ประชาไท | Prachatai3.info |
- ซีเรียลงประชามติรธน.ใหม่-พร้อมถล่มเมืองฮอม
- สภาพัฒน์ฯ ชี้อัตราว่างงานปี54 ต่ำ ขณะ ศก.หดตัว เหตุผลพวงน้ำท่วมยังไม่สะท้อนทันที
- 'วิกิลีกส์' เตรียมปล่อยข้อมูลบริษัทข่าวกรองอีกกว่า 5 ล้านฉบับ
- สัมภาษณ์ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ การรณรงค์เพื่อความรับรู้ปัญหาจากม. 112 “เรามาไกลเกินกว่าจะถอยหลัง”
- รสมาริน, ภรรยาของนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล)
- "เทพไท" ชี้ทักษิณโฟนอินโบนันซ่าถือเป็นแผนบันได 3 ขั้นหวังกลับไทย
- เมตตาบาทาพันธ์ศักดิ์ ถึง อ.ฝาง รายงานตัวสอบปากคำแล้ว
- หลายเสียงสะท้อนถึง “คอป.” ผลสะเทือนจากวาทะ “เรื่องผัวเมียทะเลาะกัน”
- อภิสิทธิ์ค้านแก้รธน.ขอ 15 ล้านเสียง "เกรงใจ 25 ล้านเสียงที่ไม่ได้เลือกท่านด้วยนะครับ"
- สัมมนาทิศทาง ‘โรงไฟฟ้า’ ที่แปดริ้ว ชาวบ้านค้านเปลี่ยนใช้ ‘ถ่านหิน’ แทน ‘ชีวมวล’
- ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ มอบเงินแคมเปญก้าวข้ามความกลัวรอบแรกให้ภรรยาอากง
- สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: จาก ครก.ถึงตุลาการ และพรรคเพื่อไทย
- สลดยาเสพติดลามโรงเรียนท่องจำกุรอาน ชี้ผู้นำอิสลามอ่อนไม่พร้อมรับอาเซียน
- ทหารพราน-ชาวบ้านไปคนละทาง ทีมสอบ4ศพใช้นิติวิทย์หาความจริง
- สภาพัฒน์แถลงเด็กไทยติดเฟซบุค-มีผลต่อภาวะตั้งครรภ์ไม่พร้อม
ซีเรียลงประชามติรธน.ใหม่-พร้อมถล่มเมืองฮอม Posted: 27 Feb 2012 09:21 AM PST รัฐบาลซีเรียเปิดให้มี สำนักข่าว ดิ อินดิเพนเดนซ์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 26 ก.พ. ที่ผ่านมา ประชาชนชาวซีเรียได้ร่ โดยล่าสุดสถานีโทรทัศน์ของซีเรี ทางด้านรัฐบาลซีเรียเปิดเผยว่ เหล่านักกิจกรรมและนักการเมื สมาชิกกลุ่มต่อต้านรัฐบาลของซี "ประชาชนชาวซีเรียเรียกร้องให้ ทูตของประเทศตะวันตกก็ดาหน้ากั กุยโก เวสเตอร์เวลล์ รัฐมนตรีต่างประเทศของเยอรมนี ร่างรธน. ฉบับใหม่ของซีเรียเปิดทางให้กั สำนักข่าวอัลจาซีร่านำเสนอข้อมู ทางด้านกลุ่มสนับสนุนอัสซาดอ้ มีประชาชนชาวซีเรี ในวันเดียวกับที่มี
เรียบเรียงจาก: Syria holds 'farcical' poll while violence continues, The Independent, 27-02-2012 http://www.independent.co.uk/ Syria says new constitution approved, Aljazeera, 27-02-2012 http://www.aljazeera.com/news/ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
สภาพัฒน์ฯ ชี้อัตราว่างงานปี54 ต่ำ ขณะ ศก.หดตัว เหตุผลพวงน้ำท่วมยังไม่สะท้อนทันที Posted: 27 Feb 2012 08:36 AM PST สภาพัฒน์ฯ สรุปภาพรวมการจ้างงานปี 54 ชี้อัตราว่างงานต่ำ ขณะเศรษฐกิจหดตัว 9% เหตุผลกระทบจากน้ำท่วมยังไม่สะท้อนทันที เตือนปี 55 เฝ้าระวังเลิกจ้างช่วงครึ่งแรกของปี แนะเกาะติดการฟื้นฟู-เยียวยาคุณภาพชีวิตหลังน้ำท่วม โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานรายวัน และจ้างเหมา (27 ก.พ.55) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไทยในไตรมาสที่ 4 และภาพรวมปี 2554 ว่า ในไตรมาส 4 ปี 2554 การจ้างงานยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และการว่างงานต่ำร้อยละ 0.6 หรือมีผู้ว่างงาน 245,890 คน ขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจได้รับผลกระทบและลดลงมากในเกือบทุกสาขา ทั้งอุตสาหกรรมและภาคบริการ โดยภาพรวมเศรษฐกิจหดตัวถึงร้อยละ 9 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ด้านการจ้างงานและภาวะการว่างงานที่ไม่สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและยังไม่สะท้อนผลกระทบที่ชัดเจนทันทีจากภาวะน้ำท่วมในเดือนตุลาคมและเกือบตลอดช่วงถึงธันวาคมในบางพื้นที่นั้น เนื่องจาก (1) สาขาก่อสร้าง ค้าปลีก และค้าส่งยังจ้างงานเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงเดือนตุลาคม (2) ผู้ประกอบกาบางส่วนอยู่ในช่วงที่ขาดฐานข้อมูลแรงงานที่จะใช้ดำเนินการเจรจายุติการจ้างงาน และผู้ประกอบการอีกส่วนหนึ่งรักษาการจ้างงานไว้ แม้กิจกรรมการผลิตชะงักลง เนื่องจากตลาดแรงงานตึงตัวและขาดแคลนแรงงานทักษะอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีโครงการชะลอการเลิกจ้าง (3) การลดการเลิกจ้างงานส่วนหนึ่งเป็นการลดชั่วโมงการทำงานลง แรงงานที่ทำงานเพียงน้อยชั่วโมงจึงมีจำนวนมากขึ้น ชี้ถึงการว่างงานแฝงในตลาดแรงงานจำนวนมากไม่ก่อให้เกิดผลผลิตทางเศรษฐกิจ โดยผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ทั้งที่ยังมีรายได้และไม่มีรายได้มีจำนวน 780,584 คน (4) แรงงานรอฤดูกาลภาคเกษตรเพิ่มขึ้นมากซึ่งไม่ถูกนับว่าเป็นผู้ว่างงาน โดยไตรมาส 4 มีแรงงานรอฤดูกาล 191,090 คน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 74.1 แต่จำนวนนี้ไม่ถูกนับเป็นผู้ว่างงาน ขณะที่รายได้ที่แท้จริงของแรงงานชะลอลง โดยค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนภาคเอกชนที่ยังไม่รวมค่าล่วงเวลาและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 แต่ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ส่งผลให้ค่าจ้างแท้จริงเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.2 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ในไตรมาส 4/2553 และค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับร้อยละ 3 ในไตรมาส 3/2554 ค่าจ้างแรงงานที่ยังเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากการดำเนินโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้าง ที่ช่วยให้แรงงานบางส่วนที่ไม่ได้ทำงานในช่วงน้ำท่วมยังมีรายได้แม้จะในอัตราที่ต่ำกว่าค่าจ้างที่เคยได้รับปกติ ทั้งนี้ ในปี 2555 มีประเด็นที่ต้องติดตามและเฝ้าระวังผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตแรงงาน (1) ความเสี่ยงต่อการจ้างงานในช่วงครึ่งแรกของปี ทั้งเนื่องจากการสิ้นสุดระยะเวลา 3 เดือนของโครงการป้องกันและบรรเทาการเลิกจ้าง และการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยร้อยละ 39.5 ในเดือนเมษายน (2) การติดตามการฟื้นฟูและเยียวยาแรงงานในช่วงหลังภัยพิบัติให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีดังเดิม โดยเฉพาะแรงงานประเภทรายวัน และแรงงานจ้างเหมาซึ่งมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้กลับไปทำงาน (3) การเร่งพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและการเร่งเตรียมความพร้อมแรงงานในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ (4) การทบทวนลักษณะการใช้ข้อมูลด้านการจ้างงาน การว่างงาน และแรงงานรอฤดูกาลในการจัดทำนโยบายแรงงาน เพื่อให้สามารถสะท้อนถึงความเชื่อมโยงถึงผลผลิตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น รายได้และคุณภาพชีวิตแรงงาน
//////////////////// สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
'วิกิลีกส์' เตรียมปล่อยข้อมูลบริษัทข่าวกรองอีกกว่า 5 ล้านฉบับ Posted: 27 Feb 2012 07:53 AM PST วิกิลีกส์เริ่มเผยข้อมูลจากอีเมล์จำนวน 5 ล้านฉบับของบริษัทข่าวกรองเอกชน 'แสตรทฟอร์' ซึ่งทำงานให้ทางการสหรัฐฯ หวังเปิดโปงเบื้องหลังบรรษัทที่มุ่งจับตากลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม 27 ก.พ. 55 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เว็บไซต์วิกิลีกส์ได้ออกแถลงการณ์บนเว็บไซต์ว่าจะมีการเปิดเผยข้อมูลลับของบริษัท สแตรตฟอร์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการข่าวกรองในประเด็นเกี่ยวกับต่างประเทศ แก่หน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน ทางด้านเว็บไซต์วิกิลีกส์ ได้นำเอกสารฉบับแรกออกมาแล้ว ซึ่งเอกสารฉบับนี้เป็นการอธิบายคำศัพท์เกี่ยวกับข่าวกรองของสแตรตฟอร์โดยเฉพาะ ส่วนเอกสารที่เหลือจะทยอยเปิดเผยผ่านสำนักข่าวและกลุ่มนักเคลื่อนไหว 25 องค์กร ในสัปดาห์หน้า สำหรับเอกสารลับของสแตรตฟอร์ที่ทางวิกิลีกส์นำออกมาเปิดเผยนั้น ถูกแฮกจากกลุ่มแฮกเกอร์ที่เรียกตัวเองว่า "แอโนนีมัส" ในเดือนธันวาคม ซึ่งกลุ่มแอโนนีมัสเปิดเผยว่า ได้อีเมล์จากเครือข่ายภายในบริษัทสแตรตฟอร์กว่า 5 ล้านฉบับ ในขณะเดียวกัน ด้านบริษัทแสตรทฟอร์ได้แถลงว่า จะไม่ยืนยันว่าเอกสารดังกล่าวเป็นของจริงหรือไม่ และจะไม่ให้ความเห็นใดๆ เพิ่มเติมทั้งสิ้น ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ จูเลียน อัสแซนจ์ ให้สัมภาษณ์รอยเตอร์ว่า บริษัทข่าวกรองเอกชนดังกล่าว ใช้ข้อมูลจากรัฐบาลสหรัฐ หน่วยงานข่าวกรองต่างประเทศที่มีชื่อเสียงเคลือบแคลง และนักข่าว ซึงสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดสำหรับเขาก็คือ เป้าหมายของการเก็บข้อมูลและเฝ้ามอง ก็คือกลุ่มเคลื่อนไหวที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมทางสังคม วิกิลีกส์ระบุว่า องค์กรสื่อที่ร่วมตกลงรับข้อมูลดังกล่าวแล้ว ได้แก่ หนังสือพิมพ์ LÉspresso และ La Repubblica ของอิตาลี สถานีโทรทัศน์ NRD/ARD ของเยอรมนี และผู้สื่อข่าวรัสเซียคนหนึ่ง องค์กรเคลื่อนไหวที่ชื่อ The Yes Man ซึ่งวิกิลีกส์ได้เผยข้อมูลให้ดูแล้วบางส่วนนั้น กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญคือ ข้อมูลดังกล่าว จะช่วยแสดงให้เห็นว่าบรรษัทเหล่านี้มีหลักในการทำงานอย่างไร "พวกเขาปฏิบัติงานกันด้วยวิธีที่ไม่คำนึงถึงหลักนิติรัฐและความเหมาะสมที่จะปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์" แอนดี บิชลบาวม์ ตัวแทนองค์กร The Yes Man กล่าว ก่อนหน้านี้ ในปี 2553 วิกิลีกส์ได้นำเอกสารลับของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ออกมาเผยแพร่ จนกลายเป็นข่าวโด่งดังระดับโลก เนื่องจากมีรายงานที่ส่งจากฐานทัพในอิรักและอัฟกานิสถาน รวมทั้งรายงานทางการทูตจำนวนมากที่เปิดเผยข้อเท็จจริงให้สาธารณชนทั่วโลกได้รับรู้เรื่องราวที่บุคคลระดับสูงและนักการเมืองของแต่ละประเทศได้ปกปิดไว้
เนื้อหาบางส่วนจาก วอยซ์ทีวี สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
สัมภาษณ์ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ การรณรงค์เพื่อความรับรู้ปัญหาจากม. 112 “เรามาไกลเกินกว่าจะถอยหลัง” Posted: 27 Feb 2012 05:13 AM PST สัมภาษณ์ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ปิดแคมเปญแรก “ก้าวข้ามความกลัว” ซึ่งเป็นการรณรงค์เพื่อกระตุ้นความรับรู้แก่สังคมในประเด็นปัญหาการบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งมีจำนวนผู้ถูกกล่าวหา จับกุมคุมขังมากขึ้นหลายเท่าตัวหลังการรัฐประหาร โดยได้รับแรงบันดาลใจจากกรณีที่นายอำพล (สงวนนามสกุล) หรืออากง วัย 62 ปี ถูกศาลชั้นต้นตัดสินจำคุก 20 ปี จากการถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ส่ง sms ที่มีข้อความเข้าข่ายละเมิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จำนวน 4 ข้อความไปยังเลขานุการของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปวิน ได้รวบรวมเงินจากการเคลียร์บัญชีขายหนังสือรอบแรกจำนวน 35,000 บาท ไปมอบให้นางรสมาริน (สงวนนามสกุล) หรือป้าอุ๊ ภรรยาของอากง เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ภายหลังจากที่ทั้งสองได้เข้าเยี่ยมอากงเป็นเวลา 15 นาที
เป็นครั้งแรกทีได้เจอกับอากง ได้พบกันแล้วเป็นอย่างไรบ้าง เป็นครั้งแรกจริงๆ ครับ ตั้งแต่ผมเริ่มรณรงค์เรื่องอากงจริงๆ ผมก็คิดว่าผมมาช้าเกินไปนะครับ แต่ก็ในที่สุดแล้วก็ได้มาเยี่ยมจริงๆ ยิ่งทำให้ผมรู้สึกว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้นต้องทำต่อไป ผมได้พบอากงแล้ว อากงก็ทั้งดีใจด้วยที่ได้เจอกัน และก็ทั้งเสียใจด้วย ผมเห็นแกแล้วผมก็สะเทือนใจ แกก็ร้องไห้ อาจจะเป็นเพราะว่าแกก็ไม่ค่อยได้เจอใครนะครับ ผมก็ได้พยายามอธิบาย คุยกับอากงว่าการรณรงค์เป็นแบบไหน ไปถึงไหนแล้ว ผมทำได้อย่างเดียวคือให้กำลังใจแก บอกแกว่าอย่าเพิ่งหมดหวัง อยากจะให้รู้ว่าคนที่อยู่ข้างนอกกก็ยังต้องการช่วยแกอยู่ และมันก็จะไม่จบแค่นี้นะครับ คือการต่อสู้มันต้องมีความหวัง และแกก็ฝากขอบคุณที่ได้ช่วยแก โดยเฉพาะขอบคุณโครงการที่เราทำร่วมกัน คือโครงการก้าวข้ามความกลัว และหนังสือที่เราทำขึ้นมา อากงก็ยังเล่าให้ฟังด้วยว่า อากงได้หนึ่งเล่ม มีคนส่งให้อากง อากงก็ได้ดูและยังไม่อยากเชื่อว่าจะมีคนทำหนังสือให้ เพื่อนที่อยู่ในเรือนจำก็ยังได้อ่านด้วย แกก็หัวเราะออกมาได้นิดหนึ่ง
แคมเปญก้าวข้ามความกลัวก็จะยุติตรงนี้ใช่ไหม เรียกว่า จบลง ณ ขั้นหนึ่งเท่านั้น แต่ผมคิดว่าผมอาจจะมีโปรแกรมอื่นๆ เกี่ยวกับอากงหรือนักโทษการเมืองอื่นๆ ซึ่งตอนนี้ผมยังคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไร แต่ผมยังไม่อยากให้จบแค่นี้ รายได้ทั้งหมดอยากฝากบอกทางประชาไทด้วยว่าที่เราตั้งแต่แรกคือรายได้ทั้งหมดที่ได้จากการขายหนังสือนั้นจะมอบให้กับครอบครัวอากง ซึ่งวันนี้ได้ทำไปแล้ว เราก็ได้มอบเงินส่วนหนึ่งในการขายหนังสือให้กับภรรยาอากง และก็จะมีส่วนต่อๆ ไป ที่จะนำมามอบให้ต่อไป แต่เรารวบรวมได้เท่านี้ ณ ตอนนี้ ก็อยากบอกว่ายังไม่จบแค่นี้ แต่ก็ติดตามกันต่อไปแล้วกันว่าจะมีอะไรมากขึ้นกว่านี้
พอจะบอกรายละเอียดรายได้ขณะนี้ได้ไหม ครับ เงินก้อนแรกที่เรามอบให้ภรรยาอากงเป็นเงิน 35,000 บาท เป็นเงินที่ได้จากการขายหนังสือทั้งหมดหักค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าจัดพิมพ์เท่านั้น แล้วไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งสิ้น ที่เหลือเรามอบให้ครอบครัวอากงจริงๆ แต่ว่ายังมีเงินที่เหลืออีกก้อนหนึ่งที่ยังติดด้านเทคนิคนิดหน่อย คือยังมีเงินบริจาคเข้ามาด้วย ซึ่งเราจะเก็บเงินบริจาคส่วนนั้นไว้ส่งมอบเป็นเงินก้อนที่สอง ผมจะจัดการรวบรวมเงินก้อนที่สองส่งให้กับทางครอบครัวอากงต่อไป ซึ่งผมจะบอกกับทุกคนเมื่อเวลานั้นมาถึง ก็ต้องขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่งสำหรับคนที่ช่วยเหลือโครงการนี้
อากงนั้นเป็นหนึ่งในนักโทษและผู้ต้องหาในคดีอาญามาตรา 112 อาจารย์มองเห็นปัญหาที่เป็นลักษณะร่วมกับนักโทษคนอื่นๆ อย่างไรบ้าง ผมคิดว่าประเด็นที่เราคุยกันอยู่นั้นเป็นประเด็นด้านการเมือง ถ้าเป็นประเด็นด้านความยุติธรรม หรือกระบวนการศาลผมยังไม่หนักใจเท่าไหร่เพราะมันมีกระบวนการของมัน แต่เมื่อมันเป็นประเด็นการเมืองแล้ว ผมรู้สึกหนักใจ เพราะเมื่อเป็นประเด็นการเมืองแล้ว มันก้าวข้ามความมีเหตุผล ไม่มีการใช้เหตุผลในการพิจารณา นี่ผมไม่ได้ว่าหรือตำหนิวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการศาลนะครับ แต่ผมต้องการบอกว่าเรื่องนี้มันกลายเป็นประเด็นทางการเมือง เพราะผมเชื่อว่าการใช้มาตรา 112 ทุกวันนี้ เป็นการใช้เพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองเท่านั้น ในบริบทนี้ผมขอกล่าวประณามคนที่ใช้มาตรา 112 เป็นเครื่องมือทางการเมือง เพราะนี่เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากทำให้กระบวนการยุติธรรมขาดความน่าเชื่อถือ และที่เหนือไปกว่านั้นที่ผมพูดแล้วพูดอีกคือเรื่องนี้จะส่งผลกระทบทางลบต่อสถาบัน คุณอย่ามาอ้างว่าคุณใช้มาตรานี้ในการปกป้องสถาบัน เพราะสิ่งที่คุณทำอยู่นั้นเป็นเรื่องที่ตรงกันข้าม กลับมาที่คำถามนี้ผมก็คิดว่านักการเมืองทุกคนที่ตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้จึงต้องประสบกับความยากลำบากคล้ายๆ กัน ความยากลำบากเรื่องนี้มันเริ่มตั้งแต่วันแรกๆ จนกระทั่ง ผ่านกระบวนการต่างๆ ทั้งการจับกุม การประกันตัว การลงโทษ มันเป็นกระบวนการที่ยาวนาน ผมเองก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย แต่ผมเห็นความยากลำบากที่มีอยู่ข้างหน้า และผมขอฝากนิดหนึ่งว่า สิ่งที่เราทำอยู่บางครั้งก็เหมือนดาบสองคม แม้ที่สิ่งที่เราทำอยู่จะเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจที่ต้องการจะช่วยเหลือก็ตาม เพราะว่านี่เป็นประเด็นทางการเมืองอีกนั้นเอง พอกลายมาเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของคนมากขึ้นก็ยิ่งทำให้แต่ละกรณียิ่งยากขึ้นมาก เพราะอยู่ในความสนใจของประชาชน และผมเชื่อว่าระบบศาลของเราก็ไม่ต้องการให้บุคคลภายนอกมาสร้างความกดดัน มันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่สำหรับพวกเราแล้ว เรามาไกลเกินกว่าจะถอยหลังไป มีอะไรทำเราคงต้องทำต่อไป
เนื่องจาก 112 ก็เกี่ยวพันกับการเมือง ตัวอาจารย์เองเผชิญกับการต่อต้านอะไรบ้างไหม มันก็มีเป็นเรื่องปกติ ถึงแม้จะไม่ใช่มาตรา 112 เป็นเรื่องการเมืองทั่วไป ก็ต้องมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เรื่องนี้ผมไม่มายด์นะ ผมยินดีที่จะมีคนที่ไม่เห็นด้วย มันเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่การที่คุณไม่เห็นด้วยต้องทำอยู่ในกรอบของความมีจริยธรรมและศีลธรรม ไม่ใช่ว่าจะใช้การข่มขู่หรือการใช้มาตรการต่างๆ สร้างความหวาดกลัว การต่อต้านในส่วนที่ผมพบก็มีเข้ามาบ้าง ทั้งในแง่ส่วนตัว และผ่านหน้าที่การงาน แต่ผมอาจจะโชคดีกว่าคนอื่นนิดหนึ่งตรงที่ว่าผมไม่ได้อยู่ในเมืองไทย การเคลื่อนไหวการรณรงค์อะไรเพื่อสร้างความยุติธรรมมากขึ้นในสังคมไทยสำหรับตัวผมเองก็ทำได้มากกว่าคนอื่น แต่มันก็ยังมีอุปสรรคเหมือนๆ กับที่ทุกคนต้องเจอ ที่ผมอยากฝากก็คือ ขอให้คนที่ทำเรื่องนี้ด้วยกันอย่าเพิ่งท้อถอยนะครับ ยิ่งศัตรูมากเท่าไหร่ก็ยิ่งสร้างให้เรามีความเด็ดเดี่ยวมากขึ้นในการต่อสู้กับความไม่ยุติธรรม
นักโทษ 112 มีอยู่จำนวนหลายสิบคน แต่ทำไม หรืออะไรเป็นแรงบันดาลใจให้อาจารย์รณรงค์ให้กับอากง ผมก็เข้าใจประเด็นนี้นะครับว่านักโทษบางคนอาจจะรู้สึกน้อยอกน้อยใจว่าทำไมบางคนได้รับความสนใจจากสาธารณชนมากกว่ากัน ผมก็ต้องบอกนิดหนึ่งว่า ผมติดตามเรื่อง 112 พอสมควรแต่ผมยอมรับว่าไม่มีกรณีไหนที่ทำให้รู้สึกสะเทือนใจ และชี้ให้เห็นว่าเป็นความไม่ยุติธรรมอย่างโจ่งแจ้ง อย่างเห็นได้ชัด ก็คือกรณีอากง โดยเฉพาะการถูกตัดสินโทษถึง 20 ปี นี่จึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับผมตั้งแต่แรก และตั้งแต่นั้นผมก็เริ่มมาตลอด ผมเข้าใจคำถามนะครับ และคิดว่าจากนี้ไป ถ้าเกิดผมจะเริ่มโครงการอะไรอีก อาจจะไม่ใช่ประเด็นอากงอีกต่อไป แต่อากงเหมือนกับเป็นแรงบันดาลใจ แต่ผมคิดว่าในที่สุดแล้วเราควรจะมองไปที่นักโทษทางการเมืองโดยเฉพาะในกรณี 112 เท่าๆ กันทุกคน เพราะทุกคนนั้นต้องได้รับผลกระทบทั้งด้านกายภาพและด้านจิตใจเท่าๆ กัน ผมก็คิดว่าถ้าเกิดจะมีโครงการอะไรขึ้นมาก็คงจะไม่เน้นไปที่อากงแต่เพียงคนเดียว ก็จะมองในภาพกว้างมากขึ้น แต่ว่าในการทำการรณรงค์ผมก็ขอให้สาธารณชนเข้าใจอย่างหนึ่งว่าบางทีก็ต้องมีโฟกัสนะครับ การรณรงค์ที่ไม่มีโฟกัสมันอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ อาจจะไม่ได้รับการตอบรับที่ดี ผมก็คิดว่ากรณีของอากงก็คือการจุดกระแส ทำให้มีคนตื่นตัวมากขึ้น และผมก็คิดว่าจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับนักโทษทางการเมืองคนอื่นๆ ที่สาธารณชนเริ่มหันมาเห็น
อาจารย์เป็นนักวิชาการ และเป็นคอมเมนเตเตอร์ในประเด็นการเมือง แต่ว่าช่วงหลังมาสนใจประเด็น 112 อะไรที่ทำให้เห็นว่าเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ มีสองประเด็นครับ คือ ประเด็นแรกคือ การจับกุมผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดมาตรา 112 นั้นมีเพิ่มขึ้นมาก มากจนเพิ่มขึ้นเป็น 5-6 เท่าตัว นับตั้งแต่มีการทำรัฐประหารเมื่อ 5-6 ปีทีผ่านมา และการเพิ่มทวีคูณมากขึ้นของกรณีเหล่านี้มันส่งผลประทบโดยตรงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่จำเป็นหรอกที่จะต้องให้นักรัฐศาสตร์หรือนักวิชาการออกมาเคลื่อนไหว เพราะการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นกระทบต่อคนทุกคนในสังคม เพราะฉะนั้นผมถือว่ามันเป็นหน้าที่ของคนทุกคนที่ต้องทำ ไม่ใช่เพราะว่าผมเป็นนักวิชาการ ประเด็นที่สอง คือเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับสถาบันกษัตริย์ และมีความเกี่ยวโยงกับประเด็นการเมือง การจะเข้าใจการเมืองทุกวันนี้โดยที่ไม่ดูประเด็น 112 ไม่ดูประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์นั้นเป็นเรื่องทีเป็นไปไม่ได้ ประเด็นนี้ผมสามารถพูดได้ในฐานะที่เป็นนักวิชาการและเป็นนักรัฐศาสตร์ว่าการที่เราจะพูดถึงเรื่องการเมืองนั้นถ้าเราไม่ดูประเด็นเหล่านี้ ผมคิดว่าเรามองภาพพลาดไปหมด เพราะผมเชื่อว่าตอนนี้ ณ วันนี้ จะมีใครพูดว่าคุณทักษิณจะกลับมาหรือเปล่า จะเกิดน้ำท่วมอีกไหม ซึ่งก็เป็นประเด็นสำคัญ แต่ผมเชื่อว่า 112 และความสำคัญสถาบันกษัตริย์คือหัวใจสำคัญของประเด็นการเมืองไทยทุกวันนี้ ฉะนั้นผมจึงมีความสนใจเป็นพิเศษ นอกเหนือจากเรื่องการเพิ่มจำนวนของผู้ที่ถูกกล่าวหาด้วยมาตราดังกล่าว
เมื่อสักครู่อาจารย์บอกว่าเป็นนักวิชาการและอยู่ในต่างประเทศ สถานการณ์ 112 ในความรับรู้ของประชาคมนานาชาติเป็นอย่างไร เขารับรู้มากนะครับ และจะให้ผมไปอธิบายให้คนต่างชาติฟังว่านี่คือความเป็นไทย ผมทำไม่ได้ เพราะผมโกหกตอแหลไม่ค่อยเก่ง ต่างชาติเขาเข้าใจดี เพราะคุณจะอ้างอะไรก็ตามแต่นี่เป็นเรื่องการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษยชน เราต้องทำ ยิ่งเกิดเหตุการณ์กรณีต่างๆ มากขึ้นเท่าไหร่ เขายิ่งไม่เข้าใจเรามากขึ้นว่าทำไมบทบาทของรัฐบาลซึ่งหน้าที่หลีกคือการปกป้องสิทธิมนุษยชนทำไมกลับปล่อยให้มีกรณีอย่างนี้มากขึ้น เกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย แล้วทำไมจึงมีกลุ่มคนบางกลุ่มที่อยู่นอกเหนือระบบรัฐสภาถึงออกมาเคลื่อนไหวให้มีการเพิ่มโทษมากขึ้นด้วยซ้ำ ให้มีการจับกุมมากขึ้นด้วยซ้ำ มันเกิดอะไรขึ้นในสังคมไทย เขามีความตื่นตัวกันมากและผมขอบอกอย่างหนึ่งว่า ประเทศไทยนั้น (ผมพูดไปแล้ว และผมก็ต้องพูดอีก) ไม่ได้อยู่บนดาวอังคาร ไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว แต่เราอยู่ร่วมกับประชาคมโลก เราในอดีตก็เคยวิพากษ์วิจารณ์ประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำไมถึงตอนนี้เรามีปัญหาถึงไม่เปิดโอกาสให้ประเทศอื่นเขาพูด ไม่ต้องใช้คำว่าวิพากษ์วิจารณ์ก็ได้ เอาเป็นว่าแสดงความห่วงใย เราคงต้องทำกันอย่างแฟร์ๆ มากขึ้น และถ้าไทยคิดว่าเราเป็นประเทศอารยะ ถ้าเราคิดว่าเราอยากอยู่ร่วมกับสังคมโลก ถ้าเราคิดว่าเราจะก้าวขึ้นมามีบทบาทผู้นำในภูมิภาคนี้ เราต้องยอมรับและเปิดใจคุยเรื่องนี้ และต้องหาทางแก้ไข สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
รสมาริน, ภรรยาของนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) Posted: 27 Feb 2012 05:09 AM PST อยากจะวิงวอนว่าผู้ชายคนหนึ่งป้าก็เชื่อว่ายังบริสุทธิ์เพราะไม่เคยมีพฤติกรรมให้เห็นเลยว่าจะมีพฤติกรรมที่ไม่จงรักภักดี และครอบครัวเราเป็นครอบครัวที่จงรักภักดีด้วยเรารู้อยู่แก่ใจ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นป้าก็ไม่รู้จะพูดอะไไรด้อีก แต่ขอให้รู้ว่าครอบครัวเราจงรักภักดีถึงที่สุด นางรสมาริน ภรรยาของนายอำพล หรืออากง SMS, 27 ก.พ. 55, หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ | ||||
"เทพไท" ชี้ทักษิณโฟนอินโบนันซ่าถือเป็นแผนบันได 3 ขั้นหวังกลับไทย Posted: 27 Feb 2012 03:46 AM PST ชี้ไม่มีคนเมาที่ไหนยอมรับว่าตัวเองเมา เชื่อสังคมจะพิพากษา "เฉลิม" เอง ส่วนกรณีเสื้อแดงชุมนุมโบนันซ่าแล้วทักษิณโฟนอินเพื่อให้ทักษิณส่งน้องสาวไปคุมอำนาจรัฐ เตรียมแก้ รธน. หวังกลับบ้าน และได้เงิน 4.6 หมื่นล้านคืน ชี้การชุมนุมโบนันซ่าก็เพื่อแสดงพละกำลังข่มขู่ภาคประชาชนกลุ่มอื่น และหวังกดดันกองทัพ ในการแถลงข่าวของพรรคประชาธิปัตย์วันนี้ (27 ก.พ.) เว็บไซต์คมชัดลึก รายงานว่า นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช กล่าวถึงพฤติกรรม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีในสภาว่าการที่จะเอาผิดคนเมาและเข้าไปในสภาค่อนข้างจะสิ้นหวังและเลือนลางเพราะมีความพยายามปฎิเสธ ด้วยการอ้างคำพูดของเจ้าของกรณีมาเป็นตัวตั้งว่าไม่ได้เมาเหล้าแต่เมารัก ซึ่งมีการอธิบายชัดเจนจาก ร.ต.อ.เฉลิมว่าอยู่ในอาการมึนเมาเพราะคนไม่เมาจะไม่พูดเช่นนี้ และฝากไปยังประธานสภาว่าไม่ต้องพยายามพิสูจน์หรือตั้งคำถามกับคนเหล่านี้เพราะจะต้องปฎิเสธแน่นอน “ไม่มีคนเมาที่ไหนยอมรับว่าตัวเองเมาทั้งที่คลาน 4 ขา กรณีของร.ตอ.เฉลิมสังคมคงจะพิพากษาเอง เราไม่คาดหวังการลงโทษจากคนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรรมการจริยธรรม แต่เชื่อว่าต่อไปนี้สังคมจะเปลี่ยนยศให้คุณเฉลิมจาก ร.ต.อ. เป็น ม.ท.ว.” นายเทพไทกล่าว ส่วนการจัดงานคอนเสิร์ตที่โบนันซ่านั้น นายเทพไทกล่าวว่า ถือเป็นกิจกรรมที่คนเสื้อแดงต้องการเปิดเวทีให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีสื่อสารกับมวลชนของตนเองโดยหยิบยกเรื่องบรัฐประหารมาเป็นประเด็น เชิญชวนให้คนเสื้อแดง เพราะถ้าเป็นการชุมนุมคนทั่วไปไม่สามารถที่จะรวมพลกันได้ขนาดนี้ สิ่งที่เห็นบนเวทีครั้งนี้คือพ.ต.ท.ทักษิณเดินแผนบันได 3 ขั้นเพื่อให้ตนเองประสบความสำเร็จ คือ บันไดขั้นที่ 1 การเคลื่อนไหวเข้าไปคุมอำนาจรัฐ โดยส่งน้องสาวเข้าไปเป็นนายกฯตามที่ตนเองต้องการ ขั้นที่ 2 ที่กำลังทำขณะนี้คือ เตรียมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้กติกาเพื่อตนเอง เชื่อว่าก็คงจะประสบความสำเร็จหากมวลชนที่ต่อต้านไม่เข้มแข็งพอ และบันไดขั้นที่ 3 คือจะได้กลับบ้านโดยถูกต้องและได้คืนสิทธิทางการเมือง รวมถึงได้คืนเงินที่ถูกยึดไป 4.6 หมื่นล้านบาท เมื่อถึงวันนั้นสมปรองดองที่พ.ต.ท.ทักษิณพูดคงจะเป็นจริงขึ้นมาได้ นายเทพไท กล่าวว่า ปรากฎการณ์ที่โบนันซ่าเป็นสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณและแกนนำคนเสื้อแดงต้องการแสดงพละกำลังข่มขู่กลุ่มการเมืองภาคประชาชนกลุ่มอื่น รวมไปถึงกดดันกองทัพเพื่อให้เห็นว่าพวกตนมีความสามัคคีอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตอบย้ำเรื่องความมีเอกภาพของแกนนำกลุ่ม ส่วนความเคลื่อนไหวของกลุ่มสยามสามัคคีนั้น ในวันนี้ (27 ก.พ.) นายประสาร มฤคพิทักษ์ อดีต ส.ว. สมาชิกกลุ่มสยามสามัคคี เผยว่ากลุ่มสยามสามัคคีได้นัดหมายรวมตัวกันที่สวนลุมพินี ในวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม เวลา 17.30 น. เพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยจะมีการจัดเวทีอภิปรายวิชาการกึ่งปราศรัย มีวิทยากรที่เข้าร่วม อาทิ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นายเสรี วงศ์มณฑา นายแก้วสรร อติโพธิ หรือแกนนำนักวิชาการกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ นายบรรเจิด สิงคเนติ คาดว่าจะมีประชาชนเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 3,000 คน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
เมตตาบาทาพันธ์ศักดิ์ ถึง อ.ฝาง รายงานตัวสอบปากคำแล้ว Posted: 27 Feb 2012 03:37 AM PST "พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ" รายงานตัว-สอบปากคำที่ สภ.ฝาง แล้ว นัดอีก 12 มี.ค. เพื่อเซ็นต์รับทราบข้อกล่าวหาก่อนส่งคดีชั้นอัยการ
27 ก.พ. 55 - เวลาประมาณ 10.30 น. ที่ สภ.ฝาง นายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ที่ถูกพระกิตติศักด์ กิตติโสภโณ แจ้งความกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพหรือตัวอักษร อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ไว้ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ในกรณีที่มีการโต้ตอบกันในเฟซบุ๊ค ได้เดินทางถึง สภ.ฝาง เพื่อรายงานตัวและสอบปากคำ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ฝางได้นัดหมายอีกครั้งในวันที่ 12 มี.ค. 55 เพื่อเซ็นต์รับทราบข้อกล่าวหาก่อนการส่งฟ้องในชั้นอัยการต่อไป
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
หลายเสียงสะท้อนถึง “คอป.” ผลสะเทือนจากวาทะ “เรื่องผัวเมียทะเลาะกัน” Posted: 27 Feb 2012 03:04 AM PST สัมภาษณ์นางวรานิษฐ์ อัศวสิริมั่นคง ภรรยานายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง 27 ก.พ.55 พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะทำงานศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) ให้สัมภาษณ์ถึงคำให้สัมภาษณ์ของนายสมชาย หอมลออ ในหนังสือพิมพ์มติชนเรื่อง "สมชาย หอมลออ"แย้มผลสอบสลายชุมนุมพฤษภา′53 ผัวเมียทะเลาะกัน... ผิดทั้งคู่ ว่า หากความเห็นของสมชายกลายมาเป็นข้อสรุปอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ก็เป็นเรื่องน่าเศร้ามาก เพราะ คอป.ใช้ภาษีของประชาชนไปหลายสิบล้านบาท แต่กลับได้ข้อสรุปที่ไม่ได้อิงกับหลักการอะไรเลย การเปรียบเทียบเหตุการณ์ที่รัฐใช้กระสุนจริง 1.2 แสนนัด อาวุธหนักอื่นอีกจำนวนมาก และกำลังทหารหลายพันคน จนส่งผลให้ผู้ชุมนุมเสียชีวิต 93 คน บาดเจ็บอีกนับพัน ไม่มีวันเท่ากับเรื่องผัวเมียทะเลาะกันโดยเด็ดขาด “ดิฉันอยากบอกคุณสมชายว่า ในโลกสมัยใหม่ เวลาที่ผัวเมียทะเลาะกัน ไม่ว่าใครจะเริ่มด่าใครก่อน แต่ถ้าผัวเริ่มใช้กำลังทำร้ายเมีย คนเป็นเมียก็สามารถเอาผัวเข้าคุกได้ หรือคุณสมชายยังหลงอยู่ในโลกยุคหินที่อนุญาตให้ผัวทำร้ายเมียแค่ไหนก็ได้โดยไม่ผิด และอนุญาตให้อำนาจรัฐฆ่าประชาชนของตนเองยังไงก็ได้หากประชาชนลุกขึ้นมาท้าทายอำนาจนั้น ดิฉันเชื่อว่าคุณสมชาย ซึ่งทำงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมาครึ่งค่อนชีวิต ย่อมรู้ดีว่า ในโลกสมัยใหม่ เรามีหลักสิทธิมนุษยชนและหลักที่ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้กำลังเกินกว่าเหตุ คอยกำกับควบคุมการทำงานของรัฐ นี่เป็นหลักการที่มุ่งปกป้องชีวิตของพลเมือง ไม่ใช่เพื่อปกป้องอำนาจรัฐ แม้ว่ารัฐคือผู้ผูกขาดการใช้ความรุนแรงโดยมีกฎหมายรองรับ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะสามารถทำอะไรตามอำเภอใจโดยไม่ต้องรับผิดชอบ ดิฉันอยากถามว่าหลักการเหล่านี้ได้ถูกนำมาพิจารณาในงานของคอป.บ้างหรือเปล่า ณ วันนี้ คอป. จะตอบอย่างไรกับหลายกรณีที่คนตายและบาดเจ็บไม่มีอาวุธอยู่ข้างกาย” พวงทองกล่าว พวงทองกล่าวต่อว่า ในบทสัมภาษณ์ที่ดังกล่าว สมชายยังบอกว่าไม่เห็นด้วยกับพล็อตเรื่องทั้ง 2 แบบที่อธิบายสาเหตุของความรุนแรง แบบที่ 1 คือ เรื่องชายชุดดำแฝงตัวเข้าในผู้ชุมนุม เพื่อยั่วยุให้ทหารยิงตอบโต้ เพื่อหวังปีนกองเลือดประชาชนไปสู่ชัยชนะ กับแบบที่ 2 ที่ว่าชนชั้นสูงต้องการปราบชนชั้นล่างให้ราบคาบ จึงให้รัฐบาลปราบประชาชน แต่ดิฉันกลับคิดว่าพล็อตเรื่องผัวเมียทะเลาะกันมันเข้ากันได้ดีกับเรื่องชายชุดดำ และเรื่องเผาบ้านเผาเมือง เพราะนี่เป็นคำอธิบายหลักที่พรรคประชาธิปัตย์ใช้มาโดยตลอด เป็นคำอธิบายที่ให้ความชอบธรรมแก่รัฐบาลปชป. หรือ “ผัว” ปราบประชาชนหรือ “เมีย” ให้เด็ดขาดนั่นเอง ส่วนความเห็นต่อการทำงานที่ผ่านมาของ คอป. พวงทองกล่าวว่า ถ้าดูชื่อเต็มของ คอป. “คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ” จะเห็นว่าภาระหน้าที่หลักของ คอป. มี 2 อย่าง หนึ่งคือ การค้นหาความจริง สองคือ การแสวงหาแนวทางปรองดอง ในช่วงที่ก่อตั้ง คอป.ใหม่ๆ คนใน คอป.มักย้ำเรื่อง การปรองดอง ไม่ค่อยพูดเรื่องการแสวงหาความจริงเท่าไร ทำราวกับว่าเราสามารถกระโดดไปหาการปรองดองได้ โดยไม่ต้องหาความจริงก่อนว่าใครบ้างที่ต้องรับผิดชอบกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น แต่ในระยะหลัง คอป.เริ่มพูดเรื่องการแสวงหาความจริงมากขึ้น ซึ่งก็ตั้งตารอดูความจริงฉบับ คอป.อยู่ ส่วนกรณีที่ คอป.เชิญอดีตเลขาธิการยูเอ็น นายโคฟี่ อันนัน และอดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ นายมาร์ตติ อาห์ติซารี มานั้น พวงทองกล่าวว่า เรียนตามตรงว่าเสียดายเงิน เท่าที่หนังสือพิมพ์รายงานคำพูดของทั้งสองคนก็ไม่เห็นว่าเราจะได้อะไรใหม่ ๆ ทั้งสองคนก็ย้ำว่า ทุกฝ่ายต้องพูดความจริง ตรงไปตรงมา อะลุ้มอล่วย ประนีประนอม ซึ่งเราก็ได้ยินคำพวกนี้มาตลอด ปัญหาคือ ทั้งนายอันนัน และอาห์ติซารี ไม่ได้มีความรู้เรื่องความขัดแย้งในสังคมไทยเพียงพอที่จะพูดอะไรได้ลึกซึ้งมากไปกว่าตอกย้ำคีย์เวิร์ดที่พวกเขาท่องจำกันจนขึ้นใจ จริง ๆ อย่างไรก็ตาม คอป.อาจจะพอใจที่ได้แสดงภาพลักษณ์ความเป็นอินเตอร์ของตนให้คนในประเทศไทยได้เห็นก็เป็นได้ แต่ครอบครัวของคนที่มีคนเจ็บคนตาย คงไม่สนใจกับเรื่องนี้ เขาอยากรู้มากกว่า เกือบสองปีที่ผ่านมา คอป. ค้นพบความจริงอะไรบ้าง ที่จะคืนความยุติธรรมให้กับเขาได้
ลงพื้นที่น้อย ชาวบ้านโอดผ่านไปนานเพิ่งเก็บข้อมูลเบื้องต้น ขณะที่ นีรนุช เนียมทรัพย์ เจ้าหน้าที่ภาคสนามของ ศปช. กล่าวถึงการทำงานของ คอป.ว่า นายสมชาย หอมลออ เคยนำทีมงานลงพื้นที่ภาคอีสานเมื่อต้นปี 55 จัดเวทีประชุมร่วมกับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ซึ่งเป็นญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิต ผู้ถูกจับกุม ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการจัดประชุมรวมญาติของทุกจังหวัดในภาคอีสาน โดยใช้เวลาประชุมเพียงครึ่งวัน และเป็นเพียงการสอบถามข้อมูลเบื้องต้นของปัญหาในแต่ละจังหวัด กระทั่งทำให้อดีตผู้ต้องขังในคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ลุกขึ้นมาต่อว่าว่าเวลาผ่านมากว่าปี คอป.ทำไมจึงยังคงมาถามข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลคดี ขณะที่ชาวบ้านในหลายพื้นที่ก็ตั้งคำถามว่าทำไม คอป.จึงไม่ลงไปทำเวทีในแต่ละจังหวัดเลย เพราะชาวบ้านเดินทางมาอย่างยากลำบาก และค่ารถที่ให้ก็ไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่ ศปช.กล่าวว่า เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า กระบวนการของ คอป. นั้นล่าช้ามาก และไม่มีฐานข้อมูลในมือ ซึ่งส่งผลต่อข้อเสนอของ คอป. ที่แม้ว่าจะมีกรอบการมองปัญหาที่ถูกต้อง เช่นการพยายามอธิบายถึงมูลเหตุจูงใจทางการเมืองของผู้ต้องหาเสื้อแดงซึ่งไม่เหมือนคดีอาญาทั่วไป แต่ข้อเสนอรูปธรรมก็ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่นที่ คอป.เสนอให้ชะลอคดีไว้ก่อน ทั้งที่ส่วนใหญ่คดีตัดสินไปแล้ว ติดคุกไปแล้ว นอกจากนี้ยังไม่มีข้อเสนอต่อการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมแม้แต่น้อย “ข้อเสนอคอป.ทั้งหมดมุ่งสู่รัฐบาล โดยละเลยส่วนที่สำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งคือ กระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะปัญหาการซ้อมผู้ต้องหา การหลอกล่อให้รับสารภาพ แล้วศาลก็ใช้หลักฐานเหล่านั้น ...งานเยียวยาเป็นแค่เพียงเรื่องเฉพาะหน้าเท่านั้น” นีรนุชกล่าว
ภรรยาผู้เสียชีวิตเผย คอป.เชิญประชุมโคฟี อันนัน แค่ให้นั่งฟังปาฐกถา ส่วนนางวรานิษฐ์ อัศวสิริมั่นคง ภรรยานายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง ผู้เสียชีวิตรายล่าสุดหลังถูกยิงบริเวณถนนพระราม 4 บ่อนไก่ในช่วงการสลายการชุมนุม ปี 2553 ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้าพบนายโคฟี อันนัน และอดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ว่า ทางคอป.ได้เชิญเข้าร่วมด้วย แต่มีเวลาให้เพียงแนะนำตัวเท่านั้น แทบไม่ได้เล่าเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นเลย เวลาส่วนใหญ่เป็นการนั่งฟังทั้งสองคนเล่าถึงประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังได้พูดคุยกับนายสมชาย หอมลออ ด้วยถึงการให้สัมภาษณ์ว่าไม่เห็นด้วยกับการให้เงินชดเชยผู้ได้รับผลกระทบทั้งที่มันเป็นสิ่งที่ผู้เสียหายควรจะได้รับเพื่อเยียวยาความเดือดร้อน อย่างไรก็ตาม นายสมชายได้ปฏิเสธว่าไม่ได้ให้สัมภาษณ์ในลักษณะดังกล่าว (ชมสัมภาษณ์เต็มจากคลิปด้านบน) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
อภิสิทธิ์ค้านแก้รธน.ขอ 15 ล้านเสียง "เกรงใจ 25 ล้านเสียงที่ไม่ได้เลือกท่านด้วยนะครับ" Posted: 27 Feb 2012 02:35 AM PST อภิปรายช่วงที่หนึ่ง อภิปรายช่วงที่สอง ที่มา: TheDMParty/youtube.com ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่.... พ.ศ. ... เมื่อคืนวันที่ 24 ก.พ. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตนเองยังย้ำจุดยืนพรรคประชาธิปัตย์ว่าไม่เห็นด้วยที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับซึ่งการแก้ไขครั้งนี้ถือเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ปี 2550 และยกร่างใหม่ เกรงว่าจะไม่ทำให้เกิดความปรองดองเพราะมีหลายเหตุการณ์สุ่มเสี่ยงและยอมรับว่าแม้รัฐธรรมนูญปี 2550 จะเป็นผลพวงมาจากการรัฐประหาร แต่ไม่เพียงพอที่จะใช้เป็นเหตุผลในการแก้ไข โดยขอให้รัฐบาลพิจารณาอย่างรอบคอบเพราะความเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ขึ้นอยู่ที่บทบัญญัติแต่ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ด้วย อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับบางมาตรา เช่น การแก้ไขเขตเลือกตั้ง ที่มาของ ส.ว. และการยุบพรรค โดยตอนหนึ่งนายอภิสิทธิ์ อภิปรายว่า “เกณฑ์ที่จะใช้ในการพิจารณา ผมเรียกสั้นๆว่า 3 ป. คือ 1. ประชาธิปไตย 2.ปฎิรูป 3.ปรองดอง ถ้าในวันนี้พวกผมเห็นว่าการผ่านรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ร่าง ทำให้เกิดประชาธิปไตย ทำให้เกิดการปฏิรูป ทำให้เกิดความปรองดอง ผมพูดแทนท่านสมาชิกทุกคนได้ครับว่าจะไม่ลังเลใจเลย "สิ่งที่บอกเหตุหลายอย่างว่าสิ่งที่มีการเสนอเข้ามาในวันนี้มันจะไม่บรรลุเป้าหมายทั้ง 3 และมีความเสี่ยงว่าจะได้ผลในทางตรงกันข้าม” "ถ้าผู้มีอำนาจคิดอย่างเดียวว่าคนชนะกินรวบ สังคมแตกแยกครับ ผมจึงบอกว่าวันนี้ 15 ล้านเสียง ของท่าน ที่ท่านอ้างเป็นเสียงข้างมาก เกรงใจ 25 ล้านเสียงที่ไม่ได้เลือกท่านด้วยนะครับ ที่เป็นเสียงข้างน้อย เพราะมีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งประมาณ 40 ล้านคน การที่จะทำอะไรนำไปสู่การปฎิรูป หวังที่จะให้รัฐธรรมนูณฉบับใหม่เป็นประชาธิปไตย สร้างชาติ สร้างความปรองดอง มันต้องเริ่มจากตรงนี้ พวกเราถึงได้อภิปรายครับว่าเหตุผลของทั้งสามฉบับที่เพื่อนสมาชิกเขียนมาเราไม่เห็นด้วย เราคิดว่าตั้งโจทย์ผิด” “แม้แต่ลักษณะต้องห้ามของส.ส.ร. ผมก็เพิ่งเคยเห็นครับว่า เว้นเป็นครั้งแรกครับ กรณีคนที่เคยถูกจำคุก เตรียมใครมาเป็น ส.ส.ร. หรือครับ จะไม่ให้คิดได้อย่างไร เพราะอย่างนั้นประเด็นทั้งหมดนี้ผมถึงกราบเรียนว่า ถ้าวันนี้ท่านอยากได้ประชาธิปไตย ท่านอยากปฏิรูป ท่านอยากปรองดอง พวกผมยินดีร่วม เอื้อมมือมาสักนิดสิครับ มาคุยกันสิครับว่า รูปแบบของการเดินหน้าเรื่องนี้รูปแบบไหนที่จะไปด้วยกันได้" "ตั้งหลักกลับไปทบทวนกันใหม่ เรื่องนี้ทำกันใหม่ให้ดี ทำได้ครับ แต่กลับไปก่อน วันนี้พวกกระผมไม่รับหลักการทั้งสามฉบับครับ ขอบพระคุณครับ”
ที่มา: เรียบเรียงจาก สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ และ เฟซบุค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
สัมมนาทิศทาง ‘โรงไฟฟ้า’ ที่แปดริ้ว ชาวบ้านค้านเปลี่ยนใช้ ‘ถ่านหิน’ แทน ‘ชีวมวล’ Posted: 27 Feb 2012 02:26 AM PST ย้ำภาครัฐต้องทบทวนข้อมูล-เหตุผลก่ กรณีที่ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม บริษัทพาวเวอร์ซัพพลาย จำกัด ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลขนาด 47.7 เมกกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่ ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เปิดดำเนินการตั้งแต่ปลายปี 2542 ยื่นเอกสาร ถึงสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อขอเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล เช่น เหง้ามัน และแกลบ เป็นถ่านหิน 100% การขอเปลี่ยนแปลงนี้ ทางบริษัทจะต้องยื่นขออนุญาตและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ฉบับใหม่ เพื่อยื่นกับ สผ.และ สผ.จะนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาอีไอเอ (คชก.) คาดว่าจะประชุมพิจารณาอีกครั้ง ในวันที่ 1 มีนาคม นี้ หลังจากเลื่อนการพิจารณามาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อวันนี้ 26 กุมภาพันธ์ 2555 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเสวนา เรื่อง “จะตัดสินใจอย่างไร หากโรงไฟฟ้าชีวมวลจะเปลี่ยนเป็นถ่านหิน” ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยมีวิทยากรจากทั้งภาควิชาการ นักวิจัย ตัวแทนชุมชนเข้าร่วม นักวิจัยด้านพลังงานชี้ ‘ชีวมวล’ ก็มีผลกระทบ เป็น ‘ถ่านหิน’ ยิ่งอันตราย นายศุภกิจ นันทะวรการ นักวิจัยด้านพลังงานและอุตสาหกรรม มูลนิธินโยบายสุขภาวะ (มนส.) กล่าวว่า การที่โรงไฟฟ้าชีวมวลเปลี่ยนเชื้อเพลิงเป็นถ่านหินนั้นเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก เพราะเดิมที่เป็นเชื้อเพลิงจากชีวมวลก็มีผลกระทบเกิดขึ้นแล้วคือ ฝุ่นจากแกลบแต่เมื่อเปลี่ยนเป็นถ่านหินซึ่งจะมีมลพิษชนิดอื่นตามมาด้วย นั่นคือ ปรอทและโลหะหนักซึ่งไม่พบในแกลบ “งานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดที่ทำให้กับสมาคมปอด ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายปี 2554 พบว่า ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 0.625-2.5 ไมครอน ทำให้ระบบหายใจกรองเอาไว้ไม่ได้ โดยฝุ่นพวกนี้จะเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง และมีสารปรอทและโลหะหนักเกาะไปกับฝุ่นพวกนี้ด้วย ปัญหาคือประเทศไทยยังไม่มีเกณฑ์ตรวจวัดปริมาณฝุ่นที่ออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือโรงไฟฟ้า นอกจากนี้ยังน่ากังวลในเรื่องผลกระทบทางน้ำ เพราะฝุ่นขนาดเล็กมากและโลหะที่ออกมาจากโรงไฟฟ้าอาจจะไปปนเปื้อนในน้ำ และดิน ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและต้นไม้ โดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตร” นายศุภกิจ กล่าว นายศุภกิจ กล่าวต่อว่า หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติ อนุญาต รวมถึงหน่วยงานที่สนับสนุนดูแลนโยบายพลังงานควรศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน พิจารณาประเด็นสำคัญคือเหตุผลในการขอเปลี่ยนเชื้อเพลิง ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ศักยภาพของพื้นที่ ก่อนตัดสินใจอนุมัติการเปลี่ยนเชื้อเพลิงเป็นถ่านหิน เพราะนโยบายพลังงานชีวมวลมีเพื่อทดแทนพลังงานถ่านหินที่ก่อมลพิษสูง นอกจากนี้ สผ.และโรงไฟฟ้าฯ ควรเปิดเผยข้อมูลของโครงการดังกล่าวและขั้นตอนการดำเนินการในปัจจุบันให้ชุมชนและสาธารณะทราบ เพื่อสร้างความเข้าใจและร่วมกันตัดสินใจที่ดีเหมาะสมกับทุกฝ่าย อีกทั้งเป็นสิทธิของชุมชนที่จะมีสิทธิ์รับรู้ข้อมูลกิจกรรมหรือโครงการที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ของตนเอง นักวิชาการกังขา ไทยสวนกระแสเอา ‘ถ่านหิน’ ใช้แทน ‘ชีวมวล’ ดร.ชัชวาลย์ จันทรวิจิตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยณเรศวร กล่าวว่า ในต่างประเทศจะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนจากถ่านหินมาเป็นชีวมวลในการผลิตกระแสไฟฟ้า แต่น่าแปลกใจที่ประเทศไทยกลับรับที่จะพิจารณาที่โรงไฟฟ้าชีวมวลขอเปลี่ยนมาใช้ถ่านหิน และหากจะเปลี่ยนเชื้อเพลิงเป็นถ่านหินจะต้องเพิ่มเทคโนโลยีดักจับมลพิษจากถ่านหิน และในรายงานอีไอเอจะต้องมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเช่น ฝุ่นถ่านหิน มลพิษถ่านหินที่จะปนเปื้อนออกมา การเพิ่มภาวะโลกร้อนซึ่งเป็นประเด็นที่ต่างประเทศบังคับให้ศึกษา ซึ่งช่วยกำกับเทคโนโลยีและเชื้อเพลิงที่จะใช้จะได้เป็นเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แฉ ‘เปลี่ยนเชื่อเพลิง’ หวังตอบสนองการพยากรณ์ใช้ไฟฟ้าเกินจริง น.ส.จริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ศึกษาและเก็บข้อมูล พบว่ากรณีนี้ มีเรื่องน่าติดตาม 3 ประเด็น คือ 1.การพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยสูงเกินความเป็นจริงอยู่ถึง 600 เมกะวัตต์ ซึ่งเท่ากับโรงไฟฟ้าถ่านหิน 1 โรง เชื่อมโยงกับกรณีการเปลี่ยนแปลงเชื้อเพลิงจากชีวมวลมาเป็นถ่านหิน ซึ่งให้พลังงานมากกว่า เพราะโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม บริษัทพาวเวอร์ซัพพลาย จำกัด นี้มีสัญญาขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กฟภ.ต้องการไฟฟ้าเก็บไว้ให้เท่ากับตัวเลขที่ได้พยากรณ์ไว้ ห่วง ‘เถ้าถ่านหิน’ ฟุ้งกระจาย เกิดผลกระทบไกลกว่า 5 กม. น.ส.จริยา กล่าวต่อว่า ปัจจุบันการศึกษาผลกระทบทางอากาศมักจะศึกษาในรัศมี 5 กม.รอบโรงไฟฟ้าเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงมีปัจจัยหลายชนิดที่ทำให้เกิดผลกระทบไกลกว่า 5 กม.เช่นทิศทางลมและสภาพของพื้นที่ จากการศึกษาเรื่องถ่านหินในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า สารที่เกิดจากการเผาไหม้ นอกจากมีคาร์บอนไดออกไซด์ กับซัลเฟอร์ไดออกไซด์แล้ว ยังมีสารปรอทอีกด้วย กรีนพีซเคยศึกษา และทำรายงานการเผาไหม้ของถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย พบว่า ถ่านหิน 100 เมกกะวัตต์ จะทำให้เกิดสารปรอทประมาณ 10 กิโลกรัม ซึ่งถ่านหินที่จะเป็นเชื้อเพลิงใหม่ในโรงไฟฟ้าที่ จ.ฉะเชิงเทรา น่าจะทำให้เกิดสารปรอทประมาณ 5-6 กิโลกรัมตามสัดส่วน “เราพบว่า หากเผาถ่านหิน 4 ตันจะเกิดขี้เถ้า 1 ตัน และหากมีลมพัด ที่ความเร็ว 5.5-7.9 เมตร ต่อวินาที จะทำให้เถ้าของถ่านหินนั้นฟุ้งกระจายไปได้ไกลครอบคลุมพื้นที่ถึง 150,000 ตารางกิโลเมตรทีเดียว ที่สำคัญคือ จ.ฉะเชิงเทรา เป็น จังหวัดที่มีลมเข้ามาถึง 3 ทิศ ดังนั้นการพิจารณาอีไอเอฉบับนี้ต้องพิจารณาข้อมูลตัวนี้ประกอบด้วย” นส.จริยา กล่าว นส.จริยา กล่าวว่า เวลานี้ทั่วโลกต่างกำลังตื่นตัวกับเรื่องการการลดการใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยเองก็ยอมรับในหลักการของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change) หรือไอพีซีซี (IPCC) ว่าด้วยเรื่องการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ แต่ในทางปฏิบัติกลับเกิดกรณีโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานชีวมวลกลับไปใช้ถ่านหิน ซึ่งเป็นตัวสร้างปัญหาทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อให้เกิดผลร้ายทางการเปลี่ยนแปลงอากาศและภูมิอากาศมากมาย นักวิจัยชุมชน เผยชาวบ้านห่วงผลกระทบแหล่งน้ำสาธารณะ-สวนมะม่วง-นาข้าวอินทรีย์ นส.กอบมณี เลิศพิชิตกุล นักวิจัยชุมชน ต. เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า หลังจากชาวบ้านในพื้นที่ทราบเรื่องการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทุกคนค่อนข้างจะเป็นกังวลว่าจะมีผลกระทบเกิดขึ้น ทั้งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จึงพยายามขอข้อมูลจากบริษัท และจาก สผ.ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีอะไรและผลกระทบเป็นอย่างไร แต่ไม่ได้รับข้อมูลจากทั้ง 2 หน่วยงาน ชาวบ้านในพื้นที่จึงรวมตัวกันตั้งคณะนักวิจัยชุมชนขึ้นเพื่อศึกษาและสำรวจความคิดเห็นของคนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า และพื้นที่ใกล้เคียงว่าหากโรงไฟฟ้าโรงนี้เปลี่ยนเชื้อเพลิงเป็นถ่านหิน ชาวบ้านมีความกังวลในเรื่องอะไรบ้าง การศึกษาดังกล่าวได้ข้อสรุปสำคัญ 3 ข้อ คือ 1.หวั่นฝุ่นละอองที่ปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าอาจจะปนเปื้อนลงแหล่งน้ำสาธารณะ 2.กระทบนาข้าวอินทรีย์และสวนมะม่วงที่ส่งขายต่างประเทศ 3.มลพิษจากถ่านหิน เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โลหะหนัก และปรอทอาจกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม “บริเวณที่ตั้งของโครงการนี้เป็นพื้นที่ของลุ่มน้ำคลองท่าลาด ซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำบางปะกง ซึ่งชาวบ้านใช้ผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน และน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค รวมทั้งหลายร้อยครอบครัว หาปลาอยู่ในพื้นที่นี้ หากมีการปนเปื้อนของสารเคมี หรือเถ้าถ่านที่มาจากถ่านหินในแหล่งน้ำ จนปลาและสัตว์น้ำอยู่ไม่ได้ น้ำกินน้ำใช้ไม่ได้ ชาวบ้านจะทำอย่างไร ที่สำคัญคือ บริเวณนี้เป็นพื้นที่สำคัญในการปลูกมะม่วงของประเทศไทยรู้จักกันในนามมะม่วงแปดริ้ว มีประมาณ 8 หมื่นไร่ เป็นแหล่งมะม่วงที่สำคัญที่สุดในประเทศ ชาวบ้านส่งมะม่วงขาย โดยเฉพาะพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง และน้ำดอกไม้เบอร์สี่ ฟ้าลั่น รวมถึงพันธุ์อื่นๆ สร้างรายได้ให้ประเทศมากกว่าปีละ 600 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ประมาณ 2,000 ไร่ ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ส่งไปยังสหภาพยุโรปปีละ 50 ตัน หากมีการปนเปื้อนของสารเคมีที่ออกมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินอาชีพเหล่านี้จะอยู่ไม่ได้เลย” นส.กอบมณี กล่าว
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ มอบเงินแคมเปญก้าวข้ามความกลัวรอบแรกให้ภรรยาอากง Posted: 27 Feb 2012 02:00 AM PST ปวินได้มอบเงินจำนวน 35,000 บาท ซึ่งเป็นเงินงวดแรกที่รวบรวมจากการขายตรงหนังสือให้กับนางรสมาริน ตามที่ได้ประกาศไว้เมื่อเริ่มแคมเปญ “ก้าวข้ามความกลัว” โดยหลังจากนี้ จะรวบรวมจำนวนเงินบริจาคทั้งหมดเพื่อส่งมอบให้กับครอบครัวของอากงผ่านทางนางรสมารินต่อไป วันที่ 27 ก.พ. 2555 เวลา 9.00 น. นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ได้เข้าเยี่ยม นายอำพล (สงวนนามสกุล) หรือ “อากง” พร้อมกับนางรสมาริน (สงวนนามสกุล) หรือป้าอุ๊ ภรรยาของนายอำพล ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยนายปวินได้มอบเงินจำนวน 35,000 บาท ซึ่งเป็นเงินงวดแรกที่รวบรวมจากการขายตรงหนังสือตามงานต่างๆ ให้กับนางรสมาริน ตามที่ได้ประกาศไว้เมื่อเริ่มแคมเปญ “ก้าวข้ามความกลัว” โดยหลังจากนี้ จะรวบรวมจำนวนเงินบริจาคทั้งหมดและส่วนที่ขายทางไปรษณีย์เพื่อส่งมอบให้กับครอบครัวของอากงผ่านทางนางรสมารินต่อไป “เงินก้อนแรกที่เรามอบให้ภรรยาอากงเป็นเงิน 35,000 บาท เป็นเงินที่ได้จากการขายหนังสือทั้งหมดหักค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าจัดพิมพ์เท่านั้น แล้วไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งสิ้น ที่เหลือเรามอบให้ครอบครัวอากงจริงๆ แต่ว่ายังมีเงินที่เหลืออีกก้อนหนึ่งที่ยังติดด้านเทคนิคนิดหน่อย คือยังมีเงินบริจาคเข้ามาด้วย ซึ่งเราจะเก็บเงินบริจาคส่วนนั้นไว้ส่งมอบเป็นเงินก้อนที่สอง ผมจะจัดการรวบรวมเงินก้อนที่สองส่งให้กับทางครอบครัวอากงต่อไป ซึ่งผมจะบอกกับทุกคนเมื่อเวลานั้นมาถึง ก็ต้องขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่งสำหรับคนที่ช่วยเหลือโครงการนี้” นายปวินได้เปิดเผยกับทางประชาไทว่า แคมเปญ “ก้าวข้ามความกลัว” ถือว่ายุติลงในส่วนแรก แต่เขาเห็นว่าการรณรงค์เพื่อนักโทษที่ถูกกล่าวหาด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ต้องดำเนินต่อไป “ผมได้พบอากงแล้ว อากงก็ทั้งดีใจด้วยที่ได้เจอกัน และก็ทั้งเสียใจด้วย ผมเห็นแกแล้วผมก็สะเทือนใจ แกก็ร้องไห้ อาจจะเป็นเพราะว่าแกก็ไม่ค่อยได้เจอใครนะครับ ผมก็ได้พยายามอธิบาย คุยกับอากงว่าการรณรงค์เป็นแบบไหน ไปถึงไหนแล้ว ผมทำได้อย่างเดียวคือให้กำลังใจแก บอกแกว่าอย่าเพิ่งหมดหวัง อยากจะให้รู้ว่าคนที่อยู่ข้างนอกกก็ยังต้องการช่วยแกอยู่ และมันก็จะไม่จบแค่นี้นะครับ คือการต่อสู้มันต้องมีความหวัง และแกก็ฝากขอบคุณที่ได้ช่วยแก โดยเฉพาะขอบคุณโครงการที่เราทำร่วมกัน คือโครงการก้าวข้ามความกลัว และหนังสือที่เราทำขึ้นมา อากงก็ยังเล่าให้ฟังด้วยว่า อากงได้หนึ่งเล่ม มีคนส่งให้อากง อากงก็ได้ดูและยังไม่อยากเชื่อว่าจะมีคนทำหนังสือให้ เพื่อนที่อยู่ในเรือนจำก็ยังได้อ่านด้วย แกก็หัวเราะออกมาได้นิดหนึ่ง” นายปวินเล่าถึงบรรยากาศการพูดคุยกับนายอำพล ด้านป้าอุ๊ ภรรยาของอากงกล่าวขอบคุณนายปวินและแสดงความดีใจที่มีหลายฝ่ายเข้ามาให้ความช่วยเหลือ พร้อมเปิดเผยว่า หลังจากศาลมีคำสั่งไม่ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์นั้น นายอำพลมีสภาพเศร้าและหดหู่ ในส่วนของตัวเธอเองต้องทำจิตใจให้เข้มแข็งเพื่อเป็นที่พึ่งให้กับครอบครัวต่อไป ทั้งนี้ นายอำพลได้ขอร้องให้มาเยี่ยมทุกวัน เพราะต้องการคนพูดคุยและอยากทราบข่าวคราวของครอบครัวและหลานๆ “บางครั้งก็รู้สึกน้อยใจ แต่ก็อยากจะวิงวอนว่าผู้ชายคนหนึ่งป้าก็เชื่อว่ายังบริสุทธิ์เพราะไม่เคยมีพฤติกรรมให้เห็นเลยว่าจะมีพฤติกรรมที่ไม่จงรักภักดี และครอบครัวเราเป็นครอบครัวที่จงรักภักดีด้วยเรารู้อยู่แก่ใจ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นป้าก็ไม่รู้จะพูดอะไไรด้อีก แต่ขอให้รู้ว่าครอบครัวเราจงรักภักดีถึงที่สุด” สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: จาก ครก.ถึงตุลาการ และพรรคเพื่อไทย Posted: 27 Feb 2012 01:33 AM PST
คำถามถึงรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย อย่าลืมว่า ผู้ที่ต้องคดี 112 จำนวนมาก เคยต่อสู้มาด้วยกัน การวางเฉยต่อประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อเช่นนี้ จะให้ความหมายว่าอย่างไร ในระยะ 1 เดือนที่ผ่านมานี้ เป็นระยะเวลาแห่งการรวบรวมรายชื่อประชาชนของคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 เพื่อที่จะให้มีการปฏิรูปกฎหมายอาญามาตรานี้ ซึ่งถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวใหญ่กรณีนี้ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย แม้ว่าจะเป้าหมายของการรณรงค์จะเป็นไปเพื่อสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย และเพื่อให้สังคมไทยเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แต่ที่น่าสังเกตคือ รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยได้แสดงท่าทีไม่สนับสนุนการเคลื่อนไหว และบางส่วนถึงกับแสดงท่าทีคัดค้าน แต่การเคลื่อนไหวของ ครก.112 และคณะนิติราษฎร์ก็ยังดำเนินต่อไป ความจริงแล้ว การแสดงท่าทีไม่สนับสนุนและไม่เห็นด้วยของพรรคเพื่อไทยในกรณีปฏิรูปกฏหมายมาตรา 112 นั้นไม่ใช่เรื่องแปลก กลับเป็นการตอกย้ำด้วยซ้ำไปว่า ปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ด้วยกฏหมายมาตรา 112 นั้น เป็นปัญหามากกว่าเรื่องของกฎหมาย แต่เป็นปัญหาของโครงสร้างทางความคิดของชนชั้นนำไทย ที่ครอบงำประชาชนด้วยแนวคิดอนุรักษ์นิยมเจ้า (royalist conservative) ซึ่งมีลักษณะนิยมเจ้าเกินจริงยิ่งกว่าราชา เน้นความศรัทธายิ่งกว่าเหตุผลและความชอบธรรม และทำให้เกิดการตีความกฎหมายจนเกินขอบเขต จึงก่อให้เกิดความวิตกและหวาดกลัวในทุกเรื่องที่จะไปแตะต้องเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงกลับกลายเป็นว่า ทั้งที่กฎหมายอาญามาตรา 112 มีเป้าหมายเพียงการคุ้มครอง พระมหากษัตริย์ พระราชินี องค์รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแผ่นดินให้อยู่ในฐานะล่วงละเมิดมิได้ แต่พวกขวาอนุรักษ์นิยม ตีความให้กฎหมายอาญามาตรานี้ เป็นสิ่งแตะต้องไม่ได้ไปด้วย รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงไม่กล้าแตะต้อง และพรรคเพื่อไทยแสดงท่าทีไม่สนับสนุน เพราะเมื่อคณะนิติราษฎร์เสนอข้อเสนอนี้ ก็ถูกพวกสลิ่มสารพัดสี พวกแมงสาบ และพวกอนุรักษ์นิยมขวาจัด รุมถล่มโจมตีด้วยข้อหาล้มเจ้าโดยทันที ดังนั้น ถ้าหากว่า รัฐบาลหรือพรรคเพื่อไทยแสดงท่าทีสนับสนุนการรณรงค์ ก็จะถูกโจมตีทันทีว่าเข้าร่วมขบวนการล้มเจ้า และจะเป็นการ ”เรียกแขก”มาถล่มรัฐบาลแทน ซึ่งมีผลต่อเสถียรภาพ ทำให้ชนชั้นนำไทยมีข้ออ้าง ที่จะล้มรัฐบาลประชาธิปไตยก่อนวาระ ด้วยวิธีการอันไม่ศิวิไลซ์ทั้งหลาย แต่ที่เหลือเชื่อก็คือ แม้ว่าฝ่ายพรรคเพื่อไทยจะแสดงท่าทีปฏิเสธการรณรงค์ของ ครก.112 มาแต่แรก พวกสลิ่ม พวกแมงสาบและพวกขวาจัด ก็ยังอุตส่าห์โจมตีว่า ครก.กับพรรคเพื่อไทยเป็นกลุ่มเดียวกันอยู่นั่นเอง โดยอ้างว่า ทั้งนิติราษฎร์ พรรคเพื่อไทย รัฐบาลยิ่งลักษณ์ และกลุ่มคนเสื้อแดง นปช. ต่างก็เป็นเครือข่ายทักษิณ การดำเนินการของนิติราษฎร์เป็นเพียงยุทธศาสตร์ “แยกกันเดิน รวมกันตี” เพื่อล้มเจ้าตามแนวคิดทักษิณ ทั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เองก็ไม่เคยแสดงท่าทีแม้แต่ครั้งเดียว ที่จะเห็นด้วยกับนิติราษฎร์ ข้อกล่าวของพวกขวาจัดนี้ จึงเป็นข้อกล่าวที่ไม่ได้ยืนอยู่บนหลักฐานและข้อเท็จจริงแม้แต่น้อย และจากการที่รากฐานแนวคิดแบบนิยมเจ้าเกินกว่าราชา (ultra royalism) วางรากฐานอยู่บนศรัทธาต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยอารมณ์ความรู้สึกยิ่งกว่าเหตุผลและข้อเท็จจริงเช่นนี้เอง จึงทำให้การต่อต้านข้อเสนอของนิติราษฎร์ในระยะ 1 เดือนที่ผ่านมา จึงแทบจะไม่ได้มีการผลิตคำอธิบายหรือเหตุผลที่เป็นระบบมาอธิบายตอบโต้ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ได้เลย และต่อมาในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เมื่อ ธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เสนอปาฐกถาในหัวข้อ “ระบบสังคมการเมืองที่ขัดฝืนการเปลี่ยนแปลง คืออันตรายที่แท้จริง” ชี้ให้เห็นว่าปัญหาทางการเมืองปัจจุบันที่เกิดจากการที่พวกกษัตริย์นิยมขัดฝืนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยลดทอนหลักประชาธิปไตยแล้วเพิ่มพระราชอำนาจ และจะเป็นอันตรายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เอง ก็มิได้มีนักวิชาการฝ่ายขวาคนใดมาตอบโต้ในทางเหตุผลให้เกิดความกระจ่างแจ้งเลย ความจริงแล้วในประวัติศาสตร์ ผลร้ายของความศรัทธาอย่างงมงายก็มีตัวอย่างที่ชัดเจนมาแล้ว เช่น กรณี 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 ที่ขบวนการนักศึกษาถูกกล่าวหาว่า จัดทำละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กลไกรัฐและกลุ่มฝ่ายขวาได้ปลุกระดมประชาชนขึ้นมา ก่อการทำร้ายนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนำกำลังตำรวจปฏิบัติการพิเศษเข้ามาดำเนินการกวาดล้างปราบปราม จนทำให้มีนักศึกษาผู้บริสุทธิ์ถูกสังหารชีวิตด้วยิธีการอันเหี้ยมโหด จำนวนกว่า 40 คน การเข่นฆ่าสังหารเกิดขึ้น โดยไม่ต้องไต่ถามเหตุผล และโดยไม่ต้องพิจารณาเลยว่า นักศึกษาคนที่ถูกฆ่านั้นเป็นผู้กระทำผิด หรือเกี่ยวข้องกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือไม่ หรือถ้าเกี่ยวข้องจริง ในฐานะที่บ้านเมืองปกครองด้วยกฎหมาย การใช้ศาลเตี้ยฆ่าคนเสียเองเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ และการเข่นฆ่านักศึกษาในเช้าวันที่ 6 ตุลานั้น เป็นเงื่อนไขนำมาสู่การก่อรัฐประหารล้มล้างประชาธิปไตยในเย็นวันเดียวกัน ซึ่งเป็นการสถาปนาระบอบเผด็จการขวาจัดที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย คือ รัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร และคณะรัฐประหารชุดนี้เอง ที่ออกคำสั่งเผด็จการ เพิ่มโทษในกฎหมายมาตรา 112 ให้เป็นโทษสูงเช่นในปัจจุบัน ปัญหาคือเมื่อเวลาผ่านไป ก็เป็นที่ทราบกันชัดเจนว่า กรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของฝ่ายนักศึกษานั้นเป็นเหตุการณ์ไม่จริง เป็นเรื่องของการใส่ร้ายป้ายสี แต่การเข่นฆ่าสังหารก็เกิดขึ้นไปแล้ว การรัฐประหารก็ผ่านไปแล้ว ผู้บริสุทธิ์ที่ถูกฆ่าเมื่อ 6 ตุลา ยังไม่ได้รับการชดเชยจนถึงทุกวันนี้ และชนชั้นนำไทยก็ไม่เคยสรุปบทเรียน จึงทำให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ยังต้องตกเป็นเหยื่อของมาตรา 112 เรื่อยมา ประเด็นต่อมา ด้วยหลักคิดแบบอนุรักษ์นิยมเจ้าจนเกินงามนี้เอง ได้ครอบงำความคิดของศาลไทย ทำให้กระบวนการยุติธรรมเกิดการไขว้เขวบิดเบือนอย่างหนักไปด้วย เพราะบรรดาผู้พิพากษาทั้งหลาย ต่างก็ถูกครอบงำด้วยความคิดกษัตริย์นิยมอันเน้นแต่ศรัทธาและอารมณ์ความรู้สึกภักดี จึงไม่เคยมีใครเลยในกระบวนตุลาการ ที่จะออกมาวิพากษ์ความบกพร่องและความไม่เป็นธรรมของกฎหมายมาตรา 112 ทั้งที่เป็นกฎหมายเผด็จการ เป็นผลิตผลของการรัฐประหาร มีระบบคำอธิบายที่ไร้เหตุผล และมีมาตราการลงโทษที่สูงเกินจริง ผู้พิพากษาทั้งหลายต่างก็ยอมรับอย่างหน้าชื่นตาบาน และนำเอาหลักกฎหมายป่าเถื่อนเช่นนี้ ไปตัดสินลงโทษประชาชนผู้บริสุทธิ์ครั้งแล้วครั้งเล่า และยังใช้เป็นเครื่องมือในการริดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยเฉพาะสิทธิการประกันตัว คณะตุลาการกลายร่างเป็นพวกใจดำอำมหิต เห็นการติดคุกของประชาชนผู้บริสุทธิ์เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับ ประเด็นปัญหาของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยต่อกรณีนี้ก็เป็นเช่นเดียวกัน คือ ทางฝ่ายพรรคเพื่อไทยที่ไม่เห็นด้วบกับข้อเสนอของนิติราษฎร์ ก็ไม่สามารถที่จะอธิบายในเชิงเหตุผลในการโต้แย้งกับนิติราษฎร์ได้เลย จึงกลายเป็นว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีที่แสดงบทบาทในการคัดค้านนิติราษฎร์มากที่สุด ก็ต้องไปนำเอาเหตุผลแบบพวกขวาจัดมาใช้ ทำให้จุดยืนของพรรคเพื่อไทยในเรื่องนี้ ไม่มีความแตกต่างกับพรรคประชาธิปัตย์และฝ่ายพันธมิตร นอกจากนี้ ก็คือการประกาศเพียงแต่ว่า จะไม่รับข้อเสนอของ ครก. แม้ว่าจะมายื่นต่อรัฐสภา พวก ส.ส.ทั้งหลายก็จะไม่พิจารณา ในวันนี้ พรรคเพื่อไทยได้ผลักดันร่างกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร โดยเสนอให้แก้มาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน เพื่อให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่เรียกกันว่า สสร. ในข้อเสนอของพรรคเพื่อไทย จะให้ สสร.นั้นมาจากการเลือกตั้ง 77 จังหวัด เป็น 77 คน และให้มีนักวิชาการด้านกฎหมายและรัฐศาสตร์อีก 22 คน ต้องขอกล่าวว่า พรรคเพื่อไทยไม่รู้จักเข็ด เพราะข้อเสนอแบบนี้ก็จะเปิดทางให้พวกเนติบริการ และรัฐศาสตร์บริการหน้าเดิม ที่เคยรับใช้เผด็จการและร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 กลับมาใหม่ คือถ้าไม่มีมาตรการป้องกัน ก็จะได้นักกฎหมายอนุรักษ์นิยมเจ้า และนักวิชาการฝ่ายขวามาแก้รัฐธรรมนูญเช่นเดิมอีก และบางส่วนยังพยายามเสนอด้วยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะไม่มีการแก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญแทบจะไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในทางประชาธิปไตยเลย เพราะถ้าหากว่าไม่มีการยุบเลิกองคมนตรี ก็จะเป็นการเปิดทางให้อภิสิทธิ์ชนพวกนี้ อ้างสถาบันแล้วหนุนฝ่ายทหารก่อการรัฐประหารทำลายประชาธิปไตยได้อีก ต่อกรณีมาตรา 112 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ และรัฐบาลเพื่อไทย ที่ย้ำในจุดยืนว่า จะไม่สนับสนุนการแก้ไข แต่ไม่เคยแสดงท่าทีหรืออธิบายเลยว่า ต่อประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อ ที่ต้องติดคุกและถูกลงโทษอย่างไม่ถูกต้อง จะมีการช่วยเหลือหรือไม่ และอย่างไร อย่าลืมว่า ผู้ที่ต้องคดี 112 จำนวนมาก และโดยเฉพาะ คุณสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข และประชาชนอีกจำนวนหนึ่ง ก็เคยต่อสู้มาด้วยกัน การวางเฉยต่อประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อเช่นนี้ จะให้ความหมายว่าอย่างไร สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
สลดยาเสพติดลามโรงเรียนท่องจำกุรอาน ชี้ผู้นำอิสลามอ่อนไม่พร้อมรับอาเซียน Posted: 27 Feb 2012 01:16 AM PST เผยตัวอย่าง ปล่อยยาเสพติดลามโรงเรียนท่องจำกุรอาน เกิดภาวะไม่กล้าห้ามคนทำผิดหลักศาสนา (จากซ้ายไปขวา) นายสุกรี หลังปูเต๊ะ นายมัสลัน มาหะมะ นักวิชาการมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และนายต่วนบูคอรี โต๊ะกูบาฮา ประธานชมรมอิหม่ามจังหวัดปัตตานี รวมเสวนา 4 เสาหลักกับการจัดการชุมชนสู่ประชาคมอาเซียน เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2555 ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี โดยมีนายแวรอมลี แวบูละ ประธานเครือข่ายชุมชนศรัทธา ดำเนินรายการ เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555 ที่อาคารอเนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เครือข่ายชุมชนศรัทธาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ กำปงตักวา จัดประชุม 4 เสาหลัก เรื่องการจัดการชุมชนสู่ประชาคมอาเซียน มีผู้นำชุมชน 4 เสาหลัก ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน โต๊ะอิหม่าม ผู้นำองค์กรชุมชนและนักการเมืองท้องถิ่น จากจังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส เข้าร่วมประมาณ 200 คน เพื่อตั้งตัวแทนชุมชนศรัทธาแห่งใหม่ 40 แห่ง นายต่วนบูคอรี โต๊ะกูบาฮา โต๊ะอิหม่ามบ้านปูยุด ตำบลปูยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ประธานชมรมอิหม่ามจังหวัดปัตตานี กล่าวในการเสวนาว่า ขณะนี้ผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังไม่พร้อมที่รับความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเป็นประชาคมอาเซียนของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2558 เนื่องจากสถาบันผู้นำศาสนาอิสลามตั้งแต่ โต๊ะอิหม่าม สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ไปจนถึงสำนักจุฬาราชมนตรี เพราะยังอบอวลไปด้วยบรรยากาศของความขัดแย้ง และการแย่งชิงอำนาจ นายต่วนบูคอรี กล่าวว่า ขณะนี้เกิดภาวะที่ชาวมุสลิมไม่กล้าห้ามปรามผู้กระทำผิดตามหลักศาสนาอิสลาม เช่น ไม่กล้าห้ามวัยรุ่นที่ไม่ละหมาด ไม่กล้าห้ามวัยรุ่นที่ไม่ถือศีลอด ขณะเดียวกันวัยรุ่นเองก็กล้าหรือต้องการแสดงออกว่า ตนเองกำลังทำผิดหลักศาสนาอิสลาม “ผมเคยจับนักเรียนฮาฟิซ หรือนักเรียนท่องจำอัลกุรอานที่เสพยาเสพติดได้ 2 คน และจับได้ว่า คนขายยาเสพติดก็เป็นคนในเครือข่ายกรรมการมัสยิด จากนั้นก็มีลูกน้องกำนันคนหนึ่งมาด่าว่าคนขายยาเสพติดว่า โง่จริงๆ ไปขายกับนักเรียนฮาฟิซทำไม ไม่มีปัญญาขายคนอื่นแล้วหรือ การที่ลูกน้องกำนันถามอย่างนั้น ไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร จากนั้นเด็กขายยาเสพติด ก็บอกว่า เด็กฮาฟิซขายง่าย เพราะอยู่แต่ในมัสยิด” นายต่วนบูคอรี กล่าว “จากนั้นกำนันคนเดิม ถามผมว่า จะจัดการอย่างไร ผมตอบไปว่า หมดหน้าที่ของโต๊ะอิหม่ามแล้ว ต่อไปเป็นหน้าที่ของฝ่ายปกครอง กำนันคนเดิมก็บอกว่า ถ้าอย่างนั้นคนนี้ผมขอ กรณีเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่า แม้แต่คนที่อยู่กับศาสนาก็ถูกทำลายไปถึงขนาดนั้นแล้ว”นายต่วนบูคอรี กล่าว นายมัสลัน มาหะมะ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา กล่าวว่า ขณะนี้ยาเสพติดเป็นกระบวนการปิดปากผู้นำศาสนาได้อย่างดี เพราะมีลูกของผู้นำศาสนาอิสลามหลายคนที่ติดยาเสพติด ซึ่งทำให้ผู้นำศาสนาอิสลามไม่กล้าที่จะพูดถึงปัญหายาเสพติด เพราะจะทำให้ชาวบ้านนินทาได้ และจะยิงทำให้ยาเสพติดระบาดมากขึ้น เนื่องจากผู้นำศาสนากำลังถูกรุมจากขบวนการยาเสพติด นายสุกรี หลังปูเต๊ะ คณบดีคณะศิลปะศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา กล่าวว่า ขณะนี้ในประเทศมาเลเซียเองก็มีความกังวลว่า การเปิดเสรีอาเซียนจะส่งผลกระทบต่อศาสนาอิสลาม เช่นเดียวกับในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และหลายประเทศที่กำลังพูดถึงความมั่นคงทางศาสนาอิสลาม
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ทหารพราน-ชาวบ้านไปคนละทาง ทีมสอบ4ศพใช้นิติวิทย์หาความจริง Posted: 27 Feb 2012 01:09 AM PST
ให้ข้อมูลอีก 6 คน ทีมสอบ 4 ศพยันใช้หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ค้นหาความจริง เหตุทหาร-ชาวบ้านไปคนละทาง ตั้งอีกชุดสอบถามคนเจ็บ 10 มีนา พร้อมถกร่างรายงาน
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ห้องรูสะมิแล โรงแรม ซีเอส ปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีการประชุมคณะกรรมการการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณียิงชาวบ้าน 4 ศพ ที่ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 22 คน มีนายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี เป็นประธานการประชุม ที่ประชุมได้เชิญเจ้าหน้าที่ทหารพรานที่ปฏิบัติหน้าที่ในจุดเกิดเหตุเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2555 จำนวน 3 นายมาให้ข้อมูล ได้แก่ สิบโทแสงอาทิตย์ บูรณเรืองกิจ อาสาสมัครทหารพรานสุไลมาน เจะโก๊ะ อาสาสมัครทหารพรานพรเทพ สุขสวัสดิ์ ส่วนช่วงบ่ายได้เชิญชาวบ้านที่อยู่ในเหตุการณ์ 3 คน มาให้ข้อมูล ได้แก่ นายยา ดือราแม นายอับดุลเลาะห์ นิ และนายมูหะมะ นิ โดยใช้เวลาในการสอบถามข้อมูลจนถึงเวลาประมาณ 16.00 น. นายเสรี ศรีหะไตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ในฐานะรองประธานคณะกรรมการฯ ได้ขอมิให้เปิดเผยรายละเอียดในการให้ข้อมูล เนื่องจากเป็นคดีที่อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง และการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรหนองจิก เพราะเกรงจะเสียรูปคดี ที่ประชุมยังได้ตั้งคณะทำงานชุดหนึ่งเพื่อเดินทางไปสอบถามข้อมูลจากผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว ที่ยังพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลจังหวัดปัตตานีอีก 3 คน ได้แก่ นายมะรูดิง แวกือจิ อายุ 15 ปี นายฐอบรี บือราเฮง อายุ 19 ปี และนายมะแอ ดอเลาะ อายุ 76 ปี ในวันที่ 1 มีนาคม 2555 คณะทำงานชุดนี้ ประกอบด้วย นายอนุกูล อาแวปูเตะ นายอัดนัน ดือราแม พ.อ.ชุมพล แก้วล้วน นายอาหามะ หะยีอาหวัง และนายเสรี ศรีหะไตร ที่ประชุมยังมอบหมายให้นาย กิตติ สุระคำแหง ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานยุติธรรม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ ประสานงานกับ ร.ต.อ. พิสิษฐ บัวแก้ว นักวิทยาศาสตร์ (สบ.1) พิสูจน์หลักฐานจังหวัดปัตตานี เพื่อสอบถามข้อมูลบางส่วนและประสานงานกับนายสุรพงษ์ อินทสระ รองอัยการจังหวัดปัตตานี เพื่อมาข้อให้ข้อมูล ในวันที่ 10 มีนาคม 2555 ที่ประชุมมีนัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 10 มีนาคม 2555 พร้อมกับนำร่างรายงานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ ให้ที่ประชุมพิจารณา นายกิตติ เปิดเผยว่า คณะกรรมการจะนำหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มาประกอบการพิจารณาด้วย เพราะเป็นหลักฐานที่ไม่สามารถบิดเบือนได้ นายเสรี กล่าวว่า การให้ข้อมูลของทหารพรานกับชาวบ้าน เหมือนหนังคนม้วน ดังนั้นข้อมูลที่เป็นกลางที่สุดในขณะนี้ คือหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ดังนั้นคณะกรรมการ ต้องสอบถามข้อมูลทั้ง 2 ฝ่ายอย่างละเอียดและนำหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มาประกอบการพิจารณา
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
สภาพัฒน์แถลงเด็กไทยติดเฟซบุค-มีผลต่อภาวะตั้งครรภ์ไม่พร้อม Posted: 27 Feb 2012 12:33 AM PST สำนักงานคณะกรรมการ สศช. แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาส 4 และภาพรวมปี 54 ว่าคนไทยมีความสุขลดลง ประเทศสูญรายได้ 50,000 ล้านเพื่อรักษามะเร็ง-เบาหวาน ขณะที่เด็กและเยาวชนติดเฟซบุค นำไปสู่การตั้งครรภ์ไม่พร้อม และการมีแม่วัยรุ่นกว่าแสนคน ซึ่งสูงที่สุดในโลก สภาพัฒน์พบอัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.6 ไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจหดตัว สำนักข่าวไทย (MCOT) รายงานวันนี้ (27 ก.พ.) ว่านายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ นางสุวรรณี คำมั่น รองเลขาธิการ สศช. แถลงรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 4 และภาพรวมปี 2554 ว่า การจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 การว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.6 หรือมีผู้ว่างงานจำนวน 245,890 คน ซึ่งไม่สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่หดตัว หรือจีดีพี ที่ลดลงติดลบถึงร้อยละ 9 ขณะเดียวกันพบแรงงานรอฤดูการภาคเกษตรเพิ่มขึ้นมาถึง 190,000 คน ทั้งนี้ ยังพบว่าแม้การว่างงานจะไม่มากแต่ชั่วโมงการทำงานลดลง โดยมีแรงงานที่ทำงานร้อยละกว่า 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 และผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ประสงค์จะทำงานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 63 การขึ้นค่าแรง 300 บาท จะทำให้ผู้ประกอบการปรับตัว นายอาคม กล่าวว่า เนื่องจากในเดือนตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นช่วงน้ำท่วม ผู้ประกอบการ นายจ้างยังไม่แน่ใจกับสถานการณ์ จึงยังมีการขยายตัวของภาคผลิตอย่างต่อเนื่อง และมีการจ้างแรงงานไว้ เพราะกลัวไม่มีคนงาน ประกอบกับมีงานด้านการก่อสร้างหลังน้ำท่วม ทำให้ตัวเลขการจ้างงานยังเพิ่มอยู่ อย่างไรก็ตาม ในต้นปี 2555 ต้องติดตามและเฝ้าระวังความเสี่ยงต่อการเลิกจ้าง ที่อาจเริ่มเห็นผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม และการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มเป็น 300 บาท หรือส่งถึงร้อยละ 39 ในเดือนเมษายนนี้ เชื่อว่าผู้ประกอบการต้องปรับตัวอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย เอสเอ็มอี ซึ่งต้องเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานเพื่อให้คุ้มกับค่าจ้าง รองเลขา สศช. เผยคนไทยป่วยมะเร็ง-เบาหวานเพิ่มขึ้น ทำสูญรายได้ 50,000 ล้านต่อปี ด้านนางสุวรรณี กล่าวถึงภาวะสุขภาพของคนไทยในปี 2554 พบการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น มะเร็ง เบาหวาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาดการณ์ว่าไทยจะสูญเสียรายได้จากโรคกลุ่มนี้กว่า 50,000 ล้านบาทในปี 2558 ที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ส่วนความสุขมวลรวมของคนไทยลดลง มีผู้ป่วยโรคจิตเวช ที่เข้ารับการรักษามากขึ้น พบอัตราการซึมเศร้ามากขึ้น จะส่งผลต่อการฆ่าตัวตายในอนาคต พบเด็กเยาวชนติดเฟซบุค-มีผลเชื่อมโยงต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อม นอกจากนี้ ยังพบช่วงอายุของการขยายตัวในโลกออนไลน์เป็นกลุ่มเยาวชน 18-24 ปี ที่ใช้เฟซบุคมากที่สุดถึงร้อยละ 40 พบว่ามีผลเชื่อมโยงไปถึงการตั้งครรภ์ไม่พร้อมหรือแม่วัยใสที่มีเพิ่มขึ้นในปี 2552-2553 ที่ผ่านมามีมากถึง 106,000 คน เป็นจำนวนที่สูงที่สุดโลก ยังเกี่ยวเนื่องไปถึงปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และคดีมีความรุนแรงขึ้น ทั้งปริมาณยาเสพติด และลักษณะการต่อสู้จับกุม รวมทั้งยาไอซ์ได้บุกตลาดนักเสพวัยรุ่นหน้าใหม่ กลายเป็นค่านิยมที่ผิด และแพร่หลายในวงกว้างมากขึ้น สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น