ประชาไท | Prachatai3.info |
- “เลขาฯ ทูตญี่ปุ่น” รุกตามคดีนักข่าวรอยเตอร์ถึงนครบาล ด้านตำรวจแจงความคืบหน้าตามขั้นตอน
- สินค้าหรือวัตถุอันก่อให้เกิดความแตกแยก
- Model “ปาย” ที่พะเยา
- กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่าร้องอาเซียน-ยูเอ็น สอบสวนการทารุณ-ปฏิเสธการเลือกตั้ง
- ชีวิตแม่ค้าเร่สาวอีสาน อีกหนึ่งเหยื่อจากแดนไกลในชายแดนใต้
- “สนธิ” ลั่นค้านแก้ รธน.พรุ่งนี้เหลือ 3-4 คนก็จะสู้
- บันทึกของวิสา คัญทัพ ฉบับ7 : ก้าวพ้นแดงเหลือง สู้ศักดินา-ทุนนิยม เพื่อประชาธิปไตย
- ปล่อย ดา ตอร์ปิโด: ผู้ถูกขังเพราะพูด
- ปฏิรูปประเทศไทยให้ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
- นายกฯ อังกฤษ ยกเลิกแผนพักผ่อนช่วงคริสต์มาสในเมืองไทย
- กลุ่มกวีตีนแดง: ตาสี ยายสา...จงไปสู้เผด็จการ!
- “พธม.” นัดรวมตัวพรุ่งนี้ “จตุพร” ขอคนเสื้อแดงอย่าออกมาหน้ารัฐสภา
- อภิสิทธิ์ปาฐกถา: มุมมองต่อสื่อและโทรคมนาคม
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 15-21 พ.ย. 2553
- บำเพ็ญกุศลศพ “แม่ประยูร” ศิลปินแห่งชาติ ณ วัดสาลวัน
“เลขาฯ ทูตญี่ปุ่น” รุกตามคดีนักข่าวรอยเตอร์ถึงนครบาล ด้านตำรวจแจงความคืบหน้าตามขั้นตอน Posted: 22 Nov 2010 01:23 PM PST
วานนี้ (22 พ.ย.2553) เมื่อเวลาประมาณ 14.20 น.นายจุน มารุยามะ เลขานุการเอกอัครราชทูตฝ่ายการเมืองสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เดินทางเข้าพบ พล.ต.ต.สุเมธ เรืองสวัสดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล รับผิดชอบงานด้านการสืบสวนและคณะทำงานตำรวจนครบาล ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เพื่อติดตามความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวนจับกุมคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงนายฮิโระ มูราโมโตะ ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ เสียชีวิตในเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองบริเวณแยกคอกวัวในช่วงที่มีการสลายการชุมนุม ซึ่งนายจุนรับฟังรายงานสรุปความคืบหน้าทางคดี โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมงจึงเดินทางกลับ พล.ต.ต.สุเมธ เปิดเผยภายหลังชี้แจงความคืบหน้าต่อนายจุน มารุยาม่าว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ส่งสำนวนคดีนี้มาให้แล้ว ในสำนวนเป็นเรื่องการชันสูตรพลิกศพ ส่วนสำนวนอื่นๆยังอยู่กับดีเอสไอ ซึ่งตามมาตรา 150 ป.วิอาญานั้น คือให้สอบสวนว่าผู้ตายเป็นใคร ตายที่ใด เมื่อใด รวมถึงสาเหตุการตาย เบื้องต้นได้อธิบายว่าสำนวนของผู้ตายนั้นจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งดีเอสไอส่งสำนวนมาให้ โดยใช้เวลา 30 วัน ทั้งนี้จะร่วมกับพนักงานอัยการในการสอบสวนให้โปร่งใส หากภายใน 30 วันสามารถสรุปได้ ก็จะส่งสำนวนส่งให้ทางอัยการ เพื่อส่งต่อให้ศาลสรุป แต่หากผลการสอบสวนไม่ชัดเจน ก็จะส่งสำนวนให้ทางดีเอสไอดำเนินการต่อตามขั้นตอนต่อไป พล.ต.ต.สุเมธ กล่าวต่อไปว่า ได้อธิบายกับสถานทูตญี่ปุ่นให้เกิดความเข้าใจ ซึ่งทางสถานทูตก็ได้แปลกฎหมายของประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษเพื่ออ่านและทำความเข้าใจ ซึ่งได้อธิบายข้อมูลต่างๆ ที่ผู้อื่นอาจให้ไม่ตรง แต่เบื้องต้นสรุปแล้วว่ามีความพอใจ หลังจากนี้หากมีการสอบสวนเพิ่มเติมเรื่องใดก็จะรายงานความคืบหน้าให้ทางสถานทูตญี่ปุ่นทราบเป็นระยะ โดยกรอบ 30 วันนี้ หากสอบสวนแล้วยังไม่ชัดเจนก็ขยายเวลาเพิ่มได้อีกครั้งละ 30 วัน อีก 2 ครั้ง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สินค้าหรือวัตถุอันก่อให้เกิดความแตกแยก Posted: 22 Nov 2010 12:50 PM PST “คำสั่งหรือมาตรการใดๆ ที่ลดทอนเสรีภาพ มันเท่ากับลดทอนการใช้เหตุผล ลดทอนความเป็นมนุษย์ ลดทอนอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน และหรือลดทอนความเป็นประชาธิปไตย!” นักปรัชญาชายขอบ ขอยกสองมือสนับสนุนเครือข่ายนักกฎหมายที่ออกจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี เสนอยกเลิกคำสั่งที่ 141/2553 ของ ศอฉ.ที่ให้เจ้าหน้าที่สามารถยึดหรืออายัดสินค้าหรือวัตถุอื่นใด ที่ก่อให้เกิดความแตกแยก และยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (ดูมติชนออนไลน์, วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2553) เพราะในทางนิตินัยผมถือว่าประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมาตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2475 แล้ว ส่วนพฤตินัยอะไรก็ตามที่ขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ หลักเสรีภาพ ความเสมอภาค หลักนิติรัฐ หลักการมีส่วนร่วมในการปกครองหรือในวิถีชีวิตทางการเมืองของประชาชนอย่างเท่าเทียม เป็นต้น ผมย่อมมีสิทธิโดยชอบที่จะปฏิเสธพฤตินัยนั้นๆ เช่น ปฏิเสธว่า พฤตินัยนั้นๆ ขัดหลักการประชาธิปไตย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ต้องเชื่อฟัง ไม่ต้องปฏิบัติตาม ฯลฯ เป็นความจริงว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นการใช้กฎหมายลูกเหนือรัฐธรรมนูญที่รับรองการใช้เสรีภาพทางการเมืองของประชาชน และคำสั่ง ศอฉ.ที่ระบุว่า “ห้ามบุคคลใดมีไว้ในครอบครอง หรือ มีไว้เพื่อการจำหน่าย จ่าย แจก ซึ่งสินค้า เสื้อผ้า เครื่องอุปโภคบริโภค หรือวัตถุอื่นใด ที่มีการพิมพ์ เขียน วาดภาพ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้ปรากฏความหมายในลักษณะ ยั่วยุ ปลุกระดม สร้างความปั่นป่วน หรือก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชนโดยทั่วไป หรือ เพื่อการกระทำหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน” ยิ่งเป็นคำสั่งครอบจักรวาล ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ระดับสัญญาบัตรใช้ดุลพินิจได้เต็มที่ แถมกำหนดโทษไว้หนักมาก คือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินสองปี ผมสนใจคำว่า “...ก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชนโดยทั่วไป” สินค้าหรือวัตถุอะไรครับที่ก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชนทั่วไปได้! อย่างป้าย “ผมเห็นคนตายที่ราชประสงค์” ที่ถูกตำรวจยึดใช่วัตถุที่ก่อให้เกิดความแตกแยกไหม เสื้อยืด “วอน นอน คุก” ของ บก.ลายจุด เข้าข่ายไหม เสื้อ “เราจะสู้เพื่อในหลวง” สร้างความแตกแยกไหม หรือ ผ้าพันคอสีฟ้า ริบบิ้นสีเหลืองที่ใช้ผูกปืนเอ็ม 16 ผูกรถถัง ฯลฯ ใช่วัตถุที่ก่อให้เกิดความแตกแยกไหม ภาพสกรีนหน้าเหลี่ยมของทักษิณที่เอามาให้คนเหยียบในที่ชุมนุมของเสื้อเหลือง ภาพสกรีนหน้าอภิสิทธิ์บนรองเท้าแตะเข้าข่ายเป็นวัตถุแห่งความแตกแยกหรือไม่ ซีดีภาพเสื้อแดงถูกฆ่าผมมีไว้ได้หรือไม่ ฯลฯ ที่สำคัญอะไรคือความแตกแยก? หากความแตกแยกหมายถึงการที่คนเสื้อแดงออกมาต่อต้านรัฐประหาร และรัฐบาลที่อำมาตย์สนับสนุน มันก็เริ่มมาจากรัฐประหาร 19 กันยา มิใช่หรือ และรัฐประหารก็เป็นผลงานการสร้างของกองทัพมิใช่หรือ? ประชาชนเจ้าของประเทศ (ที่จ่ายเบี้ยเลี้ยงให้นักเรียนนายร้อย จ่ายเงินเดือน เงินค่าสวัสดิการให้นายทหารที่จบจากโรงเรียนนายร้อยได้มีเงินเลี้ยงชีพและครอบครัว ได้อยู่บ้านพักฟรี ใช้รถฟรี น้ำมันฟรี ค่าน้ำ ค่าไฟฟรี รักษาพยาบาลฟรี จนกระทั่งนักเรียนนายร้อยเหล่านั้นเติบโตมาเป็นนายพล มีโอกาสไปเป็นบอร์ดในรัฐวิสาหกิจ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัย รวมทั้งมีอภิสิทธิ์อื่นๆ) มีสิทธิ์เรียกร้อง/ออกคำสั่ง/ออกประกาศห้ามทหารไม่ทำรัฐประหารอันเป็นเหตุสร้างความแตกแยกในหมู่ประชาชนไหม? ถ้าประชาชนไม่มีสิทธิ์ดังกล่าว ก็เป็นเรื่องประหลาดมากนะครับ เพราะระบอบประชาธิปไตย ประเทศคือบริษัทจำกัด ประชาชนทุกคนคือผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าของบริษัทเท่ากัน รัฐบาลและข้าราชการคือลูกจ้างของบริษัท ประชาชนคือนายจ้าง แล้วลูกจ้างมาสั่งนายจ้าง (โดยเฉพาะคำสั่งนั้นเป็นการใช้อำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ) ได้อย่างไรครับ? คือประชาธิปไตยที่หมายถึง “การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน” การมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างกระตือรือร้นของพลเมืองถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่ง และรากฐานของการมีส่วนร่วมก็คือ “เสรีภาพทางการเมือง” การลดทอนเสรีภาพทางการเมืองก็คือการลดทอนการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเท่ากับลดทอนอำนาจของประชาชน หรือลดทอนความเป็นประชาธิปไตยนั่นเอง การออกคำสั่งหรือการใช้อำนาจใดของ “ลูกจ้าง” ประชาชนที่เป็นการลดทอนอำนาจประชาชนหรือลดทอนความเป็นประชาธิปไตย หากไม่ละอายใจตัวเองก็ควรเกรงใจ ประชาชนที่เป็น “นายจ้าง” ว่าเขาจะอับอายขายขี้หน้านานาชาติบ้าง! เพราะประชาชนที่เป็นนายจ้างเขาคือ “มนุษย์” ซึ่งแปลว่า “สัตว์ผู้มีเหตุผล” สัตว์ผู้มีเหตุผลย่อมรักและหวงแหนเสรีภาพ เพราะเมื่อมีเสรีภาพเท่านั้นการใช้เหตุผลจึงเป็นไปได้ และเมื่อใช้เหตุผลไม่ว่าในแง่มุมใดๆ มันก็สรุปเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากสรุปว่า คำสั่งหรือมาตรการใดๆ ที่ลดทอนเสรีภาพมันเท่ากับลดทอนการใช้เหตุผล ลดทอนความเป็นมนุษย์ ลดทอนอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน และหรือลดทอนความเป็นประชาธิปไตย! ถ้าความแตกแยกหมายถึง การที่ประชาชนคิดไม่เหมือนหรือไม่เป็นไปตามความต้องการของทหาร ของรัฐบาล มันแก้ได้ง่ายนิดเดียวครับ คือทหาร และรัฐบาลต้องพยายามคิดให้เหมือนประชาชน เคารพเจ้านายผู้จ่ายเงินเดือนแก่ตัวเองให้มากขึ้น ปกป้องเสรีภาพทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างถึงที่สุด แล้วความแตกแยกจะไม่เกิด แต่ถ้าเป็นความแตกแยกในหมู่ประชาชน มันคืออะไรกันครับ? ความแตกต่างทางความคิดระหว่างเสื้อเหลือง-เสื้อแดง มันไม่ใช่ความแตกแยกที่ทำให้มีคนตายถึง 91 ศพ หรอกครับ ถ้าปล่อยให้ทุกสีใช้เสรีภาพทางการเมืองภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ ไม่มีทางหรอกครับที่ความแตกต่างทางความคิดจะกลายเป็นความแตกแยกและความรุนแรงได้ ความแตกแยกและความรุนแรงมันเกิดขึ้นเพราะอำนาจที่ไม่เคารพรัฐธรรมนูญครับ ซึ่งมาทำรัฐประหาร และพยายามแสดงอำนาจนั้นเรื่อยมา! สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Posted: 22 Nov 2010 12:24 PM PST อภิเชต ผัดวงศ์ กับ “เรื่องราว” ที่สร้างมูลค่าให้กับแหล่งท่องเที่ยวท่ามกลางกระแสทุนนิยม และบทเรียนเด่น-ด้อยเพื่อเตรียมชุมชนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเกิดหลังเปิดตัวต้อนรับผู้มาเยือน ข้อมูลเบื้องต้นที่จูงใจให้ชาวต่างชาตินึกภาพอยากเดินทางไปท่องเที่ยว ณ สถานที่หรือประเทศใด ที่แห่งนั้นมักจะมี “เรื่องราว” กระตุ้นให้ตื่นตาตื่นใจอยากไปสัมผัส แต่ไม่ง่ายครับ…ไม่ง่ายที่ใครจะสร้าง “เรื่องราว” ของประเทศ ของเมือง หรือสถานที่ท่องเที่ยวให้ติดแบบโดนใจ ชนิดที่ใครต่อใครอยากรู้จัก อยากไปให้เห็นกับตา เรื่องนี้ท้าทายให้ชุมชนแต่ละแห่งร่วมคิด เพราะเป็นการ “เพิ่มมูลค่า” ให้กับสถานที่เหล่านั้น ภูฎานเป็นประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบและทุ่งหญ้าระหว่างหุบเขาอยู่บ้าง ชาวภูฎานยังคงรักษารูปแบบทางวัฒนธรรมของตัวเองไว้ได้อย่างดี ชวนกันใส่ชุดประจำชาติเป็นชุดประจำ วัน สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติยังมีอยู่มาก นักท่องเที่ยวสามารถที่จะเดินป่า ล่องเรือ เพื่อชื่นชมกับทัศนียภาพได้ เมื่อพูดถึงภูฎานจะนึกภาพเห็นเมืองในหุบเขาที่มุ่งความสุขมวลรวมของประเทศ เขานำตรงนี้มาเป็นจุดขาย และขายอย่างมีมุมมองที่น่าสนใจคือแต่ละปีจะจำกัดนักท่องเที่ยว เป็นการคัดกรองปริมาณและคุณภาพผู้ไปเยือนได้อย่างน่าสนใจ ที่อินเดีย “ทัชมาฮาล” นอกจากงดงามและทรงคุณค่าแล้ว เขายังสร้างเรื่องราวของเศษกระจกชิ้นเล็กๆ ที่ทำให้นักท่องเที่ยวต้องเข้าแถวกันยาวเหยียด เพื่อต้องทนรอดูภาพทัชมาฮาลในเศษกระจกชิ้นนั้น ทั้งที่หากจะดูภาพทัชมาฮาลจากกระจกอื่นๆ อาจได้ภาพที่กว้างกว่า สวยกว่าด้วยซ้ำไป แต่เพราะเรื่องราวที่อยู่เบื้องหลังกระจกชิ้นนี้ทำให้นักท่องเที่ยวเกือบทุกคนต้องยอมทนรอ เพื่อมองภาพสะท้อนของทัชมาฮาล ก็เพราะเป็น “กระจก” ที่กษัตริย์ผู้สร้างทัชมาฮาลใช้สำหรับเพ่งมองมายังสิ่งบูชาความรักของพระองค์จากห้องคุมขังนั่นเอง อยู่ในคุกพระองค์อาศัยเงาสะท้อนจากกระจกนี้แหละ ทำให้มองเห็นทัชมาฮาลตำนานความรักที่ซาบซึ้งและเรื่องราวที่ผูกมาด้วย นักท่องเที่ยวก็เลยต้องยอมเข้าคิวเพื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ “เรื่องราว” สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติหากเอ่ยถึงประเทศไทยชาวต่างชาติมักนึกถึงกรุงเทพฯ วัดพระแก้ว แหล่งโลกีย์แถวพัทยา หรือไม่ก็บรรยากาศท่องทะเลแถบภูเก็ต เป็นอาทิ หากแต่ในช่วงฤดูหนาวเช่นนี้ แหล่งท่องเที่ยวทางภาคเหนือมักเป็นที่หมายปองของทั้งชาวไทยและต่างชาติ หลายจังหวัดจึงคลาคล่ำไปด้วยผู้คนที่ต้องการผ่อนคลายไปกับการท่องเทียวในมิติเชิงธรรมชาติ การได้ต้อนรับผู้มาเยือนนอกจากเพิ่มสีสันที่ได้พบได้สนทนาแลกเปลี่ยนกับคนต่างถิ่นต่างภาษาแล้ว ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสินค้าพื้นบ้าน ร้านอาหาร โรงแรมให้คึกคักอีกด้วย ในอีกด้านหนึ่ง ไม่อาจปฏิเสธว่าเพื่อรองรับการท่องเทียวเชิงธรรมชาตินี้ เพียงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา พื้นที่ทางธรรมชาติหลายแห่งต่างถูกปรับเปลี่ยนโดยมีการพัฒนา ปรับปรุง และก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสบายที่ขัดแย้งกับความคิดด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ควรจะเป็น จนสวนทางกับเป้าหมายความยั่งยืนที่ประชาคมโลกต่างพยายามร่วมกันทำให้เกิด บางแห่งภาครัฐและเอกชน สร้างอาคารศูนย์บริการ ที่พักนักท่องเที่ยว โรงแรม Home Stay สิ่งอำนวยความสะดวกที่เกินความจำเป็นและไม่กลมกลืนกับธรรมชาติขาดการวางแผนที่ดี ภายหลังจากเปิดแหล่งท่องเที่ยวเพียงไม่นาน บางพื้นที่ถูกพัฒนาผิดทิศทาง เกิดการเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว ชุมชนท้องถิ่นรู้ตัวอีกทีก็ดูจะสายไป ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาแหล่งท่องเที่ยว “ปาย” ที่แม่ฮ่องสอน กับ “บ้านฮวก” ที่พะเยา ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อจุดประกายให้นักท่องเที่ยวสนใจไปเยือน ขณะเดียวกันก็มีเสียงสะท้อนให้ร่วมกันสรุปบทเรียนข้อดีข้อด้อยของทั้งสองแห่งเพื่อเตรียมชุมชนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเกิดขึ้นกับชุมชนหลังเปิดตัวต้อนรับผู้มาเยือน เมื่อพูดถึง "ปาย" อำเภอเล็กๆ กลางหุบเขาของจังหวัดแม่ฮ่องสอน (1) น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักกัน ในฐานะที่เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อเลื่องลือขจรไปทั่วโลก ว่าเป็นเมืองในฝันของใครหลายคน เมืองของวัฒนธรรมอันดีงาม เมืองแห่งความสงบเงียบอยู่ท่ามกลางธรรมชาติขุนเขา สายน้ำ และวัฒนธรรมพื้นเมืองอันหลากหลาย แต่เมื่อหันไปฟังเสียงของคนท้องถิ่นดั้งเดิมของปาย พวกเขากลับสะท้อนความรู้สึกออกมาและช่างแปลกแยกแตกต่าง จนทำให้ใครหลายคนรู้สึกอึ้งไปตามๆ กัน พ่อครูใจ อินยา ผู้อาวุโสวัย79 ปี เป็นคนปายดั้งเดิมและเป็นอดีตครูประชาบาล ปัจจุบันเป็นประธานสภาวัฒนธรรมแม่ฮี้ อำเภอปาย บอกเล่าให้ฟังด้วยน้ำเสียงหม่นเศร้า "เมืองปายตอนนี้เปลี่ยนไปมาก ปกติคนปายเขานอนกันแต่หัวค่ำ หลังจากทำสวนทำนากันมา ก็เข้านอนกันแล้ว ชาวบ้านต้องการความสงบ ต้องการนอนพักผ่อน มันเพลีย เพราะทำงานกลางทุ่ง แต่นอนไม่ได้ เสียงมันดัง อึกทึก นักท่องเที่ยวเขาร้องรำทำเพลงกันจนดึกดื่น..." "รู้มั้ย ตอนนี้คนปาย ต้องยอมขายที่ดินให้นายทุน ยกตัวอย่าง บ้านป่าขาม คนเก่าแก่ต้องอพยพย้ายออกไปอยู่ข้างนอก เมื่อฝรั่ง นักท่องเที่ยว นักลงทุนมาเห็นทำเลดี เขามาขอซื้อ ขอเช่า ให้ราคาดี บวกกับทนเสียงดังไม่ไหว ก็พากันอพยพย้ายไปอยู่ตามเชิงเขาแทน..." นั่นคือเสียงสะท้อนของคนเฒ่าคนแก่ในอำเภอปาย ที่พยายามจะบอกย้ำให้กับผู้คนที่มาเยือนปายได้รับรู้ว่า...ปายกำลังเปลี่ยนไปอย่างเร็วและแรง! ปายเปรียบเหมือนหญิงสาวที่กำลังถูกกระทำจากผู้ชายที่ชื่อ "การพัฒนา" กับ "การท่องเที่ยว" ทำให้หลายคนอดเป็นห่วงไม่ได้ว่า ในอนาคตปายจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นใด ผู้คนในท้องถิ่นจะดำรงวิถีวัฒนธรรมอันดีงามดั้งเดิมอยู่ต่อไปหรือไม่ การมุ่งด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวจะนำพา "ปาย" พัฒนาไปสู่ความยั่งยืนหรือเสื่อมถอย!? ถ้าถามว่าตอนนี้ปายอยู่ในช่วงไหน บอกได้เลยว่า ปายอยู่ในช่วง "ขาลง" แล้ว...นี่คือเสียงสะท้อนของคนอยู่ปาย (2) ที่พัก ที่กิน ราคาถูก หายากในปาย จนต้องบอกว่าปายกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวแบบเต็มขั้นไปเสียแล้ว ท้องทุ่งนา ที่เคยเป็นวิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่น ที่นักท่องเที่ยวยุคแบ็คแพ็คหวลหา อยากมาชมเมืองปาย ปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้เริ่มกลายเป็น “ท้องนาพาณิชย์” ทำเลร้อนที่นักลงทุนใฝ่หา โดยส่วนตัวแล้วผมเห็นว่าส่วนที่ดีของปายหลังจากพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวก็มีอยู่มาก ข้อดีข้อด้อยของปายหากนำมาแจกแจงจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนอีกหลายแห่งที่กำลังจะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว สำหรับที่ “บ้านฮวก” อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา เป็นหมู่บ้านชายแดนไทย-ลาวอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 100 กิโลเมตร ทำเลที่ตั้งอยู่ห่างจากภูชี้ฟ้าและผาตั้งจังหวัดเชียงรายเพียงไม่ถึง 40 กิโลเมตร จุดเด่นของที่นี่นอกจากจะมีตลาดชายแดนทุกวันที่ 10 และ 30 ของเดือนแล้ว บ้านฮวกยังเป็นสถานที่สำคัญที่ฝ่ายไทยและลาวร่วมกันจัดประเพณีตักบาตรสองแผ่นดินเพื่อกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ ดังนั้น ที่บ้านฮวกนอกจาก High Season ช่วงฤดูหนาวแล้ว ความงดงามของน้ำตกภูซางและน้ำตกห้วยโป่งผาที่มีเต่าปูลาหายาก ตลอดถึงผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือเป็นสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวผู้หลงใหลในธรรมชาติมาเยือนได้ทุกช่วงฤดูตลอดทั้งปี การเปิดพื้นที่ท่องเที่ยวบ้านฮวกอย่างเป็นทางการ และโปรโมทยกระดับเป็น ปาย 2 พร้อมข่าวภาครัฐทุ่มงบเกือบ 100 ล้านเพื่อเนรมิตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคล้ายอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีกระแสตอบรับเป็นอย่างดี ในอีกด้านก็มีเสียงคัดค้านจากสังคมและคนในพื้นที่อย่างรุนแรง ด้วยเกรงว่าจะไปซ้ำรอยกับปาย อีกทั้งคนในพื้นที่ประสงค์ที่จะให้บ้านฮวกเป็นอย่างบ้านฮวก ภูมิใจในความเป็นชุมชนของตน ไม่ต้องไปโหนกระแสหรือพึ่งพิงชื่อเสียงจากที่ใด ซึ่งก็น่าฟัง แต่โดยความเป็นจริงแล้ว น่าห่วงว่าจะสามารถต้านกระแสทุนได้แค่ไหน อันที่จริงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนในบ้านฮวกบางส่วนจะต้องการความเจริญเข้ามาสู่ชุมชนของตน การขายที่ดินแล้วนำเงินมาจับจ่ายใช้สอยด้านปัจจัย 4 เพื่อยกระดับให้ความจำเป็นพื้นฐาน กิน ยา ผ้า บ้าน ของตนเองและครัวครัวมีคุณภาพดีขึ้น สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นสิ่งที่ปกติชนปรารถนา หากจะลองให้นึกภาพเปรียบเทียบระหว่างชาวบ้านที่ต้องทนสวมรองเท้าแตะพื้นผุขาด ใส่เสื้อม่อฮ่อมผืนเก่าซีด กับการมีอาหารเลิศรสถูกหลักโภชนาการกิน เจ็บป่วยได้รับการรักษาที่ได้มาตรฐาน เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายทันสมัย มีบ้านเรือนสวยงามมั่นคง คิดว่าชาวบ้านควรจะเลือกเอาอย่างไหน อีกมุมหนึ่ง หากต้องแลกให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้น โดยที่คนต่างถิ่นเข้ามายึดครองที่ดินของชาวบ้านในคราบของนักธุรกิจจนเบียดคนท้องถิ่นเป็นกลุ่มชายขอบ คนท้องถิ่นต้องเช่าที่ดินจากนายทุนทำกิน บางส่วนต้องไปเป็นลูกจ้างเขา วิถีชีวิตเปลี่ยนไป คุ้มหรือไม่กับสิ่งที่สูญเสียไป ย่อมเป็นประเด็นที่น่าถกเถียงเช่นกัน ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรให้คำว่า “พัฒนา” “แหล่งท่องเที่ยว” การอนุรักษ์” “วัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น” ก้าวไปพร้อมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเป็นไปตามเจตนารมณ์ของชุมชนท้องถิ่น มิติการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (3) เดิมอยู่ในการดูแลของภาครัฐ แต่ในปัจจุบันชุมชนท้องถิ่นถูกคาดหวังให้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทั้งในด้านการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติ การให้ความรู้ และการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เป็นการดีที่ชุมชนจะได้ทำความเข้าใจจุดยืนและยอมรับภาระและหน้าที่ว่าก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการท่องเที่ยวควรเตรียมความพร้อมอย่างไร การจัดการท่องเทียวโดยชุมชุมควรสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างจริงจัง ควรจะต้องมีส่วนรับรู้ ร่วมคิด และตัดสินใจร่วมกันตั้งแต่ต้น ให้ตระหนักรู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการท่องเที่ยว ทั้งแง่บวกและลบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาหลายชุมชนรับรู้เพียงด้านบวกและผลประโยชน์เพียงส่วนเดียว ชุมชนควรยึดมั่นและภาคภูมิใจในวัฒนธรรมและประเพณีของตน โดยเข้าใจถึงผลการเปลี่ยนแปลงหากการท่องเที่ยวเข้ามาแล้วจะไม่ทำให้สิ่งดีดีเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปได้โดยง่าย มุ่งเน้นการจัดการที่ดี เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวส่วนมากจะจัดการได้ไม่เหมาะสมกับความมีคุณค่าในตัวเอง บางครั้งมุ่งจัดการเพื่อให้นักท่องเที่ยวสะดวกแต่ลืมคำนึงถึงสภาพการดูแลรักษาธรรมชาติและวัฒนธรรม การจัดการด้านขยะและคุณภาพน้ำต้องให้มีผลกระทบน้อยที่สุด ระบบนิเวศตามธรรมชาติต้องรักษาให้คงอยู่ การจัดการเสียงด้านควบคุมไม่ให้อึกทึกครึกโครม ไม่ว่าจะมาจากนักท่องเที่ยว เครื่องยนต์ หรือแม้กระทั่งเสียงเพลง หรือเครื่องเสียง เพราะนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบธรรมชาติมักชอบความสงบด้วย รวมถึงการแบ่งพื้นที่ให้เหมาะสม เป็นสัดเป็นส่วน ไม่ควรเปิดให้ท่องเที่ยวได้ทั้งหมด เพราะในบางครั้งอาจเป็นการรบกวนความสงบสุขของชุมชน หรือพื้นที่ธรรมชาติที่ควรจะสงวนให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัวด้วย ดังนั้นควรวางแผนเรื่องการจัดแบ่งสรรพื้นที่ตั้งแต่แรก ชุมชนควรคำนึงถึงความสามารถรองรับนักท่องเที่ยว ทั้งด้านแหล่งท่องเที่ยว ด้านการจัดการและบริการที่มีขีดจำกัด ไม่ใช่จะรับได้เรื่อยๆ อย่างไม่มีขีดจำกัด มิฉะนั้นจะส่งผลทำให้การท่องเที่ยวในพื้นที่เสื่อมโทรมและเสื่อมความนิยมลงอย่างรวดเร็ว การเปิดพื้นที่บ้านฮวกเป็น “ปาย 2” จึงเป็นโอกาสดีที่คนบ้านฮวกจะได้หันกลับมาทบทวนสิ่งที่จะเกิดขึ้นทุกแง่มุมทั้งบวกและลบ พร้อมกับพิจารณาโอกาสของชุมชนต่อไปในอนาคตว่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนนั้น ส่งผลดีต่อชุมชนในระยะยาวจริงหรือไม่ ชุมชนจะจัดการอย่างไรต่อไป เพราะในภาพรวมเราไม่สามารถแยกการพัฒนาการท่องเที่ยวออกจากการพัฒนาด้านอื่นๆ ของชุมชนได้ หากการพัฒนาขั้นพื้นฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา สาธารณสุข คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่มั่นคงเรียบง่าย วัฒนธรรมที่ดีงาม น้ำใจไมตรีและรอยยิ้มจากใจคนไทยด้วยกัน ยังถูกละเลยเพิกเฉย การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่หลายคนคิดว่าเป็นทางรอดของความเป็นไทยก็คงไม่อาจจะถึงฝั่งฝันได้ นอกจากบ้านฮวกแล้ว พะเยายังมีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นต้นทุนดั่งเดิมอีกหลายแห่ง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้จัดทำหนังสือ “12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน” โปรโมทปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ถูกคัดสรรว่าสวยที่สุด น่าดูที่สุด ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตต้องไปสัมผัส โดยมีแนวคิดมาจากการได้ไปชื่นชมแหล่งท่องเที่ยวในตำแหน่งและช่วงเวลาที่สวยที่สุด ได้มีการคัดเลือกการเวียนเทียนวัดติโลการามกลางกว๊านพะเยา เป็นแหล่งท่องเที่ยวปรากฏอยู่ในปฏิทินที่เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวมาดู ประเพณีลอยกระทงที่เพิ่งพ้นผ่าน ภาพความงดงามของกว๊านพะเยาและจำนวนนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลมาเยือนปรากฏตามสื่อมวลชน เป็นภาพน่าประทับใจไม่น้อย พะเยามี “เรื่องราว” พญานาคกลางกว๊าน บริเวณท่าเรือวัดติโลกอารามริมกว๊านพะเยามีรูปปั้นพญานาคธุมะสขี (ในตำนานเรียกจาตุ๊มะสักขี) เป็นรูปเหมือนองค์เทพนั่งบนแท่นบัลลังก์ มีนาค 5 หัว แผ่พังพานล้อมองค์เทพ ตามตำนานเล่าว่าพญานาคตนนี้ได้นำเอาทองคำจากนาคพิภพมามอบให้สองตายายเป็นผู้ก่อสร้าง “พระเจ้าตนหลวง” และยังถือว่าเป็นอารักษ์องค์หนึ่งที่รักษาเมืองพะเยา ถึงตอนนี้ ผมแม่แน่ใจว่า สำหรับนักธุรกิจที่ดิน นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พ่อค้าหัวใสทั้งหลาย “เรื่องราว” ของปายที่แม่ฮ่องสอนกับปาย 2 ที่พะเยา เรื่องไหนจะชวนน้ำลายไหลมากกว่ากัน อ้างอิง (1) องอาจ เดชา , "ปาย" เปลี่ยนไป , http://www.prachatai.com/journal/2006/12/11039?ref=nf (2) สุกัญญา สินถิรศักดิ์ , ฤา-ปาย-ขาลง, กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (3) จิตศักดิ์ พุฒจร ,การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน ,สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่าร้องอาเซียน-ยูเอ็น สอบสวนการทารุณ-ปฏิเสธการเลือกตั้ง Posted: 22 Nov 2010 11:58 AM PST หนุนตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ หวังหาข้อเท็จจริงกรณีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในพม่า พร้อมร้องรัฐบาลไทยให้ผู้หนีภัยสู้รบอาศัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราวต่อ ส่วนอินโดฯ ประธานอาเซียนในปี ปี 54 ควรทบทวนหลักการไม่เข้าแทรกแซงกับพม่า เมื่อวันที่ 15 พ.ย.53 กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า (AIPMC) ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้อาเซียนและสหประชาชาติเร่งสอบสวนกรณีทารุณกรรมในพม่า ปฏิเสธผลเลือกตั้ง โดยแถลงการดังกล่าวระบุเนื้อหา ดังนี้ แถลงการณ์กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า (AIPMC) เรียกร้องให้อาเซียนและสหประชาชาติเร่งสอบสวนกรณีทารุณกรรมในพม่า ปฏิเสธผลเลือกตั้ง 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 การปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี สร้างความหวังครั้งใหม่ในพม่า แต่มิได้แก้ปัญหาหลักในประเทศ ประชาคมโลกต้องสู้ต่อไปเพื่ออิสรภาพของคนพม่า ขณะนี้ ในพม่ายังมีนักโทษการเมืองอีก 2,200 คนที่ถูกกักขังอยู่หลังม่านเหล็ก การเลือกตั้งในพม่าที่ผ่านมาได้จุดชนวนความตึงเครียดให้แก่ชนกลุ่มน้อย และนำไปสู่การสู้รบครั้งใหม่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า การสู้รบที่เกิดขึ้น ทำให้ประชาชนโดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยที่เป็นเป้าหมายหลักมีความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และทำให้เกิดคลื่นผู้ลี้ภัยกลุ่มใหม่ที่ถูกบีบบังคับให้ละทิ้งบ้านเกิดเมือง นอนเพื่อรักษาชีวิตตน อาเซียนและรัฐสมาชิกต้องกดดันให้พม่ารับประกันความปลอดภัย และอิสรภาพในการเดินทางและอิสรภาพในการแสดงออกทางการเมืองของนางอองซาน ซูจี ปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมดทันที และหยุดทำร้ายราษฎร์ของตน อาเซียนจำต้องสนับสนุนข้อเสนอของผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติ เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า ในการจัดตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ เพื่อตรวจสอบหาข้อเท็จจริงกรณีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในพม่า และก้าวสู่ขั้นตอนเชิงปฏิบัติเพื่อให้การจัดตั้งคณะกรรมาธิการดังกล่าวเป็นจริงขึ้นมา การเลือกตั้งที่ผ่านพ้นไปไม่นานนี้เป็นเพียงการแสดงอำนาจอย่างน่าละอายใจของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า การเลือกตั้งดังกล่าวมีข้อผิดพลาดมากมาย และจะไม่อาจนำมาซึ่งรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งจะใฝ่หาการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศพม่า ดังนั้น ประชาคมโลกได้แก่อาเซียนและสหประชาชาติ ต้องปฏิเสธผลการเลือกตั้งดังกล่าว และสหประชาชาติควรก้าวเข้ามามีบทบาทในการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ในพม่า อาเซียนได้ชักชวนพม่าให้เร่งทำงานร่วมกับอาเซียนและสหประชาชาติ แต่อาเซียนจำเป็นต้องนำสิ่งที่ได้พูดคุยไว้มาสู่การปฏิบัติ ความน่าเชื่อถือขององค์กรจากการเลือกตั้ง อาเซียนและสหประชาชาติต้องให้การสนับสนุนนางอองซาน ซูจี และกดดันพม่า เพื่อให้การเจรจาสามฝ่าย ระหว่างรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า กลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยนำโดยนางอองซาน ซูจี และชนกลุ่มน้อยเกิดขึ้นได้จริงในที่สุด แถลงการณ์ AIPMC เกี่ยวกับประเทศไทย: รัฐบาลไทยและคนไทยได้แสดงออกถึงความโอบอ้อมอารีในการจัดพื้นที่ พักพิงและให้ความช่วยเหลือต่างๆ แก่ผู้หนีภัยจากการสู้รบและการทารุณกรรมในพม่ามาเป็นเวลาช้านาน และ AIPMC ขอแสดงจุดยืนร่วมกับประชาสังคมในประเทศไทย เรียกร้องให้รัฐบาลไทยอนุญาตให้ผู้หนีภัยจากการสู้รบจากพม่าที่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และหวาดกลัวที่จะกลับบ้านเกิดเมืองนอนของตนได้อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวในเขตแดนไทย เป็นเรื่องน่ายินดีที่องค์กรในประเทศและองค์กรระหว่างประเทศได้ดำเนินการตอบสนองต่อสถานการณ์อุกฤษฏ์ในพื้นที่ชายแดนระหว่างสองประเทศได้อย่างทันท่วงที ในการณ์นี้ AIPMC ขอร่วมกับกับองค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทย วิงวอนให้รัฐบาลไทยอนุญาตให้สหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สามารถเข้าถึงผู้หนีภัยและให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่พวกเขา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทย และที่อาศัยอยู่ตามรอยตะเข็บชายแดนในฝั่งประเทศพม่า อีกทั้ง สนับสนุนให้องค์กรเหล่านี้ทำงานร่วมกับองค์กรท้องถิ่นในพื้นที่ ในการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่ผู้หนีภัยความขัดแย้งจากพม่า แถลงการณ์ AIPMC เกี่ยวกับ ประเทศอินโดนีเซีย: จากประสบการณ์ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการเป็นเวลากว่า 30 ปี อินโดนีเซียมีพันธะสัญญาในการขจัดลัทธิอำนาจนิยมทุกรูปแบบ และ AIPMC มีความเสียใจต่อแถลงการณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศ Mr. Marty Natalegawa ที่เปลี่ยนจุดยืนอันแข็งกร้าวในประเด็นเรื่องการเลือกตั้งในประเทศพม่าอันเป็นผลจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ผ่านมา AIPMC อินโดนีเซียจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลอินโดนีเซียมีจุดยืนต่อวาระการฟื้นฟูประชาธิปไตยและการขจัดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศพม่า AIPMC ขอเรียกร้องให้รัฐบาลอินโดนีเซีย โดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศใช้โอกาสของการเป็นประธานอาเซียนในปี พ.ศ.2554 ที่จะถึงนี้ แสดงความเป็นผู้นำภูมิภาคที่มีความหมาย การเป็นประธานอาเซียนจะเป็นโอกาสดีที่จะประเมินพันธะสัญญาที่พม่ามีต่อกฎบัตร อาเซียนและความเป็นประเทศสมาชิกของอาเซียน อินโดนีเซียไม่ควรหลงเชื่อการเลือกตั้งที่ผ่านการดัดแปลงจนไร้ซึ่งความน่า เชื่อถือของพม่า ไม่ควรนำหลักสากลในการไม่เข้าแทรกแซงมาใช้อย่างผิดๆ โดยไม่แทรกแซงการคุมขังนักโทษการเมืองจำนวนกว่า 2,200 คน การทำร้ายประชาชน และการทำลายเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในพม่า สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ชีวิตแม่ค้าเร่สาวอีสาน อีกหนึ่งเหยื่อจากแดนไกลในชายแดนใต้ Posted: 22 Nov 2010 11:17 AM PST อีกหนึ่งเหยื่อจากแดนไกลในชายแดนใต้ คือแม่ค้าเร่จากภาคอีสาน ไฉนจึงกล้าหาญชาญชัยมาค้าขายในแดนวิปโยค ซ้ำยังห่างไกลการเยียวยา เมื่อต้องตกเป็นเหยื่อความรุนแรง ถึงชายแดนใต้วันนี้ยังมีแต่ความรุนแรง แต่พื้นที่แห่งนี้ก็ยังเป็นที่ขุดทองของใครหลายๆ คนด้วย ขณะเดียวกันนักขุดทองเหล่านี้ก็ตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์ไปด้วย หลายครั้งที่ปรากฏข่าวว่ามีพ่อค้าแม่ค้านอกพื้นที่ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิตอย่างจงใจ เหมือนกับต้องการให้พื้นที่นี้เป็นที่ต้องห้ามสำหรับนักขุดทองต่างถิ่นเหล่านี้ ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2553 เกิดเหตุคนร้ายกราดยิงพ่อค้าไก่ชาวสงขลาเสียชีวิต 3 ศพ ก่อนหน้านั้นไม่กี่วันก็มีเหตุกราดยิงพ่อค้าแม่ค้าผลไม้เสียชีวิต 5 ศพ เหตุเกิดในพื้นที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี แม่ค้าชาวอีสานก็เป็นเหยื่อของสถานการณ์กลุ่มหนึ่งด้วย อย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนางสาวสุภาพ สวัสดิภาพ อายุ 19 ปี อยู่บ้านเลขที่ 33 หมู่ที่ 5 บ้านห้วยคล้อง ตำบลตากอ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ เหตุเกิดเมื่อช่วงเที่ยงของวันที่ 31 สิงหาคม 2553 บนถนนในหมู่บ้านลูโบ๊ะกาเยาะ หมู่ที่ 5 ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส โดยถูกคนร้าย 2 คน ขับรถจักรยานยนต์มายิงบริเวณท้องน้อยและสะโพกอาการสาหัส และเสียชีวิตลงในตอนเย็นวันเดียวกัน เหตุเกิดขณะที่นางสาวสุภาพ กำลังหิ้วตะกร้าขายสินค้าจำพวกน้ำมันสมุนไพร ยาดม ยาลม ยาหม่องและของใช้เบ็ดเตล็ด จนข้าวของกระจายบนพื้นถนน ส่วนนางกาวิน ชรินทร์ อายุ 49 ปี ผู้เป็นแม่ซึ่งเดินขายของด้วยกัน ปลอดภัย นางสาวสุภาพเพิ่งเดินทางมาตระเวนขายของในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นครั้งแรก ส่วนแม่มาแล้วหลายครั้ง นางกาวิน เล่าว่า ก่อนเกิดเหตุตนเองกับเพื่อนๆ อีก 11 คน ออกเดินทางด้วยรถกระบะจากจังหวัดอำนาจเจริญมาตระเวนขายของในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยแวะรับรับลูกสาวที่กรุงเทพมหานครก่อน จากนั้นเดินทางมาพักในตัวเมืองสุไหงโก–ลก จังหวัดนราธิวาส ก่อนกระจายกันเร่ขายของในพื้นที่ได้ 4 วันแล้ว นางกาวิน เล่าด้วยว่า หลังเกิดเหตุ ได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยา 100,000 บาท และเป็นเงินก้อนหนึ่งก้อนเดียวที่ได้รับ จากนั้นก็ไม่มีความช่วยเหลือใดๆ ตามมา “แม่เดินทางไปขายของที่ชายแดนภาคใต้เป็นประจำ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เดินทางไปขายของที่จังหวัดนราธิวาส มีรายได้วันละประมาณ 200 – 300 บาท ซึ่งดีกว่าอาชีพปลูกมันสำปะหลังที่บ้าน เพราะมีรายได้เข้ามาทุกวัน” นางกาวิน บอกว่า ทุกครั้งที่เดินทางมาขายของในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่เคยเจอปัญหาอะไร แต่ก็ต้องระมัดระวังตัวอยู่ตลอดเวลา ส่วนลูกสาวปกติทำงานโรงงานที่กรุงเทพมหานคร แต่ตรงกับช่วงว่างเว้นจากงาน จึงขอติดรถมาช่วยแม่ขายของด้วย เพราะต้องการช่วยแม่หารายได้ เพื่อหาเงินไปซ่อมบ้าน เพราะบ้านเก่าและทรุดโทรมมาก ลูกสาวคนนี้มีครอบครัวแล้ว โดยมีลูกชาย 1 คน อายุ 2 ขวบ 8 เดือน ซึ่งสามีเป็นคนเลี้ยงดูอยู่ที่บ้านที่จังหวัดอำนาจเจริญ สามีมีอาชีพรับจ้างทั่วไป แล้วแต่ใครจะจ้าง เพราะมีฐานะยากจนเหมือนครอบครัวของตน การเดินทางไปตระเวนขายของเร่จะทำเป็นอาชีพเสริม ในช่วงว่างจากฤดูทำนาและปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งอาชีพหลักของครอบครัวนางกาวิแม่ปลูกมันสำปะหลัง โดยจะเริ่มปลูกในเดือนตุลาคม หลังจากนั้นก็จะรอเก็บขายได้ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ปกติในกลุ่มที่เดินทางไปด้วยกันมี 15 – 16 คน บางครั้งก็ 12 – 13 คน “ช่วงว่างจากปลูกมันสำปะหลัง คนในหมู่บ้านจึงจะออกไปตระเวนขายของตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศเวียนกันไป ส่วนใหญ่จะเดินทางไปขายในภาคใต้ เพราะในพื้นที่ภาคอีสานมีคนขายเยอะอยู่แล้ว” นางกาวิน เล่าว่า หลังเกิดเหตุคนร้ายยิงลูกสาวเสียชีวิต ทั้งคณะที่เดินทางมาขายของก็รีบเดินทางกลับบ้านทันที โดยนำศพลูกสาวกลับไปทำพิธีทางศาสนาที่บ้านเกิด ด้วยความรู้สึกที่หวาหวั่นกบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นานกว่าจะหายจากอาการนี้ไปได้ “แม่ไม่อยากไปขายของที่นั่นอีกแล้ว ตอนนี้ยังเสียใจอยู่ ยังทำใจไม่ได้เลย ส่วนคนอื่นที่กลับไปขายของที่นั่นอีกก็มี แต่แม่ไม่ไปแล้ว ถ้าจะขายของต่อก็ไปขายของที่อื่น แต่จะไปขายที่ไหนก็แล้วแต่เถ้าแก่” เถ้าแก่ ก็คือคนในหมู่บ้านเดียวกัน ที่รับซื้อของแล้วมาให้คนในหมู่บ้านเร่ขาย นางกาวิน เล่าต่อว่า นางสาวสุภาพเป็นลูกคนโต จากทั้งหมด 3 คน คนที่ 2 เป็นผู้หญิง เพิ่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และไม่ได้เรียนต่อเพราะฐานะทางบ้านยากจน “เมื่อพี่สาวตาย ลูกสาวคนที่สองก็ตัดสินใจเดินทางเข้ากรุงเทพหางานทำทันที เพราะต้องการช่วยแม่ ตอนนี้เป็นลูกจ้างร้านขายเสื้อผ้า ได้ประมาณ 2 เดือนแล้ว ได้เงินเดือนก็ส่งกลับมาให้แม่” แม่เคยชวนมาขายยาสมุนไพรด้วย แต่เขาบอกว่า ไม่ถนัด ส่วนลูกคนเล็กอายุ 4 ขวบ กำลังเรียนอยู่ที่ศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียนในหมู่บ้าน ขณะที่สามีเป็นโรคปวดข้อ ไม่สามารถทำงานได้ ตอนนี้ไปอาศัยอยู่ที่วัดในหมู่บ้าน ตอนนี้คนที่หารายได้ให้กับครอบครัวก็มีแม่คนเดียว ส่วนเงินที่ลูกสาวคนรองส่งมาให้ก็พอจุนเจือได้บ้างเล็กน้อย ส่วนเงินช่วยเหลือเยียวยาที่ได้มา 100,000 บาท ก็เกือบหมดไปกับงานศพของลูกสาวกับซ่อมบ้านไปแล้ว ชีวิตคนจน (จากแดนไกล) ก็เป็นอย่างนี้แหละ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
“สนธิ” ลั่นค้านแก้ รธน.พรุ่งนี้เหลือ 3-4 คนก็จะสู้ Posted: 22 Nov 2010 10:26 AM PST “สนธิ” ชี้แม่ยกอภิสิทธิ์น่าสงสารที่สุดในโลก ลุ่มหลงในกิเลส-ความหล่อเหลา จึงไม่อยากเสียเวลากับคนไร้สาระแบบนี้ จวกพวกนักวิการ ด็อกเตอร์ หลายๆ คนยังไม่เข้าใจในสิ่งที่พันธมิตรทำ แล้วนับประสาอะไรกับชาวบ้านธรรมดา เว็บไซต์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ รายงานวานนี้ (22 พ.ย.) ว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้โทรศัพท์ร่วมแสดงความคิดเห็นในรายการ "แอน จินดารัตน์" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี-ทีวีของประชาชน มีนางจินดารัตน์ เจริญชัยชนะ รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ ถึงประเด็นการนัดชุมนุมของพันธมิตรฯ ในวันพรุ่งนี้ (23พ.ย.) เพื่อคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ นายสนธิกล่าวว่า ขอร่วมออกความเห็น จริงๆแล้วอยากตอบคำถามที่ถามว่าเรามาชุมนุมทำไม ตนก็ได้พูดไปเมื่อตอนมื้อเที่ยงวันนี้ว่ายิ่งต่อสู้ให้ชาติบ้านเมืองแล้ว ยิ่งเข้าใจถึงความวิริยะอุตสาหะของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม แล้วพระองค์ท่านก็ตัดสินใจเผยแพร่คำสั่งสอน เพราะเห็นว่าคนในโลกนี้ขาดปัญญาที่ถูกต้อง ท่านต้องเดินทางด้วยเท้าเปล่าเป็นหมื่นๆกิโลเมตร ต้องไปเจอพวกมีอวิชชาพวกมิจฉาทิฐิมากมาย และต้องอธิบายว่าธรรมที่แท้จริงคืออะไร นายสนธิกล่าวอีกว่า พอมาเทียบกับสิ่งที่ตนกับพวกเราทำ มันจิ๊บจ๊อยเหลือเกิน ตนเคยรู้สึกเหมือนกันเวลามีคนมาถามว่าชุมนุมไปทำไม ไม่เห็นมีอะไรให้ชุมนุม แรกๆตนรู้สึกสงสารและท้อใจ ว่าทำไมพวกนี้ถึงได้โง่อย่างนี้ แต่มารู้ซึ้งเรื่องบัวหลายเหล่าของพระพุทธเจ้า อันนี้เป็นโลกมนุษย์จริงๆ การที่เรารู้ว่าอะไรถูกไม่ถูกแล้วก็นั่งมองสิ่งต่างๆให้มันฉิบหายไปมันก็ไม่ ใช่ที่ ถ้าเรายึดคำสอนพระพุทธเจ้า พระองค์ท่านเสียสละได้ ทำไมเราจะยอมเหนื่อยไม่ได้ กับการเดินออกไปเอาธรรมนำหน้า เอาความถูกต้องนำหน้า แม้เทียบกับพระองค์ไม่ได้เลยแม้แต่นิด แต่อย่างน้อยทำให้เราสบายใจ ตนคิดว่าเป็นบุญกุศล อย่างที่พล.ต.จำลองสอนให้คนพูดว่า มาทำบุญใช้หนี้แผ่นดิน จริงๆแล้วทุกอย่างอนิจจังหมด นายอภิสิทธิ์อยู่ไม่นานเดี๋ยวก็ไป ทั้งๆที่น่าจะเป็นความหวังของพวกเรา แต่ก็เป็นข้อสอนในธรรมที่ลึกซึ้งมาก ว่าดูคนอย่าไปดูที่รูปร่างหน้าตาและคำพูดที่สวยหรู แต่ต้องดูที่การกระทำ ดูที่จิตใจ เพราะฉะนั้นแล้วไม่หวั่นไหวเลยถ้ามีคนมาพูดว่าชุมนุมอีกแล้วหรือ ตนสงสารและจะใช้น้ำอดน้ำทนอธิบายให้เขาฟัง ถ้าไม่ฟังก็ไม่ถือสา นายสนธิยังกล่าวอีกว่า มีคนถามว่ากลัวอะไรในชีวิต ตนกลัวการตายอย่างโง่เขลาเบาปัญญา ที่มีหลายคนมักเรียกตนว่าพ่อหมอ จริงๆ แล้วตนไม่ได้เก่งอะไร แต่ใฝ่หาปัญญาและความรู้ ไม่รู้อะไรก็จะถามและฟัง ทุกวันนี้ก็ยังรู้สึกว่าตนโง่อยู่เลย ตนเคยบอกกับนายปานเทพว่าไม่ต้องไปใส่ใจกับคนที่มาแสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊ค เพราะขนาดพวกนักวิการ ด็อกเตอร์ หลายๆ คนยังไม่เข้าใจในสิ่งที่เราทำเลย แล้วนับประสาอะไรกับชาวบ้านธรรมดา "โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่ยกของนายกฯนี่น่าสงสารที่สุดในโลก ตนไม่อยากจะพูดว่าคนพวกนี้แทบช่วยอะไรไม่ได้แล้วในชีวิตนี้ เป็นคนที่ลุ่มหลงในกิเลส ในวันข้างหน้าถ้ามีคนหล่อกว่านายอภิสิทธิ์ พูดเพราะกว่า ก็จะเปลี่ยนไปชอบอีกคน คนที่หนาด้วยกิเลสพูดมากไปก็ไม่มีประโยชน์ คนพวกนั้นมุ่งที่ความสวยงามความหล่อเหลา มองคนที่ภายนอกจริงๆ คนพวกนี้ตนรังเกียจมาก รู้ว่าไม่ควรพูดแต่ต้องพูด เพราะรู้สึกว่าไม่อยากเสียเวลากับคนไร้สาระแบบนี้" นายสนธิ กล่าว นายสนธิกล่าวอีกว่า เพราะฉะนั้นก็เลยอยากเล่าความรู้สึกให้ฟัง ไม่ว่าชุมนุมพรุ่งนี้จะมากันกี่คน ถ้าจะเหลือแค่ 3-4 คน เราก็จะยืนกันแค่นี้ อย่างที่บอกก่อนจะทำอะไรเราต้องศรัทธาก่อน ถ้าเราศรัทธาแล้วก็จะแข็งแกร่งไม่มีใครโค่นล้มได้ อย่างน้อยๆถ้าเราทำแล้วกลับบ้านหลับสบาย ทำได้แค่ไหนแค่นั้น แต่จะนอนไม่หลับถ้าเป็นสิ่งที่เราทำได้แต่ไม่ทำ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
บันทึกของวิสา คัญทัพ ฉบับ7 : ก้าวพ้นแดงเหลือง สู้ศักดินา-ทุนนิยม เพื่อประชาธิปไตย Posted: 22 Nov 2010 09:55 AM PST ชื่อบทความเดิม: ก้าวข้ามพ้นสีแดงเหลืองแล้วจึงรู้ว่า ประชาชนสู้กับศักดินาและทุนนิยมเพื่อสังคมประชาธิปไตย มีบางคนคิดถึง “การจัดตั้ง” แบบปฏิวัติ เพราะเริ่มมีความรู้สึกว่า หากทุนนิยมกับศักดินาปรองดองกันได้ ประชาชนจะได้อะไร ได้อำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริงกระนั้นหรือ เมื่อมองการเมือง มองพรรคการเมืองในประเทศไทยแล้ว หนทางที่ประชาชนจะได้อำนาจ “กำกับรัฐ” อย่างแท้จริง ดูยังห่างไกล หากเรามองว่าความขัดแย้งสำคัญของสังคมอยู่ที่การครอบครองปัจจัยการผลิต ทำอย่างไรจะให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นได้ แน่นอนทั้งสองระบอบไม่ว่าจะเป็นศักดินาหรือทุนนิยมไม่ทำให้เกิดความเป็นธรรมอยู่แล้ว ผู้คนจึงคิดถึง สังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์ (เผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ) ซึ่งโดยโครงสร้างใหญ่ๆ มีปัญหาในทางการปฏิบัติหลายประการ และยังต้องหาทางยกระดับทางทฤษฎีอีกไม่น้อย กว่าที่จะพิสูจน์ให้เห็นข้อดีและข้อที่ก้าวหน้ากว่าทุนนิยมได้ แต่สังคมปัจจุบัน มองในขอบเขตทั้งโลก ทุนนิยมก็ยังมีลักษณะ แข่งขัน รุกราน เอาเปรียบ แม้จะมีด้านดีคือความก้าวหน้าด้านพลังการผลิต พัฒนาการทางเทคโนโลยี ทว่าข้อเสียคือกำไรมหาศาลที่มากเกินเหตุผลอันทำให้วิถีชีวิตคนต่างกันราวฟ้ากับดิน คนส่วนน้อยร่ำรวยหรูหราฟุ้งเฟ้อ คนส่วนใหญ่ต่ำต้อยด้อยค่าอดอยากหิวโหย (เหมือนโลกของคนในฮอลลีวู้ดห่างไกลกับโลกของคนทุกข์จนในหลายประเทศ ทั้งๆที่ค่าของคนไม่ต่างกัน) ซึ่งที่สุดเงินก็ชื้อและกำหนดทุกอย่างในโลกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อทุนนิยมให้การสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์และการสงคราม ไม่ว่าจะเพื่อข่มขู่กัน หรือประคองเวลาค้าอาวุธ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นด้านของการทำลายมากกว่าการสร้างสรรค์ นำความหายนะมาสู่มนุษยชาติมากกว่าการอยู่ร่วมกันอย่างสุขสงบ สำหรับประเทศไทย เวลานี้ ทุนนิยมใหม่ขัดแย้งกับทุนนิยมเครือข่ายศักดินาอย่างรุนแรง อำนาจรัฐซึ่งถูกควบคุมโดยอำมาตย์และศักดินามายาวนาน ทำท่าจะสูญเสียพื้นที่ให้กับทุนนิยมใหม่ ซึ่งดำเนินนโยบายแบ่งสันปันบางส่วนผลประโยชน์ให้ประชาชนได้ดีกว่า โดยใช้ช่องทางของรัฐธรรมนูญ และระบอบประชาธิปไตย ซึ่งประชาชนธรรมดาสามัญ อันจะเรียกว่ารากหญ้าหรือไพร่ก็ตามแต่ เป็นผู้เสียสละเลือดเนื้อชีวิตต่อสู้มาทุกยุคสมัย หากจะกล่าวว่า ปัญญาชนที่ไปเรียนยุโรปเป็นผู้จุดเชื้อไฟให้ติดเมื่อ 78 ปีที่ผ่านมา วันนี้ไฟได้ลุกโชติช่วงขึ้นในขอบเขตทั่วประเทศอย่างกว้างขวางแล้ว ถามว่า ความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบันคืออะไร ตอบว่า ความแตกต่างก็คือผู้จุดเชื้อริเริ่มในอดีต เน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพทางการเมือง และระบอบการปกครองอันเป็นเรื่องของปัญญาชน แต่ปัจจุบันมันได้ลงลึกสู่ปัญหา ปากท้อง ชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องทางเศรษฐกิจ ที่ท้าทายว่า ถึง “ทุน” ก็เถอะ “ทุน” แต่เป็นทุนของใคร แบบไหน อย่างไร ทุนพวกพ้องสมุนบริวารที่มิได้เจือจานสู่ไพร่ฟ้าประชาชน ทุนโฆษณาชวนเชื่อตามวาระโอกาสเพื่อสร้างบารมี หรือทุนเสรีที่แข่งขันกันโดยอิสระ แต่พยายามสร้างประโยชน์ให้เกิดกับประชาชนโดยส่วนรวม อันเป็นทุนยุคใหม่ที่รู้ว่า “จะต้องเอื้อประโยชน์ให้เกิดต่อทั้งมวล” ได้อย่างไร และประชาชนผู้ด้อยโอกาส ผู้ถูกปกครองก็มีขั้นตอนในการเลือก เขาจะเลือกการปกครองของ “ทุนแบบไหน” ทุนแบบ “ทักษิณ” หรือทุน “ศักดินา” หรือทุนของใครก็ตามแต่ ประชาชนย่อมรู้ที่จะเลือกเฉพาะหน้า และเลือกในระยะยาวต่อไป ท่ามกลางการพิสูจน์การทำงานตามเทอมที่กำหนดชัดเจนว่ากี่ปีตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎกติกาประชาธิปไตย (ที่สามารถแก้ให้ดีขึ้นได้เรื่อยๆ หากประชาธิปไตยมีความต่อเนื่อง) ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า มีกฎกติกาที่แฟร์เพลย์หรือเปล่า มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยแท้จริงหรือไม่ โครงสร้างการปกครองสูงสุดเอื้อประโยชน์ทางการเมืองให้กับกลุ่มอำนาจใด พลังที่ก้าวหน้าหรือล้าหลังกำหนดความเป็นไปของสังคม เพียงแค่ประชาชนจะเดินไปสู่จุดนี้ พวกเขาก็ยังต้องต่อสู้ด้วยความยากลำบากและสับสน ทั้งสูญเสียมากมายมหาศาล ในความเป็นจริง “ทุนนิยม” กับ “ศักดินา” เคยปรองดองกันได้หรือ หากพิจารณาจากทฤษฎีลัทธิมาร์กซ เมื่อกล่าวถึงวิวัฒนาการทางสังคม ลำดับยุคไว้เป็น สังคมบุพกาล,สังคมทาส,สังคมศักดินา,สังคมทุนนิยม,และสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ได้ให้คำตอบว่า สังคมศักดินา ต้องล่มสลายลงก่อน พิจารณาในขอบเขตทั่วโลกก็เป็นเช่นนั้น “ศักดินา” ในโลกนี้จึงเหลือน้อยลงไปเรื่อย ที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่ก็เป็นในลักษณะที่ยอมลดทอนอำนาจสมบูรณายาสิทธิราชของตนลง และยอมรับในระบอบประชาธิปไตย ส่วนที่ไม่ยอมก็มักเกิดเหตุการณ์รุนแรงเสียหายไม่มากก็น้อยในทุกประเทศ ไม่ว่าจะโบราณแบบรัสเซีย,ฝรั่งเศส,เยอรมัน, หรือปัจจุบันล่าสุดอย่างเนปาล ส่วนสังคมไทยก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งต้องศึกษาและสรุปบทเรียนจากประวัติศาสตร์ในชุดของเราเอง รวมทั้งเทียบเคียงถอดถอนบทเรียนจากประเทศอื่นๆพร้อมกันไปด้วย เพราะฉะนั้น คำถามว่า “ทุนนิยม” กับ “ศักดินา” จะปรองดองกันได้หรือ คำตอบก็คือต้องมองความซับซ้อนในมิติของศักดินาให้ออกว่า ศักดินาปัจจุบันมี “ทุนนิยม”เป็นเครือข่ายซ้อนอยู่ อันได้แก่ อำมาตย์ทั้งหลายที่ควบคุมทุน และหรือกลายเป็นทุนเสียเอง กล่าวอย่างถึงที่สุดจึงเป็นความขัดแย้งระหว่างทุนกับทุนนั่นเอง เพียงแต่ทุนใดจะเลือกแอบอิงอยู่กับประชาชนและประชาธิปไตย และทุนใดจะเลือกแอบอิงกับอิทธิพลศักดินา นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง การเมืองที่เป็นระบบทุนอย่างแท้จริงจึงปรองดองกันได้ เว้นเสียแต่อำนาจมิได้อยู่ในมือทุน ระบบขุนนางขุนศึกขุนทหาร ระบบความยุติธรรมไม่ได้อยู่กับฝ่ายทุน หากอยู่กับศักดินา ซึ่งจะเป็นเรื่องยากเพราะศักดินาไม่มีระบบตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ แต่ทุนสามารถตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ กระทั่งโค่นล้มลงได้โดยเปิดเผย จึงน่าคิดว่า จะปรองดองกันได้ หรือปรองดองกันไม่ได้ ภารกิจการต่อสู้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการครอบครองปัจจัยการผลิต และภารกิจต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริงของประชาชนก็ยังต้องดำเนินต่อไป เมื่อใช้วิธีคิดเช่นนี้ เราอาจสามารถข้ามพ้นความเป็นเสื้อแดงและเสื้อเหลืองไปได้ เพราะเป้าหมายการต่อสู้ของประชาชนเราไกลกว่าเป้าหมายของบางคนที่เข้าร่วม แกนนำบางคน หรือนักการเมืองบางคน ไม่ว่าจะสวมเสื้อสีอะไร อาจต้องการเป็น สส. สว. รัฐมนตรี และหรือเพื่อผลประโยชน์อื่นๆ ฯลฯ เขาย่อมเดินทางร่วมไปได้ในระยะหนึ่งเท่านั้น เราได้เห็นอยู่แล้วว่า แนวทางที่สอดคล้องต้องกันเวลานี้ มิได้หมายความว่า อนาคตข้างหน้าจะเหมือนกันตลอดไป ผู้คนที่เคยต่อสู้เอาเป็นเอาตายกับศักดินามาก่อน วันนี้ก็ “คืนดีกับศักดินา” ไปเป็นจำนวนไม่น้อย เพราะฉะนั้น ที่บางคนคิดถึง “การจัดตั้ง แบบปฏิวัติ” นั้น จึงเป็นการโหยหาองค์กรที่ก้าวหน้ากว่าพรรคการเมืองที่ต่อสู้ในระบบ โหยหาองค์กรที่มั่นคง มีการนำรวมหมู่อันชาญฉลาด มีแนวทางอันถูกต้อง และพร้อมจะต่อสู้อย่างยืดเยื้อยาวนาน แน่นอน “การจัดตั้ง แบบปฏิวัติ”ที่ว่านี้ เขาย่อมมิได้หมายถึงแต่ก็ไม่ปฏิเสธการนำอย่าง ทักษิณ ชินวัตร พรรคเพื่อไทย หรือ นปช.ซึ่งเป็นการนำเดิม หากแต่โหยหาการนำใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่อสู้อันสลับซับซ้อน ซึ่งมิได้พูดแค่ “การศึกเฉพาะครั้ง” ที่แพ้ชนะกันแล้วจบลงด้วยค่าว่า ปรองดอง โดยประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไรในทางการเมืองขึ้นเลยแม้แต่ข้อเดียว และพ่ายแพ้ซ้ำซากมาอย่างนี้ตลอด ถึงวันนี้ หากมองด้วยเหตุผล พลังเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยและความเป็นธรรมของประชาชนได้ก้าวข้ามพ้นทักษิณไปแล้ว ก้าวข้ามเหมือนกับที่เคยก้าวข้ามพลังอื่นๆมาแล้วในสังคม ถ้าทักษิณหยุด ประชาชนจะไม่หยุด ถ้าทักษิณหลง ประชาชนจะไม่หลง ถ้าทักษิณถูกหลอก ประชาชนจะไม่ถูกหลอกด้วย ทักษิณก็จะเหมือนกับพรรคคอมมิวนิสต์ที่เคยมี แต่วันนี้ไม่มีแล้ว ทว่าประชาชนก็ยังสู้ต่อไป กล้าสู้กล้าเสียสละเหมือนเดิมโดยไม่ต้องการเกียรติยศศักดิ์ศรีวีรชนปฏิวัติที่ใครจะมอบให้ และนี่คือความยิ่งใหญ่ของประชาชนในความหมายของสัจธรรม ที่เรียกขานว่า “ผนังทองแดงกำแพงเหล็ก” และ “ประชาชนคือวีรชนที่แท้จริง” เชื่อเถิดว่า ที่สุดแล้ว “ประชาชนคือตัวจริง” คณะราษฎร, ปรีดี พนมยงค์, พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยทักษิณ ชินวัตร หรือใครก็ตามแต่ เป็นได้แค่แนวร่วมของประชาชน นำประชาชนได้บางระยะประวัติศาสตร์เท่านั้น เพียงแต่คุณมีทัศนะเชื่อมั่นประชาชนหรือไม่ เชื่อมั่นในพลังพื้นฐานที่ฆ่าไม่ตายทำลายไม่หมด ประชาชนมีแต่จะเติบใหญ่ขึ้น เพราะฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะเป็นพวกทุนนิยมหรือศักดินาก็ควรจะเข้าใจเสียให้ถูกต้องว่า คุณกำลังสู้กับประชาชน มิได้สู้กับทักษิณ ถ้าสู้กับทักษิณคงจบไปนานแล้ว และถ้าทักษิณไม่อยู่ข้างประชาชน ประชาชนก็คง “โบกมือลา” เพราะประชาชนต้องสู้ตลอดไป แม้เมื่อทักษิณ,พรรคเพื่อไทย,หรือพรรคอื่นใด จะเข้ามามีอำนาจก็ตาม หากไม่ทำให้สังคมเกิดความเป็นธรรม ประชาชนอยู่ดีมีสุข ประชาชนก็ต้องสู้กันต่อไป คำถามคือ คุณเชื่อว่า “อุดมการณ์มีจริงหรือไม่” อุดมการณ์ย่อมอยู่กับใจที่ไม่จำนนต่ออิทธิพลและอำนาจเงินตรา หากคุณหัวเราะและขบขันกับเรื่องดังกล่าวว่ามันเป็นความไร้เดียงสาหรือความโง่ ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะโลกมีคนไร้เดียงสาและคนโง่เยี่ยงนี้นี่เองที่ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เพราะคนโง่มีมากกว่าคนฉลาด และที่โง่เพราะว่าซื่อ ไม่คิดว่าคนฉลาดจะหลอกลวง,เอาเปรียบ ชั่วช้าสาระเลวขนาดนั้น เมื่อรู้ก็สู้ และจะสู้จนกว่าชีวิตจะหาไม่ มนุษย์ศรัทธามนุษย์เพราะความดี แม้ศรัทธาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เหนือกว่ามนุษย์ก็ศรัทธาเพราะความดี หากชั่วร้ายย่อมไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นปีศาจอสูรกายปลอมแปลง.. ก็ต้องสู้กันจนถึงที่สุด การจัดตั้ง แบบปฏิวัติ สามารถฟื้นคืนชีพขึ้นได้ในยุคไฮเทคโนโลยีนี้หรือไม่ สำคัญที่สุดก็อยู่ที่ปัญหาแนวทางการต่อสู้ที่ถูกต้อง ต้องมาก่อน ตามมาด้วยความคิดที่เป็นฝ่ายกระทำ ไม่ใช่ฝ่ายถูกกระทำหรือรอคอยว่าเหตุการณ์อะไรจะเกิดขึ้น เราต้องคิดไกลไปถึงวาระสุดท้ายของศักดินา รวมถึงพร้อมเผชิญหน้ากับทุนนิยมที่เอาเปรียบ เราต้องเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ข้างหน้า และแม้กระทั่งการเตรียมการที่จะต่อสู้ในแต่ละระยะอย่างมีจังหวะจะโคน ความคิดอย่างนี้มีหรือไม่ สามารถรวมคนที่คิดเหมือนกัน เข้ามาร่วมกัน เพื่อจัดตั้งกันขึ้นอย่างเป็นรูปการ ไปสู่การนำรวมหมู่อันเข้มข้น หากเราถนัดสู้แบบนำเดี่ยว หนทางก้าวสู่ชัยชนะเห็นทีลำบาก การนำเดี่ยวโดยอาศัยความเชื่อมั่นเฉพาะตน ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมใกล้ชิด ซึ่งบางครั้งกลั่นกรองไม่ได้ว่าจริงหรือเท็จ, จริงใจหรือไม่จริงใจ สร้างความผิดพลาดมาหลายครั้ง ไม่เข็ดหลาบกันบ้างหรือ ยอมรับและสรุปบทเรียนกันบ้างไหม มองในทางกลับกันพวกศักดินากลับมีการนำรวมหมู่แล้วรวมศูนย์อยู่เป็นองค์เอกภาพ ดำรงฐานะที่หยั่งรากลึกในสังคมสร้างดอกผลมายาวนาน โฆษณาชวนเชื่อทุกวัน วันนี้เขาใช้งบประมาณตั้งหนึ่งพันล้านบาท ให้กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งกองกำลังพิทักษ์สถาบัน ระดมอาสาสมัครแปดแสนคน และใช้งบอีกหลายร้อยล้าน จัดตั้งลูกเสือไซเบอร์ตรวจจับทางอินเตอร์เน็ต ทั้งหน่วยงานอื่นๆอีกสารพัด ภายใต้การบริหารรัฐเบ็ดเสร็จของ กอ.รมน. ตามรัฐธรรมนูญปี 50 ซึ่งให้อำนาจกองทัพเหนือรัฐบาล น่าสงสัยว่า ประชาชนจะได้ชัยชนะอย่างไร หากเราเชื่อมั่นการปรองดองอย่างไม่ยั้งคิดและไร้ข้อเรียกร้อง เหมือนพม่าจัดให้มีการเลือกตั้ง ปล่อย ออง ซาน ซูจี ขณะนี้ พม่าเป็นประชาธิปไตยแล้วหรือ พม่าจริงใจที่จะปรองดองเช่นนั้นหรือ สถานการณ์สากลเล่าเป็นเช่นใด ท่าทีของอเมริกา, ยูเอ็น, กลุ่มเอเชียน, ตลอดจนประเทศเพื่อนบ้านอุษาคเนย์ หากเราไม่มีรูปการจัดตั้ง “ขบวนการประชาธิปไตยไทย” ที่แน่นอน ซึ่งประสานสัมพันธ์งานด้านสากล มีลำพังพรรคเพื่อไทย นปช. และคนเสื้อแดงอื่นๆ ต่างคนต่างนำ ต่างคนต่างทำ ย่อมน่าคิดว่า นั่นจะมิเป็นการปล่อยให้เป็นไปตาม “ยถากรรม” เกินไปดอกหรือ ไม่มีบทสรุปอะไรสุดท้ายนี้ เป็นความเห็นแลกเปลี่ยนกันบนความเชื่อมั่นพื้นฐานว่า พลังที่ก้าวหน้ากว่าต้องเป็นฝ่ายชนะพลังล้าหลังในที่สุด กระแสของโลกสมัยใหม่ และเทคโนโลยี ปูพื้นฐานโดยธรรมชาติให้มนุษย์ฉลาดขึ้น ไม่มีอะไรจะปิดกั้นได้ถาวร คนตาสว่างขึ้นทุกวัน เพียงแต่สังคมขุนศึกศักดินาที่ถูกโดดเดี่ยวในรัฐชาติปัจจุบันบางส่วนบางซีกโลก ยังได้รับการประคับประคองเอาไว้โดยทุนจักรพรรดินิยมเท่านั้นเอง เราจึงได้เห็นปรากฏการณ์พิสดารอย่างพม่าและไทยยืนระยะยืดเยื้ออยู่ในโลกได้จนถึงวันนี้ ..แต่มันคงจะไปได้อีกไม่นานเท่าไร. (บันทึกเขียนเสร็จ 14 พฤศจิกายน 2010) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ปล่อย ดา ตอร์ปิโด: ผู้ถูกขังเพราะพูด Posted: 22 Nov 2010 09:32 AM PST สมัชชาสังคมก้าวหน้าส่งจดหมายถึงผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านเสรีภาพการแสดงออก และ ด้านความเป็นอิสระของศาลและนักกฎหมาย รณรงค์ให้แทรกแซงเพื่อเสรีภาพของ ‘ดา ตอร์ปิโด’
เป้าหมาย: เสนอให้ Gabriela Carina Knaul de Albuquerque e Silva (ผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านเสรีภาพการแสดงออก) และ Frank La Rue (ผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านความเป็นอิสระของศาลและนักกฎหมาย) ริเริ่มโดย : Safe World for Women ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล เป็นที่รู้จักในเมืองไทยในนาม ดา ตอร์ปิโด เพราะความที่เขาเป็นคนพูดตรง เขาถูกจับเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2008 (อายุขณะนั้น 46 ปี) ในข้อหาพูดจาหมิ่นสถาบัน ซึ่งเป็นข้อหาฉกรรจ์ของประเทศไทย เขาถูกคุมขังเป็นเวลา 1 ปี ก่อนจะมีการพิจารณาคดีโดยไม่ได้รับการประกัน ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2008 เขาถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 18 ปี กฎหมายหมิ่นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ถูกใช้จำกัดเสรีภาพในการพูด (ในแง่การเมือง) แทนที่จะเป็นการปกป้องสถาบันซึ่งเป็นจุดหมายของกฎหมายนี้ เบนจามิน ซาแวคคี่ ผู้ทำวิจัยด้านเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จากองค์กรนิรโทษกรรมสากลกล่าว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเอเซีย (AHRC) ไม่เคยพบเห็นกรณีอื่นใดที่คล้ายกรณีนี้ในแง่ที่ว่าผู้ต้องหายถูกกระทำราวกับว่า เขาเป็นภัยอันตรายร้ายแรง อันเกี่ยวเนื่องกับเสรีภาพในการพูด.ทางคณะกรรมการเชื่อว่า ที่เขาถูกกระทำแบบนั้นเพราะว่า ผู้ต้องหาเลือกที่จะสู้คดีแทนที่จะยอมรับผิดและขออภัยโทษ เหตุการณ์นี้ที่เมืองไทยสำคัญยิ่ง เพราะไม่แต่เพียงเป็นสถานการณ์เลวร้ายลงอย่างมากในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ยังเพราะว่า เมืองไทยยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองใหญ่ในแถบนี้และมีพัฒนาการมากกว่าหลายๆ ประเทศในละแวกนี้ ประกอบกับการที่ไทยเป็นประเทศสมาชิกสำคัญในอาเซียน) ถ้าหากว่า ไม่มีอะไรที่จะไปหยุดยั้งความเสื่อมถอยของดัชนีต่างๆ ที่บ่งชี้ถึงสิทธิมนุษยชนของผู้คนในประเทศนี้ ผลเสียหายจะตกแก่ไม่เฉพาะประเทศไทยเองเท่านั้น แต่กับทั้งภูมิภาคโดยรวม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเอเชีย เขียนในจดหมายเปิดผนึกเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2009 ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ระดับเสรีภาพสื่อ ของไทยถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงโดยเพิ่มจาก 124 เป็น 153 ใกล้เคียงเข้าไปทุกทีกับของพม่าซึ่งอยู่ที่ 174 นี่เป็นสิ่งที่น่าวิตกอย่างยิ่งของทุกฝ่าย ดา ตอร์ปิโด เป็นสัญลักษณ์แห่งการเพิ่มขึ้นของการกดขี่ริดรอนสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในบางส่วนของเอเซีย พวกเราจะต้องบอกให้ทางรัฐบาลไทย ได้รับรู้ว่า สังคมโลกจะไม่ยืนดูเฉยๆ ในขณะที่เหตุการณ์ในไทยมีพัฒนาการไปเป็น “เหตุการณ์แบบพม่า” อีกเหตุการณ์หนึ่ง โปรดลงชื่อในสานส์คำร้องนี้ ที่จะถูกนำเสนอไปยังผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านเสรีภาพการแสดงออก (UN Special Rapporteur on freedom of Expresion) และ ผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านความเป็นอิสระของศาลและนักกฎหมาย (UN Special Rapporteur on the independence of Judges and lawyer) เพื่อเรียกร้องให้ทำการแทรกแซงอย่างเร่งด่วนเกี่ยวกับกรณีของ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล และเพื่อแสดงความวิตกเกี่ยวกับความเสื่อมถอยลงของเสรีภาพในการแสดงออกและการที่กระบวนการยุติธรรมถูกนำมาใช้ในการเมืองของไทย 0 0 0 สานส์คำร้อง ขอเรียกร้องให้ทำการแทรกแซงเกี่ยวกับกรณีของ ดา ตอร์ปิโด ซึ่งถูกจำคุกอย่างอยุติธรรมในไทย ข้าพเจ้าเขียนสาสน์นี้ เพื่อเรียกร้องให้ท่านใช้อำนาจในการแทรกแซงเกี่ยวกับกรณีของดารณี ชาญเชิงศิลปกุล และเพื่อให้เห็นถึงความเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ของเสรีภาพในการแสดงออกและการที่กระบวนการยุติธรรมถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของไทย ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในจดหมายเปิดผนึกจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียนที่เขียนไว้ในวันที่ 4 กันยายน 2009 ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ได้ถูกตัดสินจำคุก 18 ปี ในวันที่ 28 สิงหาคม 2009 ในโทษความผิด 3 กระทง ในกรณีหมิ่นฯ ข้อกล่าวหานั้นเนื่องมาจากการที่เขากล่าวปราศัย วิจารณ์รัฐประหารปี 2007 ซึ่งเขาเชื่อมโยงสถาบันกษัตริย์กับผู้ก่อการรัฐประหาร ดารณี ได้ยื่นขอประกันตัว 3 ครั้ง แต่ถูกปฎิเสธ โดยที่ศาลไม่ได้ให้เหตุผลประกอบการปฎิเสธนี้จากการใช้มาตรา 108 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา นอกจากนี้ เขาถูกดำเนินคดีในศาลแบบพิจารณคดีลับ ตามมาตรา 117 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งกำหนดการดำเนินคดีในศาลแบบพิจารณาลับ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของส่วนรวม และความมั่นคงของชาติ ทนายความของเขาได้ยื่นอุทธรณ์ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การตัดสินเป็นโมฆะ เนื่องจากเป็นการตัดสินที่ละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่ศาลไม่รับอุทธรณ์ การตัดสินของศาลในกรณีของดา ก่อให้เกิดข้อวิตก 2 ข้อ เกี่ยวกับเหตุการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในไทย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาใน 2 แง่ คือ หนึ่ง ในแง่ของการเสื่อมลงของเสรีภาพในการแสดงออก และสอง ในแง่ของการเพิ่มขึ้นของการใช้ศาลไปในทางการเมืองอย่างเห็นได้ชัด เหตุการณ์เช่นนี้ในเมืองไทยเป็นที่น่ากังวลอย่างยิ่ง เพราะนอกจากว่ามันเลวร้ายลงอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ยังเพราะว่า ประเทศไทยมีอิทธิพลสูงต่อการพัฒนาในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากไทยเป็นประเทศใหญ่และพัฒนากว่าประเทศอื่นในอาเซียน ถ้าไม่มีการยับยั้งการเสื่อมถอยของดัชนีต่างๆ ที่บ่งชี้ถึงสิทธิมนุษยชนของไทย ผลกระทบที่ตามมาจะก่อความเสียหายให้แก่ประเทศไทยเองและทั้งภูมิภาคโดยรวม ข้าพเจ้าขอความกรุณาให้ท่าน ใช้อำนาจทุกอย่างที่มีอยู่เพื่อแทรกแซงเหตุการณ์ กรณีของดารณี และสถานการณ์โดยรวมอันเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการที่ขบวนการยุติธรรมถูกนำมาใช้เพื่อการเมืองในไทย แถลงการณ์ ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีทางสงบสุข ต้องปล่อยนักโทษการเมืองทุกคนโดยไม่มีเงื่อนไข เรา ประชาชนผู้รักความเป็นธรรม มาชุมนุมที่หน้าเรือนจำคลองเปรมแห่งนี้ เพื่อยืนยันว่าเราไม่ทอดทิ้งเพื่อนๆ เสื้อแดงผู้รักประชาธิปไตย ที่ตกเป็นเหยื่อของอำมาตย์และกลายเป็นนักโทษทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นนักโทษแกนนำ นักโทษประชาชนที่ติดคุกอยู่ต่างจังหวัด หรือนักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เสื้อแดงเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของประชาชนรากหญ้าเพื่อประชาธิปไตยอันเป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิในการแสดงออกทางการเมือง เสรีภาพ ความเสมอภาค 1คน 1 เสียง มาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล รวมทั้งต้องการปฏิรูประบบยุติธรรมอย่างถอนรากถอนโคน เนื่องจากเราเจ็บปวดจากการถูกดูถูกเหยียดหยาม ถูกเลือกปฏิบัติ ปิดกั้น กีดกัน ใส่ร้ายป้ายสี ซึ่งเป็นการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของพวกเรา ไม่ให้มีสิทธิมีเสียงและมีอำนาจในการตัดสินใจใดๆ ตามระบอบประชาธิปไตย เราขอยืนยันว่าประเทศไทยจะไม่มีวันมีประชาธิปไตยและความยุติธรรม ตราบใดที่ยังมีนักโทษการเมือง และถ้าสังคมเราไม่มีประชาธิปไตยและความยุติธรรม สังคมไทยจะไม่มีวันสงบสุข และจะยังคงจมอยู่ในวงจรอาชญากรรมของรัฐแบบเรื้อรังนี้ต่อไป ดังนั้น เพื่อสร้างความสงบสุขในสังคมไทย สมัชชาสังคมก้าวหน้าขอเรียกร้องให้รัฐบาลกระทำตามข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้ 1. ปล่อยนักโทษการเมืองเสื้อแดงทุกคนทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข 2. ยกเลิกกฎหมายเผด็จการทุกฉบับ ได้แก่ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ กฎอัยการศึก กฎหมายคอมพิวเตอร์ฯ และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 3. หยุดการปิดกั้นสื่อทุกชนิด เพื่อให้ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงออก 4. ทหารที่สั่งฆ่าประชาชนต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง และนำมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม 5. รัฐบาลนี้ต้องลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บสูญหายในเหตุการณ์เมษายนและพฤษภาคม 2553 สมัชชาสังคมก้าวหน้า 19 พ.ย. 53 หน้าเรือนจำคลองเปรม
0 0 0 Free Da Torpedo, imprisoned in Thailand for speaking out Targeting: Gabriela Carina Knaul de Albuquerque e Silva (United Nations Special Rapporteur on the independence of judges and lawyers ) and Frank La Rue (United Nations Special Rapporteur on the right to freedom of opinion and expression ) Started by: Safe World for Women Daranee Charnchoengsilpakul is known in Thailand as Da Torpedo, for being outspoken. She was arrested on 22nd July, 2008, age 46, for speaking out against royalty - a serious crime in Thailand, called Lese Majeste. Da Torpedo was held for a year without charge and then, in August 2008, she was sentenced to 18 years imprisonment. "The lese majeste law, as is currently applied in the last three years, has been used for the suppression of free speech for largely political purposes and not for the protection of the monarchy, for which the law was drafted," Benjamin Zawacki, South-east Asia researcher for Amnesty Internationalis quoted as saying. The AHRC is not aware of another case in recent times in which a defendant has been treated as such an extraordinary threat over a question of free expression. We believe that she was treated in this manner because she chose to fight the charges, rather than plead guilty and seek a royal pardon... The situation in Thailand is of sufficient importance not only because it has worsened considerably in recent years but also because the country has a strong influence on developments in the wider Southeast Asian region, being among the larger and more developed of its peers and a key member of the Association of Southeast Asian Nations. If nothing is done to arrest its continued decline on a range of human rights indicators then the effects will be damaging not only for Thailand but for the region as a whole. The Asian Human Right Committee wrote in an open letter on September 4th 2009. Over the last 2 years, the Press Freedom Index rating of Thailand has declined from 124 to 153, fast approaching that of Burma, at 174. This should be of concern to us all. Da Torpedo is a symbol of an ever-growing suppression of human rights in parts of Asia. We need to send a strong message to the government of Thailand that the world will not stand by while another 'Burma situation' develops. Please sign this petition to the UN Special Rapporteurs on Freedom of Expression and Independence of Judges and Lawyers to request their urgent intervention on behalf of Darunee Chanchoengsilapakul and also to raise concerns about the steadily declining freedom of expression and increasing politicization of the judiciary in Thailand. Petition Text Requesting your intervention on behalf of Da Torpedo, unjustly imprisoned in Thailand Greetings, I am writing to you to request urgent intervention in accordance with your respective mandate in response to the case of Darunee Chanchoengsilapakul, and also with a view to wider concerns about steadily declining freedom of expression and increasing politicization of the judiciary in Thailand. Darunee, as you will be aware from an open letter written to you on 4th September 2009 from the Asian Human Rights Commission, was convicted and sentenced to 18 years in prison on 28th August 2009 on three counts of lese majesty. The charges arose from one of many speeches that she made after the 2006 coup, in which she alluded to the links between the monarchy and the coup-makers, among other things. Darunee attempted three times to obtain bail but it was denied, although the court had no specific grounds upon which to refuse it under section 108 of the Criminal Procedure Code. Furthermore, she was tried in a closed court under section 117 of the code, which stipulates grounds for a closed trial as interests of public order or national security. Her lawyer submitted an application to the Constitution Court for the trial to be invalidated on the basis that it was in violation of her constitutional rights to try her in this manner, but it was refused. The trial and conviction of Darunee brings together two key concerns regarding the human rights situation in Thailand in the last few years: the decline in freedom of expression and the rise in use of the courts for blatant political purposes. The situation in Thailand is of utmost concern, not only because it has worsened considerably in recent years, but also because the country has a strong influence on developments in the wider Southeast Asian region, being among the larger and more developed of its peers and a key member of the Association of Southeast Asian Nations. If nothing is done to arrest its continued decline on a range of human rights indicators then the effects will be damaging not only for Thailand but for the region as a whole. I implore you to do all within your power and remit to intervene on behalf of Darunee and also with regard to the wider issues relating to freedom of opinion and expression, and politicization of the judiciary, in Thailand. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ปฏิรูปประเทศไทยให้ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน Posted: 22 Nov 2010 09:17 AM PST ผู้เขียนได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองและชุมนุมใหญ่กับขบวนการคนเสื้อแดง ซึ่งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากพวกเขา จึงขอเสนอว่า สงครามทางชนชั้นที่ประกาศจากฝ่ายเสื้อแดงต้องมีแนวทางเปลี่ยนแปลงระบอบอำมาตยาธิปไตยที่เป็นรูปธรรมชัดเจนในตอนนี้ หรืออย่างน้อยก็ควรมีคำถามสำคัญออกมาแล้วว่า จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดินได้อย่างไร เพราะฝ่ายสนับสนุนอำมาตย์กำลังสร้างกระแสช่วงชิงการปฏิรูปประเทศไทยโดยตั้งโจทย์ใหญ่ของประเทศนี้ คือปัญหาโครงสร้างอำนาจในการจัดสรรทรัพยากรและปัจจัยการผลิตที่ไม่เป็นธรรมที่นำไปสู่การสร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจน ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า นี่แหละคือปัญหาใหญ่แต่ทว่ามีคำถามต่อไปอีกว่า จะปฏิรูปได้ยังไง ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจของชนชั้นนำก่อน?? เพราะเป็นสาเหตุของปัญหาใหญ่ดังว่านั้น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจของชนชั้นนำทางการเมืองและเศรษฐกิจ (อาจเรียกรวมกันว่าโครงสร้างอำนาจของชนชั้นอำมาตย์) ซึ่งแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติเสนอแนวทางเช่นนี้อยู่แล้ว แต่เสนอข้อเรียกร้องด้วยการยุบสภาก่อน และเสนอให้ได้ชัยชนะตรงนี้อย่างเด็ดขาด เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามกติกาของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนขั้วอำนาจและการนำประชานิยมแบบไทยรักไทยมาใช้อีก ประเด็นที่จะนำเสนอต่อขบวนการคนเสื้อแดงมี 3 ประเด็นคือ 1) สงครามทางความคิดระหว่างสองฝ่าย คือฝ่ายเสื้อแดงกับฝ่ายอำมาตย์ 2) การต่อสู้เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ระบอบประชาธิปไตย และ 3) ข้อเสนอการยกระดับการเมืองของคนเสื้อแดง 1. สงครามทางความคิดระหว่างฝ่ายเสื้อแดงกับฝ่ายอำมาตย์ การได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนเสื้อแดงหลากหลายอาชีพซึ่งเป็นคนชั้นล่างและชนชั้นกลางบางส่วน ทำให้เห็นแล้วว่า พวกเขาได้เติบโตทางความคิด มีเหตุมีผล มีวุฒิภาวะทางอารมณ์เหนือกว่าฝ่ายเสื้อเหลือง และกล้าเผชิญหน้าทุกรูปแบบกับชนชั้นอำมาตย์ปัจจุบันที่ยังคงกุมชัยชนะทางการเมืองเหนือประชาชนคนธรรมดามานานหลายปี มีหลายคำถามที่เกี่ยวข้องกับเสื้อแดงที่เราต้องตอบ และบางส่วนก็มีการตอบกันไปแล้ว เช่น ทำไมคนเสื้อแดงถึงรักทักษิณ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้าก็ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีที่สมบูรณ์แบบนัก เพราะด้านหนึ่งใช้แนวนโยบายเสรีนิยม ให้นายทุนเอกชนมีบทบาทในการแสวงหาผลกำไรจากสมบัติสาธารณะที่หล่อเลี้ยงคนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น น้ำ ไฟฟ้า โทรศัพท์ รถไฟ เป็นต้น และละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนในภาคใต้ สงครามยาเสพติด นอกจากรักทักษิณแล้ว คนเสื้อแดงบอกว่า สู้เพื่อความเป็นธรรมเพื่อประชาธิปไตย ทว่าประชาธิปไตยในความหมายของเขาคืออะไรบ้าง ทำไมหลายคนยอมเสียสละชีวิตของตัวเองเพื่อแลกกับเป้าหมายเฉพาะหน้าคือการยุบสภา แทนที่จะรอเป้าหมายที่ยาวอีกหน่อย ส่วนความคิดของชนชั้นอำมาตย์ ตั้งแต่ระดับคนทั่วไปจนไปถึงระดับนำ ที่มีท่าทีและจุดยืนสนับสนุนการทำรัฐประหารทำลายรัฐบาลจากการเลือกตั้ง และส่วนใหญ่เต็มไปด้วยการใช้โวหารเล่นลิ้นหรือโกหกตัวเองและคนอื่นอย่างหน้าตาเฉย เพื่อเอาชนะขบวนการประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตย เขาร่วมมือกับสื่อกระแสหลัก แก้ต่างให้ฝ่ายตนว่า ไม่มีชนชั้นอยู่จริง ไม่มีสองมาตรฐาน หรือถ้ามีก็เคยเกิดขึ้นแล้วในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ไม่มีอำมาตย์กับไพร่แล้วในยุคสมัยปัจจุบันที่เป็นรัฐสมัยใหม่ และเป็นคำล้าสมัย ไร้เหตุผลที่จะใช้ นอกจากนี้ยังกล่าวหาว่า คนเสื้อแดงเป็นกบฏ เป็นผู้ก่อการร้าย ล้มเจ้า สร้างความวุ่นวาย ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ สมควรจัดการให้เด็ดขาด และล่าสุดความคิดของฝ่ายอนุรักษ์นิยมของสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ที่มีทัศนะว่า คนเก่งและดีหายากเหมือนงมเข็มในมหาสมุทร เพราะคนเก่งมักไม่ดี จึงต้องเร่งสร้างคุณธรรมและจริยธรรม คือ เราต้องสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อให้ประเทศอยู่รอด เพื่อให้ตัวเองได้อยู่บนแผ่นดินไทยนี้ด้วย ในความเห็นของผู้เขียน ทัศนะแบบนี้สร้างปัญหาอย่างใหญ่หลวงให้แก่สังคมไทย เพราะความคิดนามธรรมสร้างภาพลวงตานี้ซ่อนเจตนาที่ว่า เขาต้องการคนเก่งคนดีที่รับใช้ชนชั้นนำ ประชาชนควรต้องสละประโยชน์ของตัวเองเพื่อให้ชนชั้นนำคงอยู่ และต้องอยู่ในกรอบศีลธรรมของชนชั้นนำเพื่อจะได้มีแผ่นดินไว้ซุกหัวต่อไป คนเก่งต้องรับใช้ชนชั้นนำ ทำให้คำว่า “ประชาชน” ไร้ความหมาย และไร้อำนาจเพื่อมอบศักยภาพความเก่งไปรับใช้พวกเขาให้เข้มแข็งและมั่งคั่งต่อไป สำหรับความคิดของฝ่ายแรงงานซีกเหลืองที่รับใช้อุดมการณ์ชาตินิยม ยอมรับการทำรัฐประหาร ทำลายระบอบประชาธิปไตยเพื่อแลกกับการเอาชนะนายทุนทักษิณที่คอรัปชั่น กลับไปสร้างความเข้มแข็งให้ชนชั้นนำยิ่งขึ้น ในขณะที่ตัวเองอ่อนแอเกินกว่าที่จะเสนอรูปแบบการต่อสู้ที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ใช้แรงงาน คนธรรมดา เน้นการล็อบบี้เข้าหาผู้ใหญ่ และไม่มีความสามารถที่จะทำงานมวลชนแข่งกับอดีตพรรคไทยรักไทยด้วยการตั้งพรรคการเมืองแข่งตั้งแต่แรก บวกกับไม่สนใจวิพากษ์วิจารณ์อำมาตย์ว่า เป็นนายทุนเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นนายทุนที่ใช้ระบบอุปถัมภ์ในการสร้างความมั่งคั่ง และกล่อมเกลาคนหลงงมงายกับลัทธิชาตินิยม จนทำให้ฝ่ายแรงงานซีกเหลืองลงเอยด้วยการเป็นเครื่องมือรับใช้ชนชั้น(ทุน)อำมาตย์ต่อไป ผู้เขียนขอเป็นผู้ปกป้องความคิดของฝ่ายเสื้อแดงชนชั้นล่าง ไม่ว่าแกนนำที่นำเขาจะเป็นอดีตนักการเมือง นักการเมืองพรรคเพื่อไทย นายทุนรายใหญ่ อำมาตย์บางคน อดีตนายทหาร และนายทหารระดับสูงจำนวนหนึ่งก็ตาม ในหัวข้อต่อไปนี้ 2. การต่อสู้ของคนเสื้อแดง คือการต่อสู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบอบประชาธิปไตย ตลอดระยะเวลาที่เคลื่อนไหวกับขบวนการคนเสื้อแดงบนจุดยืนสำคัญคือ ต้านรัฐประหาร ต้านอำมาตย์ คัดค้านกฎหมายสองมาตรฐาน และตอกย้ำการสร้างความเท่าเทียมกันด้วยแนวทางรัฐสวัสดิการที่กำลังเสนออยู่ในขณะนี้ ที่ทุกสถาบันการเมืองการปกครองต้องปรับเปลี่ยน ปรับปรุงตนเองให้เห็นหัวคนชั้นล่าง คนเสื้อแดงเข้าใจตัวเองว่า เขาต้องการความเป็นอยู่ที่ดีผ่านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เพราะจมปลักอยู่กับความเหลื่อมล้ำมาเป็นเวลานาน โดยเลือกพรรคการเมืองที่ให้ประโยชน์ตัวเอง แม้จะเป็นประโยชน์ระยะสั้นก็ตาม แต่เป็นประโยชน์ที่พรรคอื่นๆ ไม่เคยเสนอมาก่อน เพราะการมีชีวิตที่ดีหมายถึงการชีวิตที่มีศักดิ์ศรี กรรมกรหลายคนที่ผู้เขียนเคยสัมผัส เขาชอบนโยบายประชานิยม 30 บาทรักษาทุกโรคและกองทุนหมู่บ้าน แม้เขาจะไม่ได้ประโยชน์โดยตรงแต่พ่อแม่ครอบครัวที่ชนบทได้รับเต็มๆ ซึ่งก็อาจจะขัดแย้งกับตัวเขาเองว่า รัฐบาลทุกสมัยไม่เคยมีนโยบายค่าจ้างที่เป็นธรรม ให้สวัสดิการที่ดี และคุ้มครองสหภาพแรงงานให้พ้นจากการรังแกของนายจ้าง เขาก็ยังยินดีที่จะเลือกอดีตพรรคไทยรักไทย ทั้งเพราะไม่มีตัวเลือกที่ดีอีกแล้ว ด้วยเหตุนี้เราจึงเข้าใจว่า ผู้เฒ่าผู้แก่ในชนบท คนจนในเมือง ในต่างจังหวัด คนที่กำลังสร้างฐานะให้หลุดพ้นจากความยากจน พ่อค้าแม่ค้า นักธุรกิจระดับเล็ก กลาง ลูกจ้างที่ไม่มีสหภาพของตัวเอง ล้วนกระโจนลงมาสู้กับผู้กุมอำนาจรัฐอันใหญ่โตขณะนี้ แม้จะถูกดูหมิ่นเหยียดย่ำว่าโง่ และถูกยั่วยุจากประชาชนฝ่ายอำมาตย์ (ฟาสซิสต์) อุดมการณ์หลักของคนเสื้อแดงคือ ยอมรับระบบการเลือกตั้งตัวแทนเข้าสู่สภา ยืนยันหลักการเคารพเสียงส่วนใหญ่ ไม่เอาอำนาจเถื่อน ไม่เอารัฐประหาร ไม่เอาพรรคการเมืองของอำมาตย์ หลายคนกล่าวตรงๆ ว่า ทุกพรรคการเมืองล้วนใช้ระบบซื้อสิทธิขายเสียงและคอรัปชั่นทั่วไป รวมทั้งระบบราชการ แต่มันไม่ควรถูกนำมาเป็นประเด็นสำหรับเหยียดหยามประชาชนคนชั้นล่างว่า โง่ที่เลือกนายกรัฐมนตรีที่โกงกินประเทศให้กลับเข้ามาสมัยที่สอง ซึ่งกลายเป็นข้ออ้างหลักของฝ่ายเสื้อเหลืองในการทำลายระบบการเลือกตั้งทั้งหมด เพื่อเอาชนะปัญหาคอรัปชั่น แต่ทว่าปัญหานี้ยังคงมีให้เห็นทั่วไปในสังคมไทย และยิ่งเป็นปัญหาหนักในยุคการปกครองของเผด็จการอำมาตย์ ยุคแห่งการทำลายอำนาจของประชาชนคนส่วนใหญ่ ที่รวมถึงอำนาจการตรวจสอบการทำงานของรัฐด้วย ดังนั้น ประชาธิปไตยในความหมายของเขานี้อยู่ในระดับพื้นฐาน แต่เพียงแค่นี้ฝ่ายอำมาตย์และประชาชนที่สนับสนุนก็ไม่ยินยอมที่จะให้เขามีเสรีภาพและความเท่าเทียมเทียบกับชนชั้นกลางและสูง เพราะคนชั้นล่างถูกทำให้เป็นแค่ฐานคะแนนเสียง ฐานแรงงานค่าจ้างราคาถูก ฐานเก็บภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานให้คนอื่นไว้เหยียบหัว ยกตนข่มท่าน โดยทำลายความมั่นใจของคนชั้นล่าง เพื่อให้เขาต้องแสวงหาที่พึ่งทางใจ ไสยศาสตร์ พิธีกรรม และโดยการล้างสมองด้วยอุดมการณ์ชาตินิยม และให้อำนาจแก่สถาบันเหล่านี้ ปัญหาทั้งปวงที่เกิดขึ้นกับชนชั้นล่างล้วนมีสาเหตุมาจากการกระทำของชนชั้นอำมาตย์ ดังนั้นเราจึงไม่ใช่ปัญหา อำมาตย์นั่นแหละคือตัวปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง 3. ข้อเสนอของการยกระดับการต่อสู้ทางการเมืองของคนเสื้อแดง แน่นอนว่าข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดง คือ ต่อต้านเผด็จการที่ทำลายประชาธิปไตย กำจัดสองมาตรฐานให้สิ้นไปจากสังคมไทย ต้องการความเท่าเทียม ความเป็นธรรมต่อหน้ากฎหมาย รวมไปจนถึงนโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อตัวเองให้ดีขึ้นทัดเทียมกับคนรวยในสังคม ไม่ดิ้นรนตรากตรำและเจ็บปวดอย่างที่เป็นอยู่ เสื้อแดงหลายคนมองว่าให้ยุบสภาเสียก่อนแล้วค่อยว่ากันในขั้นตอนต่อไป ส่วนแนวทาง นปช.ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญหลังการเลือกตั้งใหม่ ส่วนจะแก้เรื่องอะไรบ้างนั้นยังไม่ชัดเจน และเรื่องปากท้องคงเป็นเรื่องรองลงมาจากข้อเสนอทางการเมืองในตอนนี้ คำถามต่อไปคือ จะตอบโต้ความคิดของฝ่ายตรงข้ามที่ถั่งโถมเข้ามาในกระแสการต่อสู้ช่วงนี้อย่างไร และจะวางเป้าหมายการต่อสู้ทางการเมืองของฝ่ายตัวเองอย่างไรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจริงๆ หรือจะเอาประชานิยมเหมือนเดิม ตอนนี้ตัวแทนฝ่ายอนุรักษ์นิยมอย่างเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ยอมไม่ได้กับการที่จะให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเพียงสัญลักษณ์ แต่บางคนอย่างบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อาจจะยินยอมให้แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ เมื่อมีประชาชนยกประเด็นนี้ขึ้นมา ส่วนฝ่ายนักพัฒนาเอกชนแนวชุมชนนิยม บิดเบือนปัญหาโครงสร้างการเมืองโดยบอกให้ไปแก้ไขที่ปัญหาระดับชุมชนเท่านั้น หรืออย่างพิภพ ธงไชยบอกว่า ปัญหาอยู่ที่โครงสร้างจริงแต่ขอแก้ภายใต้โครงสร้างอำนาจเดิมที่ให้นักวิชาการ เอ็นจีโอ แกนนำภาคประชาชน ที่ไม่ต่อต้านอำมาตย์ทั้งหลายได้เป็นเจ้าภาพแก้ไขในลักษณะบนลงล่าง ซึ่งทำเหมือนดูดี เพราะมีคนเสนอเรื่องรัฐสวัสดิการ เก็บภาษีทางตรงจากคนรวยมากขึ้น และให้ระบุเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ทว่าเป็นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้องเท่านั้น แต่กลับหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงโครงสร้างการเมืองและอำนาจของอำมาตย์โดยตรง หรือบอกเพียงว่าประชาชนไม่ควรเลือกนักการเมืองเลว ข้อเสนอของผู้เขียนคือ ควรมีการสรุปความคิดจากมวลชนระดับล่างสู่ระดับนำถึงรูปธรรมการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบอบประชาธิปไตย และสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมให้ประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีและมีศักดิ์ศรี แนวทางรัฐสวัสดิการสามารถเป็นทางออกของการเมืองไทยได้ เพราะเป็นแนวคิดที่จะสร้างหลักประกันความเป็นอยู่ที่ดีตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนถึงตาย หลักการกระจายปัจจัยทุนให้ประชาชนสร้างอาชีพและลืมตาอ้าปากได้ การปรับปรุงการจัดเก็บภาษีให้เก็บทางตรงมากขึ้น ในอัตราก้าวหน้าจากคนรวย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ หลักการกระจายอำนาจให้แก่ประชาชนให้มีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย บริหาร ตรวจสอบองค์กรสาธารณะ กลไกรัฐทั้งระบบ เพื่อให้ประชาชนสามารถปกครองตนเองได้ แนวทางนี้จึงเป็นแนวทางสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชน ซึ่งย่อมส่งผลต่ออำนาจของชนชั้นนำอย่างแน่นอน ส่วนแนวการปฏิรูปแบบแยกส่วนใช้ไม่ได้อีกต่อไป เพราะปัญหาทุกอย่างที่เรื้อรัง ล้วนเกาะเกี่ยวรวมศูนย์อยู่ที่การเมืองภายใต้ชนชั้นอำมาตย์ โดยเฉพาะความตกต่ำของการศึกษาไทยที่ทำลายจิตวิญญาณเสรีภาพ ความเป็นตัวของตัวเองของเด็กเยาวชน ก็มาจากการเมืองที่ฝ่ายชนชั้นอำมาตย์ได้รับชัยชนะในเหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษาประชาชนในวันที่ 6 ตุลา 19 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีบทบาทนำทางวัฒนธรรมสั่งสอนให้เด็กยอมรับระบบชนชั้น ระบบผู้อาวุโส โต้เถียงไม่ได้ ปัญหาการศึกษาจึงเป็นปัญหาทางการเมือง เหมือนปัญหาอื่นๆ ก็เป็นปัญหาทางการเมือง การจะแก้ไขปัญหาทั้งหลายก็ต้องแก้ไขด้วยแนวทางการเมือง และปัญหาใหญ่ของการเมืองไทยอยู่ที่ระบอบอำมาตย์ ไม่ว่าจะใช้วิธีการกดดัน เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงเชิงกฎหมาย การเปิดโปง (โดยไม่ใช้ความรุนแรง) การรณรงค์ต่อสาธารณชน การผลักดันข้อเสนอผ่านพรรคการเมืองฝ่ายตนเอง การสร้างพรรคการเมืองตามแนวทางของตัวเอง เป็นต้น โดยสรุปแล้ว สงครามชนชั้นจึงมีเป้าหมายปลายทางที่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจ อันเป็นหัวใจที่ต้องยึดกุม โดยให้อำนาจทางการเมืองในระบบยึดโยงกับอำนาจของประชาชน ในฐานะที่เป็นเจ้าของประเทศ ไม่ใช่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ตัวเอง ต่อแต่นี้ไปคนเสื้อแดงจะต้องมีพันธกิจในการเป็นผู้ทวงคืนอำนาจจากเผด็จการ และปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสรชน ยกระดับเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งต้องทำงานทางความคิดอย่างหนัก เพื่อไม่ให้คำขวัญที่เชิดชู เช่น หยุดสองมาตรฐาน ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เป็นนามธรรมอย่างนี้เรื่อยไป
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
นายกฯ อังกฤษ ยกเลิกแผนพักผ่อนช่วงคริสต์มาสในเมืองไทย Posted: 22 Nov 2010 09:17 AM PST “เดวิด คาเมรอน” นายกฯ อังกฤษ เลิกแผนการพักผ่อนในไทยช่วงคริสต์มาสนี้แล้ว หลังมีคำร้องเรียนเกี่ยวกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ขณะสื่อต่างชาติเผยข้อมูล การเดินทางครั้งนี้ต้องใช้งบ กว่า 2.35 ล้านบาท จากภาษีของประชาชน เพื่อรักษาความปลอดภัย วันนี้ (22 พ.ย.53) มติชนออนไลน์ รายงานว่า นายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ ยกเลิกแผนการเดินทางพักผ่อนในประเทศไทยช่วงวันคริสต์มาสนี้ เนื่องจากได้รับคำร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย นายคาเมรอน ได้รับคำตำหนิว่า การเดินทางดังกล่าวอาจเป็นการแสดงถึง “การแสดงการสนับสนุน” ต่อ “ระบอบการปกครองอันโหดร้าย” โดยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ “กลุ่มคนเสื้อแดง” ได้ร้องเรียนต่อ “ศาลอาญาระหว่างประเทศ” ว่ารัฐบาลได้เข้าปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงจนทำให้มีประชาชนเสียชีวิตกว่า 90 ราย จากเหตุการณ์ดังกล่าว สำนักนายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าวว่า รัฐบาลจะไม่แสดงความคิดเห็นต่อแผนการเดินทางของนายคาเมรอนครั้งนี้ แต่ทราบว่าพวกเขาได้จองตั๋วเครื่องบินมาระยะหนึ่งแล้ว ตั้งแต่ที่นายคาเมรอนยังไม่ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมีรายงานว่า สาเหตุที่นายคาเมรอนเลือกเดินทางไปยังประเทศไทยนั้น เป็นเพราะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ของไทย เคยเป็นเพื่อนร่วมรุ่นสมัยที่เรียนที่โรงเรียนอีตัน แม้ว่าทั้งคู่จะไม่เคยพบกันในช่วงนั้นเลยก็ตาม แหล่งข่าวจากสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยต่อหนังสือพิมพ์เดลีเมล์ว่า มีการยืนยันการยกเลิกการเดินทางดังกล่าว หลังจากมีข้อมูลรั่วไหลออกมาว่า เงินจำนวน 50,000 ปอนด์ (ประมาณ 2.35 ล้านบาท) ซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ได้ถูกนำมาใช้เพื่อการรักษาความปลอดภัยให้แก่นายคาเมรอนระหว่างการเดินทางครั้งนี้ด้วย และแม้ว่านายคาเมรอน จะจ่ายค่าใช้จ่ายในการพักผ่อนด้วยเงินของตนเอง แต่อย่างไรก็ตาม เงินภาษีของประชาชนจำนวนดังกล่าว ได้ถูกใช้สำหรับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าที่พักสำหรับบอดี้การ์ดจำนวน 5 คน เป็นจำนวนเงิน 1,000 ปอนด์ (47,000 บาท) ต่อคืน นอกจากนั้นพวกเขายังได้รับเงินสำหรับการทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า หรือประมาณ 3,000 ปอนด์ (141,000 บาท) ต่อคน แหล่งข่าวใกล้ชิดนายคาเมรอนเปิดเผยว่า นายคาเมรอน และครอบครัว ตัดสินใจที่จะอยู่พักผ่อนในประเทศอังกฤษแล้ว และค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทาง รวมถึงค่าที่พัก ได้ถูกส่งคืนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะไม่มีการรบกวนเงินภาษีของประชาชนเด็ดขาด โดยเขาลดทอนความสำคัญของค่าใช้จ่ายด้านการรักษาความปลอดภัยลง และอ้างว่านายคาเมรอนยังคงมีสิทธิที่จะเดินทางไปพักผ่อนในต่างประเทศ "เมื่อเขาต้องเดินทาง จำเป็นต้องมีหน่วยรักษาความปลอดภัยอยู่เสมอ นั่นเป็นความจริงของชีวิต" ที่มา: มติชนออนไลน์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กลุ่มกวีตีนแดง: ตาสี ยายสา...จงไปสู้เผด็จการ! Posted: 22 Nov 2010 08:41 AM PST เชิญ ๆ.... พี่ น้อง พ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา ยาย หลาน น้องสาว ตาสี ยายมา ถึงพี่บ่าว จงก้าวออกมาเปลี่ยนแปลงโลก ตัวเราเองเป็นความหวังเป็นที่พึ่ง อย่าไปหวนคะนึงให้เศร้าโศก จับมือไปด้วยกัน..แม้น นรก เผชิญโชค ผจญทุกข์ ทุกระยะ มาสิ ๆ ...ตาสี ยายสา ป้าแดงจงออกหน้าท้าปะทะ จงสู้...แม้รู้ สะเปะสะปะ ถือเป็นภาระ ...เราทุกคน สามัญชน คนผู้ใช้แรงงาน แม้ค้า ชาวบ้าน ยาม ทุกหัวถนน ลืมไปเถิด พวกเขา ปัญญาชน อย่าร่ำร้อง พร่ำบ่น เสียกบาล กฎหมายหมิ่นเผด็จการ ก็เท่านั้น จงช่วยกัน ด่ามัน แบบชาวบ้าน จะติดคุก หวังลูกฟลุ๊ค คงไม่นาน ชีวิตเรา ต่างทรมาน กันอยู่แล้ว ไปสิ ...ตาสี ยายสา ป้าทองมา ลุงมี พี่ไอ้แห้ว ปัญญาชน ขอยืนดู อยู่นอกแนว พูดจนเป็นขุนทอง นกแก้ว ก็แค่นั้น ไปสิ...ตาสี ยายสา ป้าทองมา ลุงมี เรามีฝัน เสรีภาพ ไม่ต้องกราบกันทุกวัน เท่าเทียมกัน เรายืนยัน ด้วยตีนเรา ไปสิ...ตาสี ยายสา ป้าทองมา ลุงมี ไม่มีเขา ‘ปัญญาชน’ ตัวตนในโลกเก่า วาทกรรมน้ำเน่าศตวรรษที่สิบแปด! สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
“พธม.” นัดรวมตัวพรุ่งนี้ “จตุพร” ขอคนเสื้อแดงอย่าออกมาหน้ารัฐสภา Posted: 22 Nov 2010 07:50 AM PST “สุริยะใส” เผย พธม.นัดรวมตัว 8 โมงเช้า หน้ารัฐสภาค้านแก้ รธน.คาดมาชุมนุมถึงหลักหมื่น ขณะศปก.มท.ประเมินมาแค่หลักร้อย ด้าน บช.น.จัดกำลัง 1,000 นาย ดูแล ส่วน “จตุพร” ขอคนเสื้อแดงอย่าออกมาหน้าสภาฯ ให้อยู่บนภูรอดูสถานการณ์ เชื่อปฏิวัติมีมูล พธม.นัดรวมตัว 8 โมงเช้าชุมนุมรัฐสภา วันนี้ (22 พ.ย.53) เนชั่นทันข่าว รายงานว่า นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงการนัดชุมนุมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่บริเวณหน้ารัฐสภาวันพรุ่งนี้ (23 พ.ย.) ว่า กลุ่มพันธมิตรฯ นัดรวมตัวกันตั้งแต่เวลา 08.00 น.เป็นต้นไป โดยแกนนำฯ จะเดินทางมาร่วมชุมนุมครั้งนี้ครบทุกคน นายสุริยะใส กล่าวด้วยว่า การปิดถนนหน้ารัฐสภายังตอบไม่ได้ในขณะนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ชุมนุมว่าจะมีมากน้อยเพียงใด ซึ่งเบื้องต้นคาดว่า จะมีผู้มาร่วมชุมนุมถึงหลักหมื่น และพยายามจะไม่ค้างคืน แต่จะเป็นการนัดร่วมตัวกันใหม่ช่วงเช้าตลอดการพิจารณา ศปก.มท.ประเมินชุมนุม มาแค่หลักร้อย มติชนออนไลน์ รายงานว่า ในวันเดียวกัน ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงมหาดไทย (ศปก.มท.) รายงานความเคลื่อนไหวการเข้าร่วมชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในวันที่ 23-25 พฤศจิกายนนี้ ว่า จะมีกลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางจาก จ.นครราชสีมา ประมาณ 50 คน นำโดย นายสุพจน์ พิริยะเกียรติสกุล เดินทางใน 23 พ.ย. ด้วยรถบัส โดยเก็บค่าใช้จ่ายคนละ 300 บาท จ.หนองคาย ประมาณ 30 คน นำโดย นายเฉลียว พงษ์ผาสุข จ.ราชบุรี ประมาณ 25 คน จ.สมุทรสงคราม ประมาณ 50 คน นำโดย นายไกรสินธ์ วงศ์ปัจจะ เดินทางโดยรถตู้ และรถยนต์ส่วนตัว ซึ่งหากมีการชุมนุมยืดเยื้อจะใช้วิธีเดินทางไปกลับในลักษณะสับเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าร่วมชุมนุม จ.นครปฐม ประมาณ 35 คน ประกอบด้วย กลุ่มนายสมคิด ภาตินธุ และ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว และรถประจำทาง จ.สุราษฎร์ธานี ประมาณ 20 คน นำโดย นายเกียรติศักดิ์ ชาครหัตถการ เดินทางโดยสารประจำทาง และรถไฟ จ.ปราจีนบุรี ประมาณ 15 คน นำโดย นายจิตศักดิ์ มิลินทจินดา จ.ลพบุรี ประมาณ 50 คน นำโดย นายรัชพล ทรงศิริ จ.เพชรบุรี ประมาณ 60 คน นำโดย นายนิทัศน์ เกตุแก้ว นางพรพิมล ศิริโรจน์ และนางต่อศรี ประดิษฐ์เจริญ เดินทางโดยรถยนต์ตู้ 2 คัน รถบัส 1 คัน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ประมาณ 20 คน นำโดย นางลำยอง สุกใส และ นายนันทปรีชา คำทอง เดินทางโดยรถยนต์ตู้ 2 คัน นายสุรพล พงศ์ทัดศิริกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ โดยระบุว่า ศอฉ.ขอให้กระทรวงมหาดไทย ป้องกันผลกระทบจากการชุมนุมของกลุ่มพลังทางการเมือง ที่อาจสร้างความแตกแยกของคนในชาติ ความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง และการกระทำที่ไม่เหมาะสมต่อสถาบันหลัก ดังนั้น เพื่อไม่เกิดลักษณะดังกล่าว ขอให้ผู้ว่าฯ ติดตามตรวจสอบการชุมนุมไม่ให้มีการชุมนุมในลักษณะปลุกปั่น ยั่วยุ สร้างความแตกแยกความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง พร้อมทั้งบันทึกภาพวิดีโอและภาพนิ่งการชุมนุมเพื่อใช้เป็นหลักฐานและดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้กระทำความผิดอย่างเคร่งครัด และกำชับเจ้าหน้าที่ให้ตระหนักถึงประมวลจริยธรรมข้าราชการที่กำหนดให้ข้าราชการต้องจงรักภักดี ไม่ละเมิดต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี และองค์รัชทายาท ไม่ว่าทางกายหรือวาจา ทั้งนี้ ให้การกำชับดูแลดังกล่าวครอบคลุมถึงองค์กรส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ด้วย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.00 น. เจ้าหน้าที่ทหารจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้เข้าสำรวจพื้นที่บริเวณรัฐสภา เพื่อวางมาตรการความปลอดภัย ทุกซอกทุกมุมทั้งภายในและภายนอกบริเวณอาคารรัฐสภา อีกทั้งได้มีการสำรวจสภาพพร้อมใช้งานของกล้องวงจรปิด (ซีซีทีวี) รอบรัฐสภา และติดตั้งเพิ่มบางส่วน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า กล้องวงจรปิดรอบรัฐสภา ทุกตัวถูกเชื่อมต่อสัญญาณไปยังหน่วยความมั่นคงของ ศอฉ.ด้วย นายทวีเกียรติ เชาวลิตถวิล ผู้อำนวยการสำนักรักษาความปลอดภัย รัฐสภา เปิดเผยว่า ได้เตรียมเจ้าหน้าที่เพื่อดูแลการชุมนุมอย่างเต็มที่ โดยระดมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำรัฐสภา 80 คนช่วยดูแลพื้นที่ภายในรัฐสภา รวมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ อีก 5 กองร้อยดูแลพื้นที่รอบนอกรัฐสภา อย่างไรก็ตาม นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาได้แสดงความกังวลกับการชุมนุมดังกล่าว และสั่งให้เจ้าหน้าที่สภาเข้มงวดในการตรวจค้นผู้ที่ผ่านเข้าออกบริเวณรัฐสภา โดยเฉพาะวันที่ 25 พฤศจิกายน ที่จะมีการลงมติรับหรือไม่รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่จะมาดูแลความปลอดภัยรัฐสภาในช่วงชุมนุมนั้น ในช่วงค่ำวันที่ 22 พฤศจิกายน จะมีเจ้าหน้าที่จำนวน 1 กองร้อยมาเฝ้าระวังพื้นที่ตลอดทั้งคืน จากนั้น เช้าวันที่ 23 พฤศจิกายนวันเริ่มชุมนุม เจ้าหน้าที่อีก 4 กองร้อยจะเข้ามาเสริม บช.น.จัดกำลัง 1,000 นาย ดูแลรัฐสภาพรุ่งนี้ ในส่วนสำนักข่าวไทย รายงานว่า พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษก บช.น.เผย บช.น.จัดกำลัง 1,000 นาย ดูแลรัฐสภาวันพรุ่งนี้ รับมือการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ โดยจากการประสานแกนนำพันธมิตรฯ ได้รับการยืนยันว่าจะเดินทางมาถึงหน้ารัฐสภาเวลา 09.00 น. ยืนยันจะชุมนุมอย่างสงบ ไม่ยืดเยื้อ พร้อมวอนกลุ่มผู้ชุมนุมทำตามกรอบกฎหมาย “จตุพร” ขอ “เสื้อแดง” อย่าออกมาหน้าสภาฯ ให้อยู่บนภูดู เชื่อปฏิวัติมีมูล มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 22 พฤศจิกายน นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย แกนนำคนเสื้อแดง แถลงที่พรรคเพื่อไทย ถึงกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นัดชุมนุมใหญ่ที่หน้าอาคารรัฐสภาในวันที่ 23 พ.ย.เพื่อคัดค้านการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ที่นำเสนอโดยรัฐบาลว่า คนภายนอกไม่รู้ว่ารัฐบาลกับพันธมิตรฯ นั้นจะมีการคัดค้านกันจริงแค่ไหนและอย่างไร แต่สำหรับคนเสื้อแดงนั้นตนขอบอกเอาไว้เลยว่าห้ามเดินทางมายังหน้าอาคารรัฐสภาอย่างเด็ดขาด เพราะคนเสื้อแดงไม่จำเป็นจะต้องมามีส่วนในปัญหาของพวกที่เคยร่วมกันปล้นประชาธิปไตย และขอให้อยู่บนภูเพื่อดูว่าสถานการณ์หลังจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อไปเท่านั้น รวมทั้งต้องขอร้องให้คนในซีกรัฐบาลที่คิดจะเอาคนมาใส่เสื้อแดงแล้วไปแถวๆ หน้าอาคารรัฐสภาในวันที่ 23 พ.ย. หากเลิกคิดเพราะหากมีการจับตัวได้จะดำเนินการอย่างเด็ดขาด นายจตุพร กล่าวว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ที่เสนอโดยคณะกรรมการประชาชนเพี่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) นำโดย น.พ.เหวง โตจิราการ แกนนำคนเสื้อแดงนั้นแม้จะถูกบรรจุในวาระเร่งด่วนของรัฐสภามานาน แต่เราก็เชื่อว่ารัฐสภาชุดนี้จะไม่พิจารณาร่าง คปพร.อยู่แล้ว ดังนั้นพรรคเพื่อไทย จึงคิดว่าแม้ครั้งนี้รัฐบาลจะไม่เหลียวแลร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของประชาชน แต่หากมีการยุบสภาพรรคเพื่อไทยจะหาเสียงโดยการให้นำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้ทั้งฉบับ ซึ่งเมื่อพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งก็จะดำเนินการทันที หากถึงวันนั้นถ้าพันธมิตรฯ มาคัดค้านอีกก็จะมาว่ากันอีกครั้งหนึ่ง จึงขอให้คนเสื้อแดงอดเปรี้ยวไว้กินหวาน เรายืนยันว่าจะเข้าไปทำหน้าที่ และจะไม่เป็นอุปสรรคในการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล นายจตุพร กล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ระบุว่าบางคนในกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยพยายามที่จะเคลื่อนไหนเพื่อให้เกิดการปฏิวัตินั้นพวกตนไม่ได้มีความคิดเห็นอะไร แต่รู้ว่าเป็นกฎแห่งกรรม เพราะการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ลงทุนลงมาจัดการกับรองเท้าแตะด้วยตัวเองแล้วอะไรก็เกิดขึ้นได้ การจับมือกันของกลุ่มพันธมิตรฯกับทหารบางกลุ่มนั้นมีมูลแน่นอน แต่ตนขอไม่เป็นฝ่ายบอกว่าอะไร อย่างไร เพราะเป็นคนนอกและอยากปล่อยให้เป็นการดำเนินการของพวกที่เคยร่วมมือกันปล้นประชาธิปไตยไปจัดการกันเอง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
อภิสิทธิ์ปาฐกถา: มุมมองต่อสื่อและโทรคมนาคม Posted: 22 Nov 2010 06:37 AM PST
(18 พฤศจิกายน 2553) ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ มีการจัดงานสัมมนา "อุตสาหกรรมสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ และโทรคมนาคม หลังกฎหมายคลื่นความถี่ฉบับใหม่บังคับใช้: โจทย์ต่อไปคืออะไร" จัดขึ้นโดยสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย” โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “ บทบาทด้านสื่อและโทรคมนาคมของรัฐบาล หลังพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯฉบับใหม่บังคับใช้” ในการกล่าวปาฐกถาในครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้พูดถึงบทบาทที่รัฐบาลจะกระทำภายหลังจากที่ พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์และกิจการและกิจการโทรคมนาคมบังคับใช้ ซึ่งในตอนหนึ่งของการกล่าวปาฐกถาได้กล่าวถึงการควบคุมสื่อใหม่ว่า ต้องได้รับการจัดระบบและกำกับดูแลการใช้สื่อสมัยใหม่ เพราะในปัจจุบันสังคมออนไลน์กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชาชนทุกคนสามารถสื่อสารข้อมูลข่าวสารได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง แต่คนเหล่านี้ไม่ใช่มืออาชีพ ไม่ได้เป็นผู้มีวิชาชีพสื่อ จึงมีความจำเป็นที่รัฐบาลต้องวางแนวทางเพื่อให้มีมารยาทและกติกา และไม่ไปละเมิดสิทธิบุคคลอื่นหรือเกิดอันตรายต่อความมั่นคง ทั้งนี้กฎหมายฉบับดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วและวุฒิสภาก็เห็นชอบเมื่อวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งขั้นตอนต่อไปรัฐสภาจะส่งเรื่องให้รัฐบาลนำขึ้นทูลเกล้าต่อไป (ชันษา สุพรรณเมือง รายงาน) ---------------------------------------------- "บทบาทด้านสื่อและโทรคมนาคมของรัฐบาล ท่านประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาร่วมงานเสวนาของสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เรื่องอุตสาหกรรมสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ และโทรคมนาคม หลังกฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับใหม่บังคับใช้: โจทย์ต่อไปคืออะไร? ที่ได้จัดขึ้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการด้านคลื่นความถี่และสื่อทุกประเภท นักสื่อสารมวลชน นักวิชาการ และประชาชน เกี่ยวกับพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฉบับใหม่ ซึ่งขณะนี้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว โดยสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานะครับ คือวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้เอง ดังนั้นขั้นตอนต่อไปก็คือขั้นตอนที่ทางรัฐสภาจะส่งเรื่องมาให้ผมเพื่อดำเนินการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งจะต้องทำภายใน 20 วันหลังจากที่สภาฯ ให้ความเห็นชอบ สำหรับบทบาทของรัฐบาลหลังจากที่กฎหมายฉบับนี้บังคับใช้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมได้รับเชิญให้มาพูดในวันนี้ ก็ขอเรียนว่าเมื่อกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้ ซึ่งก็คาดว่าเป็นระยะเวลาอีกไม่นาน กฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และตระหนักดีว่าเป็นเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรที่เป็นทรัพยากรของชาติเพื่อ ประโยชน์สาธารณะ จึงต้องมีการดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องประชาชนและความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งประโยชน์ของส่วนรวมในด้านอื่น ๆ ก็อยากจะขอเรียนครับว่ากฎหมายฉบับนี้ความจริงก็ถือว่าเป็นกฎหมายที่มีความพยายามที่จะปรับปรุงกฎ กติกาต่าง ๆ หลังจากที่เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วเราได้มีความพยายามที่จะสร้างกฎ กติกา ในเรื่องของการมีองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ องค์กรอิสระ ที่มาดูแลในเรื่องของกิจการโทรคมนาคม และกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งหลายท่านจะทราบดีครับว่าตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสาขาการกระจายเสียง และสาขาวิทยุโทรทัศน์ มีปัญหามาโดยตลอด ในเรื่องของการได้ตัวองค์กรที่จะเข้ามาดูแลในเรื่องนี้ และความจริงตั้งแต่ 10 กว่าปีที่แล้วผมเองเป็นผู้หนึ่งซึ่งเห็นว่ากิจการโทรคมนาคมและกิจการในการสื่อสารมวลชนนั้นเป็นกิจการซึ่งจะแยกกันไม่ออก ด้วยเหตุผลทางเทคโนโลยีและด้วยเหตุผลในแง่ของความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เพราะฉะนั้นครั้งนี้ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่งในการที่จะจัดระเบียบ ถ้าจะใช้คำนั้นนะครับ แต่ว่าข้อเท็จจริงก็คือการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องประชาชนนั่นเอง ในแง่ของรัฐบาลนะครับ นโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็เป็นบทบาทที่มีความสำคัญที่สุด ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ก่อนหน้านี้เช่นเดียวกันตามกฎหมายเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วก็มีความสับสนกันพอสมควรว่า องค์กรที่เกิดขึ้นจะรับผิดชอบในแง่ของการกำกับดูแล หรือจะต้องรับผิดชอบในเรื่องของนโยบายด้วย ขณะนี้ก็มีความชัดเจนในการกำหนดอำนาจหน้าที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งในส่วนของรัฐบาลนั้นก็ยังมีทั้งนโยบายของรัฐบาลเอง และมีเป้าหมายที่ได้ถูกกำหนดไว้ในแนวนโยบายของรัฐ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่า เรามีหน้าที่ในการที่จะต้องพัฒนาเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการสื่อสารอย่างเท่าเทียมกัน และส่งเสริมให้ประชาชนได้มีโอกาสรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และผลักดันให้กฎหมายมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ ซึ่งอันนี้เป็นแนวทางซึ่งรัฐบาลและโดยตัวผมเองนั้นได้พยายามที่จะผลักดันมาโดยตลอด กฎหมายฉบับนี้ไม่เพียงแต่จะกำหนดให้มีองค์กรที่ทำหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลกิจการทั้งกระจายเสียง ทั้งโทรทัศน์ และโทรคมนาคมนะครับ ซึ่งก่อนหน้านี้จะมีเฉพาะ กทช. ซึ่งดูแลทางด้านโทรคมนาคม แต่ว่าประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้ก็จะครอบคลุมไปถึงการที่จะแก้ปัญหาและวางกติกาในด้านการกำกับดูแลกิจการบางเรื่อง อย่างเช่น กรณีของ 3จี ซึ่งก็เป็นเรื่องที่มีการอยู่ในความสนใจของพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก และโดยเฉพาะก็คือแก้ปัญหาที่ผมได้กล่าวมาแล้วก็คือสภาวะการหลอมรวมทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ซึ่งรวมไปถึงเรื่องของปัญหาในการกำกับเนื้อหาซึ่งเกิดขึ้นจากการใช้สื่อต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย กฎหมายนี้ได้เพิ่มเติมบทบัญญัติ ซึ่งจะทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรมกระจายเสียง ทั้งโทรทัศน์และโทรคมนาคมนั้น ได้มีการพัฒนามากขึ้น มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และที่สำคัญคือจะมีการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็ได้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่าง กสทช. กับรัฐบาล ที่จะทำให้เกิดความเป็นเอกภาพ มีความเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และรวมไปถึงการมีประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการป้องกันไม่ให้มีการปิดกั้นการได้รับข้อมูลข่าวสาร และการส่งเสริมการรวมกลุ่มของภาคเอกชน ในการทำมาตรฐานทางด้านจริยธรรม ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็อยากจะเรียนว่า บทบาทของรัฐบาลที่ได้วางเอาไว้ในขณะนี้ ก็จะมีอยู่หลายด้านที่เราถือเป็นเรื่องสำคัญ ข้อแรก คือ การสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง กสทช. โดยเร็ว ตรงนี้ดูผิวเผินก็อาจจะไม่ได้เป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนเพราะว่ากฎหมาย ก็เขียนอยู่แล้วนะครับว่าจะต้องมีการจัดตั้งขึ้น มีการกำหนดขั้นตอน แต่ประสบการณ์จากอดีตเมื่อรอบ 10 ปีที่ผ่านมาก็บ่งชี้ชัดครับว่า การจัดตั้งตัวคณะกรรมการนั้นมักจะประสบปัญหาการโต้แย้งอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งทำให้ความล่าช้าเกิดขึ้นกับ กทช. และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือความล้มเหลวในการจัดตั้ง กสช. ในอดีต ครั้งนี้บทบัญญัติของกฎหมายก็ดูจะเอื้อให้มีแนวทางที่เป็นหลักประกันในระดับหนึ่งว่า ทุกอย่างจะเป็นไปตามกรอบของเวลา เพราะฉะนั้นรัฐบาลก็จะเร่งรัดจัดตั้ง กสทช. โดยเร็วด้วยความตระหนักถึงความสำคัญขององค์กรนี้ บทบาทที่ 2 คือการกำหนดนโยบายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งมาตรา 74 ของกฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องที่สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อสภาฯ ในแง่ที่ว่ารัฐบาลยังคงบทบาทในฐานะที่เป็นผู้กำหนดนโยบายด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งครอบคลุมและเกี่ยวข้องกับงานทางด้านโทรคมนาคมด้วย ซึ่งในประเด็นนี้ก็อยากจะย้ำครับว่า รัฐบาลชุดนี้มีความชัดเจนมากในเรื่องของการที่จะผลักดันให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนั้นมีเป้าหมายสูงสุดก็คือการเข้าถึงการได้รับบริการทางด้านข้อมูลข่าวสารของประชาชนทั่วประเทศให้มากที่สุด เราตระหนักดีว่าปัจจุบันนี้เทคโนโลยีนี้เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการพัฒนาคนหรือในการพัฒนาประเทศ เราตั้งเป้าว่าเครือข่ายของข้อมูลข่าวสารนั้นจะต้องมาสนับสนุนทั้งเรื่องของการศึกษา ทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ ในแง่ของการทำธุรกรรมต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน อย่างเช่น ในเรื่องของสุขภาพ และในแง่ของการปรับปรุงเครือข่ายหรือระบบการบริการภาครัฐทั้งหมด ซึ่งเป้าหมายอันนี้ก็ได้มีการกำหนดมาตรการ มีการออกมติคณะรัฐมนตรีและนโยบายต่าง ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ในกรอบของภาพรวมนั้นนะครับ ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ซึ่งแผนนี้ใช้ไปจนถึงปี 2556 สิ่งสำคัญที่เป็นหัวใจ ที่เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการก็คือ ดูแลว่ากติกาการแข่งขันในธุรกิจเหล่านี้เป็นการแข่งขันที่มีความเป็นธรรม มีความเสมอภาค และแก้ปัญหาซึ่งถือว่าเป็นมรดกจากในอดีต ที่มีระบบการแข่งขันที่มีความไม่เท่าเทียม และมีความเหลื่อมกันอยู่ในแง่ขององค์กรที่กำกับดูแลการแข่งขันในกิจการต่าง ๆ เหล่านี้ และเมื่อเร็ว ๆ นี้นะครับรัฐบาลก็ได้อนุมัตินโยบายด้านการพัฒนาบรอดแบนด์แห่งชาติ ซึ่งได้มีการดำเนินการมาโดยลำดับ และตระหนักถึงความจำเป็นอย่างที่ผมได้เรียนให้ทราบแล้วว่าเป้าหมายของรัฐบาล ก็คือการทำให้พี่น้องประชาชนนั้นจะได้มีโอกาสเข้าถึงเรื่องของบริการทางด้านข้อมูลข่าวสารให้มากที่สุด บทบาทที่ 3 ที่เป็นบทบาทสำคัญของรัฐบาลก็คือเรื่องของการเจรจาและการทำความตกลงระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม กสทช. และสำนักงานจะมีหน้าที่ตามกฎหมายในการให้ข้อมูล ร่วมดำเนินการตามที่รัฐบาลขอความร่วมมือในการที่จะมีการเจรจา หรือทำความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ เพราะฉะนั้นรัฐบาลไทยก็ยังจะต้องมีบทบาทสำคัญเวลาที่มีการไปทำการเจรจา ทำความตกลงกับประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคลื่นความถี่เรื่องกระจายเสียง เรื่องโทรทัศน์ เรื่องโทรคมนาคมและกิจการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพราะว่าปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่าทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งกติกานั้นเราจะดูเฉพาะภายในประเทศไม่ได้ แต่มีความร่วมมือ มีข้อตกลงในระดับระหว่างประเทศ และบทบาทของรัฐบาลก็มีการผลักดันอย่างต่อเนื่อง เร็ว ๆ นี้ทางตัวแทนของเราก็ยังได้รับเลือกตั้งเข้าไปอยู่ใน ITU Council ซึ่งถือเป็นองค์กรสำคัญในระดับโลกที่จะดูแลในเรื่องนี้ บทบาทที่ 4 นะครับ ก็คือการติดตามการปฏิบัติงานของ กสทช. นั่นเอง ซึ่งอันนี้ในมาตรา 76 กสทช. นั้นจะต้องทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี ด้านการบริหารคลื่นความถี่กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม และแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งผมในฐานะนายกรัฐมนตรีอาจจะขอให้ กสทช. หรือเลขาธิการ ชี้แจงการดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ เพราะฉะนั้นบทบาทในการติดตามการทำงานของ กสทช. นั้นก็จะเป็นบทบาทที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่ง ถัดมานะ ครับก็คือการที่เราจะต้องเร่งรัดให้ประเทศของเราเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือกรณีของวิทยุโทรทัศน์ที่พัฒนาไปสู่ยุคดิจิตอลแล้ว ดังนั้นเพื่อให้ประเทศไทยนั้นสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีดังกล่าว การกำหนดนโยบาย แผนงาน มาตรการที่จำเป็นในการปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบการรับ-ส่งสัญญาณในระบบดิจิทัล ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยคำนึงถึงผลกระทบต่าง ๆ ก็จะเป็นบทบาทที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่งของรัฐบาล ถัดมานะครับก็เป็นเรื่องของการกำกับดูแลหน่วยงานซึ่งสังกัดฝ่ายบริหาร หรืออยู่ภายใต้การกำกับดูแลของฝ่ายบริหารให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด เพราะว่าต้องยอมรับว่าปัจจุบันนั้นการใช้คลื่นความถี่ ทั้งในด้านวิทยุโทรทัศน์ โทรคมนาคม ก็อยู่ในความครอบครองหรือว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ ไม่ว่าจะเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่น ๆ นะครับ เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ มีการจัดระบบในเรื่องของการกำกับดูแลกันแล้ว ก็เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลในการที่จะต้องดูว่าหน่วยงานของรัฐนั้นได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดตามเจตนารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในเรื่องของการที่จะต้องมีการคืนคลื่นความถี่ หรือเรื่องของการจัดทำแผนแม่บทของ กสทช. ซึ่งรัฐบาลก็มีหน้าที่ในการสอดส่องดูแลให้หน่วยงานใช้คลื่นนั้นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ตามมาตรการต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนด บทบาทที่ 7 นะครับ ที่ผมขอเรียนก็คือเรื่องของจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อต่าง ๆ ซึ่งแม้ว่ากฎหมายฉบับใหม่จะกำหนดให้ กสทช. มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนให้เป็นองค์กรในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมของการประกอบวิชาชีพและควบคุมการประกอบวิชาชีพ แต่คงไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจะไม่มีบทบาทในเรื่องนี้ จุดยืนของผมและรัฐบาลก็ชัดเจนอยู่แล้วนะครับว่าการกำกับดูแลในวิชาชีพสื่อนั้นเราต้องการที่จะให้คนในวงการวิชาชีพนั้นได้มีการดำเนินการกันเองเป็นสำคัญหรือเป็นหลัก ซึ่งหลังจากที่เราเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งในสังคม ผมก็ได้เดินสายไปพบปะกับสื่อหลายแขนง หลายสังกัด เพื่อที่จะทำความเข้าใจในเรื่องนี้ และเร่งให้องค์กรวิชาชีพต่าง ๆ นั้นมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ได้มีนโยบายว่าจะผลักดันให้มีกฎหมายในการคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ ซึ่งก็ทำขึ้นโดยการรับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนของวิชาชีพนั่นเอง ขณะนี้ผมก็กำลังเร่งรัดเพื่อที่จะให้กฎหมายฉบับนี้สามารถนำเสนอต่อสภาฯ และประกาศใช้ให้ได้โดยเร็วต่อไป ซึ่งก็จะเป็นการเพิ่มหลักประกันในเรื่องของเสรีภาพ ควบคู่กันไปนะครับก็จะเป็นปัญหาที่มีการบังคับใช้กฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ซึ่งยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ค่อนข้างมาก อันนี้ก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีการมาทบทวนแนวทางของการใช้กฎหมายฉบับนี้ ซึ่งก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผมเห็นว่าจะต้องเป็นบทบาทสำคัญของรัฐบาลต่อไป ก็มาถึงเรื่องสุดท้ายนะครับ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ก็คือการจัดระบบและกำกับดูแลการใช้สื่อสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือปัจจุบันนั้นโครงข่ายที่เป็นโครงข่ายการสื่อสารทางสังคม มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นช่องทางสำคัญที่ประชาชนนั้นใช้ในการสื่อสารและกระจายข้อมูลถึงกันและกัน ซึ่งบางครั้งก็คือไม่ต้องผ่านตัวกลางใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นการสื่อสารโดยตรง ซึ่งตรงนี้ผมก็ได้พูดกับผู้ที่อยู่ในวงการและในวิชาชีพว่า ปัจจุบันนั้นเสมือนกับว่าประชาชนหรือใครก็ตามที่เข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ สามารถทำตัวเป็นสื่อมวลชนได้เกือบทั้งหมด ซึ่งก็ทำให้เกิดปัญหาเพราะว่าคนเหล่านี้ก็ไม่ใช่คนที่มีวิชาชีพ หรือเป็นมืออาชีพ แต่สามารถที่จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้ไม่แพ้สื่อสารมวลชน ก็เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นที่สังคมของเราและในส่วนของรัฐบาลเองจะต้องมาช่วยกันหาแนวทางในการวาง อย่างน้อยที่สุดก็ต้องมีมารยาท หรือกติกา ในการที่จะใช้สื่อและโครงข่ายเหล่านี้เพื่อไม่ให้เป็นการไปละเมิดสิทธิ์คนอื่น หรือรวมไปถึงไม่ให้เกิดอันตราย กระทบต่อเรื่องของความมั่นคง หรือประโยชน์ของส่วนรวม ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพครับ ผมก็หวังว่าวันนี้เวทีที่ได้จัดขึ้น จะเป็นเวทีที่จะมีการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อมุ่งไปสู่การเตรียมความพร้อมให้กับทุกฝ่าย ในการที่จะได้ดำเนินการตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและของรัฐธรรมนูญ ซึ่งผมขอย้ำอีกครั้งว่ามีเป้าหมายสูงสุดคือการให้พี่น้องประชาชนนั้นได้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรสาธารณะ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งหวังว่าสมาคมต่าง ๆ สภาวิชาชีพ ตลอดจนผู้ปฏิบัติทุกท่าน และนักวิชาการที่ได้สนใจติดตามในเรื่องของการปฏิรูปคลื่นความถี่ ต้องการที่จะเห็นความเป็นธรรม ความโปร่งใสเกิดขึ้น และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างตรงไปตรงมา นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพจิตสำนึกของคนข่าววิทยุและโทรทัศน์ และการทำงานภายใต้กฎหมายใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สุดท้ายนี้ขออวยพรให้การจัดงานในครั้งนี้บรรลุผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ทุกประการ และขอให้ทุกท่านประสบแต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกัน ขอขอบคุณครับ ----------------------------------------- ที่มา: กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก (หมายเหตุ: ตัวเน้นโดยประชาไท) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 15-21 พ.ย. 2553 Posted: 22 Nov 2010 02:17 AM PST ชี้ตลาดแรงงานอีก 5 ปีสายวิชาชีพยังบูม 15 พ.ย. 53 - น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา เพื่อร่วมผลิตและพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการภาคอุตสาหกรรม ซึ่งตนได้ขอตัวเลขความต้องการแรงงานที่ชัดเจนนั้น ขณะนี้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ส่งตัวเลขความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมหลัก 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหการ และเครื่องจักรกลการเกษตรมาให้แล้ว โดยพบว่าอีก 5 ปีข้างหน้า (2554-2558) ในอุตสาหกรรมทั้ง 6 กลุ่มต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น 248,862 คน คิดเป็นร้อยละ 19.26 จากการจ้างงานรวมปี 2553 จำนวน 1.29 ล้านคน ทำให้ตัวเลขการจ้างงานรวมของ 6 กลุ่มอุตสาหกรรมในปี 2558 เพิ่มเป็น 1.54 ล้านคน แบ่งเป็นระดับ ม.3 และ ม.6 จำนวน 131,628 คน คิดเป็นร้อยละ 52.89 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 37,829 คน คิดเป็นร้อยละ 15.20 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 51,813 คน คิดเป็นร้อยละ 20.82 และปริญญาตรี 27,591 คน คิดเป็นร้อยละ 11.09 รมช.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ความต้องการแรงงาน ในระดับ ปวช. และ ปวส. สาขาที่ต้องการมากที่สุดคือ สาขาช่างกลโรงงาน 49,813 คน คิดเป็นร้อยละ 55.57 รองลงมาคือ สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 17,885 คน คิดเป็นร้อยละ 19.95 และสาขาช่างยนต์ 10,356 คน คิดเป็นร้อยละ 11.55 ระดับปริญญาตรี มีความต้องการในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ 27,591 คน โดยร้อยละ 80 ต้องการสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ เครื่องกล ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ และแมคคาทรอนิกส์ ขณะที่สาขาอื่นๆ เช่น บัญชี การเงิน กฎหมาย และงานธุรการ ต้องการเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น และจากข้อมูลเหล่านี้แต่ละวิทยาลัยอาจต้องไปปรับในส่วนของเนื้อหาหลักสูตร การเรียนการสอนให้ 3 เดือนสุดท้ายของการเรียนนักเรียน นักศึกษาต้องเข้าฝึกงานในสถานประกอบการ เพื่อให้ ได้ประสบการณ์จริง และอาจต้องจัดสรรโควตาให้แก่ วิทยาลัยเพื่อจัดสรรนักศึกษาเข้าฝึกงานในสถานประกอบการ โดยเริ่มในภาคเรียนที่ 2/2553. (ไทยรัฐ, 15-11-2553) สว.โวยศธ.ไม่รับคนพิการทำงานขัดรัฐธรรมนูญ 15 พ.ย. 53 - นายมณเฑียร บุญตัน สว.สรรหา กล่าวระหว่างการประชุมวุฒิสภา ว่า อยากให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาทบทวนในกรณีที่ปฎิเสธไม่ให้คนพิการเข้ามาทำ งานเป็นพนักงานcall center เพราะเป็นการบ่งบอกว่าเป็นความคิดที่ล้าหลังถือเป็นการ เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ขัดต่อเจตนารมของรัฐธรรมนูญรวมถึงพรบ.ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการและ พันธกรณีระหว่างประเทศจึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงกระทรวงศึกษาฯและ อื่นในภาครัฐได้ดำเนินการสอบสวนดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมของกฎหมาย นายมณเฑียร กล่าวว่า ทั้งนี้ขอเรียกร้องให้รัฐบาลใช้โอกาสที่ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่ สามัญขององค์กรด้านคนตาบอดระดับโลก ในปีพ.ศ .2555 เพื่อแสดงศักยภาพในเวทีโลกและถือเป็นโอกาสให้คนไทยได้ต้อนรับผู้ นำคนตาบอดจากทั่วโลก และจะได้ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ขอให้รัฐบาลรวมถึงสังคมไทยได้เตรียมพร้อมในการเป็นเจ้าภาพในการเป็น เจ้าภาพในการประชุมระดับโลกในครั้งนี้ด้วย ด้าน นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว. สรรหา กล่าวว่า ฝากไปถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ดูแลเรื่องนโยบายผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เนื่องจากรัฐบาลไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องนี้ ซึ่ง คนต่างด้านที่เข้ามาผิดกฎหมายรัฐบาลต้องผลักดันให้ออกไป แต่เข้าใจว่าเมื่อมีปริมาณมาก รัฐบาลจึงไม่สามารถผลักดันออกไปได้ทันที จึงอนุญาตให้ทำงาน แต่การอนุญาตให้ทำงานวันนี้ทางหน่วยงานต่างๆก็พยายามเอื้อประโยชน์ให้แรงงาน โดยออกเอกสารให้ เช่น ใบ ขับขี่ แต่วันนี้ทำให้เกิดผลเสีย คือคนต่างด้าวไปขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง และเกิดมีการค้าเล็กๆ มีการเอารถพ่วงไปขายของในหมู่บ้าน ทำมาหากินแข่งกับคนไทย แย่งอาชีพคนไทย จึงขอให้นายกฯ แก้ไขเรื่องนี้ และขอความชัดเจนในเรื่องนโยบายต่างด้าวว่ารัฐบาลจะแก้ไขปัญหาอย่างไร และภาวการณ์แย่งอาชีพคนไทย ควรแร่งดำเนินการโดยเร็ว (โพสต์ทูเดย์, 15-11-2553) นักวิชาการชี้กระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวยุ่งยากทำนายจ้างละเลย 15 พ.ย. 53 - นายแล ดิลกวิทยารัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาแรงงานและการจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงแรงงาน ดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานพิเศษเพื่อแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวในเรื่องการ พิสูจน์สัญชาติ การตรวจสอบแหล่งพำนักของแรงงานต่างด้าว และให้นายจ้างรายงานทุก 3 เดือน ว่า เป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าจะให้ได้ผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและทั่วถึง ทั้งนี้ มองว่าที่ผ่านมาแรงงานต่างด้าวไม่ใช่ตัวปัญหา ในทางกลับกันคนเหล่านี้เข้ามาเติมส่วนขาดของแรงงานฝีมือในระดับล่าง ซึ่งถ้าไม่มีแรงงานเหล่านี้สถานประกอบการจำนวนมากอาจล้มละลายได้ ส่วนกรณีที่มีปัญหาว่าแรงงานต่างด้าวไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ นั้น ต้องยอมรับว่าปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากขั้นตอนการขอใบอนุญาตมีความยุ่งยากเกิน ไป และเสียค่าใช้จ่ายมาก ในการพาแรงงานต่างด้าวไปขึ้นทะเบียน ทำให้นายจ้างจำนวนไม่น้อยไม่นิยมพาแรงงานต่างด้าวไปจดทะเบียน จึงกลายเป็นที่มาของแรงงานเถื่อน ลักลอบทำงานอยู่ในประเทศไทยจำนวนมาก (สำนักข่าวไทย, 15-11-2553) ครม.เศรษฐกิจเห็นชอบเพิ่มงบช่วยแรงงานเจออุทกภัย 15 พ.ย. 53 - นายธราดล เปี่ยมพงศ์สานต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจมีมติเห็นชอบอนุมัติงบกลาง ของงบประมาณปี 2554 ในส่วนของเงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉิน ให้กับกระทรวงแรงงานเพิ่มเติม จากเดิม 139 ล้านบาท เพิ่มเป็น 406 ล้านบาท เพื่อนำไปดำเนินโครงการจ้างงานเร่งด่วนและพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อบรรเทาความ เดือนร้อนด้านอาชีพ ให้กับแรงงานผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะแรงงานที่อยู่ในท้องถิ่นควรได้รับการช่วยเหลือในลำดับแรก “การดำเนินการดังกล่าว เป็นภารกิจปกติของหน่วยงาน ซึ่งคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มีมติให้หน่วยงานต่างๆไปพิจารณาปรับงบประมาณประจำ ปี 2554 ในสัดส่วน 5-10% มาทำภารกิจช่วยเหลือฟื้นฟูน้ำท่วมก่อน ซึ่งเรื่องนี้ครม.ได้เคยมีมติให้กระทรวงแรงงานไปเร่งสำรวจผู้ถูกเลิกจ้าง จากสาเหตุน้ำท่วม เพื่อจะได้หาทางช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมก่อนหน้านี้แล้ว”นายธาราดลกล่าว ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายให้กระทรวงต่างๆ ไปดำเนินการเกลี่ยงบประมาณ จากงบประจำประมาณ 5-10% เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการช่วยเหลือผลกระทบน้ำท่วมและฟื้นฟูผลกระทบน้ำท่วม ก่อน (โพสต์ทูเดย์, 15-11-2553) ภาคเอกชนจี้รัฐเร่งเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ 15 พ.ย. 53 - ในการประชุมเพื่อระดมความเห็นและข้อเสนอจากภาคธุรกิจต่อการเปิดจดทะเบียนแรง งานข้ามชาติรอบใหม่ บทเรียนและข้อท้าทาย ที่จัดโดย มูลนิธิรักษ์ไทย มีตัวแทนผู้ประกอบการประมง สภาอุตสาหกรรม หอการค้า จากจังหวัดต่างๆ เข้าร่วม โดยทุกฝ่ายเห็นตรงกันที่จะให้มีการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในปัจจุบัน (สำนักข่าวไทย, 15-11-2553) ระยองปิดล้อมชุมชนจับแรงงานต่างด้าว 18 พ.ย. 53 - กำลังฝ่ายปกครองสนธิกำลังกับตำรวจเมืองระยอง ปิดล้อมตรวจค้นชุมชนย่านปากน้ำระยอง แหล่งชุมชนแพร่ระบาดของยาเสพติด เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมชาวกัมพูชาได้ 15 คน ตรวจสอบเอกสารไม่มีใบอนุญาตเข้าทำงาน ส่วนชาวไทยอีก 13 คน จากการตรวจสอบปัสสาวะพบเป็นสีม่วง จึงส่งทั้งหมดดำเนินคดีตามกฎหมาย สำหรับการตรวจค้นครั้งนี้เป็นไปตาม มาตรการป้องปรามยาเสพติดของ จ.ระยอง เพื่อประกาศสงครามกับยาเสพติด โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงการแพร่ระบาดของยาเสพติดชุมชนปากน้ำระยอง ทั้งยังเป็นแหล่งกบดานของแรงงานต่างด้าวอีกด้วย (สำนักข่าวไทย, 18-11-2553) สปส. แนะผปต. รู้ว่างงาน รีบขึ้นทะเบียนด่วนหากเกิน 30 วัน รับประโยชน์ทดแทนไม่ครบถ้วน 18 พ.ย. 53 - สำนักงานประกันสังคม (สปส.) แนะผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้างหรืออกจากงานให้รีบขึ้นทะเบียนหางาน ณ สำนักจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง เพื่อรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน หากขึ้นทะเบียนล่าช้าจะได้รับประโยชน์ทดแทนไม่ครบถ้วน สำนักงานประกันสังคม (สปส.) แนะผู้ประกันตนซึ่งถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงานโดยได้นำส่งเงินสมทบกองทุน ประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 วัน ก่อนการว่างงานควรรีบไปขึ้นทะเบียนหางานที่สำนักจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากขึ้นทะเบียนล่าช้าเกิน 30 วัน ประโยชน์ทดแทนที่ได้รับจะลดลงตามระยะเวลาที่ยื่นล่าช้า โดยเตรียมหลักฐานได้แก่ รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 2 รูป บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่ บัญชีของผู้ประกันตน สำหรับประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตน ว่างงานได้รับความช่วยเหลือได้แก่ การบริการจัดหางาน การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน โดยผู้ประกันตนจะได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่หากมีตำแหน่งงานที่ เหมาะสม หรืออาจได้รับการฝึกพัฒนาฝีมือแรงงานหากจำเป็นและผู้ประกันตนจะต้องไปรายงาน ตัวต่อสำนักจัดหางานของรัฐเดือนละ 1 ครั้ง ตามวันเดือนปีที่สำนักงานจัดหางานนัดหมาย ทั้งนี้การจ่ายเงินทดแทนระหว่างว่าง งานกรณี่ถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินทด แทนร้อยละ ร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ครั้งละไม่เกิน 180 วันใน 1 ปี ส่วนกรณีที่ผู้ประกันตน ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาในการจ้างไว้แน่นอน จะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 30 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมในระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน โดย สปส.จะจ่ายเงินทดแทนโดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้ประกันตนเป็นราย เดือน หากผู้ประกันตนกลับเข้าทำงานในสถานประกอบการหรือปฏิเสธงานที่จัดหาให้ และไม่ไปรายงานตัวตามที่กำหนด สปส.จะงดจ่ายประโยชน์ทดแทนทันที หากผู้ประกันตนประสงค์จะใช้สิทธิ ประกันสังคมต่อไป สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตน โดยสมัครตามมาตร 39 โดยยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-20) ด้วยตนเองได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุก แห่งทั่วประเทศ ภายในระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้าง ซึ่งจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ไม่เนื่องจากการทำงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และชราภาพ โดยผู้ประกันตนจะนำส่งเงินสมทบในอัตราเดือนละ 432 บาท มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่สำนัก งานประกันสังคมเขต พื้นที่/จังหวัด/สาขาที่ท่านสะดวก (เจ้าหน้าที่ให้บริการทุกวัน เวลา 07.00-19.00 น.ระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติให้บริการ 24 ชั่วโมง (บ้านเมือง, 18-11-2553) คนงานกู๊ดเยียร์ 500 คนประท้วงโดนห้ามเข้าพื้นที่ 18 พ.ย. 53 - นายวาสุเทพ บุญคุ้ม คณะกรรมการกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต เปิดเผยกับโพสต์ทูเดย์ว่าคนงานบริษัท กู๊ดเยียร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประมาณ 400-500 คนได้รวมตัวประท้วงนายจ้างหน้าโรงงานย่าน กม.ที่ 35 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานีเนื่องจากถูกนายจ้างปิดประตูไม่ให้เข้าพื้นที่ตั้งแต่ 07.00 น.จนถึงขณะนี้( 16.00 น.) สาเหตุที่นายจ้างปิดประตูเนื่อง จากกลุ่มคนงานได้ยื่นข้อเรียกร้องเกี่ยว กับสภาพการจ้างงาน 15 ข้อ เช่น ขอให้ จ่ายเงินโบนัสกลางปีเป็นจำนวน 2.5 หมื่นบาท ขอให้จ่ายเงินสมนาคุณพิเศษเป็นจำนวน 2 หมื่นบาท ขอให้บริษัทจัดสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลให้กับพนักงานที่เกษียณอายุต่ออีก 5 ปี ฯลฯ การเจรจาเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือน ก.ค.ผ่านมา 4 เดือนเจรจาไป 12 ครั้งแต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ และการไกล่เกลี่ยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 10 พ.ย. ที่ผ่านมาก็ไม่มีความคืบหน้าเพราะนายจ้างไม่ยอมส่งตัวแทนที่มีอำนาจในการ ตัดสินลงมาเจรจา ดังนั้นกลุ่มคนงานจึงเตรียมตัวนัด หยุดงานประท้วงในเวลา 17.00 น.ของวันนี้ แต่นายจ้างได้สั่งให้ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานที่มาทำงานกะเช้า ไม่ต้องเข้าโรงงาน โดยยินดีจ่ายค่าจ้างโดยไม่ต้องทำงาน ทำให้คนงานต้องชุมนุมชี้แจงกันอยู่หน้าบริเวณบริษัทฯรอการเจรจากับทางนาย จ้างเพื่อหาข้อยุติต่อไป โดยขณะนี้แรงงานจังหวัดปทุมธานีกำลังเข้าไปเจรจาหาข้อยุติกับนายจ้างภายใน โรงงานแล้ว (โพสต์ทุเดย์, 18-11-2553) บี้ทหารเคลียร์พม่ารับการตั้งเขตอุตสาหกรรม 18 พ.ย. 53 - นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยในงานสัมมนา “ก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมไทย บนมิติของความไว้วางใจ” ว่า อยู่ระหว่างหารือกับฝ่ายความมั่นคงของไทยเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความมั่นใจ แก่นักลงทุนและประชาชนในพื้นที่ชายแดนไทยกับประเทศพม่า เนื่องจากกระทรวงอุตสาหกรรมกำลังศึกษารูปแบบการจัดตั้งเขตอุตสากรรมพิเศษตาม แนวชายแดนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตากในพื้นที่ 5,000 ไร่ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยไปตั้งโรงงานบริเวณชายแดนและใช้แรงงานจาก ประเทศพม่า ซึ่งจะช่วยการส่งสินค้าไปยังอินเดียและยุโรปได้สะดวกโดยไม่ต้องอ้อมผ่าน ประเทศสิงคโปร์ (เดลินิวส์, 18-11-2553) รมว.แรงงาน สั่ง สปส. เร่งเจรจา รพ.ให้ผู้ประกันตน รักษาได้ทุกแห่ง 19 พ.ย. 53 - นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เร่งเจรจาเชื่อมโยงเครือข่ายโรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการในโรงพยาบาลใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาลหลักที่ลงทะเบียนไว้เพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถใช้บริการโรงพยาบาลในสังกัดได้อย่าง อิสระ ส่วนปัญหากรณีการปฏิเสธการรักษาของโรงพยาบาล ในโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงนั้น ได้ให้คณะกรรมการแพทย์ตรวจสอบสถิติการรักษาย้อนหลัง 3 ปี เพื่อหาตัวเลขผู้ป่วยโรคค่าใช้จ่ายสูง ว่ามีจำนวนเท่าใด เพื่อนำมาคำนวณหาอัตราค่าใช้จ่ายรายหัว ทั้งนี้ เชื่อว่าเมื่อทราบตัวเลขที่ชัดเจน อัตราค่าใช้จ่ายรายหัวจะลดลงกว่าร้อยละ 40-50 ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2554 นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้ สปส.หารือกับกระทรวงสาธารณสุข ที่จะให้สถานีอนามัยทุกตำบล เป็นศูนย์กลางการรักษาผู้ประกันตนที่อยู่ในชุมชนต่าง ๆ ในโรคพื้นฐานทั่วไป ที่แพทย์สามารถให้การรักษาในเบื้องต้นได้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกันตน (สำนักข่าวไทย, 19-11-2553) เครือข่ายลูกจ้างขู่ยกพวก 5 พันคนกดดันบอร์ดค่าจ้างกลาง 19 พ.ย. 53 - เวลา 10.00 น. นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าเครือข่ายลูกจ้างเตรียมยกขบวนผู้ใช้แรงงานประมาณ 5-6 พันคนไปกดดันที่กระทรวงแรงงานในวันที่คณะกรรมการค่าจ้างกลางจะประชุมพิจารณา ตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อแสดงจุดยืนเรียกร้องให้ปรับเพิ่มตัวเลขเพิ่มเป็น 10 บาททุกจังหวัดทั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค. 2554 จากปัจจุบันที่คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองค่าแรงขั้นต่ำเสนอตัวเลขที่ 5, 7 และ 10 บาท (จังหวัดที่ได้เพิ่ม 10 บาทมีจังหวัดเดียวคือภูเก็ต) “เราทำแบบสอบถามไปยังสหภาพแรงงาน ต่างๆประมาณพันชุดและกว่า 80% ตอบกลับมาว่าพอใจที่ตัวเลข 421 และ 250 บาทแต่มองว่าคงเป็นไปได้ยากดังนั้นถ้าปรับขึ้นอีก 10 บาทก็ถือว่าน่าพอใจ แต่จากการสอบถามตัวแทนลูกจ้างในคณะอนุกรรมการฯพบว่ามีการหารือว่าจะขยับขึ้น อีกเป็น 8.5 บาทซึ่งก็ยังเป็นตัวเลขที่รับไม่ได้อยู่ดี ดังนั้นเราจะขอแรงจากสหภาพแรงงานแห่งละ 10-20 คนมารวมตัวกันกดดันกรรมการค่าจ้างกลางในวันที่มีประชุม”นายมนัสกล่าว ขณะเดียวกันยังเรียกร้องให้แบ่งโซน ค่าจ้างออกเป็น 3 โซนในปี 2555 เนื่องจากปัจจุบันอัตราค่าจ้างในแต่ละจังหวัดต่างกันถึง 29 ระดับ ขณะที่อัตราค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นและมีราคาใกล้เคียงกันทั้งประเทศ แรงงานที่อยู่ต่างจังหวัดกลับได้ค่าแรงต่ำกว่าส่วนกลางซึ่งหากโรงงานไม่มี สวัสดิการสนับสนุนการดำรงชีวิต มีแต่ค่าแรงขั้นต่ำอย่างเดียวคนที่เป็นลูกจ้างจะอยู่ไม่ได้ สำหรับการประชุมของคณะกรรมการค่า จ้างกลางครั้งล่าสุดมีขึ้นวันที่ 12 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยกรรมการมีมติให้คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองกลับไปทบทวนตัวเลขใหม่ เนื่องจากอัตราที่เสนอมายังถือว่าไม่ทำให้คุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงานดีขึ้น โดยอนุกรรมการฯจะประชุมอีกครั้งในวันที่ 22 พ.ย.นี้ ส่วนคณะกรรมการค่าจ้างกลางยังไม่มีกำหนดเวลาแน่ชัดสำหรับการประชุมครั้งต่อ ไป (โพสต์ทูเดย์, 19-11-2553) กู๊ดเยียร์ขอเวลาถึงบ่าย 3 โมงให้คำตอบลูกจ้าง นายวาสุเทพ บุญคุ้ม คณะกรรมการกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต เปิดเผยว่า ภายหลังการชุมนุมเป็นวันที่ 2 ของกลุ่มคนงานบริษัท กู๊ดเยียร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เพื่อเรียกร้องให้สภาพการจ้างงานให้ดีขึ้น ล่าสุดฝ่ายนายจ้างได้ขอเวลาหารือกับผู้บริหารระดับสูงและสัญญาว่าจะให้คำตอบ ที่ชัดเจนภายในเวลา 15.00 น.ของวันนี้ว่าจะยอมรับข้อเสนอของฝ่ายลูกจ้างหรือไม่ ทั้งนี้ หากนายจ้างยืนยันว่าไม่สามารถรับข้อเสนอของลูกจ้างได้ คณะกรรมการสหภาพแรงงานจะได้ประชุมหาแนวทางเคลื่อนไหวกดดันต่อไปและต้องหารือ กับนักกฎหมายด้วยว่าจะได้รับผลกระทบจากพรก.ฉุกเฉินฯและกลุ่มเสื้อแดงที่มี การเคลื่อนไหวในวันนี้หรือไม่ อย่างไรก็ตามยืนยันว่าประท้วงยืนชุมนุมเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายเพราะ ชุมนุมบนทางเท้าและไม่ได้ลงไปปิดถนนแต่อย่างใด สาเหตุที่รถติดเนื่องจากผู้สัญจรชลอรถดูการชุมนุม ทั้งนี้ ผู้ชุมนุมดังกล่าวเริ่มการประท้วงหน้าโรงงานตั้งแต่เวลา 7.00 น.ของวันที่ 18 พ.ย. ที่ผ่านมา (โพสต์ทูเดย์, 19-11-2553) ผลสำรวจพบ 8 อาชีพเงินเดือนเกินแสน 19 พ.ย. 53 - นายบุญเลิศ ธีระตระกูล ผู้อำนวยการกองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน เปิดเผยว่าจากการสำรวจข้อมูลอาชีพที่ทำรายได้สูงที่สุดปี 2552 พบว่าผู้บริหารในระดับผู้จัดการในธุรกิจต่างๆเป็นอาชีพเฉลี่ยต่อเดือนสูงติด ลำดับต้นๆของประเทศ ขณะที่อาชีพที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะมีอาชีพนักบิน วิศวกร ผู้พิพากษา สถาปนิก นักคณิตศาสตร์และแพทย์ติดอันดับ 20 อาชีพที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุดด้วย สำหรับอาชีพที่มีรายได้เกิน 1 แสนบาท/เดือนมี 8 อาชีพประกอบด้วย 1.อาชีพนักบิน 2.41 แสนบาท 2.วิศวกรเหมืองแร่และนักโลหะการ 2.35 แสนบาท 3.ผู้จัดการฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 1.53 แสนบาท 4.กรรมการและผู้บริหารระดับสูง 1.38 แสนบาท 5.ผู้พิพากษา 1.21 แสนบาท 6. อาชีพสถาปนิกรายได้ 1.17 แสนบาท 7.ผู้บริหารองค์การนายจ้าง-ลูกจ้าง 1.06 แสนบาท และ 8.วิศวกรเคมี 1.05 แสนบาท เป็นที่น่าสังเกตว่าอาชีพผู้จัดการ ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์เป็นอาชีพที่มีรายได้สูงกว่ากรรมการและผู้บริหาร ระดับสูง และจำนวนก็มีน้อยกว่าคือผู้จัดการฝ่ายโฆษณามีประมาณ 3,700 คน ส่วนกรรมการและผู้บริหารระดับสูงมีถึง 1.6 หมื่นคน สำหรับอาชีพที่มีรายได้ในช่วง 6 หมื่น-1 แสนบาทมี 12 อาชีพ ในจำนวนนี้อาชีพผู้จัดการฝ่ายจัดหาและจำหน่ายสินค้ามีระดับรายได้สูงที่สุด ในบรรดาอาชีพระดับผู้จัดการด้วยกัน และพบว่าอาชีพนักคณิตศาสตร์มีรายได้สูงกว่าแพทย์ โดยผู้จัดการฝ่ายจัดหาและจำหน่าย สินค้ามีรายได้ 8.5 หมื่นบาท นักคณิตศาสตร์ 7.3 หมื่นบาท ผู้จัดการฝ่ายผลิตและปฏิบัติการด้านการบริการทางธุรกิจ 7 หมื่นบาท แพทย์ 6.9 หมื่นบาท ผู้จัดการฝ่ายผลิตและปฏิบัติการด้านผลิต 6.7 หมื่นบาท ผู้จัดการฝ่ายอื่นๆซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ 6.6 หมื่นบาท ผู้จัดการทั่วไปด้านการผลิต 6.4 หมื่นบาท ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา 6.4 หมื่นบาท ผู้จัดการทั่วไปด้านการเกษตร 6.3 หมื่นบาท ผู้จัดการทั่วไปด้านการก่อสร้าง 6.2 หมื่นบาท ผู้จัดการทั่วไป 6.2 หมื่นบาท และข้าราชการอาวุโส 6.2 หมื่นบาท (คมชัดลึก, 19-11-2553) ดึงแรงงานต่างด้าวเข้าประกันสังคม 19 พ.ย. 53 - สำนักงานประกันสังคม (สปส.) แจงหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน และการให้ความคุ้มครอง ลูกจ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติ ลาว กัมพูชา และพม่า ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ เข้ามาทำงานถูกกฎหมาย ต้องขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน พร้อมทั้งจ่ายเงินสมทบ รับสิทธิประโยชน์ 7 กรณี สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ให้นายจ้างที่มีแรงงานต่างด้าวสัญชาติ ลาว กัมพูชา และพม่า ที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย ต้องผ่านการพิสูจน์สัญชาติ และมีเอกสารใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) หนังสือเดินทาง (Passport) หรือเอกสารแสดงตัวแทนหนังสือเดินทาง แจ้งขึ้นทะเบียนเป็นลูกจ้างตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 และเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับหลักฐานเอกสารครบถ้วน โดยจะยกเว้นไม่ขึ้นทะเบียน กรณีเป็นลูกจ้างของกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปี และไม่มีงานลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วย กรณีลูกจ้างของนายจ้างที่จ้างไว้เพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร หรือเป็นไปตามฤดูกาล กรณีลูกจ้างของนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งงานที่ลูกจ้างทำนั้นมิได้มีการ ประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย กรณีเป็นลูกจ้างของนายจ้าง ซึ่งประกอบการค้าเร่ หรือการค้าแผงลอย กรณีเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ ด้วย สำหรับอัตราการนำส่งเงินสมทบกองทุน ประกันสังคม กำหนดให้ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบในอัตรา 5 % จากค่าจ้างรายเดือน ซึ่งค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ ของผู้ประกันตน กำหนดเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท ทั้งนี้ เมื่อลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามพระราช บัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 และได้นำส่งเงินสมทบจะได้รับความคุ้มครองใน 7 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพลภาพ ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่สำนัก งานประกันสังคมเขต พื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการทุกวัน เวลา 07.00-19.00 น. ระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติให้บริการ 24 ชั่วโมง) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th (โพสต์ทูเดย์, 19-11-2553) มาเลย์ปล่อย 38 แรงงานไทยลักลอบเข้าเมือง (ไอเอ็นเอ็น, 20-11-2553) 20 พ.ย. 53 - สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา ร่วมกับ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง รับตัวแรงงานไทย จำนวน 38 คน ที่ถูกจับกุมในประเทศมาเลเซีย เนื่องจากลักลอบเข้าเมือง และทำงานโดยผิดกฎหมาย โดยแรงงานไทยทั้งหมด ได้เดินทางกลับประเทศ ทางด่านพรมแดนสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา ท่ามกลางความยินดีที่ได้กลับประเทศ และสามารถมาร่วมฉลองเทศกาลลอยกระทงที่บ้านเกิด หลังจากที่ทางการมาเลเซีย ได้ยอมปล่อยตัวตามการร้องขอของทางการไทย หลังจากที่ถูก สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประเทศมาเลเซีย จับกุมในข้อหาลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และไม่มีหนังสือเดินทาง และเข้าไปทำงานอาชีพรับจ้าง มีทั้งที่ลักลอบเข้าประเทศมาเลเซีย ด้วยความสมัครใจและถูกหลอกลวง และหลังจากถูกปล่อยตัว กรมสิทธิและเสรีภาพฯ กงสุลไทย ประจำประเทศมาเลเซีย ได้ออกหนังสือเดินทางให้กับแรงงานไทย ทั้ง 38 คน เพื่อเดินทางกลับเข้าสู่บ้านเกิด โดยกลุ่มแรงงานไทย ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ และภาคอีสาน (ไอเอ็นเอ็น, 20-11-2553) ปรับค่าจ้าง 250 บาท คลังเผยกระทบต้นทุน-ฉุดจีดีพี 0.58% 21 พ.ย. 53 - รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ศึกษาถึงผลกระทบของการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำต่อเศรษฐกิจไทยหลังจากที่ รมว.คลังได้สั่งการให้ศึกษาถึงความเหมาะของอัตราค่าจ้างขั้น ต่ำที่เหมาะสม และรัฐบาลต้องการให้ปรับแบบก้าวกระโดดมาอยู่ที่วันละ 250 บาททั่วประเทศ เนื่องจากเห็นว่าแม้เศรษฐกิจไทยจะมีการขยายตัวในระดับสูง แต่ยังมีปัญหาเชิงโครงสร้างและการกระจายรายได้ของประชาชน ทั้งนี้ในผลการศึกษาได้ประเมินผล กระทบของการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำในหลายกรณี จากปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำใน กทม. อยู่ที่ 206 บาทต่อวัน และเฉลี่ยของทั้งประเทศอยู่ที่ 165.3 บาทต่อวัน ซึ่งหากมีการปรับค่าจ้างขั้น ต่ำเพิ่ม 44 บาท มาอยู่ที่ 250 บาทต่อวันตามข้อเสนอของรัฐบาล จะทำให้กระทบต่อจีดีพี 0.58% และอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจากกรณีฐานอีก 3.75% ต่อปี นอกจากนี้ ผลการศึกษายังระบุว่าการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้น ต่ำ จะมีผลต่อเศรษฐกิจในระดับมหภาคและต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการแข่งขันของไทย แต่ภาคอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของการใช้แรงงาน โดยอุตสาหกรรมที่น่าจะได้รับผลกระทบมาก คือ อุตสาหกรรมบริการ ค้าปลีกและค้าส่ง เนื่องจากมีสัดส่วนของการใช้แรงงานสูง แหล่งข่าวจาก สศค.ระบุว่า การศึกษาผลกระทบการปรับค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้ เป็นเพียงผลการวิเคราะห์เท่านั้นได้ระบุถึงอัตราค่าจ้างที่เหมาะสม เพราะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้างเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม แต่อาจจะนำไปเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้ โดยสศค.เห็นว่าควรมีการปรับค่าจ้างที่ สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และเพื่อเป็นการลดช่องว่างของรายได้ในตลาดแรงงาน ซึ่งนอกจากรัฐบาลจะดูแลแรงงานในระบบกว่า 2 ล้านคนแล้ว ควรจะให้ความสำคัญกับแรงงานนอกระบบที่มีจำนวนมากถึง 24 ล้านคนด้วย โดยเน้นให้การช่วยเหลือในด้านสวัสดิการและให้หลักประกันรายได้ (คมชัดลึก, 21-11-2553) ภาครัฐไกล่เกลี่ยเหลวนายจ้างกู๊ดเยียร์ประกาศปิดงานต่อเฉพาะสหภาพแรงงาน ลูกจ้างชุมนุมรอเจรจา เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553 เวลา ประมาณ 19.00 น. นายพงษ์ศักดิ์ เปล่งแสง ตำแหน่งที่ปรึกษา รมว.กระทรวงแรงงาน และนายดำรงค์ เปรมสวัสดิ์ หัวหน้า กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน จังหวัดปทุมธานี ได้มาเป็นคนกลางเข้าร่วมเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างนายจ้าง บริษัทกู๊ดเยียร์(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่เลขที่ 50/9 หมู่ 3 ถ.พหลโยธิน กม. 36 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี และสภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทย แต่ยังหาข้อยุติการเจรจาในครั้งนี้ไม่ได้ นายสมยศ บุญเนตร รองประธานสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ขณะนี้นายจ้างได้ใช้มาตรการประกาศปิดงานเฉพาะส่วนที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน คนทำยาง ซึ่งมีอยู่จำนวน 600 กว่าคน รวมทั้งพนักงานลูกจ้างชั่วคราวของบริษัทอีกราว 100 คน ที่สหภาพแรงงานได้เปิดรับเป็นสมาชิก ปัจจุบันนี้บริษัทมีพนักงานทำงานประมาณ 800 คน “สิ่งที่สหภาพแรงงานเป็นห่วงมากขณะนี้คือพนักงานชั่วคราว ที่นายจ้างปรับมาจากพนักงานเหมาค่าแรง โดยให้เป็นพนักงานชั่วคราวทำงานสัญญาจ้างระยะสั้น 11 เดือน แล้วต่อสัญญาใหม่อีกครั้งซึ่งมีอยู่ประมาณ 150 คนในบริษัทฯ ว่าจะมีการยกเลิกสัญญาจ้าง เนื่องจากการใช้กลยุทธิ์จากการปิดงานพนักงานทั้งหมด มาเป็นเฉพาะพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานคาดว่าเป็นการลดอำนาจการต่อรอง ของสหภาพแรงงานที่มีการชุมนุมเพื่อรอการเจรจาอยู่ในขณะนี้ แต่อย่างไรก็ตามสหภาพแรงงานจะยืนต่อสู้เคียงข้างกับสมาชิกทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำ หรือพนักงานชั่วคราวหากต้องประสบปัญหาจากการที่ถูกปิดงาน” นายสมยศกล่าว ทั้งมีข้อเรียกร้องเรื่องให้บริษัทฯ จัดเงินกู้ฉุกเฉินให้พนักงาน 1 เดือนเหมือนเดิม จัดเครื่องแบบของพนักงานให้เป็นแบบและมาตรฐานเดียวกันทั้งโรงงาน ทั้งเงินโบนัสขอให้บริษัทฯ จ่ายเงินสมนาคุณพิเศษเป็นจำนวน 20,000 บาท และจ่ายเงินโบนัสกลางปีเป็นจำนวน 25,000 บาท และเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 ทางนายจ้างเรียกตัวแทนสหภาพแรงงานคนทำยางฯ เข้าประชุมและได้ตกลงกันว่า จะทำสัญญา 2 ปี และจะได้เงินสมนาคุณปีแรก 1,900 บาท ปีที่ 20,000 บาท และค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก 800 บาท ค่าห้อง 1900 บาท และคนผู้ป่วยในวงเงินไม่เกิน 20,000บาท และเงินเกษียณอายุ 25 ปีขึ้นไปให้ 60 วัน (นักสื่อสารแรงงาน, 21-11-2553)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
บำเพ็ญกุศลศพ “แม่ประยูร” ศิลปินแห่งชาติ ณ วัดสาลวัน Posted: 22 Nov 2010 02:13 AM PST
เมื่อวันที่ 21 พ.ย.53 ญาติของนางประยูร ยมเยี่ยม หรือ แม่ประยูร ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย สาขาย่อยลำตัด) ประจำปี 2537 ได้เดินทางไปรับศพที่นิติเวช โรงพยาบาลจุฬาฯ เพื่อนำไปบำเพ็ญกุศลที่วัดสาลวัน อ.ศาลายา จ.นครปฐม และจะตั้งบำเพ็ญกุศลเป็นเวลาทั้งหมด 7 วัน ก่อนจะฌาปนกิจ ซึ่งจะมีการทำเรื่องเพื่อขอพระราชทานเพลิงศพต่อไป แม่ประยูร เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ในวัน 77 ปี เมื่อเวลา 17.20 น.ของวันที่ 20 พ.ย.53 ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ โดยได้ล้มป่วยเป็นโรคหัวใจกำเริบ และเข้ารับการฟอกไตมาเป็นเวลานานแล้ว ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่จะเสียชีวิตแม่ประยูร เคยเข้ารับการผ่าตัดรักษาและทำบอลลูน จนเมื่อวันที่ 27 ต.ค.หลังล้างไตก็เกิดอาการเจ็บหัวใจ จึงเข้ามารักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาฯ กระทั่งเกิดอาการหัวใจกำเริบและจากไปอย่างสงบ สำหรับประวัติของแม่ประยูร เกิดเมื่อวันที่ 30 ส.ค.2476 ที่จ.นนทบุรี เมื่ออายุประมาณ 13-14 ปีคุณตามองเห็นแววจึงสนับสนุนให้เอาดีด้านการแสดง แม่ประยูรจึงได้เล่นลำตัดและก็เล่นได้ดี เริ่มออกแสดงลำตัดเป็นครั้งแรกขณะมีอายุได้เพียง 15 ปี จากนั้นได้เข้ามาสมัครเล่นลำตัดกับคณะแม่จำรูญ ซึ่งเป็นลำตัดที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น ทำให้แม่ประยูรเกิดความชำนาญและมีประสบการณ์ยิ่งขึ้น จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ยิ่งได้พบกับ “หวังเต๊ะ” และได้ร่วมประชันลำตัดกันบ่อยๆ ทำให้ทั้งคู่กลายเป็นคู่ประชันลำตัดยอดนิยม นอกจากความสามารถด้านลำตัดแล้ว แม่ประยูรยังสามารถแสดงเพลงพื้นบ้านได้อีกหลายประเภท และเป็นผู้ริเริ่มนำลำตัดมาจัดทำเป็นเทปคาสเซ็ท และวิดีโอออกจำหน่าย ยิ่งไปกว่านั้นแม่ประยูรมีความมุ่งมั่นที่จะเผยแพร่และรักษาเพลงพื้นบ้านของไทยเอาไว้ จึงอุทิศตนถ่ายทอดศาสตร์และศิลป์ด้านนี้ให้แก่นิสิตนักศึกษาในสถานศึกษาต่างๆ และจากเกียรติประวัติต่างๆ นี่เองที่ทำให้แม่ประยูรได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ลำตัด) เมื่อปี 2537 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น