ประชาไท | Prachatai3.info |
- กวีประชาไท: ศุขปรีดา พนมยงค์ : ปักลงเป็นหลักธรรม
- ธงชัย วินิจจะกูล: ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านกับกรณีของไทย
- รายงาน : พ.ร.ก.ฉุกเฉินกับคนงานล้างบ่อบำบัดน้ำเสียที่กำลังจะกลับบ้าน
- รายงาน : พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เสื้อแดง กับคนงานล้างบ่อบำบัดน้ำเสียที่กำลังจะกลับบ้าน
- Forbes ยก ปธน. จีน เป็นอันดับ 1 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลโลกปี 2553
- กวีประชาไท : ต่อปณิธานและคารวาลัย ศุขปรีดา พนมยงค์
- ทำไมต้องให้ “สิทธิพิเศษ” กับคนจน
- ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี : ว่าด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชนชั้นกลาง และ หาบเร่แผงลอย
- นศ.ใต้เปิดศูนย์บริจาคช่วยเหยื่อน้ำท่วม พบศพในทะเล พายุซัดบ้าน 26 หลังพังยับ
- สำนักข่าวฉาน : ใกล้เลือกตั้ง กองกำลังไทใหญ่ปะทะทหารพม่าต่อเนื่อง
- เรื่องน่ารู้ : คณิตศาสตร์จัดการน้ำหนักตัว
- แถลงการณ์ ม.เที่ยงคืน : ความรับผิดชอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในระยะยาว
- 5 องค์กรเกษตร-ชุมชน เสนอแนวทางแก้ปัญหาเยียวยาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน
- เลือกตั้งพม่า: มุมมองและการวิเคราะห์ก่อนการเลือกตั้ง
กวีประชาไท: ศุขปรีดา พนมยงค์ : ปักลงเป็นหลักธรรม Posted: 04 Nov 2010 01:02 PM PDT
ปักหลักลงหนักแน่น ไว้ที่แก่นประชาชน พนมยงค์ทะนงตน เข้มข้นด้วยศักดิ์ศรี แนวทางเป็นธงนำ ระยะย้ำอยู่นานปี บิดาคือ ปรีดี ศุขปรีดา ดำเนินตาม พูนศุข สงบสง่า สตรีกล้า ปรากฏงาม ยังคงดำรงนาม อันพราวพร่าง อยู่กลางใจ หมุดหมาย มิขาดตอน ราษฎร ประเทศไทย ปักลง เป็นหลักไว้ ด้วยเรือนร่าง ที่วางวาย งานงามและชีวิต จงสถิต อยู่ท้าทาย ไม่เลย มิเคยตาย ไว้เปรียบชี้ ชั่วดีเอย.
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ธงชัย วินิจจะกูล: ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านกับกรณีของไทย Posted: 04 Nov 2010 12:46 PM PDT เกริ่นนำ คณะกรรมการ [คอป.] ชุดคณิต-สมชายใช้แนวคิดความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านอย่างฉ้อฉล (abused) พวกเขาใช้ถ้อยคำเหล่านี้เพื่อให้คณะกรรมการฯ ฉบับของไทยดูราวกับว่าเป็นไปตามมาตรฐานโลก โดยยืม “ฉลาก” อันเป็นที่ยอมรับกันในแวดวงสากล แต่เอามาแต่ฉลาก ไม่มีเนื้อหาสาระอะไรเลย จะด้วยเจตนาที่จะโฆษณาชวนเชื่อหรือด้วยความเขลาไม่รู้เรื่องรู้ราวก็ตามแต่ นี่เป็นนิสัยการยืมแบบไทยๆ สาระสำคัญของความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านที่คณะกรรมการฯ ของไทยขาดก็คือ การต้องนำเอาการปราบปรามเข่นฆ่าที่เกิดขึ้นมาอยู่ในการพิจารณาด้วย เพราะเป็นประเด็นที่สำคัญและจำเป็นในการก้าวสู่ประชาธิปไตย คณะกรรมการเพื่อการสมานฉันท์และค้นหาความจริง (Truth and Reconciliation Commission (TRC)) ในรูปแบบและภายใต้ชื่อต่างๆ เป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่เป้าหมายนี้ อย่างไรก็ตาม ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านก็ไม่ใช่กระบวนการที่จะดำเนินไปอย่างตรงแหน่วโดยปราศจากข้อขัดแย้งในตัวของมันเอง (dilemma) ประเด็นหลักและข้อขัดแย้งของความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน ในแทบทุกกรณีทั่วโลก ประเด็นพื้นฐานสองประเด็นที่แต่ละสังคมต้องเผชิญ และเป็นประเด็นแย้งกันคือ ความยุติธรรมกับการสมานฉันท์ (หรือการปรองดอง) นอกจากนี้ยังมีอีกสองประเด็นที่เป็นประเด็นใหญ่เช่นกัน แต่ยังไม่ใช่หัวใจหรือเป็นประเด็นเร่งด่วนในตอนนี้ นั่นคือ การชดเชยหรือการเยียวยา (reparation) กับความทรงจำ ความยุติธรรมกับการปรองดองอาจดูเป็นสองเรื่องแยกกัน แต่ถ้าคิดดูดีๆ จะพบว่าประเด็นพื้นฐาน สองประเด็นนี้อาจเป็นสองขั้วอยู่ปลายสุดสองด้านในการพิจารณาเรื่องการปราบปรามเข่นฆ่าที่เกิดขึ้น ความยุติธรรม <------------------------------------>การปรองดอง ในแทบทุกกรณี การแสวงหาความยุติธรรมให้ได้อย่างเต็มที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการปรองดอง หรือกลับกันคือการปรองดองกีดขวางความยุติธรรม พูดอย่างอุดมคติ เราอยากจะได้ความยุติธรรมสูงสุด และการเยียวยาที่ครบถ้วนเพื่อจะได้ก้าวไปข้างหน้า ในทางทฤษฎี ความยุติธรรมที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของการปรองดอง แต่ในความเป็นจริง เป็นไปได้ยากมาก ทุกสังคมที่เผชิญกับความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน พยายามหา “จุดสมดุลย์” (แม้ว่าในความเป็นจริง จะหา “จุดสมดุลย์” ที่ลงตัวสมบูรณ์แบบไม่ได้ก็ตาม) เพื่อให้บรรลุได้ทั้งสองประการ แต่จุดดังกล่าวอยู่ตรงไหนนั้น ขึ้นอยู่กับกรณีความรุนแรงโหดร้ายที่เกิดขึ้น และเงื่อนไขทางสังคม การเมือง และวัฒนธรรมของแต่ละสังคม จุดดังกล่าวสามารถแปรเปลี่ยนไปได้ตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสังคมเมื่อเวลาผ่านไป (เช่น ชิลีและ อาร์เจนตินา) ในหลายประเทศ ประเด็นการปรองดองมีน้ำหนักครอบงำประเด็นความยุติธรรม ทำให้กระบวนการแสวงหาความยุติธรรมอ่อนแอหรือมีการลงโทษผู้กระทำผิดเพียงเบาบางเพื่อให้สังคมเดินหน้าต่อไปได้ ไต้หวัน: มีการพิจารณาการปราบปรามเข่นฆ่าที่ก๊กมินตั๋งกระทำต่อชาวพื้นเมืองไต้หวันในปี 2491 และไม่นานหลังจากที่ก๊กมินตั๋งยึดครองเกาะไต้หวัน เกาหลี: มีการพิจารณาการปราบปรามเข่นฆ่าภายใต้เผด็จการหลายทศวรรษ ตั้งแต่ซิงมันรี ปักจุงฮี ถึงชุนดูวาน ในกรณีเช่น การปราบปรามนักศึกษาและฝ่ายซ้ายอย่างที่กวางจู ตลอดจนการสังหารหมู่ประชาชนที่เกาะเจจู (Jeju) ฟิลิปปินส์: มีการพิจารณาการปราบปรามเข่นฆ่าที่กระทำต่อชาวมินดาเนาและในช่วงสงครามเย็น อดีตเยอรมันตะวันออก: สายสืบของ Stasi แทรกซึมอยู่ทั่วไปในสังคมจนหากต้องการ ความยุติธรรมและมีการลงโทษอย่างเต็มที่แล้ว ก็จะมีคนต้องได้รับโทษเป็นจำนวนมาก หลายคนก่อ อาชญากรรมต่อคนในครอบครัวของตัวเอง ในท้ายที่สุด ขอบเขตและเป้าหมายของการลงโทษ ถูกจำกัดให้แคบ เหลือแต่เฉพาะผู้นำระดับสูง เราอาจพูดได้ว่า อินโดนีเซียและกัมพูชามีความลังเลที่จะเผชิญกับอดีตหรือการแสวงหาความยุติธรรม ด้วยเหตุผลเดียวกัน กรณีประเทศไทยก็อาจจัดอยู่ในข่ายนี้ ในหลายๆ ประเทศ ความยุติธรรมมีน้ำหนักเหนือการปรองดองที่ง่ายฉาบฉวย (simplistic) ทำให้การแสวงหาความยุติธรรมและการลงโทษดำเนินไปโดยเสี่ยงต่อการทำให้ความตึงเครียดในสังคมยืดเยื้อออกไปหรือปะทุขึ้นมาอีก ชิลีกับอาร์เจนตินาคือตัวอย่างในกรณีนี้ แต่กรุณาสังเกตว่า ในทั้งสองกรณี การแสวงหาความยุติธรรมเกิดขึ้นอย่างล่าช้าและกินเวลา อาร์เจนตินาหมดเวลาราวหนึ่งทศวรรษไปกับการปรองดองที่ฉาบฉวยโดยที่ไม่ค่อยมีความยุติธรรม ต้องรอจนกระทั่งประชาธิปไตยมีความมั่นคงมากขึ้นและมีผู้นำที่กล้าตัดสินใจรื้อฟื้นประเด็นนี้ขึ้นมา ชิลีไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงระบอบหรือกลุ่มผู้ปกครอง (regime change) จริงๆ (ปิโนเชต์กับกองทัพ) และต้องอาศัยการแทรกแซงจากผู้พิพากษาชาวสเปนรายหนึ่งในการพลิกกระแส ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการรื้อฟื้นการแสวงหาความยุติธรรมขึ้นมา แอฟริกาใต้ได้รับการยกย่องสำหรับการริเริ่มในการยึด “ความจริง” เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ ความจริงเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงความยุติธรรมเข้ากับการปรองดอง และแอฟริกาใต้ยังเป็นกรณีที่สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม กรุณาสังเกตว่า บางคนบอกว่าคนดำไม่ได้ยินดีนักกับกระยวนการนี้ ขณะที่บางคนในคณะกรรมการฯ ชุด อ.คณิตบอกว่าคนขาวไม่ยินดีนักกับกรณีนี้ แต่ข้อเท็จจริงเป็นทั้งสองด้านและอยู่ระหว่างสองด้าน เพราะความจริง (อันเป็นปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงความยุติธรรมกับการปรองดอง) คือหัวใจสำคัญ คณะกรรมการสมานฉันท์ (TRC) ในแอฟริกาใต้มีลักษณะเฉพาะและอาจจะไม่สามารถเลียนแบบได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมันสอดคล้องกับเงื่อนไขของประเทศนั้น แต่ก็เป็นเพราะการเน้นความสำคัญของความจริงในฐานะสิ่งเชื่อมโยงระหว่างความยุติธรรมกับการปรองดองด้วย กล่าวในเชิงแนวคิดแล้ว เรื่องนี้ไม่ง่ายที่จะทำความเข้าใจ หากมองในเชิงการเมืองมันก็ไม่เป็นที่ปรารถนาทั้งสำหรับฝ่ายผู้กระทำผิดและผู้ถูกกระทำ มันใช้ได้กับกรณีแอฟริกาใต้ (แม้ว่าความเลวร้ายของปัญหาการเหยียดผิวปรากฏชัดแจ้งอยู่แล้วก็ตาม) เพราะเส้นแบ่งจำแนกผู้กระทำผิดกับผู้ถูกกระทำในช่วงการต่อสู้ที่รุนแรงนั้นได้พร่าเลือนไป คนดำและคนขาวจำนวนมาก ทั้งรัฐสภาแห่งชาติแอฟริกันและผู้ปกครองผิวขาว ต่างก็เป็นทั้งผู้ก่อความรุนแรงและเหยื่อ ในทุกกรณี มีเรื่องควรระวังที่รองลงไปอยู่หลายเรื่องด้วยกัน อันแรก ระดับชั้นผู้ที่ควรได้รับการลงโทษควรจะลงลึกไปจากระดับหัวหรือผู้สั่งการมากน้อยแค่ไหน? รวมลงไปถึงผู้คุมในเรือนจำที่ทรมาณผู้ต้องข้ง หรือทหารระดับล่างที่เหนี่ยวไกยิงด้วยไหม? ในกรณีส่วนใหญ่ ต้องรวมพวกเขาด้วย แต่ต้องคำนึงถึงอีกเรื่องหนึ่งด้วยคือ เรื่องที่สอง ระดับและประเภทของอาชญากรรม ในกรณีส่วนใหญ่ ไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ของ “การสั่งการ” ของระดับบังคับบัญชาแต่ความทารุณโหดร้ายถูกดำเนินการโดยทหารระดับล่าง ความยุติธรรมต้องมีความเป็นธรรมด้วย คณะกรรมการสมานฉันท์ในประเทศใดก็ตามล้วนเผชิญกับประเด็นเหล่านี้ เราไม่อาจแน่ใจได้ว่าคณะกรรมการ คอป. ให้ความใส่ใจประเด็นเหล่านี้มากมายหรือไม่ หน้าที่ของพวกเขาคือการเบี่ยงเบนประเด็นไม่ให้รัฐบาลผิดอยู่ฝ่ายเดียว ถึงที่สุดแล้ว คณะกรรมการชุดนี้ไม่ได้มีเพื่อแสวงหาความยุติธรรม และสายตาสั้นเรื่องการปรองดอง เมื่อพูดถึงหลักการเรื่องความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านมายาวพอสมควรแล้ว ต่อไปนี้ขอพูดต่อเกี่ยวกับกรณีของไทย ทำไมในหลายกรณีของไทย ความยุติธรรมจึงมักถูกโยนทิ้งไปเสมอ? ทุกกรณีของไทย (6 ตุลา, พฤษภา 35, เมษา-พฤษภา 53) จริงๆ แล้ว ไม่ซับซ้อนอะไรเลยเมื่อเทียบกับหลายๆ กรณีที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ในแง่ที่ว่าอาชญากรรมนั้นคืออะไร อะไรถูก อะไรผิด ใครเป็นผู้กระทำและใครเป็นเหยื่อ กรณีของไทยไม่ซับซ้อนในแง่นี้ แต่กระนั้นก็ไม่ง่ายกว่ากรณีอื่นในการแสวงหาความยุติธรรมและการปรองดอง เนื่องจากเงื่อนไขทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรม อย่างแรก ไม่มี “การเปลี่ยนแปลงระบอบ (regime change)” อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่สุดในการแสวงหาความยุติธรรมหรือการปรองดองใดๆ ด้วยเงื่อนไขทางการเมืองเพียงประการเดียวนี้ทำให้คณะกรรมการชุดคณิต-สมชายเป็นเรื่องตลก เหมือนคณะกรรมการต่างๆ ก่อนหน้าที่สอบสวนกรณีพฤษภา 35 และกรณีอื่นๆ เงื่อนไขเดียวกันนี้ทำให้การสืบสวนกรณี 6 ตุลา หรือปัญหาชายแดนภาคใต้เป็นไปไม่ได้เลย อะไรคือ “การเปลี่ยนแปลงระบอบ” ที่ว่า? พูดสั้นๆ ก็คือ ผู้ที่อาจมีบทบาทโดยตรงหรือโดยอ้อมในการปราบปรามเข่นฆ่า หรือผู้ที่มีส่วนได้เสียกับผลของการสืบสวน จะต้องออกจากอำนาจและพ้นไปจากกลไกการแสวงหาความยุติธรรมและการปรองดอง คณะกรรมการชุดคณิต-สมชายนั้นถูกสร้างโดยอภิสิทธิ์เพื่อรับใช้อภิสิทธิ์ ช่างน่าขันเสียจริง! เราจะพูดถึง 6 ตุลาได้อย่างไรในเมื่อเครือข่ายราชสำนักกุมอำนาจและทรงอิทธิพลเหนือสังคมไทยอยู่? ประการที่สอง การเมืองไทยและวาระทางสังคมสำคัญๆ ถูกครอบงำโดยคนในเมืองใหญ่ พวกเขาเลือกอยู่ข้างไหนในคราวนี้? คำตอบเป็นที่รู้กันอยู่แล้ว นี่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง ประการที่สาม สังคมไทยไม่ให้ความสำคัญกับความยุติธรรมมากนัก ตรงกันข้าม เชิดชูแต่ความสามัคคี สังคมไทยไม่สนใจเท่าไรกับสิทธิและความเป็นปัจเจก สนใจแต่เสถียรภาพ ความมั่นคงและสถานะเดิม (status quo) ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมสังคมไทยจึงมีขันติต่ำต่อความขัดแย้งและการเห็นต่าง การปรองดองที่ต้องแลกด้วยการสูญเสียความยุติธรรมจึง “สมเหตุสมผล” และรับกันได้ง่าย หรือเป็นที่พอใจสำหรับคนไทยมากกว่าคนในวัฒนธรรมอื่น นี่คือรากฐานทางวัฒนธรรมของสังคมไทย แม้ไม่ชอบแต่ต้องอยู่กับมัน [เราอาจไม่ตระหนักว่า คำว่ายุติธรรมที่เราคุ้นเคยในภาษาไทยนั้นมาจากคำสันสกฤตที่ไม่ได้หมายความว่า Justice “ธรรม” หมายถึงระเบียบทางสังคมที่เหมาะสมตามธรรมชาติ ในภาษาจีน บาฮาซา มาเลย์ เขมร พม่า ไม่มีคำที่แปลตรงตัวสำหรับคำว่า Justice เช่นกัน คำที่ใช้หมายถึง Justice ในภาษาเหล่านี้ล้วนมีรากมาจากอย่างอื่น ไม่ใช่ “straight” หรือ “upright” อย่างในภาษาละตินสำหรับ justice] แนวคิดว่าด้วยความยุติธรรมและการปรองดองของพุทธอย่างที่พระไพศาลว่าไว้นั้น สะท้อนถึงคุณค่าบรรทัดฐานที่คนไทยยึดถือ สิ่งที่พระไพศาลนำเสนอจึงเป็นสิ่งที่คุ้นเคยและรับได้ง่าย แน่นอน วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดคุณค่าและบรรทัดฐานที่คลุมเครือ มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เราถึงสามารถที่จะต่อสู้และอาจจะเปลี่ยนแปลงมันได้ ประการที่สี่ ความยุติธรรมมีเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคม ในสังคมส่วนใหญ่ ความยุติธรรมเป็นตัวแก้ปัญหาความขัดแย้งในหมู่ประชาชน ระหว่างประชาชนกับรัฐ บนหลักการว่าด้วยสิทธิของปัจเจกบุคคล ความเป็นธรรมและความเท่าเทียมภายใต้กฎหมายเดียวกัน แต่ระเบียบทางสังคมที่เหมาะสมในสังคมไทยไม่ใช่สิทธิปัจเจก หรือความเป็นธรรม และความเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย ในความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐ เป้าหมายของความยุติธรรมคือการดำรงสถานะเดิม คือ การรักษาความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีลำดับชั้นภายใต้รัฐ ความยุติธรรมในสังคมหลายแห่งไม่ใช่เป็นเรื่องขึ้นกับบุคคล (impersonal) แต่ความยุติธรรมในสังคมไทยเป็นการใช้อำนาจของรัฐของชนชั้นนำเพื่อรักษาระเบียบทางสังคม ความยุติธรรมสนองรับใช้รัฐเพื่อระเบียบสังคมของชนชั้นนำ ดังนั้น ความยุติธรรมจึงสามารถถูกเขี่ยทิ้งไปได้ หากทำอย่างนั้นแล้วชนชั้นนำได้ประโยชน์ ยิ่งกว่านั้น สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่เชื่อว่าคนธรรมดาจะสามารถปกครองและอำนวยความยุติธรรมโดยไม่ต้องพึ่งพาใบบุญจากชนชั้นนำที่ปรีชาสามารถและเปี่ยมด้วยคุณธรรม ความยุติธรรมจักต้องบังเกิดจากชนชั้นนำที่ทรงคุณธรรมเท่านั้น โดยมีแหล่งกำเนิดมาจาก “ผู้ทรงความยุติธรรมหนึ่งเดียว” (the Justice One) ที่ส่งผ่านอำนาจบันดาลความยุติธรรมให้ศาลทั้งหลายอีกที ศาลและกระบวนการยุติธรรมไม่ได้เป็นของประชาชน เมื่อไรที่ชนชั้นนำต้องการพักระงับความยุติธรรม ซึ่งเป็นของพวกเขาไม่ใช่ของเรา พวกเขาก็จะทำด้วยความมีเมตตากรุณาธิคุณต่อประชาชนเพื่อธำรงระเบียบทางสังคมที่เหมาะสม (แน่นอน ตามทัศนะของพวกเขา) ประการที่ห้า ในสังคมไทย การปรองดองมักจะเป็นเป้าหมายที่สูงกว่าความยุติธรรมเสมอ ตราบใดที่มันหมายถึงการดำเนินระเบียบกฎเกณฑ์ทางสังคมของชนชั้นนำสืบต่อไป ยกตัวอย่างหลัง 2475 เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงไม่ได้พูดจาภาษาปรองดอง ในช่วงปั่นป่วนหลัง 2516 ชนชั้นนำก็ไม่พูดปรองดองเช่นกัน พวกเขาพูดแต่เรื่องกำจัดพวกคอมมิวนิสต์ ประเทศไทยต้องการการปรองดองที่มีความยุติธรรม การปราบปรามเข่นฆ่าที่ผ่านมาในประเทศไทยไม่ได้เป็นเรื่องซับซ้อนมากนักในการที่จะชี้ถูกชี้ผิด หาผู้กระทำผิดและผู้ถูกกระทำ หากมีการยึดมั่นในหลักการความเป็นธรรมและความเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย แต่ความยุติธรรมในสังคมไทยจะต้องไม่ไประคายเคืองอำนาจครอบงำและระเบียบสังคมของชนชั้นนำ อุปสรรคต่อความยุติธรรมอยู่ตรงนี้ สังคมไทยมีวุฒิภาวะเพียงพอหรือมีศักยภาพที่จะพัฒนาและเติบโตบรรลุวุฒิภาวะที่จะรับมือความขัดแย้งที่ซับซ้อนในหมู่ประชาชนและระหว่างประชาชนกับรัฐได้ สังคมไทยไม่ได้เปราะบางหรือเป็นเด็กเหยาะแหยะเสียจนกระทั่งความยุติธรรมและการปรองดองก็ยังต้องถูกควบคุมและกำกับดูแลโดยชนชั้นนำผู้ทรงคุณธรรม การลดทอนและการพักระงับความยุติธรรมโดยอ้างการปรองดองจึงมีที่มาจากโลกทัศน์ของชนชั้นนำว่าประชาชนเป็นเหมือนเด็กและจำเป็นต้องให้ชนชั้นนำอำนวยความยุติธรรมให้ ทว่ามันเป็นไปเพื่อชนชั้นนำล้วนๆ เพื่อรักษาระเบียบสังคมที่มีลำดับชั้นอันมีพวกเขาอยู่บนสุด ที่มีการดำเนินการปรองดองโดยปราศจากความยุติธรรมครั้งแล้วครั้งเล่า ความยุติธรรมไม่ใช่ยาพิษ ความปรองดองที่ปราศจากความยุติธรรมต่างหากที่เป็นยาพิษ มันเป็นทั้งพิษทั้งมอมเมา ประเทศไทยจะต้องเลิกการปรองดองที่ปราศจากความยุติธรรม และเริ่มแสวงหาความยุติธรรมเพื่อก้าวไปสู่สังคมที่เป็นธรรมและเท่าเทียมที่ประชาชนสามารถอยู่ด้วยกันได้ภายใต้กฎหมายเดียวกัน นี่เป็นวิถีทางที่สังคมที่ซับซ้อนจัดการกับความขัดแย้ง ไม่ใช่การอวดอ้างการปรองดองที่ฉาบฉวยว่างเปล่าโดยปราศจากความยุติธรรม สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
รายงาน : พ.ร.ก.ฉุกเฉินกับคนงานล้างบ่อบำบัดน้ำเสียที่กำลังจะกลับบ้าน Posted: 04 Nov 2010 11:51 AM PDT
“เขาไปทำงานล้างบ่อน้ำเสียให้ กทม. แล้วก็กำลังจะเดินกลับที่พักตรงนั้น ตรงสามเหลี่ยมดินแดง ที่เขาเผายางกัน ตอนนั้นรถเข้าบ้านไม่ได้ก็ต้องเดินกลับบ้าน แล้วเอกสิทธิ์เขาก็วิ่งไปโบกรถ ช่วยเสื้อแดงที่ยืนคนเดียวโบกรถ น้องก็เรียกว่า พี่เอกอย่าเข้าไปมันอันตราย อันนี้ก็ไม่ฟังเสียง ก็ยังวิ่งไปช่วยเขาโบกพักนึง ปรากฏว่ามีรถมอเตอร์ไซด์วินล็อกคอเขาไว้ไปให้ทหาร” คำบอกเล่าของนางถาวร กันสังข์ อายุ 38 ปี แม่ของลูกชายวัย 19 ปี “เอกสิทธิ์ แม่นงาม” ผู้ต้องขังคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ถูกตัดสินจำคุก 1 ปี เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 เดือนพฤษภา 2553 เวลาประมาณ 4 ทุ่ม เป็นหนึ่งในหลายๆ กรณีที่ทหารทยอมจับกุมประชาชนตั้งแต่ช่วงก่อนสลายการชุมนุมซึ่งรัฐบาลพยายามร้องขอให้ประชาชนกลับบ้านท่ามกลางการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แม้เราจะไม่รู้รายละเอียดของคดีที่เกี่ยวข้องกับพ.ร.ก.ฉุกเฉิน นอกจากตัวเลขกลมๆ จากปากอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แต่ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) บ่งชี้ว่ามีตัวอย่างหลายกรณีที่ผู้ถูกจับกุมเป็นคนชั้นล่างซึ่งไม่มีศักยภาพในการประกันตัวหรือต่อสู้คดี แม้พรรคเพื่อไทยจะพยายามให้ความช่วยเหลือด้านทนายความแต่ก็ไม่ทั่วถึง แม้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังและรับทราบความต้องการการช่วยเหลือด้านคดีความแล้ว แต่ก็ไม่เกิดการช่วยเหลือเยียวยาแต่อย่างใด ทำให้หลายคนซึ่งถูกบังคับให้รับสารภาพบ้าง รับสารภาพเองบ้าง ถูกตัดสินคดีอย่างรวดเร็ว และคดีหมดอายุความในการอุทธรณ์โดยไม่มีโอกาสต่อสู้คดี แม่ของเอกสิทธิ์เล่าว่า หลังจากรู้ว่าลูกชายโดนทหารจับในคืนนั้น เธอก็ชะล่าใจคิดว่าไม่น่าจะมีอะไรรุนแรง คงเป็นความเข้าใจผิดและประเดี๋ยวก็คงได้รับการปล่อยตัว เธอและครอบครัวซึ่งเป็นลูกจ้างบริษัททำบ่อบำบัดน้ำเสียจึงยังคงก้มหน้าก้มตาทำมาหากินรายวันต่อไปเรื่อยๆ “พอผ่านไปเกือบอาทิตย์เขาก็ยังไม่ติดต่อมาเลยออกตามหาเขา ก็ไม่เจอ ก็ให้เพื่อนที่ทำงานล้างบ่อตรง สน.ดินแดง ช่วยไปถามสน.ดินแดงให้หน่อยว่าเอาเอกสิทธิ์ไปไว้ไหน เข้าไป ตำรวจก็บอกส่งไปที่ ตชด. เราไปตามที่นั่น แต่เขาบอกว่าไม่มีรายชื่อ เราก็นั่งร้องไห้อยู่ ตายแล้ว ลูกตายแน่ๆ ตามหาก็ไม่เจอ โทรไปหาตามศาลก็หาไม่เจอ ไม่รู้จักใครเลย ไม่มีใครเข้ามาช่วย แล้วก็มีคนบอกให้ไปแจ้งพรรคเพื่อไทย ได้ประมาณเดือนมั้ง ส.ส.เพื่อไทยก็โทรมาบอกว่าเอกสิทธิ์โดนจับไว้ที่คลองเปรม” น้ำเสียงของเธอยังสั่นเครือเมื่อเล่าย้อนอดีต เมื่อครั้งที่เธอเข้าเยี่ยมลูกในครั้งแรก เธอเล่าว่าได้สอบถามลูกว่าโดนจับเรื่องอะไร และได้คำตอบจากลูกชายว่าทหารบังคับให้เขารับสารภาพในข้อหาขัดขวางการจราจร “เขาบอกว่าทหารบังคับหนูให้รับสารภาพ ถ้าไม่รับเขาจะยิงหนูทิ้ง ไม่ให้พ่อแม่มึงเห็นหน้า เขาว่าอย่างนี้ ก็ต้องรับ ก็รับว่าขัดขวางจราจร” “เขาเล่าด้วยว่า ทหารเขาเอาปืนตีหน้าหนู ไปดูหน้าเขาก็บวมเขียวอยู่ตอนนั้น ถามว่าโดนจับตอนแรกอยู่ไหน ก็บอกไปอยู่ที่ราบ 1” ในเอกสารคำฟ้องของอัยการระบุว่า “เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 เวลากลางวัน จำเลยนี้กับพวกได้บังอาจยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย โดยจำเลยกับพวกดังกล่าวได้บังอาจร่วมกันนำยางรถยนต์มาวางไว้บนพื้นถนนฝั่งขาเข้าตรงกัน สำนักงาน ป.ป.ส. ถนนดินแดง แขวงดินแดง กรุงเทพมหานคร จากนั้นได้มีการจุดไฟเผายางรถยนต์เพื่อป้องกันมิให้ทหารเข้าไปยังบริเวณดังกล่าว และได้ขว้างปาสิ่งของใส่ทหาร ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย” “เขาจะไปเกี่ยวได้ยังไง เพิ่งเลิกจากงานเดินมากันหลายคน น้องชายเขาก็อยู่ในกลุ่มนั้นด้วย ในตัวเขามีแต่โทรศัพท์ เพิ่งซื้อใหม่เลย ทหารน่าจะเอาไว้ เพราะเขาไม่มีโทรศัพท์ ติดต่อไม่ได้เลยหลังถูกจับ บัตร นปช.อะไรก็ไม่มี” แม่เอกสิทธิ์กล่าว วันที่ 17 พ.ค. ศาลแขวงดุสิต พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้อง จำเลยให้การรับสารภาพมีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 เนื่องจากขณะนี้บริเวณที่เกิดเหตุในคดีนี้เกิดเหตุจลาจลขึ้น มีความวุ่นวายและมีเหตุร้ายไม่สงบสุข จากการกระทำความผิดในลักษณะเดียวกับคดีนี้อยู่เนืองๆ จึงเห็นสมควรลงโทษสถานหนัก คงจำคุกจำเลย 1 ปี เอกสิทธิ์ เรียนยังไม่ทันจบ ป.6 เพราะหัวทึบเกินกว่าจะเรียนต่อไหว เขียนหนังสือไม่คล่องนักแต่ก็พยายามไหว้วานเพื่อนผู้ต้องขังอื่นๆ เขียนจดหมายกลับมาหามารดาเป็นระยะพร้อมตัดพ้อว่าครอบครัวไม่ค่อยเดินทางมาเยี่ยมเขาซึ่งป่วยเป็นไมเกรนที่เรือนจำเลย “ประกันตัวเขาขอ 4 หมื่น แต่ไม่มีเงิน ไม่รู้จะเอาจากไหน ถ้ากู้บริษัทก็เป็นหนี้หัวโตอีก ของเก่ายังใช้ไม่หมด เลยบอกว่าคงต้องติดนะลูก ปีนึง ขอให้เขาอดทน แม่ไม่อายใครด้วยเพราะลูกไม่ได้ทำผิด ไม่ได้ลักขโมยใคร .... คิดว่าวันที่ 5 ธันวานี่น่าจะลดโทษให้ อยากให้ลูกออกไวๆ” แม่ของเอกสิทธิ์พูดถึงข้อจำกัดและความคาดหวังของเธอ นอกเหนือจากความลำบากของตัวเอกสิทธิ์เองแล้ว ครอบครัวของเขาก็ยากลำบากด้วยเช่นกัน เพราะทุกคนในครอบครัวทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัททำบ่อบำบัดน้ำเสีย ได้เงินเดือนคนละไม่มาก แน่นอน ลูกหัวทึบคนนี้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ “ตอนนี้ศาลสั่งจำคุก 1 ปี มันก็นานนะ ไม่ได้หากิน เขาช่วยแม่ได้เยอะเลย สมองเขาไม่ค่อยดีนัก แต่เขาช่วยครอบครัวเยอะ อยู่กรุงเทพ บริษัทก็เช่าห้องให้อยู่ เขาทำอยู่โรงงานเดียวกับแม่ ทำงานเกี่ยวกับเหล็ก เป็นลูกน้องฝ่ายประกอบ ได้เงินเดือน 5,000 กว่าบาท ของแม่ได้ 6,000 กว่าบาท เขาบอกว่าถ้าจะเบิกก็เขียนใบเบิกได้เลยนะ นี่เขาก็ช่วยผ่อนตู้เย็น ส่งรถมอเตอร์ไซด์ ช่วยทางบ้านเดือนละประมาณ 4,000 บาท เขาไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ แม่พูดอะไรก็จะเชื่อ” หาก “การเอาใจช่วยคนเสื้อแดง” เป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่ง โทษทัณฑ์นี้ก็อาจเป็นสิ่งเหมาะสม เพราะแม่ของเอกสิทธิ์ก็ยอมรับว่าเธอและลูกชายมักติดตามข่าวและเอาใจช่วยคนเสื้อแดงหน้าจอทีวีหลังเลิกงานล้างบ่อบำบัดน้ำเสียแล้วเสมอ “แม่ก็เป็นเสื้อแดงเหมือนกัน แต่ไม่ได้ไปไหน ไม่ได้ไปชุมนุม เอาใจช่วยเขาทางโทรทัศน์ เราต้องทำมาหากิน ลูกก็เรียนอยู่....แต่เอกสิทธิ์เขาเป็นคนเฉยๆ ไม่ค่อยพูด ไม่ได้สนใจการเมืองอะไรเป็นพิเศษ เคยดูโทรทัศน์ดูข่าวด้วยกันแล้วเขาบอกว่า แม่ๆ สงสารเสื้อแดงนะ ก่อนโดนจับเขายังโทรมาบอกแม่ก่อนแล้วว่าเดี๋ยวจะเข้าไปช่วยเสื้อแดงที่โบกรถอยู่คนเดียว ห้ามก็ไม่ฟัง” แม่เอกสิทธิ์กล่าว เอกสิทธิ์เป็นเพียงกรณีหนึ่งเท่านั้นที่ได้รับโทษทัณฑ์แบบที่ชวนกังขาตั้งแต่ระดับปฏิบัติการไปจนถึงปรัชญาพื้นฐานของนิติรัฐ
ขอขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก ศปช. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
รายงาน : พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เสื้อแดง กับคนงานล้างบ่อบำบัดน้ำเสียที่กำลังจะกลับบ้าน Posted: 04 Nov 2010 11:51 AM PDT
“เขาไปทำงานล้างบ่อน้ำเสียให้ กทม. แล้วก็กำลังจะเดินกลับที่พักตรงนั้น ตรงสามเหลี่ยมดินแดง ที่เขาเผายางกัน ตอนนั้นรถเข้าบ้านไม่ได้ก็ต้องเดินกลับบ้าน แล้วเอกสิทธิ์เขาก็วิ่งไปโบกรถ ช่วยเสื้อแดงที่ยืนคนเดียวโบกรถ น้องก็เรียกว่า พี่เอกอย่าเข้าไปมันอันตราย อันนี้ก็ไม่ฟังเสียง ก็ยังวิ่งไปช่วยเขาโบกพักนึง ปรากฏว่ามีรถมอเตอร์ไซด์วินล็อกคอเขาไว้ไปให้ทหาร” คำบอกเล่าของนางถาวร กันสังข์ อายุ 38 ปี แม่ของลูกชายวัย 19 ปี “เอกสิทธิ์ แม่นงาม” ผู้ต้องขังคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ถูกตัดสินจำคุก 1 ปี เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 เดือนพฤษภา 2553 เวลาประมาณ 4 ทุ่ม เป็นหนึ่งในหลายๆ กรณีที่ทหารทยอมจับกุมประชาชนตั้งแต่ช่วงก่อนสลายการชุมนุมซึ่งรัฐบาลพยายามร้องขอให้ประชาชนกลับบ้านท่ามกลางการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แม้เราจะไม่รู้รายละเอียดของคดีที่เกี่ยวข้องกับพ.ร.ก.ฉุกเฉิน นอกจากตัวเลขกลมๆ จากปากอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แต่ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) บ่งชี้ว่ามีตัวอย่างหลายกรณีที่ผู้ถูกจับกุมเป็นคนชั้นล่างซึ่งไม่มีศักยภาพในการประกันตัวหรือต่อสู้คดี แม้พรรคเพื่อไทยจะพยายามให้ความช่วยเหลือด้านทนายความแต่ก็ไม่ทั่วถึง แม้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังและรับทราบความต้องการการช่วยเหลือด้านคดีความแล้ว แต่ก็ไม่เกิดการช่วยเหลือเยียวยาแต่อย่างใด ทำให้หลายคนซึ่งถูกบังคับให้รับสารภาพบ้าง รับสารภาพเองบ้าง ถูกตัดสินคดีอย่างรวดเร็ว และคดีหมดอายุความในการอุทธรณ์โดยไม่มีโอกาสต่อสู้คดี แม่ของเอกสิทธิ์เล่าว่า หลังจากรู้ว่าลูกชายโดนทหารจับในคืนนั้น เธอก็ชะล่าใจคิดว่าไม่น่าจะมีอะไรรุนแรง คงเป็นความเข้าใจผิดและประเดี๋ยวก็คงได้รับการปล่อยตัว เธอและครอบครัวซึ่งเป็นลูกจ้างบริษัททำบ่อบำบัดน้ำเสียจึงยังคงก้มหน้าก้มตาทำมาหากินรายวันต่อไปเรื่อยๆ “พอผ่านไปเกือบอาทิตย์เขาก็ยังไม่ติดต่อมาเลยออกตามหาเขา ก็ไม่เจอ ก็ให้เพื่อนที่ทำงานล้างบ่อตรง สน.ดินแดง ช่วยไปถามสน.ดินแดงให้หน่อยว่าเอาเอกสิทธิ์ไปไว้ไหน เข้าไป ตำรวจก็บอกส่งไปที่ ตชด. เราไปตามที่นั่น แต่เขาบอกว่าไม่มีรายชื่อ เราก็นั่งร้องไห้อยู่ ตายแล้ว ลูกตายแน่ๆ ตามหาก็ไม่เจอ โทรไปหาตามศาลก็หาไม่เจอ ไม่รู้จักใครเลย ไม่มีใครเข้ามาช่วย แล้วก็มีคนบอกให้ไปแจ้งพรรคเพื่อไทย ได้ประมาณเดือนมั้ง ส.ส.เพื่อไทยก็โทรมาบอกว่าเอกสิทธิ์โดนจับไว้ที่คลองเปรม” น้ำเสียงของเธอยังสั่นเครือเมื่อเล่าย้อนอดีต เมื่อครั้งที่เธอเข้าเยี่ยมลูกในครั้งแรก เธอเล่าว่าได้สอบถามลูกว่าโดนจับเรื่องอะไร และได้คำตอบจากลูกชายว่าทหารบังคับให้เขารับสารภาพในข้อหาขัดขวางการจราจร “เขาบอกว่าทหารบังคับหนูให้รับสารภาพ ถ้าไม่รับเขาจะยิงหนูทิ้ง ไม่ให้พ่อแม่มึงเห็นหน้า เขาว่าอย่างนี้ ก็ต้องรับ ก็รับว่าขัดขวางจราจร” “เขาเล่าด้วยว่า ทหารเขาเอาปืนตีหน้าหนู ไปดูหน้าเขาก็บวมเขียวอยู่ตอนนั้น ถามว่าโดนจับตอนแรกอยู่ไหน ก็บอกไปอยู่ที่ราบ 1” ในเอกสารคำฟ้องของอัยการระบุว่า “เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 เวลากลางวัน จำเลยนี้กับพวกได้บังอาจยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย โดยจำเลยกับพวกดังกล่าวได้บังอาจร่วมกันนำยางรถยนต์มาวางไว้บนพื้นถนนฝั่งขาเข้าตรงกัน สำนักงาน ป.ป.ส. ถนนดินแดง แขวงดินแดง กรุงเทพมหานคร จากนั้นได้มีการจุดไฟเผายางรถยนต์เพื่อป้องกันมิให้ทหารเข้าไปยังบริเวณดังกล่าว และได้ขว้างปาสิ่งของใส่ทหาร ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย” “เขาจะไปเกี่ยวได้ยังไง เพิ่งเลิกจากงานเดินมากันหลายคน น้องชายเขาก็อยู่ในกลุ่มนั้นด้วย ในตัวเขามีแต่โทรศัพท์ เพิ่งซื้อใหม่เลย ทหารน่าจะเอาไว้ เพราะเขาไม่มีโทรศัพท์ ติดต่อไม่ได้เลยหลังถูกจับ บัตร นปช.อะไรก็ไม่มี” แม่เอกสิทธิ์กล่าว วันที่ 17 พ.ค. ศาลแขวงดุสิต พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้อง จำเลยให้การรับสารภาพมีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 เนื่องจากขณะนี้บริเวณที่เกิดเหตุในคดีนี้เกิดเหตุจลาจลขึ้น มีความวุ่นวายและมีเหตุร้ายไม่สงบสุข จากการกระทำความผิดในลักษณะเดียวกับคดีนี้อยู่เนืองๆ จึงเห็นสมควรลงโทษสถานหนัก คงจำคุกจำเลย 1 ปี เอกสิทธิ์ เรียนยังไม่ทันจบ ป.6 เพราะหัวทึบเกินกว่าจะเรียนต่อไหว เขียนหนังสือไม่คล่องนักแต่ก็พยายามไหว้วานเพื่อนผู้ต้องขังอื่นๆ เขียนจดหมายกลับมาหามารดาเป็นระยะพร้อมตัดพ้อว่าครอบครัวไม่ค่อยเดินทางมาเยี่ยมเขาซึ่งป่วยเป็นไมเกรนที่เรือนจำเลย “ประกันตัวเขาขอ 4 หมื่น แต่ไม่มีเงิน ไม่รู้จะเอาจากไหน ถ้ากู้บริษัทก็เป็นหนี้หัวโตอีก ของเก่ายังใช้ไม่หมด เลยบอกว่าคงต้องติดนะลูก ปีนึง ขอให้เขาอดทน แม่ไม่อายใครด้วยเพราะลูกไม่ได้ทำผิด ไม่ได้ลักขโมยใคร .... คิดว่าวันที่ 5 ธันวานี่น่าจะลดโทษให้ อยากให้ลูกออกไวๆ” แม่ของเอกสิทธิ์พูดถึงข้อจำกัดและความคาดหวังของเธอ นอกเหนือจากความลำบากของตัวเอกสิทธิ์เองแล้ว ครอบครัวของเขาก็ยากลำบากด้วยเช่นกัน เพราะทุกคนในครอบครัวทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัททำบ่อบำบัดน้ำเสีย ได้เงินเดือนคนละไม่มาก แน่นอน ลูกหัวทึบคนนี้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ “ตอนนี้ศาลสั่งจำคุก 1 ปี มันก็นานนะ ไม่ได้หากิน เขาช่วยแม่ได้เยอะเลย สมองเขาไม่ค่อยดีนัก แต่เขาช่วยครอบครัวเยอะ อยู่กรุงเทพ บริษัทก็เช่าห้องให้อยู่ เขาทำอยู่โรงงานเดียวกับแม่ ทำงานเกี่ยวกับเหล็ก เป็นลูกน้องฝ่ายประกอบ ได้เงินเดือน 5,000 กว่าบาท ของแม่ได้ 6,000 กว่าบาท เขาบอกว่าถ้าจะเบิกก็เขียนใบเบิกได้เลยนะ นี่เขาก็ช่วยผ่อนตู้เย็น ส่งรถมอเตอร์ไซด์ ช่วยทางบ้านเดือนละประมาณ 4,000 บาท เขาไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ แม่พูดอะไรก็จะเชื่อ” หาก “การเอาใจช่วยคนเสื้อแดง” เป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่ง โทษทัณฑ์นี้ก็อาจเป็นสิ่งเหมาะสม เพราะแม่ของเอกสิทธิ์ก็ยอมรับว่าเธอและลูกชายมักติดตามข่าวและเอาใจช่วยคนเสื้อแดงหน้าจอทีวีหลังเลิกงานล้างบ่อบำบัดน้ำเสียแล้วเสมอ “แม่ก็เป็นเสื้อแดงเหมือนกัน แต่ไม่ได้ไปไหน ไม่ได้ไปชุมนุม เอาใจช่วยเขาทางโทรทัศน์ เราต้องทำมาหากิน ลูกก็เรียนอยู่....แต่เอกสิทธิ์เขาเป็นคนเฉยๆ ไม่ค่อยพูด ไม่ได้สนใจการเมืองอะไรเป็นพิเศษ เคยดูโทรทัศน์ดูข่าวด้วยกันแล้วเขาบอกว่า แม่ๆ สงสารเสื้อแดงนะ ก่อนโดนจับเขายังโทรมาบอกแม่ก่อนแล้วว่าเดี๋ยวจะเข้าไปช่วยเสื้อแดงที่โบกรถอยู่คนเดียว ห้ามก็ไม่ฟัง” แม่เอกสิทธิ์กล่าว เอกสิทธิ์เป็นเพียงกรณีหนึ่งเท่านั้นที่ได้รับโทษทัณฑ์แบบที่ชวนกังขาตั้งแต่ระดับปฏิบัติการไปจนถึงปรัชญาพื้นฐานของนิติรัฐ
ขอขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก ศปช. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Forbes ยก ปธน. จีน เป็นอันดับ 1 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลโลกปี 2553 Posted: 04 Nov 2010 11:50 AM PDT 3 พ.ย. 2553 - เว็บไซต์ Forbes จัดอันดับบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกประจำปี 2553 โดยผู้ที่ได้อันดับ 1 คือประธานาธิบดี หู จินเทา ของจีน ส่วนประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ตามมาเป็นอันดับ 2 ขณะที่ในวงการไอที มีบิลล์ เกท เจ้าของไมโครซอฟท์ติดอันดับ 10 ขณะที่สตีฟ จ็อบ ซีอีโอของแอปเปิ้ลอยู่อันดับ 17 ส่วนมาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟสบุ๊คได้อันดับ 40 Forbes กล่าวถึงเกณฑ์การจัดอันดับในครั้งนี้ว่า พวกเขาตัดสินอันดับจากความสามารถในการเปลี่ยนแปลงโลกได้ตามใจพวกเขาในหลาย ๆ ทาง ไม่ว่าเขาจะเป็นผู้นำทางการเมือง ผู้นำทางศาสนา ผู้ประกอบการ รวมถึงผู้ละเมิดกฏหมาย ทำให้ต้องมีการแบ่งอิทธิพลออกเป็นด้าน ๆ โดยอาศัยมาตรวัดประการแรกพวกเขามีอิทธิพลต่อบุคคลจำนวนมากหรือไม่ เช่นหากเป็นผู้นำทางการเมืองก็จะวัดจากประชากร หากเป็นผู้นำทางศาสนาก็จะตัดสินจากปริมาณผู้ที่เข้าร่วม สำหรับผู้นำทางธุรกิจจะจากพนักงาน และสำหรับผู้นำด้านสื่อก็จะวัดจากปริมาณผู้ชม ประการต่อมาคือวัดจากทรัพยากรการเงินที่พวกเขาเกี่ยวข้อง เช่นการวัด GDP จากผู้นำทางการเมือง ส่วนผู้นำทางธุรกิจวัดจากทรัพย์ส่วนที่เหลืออยู่หลังจากหักหนี้สินที่มีอยู่ทั้งหมดออกไปแล้ว (Net Worth) นอกจากนี้ยังมีการวัดจากความมีอำนาจในหลาย ๆ ด้าน เช่น ซิลวิโอ แบร์ลุคโคนี่ (อันดับที่ 14) นอกจากเป็นนายกรัฐมนตรีอิตาลีแล้ว ยังเป็นเจ้าพ่อสื่อพันล้าน อันดับอื่น ๆ ที่น่าสนใจคือ จูเลียน อัสสาจ หัวหน้าบรรณาธิการของ WikiLeaks ที่เคยออกมาแฉเอกสารปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ อยู่รั้งท้ายในที่ 68, บิล เคลเลอร์ บรรณาธิการบริหารของ The New York Times อยู่อันดับที่ 50, อยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมนี ผู้นำทางศาสนาของอิหร่านอยู่อันดับ 26, คิม จอง อิล ผู้นำเกาหลีเหนือ อยู่อันดับที่ 31, ทะไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบต อันดับที่ 39 และ บังคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ อันดับที่ 41 ที่มา - รายงานอันดับฉบับเต็ม
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กวีประชาไท : ต่อปณิธานและคารวาลัย ศุขปรีดา พนมยงค์ Posted: 04 Nov 2010 10:30 AM PDT
1 2 3 4 5 6 ไม้หนึ่ง ก.กุนที / กวีราษฎร สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ทำไมต้องให้ “สิทธิพิเศษ” กับคนจน Posted: 04 Nov 2010 10:16 AM PDT ผมถึงกับอึ้ง พูดไม่ออกบอกไม่ถูก เมื่อได้อ่านความเห็นหนึ่งต่อบทความของ ทวน จันทรุพันธุ์ เรื่อง “30 บาทรักษาทุกโรค : หมอไม่ชอบแต่คนจนชอบ” ในเวปไซต์ประชาไท และความเห็นที่เกี่ยวเนื่องกับคนจนในบทความเรื่อง “ความเหลื่อมล้ำของประชาชนไทยในการได้รับสิทธิในการดูแลสุขภาพ” ของแพทย์ระดับแกนนำสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชนท่านหนึ่ง ในเวปไซด์ thaitrl.org ความเห็นของทั้งสอง อยู่ต่างกรรมต่างวาระ แต่ต่างก็มีทัศนะต่อคนจนที่ไม่ต่างกัน กล่าวคือ ทุกคนคือคน คนจนคือคน และทำไมคนจนต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการดูแลจากรัฐภายใต้กฏหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ท่านแรกตั้งข้อสังเกตุว่า “ความจน” เป็น “สิทธิพิเศษ” เป็นข้ออ้างให้คนอื่นทำงานเสียภาษีเพื่อมาปรนเปรอคนจนกระนั้นหรือ ? และได้ทิ้งท้ายว่าความไม่จนของท่านนั้นมาจากการทำงานหนัก ! ท่านที่สองซึ่งเป็นแพทย์ มีน้ำเสียงทำนองว่าประชาชนระดับล่างของประเทศ 47 ล้านคนได้รับสิทธิพิเศษในการดูแลรักษาสุขภาพตามกฏหมายหลักประกันสุขภาพ ในขณะที่ข้าราชการซึ่งมีรายได้น้อยกว่าเอกชนจึงเป็นเหตุให้เสียประโยชน์ที่จะได้รับการดูแลรักษาเมื่อเจ็บป่วย และคนที่เสียประโยชน์ในสิทธิการดูแลรักษาสุขภาพจากรัฐที่สุดคือกลุ่มลูกจ้างเอกชนที่อยู่ภายใต้กฏหมายประกันสังคม หากเราแยกพิจารณาเพียงสิทธิที่ประชาชน 47 ล้านคน ซี่งได้รับจากกฏหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น ก็อาจเข้าใจได้ว่าคนกลุ่มนี้ได้รับ “สิทธิพิเศษ” จากรัฐ ตามที่ท่านทั้งสองข้างต้นกล่าว แต่เราก็ไม่ควรลืมไปว่าคน 47 ล้านที่ว่านั้น เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ และเป็นคนจน ซึ่งล้วนแต่ไม่มีใครอยากจะจนเพื่อจะมารับสิทธิพิเศษหลังจากการเจ็บไข้ได้ป่วย! ทำไมจึงมีคนจน มีคนไม่จน มีคนมั่งมีและคนร่ำรวย ? มันก็อาจจะใช่ที่ว่าความขยันและการทำงานหนักเป็นที่มาของความไม่จนกระทั่งความมั่งคั่งร่ำรวย ดังเช่นเรื่องราวของชาวจีนที่หอบเสื่อผืนหมอนใบเข้ามาสร้างเนื้อสร้างตัวกระทั่งมั่งคั่งร่ำรวยเป็นเศรษฐีและอภิมหาเศรษฐี แต่ในขณะเดียว ก็ใช่ว่าชาวบ้านไร่ชาวนาในชนบทส่วนใหญ่ที่ไม่ขยันและไม่ตรากตรำ แท้ที่จริงแล้วคนเหล่านี้ทำงานทั้งปีแทบไม่มีวันหยุดพักผ่อน หลังยังคงสู้ฟ้า หน้ายังคงสู้ดิน แต่ก็ไม่ได้ทำให้เขามั่งมีมั่งคั่งขึ้น กลับกลายเป็นว่ายิ่งจนลงไปเรื่อย ๆ สูญเสียทรัพย์สินทั้งที่ดินไร่นาวัวควาย กระทั่งลูกหลาน และมีจำนวนไม่น้อยที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว จนมีคำพูดทีเล่นทีจริงว่า ชาวนาชาวไร่ยิ่งทำมากขยันมากก็จะยิ่งจนลงและเป็นหนี้มากขึ้น การไม่ทำงานหนักและไม่ขยัน จึงเป็นความเข้าใจที่อาจจะผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงว่ามันคือสาเหตุแห่งความยากจน! โดยไม่ฉุกคิดและใส่ใจใยดีแม้แต่น้อยว่าความอยู่ดีมีสุขสบายกระทั่งความมั่งคั่งร่ำรวยทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น ล้วนถูกดูดซับและขูดรีดเอาออกมาจากคนอื่น ใช่หรือไม่ว่าทรัพยากรที่ถูกนำมาปรนเปรอคนบนยอดปิรามิดนั้น ทำให้มีคนไม่น้อยย่ำแย่ ลำบากและยากจนลง และยิ่งคนเพียงหยิบมือบนยอดปิระมิดนั้นกอบโดยจนมั่งคั่งขึ้นมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ผู้คนจำนวนมากในฐานปิระมิดประสบกับความยากลำบากและแร้นแค้นเรื่อยลงไปเท่านั้น เกษตรกรชาวไร่ชาวนาถูกชักจูงครอบงำให้ทำการผลิตเชิงพาณิชย์ เพื่อให้มีข้าวปลาอาหารพืชผักผลไม้หล่อเลี้ยงประชากรในราคาถูก และการส่งออกเพื่อเป็นรายได้ให้ประเทศ ผลที่ได้รับปรากฏว่ายิ่งทำยิ่งจน บางรายหมดเนื้อหมดตัว สูญเสียที่ดินทำกิน เป็นหนี้เป็นสิน ฯลฯ ชาวบ้านจำนวนไม่น้อยในหลายพื้นที่ต้องละทิ้งและสูญเสียพื้นที่ทำมาหากินจากพื้นที่และแหล่งน้ำอันอุดมสมบูรณ์ เพื่อการสร้างเขื่อนผลิตพลังงานไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเมืองและอุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังถูกจำกัดสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นในการยังชีพ ยิ่งทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ลง ชาวไร่ชาวนาและลูกหลานที่ผิดพลาดและล้มเหลวในกระบวนการผลิต รวมทั้งลูกหลานที่ได้รับการศึกษาในระบบเพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ ต้องผันตัวเองเข้าไปเป็นแรงงานราคาถูกในโรงงาน ในสถานประกอบการ ในสถานบริการ ฯลฯ คุณภาพชีวิตมิได้ดีขึ้นกลับแย่ลงไปทุกขณะ ลูกหลานของพวกเขา ถูกผลักให้เข้าสู่ระบบการศึกษาที่เหยียดหยามรากเหง้าตนเอง เข้าถึงเพียงการศึกษาที่สร้างให้ออกมาเป็นเพียงแรงงานในสายพานการผลิต ฯลฯ “คนจน” และ “ความจน” จึงมีเหตุมาจากการถูกกระทำมิใช่เกิดจากการไม่ทำงานหนัก แท้ที่จริงนั้น บรรดาคนยากคนจนทั้งหลายล้วนคือผู้ที่แบกภาระความเจริญเติบโตและการดำรงอยู่ในนามของนโยบายการพัฒนาประเทศ ซึ่งแน่นอนมันช่วยทำให้คนจำนวนหนึ่งคงอยู่และสืบทอดสถานภาพทางชนชั้นของตนเองไว้ได้อย่างเหนียวแน่นมั่นคง ไม่เพียงคนฐานล่างของประเทศที่ถูกทำให้จนเท่านั้น พวกเขายังถูกเบียดให้ห่างจากโอกาสในการไต่เต้าทางสังคมด้วย มีลูกหลานชาวบ้านชาวช่องระดับล่างสักกี่คนเชียวที่สามารถปีนบันไดไต่เต้าขึ้นไปได้ ลูกหลานชาวบ้านเรียนในโรงเรียนในหมู่บ้านอย่างตามมีตามได้ ไม่ต้องหาคุณภาพการศึกษา ขณะที่ลูกหลานคนชั้นกลาง/คนเมือง มีโอกาสเรียนในโรงเรียนชั้นนำ มีครูที่ดี สื่อการเรียนที่ดี มีปัจจัยแวดล้อมเอื้ออำนวยทุกประการ โอกาสการแข่งขันเพื่อเข้าไปมีที่นั่งในสถานศึกษาที่ดีที่มีจำกัดจึงเป็นของพวกเขาเสียเป็นส่วนใหญ่ ที่นั่งแทบไม่ตกไปถึงลูกหลานชาวบ้านลูกหลานตาสียายสา ดังที่ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวนิชย์ กล่าวในปาฐกถา 14 ตุลา ประจำปี 2553 ว่า การวิเคราะห์การกระจายผลประโยชน์ (benefit incident) จากการใช้จ่ายในด้านการศึกษาของรัฐ โดยวิโรจน์ ณ ระนอง และสุเมธ องกิตติกุล (2553) พบว่า ประชาชนกลุ่มที่มีรายได้สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีรายได้สูงสุดร้อยละ 20 ได้รับประโยชน์จากการใช้จ่ายด้านการศึกษาของรัฐในสัดส่วนร้อยละ 29.1 ในขณะที่กลุ่มที่มีรายได้ต่ำที่สุดร้อยละ 20 ได้รับประโยชน์ในสัดส่วนร้อยละ 12 ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการศึกษา มีอาชีพการงานมั่นคง ส่วนใหญ่มักจะเป็นลูกคนชั้นกลางขึ้นไป มิใช่ลูกหลานชาวไร่ชาวนาในชนบท จริงอยู่อาจจะมีอยู่บ้างแต่ก็มีน้อยเข้าขั้นหายาก ลูกหลานชาวไร่ชาวนาที่มีโอกาสได้ร่ำได้เรียน บ้างก็จบอนุปริญญา บ้างจบปริญญา ปริญญาโทก็มี ถามคนเหล่านั้นไปถึงความคาดหวังของพ่อแม่หรือไม่ คำตอบคือส่วนใหญ่ไปไม่ถึง บางคนยังปั่นสามล้อขายไอศกรีม บางคนเป็นยาม เป็นลูกจ้างเอกชน เป็นลูกจ้างหน่วยงานราชการ เป็นครูอัตราจ้าง ฯลฯ ซึ่งในปาฐกถาคราวเดียวกัน ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ กล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความเหลื่อมล้ำทางสังคม ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้ที่มีรายได้น้อย มีโอกาสในการไต่เต้าทางสังคม ผ่านระบบการศึกษาระดับสูงไม่มากนัก ดังข้อมูลจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า หัวหน้าครัวเรือนที่มีรายได้น้อยที่สุดร้อยละ 20 มีอัตราการศึกษาในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรีขึ้นไป) เพียงร้อยละ 1.52 ในขณะที่กลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงที่สุดร้อยละ 20 มีอัตราการศึกษาในระดับดังกล่าวร้อยละ 16.2 ย้อนกลับไปที่ความเห็นต่อสิทธิพิเศษของคนจนข้างต้น กฏหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ “สามสิบบาทรักษาทุกโรค” นั้น เกิดขึ้นมาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนคนระดับล่างให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ง่ายและทั่วถึงขึ้น ไม่ควรตายด้วยเพียงเหตุเพียงเพราะไม่มีเงินรักษา และไม่ต้องถึงกับล้มละลายหมดเนื้อหมดตัวไปกับการรักษา อาจจะกล่าวหาได้ว่านี่เป็นนโยบายประชานิยมที่มุ่งหาเสียงกับคนยากคนจน การเมืองก็คงจะได้ประโยชน์ในแง่ได้รับความนิยม แต่ผลที่เกิดขึ้นจริงปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันสามารถช่วยเหลือคนจนได้จริง และคนจนเขาก็พึงพอใจ และก็ยอมรับได้เช่นกันว่า นี่คือ “สิทธิพิเศษ” ของคนจนจริง ๆ แล้วทำไมล่ะ ทำไมรัฐจึงจะจัดสวัสดิการหรือสิทธิพิเศษให้กับคนจนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้ การตอบแทนการเสียสละของพวกเขาด้วยการใช้งบประมาณแผ่นดินอันเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณก้อนมหึมาให้เขาได้บรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อนจากโรคภัย จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี : ว่าด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชนชั้นกลาง และ หาบเร่แผงลอย Posted: 04 Nov 2010 09:20 AM PDT ไม่ใช่ครั้งแรกที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งด้วยเจตนาของกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์คนแรกของประเทศ มีนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนระดับล่าง คงจำเป็นต้องมีการเท้าความที่มาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้สักเล็กน้อยเพื่อความเข้าใจในพื้นหลังแบบเดียวกัน...มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นหนึ่งในกลไกการสถาปนารัฐทุนนิยม ของกษัตริย์สี่รัชกาลก่อนหน้านี้ โดยมีจุดมุ่งหมายในการผลิตข้าราชการแบบรัฐสมัยใหม่ เพื่อมาทดแทนระบบขุนนางแบบรัฐศักดินาที่ยากจะควบคุม มักจะกระด้างกระเดื่องกับอำนาจส่วนกลางของกษัตริย์ และล้มราชวงศ์บ่อยครั้ง การสร้างระบบบริหารแผ่นดินสมัยใหม่โดยมีข้าราชการที่สังกัดโดยตรงกับตัวกษัตริย์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยสมัยใหม่แห่งแรกของประเทศ โดยการทำการสำเร็จลุล่วงอย่างเป็นทางการ ในรัชกาลถัดมา จึงได้นำเอาชื่อของกษัตริย์ที่ปรารถนาจะสร้างพระราชอำนาจของพระองค์ผ่านระบบราชการที่ภักดีซ่อตรงกับพระองค์เอง มาตั้งชื่อมหาวิทยาลัยแห่งนี้ หากสังเกตแล้ว คณะที่ทำการผลิตบัณฑิตรายแรกๆ คือ วิศวกรรมศาสตร์ และรัฐศาสตร์ อันมีจุดมุ่งหมายคือการสร้างทางรถไฟ (นำเทคโนโลยีจากเยอรมัน) และกลไกการควบคุม “ไพร่” สมัยใหม่ (กลไกการศึกษาแบบอังกฤษ) ภายใต้แนวคิดพลเมืองที่สังกัดกับอำนาจส่วนกลางในกรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยแห่งนี้จึงเป็นหนึ่งใน “กลไกการล่าอาณานิคมตัวเอง” ของรัฐสยาม แน่นอนว่าการต่อต้านเกิดขึ้นเป็นระลอกคลื่นจากเจ้าเมืองเก่าในรัฐศักดินาเดิม ที่ไม่รู้เท่าทันและถูกสยามกลืนเข้าเป็นแผ่นดินเดียวกัน ,ที่สำคัญที่สุดกลไกของหมาวิทยาลัยแห่งนี้ได้สร้างศัพท์แสงที่ประหลาดและไม่สามารถหาได้ทั่วไปตามรัฐสมัยใหม่ในตะวันตก นั่นคือคำว่า “ข้าราชการ-คนรับใช้ภารกิจของพระราชา” ที่คนไทยคุ้นเคยกับคำแปลภาษาอังกฤษ Bureaucrat, state officer, State servant ฯลฯ แต่หากลองแปลดูแล้วก็ไม่มีคำใดที่ดูศักดิ์สิทธิ์และเชื่อมตรงกับอำนาจส่วนกลางได้เท่ากับคำว่า “ข้าราชการ” แม้กระทั่งคำแปลในภาษาฝรั่งเศสจุดกำเนิดของระบบราชการสมัยใหม่ก็ตาม มหาวิทยาลัยแห่งนี้กลายเป็นเครื่องหมายของชนชั้นสูง และการชุบตัวของเจ้าสัวจีนที่เริ่มมั่งคั่งขึ้นจากกลไกตลาดโลกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มันเป็นจุดเริ่มต้นของเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่าง ชนชั้นสูงและพ่อค้านักธุรกิจ แม้จะมีปณิธานของผู้ก่อตั้งว่า แม้แต่”ไพร่” ก็สมควรที่จะได้เรียน แต่ก็หมายถึงไพร่ที่พร้อมจะรับอุดมการณ์แบบเจ้านาย และการเป็นข้าราชการที่ภักดีต่อไป หลังสงครามโลกครั้งที่สองการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเริ่มแพร่หลายเพื่อการผลิตผู้ชำนาญการสมัยใหม่ ตอบสนองต่อการผลิตอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้า มหาวิทยาลัยโดยมากตั้งตามชื่อของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับผู้ก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาทิ มหาวิทยาลัยมหิดล, ศรีนครินทรวิโรฒ, สงขลานครินทร์, แม่ฟ้าหลวง, พระจอมเกล้าฯ, ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ถูกก่อตั้งโดยไม้เบื่อไม้เมาตลอดกาลของราชวงศ์คือ ปรีดี พนมยงค์ ความขัดแย้งระหว่างสองมหาวิทยาลัยนี้ปรากฏอย่างมีนัยสำคัญในแง่อุดมการณ์ช่วง 1960-1970 1 อย่างไรก็ดีด้วยระบบการศึกษาไทยที่สร้างค่านิยมที่เหนือกว่าประชาชนและการยกระดับฐานะของบัณฑิตจบใหม่ผ่านความสัมพันธ์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ในปัจจุบัน ความขัดแย้งระหว่างสองมหาวิทยาลัยนี้กลายเป็นเรื่องตลกที่ขำไม่ออก ในการแข่งขันเพื่อแสดงออกว่าใครเป็นมหาวิทยาลัยที่เหนือกว่าประชาชนธรรมดา ความก้าวหน้าในตลาดแรงงาน และความภักดีต่อราชวงศ์ มากกว่ากัน (แสดงออกในงานฟุตบอลประเพณีของสองมหาวิทยาลัย) 2 หลังจากการปราบปรามนักศึกษาและความคิดฝ่ายซ้ายในปลายทศวรรษ 1970 มหาวิทยาลัยกลายเป็นแหล่งผลิตคนงานป้อนตลาดแรงงานมากกว่าแนวรบทางอุดมการณ์เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลายเป็นมหาวิทยาลัย อันเป็นที่ต้องการอันดับหนึ่งของตลาดแรงงาน ด้วยเหตุผลใดก็ไม่อาจทราบแน่นอนได้ เพราะก็ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัยแห่งนี้แตกต่างจากมหาวิทยาลัยรุ่นหลังอื่นๆ เท่าใดนัก แต่เป็นที่เข้าใจว่า เส้นสายและเครือข่ายความสัมพันธ์แบบศักดินา ที่ปลูกฝังระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เป็นตัวก่อเริ่มความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ภายในตลาดแรงงาน หากกล่าวถึงความสามารถเชิงประจักษ์แล้วพวกเขาแตกต่างจากนักศึกษามหาวิทยาลัยอื่น ด้วยคะแนนสอบเข้าไม่กี่สิบคะแนนเมื่อครั้งสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมเท่านั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลายเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นตัวแทนของชนชั้นสูง ชนชั้นกลางในเมือง หรือที่ทางสำหรับเด็กนักเรียนที่มีความฝันจากชนบทจะเข้ามาชุบตัว พร้อมกับความฝันในการรับราชการ และทำงานบริษัทเอกชนชั้นนำ เป็นที่รู้กันว่าสำหรับบางกระทรวงนั้น บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้เพียงแค่สอบผ่านภาค ก. ก็สามารถบรรจุเป็นข้าราชการได้ทันที แม้จะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความคิดอนุรักษ์นิยมที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ก็หาใช่ว่าพวกเขาตัดขาดและไม่เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์เศรษฐกิจโลก นับจากปี 2540 การรับนโยบายของกองทุนการเงินระหว่างประเทศของพรรคประชาธิปัตย์ นำสู่การแปรรูปมหาวิทยาลัยเพื่อลดค่าใช้จ่าย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็สบโอกาสนี้ในการสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้บริหาร การออกนอกระบบส่งผลให้มหาวิทยาลัยสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย มหาวิทยาลัยทำการสร้างห้างสรรพสินค้าขึ้นบริเวณตรงข้ามตลาดสามย่าน (โดยการไล่ชุมชนสลัมดั้งเดิมอีกเช่นเคย) โดยตั้งชื่อว่าจตุรัสจามจุรี 3 และทำการไล่ผู้ประกอบการสามย่านออกจากพื้นที่เดิมเพื่อสร้างอาคารด้านธุรกิจการศึกษา แม้มหาวิทยาลัยจะมั่งคั่งขึ้น แต่ค่าเทอมกลับสูงขึ้นตามลำดับ (ประมาณร้อยละ 80 จากปี 2547-2553) 4 ภาควิชาที่ไม่เป็นที่นิยมของตลาดถูกปิดไป 5 และถูกแทนที่โดยภาคภาษาอังกฤษที่มีค่าใช้จ่ายสูงลิบลิ่วสำหรับชนชั้นสูงที่อาจสอบเข้าไม่ได้จากระบบแอดมิชชั่นและการคัดกรองแบบระบบราชการโบราณ ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยแห่งนี้หาได้เป็นเพียงแค่กลไกการสร้างอุดมการณ์แบบอุนรักษ์นิยมอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการคัดกรองและปิดโอกาสการพัฒนาการศึกษาของลูกหลานคนจนด้วยเช่นกัน ในกรณีหาบเร่สยามสแควร์ ที่ทางมหาวิทยาลัยตั้งประเด็นว่า สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ และผู้ที่เดินสัญจรไปมา และสร้างภาพพจน์ที่ไม่ดีสำหรับชาวต่างประเทศ วิธีคิดนี้เป็นวิธีคิดเดียวกันกับกรุงเทพมหานคร ภายใต้การนำของ สุขุมพันธ์ บริพัตร ที่มองว่าคนจนในประเทศอันไร้ระเบียบเป็นปัญหา กรุงเทพมหานคร ควรจะเป็น “กรุงเทพ”-เมืองของเทวดา ที่มีระเบียบโดยไล่คนจน หรือวิถีที่ไร้ระเบียบอันพึงประสงค์ออกจากเมือง โครงการของกรุงเทพมหานครที่เห็นกันโดยมากต่อเนื่องมาจากผู้ว่าทุกชุดเรื่อยมาจนถึงคนปัจจุบัน คือการไล่ชุมชนในเมืองออกไปเพื่อสร้างถนนสายวัฒนธรรม (ถนนราชดำเนินและบริเวณใกล้เคียง) ชุมชนที่จะอยู่ได้คือชุมชนที่มีการปรับตัวและสร้างทุนทางวัฒนธรรมแก่ตัวเอง หากสังเกตสนามหลวงได้มีการกั้นรั้วเพื่อขับไล่วิถีชีวิต ที่ไม่พึงประสงค์ออกไป โดยมีคำสัญญาว่าจะมีการจัดสรรที่อยู่ให้แก่คนไร้บ้าน อันนี้เป็นเรื่องตลกอีกเช่นกัน เพราะที่ผ่านมาประเทศนี้ไม่เคยมีโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับคนจนถาวรในเมืองแต่อย่างใด และนับประสากับการพัฒนาชีวิตคนไร้บ้าน นักเคลื่อนไหวจำนวนไม่น้อย อาจตั้งข้อสงสัยว่าหาบเร่แผงลอยเหล่านี้คือผู้ประกอบการ พวกเขาได้รายได้จำนวนไม่น้อย จากการทำธุรกิจหาบเร่ ไม่มีความจำเป็นต้องให้ความสงสารเห็นใจแต่อย่างใด...ทั้งหมดนี้ก็มิได้มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องความเห็นใจแต่อย่างใด แต่สยามสแควร์ก็เป็นภาพสะท้อนเช่นเดียวกันกับ สีลม ราชดำริ และเซ็นทรัลเวิร์ลด์ในปัจจุบัน อันเป็นแบบฉบับภาพสะท้อนวิถีชีวิตที่หรูหราของชนชั้นกลาง และว่าที่อภิสิทธิ์ชนในโรงเรียนเตรียมอุดมฯ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนเหล่านี้เข้าใจว่าวิถีชีวิตของตนมีความศักดิ์สิทธิ์กว่าผู้อื่นเสมอ พวกเขาคือคนกลุ่มเดียวกับที่สนับสนุนให้มีการสลายการชุมนุม คนเสื้อแดง เพื่อนำ “ความสุข” และวิถีชีวิตปกติอันหรูหราของพวกเขาคืนกลับมา..เราจะถือให้วิถีชนชั้นกลางมีความศักดิ์สิทธิ์ และถือการบริโภคร้านค้าของผู้ประกอบการที่เสียค่าเช่าเป็นแสนต่อเดือน ศักดิ์สิทธิ์กว่า วิถีชาวบ้านได้อย่างไร...หรือว่านี่คือกรุงเทพ เมืองแห่งเทวดาที่วิถีชีวิตแบบเทวดาเท่านั้นสมควรได้รับการยอมรับ การจัดระเบียบจำเป็นต้องเกิดขึ้น แต่หาใช่การจัดระเบียบบนฐานของกรรมสิทธิ์ มูลค่าแลกเปลี่ยนผ่านการเช่า และกลไกราคาตลาด มิเช่นนั้นวิถีชีวิตของคนจนก็จะถูกกำหนดให้อยู่ในพื้นที่เฉพาะ ความหลากหลายที่ลดและระยะห่างทางสังคมที่มากขึ้นคือหายนะของความสัมพันธ์ในเขตเมือง เหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาไม่อาจปฏิเสธได้ว่าคนส่วนใหญ่ที่ร่วมปิดแยกราชดำริ คือคนจนเมือง...อันสะท้อนปัญหาที่สะสมในกรุงเทพมานับศตวรรษไม่เคยได้รับการแก้ปัญหา และเขี่ยพวกเขาไปอยู่ใต้พรมทุกครั้ง ครั้งนี้ก็เช่นกันหากการถือวิถีชนชั้นกลางว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากกว่าวิถีชีวิตอื่น มันจะเป็นการจุดเริ่มแห่งการสะสมความขัดแย้งครั้งใหม่...อีกหลายทศวรรษถัดมามันอาจรุนแรงมากกว่าการ ”เผาบ้านเผาเมือง” ก็เป็นได้
1 ต้องอย่าลืม จิตร ภูมิศักดิ์ ตัวแบบ ขบวนการนักศึกษายุค1970 ปัญญาชนนอกคอกของรั้วจามจุรี ที่ถูกโยนบกโดยนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ 2 ขณะที่กระแส ปรีดี-ป๋วยนิยม ในธรรมศาสตร์กลายเป็นการกราบไหว้อนุสาวรีย์มากกว่า การศึกษาอุดมการณ์แบบจริงจัง พร้อมกันนั้น การสร้างสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกพระราชทาน ขึ้นเป็นมาสค็อตแทนปรีดีดูจะปรากฏแพร่หลายเช่นกัน 3 เป็นห้างสรรพสินค้าที่เชื่อมกับรถไฟใต้ดินสถานีสามย่านและเชื่อมตรงสู่มหาวิทยาลัย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
นศ.ใต้เปิดศูนย์บริจาคช่วยเหยื่อน้ำท่วม พบศพในทะเล พายุซัดบ้าน 26 หลังพังยับ Posted: 04 Nov 2010 07:52 AM PDT นศ.ใต้ ร่วมองค์กรในพื้นที่เปิดศูนย์รับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม หน้ามัสยิดกลางปัตตานี เจ้าหน้าที่รับแจ้งพบศพในทะเลลอยน้ำเข้าฝั่งชายหาดบ้านดาโต๊ะ 9 ศพ บ้าน 26 หลังพังยับเยิน 100 กว่าหลังเสียหาย ชาวบ้านดาโต๊ะไร้บ้านอพยพไปพักมัสยิด วอนผู้ใจบุญแจกของให้ตรงกับความต้องการและผู้ประสบภัยจริงๆ
สถานการณ์น้ำในพื้นที่เริ่มทยอยเข้าสู่สภาวะปกติ แต่น้ำในแม่น้ำปัตตานีเพิ่มขึ้นเนื่องจากได้รับน้ำจากพื้นที่ของจังหวัดยะลา ในขณะที่ทาง ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ร.ต.อ.นิมาน นิกูโน พนักงานสอบสวน สภ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ได้รับแจ้งว่าพบศพลอยน้ำริมหาดที่หมู่บ้านดาโต๊ะ ต.แหลมโพธิ์ จึงไปตรวจสอบพร้อมกับเจ้าหน้าที่จากมูลนิธิพิทักษ์ภัยที่เกิดเหตุพบผู้เสีย ชีวิตจำนวน 6 ศพ ศพดังกล่าวส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณ และยังมีศพที่ลอยเหนือน้ำอยู่อีก 3 ศพ ร.ต.อ.นิมาน เผยว่า ศพทั้งหมดยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นใครภูมิลำเนาอยู่ที่ใด เพราะว่าไม่พบเอกสารหลักฐานว่าเป็นใคร เบื้องต้นคาดว่าน่าจะเป็นชาวประมงบริเวณใกล้เคียง ขณะนี้ได้ประสานกับสมาคมชาวประมงแล้วเพื่อตรวจสอบว่าผู้เสียชีวิตทั้งหมด เป็นใคร เมื่อเข้าไปในหมู่บ้านดาโต๊ะ ต.แหลมโพธิ์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นนับว่าเป็นความเสียดายที่รุนแรงแห่งหนึ่งในพื้นที่ จังหวัดชายแดนใต้ ที่เกิดจากพายุและคลื่นลมแรงเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2553 ทำให้บ้านเรือนพักและหายไปกับพายุ 26 หลังคาเรือน และเสียหาย 100 กว่าหลังคาเรือน ลักษณะพายุเกิดคล้ายกับพายุเกย์ ความรุนแรงของพายุก่อให้เกิดคลื่นที่มีความสูงประมาณ 5 เมตร ซึ่งความเสียไม่ใช่มีแค่ ต.แหลมโพธิ์ เพียงเท่านั้น ยังส่งผลความเสียหายในพื้นที่ ต.บานา อ.เมือง ต.ท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็นต้น นายมูฮัมมัด เซ็นอาลามีน เจ้าของบ้านที่ถูกพายุพัดจนพัง ได้เล่าถึงสถานการณ์ในตอนที่น้ำขึ้นว่า น้ำทะเลเริ่มสูงขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 16.00 น. และเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเริ่มค่ำลงระดับที่สูงขึ้นยังมาพร้อมกับพายุ แลฝนที่ตกหนัก บ้านเรือนใกล้เคียงเริ่มทยอยไปพักที่มัสยิดประจำหมู่บ้าน แต่ตัวเองยังไปไม่ได้เพราะว่า มีน้องๆ ตัวเล็กอีก 3 คน พร้อมกับแม่ยายอีก 1 คน หากว่าออกไปกลัวว่าจะไม่รอด เพราะระดับสูงขึ้นถึงระดับคอ เมื่อเวลาประมาณ 22.00 น. พายุและฝนได้หยุดลง พร้อมกับระดับที่เริ่มลดลง มีชาวบ้านได้นำเรือเข้าช่วย ทำให้สามารถออกไปพักที่มัสยิดได้ และตอนนี้คนที่บ้านพักเสียหายก็ไปพักกันที่มัสยิดหมด สภาพบ้านของนายมูฮัมมัด เหลือแต่ท่อนไม้ ไม่เหลือแม้แต่โครงบ้านหรือเสาบ้านให้พอดูได้ว่าเคยมีบ้านอยู่ ณ จุดนั้น นายอิสมาแอ ดาราแม ผู้ประสบภัยอีกรายได้เล่าให้ฟังว่า ในขณะที่น้ำเริ่มทยอยสูงขึ้น ตนคิดว่าเหตุการณ์นี้ไม่ใช่เหตุปกติ ไม่เคยประสบพบเจอ จึงได้บอกกับภรรยา และลูกว่า ให้รีบไปหลบที่มัสยิด ตอนนั้นก็ยังไม่รู้สภาพบ้านจะเป็นอย่างไร พอกลับไปดูสภาพบ้านแล้ว รู้สึกตกใจแต่ไม่ได้พักไปทั้งหลัง นายอิสมาแอ ได้ฝากให้กับผู้ที่มามอบสิ่งของให้แกชาวบ้านว่า “เมื่อท่านจะมอบสิ่งของอะไรก็ตาม ท่านมีความตั้งใจที่ดีที่จะมอบให้กับผู้ประสบภัย ผู้ที่รับสิ่งของก็เป็นผู้ที่ประสบภัยเช่นเดียวกัน แต่ผู้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งหรือเสียหายมากที่สุดกลับได้รับความช่วย เหลือน้อยมาก ท่านควรติดต่อกับผู้นำชุมชนเสียก่อนและถามว่าใครเป็นผู้ที่สมควรได้รับความ ช่วยเหลือเป็นระดับต้น” ทางความช่วยเหลือทางหน่วยงานราชการ นายยูกิฟลี กาเซ็ง ปลัดอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เผยว่า ทางด้านแผนความช่วยเหลือที่ทางผู้ว่าราชการจังหวัดได้มอบเป็นนโยบายให้หลัง จากที่ได้ลงมาเยี่ยม จะมีการงบประมาณในการซ่อมแซมบ้านในวงเงิน 1 แสนบาท และจะมีการเคลียทำความสะอาดพื้นที่ หลังจากที่การประกาศของพายุลูกใหม่จะมาประมาณวันที่ 3 – 8 พ.ย. 53 แต่คงไม่รุนแรงเหมือนกับครั้งนี้ ส่วนระดับน้ำในตัวเมืองปัตตานีทางด้านนายขวัญชาติ วงศ์ศุภรนันท์ นายอำเภอเมืองปัตตานี ได้ลงพื้นที่ดูความเสียหายน้ำท่วมบริเวณ ม.1 บ้านปะกาฮารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี เพื่อประเมินความเสียหายและเตรียมความพร้อมให้ความช่วยเหลือกับประชาชนใน พื้นที่ได้อย่างทันท่วงที และเผยว่าขณะนี้ ที่ปากาฮารัง ม.2 และม.3 น้ำกำลังเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะสูงขึ้นถึง 2 – 3 เมตร เนื่องจากน้ำจากเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา ไหลลงมายังจังหวัดปัตตานี ทำให้มีปริมาณน้ำมาก เกิดน้ำล้นตลิ่งมีประชาชนได้รับความเดือดร้อน ประมาณ 1.000 หลังคาเรือน ขณะนี้ได้เตรียมเต๊นท์ไว้บนที่สูง บนถนน เพื่อให้ชาวบ้านอพยพ นำสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น รวมทั้งสัตว์เลี้ยง มาใช้เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราว
แหล่งข่าวต้นฉบับ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สำนักข่าวฉาน : ใกล้เลือกตั้ง กองกำลังไทใหญ่ปะทะทหารพม่าต่อเนื่อง Posted: 04 Nov 2010 03:52 AM PDT ในรัฐฉานภาคใต้เกิดมีเหตุปะทะกันต่อเนื่องระหว่างทหารกองทัพพม่ากับกองกำลังไทใหญ่ SSA พบทหารพม่าเสริมกำลังเข้ารัฐฉานภาคเหนือเพิ่ม ขณะเดียวกันอดีตเจ้าพ่อค้ายาฯ ชื่อดังที่ทางการไทยจับกุมเมื่อ 30 กว่าปีก่อน ทุ่มเงินสนับสนุนหาเสียงแ่ก่พรรคชาวโกก้าง KDUP ที่ตั้งขึ้นโดยการหนุนของกองกำลังโกก้างใต้กำกับรัฐบาลทหารพม่า
ใกล้เลือกตั้ง กองกำลังไทใหญ่ปะทะทหารพม่าต่อเนื่อง
มีรายงานจากแหล่งข่าวในรัฐฉานว่า เมื่อเวลา 17.15 – 18.00 น. ของวันที่ 2 พ.ย. 53 ที่ผ่านมา ได้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารกองกำลังไทใหญ่ หรือ กองทัพรัฐฉาน SSA กับหน่วยลาดตระเวนทหารพม่าสังกัดกองพันทหารราบเบาที่ 518 บริเวณใกล้กับบ้านหนองคำ ต.ไม้ไฮ อ.เมืองนาย ส่งผลให้ทหารพม่าเสียชีวิต 1 นาย ชื่อพลทหารหร่าจ่าลิน และบาดเจ็บอีก 2 นาย คือพลทหารมินจออู และพลทหารวินหม่าห่า โดยทั้งสองถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลเมืองนาย ส่วนทหารไทใหญ่ SSA ได้รับบาดเจ็บ 1 นาย ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 53 ได้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารไทใหญ่ SSA กับทหารพม่าสังกัดกองพันทหารราบที่ 292 ครั้งหนึ่ง บริเวณใกล้เส้นทางระหว่างบ้านเมืองยอนและบ้านหนองวัว เขตอำเภอเมืองกึ๋ง ทั้งสองฝ่ายปะทะกันนานประมาณ 30 นาที ส่งผลให้ทหารพม่าได้รับบาดเจ็บ 1 นาย นอกจากนี้ เมื่อเวลาประมาณ 9.00 น. วันที่ 31 ต.ค. ทหารไทใหญ่ SSA กับทหารพม่าสังกัดกองพันทหารราบเบาที่ 510 ได้เกิดการปะทะกันในพื้นที่ตำบลเมืองยอน อ.เมืองกึ๋ง ยังผลให้ฝ่ายทหารพม่าเสียชีวิต 6 นาย บาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง ส่วนฝ่าย SSA ไม่มีรายงานการสูญเสีย ขณะเดียวกันมีรายงานจากแหล่งข่าวด้วยว่า เมื่อวานนี้ (3 พ.ย.) พบรถบรรทุกทหารพม่าสังกัดกองพล 99 จำนวน 12 คัน จากเมืองมัณฑะเลย์เข้าสู่รัฐฉานภาคเหนือ ผ่านเมืองล่าเสี้ยวมุ่งหน้าขึ้นไปทางเมืองแสนหวี โดยรถ 6 คันบรรทุกเสบียงอาหาร ส่วนอีก 6 คันบรรทุกทหารพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์เต็มคัน ขณะที่ทหารพม่าในพื้นที่ได้รับสั่งคุ้มกันขบวนรถดังกล่าวเป็นจุดๆ ตลอดเส้นทางเมืองหนองเขียว–เมืองแสนหวี
แหล่งข่าวรัฐฉานรายงานว่า นายหลอชิงหัน อดีตเจ้าพ่อยาเสพติดรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อช่วง 30 กว่าปีที่ผ่านมา ยอมทุ่มเงินสนับสนุนพรรคประชาธิปไตยและเอกภาพโกก้าง KDUP (Kokang Democracy and Unity Party) พรรคการเมืองเชื้อสายเดียวกันกับเขา และเป็นพรรคก่อตั้งโดยการสนับสนุนของกองกำลังโกก้างใต้กำกับของรัฐบาลทหารพม่า เพื่อใช้เป็นทุนในการรณรงค์หาเสียง ทั้งนี้ เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา นายหลอชิงหัน ได้เอ่ยปากสนับสนุนด้านการเงินแก่พรรค KDUP ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองล่าเสี้ยว รัฐฉานภาคเหนือ ว่า ไม่ต้องห่วงเรื่องเงินสำหรับการรณรงค์หาเสียง ต้องการเมื่อไหร่เท่าใดขอให้บอก ขณะที่พรรค KDUP กำลังมีการหาเสียงอย่างเข้มข้น โดยตั้งเป้างบประมาณในการหาเสียงไว้เมืองละ 8 ล้านจั๊ต ซึ่งพื้นที่หาเสียงของพรรคอยู่ใน 3 เมืองในรัฐฉานภาคเหนือ ได้แก่ เมืองล่าเสี้ยว เมืองแสนหวี และเมืองกุ๋นโหลง แหล่งข่าวเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ทางพรรค KDUP ได้รับมอบเงินจำนวน 24 ล้านจั๊ตจากนายหลอชิงหัน สำหรับใช้ในการหาเสียงแล้ว ขณะที่นายหลอชิงหัน เคยกล่าวกับคนสนิทว่า ประชาชนจะเลือกพรรคโกก้าง KDUP หรือ พรรค USDP (พรรคข้างรัฐบาลทหารพม่า) ไม่เป็นไร เพราะยังไงทั้งสองพรรคมีวัตถุประสงค์เดียวกัน เมื่อปี 2516 นายหลอชิงหัน เคยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยจับกุมข้อหายาเสพติดบริเวณตะเข็บชายแดนด้านจังหวัดเชียงใหม่และส่งตัวให้พม่า ต่อมาเขาได้ประกอบธุรกิจลับอยู่ใต้การดูแลของรัฐบาลทหารพม่า โดยปัจจุบันเขาเป็นเจ้าของบริษัทเอเชียเวิร์ลอยู่ในกรุงย่างกุ้ง ซึ่งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจการค้าใหญ่ติดอันดับต้นๆ ในพม่า
"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เรื่องน่ารู้ : คณิตศาสตร์จัดการน้ำหนักตัว Posted: 04 Nov 2010 01:45 AM PDT เมื่อเรเน่ เซลเวเกอร์ (Renee Zellweger) นักแสดงหญิงถูกถามถึงวิธีการเพิ่มน้ำหนักเพื่อรับบทนางสาวบริดเจ็ทโจนส์ ในภาพยนตร์เรื่อง “Bridget Jones's Diary บันทึกรักพลิกล็อค” และต้องลดน้ำหนักเมื่อถ่ายทำเสร็จ เธอกล่าวว่า ‘ใช้แค่หลักคณิตศาสตร์เท่านั้น’ พูดง่ายๆ คือ หากแคลอรีรับเข้าจากการรับประทานมากกว่าแคลอรีใช้ไป ในระยะยาว แคลอรีเหล่านี้จะเปลี่ยนรูปเป็นน้ำหนักส่วนเพิ่ม รับประทานให้น้อยกว่าพลังงานที่ต้องใช้ น้ำหนักคุณจะลดลง แท้จริงแล้วกระบวนการเผาผลาญอาหาร (เมตาโบลึซึม) คืออะไร ก่อนจะไปเรียนรู้หลักคณิตศาสตร์ที่ว่า เราจำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับกระบวนการเผาผลาญอาหาร (เมตาโบลึซึม) ก่อนเล็กน้อย เมตาโบลึซึมเป็นเพียงคำกว้างๆที่ใช้อธิบายกระบวนการทางร่างกายที่ใช้อาหารซึ่งเรารับประทานไปสร้างพลังงาน ผลผลิตขั้นสุดท้่าย (end product) ของกระบวนการเผาผลาญอาหาร(เมตาโบลึซึม)ก็คือพลังงาน ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่า กระบวนการเผาผลาญอาหาร (เมตาโบลึซึม) ใช้หน่วยวัดเดียวกับพลังงาน นั่นคือกิโลแคลอรี หรือย่อสั้นๆว่า Kcalories และมีหน่วยเป็นกิโลจูล (kJ) หากวัดตามระบบหน่วยเมตริก อัตราการเผาผลาญขั้นพื้นฐาน (BMR) เป็นแคลอรีจำนวนหนึ่งที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้เพื่อคงการทำงานที่จำเป็นสำหรับชีวิตแต่ละวันในขณะที่คนๆนั้นกำลังพักผ่อน (เช่น กิจกรรมทางสมอง การเต้นของหัวใจ การหายใจ) อัตราการเผาผลาญขั้นพื้นฐาน (BMR) โดยทั่วไปมีค่าประมาณครึ่งหนึ่งหรือมากกว่าครึ่งของแคลอรีที่คุณต้องการในแต่ละวัน โดยปกติน้ำหนักตัวคนเรามีผลไม่มากนักต่อการขึ้นลงของ BMR แต่ BMR สามารถเพิ่มขึ้นได้หากเรามีสัดส่วนกล้ามเนื้อสูงกว่าไขมันฺ นี่เป็นหนึ่งในหลายๆเหตุผลว่า ทำไมผู้ชายจึงมีการเผาผลาญอาหาร (เมตาโบลึซึม) สูงกว่าผู้หญิง นอกจากนี้ ค่า BMR ของคนส่วนมากลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ยิ่งทำให้การควบคุมน้ำหนักยากเย็นมากขี้นอีก นักค้นคว้าคิดกันว่า เมื่อเราอายุมากขึ้น การลดลงของกระบวนการเผาผลาญอาหารอาจมีสาเหตุจากการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อมากกว่าความเสื่อมตามอายุ ดังนั้นเราสามารถชะลอได้ด้วยการออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรง (Strength Training) ระดับกิจกรรมทางร่างกายก็เป็นตัวกำหนดว่าเราจำเป็นต้องใช้แคลอรีมากเพียงใด กิจกรรมทางร่างกายนี้รวมถึงกิจกรรมทุกชนิด ตั้งแต่เล่นบาสเก็ตบอลจนถึงการนั่งดูโทรทัศน์ และแน่นอนว่า กิจกรรมยิ่งหนัก ยิ่งต้องใช้แคลอรีมากขึ้น สมดุลน้ำหนักตัว นักโภชนาการส่วนมากต่างเห็นพ้องกันว่า การลดและคงรักษาน้ำหนักนั้นไม่มีอะไรลึกลับซับซ้อน จริงๆแล้วก็คือการสมดุลแคลอรีที่ร่างกายรับเข้ากับใช้ออกให้เท่ากันนั่นเอง สิ่งที่อาจจะเป็นปัญหาหน่อยก็คือการคำนวณหาจำนวนตัวเลขแคลอรีที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน และหาค่าแคลอรีในอาหารของคุณว่ามีมากน้อยเพียงใด ซึ่งในอินเตอร์เน็ตมีโปรแกรมที่ช่วยคำนวณหาแคลอรีที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน โดยใช้ฐานจากน้ำหนักตัว อายุ และกิจกรรมแต่ละวัน คุณสามารถเข้าไปใช้โปรแกรมที่ว่านี้ได้ฟรี และในเว็บไซต์ของ AFIC สามารถดูได้ที่ http://www.afic.org/Burner.htm (ฉบับภาษาอังกฤษ) หรือ http://www.caloriesperhour.com/ อาหารทุกชนิดไม่เท่าเทียมกัน เมื่อคุณระบุจำนวนแคลอรีที่จำเป็นต้องใช้ได้แล้ว ขั้นต่อไปต้องกำหนดจำนวนแคลอรีจากอาหารที่คุณต้องบริโภคในแต่ละวัน และสุดท้ายคือทำอย่างไรให้เกิดสมดุล อาหารแต่ละชนิดในปริมาณเท่ากันมี แคลอรีไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น คาร์โบไฮเดรตหรือโปรตีนปริมาณ 1 กรัมให้พลังงาน 4 แคลอรี ขณะที่ไขมัน 1 กรัมให้ 9 แคลอรี นั่นหมายความว่า หากคุณรับประทานไขมันในปริมาณเท่ากับคาร์โบไฮเดรต ความเป็นจริงก็คือคุณกำลังทานแคลอรีเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า เนื่องจากอาหารส่วนมากประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน พวกเราส่วนมากจึงต้องพึ่งพาฉลากบางประเภทเพื่อบอกเราว่า อาหารชนิดนั้นมีแคลอรีจำนวนเท่าใด สำหรับอาหารปรุงสุกหรือไม่บรรจุหีบห่อ คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลโภชนาการอาหารเอเชียหลายร้อยรายการได้จากฐานข้อมูลอาหารสมาคมโภชนาการมาเลเซีย คลิก http://www.nutriweb.org.my/ และคณสามารถตรวจสอบอาหารที่มีอยู่ทั่วโลกได้จาก http://www.nutritiondata.com ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ครอบคลุมและยังนำเสนอโปรแกรมคำนวณที่ง่ายต่อการใช้ เครื่องดื่มแต่ละวันก็เพิ่มแคลอรี ให้เราเช่นกัน ยกตัวอย่าง โค้กกระป๋องทั่วไปขนาด 8 ออนซ์ให้ 104 แคลอรี ขณะที่เบียร์กระป๋องธรรมดาขนาด 12 ออนซ์ให้ 146 แคลอรี ชานม 1 แก้วอาจมีราวๆ 100 แคลอรี หากเติมน้ำเชื่อมแต่งกลิ่น (flavoured syrup) และวิปครีม ค่าพลังงานรวมสามารถสูงได้ถึง 300-400 แคลอรี
ดังนั้นสมการตามหลักคณิตศาสตร์จึงชัดเจนว่า การรับประทานพลังงานเกินกว่าที่ต้องใช้ทำให้น้ำหนักคุณเพิ่มขึ้น, ถ้ารับประทานน้อยลง น้ำหนักก็ลดลง จำไว้ว่า โดยทั่วไปน้ำหนักจะค่อยๆเพิ่มขึ้นและใช้เวลา การรับประทานเกินกว่าวันละ 100 แคลอรีต่อวันสามารถส่งผลให้น้ำหนัก เพิ่มขึ้นปีละ 1 กิโลกรัม ในทำนองเดียวกัน การลดพลังงานจากอาหารลงวันละ 100 แคลอรี หรือใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 100 แคลอรีต่อวันก็สามารถช่วยรักษาให้น้ำหนักอยู่ตัวเช่นกัน การรับประทานน้อยลง 100 แคลอรีหรือเผาผลาญให้ได้ 100 แคลอรีนั้นไม่ต้องใช้ความพยายามมากมาย – แค่มองที่ตารางอาหารและนึกถึงกิจกรรมที่คุณจะต้องทำเพื่อเผาผลาญให้ได้ 100 แคลอรี ผู้ที่กำลังพยายามลดน้ำหนักจึงจำเป็นต้องทำกิจกรรมทางกายที่ใช้แคลอรีมากกว่าเดิมหรือรับประทานแคลอรีให้น้อยลง หรือทั้งสองอย่าง องค์การอนามัยโลกแนะนำผู้คนให้ทำกิจกรรมทางร่างกายระดับที่เหมาะสมทุกๆวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที ซึ่งนี่ไม่จำเป็นต้องหมายถึงการใช้เวลาในโรงยิมหรือทำให้เหงื่อออกนาน 30 นาที จริงๆ แล้ว กิจกรรมที่เราทำมากมายระหว่างวัน (เช่น งานบ้าน, ขึ้นลงบันได, เดิน, ทำสวน) รวมๆกันก็สามารถบรรลุเป้าหมาย 30 นาทีนี้ได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี ผู้ที่กำลังพยายามลดน้ำหนักอาจต้องทำมากกว่านั้น องค์การอนามัยโลกได้ชี้แนะถึงมาตรการควบคุมน้ำหนักว่า ให้ทำกิจกรรมทางร่างกายระดับปานกลางถึงหนัก (vigorous) อย่างน้อยวันละ 60 นาทีทุกๆวัน โดยสรุป ให้จำไว้ว่า การรักษาน้ำหนักตัวที่ดีต่อสุขภาพก็คือการทำสมการคณิตศาสตร์แบบพื้นๆ นั่นเอง นั่นคือ ควบคุมตัวเลขแคลอรีรับเข้ากับแคลอรีใช้ไปให้เท่ากัน 10 วิธีการรับประทานให้น้อยลง 100 แคลอรี 1. เลือกดื่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ขนาด 8 ออนซ์แบบไม่มีน้ำตาล 10 หนทางเผาผลาญ 100 แคลอรี 1. เดินเร็วๆ 15 นาที สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
แถลงการณ์ ม.เที่ยงคืน : ความรับผิดชอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในระยะยาว Posted: 04 Nov 2010 12:26 AM PDT 4 พ.ย. 2553 - กลุ่มมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแถลงการณ์เรื่อง "ความรับผิดชอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในระยะยาว" จากกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญถูกตั้งคำถามเรื่องความน่าเชื่อถือ สั่นคลอนความไว้วางใจของสาธารณชน โดยทางมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้แสดงความเห็นว่า "บัดนี้ความน่าเชื่อถือของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรงและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่อยู่ในสถานะที่จะทำหน้าที่ของผู้วินิจฉัยได้อย่างชอบธรรมอีกต่อไป" เนื้อความในแถลงการณ์ของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จึงเสนอขอเรียกร้องให้สังคมร่วมกันกดดันเพื่อให้เกิดการแสดงความรับผิดต่อปัญหาที่เกิดขึ้น โดยประการแรก ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคนลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดต่อปัญหาที่เกิดขึ้น และประการที่สอง คือ ให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในระยะยาว มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกล่าวในแถลงการณ์อีกว่าแม้สถาบันตุลาการจะเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตย แต่ก็ควรได้รับการตรวจสอบ และแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มิเช่นนั้นแล้วจะกลายเป็นสถาบันที่สร้างปัญหาให้กับสังคมไทยเพิ่มมากขึ้น ในทางตรงข้ามการมีสถาบันตุลาการที่เป็นอิสระและเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง จะมีส่วนอย่างสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับสังคมการเมืองไทย
แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน แม้ว่าข้อกล่าวหาต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ปรากฏในปัจจุบัน อาจยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ถึงข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร แต่ก็มีผลสั่นคลอนความไว้วางใจของสาธารณชนที่มีต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างรุนแรง ซึ่งตลอดเวลานับตั้งแต่เกิดคำถามขึ้นกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กลับไม่เคยมีการชี้แจงหรือการอธิบายที่จะช่วยสร้างความมั่นใจแก่สาธารณชนในเรื่องความเป็นอิสระ (Independence) และความเที่ยงธรรม (Impartiality) ของตุลาการแต่อย่างใด สถาบันตุลาการมีความสำคัญยิ่งต่อการวินิจฉัยข้อพิพาทต่างๆ ในสังคม ความเป็นอิสระและความเที่ยงธรรมของตุลาการเป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมั่นกับผู้คนในสังคม ว่าข้อขัดแย้งต่างๆ จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามาตรฐานทางจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการอยู่ในระดับที่สูงกว่าบุคคลหรือข้าราชการโดยทั่วไป การที่ตุลาการถูกตั้งคำถามในเรื่องของความเป็นอิสระและความเที่ยงธรรมจึงมีผลกระทบรุนแรงโดยไม่จำเป็นต้องมีการพิสูจน์ถูก-ผิด การกระทำที่มัวหมองหรือชวนให้เกิดข้อสงสัยก็ถือได้ว่าเป็นเหตุที่ทำให้บุคคลที่ดำรงตำแหน่งตุลาการไม่สมควรจะทำหน้าที่ในฐานะของผู้วินิจฉัยชี้ขาดอีกต่อไป ยิ่งในห้วงเวลาที่สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองสูงมาก ความเป็นอิสระและความเที่ยงธรรมของสถาบันตุลาการยิ่งมีความสำคัญต่อการทำให้เกิดความไว้วางใจและการยอมรับของสาธารณะต่อคำวินิจฉัยที่เกิดขึ้น หากสถาบันตุลาการถูกตั้งคำถามและปรากฏข้อสงสัยอย่างกว้างขวางดังเช่นที่ปรากฏขึ้นในปัจจุบัน ก็เป็นที่คาดหมายได้ว่าคำวินิจฉัยที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ไม่เพียงแต่จะยุติข้อขัดแย้งไม่ได้เท่านั้น หากยังอาจกลายเป็นเงื่อนไขซ้ำเติมความขัดแย้งในสังคมไทยให้ยกระดับสูงขึ้นอีกโสดหนึ่งด้วย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนมีความเห็นว่า บัดนี้ความน่าเชื่อถือของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรงและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่อยู่ในสถานะที่จะทำหน้าที่ของผู้วินิจฉัยได้อย่างชอบธรรมอีกต่อไป มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงขอเรียกร้องให้สังคมร่วมกันกดดันเพื่อให้เกิดการแสดงความรับผิดต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนี้ ประการแรก ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคนลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งสร้างความสงสัยต่อความเป็นอิสระและความเที่ยงธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจให้ความกระจ่างแก่ปัญหาดังกล่าวได้ ประการที่สอง ให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในระยะยาว เพราะถึงแม้จะมีการสับเปลี่ยนตัวบุคคลที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้ว แต่ปัญหาพื้นฐานสำคัญประการหนึ่งก็คือ สถาบันตุลาการในสังคมไทยเป็นองค์กรที่ปราศจากระบบการตรวจสอบทั้งจากสังคมและระบบการเมือง ซึ่งเมื่อปราศจากการตรวจสอบ การปฏิบัติหน้าที่ก็อาจไม่ได้ดำเนินไปบนหลักการหรือมาตรฐานที่ถูกต้องชอบธรรม สถาบันตุลาการเป็นสถาบันหนึ่งของอำนาจอธิปไตย แต่ไม่ได้มีความหมายว่าเป็นองค์กรที่พ้นไปจากการตรวจสอบและความรับผิดแต่อย่างใด ในระยะยาวจึงจำเป็นต้องสร้างระบบการตรวจสอบที่สัมพันธ์กับสังคมให้เกิดขึ้น เพื่อทำให้สถาบันตุลาการสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเที่ยงธรรมและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในสังคม หากปล่อยให้สถาบันตุลาการทำงานโดยไม่มีการตรวจสอบ ปราศจากความรับผิดชอบ และไม่มีความชอบธรรม สถาบันตุลาการจะกลายเป็นองค์กรที่สร้างปัญหาให้กับสังคมไทยเพิ่มมากขึ้น แต่การมีสถาบันตุลาการที่เป็นอิสระและเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง จะมีส่วนอย่างสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับสังคมการเมืองไทย สังคมจึงต้องตระหนักและร่วมกันผลักดันทั้งในกรณีความรับผิดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในอนาคต มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
5 องค์กรเกษตร-ชุมชน เสนอแนวทางแก้ปัญหาเยียวยาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน Posted: 03 Nov 2010 11:37 PM PDT องค์กรเกษตร-ชุมชน ร่วมเสนอแนวทางแก้ไขเยียวยาน้ำท่วมแก่รัฐบาล อาทิเช่น ให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการชดเชยความเสียหาย ปรับปรุงมาตรการรับมือและเตือนภัยน้ำท่วม แก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำโดยส่วเสริมบทบาทของชุมชนและองค์กรท้องถิ่น ทบทวนวิเคราะห์ผลกระทบจากการก่อสร้างที่กักเก็บน้ำ สนับสนุนการวิจัยพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำ เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2553 สำนักงานปฏิรูประบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร ชุมชน และสังคม (สปกช.) ภายใต้คณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมชาวนาไทย, มูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) , ชุมชนธรรมเกษตร และมูลนิธิเพื่อบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย) ได้จัดประชุมวาระพิเศษ “น้ำท่วม: ทุกข์ซ้ำเกษตรกรรมไทย – ผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมและข้อเสนอเพื่อหลุดพ้นจากวงจรวิกฤต” เพื่อประมวลความทุกข์ที่เกษตรกรประสบอยู่ และรัฐบาลอาจมองข้ามไป ตลอดจนเสนอแนะทางออกในการแก้และเยียวยาปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน ณ โรงแรมรามาการ์เด้น โดยมีข้อเสนอดังต่อไปนี้ 1. ขอเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนเกณฑ์และมาตรการในการช่วยเหลือเกษตรกรโดยยึดหลักความเป็นธรรม ความครอบคลุม และความโปร่งใส แม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตรการชดเชยความเสียหายแก่เกษตรกรในกรณีนาข้าวเพิ่มขึ้นซึ่งคิดเป็น 55 % ของต้นทุนเฉลี่ยการผลิตข้าวแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่เพียงพอต่อการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรได้ และยังไม่ครอบคลุมถึงกลุ่มเกษตรกรอื่นๆ เช่น ปศุสัตว์ เป็นต้น รวมถึงยังไม่ครอบคลุมต้นทุนความเสียหายที่แม้จริงของเกษตรกรกลุ่มต่างๆด้วย ดังนั้นจำเป็นต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์การคิดค่าชดเชยความเสียหายที่เป็นต่อเกษตรกรยิ่งขึ้น โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการกำหนดด้วย 2. การปรับปรุงมาตรการในการรับมือกับภัยน้ำท่วม ทั้งด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังและการเตือนภัย การแก้ปัญหาวิกฤติเฉพาะหน้าโดยการระดมความช่วยเหลือจากภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งจากรัฐ ควรทำอย่างเป็นระบบและประสานงานกับพื้นที่เพื่อมิให้มีผู้ตกหล่นจากการช่วยเหลือ และต้องเร่งกำหนดแนวทางการฟื้นฟูหลังน้ำลดที่เป็นรูปธรรมและสามารถปฏิบัติได้จริง โดยให้สังคมมีส่วนร่วม 3. กลไกการบริหารจัดการน้ำ ควรมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เนื่องจากเป็นที่น่าสังเกตว่าภัยน้ำท่วมในครั้งนี้เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและกินบริเวณกว้างทั้งที่ปริมาณน้ำฝน และน้ำท่าไม่ได้มากกว่าปีที่มีน้ำมากมากนัก สะท้อนปัญหาความผิดพลาดในการบริหารจัดการน้ำอย่างชัดเจน ต้องมีการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง และให้คณะกรรมการลุ่มน้ำเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการอย่างจริงจัง 4. การป้องกันภัยระยะยาว ควรดำเนินการในหลายสิ่งหลายอย่างประกอบกันอย่างเป็นระบบ เช่น การเลือกพันธุ์พืช และระบบเกษตรกรรมที่เหมาะสม การส่งเสริมการจัดปรับสิ่งปลูกสร้างบ้านเรือนให้สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ ตลอดจนการเพิ่มพื้นที่ป่าให้มากขึ้น การดำเนินนโยบายหรือมาตรการการประกันภัยพืชผลทางการเกษตร หรือการจัดการความเสี่ยงใดๆ เพื่อแก้ไขปัญหาระยะยาวอย่างเป็นระบบ และ รัฐควรสนับสนุนการวิจัยพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำโดยการสนับสนุนงบประมาณการวิจัยแก่กรมการข้าว เครือข่ายเกษตรกรและชุมชนที่ได้ริเริ่มการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองซึ่งปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกหลายพันคน มีพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำต่างๆ ที่ได้รับการคัดเลือกและรับรองพันธุ์แล้ว เช่น ปิ่นแก้ว เล็บมือนาง นางฉลอง และตะเภาแก้ว เป็นต้น โดยทำควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้เกิดศูนย์ขยายพันธุ์ข้าวชุมชน หรือวิสาหกิจชุมชนผลิตเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น และธนาคารพันธุ์พืชระดับครอบครัวและชุมชน เพื่อป้องกันปัญหาการผูกขาดเมล็ดพันธุ์โดยบรรษัท นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ข้าวทนน้ำลึกที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่ควรได้รับการสนับสนุนให้มีการดำเนินการต่อไป โดยต้องไม่นำไปสู่การโอนสิทธิในการใช้ประโยชน์จากพันธุ์ข้าวแก่ธุรกิจบางรายเท่านั้น 5. ส่งเสริมมาตรการกระจายความเสี่ยงในการผลิตโดยการประกันภัยพืชผล เนื่องจากในห่วงโซ่การผลิตทางการเกษตรนั้น ประกอบไปด้วย เกษตรกรผู้ผลิต ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการผลิต การแปรรูป การตลาด ผู้ส่งออก รวมทั้งสถาบันการเงินที่มีส่วนได้เสียกับเกษตรกร แต่เมื่อเกิดภัยพิบัติกลับมีแต่เกษตรกรที่ต้องรับภาระโดยตรงแต่เพียงผู้เดียว ผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตทางการเกษตรและอาหาร ควรมีส่วนร่วมในการจ่ายค่าประกันภัยพืชผลด้วย รวมทั้งการสนับสนุนจากรัฐบาลในด้านการเฉลี่ยจ่ายเบี้ยประกันภัย อนึ่ง การคุ้มครองภัยควรครอบคลุมภัยน้ำท่วมด้วย และขยายชนิดพืชที่ทำประกันภัยให้มากกว่าเดิม 6. การเสนอมาตรการก่อสร้างที่กักเก็บน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขื่อนขนาดใหญ่ ต้องมีการทบทวนและวิเคราะห์ผลที่จะเกิดขึ้นอย่างเข้มงวด รวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสังคม เนื่องจากมีปัญหาในการจัดการน้ำ ดังที่เห็นได้จากก่อนน้ำท่วมนั้น เขื่อนหลายเขื่อนเก็บกักน้ำไว้ถึง 90% โดยไม่ทยอยปล่อยน้ำในช่วงที่ระดับน้ำในพื้นที่ใต้เขื่อนมีไม่มาก แต่มาเร่งปล่อยน้ำช่วงที่มีปริมาณฝนหนาแน่นในทุกพื้นที่จนท่วมพื้นที่ใต้เขื่อน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงในหลายพื้นที่ นอกจากนี้การบรรเทาปัญหาน้ำท่วมอาจทำได้โดยการรื้อและปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐานที่ขวางทางน้ำหรือเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ รวมทั้งการขุดคลองผันน้ำ ตลอดจนแก้มลิง (ที่ถูกหลักวิชาการ) แต่ต้องทำภายหลังจากมีการศึกษาอย่างเพียงพอและผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการลุ่มน้ำซึ่งเป็นกลไกที่มีอยู่แล้วด้วย 7. การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและชุมชนท้องถิ่นในการจัดทำแผนรับมือภัยพิบัติระดับพื้นที่ โดย ภาครัฐควรส่งเสริมบทบาทของชุมชน และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการน้ำ ทั้งเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วมแบบบูรณาการ โดยควรให้ผู้นำของชุมชนมีส่วนร่วมพิจารณาการบริหารจัดการน้ำอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีแนวโน้มจะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนต่างๆ 8. บทบาทของนักการเมืองในการใช้งบประมาณและการตัดสินใจทำโครงการพัฒนา ทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ที่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพโดยอาศัยข้อมูล สถานการณ์ที่เป็นจริง หลักวิชาการ ในการตัดสินใจโครงการต่างๆ ภายใต้ผลประโยชน์ต่อประชาชน สังคมและประเทศชาติอย่างยั่งยืน มิใช่หวังประโยชน์เฉพาะด้านอื่นๆ เท่านั้น 9. สื่อมวลชนสามารถมีส่วนร่วมขับเคลื่อนสังคมในการแก้ไขและเยียวยาปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน โดยเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ จุดประเด็นความคิด ให้สังคมได้ทราบ และเปิดช่องทางให้ชุมชน ภาคประชาสังคม และนักวิชาการที่เป็นอิสระจากการครอบงำของรัฐและเอกชน เข้ามามีบทบาทในการร่วมมือแก้ไขวิกฤตน้ำท่วม (ฝนแล้ง) อย่างเป็นระบบ คณะผู้แถลงตระหนักว่า น้ำใจและความช่วยเหลือของคนไทยด้วยกันเองต่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมครั้งนี้เป็นความงดงามและน่าซาบซึ้งใจ แต่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคธุรกิจ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ควรได้ร่วมกันสร้างระบบกลไกเพื่อป้องกันและเยียวยาปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างยั่งยืนไปพร้อมๆ กันด้วย
3 พฤศจิกายน 2553
คณะผู้แถลง นายวิเชียร พวงลำเจียก อุปนายก สมาคมชาวนาไทย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เลือกตั้งพม่า: มุมมองและการวิเคราะห์ก่อนการเลือกตั้ง Posted: 03 Nov 2010 03:53 PM PDT เวทีเสวนาวิชาการ “การเลือกตั้งในพม่ากับหลักการแสดงออกทางความคิดเห็นของประชาชน” เตรียมพร้อมก่อน 7 พ.ย.53 กับการเลือกตั้งครั้งใหม่ในรอบ 20 ปี ของพม่า ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ ชนวนการต่อสู้ครั้งใหม่ ที่ทหารยังคงอยู่ ในการปกครองพม่า
วานนี้ (3 พ.ย.53) คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) จัดเวทีเสวนาวิชาการ เรื่อง “การเลือกตั้งในพม่ากับหลักการแสดงออกทางความคิดเห็นของประชาชน” ณ ห้องสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังจากการเลือกตั้งในประเทศพม่า รวมไปถึงทิศทางการเมืองในประเทศพม่า และผลักดันประชาคมอาเซียนและชุมชนระหว่างประเทศให้เข้าไปมีบทบาทในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น รวมทั้ง เสริมสร้างหลักการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชน นับจากการเลือกตั้งในพม่า เมื่อปี 2533 พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy: NLD) นำโดยนางออง ซาน ซูจี ได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลาย แต่กลับไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลทหารพม่า และได้ทำการควบคุมตัวและจับกุมคุมขัง ปราบปราม นักการเมือง นักกิจกรรมและประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย ล่าสุด รัฐบาลทหารพม่าประกาศให้มีการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 7 พ.ย.53 ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งที่ผ่านการพิจารณาเมื่อเดือนมีนาคม 2553 ท่ามกลางการจับตาว่าการเลือกตั้งครั้งใหม่ในรอบ 20 ปีนี้จะซ้ำรอยการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาหรือไม่ รวมถึงข้อห่วงใยต่อกระบวนการการเลือกตั้งที่สื่อให้เห็นว่าพม่ากำลังเดินทางสู่ระบบประชาธิปไตยก็ถูกตั้งคำถามถึงความโปรงใส และเป็นธรรม ถึงวันนี้ อนาคตของประชาชนในพม่าและชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ภายหลังการเลือกตั้งก็เป็นประเด็นสำคัญที่ควรต้องให้ความสนใจความเท่าเทียมทางชาติพันธุ์ ประชาธิปไตย ความยากจน ปัญหาหลักพม่าภายใต้เผด็จการทหาร โกวินเหล่ง (Ko win hlaing) อดีต ส.ส.จากพรรค NLD กล่าวใน เวทีเสวนาโดยระบุว่า การแข่งขันในการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่บริสุทธิ์ ยุติธรรม และไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ โดยจะเห็นว่าช่วงเวลาก่อนการเลือกตั้งก็ยังมีการบุกใช้กำลังของทหารพม่าเข้าโจมตีชนกลุ่มน้อยต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และเชื่อแน่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่มีวันยุติได้หลังมีการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันอย่างเด็ดขาด หากไม่มีการเจรจาอย่างเปิดเผย จริงใจอย่างแท้จริงการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าจะไม่มีวันเกิดขึ้นได้ โกวินเหล่่งกล่าวด้วยว่า ทั้งสถานการณ์ในปัจจุบันและหลังการเลือกตั้ง ตราบใดที่พม่ายังอยู่ใต้เผด็จการเขาไม่อยากจะคาดหวังมากว่าคนเหล่านั้นจะสนใจความเป็นอยู่ของประชาชน ทั้งนี้ เขาได้กล่าวถึงปัญหา 3 ข้อ ซึ่งหากไม่สามารถหาทางออกที่แท้จริงของปัญหาเหล่านี้ได้ ไม่ว่าพม่าหรือกลุ่มชาติพันธุ์ใดๆ ก็ไม่สามารถพัฒนาพม่าให้มีเสรีภาพและเสถียรภาพได้ นั่นคือ หนึ่งปัญหาความเท่าเทียมทางชาติพันธุ์ ซึ่งนับตั้งแต่ได้รับเอกราชมากกว่า 60 ปี ปัญหานี้ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข และแม้ผู้นำฝ่ายการเมืองต่างๆ ได้ตกลงกันว่าจะเดินไปด้วยกันในแนวทางสหพันธรัฐ แต่ถึงตอนนี้ก็ยังไม่เกิดขึ้น “ปัญหาช่องว่างระหว่างคนพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า เราจะหาความเข้าใจร่วมได้อย่างไร เพื่อให้เราใจร่วมกันว่าเราต่างอยู่ใต้เผด็จการทหารพม่า” Ko win haling กล่าว โดยระบุว่า คนพม่าเองก็ได้รับผลกระทบจากการปกครองโดยเผด็จการทหารพม่าเช่นกัน ปัญหาข้อต่อมา โกวินเหล่ง กล่าวถึงการลุกฮือประท้วงรัฐบาลทหารพม่าเมื่อปี 1988 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าประชาชนไม่ว่าชาติพันธุ์ไหนต่างก็ต้องการประชาธิปไตย ดังนั้นพม่าจะต้องพัฒนาประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง และปัญหาข้อสุดท้ายคือเรื่องความยากจน ซึ่งที่ผ่านมาพม่าถูกระบุว่าเป็นประเทศที่มีการพัฒนาต่ำ ล้าหลัง สำหรับเขาตอนนี้ไม่เพียงแค่ล้าหลัง แต่อยู่ภายใต้ท็อปบูตทหาร ซึ่งนำไปสู่สภาวะเลวร้ายทางเศรษฐกิจและสังคม
การเลือกตั้งรอบใหม่ใต้รัฐธรรมนูญใหม่ ชนวนการต่อสู้ครั้งใหม่ โกวินเหล่ง กล่าวถึงการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะมีขึ้นในเร็ววันนี้ว่า ที่ผ่านมาผู้นำทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยพยายามเรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่า ให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมือง เพื่อสร้างบรรยากาศในการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลพม่าไม่ยินยอม นี่แสดงถึงการต่อสู้ทางการเมืองที่จะต้องดำเนินต่อไปอีก แต่ก็ถือว่ายังดีกว่าการยอมรับที่จะอยู่ภายใต้การปกครองของทหาร นอกจากนั้นในส่วนของประเทศอาเซียนที่พยายามจะผลักดันความคิด “มีการเลือกตั้งดีกว่าไม่มี” แต่สำหรับในพม่า ส่วนตัว โกวินเหล่งเชื่อว่าการเลือกตั้งจะนำไปสู่สงคราม หรืออย่างน้อยที่สุดก็นำไปสู่เผด็จการนอกเครื่องแบบ และการต่อสู้เพื่อต่อต้านรัฐบาลและรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นธรรม ไม่มีประโยชน์จะต้องเกิดขึ้นแน่นอนในอนาคต ดังนั้นจึงรับได้ลำบากว่าการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น จะเป็นทางออกของประเทศ ขณะที่คืนใส ใจเย็น บรรณาธิการสำนักข่าวฉาน (S.H.A.N) ที่ประเมินว่า 6 เดือนแรกภายหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลงอาจยังไม่มีการต่อสู้กลางเมือง อาจจะมีการปะทะกันบ้างเล็กน้อยตางเขตชายแดน แต่หลังจากนั้นเชื่อได้ว่าจะมีการเคลื่อนกำลังโดยรัฐบาลพม่าเข้าโจมตีชนกลุ่มน้อยต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มเล็กๆ ที่อยู่ห่างไกล และมีกองกำลังไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลใหม่จะวางความสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างไร ยกตัวอย่างข้อเสนอของจีนที่ไม่ต้องการให้มีการสู้รบในเขตชายแดนที่ติดกับจีน ซึ่งจะทำให้การปะทะบริเวณดังกล่าวลดลง และในส่วนไทยเองก็อาจมีข้อเสนอเช่นเดียวกันนี้ด้วย หลังจากที่มีการไปเยือนพม่าของนายกรัฐมนตรีไทย บรรณาธิการสำนักข่าวฉาน กล่าวในส่วนการเปลี่ยนแปลงกลุ่มกองกำลังติดอาวุธต่างๆ ภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งตามรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดของพม่าได้กำหนดให้พม่ามีกองกำลังเดียวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลพม่าได้ประกาศให้กองกำลังชนกลุ่มน้อยต่างๆ ต้องแจ้งภายในวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมาว่าจะปรับเปลี่ยนให้เป็นกองกำลังปกป้องชายแดน (Border Guard Force: BGF) โดยภายหลังจากนั้นจะถูกประกาศจากรัฐบาลให้เป็นกองกำลังเถื่อน หากไม่ยอมรับก็ต้องต่อสู้ต่อ ทั้งนี้ ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ในพม่าต่อสู้เพราะต้องการ “ข้อตกลงปางโหลง” ซึ่งมีหลักประกันสิทธิ 3 ประการ คือสิทธิในการปกครองตนเอง ประชาธิปไตย และการมีสิทธิเสรีภาพ หากรัฐบาลไม่ยอมรับข้อตกลงดังกล่าว กลุ่มชนกลุ่มน้อยต่างๆ ก็ไม่จำเป็นต้องรับข้อตกลงจากสภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (The State Peace and Development Council: SPDC) หรือรัฐบาลทหารพม่า
ประเมินพรรคฝ่ายหนุนทหารมาวินชนะการเลือกตั้ง แบ่งเค้กเก้าอี้ฝ่ายนิติบัญญัติ ด้าน สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์ เดอะเนชั่น กล่าวในมุมมองของสื่อมวลชนต่อการเลือกตั้งในพม่าว่า ในส่วนตัวการเลือกตั้งครั้งนี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นอยู่เรื่องเดียวคือ 20 ปีมีครั้ง และมองว่าเป็นเพียงการจัดสรรเก้าอี้ฝ่ายนิติบัญญัติ ระหว่างพรรคที่สนับสนุนทหารฝ่ายต่างๆ โดยที่พรรคอย่าง NLD และ SNLD (พรรคสันนิบาตแห่งชาติฉานเพื่อประชาธิปไตย -Shan National League for Democracy: SNLD) ไม่ได้มีส่วนร่วมในการเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย สุภลักษณ์ ให้ข้อมูลต่อมาว่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีเพียง 42 พรรคที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งได้ แต่ในจำนวนนี้มี 5 พรรค ที่ส่งผู้ส่งสมัครไม่ครบตามกำหนดขั้นต่ำ คือ 3 คน จึงถูกยุบไป และในจำนวนพรรคที่เหลือมีพรรคที่ส่งผู้สมัครเกิน 100 คน เพียง 4 พรรค เท่านั้น คือ พรรคสหภาพเพื่อเอกภาพและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Party: USDP) ซึ่งเดิมดำเนินการในรูปสมาคมสหภาพเพื่อเอกภาพและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Association: USDA) ที่มีสมาชิกกว่า 25 ล้านคน และคาดว่าเป็นพรรคที่มีโอกาสชนะการเลือกตั้งมากที่สุด เพราะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งมากที่สุด พรรคที่ส่งผู้สมัครลงแข่งขันมากเป็นอันดับต่อมาคือ พรรคเอกภาพแห่งชาติ (National Unity Party: NUP) ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า ของนายพลเนวิน ที่เคยแพ้การเลือกตั้งปี 2533 ได้ที่นั่งเพียง 10 ที่นั่ง ทั้งนี้ บทเรียนจากการพ่ายแพ้ทางการเมืองในครั้งนั้นทำให้รัฐบาลทหารพม่า ร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จก่อนการเลือกตั้ง โดยเขียนป้องกันไม่ให้คู่แข่งทางการเมืองอย่างนางอองซาน ซู จี ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีได้ ทั้งนี้ พรรค USDP และ พรรค NUP ถือเป็นคู่แข่งกันในการเลือกตั้งครั้งนี้ แม้จะนิยมทหารเหมือนๆ กันแต่ก็เป็นทหารคนละกลุ่ม แนวโน้นจึงนำไปสู่การจัดสรรอำนาจระหว่างพรรคที่นิยมทหาร ฝ่ายไหนที่หนุนทหารที่กำลังอยู่ในอำนาจก็มีแนวโน้มจะมีที่นั่งมากกว่า ส่วนพรรคที่สุภลักษณ์ คาดว่าจะเข้ามาเป็นฝ่ายค้านคือ พรรคประชาธิปไตยแห่งชาติไทใหญ่ (Shan Nationalities Democratic Party: SNDP) ซึ่งส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งมากเป็นอันดับ 4 โดยสาเหตุที่ไม่ใช่พรรคการเมืองอันดับ 3 ที่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง อย่างพรรคพลังประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Democratic Force: NDF) เพราะพรรค NDF ตั้งอยู่ในเขตเมือง จึงโดนพรรคใหญ่ประกบ ในขณะที่พรรค SNDP เป็นพรรคที่อยู่ในพื้นที่ชนกลุ่มน้อย ซึ่งเป็นจุดบอดของพรรคฝ่ายรัฐบาล อย่างไรก็ตาม จากรายงานข่าวที่ผ่านมา ทางการพม่าได้ประกาศพื้นที่ปลอดการเลือกตั้งในรัฐฉาน โดยให้เหตุผลว่าไม่ปลอดภัย ทำให้ผู้สนับสนุนพรรค SNDP บางส่วนไม่มีโอกาสออกเสียงเลือกตั้ง ทั้งนี้ จากรายงานข่าวเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา รัฐบาลทหารพม่าได้ประกาศจะไม่จัดการเลือกตั้ง ในพื้นที่ 33 อำเภอ ของรัฐคะฉิ่น, คะเรนนี, กะเหรี่ยง, มอญ และรัฐฉาน ครอบคลุมพื้นที่ 3,400 หมู่บ้าน และประชากรกว่า 1.5 ล้านคน โดยให้เหตุผลว่าความไม่สงบในพื้นที่ จะทำให้ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้อย่างโปร่งใส บริสุทธิ์ และยุติธรรม
ทหารยังคงอยู่ ในการปกครองพม่า สุภลักษณ์ กล่าวว่า จากจำนวนที่นั่งในสภาพม่า ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1.สภาประชาชน 2.สภาแห่งชาติ และ 3. สภาท้องถิ่น มีการระบุโควตาโดยรัฐธรรมนูญให้ผู้ที่มานั่นในสภาไม่ต้องจากการเลือกตั้งราว 25 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกฝ่ายนิติบัญญัติที่แทบไม่มีความสัมพันธ์กับฝ่ายบริหาร และผู้ที่จะปกครองอำนาจทั้งหมดในพม่า คือประธานาธิบดี ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการเลือกของสมาชิกสภา โดยมีอำนาจในการปกครอง การทำข้อตกลงระหว่างประเทศ เป็นประธานสภาความมั่นคง และไม่รับผิดชอบต่อสภาและศาลใดๆ ซึ่งเป็นผลให้ไม่สามารถตรวจสอบการทำงาน ยกเว้นกรณีที่ถูกปลดออกจากสภาโดยเสียง 2 ใน 3 ส่วน นักข่าวอาวุโส แสดงความเห็นว่า การเลือกตั้งไม่ได้เปลี่ยนการเมืองพม่า เพียงแต่ปรับรูปโฉมการปกครองของทหารให้เสียงบางส่วนมาจากการเลือกตั้ง โดยสภามีอำนาจหน้าที่เพียงออกกฎหมายและลงชื่อรับรอง ส่วนการแต่งตั้งรัฐมนตรีนั้นมาจากการเลือกของประธานาธิบดีซึ่งอาจเป็นผู้ที่มาจากสภา (ได้รับการเลือกตั้ง) หรือไม่ก็ได้ อีกทั้งยังกำหนดให้รัฐมนตรีต้องอายุ 40 ปีขึ้นไป ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่มีโอกาสเข้าร่วม ต่อคำถามเรื่องผลของความพยายามคว่ำบาตรการเลือกตั้ง สุภลักษณ์ วิเคราะห์ว่า การคว่ำบาตรนั้นปัจจุบันมีผลในทางจิตวิทยา โดยทำให้หลายประเทศเห็นว่าการเลือกตั้งมีความไม่บริสุทธิ์ยุติธรรมแต่ผลของมันไม่สามารถทำลายการเลือกตั้งลงได้จริง และในวันเลือกตั้งหากรัฐบาลสามารถเกณฑ์คนมาลงคะแนนได้มาก ฝ่ายที่ต่อต้านการเลือกตั้งจะตอบคำถามได้ลำบากในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนบทบาทของประชาคมอาเซียนต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ สุภลักษณ์กล่าวว่า อาเซียนไม่มีการสังเกตการเลือกตั้งที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกระบวนการสำรวจก่อนการเลือกตั้งซึ่งสำคัญยิ่งกว่าวันเลือกตั้ง ทั้งนี้ มีการพูดถึงข้อสังเกตว่าการเลือกตั้งครั้งนี้อาจมีความไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม แต่กลับไม่มีการดำเนินการใดๆ เลย ทั้งนี้ ชุมชนระหว่างประเทศทั้งอาเซียน และยูเอ็น ต่างมองพม่าด้วยความเป็นห่วง แต่ก็ไม่มีปฏิบัติการเพื่อให้พม่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น สุภลักษณ์กล่าวด้วยว่า หลังการเลือกตั้ง หากชาติต่างๆ ยอมรับรับรอง รัฐบาลใหม่ของพม่าจะมีการติดต่อกับต่างชาติมากขึ้น และมีความมั่นใจมากขึ้นในการติดต่อกับชาติต่างๆ เชื่อว่าจะไม่มีการปิดประเทศมากไปกว่านี้ โปสเตอร์ที่เผยแพร่ในงานเสวนา: This poster is a result of the Regional Strategy Meeting attended by activists from 20 countries. Photo courtesy of Thierry Falise สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น