมองว่าที่ผมโดนคดีนี้ เพราะว่าผมมีลิสต์รายชื่ออยู่ในกลุ่มดีเจคลื่นรักเชียงใหม่ 51 เท่านั้น เพราะว่าในผังฯ ของ ศอฉ. มันไม่ได้มีข้อกล่าวหา มันมีแต่การวิเคราะห์ ดังนั้นผมคิดว่าที่เราโดนคดีความ รื้ออันเก่าขึ้นมา เป็นเพราะเขาต้องการกดไม่ให้มีความเคลื่อนไหวทางการเมืองในเชียงใหม่มากกว่า เพราะว่าผมเป็นที่รู้จักของมวลชนในเชียงใหม่ แล้วแผนผังฯ นี้มันมีผลกระทบต่อชีวิตเราไหม? มี ผมถือว่ามีอย่างยิ่ง ประเทศไทยใครก็รู้อยู่แล้วว่าข้อหานี้เป็นข้อหาที่ร้ายแรง และเป็นข้อหาที่สังคมไม่ยอมรับ การนำข้อหาแบบนี้ไปยัดใส่ประชาชนคนใดคนหนึ่งที่มีความคิดเห็นทางการเมืองตรงกันข้าม ถือว่าเป็นการกระทำที่สกปรกมากๆ ผมโดนค้นบ้านหลังจากที่ผมได้รับการประกันตัวออกมา ตอนหกโมงเช้า ซึ่งผมก็ไม่สามารถจะนอนที่บ้านได้อยู่แล้วในระหว่างมีคดีความ ต้องไปหาที่นอนที่อื่น และบ้านผมก็มีผู้สูงอายุคือแม่และพ่อผมอยู่กับลูกของผมอายุ 7 ขวบ ตำรวจ 10 กว่าคนไปค้นที่บ้านในตอนเช้า แต่ก็ไม่เจอสิ่งผิดปกติอะไร ส่วนพ่อก็เป็นโรคหัวใจกำเริบ แล้วบอกว่ามาค้นตามหน้าที่เฉยๆ ซึ่งพ่อผมตกใจมาก มีการข่มขู่คุกคามเป็นระยะๆ ผ่านจากคนที่อ้างว่าเป็นสายตำรวจ สายทหาร ว่าร้านกาแฟที่ผมทำธุรกิจอยู่นี้ไม่ปลอดภัย คือผมค้าขาย ส่วนใหญ่ลูกค้าผมก็จะเป็นคนเสื้อแดงที่มากินกาแฟ แต่กลับมีการปล่อยข่าวไปตามกลุ่มต่างๆ จากคนที่อ้างว่าเป็นตำรวจมะเขือเทศบ้าง ทหารแตงโมบ้าง ปล่อยข่าวว่าร้านผมไม่ปลอดภัย ซึ่งมันกระทบต่อเรื่องการค้าขายทำมาหากินของผมโดยตรง ผมทำการค้าขายสุจริตแต่ก็กลับค้าขายไม่ได้ จนกระทั่งมาวันหนึ่งมีทหารแตงโมมาบอกผมว่าให้ผมหยุดขายกาแฟ เขาบอกว่ามีคำสั่งที่จะเก็บผมออกมา บอกว่าผมเป็นเป้าล่าสังหารอันดับหนึ่งในเชียงใหม่ ให้ผมหนีไปเสีย แต่ผมก็คิดว่าไม่รู้จะหนีไปไหน และถ้าหนีก็ไม่รู้ว่าจะหนีไปกี่วันกี่เดือนกี่ปีจะได้กลับมา เลยตัดสินใจอยู่ต่อ ทำร้านกาแฟต่อ ถามว่ามันยุติธรรมไหม ต่อคนที่ทำการค้าขายโดยสุจริต ต้องถูกคุกคามอยู่อย่างทุกวันนี้ เพราะมีชื่อไปโผล่ที่แผนผัง ศอฉ. อันนั้น ซึ่งเป็นแผนผังที่ผมดูว่ามันมั่วมาก คุณจะจับใครมาใส่ในแผนผังก็ทำโยงเส้นไปโยงเส้นมา โดยไม่คำถึงความเดือดร้อนของคนเหล่านั้น ตัดสินใจเปิดร้านต่อ มีฝ่ายความมั่นคงมาเยี่ยมเยียนไหม? มีครับ มีทั้งเปิดเผยและไม่เปิดเผย เปิดเผยคือเข้ามาที่ร้านเลย มาแสดงตัวมาตักเตือนที่ร้าน มาบอกให้ระวังตัว กับอีกแบบคือไม่แสดงตัว มาเฝ้าตั้งแต่ 6 โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็น เป็นเวลาสามสี่วันติดต่อกัน ย้อนไปถาม ก่อนหน้านั้นได้ยุติบทบาทการเป็นดีเจคลื่นรักเชียงใหม่ 51 ช่วงไหน? ช่วงที่มีการเดินทางลงไปยัง กทม. ของมวลชนเสื้อแดงเชียงใหม่ ในวันที่ 14 มี.ค. 2553 ยุติบทบาทเพราะเหตุใด? เพราะว่าผมจัดรายการในช่วง 12.00 – 14.00 น. โดยรูปแบบรายการเป็นการนำเสนอข่าวสารและบทความต่างๆ ที่ได้มาจากเว็บไซต์ รวมถึงการวิเคราะห์ทางการเมือง แต่ในสถานการที่ต้องระดมคนลงไปยัง กทม. ทางสถานีจึงมีนโยบายระดมทรัพยากรไปช่วยการชุมนุมส่วนกลาง และจะเน้นการถ่ายทอดสดจากเวทีส่วนกลางที่ กทม. ช่วงเวลาที่ผมจัดรายการจึงต้องถูกขอคืนไป และผมก็ไม่ถนัดจัดรายการแบบขอระดมทุนขอรับบริจาค จึงได้ยุติบทบาทไปโดยปริยายและก็ยาวต่อเนื่องมา หลังจากยุติบทบาทกับคลื่นรักเชียงใหม่ 51 แล้วไปทำอะไรต่อ? โดยปกติแล้วคลื่นวิทยุชุมชนเสื้อแดงหลักๆ ในเชียงใหม่ จะมี 4 คลื่น แต่หลังการสลายการชุมนุมในเดือนพฤษภาคม 2553 นั้น ถูกปิดไปเสีย 3 คลื่น เหลืออีกคลื่นที่อยู่ได้ โดยที่ไม่ได้พูดถึงเรื่องการเมืองกลายเป็นรายการเพลงปกติทั่วไป หลังจากที่ผมได้ประกันตัวในคดีที่กล่าวไป ออกมาผมก็มองถึงธุรกิจร้านกาแฟของผม และมีการเล่ากันปากต่อปากบอกว่าผมปิดร้านไปแล้วบ้าง ผมหนีไปแล้วบ้าง ผมเลยอยากอาศัยสื่อวิทยุเพื่อโฆษณาร้านผม เริ่มแรกผมก็ไปซื้อเวลาของสถานีวิทยุชุมชนแห่งหนึ่ง จัดรายการเพลงไม่เกี่ยวกับการเมืองเพื่อโฆษณาร้านกาแฟ พูดเรื่องสารประโยชน์ เรื่องสุขภาพ เรื่องความรัก เพื่อพยายามสื่อสารว่าผมยังขายกาแฟอยู่ที่ร้านเหมือนเดิม พอจัดได้สักระยะหนึ่งเจ้าของคลื่นรู้ว่าผมเป็นเสื้อแดง เขาก็ไม่ให้ผมจัดต่อขอยกเลิกสัญญา จากนั้นคลื่นเสื้อแดงที่เหลืออยู่คลื่นหนึ่งนั้น ได้ทำการติดต่อว่าอยากจะไปจัดรายการไหมจะขายเวลาให้ แต่มีข้อแม้ว่าห้ามพูดเรื่องการเมือง ให้เปิดเพลงได้แต่ห้ามบอกชื่อแซ่ว่าเป็นใคร ผมก็ตกลงในเงื่อนไข ไปซื้อเวลา 3,000 บาทต่อเดือน ไปจัดรายการโดยไม่ได้บอกกับผู้ฟังว่าเราเป็นใคร จัดรายการไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่ในรายการจะพูดถึงเรื่องหนังเรื่องเพลง เช่น เพลงของจอห์น เลนนอน เพลงของบ๊อบ ดีแลน ภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์ อะไรพวกนี้เป็นต้น ซึ่งผมไม่รู้ว่าฝ่ายความมั่นคงตีความยังไง ฝ่ายความมั่นคงบอกว่าผมจัดรายการปลุกระดม ใช้อำนาจของ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน มาปิดสถานีที่ผมดำเนินรายการ โดยอ้างว่าผมเคยเป็นดีเจของคลื่นรักเชียงใหม่ 51 ได้จัดรายการที่มีเนื้อหาปลุกระดมมวลชน และจะมีการแจ้งข้อกล่าวหากับผมต่อไป ซึ่งต่อมาก็ไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาใดๆ กับผม เพราะไม่มีหลักฐาน เพราะผมไม่ได้จัดรายการปลุกระดมใดๆ ในช่วงนั้น ก็อยากถามว่าการเป็นดีเจคลื่นรักเชียงใหม่ 51 การเป็นดีเจคลื่นคนเสื้อแดงมันเหมือนกับการเป็นฆาตกร ทำให้เป็นตราบาป แล้วไม่สามารถไปประกอบอาชีพอะไรได้อีกหรือ จัดรายการธรรมดาก็ไม่ได้ โฆษณาร้านกาแฟตัวเองก็ไม่ได้ใช่ไหม ในช่วงที่มี พ.ร.ก. ฉุกเฉิน นั้นที่ร้านกาแฟผมก็จะมีการจัดกิจกรรมกินบุฟเฟ่ต์ขนมจีนทุกวันอาทิตย์ ซึ่งก็ไม่ได้ผิดกฎหมาย ไม่ได้ผิด พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เพราะผมไม่ได้ชุมนุมเรื่องการเมือง แค่มีการกินขนมจีนและพบปะกัน พบว่าความต้องการของชาวบ้านและแฟนรายการต้องการรับสื่อที่พวกเขาเคยรับ แน่นอนเมื่อสื่อที่เคยได้รับถูกปิดกั้น ไม่ว่าจะเป็นคลื่นเสื้อแดงต่างๆ ที่โดนปิดไป ความโหยหาในคลื่นวิทยุชุมชนเหล่านี้มันมีอยู่แล้ว แม้แต่สื่ออย่างพีเพิลชาแนลก็ยังโดนปิด ผมจึงคิดว่าน่าจะมีสื่อตรงนี้ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อที่จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชน จึงได้ทำซองบริจาคแต่ก็ไม่มีใครกล้าที่จะลงชื่อร่วมในการก่อสร้างสถานีวิทยุในช่วงนั้น เพราะถือว่ามันยังเป็นช่วงที่น้ำเชี่ยวอย่าพึ่งนำเรือไปขวาง จึงสรุปว่าให้ใช้ชื่อผมออกหน้าไปคนเดียวก่อน แต่ผมก็ขาดสื่อประชาสัมพันธ์ว่าผมจะมีการรับบริจาคเพื่อเปิดสถานีวิทยุ เลยใช้แค่ปากต่อปากและก็อาศัยการเดินแจกซองตามตลาด แต่ก็ไม่น่าเชื่อว่ามันได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมาก ในช่วงสถานการณ์แบบนั้น มันแสดงให้เห็นถึงความอัดอั้นตันใจของประชาชนที่อยากรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ได้รับเงินบริจาครวมเป็นเงิน 150,000 บาท เป็นทุนแรกเริ่มในการจัดตั้งสถานีวิทยุ เราไม่ได้ไปเข้าไปหานักธุรกิจใหญ่หรือนักการเมือง ไม่มีท่อน้ำเลี้ยงใดๆ ซองที่เราไปแจกก็จะเป็นชาวบ้าน พ่อค้าแม่ค้าหาบเร่แผงลอยจนถึงเจ้าของคลินิก เจ้าของโรงงานในท้องถิ่น ไปแจกตามตลาดโดยเฉลี่ยแล้วเขาก็บริจาคคนละ 10-100 บาท สถานีวิทยุแห่งใหม่นี้วาดฝันว่าจะให้เป็นอย่างไร? เบื้องต้นสมาชิกของกลุ่มก็ได้เข้าร่วมอบรมกับสมาคมสภาองค์กรวิชาชีพวิทยุ-โทรทัศน์ภาคประชาชน (สอทช.) และไปเป็นสมัครสมาชิกไว้ เพื่อดำเนินตามกรอบกฎเกณฑ์ตามสถานีวิทยุชุมชนแห่งอื่นๆ โดยวัตถุประสงค์หลักๆ ของสถานีที่จะสร้างขึ้นมานี้ คือ เป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนโดยตรง คือผมแทบไม่น่าเชื่อว่าวิทยุชุมชมจะมีพลังขนาดนี้ เมื่อก่อนที่ผมกลับมาจาก กทม. ใหม่ๆ คิดว่าคนไม่ค่อยฟังกันหรอกเพราะคนก็ดูทีวีกันอยู่แล้ว แต่พอกลับมาเชียงใหม่พบว่าคนฟังวิทยุชุมชนเยอะมาก มันเป็นสื่อที่เข้าหาประชาชนได้ง่ายสุดแล้ว ที่คุยกันไว้ก็อยากมีรายการที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เราได้มาจากภายนอกชุมชน ที่เราหาข้อมูลได้ผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น เรื่องราคาน้ำมันว่าขณะนี้มันราคาเท่าไร และในราคาน้ำมันที่ชาวบ้านซื้อนั้นมันมีค่าอะไรบ้าง อะไรแบบนี้เป็นต้น ในอีกด้านผู้ฟังของเราในชุมชนต่างๆ เมื่อมีความเดือดร้อนในด้านต่างๆ ก็จะสามารถเสนอเรื่องราวสู่ภายนอกได้ เช่น มีปัญหาเรื่องบ่อขยะใกล้บ้านแล้วส่งกลิ่นเหม็น ไม่รู้จะร้องเรียนใครก็สามารถใช้สื่อของเราเป็นช่องทางร้องเรียน ทำเป็นโมเดลธุรกิจ แบบวิทยุชุมชนทั่วไป? ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าถ้าไม่ทำเป็นธุรกิจแล้วจะอยู่ได้อย่างไร เพราะว่าวิทยุชุมชนในเชียงใหม่ 200 กว่าคลื่นนั้นก็เป็นเรื่องธุรกิจ มีโฆษณา โฆษณาร้านลาบ ร้านหลู้ ร้านซักอบรีด มีโฆษณาหมด และก็ไม่ถนัดแบบแนวเอ็นจีโอ เพราะไม่ได้มุ่งไปหาเรื่องนั้นตั้งแต่แรก ไม่เคยทำกิจกรรมแบบนั้น จึงไม่รู้วิธีที่จะหาทุนแบบเอ็นจีโอได้อย่างไร เลยคิดง่ายๆ ว่าระดมทุนจากพี่น้องชาวบ้านแฟนรายการเป็นฐานก่อนเท่านั้น ตอนนี้เงิน 150,000 บาท ที่ชาวบ้านบริจาคมา ก็ได้นำไปทำห้องส่งและเสาส่ง แต่ก็ยังขาดเครื่องส่งวิทยุและตัวแผงรับสัญญาณ รวมไปถึงระบบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ คิดว่าจะต้องมีการระดมทุนอีกครั้ง แต่จะให้แจกซองรอบสองก็คงเป็นไปได้ยาก เพราะเหมือนไปพึ่งกลุ่มชาวบ้านเกินไป ดูเหมือนไปขอแล้วขออีก ตอนนี้ขาดเงินอีกประมาณ 200,000 บาท ผมคิดว่าองค์กรต่างๆ ที่มีในประเทศไทย กลุ่มต่างๆ ที่มีอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ภาคประชาชน นักวิชาการ ศิลปิน หรือองค์กรต่างๆ ที่ต้องการสื่อไปหาชาวบ้าน น่าจะเห็นความสำคัญของวิทยุชุมชนที่แตกต่างจากที่มีอยู่ ที่มีแค่ความบันเทิงอย่างเดียว อยากให้เข้ามามีส่วนร่วมกับสถานีนี้ ถือว่าเป็นช่องทางอันดีที่จะเข้ามาร่วมกัน เนื้อหาจะเป็นอย่างไร? เนื้อหาส่วนหนึ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องมีก็คือเรื่องประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นความต้องการของกลุ่มชาวบ้านที่ได้บริจาคกันมา และจะไม่ใช่คลื่นปลุกระดมไม่ยุ่งเกี่ยวกับนักการเมือง อยากให้เป็น “ของประชาชน” จริงๆ ในความหมายที่เป็นคนตัวเล็กตัวน้อย เช่น พ่อค้าแม่ค้า นักธุรกิจ คนทำงาน ลูกจ้างทั่วไป คนทั่วไปในสังคม ไม่ใช่กลุ่ม “ภาคประชาชน” อย่างที่กลุ่มพันธมิตรอ้างเรื่อยมา เบื้องต้นที่ได้ประชุมกับคนที่ร่วมบริจาค ก็ได้ข้อสรุปบางส่วนว่าจะใช้ชื่อสถานีวิทยุชุมชน "สร้างสรรค์สังคมเชียงใหม่" เพราะเราเห็นว่าการตื่นตัวของชาวเชียงใหม่ในเรื่องประชาธิปไตย เป็นฐานสำคัญในสร้างความก้าวหน้าให้จังหวัดเชียงใหม่ พูดถึงเรื่องสิทธิ เสรีภาพ สิทธิพลเมือง เรื่องประชาธิปไตย พูดเรื่องวัฒนธรรม คุณภาพชีวิต เป็นเวทีของชาวบ้านจริงๆ ในเรื่องการนำเสนอเนื้อหาคงจะเป็นการสื่อสารง่ายๆ กับชาวบ้าน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีหลักวิชาการเลย เพราะชาวบ้านปัจจุบันนี้ผมเชื่อว่าไม่ได้โง่เหมือนที่หลายๆ คนเคยสบประมาทไว้ .. แต่ก็ไม่ถึงขั้นต้องปีนบันไดฟัง ไม่เป็นแนวเอ็นจีโอจ๋า แต่ก็จะไม่ไร้สาระแน่นอน.
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
กวีตีนแดง: ภาพบางภาพที่ไม่ได้อยู่ตรงที่เดิม Posted: 05 Nov 2010 08:30 PM PDT หนาวลมเหนือล่อง...มาจากห้องหุบเขา หยาดเลือดรอยนั้น...เหมือนสิ้นกลิ่นคาว บาดแผลกลางใจ...ไม่หายแม้น้ำแห้ง ผีตากผ้าอ้อม...หอมกลิ่นลมตะเภา หลังรอยหม่นไหม้...โหยหาใครเช็ดน้ำตา ปลดภาพบางภาพบนฝาแขวน...ลงเผาทิ้งไฟไม่ไยดี
เพียงคำ ประดับความ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
อานนท์ นำภา:บทกวีถึงมหาตุลาการ Posted: 05 Nov 2010 07:06 PM PDT คือตราชู ผู้ชี้ เสรีสิทธิ คือศาลสถิต ยุติธรรม นำสมัย คือหลัก ประกัน ประชาธิปไตย มิใช่ อภิชน คนชั้นฟ้า !
ครุยที่สวม นั้นมา จากภาษี รถที่ขี่ เงินใคร ให้หรูหรา ข้าวที่กิน ดินที่ย่ำ บ้านงามตา ล้วนแต่เงิน ของมหา ประชาชน
มิได้ อวตาร มาโปรดสัตว์ แต่เป็น "ลูกจ้างรัฐ" ตั้งแต่ต้น ให้อำนาจ แล้วอย่าหลง ทนงตน ว่าเป็นคน เหนือคน ชี้เป็น-ตาย
เสาหลัก ต้องเป็นหลัก อันศักดิ์สิทธิ์ ใช่ต้องลม เพียงนิด ก็ล้มหงาย ยิ่งเสาสูง ใจต้องสูง เด่นท้าท้าย ใช่ใจง่าย เห็นเงิน แล้วเออออ !
ต้องเปิด โลกทัศน์ อย่างชัดเจน ใช่ซ่อนเร้น อ่านตำรา แต่ในหอ ออกบัลลังค์ นั่งเพลิน คำเยินยอ เลือกเหล่ากอ มากอง ห้องทำงาน
ตุลาการ คือหนึ่ง อธิปไตย อันเป็นของ คนไทย ไพร่-ชาวบ้าน มิใช่ของ ใครผู้หนึ่ง ซึ่งดักดาน แต่เป็น "ตุลาการ" ประชาชน
ฉะนั้นพึง สำนึก มโนทัศน์ ใช่ด้านดัด มืดดับ ด้วยสับสน เปื้อนราคิน กินสินบาท คาดสินบน แล้วแบ่งคน แบ่งชั้น บัญชาชี้
เถิด"ตุลาการ" จงคิด อย่างอิสระ รับภาระ อันหนักหนา ทำหน้าที่ หากรับใช้ ใบสั่ง ดั่งกาลี ตุลาการ เช่นนี้ อย่ามีเลย !
: อานนท์ นำภา ๖ พฤศจิกายน ๕๓ แก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับเดิม ๓ กันยายน ๕๓ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น