ประชาไท | Prachatai3.info |
- หวั่นโครงการ "มักกะสันคอมเพล็กซ์" กลืนพื้นที่พิพิธภัณฑ์-ประวัติศาสตร์คนงาน
- กานดา นาคน้อย : สงครามเงินตราและทางเลือกของไทย
- 3 องค์กรแรงงานไทย รับบริจาคเงินช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม
- เวทีคู่ขนานปฏิรูปประเทศไทย : เสียงที่ไม่ได้พูดในการปฏิรูปประเทศไทย
- เวทีคู่ขนานปฏิรูปประเทศไทย : เสียงที่ไม่ได้พูด สิ่งที่พูดไม่ได้
- นัดตรวจหลักฐาน 13 ธ.ค. คดี “สุรชัย แซ่ด่าน” หมิ่นเบื้องสูง
- คนอังกฤษเตรียมประท้วงใหญ่นโยบายตัดค่าใช้จ่ายภาครัฐ
- การละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวพม่า ก่อวิกฤติด้านสุขภาพในเด็กและผู้หญิง
- รวมข่าวรัฐฉาน - สหภาพพม่า 16-21 ต.ค. 2553
- จาตุรนต์ เรียกร้องศาล รธน. ตรวจสอบคลิปฉาว ถ้าจริง ต้องลาออก
- ศธ.ยกเลิกประกาศ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 หวั่นถูกมองเป็นเมืองขึ้น
- ตัวแทนชาวบ้านร้องผู้ว่าอุบลฯ กรณีโรงไฟฟ้าพลังงานแกลบ
หวั่นโครงการ "มักกะสันคอมเพล็กซ์" กลืนพื้นที่พิพิธภัณฑ์-ประวัติศาสตร์คนงาน Posted: 21 Oct 2010 12:58 PM PDT (20 ต.ค. 53) ในโอกาสครบรอบ 17 ปี พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยและมูลนิธิฟรีดริคเอแบร์ท ร่วมจัดเสวนาเรื่องบทบาทพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยต่อสังคม...จะก้าวไปทางไหน? ที่โรงแรมอมารี เอเทรียม โดยตอนหนึ่งมีการพูดถึงดำริของรัฐบาลในช่วงปี 2548 ที่จะปรับบริเวณโรงงานรถไฟมักกะสันเป็นสถานีรถไฟเชื่อมกับสนามบินสุวรรณภูมิหรือแอร์พอร์ตลิ้งค์ และศูนย์การค้าขนาดใหญ่คือมักกะสันคอมเพล็กซ์ ซึ่งขณะนั้นยังไม่ชัดเจนว่าจะมีผลกระทบต่อพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวหรือไม่ ทางมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยได้ทำหนังสือถามไปยังรัฐสภาในขณะนั้น ซึ่งได้ข้อสรุปว่าให้คงพิพิธภัณฑ์ไว้ ต่อมาเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปี 2549 เรื่องจึงเงียบไป ก่อนจะมีการเรียกประชุมอีกครั้งเมื่อปลายปีที่แล้ว โดยพบว่า ในผังมักกะสันคอมเพล็กซ์ไม่มีที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการประวัติศาสตร์แรงงาน แสดงความกังวลต่อประเด็นดังกล่าว และยืนยันว่าพิพิธภัณฑ์ควรตั้งอยู่ที่เดิม เพราะเป็นที่ที่มีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ โดยทุกครั้งที่มีการรัฐประหาร จะมีการยึดสหภาพแรงงาน มีทหารเข้ามาค้นเอกสาร ปัจจุบันยังมีรอยขวานจามที่ประตูพิพิธภัณฑ์ในช่วง 14 ตุลาคม 2516 อยู่ รวมถึงอยากให้คงบ้านพักพนักงานการรถไฟฯ เอาไว้ด้วย เพราะถือเป็นสวัสดิการแรงงานแรกสุดของคนไทย ทั้งนี้ เขามองว่าน่าจะสามารถปรับพิพิธภัณฑ์ให้กลมกลืนกันกับสถานที่โดยรอบที่จะสร้างได้ และเชื่อว่าหากพิพิธภัณฑ์สามารถทำให้คนในสังคมเห็นว่าเป็นที่ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม พิพิธภัณฑ์ก็น่าจะอยู่ต่อไปได้ นายศักดินา กล่าวเสริมว่า ความคิดที่จะก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยนั้นมีมาตั้งแต่ปี 2534 โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อยกสถานะทางสังคมของชนชั้นผู้ใช้แรงงานให้เป็นที่ยอมรับ เพราะผู้ใช้แรงงานมีคุณูปการต่อการพัฒนาประเทศ แต่ที่ผ่านมา สังคมกลับไม่พูดถึง ไม่มีประวัติศาสตร์ของผู้ใช้แรงงาน ทำให้คนงานเป็นเหมือนคนไม่มีหัวนอนปลายเท้า แม้แต่คนงานเองก็ไม่มีความภูมิใจในตัวเอง นอกจากนี้ ยังต้องการสร้างความเอกภาพของขบวนการแรงงาน ผ่านการทำงานร่วมกันขององค์กรแรงงานต่างๆ เนื่องจากในช่วงปี 2534 เมื่อเกิดรัฐประหารโดย รสช. มีความพยายามทำลายสหภาพแรงงานและลิดรอนสิทธิการรวมตัวของแรงงานรัฐวิสาหกิจ อนึ่ง พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยก่อตั้งในปี 2536 ถือเป็นพิพิธภัณฑ์แรงงานแห่งแรกและแห่งเดียวในทวีปเอเชีย โดยได้รับการสนับสนุนในช่วงแรกจากมูลนิธิฟรีดริคเอแบร์ท ต่อมามีรายได้ผ่านการบริจาคของสหภาพแรงงานต่างๆ และการขายสินค้าระดมทุน
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กานดา นาคน้อย : สงครามเงินตราและทางเลือกของไทย Posted: 21 Oct 2010 11:25 AM PDT การอ่อนตัวของเงินดอลลาร์สหรัฐฯเป็นประเด็นสำคัญในการประชุมประจำปีของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เมื่อต้นเดือนนี้ แม้รมต.คลังสหรัฐฯยืนยันว่าสนับสนุนให้ดอลลาร์แข็งตัว คำยืนยันดังกล่าวไม่มีน้ำหนักเพราะธนาคารกลางสหรัฐฯไม่มีนโยบายพยุงค่าเงินและแสดงท่าทีว่าจะใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำต่อไป กล่าวได้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯถือคติว่า “เงินตราของเรา ปัญหาของคุณ” (Our currency, your problem) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีความสำคัญมากในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ เพราะนานาประเทศหวังพึ่งตลาดต่างประเทศเพื่อทดแทนการหดตัวของตลาดในประเทศ การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนให้เงินอ่อนลงเพื่อส่งเสริมการแข่งขัน (Competitive devaluation) เป็นมาตรการที่ธนาคารกลางทั่วโลกใช้มานาน ถ้าหลายประเทศใช้พร้อมกันก็เกิดสงครามเงินตรา (Currency war) กล่าวคือ ความพยายามทำให้เงินอ่อนตัวจนอาจลุกลามเป็นความขัดแย้งทางการเมือง สงครามเงินตราเกิดขึ้นหลายครั้งในอดีต เช่น สงครามเงินตราในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ซึ่งจบลงด้วยข้อตกลงระหว่างประเทศอุตสาหกรรมให้เงินเยนและเงินมาร์คแข็งตัวขึ้น สงครามเงินตราที่มีผลกระทบมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเงินระหว่างประเทศคือสงครามเงินตราในสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศอุตสาหกรรมจนวิกฤตเศรษฐกิจลุกลามไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 วิกฤตดังกล่าวได้ลุกลามมาถึงไทยจนเกิดแรงกดดันให้เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ภาวะบาทแข็งในปัจจุบัน รูปข้างล่างแสดงดัชนีค่าเงินที่แท้จริงของไทยและประเทศคู่แข่งที่สำคัญระหว่าง ม.ค. 2550 และ ก.ย. 2553 ประเด็นคือการเปลี่ยนแปลงของดัชนีไม่ใช่ระดับของดัชนี การปรับตัวขึ้นของดัชนีบ่งบอกว่าเงินแข็งขึ้น รูปนี้สมมุติให้ดัชนีเดือน ม.ค. 2550 เป็น 100 ปี 2550 เป็นปีที่วิกฤตการเงินปะทุที่สหรัฐฯ ปัญหาหนี้เสียจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยทำให้แบร์สเติร์นส์ (Bear Stearns) ซึ่งเป็นวาณิชธนกิจเก่าแก่ต้องปิดกิจการ เห็นได้ชัดว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯเอ่อนลงเพียงสกุลเดียว เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค. 2550 แล้วเงินดอลลาร์อ่อนลง 6% เงินเยนแข็งที่สุดคือแข็งขึ้น 23% แต่ต้นปีที่แล้วเงินเยนญี่ปุ่นแข็งขึ้นถึง 30% รองลงมาคือเงินหยวนจีนซึ่งแข็งขึ้น 16% ต้นปีที่แล้วเงินหยวนแข็งขึ้นถึง 20% เงินสกุลอาเซียนทั้ง 4 สกุลได้แก่ดอลลาร์สิงคโปร์ เงินบาท เปโซฟิลิปปินส์ และริงกิตมาเลเซียแข็งขึ้นไล่เลี่ยกันด้วยอัตรา 11% 9% 8% และ 7% ตามลำดับ ยังไม่มีสถิติของเดือนนี้ซึ่งเป็นเดือนที่เงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็วจนทะลุอัตรา 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ชัดเจนว่าสหรัฐฯชนะสงครามเงินตราครั้งนี้อย่างขาดลอย เงินดอลลาร์ไม่เพียงแต่อ่อนค่าลงแต่เงินสกุลอื่นๆยังแข็งขึ้นมากกว่าที่เงินดอลลาร์อ่อนลงเสียอีก
ใครได้ใครเสียจากภาวะบาทแข็ง? กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากภาวะบาทแข็งมี 5 กลุ่ม 1. ผู้นำเข้าสินค้าบริโภค (Consumption goods) จากต่างประเทศและผู้บริโภค ในแง่ดีภาวะบาทแข็งทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสบริโภคสินค้าที่หลากหลายและได้ใช้สินค้าคุณภาพสูงในราคาที่ต่ำลง ในแง่ไม่ดีทำให้สินค้าฟุ่มเฟือยราคาต่ำลง อาจทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มสร้างหนี้สินเพื่อบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย 2. ผู้นำเข้าสินค้าทุน (Capital goods) ที่จำเป็นต่อการผลิตสินค้าเพื่อบริโภคในประเทศ เช่น ผู้นำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้าง ในแง่ดีผู้ประกอบการแบ่งกำไรให้แรงงานได้โดยการขึ้นค่าแรงและนำกำไรไปลงทุนเพื่อยกระดับเทคโนโลยีได้ ในแง่ไม่ดีผู้ประกอบการอาจผูกขาดทั้งตลาดแรงงานและตลาดสินค้า ในกรณีนี้กำไรจากภาวะบาทแข็งจะทำให้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้มากขึ้น 3. นักลงทุนไทยในตลาดตราสารหนี้ ตลาดหุ้น และตลาดอสังหาริมทรัพย์ ได้กำไรจากส่วนต่างของราคาทรัพย์สิน เพราะเม็ดเงินจากทุนต่างชาติเข้ามาหนุนแรงซื้อ แม้ว่ากฏหมายไทยในปัจจุบันยังไม่ยินยอมให้ชาวต่างชาติซื้อที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของห้องชุดคอนโดมิเนียมและสามารถจดทะเบียนร่วมทุนกับคนไทยเพื่อทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ 4. นักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ตลาดหุ้นและตลาดอสังหาฯ กำไรที่ชัดเจนที่สุดคือส่วนต่างดอกเบี้ยในตลาดตราสารหนี้ ส่วนการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นไทยไม่ต้องเสียภาษีเหมือนในสหรัฐฯและอังกฤษ (และอีกหลายประเทศ) ทุนต่างชาติมีปริมาณสูงมากจึงสามารถดันราคาสินทรัพย์ในตลาดทุนให้ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตเมื่อทุนต่างชาติไหลออกราคาหลักทรัพย์จะปรับตัวลงอย่างรวดเร็วแต่ทุนต่างชาติเป็นผู้กำหนดราคา ดังนั้นนักลงทุนรายย่อยในตลาดหุ้นจะรับภาระขาดทุนหลังทุนต่างชาติออกไปแล้ว การลงทุนในตลาดอสังหาฯไทยก็ไม่มีภาษีทรัพย์สินแบบในสหรัฐฯหรือยุโรป ผลกำไรสุทธิจากตลาดอสังหาฯไทยจึงมากกว่าการลงทุนในต่างประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับอสังหาฯที่ราคาเท่ากัน 5. กลุ่มทุนไทยที่นำทุนออกไปซื้อกิจการต่างประเทศ ในแง่ดีกลุ่มนี้สามารถซื้อเทคโนโลยีแล้วนำเข้ามาต่อยอดในประเทศเพื่อยกระดับเทคโนโลยีและช่วยสร้างงาน ในแง่ไม่ดีคือการลงทุนซื้อกิจการต่างประเทศอาจเป็นเพียงการเก็งกำไรในระยะสั้น เมื่อเงินบาทอ่อนลงในอนาคตหลังจากที่ทุนต่างชาติไหลออกแล้ว กลุ่มนี้สามารถขายกิจการในต่างประเทศแล้วนำกำไรจากส่วนต่างกลับมาซื้อทรัพย์สินในไทย วิธีการทำกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวคล้ายคลึงกับการช้อนซื้อทรัพย์สินไทยโดยกลุ่มทุนต่างชาติด้วยราคาถูกหลังวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 1. การแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศ เช่น การแทรกแซงของธนาคารกลางญี่ปุ่น จีนและสิงคโปร์ ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงค์ชาติได้เปลี่ยนมาใช้ระบบแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เสรีกว่าระบบตะกร้าเงินตั้งแต่ปี 2540 ระบบนี้เป็นผลโดยตรงจากการสูญเสียทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ถ้าตอนนี้ไทยหันกลับไปใช้ระบบเดิมแบงค์ชาติก็ต้องแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศด้วยการขายเงินบาทและซื้อเงินดอลลาร์ นโยบายนี้จะสร้างปัญหาเงินเฟ้อและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่ ปัญหาเงินเฟ้อก็เป็นปัญหาสำหรับจีน แต่จีนถือว่าซื้อเวลาเพื่อใช้ภาคส่งออกถ่ายเทแรงงานออกจากภาคเกษตร ที่สำคัญจีนต่อรองให้บรรษัทข้ามชาติขึ้นค่าแรงได้ ดังนั้นผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อต่อคุณภาพชีวิตของคนรายได้ต่ำในจีนน้อยกว่าในไทย นอกจากนี้จีนมีอำนาจในตลาดสินค้าโลกจึงกำหนดราคาสินค้าส่งออกให้ชดเชยอัตราเงินเฟ้อได้ ส่วนญี่ปุ่นไม่มีปัญหาเงินเฟ้อและมีปัญหาประชากรลดลงซึ่งเป็นปัจจัยหนุนภาวะเงินฝืด ดังนั้นญี่ปุ่นจึงแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศโดยไม่ต้องกังวลปัญหาเงินเฟ้อ ส่วนสิงคโปร์มีความเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่ต่ำกว่าไทยเพราะตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์มีขนาดเล็กมาก 2. การสนับสนุนให้ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าทำสัญญาค้าขายระหว่างประเทศและชำระเงินด้วยเงินสกุลของตนแทนเงินดอลลาร์ นโยบายนี้ใช้ในสหภาพยุโรปและจีน นโยบายของจีนได้รับการตอบรับที่ดีจากธนาคารต่างชาติรวมทั้งธนาคารอเมริกัน วิธีบริหารความเสี่ยงแบบนี้ราคาถูกกว่าทำสัญญาซื้อขายเงินตราล่วงหน้าและเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาเงินเป็นเงินนานาชาติเพื่อแข่งขันกับเงินดอลลาร์ในอนาคต ไทยมีอำนาจต่อรองในตลาดสินค้าและตลาดเงินตราต่างประเทศน้อยกว่าสหภาพยุโรปและจีน ไทยจึงไม่สามารถสนับสนุนให้ผู้ส่งออกทำสัญญาซื้อขายสินค้าด้วยเงินบาทได้ จึงสนับสนุนให้ผู้ส่งออกทำสัญญาซื้อขายเงินบาทล่วงหน้าแทน การบริหารความเสี่ยงด้วยวิธีนี้มีข้อจำกัดตรงที่ว่าเงินบาทไม่ใช่เงินสกุลหลักที่มีปริมาณการซื้อขายล่วงหน้ามากแบบเงินเยน ในภาวะความเสี่ยงสูงมักหาคู่ค้าธุรกรรม (Counterparty) ยากและทำให้ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมสูงขึ้น 3. การลดดอกเบี้ยตามธนาคารกลางสหรัฐฯเพื่อลดส่วนต่างดอกเบี้ย เช่น นโยบายของธนาคารกลางที่ญี่ปุ่น สวิสเซอร์แลนด์ อังกฤษ สิงคโปร์ ฯลฯ นโยบายนี้เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่ เพราะทำให้ทุนในประเทศไหลเข้าตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และตลาดอสังหาฯแทนทุนต่างชาติ ประเทศที่ตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ซบเซาสามารถใช้นโยบายนี้ได้ โปรดสังเกตุว่าการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯในเดือน ตค. 2551 เป็นการประสานนโยบายลดดอกเบี้ยพร้อมธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางอังกฤษ สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ และแคนาดา ความร่วมมือดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามเงินตราระหว่างประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก 4. นโยบายควบคุมการไหลเวียนของทุนต่างชาติ มีทั้งที่ใช้กฏเกณฑ์จำกัดธุรกรรมแบบจีนหรืออินเดีย และการเก็บภาษีจากเงินทุนต่างชาติแบบบราซิล ในปีนี้บราซิลได้ประกาศขึ้นอัตราภาษีที่เก็บจากทุนต่างชาติถึง 2 ครั้ง ภาษีดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับทุนต่างชาติทั้งในตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้น มีผลบังคับครอบคลุมถึงกองทุนรวม กองทุนบำนาญและเฮดจ์ฟันด์จากต่างประเทศ การส่งเสริมให้ทุนไหลออกนอกประเทศไม่ใช่มาตรการโดยตรงที่ทำให้เงินอ่อนค่าลง จีนคือตัวอย่างที่ชัดเจน แม้จีนอนุญาตให้คนจีนไปลงทุนในต่างประเทศได้บ้างและให้สถาบันการเงินต่างชาติเริ่มซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลจีน นโยบายนี้เป็นยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาเงินหยวนให้เป็นเงินนานาชาติเพื่อแข่งขันกับเงินดอลลาร์ในอนาคต และใช้พร้อมกับการทำสัญญาค้าขายระหว่างประเทศด้วยเงินหยวน ปัจจุบันกระทรวงการคลังของไทยได้เสนอให้จัดเก็บภาษีจากดอกเบี้ยจากการลงทุนในตราสารหนี้ของทุนต่างชาติด้วยอัตรา 15% แต่ยังไม่ปรากฏชัดเจนว่ารัฐสภาจะอนุมัติเมื่อไรและจะมีผลบังคับใช้เมื่อไร จึงกล่าวได้ว่าไทยยังไม่มีมาตรการควบคุมการไหลเวียนของทุนต่างชาติ ทางเลือกของไทย ทางเลือกอื่นคือการควบคุมการไหลเข้าของทุนต่างชาติควบคู่ไปกับการลดดอกเบี้ยเพียงเล็กน้อยหรือคงดอกเบี้ยไว้ การควบคุมทุนต่างชาติมี 2 วิธี หนึ่งคือกระทรวงการคลังเก็บภาษีจากทุนต่างชาติเหมือนนโยบายในบราซิล สองคือวิธีที่ชิลีใช้ในอดีต กล่าวคือ ธนาคารกลางกำหนดว่ากี่เปอร์เซ็นต์ของทุนต่างชาติที่ไหลเข้าตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้นต้องกลายเป็นทุนสำรองในบัญชีที่ไม่ได้ดอกเบี้ยนานเท่าไร ที่สำคัญคือต้องประกาศกฏเกณฑ์ให้นักลงทุนรู้ล่วงหน้าว่าจะมีผลบังคับใช้เมื่อไร ไม่ใช่ทำโดยไม่ประกาศล่วงหน้าแบบที่ไทยลองเมื่อ 3 ปีที่แล้ว การประกาศล่วงหน้าจะป้องกันภาวะตื่นตระหนกในตลาดทุน แม้ว่าในระยะยาวทุกประเทศมีเป้าหมายลดการพึ่งพาตลาดต่างประเทศ โครงสร้างเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังห่างไกลจากจุดนั้นเป็นทศวรรษ ในด้านการผลิตไทยยังไม่ใช่เจ้าของเทคโนโลยีที่ผลิตสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการบริโภค อาทิ การรักษาพยาบาล อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องจักรกล ยานพาหนะ ฯลฯ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นตัวอย่างชัดเจนของประเทศที่ปรับค่าเงินหลังพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว การพัฒนาคุณภาพสินค้าส่งออกขึ้นอยู่กับทั้งภาคส่งออกและภาคธุรกิจอื่น เพราะคุณภาพวัตถุดิบและบริการที่เป็นปัจจัยการผลิตมีอิทธิพลกับคุณภาพสินค้าส่งออกเท่ากับเทคโนโลยีของผู้ส่งออก ดังนั้นคุณภาพแรงงานในภาคธุรกิจอื่นมีผลกระทบต่อคุณภาพสินค้าส่งออกด้วย เป็นไปไม่ได้ที่ภาคส่งออกจะพัฒนาคุณภาพสินค้าได้ฉับไวในเวลาไม่กี่ปี ในด้านการบริโภค กำลังซื้อในไทยยังไม่สูงพอที่จะยกระดับรายได้และฐานภาษีเพื่อสร้างสวัสดิการสังคม สวัสดิการสังคมในที่นี้คือการประกันความเสี่ยงขั้นพื้นฐานที่แม้แต่ประเทศทุนนิยมสุดขั้วอย่างสหรัฐฯยังมี เช่น ประกันการตกงาน (Unemployment insurance) ดังนั้นการส่งออกจะมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาไทยไปอีกหลายทศวรรษ การแทรกแซงตลาดทุนเพื่อแก้ปัญหาบาทแข็งจึงเป็นนโยบายที่สำคัญมากต่ออนาคตของไทย แม้ว่าสถาบันการเงินต่างชาติจะไม่ชื่นชอบนโยบายควบคุมทุนต่างชาติ ถ้าเศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพสถาบันการเงินต่างชาติจะปรับตัวได้เอง เพราะการลงทุนในตลาดทุนมีรายจ่ายตายตัว (Fixed cost) ที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับมูลค่าการผลิต ไทยไม่จำเป็นต้องหวาดกลัวว่าทุนต่างชาติจะไม่ไหลกลับมา แม้แต่อาร์เจนตินาที่เคยชักดาบไม่จ่ายดอกเบี้ยตอนเศรษฐกิจตกต่ำก็ไม่มีปัญหาว่าเงินทุนนอกไม่ไหลกลับ เมื่อเศรษฐกิจในประเทศดีหรือเมื่อเศรษฐกิจต่างประเทศซบเซาทุนต่างชาติจะไหลกลับมาเอง แม้ IMF จะคัดค้านการควบคุมทุนต่างชาติ นั่นไม่ได้หมายความว่าไทยจะเสียสิทธิการเป็นสมาชิกของ IMF ไทยไม่จำเป็นต้องตามนโยบายของ IMF ตราบใดที่ไม่กู้เงินจาก IMF นอกจากนี้สมดุลอำนาจใน IMF ได้มาถึงยุคเปลี่ยนผ่านแล้ว อีกไม่นานประเทศในเอเชียตะวันออกและตะวันออกกลางจะมีอำนาจใน IMF สูสีกับสหรัฐฯและสหภาพยุโรปโดยการนำของจีน เกาหลีใต้ และซาอุดิอาระเบีย ส่วนประเทศในละตินอเมริกามีบราซิลเป็นหัวหอกต่อรองเพื่อเปลี่ยนแปลงสมดุลอำนาจใน IMF ปรากฎการณ์ที่ทุนต่างชาติไหลทะลักเข้าตลาดทุนไทยเพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและดอกเบี้ยต่ำที่สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น เหมือนการไหลทะลักของทุนต่างชาติเข้าตลาดทุนไทยก่อนวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ถ้าทุนต่างชาติยังไหลเข้ามาดันราคาทรัพย์สินในตลาดทุนและตลาดอสังหาฯอย่างเสรีต่อไป เมื่อเศรษฐกิจประเทศอื่น(ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นสหรัฐฯ ยุโรปหรือญี่ปุ่น)ดีขึ้น หรือเมื่อต่างประเทศปรับดอกเบี้ยขึ้น หรือเมื่อความเสี่ยงด้านการเมืองไทยเพิ่มขึ้น เงินทุนต่างชาติจะไหลออกแล้วตลาดทุนและตลาดอสังหาฯจะซบเซาเหมือนวิกฤตต้มยำกุ้ง และนั่นจะยิ่งซ้ำเติมความเสียหายจากภาคส่งออกจนอาจก่อปัญหาหนี้เสียในสถาบันการเงินได้ นโยบายควบคุมทุนแบบชิลิน่าจะป้องกันการไหลออกของทุนอย่างกะทันหันและสร้างเสถียรภาพได้มากกว่าการเก็บภาษีจากทุนต่างชาติแบบบราซิล การไหลออกของทุนต่างชาติอย่างกะทันหันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินครั้งใหญ่เหมือนหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง กล่าวคือ ทุนต่างชาติจะย้อนกลับมาซื้อทรัพย์สินไทยด้วยราคาถูกในภายหลังแต่คราวนี้จะมีกลุ่มทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศกลับมาซื้อทรัพย์สินด้วย การเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินหลังวิกฤตการเงินมักทำให้ปัญหาทุนผูกขาดย่ำแย่ลง วิกฤตการเงินทำให้มีการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์จากกลุ่มทุนผูกขาดบางกลุ่มกลุ่มไปยังกลุ่มทุนผูกขาดกลุ่มอื่น แต่กลุ่มทุนผูกขาดอีกหลายกลุ่มก็สามารถขยายตัวหลังวิกฤตการเงินได้ ดังที่ไทยได้เรียนรู้มาแล้วจากวิกฤตต้มยำกุ้ง
ตีพิมพ์ครั้งแรกใน มติชนออนไลน์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
3 องค์กรแรงงานไทย รับบริจาคเงินช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม Posted: 21 Oct 2010 09:48 AM PDT จากกรณีที่เกิดภัยพิบัติน้ำท่วมในหลายจังหวัดทั่วประเทศ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) , สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย (มพร.) ร่วมจัดโครงการ “แรงงานร่วมใจ สู้ภัยน้ำท่วม” ขึ้น เพื่อเปิดรับบริจาคเงิน (ไม่รับสิ่งของ) จากองค์กรแรงงานต่างๆ และรวบรวมนำส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยยังได้ออกหนังสือขอรับบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งมีเนื้อหาระบุว่าองค์กรแรงงานมีบทบาทสำคัญต่อการช่วยเหลือสังคม เช่น กรณีรวบรวมเงินช่วยเหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2547 และเมื่อเกิดภัยธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้คนในสังคมจำนวนมาก องค์กรแรงงานต่าง ๆ ควรได้ร่วมแรงร่วมใจอย่างแข็งขันเพื่อช่วยเหลือเยียวยาบรรเทาทุกข์ โดยสามารถบริจาคเงินได้ที่บัญชีชื่อ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย บัญชีสะสมทรัพย์ เลขที่ 101-7-97864-2 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญ่ถนนสีลม หรือสามารถบริจาคเงินด้วยตนเองได้ในวันที่ 28 ต.ค. 2553 ซึ่งจะมีงานสัมมนาเรื่องประกันสังคม ที่โรงแรมบางกอกพาเลส
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เวทีคู่ขนานปฏิรูปประเทศไทย : เสียงที่ไม่ได้พูดในการปฏิรูปประเทศไทย Posted: 21 Oct 2010 08:31 AM PDT การอภิปรายหัวข้อ “เสียงที่ไม่ได้พูดในการปฏิรูปประเทศไทย” ในช่วงสุดท้ายของงานเวทีคู่ขนานปฏิรูปประเทศไทย “เสียงที่ไม่ได้พูด สิ่งที่พูดไม่ได้” ในการปฏิรูปประเทศไทย จัดโดยภาคสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มจับตาขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมไทย (Thai Social Movement watch) มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สำนักข่าวประชาธรรม และประชาไท ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมา การอภิปราย นำเสนอข้อเรียกร้องหรือความต้องการของกลุ่มต่างๆ ที่รัฐบาล และคณะกรรมการปฏิรูปไม่ค่อยรับฟัง ไม่ค่อยได้ยิน และไม่ค่อยให้พูด โดยมีนายจอม เพชรประดับ ผู้ที่เคยถูกปลดออกจากสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเพราะไม่ยอมเชิญแขกตามใบสั่ง และลาออกจากผู้ดำเนินรายการวิทยุ อสมท.เพราะเปิดพื้นที่ให้อดีตนายกทักษิณ ชินวัตร พูดในรายการ สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ โดยอ้างเพื่อให้ข่าวสมดุล ปัจจุบันเป็นพิธีกรรายการสนทนาเชิงลึก “Intelligence” สถานีโทรทัศน์ Voice TV ทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการ ร่วมพูดคุยโดย นายสมศักดิ์ คุ้ยเขี่ย กลุ่มแนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือ (นกน.) นายอนุชา มีทรัพย์ กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตยภาคเหนือ คำ ผกา นักเขียน นางสุดารัตน์ พรหมแก้ว คณะกรรมการวิทยุฝาง-แม่อาย-ไชยปราการ นายสว่าง วงศ์วิลาศ ตัวแทนกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยภาคเหนือ และตัวแทนเครือข่ายนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยภาคเหนือ จอมเริ่มดำเนินรายการด้วยการตั้งคำถามว่า เราอยู่ในสังคมไทยที่ปกติอยู่หรือเปล่า มันมีความอึดอัด และอัดอั้นพอสมควร ภาพความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ภาคใต้ สงครามหรือไม่สงคราม มันกำลังเดินไปคล้ายๆ กัน เกิดอุดมการณ์แยกดินแดน นำไปสู่การลอบสังหาร และการวางระเบิด อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เกิดขึ้นนำไปสู่ความสูญเสีย กลายเป็นบาดแผล เหตุการณ์ที่กรุงเทพฯ ก็เช่นกัน การเมืองเป็นปัญหา เกิดอุดมการณ์การเมืองอันหนึ่งที่คิดว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่ได้รับการปกป้องดูแลในฐานะที่เป็นคนไทย ด้วยกัน สิ่งที่น่ากลัว คือถ้าเป็นขบวนการน่ากลัวไปอีกแบบ แต่ถ้าเป็นคนธรรมดาที่เต็มไปด้วยความแค้นลุกขึ้นมาทำอะไร จะเป็นอย่างไร ถ้ามองเรื่องการปฏิรูปประเทศ คณะกรรมการปฏิรูปของอาจารย์ประเวศ กับนายอานันท์ นั้นก็เป็นอย่างที่หลายคนตั้งข้อสังเกตคือ มันจะครอบคลุมคนทุกกลุ่มหรือไม่ จะทำอะไรได้หรือไม่ ครอบคลุมทุกปัญหาหรือไม่ จึงทำให้เห็นว่ามีคำถามว่าทิศทางการปรองดองจะไปอย่างไร ขอโทษ/รับผิด/ยุติธรรม ปรองดองปฏิรูปจึงเกิด จอม : เริ่มจากคุณสุดารัตน์อยากให้พูดถึงประเด็นที่ คณะกรรมการปฏิรูปไม่ได้พูดหรือไม่ได้ยินในการปฏิรูปประเทศออกมาว่ามีความเห็นอย่างไร สุดารัตน์ : ตนเป็นครู และดีเจวิทยุชุมชน ฝาง แม่อาย ไชยปราการ เสียงที่พูดไม่ได้ คือ สิ่งที่พูดไม่ได้ เราพยายามเป็นสะพานเชื่อมและเป็นที่ระบายให้กับเสียงที่พูดไม่ได้ วิทยุทีทำกระจายเสียง 8 อำเภอ 2 จังหวัด ทั้งเชียงรายและเชียงใหม่ เสียงที่โทรเข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นเสียงที่เข้าต้องการพูดแต่ดีเจพูดไม่ได้ มันอัดแน่นสำหรับคนที่เป็นดีเจ เราไปอยู่ที่ผ่านฟ้า ราชประสงค์ตลอด สิ่งที่ชาวบ้านคุยตลอด ก็พูดออกอากาศไม่ได้ เราโฟนอินจากราชประสงค์ไปออกอากาศที่วิทยุฝาง แม่อาย ไชยปราการ เราถูกทหารจับไปที่ค่ายกาวิละ แล้วนำสิ่งที่เราพูดอัดเสียงมาให้เราฟัง แต่เราถามว่าสิ่งที่เราพูดผิดกฎหมายข้อไหน ปรากฏว่าไม่ผิดเขาก็ปล่อยเรา เสียงกระจายไปแล้ว เอาให้มวลชนเรารับฟัง เขาจะคิดกันเอง อย่าดูถูกชาวบ้าน เขารักประชาธิปไตยและมีความต้องการมากๆ ในการแสดงความเห็น จอม : ชาวบ้านมีความเห็นอย่างไรในการปฏิรูป สุดารัตน์ : ในฝางมีข้าราชครู ข้าราชการบำนาญและคนหลายกลุ่ม ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ชาติจะขาดสถาบันใดสถาบันหนึ่งไม่ได้ แต่ทุกสถาบันต้องอยู่ในรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญที่ชาวบ้านต้องการคือ รัฐธรรมนูญ 40 จอม : แล้วมีสิ่งไหนบ้างที่ชาวบ้านเห็นว่ายังไม่ได้ถูกพูดถึงในการปฏิรูปประเทศไทย สุดารัตน์ : เขาต้องการสิทธิของเขา ที่เขาใช้ได้กลับคืนมา เขาต้องการรัฐธรรมนูญ 40 คืนมา เขาบ่นว่าไปราชประสงค์เพื่อทวงสิ่งเหล่านี้ เราไม่ได้อะไรกลับมา มีแต่หีบศพ กลับมาบ้านบางคนไม่ดูวิทยุ ดูทีวี เข้าป่า เพราะผิดหวังมาก ความเคียดแค้นไม่รู้จะระบายกลับใครได้ รัฐบาลกับเขาจะไม่เจอกันแล้วชาตินี้ สิ่งเหล่านี้ไม่ถูกสะท้อนในการปฏิรูป จอม : การช่วยเหลือเยียวยาที่รัฐพยายามหยิบยื่นมาให้ ช่วยบรรเทาเบาบางความแค้นได้มากไหม สุดารัตน์ : ไม่เลยค่ะ รัฐส่งทหารเข้าไปในพื้นที่ของเรา ไปสอบสวน เข้าไปสอบถามแกนนำของเรา ว่าไปชุมนุมเพื่ออะไร ไปเพื่อเงินใช่ไหม และใครนำไป แล้วจะไปอีกไหม แล้วเอาเงินมาให้แต่ละคน คนละ 1,000 บาท แล้วบอกว่าถ้าใครชักจูงไปอย่าไป นี่เป็นการช่วยเหลือของรัฐและไปในรูปแบบของทหาร รัฐจัดสรรให้เรา มันชอกช้ำและเจ็บปวดมาก จอม : ความเจ็บปวดของคนเสื้อแดงตอนนี้ เป็นไปได้ไหม จะกลายเป็นความแค้นที่นำไปสู่การล้างแค้น สุดารัตน์ : เชียงใหม่เป็นเมืองบุญ การล้างแค้นไม่มี เรากลับบ้านของตัวเอง ทำให้บ้านเราแข็งแรง ให้ดีที่สุด แต่ละคนไม่คิดเข้าไปเมืองหลวง จะพัฒนาบ้านชุมชนของตนเองเพื่อยืนด้วยขาตัวเอง ชาวบ้านเชื่อว่ากรรมใดที่ทำจะคืนสนอง จอม : แต่เราไม่สามารถปฏิเสธรัฐบาลส่วนกลางได้ แล้วเราจะอยู่ร่วมกันอย่างไร สุดารัตน์ : เวลาจะเป็นเครื่องตัดสินใจ เพราะตอนนี้คนเสื้อแดงเจ็บปวดมาก ใครเป็นผู้สั่งฆ่า ก็เป็นผู้รับกรรม เพราะเราเป็นเพียงชาวบ้าน ไม่มีกำลังอาวุธที่จะต่อสู้กับรัฐได้ จอม : เรามองอย่างไรเกี่ยวกับการซ่องสุมอาวุธ สุดารัตน์ : รัฐบาลพยายามผูกเรื่องนี้ขึ้นมา เอาแพะชนแกะและโยนให้เสื้อแดง จอม : เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไร ให้ความแค้น ความไม่พอใจมันผ่อนคลายอย่างไร ใครต้องทำ และต้องทำอย่างไร สุดารัตน์ : รัฐบาลอภิสิทธิต้องขอโทษประชาชน จึงจะมีคำว่า ปรองดอง ตามมา ใครผิดก็ว่าไปตามนั้น ไม่ว่าจะเป็นเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดงฮาร์ดคอร์ มันจึงจะเกิดสันติสุข การเมืองเร่งด่วนกว่าปากท้อง จอม : มาที่ตัวแทน กลุ่มแนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือบ้าง มีความเห็นอย่างไรและอยากเพิ่มเติมอะไรบ้าง สมศักดิ์ : เรามาคุยกันหลายครั้ง ความจริงมักจะถูกพูดครึ่งเดียว ความจริงแล้วบางอย่างมากคุยไม่ได้ ในส่วนของกลุ่ม นกน. รัฐบาลต้องหยุดปฏิรูปประเทศไทยบนกองศพ แล้วต้องมาดูเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย ต้องมองย้อนไปถึงต้นตอปัญหา ซึ่งคิดว่าอยู่ที่รัฐประการ 19 ก.ย.ทหารทำอะไรไว้หลายอย่าง ทำให้เรื่องมันซับซ้อนซ่อนเงื่อน มันสะท้อนให้เห็นว่าการปฏิรูปคงจะไม่สามารถที่จะทำได้ สิ่งที่เราเห็นคือหลังการรัฐประหาร มีการร่างรัฐธรรมนูญ 50 แทน 40 และยังไปยึดอำนาจรัฐบาลที่ชาวบ้านเลือกขึ้นมา ชาวบ้านไม่พอใจ อยากเปลี่ยนรัฐบาลและเลือกตั้งกันใหม่ นี่เป็นสิ่งที่ชาวบ้านไปชุมนุมเรียกร้องยังไม่ได้ แล้วจะมาปฏิรูป มันเป็นไปไม่ได้ เมื่อดูที่มาที่ไปของคณะกรรมการปฏิรูป ใครก็ไม่กล้าออกมาคัดค้าน นักวิชาการหลายคนกลัวว่าจะกระทบตัวเอง และก็เป็นปัญหามาก จอม : ครือข่ายหมอประเวศก็มีเครือข่ายเยอะ ถ้าเริ่มจากตรงนั้น จะได้หรือไม่ สมศักดิ์ : กลุ่มเราเคยเคลื่อนไหวมานานแล้วเรื่อง ดิน น้ำป่า หนี้สิน พี่น้องชนเผ่า เหล้าพื้นบ้าน มีหน่วยงานที่เข้ามาร่วมอย่างเอ็นจีโอ แต่สิ่งเหล่านี้จะถูกผูกไว้กับแหล่งทุน คนที่เข้าไปร่วมก็เป็นลักษณะระบบอุปถัมภ์ จอม : ถ้าลืมราชประสงค์ และคกก.ปฏิรูปเริ่มด้วยการแก้ปัญหาปากท้องได้หรือไม่ สมศักดิ์ : ตรงนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะหลายเขตทหารเข้าไป กอ.รมน.เข้าไปติดต่อกับผู้นำท้องถิ่น เอาเงินกองทุนไปแจก เป็นการเอาใจชาวบ้าน มันยังเป็นไปไม่ได้ ตอนนี้เรื่องปากท้องเป็นเรื่องหนึ่ง แต่ปัญหาใหญ่คือปัญหาทางการเมืองที่กำหนดวิถีเรา จอม : ปัญหาปากท้องกับการเมือง อะไรเร่งด่วนกว่ากัน สมศักดิ์: มองว่าการปฏิรูป ปรองดอง เป็นการเบี่ยงเบนประเด็น ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าใครสั่งฆ่าประชาชน ใครต้องรับผิดชอบใครอยู่เบื้องหลัง เรื่องศพของคนเสื้อแดงต้องมีการจัดการก่อน ถึงจะทำอะไรได้ จอม : คณะกรรมการชุด คนิต จะคลี่คลายความขัดแย้งหรือลดความแค้นของคนเสื้อแดงลงได้หรือไม่ สมศักดิ์ : การตั้งคณะกรรมการยังเป็นปัญหาอยู่ ทุกส่วนยังสงสัยว่าคกก.ชุดนี้มีความเป็นธรรมเป็นกลางมากน้อยแค่ไหน ก็เหมือนทหารอเมริกาเข้าไปทำลายอิรัก แล้วเอาคณะกรรมการยูเอ็นมาแล้วบอกว่าจะจัดการให้ มันฟังไม่ขึ้น จอม : การทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้ ต้องทำอย่างไร สมศักดิ : ต้องปล่อยนักโทษการเมืองอออกมาก่อน ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และปิดกั้นสื่อ หยุดการสร้างภาพ เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กระจายความเป็นคนให้เท่ากัน จอม : ตอนนี้ทำไมจึงคิดว่าไม่ได้รับความเป็นคนเท่ากับคนอื่น สมศักดิ์ : กรณีสองมาตรฐานเห็นชัด อย่างกรณีเขาสอยดาว จนพี่น้องเครือข่ายที่อยู่บนดอยรู้สึกว่าตนเองไม่อยากได้บัตรประชาชนแล้ว อยากได้ใบที่เป็นสัตว์อนุรักษ์ดีกว่า เพราะรัฐคงดูแลได้ดีกว่า นอกจากนี้เราอยากให้มีการปฏิรูปกองทัพ คือไม่ให้มีการแทรกแซงการเมือง เพราะประเทศเรามีรัฐประหารมาตลอด ข้อเสนอต่อการปฏิรูปประเทศของกลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย จอม : เราลองมาฟังเสียงผู้ใช้แรงงานดูบ้าง ว่ามีสิ่งไหนบ้างที่ยังไม่ถูกพูดถึงในการปฏิรูปประเทศไทย อนุชา : ข้อเสนอในการปฏิรูปประเทศไทยของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน คือ ผู้นำต้องมาจากการเลือกตั้ง ต้องมีหนึ่งสิทธิ หนึ่งสียง ควรเพิ่มการเลือกตั้งในเขตพื้นที่แรงงาน เพราะว่า เวลาที่มีปัญหาในพื้นที่ เช่น ปัญหาโดนข่มขืน ปัญหาการทำงาน ก็ไม่มีการคุ้มครองจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอย่าง อบต.รวมถึงไม่สามารถเสนอความเห็นใดๆได้ ดังนั้นถ้ามีการเลือกตั้งในพื้นที่แรงงานของตนเองได้ จะแก้ปัญหาได้ กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่เปิดโอกาสให้เราตั้งสหภาพ แต่เราไม่มีสหภาพ ด้วยเงื่อนไขที่ว่า ใครที่เคลื่อนไหวก็ถูกเลิกจ้าง การแก้ไขกม.แรงงานคกกปฏิรูปไม่เคยพูดถึง ซึ่งมันมีปัญหาเพราะพบว่าแรงานที่มีอำนาจ ก็จะเก็บตัวไว้ไม่ให้คนอื่นมาเทียบ ทำให้ปัญหาบางปัญหาของแรงงานไม่ถูกพูดถึงเพราะผู้นำแรงงานที่มีอำนาจกลัวอำนาจสั่นคลอน แรงงานส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือเสนอประเด็นปัญหา เพราะถ้าหยุดงานก็จะมีปัญหากับค่าจ้าง เช่น ถ้าลาเกิน 3 วันใน 6 เดือนก็จะไม่ได้ทำโอที 3 เดือน ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่ต้องพึ่งโอที ฉะนั้นห้ามป่วย ห้ามตาย เพราะจะลำบากมาก เป็นต้น การปรองดองนั้นทำไม่ได้ เพราะเรายังได้ความจริง ใครถูก ใครผิด ในการตาย 91 ศพและบาดเจ็บเกือบ 2,000 อีกเรื่องคือเรื่องศาล ในความคิดของผมคือ การพิพากษาของศาลเอาผู้พิพากษาเป็นใหญ่จะไม่ฟังใครก็ได้ เช่นกรณีศาลแรงงานมีตัวแทนของรัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง ตัวแทนลูกจ้างไม่ได้กำหนดคุณสมบัติชัดเจน ที่เข้าไปอยู่ตรงนั้น ส่วนใหญ่เป็นพวกเป็นระดับใหญ่ ซึ่งผมคิดว่าศาลนี้ยังไม่ยุติธรรมพอ เพราะพอเป็นคดี ผมก็โดนตลอด คือถูกเลิกจ้างด้วยข้อหาเดิมๆ อีกข้อหนึ่ง คือ การปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างของชุมชน โดยให้คนงานเลือกตั้งในพื้นที่ทำงานของตนเอง ถ้าทำได้ คนงานจะช่วยชุมชนได้เยอะเลย คำถามของ นศ.ต่อการปฏิรูป จอม : มาฟังจากตัวแทนเครือข่ายนักศึกษาบ้างว่า คิดเห็นอย่างไร มีอะไรบ้างที่ต้องเพิ่มเติมเข้าไป ตัวแทน นศ.: สิ่งที่ นศ.พูด พบว่ามีอยู่ 2 ประเด็น อยากพูดแต่ไม่มีเวที และพวกที่ไม่มีอะไรจะพูด ไม่สนใจอะไรเลย เป็นเพราะอะไร สังคมไทยแตกต่างจากชาติอื่น ให้ความสำคัญกับชาติตัวเอง ว่ามีความเป็นไทย อยากให้นิยามความเป็นไทยว่าคืออะไร ถ้าไม่เป็นไทยจะแตกต่างออกไปจากนี้อย่างไร อนุรักษ์นิยมหรือคือความเป็นไทย แค่นั้นหรือ การปฏิรูปนั้น คือ การเปลี่ยนแปลงเพื่อเดินไปข้างหน้า แต่ถามว่าคุณจะเดินไปข้างหน้า หรืออยู่กับที่ เป็นการปฏิรูปแบบอนุรักษ์นิยมที่คนบ้างกลุ่มเข้าใจหรือไม่อย่างไร ในส่วนของกองทัพนั้น ควรจะมีการปฏิรูป เพราะยังเป็นอนุรักษ์นิยม กองทัพไม่เคยให้ความสนใจเจ้าของกองทัพที่แท้จริง จุดยืนคือ ต้องเป็นของประชาชน พิทักษ์ประชาชน กองทัพคุมซึ่งความมั่นคงของใครไม่รู้ ใครจะตอบให้ผมได้บ้าง กองทัพอ้างความมั่นคงของชาติ ทำให้ต้องคิดต่อว่า ชาติคืออะไร สังคมนี้เป็นสังคมสมมติ ว่าต้องทำแบบโน้น แบบนี้ มันเป็นการมองปัญหาจากชนชั้นข้างบนปกครองคนข้างล่าง การปฏิรูปต้องมองปัญหาในระนาบเดียวกัน จะเห็นปัญหาที่กว้างและชัดกว่า ไม่ใช่จากคนที่อยู่สูงซึ่งมองเห็นคนด้านล่างไม่ชัด ตนต้องการปฏิรูปไปข้างหน้าไม่ใช่การย้อนกกลับ หรือปฏิรูปเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันกลุ่มคนใดคนหนึ่งเท่านั้น สุดท้ายหลักการของการปฏิรูปในมุมมองของนักศึกษาอย่างตนมีสองส่วนคือ ประชาชนกับรัฐ คำถามคือควรจะให้ประโยชน์กับใคร ประชาชนเสียภาษีให้รัฐ เป็นเจ้าของรัฐ ควรจะมีสิทธิกำหนดรัฐไม่ใช่ให้รัฐมากำหนดประชาชน ปฏิรูปตัวเองก่อนปฏิรูปประเทศ จอม : เสียงของนักศึกษาจะดังไปถึง คณะกรรมการปฏิรูปหรือไม่ก็ต้องตามดู ขอมาที่ตัวแทนกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตย ภาคเหนือ สว่าง : ภูมิหลังตนเป็นลูกชาวนา ติดตามการบ้านการเมืองมาตลอด มีคำถามว่าทำไมชีวิตต้องวนเวียนกับการต่อสู้ประชาธิปไตย หลัง 6 ต.ค.ยังต้องต่อสู้ และประชาชนถูกฆ่า พูดถึงการปฏิรูปมีกระแสมานาน ใครที่อยากได้อำนาจก็จะปฏิรูป เมื่อมีความขัดแย้งก็จะปฏิรูป คณะกรรมการปฏิรูปมีความรู้ความสามารถ แต่จะปฏิรูปต้องดูเนื้อหาสาระ แต่ละกลุ่ม แต่ละองค์กรต้องปฏิรูปตัวเองก่อน แม้แต่คณะกรรมการฯอย่างท่านอานันท์และหมอประเวศ ก็ต้องปฏิรูปความคิดด้วย รัฐประหารแต่ละครั้งไม่เคยต่อต้านเลย แต่ละคนถ้าเกิดเหตุการณ์บ้านเมือง รัฐบาลที่มาจากประชาชน ถูกโค่นล้มไปควรทำหน้าที่พยุงขึ้นมา การปฏิรูปต้องปฏิรูปศาลให้มีความเป็นธรรม ปฏิรูปกฎหมายให้มีหลักนิติรัฐ นิติธรรมสังคมจึงจะเกิดการปรองดองได้ ปฏิรูปทหาร ทหารต้องมีแนวคิดรับใช้ประชาชน ยอมรับความคิดเห็นของคนแต่ละกลุ่ม ต้องรับฟังเสียงคนส่วนใหญ่จึงจะเป็นทหารประชาธิปไตย การปรองดองโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์นั้นถือว่าหมดความชอบธรรม เพราะเป็นคู่ขัดแย้ง การร่วมมือกันนั้นต้องดูเนื้อหา ไม่ใช่การสร้างภาพ กฎหมายต้องมีมาตรฐานเดียว ไม่ใช่สองมาตรฐาน แดงทำ เหลืองทำก็ต้องผิดเหมือนกัน เมื่อจะแก้ไขปัญหา คือให้รัฐบาลคืนอำนาจให้ประชาชน เพื่อยังมติของเสียงส่วนใหญ่ เป็นแนวทางแก้ไข ชาวบ้านรู้ปัญหา แม้สถานการณ์ราชประสงค์จะจบลงอย่างไร ประชาชนอาจจะท้อแท้ แต่ผมคิดว่าทางเนื้อหา ประชาชนไม่แพ้ ก้าวไปสู่ขั้นหนึ่งรู้ไปถึงต้นตอของโครงสร้างจริงๆ แนวทางแก้ไขคือ ทุกคนต้องพูดความจริง ใช้เสียงของประชาชนไปล้อมรัฐโดยไม่ใช้ความรุนแรง ผมเคยเข้าป่าจับปืนมาแล้วตอนนั้นมีการจัดตั้งที่ดีมาก แต่ก็สูญเสียมากและไม่ได้ผล ซึ่งย่อมสะท้อนว่าความรุนแรงใช้ไม่ได้ผล การต่อสู้ครั้งนี้ เห็นมวลชนเยอะ ผมอยากให้กระแสพวกเราล้อมรัฐ อย่าเอาตัวรอดเหมือนในอดีต และขอฝากถึงรัฐบาลจงใช้งบประมาณที่มาจากภาษีประชาชนในการแก้ไขปัญหา แต่รัฐบาลไทยใช้ภาษีประชาชนไปเข่นฆ่าประชาชน --- จากนั้นเป็นการอภิปรายของคำผกาซึ่งอ่านได้ ที่ เวทีคู่ขนานปฏิรูปประเทศไทย: คำ ผกา วิพากษ์ คกก.ปฏิรูป --- สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เวทีคู่ขนานปฏิรูปประเทศไทย : เสียงที่ไม่ได้พูด สิ่งที่พูดไม่ได้ Posted: 21 Oct 2010 07:46 AM PDT ช่วงสุดท้ายของงานเวทีคู่ขนานปฏิรูปประเทศไทย "เสียงที่พูดไม่ได้ สิ่งที่พูดไม่ได้" ในการปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งจัดโดยภาคสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มจับตาขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมไทย (Thai Social Movement watch) มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สำนักข่าวประชาธรรมและประชาไท ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมา เป็นการอภิปรายหัวข้อ "เสียงที่ไม่ได้พูดในการปฏิรูปประเทศไทย" โดย นายสมศักดิ์ คุ้ยเขี่ย กลุ่มแนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือ นายอนุชา มีทรัพย์ กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตยภาคเหนือ คำ ผกา นักเขียน นางสุดารัตน์ พรหมแก้ว คณะกรรมการวิทยุฝาง-แม่อาย-ไชยปราการ สว่าง วงศ์ วิลาศ ตัวแทนกลุ่มแนวร่วมปชต.ภาคเหนือ และตัวแทนเครือข่ายนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยภาคเหนือ ซึ่งคุณจอม เพชรประดับ เป็นผู้ดำเนินรายการ การอภิปรายในช่วงนี้ จะนำเสนอข้อเรียกร้องหรือความต้องการของกลุ่มต่างๆที่รัฐบาลและคกก.ปฏิรูปไม่ค่อยรับฟัง ไม่ค่อยได้ยิน และไม่ค่อยให้พูด โดยมีคุณจอม เพชรประดับ ดำเนินรายการ ซึ่งเขาเคยถูกปลดออกจากเอ็นบีทีเพราะไม่ยอมเชิญแขกตามใบสั่ง และลาออกจากผู้ดำเนินรายการวิทยุ อสมท.เพราะเปิดพื้นที่ให้อดีตนายกทักษิณ ชินวัตร พูดในรายการ สมัยรัฐบาลประชาธิปปัตย์ โดยอ้างเพื่อให้ข่าวสมดุล ปัจจุบันเป็นพิธีกรรายการสนทนาเชิงลึก "Intelligence" สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี Voice TV สิ่งที่เกิดขึ้นนำไปสู่ความสูญเสีย กลายเป็นบาดแผล เหตุการณ์ที่กรุงเทพฯ ก็เช่นกัน การเมืองเป็นปัญหา เกิดอุดมการณ์การเมืองอันหนึ่งที่คิดว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่ได้รับการปกป้องดูแลในฐานะที่เป็นคนไทย ด้วยกัน สิ่งที่น่ากลัว คือถ้าเป็นขบวนการน่ากลัวไปอีกแบบ แต่ถ้าเป็นคนธรรมดาที่เต็มไปด้วยความแค้นลุกขึ้นมาทำอะไร จะเป็นอย่างไร ถ้ามองเรื่องการปฏิรูปประเทศ คณะกรรมการปฏิรูปของอาจารย์ประเวศ กับอานันท์ นั้นก็เป็นอย่างที่หลายคนตั้งข้อสังเกตคือ มันจะครอบคลุมคนทุกกลุ่มหรือไม่ จะทำอะไรได้หรือไม่ ครอบคลุมทุกปัญหาหรือไม่ จึงทำให้เห็นว่ามีคำถามว่าทิศทางการปรองดองจะไปอย่างไร ขอโทษ/รับผิด/ยุติธรรม ปรองดองปฏิรูปจึงเกิด สุดารัตน์ กล่าวว่า ตนเป็นครู และดีเจวิทยุชุมชน ฝาง แม่อาย ไชยปราการ เสียงที่พูดไม่ได้ คือ สิ่งที่พูดไม่ได้ เราพยายามเป็นสะพานเชื่อมและเป็นที่ระบายให้กับเสียงที่พูดไม่ได้ วิทยุทีทำกระจายเสียง 8 อำเภอ 2 จังหวัด ทั้งเชียงรายและเชียงใหม่ เสียงที่โทรเข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นเสียงที่เข้าต้องการพูดแต่ดีเจพูดไม่ได้ มันอัดแน่นสำหรับคนที่เป็นดีเจ เสียงกระจายไปแล้ว เอาให้มวลชนเรารับฟัง เขาจะคิดกันเอง อย่าดูถูกชาวบ้าน เขารัก ปชต.และมีความต้องการมากๆ ในการแสดงความเห็น จอม : ชาวบ้านมีความเห็นอย่างไรในการปฏิรูป สุดารัตน์ : ในฝางมีข้าราชครู ข้าราชการบำนาญและคนหลายกลุ่ม ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ชาติจะขาดสถาบันใดสถาบันหนึ่งไม่ได้ แต่ทุกสถาบันต้องอยู่ในรัฐธรรมนูญ และ รัฐธรรมนูญที่ชาวบ้านต้องการคือ รัฐธรรมนูญ 40 จอม : แล้วมีสิ่งไหนบ้างที่ชาวบ้านเห็นว่ายังไม่ได้ถูกพูดถึงในการปฏิรูปประเทศไทย สุดารัตน์ : เขาต้องการสิทธิของเขา ที่เขาใช้ได้กลับคืนมา เขาต้องการรัฐธรรมนูญ 40 คืนมา เขาบ่นว่าไปราชประสงค์เพื่อทวงสิ่งเหล่านี้ เราไม่ได้อะไรกลับมา มีแต่หีบศพ กลับมาบ้านบางคนไม่ดูวิทยุ ดูทีวี เข้าป่า เพราะผิดหวังมาก ความเคียดแค้นไม่รู้จะระบายกลับใครได้ รัฐบาลกับเขาจะไม่เจอกันแล้วชาตินี้ สิ่งเหล่านี้ไม่ถูกสะท้อนในการปฏิรูป จอม : การช่วยเหลือเยียวยาที่รัฐพยายามหยิบยื่นมาให้ ช่วยบรรเทาเบาบางความแค้นได้มากไหม สุดารัตน์ : ไม่เลยค่ะ รัฐส่งทหารเข้าไปในพื้นที่ของเรา ไปสอบสวน เข้าไปสอบถามแกนนำของเรา ว่าไปชุมนุมเพื่ออะไร ไปเพื่อเงินใช่ไหม และใครนำไป แล้วจะไปอีกไหม แล้วเอาเงินมาให้แต่ละคน คนละ 1000 บาท แล้วบอกว่าถ้าใครชักจูงไปอย่าไป นี่เป็นการช่วยเหลือของรัฐและไปในรูปแบบของทหาร รัฐจัดสรรให้เรา มันชอกช้ำและเจ็บปวดมาก จอม : ความเจ็บปวดของคนเสื้อแดงตอนนี้ เป็นไปได้ไหม จะกลายเป็นความแค้นที่นำไปสู่การล้างแค้น สุดารัตน์ : เชียงใหม่เป็นเมืองบุญ การล้างแค้นไม่มี เรากลับบ้านของตัวเอง ทำให้บ้านเราแข็งแรง ให้ดีที่สุด แต่ละคนไม่คิดเข้าไปเมืองหลวง จะพัฒนาบ้านชุมชนของตนเองเพื่อยืนด้วยขาตัวเอง ชาวบ้านเชื่อว่ากรรมใดที่ทำจะคืนสนอง จอม : แต่เราไม่สามารถปฏิเสธรัฐบาลส่วนกลางได้ แล้วเราจะอยู่ร่วมกันอย่างไร สุดารัตน์ : เวลาจะเป็นเครื่องตัดสินใจ เพราะตอนนี้คนเสื้อแดงเจ็บปวดมาก ใครเป็นผู้สั่งฆ่า ก็เป็นผู้รับกรรม เพราะเราเป็นเพียงชาวบ้าน ไม่มีกำลังอาวุธที่จะต่อสู้กับรัฐได้ จอม : เรามองอย่างไรเกี่ยวกับการซ่องสุมอาวุธ สุดารัตน์ : รัฐบาลพยายามผูกเรื่องนี้ขึ้นมา เอาแพะชนแกะและโยนให้เสื้อแดง จอม : เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไร ให้ความแค้น ความไม่พอใจมันผ่อนคลายอย่างไร ใครต้องทำ และต้องทำอย่างไร สุดารัตน์ : รัฐบาลอภิสิทธิต้องขอโทษประชาชน จึงจะมีคำว่า ปรองดอง ตามมา ใครผิดก็ว่าไปตามนั้น ไม่ว่าจะเป็นเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดงฮาร์ดคอ มันจึงจะเกิดสันติสุข การเมืองเร่งด่วนกว่าปากท้อง สมศักดิ์ กล่าวว่า เรามาคุยกันหลายครั้ง ความจริงมักจะถูกพูดครึ่งเดียว ความจริงแล้วบางอย่างมากคุยไม่ได้ ในส่วนของกลุ่ม นกน. รัฐบาลต้องหยุดปฏิรุปประเทศไทยบนกองศพ แล้วต้องมาดูเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย ต้องมองย้อนไปถึงต้นตอปัญหา ซึ่งคิดว่าอยู่ที่รัฐประการ 19 ก.ย.ทหารทำอะไรไว้หลายอย่าง ทำให้เรื่องมันซับซ้อนซ่อนเงื่อน มันสะท้อนให้เห็นว่าการปฏิรูปคงจะไม่สามารถที่จะทำได้ สิ่งที่เราเห็นคือหลังการรัฐประหาร มีการร่างรัฐธรรมนูญ 50 แทน 40 และยังไปยึดอำนาจรัฐบาลที่ชาวบ้านเลือกขึ้นมา ชาวบ้านไม่พอใจ อยากเปลี่ยนรัฐบาลและเลือกตั้งกันใหม่ นี่เป็นสิ่งที่ชาวบ้านไปชุมนุมเรียกร้องยังไม่ได้ แล้วจะมาปฏิรูป มันเป็นไปไม่ได้ เมื่อดูที่มาที่ไปของคณะกรรมการปฏิรูป(อย่างอ.สมชายพูดช่วงที่แล้ว) ใครก็ไม่กล้าออกมาคัดค้าน นักวิชาการหลายคนกลัวว่าจะกระทบตัวเอง และก็เป็นปัญหามาก จอม : ครือข่ายหมอประเวศก็มีเครือข่ายเยอะ ถ้าเริ่มจากตรงนั้น จะได้หรือไม่ สมศักดิ์ : กลุ่มเราเคยเคลื่อนไหวมานานแล้วเรื่อง ดิน น้ำป่า หนี้สิน พี่น้องชนเผ่า เหล้าพื้นบ้าน มีหน่วยงานที่เข้ามาร่วมอย่างเอ็นจีโอ แต่สิ่งเหล่านี้จะถูกผูกไว้กับแหล่งทุน คนที่เข้าไปร่วมก็เป็นลักษณะระบบอุปถัมภ์ จอม : ถ้าลืมราชประสงค์ และคกก.ปฏิรูปเริ่มด้วยการแก้ปัญหาปากท้องได้หรือไม่ สมศักดิ์ : ตรงนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะหลายเขตทหารเข้าไป กอ.รมน.เข้าไปติดต่อกับผู้นำท้องถิ่น เอาเงินกองทุนไปแจก เป็นการเอาใจชาวบ้าน มันยังเป็นไปไม่ได้ ตอนนี้เรื่องปากท้องเป็นเรื่องหนึ่ง แต่ปัญหาใหญ่คือปัญหาทางการเมืองที่กำหนดวิถีเรา จอม : ปัญหาปากท้องกับการเมือง อะไรเร่งด่วนกว่ากัน สมศักดิ์ : มองว่าการปฏิรูป ปรองดอง เป็นการเบี่ยงเบนประเด็น ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าใครสั่งฆ่าประชาชน ใครต้องรับผิดชอบใครอยู่เบื้องหลัง เรื่องศพของคนเสื้อแดงต้องมีการจัดการก่อน ถึงจะทำอะไรได้ จอม : คณะกรรมการชุด คนิต จะคลี่คลายความขัดแย้งหรือลดความแค้นของคนเสื้อแดงลงได้หรือไม่ สมศักดิ์ : การตั้งคณะกรรมการยังเป็นปัญหาอยู่ ทุกส่วนยังสงสัยว่าคกก.ชุดนี้มีความเป็นธรรมเป็นกลางมากน้อยแค่ไหน ก็เหมือนทหารอเมริกาเข้าไปทำลายอิรัก แล้วเอาคณะกรรมการยูเอ็นมาแล้วบอกว่าจะจัดการให้ มันฟังไม่ขึ้น จอม : การทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้ ต้องทำอย่างไร สมศักดิ : ต้องปล่อยนักโทษการเมืองอออกมาก่อน ยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน และปิดกั้นสื่อ หยุดการสร้างภาพ เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กระจายความเป็นคนให้เท่ากัน จอม : ตอนนี้ทำไมจึงคิดว่าไม่ได้รับความเป็นคนเท่ากับคนอื่น สมศักดิ์ : กรณีสองมาตรฐานเห็นชัด อย่างกรณีเขาสอยดาว จนพี่น้องเครือข่ายที่อยู่บนดอยรู้สึกว่าตนเองไม่อยากได้บัตรประชาชนแล้ว อยากได้ใบที่เป็นสัตว์อนุรักษ์ดีกว่า เพราะรัฐคงดูแลได้ดีกว่า นอกจากนี้เราอยากให้มีการปฏิรูปกองทัพ คือไม่ให้มีการแทรกแซงการเมือง เพราะประเทศเรามีรัฐประหารมาตลอด ข้อเสนอต่อการปฏิรูปประเทศของกลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย อนุชา กล่าวว่า ข้อเสนอในการปฏิรูปประเทศไทยของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน คือ ผู้นำต้องมาจากการเลือกตั้ง ต้องมีหนึ่งสิทธิ หนึ่งสียง ควรเพิ่มการเลือกตั้งในเขตพื้นที่แรงงาน เพราะว่า เวลาที่มีปัญหาในพื้นที่ เช่น ปัญหาโดนข่มขืน ปัญหาการทำงาน ก็ไม่มีการคุ้มครองจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอย่างอบต.รวมถึงไม่สามารถเสนอความเห็นใดๆได้ ดังนั้นถ้ามีการเลือกตั้งในพื้นที่แรงงานของตนเองได้ จะแก้ปัญหาได้ กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่เปิดโอกาสให้เราตั้งสหภาพ แต่เราไม่มีสหภาพ ด้วยเงื่อนไขที่ว่า ใครที่เคลื่อนไหวก็ถูกเลิกจ้าง การแก้ไขกม.แรงงานคกกปฏิรูปไม่เคยพูดถึง ซึ่งมันมีปัญหาเพราะพบว่าแรงานที่มีอำนาจ ก็จะเก็บตัวไว้ไม่ให้คนอื่นมาเทียบ ทำให้ปัญหาบางปัญหาของแรงงานไม่ถูกพูดถึงเพราะผู้นำแรงงานที่มีอำนาจกลัวอำนาจสั่นคลอน แรงงานส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือเสนอประเด็นปัญหา เพราะถ้าหยุดงานก็จะมีปัญหากับค่าจ้าง เช่น ถ้าลาเกิน 3 วันใน 6 เดือนก็จะไม่ได้ทำโอที 3 เดือน ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่ต้องึ่งโอที ฉะนั้นห้ามป่วย ห้ามตาย เพราะจะลำบากมาก เป็นต้น การปรองดองนั้นทำไม่ได้ เพราะเรายังได้ความจริง ใครถูก ใครผิด ในการตาย 91 ศพและบาดเจ็บเกือบ 2000 อีกข้อหนึ่ง คือ การปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างของชุมชน โดยให้คนงานเลือกตั้งในพื้นที่ทำงานของตนเอง ถ้าทำได้ คนงานจะช่วยชุมชนได้เยอะเลย คำถามของนศ.ต่อการปฏิรูป สังคมไทยแตกต่างจากชาติอื่น ให้ความสำคัญกับชาติตัวเอง ว่ามีความเป็นไทย อยากให้นิยามความเป็นไทยว่าคืออะไร ถ้าไม่เป็นไทยจะแตกต่างออกไปจากนี้อย่างไร อนุรักษ์นิยมหรือคือความเป็นไทย แค่นั้นหรือ ในส่วนของกองทัพนั้น ควรจะมีการปฏิรูป เพราะยังเป็นอนุรักษ์นิยม กองทัพไม่เคยให้ความสนใจเจ้าของกองทัพที่แท้จริง จุดยืนคือ ต้องเป็นของประชาชน พิทักษ์ประชาชน กองทัพคุมซึ่งความมั่นคงของใครไม่รู้ ใครจะตอบให้ผมได้บ้าง กองทัพอ้างความมั่นคงของชาติ ทำให้ต้องคิดต่อว่า ชาติคืออะไร สังคมนี้เป็นสังคมสมมติ ว่าต้องทำแบบโน้น แบบนี้ มันเป็นการมองปัญหาจากชนชั้นข้างบนปกครองคนข้างล่าง การปฏิรูปต้องมองปัญหาในระนาบเดียวกัน จะเห็นปัญหาที่กว้างและชัดกว่า ไม่ใช่จากคนที่อยู่สูงซึ่งมองเห็นคนด้านล่างไม่ชัด ตนต้องการปฏิรูปไปข้างหน้าไม่ใช่การย้อนกกลับ หรือปฏิรูปเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันกลุ่มคนใดคนหนึ่งเท่านั้น ปฏิรูปตัวเองก่อนปฏิรูปประเทศ พูดถึงการปฏิรูปมีกระแสมานาน ใครที่อยากได้อำนาจก็จะปฏิรูป เมื่อมีความขัดแย้งก็จะปฏิรูป คณะกรรมการปฏิรูปมีความรู้ความสามารถ แต่จะปฏิรูปต้องดูเนื้อหาสาระ แต่ละกลุ่ม แต่ละองค์กรต้องปฏิรูปตัวเองก่อน แม้แต่คณะกรรมการฯอย่างท่านอานันท์และหมอประเวศ ก็ต้องปฏิรูปความคิดด้วย รัฐประหารแต่ละครั้งไม่เคยต่อต้านเลย แต่ละคนถ้าเกิดเหตุการณ์บ้านเมือง รัฐบาลที่มาจากประชาชน ถูกโค่นล้มไปควรทำหน้าที่พยุงขึ้นมา การปฏิรูป ต้องปฏิรูปศาลให้มีความเป็นธรรม ปฏิรูปกฎหมายให้มีหลักนิติรัฐ นิติธรรมสังคมจึงจะเกิดการปรองดองได้ การปรองดองโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์นั้นถือว่าหมดความชอบธรรม เพราะเป็นคู่ขัดแย้ง การร่วมมือกันนั้นต้องดูเนื้อหา ไม่ใช่การสร้างภาพ กฎหมายต้องมีมาตรฐานเดียว ไม่ใช่สองมาตรฐาน แดงทำ เหลืองทำก็ต้องผิดเหมือนกัน เมื่อจะแก้ไขปัญหา คือให้รัฐบาลคืนอำนาจให้ประชาชน เพื่อยังมติของเสียงส่วนใหญ่ เป็นแนวทางแก้ไข ชาวบ้านรู้ปัญหา แม้สถานการณ์ราชประสงค์จะจบลงอย่างไร ประชาชนอาจจะท้อแท้ แต่ผมคิดว่าทางเนื้อหา ประชาชนไม่แพ้ ก้าวไปสู่ขั้นหนึ่งรู้ไปถึงต้นตอของโครงสร้างจริงๆ แนวทางแก้ไขคือ ทุกคนต้องพูดความจริง ใช้เสียงของประชาชนไปล้อมรัฐโดยไม่ใช้ความรุนแรง ผมเคยเข้าป่าจับปืนมาแล้วตอนนั้นมีการจัดตั้งที่ดีมาก แต่ก็สูญเสียมากและไม่ได้ผล ซึ่งย่อมสะท้อนว่าความรุนแรงใช้ไม่ได้ผล การต่อสู้ครั้งนี้ เห็นมวลชนเยอะ ผมอยากให้กระแสพวกเราล้อมรัฐ อย่าเอาตัวรอดเหมือนในอดีต และขอฝากถึงรัฐบาลจงใช้งบประมาณที่มาจากภาษีประชาชนในการแก้ไขปัญหา แต่รัฐบาลไทยใช้ภาษีประชาชนไปเข่นฆ่าประชาชน
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
นัดตรวจหลักฐาน 13 ธ.ค. คดี “สุรชัย แซ่ด่าน” หมิ่นเบื้องสูง Posted: 21 Oct 2010 03:58 AM PDT
สำนักข่าวไทยรายงานว่า วันที่ 21 ต.ค. ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เวลา 10.00 น. พนักงานอัยการ ฝ่ายคดีอาญา 7 เป็นโจทก์ฟ้องนายสุรชัย แซ่ด่าน หรือ ด่านวัฒนานุสรณ์ อายุ 68 ปี แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ โจทก์ฟ้องระบุความผิดว่า เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 51 จำเลยได้กล่าวปราศรัย ที่ท้องสนามหลวง ด้วยถ้อยคำใส่ความหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ด้วยเครื่องขยายเสียงต่อประชาชนโดยทั่วไป ที่รับฟังการปราศรัยจำนวนมาก อันเป็นการดูหมิ่น ต่อมาวันที่ 10 มี.ค. 52 จำเลยเข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม. จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ต.ค.19 ข้อ 1 ศาลรับคำฟ้องไว้เป็นคดีดำ อ.3444/2553 และนัดตรวจพยานหลักฐาน วันที่ 13 ธ.ค.นี้ เวลา 13.30 น.
ที่มา - สำนักข่าวไทย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
คนอังกฤษเตรียมประท้วงใหญ่นโยบายตัดค่าใช้จ่ายภาครัฐ Posted: 21 Oct 2010 03:28 AM PDT สหภาพแรงงาน คนทำงานภาครัฐ นักศึกษา ประท้วงไม่พอใจนโยบายลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลอังกฤษ คาดเลิกจ้างกว่า 500,000 ตำแหน่ง สหภาพแรงงานเตรียมเคลื่อนใหญ่ปีหน้า 20 ต.ค. 53 – กลุ่มสหภาพแรงงาน คนทำงานภาครัฐ นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ได้ออกมารวมตัวประท้วงไม่พอใจที่รัฐบาลมีแผนลดงบประมาณรายจ่ายภาครัฐ ซึ่งคาดกันว่าจะมีการเลิกจ้างตำแหน่งงานของคนทำงานภาครัฐกว่า 500,000 ตำแหน่ง ความพยายามของรัฐบาลอังกฤษเพื่อแก้ปัญหาขาดดุลงบประมาณสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 154,700 ล้านปอนด์ ซึ่งยังจะมีนโยบายอื่นๆ ควบคู่กับการเลิกจ้างคนทำงานภาครัฐ เช่น ขยายเวลาการเกษียณอายุ การลดสวัสดิการต่างๆ ของรัฐ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการตัดลดงบประมาณให้ได้มากกว่า 81,000 ล้านปอนด์ภายในปีงบประมาณ 2014 โดยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาสภาสหภาพแรงงานศูนย์กลางแห่งชาติ (Trades Union Congress: TUC) ระบุว่ามีแรงงาน นักศึกษา ประชาชนกว่า 3,000 คนจากทั่วประเทศ ได้มารวมตัวประท้วงที่ Westminster เพื่อประท้วงนโยบายนี้ รวมถึงจะมีการขยายการประท้วงไปยังเมืองต่างๆ ทั่วอังกฤษ ทั้งนี้ TUC จะนัดหมายเพื่อทำการประท้วงครั้งใหญ่ในปีหน้าอีกด้วย นอกจากจะสร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มสหภาพแรงงานแล้ว พรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrats) ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเองก็ไม่พอใจมากนัก เนื่องจากพรรคเสรีประชาธิปไตยได้รณรงค์หาเสียงด้วยการต่อต้านมาตรการคุมเข้มทางการเงินก่อนการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ที่มาข่าวบางส่วน: Nationwide protests over spending cuts (UKPA, 20-10-2010) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
การละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวพม่า ก่อวิกฤติด้านสุขภาพในเด็กและผู้หญิง Posted: 21 Oct 2010 02:03 AM PDT องค์กรชนกลุ่มน้อยและองค์กรสุขภาพหลายกลุ่มได้เปิดเผยรายงานใหม่ล่าสุดชื่อ "ผลวินิจฉัย:ขั้นวิกฤติ ภาวะสุขภาพและสิทธิมนุษยชน ในภาคตะวันออกของพม่า" (Diagnosis Critical: Health and Human Rights in Eastern Burma) เมื่อวันที่ 18 ต.ค.53 ที่ผ่านมา โดยในรายงานชี้ว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ยังดำเนินต่อไป ส่งผลให้เด็กและผู้หญิงที่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศพม่า กำลังเผชิญกับปัญหาทางด้านสุขภาพเข้าขั้นวิกฤติและเลวร้ายที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก กลุ่มคณะกรรมการด้านสุขภาพและการศึกษาแห่งชาติ (National Health and Education Committee -Burma) สมาคมการแพทย์แห่งพม่า (The Burma Medical Association) หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ (Back Pack Health Worker Team) รวมถึงองค์กรด้านสุขภาพของชนกลุ่มน้อยอีกหลายกลุ่ม ได้ร่วมกันจัดทำรายงานฉบับนี้ขึ้น โดยจากการสำรวจชาวบ้านกว่า 27,000 คน ในรัฐกะเหรี่ยง รัฐคะเรนนี รัฐมอญ รัฐฉาน รวมไปถึงในภาคพะโคและภาคตะนาวศรีพบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ จำนวน 40 เปอร์เซ็นต์กำลังป่วยเป็นโรคขาดสารอาหาร นอกจากนี้พบว่า เด็กจำนวน 60 เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่เสียชีวิตจากโรคที่สามารถป้องกันได้อย่างโรคมาลาเรีย และท้องร่วง ซึ่งโรคมาเลเรียเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กเสียชีวิต “เด็กที่มาจากครอบครัวถูกบังคับย้ายถิ่นฐานไม่มีบ้านอยู่นั้น เราพบว่า เด็กได้รับผลกระทบจากการขาดสารอาหารมากกว่า 3 ครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กที่มาจากครอบครัวที่ถูกกองทัพพม่าบังคับใช้แรงงานมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า นั่นแสดงให้เห็นว่า ระบบการดูแลสุขภาพในพื้นที่ดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพที่ย่ำแย่ของคนในพื้นที่โดยตรง” แพทย์หญิงซินเธีย หม่อง ผู้ก่อตั้งคลินิกแม่ตาวกล่าว ในรายงานยังระบุว่า ลักษณะของประชากรในภาคตะวันออกของพม่า มีทั้งอัตราการเกิดและอัตราการตายสูง โดยเฉพาะเด็กที่มีช่วงชีวิตที่สั้นลงจากโรคภัยไข้เจ็บ นอกจากนี้ยังพบจำนวนประชากรชายน้อยกว่าจำนวนประชากรหญิงในทุกช่วงอายุ และยังพบว่า ประชากรชายในช่วงอายุต่ำกว่า 45 ปีได้ขาดหายไป ซึ่งสถานการณ์ลักษณะนี้ พบเห็นได้ทั่วไปในพื้นที่ที่มีสงครามมายาวนาน ซึ่งก็คล้ายกับลักษณะประชากรของประเทศเซียร่า ลีโอน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ผู้ชายถูกเกณฑ์ไปอยู่ในกองทัพและเสียชีวิตจากการสู้รบ ขณะที่อัตราการเสียชีวิตของแม่สูงเป็นสามเท่า เมื่อเทียบกับตัวเลขที่รัฐบาลพม่าออกมาประกาศ นอกจากนี้ในผู้หญิงทุกๆ 14 คน จะมีผู้หญิง 1 คน ที่มีเชื้อมาลาเรียพลาสโมเดียม ฟัลซิปารัม (pf) ซึ่งเป็นสายพันธุ์เชื้อมาเลเรียชนิดที่อันตรายที่สุด และมีผู้หญิงเพียงร้อยละ 14.7 เท่านั้นที่ได้รับธาตุเหล็กเสริมระหว่างที่มีการตั้งครรภ์ เช่นเดียวกับในกลุ่มผู้หญิงเจริญพันธุ์ร้อยละ 18 พบว่า อยู่ในภาวะที่ขาดสารอาหาร ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้กำเนิดทารก เพราะจะทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยและมีความเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิต ปัญหาสุขภาพไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อคนในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศพม่าเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบถึงไทยด้วย โดยพบว่า พื้นที่ประเทศไทยที่ติดกับชายแดนพม่านั้น มีอัตราการติดเชื้อมาเลเรียสูงที่สุด ในรายงานยังระบุว่า สถานการณ์จะคลี่คลายลงได้ ก็ต่อเมื่อกองทัพพม่ายุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อคนในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ปัญหาสงครามและความขัดแย้งในพม่า ได้ส่งผลให้มีผู้พลัดถิ่นภายในอย่างน้อย 446, 000 คน ในพื้นที่เขตชนบทของภาคตะวันออกเพียงแห่งเดียว ปี 2552 มีการคาดการณ์ว่า รัฐบาลพม่ามีรายได้กว่า 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐจากการขายก๊าซธรรมชาติ แต่รัฐบาลกลับให้งบประมาณในด้านสุขภาพเพียง ร้อยละ 1.8 ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้งบประมาณด้านสุขภาพน้อยที่สุด
(ข้อมูลจากเว็บไซต์แม่ตาวคลินิค http://maetaoclinic.org/ สำนักข่าว Mizzima 20 ต.ค.53)
แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปั
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
รวมข่าวรัฐฉาน - สหภาพพม่า 16-21 ต.ค. 2553 Posted: 21 Oct 2010 12:22 AM PDT
ทหารพม่าจับทารุณชาวบ้าน หลังถูกกลุ่มต่อต้านซุ่มโจมตี ชาวบ้านหลายคนจากหลายหมู่บ้านในรัฐฉานภาคใต้ ถูกทหารพม่าจับทารุณสอบสวนเหตุมีกลุ่มติดอาวุธไม่ทราบฝ่ายซุ่มตีทหาร-ตำรวจพม่าดับเจ็บหลายนาย ขณะที่ชาวบ้านเชื่อเป็นฝีมือกองกำลังไทใหญ่ SSA ….. เมื่อเวลาประมาณ 8.00 น. วันที่ 17 ต.ค. ที่ผ่านมา เกิดเหตุกองกำลังไม่ทราบฝ่ายซุ่มโจมตีทหารพม่าสังกัดกองพันทหารราบที่ 286 บนเส้นทางเมืองหนอง – เวียงเก่า ในรัฐฉานภาคใต้ ส่งผลให้ทหารพม่าจำนวน 4 นาย ซึ่งใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะกำลังมุ่งหน้าจากเมืองหนองไปทางเวียงเก่า ถูกยิงเสียชีวิต 2 นาย เป็นนายทหารยศร้อยเอก 1 นาย ชื่อจี่ตู่ ถูกยิงเข้าหน้าท้องเสียชีวิตขณะนำตัวส่งโรงพยาบาล และอีก 1 นาย เป็นนายทหารยศสิบโท ชื่อเมียวทุน ถูกยิงเข้าหน้าผากเสียชีวิตคาที่ ส่วนอีก 2 นาย ได้รับบาดเจ็บถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล หลังเกิดเหตุทหารพม่าสังกัดกองพันทหารราบที่ 286 ได้จัดกำลังออกตรวจค้นบริเวณพื้นที่เกิดเหตุ โดยระหว่างนั้นได้พบชาวบ้าน 3 คน จากบ้านกองลาง เป็นชาย 1 คน หญิง 2 คน ซึ่งกำลังทำงานอยู่ในไร่ โดยทหารพม่าได้จับตัวทั้งสามมัดแล้วสอบถามถึงเหตุที่เกิดขึ้นพร้อมกับมีการทุบตีอย่างทารุณ แต่หลังจากทั้งสามไม่สามารถให้ข้อมูลใดๆ ทหารพม่าจึงพากันกลับไป ต่อมาในช่วงเย็น ทหารพม่าชุดเดียวกันได้จับตัวจายซิง ผู้ใหญ่บ้านหม่วยต่อ เมืองหนอง และนายจเรมูหลิ่ง บ้านตูยา ไปทำการทารุณสอบสวนในค่ายนานเกือบ 2 ชั่วโมง จนร่างทั้งสองได้รับบาดเจ็บไปทั่ว จากนั้นทหารพม่าได้ปล่อยตัวพวกเขากลับและสั่งให้ไปรายงานตัวทุกวัน ขณะเดียวกัน ทหารพม่าจากเมืองหนอง ได้เรียกตัวกำนันเวียงเก่า พร้อมด้วยผู้ช่วยอีกหนึ่งคนเดินทางไปพบเพื่อสอบถามถึงเหตุที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน แต่จนถึงขณะนี้ทั้งสองคนยังไม่กลับถึงบ้านแต่อย่างใด ขณะที่มีรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 19.30 น. วันเดียวกัน (17 ต.ค.) ได้มีกลุ่มติดอาวุธไม่ทราบฝ่ายทำทีเป็นคนเลี้ยงวัวเข้าไปซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ตำรวจพม่า ขณะกำลังทำหน้าที่เฝ้าด่านตรวจอยู่บนเส้นทางเมืองหนอง – บ้านจิง โดยการโจมตีใช้เวลานานกว่า 20 นาที เป็นเหตุให้ตำรวจเสียชีวิต 1 นาย บาดเจ็บ 1 นาย ทั้งนี้ แหล่งข่าวชาวบ้านกล่าวว่า กลุ่มผู้ก่อเหตุโจมตีทหารและตำรวจพม่าในครั้งนี้ เชื่อว่าน่าจะเป็นทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA กลุ่มของพล.ท.เจ้ายอดศึก เนื่องจากเมื่อวันที่ 16 ต.ค. มีทหาร SSA ชุดหนึ่งเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวและได้เรียกชาวบ้านสองคนไปเป็นคนนำทาง แต่ได้ปล่อยตัวกลับในเวลาต่อมา กระทั่งในช่วงเช้าวันต่อมาได้เกิดเหตุโจมตีขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามไปยังพ.ต.หลาวแสง โฆษกของกองกำลังไทใหญ่ SSA ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งได้รับคำตอบว่า ทางกองกำลังไทใหญ่ SSA ยังไม่ทราบรายละเอียดและกำลังตรวจสอบเรื่องนี้อยู่ ขณะที่มีรายงานว่า หน่วยเหนือของตำรวจพม่าได้มีคำสั่งถอนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เฝ้าด่านตรวจจุดที่เกิดเหตุโจมตีออกจากพื้นที่แล้ว
พม่าเรียกกลับข้าราชการในพื้นที่กลุ่มหยุดยิงไทใหญ่ ทางการพม่าเรียกกลับข้าราชการแพทย์และครูในพื้นที่กองพลน้อยที่ 1 กลุ่มหยุดยิงไทใหญ่ SSA-N หลังเกิดการปะทะหลายระลอก ขณะที่ทหารพม่ามีการเรียกเสริมกำลังจากหน่วยอาสาสมัครหลายหน่วย..... มีรายงานจากแหล่งข่าวว่า เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้ ทางการพม่าได้มีคำสั่งเรียกกลับข้าราชการฝ่ายสาธารณสุขและการศึกษาซึ่งเป็น แพทย์ พยาบาล และครู ที่ปฏิบัติงานอยู่ในหลายหมู่บ้าน ในพื้นที่ครอบครองกองพลน้อยที่ 1 กองทัพรัฐฉาน "เหนือ" SSA-N หรือ กลุ่มหยุดยิงไทใหญ่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่เมืองไหย๋ รัฐฉานภาคเหนือ โดยคำสั่งดังกล่าวมีขึ้นหลังเกิดการปะทะกันระหว่างทหารพม่ากับทหารกองพลน้อย ที่ 1 อย่างน้อย 3 ครั้ง ตลอดในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา แหล่งข่าวเผยว่า หลังทางการพม่ามีคำสั่งเรียกกลับข้าราชการซึ่งมีอยู่กว่า 10 คน ในพื้นที่ดังกล่าว ทหารพม่าในพื้นที่ก็ได้มีการเรียกเสริมกำลังจากหน่วยอาสาสมัครกลุ่มของนาย โป่มน เข้าไปประจำอยู่ด้วยกันที่ฐานบ้านหมอกตอง อยู่ในสังกัดกองพันทหารราบที่ 291 ขณะที่กองกำลังอาสาสมัครบ้านหางนา ได้รับการร้องขอให้ส่งกำลังไปเคลื่อนไหวอยู่กับทหารพม่าสังกัดกองพันทหารราบ ที่ 41 ซึ่งเคลื่อนไหวในพื้นที่เดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อช่วยสอดส่องและร่วมกดดันทหารกองพลน้อยที่ 1 ของ SSA-N ส่วนทางด้านกองพลน้อยที่ 1 ของ SSA-N มีรายงานว่า หลังสถานการณ์ในพื้นที่ตึงเครียด ได้มีคำสั่งห้ามบริษัททำเหมืองถ่านหิน ใกล้กับแม่น้ำม้า ซึ่งอยู่ในพื้นที่ควบคุม ทำการขนในเวลากลางคืนเช่นที่ผ่านมา ขณะเดียวกันได้คำสั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจค้นยานยนต์ที่เข้าออกในพื้นที่อย่างเข้มงวด เนื่องจากเกรงจะมีทหารพม่าแอบแฝงตัวเข้าไปในพื้นที่ นอกจากนี้ ได้มีคำสั่งให้ทหารทำการยิงกลุ่มติดอาวุธที่ข้ามแม่น้ำม้าเข้าไปยังเขตของตนได้ทันทีด้วย ขณะที่มีกระแสข่าวไม่ยืนยันด้วยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ พ.อ.จี่มิ้น ผบ.ยุทธการพม่าประจำเมืองไหย๋ ได้ร้องขอ พ.ท.ละมิ้น อดีตผบ.กองพลน้อยที่ 3 ของ SSA-N ที่ได้จัดตั้งเป็นหน่วยพิทักษ์ชายแดน BGF แล้ว ให้นำกำลังส่วนหนึ่งเข้าไปเคลื่อนไหวร่วมกับทหารพม่า โดยอ้างว่าเพื่อร่วมกันรณรงค์กองพลน้อยที่ 1 วางอาวุธ และถ้าหากเกิดการสู้รบจะได้ร่วมมือกัน แต่พ.ท.ละมิ้น ได้ปัดข้อเรียกร้องดังกล่าว โดยให้เหตุผลไม่ต้องการทำศึกกับกองพลน้อยที่ 1 เพราะเคยอยู่ร่วมกันมา ทหารพม่าสั่งห้ามชาวบ้านเขตพื้นที่กลุ่มหยุดยิงไทใหญ่ออก บ้านพักค้างตามไร่นายามค่ำคืน ระบุหากฝืนถูกยิงจะไม่รับผิดชอบ ขณะที่ชาวบ้านหวั่นพืชผลเสียหายจากการทำลายของสัตว์เลี้ยง ...... ข่าวในรัฐฉานรายงานว่า ทหารพม่าได้มีคำสั่งห้ามไม่ให้ชาวบ้านตำบลบ้านปุ่ง ในเมืองไหย๋ รัฐฉานภาคเหนือ ซึ่งอยู่ในพื้นที่เคลื่อนไหวกองพลน้อยที่ 1 กองกำลังหยุดยิงไทใหญ่ SSA-N ออกจากบ้านไปพักค้างคืนตามไร่นา โดยอ้างว่าเกรงไม่ปลอดภัย เนื่องจากทหารพม่าจะมีการออกลาดตระเวนมากขึ้น ทั้งนี้ คำสั่งดังกล่าวของทหารพม่ามีขึ้นเมื่อวันที่ 12 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยพ.อ.จี่มิ้น ผบ.ยุทธการประจำเมืองไหย๋ รัฐฉานภาคเหนือ ได้มีคำสั่งเรียกกำนันผู้ใหญ่บ้านในตำบลบ้านปุ่ง เข้าพบชี้แจงและให้ประกาศเตือนลูกบ้านว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจะมีทหารพม่าออกลาดตระเวนในยามค่ำคืนมากขึ้น ดังนั้นขอให้ชาวบ้านอย่าออกไปพักค้างตามไร่นา เพราะเกรงจะไม่ปลอดภัย พร้อมกล่าวว่า หากมีชาวบ้านคนใดฝ่าฝืนและถูกยิงทางทหารพม่าจะไม่รับผิดชอบ อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวเผยว่า หลังมีคำสั่งดังกล่าวจากทหารพม่า ทำให้ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพทำไร่ทำนาต่างเป็นกังวลกันเป็นอันมาก เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวซึ่งจำเป็นต้องนอนพักค้างในไร่นา เพื่อคอยสอดส่องดูแลสัตว์เลี้ยงวัวควายที่อาจเข้าไปทำลายข้าว และ พืชในไร่ โดยหลายคนบอกว่า หากไม่สามารถไปนอนพักค้างในไร่นาได้ จะทำให้ข้าวหรือพืชเสียหายจำนวนไม่น้อย สำหรับตำบลบ้านปุ่ง ของเมืองไหย๋ มี 5 – 6 หมู่บ้าน เป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของกองพลน้อยที่ 1 กลุ่มหยุดยิงไทใหญ่ SSA-N ที่ปฏิเสธข้อเสนอรัฐบาลทหารพม่าจัดตั้งเป็นหน่วยพิทักษ์ชายแดน BGF โดยพื้นที่ดังกล่าวมีทหารพม่าสังกัดกองพันทหารราบเบาที่ 325 และกองพันทหารราบที่ 67 เคลื่อนไหวอยู่ มีรายงานจากแหล่งข่าวอีกว่า ขณะนี้มีทหารพม่าจากกองพันทหารราบที่ 22 ประจำเมืองจ๊อกแม เข้าไปตั้งฐานที่บ้านแพด อยู่ทางทิศใต้ของตำบลบ้างปุ่ง ของเมืองไหย๋ เพื่อทำการกดดันและจำกัดการเคลื่อนไหวของทหารไทใหญ่ กองพลน้อยที่ 1 ของ SSA-N เพิ่มด้วย
"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
จาตุรนต์ เรียกร้องศาล รธน. ตรวจสอบคลิปฉาว ถ้าจริง ต้องลาออก Posted: 21 Oct 2010 12:18 AM PDT นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย แถลงเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบคลิปที่อ้างว่าเป็นบันทึกการสนทนาระหว่างเจ้าหน้าที่ตุลาการระดับสูงและทนายความของพรรคประชาธิปัตย์ ระบุเป็นปัญหาความซื่อสัตย์เที่ยงธรรม หากทำจริงต้องลาออก และอย่าเบี่ยงประเด็นที่มาของคลิป เวลา 13.00 น. ที่ห้องกรองทอง 3 ร.ร. เรดิสัน พระรามเก้า นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และสมาชิกบ้านเลขที่ 111 แถลงกรณีคลิปที่อ้างว่าเป็นบันทึกการสนทนาระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายตุลาการและทนายความของพรรคประชาธิปัตย์ในกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์ นายจาตุรนต์กล่าวว่าพูดใน 2 ฐานะ ฐานะแรกคือในฐานะเหยื่อของการยุบพรรคที่ใช้กฎหมายเผด็จการย้อนหลัง ทำให้ต้องติดตามการยุบพรรคของคดีอื่นๆ เรื่อยมา จนกระทั่งถึงคดีพรรคประชาธิปัตย์ และฐานะที่สองคือ ประชาชนผู้ห่วงใยความน่าเชื่อถือของศาลรับธรรมนูญและกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย “จากคลิปที่เผยแพร่ทั้งหมด ถ้าเป็นจริงก็สรุปได้ว่ามีการพยายามวิ่งเต้น ขอความช่วยเหลือจากตุลาการศาลในทางที่เป็นประโยชน์ต่อการสู้คดีของพรรคประชาธิปัตย์ และมีความพยายามของตุลาการอย่างน้อยบางคนที่จะช่วยพรรคประชาธิปัตย์ไม่ให้ต้องถูกยุบ การกระทำดังกล่าวนี้เป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม ถ้าพูดอย่างนี้กันจริงก็ไม่ทราบว่าเป็นความผิดกฎหมายมาตราไหนอย่างไร และยังไม่ได้เรียกร้องให้ใครต้องไปดำเนินคดีอะไรกับใคร แต่ผมเห็นว่าเป็นการขัดหรือผิดต่อคำถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ของผู้พิพากษาตุลาการ ที่ต้องปฏิญาณก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 201 รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน ว่าจะทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต แต่สิ่งที่ทำนี้ทั้งไม่ซื่อสัตย์สุจริตและมีอคติอย่างชัดเจน” นายจาตุรนต์กล่าวต่อไปว่า กระบวนการจากนี้ ไม่ว่าจะมีการไปดำเนินการปลดนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์จากเลขาประธานศาลรัฐธรรมนูญก็ดี หรือไปดำเนินคดีเกี่ยวกับใครเอาคลิปมาเผยแพร่ก็ดี ก็เป็นเรื่องที่จะทำก็ทำไปแต่สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถลบล้างความผิดและปัญหาที่เกิดขึ้นจากการหารือในคลิปได้ “อันนี้ก็ต้องเรียกร้องต่อสาธารณชนทั่วไปว่าไม่ควรหลงประเด็น คนที่จับเรื่องนี้ก็ไม่ควรผิดประเด็น เพราะการผิดประเด็นหลงประเด็น ผู้ที่ชอบที่สุดคือพรรคประชาธิปัตย์” นายจาตุรนต์กล่าวด้วยว่า มีประเด็นที่ต่อเนื่องมาจากคลิป คือประเด็นความน่าเชื่อถือของคลิปว่าเป็นการแอบถ่ายมา เหมือนกับไม่ใช่บันทึกการประชุมอย่างเป็นทางการ ไปแอบถ่ายมาจึงไม่น่าเชื่อถือนั้น นายจาตุรนต์เปรียบเทียบกับที่มีการจัดซื้อจัดจ้างของคณะกรรมการของหน่วยงานราชการ มีการแอบบันทึกภาพไว้ได้ความว่ากรรมการฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างหารือกันเพื่อจะช่วยบริษัทหนึ่งฮั้วประมูล ถามว่าการที่มีคนมาแอบบันทึกเทปไปหักล้างการที่กรรมการเตรียมฮั้วกันได้หรือไม่ คำตอบง่ายๆ คือช่วยไม่ได้ กรรมการนั้นก็มีความผิด ส่วนคนอัดเทปผิดหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง นายจาตุรนต์เสนอว่า เพื่อคลี่คลายความกังขาของประชาชน ศาลรัฐธรรมนูญควรตรวจสอบว่ามีการเจรจากันตามที่ปรากฏในคลิปหรือไม่ โดยให้เจ้าหน้าที่เทคนิคนิติวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ เพื่อเป็นการรักษาความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญและกระบวนการยุติธรรม “ข้อเสนอคือ ผมไม่ทราบว่าพูดจริงหรือไม่จริง ถ้าพูดไม่จริง ที่วิเคราะห์มาก็เป็นอันโมฆะไป ถ้าไม่จริงก็มีปัญหาตามที่กล่าวมา ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญควรจะไปตรวจสอบว่ามีการพูดตามที่ปรากฏในคลิปจริงหรือไม่ ใครเป็นผู้พูด พูดว่าอะไร มีการแต่งหน้าเลียนแบบคนหรือเลียนเสียงหรือไม่ ถ้าไม่จริงก็ชี้แจงมา เรื่องนี้ก็จบไป ข้อครหานินทาความสนใจของคนก็จะหมดไป” นายจาตุรนต์กล่าวว่า หากการตรวจสอบพบว่ามีการเจรจาเช่นนั้นจริง ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่เพราะเป็นเรื่องความไม่สุจริตเที่ยงธรรม และผู้ที่ปรากฏในคลิปหากเป็นจริงก็ต้องลาออกจากตำแหน่ง “นี่เป็นข้อเสนอตรงไปตรงมา และถ้าจริง ปัญหาที่ตามมาถ้าลาออก ประเด็นที่สังคมต้องช่วยกันคิดคือ ตุลาการศาลฯ จะลาออกก่อนตัดสินคดีฯ ก่อนหรือไม่ สังคมต้องช่วยกันคิด แต่คนที่ต้องตัดสินใจคือตุลาการฯ แต่ถ้าจริงแล้วไม่ลาออก ควรจะทำอย่างไรกันดี เพราะพรรคประชาธิปัตย์ นอกจาก 29 ล้านก็ยังมี 258 ล้าน ก็เสนอว่าในอนาคตถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญควรจะยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญนี้เสีย แล้วตั้งใหม่ให้มีการสรรหาที่ถูกต้องและตรวจสอบได้โดยประชาชน” อย่างไรก็ตาม นายจาตุรนต์ยอมรับว่า การเผยแพร่คลิปทั้งห้าคลิปนั้นมีปัญหา 2 ประเด็นคือมีการนำคลิปที่หนึ่งมาเผยแพร่รวมอยู่ด้วย ทั้งๆ ที่คลิปที่หนึ่งไม่เกี่ยวกันเลยกับการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ คือเป็นภาพเหตุการณ์รอรับรางวัลสัญญา ธรรมศักดิ์ ทำให้คนสงสัยในเจตนา จุดอ่อนที่สองคือการบันทึกภาพและเสียงอาจผิดระเบียบแต่ถึงแม้จะมีจุดอ่อนสองข้อนี้หรือแม้กระทั่งเป็นความผิดทั้งผิดระเบียบหรือผิดกฎหมาย แต่ก็ไม่สามารถหักล้างเนื้อหาที่มีการปรึกษาหารือกันตามที่ปรากฏในคลิปได้ นายจาตุรนต์กล่าวด้วยว่า สำหรับประเด็นการยุบพรรคประชาธิปัตย์นั้น ทางทีมทนายของพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เน้นสู้ในเรื่องพยานหลักฐานโดยเฉพาะที่เป็นเอกสารซึ่งเป็นเครื่องแสดงชัดเจนว่าผิดถูกอย่างไร แต่เน้นการทำลายความน่าเชื่อถือของพยานฝ่ายผู้ร้องทั้งในเรื่องส่วนตัว ความสัมพันธ์ส่วนตัวและการทำหน้าที่ในหน้าที่การงานของพยานผู้ร้อง ข้อที่สอง ทีมทนายประชาธิปัตย์ใช้โอกาสที่ได้รับอนุญาตให้พยานของผู้ถูกร้อง คือพยานฝ่ายประชาธิปัตย์ให้การด้วยวาจาเป็นเวลานานเป็นพิเศษ แล้วนำมาใช้ในการแถลงข่าวชี้แจงผ่านสื่อมวลชนในรูปแบบต่างๆ เป็นประจำและมากกว่าการพิจารณาคดียุบพรรคทุกพรรคที่ผ่านมา นับตั้งแต่การยุบพรรคไทยรักไทยเป็นต้นมา ทั้งนี้เพื่อเป็นการชี้แจงทำความเข้าใจกับสาธารณชนสร้างกระแสความเข้าใจให้ฝ่ายตนเอง ขณะเดียวกันก็พูดซ้ำๆ ว่าไม่ควรสร้างกระแสหรือกดดันศาล ประการที่สาม มีการใช้ข้าราชการโดยเฉพาะข้าราชการจากรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มาทำหน้าที่ทำลายความน่าเชื่อถือของพยานฝ่ายผู้ร้อง โดยเฉพาะผู้ที่ทำหน้าที่สอบสวนในคดีนี้ ทั้งๆ ที่อธิบดีดีเอสไอที่ผ่านมาได้แสดงบทบาทในเรื่องคดีอื่นๆ อย่างไม่เหมาะสม เกินกว่าหน้าที่ไม่เป็นไปตามการทำหน้าที่ตามประมวลวิธีอาญา เช่นแถลงข่าวเอง จับมาแล้วมาแถลงแทนผู้ต้องหา ให้ความเห็นต่างๆ นานาอยู่เสมอๆ ทั้งที่ที่อธิบดีดีเอสไอนี้ครั้งหนึ่งก็มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการเสนอให้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์เป็นคดีพิเศษ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ศธ.ยกเลิกประกาศ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 หวั่นถูกมองเป็นเมืองขึ้น Posted: 20 Oct 2010 11:09 PM PDT สืบเนื่องจากกรณีที่ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศธ. วางแผนที่จะประกาศให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 ในการเรียนการสอน เนื่องจากต้องการสร้างพลเมืองยุคใหม่ที่เก่ง ดี มีความสุข และที่สำคัญต้องสามารถแข่งขันได้ในสังคมโลก ศธ.จึงวางแผนประกาศจุดยืนในเรื่องนี้ เพื่อผลักดันให้มีความพร้อมทุกด้านนั้น ล่าสุด ศธ.ประกาศลดการยกระดับภาษาอังกฤษ ภาษาที่ 2 ของไทยให้เป็นแค่ภาษาต่างประเทศแล้ว โดยให้เหตุผลว่า เป็นเรื่องอ่อนไหวต่อความเข้าใจของประชาชน และต่อหน่วยงานต่างๆ ที่จะรับแนวทางไปปฏิบัติ เพราะในทางการเมืองแล้ว การประกาศให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 จะนำไปสู่ความเข้าใจว่าประเทศที่ประกาศตามแนวทางดังกล่าวเป็นประเทศที่เป็น เมืองขึ้น หรือประเทศอาณานิคมมาก่อน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะเอาจริงเอาจังในการพัฒนาเป็นอันดับต้นๆ แทน พร้อมทุ่มทำอย่างเต็มที่ ทั้งในการพัฒนาบุคลากร การจัดสรรงบประมาณ โดยในวันพรุ่งนี้ (22 ต.ค.) นายกรัฐมนตรีมาเป็นประธานในการประกาศจุดเน้นคุณภาพผู้เรียน จุดเปลี่ยนการศึกษาไทย หนึ่งในจุดเน้นดังกล่าวคือ การประกาศว่าจะให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศหลักที่รัฐบาลจะเอาจริงเอา จังในการพัฒนาเป็น อันดับต้นๆ ในส่วนของรายละ เอียดการพัฒนาก็ยังคงยึดเป้าหมายเดิมที่ได้วางไว้คือ -พัฒนาให้ทั้งโรงเรียนรัฐและเอกชนที่มี ชื่อเสียง ก้าวไปสู่ความเป็นมาตร ฐานสากล
ที่มา - Mthai news สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ตัวแทนชาวบ้านร้องผู้ว่าอุบลฯ กรณีโรงไฟฟ้าพลังงานแกลบ Posted: 20 Oct 2010 10:05 PM PDT
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 53 เวลา 11.00 น. ตัวแทนชาวบ้านรอบบริเวณก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแกลบ ของบริษัทสมหมายไบโอแมส ต.ท่าช้าง และ ต.บุ่งมะแลง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี รวมกว่า 10 คน เดินทางมาร้องเรียนการทำงานของอุตสาหกรรมจังหวัดต่อผู้ว่าราชการจังหวัด โดยระหว่างรอการประสานงานชาวบ้านได้ถือป้ายมีข้อความว่า ขอความเป็นธรรมอุตสาหกรรมบิดเบือนข้อเท็จจริงเอื้อประโยชน์ต่อนายทุน นายทองคับ มาดาสิทธิ์ ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวถึงสาเหตุในการเดินทางมาร้องเรียนครั้งนี้ว่าที่ผ่านมาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้างได้อนุญาตให้บริษัทสมหมายไบโอแมสก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแกลบ ขนาด 9.9 เมกะวัตต์กลางชุมชน ทั้งที่มีปัญหาเรื่องการทำประชาคมหมู่บ้านซึ่งไมโปร่งใส มีการแอบอ้างรายชื่อ ทำให้ชาวบ้านกังวลว่าจะเกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของลูกหลานเพราะการขนส่งแกลบต้องใช้รถบรรทุกวิ่งบนถนนกลางหมู่บ้านซึ่งมีขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังมีปัญหาฝุ่นละอองจากกระบวนการผลิต และการแย่งชิงน้ำเพื่อใช้ในโรงงาน นายทองคับ กล่าวเพิ่มเติมว่า อุตสาหกรรมจังหวัดดำเนินงานเรื่องนี้อย่างไม่โปร่งใส และเอื้อประโยชน์ต่อนายทุน มีการให้ข้อมูลว่าจัดเวทีประชาพิจารณ์แล้วไม่มีคนคัดค้าน ทั้งที่ไม่เคยมีเวทีดังกล่าวและชาวบ้านคัดค้าน มีการทำรายงานว่าการทำงานของคณะทำงานชี้แจงข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการขอรับใบอนุญาตฯ ขาดความต่อเนื่อง ทั้งที่เป็นเพราะอุตสาหกรรมจังหวัดได้ลัดขั้นตอนกระบวนการมีส่วนร่วม และไม่ปฏิบัติตามมติ นอกจากนี้ยังหลอกชาวบ้านในพื้นที่ว่าจะไม่เสนอให้มีการอนุญาตแล้ว ทำให้ชาวบ้านหลงเชื่อว่าจะไม่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าแล้ว แต่กลับยื่นหนังสือต่อกรมโรงงานเพื่อขออนุญาตให้แก่นายทุน สำหรับข้อเสนอของชาวบ้านในการแก้ปัญหานั้น ชาวบ้านได้เสนอให้ มีการตรวจสอบพฤติกรรม และการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมจังหวัดว่ามีความโปร่งใสเป็นธรรมหรือไหม และหากจะสร้างโรงไฟฟ้าต้องสร้างห่างจากชุมชนอย่างน้อย 10 กิโลเมตร รวมทั้งต้องนำข้อมูลการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพเบื้องต้นที่ชาวบ้านกำลังดำเนินการอยู่มาประกอบการพิจารณา โดยในระหว่างนี้ควรมีคำสั่งให้บริษัทฯ หยุดการดำเนินการก่อสร้าง และขอให้กรมโรงงานระงับการอนุญาตไว้ก่อนจนกว่าจะมีการศึกษาและตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนในอนาคต สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น