ประชาไท | Prachatai3.info |
- ครูใต้กดดันรัฐ ขอเยียวยา 7.5 ล้าน
- ชาวบ้านสุราษฎร์ฯ ชุมนุม ขวางกรมชลฯ เวนคืนที่ ‘ตาปี–พุมดวง’
- ศาลจังหวัดเชียงใหม่ยังไม่ให้ประกันจำเลยเสื้อแดง 5 ราย อ้างเหตุหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ
- เปิดใจนักวิชาการใช้ตำแหน่งประกัน ‘อากง’
- ถกร่าง พรฎ.สถาบันความปลอดภัย คนงานย้ำต้องเป็นอิสระจากรัฐ
- สมเกียรติ อ่อนวิมล: "สายล่อฟ้า" Blue Sky Channel ฟ้าผ่าหัวใจพรรคประชาธิปัตย์
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 12 - 18 ก.พ. 2555
- พฤกษ์ เถาถวิล: หมู่บ้านคนเสื้อแดงกับการเมืองไทย
- อดอาหารร้องสิทธิประกันตัวยังดำเนินต่อ พระสงฆ์จากสระแก้วมาร่วมอดด้วยหน้าศาล
- เวทีเสวนา “1 เดือนผ่านไป รณรงค์แก้ไข ม.112 ไปถึงไหนแล้ว”
- ไม่มั่นใจทีมสอบ 4 ศพ ญาติเน้นฟื้นฟูสภาพจิต
- นักวิชาการพร้อมใจยื่นหลักทรัพย์ประกัน "อากง" ภรรยาหวังได้รับความเป็นธรรมเร็วๆ นี้
- TCIJ: สรุปบทเรียน “เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด” ย้ำ “โฉนดชุมชน” เกิดโดยชุมชน
- คดีฟ้อง 10 นักกิจกรรม-นักสหภาพแรงงานกรณีปีนรัฐสภา เริ่มสืบพยาน 21 ก.พ. นี้
ครูใต้กดดันรัฐ ขอเยียวยา 7.5 ล้าน Posted: 20 Feb 2012 10:38 AM PST ประชุมพิจารณาหลักเกณฑ์เยียวยาให้ข้าราชการครู-บุคลากรการศึกษาชายแดนใต้ ดันรัฐเยียวยาเสียชีวิต 7.5 ล้าน ยันทำงานเพื่อบ้านเมือง ต้องช่วยให้เท่าเทียม หลักเกณฑ์เยียวยายังไม่เข้า ครม.นัดถกอีกรอบสัปดาห์หน้า วันที่ 20 ก.พ.55 เมื่อเวลา10.00 น.ที่ห้องประชุมโรงแรมปาร์ควิว อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ตัวแทนครูจากเขตพื้นที่การศึกษา 10 เขตใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และจาก 4 อำเภอของจังหวัดสงขลาร่วมประชุมพิจารณาร่างหลักเกณฑ์เยียวยาสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีนายบุญสม ทองศรีพลาย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธาน ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า จะเสนอหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเยียวยากรณีเสียชีวิตรายละ 7.5 ล้านบาท ต่อคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย และมีการแจ้งให้ทราบถึงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ก.ย.54 ที่เพิ่มค่าเสี่ยงภัยจากเดิม 2,500 บาทเป็น 3,500 บาท รวมทั้งให้สิทธินี้แก่ลูกจ้างชั่วคราวด้วย นายบุญสม ทองศรีพลาย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายบุญสม กล่าวว่า การเสนอร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แม้ครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่ได้เสียชีวิตจากการชุมนุมทางการเมือง แต่ก็ทำงานเพื่อบ้านเมือง เพื่อความมั่นคงของชาติ จึงควรได้รับการพิจารณาช่วยเหลือเช่นเดียวกับกรณีตากใบและมัสยิดไอร์ปาแย เป็นต้น พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 21 ก.พ.55 ร่างยุทธศาสตร์การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีกรอบการให้เงินเยียวยารายละไม่เกิน 7.5 ล้านบาท ยังไม่ถูกนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เนื่องจากหลักเกณฑ์การช่วยเหลือบางส่วนยังมีข้อบกพร่องอยู่ จึงต้องให้คณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน พิจารณาอีกครั้ง คาดว่าจะนัดประชุมได้ภายในสัปดาห์หน้า นอกจากนี้ ยังต้องให้คณะกรรมการเยียวยาฯ พิจารณาข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะกรณีผู้เสียชีวิตจากความไม่สงบจำนวนกว่า 4,000 รายว่า มีการช่วยเหลือเยียวยาไปแล้วจำนวนเท่าใดและอย่างไร เนื่องจากขณะนี้มีข้อมูลหลายชุดที่ไม่ตรงกัน เช่น บางข้อมูลระบุว่า มีผู้ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาไปแล้วเพียง 2,000 รายเท่านั้น พ.ต.อ.ทวี กล่าวด้วยว่า คณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะต้องพิจารณาในรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์วันที่ 28 เมษายน 2547 กลุ่มเหตุการณ์ตากใบและมัสยิดไอร์ปาแย กลุ่มผู้สูญหายหรือถูกทรมาน และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทั่วไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||
ชาวบ้านสุราษฎร์ฯ ชุมนุม ขวางกรมชลฯ เวนคืนที่ ‘ตาปี–พุมดวง’ Posted: 20 Feb 2012 10:18 AM PST ชุมนุมค้านรังวัดที่ดินโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง ชาวบ้านยื่นข้อเสนอให้กรมชลฯ หยุดดำเนินการรอศาลปกครองกลางพิพากษาให้โครงการฯ เดินหน้าต่อไปหรือไม่ แต่การเจรจาไร้ข้อสรุป เตรียมเข้าตามเรื่องที่สภาทนายความ แผนที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง วันที่ 20 ก.พ.55 เมื่อเวลา 09.00 น. ชาวบ้านตำบลบางงอน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี–พุมดวงประมาณ 300 คน รวมตัวกันที่วัดรัษฎาราม (วัดเงิน) ตำบลบางงอน เนื่องจากมีข่าวว่าเจ้าหน้าที่สำนักงานก่อสร้าง 10 โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง กรมชลประทาน จะลงพื้นที่รังวัดที่ดิน พร้อมกับสำรวจสิ่งปลูกสร้างและผลอาสินที่บ้านเงิน ตำบลบางงอน โดยมีเจ้าหน้าตำรวจจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้การคุ้มกัน ต่อมา เวลา 09.30 น.ตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษได้ประสานงานให้ชาวบ้านส่งตัวแทนไปเจรจากับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานก่อสร้าง 10 โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง ที่สหกรณ์สุราษฎร์ธานี (โค–อ๊อป) กระทั่ง เวลา 10.30 น. ตัวแทนชาวบ้าน 5 คน ได้เปิดเจรจากับตัวแทนสำนักงานก่อสร้าง 10 โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง 5 คน และตัวแทนตำรวจอีก 10 คน การเจรจาดำเนินไปอย่างเคร่งเครียดกว่า 1 ชั่วโมง แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ จนต้องยุติการเจรจาในเวลาประมาณ 12.00 น. จากนั้น เวลาประมาณ 13.00 น. ตัวแทนชาวบ้านได้กลับมาแจ้งผลจากการเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมที่วัดรัษฎาราม โดยแกนนำคัดค้านโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวงย้ำกับผู้ชุมนุมว่า ถ้าไม่ต้องการสูญเสียที่ดินก็อย่าเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่กรมชลประทานเข้าไปรังวัดที่ดิน สำรวจสิ่งปลูกสร้างและผลอาสิน จากนั้นได้ประกาศสลายการชุมนุมเวลา 13.30 น. วันเดียวกัน นายเฉลียว ภิญญานิล คณะทำงานเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ชาวบ้านยื่นข้อเสนอให้กรมชลประทานหยุดดำเนินการ จนกว่าศาลปกครองกลางจะมีคำพิพากษาว่า จะให้ดำเนินการโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวงต่อไปหรือไม่ ซึ่งขณะนี้กระบวนการยังอยู่ในการพิจารณาของศาล แต่กรมชลประทานไม่ยอมรับข้อเสนอนี้ของชาวบ้าน นายเฉลียว กล่าวว่า หลังจากนี้ชาวบ้านต้องเฝ้าระวังที่ดินของตัวเอง ไม่ให้เจ้าหน้าที่ชลประทานเข้าไปรังวัดที่ดิน อีกไม่กี่วันข้างหน้าตนจะไปที่สภาทนายความ เพื่อติดตามความคืบหน้าคดีชาวบ้านฟ้องศาลปกครองให้กรมชลประทานยกเลิกโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง “ปริมาณน้ำจืดจากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง จะผลักดันน้ำเค็มในอ่าวบ้านดอนให้ถอยร่นออกไป จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่แหล่งสัตว์น้ำเศรษฐกิจและระบบนิเวศอย่างมหาศาล และต้องเวนคืนที่ดินชาวบ้านร่วม 2,000 ราย ต้องขุดคลองย่อยสาขาอีก 28 สาย คลองย่อยบางสายสร้างขวางทางน้ำ มีแนวโน้มจะทำให้น้ำท่วมจังหวัดสุราษฎร์ธานีหนักกว่าเดิม” นายเฉลียว กล่าว นายมนตรี ธนสุคนธ์ นายช่างโยธาอาวุโส ผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการก่อสร้าง สำนักงานก่อสร้าง 10 โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง เปิดเผยว่า กรมชลประทานจะเจรจาหาทางออกอีก 2–3 ครั้ง หากตกลงกันไม่ได้ อาจจะต้องหามาตรการอื่นมาดำเนินการ ทั้งนี้ รายงานการประชุมของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2553 ระบุว่า คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดำเนินโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง ตามที่จังหวัดขอสนับสนุน เพื่อรองรับโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Sea Board)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||
ศาลจังหวัดเชียงใหม่ยังไม่ให้ประกันจำเลยเสื้อแดง 5 ราย อ้างเหตุหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ Posted: 20 Feb 2012 09:40 AM PST สำนักงานยุติธรร สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา ศาลฎีกาได้สั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยเสื้อแดงเชียงใหม่ 5 ราย ในคดีหมายเลขแดงที่ อ.650, อ.651, อ.652, อ.653/2553 อันเป็นคดีเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองกรณีเหตุปะทะที่บริเวณหมู่บ้านระมิงค์ ต.หายยา เมื่อวันที่ 26 พ.ย.51 (อ่าน: รักเชียงใหม่ 51 ปะทะเดือดเจ็บ 2 ฝ่าย พ่อแกนนำทหารเสือพระราชาดับ) โดยประเมินหลักทรัพย์รายละ 600,000 บาท (อ่าน: ศาลฎีกาสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยคดีเสื้อแดงเชียงใหม่ 5 ราย) วันนี้ (20 กุมภาพันธ์ 2555) นายสุปรีชา แสนศรี หัวหน้างานอำนวยความยุติธรรมและนิติการ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำหลักทรัพย์เป็นเงินสดจำนวนรวมทั้งสิ้น 3,000,000 บาท มาวางต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้ศาลได้พิจารณาเป็นหลักประกันปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งห้า จากนั้นศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคำสั่งลงมาเวลาประมาณ 15.00น.ว่า ไม่อนุญาตให้ประกันเนื่องจากเอกสารที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพอ้างตามมติคณะรัฐมนตรีให้ช่วยเหลือเรื่องประกันตัวแก่จำเลยคดีอันเกี่ยวเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองเป็นการเร่งด่วนนั้น ไม่แน่ชัดว่ารายชื่อจำเลยทั้ง 5 เป็นคนๆ เดียวกันกับที่มีมติคณะรัฐมนตรีให้ช่วยเหลือ มติคณะรัฐมนตรีไม่ใช่กฎหมายศาลจึงไม่อาจทราบเองได้ จึงถือว่าหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ ให้ยกคำร้อง นายสุปรีชาอธิบายว่า เนื่องจากศาลฎีกาได้สั่งอนุญาตแล้ว จึงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งอนุญาต ศาลอนุญาตให้ประกันแน่นอน เพียงแต่ตอนนี้ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาหลักประกันว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ จึงจะเสนอไปยังกรมคุ้มครองสิทธิฯ ใน 3 แนวทาง คือ 1.ขอหลักฐานยืนยันว่าจำเลยทั้ง 5 เป็นจำเลยที่ได้รับการช่วยเหลือตามมติ ครม.จริง มายื่นคำร้องเพิ่มเติมต่อศาลอีกครั้ง 2.กรมคุ้มครองสิทธิฯ อาจมายื่นประกันใหม่อีกครั้ง โดยเป็นนายประกันเอง หรือ 3.ให้ญาติจำเลยทำสัญญารับเงินจากกรมคุ้มครองสิทธิฯ เพื่อนำมาวางต่อศาลด้วยตนเอง นายวัฒนา เจนนภา ประธานทนายความกลุ่มยุติธรรมล้านนาให้ความเห็นว่า คำสั่งศาลชั้นต้นนี้ไม่ขัดกับคำสั่งศาลฎีกาที่ให้ประกันตัว สิทธิของจำเลยจากคำสั่งศาลฎีกายังคงมีอยู่ เพียงแต่ศาลสงสัยในหลักประกันจึงได้ยกคำร้อง ไม่ได้หมายความว่าจำเลยทั้งห้าจะไม่ได้ประกันตัว แต่เอกสารที่ยื่นไปยังไม่ครบ ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ได้ปรึกษากับกรมคุ้มครองสิทธิฯ แล้วว่าทางกรมฯ จะเร่งดำเนินการยื่นเอกสารเพิ่มเติมต่อไป ญาติของจำเลยทั้งหมดที่มาศาลด้วยในวันนี้ต่างแสดงความรู้สึกสับสนกังวลใจ เนื่องจากเกือบ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาได้เตรียมตัวลงไปรับตัวจำเลยที่ปัจจุบันถูกย้ายตัวไปขังอยู่ที่เรือนจำชั่วคราวโรงเรียนพลตำรวจบางเขน ต้องแจ้งยกเลิกแผนไปยังกลุ่มคนเสื้อแดงต่างๆ ที่เตรียมการต้อนรับอิสรภาพแก่จำเลยทั้ง 5 ซึ่งถูกขังมากว่า 3 ปี แล้ว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||
เปิดใจนักวิชาการใช้ตำแหน่งประกัน ‘อากง’ Posted: 20 Feb 2012 08:59 AM PST
บ่ายที่ร้อนอบอ้าวปลายเดือนกุมภาพันธ์หน้าศาลอาญา นักวิชาการ 7 คนจากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ได้เดินทางมายื่นเอกสารใช้ตำแหน่งทางวิชาการเพื่อเป็นหลักทรัพย์ส่วนหนึ่งในการประกันตัวนายอำพล (สงวนนามสกุล) หรืออากง ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากกรณีส่ง sms ที่มีข้อความเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไปยังมือถือของเลขานุการอดีตนายกรัฐมนตรี บุญส่ง ชัยสิงกานนท์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร หนึ่งในนักวิชาการที่วางตำแหน่งตนเองเป็นนายประกันให้อากงระบุว่า “นี่เป็นหน้าที่ทางศีลธรรม” และต่อไปนี้คืออีกหนึ่งเสียงของนักวิชาการกลุ่มดังกล่าว ผศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
0000
อาจารย์หวังอะไรกับการยื่นประกันตัวครั้งนี้ หากไม่ได้รับการประกันตัวคณะอาจารย์จะดำเนินการในขั้นตอนต่อไปอย่างไร มีความเห็นเกี่ยวกับการขอประกันตัวของอากงอย่างไร ก่อนหน้านี้ทนายพยายามยื่นประกันตัวอากงมา 4-5 ครั้ง และอากงมีประวัติได้รับการประกันตัวก่อนตัดสินช่วงที่มีการแจ้งข้อหาและไม่ได้หลบหนี เมื่อขึ้นสู่ชั้นศาลจึงถูกจับกุมและไม่ได้รับการประกันตัวตั้งแต่นั้น การประกันตัวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง ผู้ต้องหาควรจะได้รับสิทธินี้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น เพราะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องสงสัยเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่อากงกลับไม่ได้รับการประกันตัว ทั้งนี้ยังอยากให้ศาลพิจารณาถึงสุขภาพ เพราะอากงเป็นมะเร็งช่องปาก และปัจจัยเรื่องอายุ ได้โปรดอนุญาตให้อากงได้กลับมาอยู่กับครอบครัวด้วยเพราะภรรยาและหลานๆ เป็นทุกข์มาก มีการเตรียมตัวเพื่อประกันอากงอย่างไรบ้าง นักวิชาการ 1 คนสามารถคิดมูลค่าเป็นวงเงินประกัน 10 เท่าของเงินเดือน จึงต้องใช้นักวิชาการหลายคน มีนักโทษคดีนี้หลายคนทำไมอาจารย์เลือกประกันอากง
0000
ผู้ต้องหา "คดี 112" เป็นเผือกร้อนที่สุดในบรรดาคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เมื่อการรอนายประกันมืออาชีพ เช่น นักการเมือง ดูเหมือนจะเป็นการรอคอยที่ยาวนาน การเเก้ปัญหาด้วยการรวมกลุ่มนักวิชาการประกันตัวเป็นเพียงการบรรเทาปัญหาเท่านั้น ผศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ ยืนยันทิ้งท้ายว่า "ควรแก้มาตรา 112 เพราะมีบทลงโทษรุนแรง" หลังจากรอคอยและเซ็นเอกสารมาเป็นเวลากว่า 5 ชั่วโมง เสียงที่รอคอยก็ดังขึ้นเมื่อเจ้าหน้าศาลที่เรียกทนายของนายอำพลไปรับฟังผลการประกันตัว ทนายทั้งสองเดินกลับมาที่โต๊ะนักวิชาการที่นั่งรอตั้งผลและเซ็นเอกสารไปหลายรอบแต่บ่ายโมง "ศาลชั้นต้นส่งศาลอุทธรณ์ให้มีคำสั่งว่าจะให้ประกันหรือไม่" ทนายพูนสุขประกาศและเชิญคณะอาจารย์ไปลงนามรับทราบคำสั่งศาล ก่อนที่จะแยกย้ายไปรอคำสั่งศาลอุทธรณ์ในอีก 2-3 วันข้างหน้า จบวันยาวหน้าในฐานะ "นายประกัน" ในสถานที่แปลกหน้าของนักวิชาการทั้งเจ็ด
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||
ถกร่าง พรฎ.สถาบันความปลอดภัย คนงานย้ำต้องเป็นอิสระจากรัฐ Posted: 20 Feb 2012 07:36 AM PST เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) และคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม จัดเสวนา ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่โรงแรมทีเค พาเลส กรุงเทพฯ สุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฎิรูปกฎหมาย (คปก.) เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 กำหนดให้มีการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานภายใน 1 ปี ซึ่งกระทรวงแรงงานได้ตั้งคณะทำงาน จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่งเสริมสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และมีความเป็นอิสระในการดำเนินงานอย่างแท้จริงสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่ซับซ้อนในปัจจุบัน ทั้งนี้ คปก.เห็นว่ายังมีประเด็นโต้แย้งกันอยู่หลายเรื่อง จึงเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงความคืบหน้า เนื้อหา และปัญหา ข้อถกเถียง เกี่ยวกับการจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่งเสริมสถาบันความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยจะประมวลข้อมูลเพื่อเสนอความเห็นต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป วินัย ลู่วิโรจน์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า ไม่มีความขัดแย้งในเรื่องอำนาจหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน กับกรมสวัสดิการฯใดๆ ทั้งสิ้น ขณะที่การตั้งข้อสังเกตของหลายฝ่ายเกี่ยวกับที่มาของประธานกรรมการและคณะกรรมการ ประเด็นนี้มีข้อสังเกตว่า ควรให้ความสำคัญกับเรื่องระบบมากกว่าตัวบุคคล เช่น ระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด หากเห็นว่า ผู้แทนของลูกจ้างควรจะมาจากการเลือกตั้งก็เสนอได้ ทั้งนี้ร่าง พรฎ.ฉบับนี้ร่างขึ้นมาตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน หมวด 7 มาตรา 52 คือให้มีการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน แต่ยังไม่มีการระบุถึงรูปแบบในการจัดตั้ง อย่างไรก็ตาม คณะทำงานเห็นว่าควรจะอยู่ในรูปองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน วินัย กล่าวว่า ล่าสุดได้จัดรับฟังความคิดเห็นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันโดยในที่ประชุมเสนอให้มีการแก้ไขมาตรา8 โดยตัดถ้อยคำเรื่องร่วมทุนตาม (5) เพราะเกรงว่าจะเป็นภาระของสถาบันฯ โดยบางฝ่ายเห็นว่าสถาบันดังกล่าวจะต้องเป็นสถาบันที่ไม่แสวงหาผลกำไร แต่อีกฝ่ายหนึ่งก็เห็นว่าเขียนร่างฯไว้ก่อนอาจลงทุนหรือไม่ก็ได้ นอกจากนี้ยังมีความเห็นในเรื่องของตำแหน่งประธานกรรมการ บางฝ่ายเห็นว่า ประธานกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นจะเป็นใครก็ได้ แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าต้องไม่ใช่เป็นข้าราชการ ขณะที่ตำแหน่งคณะกรรมการโดยตำแหน่งก็มีการเสนอว่าควรมี 2 คนก็น่าจะเพียงพอ โดยควรตัดอธิบดีกรมควบคุมโรคออกไปให้อยู่ในส่วนของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทน จากการรับฟังความเห็นดังกล่าว จะทำเรื่องเสนอให้รัฐมนตรีพิจารณา เพื่อดำเนินการในขั้นตอนทางกฎหมาย อย่างไรก็ตามก็มีกรอบระยะเวลาว่าทุกอย่างต้องแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2555 นี้ พรชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ผู้แทนเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ประเด็นความขัดแย้งขณะนี้มี 2 เรื่องใหญ่คือ ความเป็นอิสระขององค์กร ซึ่งฝ่ายรัฐนิยามว่าต้องอยู่ภายใต้กำกับของราชการ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยจะต้องมีความเป็นอิสระมากที่สุด แม้จะอยู่ภายใต้กำกับของทางราชการก็ตาม ดังนั้นความคิดของการกำกับของทางราชการและแนวคิดของแรงงานจึงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง สะท้อนออกมาใน 2 เรื่อง คือ มาตรา 7 และจะเห็นว่าโครงสร้างของผู้บริหารจะมีความเป็นอิสระได้อย่างไรในเมื่อยังเป็นประเด็นความขัดแย้งอยู่ ขณะที่ประเด็นเรื่องการให้มีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ มองว่าไม่ได้เป็นการทำงานซ้ำซ้อนกับกรมสวัสดิการฯ เหตุใดเรื่องแค่นี้กรมสวัสดิการฯไม่อาจยอมได้ พรชัย กล่าวว่า อำนาจการกำกับจะอยู่ที่รัฐมนตรีโดยเบ็ดเสร็จหรือไม่ ซึ่งที่เราเสนอควรกำกับภายใต้กฎหมายที่องค์การมหาชนได้ระบุไว้ คือรัฐมนตรีสามารถกำกับได้ แต่ไม่ควรมีอำนาจสั่งการใดรวมถึงไม่สามารถแต่งตั้งบุคคลใดๆ ได้ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรมหาชนนี้เป็นอิสระและปลอดพ้นจากการแทรกแซงของฝ่ายบริหารประกอบกับเห็นว่า ประธานต้องไม่มาจากข้าราชการ แต่ฝ่ายราชการเห็นว่าต้องมาจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถ แนวทางที่ดีที่สุดคือการเลือกตั้งโดยตรง ถ้าเลือกตั้งทางตรงไม่ได้จะให้กรรมการสรรหาเป็นผู้เลือกก็ยังดีกว่าการสรรหาโดยไตรภาคี เพราะโดยหลักแล้วสถาบันแห่งนี้จะต้องไม่ถูกแทรกแซง “ทั้งหมดที่ภาคแรงงานเสนอเป็นเรื่องโครงสร้างและระบบ ไม่ได้เป็นเรื่องตัวบุคคล และชัดเจนว่าเราต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของระบบ หากทางราชการเห็นว่าเสี่ยงต่อการตีความ ก็ควรเขียนระบุไว้ แรงงานต้องการความมั่นใจ ทั้งหมดไม่ได้เป็นความขัดแย้งเรื่องตัวบุคคล ทุกฝ่ายต้องใจกว้างอย่าคิดเพียงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ที่สำคัญคือฝ่ายการเมืองจะต้องไม่เข้ามาแทรกแซง” พรชัย กล่าว ชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ระบบไตรภาคีเป็นระบบที่ผูกขาดและกีดกัน ในขณะที่ผู้ใช้แรงงานมีความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัย แต่ขณะนี้มีคณะกรรมการไตรภาคีจะใช้ระบบของสหภาพแรงงาน คิดว่าแนวทางที่ดีที่สุดควรเป็นการเลือกตั้ง 1 คน 1 เสียง ซึ่งขณะนี้มีอยู่ 10 ล้านคน ขณะที่วิธีการสรรหาควรเป็นที่มาของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่า อย่างไรก็ตาม ภาครัฐยังอ้างว่ามีภาระด้านงบประมาณอยู่ “ยังติดใจเรื่องศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งเห็นว่าจะต้องเป็นเอกเทศ และจะต้องเป็นภารกิจหลักในการรับเรื่องราวร้องทุกข์เกี่ยวกับความปลอดภัย หากให้ภาครัฐดำเนินการเองอาจเกิดข้อครหา ประเด็นนี้ภาครัฐไม่ควรกีดกัน” ชาลีกล่าว อภิมุข สุขประเสริฐ กรรมการร่างกฎหมายประจำสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า ทั้งในเรื่ององค์การมหาชน และความเป็นอิสระของสถาบันฯ มีความเห็นในเบื้องต้นว่าสอดคล้องกับ พ.ร.บ.องค์การมหาชน โดยอยู่ในกำกับของรัฐมนตรี ส่วนตัวคิดว่ามีความเป็นอิสระมีค่อนข้างมาก และในส่วนของคณะกรรมการในองค์ประกอบเรื่องจำนวน ที่ต้องมีผู้แทนส่วนราชการ 2 ใน 3 ก็ไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญ อภิมุข กล่าวว่า ข้อเสนอของนายชาลีที่เสนอให้ใช้ระบบเลือกตั้ง ในทางปฏิบัติอาจจะดำเนินการได้ยากเนื่องจากวิธีการได้มาอาจจะต้องใช้เวลา 1-2 ปี อย่างไรก็ตามอาจจะเขียนหลักเกณฑ์การได้มาซึ่งตัวแทนในเบื้องต้นก่อน ส่วนประเด็นเรื่องงบประมาณส่วนหนึ่งที่มาจากรัฐ และกองทุนเงินทดแทนในรายปี ต้องมีผู้ดูแลในเงินงบประมาณสนับสนุนดังกล่าว สิ่งที่ต้องคำนึงคือต้องไม่แสวงหากำไร ฉะนั้นในเรื่องการกู้ยืม ไม่สามารถดำเนินการได้ ส่วนบทบาทการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ไม่จำเป็นต้องเขียนไว้ในกฎหมาย โดยดูกรอบโดยรวมของกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากมีภาคส่วนจากนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งมีความเชื่อมโยงในสถาบันความปลอดภัยอยู่แล้ว และกองทุนความปลอดภัยจะมีคณะกรรมการซึ่งมีตัวแทนของฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างมีความเชื่อมโยงกันอยู่ วรวิทย์ เจริญเลิศ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ในการดำเนินงานของสถาบันความปลอดภัยฯ ต้องมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ต้องเป็นสถาบันที่มีองค์ความรู้ ต้องมีข้อมูล โดยเป็นศูนย์ข้อมูลในด้านความปลอดภัย ส่วนเรื่องศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์จะเป็นเรื่องสำคัญ และหากสถาบันฯนี้จะเกิดขึ้น ต้องมีความมั่นคงทางด้านการเงิน แต่สิ่งที่เห็นคือ ยังไม่มีความมั่นคงทางด้านการเงิน วรวิทย์กล่าวต่อว่า ส่วนข้อเสนอให้ใช้ระบบเลือกตั้งส่วนตัวเห็นว่าแนวทางการเลือกตั้งก็เป็นทางออกที่ดีสะท้อนการมีส่วนร่วมที่ดีของภาคประชาชน หากใช้ระบบไตรภาคีปัญหาก็ยังวนเวียนอยู่ที่เดิม อย่างไรก็ตามการตัดสินใจให้เกิดสถาบันดังกล่าว ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นการตัดสินใจทางการเมือง ซึ่งรัฐบาลต้องดูว่าการจัดตั้งสถาบันฯดังกล่าวจะออกมาในรูปแบบใด
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||
สมเกียรติ อ่อนวิมล: "สายล่อฟ้า" Blue Sky Channel ฟ้าผ่าหัวใจพรรคประชาธิปัตย์ Posted: 20 Feb 2012 02:44 AM PST เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม Blue Sky Channel ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์นอกการกำกับดูแลของกฎหมายไทยและมีความเชื่อมโยงถึงขั่นที่ทำให้เชื่อได้ว่าอาจเป็นสถานีโทรทัศน์ของพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกอากาศรายการชื่อ “สายล่อฟ้า” เป็นรายการลักษณะนั่งสนทนากันสามคน และทั้งสามคนเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ คนที่หนึ่ง นั่งตรงกลาง ทำหน้าที่คล้ายผู้ดำเนินรายการ คือคุณชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต คุณชวนนท์ ไม่ได้เป็น ส.ส. แต่ได้รับตำแหน่งโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และในอดีตเคยเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (กษิต ภิรมย์), อีกสองคนทำหน้าที่คล้ายเป็นผู้ร่วมรายการ นั่งทางซ้ายของจอโทรทัศน์ คือคุณศิริโชค โสภา เป็น ส.ส. จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี 2544 และเป็นกรรมการบริหารพรรค, อีกคนนั่งทางขวา คือคุณเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี 2548 และในอดีตเคยเป็นโฆษกประจำตัว หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ผมทราบจากชาวพรรคประชาธิปัตย์ผ่าน Twitter และ Facebook ตั้งแต่เดือนมกราคมแล้วว่าจะมีสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่องใหม่ ชื่อ Blue Sky Channel ประมวลข้อมูลจากบุคคลที่ช่วยกระจายข่าวเชิญชวนให้ติดตามชมกับชื่อ “ช่องสีฟ้า” แล้วผมก็เดาเอาว่าน่าจะเป็นช่องโทรทัศน์ผิดกฎหมายหรือ “โทรทัศน์เถื่อน” ผ่านดาวเทียมอีกช่องหนึ่งเหมือนที่ชาวเสื้อเหลืองและเสื้อแดงทำกันอยู่นานแล้ว คนอื่นๆ ก็ทำกันอย่างเย้ยกฎหมายไทย ป้าเช็งก็ทำ วัดพระธรรมกายและอีกบางวัดในต่างจังหวัดก็ทำ ค่ายเพลงสารพัดค่ายก็ทำ บริษัทขายบะหมี่แห้งบะหมี่น้ำ-ขายสมุนไพร-ขายเครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยเอกชนและอื่นๆ ใครต่อใครทำ “ทีวีดาวเทียม” กันจนผมตามดูไม่ไหว ไม่รู้ว่าใครออกจานไหน-ชามไหนกันบ้าง! เมื่อทราบว่าจะมี Blue Sky Channel เกิดเป็นช่องทีวีใหม่ และสงสัยจะเป็นของพรรคประชาธิปัตย์ ผมก็ไม่สบายใจ เพราะหากเป็นเช่นนั้นจริง ก็จะเป็นอันตรายและจะเกิดความเสียหายต่อพรรคประชาธิปัตย์ที่ผมหวังพึ่งแทนพรรคเพื่อไทยซึ่งมีช่องทีวีดาวเทียมของคนเสื้อแดงกำลังทำลายพรรคเพื่อไทยอยู่ทุกวันอยู่แล้ว ผมคิดห่วงเช่นนี้ก็โดยความเชื่อในหลักการที่ว่าพรรคการเมืองเป็นผู้เป็นข่าว ไม่ใช่ผู้ทำข่าว ไม่ควรทำข่าวของตนเองหรือทำข่าววิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น เพราะจะขาดควาเมป็นกลาง ไม่น่าเชื่อถือ และจะเป็นที่มาของความขัดแย้งระยะยาว ไม่ต้องพูดเรื่องปรองดองเพราะต่างพรรคต่างคนต่างมีช่องโทรทัศน์ของตนเองต่างมีสื่อวิทยุกระจายเสียง และสื่อสิ่งพิมพ์ ตลอดจนอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์ของตนเอง ข่าวสารก็จะลำเอียงไปคนละทิศทาง ประชาชนจะสับสนอลวนเพราะพรรคการเมืองจะตีกันชุลมุนวุ่นวาย ผ่านรายการผ่านสื่อของตนเอง ประชาชนจะหาความจริงที่จริงแท้แน่นอนจากใครกันได้? ผสมกับสภาวะที่สื่อกระแสหลักเป็นสื่อเลือกข้างเข้าไปอีกทบหนึ่งด้วย บ้านเมืองนี้จะหาความจริงจากสื่อใดได้เล่า! ผมไม่ได้ติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อรับชม Blue Sky Channel แต่ได้ชมรายการ “สายล่อฟ้า” ผ่าน Youtube หลังจากได้รับแจ้งผ่านเพื่อนทาง Facebook ผมได้ดูช่วงแรกของรายการที่เป็นปัญหาให้ถกเถียงกัน ณ ทีนี้ ความยาว 31.49 นาที ดูจบแล้วผมก็เห็นความตกต่ำของพรรคประชาธิปัตย์ในอนาคตได้อย่างแจ่มชัด หากไม่มีการแก้ไข หากไม่ยกเลิก Blue Sky Channel หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ยุติกิจกรรมทำลายความน่าเชื่อถือของพรรคผ่าน Blue Sky Channel ผมก็จะไม่ลงคะแนนเลือกพรรคประชาธิปัตย์ในสมัยเลือกตั้งครั้งหน้า อย่างแน่นอน เฉพาะช่วงที่หนึ่งของรายการ คุณชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต, คุณศิริโชค โสภา, และคุณเทพไท เสนพงศ์ เริ่มต้นพูดคุยกันอย่างสรวลเสเฮฮา ขาดความสำรวม คุยกันเชิงเสียดสี กล่าวหาทางอ้อม ต่อนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในเรื่องเหตุการณ์อันไม่กระจ่างเมื่อบ่ายวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 ตอนที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ไปบนชั้น 7 ของโรงแรม Four Seansons เป็นการส่วนตัวนานเกือบสองชั่วโมง โดยตลอดเวลาของรายการผู้ร่วมรายการทั้งสามพยายามคุยให้เห็นว่า: นายกฯ ยิ่งลักษณ์น่าจะไปมีอะไรกับใครก็ไม่รู้ที่ชั้น 7 ของโรงแรม และอะไรที่ว่านั้น น่าจะเป็นเรื่องการไปมีเพศสัมพันธ์กันกับผู้ชายคนหนึ่ง ทั้งสามคน: คุณชวนนท์ อินรโกมาลย์สุต, คุณศิริโชค โสภา, และคุณเทพไท เสนพงศ์ ไม่เคยพูดอะไรตรงๆ ให้ชัดเจน ไม่แสดงหลักฐานอะไร แต่ก็พยายามพูดวกวนไปมาเกี่ยวกับเรื่องที่มีความหมายเชิงเพศสัมพันธ์ ดังลำดับตัวอย่างต่อไปนี้: • รายการเริ่มต้นด้วยการบ่นของผู้ดำเนินรายการว่าอากาศร้อนรุ่มอย่างไรชอบกล • คุณเทพไท ก็อธิบายว่า “ร้อนรุ่ม” เป็นอาการร้อนภายในร่างกาย • คุณศิริโชคก็ว่าไปถึงเรื่องปัญหาน้ำท่วมว่าอาจจะเป็นเรื่องร้อน แล้วแสดงวาจาเสียดสีหยาบโลนว่าเป็นเรื่อง “ร้อนรุ่ม” เกี่ยวกับ “น้ำออก-น้ำเข้า” • แล้วทั้งสามคนก็เชิญชวนให้ผู้ชมส่งข้อความสั้น หรือ SMS เข้ามาให้ความเห็นว่า ที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ไปโรงแรม Four Seasons นั้น ไปทำอะไรแน่ ให้ผู้ชม “ใช้จินตนาการ” เอาตามสบาย เพราะไม่มีใครรู้อะไรจริงอยู่แล้ว และนายกฯ ยิ่งลักษณ์ก็ไม่อธิบายให้กระจ่าง • ถึงตอนนี้ ที่ว่าให้ผู้ชมใช้จินตนาการเอาถึงเรื่องนายกฯ ยิ่งลักษณ์ “โดดภารกิจของรัฐสภา” ไปอยู่กับใครก็ไม่ทราบบนชั้น 7 ของโรงแรมนั้น • คุณเทพไทก็เสริมขึ้นมาว่าการไปภารกิจที่เรียกกันติดปากว่า “ว.5” นั้นจะต้องส่งข้อความ SMS มาออกอากาศให้เหมาะสม “ให้ผ่าน กบว.” ด้วย (ซึ่งก็หมายความว่าข้อความต้องสุภาพ หากมีข้อความไม่สุภาพหยาบโลนอาจจะไม่ผ่านการตรวจของคณะกรรมการบริหารกิจการวิทยุโทรทัศน์ หรือ กบว. แม้ปัจจุบันกรมประชาสัมพันธ์จะไม่มีงาน กบว. แล้ว แต่การใช้คำว่า “กบว.” ในทีนี้ก็เป็นการพูดโดยเปรียบเทียบกับความเข้มงวดของการตรวจรายการโทรทัศน์ก่อนออกอากาศในอดีตเท่านั้น หากมี กบว. อยู่ เวลานี้รายการ “สายล่อฟ้า” ก็คงมิได้มีวันได้รับอนุญาตให้ออกอากาศแน่ๆ) • คุณชวนนท์เสริมว่าอย่าส่งข้อความที่มีอะไรทำนองไม่ชัดเจนคือ “อย่าให้ลับๆ ล่อๆ” • คุณศิริโชค แทรกทันทีว่า “ลับได้ แต่อย่าล่อ” • จากนั้นก็ทำเฉไฉไปพูดเรื่องการไปพักโรงแรมโดยบอกว่าคนมีบ้านอยู่แล้วก็ควรไปเปลี่ยนบรรยากาศที่โรงแรมกันบ้าง ไปพรรคห้องสูท (suite) หรือห้องชุดใหญ่เลยน่าจะดี จากนั้นคุณศิริโชคก็อ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์โดยไม่ได้อ้างว่าอ่านจากหนังสือพิมพ์ฉบับใด ว่าด้วยเรื่องนายกฯ ยิ่งลักษณ์ไปทำกิจกรรมส่วนตัว “ว.5” บนโรงแรมแล้วกลับมาประกอบภารกิจที่ทำเนียบรัฐบาลจน “เหน็ดเหนื่อย” • จากนั้นผู้ร่วมรายการทั้งสามคน ก็พูดสองแง่สองง่ามเรื่องอาการเหน็ดเหนื่อยของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ทำนองว่า แค่ไปเสริมสวยหรือไปพูดคุยที่โรงแรมจะมีอะไรให้เหนื่อยได้อย่างไร หรือว่าไปทำอะไรอื่นที่ทำให้ “เหนื่อย” เพราะนายกฯ ก็เป็นคนสวยอยู่แล้ว ไม่เห็นจะต้องไปเสริมสวยอะไรกันอีกให้เหนื่อย • แล้วนักการเมืองระดับผู้นำของพรรคประชาธิปัตย์ก็คุยกันต่อไปอย่างไม่ยั้งคารมเสียดสีสองแง่สองง่าม คุยกันนานเรื่องเสริมสวย สปา ประคบหิน “ปูอบวุ้นเส้น” แล้วอธิบายเรื่องเส้นทางหลบนักข่าวของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ จากทำเยียบรัฐบาลขึ้นทางด่วนยมราช แล้วไปลงทางลงพระราม 6 อ้อมไปตลาด อตก. วกวนอ้อมไปจนถึงโรงแรม Four Seasons ผู้ร่วมรายการ “สายล่อฟ้า” ทั้งสามสนุกสนานกับข่าวที่ไม่อ้างที่มา พยายามต่างๆ นานาจะทำให้เชื่อว่าเป็นความจริงว่านายกฯ ยิ่งลักษณ์หลอกล่อนักข่าวที่ตามมาให้หลงทางเพื่อนายกจะได้ไปโรงแรม Four Seasons โดยนักข่าวตามไม่ทัน แล้วตั้งคำถามว่า “ทำไมต้องทำถึงขนาดนั้น?” • คุณเทพไทเริ่มเสียดสีอย่างไม่เกรงใจใครเรื่องที่ว่านายกฯ ยิ่งลักษณ์อาจไปเสริมสวย รอยคิ้ว และอะไรต่อมิอะไรที่อาจจะมีของแท้และของปลอมอยู่บนใบหน้า • คุณเทพไทพูดแบบกว้างๆ เรื่องหน้าผู้หญิงที่ต้องเสริมสวย โดยไม่เจาะจงว่าจะเป็นหน้านายก “ปูอบวุ้นเส้น” ตามสำนวนเสียดสีของคุณศิริโชค • คุณศิริโชคใช้คำว่านายกฯ ยิ่งลักษณ์ “สับขาหลอกนักข่าว” ให้หลงทางตามไปไม่ถูก ไม่ถึงโรงแรม แล้วก็ยกเรื่อง “ทฤษฎีวิวัฒนาการ” หรือ “Evolution” ของ Charles Darwin (On the Original of Spicies-1859) แล้วอธิบายเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตจนถึงขั้นที่ “คางคกเลี้ยงแกะได้” มาถึงตอนนี้ก็ยากที่จะเข้าใจได้ชัดเจนว่าคุณศิริโชคตั้งใจจะ “ด่า” ใครว่าเป็น “คน” ที่วิวัฒนาการร่างกายมาเป็น “คางคก” ซึ่งจะให้คิดไปว่าจะเป็นคางคกขึ้นวอ หรือคนต่ำชั้นได้ตำแหน่งสูงที่ไหนอย่างไรก็สุดจะคาดเดาเพราะคุณศิริโชคเปลี่ยนใจไม่ขยายความต่อให้ชัดเจน • จนกระทั่งคุณชวนนท์เอ่ยทำนองดูถูกเหยียดหยามเรื่องคุณอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกรัฐบาล ว่ามาแถลงข่าวปกป้องนายกฯ ยิ่งลักษณ์เพราะอยากเลื่อนขั้นจากรองโฆษกฯ ไปเป็นโฆษกรัฐบาล ทั้งๆ ที่ในความเห็นของคุณชวนนท์ไม่มีความรู้ความสามารถอะไรเลย...ถึงตอนนี้ผู้ชมก็ต้อง “จับแพะชนแกะ” กันเอาเองอย่างไม่รู้อะไรผิดอะไรถูกว่าใครคือคางคกที่อยากขึ้นวอแต่กลับกลายเป็น “เด็กเลี้ยงแกะ” ไปในที่สุด ความหยาบโลนของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ทั้งสามมาปรากฏชัดเจน เมื่อนำภาพประดิษฐ์ใหม่โดยกระบวนการคอมพิวเตอร์กราฟฟิคส์ไม่ใช่ภาพจากเหตุการณ์จริงเอามาจากที่ไหนก็ไม่อ้าง นอกจากจะบอกว่ามีคนเขาทำกันในอินเตอร์เน็ต เป็นภาพแผ่นป้ายแขวนที่ประตูห้องโรงแรม พิมพ์คำว่า: “Do not disturb” (แปลว่า “อย่ารบกวน”) แล้วเปลี่ยนเป็นภาพป้ายแขวนที่เดิม แต่มีข้อความใหม่ว่า: “เอาอยู่” (คงจะให้ความหมายว่า “กำลังร่วมเพศกันอยู่”) นี่เป็นช่วงหยาบโลน กักขฬะ หยาบคาย ไร้สมบัติผู้แทนราษฎรผู้ดีอย่างที่สุด ไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องรรยาบรรณวิชาชีพสื่อสารมวลชน ที่ไม่สามารถจะมาเรียกร้องเอาจากนักการเมืองแบบนี้ได้ • คุณชวนนท์เสริมตามมาด้วยความหยาบคายอีกว่าที่ติดป้ายเช่นว่านั้นหมายความว่า: • คุณศิริโชคเติมว่านายกฯ ยิ่งลักษณ์นั้นต้องเรียกว่า: “ปู Four Seasons” หรือ “ปูสี่ฤดู” : คุณเทพไทบอกว่าให้เรียก “ปูเอาอยู่” จากนั้นทั้งสามคนก็เห็นพ้องต้องกันว่าเรื่องนี้พรรคประชาธิปัตย์จะตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรโดยคุณเทพไทบอกว่าจะให้คุณรังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงครามเป็นคนตั้งกระทู้เพราะเป็นนางพยาบาล ย่อมจะมีความเข้าใจเรื่องนายกฯ ยิ่งลักษณ์กับการพบบุคคลบนชั้น 7 ของโรงแรมดี จากนั้นทั้งสามคนก็พุดเชิงดูถูกนายกฯ ยิ่งลักษณ์ในทำนองที่ว่า “คุณยิ่งลักษณ์แก” ชอบมอบให้รัฐมนตรีอื่นมาตอบคำถามแทน อาจเป็นเพราะว่าไม่มีความสามารถตอบคำถามด้วยตัวเองได้ ต่อมาก็หันมาวิจารณ์เรื่องการจัดงานเลี้ยงเพื่อความปรองดองที่ทำเนียบรัฐบาลที่ใช้เงิน 10 ล้านบาท แล้วแนะว่าน่าจะไปจัดที่โรงแรม Four Seasons แล้วเปิดห้องสูทที่ Four Seasons ด้วยเลยจะดีกว่า • คุณชวนนท์ก็บอกว่างานเลี้ยงที่ทำเนียบรัฐบาลคือ “ปาร์ตี้เอาอยู่” • คุณศิริโชคกลับมาเรื่องระบายน้ำจากเขื่อน พูดสองง่ามสองแง่ว่า: นายกฯ “พร่องน้ำเร็วจนเกินไป” • คุณชวนนท์เสริมว่า “นายกสนใจเรื่องน้ำบ่อปลาหน้าโรงแรม Four Seasons” • แล้วก็ตำหนิคุณยิ่งลักษณ์ว่าไม่สนใจปัญหาน้ำท่วมเอาแต่ไป “นั่งฟังเพลง จิบแชมเปญ จิบไวน์” ไม่ใส่ใจปัญหาของประชาชน แล้วก็ย้ำว่า: “รัฐบาลน่าจะมีสำนึกดูแลประชาชนบ้าง” • คุณชวนนท์บอกว่าหลังเหตุการณ์ที่โรงแรม Four Seasons แล้วดูเหมือนว่านายกฯ ยิ่งลักษณ์ “จะมีท่าทางงงๆ เหมือนกับจะเสียศูนย์” • คุณศิริโชคเติมอีกว่านายกคงไม่ได้โดน “เล่นของ” หากแต่น่าจะ “โดนของเล่น” มากกว่า รายการ “สายล่อฟ้า” ช่วงที่ให้ร้ายนายกฯ ยิ่งลักษณ์โดยนักการเมืองสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ระดับ ส.ส.อาวุโสและระดับผู้บริหารก็จบลง ทิ้งไว้ให้ผู้ชมรายการคิดต่อไป... ผมคิดได้ทันทีว่า: 1. พรรคประชาธิปัตย์ท่าจะ “เอาตัวเองไม่อยู่แล้ว” หากจะให้อยู่ในร่องในรอยของความเป็นพรรคการเมืองระดับชาติที่มีประวัติอันยาวนานกว่าพรรคใดต่อไป พรรคประชาธิปัตย์ต้องหยุดทำในสิ่งที่ไม่พึงกระทำเช่นนี้ทันที 2. พฤติกรรมของสมาชิกพรรคระดับแนวหน้าหยาบคาย หบายโลน ไร้สติ สิ้นจริยธรรม ดังปรากฏในช่วงเวลาออกอากาศ 31.49 นาทีของรายการ “สายล่อฟ้า” นี้ ถ้าเป็นนักการเมืองที่ดี จะพูดโดยไม่รับผิดชอบเช่นนี้ไม่ได้ นักการเมืองที่เป็นตัวแทนของประชาชนจะขาดจริยธรรม ไร้กริยามารยาท ขาดความเป็นผู้มีสมบัติผู้ดีในการพูดในที่สาธารณะเช่นนี้ไม่ได้ 3. บุคคลทั้งสามเป็นนักการเมืองระดับผู้นำและเป็นผู้บริหารของพรรคมีการศึกษาสูงด้วยกันทั้งสามคนมีประวัติการทำงานการเมืองมายาวนาน เหตุไฉนจึงไม่ได้พัฒนาคุณภาพของตนเองให้ถึงระดับเป็นผู้มีวัฒนธรรมประชาธิปไตยได้ เหตุใดจึงแสดงความคิดเห็นแบบไม่มีข้อมูลไม่รับผิดชอบ เอาแต่พูดให้ “สนุกปาก” พูดไปเรื่อยๆ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสาธารณชน และความเสียหายต่อผู้ที่ถูกพาดพิงถึงโดยเฉพาะนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 4. เรื่องของนายกฯ ยิ่งลักษณ์บนชั้น 7 ของโรงแรม Four Seasons ที่ว่าเป็นความลึกลับที่ประชาชนอยากรู้นั้นแน่นอนและนายกฯ ยิ่งลักษณ์ก็ยังไม่ตอบให้หายสงสัย จึงมีเหตุผลชอบธรรมที่จะตั้งข้อสงสัยต่อไป อย่างน้อยสองเรื่อง: คือเรื่องชู้สาวคาวโลกีย์เรื่องหนึ่ง กับเรื่องธุรกิจส่วนตัวที่นายกฯ ไม่ต้องการบอกใครอีกเรื่องหนึ่ง หากทั้งสองเรื่องนี้หรือเรื่องหนึ่งเรื่องใดที่สังคมสงสัย จะมีผลกระทบต่อบ้านเมือง ไม่ว่าในทางเศรษฐกิจ การเมือง หรือศีลธรรมและจริยธรรมของผู้นำประเทศ ถือเป็นหน้าที่ของพรรคประชาธิปัตย์อยู่แล้วที่จะต้องติดตามค้นหาความจริง แล้วนำมาเปิดเผยต่อสาธารณชน แต่การสืบหาความจริงต้องทำเป็นระบบ เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเหตุเป็นผล พรคประชาธิปัตย์ต้อง “ตามล่าหาความจริง” ด้วยกระบวนการสืบสวนสอบสวนทั้งทางลับและทางการ โดยใช้กลไกของพรรคและกลไกของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมาย จับนายกฯ ยิ่งลักษณ์ให้ได้...ไล่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ให้ทัน เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ หรืออาจจะเพื่อภาพพจน์และความโปร่งใสของนายกฯ ยิ่งลักษณ์เองด้วย พรรคประชาธิปัตย์ต้องทำงานหนักและทำงานจริงมากกว่านี้... มากกว่าจะให้สมาชิกพรรคมาพูดกล่าวหา เสียดสี ดูหมิ่นดูแคลนนายกฯ ยิ่งลักษณ์เอาตามอารมณ์ของตน หวังว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นพรรคการเมืองที่มี “ระดับ” มากกว่านี้ วันเวลาของนักการเมืองไร้สาระหมดลงแล้ว นักการเมืองที่มีแต่สำนวนโวหารแต่ขาดเนื้อหาไม่ควรจะมีที่นั่งในหัวใจของประชาชนอีกต่อไปแล้ว หากคนในพรรคประชาธิปัตย์ส่วนหนึ่งปฏิรูปตัวเองไปแล้ว แต่ยังเหลืออีกสามคน หรือมากกว่าสามคน ยังไม่ปฏิรูปตนเอง หรือปฏิรูปตัวเองไม่เป็น ก็ต้องกำจัดออกไป หรือถ้าส่วนใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์เป็นเช่น ถึงเวลาแล้วที่พรรคประชาธิปัตย์จะต้องปฏิวัติตัวเองใหม่หมดทั้งพรรค ไม่อย่างนั้นก็หมดเวลา 5. พรรคการเมือง ไม่ใช่สื่อสารมวลชน และนักการเมืองก็ไม่ใช่สื่อมวลชน คุณชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต, คุณศิริโชค โสภา, และ คุณเทพไท เสนพงศ์ เป็นนักการเมืองซึ่งควรมีบทบาทเป็นผู้ “ถูกสื่อมวลชนสัมภาษณ์” มิควรมาเป็นสื่อมวลชนเสียเอง หากมาเป็นสื่อมวลชนเสียเองในไม่ช้าก็จะไม่มีใครมาสัมภาษณ์ เมื่อไม่คุ้นเคยกับงานสื่อสารมวลชน เวลามาทำหน้าที่สื่อมวลชนจึงเกิดความผิดพลาดเสียหาย เพราะ: • จัดรายการก็ไม่เป็น ดำเนินรายการก็ไม่ถูก • บทที่ควรจะมีก็ไม่มี • ข้อมูลที่ควรจะสืบค้นก็ไม่สืบหา • กล้องโทรทัศน์ที่ควรจะไปถ่ายทำผลิตภาพก็ไม่ทำ • รายการโทรทัศน์ที่ยาวนานเป็นชั่วโมงจึงต้องพึ่งการ “พูดแบบไม่มีหูรูด” กันเต็มเวลา • ศิลปะการผลิตและสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ที่ดีก็ไม่มีฝีมืออะไรให้เห็น • รายการ “สายล่อฟ้า” คือ “ขยะ” ตั้งแต่ต้นจนจบรายการ 6. สถานีโทรทัศน์ภาษา Blue Sky Channel นั้นดูองค์ประกอบโดยรวมแล้ว คล้ายจะเป็นสถานีโทรทัศน์ของพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ไม่มีหลักฐานประกาศชัดแจ้งในที่สาธารณะว่าใครเป็นเจ้าของ จากข่าวที่พอสืบได้พอทราบว่าคุณเถกิง สมทรัพย์เป็นผู้บริหารสถานีและทราบว่าคุณเถกิงเองก็เคยช่วยงานในทีมสื่อประชาสัมพันธ์ของนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมาก่อนหน้านี้ ชื่อช่องก็ “สีฟ้า” สีของพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ทำรายการจำนวนมากในผังรายการก็คนจากพรรคหรือเพื่อนของพรรคประชาธิปัตย์ Blue Sky Channel รับชมได้ผ่านจานส้ม (IPM) ช่อง 23 หรือจานทึบ ปรับสัญญาณไปที่ 11635 Horizontal 27500 Simulate ใช้ดาวเทียม NSS6 KU Band ซึ่งเป็นดาวเทียมของบริษัท SES บริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ Euronext Paris และ Luxemburg Stock Exchange (SESG) เป็นบริษัทที่ให้เช่าช่องสัญญาณดาวเทียมสื่อสารและโทรคมนาคมทั่วโลก มีลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน ใครก็ตามที่เป็นเจ้าของ Blue Sky Channel จะเป็นพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ก็ตาม ถือได้ว่าทำธุรกิจออกอากาศรายการโทรทัศน์นอกการกำกับดูแลของกฎหมายไทยและ “คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ – กสทช.” โดยเหตุที่มิได้ใช้ช่อดาวเทียมไทยคมของเราเอง แม้ในโลกที่การสื่อสารเสรีมากจนไม่จำเป็นที่นักธุรกิจสื่อสารมวลชนไทยจะต้องทำธุรกิจออกอากาศรายการโทรทัศน์ภายใต้กรอบจำกัดของกฎหมายไทย แต่พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองของประเทศไทย ควรที่จะทำตนเป็นแบบอย่าง ไม่ทำสิ่งที่ไม่สมควรหรือไม่ถูกต้องตามกรอบจริยธรรมของพรรคการเมืองและนักการเมือง และต้องไม่ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายไทย 7. พรรคประชาธิปัตย์คือพรรคการเมืองไหนก็ตาม มีสิทธิที่จะสื่อข่าวสารผ่านสื่อของตนเองและสื่อสาธารณะทุกรูปแบบรวมทั้งสามารถมีสถานีโทรทัศน์ของตนเองได้ แต่ควรจะต้องปฏิบัติให้อยู่ในกรอบของกฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อสารมวลชน และกรอบจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หากมีช่องทางสื่อสารของตนเองเช่นสถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ หรือสื่ออื่นใด ก็ต้องแสดงความโปร่งใส แสดงตน แสดงความเป็นเจ้าของเปิดเผยบัญชีรายชื่อผู้บริหาร ผู้ทำงาน ผู้ถือหุ้น ประกาศนโยบายให้ประจักษ์ในที่สาธารณะและอื่นๆ เพื่อความโปร่งใสชัดเจน ให้ประชาชนทำความรู้จักและพึงระมัดระวังในการรับข้อมูลข่าวสารที่ลำเอียงจากพรรค และหากจะใช้สื่อไปในทางสร้างสรรค์ พรรคประชาธิปัตย์ก็ควรใช้สื่อเพียงเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อประโยชน์ในการสร้างสังคมประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ไม่ใช้เพื่อทำลายพรรคหรือนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามดังที่กำลังทำอยู่ ผมในฐานะที่มีประวัติชีวิตการลงคะแนนให้พรรคประชาธิปัตย์มามากกว่าพรรคอื่นใดตั้งแต่อายุ 18 จนถึงอายุ 64 ในปีนี้ รู้สึกผิดหวังในบุคคลชั้นนำทั้งสามคนของพรรคประชาธิปัตย์เป็นอย่างยิ่งคือ: คุณชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต, คุณศิริโชค โสภา, และคุณเทพไท เสนพงศ์ ความต่ำคุณภาพของสมาชิกพรรคทั้งสามอาจสะท้อนถึงคุณภาพโดยรวมของพรรคประชาธิปัตย์ด้วย ผมจะไม่ลงคะแนนเลือกพรรคประชาธิปัตย์ในสมัยเลือกตั้งหน้าอย่างแน่นอน หากนายกฯ ยิ่งลักษณ์ไม่ปรับปรุงตัวเอง และหากไม่ชี้แจงให้ผมกระจ่างในเรื่องเกิดขึ้นบนชั้น 7 ของโรงแรม Four Seasons และหากไม่เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีคุณภาพให้ผมภูมิใจได้ สมเกียรติ อ่อนวิมล
อ้างอิง :
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 12 - 18 ก.พ. 2555 Posted: 20 Feb 2012 02:13 AM PST เตือนภัยนายหน้าเถื่อนหลอกขายแรงงานในสหรัฐ นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า กรมการจัดหางานได้รับการร้องเรียนจากคนหางานว่า มีกลุ่มบุคคลหรือสายนายหน้าจัดหางานเถื่อน ชักชวนให้สมัครงานไปทำงานต่างประเทศกับบริษัทจัดหางานที่ได้รับอนุญาต โดยอ้างว่า มีนายจ้างต้องการแรงงานไทยประมาณ 2,500 อัตรา ไปทำงานก่อสร้างสนามบิน โรงแรม และถนนกับนายจ้างที่เกาะกวม ประเทศสหรัฐอเมริกา ในหลายตำแหน่ง อาทิเช่น วิศวกร ช่างไม้ ช่างปูน และกรรมกร โดยจะได้รับเงินเดือนในอัตราสูง จากนั้นจึงเรียกรับค่าบริการและค่าใช้จ่ายจากคนหางาน โดยอ้างว่าเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ล่วงหน้า เช่น ค่าแปลเอกสาร ค่าตรวจสุขภาพ และค่ามัดจำวีซ่า หากคนหางานรายใดหลงเชื่อยอมจ่ายเงินให้ สายนายหน้าจัดหางานดังกล่าวก็จะไม่สามารถส่งไปทำงานที่เกาะกวมได้ตามที่ สัญญาไว้ เนื่องจากสหรัฐฯ อนุญาตให้คนต่างชาติเข้าไปทำงานเฉพาะสาขาอาชีพที่ขาดแคลนและวิชาชีพเฉพาะ เท่านั้น เช่น วิศวกรคอมพิวเตอร์ วิศวกรบางสาขา แพทย์ และนาฏศิลป์ เป็นต้น อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบพบว่า ยังไม่มีบริษัทจัดหางานใด ประกาศรับสมัครคนหางาน เพื่อส่งไปทำงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแต่อย่างใด ดังนั้น เพื่อมิให้ถูกหลอกลวงจนเสียทรัพย์สินหรือต้องไปตกระกำลำบากในต่างแดน จึงขอเตือน มิให้หลงเชื่อกลุ่มบุคคลดังกล่าว และหากต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศขอให้ติดต่อสำนักงานจัดหางานทั่ว ประเทศ เพื่อตรวจสอบตำแหน่งงาน (กรุงเทพธุรกิจ, 12-2-2555) ก.แรงงาน สั่ง กสร.จัดทำหลักเกณฑ์การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง กล่าวถึงกรณีสมาคมโรงแรมไทย เสนอให้นำเรื่องค่าบริการ (เซอร์วิซชาร์จ) มารวมอยู่ในค่าจ้างขั้นต่ำที่กำลังจะปรับฐานร้อยละ 40 ทั่วประเทศ ว่า ปัจจุบันค่าเซอร์วิซชาร์จของแต่ละโรมแรมมีหลายรูปแบบที่ต่างกัน โดยมีทั้งค่าเซอร์วิซชาร์จที่รวมอยู่ในใบเสร็จ ซึ่งโรงแรมนำไปรวมเป็นรายได้จ่ายให้กับพนักงานเป็นเงินเดือนในอัตราที่เท่า กันในแต่ละเดือน ขณะที่บางแห่งก็จะแยกค่าเซอร์วิซชาร์จออกมาจากเงินเดือน แต่จ่ายในรูปแบบของสวัสดิการ หรือบางโรงแรมผู้ใช้บริการเป็นผู้ให้โดยตรงกับพนักงานด้วยความเสน่หา ซึ่งทั้งหมดนี้จะใช้หลักการพิจารณาที่ต่างกัน โดยจะต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไปว่าสามารถคิดรวมเป็นค่าจ้างด้วยหรือไม่ ทั้งนี้การพิจารณาตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ระบุว่าค่าเซอร์วิซชาร์จที่รวมอยู่ในเงินเดือนเท่ากันทุกเดือน ให้ถือเป็นค่าจ้างของพนักงาน แต่หากค่าเซอร์วิซชาร์จที่จ่ายให้กับพนักงานไม่เท่ากันทุกเดือน ก็ไม่ถือเป็นค่าจ้าง แต่จัดให้อยู่ในหมวดสวัสดิการแทน อย่างไรก็ตาม ได้มอบให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ไปดำเนินการจัดทำแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้มีความ ชัดเจน และจะแจ้งไปยังสมาคมโรงแรมไทยให้เข้าใจตรงกัน ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้ (สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 13-2-2555) เผดิมชัย เผยเร่งสาน" ธ.แรงงาน" ฐานข้อมูลแรงงานแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน 14 ก.พ. 55 - นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุว่า การขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมทุกวันนี้เกิดจากการไม่เข้าคู่ของทักษะ ฝีมือ เนื่องจากตลาดขาดแคลนแรงงานฝีมือและประสบการณ์ โดยเฉพาะแรงงานช่างระดับอาชีวะ ในขณะที่แรงงานจบใหม่ส่วนใหญ่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เพราะเห็นว่าค่าตอบแทนสูงถึงเดือนละ 15,000 บาท ซึ่งต้องมองทิศทางการบูรณาการหรือประสานความร่วมมือระหว่างความต้องการตลาด แรงงานกับภาคการศึกษาที่ผลิตแรงงานออกสู่ตลาดแรงงานด้วย ขณะที่แรงงานไทยไม่นิยมทำงานในกลุ่ม 3D คือ Dangerous พวกงานอันตราย Dirty งานสกปรก และ Difficult งานลำบาก จึงเกิดเป็นปัญหาการขาดแคลนแรงงานของตลาดแรงงานขึ้นอย่างชัดเจน “ในช่วงนี้สถานการณ์เริ่มที่จะสะท้อนให้เห็นว่าเริ่มมีการขาดแคลนแรงงาน บ้างแล้ว และในอนาคตที่ประชากรเกิดน้อยลงก็จะยิ่งประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานมาป้อนตลาด แรงงานสูงขึ้น ก็ต้องมาดูว่าแต่ละฝ่ายต้องการอะไร เราก็ต้องเติมเต็ม แม้จะมีผู้ตกงานอยู่บ้าง แต่จากการจัดนัดพบแรงงาน จัดคาราวานออกพบปะระหว่างผู้ประกอบการ นายจ้าง กับแรงงานโดยตรง รวมถึงมาตรการของกระทรวงแรงงาน เช่นโครงการเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อชะลอการเลิกจ้าง การให้วงเงินสินเชื่อต่างๆ ล้วนมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการและแรงงานได้มีโอกาสพบกันมากขึ้น ผู้สมัครงานหลายหมื่นคน นอกจากนี้จะได้ทำการได้สำรวจด้วยว่านายจ้างมีความต้องการแรงงานเน้นไปที่ ทักษะฝีมือด้านใด ซึ่งกระทรวงแรงงานได้พยายามทำ “ธนาคารแรงงาน” ขึ้นมาเพื่อเป็นข้อมูลจัดเก็บว่ามีแรงงานจำนวนเท่าไร นายจ้างต้องการแรงงานในกลุ่มลักษณะใด ปริมาณเท่าใด เพื่อให้สามารถจับคู่ความต้องการได้ตรงความต้องการของสองฝ่าย และต้องดูว่าแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศจำนวนนับแสนและกลับมาไทยแล้ว ขณะนี้อยู่ที่ใด เราต้องมีในข้อมูลธนาคารแรงงาน เพราะเป็นกลุ่มแรงงานที่แม้จะมีอายุบ้างแต่ก็มีทักษะฝีมือ ประสบการณ์ที่จะมาเติมเต็มให้กับภาวะขาดแคลนแรงงานได้อีกส่วนหนึ่ง” นายเผดิมชัยกล่าว และเสริมว่า การนำแรงงานที่ยังมีศักยภาพมาเติมเต็มให้กับภาวะขาดแคลนแรงงานก็เป็นสิ่งที่ ควรต้องรีบทำ เช่นการนำผู้ต้องโทษที่จะได้รับอภัยโทษมาให้โอกาสเขาได้ทำงาน แรงงานผู้สูงอายุ แรงงานคนพิการที่มีศักยภาพ โดยกระทรวงแรงงานจะเข้าไปเสริมด้านการเพิ่มศักยภาพให้สูงขึ้น สามารถเพิ่มผลิตผลแก่ผู้ประกอบการ เหมาะสมตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการต่อไป และทุกฝ่ายต้องมีความเห็นอกเห็นใจกันในสถานการณ์เช่นนี้ ในด้านของนายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า เมื่อปัญหาในขณะนี้ คือ การขาดแคลนแรงงาน อำนาจการต่อรองจึงอยู่ที่ฝ่ายผู้ใช้แรงงาน การขึ้นค่าจ้างวันละ 300 บาทก็จะเป็นสิ่งดึงดูดใจให้ลูกจ้างเข้ามาทำงานมากขึ้น ผลผลิตก็จะสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ เพราะการที่คนเราได้รับค่าตอบแทนสูงก็ต้องการเพิ่มศักยภาพฝีมือให้ผลผลิตของ ตนสูงตามค่าจ้าง ด้านตัวแทนลูกจ้าง นายชัยพร จันทนา ประธานสภาองค์การลูกจ้างสถานแรงงานอิสระฯ ได้กล่าวว่า แม้จะเห็นด้วยกับข้อคิดเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในเรื่องมาตรการ ต่างๆ ที่จะรักษาสภาพการจ้างไว้ได้ แต่ก็ต้องคำนึงด้วยว่าจากสถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา มีลูกจ้างบางส่วนออกไปจากระบบการผลิตภาคอุตสาหกรรมไปพึ่งพาภาคเกษตรกรรมที่ กำลังมีค่าตอบแทนสูง เช่นการรับจ้างเกี่ยวข้าวจะได้ค่าจ้างวันละ 300 บาทพร้อมอาหารวันละหนึ่งมื้อ ซึ่งหากภาคอุตสาหกรรมต้องการให้ลูกจ้างแรงงานกลับเข้ามาก็ต้องพิจารณาด้าน ค่าจ้าง สวัสดิการให้เหมาะสม คุ้มค่ากับที่แรงงานจะหวนกลับคืน เพราะในขณะนี้พวกเขาได้รับค่าตอบแทนในภาคเกษตรกรรมที่เหมาะสมและยังไม่ต้อง ย้ายถิ่นฐานอีกด้วย จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในขณะนี้ (ฐานเศรษฐกิจ, 14-2-2555) 'ทีดีอาร์ไอ' ห่วงแรงงานจบมหาวิทยาลัยคุณภาพต่ำ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ได้จัดสัมมนาประจำปีขึ้นเมื่อเช้าวันนี้ ในหัวข้อ"ยกเครื่องการศึกษาไทย: สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง"โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวน ชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ดร.อัมมาร สยามวาลา และดร. ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ นำเสนอให้หัวข้อ การปฏิรูปการศึกษารอบใหม่: สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ปัญหาความล้มเหลวของการศึกษาไทยไม่ได้มีสาเหตุมาจากการขาดแคลนทรัพยากรที่จำ เป็น แต่เกิดจากการขาด “ประสิทธิภาพ” ในการใช้ทรัพยากร อันเนื่องมาจากการขาด “ความ ทั้งนี้ข้อสรุปดังกล่าวได้รับการยืนยันทั้ง ในทางทฤษฎี และการศึกษาในเชิงประจักษ์ นอกจากนี้ การศึกษายังชี้ว่า การสร้างความรับผิดชอบในระบบการศึกษาไทย จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่จับต้องได้โดยจะเพิ่มคะแนนเฉลี่ย PISA ในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของนักเรียนไทยจาก 421 คะแนน เป็น 444 คะแนน ซึ่งจะทำให้อันดับคะแนน PISA ของประเทศไทยเลื่อนขึ้นจากอันดับที่ 46 เป็นอันดับที่ 40 ดังนั้นจำเป็นต้อง สร้างกลไก"ความรับผิดชอบ" ซึ่งหมายถึง พันธะผูกพันในหน้าที่การงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร เสนอในหัวข้อ "การสร้างความเชื่อมโยงของการศึกษากับตลาดแรงงาน"โดยเห็นว่าการขยายโอกาสการ ศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สอดคล้องกับการเติบโตทาง เศรษฐกิจ แม้ว่าการเพิ่มอุปทานแรงงานที่มีการศึกษาจะทำให้อัตราผลตอบแทนจาก การศึกษาลดลง แต่การวิจัยพบปรากฏการณ์ 2 อย่าง ปรากฏการณ์แรก คือ ส่วนต่างค่าจ้าง (wage premium) ระหว่างคนจบมหาวิทยาลัยกับมัธยมปลายมีแนวโน้มสูงขึ้นมาก เพราะผลจากการ ขยายตัวของอุปสงค์ต่อแรงงานที่จบมหาวิทยาลัยในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตเร็ว เมื่อการเรียน ข้อค้นพบประการที่สอง คือ การเพิ่มจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยอย่างรวดเร็วขณะที่ สถาบันการศึกษาหลายแห่งยังขาดความพร้อม ทำให้แรงงานที่จบมหาวิทยาลัยมีคุณภาพแตกต่าง กันมากขึ้น อาจจะเป็นเพราะเหตุดังกล่าวผู้จบอุดมศึกษาหลายสาขาจึงมีอัตราว่างงานสูง ทั้งๆ ตลาดแรงงานยังมีความต้องการแรงงานให้สาขาดังกล่าว จึงไม่น่าแปลกใจธุรกิจขนาดใหญ่และอุตสาหกรรมบางประเภทที่ประสบปัญหาไม่ สามารถคัดเลือกแรงงานที่มีคุณภาพและทักษะ ต้อง ทั้งนี้การวิเคราะห์ระบบการจัดการศึกษาแบบอิงกับการทำงาน (work-based learning) ของสถาบันการศึกษาที่จัดตั้งหรือได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน 5 แห่ง พบว่าเบื้องหลังความสำเร็จของสถาบันทุกแห่ง มีปัจจัยร่วมที่สำคัญ ได้แก่ นวตกรรมการสร้างหลักสูตรและ วิธีการเรียนการสอนที่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ นักศึกษาที่จบการศึกษาได้งานทำ 100% เงินเดือนดี มีอนาคต ระบบบริหารเอกชนมีความคล่องตัว อาจารย์มีแรงจูงใจ ดร.นิพนธ์ ได้เสนอแนะว่า เรื่องการขยายแนวคิดการจัดการศึกษาแบบอิงกับการทำงาน 2 แนวทาง รวมทั้งให้ข้อคิดเกี่ยวกับการขยายสัดส่วนนักเรียนอาชีวศึกษา และการศึกษาแบบอิงกับ การทำงาน (กรุงเพทธุรกิจ, 15-2-2555) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ ค้านขายหุ้น ปตท.-การบินไทย 15 ก.พ.-นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) กล่าวระหว่างการจัดเสวนา "นโยบายขายหุ้นรัฐวิสาหกิจ ปตท. และการบินไทย" ว่า สรส. ยังคัดค้านแนวทางลดสัดส่วนการถือหุ้นให้ต่ำกว่าร้อยละ 50 จากเดิมกระทรวงการคลังถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ทำให้เกิดการวิจารณ์อย่างกว้างขวาง เพราะมองว่าเป็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอีกด้านหนึ่ง เพราะหากแปรรูปบริษัท ปตท. ด้วยการขายหุ้นออกไปร้อยละ 2 สะส่งผลให้ ปตท.กลายเป็นเอกชนเต็มตัว ทำให้กลไกการตรวจสอบโดยรัฐ การส่งรายได้เข้ารัฐ การแทรกแซงราคา ไม่สามารถทำได้ ทำให้การกำหนดราคาพลังงานทั้งก๊าซและน้ำมัน จะส่งผลต่อประชาชนในอนาคต เนื่องจาก ปตท.เป็นผู้ขายก๊าซเพียงรายเดียวในการผลิตกระแสไฟฟ้ากับ กฟผ. และโรงผลิตไฟฟ้าเอกชน เมื่อราคาก๊าซสูงขึ้นจะทำให้ค่าไฟสูงขึ้นตามไปด้วย สำหรับราคาน้ำมันและก๊าซที่ใช้ในการขนส่งสินค้า บริการสาธารณะ จะส่งผลต่อราคาสินค้าและค่าครองชีพ สำหรับการบินไทย เมื่อต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง รัฐบาลควรสนับสนุนให้สามารถแข่งขันกับสายการบินต่างชาติด้วยการผ่อนปรนกฎ ระเบียบ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน เพราะสามารถส่งเงินเข้ารัฐได้ถึง 30,000 ล้านบาท และภาระหนี้ที่มีอยู่ไม่ใช่หนี้ที่มีปัญหาแต่เป็นหนี้เพื่อการลงทุนสำหรับ ขยายกิจการ โดยมีศักยภาพในการชำระหนี้คืน ดังนั้น หากรัฐบาลยังเดินหน้าแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่ง สรส.จะเคลื่อนไหวคัดค้านในทุกรูปแบบ จึงไม่อยากให้รัฐบาลเพิ่มปัญหาเข้ามาในสังคม เพราะปัจจุบันมีท้ั้งปัญหาการเมือง การฟื้นฟูความเสียหายและป้องกันน้ำท่วม ปัจจุบันรัฐวิสาหกิจทั้งระบบ มีทรัพย์สินรวมกัน 9.4 ล้านล้านบาท ภาระหนี้สิน 7.3 ล้านล้านบาท นำส่งรายได้เข้ารัฐ 9.8 หมื่นล้านบาท หากรัฐนำทรัพย์สมบัติของชาติออกไปขายอาจมีความเสี่ยงต่อการบริหารงานของรัฐ วิสาหกิจและกระทบประชาชนผู้บริโภคและผู้ใช้บริการในที่สุด แต่ยินดีที่รัฐบาลยังไม่ตัดสินใจเดินหน้าแนวทางดังกล่าวช่วงนี้ เพราะเห็นว่าไม่ใช่นโยบายเร่งด่วน นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ที่ปรึกษา สรส. กล่าวว่า หากแปรรูปรัฐวิสาหกิจไปแล้ว เงินปันผลและกำไรที่เคยนำส่งรัฐหลายหมื่นล้านบาท จะไหลไปสู่กระเป๋าของเอกชนและต่างชาติ เพราะเห็นว่าการทำธุรกิจด้านพลังงานหากขาดทุนให้ไปผูกคอตายได้แล้ว เนื่องจากราคาน้ำมัน ก๊าซปรับเพิ่มทุกวันมีแต่ได้กำไรเท่านั้น โดยมองว่าแผนดังกล่าวมีการเตรียมการไว้นานแล้ว เพราะการดำเนินนโยบายประชานิยมต้องใช้เงินจำนวนมากในการดำเนินโครงการ นายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ นักวิชาการคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในหลายประเทศดึงธุรกิจสำคัญด้านสาธารณูปโภคในการให้บริการสาธารณะมาให้ภาค รัฐบริหารดูแล เพราะความมั่นคงเป็นหน้าที่หลักของรัฐบาลต้องบริหารดูแล ไม่ให้เป็นภาระเพิ่มกับประชาชนผู้ใช้บริการ เพื่อลดต้นทุนทางสังคมจะทำให้ค่าครองชีพไม่สูงเกินไป หากไปอยู่ในมือเอกชนต้องมีคณะกรรมการที่เข้มแข็งมากในการควบคุมดูแล และในต่างประเทศหากเป็นกิจการด้านพลังงานจะไม่ยอมให้ต่างชาติเข้ามาเป็นผู้ ถือหุ้นใหญ่ และมองว่ารัฐวิสาหกิจใดมีปัญหาจึงขายออกไป แต่รัฐบาลกลับเตรียมขายกิจการที่ทำกำไรดีออกไป จึงมองว่าแปลกมาก นายสมประสงค์ โกศลบุญ นักวิชาการคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ในต่างประเทศขนาดใหญ่มักถือหุ้น บริษัทน้ำมันทั้งหมดเพราะถือว่าเป็นความมั่นคงของประเทศ เช่น บริษัทปิโตรนาส ของมาเลเซีย รัฐบาลถือหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ ยังมีความคล่องตัวบริหารงานทำกำไรสูงสูงสุดอันดับหนึ่งในเอเชียและยังติด อันดับ 95 บริษัทขนาดใหญ่ของโลก ไม่เห็นจำเป็นต้องแปรรูป จึงมองว่าหากเป็นรัฐวิสาหกิจแล้วทำไมจะแข่งขันไม่ได้ สิงคโปรแอร์ไลน์ สายการบินอันดับหนึ่งของโลก ยังสามารถบริหารจัดการ ทำกำไรได้สูง การ์ต้าแอร์ไลน์ ภาครัฐถือหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ ยังอยู่ในระดับท็อป จึงมองว่ารัฐวิสาหกิจสำคัญภาครัฐยังแข่งขันได้ไม่จำเป็นต้องแปรรูป ขณะที่การบินไทยถูกจัดอันดับในทุกโพลล์ การให้บริการติดอันดับในระดับสูง แม้จะมีปัญหาอยู่บ้าง ก็ยังพลิกมามีกำไรและยังมีศักยภาพสูง (สำนักข่าวไทย, 15-2-2555) ก.ทรวงแรงงานร่วมกับหอการค้าญี่ปุ่นช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้างในอยุธยา งานนัดพบแรงงาน ช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้างเนื่องจากมหาอุทกภัย ไทย-ญี่ปุ่นก้าวไปด้วยกัน ที่ศูนย์การค้าอยุธยาปาร์ค ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงาน และหอการค้าญี่ปุ่น ในประเทศไทย จัดขึ้น ขณะที่บรรยากาศภายในงานเป็นไปด้วยความคึกคัก คนหางานในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ออกมาหางานอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ถูกเลิกจ้างจากปัญหาอุทกภัย น.ส.ศิริลักษณ์ ตรีบุพผา อดีตพนักงานบริษัท ฟูจิคูระ อิเล็คทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า มาหางานในสายการผลิต เพราะถูกเลิกจ้าง ส่วนใหญ่จะมองตำแหน่งงานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากมองเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้น หากย้ายไปทำงานในพื้นที่อื่น ส่วนเรื่องการปรับค่าจ้าง 300 บาท มองว่าเป็นเรื่องที่ดีหากจะได้รับ เพราะจะช่วยแบ่งเบาภาระหลังอุทกภัย และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นในปัจจุบัน สำหรับภายในงานมีบริษัทของนักลงทุนชาวญี่ปุ่นกว่า 100 บริษัท ในตำแหน่งงานว่าง 11,536 อัตรา ที่มาเปิดรับ ส่วนใหญ่จะเป็นสายการผลิต ในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก และโลจิตติกส์ เป็นต้น สำหรับผู้ที่สนใจหางานใพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและใกล้เคียง สามารถมาสมัครงานได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงเวลา 16.00 น. ณ ลานจอดรถ ศูนย์การค้าอยุธยาพาร์ค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 16-2-2555) พนง. ไออาร์พีซี ชุมนุมหน้า ก.พาณิชย์ ทวงคำตอบเปลี่ยน กก.ไม่เป็นไปตามมติผู้ถือหุ้น มีรายงานข่าวว่า กลุ่มสหภาพแรงงาน 7 บริษัทในเครือบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และพนักงานกว่า 1,000 คน ได้นัดรวมตัวกันหน้า กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ เมื่อเวลา 11.00 น. วันนี้ เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และฟังคำตอบจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามที่ได้ยื่นหนังสือไว้ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา กรณีที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการ และอำนาจกรรมการของบริษัทในเครือ IRPC จำนวน 5 บริษัท ทำให้รายชื่อกรรมการ และอำนาจกรรมการไม่เป็นไปตามมติผู้ถือหุ้น (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 16-2-2555) แรงงานน้ำท่วมถูกเลิกจ้างพุ่งกว่า 4.5 หมื่น บริษัทใน “เครือโซนี่” 2 แห่ง ย้ายฐานการผลิต 17 ก.พ. 55 - นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลของ กสร.วันนี้ (17 ก.พ.) มีแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมในกิจการประเภทต่างๆ กว่า 120 แห่ง ที่ถูกเลิกจ้าง รวมทั้งหมด 45,873 คน แยกเป็นประเภทกิจการได้แก่ ผลิต/จำหน่ายชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 28,824 คน, วัสดุและอุปกรณ์ไฟฟ้า 3,689 คน,ยานยนต์ 584 คน, อาหาร 394 คน, เสื้อผ้าสำเร็จรูป 134 คน และกิจการอื่นๆ 12,248 คน อย่างไรก็ตาม สถานประกอบที่เลิกจ้างได้จ่ายเงินชดเชยและเงินสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้แก่แรงงานที่ถูกเลิกจ้าง ได้แก่ ค่าจ้างกว่า 49 ล้านบาท ค่าบอกกล่าวล่วงหน้ากว่า 173 ล้านบาท ค่าชดเชยกว่า 1,524 ล้านบาทและอื่นๆ เช่น ค่าโอที ค่าเบี้ยเลี้ยงกว่า 508 ล้านบาท รวมทั้งหมดเป็นเงินกว่า 2,255 ล้านบาท ทั้งนี้ ตัวเลขของแรงงานที่ถูกเลิกจ้างเพิ่มขึ้นจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 5,124 คน โดยจังหวัดที่มีแรงงานถูกเลิกจ้างมากที่สุด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และ ฉะเชิงเทรา นายอาทิตย์ กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกัน ก็มีบริษัทในเครือโซนี่ 2 ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการเลิกจ้างแรงงานและย้ายฐานการ ผลิตไปยังต่างจังหวัด คือ บริษัท โซนี่ ดีไวซ์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบางกระดี จ.ปทุมธานี ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีลูกจ้าง 2,749 คน ได้แจ้งมายัง กสร.ว่า ไม่สามารถซ่อมโรงงานได้ เพราะเสียหายจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้ได้ไปเช่าพื้นที่ย่านบางนา ในการดำเนินธุรกิจชั่วคราว ระหว่างหาทำเลในการเปิดโรงงานใหม่ โดยคาดว่า จะอยู่ทางภาคตะวันออก เบื้องต้นได้เปิดให้แรงงานสมัครใจลาออกก่อน นอกจากนี้ บริษัท โซนี่ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า จ.พระนครศรีอยุธยา ผลิตกล้องโซนี่ มีพนักงาน 3,823 คน จะย้ายฐานการผลิตไปจังหวัดชลบุรี และได้เปิดให้คนงานได้ตัดสินใจ ซึ่งสมัครใจลาออก 1,267 คน และสมัครใจย้ายไปทำงานในจังหวัดชลบุรี 2,123 คน ส่วนอีก 433 คน อยู่ระหว่างการติดต่อ โดยทั้ง 2 บริษัทยืนยันจะจ่ายสิทธิประโยชน์ต่างๆ อย่างเต็มที่ และเกินกว่ากฎหมายกำหนด “ขณะนี้ได้มีเสียงเรียกร้องจากแรงงานในการสมัครใจลาออก เพราะขาดรายได้เป็นเวลานาน หากลาออกจะได้เงินชดเชยเป็นก้อนและไปหางานใหม่ทำ ซึ่งก็สอดรับกับท่าทีของผู้ประกอบการที่เริ่มตัดสินใจมากขึ้นว่าจะปิดกิจการ เลิกจ้าง หรือย้ายฐานการผลิตไปในต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีแรงงานถูกเลิกจ้างไม่ถึง 1 แสนคน เนื่องจากสถานประกอบการส่วนใหญ่จะย้ายฐานการผลิตไปยังจังหวัดอื่นๆ ส่วนย้ายไปต่างประเทศนั้น มีจำนวนไม่มาก ทั้งนี้ คาดว่า ภายในช่วงสิ้นเดือน มี.ค.จะรู้ถึงตัวเลขแรงงานถูกเลิกจ้างชัดเจนมากขึ้น เพราะสถานประกอบการจะต้องจัดทำงบประมาณจ่ายเงินเดือนเพื่อรองรับการปรับขึ้น ค่าจ้างขั้นต่ำ 40% ทุกจังหวัดทั่วประเทศในวันที่ 1 เม.ย.นี้ ซึ่งทำให้ใน 7 จังหวัด เช่น กรุงเทพฯ สมุทรสาคร ปทุมธานีค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 300 บาท” อธิบดี กสร.กล่าว (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 17-2-2555) ส.อ.ท.จับมือศรีปทุมสำรวจค่าจ้าง ตะลึง!วิศวะ-นักกฎหมายรายได้สูง นายวิชิต อู่อ้น คณบดีวิทยาลัยบัณฑิตศึกษา ด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยผลสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการของแรงงานไทยประจำปี 54-55 ว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และมหาวิทยาลัยศรีปทุมได้สำรวจค่าจ้างและสวัสดิการ โดยค่าจ้างขั้นต้นสำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์เฉลี่ยคุณวุฒิ ปวช.มีค่าจ้างเฉลี่ยเดือนละ 6,953 บาท ปวส.เดือนละ 8,004 บาท ปริญญาตรี เดือนละ 12,303 บาท ปริญญาโทเดือนละ 17,539 บาท ปริญญาเอกเดือนละ 26,360 บาท แต่เมื่อพิจารณาของผู้ไม่มีประสบการณ์พบว่าสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ได้ค่าจ้างสูงสุด 15,158 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ ค่าจ้างสำหรับผู้มีประสบการณ์เฉลี่ยระดับผู้บริหารที่ 105,287 บาทต่อเดือน โดยผู้บริหารคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศได้ค่าจ้างสูงสุด 163,061 บาท ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ได้น้อยสุด 43,078 บาท นางวีณา ตันตยานนท์กุล ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล ส.อ.ท.กล่าวว่า ที่ผ่านมาค่าจ้างสาขาวิศวกรรมสูง แต่ปัจจุบันมีบางสาขาที่จ่ายค่าจ้างสูงขึ้นใกล้เคียงโดยเฉพาะสาขานิติศาสตร์ เนื่องจากปัจจุบันทุกบริษัทต้องมีนักกฎหมายเพื่อมาดูแลสัญญาเพื่อไม่ให้ บริษัทเสี่ยง สำหรับการปรับค่าเงินเดือนข้าราชการ ระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท จะไม่มีผลต่อการปรับเงินเดือนของเอกชนเพราะไม่ได้บังคับใช้ แต่จะมีผลต่อการปรับค่าจ้างแรงงานรายวันเห็นว่าผู้ประกอบการควรปรับแบบขั้น บันได. (ไทยรัฐ, 18-2-2555) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||
พฤกษ์ เถาถวิล: หมู่บ้านคนเสื้อแดงกับการเมืองไทย Posted: 20 Feb 2012 01:55 AM PST ในช่วงต้นปีนี้ในประเทศไทยเรามีความเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างคึกคัก ในระดับชาติ เรื่องที่ร้อนแรงที่สุดก็คือ การรณรงค์แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ท่ามกลางการโต้ตอบอย่างหนักหน่วงของฝ่ายไม่เห็นด้วย การเคลื่อนไหวแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ของพรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดง ข่าวลือเรื่องการรัฐประหาร และอื่นๆ ฯลฯ ส่วนในระดับภูมิภาคและท้องถิ่นก็มีความคึกคักไม่แพ้กัน เช่นที่จังหวัดอุบลราชธานี มีการเคลื่อนไหวจัดตั้งหมู่บ้านเสื้อแดง ล่าสุดเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้มีพิธีมอบป้ายหมู่บ้านเสื้อแดงพร้อมกัน 17 หมู่บ้าน และแกนนำเปิดเผยอีกว่าในจังหวัดอุบลจะมีการเปิดหมู่บ้านเสื้อแดงอีกนับร้อยแห่ง น่าสนใจว่าการเปิดหมู่บ้านเสื้อแดงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวระรอกใหม่ของคนเสื้อแดง จะมีความหมาย หรือ เป็นตัวแปรต่อการเมืองไทยในขณะนี้อย่างไร ประชาธิปไตย ความบันเทิง และอาหาร ประชาธิปไตย ศูนย์กลางของพิธีนี้คือป้ายชื่อหมู่บ้านเสื้อแดง ซึ่งเป็นแผ่นป้ายไวนิลพื้นสีแดง มีชื่อหมู่บ้าน และถ้อยคำ “เพื่อประชาธิปไตย” และรูป พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ทราบว่ารูปแบบของแผ่นป้ายใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันในจังหวัดอุบล และอาจจะเป็นจังหวัดอื่นๆในประเทศไทยด้วย รูปแบบที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่า ทักษิณ ชาวบ้าน และ ประชาธิปไตยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความบันเทิง สนุกสนานดูจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย และในการชุมนุมของคนไทยไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมกันในรูปแบบใดความบันเทิงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ โดยเฉพาะชาวอีสานที่มีวัฒนธรรม “ม่วนซื่นโฮแซว” ในการจัดกิจกรรมของคนเสื้อแดง ความบันเทิงได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง การจัดกิจกรรมที่ยาวนานและมวลชนจำนวนมหาศาลก่อให้เกิดอุตสาหกรรมบันเทิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลง ซึ่งได้เกิดนักร้องมากหน้าหลายตา และอัลบัมเพลงหลากหลายชุด เพลงสื่อเรื่องราวหลากหลายประเด็น ในงานนี้ผู้เขียนได้ฟังเพลง “หมู่บ้านคนเสื้อแดง” ซึ่งสะท้อนถึงอุตสาหกรรมหมู่บ้านเสื้อแดงและอุตสาหกรรมเพลงในเวลาเดียวกัน ในงานนี้มีศิลปินนักร้องชื่อดังรับเชิญ มีหางเครื่องสมัครเล่น และการเต้นรำกันหน้าเวทีของผู้มาร่วมงาน ก่อนที่จะมีขบวนรำเซิ้งป้ายชื่อหมู่บ้านรอบหมู่บ้านจัดงานกันอย่างสนุกสนาน
การจัดตั้งหมู่บ้านเสื้อแดง การมองพวกเขาในฐานะผู้ประกอบการทางการเมืองในที่นี้ ไม่ได้ใช้ในความหมายลบ แต่ผู้เขียนคิดว่าเป็นการใช้โอกาสตามระบอบการเมืองประชาธิปไตยที่เปิดกว้างสำหรับคนทุกกลุ่ม และไม่จำเป็นต้องหมายถึงการโกงกินคอรัปชั่น (ทั้งนี้คนชั้นกลางและคนชั้นสูงก็แสวงหาประโยชน์ในทำนองนี้และทำมานานแล้ว) ผู้เขียนคิดว่าการมองพวกเขาในฐานะผู้ประกอบการทางการเมือง ยังจะช่วยให้เข้าใจลักษณะธรรมชาติของพวกเขาคือ การร่วมมือกันในขณะเดียวกันก็แข่งขันกันเอง ซึ่งเป็นธรรมชาติของการทำธุรกิจในภาวะที่โครงสร้างตลาดไม่เปิดกว้างเท่าที่ควร ในที่นี้ก็คือพวกเขาก็แข่งขันกันที่จะเข้าถึงการได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูหรือบำเหน็จรางวัลจาก “นายใหญ่” หรือ “พรรค” ซึ่งจะเป็นทุนสำหรับอาชีพหรือสถานะทางการเมืองของพวกเขาต่อไป ผู้เขียนรู้จักกับแกนนำในท้องถิ่นหลากหลายคน บางคนเป็นหัวคะแนนให้นักการเมือง (หัวคะแนนก็เป็นการประกอบการทางการเมืองแบบหนึ่ง ดังลุงคนขับแท็กซี่คนหนึ่ง ทำงานรับใช้ ส.ส. มานาน รางวัลที่ภูมิใจก็คือเจ้านายผ่อนรถแท็กซี่ให้มาขับ) บางคนเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เซลล์ขายของเงินผ่อน เจ้าของร้านขายต้นกล้ายางพารา ผู้จัดการหมู่บ้านจัดสรร ผู้จัดการบริษัทเดินรถโดยสาร เจ้าของร้านเกมส์ เจ้าของอู่ซ่อมรถ เหนือจากแกนนำในพื้นที่ระดับตำบลและอำเภอ แกนนำพื้นที่ได้ประสานงานแกนนำระดับจังหวัด ในช่วงปี 2553 กลุ่มคนเสื้อแดงในอุบลมีอยู่ 7-8 กลุ่ม หลังจากนั้นก็สลายตัวและฟอร์มตัวกันใหม่ กลุ่มคนเสื้อแดงระดับจังหวัดนี้เป็นหนึ่งใน 3-4 กลุ่มในปัจจุบัน มีแกนนำเป็นเจ้าของร้านอาหารมีชื่อแห่งหนึ่ง ร่วมด้วยคณะทำงานที่เป็นนักธุรกิจชนชั้นกลางในจังหวัดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งหลายคนก็เคยอยู่ในสังกัดกลุ่มแดงกลุ่มอื่นๆมาก่อน เป็นที่รู้ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงอุบลไม่ได้เป็นเอกภาพ แต่ทำงานแข่งขันกัน เมื่อปลายปีที่ผ่านมากลุ่มคนเสื้อแดงกลุ่มหนึ่งเปิดหมู่บ้านคนเสื้อแดง โดยเชิญระดับนำของ นปช. มาเป็นประธาน แต่ก็ถูกเยาะเย้ยจากกลุ่มอื่นว่าหมู่บ้านที่เปิดไปก็ไม่เวอร์ค ในครั้งนี้ในพิธีที่บุญฑริก แกนนำสามารถประสานระดับนำปีกหนึ่งในพรรคเพื่อไทยมาเป็นประธานได้ และประกาศว่ามีแผนจะเปิดหมู่บ้านคนเสื้อแดงเพิ่มอีกนับร้อยหมู่บ้าน ในขณะที่กลุ่มคนเสื้อแดงอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ได้มีแนวทางเปิดหมู่บ้านคนเสื้อแดง แต่ประสานงานกับปีกหนึ่งของพรรคเพื่อไทย และทำงานจัดตั้งมวลชนในรูปแบบอื่น เป้าหมายของการจัดตั้งหมู่บ้าน และ มาตรา 112 เป้าหมายของหมู่บ้านเสื้อแดง นอกเหนือจาก “เพื่อประชาธิปไตย” (ซึ่งผู้เขียนพยายามสอบถามหานโยบายหรือแผนกิจกรรมที่ชัดเจนของพวกเขา แต่ก็ไม่มีคำตอบ) ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือความภาคภูมิใจแล้ว ผู้เขียนพบว่ามียังเป้าหมายทางการเมืองบางประการ ดังนี้คือ ประการแรก การเข้าถึงโครงการและงบประมาณของรัฐ พบว่าแรงจูงใจที่เป็นชิ้นเป็นอันของการรวมตัวกันเป็นหมู่บ้านเสื้อแดงสำหรับชาวบ้านก็คือ โอกาสเข้าถึงสิ่งดีๆสำหรับพวกเขาจากรัฐบาล โครงการที่กล่าวถึงกันมากในช่วงนี้ก็คือ กองทุนพัฒนาสตรี และกองทุนหมู่บ้าน S M L ซึ่งเป็นงบประมาณก้อนใหม่ที่รัฐบาลจะผลักดันลงมา นอกจากนั้นยังมีงบองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะผ่านมายังองค์กรส่วนท้องถิ่นตามแผนงบประมาณประจำปี อีกทั้งยังมีมีงบพัฒนาจังหวัดที่จะผ่านทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด อีกส่วนหนึ่งก็งบประมาณของส่วนกลางผ่านกระทรวงต่างๆ มาทำโครงการของกระทรวงในพื้นที่ ในทางหลักการงบประมาณเหล่านี้จะลงสู่หมู่บ้านโดยเสมอภาคกัน แต่ในทางปฏิบัติหากหมู่บ้านใดมี “ความพร้อม” ก็ย่อมมีโอกาสมากกว่า ประการที่สอง การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างแกนนำท้องถิ่นกับแกนนำระดับประเทศ การจัดตั้งหมู่บ้านคนเสื้อแดงอาจเรียกว่าเป็นการสร้างผลงาน เพราะเป็นการจัดตั้งฐานมวลชนที่หนาแน่นให้แก่พรรคเพื่อไทย และ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชิตวัตร ความสัมพันธ์ที่ดีจะเป็นโอกาสไปสู่ความร่วมมือและผลประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่ายทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองในลำดับต่อไป ประการที่สาม การเป็นฐานการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย และ นปช. แม้ว่าทั้งพรรคเพื่อไทยและ นปช. จะไม่ใช่อันหนึ่งอันเดียวกันซะทีเดียว แต่เป้าหมายการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สำคัญในช่วงที่ผ่านมาคือการปกป้องรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จากที่ผู้เขียนติดตามการปราศรัยในเวทีภูมิภาค และการรับฟังสถานีโทรทัศน์เอเชียอัพเดท ซึ่งเป็นสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อมวลชนคนเสื้อแดงพบว่า ยุทธศาสตร์การปกป้องรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทำให้เกิดแนวการนำเสนอข้อมูลต่อมวลชนดังนี้คือ 1) ประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาล เช่นโครงการจำนำข้าว การเร่งรัดเอาผิดผู้สั่งการคดีสังหารคนเสื้อแดง การจ่ายเงินชดเชยเยียวยาผู้เสียหายจากการชุมนุมทางการเมือง การแก้ไข พรบ.กลาโหม 2) โต้ตอบการโจมตีของกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงกันข้าม การปลุกให้คนเสื้อแดงระวังการรัฐประหาร และ 3) การเคลื่อนไหวสร้างประชาธิปไตย ด้วยการรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ล่าสุดมีการรณรงค์ให้มวลชนเสื้อแดงลงชื่อสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะมีการจัดเวทีการปราศรัยใหญ่ในจังหวัดต่างๆในภาคอีสาน และประกาศจะมีการเปิดหมู่บ้านเสื้อแดงอีกนับพันแห่งในภาคอีสาน ผู้เขียนได้สอบถามคนเสื้อแดงที่บุญฑริกเรื่อง การรณรงค์แก้ไขกฎหมายอาญา 112 การถูกจับกุมของผู้ถูกกล่าวหาหลายคนในคดีนี้ และกรณีคนเสื้อแดงที่ยังถูกคุมขังอีกนับร้อยสืบเนื่องจากกรณีพฤษภาคม 2553 คำตอบที่ได้ไม่น่าประหลาดใจ เพราะการรับฟังสื่อกระแสหลักของพวกเขาและข่าวสารในเครือข่ายการเมืองของพวกเขา ทำให้พบว่า มวลชนคนเสื้อแดงจำนวนมากไม่รู้ว่า ม.112 คืออะไร หรือบางส่วนเคยได้ยินแต่ไม่รู้เนื้อหาสาระ ส่วนแกนนำระดับท้องถิ่น ซึ่งมีโอกาสและทางเลือกในการติตามข่าวสารมากขึ้น พวกเขาบอกว่ารู้เรื่อง ม.112 รู้จักคณะนิติราษฎร์ ติดตามข่าวผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่พวกเขาส่วนใหญ่กล่าวเหมือนกันว่า แม้จะเห็นข้อดีของแก้ไข ม. 112 แต่ไม่ขอแสดงการสนับสนุน เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายและสุ่มเสี่ยงโดยไม่จำเป็น การมีท่าทีไม่สนับสนุนการแก้ไข ม.112 ได้กลายเป็นญัตติร่วมของคนเสื้อแดง อย่างน้อยก็ในส่วนที่อยู่ในเครือข่ายของพรรคเพื่อไทย และ นปช. ดังที่กล่าวมา ในบางโอกาสการปลุกความกลัวรัฐประหาร และการไม่สนใจที่จะทำความเข้าใจประเด็นปัญหากรณี ม.112 อย่างจริงจัง ทำให้นักปราศรัยบางคนถึงกับกล่าวโทษว่า พวกแก้ไข ม. 112 จะต้องรับผิดชอบหากเกิดรัฐประหาร และบางคนถึงกับประกาศข่มขู่ว่าพวกแก้ไข ม. 112 อย่ามา “เกาะ” เวทีคนเสื้อแดง เป็นที่น่าเสียดายว่า “ไฟ” แห่งการเปลี่ยนแปลงที่จุดขึ้นโดยคณะนิติราษฎร์และพันธมิตรในขณะนี้ ถูก “ดับ” โดยพลังมวลชนที่น่าจะเป็นกำลังสำคัญของการเปลี่ยนแปลง จากพลังก้าวหน้าสู่อนุรักษ์นิยม บทความนี้ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นกลุ่มพลังใหม่ทางการเมืองในชนบท (ที่จริงยังมีชาวชนบทส่วนหนึ่งกลายเป็นคนชายขอบผู้ไร้อำนาจและได้รับความเดือดร้อนแต่ยังไม่ได้กล่าวถึงในบทความนี้) และได้เสนอให้มองแกนนำขบวนการคนเสื้อแดงในฐานะ ผู้ประกอบการทางการเมือง ซึ่งผู้เขียนมองในแง่ดีว่า เป็นการเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจการเมือง จากพัฒนาการที่ดีของประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสกว้างขวางให้กับชาวบ้านสามัญชนทั่วไป การมองเป็นผู้ประกอบการทางการเมือง ยังจะทำให้เราเข้าใจพลวัตการเคลื่อนไหวของขบวนการคนเสื้อแดงในท้องถิ่น เข้าใจแรงผลักดัน และความมุ่งมาดปรารถนาของแกนนำในการเคลื่อนไหวเรื่องประชาธิปไตย กระนั้นก็ดีประวัติศาสตร์มักจะเล่นตลกเสมอ และต้นทุนที่แพงที่สุดก็คือการแลกกับโอกาสการถกเถียงผลักดันประเด็นหลักการสำคัญของความเป็นประชาธิปไตย เพราะภายใต้การประนีประนอม รัฐบาลต้องสวมบทบาทเอาใจพวกกษัตริย์นิยมอย่างออกหน้าออกตา เช่น การปิดกั้นข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นทางสื่อต่างๆ การแสดงท่าที่ซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าจะไม่แตะต้อง ม.112 ไปจนถึงการข่มขู่คุกคามกลุ่มผู้เคลื่อนไหวเรื่องนี้ ผลที่เกิดขึ้นคือรัฐบาลเพื่อไทยและขบวนการคนเสื้อแดงได้กลายเป็นพลังอนุรักษ์นิยม ที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้า ไม่เพียงไม่สนับสนุน แต่ยังปิดกั้น คุกคาม และทำลายความน่าเชื่อถือของการเคลื่อนไหวที่ต้องการวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นหัวใจของปัญหาความสัมพันธ์ในสังคมไทย การรณรงค์แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 กลายเป็นเรื่องไม่บังควร ถูกปิดกั้นข่มขู่ การรณรงค์ให้ได้รับสิทธิประกันตัวของผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งได้รับความสนใจในนานาประเทศ กลับได้รับความสนใจน้อยมากจากรัฐบาลและคนเสื้อแดง ยังไม่นับนักโทษการเมืองผู้ถูกคุมขังในเรือนจำ และความจริงอีกจำนวนมากที่จะต้องสะสาง ผู้เขียนตระหนักดีว่าคนเสื้อแดงมีกลุ่มย่อยๆแตกต่างหลากหลายกลุ่ม แต่กำลังวิจารณ์คนเสื้อแดงกระแสหลักที่อยู่ในอิทธิพลของพรรคเพื่อไทยและ นปช. น่าเสียใจและน่าอนาถใจว่าเหตุการณ์เสียเลือดเนื้อครั้งใหญ่ ไม่ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สมคุณค่า ล่าสุดมีการประกาศจัดตั้งหมู่บ้านคนเสื้อแดงในอีสานแล้วกว่าหนึ่งหมื่นหมู่บ้าน แต่เรื่องตลกคือหมู่บ้านเสื้อแดงไม่ได้มีความก้าวหน้าอย่างที่คาดหวังกัน และการเคลื่อนไหวจัดเวทีของคนเสื้อแดงถี่ยิบในภูมิภาคในขณะนี้จะไม่มีความหมายก้าวหน้าใดๆ หากแต่การเคลื่อนไหวเหล่านี้จะเป็นเพียงการแสดงพลังระรอกใหม่ของกลุ่มอนุรักษ์นิยมใหม่ในสังคมไทยเท่านั้น.
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||
อดอาหารร้องสิทธิประกันตัวยังดำเนินต่อ พระสงฆ์จากสระแก้วมาร่วมอดด้วยหน้าศาล Posted: 20 Feb 2012 01:33 AM PST "เอ็ม" ลูกศิษย์ 'สุรชัย แซ่ด่าน' ยังคงอดอาหารร้องสิทธิประกันตัวของนักโทษการเมืองเข้าสู่วันที่ 4 หน้าศาลอาญา ด้านภรรยา 'อากง' และมารดา "สุรภักดิ์" ผู้ต้องหาม. 112 อดอาหารไปแล้วหนึ่งวันเต็ม และยังมีพระสงฆ์จากจ.สระแก้วเดินทางมาร่วม 'บิณฑบาต' สิทธิฯ ด้วย 19 ก.พ. 55 - ที่บริเวณบาทวิถี หน้า ศาลอาญา รัชดา ฤทธิพงษ์ มหาเพชร หรือ "เอ็ม" ยังคงอดอาหารต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 จากที่ตั้งใจไว้ 7 วัน เพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้กับสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ และนักโทษทางการเมืองทั้งหมด เช่นเดียวกับ นายอภิวัฒน์ เกิดนอก อดีตนักโทษคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ถูกจำคุกรวมเวลา 1 ปี จากการ “มีบัตร นปช.” ในครอบครอง และถูกจับกุมตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค.53 ที่บริเวณซอยรางน้ำ ได้อดข้าวเข้าสู่วันที่ 2 แล้ว โดยวันนี้ทั้ง 2 ดูอ่อนเพลียแต่ยังสามารถพูดคุยกับผู้ที่มาให้กำลังใจได้ดี นอกจากสองคนนี้ ยังมีแนวร่วมอดอาหารเพิ่มอีก 4 คน คือภรรยาวัย 61 ปีของนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรือ “อากง” , มารดาวัย 68 ปี ของนายสุรภักดิ์ (ขอสงวนนามสกุล) ผู้ต้องหาในคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นายคาร์ล แองเกอร์ วัย 43 ปี นักข่าวอิสระ เว็บไซต์ข่าวการเมืองไทยจากประเทศเยอรมนี และจุฑิมาศ สุกใส นักวิจัยอิสระด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้ง พระสุรชัย ขันติโก วัย 57 ปี ที่เดินทางมาจากวัดหนองคู อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เพื่อมา“บิณฑบาต” สิทธิการประกันตัวนักโทษการเมืองด้วย ป้าอุ๊ ภรรยา วัย 61 ปีของนายอำพล หรือ “อากง” กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการมาอดอาหารในครั้งนี้ว่า “อยากขอความเป็นธรรมและเห็นใจกับครอบครัวบ้าง ต้องการเรียกร้องสิทธิในการได้รับการประกันตัว ซึ่งจะทำให้โอกาสในการหลุดพ้นจากข้อหามากขึ้น” เช่นเดียวกับ นางแต้ม มารดาวัย 68 ปี ของนายสุรภักดิ์ ผู้ต้องหาในคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่เดินทางมาจากจังหวัดบึงกาฬเพื่ออดอาหารเรียกร้องสิทธิในการได้รับการประกันตัว กล่าวว่า “เพราะรักลูก อยากให้ลูกได้ออกมาต่อสู้ และจะได้สบายใจ ปกติสุรภักดิ์ จะเป็นคนดูแลแม่” เรื่องความพร้อมในการอดอาหาร คุณแม่ของสุรภักดิ์ กล่าวว่า “ปรกติก็เข้าวัดอยู่ เคยอดอยู่ ก็คงไม่เป็นอะไร เราก็สู้ได้” ทั้งนี้ สุรภักดิ์ โปรแกรมเมอร์ผู้ถูกกล่าวหาสร้างเพจหมิ่นในเฟซบุ๊ค ซึ่งถูกพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 6 สำนักงานอัยการสูงสุด ฟ้องในความผิดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ นั้นได้ถูกคุมขังมาตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.54 โดยไม่ได้สิทธิในการประกันตัว ด้าน พระสุรชัย ขันติโก ที่เริ่มอดอาหาร “บิณฑบาต” สิทธิการประกันตัว โดยในเบื้องต้นยังไม่กำหนดเวลายุติตามที่ร่างกายจะรับไหวนั้น กล่าวว่า ต้องการมาร่วมการอดอาหารกับประชาชน เนื่องจากได้รับทราบเรื่องความไม่เสมอภาคและความอยุติธรรม จึงไม่สามารถนิ่งเฉยและดูดายได้ “อยากมาขอบิณฑบาตกับศาลให้ศาลพิจารณาหรือตัดสินใจใหม่ว่าความทุกข์ยากของประชาชน มันสมควรแล้วหรือที่โดนขนาดนี้ หลวงพ่อคิดว่ามันมากไป หลวงพ่อความรู้น้อยแต่ใจลึกๆหลวงพ่อคิดว่ามันมากเกินไป จึงต้องการเรียกร้องสิทธิในการได้รับการประกันตัว ซึ่งสิทธิเสรีภาพต้องอยู่ภายนอก เดินไปไหนมาไหนได้ไม่ถูกจำกัดอยู่ภายใน คดีบางอย่างหลวงพ่อเคยเห็นมายาบ้าเป็นพันเม็ดหมื่นเม็ด ฆ่าคนตายยังได้ประกันเลยลูก แล้วคดีอย่างนี้ไม่รู้คำตัดสินข้อหาอย่างไรก็ไม่รู้ หลวงพ่อไม่เขาใจว่าคดีมันร้ายแรงอย่างไร แต่คิดว่ามันไม่น่าจะถึงห้ามประกัน คนเรามันต้องมีสิทธิพื้นฐาน” พระสุรชัย ขันติโก กล่าวเสริมว่า จากที่ตนเองเคยเป็นทหารมา 9 ปี ตนยึดถือแนวทางที่ไม่ใช้ความรุนแรงเท่านั้น เนื่องจากเชื่อว่า วิถีที่สามารถเอาชนะได้ คือการปรองดองด้วยการพูดคุย และการให้อภัยซึ่งกันและกัน “จากประวัติศาสตร์ของอินเดีย มหาตมะ คานธี เขาสู้กับอังกฤษ ประเทศมหาอำนาจ ด้วยการอดอาหาร แล้วก็ได้เอกราชขึ้นมา หลงพ่อภูมิใจนับถือจิตใจของเขา หลวงพ่อเองเคยเป็นทหารมาก่อน หลวงพ่อเคยรบมา เคยฆ่าคนมาเคยยิงมา การรบกันยิงกันก็ไม่ชนะ ไม่ได้ชนะเลย หลวงพ่อก็บาดเจ็บมา เป็นทหารที่เคยบาดเจ็บปะทะจากการรบ แล้วก็ยิงผู้ก่อการร้ายตายหลายคน แต่ก็ไม่ชนะผู้ก่อการร้ายได้" พระสุรชัยกล่าว
จุฑิมาศ สุกใส นักวิจัยอิสระด้านสิทธิมนุษยชน ที่ร่วมอดอาหารในวันอาทิตย์ กล่าวถึงจุดประสงค์ที่มาร่วมกิจกรรมว่า ต้องการให้สังคมเห็นและเข้าใจถึงความไม่เป็นธรรมที่เกิดกับนักโทษการเมืองในประเทศไทย และเพื่อเป็นกำลังใจแก่คนที่มาอดอาหารด้วย “ในเมื่อผู้ต้องหายังไม่ถูกตัดสินว่ามีความผิด ก็ต้องถือว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ ในเมื่อเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ เขาต้องมีสิทธิในการที่จะได้รับการประกันตัว เพื่อที่จะได้ออกมาสู้คดี อันนี้เป็นสิทธิพื้นฐานของทุกคนไม่ว่าจะเป็นคดีใดๆทั้งสิ้น จะเป็นคดีการเมืองหรือไม่การเมืองทุกคนก็มีสิทธิที่จะได้รับการประกันตัว” จุฑิมาศกล่าว ต่อเรื่องการอดอาหารเพื่อการเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานนั้น จุฑิมาศ มองว่า “อย่างน้อยก็เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่สันติ ไม่ได้ข่มขู่หรือใช้ความรุนแรงกับใคร เป็นวิธีหนึ่งที่วันนี้ก็ทำให้มีนักข่าวและมีคนมาสนใจค่อนข้างมาก ก็น่าจะเป็นวิธีที่สื่อประเด็นให้เห็นว่า เรื่องนี้มันเป็นปัญหาใหญ่ถึงขนาดที่มีคนที่จะยอมอดอาหารเพื่อที่จะสื่อสารประเด็นนี้ออกไปสู่ภายนอก แล้วก็มีหลายคนที่ไม่ใช่ญาติโดยตรงก็คิดว่ามันเป็นปัญหาจริงๆ ก็เลยคิดว่าจะมาอดอาหาร 24 ชม. เพื่อสื่อสารนี้” “เราคิดและเราเชื่ออย่างนี้จึงมาอดอาหาร แต่เราก็ไม่สามารถบังคับให้คนอื่นคิดหรือเชื่อในอย่างที่เขาอยากเชื่อได้ เพียงแต่ก็ต้องทบทวนนิดนึงว่า คนเราคงไม่มีใครอยากจะไม่กินข้าว 24 ชม. คือการที่ทำอย่างนี้ คุณต้องคิดดูว่ามันต้องมีเหตุผล มันต้องมีความคับแค้นใจบางประการที่กระตุ้นให้คนเราคิดว่าจะเลิกกิน 24 ชม. หรือบางคน 7 วันหรือบางคน 5 วัน อยากให้ดูเหตุผลเบื้องหลังด้วย” จุฑิมาศ กล่าว คลิปสัมภาษณ์จุฑิมาศ สุกใส นักวิจัยอิสระด้านสิทธิมนุษยชน ที่รวมอดอาหารในวันนี้ นายคาร์ล แองเกอร์ วัย 43 ปี นักข่าวอิสระ เวบไซต์ข่าวการเมืองไทยจากประเทศเยอรมนี หนึ่งในผู้ร่วมอดอาหารด้วย ได้กล่าวกับมติชนออนไลน์ว่า จุดประสงค์ที่มาร่วมอดอาหาร ก็เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย และสิทธิมนุษชนในประเทศไทย เนื่องจากมองว่าประชาธิปไตยในประเทศไทยมีปัญหามาก โดยหลักการแล้ว รัฐบาลถูกทหารสั่งไม่ได้ แต่ปัจจุบัน ดูเหมือนว่า ทหารสั่งรัฐบาล ซึ่งเป็นหลักที่ขัดอย่างยิ่งต่อระบอบประชาธิปไตย ไม่มีที่ไหนที่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยที่เป็นแบบนี้ ไม่มีที่ไหนในโลกที่ทหารจะออกมาสั่งว่า ต้องทำหรือไม่ทำอะไร นอกจากนี้ยังบอกอีกว่า ปัญหาใหญ่ของประเทศไทยขณะนี้คือ เสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็น นี่เป็นพื้นฐานสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ถ้าไม่มี ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศทั้งวันเป็นไปอย่างคึกคักมีเสื้อแดงและประชาชนทั่วไปมาแวะเวียนให้กำลังใจผู้เข้าร่วมการอดอาหารตลอดทั้งวัน
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||
เวทีเสวนา “1 เดือนผ่านไป รณรงค์แก้ไข ม.112 ไปถึงไหนแล้ว” Posted: 20 Feb 2012 01:10 AM PST บก.ฟ้าเดียวกันถาม “อานันท์” หรือบิ๊กเนมที่เคยบอกให้แก้ไขทำไมไม่ลงชื่อ หรือแค่ตีกินให้ภาพดูดี ดีเจหนึ่งชี้การล่าชื่อในเชียงใหม่อุปสรรคอัพเลเวลเสื้อแดงคือก้าวไม่พ้นเพื่อไทย นปช. หลังรัฐบาล นักการเมือง แกนนำติดเบรคห้ามแตะ ม.112 ประสบการณ์ล้มกฎหมายจากแอฟริกาใต้ระบุต้องขยายเครือข่ายหาจุดร่วมเคลื่อน เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 54 ที่ผ่านมาที่ร้านเร้ดคอฟฟี่ จ.เชียงใหม่ ได้มีการจัดเสวนา “1 เดือนผ่านไป รณรงค์แก้ไข ม.112 ไปถึงไหนแล้ว” โดยมีวิทยากรคือ ธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน จักรพันธ์ บริรักษ์ (ดีเจหนึ่ง วิทยุสร้างสรรค์สังคมเชียงใหม่) เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร กลุ่มทุนนิยาม ดำเนินรายการโดย ธีระพล คุ้มทรัพย์ ธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน เริ่มต้นด้วยการยกส่วนหนึ่งในบทความของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียนไว้ในปี พ.ศ. 2550 ที่ว่าแม้จะเห็นว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพน่าจะยกเลิกไปเลย ซึ่งหมายความว่าสถาบันกษัตริย์ก็จะถูกตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ได้ แต่ อ.นิธิก็ยังบอกในบทความนั้นว่าแต่ก็ทำได้ยากเพราะกฎหมายนี้วางอยู่บนความสัมพันธ์กับเงื่อนไขอื่นๆ ที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์อีกด้วย ปัญหาก็คือว่าข้อเสนอในการยกเลิก ม.112 ในตอนนั้นหรือแม้กระทั่งในตอนนี้ กฎหมายหมิ่นฯ มันไม่ได้เป็นแค่กฎหมายอาญาที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่มันเป็นกระดูกสันหลังของสถาบันกษัตริย์ และสถาบันบันกษัตริย์ที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ก็ไม่ได้เป็นเหมือนเมื่อตอน พ.ศ.2475 เมื่อก่อน พ.ศ.2475 หรือเมื่อก่อน พ.ศ.2490 สถาบันกษัตริย์ที่เราเห็นอยู่นี้เป็นสิ่งที่แปลกใหม่ นี่เป็นการพูดแบบคนที่อ่านประวัติศาสตร์มาบ้าง หลายๆ ท่านอาจจะนึกไม่ออกว่ามีอยู่ช่วงหนึ่งในสังคมไทยอาจจะเรียกได้ว่าเราไม่มีพระมหากษัตริย์อยู่ในประเทศไทยอยู่ช่วงหนึ่งก็คือหลัง พ.ศ. 2477 ที่กษัตริย์ของไทยยังทรงพระเยาว์และยังอยู่ในต่างประเทศ ณ ตอนนั้นระบบการบริหารต่างๆ อยู่ในรัฐสภา มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก็เพียงทำหน้าที่ทางพิธีกรรม ธนาพลกล่าวว่าที่ยกตัวอย่างมานี้เพื่อจะบอกว่า ณ เวลาหนึ่งในสังคมไทยที่เราอาจจะหลงลืมไปแล้วว่าสถาบันกษัตริย์ที่เป็นสัญลักษณ์จริงๆ เคยมีอยู่ในสังคมไทย แล้วการที่มีสถาบันกษัตริย์ที่เป็นเชิงสัญลักษณ์จริงๆ ก็ไม่ทำให้เกิดปัญหาในทางการเมือง ไม่เกิดปัญหาแม้กระทั่งในสถานการณ์ที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่ออย่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีวิกฤตทางการเมืองมาก ดังนั้นสิ่งที่เราอาจจะเห็นหรือคุ้นเคยในปัจจุบันนี้อย่างเรื่องพระราชดำรัสทุกๆ วันที่ 4 ธันวาคม ก็พึ่งเกิดมาในยุคของนายกชาติชายในทศวรรษที่ 2530 นี่เอง ธนาพลกล่าวว่าที่โยงให้เห็นนี้ เช่นกรณีพระราชดำรัสที่เราคิดว่าเป็นประเด็นทางการเมืองได้ เป็นเหมือนอาญาสิทธิ์ได้ ก็เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นมาไม่นานนี้ และหลายๆ สิ่งหลายอย่างที่เราคุ้นชินและคิดว่ามีมานานแล้วนั้น เช่น ราชพิธีต่างๆ ก็พึ่งถูกรื้อฟื้นหรือพึ่งเกิดขึ้นมาไม่นานนี้เอง ทั้งนี้ที่ยกมานี้เพื่อให้เห็นภาพคร่าวๆ ว่าเวลาเราพูดถึงเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เรากำลังพูดถึงการเอาตัวสถาบันกษัตริย์ที่มันผิดฝาผิดตัว ไม่สอดคล้องกับระบบประชาธิปไตย ให้มาสอดคล้องกับระบบประชาธิปไตย ทั้งนี้ในประเด็นที่มีคนตั้งข้อสังเกตว่าเคยมีคนที่ดูกลางๆ หรือฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ออกมาพูดถึงการให้แก้ไข ม.112 นั้น ธนาพลทิ้งคำถามว่าคนที่เคยออกว่า ม.112 ต้องแก้ไขเหล่านั้น เช่นนายอานันท์ ปันยารชุน หายไปไหน ทำไมไม่มาร่วมลงชื่อกับ ครก.112 หรือเพียงเพราะว่าออกมาพูดให้ตนดูดีเท่านั้น ในช่วงแลกเปลี่ยนผู้เข้าร่วมท่านหนึ่งได้แลกเปลี่ยนว่าตนเองรู้สึกท้อแท้และรู้สึกว่าที่เราได้ลงรายชื่อไปนั้นไม่อาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ธนาพลได้ตอบไปว่าลองย้อนมองอดีตตั้งแต่กบฏ ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2455) ที่หวังเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยแต่ก็ล้มเหลว จากนั้นใครจะไปคิดว่าอีก 20 ปี ในปี พ.ศ. 2475 คณะราษฎร์จะสามารถสานต่อให้สำเร็จได้ เช่นเดียวกับข้อเสนอ 7 ข้อของนิติราษฎร์ ที่พึ่งเสนอเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2554 และตอนนี้เราเดินมาไกลถึงขั้นล่ารายชื่อขอเปลี่ยนแปลงกฎหมายตามข้อเสนอของนิติราษฎร์กันแล้ว จักรพันธ์ บริรักษ์ หรือดีเจหนึ่ง จากสถานีวิทยุสร้างสรรค์สังคมเชียงใหม่ FM 99.15 MHz เล่าถึงประสบการณ์การล่าชื่อ ครก.112 กับคนเสื้อแดงใน จ.เชียงใหม่ บางส่วนที่ตนไปสัมผัสมาว่ามีความกลัวกล้า โอกาสอุปสรรค์ อย่างไร จักรพันธ์ ได้เล่าย้อนไปถึงการก่อตั้งสถานีที่สถานการณ์ทางการเมืองยังอึมครึมอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม 2553 และ ตอนนั้นมีงานเสวนาที่ดังมากของคณะนิติราษฎร์ คือวันที่ 10 ธ.ค. 2553 เรื่อง “สถาบันกษัตริย์ – รัฐธรรมนูญ – ประชาธิปไตย” ทางสถานีก็ได้นำคลิปเสียงของงานมาเปิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าหลายรอบ ปรากฏว่าชาวบ้านชอบมากโดยเฉพาะช่วงที่ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่ไปร่วมงานเสวนาด้วยได้ลุกขึ้นพูด มีการไรท์ซีดีแจก ในงานปราศรัยของเสื้อแดงเชียงใหม่แจกซีดีของ อ.สมศักดิ์ ได้รับความนิยมมาก จักรพันธ์ประเมินว่าคนเสื้อแดงเชียงใหม่นั้นกว่า 90% เข้าใจในเรื่องกฎหมาย ม.112 เข้าใจอย่างดีว่ามีปัญหายังไง อาจจะเข้าใจก่อนที่นิติราษฎร์จะเสนอข้อเสนอด้วยซ้ำไป เพียงแต่ว่าการชื่อหรือไม่ลงชื่อนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่ตนเองพอลงไปสัมผัสและจะนำมาประมวลดังนี้ ก่อนหน้านี้ในเชียงใหม่ในช่วงที่ อ.สุรชัย แซ่ด่าน โดนจับกุมตัวนั้นในช่วงแรกๆ ที่เชียงใหม่เสื้อแดงหลายกลุ่มที่มีความสนิทสนมกับ อ.สุรชัย (เครือข่ายแดง 8 จังหวัดภาคเหนือ) ถึงกับมีการล่าชื่อให้ยกเลิกไม่ใช่แก้ ม.112 ด้วยซ้ำ แต่กระแสตอนนั้นต้องมาสะดุดหยุดลงไปเพราะท่าทีของ นปช. มีเหตุการณ์แจ้งจับคนที่แจกใบปลิวในเวทีปราศรัยที กทม. มีวาทกรรมสุดคลาสสิคของแกนนำอย่างณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ว่า “ตาสว่างได้ ปากอย่าสว่าง” แม้กระทั่งการเดินสายมาปราศรัยของ นปช. ส่วนกลางที่ อ.สันกำแพง ซึ่งตอนนั้น อ.สุรชัย ถูกจับแล้ว มีคนไปชูป้ายเกี่ยวกับ ม.112 อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ กลับสั่งให้เอาป้ายลง บอกอย่าชูป้าย 112 แถวนี้ จักรพันธ์กล่าวว่าท่วงท่าเหล่านี้ของ นปช. ทำให้กำลังมวลชนชาวบ้านรากหญ้าอ่อนลง ถึงแม้ว่าจะมีการออกมาแก้ต่างทีหลังก็ตาม แต่ว่าพลังมันก็อ่อนลงไปแล้ว การล่าชื่อยกเลิก ม.112 ของเครือข่ายแดง 8 จังหวัดภาคเหนือก็ต้องล้มเลิกไป เพราะ นปช. ส่วนกลางไม่เอาด้วย ในเรื่องความกลัว กล้า อุปสรรค ในการลงชื่อสนับสนุนแก้ไข ม.112 ในปัจจุบันนี้ จักรพันธ์เล่าถึงประสบการที่ได้ลงไปพบปะกับชาวบ้านเสื้อแดง โดยขอเล่าถึงเรื่องความกล้าก่อนว่า คนที่กล้ามาลงดูเหมือนไม่มีเหตุผลเลย มาถึงร้านปุ๊บจับปากกาเอกสารเซ็นชื่อเลย ระบุด้วยซ้ำว่าแค่แก้ไขมันยังน้อยเกินไป อยากให้ยกเลิกมาตรานี้ คนที่กล้าส่วนใหญ่มักจะมีบุคลิกแบบนี้ ส่วนอีกกลุ่มก็มาลงชื่อเหมือนกันแต่จะอดถามไม่ได้ว่าถ้าตนลงชื่อแล้วจะปลอดภัยไหม จะมีผลกระทบอะไรตามมาไหม ที่ถามว่าผลกระทบที่จะตามมานั้นส่วนใหญ่ก็ไม่ได้กลัวเรื่องกฎหมาย เพราะเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่ส่วนใหญ่จะกลัวเรื่องโดนผลกระทบจากอำนาจมืดมากกว่า ซึ่งตรงนี้จักรพันธ์บอกว่าตนเองก็ตอบไม่ได้ อีกกลุ่มหนึ่งก็จะถามเหมือนกันเรื่องความปลอดภัย แต่ก็ไม่ลงชื่อแล้วฝากไว้ที่ร้าน ขอเอาแบบฟอร์มกลับไปลงที่บ้านแทน บางคนก็เอาไปเป็นปึกเลย แต่ ณ วันนี้ส่วนหนึ่งก็ยังไม่ได้เอาเอกสารมาให้ จักรพันธ์กล่าวถึงกลุ่มของชาวบ้านที่มีความกลัว คือไม่ลงชื่อเลย แต่เมื่อตนเอาเอกสารไปให้ตามบ้าน ตามตลาดก็รับเอกสารไว้ รับไว้แต่ไม่ลง เมื่อไปตามเอกสารก็จะบอกว่ายังไม่ได้ลงชื่อยังไม่ว่าง หรือเอกสารไม่ครบ อีกกลุ่มคือกลัวและไม่ลงเลย กลัวอำนาจมืดแบบกลุ่มแรกที่กลัวแต่ลงชื่อ และเมื่อพูดคุยกลุ่มที่กลัวและไม่ลงชื่อนี้ก็เห็นด้วยกับข้อเสนอของนิติราษฎร์ เห็นด้วยว่า ม.112 มีปัญหา เข้าใจด้วยซ้ำว่าการลงชื่อแบบนี้ตามกฎหมายแล้วไม่ผิด กลุ่มสุดท้ายที่ไม่ยอมลงชื่อ กลุ่มนี้น่าสนใจมาก คือทีแรกกลุ่มนี้จะลงชื่ออยู่แล้ว ตอนที่ตนเอาเอกสารไปให้ 10 ชุด ก็บอกว่าไม่พอหรอกขอ 20 ชุดเลย บางทีจะให้ 20 ชุด ก็บอกไม่พอจะขอ 60 ชุด เอามาเลยพร้อมที่จะลงให้เต็มที่อยู่แล้ว สนับสนุนทั้ง ครก.112 และคณะนิติราษฎร์ แต่พอมีการขยับตัวของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ที่แสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการแก้ ม.112 ตอกย้ำด้วยคำพูดของแกนนำ นปช. อย่างจตุพร พรหมพันธุ์ที่ระบุว่าถึงแม้ได้รายชื่อครบ 10,000 รายชื่อ ก็ไม่มี ส.ส. ในสภายกมือให้แม้แต่คนเดียว และอ้างด้วยว่าการแก้ไข ม.112 นั้นจะเป็นเงื่อนไขไปสู่การรัฐประหาร จักรพันธ์ประเมินว่าสาเหตุที่ทำให้เสื้อแดงชาวบ้านกลุ่มนี้ไม่ลงรายชื่อแก้ไข ม.112 ครั้งนี้ เพราะไม่อยากให้รัฐบาลที่ตนเองเลือกไปกับมือต้องล้มไปเพราะการรัฐประหารที่มีสาเหตุมาจากการที่ตัวชาวบ้านเสื้อแดงเองไปลงรายชื่อ แก้ไข ม.112 กลุ่มนี้ไม่ลงเลยคืนเอกสารมาหมดเลย แม้ล่าสุดท่าทีของณัฐวุฒิหรือจตุพร จะเบาลงในเรื่องของการต้านการลงชื่อแก้ไข ม.112 แต่ก็ไม่เกิดผลทางที่ดีขึ้นแล้ว เหมือนกับการขับรถมาด้วยความเร็วสูง แต่พอเหยียบเบรกแล้วปล่อย เหยียบเบรกแล้วปล่อย ความเร็วมันก็ไม่เท่าเดิมแล้ว จักรพันธุ์กล่าวว่าเสื้อแดงในกลุ่มสุดท้ายที่กล่าวไปนั้น แกนนำ นปช. มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการตัดสินใจเรื่องการเมือง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตนได้ลงพบปะชาวบ้านเสื้อแดงมา สรุปได้ว่าคนลงชื่อกันน้อยมาก สาเหตุก็เพราะท่าทีของแกนนำหรือผู้นำทางการเมืองของคนเสื้อแดงที่แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข ม.112 ปัจจัยนี้สำคัญมากกว่าเรื่องความกลัวส่วนตัวของชาวบ้านเอง คนเสื้อแดงไม่ได้กลัว ถูกเรียกให้ไปนอนกลางดินกินกลางทราย ไปลุยกับทหารก็ไปลุยมาแล้ว เขาไม่ได้กลัวเรื่องส่วนตัว แต่เขากลัวเรื่องที่ว่าคนที่เขาเลือกเข้าไปไม่ให้ลงชื่อ เขากลัวว่าจะทำให้รัฐบาลที่เขาเลือกไปแล้วเดือดร้อน ในการแก้ไข ม.112 นี้ ดังนั้นการที่เราชอบพูดกันว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนมีความตื่นตัวแล้ว มีความตื่นตัวทางการเมืองสูง อันนี้เรื่องจริง แต่เป็นการตื่นจากการหลับใหลที่ยาวนาน คือหลับใหลมา 60 กว่าปี การขยับตัวจากการหลับใหลมานานขนาดนี้มันก็ต้องเชื่องช้าไม่ได้รวดเร็ว สรุปได้ว่าเป็นการตื่นตัวที่ต้องมีผู้นำหรือแกนนำเป็นคนปลุกให้ตื่น มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านจากข้างบนสู่ข้างล่างตลอดเวลา ยังเป็นการตื่นตัวที่เรียกว่ายังต้องเชื่อฟังผู้นำทางการเมืองของตน จักรพันธุ์กล่าวสรุปว่าก็เหมือนกับการเล่นเกมส์ที่จะต้องมีการอัพเลเวล ซึ่งช่วงท้ายๆ ของการอัพเลเวลหนึ่งไปสู่เลเวลที่สูงกว่าอาจจะยาก บางทีก็ทำไม่ได้เลย และใช่ว่าทุกคนจะอัพผ่านเลเวลได้ เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร จากกลุ่มทุนนิยาม ได้ขอนิยาม “การรณรงค์” ก่อน เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ ความหมายตามคู่มือการรณรงค์ของต่างประเทศนั้นบอกว่า การรณรงค์หมายถึง “การเสาะแสวงหาการเปลี่ยนแปลงสาธารณะ ที่ได้รับการจัดตั้ง อย่างเป็นขั้นตอน” โดยการรณรงค์ทั้งหลายล้วนเกี่ยวข้องกับการสื่อสาร และการสื่อสารนั้นมีเป้าหมายเพื่อโน้มน้าวหรือมีอิทธิพลเหนือคนที่มีอำนาจตัดสินใจ ซึ่งโดยทั่วไป รูปแบบของการรณรงค์แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การมีอิทธิพลอย่างตรงไปตรงมา (ล็อบบี้) และการมีอิทธิพลอย่างอ้อม ซึ่งผู้รณรงค์หันไปหามวลชนกลุ่มหนึ่งแทนครับ การรณรงค์แบบหลังจึงเกี่ยวข้องกับการสร้างแนวร่วม พันธมิตรและการชี้นำความเห็นสาธารณะ ข้อควรระวังที่สำคัญที่สุดก็คือ เมื่อนักกิจกรรมคิดอยากจะทำการรณรงค์ บ่อยครั้ง นักกิจกรรมผิดพลาดตั้งแต่เริ่มต้น เพราะกระโดดจากความตั้งใจดีไปสู่โหมดของกิจกรรมเต็มรูปแบบ โดยขาดการวางกลยุทธ์ เราเรียกความผิดพลาดแบบนี้ว่า “หลุมพลางกิจกรรม” ทั้งนี้ในการรณรงค์จึงต้องมีแผนหรือกลยุทธ์ การมีกลยุทธ์ช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เพื่อที่จะช่วยนักรณรงค์วางกลยุทธ์ มีคำถามหลัก 4 ข้อที่จะต้องถามตัวเองและตอบให้ได้ คือ 1. เราต้องการเปลี่ยนแปลงอะไร ทั้งนี้เกรียงศักดิ์ ได้ยกประสบการณ์การรณรงค์ต่อต้านกฎหมายป้องกันการก่อการร้ายของอาฟริกาใต้ มาเป็นกรณีศึกษา โดยสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการรณรงค์นี้ คือ การสร้างแนวร่วมในการรณรงค์ โดยมีองค์กรที่เป็นแกนคือ สถาบันด้านเสรีภาพในการแสดงออก ในปี ค.ศ.2002 (พ.ศ.2545) หลังจากเหตุการณ์ 11 กันยาในสหรัฐฯ รัฐบาลอาฟริกาใต้พยายามจะผลักดันกฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย ที่เรียกชื่อทางการว่า “กฎหมายปกป้องประชาธิปไตยแบบรัฐธรรมนูญจากการก่อการร้ายและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง” ปัญหาก็คือ นิยามเรื่องการก่อการร้ายที่คลุมเครือ มีผลให้กิจกรรมด้านการเมืองและที่เกี่ยวข้องกับสิทธิพลเมืองเช่น การชุนนุมประท้วง การเรียกร้องสิทธิในที่ทำกิน การหยุดงาน และอารยะขัดขืนถูกตีความว่าเป็นการก่อการร้าย ยกตัวอย่าง งานขององค์กรที่รณรงค์เรื่องเข้าถึงการรักษาเอชไอวีและคณะกรรมการวิกฤตไฟฟ้า ที่ต่อต้านการตัดกระแสไฟฟ้าในพื้นที่ยากจน ก็จะถูกทำให้เป็น “อาชญากรรม” ก่อการร้ายไป ปรากฏว่า เงื่อนไขเรื่องความอ่อนไหวของประเด็น “ก่อการร้าย” ทำให้สถาบันนี้ไม่ต้องการทำการรณรงค์เพียงลำพัง เพราะจะถูกประณามจากสังคมได้ จึงเกิดเครือข่ายการรณรงค์ขึ้น ประกอบด้วยองค์กรที่ทำงานเรื่องสื่อ สื่อของคนงาน เครือข่ายต่อต้านสงคราม กลุ่มต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ขบวนการชาวบ้านไร้ที่ดินและองค์กรด้านสิทธิในการรักษาเอชไอวี เป้าหมายหลักของการรณรงค์ครั้งนั้น มี 4 ข้อ คือ สร้างความตระหนักต่อปัญหาของกฎหมายนี้ เพื่อให้เกิดการต่อต้าน, เรียกร้องให้ขยายเวลาของการถกเถียงเกี่ยวกับกฏหมายนี้ ตามเงื่อนไขของสภา, เข้าไปมีส่วนร่วมกับรัฐบาลและสมาชิกรัฐสภา และสุดท้ายคือเพื่อให้กฎหมายนี้ถูกถอนหรือยกเลิก ทั้งนี้ประเด็นสำคัญที่ทำให้การรณรงค์ครั้งนั้นประสบความสำเร็จคือ 1. ผู้ทำการรณรงค์นี้ยอมรับว่าถ้าวัตถุประสงค์แรกคือ การสร้างความตระหนักในสังคมวงกว้างล้มเหลว การรณรงค์ทั้งหมดจะล้มเหลวไปด้วย หมายความว่าถ้าหากประเด็นนี้ไม่กลายเป็นประเด็นสาธารณะ รัฐสภาก็คงจะละเลยการรณรงค์เคลื่อนไหวนี้ ตั้งแต่ต้น 2. ในระยะแรก ประชาชนก็ไม่รู้จักและเข้าใจว่ากฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย คืออะไร แต่การรณรงค์ช่วยให้กฎหมายนี้กลายเป็นประเด็นสาธารณะขึ้นมาในที่สุด 3. ปัจจัยชี้ขาด ก็คือ การข่มขู่ของเครือข่ายสหภาพแรงงานที่ใหญ่ที่สุด มีสมาชิก 2 ล้านคน ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกของเครือข่ายรณรงค์ ที่บอกว่าจะนัดชุมนุมใหญ่ ถ้าหากกฎหมายนี้ผ่านสภา ทำให้ในที่สุด ร่างกฎหมายจึงถูกถอดออกจากการพิจารณา ทั้งนี้หลังจากการเสวนา ทางสถานีวิทยุสร้างสรรค์สังคมเชียงใหม่ก็ได้มอบรายชื่อที่รวบรวมได้ให้กับธนาพล นำไปรวมกับ ครก.112 ส่วนกลาง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||||||||||||||||||
ไม่มั่นใจทีมสอบ 4 ศพ ญาติเน้นฟื้นฟูสภาพจิต Posted: 20 Feb 2012 12:47 AM PST ญาติขอทีมเยียวยาช่วยเรื่องรายได้ ทุนการศึกษา เน้นฟื้นฟูจิตใจ ลดความระแวง ชาวบ้านเริ่มคลายความกลัว ออกกรีดยางเป็นกลุ่ม เจ้าของรถนำช่างตีราคา ตาขวาเหยื่อเริ่มบอด
นางอาอิดะห์ บือราเฮง ชาวตันหยงบูโละห์ ตำบลลุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ญาติของนายรอปา บือราเฮง 1 ใน 4 ผู้ที่เสียชีวิตที่ถูกทหารพรานยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2555 เปิดเผยว่า ขอให้คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว สนับสนุนทุนศึกษาและการรวมกลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มเย็บผ้า กลุ่มทำของชำร่วย เพื่อช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น และขอให้ทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียงตามโครงการพระราชดำริในหมู่บ้านด้วย นางอาอิดะห์ กล่าวว่า ที่สำคัญต้องการให้คณะทำงานชุดนี้ มีการเยียวยาหรือฟื้นฟูสภาพจิตใจของญาติผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บ เพื่อให้ชาวบ้านลดความหวาดระแวงและอคติที่มีต่อเจ้าหน้าที่รัฐ นางอาอิดะห์ เปิดเผยด้วยว่า คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว จะลงพื้นที่บ้านตันหยงบูโละห์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 นางอาอิดะห์ กล่าวว่า ส่วนคณะกรรมการการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณียิงชาวบ้าน 4 ศพ ที่ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งแต่งตั้งโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ชาวบ้านไม่ค่อยมั่นใจว่า คณะกรรมการชุดนี้จะสามารถให้ความเป็นธรรมแก่ชาวบ้านได้หรือไม่ นางไซนับ สะมะแอ ชาวบ้านกาหยี หมู่ที่ 1 ตำบลปุโละปุโย เปิดเผยว่า หลังเกิดเหตุดังกล่าว ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัวจนไม่กล้าออกไปกรีดยาง เพิ่งกล้าออกไปกรีดยางเมื่อ 2 - 3 วันที่ผ่านมา แต่ต้องไปเป็นกลุ่มหรือพาลูกหลานไปเป็นเพื่อนด้วยหลายๆคน นางรอปีหะ ดอเลาะ แม่ของนายซอบรี บือราเฮง อายุ 20 ปี ผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว กล่าวว่า ขอให้คณะทำงานชุดดังกล่าว ช่วยเหลือเรื่องรายได้ที่ขาดหายไประหว่างเฝ้าลูกชายรักษาตัวที่โรงพยาบาลปัตตานี เนื่องจากไม่มีเงินส่งลูก 5 คนไปเรียนหนังสือ นางรอปีหะ เปิดเผยด้วยว่า สำหรับอาการของนายซอบรีลูกชาย ขณะนี้ตาข้างขวามองไม่เห็น จึงขอให้แพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางมารักษา นายอานัน ดือราแม ญาติของนายยา ดือราแม คนขับรถคันเกิดเหตุ เปิดเผยว่า รถยนต์คันดังกล่าว ยี่ห้ออีซูซุ หมายเลขทะเบียน บท 3105 ปัตตานี เป็นรถของตน ทางอำเภอหนองจิกขอให้ตนนำช่างซ่อมรถไปตีราคาความเสียหาย แล้วนำตัวเลขที่ได้พร้อมสำเนาทะเทียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนไปให้ทางอำเภอหนองจิกเพื่อดำเนินการต่อไป แต่ไม่ได้แจ้งว่าจะดำเนินการอย่างไร ขณะนี้รถยนต์คันดังกล่าว จอดอยู่ที่สถานีตำรวจภูธรหนองจิก สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||
นักวิชาการพร้อมใจยื่นหลักทรัพย์ประกัน "อากง" ภรรยาหวังได้รับความเป็นธรรมเร็วๆ นี้ Posted: 20 Feb 2012 12:11 AM PST (20 ก.พ.55) เวลา 13.00 น. กลุ่มนักวิชาการจำนวน 7 คน อาทิ ผศ.บุญส่ง ชัยสิงห์กานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น ได้เดินทางมายื่นหลักทรัพย์ประกันตัวนายอำพล หรือที่รู้จักกันในนาม "อากง" ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก โดยวันเดียวกันนี้ นางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความของนายอำพล ได้ยื่นขออุทธรณ์คดีนายอำพลด้วย นางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ กล่าวว่า ได้ยื่นหลักทรัพย์ประกันตัว แบ่งเป็นตำแหน่งนักวิชาการจำนวน 7 คนและเงินสดจากกองทุนยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจำนวน 1 ล้านบาท รวมหลักทรัพย์ 2 ล้านบาทเมื่อยื่นประกันตัวแล้ว "สำหรับคดีนี้ก็มีความหวังว่าจะได้ประกันตัวเพราะมีปฏิกิริยาต่างจากคดีทั่วไป เช่น ไม่เคยมีกรณีใดที่โฆษกศาลออกมาโต้แย้งแสดงทัศนะมาก่อน ซึ่งถือว่าเป็นความพยายามในการอธิบายตัวเอง โดยคาดว่าจะรอคำสั่งจากศาลอุทธรณ์ประมาณ 2-3 วันจึงจะทราบผล" นางรสมาลิน ภรรยานายอำพล กล่าวว่า "รู้สึกดีใจมากที่มีกลุ่มนักวิชาการ มายื่นประกัน เพิ่งอดอาหารมา 24 ชั่วโมงรู้สึกมึนงงและตื้นตันมาก มีความหวังว่าศาลจะให้ประกัน และอยู่ด้วยความหวังมาตลอด หากอากงได้รับประกันตัวจะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นห่วงเรื่องสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของนายอำพล สำหรับอากงเองก็หวังว่าจะได้รับการประกันตัวโดยเร็วที่สุด หลานๆ ก็รู้สึกดีใจหากสามารถประกันตัวอากงจะกลับมาได้ หากได้รับการประกันตัวจะพาอากงไปแก้ไข่ต้ม 400 ลูก ที่วัดหลวงพ่อโต" "หากศาลไม่ให้ประกันก็ยังไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร เพราะตนเองไม่ได้รู้เรื่องอะไรทั้งหมดเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ตัวเองก็ไม่เคยขึ้นศาลมาก่อน แต่ตอนนี้ต้องมาขึ้นศาลเป็นประจำ ประสบความยากลำบากในการดำเนินชีวิตและดูแลหลานๆ" นางรสมาลิน กล่าว ผศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในนักวิชาการที่ยื่นตำแหน่งเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวนายอำพล กล่าวว่า "การยื่นประกันตัวครั้งนี้หวังว่าศาลจะมีความเมตตา พิจารณาว่านายอำพลสูงอายุแล้ว ทั้งยังป่วยและไม่สามารถหลบหนีหรือยุ่งเกี่ยวกับหลักฐาน เนื่องจากนายอำพลมีครอบครัวในประเทศไทย และไม่มีความรู้หรือฐานะที่จะหลบหนีไปต่างประเทศได้ ไม่มีเหตุผลใดที่ศาลจะไม่ให้ประกันตัว จึงขอวิงวอนต่อศาลให้อนุญาตให้นายอำพลได้รับการประกันตัว อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองด้วย" ระหว่างการรอยื่นเอกสารประกันตัวและอุทธรณ์ได้มีทนายมาให้ความรู้ทางกฎหมายและตอบข้อซักถามของนางรสมาลินด้วย
ในช่วงดึกวานนี้ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยปฏิเสธให้นางรสมาลินและนางแต้มใช้ห้องน้ำของศาลอาญา โดยแจ้งว่าให้เดินไปใช้ห้องน้ำที่มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมซึ่งมีระยะทางกว่า 500 เมตร ทำให้ผู้ร่วมอดอาหารและผู้มาให้กำลังใจต้องพาทั้งคู่เดินหาห้องน้ำกลางดึกเป็นเวลาเกือบครึ่งชั่วโมง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||
TCIJ: สรุปบทเรียน “เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด” ย้ำ “โฉนดชุมชน” เกิดโดยชุมชน Posted: 19 Feb 2012 11:25 PM PST นำเสนองานวิจัยโฉนดชุมชน ชาวบ้านทีมวิจัยชี้โฉนดชุมชนไม่ใช่แค่ดิน แต่หมายรวมถึงการอยู่ร่วมกันของชุมชน ด้านอาจารย์นักวิจัยหลัก เผยการทำงานวิจัยทำให้คนในชุมชนได้ทบทวนเนื้อแท้ของคำว่าโฉนดชุมชนร่วมกัน เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2555 เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.) จัดเวที “สรุปบทเรียนโฉนดชุมชนเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด: สร้างสิทธิชุมชนภายใต้ธรรมนูญชุมชน เพื่อสังคมที่เป็นธรรม และเป็นสุข” ณ ห้องประชุม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง โดยมีผู้เข้าร่วม 220 คน ประกอบด้วย สมาชิกเครือข่ายฯ ในพื้นที่ จ.ตรัง พัทลุง และประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งองค์กรเพื่อนมิตร ได้แก่ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี สหกรณ์คลองโยง จ.นครปฐม ตลอดจนนักวิชาการ และนักพัฒนาเอกชน กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อนำเสนองานวิจัยศึกษาโครงสร้างการถือครองที่ดินกับความเป็นธรรมทางสังคม หรืองานวิจัยโฉนดชุมชน ซึ่งได้มีการจัดทำในพื้นที่ คปบ. 2 ชุมชน ได้แก่ บ้านตระ ต.ปะเหลียน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง และบ้านทับเขือ-ปลักหมู ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง และ ต.บ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง กำหนดการในช่วงเช้า นายบุญ แซ่จุ่ง ผู้ประสานงาน คปบ.บอกเล่าที่มาของงานวิจัยโฉนดชุมชน และนำเสนอผลการศึกษาวิจัย 6 ประเด็น ได้แก่ 1.การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 2.การผลักดันนโยบาย 3.การรณรงค์สร้างพื้นที่สังคม 4.การสร้างความเข้มแข็งองค์กรชุมชน/เครือข่าย 5.การจัดการทรัพยากรในพื้นที่ 6.การลดความตึงเครียดในการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ และภาพรวมงานวิจัย นายบุญ กล่าวว่า วัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยโฉนดชุมชน คือการนำข้อค้นพบจากวิจัยมาพัฒนายุทธศาสตร์การทำงานของเครือข่ายฯ และองค์กรชุมชนให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากที่สุด เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดของเครือข่ายฯ คือ การสร้างสังคมที่เป็นธรรมและเป็นสุข มีภราดรภาพ ไม่ใช่สังคมเสรีนิยม ส่วนช่วงบ่ายมีการเปิดเวทีเพื่อให้ความเห็นต่อผลการวิจัย จาก รศ.ดร.สุธี ประศาสน์เศรษฐ, ดร.กฤษฎา บุญชัย, ศยามล ไกยูรวงศ์ และวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี ต่อด้วยการอภิปรายเรื่อง “จากผลการศึกษาวิจัยโฉนดชุมชนสู่ยุทธศาสตร์เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด” โดยตัวแทนองค์กรสมาชิก คปบ. 14 องค์กรชุมชน นายสมนึก พุฒนวล นักวิจัยชาวบ้าน กล่าวว่า โฉนดชุมชนไม่ได้เกิดขึ้นจากรัฐบาล แต่เกิดขึ้นจากการร่วมกันสร้างขึ้นของสมาชิกชุมชน โฉนดชุมชนไม่ได้หมายถึงที่ดินอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงหลายเรื่อง หมายถึงการอยู่ร่วมกันของชุมชน การมีวิถีชีวิตร่วมกัน การมีสังคม วัฒนธรรมที่เป็นสุข เป็นสังคมที่ดีงาม เป็นประชาธิปไตย คนในชุมชนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ให้การศึกษาซึ่งกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความคิดระหว่างกัน ด้านนายวิทยา อาภรณ์ อาจารย์ประจำสำนักศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นนักวิจัยหลัก กล่าวว่า โฉนดชุมชนคือเครื่องมือหนึ่งในการสร้างสิทธิชุมชน โฉนดชุมชนเปลี่ยนแปลงหน้าตาได้แต่สิ่งหนึ่งที่จะไม่เปลี่ยนเลย คือโฉนดชุมชนสร้างคนที่มีจิตสาธารณะ สร้างการอยู่ร่วมกันภายในชุมชน “การทำงานวิจัยทำให้คนในชุมชนได้ทบทวนเนื้อแท้ของคำว่าโฉนดชุมชนร่วมกัน และทำให้เครือข่ายสามารถเปิดเผยตัวตนให้กับสังคมได้รู้จักมากขึ้น สังคมได้เรียนรู้เครือข่าย และเครือข่ายก็ได้เรียนรู้สังคมเช่นกัน” นายวิทยากล่าว ด้านนายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี คณะทำงานเครือข่ายติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล ให้ความเห็นว่า งานวิจัยควรบอกว่าการรวมกลุ่มมีข้อค้นพบอย่างไร หลังจากทำโฉนดชุมชนแล้วมีชีวิตดีขึ้นไหม พืชผักสมบูรณ์ขึ้นไหม การถูกไล่ที่ ถูกจับกุม ถูกฟ้องร้องลดลงไหม คนในเมืองที่เคยดูแคลนให้เกียรติมากขึ้นไหม งานวิจัยควรบอกถึงคุณค่าของเราจากการทำเกษตร และการรักษาทรัพยากรด้วย ถ้าทำโฉนดชุมชนแล้วครอบครัว สังคมดีขึ้นก็ให้มั่นใจ และทำต่อไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||
คดีฟ้อง 10 นักกิจกรรม-นักสหภาพแรงงานกรณีปีนรัฐสภา เริ่มสืบพยาน 21 ก.พ. นี้ Posted: 19 Feb 2012 10:47 PM PST อ้างยุยงให้ประชาชนล้มล้างกฎหมาย มั่วสุมเกิน 10 คน กรณีจอน อึ๊งภากรณ์กับพวกรวม 10 คนเป็นแกนนำชุมนุมต้านการออกกฎหมาย สนช. สมัยคณะรัฐประหารและมีผู้ปีนสภา โดย "มีชัย-ครูหยุย" ร่วมเป็นจำเลยฝ่ายโจกท์ กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดเผยวันนี้ (20 ก.พ.) ว่ากรณีที่พนักงานอัยการฟ้อง นายจอน อึ้งภากรณ์ กับพวกรวม 10 คน เป็นจำเลยกรณีปีนเข้าไปนั่งชุมนุมบริเวณหน้าห้องประชุมภายในอาคารรัฐสภา เพื่อคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะเริ่มการสืบพยานนัดแรกในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 09.00 น. นี้ ณ ห้องพิจารณาคดี 801 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ทั้งนี้ศาลอาญานัดสืบพยานโจทก์และจำเลยรวม 48 นัด เริ่มตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ. 55 เป็นต้นไป โดยพนักงานอัยการโจทก์ นำพยานที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่มาจากการรัฐประหารปี 2549 จำนวน 4 ปาก เข้าเบิกความต่อศาลเป็นกลุ่มแรกในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 55 นี้ ได้แก่ 1.นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช. 2.นางสาวพจนีย์ ธนาวรานิช 3. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ 4.นางเตือนใจ ดีเทศน์ ในวันสืบพยานครั้งแรกนี้จำเลยทั้งสิบจะยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตให้มีการพิจารณาคดีและสืบพยานลับหลังจำเลย เนื่องจากเป็นการสืบพยานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ประกอบกับจำเลยทั้งสิบต้องปฏิบัติงานเต็มเวลาและบางคนภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดจึงไม่สามารถเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีได้ทุกนัด ประกอบกับจำเลยทั้งสิบมีทนายความอยู่แล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยไม่ชักช้า โดยในวันดังกล่าวจำเลยทั้งสิบกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน และผู้ร่วมสังเกตการณ์คดีทั้งภายในและจากต่างประเทศจะเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดี เพราะเล็งเห็นความสำคัญของการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธตามมาตรา 63 ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้คุ้มครองไว้ อีกทั้งยังเป็นการใช้สิทธิพลเมืองในการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 21 อีกด้วย คดีดังกล่าวพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องนายจอน อึ๊งภากรณ์กับพวกรวม 10 คน เป็นจำเลยต่อศาลอาญาในข้อหาบุกรุกรัฐสภา ยุยงให้ประชาชนล้มล้างกฎหมาย (กบฏ) และชุมนุมมั่วสุมเกิน 10 คนโดยเป็นแกนนำ (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 มาตรา 116(3) มาตรา 215 วรรคสามตามลำดับ) ศาลรับฟ้อง เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.4383/2553 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้เหตุผลว่าการชุมนุมภายในบริเวณรัฐสภาดังกล่าว "เกิดขึ้นจากสถานการณ์บ้านเมืองภายหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2549 มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติ ทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาและรัฐสภา พิจารณาร่างกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมและละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชนอย่างรีบเร่งและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะกฎหมายที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เช่น พระราชบัญญัติความมั่นคง พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ฯลฯ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2550" จำเลยทั้งหมดและพวกจึงได้ชุมนุมเพื่อคัดค้านการปฏิบัติหน้าที่และเรียกร้องการมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตยบริเวณหน้ารัฐสภา ต่อมามีประชาชนจำนวนมากร่วมกันปีนเข้าไปภายในรัฐสภา โดยกลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่าเป็นไปเพื่อ "ขอให้สภานิติบัญญัติรับฟังข้อเรียกร้องของประชาชน เนื่องจากประตูรัฐสภาถูกปิดโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าไปในรัฐสภาได้ ประกอบกับไม่มีสมาชิกสภานิติบัญญัติหรือเจ้าหน้าที่รัฐสภาคนใดออกมารับฟังข้อเรียกร้องของประชาชน นำมาสู่การถูกฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลในคดีนี้" ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จำเลยทั้ง 10 คนในคดีที่อัยการฟ้องดังกล่าวประกอบด้วย นายจอน อึ๊งภากรณ์ นายสาวิทย์ แก้วหวาน นายศิริชัย ไม้งาม นายพิชิต ไชยมงคล นายอนิรุทธ์ ขาวสนิท นายนัสเซอร์ ยีหมะ นายอำนาจ พละมี นายไพโรจน์ พลเพชร นางสาวสารี อ๋องสมหวัง และนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น