ประชาไท | Prachatai3.info |
- เสื้อแดง "แรลลี่-ชุมนุม" อยุธยา คึกคัก
- 'วิรัช' โวยโดนวางยาถ่ายคลิปปั้นล้มคดียุบ ปชป. ไม่ฟ้องเชื่อกรรมสนอง
- วิกฤตน้ำท่วมหลายจังหวัด ตัดเส้นทางคมนาคม ชาวบ้านอพยพทุลักทุเล
- เปิดฟังความเห็น‘อานันท์’ ย้ำอยู่ฝั่งประชาชน นักกิจกรรมโผล่ไม่เอาปฏิรูปบนซากศพ-เชียงใหม่จัดเวทีขนาน
- แรงงานจี้คณะกรรมการปฏิรูปฯ ช่วยผลักดันลมปากนายกฯ ขึ้นค่าแรง 250 บาท
- ซีรีส์ สื่อใหม่กับความขัดแย้งทางการเมือง ตอน 7: สื่อออนไลน์เปลี่ยนภูมิทัศน์การเมืองไทย
- ลูกจ้างอยุธยาหวั่นนายจ้างอ้างกระแส "บาทแข็ง" ฉวยโอกาสตัดโบนัส
- คนเสื้อแดงมุกดาหารกินโต๊ะจีนเรียกร้องปล่อยนักโทษการเมือง
- ใบตองแห้งออนไลน์: เดือนตุลาของเสื้อแดง
เสื้อแดง "แรลลี่-ชุมนุม" อยุธยา คึกคัก Posted: 17 Oct 2010 03:15 PM PDT กลุ่มแรลลี่เสื้อแดงจากเชียงใหม่-อยุธยา เคลื่อนรอบเกาะเมืองกรุงเก่า ชวน นปช.ร่วมกิจกรรม ชุมนุมแน่นสนามกีฬาอยุธยา ลั่นเดือน พ.ย. ชุมนุมอีกที่ จ.เลย
ที่มาภาพ: Thailand Mirror
แรลลี่นปช.เชียงใหม่ถึงอยุธยา ผู้ว่าฯขอชุมนุมอยู่ในกรอบกฎหมาย เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 53 เวลา 08.00 น. ทันทีที่ขบวนแรลรี่เชียงใหม่ – อยุธยาฯ ถึงพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรหาราช หรือทุ่งภูเขาทอง จ.พระนครศรีอยุธยา มีกำลังตำรวจประมาณ 300 นาย กระจายกำลังตรวจสอบความเรียบร้อยตลอดเส้นทาง ส่วนที่ด้านหน้าทางเข้าทุ่งมะขามหย่อง มีตำรวจปราบจลาจล ตรวจสอบพร้อมจดบันทึก รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ของขบวนกลุ่ม นปช. ทุกคัน นอกจากนี้ยังมีการบันทึกภาพทั้งภาพเคลื่อนไหว และภาพนิ่งไว้ทั้งหมด ทั้งนี้ กลุ่ม นปช. ประมาณ 400 คน ได้ทำพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในทุ่งภูเขาทอง ท่ามกลางฝนตกตลอดการทำพิธี โดยใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมงจึงเสร็จสิ้น หลังจากนั้นกลุ่มคนเสื้อแดงได้แยกย้ายกันไปรับประทานอาหารที่กลุ่ม นปช. จ.พระนครศรีอยุธยา จัดเตรียมมาไว้ให้ ซึ่งตลอดการทำพิธีบวงสรวง กองตำรวจสื่อสารได้ถ่ายทอดการทำกิจกรรมของกลุ่ม นปช. ด้วยกล้องวงจรปิด ผ่านไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อประเมินสถานการณ์ของกลุ่มผู้ชุมนุม โดยตลอดเส้นทางการเดินทางจาก จ.เชียงใหม่ ถึง จ.พระนครศรีอยุธยา กลุ่ม นปช. ที่เข้าร่วมขบวนแรลรี่ ระบุว่า มีการตั้งด่านจำนวนมาก เพื่อตรวจค้นกลุ่ม นปช. ให้เดินทางถึง จ.พระนครศรีอยุธยา ช้าลง และยังมีการวางตะปูเรือใบกับรถของขบวนแรลรี่ด้วย ขณะที่ นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรียกประชุม หน่วยงานด้านความมั่นคง เพื่อประเมินสถานการณ์ โดยจนถึงขณะนี้ยังไม่พบเหตุการณ์ที่จะนำไปสู่ความรุนแรง หรือความผิดปกติแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตามฝากให้กลุ่ม นปช. ที่จะจัดกิจกรรม 17 ตุลา ตาสว่างกว่าเดิม ชุมนุมอยู่ในกรอบทางกฎหมาย และจะไม่ปิดกั้นการแสดงออกทางความคิดแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา ตำรวจยังคงมีการตั้งด่านตรวจสอบรถยนต์ที่ผ่าน เข้า – ออก ในเขต จ.พระนครศรีอยุธยาอย่างเข้มงวด เพื่อรักษาความสงบและตรวจสอบกลุ่มบุคคลที่จะเข้ามาสร้างสถานการณ์ในวัน ด้านนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนํากลุ่ม 24 มิ.ย.ประชาธิปไตย ให้สัมภาษณ์ถึงกิจกรรมในครั้งนี้ว่า เนื่องในโอกาสครบรอบ 37 ปีเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่ประชาชนเปิดฉากลุกขึ้นสู้ก่อนจบลงด้วยการที่รัฐบาลใช้กำลังเข้าปราบปราม อย่างรุนแรง เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจํานวนมาก ซึ่งเป็นเหตุการณ์เหมือนกันกับที่คนเสื้อแดงออกมาเรียกร้องขอคืนอํานาจให้ ประชาชน แต่กลับถูกรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ใช้ความรุนแรงเข้าปราบปราม จนมีประชาชนล้มตาย 92 ศพ บาดเจ็บนับไม่ถ้วน คนเสื้อแดงจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลทําตามข้อเสนอที่ยื่นให้พิจารณาโดยทันที ได้แก่ 1.ปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองของ นปช.ทุกคนทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข 2.ปฏิรูปศาลยุติธรรม 3.ปฏิรูปเศรษฐกิจ และ 4.ประกันรายได้เกษตรกรและกรรมกรให้พอเพียง นอกจากนี้ยังขอเรียกร้องให้คืนสิทธิ์สื่อมวลชนของคนเสื้อแดง ไม่ว่าดีสเตชั่น พีเพิลแชลแนล และเรด พาวเวอร์ ฯลฯ นายสมยศ ระบุว่า เรียกร้องไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ว่ากองทัพต้องไม่แทรกแซงการเมือง จะสามารถลดความแตกแยกทางการเมืองได้ ทําความจริงในเหตุการณ์ 10 เม.ย.และ 19 พ.ค.53 ให้กระจ่าง และนําตัวฆาตกรที่สั่งปราบปรามประชาชนรุนแรงมาลงโทษให้ได้โดยเร็ว กองทัพไม่ควรแสดงบทบาทรับใช้อำมาตย์ คนเสื้อแดงจะเกาะติดคดียุบพรรคประชาธิปัตย์อย่างจริงจัง ช่วงปลายเดือน พ.ย.นี้จะนัดชุมนุมใหญ่ที่ จ.สมุทรสาครอีกครั้ง เป็นสถานที่ใดอยู่ระหว่างการพิจารณา แดงอยุธยาคึก ผูกผ้าแดง บนสะพานปรีดี โดยบรรยากาศที่สนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งใน เครื่องแบบและนอกเครื่องแบบกว่า 1,000 นาย มีบรรดาแม่ค้าพ่อค้าตั้งของขายริม 2 ข้างทางกว่า 100 ร้านมีกลุ่มเสื้อแดงทยอยเดินทางเข้ามาและเกิดความวุ่นวายขณะที่รถโมบายล์ สื่อสารของเจ้าหน้าที่ตำรวจวิ่งเข้าไปติดตั้งข้างขอบเวทีแต่ถูก นายสุรเชษฐ์ ชัยโกศล ส.ส.พระนครศรีอยุธยา พรรคเพื่อไทยห้ามไม่ให้เข้าไปจอดโดยอ้างว่าไม่รับรองความปลอดภัยจึงเกิดการ โต้เถียงแต่ไม่มีเหตุรุนแรงเจ้าหน้าที่ยอมถอยนำรถไปจอดหน้ากองอำนวยการ ต่อมาที่สะพานปรีดี นายสุรเชษฐ์ พร้อมแนวร่วมกลุ่มเสื้อแดงจากจังหวัดต่างๆ กว่า 1,000 คน นำผ้าแดงมาผูกตามเสาของสะพานปรีดี เป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ของคนเสื้อแดง โดยนายสุรเชษฐ์ ได้นำผ้าแดงผูกรูปของ นายปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรี และที่รูป พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ติดอยู่ในป้ายคู่กันบนสะพาน ระหว่างนั้น มีการจุดพลุตะไลหลายสิบนัด จากนั้นกลุ่มคนเสื้อแดงได้กางแผ่นป้ายไวนิล ที่มีความยาว 92 เมตร เท่ากับจำนวนของคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมที่ราชประสงค์ เป็นภาพเหตุการณ์ต่างๆและภาพคนเสื้อแดงที่ถูกยิงเสียชีวิต เป็นการแสดงนิทรรศการเคลื่อนที่ยาวที่สุดในโลก และยังมีการแสดงล้อเลียนด้วยการแต่งกายเครื่องแบบทหารควบคุมตัว นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ แกนนำที่ถูกจับกุมตัว แล้วมีคนเสื้อแดงเข้าไป ต่อว่าถูกทหารเข้าทำร้ายใช้อาวุธปืนยิง ใช้เวลาทำกิจกรรมนานกว่า 1 ชม. นอกจากนี้ในขบวนยังมีการนำรถมาดัดแปลงเป็นรถถังคล้ายของทหาร สร้างความสนใจให้กับประชาชนสองฝังถนนโดยขบวนทั้งหมดได้เดินเท้าไปยังสนาม กีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้เส้นทางถนนโรจนะผ่านวงเวียนเจดียีวัดสามปลื้ม มุ่งหน้าเข้าสนามกีฬาระยะทางประมาณ5 กม.ทำให้การจราจรติดขัดอย่างหนัก รถยนต์กว่า 2 พันคันจอดรอบสนามกีฬากลาง รายงานข่าวแจ้งว่ามีกลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาภาย ในสนามกีฬากลางเพื่อเตรียมเข้าร่วมการฟังปราศรัยทำให้ถนนโรจนะ ขาเข้าตั้งแต่หน้าโรงพยาบาลราชธานี จนถึงปากทางเข้าสนามกีฬา และถนนชัยมงคล มีรถของกลุ่มคนเสื้อแดงจอดเต็มไปหมดถึง 4 เลน ทำให้การจราจรเข้าเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ติดขัดอย่างหนัก ส่วนบรรยากาศภายในสนามกีฬากลางมีประชาชนเข้าไปในสนามแล้วกว่า 10,000 คน พล.ต.ต.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รรท.ผบช.ภ.1 ลงพื้นที่ตรวจและสั่งกำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ไว้อย่างเคร่งครัด รวมแล้วกำลังกว่า 2,800 นาย และได้ใช้เฮลิคอปเตอร์ตรวจการจำนวน 2 ลำคอยดูแลความสงบจากเหตุการณ์ที่กลุ่มเสื้อแดงมาทำกิจกรรมตรวจแล้วเรียบร้อย ดีเป็นห่วงมีฝนตกกลัวประชาชนขับรถจะเกิดอุบัติเหตุจึงให้จัดการจราจรให้ สะดวก. เสื้อแดงจุดตะไล ปิดฉากชุมนุมแน่นสนามอยุธยา จากนั้นการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่สนามกีฬา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นไฮไลต์ของความเคลื่อนไหวช่วงสุดสัปดาห์ยุติลงด้วยดี ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มข้น โดยกิจกรรมในช่วง 22.00 น. เป็นจุดไฟตะไลทะลุฟ้าท้าอธรรม จำนวน 3,000 นัด โดยมีการแจกพลุให้กับผู้ชุมนุมที่แน่นสนามกีฬา นายจตุพร พรหมพันธ์ ประกาศนำบนเวทีให้ผู้ชุมนุมร่วมกันจุดตะไลและพลุ ท่ามกลางเสียโห่ร้องไชโย จากนั้นนัดแนะว่า จะมีการชุมนุมร่วมกันใหม่อีกที่จังหวัดเลยในเดือนพฤศจิกายน ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: แรลลี่นปช.ชวนแดงอยุธยา ร่วมกิจกรรม (ไทยรัฐ, 17-10-2553) แดงอยุธยาคึก ผูกผ้าแดง บนสะพานปรีดี (ไทยรัฐ, 17-10-2553) เสื้อแดงจุดตะไล ปิดฉากชุมนุมแน่นสนามอยุธยา (ข่าวสด, 17-10-2553)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
'วิรัช' โวยโดนวางยาถ่ายคลิปปั้นล้มคดียุบ ปชป. ไม่ฟ้องเชื่อกรรมสนอง Posted: 17 Oct 2010 02:52 PM PDT นายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกันแถลงข่าวในฐานะทีมกฎหมายต่อสู้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อตอบโต้กรณีพรรคเพื่อไทยเผยแพร่คลิปการสนทนาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์กับคนในศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีภาพนายวิรัชอยู่ในคลิป นายวิรัช กล่าวว่า สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ยังยึดมั่นคำขวัญประจำพรรคว่า สัจจํ เว อมตวาจา คือ การพูดความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย ขอชี้แจงกรณีถูกกล่าวหาอยู่ในคลิปดังกล่าวที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ยูทูบ และสื่ออื่นๆ โดยปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา เพราะไม่มีการล็อบบี้ตุลาการโดยสิ้นเชิง เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดจากการคบคิดวางแผนชั่วร้ายอย่างเป็นขบวนการ โดยมีพรรคเพื่อไทยเป็นผู้เขียนบท เพื่อให้ข้อเท็จจริงทั้งหมดมุ่งสู่การทำลายล้างสถาบันองคมนตรี ที่มีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานองคมนตรี ทำลายพรรคประชาธิปัตย์ และกระบวนการยุติธรรม เป็นขบวนการชั่วช้าสามานย์ นายวิรัชกล่าวอีกว่า เรื่องดังกล่าวมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ในคลิปที่ 2 มีภาพ 3 คน คือ ตน นาย “พ.” และนายวรวุฒิ นวโภคิน ที่ปรึกษากรรมาธิการการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งตนเป็นประธานกรรมาธิการอยู่ โดยนายวรวุฒิเป็นเพื่อนร่วมรุ่นนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง(ปปร.13) ซึ่งมีสมาชิกพรรคเพื่อไทย เช่น ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส.ขอนแก่น และ ร.ต.อ.อรรถกวี ขุนพินิจ ลูกเลี้ยง พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร ร่วมเรียนด้วย นายวิรัชเล่าว่า เหตุการณ์เริ่มจากนาย “พ.” ได้ติดต่อมาทางนายวรวุฒิอยากขอพบเพื่อจะพูดคุยและรับประทานอาหาร ที่ร้านอาหารฟู้ดดี ในซอยหมู่บ้านปูนซิเมนต์ไทย ย่านประชาชื่น เวลา 14.00 น.วันที่ 7 ต.ค. ซึ่งเห็นว่า นาย “พ.”เป็นเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ โดยมารยาทด้วยความเกรงใจ และอยากทราบว่าต้องการคุยเรื่องอะไร จึงไปพบเป็นการส่วนตัว โดยไม่ได้แจ้งให้นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้าทีมกฎหมาย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน และนายบัณฑิต ศิริพันธุ์ และทีมกฎหมายคนอื่นๆ รับทราบ "การพบกับนาย พ. มีขบวนการวางแผนตั้งกล้องแอบถ่าย โดยตอนแรกคนชื่อ พ. หันหลังให้กล้อง บังไม่สามารถเห็นภาพผมได้ชัด จากนั้นได้ย้ายมานั่งที่หัวโต๊ะ เนื่องจากเขารู้มุมกล้อง แต่ผมไม่ได้สังเกต ทำให้จับภาพผมได้ชัด ถือว่าเป็นขบวนการชั่วจริงๆ และในการพูดคุยนั้น นายพ.ก็จะใช้คำถามที่เป็นคำถามนำ" นายวิรัชกล่าวอีกว่าโชคดีที่คลิปตอนที่ 3-5 ซึ่งเป็นการแอบถ่ายในห้องทำงานของตุลาการทั้ง 7 คน จึงแสดงว่าการทำแบบเป็นขบวนการจริงๆ และลองคิดดูว่าใครแอบถ่ายคลิปดังกล่าว ซึ่งต้องดูว่าใครที่สามารถเข้าไปห้องทำงานของผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญได้ คำตอบคือเจ้าหน้าที่ ซึ่งตนเชื่อว่านายพ.เข้าไปได้แน่นอน เพราะกระบวนการศาลมีขั้นตอนเข้มงวดมาก ก่อนจะเข้าไปได้ต้องมีการลงชื่อ แลกบัตร ฝากอุปกรณ์ทั้งมือถือและอุปกรณ์ไฮเทคทั้งหลายไม่สามารถเอาเข้าไปได้ ไม่ว่าจะเป็นใคร ยกเว้นนายพ.ที่อยู่นอกเหนือหลักกติกา ซึ่งสามารถตรวจสอบจากกล้องซีซีทีวีของศาลได้ หากศาลอนุญาต เขายังระบุด้วยว่า ที่ผ่านมาเคยมีเหตุการณ์กรณีของนายทศพล เพ็งส้ม ส.ส.นนทบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ทีมกฎหมายคดียุบพรรค เคยถูกความชั่วช้าสามานย์ โดยชายชื่อ พ.ร่วมมือกับพรรคเพื่อไทย เรียกนายทศพลไปรับเอกสารที่ศาล และถ่ายคลิปไว้ ทำให้วันนี้นายทศพลต้องเจ็บช้ำกับเรื่องเหล่านี้ "เชื่อว่าการกระทำของนายพ.กับพรรคเพื่อไทยเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับตุลาการทั้ง 7 คน แต่ก็แปลกใจคนอย่างนาย พ. มีความรู้ดี หน้าที่การงานดี ไม่น่าเชื่อว่าจะวิ่งเข้ากองไฟเพื่อเป็นดาวลูกไก่ และฮาราคีรีฆ่าตัวตาย งานนี้ไม่ธรรมดา การแลกด้วยชีวิตราชการ ผมคิดแบบบ้าน คงได้ไม่น้อย น่าจะจำนวนมาก และขอภาวนาว่าการกระทำของพรรคเพื่อไทยและคนของพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะพร้อมพงศ์ และคณะขอให้เป็นครั้งสุดท้าย ที่คนพรรคเพื่อไทยจะคิดวิธีการสกปรกมาใช้กับกระบวนการยุติธรรม" เขาระบุด้วยว่า ส่วนเรื่องที่ว่าตนจะไปล็อบบี้เพื่อให้มีการสืบพยานเพิ่มเติมนั้น ตามระบบการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญ เลขานุการศาลรัฐธรรมนูญ หรือเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีอำนาจกำหนดพยานกี่คน และในการพิจารณาคดียุบพรรค เช่น การยุบพรรคไทยรักไทย ศาลรัฐธรรมนูญ จะเรียก พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต. และนายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคณะกรรมการสอบสวน มาให้การต่อศาล ดังนั้น ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ เมื่อมีการเรียกนายอิสระ หลิมศิริวงศ์ ประธานคณะกรรมการสอบสวนของกกต.มาให้การแล้ว ขั้นต่อไปก็อาจจะเรียกนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.มาให้ข้อมูลด้วย ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องไปให้ล็อบบี้ให้มีการเรียกนายอภิชาตมาให้การแต่อย่างใด ขอยืนยันพรรคประชาธิปัตย์เคารพกติกา ไม่เคยล่วงละเมิดอำนาจศาล ศาลเห็นอย่างไรเราก็ว่าตามนั้น นายวิรัชกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีคลิปที่พลเอกเปรม นั่งอยู่กับประธานศาลรัฐธรรมนูญ โดยพยายามเบี่ยงเบนว่าพลเอกเปรมมาล็อบบี้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปไม่ได้โดยสิ้นเชิง เป็นการเขียนและทำขึ้นเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา ก่อนจะมีคลิปเผยแพร่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย เคยขู่จะเปิดคลิปเปิดเกี่ยวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ แสดงว่าเตรียมการไว้แล้ว เพียงแต่รออะไรมาต่ออีกนิด แล้วก็เกิดขึ้นจริงๆ เมื่อนำมาผสมกัน ถือว่ายิ่งกว่ากดดันศาล แต่เป็นการทำลายระบบยุติธรรมประเทศไทย ทำลายสถาบันสำคัญและทำลายระบบพรรคการเมือง อย่างไรก็ตาม ตนไม่คิดว่าจะฟ้องร้องกับนายพ. เพราะเป็นเจ้าหน้าที่ศาล จึงเป็นเรื่องของกระบวนการศาลรัฐธรรมนูญที่จะดำเนินการภายในเอง และไม่คิดจะปลดนายวรวุฒิ ออกจากที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการฯ เพราะยังไม่มีความชัดเจนได้กระทำความผิด ทั้งนี้ มั่นใจว่าคลิปดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อคดียุบพรรค เพราะการสืบพยานที่ผ่านมา ตนมั่นใจว่าเราทำงานได้อย่างน่าพอใจ ซึ่งตนไม่คิดจะต้องรับผิดชอบด้วยการลาออกจากทีมกฎหมายของพรรคเพราะไม่ได้ทำความผิด และจะเดินทางไปร่วมสืบพยานในศาลรัฐธรรมนูญในวันจันทร์ที่ 18 ต.ค.ด้วย ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตนได้รายงานให้นายชวน และนายกรัฐมนตรีทราบแล้ว โดยนายกฯ ให้ตนแถลงตามความจริงที่เกิดขึ้น ด้าน นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ทีมกฎหมายสู้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ และศาลรัฐธรรมนูญเป็นระยะ และคลิปที่มีพลเอกเปรม และประธานศาลรัฐธรรมนูญอยู่ด้วยกัน เพื่อสื่อว่าเป็นอำนาจมืด อำนาจพิเศษสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ถือเป็นภาพที่โกหกอย่างน่ารังเกียจ เพราะน่าจะเป็นภาพที่ศาลมาคารวะพลเอกเปรมตามวาระต่าง ๆ และยังมีภาพนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค หัวหน้าทีมกฎหมาย เพื่อสื่อว่ารับทราบเรื่องที่เกิดขึ้น ทั้งที่ไม่เป็นความจริง ทั้งนี้ อยากถามว่าใครจะได้ประโยชน์กับคลิปที่เกิดขึ้น แล้วต้องใช้เงินกี่พันล้านบาทในการดำเนินการ ซึ่งเรื่องนี้สามารถเชื่อมโยงกับคำพูดของพรรคเพื่อไทยที่บอกว่าต้องได้เป็นพรรคที่ได้เสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งในการเลือกตั้งครั้งหน้าเท่านั้น จึงจะนำ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาได้ เป็นกระบวนการทำลายประเทศไทย ทำลายนิติรัฐ และทำลายศาลรัฐธรรมนูญที่น่ารังเกียจอย่างยิ่ง เพื่อสร้างความชอบธรรมในการกลับเข้าสู่อำนาจของใครบางคน ทั้งนี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องทบทวนเหมือนกันว่าให้บุคคลภายในหรือภายนอกไปบันทึกภาพได้อย่างไร ที่มา: เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
วิกฤตน้ำท่วมหลายจังหวัด ตัดเส้นทางคมนาคม ชาวบ้านอพยพทุลักทุเล Posted: 17 Oct 2010 02:41 PM PDT โคราชวิกฤต น้ำท่วมถ.มิตรภาพ รางรถไฟเอ่อล้น 1.30 เมตร 17 ต.ค. ที่จังหวัดนครราชสีมา ตลอดทั้งวันนี้ ทุกโรงงานได้แจ้งให้พนักงานหยุดงานชั่วคราวแล้ว สำหรับน้ำที่ไหลบ่าลงมาท่วมเขตอุตสาหกรรมนวนครนั้น เป็นน้ำจากพื้นที่ อ.ปักธงชัย อ.สูงเนิน และอำเภอสีคิ้ว รวมถึงอุทยานแห่งชาติทับลานและอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไหลลงมารวมกันตั้งแต่เวลาประมาณ 08.00 น. วานนี้ ( 16 ต.ค.53 ) เนื่องจากพื้นที่ตั้งโครงการฯ เป็นพื้นที่ลุ่มอีกทั้งโดยรอบพื้นที่ก็ถูกน้ำท่วมขังเช่นเดียวกันจึงทำให้การระบายน้ำทำได้ค่อนข้างลำบาก เจ้าหน้าที่สถานีรถไฟนครราชสีมา ได้ประสานไปยังสำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา ส่งรถโดยสารมาช่วยรับส่งผู้โดยสารที่จะเดินทางโดยรถไฟ จากสถานีรถไฟนครราชสีมา ไปยังกรุงเทพฯ เนื่องจากขณะนี้รางรถไฟที่บริเวณสถานีรถไฟตำบลโคกกรวด อ.เมือง จ.นครราชสีมา ไปจนถึงสถานีรถไฟ ต.กุดจิก อ.สูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ระยะทางกว่า 1กม. ถูกปริมาณน้ำไหลบ่าท่วมสูงกว่า 1.30 เมตร ทำให้รถไฟต้องปิดให้บริการโดยทันที และต้องนำรถโดยสารมาขน-ส่งผู้โดยสารแทน ส่วนการเดินทางจากจังหวัดนครราชสีมา ไปยังกรุงเทพฯ นั้นขณะนี้ยังเป็นไปค่อนข้างลำบาก เนื่องจากถนนมิตรภาพ ซึ่งเป็นถนนสายหลัก ถูกกระแสน้ำไหลบ่าเข้าท่วมตั้งแต่เขต อ.เมือง จ.นครราชสีมา ไปจนถึงสุดเขตจังหวัดที่ ต.กลางดง อ.ปากช่อง ตลอดทั้งสาย ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แนะนำให้ผู้ที่จะเดินทางเข้าไปยังกรุงเทพฯ ทาง ถ.มิตรภาพ ให้ใช้รถยนต์กระบะเพื่อให้สามารถหลีกเลี่ยงช่องทางที่ถูกน้ำท่วมขัง โดยจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 1,000 นาย คอยอำนวยความสะดวกและแนะนำเส้นทางตลอดทั้งสาย ส่วนรถยนต์ขนาดเล็กให้หลีกเลี่ยงเส้นทางมิตรภาพ ไปใช้เส้นทาง ถนนสาย 304 นครราชสีมา -กบินทร์บุรี เพื่อเดินทางแทน ขณะที่เรือท้องแบนและอุปกรณ์ให้ความช่วยเหลือต่างๆที่มีอยู่ทุกหน่วยงานของจังหวัดนครราชสีมา ก็ถูกระดมไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในหลายอำเภอที่กำลังประสบกับปัญหาอุทกภัยอย่างหนัก อาทิ อ.ปักธงชัย , อ.สูงเนิน , อ.โชคชัย , อ.เมือง , อ.ด่านขุนทด , และอ.พิมาย เป็นต้น ทำให้ในขณะนี้ไม่มีอุปกรณ์รวมถึงกำลังพลเพียงพอที่จะให้ความช่วยเหลือทั่วทุกพื้นที่ได้ ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่โครงการอุตสาหกรรมนวนคร ก็ได้เร่งทำการระบายน้ำที่ท่วมขังออกอย่างเร่งด่วน ซึ่งคาดการณ์ว่าหากไม่ฝนตกหนักลงมาอีกสถานการณ์ทุกอย่างจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ภายในเย็นวันนี้ ในเขตเทศบาลเมืองปัก อ.ปักธงชัย นครราชสีมา ช่วงที่ระดับน้ำขึ้นสูงสุด ตามข้อมูลการแจ้งของ จนท.โครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย ฯ ว่า ทุกพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองปัก ฯ ที่เป็นย่านชุมชน เป็นที่ตั้งของสถานีตำรวจ ธนาคาร ตลาด และอาคารพาณิชย์ต่างๆ ระดับน้ำจากเขื่อนลำพระเพลิงที่ไหลเข้าท่วมได้เพิ่มระดับอย่างรวดเร็ว ทำให้การสัญจรต้องใช้เรือแทนรถยนต์ขนาดใหญ่ หรือรถขับเคลื่อน 4 ล้อ บ้านเรือนของราษฎรถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ท่ามกลางการระดมกำลังของอาสาสมัครหน่วยกู้ภัย จนท.จาก อปท.ใกล้เคียง และทหารกองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี ต้องนำรถบรรทุกขนาดใหญ่เข้าช่วยเหลือผู้ที่ติดค้างอยู่ภายในบ้าน ซึ่งก่อนหน้านี้ยังมีประชาชนส่วนหนึ่งไม่ยอมออกจากบ้านเนื่องจากเกรงจะถูกโจรกรรมทรัพย์สินมีค่าภายในบ้าน แต่ในที่สุดก็ทนรับสภาพไม่ไหวจึงมีการร้องขอความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ อปท.ที่อยู่ใกล้เคียง ที่ตั้งอยู่ในเส้นทางระบายน้ำจากเขื่อนลำพระเพลิง ถูกน้ำท่วมขังเกือบ 100% ขณะรายงานข่าวได้มีฝนตกลงมาอย่างหนัก สำหรับอุทกภัยครั้งนี้รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี สำหรับเส้นทางสัญจรเข้าสู่ กทม. จนท.ได้เปิดเส้นทางหลวงหมายเลข 304 ราชสีมา -กบินทร์บุรี แทนถนนมิตรภาพที่อาจเกิดน้ำท่วมขังยานพาหนะไม่สามารถสัญจรได้ ทำให้เกิดจราจรติดขัดเป็นอย่างมาก จนท.จึงให้กลับมาใช้เส้นทางถนนมิตรภาพตามเดิม หลังได้รับแจ้งว่าปริมาณน้ำท่วมขังได้มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ลพบุรีอพยพชาวบ้าน น้ำไหลหลากท่วม 4 อำเภอ ที่จ.ลพบุรี สถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด หลังมีน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมหลายหมู่บ้านใน อ.โคกสำโรง อ.ชัยบาดาล อ.สระโบสถ์ และ อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี ตั้งแต่ช่วงเช้าเมื่อวานนี้ (16 ต.ค.) ส่งผลให้ระดับน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ต่างเร่งอพยพชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนหลายหลังคาเรือน เพื่อหนีน้ำอย่างโกลาหล ล่าสุด ปริมาณน้ำเริ่มคงที่ เนื่องจากฝนหยุดตกแล้ว ซึ่งบางจุดมีน้ำท่วมสูง 40 เซนติเมตร ขณะที่บางจุด กระแสน้ำป่าท่วมสูงเกือบศีรษะ บางจุดท่วมมิดศีรษะ เนื่องจากจุดดังกล่าว เป็นพื้นที่แอ่งกระทะ ขณะที่เจ้าหน้าที่ และอาสากู้ภัย นำเรือเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อนออกมาได้แล้ว ประมาณ 15 คน ที่ประสานงานขอให้เจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยขนทรัพย์สินภายในบ้านเรือน อพยพออกมาพักอาศัยที่องค์การบริหารส่วนตำบลบัวชุม นายธานี มาลีหอม นายอำเภอโคกสำโรงลพบุรีกล่าวว่า น้ำท่วมครั้งนี้ท่วมทั้งหมด 13 ตำบลราษฎรเดือดร้อน 1,700 ครัวเรือน และที่สำคัญน้ำหลากเข้าท่วมในเขตตลาดเทศบาลตำบลโคกสำโรง ทำให้ราษฎรทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาลเดือดร้อนอย่างหนัก ยิ่งฝนตกตลอดต้องช่วยกันเฝ้าระวังเกรงว่าน้ำป่าจากเทือกเขาตะเภาจะหลากเข้าท่วมอีกระลอกหนึ่งทางเพราะที่เข้าท่วมอยู่น้ำป่ามาจากเทือกเขาหมูมันในเขตอำเภอสระโบสถ์ทาง อำเภอสั่งการให้ทาง กำนันผู้ใหญ่บ้านเฝ้าระวังและรายงานให้ทางอำเภอทราบทุกระยะ "ที่ตำบลถลุงเหล็ก ที่น้ำป่าหลากเข้าท่วมสูงกว่า 1 เมตร 50 เซนติเมตร น้ำไหลมาจากเทือกเขาหมูมันไหลลงมาตามคลองสาลิกา ชาวบ้านต่างต้อนสัตว์เลี้ยงขึ้นที่ดอน เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อสัตว์ เช่น กระบือ โค สุกร และไก่ พร้อมกันนั้น นางปกฤษณา วรปัญญา แม่ค้าขายข้าวเหนียวมะม่วงชื่อดังของอำเภอโคกสำโรง ได้ทำอาหารกล่องแจกหลายร้อยกล่องแจกจ่ายให้กับบรรดาอาสาสมัคร และผู้ประสบภัยน้ำท่วมครั้งนี้ด้วยเงินส่วนตัว" นายธานี กล่าว ที่จ.นครสวรรค์ นายประสิทธ์ สุขกลาง นายสถานีรถไฟนครสวรรค์ เปิดเผยว่า เกิดสถานการณ์น้ำฝนไหลบ่าท่วมทางรถไฟระหว่างสถานีจันเสน – ช่องแค นครสวรรค์ ตั้งแต่เวลา 07.06 นาฬิกา เนื่องจากฝนตกหนัก ทำให้น้ำท่วมทางรถไฟเป็นระยะทางประมาณ 3 ช่วงเสาโทรเลข (ประมาณ 500 เมตร) ทำให้ผู้โดยสารตกค้างอยู่ที่สถานีรถไฟช่องแคและสถานีจันเสน หลายร้อยคน สำหรับผู้โดยสารที่มารถไฟเที่ยวล่องจากเชียงใหม่-กรุงเทพฯ ให้หยุดขนถ่ายเข้ากรุงเทพฯที่สถานีนครสวรรค์ 535 คน ลำปางฝนกระหน่ำทางขาด-ชาวแม่พริก 3 หมู่บ้านเดือดร้อน ที่ จ. ลำปาง ชาวบ้านในพื้นที่ 3 หมู่บ้านในตำบลแม่พริก อ.แม่พริก จ.ลำปาง ได้แก่ บ้านสันขี้เหล็ก บ้านแพะ และบ้านสันป่าสัก ต้องได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบของการระบายน้ำอ่างเก็บน้ำแม่พริก (ผ่าวิ่งชู้) ที่ระบายน้ำลงสู่ลำห้วยแม่พริก ของเมื่อคืนวันที่ 14 ต.ค.ที่ผ่านมา จนทำให้ถนนทางข้ามห้วยขาดยาวเกือบ 80 เมตร ชาวบ้านต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการเลี่ยงไปใช้ถนนเส้นทางอื่นไกลกว่า 3 กม. เพื่อเดินทางไปจ่ายตลาด และข้ามไปมาหาสู่กัน นายสุรพล บุรินทราพันธุ์ นายอำเภอแม่พริก เปิดเผยว่า ความเสียหายที่เกิดจากน้ำป่า เมื่อช่วงเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ทางการได้รายงานความเสียหายให้ทางจังหวัด เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการช่วยเหลือ ส่วนใหญ่เป็นระบบสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งใช้งบประมาณค่อนข้างมาก โดยเฉพาะสะพานคอนกรีต และถนนที่จำเป็นต้องเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วน จนถึงขณะนี้เป็นระยะเวลาครบ 1 ปี แล้ว ซึ่งก็ได้งบประมาณสนับสนุนจากกรมป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนของการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ ทั้งนี้ หมู่บ้านแห่งนี้เคยถูกน้ำป่าพัดสะพานคอนกรีตข้ามห้วยเสียหายเมื่อประมาณเดือนตุลาคมปีที่แล้ว เนื่องจากต้องใช้งบประมาณค่อนข้างมาก โดยทางหน่วยงาน อบต.แม่พริก ได้ประสานขอความช่วยเหลือไปทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยระหว่างที่ต้องรองบประมาณช่วยเหลือทางหน่วยงาน อบต.ในพื้นที่ ต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าไปก่อนโดยวางท่อคอนกรีต และทำถนนคันดินเพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้สัญจรชั่วคราว สามารถข้ามห้วยไปมาหากันได้ ก่อนที่จะมาถูกกระแสน้ำพัดได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตาม องค์การบริหารส่วนตำบลแม่พริก-ผาปัง เจ้าของพื้นที่ได้รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการแก้ไข ซึ่งต้องรอให้น้ำในลำห้วยลดระดับลงสู่ปกติเสียก่อน น้ำป่าเขาพนมดงรักทะลักท่วมหลาย อ.ศรีสะเกษ ชาวบ้านขนของหนีอุตลุต! สถานการณ์น้ำจากเทือกเขาพนมดงรัก เขตชายแดนไทย – กัมพูชา เริ่มที่จะทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในเขต อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ บางส่วนแล้ว คือ ในช่วงบ้านสำโรงเกียรติ ต.บักดอง และบ้านห้วย ต.สิ นางอรุณรัตน์ ปิ่นคำ หัวหน้าสถานีอนามัยสำโรงเกียรติ ต.บักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า น้ำปีนี้ไหลมาเร็วมาก ทำให้ตนเก็บข้าวของเครื่องใช้ และอุปกรณ์ทางการแพทย์แทบจะไม่ทัน เพราะน้ำได้ท่วมขังมาเป็นเวลา 2 วันแล้ว ซึ่งน้ำได้ไหลเข้าไปในห้องต่าง ๆ บ ริเวณชั้นล่างของสถานีอนามัย และบริเวณโดยรอบทางเข้าสถานีน้ำก็ได้ไหลเข้าท่วม ทำให้ชาวบ้านใน 6 หมู่บ้าน ที่มาเข้ารับบริการ ต้องลำบากในการเดินลุยน้ำเข้ามารับบริการ ซึ่งในเบื้องต้นตนก็ได้ย้ายอุปกรณ์ไปยังห้องต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนได้ทันที ทางด้าน นางอำพร สัญญา อายุ 57 ปี อยู่บ้านเลขที่ 77 หมู่ 7 ต.สิ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ในปีนี้น้ำได้ไหลมาเร็วมาก ซึ่งตนก็ได้ช่วยกันเก็บของขึ้นไปชั้นบนของบ้านแล้ว และน้ำได้ไหลเข้าท่วมในตัวบ้านด้านล่างทั้งหมด ส่วนหลานที่พึ่งคลอดมาได้ ประมาณ 2 สัปดาห์ ก็ให้ย้ายเข้าไปอยู่ที่บ้านลูกสะใภ้ก่อน เพื่อความปลอดภัยของแม่และเด็ก สำหรับร้านขายไก้ย่างข้างทางบริเวณบ้านห้วย ต.สิ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ก็ยังได้มีการนำไก่มาย่าง เพื่อจำหน่ายให้กับชาวบ้านที่ผ่านไปมา ถึงแม้ว่าระดับน้ำจะเริ่มไหลเข้าท่วมภายในบริเวณของร้านแล้วก็ตาม ด้าน อ.กันทรลักษ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและเทศบาลเมืองกันทรลักษ์ ช่วยอพยพชาวบ้าน ในชุมชนราษฎรพัฒนา หมู่ 5 เทศบาลเมืองกันทรลักษ์ ซึ่งเป็นจุดที่อยู่ใกล้กับห้วยขยุง ไปอยู่ในที่ปลอดภัย เนื่องจากน้ำป่าจากเทือกเขาพนมดงรักได้ล้นลำห้วยเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ซึ่งเบื้องต้นได้เตรียมพื้นที่บริเวณอาคารหอประชุมอำเภอไว้เป็นที่พักอาศัยชั่วคราว และอยู่ระหว่างประสานขอรถมาช่วยขนย้ายทรัพย์สินและสัตว์เลี้ยงให้กับผู้ประสบภัย ขณะที่ บ้านธาตุ บ้านธาตุทอง บ้านโกแดง บ้านละลม บ้านพรหมทอง ต.ละลม อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ก็ได้ประสบภาวะน้ำท่วมเช่นเดียวกัน ซึ่งขณะนี้ข้าวที่กำลังออกรวง ยังจมอยู่ใต้น้ำบาดาลร่วม 2,000 ไร่ ซึ่งพื้นที่ส่วนมากแล้วจะปลูกข้าวหอมมะลิ 105 พืชเศรษฐกิจ สำหรับการอุปโภค บริโภคและนำไปขาย เพื่อสร้างรายได้แก่ครอบครัว ชุมชน โดยชาวบ้านยังห่วงมากว่า หากน้ำยังไม่ลดลงภายใน 2 - 3 วันนี้ ข้าวในนายิ่งจะสูญเสียมากกว่าเดิมเป็น 10 เท่า ฝนตกหนัก น้ำป่าเขาใหญ่ทะลักระลอก2 หลายอำเภอยังจม ที่จ.ปราจีนบุรี เมื่อเวลา 21.30 น.วันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา นายวิโรจน์ ใจตรง กำนันต.บุพราหมณ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า จากการที่น้ำป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มรดกโลก ได้ไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือน -ถนนเข้าหมู่บ้านรวม จำนวน 8 หมู่บ้านที่ติดริมคลองยาง ต.บุพราหมณ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี คือ หมู่ 1 หมู่ 2 หมู่ 3 หมู่5 หมู่6 หมู่ 7 หมู่ 8 และหมู่ 10 ระดับน้ำท่วมสูงเฉลี่ย1.50 เมตร กลางดึกวันที่ 15 ต.ค. นั้น หลังจากช่วงกลางวันระดับน้ำได้ลดลงเนื่องจากเป็นน้ำป่า แต่ในช่วงนี้ระดับน้ำกลับเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากฝนตกต่อเนื่องน้ำได้ท่วมเป็นระลอก 2 และกำลังเพิ่มระดับต่อเนื่อง “ฝากพื้นที่ลุ่มในการติดตามสถานการณ์น้ำเพิ่มสูงซึ่งได้ประกาศเสียงตามสายแจ้งเตือนภัยแล้ว โดยเฉพาะหมู่10 ต.บุพราหมณ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ที่ต่ำสุดคาดน้ำจะท่วมเท่าสถานการณ์น้ำเอ่อท่วมเมื่อคืน ระดับเกือบ 2เมตรโดยขณะนี้ระดับกำลังสูงเพิ่มขึ้น โดยในปากทางเข้า-ออกได้นำเรือท้องแบน 1 ลำพร้อมเจ้าหน้าที่ อพปร.เฝ้าระวังรับส่งประชาชนที่เลิกงานไว้แล้วพร้อมขึงราวเชือกเพื่อเกาะข้ามถนนป้องกันกระแสน้ำพัดพาระยะทางเกือบ 200เมตร” นายวิโรจน์กล่าว ด้านนายพนธ์ ดีเลิศ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบุพราหม์ หมู่ 10 (ส.อบต.) ต.บุพราหมณ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า ได้ช่วยเหลือชาวบ้านเบื้องต้นขณะนี้โดยจะแจกจ่ายข้าวสารอาหารแห้งและน้ำดื่มสะอาดให้ในวันที่ 17 ต.ค. เป็นการเบื้องต้นต่อไป อย่างไรก็ตาม ที่บริเวณชุมชนตลาดเก่า อ.กบินทร์บุรี จนถึงขณะนี้ ระดับน้ำยังท่วมสูงกว่า 1 เมตร และยังมีทีท่าเพิ่มสูงขึ้น ชาวบ้านต้องจัดเวรยามเฝ้าระวังระดับน้ำ และทรัพย์สินที่ย้ายมาไว้บนที่สูง ส่วนที่อำเภอนาดี ระดับน้ำเริ่มทรงตัว ขณะที่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและเทศบาลเมืองกันทรลักษ์ ได้ช่วยกันอพยพชาวบ้าน ในชุมชนราษฎรพัฒนา หมู่ 5 ซึ่งเป็นจุดที่อยู่ใกล้กับห้วยขยุง ไปอยู่ในที่ปลอดภัย เนื่องจากน้ำป่าจากเทือกเขาพนมดงรักได้ล้นลำห้วยเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ซึ่งเบื้องต้นได้เตรียมพื้นที่บริเวณอาคารหอประชุมอำเภอไว้เป็นที่พักอาศัยชั่วคราว และอยู่ระหว่างประสานขอรถมาช่วยขนย้ายทรัพย์สินและสัตว์เลี้ยงให้กับผู้ประสบภัย ป่าสักเอ่อท่วมอยุธยา3เมตรดมช่วยคน-หมา นายวิทิต ปิ่นนิกร นายอำเภอท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา นายชโลม โปลิตานนท์ นายกเทศมนตรีตำบลท่าเรือ ได้ระดมหน่วยกู้ภัยเอกชน และหน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาล ช่วยประชาชนในตลาดอำเภอท่าเรือ ถูกน้ำท่วมตั้งแต่ 04.30 น. ระดับน้ำป่าสักเอ่อสูงท่วมถนนหน้าที่ทำการเทศบาลและอำเภอ ล้นเข้าไปจากริมแม่น้ำระยะทางเกือบ 100 เมตร ท่วมตัวตลาดร้านค้า เสียหายกว่า 200 หลังคาเรือน หน่วยปภ.ะหน่วยกู้ภัยต้องช่วยกันขนสิ่งของเครื่องใช้ออกจากบ้านไปไว้ถนน ขณะที่หลายบ้านขนของออกไปอยู่บ้านญาติที่นอกเมือง และช่วยสุนัขจรจัดจำนวนกว่า 20 ตัวติดอยู่ใต้ถุนอาคารและบ้านเรือนริมแม่น้ำ โดยน้ำมีความลึก 2.50 – 3.00 เมตร ต้องใช้เรือขนสุนัขอย่างทุลักทุเล ส่วนประชาชนที่บ้านถูกน้ำท่วม ต้องลอยคอนำสิ่งของออกจากบ้านกันอลหม่าน นายวิทิต เปิดเผยว่าระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนเตรียมตัวป้องกันไม่ทัน ทั้งนี้เนื่องจากทางเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้มีการระบายน้ำมากกว่า 800 ลบ.ม.ต่อวินาที ทำให้น้ำท่วม ตลาดภายใน 8 ช.ม. ซึ่งขณะนี้ได้แจ้งให้ประชาชนริมแม่น้ำได้ขนข้าวของขึ้นที่สูง โดยคาดว่าน้ำจะสูงขึ้นอีก 1-1.50 ม.ในวันสองวันนี้ แล้วจะลดลง ด้านนายชโลม เปิดเผยว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยขนของ ส่วนการป้องกันนั้นไม่สามารถที่จะป้องกันได้ เนื่องจากน้ำมีปริมาณมาก โดยเขื่อนพระราม 6 ระบายน้ำมากกว่า 800 ลบ.ม.เช่นกัน ตนได้เตรียมทำสะพานไม้เชื่อมในจุดสำคัญหากถูกน้ำท่วม ในพื้นที่ ทางด้านเขื่อนพระรามหก ซึ่งเป็นเขื่อนเก่าแก่แห่งแรกของประเทศไทย ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ ซึ่งรับน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้มีการเปิดประตูระบายน้ำทั้งหมด 6 บานในระดับที่สูงที่สุด เนื่องจากน้ำเหนือเขื่อนมีปริมาณสูงกว่า 10 เมตร ทำให้ปริมาณน้ำไหลสู้ท้ายเขื่อนมาก ขณะเดียวกัน จนท.ก็ประสบปัญหาเนื่องจากระหว่างที่น้ำไหลมา ปรากฏว่ามีต้นไม้สักขนาดความสูงไม่น้อยกว่าต้นละ 10 เมตร จำนวนนับร้อยต้นลอยมากับน้ำแล้วกระแทกเข้ากับบานประตูระบายน้ำของเขื่อนพระรามหกทำให้มีต้นไม้ไปปิดช่องทางน้ำสองประตู จนท.ชลประทานต้องช่วยกันนำไม้ขึ้นมา และปรากฏว่าเมื่อนำหมายขึ้นมาพบว่าส่วนใหญ่เป็นไม้สัก ซึ่งมีลักษณะของการตัดและมีตราประทับป่าไม้ด้วย โดยมีรถบรรทุกมาขนไปโดยไม่ทราบว่าขนไปที่ใด ที่มา : เว็บไซต์มติชน, เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เปิดฟังความเห็น‘อานันท์’ ย้ำอยู่ฝั่งประชาชน นักกิจกรรมโผล่ไม่เอาปฏิรูปบนซากศพ-เชียงใหม่จัดเวทีขนาน Posted: 17 Oct 2010 02:24 PM PDT 17 ต.ค.53 นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ(คปร.) กล่าวเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 ณ หอประชุมม.ธรรมศาสตร์ ในหัวข้อ "ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ"ว่า กระบวนการปฏิรูปมีมานานอยู่ในหัวใจของคนในสังคมเป็นเวลาหลายสิบปี การปฏิรูปนั้นเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติ ในครอบครัวยังคิดถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบ พฤติกรรม กลไกที่จะนำไปสู่ชีวิตที่ดี มีคุณค่า มีความหมาย และชีวิตที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในส่วนรวม การจะไปสู่จุดนั้นมีหลายวิธี มีการสู้รบฆ่าฟัน หรือการทะเลาะกัน แต่วิถีทางที่คำนึงถึงคือ สันติ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีทั้งสำเร็จบ้างและไม่สำเร็จบ้าง สิ่งที่อยากเห็นจากการปฏิรูปคือ ความเปลี่ยนแปลง ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน วิธีคิดของเรา คือ การอยู่ร่วมกันได้ รักษาจารีตประเพณี ค่านิยมเก่าๆ ได้ และอยากเห็นสังคมสมดุล ทั้งในความคิด อุดมการณ์และสมดุลในผลประโยชน์ " วันนี้คณะกรรมการปฏิรูปที่มีตนเป็นประธาน และคณะกรรมการสมัชชาที่มี นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน ไม่ได้มาเพื่อชี้นำ หรือบอกให้ใครต้องทำตาม แต่มาเพื่อรับฟังและสัมผัสข้อมูล อยากฟังความคิดเห็น อยากฟังข้อเสริมของประชาชนกลุ่มต่างๆ สิ่งที่สำคัญสุดคือความเข้าใจ ไม่ใช่เข้าใจในสิ่งที่ตนเองรู้ แต่ต้องเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นนึกคิด มีการแบ่งคณะทำงานนอกเหนือจากที่ภาครัฐทำ กระบวนการปฏิรูปเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศ ทุกคนมีสิทธิที่จะเข้ามามีส่วนร่วม อย่างจริงจังและสร้างสรรค์" ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่นายอานันท์ขึ้นกล่าวอยู่บนเวทีนั้น ตัวแทนกลุ่มเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับ 37 องค์กร ประมาณ 5-6 คน ได้แสดงท่าทางนอนตายบริเวณทางขึ้นของเวทีด้านหนึ่ง พร้อมกับชูใบปลิวมีข้อความว่า "ไม่ปรองดองกับฆาตกร ไม่ปฏิรูปบนซากศพ" แต่นายอานันท์ไม่มีท่าทีสนใจใดๆ โดยกล่าวเปิดการประชุมบนเวทีจนจบ จึงเดินลงเวทีโดยใช้บันไดอีกด้านหนึ่ง กลุ่มดังกล่าวยังออกแถลงการณ์เรื่อง "หยุดปฏิรูปประเทศไทยบนกองศพวีรชน เพื่อระบอบอำมาตย์ หยุดอำนาจอำมาตย์นอกระบบ เสริมสร้างอำนาจประชาธิปไตย ปลดปล่อยนักโทษการเมือง คืนอำนาจอธิปไตยให้ประชาชน "โดยมีข้อเรียกร้อง 7 ข้อ คือ 1.รัฐต้องดำเนินการปล่อยนักโทษการเมืองโดยเร่งด่วน 2.รัฐต้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยุติการปิดกั้นสื่อ หยุดข่มขู่คุกคามประชาชน คืนเสรีภาพให้สื่อ ให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากรัฐได้ 3.รัฐต้องยุติการสร้างภาพลวงตาในการปฏิรูปประเทศไทย ต้องหยุดการปฏิรูปประเทศไทยเพื่อระบอบอำมาตย์ 4.การปฏิรูปประเทศไทยต้องให้ประชาชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมมิใช่ประชาชนเพียงบางส่วนอย่างที่กระทำอยู่ 5.การปฏิรูปประเทศไทยต้องดำเนินการปฏิรูปกองทัพ เพื่อไม่ให้กองทัพแทรกแซงทางการเมือง และกระทำการรัฐประหาร 6.ต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมกฎหมายต้องมีความเป็นธรรม และ 7.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต้องยุบสภาโดยเร่งด่วนเพื่อคืนอำนาจอธิปไตยให้ประชาชน ในภาคบ่ายได้แบ่ง 5 กลุ่มย่อย ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 การสร้างความเป็นธรรมในการแก้ไขปัญหาที่ทำกิน กลุ่มที่ 2 คืนการศึกษาแก่ประชาชน กลุ่มที่ 3 เสริมพลังและสร้างสวัสดิการแรงงานไทย กลุ่มที่ 4 อำนาจของชุมชนในการพัฒนา และกลุ่มที่ 5 คุณภาพชีวิตของคนในเมือง นายประยงค์ ดอกลำไย ตัวแทนกลุ่มที่ 1 กล่าวถึงข้อสรุปเสนอว่า อยากเห็นการกระจายการถือครองที่ดินอย่างทั่วถึงและยั่งยืน มีแนวทางคือ ให้เกิดกฎหมายภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้าตามขนาดการถือครอง กระบวนการใช้ที่หากทิ้งร้างต้องถูกเก็บเพิ่มในอัตราก้าวหน้าเท่าตัวทุก 2 ปี ต้องจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดิน เพื่อจัดหาที่ทำกินให้คนจนและเกษตรกรรายย่อย ยกระดับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโฉนดชุมชน ต้องออกกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินรูปแบบโฉนดชุมชน และอยากให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ให้เป็นระบบไต่สวนยึดเอกสารหลักฐานของประชาชนและประวัติศาสตร์เป็นตัวตั้ง ขอให้ร่วมรณรงค์ให้ยุติการคุกคามชาวบ้านที่ถือครองที่ดินซึ่งมีความขัดแย้งกับรัฐ ไม่อยากให้มีคดีใหม่เกิดขึ้น ออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคมที่ครอบครองที่ดินบรรพบุรุษ แต่ถูกนายทุนใช้เล่ห์ออกเอกสารสิทธิทับที่ของเขา นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ตัวแทนกลุ่มที่ 2 กล่าวถึงข้อสรุป 3 ประเด็นคือ 1.รัฐต้องสนับสนุนการศึกษาทางเลือก เพื่อให้คนทุกกลุ่มยังเข้าถึงระบบการศึกษา หน่วยงานรัฐต้องให้ความสำคัญกับหลักสูตรวิถีชุมชนมากกว่านี้ 2. ปรับโครงสร้างเพื่อลดบทบาทกระทรวงศึกษาลง สนับสนุนการสอนให้เด็กมีทักษะชีวิตมากขึ้น รวมถึงต้องปฏิรูปสื่อควบคู่ไปด้วย การปลุกจิตสำนึกผู้บริหารการศึกษา และ 3. หาช่องทางใหม่นำการศึกษาเข้าถึงบ้านและคนจำนวนมาก เช่นการเปิดการศึกษาออนไลน์ ให้คนเข้าถึงระดับอุดมศึกษามากขึ้น ลดบทบาทการสอบเข้าอุดมศึกษาให้น้อยลงเพื่อลดการแข่งขันไม่ให้รู้สึกว่ามีการแข่งขันกันมากเกินไป ส่งเสริมปลูกฝังระบบคุณธรรม ความเป็นพลเมืองที่ดี นายชาลี ลอยสูง ตัวแทนกลุ่มที่ 3 กล่าวสรุป 10 ประเด็นคือ 1.อำนาจการต่อรองของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน การจัดตั้งสหภาพแรงงาน 2. เรื่องของค่าจ้างที่เป็นธรรม โดยยึดหลักเกณฑ์ตามไออาร์โอ ซึ่งคำนวณแล้วตกวันละ 421 บาท หรือประมาณเดือนละ 12,000 บาท 3. การปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม จัดตั้งมา 20 ปีแล้ว วันนี้มีเงินกองทุนกว่า 7 แสนล้านบาท อยากให้เป็นองค์กรอิสระบริหารงานด้วยความโปร่งใส 4. จัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงของนักลงทุนข้ามชาติ ที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 3.8 แสนสถานประกอบการ 5. ขอให้ออกกฎหมายรองรับแรงงานที่ย้ายถิ่นฐานจากที่อยู่เดิม เพื่อให้การใช้สิทธิเลือกตั้งสะดวกขึ้น 6. แก้ไขพ.ร.บ.ความปลอดภัยและอาชีวะอนามัย เพื่อส่งเสริมความปลอดภัย 7. ยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะประเภทที่เป็นคุณแก่ประชาชน เช่น ปตท. ไปรษณีย์ 8. การจัดสวัสดิการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กอ่อน 9. การดูแลแรงงานนอกระบบ หรือประเภทแรงงานรับไปทำที่บ้าน ที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 8 ล้านคน 10. การให้ความคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ นางจินตนา แก้วขาว ตัวแทนกลุ่มที่ 4 กล่าวว่า มีข้อเสนอให้ยกเลิกแผนพัฒนาชายฝั่งภาคใต้ไปก่อน เพราะยังมีความขัดแย้งในพื้นที่สูง รวมถึงยกเลิกแผนจีดีพี ซึ่งการกำหนดโรงไฟฟ้ามากมายเชื่อว่าเพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรม มากกว่าเพื่อประชาชน ก่อนที่รัฐจะตัดสินใจมีดำเนินโครงการขนาดใหญ่ ต้องจัดเวทีสาธารณะก่อน ชุมชนและชาวบ้านต้องมีสิทธิและมีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากรของตนเอง การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารมากกว่านี้ แยกส่วนการจัดสรรและบริหารงบประมาณระหว่างท้องถิ่นกับส่วนกลาง ขอให้มีการผลักดันให้ความเป็นธรรมทางคดีกับชาวบ้าน นางจันทร์ กั้วพิจิตร ตัวแทนกลุ่มที่ 5 กล่าวว่ารัฐต้องให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมหรือเป็นเจ้าของแหล่งทรัพยากร โดยเฉพาะทางด้านสิ่งแวดล้อม ที่ดินของรัฐที่ทิ้งร้างในเมืองไม่มีการเปิดเผย เพราะไม่ต้องการให้ชาวบ้านเช่าหรือเข้าไปอยู่อาศัย โดยเฉพาะที่รถไฟ ให้แต่นายทุนเช่า ต้องมีการเปิดข้อมูลผังเมือง เพื่อให้ทราบแนวนโยบายแห่งรัฐในการจัดทำระบบสาธารณูปโภค เพราะวันนี้มีปัญหาการไล่ที่ชาวบ้านมาก ถามว่าถ้าไล่คนจนออกจากเมืองหมด ใครจะกวาดถนนหนทาง ใครจะเก็บขยะ รัฐต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ชาวบ้านอยู่ได้ด้วย บ้านเมืองถึงจะสมานฉันท์ เชียงใหม่ เชิญ ‘ ชาญวิทย์’ ปากฐกเวทีคู่ขนาน วันเดียวกัน นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปาฐกถานำเวทีคู่ขนานปฏิรูปประเทศไทย" เสียงที่ไม่ได้พูด/สิ่งที่พูดไม่ได้ ในการปฏิรูปประเทศไทย" ณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งจัดโดยกลุ่มจับตาเคลื่อนไหวประชาสังคมไทยและเครือข่าย ว่า ได้รับเชิญให้มาปาฐกถานำด้วยเหตุผลที่ว่าผู้สูงอายุคนอื่นไปปฏิรูปประเทศกันหมดแล้ว และเมื่อเห็นว่าเป็นเวทีคู่ขนานกับระดับชาติก็เลยคิดที่จะพูดปัญหาเรื่องสังคมการเมืองที่ผ่านมา โดยมีข้อสังเกตว่าคำว่าสองมาตรฐานกลายเป็นคำที่ใช้อยู่ตลอด และคำว่าไพร่ที่ไม่น่าติดตาม จนกระทั่งกลุ่มเสื้อแดงประท้วง และคำว่าไพร่น่าจะตกเวทีกลับถูกนำมาใช้ สินค้าที่มีคำว่าไพร่ขายดีมาก ซึ่งน่าแปลก แสดงถึงนัยยะอะไรหลายอย่างต่อการเมืองปัจจุบัน นายชาญวิทย์ กล่าวว่า ระบอบให้หรือประชาธิปไตย รัฐ ประชาชาติ ลัทธิชาตินิยม ที่ลงหลักปักฐานมากว่า 200 ปีนี้ ได้กลายเป็นรูปแบบ หลักการ มาตรฐาน และสากล ของสิ่งที่เป็นนามธรรมที่ว่า เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ที่รัฐ/ประเทศ สมัยใหม่ต้องเผชิญ ต้องรับ ต้องปรับและต้องปรุง และทำให้เป็นรูปธรรม ให้เข้ากับสภาพการณ์ของตน ไม่ว่ารัฐ/ประเทศนั้นจะเป็นสถาบันกษัตริย์ ระบอบประธานาธิบดี ระบอบทหาร ระบอบอำมาตย์ ไม่ว่าจะเป็นระบบพรรคเดียว หลายพรรค หรือระบบ ระบอบใดๆ ก็ตาม นี่เป็นสัจธรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้านนายอานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สังคมไทยเปลี่ยนแปลงแต่โครงสร้างอันเก่ายังไม่เปลี่ยนเกิดความครอบงำ 3 อย่างตามมาคือ 1.ความคิดที่เน้นความชาตินิยมแบบบ้าระห่ำ เช่น บ้าเรื่องพรมแดน มีค่านิยมฆ่าแล้วไม่บาปเช่น สมัยทักษิณ ผู้คนเฉยๆ และดีใจที่ชาวมุสลิมถูกฆ่าตายที่ตากใบ กรือเซะ เป็นค่านิยมที่ไร้สติ 2. เชื่อว่าเมื่อมีปัญหาต้องใช้สถาบันเดิมแก้เช่น บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน ซึ่งมันแก้ไม่ได้ เพราะโลกปัจจุบันไร้พรมแดนไปแล้ว 3.มองความขัดแย้งในเชิงลบและรุนแรง นำมาซึ่งการปิดปากไม่ให้ประชาชนพูด หากคิดได้แค่นี้ก็ไม่ต้องไปปฏิรูปแล้ว การขัดแย้งต้องต่อสู้ทางความคิดให้มาก การเปลี่ยนแปลงต้องเคลื่อนไหวทางสังคม ความขัดแย้งต้องมองในเชิงลบและบวกคู่กันไป อย่ามองอะไรด้านเดียว การจะปฏิรูปต้องทำอย่างไรภายใต้สถานการณ์แบบนี้ คนไทยเน้นฟรีแต่ไม่แฟร์ ต้องเปลี่ยนแปลงกลไกเชิงสถาบันต้องปรับดุลยภาพอำนาจใหม่ ลดการขูดรีดแรงงานไม่ให้เกิดความเสี่ยง ระบบกระบวนการยุติธรรมปัจจุบันเป็นเชิงเดี่ยวซึ่งมีปัญหา ต้องใช้เชิงซ้อนหรือพหุนิยมทางการเมืองหลายฝ่ายต้องช่วยกัน เสริมอำนาจประชาชนเข้าไปช่วยเสริมและจัดการปัญหาประชาธิปไตย กระบวนการต่อสู้จนถึงขณะนี้ยังพายเรืออยู่ในอ่าง เราต้องคิดเรื่องกระบวนการผลักดันประชาธิปไตยภายใต้โลกที่เปลี่ยนแปลง มีประชาธิปไตยแบบเดียวหรือเปล่าต้องคิด การเคลื่อนไหวประชาธิปไตยปัจจุบันยังไม่มีเนื้อหาพอที่จะขับเคลื่อนประชาธิปไตย ต้องยกระดับ ต่อยอด ซึ่งไม่ง่ายภายใต้โลกาภิวัฒน์ เพราะไม่ว่าจะเหลือง แดง หรือใครก็บอกว่าต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยกันทั้งนั้น ที่มา: มติชนออนไลน์ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ไทยรัฐออนไลน์ ที่มาภาพ: ที่มาภาพ:http://www.facebook.com/#!/photo.php?fbid=486904150361&set=a.486904140361.292319.748860361&pid=6970750&id=748860361 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
แรงงานจี้คณะกรรมการปฏิรูปฯ ช่วยผลักดันลมปากนายกฯ ขึ้นค่าแรง 250 บาท Posted: 17 Oct 2010 01:27 PM PDT วันที่ 17 ต.ค.53 ที่หอนประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นโดย คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ (คปร.) สมัชชาสหภาพแรงงานได้ยื่นหนังสือกับคณะกรรมการปฏิรูปฯ เรียกร้องให้ผลักดันการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 250 บาทตามที่นายกฯเคยพูดไว้ และเตรียมไปยื่นหนังสือดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานอีกในวันที่ 18 ต.ค. 000000 สมัชชาสหภาพแรงงาน ที่ทำการชั่วคราว 51/13 หมู่3 ซ.คลองหลวง17 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทร., โทรสาร 0-2902-5525 Email; cwualast@hotmail.com ที่พิเศษ / 2553 17 ตุลาคม 2553 เรื่อง ขอให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ผลักดันรัฐบาลแก้ไขความยากจนของผู้ใช่แรงงาน เรียน นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ผู้ใช้แรงงานเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทย และผู้สร้างรายได้ในระบบเศรษฐกิจมาโดยตลอด แต่ทว่าในช่วงห้าปีที่ผ่านมานั้น สินค้าขึ้นราคาสูงขึ้น ทำให้การครองชีพของประชาชนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การปรับเพิ่มค่าจ้างของผู้ใช้แรงงานเป็นไปอย่างเชื่องช้า ทำให้มีชีวิตที่ลำบาก ปากกัด ตีนถีบ มีหนี้สินล้นพ้นตัว คุณภาพชีวิตตกต่ำทุกข์ยากแสนสาหัส ดังนั้นตามที่นายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ยืนยันเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2553 ดังปรากฏเป็นรายงานตามหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ทุกแห่งตรงกันว่าจะปรับค่าแรงขั้นต่ำแน่นอน และการปรับครั้งนี้จะไม่ต่ำกว่า 250 บาทต่อวัน เป็นการปรับทั้งระบบเท่ากันทั่วประเทศ นับได้ว่าเป็นความตั้งใจในการเพิ่มรายได้ให้กับผู้ใช้แรงงานให้มีชีวิตสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ในนามของสมัชชาสหภาพแรงงานจึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาลดังต่อไปนี้ 1. ขอให้รัฐบาลเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 250 บาท เป็นไปตามคำกล่าวยืนยันของนายกรัฐมนตรี เป็นการ กระจายรายได้ที่เป็นธรรมและช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจโดยรวมให้ดีขึ้น ทั้งนี้ขอให้ดำเนินการโดยทันทีภายในเดือนตุลาคมนี้ รวมทั้งขอให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานกำหนดหลักเกณฑ์ให้ค่าจ้างขั้นต่ำ หมายถึง ค่าจ้างที่คำนวณจากค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับคนงานหนึ่งคนและสมาชิกในครอบครัวอีกสองคน 2. ขอให้รัฐบาลดำเนินการให้มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์การประกันสังคมในด้านเงินสงเคราะห์บุตรจากเดิมเดือนละ 350 บาทเป็นเดือนละ 600 บาท และให้ขยายเวลาบุตรผู้ประกันตนให้ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจาก 6ปี เป็น 12ปี ให้มีการคลอดบุตรฟรีและให้มีเงินช่วยเหลือการครองชีพการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรเหมาจ่ายเป็นจำนวนเงิน 12,000 บาท เพื่อเป็นหลักประกันการคลอดบุตร เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา 3. ให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ยกเลิกการจ้างงานเหมาค่าแรง เนื่องจากเป็นการจ้างงานที่ก่อให้เกิดปัญหาสองมาตรฐานในสถานประกอบการ มีการเลือกปฏิบัติและทำให้ผู้ใช้แรงงานกลายเป็นทาสทาส-ไพร่ ไร้สิทธิเสรีภาพ เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญและละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง จึงเรียนมายังคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอของผู้ใช้แรงงานที่ได้เข้าร่วมกระบวนการปฏิรูปประเทศไทย ร่วมกันผลักดันให้รัฐบาลดำเนินการเป็นไปตามข้อเสนอดังกล่าว รวมทั้งขอให้คณะกรรมการปฏิรูปได้จัดงบประมาณ เพื่อเป็นการะดมความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงาน นักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมมือกันผลักดันต่อรัฐบาลให้แก้ไขปัญหาความยากจนของผู้ใช้แรงงานต่อไป ขอแสดงความนับถือ อย่างสูง นายจีรวัฒน์ โพนเวียง นางจิตตินันท์ สุขโน ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานเคมีภัณฑ์ ประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ 000000000000 สมัชชาสหภาพแรงงาน ที่ทำการชั่วคราว 51/13 หมู่3 ซ.คลองหลวง17 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทร., โทรสาร 0-2902-5525 Email; cwualast@hotmail.com ที่พิเศษ / 2553 18 ตุลาคม 2553 เรื่อง การแก้ไขปัญหาความยากจนและความไม่เป็นธรรมของผู้ใช้แรงงาน เรียน ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ผู้ใช้แรงงาน เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทย และผู้สร้างรายได้ในระบบเศรษฐกิจมาโดยตลอด แต่ทว่าในช่วงห้าปีที่ผ่านมานั้น สินค้าขึ้นราคาที่สูงขึ้น ทำให้การครองชีพของประชาชนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่การปรับเพิ่มค่าจ้างของผู้ใช้แรงงานเป็นไปอย่างเชื่องช้า ทำให้มีชีวิตที่ปากกัด ตีนถีบ มีหนี้สินล้นพ้นตัว ทำให้คุณภาพชีวิตตกต่ำ ทุกข์ยากแสนสาหัส ดังนั้นตามที่นายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ยืนยันเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2553 ดังปรากฏเป็นรายงานหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ทุกแห่งตรงกันว่าจะปรับค่าแรงขั้นต่ำแน่นอน และการปรับครั้งนี้จะไม่ต่ำกว่า 250 บาทต่อวัน เป็นการปรับทั้งระบบเท่ากันทั่วประเทศ นับได้ว่าเป็นความตั้งใจในการเพิ่มรายได้ให้กับผู้ใช้แรงงานให้มีชีวิตสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำต่ำสูงในสังคม ในนามของสมัชชาสหภาพแรงงานจึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาลดังต่อไปนี้ 4. ขอให้รัฐบาลเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 250 บาท เป็นไปตามคำกล่าวยืนยันของนายกรัฐมนตรี เป็นการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมและ ช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจโดยรวมให้ดีขึ้น ทั้งนี้ขอให้ดำเนินการโดยทันทีภายในเดือนตุลาคมนี้ รวมทั้งขอให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานกำหนดหลักเกณฑ์ให้ค่าจ้างขั้นต่ำหมายถึง ค่าจ้างที่คำนวณจากค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับคนงานหนึ่งคนและสมาชิกในครอบครัวอีกสองคน 5. ขอให้รัฐบาลดำเนินการให้มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์การประกันสังคมในด้านเงินสงเคราะห์บุตรจากเดิมเดือนละ 350 บาท เป็นเดือนละ 600 บาท และให้ขยายเวลาบุตรผู้ประกันตนให้ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจาก 6 ปี เป็น 12 ปี ให้มีการคลอดบุตรฟรีและให้มีเงินช่วยเหลือการครองชีพการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรเหมาจ่ายเป็นจำนวนเงิน 12,000 บาท เพื่อเป็นหลักประกันการคลอดบุตร เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา 6. ให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ยกเลิกการจ้างงานเหมาค่าแรง เนื่องจากเป็นการจ้างงานที่ก่อให้เกิดปัญหาสองมาตรฐานในสถานประกอบการ มีการเลือกปฏิบัติและทำให้ผู้ใช้แรงงานกลายเป็นทาสทาส-ไพร่ ไร้สิทธิเสรีภาพ เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญและละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง จึงเรียนมายังกระทรวงแรงงาน เพื่อให้รัฐบาลได้ดำเนินการเป็นไปตามนโยบายที่ได้หาเสียงและได้แถลงต่อรัฐสภาโดยเร็ว ทั้งนี้ขอให้ท่านได้นัดหมายการเจรจา พูดคุยกับสมัชชาสหภาพแรงงานในวันที่ 29 ตุลาคม 2553 ขอแดสงความนับถืออย่างสูง ……………………………………..… ……………………………………..… นายจีรวัฒน์ โพนเวียง นางจิตตินันท์ สุขโน ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานเคมีภัณฑ์ ประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ นายฉัตรชัย ไพยเสน นางสาวจิตรา คชเดช เลขาธิการสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส กลุ่มคนงาน Try Arm นางสาวพนม บาลี นางสาวสุวรรณา ตาลเหล็กกลุ่มคนงานสตรีสู่เสรีภาพ กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ซีรีส์ สื่อใหม่กับความขัดแย้งทางการเมือง ตอน 7: สื่อออนไลน์เปลี่ยนภูมิทัศน์การเมืองไทย Posted: 17 Oct 2010 01:19 PM PDT "ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์" นักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มองสื่อออนไลน์จะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเมือง และยากที่รัฐบาลจะต่อสู้เพราะไม่ว่าจะปิดอย่างไรก็เปิดใหม่ได้เสมอ ... มันไม่มี “เขตแดน” ไม่มี “สัญชาติ” ไม่มี “เชื้อชาติ” ไม่มี “อำนาจอธิปไตย”
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เป็นนักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผ่านประสบการณ์การเป็นข้าราชการประจำกระทรวงการต่างประเทศ จากนั้นเบนความสนใจสู่การเป็นนักวิชาการ โดยปัจจุบันเป็นนักวิชาการประจำศูนย์อาเซียนศึกษา, สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งประเทศสิงคโปร์ (ASEAN Studies Centre, Institute of Southeast Asian Studies, Singapore) ชื่อของปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ อาจจะไม่คุ้นหูนักสำหรับผู้อ่านสื่อภาคภาษาไทย แต่เขาคือนักวิชาการเจ้าของบทวิเคราะห์และบทความเกี่ยวกับการเมืองไทยที่น่าสนใจซึ่งถูกผลิตออกมาอย่างต่อเนื่องในภาคภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนใหญ่แล้วเป็นบทวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทยที่ขัดแย้งยืดเยื้อ และปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ภาคหนึ่ง: ไทยในบริบทอาเซียน “ที่นี่ (สิงคโปร์) ก็ลำบากเหมือนกัน ทุกที่ๆ มี Taboo (เรื่องต้องห้าม) พูดแบบสั้นๆ ก็คือมีขอบเขตและข้อจำกัดในการเสนอข่าว และรัฐบาลสิงคโปร์ก็ยอมรับว่าเสรีภาพของสื่อมวลชนในสิงคโปร์ไม่เทียบเท่าประเทศอื่น ทั้งนี้ก็เพราะว่า รัฐบาลเป็นเจ้าของสื่อ ก็เลยเข้ามามีบทบาทโดยตรง” ดังนั้น ในกรณีประเทศไทย จึงไม่ได้ Unique (เป็นกรณีพิเศษ) มันเกิดในประเทศอื่นๆ เช่นกัน รวมถึงในประเทศที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตย ในหลายๆ ประเทศก็มีปัญหาเสรีภาพในการแสดงความเห็น และก็เหมือนกันในภูมิภาคเอเชียด้วยกันเอง ไม่ต้องถึงขนาดไปเทียบกับพม่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเสรีภาพค่อนข้างจำกัด ซึ่งก็น่าเสียดายว่าก่อนหน้านี้ ประเทศไทยของเราเคยมีช่วงที่เสรีภาพเบ่งบานมาก” เสรีภาพที่เคยคิดว่าเรามีนั้นเป็นแค่ภาพลวงตา “เสรีภาพทางการเมืองและการแสดงความคิดเห็นของไทยเบ่งบานอย่างค่อนข้างชัดเจนในยุคทศวรรษ 1990 หลังพฤษภาทมิฬ และมีรัฐธรรมนูญ 2540 เอาเข้าจริงก็คือช่วงรัฐบาลประชาธิปัตย์ ช่วงนั้นเรามีเสรีภาพพอสมควร สื่อแสดงความคิดเห็นได้ตรงไปตรงมา ไม่ถูกครอบงำโดยรัฐเท่าไหร่ แต่จะมองเพียงปัจจัยภายในประเทศอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมองปัจจัยต่างประเทศด้วยว่าช่วงนั้นเป็นช่วงที่เพิ่งพ้นยุคสงครามเย็น ประชาธิปไตยเบ่งบานทั่วโลก ก็เป็นผลอันหนึ่งที่ทำให้เกิดการเบ่งบานของเสรีภาพ เป็นกระบวนการพัฒนาทางประชาธิปไตย เราถึงมีบุคคลอย่างคุณทักษิณที่เข้ามาพร้อมกับกระแสประชาธิปไตย คุณทักษิณเข้ามาในช่วงแรก ก็ดูเหมือนว่าประชาธิปไตยของไทยดำเนินไปด้วยดี แต่ต่อมา ก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคาดหวัง ในบางด้าน คุณทักษิณทำได้ดีกว่ารัฐบาลชุดนี้ และก็มีที่แย่กว่ารัฐบาลชุดนี้ แต่ที่แน่ๆ คุณทักษิณก็ครอบงำสื่อเช่นกัน” เพียงอีกหนึ่งทศวรรษให้หลัง ประเทศไทยก็หวนกลับมาเผชิญกับความเป็นจริงอีกด้านอย่างรวดเร็ว “ก็น่าเศร้าตรงที่ว่าไทยเคยเป็นประเทศที่เป็นแม่แบบประชาธิปไตยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งสม่ำเสมอ อาจจะมีรัฐประหารบ้าง แต่วิถีโดยทั่วไปเป็นวีถีที่สะท้อนความเป็นประชาธิปไตย สื่อมวลชนก็มีเสรีภาพมากพอสมควร แต่สถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นมันชี้ให้เราเห็นว่าที่เราคิดว่ามีนั้นเป็นแค่ภาพลวงตา ที่เราเชื่อว่ามันมีสิ่งที่เรียกว่าเป็นประชาธิปไตยนั้น จริงๆ แล้วอาจจะไม่มี แล้วการแก้ไขคงทำไม่ได้เพียงข้ามคืน และผมก็คิดไม่ออกว่าทางออกของปัญหาอยู่ที่ใด ในเมื่อเราไม่รู้มันจะแก้ไขตรงไหน เราก็ไม่รู้ว่าสื่อจะมีทางออกยังไง อาจจะถูกบีบมากขึ้น พอถูกบีบมากขึ้นก็อาจจะเลยเถิดไปมากขึ้น” อย่างไรก็ตาม ในสายตาของนักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผู้นี้ เขาเชื่อว่าประเทศไทยยังมีทางออก และสิ่งที่ยืนยันก็คือกระบวนการต่อสู้ทางการเมืองที่ดำรงอยู่ ซึ่งเปิดกว้างให้กับคนในทุกชนชั้นเข้ามามีส่วนร่วมและได้แสดงบทบาทมากขึ้น “ผมไม่อยากมองในแง่ลบ ผมอยากมองในแง่บวกว่าการต่อสู้ที่ดำเนินอยู่นี้ นอกเหนือจากเป็นการต่อสู้เพื่ออำนาจทางการเมืองของคนบางกลุ่ม ผมคิดว่าก็เป็นสัญญาณของประชาธิปไตยอีกแบบหนึ่งซึ่งมีการพัฒนา เพราะว่าอย่างน้อยๆ คนที่มักถูกเรียกว่าเป็นคนชนบทได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ได้เข้ามาร่วมในขบวนการมากขึ้นในการสนับสนุนหรือต่อต้านรัฐบาลไม่ว่าจะเหลืองหรือแดงก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย และผมคิดว่าในที่สุดแล้วมันอาจจะนำพาเราไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น มันอาจจะลำบากทุลักทุเลบ้าง ดูอย่างกรณีอินโดนีเซีย ในปี 1997 ตอนที่ระบอบซูฮาร์โตล่มสลาย ประชาธิปไตยมาถึงทางตันจริงๆคอร์รัปชั่นสูง และทหารก็เข้ามาวุ่นวายทางการเมืองมาก แต่ใครจะเชื่อว่า 13 ปีต่อมา อินโดนีเซียตอนนี้เป็นประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในภูมิภาคนี้ ฉะนั้นปัญหาก็อยู่ที่ว่าจะหาทางออกได้ไหม และจะหาทางออกได้เร็วแค่ไหน จะมีอุปสรรคแค่ไหน ผมคิดว่าประเทศไทยยังมีทางออกแม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะปั่นป่วนมากมายแค่ไหนก็ตาม มองประเทศไทยก็อย่ามองแต่แง่ลบอย่างเดียว ผมคิดว่ายังมีแสงไฟที่จะทำให้เราออกจากอุโมงค์” มองในแง่อาเซียน ไทยสูญเสียการเป็นผู้นำอย่างสิ้นเชิง “เป็นเรื่องผลของการเมืองภายในและการเมืองระหว่างประเทศ เพราะว่ารัฐบาลนี้ให้ความสนใจแค่เพียงความอยู่รอดของตัวเอง จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับการต่างประเทศ อันนี้ก็เป็นกฏธรรมชาติ จะสนใจการเมืองระหว่างประเทศก็ต่อเมื่อจะใช้การเมืองระหว่างประเทศมาเป็นเครื่องมือของการเมืองภายใน ยกตัวอย่างเช่น การใช้กรณีเขาพระวิหาร ซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องความขัดแย้งทวิภาคีโดยตรงเท่าไหร่ แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นการเมืองภายใน ซึ่งเป็นประโยชน์กับรัฐบาลชุดนี้ “แต่ถ้ามองในอาเซียน ไทยไม่ได้แสดงบทบาทนำ คุณอภิสิทธิ์เพิ่งเดินทางกลับจากพม่า ก็เหมือนเดิม คือไม่ได้พูดเรื่องเลือกตั้งเท่าไหร่ ก็เข้าใจว่าไม่มีสิทธิ์ที่จะพูด เพราะว่าตานฉ่วยก็คงจะบอกว่าแล้วประเทศคุณมีประชาธิปไตยจริงหรือเปล่า ถึงจะมาสอนเรา หากมองด้วย irony ประเทศพม่าจะมีเลือกตั้งก่อนประเทศไทยด้วยซ้ำ “แล้วผมคิดว่าสิ่งที่น่าเสียใจก็คือคุณอภิสิทธิ์วิพากษ์วิจารณ์คุณทักษิณไว้เยอะ ที่ว่าใช้นโยบายต่างประเทศมากอบโกยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั้งทางส่วนตัวหรือของประเทศก็ตามโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงการส่งเสริมประชาธิปไตยหรือสิทธิมนุษยชน แต่ตอนนี้ประชาธิปัตย์ก็ทำเหมือนกัน หลังจากคุณอภิสิทธิ์เดินทางกลับจากพม่า ก็พูดเรื่องจะส่งเสริมการค้าชายแดนและการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ก็เป็นนโยบายที่มีความชอบธรรม และเป็นผลประโยชน์ระหว่างประเทศ แต่ก็น่าจะทำให้มีสัดส่วนสมดุลกับสิ่งที่เราเชื่อมั่นยึดถือ” และเขาเชื่อว่าปัญหาทางการเมืองไทยอาจจะฉุดประเทศที่เคยมีเสรีภาพแห่งนี้ให้ดำดิ่งไปอีก “ผมหวังว่า ช่วงตกต่ำของไทยคงจะไม่ตกต่ำตลอด เพราะถ้าตกตลอดก็จะกลายเป็นรัฐที่ล้มเหลว (Failed State) เรายังมีโครงสร้างที่แม้จะไม่สมบูรณ์แบบแต่ก็ยังสามารถพยุงไว้ได้อยู่ โครงสร้างเหล่านั้นได้แก่ การมีส่วนร่วมของประชาชน การที่ประชาชนเริ่มเข้าใจบทบาททางการเมืองของตนเองมากขึ้น การที่มีการตรวจสอบถ่วงดุลมากขึ้น ความพยายามในการสร้างความโปร่งใสในขบวนการทางการเมืองมากขึ้นโดยเฉพาะผ่านทางสื่อออนไลน์ ผมว่าโครงสร้างเหล่านี้ยังพยุงไทยไว้อยู่ และนี่คือความจริง เพราะว่าหากเรามองในแง่ลบมันก็ไม่ส่งเสริมให้เราหาทางออก การเมืองนอกจากมีความจริงแล้วยังมีเรื่องทางจิตวิทยาด้วย” ภาค 2: สื่อออนไลน์เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์การเมือง “สื่อออนไลน์เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทั้งหมด ก่อนหน้านี้ การแสดงความเห็นทางการเมืองต้องทำโดยการออกมาเดินบนท้องถนน ต้องใส่เสื้อสีนี้ คุณต้องถือธงชาติ เพื่อให้เห็นว่าเกิดการรวมตัวทางการเมือง ซึ่งแน่นอนว่าก็ยังมีอยู่ แต่สื่อออนไลน์ทำให้มันไม่จำกัดอยู่แค่นั้นแล้ว มันเป็นศูนย์รวมที่ไม่อยู่ในรูปกายภาพ แต่เป็นจิตภาพ (spiritual) และบางทีการรวมตัวแบบจิตภาพนี้มีพลังมากกว่าเพราะมันรวมเอาภาวะอารมณ์ของคน มันทำให้คนซึ่งอาจจะไม่กล้าที่จะแสดงความเห็นทางการเมืองในรูปกายภาพ ได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยผ่านสื่อออนไลน์ และมันก็ทำง่าย รวมตัวกันง่าย ไม่ต้องใช้งบประมาณเยอะ มันเคลื่อนไหวได้ง่าย และสะท้อนให้ความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เมื่อเรามีแล้วทำไมเราถึงจะไม่ใช้ประโยชน์จากมัน สื่อออนไลน์จึงมีผลในการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเมือง และมันยากที่รัฐบาลจะต่อสู้ด้วย เพราะหากจะต่อสู้กันที่ราชประสงค์มันเห็นตัวบุคคล มีการลอบสังหารกันได้ เห็นว่ามีกี่หมื่นกี่พันคน รู้ว่าจะปิดทางออก ทางเหนือหรือใต้ แต่การต่อสู้ออนไลน์ ถ้าจะปิดเซิร์ฟเวอร์เขาก็เปิดใหม่ได้” ปวินมองว่าสื่อออนไลน์เข้ามามีส่วนกำหนดวาระทางสังคมการเมืองสูงมากขึ้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ใหม่ และประเทศไทยหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าอาจหลีกเลี่ยงได้บ้างในประเทศอื่น เช่น ประเทศที่มีการปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ หรือมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช หรือประเทศที่เป็นเผด็จการ “ผมก็ยังเชื่อว่าประเทศไทยไม่ใช่เผด็จการ มันจึงอาจเป็นเรื่องยากที่สังคมไทยปัจจุบันจะปิดกั้นสื่อออนไลน์ หรืออินเทอร์เน็ต “ผมคิดว่าสื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้นมาก ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา มันมีความขัดแย้งมากในสังคมไทย แต่ละฝ่ายพยายามควบคุมสื่อในทุกแขนง เพื่อให้สื่อแสดงข้อคิดเห็นให้ตรงกับแนวทางที่ตนต้องการ ผมไม่ได้พูดถึงแต่รัฐบาลอย่างเดียว ผมคิดว่าฝ่ายค้านก็ทำเช่นเดียวกัน มีความพยายามของตัวเล่นทางการเมืองที่พยายามมีอิทธิพลเหนือสื่อพวกนี้ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้สื่อพวกนี้เข้ามามีอิทธิพล มีบทบาท” ไม่มี “เขตแดน” ไม่มี “สัญชาติ” ไม่มี “เชื้อชาติ” ไม่มี “อำนาจอธิปไตย” “เพราะออนไลน์มันไปทุกแขนง ผมใช้คำว่า มันไม่มี “เขตแดน” ไม่มี “สัญชาติ” ไม่มี “เชื้อชาติ” ไม่มี “อำนาจอธิปไตย” คุณจะเป็นใครมาจากไหนก็สามารถมีบทบาท เข้ามาแสดงความคิดเห็นได้ และคุณไม่จำเป็นต้องอยู่อาศัยอยู่ในเมืองไทย จะอยู่ที่ไหนก็ได้” และแม้จะพยายามยื่นมือของกฎหมายภายในประเทศเข้าไปจับ และยึดเสรีภาพออนไลน์นั้นไว้ แต่ปวินมองว่า ข้อจำกัดของรัฐทำให้ก้าวไปจัดการไม่ได้ทั้งหมดอย่างที่ต้องการ “ถ้าพูดในกรอบรัฐบาลก็ทำได้ แต่แค่ส่วนเดียวเท่านั้น ผมเคยเขียนบทความตั้งคำถามว่า รัฐบาลต้องปิดอีกกี่เว็บไซต์เพื่อจะให้แน่ใจว่าศัตรูของรัฐบาลได้หมดสิ้นไป...มันเป็นไปไม่ได้ ปิดเว็บหนึ่ง พรุ่งนี้มีอีกสิบเว็บไซต์เกิดขึ้นใหม่ และผมคิดว่าจำกัดบทบาทของสื่อออนไลน์โดยการปิดเว็บไซต์ไม่ใช่เป็นทางออก มันเหมือนกับที่ผมเคยตั้งคำถามเช่นกันว่า เอกสารที่วางอยู่บนโต๊ะโดยปกติแล้วไม่มีใครสนใจ แต่พอไปจัดประเภท ว่าเป็นเอกสารลับเฉพาะมันมีแต่คนอยากสนใจอยากอ่านเว็บไซต์อยู่เฉยๆ อาจไม่ค่อยมีคนสนใจ แต่เมื่อไปจัดประเภทว่ามันเป็นอันตรายต่อ – อะไรก็ตาม- จะอ้างว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ เป็นภัยต่อบางสถาบันหรือองค์กรของสังคมไทย พอบล็อคเว็บไซต์ คนก็อยากรู้ขึ้นมาทันที อย่างเว็บ wikileaks ตอนยังไม่ปิดไม่ค่อยมีคนเข้า แต่พอไปปิด คนเข้าเยอะมากเพราะอยากรู้ว่าอะไรเป็นอะไร และอะไรที่มันรั่วออกมา และที่รัฐบาลคิดว่าปิดได้ มันก็ไม่จริง เพราะคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันนี้ ฝ่ายค้านทั้งหมด ที่ต่อต้านรัฐบาลก็ไม่ได้โง่ รู้เทคโนโลยี สามารถจะ unblock และเข้าถึงสื่อต่างๆ นั้นได้” สื่อออนไลน์ช่วยสร้างความโปร่งใส ไม่ใช่แค่ในส่วนของรัฐบาลแต่ของสถาบันอื่นๆ ด้วย “ข้อดีมีอยู่มาก ที่ผมเห็นเลยคือมันทำให้เกิดความโปร่งใสมากขึ้นในกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย จากการที่รัฐบาล ฝ่ายค้าน เคยเล่นการเมือง Behind the scene แต่พอมันกลายมาเป็นประเด็นออนไลน์ ทุกคนสามารถเข้าถึง ส่วนหนึ่งสื่อออนไลน์จึงช่วยสร้างความโปร่งใส ไม่ใช่แค่ในส่วนของรัฐบาลแต่ของสถาบันอื่นๆ แต่ก่อนเราไม่รู้เรื่องเลย แต่ในปัจจุบันเรารู้มากขึ้นและทำให้เกิดระบบตรวจสอบซึ่งกันและกัน ทำให้คนที่คิดว่าตัวเองกำลังถูกจับตาโดยสังคมออนไลน์ต้องทำตัวให้ดีขึ้น ทำให้ตัวให้เป็นที่ยอมรับในสังคมมากขึ้น “แต่มันก็เป็นดาบสองคม สื่อออนไลน์อาจกลายเป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงข้าม และเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังมาก คนที่อ่านออนไลน์รับรู้ประเด็นใหม่เข้ามาทุกวันๆ ไม่ใช่ทุกคนที่อ่านแล้วคิดและวิเคราะห์ลึกซึ้ง ฉะนั้น ก็ยอมรับว่ามีบางคนที่มองแบบฉาบฉวย และเชื่อง่ายเกินไป “แล้วคนก็มีรสนิยมที่ต่างกัน บางคนที่พร้อมจะเชื่อเรื่องนี้อยู่แล้ว พออ่านก็เชื่อเลย สมมติว่า หากใครก็ตามที่ไม่ชอบรัฐบาลชุดนี้ พอไปอ่านเจอว่ารัฐบาลชุดนี้ทำอะไรไม่ดี ไม่ชอบธรรม โดยธรรมชาติมนุษย์ก็จะเชื่อเลย โดยไม่มีการวิเคราะห์ก่อนว่าข้อมูลนี้จริงเท็จแค่ไหน ตรวจสอบได้ไหม แหล่งข้อมูลคืออะไร” ข้อมูลที่ไม่ถูกคัดกรองนี้เองที่เขาเห็นว่าเป็นจุดอ่อนของสื่อออนไลน์ เมื่อเทียบกับสื่อกระแสหลัก แต่...ก็ไม่ได้อ่อนด้อยกว่ากันมากนัก “ผมว่ามันอาจไม่แตกต่างกันมากเท่าไร เหตุผลหนึ่งคือ สื่อทั้งหมดที่มี สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อทีวี สื่อวิทยุ มันก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือเหมือนกัน เพียงแต่ว่ามันยังมีขอบเขต แต่เว็บไซต์มันไม่มีขอบเขต คนที่โพสต์ข้อมูลไม่รู้ว่าเป็นใครเลยด้วยซ้ำในบางกรณี แต่ในสื่ออื่นมันต้องมีความแน่ชัดมากกว่านั้น จึงทำให้โอกาสที่สื่ออื่นๆ จะถูก exploited (แสวงประโยชน์) อาจจะน้อยกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้ถูก exploited เลยนะ เพราะผมคิดว่าสื่อโทรทัศน์ทั้งหมดตอนนี้มันเป็นเครื่องมือของภาครัฐ” ประชาชนถูกเปิดตาแล้ว “เป็นคำถามที่ดีมาก ปรับตัวหรือเปล่าผมไม่รู้ แต่รู้แน่ๆ คือมันเปิดตาประชาชน มันช่วยสร้างความตระหนักรู้ (awareness) และจิตสำนึก (consciousness) ให้ประชาชนเข้ามามีบทบาท มาแสดงความเห็น ในประเด็นที่ตัวเองไม่เคยได้รับโอกาสให้แสดงความเห็น ส่วนจะแสดงความเห็นผิดหรือถูก จะส่งผลให้คนพวกนี้ปรับตัวหรือเปล่ามันเป็นขั้นต่อไป แต่ ณ จุดนี้มันเปิดตาประชาชน ซึ่งในที่สุดแล้วจะส่งผลต่อการปรับตัวของสังคมไทย เพราะสังคมไทยมันถูกปิดกั้นมาตลอด พูดเรื่องนี้ได้ พูดเรื่องนี้ไม่ได้ โดยไม่ได้อธิบายว่าทำไมพูดเรื่องนี้ไม่ได้ แต่สื่อออนไลน์เปิดทั้งหมดไม่ว่าหัวข้อไหนก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น สถาบันทหาร ในอดีตคนทั่วไปอาจจะไม่อยากพูดถึงสักเท่าไร พูดไป หรือไปวิจารณ์มากๆ ก็ไม่รู้จะเจ็บตัวหรือเปล่า หรืออาจมีผลกระทบกับตัวเองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่สื่อออนไลน์เปิดโอกาสให้เราวิพากษ์วิจารณ์อย่างเสรีมากขึ้น ไม่รู้จะอธิบายมากกว่านั้นอย่างไร แต่จะตอบคำถามที่ว่ามันส่งผลให้รัฐบาลปิดบังมากขึ้นไหม มันก็จริง วิจารณ์มากก็ทำให้รัฐบาลปิดมากขึ้น เหมือนมันเป็นวัฏจักร” ฝืนความเปลี่ยนแปลงไปได้อีกไม่นาน “ผมคิดว่าตราบใดก็ตามที่รัฐบาลยังขาดวุฒิภาวะ (immature) ไม่ยอมรับว่าสังคมไทยมันเกิดการเปลี่ยนแปลง –แล้วผมก็คิดว่าเขายังไม่ยอมรับว่ามันมีการเปลี่ยนแปลง- ผมก็ไม่แปลกใจที่มีรายงานหนึ่งที่บอกว่ารัฐบาลปิดไป 113,000 เว็บไซต์ อันนี้ไม่แปลกใจเลย และรัฐบาลก็จะปิดมากขึ้น ไอ้อันที่ปิดไปแล้วก็ตายไป ก็คงไม่มีใครจะพยายามไป unblock มัน หมายความว่าเขาทำเว็บใหม่ดีกว่า แล้วรัฐบาลก็ปิดกันต่อไป ก็ดูว่าเกมนี้ใครจะชนะ แต่ผมก็คิดว่าเขาจะทำอย่างนี้ไปได้ไม่นาน เพราะสังคมไทยมันเป็นสังคมที่มีการเติบโตไปกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งภายในประเทศและการเติบโตในภูมิภาค รัฐบาลก็ทำด้านหนึ่งที่รัฐบาลทำได้” สภาวะการไล่ปิดสื่อออนไลน์นั้น ล้อไปกับการไล่บี้คุกคามสื่อต่างประเทศในประเทศไทยด้วย ซึ่งปวินเห็นว่านี่คือการคุกคามสื่อครั้งใหญ่ของรัฐไทย “กรณีของประชาไทแตกต่างจากเว็บไซต์อื่น เพราะมันเป็น mainstream ไม่ได้เป็นเหมือนบล็อกไร้สาระ หรือบล็อกของปัจเจกบุคคล ที่ไม่ได้มีผู้ตามมาก ผมคิดว่าพอปิดไปแล้วน่าจะมีความพยายามจะเปิดขึ้นมาอีก และรัฐบาลตอนนี้ก็เผชิญกระแสต่อต้านเยอะ ไม่อย่างนั้นคงไม่ปล่อยตัวคุณจีรนุช (เปรมชัยพร) และหลังๆ รัฐบาลก็ทำเลยเถิด ไม่ใช่แค่สื่อออนไลน์ แต่ไปครอบงำสื่อต่างชาติ บังคับให้เขาต้องรายงานข่าวที่ไม่ทำให้รัฐเสียภาพลักษณ์ แล้วก็สื่อต่างชาติเองก็ถูกข่มขู่ ไม่ว่าจะเป็นการถูกจับกุม หรือถูกขับออกนอกประเทศ ถ้ารายงานอย่างนี้จริงๆ แล้วถูกหาว่าส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ มันก็กลายเป็นว่าสื่อต่างประเทศพวกนี้ก็ต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง ผลก็ตกอยู่กับผู้อ่าน ผู้ฟัง ว่าจะไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริง เพราะเขาจะรายงานเฉพาะส่วนที่เขารายงานได้เท่านั้น เพราะถ้ารายงานเกินไปกว่านั้น ตัวเองก็ตกอยู่ในปัญหา ถ้าจะรายงานอย่างเต็มที่ก็ต้องออกไปรายงานในต่างประเทศ ซึ่งก็ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์จริง” เขาเคยระบุว่าอำนาจรัฐที่เข้ามาจัดการกับสื่อออนไลน์รวมถึงสื่ออื่นๆ นั้น นอกจากจะไม่แก้ปัญหาแล้วยังทำให้ความขัดแย้งร้าวลึกขึ้น ทว่าหากมองในอีกด้านหนึ่งในแง่มุมของรัฐและสื่อกระแสหลักของไทย ผู้ที่ต้องร่วมรับผิดชอบอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นแหล่งแพร่ความขัดแย้งก็คือสื่อออนไลน์นั้นเอง เราถามประเด็นนี้กับเขา และเขาปฏิเสธสมมติฐานดังกล่าวอย่างแข็งขัน “สมมติฐานที่เพิ่งพูดไปนี่ผมต่อต้านอย่างมาก หมายความว่าต้องปิดสื่อออนไลน์ใช่ไหม แล้วความขัดแย้งจะหมด ซึ่งผมคิดว่าไม่จริง ในประเทศที่สื่อมีเสรีอย่างค่อนข้างเต็มที่อย่างสหรัฐอเมริกา มันก็ไม่ได้หมายความว่าจะส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง ความขัดแย้งมันไม่ได้เกิดมาจากสื่อ มันอาจถูกขยายตัวโดยสื่อ แต่ถ้าคนไปบอกว่าสื่อทำให้เกิดความขัดแย้ง แสดงว่าเขาไปดูที่ปลายปัญหาไม่ได้ดูที่ต้นปัญหา แล้วผมคิดว่าคนที่พูดนี่นอกจากจะไม่เป็นธรรมแล้วยังไม่พอ เขาดูจะไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองที่แท้จริงด้วย จริงๆ แล้ว ต้นเหตุของปัญหาอยู่ตรงไหนต้องมองตรงนั้นก่อน บทบาทสื่อคืออะไร คือการแสดงข้อเท็จจริง แต่สื่อเดี๋ยวนี้มันไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงอย่างเดียว มันมาพร้อมกับความเห็น ทีนี้ความเห็นมันจะตรงกับที่คนอยากฟังหรือไม่อยากฟังมันก็อีกเรื่องหนึ่ง ถ้าไปตรงกับคนที่ไม่อยากฟัง เขาก็คิดว่าสื่อเป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง แต่พอฟังในสิ่งที่ตัวเองอยากฟัง ก็คิดว่าสื่อทำถูกต้อง มันมีส่วนในการขยายตัวของปัญหา แต่การไม่ใช้สื่อเลยขณะที่มีปัญหาอยู่ แล้วไม่มีการถกเถียงกันในที่สาธารณะ เราจะทำยังไงกับปัญหา จะให้มันแก้ด้วยตัวมันเองหรือ หรือจะให้ปัญหามันแก้โดยคนสองสามคนที่มีอำนาจ โดยที่ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิแสดงความเห็น เราจะปล่อยให้เป็นอย่างนั้นหรือ แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าถ้าทำอย่างนั้นปัญหาจะไม่บานปลาย” สื่อออนไลน์ กลางเขาควายของวุฒิภาวะระหว่างผู้มีอำนาจและประชาชน “ผมบอกตรงๆ ว่าผมไม่รู้ว่าสังคมไทยมีวุฒิภาวะมากน้อยเพียงใด แต่ผมไม่มีข้อสงสัยเลยนะครับว่าคนไทยพร้อมที่จะเปิดตัวเองและก็เรียนรู้ แต่ผมคิดว่ามันอาจจะต้องใช้เวลามากกว่านี้ คือการทำให้คนมีวุฒิภาวะนี่เป็นเรื่องระยะยาว (Long-term Process) ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ภายในสองเดือนสามเดือน เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการให้การศึกษา การพัฒนาทางการเมือง แต่ที่ผมกังวลอย่างหนึ่งคือว่า พอคนใช้ประโยชน์ออนไลน์แล้วไม่มีวุฒิภาวะอาจจะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้นได้ เพราะเวลาที่คนอ่านแล้วไม่ได้ไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนได้ก็อาจจะตกเป็นเครื่องมือ แต่มันเป็นกระบวนการระยะยาว ต้องเริ่มที่จุดใดจุดหนึ่งก่อน มันอาจจะไม่สมบูรณ์แบบ แต่ต้องปล่อยให้มีความผิดพลาด มันต้องเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว มันไม่สามารถจะกดสวิตช์ได้ ที่ผมเห็นว่าเป็นการขาดวุฒิภาวะมากที่สุดก็คือ บางคนอาจจะไม่ชอบบางสถาบัน ก็คงไม่มีใครห้ามความคิดได้ แต่น่าจะแสดงความเห็นแบบมีเหตุผลว่าไม่ชอบเพราะอะไร ผมเห็นในหลายบล็อก ไม่ชอบแล้วใช้คำโจมตีที่รุนแรง แต่นี่ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะไปห้ามได้เพราะสังคมไทยก็ไม่ใช่สังคมสิงคโปร์ที่มีคนแค่ห้าล้านคนที่สามารถจะควบคุมความเคลื่อนไหวของคนได้ง่ายกว่า ประเทศไทยหกสิบกว่าล้านคน ร้อยพ่อพันแม่ หลายเผ่าพันธุ์ การศึกษาต่างกัน การตอบสนองก็ต่างกัน” การใช้กฎหมายเหวี่ยงแห -สัญญาณแห่งการสิ้นอำนาจควบคุม “เมื่อผู้อยู่ในอำนาจไม่สามารถหากลไกหรือกรอบอื่นๆ มาจัดการกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง รวมถึงการดึงบางสถาบันมาใช้เป็นเครื่องมือ ซึ่งกลายเป็นดาบสองคม ผู้มีอำนาจอาจจะอ้างว่าทำเพื่อปกป้องสถาบันหนึ่งๆ แต่การที่เอากฎหมายคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ ทำให้กลายเป็นว่าสถาบันนั้นๆ เข้ามาอยู่ในกระบวนการทางการเมือง ถูกดึงมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง และก็อีกประการก็คือ เมื่อรัฐบาลใช้กฎหมาย ผู้ที่ใช้คิดว่าตัวเองมีอำนาจ (power) เพราะตัวเองสามารถใช้กฎหมายนี้จัดการกับฝ่ายตรงข้าม แต่จริงๆ แล้วส่อให้เห็นว่าไม่ใช่อำนาจหรอก แต่เป็นอาการที่เรียกว่า Desperation (กระเสือกกระสน) คือรู้ว่าต่อไปนี้จะควบคุมลำบากและเมื่อควบคุมลำบากก็เลยใช้กฎหมายนี้พยายามดึงไว้ แต่ก็คงดึงไว้ได้ไม่นาน แต่มันก็กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองไป น่าเสียดาย โดยเฉพาะผมคิดว่าการตีความว่าใครดูหมิ่นใคร มันตีความลำบาก แต่ข้อดีคือคนเริ่มพูดกันมากแล้ว แต่ประตูจะเปิดเลยเป็นไปไม่ได้ แต่มันก็กำลังเปิดทีละนิดๆ รัฐบาลมีกลไกทำอะไรได้ก็ทำไป แต่ถ้าจะปิดประตูคงไม่ได้” ข้อเสนอรัฐบาล: ลดการใช้กฎหมาย ใช้วิธีการสื่อสารมากกว่า “ผมคิดว่าเกมที่ดีกว่านี้ก็คือรัฐบาลก็ปล่อยให้ฝ่ายค้านใช้สื่อออนไลน์เล่นไป ตัวเองก็ใช้สื่อของตัวเองไปฟาดฟันกันในไซเบอร์เสปซ เล่นกันแบบแฟร์ และฟรี ดีกว่าการไปปิด ทำไมรัฐบาลไม่ใช้สื่อของตัวเองให้เป็นประโยชน์ในการพยุงสถานะ และข้อกล่าวหาบางอย่างอย่าไปใส่ใจมาก ไม่งั้นกลายเป็นว่ารัฐบาลลงเล่นในทุกเรื่อง” “ก็ส่งเสริมประชาธิปไตย ถ้าใครต่อต้านรัฐบาลก็ให้เว็บไซต์รัฐบาลโจมตีกลับ แต่ก็ต้องทำได้ตราบเท่าที่ไม่ไปส่งเสริมให้มีการใช้ความรุนแรง ผมว่ามันก็เป็นสิ่งที่ดี ก็ทำให้เห็นว่าสังคมไทยมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และรัฐบาลก็ควรใช้แนวทางนี้มานานแล้ว เพราะว่าสื่อออนไลน์ก็เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลควรจะใช้สื่อออนไลน์ในแง่ที่สร้างสรรค์ บ่นแต่ว่าไม่สามารถเข้าถึงคนที่อยู่ภาคเหนือและภาคอิสาน ก็ทำไมไม่ใช้เว็บไซต์ในการเข้าถึงเขา และถ้าคนเหนือหรือคนอิสานขาดโครงสร้างพื้นฐานในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ คุณก็ต้องไปสร้างให้เขา เพราะโครงสร้างพื้นฐานไม่ใช่แค่รองรับผลประโยชน์ในการเข้าถึงของรัฐบาลเท่านั้นแต่เป็นการลงทุนระยะยาวด้วย แล้วปัจจุบันนี้การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานทำได้ง่าย มันใช้แค่ระบบดาวเทียม ไม่ต้องวางสายใต้ดินอะไรให้วุ่นวาย” แต่รัฐบาลจะทำก็ต้องก้าวข้ามความหวาดกลัวชาวบ้านก่อน “ก็อย่างที่บอก หากรัฐบาลซึ่งเป็นคนที่กุมอำนาจรัฐไม่สามารถทำได้ หรือเข้าถึงประชาชนได้ ผมคิดว่ารัฐบาลขาดประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ มีการพูด joke ในแวดวงวิชาการว่า คุณอภิสิทธิ์จะไปภาคเหนือหรือภาคอิสานต้องใช้วีซ่า ซึ่งก็สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลชุดนี้กับประชาชนในภูมิภาคดังกล่าว โดยสรุป การต้องสร้างสาธารณูปโภคก็อาจจะต้องเป็นแผนระยะยาว รัฐบาลน่าจะเริ่มต้นด้วยการใช้สื่อออนไลน์ให้เป็นประโยชน์ในการสร้างความเข้าใจระหว่างรัฐบาลกับคนที่อยู่ภาคเหนือภาคอิสาน จะสำเร็จหรือไม่ก็อีกเรื่อง แต่รัฐบาลต้องพยายาม” สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ลูกจ้างอยุธยาหวั่นนายจ้างอ้างกระแส "บาทแข็ง" ฉวยโอกาสตัดโบนัส Posted: 17 Oct 2010 01:02 PM PDT หลังจากนายทศพล วังศิลาบัตร ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.อยุธยา เปิดเผยการประเมินถึงผลกระทบค่าเงินบาทที่แข็งตัวว่าจะทำให้รายได้ของผู้ประกอบลดลงกว่า 10% ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายโบนัสหรือปรับค่าจ้างประจำปีในปลายปีนี้ได้ วันนี้ (17 ต.ค.53) นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ได้เรียกประชุมสภาสาขาอยุธยาที่มีกว่า 20 สหภาพแรงงาน เพื่อหารือถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยนายมนัส เปิดเผยว่า ผู้แทนสหภาพแรงงานหลายแห่งได้สอบถามข้อมูลกับนายจ้าง ผู้ประกอบการ ทำให้เชื่อว่าผลกระทบเงินบาทแข็งนั้นมีบ้าง แต่ไม่มีน้ำหนักมากถึงกับที่จะตัดโบนัสหรือไม่ปรับขึ้นเงินเดือนตามที่ตกลงกับสหภาพแรงงาน นายมนัสแสดงความกังวลด้วยว่า กระแสดังกล่าวอาจทำให้นักลงทุนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน อันจะเป็นสถานการณ์ที่ส่งผลให้นายจ้างโหมกระแสฉวยโอกาสนี้ไม่ทำตามข้อตกลง ดังนั้นในวันที่ 20 ต.ค.นี้ สหภาพแรงงานในเครือข่ายจะร่วมกันยื่นหนังสือต่อนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นการถ่วงดุลกับทางสภาอุตสาหกรรม จ.อยุธยา ด้านนายบรรจง บุญชื่น ประธานสหภาพแรงงานฮิตาชิคอมเพรสเซอร์และประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย สาขาพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่าสหภาพแรงงานต่างๆ ได้พูดคุยกับทั้งนายจ้าง ฝ่ายบุคคล รวมถึงชมรมการบริหารงานบุคคลโดยต่อเนื่อง ซึ่งเชื่อว่าสถานการณ์จะไม่มีผลกระทบอะไรกับโบนัส อีกทั้งสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งตัวที่ผ่านมายังไม่ชัดเจนว่าค่าเงินบาทจะแข็งตัวยาวนานเท่าไร ทั้งนี้การให้โบนัสควรคำนึงถึงผลประกอบการภาพรวมรายปี มากกว่าที่จะหยิบยกสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งชั่วระยะเวลาสั้นๆ นอกจากนี้ นายบรรจง ให้ข้อมูลว่า สถานประกอบการในอยุธยากว่าร้อยละ 50 ไม่ได้เป็นการส่งผลผลิตเพื่อจำหน่ายในตลาดโลก แต่เป็นการส่งผลผลิตให้กับบริษัทแม่ในญี่ปุ่น จึงไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากการที่เงินบาทแข็งค่า นายอุดม ไกรยราช ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานอยุธยาและใกล้เคียง แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ที่นายจ้างจะหยิบยกค่าเงินบาทแข็งเป็นข้ออ้างในการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่มีกับสหภาพแรงงาน และระบุว่า ผู้ประกอบการในอยุธยาไม่ได้เป็นกิจการส่งออกต่างประเทศทั้งหมด บ้างมีตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงไม่ได้รับผลกระทบดังที่มีการกล่าวอ้าง "พอมีการประโคมข่าวเศรษฐกิจพัง นายจ้างก็จะฉวยโอกาส" นายอุดมกล่าวและยกตัวอย่างช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2540 ว่าเกือบทุกบริษัทในอยุธยาได้อ้างปัญหาเศรษฐกิจ ฉวยโอกาสลดเงินเดือนและสวัสดิการ รวมถึงการเลิกจ้างลูกจ้างจำนวนมาก ทำให้ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
คนเสื้อแดงมุกดาหารกินโต๊ะจีนเรียกร้องปล่อยนักโทษการเมือง Posted: 17 Oct 2010 09:17 AM PDT วิทยุเสื้อแดงมุกดาหารจัดโต๊ะจีนเพื่อระดมทุนช่วยเหลือครอบครัวผู้ต้องขังคดีเผาศาลากลาง พร้อมเรียกร้องปล่อยนักโทษการเมือง เมื่อวันที่ 14 ต.ค. ที่ผ่านมา สถานีวิทยุชุมชนคนเสื้อแดงจังหวัดมุกดาหาร 106.75 เมกกะเฮิร์ต จัดงาน ‘14 ตุลา เปิดหูเปิดตาประชาชน’ ในรูปแบบเลี้ยงโต๊ะจีนริมน้ำโขง เพื่อพบปะสังสรรค์และนำรายได้ไปช่วยเหลือครอบครัวของผู้ต้องขังคดีเผาศาลากลาง งานเลี้ยงโต๊ะจีนคนเสื้อแดงเริ่มขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 6 โมงเย็น มีคนเสื้อแดงทั้งจากใน อ.เมือง และอำเภอต่างๆ ทยอยเข้ามาร่วมงาน โดยเป็นงานแรกที่พี่คนเสื้อแดงจากอำเภอต่างๆ ในมุกดาหารมาพบกันหลังการสลายการชุมนุมเมื่อพฤษภาคมที่ผ่านมา มีการฉายคลิปคลิปความจริงต่างๆ หมอลำส้มโป๊ะจากเวทีราชประสงค์ หมอลำเสถียรที่แต่งตัวด้วยชุดนักโทษถูกล่ามโซ่ตรวนเพื่อประชดรัฐบาล และมีการปราศรัยของดีเจวิทยุเสื้อแดง ช่วงหนึ่งของรายการบนเวที กลุ่ม นปช.ภูพานได้นำเงินรายได้จากการจัดงานบุญมามอบแก่ครอบครัวของผู้ต้องขังคดีเผาศาลากลางมุกดาหาร ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 19 ราย และมีการอ่านแถลงการณ์ “ปล่อยนักโทษการเมือง ดำเนินคดีผู้สั่งฆ่าประชาชน” รายละเอียดของแถลงการณ์มีดังนี้ 000
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ใบตองแห้งออนไลน์: เดือนตุลาของเสื้อแดง Posted: 17 Oct 2010 03:33 AM PDT ผมดูข่าว 37 ปี 14 ตุลา แล้วก็นึกขำๆ ว่า นี่ถ้าไม่มีการเคลื่อนไหวของ สนนท. ถ้าไม่มีการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง ที่ถูกรัฐบาลนำไปตีปี๊บว่ามี “ชายชุดดำ” ผ่านการฝึกอาวุธจากเขมร (แล้วก็หน้าแหกเมื่อทหารไม่เล่นด้วย) 14 ตุลา ก็คงเป็นแค่งาน “เช็งเม้ง” ที่ถูกกลบกระแสโดยข่าวฟิล์ม-แอนนี่ พิงกี้-ธัญญ่า-เป๊ก อย่างเก่งหนังสือพิมพ์ก็จะเอาภาพมาลงตามธรรมเนียม สื่อกระแสหลักไม่ได้ให้ความสนใจนักกับ 14 ตุลา สัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย คงยอกอกยอกใจที่ตัวเองสนับสนุนรัฐประหาร ขณะที่สื่อเสื้อแดง-หรือสื่อที่เสื้อแดงดูและอ่าน ให้ความสนใจกับ 14 ละ 6 ตุลา เสมือนประวัติศาสตร์ที่ตนเองมีส่วนร่วม ในแง่ของการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ คนเสื้อแดงกำลังแย่งชิง 14 ตุลามาเป็นประวัติศาสตร์ที่ตนเองมีส่วนร่วม รวมทั้ง 6 ตุลา พฤษภา 35 หรือ 24 มิถุนา 2475 และปูชนียบุคคลอย่าง อ.ปรีดี อ.ป๋วย คนเดือนตุลาผู้ถือว่าขบวนการนักศึกษาในยุคนั้นเป็นพลังอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง-ผ่องกว่าขบวน “ไพร่” ในยุคนี้ จะคิดอย่างไรก็แล้วแต่ แต่จิตวิญญาณและมรดกการต่อสู้ของวีรชน 14 ตุลา 6 ตุลา กระทั่งพฤษภา 35 หรือย้อนไปถึงคณะราษฎร ได้ถ่ายทอดเข้าถึงมวลชนที่แท้จริงอย่างกว้างขวาง เข้าถึงแม่ค้า แท็กซี่ สามล้อ คนชนบท คนธรรมดาสามัญ ที่ตื่นตัวขึ้นมาเรียกร้องประชาธิปไตย เหมือนพวกเราเมื่อ 37 ปีก่อน และสนใจศึกษาใคร่รู้ เหมือนเมื่อครั้งที่พวกเราศึกษาย้อนไปถึงยุคสมัยของ อ.ปรีดีและก่อนรัฐประหาร 2500 รุ่นน้องผมรายหนึ่ง เล่าให้ฟังว่าเธอมีแท็กซี่ขาประจำเป็นเสื้อแดง พอรู้ว่าเธอเป็นคนรุ่น 6 ตุลา เขาก็ซักถามอย่างสนใจใคร่รู้ ย้อนอดีตจาก 6 ตุลาถึง 14 ตุลา กระทั่งเรื่องราวของ อ.ปรีดีกับกรณีสวรรคต ที่เขาไม่เคยรู้มาก่อน นั่นขณะที่คนชั้นกลางหันไปอ่านหนังสือเล่มล่าของวิมลพรรณ ปิตธวัชชัย “พี่ติ๋ม” ของผม ที่อ้างว่า อ.ปรีดีขอให้แพทย์อังกฤษปกปิดข้อมูลกรณีสวรรคต มีพรรคพวกยุให้โต้พี่ติ๋ม ผมบอกว่าเรื่องไร พี่ติ๋มกับผมซี้กันดีสมัยแกยังอยู่สยามโพสต์-ไทยโพสต์ แกเป็นไฮโซอีสานลูกเจ้าของโรงสีที่บัตรเอทีเอ็มขึ้นสนิม เพราะไม่เคยกดบัญชีเงินเดือน ชอบซื้อขนมมาเลี้ยงโต๊ะข่าวแล้วตัวเองก็นั่งเมาท์เกาพุงแกรกๆ ต้องโน่นเลย ให้ อ.เทพศิริ สุขโสภา มาโต้ รับรองพี่ติ๋มไม่กล้าหือ (ฮาอย่างลับๆ) โทษที อันนั้นขี้เล่น แต่ผมบอกว่าพี่ติ๋มแกก็เชื่อของแกอย่างนั้นมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ตั้งแต่ก่อนมีเหลืองมีแดงอีก แกเขียนทุกทีก็จะมีสานุศิษย์หรือผู้ยกย่องเชิดชู อ.ปรีดีออกมาตอบโต้ มันควรจะเป็นหน้าที่ของคนเหล่านี้ แต่บัดนี้คนเหล่านี้ส่วนใหญ่หันไปใส่เสื้อเหลือง มันควรจะเป็นวาระของอาจารย์ ส.ศิวรักษ์ กับลูกศิษย์ลูกหา หรือว่าทายาทตระกูลชัยนาม ที่ อ.ดิเรกท่านถูกพาดพิงด้วย... แต่ที่ไหนได้ มีแค่ทายาทคุณสุพจน์ ด่านตระกูล ออกมาโต้แทน นั่นแปลว่าพวกเสื้อเหลืองได้ปล่อยให้ปูชนียบุคคลแห่งประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยหลุดมือมาอีกแล้ว ซ้ำร้าย คำนูณ สิทธิสมาน ยังกล่าวหาสมบัติ บุญงามอนงค์ ว่าการไปรณรงค์ที่อยุธยาเพื่อโชว์ป้ายสะพานปรีดี พนมยงค์ เป็นการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ที่มีอันตราย อ้อ เพิ่งรู้ว่าการเชิดชู อ.ปรีดีเป็นอันตรายมาก สำราญ รอดเพชร กับยะใส ก็ออกมาตอกย้ำ คนพวกนี้ไม่ใช่หรือที่เคยยกย่อง อ.ปรีดี มาตอนนี้กลับเห็นเป็น “สัญลักษณ์อันตราย” 24 มิถุนา ก็เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกคนเสื้อแดงแย่งยึดมาแล้ว ตั้งแต่ตอนครบ 75 ปีในช่วง คมช.พอดี 6 และ 14 ตุลาปีนี้ ก็เห็นได้ว่าสื่อเสื้อแดง ตั้งแต่ทีวีดาวเทียมไปถึงวิทยุชุมชน ให้ความสำคัญนำเสนอมากกว่าสื่อกระแสหลัก ที่อาจจะเห็นว่าไม่มีอะไรใหม่ แต่มันใหม่สำหรับคนที่เพิ่งตื่นตัว และมีอารมณ์ร่วม มีชะตากรรมร่วม คนเสื้อแดงมีอารมณ์ร่วมกับ 14 ตุลา โดยไม่ต้องอ่านแบบเรียนของกระทรวงศึกษา ที่ถกเถียงกันมาเกือบสามสิบปีกว่าจะเขียนลงไปได้หนึ่งย่อหน้า คนเสื้อแดงมีอารมณ์ร่วมกับ 14 ตุลา โดยไม่สนใจว่า ธีรยุทธ-เสกสรรค์-จีระนันท์-สมบัติ ธำรงธัญวงศ์-ประสาร มฤคพิทักษ์ จะไปยืนอยู่แถวไหน เพราะคนเสื้อแดงถูกกระทำคล้ายกับ 6 ตุลา และขบวนเรียกร้องประชาธิปไตย ก็ถูกกระทำไม่ต่างจากยุคก่อน 14 ตุลา คนเสื้อแดงไม่เคยรู้เรื่องยุคเผด็จการถนอม ประภาส กวาดจับผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ แต่พวกเขาเห็นเด็กนักเรียนชูป้าย มีคนตายที่ราชประสงค์ แค่นั้นก็ถูกจับ ส่งไปบำบัดจิต แม่ค้าขายรองเท้าแตะ เอาหน้ามาร์ค-เทือก มารอง teens แค่นั้นก็ถูกจับ มีความผิดฐานบิดเบือนข้อมูล (แถมยังมีกรรมการสิทธิ์มาช่วยบิดว่าผิดฐานละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อ้าว แน่นอน แต่นั่นคือคดีหมิ่นประมาท ที่มาร์ค-เทือกต้องแจ้งความดำเนินคดีเอง ไม่ใช่จับฐานผิด พรก.ฉุกเฉิน ซึ่งละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ร้ายแรงกว่า) คนเสื้อแดงไม่เคยรู้ว่ายุคเผด็จการถนอม ประภาส ที่ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในสถาบันการศึกษา แต่พวกเขาเห็นนิสิตนักศึกษาชูป้ายประท้วงนายกฯ แล้วโดนอาจารย์ไล่ตะเพิด คนเสื้อแดงไม่เคยอ่านประวัติศาสตร์การลบชื่อ 9 นักศึกษารามคำแหงที่ขับไล่ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ แต่พวกเขาถูกเลือกปฏิบัติทั่วทุกด้าน แม้กระทั่งในรายการเรียลลิตี้อย่างมาร์ค V11 คนเสื้อแดงไม่เคยรู้เห็นอภิสิทธิ์ของทหารในยุคถนอม ประภาส แต่พวกเขาประจักษ์ด้วยตัวเองในยุค ศอฉ. คนเสื้อแดงไม่เคยรู้เรื่องทหารพาดารา ขี่ ฮ.เอาไรเฟิลส่องสัตว์ป่าในทุ่งใหญ่นเรศวร แต่เห็นการ “ส่องสัตว์” คาตากลางเมืองหลวง (โดยมีดาราปรบมือเชียร์) ฯลฯ เหล่านี้คือสิ่งที่คนเสื้อเหลืองไม่มีอารมณ์ร่วม แม้พวกคนตุลาในเสื้อเหลืองจะพยายามเปรียบเทียบ 14 ตุลา 6 ตุลา กับ 7 ตุลา แต่อุดมการณ์และเป้าหมายห่างไกลกันสุดกู่ คำถามคือ คนเดือนตุลา คนเดือนพฤษภา ทั้งหลายปิติยินดีหรือไม่ที่มรดกเดือนตุลา มรดกเดือนพฤษภา ได้สืบทอดไปยังบรรดาคนชนบทคนชั้นล่าง แท็กซี่ สามล้อ แม่ค้า แมงกะไซค์ ที่เคยถูกกล่าวหาว่า โง่ จน เครียด กินเหล้า ขายเสียง และตกเป็นเหยื่อทักษิณ หรือคุณจะหวงแหนไว้เป็นของตัวเอง ของคนชั้นกลางผู้แสนวิเศษ ไม่ยอมให้มันตกไปถึงมือ “คนชั้นต่ำ” เหมือนบางคนพยายามปฏิเสธว่า 19 พฤษภาไม่เหมือน 6 ตุลาเพราะพวกเราบริสุทธิ์และพวกเราไม่หวังให้เกิดความรุนแรง โทษที ใครที่ไม่เคยอยู่กับ “คนชั้นต่ำ” อาจรับไม่ได้กับการแสดงอารมณ์อย่างไม่มีจริต แสดงออกอย่างหยาบกร้าน มุทะลุ ตรงไปตรงมา แต่คนเดือนตุลาส่วนใหญ่คือคนที่เคยใช้ชีวิตร่วมกับพี่น้องกรรมกร ชาวนา ชาวเขา ไม่ใช่หรือ ในอดีต ผมเคยฝากชีวิตไว้กับ “สหาย” ที่บางคนก็เคยเป็นโจรมาก่อนด้วยซ้ำ ผมเคยอยู่ในหมู่บ้านที่ทหารปิดล้อม โดยมีเพียงความจริงใจของชาวบ้านเป็นที่พึ่ง แค่อยากถามใจคนเดือนตุลา ว่ายินดีจะช่วยเหลือสนับสนุนให้มวลชนเติบโตเป็นพลังประชาธิปไตย หรือจะยุยงให้ปราบปราม ทำลาย แยกสลาย “ปฏิรูป” เพื่อให้ “สามัคคี” แบบที่พวกเขาต้องสยบยอมน้อมหัวอีกต่อไป มันคงจะดีกว่านี้แน่ๆ เลย ถ้าธีรยุทธ เสกสรรค์ จีระนันท์ หรืออดีตผู้นำทั้งหลายจะเข้าไปหามวลชนและช่วยเผยแพร่ความคิดประชาธิปไตย ไม่ใช่ให้คนตุลาหางแถวอย่างใบตองแห้งต้องสวมบทดาราจำเป็นไปออกทีวีพูดกับคนเสื้อแดง (อิอิ เนื้อที่โฆษณา) ฝ่ายก้าวหน้ากับความรู้เศรษฐกิจ ผมเคยตั้งข้อสังเกตไว้ว่า สื่อไทยไม่ค่อยรู้เรื่องเศรษฐกิจ คือนักข่าวการเมืองก็ไปทาง นักข่าวเศรษฐกิจก็ไปทาง มาย้อนคิดดูดีๆ ก็พบว่าไม่ใช่แค่สื่อหรอก แต่ฝ่ายก้าวหน้า ภาคประชาสังคม ตลอดจนพวกคนเดือนตุลาทั้งหลายที่เป็นต้นธาร ล้วนแล้วแต่ไม่มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจ นี่ทั้งๆที่เราเพิ่งได้ผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่ คุณประสาร ไตรรัตน์วรกุล ที่เคยเป็นคนรุ่น 14 ตุลา (อย่างไม่ใคร่สง่างามเท่าไหร่ เพราะแบงก์เอกชนส่งประกวด ถ้าไม่อยากให้เกิดความรู้สึกว่า “ทับซ้อน” ก็น่าจะลาออกก่อนเป็นแคนดิเดท) แต่คนเดือนตุลาส่วนใหญ่ ที่เข้าป่า แล้วกลับออกมาทำงานภาคประชาสังคม หรือไม่ประชาสังคมก็ตาม จะเป็นสื่อ เป็น NGO หรือขายน้ำเต้าหู้ หรือกระทั่งทำธุรกิจ SME ส่วนใหญ่แล้วมีความรู้ทางเศรษฐกิจแค่หางอึ่ง เคยศึกษาแต่ลัทธิมาร์กซ์ ที่วิพากษ์ทุนนิยมสมัยเมื่อร้อยกว่าปีก่อน หรืออย่างน้อยก็เมื่อ 30 ปีก่อนเอ้า แล้วก็คิดว่าวิธีการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนมีทางเดียว คือต้องยึดกิจการเป็นของรัฐ ไม่ให้มีพ่อค้าคนกลาง ไม่ให้มีเอารัดเอาเปรียบความแตกต่างเหลื่อมล้ำ คนเดือนตุลา ฝ่ายก้าวหน้า ภาคประชาสังคม NGO ที่คลานตามกันมาเป็นพรวน ไม่เคยหูกระดิกเรื่องค่าเงินบาท เรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เรื่องตลาดหุ้น ตลาดซื้อขายล่วงหน้า ตลาดตราสารหนี้ ฯลฯ โทษที รวมผมด้วย อย่าง อ.ใจยกเรื่องทฤษฎีของเคนส์ ก็เชื่อได้เลยว่า คนเดือนตุลา สื่อ NGO ที่เข้าใจได้ลึกซึ้งมีน้อยกว่าน้อย ฉะนั้น กระแสสังคมของเราคืออะไร ก็คือการแห่เฮโลสาระพาตามรสนา โตสิตระกูล ที่คัดค้านการเอา ปตท. เอา กฟผ.เข้าตลาดหุ้น แบบมองโลกแง่ร้ายด้านเดียว ว่าคนไทยจะต้องใช้ไฟแพงเหมือนอาร์เจนตินา (ผมก็ค้านการขายยกพวง แต่กลับไปมองดีๆ มันก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย) สุดท้ายเราก็ต้องมาทนดูคุณพ่อพนักงาน CAT โห่ร้องด้วยความปิติยินดีปรีดาปราโมทย์เมื่อศาลปกครองสูงสุดสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้เปิดประมูล 3G (ถามว่ามันโห่เพื่อชาติหรือเพื่อโบนัส) เรามีความรู้ทางเศรษฐกิจตื้นเขินมาก เหมือนยังหลับอยู่ในยุคต่อต้านฐานทัพ ไล่จักรพรรดินิยมอเมริกา เมื่อเทียบกับทุนนิยมโลกาภิวัตน์ที่พัฒนาไป สุดท้ายคืออะไรๆ ก็ต่อต้าน FTA ก็ต่อต้าน (แล้วตอนนี้เป็นไง ตัวเลขส่งออกที่ดีๆ ก็เพราะ FTA ด้วย) ไม่ใช่ผมไม่ต่อต้านนะครับ บางเรื่องมันเป็นผลเสีย เศรษฐกิจไทยวันนี้ก็ยังพึ่งการส่งออกอยู่ดี แต่เปลี่ยนไปเกาะหางมังกรจีน จากที่เคยเกาะแข้งเกาะขากาโม่ยุ่น รัฐบาลไหนก็เดินแนวทางนี้ คุณล้มทักษิณว่านำประเทศกระโจนเข้าไปเป็นเหยื่อทุนโลกาภิวัตน์ แต่มาร์คกับกรณ์ต่างกันตรงไหน คุณบอกไม่ถูก สุดท้าย รสนาก็เลยเงียบกริบทั้งที่ ปตท.ยังโกยกำไรมหาศาล เกรียงกมล เลาหไพโรจน์ เคยให้สัมภาษณ์ลงไทยโพสต์แทบลอยด์ก่อนรัฐประหาร ผมยังจำได้แม่น สิ่งที่เขาพูดในประเด็นสำคัญคือ เรากำลังสับสนว่าจะพัฒนาประเทศไปทางไหน อย่างไร ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาล ใครมีอำนาจ คุณต้องมานั่งคุยกันเป็นวงใหญ่ว่าประเทศไทยจะไปทางไหนในโลกาภิวัตน์ แต่สุดท้ายรัฐประหารแล้วเราได้อะไร เราได้รัฐธรรมนูญที่อ่านแล้วงงเป็นไก่ตาแตก เพราะแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ มาตรา 83 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่มาตรา 84 รัฐบาลต้องส่งเสริมและสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรี... มันขัดแย้งกันสิ้นเชิง สังคมอุดมคติแบบลัทธิประเวศ อยากย้อนเวลาให้ชุมชนในชนบทกลับไปพึ่งตัวเอง เลิกพึ่งทุนนิยม ฟังดูมันสวยงามดีแต่เป็นจริงได้ไหม โอเค ทักษิณขายฝัน ปั้น OTOP คุยว่าจะเอาไปวางห้างนิวยอร์กห้างแฮร์รอดส์ ฟังดูมันก็เว่อร์ แต่ทุกวันนี้ คนชนบทที่ “พึ่งตัวเอง” ได้ก็เพราะเก็บใบย่านางแพ็กใส่ถุงสวยๆ ประทับตราปลอดสาร ส่งมาขายคนชั้นกลางตามห้างในกรุงเทพฯ ไม่ใช่หรือ ประเทศไทยทั้งที่มีปัญหาขนาดนี้ยังมีเงินทุนไหลเข้า เพราะภูมิประเทศที่เป็นศูนย์กลางของอาเชียน จีนต้องการสร้างทางรถไฟทะลุลงใต้ไปสิงคโปร์ อีกด้านหนึ่งก็มีคนเล็งไว้ว่าจะต้องสร้างทางรถไฟจากเวียดนามไปทะลุพม่า ถามว่าเราควรทำอย่างไร จะยกธงเย้วๆ คัดค้านกันยันเตหรือ ใครที่จะเป็นผู้นำภาคประชาสังคมในยุคนี้ ควรไปลงคอร์สเศรษฐศาสตร์มหภาค ศึกษาพัฒนาการทุนนิยมโลกภิวัตน์ วิเคราะห์ด้านดีด้านเสียที่เกิดกับประชาชน อะไรเลี่ยงได้ อะไรเลี่ยงไม่ได้ และควรปรับตัวให้ทันอย่างไร ไม่ใช่อ่านแต่ข้อเขียนของปู่ไสว บุญมา ใบตองแห้ง 16 ต.ค.53 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น