ประชาไท | Prachatai3.info |
- ตำรวจ ชร.ปล่อยตัว 3 คนขายรองเท้าแตะ เบื้องต้นตักเตือนและยึดรองเท้าไว้ตรวจสอบ
- คลิปล็อบบี้คดียุบ ปชป. โผล่ Youtube
- 38 เครือข่าย นศ.- ภาคประชาสังคม ค้านปฏิรูปประเทศบนกองศพ จี้ปล่อยนักโทษการเมือง
- ตำรวจรวบ นักเรียน ม.5 เชียงราย ขณะขายรองเท้าแตะที่ถนนคนเดิน
- 39 คนงานไทย "ส่งจดหมาย-ร่วมประชุม" กับสหภาพฯ สวีเดน ด้านคนค้ำฯ บริษัทโผล่ อ้างจ่ายค่าจ้างแน่
- ไต่สวนคุ้มครองชั่วคราวพื้นที่โรงไฟฟ้าหนองแซง หวังศาลมีคำสั่งก่อนโครงการเริ่มก่อสร้าง พ.ย.นี้
- คนงานพม่า รง.ทออวนเดชา "ประท้วง-หนี" อีก "ขอวีซ่าคืน-ไปทำงานที่อื่น" ระบุได้ค่าแรงไม่เท่าคนไทย
- รายงานเสวนา : อนาคต "ประชาธิปไตย?"(ปรองดอง ปฏิรูป รัฐบาลแห่งชาติ และรัฐประหาร)
- บทเรียน 14 ตุลา : ขบวนการนักศึกษาก้าวหน้าต้องไม่ลืมปัญหาปากท้อง....
- อนุมัติหมายจับ 5 แนวร่วมพันธมิตรฯ ยึดสนามบิน
- จาก "ประชาไท" ถึง "วิทยุชุมชนแปลงยาว": เผย "สื่อทางเลือก" ถูกเล่นงานทั้งโดยกฎหมายเก่า-ใหม่
- ข่าวพม่ารอบสัปดาห์
- นักวิชาการประณามรัฐบาลไทยขัดขวางเสรีภาพทางวิชาการ ไม่ออกวีซ่าให้นักวิชาการเวียดนาม
- ข้อโต้แย้งนายมีชัย ฤชุพันธุ์ : ความรับผิดของเจ้าของปั๊มน้ำมัน ต่อข้อความหมิ่นกษัตริย์ตามผนังห้องน้ำ
- ศาล ปค.สั่งชั่วคราวให้"พิศิษฐ์"รักษาการผู้ว่า สตง.ก่อนตัดสิน 19 ต.ค.
ตำรวจ ชร.ปล่อยตัว 3 คนขายรองเท้าแตะ เบื้องต้นตักเตือนและยึดรองเท้าไว้ตรวจสอบ Posted: 16 Oct 2010 10:23 AM PDT คนขายรองเท้าแตะลายหน้าคล้าย “อภิสิทธิ์” 3 คน ซึ่งมีนักเรียน ม.5 รวมอยู่ด้วย ถูกปล่อยตัวแล้ว โดยตำรวจยึดรองเท้า 24 คู่ ไว้ตรวจสอบ ลงบันทึกประจำวันระบุเบื้องต้นแค่ตักเตือน หากพบเป็นการกระทำผิดจะมีการดำเนินการทางกฎหมาย วานนี้ (16 ต.ค.53) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่มีการนำตัวผู้ค้ารองเท้าแตะลายคลายหน้านายกไปที่ สภ.อ.เมืองเชียงราย เมื่อช่วงค่ำที่ผ่านมา ล่าสุด ผู้ที่ถูกนำตัวไปมีจำนวน 3 คน ทราบชื่อคือ นายธนิต บุญญลสินีเกษม คนเสื้อแดงเชียงราย นายรุ้ง คลองแสนเมือง และนักเรียนชาย ม.5 อายุ 17 ปี โดยทั้งหมดได้ถูกปล่อยตัวแล้วเมื่อเวลาประมาณ 23.30 น. เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยึดรองเท้าแตะ 24 คู่ ไว้ตรวจสอบ โดยหากพบว่าเป็นการกระทำผิดจะมีการดำเนินการทางกฎหมายต่อไป จากรายงานประจำวัน ระบุว่า “ร.ต.อ.สันติ สิริสำราญ พนักงานสอบสวน ได้รับบันทึกและตรวจยึดไว้แล้ว และได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ เบื้องต้น พิจารณาแล้วเห็นว่า การนำรองเท้าแตะที่มีใบหน้านายกรัฐมนตรี-รัฐบาลไทย วางจำหน่ายนั้น เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ขัดต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน ในชั้นนี้ จึงได้ตักเตือนเพื่อให้ระงับยับยั้งการกระทำดังกล่าว และหากตรวจสอบแล้ว ว่าเป็นการกระทำที่เข้าข่ายการกระทำผิดตามกฎหมายจะได้เรียกผู้เกี่ยวข้องมาดำเนินการต่อไป ซึ่งนายธนิต กับพวก 3 คนได้รับทราบและเข้าใจดีแล้ว ยินยอมให้ตรวจยึดสิ่งของไว้ตรวจสอบได้ และยืนยันว่าการกระทำของตนกับพวกไม่เป็นความผิดตามกฎหมายจึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน” สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
คลิปล็อบบี้คดียุบ ปชป. โผล่ Youtube Posted: 16 Oct 2010 10:09 AM PDT มีผู้เผยแพร่คลิปเจรจาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ใน Youtube มีคนหน้าคล้าย "จรัล ภักดีธนากุล" โผล่ด้วย เจ้าตัวให้สัมภาษณ์ "มติชน" ยังไม่ได้ดูคลิปดังกล่าว แต่เชื่อเป็นเจ้าหน้าที่ศาลแอบถ่าย ด้านเฟซบุค "สุริยะใส" มีการเอาไปโพสต์ต่อ มติชนออนไลน์ รายงานวันนี้ (16 ต.ค.) ว่า ขณะนี้ มีการเผยแพร่คลิปลับกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์ ทางเว็บไซต์ Youtube แล้ว ซึ่งเป็นคลิป ที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย อ้างว่า เป็นการวิ่งเต้นในคดีนี้ของ ส.ส. ประชาธิปัตย์ซึ่งเป็น แกนนำ กรรมการบริหารพรรค และเป็นหนึ่งในทีมทนายในการสู้คดียุบพรรค เป็นคนไปเข้าพบ ผู้ใหญ่ระดับบิ๊กคนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนสนิทของประธานศาลรัฐธรรมนูญโดยตำแหน่ง โดยคลิปลับดังกล่าว มีทั้งหมด 5 ตอน โดยเริ่มเผยแพร่ เมื่อเวลา 22.00 น. ของคืนวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยตอนแรกเป็นภาพนิ่ง มีภาพคล้าย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ในสถานที่แห่งหนึ่ง ตอนที่ 2-5 เป็นการสนทนากับคนสนิทของศาลรัฐธรรมนูญ โดยตอนที่ 2 ความยาว 8 นาที ตอนที่ 3 ความยาว 11 นาที ตอนที่ 4 ความยาว 11 นาที ตอนที่ 5 ความยาว 11 นาที ผู้ที่เผยแพร่คลิปลับดังกล่าว ใช้ชื่อว่า "ohmygod3009" ด้านนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีปรากฎคลิปภาพและเสียงบนเว็บไซต์ การประชุมหารือของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่า ยังไม่ได้ดูคลิปดังกล่าว แต่โดยปกติแล้วเวลาตุลาการประชุมหารือข้อกฎหมายจะมีเจ้าหน้าที่นั่งในที่ประชุมด้วย จึงไม่ทราบว่ามีการบันทึกภาพหรือเสียง ทั้งนี้ หากเป็นกรณีประชุมคดีสำคัญมากๆ ตุลาการจะไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมด้วย "ตุลาการไม่มีสิทธิห้ามให้บุคคลใดเข้าพบ หรือมาเยี่ยม แต่จะมีวิธีการของแต่ละคน ที่ต้องระมัดระวังต้อง ไม่ให้กลายเป็นที่ครหาได้ แต่โดยปกติแล้วเจ้าหน้าที่จะคอยกรองบุคคล เข้าพบเบื้องต้นอยู่แล้ว"นายจรัญกล่าว ผู้สื่อข่าวถามว่า คลิปที่เผยแพร่ ซึ่งมีท่านนั่งเป็นลักษณะการแอบถ่าย นายจรัญหัวเราะพร้อมกับกล่าวว่า "คงเป็นเจ้าหน้าที่ เพราะเวลาประชุมข้อกฎหมาย ก็จะมีเจ้าหน้าที่นั่งอยู่เต็มห้อง" นอกจากนี้มีรายงานว่าในเฟซบุคของนายสุริยะใส กตะศิลา ได้มีการโพสต์ลิ้งค์ของคลิปดังกล่าวด้วยเช่นกัน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
38 เครือข่าย นศ.- ภาคประชาสังคม ค้านปฏิรูปประเทศบนกองศพ จี้ปล่อยนักโทษการเมือง Posted: 16 Oct 2010 09:29 AM PDT เครือข่ายภาคประชาชน นักกิจกรรม ร่วมลงชื่อ แถลงการณ์
แถลงการณ์ดังกล่าวมีเนื้อหาดังนี้
แถลงการณ์ หยุดปฏิรูปประเทศไทยบนกองศพวีรชน เพื่อระบอบอำมาตย์ หยุดอำนาจอำมาตย์นอกระบบ เสริมสร้างอำนาจประชาธิปไตย ปลดปล่อยนักโทษการเมือง คืนอำนาจอธิปไตยให้ประชาชน สืบเนื่องมาจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา คณะรัฐประหารชุดนี้ได้ดำเนินการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 40 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และคณะรัฐประหารชุดนี้ได้มีกระบวนการร่างและสร้างรัฐธรรมนูญ 50 ขึ้นมาแทนซึ่งรัฐธรรมนูญ 50 นี้ ได้ให้อำนาจกับอำนาจนอกระบอบการเมืองที่ไม่เชื่อมโยงกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นเหตุให้อำนาจของระบอบอำมาตยาธิปไตย จึงหวนคืนสู่สังคมการเมืองไทยอีกคำรบหนึ่ง ความอัปลักษณ์ของการรัฐประหารในครั้งนั้น ยังได้นำพาสังคมไทยสู่ความขัดแย้งที่ลุกลามขยายใหญ่มากที่สุดในประวัติศาสตร์สังคมไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะเหตุการณ์การล้อมปราบสังหารหมู่ประชาชนคนเสื้อแดงผู้เรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์หุ่นเชิดของระบอบอำมาตย์ ดำเนินการยุบสภา เพื่อคืนอำนาจอธิปไตยให้ประชาชนตามหลักการทั่วไปของระบอบประชาธิปไตย แต่รัฐอำมาตย์อภิสิทธิ์ชน กลับก่อ “อาชญากรรมแห่งรัฐ” ขึ้น โดยได้ใช้อำนาจเหี้ยมโหดอำมหิตเข่นฆ่าประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ ไม่ต่างจากเหตุการณ์การล้อมปราบนักศึกษา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โศกนาฎกรรมทางการเมืองในครั้งนี้ จึงซ้ำรอยประวัติศาสตร์การเมืองไทย อย่างไรก็ตาม ภายหลังการปราบปรามสังหารหมู่ประชาชนคนเสื้อแดง มีผู้สูญเสียชีวิต 92 ชีวิต และผู้บาดเจ็บสองพันกว่าคน รัฐอำมาตย์อภิสิทธิ์ชนยังได้ดำเนินการกระชับอำนาจนิยมเผด็จการมากยิ่งขึ้น โดยมีการจับกุมแกนนำและคนเสื้อแดงทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉุกเฉินเร่งด่วน มีการกดทับเสรีภาพของสื่อสารมวลชนโดยการปิดเว็บไซต์ วิทยุชุมชน สื่อโทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ทีมีความคิดเห็นต่างจากรัฐอำมาตย์อภิสิทธิ์ชน นอกจากนี้แล้วท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างประชาชนคนเสื้อแดงผู้รักในระบอบประชาธิปไตยกับผู้ได้อำนาจจากระบอบอำมาตยาธิปไตย รัฐบาลอภิสิทธิ์หุ่นเชิดของระบอบอำมาตย์ยังใช้กลยุทธ์ให้เครือข่ายอำมาตย์ของพวกเขาดำเนินการปฏิบัติการณ์ “ปฏิรูปประเทศไทย” โดยมีอานันท์ ปันยารชุณ และประเวศ วะสี เป็นผู้นำ และใช้กลไกเครือข่ายขุนนางเอ็นจีโอ ซึ่งล้วนแล้วได้เคลื่อนไหวทั้งตรงและอ้อม เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐอำมาตย์อภิสิทธิ์ชนมาโดยตลอด และที่สำคัญได้เบี่ยงเบนประเด็นการถามหา ใครฆ่าประชาชน ? ใครสั่งฆ่าประชาชน ? ใครต้องรับผิดชอบ? ใครต้องถูกลงโทษ ?จากประชาชนคนเสื้อแดง หรือเป็น การปฏิรูปบนกองศพของวีรชนไพร่แดง นั่นเอง และจะมีการจัดเวทีปฏิรูปประเทศไทยในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ โดยชูคำขวัญ “ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ทั้งๆที่หลักการของการปฏิรูปประเทศไทย ที่สำคัญในห้วงปัจจุบันนั้นต้อง “หยุดอำนาจอำมาตย์นอกระบบ เสริมสร้างอำนาจประชาธิปไตย” ต่างหาก เราในนาม องค์กรที่มีรายชื่อข้างล่าง ซึ่งมีจุดยืนเพื่อระบอบประชาธิปไตย เพื่อความเป็นธรรม เพื่อความเสมอภาค เพื่อเสรีภาพ และเพื่อสันติสุขในสังคมไทย มีข้อเรียกร้องและมีความคิดเห็นดังต่อไปนี้ 1. รัฐต้องดำเนินการปล่อยนักโทษการเมืองโดยเร่งด่วน เนื่องจากพวกเขามิใช่อาชญากรแต่อย่างใด พวกเขาเป็นเพียงผู้มีความคิดเห็นต่างจากรัฐบาลเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย 2. รัฐต้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยุติการปิดกั้นสื่อ หยุดข่มขู่คุกคามประชาชน คืนเสรีภาพให้สื่อ ให้ประชาชนในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากรัฐได้ ซึ่งความต่างทางความคิดย่อมเป็นเรื่องทีสร้างสรรค์ในสังคมประชาธิปไตย ไม่เหมือนกับระบอบอำนาจนิยมเผด็จการที่ผู้ปกครองเท่านั้นผูกขาดความคิดเห็น 3. รัฐต้องยุติการสร้างภาพลวงตาในการปฏิรูปประเทศไทย ต้องหยุดการปฏิรูปประเทศไทยเพื่อระบอบอำมาตย์ โดยเครือข่ายอำมาตย์ ซึ่งใช้งบประมาณภาษีประชาชนจำนวนถึง 600 ล้านบาท เป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ และการปฏิรูปประเทศที่ดำเนินการกันอยู่นั่น ประชาชนคนเสื้อแดงซึ่งมีจำนวนมากในประเทศก็ไม่ได้มีส่วนร่วมแต่อย่างใด การปฏิรูปประเทศไทยเพียงเพื่อคงอำนาจของระบอบอำมาตย์เท่านั้นเอง 4 เรามีความคิดเห็นว่า การปฏิรูปประเทศไทย ต้องให้ประชาชนทั่วประเทศมีส่วนร่วม เหมือนกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ 40 มิใช่ประชาชนเพียงบางส่วนอย่างที่กระทำกันอยู่ ที่สำคัญการปฏิรูปประเทศไทยต้องมีเป้าหมาย เพื่อ”หยุดอำนาจระบอบอำมาตยาธิปไตย สร้างอำนาจระบอบประชาธิปไตย” ซึ่งจะนำสู่การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม ความไม่เสมอภาคในทุกด้านของสังคมไทยได้อย่างแท้จริงและเป็นการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคนที่เท่าเทียมกัน 5. เรามีความคิดเห็นว่า การปฏิรูปประเทศไทย ที่สำคัญนั้นต้องดำเนินการปฏิรูปกองทัพ เพื่อไม่ให้กองทัพแทรกแซงทางการเมือง เพื่อไม่ให้กองทัพกระทำรัฐประหาร กองทัพจึงต้องอยู่ภายใต้รัฐบาลประชาธิปไตย และกระบวนการพัฒนากองทัพต้องมีการจัดสรรอำนาจและบังคับบัญชาที่เป็นประชาธิปไตย เหมือนอารยะประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย ตลอดทั้งไม่ให้องคมนตรีแทรกแซงการเมืองด้วยเช่นกัน 6 เรามีความคิดเห็นว่า การปฏิรูปประเทศไทย ที่สำคัญนั้นต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม กฎหมายต้องมีความเป็นธรรม ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน การบังคับใช้กฎหมายต้องไม่มีสองมาตรฐาน หรือนิติรัฐต้องมีนิติธรรมอยู่ในตัวมันเอง ตลอดทั้งต้องมีการใช้ระบบลูกขุน เหมือนอารยประเทศ และเพื่อไม่ให้ศาลผูกขาดอำนาจอย่างที่เป็นอยู่ 7 นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องดำเนินการยุบสภาโดยเร่งด่วน เพื่อคืนอำนาจอธิปไตยให้ประชาชน เพื่อแก้ไขรากเหง้าปัญหาความขัดแย้งทั้งปวง เพื่อเคารพสิทธิ์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนเท่าเทียมกันในการเลือกผู้ปกครองผู้บริหารประเทศตามหลักการประชาธิปไตยระบอบรัฐสภา ซึ่งทุกคนมีหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงเหมือนกันไม่ว่าคนจนหรือคนรวย ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย ไม่ว่าคนพิการหรือคนไม่พิการ ไม่ว่าผู้ดีหรือไพร่ ฯลฯ และระบอบประชาธิปไตยรัฐสภานั้น ก็มีวาระในการเลือกตั้งที่แน่นอน การยุบสภาจึงเป็นหนทางนำสังคมไทยสู่ความปรองดองที่แท้จริงได้ ตลอดทั้งการเสนอให้มีรัฐบาลแห่งชาติก็มิใช่ทางออกที่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย 1เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย 2กลุ่มประกายไฟ 3องค์กรเลี้ยวซ้าย 4กลุ่มกรรมกรแดง 5สหภาพแรงงานกรุงเทพผลิตเหล็ก 6เครือข่ายองค์กรชุมชนแก้ปัญหาที่ดินภาคอีสาน (คอป.อ.) 7เครือข่ายองค์กรชาวบ้านลุ่มน้ำปาว (คอป.) 8เครือข่ายอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภูค้อ-ภูกระแต จังหวัดเลย 9เครือข่ายคนรุ่นใหม่ภาคอีสาน (คอส.) 10แนวร่วมเกษตรกรภาคอีสาน (นกส.) 11เครือข่ายคนรุ่นใหม่ลุ่มน้ำโขง จังหวัดอุบลราชธานี 12กลุ่มสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมอีสาน (กสส.) 13กลุ่มดงมูลเพื่อการพัฒนา จังหวัดกาฬสินธุ์ 14เครือข่ายอนุรักษ์ภูผาเหล็ก จังหวัดอุดรธานี 15กลุ่มภูพานเพื่อการพัฒนา จังหวัดสกลนคร 16เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยภูมิ 17กลุ่มประชาชนไทยแวงน้อย-แวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น 18กลุ่มเยาวชนมิตรภาพ จังหวัดขอนแก่น 19กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์น้ำพรมตอนต้น จังหวัดชัยภูมิ 20กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ลุ่มน้ำบัง จังหวัดนครพนม 21เครือข่ายคนรุ่นใหม่ยโสธร จังหวัดยโสธร 22สหพันธ์เยาวชนอีสาน (สยส.) 23แนวร่วมเกษตรกรภาคเหนือ (นกน.) 24ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือตอนล่าง 25เครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมพู จังหวัดพิษณุโลก 26เครือข่ายส่งเสริมสิทธิการจัดการทรัพยากรภาคเหนือตอนล่าง (คสปล.) 27สหพันธ์เยาวชนคลองเตย (สยค.) 28เครือข่ายองค์กรชุมชนคลองเตย 29เครือข่ายชุมชนเมืองบ่อนไก่ กทม. 30กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ 31เครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนเขลาโคก จังหวัดร้อยเอ็ด 32เครือข่ายองค์กรชาวบ้านนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 33กลุ่มคนรุ่นใหม่ภาคใต้ 34กลุ่มนักศึกษาภาคเหนือเพื่อประชาธิปไตย 35กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ 36สหพันธ์นิสิตนักศึกษาอีสาน (สนนอ.) 37สมัชชาสังคมก้าวหน้า 38สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ (TWFT)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ตำรวจรวบ นักเรียน ม.5 เชียงราย ขณะขายรองเท้าแตะที่ถนนคนเดิน Posted: 16 Oct 2010 08:21 AM PDT “นร.ม.5 เชียงราย” ถูกจับรอบ 2 เหตุขายรองเท้าหน้าคล้าย “อภิสิทธิ์-สุเทพ” ตร.ยังไม่แจ้งข้อกล่าวหา ขณะนี้รอสอบสวนอยู่ที่ สภ.อ.เมืองเชียงราย ภาพเหตุการณ์ที่ถูกเผยแพร่ต่อกันในเฟซบุ๊ก วันนี้ (16 ต.ค.53) เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. แม่ของเด็กนักเรียนชั้น ม.5 เชียงรายซึ่งเคยถูกจับในข้อหาผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กรณีทำกิจกรรมชูป้ายเห็นคนตายที่ราชประสงค์ โทรแจ้งผู้สื่อข่าวว่า ในช่วงเย็นวันนี้ เด็กนักเรียนคนดังกล่าวพร้อมเพื่อนถูกตำรวจเข้าจับกุมและนำตัวไปที่ สภ.อ.เมืองเชียงราย เนื่องจากได้นำรองเท้าที่มีภาพพิมพ์หน้าบุคคลคล้ายนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ไปขายที่ถนนคนเดิน แม่ของเด็กนักเรียนชั้น ม.5 กล่าวด้วยว่าขณะเกิดเหตุ ตนรับประทานอาหารอยู่ในบริเวณใกล้เคียง เมื่อทราบเรื่องได้พยายามเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าจับกุมซึ่งเป็นตำรวจคนเดียวกันกับที่เคยเข้าไปข้อคนข้อมูลที่บ้านก่อนหน้านี้ แต่ ตร.คนดังกล่าวอ้างว่าต้องทำตามหน้าที่ตามที่ได้มีการสั่งการมา แต่ก็ไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแต่อย่างใด หลังจากนั้นก็ได้นำตัวลูกชายพร้อมเพื่อนไปที่ สภ.อ.เมืองเชียงราย แม่ของเด็กนักเรียนชั้น ม.5 ให้ข้อมูลด้วยว่า ในช่วงบ่ายวันเดียวกันนี้ลูกชายและกลุ่มเพื่อนได้นำรองเท้าที่มีภาพเช่นเดียวกันนี้ ไปขายที่หน้างานเสวนาของคนเสื้อแดงซึ่งจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ซึ่งตนก็ได้สอบถามลูกชายแล้วเนื่องจากไม่ต้องการให้ต้องถูกดำเนินคดีจนเป็นเรื่องเป็นราวอีก เพราะจะส่งผลกระทบถึงครอบครัว แต่ลูกชายบอกว่าได้พูดคุยกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วว่าจะไม่มีการจับกุม ซึ่งการขายรองเท้าในช่วงบ่ายที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่เมื่อนำมาขายที่ถนนคนเดินกลับถูกตำรวจเข้ามาจับกุม ซึ่งส่วนตัวคิดว่าอาจเป็นเพราะลูกของเธอเคยถูกแจ้งข้อหามาก่อนหน้านี้จึงถูกจับตาเป็นพิเศษ ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธนิต บุญญลสินีเกษม คนเสื้อแดงเชียงราย ซึ่งเคยถูกแจ้งข้อหาในคดีผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ร่วมกับนักเรียน-นักศึกษาเชียงราย กรณีชูป้ายก่อนหน้านี้ ได้ถูกตรวจเรียกตัวสอบสวนแล้ว ขณะนี้อยู่ที่ สภ.อ.เชียงราย และอยู่ระหว่างแจ้งข้อกล่าวหา โดยมีทนายร่วมรับฟังด้วย อนึ่ง ขณะนี้จังหวัดเชียงรายได้มีการยกเลิกการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่แล้ว สำหรับความคืบหน้าผู้สื่อข่าวจะรายงานให้ทราบต่อไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
39 คนงานไทย "ส่งจดหมาย-ร่วมประชุม" กับสหภาพฯ สวีเดน ด้านคนค้ำฯ บริษัทโผล่ อ้างจ่ายค่าจ้างแน่ Posted: 15 Oct 2010 02:16 PM PDT 39 คนงานไทยในสวีเดนทำจดหมายถึงสหภาพฯ สวีเดน-ร่วมประชุม ขอต่อวีซ่าอยู่จนกว่ากระบวนการจ่ายเงินเดือนที่ค้างจ่ายให้คนงานจะเป็นที่เรียบร้อย ด้านคนค้ำประกันบริษัทโผล่ อ้างจ่ายค่าจ้างแน่
เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 53 ที่ผ่านมา Support the struggle of Thai berries pickers in Sweden รายงานว่าคนงานเก็บเบอรรี่ที่เมือง Asele เดินเท้าสองกิโลเมตรเพื่อไปประชุมร่วมกับทางเจ้าหน้าที่อำเภอ Asele และสหภาพแรงงาน Kommunal พร้อมทั้งยืนจดหมายติดตามความคืบหน้าเรื่องการติดตามเงินเดือน ทั้งนี้คนงานได้ระบุว่า ก่อนจะเริ่มประชุม ได้มีการฉายหนังสารคดี "เรื่องเล่าของคนอีสาน 39 คนในสวีเดน" ให้กับผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งมีทั้งนักข่าววิทยุ หนังสือพิมพ์ และทีวี พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ของอำเภอ และตัวแทนสหภาพคอมมูนอล 3 ท่าน ซึ่งสารคดีของพวกเราได้รับความสนใจจากทุกคน หลังจากนั้นได้มีการอ่านจดหมายที่ลงชื่อของทั้ง 39 คน โดยมีล่ามแปลเป็นภาษาสวีเดน Olle Anderson หนึ่งในผู้บริหารที่หายตัวไป ได้เดินทางมาพบกับคนงานตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 53 ที่ผ่านมา และในวันนี้ได้เข้าร่วมประชุมด้วย โดยทำหนังสือเป็นรายลักษณ์อักษร แจ้งกับคนงานว่า บริษัทพร้อมรับผิดชอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจะไม่มีการหักเงินเดือนเพื่อ เป็นค่าอาหาร ที่พัก และค่ารถ จากคนงานทุกคน พร้อมทั้งแสดงความจริงใจในการร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหา เพราะแม้ว่าหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทจะเป็นคนเชิดเอาเงินไปทั้งนั้น แต่ตัว Olle Anderson เป็นคนค้ำประกันให้คนไทยทั้งหมดมาที่สวีเดน จึงเดินทางมาพบกับคนงานและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงความรับผิดชอบ ประเด็น หลักๆ ของการประชุมวันนี้คือการหาความชัดเจนของเงื่อนไขเวลา เพราะวีซ่าคนงานจะหมดในวันที่ 20 ต.ค. 53 โดยข้อสรุปของการประชุมวันนี้ คือทางสหภาพฯ จะรับผิดชอบทำเรื่องขอวีซ่าเพื่ออยู่ต่อ และจัดการเลือนตัวเครื่องบิน โดยแจ้งว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 2 อาทิตย์ จนกว่ากระบวนการจ่ายเงินเดือนที่ค้างจ่ายให้คนงานจะเป็นที่เรียบร้อย โดยคนงานทุกคนพอใจกับผลการพูดคุยวันนี้ และขอบคุณทุกแรงสนับสนุน และกำลังใจ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ไต่สวนคุ้มครองชั่วคราวพื้นที่โรงไฟฟ้าหนองแซง หวังศาลมีคำสั่งก่อนโครงการเริ่มก่อสร้าง พ.ย.นี้ Posted: 15 Oct 2010 01:49 PM PDT ศาลปกครองกลางไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ก่อนการพิพากษาคดี กรณีชาวบ้านสระบุรี-อยุธยา ฟ้องเพิกถอนใบอนุญาตฯ โรงไฟฟ้าหนองแซง ขณะ บ.โรงไฟฟ้าส่งตัวแทนแจงผลกระทบอาจต่อเนื่องถึงความต้องการไฟฟ้าในระบบพลังงาน ด้านทนายความคาดศาลจะมีคำสั่งก่อนกำหนดการเข้าพื้นที่ก่อสร้างโครงการ พ.ย.นี้ วานนี้ (15 ต.ค.53) เวลา 10.00 น.ศาลปกครองกลาง นัดไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษาคดี กรณีชาวบ้านสระบุรี-อยุธยา ฟ้องคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ด้านโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ฐานออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงไฟฟ้า และมีมติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโรงไฟฟ้า เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น ซัพพลาย ซึ่งจะทำการก่อสร้างในพื้นที่ อ.หนองแซง จ.สระบุรี โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าดังกล่าว สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 21 ก.ย.53 ชาวบ้านอ.หนองแซง จ.สระบุรี และ อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา จำนวน 61 คน ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อให้ตรวจสอบการพิจารณาออกใบอนุญาต และให้ความเห็นชอบต่อ EIA ของทั้ง 2 หน่วยงานดังกล่าว เนื่องจากอาศัยฐานข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ทั้งในประเด็นการแย่งชิงทรัพยากรน้ำ ซึ่งในชุมชนที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำในภาคเกษตรอยู่แล้วเดิม และความไม่เหมาะสมในการนำพื้นที่เกษตรกรรมและนาข้าวมาตั้งโรงไฟฟ้า อีกทั้งยังขัดต่อร่างผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรีที่กำลังจะประกาศบังคับใช้ นอกจากนี้ คำร้องได้ขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว โดยทุเลาการบังคับใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือสั่งระงับการดำเนินการใดๆ ในพื้นที่โครงการไว้เป็นการชั่วคราวก่อนศาลมีคำพิพากษา นายสงกรานต์ ป้องบุญจันทร ทนายความจากโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) และทนายความผู้รับมอบอำนาจผู้ฟ้องคดี ให้ข้อมูลว่า ในวันนี้ชาวบ้านกว่า 70 ได้มาร่วมฟังการไต่สวน ซึ่งมีทั้งตัวแทนคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และ ตัวแทน คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ รวมทั้งตัวแทนจากโรงไฟฟ้า เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น ซัพพลาย เข้าให้รับการไต่สวน ซึ่งทางตัวแทนจากโรงไฟฟ้าฯ ได้ให้เหตุผลคัดค้านการคุ้มครองชั่วคราวในพื้นที่ว่าอาจทำให้การดำเนินโครงการล่าช้าซึ่งจะส่งผลต่อการส่งไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ ซึ่งกระทบต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าและความมั่นคงทางพลังงานของประเทศได้ นายสงกรานต์กล่าวด้วยว่า ในส่วนของชาวบ้าน ซึ่งต้องการให้มีการคุ้มครองพื้นที่ชั่วคราวนั้น มีความเห็นว่าหากมีการเดินหน้าโครงการในพื้นที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ อีกทั้ง ภายหลังจากนี้หากศาลพิจารณาตัดสินให้มีการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการ แต่ในพื้นที่กลับมีการเริ่มต้นโครงการไปแล้ว การดำเนินการทางกฎหมายอาจไปเกี่ยวเนื่องกับหน่วยงานรัฐอีกหลายหน่วยงาน อย่างไรก็ตาม นายสงกรานต์ ให้ข้อมูลว่า ในวันนี้ศาลยังไม่ได้มีคำสั่งให้มีการคุ้มครองชั่วคราวพื้นที่หรือไม่ และหลังการไต่สวนศาลได้เรียกเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม คาดว่าคงต้องใช้เวลาในการพิจารณาเอกสาร แต่คิดว่าคำสั่งศาลคงมีก่อนการเริ่มโครงการ ซึ่งโรงไฟฟ้ามีกำหนดเข้าดำเนินงานในพื้นที่ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลาง นัดไต่สวนคำร้องขอบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาในคดีที่ชาวบ้าน อ.หนองแซง จ.สระบุรี ยื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กับพวกรวม 4 คน เหตุละเลยการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรในการดำเนินการประกาศผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี ทำให้ในระหว่างที่ผังเมืองรวมจังหวัดยังไม่มีผลบังคับใช้ มีการอนุมัติอนุญาตให้มีการดำเนินการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าในพื้นที่ ซึ่งขัดต่อร่างผังเมืองรวมที่วางไว้ เนื่องจากตามร่างนั้นพื้นที่ อ.หนองแซง ได้รับการกำหนดให้เป็นพื้นที่เขตอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมที่มีข้อกำหนดห้ามก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในพื้นที่ ซึ่งศาลยังไม่มีคำสั่งเช่นกัน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
คนงานพม่า รง.ทออวนเดชา "ประท้วง-หนี" อีก "ขอวีซ่าคืน-ไปทำงานที่อื่น" ระบุได้ค่าแรงไม่เท่าคนไทย Posted: 15 Oct 2010 01:16 PM PDT แรงงานพม่า รง.ทออวนเดชา จ.ขอนแก่น ประท้วงอีกครั้ง คราวนี้ขอวีซ่าคืน-จะไปทำงานที่อื่น ระบุได้ค่าแรงไม่เท่าคนไทย นายจ้างแบ่งชนชั้นเหยียดหยามมนุษย์ด้วยกัน 15 ต.ค. 53 - เนชั่นทันข่าวรายงานว่าที่บริเวณหน้าโรงงานทออวนเดชาของ หจก.โรงงานทออวนเดชาพานิช เลขที่ 191 ถนนมิตรภาพ บ้านสำราญ ต.สำราญ อ.เมือง ได้มีแรงงานชาวพม่ากว่า 800 คน กำลังชุมนุมก่อเหตุประท้วงนายจ้างอีกครั้ง หลังจากที่นายจ้างได้ยึดหนังสือเดินทาง หรือพาสปอร์ตไปของแรงงานชาวพม่าทั้งหมดไป เพื่อไม่ให้แรงงานชาวพม่าได้เดินทางไปไหนมาไหนตามความต้องการ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 9 ก.ย.53 ที่ผ่านมา การชุมนุมของแรงงานชาวพม่าที่ออกมาเรียกร้องขอคืนพาสปอร์ตในครั้งนี้ ส่วนใหญ่ให้เหตุผลตรงกันว่า แรงงานพม่าทุกคนถูกเอารัดเอาเปรียบ นายจ้างไม่จ่ายค่าแรงให้กับชาวพม่าเทียบเท่ากับแรงงานชาวไทยในราคาวันละ 157 บาท เนื่องจากนายจ้างจ่ายค่าแรงให้วันละ 144 บาท ซึ่งทุกคนทำงานเหมือนกันแต่ค่าตอบแทนได้ไม่เท่ากัน จึงถือว่าเป็นการลิดรอนสิทธิมนุษยชน อีกทั้งการกระทำของนายจ้างแห่งนี้ มีการแบ่งชนชั้นเหยียดหยามมนุษย์ด้วยกัน ชาวพม่าทุกคนจึงขอวีซ่าคืนเพื่อจะได้ไปหางานทำที่ใหม่ หรือขอวิซ่าคืนเพื่อเดินทางกลับบ้าน จึงทำให้ตั้งแต่ช่วงเช้าเป็นต้นมาแรงงานพม่าหนีออกจากโรงงาน พร้อมกับเคลื่อนกำลังพลไปพักอยู่ที่วัดป่าบ้านสำราญ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากโรงงานทออวนเดชาของ หจก.โรงงานทออวนเดชาพานิช ไม่ไกลนัก ดังนั้นจึงทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองขอนแก่น ต้องจัดกำลังเจ้าหน้าที่หลายสิบนายเข้าไปควบคุมดูแล เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการก่อเหตุความวุ่นวายเกิดขึ้น อีกทั้งหากมีการหลบหนีออกนอกพื้นที่ก็ถือว่ามีความผิด ตำรวจสามารถจับกุมดำเนินคดีได้ และขณะนี้ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดขอนแก่น และกับฝ่ายนายจ้างแรงงานทออวนเดชากำลังหาลือกันเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาและเข้าเจรจา ซึ่งเบื้องต้นยังไม่สามารถที่จะตกลงกันได้ เนื่องจากกลุ่มแรงงานพม่าไม่ยอมพูดคุย ยืนยันที่จะขอวีซ่าคืนอย่างเดียว ที่มาข่าว: แรงงานพม่า ประท้วงหนีนายจ้างออกจากรง.แหอวน (เนชั่นทันข่าว, 15-10-2553)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
รายงานเสวนา : อนาคต "ประชาธิปไตย?"(ปรองดอง ปฏิรูป รัฐบาลแห่งชาติ และรัฐประหาร) Posted: 15 Oct 2010 11:57 AM PDT เมื่อวันที่ 13 ต.ค.53 เวลา 13.30 น. มีการเสวนาวิชาการ หัวข้อ อนาคต "ประชาธิปไตย ?" (ปรองดอง ปฏิรูป รัฐบาลแห่งชาติ และรัฐประหาร) โดย ไชยันต์ รัชชกูล อาจารย์จากสถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ, ศรีวรรณ จันทร์ผง ผู้ประสานงาน นปช. เชียงใหม่, ปรีชาพล ชูชัยมงคล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย , ชำนาญ จันทร์เรือง อาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักแปลอิสระ ดำเนินรายการโดย ณัฐกร วิทิตานนท์ อาจารย์สำนักนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ณ ห้องมัณฑเลย์ สถานวิชาการนานาชาติ สำนักบริหารวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (IC) จัดโดยกลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ แนวร่วมกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้แรงงาน ภาคเหนือ กลุ่มไร้สังกัด “ไชยันต์ รัชชกูล” ประชาธิปไตยเฉพาะหน้าไม่เห็นทาง-ระยะยาวฝากพระสยามเทวาธิราช ไชยยันต์กล่าวว่า จะพูดคุยเรื่องประชาธิปไตยโดยแบ่งเป็นสองส่วน 1. ประชาธิปไตยเฉพาะหน้า ภายใน 1-2 ปีนี้ 2.การมองประชาธิปไตยในระยะยาว ไชยยันต์กล่าวโดยหยิบยกข่าวลือว่า ในขณะนี้มีข่าวลือว่า ‘อภิสิทธิ์’ ค่อนข้างจะไม่แข็งแรงเหมือนกับที่เขาเคยแข็งแรง โดยคนสนับสนุนเขาทั้งในพรรคและนอกพรรคจำนวนน้อยลง ซึ่งมาจากปัญหาเรื่องการยุบพรรคประชาธิปัตย์ เพราะเขาใช้มาตรฐานเดียวที่คงเส้นคงวามาก คือ มึงทำอะไรก็ผิด กูทำอะไรก็ถูก นอกจากนี้ยังมีข่าวลือโดยเฉพาะในแวดวงคนชั้นสูงเองว่าหากปล่อยให้มีเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยจะชนะ ซึ่งมีโอกาสสูงมาก อย่างไรก็ตาม พวกที่อยู่ในแวดวงธุรกิจกลับเห็นว่าคนที่เหมาะเป็นนายกฯ คือ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ นักธุรกิจไม่ได้มองประชาธิปัตย์อย่างเดียว แต่เป็นใครก็ได้ที่มีนโยบายตอบสนองพวกเขา หลังจากนั้นอาทิตย์กว่า ก็มีส.ส.กลุ่มหนึ่งที่สนับสนุนให้มิ่งขวัญเป็นนายกฯ และเราจะเห็นว่า สนั่น ขจรประสาสน์ ก็พยายามร่วมทำให้ฝ่ายรัฐบาลเข้าร่วมการปรองดองกับพรรคเพื่อไทย ขยายความได้ว่า จริงๆ แล้ว พรรครัฐบาลอาจจะมองไปที่ทางเลือกอย่างมิ่งขวัญ ซึ่งอาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เฉลิม อยู่บำรุง หรือบิ๊กจิ๋ว เพราะเขาไม่ได้ขัด หรือไม่เคยเสนอนโยบายไปขัดกลุ่มธุรกิจโดยตรง มิ่งขวัญไม่ไปทางซ้ายและไม่มีการพูดถึงสวัสดิการสังคมอย่างมีนัยยะสำคัญ ไชยยันต์กล่าวว่า ทั้งข่าวจริงและข่าวที่ได้รับการยืนยันว่าอาจจะทำให้เรื่องเรียบไปเพื่อเข้าสู่การเลือกตั้ง และย้อนไปกติกาเดิม แต่ทั้งหมดนี้ก็อาจผิด โดยเฉพาะเมื่อย้อนไปอ่านหนังสือพิมพ์ข่าวๆ ที่เป็นถุงห่อกล้วแขกก็จะพบว่าคาดการณ์กันผิดเสมอ สิ่งที่เสนอนี้อาจไม่เป็นอย่างนั้นเลย สำหรับเรื่องประชาธิปไตยในระยะยาว ไชยยันต์ กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องการต่อสู้ด้วยความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นจริงหรือไม่เราไม่ทราบ แต่มันชวนให้คิดว่าแนวทางต่อสู้ด้วยความรุนแรงมีอยู่จริง ซึ่งพรรคพวกหลายคนเคยพูดว่าการปราบที่ราบประสงค์ มันคือการนำกรือแซะโมเดลมาอยู่ที่กรุงเทพฯ เป็นเรื่องน่าคิดและน่ากลัวมาก ผ่านมาสี่เดือนกว่าแล้ว คณะกรรมการที่ตั้งมาทั้ง 4 คณะ ไม่ต้องพูดถึงคณะกรรมการที่เกี่ยวพันกับเรื่องรัฐธรรมนูญ เวลาที่ผ่านมาเกือบจะไม่มีข้อเสนออะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ซึ่งเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงมาก เชื่อว่าอีกสี่เดือนข้างหน้าก็จะไม่มีอะไร ประกอบกับยังมีกระแสหนาหูเรื่องกิจกรรมต่อต้านสถาบัน สิ่งที่อยากเสนอด้วยความสุขุมโดยความใจเย็นๆ คือทำไมเราไม่รับฟังความคิดเห็นให้ทั่วถึงทั้งหมดในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องศาล เพราะปัญหาตุลาการเป็นเรื่องเกี่ยวข้องศรัทธาประชาชน โดยเฉพาะความเชื่อถือศาลรัฐธรรมนูญภายหลังรัฐประหาร รวมถึงเรื่องของสถาบันที่สำคัญ สถาบันทหาร ซึ่งควรดูว่าประชาชนมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการจัดการ ซึ่งควรดำเนินแบบ สสร.ที่เปิดรับฟังความคิดเห็นทั่วไป เช่นเดียวกันกับการจัดการปัญหาที่บอกว่ามีการจาบจ้วงสถาบัน ทำไมไม่เปิดรับฟังเอาความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศว่าสถาบันควรจะมีบทบาทในสังคมไทยอย่างไร และการปฏิรูปประเทศไทยก็ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องไม่กี่คน ตอนนี้ไม่รู้เลยว่าไปถึงไหน แล้ว ในภาคต่างๆ ในทุกจังหวัด ทุกอำเภอ ฉะนั้น เราน่าจะลองตั้งตุ๊กตาแบบ สสร. ที่ระดมความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ประเด็นสุดท้าย มีคนบอกว่ารัฐประหาร 19 กันยา ความจริงไม่ใช่ล้มทักษิณแต่เป็นการล้มรัฐธรรมนูญ 2540 เพราะทำให้เกิดคนอย่างทักษิณขึ้นมา ประเด็นสำคัญของรัฐประหารอาจมีหลายสาเหตุ เช่น เพราะทักษิณทุจริต ซุกหุ้น ฯลฯ แต่การล้มรัฐธรรมนูญปี40 มีน้ำหนักมากกว่าในช่วงหลังเมื่อโยงถึงอนาคตประชาธิปไตยด้วย คือ สมมติมีการคาดการณ์ว่าในอนาคต มิ่งขวัญ จะเป็นนายกฯ พรรคเพื่อไทยจะทำอย่างไรให้ห่างจากทักษิณหรือให้หมดบทบาทลง อีกด้านหนึ่ง รัฐธรรมนูญก็อาจไม่เปลี่ยนแปลง เพียงแก้ไขนิดหน่อย เปลี่ยนไม่กี่ข้อ แต่ไม่เอารัฐธรรมนูญ 2540 อาจมีการเปลี่ยนแปลงเป็นบางมาตราและไม่ใช่สาระสำคัญ แต่ตนคิดว่าการเปลี่ยนแปลงแค่นี้ไม่พอต่อความสงบ ต่อการพัฒนาประชาธิปไตยที่จะเกิดขึ้นอย่างแท้จริง ซึ่งการจะเกิดสิ่งประชาธิปไตยที่แท้จริงได้ต้องย้อนกลับไปที่ปฏิรูป ซึ่งการปฏิรูปตอนนี้ก็ไม่ได้ระบุเรื่องเหล่านี้เลย คือ การปฏิรูปศาล ทหาร สถาบัน และองค์กรอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอนี้จะเป็นจริงหรือไม่ ก็คงต้องฝากไว้กับพระสยามเทวาธิราช 40 เพื่อไปสู่สากล แต่แล้วรัฐธรรมนูญก็ถูกปฏิวัติ และรัฐประหารไปเมื่อ 19 กันยา การต่อสู้จากอดีตถึงปัจจุบันรัฐจัดการเราโดยความรุนแรง แต่การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยก็ยังมีต่อไป ในส่วนของนปช.แดงทั้งแผ่นดินก็ยังสู้ต่อไป ในเบื้องต้นเพียงเรียกร้องว่าใครก็ได้มาเป็นรัฐบาลโดยให้เราอยู่ดีกินดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รัฐธรรมนูญ 40 มาจากประชาพิจารณ์ และการเลือกจากประชาชน แต่ก็โดนล้มไป ประเทศไทยปฏิวัติแล้ว 18 ครั้ง สิ่งที่ไม่อยากให้เกิด คือ ทำร้ายฉีกรัฐธรรมนูญ แต่ฝ่ายรักษาอำนาจก็ไม่ยอม ต้องให้ใครคนใดคนหนึ่งมีอำนาจและรักษาผลประโยชน์ไว้ ในปี 2550 รัฐธรรมนูญที่ได้มาโดยภายใต้รัฐประหาร พวกเราไม่รับมีการเคลื่อนไหว รณรงค์ใส่เสื้อแดงไม่รับรัฐธรรมนูญของสุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งทำให้ประเทศไม่ไปไหน และทั่วโลกไม่ยอมรับ เราต่อต้านรัฐธรรมนูญดังกล่าวภายใต้กฎอัยการศึก กระทั่งรณรงค์ไปรวมตัวนั่งร่วมโต๊ะในเคเอฟซีที่มีคนแค่30 คน แต่ว่าทหารไปกันถึง 300 คน มาล้อมคนไปร่วมเรียกร้องประชาธิปไตย
“ศรีวรรณ จันทร์ผง” ไม่อยากเห็นปฏิวัติ รัฐประหารอีก และนำรัฐธรรมนูญ 40 กลับมา ศรีวรรณ กล่าวว่า อนาคตประชาธิปไตยไทยจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น หากติดตามประวัติศาสตร์ 14 ตุลา--19พฤษภา 53 ซึ่งเป็นพัฒนาการในประเทศไทยถึงแม้ว่ามันจะช้ากว่าหลายประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยจะไปได้ ทุกคนต้องไม่ลืมอดีตของการต่อสู้ที่ผ่านมา เราพยายามเรียกร้องการมีสิทธิ มีเสียง เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ศรีวรรณสรุปว่า สิ่งที่อยากเห็นคือประชาชนอยู่ดีมีสุข ไม่ให้ถูกปล้นประชาธิปไตย ไม่มีสองมาตรฐาน ที่ผ่านมาเป็นการต่อสู้ภาคประชาชนล้วนๆ ไม่มีเรื่องผลประโยชน์ ต้องการเพียงประชาธิปไตย ไม่อยากเห็นการปฏิวัติ รัฐประหารอีกแล้ว และอยากให้นำรัฐธรรมนูญ 40 นำกลับมาใช้ “ทศพล ทรรศนกุลพันธ์” ปฏิรูปครู พระ ทหาร และศาล ทศพลกล่าว ในประเด็นแรกจะเรื่องเวลา ในประเทศไทย ถ้าเราอยู่ในช่วงเวลาไหนก็จะคิดแบบนั้น โดยตอนทักษิณอยู่เราก็ต้านทักษิณและเราก็ด่าเขา ซึ่งหมายถึงตัวผมและกลุ่มของผม ถึงตอนนี้เมื่อการเมืองสวิงเปลี่ยนขั้ว เรายังยึดหลักการเดิมต่อต้านคนที่แย่ยิ่งกว่า แต่เราถูกผลักออกมาชายขอบตลอดเวลา หลักการกลายเป็นสิ่งยึดที่ไม่ยึดถือกัน หรือเราต้องการแค่ชัยชนะ ประเด็นถัดมาเรื่องพื้นที่ทางการเมือง ตั้งแต่ 2475-19 พฤษภา พื้นที่ของการต่อสู้มันขยายขึ้นมาเรื่อย วงในการต่อสู้เมื่อ 2475 อาจไม่กว้าง แต่มีคุณภาพ มีความรู้ เป็นกลุ่มรุ่นใหม่สู้กับกลุ่มเดิม คนที่อยู่มาต่อเนื่องจนเกิด 6 ตุลา 19 คนกลุ่มเดิมเริ่มรับไม่ได้กับการขยายวงต่อสู้ สิ่งที่ตกใจมากคือ หลังพฤษภา 35 หลายคนคิดว่าประชาธิปไตยจะก้าวหน้า เรื่องทหารกับการเมืองจะหมดไปสักที อย่างไรก็ตาม มองว่ามื่อถึงเวลาวิกฤติ สิ่งแรกที่ไม่มีใครสนใจเลย คือ กติกา ประเทศอื่นเขามีกระบวนการปรับปรุง หรือ แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เป็นสิ่งที่แปลกมากในสังคมนี้ เพราะกติกาที่ถูกใช้เป็นสิ่งที่ถูกสร้าง หรือ ทำลายได้ โดยคนที่ยึดอำนาจ เป็นเรื่องธรรมดาในขณะที่สังคมอื่น มันไม่เกิดหรือเกิดขึ้นยาก เช่น ศาลเขาไม่รับคำสั่งรัฐประหาร ถ้าศาลไม่รับรองก็จบเลย แต่ศาลไทยกล้าทำหรือไม่ อีกประเด็นหนึ่ง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีความปรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ กล่าวคือ ทุกครั้งที่มีการทะเลาะเบาะแว้ง แตกความสามัคคี เกิดวิกฤติใหญ่ สถาบันหรือกลไกที่มีอยู่ในสังคมแก้ปัญหาไม่ได้ เราอยากจะปรับมัน เช่น รัฐธรรมนูญ 40 มีปัญหา เราอยากปรับบางเรื่อง แต่วิธีการปรับตัว มันถูกอำนาจ 3 อย่างมาบิดเบือนไป เมื่อความขัดแย้งถึงขั้นสุด มักจะมีคนมาใช้อำนาจดิบ หรือ อำนาจทางกายภาพ มาแก้ไข ใช้กองทัพมายึดอำนาจ อันต่อมา การถกเถียงเรื่องโครงสร้างว่าควรจะมี กติกา หรือไม่มีกติกาดี มันเป็นทางเลือกไหม ถ้าไม่มีกติกาเราพร้อมจะจับอาวุธหรือไม่ เราก็คงสู้ไม่ได้ ดังนั้นเราจึงหนีไม่พ้นเรื่องกติกา ทำยังไงเราจึงจะมาร่างกฎหมายของเราให้มากขึ้น เราอาจะต้องสร้างแนวร่วมกับคนที่เห็นต่างด้วยเพื่อขยายวงให้กว้าง แม้ว่าเราไม่เห็นด้วย แนวร่วมกับเราได้บางส่วน ตนคิดว่าถ้าใช้กำลังต่อสู้ร้อยปีก็ไม่ชนะ เพราะเราไม่สามารถสู้กองทัพที่มีการจัดตั้งมาเป็นร้อยปีได้ สิ่งที่ต้องทำเมื่อโอกาสมันเปิดคือ มุ่งไปที่สถาบันหรือกลไกที่เราจะทำได้ ครู พระ ศาล กองทัพ ทั้งนี้ การปฏิรูปศาล เป็นเรื่องที่ยากและที่คาใจมาตลอด อยากเปลี่ยน แต่เปลี่ยนยาก หลังปี 35 เขาพยายามให้ศาลถูกตรวจสอบถ่วงดุล ศาลก็ไม่ยอม คิดว่าตอนนี้มันถึงจุดที่ต้องการผลักดันปฏิรูปศาลและกฎหมายศาล นอจากนี้ระบบภายในศาลเองก็สะท้อนเรื่องชนชั้น เพราะคนที่จะเป็นผู้พิพากษาต้องเก็บตัว เป็นคนที่สามารถอ่านหนังสือตั้งแต่อายุ 18-30 ปี คนอย่างนี้พ่อแม่มีเงินเลี้ยง อันนี้ศาลยุติธรรม ถ้าศาลปกครองต้องอายุ 35 ปี คนประเภทไหน จะมาเป็นศาล ถ้าเราจะแก้ปัญหาเราอาจจะต้องเปลี่ยนกฎหมาย ให้คนที่จะมาเป็นผู้พิพากษาต้องเป็นทนายอย่างน้อย 10 ปี หรือบางคนเสนอให้เอาระบบลูกขุนมาใช้ ทศพลระบุด้วยว่า เมื่อไหร่รัฐบาลสวิงข้าง ขอให้ผลักดันให้ประเทศไทยให้สัตยาบันต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ เพื่อที่เราจะข้ามองค์กรยูเอ็นและฟ้องศาลระหว่างประเทศได้โดยตรง “พิภพ อุดมอิทธิพงศ์” เราต้องการ คนดี หรือ ระบบดี พิภพ นักแปลอิสระ กล่าวว่า เตรียมมาพูดเรื่อง คนดี คนชั่ว วันก่อน มติชนพาดหัวข่าวว่า ผบ.ทบ.เผยเหตุป่วนไม่เลิก "คนชั่วเยอะ" ทำอย่างไรจะหมดไปจากสังคม ซึ่งเป็นคำพูดที่พวกอำมาตย์ชอบพูดกัน ปัญหาคือในการเลือกตั้งมีประเทศไหนในโลกที่นักการเมืองประกาศว่า "ผม/ดิฉันเป็นคนดี โปรดเลือกดิฉันเข้าสภาด้วย" ถ้าอย่างนั้นคงต้องอนุญาตให้พระชีลงเลือกตั้ง และเลือกเข้าสภาให้หมด สมมุติฐานของฝรั่งคือ สังคมมันมีทั้งคนดีและคนไม่ดี แต่ถ้าทำให้ระบบมันดีพอสมควร สังคมจะเฉลี่ยประโยชน์สุขให้ถ้วนกันได้ คนที่เลือกตั้งเข้าไปจุดประสงค์เพื่อไปออกแบบให้ได้ระบบที่ดี เช่น กฎหมาย ระเบียบ โครงสร้างการบริหารจัดการ แผนงบประมาณ แผนการดำเนินงาน ฯลฯ และดำเนินการให้เกิดผล แต่แค่นั้นยังไม่พอ นอกจากคนออกแบบระบบและโครงสร้าง คนที่ทำหน้าที่บริหารแล้ว ยังต้องมีองค์กรที่กำกับดูแลด้วย เพราะสุดท้าย "คนดี" "คนเก่ง"ที่เลือกเข้าไปออกแบบระบบและโครงสร้าง และดำเนินการบริหารนั้น อาจลุแก่อำนาจและเฉไฉออกไป ทำให้ออกแบบระบบและโครงสร้างที่เอื้อแก่ตนเองและพวกพ้องบ้าง หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ส่วนตนบ้าง จึงต้องมีโครงสร้างหนึ่งขึ้นมา เพื่อตรวจสอบและคอยทัดทาน ช่วงปลายปีที่แล้วคนฮือฮากับสิ่งที่เรียกว่า "ตุลาการภิวัฒน์" แต่เมื่อ27 เม.ย. พุฒิพงษ์ พงษ์อเนกกุล นศ.ป.ตรีปีสอง อายุ 18 ปี ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองให้ไต่สวนและมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวว่าพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขต ศาลกลับดองเรื่องไว้ รวมถึงเมื่อวันที่ 23 เม.ย.ศาลแพ่งยกฟ้อง กรณีเว็บไซต์ประชาไทฟ้องนายยกสุทพฯ-ไอซีทีที่ปิดเว็บหลังการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโดยไม่มีการเบิกความพยาน ระบุจำเลยมีอำนาจตาม พ.ร.กฉุกเฉิน และเมื่อวันที่ 14 พ.ค.ระหว่างกระชับพื้นที่ศาลแขวงปทุมวันสั่งจำคุกคนเสื้อแดงฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯและให้จำคุกโดยไม่รอลงอาญา ต่อมา อธิบดีดีเอสไอทำหน้าที่เป็นโฆษกศาล สั่งลงโทษหนักเรียบร้อย พูดแทนศาล แต่คงไม่ถือเป็นการละเมิดอำนาจศาล พิภพ ยกตัวอย่างอีกว่า ตนเป็นกรรมการศูนย์ข้อมูลฯ มีจดหมายจากนักศึกษาว่าตัวเขาและประชาชนในคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 15 - 18 พ.ค. 53 โดนตัดสินจำคุกตั้งแต่ 1-2 ปีโดยไม่รอลงอาญา จำนวน 10 คน เขาบอกว่า ในเวลานั้นรวดเร็วมาก พวกเราไม่มีทางต่อสู้คดีได้เลย ถูกเจ้าหน้าที่ที่มีการพูดจูงใจ ขู่และใช้กำลังบังคับให้สารภาพ ไม่มีสิทธิพบทนายความ ไม่ยอมให้ติดต่อญาติพี่น้อง และยังถูกทำร้ายร่างกาย ยึดทรัพย์สินทุกอย่าง เจ้าหน้าที่ตำรวจทำสำนวนยัดเยียดข้อหาโดยให้ทหารมาคุมและบังคับตำรวจรับทำคดีถึงสถานีตำรวจ นำตัวส่งขึ้นศาลใช้เวลาพิจารณคดี แค่ 5 นาที พวกเขาต้องสิ้นอิสรภาพทันที โดยไม่ได้ฟังสำนวนฟ้องจากอัยการ ทำให้พวกเขาไม่ได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม ต้องมีนักศึกษาปัญญาชนบางคนมาจบอนาคตเพราะการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐ กลับมาที่เรื่องคนกับระบบ พวกที่ทำรัฐประหารชอบอ้างเรื่องคนดี คนชั่วอย่างที่พูดไป พวกเขาเข้ามาทำให้สังคมสะอาดปราศจากคนเลว คนคอรัปชั่น แต่ถามว่า 4 ปีผ่านไปมัน "สะอาด"ขึ้นรึเปล่า ยังมีข่าวจากปปช.ที่เผยผลสำรวจว่าการจ่ายใต้โต๊ะมีจำนวนสูงขึ้น ตนเองได้คุยกับทนายความ Law firm ซึ่งทำคดีให้กับนักธุรกิจและบริษัทใหญ่ๆ เขาบอกว่าลูกความเขายังต้องจ่ายใต้โต๊ะเหมือนเดิมไม่เปลี่ยน ที่ไม่เหมือนกันคือ สมัยทักษิณจ่ายครั้งเดียวจบ แต่สมัยนี้จ่ายแล้วไม่จบ ยังมาขอเพิ่มเรื่อยๆ ที่แย่กว่านั้นจ่ายแล้วยังกลับมาด่าอีก ประชาธิปไตยเป็นระบบหนึ่งที่มนุษย์คิดค้นมายาวนานเกินพันปี ไม่ใช่ระบบที่ดีที่สุด ถามว่านำไปสู่เผด็จการหรือทรราชได้ไหม ตอบว่าได้ แต่อย่างน้อยเมื่อเทียบกับระบบอื่น มันก็เปิดช่องให้คนสามารถตรวจสอบระบบและคนในระบบได้ง่ายกว่า พื้นฐานของประชาธิปไตยคือ สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงความเห็น อยากจะเน้นว่ามันเป็นสิทธิ และตามกติกาสากลมันไม่สามารถเบี่ยงเบนได้ ในไทยเมื่อวันก่อนได้ข่าวว่ามีรถตู้จาก ศอฉ. ไปจอกซุ่มดูหน้าบ้านของผู้นำนักศึกษาคนหนึ่งที่ตั้งคำถามกับนายกเมื่อเร็วๆนี้ แต่เนื่องแบบนี้กลับไม่เป็นข่าว “อริชผล ชูชัยมงคล” ประชาธิปไตย คือ แก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี นายอริชผล นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กล่าวว่า เห็นความขัดแย้ง ความรุนแรง วาทกรรมที่ผิดๆ ตนเรียนในสถาบันมหาลัยสงฆ์ สอนเรื่องศาสนา กับการศึกษาเรื่องการเมือง อ.ธเนศวร์ ก็เป็นอ.พิเศษ ความรู้ที่เรียนมาเรื่องศีลธรรม นักปกครองขาดตรงนี้ ก็ใช้ไม่ได้ จากอดีต 14 ตุลา 16 จากความรู้ คุณพ่อแม่ อบรมมา ท่านได้สอนว่า คนในสังคมมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่มีใครจะสูง ต่ำ เคารพสิทธิ เสรีภาพ หลักการ ประชาธิปไตย ที่สำคัญ หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เป็นหลักความเสมอภาค คนมีสิทธิ เสรีภาพแล้ว หลักยุติธรรม คือการใช้กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ หลักเหตุผล คือการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา หลักเสียงข้างมาก คือการลงมติอย่างสันติวิธี หลักประณีประนอมก็สำคัญ คือการลดความขัดแย้งเพื่อผ่อนหนักเป็นเบา คุณธรรมจริยธรรมก็ต้องมีในระดับชนชั้นปกครอง คือต้องมีระดับคุณธรรมสูงกว่าคนธรรมดา สิ่งที่ขาดไม่ได้คือจงรักภัคดีต่อชาติ ความมีวินัย ความกล้าทางจริยธรรม เช่น การชุมนุมเสื้อแดง คือสิทธิ์ของเขา คุณมาใช้อำนาจในการกระชับพื้นที่ คือการผิดหลักที่ว่ามา ดังนั้นสิ่งที่อยากจะขอเน้นว่าการแก้ไขปัญหาให้เกิดสันติสุขได้ คือการหล่อหลอมจิตใจของท่านด้วย แม้ว่าท่านจะมาจากต่างที่ต่างทาง ท่านก็ต้องมองประชาชนให้ทั่วถึงเท่าเทียมกัน ทุกวันนี้วัยรุ่นหรือปัญญาชน ยังไม่มีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะยังมีสิ่งต่างๆที่ยังเป็นที่น่าสนใจ ล่อหูล่อตามาก เคยไปถามเพื่อนบางคนเขาก็บอกว่าไม่ขอพูด เพราะไม่ใช่เรื่องของเขา เป็นเรื่องของนักการเมือง ดังนั้นผมจึงเรียกร้องว่าพลังนักศึกษาต้องเป็นพลังในการขับเคลื่อนประชาธิปไตยต่อไป “ชำนาญ จันทร์เรือง” ประเทศอื่นไปไกลมากแล้ว ชำนาญ กล่าวถึงอนาคตประชาธิปไตย ว่า หลายๆท่านได้พูดไปแล้ว ได้เสนอข้อมูลที่ครอบคลุมหลากหลาย สำหรับอนาคตประชาธิปไตยในไทยนั้นยังต้องคิดมากอยู่ เพราะเดาไม่ออก เกาหลีที่เป็นเผด็จการ ยังไปไกลแล้ว ที่กวางจู เขายังเอาทหาร เผด็จการมาลงโทษแล้ว โดยการไปฟ้องศาลโลก เรื่องอนาคตประชาธิปไตยในบ้านเราจะเป็นอย่างไร ปัญหาอดีตถึงปัจจุบันคือ เรามีราชการส่วนภูมิภาค มันมีปัญหา คือ ส่วนกลางรวมแล้วไม่ยอมปล่อย การปกครองส่วนภูมิภาค เราทำอะไร นั่งเขียนโยบายอยู่ในกทม. อยู่ที่นี่ตัดสินใจอะไรไม่ได้ ดังนั้นคิดว่าควรยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค ญี่ปุ่น มีการเลือกตั้งผู้ว่าจังหวัดแล้ว แต่สำหรับประเทศไทยตนเคยอยู่กระทรวงมหาดไทยมาก่อน เลยรู้ดีว่าผู้ว่าจังหวัดเป็นตัวแทนส่วนกลาง ปัจจุบันว่าฯยังตั้งรองผู้ว่าฯ ไม่ได้ ปลดไม่ได้ ย้ายไม่ได้ เพราะฉะนั้นอนาคตเราไม่ควรมีราชการส่วนภูมิภาค มันก็จะดีขึ้น อนาคตประชาธิปไตยจะมีมากขึ้น เราควรแก้ที่ตัวบทกฎหมาย อย่างรัฐธรรมนูญ ให้ตัดคำว่าส่วนภูมิภาคออกไป ถ้าทำได้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก บางส่วนจาก เว็บไซต์ประชาธรรม สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
บทเรียน 14 ตุลา : ขบวนการนักศึกษาก้าวหน้าต้องไม่ลืมปัญหาปากท้อง.... Posted: 15 Oct 2010 11:38 AM PDT “วาทกรรมของกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากเหตุการณ์14ตุลา ทิ้งไว้คือ ภาพนักศึกษาจึงถูกทำให้กลายเป็นพลังบริสุทธิ์ บริสุทธิ์จากนักการเมือง บริสุทธิ์จากทุน บริสุทธิ์จากอคติ บางครั้งความคาดหวังเลยเถิดไปถึงการบริสุทธิ์จากอุดมการณ์ใดๆ ซึ่งไม่เคยมีขบวนการใดในโลกที่บริสุทธิ์ได้เท่าเทียมกับวาทกรรมนี้” คงไม่ช้าเกินไปหากจะเขียนเกี่ยวกับ เหตุการณ์ 14 ตุลา ...แม้รัฐบาลพยายามที่จะโฆษณาและสร้างวาทกรรมใหม่เกี่ยวกับ 14ตุลา ให้กลายเป็นการเฉลิมฉลองของการปกป้อง ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และเหตุการณ์14ตุลา เป็นผลงานของลูกหลานชนชั้นกลาง พลังนักศึกษาอันบริสุทธิ์ เหตุการณ์14 ตุลาจบลงอย่างสวยงาม ตามมุมมองของนักประวัติศาสตร์รับใช้อภิสิทธิ์ชน มันเป็นเพียงความคลาดเคลื่อนของความเข้าใจของประชาชนผู้หวังดีทั้งฝ่ายรัฐบาลทรราชและนักศึกษา...ความปรองดองก็สามารถเกิดขึ้นได้ ด้วยการคุยและทำความเข้าใจ...คำพูดเหล่านี้ถูกผลิตซ้ำทุกวันเวลาหัวค่ำ จากสถานีวิทยุยานเกราะคลื่น 103.0 ผู้จัดรายการมักจะแสดงความเห็นว่า “เหตุการณ์รุนแรงกว่านี้(วันที่19พฤษภาคม) คนไทยเรายังอภัยกันได้เลย” ในบทความนี้คงไม่แสดงถึงเบื้องหลังเบื้องลึกเหตุการณ์ 14ตุลา ทุกท่านสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ ในงาน อ.กุลลดา เกษบุญชู ซึ่งได้แสดงมุมมองเกี่ยวกับ 14ตุลาที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างอำนาจเศรษฐกิจระดับโลก มากกว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยของลูกหลานชนชั้นกลาง...ในหนังสือเล่มนี้ทำให้เราสามารถตีความต่อไปได้อีกว่า...อะไรคือเหตุผลของโศกนาฏกรรมในอีกสามปีถัดมา ที่คนไทย จำไม่ได้และก็ลืมไม่ลง งานของ อ.กุลลดา เป็นตัวอย่างงานชิ้นสำคัญที่มิค่อยมีการพูดถึงในการศึกษาเกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคม เท่าไรนัก ส่งผลให้ภาพของขบวนการนักศึกษาทั้งในแง่มุมมองประวัติศาสตร์ และการเคลื่อนไหวปัจจุบัน จึงเป็นภาพของพลังบริสุทธิ์ นักฝัน และความเป็นกลางแบบเลื่อนลอย หากมองผ่านแว่นโครงสร้างเศรษฐกิจระดับโลกตามที่ ปรากฏในงานของ อ.กุลลดา พลังนักศึกษาจึงไม่ใช่แค่ คนหนุ่มสาวที่รับรู้ทฤษฎีตะวันตกและกระหายจะเปลี่ยนแปลงโลกตามตำรา ขบวนการนักศึกษาเองก็ไม่ได้เป็นอิสระ และต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแบบไร้ความหมาย มีเฉดสีที่มากมายในขบวนการ ทั้งนักศึกษาที่อิงกับสถาบันกษัตริย์ นักศึกษาแนวเสรีนิยมที่ได้รับการสนับสนุนจาก CIA กลุ่มจัดตั้งของทหารฝ่ายตรงข้ามถนอมประภาส และกลุ่มนักศึกษาเอียงซ้ายที่มีการจัดตั้งจาก พคท. สิ่งหนึ่งที่ขบวนการนักศึกษารุ่นใหม่ต้องทำความเข้าใจ คำว่าชัยชนะของ14 ตุลาคม หาได้เกิดเพราะความสามัคคีบริสุทธิ์ ของนักศึกษาหากแต่เกิดจากกลุ่มอำนาจหนึ่ง สามารถนิยามว่า “เท่านี้คือชัยชนะ”ที่เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีมากกว่านี้.... วาทกรรมของกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากเหตุการณ์14ตุลา ทิ้งไว้คือ ภาพนักศึกษาจึงถูกทำให้กลายเป็นพลังบริสุทธิ์ บริสุทธิ์จากนักการเมือง บริสุทธิ์จากทุน บริสุทธิ์จากอคติ บางครั้งความคาดหวังเลยเถิดไปถึงการบริสุทธิ์จากอุดมการณ์ใดๆ ซึ่งไม่เคยมีขบวนการใดในโลกที่บริสุทธิ์ได้เท่าเทียมกับวาทกรรมนี้ แม้แต่ขบวนการศาสนาของโบสถ์คาธอลิกก็ตาม ภายหลังเหตุการณ์ 6ตุลา การนิรโทษกรรม พร้อมกับกองทัพซ้ายอกหักที่เข้าสู่ขบวนการภาคประชาชนและเริ่มมี อิทธิพลต่อขบวนการนักศึกษารุ่นหลัง พวกเขาก็พร้อมใจกันผลิตซ้ำวาทกรรมนี้ ขบวนการนักศึกษากลายเป็น วีรชน นักบุญ กาวใจ ผู้อุทิศตน ฯลฯ เรื่องราวสิบสี่ตุลา หกตุลา และช่วงเวลาอกหักของพวกเขาในป่า ถูกเสริมแต่งไม่ต่างจากชีวประวัติของเทพปกรนัม ในบ้านเมืองนี้ แต่พวกเขากลับสรุปอย่างน่าตลกและขัดแย้งในตัวเองว่าทั้งหมดเป็นเรื่องของเมื่อวาน โลกอุดมคติของวัยเยาว์ คนเหล่านี้จำนวนไม่น้อยกลายเป็นพลังปฏิกริยาต่อต้านการเปลี่ยนแปลงใดๆ และส่งผลให้แนวทางการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษารุ่นหลัง กลายเป็นเรื่องสิทธิตามรัฐธรรมนูญ การอุทิศตนตามค่ายอาสาพัฒนาชนบท แบบเดียวกับที่เหล่าซ้ายอกหักเคยทำในทศวรรษ 1970 (เป็นเรื่องตลกที่ค่ายอาสาชนบทยังคงเป็นภารกิจหลักของกลุ่มกิจกรรมนักศึกษาแทบทุกมหาวิทยาลัย ทั้งๆที่ชาวนาโดยมากทำ Contract Farming กับเครือเจริญโภคภัณฑ์ และคนจนโดยมากอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมในเมือง) ขบวนการนักศึกษารุ่นหลังจึงถูกลดทอนให้มีผลอย่างมากในการเป็นที่ฝึกงานของว่าที่เจ้าหน้าที่ NGOs ที่มีประเด็นเฉพาะ เช่น การต้านเขื่อน สิทธิที่อยู่อาศัย การศึกษา มากกว่าขบวนการที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอย่างที่ปรากฏในเหตุการณ์ หกตุลา หรือขบวนการนักศึกษาในยุโรป อันมีสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับปัญหาในชีวิตประจำวันของคนจนเมือง โดยมีสหภาพแรงงานเป็นตัวแทน เป็นอีกครั้งที่ขบวนการนักศึกษาต้องไปให้พ้นจากวาทกรรมนี้....มากกว่าเรื่อง ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ที่รัฐบาลพยายามเสริมแต่งและฉกฉวย แต่หมายรวมถึงมุมมองต่อขบวนการนักศึกษาด้วยเช่นกัน โดยสามารถสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้ 1.ความเป็นกลางและความบริสุทธิ์ เป็นเพียงวลีที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลดทอนพลังของขบวนการใดๆก็ตามที่มุ่งจะเปลี่ยนแปลงสังคม ตามประวัติศาสตร์ของขบวนการทางสังคมไม่มีขบวนการใด”บริสุทธิ์” โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริสุทธิ์จากอุดมการณ์...อันหมายถึงการพูดถึงสังคมที่ควรเป็นและตอบสนองซึ่งผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆ ดังนั้นขบวนการจำเป็นต้องตั้งคำถามอีกว่า สังคมที่ดีพึงมีลักษณะอย่างไร ใครคือผู้ที่ควรได้ประโยชน์ เช่นเดียวกับขบวนการอื่นๆ เราต้องหลุดจากกรอบ นามธรรมที่เลื่อนลอย เช่น “ประชาธิปไตย”,”รัฐธรรมนูญ”,”ยกเลิกสังคมสองมาตรฐาน”,”ต้านอำนาจนอกระบบ”,”สิทธิมนุษยชน” วลีเหล่านี้อาจมีพลังในการต่อสู้และการขับเคลื่อนประเด็น แต่ในที่สุดแล้วหากไม่มีข้อเสนอรูปธรรมเกี่ยวกับปัญหาในชีวิตประจำวัน การต่อสู้ย่อมไร้ความหมาย และถูกฉกฉวยประโยชน์ไปเฉกเช่นเหตุการณ์14ตุลา 2.ปัญญาชนมีชนชั้นเสมอ ขบวนการนักศึกษาทศวรรษที่ผ่านมา (2000-2010)มักหมกมุ่นกับการสร้างแนวร่วมเน้นปริมาณและความเป็นปึกแผ่นของนักศึกษา บางครั้งเราอาจตั้งข้อสงสัยว่าเหตุใด องค์กรนี้จึงมีความคิดแบบนี้...ทำไมเขาจึงต่อต้านเรา หรือกระทั่งในแวดวงวิชาการเองก็เช่นกันบางครั้งเราคาดหวังพฤติกรรมที่มีอารยะจากอาจารย์มหาวิทยาลัยต่อกิจกรรมนักศึกษา แต่ก็ต้องพบกับความผิดหวัง...สิ่งนี้มิได้เกิดขึ้นแค่เมืองไทย หากแต่เกิดขึ้นในการเปลี่ยนแปลงสังคมทั่วโลกเช่นเดียวกัน มีเหตุผลอะไรที่เราต้องสร้างแนวร่วมกับขบวนการนักศึกษาฝ่ายขวา ที่สนับสนุนรัฐประหาร การสังหารประชาชน ในขณะเดียวกันคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยก็เป็นกระบอกเสียงให้กับอุดมการณ์ที่หลากหลายเช่นกัน ดังนั้นนอกจากกำจัดภาพว่าเราเป็นองค์กรบริสุทธิ์แล้ว สิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจว่าเราไม่ได้ต่อสู้กับความบริสุทธิ์เช่นกัน 3.เป็นเรื่องน่ายินดี ในช่วงปีที่ผ่านมาขบวนการนักศึกษาที่เติบโตขึ้น นอกจากก้าวพ้นวาทกรรม ชาติ ศาสนา กษัตริย์ ดังเช่นปรากฏในการโฆษณาของรัฐบาลผ่านแบบเรียนประวัติศาสตร์ ขบวนการนักศึกษาก้าวหน้าปัจจุบันมีความแตกต่างจากขบวนการเมื่อสองทศวรรษก่อน ที่มุ่งขับเคลื่อนเป็นประเด็น ตามแบบฉบับผู้อุทิศตน ปัจจุบันขบวนการนักศึกษาก้าวหน้า กลายเป็นหัวหอกการถกเถียงประเด็นด้านโครงสร้าง แต่สิ่งสำคัญที่ต้องอยู่ในการถกเถียงอย่างขาดไม่ได้คือ เรื่องปากท้อง และชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ขบวนการนักศึกษาต้องไม่ปฏิเสธการปฏิรูป (ไม่ได้หมายถึงการเข้าร่วมกับคณะปฏิรูปฯปัจจุบัน)....อันหมายถึงการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในชีวิตประจำวันย่อมสามารถกรุยทาง สู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระดับใหญ่ได้เช่นกัน ดังตัวอย่างเรื่องการแปรรูปมหาวิทยาลัย อันส่งผลต่อผลประโยชน์โดยตรงของคนรุ่นใหม่ ที่ทำให้ชีวิตของพวกเขามีความเปราะบางขึ้นและตัดโอกาสทางการศึกษาของคนยากคนจน ขบวนการนักศึกษามีจุดยืนอย่างไร การเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า ภาษีมรดก ภาษีที่ดิน อันเป็นเงื่อนไขลดทอนกลุ่มอำนาจอภิสิทธิ์ชนก็เป็นเรื่องที่ต้องขบคิด รวมถึงรูปธรรมทางนโยบายเศรษฐกิจ อย่างรัฐสวัสดิการที่ทำให้ไพร่ ผู้ดี มีความเป็นคนเท่ากัน ก็ยังเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้เช่นกัน จากประสบการณ์ต่างประเทศขบวนการนักศึกษาเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่หากแต่ไม่ได้ตัดขาดจากเงื่อนไขชีวิตประจำวัน พวกเขามีสายสัมพันธ์กับองค์กรที่ต่อสู้เพื่อเงื่อนไขชีวิตประจำวัน เช่นสหภาพแรงงาน ขบวนการสิทธิทางเพศ ขบวนการต่อต้านสงครามและลัทธิคลั่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงื่อนไขด้านสวัสดิการด้านการศึกษา เมื่อใดที่การต่อสู้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ สถานการณ์จะเผยให้เห็นถึงปฏิปักษ์ต่อการเปลี่ยนแปลง วาทกรรมชุดใหม่จะถูกสร้างขึ้นเพื่อให้การเคลื่อนไหวยุติ เมื่อนั้นขบวนการนักศึกษาต้องมีความชัดเจนว่าอะไรคือเป้าหมายและเงื่อนไขที่จะสร้างสังคมที่พึงประสงค์สำหรับประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศได้ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
อนุมัติหมายจับ 5 แนวร่วมพันธมิตรฯ ยึดสนามบิน Posted: 15 Oct 2010 09:40 AM PDT ศาลอาญาอนุมัติ หมายจับ “ 5 แนวร่วม พธม.” ยึดสนามบิน “ ไชยวัฒน์ – วีระ ”พ่วงก่อการร้ายด้วย หลังเลี่ยงพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก เว็บไซต์เดลินิวส์ออนไลน์รายงานว่า วันนี้ ( 15 ต.ค.) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลมีคำสั่งออกหมายจับ ที่พนักงานสอบสวนกองปราบปราม ยื่นคำร้องขออนุมัติหมายจับ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ เลขาธิการสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอรัปชั่น ( คปต.) นายสมบูรณ์ ทองบุราณ อดีต ส.ว.ยโสธร น.ส.ต้นฝัน แสงอาทิตย์ และนายสมชาย วงศ์เวช ผู้ต้องหาที่ร่วมกับแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ( พธม.) บุกเข้าไปชุมนุมที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อปี 2551 โดยศาลพิเคราะห์ พยานหลักฐานเบื้องต้นแล้ว เชื่อว่าผู้ต้องหาทั้งห้า น่าจะร่วมกระทำความผิดตามข้อกล่าวหาซึ่งเป็นความผิดทางอาญาที่มีโทษจำคุกเกิน 3 ปี ประกอบกับพนักงานสอบสวนเคยขออนุมัติหมายเรียกผู้ต้องหาทั้งห้าไว้ก่อนแล้ว แต่ผู้ต้องหาขอเลื่อนการเข้าพบเรื่อยมาและยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษร โดยปฏิเสธการเข้าพบพนักงานสอบสวน ซึ่งส่อเจตนา เมื่อผู้ต้องหาไม่มาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ถือว่ามีพฤติการณ์จะหลบหนี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 วรรคท้าย กรณีจึงมีเหตุที่จะออกหมายจับผู้ต้องหาทั้งห้า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 จึงให้ออกหมายจับผู้ต้องหาทั้งห้าตามขอ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการขออนุมัติหมายจับ พนักงานสอบสวนได้ตั้งข้อกล่าวกับผู้ต้องหาทั้งห้า รวม 13 ข้อหา แต่เมื่อศาลพิเคราะห์พฤติการณ์และพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนนำเข้าไต่สวนในเบื้องต้นแล้ว ได้มีการอนุมัติหมายจับบางข้อหา อาทิ มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้น ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง เข้าไปกระทำการใด ๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น กระทำการใด ๆ ทำให้ทางสาธารณะได้รับความเสียหาย และกระทำการใด ๆ ให้เกิดความเสียหายต่อระบบการสื่อสารเพื่อให้เกิดการขัดข้องหรือเสียหาย รวมทั้งทางจราจร ขณะที่มีเพียงนายไชยวัฒน์ และนายวีระ เท่านั้นที่ถูกออกหมายจับในข้อหาร่วมกันก่อการร้ายด้วย ด้านนายณฐพร โตประยูร ทนายความกลุ่มแนวร่วม พธม. กล่าวว่า ขณะนี้ได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญา คัดค้านเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนหมายจับดังกล่าวแล้ว โดยชี้แจงให้ศาลเห็นว่า ผู้ต้องหาไม่มีเจตนาหลบหนี ซึ่งได้แจ้งเลื่อนการเข้าพบพนักงานสอบสวนแล้ว รวมทั้งประเด็นข้อกฎหมาย อย่างไรก็ดีในส่วนของ 5 ผู้ต้องหานี้จะรอฟังคำสั่งศาล ที่คาดว่าจะรู้ผลในวันที่ 18 ต.ค. นี้ ก่อนที่จะพิจารณาหาแนวทางต่อสู้ต่อไป ที่มา: http://www.dailynews.co.th สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
จาก "ประชาไท" ถึง "วิทยุชุมชนแปลงยาว": เผย "สื่อทางเลือก" ถูกเล่นงานทั้งโดยกฎหมายเก่า-ใหม่ Posted: 15 Oct 2010 09:30 AM PDT ผอ.เว็บประชาไทเผยเจอทั้งกฎหมายเก่าและใหม่เล่นงาน เชื่อสิทธิพลเมืองกับสิทธิของสื่อใหม่เป็นเรื่องเดียวกัน หัวหน้าสถานีวิทยุชุมชนแปลงยาวเล่านาทีถูกปิดสถานี-ไม่ได้ประกันตัว เจอข้อหามีใช้เครื่องส่งวิทยุ-ตั้งสถานีโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งที่มีใบอนุญาตชั่วคราว ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระบุดึงสื่อออกจากมือทหารไม่ได้ ไม่ต้องพูดเรื่องปฏิรูปสื่อ เมื่อวันที่ 13 ต.ค. ที่ผ่านมา ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) จัดการสัมมนาเรื่อง “กฎหมายกับสื่อทางเลือกภายใต้สถานการณ์ทางการเมือง: จากเว็บไซต์ประชาไทถึงวิทยุชุมชนแปลงยาว” ที่ห้องประชุมสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท และ ตฤณ ใหม่เอี่ยม หัวหน้าสถานีวิทยุชุมชนแปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ร่วมแลกเปลี่ยนในฐานะสื่อที่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายต่างๆ พร้อมด้วย ศิลป์ฟ้า ตันศราวุธ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย
ส่วนกฎหมายเดิม ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา ที่ถูกนำมาใช้จำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยใช้มาตรา 112 ว่าด้วยผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และมาตรา 116 (2) มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี ทั้งนี้ จีรนุชตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ในครั้งนี้เป็นกรณีแรกที่ไม่ได้มีการกระทำเผยแพร่ข้อความด้วยตัวเอง เพราะส่วนที่ถูกดำเนินคดีคือข้อความท้ายบทสัมภาษณ์ที่มีผู้มาโพสต์แสดงความเห็นไว้ ขณะที่ข้อความซึ่งกฎหมายระบุต้องดำเนินคดีกับตัวการไม่ใช่ตัวกลาง นอกจากนี้ เว็บไซต์ประชาไทยังถูกปิดกั้นการเข้าถึงตามมาตรา 9 ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ทำให้หน้าหลักของเว็บไม่สามารถเข้าได้ ซึ่งประชาไทได้ฟ้องแพ่งต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะ ผอ.ศอฉ.ในขณะนั้น ว่าดำเนินการโดยไม่ชอบ แต่ศาลแพ่งยกฟ้อง ขณะนี้อยู่ระหว่างศาลอุทธรณ์รับเรื่อง นอกจากนี้ ก็รอคำชี้แจงจากรัฐบาลด้วย สำหรับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จีรนุช กล่าวว่า ได้ติดตามมาตั้งแต่ช่วงที่มีการร่างกฎหมาย โดยนอกจากจะเป็นห่วงในเรื่องการเซ็นเซอร์ตัวเองแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องการตีความและการบังคับใช้ เพราะดูเหมือนทุกหน่วยงานอยากเข้ามาใช้เครื่องมือนี้ในการปราบปรามอาชญากรรม ขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายยังไม่มีความพร้อมในการบังคับใช้ โดยยกตัวอย่างเจ้าหน้าที่ที่เคยเข้ามาติดต่อ บางคนยังไม่รู้ว่า IP คืออะไร ทั้งนี้ เธอตั้งข้อสังเกตว่าวิธีปฏิบัติในการจัดการกับสื่อเก่าและสื่อใหม่นั้นต่างกันออกไป สื่อเก่าอาจถูกดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาท แต่ไม่มีใครถูกหมายจับ ไม่โดนควบคุมที่สำนักงานหรือสนามบิน นอกจากนี้ ยังตั้งคำถามถึงวิธีการเลือกบังคับใช้กฎหมาย เช่น ออกหมายจับแทนหมายเรียก ทั้งที่ในฐานะประชาชนคนหนึ่งมีสิทธิที่พึงได้รับโอกาสพิสูจน์ความเป็นธรรม ทั้งนี้ เมื่อออกหมายจับแล้วทำให้ชีวิตยุ่งยากมากขึ้น มีภาระต้องหาเงินประกันตัว จึงอยากฝากถึงเจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้กฎหมายให้คำนึงถึงสิทธิของผู้ที่ถูกกล่าวหา ซึ่งยังต้องพิสูจน์ตัวเองในชั้นศาล นอกจากนี้ ยังพบการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ควบคู่กับการใช้มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ค่อนข้างมาก โดยในกรณีผู้ให้บริการอาจเจอกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ แต่ผู้โพสต์ส่วนใหญ่เจอทั้งสองกฎหมาย จีรนุช ระบุว่าการที่สื่อเล็กๆ ถูกคุกคามได้ง่ายเป็นเพราะไม่มีองค์กรคอยหนุน อย่างไรก็ตาม มองว่าแนวคิดเรื่องการดูแลควบคุมกันเองน่าจะเป็นส่วนที่ใช้ต่อรองถ่วงดุลกับการไม่ให้รัฐเข้ามาบังคับหรือปิดกั้นได้ ทั้งนี้อาจเพราะสื่อใหม่เกิดภายใต้ชุมชนและวัฒนธรรมใหม่ เป็นพื้นที่ใหม่ที่ยังต้องการเวลาทำความรู้จัก คนเพิ่งจะใช้เน็ตในการแลกเปลี่ยนความเห็นทางสังคมการเมืองได้ไม่นาน ในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมใหม่นี้ อาจต้องใช้เวลาเพื่อให้ประชาชนเรียนรู้ ปรับตัวและทำข้อตกลงยอมรับกันเองแบบที่รัฐไม่ต้องเข้ามากำกับดูแล เธอเน้นว่าการสื่อสารไม่ควรให้อำนาจรัฐในการกำกับดูแล เพราะรัฐอาจจะอยากชี้ถูกผิด ทำให้ไม่มีการถ่วงดุล ทั้งนี้มองว่า ขณะนี้รัฐพยายามกำกับดูแล โดยใช้วิธีสร้างความกลัวและบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งไม่ต่างกับการปิดปากเสียงที่เห็นต่างจากที่รัฐต้องการนำเสนอ โดยที่ผ่านมา พบว่าหลายคดีที่ถูกทำให้เงียบ เพราะผู้ถูกจับกุมไม่อยากเป็นข่าวและคิดว่าถ้าเงียบไว้จะดีเอง เชื่อสิทธิสื่อใหม่คือสิทธิพลเมือง
หัวหน้าสถานีวิทยุชุมชนแปลงยาว เล่าต่อว่า เขาได้แสดงใบเหลืองซึ่งเป็นใบอนุญาตชั่วคราวจาก กทช. ให้เจ้าหน้าที่ดู เพื่อยืนยันว่าได้รับอนุญาตออกอากาศตาม พ.ร.บ.กระจายเสียง 2551 ต่อมา เจ้าหน้าที่จึงแจ้งข้อหา มีความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2489 ฐานมีใช้เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์คมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานและตั้งสถานีโดยไม่ได้รับอนุญาต และได้ควบคุมตัวเขามาที่โรงพัก จากนั้นเขาถูกส่งตัวไปที่กองปราบฯ พร้อมด้วยหน่วยคอมมานโดเกือบสองร้อยนายและเครื่องส่งที่ถูกยึดมา ทั้งนี้ เขาไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวในวันดังกล่าว จึงต้องถูกฝากขังหนึ่งคืน ก่อนเพื่อนสมาชิก อบต. จะรวบรวมเงิน 100,000 บาทเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวเขาในวันต่อมา จากนั้น ในวันที่ 23 มิ.ย. เขาได้เดินทางไปรายงานตัวที่ศาลตามกำหนด ปรากฎว่ามีการส่งฟ้องคดีไปแล้วก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน หลังจากนั้นทำให้เขาต้องเดินทางหลายครั้งเพื่อดำเนินการสู้คดี สุดท้าย เขาได้ตัดสินใจรับสารภาพตามข้อกล่าวหา เพราะไม่มีเงินทุนสู้คดี ศาลมีคำสั่งปรับเป็นเงิน 14,000 บาท จำคุก 1 ปี แต่เนื่องจากรับสารภาพจึงลดโทษกึ่งหนึ่ง เป็นปรับ 7,000 บาท จำคุก 1 ปี รอลงอาญา 2 ปี ตฤณกล่าวถึงสถานการณ์ล่าสุดของสถานีวิทยุชุมชนแปลงยาวว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างถูกชะลอการออกอากาศ แม้ว่าชาวบ้านจะจัดทอดผ้าป่าจนได้เงินพอที่จะซื้อเครื่องวิทยุแล้วก็ตาม เขาฝากว่า อยากขออิสระในการนำเสนอข้อมูลให้คนในชุมชนได้รับรู้สิ่งที่พวกเขาควรได้รับรู้ บางคนมียาเสพติดอยู่หน้าบ้านก็ยังไม่รู้ข้อมูลเลย ทั้งนี้ ยืนยันว่าไม่ได้ออกอากาศเนื้อหาหมิ่นเหม่แต่อย่างใด
เตือนระวัง "นิรนาม" แต่ตามเจอ โดยในมาตรา 14 นั้น ผู้ที่อาจถูกดำเนินคดีอาจไม่ใช่ผู้เขียนข้อความนั้นเอง เพียงแต่รับมาและส่งต่อก็จะผิดตามมาตรา 14 โดยมีโทษเทียบเท่ากับผู้กระทำความผิดเอง ทั้งนี้ ใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จะแบ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับตัวคอมพิวเตอร์โดยตรงในมาตรา 5-13 ส่วนมาตรา 14 นั้นเอาความผิดตามกฎหมายอื่นมาใส่ไว้ โดยรวมเอาความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ซึ่งมีมาตรา 112 ที่อยู่ในหมวดความผิดเดียวกันนี้มาไว้ด้วย ศิลป์ฟ้า ทิ้งท้ายว่า การฟ้องคดีหมิ่นฯ และการเคลื่อนไหวปิดวิทยุชุมชนเกี่ยวข้องกับบรรยากาศการเมือง โดยปฏิเสธไม่ได้ว่าการเกิดของรัฐบาลนี้มีทหารสนับสนุน หากเป็นบรรยากาศการเมืองปกติ ไม่มีการแบ่งขั้วชัดเจน การบังคับใช้กฎหมายอาจไม่เข้มงวดกวดขันและให้โทษต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแบบที่เป็นอยู่ขณะนี้ กระตุก "สื่อทางเลือก" อย่าลืมบทบาทตัวเอง ทั้งนี้ เขามองว่า การปฏิรูปสื่อนั้นคงทำได้ยาก ขณะที่สื่อทางเลือกคือทางออก เพราะรัฐคุมไม่ได้ อย่างไรก็ตาม จากการหว่านแหจัดการของรัฐทำให้สื่อทางเลือกหลายแห่งเลือกจะเซ็นเซอร์ตัวเองเพราะกลัวลูกหลง กลัวมีปัญหากับรัฐบาล ซึ่งเขาเองมองว่า สื่อทางเลือกควรจะต้องเข้าใจปรัชญาและบทบาทของตัวเอง ไม่ใช่ไปเป็นกระบอกเสียงของรัฐอีกที สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
Posted: 15 Oct 2010 08:08 AM PDT นักเคลื่อนไหวชาวชินได้รับรางวัลสิทธิมนุษยชน, พม่าห้ามเสนอข่าวนักเคลื่อนไหวจีนได้รับรางวัลโนเบล, คาดกองทัพพม่าโจมตี KNLA หลังเลือกตั้ง, KIO ประกาศห้ามชาวคะฉิ่นยุ่งเกี่ยวสารเสพติดทุกชนิด, พันโทฆ่าลูกน้อง เหตุไม่พอใจถูกวิจารณ์รังแกชาวบ้าน 11 ต.ค.53 นายวิคเตอร์ ไบค์ ลิน ได้รับรางวัลในฐานะที่เคลื่อนไหวต่อสู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนมายาวนานกว่า 22 ปี นับตั้งแต่การประท้วงของนักศึกษาในปี 1988 ซึ่งขณะนี้เขาเป็นสมาชิกขององค์กรสิทธิมนุษยชนชาวชิน(Chin Human Rights Organization) และเข้าร่วมทำงานกับองค์กรที่เรียกร้องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยอีกหลายกลุ่ม (Khonumthung News) 12 ต.ค.53 มีรายงานว่า แม้รัฐบาลพม่าจะห้ามสื่อในประเทศลงข่าวการมอบรางวัลโนเบล แต่ประชาชนในพม่าจำนวนมากต่างให้ความสนใจในการมอบรางวัลโนเบลในปีนี้ เนื่องจากสำนักข่าวเสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า (Democratic Voice of Burma - DVB) ซึ่งเป็นสำนักข่าวพม่านอกประเทศถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในปีนี้ด้วย (Irrawaddy) 14 ต.ค.53 ขณะที่หลายฝ่ายมีความกังวลว่า หากกองทัพพม่าเข้าโจมตี KNLA คาดว่า จะทำให้ชาวกะเหรี่ยงหลายพันคนทางภาคเหนือต้องหนีเข้าป่าและกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายใน เช่นเดียวกับที่ผู้ลี้ภัยจำนวน 3 พันคน ที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยชั่วคราวอีทู ถะ ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งรัฐกะเหรี่ยงจะต้องอพยพเข้าไทย มีรายงานเช่นกันว่า ทางการไทยและผู้สังเกตการณ์ต่างแสดงความกังวลว่า หลังเลือกตั้ง รัฐบาลพม่าจะโจมตีและกวาดล้างชนกลุ่มน้อยติดอาวุธในรัฐอื่นๆด้วยเช่นกัน ส่วนท่าทีของชนกลุ่มน้อยติดอาวุธหลายกลุ่มได้ตกลงร่วมมือกันทางทหารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หากถูกกองทัพพม่าโจมตี (Irrawaddy) KIO ประกาศห้ามชาวคะฉิ่นยุ่งเกี่ยวสารเสพติดทุกชนิด ทั้งนี้ ปัญหายาเสพติดกำลังเป็นปัญหาร้ายแรงและเป็นปัญหาสังคมในรัฐคะฉิ่นอยู่ในขณะนี้ โดยพบว่า วัยรุ่นชาวคะฉิ่นราว 60 – 70 เปอร์เซ็นต์ ติดสารเสพติดอย่างน้อย1 ชนิด นอกจากนี้ ยังสามารถซื้อขายสารเสพติดอย่าง ยาบ้าและเฮโรอีนได้ง่าย ทั้งในโรงเรียนและในรั้วมหาวิทยาลัย มีรายงานว่า ยาเสพติดได้แพร่หลายอย่างรวดเร็วในรัฐคะฉิ่น โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น นับตั้งแต่ที่กองกำลังเอกราชคะฉิ่นได้ทำสัญญาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่าเมื่อปี 2537 (KNG) 15 ต.ค.53 อย่างไรก็ตาม หลังกลับจากการปฏิบัติหน้าที่ นายทหารบางคนรู้สึกไม่พอใจกับการกระทำดังกล่าวของพันโทเอหน่าย จึงพูดเรื่องการสังหารนายอูเตงฉ่วยให้ภรรยาและเพื่อนฟัง จนในที่สุดข่าวนี้ได้แพร่สะพัดไปในพื้นที่ ด้านครอบครัวของนายทหารที่เสียชีวิตได้ปรึกษากับทนายความเพื่อเตรียมยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมไปยังรัฐบาลในกรุงเนปีดอว์ แม้จะหวาดกลัวว่า จะถูกทำร้ายจากพันโทเอหน่าย เนื่องจากเป็นผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ก็ตาม แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบทความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊ค http://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์http://twitter.com/salweenpost สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
นักวิชาการประณามรัฐบาลไทยขัดขวางเสรีภาพทางวิชาการ ไม่ออกวีซ่าให้นักวิชาการเวียดนาม Posted: 15 Oct 2010 08:00 AM PDT กลุ่มนักวิชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในนามเครือข่ายสิทธิมนุษยชนศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประณามรัฐบาลไทยกรณีปฏิเสธไม่ออกวีซ่าให้นายโว วัน อาย นักวิชาการชาวเวียดนามเดินทางมาประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ เผยงดวีซ่าให้นักวิชาการคนดังกล่าวมาแล้วครั้งหนึ่ง วันนี้ (15 ตุลาคม 2553) กลุ่มนักวิชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในนามเครือข่ายสิทธิมนุษยชนศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Southeast Asian Human Rights Studies Network-SEAHRN) จัดการแถลงข่าวกรณีรัฐบาลไทยปฏิเสธไม่ออกวีซ่าให้นายโว วัน อาย นักวิชาการชาวเวียดนามเดินทางมาประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง สิทธิมนุษยชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 14-15 ตุลาคม 2553 ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ กลุ่มนักวิชาการดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยอาจารย์และนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนจากหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กล่าวแสดงความผิดหวังต่อการกระทำของรัฐบาลไทย ที่ดำเนินการผ่านสถานทูตไทยในประเทศฝรั่งเศสในการปฏิเสธวีซ่า ส่งผลให้นายโว วัน อาย ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมในฐานะผู้นำเสนอบทความทางวิชาการในการประชุมครั้งนี้ ดร. ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในนามของคณะผู้จัดการประชุมกล่าวว่า การกระทำของรัฐบาลไทยครั้งนี้ขัดแย้งกับคำแถลงของรัฐบาลไทยในฐานะประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The United Nations Human Rights Council) ที่เคยกล่าวให้คำมั่นว่ารัฐบาลไทยจะยึดมั่นในหลักการสิทธิมนุษยชน “รัฐบาลไทยเคยแถลงว่าจะยึดมั่นในแนวทางสิทธิมนุษยชน แต่กลับปฏิเสธไม่ให้นาย นายโว วัน อาย เดินทางเข้าไทยเป็นครั้งที่สอง หลังจากที่เคยปฏิเสธการออกวีซ่าให้กับนายโวมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา จึงเห็นได้ชัดว่ารัฐบาลไทยได้ละเลยการปฏิบัติตามพันธกิจที่มีต่อสิทธิมนุษยชนและต่อธรรมนูญของอาเซียนที่รัฐบาลได้ร่วมลงนามไว้” ดร. ศรีประภากล่าว นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนผู้นี้ยังกล่าวด้วยว่า เสรีภาพทางวิชาการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควรได้รับความเคารพมากกว่านี้ “เสรีภาพทางวิชาการเป็นส่วนสำคัญของเสรีภาพในการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็น และมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศผ่านการเผยแพร่ความรู้ และการสร้างความเป็นอิสระด้านการศึกษา” ดร.ศรีประภากล่าว ดร. อัซมี ชารอม อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งมาลายา ประเทศมาเลเซีย หนึ่งในคณะผู้จัดการประชุมวิชาการกล่าวว่า “ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงต่างมีปัญหาเรื่องการจำกัดเสรีภาพทางวิชาการมากน้อยต่างกันไป ที่ผ่านมาการจำกัดเสรีภาพทางวิชาการมักเป็นเรื่องภายในประเทศ แต่กรณีของนายโว วัน อาย นับเป็นครั้งแรกที่เราเห็นการที่รัฐบาลมากกว่าหนึ่งประเทศร่วมมือกันในการจำกัดเสรีภาพทางวิชาการในภูมิภาคนี้” ดร. อัซมียังกล่าวด้วยว่า การห้ามนายโว เข้าประเทศไทยในครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการจำกัดเสรีภาพทางวิชาการของนายโว เท่านั้น แต่ยังเป็นการจำกัดเสรีภาพของผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด ที่ไม่มีโอกาสได้รับฟัง และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดกับนายโวด้วย ก่อนหน้านี้ในเดือนกันยายน นายโว วัน อาย ในฐานะประธานคณะกรรมการเวียดนามว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งอาศัยอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีกำหนดการที่จะมาแถลงข่าวรายงานด้านสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศเวียดนามที่กรุงเทพฯ แต่ถูกทางการฝรั่งเศสห้ามไม่ให้ขึ้นเครื่องบินเพื่อมาร่วมงานดังกล่าว แม้ว่าในครั้งนั้น นายโว ได้รับวีซ่าเดินเข้าไทยแล้ว นายโวกล่าวในจดหมายถึงคณะผู้จัดงานเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมว่า เขารู้สึกตกใจต่อทัศนคติและท่าทีของรัฐบาลไทยในการกระทำดังกล่าว และกล่าวว่านักวิชาการจะไม่สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะทางวิชาการได้อย่างเต็มที่ หากยังต้องคอยเซ็นเซอร์การนำเสนอผลงานของตนเองเพราะแรงกดดันทางการเมือง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ข้อโต้แย้งนายมีชัย ฤชุพันธุ์ : ความรับผิดของเจ้าของปั๊มน้ำมัน ต่อข้อความหมิ่นกษัตริย์ตามผนังห้องน้ำ Posted: 15 Oct 2010 07:50 AM PDT
เดิมผู้เขียนไม่เห็นว่า ปัญหานี้ยุ่งยากเกินสติปัญญาของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ จะใช้ความสามารถวินิจฉัยอย่างตรงไปตรงมา ภายหลังพบว่า การณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ โดยการสอบปลายภาคที่จะผ่านพ้นไป และเป็นประเด็นที่สังคมควรกระจ่างชัดในความมั่นคงแน่นอนแห่งกฎหมายในแต่ละคน และเกิดเป็นข้อเขียนโต้แย้งความคลาดเคลื่อนดังกล่าวไว้บ้าง จึงได้เขียนบทความนี้ขึ้น ประมาณ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ข้อความเห็นเกี่ยวกับคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ [1] ของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตอาจารย์สอนกฎหมายและนิติกร เป็นที่แพร่หลายกันมาก เริ่มเรื่องนายไกรวัลย์ เกษมศิลป์ โพสต์ถามในเว็บไซต์ของนายมีชัย ว่า “ ผมได้เข้าไปใช้ห้องน้ำในปั๊มน้ำมัน พบเห็นการเขียนข้อความให้ร้ายต่อสถาบันกษัตริย์ อยากจะถามว่าเจ้าของสถานที่จะมีความผิดไหมครับที่ปล่อยให้มีข้อความอย่างนี้ ถ้าหากจะเอาผิดกับเจ้าของสถานที่หรือให้เจ้าของสถานที่เขาลบข้อความเหล่านี้เสีย จะทำอย่างไรครับ ถ้าหากว่าเจ้าของสถานที่ไม่ทำอะไรเลยแล้วก็ปล่อยให้มีข้อความอย่างนี้อยู่ต่อไป จะไปแจ้งความเอาผิดกับเจ้าของสถานที่ได้ไหมครับ” ตามข่าว นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ตอบคำถามว่า “ ถ้าเจ้าของเขารู้เห็นข้อความนั้นแล้วยังไม่ลบทิ้งเจ้าของสถานที่ก็อาจมีความผิดเสียเองได้ ถ้าใครพบเห็นก็ควรช่วยกันแจ้งให้เจ้าของเขาลบทิ้ง หรือแจ้งกับตำรวจให้ไปดู” การวินิจฉัยปัญหากฎหมาย ในเบื้องต้นสามารถแยก “โครงสร้าง” เพื่อสามารถใช้ความคิดได้อย่างเป็นระเบียบ ในการให้เหตุผลหรือตรรกะทางกฎหมาย เราเรียกบรรทัดฐานดังกล่าวว่า “โครงสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมาย”[2] จำแนกได้ดังนี้ 1.องค์ประกอบส่วนเหตุในทางกฎหมาย คืออะไร 2.ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เป็นอย่างไร 3.ผลในทางกฎหมาย เป็นเช่นไร นักกฎหมายและนักนิติศาสตร์ จะใช้ “โครงสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมาย” เป็นฐานคิดในทุกกรณี ปรับวินิจฉัยปัญหาทางกฎหมาย สำหรับกรณีคำถามของนายไกรวัลย์ฯ ในเว็บไซต์ของนายมีชัยฯ เป็นประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112 ผู้เขียนจะเริ่มพิเคราะห์ ดังนี้ ประเด็นที่1.องค์ประกอบส่วนเหตุในทางกฎหมาย เราทำความเข้าใจก่อนว่า องค์ประกอบส่วนเหตุในทางกฎหมาย จะหมายถึงเฉพาะ “กฎหมาย(ที่บัญญัติเป็น)ลายลักษณ์อักษร” เท่านั้น เราจะไม่ใช้ประเพณีวัฒนธรรมจารีตหรือค่านิยมทางสังคมพระไตรปิฎกหรือกฎเกณ์อื่น มาเป็นมาตรวัดในฐานะ “บ่อเกิดแห่งกฎหมาย” เนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายที่มีโทษในทางอาญา [3] จะต้องตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า กฎหมายอาญาต้องบัญญัติให้ชัดเจนแน่นอน (nullum poeana sine lege stricta) ทั้งนี้รวมถึงบทบัญญัติที่ไม่ใช่โทษทางอาญาแต่อาจก่อผลในทางกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย เมื่อชัดแจ้งแล้วว่า วัตถุแห่งการพิจารณา คือ กฎหมายลายลักษณ์อักษร จึงต้องพิจารณาต่อไปว่า ตามบทบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษร บัญญัติไว้อย่างไร เพื่อพิจารณาประเด็นที่1 ให้ได้ยุติ ประมวลกฎหมายอาญา แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ภาค1.เป็น “บทบัญญัติทั่วไป” (มาตรา1 ถึง มาตรา106) ที่จะนำไปใช้เป็น “พื้นฐาน” เพื่อพิจารณา “ องค์ประกอบส่วนเหตุในทางกฎหมาย” แก่ ภาค2และภาค3 รวมถึงกฎหมายอาญาที่ปรากฎในกฎหมายฉบับอื่นๆทั้งปวง ตราบที่กฎหมายฉบับอื่นๆนั้นไม่บัญญัติกฎเกณฑ์ไว้เป็นการเฉพาะ ตามนิตินโยบายขององค์กรนิติบัญญัติ , ภาค2.เป็น “ความผิด” ในทางอาญา (มาตรา 107 ถึง มาตรา 366) , ภาค3.เป็น “ความผิดลหุโทษ” ความผิดที่บัญญัติโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 พันบาท (มาตรา 367 ถึง มาตรา 398) ความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112 ใน “ภาค2”ว่าด้วยความผิด บัญญัติว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” เมื่อบทบัญญัติมาตรา112 มิใช่ “บทบัญญัติทั่วไป” (หลักเกณฑ์ในการใช้กฎหมายอาญา)ในประมวลกฎหมายอาญา โดยบัญญัติไว้ใน “ภาค2” เราจึงต้องนำหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่บัญญัติไว้ใน “ภาค1” (มาตรา 1 ถึง มาตรา106) มาพิจารณา “องค์ประกอบส่วนเหตุ” ตามมาตรา 112 ด้วย อาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าว จะนำมาประกอบการกระจาย “องค์ประกอบส่วนเหตุในทางกฎหมาย” มาตรา 112 (อธิบายถึงเฉพาะส่วนที่ทำให้องค์ประกอบส่วนเหตุในทางกฎหมายได้ขาดตอนลง) ได้ดังนี้ 1.ผู้ใด หมายถึง จะต้องเป็น “บุคคล” ซึ่งในระบบกฎหมายได้รับรองสถานภาพของความเป็น “บุคคล” ไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ก.บุคคลธรรมดาได้แก่ สิ่งมีชีวิตซึ่งตามหลักชีววิทยาหรือชัดแจ้งโดยกายภาพก็ดี เป็น “มนุษย์” ซึ่งตามมาตรา15 เริ่มแต่เมื่อคลอดแล้ว อยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย ข.นิติบุคคล ได้แก่ บุคคลที่เกิดโดยกฎหมายสมมติขึ้นให้มีเป็น “บุคคล” เพื่อสะดวกแก่การฟ้องร้องคดีแพ่ง,อาญา หรือคดีปกครอง เช่น บริษัท , ห้างหุ้นส่วนต่างๆ รวมถึงนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติอื่น 2.มีการกระทำ แม้ว่าตามมาตรา 112 มิได้บัญญัติถ้อยคำนี้ แต่ตามมาตรา 59 วรรค1 “บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำ...” อันบัญญัติไว้ในภาค1 บทบัญญัติทั่วไป ซึ่งจะต้องนำมาบังคับใช้แก่ บทบัญญัติใน ภาค2 ,ภาค3 และกฎหมายอาญาอื่น ด้วย[4] กล่าวได้ว่า หากไม่มี “การกระทำ” แล้ว ย่อมส่งผลให้ ไม่จำต้องพิเคราะห์ “องค์ประกอบส่วนเหตุประการอื่นๆ” อีกเลย ในทาง “โครงสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมาย” เมื่อขาด “องค์ประกอบส่วนเหตุทางกฎหมาย”เพียงประการใดประการหนึ่ง ย่อมบังคับ “ผลในทางกฎหมาย”มิได้ หลักการนี้สืบสาวมาจากหลัก “ไม่มีโทษ โดยปราศจากกฎหมาย” (nulla poena sine lege) ในนิติรัฐ “การกระทำ” เป็นถ้อยคำทางกฎหมาย และเป็นประเด็นสำคัญทางกฎหมายต่อกรณีความเห็นของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่ว่า “ถ้าเจ้าของเขารู้เห็นข้อความนั้นแล้วยังไม่ลบทิ้งเจ้าของสถานที่ก็อาจมีความผิดเสียเองได้” จึงต้องพิจารณาว่า “อย่างไรคือ การกระทำ” ในระบบกฎหมาย ได้ปรากฎถ้อยคำว่า “การกระทำ” , “กระทำการ” , “ทำ” อยู่ทั่วไปในปริมาณฑลแห่งบทบัญญัติกฎหมาย ทั้งกฎหมายแพ่ง , กฎหมายอาญา , หรือในแดนกฎหมายมหาชน เช่น กฎหมายปกครอง ก็ล้วนใช้ในความหมายอย่างเดียวกันเป็นที่ยุติว่า หมายถึง การเคลื่อนไหวในอิริยาบถโดยรู้สึกนึกในขณะเคลื่อนไหวและผู้เคลื่อนไหวสามารถบังคับการเคลื่อนไหวได้ด้วย [5] หากพิจารณาประมวลกฎหมายอาญา อาจปรากฎทำนองเดียวกันนี้ในมาตรา59 วรรค2 “กระทำ...ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ” นอกจากนี้ ยังหมายรวมถึง การงดเว้นการที่จะต้องกระทำด้วย[6] ซึ่งมีลักษณะของการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย และเรื่องนี้เป็น “ประเด็นสำคัญ” จุดประกายความคลาดเคลื่อนทางกฎหมายของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ต่อกรณีตีความมาตรา112 โดยเหตุที่ “การไม่เคลื่อนไหวร่างกาย” ก็ยังสามารถถูกจัดเป็น “การกระทำ” ได้ ซึ่งเป็น “ข้อยกเว้น”ของ “การกระทำ” ดังนั้น ในระบบกฎหมาย จึงจัด “ประเภท” ของการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ออกเป็น 2 ประเภท ซึ่งส่งผลในทางกฎหมายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ประเภทที่1.การ “ไม่กระทำ” ซึ่งถือว่าเป็นความผิด ตามถ้อยคำในมาตรา 59 วรรคท้ายที่ว่า “งดเว้นที่จักต้องกระทำ” หมายความว่า งดเว้นกระทำในสิ่งที่ตนมีหน้าที่ต้องกระทำ โดยรู้สึกนึกในการไม่เคลื่อนไหวร่างกายของ “ผู้มีหน้าที่ต้องกระทำ” แต่งดเว้นเสีย จึงต้องพิจารณาต่อไปว่า “หน้าที่ นั้น เกิดขึ้นโดยเหตุใดได้บ้าง” เพราะหากไม่มี “หน้าที่” ในอันจักต้อง “กระทำ” ก็ย่อมเข้าลักษณะ “หลักทั่วไป” ที่ว่า การ “ไม่กระทำ” ไม่ถือว่าเป็นความผิด สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อไปคือ “หน้าที่”อาจเกิดได้หลายกรณีสามารถสกัดบรรดากรณีที่ปรากฎอยู่ มีดังนี้ 1.หน้าที่อันเกิดจากรัฐธรรมนูญกำหนดโดยตรงในฐานะที่เป็นองค์กรของรัฐ เช่น พระมหากษัตริย์ทรงมีหน้าที่เคารพและพิทักษ์ปกป้องรัฐธรรมนูญ [7] ตัวอย่าง - 2.หน้าที่อันเกิดจากกฎหมายกำหนดโดยตรง เช่น บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1564) ตัวอย่าง นางแดง ไม่ยอมให้ลูกทารกกินนม จนลูกอดนมตาย เป็นการ “งดเว้น”กระทำตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ผิดฐานฆ่าผู้อื่น 3.หน้าที่ที่เกิดจากการยอมรับภาระบางประการ ได้แก่ 3.1.หน้าที่โดยสัญญา เช่น รับจ้างคอยช่วยเหลือผู้ที่หัดว่ายน้ำแต่งดเว้นไม่ช่วยเหลือเมื่อมีคนจมน้ำในสระตามหน้าที่นั้น , เป็นลูกจ้างของการรถไฟมีหน้าที่ควบคุมสัญญาณห้ามรถผ่าน แต่เผลองีบหลับไป จนรถไฟชนคนตาย เช่นนี้ ลูกจ้างคนนั้นมีการกระทำโดยงดเว้น ผิดฐานฆ่า ส่วนจะเจตนาหรือประมาท ต้องพิจารณาเป็นคนละส่วน เป็นต้น 3.2โดยอัชฌาศัย เช่น อาสาดูแลลูกของเพื่อนบ้าน เป็นต้น 4.หน้าที่จากการกระทำก่อนๆของตน เช่น จูงคนตาบอดข้ามถนน ก็ต้องพาข้ามให้พ้นถนน ถ้าจูงมาถึงกลางถนนแล้วทิ้งคนตาบอดไว้กลางถนน เพราะกลัวไปทำงานไม่ทัน รีบข้ามถนนไปก่อน เช่นนี้เป็นการ“งดเว้น” ไม่กระทำเพื่อป้องกันผลร้ายอันจะเกิดแก่คนตาบอด(ช่วยไม่ตลอดรอดฝั่ง) ประการที่2.การ “ไม่กระทำ” ซึ่งไม่ถือว่าเป็นความผิด เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิด ในทางกฎหมายเรียก “ละเว้น” เป็นเรื่องการละเว้นกระทำการซึ่งกฎหมายบังคับให้กระทำในฐานะพลเมืองดี เช่น เห็นเด็กกำลังจะจมน้ำตายโห่ร้องให้ตนช่วย ทั้งที่ตนเป็นนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติ เห็นผู้อื่นประสบภยันตรายแห่งชีวิต แต่กลับไม่ช่วยตามความสามารถของตน เป็นการละเว้นการกระทำในฐานะพลเมืองดี ตามมาตรา 374 เห็นได้ว่า “หน้าที่” อันจะต้องกระทำแต่ไม่กระทำ ที่เรียก “งดเว้น” นั้น ต้องมิใช่หน้าที่โดยทั่วๆ ไป แต่เป็นหน้าที่โดยเฉพาะที่ต้องทำเพื่อป้องกันมิให้เกิดผลเช่นที่เกิดนั้น[8] แต่ถ้าเป็นเพียงหน้าที่โดยทั่วๆไป ทางศีลธรรมหรือในฐานะพลเมืองดี ย่อมไม่ใช่ “งดเว้น”แต่จะเป็น “ละเว้น”การกระทำ เมื่อพิเคราะห์องค์ประกอบส่วนเหตุในทางกฎหมาย “การกระทำ” ทั้ง “งดเว้น”และ “ละเว้น” แล้ว การตามมาตรา59 วรรคท้าย แห่งประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติให้การไม่เคลื่อนไหวร่างกาย นั้นรวมถึง “การงดเว้น” ด้วย โดยเหตุนี้หากไม่มีบทบัญญัติเฉพาะในกฎหมายเป็นการเฉพาะ “การละเว้นการกระทำ” ย่อมไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย ประเด็นที่2.ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น กรณีที่ห้องน้ำปั้มน้ำมัน มีคนเขียนข้อความซึ่งนายไกรวัลย์ฯ อ้างว่า เป็นข้อความ“ให้ร้ายพระมหากษัตริย์” แล้วเจ้าของปั๊มน้ำมัน “เห็น” แต่ไม่ได้ “ลบทิ้ง” ก็ต้องพิจารณาว่า การ “ไม่กระทำการ” ของ เจ้าของปั้มน้ำมันแห่งนั้น มี “หน้าที่” จำต้องกระทำ(ลบข้อความดังกล่าว)หรือไม่ หากว่า “มีกฎหมายกำหนดหน้าที่ดังกล่าวให้กระทำการเช่นนั้น” แต่ไม่กระทำ ย่อมเป็นการงดเว้น เป็นความผิดมาตรา112ได้ ประเด็นที่3.ผลในทางกฎหมาย ตามที่ปรากฎเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรขณะนี้ ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใด กำหนดหน้าที่ให้บุคคลกระทำการขจัด “สิ่งอื่นใด” ที่ “ผู้อื่นกระทำ” ขึ้นโดยผิดกฎหมายกระทบกระเทือนความเลื่อมใสในสถาบันพระมหากษัตริย์ หากแต่เป็นหน้าที่ทางศีลธรรมหรือหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีหรือหน้าที่ทางการเมือง เช่นเดียวกับ หน้าที่รักษาโบราณวัตถุ , หน้าที่ไปเลือกตั้ง , หน้าที่ป้องกันประเทศ , หน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นต้น การไม่ลบข้อความดังกล่าวของ “เจ้าของปั้มน้ำมัน” เป็นการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย โดยรู้สำนึก ปราศจากหน้าที่บังคับ จึงเป็น “ละเว้นการกระทำ” ซึ่งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด ไม่เป็นผิดมาตรา112 โดยมิพักต้องพิจารณาต่อไปว่าข้อความนั้นๆเข้าองค์ประกอบอื่นๆอีกหรือไม่ เพราะตราบเมื่อ “องค์ประกอบส่วนเหตุ” ได้ “สะดุดขาดตอนลง” ผลในทางกฎหมายย่อมไม่เกิดขึ้นดุจกัน ---------------------- เชิงอรรถ [1] มติชน [ออนไลน์],“หมิ่นสถาบันกษัตริย์ ในห้องน้ำปั๊มน้ำมัน “มีชัย ฤชุพันธุ์” เตือน ถ้าเจ้าของไม่ลบทิ้งอาจมีความผิดเสียเอง แนะแจ้งตำรวจ”ใน http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1285774283&catid=no [เข้าถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2553] และโปรดดูสิ่งพิมพ์อื่น. [2] โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน วรเจตน์ ภาคีรัตน์ , รพี’42 [วารสาร] , “ระบบแห่งบรรทัดฐานทางกฎหมาย” , (กรุงเทพ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) หน้า 35 – 44. [3] โทษในทางอาญา บัญญัติไว้ใน ภาค1 บทบัญญัติทั่วไป มาตรา 18 มีดังนี้ 1.ประหารชีวิต , 2.จำคุก , 3.กักขัง , 4.ปรับ , 5.ริบทรัพย์สิน หาก “ผลในทางกฎหมาย” ตาม “องค์ประกอบส่วนเหตุทางกฎหมาย” ใด มีสภาพบังคับ (sanction) อย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมาในมาตรา 18 นี้ ย่อมเป็นความผิดทางอาญาทั้งสิ้น ไม่ว่าบทบัญญัติดังกล่าว จะปรากฎตัวในประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่น ก็ตาม. [4] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา17 บัญญัติว่า “บทบัญญัติในภาค1แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย”. [5] ไพจิตร ปุญญพันธุ์ , คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะละเมิด , พิมพ์ครั้งที่ 12 , (กรุงเทพฯ : นิติบรรณการ , 2551) หน้า 6-8. [6] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา59 วรรคท้าย บัญญัติว่า “การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย” [7] ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของรัฐที่มีอารยะ โดยบังคับแห่งรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริมีพันธะให้มีหน้าที่เป็นผู้ปกป้องหรือเคารพรัฐธรรมนูญ ทั้งในรูปของคำสาบาน(Oath) เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเบลเยี่ยม มาตรา91(2) บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์จะขึ้นครองราชบัลลังค์ได้ต่อเมื่อได้สาบานตนต่อสภา ว่า “ข้าพเจ้าสาบานว่า จะเคารพรักษารัฐธรรมนูญและกฎหมายของประชาชนชาวเบลเยี่ยม จะปกป้องอิสรภาพของชาติ และบูรณภาพแห่งอาณาเขตของผองเรา” , ทั้งในรูปของข้อบังคับโดยตรง เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรบาร์เรน มาตรา 33 ข้อบี บัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์(มีหน้าที่)พิทักษ์รัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมาย และพิทักษ์ความสูงสุดแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย...” ฯลฯ “การไม่กระทำ”ตามหน้าที่ดังกล่าวของพระมหากษัตริย์ ย่อมเป็นการ “งดเว้นการกระทำ” ผลคือ การนั้นๆ มิได้ทรงกระทำในฐานะพระมหากษัตริย์ เป็นต้น [8] จิตติ ติงศภัทิย์ , กฎหมายอาญาภาค 1 , (กรุงเทพฯ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา , 2546) หน้า 175-176.
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ศาล ปค.สั่งชั่วคราวให้"พิศิษฐ์"รักษาการผู้ว่า สตง.ก่อนตัดสิน 19 ต.ค. Posted: 15 Oct 2010 06:21 AM PDT คุณหญิงเป็ดขนของออกจาก สตง. แล้ว บ่ายนี้ ก่อนหน้าศาลปกครองมีคำสั่งชั่วคราวให้นายนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รักษาการผู้ว่า สตง. หลังนายพิศิษฐ์ ตัดสินใจร้องสอดในคดีที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นฟ้องคุณหญิงจารุวรรณ ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าการฯว่า ออกคำสั่งยกเลิกการแต่งตั้งรองผู้ว่าการฯไม่ชอบด้วยกฎหมาย มติชนออนไลน์ รายงานว่าศาลปกครองกลางมีคำสั่งเมื่อบ่ายวันที่ 15 ตุลาคม 2553ให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ที่ 184/2553 ของคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินผู้ถูกฟ้องคดี เรื่องยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน(นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส)ให้รักษาราชการแทนผู้ว่าการฯลงวันที่ 18 สิงหาคม 2553 ไว้เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษา จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นซึ่งทำให้นายพิศิษฐ์ มีอำนาจในการรักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินต่อไป คดีดังกล่าวนายพิศิษฐ์ ในฐานะผู้ร้องสอดในคดีที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นฟ้องคุณหญิงจารุวรรณ ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าการฯว่า ออกคำสั่งยกเลิกการแต่งตั้งรองผู้ว่าการฯไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากคุณหญิง จารุวรรณออกคำสั่งดังกล่าวภายหลังจากที่มีอายุครบ 65 ปีต้องพ้นจากตำแหน่งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 ซึ่งจากบทบัญญัติดังกล่าวประกอบกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ศาลเห็นว่า การออกคำสั่งดังกล่าวของคุณหญิงจารุวรรณน่าจะมีปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนั้นคถุณหญิงจารุวรรณและผู้ร้องสอดได้ออกคำสั่งต่างๆออกมาหลายคำสั่งซึ่งจากการกระทำของคุณหญิงจารุวรรณและผู้ร้องสอดดังกล่าวย่อม สร้างความสับสนทั้งแก้ข้าราชการและลูกจ้างของ สตง.และทำให้หน่วยงานรับตรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกิดความสับสนในอำนาจ หน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานใน สตง.ไปด้วย อันเป็นอุปสรรคทำให้ภาระหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้จ่ายของแผ่นดินขาด ประสิทธิภาพเพราะข้าราชการ ใน สตง.ตลอกดจนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ทราบว่า จะต้องถือปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาคนใด หาก ปล่อยให้สถานการณ์เช่นนี้ดำรงต่อไปย่อมทำให้การตรวจสอบการมใช้จ่ายเงินของ แผ่นดินต้องเนิ่นช้าส่งผลกระทบหรือเกิดความเสียหายที่จะตามอีกนานับประการ อาจร้ายแรงมากยากแก่การแก้ไขเยียวยาในภายหลัง อีกทั้งการทุเลาการบังคับตามคำสั่งดังกล่าว ไม่เป็นอุปสรรคแก่การบริหารงานรัฐหรือแก่สาธารณแต่อย่างใด จึงควรมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่ง สตง.เรื่องแต่งตั้งรองผู้ว่าการฯให้รักษาราชการแทน เมื่อศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว ผู้ ร้องสอด(นายพิศิษฐ์)ย่อมมีอำนาจในการรักษาราชการแทนผู้ว่าการฯที่จะมีคำสั่ง ตามอำนาจในฐานะผู้รักาารากชารแทนที่จะมีคำสั่งตามอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าการฯ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่มีมาตลอดจนปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้เองโดยศาลไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งตามคำขอของผู้ร้องสอด จึงยกคำสั่งขอบรรเทาทุกข์ชั่วคราวของผู้ร้องสอด ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า การที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่ง สตง.ของคุณหญิงจารุวรรณ ดังกล่าวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งๆที่ศาลได้นัดฟังคำพิพากษาในวันอังคารที่ 19 ตุลาคมนี้ เท่ากับเป็นการป้องกันไม่ให้คุณหญิงจารุวรรณเข้าไปใช้อำนาจในการบริหารงาน สตง. ได้จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น เพราะถ้าศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้คุณหญิงจารุวรรณแพ้คดี คำพิพากษาจะมีผลบังคับหลังจาก 30 วันล่วงพ้นไปแล้วกรณีที่คุณหญิงจารุวรรณไม่อุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลปกครองสูง สุด แต่ถ้าคุณหญิงจารุวรรณอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลปกครองสูงสุด คำพิพากษาของศาลปกครองกลางจะไม่มีผลบังคับใช้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด แต่การที่ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่ง สตง.ของคุณหญิงจารุวรรณ เป็นการชั่วคราว จะมีผลบังคับใช้ได้ทันที เว้นแต่คุณหญิงจารุวรรณอุทธรณ์คำสั่งและศาลปกครองสูงสุดจะมีคำสั่งกลับคำ สั่งของศาลปกครองกลาง ด้านคุณหญิงจารุวรรณกล่าวว่า "ได้รับทราบคำสั่งของศาลแล้วค่ะ" เมื่อถามว่า จะมีการยื่นเรื่องอุทธรณ์ต่อหรือไม่ นั้น คุณหญิงจารุวรรณ กล่าวว่า "คงจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของทนายความส่วนตัวจัดการ" เมื่อถามย้ำว่า หลังจากนี้จะยังเข้าปฎิบัติหน้าที่ที่ สตง.ต่อไปหรือไม่ คุณหญิงจารุวรรณ อ้างว่า "ติดสายโทรศัพท์อื่นอยู่" แล้วรีบตัดสายโทรศัพท์ทิ้ง ผู้สื่อข่าวรายงาน สำหรับคำสั่งศาลปกครองดังกล่าว สำนักงานศาลปกครองได้ส่งให้คู่กรณีในช่วงบ่ายซึ่งหลังจากที่นายพิศิษฐ์ได้ รับคำสั่งของศาล ได้รีบทำหนังสือเวียนแจ้งไปยังทุกหน่วยงานใน สตง.และยังนำคำสั่งของศาลไปติดไว้ที่หน้าอาคารสำนักงานของ สตง.ด้วย นายพิศิษฐ์กล่าวว่า ก่อนที่ศาลจะส่งคำสั่งดังกล่าวมาให้ตนทางโทรสารในช่วงบ่าย คุณหญิงจารุวรรณพร้อมกับลูกๆได้เข้ามาขนของใช้ส่วนตัวออกจากออกทำงานเป็น จำนวนมากไม่น้อยกว่า 2 เที่ยว อย่างไรก็ตามหลังจากนี้จะให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบในห้องทำงานของคุณหญิง จารุวรรณว่า มีอะไรเสียหายหรือไม่ 000 ในคดีนี้ ผู้ร้องสอด(นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส) ยื่นคำร้องสอดลงวันที่ 23 กันยายน 2553 และมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองอย่างใดๆ เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาแก่ผู้ร้องสอด หรือกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของราชการเพื่อให้ผู้ถูกฟ้องคดีหยุด การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการที่ผู้ร้องสอดยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งบรรเทาทุกข์ชั่วคราว ตามข้อ 75 ของระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดี ปกครอง พ.ศ.2543 โดยมิได้มีการยื่นคำขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ 184/2553 เรื่องยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้รักษาราชการแทน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2553 อย่างไรก็ตาม แม้จะมิได้มีคำขอดังกล่าวหากศาลเห็นว่า มีเหตุอันสมควรที่จะทุเลาการบังคับตามคำสั่งดังกล่าวได้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองนั้นได้ตามข้อ 71 วรรคสอง ของระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2543 โดยศาลมีอำนาจสั่งทุกเลาการบังคับตามกฎหมายหรือคำสั่งทางปกครองได้ในกรณีที่ ศาลเห็นว่า กฎหรือ คำสั่งทางปกครองที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนั้นน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการให้กฎหรือคำสั่งทางปกครองดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อไปจะทำให้เกิดความ เสียหายอย่างร้ายแรงที่ยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลัง ทั้งการทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองนั้นไม่เป็นอุปสรรค แก่การบริหารงานของรัฐหรือแก่บริการสาธารณะตามข้อ 72 วรรคสาม ของระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดี ปกครอง พ.ศ. 2543 จากข้อเท็จจริงในคดีนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีออกคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่ 184/2553 เรื่อง ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้รักษาราชการแทนผู้ว่า การตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2553 ภายหลังจากมีอายุครบหกสิบห้าปี บริบูรณ์แล้ว ซึ่งมาตรา 34 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 บัญญัติว่า นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 33 ผู้ว่าการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (2) มีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ ประกอบกับคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีความเห็นข้อหารือของสำนักงานการตรวจ เงินแผ่นดิน เรื่องการพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินว่า คุณสมบัติของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและเหตุแห่งการพ้นจากตำแหน่งของผู้ว่า การตรวจเงินแผ่นดินที่มิใช่เป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระจึงยังต้องเป็นไปตาม ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 เช่น เมื่อตาย ลาออก ขาดคุณสมบัติ...ย่อมทำให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินพ้นจากตำแหน่งไป ดังนั้น จากบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวข้างต้นและความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาการออกคำ สั่งดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีจึงน่าจะมีปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย ภายหลังที่ผู้ถูกฟ้องคดี(คุณหญิงจารุวรรณ)ออกคำสั่งสำนักงานการตรวจ เงินแผ่นดิน ที่ 184/2553 เรื่อง ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้รักษาราชการแทนผู้ว่า การตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2553 และผู้ถูกฟ้องคดีเห็นว่า ตนยังต้องปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไปพลางก่อนผู้ถูกฟ้องคดี ได้ออกคำสั่งต่างๆ ดังนี้ (1) ตามหนังสือ ตผ 0002/125 ลงวันที่ 14 กันยายน 2553 ยกเลิกคำสั่งของผู้ร้องสอดตามหนังสือ ที่ ตผ 0004/พ245 ลงวันที่ 13 กันยายน 2553 (2) ตามหนังสือ ที่ ตผ 0002/ก 1 - ก 2 ลงวันที่ 14 กันยายน 2553 แจ้งว่าคำสั่งของผู้ร้องสอด ที่ 202/2553 ลงวันที่ 13 กันยายน 2553 ไม่มีผลตามกฎหมายเนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีได้ออกคำสั่งยกเลิกคำสั่งแต่งตั้ง รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้รักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไป แล้วตามคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่ 184/2553 ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2553 (3) ตามหนังสือ ที่ ตผ 0002/ก 3 ลงวันที่ 17 กันยายน 2553 แจ้งว่าคำสั่งของผู้ร้องสอดตามหนังสือ ที่ ตผ 0004/พ 245 ลงวันที่ 15 กันยายน 2553 ไม่มีผลใช้บังคับเพราะผู้ถูกฟ้องคดีได้ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าการ ตรวจเงินแผ่นดินให้รักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไปแล้ว (4) ตามคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ 225/2553 ลงวันที่ 29 กันยายน 2553 ยกเลิกบรรดาคำสั่งทุกคำสั่งบันทึกข้อความต่างๆ ของผู้ร้องสอด (5) ตามคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ 226/2553 ลงวันที่ 29 กันยายน 2553 มอบหมายให้รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ตรวจเงินแผ่นดิน 1 ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ส่วนผู้ร้องสอด(นายพิศิษฐ์)ได้ใช้อำนาจในฐานะผู้รักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ออกคำสั่งต่างๆ ดังนี้ (1) ตามหนังสือ ที่ ตผ 0004/พ 243 ลงวันที่ 13 กันยายน 2553 ห้ามข้าราชการและลูกจ้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดี (2) ตามหนังสือที่ ตผ 0004/พ 245 ลงวันที่ 13 กันยายน 2553 ให้สำนักงานบริหารงานกลางตรวจสอบและรับมอบสถานที่ พัสดุครุภัณฑ์ และยานพาหนะคืนจากผู้ถูกฟ้องคดี (3) ตามคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ 202/2553 ลงวันที่ 13 กันยายน 2553 มอบหมายให้รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ตรวจเงินแผ่นดิน 1 ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (4) ตามคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ 208/2553 ลงวันที่ 14 กันยายน 2553 ย้ายข้าราชการจำนวน 12 ราย (5) ตามหนังสือ ที่ ตผ 0004/พ 255 ลงวันที่ 15 กันยายน 2553 ห้ามเผยแพร่ข้อมูลข้อความประชาสัมพันธ์ส่วนตนของผู้ถูกฟ้องคดีผ่านทางระบบ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและให้เรียกเครื่อง คอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้วคืนจากผู้ถูกฟ้องคดี (6) ตามคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่ 223/2553 ลงวันที่ 27 กันยายน 2553 มอบหมายให้รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ตรวจเงินแผ่นดิน 1 ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (7) ตามคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ 231/2553 ลงวันที่ 30 กันยายน 2553 เรื่อง ให้ข้าราชการไปปฏิบัติราชการประจำ จากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีและผู้ร้องสอดดังกล่าวย่อมสร้างความสับสนทั้งแก่ข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และทำให้หน่วยงานรับตรวจงานรับตรวจและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็น หน่วยงานภายนอกเกิดความสับสนในอำนาจหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานการ ตรวจเงินแผ่นดินไปด้วย อันเป็นอุปสรรคทำให้ภาระ หน้าที่ในการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินขาดประสิทธิภาพเพราะข้าราชการ ในสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตลอดจนหน่วยงานของรัฐที่ต้องเกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินไม่ทราบว่าจะต้องถือปฏิบัติตามคำ สั่งของผู้บังคับบัญชาคนใด ซึ่งหากปล่อยให้สถานการณ์เช่นนี้ดำรงต่อไปย่อม ทำให้การตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินต้องเนิ่นช้าส่งผลกระทบหรือเกิด ความเสียหายที่จะตามมาอีกนานับประการอาจร้ายแรงจนยากแก่การแก้ไขเยียวยาใน ภายหลัง อีกทั้งการทุเลาการบังคับตามคำสั่งดังกล่าวไม่เป็นอุปสรรคแก่การบริหารงานของรัฐ หรือแก่การบริการสาธารณะแต่อย่างใด จึง ควรมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ 184/2553 เรื่อง ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้รักษาราชการแทนผู้ว่า การตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2553 ของผู้ถูกฟ้องคดี ส่วนการที่ผู้ร้องสอดมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการ คุ้มครองอย่างใดๆ เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาแก่ผู้ร้องสอด หรือกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของราชการเพื่อให้ผู้ถูกฟ้องคดีหยุด การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย นั้น เห็นว่า เมื่อศาลได้มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ 184/2553 เรื่อง ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้รักษาราชการแทนผู้ว่า การตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2553 แล้ว ผู้ร้องสอดย่อมมีอำนาจในฐานะผู้รักษาราชการแทนผู้ ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ที่จะมีคำสั่งตามอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเพื่อแก้ไขปัญหา ต่างๆ ที่มีมาตลอดจนปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้เอง โดยศาลไม่จำต้องมีคำสั่งตามคำขอของผู้ร้องสอดจึงมีคำสั่งยกคำขอบรรเทาทุกข์ ชั่วคราวของผู้ร้องสอด ดังนั้น อาศัยอำนาจตามข้อ 71 และ 72 ของระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วย วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ศาลจึงมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ 184/2553 เรื่อง ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้รักษาราชการแทนผู้ว่า การตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2553 ของผู้ถูกฟ้องคดีไว้เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษาจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา หรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ที่มาจาก มติชนออนไลน์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น