ประชาไท | Prachatai3.info |
- รายงาน:ส่วยหาดใหญ่ก่อนหายไปกับน้ำ? โต๊ะบอล–บ่อน–ซ่อง–ของเถื่อนๆ
- ธีระ สุธีวรางกูร : เมื่อแมลงวันไม่ยอมตอมแมลงวัน
- นักปรัชญาชายขอบ:ปัญหาของการไม่อภิปรายประเด็นสถาบันกษัตริย์ ในบริบทสังคม-การเมืองไทย
- ศิลปินแห่งชาติ แนะระวังอย่ายก "ชิมิ" มาตั้งชื่อภาพยนตร์
- วัฒนธรรมเกาหลีแบบไทยๆ
- รายงาน : สิทธิผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ - ค่าชีวิตของฉันเขาจ่ายแค่ 9,700 บาท
- เสื้อแดงรับขวัญ ผู้ต้องโทษฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หลังขังครบ 6 เดือน
- เพ็ญ ภัคตะ: เมื่อแม่และหนูอายุเก้าขวบ
- สมาคมประมงพื้นบ้านปัตตานี รับบริจาคช่วยเหลือชาวประมงหลังพายุใหญ่
- เจ้าหน้าที่ ILO ประท้วงเรียกร้องความมั่นคงในการทำงาน
- กมธ. สื่อสารฯ เร่งกทช.แก้ปัญหาผู้บริโภคโทรศัพท์ระบบเติมเงินถูกยึดตังค์
- บทวิพากษ์ศาลยุติธรรม: ระบบลูกขุนไม่สามารถใช้ได้ในประเทศไทย?
- คิวบาวิจารณ์เกมสหรัฐฯ มีฉากลอบสังหารคาสโตร
- ศิริโชคส่งทนายฟ้อง “พล.ต.ต.วิสุทธิ์” ที่ศาลสงขลา
- ความรุนแรงในอาร์เมเนีย-ไทย: สาเหตุเดียวกัน จุดจบ(น่าจะ)เหมือนกัน
รายงาน:ส่วยหาดใหญ่ก่อนหายไปกับน้ำ? โต๊ะบอล–บ่อน–ซ่อง–ของเถื่อนๆ Posted: 11 Nov 2010 11:55 AM PST ส่วยหาดใหญ่ก่อนหายไปกับน้ำ? ทั้ง โต๊ะบอล บ่อน ซ่องและของเถื่อนๆ กับเรื่องราวของ ศิริโชค โสภาและพล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร
เรื่องราวหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง ก่อนภัยน้ำท่วมในเมืองหาดใหญ่ จะกวาดล้างทุกสิ่งทุกอย่างไปจนราบเรียบ คือเรื่องราวของ พล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 ต้องถูกเด้งเข้ากรุไป สิ่งที่น่าสนใจกว่า พล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร คือ หาดใหญ่กลายเป็นแหล่งหากินใหญ่ที่ใครได้ประโยชน์ก็ย่อมต้องหวงและห่วงเป็นธรรมดา ก่อนที่จะมลายไปกับสายน้ำ เพราะการจับกุมโต๊ะบอล กลางเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2553 ตามมาด้วยการจับกุมบ่อนการพนันรายใหญ่ในตัวเมืองหาดใหญ่ตามมาอีกหลายครั้ง ของพล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 รับผิดชอบงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมขณะนั้น นอกจากจะส่งผลให้กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 สั่งย้าย พ.ต.อ.จีรวัฒน์ พยุงธรรม ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่ ไปช่วยราชการกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 พร้อมกับตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงว่า ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่ ปล่อยปละละเลยให้เปิดบ่อนการพนันในท้องที่ความรับผิดชอบหรือไม่แล้ว ยังส่งผลสะเทือนไปถึงวงการโต๊ะบอล บ่อนการพนัน ไปจนถึงหวยเถื่อนในพื้นที่อย่างกว้างขวางอีกด้วย ถึงกระนั้นก็หาได้กระทบต่อเส้นทางเม็ดเงินจากส่วยการพนัน ที่สะพัดหล่นไปตามรายทางจากท้องที่สู่กองบังคับการ สู่กองบัญชาการ ไปจนถึงส่วนกลางแต่อย่างใดไม่ ประเด็นที่น่าสนใจอยู่ตรงที่ผู้มารักษาการณ์แทน พ.ต.อ.จีรวัฒน์ พยุงธรรม กลับเป็นตำรวจนอกพื้นที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในพื้นที่ เนื่องเพราะนายตำรวจที่ได้รับคำสั่งให้มารักษาการณ์ในตำแหน่งผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่คือ พ.ต.อ.สมศักดิ์ วรรณวรรค รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตรัง ผู้มีอดีตเป็นผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรสะเดา จังหวัดสงขลามาก่อนหน้านี้ แต่กลับมาในชื่อใหม่ยังไม่ค่อยคุ้นหูผู้คนว่า “พ.ต.อ.สุรนาถ วรรณวรรค” พ.ต.อ.สมศักดิ์ วรรณวรรค ที่ใครต่อใครรับรู้กันว่าใกล้ชิดสนิทยิ่งกับนายศิริโชค โสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ เจ้าของสมญาวอลเปเปอร์ ผู้นิยมชมชอบยืนเรียงเคียงกายนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
บ่อนสะเทือน ผลสะเทือนต่อวงการพนันจากการจับกุมโต๊ะบอลและบ่อนการพนันในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ก็คือ คำเล่าลือกันปากต่อปากว่า ทั้งโต๊ะบอลและบ่อนการพนันในจังหวัดสงขลาทุกบ่อน ต่างประกาศปิดโต๊ะ ปิดบ่อน แปรสภาพจากบ่อนประจำไปเป็นบ่อนวิ่ง เปลี่ยนจากแทงพนันบอลอย่างเปิดเผยโจ่งแจ้งมาเป็นลับๆ ล่อๆ เหลียวซ้ายแลขวา หรือไม่ก็หันไปรับแทงทางโทรศัพท์ หรือเล่นทางอินเตอร์เน็ตแทน สภาพนั่งเชียร์ทีมโปรดไปด้วย เล่นการพนันไปด้วย หมดไปแทบจะสิ้นเชิง นับว่าบรรยากาศแตกต่างไปจากอดีตชนิดหน้ามือเป็นหลังเท้า ทว่า นั่นเป็นแค่ปรากฏการณ์ที่เห็นกับตา เนื่องเพราะข้อเท็จจริงลึกลงไปตรงจุดที่สายตามองไม่เห็น กลับปรากฏว่าขบวนการรับแทงพนันบอล บ่อนการพนัน ไปจนถึงหวยเถื่อน ต่างยังคงดำรงอยู่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง “ตอนนั้นเป็นช่วงที่บ่อนและโต๊ะบอล กำลังวิ่งเคลียร์กับคนมีสีรอบใหม่ ทั้งบ่อนและโต๊ะบอลยังเปิดได้ เพียงแต่ผู้รับผิดชอบท้องที่ขอให้ปิดมิดชิดหน่อยอย่าประเจิดประเจ้อ อย่างบ่อนการพนันอย่าเป็นบ่อนประจำ ขอให้เป็นบ่อนวิ่งเล่น 2 – 3 วัน เปลี่ยนสถานที่เล่นใหม่ เพราะถ้าตำรวจนอกหน่วยมาจับ เจ้าของท้องที่สามารถอ้างได้ว่า เป็นบ่อนวิ่งเข้ามาในพื้นที่ ดูแลไม่ทัน” เซียนการพนันรายหนึ่งบอกถึงสถานการณ์การพนันในเมืองสงขลา ในยามที่บ่อนวิ่งเกลื่อนเมือง สำหรับบ่อนการพนัน ที่แปรสภาพจากบ่อนถาวรเป็นบ่อนวิ่ง บัดนี้เจ้าของบ่อนต้องหูไวตาไว ถึงแม้ตำรวจท้องที่ยังเก็บเงินเหมือนเดิม แต่ถ้าถูกจับคนรับส่วยจะไม่รับผิดชอบ บ่อนดังในหาดใหญ่อย่างบ่อนหัวควน ทางไปบ้านพักของนายปกครอง จินดาพล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา บ่อนแถวทุ่งเสา ที่ถูกจับไปแล้ว ตอนนี้ก็กลับมาเล่นกันอีก บ่อนรอบนอกที่เคยทำท่าจะเป็นบ่อนถาวร อย่างบ่อนแม่เตย บ่อนหินเกลี้ยง ตอนนี้ขยับขึ้นไปเล่นไกลออกไปอีกหน่อย นอกจากนี้ก็ยังมีบ่อนเจ๊ ฝ. ที่มีนายทหารใหญ่เป็นแบ๊ก บ่อน บ. หลังห้างแม็คโคร บ่อน จ. ที่เคยกล้าหาญชาญชัย ตอนนี้ก็ไม่กล้า ส่วนบ่อนที่สะบ้าย้อย และแถวอำเภอรอบนอกอย่างอำเภอคลองหอยโข่ง เกือบทั้งหมดเป็นของนักการเมืองท้องถิ่น บ่อนพวกนี้มีนักการเมืองระดับชาติหุ้นอยู่ด้วย สำหรับปริมาณเม็ดเงินส่วยจากบ่อนมากมายขนาดไหน ให้ดูตรงบ่อนแม่เตย ขนาดบ่อนนี้เป็นบ่อนชนบทที่สุด ยังต้องจ่ายเดือนละ 3 ล้านบาท บ่อนที่หลบออกไปเล่นไกลถึงอำเภอนาหม่อม นี่ก็ต้องจ่าย 3 ล้านบาทต่อเดือน กางเต็นท์เล่นในสวนยางพารา คนเฝ้าทางจะรู้ว่าใครเป็นนักเล่น ใครเป็นขาประจำ จึงมิพักต้องพูดถึงบ่อนในหาดใหญ่ ถ้าจ่ายไม่ถึง 10 ล้านบาทต่อเดือนก็ไม่ต้องคุย เม็ดเงิน 10 ล้านบาทนี้ ไม่เกี่ยวกับที่ต้องจ่ายให้กับบรรดานักบินนอกหน่วย 10 ล้านบาท เคลียร์เฉพาะกับท้องที่เท่านั้น อย่างที่ด่านนอกตรงโนแมนส์แลนด์ หรือบ่อนในโรงแรม ส. นอกจากต้องจ่ายเดือนละ 30 ล้านบาทแล้ว ยังต้องตั้งงบประมาณไว้ 5 แสนบาทไว้ให้พวกเด็กๆ ที่ขับรถไปถึงที่แล้วบีบแตรเรียกขอค่าน้ำมันรถ รวมทั้งแจกจ่ายให้กับนักข่าวท้องถิ่นนอกรีตอีกต่างหาก ถึงกระนั้นตำรวจบางคนยังบอกว่าอยู่ไม่ได้ ถึงแม้เก็บเงินได้เยอะ แต่ได้ใช้เองไม่กี่บาท เหมือนคนแบกกลองให้เพื่อนตี เก็บได้ 30 ล้านบาท คนเก็บอาจจะได้แค่หลักแสน ที่เหลือส่งขึ้นไปข้างบนตามลำดับชั้น พลาดท่าเสียทีขึ้นมาไม่คุ้ม แต่มาอยู่ที่นี่แล้วก็ต้องเก็บ ไม่อย่างนั้นนายไม่ให้อยู่ ว่ากันว่า นายตำรวจผู้ใหญ่บางคน ส่งคนเฝ้าดูแลผลประโยชน์ของตัวเองโดยตรงก็มี
โต๊ะบอลสะท้าน ขณะที่ในตัวเมืองหาดใหญ่จากการสืบค้นพบว่า มีโต๊ะพนันบอลขนาดใหญ่ๆ เกือบ 20 โต๊ะ เจ้าของ 20 โต๊ะบอลขนาดใหญ่ นอกจากจะเป็นผู้ประกอบการในอำเภอหาดใหญ่แล้ว ยังมีกลุ่มทุนจากกรุงเทพมหานคร และจากจังหวัดภูเก็ตมาร่วมแจมด้วย “คนพวกนี้ร่ำรวยระดับเศรษฐี บางคนเป็นถึงเจ้าของโรงแรม เจ้าของร้านทอง พวกเดียวกับเจ้ามือหวยใต้ดิน กลุ่มทุนจากภูเก็ตที่เข้ามา เพราะภูเก็ตระดมเม็ดเงินได้มาก นำมาลงทุนด้านอบายมุขแล้วได้กำไรเร็ว” เป็นข้อมูลจากคนวงในโต๊ะบอลตัวเมืองสงขลา
สารพัดหวยเถื่อน ใครต่อใครมักจะนึกไม่ถึงว่า เมืองสงขลาจะมีผลประโยชน์มากมายมหาศาล โดยเฉพาะจากผู้หญิง เพราะมีแหล่งรองรับคือแรงงานประมง โต๊ะบอลก็มากเพราะเป็นเมืองที่มีวัยรุ่นมาก รวมไปถึงหวยหุ้นที่มีเครือข่ายนายทุนใหญ่อยู่ในตัวเมืองสงขลา หวยหุ้นออกตามวันทำการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่วนหวยสัตว์ ต้นตำรับอยู่ที่อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา แล้วขยายมาที่ตลาดอำเภอสะเดา ตลาดทุ่งลุง อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอคลองหอยโข่ง ต้นตำรับคือจ่า ว. ตอนนี้ตายไปแล้ว ที่นาทวีออกหวยสัตว์กันวันละ 2 รอบ ที่ตลาดสะเดาบางวันก็ 2 รอบ ลักษณะการเล่นหวยสัตว์ก็คือ เขียนคำปริศนาแล้วใส่ในถัง เช่น อะไรเอ่ย สี่ตีนเดินมาหลังคามุงกระเบื้อง ระบุสัตว์มีชื่อสัตว์ให้ตรงกับตัวเลขที่ออก มีสัตว์ทั้งหมด 24 หรือ 25 ตัว มีตั้งแต่ตะขาบไปจนถึงสารพัดสัตว์ แทงอย่างไรเจ้ามือก็กิน ลักษณะพิเศษของหวยสัตว์ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ ถ้าช่วงไหนเศรษฐกิจดี จะออกวันละกี่รอบก็ได้ ส่วนหวยมาเลย์ไม่เท่าไหร่ เพราะไปพ่วงอยู่กับหวยใต้ดิน หมายถึงเจ้ามือหวยมาเลย์กับหวยใต้ดินเป็นพวกเดียวกัน เป็นรายการแถมพก เหมือนซื้อเหล้าแถมเบียร์ รายการหวยจะจ่ายหนัก เพราะเจ้ามือรายใหญ่จริงๆ มีไม่กี่คน ในจังหวัดสงขลามีทีมหาดใหญ่กับสะเดาประมาณ 10 คน นอกนั้นเป็นรายเล็กๆ ตามหมู่บ้าน ตำบล ใครทำแบบเล็กๆ ก็จ่ายน้อยๆ ตามขนาดของธุรกิจ นายทุนหวย นอกจากเป็นคนหาดใหญ่แล้ว ก็ยังมาจากภูเก็ต กรุงเทพมหานคร มาจากสะเดาอีกเล็กน้อย ส่วนนายทุนหวยจากมาเลเซีย ช่วงหลังเงียบไป เพราะหุ้นส่วนคนไทยไม่ค่อยไว้วางใจ เนื่องจากพวกมาเลเซียชอบเอาเปรียบ ยกเว้ยหวยมาเลย์ ที่อาจจะมีคนมาเลเซียร่วมแจมด้วย หวยมาเลย์กับหวยใต้ดินมี 2 ลักษณะ หนึ่ง เจ้ามือรับแทงพร้อมกับรับกินด้วย อีกพวกหนึ่ง รับแทงเอาเปอร์เซ็นต์ ส่งต่อให้เจ้ามือที่หาดใหญ่ สะเดา ภูเก็ต หรือกรุงเทพมหานครรับกิน
ตู้เกมตู้ม้ายึดด่านนอก ตู้เกม ตู้ม้า มีที่ด่านนอกเป็นหลัก คอหงส์เคยมีอยู่บ้างแต่ปิดไปแล้ว ในหาดใหญ่ช่วงหลังไม่มี ธุรกิจตู้เกม ตู้ม้าเป็นของนักการเมืองใหญ่มีบทบาทระดับชาติ มีนักการเมืองท้องถิ่นดูแลผลประโยชน์ให้ สมัยหนึ่งลูกชายของเจ้าพ่อใหญ่ในนครบาล เดินสายมาเปิดเอง เคยเดินสายมาเคลียร์เจ้าหน้าที่กับนักข่าวในพื้นที่ นี่คือที่มาของระบบการส่งส่วยที่ขยายวงมากขึ้น เพราะยุคนี้ผู้ประกอบการไม่ได้ส่งส่วยเฉพาะตำรวจท้องที่หน่วยเดียว แต่ต้องส่งส่วยให้กับทุกหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างที่ด่านนอก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา แหล่งอบายมุขและสิ่งผิดกฎหมายขนาดใหญ่ มีหน่วยงานของรัฐยาตราเข้าไปเรียกเก็บส่วยถึง 19 หน่วยงาน ตั้งแต่ตำรวจท้องที่ ฝ่ายปกครอง ศุลกากร สรรพากร แม้แต่หน่วยงานที่ผู้คนทั่วไป ไม่นึกว่าจะร่วมขบวนการเก็บส่วยอย่างสาธารณสุข ก็เข้าไปมีเอี่ยวกับส่วยสถานบริการ ที่มีผู้หญิงขายบริการประจำ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองก็มีส่วนได้เสียกับขบวนการเก็บส่วย อันสืบเนื่องมาจากในหลายกิจการ หันไปใช้แรงงานพม่า แรงงานเขมร ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นแรงงานเถื่อน เรื่องแปลกประหลาดที่สุดคือ ตำรวจป่าไม้ก็ร่วมวงเก็บส่วยด้วย เช่นเดียวกับตำรวจน้ำถึงขนาดไปเช่าบ้านรอเก็บส่วยอยู่ที่นั่น ไม่เว้นกระทั่งตำรวจตระเวนชายแดน ขณะที่ตำรวจรถไฟออกเก็บเงินทุก 15 วัน อันเป็นกฎเดียวกับที่ใช้ในเมืองหาดใหญ่ ไม่นับรวมกองปราบปราม ที่เข้ามามีเอี่ยวแบ่งสันปันส่วนมานานแล้ว ทำไม ตำรวจแทบทุกหน่วยถึงอาจหาญเดินสายเก็บส่วยกันได้ขนาดนี้ เหตุผลก็คือตำรวจมีอำนาจในการจับกุมคดีอาญาทุกคดี ใครทำผิดกฎหมายไม่ยอมจ่ายก็ถูกจับกุม นอกจากบ่อนแล้ว ยังมีซ่อง มีผู้หญิงในคาราโอเกะ ที่ต้องนับหัวจ่ายกันหัวละพันบาทต่อเดือน แต่ละบ้านต้องทำทะเบียนส่งให้ตำรวจท้องที่ หัวละพันต่อเดือน นั่นเฉพาะอัตราที่ต้องจ่ายให้กับท้องที่ ไม่เกี่ยวกับอีก 19 หน่วย ที่ต้องจ่ายต่างหาก ที่ด่านนอก มีผู้หญิงอยู่ประมาณ 100 บ้าน ประมาณการต่ำๆ มีผู้หญิงบ้านละ 10 คน ก็ตกประมาณ 1 พันคน นี่คือผลประโยชน์ที่เห็นๆ กันอยู่ ส่วนสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ตอนนี้จ่ายตำรวจท้องที่เดือนละหมื่นต่อแผง ไม่เกี่ยวกับที่ต้องจ่ายให้กับนักบินจากหน่วยงานอื่น เมื่อด่านนอกเป็นอย่างนี้ สภาพที่อื่นย่อมไม่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้น วันดีคืนดีคนหาดใหญ่จึงได้เห็นตำรวจรถไฟ ทำงานแทนสรรพสามิต ออกจับบุหรี่จับเหล้ากลางเมือหาดใหญ่กันเป็นที่เอิกเกริก
ประเคนส่วย500ล้าน ระบบส่วยมีทั้งที่ผู้ประกอบการผิดกฎหมาย ส่งไปให้คนของรัฐเอง และหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจเกี่ยวข้องส่งคนมาเก็บถึงสถานประกอบการ คนทั่วไปมองไปไม่ถึงฝ่ายปกครอง ผู้ประกอบการสถานบันเทิงในเมืองหาดใหญ่บอกว่า ตอนนี้ฝ่ายปกครองเป็นเสือนอนกิน ไม่ต้องออกแรง ส่งตำรวจได้เท่าไหร่ ฝ่ายปกครองก็ต้องได้เท่านั้น ด้วยเพราะนายอำเภอคือ ประธานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอบายมุขทั้งหมด ขณะที่ผู้กำกับการตำรวจท้องที่เป็นแค่รองประธาน ส่วยที่ตำรวจไม่ได้รับ แต่ฝ่ายปกครองรับไปเต็มๆ คือโรงแรม เพราะฝ่ายปกครองเป็นนายทะเบียนโรงแรม มีอำนาจตามกฎหมายเกี่ยวกับโรงแรม สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ว่า โรงแรมไหนมีคนมาพักกี่คน เปิดขายคืนละกี่ห้อง ธรรมชาติของผู้ประกอบการโรงแรม ยิ่งมีคนเข้าพักมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องปกปิดมากขึ้นเท่านั้น เพราะถ้าบอกคนมาพักเต็ม ต้องเสียภาษีมากขึ้นเท่านั้น จึงไม่แปลกที่โรงแรม จะส่งซองประจำเดือนให้กับฝ่ายปกครอง เดือนไหนใส่ซองมาน้อย นายอำเภอก็จะมาตรวจ ดูจำนวนคนเข้าพัก ผู้คลุกคลีกับตัวเลขผิดกฎหมายมายาวนาน บอกว่าเม็ดเงินส่วยเฉพาะจังหวัดสงขลา รวมแล้วไม่น่าจะต่ำกว่า 500 ล้านบาทต่อเดือน นั่นหมายถึงปริมาณเงินตรงนี้เท่ากับ 6,000 ล้านบาทต่อปี เป็นเงินที่ใกล้เคียงกับความเสียหายจากน้ำท่วมครั้งล่าสุด ตามการประเมินของ ไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ คือ 7,000 ล้านบาท แต่ความเสียหายที่มองไม่เห็น น่าจะมีมูลค่ามหาศาลเกินกว่าจะคาดเดาได้ เหมือนกับเม็ดเงินที่หมุนเวียนอยู่ในธุรกิจใต้ดินเหล่านั้น หวังว่าธุรกิจที่โสโครกพวกนั้นถูกกวาดล้างขัดถูด้วยน้ำจนสะอาดแล้ว
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ธีระ สุธีวรางกูร : เมื่อแมลงวันไม่ยอมตอมแมลงวัน Posted: 11 Nov 2010 11:36 AM PST เผยแพร่ครั้งแรกที่ เว็บไซต์นิติราษฎร์
ศาลรัฐธรรมนูญยังคงตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เมื่อคลิปสองชุดแรกซึ่งมีเนื้อหาพาดพิงถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวนหนึ่ง ไม่ทันจางหายจากความสนใจของสาธารณชน คลิปชุดที่สามที่มีชื่อว่า “คำสารภาพคนโกงข้อสอบ” ก็ถูกนำมาเผยแพร่เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ในเวปไซต์ยูทิวบ์เป็นอีกตอนหนึ่ง ทบทวนความทรงจำเบื้องต้นว่าบรรดาคลิปฉาวทั้งหมดที่ถูกเผยแพร่ออกไปนั้นมี เนื้อหาในสองเรื่องด้วยกัน เรื่องแรกเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนพิจารณาคดีของศาล เรื่องที่สองเป็นกรณีที่เกี่ยวกับพฤติกรรมส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวนหนึ่ง หากสามัญสำนึกความเป็นวิญญูชนไม่บกพร่องเกินไป โดยเนื้อหาของคลิปที่ปรากฏ คงไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่าเรื่องนี้ไม่มีความสำคัญ.... เพราะ นั่นคือปัญหาซึ่งเกิดขึ้นกับองค์กรตุลาการของประเทศที่ชื่อว่า ”ศาลรัฐธรรมนูญ” ก็เมื่อองค์กรตุลาการดังกล่าวนี้ มีหน้าที่หลักคือการรักษาความถูกต้องตามกฎหมายสูงสุดให้กับสังคม บนพื้นฐานจริยธรรมตามสถานะของบุคคลผู้ซึ่งเป็นตุลาการวินิจฉัยคดี หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไปกระทำในเรื่องที่มิชอบด้วยกฎหมายและจริยธรรมเสีย เองแล้ว สาธารณชนจะวางใจได้อย่างไรว่าการวินิจฉัยคดีของตุลาการฯ แต่ละเรื่องจะเป็นไปโดยชอบ ปราศจากอคติลำเอียง น่าสนใจว่าขณะที่สถาบันศาลรัฐธรรมนูญกำลังประสบปัญหา ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้หาทางออกเพื่อแก้ไขความยุ่งยากดังกล่าวนี้อย่างไร หากติดตามคำแถลงต่อสื่อมวลชนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางท่านและเลขาธิการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญในช่วงต่างเวลากัน จะพบว่าวิธีการแก้ปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญนั้นมุ่งไปที่การร้องทุกข์กล่าวโทษ ละการเผยแพร่คลิปที่เกี่ยวข้องะการเผยแพร่คลิปที่เกี่ยวข้องกับตุลาการศาล รัฐธรรมนูญฐานหมิ่นประมาทและความผิดตามพระราชบัญญัติคอมพ์ฯเพื่อดำเนินคดี อาญากับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและเผยแพร่คลิปที่มีเนื้อหาพาดพิงไปถึง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคน การแก้ไขความยุ่งยากของศาลรัฐธรรมนูญโดยวิธีการนี้ แน่นอนว่าย่อมถือเป็นสิทธิโดยชอบที่ศาลสามารถกระทำ อย่างไรก็ดี ขณะที่วิธีการแก้ปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญดังนี้ จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการพิสูจน์ซึ่งอาจไม่ทันการณ์ต่อการแก้ไขวิกฤติ ศรัทธาที่สาธารณชนกำลังมีต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวนหนึ่ง เหตุดังนี้ ทำไมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกพาดพิงว่าได้กระทำการบางอย่างโดยมิชอบ จึงไม่ออกมาชี้แจงกับสาธารณชนเป็นเบื้องต้นว่าตนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หรือ ไม่คู่ขนานกันไปกับการร้องทุกข์กล่าวโทษกับผู้จัดทำและเผยแพร่คลิป มีคำอธิบายในทำนองว่า เหตุที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งถูกพาดพิงว่าได้กระทำการบางอย่างโดยมิชอบ ไม่ยอมออกมาชี้แจงกับสาธารณชนก็เพราะว่า โดยสถานะตุลาการแล้วย่อมไม่อาจจะกระทำเช่นนั้นได้ นอกจากนี้ การชี้แจงของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งถูกพาดพิงอาจทำให้เกิดการโต้เถียงไปมา ไม่มีข้อยุติ ทั้งยังไม่มีวิธีการพิสูจน์ความผิดที่แน่นอน ต่อคำอธิบายเช่นนี้ แท้จริงแล้วคงต้องพิจารณาจากลักษณะของเรื่องเป็นสำคัญ ถ้าเป็นคำชี้แจงในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคดีที่ศาลกำลังพิจารณาอยู่ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่อาจมาแถลงต่อสาธารณชนได้ ความเห็นของตุลาการฯในทางคดีจะเป็นอย่างไร จำเป็นต้องไปดูจากคำพิพากษาของศาลเมื่อได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น อย่างไรก็ดี กรณีที่เป็นปัญหาอยู่หาได้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของคดีไม่ หากทว่าเป็นความสงสัยที่สาธารณชนมีอยู่กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวนหนึ่ง ถึงความเกี่ยวข้องกับการทุจริตการสอบเข้ารับราชการในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ฉะนั้น โดยลักษณะของเรื่อง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกพาดพิงจึงย่อมสามารถที่จะชี้แจงต่อสาธารณชนได้ ว่าตนเกี่ยวข้องกับการนี้ด้วยหรือไม่ อย่างไร และหากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ออกมาชี้แจงอย่างองอาจกล้าหาญเหมือนดังที่ ตนได้ออกนั่งบัลลังค์พิจารณาพิพากษาคดีในเรื่องที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ของบุคคลอื่น สาธารณชนก็คงจะเกิดความไว้วางใจว่าเบื้องต้นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้นได้ กระทำแล้วในสิ่งที่ควรกระทำ มีข้อควรพิจารณาต่อไปว่า แม้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกพาดพิงว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตการ สอบเข้ารับราชการในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะไม่ออกมาชี้แจง คำถามยังคงมีอีกว่า เพราะเหตุใดสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงถึง เรื่องดังกล่าวให้กระจ่าง ด้านหนึ่ง คำอธิบายจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่งในคราวที่ได้แถลงต่อสื่อมวลชนมี อยู่ว่า เหตุที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบข้อเท็จจริงตาม เนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในคลิป ก็เนื่องจากว่าคณะกรรมการของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ถูกทำลายความน่าเชื่อ ถือไปหมดแล้ว การให้เหตุผลเช่นนี้ แท้ที่จริงยังไม่มีข้อเท็จจริงใดที่มีนัยสำคัญแสดงถึงความไม่เชื่อมั่นต่อ การสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญหากจะมีการจัดตั้ง ขึ้น อย่างไรก็ดี หากความไม่เชื่อมั่นจากสาธารณชนจะมีอยู่บ้าง ทว่านั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะมาปฏิเสธการตั้งคณะกรรมการเพื่อทำการสอบข้อเท็จ จริง เพราะไม่ว่าสังคมจะมีความเชื่อมั่นหรือไม่อย่างไร และไม่ว่าจะมีองค์กรอื่นมาทำหน้าที่ตรวจสอบเรื่องนี้ด้วยหรือไม่ กล่าวอย่างถึงที่สุดในทางบริหารแล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ซึ่งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะต้องกระทำเพื่อให้ข้อเท็จจริง ของเรื่องนี้ปรากฏ ลองเทียบเคียงว่าหากปรากฏหลักฐานอันควรสงสัยว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้หนึ่ง ได้กระทำอนาจารต่อผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งเป็นผู้หญิง กรณีที่มีการร้องเรียนขึ้นมา หากผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้นั้นไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยให้ เหตุผลว่าสังคมไม่ให้ความเชื่อถือต่อคณะกรรมการที่ตนจะตั้งขึ้นแล้ว ผลจะเป็นอย่างไร วิธีการและมาตรการทางบริหารจะมีอยู่เพื่ออะไร อีกด้านหนึ่ง คำอธิบายจากเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อคราวได้แถลงต่อสื่อมวลชนก็ มีอยู่ว่า เหตุที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบข้อเท็จจริงตาม เนื้อหาที่ปรากฏในคลิป ก็เนื่องจากว่าที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้ให้ความเห็นอะไรใน เรื่องนี้ ซึ่งเข้าใจว่าคณะตุลาการฯคงมองว่าการเผยแพร่คลิปเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ ต้องรีบเร่งดำเนินการมากกว่า นอกจากนั้น กรณีอาจมีการพาดพิงเกี่ยวโยงไปถึงระดับอื่นที่สูงกว่า ฉะนั้น ขณะนี้จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะดำเนินการอย่างไร ต่อคำอธิบายข้างต้น น่าเสียดายที่ที่ประชุมของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่เห็นถึงความจำเป็นรีบ ด่วนของการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบข้อเท็จจริงถึงเรื่องที่เกิดขึ้น แต่กลับมองเพียงว่านี่เป็นกระบวนการทำลายความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญ จึงต้องรีบดำเนินการทางกฎหมายทั้งต่อผู้จัดทำและเผยแพร่คลิปเสียก่อน ความจริงแล้ว การสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้นกับสถาบันตนย่อมเป็นเรื่องสำคัญไม่ยิ่งหย่อน ไปกว่าการร้องทุกข์กล่าวโทษบุคคลอื่น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีสถานะเป็นองค์กรตุลาการ หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านใดถูกตั้งข้อสงสัยด้วยเหตุอันสมควรว่าได้กระทำ การบางอย่างโดยมิชอบเสียแล้ว ความไว้วางใจของสาธารณชนต่อการวินิจฉัยคดีทั้งหลายทั้งปวงของศาลรัฐธรรมนูญ จะเกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไม่เห็นความสำคัญ ของการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบข้อเท็จจริงถึงกรณีที่เป็นปัญหาภายในศาล สาธารณชนก็ย่อมมีเหตุอันควรสงสัยได้ว่าผู้ที่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบกับการ นี้กำลังจะใช้วิธี “แมลงวันไม่ตอมแมลงวัน” และด้วยการกระทำดังนี้ ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ ก็จำเป็นต้องกล่าวว่าศาลรัฐธรรมนูญกำลัง “ทำโอกาสให้กลายเป็นวิกฤติ” ยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม หากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังยืนยันว่าวิธีการแก้ไขความยุ่งยากภายในศาล อย่างที่ได้กระทำมานั้นถือว่าถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็ขอให้ประสบความสำเร็จในการเรียกความน่าเชื่อถือของสถาบันศาลรัฐธรรมนูญต่อ สาธารณชนกลับคืนมา สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นักปรัชญาชายขอบ:ปัญหาของการไม่อภิปรายประเด็นสถาบันกษัตริย์ ในบริบทสังคม-การเมืองไทย Posted: 11 Nov 2010 11:33 AM PST ผมได้แง่คิดในการเขียนบทความนี้จากการติดตามอ่านการถกเถียงท้ายบทความ ชื่อ “ความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่าน: กรณีศึกษาประเทศอาร์เจนตินา” ของ คุณภัควดี ไม่มีนามสกุล (โดยเฉพาะแง่คิดจากความเห็นของ อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล) ความหมายที่ต้องการให้เข้าใจตรงกันก่อนคือ การอภิปราย “ประเด็นสถาบันกษัตริย์” ในที่นี้ไม่เกี่ยวกับประเด็น “เอา-ไม่เอาสถาบันกษัตริย์” เพราะสำหรับผม ประเด็น “เอา-ไม่เอาสถาบันกษัตริย์” เป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงต่อประชาธิปไตย ต่อสังคม และต่อสถาบันกษัตริย์เอง ข้อเท็จจริงที่ยืนยันเรื่องนี้ก็คือ การชูประเด็น “เอา-ไม่เอาสถาบันกษัตริย์” ที่เริ่มโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)ได้นำมาสู่การเกิดรัฐประหาร 49 ความแตกแยกในสังคม การเพิ่มขึ้นมากอย่างผิดปกติของคดีหมิ่นเบื้องสูง ในช่วง 3-4 ปีมานี้ ฯลฯ ฉะนั้น การอภิปราย “ประเด็นสถาบันกษัตริย์” ในที่นี้จึงหมายถึง การอภิปรายในเชิงความคิดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ว่า ถ้าเราจะ “เปลี่ยนผ่าน” สังคมเราไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างอารยประเทศ เราควรจะกำหนดกติกาเกี่ยวกับสถานะ อำนาจ บทบาทหน้าที่ของสถาบันกษัตริย์อย่างไร หรือจะปฏิรูปความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างสถาบันกษัตริย์กับอำนาจทางการเมือง อำนาจกองทัพอย่างไร หรือภายในขอบเขตแค่ไหนที่หมายถึง “การอยู่เหนือการเมือง” ของสถาบันกษัตริย์ ฯลฯ โดยที่การอภิปรายเป็นกิจกรรมทางวิชาการภายใต้กรอบของการอ้างอิงข้อเท็จจริงและเหตุผล (ไม่ใช่การกล่าวหา ใส่ร้าย ดูถูก ดูหมิ่นแต่อย่างใด) จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องทำได้ภายใต้หลักประกัน “การมีเสรีภาพทางวิชาการ” ในสังคมประชาธิปไตย ผมเชื่อว่าการอภิปราย “ประเด็นสถาบันกษัตริย์” ในความหมายดังกล่าวนี้จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาแก่ประชาธิปไตย แก่สังคม และแก่สถาบันกษัตริย์เอง จะว่าไปแล้ว การเปิดเวทีให้มีการถกเถียงด้วยเหตุผลว่า ประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศจะเห็นสมควรว่าสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยควรจะมีสถานะ อำนาจ และบทบาทอย่างไร น่าจะเป็นการดีแก่สถาบันกษัตริย์เอง เพราะ 1) จะทำให้ประเด็นสถาบันถูกยกขึ้นมา “บนเวทีของการใช้เหตุผล” ซึ่งอาจช่วยแก้ปัญหาการเขียนข้อความไม่เหมาะสมบนพื้นถนน ผนังห้องน้ำ การเคลื่อนไหวใต้ดิน (ถ้ามี) ฯลฯ 2) อาจเป็นทางหนึ่งที่ช่วยปกป้องชาวบ้านจากการทำผิดกฎหมายหมิ่นฯ ที่เพิ่มมากขึ้น 3) ที่สำคัญอาจเป็นทางเดียวที่จะทำให้สังคมเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ขึ้นด้วย “สันติวิธี” ผมคิดว่า ข้อ 3) สำคัญที่สุด ถ้าสังคมเราสามารถนำประเด็นสถาบันขึ้นสู่เวทีการใช้เหตุผลร่วมกันได้ มีคำตอบร่วมกันได้ว่า กติกาที่เหมาะสมสำหรับสถานะ อำนาจ และบทบาทของสถาบันที่อยู่เหนือการเมืองจริงๆ คืออะไร ก็เท่ากับเราได้สร้างการเปลี่ยนผ่านสังคมไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นธรรมเชิงอำนาจต่อรองทางการเมือง และอำนาจต่อรองด้านอื่นๆ ตามมา ด้วย “สันติวิธี”
แต่การหลีกเลี่ยงที่จะอภิปราย “ประเด็นสถาบันกษัตริย์” จะทำให้เกิดปัญหาอย่างน้อยต่อไปนี้ 1) ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่า ข้อเสนอให้อภิปราย “ประเด็นสถาบันกษัตริย์” เป็นข้อเสนอที่ดีที่สุดต่อการเปลี่ยนผ่านสังคมไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย แต่ปัญหาสำคัญที่สุดอยู่ที่ฝ่ายที่ปฏิเสธประเด็นดังกล่าวนี้ ไม่สามารถแสดงเหตุผลได้ว่า ถ้าไม่อภิปรายประเด็นดังกล่าว จะสามารถสร้างการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย และ/หรือความเป็นธรรมในการต่อรองเชิงอำนาจทางการเมืองและทางอื่นๆได้อย่างไร 2) การหลีกเลี่ยงที่จะอภิปราย ทั้งที่มีข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์ว่ามีการอ้างสถาบันในการต่อสู้ทางการเมือง การทำรัฐประหาร การปราบปรามประชาชน การจำกัดเสรีภาพในการพูดความจริง ฯลฯ แสดง (อย่างน้อยโดย “นัยยะ”) ถึงการ “ยอมรับ” หรือ “รับได้” กับระบบสังคมที่ห้ามใช้เหตุผลกับบางเรื่อง ซึ่งการห้ามใช้เหตุผลกับบางเรื่องย่อมเท่ากับห้ามใช้เสรีภาพ หรือเสรีภาพถูกจำกัด แต่ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยประชาชนต้องมีเสรีภาพที่สมบูรณ์ในความหมายสำคัญที่ว่า “เราต้องสามารถใช้เหตุผลได้อย่างเต็มที่กับทุกเรื่อง” 3) ฉะนั้น เมื่อยอมรับให้มีการจำกัดการใช้เหตุผล หรือจำกัดการใช้เสรีภาพ การกล่าวอ้างคำว่า “ประชาธิปไตย” ภายใต้การยอมรับเช่นนี้ ย่อมเป็นคำกล่าวอ้างที่ไร้ความหมาย คือเราจะบอกว่าเรากำลังต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไม่ได้ ถ้าไม่ใส่ใจต่อการแก้ปัญหาการจำกัดเสรีภาพ หรือ “การจำกัดการใช้เหตุผล” 4) การหลีกเลี่ยงที่จะอภิปราย เท่ากับยอมจำนนต่อความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ที่ความตายของประชาชนฝ่ายที่เรียกร้องเสรีภาพเรียกร้องประชาธิปไตย เป็นความตายที่หลีกเลียงไม่ได้ และสะท้อนว่าอนาคตก็ต้องหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน (ทั้งที่จริงสามารถหลีกเลี่ยงได้ ถ้าสามารถห้ามการใช้สถาบันเป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมืองได้ ฯลฯ) เป็นความจริงว่า มีประเด็นอื่นๆ ต้องอภิปรายกันอีกมากในการเปลี่ยนผ่านสังคมสู่ความเป็นประชาธิปไตย และแม้จะสมมติให้เป็นจริงด้วยว่า การอภิปรายประเด็นสถาบันไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่สุดของการเปลี่ยนผ่าน แต่ฝ่ายที่ปฏิเสธการอภิปรายประเด็นสถาบันก็ไม่สามารถมี “คำตอบที่ดีกว่า” ทั้งเรื่องจะเปลี่ยนผ่านได้อย่างไร ประชาธิปไตยที่เราพูดถึงได้ในระบบสังคมที่ห้ามใช้เหตุผลกับบางเรื่องมีหน้าตาอย่างไร และที่สำคัญคำตอบสำหรับป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้คืออะไร ปัญหาที่น่าคิดยิ่งขึ้นไปอีกคือ ทำไมการนำประเด็นสถาบันขึ้นสู่เวทีการใช้เหตุผล หรือเวทีทางวิชาการ ซึ่งได้รับการปกป้องโดยพื้นฐานด้วยหลักเกณฑ์ที่พิเศษกว่าชาวบ้านคือ หลัก “เสรีภาพทางวิชาการ” นักวิชาการ ปัญญาชนซึ่งได้รับการปกป้องด้วยหลักการดังกล่าว และมีบทบาทหน้าที่ในการชี้นำทางความคิดแก่สังคม จึงดูเหมือนไม่เชื่อมั่นในวิถีทางการใช้เหตุผล (ว่าจะปลอดภัย ฯลฯ) หรือไม่สามารถยกประเด็นที่ละเอียดอ่อนล่อแหลมต่อการจะกลายเป็นเงื่อนไขความรุนแรงขึ้นอีกในอนาคตเข้าสู่วิถีทางการใช้เหตุผล ใช้หลักวิชาการเป็นทางออกจากวิกฤต ผมคิดว่าปัญหา “ความไม่พร้อมที่จะเสี่ยงในการใช้เหตุผลอภิปรายประเด็นสถาบัน” เป็นปัญหาที่ไม่สามารถเข้าใจได้ในบริบทการเรียกร้องประชาธิปไตยในปัจจุบัน "
ยิ่งอ้างความต้องการเปลี่ยนผ่านสังคมโดยสันติวิธี และเรียกร้องต้องการความยุติธรรมด้วยแล้ว แต่ไม่ยอมยกประเด็นดังกล่าวขึ้นสู่เวทีการใช้เหตุผล ปล่อยให้เรื่องละเอียดอ่อนเช่นนี้ตกลงไปใน “กระแสของการใช้อารมณ์” ของประชาชนทั่วไป ยิ่งสะท้อนให้เห็นความมืดมนและน่าหวาดกลัวของอนาคตสังคมไทย!
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศิลปินแห่งชาติ แนะระวังอย่ายก "ชิมิ" มาตั้งชื่อภาพยนตร์ Posted: 11 Nov 2010 09:26 AM PST เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์เผย ภาษาแสลงเป็นเรื่องธรรมชาติ เอามาใช้ช่วยสื่อความหมายพอยุคหนึ่งจะหมดไปเอง แต่อย่ายกแสลงขึ้นมาเป็นภาษามาตรฐานเช่นนำมาใช้เป็นชื่อภาพยนตร์ เว็บไซต์เดลินิวส์ออนไลน์ รายงานว่า วันนี้ (11 พ.ย.) นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ กล่าวถึง กรณี นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในที่ประชุมคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดีทัศน์แห่งชาติ 9/2553 ว่า มีความเป็นห่วงวัฒนธรรมมีความเสื่อมถอยมากขึ้น เห็นได้จากการใช้ภาษาผ่านเพลง ละคร ภาพยนตร์ มารยาทของวัยรุ่น โดยใช้คำที่ดูไม่เหมาะสม บางคำไม่ทราบว่าเป็นภาษาไทย หรือภาษาต่างประเทศ เช่น คำว่า “ชิมิ” ว่า เรื่องภาษาต้องแยกออกเป็น 2 ประเด็น ภาษาที่เป็นทางการ กับภาษาที่ไม่เป็นทางการ ภาษาที่เป็นทางการก็น่าเป็นห่วง ส่วนภาษาไม่เป็นทางการ หรือ เรียกว่าภาษาแสลงนั้น ที่จริงแล้วเป็นไปตามธรรมชาติของสังคมใดสังคมหนึ่งในการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม “กลุ่มวัยรุ่นมีภาษาของเขา ถ้าเป็นที่นิยมจะอยู่ได้ หากไม่เป็นที่นิยมจะหมดไปเอง เช่น ภาษาแสลงสมัยโบราณคำว่า "ชิ้น" หมายถึง คู่รัก เหมือนกับคำว่า "กิ๊ก" ของภาษาแสลงวัยรุ่นปัจจุบัน ซึ่งหากใช้เวลาสักพักก็จะหมดความนิยมไป ลักษณะเดียวกับคำว่า “ชิมิ” ก็จะหมดไปเช่นกัน ถ้าไม่แพร่หลาย ดังนั้น ภาษาแสลงจึงสามารถมองได้สองด้าน ซึ่งภาษาแสลงในแง่บวก เมื่อคนอับจนหาคำมาแทนความหมายที่ตนเองต้องการไม่ได้ ก็ต้องหาคำมาแทนให้ได้ บางครั้งออกมาในลักษณะหลุดออกมา เช่น คำว่า ชิมิ กิ๊ก แต่พอยุคหนึ่งจะหมดไป ไม่น่าเป็นห่วง” ศิลปินแห่งชาติ กล่าว นายเนาวรัตน์ กล่าวต่อว่า ส่วนภาษาแสลงในแง่ลบ ถ้าหากว่ามีการยกย่อง หรือยกระดับคำแสลงขึ้นมาสู่ภาษามาตรฐาน เช่น เอามาทำเป็นชื่อภาพยนตร์ เป็นการยกย่องแบบเลยเถิดไปหน่อย ไม่ได้ยกย่องในมุมที่ดี แต่มีลักษณะจงใจจะให้ลามกมากกว่า หรือภาษาโฆษณา นักครีเอทีฟ ชอบกระเดียดมาทางเรื่องเพศ สิ่งนี้ ไม่เหมาะสม เหมือนนำภาษาพื้นบ้านมาประจานเมือง อีกประเด็น ภาษาเพลง ซึ่งปัจจุบันใช้ภาษาแสลงกัน เช่น คำว่า ฉัน เป็น ชัน เธอ เป็น เชอ รัก เป็น ร้าก มันไปเขย่าทอนรากฐานเสียงอักษรไทย ก ข ค ง การนำภาษามาทำเช่นนี้ ทำให้ฐานเสียงเปลี่ยนไป ดังนั้น การใช้ภาษาควรคำนึงบริบท การขยายผลมากกว่า ด้าน นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า การแก้ปัญหาภาษาวิบัติ และการรณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง นับเป็นนโยบายหลักของ วธ. ที่ได้พยายามดำเนินการมาโดยตลอด ควบคู่กับการผลักดันนโยบายให้เด็กเยาวชนได้ใช้คำภาษาถิ่น อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าว ถือเป็นภาวะความเบี่ยงเบนของสังคม ดังนั้น เมื่อขนาดปัญหาใหญ่ขนาดนี้ จึงควรได้รับความร่วมมือจากหลายกระทรวง โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับการให้การศึกษาที่ถูกต้องแก่เด็ก เยาวชน ซึ่งก่อนหน้านี้ ตนได้เคยส่งหนังสือขอความร่วมมือการแก้ปัญหาภาษาไทยในเด็กเยาวชนต่อ ศธ.ไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับใด ๆ “ในส่วนของปัญหาคำที่วัยรุ่นนิยมใช้กัน อย่างคำว่า ชิมิ ซึ่งเป็นคำที่ไม่มีความหมายในคำภาษาไทย ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลเช่นกัน แต่ก็มองว่าเรื่องคำอุบาทว์ คำพูดเสียดสี หยาบคาย ก้าวร้าวน่าเป็นห่วงมากกว่า เพราะคำศัพท์วัยรุ่นที่เกิดขึ้นนั้น เป็นไปตามยุคสมัย แม้จะมีการห้ามไม่ให้ใช้คำใดคำหนึ่ง ก็จะมีคำแปลกใหม่กว่าเดิมออกมาอยู่ดี” รมว.วธ. กล่าว. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Posted: 11 Nov 2010 07:54 AM PST ความนำ การไหล่บ่าของวัฒนธรรมในสังคมโลกไม่ว่าอดีตหรือปัจจุบันเป็นเรื่องธรรมดา ที่มีการข้าม ผสม ดัดแปลง ล้วนเกิดขึ้นอย่างมิอาจคลาดกาลได้ แต่อย่างไรก็ตามการเข้ามาของวัฒนธรรมหนึ่งวัฒนธรรมใดย่อมขึ้นอยู่กับจริต รสนิยมของวัฒนธรรมเดิมบ้างไม่มากก็น้อย พูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่าวัฒนธรรมเดิมเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมใหม่ สิ่งที่เข้ามาต้องไม่เปลี่ยนแปลงหรือทำลายหักล้างวัฒนธรรมเดิมจนเสียขบวน[1] อย่างไรก็ตามเราจะเห็นว่าในสังคมไทยเรามีการรับวัฒนธรรมอื่น เช่น อินเดีย เขมร จีน ฝรั่ง ฯลฯ จนมาผสม ดัดแปลง แปรค่า จนเป็นสิ่งทีเรียกว่า “วัฒนธรรมไทย” ในปัจจุบัน เราพอจะเห็นได้ว่าสังคมไทยมีการรับ ปรับ เพิ่ม “วัฒนธรรมไทย” อยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่ค่อยเกิดปัญหาเลยว่าวัฒนธรรมไทย กำลังถูกกลืน ถูกทำลาย หรือกำลังสูญเสีย “อัตลักษณ์” แต่ประการใด แต่ปัจจุบันทำไมเรามักได้ยินคำว่า “เด็กไทยกำลังถูกกลืนด้วยวัฒนธรรมตะวันตก(วัฒนธรรมบริโภคนิยม วัฒนธรรมเกาหลี วัฒนธรรมญี่ปุ่น ฯลฯ)” “คนไทยกำลังเสียเอกราชด้านวัฒนธรรม” หรือ “คนไทยกำลังถูกกลืนชาติ” อีกมากมาย คำถามเหล่านี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นในสังคมไทยก่อนหน้านี้ หรือจะเป็นเพราะสังคมไทยได้สูญเสียความ “สามารถเฉพาะ” ในการดูดกลืน ปรับ แก้ เพิ่ม ลด วัฒนธรรมอื่นที่เข้ามาในสังคมไทย ให้ถูกจริตแก่สังคมไทย หรือปัจจุบันเรารับวัฒนธรรมอื่นมาแบบดาดๆ หรือเป็นแต่อาการวิตกจริตของคนบางกลุ่มที่ไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลง ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนมุ่งที่จะพิจารณา “วัฒนธรรมเกาหลีในสังคมไทย” เพื่อแก้ข้อสงสัยข้างต้น ความตาม เรา(สังคมไทย)ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าความคลั่งไคล้ไหลหลงในวัฒนธรรมเกาหลีแทรกซึมเข้าสู่สังคมไทยแทบทุกอณูไม่ว่าเด็ก หรือผู้ใหญ่ วัยกลางคน หรือวัยเหนือคน(ชรา) ทั้งละครที่คนติดกันทั้งบ้านทั้งเมือง เช่น แดจังกึม โฮจุน ซอนต๊อก ผู้ชายเลือดกรุ๊ปบี เจ้าชายกาแฟ ฯลฯ หรือเพลงนานาเพลง(โดยนักร้องเกาหลี) อย่างเจป็อป เคป็อบ ซูปเปอร์จูเนียร์ เป็นต้น รวมถึง อาหาร การแต่งตัว ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มาพร้อมคำถาม และข้อฉงนของหน่วยงานทางวัฒนธรรมว่า เด็ก ผู้ใหญ่ เป็นผู้นิยมยกย่องวัฒนธรรมต่างชาติ ไม่รักความเป็นไทย? รวมถึงผู้ประกอบการที่ขายงานเชิงวัฒนธรรม เช่น ผู้สร้างหนัง ก็ออกมาเรียกร้องให้คนไทยดูหนังไทย แต่ไฉน หนังไทยจึงชื่อเหมือนเกาหลีอย่างกับแกะและทำรายได้ทะลุร้อยล้าน เช่น “กวนมึนโฮ” หรือแม้แต่ใช้กลวิธี การดำเนินเรื่อง และดาราเกาหลีแสดงอย่าง “เการักที่เกาหลี” อะไรประมาณนี้ มาสู่คำตอบว่าทำไมวัฒนธรรมเกาหลีถึงฟีเวอร์ในสังคมไทย ผมหาคำตอบได้ 2-3 ประการ คือ ประการที่ 1 สังคมไทยเป็นสังคม “พหุวัฒนธรรม” แค่เราไม่มีวัฒนธรรมเกาหลีเราก็มีวัฒนธรรม เขมร อินเดีย จีน ลาว ฝรั่ง ฯลฯ รวมถึงวัฒนธรรมคนชายขอบอื่นๆที่พบเห็นได้ทุกเมื่อเชื่อวันอยู่แล้ว ไม่นับว่าชื่อคนไทยเกิน 80 เปอร์เซ็นต์ไม่มีชื่อที่เป็นไทยๆเลยสักคนเดียว และวัฒนธรรมบางอย่างก็อยู่ชั่วประเดี๋ยวประด๋าว เช่น ครั้งหนึ่งกระแสหนังฮ่องกง(ฮ่องกงฟีเวอร์)ที่ดังอย่างพลุแตก หรือญี่ปุ่นฟีเวอร์ เก่ากว่านั้นก็ฝรั่งฟีเวอร์ก็เคยมีมาแล้ว บางอย่างยังมีอิทธิพลตกค้างในสังคมไทย บางอย่างปลาสนาการอย่างไม่มีเค้าเดิม แต่อย่างไรก็ตามความ “ฟีเวอร์” ของวัฒนธรรมต่างๆ สังคมไทยก็มิได้รับมาแบบดาดๆ แต่การปรับแปรเปลี่ยนใช้ให้เข้าจริตกับสังคมไทยอย่างน่าฉงน เช่น พิชซ่ารสลาบ - รสต้มยำกุ้ง หรืออาหารญี่ปุ่นแบบไทยๆ ที่ใส่พริก ใส่เครื่องเทศแบบไทย เก่ากว่านั้นก็อย่าทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทองที่รับมาจากโปรตุเกส ก็ไม่เห็นว่านักวัฒนธรรมที่ไหนจะบอกว่าเป็นของฝรั่งสักกี่คน นั้นหมายความว่าภายใต้วัฒนธรรมที่หลากหลาย สังคมไทยรู้จักเลือกปรับใช้วัฒนธรรมที่เข้ามา และเปิดรับวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย ในระดับชาวบ้าน ที่ไม่จำเป็นต้องสถาปนาวัฒนธรรมแห่งชาติไทย เหมือนรัฐต้องการทำ ประการที่ 2 ผมคิดว่าหนัง/ละครเกาหลีปรากฏวัฒนธรรม “ไพร่” (เข้ากับสถานการณ์ประเทศไทยเสียยิ่งกระไร) อย่างกว้างขวาง เราพบว่าหนัง/ละครเกาหลี นำชีวิตสามัญชนคนธรรมดามาถ่ายทอดอย่างน่าอัศจรรย์ และทำให้คนตัวเล็กตัวน้อยในประวัติศาสตร์ เช่น แม่ครัวอย่างแดจังกึม หมออย่างโฮจุน พ่อค้าอย่างอิมซังอ๊ก โจรอย่างฮวามินดัง(ฮงกิวดอง) แม้แต่เผ่าไปรยาในซอนต๊อก[2] มาโลดแล่นในหน้าประวัติศาสตร์ แม้ว่าเขา(ตัวละคร)เหล่านั้นจะสัมพันธ์เชื่อมโยงอยู่ใต้สังคมศักดินาราชาธิปไตยอย่างไรก็ตาม ก็เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ ที่ทำให้คนเล็กคนน้อยมีตัวตน หรือมีพื้นที่ในหน้าประวัติศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของวิถีประวัติศาสตร์ ทำให้สะท้อนมาสู่สังคมไทยว่า เราไม่มีหนัง/ละครเกี่ยวกับชีวิตของสามัญชนจริงๆ ในประวัติศาสตร์ มิพักต้องกล่าวถึงคนเล็กคนน้อยในสังคม(ยกเว้นละครหลังข่าวแต่ก็ไม่เห็นชีวิตจริงๆของคน)[3] หนัง/ละครบ้านเรามักเป็นเรื่องของเทพธิดานางฟ้าเทพบุตร ที่ตกยาก สุดท้ายบั้นปลายก็ได้ดี ไม่มีชีวิตของคนจริงๆอยู่ในนั้นเลยแม้เศษกระพี้ แล้วไม่ต้องเอยอ้างถึงสามัญชน หรือจะเรียกว่าไพร่ เพราะพล็อตเรื่องส่วนใหญ่(หนังที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ การสร้างชาติ การปกป้องชาติ) เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ที่ปกป้อง ก่อตั้ง รักษาชาติบ้านเมือง หรือจะเป็นวีรบุรุษอื่นก็เป็นแต่ผู้ทำงานใต้ฝ่าพระบาท กฤษดาภินิหาริย์ของกษัตริย์ ที่คอยปกบ้านคุ้มเมือง ไม่มีหมอ พ่อค้า เสมียน ชาวนา ทหารเล็กทหารน้อย ควาญช้าง ช่างตีเหล็ก ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเขาเหล่านี้ทำให้ชาติบ้านเมืองอยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน หนัง/ละคร “ไพร่” อย่างนี้จึงถูกจริต ถูกจังหวะ ในสังคมไทยยุคนี้เสียยิ่งกระไร ประการสุดท้ายที่ผมพอจะนึกออก คือ หนัง/ละครเกาหลี มันก็ “เน่า”ไม่ต่างจากหนัง/ละครไทย เราจะเห็นพล็อตเรื่องของแม่ผัว ลูกสะใภ้ พระเอกรวยล้นฟ้า นางเอกยาจก พระเอกยาจกนางเอกเศรษฐี ตบตีแย่งสามีเหมือนละคร/หนังไทยอย่างมิผิดเพี้ยน บางครั้งยังมีกลิ่นเศร้าเคล้าน้ำตา/เศร้า/สลดมากกว่าหนังไทยด้วยซ้ำ มิพักต้องกล่าวถึงหนัง/ละครเกาหลีที่มีมุมมองต่อชีวิตมนุษย์ที่มีตัวตน บทบาท จิตวิญญาณ หรือพูดง่ายๆว่า “ความเป็นมนุษย์” มากกว่าหนัง/ละครไทย ที่มีผิดหวัง สมหวัง บางเรื่องนางเอกตาย บางเรื่องพระเอกตาย ต้องทำงานปากกัดตีนถีบกว่าจะรู้ว่าตนเป็นลูกหลานพระยา(เศรษฐี)ตกยากในละคร/หนังไทย มิพักต้องกล่าวถึงชีวิตของตัวละครอื่นๆที่มันสมจริงมากกว่าละครน้ำเน่าแบบไทยๆ ที่ไม่มีวันที่พระเอก หรือนางเอกตาย หรือแม้ตายก็ฟื้นได้อย่างปาฏิหาริย์ “จริต” ข้างต้นจึงไปกันได้อย่างพอดิบพอดีกับนิสัยของคนไทย ทำให้มีคนหลายต่อหลายคนเสียน้ำตาให้ละครเกาหลีมามากต่อมาก จากอิทธิพลของ “วัฒนธรรมเกาหลี” ข้างต้นส่งผลสะเทือนต่อคนไทยอย่างมากทั้งรสนิยมการแต่งกาย การกินอยู่ รวมถึงสไตล์การใช้ชีวิตของคนไทยทั้งเสื้อผ้า/หน้า/ผม จนนำมาสู่คำถาม ข้อสงสัยของคนเลยวัยข้างต้น บทส่งท้าย แม้ว่าวัฒนธรรมเกาหลีข้างต้น จะแพร่หลายอย่างกว้างขวางในสังคมไทย แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าวัฒนธรรมเหล่านั้นกลับไม่ได้รับผลสะเทือนในด้านอื่นๆ เช่น 1. การเรียนรู้ เราไม่พบว่าขณะที่คนคลั่งไคล้ไหลหลงกระแสเกาหลี ทำให้ปริมาณคนไทยเรียนภาษาเกาหลีเพิ่ม ทั้งที่ภาษาเกาหลีจะมีความสำคัญในอนาคตแน่นอน เพราะว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีของเกาหลีกว้างขวางขึ้นในโลกปัจจุบัน 2. วัฒนธรรมทางการเมือง เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ของนักการเมือง อย่างกรณีของประธานาธิบดีโนห์มูเฮียนของเกาหลีใต้ ถูกกล่าวหาว่ารับสินบน(โดยหลังบ้าน) ก็ฆ่าตัวตาย หรือแม้แต่นายกรัฐมนตรีไม่สามารถควบคุมราคาเนื้อวัว และเกิดการประท้วงก็ลาออกรับผิดชอบ รวมถึงการจับกุม/ตัดสิน อดีตประธานาธิบดีที่ทุจริต และเข่นฆ่าประชาชนขังคุกให้รับโทษ ก็เป็นจุดแข็งในวัฒนธรรมเกาหลี รวมถึงการเมืองภาคพลเมืองของเกาหลีก็เข้มแข็งอย่างมาก โดยเฉพาะสหภาพแรงงาน เราเห็นแต่นักการเมือง หรือคนที่ทุจริตในสังคมไทยได้รับการยกย่องในฐานะต่างๆมากมาย เกาหลีใต้เคยเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการ แต่หลังทศวรรษที่ 1980 เราไม่พบว่าทหารกลับมามีอำนาจ การรัฐประหารไม่อาจเกิดขึ้นในเกาหลีได้อีกต่อไป เพราะภาคพลเมืองเข้มแข็ง รวมถึงประชาชนเกาหลีเจ็บปวดกับการปกครองของเผด็จการจึงไม่พบว่าในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมามีการเรียกร้องให้รัฐประหาร ซึ่งแตกต่างจากสังคมไทยที่มักแก้ไขปัญหาทางการเมืองด้วยการรัฐประหาร และเป็นตลกร้ายยิ่งกว่า คือ คนชั้นกลางในเมืองเป็นผู้สนับสนุนอย่างสำคัญของการให้ความชอบธรรมต่อการรัฐประหาร แม้ว่าการปกครองด้วยระบบเผด็จการจะซ่อนรูปเปิดเผยอย่างไรก็ตาม สร้างความเสียหายต่อสังคมมานักต่อนัก ไม่รวมถึงเลือดเนื้อชีวิตของพี่น้องที่ไม่เห็นพ้อง และไม่ค้อมหัวให้เผด็จการอีกมากต่อมาก แต่สังคมไทยไม่ยักเข็ดขยาดต่อการรัฐประหารเลย 3. เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่เรามีดารา/นักร้อง(หนุ่ม/สาว)ที่ทำตัวเป็นเกาหลียิ่งกว่าเกาหลีเสียอีก แต่เราไม่มีนักภาษาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญ นักวัฒนธรรมที่ใส่ใจ หรือแม้นักประวัติศาสตร์ที่เข้าใจสังคมเกาหลีอย่างแจ่มแจ้ง นักร้อง/ดารา ที่แต่งตัว ทำผม แต่งหน้า ใส่เสื้อผ้าแบบเกาหลี แต่ไม่รู้อะไรที่เป็นเกาหลีสักอย่างนอกจากการทำผู้หญิงท้องแล้วไม่รับ เราจึงเป็นเกาหลีแต่เพียงเปลือกที่ไม่ได้สำเหนียกเรียนรู้ หรือทำความเข้าใจสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่เรารักแต่ประการใด หรือเป็นการสะท้อนความล้มเหลวของระบบการศึกษา และวัฒนธรรมการเรียนรู้ของสังคมไทยอย่างฉกาจฉกรรจ์ เป็นความล้มเหลวอย่างอัศจรรย์ของสังคมไทยที่นิยมการท่องจำมากกว่าการเรียนรู้ เพียงเรียนให้จบๆมีงานทำก็สบายแฮ [1]ธีรภัท ชัยพิพัฒน์. สังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศในอนุภาคลุ่มน้ำโขง. วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2551, หน้า 2-7. [2] ดูเพิ่มเติมใน,www.prachatai.com/category/ซอนต๊อก [3] โปรดดูบทความของ, นิธิ เอียวศรีวงศ์. อุดมคติในละครทีวีไทย. มติชนรายสัปดาห์ประจำวันที่ 10-16 กันยายน 2553 ปีที่ 30 ฉบับที่ 1568 , หน้า 25-26. ที่ชี้ให้เห็นว่าละครไทยมิได้สะท้อนชีวิตจริงของตัวละคร แต่สะท้อนให้เห็นอุดมคติบางอย่างที่เป็นความคาดหวัง ความใฝ่ฝันร่วมกันของคนในสังคมไทย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายงาน : สิทธิผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ - ค่าชีวิตของฉันเขาจ่ายแค่ 9,700 บาท Posted: 11 Nov 2010 06:33 AM PST
“พอรถชนปุ๊บ เรารู้สึกตัวเองตายแล้วนะ เพราะหัวแตกเลือดไหลอาบเต็มหน้าไปหมด แล้วก็ล้มลงไปทับเพื่อนด้วย เพื่อนก็นอนนิ่ง พอได้สติก็พยายามปีนออกนอกรถ ดีนะที่น้ำในคลองมันแห้งไม่งั้นแย่เลย พอคลานออกมาได้ก็นอนพัก รู้สึกเจ็บแผลที่หัวและปวดตรงสะโพกมากๆลุกขึ้นเดินไม่ได้ “ ณัฐชา ศรีประไพ เล่าถึงนาทีชีวิตที่ยังฝังติดอยู่ในหัวจนถึงปัจจุบัน รถแล่นมาถึงสี่แยกภายในนิคมอุตสาหกรรมแทนที่จะหยุดรถ โชเฟอร์กลับเหยียบคันเร่งพารถพุ่งไปข้างหน้าโดยทันที จังหวะเดียวกับที่รถบัสรับส่งพนักงานอีกบริษัทหนึ่งได้วิ่งมาบนนถนนที่ตัดผ่านถึงสี่แยกด้วยความเร็วที่ไม่แพ้กัน ได้พุ่งชนรถบัสที่ณัชชานั่งมาบริเวณล้อหลังด้านซ้าย ทำให้รถพลิกตะแคงล้มไปทางด้านขวาอย่างรุนแรงทันที และท้ายรถไถลตกลงไปในคูน้ำ
กำหนดการ ผู้เข้าร่วม 09.00-09.30 น. ลงทะเบียนรับเอกสาร หมายเหตุ : หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เสื้อแดงรับขวัญ ผู้ต้องโทษฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หลังขังครบ 6 เดือน Posted: 11 Nov 2010 04:27 AM PST กลุ่มคนเสื้อแดงกว่า 100 คน รอต้อนรับ “วิษณุ กมลแมน” หรือเล้ง หลังพ้นโทษข้อกล่าวหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ วันนี้ ด้านทนาย นปช.เผยเตรียมยืนฟ้องนายกฯ - ศอฉ. - ธาริต ดำเนินคดี นปช.ไม่ชอบ ขณะอดีตนักโทษคนเสื้อแดงที่ถูกปล่อยตัวพบนายกฯ ที่อาคารรัฐสภา ปิดห้องเจรจา ห้ามสื่อเข้าสังเกตการณ์
วันนี้ (11 พ.ย.53) เวลาประมาณ 09.00 น.บริเวณด้านหน้าเรือนจำคลองเปรม ศูนย์ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบเหตุสลายชุมนุมเม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) ร่วมกับ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) พร้อมญาติผู้ต้องขังและกลุ่มคนเสื้อแดงกว่า 100 คน ได้นัดหมายกันมารอต้อนรับและให้กำลังใจนายวิษณุ กมลแมน หรือเล้ง อายุ 19 ปี ซึ่งถูกทหารจับกุมเมื่อวันที่ 15 พ.ค.53 เวลาประมาณ 16.30 น. บริเวณใกล้กับปั๊มน้ำมันเอสโซ่ ปากซอยรางน้ำ ขณะที่กำลังช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ จากนั้นนายวิษณุถูกส่งฟ้องศาลในวันที่ 17 พ.ค.53 นายวิษณุถูกตัดสินจำคุก 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ด้วยข้อกล่าวหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และมีกำหนดพ้นโทษในวันนี้ อย่างไรก็ตาม หลังจากผู้มาให้การต้อนรับจำนวนหนึ่งเดินทางมาถึงเรือนจำคลองเปรมก็ได้รับแจ้งจากทางเจ้าหน้าที่เรือนจำว่า นายวิษณุได้รับการปล่อยตัวตั้งแต่เมื่อเวลาประมาณ 06.00 น.ก่อนเวลานัดหมาย ทำให้คลาดกับกลุ่มคนเสื้อแดงที่มาคอยให้กำลังใจ จึงมีการพยายามโทรศัพท์ติดต่อนายวิษณุเพื่อยืนยันว่ามีการปล่อยตัวจริง หลังจากนั้นนายวิษณุก็ได้เดินทางกลับมาที่บริเวณหน้าเรือนจำเพื่อพบปะกับผู้มารอรับขวัญ ในสภาพสวมกางเกงขาสั้น และเสื้อยืดคอกลมสีเหลือง จากนั้นกลุ่มคนที่มารอรับได้ทำการมอบเสื้อแดง และเงินให้สำหรับช่วยเหลือเป็นค่าเดินทาง เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาพูดคุยกับนายวิษณุ จากนั้นนายวิษณุจึงได้เดินออกมาพูดคุยกับคนเสื่อแดง และมีการมอบเสื้อแดงรณรงค์ "ปล่อยตัวนักโทษการเมือง" ให้สวมใส่ นายวิษณุ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ที่ผ่านมาเขาเคยไปรวมการชุมนุมกับคนเสื้อแดงบ้าง และขณะถูกจับกุมเขาถูกทำร้ายร่างกายอย่างหนัก ซึ่งเหตุการณ์เป็นไปอย่างรวดเร็วมาก อย่างไรก็ตามขณะที่ถูกคุมขังในเรือนจำเจ้าหน้าที่เรือนจำดูแลด้วยดี และการอยู่ร่วมกับผู้ต้องขังคนอื่นๆ ไม่มีปัญหาอะไร นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า ระหว่างถูกคุมขังตนได้พบกับคนเสื้อแดงที่ถูกจับหลายคน และอยากขอร้องให้ช่วยเหลือคนที่ยังถูกคุมขังอยู่ด้วย ถ้ามีโอกาสคนข้างในก็อยากให้ถูกปล่อยตัวออกมา ส่วนตัวเขาหลังจากนี้หากมีโอกาสก็จะมาเข้าร่วมกิจกรรมของคนเสื้อแดงอีก ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ก่อนหน้าที่นายวิษณุจะขึ้นพูดกับสื่อมวลชน พ.ต.อ.เจริญ ศรีศศลักษณ์ รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 2 ได้เข้ามาพูดคุยด้วย โดยได้เตือนในเรื่องการแสดงออกว่าให้อยู่ในกฎเกณฑ์ อย่าแสดงออกมากเกินไป เพราะอาจจะส่งผลต่อคนที่ยังถูกคุมขังอยู่หรือคนที่กำลังจะถูกประกันตัวออกมาได้ ซึ่งจะไม่เป็นผลดี กิจกรรมของคนเสื้อแดงในวันนี้ ตำรวจเข้าเจรจากับกลุ่มคนเสื้อแดงให้ย้ายพื้นทีรวมตัวเนื่องจากกีดขวางทางรถเข้าออก มีการนำแผงเหล็กมากันบริเวณทางเข้า หลังคนเสื้อแดงย้ายจุดรวมตัวแล้ว ในส่วนของบรรยากาศด้านหน้าเรือนจำคลองเปรม มีการจัดกิจกรรมต้อนรับนายวิษณุโดยมีการขึงผ้าใบที่มีข้อความต้อนรับซึ่งมีภาพของนายวิษณุที่ใบหน้ามีร่องรอยจากจากการถูกทำร้าย และป้ายข้อความเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง พร้อมรายชื่อผู้ถูกจับกุมคุมขังกว่า 400 คน และมีการแสดงดนตรีร่วมขับกล่อม นอกจากนี้ นายระเบียบ พริ้งพงศ์ และ นางสุรีย์พร พริ้งพงศ์ พ่อและแม่ของ นายสุรชัย พริ้งพงศ์ อายุ 19 ปีผู้ต้องขังในคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่เดินทางมาจากจังหวัดนครราชสีมา เพื่อรอรับนายสุรชัย แต่ลูกชายไม่ได้รับการปล่อยตัวก็ได้มาร่วมพูดคุยกับคนเสื้อแดงในวันนี้ด้วย นายระเบียบ พริ้งพงศ์ พ่อของ นายสุรชัย พริ้งพงศ์ ผู้ต้องขังในคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ยังไม่ถูกปล่อยตัว กล่าวขอบคุณในความช่วยเหลือของคนเสื้อแดง ตัวแทน สนนท.อ่านแถลงการณ์ต้อนรับ ด้านกลุ่มนักศึกษา สนนท.นำโดยน.ส.สุญญาตา เมี้ยนละม้าย นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โฆษก สนนท.มีการอ่านแถลงการณ์เพื่อเป็นการต้อนรับนายวิษณุด้วย โดยหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมที่เรือนจำคลองเปรม ในช่วยบ่ายวันเดียวกันนี้ นักศึกษากลุ่มเดียวกันนี้จะไปยื่นจดหมายถึงสถานทูตอิตาลี และญี่ปุ่น เนื่องด้วยวันพุธที่ 10 และ 19 พ.ย.53 เป็นวันครบรอบ 7 เดือนการเสียชีวิตของนายฮิโร มูราโมโต้ ผู้สื่อข่าว สำนักข่าวรอยเตอร์ ชาวญี่ปุ่น และช่างภาพอิตาลี นายฟาบิโอ โปเลนจิ เพื่อเป็นการแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต อนึ่ง จากข้อมูลของสมัชชาสังคมก้าวหน้าซึ่งร่วมประชาสัมพันธ์กับ ศูนย์ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบเหตุสลายชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) ในกิจกรรม “ต้อนรับเพื่อนสู่อิสรภาพ วิษณุ กมลแมน เราไม่ทอดทิ้งกัน” ระบุว่า ในวันที่ถูกจับนั้น หลังจากนายวิษณุและนายสุรชัย เพ็ชรพลอย อายุ 29 ปี ช่วยกันหามคนเจ็บข้ามกำแพงหลังปั๊มน้ำมันเอสโซ่ไปได้ พวกเขาเตรียมปีนข้ามกำแพง แต่ถูกทหารเข้ามาประชิดตัวและเอาปืนรุมจี้หัว ทหารกลุ่มนั้นได้รุมซ้อมพวกเขา ปลดทรัพย์ แล้วนำตัวส่งสถานีตำรวจ จากนั้นพวกเขาถูกส่งฟ้องศาล และถูกตัดสินจำคุก 6 เดือนด้วยข้อกล่าวหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยของกลางที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้ฟ้องเอาผิด คือ “บัตร นปช.แดงทั้งแผ่นดิน” เท่านั้น ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 10 พ.ย.ที่ผ่านมา ทางเรือนจำคลองเปรม ได้ทำการปล่อยตัว นายประยูร สุรพินิต ผู้ต้องขังอีกรายที่ถูกจับกุมในคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เช่นกัน ทนาย นปช.ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ทนาย นปช.เตรียมยืนฟ้องนายกฯ - ศอฉ. - ธาริต ดำเนินคดีนปช.ไม่ชอบ ขณะที่นายคารม พลทะกลาง ทนายความกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งได้มารอรับผู้ต้องขังในวันนี้ด้วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการต่อไปด้วยว่า หลังจากนี้ทางทนายจะดำเนินการช่วยเหลือในเรื่องคดีแก่แนวร่วม นปช.ที่ถูกดำเนินคดีทั้งหมดที่ไม่ได้ความเป็นธรรมจากรัฐบาล และขณะนี้กำลังรวบรวมหลักฐานเพื่อเตรียมฟ้องกลับนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นผู้ออกคำสั่งในขณะนั้น รวมถึงเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการที่กระทำการรุนแรงเกินอำนาจหน้าที่ ในประเด็นความผิดที่มีความเสียหายชัดเจน เช่น การดำเนินคดีโดยไม่ชอบ ไม่มีการชันสูตรพลิกศพก่อน การรับสารภาพผิดที่อาจเป็นไปโดยมิชอบ และกระบวนการสืบสวนสอบสวนที่ล่าช้าทำให้ขั้นตอนการปล่อยตัวหรือขอประกันตัวต้องชะลอออกไป โดยเฉพาะกรณีที่ไม่มีความคืบหน้าในการหาข้อเท็จจริงคดีการเสียชีวิต 91 ศพ จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมด้วย “การฟ้องกลับเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ถือว่าช้าเกินไป เพราะผู้ที่เป็นผู้ต้องหายังคงถูกควบคุมตัวอยู่ภายในเรือนจำ และคดีความผิดที่ถูกกล่าวหายังมีอายุความ ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่ทราบว่าคดีจะสิ้นสุดลงเมื่อใด และเชื่อว่าการฟ้องกลับอาจทำให้มีรายละเอียดชัดเจนมากขึ้น” นายคารม กล่าว 2 อดีตนักโทษคนเสื้อแดงเข้าพบนายกฯ ด้าน INN รายงานข่าวว่า อดีตนักโทษ 2 คน ที่ได้รับการประกันตัว ภายหลังจากที่ถูกจับกุม เนื่องจากเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง ได้เดินทางเข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ ห้องวิปรัฐบาล อาคารรัฐสภา โดย นายสมหมายอินทนาคา หนึ่งในอดีตนักโทษ กล่าวว่า พวกตนได้เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง แล้วถูกเจ้าหน้าที่จับกุมบริเวณสวนลุมพินี ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตั้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จากนั้น ศาลจึงตัดสินจำคุกเป็นเวลา 1 ปี โดยไม่รอลงอาญา ที่ เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร และเรือนจำคลองเปรม ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ได้รับโทษไปแล้ว 6 เดือน กระทรวงยุติธรรม ก็ได้มีการประกันตัว เพื่อให้พวกตนออกมาต่อสู้อุทธรณ์คดี หลังจากนั้น ตนก็ได้รับโทรศัพท์จากบุคคลนิรนาม ว่า นายกรัฐมนตรี ต้องการพบพวกตน จึงได้ เดินทางมายังรัฐสภา ในวันนี้ ขณะเดียวกัน ภายในห้องวิปรัฐบาลสื่อมวลชนก็ไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าไปทำข่าวแต่อย่างใด
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เพ็ญ ภัคตะ: เมื่อแม่และหนูอายุเก้าขวบ Posted: 11 Nov 2010 04:17 AM PST ตอนแม่วัยเก้าขวบ เหมือนหนู ตาชี้รอยเลือดค้าง สนามหลวง ตาจำแม่จดไว้ ใจจาร ปีนี้หนูเก้าขวบ เท่ากัน หนูผ่านฟากผ่านฟ้า ราษฎร์ประสงค์ ไยครูสอนห้ามยุ่ง การเมือง อีกสามปีย่างเข้า สิบสองขวบ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สมาคมประมงพื้นบ้านปัตตานี รับบริจาคช่วยเหลือชาวประมงหลังพายุใหญ่ Posted: 11 Nov 2010 04:15 AM PST
ชื่อบทความเดิม: ทำไมต้องขอรับการสนับสนุนเครื่องมือในการประกอบอาชีพ การที่สมาคมชาวประมงพื้นบ้าน จ.ปัตตานี ขอรับการสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณเพื่อจัดหาเครื่องมือประมงในการประกอบอาชีพเป็นหลัก ทั้งๆที่ทางพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านได้รับความเดือดร้อนทั้งในเรื่องอาหารการกินที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ฯลฯ แต่ทางสมาคมฯเชื่อมั่นว่าสิ่งต่างๆ เหล่านั้นอยู่ในวิสัยที่ทางสมาคมฯสามารถประสานขอรับความช่วยเหลือจากภาคส่วนต่างๆในระดับท้องถิ่นได้เช่น การประสานขอรับข้าวสาร อาหารแห้งจากทางองค์กรปกครองท้องถิ่นในท้องถิ่น จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี หรือจากกาชาด หรือประสานขอรับยารักษาโรค อาหารได้จากจังหวัด ,หน่วยทหารในพื้นที่ ในขณะที่การซ่อมแซมบ้านที่อยู่อาศัยก็มีองค์กรปกครองท้องถิ่นในพื้นที่ร่วมดำเนินการสำรวจข้อมูลอยู่ ในขณะที่การประสานขอรับการสนับสนุนด้านเครื่องมือในการประกอบอาชีพนั้น เป็นเรื่องที่ต้องใช้ระยะเวลายาวนานกว่าผู้ได้รับผลกระทบจะได้รับความช่วยเหลือ และเครื่องมือประมง ทั้งเรือ,เครื่องยนต์และอวนต่างๆล้วนเป็นสิ่งที่ชาวบ้านรู้สึกเป็นความหวังในการมีชีวิตอยู่ ชาวประมงพื้นบ้านมีความรู้สึกผูกพันกับเครื่องมือในการประกอบอาชีพเหล่านี้ การที่ต้องนั่งรอดูเครื่องมือประมงเหล่านี้อยู่ในสภาพแตกหัก เสียหาย ใช้การไม่ได้ เป็นความรู้สึกที่หดหู่ สิ้นหวัง และไร้อนาคต การร่วมสนับสนุนเครื่องมือในการประกอบอาชีพให้กับพี่น้องประมงพื้นบ้านจ.ปัตตานีที่ประสบปัญหาอุทกภัยและวาตภัยจึงเป็นการสนับสนุนให้พี่น้องประมงพื้นบ้าน สามารถดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต ร่วมบริจาคได้ตามรายละเอียดดังนี้
ส่งสำเนาหลักฐานการบริจาคได้ที่ 0-7333-3227 สรุปสภาพความเสียหายในชุมชนประมงพื้นบ้านจ.ปัตตานี ภายหลังพายุดีเปรสชั่นเข้าเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เจ้าหน้าที่ ILO ประท้วงเรียกร้องความมั่นคงในการทำงาน Posted: 11 Nov 2010 03:58 AM PST 11 พ.ย. 53 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายคริส แลนด์-กัซเลาซ์กัส (Chris Land-Kazlauskas) ประธานคณะกรรมการสหภาพองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ของสหประชาชาติ เปิดเผยเมื่อ 10 พ.ย. ถึงเหตุเจ้าหน้าที่ 3,000 คน ในสำนักงาน 50 แห่งทั่วโลก รวมตัวกันประท้วงและคิดหาวิธีกดดันต่อไปเพื่อให้เป็นไปตามข้อเรียกร้อง ทั้งเรื่องสภาพที่ทำงาน และการต่อรองผลประโยชน์ร่วมที่ทางสำนักงาน ไม่ยินยอมปฏิบัติตาม ทำให้เกิดสภาพความขัดแย้งในการทำงาน ทั้งที่ ILO เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมมาตรฐานแรงงานสากลทั่วโลก โดยจากข้อมูลของสหภาพแรงงาน ILO พบว่าเจ้าหน้าที่กว่า 3,000 คนทั่วโลก มีสัญญาการจ้างงานระยะสั้น รวมถึงสวัสดิการที่พักอาศัยและประกันสุขภาพต่างๆ จำกัดจำเขี่ย โดยก่อนหน้านี้ทางสหภาพแรงงาน ILO มีมติว่าอาจมีการนัดหยุดงานประท้วงหากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไข ที่มาข่าวบางส่วนจากไทยรัฐ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กมธ. สื่อสารฯ เร่งกทช.แก้ปัญหาผู้บริโภคโทรศัพท์ระบบเติมเงินถูกยึดตังค์ Posted: 11 Nov 2010 03:20 AM PST เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2553 ที่รัฐสภา กมธ. สื่อสารฯ สภาผู้แทนราษฎร เชิญ กทช. ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาโทรศัพท์ระบบเติมเงิน ตามผลการศึกษาของอนุ กมธ. ติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานขององค์กรการสื่อสาร สารสนเทศและโทรคมนาคม ที่ระบุว่า การตัดสัญญาณโทรศัพท์ระบบเติมเงินเมื่อครบกำหนดใช้บริการเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค และขัดกับประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 และปัจจุบันเงินที่เหลือจากการเติมเงินซึ่งบริษัทฯ เก็บเป็นรายได้ของตนเองมีรวมมากกว่า 10,000 ล้านบาท นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยภายหลังเข้าร่วมประชุมกับ กมธ. สื่อสารฯ ว่า คณะกรรมาธิการมีความเห็นว่า กทช. ควรเร่งบังคับใช้กฎหมาย ที่ห้ามผู้ให้บริการบังคับผู้บริโภคให้ใช้งานในเวลาที่กำหนด และเมื่อยกเลิกสัญญาผู้ให้บริการต้องคืนเงินที่เหลือให้แก่ผู้บริโภค เพราะในปัจจุบันยังมีการกำหนดวันหมดอายุอยู่ทั้งที่ขัดกับกฎหมาย ทำให้ผู้บริโภคถูกยึดเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท ทั้งที่เงินทั้งหมดนั้นยังเป็นสิทธิของผู้บริโภค นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นว่า กทช. ควรเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้สิทธิไม่ให้ถูกเอาเปรียบ และให้ติดต่อขอรับเงินค่าบริการคงเหลือจากเครือข่ายที่ใช้บริการอยู่ได้ “ทาง สบท. จะรวบรวมความเห็นของคณะกรรมาธิการเพื่อนำเสนอ กทช. พิจารณา โดยเบื้องต้นได้เตรียมข้อเสนอไว้แล้ว ว่า ทุกครั้งที่เติมเงินผู้บริโภคต้องได้วัน ใช้งานขั้นต่ำ 1 ปี และหากยกเลิกบริการบริษัทต้องคืนเงินที่เหลือทั้งหมดให้ผู้บริโภค สำหรับเงินที่ไม่มีใครติดต่อขอรับคืน อยู่ระหว่างพิจารณาว่าควรนำส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดินหรือให้ผู้บริโภคบริจาคให้องค์กรสาธารณประโยชน์ผ่านระบบ sms” ผอ.สบท.กล่าว
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บทวิพากษ์ศาลยุติธรรม: ระบบลูกขุนไม่สามารถใช้ได้ในประเทศไทย? Posted: 11 Nov 2010 02:56 AM PST ชื่อบทความเดิม: ศาลยุติธรรม: ยุติอย่างเป็นธรรม หรือ ยุติความเป็นธรรม; ตอนที่ 4 ระบบลูกขุนไม่สามารถนำมาใช้ในประเทศไทย? ระบบลูกขุนคืออะไร ระบบกฎหมายที่ใช้ในโลกนี้ทั้งหมดแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ คอมมอนลอว์ หรือกฎหมายจารีตประเพณี หรือกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร กับ กฎหมายลายลักษณ์อักษร ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตที่สำคัญคือ อังกฤษ อเมริกา ปัจจุบันนี้ได้ยินว่า ญี่ปุ่น ซึ่งใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรเช่นเดียวกับบ้านเราก็ใช้ระบบลูกขุนด้วยแล้ว อเมริกาปกครองแบบสหรัฐ หมายถึง รัฐ หลายๆ รัฐมารวมกันเกิดเป็นรัฐใหม่ อเมริกาจึงเหมือนมี 2 รัฐอยู่ภายในรัฐเดียวกัน รัฐสภาจึงประกอบด้วย 2 สภา สภาผู้แทนเลือกตั้งผู้แทนตามจำนวนประชาชน สภาซีเนท หรือที่บ้านเราเรียกวุฒิสภา เป็นผู้แทนของแต่ละมลรัฐ สภาซีเนทของอเมริกาจึงมีอำนาจสูงกว่าสภาผู้แทน ในส่วนของศาลก็มี 2 ศาล คือ ศาลของสหรัฐกับศาลของมลรัฐ แม้จะมี 2 ศาลแต่ถือว่าเป็นระบบศาลเดี่ยว การมีศาล 2 แบบเป็นเพียงการแบ่งหน้าที่เท่านั้น ศาลฎีกาของสหรัฐเป็นผู้ตัดสินว่า การกระทำ หรือกฎหมายใดขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ผู้พิพากษาศาลฎีกาของสหรัฐมาจากประธานาธิบดีเสนอชื่อให้สภาซีเนทพิจารณา ถ้าซีเนทรับรองก็ผ่าน แต่ถ้าไม่รับรองก็ตกไป ประธานาธิบดีต้องเสนอชื่อคนใหม่และคนที่ประธานาธิบดีเสนอก็มักจะเป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียง อย่างเช่น อาจารย์กฎหมายของมหาวิทยาลัย คนที่ได้รับคัดเลือกอยู่ในตำแหน่งตลอดชีวิต ถือได้ว่าผู้พิพากษาศาลสูงของสหรัฐมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม ส่วนศาลของมลรัฐเท่าที่ทราบมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในมลรัฐนั้นๆและอยู่ในตำแหน่งตามวาะ แต่ไม่นานมานี้มีคนบอกว่าอเมริกาได้เปลี่ยนระบบเป็นให้ลงมติรับรองหรือไม่รับรอง หากเปลี่ยนจากการเลือกตั้งมาเป็นลงมติรับรองหรือไม่รับรองจริงก็หมายความว่าจะต้องมีระบบคัดกรองคนเพื่อเสนอชื่อให้ประชาชนลงมติ ไม่ว่าอย่างไรก็ยังถือได้ว่า ที่มาของผู้พิพากษาในอเมริกามีส่วนเชือมโยงกับประชาชน ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการคัดสรรบุคคลมาใช้อำนาจสูงสุด 1 ใน 3 อำนาจตุลาการ ส่วนลูกขุนในอเมริกามาจากประชาชนที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยจะจัดทำบัญชีรายชื่อลุกขุนจากผู้ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เมื่อมีคดีขึ้นสู่ศาลก็จะนำบัญชีนี้มาใช้เลือกคณะลูกขุน โดยเลือกตามลำดับไปโดยคู่ความไม่รู้รายชื่อล่วงหน้ามาก่อน แต่คู่ความมีสิทธิค้านลูกขุนได้ตามจำนวนครั้งที่กำหนด เช่น อาจให้ค้านได้ฝ่ายละ 3 ครั้ง หรือ 3 คน คนที่ถูกค้านจะตกไป เลื่อนคนในบัญชีอันดับถัดไปขึ้นมาแทน จำนวนลูกขุนจะถูกกำหนดตามกฎหมายของแต่ละมลรัฐไม่เท่ากัน ระหว่าง 8 -12 คน แต่ส่วนใหญ่จะมีจำนวน 12 คน เมื่อคัดเลือกคณะลูกขุนได้แล้ว คณะลูกขุนทั้งหมดจะถูกเก็บตัวทันที ห้ามติดต่อกับโลกภายนอกทุกรูปแบบไม่ว่าจะโทร. จดหมาย หรือคนภายนอกคณะลูกขุน ต้องพักในโรงแรมที่รัฐจัดให้จนกว่าจะพิจารณาคดีเสร็จ ดังนั้นคนที่ได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นคณะลูกขุนจึงต้องเตรียมกระเป๋าเสื้อผ้ามาด้วย เมื่อได้คณะลูกขุนครบถ้วนแล้วก็จะเริ่มการพิจารณาคดีสืบพยานทันที และจะสืบพยานต่อเนื่องไปทุกวันจนกว่าจะเสร็จและคณะลูกขุนลงมติพิพากษาคดีแล้วจึงถือว่าเสร็จคดี แต่ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเพื่อแยกประเด็นข้อโต้แย้งและเตรียมพยานหลักฐานมาแล้ว ไม่ใช่ว่าพอโจทก์ยื่นฟ้องและจำเลยให้การปฏิเสธก็ส่งคดีเข้าขั้นตอนนี้เลย คณะลูกขุนจึงเป็นเพียงประชาชนธรรมดา ประชาชนที่ทำหน้าที่พลเมืองดีด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ในการสืบพยานในศาล ผู้พิพากษาจะเป็นคนควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามกฎหมาย และการสืบพยานในศาลของอเมริกาจะให้การบันทึกเทปโดยมีเจ้าหน้าที่ถอดเทปแบบคำต่อคำ ต่างจากบ้านเราที่ผู้พิพากษาเป็นผู้บันทึกด้วยการสรุปคำพูดของพยานเอง ซึ่งมักจะทำให้เกิดข้อโต้แย้งกับทนาย โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้พิพากษาไม่บันทึกคำให้การของพยาน หลังจากสืบพยานทั้ง 2 ฝ่ายเสร็จ คณะลูกขุนจะประชุม(ลับ)เพื่อลงมติตัดสินคดี โดยลงมติผิดหรือไม่ผิดเท่านั้น ไม่มีการให้เหตุผล มติของคณะลูกขุนที่จะตัดสินไปในทางใดต้องใช้เสียงข้างมากเด็ดขาด บางมลรัฐอาจกำหนด 10-2 แต่ส่วนใหญ่จะกำหนดเป็นเสียงเอกฉันท์ ในบางครั้งที่เสียงแตกจึงอาจเห็นคณะลูกขุนประชุมเป็นเวลานาน การตัดสินคดีของคณะลูกขุนเป็นการตัดสินคดีในส่วน ข้อเท็จจริง ผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินในข้อกฎหมาย การใช้ลูกขุนในอเมริกาใช้ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา สำหรับคดีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอิทธิพลจนอาจมีผลต่อการตัดสินคดีของคณะลูกขุนก็สามารถย้ายไปดำเนินคดีที่มลรัฐอื่นหรือศาลอื่นที่ไม่มีอิทธิพลของคู่ความฝ่ายนั้นได้ ในส่วนพยานที่มาเบิกความในศาลหากการเบิกความในศาลอาจเป็นอัตรายต่อตัวพยานขอเข้าโครงการคุ้มครองพยานได้ โครงการคุ้มครองพยานของอเมริกา ไม่เพียงจัดเจ้าหน้าที่ให้ความคุ้มกันระหว่างคดีเท่านั้น แต่หลังเสร็จคดีรัฐจะให้เปลี่ยนชื่อ ย้ายที่อยู่ หางานใหม่ให้ทำ เป็นการลบประวัติเก่าแล้วสร้างประวัติใหม่ ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ความปลอดภัยกับตัวพยานได้อย่างดี ไม่ใช่แค่จัดตำรวจมาประกบระหว่างคดีเสร็จแล้วก็ปล่อยพยานไปตามยถากรรมอย่างบ้านเรา แล้วจะนำระบบลูกขุนมาใช้ในบ้านเราได้หรือไม่ เหตุผลของฝ่ายที่ค้านมักจะเป็นความไม่พร้อมของประชาชน เป็นเหตุผลเดียวกับที่ดูถูกประชาชนว่าไม่สามารถเลือกตั้งรัฐบาลที่ดีได้ เดิมทีเมื่อพูดถึงระบบลูกขุน ผมเองก็กังวลการแทรกแซงคณะลูกขุน โดยเฉพาะในคดีที่จำเลยเป็นผู้มีอิทธิพล อย่างนายกรัฐมนตรีหรือคนในคณะรัฐบาล แต่จากระบบของอเมริกาดังกล่าวข้างต้น จะไม่สามารถประยุคมาใช้หรือระบบการคุ้มกันคณะลูกขุนชนิดตัดขาดจากโลกภายนอกย่อมป้องกันการแทรกแซงคณะลูกขุนได้ระดับหนึ่ง การโอนย้ายคดีมาพิจารณาในศาลที่ปราศจากอิทธิพลของจำเลยไม่มีส่วนช่วยป้องกันการแทรกแซงคณะลูกขุน? โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเทียบกับระบบปัจจุบัน ระบบที่มีช่องโหว่ในการแทรกแซงผู้พิพากษามากมายดังกล่าวใน 3 ตอนที่แล้ว การใช้ระบบลูกขุนกลับจะช่วยอุดช่องโหว่ของการแทรกแซงผู้พิพากษา การอ้างว่าประชาชนยังไม่พร้อมหรือไม่สามารถทำหน้าที่ลูกขุน ไม่เป็นการดูถูกประชาชน? เป็นธรรมดาที่เมื่อมีคนเสนอสิ่งใหม่ ย่อมจะต้องมีทั้งคนที่เห็นด้วยและคัดค้าน แต่สำหรับการคัดค้านการนำระบบลูกขุนมาใช้ ที่มาจากฝ่ายรัฐ ฝ่ายที่กุมอำนาจหรือแม้แต่ฝ่ายตุลาการเอง การคัดค้านโดยไม่มีเหตุผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน มีอะไรพิสูจน์ว่าไม่ใช่การค้านเพื่อรักษาอำนาจของตนไว้ต่อไปเท่านั้น มีอะไรแสดงความสุจริตใจในการคัดค้าน สุดท้ายหากมีเสียงเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงระบบศาล เสียงเรียกร้องให้การเข้าดำรงตำแหน่งของผู้พิพากษาต้องเชื่อมโยงกับประชาชน เสียงเรียกร้องให้นำระบบลูกขุนมาใช้ในศาลไทย นั่นก็เป็นเพราะระบบที่มีอยู่เดิมไม่ได้เป็นที่เชื่อถืออีกต่อไปแล้ว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คิวบาวิจารณ์เกมสหรัฐฯ มีฉากลอบสังหารคาสโตร Posted: 11 Nov 2010 02:48 AM PST
ฟิเดล คาสโตร (2003, wikipedia)
11 พ.ย. 2553 - นิตยสารเกม the escapist รายงานว่า สื่อของรัฐบาลคิวบาออกมากล่าววิพากษ์วิจารณ์วิดิโอเกม Call of Duty : Black Ops จากการที่ตัวเกมมีความพยายามจำลองการสังหารฟิเดล คาสโตร อดีตผู้นำคิวบา บอกว่าเกมนี้สนับสนุนพฤติกรรมผิดกฏหมายและทัศนคติแบบ "ต่อต้านสังคม" ในวัยรุ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและคิวบาขัดแย้งกันมาตั้งแต่การปฏิวัติสังคมนิยมโดยคาสโตรช่วง 50s มีบางแห่งรายงานว่าหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ (CIA) มีความพยายามลอบสังหารคาสโตรมาแล้วกว่า 600 ครั้ง จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจนักที่รัฐบาลคิวบาจะรู้สึกอ่อนไหวต่อวิดิโอเกมที่ทำให้ประวัติศาสตร์อันยุ่งเหยิงกลายมาเป็นความบันเทิงกระแสหลัก เว็บไซต์ Cubadebate.cu ของรัฐบาลคิวบา ระบุว่า "สิ่งที่สหรัฐฯ ไม่สามารถทำได้สำเร็จมากว่า 50 ปี ในตอนนี้พวกเขาก็หันมาทำในโลกเสมือนจริง" พวกเขากล่าวถึงภารกิจหนึ่งในเกม Black Ops ที่ผู้เล่นจะต้องต่อสู้บนท้องถนนของกรุงฮาวานา เพื่อพยายามลอบสังหารคาสโตรหลังเขายึดอำนาจได้ไม่นาน Black Ops เป็นเกมชุดที่ 7 ของซีรี่ส์ Call of Duty วางจำหน่ายเมื่อ 9 พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งมีทีมพัฒนาหลัก ๆ คือ Treyarch, Infinity ward จัดจำหน่ายโดย Activistion ตัวเกมเป็นแนวชูตเตอร์จากมุมมองบุคคลที่ 1 (First-person shooter) ซึ่งจำลองสถานการณ์ของทหารในสงคราม โดยก่อนหน้านี้มีภาคที่จำลองสถานการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามสมัยใหม่ ขณะที่ Black Ops เป็นการจำลองสงครามเย็น นอกจากการวิจารณ์ของคิวบาแล้ว เกมนี้ยังถูกดัดแปลงโดยตัดสัญลักษณ์สวัสดิกะออกไปในฉบับของญี่ปุ่นและเยอรมนี ซึ่งในฉบับของเยอรมนีมีการปรับลดระดับความรุนแรงลงด้วย บทความใน Cubadebate.cu ระบุอีกว่าเกมนี้มีเรื่องผิดทำนองคลองธรรมอยู่ 2 อย่าง อย่างแรกคือมันได้ยกย่องการพยายามลอบสังหารอย่างผิดกฏหมายที่รัฐบาลสหรัฐฯ วางแผนกระทำต่อผู้นำคิวบา อีกอย่างหนึ่งคือมันได้สนับสนุนทัศนคติแบบต่อต้านสังคมในเด็กและเยาวชนของอเมริกาเหนือเอง แต่ขณะเดียวกัน คริสโตเฟอร์ เฟอร์กูสัน อาจารย์จิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย เท็กซัส เอแอนเอ็ม กล่าวว่าการที่ตัวบทความของคิวบาอ้างว่าวิดิโอเกมที่รุนแรงมีส่วนเชื่อมโยงกับพฤติกรรมแบบต่อต้านสังคมนั้นเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง โดยกล่าวอีกว่ามันเป็นเรื่องของ "โวการและการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น" เขาชี้ว่าขณะที่วิดิโอเกมได้รับความนิยมมากขึ้นในสังคมกระแสหลัก สถิติการใช้ความรุนแรงของเยาวชนในสหรัฐฯ "ได้ลดลงไปมากที่สุดใน 40 ปีมานี้" แม้ว่าการปฏิวัติของคาสโตรจะเกิดขึ้นมาหลายสิบปีแล้ว ช่วงระหว่างนั้นสหรัฐฯ ก็ได้ปรับความสัมพันธ์กับอดีตศัตรูอย่าง สหภาพโซเวียต, จีน และเวียตนาม แต่สหรัฐฯ ก็ยังคงมีมาตรการคว่ำบาตรการท่องเที่ยวและจำกัดการค้ากับคิวบา คาสโตรเคยกล่าวไว้เมื่อปี 2541 ว่าเขาเคยรอดชีวิตจากการลอบสังหารมาหลายครั้งจนถ้าหากว่าเขาตายไปจริง ๆ คงไม่มีใครเชื่อ ที่มา ข้อมูลเพิ่มเติมจาก Wikipedia สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศิริโชคส่งทนายฟ้อง “พล.ต.ต.วิสุทธิ์” ที่ศาลสงขลา Posted: 11 Nov 2010 02:35 AM PST “ศิริโชค โสภา” ส่งทนายความยื่นฟ้อง “พล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร” ต่อศาลจังหวัดสงขลาในข้อหาหมิ่นประมาทแล้ว โดยร้องขอให้ศาลลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา นายชม หนูพริก ทนายของนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรค ปชป.ได้ยื่นฟ้อง พล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร อดีต ผบช.ภาค 9 ต่อศาลจังหวัดสงขลา ในข้อหาหมิ่นประมาท โดยเป็นไปตามที่ได้แถลงข่าวกับสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 31 ต.ค.ที่ กทม.ที่กล่าวหาว่านายศิริโชค อยู่เบื้องหลังในการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจระดับนายพล และค้าของเถื่อน ซึ่งไม่เป็นความจริง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรค ปชป.เปิดเผยว่า การที่ให้ทนายฟ้อง พล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงที่ตัวเองไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องและลูกล้วงในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ จงใจใส่ร้ายตนทำให้เสื่อมเสียชื่อเสีย ดังนั้นคนที่พูดจาบิดเบือน ป้ายสีคนอื่น เพื่อให้เกิดคะนองปาก พูดไม่มีข้อมูลและหลักฐาน พิสูจน์ความจริงไม่ได้ แต่มีวิธีการเดียวคือ ท้าสาบานนั้น ต้องนำขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรม ไปพิสูจน์ผิด-ถูกในชั้นศาล นายศิริโชค กล่าวด้วยว่า หากไม่หยุดพูดใส่ร้ายตน ตนจะต้องฟ้องดำเนินการทางกฎหมายต่อ พล.ต.ต.วิสุทธิ์ ในฐานะตำรวจผู้ดูแลกฎหมาย แล้วมาทำผิดกฎหมายเสียเอง ต้องมีการพิสูจน์ในชั้นศาลเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ดีกว่าแถลงตอบโต้ผ่านสื่อ หาก พล.ต.ต.วิสุทธิ์ เข้าใจผิด หรือได้รับข้อมูลคลาดเคลื่อนขอโทษตนตนให้อภัยได้ ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความรุนแรงในอาร์เมเนีย-ไทย: สาเหตุเดียวกัน จุดจบ(น่าจะ)เหมือนกัน Posted: 11 Nov 2010 01:33 AM PST ชื่อบทความเดิม: ความรุนแรงในประเทศอาร์เมเนียและไทย: สาเหตุเดียวกัน เหตุการณ์แบบเดียวกัน ข้อสรุปก็น่าจะเหมือนกัน ภาพการประท้วงที่กรุงเยเรวานต่อการคุมขังอย่างต่อเนื่องของผู้ที่ถูกจับกุมตัวเมื่อสองปีที่แล้ว ประเทศประชาธิปไตยที่ไหนก็สามารถและมักจะเกิดความผิดพลาดได้ อาร์เมเนียเป็นหนึ่งในประเทศเก่าแก่สุดในโลก ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต (USSR) และกลายเป็นหนึ่งในสาธารณรัฐโซเวียต ก่อนหน้านั้นก็เคยถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน อาร์เมเนียมีประวัติซึ่งเป็นเต็มไปด้วยสงครามและการปกครองของชนชาติอื่น ซึ่งส่งผลให้เกิดการสังหารล้างเผ่าพันธุ์ระหว่างปี ค.ศ.1912-1922 โดยชาวเติร์ก และเป็นเหตุให้ชาวอาร์เมเนีย 1.5 ล้านคนเสียชีวิต และอีกครึ่งล้านหลบหนีไปสมทบกับผู้ที่เคยอพยพจากภัยพิบัติอื่นๆ ออกไปก่อนหน้านี้ ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ประเทศอาร์เมเนียยุคใหม่มีสถานะเป็นประเทศเอกราชเมื่อปี 2534 และต้องเผชิญกับกับดักทุกชนิดตามแบบประเทศประชาธิปไตย ประธานาธิบดีคนแรกเป็นนักวิชาการที่ชื่อ Levon Ter-Petrossian เขาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2539 แต่ภายหลังเมื่อเลือกแนวทางตรงข้ามกับรัฐ เขาได้ลาออกเมื่อปี 2541 ในช่วงที่ประเทศเกิดสภาวะตีบตันทางการเมือง ในช่วงสิบปีต่อมา อาร์เมเนียเลือกเสถียรภาพมากกว่าเสรีภาพ แต่ก็เป็นเสถียรภาพที่ทำให้เกิดความชะงักงัน ระบอบทุนนิยมเติบโตขึ้นท่ามกลางความไม่เท่าเทียมด้านทรัพย์สิน และในขณะที่ความยากจนในชนบทยังดำเนินต่อไปเหมือนที่เคยเป็นมา เสถียรภาพเช่นนั้นจึงดำรงอยู่ได้ด้วยฉากหน้าจอมปลอมของประชาธิปไตย อย่างการมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐสภา รัฐธรรมนูญซึ่งคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา การให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนหลายฉบับขององค์การสหประชาชาติ มากยิ่งกว่าที่ประเทศไทยให้สัตยาบันเสียอีก<1> แต่สถานการณ์จริงในประเทศนี้คล้ายคลึงอย่างยิ่งกับของไทย “ประชาธิปไตยหมายถึงการที่ประชาชนมีโอกาสแสดงออกอย่างเสรี การที่คุณห้ามไปเสียทุกอย่าง ห้ามคิด เรียกร้องให้พวกเขาคิดเหมือนที่คุณคิด แบบนั้นเรียกว่าเป็นระบอบเบ็ดเสร็จ”<2> ในเมืองไทย มีการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง แต่ที่อาร์เมเนีย พวกเขาใช้วิธีปลอมแปลงคะแนน ในเดือนกันยายน 2550 ประธานาธิบดีคนแรกคือนาย Leron Ter-Petrosian ได้ปรากฏตัวขึ้นมาอีกหลังจากหายหน้าไปนับสิบปี เขาออกมาพูดโจมตีการใช้อำนาจอย่างฉ้อฉล และประกาศจะลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีซึ่งจะมีขึ้น ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 การเลือกตั้งครั้งนั้นก็เต็มไปด้วยการทุจริตอีก ระบอบทหารซึ่งเลือกถือหางนาย Sersh Sarzoyan ก็หาทางทำให้เขาเป็นผู้ชนะในการเลือกตั้ง ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 ผู้ประท้วงหลายพันคนเริ่มรวมตัวที่จัตุรัสเสรีภาพ ซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ใจกลางเมืองหลวง ณ ขณะนั้นมีสภาพเหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในอีกสองปีต่อมา ในช่วงหลายวันต่อมา ประชาชนที่มาชุมนุมเพิ่มจำนวนเป็นหลายหมื่นคน จนถึงหลายแสนคน พวกเขาหลับนอนบนถนน กลับไปบ้านและก็กลับมายังที่ชุมนุมอีกด้วยจำนวนเพิ่มขึ้น พวกเขาตะโกนร้องว่า “เราชนะแล้ว” และไม่ยอมหยุดการชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และกลุ่มจัดตั้งลึกลับเริ่มคุกคามผู้ชุมนุม แน่นอนว่าการชุมนุมส่งผลให้การดำเนินชีวิตและการค้าขายต้องยุติลง อาร์เมเนียเป็นประเทศเล็ก มีประชากรเพียง 3.28 ล้านคน ส่วนที่เยเรวานมีประชากร 1.1 ล้านคน การมีผู้ชุมนุมประท้วงมากถึงแสนคนจึงนับเป็นเรื่องสำคัญ ก่อนรุ่งสางวันที่ 1 มีนาคม ตำรวจเริ่มเข้าสลายการชุมนุม ในเวลาต่อมาตำรวจอ้างว่าการเคลื่อนกำลังพลเข้าไปครั้งแรกก็เพื่อตรวจสอบตามข่าวกรองที่ได้รับมาว่าผู้ชุมนุมมีอาวุธ ทั้งที่ในความเป็นจริงตำรวจได้เตรียมแผนสลายการชุมนุมไว้ก่อนนั้นแล้ว กำลังตำรวจได้รับการสนับสนุนจากหน่วยทหาร แม้ว่ารัฐธรรมนูญอาร์เมเนียจะห้ามใช้กำลังทหารต่อพลเมืองของตนเอง ในตอนค่ำมีผู้ถูกสังหาร 10 คน เป็นพลเรือนแปดคน ตำรวจสองคน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 200 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และอ้างว่าที่ต้องใช้ความรุนแรงถึงขั้นชีวิตเพราะผู้ชุมนุมมีอาวุธ ตำรวจนายหนึ่งเสียชีวิตเพราะระเบิดขว้าง แต่จากการชันสูตรพลิกศพและจากการพิจารณาความรุนแรงของบาดแผล มีความเป็นไปได้ว่าเขาเสียชีวิตจากระเบิดที่นำมาเอง ไม่ใช่เป็นระเบิดที่ถูกขว้างจากผู้ประท้วง ตำรวจอีกนายหนึ่งถูกยิงเสียชีวิตจากจุดที่อยู่ห่างจากสถานที่ชุมนุมมาก และในช่วงนั้นเขาอยู่ในท่ามกลางวงล้อมของตำรวจด้วยกันเอง และดูเหมือนว่าจะมีเจ้าหน้าที่นอกแถวเป็นผู้สั่งการให้ยิงเอง ในช่วงหลายวันต่อมา ประชาชนพยายามจะกลับมารวมตัวอีกครั้ง แต่เนื่องจากมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่จึงทำการจับกุมตัวบุคคลทั่วทั้งเมืองหลวง โดยเฉพาะนักการเมืองในฝ่ายค้าน นาย Leron Ter-Petrosian ถูกกักบริเวณในบ้าน ในวันที่ 8 มีนาคม ศาลรัฐธรรมนูญรับรองผลการเลือกตั้ง และมีการยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 21 มีนาคม สำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ของอาร์เมเนีย พวกเขาเห็นด้วยกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเฉพาะในช่วงซึ่งมีพฤติการณ์แห่งความรุนแรงเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 9 เมษายน จากการปราบปรามในเดือนมีนาคมส่งผลให้มีนักโทษการเมือง 120 คน ในการไต่สวนของศาลซึ่งไม่มีการอนุญาตพยานที่เป็นพลเรือนเลย และศาลก็พึ่งแต่พยานหลักฐานจากตำรวจเพียงคนเดียว หรือแม้จะไม่มีพยานหลักฐาน ศาลก็ยังสั่งลงโทษ มีอยู่คดีหนึ่ง ตำรวจซึ่งเป็นประจักษ์พยานกล่าวว่า จำเลยเป็นบุคคลเดียวที่ไม่ได้ถือหินหรือไม้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเขาได้ขว้างสิ่งของเหล่านั้นใส่ตำรวจไปแล้ว รัฐบาลใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อตามล่าผู้ประท้วงและครอบครัว มีการเรียกตรวจภาษีผู้ต้องสงสัย และไล่ออกจากงาน ทำให้ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัวไม่ต้อนรับญาติของผู้ต้องขัง การเซ็นเซอร์ก็รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ “ทุกวันนี้ในอาร์เมเนียมีเรื่องที่ต้องห้ามไม่ให้พูดคุยหลายเรื่อง” อาร์เมเนียเป็นหนึ่งในสมาชิก 47 รัฐของสภายุโรป (Council of Europe) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกถึงแปซิฟิก คั่นตรงกลางด้วยเทือกเขาคอร์เคซัสซึ่งรายล้อมกรุงเยเรวาน สภายุโรปมีแผนการด้านสิทธิมนุษยชนที่เข้มแข็ง และเริ่มไต่สวนพฤติการณ์ของรัฐบาลอาร์เมเนียโดยทันที จากการกดดันของสภายุโรป ส่งผลให้รัฐบาลออกกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อปล่อยตัวนักโทษการเมืองเกือบทั้งหมด มีอยู่สองคนที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาก่อนเพราะได้ร้องขออภัยโทษ จนถึงปัจจุบัน ยังมีผู้ถูกคุมขังอีก 15 คน พวกเขาปฏิเสธที่จะยอมรับความผิดที่ไม่ได้เป็นผู้ก่อ แม้จะมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน รวมทั้งความแตกต่างด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและที่ตั้งของทั้งสองประเทศ การก่อตัวของเหตุการณ์ในเดือนมีนาคม 2551 ในอาร์เมนีย และเมษายน-พฤษภาคม 2553 ในไทย มีความคล้ายคลึงกันมาก เมื่อเปรียบเทียบสาเหตุของทั้งสองเหตุการณ์ก็จะเห็นความคล้ายคลึงกันเช่นกัน ผู้ตรวจการรัฐสภาอาร์เมเนียสรุปว่า “ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ-สังคม การที่ประชาชนไม่ไว้วางใจหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะศาล การขาดการตรวจสอบและสมดุลอำนาจระหว่างสาขาต่าง ๆ ของรัฐบาล การขาดการคุ้มครองสิทธิทางพลเรือนและสิทธิมนุษยชน และการเติบโตขึ้นของกลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองและเศรษฐกิจกลุ่มเล็ก ๆ ที่ปกครองประเทศ ต่างเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ความไม่พอใจที่ขยายตัวมากขึ้น...”<3> ถ้าจะมีรายงานไต่สวนกรณีของไทยก็คงมีถ้อยคำเริ่มต้นที่ไม่ต่างกันมากนัก แต่มีความแตกต่างที่สำคัญอย่างหนึ่งในกรณีของอาร์เมเนีย กล่าวคือบทบาทของสภายุโรปที่เข้ามาแทรกแซง ในขณะที่อาเซียนกลับแทบไม่ได้ส่งเสียงอะไรเลย ทั้ง ๆ ที่เป็นกลุ่มระดับภูมิภาคซึ่งไทยเป็นสมาชิก ที่ผ่านมามีการแสดงข้อกังวลจากเลขาธิการองค์การสหประชาชาติและจากประธานสภาสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (UN Human Rights Council) แต่รัฐบาลไทยซึ่งตระหนักดีถึงความสามารถที่จะไม่รับผิดและความเพิกเฉยต่อหลักศีลธรรม จึงไม่ได้สนใจการแทรกแซงเหล่านี้ ความแตกต่างด้านทัศนคติระหว่างประเทศทั้งสองก็มีอยู่บ้าง อาร์เมเนียอยู่รอดมาในช่วงหลายพันปีด้วยการยอมโอนอ่อนผ่อนปรน การประนีประนอมและการต่อต้าน โดยตระหนักดีถึงข้อจำกัดของตนเอง และทราบว่าข้อจำกัดเหล่านี้อาจเป็นข้อได้เปรียบในการขอความช่วยเหลือที่ต้องการ แต่เมื่อถึงจุดที่จำเป็นต้องจัดให้มีการสอบสวนที่น่าเชื่อถือ ครอบคลุมและโปร่งใส รัฐบาลก็ตระหนักถึงการขาดประสบการณ์ของตนเอง และได้ร้องขอและได้รับความช่วยเหลือจากผู้ชำนาญการภายนอก เพื่อเข้ามากำหนดประเด็นของการสอบสวน แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยซึ่งมีสถานการณ์ไม่ต่างกันมากนัก กลับใช้ช่วงเวลาหกเดือนภายหลังการสังหารหมู่ไปกับการพูดตะกุกตะกัก ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะกำหนดประเด็นการสอบสวนอย่างไร มีเพียงการอ้างถึงการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อความปรองดองในลักษณะที่ “พูดแล้วก็เลิกกันไป” รวมทั้งการเข้าไปแต่งโน่นทำนี่ในการสอบสวนครั้งต่าง ๆ และอื่น ๆ ในขณะที่รัฐบาลอาร์เมเนียกลับกระตือรือร้นที่จะขอคำปรึกษาจากผู้ชำนาญการด้านขีปนศาสตร์ (ballistics) ทั้งในสหรัฐอเมริกา รัสเซีย และไอร์แลนด์ โดยไม่ได้อ้างว่าจะกระทบต่ออธิปไตยของตนแต่อย่างใด แม้ว่ารัฐบาลไทยจะยอมรับเป็นการส่วนตัวถึงความจำเป็นที่ต้องมีการปรึกษาหารือ แต่ก็พยายามแข็งขืนต่อต้านไม่ให้หน่วยงานภายนอกประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการสอบสวน ทำราวกับจะส่งผลกระทบต่อพรมจรรย์ของประเทศ ในบทต่อไป จะว่าด้วยประสบการณ์ของคณะกรรมการไต่สวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่วงเดือนมีนาคม 2551 ที่อาร์เมเนีย ซึ่งจะเป็นบทเรียนที่มีคุณค่าถ้ารัฐบาลไทยสัญญาจะให้มีการไต่สวนแบบเดียวกัน ที่ผ่านมาคำสัญญาที่จะแสวงหาความยุติธรรมในอนาคต มักมีจุดประสงค์เพียงเบี่ยงเบนความสนใจ และปล่อยให้เวลาที่ผ่านไปทำลายอดีตไปด้วยตัวของมันเอง คณะกรรมาธิการไต่สวนของอาร์เมเนีย แหล่งข้อมูลสำคัญสุดเกี่ยวกับผลการทำงานของคณะกรรมาธิการไต่สวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเดือนมีนาคม ปี 2551 ที่อาร์เมเนีย ได้แก่ “ข้อสังเกตที่มาจากบทสรุปของ” คณะกรรมาธิการชั่วคราวของรัฐสภาแห่งอาร์เมเนียที่ไต่สวนเหตุการณ์วันที่ 1 และ 2 มีนาคม 2551 และ “เหตุผลที่เกี่ยวเนื่อง””<4> โดยข้อสังเกตดังกล่าวมีที่มาจาก “คณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธกิจของรัฐภาคีของสภายุโรป (Committee on the Honouring of Obligations and Commitments by Member States of the Council of Europe - Monitoring Committee) ซึ่งชื่อของคณะกรรมการชุดนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความจริงจังด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมในสภายุโรป โดยคำวิจารณ์มีพื้นฐานมาจากข้อมูลของรายงานของคณะกรรมการชั่วคราวของรัฐสภา เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 โดยรายงานฉบับแปลนั้นไม่ได้เป็นที่เผยแพร่โดยทั่วไป แต่ในหมายเหตุประกอบด้วยข้อสรุปโดยสังเขปและบทวิเคราะห์ของรายงาน ข้อมูลสำคัญอีกส่วนหนึ่งได้แก่ความเห็นของสมาชิกพรรคฝ่ายค้าน (Armenian National Congress) เกี่ยวกับการไต่สวนเหตุการณ์วันที่ 1 มีนาคม 2551 รวมทั้งเหตุผลที่เกี่ยวเนื่อง ผู้ประท้วงชาวอาร์เมเนียเป็นผู้มอบบันทึกความเห็นเหล่านี้ให้กับตัวผู้เขียนโดยตรง ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์เดือนมีนาคม ทางคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนของสภายุโรปได้บอกกับรัฐบาลอาร์เมเนียอย่างชัดเจนว่า “จะต้องจัดให้มีการไต่สวนอย่างครอบคลุม เป็นอิสระและโปร่งใส” โดยต้องเป็นข้อมูลที่ “น่าเชื่อถือสำหรับประชาชนทั้งมวลของอาร์เมเนีย” คณะกรรมการชั่วคราวของรัฐสภา ซึ่งก็มีสมาชิกพรรคฝ่ายค้านอยู่ด้วย แต่ส่วนใหญ่จะมาจากพรรคของรัฐบาล เป็นคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภา แต่กลุ่มจากพรรคฝ่ายค้านหลักอันได้แก่พรรค Armenian National Congress ซึ่งสนับสนุนนาย Leron Ter-Petrosian ได้คว่ำบาตรไม่ยอมเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการชั่วคราวชุดนี้ นับแต่เริ่มต้น พวกเขาเรียกร้องให้มีตัวแทนเท่า ๆ กันระหว่างภาครัฐกับฝ่ายค้าน รวมทั้งให้มีสัดส่วนของผู้ชำนาญการจากระหว่างประเทศด้วย เพื่อให้เกิดความสมดุล สภายุโรปได้มีข้อเสนอแนะว่า ให้มีการแต่งตั้งกลุ่มผู้ชำนาญการอิสระซึ่งมีชื่อว่า กลุ่มแสวงหาความจริง (Fact Finding Group - FFG) ซึ่งมีหน้าที่อย่างชัดเจนที่จะแสวงหาความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ในวันที่ 1 และ 2 มีนาคม คณะกรรมการชุดนี้มีตัวแทนจากรัฐบาลและฝ่ายค้านอย่างละสองคน และมีสมาชิกหนึ่งคนเป็นผู้ตรวจการรัฐสภาด้านสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการชั่วคราวของรัฐสภาก็เขียนข้อสรุปโดยอ้างอิงข้อเท็จจริงที่เกิดจากคณะกรรมการแสวงหาความจริงชุดนี้ กิจกรรมของกลุ่มแสวงหาความจริงนับว่าน่าสนใจมากสุด ในช่วงเจ็ดเดือน (พฤศจิกายน 2551-พฤษภาคม 2552) พวกเขาได้ส่งจดหมาย 160 ฉบับเพื่อขอข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เดือนมีนาคม มีการสอบปากคำเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ 70 นาย พยานหลักฐานที่กลุ่มแสวงหาความจริงได้รับประกอบด้วยการบันทึกวีดิโอการสอบปากคำเป็นความยาว 80 ชั่วโมง วีดิโอความยาวกว่า 100 ชั่วโมงซึ่งเป็นการบันทึกของประจักษ์พยาน และเอกสารที่เป็นคำถามและคำตอบของเจ้าหน้าที่หนา 2,600 หน้า อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ระดับสูงปฏิเสธที่จะมาให้การ กระทรวงกลาโหมปฏิเสธที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับหน่วยทหารที่เข้าร่วมปฏิบัติการ หน่วยความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Service) ปฏิเสธไม่ยอมให้คณะกรรมการเข้าถึงวีดิโอที่บันทึกไว้ในวันที่ 1 มีนาคม ตำรวจหน่วยแม่นปืนไม่ยอมให้สัมภาษณ์ รวมทั้งกลุ่มแสวงหาความจริงยังไม่สามารถเข้าถึงรายงานการวิเคราะห์การใช้อาวุธของตำรวจได้ คำปฏิเสธและอุปสรรคต่าง ๆ ทำให้การสอบสวนไม่สามารถกระทำได้อย่างรอบด้าน ทั้งไม่มีความโปร่งใส ตัวแทนรัฐบาลสองคนได้ลาออก ในขณะที่ตัวแทนพรรคฝ่ายค้านยังคงเดินหน้าสอบสวนต่อไป ต่อมามีการออกพระราชกฤษฎีกาโดยประธานาธิบดีให้ยุบกลุ่มแสวงหาความจริงนี้ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน คณะกรรมการชั่วคราวของรัฐสภาจึงสามารถใช้ข้อมูลเพียงบางส่วนจากการสอบสวนของกลุ่มแสวงหาความจริง รวมทั้งข้อมูลจากแถลงการณ์และประกาศของรัฐบาลในช่วงก่อนและหลังเหตุการณ์เดือนมีนาคม กล่าวโดยสรุป รายงานขั้นสุดท้ายของรัฐสภายืนยันว่า ปฏิบัติการของตำรวจสอดคล้องกับตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยแม้จะแก้เกี้ยวว่า “ตำรวจขาดความเป็นมืออาชีพและทักษะในเชิงจัดตั้ง” แต่ก็ประณามผู้จัดการประท้วงซึ่งต่อต้านตำรวจ โดยกล่าวหาว่าไม่ยอมป้องกันความรุนแรง มีการระบุว่า “มีการใช้ความรุนแรงที่ไม่อาจยอมรับได้ต่อตำรวจ” และตัดสินว่าการปฏิบัติของตำรวจ “โดยรวมแล้วชอบด้วยกฎหมายและมีสัดส่วนเหมาะสม” ในขณะที่หน่วยงานของรัฐอ้างเช่นนี้ แต่คณะกรรมการก็มีข้อสรุปยอมรับว่ามีการใช้พลซุ่มยิงของตำรวจ แต่ก็น่าจะเป็นการยิงขึ้นท้องฟ้า! ในรายงานแทบไม่ได้ให้ความใส่ใจต่อข้อค้นพบของกลุ่มแสวงหาความจริงเลย จากการเสียชีวิตสองในห้าด้วยอาการบาดเจ็บจากกระสุนปืน คณะกรรมการไม่มีสามารถนำปลอกกระสุนมาเป็นหลักฐานได้ สำหรับผู้เสียชีวิตอีกสามคนจากกระสุนที่มาจากอาวุธที่ใช้เป็นปรกติของตำรวจ แต่คณะกรรมการกลับบอกว่าไม่สามารถค้นหาแหล่งที่มาของอาวุธเหล่านี้ได้ การปฏิเสธไม่ยอมระบุถึงความผิดของผู้นำรัฐบาล ตำรวจหรือทหาร เป็นสิ่งที่คาดหมายกัน “มันก็ต้องเป็นแบบนี้แหละ” อย่างไรก็ตาม ในข้อเสนอแนะของรายงานเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมเช่นนี้ คณะกรรมการชั่วคราวได้เปิดเผยโฉมหน้าและสิ่งที่พวกเขาทำ และรู้ว่าควรจะประณามใคร คณะกรรมการวิจารณ์อย่างหนักต่อความผิดพลาดของตำรวจในการไต่สวนความตายของทั้งสิบคน แต่สุดท้ายก็มีบทสรุปยอมรับว่า ทางอัยการสูงสุดได้ปฏิบัติหน้าที่ในการไต่สวนอย่างถูกต้องและเป็นมืออาชีพแล้ว มีข้อเสนอแนะหลายประการเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปกำลังตำรวจ โดยการขอให้รัฐบาลทบทวนการปฏิบัติตามกฎหมายของตำรวจ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธปืนขององค์การสหประชาชาติ “ชุดของข้อเสนอแนะที่ครอบคลุมแสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการได้ทำการวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 และ 2 มีนาคม 2551 อย่างลึกซึ้ง มากกว่าเนื้อหาส่วนอื่นของรายงาน ความเห็นแย้งเช่นนี้ ประกอบกับการเน้นย้ำบางประเด็นหรือหลีกเลี่ยงบางประเด็น แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการพยายามหลีกเลี่ยงการวิจารณ์คำอธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของรัฐ และไม่ยอมวิพากษ์วิจารณ์หน่วยงานของรัฐอย่างรุนแรง “การเซ็นเซอร์ตัวเอง” เช่นนี้ เป็นเรื่องน่าเสียใจ และทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการไต่สวนโดยรวม <5> ข้อบกพร่องอีกประการหนึ่งของรายงาน คือการไม่วิเคราะห์ถึงเหตุการณ์ก่อนหน้าที่นำไปสู่การประท้วงในเดือนมีนาคม อย่างเช่น การจับกุมและฟ้องร้องคดีผู้สนับสนุนของฝ่ายค้านจำนวนมาก กลุ่มฝ่ายค้านได้คว่ำบาตรคณะกรรมการชั่วคราวที่ถูกครอบงำโดยสมาชิกที่มาจากรัฐเป็นส่วนใหญ่ และได้เข้าร่วมงานกับกลุ่มแสวงหาความจริง แต่ก็โทษการขัดขวางของรัฐบาลอันเป็นเหตุนำไปสู่การยุบกลุ่มดังกล่าวในที่สุด มีการกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ปั้นแต่งข้อมูลจากการสอบสวนการเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ตำรวจสองคน เพื่อชี้นิ้วกล่าวหาว่าผู้ประท้วงเป็นคนทำ คณะกรรมาธิการยังปฏิเสธไม่กล่าวถึงการโกงเลือกตั้งที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดี อันเป็นชนวนเหตุให้เกิดการประท้วงอย่างสันติและมีการจัดการเป็นอย่างดี รวมทั้งการที่ตำรวจเข้ามาทำลายเครื่องเสียงก็เพื่อจะทำให้การประท้วงอยู่ในสภาพสับสนและไร้การนำ การปล้นสะดมและการเผารถที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมาก็ถูกอ้างว่าเป็นผลงานของผู้ประท้วง โดยไม่มีการไต่สวนว่ากลุ่มที่ปล้นสะดมเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ประท้วงอย่างไร ทางกลุ่มแสวงหาความจริงได้ค้นพบบันทึกวีดิโอที่เป็นภาพการเผารถและการปล้นสะดม ซึ่งเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาตำรวจที่พากันยืนเฉย ๆ และไม่ได้เข้าไปแทรกแซงอะไร กลุ่มผู้ประท้วงจึงเห็นว่าการสอบสวนที่เกิดขึ้นไม่เป็นกลางและไม่น่าเชื่อถือ และเห็นว่าการสอบสวนต้องทำโดยคณะกรรมการที่มีตัวแทนอย่างเท่าเทียมระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งควรมีผู้ชำนาญการระหว่างประเทศเข้าร่วมด้วย เหตุการณ์ในประเทศไทย ความคล้ายคลึงของประสบการณ์ที่ประเทศอาร์เมเนียกับไทยเป็นเรื่องน่าประหลาดใจ ยังไม่รวมถึงบทบาทของอดีตผู้นำประเทศทั้งสองคนซึ่งต่างก็มีความเป็นมาที่ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ แน่นอนว่าย่อมมีความแตกต่างอยู่บ้าง การประท้วงที่กรุงเยเรวานมีลักษณะทางวัฒนธรรมแตกต่างมากจากการประท้วงในไทย แต่ถึงจะมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมเช่นนั้น องค์ประกอบพื้นฐานหลายประการก็เหมือนกัน กล่าวคือ การที่ประชาชนชั้นล่างรวมตัวกันเพื่อคุ้มครองผู้นำซึ่งถึงแม้จะมีความผิดพลาดอยู่บ้าง แต่ก็แสดงถึงภาวะผู้นำที่เหนือกว่าระบอบปกครองที่ไม่น่าสนับสนุนเช่นนี้ ความอึดอัดคับข้องใจนำไปสู่การกระทำที่เกินขอบเขตไปบ้าง และเป็นเหตุให้รัฐบาลใช้เป็นเหตุผลเพื่อสนับสนุนการใช้ความรุนแรงในการปราบปราม ในทั้งสองประเทศฝ่ายรัฐได้กล่าวหาว่าผู้ชุมนุมมีอาวุธ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีหลักฐานที่แท้จริงมาสนับสนุน แต่ก็ถูกใช้เป็นเหตุผลเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้อาวุธเข้าปราบปราม ทั้งสองเหตุการณ์นำไปสู่การสูญเสียชีวิตและการบาดเจ็บ ซึ่งคงเป็นสิ่งที่ไม่มีคำอธิบายใด ๆ ทั้งนี้เพราะไม่มีการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทางนิติเวชก่อนที่จะปล่อยให้เจ้าหน้าที่เข้ามาทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายศพออกไป ในโอกาสต่อไปคงมีการออกรายงานปัดความรับผิดชอบในไทย เช่นเดียวกับกรณีของอาร์เมเนีย ซึ่งเป็นผลมาจากการควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอย่างเบ็ดเสร็จของรัฐ ความหวังอันเรือนลางเท่าที่มีอยู่ในตอนนี้ ไม่ได้ช่วยทำให้มั่นใจเลยว่า จะเกิดการปฏิรูปโครงสร้างของรัฐบาลอย่างแท้จริง รัฐบาลชุดปัจจุบันของไทยมีอำนาจอย่างจำกัด ทั้งดูเหมือนจะไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของการบาดเจ็บและเสียชีวิตที่เกิดจากคำสั่งการของตน รัฐบาลยังคงทำทุกอย่างเพื่อให้อยู่รอดโดยการโป้ปดและโฆษณาชวนเชื่อ เอาแต่พร่ำพูดถึงสิ่งที่ไม่ใช่สาระอย่างแท้จริง ปัญหาอยู่ที่การไม่มีมาตรฐานสิทธิมนุษยชนที่จะทำให้สามารถปฏิเสธความจริงแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ ได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งยังมีความพยายามที่จะไม่ตอบคำถามใด ๆ คณะกรรมการไต่สวนความจริงของไทยจำเป็นจะต้องขอให้ต่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วม โดยอาจเป็นไปได้ว่าจะมาจากในแวดวงอาเซียน หรือจนกระทั่งหน่วยงานระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านความขัดแย้ง และมีทักษะเฉพาะในการสอบสวนและด้านนิติเวช การสอบสวนต้องดำเนินไปโดยให้สื่อมวลชนที่เป็นอิสระอย่างแท้จริงสามารถตรวจสอบได้ และเป็นที่พอใจสำหรับประชาชนคนไทย และประชาชนต้องมีเสรีภาพที่จะพิจารณาและวิพากษ์วิจารณ์ผลการสอบสวนที่เกิดขึ้น ในปัจจุบัน การที่ยังคงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการเซ็นเซอร์สื่อมวลชนอิสระอย่างกว้างขวาง ทำให้การพูดคุยอย่างเป็นอิสระไม่อาจเกิดขึ้นได้ ไทยเป็นประเทศซึ่งมีความวุ่นวายมากสุดในเอเชีย เรามีการปฏิวัติรัฐประหารมากกว่าประเทศใด ๆ ในขณะที่รัฐบาลพลเรือนก็มีพัฒนาการน้อยกว่าประเทศอื่น รัฐบาลปัจจุบันต้องพึ่งพาพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งผ่านเป็นกฎหมายในสมัยรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งของทหาร และยังกำหนดให้ทหารเป็นหน่วยงานบัญชาการอย่างถาวร หรือกลายเป็นภัยคุกคามถาวรได้ ประกอบกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งลิดรอนสิทธิทางพลเรือนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนนายกรัฐมนตรีก็ต้องหาที่พึ่งภายในค่ายทหาร สถานการณ์เช่นนี้ไม่อาจดำเนินต่อไปได้ ไม่เช่นนั้น จะทำให้เกิดความล่มสลาย แม้ว่าความล่มสลายเช่นนั้นอาจล่าช้าไปบ้าง เนื่องจากมาตรการควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จที่มีอยู่ในปัจจุบัน และน่าจะมีเพิ่มขึ้นอีก รัฐบาลเอาแต่โหมโฆษณาถึงสัญญาณการกลับคืนสู่ภาวะปรกติที่ไม่เป็นจริง จัดงานท่องเที่ยวและซื้อข้าวของตามท้องถนน ในขณะที่สื่อมวลชนให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ แต่ปัญหาสำคัญที่ท้าทายนิสัยการแก้ปัญหาแบบไทย ๆ ยังคงดำเนินต่อไปในภาคใต้ รัฐบาลเริ่มยอมอ่อนข้อบ้าง และประกาศจะปล่อยตัวนักโทษการเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากทหารและการปราบปรามด้วยความรุนแรง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและมาตรการที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งมาตรการด้านกฎหมายที่ถูกใช้เพื่อควบคุมประชาชน การปกครองโดยพลเรือนในไทยประสบความล้มเหลว การขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งหมายถึงการมอบอำนาจให้ทหารปกครองประเทศ เป็นสัญญาณแห่งความถดถอย มีการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและกฎหมายเซ็นเซอร์ที่ให้อำนาจรัฐอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เพื่อความพยายามควบคุมความคิดของสังคม ทั้ง ๆ ที่มาตรการที่ประสบความล้มเหลว เรากำลังไปทางไหนกัน เราควรพิจารณาพัฒนาการที่เกิดขึ้นในประเทศแฝดอย่างสาธารณรัฐอาร์เมเนียอย่างตั้งใจ และพยายามศึกษาถึงความล้มเหลวในการสอบสวนการปราบปรามอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้น การสอบสวนอย่างจริงใจเท่านั้นจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง และจะเป็นพื้นฐานของการปฏิรูปที่กล่าวอ้าง เชิงอรรถ <1> “ประเทศที่มีสถิติสิทธิมนุษยชนเลวร้ายมักเลือกที่จะให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาในอัตราที่สูงกว่าประเทศซึ่งมีสถิติดีกว่า” .” Professor Oona Hathaway, Gerard C. and Bernice Latrobe Smith Professor of International Law at the Yale Law School. Yale Law Journal, Vol. 111, 2002 Boston Univ. School of Law Working Paper No. 02-03 <2> Anahit Karikosyan นักร้องชาวอาร์เมเนียผู้มีชื่อเสียงระดับโลก <3> ความเห็นของพรรคฝ่ายค้าน Armenian National Congress ที่มีต่อการไต่สวนเหตุการณ์วันที่ 1 มีนาคม 2551 และพฤติการณ์การเสียชีวิตของประชาชน 10 คน และเป็นข้อมูลที่อยู่ในข้อสรุปของคณะกรรมาธิการชั่วคราวของรัฐสภาแห่งอาร์เมเนียที่ไต่สวนเหตุการณ์วันที่ 1 และ 2 มีนาคม 2551 และ “เหตุผลที่เกี่ยวเนื่อง” บทที่ 9 โปรดดูเชิงอรรถที่ 4 <4> Co-rapporteurs John Prescott and George Colombier Comments of the Armenian National Congress on the investigation into 1 March 2008 events and circumstances of 10 deaths and Information note on the conclusions of the Ad Hoc Commission of the National Assembly of Armenia on the events of 1 and 2 March 2008 and “the reasons thereof”. Council of Europe, amondoc38r2_2009 <5> Colombier and Prescott, op. cit., Section 41 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น