โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

รายงานเสวนา สถาบันกษัตริย์ กับสังคมประชาธิปไตย

Posted: 11 Feb 2012 10:27 AM PST

มุมมองจากพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ เวียงรัฐ เนติโพธิ์ และสุรพศ ทวีศักดิ์ กรณีสถาบันกษัตริย์กับอุดมการณ์ประชาธิปไตยผ่านการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกับสมบูรณาญาสิทธิราชย์, ศาสนาพุทธ และ ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนผ่านของจักรพรรดิญี่ปุ่น

วันที่ 11 ก.พ. 2555 กลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญจัดงานปาฐกถาและเสวนา เพื่อหารายได้สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 ตามข้อเสนอนิติราษฎร์ โดย ช่วงแรกเป็นการปาฐกถาเรื่อง “ระบอบสังคมการเมืองที่ฝืนการเปลี่ยนแปลงคืออันตรายที่แท้จริง โดย ธงชัย วินิจจะกูล

และช่วงต่อมาคือ สถาบันกษัตริย์กับสังคมประชาธิปไตย โดย เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุรพศ ทวีศักดิ์-นักปรัชญาชายขอบ และพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: อำนาจเหนือโลก VS อำนาจที่มาจากประชาชน

โดยพิชิตกล่าวเปรียบเทียบตำแหน่งแห่งที่ ของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย กับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ว่าในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จุดศูนย์กลางก็คือสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่สถาบันพระมหากษัตริย์มาสูอำนาจได้โดยอ้างอำนาจเหนือโลก อ้างสิทธิในการปกครองไพร่ฟ้าทั้งหลายโดยอ้างอำนาจเหนือโลกราษฎรจะชอบหรือไม่นั้นเป็นสิ่งไม่จำเป็น องค์พระหากษัตริย์นั้นสัมบูรณ์ เป็น Absolute Monarchy กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงเป็นต้นกำเนิดของกฎหมาย เป็นจอมทัพ เป็นสิ่งเดียวกับความเป็นชาติหรือรัฐ ราษฎรที่ถูกปกครองเรียกว่า Subject หรือไพร่ มีความสัมพันธ์กันสองทาง คือ ทางหนึ่งพระมหากษัตริย์ผูกพันว่าจะให้แกราษฎรด้วยความเมตตา-Grace ขณะที่ราษฎรก็ต้องตอบแทนด้วย Royalty คือ ความจงรักภักดี

ขณะที่ระบอบประชาธิปไตย เกิดจากความคิดความเชื่อและวัฒนธรรมที่ต่อต้านระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต้นกำเนิดที่มาของอำนาจปกครองมาจากประชาชน และประชาชนคือจุดเริ่มต้น ประชาชนมีสิทธิตามธรรมชาติ แต่เมื่ออยู่ร่วมกันในสังคมก็ต้องมีการจำกัดสิทธิตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญและมีตัวแทน รวมถึงมีประมุขเพื่อดำเนินการแทนประชาชน เมื่อประชาชนเป็นที่มาของอำนาจ ดังนั้นกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยจึงมีความผูกพันตน ปกครองได้โดยความเห็นชอบของประชาชน โดยผ่านรัฐธรรมนูญ รัฐบาลและสถาบันกษัตริย์จึงมีหน้าที่ในการรักษาและจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเฉพาะในกรณีที่มีการละเมิดกัน

ภายใต้ระบอบประชิปไตยประชาชนมีภาระต่อสถาบันกษัตริย์คือความเคารพ เพราะประชาชนและกษัตริย์นั้เนป็นคนเหมือนกันและเท่ากัน ความต่างไม่ได้อยู่ที่เชื้อสาย หรือชาติตระกูล แต่อยู่ที่ความรับผิดชอบเพราะพระมหากษัตริบย์มีความรับผิดชอบมากกว่าประชาชนทั่วไป

ประชาชนเคารพ แต่ไม่ใช่ Royalty สิ่งที่สถาบันกษัตริย์กระทำเป็นภาระมอบแก่ประชาชนจึงไม่ใช่เปนเรื่องของพระบรมโพธิสมภาร แต่เป็นเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบที่ประชาชนมอบหมายให้ด้วยความยินยอม

พิชิตกล่าวว่า เมื่อลำดับการสิทธิและการได้มาซึ่งอำนาจตามประบอบประชาธิปไตยแล้ว ประชาชนอยู่ในลำดับที่มีความสำคัญก่อนผู้ปกครอง และผู้ปกครองต้องผูกพันตนอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนั้น สถาบันกษัตริย์จึงต้องอยูใต้รัฐธรรมนูญ
เขากล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ กษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยในหลายประเทศจึงต้องมีการปฏิญาณตน เช่น รัฐธรรมนูญเดนมาร์กมาตรา 8 ระบุว่า ผู้จะขึ้นดำรงตำแหน่งกษัตริย์จะต้องปฏิญาณตนเป็นลายลักษณ์อักษี สองฉบับ ฉบับหนึ่งส่งให้ Council of State คือเก็บไว้ที่รัฐสภา และอีกอีกที่คือ Public Record office ซึ่งเป็นสถาบันที่เก็บเอกสารราชการทั้งหมดที่ประชาชนมีสิทธิจะเดินเข้าไปขอดูได้

ประเด็นต่อมา เมื่อสถาบันกษัตริย์ผูกพันตนอยูภายใต้รัฐธรรมนูญ การสืบราชบัลลังก์เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐสภาสามารถแก้ไขได้ด้วยเสียงข้างมาก

ประการถัดมา การใช้อำนาจอธิปไตย พระมหากษัตริย์ทรงครองราชย์ แต่ไม่บริหารปกครอง ฉะนั้นในกรณีของการกระทำใดทั้งปวงจึงต้องกำหนดให้มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการทุกประการ

และประการสุดท้าย ในประเทศประชาธิปไตยทั้งหลาย เมื่อกษัตริย์ดำรงสถานะเป็นประมุขของรัฐ การประพฤติส่วนพระองค์ย่อมถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญและสภาผู้แทนราษฎรเช่น รัฐธรรมนูญสวีเดนกำหนดว่า การปราศรัยในที่สาธาณณะต้องปรึกษาคณะรัฐมนตรี ในบางประเทศกำหนดข้อความละเอียดกว่านั้นอีก เช่น รัฐธรรมนูญเดนมาร์ก (หมวด5 มาตรา 5) บัญญัติว่า หากพระมหากษัตริย์ไม่ปฏิบติหน้าที่ด้วเยหตใดต่อนเอง 6 เดือน ให้รัฐสภาประชุมกันเพื่อพิจารณาว่าจะให้ทรงสละราชย์หรือไม่

สุดท้าย พิชิตกล่าวว่า รัฐธรรมนูญในลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยของไทยนั้นเคยมี โดยเฮพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับแรกหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็มีการบัญญัติเป็นไปตามหลักการที่ได้กล่าวมานี้ เช่น การสืบราชสมบัติให้เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาบลและได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีการกำหนดองคมนตรี เพราะในระบอบประชาธิปไตย พระมหากษัตริย์มีที่ปรึกษาอยู่แล้วคือคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

สุรพศ ทวีศักดิ์: จะเป็นประชาธิปไตยหรือเป็นธรรมราชา ก็ต้องไปให้สุดทาง

สุรพศ ทวีศักดิ์ กล่าวว่า รธน. มาตรา 9 กำหนดว่าพระมหากษัตริยผ์ทรงเป็นพุทธมามกะ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นการคำนึงมิติทางประวัติศาสตร์ที่ศาสนาพุทธกับสถาบันกษัตริย์พึ่งพากันมาตลอด อุดมการณ์สถาบันกษัตริย์จึงต้องเป็นอุดมกาณ์ธรรมราชา คือทศพิธราชธรรม แต่ทพิธราชธรรมแบบดั้งเดิม ไม่ใช่ธรรมศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเครื่องมือปกป้องสถาบันอันศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันกษัตริย์ แต่เป็นเครื่องมือปกป้องราษฎร

ขณะที่มาตรา 9 บอกว่ากษัตริย์ต้องเป็นพุทธมามกะ ต้องมีทศพิธราชธรรม ต้องตรวจสอบได้ แม้แต่นักวิชาการฝ่ายกษัตริย์นิยมยังบอกว่าหมายถึงหลักธรรมภิบาล อย่างไรก็ตาม มาตรา 8 รัฐธรรมนูญไทยกำหนดว่า องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่นฐานะละเมิดมิได้ เป็นมาตราที่สะท้อนอุดมการณ์สมมติเทพ ซึ่ง ไม่มีในคำสอนของรพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม แต่ได้รับอิทธิพลจากเขมรมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เพราะหลักธรรมนะพุทธศาสนาต้องพิสูจน์ด้วยนหลักกาลามสูตรทั้งหมด ใจความของกาลามสูตรสรุปสั้นๆ คือเราจะยอมรับอะไรว่ามันจริงก็ต่อเมื่อเราพิสูจน์ได้ว่าสิ่งนั้นจริง

สำหรับมาตรา 112 ก็คือเครื่องมือปกป้องอุดมการณ์สมมติเทพ มาตรา 8, 9 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทำให้อุดมการณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์นั้นขัดแย้งกัน คือเป็นอุดมการณ์ธรรมราชาภายใต้สมมติเทพ ทำให้ความหมายของธรรมราชาเบี่ยงเบนไป

เช่น อวิโรธนะ คือหลักคุณธรรมที่ว่าพระราชามีความยุติธรรม แต่เมื่ออากฎหมายมาตรา 112 มาใช้ภายใต้อุดมกาณ์แบสมมติเทพ ก็ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมขึ้น

หลัก อโกธะ คือ พระราชาย่อมไม่โกรธ แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจรู้ได้ว่า พระราชาโกรธหรือไม่โกรธ เพราะวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ แม้แต่ตั้งคำถามยังทำไม่ได้ นี่คือตัวอย่างของการใช้กฎหมายกับอุดมการณ์ที่ขัดแย้งสับสนไปหมด และหลักทศพิธราชธรรมนั้นเสียไป นอกจากนี้ หลักทศพิธราชธรรมยังมีเรื่องการุณยธรรม คือการเคารพ การไม่เบียดเบียน แต่ภายใต้มาตรา 112 ไม่เป็นเช่นนั้น

สุรพศกล่าวว่า หนทางแก้ไขก็คือ ต้องไปให้สุดทางทั้งอุดมการณ์ประชาธิปไตยและอุดมการณ์ธรรมราชา

“มาตรา 8 เราต้องตีความให้ถูกอย่างที่อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์กล่าวคือต้องตีความตามอุดมการณ์ประชาธิปไตยว่าสถาบันกษํติย์อยู่เหนือการเมือง พ้นไปจากการเมือง เมื่อไม่เกี่ยวข้องกับควาเมป็นฝักฝ่ายทางการเมือง เช่นนั้นแล้วสถาบันกษัตริย์ก็อยู่ในรฐานะที่เคารพสักการะ ไม่มีใครไปวิพากษ์วิจารณ์ไปล่วงละเมิดอะไรทั้งสิ้น ถ้าไม่มีการนำสถาบันกษัตริย์มาเป็นเครื่องมือทางการเมือง แต่ปัจจุบันเราไปตีความแบบสมมติเทพ แตะต้องไม่ได้ ...ไปให้สุดคือตีความว่าสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการเมืองจริงๆ”

แต่การไปให้สุดทางอุดมการณ์ธรรมราชา คือการมีทศพิธราชธรรม ต้องวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้ พระมหากษัตริย์เป็นสมมติราช ไม่ใช่สมมติเทพ คือ เป็นคนธรรมดาที่ราษฎรสมมติขึ้นมาให้ปกครอง และมีความรับผิดชอบมีทศพิธราชธรรม คือเป็นจรรยาบรรณของกษัตริย์ เมหือนจรรยาบรรณแพทย์ ครู

เวียงรัฐ เนติโพธิ์: จักรพรรดิญี่ปุ่นสมัยใหม่ เปลี่ยนผ่านจากสมบูรณาญาสิทธิ์มาสู่ประชาธิปไตยด้วยระเบิดปรมาณู

ตามความเชื่อของญี่ปุ่น เชื่อว่า จักรพรรดิองค์ปัจจุบันสืบเชื้อสายลูกรพะอาทิตย์มาโดยไม่ขาดตอน โดยความเชื่อดังกล่าวนั้นถือกำเนิดมายาวนานกว่า 660 ปีก่อนคริสตกาล จักรพรรดิคงทนถาวรอยู่ในฐานะสัญลักษณ์ของสังคม และมีบทบาทจำกัดมาก อยู่ในฐานะเทพเจ้า แต่มีบทบาทสำคญในการเปลี่ยนสังคมญี่ปุ่นเข้าสังคมสมัยใหม่

ทั้งนี้แต่โบราณกาล จักรพรรดิมีความเป็นเทพโดยตัวเอง ใม่ใช่สมมติเทพ คือไม่มีอำนาจทางการเมือง แต่เป็นอำนาจศักดิ์สิทธิ์ สิ่งที่น่าสนใจของระบอบของญี่ปุ่น คือ ถ้าไปพระราชวังจะมีอาคารชั้นเดียว มีก้อนหินล้อมรอบ แต่ถ้าไปปราสาทโชกุน จะยิ่งใหญ่กว่ามาก ฉะนั้นอำนาจจึงอยู่ที่โชกุนและกองทัพ การสืบเนื่องของราชวงศ์ จึงไม่มีใครสนใจไปรบราฆ่าฟันเพื่อแย่งชิงกันเพราะไม่ใช่ตำแหน่งที่มีอำนาจทางการเมือง แต่มีสถานะเป็นเทพโดยตัวเอง

ต่อมาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สมัยเมจิ พยายามทำให้อำนาจอยู่ที่จักรพรรดิพระองค์เดียว สมัยเมจิมีสิ่งประดิษฐ์อันหนึ่งที่สมบูรณาญาสิทธิราชไทยไม่มี คือรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1868 ซึ่งเป็นการบัญญัติรัฐธรรมนูญในเวลาใกล้เคียงกับประเทศตะวันตก ในรัฐธรรมนูญนี้ให้อำนาจปกครองแก่กษัตริย์ไว้สูงสุด ละเมิดไม่ได้ ทำให้อำนาจอธิปไตยเป็นของจักรพรรดิ และนำพาประเทศญี่ปึ่นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการผนวกรวมระหว่างความเชื่อเรื่องจักรพรรดิคือเทพเจ้าและอำนาจทหาร
แต่นักวิชาการก็วิเคราะห์ว่าการเปลี่ยนผ่านช่วงสงครามโลก ไม่ได้รวมศูนย์อำนาจที่จักรพรรดิเท่านั้น แต่มีกลุ่มอำนาจอื่นด้วย คือการรวมตัวเป็นรัฐสภา แต่เป็นรัฐสภาที่มีการเลือกตั้งมีพรรคการเมือง มีกลุ่มที่เข้ามาแข่ง เช่น ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เพราะข้าราชการเหล่านั้นไมได้เป็นลูกหลานจักรพรรดิ แต่เป็นชนชั้นนำที่เข้ามาแข่งขันกับจักรพรรดิ นั่นคือ แม้จะมีการรวมศูนย์อำนาจแต่ก็มีอำนาจอื่นๆ เข้ามาแทรกแซงด้วย

การเปลี่ยนผ่านจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ประชาธิปไตยนั้น สิ่งที่ทำให้จักรพรรดิยินยอมพร้อมใจคืนอำนาจสูประชาชนคือระเบิดปรมาณู ทำให้สังคมญี่ปุ่นทั้งสังคมได้หันกลับมาตรวจสอบระบอบที่นำพาประเทศไปสู่ภาวะอับจน และมีความเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีเป็นอาชญากรสงคราม แต่ขณะเดียวกัน อำนาจจากภายนอกคืออเมริกาก็ต้องการผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้ด้วยดี เป็นที่มาของพระราชดำรัสของจักรพรรดิญี่ปุ่นต่อจักรพรรดินายพลแมคอาเธอร์ ณ สถานทูตสหรัฐประจำญี่ปุ่นในเวลานั้น ว่าพระองค์มอบอำนาจให้กับแมคอาเธอร์แต่เพียงผู้เดียวเหมือนที่เคยให้ความชอบธรรมแก่โชกุนทุกยุคสมัยมาแล้ว

และในวันที่ 1 ม.ค. ค.ศ.1946 จักรพรรดิทรงประกาศว่า ความสัมพันธ์ระหว่างจักรพรรดิกับประชาชนอยู่ที่ความรักไม่ใช่ตำนานหรือมายาคติ ไม่ควรอยู่บนความเชื่อผิดๆ ว่าจักรพรรดิคือสิ่งศักดิ์สิทธิ และไม่ควรเชื่อว่าเราเป็นเลิศเหนือดินแดนอื่นๆ ที่เราจะต้องไปครอบครอง นอกจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นยังประกาศให้เลิกสนับสนุนลัทธิชินโตที่ทำให้เชื่อว่าตายแทนจักรภรรดิได้ และเปลี่ยนเนื้อหาแบบเรียนทั้งระดับประถมและมัธยมต้น

สำหรับรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นนั้นนอกจากจำกัดอำนาจทางทหารหลังสงครามโลก ยังจำกัดสถานะของจักรพรรดิให้เป็นเพียงสัญลักษณ์ของชาติ มีหน้าที่ทำพิธีกรรมแห่งชาติและต้องได้รับความเห็นของคนในชาติ การสืบสันตติวงศ์ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

จักรพรรดิปรับตัวกลับมาสู่สังคมสมัยใหม่ได้ เพราะความสืบเนื่องของราชวงศ์ประการหนึ่ง อีกประการคือ จักรพรรดิก็ไม่ได้แอคทีฟมากนัก ไม่ปรากฏตัวแก่สาธารณะมาก จึงไม่เกิดความสงสัยนินทาในหมู่ประชาชนมากนัก ปัจจุบันจักรพรรดิจึงเป็นสัญลักษณ์ของเอกราชของชาติด้วย ซึ่งเป็นเอกราชที่ต่างจากไทยที่เหมือนเป็นสิ่งประดิษฐ์เรื่องเอกราชของชาติ เพราะเอกราชของชาติคือ Independence น่าจะเริ่มจากรัฐสมัยใหม่

โดยสรุป ญี่ปุ่นมีสถานภาพเป็นเทพเจ้าก่อนเข้าสู่สมัยใหม่ ไม่มีอำนาจทางโลก ไม่เกี่ยวข้องกับทางโลก มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นประชาธิปไตยได้เพราะเข้าไปสู่ความเป็นเทพเจ้าเหมือนเดิม

แน่นอนว่าประชาชนญี่ปุ่นไม่ได้เห็นด้วยกันทั้งหมด ยังมีคนที่จงรักภักดีสูงมาก มีคนที่สะสมรูปจักพรรดิ แต่เขาสามารถอยู่ได้ร่วมกัน มีการรณรงค์ให้เอาระบอบจักรพรรดิกลับมา แต่คนจำนวนมากก็ต้องการอยู่กับจักรพรรดิภายใต้รธน.แบบนี้ คือเป็นเทพเจ้าที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอำนาจทางการเมืองใดๆ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘ไท’ เริ่มอดอาหารแล้วหน้าศาล - ‘ส.ศิวรักษ์’ มาเยี่ยมให้กำลังใจ

Posted: 11 Feb 2012 07:23 AM PST

“ไท” ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข ลูกชาย “สมยศ” เริ่มการอดอาหารประท้วงแล้วที่หน้าศาลอาญาวันนี้ พร้อมกลุ่มผู้สนับสนุนราว 50 คน รวมถึง ส.ศิวรักษ์ ที่มาเยี่ยม-พูดคุย และมอบหนังสือธรรมะให้กำลังใจ  

11 ก.พ. 55 – ราว 16.00 น. ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข หรือ “ไท” บุตรชายของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาฯ และบก.นิตยสาร Voice of Taksin เริ่มการอดอาหารประท้วง 112 ชั่วโมงแล้ว บริเวณหน้าศาลอาญา รัชดา โดยมีผู้สนับสนุนร่วมให้กำลังใจราว 50 คน พร้อม “ส.ศิวรักษ์” ที่เดินทางมาพูดคุยพร้อมมอบหนังสือธรรมะเพื่อให้กำลังใจ

ก่อนหน้านี้ ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ประกาศว่าเขาจะเริ่มอดอาหารเพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวของบิดา ซึ่งถูกจับกุมด้วยกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อเดือนเมษายน 2554 และถูกปฏิเสธสิทธิในการประกันตัวนับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กิจกรรมที่หน้าศาลอาญาในวันนี้ มีผู้ให้กำลังใจเดินทางมาร่วมราว 50 คน รวมถึง “ส.ศิวรักษ์” ซึ่งเดินทางมาเยี่ยม-พูดคุยและมอบพระหลวงพ่อโต ให้แก่ “ไท” ก่อนกิจกรรมอดอาหารจะเริ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมี จิตรา คชเดช นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงาน และเชาวนาถ มุสิกภูมิ สตรีที่ปรากฎในหน้าข่าวเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว หลังจากเผชิญหน้ากับการชุมนุมของกลุ่ม "วารสารฯ ต้านนิติราษฎร์" ได้เดินทางมาให้กำลังใจด้วย

ทั้งนี้ ทางผู้จัดงาน “กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย” ระบุว่า กิจกรรมดังกล่าวจะดำเนินไปถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ โดยในระหว่างนั้น จะมีกิจกรรมต่างๆ เช่น “โกนหัวประท้วง” ในวันที่ 13 และในวันที่ 16 จะเดินทางไปยื่นหนังสือให้กระทรวงยุติธรรม และเข้าเยี่ยมนายสมยศ พฤกษาเกษมสุขที่เรือนจำพิเศษ กรุงเทพฯ

ผู้สนใจ สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของกิจกรรมดังกล่าวได้ที่ เฟซบุ๊กของกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย



เรียนประชาชนผู้รักความเป็นธรรม สื่อมวลชน ศาลที่เคารพ และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด

 

ข้าพเจ้า ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข บุตรชายของคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาตั้งแต่ ปลายเดือนเมษายน ปี 2011 โดยไม่ได้รับการอนุญาตให้ประกันตัวมาจนถึงปัจจุบัน พ่อของข้าพเจ้าเป็นนักกิจกรรมแรงงานที่ทำงานมาอย่างยาวนานและเคลื่อนไหวอุทิศตนเพื่อพัฒนาและสร้างความเป็นธรรมใน สังคมอย่างแข็งขันมาต่อเนื่อง

 

ปัจจุบัน ด้วยการดำเนินคดีความอย่างไม่เป็นธรรม พ่อของข้าพเจ้าถูกจับกุมและคุมขังระหว่างพิจารณาคดี อีกทั้งยังถูกย้ายเรือนจำไปเกือบทุกภูมิภาคในประเทศไทยเพื่อการสืบพยานไม่กี่ปากคำ และไม่มีเหตุผลรองรับที่เหมาะสมใดๆ ที่จะกล่าวอ้างในการล่วงละเมิดต่อเสรีภาพของบุคคลมากมายเพียงเช่นนี้

 

ในคำกล่าวทางนิติศาสตร์มีหลักว่า ปล่อยคนผิด 100 คน ดีกว่าการจับคนบริสุทธิ์เพียง 1 คนพ่อของข้าพเจ้ากำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีความ ซึ่งย่อมยังไม่เป็นผู้กระทำผิดจนกว่าคำพิพากษาของศาลสูงสุดจะลงโทษให้เป็นผู้กระทำผิด นี่เป็นหลักการพื้นฐานทั่วไปที่บุคคลผู้เป็นพลเมืองทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียม และเสมอภาคกันในฐานะประชาชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ

 

ด้วยเหตุนี้ ศาลจึงควรอนุญาตให้ประกันตัวพ่อข้าพเจ้าเพื่อให้การต่อสู้ดำเนินคดีเป็นไปอย่างเที่ยงธรรม แต่ศาลได้กล่าวอ้างความร้ายแรงของคดีและความหวาดกลัวที่จะหลบหนีเป็นข้ออ้างในการไม่อนุญาตให้พ่อข้าพเจ้าประกันตัว เสมือนกับว่าศาลได้พิพากษาพ่อของข้าพเจ้าไว้ตั้งแต่ล่วงหน้า และด้วยอคตินี้ศาลได้ละเมิดหลักการที่ผู้ต้องข้อกล่าวหาจะยังถือว่ายังไม่เป็นผู้กระทำผิดจนกว่าจะมีคำพิพากษาสูงสุด นี่เป็นเหตุผลที่เพียงพอหรือไม่ที่คนๆหนึ่งจะถูกกระทำละเมิดต่อเสรีภาพมากมายเช่นนี้ ฤ ว่าในนามของความจงรักภักดี ความยุติธรรมทั้งมวลจะต้องสยบยอมเสียสิ้นอย่างนั้นหรือ

 

ความยุติธรรมจักต้องบังเกิด ไม่ว่าความเลวร้ายของการเมือง และอคติที่ผู้คนมีต่อกัน จะเบียดเบียนและกระทำการอยุติธรรมกับผู้อื่นไปอย่างไรก็ตาม แต่ข้าพเจ้า เชื่อมั่นว่า ในใจลึกๆแล้วมนุษย์ย่อมรู้สึกเห็นชอบต่อความยุติธรรม ความสงสารในเพื่อนมนุษย์ และเดือดดาลที่เห็นผู้อื่นถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม แต่เพียงอคติที่ถูกปลูกฝัง ความหวาดเกรงต่ออำนาจที่เหนือกว่า ทำให้สายตาของมนุษย์พร่ามัวจนมองไม่เห็นความยุติธรรมที่มนุษย์ควรให้ต่อมนุษย์ด้วยกันอย่างเท่าเทียม ตลอดจนไม่ฟังเสียงเรียกร้องต่อความเป็นธรรม ที่กำลังดังกึงก้องอยู่ตอนนี้

 

หากการกิน เป็นความเห็นแก่ตัวขั้นพื้นฐานสุดของมนุษย์ที่จะมีชีวิต การอดอาหารเพื่อการประท้วงสิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงเป็นสัญลักษณ์ของการประกาศว่า ปัญหาของสิ่งนั้นสำคัญยิ่งกว่าความเห็นแก่ตัวของตนเอง

 

และด้วยความรักในความยุติธรรม

และความรักที่มีต่อผู้เป็นพ่อ

 

ข้าพเจ้าจึงได้ประกาศอดอาหารประท้วงเป็นเวลา 112 ชั่วโมงที่ศาลอาญารัชดา ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป

 

เพื่อเตือนให้ผู้สร้างความอยุติธรรมทั้งหลายได้รู้สึกตน และเพื่อเรียกร้องถึงสิทธิประกันตัวที่พ่อของข้าพเจ้าควรได้รับอย่างเสมอภาค และเป็นธรรม

 

ข้าพเจ้าไม่โกรธแค้น ไม่ตำหนิในการกระทำของผู้ที่มิอาจมองเห็นความไม่ยุติธรรมที่เกิด และยังเชื่อมั่นว่าซักวันหนึ่ง พวกเขา จะหันกลับไปมองความยุติธรรมที่มีอยู่ในจิตใจส่วนลึกของพวกเขาอีกครั้งหนึ่ง และเลิกการกระทำอยุติธรรมแก่ผู้อื่นเสียที

 

ก่อนจะครบ 112 ชั่วโมง และเดินทางไปยังกระทรวงยุติธรรม เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้ทบทวน ถึงความยุติธรรม หรือกล่าวคือสิทธิประกันตัว ที่พ่อของข้าพเจ้า และนักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพคนอื่นๆ ควรได้รับอีกครั้งหนึ่ง

 

ด้วยความรักในความยุติธรรม

 

ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข

 

 

6048

6047

6052

6054

6056

6070

6078

IMG_4391

IMG_4489

IMG_4532

IMG_4452 

P1010731

P1010721

ขอบคุณภาพบางส่วนจาก Lillian Suwanrumpha 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เพ็ญ ภัคตะ: หิวประหาร-ประหารหิว

Posted: 11 Feb 2012 05:35 AM PST

จักประหารความหิวด้วยความอด
จักประชดรสชาติด้วยความเฉย
จักประท้วงความอิ่มมิลิ้มเลย
จักเยาะเย้ยเหยียดหยันสวรรยา
 
อันความหิวแม้อาจประหารมนุษย์
ให้ยื้อยุดฉุดแย่งแรงตัณหา
สวาปามสยามป่นปล้นบีฑา
เสวยเสพย์มังสาประชาไท
 
ขอประหารความหิวมิรู้โหย
อำมาตย์กลืนกอบโกยกระอักไส้
แลกความอิ่มลิ้มความอดขบถใจ
ตระหนักในเพทนาประชาชน
 
ประจักษ์แจ้งแรงหิวผอมผิวเกรียม
ราษฎร์ถูกราชประหารเหี้ยมทุกแห่งหน
ฟังสิฟังเสียงท้องร้องของคนจน
กิ่วขอดทนยังกร่นเพรียกให้เพียงพอ
 
ในความอดสดใสหทัยสุข
ไม่โลภรุกทุกข์ร่ำน้ำสายสอ
แม้นโหยไห้ไส้แหบทั้งแสบคอ
มิร้องขอเศษน้ำใจใครเยียวยา
 
ขอเพียงหยุดข่มเหงยำเยงไพร่
เสรีให้เทียมเท่าทั้งเจ้า-ข้า
ประหารรอยล้ำเหลื่อมเชื่อมศรัทธา
ล้างความหิวล้านชิวหารากหญ้าครอง
 
หิวประหารฤอาจต้านประหารหิว
เลิกกดขี่ชี้นิ้ว "หนึ่งหนึ่งสอง"
กฎหมายทาสป่าเถื่อนเบือนครรลอง
เร่งคืนความถูกต้องของ...รัฐธรรมนูญ
 
ปล. แด่การประกาศเจตนารมย์ของกลุ่มศิลปิน  No. 112 Hunger Strike!

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วิญญาณหลอนของการล้อมสังหาร

Posted: 11 Feb 2012 05:16 AM PST

เมื่อนั่งอยู่ใต้ร่มเงาของต้นโพธิ์ใหญ่แสนร่มเย็นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลางกรุงเทพมหานครอันเก่าแก่ ยากยิ่งที่จะจินตนาการถึงภาพความรุนแรงชวนคลื่นไส้ที่แทบจะกลืนกินทั้งธรรมศาสตร์ในปี 1976 ปีซึ่งผมเพิ่งเข้าเรียนมหาวิทยาลัยที่เมืองโกลกาต้า

เทียบกับปัจจุบันแล้ว เวลานั้นแทบจะเป็นอีกโลกหนึ่งเลยก็ว่าได้ สงครามเวียดนามพึ่งจบสิ้นลง แต่สงครามเย็นยังคงร้อนระอุ ไม่มีอะไรที่อย่างเคเบิ้ลทีวี ในหลายประเทศยังไม่มีแม้แต่ทีวีด้วยซ้ำ เวลานั้นเป็นยุคสมัยของวิทยุ

ในวันที่ 6 ตุลาคมปีดังกล่าว กองกำลังติดอาวุธ ตำรวจ และ กลุ่มผู้ชุมนุมขวาจัดได้บุกเข้าทำร้ายเหล่านักศึกษาฝ่ายซ้ายนับพันอย่างโหดร้ายป่าเถื่อน ในขณะที่เหล่านักศึกษากำลังชุมนุมประท้วงการกลับมาของถนอม กิตติขจร อดีตผู้นำเผด็จการทหารที่ถูกขับออกนอกประเทศหลังการลุกฮือขึ้นต่อต้านในเหตุการณ์ 14 ตุลา เมื่อปี 1973

คุณสามารถหาดูคลิปวิดีโอของเหตุการณ์ในวันนั้นได้ไม่ยากทางอินเตอร์เน็ต  ยอดผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการคือ 46 คน แต่จำนวนผู้เสียชีวิตที่แท้จริงนั้นเป็นที่สงสัยว่าอาจจะมากกว่านั้นกว่าเท่าตัว การประกาศนิรโทษกรรมอย่างทั่วไปทำให้ไม่มีการจับกุมกลุ่มผู้กระทำผิดมาลงโทษ

บรรยากาศในวันนั้นที่เหล่านักศึกษาถูกยิง ทุบตี กระทืบ ลากไปกับพื้นสนามหลวง และ แขวนคอบนต้นไม้ โดยมีกลุ่มคนโห่ร้องสนับสนุน แม้แต่พาเด็กเล็กมายืนชมอย่างเพลิดเพลิน อันเป็นผลมาจากการปลุกระดมโดยแกนนำฝ่ายขวากล่าวหาว่าเหล่านักศึกษาต้องการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ บรรยากาศน่าหวาดหวั่นของช่วงเวลาอำมหิตนั้นได้กลับมาอีกครั้ง

ณ วันนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้กลับมาเป็นศูนย์กลางความขัดแย้งอีกครั้ง กลุ่มอาจารย์กฎหมาย 7 คนซึ่งเรียกตัวเองว่า “นิติราษฎร์” หรือ “นิติศาสตร์เพื่อราษฎร” ได้เสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112  หรือ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย นอกจากนี้ยังเสนอว่าในอนาคตพระมหากษัตริย์ควรจะต้องสาบานตนว่าจะรักษารัฐธรรมนูญก่อนขึ้นรับตำแหน่งเพื่อป้องกันมิให้การรับรองคณะรัฐประหารเกิดขึ้น

ข้อเสนอของนิติราษฎร์นี้นำมาสู่การโต้เถียงอย่างดุเดือด แม้ประเทศไทยจะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญภายหลังจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถูกยกเลิกไปตั้งแต่ปี 1932 แล้ว แต่อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ซึ่งมีพระชนมายุกว่า 84 พรรษานั้น ได้กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจสูงสุดของประเทศ และ อาจเรียกได้ว่าในรัชสมัยของพระองค์ราชวงศ์จักรีรุ่งเรืองเป็นที่สุด 

แม้ว่าสถาบันกษัตริย์จะอยู่เหนือการเมืองอย่างเป็นทางการ แต่ในความเป็นจริงการถูกกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีต่อสถาบันฯยังเป็นอาวุธทางการเมืองที่ร้ายแรงของกลุ่มอำนาจต่างๆ รวมทั้งพรรคการเมือง และ กองทัพซึ่งมีรากฐานความจงรักภักดีมิใช่ต่อรัฐบาลพลเรือน แต่เป็นสถาบันกษัตริย์

ในวันที่ 30 มกราคม สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ทำการห้ามกลุ่มนิติราษฎร์ไม่ให้จัดการรณรงค์เรื่องการแก้ไขมาตรา 112 ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย ด้วยกลัวว่าจะเกิดความขัดแย้งและความวุ่นวายขึ้นถ้ายังให้ดำเนินการต่อ จากวันนั้นภายในธรรมศาสตร์ได้มีการชุมนุมประท้วงเล็กน้อยทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุน และ ต่อต้านนิติราษฎร์ หลายวันถัดมาอธิการบดีจึงต้องยอมถอยครึ่งก้าวโดยกล่าวว่าถ้าเป็นการเสวนาทางวิชาการสามารถจัดได้

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกผู้ทรงอิทธิพลได้แสดงตัวชัดเจนว่าคัดค้านกลุ่มนิติราษฎร์ โดยเตือนให้รีบยุติการรณรงค์โดยเร็ว ในสัปดาห์นี้ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.ร.อ. สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ก็ได้ตบเท้าออกมาค้านนิติราษฎร์ด้วยว่า “ทุกกองทัพได้จับตาการเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดหวั่นว่าอาจกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ผมเห็นด้วยกับคนส่วนใหญ่ว่าการรณรงค์นี้ไม่ทำให้เกิดประโยชน์อะไรเลย”

ไม่ชัดเจนว่าเขาได้ใช้หลักการอะไรมาสรุปว่าคน “ส่วนใหญ่” เห็นว่าเป็นการรณรงค์ที่ไม่เกิดประโยชน์ เพราะเท่าที่ทราบยังเคยมีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนหรือประชามติอย่างแท้จริงในประเด็นนี้

พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวว่า “อย่าใช้มาตรา 112 มาทำให้เกิดความวุ่นวาย ผมอยากจะถามว่าท่านรับได้ไหมถ้ามีใครมาด่าว่าผู้ปกครองท่าน”

”ผู้ปกครอง”คือคำที่มีความหมายซ่อนคือกษัตริย์และราชินี

รัฐบาลซึ่งพยายามสุดชีวิตที่จะหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวหาว่าต่อต้านสถาบันได้แถลงการณ์อย่างเด็ดขาดว่าจะไม่แก้ไขมาตรา 112

อย่างไรก็ตามการรณรงค์ก็ยังดำเนินต่อไป บทความหนึ่งในบางกอกโพสท์ อ้างคำสัมภาษณ์ของ พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้กล่าวว่าคณะกรรมการรณรงค์เพื่อแก้ไขมาตรา 112 (ครก. 112) กำลังจะรวบรวมรายชื่อให้ครบ 10,000 เพื่อยื่นแก้ไขมาตรานี้ โดยปัจจุบันได้มาแล้วหลายพันรายชื่อ

อาจารย์พวงทองยังกล่าวว่าผู้บัญชาการกองทัพบกอาจไม่ได้ศึกษารายละเอียดของข้อเสนอแก้ไขนี้ให้ดีก่อนวิพากษ์วิจารณ์

“สิ่งที่เรากำลังทำไม่ใช่เรื่องใหม่ กลุ่มประชาชนเคยรวบรวมรายชื่อเพื่อเรียกร้องให้แก้กฎหมาย นี่เป็นสิทธิภายใต้รัฐธรรมนูญ”

“ท่านมีอำนาจอะไรที่จะมาหยุดพวกเรา? หรือกองทัพคิดว่าหน้าที่หลักของตนคือการก่อการรัฐประหารเพื่อปกป้องสถาบัน(กษัตริย์)? กองทัพไม่มีความชอบธรรมที่จะก่อการรัฐประหารอีกต่อไปแล้ว”

นักวิเคราะห์จำนวนมากต่างเห็นว่าบรรยากาศในปัจจุบันชวนให้หวนนึกถึงช่วงเริ่มต้นของเหตุการณ์วิปโยคในเดือนตุลาคมเมื่อ 36 ปีก่อน

“ข้อแตกต่างที่สำคัญอย่างเดียวระหว่างปัจจุบัน กับเหตุการณ์เมื่อปี 1976 ก็คือ การไม่มีสงครามเย็น” คือความเห็นของ ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

ประเทศไทยมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่รุนแรงที่สุดในโลก ภายใต้กฎหมายนี้ใครก็ตามที่หมิ่นประมาท ดูหมิ่น อาฆาตมาตรร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาท และ ผู้สำเร็จราชการ จะมีโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี การกล่าวว่าผู้อื่นว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสามารถทำโดยใครก็ได้ มีคดีตามมาตรานี้นับร้อยๆคดีนับจากการรัฐประหารเมื่อปี 2006 ซึ่งโค่นล้มทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้ง ซึ่งแม้จะมีลักษณะอำนาจนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแต่ก็ยังเป็นที่นิยมอย่างสูง 

(เขาถูกศาลตัดสินให้จำคุก 2 ปี พรรคของเขาถูกยุบ ทรัพย์สินส่วนใหญ่ถูกยึด แต่นั่นก็ไม่สามารถหยุด ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของเขาไม่ให้ขึ้นมาครองอำนาจโดยอาศัยความนิยมของเขา แม้ตัวเขาจะต้องลี้ภัยอยู่ต่างแดนก็ตาม)

ย้อนไปในปี 1976 บทเพลงยอดนิยมเพลงหนึ่งของฝ่ายขวา ที่ร้องเพื่อลดความเป็นคนของนักศึกษาฝ่ายซ้ายก็คือเพลง “หนักแผ่นดิน”

ในปี 2010 ผมมีโอกาสได้ยินเพลงนี้เป็นครั้งแรกในการชุมนุมเล็กๆของกลุ่มคลั่งเจ้าที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิในกรุงเทพฯ พวกเขารวมตัวกันเพื่อต่อต้านกลุ่ม “เสื้อแดง” ที่ได้มารวมตัวกันในกรุงเทพเพื่อประท้วงคนชั้นนำ

วันนี้เพลงนี้ถูกร้องอีกครั้งหนึ่งโดยกลุ่มคลั่งเจ้าเพื่อนิยามใครก็ตามที่คิดจะแตะเรื่องสถาบันกษัตริย์ การเรียกร้องให้แก้ไขมาตรา 112 โดยมีเหตุผลที่ว่ามาตรานี้ละเมิดสิทธิมนุษยชน และ ส่งผลร้ายต่อชื่อเสียงของสถาบันกษัตริย์เสียมากกว่าผลดี ข้อเรียกร้องนี้กลับไม่ต่างจากการพยายามล้มล้างสถาบันกษัตริย์

ในปี 1976 มีการปลุกระดมอย่างชัดเจนให้ใช้กำลังจัดการกับนักศึกษา ในปัจจุบันการปลุกระดมคล้ายกันกลับมาอีกครั้ง มีผู้ฟังโทรเข้าไปแสดงความคิดเห็นในรายการวิทยุว่าเขาอยากจะ “เอาพวก(นิติราษฎร์)ไปตัดคอให้หมด” ก่อนที่จะยอมรับเมื่อโดนผู้ดำเนินรายการไล่บี้ว่ายังไม่ได้แม้แต่จะอ่านข้อเสนอให้เข้าใจ

“หลายคนหวังว่าผู้ฟังรายการท่านนั้นเป็นเพียงคนส่วนน้อยมากในสังคมไทยในปัจจุบัน แต่จากประวัติศาสตร์ที่เพิ่งผ่านมาดูเหมือนจะไม่เป็นอย่างนั้น” นี่คือความเห็นของคอลัมนิสต์ที่มีนามปากกาว่าแก้วมาลา

“ความโหดร้ายในปี 1976 เกิดขึ้นจากการกระทำของเพื่อนร่วมชาติ ความเกลียดชังต่อนักศึกษาถูกปลุกเร้าขึ้นโดยอาศัยหลายปัจจัยอันตรายเช่น ความงมงาย ศรัทธาอย่างคนตาบอด ความกลัวที่เกินจริง และข้อมูลเท็จที่ถูกกระพือ”

“กลุ่มเจ็ดอาจารย์กฎหมายนี้กำลังถูกกล่าวหาว่ามีแผนการร้ายที่จะโค่นล้มสถาบันกษัตริย์บ้าง เป็นทาสทักษิณบ้าง เป็นพวก (เสื้อ) แดง หรือกล่าวหาง่ายๆว่ามีเจตนาไม่บริสุทธิ์แอบแฝงอยู่”

Tyrell Haberkorn นักวิจัยจากภาควิชาการเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ได้ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ประชาไทว่า ถ้อยคำที่ใช้กับกลุ่มนักศึกษาในช่วงก่อนการสังหารหมู่ในวันที่ 6 ตุลาคม 1976 นั้นเมื่อเทียบกับถ้อยคำที่ใช้กับกลุ่มนิติราษฎร์ในวันนี้ มีท่วงทำนองที่คล้ายกันมาก ต่างก็เหยียดหยามความเป็นคน และ เรียกร้องให้ใช้ความรุนแรงอย่างเปิดเผย

และ “เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ออกมาให้สัมภาษณ์ต่อสาธารณะว่าบรรดากลุ่มนิติราษฎร์ควรจะออกไปจากประเทศนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องถามว่านี่เป็นการส่งสัญญาณทางตรงหรือสัญญาณทางอ้อมแบบไหนไปสู่ประชาชน”

ธงชัย วินิจจะกูล นักประวัติศาสตร์ชาวไทยที่ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเมดิสัน สหรัฐฯ ในอดีตเขาเป็นหนึ่งในนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น เหตุการณ์ซึ่งในแบบเรียนการศึกษาไทยยังเรียกกว่าเป็น “เหตุการณ์จลาจล” หรือ “เหตุการณ์วุ่นวาย”

ธงชัยได้กล่าวผ่านทางอีเมลล์ว่า “ประเทศไทยไม่เคยเรียนรู้จากความขัดแย้งในอดีต การทำความเข้าใจไม่ใช่วิธีที่ประเทศนี้ทำกับเรื่องในประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์จะถูกกรองให้พูดแต่เฉพาะเรื่องที่สอดคล้องกับอุดมการณ์กระแสหลักเสมอมา เหตุการณ์สังหารหมู่ในวันที่ 6 ตุลา อาจเป็นความแปลกแยกที่เสียงดังกระหึ่มที่สุด เป็นเสียงหลอกหลอนจากในอดีตที่ยังคงโหยหวนตราบเท่าที่ความยุติธรรมจะบังเกิด”

เมื่อนั่งอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มันยากที่จะเชื่อว่าประวัติศาสตร์อย่างนั้นจะสามารถซ้ำรอยเกิดขึ้นได้อีกครั้ง ยิ่งเมื่อพิจารณาถึงบริบทที่ต่างจากเดิม แต่บางทีอาจจะเป็นอย่างสำนวนที่ว่า  “plus ça change, plus c'est la même chose”  "ยิ่งเปลี่ยนแปลงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเหมือนเดิมมากเท่านั้น" มันอาจเป็นเพียงลางสังหรณ์ แต่เป็นลางสังหรณ์จากนักวิเคราะห์ผู้ช่ำชอง

คงมีแต่เพียงสายลมที่โบกพัดใต้กิ่งใบแห่งต้นบรมโพธิ์เท่านั้นที่จะรู้คำตอบ

 

แปลจาก Nirmal Ghosh. Ghosts of a Massacre. ST Blogs, 9/2/55. 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อ่านปาฐกถา "ธงชัย วินิจจะกูล: ระบอบสังคมการเมืองที่ฝืนการเปลี่ยนแปลงคืออันตรายที่แท้จริง" ฉบับเต็มที่นี่

Posted: 11 Feb 2012 04:39 AM PST

อ่านปาฐกถา "ธงชัย วินิจจะกูล: ระบอบสังคมการเมืองที่ฝืนการเปลี่ยนแปลงคืออันตรายที่แท้จริง" ฉบับเต็มที่นี่

ปาฐกถาของ “ธงชัย วินิจจะกูล” ในงานเสวนาซึ่งจัดโดยกลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญ “เคยคิดไหมว่า อีก 50 ปีข้างหน้าประวัติศาสตร์จะบันทึกความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันอย่างไร จะบันทึกความขัดแย้งกรณีมาตรา 112 ว่าสะท้อนภาพใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยอย่างไร ประวัติศาสตร์จะมองย้อนกลับมาแล้วประเมินและวิเคราะห์ปัจจุบันจากความรู้และทัศนะของอนาคตอย่างไร”

หมายเหตุ: เมื่อเวลา 19.00 น. วันนี้ (11 ก.พ.) ธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัยวิสคอลซิล เมดิสัน สหรัฐอเมริกา กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “ระบอบสังคมการเมืองที่ขัดฝืนการเปลี่ยนแปลงคืออันตรายที่แท้จริง” ในรายการสนทนาซึ่งจัดโดยกลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญ เพื่อหารายได้สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 ตามข้อเสนอของนิติราษฎร์ ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถ.ราชดำเนิน โดยมีรายละเอียดของการปาฐกถาดังนี้

 

 

0 0 0 0 0 0

 

ระบอบสังคมการเมืองที่ขัดฝืนการเปลี่ยนแปลงคืออันตรายที่แท้จริง

ธงชัย วินิจจะกูล
Department of History
University of Wisconsin-Madison, USA
& Asia Research Institute
National University of Singapore

ปาฐกถาในรายการสนทนาเพื่อหารายได้
สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 ตามข้อเสนอของนิติราษฎร์
จัดโดยกลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญ
11 กุมภาพันธ์ 2555

หมายเหตุ เอกสารนี้คือฉบับเต็มของคำบรรยายซึ่งต้องตัดให้สั้นลงตามเวลาที่กำหนด แต่เนื่องด้วยเวลาตระเตรียมเอกสารนี้มีจำกัด ผู้เขียนสามารถประมวลความคิดที่่ต้องการนำเสนอได้ แต่ไม่สามารถทำเชิงอรรถอ้างอิงของเนื้อหาสาระหลายแห่งที่ผู้เขียนเรียนรู้จากผลงานของผู้อื่นให้ถูกต้องเรียบร้อยได้ จึงขออภัยมา ณ ที่นี้ และผู้เขียนจะปรับปรุงให้สมบูรณ์ในโอกาสต่อไป หากผู้ใดจะนำเอกสารนี้ไปใช้ สรุปความ หรือรายงานทางสื่อใดๆ ขอความกรุณากระทำด้วยความรับผิดชอบ ไม่บิดเบือนสาระหรือสื่อความผิดไปจากที่นำเสนอในที่นี้

เคยคิดไหมว่า อีก 50 ปีข้างหน้าประวัติศาสตร์จะบันทึกความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันอย่างไร จะบันทึกความขัดแย้งกรณีมาตรา 112 ว่าสะท้อนภาพใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยอย่างไร ประวัติศาสตร์จะมองย้อนกลับมาแล้วประเมินและวิเคราะห์ปัจจุบันจากความรู้และทัศนะของอนาคตอย่างไร

การปฏิวัติ 2475 และปรีดี พนมยงค์ถูกใส่ร้ายเข้าใจผิดอยู่เป็นเวลา 30 กว่าปีจาก 2490 จนถึงประมาณ 2520 กว่าๆ ทุกวันนี้สังคมเข้าใจการปฏิวัติ 2475 และท่านปรีดีต่างจากช่วง 30 ปีนั้นอย่างลิบลับ

6 ตุลา 2519 ใช้เวลา 20 ปีจึงพอจะโงหัวขึ้นมาพูดได้เต็มปากว่าอาชญากรรมของรัฐไทย ในวันนั้นน่าอัปยศและยังรอการสะสาง ผิดลิบลับกับช่วงหลังเหตุการณ์ใหม่ๆซึ่งฆาตกรกลายเป็นวีรชน ได้รับการยกย่องจากคนสำคัญของสังคมไทยว่าช่วยกำจัดศัตรูของชาติ

แม้เราจะบอกไม่ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นพรุ่งนี้ มะรืนนี้ ปีนี้ ปีหน้า หรือประมาณ 5-10 ปีข้างหน้า แต่แนวโน้มกระแสความเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆของสังคมไทยและของโลกในแง่ระบอบการเมือง กลับพอจะมองออกได้

จิตร ภูมิศักดิ์ไม่ใช่คนแรกและคนเดียวที่เกิดก่อนกาล แต่ทุกยุคสมัยมีคนจำนวนหนึ่งที่เกิดก่อนกาล พยายามผลักดันการเปลี่ยนแปลง แต่กลับถูกทำร้ายทำโทษแทบไม่ได้ผุดได้เกิด ทว่าอนาคตพิสูจน์ว่าของประวัติศาสตร์ยืนอยู่ข้างเขา

ผู้เขียนเชื่อมั่นว่า นิติราษฎร์และคณะกรรมการรณรงค์เพื่อแก้ไขมาตรา 112 คือผู้กล้าประเภทนี้ อนาคตจะพิสูจน์ว่าประวัติศาสตร์ของสังคมไทยยืนอยู่ข้างพวกเขา

ผู้เขียนขอเสนอว่า อีก 50 ปีข้างหน้า ประวัติศาสตร์จะอธิบายบริบทหรือภาพใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน จะบันทึกถึงความขัดแย้งกรณีมาตรา 112 และจะอธิบายการฉุดรั้งขัดฝืนความเปลี่ยนแปลง ดังอธิบายในข้อเขียนชิ้นนี้

 

ข้อสังเกตต่อการปรับตัวและฉุดรั้งการเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมา

ก่อนอื่น ผู้เขียนขอตั้งข้อสังเกตบางประการต่อการปรับตัวและฉุดรั้งการเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมาในสังคมไทย

1. ถ้าหากเราไปถามใครก็ตามว่า สังคมควรรู้จักปรับตัวให้ทันความเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ทุกคนจะตอบว่าควร แต่หากถามเฉพาะเจาะจงลงไปว่าควรปรับอะไรอย่างไร จะพบความเห็นต่างขัดแย้งกันเต็มไปหมด จนเกิดการต่อสู้ระหว่างความคิดที่ต่างกันเป็นปกติตามแต่อุดมการณ์ ความรู้ ทัศนะ ประสบการณ์ ผลประโยชน์ วัยและ generation ก็มีผลต่อความคิดเกี่ยวกับการปรับตัวเปลี่ยนแปลงเช่นกัน

2. แต่สังคมต่างๆมีความสามารถจัดการความขัดแย้งชนิดนี้ไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน ปัจจัยสำคัญของความสามารถมากน้อย ก็คือ

2.1 กระบวนการที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการความขัดแย้งและการปรับตัว

2.1.1. เสรีภาพที่จะแสดงความคิดต่อสาธารณะ เป็นเงื่อนไขจำเป็นเพื่อเปิดโอกาสให้คนที่เห็นความเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนกันมาบอกอธิบายต่อสังคมแต่เนิ่นๆ จึงจะปรับตัวได้ทัน

2.1.2. ถกเถียงกันอย่างอารยชน ไม่ใช่หมายถึงพูดจาภาษาดอกไม้ ดัดจริตจีบปากจีบคอ แต่หมายถึงไม่มีการใช้กำลัง ไม่ข่มขู่คุกคามหรือดูถูกเหยียดหยามคนอื่น ไม่เจตนาบิดเบือนทำร้ายกันอย่างไม่เป็นธรรมเพียงเพราะความคิดแตกต่างกัน

2.1.3. ประชาธิปไตย แท้ที่จริงแล้วประชาธิปไตยไม่ได้กำหนดว่าสังคมอุดมคติเป็นอย่างไร แต่ประชาธิปไตยคือกระบวนการในอุดมคติ

เหตุผลที่ทำให้ประชาธิปไตยเป็นกระบวนการในอุดมคติ ก็เพราะสังคมเติบโตก็ยิ่งมีความแตกต่างหลากหลายมากขึ้นทั้งความคิดและผลประโยชน์ ปัญหาไม่ใช่เพราะมีคนเลวจึงเกิดความขัดแย้งแตกต่าง ต่อให้ทั้งสังคมไม่มีคนเลวเลยแม้แต่คนเดียว ก็ยังมีความขัดแย้งแตกต่างกันในทุกเรื่อง ต่อให้ทุกคนเห็นแก่ผลประโยชน์ของชาติด้วยกันทั้งนั้นก็ยังมีความขัดแย้งแตกต่างกันอยู่ดี

ประชาธิปไตยคือกระบวนการที่อนุญาตให้ความขัดแย้งแตกต่างปะทะกันอย่างสันติ มีกติกา แล้วนำไปสู่การตัดสินใจ อีกทั้งยังสามารถตัดสินใจใหม่ได้หากพบว่าการตัดสินใจคราวก่อนผิดพลาด

ประชาธิปไตยไม่ใช่การเลือกตั้ง แต่ด้วยมูลเหตุดังกล่าวมาจนบัดนี้มนุษย์ค้นพบว่าการเลือกตั้งคือรูปแบบการจัดการความแตกต่างอย่างเป็นธรรมที่สุดแก่ทุกฝ่าย ไม่ใช่ระบอบที่ฝากความหวังกับผู้อ้างว่ามีคุณธรรมหรือปัญญาเป็นเลิศกว่าใครอื่น ไม่ใช่ 70/30 ไม่ใช่ธรรมิกสังคมนิยม ไม่ใช่เผด็จการไม่ว่าทหาร หรือชนชั้นกรรมาชีพ

2.2. นอกจากเรื่องกระบวนการและกติกาแล้ว อีกปัจจัยที่สำคัญคือ สติปัญญาของสังคมนั้นๆมีมากน้อยเพียงใด มีวุฒิภาวะเพียงใดที่จะใชัปัญญาหาทางออกแก้ไขความขัดแย้ง ไม่ใช้อารมณ์ความเชื่อไม่มีเหตุผล หรือใช้กรรมวิธีอวิชชาอื่นๆ

3. ประวัติศาสตร์ของการปรับตัวครั้งใหญ่ๆในสังคมไทย มักมีผลตามมาในลักษณะต่อไปนี้

3.1. ปรับไม่ได้ เกิดความขัดแย้งรุนแรง สังคมไทยจะกลบเกลื่อน ปล่อยผ่านไปโดยไม่สร้างบรรทัดฐานว่าอะไรถูกผิด และไม่เรียนรู้ความผิดพลาดในอดีต

3.2. ปรับได้ปรับทัน จึงยึดติดกับความสำเร็จนั้น จนระบอบดังกล่าวกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางการเปลี่ยนแปลงระลอกต่อมา ตัวอย่างเช่น

การปรับตัวเข้าสู่สมัยใหม่จนสำเร็จภายใต้รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ส่งผลให้เกิดรัฐสมัยใหม่ ข้าราชการและชนชั้นใหม่ซึ่งเรียกร้องต้องการความเปลี่ยนแปลงในเวลาต่อมา แต่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ฉุดรั้งขัดฝืนความเปลี่ยนแปลง เกิดการปฏิวัติ 2475

การปรับตัวของรัฐไทยภายใต้ยุคสงครามเย็นและเศรษฐกิจโลกยุคใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สองทำได้สำเร็จภายใต้เผด็จการ สร้างชนชั้นกลางที่เติบโตมากับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมซึ่งเรียกร้องต้องการประชาธิปไตยในเวลาต่อมา แต่รัฐเผด็จการยุคสงครามเย็นฉุดรั้งขัดฝืนความเปลี่ยนแปลง เกิดการปฏิวัติ 14 ตุลา 2516

จะเห็นได้ว่าระบอบการเมืองที่ประสบความสำเร็จได้เถลิงอำนาจนาน มักสร้างพลังทางการเมืองอย่างใหม่ที่เติบโตขึ้นมาท้าทายระบอบการเมืองนั้นในเวล่าต่อมา แต่ระบอบการเมืองดังกล่าวกลับไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลง จึงฉุดรั้งขัดฝืนไม่ยอมปรับตัว

ผู้เขียนเห็นว่าระบอบการเมืองปัจจุบันยึดติดกับความสำเร็จของตนระหว่าง 20-30 ปีก่อน แต่กำลังถูกท้าทายโดยผลพวงของความสำเร็จนั้น ระบอบการเมืองปัจจุบันกลับขัดฝืนความเปลี่ยนแปลงที่ตนมีส่วนสร้างขึ้นมา

นี่คือภาพใหญ่ภาพหนึ่งของกระแสความขัดแย้งและวิกฤติการเมืองไทยในปัจจุบัน

 

มูลเหตุ 3 ประการของวิกฤติการเมืองปัจจุบัน

วิกฤติของการเมืองที่สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 2549 ยังคงปกคลุมสังคมไทยอยู่จนทุกวันนี้ แต่เรายังอยู่ท่ามกลางวิกฤติ ใกล้ตัวเกินไปทั้งกาละและเทศะ จึงมักมองเห็นแต่ปรากฎการณ์รูปธรรมระยะสั้นๆ ไม่ตระหนักถึงภาพใหญ่ของกระแสความเปลี่ยนแปลงระยะยาวที่ผลิตปรากฎการณ์รูปธรรมเหล่านั้นออกมา

หากเราถอยออกมาสักนิด มองกระแสความเปลี่ยนแปลงในมุมกว้างขึ้นระยะยาวขึ้น ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าจะเป็นมุมมองต่อปัจจุบันในอีก 50 ปีข้างหน้า เราจะเห็นว่าวิกฤติปัจจุบันเป็น perfect storm ที่เกิดจากมูลเหตุหลักๆ 3 ประการ

I) สังคมไทยเปลี่ยนไปแล้ว เกิดพลังใหม่ทางการเมืองที่หนุนประชาธิปไตย

II) ระบบอบเมืองประชาธิปไตยใต้บงการอำมาตย์พยายามฉุดรั้งไม่ยอมปรับตัว

III) ความไม่แน่นอนของสภาวะปลายรัชกาล

I) สังคมไทยเปลี่ยนไปแล้ว เกิดพลังใหม่ทางการเมือง

ไม่กี่ปีมานี้ มีการศึกษาจำนวนไม่น้อยที่พยายามอธิบายความสำเร็จของทักษิณ ความเข้าใจทั่วๆไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายที่เห็นทักษิณเป็นปีศาจ จะอธิบายว่าความสำเร็จมาจากเงิน เงิน เงิน ที่ซื้อได้ทั้งนักการเมืองเลวๆมาเข้าค่ายและซื้อประชาชนที่โง่เขลาขาดการศึกษา ตามทัศนะนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญใดๆ วิกฤติเป็นเรื่องของทุนสามานย์ นักการเมืองเลวๆกับประชาชนโง่ๆ

แต่การศึกษาทั้งโดยนักวิชาการไทยและเทศ อย่างสมชัย ภัทระธีรานนท์ (ม. มหาสารคาม) พฤกษ์ เถาถวิล (ม. อุบลฯ) อภิชาติ สถิตนิรามัย (ธรรมศาสตร์) อรรถจักร สัตยานุรักษ์ (ม. เชียงใหม่) การวิเคราะห์ของ นิธิ เอี่ยวศรีวงค์ และการวิจัยต่อเนื่องเป็นระบบใน 10 ปีที่ผ่านมาโดย Andrew Walker (ANU) ล้วนยืนยันตรงกันว่า สังคมชนบทและหัวเมืองของไทยเปลี่ยนไปอย่างมากมาตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เราท่านเห็นอยู่ตำตา แต่เรานึกไม่ถึงว่าจะมีผลกระทบกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อประชาธิปไตยไทย

กล่าวคือการเติบโตทางเศรษฐกิจหลังสงครามเย็นในประเทศยุติลง (คือหลังการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์) เกิดขึ้นพร้อมกับการปรับยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญตั้งแต่ครึ่งหลังของทศวรรษ 2520 คือหันมาเน้นการส่งออก ประสบความสำเร็จสูงต่อเนื่องมาถึงวิกฤติปี 2540 และแม้จะเสียหายหลายปีแต่โดยภาพรวมสามารถกลับฟื้นมาได้ ความเติบโตตลอดช่วงนี้พลิกโฉมชนบทและหัวเมืองทั่วประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไม่กระจุกตัวอยู่แค่กรุงเทพฯ ปริมณฑล หรือศูนย์กลางของภูมิภาคอย่างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในรอบก่อนหน้านั้น

ผลที่สำคัญคือวิถีชีวิตของผู้คนในชนบทและหัวเมืองเปลี่ยนไปมาก เข้าถึงการศึกษาระดับสูง เกิดการขยับชั้นทางสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างเมือง-ชนบทเปลี่ยนไป ผู้คนรู้จักแสวงโอกาสทางเศรษฐกิจ สร้างตัวเอง มิใช่รอการสงเคราะห์จากรัฐอีกต่อไป ทั้งรู้จักการต่อรองต่อสู้เพื่อทรัพยากรจากภาครัฐด้วย Walker เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า ชนบทกลายเป็นชนชั้นกลางไปหมด

ผลกระทบสำคัญทางการเมืองคือผู้คนที่แต่ก่อนเคยอยู่นอกวงการเมือง ไม่ได้รับดอกผลของระบอบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งเท่าที่ควร (เพราะการเมืองระดับชาติเป็นเรื่องของคนกรุงและผู้มีอันจะกิน) กลับเปลี่ยนพฤติกรรมขนานใหญ่ เพราะเขาตระหนักว่าการเลือกตั้งคือช่องทางที่เขาสามารถดึงทรัพยากรจากนโยบายและโครงการของรัฐบาลที่เขาเลือกให้กลับมาเป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่นของเขาได้ การเลือกตั้งคือช่องทางที่ชนชั้นกลางรากชนบทเหล่านี้ใช้เอาชนะระบบราชการและรัฐที่เอียงเข้าข้างคนกรุงมาตลอด

ดังนั้น ความสำเร็จของทักษิณไม่ใช่เรื่องของทุนสามานย์หลอกลวงประชาชนโง่ๆ แต่เป็นเพราะความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย สร้างพลังทางการเมืองอย่างใหม่ขนาดใหญ่มหึมาขึ้นมา ซึ่งต้องการระบบประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง พลังทางการเมืองอย่างใหม่นี้เปิดช่องแก่ใครก็ได้ที่มองเห็นโอกาสนี้และมีความสามารถสร้างนโยบายที่เหมาะสม ก็จะกลายเป็นผู้ชนะในระบอบรัฐสภา ภายใต้เงื่อนไขทางเศรษฐกิจสังคมเช่นนี้ปรากฏการณ์ทักษิณจึงเกิดได้

กล่าวอีกอย่างก็คือ ทักษิณไม่ได้ซื้ออำนาจจากชาวบ้านโง่ๆ แต่พลังทางการเมืองอย่างใหม่ที่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยต่างหากที่สร้างทักษิณขึ้นมา

ความเปลี่ยนแปลงระดับพื้นฐานเช่นนี้ไม่ใช่ปรากฎการณ์ชั่ววูบชั่วคราว ไม่ใช่ผลของยุทธวิธีทางการเมืองหรือเงิน แต่เป็นความเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีทางย้อนกลับได้อีกแล้ว

แต่ผู้ครอบงำได้เปรียบในระบอบการเมืองปัจจุปันไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลงนี้ นักวิชาการและสื่อมวลชนจำนวนมากไม่เข้าใจ พวกเขาคิดว่ากำจัดปีศาจทักษิณแล้วทุกอย่างก็จะย้อนกลับไปเป็นอย่างเก่า พวกเขาไม่เห็นว่าประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ซึ่งครอบงำการเมืองไทยมา 40 ปี กำลังขัดฝืนความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยระดับพื้นฐาน

II) ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ไม่ยอมปรับตัว

ผู้เขียนเคยเรียกระบอบประชาธิปไตยที่ครอบงำสังคมไทยอยู่ทุกวันนี้ว่าเป็น “ประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลา” สาระสำคัญที่สุดคือเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่มีพวกกษัตริย์นิยม [1] อยู่ “เหนือ” หรืออยู่ข้างบนของระบอบการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งอีกชั้นหนึ่ง

แต่ไม่กี่ปีมานี้มีการใช้คำว่า “อำมาตย์-ไพร่” ซึ่งมิได้หมายถึงการแบ่งชนชั้นตามกฎหมายในอดีต แต่เป็นการเทียบเคียงการแบ่งชั้นชนตามสถานะและอำนาจของยุคปัจจุบัน ผู้เขียนเห็นว่าคำว่า “อำมาตย์-ไพร่” เชิงเทียบเคียงมีประโยชน์ต่อการเข้าใจระบอบการเมืองปัจจุบันอย่างมาก โดยมิได้หลงคิดว่าเหมือนระบบศักดินาในอดีตแต่อย่างใด แต่กลับชี้ให้เห็นมรดกของการแบ่งชั้นชนที่ยังคงมีอยู่อยู่หนาแน่นในสังคมไทยได้ปัจจุบันเป็นอย่างดี ผู้เขียนจึงขอเปลี่ยนคำรุ่มร่าม “ประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลา” เป็นคำว่า “ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์” แทน

ระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ มีรากเหง้ามาจากความปรารถนาของฝ่ายเจ้าที่พ่ายแพ้เมื่อ 2475 จึงเรียกได้ว่าเป็นมรดกหนึ่งของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อุดมคติของพวกเขาหรือความฝันของ”ชาวน้ำเงินแท้” คือต้องการฟื้นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์อยู่เหนือประชาธิปไตยรัฐสภาที่ประชาชนเลือกตั้ง พวกเขาเข้าใจประวัติศาสตร์ตามลัทธิราชาชาตินิยมที่เชื่อว่าประชาธิปไตยที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 กำลังจะพระราชทานคือประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับสังคมไทย แต่ถูกคณะราษฎรชิงสุกก่อนห่ามไปเสียก่อน

ความคิดของพวกเขาเผยตัวเป็นรูปธรรมครั้งแรกในช่วงสั้นๆที่ฝ่ายเจ้ามีโอกาสทางการเมืองหลังการรัฐประหาร 2490 ความคิดนี้เติบโตขึ้นมากช่วงต้นทศวรรษ 2510 โดยนักวิชาการเสรีนิยมของยุคนั้นที่ไม่พอใจเผด็จการทหารจึงพยายามแสวงหาทางเลือกอื่น ประสานกับปัญญาชนอนุรักษ์นิยมซึ่งเผยแพร่ประชาธิปไตยในอุดมคติของฝ่ายเจ้า ในเวลานั้นฝ่ายกษัตริย์นิยมเติบโตขึ้นอีกครั้งด้วยความร่วมมือและอุปถัมภ์ของระบอบสฤษดิ์ โดยรวมศูนย์อยู่ที่การสร้างสถาบันกษัตริย์อย่างใหม่ที่สาธารณชนนิยมและเป็นประชาธิปไตย (แบบอำมาตย์) [2]

ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์จึงแยกไม่อออกจากสถาบันกษัตริย์ที่มีคุณสมบัติจำเป็นในแบบหนึ่งซึ่งพวกกษัตริย์นิยมเพียรสร้างขึ้นมาในรัชกาลปัจจุบัน และแยกไม่ออกจากการฟื้นฟูและส่งเสริมลัทธิกษัตริย์นิยมอย่างขนานใหญ่ในสังคมไทย

จุดพลิกผันที่เปิดโอกาสให้พวกกษัตริย์นิยมสามารถปักหลักในระบบการเมืองไทยได้คือ การลุกขึ้นสู้ของประชาชนต่อต้านระบอบเผด็จการทหารเมื่อ 14 ตุลา 2516

ระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์เริ่มมาตั้งแต่เหตุการณ์คราวนั้น แม้ว่าจะต้องฝ่าด่านอุปสรรคหลายอย่างกว่าจะสถาปนาอำนาจนำได้อย่างแท้จริง ด่านแรกคือการท้าทายของกระแสสังคมนิยม รวมทั้งความกลัวว่าการปฎิวัติอินโดจีนจะแผ่ลามเข้ามาในประเทศไทย ฆาตกรรมเมื่อ 6 ตุลา 2519 เป็นการร่วมมือของทุกฝ่ายที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์ คือทั้งเผด็จการทหารและพวกกษัตริย์นิยมที่พยายามสถาปนาประชาธิปไตยอำมาตย์ (เห็นได้จากแผนบันได 16 ปีสู่ประชาธิปไตยของธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีพระราชทานหลังฆาตกรรมที่ธรรมศาสตร์)

ด่านที่สองซึ่งโหดเหี้ยมทารุณน้อยกว่าฆาตกรรมประชาชนในที่แจ้ง แต่กินเวลายาวกว่าและหลายยก คือการต่อสู้กับอำนาจทหาร กล่าวอย่างรวบรัดได้ว่าเริ่มจากการสยบทหารให้เป็นรองนับจาก 14 ตุลา แม้จะไม่ราบรื่นเป็นบางช่วงก็ตาม ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบคือความร่วมมือระหว่างพวกกษัตริย์นิยมและภาคประชาชนเพื่อลดทอนบทบาทอำนาจทหารลงเรื่อยๆ แม้จะไม่ราบรื่นแต่ลงท้ายการต่อสู้รอบนี้จบลงในเหตุการณ์พฤษภา 2535 กองทัพถอยออกจากการเมือง หมายถึง กองทัพสยบยอมอยู่ภายใต้อำนาจของระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ คือเป็นประชาธิปไตยรัฐสภา มีการเลือกตั้ง โดยมีพวกกษัตริย์นิยมอยู่ชั้นบนเหนือระบบรัฐสภาอีกที

นับจาก 2516 เป็นต้นมา ระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นแบบไทยๆมาตลอด ไม่ใช่เพิ่งจะเกิดขึ้นหลัง 2549 ผู้แทนประชาชนถูกจำกัดบทบาท ต้องยอมรับอำนาจกองทัพและอำมาตย์ทั้งโดยเปิดเผยและโดยนัย ระบอบรัฐสภาอ่อนแอตั้งแต่พรรคการเมืองจนถึงสถาบันรัฐสภา

หากมองในแง่ฐานพลังทางการเมืองในสังคมไทย อาจกล่าวได้ว่ายังไม่พลังใดที่เข้มแข็งใหญ่โตพอที่จะหนุนให้เกิดระบอบประชาธิปไตยนอกอุ้งเท้าอำมาตย์ จนกระทั่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมที่กล่าวถึงเป็นมูลเหตุข้อแรก

หลังรัฐประหาร 2549 พวกกษัตริย์นิยมโฆษณาประชาธิปไตยแบบไทยๆ มิใช่เพราะพวกเขาพยายามสร้างสิ่งใหม่ แต่เป็นการเรียกร้องให้ยึดมั่นอยู่กับประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ อย่าเฉไฉ ออกนอกลู่นอกทางอย่างยุคทักษิณ แต่พวกเขาไม่เข้าใจว่า ทักษิณมิได้เป็นผู้สร้างความเปลี่ยนแปลง เขาเป็นแค่ผู้คว้าโอกาสจากความเปลี่ยนแปลงระดับพื้นฐานของสังคมได้ก่อนใครอื่น ผู้เขียนเชื่อว่าทักษิณมิได้ตระหนักด้วยซ้ำไปว่า ตนเป็นผลผลิตของความเปลี่ยนแปลงที่ตนก็ควบคุมไม่ได้และไม่ได้สร้างขึ้นมา ไม่ได้คิดว่าปรากฎการณ์รูปธรรมของความขัดแย้งกับอำมาตย์ที่เขาประสบอยู่เป็นแค่ยอดภูเขาน้ำแข็งของความเปลี่ยนแปลงระดับรากฐานที่ใหญ่กว่านั้น ผู้คนโดยทั่วไปจนบัดนี้ก็ยังไม่เห็นไม่เข้าใจ

พวกกษัตริย์นิยมที่ครองอำนาจผ่านระบอบประชาธิปไตยอำมาตย์มองไม่เห็นว่าความเปลี่ยนแปลงระดับพื้นฐานของสังคมเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์สถาปนาอำนาจนั่นแหละ ระบอบการเมืองของพวกเขาสร้างพลังการเมืองอย่างใหม่ขึ้นมา และพลังใหม่นี้เองที่กำลังท้าทายระบอบการเมืองของพวกเขา ต้องการออกจากใต้อุ้งเท้าของพวกเขา แต่กลับเห็นว่าปัญหาทุกอย่างเป็นแค่เรื่องของความฉ้อฉลของนักการเมืองทุนสามานย์ที่มักใหญ่ใฝ่สูงกับประชาชนโง่ๆที่ตกเป็นเครื่องมือ

พวกเขาไม่รู้ว่าระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์กำลังฉุดรั้งขัดฝืนการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีทางย้อนกลับได้อีกแล้ว และการฝืนความเปลี่ยนแปลงของพวกเขาคืออันตรายต่อสังคมไทย

อันตรายเกิดขึ้นแล้วในการรัฐประหาร 2549 การปราบปรามประชาชนเมื่อเดือนเมษา-พฤษภา 2553 และอีกหลายเหตุการณ์รวมทั้งการคุกคามต่อต้านผู้ที่ต้องการแก้ไขมาตรา 112

III) สภาวะปลายรัชกาล

ระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์นับจาก 2516 เติบโตขึ้นมาได้ด้วยปัจจัยจำเป็น 2 อย่าง คือ หนึ่ง สถาบันกษัตริย์แบบที่แยกไม่ออกจากพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน และ สอง ลัทธิ Hyper-royalism ที่เติบโตขึ้นมาอย่างมากใน 40 ปีที่ผ่านมา ทั้ง 2 ปัจจัยอิงแอบซึ่งกันและกัน

ผู้เขียนจะกล่าวถึง Hyper-royalism 40 ปีที่ผ่านมาในหัวข้อต่อไป ในที่นี้เรามาพิจารณากันก่อนว่าปัจจัยแรกเป็น 1 ใน 3 ของสาเหตุของ Perfect Storm อย่างไร

10 ปีที่ผ่านมา คนจำนวนมากในสังคมไทยตระหนักดีถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญต่อทั้งสังคมที่กำลังจะเกิดขึ้น คือ การสืบราชสมบัติ

สมมติว่าไม่มีประชาธิปไตยแบบอำมาตย์นับจาก 2516 ไม่มีการอ้างสถาบันกษัตริย์เป็นแหล่งความชอบธรรมของอำนาจ ไม่มีอำนาจของพวกกษัตริย์นิยมเหนือระบบประชาธิปไตยรัฐสภา การสืบราชสมบัติและคุณสมบัติของพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันหรือพระองค์ต่อไปย่อมไม่มีผลใดๆต่ออำนาจทางการเมืองและย่อมไม่เป็นส่วนหนึ่งของวิกฤติทางการเมือง ไม่เป็นประเด็นที่ผู้คนต้องวิตกซุบซิบนินทากันทั้งบ้านทั้งเมือง

แต่ความจริงคือระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์อิงแอบอวดอ้างสถาบันกษัตริย์อย่างมาก จึงทำให้การสืบราชสมบัติกลายเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะย่อมมีผลต่อการเมืองและสังคมทั้งระบบและโดยเฉพาะต่อพวกกษัตริย์นิยมเอง การซุบซิบนินทาจึงหนาหูอย่างยิ่งในหมู่อำมาตย์นั่นเอง

ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ของพวกกษัตริย์นิยมคือตัวการใหญ่ที่สุดที่ดึงเอาสถาบันกษัตริย์มาผูกกับการเมือง และคือสาเหตุที่ทำให้การสืบราชสมบัติเป็นประเด็นขึ้นมาอย่างไม่ควรจะเป็น

ถ้ามูลเหตุ I คือเงื่อนไขพื้นฐานของสังคมที่เปลี่ยนไปแล้ว หยุดไม่ได้ ห้ามไม่ได้

ถ้ามูลเหตุ II คือ ระบอบการเมืองที่ฉุดรั้งขัดฝืนข้อ I

มูลเหตุ III คือ ชนวนที่จุดประทุความขัดแย้งจนระเบิดขึ้นมาในเวลาปัจจุบัน

หมายความว่าถ้าไม่มี III ความขัดแย้งระหว่าง I กับ II อาจมีเวลายื้อยุดกันอีกนานพอควร

ถ้าไม่มี III พวกกษัตริย์นิยมคงไม่เห็นทักษิณเป็นปีศาจ หรือคงไม่กล่าวหาเหลวไหลว่า ทักษิณเหิมเกริมอยากเป็นใหญ่ แต่เพราะ III พวกกษัตริย์นิยมจึงวิตกว่าจะสูญเสียอำนาจในวันพรุ่ง วิตกว่าทักษิณจะเป็นตัวแปรที่มีอำนาจมากไปในการสืบราชสมบัติที่กำลังจะเกิดขึ้น พวกเขามองทุกอย่างด้วยแว่นของ III ทั้งๆที่ความขัดแย้งรากฐานคือ I กับ II

การมองเห็นและเข้าใจว่าสังคมเปลี่ยนไปแล้วไม่ใช่เรื่องง่าย แต่พวกกษัตริย์นิยมไม่ตระหนักแม้กระทั่งว่า ระบอบที่เขาปรารถนาให้คงอยู่ถาวรนั้นอิงอยู่กับพระองค์ปัจจุบันเท่านั้น ไม่ก่อนและไม่หลังไปจากรัชกาลนี้ ไม่ว่าพระมหากษัตริย์องค์ต่อไปจะเป็นใครก็ตาม

ทั้งมูลเหตุ I และ III จึงไม่อยู่ข้างระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์เลย

ถ้าไม่ปรับตัว สถาบันกษัตริย์กับระบอบประชาธิปไตยจะไปด้วยกันไม่ได้

 

ปรับตัวหมายความว่าอะไร

การปรับตัวหมายถึงอย่างน้อยต้องทำให้สถาบันกษัตริย์ไม่ขัดฝืนกับระบอบประชาธิปไตย ต้องทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญและอำนาจของประชาชนอย่างแท้จริง ต้องไม่มีการอ้างอิงสถาบันกษัตริย์เป็นแหล่งอำนาจอีกต่อไป ต้องไม่มีพวกกษัตริย์นิยมอยู่ชั้นบนเหนือระบอบรัฐสภาที่มาจากประชาชน

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักลัทธิกษัตริย์นิยมเสนออย่างโจ่งแจ้งว่า ระบอบการเมืองที่พวกเขาต้องการคือลดประชาธิปไตย เพิ่มพระราชอำนาจ ข้อเสนอเช่นนั้นจะยิ่งผลักให้สถาบันกษัตริย์ขัดแย้งกับกระแสความเปลี่ยนแปลงหนักยิ่งขึ้นไปอีก และจะเป็นอันตรายของสถาบันกษัตริย์เอง

ยังมีความเข้าใจผิดอยู่มากว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นเรื่องของฝรั่ง ส่วนของไทยคือพระราชอำนาจ การเลือกตั้งเป็นวิธีฝรั่ง การสรรหาแล้วแต่งตั้งคนดีมีคุณธรรมเป็นวิธีของไทย

แท้ที่จริงแล้วกระแสประชาธิปไตยมีรากฐานอยู่ที่วิวัฒนาการทางสังคมไม่ว่าขาติไหน ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอะไรก็ตามที สาระที่แท้จริงของประชาธิปไตยคือ เป็นกระบวนการ (วิธีการ) ที่เปิดโอกาสให้พลังทางการเมืองต่างๆมาปะทะต่อรองอำนาจกันในกรอบกติกาอย่างสันติ ไม่ว่าจะเป็นพลังทางการเมืองเก่าหรือใหม่ ชนชั้นสูงหรือต่ำ รวยหรือจน ไม่ว่าอำมาตย์หรือไพร่ เสรีนิยมหรืออนุรักษ์นิยม รักเจ้ามาก น้อย หรือไม่รักเลย กระบวนการนี้จึงไม่มีจุดหมายตายตัว แต่เปิดรับพลังต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมไปได้เรื่อยๆ

ประชาธิปไตยตามอุดมคติจึงเป็นวิธีการ (means) ที่เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลงปรับตัวของสังคม ลดความขัดแย้งรุนแรงที่เกิดจากกลุ่มอำนาจเก่ายึดมั่นเคยตัวคิดว่าตนควรมีอำนาจอย่างถาวร ไม่ว่าจะเป็นเผด็จการหทาร กรรมาชีพ หรือพวกกษัตริย์นิยม

รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งล้วนเป็นรูปธรรมของวิธีการในอุดมคตินี้ มนุษยชาติยังไม่ค้นพบวิธีการที่ดีกว่านี้ หรือสังคมยังเปลี่ยนไปไม่ถึงจุดที่สามารถมีวิธีการอื่นที่ดีกว่่านี้มาทดแทน

ดังนั้นประชาธิปไตยจึงไม่ใช่เรื่องของฝรั่งหรือไทย แต่เป็นกระบวนการวิธีการที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาจัดการกับอำนาจในสังคมที่แตกต่างและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สังคมไทยก็แตกต่างและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเช่นกัน มิใช่สังคมหรือชุมชนเล็กๆที่ผู้คนมีผลประโยขน์เหมือนๆกันและคิดคล้ายๆกันอีกต่อไป สังคมไทยเต็มไปด้วยความแตกต่างขัดแย้งซับซ้อน ต่อให้ทุกคนในสังคมไทยเป็นคนดีมีคุณธรรม ไม่มีคนเลวเลยแม้แต่คนเดียว ก็ยังมีความแตกต่างขัดแย้งอยู่ดี จึงต้องอาศัยวิธีการประชาธิปไตยมาจัดการความขัดแย้งที่เป็นเรื่องปกติของสังคม

ประชาธิปไตยแบบไทยๆหรือความเชื่อในพระราชอำนาจว่าจะจัดการความขัดแย้งแตกต่างได้ จึงเป็นความเพ้อเจ้อที่จะยิ่งดึงสถาบันกษัตริย์เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความแตกต่างขัดแย้ง ยิ่งสังคมเติบโตแตกต่างมาก การหวังพึ่งพระราชอำนาจจะยิ่งทำให้สถาบันกษัตริย์ตกอยู่ในอันตรายมากขึ้น

ผู้เขียนเคยตั้งคำถามตั้งแต่หลังรัฐประหาร 2549 ใหม่ๆ (ในบทความ “สัมฤทธิผลนิยม” พ.ย.2549) ว่า “ฤๅนี้จะเป็นอภิชนาธิปไตยขบวนสุดท้าย” ก็เพราะประชาธิปไตยแบบไทยๆที่หลายท่านอวดอ้างจะผลักสถาบันกษัตริย์เข้าชนกับประชาธิปไตย

ในเมื่อเราห้ามหรือหยุดการเปลี่ยนแปลงไม่ได้(พระพุทธองค์สอนไว้ 2600 ปีพอดีในปีนี้) ทางออกจึงมีทางเดียวคือปรับตัว ขอยืมคำของเกษียร เตชะพีระ เมื่อไม่กี่วันก่อนมากล่าวอีกทีว่า นี่ไม่ใช่เสนอให้ล้มเจ้า แต่ต้องการล้มการอ้างอิงสถาบันกษัตริย์เพื่อเถลิงอำนาจ ฉุดรั้งทำร้ายประชาธิปไตยและทำร้ายประชาชน

นี่คือทางออกเดียวที่จะช่วยให้การสืบราชสมบัติไม่เป็นปัญหา ไม่เป็นประเด็นที่ต้องวิตกกังวล ไม่เป็นเหตุให้องคมนตรี ขุนทหาร อดีตนายกฯหรือผู้มีอำนาจคนใดต้องซุบซิบเรื่องนี้ให้ทูตอเมริกันรายงานจนรู้กันทั่วโลกอีก

นี่เป็นทางออกเดียวที่สังคมไทยสามารถอยู่ร่วมกันได้ ระหว่างคนที่รักเจ้ามากด้วยศรัทธาโดยไม่ต้องมีเหตุผลเลยแม้แต่นิดเดียว กับคนที่รักด้วยเหตุผล กับคนที่ไม่ค่อยรักเท่าไหร่แต่เคารพคนที่ยังรักอยู่ และกับคนที่ไม่รักเลย ถ้าความรักเจ้ามากน้อยกว่ากันไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป ก็ไม่ต้องเสียงบประมาณไปซื้อเครื่องล่าแม่มดตามปิดเวบไซต์ คนไทยสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ต้องไล่ใครออกไปไหน ไม่ต้องหยาบคายล่วงเกินพ่อแม่คนอื่น ไม่ต้องมีนักสื่อสารกษัตริย์นิยมเที่ยวล่าแม่มด ไม่ต้องแขวนคอใคร ไม่ต้องเผาคนทั้งเป็น

แถมนี่ยังเป็นหนทางที่จะรักษาสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยด้วย

 

Hyper-royalism [3]

เพียงแค่นี้ก็น่าจะพอเห็นแล้วว่า การใช้มาตรา 112 เป็นเครื่องมือค้ำจุนระบอบที่ขัดฝืนต่อการเปลี่ยนแปลง ยิ่งทำให้ทุกอย่างเลวร้ายลง ดังนั้นการเสนอแก้ไขมาตรา112 คือความพยายามหนึ่งที่จะปลดล็อกการขัดฝืนระหว่างสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตย

แต่ผู้เขียนอยากจะนำเสนอประเด็นใหญ่อีกเรื่องเพื่อที่จะเข้าใจปัญหาของมาตรา 112 โดยเฉพาะยิ่งขึ้น ผู้เขียนเห็นว่าสภาวะที่ทำให้มาตรานี้กลายเป็นจุดของการปะทะขัดฝืนกันระหว่างสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตย คือ สภาวะ Hyper-royalism

Hyper-royalism มีลักษณะกว้างๆ 5 ประการ ดังต่อไปนี้

1) สภาวะที่ลัทธิกษัตริย์นิยมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตปกติทางสังคมและชีวิตประจำวันของปัจเจกชนอย่างมากยิ่งกว่ายุคใดๆในประวัติศาสตร์ คือ เข้มข้นกว่ายุคราชาธิปไตยหรือยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเข้มข้นขึ้นเป็นลำดับตลอด 40 ปีที่ผ่านมา

ดัชนีประการหนึ่งที่บ่งชี้สภาวะดังกล่าวคือ ปริมาณพื้นที่และเวลาของชีวิตประจำวันและประจำปีที่ลัทธิกษัตริย์นิยมเข้าครอบครอง

หลักฐานชัดๆคือปริมาณของกิจกรรมของทุกหน่วยงานทั้งเอกชนและราชการ รายการโทรทัศน์ วิทยุ สื่อมวลชนทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ พิธีเฉลิมฉลองครบรอบวาระสำคัญทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ทั้งชนิดประจำปีและชนิดพิเศษเฉพาะปี ถูกผลิตขึ้นมากมายถี่ยิบในเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา ส่วนมากเป็นประเพณีประดิษฐ์ (invented traditions) คือ อ้างว่าเป็นของเก่าแต่ที่จริงผลิตขึ้นใหม่

นี่คือการเข้าครอบครองกาละและเทศะของชีวิตปกติอย่างเข้มข้นขึ้นทุกที จนพื้นที่และเวลาของปัจเจกชนและของสังคมไทยที่ปลอดจากลัทธิกษัตริย์นิยมเหลือน้อยลงทุกที

2) การยกย่องพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์อย่างเหลือเชื่อเหนือมนุษย์ เกินพอเหมาะพอควร เกินงามและเกินจำเป็น อาจมีผู้แย้งว่าเป็นการยกย่องตามธรรมเนียม แต่การเชิดชูบูชาพระมหากษัตริย์ในสมัยก่อนเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมตามธรรมเนียมโบราณ ส่วนการยกยอปอปั้นในปัจจุบันเป็นการสร้างอภิมนุษย์ตามค่านิยมของกระฎุมพีสมัยใหม่ Hyper-royalism คือการประจบสอพลอของยุค 40 ปีมานี้เอง

คงไม่จำเป็นต้องยกตัวอย่างความสอพลอที่มีมากมายจนเป็นปกติและการแข่งกันว่าใครจะสอพลอได้น่ามหัศจรรย์กว่ากัน นักลักธิกษัตริย์นิยมไม่ตระหนักว่าความสอพลอพรรค์นี้เป็นลบมากกว่าบวก อีก 50 ปีข้างหน้าการสอพลอเหล่านี้จะเป็นเรื่องตลกที่น่าสมเพชในประวัติศาสตร์

3) สถาบันกษัตริย์กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นทุกที ความสัมพันธ์กับประชาชนอาศัยศรัทธาและความเหลือเชื่อมากขึ้นทุกที การใช้เหตุผลความเข้าใจลดน้อยถอยลงทุกที ความจงรักภักดีเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมน้อยลง แต่กลับเป็นความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากขึ้นทุกที ลัทธิกษัตริย์นิยมเปลี่ยนจากอุดมการณ์ทางการเมืองและสังคมกลายเป็นลัทธิความเชื่อ เป็นกึ่งศาสนา หรือเป็น religiosity ประเภทหนึ่งไปแล้ว [4] religiosity ชนิดนี้ไม่ใช่ศาสนา เพราะเป็นมากกว่าและน้อยกว่าศาสนา อาทิ เช่น กลายเป็นส่วนหนึ่งของความมั่นคงของชาติด้วย ลัทธินี้ไม่ยอมให้เสรีภาพในการนับถือหรือไม่นับถืออย่างศาสนา ไม่ยอมให้มีการแสดงความศรัทธาต่างๆระดับกันได้อย่างศรัทธาต่อศาสนา [5]

หากนำข้อ 1 และ 2 มาพิจารณาประกอบกับข้อ 3 นี้ จะพบว่าการยกย่องเกินสมควรได้กลายเป็นธรรมเนียมการแสดงความจงรักภักดีที่เข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆในชีวิตปกติ มีธรรมเนียมใหม่ๆและข้อห้ามใหม่ๆที่ผลิตขึ้นมาเร็วๆนี้มากขึ้นเรื่อยๆ มีเกณฑ์ที่บังคับให้ผู้คนต้องปฎิบัติตามเพิ่มขึ้นและพิสดารขึ้นทุกที ยิ่งส่งผลให้ลัทธิกษัตริย์นิยมเข้าควบคุมกระทั่งพฤติกรรมและร่างกายของเรา (เช่น จะใส่เสื้อสีอะไรไปทำงาน) ทั้งในที่สาธารณะและในปริมณฑลส่วนตัว ทั้งบนแผ่นดินไทยและไม่ว่าที่ไหนในโลก มาตรการบังคับสามารถตามไปหลอกหลอนให้เราต้องระวังตัวทุกขณะ

4) มีกฎหมายและมาตรการทางสังคมบังคับให้ต้องแสดงความนับถืออย่างไม่มีข้อยกเว้น และยิ่งนานวันก็ยิ่งบังคับให้ต้องแสดงความนับถือแบบเดียวกันเหมือนๆกัน ในขณะที่สังคมยอมรับการนับถือศาสนาต่างกันและความเคร่งไม่เท่ากันได้ แต่สังคมไทยทำร้ายผู้ที่ถูกหาว่านับถือเจ้าไม่มากเท่ามาตรฐาน ฆ่าได้ ไล่ออกนอกประเทศได้ ไม่รับเข้ามหาวิทยาลัยได้ หรือทำร้ายในรูปอื่นๆ ซึ่งคนไทยไม่ทำต่อผู้นับถือศาสนาต่างๆกันมากน้อยไม่เท่ากัน

มาตรา 112 คือ”เสา” หรือหลักค้ำยันการบังคับทางสังคมในข้อนี้ ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อถัดไป

5) Hyper-royalism 40 ปีที่ผ่านมามิใช่แค่ผลงานของรัฐเท่านั้น แต่เป็น religiosity ที่ภาคเอกชนและสาธารณชนร่วมผลิต ร่วมผลิตซ้ำ และร่วมควบคุมบงการกันเอง รัฐไม่ต้องทำเองทั้งหมด กิจกรรมที่เข้าครอบครองเวลาและพื้นที่ของชีวิตเราจำนวนมากเป็นเรื่องของประชาสังคมทำกันเอง เอกชนร่วมผลิตและหมุนเวียนลัทธิกษัตริย์นิยมจนกลายเป็นสินค้าได้ (commodification of royalism) แต่สินค้าดังกล่าวอยู่ในสภาวะศักดิ์สิทธิ์(ทำนองเดียวกับพระเครื่อง) ที่เราต่างเข้าถึงได้ด้วยตัวเอง (open access and consumption) ไม่ต้องอาศัยพิธีกรรม และไม่ได้จำกัดอยู่ในมือของพระราชวังอีกต่อไป magic ยิ่งหมุนเวียนหลายรอบและถี่ขึ้นก็ยิ่งเพิ่มมูลค่าของ magic ให้กระจายทั่วไปในวงกว้างกว่ายุคใดในอดีต ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ชุมชนนิยมเจ้าทำการควบคุมบงการประชาชนเองเพื่อสนองความเชื่อและตัวตนของตนเอง

สภาวะ Hyper-royalism ทั้ง 5 ประการไม่ได้จู่ๆเกิดขึ้นชั่วข้ามคืน แต่มีวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เราคงต้องศึกษามากกว่านี้จึงจะอธิบายได้ชัดเจน แต่ในที่นี้ขอลองเสนอประวัติศาสตร์ของ Hyper-royalism อย่างคร่าวๆดังนี้

Royalism ได้รับการฟื้นฟูจริงจังในยุคสฤษดิ์ทั้งโดยปัจจัยการเมืองในประเทศที่ระบอบเผด็จการสฤษดิ์ร่วมมือกับฝ่ายเจ้าในการโค่นรัฐบาลก่อนหน้านั้นลงไป ทั้งสองฝ่ายต่างอาศัยซึ่งกันและกัน อีกปัจจัยสำคัญคือการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาซึ่งอาศัยลัทธิกษัตริย์นิยมในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์

แต่ Hyper-royalism หรือ กษัตริย์นิยมอย่างเข้มข้นล้นเกินดังที่อธิบายมาดูเหมือนจะเริ่มจากความหวาดกลัวคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฎิวัติอินโดจีน 2518 ซึ่งรวมถึงความเชื่อว่าฝ่ายซ้ายในประเทศเป็นตัวแทน (proxy) ของคอมมิวนิสต์ต่างประเทศเพื่อเข้ายึดครองประเทศไทยและจะทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์

Hyper-royalism ระลอกแรกจึงได้แก่ประมาณ 2518-2520 และจนถึงสิ้นสุดภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์ในประเทศ ลัทธิกษัตริย์นิยมถูกโหมประโคมอย่างหนัก ขบวนการลูกเสือชาวบ้านและฝ่ายขวาอีกหลายกลุ่มอ้างความจงรักภักดีเป็นแหล่งอำนาจและได้รับการสนับสนุนจากพวกกษัตริย์นิยมทั้งโดยเปิดเผยและในทางลับ ลงท้ายด้วยการฆ่าคอมมิวนิสต์ที่ธรรมศาสตร์อย่างโหดร้ายทารุณ แม้ว่า Hyper-royalism ระยะนี้มีอาการบ้าคลั่ง (hysterical) แต่กลับเป็นระยะแรกที่ยังไม่ได้ผลิตประเพณีใหม่ๆที่เข้าขึดครองชีวิตประจำวันอย่างแนบเนียนนุ่มนวลเท่ากับระยะต่อมา

Hyper-royalism ระลอกถัดมาเกิดขึ้นควบคู่กับการเพิ่มอำนาจมากขึ้นทุกทีของระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ คือประมาณ 2520 เรื่อยมา แม้จะลดลักษณะบ้าคลั่งแต่นี่คือยุคทองของ Hyper-royalism เพราะเติบโตขึ้นเรื่อยอย่างไม่มีการทัดทาน มีพิธีกรรมใหม่ๆ เรื่องราวมากมายผลิตออกมาล้นหลาม รุกคืบกาละและเทศะของสังคมมากขึ้นทุกที การยกย่องเหนือเหตุผล และการหมุนเวียนของลัทธิกษัตริย์นิยมที่กลายเป็นสินค้าเกิดขึ้นหลายต่อหลายรอบจนความเป็น religiosity เกิดขึ้น ตลอดระยะนี้จนถึงเมื่อไม่กี่ปีมานี้กลับไม่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มีน้ำหนัก ไม่มีใครทัดทาน ไม่มีปฎิกิริยาย้อนกลับ ปฎิกิริยารุนแรงที่สุดแพร่หลายอยู่ใต้ปริมณฑลสาธารณะ คือในรูปของข่าวลือและการซุบซิบนินทา ในภาวะเช่นนี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้มาตรา 112 ในการไล่ล่าปราบปรามผู้ที่คิดเห็นต่าง [6]

จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้เองที่ Hyper-royalism ถูกท้าทายทั้งอย่างเข้มข้นมากขึ้นใต้ปริมณฑลสาธารณะ และเปิดเผยขึ้นใน cyberspace ข้อสังเกตเบื้องต้นที่น่าคิดก็คือ ในภาวะเช่นนี้เองที่ มาตรา 112 ถูกใช้อย่างหนักหน่วงยิ่งกว่าครั้งใดๆในประวัติศาสตร์ และก่อให้เกิดปฎิกิริยาย้อนกลับต่อลัทธิกษัตริย์นิยมอย่างหนักหน่วงอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์

 

Hyper-royalism ส่งผลอะไรต่อสังคมไทย

1) สถาบันกษัตริย์มีความสำคัญต่อการเมืองและขีวิตของสังคมยิ่งกว่ายุคใดๆ แต่สังคมกลับไม่สามารถอภิปรายว่าควรและไม่ควรมีบทบาทอย่างไร มีการอิงสถาบันกษัตริย์เพื่อใช้อำนาจ แต่ไม่สามารถวิจารณ์ ตรวจสอบอำนาจดังกล่าวได้ ประชาธิปไตยที่มีชั้นบนไม่โปร่งใสจึงเป็นระบอบอำนาจนิยมชนิดหนึ่ง

2) Hyper-royalism เป็นลัทธิความเชื่อชนิดหนึ่งซึ่งไม่ได้อยู่บนความมีเหตุผล แต่กลับขึ้นอยู่กับศรัทธา ความเชื่อ และความกลัว ทั้งกลัวจะละเมิดโดยไม่ตั้งใจและกลัวว่าคิดต่างจากคนอื่นแล้วจะถูกรังเกียจ ถูกสังคมปฎิเสธ

สังคมใต้อิทธิพลของลัทธิชนิดนี้ไม่สามารถสร้างประชากรที่มีวิจารณญาณ เพราะวัฒนธรรมทางปัญญาและวิชาการอยู่ภายใต้ความกลัว วัฒนธรรมเซ็นเซอร์ตัวเองแผ่ซ่านจนเป็นเรื่องปกติ ไม่มีอิสระในการถกเถียงก็ไำม่เกิดปัญญา ในขณะที่ลัทธิ Hyper-royalism เผยแพร่ได้โดยไม่ถูกทัดทาน การศึกษาจึงกลายเป็นการกล่อมประสาท ตีกรอบความคิด ทำให้คนไม่เป็นตัวของตัวเอง ความพยายามปฎิรูปการศึกษาให้ีนักศึกษาคิดเป็นย่อมเป็นเรื่องตลกในเมื่อทั้งรัฐและสังคมเน้นความเชื่อ เหนือเหตุผลและเน้นการเชื่อฟังตามๆกัน การลงโทษความคิดต่างด้วยกฏหมายและรุมประณามต่อสาธารณะก็เป็นการควบคุมปัญญา สังคมที่มีความกลัวแผ่ซ่านย่อมฝึกฝนให้ประชาชนเอาตัวรอด หลบเลี่ยงหลอกลวงเก่ง แต่ปัญญาถูกจำกัด

3) Hyper-royalism ทำให้การสื่อสารอย่างโปร่งใสในทางสาธารณะมีขีดจำกัดจนบางเรื่องเชื่อถือไม่ได้ เนื่องจากความกลัวจนกลายเป็นการควบคุมตัวเองแล้วกลายเป็นการร่วมแพร่ข่าวเท็จประจบสอพลอเองด้วย ข่าวสารในที่สาธารณะเกี่ยวกับสถาบัยกษัตริย์จึงเหลือแค่ด้านเดียวหรือเป็นข่าวบิดเบือน ข่าวลือจึงหมุนเวียนเต็มไปหมดและบ่อยครั้งมีความจริงมากว่าข่าวสารสาธารณะเสียอีก ข้อวิจารณ์ ความเห็นใดๆ แม้แต่เรื่องที่ไม่ผิดกฎหมายจึงหลบเลี่ยงลงใต้ดิน เกิดวัฒนธรรมนินทาเจ้าแผ่ไปทั่วทั้งสังคม นี่คือวัฒนธรรมการวิจารณ์แบบไทยๆภายใต้ Hyper-royalism บ่อยครั้งไม่สร้างสรรค์แต่กลับไม่มีทางเลือกอื่น เพราะการสื่อสารแสดงความเห็นในที่สาธารณะมีแต่การประจบสอพลอ แข่งกันแสดงความจงรักภักดี วัฒนธรรมอาเศียรวาทสดุดีในที่แจ้งแต่นินทาว่าร้ายในที่ส่วนตัวกลายเป็นเรื่องปกติของผู้นิยมเจ้าและประชาชนทั่วไป

4) สื่อมวลชนส่วนข้างมากคุณภาพตกต่ำไร้ความรับผิดชอบอย่างน่ารังเกียจ น่าขยะแขยง ในชั้นต้นอาจเริ่มจากความกลัว แต่ต่อมากลายเป็นความเคยชิน การละทิ้งจรรยาบรรณทางวิชาชีพเป็นภาวะปกติ แรกๆก็แก้ตัวว่าต้องทำเพื่อความอยู่รอด นานวันเข้าพวกเขาต้องปกป้องตัวเองว่าทำถูกต้องแล้ว ลงท้ายพวกเขาถูกกลืนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโกหกตอแหล ไม่ใช่เพื่อความอยู่รอดอีกต่อไป แต่เพื่อให้ความชอบธรรมแก่สิ่งที่ตนเป็นและกระทำ ในที่สุดพวกเขาจึงร่วม “ไล่ล่าแม่มด” อย่างสนิทใจ กลายเป็นกลไกโฆษณาชวนเชื่อของลัทธิกษัตริย์นิยมทำร้ายประชาชนอย่างสนิทใจ

5) ศรัทธาความเชื่อ ความกลัวและการนินทาว่าร้าย แผ่ซ่านทั้งสังคมไปพร้อมๆกัน สองอย่างที่ขัดแย้งกลับอยู่ด้วยกัน และกระทำโดยคนๆเดียวกันเป็นชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องปกติของสังคม นี่คือพฤติกรรมหน้าไหว้หลังหลอก ปากว่าตาขยิบ ฯลฯ หรือที่เรียกกันในระยะหลังว่า “ตอแหล” นี่มิใช่แค่พฤติกรรมของบางคนบางเวลา แต่แพร่หลายทั้งสังคมโดยคนจำนวนมากต่างร่วมมือกันทำหรือต้องทำอย่างไม่มีทางเลือก นานวันจนกลายเป็นพฤติกรรมปกติก็ตอแหลได้อย่างสนิทใจไม่ต้องตะขิดตะขวงใจอีกต่อไป หมายความว่าทั้งการสอพลอสดุดีเกินจริงและการนินทาแพร่กระจายข่าวลือกลายเป็น “วัฒนธรรมตอแหล” ไปเรียบร้อยแล้ว วัฒนธรรมเช่นนี้แพร่หลายมากในหมู่ผู้จงรักภักดีอย่างถวายหัว พวกเขาล้วนแต่นินทาว่าร้ายเจ้าด้วยความจงรักภักดีอย่างเหลือล้น การตอแหลเพราะจงรักภักดีจึงเป็นลักษณะพิเศษของไทยภายใต้ Hyper-royalism

6) ในเมื่อความจริง ความวิตกกังวล การวิพากษ์วิจารณ์กระทำไม่ได้ในที่สาธารณะ ทั้งๆที่ความไม่ถูกต้องของพวกกษัตริย์นิยมมีมากมายตำตา ตั้งแต่เรื่องไม่คอขาดบาดตายอย่างผลกระทบต่อการจราจรหรือการใช้จ่ายภาษีประชาชนเกินสมควร จนถึงเรื่องที่มีผลกระทบสำคัญต่อสาธารณะ เช่น การอิงเจ้าเพื่อแทรกแซงนโยบายและโครงการสำคัญ การโยกย้ายแต่งตั้งผู้มีอำนาจ และการเลือกข้างในความขัดแย้ง แต่สังคมไทยกลับรับรู้แต่ิอาเศียรวาทสดุดีและการถวายความจงรักภักดีอย่างตอแหล ภาวะเช่นนี้คือสังคมไทยหลอกตัวเอง ช่วยกันทำเป็นมองไม่เห็น หลอกซึ่งกันและกัน

ยิ่งไปกว่านั้น นักลัทธิกษัตริย์นิยมกลับชักนำสังคมไทยให้หลอกตัวเองหนักเข้าไปอีกคือความเชื่อว่าสถาบันกษัตริย์ไทยวิเศษสุดไม่เหมือนที่ใดในโลก เป็นสิ่งวิเศษที่คนไทยควรภูมิใจราวกับได้ขึ้นสวรรค์บนดิน ได้สัมผัสทิพยวิมานพิสดารกว่าใครในโลก สื่อมวลชนช่วยกล่อมสังคมไทยให้เคลิบเคลิ้มหลงใหลดุจตกอยู่ในภวังค์ของยากล่อมประสาท ความเชื่อว่าสังคมไทยวิเศษสุดกว่าใครคือที่สุดของการหลอกลวงตัวเอง ไม่ต่างเลยกับนิทานฝรั่งเรื่อง The Emperor Has No Clothes

7) แม้ว่าลัทธิกษัตริย์นิยมจะแผ่ซ่านมากมายขนาดไหนก็ตาม แม้ว่าการบงการควบคุมจะมากขนาดไหนก็ตาม ย่อมมีคนที่คิดต่างอยู่ดี สังคมไทยไม่ใช่สังคมปิดตาย ความคิดต่างมีทั้งผู้ที่รักเจ้าแต่พองาม รักด้วยเหตุผล มีทั้งผู้ที่ไม่ยินดียินร้ายกับสถาบันกษัตริย์ และมีคนไม่รักเจ้าแต่ไม่เคยคิดล้มเจ้าเพราะเคารพผู้อื่น การที่คนเหล่านี้คิดแตกต่างจากความเชื่อที่ครอบงำอยู่ได้ มักต้องอาศัยความใคร่ครวญ เหตุผล ข้อมูล และวิจารณญาณที่มากกว่าการเชื่อตามๆกันทำตามๆกัน

คนที่คิดต่างจากลัทธิกษัตริย์นิยมมีมาทุกยุคสมัยตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หลัง 2475 และภายใต้ Hyper-royalism แต่ข้อสังเกตสำคัญมากก็คือ ก่อนการรัฐประหาร 2549 คนที่คิดต่างมักเป็นผลของอุดมการณ์ทางการเมืองบางอย่าง เช่น นิยมเก็กเหม็ง สังคมนิยม มาร์กซิสม์ หรือเป็นเสรีนิยมที่ยึดมั่นว่าคนเราควรเท่าเทียมกัน แต่คนที่คิดต่างหลัง 2549 คือผลผลิตของ Hyper-royalism นั่นเอง กล่าวคือพวกเขาถูกทำร้าย ถูกละเมิดสิทธิเสียง และลงท้ายถึงขนาดถูกฆาตกรรมกลางเมืองหลวงโดยพวกกษัตริย์นิยม จึงเกิดปฎิกิริยาตอบโต้ลัทธิกษัตริย์นิยม ครั้นคนเหล่านี้ตื่นพ้นจากภวังค์กล่อมประสาทของ Hyper-royalism ไม่ยากเลยที่เขาจะ “ตาสว่าง” ตระหนักถึงการกระทำและผลของ Hyper-royalism ที่กล่าวมาข้างต้น

Hyper-royalism เองนั่นแหละเป็นสาเหตุและผู้สร้างปรากฏการณ์ “ตาสว่าง”

ผู้ที่สมาทานลัทธิการเมืองใดๆที่เคยท้าทายลัทธิกษัตริย์นิยมไม่เคยสามารถทำได้ถึงขนาดนี้มาก่อนเลย ทักษิณก็ทำไม่ได้และหากเขาบงการทุกอย่างจริงอย่างที่ศัตรูของเขากล่าวหา คงไม่มีทางเกิดปรากฏการณ์ตาสว่างอย่างที่เป็นอยู่ เพราะคงจะมีแต่คนที่กราบกรานขอให้พวกกษัตริย์นิยมยอมให้อภัย

8) เราอาจกล่าวได้ว่า มีวิกฤติอย่างหนึ่งในสังคมไทยที่ชัดแจ้งตำตาแต่คนไทยยังพยายามหลอกตัวเอง แถมพยายามปฎิเสธวิกฤตินี้ด้วยการไล่ล่าปราบปรามคนที่คิดต่างหรือจงรักภักดีไม่เท่ามาตรฐานของ Hyper-royalism นั่นคือ วิกฤติของความจงรักภักดี

Hyper-royalism ที่ครอบงำสังคมไทยมานานกว่า 40 ปีกำลังเผชิญวิกฤติอย่างหนัก ภายใต้สภาวะนี้เอง มาตรา 112 จึงถูกนำมาใช้อย่างเข้มข้นยิ่งกว่าครั้งใดในประวัติศาสตร์ ปัญหามีอยู่ว่า การไล่ล่าทำร้ายคนที่คิดต่างจะสำเร็จเมื่อไร หรือจะยิ่งผลิตปฎิกิริยาสวนกลับต่อ Hyper-royalism มากขึ้นไปอีก

วิกฤติของความจงรักภักดี เป็นปรากฎการณ์อีกอย่างที่มีสาเหตุมาจากระบอบสังคมการเมืองที่ฉุดรั้งขัดฝืนความเปลี่ยนแปลง

 

มาตรา 112 ภายใต้ Hyper-royalism

“กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” มีมานานแล้ว รวมทั้งในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่กฎหมายประเภทนี้กลับมีบทบาทมากน้อยเปลี่ยนไปตามบริบททางสังคมการเมือง

ภายใต้สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กลับไม่มีการใช้กฎหมายนี้พร่ำเพรื่อนัก และไม่ใช่เครื่องมือบังคับควบคุมความคิดของคน ทั้งนี้มิใช่เพราะพระมหากรุณาธิคุณมากน้อยของพระมหากษัตริย์พระองค์ใด แต่เป็นเพราะระบอบการเมืองนั้นมีกลไกรัฐและกฎหมายอื่นในการควบคุมทางสังคม ตัวอย่างเช่น การละเมิดพระราชอำนาจย่อมถือว่าเป็นกบฎก็ได้ ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจึงมีความหมายเฉพาะจำกัดอยู่ที่การหมิ่นประมาทองค์พระมหากษัตริย์ ไม่มากและไม่น้อยไปกว่านั้น และไม่มีนัยหรือผลกระทบทางการเมืองเท่าไรนัก

กฎหมายหมิ่นฯ เริ่มเป็นอาวุธทรงพลังก็ต่อเมื่อนักลัทธิกษัตริย์นิยมเอามาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยสถาปนาประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ โดยถือว่าความผิดนี้เป็นเรื่องความมั่นคงของชาติ

นัยสำคัญของประเด็นนี้มิได้อยู่ที่ว่าสถาบันกษัตริย์สำคัญของชาติหรือไม่อย่างที่บางคนโต้เถียง เพราะมีเรื่องสำคัญต่อความมั่นคงของชาติอีกมากมายที่มิได้ถูกจัดอยู่ในหมวดความมั่นคงของชาติ แต่เป็นเรื่องของกลไกทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม กล่าวคือ จากการศึกษาของ David Streckfuss พบว่าภายใต้ระบอบเผด็จการอันยาวนานของไทย บรรดาความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงถูกดำเนินการโดยกระบวนการยุติธรรมที่วิปลาศผิดหลักการต่างจากการะบวนการยุติธรรมต่อความผิดอาญาอื่นๆ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทประเภทหนึ่งกลับอยู่ใต้กระบวนการยุติธรรมที่ผิดปกติต่างจากความผิดหมิ่นประมาทอื่นๆ ความผิดปกติเกิดจากกระบวนการยุติธรรมที่สยบต่ออำนาจและรับใช้อำนาจเป็นอาจินต์ แถมยึดเอาความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ และเหตุผลของรัฐซึ่งเต็มไปด้วยอคติคับแคบ มาเป็นมาตรฐานในการพิจารณาความถูกผิดคดีความมั่นคงเหล่านี้

กระบวนวิธีพิจารณาคดีความมั่นคงบิดเบี้ยวไปจากมาตรฐานของกระบวนการยุติธรรมปกติ ที่สำคัญได้แก่ มักถือว่าจำเลยกระทำความผิดร้ายแรงจนกว่าจำเลยจะพิสูจน์ได้ว่าตนบริสุทธิ์ ดังนั้นจึงมักไม่ให้ประกันตัว และภาระการพิสูจน์ตกอยู่กับจำเลยแทนที่จะตกอยู่กับฝ่ายโจทก์ นอกจากนี้ ปกติการพิสูจน์ความผิดอาญาต้องเคร่งครัดชัดเจน หากไม่ชัดเจนต้องยกประโยชน์ให้จำเลย แต่ในคดีความมั่นคงกลับมักตีความกฎหมายอย่างกว้างให้ครอบคลุมการกระทำที่ต้องสงสัยแม้จะไม่ชัดเจนก็ตาม

กระบวนการยุติธรรมสำหรับความผิดตามมาตรา112 ก็ผิดปกติในทำนองเดียวกัน ตัวอย่างกรณี “อากง” คงช่วยอธิบายความผิดปกติได้ดี

- เริ่มจากไม่ให้ประกันทั้งๆที่ยังไม่มีการพิสูจน์

- ศาลยอมรับว่าฝ่ายโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าอากงกระทำความผิดแต่ศาลเชื่อว่าผู้กระทำผิดย่อมพยายามปกปิดความผิดไว้จึงทำให้พิสูจน์ยาก

- โจทก์ไม่ต้องพิสูจน์ว่าอากงครอบครองเครื่องโทรศัพท์ในขณะเกิดการกระทำความผิด อากงเป็นฝ่ายต้องพิสูจน์ว่าเอาเครื่องไปซ่อม เมื่อพิสูจน์ไม่ได้ศาลจึงถือว่าไม่ได้เอาไปซ่อม

- ไม่มีการพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำการส่งข้อความหรือไม่ เพียงแค่พิสูจน์ว่าเป็นเจ้าของเครื่องและครอบครองเครื่องในขณะเกิดการกระทำความผิดก็พอ ผู้พิพากษายอมรับเองว่าเป็นหลักฐานแวดล้อมทั้งสิ้น (เราอาจเปรียบกับการเป็นเจ้าของรถที่ถูกนำไปโจรกรรมหรือเป็นเจ้าของอาวุธที่ถูกเอาไปใช้ฆ่าคนตาย) ซึ่งในคดีอาญาปกติต้องมีการพิสูจน์ว่าเป็นผู้ลงมือกระทำความผิดด้วย แต่ในกรณีนี้กลับไม่จำเป็น

ความผิดปกติวิปลาศที่สำคัญที่สุดคือ เนื่องจากเป็นความผิดต่อความมั่นคงจึงเปิดให้ใครก็ตามที่พบเห็นการกระทำที่สงสัยว่าเข้าข่ายความผิด สามารถแจ้งต่อเจ้าพนักงานได้ ต่างลิบลับจากคดีหมิ่นประมาททั่วไปซึ่งผู้เสียหายเท่านั้นจึงจะมีสิทธิฟ้อง ด้วยเหตุนี้เอง คอป.ของ ดร.คณิต ณ นคร ยังต้องพยายามหาทางออกเพื่อแก้ปมปัญหานี้ (แต่ คอป. มิได้เสนอให้แยกความผิดตามมาตรา 112 ออกมาตั้งเป็นหมวดต่างหากจากคดีความมั่นคง แต่ให้ถือว่าความผิดต่อความมั่นคงชนิดนี้ต้องให้อำนาจแก่ผู้เสียหายหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบแทนเท่านั้นเป็นผู้ฟ้อง)

มาตรา 112 ได้สร้างสมปมปัญหาแก่กระบวนการยุติธรรมอีกมากมายหลายประการ เช่นปัญหาขอบเขตอำนาจบังคับ ดังจะเห็นได้จากการลงโทษการกระทำที่เกิดนอกประเทศหรือไปสอบสวนในต่างประเทศ ปัญหาบทลงโทษที่สูงเกินเหมาะสมและหนักหนาสาหัสกว่าที่ใดในโลก

แต่ผู้สมาทาน Hyper-royalism ถือว่ามาตรา 112 เป็นบทบัญญัติศักดิ์สิทธิ์ ห้ามแก้ไขหรือแตะต้อง แม้จะกระทำตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญก็ตาม (แต่ถ้าแก้โดยคณะรัฐประหารที่เถลิงอำนาจหลังอาชญากรรมที่โหดร้ายกลับยอมรับได้) การถกถึยงไม่ต้องใช้เหตุผลหรือหลักวิชาใดๆ แต่ใช้ความเชื่อ ศรัทธา และโฆษณาชวนเชื่อ แม้แต่นักกฎหมายของพวกกษัตริย์นิยมก็ไม่จำเป็นต้องใช้หลักกฎหมาย และไม่ต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของกฎหมายนี้ในสังคมไทย ทำไมเป็นเช่นนั้น?

เพราะมาตรา 112 เป็นมากกว่ากฎหมายอาญามาตราหนึ่ง คือเป็นเครื่องมือบังคับควบคุมความคิดของลัทธิ Hyper-royalism สามารถใช้ได้หลายทาง ได้แก่ การลงโทษเพื่อขีดเส้นเป็นบรรทัดฐานว่าแค่ไหนเป็นความผิด การสร้างความกลัวทั้งในแง่กฏหมาย (เพราะโทษรุนแรงและกระบวนการผิดปกติ) และกลัวถูกสังคมลงโทษ ก่อให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง ไปจนถึงใช้ปลุกความบ้าคลั่งไล่ล่าทำร้ายคนอื่นทั้งอย่างตักเตือนและอย่างโหดร้ายทารุณ การใช้มาตรา 112 ยังเปลี่ยนไปตามเวลาด้วย เช่น แต่ก่อนชาวต่างชาติที่ทำผิดจะโดนเนรเทศทันทีโดยไม่จำคุก เพิ่งโดนจำคุกในระยะหลัง การใช้มาตรา 112 ในแบบล่าสุดระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือใช้ทำลายจิตวิญญาณ หมายถึงการใช้อย่างไร้ความปรานีจนกว่าจะยอมรับสารภาพ คือมักจับไว้ก่อน ไม่ให้ประกันตัว พิจารณาลับ ลงโทษรุนแรง แต่ให้ความหวังว่าจะพ้นคุกได้เร็วถ้ายอมรับสารภาพ จนหลายคนยอมแพ้ในที่สุด นี่คือการทำร้ายถึงจิตวิญญาณ หากต้องการอิสรภาพทางกายต้องยอมแพ้ราบคาบทางมโนสำนึก ชีวิตที่มีอิสระทางกายต้องขังจิตวิญญาณเสรีไว้ข้างในตลอดไป [7]

มาตรา 112 ถูกใช้ใน Hyper-royalism ช่วงแรก (2518-2520) ด้วยความกลัวคอมมิวนิสต์จะล้มล้างสถาบันกษัตริย์ แม้ปริมาณคดีไม่เท่าระยะไม่กี่ปีมานี้แต่ก็มากกว่าก่อนหน้านั้น ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการปราบปรามนักศึกษาปัญญาชนฝ่ายซ้ายในยุคนั้น ด้วยเหตุนี้คณะปฎิรูปขวาจัดหลัง 6 ตุลาจึงถือเป็นภารกิจต้องเพิ่มโทษความผิดตามมาตรา 112 อันเป็นปัญหาจนทุกวันนี้

เอาเข้าจริงมาตรา 112 ไม่ถูกนำมาใช้เท่าไรนักระหว่าง 2520 เศษถึง 2540 เศษซึ่งเป็นช่วงที่ Hyper-royalism เติบโตอย่างมาก คดีที่เกิดขึ้นจำนวนไม่มากนักมักไม่ผูกโยงกับความขัดแย้งทางการเมืองที่สำคัญในขณะนั้นๆ ที่เป็นเช่นนี้น่าจะเป็นเพราะการสถาปนาอำนาจนำของประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ในระยะนั้นเป็นการแข่งขันกับกองทัพซึ่งอ้างอิงสถาบันกษัตริย์้เป็นแหล่งอำนาจเช่นกัน ทั้งยังเป็นความขัดแย้งกันในหมู่ “ชั้นบน” เหนือระบอบประชาธิปไตยด้วยกัน ดังนั้น ประเด็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตยจึงไม่เกิดขึ้น แม้แต่ในไม่กี่กรณีที่การแข่งขันกับกองทัพถึงจุดที่น่าวิตก ก็ไม่เคยต้องยกประเด็นความขัดแย้งระหว่างสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตยขึ้นมา ตลอดช่วงดังกล่าว Hyper-royalism ขยายตัวเติบโตได้โดยแทบไม่ปรากฎผู้ทัดทานวิพากษ์วิจารณ์ มีแต่แข่งกันอวดความจงรักภักดี จึงไม่ต้องใช้มาตรา 112

การใช้มาตรา 112 เป็นอาวุธบ่อยครั้งจนเป็นประเด็นในขณะนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤติความจงรักภักดีดังได้กล่าวมาแล้ว เมื่อมีผู้คิดต่าง วิพากษ์วิจารณ์ หรือปฏิเสธ Hyper-royalism มากขึ้นฝ่ายกษัตริย์นิยมทั้งกลไกรัฐและในประชาสังคมจึงเอามาตรา 112 เป็นอาวุธปกป้องลัทธิความเชื่อของตนเองและปกป้องระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์

จะแก้ ไม่แก้ แก้แค่ไหนอย่างไร หรือควรยกเลิกไปเสียเลย จึงมิใช่แค่ปัญหาเทคนิคทางกฎหมายเท่านั้น แต่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งที่ใหญ่โตกว่านั้นมาก และเป็นความขัดแย้งที่มีลักษณะเฉพาะของปัจจุบันแต่จะส่งผลมหาศาลต่ออนาคตของสถาบันกษัตริย์และระบอบประชาธิปไตยของไทย

ถ้าหากผู้สมาทาน Hyper-royalism ต้องการยืนยันรักษามาตราศักดิ์สิทธิ์ หวังรักษาระบอบประชาธิปไตยอำมาตย์ไว้ชั่วนิรันดร์ ก็จะยิ่งผลักให้สถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตยขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้น เพราะมาตรา 112 ได้กลายเป็นอาวุธในการฉุดรั้งขัดฝืนความเปลี่ยนแปลง

แต่หากไม่อยากให้อันตรายต่อสถาบันกษัตริย์และสังคมไทยสะสมมากไปกว่านี้ ต้องหาทางแก้ความขัดแย้งระหว่างสถาบันกษัตริย์กับระบอบประชาธิปไตย นิติราษฎร์ได้เสนอทางออกหนึ่งไว้ให้แล้วด้วยเจตนาดี ไม่อยากเห็นความขัดแย้งไปถึงจุดที่ทุกคนต้องสลดใจ

นิติราษฎร์และคณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 สามารถเอาตัวเองออกจากความเจ็บปวดในปัจจุบันได้อย่างสบายๆ แต่พวกเขายอมเจ็บตัวเพื่อช่วยหาทางออกแก่สังคมไทย แต่พวกลัทธิกษัตริย์นิยมกลับไม่เห็นความน่าสมเพชและความอับจนของตนเอง

ในอนาคตประวัติศาสตร์จะบันทึกว่า เป็นความผิดพลาดมหันต์ครั้งประวัติศาสตร์ที่ไม่ฟังนิติราษฎร์และครก. 112 แถมยังผลักไสทำร้ายความปรารถนาดีของพวกเขา

 

ความวิปลาศของอนารยธรรม

ในระยะที่ผ่านมามีคำกล่าวและปราการณ์มากมายที่สะท้อนความวิปลาศในสังคมไทย ทุกปรากฎการณ์ที่จะยกเป็นตัวอย่างต่อไปนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นในสังคมอารยะ แต่สังคมไทยกลับไม่รู้สึก ไม่ได้เห็นเป็นความผิดปกติแต่อย่างใด

เหตุที่ต้องคิดเทียบกับสังคมอารยะเพราะสังคมไทยเติบโตถึงทุกวันนี้ได้ด้วยการปรับตัวให้เข้ากับอารยธรรมของโลก เราเข้าใจประวัติศาสตร์ครึ่งเดียวมาตลอดว่าสยามได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกเพราะเราเป็นไม่ตกเป็นเมืองขึ้น แท้ที่จริงสยามที่เป็นเอกราชยังไม่ได้รับการยอมรับจนกระทั่งสยามได้พิสูจน์ว่าตนมีอารยธรรม ผู้ดีกรุงรัตนโกสินทร์ทั้งหลายเข้าใจข้อนี้ดี

ขอบอกว่าโลกกำลังจับตามองอารยธรรมของสังคมไทยด้วยความเหนื่อยหย่าย ข้อท้วงติงจากนานาชาติเกี่ยวกับมาตรา 112 ที่ผ่านมานับว่าเบากว่าความรู้สึกที่แท้จริงที่สังคมอารยะมีต่อกรณีนี้อยู่มาก

ตัวอย่างที่ 1 มหาวิทยาลัยที่รับก้านธูปถูกตั้งคำถาม ถูกตำหนิ แถมมีคนตามล้างตามเรียกร้องให้ธรรมศาสตร์ไล่เด็กออกไป แต่มหาวิทยาลัยที่ปฎิเสธก้านธูปเพียงเพราะความคิดของเธอกลับไม่ถูกสอบสวน ไม่ถูกลงโทษ ไม่โดนสังคมประณามด้วยซ้ำไป ในสังคมอารยะอื่นๆ การกระทำผิดๆเช่นนี้เคยเกิดมาแล้ว เช่นในยุคแมคคาร์ธีหรือยุคล่าแม่มดสมัยใหม่ กลายเป็นรอยด่างทางประวัติศาสตร์ที่น่ารังเกียจ จึงไม่มีทางเกิดในยุคนี้อีก ในสังคมอารยะอื่นๆอาจารย์ที่ฟ้องนักศึกษาเพียงเพราะความคิดต่างควรถูกไล่ออก เพราะเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจ ละเมิดจรรยาบรรณของนักวิชาการอย่างไม่ควรให้อภัย แต่สังคมไทยเฉย แถมกลับลงโทษเหยื่อ

ตัวอย่างที่ 2 การออกมาขับไล่คนที่ไม่สมาทานลัทธิ Hyper-royalism ให้ออกนอกประเทศ

พฤติกรรมแบบนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นในอารยสังคม เพราะเป็นการกระทำที่โง่เขลาน่าสมเพชสิ้นดี เอาอะไรมาเป็นเหตุผลขับไล่คนที่คิดต่างจากลัทธิของตัวออกนอกประเทศที่เขาเป็นเจ้าของ

ในอารยประเทศ คนที่ขับไล่ผู้คิดต่างออกนอกประเทศจะถูกด่าประณามและถูกเรียกร้องให้ขอโทษ ยิ่งถ้าคนพูดเป็นผุ้บัญชาการทหารยิ่งเป็นความผิด 2 ชั้นเพราะเขาไม่มีสิทธิให้ความเห็นทางการเมืองตราบที่ยังอยู่ในอำนาจ เขาไม่มีเสรีภาพให้ความเห็นทางการเมือง ถ้าอยากทำก็ออกจากอำนาจเสียก่อน ถ้าเกิดขึ้นในประเทศประชาธิปไตย เขาถูกปลดไปแล้วอย่างแน่นอน

แต่สังคมไทยไม่ว่าอะไร แถมนักข่าวยังป้อนคำถามการเมืองให้ขุนทหารตลอดเวลา

ตัวอย่างที่ 3 คำกล่าวประเภท “พ่อแม่ไม่สั่งสอน” สะท้อนจิตใจและรสนิยมต่ำของผู้พูด ยิ่งเป็นสื่อมวลชนที่มีผู้ฟังมากมาย ในอารยสังคมเขาจะถูกประณาม ถูกเรียกร้องให้ขอโทษหรือถูกถอดรายการเพราะถือเป็นความไม่รับผิดชอบต่อสังคม คำกล่าวที่รุนแรงน้อยกว่านี้ยังโดนปลดออกจากผังรายการมาแล้วหลายราย แต่สังคมไทยเฉย

ตัวอย่างที่ 4 เมื่อนิติราษฎร์ถูกขู่ ถูกทำร้ายหยาบคายด้วยวาจา ถูกคุกคามโจ่งแจ้งเปิดเผย นิติราษฎร์จึงถูกลงโทษจากสังคมและถูกจำกัดพื้นที่ ถูกเรียกร้องให้สอบสวน ให้ลงโทษทางวินัย

ในอารยสังคม เขาเรียกร้องอาการทำนองนี้ว่าการลงโทษเหยื่อที่ถูกข่มขืนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการข่มชืน ในอารยสังคม ไม่ว่าหญิงคนนั้นจะแต่งกายอย่างไรย่อมไม่ใช่เหตุของการข่มชืน ต้องลงโทษและกำราบผู้คุกคามทำร้ายคนอื่นเท่านั้น

แต่มหาวิทยาลัยของไทยและสื่อมวลชนรุมกระหน่ำโจมตีเหยื่อผู้ถูกทำร้าย ยังดีที่อธิการบดีออกมายืนยันว่าไม่มีความผิด ไม่มีการสอบสวน ไม่มีการลงโทษทางวินัย แต่ผู้เขียนสลดใจอยู่ดีที่ไม่มีใครออกมาเตือนสติสังคมไทยว่า การเรียกร้องให้สอบสวนลงโทษทางวินัยเป็นเรื่องวิปลาศวิปริตสิ้นดี

ถ้าวัฒนธรรมพิเศษอย่างไทยเป็นใหญ่ในโลก ป่านนี้ Salman Rushdie คงถูกลากคอออกมาตัดหัวไปแล้ว

โปรดตระหนักว่า ความวิปริตเช่นนี้มีอยู่ในสังคมไทยมานานแล้ว เพราะนี่คือเชื้อมูลของการที่คนจำนวนมากยืนดูการแขวนคอ เผาทั้งเป็น ตอกอกในที่สาธารณะได้โดยไม่เข้าช่วยเหลือยับยั้ง ความวิปริตข้อนี้มีมูลเหตุเดียวกันกับความพึงพอใจขณะดูเก้าอี้ฟาดร่างไร้ชีวิตบนปลายบ่วงเชือก

ตัวอย่างที่ 5 จนป่านนี้ยังมีปัญญาชนวิปริตเรียกร้องให้ทหารออกมาทำรัฐประหารอยู่อีก

ยังมีการให้พฤติกรรมคำกล่าววิปลาศอีกมากมายในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา บางข้อยากขึ้นนิดที่จะอธิบายว่าทำไมจึงวิปลาศ แต่หากคิดให้ดีจะพบว่าตลกและไร้เดียงสา อาทิเช่น คำกล่าวที่ว่า “อย่าละเมิดเสรีภาพของในหลวง” หรือข้อเขียน 2 ครั้ง ของนักเขียนใหญ่รายหนึ่งที่ว่า “ขอพื้นที่ให้คนที่ศรัทธาอย่างแท้จริงบ้าง” ทั้งๆที่ท่านมีพื้นที่ทั่วประเทศไทย ทั้งในธรรมศาสตร์ ราบ 11 และราชประสงค์ ในเขตราชการและเขตพระราชวัง แต่คนที่ขอใช้เหตุผลอย่างบริสุทธิ์ใจกลับถูกคุกคามทำร้าย ถูกปิดกั้นพื้นที่ และถูกขอคืนพื้นที่ด้วยกระสุนจริง

เวลาได้ยินได้พบเห็นความวิปลาศพรรค์นี้ ผู้เขียนมักนึกถึงตำนานเกี่ยวกับการปฎิวัติฝรั่งเศสที่เล่าว่า พระนางมารี อังตัวเนต บอกแก่คนยากจนว่า “หากไม่มีขนมปัง แล้วทำไม่กินเค็ก” เรื่องนี้ไม่ใช่ความจริงแต่ตำนานยืนยงตลอดมาเพื่อสะท้อนความวิปริตของสังคมฝรั่งเศสก่อนการปฎิวัติซึ่ง ราชสำนักและพวกกษัตริย์นิยมขังตัวเองอยู่ในโลกของตนโดยไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น ตำนานคำพูดของพระนางเป็นเรื่องตลกทำนองเดียวกับตลกวิปลาศที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยช่วงนี้

อีก 50 ปีข้างหน้าประวัติศาสตร์อาจจะบันทึกความผิดปกติของสังคมไทยปัจจุบันโดยจดจำความวิปลาศที่ยกตัวอย่างมาจนเป็นตำนาน เช่น คำกล่าวที่ว่า “อย่าละเมิดเสรีภาพของในหลวง”

ความวิปลาศผิดจากอารยสังคมเหล่านี้สะท้อนอะไร?

คำตอบที่ 1 สะท้อนว่าสังคมไทยมีลักษณะพิเศษ อย่างที่ปัญญาชนลัทธิกษัตริย์นิยมมักอ้างเสมอๆ พิเศษเสียจนการใช้เหตุผล จรรยาบรรณ มาตรฐานตามปกติของอารยสังคม เอามาใช้กับสังคมไทยไม่ได้ พวกเขากล่าวเสมอว่าความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับพสกนิกรไทยพิเศษไม่มีที่ใดเหมือนและอาจเข้าใจยากสำหรับชาวต่างชาติ หมายความว่าพิเศษจนต้องยุติการใช้เหตุผล ยุติอารยธรรมตามปกติ ยุติมนุษยธรรมปกติ และต้องใช้ความเชื่อ ศรัทธาเหนือเหตุผล หรือเหตุผลวิปลาศ กลับหัวกลับหาง ปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมผิดปกติดำเนินต่อไป เช่นนั้นหรือ

คำตอบที่ 2 สะท้อนว่าสังคมไทยป่วยหนัก ป่วยหนักมากจนหลง จนหลอกตัวเองไม่รู้ว่ากำลังป่วย ป่วยจนยอมถลำลึกลงไปในวิถีทางฝืนความเปลี่ยนแปลง แต่กลับละเมอว่าทุกอย่างยังคงดีเหมือนเดิม ป่วยจนอธิบายหาเหตุผลไม่ได้ก็อ้างว่าเป็นลักษณะพิเศษ สำนวนปัจจุบันเรียกว่า “ไปไม่เป็น” แต่สังคมไทยกลับเชื่ออย่างภาคภูมิใจ

อาการวิปลาศอย่างที่กล่าวมายังสะท้อนด้วยว่าสังคมไทยไม่มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งพอ นั่นคือ วัฒนธรรมทางปัญญาตกต่ำ

เราเถียงกันด้วยเหตุผลไม่ค่อยได้ไกลเพราะเราอยู่กันด้วยความเชื่อกับด้วยความสัมพันธ์ส่วนบุคคล เรากลัวคนคิดเป็น เราไม่ชอบปัจเจกชนที่กล้าคิด เป็นอิสระ เรากลัวคนที่คิดนอกกรอบ

ความอ่อนแอทางปัญญา สะท้อนออกมาในสองวงการที่คุณภาพต่ำอย่างน่าวิตก คือ ระบบการศึกษาและสื่อมวลชน แต่ขออนุญาตไม่อภิปรายปัญหาในวงการทั้งสองในที่นี้เพราะเป็นปัญหาใหญ่เกินไป

แต่ที่เน้น 2 วิชาชีพนี้เพราะมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างปัญญาที่จะช่วยให้สังคมรู้จักคิด ฝ่าการเปลี่ยนแปลงอย่างมีสติและความรู้ หรือสรัางปัญหา กล่อมประสาทตอแหลหลอกลวงตัวเองจาสายเกินการณ์ (อีกเหตุผลเพราะเป็นวิชาชีพที่ผู้เขียนพอรู้จักมากหน่อย อย่างน้อยผู้เขียนก็พอรู้ว่ามหาวิทยาลัยและวงวิชาการที่ดีมีมาตรฐานสูงเป็นอย่างไร) ความตกต่ำของวิชาชีพทางปัญญาเป็นเหตุหนึ่งของความวิปลาศยามสังคมเผชิญความเปลี่ยนแปลงแล้วเอาแต่ขัดฝืนฉุดรั้ง ในทางกลับกัน ครั้นความวิปริตวิปลาศเหล่านี้เกิดจนเป็นปกติ ผู้คนไม่รู้สึกอะไร ไม่ถูกทัดทาน ไม่ต้องขอโทษ ไม่ถูกปลด ไม่ถูกสอบสวน มาตรฐานทางการเมืองก็ไม่ต้องรับผิด ความไม่รู้จักผิดชอบชั่วดีพรรค์นี้เองที่มีส่วนทำให้มาตรฐานและจรรยาบรรณของวงวิชาการและสื่อมวลชนตกต่ำอย่างน่าวิตก

บ่อยครั้งผู้เขียนรู้สึกเหมือนสังคมไทยอยู่ในยุคของกาลิเลโอ ในยุคนั้นอำนาจอยู่กับศาสนจักรที่ยึดมั่นในความรู้ความคิดผิดๆ ห้ามกาลิเลโอเผยแพร่ความรู้ใหม่ที่ถูกต้องซึ่งต่อมามีผลต่อการปฎิวัติวิทยาศาสตร์ขนานใหญ่ในประวัติศาสตร์โลก เพราะสิ่งที่กาลิเลโอเสนอขัดแย้งกับความเชื่อและศรัทธาของผู้มีอำนาจและสังคมในขณะนั้น

กาลิเลโอไม่มีโอกาสอยู่ดูชัยชนะของเขา มนุษยชาติที่โหดร้ายเป็นหนี้บุญคุณเขาแต่ไม่เคยสามารถกล่าวขอโทษเขาได้ต่อหน้า

มนุษย์เราโหดร้ายและขลาดเขลาพอที่จะทำอย่างนี้เป็นประจำ เพราะมนุษย์ปกติมักสายตาสั้น มองโลกแคบ ยิ่งสังคมที่ขาดวุฒิภาวะทางปัญญายิ่งขลาดเขลาเกินกว่าจะมองเห็นความเป็นอนิจจังของสังคม กลัวการเปลี่ยนแปลง หลงยึดมั่นถือมั่นกับเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เขาเชื่อว่าไม่มีทางเปลี่ยนแปลง จนไม่สามารถเข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเขา อคติอวิชชาทำให้เขาคับแคบ ลุ่มหลงตัวเองว่าพิเศษกว่าใครอื่นจนสามารถหยุดยั้งความเปลี่ยนแปลงไว้ได้

คนพวกนี้จะถูกบันทึกในประวัติศาสตร์อย่างน่าสงสารว่าเป็นผู้ฉุดรั้งขัดฝืนความเปลี่ยนแปลงจนก่อให้เกิดความเสียหายอย่างที่ไม่น่าต้องเกิดขึ้น ไม่ว่าในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 6 ตุลา 2519 พฤษภา 2535 เมษา–พฤษภา 2553 และอีกหลายเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิด

 

ในท้ายที่สุด

ณ ปลายรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงค์จักรี สังคมไทยกำลังเผชิญปัญหาหนักหน่วงอย่างน้อย 4 ประการที่สำคัญไม่แพ้กันทั้งนั้น คือ

1. รัฐธรรมนูญ คือ เรื่องของกรอบกติกาทางการเมืองที่จะเอื้ออำนวยหรือยิ่งขัดฝืนความเปลี่ยนแปลง

2. ความขัดแย้งชายแดนภาคใต้และปัญหาการกระจายอำนาจทั่วทั้งประเทศ คือเรื่องรูปการของรัฐที่ปรับตัวน้อยเกินไปหรือแทบไม่ปรับโดยพื้นฐานมาตั้งแต่ 100 กว่าปีก่อน

3. โศกนาฎกรรมเมื่อเดือน เมษา-พฤษภา 2553 และอาชญากรรมของรัฐอีกหลายครั้งในอดีตรวมถึงการปราบปรามในชายแดนภายใต้ด้วย นี่เป็นปัญหาความยุติธรรม ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่สุดของความสัมพันธ์ราบรื่นในสังคม

4. มาตรา 112 เป็นกุญแจไขประตูไปสู่การเผชิญปัญหาที่ตกค้างมาตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นั่นคือ ปัญหาบาทบาทสถานะของสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยควรเป็นอย่างไร

ปัญหาทั้งหมดนี้ต้องแก้ด้วยความหนักแน่น สติ และปัญญา ไม่ใช่ด้วยโฆษณาชวนเชื่อหรือใส่ร้ายป้ายสีอย่างขาดความรับผิดชอบ ขอสื่อมวลชนแค่ทำตามจรรยาบรรณ อย่าสุมไฟ

เราต้องการวุฒิภาวะทางปัญญาและการเมืองที่จะคุยกันอย่างอารยชน มิใช่แข่งกันแสดงความจงรักภักดีอย่างขาดสติ

กรุณาคิดถึงอนาคต มิใช่แค่การเมืองระยะสั้นๆ

สังคมไทยที่พึงปรารถนาควรใจกว้าง อยู่ร่วมกันได้ไม่ว่าคิดแตกต่างกันขนาดไหน ในที่นี้หมายถึงคนที่รักเจ้าไม่เท่ากัน ในแบบต่างๆกัน และคนที่ไม่ยินดียินร้าย หรือคนที่ไม่รักเจ้าเลยก็ตาม ตราบเท่าที่เขาไม่ใช้ความรุนแรงบังคับข่มเหงใครหรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองด้วยความรุนแรง

ไม่ใช่สังคมภายใต้ Hyper-royalism ที่เที่ยวไล่ล่าปราบปรามคนที่คิดต่าง

หลังรัฐประหาร 2549 ผู้เขียนเคยสงสัยว่า “ฤานี่จะเป็นอภิชนาธิปไตยชบวนสุดท้าย”

ในขณะนั้นผู้เขียนมิได้เข้าใจภาพใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงอย่างที่เสนอในวันนี้ ผู้เขียนเพียงแต่เห็นปรากฎการณ์ที่พวกกษัตริย์นิยมทิ้งไพ่สำคัญๆออกมาบนโต๊ะจนหมดหน้า

ถึงวันนี้ผู้เขียนยังขอชวนคิดเช่นเดิมว่า “ฤานี่จะเป็นอภิชนาธิปไตยขบวนสุดท้าย”

ผู้เขียนไม่ทราบว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตอันใกล้ ผู้เขียนไม่ทราบจริงๆว่าจะเป็นขบวนสุดท้ายหรือไม่เป็น แต่ค่อนข้างมั่นใจว่า อีก 50 ปีข้างหน้า ประวัติศาสตร์จะย้อนมองมายังปัจจุบัน จะเห็นมูลเหตุของวิกฤติ 3 ประการใหญ่ดังที่กล่าวมา จะเห็นว่าวิกฤติของระบอบประชาธิปไตยแบบอำมาตย์เกิดจากความสำเร็จย้อนกลับมาท้าทายระบอบดังกล่าวเสียเอง จะเห็นความไม่สามารถปรับตัวอันเกิดจาก Hyper-royalism และจะบันทึกความพยายามของคนจำนวนหนึ่งรวมทั้งนิติราษฎร์และครก.112 ที่จะหาทางออกแก่สังคมไทยด้วยความปรารถนาดี

แต่ผู้เขียนไม่ทราบว่า ลงท้ายระบอบการเมืองปัจจุบันปรับตัวสำเร็จหรือไม่ อันตรายที่แท้จริงอันเกิดจากการฉุดรั้งขัดฝืนความเปลี่ยนแปลงจะถูกถอดชนวนทันกาลหรือจะดึงดันไปถึงจุดสุดท้ายของอภิชนาธิปไตยขบวนนี้

สังคมไทยจะยอมปลดล็อค เปิดประตู แล้วเดินเข้าสู่ประตูของการปรับตัวหรือไม่ นิติราษฎร์ และ ครก. 112 ช่วยเสนอทางปลดล็อคให้ทางหนึ่งแล้ว

เราท่านทุกคนมีส่วนในการตัดสินใจเพื่ออนาคตของสังคมไทย และลูกหลานของเรา

 

อ้างอิง:

  1. พวกกษัตริย์นิยม หมายถึงใครก็ตามที่อิงสถาบันกษัตริย์เป็นความชอบธรรมหรือเป็นแหล่งที่มาของอำนาจตน พวกนี้มีมากมายเป็นเครือข่าย (network) มีทั้งสามัญชนและผู้ที่มีเชื้อสายเจ้า
  2. คำว่า สถาบันกษัตริย์ พระมหากษัตริย์ ที่จะใช้ในบทความนี้ ถ้ากล่าวถึงของไทยใน 40-50 ปีที่ผ่านมาจะแยกไม่ออกระหว่างสถายันกับบุคคล เพราะองค์พระมหากษัตริยืกลายเป็นปัจจัยหลักของความเป็นสถายันจนความหมายทั้ง 2 ด้าน ปนเปกันอยู่ตลอดเวลา
  3. ผู้เขียนยังหาคำแปลที่เหมาะสมไม่ได้ คำว่าคลั่งเจ้าน่าจะใช้กับ Ultra-rayalism ซึ่งน่าจะหมายถึงคนจำนวนหนึ่งที่ขยันขันแข็งกับการโจมตีล่าทำร้ายผู้ที่คิดต่าง แต่ Hyper-royalism เป็นภาวะที่เกิดขึ้นทั่วทั้งสังคมและผู้คนจำนวนมหาศาลยอมรับเข้าร่วม ผู้เขียนเคยใช้คำแปลว่า “กษัตริย์นิยมล้นเกิน” ซึ่งยังน่าจะใช้ได้อยู่ แต่ประดักประเดิดทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน
  4. สถาบันกษัตริย์สมัยใหม่ฟื้นความศักดิ์สิทธิ์สูงมากขึ้นมาได้อย่างไรยังต้องการการศึกษาและคำอธิบายมากกว่านี้
  5. ปริศนาสำคัญอีกข้อของ Hyper-royalism กล่าวคือ สังคมไทยเป็นสังคมเปิด ต่างจากประเทศปิดอย่างเกาหลีเหนือหรือพม่าตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา สังคมไทยมีเสรีภาพในการเข้าถึงข่าวสารภายนอกและในประเทศพอสมควร มิได้ถูกตรวจสอบปิดกั้นเข้มข้นอย่างประเทศเผด็จการเบ็ดเสร็จ มีเสรีภาพในการบริโภคเต็มที่ มีเสรีภาพทางธุรกิจ และสร้างโอกาสใหม่ๆของปัจเจกชนมากพอสมควร

    แต่ทำไมสภาวะ Hyper-royalism จึงเกิดขึ้นควบคู่กันได้ ?
    ทำไมสังคมค่อนข้างเปิดจึงเกิดสภาวะทำนอง 1984 ได้ในมิติที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์? (หมายถึงหนังสือ Nineteen Eighteen Four ของ George Orwell)

    คำตอบเบื้องต้นก็คือ Hyper-royalism กลายเป็นลัทธิความเชื่อ หรือ religiosity ที่เป็นระบบแข็งแกร่งในตัวเอง ในบางแง่กลับแข็งแกร่งกว่าศาสนาเสียอีก กลายเป็น cult/occult ประเภทหนึ่ง การทำความเข้าใจให้ได้ดีต้องไม่ใช้เพียงวิธีวิเคราะห์ทางการเมืองเท่านั้น แต่ต้องดูระบบศรัทธาความเชื่อที่เหนือการพิสูจน์หรือเหตุผล ดูพิธีกรรมและระบบคิดของลัทธินี้ในตัวมันเองไม่ว่าจะไร้เหตุผลสักเพียงไหนก็ตาม รวมถึงบทลงโทษทั้งทางสังคมด้วย
    ภายใต้สังคมเปิด ลัทธิความเชื่อเช่นนี้กลายเป็นกำแพงที่สมาชิกในสังคมนั้นก่อขึ้น ล้อมรอบตัวเอง ทำนองเดียวกับที่คนเราไม่เปลี่ยนศาสนาความเชื่อกันง่ายนัก แถมยังส่งต่อไปยังรุ่นลูกหลานได้ด้วย จนกว่าจะมีเหตุที่กระทบกับตัวตนเดิมอย่างแรง

  6. Hyper-royalism ระลอกนี้ผูกพันใกล้ชิดกับ “ทัศนาวัฒนธรรม” (visual culture) กล่าวคือลักษณะที่กล่าวมาทั้งหมดเกี่ยวพันกับเทคโนโลยี่และวัฒนธรรมของการดู รับรู้ด้วยสายตาประมวลขึ้นเป็นความรู้ด้วยภาพและการมอง เช่น การแสดงและพิธีกรรมในที่สาธารณะ พระราชพิธีอลังการ์ และบทบาทของโทรทัศน์ ข้อสังเกตนี้มีผู้เริ่มเสนอไว้บ้างแล้ว แต่คงต้องศึกษาให้มากกว่านี้ ในที่นี้ขอทดลองเสนอเพียงว่าความสำเร็จของ Hyper-royalism เกี่ยวพันกับเทคโนโลยี่และทัศนาวัฒนธรรม ซึ่งไม่มีหรือยังไม่พัฒนาก่อนหน้านั้น
  7. นี่คือวิธิการเดียวกันกับที่ Big Brother ใช้กำจัดขบถทางความคิดใน 1984

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 5 - 11 ก.พ. 2555

Posted: 11 Feb 2012 02:03 AM PST

กกจ.ไฟเขียวส่งแรงงานไทยไปลิเบียหลังสงครามสงบ / เผย 15 ก.พ.นี้ สรุปยอดโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้าง / อยุธยาระบุมีแรงงานในพื้นที่ตกงานกว่า 20,000 คน / 'เผดิมชัย' ยัน 1 เมย.ขึ้นค่าแรงพร้อมกัน 77 จังหวัด 

 
หวั่นแรงงานไทยถูกหลอกจี้รัฐคุ้มครองเข้ม 
 
6 ก.พ. 55 - ที่รัฐสภา นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์ ส.ว.ขอนแก่น ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการธิการ(กมธ.)ป้องกันการหลอกหลวงคนไปทำงานต่าง ประเทศ ในคณะกรรมาธิการ(กมธ.)แรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา เปิดเผยว่า คณะอนุกมธ.มีความเป็นห่วงต่อแรงงานที่ตกงานจากเหตุการณ์น้ำท่วมถูกหลอกไปทำ งานต่างประเทศ จึงขอเรียกร้องกระทรวงแรงงานใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างเข้มงวด เพราะจากข้อมูลของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เดือนม.ค.55 พบว่ามีแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมถูกเลิกจ้างกว่า 3 หมื่นคน และคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นไปจนถึงสิ้นเดือน มี.ค.เพราะเป็นช่วงที่บริษัทญี่ปุ่นปิดงบบัญชีประจำปี เกรงว่าพิษเศรษฐกิจจะทำให้แรงงานสนใจไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น เปิดโอกาสให้มิจฉาชีพอ้างตนเป็นบริษัทที่ได้รับการยอมรับจากกรมการจัดหางาน หลอกลวงให้ทำงานต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาคนงานภาคอีสานและภาคเหนือจะถูกหลอกลวงมากที่สุด 
 
ส.ว.ขอนแก่น กล่าวต่อว่า จากปัญหาที่ชาวบ้านถูกหลอกเพราะนายหน้าเถื่อนทำงานเชิงรุก โดยจะเข้าไปเชิญชวนถึงในหมู่บ้าน ในขณะที่ภาครัฐยังทำงานเชิงรับ ถึงแม้จะมีสายด่วนของกรมการจัดหางาน หมายเลข 1694 ไว้คอยบริการชาวบ้าน หรือมีอาสาสมัครแรงงาน (อสร.) ที่มีจิตอาสากระจายอยู่ทุกตำบลทั่วประเทศรวม 7,255 คน ก็ยังไม่ทันการ ถึงแม้ว่าในอีก 2 เดือนข้างหน้าจะมีการเปิดศูนย์บริการส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศอีก 25 ศูนย์ใน 25 จังหวัด ก็เกรงว่าจะไม่ทันการ เพราะปัญหาการหลอกลวงแรงงานมีความซับซ้อนยากที่ประชาชนจะเข้าใจ  ดังนั้น คณะอนุกมธ.เห็นว่าหากกระทรวงแรงงานจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงแก่ผู้เกษียณอายุ ของกระทรวงแรงงานเป็นที่ปรึกษาประจำศูนย์ จะสามารถช่วยเป็นที่ปรึกษาในด้านกฎหมายให้กับแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศไม่ ให้ถูกหลอกลวงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น. 
 
(เดลินิวส์, 6-2-2555)
 
พิษน้ำท่วมไม่จบ แรงงานชี้ครึ่งปีแรกว่างงานพุ่ง 1.7 แสนคน 
 
น.ส.ส่งศรี บุญบา รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวระหว่างเป็นประธานสัมมนาส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพแรงงาน เพื่อเพิ่มผลิตภาพการทำงานของภาคอุตสาหกรรม โดยกล่าวว่า ปัจจุบันพบปัญหาการขาดแคลนแรงงานและว่างงานที่มาแบบคู่ขนาน เชื่อว่าตัวเลขการว่างงาน เดือน ม.ค.-มิ.ย. จะเพิ่มขึ้น 1.7 แสนคน จากสถานประกอบการที่ประสบอุทกภัยทยอยปลดคนงาน และสถานประกอบการบางแห่งได้นำเหตุอุทกภัยปลดคนงาน เพราะมองว่าหากฟื้นฟูโรงงานแล้ว เดือน เม.ย.จะต้องจ่ายค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 40 จึงนำมาอ้างปลดคนงาน 
 
อย่างไรก็ตาม จากการหารือกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่า บางแห่งจะเลิกจ้างและปิดกิจการ เพื่อรอดูทิศทางตลาดแรงงานว่า จะเปิดดำเนินกิจการใหม่ หรือเปลี่ยนลักษณะธุรกิจที่ใช้คนน้อย โดยกระทรวงแรงงานกำลังเร่งรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ ทั้งประสบอุทกภัยและผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำร้อยละ 40 ในเดือน เม.ย.นี้ ว่า ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลืออย่างไรบ้าง 
 
ขณะที่กระทรวงแรงงาน มีแนวคิดจะขยายโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้าง เพื่อนำเงินส่วนที่เหลือช่วยสถานประกอบการที่ยังฟื้นฟูโรงงานไม่เสร็จ เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการได้ และไม่ปลดคนงาน เช่น นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร 
 
(ไทยรัฐ, 6-2-2555)
 
นายจ้าง-ลูกจ้างเห็นสอดคล้องเลิกระบบค่าจ้างขั้นต่ำดันแรงงานไทยมีทักษะสูง 
 
นายอภิวัฒน์ อสมาภรณ์ รองผอ.สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่าทิศทางอุตสาหกรรมไทย เน้นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สมดุล ผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น สามารถแข่งขันในตลาด จึงต้องพัฒนาทักษะ เพิ่มผลิตภาพ  productivity และปรับระบบการบริหารจัดการ ทั้งนี้เชื่อว่าอุตสาหกรรม ที่ใช้แรงงานเข้มข้น ค่าจ้างต่ำ จะย้ายฐานการผลิตไปยังพื้นที่ตะเข็บชายแดน หรือในประเทศเพื่อนบ้าน 
 
การเสวนาเรื่องการพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานไทย เพื่อเพิ่มผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม รองรับรายได้วันละ 300 บาท โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน  โดยนายประพันธ์   มนทการติวงศ์    อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงานจะเร่งพัฒนาศักยภาพแรงงานเพื่อให้เหมาะกับค่าจ้างขั้นต่ำ ที่มีการปรับเป็นวันละ 300 บาท  โดยจัดอบรม พัฒนาทักษะฝีมือและพฤติกรรมการทำงาน ทั้งผู้เข้าใหม่และผู้ที่ทำงานอยู่เดิม รวมทั้งจะเร่งพัฒนาทักษะด้านภาษา ทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาในชาติอาเซียน ให้แก่แรงงานด้วย ซึ่งเรื่องนี้เป็นจุดอ่อนของแรงงานไทยที่จะต้องเร่งแก้ไข 
 
โครงการ “แรงงานพันธุ์เอ็กซ์” ศูนย์และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ จะรับสมัครเด็กที่จบชั้น ม.3 จำนวน 1,000 คนเข้ามาอบรมทักษะฝีมือช่างในสาขาต่างๆ รวมถึงทักษะภาษาอังกฤษ และ  9  พฤติกรรมสู่ความสำเร็จในการทำงานในช่วงเริ่มอบรมตั้งแต่มี.ค.-กย.นี้ เพื่อป้อนเข้าสู่สถานประกอบการ โดยแรงงานกลุ่มนี้จะได้ค่าจ้างสูงกว่า 300 บาทเนื่องจากเป็นแรงงานกลุ่มที่ได้รับการอบรมแบบเข้มข้น ที่เชื่อว่าจะผ่านการทดสอบตาม มาตรฐานฝีมือแรงงแห่งชาติ ค่าจ้างที่สูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท อีกทั้งจะมีการปรับทักษะให้พร้อมทุกด้าน เริ่มรับสมัครตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 21 กพ.นี้ 
 
นายถาวร ชลัษเฐียร รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวสนับสนุนแนวคิดที่ประเทศไทยจะผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูง Value-added ที่นายจ้าง ต้องยกระดับProductivity ยกระดับศักยภาพ ซึ่งหมายถึงเทคโนโลยีการผลิต  high Technology และส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับแรงงาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดค่าตอบแทนในการทำงานให้เหมาะสม ซึ่งหมายถึงค่าจ้างและสวัสดิการ โดยค่าจ้าง ที่สะท้อนศักยภาพ ทักษะการผลิต 
 
รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ กล่าวอีกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ที่มีการปรับขึ้นในทุกปีควรยกเลิก โดยใช้ค่าจ้างอัตราแรกเข้า สำหรับคนงานใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่ ทั้งนี้ค่าจ้างจะมีการปรับขึ้นตาม Productivity  ดัชนีราคาผู้บริโภค consumer price index และอายุงาน  จึงเป็นเรี่องที่ต้องมีการปรับขึ้นค่าจ้างประจำปีในสถานประกอบการ  โดยปรับเป็นอัตราร้อยละ ที่จะเป็นการยืดหยุ่นมากกว่าการปรับโดยกำหนดค่าตัวเงิน 
 
“ผลิตภาพ ของไทยเติบโตช้า ขณะเดียวกันค่าจ้างที่แท้จริงในช่วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย”นายถาวรกล่าวและว่านโยบายพรรคการเมืองในการปรับค่าจ้าง ขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ถือเป็นการโยนระเบิด มากกว่าโยนหินถามทาง ที่เชื่อว่าในเรื่องนี้จะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ค่าจ้างขั้นต่ำจะบังคับใช้ใน 1 เมย.55 ใน 7 จังหวัด (กรุงเทพ นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม ปทุมธานี และภูเก็ต อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท จังหวัดอื่น ปรับเพิ่มขึ้นจากอัตราเดิมอีก 40% ) 
 
นางสิริวัน ร่มโพธิ์ทอง เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย (Ecot) กล่าวสนับสนุนค่าจ้างที่จะต้องสะท้อนผลิตภาพการผลิต productivity ทั้งนี้การปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท เป็นเรื่องที่นายจ้างต้องมีภาระด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จึงควรที่จะทำอย่างไรให้นายจ้าง มีกำลังที่จะจ่ายได้ เช่นคนงานมีทักษะ ผลิตชิ้นงานได้มากขึ้น มีคุณภาพ และลดต้นทุนด้านอื่นเช่น ลดการสูญเสียวัตถุดิบในการผลิต ร่วมกันประหยัดน้ำ ไฟ 
 
ด้านนายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย  กล่าวว่าปัญหาค่าจ้างในไทย เกิดขึ้นเพราะสถานประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีการปรับค่าจ้างประจำปี ไม่มีโครงสร้างค่าจ้าง โดยนายจ้างจะปรับขึ้นค่าจ้างให้ต่อเมื่อมีการประกาศปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ทำให้ลูกจ้างต้องเรียกร้องปรับค่าจ้างขั้นต่ำในทุกปี ทั้งนี้ลูกจ้างส่วนใหญ่ที่ทำงานมากหลายปียังคงได้ค่าจ้างที่สูงกว่าค่าจ้าง ขั้นต่ำไม่มากนัก ทำให้ต้องทำโอ.ที.เพื่อให้ได้เงินเพิ่ม เพียงพอกับการเลี้ยงดูครอบครัว 
 
นายมนัส กล่าวอีกว่าสภาองค์การลูกจ้าง ต่างมีมติ และผลักดันให้มีการแก้ไข ยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นค่าจ้างแรกเข้าที่ใช้กับคนงานที่เริ่มเข้าทำงานในปีแรก และได้รับการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้นเมื่อทำงานในปีที่ 2 ที่จะได้รับการปรับตามฐานเงินเดือน โครงสร้างเงินเดือน และศักยภาพ 
 
รายงานข่าวแจ้งว่าการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ถูกกำหนดในพรบ.คุ้มครองแรงงาน ที่กฏหมายใช้บังคับกับแรงงานทุกคนที่ทำงานในประเทศ โดยไม่แบ่งสัญชาติ ผิวสี ศาสนา จึงมีสภาพบังคับใช้ทั้งคนไทยและแรงงานข้ามชาติอย่างไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้การที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำมีการปรับในทุกปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่สถานประกอบการส่วนใหญ่ในประเทศไทย นายจ้าง สถานประกอบการไม่มีโครงสร้างเงินเดือน หรือการปรับค่าจ้างประจำปีให้กับลูกจ้าง โดยนายจ้างจะปรับขึ้นค่าจ้าง เมื่อทางราชการมีการประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ จึงจะส่งผลให้บรรดาลูกจ้างที่ทำงานมากนาน ได้รับการปรับขึ้นค่าจ้าง ที่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ  รายที่มีอัตคาที่สูงกว่าขั้นต่ำ มักจะได้รับการปรับขึ้นในอัตราส่วนต่างที่มีการปรับขึ้นใหม่ ทำให้บรรดาลูกจ้างที่ทำงานมานาน มีส่วนในการเรียกร้อง กดดันให้รัฐบาลมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในทุกปี 
 
ทั้งนี้ปัญหาการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ กลายเป็นปัญหา "งูกินหาง"  เนื่องจากเมื่อมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ราคาสินค้า ทั้งอุปโภค บริโภค ปรับราคสูงขึ้น โดยที่ทางการไม่สามารถควบคุมราคา โดยมีการนำเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับเพิ่ม เป็นต้นทุนแรงงาน ที่มีส่วนทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ซึ่งค่าจ้างขั้นต่ำมีอัตราที่สูงขึ้นๆ  ทำให้มีเสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการว่าทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันลดน้อย ลง 
 
(โพสต์ทูเดย์, 7-2-2555)
 
'เผดิมชัย' ยัน 1 เมย.ขึ้นค่าแรงพร้อมกัน 77 จังหวัด 
 
นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท ที่กำลังจะมีผลในวันที่ 1 เมษายน ที่จะถึงนี้ ไม่ใช่นำร่อง 7 จังหวัด แต่เป็นการปรับขึ้น 40 % จากอัตราฐานค่าแรงเดิมทั้ง 77 จังหวัด ซึ่งพื้นฐานอัตราค่าแรงแต่ละจังหวัด จะไม่เท่ากัน แต่เนื่องจากมี 7 จังหวัด ที่มีฐานค่าแรงสูงคือ 215 บาทต่อวัน เมื่อคำนวณแล้ว จะได้ปรับขึ้น 39.5 % หรือ ประมาณ 80 กว่าบาท 
 
ส่วนจังหวัดที่เหลือ ก็จะปรับฐานค่าแรงสูงขึ้นตามมา โดยจังหวัดที่มีค่าแรงต่ำสุด คือ พะเยา 159 บาทต่อวัน หลังปรับขึ้น 40 % แรงงานจะได้รับค่าจ้างเพิ่มประมาณ 60 กว่าบาท หรือ ภูเก็ต มีอัตราค่าแรงสูงสุด คือ 221 บาทต่อวัน ปรับขึ้น 36 % จะได้รับค่าจ้างเพิ่มคงที่ประมาณ 300 บาทต่อวัน เมื่อถึงสิ้นปี ก็อนุมัติพร้อมกันทั่วประเทศ 
 
ทั้งนี้ นายเผดิมชัย กล่าวด้วยว่า ไม่กังวลที่ผู้ประกอบการบางราย เตรียมฟ้องศาลปกครอง ให้ชะลอการปรับขึ้นค่าแรง เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องไม่เกี่ยวกับรัฐบาล เป็นเรื่องระหว่างคณะกรรมการไตรภาคีกับลูกจ้าง ที่สามารถฟ้องได้  ซึ่งเมื่อวานนี้ สภาอุตสาหกรรมฯ (ส.อ.ท.) ได้มาหารือร่วมกันถึงเรื่องดังกล่าว และได้มีการปรับความเข้าใจต่อกัน โดยรัฐบาลลดการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลให้ พร้อมกับลดการจัดเก็บเงินประกันสังคม จาก 5% เหลือ 3% ใน 6 เดือนแรก ฉะนั้น หากมีปัญหาสามารถหารือได้ที่ศูนย์ 300 บาท กระทรวงแรงงาน 
 
ส่วนปัญหาการว่างงานที่มีแนวโน้มมากถึง 1.7 แสนคน นั้น ไม่มี มีแต่ที่เป็นห่วง คือ แรงงานไทยขาดแคลนมากกว่า เท่าที่ทราบอาจมีแรงงานต่างด้าว และล่าสุดตัวเลขขาดแคลนแรงงาน อยู่ที่ 1.4-1.5 แสนราย ส่วนบริษัทที่ปิดตัวไปยอมรับว่า มีและแรงงานว่างงาน ประมาณ 2-3 หมื่นราย เท่านั้น และทางกระทรวงพร้อมที่จะจัดหางานให้ 
 
(กรุงเทพธุรกิจ, 7-2-2555)
 
อยุธยาระบุมีแรงงานในพื้นที่ตกงานกว่า 20,000 คน 
 
นางปราณี ไชยเดช แรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งเปิดดำเนินการบางส่วนแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากลูกจ้างจะได้เข้ามาทำงานได้รวดเร็วขึ้น ล่าสุด มีตัวเลขผู้ว่างงานมาลงทะเบียนกับจัดหางานจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพียง 21,000 คน ซึ่งเมื่อเทียบจาก 3 ปีที่ผ่านมาตัวเลขจะใกล้เคียงกัน แต่ถ้าเทียบกับไตรมาส 3 ของเดือนกันยายน 2554 จะมีลูกจ้างตกงาน 4,800 คน อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขผู้ว่างงานดังกล่าว ยังถือว่ามีผู้ตกงานจำนวนน้อย 
 
“เราหวังว่าหลังเมษายนจะเห็นได้ชัด คิดว่าน่าจะเป็นทั้งบวกและลบ เพราะหลังจากจบโครงการบรรเทาการเลิกจ้างของรัฐบาลแล้ว ผู้ประกอบการจะเห็นตัวเองได้ชัดเจน ว่าจะสามารถรับภาระได้ขนาดไหน” 
 
นางปราณี ไชยเดช กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้าที่เกิดวิกฤตอุทกภัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจะขาดแคลนแรงงาน แต่หลังจากมีการฟื้นฟูตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา ทางจังหวัดฯ อาจจะขาดแคลนแรงงานเช่นเดิมก็ได้ 
 
(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 8-2-2555)
 
เผย 15 ก.พ.นี้ สรุปยอดโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้าง 
 
นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือ กสร. เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ในพื้นที่ประสบอุทกภัย สรุปยอดสถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้าง ให้ชัดเจนภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้ เนื่องจากเมื่อสิ้นสุดโครงการภายใน 15 วัน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะต้องสรุปตัวเลขที่ชัดเจนว่าสามารถช่วยเหลือแรงงานได้จำนวนเท่าใด อย่างไรก็ตามในการพิจารณาจ่ายเงิน ธนาคารออมสิน จะร่วมกับ กระทรวงการคลังในการตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายเงินให้กับสถานประกอบการ ซึ่งล่าสุดนายจ้างแจ้งยอดลูกจ้างที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของเงินเดือน ผ่านโครงการฯ เกินเป้าที่ตั้งไว้จาก 3 แสนคน เป็นกว่า 3.1 แสนคน และมีการสั่งจ่ายแล้วกว่า 1 แสนราย โดยหลังวันที่ 15 กุมภาพันธ์ จะทราบยอดที่ชัดเจนว่าจะมีสถานประกอบการใดเข่าข่ายที่ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะนำเงินโครงการที่เหลือมาช่วยเหลือต่อ ทั้งนี้หากเงินโครงการมีเงินเหลือไม่เพียงพอต่อการช่วยเหลือก็เตรียมเสนอ รัฐบาลของบประมาณเพิ่มเติม โดยได้รับความเห็นชอบจาก นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แล้ว 
 
(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 8-2-2555)
 
กกจ.ไฟเขียวส่งแรงงานไทยไปลิเบียหลังสงครามสงบ 
 
นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ประชุมร่วมบริษัทจัดหางานที่ส่งแรงงานไทยไปประเทศลิเบีย 20 ราย โดยได้ชี้แจงถึงสถานการณ์ในประเทศลิเบีย ซึ่งได้รับการยืนยันจากสถานทูตไทยในลิเบียว่าขณะนี้สถานการณ์ได้คลี่คลาย เข้าสู่ภาวะปกติและความปลอดภัยแล้ว และสามารถส่งแรงงานไทยกลับไปทำงานได้ 
       
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ บริษัทจัดหางานได้มีการทวงถามถึงการส่งแรงงานไทยกลับไปทำงานที่ลิเบีย แต่ขณะนั้นสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย ทำให้ กกจ.ยังไม่อนุญาตส่งแรงงานไทยกลับไปทำงาน ทั้งนี้ เมื่อได้รับการยืนยันจากสถานทูตจึงได้เชิญบริษัทจัดหางานทั้ง 20 แห่งมารับทำความเข้าใจถึงสถานการณ์ และชี้แจงถึงเกณฑ์การส่งแรงงานไทยกลับไปทำงานที่ลิเบีย ซึ่ง กกจ.ได้อนุญาตให้บริษัทจัดหางานส่งแรงงานไทยกลับไปลิเบียตั้งแต่บัดนี้เป็น ต้นไป 
       
อธิบดี กกจ.กล่าวอีกว่า สำหรับการส่งแรงงานไทยกลับไปลิเบียในครั้งนี้ ทาง กกจ.ได้เพิ่มเกณฑ์การคัดเลือกบริษัทจัดหางานโดยได้เพิ่มเติมในส่วนของการทำ ประกันชีวิตให้แก่แรงงาน และทำหนังสือยืนยันกลับไปทำงานที่บริษัทเดิมภายใต้สัญญาจ้างเดิมและตำแหน่ง งานเดิม นอกจากนี้ จะต้องทำหนังสือยืนยันส่งตัวแรงงานไทยกลับกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติโดย บริษัทจัดหางานจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ตลอดจนบริษัทจะต้องทำแผนอพยพแรงงานในการส่งกลับไทยให้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในการส่งแรงงานกลับไปนั้นแรงงานจะต้องไปเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก และห้ามไม่ให้บริษัทจัดหางานไปเรียกเก็บจากแรงงาน เนื่องจากเป็นสัญญาจ้างเดิมที่ยังไม่หมดอายุ 
       
“จากเหตุการณ์สงครามกลางเมืองในลิเบีย การอพยพแรงงานไทยกลับมาเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากบริษัทจัดหางานไม่มีแผนอพยพที่ชัดเจน ทำให้ทุกอย่างต้องดำเนินการโดยหน่วยงานรัฐฝ่ายเดียว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเพื่อปกป้องชีวิตแรงงานไทยหากเกิด เหตุการณ์ซ้ำรอยเดิม” นายประวิทย์ กล่าว 
       
ทั้งนี้ ส่วนค่าจ้างค้างจ่ายของแรงงานไทยในลิเบียที่เดินทางกลับมาทั้งหมด 10,754 คน ขณะนี้เหลือแรงงานที่ยังไม่ได้เงินค่าจ้าง 2,483 คน ซึ่ง กกจ.กำลังช่วยติดตามทวงถามจากบริษัทจัดหางานโดยขอให้แรงงานติดต่อไปที่ บริษัทจัดหางานก่อน แต่หากติดต่อไม่ได้ก็ขอให้แจ้งมาที่ กกจ.อย่างไรก็ตาม คาดว่า การส่งแรงงานกลับไปล็อตแรก ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานกลุ่มเดิมที่เดินทางกลับมาก่อนหน้านี้ เนื่องจากสัญญาจ้างยังไม่หมดอายุ ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้สามารถเดินทางกลับไปทำงานได้เลยโดยไม่ต้องตรวจสอบสัญญา จ้าง แต่หากบริษัทเดิมมีโควตาเหลือและต้องส่งแรงงานใหม่เพิ่มเติม จะต้องเข้าสู่กระบวนการปกติและมารตรวจสอบสัญญาจ้างและสถานทูตจะต้องยืนยัน ตำแหน่งงานมาก่อน ซึ่งล่าสุดกกจ.เตรียมจะส่งทูตแรงงานไปประจำที่กรุงตริโปลี ประเทศลิเบีย จะทำให้แรงงานไทยได้รับการดูแลได้ใกล้ชิดขึ้น 
       
“ขณะนี้ตลาดแรงงานลิเบียเปิดแล้ว และ กกจ.ได้รับแจ้งสถานทูตว่าลิเบียมีความต้องการแรงงานกว่า 1 แสนคน ส่วนใหญ่งานด้านประเภทบ่อน้ำมันและงานก่อสร้างทั่วไป ซึ่งตลาดแรงงานคู่แข่งของไทยส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศอินเดีย บังกลาเทศ และศรีลังกาที่จะมีแรงงานเข้าไปทำงานเป็นอันดับต้นๆของตลาดลิเบีย ทั้งนี้ ขณะนี้กกจ.ได้เปิดให้บริษัทจัดหางานที่ได้รับอนุญาตให้จัดส่งสามารถแรงงาน ล็อตใหม่ได้” อธิบดี กกจ.กล่าว 
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 9-2-2555)
 
เครือข่ายผู้ป่วยฯ จี้ทบทวนโครงสร้างสถาบันความปลอดภัยฯ ย้ำต้องเป็นองค์กรอิสระ 
 
ก.แรงงาน 10 ก.พ.- นางสมบุญ ศรีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย สมัชชาคนจน กล่าวภายหลังนำเครือข่ายผู้ป่วยฯ ยื่นหนังสือที่กระทรวงแรงงาน เรียกร้องให้นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ทบทวนร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.... ซึ่งกระทรวงแรงงานกำลังจะจัดทำประชาพิจารณ์ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ เพราะมีโครงสร้างที่ยังยึดติดกับระบบราชการเดิม และไม่ได้เป็นองค์กรอิสระตามผู้ใช้แรงงานเรียกร้องอย่างแท้จริง อาทิ การไม่มีหน่วยงานรับเรื่องราวร้องทุกข์จากคนงานโดยตรง ทำให้สถาบันไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลและปัญหาในเชิงลึก การให้มีสัดส่วนคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ที่มาจากราชการมากเกินไป แทนที่จะเพิ่มสัดส่วนผู้เชี่ยวชาญ และประธานก็ไม่ควรมาจากฝ่ายข้าราชการ เพราะจะทำให้สถาบันฯกลายเป็นแค่หน่วยงานเล็ก ๆ ภายในกระทรวงแรงงานเช่นเดิม ซึ่งที่ผ่านมาไม่สามารถแก้ปัญหาการเสียชีวิต บาดเจ็บและพิการจากการทำงานได้ จากข้อมูลของกองทุนเงินทดแทนพบว่ามีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการทำงาน ตั้งแต่ปี 2536 จนถึงปัจจุบันมีมากว่า 3 ล้านคน เฉลี่ยปีละกว่า 200,000 คน โดยปีล่าสุดมีมากกว่า 140,000 คน ไม่นับรวมผู้ป่วยโรคจากการทำงานที่ยังมีปัญหาเรื่องการวินิจฉัยสาเหตุอีก จำนวนมาก ทั้งนี้ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์นี้ ตนพร้อมด้วยเครือข่ายฯ กว่า 500 คนจะไปยื่นหนังสือถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในการประชุม ครม.สัญจร ที่ จ.อุดรธานี เพื่อให้ทบทวนในเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง 
 
(สำนักข่าวไทย, 10-2-2555)
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นปช.ลำพูนยืนยันแก้ รธน.ไม่แตะ ม.112

Posted: 11 Feb 2012 01:15 AM PST

11 ก.พ. 55 - เว็บไซต์เนชั่นรายงานว่านายอุดมศักดิ์ พรหมสิทธิ์ ผู้ประสานงาน กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)นครหริภุญชัย กล่าวว่า กลุ่มคนเสื้อแดงลำพูน นำโดย นายประสิทธิ์ ท้าวลอม ผู้ประสานงาน นปช. อ.ป่าซาง มีกำหนดเปิดตัวกลุ่มหริภุญชัย 55. ณ สนามกีฬาเทศบาลตำบล(ทต.)ป่าซาง หมู่ 1 ต.ป่าซาง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ในวันที่ 19 ก.พ.นี้ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ในเบื้องต้นได้มีการเชิญสมาชิกกลุ่ม นปช.ใน จ.ลำพูนและใกล้เคียงมาร่วมงานดังกล่าว
 
สำหรับการเปิดตัวกลุ่มหริภุญชัย 55. ครั้งนี้ ถือเป็นการรวมตัวของผู้ที่รักประชาธิปไตย เพื่อร่วมประกอบกิจกรรมทางการเมืองในจังหวัดและต่างจังหวัด สมาชิกทุกคนมีสิทธิมีเสียงที่จะร่วมกันขับเคลื่อนประชาธิปไตยอยู่บนความถูกต้อง ปราศจากนักการเมืองผู้อยู่เบื้องหลัง จะทำโดยชาวบ้านอย่างแท้จริง
 
ทั้งนี้ทางกลุ่มมีจุดยืนที่ชัดเจน มีเจตนารมณ์ในการเคลื่อนไหวแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 สำหรับ กรณีการรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นั้น ขอยืนยันว่า สนใจเฉพาะการแก้รัฐธรรมนูญเท่านั้น โดยไม่ได้ไปแตะต้องหรือไปเกี่ยวข้องอย่างใดๆทั้งสิ้น ดังนั้น จึงเป็นเรื่องของนักวิชาการในกลุ่มนิติราษฎร์ ซึ่งถือว่า เป็นสิทธิ์ที่จะดำเนินการได้ อย่างไรก็ตาม ที่มีคนเสื้อแดงบางส่วนที่ไปร่วมสนับสนุนนั้น ถือว่า เป็นสิทธิส่วนบุคคล ในการแสดงความคิดเห็น

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วาเลนไทน์: เซ็กซ์เสรีและการสงวนตัว กับการปะทะทางวัฒนธรรม

Posted: 11 Feb 2012 12:05 AM PST

ด้วย พระนามของอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ ขอความสันติ ความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

14 กุมภาพันธ์ของทุกปีคือ “วันวาเลนไทน์” หรือ “วันแห่งความรัก” วันดังกล่าวได้กลายเป็นวันที่มีความหมายยิ่งใหญ่สำหรับคนหลายๆ คน รวมทั้งวัยรุ่นไทย ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ววันวาเลนไทน์มีความผูกพันเกี่ยวข้องกับเรื่องราว วิถีชีวิต หรือประวัติศาสตร์ของคนไทยน้อยมาก

ความเป็นมาเกี่ยวกับวันวาเลนไทน์ก็เป็นเรื่องค่อนข้างจะคลุมเครือ สืบหาหลักฐานที่แน่นอนไม่ได้มากนัก ได้แต่สันนิษฐานกันไป ไม่มีต้นกำเนิดของเรื่องหรือบันทึกที่ชัดเจนในตำรับตำราหรือหนังสือหลักๆ เรื่องราวเท่าที่สันนิษฐานกันพอสรุปได้ดังนี้

วาเลนไทน์ (Valentine) คือวันที่ระลึกถึงนักบุญ เซนต์ วาเลนไทน์ (Saint Valentine) ผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตา ความรัก และความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง แต่สุดท้ายเขาต้องจบชีวิตลงด้วยการรับโทษประหารในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หรือเมื่อประมาณ 1,728 ปีล่วงมาแล้ว ซึ่งเป็นยุคสมัยของจักรวรรดิโรมันที่ศาสนาคริสต์ยังไม่เป็นที่ยอมรับ 

ซ้ำร้ายภายใต้การปกครองของกษัตริย์ "คลอดิอุสที่ 2" ยังมีการออกกฎหมายบีบบังคับให้ประชาชนเลิกนับถือศาสนาคริสต์ และห้ามมีแต่งงานของพวกคริสเตียนอีกต่างหาก

ทว่ายังคงมีผู้นำคริสเตียนคนหนึ่งชื่อ "วาเลนตินัส" หรือที่ได้รับการยกย่องเป็น เซนต์ วาเลนไทน์ ในภายหลัง คอยลักลอบแอบจัดงานแต่งงานให้กับคู่รักคริสเตียนจนถูกจับขังและรับโทษทรมาน แสนสาหัสอยู่ในคุก

ในขณะที่ถูกคุมขังนั้น เขาก็พบรักกับสาวตาบอดซึ่งเธอเป็นลูกสาวของผู้คุมในคุก ด้วยความรักและคำอธิษฐานของเขา พระเจ้าได้ทรงโปรดให้ตาของสาวคนรักหายเป็นปกติ เมื่อความนี้ล่วงรู้ถึงกษัตริย์คลอดิอุสที่ 2 พระองค์จึงสั่งให้ลงโทษ วาเลนตินัส ด้วยการโบยและนำไปประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ

ในคืนสุดท้ายก่อนที่เขาจะถูกนำไปประหารนั้น เขาได้เขียนจดหมายสั้นๆ เป็นการอำลาส่งไปให้หญิงคนรักของเขา โดยลงท้ายในจดหมายว่า "...จากวาเลนไทน์ของเธอ” หรือ “Love From Your Valentine”

ต่อมาเมื่อคนทั่วไปทราบเรื่องจึงเกิดความประทับใจในความรักของเขา ยึดถือเอาวันที่14 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น "วันแห่งความรัก" หรือ Saint Valentine's Day หรือ Valentine's Day และได้นิยมแพร่หลายไปทั่วยุโรป อเมริกา และทวีปเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ด้วยพลวัตของโลกท่ามกลางกระแสทุนนิยมเสรีและบริโภคนิยมสุดขั้วที่โหมกระหน่ำ ทำให้สังคมเริ่มฟอนเฟะ นำพาเด็กและเยาวชนก้าวไปสู่พฤติกรรมมั่วเพศ หรือ “เซ็กซ์เสรี” มากขึ้น วันวาเลนไทน์กลายเป็นอีกวันหนึ่งซึ่งเกิดอุบัติการณ์ “เสียตัว” มากกว่าวันปกติ ถึงขนาดมีการพูดเชิงประชดประชันว่าเป็น “วันเสียตัวแห่งชาติ” กันเลยทีเดียว

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข( สธ.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวว่า “เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา สธ.ร่วมกับสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจพฤติกรรมเยาวชน อายุ 12-24 ปี ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จากกลุ่มตัวอย่าง 1,014 คน พบว่า เยาวชนไทย เริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 14-15 ปี เยาวชนประมาณ 1 ใน 3 ยอมรับว่าเคย "สวิงกิ้ง" หรือเปลี่ยนคู่นอน” 

ด้าน น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ กล่าวว่า คือ ความเสี่ยงที่เด็กจะมีเพศสัมพันธ์ได้ ไม่ใช่แค่วันวาเลนไทน์เท่านั้น 

"สถานที่เสี่ยงมีอยู่ทั่วไปและเกิดขึ้นได้ทุกวัน เช่น  ตอนกลางวันที่บ้าน พ่อแม่ ไปทำงาน หรือปัจจุบันในต่างจังหวัดจะพบว่ามีธุรกิจที่เปิดเป็นรีสอร์ตขนาดเล็ก ให้เช่าเป็นรายวัน รายชั่วโมง และไม่จำกัดอายุของผู้จะเข้าพักหรือในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ก็มีห้องพักรายชั่วโมง รายวัน ให้เช่า โดยห้องพักลักษณะนี้จะถูกจับจ้องน้อยกว่า หากจะเปรียบเทียบก็เหมือนกับธุรกิจม่านรูดในสมัยก่อน คงต้องขึ้นอยู่กับจรรยาบรรณทางธุรกิจว่าจะเอาใจใส่เรื่องความเสี่ยงของเยาวชนหรือไม่ เพราะไม่ได้มีกฎหมายใดๆ ควบคุม" 

โปรดดู: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1328779544&grpid=00&catid=&subcatid=         

ทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องเพศของนักเรียน นักศึกษา ซึ่งถือเป็นปัญญาชน และเป็นมันสมองของชาติ พบความจริงที่น่าเป็นห่วงมากสำหรับประเทศไทย กล่าวคือ ทัศนคติของนิสิตนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน ต่างถือว่าการมีแฟนเป็นเรื่องสำคัญ การมีคู่ก่อนแต่งงานเป็นสิ่งจำเป็น ถือเป็นการเพิ่มสีสันให้ชีวิต ทำให้รู้สึกมีคุณค่า เป็นสิ่งที่สังคมต้องการ หากไม่มีคู่หรือแฟนเป็นสิ่งที่น่าอับอาย  

นักศึกษาไม่ว่าชายหรือหญิงต่างมีทัศนะว่า ความบริสุทธิ์ทางเพศไม่ใช่เรื่องสำคัญอีกต่อไป และหากเกิดพลาดพลั้งตั้งครรภ์ ก็สามารถทำแท้งได้โดยไม่รู้สึกละอาย ส่วนวัยรุ่นหญิงในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยอมรับว่ามีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่ง งาน ขณะที่นักเรียนระดับมัธยมศึกษามีทัศนะว่า การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนไม่ใช่เรื่องเสียหาย การโอบกอดระหว่างชายหญิงในที่สาธารณะเป็นเรื่องที่ยอมรับได้

ความจริงที่น่าเป็นห่วงอันสืบเนื่อง มาจากการถาโถมของค่านิยมเรื่อง “เซ็กซ์เสรี” ในยุคที่สื่อไร้พรมแดนไม่ได้จำกัดเพียงแค่นั้น เพราะอิทธิพลของมันยังทำให้สังคมมุสลิมที่มีความเป็นชุมชนอนุรักษ์ด้านศาสนา และวัฒนธรรมสูงเริ่มสั่นคลอนไปด้วย 

ปัจจุบันเริ่มมีสภาพครอบครัวแตกสลาย การขาดระเบียบทางสังคม ตลอดจนความยุ่งเหยิงทางวัฒนธรรม ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดความจำเป็นอันยิ่งใหญ่อย่างไม่เคยเกิดมาก่อนที่ต้องนำคำ สอนของอิสลามเกี่ยวกับครอบครัวและวัฒนธรรมทางเพศมากล่าวถึง

ก่อนจะมีค่านิยมเรื่อง “เซ็กซ์เสรี” นั้น มีค่านิยมหนึ่งที่แพร่หลายในสังคมมุสลิมคือ “ระบอบแฟน” เยาวชนหลายคนเข้าใจว่า “ระบอบแฟน” นี้เป็นการแสดงสายสัมพันธ์ความรักในวัยหนุ่มสาวโดยไม่มีอะไรเลยเถิด แต่นั่นนับว่าเป็นขั้นตอนที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง

หากเราศึกษารายงานจากหลายๆ แหล่งจะพบว่า เหตุแห่งการเสียตัวในภาวะที่บรรยากาศพาไปมีสูงมาก บางคนอยู่ในภาวะคล้ายๆ ถูกข่มขืนเสียด้วยซ้ำ นอกจากนี้ยังทำให้มีปัญหาท้องก่อนแต่งตามมา โดยเกิดมาจากความสัมพันธ์ที่เป็นแฟนกันก่อนนั่นเอง นี่เป็นอันตรายที่หลายคนคิดไม่ถึง

และแม้ว่าจะไม่มีเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้น (ท้องก่อนแต่ง) แต่หากว่าทั้งคู่เลิกรากัน (บ่อยครั้งมักจะเป็นเช่นนั้น) คนที่มักจะเสียเปรียบมากคือฝ่ายหญิง เนื่องจากจะไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ชายที่ดี

อ.บรรจง บินกาซัน นักวิชาการอิสลาม มีทรรศนะว่า อิสลามยอมรับในเรื่องของความรัก เพราะความรักนี้เป็นสัญชาตญาณที่อัลลอฮ์ประทานให้แก่มนุษย์ และจากความรักนี้เองที่ก่อให้เกิดหลายสิ่งหลายอย่างตามมา เช่น ความรักที่แม่มีต่อลูก ทำให้แม่คอยปกป้องเลี้ยงดูและยอมเสียสละทุกอย่างเพื่อลูก ความรักชาติก็อาจทำให้คนบางคนยอมพลีชีวิตของตนเพื่อปกป้องมาตุภูมิ ที่สำคัญอิสลามไม่ได้ปฏิเสธความรักระหว่างหนุ่มสาว เพราะมันก่อให้เกิดสถาบันครอบครัว แต่อิสลามปฏิเสธความรักที่เสรีไม่มีขอบเขต

ความรักนั้นต้องมีขอบเขตแห่งความพอดี เพราะหากความรักเกินขอบเขตแล้ว เช่น ตามใจลูกทุกอย่าง ก็จะทำให้ลูกเสียคน หรือถ้าหากรักชาติมากเกินไปก็จะกลายเป็นคนคลั่งชาติที่คิดว่าชาติของตนดี กว่าชาติอื่น เป็นต้น ดังนั้นความรักจึงต้องมีขอบเขตแห่งความพอดี

ความรักฉันหนุ่มสาวก็เช่นกัน หากความรักนั้นเกินพอดี ความรักก็จะทำให้คนตาบอด หรือกลายเป็นโคถึกไป ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงได้กำหนดขอบเขตว่า หญิงและชายมุสลิมจะต้องแต่งงานก่อนมีเพศสัมพันธ์ (เซ็กซ์) เพราะหากมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน จะนำไปสู่การล่มสลายทางสังคมอย่างแน่นอน

เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงเป็นสิ่งที่มิอาจปฏิเสธได้ ดังนั้นทางสายกลางคือความสัมพันธ์ชายหญิงต้องผ่านการแต่งงาน

ในหลักศาสนาได้ให้ความสำคัญกับการแต่งงานไว้อย่างมาก บรรดาอัครสาวกแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดได้เคยถามท่านไว้ความว่า “โอ้ เราะซูลุลลอฮฺ (ศาสนฑูตมุฮัมมัด) การที่คนใดคนหนึ่งในหมู่พวกเราได้สนองตอบต่ออารมณ์ใคร่ของตัวเขาเอง สำหรับเขาแล้วมีรางวัลด้วยหรือ?”

ท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม (ศาสนฑูตมุฮัมมัด) กล่าวตอบว่า “ท่านไม่เห็นดอกหรือว่า หากว่าเขาได้นำอารมณ์ใคร่ไปสู่สิ่งต้องห้าม เขาต้องแบกรับความผิดเนื่องจากมันมิใช่หรือ? ทำนองเดียวกันเมื่อเขานำมันไปสู่สิ่งที่อนุมัติ เขาก็ย่อมได้รับรางวัล” (บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม)

อีกบทหนึ่งบันทึกโดย อิหม่ามอัล บุคอรี เมื่อเศาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่งที่พูดคุยกันในเรื่อง “ความดี” ในศาสนา คนหนึ่งกล่าวว่า “สำหรับฉัน ฉันทำละหมาดในเวลากลางคืนเสมอ” อีกคนหนึ่งกล่าวว่า “ฉันไม่ยุ่งกับผู้หญิง ฉันจะไม่แต่งงาน”

ท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม (ศาสนฑูตมุฮัมมัดม) กล่าวทักท้วงว่า “ฉันเป็นที่เกรงกลัวอัลลอฮฺที่สุดในหมู่พวกท่าน แต่ฉันก็ถือศีลอดและละศีลอด ฉันละหมาดและฉันก็นอน และฉันก็แต่งงานกับผู้หญิง ใครก็ตามที่รังเกียจวิถีชีวิตของฉัน ก็ไม่ใช่พวกฉัน”

หากมองอย่างผิวจะพบว่าเซ็กซ์เสรีกับการมีเพศสัมพันธ์ผ่านการแต่งงานน่าจะถือ ว่าเป็นการตอบสนองอารมณ์ใคร่ของมนุษย์ที่ไม่น่าจะเป็นเรื่อง “ดี” อะไรเลย แต่จากหลักการของศาสนาและจุดยืนของศาสดาพบว่า เพศสัมพันธ์เป็นสิ่งธรรมชาติที่มนุษย์ไม่อาจปฏิเสธได้ แต่ “เซ็กซ์เสรี” เป็นความสัมพันธ์ที่ถูกปฏิเสธจากหลักการศาสนา ขณะที่เพศสัมพันธ์ผ่านการแต่งงานถือเป็น “ความดี” ด้วยการกำหนดให้การแต่งงานเป็นคุณธรรม

ทำไมเพศสัมพันธ์ต้องผ่านการแต่งงาน? สาเหตุที่อิสลามสนับสนุนการแต่งงานเพราะว่าการแต่งงานเป็นการเริ่มต้นชีวิต ครอบครัวซึ่งเป็น “อิฐก้อนแรก” ของสังคม และอิสลามก็ต้องการที่จะรักษาก้อนอิฐทุกก้อนไว้ไม่ให้แตกสลาย ทั้งนี้เพื่อที่สังคมจะได้ไม่พังทลายลง

ในอิสลาม ชีวิตมิได้จบแค่บนโลกนี้ แต่ความตายเป็นเพียงการเริ่มต้นชีวิตจริงที่ถาวร หัวหน้าครอบครัวนอกจากจะมีหน้าที่เลี้ยงดูครอบครัวแล้ว ยังมีหน้าที่ที่จะต้องปกป้องตัวเองและครอบครัวให้พ้นจากไฟนรก การแต่งงานในทัศนะของอิสลามคือการผูกพันชีวิตชายหญิงคู่หนึ่งเข้าด้วยกัน เหมือนกับการผูกเส้นด้ายสองเส้นเข้าด้วยกัน

ความจริงที่ต้องยอมรับอีกเหตุผลหนึ่งคือ ตราบใดที่ผู้คนในสังคมได้ทำลายกรอบที่ควบคุมดุลยภาพของความสัมพันธ์ระหว่าง เพศทิ้งไป และได้ปล่อยให้สังคมเป็นไปตามอิสระตามแต่อารมณ์ฝ่ายต่ำของมนุษย์จะลากไปแล้ว โอกาสที่คนหนุ่มคนสาวจะตกเป็นเหยื่อจะมีมากกว่าที่จะรอดพ้นมาได้

ตราบใดที่ต้นเหตุของปัญหายังไม่ถูกแก้ไข สังคมของเราก็จะต้องเผชิญกับปัญหาที่ติดตามมาเหมือนลูกโซ่ ตราบใดที่เราไม่เข้าใจแบบแผนของการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงตามแนว ทางสายกลางแน่นอน เราก็ไม่อาจสกัดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาได้

ปัญหาเหล่านี้กำลังลุกลามอย่างรวดเร็วในเมืองใหญ่ๆ และสักวันหนึ่งอาจจะเข้าถึงชนบทไทยอย่างง่ายได้ก็เป็นได้ เพราะความเจริญด้านวัตถุแบบสุดโต่ง จนลืมการพัฒนาด้านจิตใจ คุณค่าด้านจิตวิญญาณ และขาดความเข้าใจของคำว่า “มนุษย์” ซึ่งจะต้องพัฒนาทั้ง 2 ภาคส่วน คือทั้งทางกายและจิตใจควบคู่กันไปอย่างสมดุล หากพัฒนาด้านหนึ่งด้านใดมากกว่า ชีวิตมนุษย์ก็ไม่สมบูรณ์และเสียสมดุล

ปัญหาของวัยรุ่นเกี่ยวกับเรื่องเพศคงจะไม่ถึงขั้นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ หากทุกคนอยู่ในกรอบของศาสนา เพราะบทบัญญัติของศาสนาไม่ว่าพุทธหรืออิสลามก็ห้ามในเรื่อง “ผิดประเวณี” การผิดประเวณีเป็นการทำผิดในศีลห้า (ศาสนาพุทธ) และการ "ซีนา"  (ผิดประเวณีในอิสลาม) ถือเป็นบาป ใหญ่ และผู้ล่วงละเมิดก็จะถูกลงโทษโดยการถูกโบยถึง 100 ครั้ง และถูกประณามต่อหน้าชุมชนอีกต่างหาก

ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ควรจะรณรงค์คือ คุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม และการปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ โดยปลูกฝังเป็นรูปธรรมควบคู่กับวิชาการในสถานศึกษาในทุกระดับ ทั้งประถม มัธยม และมหาวิทยาลัย 

สุภาษิตของผู้เฒ่าคนโบราณจะต้องช่วยรณรงค์ให้มากขึ้นในสังคม โดยเฉพาะเรื่องความรักนวลสงวนตัว ถึงแม้จะเป็นเรื่องยากในโลกปัจจุบันก็ตาม

ขอย้ำเตือนสำหรับสุภาพสตรี  อย่าหลงคำหวานของผู้ชายหลอกลวงที่ว่า ถ้าน้องรักพี่จริงก็ต้องยอมนอนกับพี่ในค่ำคืนวันวาเลนไทน์...

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แพทย์ชนบทจี้ รมว. สาธารณสุขแก้ปัญหา เดินหน้าระบบหลักประกันสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง

Posted: 10 Feb 2012 11:18 PM PST

เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 55 ระบบหลักประกันสุขภาพออกแถลงการณ์ฉบับที่ 4 ให้ รมว.สาธารณสุขแก้ปมปัญหาที่ผูกไว้ เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
................................
 
แถลงการณ์ชมรมแพทย์ชนบทฉบับที่สี่

ให้ รมว.สาธารณสุขแก้ปมปัญหาที่ผูกไว้ เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง
 
ตามแถลงการณ์ชมรมแพทย์ชนบทฉบับที่หนึ่ง สองและสาม ได้แสดงความห่วงใยต่อการเข้ายึดครองกลไกการกำหนดนโยบายและความพยายามจะเปลี่ยนหลักการและแสวงหาประโยชน์จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ของกลุ่มที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนตามแผนล้มระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสี่ขั้นตอน และ รมว.สาธารณสุขได้ปฏิเสธ และยืนยันต่อสังคมตลอดมาว่าจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในระบบรวมทั้งมีนโยบายจะพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น
 
เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจริงใจที่มุ่งแก้ปมปัญหาที่ผูกไว้เพื่อให้ระบบดังกล่าวสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง  ชมรมแพทย์ชนบทขอเรียกร้องความจริงใจ ความรับผิดชอบ และความเป็นผู้นำของ รมว.สาธารณสุข ดังนี้
 
1. การสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการคลังคนใหม่แทนผู้ที่ลาออกในวันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ จะต้องดำเนินการให้ได้ผู้ที่มีความรู้ด้านการเงินการคลังของระบบหลักประกันสุขภาพและระบบบริการสาธารณสุขของประเทศอย่างแท้จริง เป็นผู้ที่มีผลงานประจักษ์เป็นที่ยอมรับทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งมีความอิสระ ปลอดจากการแทรกแซงจากกลุ่มผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อน
 
2. เปลี่ยนตัวกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผู้ที่คณะกรรมการชุดเดิม มีมติว่าเป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียตามมาตรา 16(6) ของ พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พศ. 2545 รวมทั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นที่คุณสมบัติไม่เหมาะสม
 
3. การสรรหาและคัดเลือกเลขาธิการ สปสช. กระบวนการดำเนินการและบุคคลที่ได้มาจะต้องตอบสังคมได้อย่างชัดเจนว่าเป็นผู้มีความรู้ มีความสามารถ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าสามารถบริหารและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้อย่างต่อเนื่อง มีความอิสระจากการแทรกแซงของกลุ่มที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สามารถตอบสังคมได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าเดิม อย่างไร
 
ชมรมแพทย์ชนบทยังมีความมั่นใจว่า รมว.สาธารณสุขจากพรรคเพื่อไทยจะแสดงออกถึงความจริงใจในการแก้ไขปมปัญหาที่ผูกไว้ตามข้อเสนอข้างต้นดังกล่าวเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ที่ส่งผลให้ตลอดเวลา 6 เดือนที่ผ่านมาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติภายใต้คณะกรรมการชุดใหม่ต้องหยุดชะงัก ไม่มีผลงานปรากฏที่เป็นประโยชน์กับประชาชนโดยรวม และสามารถทำให้สังคมเชื่อมั่นว่า รมว.สาธารณสุข จากพรรคเพื่อไทยยังมีความจริงใจในการพัฒนาและไม่สนับสนุนกลุ่มที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในการล้มระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่พรรคไทยรักไทยได้ริเริ่มไว้ในอดีตที่ผ่านมา โดยชมรมแพทย์ชนบท จะร่วมกับเครือข่ายผู้ป่วย กลุ่มรักหลักประกันสุขภาพ ในการจับตาดูการแสดงออกซึ่งความจริงใจในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ นี้ เป็นครั้งสุดท้าย
 
ชมรมแพทย์ชนบท 
10  กุมภาพันธ์  2555
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สหภาพแรงงานลุกฮืออีก หลังรัฐบาลกรีซประกาศเดินหน้ามาตรการรัดเข็มขัด

Posted: 10 Feb 2012 10:23 PM PST

สหภาพแรงงานกรีซหยุดงานประท้วงในกรุงเอเธนส์ เพื่อแสดงความไม่พอใจกรณีรัฐบาลกรีซเห็นชอบมาตรการรัดเข็มขัดฉบับใหม่และแผนปฏิรูปเศรษฐกิจกรีซที่ถูกกดดันโดย IMF และกลุ่มประเทศ EU

 

ที่มาวีดีโอ: PBSNewsHour

11 ก.พ. 55 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าสหภาพแรงงานกรีซได้รวมตัวกันหยุดงานประท้วง 48 ชั่วโมง และรวมตัวกันในกรุงเอเธนส์ เพื่อแสดงความไม่พอใจกรณีรัฐบาลกรีซเห็นชอบมาตรการรัดเข็มขัดฉบับใหม่และแผนปฏิรูปเศรษฐกิจกรีซที่ถูกกดดันโดย IMF และกลุ่มประเทศ EU โดยกลุ่มผู้ประท้วงบางส่วนเผายางรถยนต์ และทุบทำลายกระจกร้านค้า กลุ่มผู้ประท้วงบางส่วนได้ขว้างปาก้อนหินและระเบิดเพลิงใส่ตำรวจปราบจลาจลด้วย ด้านตำรวจตอบโต้ด้วยการยิงแก๊สน้ำตาสลายการชุมนุม 
 
รัฐบาลกรีซได้ประกาศเตรียมที่จะปรับลดอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำลง 20% พร้อมกับปรับลดเงินบำนาญข้าราชการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และสหภาพยุโรป (EU) ในการอนุมัติเงินช่วยเหลือกรีซครั้งที่ 2 มูลค่า 130 พันล้านยูโร ก่อนที่พันธบัตรรัฐบาลกรีซมูลค่า 14.5 พันล้านยูโร จะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 20 มีนาคม 2555 นี้  ทั้งนี้รัฐบาลกรีซกล่าวว่ายังต้องเดินหน้าหารือกับพรรคร่วมรัฐบาล ในรายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรการปรับลดเงินบำนาญข้าราชการ ขณะที่รัฐมนตรี 2 คนในรัฐบาลผสมของกรีซได้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อประท้วงมาตรการดังกล่าวแล้วด้วยเช่นกัน
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

'เจษฎ์ โทณะวณิก' ชี้ประชาชนลงชื่อขอแก้ ม.112 ไม่ได้

Posted: 10 Feb 2012 09:31 PM PST

คณบดีนิติศาสตร์ ม.สยาม ออกโรงแย้งโต้ ประชาชนเข้าชื่อขอแก้ไข ม.112 ไม่ได้ เพราะเข้าหมวด 2 พระมหากษัตริย์ รธน. ม. 163 ไม่เปิดช่องให้ทำได้ แนะการแก้ไข ม. 112  ต้องเสนอในรูปของ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม
 
เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 55 ที่ผ่านมาเว็บไซต์คมชัดลึกรายงานว่ากรณีการล่ารายชื่อประชาชน เพื่อเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม.112 ซึ่งคณะนิติราษฎร์ อ้างว่า ม. 112 เป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรา 36 ในหมวด 3 ที่ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ตามรัฐธรรมนูญปี 50 ที่บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกัน โดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ ม.112 กลับบัญญัติจำกัดสิทธิเสรีภาพในการคิด การเขียน  ดังนั้น จึงสามารถเข้าชื่อประชาชน 10,000 รายชื่อ เพื่อเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม.112 ได้นั้น
 
นายเจษฎ์ โทณะวณิก  คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ระบุว่า กรณี ม. 112 ไม่เหมือนกับการหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป หรือดูหมิ่นเจ้าพนักงานหรือหมิ่นศาล  เพราะ ม.112 มุ่งคุ้มครองประมุขของรัฐ เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ และเกี่ยวกับมาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติว่า องค์พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ด้วย
 
"จึงไม่ใช่กรณีที่เข้าหมวด 3 อันว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชนแต่เพียงอย่างเดียว แต่เข้าหมวด 2 ซึ่งเป็นหมวดพระมหากษัตริย์ด้วย ดังนั้น ประชาชนจึงไม่สามารถเข้าชื่อแก้ไขม.112 ได้ เนื่องจากมาตรา 163 ของรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามที่กำหนดในหมวด 3 ที่ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และหมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เท่านั้น ไม่ได้เปิดช่องให้แก้ไขหมวด 2  ที่เป็นหมวดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์"
 
นายเจษฎ์ ยังระบุด้วยว่า การแก้ไข ม. 112  ต้องเสนอในรูปของ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา เป็น พ.ร.บ.
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เริ่มประชุมกรรมการสอบ 4 ศพ เหยื่อคาร์บอมบ์ปัตตานียังสาหัส

Posted: 10 Feb 2012 09:20 PM PST

เริ่มประชุมครั้งแรก กรรมการข้อเท็จจริง เหตุทหารพรานยิงชาวบ้าน 4 ศพ กำหนด 3 ประเด็น อาวุธปืนในรถ พฤติกรรมของคดีและคนร้ายใช้ประชาชนเป็นโหล่กำบัง ขีดเส้น 20 วันได้ข้อสรุป 
 
 
ครั้งแรก - คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณียิงชาวบ้านเสียชีวิต 4 ศพที่อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เริ่มประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 ที่โรงแรม ซีเอส.ปัตตานี
 
 
เริ่มประชุมกรรมการสอบ4ศพ
 
เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ห้องประชุมรูสะมิแล โรงแรม ซีเอส.ปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณียิงชาวบ้านเสียชีวิต 4 ศพ ที่ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เหตุเกิดเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งได้รับการตั้งแต่จากพล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า มีผู้เข้าประชุมประมาณ 15 คน
 
โดยเป็นการประชุมครั้งแรก หลังได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555 โดยที่ประชุมให้นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานีประธานในที่ประชุมชั่วคราว ก่อนที่ที่ประชุมจะลงมติให้นายแวดือราแม เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ
 
ส่วนนายเสรี ศรีหะไตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นรองประธาน นายกิตติ สุระคำแหง ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานยุติธรรม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ เป็นเลขนุการ นายอนุกูล อาแวปูเตะ ประธานศูนย์ทนายความมุสลิมประจำจังหวัดปัตตานี เป็นรองเลขานุการ
 
ที่ประชุมได้กำหนดประเด็นในการตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็น 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็น 1 การตรวจสอบอาวุธปืนที่พบบนรถของชาวบ้านในที่เกิดเหตุ ประเด็นที่ 2 พฤติกรรมของคดีเป็นอย่างไร และประเด็น 3 ตรวจสอบกรณีเจ้าหน้าที่อ้างว่ามีคนร้ายที่ก่อเหตุแล้วกระโดดขึ้นรถชาวบ้านและใช้ประชาชนเป็นโหล่กำบัง
 
ที่ประชุมยังได้กำหนดระยะเวลาของการตรวจสอบข้อเท็จจริง 20 วันนับตั้งแต่วันประชุมครั้งแรก หากไม่สามารถสรุปผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงภายใน 20 วันได้ สามารถขอขยายเวลาได้ ที่ประชุมได้กำหนดวันประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555
 
ที่ประชุมยังมีมติให้นายกิตติ สุระคำแหง ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จชุดนี้ เป็นผู้ที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่มีแล้ว เช่น ข้อมูลจากพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรหนองจิก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และข้อมูลจากหนังสือพิมพ์และสื่อต่างๆ ที่นำเสนอข่าวเรื่องนี้ เพื่อนำมาพิจารณาข้อเท็จจริงในเบื้องต้นก่อนการประชุมครั้งต่อไป
นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ แจ้งต่อที่ประชุมว่า นายสิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงชุดนี้ด้วยเพิ่มอีกหนึ่งคน รวมคณะกรรมการชุดนี้ทั้งหมด 14 คน
 
ผบ.ทบ.ลงชายแดนใต้ฟังสรุป
 
เวลา 10.45 น.วันเดียวกัน ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ค่ายสิรินธร ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก/รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พร้อมคณะ เดินทางมาตรวจเยี่ยมและติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยเฉพาะกิจหมายเลข 1ตัวและ 2 ตัวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมรับฟังสรุปข้อมูลภาพรวมของสถานการณ์และเหตุการณ์สำคัญ โดยเฉพาะความคืบหน้าเหตุยิงชาวบ้าน 4 ศพ และเหตุคาร์บอมบ์หน้าสำนักงานสาธารณสุขปัตตานี 
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เหตุชาวบ้านถูกยิงเสียชีวิต 4 ศพ ที่ตำบลปุโละปุโย ยังอยู่ระหว่างการสืบสวนว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร ถ้าเกิดจากความเข้าใจผิดของเจ้าหน้าที่หรือจากการใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุ ก็ต้องมีการเยียวยา ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ที่เสียชีวิต และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด ส่วนทางกฎหมายก็ว่ากันไปตามระบบ ซึ่งตนให้ความร่วมมือทุกประการ
 
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ส่วนเหตุระเบิดหน้าสำนักงานสาธารณสุขปัตตานีเป็นกระบวนการผู้ก่อเหตุรุนแรงเป็นคนที่ขับเคลื่อนทุกอย่างในทุกพื้นที่ มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าของเถื่อน การกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะการก่อเหตุรุนแรงทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเสียเวลา จึงทำให้การกระทำความผิด การหลีกเลี่ยงภาษีต่างๆ ทำได้สะดวกขึ้น หรือการค้ายาเสพติดที่เอื้อประโยชน์ต่อกันทำได้ง่ายขึ้น ขณะนี้เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน โดยใช้ผู้ก่อเหตุรุนแรงสร้างสถานการณ์
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การแก้ปัญหาในภาพรวมต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติงานตลอดเวลา เพราะฝ่ายตรงข้ามต้องการให้เกิดเหตุรุนแรงขึ้นทุกวัน
 
กรรมาธิการฯสอบคดีทหารยิงชาวบ้าน 4 ศพ 
 
ส่วนที่ศาลากลางจังหวัดปัตตานี พล.ต.อ.วิรุฬห์ พื้นแสน ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยคณะอนุกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ จำนวน 30 คน ร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการติดตามผลการสืบสวนสอบสวนกรณีทหารพรานยิงชาวบ้านจนเสียชีวิต 4 ศพ บาดเจ็บ 5 ราย ในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 
 
ที่ประชุมมีนายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พล.ต.ทไพฑูรย์ ชูชัยยะ ผบช.ศชต. พล.ต.ต.พิเชษฐ์ ปิติเศรษฐพันธ์ ผบก.ภ.จ.ปัตตานี พ.อ.ประกิจ ทับทอง รอง ผบ.ฉก.ปัตตานี และตัวแทนจาก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวสรุปเหตุการณ์และการเยียวยาช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวให้กับคณะกรรมาธิการฯ และนายา ดือราแม หนึ่งในผู้รอดชีวิต รวมทั้งญาติและตัวแทนชาวบ้านที่ร่วมประชุมรับฟัง
 
พล.ต.อ.วิรุฬห์ เปิดเผยหลังการประชุมว่า หลังจากที่ได้รับฟังจากทุกฝ่าย พบว่า ทุกฝ่ายโดยเฉพาะ กอ.รมน.ได้พยายามที่จะแก้ปัญหาไม่ให้ลุกลาม และได้มีการเยียวยากับผู้ได้รับผลกระทบไปแล้วเบื้องต้น ทางคณะกรรมาธิการฯและอนุกรรมาธิการจะติดตามการสืบสวนสอบสวนคดีนี้อย่างใกล้ชิด ซึ่จะต้องเสร็จภายใน 30 วัน ไม่เกิน 90 วัน
 
เหยื่อคาร์บอมบ์ปัตตานียังสาหัส 3
 
ที่โรงพยาบาลจังหวัดปัตตานี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ ผู้ตรวจราชการสาธารณสุขเขต 8 เข้าเยี่ยม และมอบกระเช้าของขวัญให้กับผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุระเบิดคาร์บอมบ์ หน้าสำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดปัตตานี
 
นายแพทย์บุญเรือง เปิดเผยว่า ตอนนี้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสทั้งสิ้นจำนวน 3 ราย โดย 2 รายมีบาดแผลที่ถูกความร้อนบริเวณลำตัวและใบหน้า แพทย์จึงต้องเก็บบาดแผลเพื่อไม่ให้ติดเชื้อ ซึ่งพ้นขีดอันตรายแล้ว
 
ส่วนความเสียหายของอาคารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ถือว่าเสียหายอย่างหนัก มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ เจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจสอบ และประเมินความเสียหายอีกครั้ง เพื่อเร่งซ่อมแซมให้เร็วที่สุด ส่วนด้านความปลอดภัยได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบรถที่เข้าออกทุกคันอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันการก่อเหตุของคนร้ายซ้ำอีก
 
สำหรับผู้ได้รับบาดเจ็บ ล่าสุดแพทย์โรงพยาบาลปัตตานี ได้ส่งตัวนายซูเฟียน ยูโซ๊ะ ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (ม.อ.) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เนื่องจากอาการสาหัสจากไฟลวก ทั้งตัวมีบาดแผลจากสะเก็ดระเบิดหลายแห่ง และขณะที่ผู้บาดเจ็บอีก 7 รายยังพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลปัตตานี โดย 2 รายยังอาการสาหัส ต้องอยู่ในห้องไอซียู
 
หมายเหตุ: เนื้อข่าวบางส่วนมาจาก ASTV ผู้จัดการออนไลน์
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

หลายชาติอาสาเจรจาดับไฟใต้หวั่นรัฐจับตานักเรียนไทยในอินโด

Posted: 10 Feb 2012 08:52 PM PST

เผยหลายชาติอาสาเจรจาดับไฟใต้ กระทรวงต่างประเทศแนะให้ถามคนในพื้นที่ อยากได้อะไร ครูอิสลามร้องเผยชื่อมหาวิทยาลัยต้องห้ามในอินโด หวั่นเจ้าหน้าที่รัฐยังจับตากระทบอนาคตเด็ก กต.ยันไม่มีนโยบายตรวจสอบพฤติกรรมนักเรียนไทยในต่างประเทศ

เมื่อเวลา 11.30 น. เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 55 ที่โรงแรมบีพี แกรนด์เทาเวอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลานายณรงค์ บุญเสถียรวงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานความมั่นคงระหว่างประเทศ สำนักนโยบายและแผน สำนักปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) บรรยายหัวข้อ “ประเด็นชายแดนใต้ในเวทีระหว่างประเทศ” ในงานสัมมนานักจัดรายการวิทยุมุสลิมระดับภูมิภาค

นายณรงค์ บรรยายว่า มีหลายประเทศที่เสนอเป็นเจ้าภาพในการพูดคุยเจรจาในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอให้เข้ามาพูดคุยกับคนในพื้นที่ก่อนว่า คนในพื้นที่อยากได้อะไร เพื่อให้ผลประโยชน์แก่คนในพื้นที่มากที่สุด และกระทรวงการต่างประเทศต้องดูความสอดคล้องกับนโยบายของประเทศด้วย

นายณรงค์ บรรยายอีกว่า การดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศในประเด็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องอาศัยความร่วมมือแบบทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างมาเลเซีย ซึ่งที่ผ่านมามีการร่วมมือเชิงการพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ภายใต้กรอบคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมว่าด้วยชายแดนไทย-มาเลเซีย การวางแผนยุทธศาสตร์ 555 ลีมอร์ดาซาร์ (555 lima dasar) เชื่อมโยง5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยกับ 5 รัฐของประเทศมาเลเซีย มีการประชุมความร่วมมือระหว่างสามประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย ภายใต้โครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย (IMT-GT) และความร่วมมือทางการศึกษาระหว่าง ไทย – มาเลเซีย ซึ่งความคืบหน้าล่าสุดคือ นายกรัฐมนตรีเตรียมเดินทางหารือเพื่อวางแผนการพัฒนาด้านการศึกษาระหว่างไทย-มาเลเซียอย่างยั่งยืนต่อไป เพื่อรองรับการพัฒนาระหว่างประเทศในอาเซียน

นายณรงค์ บรรยายว่า ที่ผ่านมา กระทรวงต่างประเทศมีบทบาทในการชี้แจงให้ต่างประเทศเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้อง เช่น การพาสื่อมวลชนประเทศมุสลิม และคณะทูตานุทูตต่างประเทศ ลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้พวกเขาเห็นว่า สถานการณ์ไม่ได้เป็นไปอย่างที่มีการได้ร้องเรียนไปยังองค์กรต่างประเทศ ทำให้สามารถกู้ภาพลักษณ์จากหลายๆ ประเทศกลับคืนมาได้ เมื่อต่างประเทศยืนยันว่า ไม่มีประเด็นปัญหาตามที่เป็นข่าว ก็สามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจแก่พื้นที่มากขึ้น

นายณรงค์ บรรยายว่า เป็นเรื่องน่ายินดีว่า ต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามาสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมาก เช่น สถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ได้ส่งเสริมครูสอนวิทยาศาสตร์ในพื้นที่ โดยนำมาอบรมการพัฒนาวิธีการเรียนการสอนที่กรุงเทพมหานคร

นายณรงค์ บรรยายว่า กระทรวงการต่างประเทศให้ความสำคัญกับการศึกษาของเยาวชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เรียนในต่างประเทศ ซึ่งประเด็นที่เป็นที่กังวลของผู้ปกครองมากที่สุด คือการรับรองวุฒิการศึกษา กระทรวงการต่างประเทศจึงพยายามประสานกับประเทศต่างๆ เพื่อทำความรู้จักกับประเทศเหล่านั้นก่อน แล้วจึงแก้ปัญหาเรื่องการรับรองวุฒิการศึกษา เนื่องจากการรับรองวุฒิการศึกษา ไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศโดยตรง

นายณรงค์ บรรยายว่า ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการประสบความสำเร็จในข้อตกลงความร่วมมือด้านการศึกษากับประเทศอินโดนีเซีย ที่มีนักเรียนไทยเรียนอยู่ประมาณ 500 คน ซึ่งขณะนี้มีการประสานงานขอความร่วมมือในเรื่องการรับรองวุฒิการศึกษาอยู่ คิดว่าจะมีข่าวดีเร็วๆนี้

นายณรงค์ บรรยายด้วยว่า การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของกระทรวงการต่างประเทศ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ภายในกระทรวง นอกจากกลุ่มงานความมั่นคงระหว่างประเทศแล้ว ยังมีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กรมสารนิเทศ กรมองค์การระหว่างประเทศที่ช่วยกันแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในเวทีระหว่างประเทศอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์สูงสุด

นายณรงค์ บรรยายว่า กระทรวงต่างประเทศมี 12 กรม 1 สำนักรัฐมนตรี และ 1 สำนักงานปลัดกระทรวง มีข้าราชการสังกัดกระทรวงทั้งสิ้น 1,400 คน โดยประจำอยู่ที่ต่างประเทศ 600 คนและในกรุงเทพมหานคร 800 คน เมื่อเทียบกับจำนวนข้าราชการกับภาระหน้าที่ ถือว่าเป็นจำนวนที่อาจจะจำกัดอยู่บ้าง

นายอารอฟัต เจ๊ะซู ครูโรงเรียนดารุสลาม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสและนักจัดรายการวิทยุ อสมท.นราธิวาส ถามระหว่างแสดงความเห็นว่า ทำไมถึงยังมีเจ้าหน้าที่ความมั่นคงคอยสอบถามถึงนักเรียนไทยในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งทำให้ผู้ปกครองกังวลและไม่มั่นใจว่า เมื่อสำเร็จการศึกษามาแล้วจะมีงานทำหรือไม่

นายอาราฟัต เปิดเผยว่า ล่าสุดมีผู้ปกครองของศิษย์เก่าของโรงเรียนดารุสลามคนหนึ่งมาร้องเรียนว่า ถูกทหารมาถามหาลูกชายที่กำลังเรียนอยู่ต่างประเทศหลายครั้ง โดยซักถามหลายเรื่อง เช่น ถามว่าเรียนที่ไหน อยู่อย่างไร ใครดูแล ซึ่งทำให้ผู้ปกครองกังวลว่า อาจเกิดอะไรขึ้นกับลูกชาย

“เจ้าหน้าที่มาสอบถามอย่างนี้ แน่นอนว่า ผู้ปกครองจะกังวลว่า บุตรชายตนอาจเกี่ยวข้องกับความไม่สงบหรือไม่ หรือถูกเจ้าหน้าที่สงสัยหรือไม่ และยิ่งกังวลใจว่าเรียนจบแล้วจะมีงานทำหรือไม่ ซึ่งทางโรงเรียนได้รับเรื่องร้องเรียนลักษณะนี้หลายครั้ง” นายอารอฟัต กล่าว

นายอาราฟัต กล่าวว่า เรื่องนี้ตนพอจะเข้าใจว่าเพราะเหตุใด และที่ผ่านมาไม่เคยมีการประกาศเตือนว่าสถาบันการศึกษาใดในอินโดนีเซียที่ไม่ควรเข้าเรียน เพราะอาจมีปัญหาความมั่นคง นักเรียนจะได้ไม่เลือกเรียน จึงขอให้กระทรวงการต่างประเทศ ออกประกาศต่อสาธารณชนว่า มหาวิทยาลัยใดในต่างประเทศที่ไม่ควรเข้าเรียน เพราะหากเลือกเรียนแล้ว ถูกจับตามองจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง หรืออาจมีปัญหากลางคันที่จะทำให้นักเรียนจะเครียดและผู้ปกครองกังวล

นายอารอฟัต กล่าวอีกว่า แต่ละปีมีนักเรียนโรงเรียนดารุสลามสำเร็จการศึกษาประมาณ 600 คน มีนักเรียนส่วนหนึ่งประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์เลือกเรียนต่อต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกประเทศเองซึ่งมักเป็นมหาวิทยาลัยในประเทศอียิปต์และอินโดนีเซีย

นายณรงค์ กล่าวตอบว่า กระทรวงต่างประเทศไม่มีนโยบายให้ข้อมูลนักเรียนไทยในต่างประเทศแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง และไม่ทราบมาก่อนว่า มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย และกระทรวงการต่างประเทศไม่มีอำนาจประกาศว่าสถาบันใดไม่ควรเข้าเรียนหรือเป็นอันตรายอย่างไร เพราะหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ คือการลงเยี่ยมและสนับสนุนกิจกรรมให้นักเรียนไทยในต่างประเทศได้สานสัมพันธ์กัน

“ที่ผ่านมา ฝ่ายความมั่นคงไม่เคยมาขอข้อมูลนักเรียนไทยในต่างประเทศจากกระทรวงการต่างประเทศ ถึงขอก็ให้ไม่ได้ เพราะเป็นข้อมูลลับที่ต้องรักษาไว้ ส่วนข้อมูลที่กระทวงมีก็เพื่อติดตามสวัสดิภาพของนักเรียนไทยที่ใช้ชีวิตในต่างประเทศเท่านั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อติดตามพฤติกรรมเพื่อรายงานต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงแน่นอน” นายณรงค์ กล่าว

 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น