โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

ประมวลภาพคนเสื้อแดงรำลึก 6 เดือน 10 เมษา

Posted: 10 Oct 2010 12:58 PM PDT

10 ต.ค.53 ช่วงเช้ากลุ่มคนเสื้อแดงจัดพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมเดือน เม.ย.และ พ.ค. ส่วนช่วงเย็นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลุ่มวันอาทิตย์สีแดงจัดกิจกรรมจุดเทียนรำลึกเหตุการณ์ 10 เมษา

เวลา 10.00 น.ที่ลานพระรูป ร.6 สวนลุมพินี กลุ่มคนเสื้อแดงจัดพิธีทำบุญถวายภัตตาหารพระสงฆ์ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือน เม.ย.และ พ.ค.ที่ผ่านมา

ตัวแทนผู้จัดงานกล่าวว่า กิจกรรมนี้เกิดจากการสื่อสารกันของคนเสื้อแดงผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยมีความคิดตรงกันว่าอยากจัดพิธีทำบุญตามความเชื่อแบบพุทธ และเชื่อว่าไม่มีผู้มีอำนาจคนไหนจะห้ามการทำบุญหรือห้ามไม่ให้ประชาชนสวมใส่เสื้อสีแดงได้ และกิจกรรมจะยังคงมีต่อไปจนกว่าความยุติธรรมจะเกิดขึ้น และการที่มีผู้เสียชีวิตร่วมร้อยคน นั้นเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีผู้รับผิดชอบ

เวลา 11.15 น. ผู้ที่มาร่วมพิธีทำบุญตั้งแถวพร้อมพวงหรีดและภาพถ่ายขนาดใหญ่ของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ก่อนจะเคลื่อนขบวนมายังทางขึ้นลงสถานีรถไฟใต้ดินสีลมบริเวณที่ เสธ.แดงถูกลอบยิงเสียชีวิต จากนั้นมีการวางพวงหรีดและดอกกุหลาบแดงที่หน้าภาพถ่ายของ เสธ.แดงเพื่อแสดงความอาลัยและรำลึกถึงการจากไป ก่อนที่จะแยกย้ายออกจากบริเวณดังกล่าว
ส่วนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อผู้สื่อข่าวเดินทางมาถึงในเวลา 13.00 น. พบว่ามีกลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนมากมารวมตัวกันอยู่ที่รอบฐานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและบนทางเท้าทั้ง 2 ฝั่งของถนนราชดำเนินจนการจราจรเริ่มติดขัด มีการนำผ้าแดงเป็นเส้นยาวมาผูกโยงกันในลักษณะคล้ายแหหรือใยแมงมุมทอดคลุมพื้นที่โดยรอบของฐานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และมีการร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนาน ส่วนบริเวณโดยรอบมีการจำหน่ายสินค้าต่างๆ ของคนเสื้อแดง และการเขียนไปรษณียบัตรถึงแกนนำ

เวลาประมาณ 14.40 น.กลุ่มญาติผู้เสียชีวิตนำภาพถ่ายของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 10 เม.ย.มาจัดวางที่บริเวณด้านหน้าของ ร.ร.สตรีวิทยา มีผู้สนใจมายืนชมและร่วมพูดคุยจำนวนมาก

ในเวลา 16.00 น.เจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมโล่พลาสติกเดินแถวแทรกเข้ามาในกลุ่มคนเสื้อแดงซึ่งอยู่บนผิวถนนราชดำเนินทั้งสองฝั่ง และมีการเจรจาเพื่อขอเปิดช่องการจราจรฝั่งละหนึ่งช่องทาง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากคนเสื้อแดงที่เดินทางมาร่วมกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดงมีเป็นจำนวนมาก จนทำให้การจราจรถูกปิดลงโดยปริยาย

เวลาประมาณ 17.00 น.นายสมบัติ บุญงามอนงค์ แกนนอนจากกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง เดินทางมาถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดงรำลึก 6 เดือนเหตุการณ์ 10 เมษายน โดยนายสมบัติแสดงการคารวะผู้เสียชีวิตด้วยการจุดธูปสีแดงขนาดใหญ่ปักลงในกระถางธูปซึ่งวางอยู่ด้านหน้าภาพถ่ายของผู้เสียชีวิต จากนั้นผู้ร่วมกิจกรรมได้จุดธูปเซ่นไหว้เพื่อแสดงการคารวะผู้เสียชีวิตด้วยเช่นกัน

เวลา 18.00 น.เศษ นายสมบัติและคนเสื้อแดงร่วมกันจุดเทียนแดงและร่วมกันร้องเพลงนักสู้ธุลีดิน จากนั้นนายสมบัติกล่าวกับผู้ร่วมกิจกรรมว่า เหตุการณ์ 10 เม.ย.ผ่านมา 6 เดือน และตนได้มาร่วมจุดเทียนเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตแล้ว 5 ครั้ง ดังนั้นเมื่อถึงวันที่ 10 ของเดือนต่อๆ ไปไม่จำเป็นต้องมีการประกาศว่าจะมีกิจกรรม แต่ขอเชิญชวนให้มามาร่วมพิธีพร้อมกันโดยนำเทียนขนาดเล็กมาด้วย นอกจากนี้นายสมบัติกล่าวด้วยว่ากิจกรรมในวันนี้ไม่ได้ต้องการเพื่อกดดันหรือมีความคาดหวังใดๆ ต่อรัฐบาล แต่ต้องการให้เหตุการณ์ 10 เม.ย.เป็นที่จดจำของประชาชน และเป็นบทเรียนของสังคมที่จะไม่เกิดขึ้นอีก
 

บรรยากาศการทำบุญที่บริเวณสวนลุมพินีในช่วงเช้า

000

กิจกรรมรำลึกถึงผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ทหารใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมวันที่ 10 เม.ย. 2553บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

000

ผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุสลายการชุมนุมวันที่ 10 เม.ย.ข้าร่วมกิจกรรม

000

กิจกรรมจุดเทียนแดงเพือรำลึกถึงผู้เสียชีวิต

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มุสลิมในประเทศอาเซียนกับการศึกษา : เปลี่ยนแปลงจากภายในผ่านการศึกษา

Posted: 10 Oct 2010 09:56 AM PDT

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ

(สุบหานะฮูวะตะอาลา) ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลกขอความจำเริญและสันติจงประสบแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด   ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุก
 
ด้วยโครงการปฏิรูปหลักสูตรโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ส่วนของประเทศไทย (CRP-Project), (ซึ่งผู้เขียนเป็นคณะทำงานร่วมอยู่ด้วย) ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน, ร่วมกับUniversity Sains Malaysia, The Centre of Muslim World Policies, วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ได้ประชุมวิชาการนานาชาติThe 1st AMRON International Conference Entitled “ASEAN Islamic Education: Change from within through Education”ระหว่างวันที่ 2 - 3 ตุลาคม 2553 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
 
การจัดประชุม นานาชาติ AMRON ครั้งนี้ภายใต้หัวข้อ "มุสลิมในประเทศอาเซียนกับการศึกษา : เปลี่ยนแปลงจากภายในผ่านการศึกษา" ซึ่งมีวัตถุประสงค์1. เพื่อให้ผู้ที่สนใจต่อประเด็นการพัฒนาการศึกษาอิสลามศึกษาจากภายในประเทศและนานาชาติได้มารวมกันบนเวทีวิชาการ2. กระตุ้นวงการศึกษาอิสลามศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน ให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจด้านอิสลามศึกษา และแบ่งปันประสบการณ์ตรงจากการจัดการศึกษา ระหว่างบุคลากรทางการศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจจากทุกชนชาติ ศาสนา ทั้งภาครัฐและเอกชน3. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษา นักเรียน และผู้สนใจได้เรียนรู้หลักคิด และแนวปฏิบัติในการพัฒนาอิสลามศึกษาในลักษณะที่เป็นองค์รวม และสามารถนำความรู้ประยุกต์สู่แนวนโยบายของสถาบันได้และ4. ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของทีมงานวิจัยด้านอิสลามศึกษา ระหว่างเครือข่ายโรงเรียนอิสลาม องค์กร มหาวิทยาลัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ที่จะนำสู่ความเข้าใจและสันติร่วมกันทั่วทั้งกลุ่ม ประเทศอาเซียน
 
จากวัตถุประสงค์ดังกล่าวพบว่า
 
1.    ผู้เข้าร่วมประชุม
ผู้บริหาร อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา บุคลากรในสถาบันการศึกษา โรงเรียน และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนและผู้สนใจทั่วไปจากประเทศไทยกว่า 2000 คน ขณะที่นักวิชาการจากกลุ่มประเทศอาเซี่ยนเข้าร่วมกว่า 50 คนได้นำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆเช่น
·       ประวัติศาสตร์ของการศึกษาในอิสลาม (Historical aspects of Islamic education)
·       หลักพื้นฐานทางการศึกษาอิสลามศึกษา (Fundamentals of Islamic education)
·       การศึกษาอิสลามและบทบาทในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับโลกกว้าง (Islamic education and its roles and social interactions)
·       การบูรณาการการศึกษาอิสลามเข้ากับระบบการศึกษากระแสหลัก (Integrating Islamic education into the main stream educational system)
·       กระบวนการและวิธีการในการศึกษาอิสลาม (Islamic educational methodologies)
·       การศึกษาอิสลามเพื่อความสันติและเสถียรภาพในพื้นที่ (Islamic education for peace and regional stability)
·      การบริหารจัดการการศึกษาอิสลามและสถาบันสอนศาสนาอิสลาม (Management in Islamic education and Islamic schools)
·       จิตวิทยาของการศึกษาอิสลาม (Psychological aspects of Islamic education)
·       กลวิธีในการเรียนรู้ในการศึกษาอิสลาม (Learning methodologies in Islamic education)
·       มุมมองทางด้านเศรษฐกิจ-สังคมในการศึกษาอิสลาม (Socio-economical aspects of Islamic education)
·       นวัตกรรมทางการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 
 
2.    มติร่วมกันในประเด็นดังต่อไปนี้
 
            2.1.มุสลิมในประเทศอาเซียนกับการศึกษา
ประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นที่พำนักของมุสลิมที่เป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (มากกว่า 260 ล้านคน) สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ การขยายตัวของอิสลามในแถบนี้ ซึ่งได้เริ่มต้นอย่างชัดเจนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 มาจนกระทั่งปัจจุบัน เป็นไปอย่างสันติ ค่อยเป็นค่อยไปและมีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนที่อื่นเลย ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของการขยายตัวของอิสลามและมุสลิมในแถบนี้ก็คือ การเผยแผ่ศาสนาที่เน้นระบบการศึกษาที่ไม่เป็นทางการ มีการดัดแปลงให้เข้ากับพื้นที่ และการปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ซึ่งรู้จักกันในนาม ปอเนาะ ถึงแม้ว่ากระแสโลกในปัจจุบันซึ่งเป็นผลพวงของความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การติดต่อสื่อสารที่ไร้พรหมแดน ทำให้เป็นที่ยอมรับกันว่ามีเพียงระบบการศึกษาสมัยใหม่เท่านั้นที่สามารถรองรับภาระในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ได้ แต่สำหรับบริบทของมุสลิมแล้ว ระบบการศึกษาแบบปอเนาะยังคงดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และกลับมีการเติบโตขยายตัวในอัตราที่สูงมากในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา
 
2.2 หลักการและความสำคัญของการประชุมวิชาการ AMRON
ในโลกที่ไร้พรหมแดนซึ่งมีการแข่งขันในเรื่องต่างๆ ในการดำเนินชีวิตมนุษย์ เช่น เศรษฐกิจ การเมือง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเรื่องอื่นๆแทบทุกเรื่อง ถึงแม้ว่าระบบการศึกษาแบบดั้งเดิมของมุสลิม (ปอเนาะ) จะมีลักษณะพิเศษหลายอย่าง ที่เมื่อประกอบเข้าด้วยกัน จะสามารถสร้างความเป็นเอกภาพและสร้างเข้มแข็งให้กับชุมชนมุสลิมได้จากภายในชุมชนเอง ระบบการศึกษาแบบปอเนาะจึงเป็นเสมือนพลังที่ซ่อนเร้นของชุมชนมุสลิมตลอดระยะเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา แต่เมื่อวิวัฒนาการของโลกได้ทำให้บริบททางสังคมได้เปลี่ยนไปอย่างมาก ถ้าจะให้สามารถขับเคลื่อนมุสลิมต่อไปเพื่อให้ผ่านศตวรรษนี้และถัดๆ ไปได้อย่างราบรื่น จำเป็นที่ระบบการศึกษาแบบดังเดิมนี้จะต้องถูกปรับเปลี่ยนให้มีการเปิดกว้างมากขึ้น บูรณาการเข้ากับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี รวมทั้งจะต้องใช้กระบวนการเรียนรู้สมัยใหม่มากขึ้น การขยายตัวและความนิยมในการส่งบุตรหลายเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่เห็นได้อย่างชัดเจนในเร็วๆนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความหวังและความเชื่อมั่นของมุสลิมที่มีต่อระบบการศึกษาที่มีการบูรณาการศาสนาเข้าไปอย่างเข้มข้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะแก้ปัญหาทางด้านศีลธรรมที่รุนแรงและเรื้อรังอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีผลกระทบอย่างรุนแรงแม้แต่กระทั่งในสังคมมุสลิมที่ยึดมั่นในแนวคิดและวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมอย่างเหนียวแน่นก็ตาม
 
การขยายตัวอย่างดอกเห็ดของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามซึ่งพัฒนามาจากปอเนาะที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในเร็วๆนี้ ไม่เพียงแต่เป็นอาวุธสำคัญในการเผชิญหน้ากับปัญหาความเสื่อมโทรมทางด้านศีลธรรมโดยรวม แต่อีกมุมหนึ่งกลับได้สร้างสุญญากาศของคุณภาพการศึกษาขึ้นมาพร้อมๆ กัน ซึ่งจะต้องได้รับการเยียวยาอย่างเร่งด่วน ทั้งด้วยมาตรการระยะสั้นและระยะยาว โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังของสังคมได้ทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านบุคลากรที่ผ่านกระบวนศึกษาที่มีเชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือได้ผ่านการฝึกอบรมเพื่อเตรียมเป็นผู้สอนที่มีประสิทธิผล หลักสูตรที่เหมาะสมกับบริบทผู้เรียนและกระแสของโลกปัจจุบัน กระบวนการเรียนการสอนสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นต้น ในความพยายามที่จะแก้ปัญหาอันเนื่องจากการพัฒนาที่ไม่สมดุลนี้ ได้มีนักวิจัยจำนวนมากกำลังศึกษาวิจัยเพื่อให้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับธรรมชาติของการศึกษาในสังคมมุสลิม และเพื่อจะสามารถนำเสนอแนวทางในการพัฒนาการศึกษาในสังคมมุสลิมอย่างเป็นรูปธรรม การสนับสนุนจากภาครัฐและแหล่งเงินทุนวิจัยอื่นๆที่ต่อเนื่องและเพียงพอตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดการสะสมขององค์ความรู้ ประสบการณ์ ทั้งที่เป็นแบบอย่างของความสำเร็จและความล้มเหลว เกิดขึ้นอย่างมาก ขณะนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่จะต้องนำความรู้ที่กระจัดกระจายเหล่านี้ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์สังเคราะห์ให้เป็นต้นแบบของการพัฒนาการศึกษาในสังคมมุสลิมที่มีคุณภาพและมีความยั่งยืน และที่สำคัญไปยิ่งกว่านั้นก็คือ ความพยายามที่จะค้นหาว่า ทำอย่างไรที่จะสามารถสร้างสรรค์การศึกษาที่เชื่อมโยงกับศาสนาอิสลาม เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกันระหว่างกลุ่มชนที่มีความแตกต่างทางด้านศาสนา และเพื่อที่จะวางรากฐานความสันติและกลมกลืนในการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนตลอดไป
 
3. ข้อเสนอของ CRP –PROJECT
               จากการดำเนินโครงการปฏิรูปหลักสูตรโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ส่วนของประเทศไทย (CRP-Project), (ซึ่งผู้เขียนเป็นคณะทำงานร่วมอยู่ด้วย)ตลอดระยะเวลา ๓ ปี ได้สรุปผลต่อที่ประชุมว่า “การศึกษาควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อการเจริญเติบโตอย่างสมดุลของบุคลิกภาพมนุษย์ โดยการฝึกฝนทางจิตวิญญาณ ความคิด เหตุผล ความรู้สึก และประสาทสัมผัส    ควรมุ่งเน้นให้มนุษย์เจริญเติบโตไปในทุกๆ ด้าน เช่น ด้านจิตวิญญาณ สติปัญญา การจินตนาการ สรีระ วิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ทั้งปัจเจกบุคคล และส่วนรวมแล้วโน้มน้าวด้านต่างๆ เหล่านี้ ไปสู่ความดีงาม และการบรรลุถึงความสมบูรณ์แบบ ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการศึกษาคือ การยอมจำนนต่ออัลลอฮฺอย่างสิ้นเชิง ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล สังคม และ มนุษยชาติ
 
ซึ่งสอดล้องกับจุดมุ่งหมายการศึกษาของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ในมาตราที่ ๖   “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อให้คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”
                       
ความสมดุล และ ความสมบูรณ์ของมนุษย์เป็นประเด็นหลักของจุดมุ่งหมายทั้งสองนี้จะเกิดขึ้นได้นั้นควร มุ่งเน้นการจัดการศึกษาภายใต้แนวคิดอิสลามานุวัตรองค์ความรู้( Islamization of Knowledge) ซึ่งสามารถบูรณาการอิสลามในทุกองค์ความรู้ผ่านการทบทวนรายวิชาที่จัดสอนในหลักสูตร ปฏิรูปหลักสูตร โดยยึดหลักการข้างต้นพร้อมกับจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาตามแนวคิดดังกล่าว ในขณะเดียวกันทางโครงการได้เสนอรูปแบบหรือ Model ต้นร่าง การบูรณาการโครงสร้างหลักสูตร ตามแนวคิดของ CRP-PROJECT ดังนี้
 
 
 

 
บูรณาการอิสลามทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
-                     กลั่นกรองเนื้อหาทุกกลุ่มสาระ โดยครูผู้สอนสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์เนื้อหา และแยกแยะได้ว่าส่วนใดที่ไม่ตรงกับหลักการศาสนาอิสลาม และความจริงที่ถูกต้องเป็นอย่างไร
-                     บูรณาการบรรยากาศในโรงเรียนและในห้องเรียนเป็นบรรยากาศแบบอิสลามเต็มรูปแบบ
-                     บูรณาการโครงสร้างหลักสูตร
-                     บูรณาการเนื้อหาวิชา
-                     บูรณาการตำราเรียน/และสื่อการจัดการเรียนรู้
-                     บูรณาการกิจกรรมการจัดการเรียนรู้
 
        
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักปรัชญาชายขอบ: พรรคการเมืองใหม่ต้องต่อสู้ทางความคิด!

Posted: 10 Oct 2010 09:37 AM PDT

 
 
พอ คำนูณ สิทธิสมาน เขียนบทความเรื่อง “ความรุนแรงและการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์” ที่ระบุว่า “การต่อสู้ในเชิงสัญลักษณ์ของสมบัติ บุญงามอนงค์ อันตรายกว่า!” เช่นไปรณรงค์ที่อยุธยาเพื่อที่จะโชว์ป้าย “(สะพาน)ปรีดี พนมยงค์” ลงหน้า 1 จัดรณรงค์สารพัดรูปแบบที่ “ราชประสงค์” !ปล่อยลูกโป่งสีแดงในนามของกิจกรรม “ฟ้องฟ้า” หรือ “เขียนจดหมายถึงฟ้า” ! แล้วยังมีหนังสือพิมพ์รายวันและหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ชั้นนำที่เลือกพาดหัวเลือกพาดหน้าปกอย่างมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ และสรุปท้ายบทความว่า “ขับเคลื่อนประเทศไปแบบนี้พอมองเห็นอนาคต เป็นอนาคตที่น่ากลัว!” <1>
 
แล้ววันถัดมา สำราญ รอดเพชร กับ สุริยะใส กตะศิลา ก็ออกมาแถลงข่าวด้วยท่วงทำนองเดียวกันว่า การเคลื่อนไหวของสมบัติอาจกระทบสถาบัน แล้วก็โยงเหตุระเบิดต่างๆ ในช่วงนี้ทำนองว่าเป็นการเคลื่อนไหวอีกรูปแบบหนึ่งของคนเสื่อแดงที่คู่ขนานกันไปกับการเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ พร้อมกับเรียกร้องให้ทหาร ตำรวจ รัฐบาลใช้ความเด็ดขาดในการจัดการ<2>ไม่ต้องพูดถึง “ตัวพ่อ” อย่างสนธิ ลิ้มทองกุล ที่เล่นบทแบบนี้มาตลอดอยู่แล้ว
 
ปัญหาคือ ถ้าพันธมิตร หรือพรรคการเมืองใหม่ ไม่ดึงสถาบันกษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการเมือง จนกระทั่งนำมาสู่รัฐประหารล้มรัฐบาลพรรคเดียวครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย แล้วก็เรื่อยมาจนเกิดเหตุการณ์เมษา–พฤษภา 53 คนเสื้อแดงก็คงไม่มีการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์
 
คือมันมีการนำสัญลักษณ์มาสร้างความชอบธรรมในการต่อสู้ทางการเมืองก่อนโดยพันธมิตร แล้วก็บานปลายมาสู่การนองเลือด การต่อสู้เชิงสัญลักษณ์เพื่อโต้ตอบโดยคนเสื้อแดงจึงเกิดขึ้น!
 
แต่ประเด็นสำคัญคือ การต่อสู้โดยใช้สัญลักษณ์ หรือเชิงสัญลักษณ์ดังกล่าว ย่อมมีความคิดหรือ “อุดมการณ์” บางอย่างรองรับอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าความคิดหรืออุดมการณ์ของคนเสื้อแดงตรงๆ เลยก็คือ ต้องการประชาธิปไตยที่มีความเป็นธรรมในการต่อรองอำนาจทางการเมือง หรือประชาธิปไตยที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของอำนาจ เจ้าของประเทศเท่าๆ กัน 1 คน 1 เสียงเท่ากัน
 
พูดอย่างสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ก็คือ เป็นประชาธิปไตยตามเจตนารมณ์ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี 2475 ที่เปลี่ยนอำนาจจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นอำนาจของประชาชน สถาบันกษัตริย์มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญกำหนด หมายความว่ามีอำนาจตามที่ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจให้ความยินยอม อำนาจของสถาบันกษัตริย์จึงต้องยึดโยงอยู่กับอำนาจของประชาชน
 
คือเป็นสถาบันที่ประชาชนยินยอมให้ใช้อำนาจแทน ทางการบริหารประเทศโดยผ่านรัฐบาลที่ประชาชนเลือก อำนาจนิติบัญญัติผ่านสภา และอำนาจตุลาการผ่านศาล
 
ซึ่งการใช้อำนาจต่างๆ นั้นจะต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการที่จะต้องรับผิดชอบต่อการใช้อำนาจนั้นด้วย ฉะนั้น พระราชอำนาจในระบอบประชาธิปไตย ย่อมไม่ใช่อำนาจส่วนตัวของ “บุคคล” หรือก ลุ่มบุคคลใดๆ ที่อยู่เหนือ หรือเป็นอิสระจาก หรือไม่ขึ้นต่อ “อำนาจของประชาชน!”
 
การต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ของคนเสื้อแดง ก็เพื่อที่จะยืนยันความคิดดังกล่าวนั้น คือความคิดหรืออุดมการณ์ประชาธิปไตยที่สถาบันกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ หรือสถาบันกษัตริย์ใช้อำนาจแทนประชาชน 3 ทางดังกล่าว สถาบันกษัตริย์ไม่มีอำนาจเหนือประชาชน หรือไม่มีอำนาจเฉพาะที่ไม่ขึ้นต่อความยินยอมของประชาชน
 
ถ้าถามว่า การต่อสู้เชิงสัญลักษณ์เพื่อยืนยันความคิด หรืออุดมการณ์ดังกล่าวนี้ จะนำไปสู่อนาคตที่น่ากลัวไหม? ก็ต้องถามกลับว่าอนาคตที่น่ากลัวคืออะไร? ถ้าอนาคตที่น่ากลัวคือความเป็นประชาธิปไตย มันก็น่ากลัวสำหรับคนที่กลัวความเป็นประชาธิปไตย คนเสื้อแดงต้องการประชาธิปไตยที่อำนาจต้องเป็นของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ ถ้าใครจะเห็นว่าอนาคตของประเทศที่เป็นประชาธิปไตยแบบนี้มันน่ากลัว ก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ ก็คงต้องสู้กันไป!
 
แต่ในเมื่อพันธมิตรหรือพรรคการเมืองใหม่ ก็ประกาศว่าตัวเองต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเช่นกัน ขั้นต่ำสุดที่ควรแสดงออก คือต้องเปิดใจกว้างยอมรับความคิด เหตุผล อุดมการณ์ที่แตกต่าง ยอมรับวิธีการที่แตกต่างบ้าง การต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ของคุณสมบัติจะว่าไปแล้วมันคือโมเดลหนึ่งของ “อารยะขัดขืน” นั่นเอง แล้วมันก็ดีกว่าที่พันธมิตรเคยทำมาในอดีต เพราะไม่มีไม้กอล์ฟ หรือเครื่องทุ่นแรงใดๆ
 
แล้วจะไปป่าวประกาศว่าเป็นความรุนแรงที่น่ากลัวกว่าทำไมครับ!
 
สิ่งที่พันธมิตรหรือพรรคการเมืองใหม่ต้องสู้ คือ ต้องสู้อย่างคนที่มี “สปิริตประชาธิปไตย” อย่างน้อยถ้าคุณไม่มีความคิดหรืออุดมการณ์อะไรที่จะเสนอว่าของคุณเป็นประชาธิปไตยที่ดีกว่า ที่น่าพึงประสงค์กว่า คุณก็ควรจะวิจารณ์ด้วยเหตุผลให้เห็นว่า ประชาธิปไตยที่ยืนยันอำนาจของประชาชน สิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียม ความเสมอภาคในความเป็นคน ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมไปถึงแนวคิดเรื่องรัฐสวัสดิการ เป็นต้น ที่คนเสื้อแดงเสนอนั้น มันไม่ดีอย่างไร ไม่น่าพึงประสงค์อย่างไร
 
ไม่ใช่เอะอะอะไรก็ล้มเจ้าๆ!!! เชียร์ให้ทหาร ให้รัฐบาลใช้อำนาจเข้ามาจัดการ อย่างที่ทำมาตลอด อ้างความจงรักภักดี อ้างจริยธรรม สะอาดโปร่งใส แต่เชียร์ให้ใช้ความรุนแรงกับฝ่ายอื่น ซึ่งเขาก็เป็น “คน” เหมือนกัน เป็นเจ้าของประเทศ เจ้าของทุกสถาบันเท่ากัน แบบนี้มันก็ไม่แฟร์!
 
ผมว่าควรสู้กันให้แฟร์ดีกว่า! ถ้าคุณไม่เห็นด้วยกับความคิด อุดมการณ์ ของคนเสื้อแดง ก็วิจารณ์ให้เห็นจุดอ่อนเป็นเรื่องๆ เป็นประเด็นๆ ไป
 
แล้วถ้าคุณมีความคิดมีอุดมการณ์อะไรดีกว่า ก็เสนอมาอย่างเป็นระบบ เป็นพิมพ์เขียวได้ยิ่งดี เช่น 70-30 ดีกว่ายังไง ให้ทหารปฏิวัติได้ถ้ารัฐบาลคอร์รัปชันเป็นประชาธิปไตยกว่ายังไง ถวายคืนพระราชอำนาจแล้วความยุติธรรมในสังคมจะมากขึ้นอย่างไร ให้การเลือก ผบ.เหล่าทัพเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยของกษัตริย์แล้ว จะทำให้ประชาธิปไตยสมบูรณ์ขึ้นอย่างไร ฯลฯ ก็เสนอสู่สาธารณะให้ชัดๆ เลยครับ สังคมจะได้ตัดสินใจ
 
สู้กันด้วยเหตุผลแบบ “ผู้มีปัญญา” (อย่างที่ชอบอวดตัวเอง) ไม่ใช่เอาแต่กล่าวหา กุเรื่องล้มเจ้า เรื่องความรุนแรงไปวันๆ เซ็งเป็ด (ว่ะ !)        
 
 
 
 
<2> มติชนออนไลน์ 10 ตุลาคม 2553
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ความหวังแรงงานไทย: 17 ปีกับการตั้งองค์กรอิสระสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยฯ

Posted: 10 Oct 2010 09:18 AM PDT

 
 

 

ชื่อบทความเดิม: ลำดับ 17 ปีที่มากับการมีส่วนร่วมกันผลักดันการจัดตั้งองค์กรอิสระสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
 
 
 
“ตลอดระยะเวลายาวนานถึง 17 ปี เพื่อได้สืบสานเจตนารมณ์ของที่ผู้มีส่วนร่วมผลักดันหลายท่าน
ที่ได้ลาจากโลกนี้ไปแล้ว ทั้งผู้ป่วยจากการทำงาน เช่น คุณวัลลภ บุญที่สุด คุณไพรินทร์ สังข์รุ่ง
และท่านอื่นๆ ที่ไม่ได้เอ่ยนาม รวมทั้งที่ปรึกษาที่เป็นหลักสำคัญอย่าง ท่าน ศ.นิคม จันทรวิฑูร
...ดิฉันเชื่อว่าหากดวงวิญญาณของท่านเหล่านี้ ถ้ายังวนเวียนอยู่
ท่านคงกำลังมองและรับรู้ และเอาใจช่วย......
ในสิ่งที่พวกฉันและพี่น้องแรงงานและทุกภาคีกำลังต่อสู้เรียกร้อง
และปรารถนาซึ่งมันเป็นความหวังสุดท้ายที่จะทำฝันร้ายที่ยาวนานนี้
ได้เปลี่ยนเป็นฝันดีที่เป็นความจริงสักที และฝันจะเป็นจริงได้หรือไม่นั้น
ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ ท่านสมาชิกวุฒิสภาทุกท่าน ในไม่กี่วันข้างหน้านี้
ดิฉันในฐานะตัวแทนผู้ถูกผลกระทบ ขอเถอะค่ะ....
อย่าให้พวกเราต้องฝันร้ายต่อไปจนสิ้นลมหายใจเสียก่อนเลย”
 
 
 
 
ปี พ.ศ.2536 เป็นปีที่เกิดโศกนาฎกรรมโรงงานตุ๊กตาไฟไหม้ บริษัทเคเดอร์อินดัสเตรียลไทย จ.นครปฐม ที่มีพี่น้องคนงานเสียชีวิตในระหว่างทำงานถึง 188 ศพ บาดเจ็บ 469 ราย เป็นข่าวครึกโครมไปทั่วโลกสาเหตุเพราะโรงงานเร่งแต่ผลผลิตและกำไร ไม่เคยใส่ใจเหลียวแลเรื่องสุขภาพความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ขณะเดียวกันก็เกิดการรวมกลุ่มผู้ป่วยโรคบิสซิโนซิส ปอดอักเสบจากฝุ่นฝ้ายจากการทำงานรวมตัวกันเป็นสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย มีคนป่วยเข้ามาเป็นสมาชิกมากมายหลายโรคหลายอุตสาหกรรม ต่างมีปัญหาว่าพอป่วยแล้ว ถูกนายจ้างปฏิเสธการเจ็บป่วย มีการบีบและปลดคนป่วยออกจากงานด้วยวิธีการต่างๆ เมื่อเข้าไปขอใช้สิทธิตามกฎหมายเงินทดแทนก็มีปัญหามาก กองทุนเงินทดแทนจะวินิจฉัยว่าคนงานที่มีใบรับรองแพทย์ว่าเจ็บป่วยจากการทำงาน ว่าไม่ป่วยเนื่องจากการทำงาน คนงานที่ป่วยจึงต้องต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมกับกองทุน ส่วนคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเจ็บป่วยจากการทำงาน ก็ถูกนายจ้างฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยของกองทุนเงินทดแทน
 
สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯต้องรับเรื่องราวร้องทุกข์คนงานหลายร้อยคน และมีคดีที่ต่อสู้กันในศาลแรงงานกว่า 100 คดี คนงานที่เจ็บป่วยจากการทำงานในขณะนั้น ขาดที่พึ่งและต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว จำได้ว่าตอนนั้นที่กลุ่มผู้ป่วยเรามีมติเข้าร่วมชุมนุมกับสมัชชาคนจน โดยการแนะนำของที่ปรึกษาคุณจะเด็จ เชาว์วิไล และได้รับการประสานจากที่ปรึกษาให้ไปร่วมประชุมกับคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสุขภาพความปลอดภัย ที่สำนักกลางคริสเตียน ก็ได้พบกับพี่อรุณี ศรีโต พี่ทวีป กาญจนวงศ์ อาจารย์ธีรนาถ กาญจนอักษร ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ เป็นครั้งแรกส่วนท่านอื่นๆที่จำไม่ได้ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ได้มีการพูดคุยกันถึงปัญหาคนงานที่เจ็บป่วยและประสบอันตรายจากการทำงานที่มีจำนวนมาก จึงร่วมกันคิดค้นหาวิธีที่จะป้องกัน ก็ได้รูปแบบของการผลักดันให้เป็นองค์กรอิสระ เพื่อการคุ้มครองส่งเสริมป้องกันแก้ไขปัญหาสุขภาพความปลอดภัยของคนงานก คือควรที่จะมีการป้องกันมากกว่าการแก้ไขที่ปลายเหตุ โดยจะผลักดันให้เป็น  พ.ร.บ. ท่านอาจารย์ธีรนาถ กาญจนอักษรได้กรุณานำร่าง  พ.ร.บ. มาเป็นต้นร่างให้ทุกคนช่วยกันพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติม
 
หลังจากนั้นเราก็ได้นำร่าง  พ.ร.บ.ฉบับนี้เข้ามาประชุมกันในกรรมการสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ และสมาชิกผู้ป่วยเพื่อรับรู้ร่วมกัน สมาชิกทุกคนมีความพร้อมใจกันอย่างยิ่งเพราะไม่อยากเห็นคนงานคนอื่นๆต้องมาเจ็บป่วยและมีปัญหาการเรียกร้องสิทธิเหมือนตัวเอง เมื่อการชุมนุมครั้งใด สมาชิกสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯทุกคนก็ได้นำเงินที่ได้จากค่าทดแทนการเจ็บป่วย มาลงขันเพื่อตั้งเป็นกองทุน ไว้ช่วยเหลือคนงานที่เจ็บป่วยรวมทั้งการต่อสู้ทางกฎหมายและการขับเคลื่อนข้อเรียกร้องการจัดตั้งสถาบันความปลอดภัย
 
สำหรับการประชุมในวงของที่ปรึกษาสมัชชาคนจนที่เป็นหลักขณะนั้นก็จะมี พี่มด วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ อ.ชัยพันธ์ ประภาสะวัตร คุณบุญเลิศ วิเศษปรีชา คุณธีรวัจน์ นามดวง คุณนันทโชติ ชัยรัตน์ คุณบารมี ชัยรัตน์ คุณจะเด็จ เชาว์วิไล พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล อ.วรวิทย์ เจริญเลิศ และอ. ธีรนาถ กาญจนอักษร ทุกท่านก็กรุณามาเข้าร่วมประชุมใน ที่ชุมนุมของสมัชชาคนจนด้วยไม่ว่าจะค่ำมืดดึกดื่นเพียงใด ไม่ว่าจะร้อน จะหนาวหรือฝนตก และร่วมการเจรจากับรัฐบาลทุกครั้ง ซึ่งที่ปรึกษาทุกท่านช่วยพวกเราอย่างเต็มที่ ต่อเนื่องจนถึงวันที่ ครม.มีมติรับหลักการให้ตั้งองค์กรอิสระสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการยกร่างซึ่งพวกเราก็ได้เชิญผู้นำท่านอื่นๆเสนอชื่อร่วมเป็นคณะกรรมการยกร่าง  พ.ร.บ. คณะกรรมการฯ ชุดนี้ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีองค์ประกอบดังนี้
 
1.รัฐมนตรีช่วยกระทรวงแรงงานคุณเอกพร รักความสุข เป็นประธานกรรมการ
2.อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รองประธานกรรมการ
3.ศาสตราจารย์นิคม จันทรวิฑูร รองประธานกรรมการ
4.ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน นายนคร ศิลปะอาชา กรรมการ
5.เลขาธิการสำนักงาน กพ. กรรมการ
6.เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ            กรรมการ
7.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ หรือ ผู้แทน กรรมการ
8.อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ หรือ ผู้แทน กรรมการ
9.อธิบดีกรมอนามัย หรือผู้แทน กรรมการ
10.อธิบดีกรมโรงงานหรือผู้แทน กรรมการ
11.เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม หรือผู้แทน กรรมการ
12.อธิบดีกรมบัญชีกลาง หรือผู้แทน กรรมการ
13.รองคณะบดีสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ กรรมการ
14.ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย หรือผู้แทนกรรมการ
15.สภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน กรรมการ
16.นางสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วย ฯกรรมการ
17.นางวันเพ็ญ ภูตาโก กรรมการสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วย ฯ        กรรมการ
18.นางสิริรัตน์ แป้นพรหม กรรมการสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯกรรมการ
19.นายสมศักดิ์ โกศัยสุข กรรมการ
20.นายจะเด็จ เชาว์วิไล      มูลนิธิเพื่อนหญิง   กรรมการ
21.นพ.ชโลธร โลเจริญกุล สมาคมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ กรรมการ
22.นพ.อุษณากร อมาตยกุล สมาคมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ กรรมการ
23.พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล คลินิกอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม รพ.ราชวิถี กรรมการ
24. นายบุญเลิศ วิเศษปรีชา กองเลขาและปรึกษาสมัชชาคนจน กรรมการ
25.นางสาวธีรนาถ กาญจนอักษร คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการ
26.นางสาวอรุณี ศรีโต ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสุขภาพความปลอดภัย กรรมการ
27.นายธีรวัจน์ นามดวล ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กรรมการ
28.รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นายวงศ์ จั่นทอง            กรรมการและเลขานุการ
29.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย        กรรมการและเลขานุการ
30.ผู้อำนวยการสถาบันความปลอดภัยฯ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
31.ผู้อำนวยการกองกฎหมายและข้อพิพาทแรงงานฯกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
32.นายทวีป กาญจนวงศ์    คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสุขภาพความปลอดภัย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
 
มีการประชุมอย่างเคร่งเครียดเอาจริงเอาจัง ทุกคนทุ่มเทกลับดึกๆดื่นๆ ทั้งประชุมในวงของกรรมการสมาชิกสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วย วงประชุมที่ปรึกษาและวงประชุมคณะกรรมการยกร่าง กว่าจะได้  พ.ร.บ.ฉบับที่สมบูรณ์ก็ต้องใช้เวลากันทีเดียว ในระหว่างที่สมัชชาคนจนชุมนุมเจรจากับรัฐบาล มีเพื่อนกรรมการอีกคนที่เสียสละ เช่น คุณบุญเลิศ วิเศษปรีชา ที่ทุ่มเทมาช่วยทำข้อมูลให้สภาเครือข่าย ฯ บางวันเรากลับดึกๆดื่นๆ แต่เช้ามืดก็ต้องวิ่งเอาเอกสารไปถ่ายเพื่อเข้าเจรจากับรัฐบาลเป็น 100 ชุด สมาชิกคนป่วยทุกคนที่ร่วมประชุมเจรจาด้วยกันกว่าจะกลับก็ดึกดื่นค่อนคืน บางคนก็เป็นลมในนั้นเพราะบรรยากาศทั้งร้อนทั้งเครียดแต่ทุกคนก็อดทน
 
ต่อมาเมื่อ  พ.ร.บ.ไม่ถูกเสนอเข้า ครม. จึงมีการจัดประชุมใหญ่ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์โดยมี 7สภาแรงงานเข้าร่วมประชุมและมีมติร่วมกันที่จะใช้ช่องทางของรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าชื่อ 50,000 รายชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย สำหรับสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯก็ได้ลงพื้นที่ต่างๆในสมัชชาคนจนไม่ว่าจะเป็นที่ ปากมูล ราศีไสล และที่อื่นๆโดยใช้เงินจากกองทุนที่ผู้ป่วยที่ร่วมลงขันบริจาคเพื่อทำกิจกรรม ช่วงนั้นก็ได้คุณวิจิตร พรมุลาผู้ป่วย กับ คุณจรรยา บัวศรี ตอนนั้นเธออยู่มูลนิธิเพื่อหญิง เหมารถคุณมั่น ชำนาญลงพื้นที่กันเพื่อขอสนับสนุนการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ไปแต่ละครั้งบางทีก็ออกต่างจังหวัดถึง 10 วันติดต่อกัน โดยดิฉันต้องทิ้งลูกสาวที่ยังเล็กไว้กับคนป่วยอย่างพี่จำปี มณีสวัสดิบ้าง พี่พิณมณีบ้าง เพราะพ่อเขาก็ต้องทำงาน ส่วนกองเลขาที่รวบรวมรายชื่อจะอยู่ที่คลินิกแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม รพ.ราชวิถีที่มีคุณหมออรพรรณ์ เมธาดิลกกุลรับผิดชอบ แต่พอเข้าชื่อครบ 50,000 รายชื่อ ก็ได้พี่น้องแรงงานกลุ่มย่านอ้อมน้อยอ้อมใหญ่ ปทุมธานี สระบุรี สมุทรปราการ ประมาณ 200 คน ช่วยกันนำ แบบเสนอเข้าชื่อไปมอบให้กับประธานสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 10 พฤษภาคม 2542 ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ไทยก็ว่าได้ที่ร่างกฎหมายประชาชนเข้าสู่สภาเป็นฉบับแรกในสมัยนั้น แต่ก็ยังไม่เสนอกฎหมายเข้าสู่สภาฯ เพราะเมื่อมีการออกกฎหมายลูก ได้กำหนดให้มีสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนแนบไปด้วย
 
การยื่นข้อเรียกร้องในนามสมัชชาคนจนทำมาโดยตลอดแต่ก็ไม่มีอะไรคืบหน้าเกี่ยวกับการตั้งสถาบันฯ มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลตลอด ในส่วนกระทรวงแรงงาน ก็มีร่าง  พ.ร.บ.ตัวเองมาประกบตลอด ทำให้ร่าง  พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองสุขภาพความปลอดภัยฯไม่สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของครม.ได้ จนในสมัยที่คุณลดาวัลย์ วงศศรีวงศ์เป็นรัฐมนตรีช่วยกระทรวงแรงงาน จึงได้มีการเจรจาและมีการตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อบูรณาการร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับเพื่อเป็นร่างเดียว จึงกลายมาเป็น  พ.ร.บ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ (ฉบับบูรณาการ) ปี 2545 สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งในคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ทำข้อเรียกร้องข้อต้นๆของแรงงานกับรัฐบาลโดยเฉพาะในวันแรงงาน และทุกวันที่ 10 พ.ค คือ เรียกร้องให้มีการจัดตั้งองค์กรอิสระ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ(ฉบับบูรณาการ) แต่ต่อมากระทรวงแรงงานก็เสนอร่าง  พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯประกบกับ  พ.ร.บ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย(ฉบับบูรณาการ) มาปี 2550 คณะสมานฉันท์แรงงานไทยจึงได้มีมติเข้าชื่อ 10,000 รายชื่อ ตามรนธ.ปี 2550เพื่อเสนอกฎหมาย โดยให้สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯเป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อน การเข้าชื่อต้องใช้ระยะเวลาเกือบ 3 ปี ในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายกว่าจะครบ 10,000 รายชื่อในปี 53 ซึ่งก็ครบหลังกฎหมายเข้าสู่สภาแล้ว
 
การเข้าชื่อต้องทำด้วยความยากลำบากมาก เพราะสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ เองก็ขาดแคลนงบประมาณ ที่จะใช้ในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมากในการดำเนินการ เช่น ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเดินทาง หรืองบประมาณค่าประสานงาน ค่าเบี้ยเลี้ยงคนลงพื้นที่ ขณะที่งบกองทุนที่คนป่วยบริจาคก็หมดไปนานแล้ว รายชื่อที่ได้รับการรวบลรวมส่วนใหญ่แล้ว ได้มาจากกลุ่มคนงานในพื้นที่ของคุณบุญยืน สุขใหม่ กลุ่มแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก จ.ชลบุรี ที่ส่งมาอย่างสม่ำเสมอเกือบครึ่งหนึ่ง ของจำนวนทั้งหมดที่ได้รับการสนับสนุนมา
 
ก่อนที่รายชื่อจะครบ 10,000 รายชื่อ สมัชชาคนจนได้เข้าเจรจากับรัฐบาลอีกครั้ง ดิฉันในฐานะประธานสภาเครือข่ายฯได้เข้าเจรจาร่วมกับคุณบุญยืน สุขใหม่ และพ่อครัวใหญ่คนอื่นๆกว่า 50คน ในข้อเสนอให้ตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ และเรื่องอื่นๆ ก็ได้รับการติดต่อจาก อ.รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท สส.พรรคประชาธิปัตย์ ในวันนั้นได้พาพวกเรามาเข้าพบกับรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข(นายวิทยา แก้วภาราดัย) ที่รัฐสภาเจรจาเรื่องขอให้ผลิตแพทย์เชี่ยวชาญสาขาอาชีวเวชศาสตร์และคลีนิกโรคจากการทำงานเพิ่ม และอ.รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ก็ยังได้แนะนำให้สภาเครือข่ายฯนำร่าง  พ.ร.บ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ มายื่นให้ในวันหลังเพื่อ อ.รัชฎาภรณ์ แก้วสนิทจะได้ขอแรงเพื่อน สส.เข้าชื่อสนับสนุน 20 รายชื่อ เสนอกฎหมายเข้าสภา
 
วันต่อมา ขณะที่เรากำลังรอ อ.รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท กันอยู่ 3-4 คน โดยมีดิฉัน คุณลิขิต ศรีลาพล คุณธฤต มาตกุลเจ้าหน้าที่ทั้งสอง คุณบุญยืน สุขใหม่ และคุณเขมทัศน์ ปานเปรม กองเลขาสมัชชาคนจนอยู่นั้น ก็เจอ สส.สถาพร มณีรัตน์ พรรคเพื่อไทย เข้าโดยบังเอิญ(อดีตเป็นที่ปรึกษา รมช.ลดาวัลย์ วงศฺศรีวงศ์ (ที่ยกร่างสถาบันส่งเสริมฯฉบับบูรณาการ)ก็เลยเล่าให้ฟังเรื่องจะมายื่นกฎหมายกับ อ.รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท สส.สถาพร มณีรัตน์ ก็เลยบอกว่าเอามาให้พี่เลย พี่จะช่วยยื่นร่างกฎหมายให้อีกคนหนึ่ง ในนามพรรคเพื่อไทย สส.สถาพร พูดว่า “พี่ก็ยังสงสัยว่าทำไมมันนานมากขนาดนี้ พี่เองก็ไม่ได้ติดตามมัวไปทำงานเรื่องเกษตร เอามาพี่จะช่วย” วันต่อมา ดิฉันเองก็ได้รับโทรศัพท์จากคุณอรพิน วิมลภูษิต ผู้จัดการแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ก็โทรมาว่าวันก่อนเจอคุณสถาพร มณีรัตน์ ในวง  พ.ร.บ.ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ให้สมบุญ เอากฎหมายไปยื่นให้ สส.สถาพร มณีรัตน์ และประกอบกับ ช่วงวันที่ 8 กันยายน 2553สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯและคณะสมานฉันท์แรงงานไทยและพี่น้องแรงงานจาก สมุทรปราการ สระบุรี แรงงานสัมพันธ์ตะวันออก อยุธยา รังสิตปทุมธานี สระบุรี อ้อมน้อยอ้อมใหญ่ และองค์กรพัฒนาเอกชนฯ ได้ไปร่วมชุมนุมที่หน้าพรรคประชาธิปัตย์ประท้วงที่รัฐบาลทีนำร่าง  พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯฉบับของกระทรวงแรงงานเสนอเข้าสภาฯ
 
นับว่ากระแสข่าวจากสื่อมวลชนต่างๆและพลังผลักดันเคลื่อนไหวของพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกองค์กรทุกภาคส่วน ในช่วงนี้เอง และ การสนับสนุนจากแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ทำให้เกิดการทำงานเป็นเครือข่ายร่วมเคลื่อนไหวกับสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯในสมัชชาคนจนมากขึ้น เช่น เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน เครือข่ายภาคประชาชน กทม. ทำให้ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2552  พ.ร.บ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ฉบับผู้ใช้แรงงาน ได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรรับหลักการในวาระ 1 ไป รับร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัย ที่มี ผู้เสนอ 5 ฉบับรวมเป็น 7 ฉบับและจากการและ พ.ร.บ. สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย ที่เสนอโดย สส.รัชฎาภรณ์ และสส.สถาพร จึงทำให้ดิฉัน และ อ. วรวิทย์ เจริญเลิศ ได้ถูกเสนอชื่อแต่งตั้งจากสภาเป็นกรรมาธิการวิสามัญ ร่วมกับกรรมาธิการท่านอื่นอีก 36 ท่าน ร่วมพิจารณา  พ.ร.บ.ทั้ง 2 ร่างจนเสร็จสิ้นและผ่านเข้าสภาผู้แทนราษฎรรับหลักการในวาระที่ 2 -3 ในวันที่ 22 กันยายน 2553 และเข้าวาระพิจารณารับหลักการของที่ประชุมวุฒิสมาชิกในวันที่ 4 ตุลาคม 2553
 
ผลที่ได้ช่วยกันลงแรงร่วมพลังกันอย่างมากมายพร้อมเพียง จนทำให้ การจัดตั้งองค์กรอิสระสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยได้เข้าไปบรรจุอยู่ในหมวดที่ 6/1 มาตรา 51/1 และให้กระทรวงแรงงานจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯขึ้นมาภายใน 1 ปี หลังกฎหมายประกาศใช้ แต่ขณะนี้  พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯ ฉบับที่มีการบรรจุการจัดตั้งสถาบันฯส่งเสริมความปลอดภัยนี้กำลังอยู่ในการประชุมพิจารณาของสมาชิกวุฒิสภาเพื่อพิจารณากฎหมายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 26 ตุลาคม 2553 เพื่อส่งให้สภาฯ มีมติรับรองอีกครั้ง ดังนั้นสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯในฐานะองค์กรหลักที่รับผิดชอบร่วมกับทุกภาคี มีความกังวลอยากจะเสนอผ่านสื่อมวลชนทั้งหลาย ...ไปยังสมาชิกวุฒิสภา ได้โปรดพิจารณาผ่านกฎหมาย  พ.ร.บ. ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยเฉพาะหมวด 6/1 ทีมีการจัดตั้งองค์กรอิสระสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯด้วย
 
ทั้งนี้ ผู้ร่วมผลักดันกฎหมายการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อให้ผู้ใช้แรงงานได้รับการส่งเสริมป้องกันแก้ไขปัญหาสุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน รวมระยะเวลาในการเรียกร้องผลักดัน ตลอดระยะเวลายาวนานถึง 17 ปี เพื่อได้สืบสานเจตนารมณ์ของที่ผู้มีส่วนร่วมผลักดันหลายท่านที่ได้ลาจากโลกนี้ไปแล้ว ทั้งผู้ป่วยจากการทำงาน เช่น คุณวัลลภ บุญที่สุด คุณไพรินทร์ สังข์รุ่ง และท่านอื่นๆที่ไม่ได้เอ่ยนาม รวมทั้งที่ปรึกษาที่เป็นหลักสำคัญอย่าง ท่าน ศ.นิคม จันทรวิฑูร ที่ดิฉันยังจำได้ดีวันสุดท้ายที่ได้เยี่ยมท่านที่ รพ. ท่านพูดว่า ดีใจ คุณสมบุญ คุณทำดีแล้ว ขอให้ทำต่อไปนะ ท่าน อ.ธีรนาถ กาญจนอักษร พี่มดวินิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ คุณนันทโชติ ชัยรัตน์ ที่ท่านหลังๆได้จากไปโดยไม่ได้สั่งลา แต่ดิฉันเชื่อว่าหากดวงวิญญาณของท่านเหล่านี้ ถ้ายังวนเวียนอยู่ ท่านคงกำลังมองและรับรู้ และเอาใจช่วย......ในสิ่งที่พวกฉันและพี่น้องแรงงานและทุกภาคีกำลังต่อสู้เรียกร้องและปรารถนาซึ่งมันเป็นความหวังสุดท้ายที่ จะทำฝันร้ายที่ยาวนานนี้ ได้เปลี่ยนเป็นฝันดีที่เป็นความจริงสักที และฝันจะเป็นจริงได้หรือไม่นั้น.... ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ ท่านสมาชิกวุฒิสภาทุกท่าน.......ในไม่กี่วันข้างหน้านี้.....ดิฉันในฐานะตัวแทนผู้ถูกผลกระทบ..ขอเถอะค่ะ....อย่าให้พวกเราต้องฝันร้ายต่อไปจนสิ้นลมหายใจเสียก่อนเลย
 
เรารองมาฟังความในใจของพวกเขาที่เป็นผู้ป่วยจากการทำงาน เจ้าขององค์กรสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ที่เล่าความรู้สึกกันบ้างนะคะว่า ถึงวันนี้การเจ็บป่วยของพวกเขาพร้อม กับ การเรียกร้องสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ เขามีความรู้สึกอย่างไร้บ้างกับ 17 ปี ของการต่อสู้เรียกร้อง
 
เตือนใจ บุญที่สุด
อายุ 48 ปี อยู่ ต.บางศรีเมือง จ.นนทบุรี มีครอบคครัว,มีบุตร 2 คน เข้าทำงานที่ โรงงานทอผ้าปี 29 ถึงปี 33 มีอาการป่วยเหมือนๆกับเพื่อนคือไอมากมีเสมหะพันคออยู่ตลอดเวลารักษาทั้ง รพ.ของรัฐ เอกชนและคลินิกที่ทางโรงงานจัดให้ อาการทรุดลงเรื่อยๆเหนื่อยหอบ หายใจติดขัดเป็นไข้บ่อยๆแล้วก็อ่อนเพลียมากๆ มีเพียงคุณหมออรพรรณ์ ที่ได้ช่วยชีวิตพวกเรา และได้ใบรับรองแพทย์ให้พักรักษาตัว ก็มีปัญหาตามมา เพราะนายจ้างไม่ยอมรับการเจ็บป่วยและก็อยู่ในกลุ่มที่ถูกฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยของแพทย์และกองทุนเงินทดแทนเข้ามารวมกลุ่มและลงเป็นกรรมการสหภาพ ต่อมาสามีของเราที่ป่วยเหมือนกันกับเราและกำลังเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน ก็ถูกไล่ออก เราทนไม่ไหวเพราะถูกบีบ จึงลาออกมาขายของหาเลี้ยงครอบครัว สามีเราเขาก็เสียชีวิตลงอย่างกะทันหันด้วยการมีที่ปอดเสื่อมสมรรถภาพและยังต้องมทุ่มเททำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ ทำให้เรารู้สึกเคว้งคว้าง แต่ได้กลุ่มเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้มีกำลังใจและมีความมุ่งมั่น เพื่อช่วยเหลือคนงานที่ป่วยคนอื่นๆ แล้วก็เริ่มสนับสนุนแนวคิด ที่จะเรียกร้องให้มีการจัดตั้งสถาบันฯขึ้นมาดูแลลูกหลานแรงงานของเราในอนาคต เพราะมีสมาชิกคนป่วยมากมายทยอยมาให้สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ ช่วยเหลือพวกเขา แม้ปัจจุบันเราจะไม่ใช่คนขายแรงงานแล้วก็ตาม แต่จิตสำนึกเราไม่อาจอยู่นิ่งทนดูดายได้ พวกเราเข้าใจความรู้สึก ทุกข์ร้อน เจ็บป่วย และท้อแท้ ยามที่การเจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ โรคร้ายที่เรื้อรังรุมเล้า กับ ปอดที่สูญเสียสมรรถภาพการทำงาน วันเวลาของการเรียกร้องต่อสู้ยาวนานร่วม 17 ปี แล้ว พวกเราก็ยังร่วมสืบสานเจตนารมณ์ ซึ่งขณะนี้สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย ดูใกล้จะเป็นจริง แต่พวกเราอาจอยู่ไม่ถึงวันแห่งความสำเร็จที่รอคอยก็ได้ เพราะพวกเราหลายคนเข้าสู่วัยชราภาพเต็มที่ (แก่ด้วยโรครุมเร้า) ต่างกับคนในวัยเดียวกันที่เขายังแข็งแรง ก็อย่างที่สังคมได้รับรู้ และรู้จักพวกเราในนามสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ เหตุใดจึงมีแต่ป้าๆแก่ๆจะมาทรมานสังขารกันไปทำไม แต่ในใจพวกเรากับมีพลังสดใส ภูมิใจ ดีใจว่า ความหวังการอุทิศแรงกาย ใจ ทุนทรัพย์และสติปัญญาของพวกเราคนป่วยๆ ได้เป็นที่ยอมรับแก่สังคมมิได้สูญเปล่า และเราเป็นส่วนหนึ่งที่ทำหน้าที่ดูแลป้องกันทรัพยากรบุคคลของประเทศ เพราะนั่นคือเพื่อนพี่น้องลูกหลานผู้ใช้แรงงานของเรา แม้พวกเราจะสิ้นลมไปจากภพนี้แล้ว แต่พวกเราก็ได้ทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มความสามารถ จนลมหายใจสุดท้ายจะมาถึง
 
พิณมณี สายค้ำ
อายุ 68 ปีบ้านเดิมอยู่ราชบุรี ปัจจุบันอาศัยอยู่กับน้องสาว ที่เตาปูน ทำงานทอผ้ามา 29 ปีแผนกปั่นด้ายเริ่มเจ็บป่วยปี 36สิ้นสุดการรักษาปี 39 แพทย์ประเมินการสูญเสีย 11 ปีได้สิทธิจากเงินทดแทน 5 ปีที่มาเข้ากลุ่มผู้ป่วย เพราะเมื่อเจ็บป่วย นายจ้างไม่ยอมรับการเจ็บป่วย เอารายชื่อไปฟ้องศาล จึงต้องมาต่อสู่ในกลุ่ม ที่ต้องเรียกร้องให้จัดตั้งสถาบันฯเพราะสงสารคุณหมออรพรรณ์ เมธาดิลกกุลโดนโจมตีต่อต้านจากนายจ้าง จึงอยากให้เกิดสถาบันฯมีแพทย์เชี่ยวชาญ วินิจฉัยโรคได้เยอะ และผู้เชี่ยวชาญ มารองรับแก้ไขปัญหาป้องกันคนงานไม่ให้เจ็บป่วย ในความหวังขณะนั้นคิดว่าคงเป็นความจริงได้แค่ 50% เท่านั้นแต่มีความชัดเจนขึ้นมาเรื่อยๆ เพราะสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยเริ่มมีการขยายกลุ่ม มีเครือข่าย ปัจจุบันรู้สึกดีใจภูมิใจมาก ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียกร้องมาตลอด ตอนนี้ตัวเองลำบากมาก อยากให้รัฐมาช่วยเหลือดูแลคนเจ็บป่วยอย่างเราที่ต้องต่อสู้กับชะตากรรมและการรอคอยคดีที่นานแสนนาน
 
จรรยา สุขใหญ่
อายุ 66 ปี เดิมอยู่ที่โคราชตอนนี้อาศัยที่เขาอยู่ เป็นบ้านเพื่อนที่ปลูกไว้ เขาก็ตายจากไปแล้วลูกหลานเขาก็เลยให้อาศัยอยู่ต่อไป ทำงานที่โรงงานทอผ้าตั้งแต่ปี 07 แผนกต่อด้ายห้องทอ ลาออกมาปี 38อายุการทำงาน 30ปี เริมป่วยปี 37 แพทย์สิ้นสุดการรักษาปี 39 ที่ต้องมารวมกลุ่มเพราะร่วมต่อสู้ ที่โรงงานมาฟ้องว่า ฉันไม่ป่วยจากการทำงาน แรกๆไม่ค่อยรู้จักการเรียกร้องสถาบันฯ รู้แต่ว่าถ้ามี จะเป็นประโยชน์กับคนงานรุ่นหลังๆ ตนเองไม่ได้มุ่งหวังอะไรมากว่า จะเป็นไปได้ แต่ก็อยากสนับความคิดเพื่อนๆ
 
อุไร ไชยุชิต
อายุ 53 ปี บ้านเดิมอยู่ที่ ชัยภูมิปัจจุบัน อยู่บ้านพักทหาร แถวราชวิถีเข้าทำงานปี 20ออกมาปี 50รวมทำงานมานาน 30 ปี อยู่แผนกปั่นด้ายประจำเครื่องรีด การเจ็บป่วยนายจ้างไม่ยอมรับเลยมารวมกลุ่มสู้คดีกับนายจ้าง ได้กำลังใจจากกลุ่มและเพื่อนๆ บางครั้งก็มีท้อแท้บ้าง แต่ก็ได้กำลังใจ ได้คำปรึกษาแนะนำให้ต่อสู้ต่อไป จึงอยากให้มีสถาบันฯ เพื่อรองรับ หวังมาตลอดว่าจะต้องเกิดขึ้นได้ หากเรายังรวมพลังเรียกร้องกัน ปัจจุบันก็ดีใจ ที่มีข่าวความคืบหน้า และฝากว่าผู้ที่มีหน้าที่ จะเข้าไปในองค์กรสถาบันฯขอให้มีจิตสำนึก มีความเข้าใจคนเจ็บป่วย ที่ทุกข์ยากลำบาก
 
ปิยวดี ภิภพสมบูรณ์
อายุ 61 ปี ลาออกจากงานเพราะนายจ้างไม่ยอมรับความเจ็บป่วย ทำงานมานาน 22 ปี 6 เดือนป่วยตั้งแต่ปี 37 สิ้นสุดการรักษาปี 38 เข้ากลุ่มเพราะนายจ้างไม่ยอมรับใบรับรองแพทย์ ไม่ให้ลาหยุดงาน และถูกฟ้องอีก ว่าไม่ป่วยจากการทำงาน ทางกลุ่มเรียกร้องให้มีการจัดตั้งสถาบันอิสระ ก็เลยร่วมเรียกร้องด้วยเพื่อจะได้มีองค์กร มาป้องกันไม่ให้คนงานมาป่วยแล้วต่อสู้ลำบากอย่างพวกเรา อยากให้ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่คนงาน ผู้ด้อยโอกาส และดูแลองค์กรสถาบันฯให้ดีๆต่อไป
 
กรชนกภรณ์ ทองตุ้ม
อายุ 58 ปี อาศัยอยู่บ้านพักคนงานกับสามี ที่ จ.นครปฐม ทำงานในโรงงานตั้งแต่ปี 19 ลาออกปี 39แพทย์ประเมินการสูญเสียปอดให้ 7ปี แต่ได้สิทธิเงินทดแทนการสูญเสียอวัยวะ แค่ 5 ปี เข้ามาเป็นกรรมการเพื่อได้กำลังใจจากเพื่อนๆให้ต่อสู้ชีวิต สู้กับโรคร้าย เพราะตอนป่วยท้อแท้มากๆ จนรู้สึกว่าเรารอดตายมาได้ เพราะมีกำลังใจจากเพื่อๆในกลุ่ม การเจ็บป่วยโรงงานไม่ยอมรับและถูกบีบต่างๆนาๆ ตอนนี้มีความภูมิใจ ที่สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯที่กลุ่มเรียกร้องมานานถึง 17ปี กำลังจะสำเร็จเพื่อมาทำหน้าที่ป้องกันคนงานอื่นๆต่อไป
 
ศรีเพชร ชมชื่น
อายุ 60 ปี ทำงานตั้งแต่ปี 19 ลาออกมาปี 47 เป็นผู้ป่วยโรคบิสซิโนซิส ปอดอักเสบจากฝุ่นฝ้าย เข้าร่วมกลุ่มเพราะต่อสู้คดีกับนายจ้าง เมื่อเรียกร้องสถาบันฯ จะได้มีองค์กรมีผู้เชี่ยวชาญมาคอยดูแลคนงานและโรงงานให้ปลอดภัย คนงานจะได้ไม่ป่วยแบบพวกเรา อยากให้รัฐดูแลคนป่วยจากการทำงาน ให้ดีๆอย่าทิ้งขว้างแบบพวกเราอีกเลย
 
สุรีรัตน์ อยู่รอบเรียง
อายุ 59 ปี ทำงานปี 15 –ปี 45 ออกงาน รวมการทำงานนาน 30 ปี เป็นคน จ.บุรีรัมย์ ป่วยตั้งแต่ปี 36 สิ้นสุดการรักษาปี 38 การเข้ามารวมกลุ่มเรียกร้องสิทธิปัจจุบันอยู่ในตำแหน่งรองประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ ในสมัชชาคนจน คิดว่าถ้าอยู่สู้คนเดียวไม่ดีแน่ นายจ้างจะไม่ยอมรับ แล้วยังส่งฟ้องศาลอีก และการรวมกลุ่ม ทำให้เป็นพลัง เหตุกลุ่มเรียกร้องให้มีสถาบันฯ เพื่อดูแลคนงานป้องกันสิ่งแวดล้อมในโรงงานให้ดี มีสภาพที่ปลอดภัย เราคิดว่าน่าจะประสบผลสำเร็จเพราะนานมากแล้วถึง 17ปีแล้วเราดีใจ ภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมเคลื่อนไหวและมีคืบหน้า ทุกวันนี้เราจะใช้ชีวิตโดยเอาธรรมะมารักษาจิตใจ ตลอด เงินเก็บก็หมดไป ต้องขายที่ทางมาไว้กิน และเป็นค่ารักษาตัวอยู่ขณะนี้
 
บุญส่ง พิมพ์สวัสดิ์
อายุ 53 ปี เข้างานปี 19 โดนปลดออกจากงานปี 3 7แพทย์ตีว่าสูญเสียการทำงานของปอด 14 ปี แต่สิทธิแค่ 5 ปี รวมกลุ่มเพื่อจะได้รับการแก้ไขปัญหาเพราะช่วงนั้นเดือดร้อนมาก ไม่อยากให้คนงานรุ่นหลังเจอปัญหาเลวร้ายอย่างพวกเรา แล้วคนป่วยก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย และมาเข้าใจเรื่องสถาบันฯที่ทางกลุ่มเรียกร้องเพื่อคนข้างหลัง ได้มีระบบระวัง แก้ไขปัญหา ใหม่ๆก็ไม่แน่ใจว่าการเรียกร้องสถาบันฯจะเป็นจริงขึ้นมาได้หรือไม่ มีแต่ความหวัง จนถึงวันนี้รู้สึกดีใจภูมิใจ ที่เราเป็นกรณีตัวอย่างของการต่อสู้ เพื่อเป็นบรรทัดฐานในสังคม ต่อไปถ้าประชาชนสุขภาพดี ประเทศก็จะเจริญมั่นคง การป้องกันจะดีกว่าการเยียวยา เพราะจะไม่ต้องสูญเสียงบประมาณและสูญเสียสุขภาพ
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: จดหมายถึงนายกฯ คัดค้านขยายไฟสำรองจาก 15 เป็น 20%

Posted: 10 Oct 2010 08:50 AM PDT

 
 
10 ต.ค.53 นางสุรีรัตน์ แต้ชูตระกูล ตัวแทนจากกลุ่มอนุรักษ์ฯ เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวว่าผู้ว่า กฟผ. เตรียมจะเสนอให้นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกพช.ปรับตัวเลขไฟฟ้าสำรองให้สูงขึ้นจากมาตฐาน15%เป็น 20%นั้น เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ในจังหวัดประจวบฯ เห็นว่าเป็นข้อเสนอเนื่องจากกรณีที่กฟผ.ไม่สามารถตอบคำถามสาธารณะได้ว่าทำไมแผนพีดีพี2010 ตลอดอายุ 20ปี ไฟฟ้าสำรองจึงเกินมาตรฐานที่15% อยู่ที่ประมาณ20-40% ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าเป็นการสำรองเกินความจำเป็น และทำให้กฟผ.ต้องหยุดซ่อมโรงไฟฟ้าเพื่อลดตัวเลขการผลิตไฟฟ้า ทั้งนี้ แนวทางแก้ไขแทนที่จะลดแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่ม กฟผ.กลับเลือกเสนอให้อนุมัติตัวเลขไฟฟ้าสำรองเพิ่มแทน ทางเครือข่ายจึงได้ทำหนังสือเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี เพราะเห็นว่าเป็นการทำงานแบบไม่คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมและไร้ประสิทภาพ
 
0000
 
68/12 ถ.เพชรเกษม อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77130
                            10    ตุลาคม    2553
 
เรื่อง คัดค้านการขยายมาตรฐานตัวเลขไฟฟ้าสำรองจาก15%เป็น20%ตามข้อเสนอของผู้ว่ากฟผ.             
 
เรียน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ
 
สิ่งที่ส่งมาด้วย แผนการปิดซ่อมโรงไฟฟ้าของกฟผ.ในฤดูร้อน
 
             ตามที่ได้มีข่าวว่านายนสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ได้เตรียมเสนอให้มีการปรับตัวเลขไฟฟ้าสำรองของประเทศไทยจาก 15%ขึ้นเป็น 20%เพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้านั้น
                    เครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขอคัดค้าน ด้วยเหตุผลดังนี้
 
                  1.มาตรฐานไฟฟ้าสำรอง 15%เป็นมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกใช้ ในอนาคตหากมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่ม ไฟฟ้าสำรองก็เพิ่มมากขึ้นตามฐานการใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่ขึ้นอยู่แล้ว การเพิ่มตัวเลขไฟฟ้าสำรองให้สูงเป็น 20% จึงเกินความจำเป็นและไม่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
 
                 2.ควรตรวจสอบและสั่งให้กฟผ.เลิกวางแผนหยุดเดินเครื่อง ซ่อมโรงไฟฟ้าในช่วงหน้าร้อน ช่วงเดือนที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของปี(ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย) ซึ่งสะท้อนการบริหารงานแบบไร้กึ๋น ไร้ประสิทธิภาพ ไม่มีความเป็นนักบริหารมืออาชีพ เราสงสัยว่าน่าจะเป็นแผนการทำงานที่ไม่โปร่งใส เตรียมการอ้างเหตุซ้ำเติมไฟฟ้าสำรองลดต่ำในช่วงหน้าร้อนผลักดันการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ที่ไม่จำเป็นต่อระบบไฟฟ้า กฟผ.ควรคิดวางแผนหยุดเดินเครื่องซ่อมโรงไฟฟ้าเฉพาะในฤดูฝน ฤดูหนาวช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าต่ำจะเป็นประโยชน์ต่อชาติมากกว่า
 
                       
                3.การลดความเสี่ยงเรื่องการจัดส่งก๊าซธรรมชาติ ควรต้องทำ เพราะในข้อเท็จจริงประเทศไทยก็ยังต้องพึ่งก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าสูงไปอีกนับ 10ปี และจะใช้ก๊าซเพิ่มปริมาณมากขึ้นด้วย แต่ต้องทำ 2 ลักษณะคือ
 
            3.1 ต้องผลักดันการแก้ไขสัญญาการซื้อก๊าซจากปตท.ให้มีการเสียค่าปรับสำหรับการจัดส่งก๊าซไม่เป็นไปตามสัญญาการจัดซื้อ เพราะปัจจุบันสัญญาการจัดซื้อก๊าซระหว่างกฟผ.กับปตท.เป็นสัญญาที่เสียเปรียบ  ปตท.ไม่ต้องเสียค่าปรับหากจัดส่งก๊าซไม่ทัน
 
3.2ประเทศไทยจำเป็นต้องทำสต๊อกก๊าซธรรมชาติโดยพิจารณาหลุมก๊าซที่กำลังจะหมดอายุในประเทศไทย ทั้งในอ่าวไทยและบนบก เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการจัดส่งก๊าซ
 
             4.แก้ไขกฎหมายที่กำหนดการบวกกำไรให้กฟผ.8%จากเงินลงทุนโดยอัตโนมัติซึ่งเป็นผลพวงจากการระบบการรับประกันกำไรเพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่นักลงทุนตั้งแต่ยุคพยายามเข็นกฟผ.เข้าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นกฏหมายที่สร้างภาระจ่ายค่าไฟฟ้าแพงให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า และเป็นเหตุที่ทำให้กฟผ.ต้องลงทุนเพิ่มสร้างตัวเลขกำไร มากกว่า ความจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าอย่างแท้จริง
 
           เราหวังว่าท่านคงเข้าใจและเท่าทันกฟผ. และดำเนินการบริหารงานเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเหนือผลประโยชน์ของกฟผ.เพียงองค์กรเดียว
 
                                                     ขอแสดงความนับถือ
 
เครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
 นส.สุรีรัตน์ แต้ชูตระกูล กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก
นส.กรอุมา พงษ์น้อย     กลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก
นางจินตนา แก้วขาว    กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมขาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด
นายเสวก พิมสอ    เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์บางสะพาน
นายปิยะ เทศแย้ม กลุ่มรักท้องถิ่นกุยบุรี-สามร้อยยอด
นายสมเกียตริ ทอดสนิท กลุ่มอนุรักษ์ห้วยยาง
นายเผชิญ เกตุแก้ว กลุ่มรักบ้านเกิดอ่าวน้อย
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ตรวจสอบเสื้อแดง175คนในเรือนจำทั่วประเทศ ห่วงจับกุมละเมิดกฎหมาย-ไม่มีทนาย

Posted: 10 Oct 2010 08:40 AM PDT

 
เมื่อวันที่ 8 ต.ค.53 ที่รัฐสภา นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ตอบกระทู้ถามของ ส.ส.ฝ่ายค้านเรื่องการต่ออายุ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปอีก 3 เดือน ในพื้นที่ 4 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการว่า ฝ่ายความมั่นคงประเมินแล้วสถานการณ์ยังไม่น่าไว้วางใจ เพราะยังคงมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อเหตุอยู่ โดยทำกันเป็นขบวนการและเป็นระบบ
 
กรุงเทพฯศูนย์กลางก่อเหตุร้าย
“กรุงเทพฯยังเป็นศูนย์กลางและเป็นเป้าหมายของการก่อความไม่สงบ รวมถึงพื้นที่ปริมณฑล โดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ใช้กำลังทหาร 2,900 นายเป็นผู้ช่วยตำรวจ ส่วนเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณไม่ต้องสงสัย รับรองได้ว่าไม่มีการนำไปใช้ในทางไม่ชอบ ซึ่งจะรวบรวมมารายงานต่อสภาแน่นอน” นายสุเทพกล่าว
 
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวหลังการประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎรว่า ที่ประชุมเห็นตรงกันให้ตรวจสอบผู้ที่ถูกคุมขังจากเหตุการณ์ความไม่สงบจำนวน 175 ราย ใน 17 เรือนจำทั่วประเทศ ว่าถูกดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หากใครยังไม่มีทนายสู้คดีก็จะจัดหาให้ โดยจะตรวจสอบให้เสร็จภายใน 5 วัน
เปิดศูนย์คืนของกลางผู้ชุมนุม
 
“ผมมั่นใจว่าไม่มีปัญหาเรื่องความไม่ชอบธรรม เพราะการจับกุมที่ผ่านมาเป็นไปตามกฎหมาย” นายธาริตกล่าวและว่า ในวันที่ 11 ต.ค. นี้จะเปิดศูนย์คืนของกลางที่ยึดเอาไว้ก่อนหน้านี้ เช่น รถยนต์ เวที เครื่องเสียง เต็นท์ ใครที่เป็นเจ้าของนำหลักฐานมายื่นขอรับคืนได้
 
อธิบดีดีเอสไอยังยืนยันว่า การข่าวของดีเอสไอพบว่าจะยังมีการก่อความไม่สงบขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงนี้ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะรุนแรงกว่าที่เกิดมาแล้วหรือไม่
 
“ขณะนี้พบว่ามีการเตรียมดำเนินการในลักษณะเดียวกับที่สมานเมตตาแมนชั่นอีก” นายธาริตกล่าว
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

โพลล์ชี้คนไม่เข้าใจ-ไม่เชื่อมั่นการปฏิรูปประเทศไทย ต้องการปฏิรูปภาษีเป็นธรรม อันดับ1

Posted: 10 Oct 2010 08:29 AM PDT

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ปฏิรูปประเทศไทยในสายตาประชาชน กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระหว่างวันที่ 6-9 ตุลาคม 2553 พบว่า ประชาชนร้อยละ 58.8 ติดตามข่าวการปฏิรูปประเทศไทยในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 41.2 ไม่ได้ติดตาม

ร้อยละ 47.9 ระบุยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปฏิรูปประเทศไทยที่เพียงพอ ในขณะที่ร้อยละ 20.3 ระบุเพียงพอแล้ว และร้อยละ 31.8 ยังไม่แน่ใจ

ร้อยละ 36.7 ไม่มั่นใจว่าการปฏิรูปประเทศไทยจะประสบความสำเร็จ เพราะคนไทยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ขาดความสามัคคี ยังมีความขัดแย้งกันหลายฝ่าย ไม่เชื่อมั่นต่อฝ่ายการเมือง เป็นต้น ร้อยละ 12.1 มั่นใจ เพราะเชื่อมั่นต่อศักยภาพของรัฐบาลชุดนี้ คนไทยยังสามัคคีกัน และจะทำให้บ้านเมืองสงบได้  เป็นต้น

ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อวิเคราะห์คนที่แสดงความคิดเห็นต่อการปฏิรูปประเทศไทย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.3 ไม่มั่นใจ ในขณะที่ร้อยละ 24.7 มั่นใจ 

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.3 ระบุการปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษีให้เป็นธรรมเป็นเรื่องเร่งด่วน รองลงมาคือร้อยละ 61.7 ระบุการปฏิรูปที่ดินเพื่อให้ถือครองอย่างเป็นธรรมเป็นเรื่องเร่งด่วน และร้อยละ 59.9 ระบุเป็นเรื่องการกระจายอำนาจสู่ชุมชน

นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ตอบแบบสอบถามในการปฏิรูปประเทศไทยด้านต่างๆ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.1 ระบุเรื่องการศึกษา รองลงมาคือ ร้อยละ 92.5 ระบุเรื่องเศรษฐกิจและอาชีพ ร้อยละ 91.0  เรื่องสุขภาพ ร้อยละ 90.7  เรื่องการสร้างจิตสำนึกพลเมือง ร้อยละ 90.1 เรื่องการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ร้อยละ 88.2 ร เรื่องสวัสดิการสังคม ร้อยละ 87.2   เรื่องการเมืองและความยุติธรรม รองๆ ลงไปคือ สิ่งแวดล้อม-พลังงาน การกำหนดแนวทางแก้ปัญหาประเทศ และสื่อสารมวลชน

สำหรับข้อเสนอแนะของประชาชนต่อการปฏิรูปประเทศไทย พบว่า อันดับแรก หรือร้อยละ 16.7 มองว่า ควรมีการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาประเทศให้ชัดเจน ร้อยละ 15.4 ควรปฏิรูปเรื่องการศึกษา ร้อยละ 14.2 ควรปฏิรูปการเมือง ความยุติธรรม ไม่มีหลายมาตรฐาน ร้อยละ 12.4 ควรปฏิรูปเรื่องเศรษฐกิจ รองๆ ลงไปคือ ควรมีการปลูกจิตสำนึกที่ดีให้รักชาติ ควรหาทางสอดคล้องและสามัคคีกัน ควรปฏิรูปนักการเมือง เร่งแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ปรับค่าครองชีพ การเลือกตั้ง ความยากจน สาธารณสุขและสื่อมวลชน เป็นต้น

เมื่อถามถึงแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติว่าจะช่วยทำให้ประเทศชาติเกิดความสงบร่มเย็นขึ้นมากน้อยเพียงไร พบว่า ร้อยละ 46.9 มองว่า รัฐบาลแห่งชาติจะช่วยทำให้บ้านเมืองสงบได้ค่อนข้างน้อยถึงไม่ได้เลย ในขณะที่ร้อยละ 23.2 ระบุปานกลาง และร้อยละ 29.9 ระบุค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

ที่น่าพิจารณาคือ ร้อยละ 32.0 ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ  ในขณะที่ร้อยละ 28.0 เห็นด้วยและร้อยละ 40.0 ไม่แน่ใจ

เมื่อถามถึงความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อการทำงานของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พบว่า เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน ได้ 5.36 คะแนนหรือเกินกว่าครึ่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ข้อมูลครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์บ้านเมืองที่น่าเป็นห่วงมากถึงมากที่สุด เพราะ แนวทางที่เคยคิดกันว่าจะเป็นทางออกของประเทศได้กลับมีผลวิจัยสะท้อนออกมาที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังอย่างน่าเสียดายเพราะ วันนี้การปฏิรูปประเทศไทยยังขาดพลังที่เพียงพอในการขับเคลื่อนโดยตัวชี้วัดจากผลสำรวจคือ ประชาชนต้องการมีส่วนร่วมแต่ยังมองไม่เห็นหนทางว่าจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แอมเนสตี้ชี้ สหรัฐฯ โดดเดี่ยวมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่โลกหันหลังให้กับโทษประหาร

Posted: 10 Oct 2010 08:21 AM PDT

 
เนื่องในวันต่อต้านโทษประหารโลกในวันที่ 10 ตุลาคม แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยแพร่แถลงการณ์กระตุ้นให้สหรัฐฯ ยุติการลงโทษที่มีลักษณะโหดร้ายและไร้มนุษยธรรม สหรัฐฯ เป็นประเทศเดียวในทวีปอเมริกาที่ยังลงโทษประหารชีวิตเมื่อปี 2552
 
“ประเทศส่วนใหญ่ปฏิเสธการใช้โทษประหาร เหตุใดสหรัฐฯ ซึ่งอ้างความเป็นผู้นำด้านสิทธิมนุษยชนยังคงใช้วิธีสังหารชีวิตคนอย่างถูกกฎหมายอีก?” วิดนีย์ บราวน์(Widney Brown) ผู้อำนวยการอาวุโสด้านกฎหมายและนโยบายระหว่างประเทศแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว
 
 “โทษประหารเป็นสิ่งที่โหดร้าย ย่ำยีศักดิ์ศรี ไม่เป็นผล และไม่สอดคล้องเอาเลยกับแนวคิดด้านศักดิ์ศรีของมนุษย์ใด ๆ การที่ยังใช้โทษประหารในสหรัฐฯ แสดงถึงการกระทำโดยพลการ เลือกปฏิบัติ และผิดพลาด
 
ผู้หญิงและผู้ชายกว่า 1,200 คน ได้ถูกประหารในสหรัฐฯ นับแต่มีการนำโทษประหารกลับมาใช้ใหม่เมื่อปี 2520 หลังจากเว้นวรรคไปถึงหนึ่งทศวรรษ ศาลที่มีเขตอำนาจในรัฐเท็กซัส เวอร์จิเนีย และโอคลาโฮมา มีคำสั่งประหารชีวิตกว่าครึ่งหนึ่งของคำสั่งประหารทั้งหมด ซึ่งสะท้อนถึงอคติด้านภูมิศาสตร์ในวงกว้าง
 
นับแต่ปี 2519 มีการปล่อยตัวผู้ต้องขังจากแดนประหารกว่า 130 คน เนื่องจากพบในภายหลังว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ เฉพาะปี 2552 มีการปล่อยตัวผู้บริสุทธิ์ถึงเก้าคน ส่วนที่เหลือได้ถูกประหารทั้ง ๆ ที่ยังมีข้อกังขาอย่างจริงจังถึงความผิดของพวกเขา
 
งานศึกษาต่าง ๆ ชี้ให้เห็นว่า เชื้อชาติเป็นประเด็นที่มีบทบาทต่อผู้ที่ถูกสั่งประหารในสหรัฐฯ โดยเฉพาะในคดีฆาตกรรมที่มีเหยื่อเป็นชาวผิวขาว มักจะส่งผลให้ศาลตัดสินลงโทษประหารผู้ที่ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นผิวดำ
 
 “เชื้อชาติ ภูมิศาสตร์ การเมืองเนื่องจากการเลือกตั้ง ทุนในท้องถิ่น องค์ประกอบของคณะลูกขุน และคุณภาพของการว่าความ ต่างเป็นประเด็นที่เป็นปัญหาในคดีที่มีโทษถึงขั้นประหารชีวิตในสหรัฐฯ การที่ต้องเข้ารับการไต่สวนในคดีอาชญากรรมร้ายแรงก็เหมือนกับการซื้อล็อตเตอรี่ที่ชี้เป็นชี้ตาย ระบบเช่นนี้ไม่ควรเกิดขึ้นในระบบยุติธรรมใด ๆ” วิดนีย์ บราวน์วิดนีย์ บราวน์กล่าว
 
ไม่มีหลักฐานใดแสดงว่าโทษประหารเป็นมาตรการป้องปรามการก่ออาชญากรรมรุนแรงที่ได้ผลกว่าการขังคุก
 
 “การที่ยังปล่อยให้ประหารชีวิตคนต่อไปเป็นเรื่องที่ไม่ชอบธรรม โดยเฉพาะหากเราทราบว่าผู้ที่ได้รับโทษประหารเป็นผู้บริสุทธิ์ สหรัฐฯ ต้องเข้าร่วมกับประเทศส่วนใหญ่ในโลกที่มุ่งละทิ้งโทษประหาร" วิดนีย์ บราวน์ กล่าว
 
นับแต่ปี 2536 มีการประหารชีวิตกว่า 1,000 ครั้งในสหรัฐฯ ในขณะที่ภาคประชาชนและภาคการเมืองให้ความสนับสนุนการลงโทษเช่นนี้น้อยลง
 
รัฐนิวเม็กซิโกและรัฐนิวเจอร์ซี ได้ยกเลิกโทษประหารโทษประหารไปเมื่อสองปีที่แล้ว และจำนวนโทษประหารชีวิตในแต่ละปีได้ลดลงถึงสองในสามเมื่อเทียบกับช่วงที่มีจำนวนมากสุดในระหว่างทศวรรษ 1990 ในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ศาลฎีกาของสหรัฐฯ ได้ยกเลิกโทษประหารสำหรับผู้กระทำผิดที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีในขณะนั้น หรือเป็นผู้ที่มี “ความล่าช้าทางสติปัญญา”
 
การยกเลิกโทษประหารในสหรัฐฯ จะเป็นจังหวะเวลาสำคัญของการเคลื่อนไหวเพื่อให้ยกเลิกการลงโทษแบบนี้ในระดับโลก แต่ที่ผ่านมายังช้าเกินไป
 
 
ทั้งนี้ การรณรงค์ในวันต่อต้านโทษประหารโลกประจำปี 2553 จะเน้นที่การบังคับใช้โทษประหารในสหรัฐฯ วันที่ 10 ตุลาคมของแต่ละปีเป็นจุดเริ่มต้นของกิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง และจะมีกิจกรรมปิดท้ายในวันที่ 30 พฤศจิกายน โดยจะมีการเปิดไฟอาคารที่เป็นสัญลักษณ์ในกว่า 1,000 เมืองทั่วโลก เพื่อรำลึกถึงการยกเลิกโทษประหารเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2329 ที่แคว้นทัสคานี (Tuscany)
 
ในสหรัฐฯ โทษประหารมีอยู่ทั้งในระดับมลรัฐและรัฐบาลกลาง ในปัจจุบัน 15 จาก 50 รัฐ รวมทั้ง District of Columbia (กรุงวอชิงตันดีซี) ต่างยกเลิกกฎหมายประหารชีวิตไปแล้ว
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กวีประชาไท: ไม้หนึ่ง ก.กุนที: สามัคคีของคนทุกข์

Posted: 10 Oct 2010 08:00 AM PDT

 
“เพิ่งทบทวนว่า ช่วงที่เคลื่อนไหวทั้งสถานการณ์ผ่านฟ้า และราชประสงค์ มีบทกวีอยู่จำนวนหนึ่งเขียนขึ้นมาแล้ว อ่านบนเวทีเพียงอย่างเดียว แม้มีการถ่ายทอดสดทางTVและเว็บไซด์ แต่ก็ไม่ได้เผยแพร่ตัวบท วันนี้จึงอยากเผยแพร่บทกวีที่เขียนไว้เมื่อครั้งตั้งกองกำลังศิลปินไพร่บนป้อมมหากาฬงานชิ้นนี้เขียนเมื่อวันที่ 11 เมษา หลังสงกรานต์โหด 53 เพียงวันเดียว ในวาระ 6 เดือน” จดหมายจากไม้หนึ่ง ก.กุนที
 
 
สามัคคีของคนทุกข์
 
1
ความรัก ของคนยากไร้
อธิปไตย ที่มาจากชนชั้นล่าง
ลงทุนด้วย เลือดเนื้อ ถมทำทาง
แคบสู่กว้าง เปิดถนน ให้คนเดิน
 
2
การเมือง ของคนยากไร้
ปัญญาชน เขาเข้าใจแค่ผิวเผิน
เทพชั้นสูง บิดเบือนว่า เป็นส่วนเกิน
ชนชั้นกลาง เชื่อตามเมิน ไม่ร่วมแนว
 
3
การต่อ สู้ของ ผู้ยากไร้
ถูกตีแตก ยับทำลาย ไปหลายแถว
ชัยชนะ มองด้วยตา เหมือนหรี่แวว
แต่มั่นใจ คงแน่วแน่ รุกต่อตี
 
4
รบจนมี คนล้มหาย ลับตายจาก
อย่างตีนหนา หน้าบาง สมศักดิ์ศรี
อุทิศตน ป่นปลูกสร้าง ทางเสรี
เพราะฝันใฝ่ ถึงสังคม ที่ดีงาม
 
 
5
รบจนมี คนมากมาย ได้ตายจาก
เพราะรื้อถอน เถื่อนซาก ทิวขวากหนาม
เพื่อเผ่าพันธุ์ กำพืดไพร่ ผู้ไร้นาม
ทรราชย์ ฆ่าคุกคาม ไม่ขามเกรง
 
 
6
ลุกขึ้นจาก ใต้ถุน ฐานสังคม
สิ้นสุดกับ การกดจม เหยียบข่มเหง
เปลี่ยนประเทศที่ล้าหลัง โคตรวังเวง !
ก้องเพลงมาร์ช สามัคคีของคนทุกข์ !!
 
 
ไม้หนึ่ง ก.กุนที / กวีราษฎร
11 APRIL 2010
6 MONTH LATER
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 4 ต.ค. - 10 ต.ค. 2553

Posted: 10 Oct 2010 05:56 AM PDT

กกร.ไม่เห็นด้วยกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ

ต.ค. 53 -  นายดุสิต นนทะนาคร ประธานหอการค้าไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)  เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกร.ได้หารือถึงค่าแรงขั้นต่ำที่ก่อนหน้านี้มีข่าวออกมาว่าทาง กกร.สนับสนุนอัตราค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศให้มีอัตราเดียวกันนั้น  โดยที่ประชุมเห็นว่า ค่าจ้างขั้นต่ำคือ อัตราค่าจ้างสำหรับแรงงานใหม่ไร้ฝีมือ และการกำหนดแรงงานขั้นต่ำขึ้นอยู่กับปัจจัยการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง  รวมถึงค่าครองชีพแต่ละจังหวัดแต่ละพื้นที่ซึ่งไม่เท่ากัน  จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดอัตราค่าจ้างเดียวกัน 

นายดุสิต กล่าวว่า ข่าวที่ระบุว่าจะกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเดียวกันไม่ตรงกับข้อเท็จจริง  ที่สำคัญการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเป็นอำนาจของคณะกรรมการไตรภาคี  ซึ่ง กกร.จะไม่เข้าไปยุ่งหรือก้าวก่าย  ส่วนค่าจ้างตามคุณวุฒิวิชาชีพของแรงงาน หรือแรงงานที่มีประสบการณ์และมีฝีมือ  เป็นการกำหนดตามความรู้ความสามารถ  โดย กกร. ร่วมกับสำนักงานอาชีวศึกษาจัดทำโครงการนำร่อง เพื่อวางแผนจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิในวิชาชีพอุตสาหกรรมต่าง ๆ  ไปแล้ว  ซึ่งแนวทางดังกล่าว กกร.เห็นว่าเป็นแนวทางใหม่ที่จะช่วยแก้ปัญหาแรงงานและยกระดับขีดความสามารถ การแข่งขันของประเทศได้อย่างยั่งยืนมากกว่า

นายดุสิต  กล่าวถึงค่าเงินบาทแข็งค่าว่า  ที่ประชุม กกร.ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการอย่าให้เงินบาทผันผวน  เนื่องจากจะกระทบผู้ส่งออกโดยตรง  ซึ่งค่าเงินบาทที่เหมาะสมจะต้องทำให้ความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่ค้า อยู่ระดับที่ทัดเทียมกัน.

(สำนักข่าวไทย, 4-10-2553)

117 แรงงานถูกหลอกทำงานสวีเดนกลับถึงไทย

ต.ค. 53 - แรงงานไทยจากสวีเดน 117 คน เดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้วเช้านี้ เพื่อขอความช่วยเหลือ หลังถูกนายหน้าคนไทยหลอกไปเก็บผลเบอร์รี่ เป็นเวลา 2 เดือนครึ่งและไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญา เรียกร้องขอเงิน 78,000 บาทที่กู้มาคืน ด้าน รมว.พม.เผยแรงงานจะได้เงินคืนเมื่อจับกุมนายหน้าได้

(สำนักข่าวไทย, 4-10-2553)

เตือนแรงงานไทยถูกหลอกไปเก็บผลไม้ที่สวีเดน

เมื่อวันที่ 3 ต.ค. นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์ว่าได้รับรายงานจากสำนักบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ซึ่งประสานผ่านกรมการกงสุลเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2553 ว่า มีคนไทยที่เดินทางไปเก็บผลไม้ป่าตามฤดูกาลในประเทศสวีเดนกับบริษัทล็อมเบรี ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับซื้อผลไม้ป่าสัญชาติสวีเดน โดยคนงานไทยทั้ง 109 คน ได้รับเงินค่าจ้างล่าช้าและต่ำกว่าเงินเดือนขั้นต่ำที่บริษัทประกันไว้ คือ รายละเจ็ดหมื่นกว่าบาทต่อเดือน และมีการเจรจากับหัวหน้างานเพื่อตกลงเรื่องค่าจ้างค้างจ่ายและขอให้คนงาน เดินทางกลับตามกำหนดการในวันที่ 3 ตุลาคม 2553 และจะมาถึงประเทศไทยในวันที่ 4 ตุลาคม 2553 โดยสายการบินไทยเที่ยวบิน ทีจี 961 เวลา 05.55 น. โดยเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางานจะไปรอรับที่สนามบินสุวรรณภูมิและจะได้รับ เรื่องร้องเรียนเพื่อติดตามเงินค่าจ้างดังกล่าวผ่านทางการสวีเดนต่อไป อันจะเป็นการบรรเทามิให้คนงานต้องมีหนี้สินเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้จากข้อรายงานยังระบุด้วยว่าคนงานยังต้องเสียภาษีอีกร้อยละ 25 ตามกฎหมายสวีเดน และเสียค่าที่พัก ค่าอาหาร อีกคนละ 190 โครนาสวีเดนต่อวัน เงินที่เหลือกลับประเทศเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วจึงไม่ คุ้มกับเงินที่เสียให้กับนายหน้าจัดหางานที่ต้องจ่ายคนละประมาณ 78,000 บาท อย่างไรก็ดี หัวหน้าคนงานรับและแจ้งต่อหน้าคนงานว่าจะจ่ายเงินค่าจ้างเดือนแรกให้กับคน งานในวันที่ 26 กันยายน 2553 และงวดที่สองในวันที่ 1 ตุลาคม 2553 ก่อนที่คนงานไทยจะเดินทางกลับ

(เดลินิวส์, 4-10-2553)

"คนงานลิเบีย"นัดบุกทำเนียบฯจี้นายกฯเยียวยาความเดือดร้อน

ความคืบหน้าปัญหาแรงงานไทยไปทำงาน ก่อสร้างในประเทศลิเบียกลุ่มที่บริษัทจัดหางานเงินและทองพัฒนา    จำกัด    ส่งไปให้บริษัทนายจ้าง           ARSEL  BENA  WA TASEED JOINT VENTURE  จำนวน  216 ชีวิต ที่เพิ่งได้รับความช่วยเหลือให้พ้นขุมนรกเดินทางกลับถึงบ้านเกิดเมืองนอนลอต สุดท้าย 26 คน วันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมานั้น


ล่าสุด เมื่อวันที่ 4 ต.ค.53 นายสนิท บุญทวี อดีตส.อบต.ไทยสามัคคี อ.หนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ ผู้ประสานงานแรงงานไทยที่ไปตกระกำลำบากในลิเบียกลุ่มดังกล่าว เปิดเผยกับ"สยามรัฐ" ว่า  หลังจากแรงงานไทยกลุ่มนี้ได้รับความช่วยเหลือให้ได้เดินทางกลับประเทศไทย แต่ปัญหาที่พวกเขาได้รับผลกระทบยังมีอยู่และต้องมีการเรียกร้องให้ทางรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเยียวยาต่อไป


"ต่อไปคงมีการติดต่อประสานงานกัน รวบรวมรายชื่อให้เป็นระบบ แล้วนัดหมายรวมพลังแรงงานและครอบครัวเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เรียกร้องขอความช่วยเหลือจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ,นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน และกรรมาธิการแรงงาน วุฒิสภา และกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร" นายสนิท กล่าวและว่า ตัวแทนแรงงานประมาณ 100 คน ได้เคยรวมตัวเรียกร้องกรณีนี้มาแล้วเมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา แต่เมื่อแรงงานกลับมาครบถ้วนเราจึงต้องการแสดงออกถึงความเดือดร้อนว่าเป็น จริงๆ มีตัวตนคนงานจำนวนมาก จึงต้องมีการรวมตัวเรียกร้องกันอีกครั้ง ซึ่งกำหนดวันเวลาต้องหารือกันต่อไป นอกจากนี้ จะเข้าขอบคุณอดีตส.ว.ชัชวาลย์ คงอุดม คอลัมนิสต์อาวุโสนสพ.สยามรัฐ และทีมงานนสพ.สยามรัฐที่เป็นสื่อกลางเสนอความเดือดร้อนมาอย่างต่อเนื่องด้วย


สำหรับข้อเรียกร้องแรงงานไทยใน ลิเบียที่ต้องการความช่วยเหลือจากทางรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนี้ 1.เรียกร้องค่าหัวคิวคืนตามสัดส่วน กรณีที่บริษัทจัดหางานเรียกเงินค่าหัวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดคือเกิน 4 เท่าของอัตราเงินเดือนสัญญาจ้าง 1 ปี 2.เรียกร้องเงินเดือนค้างจ่าย เงินล่วงเวลา เงินโอทีวันหยุด เงินหักต่อเดือน เงินโอทีบังคับและเงินโบนัสครบสัญญา 15 วัน ประมาณ 400   ดีน่าร์ 3.เรียกร้องให้รัฐบาลจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำมาแก้ไขปัญหาหนี้สินนอก ระบบที่เกิดจากการกู้ยืม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานที่ลิเบีย 4.เรียกร้องให้กระทรวงแรงงาน หาตลาดแรงงานต่างประเทศให้แรงงานที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ เดินทางไปทำงานเพื่อให้มีเงินใช้หนี้ที่เกิดขึ้น 5.เรียกร้องให้กรมการจัดหางาน ปรับลดค่าหัว ค่าบริการ ในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ 6.จัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อคนหางานไปทำงานต่างประเทศ โดยรัฐบาลอุดหนุน เงินกู้เพื่อคนหางาน

(สยามรัฐ, 5-10-2553)

บอร์ดค่าจ้างนัดถกด่วนขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ11ตุลาคมนี้ 

(5ต.ค.)นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (บอร์ดค่าจ้าง)กล่าวถึงความคืบหน้าในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปีว่า คณะกรรมการค่าจ้างได้มีการนัดประชุมอย่างเร่งด่วนในวันจันทร์ที่ 11 ตุลาคมนี้ เนื่องจากมีการถกเถียงกันมากในเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยเฉพาะฝ่ายลูกจ้างที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งกระทรวงแรงงานจะเร่งพิจาณาให้เร็วที่สุด โดยขณะนี้คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดได้ส่งตัวเลขการปรับขึ้นค่าจ้างมายัง คณะกรรมการกลางทุกจังหวัดแล้ว ขณะเดียวกันก็ยอมรับว่าการปรับขึ้นค่าจ้างในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ยังมีปัญหาในบางพื้นที่ ค่าจ้างไม่เพียงพอ ซึ่งในที่ประชุมจะนำประเด็นนี้มาพิจาณา เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ส่วนกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ทบทวนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้เหมาะสม โดยวางกรอบตัวเลขไว้ที่ 250 บาทนั้น ก็เป็นเพียงกรอบตัวเลขที่นายกฯ ได้วางไว้เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องได้เท่านั้น เพราะอัตราค่าจ้างจะปรับขึ้นเท่าไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการค่าจ้าง ที่เป็นไตรภาคี ประกอบด้วย ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง จะเป็นผู้พิจารณา

ด้านนายสมศักดิ์ ทองงาม คณะอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำจ.อ่างทอง ฝ่ายลูกจ้าง กล่าวว่า คณะอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำ จ.อ่างทอง มีมติเป็นเอกฉันท์ ขอปรับขึ้นค่าจ้างอีก 5 บาท จาก เดิม 165 เป็น 170 บาท   อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นครั้งนี้ ยังถือว่าไม่สะท้อนความเป็นจริงของภาวะเศรษฐกิจ และค่าครองชีพ ทั้งนี้ ตนเห็นด้วยกับแนวคิดที่จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 250   เท่ากันทั่วประเทศ เพราะปัจจุบันโรงงานขนาดใหญ่ ทั่วไป ให้ค่าจ่างขั้นต่ำแรกเข้าที่ 200 บาทขึ้นอยู่แล้ว แต่ในโรงงานขนาดเล็ก ยังคงยึดค่าแรงงานขั้นต่ำ ซึ่งต่อโรงงานขนาดเล็กก็จะประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานแน่ 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดที่น่าสนใจในการขอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศในครั้งนี้ มีหลายจังหวัด อาทิ จ.แพร่ ที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ ต่ำสุด 151 บาท อนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดมีมติ ขอปรับขึ้นค่าจ้างอีก 7 บาท เป็น 158 บาท , จ.น่าน เดิม 152 ปรับขึ้น 4 บาท เป็น 156 บาท , จ.ศรีษะเกษ เดิม 152 บาท ปรับขึ้น 2 บาทเป็น 154 บาท , จ.ประจวบคีรีขันธ์ 164 ปรับขึ้น 3 บาท เป็น 167 บาท , จ.ภูเก็ต เดิม 204 บาท ขอปรับขึ้น 10 บาท เป็น 214 บาท ส่วน จ.เพชรบูรณ์ เดิมปีที่แล้ว บอร์ด ค่าจ้างกลาง มีมติไม่ปรับขึ้นพร้อมกับอีก 4 จังหวัด แต่นายกรัฐมนตรีสั่งให้ทบทวน จนมีการปรับขึ้นค่าจ้าง   3 บาทเป็น   155 บาท ปีนี้ขอปรับขึ้น 2 บาทเป็น 160 บาท ขณะที่ กรุงเทพฯ มีการเสนอขอขึ้น 7 บาท จากเดิม 206 เป็น 213 บาท

(คมชัดลึก, 5-10-2553)

ช่วย 117 คนงาน ถูกหลอก กลับจากสวีเดน

ปัญหาแรงงานไทยไปเก็บผลไม้ป่าที่ ประเทศสวีเดนก็ยังมีการเบี้ยวค่าจ้างเกิดขึ้นอีกเหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 ต.ค. เวลา 05.30 น.ที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ นายอิสสระ สมชัย รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้นำข้าราชการระดับบริหารของกรม พัฒนาสังคม กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ไปรอรับคนงานไทย จำนวน 117 คนที่ได้รับการช่วยเหลือจากสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เดินทางมาโดยเครื่องบิน บมจ.การบินไทยเที่ยวบินที่ทีจี 961 กลับประเทศไทยสำหรับคนงานทไทยทั้ง 117 คน ได้รับการติดต่อจากนายหน้าให้ไปทำงานกับบริษัทลอม เบอร์รี่ ตั้งอยู่ที่เมืองอัลเซเร ทางภาคเหนือของสวีเดน เพื่อเก็บผลเบอร์รี่ป่า เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางทั้งหมดคนละ 85,000 บาท นายหน้าแจ้งว่าจะประกันรายได้ตามสัญญาไม่ต่ำกว่าคนละ 140,000 บาท แต่เมื่อไปทำงานตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. จนถึงวันที่ 30 ก.ย. ไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญา อีกทั้งตัวแทนและสายบริษัทได้หลบหนีไป คนงานส่วนหนึ่งจึงต้องเดินทางกลับ

ทันที่ที่ถึงท่าอากาศยานนานาชาติ สุวรรณภูมิคนงานก็ได้ยื่นหนังสือต่อนายอิสสระ สมชัย รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อขอให้ช่วยเหลือเรียกร้องเงินค่าจ้างค้างจ่าย และสิทธิประโยชน์จากบริษัทลอม เบอร์รี่ พร้อมทั้งให้ดำเนินคดีกับนายภูมิคชา นาคคำสาย หรือ นายหน้าของบริษัท ที่หลอกลวงพวกตนไปทำงานที่สวีเดน และไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญา จากนั้นนายอิสสระได้ให้เจ้าเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาสังคม และเจ้าหน้าที่กรมการจัดการงานสัมภาษณ์คนงานแต่ละคน ก่อนให้การช่วยเหลือด้านการเงินจำนวนหนึ่ง และจัดรถบัสนำส่งกลับภูมิลเนา พร้อมกันนี้เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาสังคมได้นำตัวแทนคนงาน 16 คน ไปแจ้งความดำเนินคดีกับนายภูมิคชา นาคคำ และผู้แทนบริษัทลอม เบอร์รี่ ในประเทศไทย ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ส่วนนายภูมิคชานั้นยังอยู่ที่ประเทศสวีเดน หากเดินทางกลับประเทศไทย ทางตำรวจก็จะจับกุมตัวมาสอบสวนดำเนินคดี

ก่อนหน้าที่คนงานไทย 117 คนจะได้รับการช่วยเหลือเดินทางกลับประเทศไทยนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา น.ส.มธุรพจนา อิทธะรงค์ รองอธิบดีกรมการกงสุล พร้อมด้วยนายสุเมธ มโหสพ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน นายปริญญา ศิริสารการ กรรมการสิทธิมนุษยชน และนายอรรณพ บุราณเศรษฐ อัครราชทูตที่ปรึกษา ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงสตอกโฮล์ม ได้เดินทางไปเยี่ยมแรงงานที่ไปทำงานเก็บผลเบอร์รี่เพื่อรับฟังปัญหาต่างๆ ปรากฏว่ามีคนงานไทย จำนวน 157 คน ที่ไปทำงานเก็บผลเบอร์รี่ป่ากับบริษัทลอม เบอร์รี่ เมืองอัลเซเร ได้มาร้องเรียนว่าไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญาเนื่องจากนายภูมิคชา สายของบริษัทยืนยันว่าทุกคนจะได้รับเงินประกันรายได้คนละ 140,000 บาท ได้เริ่มทำงานเมื่อวันที่ 7 ส.ค. และจะครบกำหนดกลับวันที่ 5 ต.ค.นี้ส่วนรายได้นั้นทางบริษัทแจ้งว่าต้องเสียภาษี ค่าอาหารและค่าเดินทาง เหลือเดือนละ 6,579 โครนสวีเดน หรือประมาณ 29,605 บาทไม่เป็นไปตามข้อตกลง โดยอ้างว่าปีนี้ผลเบอร์รี่ป่ามีน้อย รายได้ไม่ตรงตามเป้า ทั้งๆ ที่ทำงานตั้งแต่เวลา 04.00-22.00 น.

หลังจากทราบเรื่อง น.ส.มธุรพจนา อิทธะรงค์รองอธิบดีกรมการกงสุล พร้อมคณะได้ติดต่อหารือกับนายเบิร์ท รุท ดาลแบรก นายกเทศมนตรีเมืองอัลเซเร และบริษัทเพื่อช่วยไกล่เกลี่ย โดยคนงานขอให้จ่ายค่าจ้างตามสัญญา คิดเป็นเงินไทย 140,000 บาท เพราะได้รับยังไม่ครบ ซึ่งตัวแทนบริษัทก็แจ้งว่าประธานบริษัทจะเดินทางไปพบคนงานเพื่อไกล่เกลี่ยใน วันที่ 29 ก.ย. แต่พอถึงวันที่ 29 ก.ย. ผู้แทนบริษัทและนายภูมิชา สายบริษัทได้หลบหนีไปไม่ยอมมาชำระค่าจ้าง คนงานจึงได้แจ้งให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม ทราบ นายอรรณพ บุราณเศรษฐ อัครราชทูตที่ปรึกษาฯ จึงได้ประสานกับเทศบาลเมืองอัลเซเร และสหภาพแรงงานท้องถิ่น จัดรถยนต์ไปรับคนงานไปส่งที่ท่าอากาศยานสตอกโฮล์ม เมื่อวันที่ 3 ต.ค.และยังมีคนงานอีก 38 คนยังไม่ยอมกลับ ยืนยันขออยู่ต่อสู้คดีกับบริษัท โดยมีสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม และสหภาพแรงงานเมืองอัลเซเร จะร่วมฟ้องร้องบริษัทเพื่อเรียกร้องค่าจ้างให้กับคนงาน

(ไทยรัฐ, 5-10-2553)

แรงงานลิเบียร้องนายจ้างขู่อุ้มฆ่า!ฉุนปูดผิดสัญญา

เรื่องราวความเดือดร้อนของนักรบแรง งานไทยที่ไปตกทุกข์ได้ยากในประเทศลิเบียยังไม่จบสิ้นแค่คนงาน216 ชีวิต ที่บริษัท จัดหางานเงินและทองพัฒนา จำกัด ส่งไปทำงานก่อสร้างกับบริษัท ARSEL BENA WA TASEED JOINT VENTURE ได้เดินทางกลับประเทศไทยเท่านั้น การต่อสู้เรียกร้องทวงคืนเงินเดือนค่าจ้างค่าล่วงเวลาและค่าหัวคิว ยังเป็นปมปัญหาที่เหยื่อแรงงานดิ้นรนต่อสู้ขอความเป็นธรรมอยู่ในขณะนี้ ล่าสุดแรงงานไทยที่ไปทำงานกับบริษัทRANHILL อีกไซต์งานแห่งหนึ่งที่มีแรงงานไทยเกือบ 1,000 คน กำลังประสบชะตากรรมเช่นเดียวกัน และรอความช่วยเหลือให้ได้เดินทางกลับประเทศไทยเช่นกัน

เมื่อวันที่ 5 ต.ค.53 แหล่งข่าวแรงงานไทยเปิดเผยว่า วันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมา คนงานไทยคนหนึ่งที่ไปทำงานก่อสร้างคอนโดมิเนียม กับบริษัท RANHILL ที่แคมป์พาจูลี่ได้ถูกส่งตัวกลับประเทศไทยแบบกะทันหันแต่เพียงลำพัง เนื่องจากได้ออกมาเรียกร้องสัญญาที่ไม่เป็นธรรม โดยไซต์งานแห่งนี้มีแรงงานไทยจำนวนมากต้องการเดินทางกลับประเทศไทยเช่นกัน แต่บริษัทดังกล่าวต้องการคนงานเป็นจำนวนมากจึงบีบบังคับไม่ให้กลับด้วยการ เรียกเงินค่าเครื่องบินรายละ40,000-50,000 บาท หรือไม่เช่นนั้นต้องทำงานฟรีแลกกับค่าเครื่อง บิน 3-4 เดือน

"แรงงานคนดังกล่าวเป็นชาวขอนแก่นและ เขาเคยโทรศัพท์ข้ามประเทศจากลิเบียมาร้องทุกข์กับ นสพ.สยามรัฐ โดยระบุความเดือดร้อนไม่ได้รับเงินเดือนค่าจ้างตรงตามสัญญา และเงินไม่จ่ายตามกำหนด เงินโอที

ก็ไม่มีความเป็นอยู่ก็ไม่ได้มาตรฐาน ไปทำงานต้องเดินผ่าพายุทะเลทราย 3-6 กิโลเมตรซึ่งชะตากรรมไม่ต่างจากบริษัท ARSEL ที่นสพ.สยามรัฐนำเสนอข่าวออกไป หลังจากมีข่าวของ RANHILL คนงานรายนี้และเพื่อนๆ ที่สนิทกันก็ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด บางคนยังถูกเรียกไปต่อว่าเมื่อภรรยาที่อยู่ประเทศไทย ได้โทรศัพท์มาร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือให้สามีเดินทางกลับไทย"แหล่ง ข่าวกล่าวและว่า คนงานกลุ่มนี้จึงไม่ได้รับความไว้วางใจ และยังถูกข่มขู่เอาชีวิตอีกด้วย

แหล่งข่าวเปิดเผยอีกว่าแรงงานคนนี้ แม้จะกลัวความไม่ปลอดภัยในชีวิต แต่เขากล้าที่จะเดินหน้าชน เพื่อเรียกร้องความถูกต้อง หากถูกเอาชีวิตจริงก็พร้อม เพราะไม่ต้องการให้เพื่อนแรงงานไทยคนอื่นๆ อีกหลายพันชีวิตถูกเอารัดเอาเปรียบกดขี่ข่มเหงแรงงานเช่นเดียวกับตนซึ่งที่ ผ่านมาเขาก็เป็นแกนนำในการประท้วงเพื่อทวงค่าจ้างจากนายจ้าง ซึ่งก็ยังมีการผิดสัญญาจ่ายช้าหรือไม่จ่ายเช่นเดิม จึงมีความต้องการที่จะเดินทางกลับประเทศไทย

"ขณะนี้บริษัทนายหน้าและสายของนาย หน้าต้องการส่งคนงานไทยไปทำงานลิเบียจำนวนมาก พยายามเดินสายหลอกล่อคนงานไทยทางภาคเหนือ-อีสานให้ไปทำงานลิเบีย โดยชักชวนว่าได้รับเงินเดือนค่าจ้างสูง ค่าโอทีมีทุกวัน การกินการอยู่ดีซึ่งคนงานที่ตกเป็นเหยื่ออยู่ที่ลิเบียต่างเป็นห่วงไม่อยาก ให้คนยากจนเสียค่าหัวคิวสูงๆ แล้วมาตกระกำลำบากเป็นทาสแรงงาน ราวกับตกขุมนรกถูกกักขังเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์" แหล่งข่าว กล่าว

(สยามรัฐ, 5-10-2553)

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) แถลงข่าว ประเด็นการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ

เนื่องจากขณะนี้ได้มีความสับสน เกี่ยวกับข่าว เรื่องการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและการกำหนดค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน คณะกรรมการ กกร. จึงขอชี้แจงดังต่อไปนี้

1. ค่าจ้างขั้นต่ำคืออัตราค่าจ้างสำหรับแรงงานใหม่ที่ไร้ฝีมือ กำหนดขึ้นจากการพิจารณาปัจจัยหลัก ในด้านต่างๆ ได้แก่ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อ และความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง เป็นต้น รวมทั้งเพื่อให้ อุตสาหกรรมสามารถแข่งขันต่อไปได้ แ ละประชาชนสามารถยังชีพได้

การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำนี้เป็น หน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้างไตรภาคี ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากภาครัฐ ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง โดยทั่วไปการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเป็นไปตามสภาพของแต่ละภูมิภาคซึ่งไม่จำเป็น จะต้องเป็นอัตราเดียวกัน

กกร.มิได้เห็นชอบกับอัตราค่าจ้าง ขั้นต่ำและการกำหนดเป็นอัตราเดียวกันทั้งประเทศตามที่เป็นข่าว โดยมิได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ต่างๆ ตามที่ได้กล่าวข้างต้น กกร. เห็นว่าการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำนี้ควรดำเนินการโดยคณะกรรมการค่าจ้างไตรภาคี ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย

2. ค่าจ้างตามคุณวุฒิวิชาชีพของแรงงาน คืออัตราค่าจ้างแรงงานที่มีประสบการณ์หรือแรงงานฝีมือ เป็นการกำหนดค่าจ้างตามระดับความรู้ความสามารถและประสิทธิภาพในการทำงานของ แรงงานทั้งในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและภาคบริการ ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนไปตามโครงสร้างของเศรษฐกิจ และกลไกตลาด

ขณะนี้ กกร. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำโครงการนำร่องเพื่อการวางแผนจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพในสาขา อุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งการออกใบรับรองซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ

กกร.มีความเห็นว่าแนวทางใหม่นี้จะเป็นมาตรการสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ดังนั้นการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำกับค่าจ้างตามคุณวุฒิวิชาชีพ จึงเป็นคนละกรณีกัน

(หอการค้าไทย, 5-10-2553)

บิ๊ก กยศ.เผยปี 54 ทุนน้อยเลือกเฉพาะสาขาแรงงาน

นายเสริมเกียรติ ทัศนสุวรรณ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ2554 กยศ. ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐ จำนวน18,000 ล้านบาท ลดลง 3,000 ล้านบาท จากที่เสนอขอไป21,000 ล้านบาท ส่งผลให้ต้องนำเงินของกยศ.มาสมทบมากถึง21,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินรวมจำนวน 39,000 ล้านบาท มาปล่อยกู้ให้แก่ผู้กู้รายใหม่และรายเก่า ประมาณ930,000 คน โดยในเดือน พ.ย.นี้ จะมีการประชุมบอร์ดกยศ.เพื่อกำหนดนโยบายว่าจะจัดสรรเงินให้แก่นักศึกษากลุ่ม ใดบ้าง ซึ่งเบื้องต้นคิดว่า ระดับอุดมศึกษาจะจัดสรรให้แก่กลุ่มสาขาวิชาที่มีความจำเป็นและเป็นที่ต้อง การของตลาดแรงงานจบแล้วมีงานทำแน่นอน ส่วนระดับต่ำกว่าปริญญาตรีจะเน้นให้กลุ่มผู้เรียนสายอาชีพ หรืออาชีวศึกษา ได้กู้ยืมมากกว่าผู้เรียนสายสามัญศึกษา ทั้งนี้ เมื่อได้ข้อสรุปแล้วคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่ 1 กระทรวงศึกษาธิการ และคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่2สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จะไปพิจารณาจัดสรรวงเงินให้แก่สถานศึกษาต่างๆ

นายเสริมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมเพื่อเพิ่มช่องทางให้นักเรียนนัก ศึกษามุสลิมเข้าถึงการศึกษามากขึ้นนั้น ปรากฏว่าในปีที่ผ่านมามีผู้กู้น้อยดังนั้นทางธนาคารจะต้องประชาสัมพันธ์ให้ มากขึ้นรวมถึงเพิ่มสาขาของธนาคารด้วย เนื่องจากบางพื้นที่ไม่มีสาขาของธนาคาร

(สยามรัฐ, 7-10-2553)

ถกปรับค่าจ้าง เลื่อนเป็น 14 ต.ค.

ที่กระทรวงแรงงาน นพ.สมเกียรติ  ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (บอร์ดค่าจ้าง) กล่าวถึงการประชุมพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำปี 2554 ในวันที่ 11 ตุลาคม ว่า บอร์ดค่าจ้างได้เปลี่ยนวันประชุมเป็นวันที่ 14 ตุลาคม แทน เนื่องจากคณะกรรมการหลายคนว่างไม่ตรงกัน ซึ่งการพิจาณาปรับขึ้นค่าจ้างจำเป็นต้องให้คณะกรรมการทุกคนร่วมพิจารณาด้วย ความรอบคอบ โดยยึดกรอบค่าจ้าง 250 บาท ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ให้ไว้ ทั้งนี้ อนุกรรมการค่าจ้าง 76 จังหวัด ได้ส่งอัตราค่าจ้างที่ขอปรับเข้ามาครบทุกจังหวัดแล้ว โดยปีจะมีการปรับขึ้นค่าจ้างทุกจังหวัด ตั้งแต่อัตรา  2-10 บาท ในส่วนของกรุงเทพฯ อนุกรรมการค่าจ้างเสนอขอปรับเพิ่ม 7 บาท จากเดิม 206 บาท เป็น 213 บาท


ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวด้วยว่า การพิจารณาขึ้นค่าจ้างขึ้นอยู่กับคณะกรรมการค่าจ้างกลางที่มีผู้แทนจากฝ่าย นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล จะพิจารณาว่าฐานการคำนวณค่าจ้างในช่วงที่ผ่านมาเป็นแบบที่ถูกต้องหรือไม่ และต้องดูด้วยว่า ถ้าปรับขึ้นค่าจ้างแต่ละจังหวัดแล้วจะไม่กระทบกับจังหวัดที่มีพื้นที่ใกล้ เคียงกันเพื่อไม่ให้เกิดความเลื่อมล้ำกัน นอกจากนี้จะพิจารณาภาพรวมว่าจะทำอย่างไรค่าจ้างขั้นต่ำที่ผู้ใช้แรงงานได้ รับนั้น ไม่เป็นค่าจ้างที่พอแค่ค่าใช้จ่ายในแต่ละวันเท่านั้น เพราะจะส่งผลให้ผู้ใช้แรงงานต้องใช้เงินอย่างติดขัด ทั้งนี้การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปีนี้ ไม่ว่าบอร์ดค่าจ้างจะให้ขึ้นกี่บาท ตนเชื่อว่าคงต้องมีเสียงตำหนิเป็นธรรมดา ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนมุมมองเรื่องค่าจ้างใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี


นอกจากนี้ นพ.สมเกียรติ ยังเปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการสำนักงานประกันสังคม   (บอร์ด สปส.) ว่า ที่ประชุมได้เสนอให้มีการออกกฎกระทรวงแรงงาน เพื่อให้สอดรับกับนโยบายการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนในกรณีเงิน สงเคราะห์บุตรจากเดิมกองทุนประกันสังคมจ่ายให้ 350 ต่อเดือนต่อคน เป็น 400 บาทต่อเดือน   ซึ่งหลังจากนี้ต้องส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้คณะที่ปรึกษาและคณะ กรรมการกระทรวงพิจารณาก่อนส่งให้รมว.แรงงานลงนาม ซึ่งเชื่อว่าปลายเดือนต.ค.นี้จะมีความชัดเจน ส่วนการเพิ่มสิทธิ์ประโยชน์กรณีอื่นทั้ง สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร ทุพพลภาพ ทันตกรรม การจ่ายค่าฟันเทียมฐานอคริลิก และการรักษาโรคจิตกรณีฉับพลัน ซึ่งในบางกรณีต้องให้คณะกรรมการแพทย์เป็นผู้ออกหลักเกณฑ์ ก่อนจะมีการประกาศใช้ ก็จะเร่งพิจารณาสิทธิประโยชน์ทั้ง 6 กรณีให้สามารถประกาศใช้ทันเดือนม.ค. เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับผู้ใช้แรงงาน


นพ.สมเกียรติ  กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ บอร์ด สปส.ยังได้เสนอแนวทางการป้องกันความเสี่ยงของกองทุนประกันสังคม เนื่องจากเกรงว่ารูปแบบการจ่ายเงินบำนาญ จากกองทุนชราภาพ จะส่งผลกระทบกับกองทุนประกันสังคมในอีก 35 – 37 ปีข้างหน้า ซึ่งคณะกรรมการได้มีการเสนอหลายแนวคิดทั้งการเพิ่มอัตราการจ่ายเงินสมทบ การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การขยายอายุการเกษียณของผู้ประกันตน หรือแม้แต่การเปลี่ยนรูปแบบการจ่ายเงินจากบำนาญให้เป็นบำเหน็จ เพื่อเพิ่มความมั่นคงของกองทุน แต่อย่างไรก็ตามข้อแสนอดังกล่าวต้องมีการศึกษาในรายละเอียดอย่างรอบคอบ เพราะการจะปรับหรือลดอะไรต้องคำนึงถึงผู้ประกันตนด้วยว่ารับได้หรือไม่ ไม่ใช่เพียงมุ่งหวังให้แต่กองทุนมีความมั่นคงเพียงอย่างเดียว

(แนวหน้า, 7-10-2553)

จี้บริษัทนายหน้าห้ามเบี้ยวคืนหัวคิวเหยื่อแรงงานลิเบีย

ความคืบหน้าการช่วยเหลือแรงงานไทย ที่ไปทำงานในประเทศลิเบียหลังจากเมื่อวันที่ 29 ก.ย.ที่ผ่านมา ที่รัฐสภามีการประชุมคณะกรรมาธิการการแรงงาน (กมธ.) สภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายสถาพร มณีรัตน์ ส.ส.ลำพูนพรรคเพื่อไทย ในฐานะประธาน กมธ.เป็นประธาน ซึ่งมีการประชุมกรณีแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในประเทศลิเบียได้ยื่น หนังสือร้องเรียนถึงปัญหานายจ้างทำผิดสัญญา ทั้งนี้ ได้มีการเชิญตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงนั้น

ล่าสุด เมื่อวันที่ 6 ต.ค.53 นายสถาพรมณีรัตน์ ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธาน กมธ.แรงงาน สภาผู้แทนฯ เปิดเผยว่า ในการประชุม กมธ.แรงงาน วันดังกล่าวทางบริษัท จัดหางานยิ้ม ยิ้ม และกรมการจัดหางาน รับปากว่าจะช่วยเหลือเยียวยาแรงงานที่ไปทำงานลิเบีย โดยประการแรกใครที่ต้องการอยากเดินทางกลับประเทศไทยก็จะจัดหาตั๋วเครื่องบิน เพื่อส่งตัวกลับให้ประการที่สอง หากกลับมาแล้วถ้าต้องการค่าชดเชยค่าหัวคิวคืน ทางบริษัทจัดหางานและกรมการจัดหางานก็จะดำเนินการคืนเงินหัวคิวให้ตามสัด ส่วน เพราะบางคนยังจ่ายไม่ครบก็จะหักส่วนที่ขาดออกไป ส่วนใครที่จ่ายครบแล้วก็จะได้รับการชดเชยคืนทั้งหมดรวมทั้งเงินเดือนค้าง จ่าย เงินค่าล่วงเวลาหรือสิทธิประโยชน์อย่างอื่นๆ ด้วย

"ทางบริษัทจัดหางานยิ้ม ยิ้ม และกรมการจัดหางานรับปากกับ กมธ.แรงงานเอาไว้เช่นนั้น ต่อไปกรมการจัดหางานจะต้องมารายงานให้ที่ประชุม กมธ.แรงงาน ได้รับทราบว่าการดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาไปถึงไหนเป็นอย่างไรบ้าง และต่อไปก็ต้องสอบถามแรงงาน 76 คน ว่าพวกเขาพึงพอใจกับการช่วยเหลือเยียวยาไหม ได้รับเงินชดเชยไปเท่าไหร่ เงินที่ค้างจ่ายยังขาดอยู่เท่าไหร่ ติดขัดปัญหาอะไรก็จะช่วยแก้ไขต่อไป ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ น่าจะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี"

นายสถาพร กล่าวต่อว่า สำหรับแรงงานไทย 216 คน ที่บริษัทจัดหางานเงินและทองพัฒนา จำกัด ส่งไปทำงานกับบริษัทARSEL BENA WA TASEED JOINT VENTURE ซึ่งตกระกำลำบากไม่ได้รับเงินเดือนตรงตามสัญญา ค่าล่วงเวลา หรือสวัสดิการต่างๆ ไม่ดี ซึ่งขอแสดงความยินดีด้วยที่ได้เดินทางกลับประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว ส่วนจะต้องการความช่วยเหลืออย่างไรก็ขอให้ส่งตัวแทนมายื่นหนังสือร้องทุกข์ กับ กมธ.แรงงาน ซึ่งตนก็จะรับเรื่องเอาไว้แล้วดำเนินการเรียกประชุม 3 ฝ่าย คือบริษัทจัดหางานกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและตัวแรงงานไทย มาประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเช่นเดียวกันกับที่เชิญบริษัทจัด หางาน ยิ้ม ยิ้ม มาประชุมและดำเนินการช่วยเหลือแรงงานต่อไป

ประธาน กมธ.แรงงาน กล่าวต่ออีกว่า ส่วนแรงงานไทยอีก 1 คน ที่ถูกบริษัทนายจ้าง RANHILL ส่งตัวกลับประเทศกะทันหัน เพราะออกมาเปิดโปงการเอารัดเอาเปรียบของนายจ้างต่อแรงงานไทยนั้นสามารถมา ร้องเรียนร้องทุกข์กับ กมธ.แรงงาน ได้ว่าจะให้ช่วยเหลืออย่างไรบ้าง โดยเฉพาะแรงงานอีกเกือบ 1.000 ชีวิต ที่ยังตกทุกข์ได้ยากในลิเบีย ซึ่งต้องการเดินทางกลับและจะเรียกร้องขอค่าชดเชยเงินหัวคิวเงินเดือนค้าง จ้าง ค่าล่วงเวลา ก็ขอให้ทำเรื่องร้องเรียนเข้ามาได้

(สยามรัฐ, 7-10-2553)

แถลงการณ์คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 (unithailand.org, 6-10-2553)

แถลงการณ์คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98
ฉบับที่ 5/2553
เรื่อง ทวงสัญญา 1 ปี กับความคืบหน้าในการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO

วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม 2553) เนื่องในวันงานที่มีคุณค่าสกล (International Decent Work’s Day) พวกเราเครือข่ายองค์กรแรงงานต่างๆ ในนามของคณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 อันประกอบด้วย สภาองค์การลูกจ้าง , สหพันธ์แรงงาน , กลุ่มสหภาพแรงงาน , คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย , สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ รวมไปถึง สมาชิกสหพันธ์แรงงานระดับสากล (GUF) ในประเทศไทย ได้ออกมารณรงค์เรียกร้องต่อรัฐบาลไทยเพื่อสิทธิและคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่ น้องผู้ใช้แรงงาน

ซึ่งที่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ได้มีการเคลื่อนไหวกดดันต่อกระทรวงแรงงานและรัฐบาลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ รัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ทั้ง 2 ฉบับ โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2552 ที่พวกเราคณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ได้พาพี่น้องผู้ใช้แรงงานกว่า 5,000 คน ออกมารณรงค์เคลื่อนไหวหน้าทำเนียบรัฐบาล และยื่นหนังสือต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ผ่านท่านรองนายกรัฐมนตรี พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ซึ่งท่านได้รับปากว่าจะดำเนินงานผลักดันการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ให้เรียบร้อยภายใน 3 เดือน จนถึงวันนี้ครบ 1 ปี การให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ก็ยังไม่เป็นที่เรียบร้อย ถึงแม้จะมีการประชุ่มร่วมกับคณะกรรมการประสานงานเพื่อการให้สัตยาบัน อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ของกระทรวงแรงงานถึง 5 ครั้ง ซึ่งมีมติร่วมกันว่าให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ทั้ง 2 ฉบับพร้อมกัน โดยให้มีการให้สัตยาบันก่อนแล้วค่อยทยอยแก้กฎหมายหลังจากนั้น

ดัง นั้นในวันนี้พวกเราในนามคณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ขอทวงสัญญาจากรัฐบาลในการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 อย่างเร่งด่วน โดยต้องนำเรื่องดังกล่าวเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และรัฐสภาตามลำดับโดยด่วน การสร้างงานที่มีคุณค่าจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากรัฐบาลไม่รับรองอนุสัญญาหลัก ทั้ง 2 ฉบับ ในโอกาสครบรอบ 91 ปี ของการก่อตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ  และการเข้าเป็นประเทศภาคีสมาชิกองค์กรแรงงานระหว่างประเทศของประเทศไทย ในปี 2553 นี้ เป็นวาระสำคัญในการให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ

การที่รัฐบาลไม่รับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว เป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้แรงงานมีข้อจำกัดในการรวมตัวจัดตั้ง เป็นองค์กรของคนงานและมีข้อจำกัดในการเจรจาต่อรอง ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของคนงาน และแสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจในคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน ที่จะได้มาโดยรูปแบบการรวมตัวและเจรจาต่อรองกับอำนาจทุน ดังนั้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาของผู้ใช้แรงงานซึ่งมี จำนวนมากถึง 37 ล้านคน รัฐบาลไทยต้องให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 โดยทันที ทั้งนี้หากรัฐบาลไทยยังเพิกเฉย ไม่ให้ความสำคัญต่อการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว พวกเราในนามของคณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ก็จะมีการรณรงค์กดดันอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ในประเทศและการรณรงค์ในระดับสากลร่วมกับพี่น้องผู้ใช้ แรงงานทั่วโลก

พร้อมกันนี้เพื่อเป็นการยกระดับ คุณภาพชีวิตของ พี่น้องผู้ใช้แรงงาน ให้สอดคล้องกับการทำงานที่มีคุณค่า คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ขอสนับสนุนการรณรงค์ผลักดันค่าจ้างขั้นต่ำที่เป็นธรรมของพี่น้องผู้ใช้แรง งาน 421 บาทต่อวัน เท่ากันทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานสามารถดำรงชีพอยู่ได้จริงในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน

แถลงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม 2553
เนื่องในวันงานที่มีคุณค่าสากล
คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 9

แรงงานจี้ขึ้นค่าแรง 421 บาท

เครือข่ายสหพันธ์แรงงานกลุ่มสหภาพ แรงงาน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย   สมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  สมาชิกสหพันธ์แรงงานระดับสากล(GUF) ประเทศไทย นำโดย นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)  นางสารี แซ่เตีย  พร้อมด้วยผู้ใช้แรงงานกว่า 500 คน เดินทางมาชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล บริเวณประตู 4 ถ.พิษณุโลก  เนื่องในวัน  International decnc  work' s day  เพื่อยื่นหนังสือต่อ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี  ให้รัฐบาลผลักดันสัญญา ILO ฉบับที่ 87  และ98 ที่ใช้เวลากว่า เดือนแต่ยังไม่มีความคืบหน้า 

โดยทางเครือข่ายต้องการผลักดันค่า จ้างแรงงานขั้นต่ำ ให้แก่ผู้ใช้แรงงาน เป็นเงินจำนวน 421 บาท /วัน ทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงาน สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน

(โพสต์ทุเดย์, 7-10-2553)

ปลัดฯแรงงานอุ้มคนงานไทยไปลิเบีย เดินหน้าแก้ปัญหานายจ้างกดขี่

7 ต.ค.53  นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้เดินทางเข้าพบ นายชัชวาลย์ คงอุดม อดีตส.ว.กทม. และคอลัมนิสต์อาวุโส นสพ.สยามรัฐ ที่สำนักงานสะพานพระราม 8 ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งปลัดกระทรวงแรงงานคนใหม่ พร้อมกับมีการหารือถึงปัญหาแรงงานไทยที่ไปตกระกำลำบากในประเทศลิเบีย  ซึ่งได้มีการมอบเอกสารหลักฐานการนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่องของนสพ.สยามรัฐ  และรายชื่อของแรงงานไทยที่เรียกร้องเงินเดือนค่าจ้างค้างจ่าย  ค่าทำงานล่วงเวลา  ค่าหัวคิว และอื่นๆให้กับปลัดกระทรวงแรงงาน ซึ่งปลัดกระทรวงแรงงานได้รับปากว่าจะนำข้อร้องเรียนดังกล่าวไปติดตามให้ความ ช่วยเหลือต่อไป


นพ.สมเกียรติ ให้สัมภาษณ์ว่า ปัญหาแรงงานไทยที่ไปลิเบีย ประเด็นอยู่ที่ว่า ส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องที่เกิดจากหลักการปฏิบัติของนายจ้างหรือผู้ประกอบการ ของลิเบียด้วย คือนายจ้างที่จ้างงาน เวลาจ่ายค่าจ้าง เขาจะจ่ายค่าจ้างตอนที่ได้รับเงินค่างวดงานเข้ามา  เพราะฉะนั้นเวลาแรงงานทำงานครบเดือนแล้วไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง เขายังไม่จ่าย แรงงานก็ต้องรอไป เดือนบ้าง 3 เดือนบ้าง ถึงจะจ่ายครั้งหนึ่ง เพราะลูกจ้างแรงงานไทยของเราปกติเคยชินกับบ้านเรา ครบเดือนวันที่ 30-31 ก็จะได้รับเงินเดือน ตรงนี้ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันว่านายจ้างไม่ได้จ่ายค่าจ้าง แต่โดยทั่วไปธรรมเนียมของลิเบียเขาเป็นอย่างนี้จริงๆ


"ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ผมได้สดับ ตรับฟังมาตอนหลังนี่ก็คือว่า บังเอิญช่วงเข้าเทศกาลรอมฎอน   ตอนนี้ค้างนานขึ้น ซึ่งปกติก็ค้างอยู่แล้วแต่พอมาตรงกับช่วงเทศกาลรอมฎอนที่การทำธุรกิจอะไร ต่างๆ ไม่ค่อยจะสะดวก   ตรงนี้ก็ทำให้การจ่ายค่าจ้างเกิดความล่าช้าเพิ่มขึ้นไปอีก" นพ.สมเกียติ กล่าว


ผู้สื่อข่าวถามว่า  ปัญหาที่จ่ายเงินล่าช้า 2-3 เดือน ทำให้แรงงานเดือดร้อน ไม่มีเงินใช้จ่าย  นพ.สมเกียรติ ตอบว่า ในส่วนนี้ก็มีปัญหาว่าทางตัวลูกจ้างไม่ได้รับเงินตามกำหนด   แต่ตามข้อตกลงที่ไปทำงาน ทางบริษัทจัดหางานได้ตกลงกับนายจ้าง เรื่องเงินอาจจะได้ล่าช้า แต่เรื่องของที่พักอาศัย  ค่าอาหารวันละ 3 มื้อ ทางนายจ้างเขาจัดให้  เป็นข้อตกลงอยู่แล้ว ซึ่งอันนี้ส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหา อย่างไรก็ตามก็มีนายจ้างบางรายเหมือนกันที่แย่ๆ ไม่ทำตามที่ได้ทำข้อตกลงเอาไว้ ซึ่งเราก็ได้รับทราบอยู่แล้วว่าเป็นนายจ้างที่ไม่ดี และในโอกาสต่อๆ ไป เราก็จะมาดูว่านายจ้างที่ไม่ดี มีการเอาเปรียบต่อแรงงานไทย เราก็จะไม่ให้แรงงานไทยไปทำงานเพราะแรงงานไทยของเราเป็นที่ชื่นชมว่าเป็นแรง งานที่มีคุณภาพ เขาอยากได้ไปทำงานกัน  ฉะนั้นเราเองก็คงจะต้องไปอย่างมีศักดิ์ศรี ไม่ใช่ว่าจะให้เราทำแล้วกินอยู่อย่างไรก็ได้ เราต้องอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี เพราะเราถือว่าเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ


"ปัญหาแรงงานไทยในลิเบีย ผมจะช่วยดูแลและคงจะนำไปหารือกัน เพราะว่าตอนนี้ทางกระทรวงแรงงานก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ปัญหาลิเบียเราติดตามสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา ถ้าแรงงานมีปัญหาอะไรแจ้งได้ตลอด สื่อมวลชนทราบปัญหาแล้วนำเรื่องมาแจ้ง เราก็ไม่ขัดข้อง" ปลัดฯ แรงงานคนใหม่ กล่าว

(สยามรัฐ, 8-10-2553)

ลวงแรงงานไทยไปเกาหลีใต้

8 ต.ค. 53 -  ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ (บก.ปคม.) พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (รอง ผบช.ก.) พ.ต.อ.นิพนธ์ เจริญผล รอง ผบก.ปคม. นายนิติชัย วิสุทธิพันธ์ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน แถลงข่าวกรณีที่ พ.ต.อ.ณพวัฒน์ อารยางกูร ผกก.1 บก.ปคม. ร.ต.อ.โรจน์ศักดิ์ นัยผ่องศรี รอง สว.กก.1 บก.ป.นำกำลังเข้าจับกุม นายปาร์ค โจง ยุง อายุ 61 ปี สัญชาติเกาหลีใต้ ตามหมายจับศาลจังหวัดอุดรธานี ที่ 453/2552 ลงวันที่ 1 ต.ค. 2552 ข้อหา จัดหางานให้คนงานไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต หลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานหรือส่งคนไปฝึกงานในต่างประเทศโดยการหลอกลวง นั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง จับกุมได้ที่บริเวณร้านกันต์บาร์เบอร์ ย่านห้วยขวาง กทม.

พล.ต.ต.สุรพล กล่าวว่า ทางชุดสืบสวน กก.1 บก.ปคม.ได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานว่า เมื่อช่วงปี 2552 มีแรงงานผู้เสียหาย 4 ราย ถูกผู้ต้องหากับพวก หลอกลวงให้ไปทำงานที่ประเทศเกาหลีใต้ โดยอ้างว่ามีรายได้ถึงเดือนละประมาณ 25,000 บาท แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายรายละกว่า 210,000 บาท ซึ่งภายหลังผู้เสียหายตกลงเดินทางไปแล้วกลับไม่ได้ทำงานตามที่ถูกกล่าวอ้าง แต่อย่างใด จากนั้นเจ้าหน้าที่สืบทราบว่าผู้ต้องหาได้ร่วมกับพวกเปิดบริษัท ไทยทวีบิสซิเนท จำกัด ตั้งอยู่ที่ จ.อุดรธานี หลอกลวงผู้เสียหายดังกล่าว จึงรวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติศาลออกหมายจับ โดยก่อนหน้านี้สามารถจับกุมผู้ต้องหาที่ร่วมกระทำความผิดไปแล้ว 3 ราย กระทั่งวันเดียวกันนี้จึงจับกุมนายปาร์ค ไว้ได้

จากการสอบสวนผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ อ้างว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่เคยรับเงินค่าดำเนินการจากผู้เสียหายเพื่อ เป็นค่าเดินทางไปทำงานที่ประเทศเกาหลีใต้ ทั้งนี้ ชุดจับกุมได้ควบคุมตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองอุดรธานี รับไว้ดำเนินคดีต่อไป

ขณะที่ นายนิติชัย กล่าวว่า หลังจากทางกรมการจัดหางานได้รับการร้องทุกข์จากผู้เสียหายรายหนึ่งทราบว่า ผู้เสียหายต้องนำที่นาไปจำนอง เพื่อนำเงิน 3 แสนบาทไปเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานที่เกาหลีใต้ แต่กลับถูกกลุ่มผู้ต้องหาหลอกลวง ซึ่งตนอยากฝากเตือนผู้ที่กำลังหางานว่าสำหรับกรณีของประเทศเกาหลีใต้ นั้น มีการทำข้อตกลงกับประเทศไทยในกรณีการส่งแรงงานไปทำงานโดยจะดำเนินการระหว่าง รัฐต่อรัฐเท่านั้น ไม่มีการจัดหางานจากบริษัทเอกชนจึงอย่าหลงเชื่อหากมีนายหน้ามาชักชวนแนะนำ และหากไม่มั่นใจในข้อมูลต่างๆ ขอให้สอบถามมายังกรมการจัดหางานโดยตรง

(โพสต์ทูเดย์, 8-10-2553)

รมต.แรงงานแถลงขยายสิทธิ์ประกันสังคม

8 ต.ค. 53 - สำนักงานประกันสังคม ขยายสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนใน 6 เรื่อง คาดเริ่มต้นใช้สิทธิ์ได้ปีใหม่นี้ และเตรียมเสนอแก้ไข ให้ผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาล โดยที่ผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่ายเงินจของตนเอง

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าสำนักงานประกันสังคม หรือ สปส.เตรียมเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนใน 6 เรื่อง ประกอบด้วย 1.เพิ่มค่าคลอดบุตรจากครั้งละ 12,000 บาท เป็น 13,000 บาท 2.เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรจากรายละ 350 บาท เป็น 400 บาท 3.เพิ่มค่าทันตกรรมจากครั้งละไม่เกิน 250 บาท ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง หรือ 500 บาท เป็นครั้งละ 300 บาท หรือปีละไม่เกิน 600 บาท 4.เพิ่มสิทธิในการให้บริการใส่รากฟันเทียม 5.เพิ่มสิทธิในรักษากรณีโรคจิต และ 6.เพิ่มค่ารักษากรณีทุพพลภาพจากเดือนละไม่เกิน 2,000 บาท เป็น 4,000 บาท โดยคาดว่าผู้ประกันตนจะเริ่มใช้สิทธิ์ทั้ง 6 ข้อได้ตั้งแต่ช่วงปีใหม่เป็นต้นไป

และสำนักงานประกันสังคม ยังได้เตรียมขยายสิทธิ์การเข้ารับการรักษาของผู้ประกันตน ให้สามารถเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลจากเดิมที่ต้องเลือกโรงพยาบาลที่เข้า รักษาเพียงแห่งเดียว ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการแก้ไข และทำข้อตกลงกับโรงพยาบาลต่างๆ คาดว่าน่าจะเริ่มใช้สิทธิ์นี้ได้ในต้นปีหน้าช่วงเดือน มีนาคม

นอกจากนั้น กระทรวงแรงงานก็กำลังเร่งผลักดันให้ผู้ประกันตนที่เข้ารักษา ไม่ต้องสำรองจ่ายเงินสำรองของตนเองไปก่อนในทุกกรณี ซึ่งคาดว่าโครงการนี้น่าจะเริ่มปฏิบัติได้จริง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2554 นี้เช่นกัน

(ครอบครัวข่าว, 8-10-2553)

รมว.แรงงาน แจงไม่จำเป็นต้องขึ้นค่าจ้าง 250 บาทเท่ากันทั่วประเทศ

8 ต.ค. 53 - รมว.แรงงาน ยืนยันการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ 11 ต.ค.นี้ ยึดหลักสอดคล้องสภาพเศรษฐกิจ เผยให้ ก.คลัง ดูมาตรการภาษีช่วยนายจ้าง พร้อมแจงไม่จำเป็นต้องได้ค่าจ้าง 250 บาท เท่ากันทั่วประเทศ

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปีที่จะมีขึ้นในวันจันทร์ที่ 11 ตุลาคมนี้ว่า คณะกรรมการค่าจ้างกลางที่มีนายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธาน จะมีการพิจารณาโดยยึดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจโดยรวม รวมถึงกรอบที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เสนอให้ทบทวนการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำย้อนหลัง 2 ปี ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ นอกจากนี้ ยังสั่งการให้สำนักเศรษฐกิจการคลัง พิจารณามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในด้านภาษี อาทิ ภาษีเงินได้ ภาษีเครื่องจักร ซึ่งกระทรวงการคลังเป็นผู้กำหนดมาตรการ โดยจากการหารือกับนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้รับการยืนยันว่าอยู่ระหว่างการศึกษา ซึ่งข้อสรุปทั้งหมดจะต้องทันประกาศใช้ในวันที่ 1 มกราคมปีหน้า เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับผู้ใช้แรงงาน

นายเฉลิมชัย ยังกล่าวถึงกรณีที่ผู้ใช้แรงงานได้คาดหวังกับการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปีนี้ว่า ต้องได้ 250 บาท ตามที่นายกรัฐมนตรีระบุว่า อัตราดังกล่าวเป็นเพียงการอนุมานของนายกรัฐมนตรี ซึ่งสิ่งที่ต้องการสื่อคือ การปรับค่าจ้างวันนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับขึ้นค่าจ้างของข้าราชการ และต้องการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้ทอดทิ้งผู้ใช้แรงงาน ส่วนสาเหตุที่มีมาตรการด้านภาษีเข้ามาช่วยผู้ประกอบการนั้น เนื่องจากนายกรัฐมนตรีต้องการให้คณะกรรมการค่าจ้างพิจารณาในอัตราที่สูงขึ้น แต่ยืนยันว่านายกรัฐมนตรีไม่ได้บอกว่า ต้องได้วันละ 250 บาททั่วประเทศ

นายเฉลิมชัย กล่าวอีกว่า ส่วนอัตราที่อนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดเสนอตัวเลขการขอปรับเพิ่มค่าจ้าง ตั้งแต่ 2 -10 บาทนั้น ยังไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากยังไม่ได้รับรายงาน อย่างไรก็ตาม เมื่อผลการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำออกมาไม่ตรงตามที่ผู้ใช้แรงงานคาดหวังไว้ กระทรวงแรงงานก็มีหน้าที่ในการทำความเข้าใจกับผู้ใช้แรงงาน โดยยึดหลักความจริง ส่วนอัตราที่เสนอมาในบางจังหวัดเสนอมาเพียง 2 บาท ซึ่งไม่ตรงกับนโยบายการปรับค่าจ้างแบบก้าวกระโดดนั้น ต้องเรียนถามจากนายกรัฐมนตรี

 (สำนักข่าวไทย, 9-10-2553)

"มนัส โกศล" เรียกร้องขึ้นค่าจ้าง เพิ่ม 10 บาท

9 ต.ค. 53 - นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย  เปิดเผยระหว่างการสัมมนาปฏิรูป พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 ว่า ในการหารือครั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อสรุป 3 ประเด็น คือ 1. เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำที่ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ขณะที่นายกรัฐมนตรีมีข้อเสนอให้ค่าจ้างแรงานขั้นต่ำ อยู่ที่ 250 บาท ซึ่งในข้อเสนอเดิมขององค์กรแรงงาน อยากให้มีการปรับขึ้นค่าจ้าง 10 บาท ใน 3 โซน ทั่วประเทศ  2. เรื่องกองทุนประกันสังคมที่ขณะนี้มีเงินกว่า 700,000 ล้านบาท แต่ลูกจ้างแรงงานกลับไม่ได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่ควร จึงเสนอขยายสิทธิประโยชน์  2 ข้อ คือ เพิ่มวงเงินคลอดบุตร เป็น 15,000 บาท และเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง6 ปี ขยายเป็นแรกเกิดถึง 12 ปี โดยรับเงินคนละ 400 บาต่อเดือน 3. เสนอปรับปรุงร่างกฎหมายให้เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน 

นายมนัส ยังกล่าวถึง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แก้ไขเพิ่มเติม 2551 ว่าด้วยการจ้างแรงงานตามมาตรฐานสาขาอาชีพ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรรับในหลักการแล้วว่า ยังไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ เช่น พนักงานทอผ้าที่มีประสบการณ์ 10 ปี ควรได้รับค่าจ้างเพิ่ม นอกจากนี้ ควรพิจารณารวมกฎหมาย พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 เข้ากับ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ให้เป็นหนึ่งเดียว  เนื่องจากกฎหมาย 2 ฉบับได้แยกแรงงานรัฐวิสาหกิจออกจากภาคเอกชน การต่อรองจึงไม่ได้ผล อย่างไรก็ตาม ในวันจันทร์ที่ 11 ตุลาคมจะนำเรื่องทั้งหมดเสนอต่อนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และ นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์  ปลัดกระทรวงแรงงาน เชื่อว่าปลัดกระทรวงแรงงาน จะมีความเข้าใจในข้อเรียกร้องเรื่องประกันสังคม เนื่องจากเป็นแพทย์ และทำงานในระบบประกันสังคมมาก่อน

(สำนักข่าวไทย, 9-10-2553)

เตือนเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเสี่ยงผู้ประกอบการลดจ้างงาน

9 ต.ค. 53 - ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ออกรายงานวิเคราะห์ เรื่องหากขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 250 บาททั่วประเทศ: จังหวัดใดได้รับผลกระทบมากที่สุด? โดยระบุว่า การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 250 บาทต่อวันทั่วประเทศส่งผลให้ค่าจ้างขึ้นต่ำเพิ่มขึ้นในแต่ละจังหวัดไม่เท่า กัน โดยผู้ประกอบการ และลูกจ้างในจังหวัดที่เดิมมีค่าแรงขั้นต่ำในระดับต่ำจะได้รับผลกระทบมากที่ สุด

รายงานระบุว่า โครงสร้างของค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบันที่ไม่เท่ากันในแต่ละจังหวัด เมื่อมีการกำหนดให้ทุกจังหวัดมีค่าแรงขั้นต่ำเท่ากันหมดทั้งประเทศ ทำให้เมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำเดิม บางจังหวัดจะมีการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำภายใต้ข้อเสนอใหม่นี้ถึง 66% เช่น แม่ฮ่องสอน และบางจังหวัดเพิ่มขึ้นเพียง 21% เช่น กรุงเทพฯ

ทั้งนี้ จังหวัดค่าจ้างเฉลี่ยสูงได้รับผลกระทบน้อย โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลภาวะการทำงานของประชากร (Labor force survey: LFS) ไตรมาสแรกของปี 2010 พบว่ามี 4 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และภูเก็ต ที่ค่าจ้างเฉลี่ยต่อวันสูงกว่า 250 บาทอยู่แล้ว

ดังนั้นด้วยค่าจ้างที่สูงกว่าค่าแรง ขั้นต่ำที่เสนอใหม่อยู่แล้วทำให้ผู้ประกอบการในจังหวัดเหล่านี้จะได้รับผล กระทบจากข้อเสนอนี้ค่อนข้างน้อย

ขณะที่ ผลกระทบหนักตกอยู่กับผู้ประกอบการในจังหวัดที่มีค่าจ้างเฉลี่ยต่ำ ผู้ประกอบการที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดอยู่ในจังหวัดที่เดิมมีค่าจ้างขั้น ต่ำในระดับต่ำซึ่งมักเป็นจังหวัดที่มีค่าจ้างเฉลี่ยต่ำด้วย เนื่องจากจะมีต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นอย่างมาก เช่น แม่ฮ่องสอน ศรีสะเกษ และพะเยา โดย ผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าแรงขั้นต่ำให้กับลูกจ้างเพิ่มถึงเกือบ 100 บาทต่อคนต่อวัน ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องลดการจ้างงานลง และส่งผลกระทบโดยตรงต่อลูกจ้างในจังหวัด

นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่จะทำให้มี การหลีกเลี่ยงจ่ายค่าแรงขั้นต่ำมากขี้น โดยข้อมูลภาวะการทำงานของประชากร พบว่า การบังคับใช้กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำยังมีจำกัด โดยจาก 76 จังหวัด มีถึง 39 จังหวัดที่ค่าจ้างเฉลี่ยต่อวันต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบันดังนั้นหากมี การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำขึ้นจริง แนวโน้มการหลีกเลี่ยงจ่ายค่าแรงขั้นต่ำ ก็น่าจะมีมากขึ้นไปอีก

ในรายงานดังกล่าวได้ระบุข้อเสนอด้วย ว่า การเพิ่มค่าจ้างให้สูงขึ้นมีความจำเป็น แต่ควรทำผ่านการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน (labor productivity) ซึ่งจำเป็นต้องเพิ่มการลงทุนโดยเฉพาะในคน

(โพสต์ทูเดย์, 9-10-2553)

ตร.สงขลาจับ 24 แรงงานพม่ากลางคอนเสิร์ต

ตำรวจชุดสืบสวนตำรวจภูธร จังหวัดสงขลา เข้าจับกุมแรงงานต่างด้าว ชาวพม่าจำนวน 24 คน เป็นชาย 23 คน หญิง 1 คน ซึ่งหลบหนีเข้าเมือง กลางงานคอนเสิร์ตของศิลปินชาวพม่า ซึ่งจัดขึ้นที่หน้าเทศบาลตำบลบ้านไร่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีศิลปิน และนัดดนตรีชาวพม่า มาร่วมแสดงอีก 2 คน และจากการตรวจสอบพบว่ามีน.ส.ตูม ไม่ทราบนามสกุล เป็นผู้จัดงาน แต่มีการขออนุญาต จากกระทรวงแรงงานถูกต้อง ในการนำนักดนตรีเข้าแสดง รวมทั้งมีใบอนุญาตในการเปิดการแสดง จากที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ แต่ส่วนหนึ่งของแรงงานชาวพม่าที่มารอชมคอนเสิร์ต เป็นแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่ซึ่งควบคุมตัวทั้งหมด ส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี ในข้อหาเป็นบุคคลต่างด้าว โดยเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาต

(ไอเอ็นเอ็น, 10-10-2553)

เมียเหยื่อแรงงาน'ลิเบีย'สุดลำเค็ญขาดเสาหลัก-ไม่มีเงินซื้อนมให้ลูก

เรื่องราวชีวิตลำเค็ญของครอบครัวแรง งานไทยที่ไปทำงานในประเทศลิเบียยังคงถูกตีแผ่ เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือต่อไป ล่าสุด เมื่อวันที่ 9 ต.ค.53 นางบุญรอดรัตนนท์ อายุ 35 ปี ชาว จ.บุรีรัมย์ ภรรยาของนายสมศักดิ์ เพชรสังหาร แรงงานไทยที่ไปทำงานที่ประเทศลิเบีย เปิดเผยกับ"นสพ.สยามรัฐ" ว่า ขณะนี้ชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวตนลำบากยากเข็ญมากเพราะมีตนคนเดียว เลี้ยงลูกน้อยอายุแค่2 ปี 8 เดือน ทั้งยังไม่มีรายได้อะไร มีอาชีพทำนาทำไร่ เงินซื้อขนมซื้อนมให้ลูกกินก็ไม่มีอัตคัดขัดสน ต้องบากหน้าขอยืมเงินญาติพี่น้องไปเรื่อยๆ เพื่อประทังชีวิตรอดไปวันๆ

"สามีคือ นายสมศักดิ์ เพชรสังหารเดินทางไปทำงานลิเบียผ่านบริษัทจัดหางาน ไทยพัฒนาเวิลด์ไวด์ จำกัด ไปทำกับนายจ้างบริษัท ARSEL BENA WA TASEED JOINT VENTURE ได้รับความทุกข์ยากลำบาก เงินเดือนได้ไม่ครบ ไม่ตรงเวลา ไม่มีค่าล่วงเวลา กินอยู่อดๆอยากๆ เงินเดือนถูกหักโดยนายจ้างอ้างว่าหักเป็นค่าอาหารการกินและที่พักอาศัย บางครั้งเงินเดือนก็ไม่ได้รับ จึงอยากเดินทางกลับบ้านใจจะขาด แต่นายจ้างไม่ยอมส่งกลับตั้งแต่เดือน เม.ย.-พ.ค.มาแล้ว บอกจะได้กลับเดือนนั้นเดือนนี้ วันนั้นวันนี้ ก็ไม่ได้กลับเลื่อนแล้วเลื่อนอีกมาตลอด" ภรรยาแรงงานไทยที่ไปตกระกำลำบากที่ลิเบียกล่าวอย่างน่าเวทนาอีกว่า ขอวิงวอนให้รัฐบาลหรือกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือให้สามีเดินทางกลับประเทศด้วยโดยล่าสุดบอกว่าจะได้ กลับวันที่ 2 ต.ค. ก็ไม่กลับมา เลื่อนมาเป็นวันที่ 7 ต.ค. ก็ไม่มีการเดินทางกลับ

นางบุญรอดกล่าวอีกว่า ตนได้โทรศัพท์ติดต่อกับสามีมาตลอด แต่ช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ ไม่ได้รับการติดต่อจากสามีเลยโทรศัพท์ไปก็ไม่ติด ไม่มีการโทรศัพท์กลับมาจึงไม่รู้ว่าเขาเป็นตายร้ายดีอย่างไร ทำให้ทุกวันนี้กลุ้มใจมาก นอนก็ไม่หลับ ดูแลลูกก็ลำบาก ห่วงสามีหนักเข้าไปอีก อยากให้เขาเดินทางกลับมาทำงานในประเทศไทยของเราดีกว่า แม้จะไม่ได้ร่ำรวย แต่ก็พออยู่ได้ไปวันๆ อยู่กันพร้อมหน้าพ่อ แม่ ลูก ยังดีกว่า

"เคยโทรศัพท์ไปสอบถามและติดตาม เรื่องของสามีกับบริษัท ไทยพัฒนาฯ ก็ถูกโยกโย้ รับสายบ้างไม่รับสายบ้าง ไม่มีคำตอบตอบก็ไม่ตรงคำถาม เลี่ยงไปเรื่อยว่าให้รอไปก่อนๆ หนักเข้าๆ ก็ไม่รับโทรศัพท์" ภรรยาแรงงานไทย กล่าว

(สยามรัฐ, 10-10-2553)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"การเมืองใหม่" มั่นใจ "ประยุทธ" สุริยะใสชี้ระเบิดเมืองนนท์เป็นการพลีชีพคล้ายตะวันออกกลาง

Posted: 10 Oct 2010 04:10 AM PDT

"สำราญ" เชื่อมือ "ประยุทธ-วิเชียร" ติง "สมบัติ " เคลื่อนไหวที่แยกราชประสงค์และสะพานปรีดี เพื่อกระทบสถาบัน โอดเอาผิดด้วยกฎหมายยาก ฝากรัฐบาลเด็ดขาดกับขบวนการล้มเจ้า สุริยะใสชี้เหตุระเบิดนนทบุรีคล้ายการพลีชีพแบบตะวันออกกลาง เป็นการตายเพื่อทักษิณอันเป็นที่รัก เรียกร้องให้มีมาตรการป้องกันคนกลุ่มนี้ก่อเหตุ ไม่อยากให้คนไทยอยู่แบบพึ่งพิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพียงอย่างเดียว

วันนี้ (10 ต.ค.) ที่พรรคการเมืองใหม่ นายสำราญ รอดเพชร รองหัวหน้าพรรค และรักษาการโฆษกพรรคการเมืองใหม่ กล่าวถึงสถานการณ์ความรุนแรงและเหตุเบิดรายวันที่เกิดขึ้นในช่วงรอบสัปดาห์ ที่ผ่านมาว่า สถานการณ์บ้านเมืองโดยรวม ยังน่าเป็นห่วง และยังเดินไปในทิศทางเดิมที่พรรคการเมืองใหม่ ได้ย้ำมาโดยตลอดว่าจะเกิดความรุนแรงไปเรื่อยๆ ในห้วงเดือน ก.ย.-พ.ย.53 หรือจนกว่าจะรู้ผลลัพธ์ของคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะเป็นอย่างไร ถือเป็นหลักกิโลเมตรที่สำคัญของสถานการณ์บ้านเมือง รวมไปถึงการดำเนินแผนการปรองดองของแต่ละฝ่ายที่มีการแข่งขันกันทำนั้นจะจบ อย่างไร เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงนี้สามารถสรุปได้ว่ามีการเคลื่อนไหว เพื่อต้องการให้กระทบต่อบ้านเมืองใน 3 ลักษณะ คือ กลุ่มแรก เคลื่อนไหวโดยใช้แนวทางความรุนแรง ใช้ระเบิดก่อวินาศกรรม และความพยายามลอบสังหารบุคคลสำคัญ

โดยเฉพาะเหตุการณ์ล่าสุดกรณีระเบิดสมานเมตตาแมนชั่น อ.บางบัวทอง เมื่อ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ขบวนการนี้มีการเตรียมการก่อเหตุอยู่ตลอด และหากไม่ระเบิดในวันนั้นก็ไม่ทราบว่าจะนำไปก่อเหตุที่ใด เป็นสิ่งที่น่าห่วงใยมาก โดยเฉพาะกับการที่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ระบุชัดเจนว่า ยังมีหลายกลุ่มที่ได้เตรียมกำลัง และอาวุธหนักเพื่อใช้ก่อเหตุความไม่สงบอีกจำนวนมาก กลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีความเชื่อมโยงกับนายใหญ่ที่สูเสียอำนาจไป ทุกวันนี้ก็ยังไม่รามือยังมีการปฏิบัติการกันอยู่

นายสำราญกล่าวอีกว่า กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์ ชี้นำทางความคิด มีการเปิดเผยตัวตนหลายกลุ่ม ซึ่งที่โดดเด่นมากคือ กลุ่มของนายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ที่มักไปเคลื่อนไหวที่ราชประสงค์ และล่าสุดไปที่สะพานปรีดี พนมยงค์ จ.พระนครศรีอยุธยา กลุ่มเหล่านี้จะเคลื่อนไหวเชิงตั้งคำถาม ชี้นำทางความคิด และหากดูให้ลึกซึ้ง มีเนื้อหาที่มุ่งกระทบชิ่งไปถึงสถาบัน แต่กฎหมายเอาผิดลำบาก จับยาก ซึ่งทำให้มีการขยายผลไปเรื่อยๆ ส่วนกลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่มเคลื่อนไหวใต้ดินเพื่อล้มเจ้าล้มสถาบัน ผ่านทางช่องทางเว็บไซต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โฆษกพรรคการเมืองใหม่กล่าวด้วยว่า แม้สถานการณ์ขณะนี้จะน่าเป็นห่วง แต่คนไทยก็น่าจะมีความใจชื้นขึ้นมาบ้าง จากความเข้มแข็งของ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.คนใหม่ ซึ่งพยายามกระชับการทำงานเกาะติดคดี และตั้งทีมงานให้มีประสิทธิภาพ และล่าสุด ได้จัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการและบริหารเหตุการณ์ร้ายแรง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศบร.ตร.) ขอให้ทำงานให้เข้มแข็งให้รวมศูนย์ และกระชับการทำงาน รวมไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.คนใหม่ ซึ่งพูดจาทุกอย่างค่อนข้างชัดเจน มีความเข้มแข็งอยู่ในตัวเอง และระบุว่า คนชั่วยังมีเยอะ ต้องช่วยกันทำให้คนเหล่านี้หมดสิ้นไป หากกองทัพและตำรวจเข้มแข็งตามที่ผู้นำพูดไว้ บ้านเมืองจะไม่เกิดมิกสัญญีเช่นนนี้ แต่ที่ผ่านมา เกิดสุญญากาศทางอำนาจที่ผู้ที่บังคับใช้กฎหมายไม่ทำงาน บ้านเมืองจึงเป็นสภาพเช่นนี้

“ในขณะที่ทางตำรวจและกองทัพ ดูเข้มแข็งขึ้น แต่ในทางการเมืองกลับเป็นฝ่ายที่น่าห่วงมาก พรรคการเมืองใหม่ขอแสดงความผิดหวังกับรัฐบาล และพรรคร่วมรัฐบาล ที่ทุกวันนี้ยังสาละวนอยู่กับเรื่องของการเมือง การปรับคณะรัฐมนตรี การปรองดองที่ไร้ทิศทาง แย่งซีนแย่งบทบาทกัน เหล่านี้จะเป็นตัวทำลายความน่าเข้มแข็งของอำนาจรัฐ ผู้คนรู้สึกวังเวงสิ้นหวัง ตัวผู้นำรัฐบาลที่แม้จะเป็นคนดีแต่กลับขาดภาวะผู้นำ ไม่สามารถส่งสัญญาณให้คนไทยมีความเชื่อมั่น มีความอบอุ่น มองไม่เห็นว่าทิศทางของประเทศจะเป็นไปอย่างไร การปฏิรูปประเทศหรือแผนปรองดองที่เคยประกาศไว้เมื่อเดือน พ.ค.บัดนี้ค่อนข้างวังเวงสิ้นหวัง ในสภาวการณ์เช่นนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจะต้องเข้มแข็งและกระชับอำนาจให้การทำงานชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับขบวนการล้มเจ้า ที่ต้องดำเนินให้เด็ดขาด อย่าปล่อยให้สถานการณ์รุนแรงบานปลาย หากมัวแต่ทำเรื่องการเมืองอย่างเดียว บ้านเมืองจะถึงมุมอับในไม่ช้านี้” นายสำราญกล่าว

ด้าน นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ กล่าวว่า วิกฤตของบ้านเมืองในวันนี้เป็นวิกฤตความมั่นคงของชาติ ไม่ใช่วิกฤตของรัฐบาล หรือพรรคการเมืองเหมือนที่เคยเกิดขึ้น ฉะนั้น หากรัฐบาลและกองทัพยังไม่ส่งสัญญาณที่เป็นเอกภาพให้พี่น้องประชาชน เห็นว่า รัฐบาลชุดนี้ ศอฉ.และเหล่าทัพ สามารถปกป้องประชาชนได้ ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลก็จะมีปัญหา ความไว้วางใจที่แม้ว่าโพลบางสำนัก จะบอกว่านายกฯ สอบผ่านก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงต้องยอมรับว่า ประชาชนอยู่ในความหวาดกลัวต่อภยันตรายที่ไม่รู้ว่าจะมาในรูปแบบไหนอย่างไร การส่งสัญญาณที่จะเป็นรูปธรรมที่สุด คือ การที่นายอภิสิทธิ์ ต้องเข้ามานั่งเป็น ผอ.ศอฉ.ด้วยตนเอง ไม่ใช่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม หรือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อย่างที่แล้วมา เพราะวันนี้สิ่งที่ ศอฉ.ยังไม่สามารถสร้างผลงานได้เนื่องจากยังไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน หมดยุคแล้วที่จะปล่อยให้งานด้านความมั่นคงเป็นเรื่องของทหาร หรือตำรวจ แต่ลำพังอีกต่อไป ตราบใดที่กองทัพ หรือหน่วยงานด้านความมั่นคงไม่สามารถแสวงหาร่วมมือจากพี่น้องประชาชนได้ ก็ไม่สามารถรับมือกับความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ส่วนกรณีการระเบิดสมานเมตตาแมนชั่น อ.บางบัวทอง นายสุริยะใสกล่าวว่า ถือเป็นโชคดีของคนไทย หากการประกอบระเบิดครั้งนั้น ประสบความสำเร็จและไม่เกิดอุบัติเหตุก่อน ก็ไม่ทราบว่า จะนำไปก่อเหตุที่ไหน ที่สำคัญ หากเกิดกรณีแบบนี้อีกไม่ทราบว่าพระสยามเทวาธิราชจะปกปักรักษาอีกหรือไม่ หากดูจากคำสัมภาษณ์ของภรรยานายสมัย วงศ์สุวรรณ์ ที่เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ จะเห็นได้ว่า ความรุนแรงที่มีมาต่อเนื่องเข้าใกล้โมเดลการพลีชีพในตะวันออกกลาง และในบางเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และเมื่อดูจากประวัติของ นายสมัย พร้อมคำให้การของภรรยา จะเห็นได้ว่าเป็นปฏิบัติการที่ไม่กลัวความตาย เป็นปฏิบัติการที่ถูกปั่นหัว สร้างชุดความเชื่อว่าตัวเขาพร้อมที่จะตายแทนคนที่เขารักที่ชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้ต้องหาหนีคดี ณ ขณะนี้เราต้องดูว่ามีคนแบบนี้กี่คนใน กทม.หรือในประเทศไทย หากมี 64 คนตามที่ดีเอสไอระบุ ก็ต้องมีมาตรการเพื่อจับกุม และป้องกันเหตุที่คนกลุ่มนี้จะก่อขึ้นอีก เป็นเรื่องที่อันตราย ตนไม่อยากให้พี่น้องคนไทยอยู่แบบพึ่งพิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพียงอย่างเดียว

“หวังว่ารัฐบาลและทุกพรรคการเมืองหยุดเล่นการเมือง หันมาตระหนักถึงวิกฤตของชาติในขณะนี้ โดยเฉพาะการก่อเหตุโดยอาวุธหนัก ที่เชื่อว่า ยังมีอีกหลายจุดใน กทม.และจะมีการใช้อาวุธหนักมากขึ้น ก่อนที่คดียุบพรรคประชาธิปัตย์จะตัดสิน เพราะมีการสร้างสถานการณ์ทางการเมือง เพื่อให้เข้าทางกลุ่มอำนาจบางกลุ่มที่ได้ประโยชน์ เป็นเรื่องที่อันตรายมาก ผมคิดว่าการส่งสัญญาณเพื่อรับมือกับภัยความมั่นคงเป็นสิ่งที่นายอภิสิทธิ์ ต้องทำ และจำเป็น โดยสิ่งแรก คือ มาดูความมั่นคงด้วยตนเอง และทำความเข้าใจตกผลึกร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าปัญหาคืออะไร และร่วมกันแก้ไข ไม่ใช่ต่างคนต่างทำอย่างที่ผ่านมา” นายสุริยะใสกล่าว

ที่มา: เรียบเรียงจากเอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“โปรดฟังอีกครั้ง”

Posted: 10 Oct 2010 01:23 AM PDT

หลายปีที่ผ่านมามีคำถามต่อแนวคิด “ความเจริญ” ของเมืองเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง ด้วยมายาคติดั้งเดิมของ “ความเจริญ” เริ่มใช้ไม่ได้ผล ตึกสูงระฟ้า ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่ขายสินค้าแบรนด์ดัง รถยนต์ราคาแพงวิ่งแล่นบนท้องถนนที่กว้างขวาง มีทางยกทางลอดที่ดูราวของเล่นในสวนสนุก ค่ำคืนถูกแทนที่ด้วยแสงไฟสว่างระยิบระยับ ความฉาบฉวยเช่นนี้ชวนให้เคลิบเคลิ้มอยู่ระยะหนึ่งว่านี่แหละคือการพัฒนา ทว่าเมื่อคนเชียงใหม่เริ่มตระหนักแล้วว่า “ความเจริญ” ที่เคยคิดว่ามีลักษณะเป็นสากล ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องเสียแล้วสำหรับเมืองเก่าแก่กว่า 700 ปี ทำให้เกิดการรวมตัวกันของคนเชียงใหม่รวมถึงคนที่มาอาศัยเชียงใหม่เสมือนเป็นบ้านเกิด ต่อสู้รักษาเสน่ห์ของเมืองแห่งนี้ไม่ให้เดินย่ำรอยการพัฒนาแบบสำเร็จรูปอย่างเสมอมา ไม่ว่าจะคัดค้านการสร้างทางยกระดับ ต่อต้านตึกสูงในเขตเมือง ไม่ยอมรับผังเมืองที่ทำลายวิถีชีวิตผู้คนในเมืองเก่าแก่ รวมถึงรณรงค์ในหลายหลากประเด็นเพื่อสร้างเมืองอย่างยั่งยืน เช่น รณรงค์ต้านการรื้อฝายที่กรมชลประทานคิดง่ายๆ ว่าเป็นทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม พร้อมๆ ไปกับที่กรมศิลปากรพยายามลองวิชาขุดค้นเมืองโบราณบริเวณประตูช้างเผือกโดยหาได้เข้าใจคติความเชื่อของท้องถิ่นที่แฝงอยู่ไม่ เป็นต้น

ความพยายามใช้สิทธิ-ส่งเสียงให้ผู้มีอำนาจได้ยินที่มีมาโดยตลอดนั้น บ่อยครั้งเลยที่กลายกลับเป็นว่าคำตอบที่ได้รับอยู่ในสายลม เพราะตราบใดที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจ ตัวจริง ยังไม่ใช่คนของท้องถิ่นเองเช่นนี้แล้วละก็ ปัญหาทำนองนี้ก็จะมีอยู่ร่ำไปไม่รู้จักจบสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใดก็ตามที่มีช่องว่างทางกฎหมายและภาคปฏิบัติเกิดขึ้น

ล่าสุดกับโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดมหึมาที่แม้กระทั่งคนแถวนั้นเองก็อาจจะยังไม่ทราบมาก่อนด้วยซ้ำว่ากำลังจะมีโครงการระดับนี้มาเกิดขึ้นแถวๆ บ้านของตน จากแผ่นปลิวที่มาถึงมือผู้เขียนระบุความเป็นมาและวัตถุประสงค์ว่า “บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) มีแผนดำเนินการโครงการอาคารชุดพักอาศัย 8 ชั้น จำนวน 4 อาคาร จำนวน 256 ห้อง บริเวณถนนบำรุงราษฎร์ ต.วัดเกตุ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เพื่อสร้างทางเลือกให้กับผู้พักอาศัยในจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งผู้พักอาศัยที่อยู่ใกล้เคียงได้มีทางเลือกในการเลือกที่พักอาศัยมากขึ้น” ในชื่อโครงการ คาซ่า คอนโด บำรุงราษฎร์

 

นอกนั้น บริษัทฯ ซึ่งรู้ดีถึงจุดอ่อนของการก่อสร้างโครงการฯ ในเขตเมืองได้อธิบายถึงมาตรการควบคุมต่างๆ ทั้งช่วงก่อสร้างโครงการ และในภายหลัง เป็นต้นว่า ด้านความสั่นสะเทือน จะเจาะเสาเข็มเฉพาะในเวลากลางวัน, มีประกันความเสียหายต่ออาคารที่อยู่ข้างเคียง ด้านฝุ่นละออง ฉีดพรมน้ำบริเวณที่มีการก่อสร้างความถี่อย่างน้อย 2 ครั้ง/วัน, ปิดคลุมรถบรรทุกดินอย่างมิดชิด, จัดผ้าใบหรือตาข่ายมาปิดคลุมอาคารตอนก่อสร้าง ด้านเสียง ควบคุมเวลาสร้างให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด, จัดห้องป้องกันและลดเสียงจากกิจกรรมก่อสร้างบางชนิด ด้านการจราจร จำกัดความเร็วของรถช่วงที่วิ่งผ่านชุมชนไม่เกิน 30 กม./ชม., จัดพนักงานคอยดูแลการจราจรบริเวณทางเข้า-ออกพื้นที่ก่อสร้าง อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ติดป้ายสัญลักษณ์เตือนในบริเวณที่อาจจะเกิดอันตราย, จัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพื้นที่กอสร้างตลอด 24 ชม. ตลอดจนจัดพื้นที่สีเขียว ปลูกไม่ยืนต้นขนาดใหญ่, จัดระบบบำบัดน้ำเสียให้เป็นไปตามมาตรฐาน ฯลฯ

หากอ่านจบแล้วก็ย่อมเคลิ้มตามได้ไม่ยาก แต่สิ่งยากกว่ามากคือการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการนี้นอกเหนือจากที่มีปรากฏอยู่ในแผ่นปลิวดังกล่าว ซึ่งก็ชวนให้คิดไปในแง่ร้ายได้ว่าถ้าทางผู้สร้างมีความตั้งใจจริงทำไมจึงไม่เปิดเผยข้อมูลวงกว้างออกสู่สาธารณะ แต่นี่กลับหมดเม็ด ปิดๆ บังๆ มีเพียงข้อมูลที่บอกว่าจะสร้างบนเนื้อที่ประมาณ 7 ไร่ 3 งานแถวถนนบำรุงราษฎร์ ซึ่งน้อยคนนักจะรู้

ยิ่งกว่านั้นทางบริษัทก็น่าจะทราบดีด้วยว่าบริเวณดังกล่าวอยู่ในย่านวัดเกต ซึ่งในผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ (ปรับปรุงครั้งที่ 3) จะจัดประเภทเป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อการอยู่อาศัย แต่ทว่ายังรอให้ประกาศเป็นกฎกระทรวงเสียก่อนจึงจะมีผลบังคับโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย เชื่อได้ว่าบริษัทกำลังอาศัยช่องว่าง หรือสุญญากาศของกฎหมายตรงนี้ ระหว่างที่ผังเมืองรวมฉบับเก่าหมดอายุและยังไม่มีผังเมืองรวมฉบับใหม่ออกมา เร่งรีบดำเนินการโดยเร็ว เพราะทราบดีว่าถ้าผังเมืองฯ มีผลใช้บังคับจริงจังเมื่อใด อาคารในพื้นที่บริเวณนี้จะมีความสูงได้ไม่เกิน 9 เมตร หรือ 3 ชั้นเท่านั้น

แน่นอนที่สุด การสร้างคอนโดมิเนียมอาจได้รับการยอมรับว่าเป็นการใช้พื้นที่ที่ ‘คุ้มค่า’ แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่า ‘ความคุ้มค่า’ นั้นก็คือ ‘ความเหมาะสม’ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของบริบทพื้นที่ และความต้องการของคนท้องถิ่น ดังที่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เคยเขียนบทความไว้ว่า “...เสน่ห์ของเมืองเก่าไม่ได้อยู่ที่มีวัดวาอารามเก่าๆ และโบราณสถานมากมายอยู่ในเมืองเท่านั้น เสดน่ห์ทางกายภาพของเมืองเก่ายังประกอบด้วยตึกรามบ้านช่อง และถนนรนแคมที่มีขนาดไม่ใหญ่เกินไปเหมือนเมืองสมัยใหม่ทั่วไปด้วย ขนาดที่เล็กนั้นคือขนาดของมนุษย์ (human scale) ฉะนั้น การเข้ามาอยู่ในเมืองเก่าจึงไม่รู้สึกถูกแปลกแยก อะไรๆ ก็มีสัดส่วนที่ร่างกายมนุษย์จะเข้าถึง ไม่ต้องอาศัยลิฟต์, บันไดเลื่อน, หรือรถไฟหัวกระสุน และท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรกับมนุษย์...”

ณ วันนี้ หลายๆ โครงการที่ถูกกำหนดให้แก่เมืองแห่งนี้ พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าคนเชียงใหม่ยังคงวางใจฝากเมืองอันเป็นที่รักไว้กับฟากฝ่ายรัฐไม่ได้ และคงต้องบ่นกันปากเปียกปากแฉะกันต่อไป หากผู้ปกครองเพียงได้ยินแต่ไม่ได้รับฟังเอาซะเลย.
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น