โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ศาลยุโรปหนุนสวีเดนลงโทษคนแจกใบปลิวให้ร้ายเกย์-ชี้ไม่เป็น Free Speech

Posted: 12 Feb 2012 12:32 PM PST

ศาลสิทธิมนุษยชนของยุโรปให้การสนับสนุนสวีเดนในการตัดสินลงโทษผู้ที่เผยแพร่เอกสารหรือข้อความที่แสดงความเกลียดชังต่อชาวเกย์ โดยไม่ถือว่าผิดต่อหลักการ Free Speech

เมื่อวันที่ 9 ก.พ. ที่ผ่านมา เว็บไซต์ GayStarNews นำเสนอข่าวกรณีศาลสิทธิมนุษยชนของยุโรปให้การสนับสนุนสวีเดนในการตัดสินลงโทษผู้ที่เผยแพร่เอกสารหรือข้อความที่แสดงความเกลียดชังต่อชาวเกย์

โดยศาลสิทธิมนุษยชนของยุโรปเปิดเผยว่า ประเทศต่างๆ สามารถลงโทษผู้ที่เผยแพร่แจกจ่ายสิ่งที่แสดงความเกลียดชังต่อชาวเกย์ โดยไม่ถือว่าการลงโทษดังกล่าวนี้เป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออก

จากคดี 'Vejdeland and Others vs. Sweden' ศาลได้ตัดสินอย่างเป็นเอกฉันท์ว่าตามกฏหมายของสวีเดนแล้ว สามารถเอาผิดผู้ที่เผยแพร่แจกจ่ายใบปลิวแสดงความเกลียดชังต่อกลุ่มเกย์ได้โดยไม่ถือว่าขัดต่อหลักการของอนุสัญญาแห่งสหภาพยุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ซึ่งคดีดังกล่าวนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ศาลต้องทำหน้าที่ตัดสินคดีที่เกี่ยวกับ "โทสวาท" (Hate Speech) ที่ในกรณีนี้เป็นการแสดงความเกลียดชังต่อกลุ่มชาวเกย์ ซึ่งทางศาลยังได้กล่าวอีกว่าการเผยแพร่ข้อความโฆษณาชวนเชื่อให้เกลียดชังชาวเกย์นั้นไม่ได้ถูกปกป้องโดยเสรีภาพในการแสดงความเห็น ตามมาตรา 10 ของอนุสัญญาฯ

คดีเกิดขึ้นในเดือน ธ.ค. 2004 เมื่อ ทอร์ เฟรดริค เวชเดแลนด์, มาติอัส ฮาร์ลิน, บียอร์น ตาง, และนิคลาส ลุนด์สตรอม ถูกจับกุมในโรงเรียนขณะที่กำลังแจกจ่ายใบปลิวต่อต้านเกย์ ข้อความในใบปลิวระบุว่า เกย์เป็นพวกตัวประหลาดเบี่ยงเบนทางเพศที่ทำให้ศีลธรรมในสังคมเสื่อมทราม นอกจากนี้แล้วยังบอกว่าการเป็นเกย์ยังก่อให้เกิดเชื้อ HIV และโรคเอดส์ด้วย

เมื่อเดือน มิ.ย. 2006 ศาลฎีกาของสวีเดนตัดสินคดีในข้อหา 'ปลุกปั่นต่อต้านกลุ่มทางเชื้อชาติหรือเผ่าพันธุ์' ภายใต้กฏหมายว่าด้วยโทสวาทของสวีเดน ซึ่งต่อมากลุ่มผู้ต้องหาที่ง 4 คน ก็ได้ยื่นอุทธรณฺ์ โดยอ้างว่ากฏหมายของสวีเดนละเมิดเสรีภาพในการแสดงความเห็นของพวกเขาภายใต้มาตรา 10 ของอนุสัญญาแห่งสหภาพยุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

กลุ่ม ILGA-Europe ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรเกย์ เลสเบี้ยน ไบเซ็กชวล ทรานส์ (transexual) และกระเทย (intersex) ของยุโรป ได้แสดงการชื่นชมที่ศาลปฏิเสธคำอุทธรณ์

มาร์ติน คริสเตนเซ่น รองประธานบริหารของ ILGA-Europe กล่าวถึงการพิพากษาคดีนี้ว่า "การตัดสินครั้งนี้นี่เป็นหมุดหมายที่สำคัญ หลายสิบปีมาแล้วที่เลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล ทรานส์ และกระเทย ถูกกล่าวโจมตีสารพัด ทั้งจากวาจาก้าวร้าว, ไร้เหตุผล แบ่งแยก และทำให้เสื่อมเสีย"

"มาจนวันนี้ ศาลยอมรับว่าข้อความพวกนี้เป็นสิ่งที่สร้างความขุ่นเคืองต่อชุมชนเราทั้งหมด และบุคคลหรือองค์กรใดก็ตามที่แสดงออก พิมพ์เผยแพร่ และแจกจ่าย ข้อความจำพวกนี้ ไม่สามารถอ้างสิทธิชอบธรรมในการแสดงออกตามอนุสัญญาได้" 

ที่มา

Europe upholds Sweden’s right to curtail homophobia, GayStarNews, 09-02-2012
http://www.gaystarnews.com/article/europe-upholds-sweden%E2%80%99s-right-curtail-homophobia

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "อำนาจนิยม"

Posted: 12 Feb 2012 12:02 PM PST

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "อำนาจนิยม"

เสวนา: 112 กับสิทธิพลเมืองไทย

Posted: 12 Feb 2012 11:35 AM PST

บก.ลายจุด ชวนคิดฤาความกลัวในสังคมตอนนี้มีพื้นฐานจากความรัก? ปราบ นศ.นักกิจกรรม ชี้หลังมติผู้บริหาร มธ.ห้ามใช้พื้นที่ ส่งผล นศ.ตั้งคำถามมากขึ้น มองแนวโน้มขบวนการนักศึกษาเริ่มโต วาด รวี ชี้ยังมีคำถามที่ต้องตอบ ถ้ายังจะปกครองแบบประชาธิปไตย

 

(12 ก.พ.55) ที่ห้องประชุม 14 ตุลา อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา มีการเสวนาในหัวข้อ 112 กับสิทธิพลเมืองไทย ดำเนินรายการโดยวรพจน์ พันธุ์พงศ์

สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด กล่าวว่า กระแสใหญ่ๆ ขณะนี้คนกำลังกลัวการปฏิวัติ คำถามอีกด้านคือคนที่จะทำรัฐประหารกลัวอะไร เราอยู่ในภาวะที่ต่างก็หวาดกลัว ซึ่งความกลัวจะพัฒนาไปสู่ความเกลียดและความเกลียดจะพัฒนาต่อเป็นความโกรธ คำถามคือแล้วความรักอยู่ตรงไหนของความจริงเหล่านี้ เป็นไปได้ไหมที่ในนามของความเกลียด มีพื้นฐานจากความรัก ทำไมจึงมีการอ้างความรักในการเกลียดคนอื่น

เขาเสนอว่า หากเรากลับไปพูดเรื่องความรักในบริบทที่กว้างกว่าที่คนเหล่านั้นคิดได้ เช่น ทำไมในนามของความรัก จึงกระทำหรือแสดงออกอย่างร้ายกาจได้ขนาดนั้น นี่อาจเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ความแตกต่างในสังคมไม่พัฒนาสู่ความเกลียดชังได้

สำหรับกระแสต่อต้านนิติราษฎร์นั้น เขารู้สึกแปลกใจ เพราะสิ่งที่นิติราษฎร์เสนอไม่ใช่ข้อเสนออย่างที่อ้างกันว่าจะล้มล้างสถาบันเลย กฎหมายยังอยู่ ฟ้องได้ และต้องติดคุก มีทุกอย่างครบ น่าแปลกใจที่การแก้กฎหมายถูกกล่าวหาว่าเป็นการล้มสถาบัน พอๆ กับตอนที่เขาใส่เสื้อสีแดง แล้วถูกถามว่าต้องการล้มสถาบันหรือ ซึ่งก็ตอบไม่ถูกว่าเกี่ยวโยงกันอย่างไร

เขากล่าวว่า การแก้ไขมาตรา 112 เป็นเรื่องมนุษยธรรม ต้องทำความเข้าใจ ทำให้เห็นว่าเราเรียกร้องสิทธิเพียงให้ลดโทษให้สมเหตุสมผล พร้อมยกตัวอย่างถึงการกลั่นแกล้งกันด้วยมาตรา 112 เช่น กรณีสนธิ ลิ้มทองกุล ถูกฟ้องจากการเปิดเทปเสียงของ ดา ตอร์ปิโด ว่า ในระดับสามัญสำนึก สนธิไม่ควรถูกฟ้อง เพราะขาดเจตนาที่จะหมิ่นสถาบัน หรืออีกคดีคือกรณีตำรวจหญิงคนหนึ่งแปลเนื้อหาในนิตยสารของต่างประเทศที่กล่าวถึงสถาบัน เพื่อนำเสนอว่าไม่ให้นำเข้ามาในประเทศ แต่ปรากฏว่าคนแปลกลับติดคุก ซึ่งนี่เป็นเรื่องไม่มีเหตุผล พร้อมชี้ว่า กฎหมายนี้ไม่พิจารณาเจตนา ดูเพียงการกระทำเท่านั้น โดยเปรียบเทียบว่า หมอที่ผ่าตัดเพื่อรักษาคนไข้ ก็คงติดคุกเพราะถือว่าเอามีดแทงเข้าไปที่ร่างกายคนไข้ ดังนั้นแล้วกฎหมายแบบนี้จะอยู่ไม่ได้ ไม่สมเหตุสมผล

ผู้ดำเนินรายการถามถึงสถานการณ์หลังการปราบเมื่อ พ.ค. 53 กับกระแสที่ห้ามไม่ให้เคลื่อนไหวแก้ไขมาตรา 112 ว่าหนักเบาต่างกันอย่างไร สมบัติตอบว่า มีบรรยากาศที่เหมือนกันคือ อารมณ์ทั้งกลัวทั้งโกรธ หลังการปราบหนึ่งเดือน เขาต้องไปเชียงใหม่ ไม่สามารถอยู่ที่เดิมได้ บ้านก็ถูกค้น ไม่กล้าเดินทางโดยเครื่องบินเพราะกลัวถูกจับ แต่เมื่อความกลัวถึงจุดหนึ่ง เขาเกิดคำถามกับตัวเองว่าจะมีชีวิตอยู่ภายใต้ความกลัวได้อย่างไร ที่สุดก็ตัดสินใจว่าไม่สามารถมีชีวิตอย่างปกติได้ภายใต้ความกลัว เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงต้องหาพื้นที่ยืนในที่แจ้งและเป็นที่ของเราโดยบริบูรณ์ โดยที่ไม่ไปเหยียบหัวใคร และยืนยันสิทธิตรงนั้น พร้อมยกตัวอย่างช่วงที่เขากลับไปที่ราชประสงค์และถูกบอกว่าไม่ควร แต่เมื่อไปอีก ที่สุดก็ได้ยืนในที่ดังกล่าว

สมบัติเสนอว่า ในการต่อสู้ครั้งนี้ ให้ทำป่วน ทำให้งง แต่อย่าแหย่จนอีกฝั่งโกรธ พร้อมเสนอข้อเสนอซึ่งเขาบอกว่าอาจไม่ถูกใจกลุ่ม ครก.112 หลายคนว่า ในทางสาธารณะ วันนี้เราไม่ต้องพูดเรื่อง 112 แล้ว ไปพูดเรื่องอื่นแทน อาจฟังดูเหมือนถอย แต่เขามองว่าบอลได้ถูกเขี่ยออกไปแล้ว แม้ ครก. หรือนิติราษฎร์จะไม่เคลื่อนไหว แต่มันได้กลายเป็นประเด็นไปแล้ว แม้หยุดพูดแต่สถานการณ์เรื่องนี้ก็ไม่หยุดแล้ว ซึ่งนี่จะป่วนให้อีกฝั่งงง

สอง การพูดถึงประเด็นเรื่องรัฐประหาร เป็นความชอบธรรมที่ประชาชนจะพูดได้ เพราะอีกฝั่งนั้นมีแผล และแนวร่วมจำนวนมากไม่เอารัฐประหาร ไม่ว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหรือสลิ่มก็ตาม

นอกจากนี้ สมบัติเสนอวิธีการต่อสู้ในภาวะความกลัวขณะนี้ว่า ให้ถ่ายรูปตัวเอง โดยเอานิ้วชี้ที่ตาและแลบลิ้น แล้วไปโพสต์ในอินเทอร์เน็ต เพื่อเตือนสติสังคมว่า เรากำลังสร้างสังคมแห่งความหวาดกลัว โดยให้ช่วยกันสร้างสรรค์ เช่น ถ่ายในบริบทที่เจ๋งๆ อย่างที่หน้ากองทัพบก

ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ ตัวแทนกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงมติของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อเร็วๆ นี้ที่ห้ามใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเคลื่อนไหวเรื่องกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่า ทำให้นักศึกษาซึ่งเป็นภาพสะท้อนของคนในสังคมที่ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางในเมือง ไม่สนใจการเมือง หันมาตั้งคำถามกับความเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมอตโต้ว่าด้วยเสรีภาพที่เป็นจุดขายของมหาวิทยาลัยมากขึ้น จนเกิดการถกเถียงและการเคลื่อนไหว ซึ่งนอกจากกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตยแล้ว ก็ยังมีองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เริ่มออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง

นอกจากนี้ จากกระแสเรื่องมาตรา 112 หากได้ดูรายการคมชัดลึกทางเนชั่นชาแนล หลายวันก่อนที่มีตัวแทนนักศึกษามาแสดงความเห็น ก็จะเห็นตัวละครใหม่ๆ ที่กล้าพูดถึงมาตรา 112 รวมถึงกล้าวิจารณ์สถาบันมากขึ้น ทั้งนี้ เขามองว่าการเติบโตของขบวนการนักศึกษาอาจต้องใช้เวลา เพราะต้องต่อสู้กับกระแสในมหาวิทยาลัยด้วย แต่ก็มองว่ามีอัตราเติบโตที่ค่อนข้างดี

สำหรับการเคลื่อนไหวในก้าวต่อๆ ไปของ ครก.112 นั้น ปราบเสนอว่า ต่อไปอาจต้องดึงความเป็นมนุษย์ออกมามากกว่านี้ พร้อมชี้ว่า ก่อนที่ไท หรือปณิธาน พฤกษาเกษมสุข สมาชิกของกลุ่มฯ จะประท้วงอดอาหาร 112 ชั่วโมงเพื่อเรียกร้องให้พ่อของเขา (สมยศ) ได้ประกันตัวนั้น ทางกลุ่มฯ ก็ถูกข้อกล่าวหาไม่ต่างนิติราษฎร์ แต่หลังจากที่ไทประกาศอดอาหาร กระแสในมหาวิทยาลัยก็เปลี่ยนทันที โดยถูกต่อว่าในอินเทอร์เน็ตน้อยลง ซึ่งเขามองว่าเป็นเพราะการสื่อสารถึงความเป็นมนุษย์ ความเป็นพ่อ-ลูก นั้นมีพลัง และทำให้คนเห็นปัญหาของมาตรานี้มากขึ้น

ด้าน วาด รวี คณะนักเขียนแสงสำนึก กล่าวถึงสิทธิเสรีภาพโดยเริ่มจากมิติทางประวัติศาสตร์ว่า เกิดจากการเรียกร้องสิทธิทางการเมืองของคนกลุ่มใหม่ หรือฐานันดรที่สาม ในฝรั่งเศส ใน ศต.ที่ 18 จากเดิมที่ฐานันดรที่หนึ่งและสองคือกษัตริย์กับขุนนางและพระมองว่าสิทธิทางการเมืองเป็นเรื่องของพวกตัวเองเท่านั้น แม้จะใช้เวลา 10 ปีและล้มเหลว แต่สิ่งที่สำเร็จคือสำนึกใหม่ที่ว่าคนเท่ากัน เกิดมาพร้อมสิทธิเสรีภาพอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน ไม่มีใครศักดิ์สิทธิ์ มีอำนาจพิสดาร หรือมีคุณความดีพิเศษเหนือใครอื่น

ด้านประเทศไทย สำนึกที่เรียกว่าการปกครองสมัยใหม่ที่ไม่เชื่อในสิทธิธรรมแบบเก่าหรือระบอบการปกครองที่ใช้อำนาจเหนือมนุษย์อื่นๆ เกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 สะท้อนจากประกาศของคณะราษฎรฉบับที่ 1 โดยเฉพาะประโยคว่า "ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง" และ "เหล่านี้เป็นผลของรัฐบาลกษัตริย์ที่เหนือกฎหมาย"

มิติด้านเนื้อหาของสิทธิเสรีภาพ วาด รวี อ้างถึงตอนต้นของคำประกาศอิสรภาพของอเมริกาที่ระบุว่า "เราถือว่านี่คือความจริงที่เป็นหลักฐานในตัวเองว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันและมีสิทธิแต่กำเนิดอันไม่อาจพรากจาก" หมายถึงสิทธิเสรีภาพคือส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์ หากไม่มีสิทธิเสรีภาพ ความเป็นมนุษย์จะขาดพร่องไปทันที นี่คือสำนึกของมนุษย์สมัยใหม่ เป็นหลักสากลที่บรรจุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ อยู่ในกฎหมายระหว่างประเทศที่ไทยไปลงนามไว้จำนวนมาก สิทธิเสรีภาพนี้มีความเป็นสากล ซึ่งหมายความว่าไม่ขึ้นต่อจารีต ประเพณี วัฒนธรรม ดังนั้นจะอ้างว่าประเทศนี้มีลักษณะเฉพาะ ทำให้ไม่มีสิทธิเสรีภาพเหมือนประเทศอื่นไม่ได้

ด้วยหลักนี้ ทำให้คำว่าพลเมืองหรือประชาชนในรัฐสมัยใหม่แตกต่างจากคำว่าราษฎรในรัฐสมัยเก่า เพราะเป็นประชาชนที่ประกอบด้วยสิทธิเสรีภาพ และสิทธิเสรีภาพเป็นที่มาของอำนาจอธิปไตยหรืออำนาจปกครองประเทศ ซึ่งไทยก็อยู่ในหลักการเดียวกันนี้ ตามที่ระบุในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ

ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิเสรีภาพกับอำนาจปกครอง อำนาจสาธารณะ อำนาจทางการเมือง เป็นเหมือนกับสายใยที่ไม่อาจสะบั้นขาด เหมือนเราเอาด้ายโยงไปยัง ส.ส. ส.ส.โยงไปที่นายกฯ โยงไปยังข้าราชการต่างๆ ทั้งหมดนี้เมื่อสาวด้ายดู ที่สุดต้องกลับมาที่ประชาชนได้ ถ้าเมื่อใดที่ด้ายที่โยงมาสู่ประชาชนขาด อำนาจนั้นจะไม่ชอบธรรมทันที

วาด รวีกล่าวว่า ปัจจุบันสำนึกเรื่องสิทธิเสรีภาพและอำนาจอธิปไตยของสังคมไทยยังมีความไม่เข้าใจ สำนึกจำนวนมากของฝ่ายที่คัดค้านการแก้ไข 112 ที่ว่า สิทธิเสรีภาพต้องมีขอบเขต ไม่ละเมิดสิทธิกษัตริย์ นี่สะท้อนความเข้าใจผิดๆ ถูกๆ ซ้อนกันเรื่องสิทธิเสรีภาพ เบื้องต้นคือแยกไม่ออกว่า รากฐานของสิทธิเสรีภาพเสมอภาค ซึ่งเป็นบ่อเกิดของสิทธิอื่น เป็นคนละอันกับสิทธิตามกฎหมายพื้นฐานที่มีแต่กำเนิด สิทธิที่มีขอบเขตคือสิทธิตามกฎหมายที่สามารถพรากจากได้ เช่น การยึดใบขับขี่ที่รัฐออกให้ เมื่อเราทำผิดกฎ แต่สิทธิเสรีภาพ เราไม่ได้รับมอบจากใคร ดังนั้น สิทธิตามกฎหมายจะมาละเมิดสิทธิพื้นฐานนี้ไม่ได้

ทั้งนี้ วาด รวีมองว่า ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพที่เกิดขึ้นมาตลอดในสังคมไทย ไม่ใช่เพราะมีการไม่ยอมรับสิทธิเสรีภาพ เพราะระบอบเผด็จการปกครองโดยทหาร หรือการปกครองโดยกษัตริย์แบบเก่า แต่เพราะหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีลักษณะของการใช้อำนาจ 2 ระนาบคู่กัน หนึ่ง อำนาจในระนาบเปลือกผิว คือ อำนาจในที่แจ้ง ใช้อย่างเป็นทางการ เช่น การเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญสนธิสัญญา กฎหมาย สอง การใช้อำนาจอย่างไม่เป็นทางการ อยู่ในรูปของประเพณีการปกครอง จารีต ขนบ ไม่อยู่ในกฎหมาย อำนาจนี้เองขัดหลักประชาธิปไตยตรวจสอบไม่ได้ แต่แทรกแซง บงการและมีอำนาจเหนือการใช้อำนาจในระนาบหนึ่งได้ตลอด

เขาระบุว่า ปัญหาคอร์รัปชั่นที่พันธมิตรฯ ชอบพูดถึง หากมองให้สุด บ่อเกิดของปัญหาแบบนี้คือปัญหาที่อำนาจอธิปไตยที่มาจากสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ใช่อำนาจที่แท้จริงในสังคม ไม่สามารถให้คุณให้โทษคนที่อยู่ในโครงข่ายในระบบได้อย่างแท้จริง แต่มีอำนาจในระนาบที่สอง แทรกแซงอยู่ตลอด

วาด รวีกล่าวว่า หากดูจากวิกฤตการเมืองช่วงที่ผ่านมา แล้วตั้งคำถามกับการใช้อำนาจที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนตั้งแต่รัฐประหารเป็นต้นมาว่า อำนาจอะไรที่ค้ำจุน คมช. พล.อ.เปรม พล.อ.สุรยุทธ์ หรือค้ำจุน สนช. ให้ออกกฎหมายได้ ทั้งที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน ถ้าเราสังเกตดูการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นทางการ ในวัฒนธรรมอำนาจ ในจารีตประเพณีการใช้อำนาจ ประเพณีการปกครองของไทย ไล่ไปตั้งแต่หน่วยเล็กที่สุด ตั้งแต่ข้าราชการชั้นผู้น้อย นักการเมือง ศาล จนถึงองคมนตรี จะพบว่านี่คือการใช้อำนาจแบบเดียวกับระบบทาสในสมัยก่อน มีกำกับว่าเด็กใคร เส้นใคร ใช้เส้นตีตราอำนาจ และหากไล่ไปจนชั้นบนสุดจะพบว่ามันคือการใช้อำนาจในลักษณะที่แวดล้อมและแอบอิงกับสถาบันกษัตริย์ มีสถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลางในการแอบอิงและอ้างใช้และแวดล้อมอยู่

ด้านปัญหาของกฎหมายอาญา มาตรา 112 แบ่งเป็น หนึ่ง กลุ่มที่เป็นผลกระทบทางการเมือง และสอง กลุ่มที่เป็นผลกระทบทางสิทธิเสรีภาพ

หนึ่ง กลุ่มที่เป็นผลกระทบทางการเมือง อ้างจากหนังสือ A Life's Work ซึ่งดูแลโดยอานันท์ ปันยารชุน และสุเมธ ตันติเวชกุล ที่ยอมรับว่าปัญหาสถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในวิกฤตการเมืองที่ผ่านมา ไม่ว่าบทบาทองคมนตรี ชนชั้นนำอื่น หรือ ที่สำนักพระราชวังออกหนังสือว่า คมช.เป็นรัฎฐาธิปัตย์ ไม่ต้องโปรดเกล้าก็ได้ สิ่งเหล่านี้ สะท้อนกลับไปยังประเด็นบทบาทและสถานะของสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น ปัญหาคือมีอำนาจสาธารณะ มีประเพณีการปกครองที่ไม่ถูกตรวจสอบ ตรวจสอบไม่ได้อยู่ในระบบการเมือง ถ้าเราจะก้าวต่อไปข้างหน้า ถ้าเราจะปกครอง้วยระบอบประชาธิปไตย เราหลีกเลี่ยงปัญหานี้ไม่ได้ไม่ว่าเราจะเป็นเหลืองหรือแดง มาตรา 112 เป็นจระเข้ขวางคลองในการแก้ปัญหานี้

วาด รวี กล่าวว่า คดีหมิ่นที่เกิดขึ้นตลอดช่วงวิกฤตการเมือง จากข้อเท็จจริง ถามว่าเป็นสิ่งที่อยู่ดีๆ ทุกคนก็ลุกขึ้นหมิ่นหรือ อยู่ดีๆ คนก็ลุกขึ้นมาเขียนฝาผนังหรือ เป็นสิ่งที่รู้อยู่แก่ใจ แต่เราไม่เผชิญปัญหา ไม่แก้ปัญหาอย่างตรงไปตรงมา

"คำถามมากมายต้องการคำตอบ ต้องการการแลกเปลี่ยนด้วยเหตุผล ไม่ใช่ว่าจะล้มเจ้า แต่เราต้องการคำตอบของคำถามที่เกี่ยวกับระบอบการปกครองว่าจะเอาอย่างไรกันแน่" วาด รวี กล่าวและว่า ตัวอย่างคำถามมากมาย ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดคำถาม มากมาย ตัวอย่างประเพณีการปกครองที่ไม่เป็นทางการที่เราควรจะถกเถียงแลกเปลี่ยนกันได้ในระบอบประชาธิปไตย เช่น การที่มีพระราชดำรัสในทางสาธารณะจะส่งผลทางการเมืองมากน้อยแค่ไหน การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่กล่าวอ้างพระราชสำนักจริงเท็จแค่ไหน คำถามเกี่ยวกับเรื่องสองมาตรฐาน เรื่องทางการเมืองที่เกี่ยวพันไปถึงสถาบันกษัตริย์ควรจะต้องถูกพูดถึงแลกเปลี่ยนอย่างโปร่งใส แม้แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคณะรัฐประหารกับสถาบันกษัตริย์ เช่น เมื่อรัฐประหารแล้วไปเข้าเฝ้าทุกครั้งเหมาะสม สมควรแค่ไหน เราไม่เคยพูดถึงได้อย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา นี่คือผลกระทบทางการเมืองที่จำเป็นต้องได้รับคำตอบถ้าจะก้าวไปข้างหน้า เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข ไม่ว่าอยากปรองดองหรือไม่ปัญหานี้ก็จะยังอยู่หากไม่แก้ไข ไม่ใช่เรื่องล้มเจ้าไม่ล้มเจ้า แต่เป็นเรื่องของคนไม่อยากแก้ปัญหา เอาการล้มเจ้าเข้ามาอ้าง

สอง ผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ ทั้งตามหลักสากล กฎหมายในประเทศ รัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่ลงนามไว้ในต่างประเทศ หนึ่ง กระบวนการบังคับใช้ การประกันตัว ปิดลับการพิจารณาคดี การไม่สันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อนในคดีอาญา สอง อัตราโทษ - 3-15 ปี กับการกระทำผิดโดยวาจา-ตัวหนังสือ สาม ใครก็ฟ้องได้ ไม่มีเหตุยกเว้นความผิด และยกเว้นโทษ เหมือนกฎหมายที่บังคับใช้กับบุคคลทั่วไป ทำให้วิจารณ์และพูดถึงไม่ได้เลย ที่ว่าวิจารณ์ได้นั้นไม่จริง โดยมีแนวทางคำพิพากษาแล้วว่าไม่จริง

ทั้งหมดเป็นปัญหาที่ผิดทั้งต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศที่ลงนามไว้ และผิดหลักสากล ละเมิดสิทธิเสรีภาพที่เป็นบ่อเกิดของสิทธิตามกฎหมายทั้งปวง และถ้าไม่แก้ไข และปล่อยต่อไปเรื่อยๆ อำนาจอธิปไตยจะชนกัน เป็นสิ่งที่ใครก็บังคับควบคุมไม่ได้ ไม่มีผู้นำม็อบคนไหนจะบังคับได้ นี่เป็นความเคลื่อนไหวที่ใหญ่มากๆ เป็นแรงโน้มถ่วงทางประวัติศาสตร์ จะชนกันถ้าไม่แก้ ไม่ใช่อยากให้เกิดการปะทะกัน แต่เราต้องการแก้เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ควรจะเกิด ให้เปลี่ยนผ่านอย่างสมูท นี่เป็นเหตุผลของ ครก.112

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไขความเข้าใจ มาตรา 8 รัฐธรรมนูญ ของผู้ซึ่งนำไปโยงมาตรา 112

Posted: 12 Feb 2012 11:18 AM PST

 

ผมจะอธิบายเรื่องขำ ๆ ให้ท่านอ่านนะครับ

มีคนโยงมาตรา ๘ รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย (๒๕๕๐) [๑] กับ มาตรา ๑๑๒ ประมวลกฎหมายอาญา ไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องโจ๊กในทางวิชาการ (ไม่ใช่ความเห็นต่างนะครับ โจ๊กยังไง มาดูกันทีละลำดับ)

มาตรา ๘ รัฐธรรมนูญ (๒๕๕๐) มีทั้งสิ้น ๒ วรรค นะครับ  วรรคหนึ่ง "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" และ วรรคสอง "ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้"

เรามาดู "ความเป็นมา" ซึ่งมีเรื่องขำๆ เป็นเหตุของเรื่อง "โจ๊ก" ข้างต้นอยู่ดังนี้

ตามรัฐธรรมนูญ ๒๗ มิ.ย.๒๔๗๕ ข้อความมีว่า "กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญายังโรงศาลไม่ได้เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัย"  นะครับ (มาตรา ๖)

ดู ข้อความนั้นดีๆ นะครับ

รัฐธรรมนูญ ๑๐ ธ.ค.๒๔๗๕ ข้อความเป็นว่า "องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" (มาตรา ๓) ซึ่งมีความหมายเดียวกับ ฉบับ ๒๗ มิ.ย.๒๔๗๕ แต่ตัดอำนาจพิจารณาคดีอาญาที่กษัตริย์กระทำผิด ไปจากสภาผู้แทนราษฎร์ (ดูคำอภิปรายของประธานอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ๒๔๗๕ ในรายงานการประชุมสภาที่ ๓๕/๒๔๗๕) ต่อมา รัฐธรรมนูญ ๒๔๘๙ หรือแม้กระทั่ง รัฐธรรมนูญ ๒๔๙๐ ก็ยืนตามนี้

ทั้งนี้ อาจเทียบคำอธิบายรัฐธรรมนูญ ของ หยุด แสงอุทัย ฉบับพิมพ์ปี ๒๔๘๙ (หน้า ๓๓ - ๕๑)

กาลวิบัติบังเกิด ในรัฐธรรมนูญ ๒๔๙๒  ได้เอา รัฐธรรมนูญ ๒๗ มิ.ย.๒๔๗๕ รวมๆ กับ รัฐธรรมนูญ ๑๐ ธ.ค.๒๔๗๕ ในเรื่องเดียวกัน แต่เปลี่ยนวิธีเขียน (แม้จะตัดอำนาจตรวจสอบบางประการออกไป แต่ต้องเข้าใจว่าเป็นเรื่องเดียวกันนั่นเอง) รัฐธรรมนูญ ๒๔๙๒ ทำเรื่องตลก คือ นำ ๒ เวอร์ชันมาลงไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน โดยแยกเป็น ๒ มาตรา ดังนี้  "องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการ ผู้ใดจะละเมิดมิได้"  (มาตรา ๕)  และ  "ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้" (มาตรา ๖) และฉบับ ๒๔๙๕ ก็ยืนตาม

มาปรากฏอีกที ในรัฐธรรมนูญ ๒๕๐๒ ยืนตาม ฉบับ ๑๐ ธ.ค.๒๔๗๕

รัฐธรรมนูญ ๒๕๑๑ ยืนตาม ๒๔๙๒

ดูดีๆ นะครับ

*รัฐธรรมนูญ ๒๕๑๕ สมาส (ชน) สนธิ (เชื่อม) จากเดิม (เรื่องเดียวกัน เปลี่ยนวิธีเขียน) ซึ่งกลายมาเป็น ๒ มาตรา (ตั้งแต่เวอร์ชั่น ๒๔๙๒) ให้แปลงร่างแบบฉบับ ๒๔๙๒ เป็นมาตราเดียว และประโยคเดียว "พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องในทางใดๆ มิได้" (มาตรา ๔)

แต่ยังไม่นิ่งครับ

รัฐธรรมนูญ ๒๕๑๗ ยืนตาม ๒๔๙๒

*รัฐธรรมนูญ ฉบับ ๒๕๑๙ (มาตรา ๕) รัฐธรรมนูญ ฉบับ ๒๕๒๐ (มาตรา ๔) กลับมายืนตาม ๒๕๑๕ คือ ทำให้เป็นมาตราเดียว และประโยคเดียว

จับตาดูดีๆ นะครับ อันนี้สำคัญ

จากนั้น รัฐธรรมนูญ ๒๕๒๑ แปลงร่าง จากรัฐธรรมนูญ ๒๕๑๕ แตกเซลล์ภายใน โดยเริ่มเขียนไว้ในมาตราเดียวกัน แต่แยกเป็น สองวรรค ดังนี้  วรรคหนึ่ง "องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได" และ วรรคสอง "ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้" (มาตรา ๖)

หากท่านอารมณ์ขันสักนิด อาจย้อนกลับไปดู รัฐธรรมนูญ ๒๔๗๕ ทั้งสองฉบับ

ถัดจาก ๒๕๒๑ ยังไม่นิ่งครับ

รัฐธรรมนูญ ๒๕๓๔ (เวอร์ชัน พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ หรือเวอร์ชันต้นปี)  ยืนตามเวอร์ชัน ๒๕๑๕ (รวมไว้เป็นมาตราเดียว ประโยคเดียว)

ต่อมา รัฐธรรมนูญ ๒๕๓๔ (เวอร์ชันปลายปี) รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ ก็ลอกตาม ฉบับ ๒๕๒๑ (มาตราเดียว แบ่งเซลล์เป็น สองวรรค)

ท่านทั้งหลายเห็นอะไรครับ?

ท่านจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเขียน "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้"  (ถ้อยคำเวอร์ชัน ๑๐ ธ.ค. ๒๔๗๕)

หรือจะเขียน "กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญายังโรงศาลไม่ได้" (ถ้อยคำที่ใช้ในเวอร์ชัน ดั้งเดิม ๒๗ มิ.ย.๒๔๗๕)  

มันก็มีความหมายเดียวกัน แต่เปลี่ยนวิธีเขียน

นั่นคือ มาตรา ๘ ปัจจุบัน วรรคหนึ่ง "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้"   และวรรคสอง "ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้"  อธิบาย (ซึ่งจะตลก - แต่จะตลกเพราะ "ต้นตอ - ที่มา" ของมันเอง) ได้ว่า มาตรา ๘ วรรคแรก เป็นบทบัญญัติขยายความ มาตรา ๘ วรรคสอง นั่นเองครับ  ซึ่งเป็นการบัญญัติที่แปลกประหลาดดี แต่นี่ล่ะครับ คุณต้องดู "ต้นตอ - ที่มาที่ไป" ของบทบัญญัตินี้ ว่า เขารวม เขาเชื่อมกันอย่างไร

ถ้าท่าน งง ว่า ผมตีความเพี้ยนๆ นะ ได้ยังไง บทบัญญัติวรรคแรก ขยายความวรรคสอง (ทั้งๆ ที่ ควรอธิบายว่า วรรคแรก คือบทบัญญัติทั่วไป ส่วนวรรคสอง เป็นบทบัญญัติเฉพาะเรื่อง) นั่นเพราะ ทั้งสองวรรค คือเรื่องเดียวกันนั่นเองครับ จึงบังคับไปในตัว ให้เราจำต้องอธิบายเช่นนี้ - งง มั้ยครับ? ถ้างง ย้อนกลับไปอ่าน ช่วงต้นบทความเสียใหม่ครับ  ขำ ๆ เปลาะแรก ด้วยประการฉะนี้

ดังนั้น เมื่อท่านจะโยงมาตรา ๑๑๒ ประมวลกฎหมายอาญา เข้ากับมาตรา ๘ รัฐธรรมนูญ (เป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้) นั้น ย่อมเป็นความเพี้ยนพิลึกของท่านผู้นั้นเอง 

สำหรับการแก้ไขมาตรา ๑๑๒ ก็เป็นการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มิได้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ทั้งนั้น หาได้เกี่ยวข้องกันใดๆ ทั้งสิ้น

บรรทัดนี้ จะซีเรียสเล็กน้อย เพื่อเป็นแก่นสารสาระยิ่งขึ้น :  เรื่องจะฟ้องกษัตริย์มิได้นั้น เป็นฐานคิดอย่างสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่ง รัฐ คือ องค์กษัตริย์  ดังนั้น จะจับกษัตริย์มิได้  เพราะบังคับคดีต่อ "รัฐ" ไม่ได้นั่นเอง (จะจับ "รัฐ" เข้าคุกไม่ได้) เนื่องจาก "รัฐ คือ อำนาจที่ก่อตัวเป็นระบบ" รัฐเป็นนามธรรมก่อตัวขึ้นเป็น "สถาบัน" (อำนาจที่ก่อตัวขึ้นเป็นระบบ : เป็นเกร็ดให้สังเกตว่า คุณจะเห็นว่า อย่าง "กรรมสิทธิ์" ในทรัพย์สิน ก็มีความเป็น สถาบัน เช่นกัน) ในระบบกฎหมายของรัฐสมัยใหม่ (หมายถึง หลังยุคกลาง)  ครั้นคณะราษฎร รัฐธรรมนูญดั้งเดิม ๒๗ มิ.ย.๒๔๗๕ ก็ล้มแนวคิดนี้ นำกษัตริย์ให้ถูกพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎร  แล้วกาลก็วิบัติไปให้เข้าใจเคลื่อนๆ ไปเรื่อยๆ

ผมบอกแล้วว่าเรื่องนี้  เป็นเรื่องโจ๊กของรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้ตลกๆ ลอกๆ กันมา แล้วคนที่ไร้เดียงสา ก็อธิบายเป็นตุเป็นตะ - เป็นเรื่อง ขำๆ เปลาะที่สอง แล้ว ผมจะไม่ฮาได้อย่างไรครับ ฮ่า ฮ่า.

 



[๑]

ถัดจากนี้ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” จะแทนด้วยคำว่า “รัฐธรรมนูญ”

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนรักหลักประกันสุขภาพค้าน 'เมดิคับฮัล' ชี้ไทยไม่พร้อม

Posted: 12 Feb 2012 10:58 AM PST

กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพออกแถลงการณ์ คัดค้านนโยบายมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์  และค้านข้อเสนอแพทยสภาขยายการคุ้มครองการช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อเกิดความเสียหายในการรับบริการสาธารณสุข ชี้เอื้อ รพ.เอกชน

12 ม.ค.55 กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพออกแถลงการณ์ คัดค้านนโยบายมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ศูนย์การรักษาเฉพาะทางระดับสูง (Excellent Center) ระบุขัดต่อมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติขัดแย้งกับนโยบายการทำให้ประชาชนไทยทุกคนมีสิทธิด้านสุขภาพและเข้าถึงบริการสาธารณสุข และจะส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพ รวมทั้งการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนไทย เนื่องจากปัจจุบันระบบสุขภาพของประเทศไทยยังมีข้อจำกัดเรื่องบุคลากร

ทั้งนี้ยังได้คัดค้านการขยายมาตรา ๔๑ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ขยายการคุ้มครองการช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อเกิดความเสียหายในการรับบริการสาธารณสุข โดยชี้ว่า ข้อเสนอของแพทยสภา เป็นข้อเสนอที่เอื้อประโยชน์ให้แก่โรงพยาบาลเอกชน เป็นข้อเสนอที่ให้เอาเงินภาษีของประชาชนไปจ่ายแทนโรงพยาบาลเอกชน

โดยแถลงการณ์มีรายละเอียด ดังนี้

0 0 0

แถลงการณ์ฉบับที่ ๓/๒๕๕๕
กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ

เรื่อง  การคัดค้านนโยบายมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ศูนย์การรักษาเฉพาะทางระดับสูง (Excellent Center) และคัดค้านการขยายมาตรา ๔๑ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕

ตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ได้ออกมาให้ข้อมูลผ่านสื่อมวลชนเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาลในการสนับสนุนให้มีศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ศูนย์การรักษาเฉพาะทางระดับสูง (Excellent Center)ในประเทศไทย เพื่อเปิดให้การรักษาพยาบาลคนต่างชาติและประชาชนทั่วไปแบบต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณกว่า ๔,๐๐๐ ล้านบาทเพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าว ประกอบกับมีข้อเสนอจากแพทยสภาต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ขยายการคุ้มครองการช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อเกิดความเสียหายในการรับบริการสาธารณสุข ตามมาตรา ๔๑ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ ให้ครอบคลุมประชาชนทั้ง ๖๕ ล้านคน     ไม่ว่าประชาชนจะใช้สิทธิสุขภาพในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม  ระบบสวัสดิการข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งผู้ไปใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน นั้น กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ไม่เห็นด้วยกับนโยบายและข้อเสนอของแพทยสภาดังกล่าว ซึ่งส่งผลคุกคามระบบหลักประกันสุขภาพให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม  ด้วยเหตุผลสำคัญดังต่อไปนี้

๑. นโยบายการมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ศูนย์การรักษาเฉพาะทางระดับสูง (Excellent Center) เป็นนโยบายที่ขัดต่อมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๓  พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมตินี้เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๔ (มติในเรื่องนโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ) เป็นนโยบายที่ขัดแย้งกับนโยบายการทำให้ประชาชนไทยทุกคนมีสิทธิด้านสุขภาพและเข้าถึงบริการสาธารณสุข และจะส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพ รวมทั้งการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนไทย เนื่องจากปัจจุบันระบบสุขภาพของประเทศไทยยังมีข้อจำกัด บุคลากรสาธารณสุขไม่เพียงพอ จะก่อให้เกิดการดึงตัวบุคลากรที่เรียกว่า “สมองไหล” ไปรองรับบริการศูนย์กลางทางการแพทย์มากขึ้น อีกทั้งมีข้อมูลการศึกษาวิจัยที่ระบุชัดเจนว่านโยบายการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ศูนย์การรักษาเฉพาะทางระดับสูง (Excellent Center) จะส่งผลกระทบต่อระบบหลักประกันสุขภาพแน่นอน ไม่มี win-win (The effects of medical tourism: Thailand’s experience, http://www.who.int/bulletin/volumes/89/5/09-072249/en/index.html) จึงขอคัดค้านการใช้เงินสนับสนุนจำนวน ๔,๐๐๐ ล้าน รวมถึงการที่โรงเรียนแพทย์เอาเงินบริจาคสร้างตึกไปให้บริการคนเพียงบางกลุ่มและชาวต่างชาติ มากกว่าจะใช้เพื่อรองรับประชาชนทุกคนให้ได้รับสิทธิอย่างทั่วถึง เป็นธรรม รวมทั้งขอเสนอให้กระทรวงการคลังใช้มาตรการทางภาษีกับโรงพยาบาลที่ดำเนินตามนโยบาย Medical Hub เพื่อนำไปเป็นงบประมาณในการพัฒนาระบบบริการและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการของรัฐที่ปฏิบัติงานเพื่อประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ

๒. ข้อเสนอของแพทยสภา เป็นข้อเสนอที่เอื้อประโยชน์ให้แก่โรงพยาบาลเอกชน เป็นข้อเสนอที่ให้เอาเงินภาษีของประชาชนไปจ่ายแทนโรงพยาบาลเอกชน ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนได้รับผลกำไรจากการให้บริการอย่างเต็มที่โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น  ทั้งๆที่โรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับคนไข้ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  นี่คือความไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งสำหรับประชาชนผู้เสียภาษี โรงพยาบาลเอกชนต้องรับผิดชอบจ่ายค่าภาระความเสี่ยงของตนเองเมื่อเกิดความเสียหายในการให้บริการ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความระมัดระวังในการให้บริการมากขึ้น หากเกิดกรณีความเสียหายมากก็ต้องจ่ายมากตามสัดส่วน 

กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพขอเรียกร้องให้รัฐบาลต้องเร่งพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ... ที่รัฐบาลให้ความเห็นชอบนำเข้าบรรจุในวาระพิจารณาต่อเนื่องของรัฐสภา ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาการฟ้องร้องระหว่างแพทย์กับคนไข้ และพัฒนาการป้องกันความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขอย่างเป็นระบบ ขณะเดียวกันขอให้กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, โรงเรียนแพทย์ทุกแห่งปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 เพื่อลดผลกระทบอันเกิดจากนโยบายการทำ Medical Hub ที่จะเกิดกับระบบสาธารณสุขของประเทศให้ได้มากที่สุด

 

                                                                                    กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ
                                                                                     วันที่  ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘ไท’ อดอาหารต่อวันที่สอง กำลังใจยังมาต่อเนื่อง

Posted: 12 Feb 2012 10:46 AM PST

ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข ลูกชาย สมยศ อดอาหารต่อหน้าศาลอาญาเป็นวันที่ 2 โดยมีกลุ่มคนเสื้อแดง นักศึกษา นักวิชาการ นักกิจกรรมทยอยเข้าให้กำลังใจตลอดทั้งวัน

12 ก.พ. 55 – บริเวณหน้าศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข หรือ “ไท” บุตรชายของสมยศ พฤกษาเกษมสุข ยังคงอดอาหารประท้วงต่อเนื่องเป็นวันที่ โดยมีผู้ให้กำลังใจเดินทางมาเยี่ยมตลอดทั้งวัน หลังจากที่ได้เริ่มกิจกรรมอดอาหารเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาราว 4 โมงเย็น 

เมื่อเวลา 16.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ บริเวณฟุตบาทหน้าศาลอาญา นายปณิธาน หรือ “ไท” ยังคงนั่งอดอาหารเพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวของบิดาอย่างต่อเนื่อง โดยนอกจากจะมีกลุ่มผู้สนับสนุนจากกลุ่มคนเสื้อแดง ตัวแทนจากสหภาพแรงงาน และนักศึกษามาร่วมกิจกรรมแล้ว ยังมีนักวิชาการทยอยเดินทางมาให้กำลังใจตลอดทั้งวัน เช่น  โคทม อารียา ผอ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล, ส.ศิวรักษ์ นักคิด-นักเขียน, พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และตัวแทนจากกลุ่มสันติประชาธรรม เป็นต้น

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ให้ศพละ 7.5 ล้าน รัฐเยียวยาเหยื่อไฟใต้

Posted: 12 Feb 2012 10:44 AM PST

กรรมการเยียวยา เห็นชอบให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม กรือเซะ ตากใบ ไอร์ปาแย คนหาย ถูกซ้อมทรมาน บึ้มหาดใหญ่ ยงยุทธยันรีบนำเข้า ครม.เร่งจ่ายให้ทันในอีก 2 เดือนพร้อมเหยื่อการเมือง

ตายให้รายละ 7.5 ล้าน
เมื่อเวลา 11.30 น.วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2555 ที่โรงแรมลีการ์เด้น พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีการประชุมคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 2/2555 เพื่อพิจารณาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการเยียวยาฯ พร้อมด้วยพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ประธานคณะกรรมการเยียวยาฯ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กรรมการและเลขานุการ กรรมการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมกว่า 100 คน

ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบทุกกลุ่มได้รับการช่วยเหลือและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีกรอบการให้เงินเยียวยา รายละไม่เกิน 7.5 ล้านบาท เท่ากับกรณีผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง

ที่ประชุมได้แยกกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์วันที่ 28 เมษายน 2547 ทั้งหมด 11 จุด รวมเหตุการณ์ที่มัสยิดกรือเซะและสะบ้าย้อย กลุ่มที่ 2 เหตุการณ์ตากใบและมัสยิดไอร์ปาแย กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ที่ถูกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐกรณีถูกบังคับให้สูญหายหรือการทรมาน หรือถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และกลุ่มที่ 4 ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทั่วไป

นอกเหนือจากให้เงินเยียวยาแล้ว ทั้ง 4 กลุ่มจะได้รับการช่วยเหลือด้านอื่นๆ เช่น ที่อยู่อาศัย อาชีพ การศึกษา และการประกอบพิธีฮัจย์ เป็นต้น

เร่งจ่ายในอีก 2 เดือน
นายยงยุทธ กล่าวในการแถลงข่าวว่า จะเร่งนำร่างยุทธศาสตร์การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ฉบับนี้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ให้ได้ในวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 เพื่อให้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบภาย และคาดว่าจะสามารถดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาได้ภายใน 1 - 2 เดือน ซึ่งเป็นช่วงใกล้เคียงกับการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง

“รัฐบาลไม่ได้ละเลยหรือทอดทิ้งผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่จะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์อย่างละเอียดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม” นายยงยุทธ กล่าว

รวมเหยื่อบึ้มหาดใหญ่
พ.ต.อ.ทวี แถลงว่า สำหรับจำนวนผู้ที่จะได้รับการเยียวยานั้น ได้มีการรวบรวมข้อมูลไว้บางส่วนแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยจำนวนที่แน่นอนได้ ส่วนวิธีปฏิบัติได้มีโครงสร้างการให้ความช่วยเหลือที่ชัดเจน โดยจะคณะกรรมการระดับอำเภอโดยมีนายอำเภอเป็นประธานและให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเยียวยาที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมและสภาพที่เป็นจริงทั้ง 37 อำเภอใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของสงขลา

“ส่วนผู้ได้รับผลกระทบนอกพื้นที่ดังกล่าว เช่น ถูกลอบวางระเบิดในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาในหลักเกณฑ์เดียวกันด้วย” พ.ต.อ.ทวี กล่าว

พ.ต.อ.ทวี แถลงอีกว่า ที่ประชุมยังได้เสนอให้สร้างความเข้าใจในกระบวนการเยียวยาให้แก่ทุกภาคส่วน จัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นกลไกให้ความช่วยเหลือเยียวยา รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการใช้หลักศาสนาในการเยียวยาทางด้านจิตใจโดย ส่งเสริมการไปประกอบพิธีฮัจย์หรือการไปปฏิบัติธรรม ณ ดินแดนพุทธภูมิ

พ.ต.อ.ทวี แถลงด้วยว่า ส่วนกรณีเจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบ จะมีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งภายในกรอบการช่วยเหลือเดียวกัน

4 ศพหนองจิกให้ก่อน 5 แสน
พ.ต.อ.ทวี แถลงอีกว่า ส่วนกรณีชาวบ้านถูกยิงเสียชีวิต 4 รายในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี หากตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐก็เข้าข่ายที่จะได้รับการเยียวยาตามหลักเกณฑ์นี้เช่นเดียวกัน แต่ในเบื้องต้นได้ให้เงินช่วยเหลือเยียวยารายละ 5 แสนบาท

ตั้ง 7 คณะรุกงานเยียวยา
พ.ต.อ.ทวี แถลงด้วยว่า คณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมารวมทั้งหมด 7 ชุด ได้แก่ คณะอนุกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีพล.ต.อ.ประชา เป็นประธานคณะอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการการสื่อสารที่ดีทั้งในและต่างประเทศ คณะอนุกรรมการจัดระบบความเป็นธรรม สิทธิเสรีภาพและคุมครองผู้บริสุทธิ์

นอกจากนี้ยังตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกำหนดรายละเอียดการเยียวยาและแนวทางการช่วยเหลือกรณีเหตุการณ์ 28 เมษายน 2547 คณะอนุกรรมการเพื่อกำหนดรายละเอียดการเยียวยาและแนวทางการช่วยเหลือกรณีเหตุการณ์ตากใบและไอร์ปาแย คณะอนุกรรมการเพื่อกำหนดรายละเอียดการเยียวยาและแนวทางการช่วยเหลือกรณีผู้ถูกบังคับให้สูญหายและถูกซ้อมทรมาน และคณะอนุกรรมการเพื่อกำหนดรายละเอียดการเยียวยาและแนวทางการช่วยเหลือกรณีเหตุการณ์ทั่วไป

ผู้ว่าฯ สงขลาหวั่นคนไม่เข้าใจ
นายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวต่อที่ประชุมว่า ยังมีผู้ที่ไม่เข้าใจปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่อีก การให้เงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบที่เสียชีวิตถึงรายละ 7.5 ล้านบาท มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และการตั้งมูลนิธิเพื่อจัดตั้งอุทยานประวัติศาสตร์ความรู้สึกเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตตามข้อเสนอของคณะทำงานกำหนดกรอบการเยียวยากลุ่มผู้ที่ถูกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐกรณีถูกบังคับให้สูญหายหรือการทรมานหรือถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน อาจจะสร้างปัญหาให้กับรัฐตามมา จึงไม่เห็นด้วยกับการตั้งมูลนิธิดังกล่าว

เหยื่อกรือเซะขอเป็นเงินก้อน
นางคอดีเยาะ หะหลี ชาวตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี บุตรของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ ซึ่งร่วมการประชุมด้วย กล่าวว่า เดิมไม่ต้องการให้ช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในรูปตัวเงินมากนัก ซึ่ตนเคยเสนอเรื่องนี้มาแล้วหลายครั้ง แต่สุดท้ายคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีมติจะให้เงินช่วยเหลือรายละไม่เกิน 7.5 ล้านบาท เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบทุกกลุ่มอย่างเท่าๆ กัน และไม่เห็นด้วยถ้าจะทยอยให้เป็นงวดๆ

เปิดหลักเกณฑ์ช่วย 4 กลุ่ม
สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับกรอบการช่วยเหลือเยียวยาและแนวทางการช่วยเหลือตามที่คณะทำงานกำหนดกรอบการเยียวยาทั้ง 4 กลุ่ม กำหนด เบื้องต้น มีดังนี้

กลุ่มที่ 1 เหตุการณ์วันที่ 28 เมษายน 2547 ทั้งหมด 11 จุด รวมเหตุการณ์กรือเซะและสะบ้าย้อย ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 106 คน บาดเจ็บ 6 คน และถูกจับกุม 6 คน ให้เงินเยียวยาผู้เสียชีวิตรายละ 4.5 ล้านบาท พิการ 1 ล้านบาทและสนับสนุนการไปประกอบพิธีฮัจย์

กลุ่มที่ 2 เหตุการณ์ตากใบและไอร์ปาแย แยกเป็นเหตุการณ์ตากใบ มีผู้เสียชีวิต 85 คน บาดเจ็บ 51 ราย ผู้ถูกดำเนินคดี 58 ราย ผู้ที่ถูกควบคุมตัว 1,300 ราย เสียชีวิตเยียวยารายละไม่เกิน 7.5 ล้านบาท ทุพพลภาพ 350,000 บาท บาดเจ็บสาหัส 313,000 บาท บาดเจ็บ 65,000 บาท ถูกดำเนินคดีได้รับค่าชดเชยเบื้องต้น 30,000 บาท ค่าชดเชยที่ถูกคุมขังตามจำนวนวัน วันละ 400 บาท ค่าชดเชยในการไปดำเนินคดีต่อศาล10,000 บาท ส่วนผู้ที่ถูกควบคุมได้รับค่าเยียวยาทางจิตใจรายละ 10,000 บาท ผู้ได้รับเงินเยียวยาต้องหักเข้ากองทุนร้อยละ 20

กลุ่มที่ 3 กรณีการสูญหายซึ่งมีจำนวน 37 ราย ค่าชดเชยรายละ 7.15 ล้านบาท ส่วนผู้ที่ถูกซ้อมทรมานมี 36 ราย ส่วนกลุ่มที่ 4 เหตุการณ์ทั่วไปจะพิจารณาช่วยเหลือภายใต้วงเงินไม่เกินรายละ 7.5 ล้านบาท

นอกจากนี้ ทั้ง 4 กลุ่มจะได้รับแล้วยังมีการช่วยเหลือในด้านอื่นเช่นที่อยู่อาศัย อาชีพ การศึกษา และการประกอบพิธีฮัจย์ เป็นต้น

สถิติเหยื่อไฟใต้ 8 ปีจ่อ5พันราย
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้รวบรวมสถิติผู้ได้รับ ล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน 2554 ชี้ให้เห็นจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในรอบเจ็ดปีกว่าหรือ 94 เดือนนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 ถึงเดือนตุลาคม 2554 ที่เกิดเหตุความไม่สงบรวมทั้งสิ้นประมาณ 11,265 เหตุการณ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บรวมกันจำนวนประมาณ 13,207 ราย แยกเป็นจำนวนผู้เสียชีวิตรวม 4,943 ราย จำนวนผู้บาดเจ็บรวม 8,264 ราย ซึ่งจำนวนผู้ได้รับผลกระทบดังกล่าว หากได้รับการช่วยเหลือเยียวยาตามหลักเกณฑ์ใหม่นี้ เฉพาะผู้เสียชีวิต จะต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 37,000 ล้านบาท

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชง 11 เรื่องเจรจา ‘นายกฯมาเลย์’ ‘ใบกระท่อม’ ขึ้นชั้นปัญหาระหว่างประเทศ

Posted: 12 Feb 2012 10:30 AM PST

พ่อค้าหัวใสเก็บส่งขายในไทยไม่ถูกจับ เหตุกฎหมายให้เป็นแค่สมุนไพร เด็กทุนเรียนอ่อน มีสิทธิตกยกรุ่น แต่ยังอ้อนขอเพิ่มอีกช่วยนักเรียนชายแดนใต้

เมื่อเวลา 11.30 – 16.30 น. วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ห้องสุริยาศศิน โรงแรมลีการ์เดนส์พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดประชุมหารือแนวทางแก้ปัญหาชายแดนไทย – มาเลเซีย เพื่อเสนอกรอบประเด็นให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปประชุมหารือกับนายราจิบ นาซัค นายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย ในวันที่ 20  กุมภาพันธ์ 2555 โดยมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน

ที่ประชุมมีพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมศุลกากร กระทรวงการต่างประเทศ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี สตูล สงขลา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประมาณ 100 คน

ที่ประชุมได้หารือกรอบประเด็นการหารือรวม 11 ประเด็น ได้แก่ ความร่วมมือด้านความมั่นคง ความร่วมมือด้านการบรรเทาภัยพิบัติ การก่อสร้างสะพานตากใบและสะพานข้ามแม่น้ำโกลกแห่งที่ 2 การแก้ปัญหาแรงงานไทยในร้านต้มยำในมาเลเซีย การแก้ปัญหารถตู้ไทยในมาเลเซีย การขอต่ออายุและขยายระดับทุนการศึกษาของรัฐบาลมาเลเซีย การเปิดการค้าเสรีต้นกล้ายาง เมล็ดปาล์มน้ำมัน และตั้ง Oil Palm Belt การขยายด่านสะเดา – บูกิตกายูฮิตัม การส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ความร่วมมือด้านเกษตรอินทรีย์ (Organic Farming) และความร่วมมือในการส่งออกทุเรียนไปตลาดจีน

ในประเด็นความมั่นคง ที่ประชุมได้เสนอหารือเรื่องปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะใบกระท่อม ซึ่งเป็นยาเสพติดที่กำลังระบาดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย แต่มาเลเซียถือว่าเป็นยาสมุนไพรรักษาโรคและไม่ผิดกฏหมาย ดังนั้นจะทำอย่างไรที่จะทำให้มาเลเซียมองว่าเป็นปัญหาระหว่างประเทศที่อาจนำไปสู่ความไม่สงบในมาเลเซียเองด้วย เนื่องจากขณะนี้มีพ่อค้าไปเก็บใบกระท่อมในมาเลเซียมาขายในไทยจำนวนมาก โดยไม่ผิดกฎหมายของมาเลเซีย

ส่วนการแก้ปัญหาแรงงานไทยทำงานร้านต้มยำในมาเลเซีย ที่ประชุมเสนอขอให้มาเลเซียเก็บค่าภาษีตามระดับรายได้ของแรงงานไทย แทนการเก็บในอัตราเดียวที่สูง และให้เปิดรับแรงงานประเภทอื่นนอกจากคนปรุงอาหารด้วย ทั้งนี้ผู้ประกอบการพร้อมจดทะเบียนลูกจ้างให้ถูกต้องตามกฏหมายอยู่แล้ว

ประเด็นการขอต่ออายุและขยายระดับทุนการศึกษาของรัฐบาลมาเลเซีย ที่ประชุมเสนอขอให้ประเทศมาเลเซียสนับสนุนทุนการศึกษาต่อไป แม้ว่าขณะนี้นักเรียนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับทุนแล้ว 4 รุ่น จำนวน 200 กว่าคน มีการเรียนที่อ่อนอย่างหนัก จนต้องลาออกไปแล้ว 5 คน และที่เหลือมีแนวโน้มที่จะเรียนไม่จบชั้นมัธยมปลาย ขณะเดียวกัน กระทรวงศึกษาธิการได้ส่งครูไปสอนพิเศษให้กับเด็กกลุ่มนี้แล้วก็ตาม

ด้านการขยายด่านสะเดา – บูกิตกายูฮิตัม ที่ประชุมขอให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เสนอของบประมาณเพิ่มเติมจากคณะรัฐมนตรี 40 กว่าล้านบาท ในคราวการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดภูเก็ต ในเดือนมีนาคม 2555 เพื่อใช้ในการจ่ายจดเชยผลอาสินในที่ดินโครงการปรับปรุงด่านสะเดาเนื้อที่ 19 ไร่ เนื่องจากมีข้อตกลงกับชาวบ้านแล้วว่า จะชดเชยต้นยางพาราต้นละ 5,000 บาท

ขณะที่โครงการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ เนื้อที่ 720 ไร่ ชาวบ้านบางส่วนได้เสนอขอค่าชดเชยต้นยางพาราต้นละ 8,100 บาท จึงจะยินยอมให้ก่อสร้างด่านดังกล่าว

ส่วนการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ขอให้กระทรวงการต่างประเทศตรวจสอบศักยภาพของบริษัทลังกาสุกะ กรุ๊ป ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างนักธุรกิจประเทศมาเลเซียและไทย ที่ระบุว่าจะลงทุนก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปและอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลที่ปัตตานี มูลค่า 1 หมื่นล้านบาทว่า เป็นบริษัทที่มีศักยาพจริงหรือไม่ เนื่องจากพบว่า มีทุนจดทะเบียนบริษัทเพียง 1 ล้านบาทเศษเท่านั้น

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้นำพระสงฆ์พม่าช่วงปฏิวัติชายจีวรถูกจับกุมซ้ำ

Posted: 12 Feb 2012 10:03 AM PST

 พระอชิน กัมบีระ ซึ่งเคยต้องโทษจำคุก 68 ปี ในข้อหาเป็นแกนนำประท้วงรัฐบาลพม่าในปี 2550 ซึ่งเพิ่งได้รับการอภัยโทษเมื่อเดือนก่อนนั้น ล่าสุดมีรายงานว่าถูกตำรวจจับกุมอีกครั้ง หลังเข้าไปจำวัดที่รัฐบาลมีคำสั่งปิด ก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีการตั้งข้อหา

พระสงฆ์ซึ่งมีบทบาทในช่วงการประท้วงของพระสงฆ์ในปี 2550 คือพระอชิน กัมบีระ (Ashin Gambira) ซึ่งถูกตัดสินจำคุก 68 ปี ฐานเป็นผู้นำการประท้วงและเพิ่งได้รับการปล่อยตัวหลังรัฐบาลพม่าอภัยโทษเมื่อเดือนที่ผ่่านมา ล่าสุดมีรายงานว่าถูกตำรวจจับกุมอีกแล้วเมื่อเวลา 02.00 น. ของวันที่ 10 ก.พ.

ทั้งนี้หลังได้รับการอภัยโทษ พระกัมบีระได้ไปจำวัดอยู่ที่วัดมักกิน เขตโอคกะลาปาใต้ เมืองย่างกุ้ง ซึ่งวัดแห้งนี้เป็นศูนย์กลางการประท้วงรัฐบาลเมื่อปี 2550 ต่อมาสภาพระสงฆ์พม่า ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลได้มีคำสั่งให้พระกัมบีระและพระรูปอื่นอีก 4 รูปซึ่งได้รับการปล่อยตัวพร้อมพระกัมบีระ ให้ย้ายออกจากวัดดังกล่าวทันที ทั้งนี้เนื่องจากพระกลุ่มดังกล่าวเข้ามาเปิดใช้วัดดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต

หนึ่งในคณะสงฆ์ที่ร่วมกับพระกัมบีระแจ้งกับอิระวดีว่า พระกัมบีระและคณะได้ย้ายไปยังวัดเลดี ในเมืองย่างกุ้ง แต่สภาพระสงฆ์พม่ามีคำสั่งมายังพระกัมบีระสามครั้ง ให้ทำการปวารณา หรือให้ทำการกล่าวตักเตือน แต่พระสงฆ์ทั้งหมดปฏิเสธคำสั่งดังกล่าว

ทั้งนี้ ยังไม่มีผู้ทราบว่าพระกัมบีระขณะนี้จำวัดอยู่ที่ใด โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่่านมา เจ้าอาวัดที่วัดมักกิน กล่าวกับอิระวดีว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลเข้ามาเปิดประตูวัดเมื่อเวลา 01.00 น. เช่นเดียวกับที่วัดปยีจ่อฉ่วย ในเขตมิงกลาตองยุ้น ซึ่งเป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางการปฏิวัติชายจีวรในปี 2550 เช่นกัน

โดยการเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว เกินขึ้นหลังจากมีจดหมายของพระสงฆ์ส่งมาที่สภาพระสงฆ์ขอให้มีคำสั่งเปิดวัดสองแห่งดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ยังมีวัดอีกสองแห่งที่ยังคงถูกปิด คือวัดตาตะนา ไต้ปั่น และวัดตาตะนา กงจี ในเขตบะฮานนครย่างกุ้ง

ล่าสุด บีบีซีรายงานว่า พระกัมบีระได้รับการปล่อยตัวแล้ว หลังการสอบสวนช่วงระยะเวลาหนึง โดยไม่มีการตั้งข้อหา ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาออกแถลงการณ์แสดงความกังวลต่อกรณีการควบคุมตัวพระกัมบีระด้วย

ราเชล ฮาร์วีย์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีระบุด้วยว่า ในระหว่างการสัมภาษณ์ พระกัมบีแสดงความไม่ไว้ใจต่อกระบวนการปฏิรูปในพม่าด้วย

 

หมายเหตุ: ภาพประกอบหน้าแรก พระกัมบีระ หลังได้รับการปล่อยตัวเมื่อเดือนมกราคม 2555 ที่มาของภาพ BJ Stuart / The Irrawaddy

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Gambira Apprehended in Midnight Raid, By THE IRRAWADDY, Friday, February 10, 2012

Burmese protest leader monk Shin Gambira free, BBC, 11 February 2012 Last updated at 04:34 GMT

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ความขัดแย้งในตัวเองของอุดมการณ์สถาบันกษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ และ ม.112

Posted: 12 Feb 2012 09:44 AM PST

สุรพศ ทวีศักดิ์ ปรับปรุงจากประเด็นที่นำเสนอในการเสวนาเรื่อง “สถาบันกษัตริย์กับสังคมประชาธิปไตย” ในงาน "จิบน้ำชาสังสรรค์สนทนาเพื่อหารายได้สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 ตามข้อเสนอนิติราษฎร์"  

การพูดถึงอุดมการณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในมิติทางประวัติศาสตร์ว่า อุดมการณ์นี้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร มีพัฒนาการมาอย่างไร น่าจะมีคนพูดถึงกันมากแล้ว แต่การวิเคราะห์ให้เห็นปัญหาความขัดแย้งภายในตัวอุดมการณ์ดังกล่าว อาจจะยังมีคนพูดถึงไม่มากนัก ฉะนั้น ผมจึงอยากจะวิเคราะห์ปัญหานี้ โดยจะพูดใน 3 ประเด็น คือ

1. กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 8 มาตรา 9 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 สะท้อนให้เห็นความขัดแย้งในตัวเองของอุดมการณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์อย่างไร

2. ความล้มเหลวในการใช้มาตรา 8 และมาตรา 112 ปกป้องอุดมการณ์สถาบันกษัตริย์ และ

3. ผมขอเสนอว่า เราต้องไปให้สุดอุดมการณ์ประชาธิปไตยและอุดมการณ์ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่สอดคล้องกับความเป็นประชาธิปไตย

ประเด็นแรก รัฐธรรมนูญมาตรา 9 ระบุว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก” ที่จริงมาตรานี้ละเมิดเสรีภาพในการนับถือศาสนาของพระมหากษัตริย์ แต่การบัญญัติเช่นนี้น่าจะอิงมิติทางประวัติศาสตร์สังคมไทยที่เชื่อกันว่า สถาบันกษัตริย์กับพุทธศาสนาดำรงอยู่อย่างค้ำจุนซึ่งกันและกันมาโดยตลอด เมื่อบัญญัติไว้เช่นนี้ ก็แสดงให้เห็นว่าอุดมการณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ตามมาตรา 9 ก็คือ “อุดมการณ์ธรรมราชา” และดังปฐมบรมราชโองการตอนขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” โดย “ธรรม” ที่ว่านี้ก็เป็นที่รับรู้กันว่า คือ “ทศพิธราชธรรม”

ตามคำสอนของพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม (early Buddhism) ทศพิธราชธรรมไม่ใช่ธรรมะที่รับรองสถานะอันศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันกษัตริย์ และตามอุดมการณ์ธรรมราชากษัตริย์เป็น “สมมติราช” ไม่ใช่ “สมมติเทพ” ทศพิธราชธรรมจึงหมายถึงคุณธรรมอันเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองที่ต้องรับผิดชอบต่อราษฎร

แต่เมื่อเราย้อนไปดูรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ที่ระบุว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้...” จะเห็นว่า ตามมาตรา 8 ดูเหมือนว่าสถานะของกษัตริย์เป็น “สมมติเทพ” และมาตรา 112 ก็คือเครื่องมือปกป้องสถานะ “สมมติเทพ” ตามมาตรา 8 นั่นเอง

ฉะนั้น สถานะของสถาบันกษัตริย์ตามมาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 112 จึงเป็นทั้ง “สมมติเทพ” และ “ธรรมราชา” ในเวลาเดียวกัน แต่ความเป็นสมมติเทพกับความเป็นธรรมราชาตามทัศนะพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมนั้น ขัดแย้งกันในทาง “เนื้อหา” และทาง “ตรรกะ” อย่างสิ้นเชิง จึงกลายเป็นว่า เราใช้อุดมการณ์ธรรมราชาภายใต้อุดมการณ์ “สมมติเทพ” อีกทีหนึ่ง ทศพิธราชธรรมจึงถูกใช้เป็น “วาทกรรม” (discourse) สนับสนุนสถานะอันศักดิ์สิทธิ์ของสมมติเทพ ซึ่งเท่ากับว่า concept ของทศพิธราชธรรมถูกทำให้มีความหมายเบี่ยงเบนไป

เปรียบเทียบให้เห็นภาพพจน์ง่ายๆ ก็คือ concept ของประชาธิปไตยภายใต้อุดมการณ์สมมติเทพถูกทำให้มีความหมายเบี่ยงเบนไป ฉันใด concept ของทศพิธราชธรรมภายใต้อุดมการณ์สมมติเทพก็ถูกทำให้มีความหมายเบี่ยงเบนไป ฉันนั้น

ประเด็นที่สอง สังคมไทยโดยรวมอาจเชื่อว่า มาตรา 8 และมาตรา 112 ปกป้องอุดมการณ์สมมติเทพและอุดมการณ์ธรรมราชาได้อย่างมีประสิทธิภาพในความหมายว่า ทำให้สถานะของสถาบันกษัตริย์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะ เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ เป็นต้น

แต่หากพิจารณาจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ระยะใกล้ เช่น 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภา 53 จะเห็นว่า อุดมการณ์สมมติเทพมักจะ “ถูกนำมาใช้อ้าง” ในเชิงเป็นปฏิปักษ์ต่อความก้าวหน้าของประชาธิปไตย หรือถูกนำมาอ้างเพื่อปราบปรามนักศึกษา และประชาชนที่เรียกร้องเสรีภาพ และความเสมอภาคตลอดมา ฉะนั้น อุดมการณ์สมมติเทพจึงถูกตั้งคำถามมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนอุดมการณ์ธรรมราชาที่มีมาตรา 8 และมาตรา 112 ปกป้องนั้น ก็มีปัญหาย้อนแย้งในตัวเองว่า หากมีกฎหมายห้ามวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ เราจะพิสูจน์ความเป็นจริงของทศพิธราชธรรมได้อย่างไร

เพราะตามหลักพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมนั้น ธรรมะทุกประเภทในพุทธศาสนา จะต้องสามารถนำมาตรวจสอบความเป็นจริงได้ด้วย “หลักกาลามสูตร” ทั้งสิ้น อย่างเช่น หลักอริยสัจสี่ ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท เราสามารถนำมาตรวจสอบความเป็นจริงได้ตามหลักกาลามสูตรทั้งสิ้น

หลักกาลามสูตรนั้นพุทธะสอนว่า อย่าเชื่อเพราะอย่างนั้นอย่างนี้ 10 อย่าง สาระสำคัญก็คือว่า “เราจะยอมรับอะไรว่ามันจริง ก็ต่อเมื่อเราพิสูจน์ได้ว่ามันจริง” การพิสูจน์ความเป็นจริงของหลักธรรมในพุทธศาสนาก็จะเป็นไปตามหลักการนี้ทั้งหมดเลย จึงเป็นไปไม่ได้ที่พุทธศาสนาจะยกเว้นเฉพาะหลัก “ทศพิธราชธรรม” เพียงอย่างเดียวว่า ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ความเป็นจริงตามหลักกาลามสูตร

แต่ภายใต้ มาตรา 8 และมาตรา 112 เรากลับพิสูจน์ความเป็นจริงของทศพิธราชธรรมไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น ทศพิธราชธรรมข้อที่ 7 ที่ว่า “อักโกธะ” คือ ความไม่โกรธ หมายความว่า พระราชาจะไม่ตัดสินใจด้วยอารมณ์โกรธ หรือลงโทษราษฎรด้วยความโกรธ ในกรณีแบบนี้ถ้าเป็นนักการเมืองเราสามารถจะรู้ได้ หรือพิสูจน์ได้ว่า เขาตัดสินใจด้วยความโกรธหรือไม่ ลงโทษประชาชนด้วยความโกรธหรือไม่ เพราะเราสามารถวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบเขาได้ คือเราสามารถทำสิ่งที่จะทำให้เขาโกรธได้ เราจึงจะรู้ได้ว่าเขาโกรธหรือไม่ แต่กับสถาบันกษัตริย์ภายใต้มาตรา 8 และมาตรา 112 เราทำ หรือพิสูจน์เช่นเดียวกันนี้ไม่ได้

ในทศพิธราชธรรมยังมีหลัก “อวิหิงสา” ความไม่เบียดเบียน แต่การใช้มาตรา 112 ในปัจจุบัน ที่ใครๆ ก็ไปแจ้งความเอาผิดได้ มักถูกใช้เป็นเครื่องมือทำลายกันทางการเมืองได้ หรือใช้ทำลายเสรีภาพของคนที่เห็นต่างทางการเมืองได้

หลักทศพิธราชธรรมอีกข้อ ที่สำคัญมากคือ “อวิโรธนะ” หมายถึง “มีความยุติธรรม” แต่ความยุติธรรมตามหลักคิดของพุทธศาสนานั้น การลงโทษต้องสมควรแก่เหตุ ต้องเคารพความเป็นมนุษย์ และมีการุณยธรรม แต่ทว่ากรณี “อากง” ถูกตัดสินจำคุก 20 ปี ด้วยความผิดจากการส่ง SMS เพียง 4 ข้อความ อธิบายไม่ได้ว่า เป็นการลงโทษที่ควรแก่เหตุอย่างไร เคารพความเป็นคนอย่างไร มีความยุติธรรม และการุณยธรรมอย่างไร

ฉะนั้น ที่เราเชื่อกันว่า มาตรา 112 ปกป้องอุดมการณ์ธรรมราชา แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลับเป็นกฎหมายที่ถูกใช้อย่างขัดแย้งกับหลักทศพิธราชธรรม เพราะทศพิธราชธรรมเป็นเรื่องของความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความยุติธรรม การเคารพความเป็นคน และการุณยธรรม แต่มาตรา 112 กลับ “ถูกใช้” เป็นเครื่องมือสร้างความโกรธ ความเกลียดชัง การเบียดเบียน ล่าแม่มด กำหนดโทษที่อยุติธรรม ทำลายความเป็นมนุษย์ และไร้ซึ่งการุณยธรรม

สรุปว่า ในที่สุดแล้ว มาตรา 8 และมาตรา 112 ก็ไม่สามารถปกป้องอุดมการณ์สมมติเทพที่ขัดแย้งกับความเป็นประชาธิปไตยได้จริง เพราะไม่มีทางที่ฝ่ายกษัตริย์นิยมจะปกป้องอุดมการณ์ดังกล่าวนี้ด้วยการกระทำแบบ 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภา 53 ได้ตลอดไป

และที่แย่กว่านั้นคือ มาตรา 8 และมาตรา 112 ได้กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญของการอ้างอิงสถาบันทำรัฐประหาร การอ้างอิงสถาบันในการต่อสู้ทางการเมือง การทำร้ายกันและกันของคนในชาติ ซึ่งเป็นการทำลายหลักการของทศพิธราชธรรมอย่างถึงราก

บางคนบอกว่า “กฎหมายเป็นเพียงตัวอักษรในกระดาษหากไม่ไปละเมิดก็ไม่มีความผิด” นี่แสดงว่าเขาไม่เข้าใจบริบทของกฎหมายมาตรา 112 ว่าเป็น “มรดกของคณะรัฐประหาร” ที่ตราขึ้นหลังการอ้างอิง “อุดมการณ์กษัตริย์นิยม” สังหารหมู่นักศึกษาที่เรียกร้องประชาธิปไตยช่วง 6 ตุลา และไม่ดูบริบทของอัตราเพิ่มอย่างผิดปกติของคดีหมิ่นฯ ในปัจจุบันว่า มีที่มาจากการอ้างอิงสถาบันต่อสู้ทางการเมือง และทำรัฐประหาร 19 กันยา 49 อย่างมีนัยสำคัญอย่างไร

อันที่จริง นอกจาก มาตรา 8 และมาตรา 112 จะไม่ประสบผลสำเร็จในการปกป้องอุดมการณ์สมมติเทพและอุดมการณ์ธรรมราชาดังกล่าวแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหาย้อนแย้งในสังคมพุทธเอง

กล่าวคือ ตามหลักอริยสัจอันเป็นแก่นของพุทธศาสนา มีสาระสำคัญว่าจะแก้ทุกข์หรือปัญหาต่างๆ ได้ จะต้องรู้ความจริงของทุกข์และความจริงของสาเหตุให้เกิดทุกข์หรือปัญหานั้นๆ อย่างถ่องแท้ แต่ภายใต้มาตรา 8 และมาตรา 112 สังคมไทยไม่สามารถพูดถึงความจริงของปัญหาและสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาเหตุการณ์ 6 ตุลา และพฤษภา 53 ได้อย่างถึงที่สุด

จึงเท่ากับว่า ภายใต้มาตรา 8 และมาตรา 112 สังคมเราที่อ้างว่าเป็นสังคมพุทธก็เป็นสังคมพุทธที่ไม่สามารถ “ปรับใช้” (apply) หลักการอันเป็นแก่นคำสอนของพุทธะเพื่อแก้ปัญหาสังคมการเมืองได้เลย เมื่อพุทธะสอนสัจจะ และถือว่าการเข้าถึงสัจจะก่อให้เกิดปัญญาที่นำไปสู่การแก้ปัญหาต่างๆ ได้ แต่สังคมพุทธกลับ “ถูกบล็อก” ไม่ให้พูดถึง หรืออภิปรายถกเถียงถึงสัจจะของปัญหาและสาเหตุที่แท้จริง แล้วจะเป็นสังคมแห่งปัญญาและแก้ปัญหาจริงๆ ได้อย่างไร

ประเด็นสุดท้าย เราต้องไปให้สุดอุดมการณ์ประชาธิปไตยและอุดมการณ์ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่สอดคล้องกับความเป็นประชาธิปไตย อุดมการณ์ประชาธิปไตยที่เราต้องไปให้สุดก็คือ “อุดมการณ์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ตามเจตนารมณ์ 2475”

ถ้าเรายึดอุดมการณ์นี้เป็นหลักในการปกครอง เราก็ต้องตีความมาตรา 8 ตามที่ อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เคยเสนอว่า ตามมาตรา 8 ที่ระบุว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้...” ต้องตีความว่า สถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง พ้นไปจากการเมืองอย่างแท้จริงเท่านั้น จะตีความเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ถ้าตีความต่างไปจากนี้ก็หมายความว่า มาตรา 8 ยึดอุดมการณ์สมมติเทพตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เราก็เป็นประชาธิปไตยภายใต้สมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น ไม่สามารถเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอย่างแท้จริง หรือไปให้สุดอุดมการณ์ประชาธิปไตยได้  

ในส่วนของอุดมการณ์ที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์โดยเฉพาะซึ่งเชื่อมโยงกับมิติทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของไทย เราจำเป็นต้องยืนยัน “อุดมการณ์ธรรมราชา” (ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 9) ที่กษัตริย์เป็น “สมมติราช” ไม่ใช่ “สมมติเทพ” เนื่องจากสมมติเทพเป็นสถานะของกษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตย หรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งขัดแย้งกับอุดมการณ์ประชาธิปไตย แต่ “สมมติราช” ไปกันได้กับอุดมการณ์ประชาธิปไตย

แต่ต้องไม่ใช่ “สมมติราช” ตาม concept ของ “อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ” ที่ถือว่ากษัตริย์ถูกเลือกโดยชุมชนการเมืองให้มีสถานะสูงส่งเหนือกว่าประชาชนทั่วไป คือประชาชนทั้งหมดในประเทศเสมอภาคกัน แต่กษัตริย์อยู่เหนือคนทั่วไป ทว่าตามอุดมการณ์ “สมมติราช” ในคำสอนของพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมหรือในอัคคัญสูตร (พระไตรปิฎกเล่ม 11) นั้น กษัตริย์คือคนธรรมดา เพียงแต่ถูกสมมติให้มีหน้าที่เป็นผู้ปกครองเท่านั้น และ “ทศพิธราชธรรม” ก็คือ คุณธรรมของการเป็นผู้ปกครองที่ดี ไม่ใช่คุณธรรมที่ส่งเสริมสถานะของผู้ปกครองให้เป็น “สมมติเทพ” เหนือคนธรรมดาแต่อย่างใด คำว่า “สมมติเทพ”เป็นวาทกรรมทางการเมืองในระบอบราชาธิปไตยที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อสมัยอยุธยานี่เอง

และโดยหลักทศพิธราชธรรมนั้น ก็ไม่มีข้อไหนที่ห้ามวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ นอกจาจะไม่ห้ามแล้ว หากดู “เนื้อหา” ของทศพิธราชธรรมที่เน้นความโปร่งในเสียสละ ไม่โกรธ ไม่เบียดเบียน มีความยุติธรรม เคารพความเป็นมนุษย์ และมีการุณยธรรม ยิ่งเป็นเนื้อหาที่เรียกร้องการตรวจสอบอยู่ในตัวเอง และยิ่งมองความเชื่อมโยงกับระบบคำสอนของพุทธศาสนาทั้งระบบที่ต้องพิสูจน์ความจริงได้ด้วยหลักกาลามสูตที่ว่า “เราจะยอมรับว่าอะไรจริง ก็ต่อเมื่อเราพิสูจน์ได้ว่ามันจริง” ก็ยิ่งชัดเจนว่าหลักทศพิธราชธรรมที่สนับสนุน “สมมติราช” ที่ไปกันได้กับระบอบประชาธิปไตย

ฉะนั้น เมื่อเราไปให้สุดอุดมการณ์ธรรมราชาที่กษัตริย์เป็น “สมมติราช” ไม่ใช่ “สมมติเทพ” เราก็สามารถไปให้สุดอุดมการณ์ประชาธิปไตยได้ หรือพูดกลับกันว่า ถ้าไปให้สุดอุดมการณ์ประชาธิปไตยก็จะสามารถไปให้สุดอุดมการณ์ธรรมราชาที่กษัตริย์เป็น “สมมติราช” ได้ ภายใต้บริบทสังคมการเมืองสมัยใหม่

แน่นอนว่า ข้อเสนอนิติราษฎร์เรื่องแก้ไขมาตรา 112 คือ “ก้าวแรก” ที่จะนำสังคมเราไปให้สุดทั้งอุดมการณ์ประชาธิปไตยและอุดมการณ์ธรรมราชาที่กษัตริย์ไม่ใช่เทพ แต่เป็นมนุษย์ที่มีความเป็นคนเสมอภาคกับประชาชนทั่วไป เป็นเรื่องที่ผู้รักประชาธิปไตยและความยุติธรรมจะต้องร่วมกันสนับสนุนให้เป็นจริงต่อไปทั้ชธรรมภายใต้ระบบสังคมการเมืองไทยปัจจุบันารถซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้รักประชาธิปไตยและความยุติธรรมจะต้องร่วมกันสนับสนุนให้เป็นจริงต่อไป   

ฉะนั้น ถึงที่สุดแล้ว การคัดค้านการแก้ไข หรือยกเลิกมาตรา 112 ก็ไม่มี “เหตุผลเชิงอุดมการณ์ที่สอดคล้องกัน” รองรับ คือเหตุผลที่อ้างอิงอุดมการณ์ธรรมราชาที่สอดคล้องกับเหตุผลที่อ้างอิงอุดมการณ์ประชาธิปไตย ยกเว้นว่าจะอ้างอิงอุดมการณ์สมมติเทพตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น แต่นั่นก็เป็นอุดมการณ์ที่ขัดแย้งกับอุดมการณ์ประชาธิปไตย และจะก่อปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ไม่วันสิ้นสุด!

 

 



[*]

ปรับปรุงจากประเด็นที่นำเสนอในการเสวนาเรื่อง “สถาบันกษัตริย์กับสังคมประชาธิปไตย” ในงาน "จิบน้ำชาสังสรรค์สนทนาเพื่อหารายได้สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 ตามข้อเสนอนิติราษฎร์"  จัดโดยกลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญ วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ ณ โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา: เรื่องของคนรักพ่อ

Posted: 12 Feb 2012 09:34 AM PST

บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา ตอนพิเศษ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข และพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ กลับมาในแบบเฉพาะกิจ พาไปคุยกับคนรักพ่อ “ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข” ที่กำลังอดอาหารประท้วงเป็นเวลา 112 ชั่วโมง ที่บริเวณหน้าศาลอาญา รัชดา เพื่อเรียกร้องสิทธิการประกันตัวให้กับพ่อ “สมยศ พฤกษาเกษมสุข” แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาฯ และ บก.นิตยสาร Voice of Taksin ซึ่งถูกคุมขังเป็นเวลากว่า 10 เดือน และถูกปฏิเสธการให้ประกันตัวถึง 7 ครั้ง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แด่สื่อ: จากปาฐกถา 11 ก.พ. ของธงชัย วินิจจะกูล

Posted: 12 Feb 2012 08:05 AM PST

ในการปาฐกถาเรื่อง ระบอบสังคมการเมืองที่ฝืนการเปลี่ยนแปลงคืออันตรายที่แท้จริง เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ที่ผ่านมา หลายช่วงตอนที่ธงชัย วินิจจะกูล กล่าวถึงสื่อในฐานะปัจจัยสำคัญสำหรับการเรียนรู้ของสังคมไทยเฉกเช่นเดียวกับระบบการศึกษา

ในภาวะเปลี่ยนผ่าน ปลายรัชสมัย ที่สังคมการเมืองไทยถูกครอบงำด้วยอิทธิพลของ Hyper-royalism ซึ่งเป็นหลักพิงของประชาธิปไตยอำมาตย์ ‘สื่อ’ คือผู้มีบทบาทอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงในทางดีหรือเลว และจะปฏิเสธความรับผิดชอบนี้ไปไม่ได้ เมื่อมองย้อนจากโลกอนาคตในอีก 50 ปีข้างหน้า แต่ก็ดูเหมือนว่าสื่อมวลชนจำนวนไม่น้อยในประเทศนี้กลับมีลักษณะ Hyper-royalism เสียเอง

ประชาไท คัดถ้อยความที่ธงชัย กล่าวย้ำถึงสื่อมวลชนในประเทศนี้ โดยเขาวิพากษ์พร้อมเรียกร้องหลายครั้งให้สื่อทำหน้าที่ตามจรรยาบรรณ เริ่มตั้งแต่หมายเหตุก่อนเริ่มการปาฐกถาซึ่งเขากล่าวกับสื่อโดยตรงว่า ผู้จัดงานได้แจกเอกสารฉบับเต็มให้กับสื่อแล้ว ดังนั้น หากการแก้ไขบิดเบือนผิดเพี้ยนไปจากที่เขาพูด ก็ถือเป็นความรับผิดชอบของบรรณาธิการของสื่อนั้นๆ

ธงชัยกล่าวถึงสภาวะที่ลัทธิกษัตริย์นิยมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตปกติทางสังคมและชีวิตประจำวันของปัจเจกชนอย่างมากยิ่งกว่ายุคใดๆในประวัติศาสตร์ คือ เข้มข้นกว่ายุคราชาธิปไตยหรือยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเข้มข้นขึ้นเป็นลำดับตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ดัชนีประการหนึ่งที่บ่งชี้สภาวะดังกล่าวคือ ปริมาณพื้นที่และเวลาของชีวิตประจำวันและประจำปีที่ลัทธิกษัตริย์นิยมเข้าครอบครอง โดยช่องทางที่สำคัญก็คือ “สื่อ”

“หลักฐานชัดๆ คือปริมาณของกิจกรรมของทุกหน่วยงานทั้งเอกชนและราชการ รายการโทรทัศน์ วิทยุ สื่อมวลชนทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ พิธีเฉลิมฉลองครบรอบวาระสำคัญทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ทั้งชนิดประจำปีและชนิดพิเศษเฉพาะปี ถูกผลิตขึ้นมากมายถี่ยิบในเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา ส่วนมากเป็นประเพณีประดิษฐ์ (invented traditions) คือ อ้างว่าเป็นของเก่าแต่ที่จริงผลิตขึ้นใหม่”

เขาอธิบายลักษณะของ Hyper-royalism เป็นลัทธิความเชื่อชนิดหนึ่งซึ่งไม่ได้อยู่บนความมีเหตุผล แต่กลับขึ้นอยู่กับศรัทธา ความเชื่อ และความกลัว ทั้งกลัวจะละเมิดโดยไม่ตั้งใจและกลัวว่าคิดต่างจากคนอื่นแล้วจะถูกรังเกียจ ถูกสังคมปฏิเสธ และสื่อที่อยู่ภายใต้สังคมที่ถูกครอบด้วยลักษณะ Hyper-royalism ก็ตกต่ำลงจากจุดเริ่มต้นของความกลัวมาสู่การประจบสอพลอโดยคิดว่าเป็นสิ่งทีต้องทำในที่สุด

Hyper-royalism ทำให้การสื่อสารอย่างโปร่งใสในทางสาธารณะมีขีดจำกัดจนบางเรื่องเชื่อถือไม่ได้ เริ่มจากความกลัว หมายถึงสื่อมวลชนทั้งหลาย ต่อมากลายเป็นการคุมตัวเอง ต่อมากลายเป็นการร่วมมือเผยแพร่ข่าวด้านเดียว ต่อมากลายเป็นการร่วมประจบสอพลอ แต่ในขณะเดียวกัน ข่าวสารข้อมูลความเห็นกลับหลบลงใต้ดิน เรากล้าพูดความจริงได้ไหม สื่อมวลชนทั้งหลาย คนทั้งสังคมรู้อยู่ว่าข่าวลือเต็มไปหมด และบ่อยครั้งมีความจริงมากว่าข่าวสารสาธารณะเสียอีก เรากล้ายอมรับความจริงกันได้ไหมว่าวัฒนธรรมการนินทาเจ้าแผ่ไปทั้งสังคมแล้ว นักวิชาการบางท่านเรียกร้องให้ประเทศไทย สังคมไทย รู้จักวัฒนธรรมการวิจารณ์ ผมอยากเรียนท่านอาจารย์ที่นับถือท่านั้นว่านี่ไงการนินทาเจ้า คือวัฒนธรรมการวิจารณ์แบบไทยๆ อย่างหนึ่ง บ่อยครั้งไม่สร้างสรรค์ แต่ไม่มีทางเลือกอื่น เพราะในที่สาธารณะอนุญาตให้มีแต่การประจบสอพลอและแข่งกันจงรักภักดี เรากล้ายอมรับความจริงได้ไหมว่า วัฒนธรรมที่ชนชั้นสูงและพวกกษัตริย์นิยมเองจำนวนไม่น้อย อาเศียรวาทสดุดีในที่แจ้ง แต่นินทาว่าร้ายในที่ส่วนตัว เป็นเรื่องปกติของผู้นิยมเจ้าและของประชาชนทั่วไปจำนวนไม่น้อย”

“สื่อมวลชนส่วนข้างมากคุณภาพตกต่ำไร้ความรับผิดชอบ และน่ารังเกียจ เริ่มจากความกลัว ต่อมากลายเป็นความเคยชิน ละทิ้งจรรยาบรรณทางวิชาชีพจนเป็นเรื่องปกติ แรกๆ ก็บอกว่าทำเพื่อความอยู่รอด นานๆ เข้าก็ปกป้องตัวเองว่าทำถูกต้องแล้ว ลงท้ายพวกเขาถูกกลืนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ตอแหล ให้ความชอบธรรมแก่สิ่งที่ตนร่วมกระทำ บางแห่งถึงขนาด “ร่วมล่าแม่มด” ร่วมโฆษณาชวนเชื่อ ทำร้ายประชาชน”

ลักษณะไฮเปอร์รอยัลลิสต์ที่แสดงออกจนล้นเกินนำมาสู่ความวิปลาสในสังคมอย่างเห็นได้ชัดเจนจากหลายปรากฏการณ์ เป็นความวิปลาสที่สังคมไทยไม่รู้สึก ไม่เห็นถึงความผิดปกติ แม้ว่านานาอารยะประเทศจะอิดหนาระอาใจกับลักษณะพิเศษอันวิปลาสของสังคมไทยมากแล้วก็ตามทีโดยเขายกตัวอย่างหนึ่งของความวิปลาสจากลักษณะไฮเปอร์รอยัลลิสต์ของสื่อมวลชนรายหนึ่ง

“คำกล่าวประเภทว่า พ่อแม่ไม่สั่งสอน” นี้ ในแง่หนึ่ง สะท้อนจิตใจและรสนิยมต่ำของผู้พูดเอง แต่ถ้าเป็นสื่อมวลชนในอารยะสังคมจะถูกประณาม ถูกเรียกร้องให้ขอโทษ ถ้าไม่ขอโทษหรือต่อให้ขอโทษก็มักจะถูกถอดรายการเพราะถือเป็นความไม่รับผิดชอบต่อสังคม คุณเห็นข่าวบ่อยๆ ฝรั่งเขาพูดเบากว่านี้เยอะแยะก็ถูกถอดรายการเลย การที่เขาไม่ถูกลงโทษ แม้กระทั่งจากเจ้านายเขาเอง สะท้อนความตกต่ำของมาตรฐานสื่อมวลชนไทย เรารู้กันอยู่ว่าเดอะเนชั่น พยายาม กระเสือกระสนอยากจะเป็นสากล การที่เดอะเนชั่นไม่ลงโทษคนของตัวที่พูดแบบนี้ ไม่มีทางติดอันดับสากลอีกไกล ผู้ใหญ่ในเนชั่นรู้ข้อนี้ดี เขารู้จักสังคมต่างประเทศดี แต่กลับไม่ทำ”

และอีกตัวอย่างหนึ่ง

“เมื่อนิติราษฎร์ถูกขู่ ถูกคุกคาม ก็ถูกเรียกร้องให้สอบสวนลงโทษและถูกจำกัดพื้นที่ ในอารยะสังคม เขาเรียกร้องอาการทำนองนี้ว่าเป็นการลงโทษเหยื่อที่ถูกข่มขืน โปรดตระหนักว่าความวิปริตข้อนี้อยู่ในสังคมไทยมานานแล้ว เพราะความวิปริตข้อนี้มีมูลเหตุอันเดียวกับการที่คนจำนวนมากยืนดูการแขวนคอ และเผาทั้งเป็น และตอกอกได้โดยไม่เข้าช่วยเหลือ ยับยั้ง สามารถแสดงความพึงพอใจได้ในขณะที่มีคนใช้เก้าอี้ฟาดร่างที่ไร้ชีวิต”

ธงชัยย้ำอีกครั้งในตอนท้ายของปาฐกถาว่าสองวิชาชีพที่พึงรับผิดต่อความอ่อนแอทางปัญญาของสังคมไทยก็คือ ระบบการศึกษาและสื่อมวลชน

“ความอ่อนแอทางปัญญา สะท้อนออกมาในสองวงการที่คุณภาพต่ำอย่างน่าวิตก คือ ระบบการศึกษาและสื่อมวลชน ... 2 วิชาชีพนี้เพราะมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างปัญญาที่จะช่วยให้สังคมรู้จักคิด ฝ่าการเปลี่ยนแปลงอย่างมีสติและความรู้ หรือสร้างปัญหา กล่อมประสาทตอแหลหลอกลวงตัวเองจะสายเกินการณ์.... ความตกต่ำของวิชาชีพทางปัญญาเป็นเหตุหนึ่งของความวิปลาสยามสังคมเผชิญความเปลี่ยนแปลงแล้วเอาแต่ขัดฝืนฉุดรั้ง ในทางกลับกัน ครั้นความวิปริตวิปลาสเหล่านี้เกิดจนเป็นปกติ ผู้คนไม่รู้สึกอะไร ไม่ถูกทัดทาน ไม่ต้องขอโทษ ไม่ถูกปลด ไม่ถูกสอบสวน มาตรฐานทางการเมืองก็ไม่ต้องรับผิด ความไม่รู้จักผิดชอบชั่วดีพรรค์นี้เองที่มีส่วนทำให้มาตรฐานและจรรยาบรรณของวงวิชาการและสื่อมวลชนตกต่ำอย่างน่าวิตก”

และสิ่งที่เขาทิ้งท้ายขอร้องสื่อมวลชนก็คือ

“ขอความกรุณาสื่อมวลชน ขอแค่ทำตามจรรยาบรรณแค่นั้นนะฮะ ไม่ขอมากกว่านี้ เราต้องการวุฒิภาวะทางปัญญาและการเมืองชนิดที่จะคุยกันอย่างอารยะชน มิใช่แข่งขันกันแสดงความจงรักภักดีอย่างขาดสติ กรุณาคิดถึงอนาคต นิติราษฎร์เขาทำเพราะเขาคิดถึงอนาคตไปไกล ไม่ใช่คิดถึงการเมืองระยะสั้น สังคมไทยที่พึงปรารถนาควรจะใจกว้าง อยู่กันได้ รวมทั้งระหว่างคนรักเจ้าไม่เท่ากัน แบบต่างๆ กัน คนที่ไม่ยินดียินร้าย และคนที่ไม่รักเจ้าเลยก็ควรจะอยู่ได้ ตราบเท่าที่เขาไม่ใช้ความรุนแรงบังคับข่มเหงคนอื่น ไม่ใช้ความรุนแรงในการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองควรจะยอมรับกันได้

ผมไม่ทราบจริงๆ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตอันใกล้ แต่ผมค่อนข้างมั่นใจว่าในอีก 50 ปีข้างหน้า ประวัติศาสตร์จะย้อนมองกลับมาปัจจุบัน จะเห็นมูลเหตุของวิกฤต 3 ประการที่กล่าวมา จะเห็นว่าวิกฤตของระบอบประชาธิปไตย เกิดจากประชาธิปไตยของอำมาตย์ ที่สร้างความสำเร็จ แล้วความสำเร็จนั้นย้อนกลับมาท้าทายระบอบนั้นเอง แต่ระบอบนั้นกลับไม่สามารถปรับตัวมาได้ เหตุที่ปรับตัวไม่ได้ก็เพราะ Hyper-royalism ผมมั่นใจว่าอีก 50 ปีข้างหน้าประวัติศาสตร์จะบันทึกความพยายามของคนจำนวนหนึ่ง รวมทั้งของนิติราษฎร์ และ ครก.112 ที่จะหาทางออกให้กับสังคมไทยด้วยความปรารถนาดี แต่ผมไม่ทราบว่าลงท้าย การขัดฝืนปัจจุบันจะจบลงอย่างไร สังคมไทยจะปรับตัวได้หรือไม่ ณ วันนี้เราบอกได้แต่เพียงว่า อันตรายที่แท้จริงเกิดจากการฉุดรั้งขัดฝืนความเปลี่ยนแปลงจะถูกถอดชนวนได้ทันกาล หรือจะดึงดันไปถึงจุดสุดท้ายของอภิชนาธิปไตย ผมไม่ทราบ สังคมไทยจะปลดล็อก เปิดประตู แล้วเดินเข้าประตูการปรับตัวหรือไม่ นิติราษฎร์ และ ครก.112 ช่วยเสนอทางปลดล็อกให้ทางหนึ่งแล้ว เราทุกคนในสังคมไทย ผมรู้ผมกำลังพูดถึงคนอีกเยอะที่ไม่ใช่แค่ที่นี่ เราทุกคนมีส่วนในการตัดสินใจเพื่ออนาคตของสังคมไทย และลูกหลานของเรา ว่าอยาก ว่าต้องการ และจะพยายามเดินเข้าสู่ประตูของการปรับตัวนั้นหรือไม่ ตัดสินใจกันเถอะครับ”

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

[คลิป] ธงชัย: ระบอบสังคมการเมืองที่ขัดฝืนการเปลี่ยนแปลงคืออันตรายที่แท้จริง

Posted: 11 Feb 2012 03:09 PM PST

เมื่อคืนวานนี้ (11 ก.พ. 55) ธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัยวิสคอลซิล เมดิสัน สหรัฐอเมริกา กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “ระบอบสังคมการเมืองที่ขัดฝืนการเปลี่ยนแปลงคืออันตรายที่แท้จริง” ในรายการสนทนาซึ่งจัดโดยกลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญ เพื่อหารายได้สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 ตามข้อเสนอของนิติราษฎร์ ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถ.ราชดำเนิน โดยประชาไทเคยนำเสนอในส่วนที่เป็นการอภิปรายไปแล้ว (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) และโอกาสนี้จะเป็นการนำเสนอคลิปการอภิปรายดังกล่าวของธงชัย โดยมีรายละเอียดดังนี้

ช่วงที่หนึ่ง

ช่วงที่สอง

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น