โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เหยื่อกระสุนปฏิบัติการ "กระชับพื้นที่" พ.ค.53 เสียชีวิตแล้ว

Posted: 23 Feb 2012 11:15 AM PST

นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง เหยื่อกระสุนจากกระชับพื้นที่การชุมนุมของคนเสื้อแดงในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เสียชีวิตแล้ว 

นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง ภาพจากNithiwat Wannasiri

วันนี้ (24 ก.พ.55) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการเผยแพร่ข้อมูลในเฟซบุ๊กระบุว่า นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง อายุ 54 ปีเหยื่อกระสุนจากกระชับพื้นที่การชุมนุมของคนเสื้อแดงในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เสียชีวิตแล้ว เมื่อเวลา เวลาประมาณ 23.10 น.ของวันที่ 23 ก.พ.55 ที่โรงพยาบาลมเหสักข์ เขตบางรัก

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 14 พ.ค.53 นายฐานุทัศน์ ซึ่งออกมาทำธุระกับครอบครัวบริเวณปากซอยบ้านแฟลตบ่อนไก่ ถูกลูกหลงในขณะมีการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ดังกล่าว โดยกระสุนเข้าที่หน้าอก ปอดรั่ว ทำให้ต้องเข้ารับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้นายฐานุทัศน์กลายเป็นอัมพาตครึ่งตัว ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
 
ต่อมานายฐานุทัศน์ต้องเขารับการผ่าตัดกระดูกต้นคอเสื่อมซึ่งเป็นผลมาจากคมกระสุน จนกระทั่งอาการแย่ลง และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ขจรศักดิ์ บุญเกษม

Posted: 23 Feb 2012 09:32 AM PST

"หากให้ปล่อยตัวชั่วคราวไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะไม่หลบหนี"

23 ก.พ. 55, ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์แถลงคำวินิจฉัยคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรืออากง SMS จำเลยคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ทหารพม่า–ทหาร SSA ปะทะหนักในฝั่งท่าขี้เหล็ก

Posted: 23 Feb 2012 06:12 AM PST

ทหารพม่าหลายกองพันไล่ล่า-ปะทะกองทัพรัฐฉาน SSA ในพื้นที่ใกล้เมืองท่าขี้เหล็ก หวังกดดันให้ทหาร SSA ออกจากพื้นที่ ขณะที่ทหาร SSA จากดอยก่อวันส่งหน่วยจู่โจมเข้าปะทะฐานส่วนหน้าของพม่าในพื้นที่ โดยทหาร SSA จะปฏิบัติการทางทหารตอบโต้จนกว่าทหารพม่่าจะชี้แจงเหตุยิงเจ้าหน้าที่ SSA เสียชีวิตที่จ๊อกแม ทั้งที่มีข้อตกลงหยุดยิงแล้ว

มีรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงบ่ายวานนี้ (22 ก.พ.) มาจนถึงขณะนี้ ได้เกิดการสู้รบกันอย่างดุเดือดและต่อเนื่องระหว่างทหารพม่ากับทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA หน่วยภาคพื้นเชียงตุง จุดสู้รบอยู่ในป่าบริเวณระหว่างบ้านหนองก่างและเมืองไฮ จังหวัดท่าขี้เหล็ก อยู่ห่างจากท่าขี้เหล็กไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 25 กม. ซึ่งเมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ (23 ก.พ.) เสียงปืนจากการสู้รบของทั้งสองฝ่ายยังไม่สงบ

ทั้งนี้ การสู้รบเกิดจากทหารพม่าสังกัดกองพันทหารราบ 221 และกองพันทหารราบเบา 570 กำลังพลราว 150 – 180 นาย ออกติดตามไล่ล่าทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA ที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 18 และ 21 ก.พ. ทหารทั้งสองฝ่ายได้เกิดการปะทะกันในบริเวนเดียวกันนี้ จากเหตุทหารพม่าต้องการกดดันให้ทหาร SSA ถอยไปอยู่ในพื้นที่ที่กำหนด

พ.ท.เจ้ากอนจื้น ผบ.หน่วยภาคพื้นเชียงตุง ของ SSA กล่าวว่า ทหาร SSA ที่เผชิญหน้าปะทะกับทหารพม่า เป็นสังกัดกองพัน 34 ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ทาง SSA จากฐานดอยก่อวัน (ตรงข้าม อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย) ได้ส่งหน่วยจู่โจมพิเศษเข้าไปในพื้นที่ และเมื่อเวลาประมาณ 15.00 น. ของวันนี้ (23 ก.พ.) หน่วยจู่โจมพิเศษร่วมกับทหารกองพัน 34 ได้ทำการโจมตีฐานบัญชาการชั่วคราวส่วนหน้าของทหารพม่าซึ่งมีผบ.ยุทธการอยู่ด้วย เป็นเหตุให้ฐานดังกล่าวแตกแต่ขณะนี้ยังไม่ทราบการสูญเสียของทหารพม่า

พ.ท.เจ้ากอนจื้น เปิดเผยถึงเหตุการปะทะระหว่างทหารพม่าสังกัดกองพันทหารราบเบา 572 และทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA (หน่วยภาคพื้นเชียงตุง) ในพื้นที่เมืองไฮ ของจังหวัดท่าขี้เหล็ก เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ว่าการปะทะใช้เวลานานเกือบชั่วโมง ฝ่ายทหารพม่าเสียชีวิต 4 นาย หนึ่งในนั้นเป็นนายทหารยศร้อยโท ส่วนฝ่ายทหาร SSA ซึ่งเป็นฝ่ายตั้งรับไม่ได้รับการสูญเสีย

อีกด้านหนึ่งมีรายงานว่า เมื่อวันที่ 19 ก.พ. ที่ผ่านมา ได้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารพม่าและทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA บริเวนบ้านน้ำฮ่างเคิ่ง พื้นที่เมืองสี่ป้อ รัฐฉานภาคเหนือ ฝ่ายทหารเสียชีวิต 3 นาย เหตุปะทะเกิดจากการดักซุ่มโจมตีของทหาร SSA ซึ่งไม่พอใจที่ทหารพม่าไปยิงเจ้าหน้าที่ประสานงานพร้อมภรรยาเสียชีวิตขณะซื้อของอยู่ในตลาดเมืองจ๊อกแม เหตุเกิดเมื่อวันที่ 17 ก.พ. ที่ผ่านมา

มีรายงานด้วยว่า ขณะนี้ทางกองบัญชาการกองกำลังไทใหญ่ SSA ได้มีคำสั่งให้ทหารที่เคลื่อนไหวในพื้นที่เมืองสี่ป้อ – จ๊อกแม ทำการโจมตีทหารพม่าให้ถึงที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนกว่าทหารพม่าจะยอมชี้แจงเหตุบุกยิงเจ้าหน้าที่ประสานและภรรยาเสียชีวิต ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่านับจากนี้อาจจะเกิดการสู้รบระหว่างทหารพม่าและทหาร SSA เพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ นับตั้งแต่มีการลงนามหยุดยิงระหว่างทางการพม่าและกองกำลังไทใหญ่ SSA เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 54 ทหารสองฝ่ายได้เกิดการปะทะกันไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นที่เมืองปั่น รัฐฉานตอนใต้ เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. จากนั้นสองฝ่ายได้ปะทะกันในพื้นที่เมืองปูหลวง เมืองเป็ง และเมืองเชียงตุง รัฐฉานตะวันออก รวม 4 ครั้ง ตามด้วยในเขตพื้นที่เมืองไฮ จังหวัดท่าขี้เหล็ก 4 ครั้ง

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/

"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เม้าท์มอย: Blue sky channel และเรื่องเก่าที่ยังใหม่อยู่ทุกปีของ Forbes

Posted: 23 Feb 2012 05:48 AM PST

สัปดาห์นี้ มาเม้าท์ๆ มอยๆ ถึงคำวิจารณ์ของสมเกียรติ อ่อนวิมล ต่อรายการ “สายล่อฟ้า” ที่ผ่าลงกลางจอช่อง Blue sky channel ของพรรคประชาธิปัตย์ ต่อด้วย Never Ending story เรื่องเก่าที่ยังใหม่อยู่ทุกปี เกี่ยวกับการจัดลำดับกษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลกโดยนิตยสาร Forbes มาปีนี้ สถานทูตไทยประจำอเมริกาทำจดหมายออกมาชี้แจง หลังบทความชื่อ “In Thailand, A Rare Peek At His Majesty's Balance Sheet” ออกตีพิมพ์ ว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ แยกออกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ของสถาบันกษัตริย์อย่างชัดเจน แม้ว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ จะลงทุนในธุรกิจขนาดใหญ่ และไม่ต้องเสียภาษีก็ตาม

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สปส.เริ่มจ่ายเงินตามกลุ่มโรค เม.ย.นี้ คาดใช้เงินเพิ่มปีละ 5 พันล้าน

Posted: 23 Feb 2012 04:13 AM PST

ประกันสังคมประกาศจ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในตามกลุ่มโรคอย่างเป็นทางการแล้ว คาดเริ่มจ่ายเงินได้ตั้งแต่ เม.ย. เป็นต้นไป ยันไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้โรงพยาบาลเอกชน ยิ่งตั้งราคา RW สูงเท่ากับยิ่งหักเงินจากโรงพยาบาลไว้มากเท่านั้น

นายแพทย์สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยความคืบหน้าการปรับระบบการจ่ายเงินค่ารักษาแก่โรงพยาบาลคู่สัญญา จากเหมาจ่ายรายหัวมาเป็นการจ่ายตามกลุ่มโรคร่วม (DRG) ว่าคณะกรรมการการแพทย์ได้ออกประกาศใช้ระบบ DRG แล้วเมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการชี้แจงและทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะประชุมประกันสังคมจังหวัดทุกจังหวัดในวันที่ 29 ก.พ.-1มี.ค. 2555 จากนั้นจะประชุมโรงพยาบาลคู่สัญญาทั่วประเทศเพื่อชี้แจงแนวปฏิบัติกลางเดือน มี.ค. นี้

นายแพทย์สุรเดช กล่าวต่อไปว่า หลังจากประกาศปรับระบบมาจ่ายตามกลุ่มโรคอย่างเป็นทางการแล้ว คาดว่าจะเริ่มจ่ายเงินได้จริงในเดือน เม.ย. เป็นต้นไป และมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 1 ม.ค. 2555 ด้วย

รองเลขาธิการ สปส. ยังกล่าวด้วยว่า อัตราค่าใช้จ่ายตามระดับความรุนแรงของโรคซึ่งเริ่มต้นที่ RW (หน่วยชี้วัดระดับความรุนแรงของโรคหรือ Relative Weight) ละ 15,000 บาท นั้น ไม่ได้เอื้อประโยชน์แก่โรงพยาบาลเอกชนแต่อย่างใด เพราะเป็นคำนวณจากตัวเลขที่สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) ศึกษาไว้ รวมทั้งคณะอนุกรรมการที่ศึกษาเรื่องการปรับระบบการจ่าบเงินก็มาจากภาครัฐทั้งสิ้น ไม่มีตัวแทนฝ่ายเอกชนเข้าร่วมเลย

“อยากให้มองว่า สปส.ไม่ได้ปรับเพิ่มค่าเหมาจ่ายรายหัวนานแล้ว เดิมค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 2,050 บาท/คน/ปี แต่ถ้าปรับเพิ่มจะต้องจ่าย 2,401 บาท/คน/ปี ซึ่งหลักการของเราคือจะกันเงินส่วนหนึ่งสำหรับผู้ป่วยในออกมาไว้ที่กองกลาง ถ้าโรงพยาบาลให้การรักษาถึงจะมาเบิกค่าใช้จ่ายได้ ฉะนั้นยิ่งตั้งราคา RW ไว้สูงมากก็เท่ากับหักเงินจากโรงพยาบาลมากด้วย”นายแพทย์สุรเดช กล่าว

นายแพทย์สุรเดช ยกตัวอย่างว่า สมมุติมีผู้ป่วย 1 หมื่นราย มี RW ทั่วประเทศ 1 แสน RW เท่ากับต้องกันเงินออกมากว่า 1,500 ล้านบาท ซึ่งในทางปฏิบัติ สปส.ยังกันเงินออกจากค่าเหมาจ่ายรายหัวมากกว่านี้อีกด้วย

“ค่าใช้จ่ายที่คำนวณออกมา เราศึกษาจากต้นทุนต่อหน่วยในการรักษาผู้ป่วยในของโรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลศูนย์บางแห่ง รวมทั้งข้อมูลราคาเรียกเก็บ หรือราคาขายของโรงพยาบาลในระบบทั่วประเทศย้อนหลัง 3-4 ปี ตัวเลขนี้ สวปก.ช่วยเราศึกษาด้วย โดยดูว่าราคาขายทั้งยาและอุปกรณ์ต่างๆสูงกว่าราคาต้นทุนเท่าใด แล้วก็เอาไปหักส่วนลดเท่านั้น จากนั้นจึงมาคำนวณว่าราคาที่ควรจะเป็นอยู่ที่เท่าใด ซึ่งก็ใกล้เคียงกับต้นทุนของโรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ในระดับมหาวิทยาลัย แต่ถ้าต้นทุนของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจะต่ำกว่านี้ เพราะทุกครั้งที่ประชุมกัน ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขจะบอกว่าข้อมูลที่มีเป็นข้อมูลที่ Under Report เก็บเงินไม่ครบบ้างฯลฯ ฉะนั้นถ้าไม่มีตัวเลขที่น่าเชื่อถือกว่านี้เราก็ต้องศึกษาโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่”รองเลขาธิการ สปส. กล่าว

นายแพทย์สุรเดช กล่าวว่า คนภายนอกอาจมองว่า สปส.ตั้งราคาไว้สูงเกินไป แต่ยืนยันว่าเป็นตัวเลขที่ศึกษามาแล้ว เป็นตัวเลขที่ สวปก.ศึกษาให้กรมบัญชีกลางในการจัดระบบสวัสดิการข้าราชการ อย่างไรก็ตาม ระบบสวัสดิการข้าราชการไม่ได้รวมค่าห้องและค่าแพทย์เข้าไปด้วย แต่สปส.รวมเข้าไปด้วย ทำให้ตัวเลข RW ของ สปส.สูงกว่าของกรมบัญชีกลาง

ทั้งนี้ นายแพทย์สุรเดช กล่าวด้วยว่า การปรับปรุงสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลจะทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นประมาณ 5,000 ล้านบาท จากเดิม 2.3 – 2.8 หมื่นล้านบาท/ปี เป็นประมาณ 3 หมื่นล้านบาท/ปี อย่างไรก็ตามยังถือว่ารายได้ที่เก็บจากเงินสมทบยังสูงกว่าค่าใช้จ่ายและเชื่อว่าไม่กระทบกับสถานะของกองทุน รวมทั้งสิทธิประโยชน์บำนาญชราภาพแน่นอน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ ม.112 ประจำสัปดาห์ 16-22 ก.พ. 2555

Posted: 23 Feb 2012 04:01 AM PST

ALRC เผยรายงาน "การคุกคามที่เพิ่มขึ้นต่อเสรีภาพทางการเมืองในประเทศไทย"

16 ก.พ. 55 - ศูนย์ข้อมูลกฎหมายเอเชีย (Asian Legal Resource Centre: ALRC) ได้เผยแพร่รายงาน "ประเทศไทย: การคุกคามที่เพิ่มขึ้นต่อเสรีภาพทางการเมืองในประเทศไทย" ระบุมีการคุกคามที่เพิ่มขึ้นและเข้มงวดของรัฐในหลายด้านต่อเสรีภาพทางการเมืองในประเทศไทย โดยการคุกคามดังกล่าวเกิดขึ้นโดยเฉพาะต่อผู้แสดงความเห็นในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

(ประชาไท, 16-2-2555)

 

ไท-ผุสดี อดอาหารครบ 112 ชม.แล้ว-นักกิจกรรมอดต่อยอด เรียกร้องสิทธิประกันตัวนักโทษการเมืองทั้งหมด

16 ก.พ. 55 - เวลา 9.00 น. ที่หน้าศาลอาญา รัชดา นายปณิธาน พฤกษาเกษมสุข และนางผุสดี งามขำ ที่ทำการอดอาหารมาตั้งแต่วันที่ 11 ก.พ.55 เพื่อเรียกร้องสิทธิในการได้รับการประกันตัวของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ประกาศยุติการอดอาการเนื่องจากครบ 112 ชม.แล้ว โดยจากนั้น นายปณิธานพร้อมทนายของนายสมยศได้เข้ายื่นคำร้องอุทธรณ์การประกันตัวต่อศาลอุทธรณ์ ซึ่งจะทราบผลอีกประมาณ 3 วันหลังจากนี้

ในขณะที่องค์กรนักกิจกรรมประกาศอดอาหารต่อ ยกระดับเรียกร้องให้กระบวนการยุติธรรมให้สิทธิการประกันตัวนักโทษการเมืองทั้งหมด ย้ำสังคมต้องตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิในการประกันตัวไม่ว่าเสื้อสีใดหรือไม่มีสี

นายฤทธิพงษ์ มหาเพชร นักกิจกรรมผู้ร่วมอดอาหารต่อกล่าวว่า “ใจจริงๆ อดเพื่ออาจารย์สุรชัย (ด่านวัฒนานุสรณ์) ไท ทำเพื่อพ่อเพื่อสมยศ ผมอดเพื่ออาจารย์สุรชัยก็เหมือนพ่อคนหนึ่งทางการเมือง คนร่วมอุดมการณ์เดียวกัน แต่ว่าตอนนี้มีหลายองค์กรเข้ามาร่วมด้วยแล้วก็มันจะยิ่งใหญ่ขึ้นแล้วก็จะเป็นการปล่อนักโทษการเมือง แต่ว่าใจผมในเบื้องต้นตอนแรกที่เข้ามาอยากให้ย้ายอาจารย์สุรชัย จากเรือนจำกลางกรุงเทพมาที่ (โรงเรียนพลตำรวจ) บางเขน พอหลายองค์กรร่วมน่าจะเป็นภาพใหญ่ขึ้นเป็น “สิทธิการประกันตัว”

ความสำคัญของสิทธิการประกันตัวนั้น ฤทธิพงษ์ มหาเพชร มองว่า “มันเป็นการเสนอความคิดเห็น มันไม่ใช่อาชญากรตรงไหน ในความคิดผม พูดผิดในแง่ของบุคคลอื่นเท่านั้นเอง แล้วก็คดีนี้มันโดนเหมือนหนักหนาสาหัส เหมือนไปฆ่าใคร 10 – 20 ปี แล้วตอนนี้หลายๆ คนไม่ว่าจะเป็น อากง อาจารย์สุรชัย ซึ่งตอนนี้ก็ป่วย ป่วยมาก แม้แต่คนที่ยังเป็นหนุ่มก็ลำบาก มันหนักไปหรือเปล่าในความคิดของผม มันน่าจะมีสิทธิประกันตัวก่อนในขั้นพื้นฐาน ในความเป็นมนุษย์ก่อน แล้วก็เรื่องคดีก็ว่ากันอีกทีว่ามันถูกต้องไหมที่ต้องติดกันนานขนาดนี้”

ส่วนระยะเวลาการอดอาหารนั้น ฤทธิพงษ์ ได้ชี้แจงว่า “ตอนแรกว่าจะไม่มีกำหนดอดไปเรื่อยๆ เพื่อได้สิทธิประกันตัวของนักโทษ แต่อยากให้ถึงวันที่ 22 (ก.พ.) ก่อน (รวม 7 วัน หรือ 168 ชม.) เพราะเป็นวันครบรอบ 1 ปีของ การที่อาจารย์สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ถูกจับกุมคุมขัง โดยผมได้อดมาตั้งแต่เมื่อวาน (15 ก.พ.) และมั่นใจว่าสามารถอดไหว”

“อยากให้มองความเป็นมนุษย์ก่อนที่จะไปมองความเป็นตัวบทกฎหมาย เพราะว่าคนบางคนอย่างอาจารย์สุรชัย ที่ป่วยหนัก แล้วก็ไปติดกุมคุมขังตอนอายุมากแบบนี้ แล้วต้องติดในระยะเวลานานมันใช่หรือเปล่า ขอความเป็นคนก่อนนะครับ เรื่องกฎหมายค่อยว่ากันอีกที มันถูกต้องหรือไม่ โดยที่แกไม่ได้เป็นอาชญากรอะไรเลย แกเสนอความคิดเห็นเท่านั้นเอง” ฤทธิพงษ์ กล่าวทิ้งท้าย

นายนพเก้า คงสุวรรณ นักกิจกรรมจากกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง กล่าวถึงการอดข้าวต่อจาก ปณิธาน หรือ ไท พฤกษาเกษมสุข ว่า “อยากอดเพื่ออิสรภาพของนักโทษการเมืองทุกคน ไม่ว่าคดี 112 คดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์หรือว่าคดีอะไรก็แล้วแต่ แล้วก็อยากอดเพื่ออิสรภาพของนักโทษการเมืองทุกคนไม่ว่าจะเป็นใคร ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์สุรชัย อากง หรือว่าใครก็แล้วแต่ที่เป็นนักโทษการเมือง”

“ในเบื้องต้นกะของผมไว้ถึงพรุ่งนี้ 9 โมงเช้า ส่วนถ้าจะต่อพรุ่งนี้ถึงวันอาทิตย์ ผมมีภารกิจจึงไม่สามารถอดต่อได้ อาจจะยกยอดไปอดต่อในวันจันทร์ถึงวันพุธก็ต้องประเมินอีกที วันนี้สลับเวลามาร่วมอดข้าวกับคุณฤทธิพงษ์ มหาเพชร สิทธิการประกันตัวไม่ว่าใครก็แล้วแต่ มันเหมือนโอกาสให้เขาได้ออกมาพิสูจน์ เพราะว่าเขายังเป็นผู้บริสุทธิ์ ตามกฎหมายแล้ว ถ้าเกิดคดียังไม่ถึงที่สุด ให้ถือว่าคนๆ นั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ จนปัจจุบันนี้คดียังไม่สิ้นสุด คนเหล่านั้นยังเป็นผู้บริสุทธิ์ต้องมีสิทธิในการประกันตัวเพื่อออกมาพิสูจน์ตัวเองในกระบวนการยุติธรรมรวบรวมข้อมูลหลักฐานมาสู้กันในชั้นศาล ซึ่งรวมถึงคนที่มีความคิดทางการเมืองสีอื่นด้วย ถ้าสีอื่นโดนกระทำเช่นนั้นเราก็ต้องสนับสนุนเขาให้มีสิทธิในการพิสูจน์ตัวเองในชั้นศาลไม่ใช่ถูกขังอยู่อย่างนี้” นพเก้า คงสุวรรณ กล่าว

โดยก่อนหน้านั้น จิตรา คชเดช ในนามตัวแทนนักกิจกรรมทางสังคม แถลงข่าวเพื่อเรียกร้องให้ศาลพิจารณาสิทธิในการประกันตัวของนักโทษทางการเมืองทั้งหมด รวมทั้งเรียกร้องให้สังคมให้ความสำคัญกับสิทธิการประกันตัวด้วย โดยมีเนื้อความตามแถลงการณ์ด้านล่างนี้

สิทธิการได้รับการประกันตัว คือสิทธิมนุษยชน และหลักประกันความยุติธรรม 

เมื่อไร้สิทธิดังกล่าวเท่ากับไร้มนุษยธรรมและความยุติธรรมตั้งแต่ต้น

"ปล่อยคนผิดสิบคนดีกว่าจับกุมผู้บริสุทธิ์เพียงคนเดียว"

สืบเนื่องจากการอดอาหารจำนวน 112 ชั่วโมงของปณิธาน พฤกษาเกษมสุข และผุสดี งามขำ เพื่อเรียกร้องสิทธิในการได้รับการประกันตัวของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงาน และบรรณาธิการนิตยสารเรดพาวเวอร์ ผู้ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งถูกควบคุมตัวในเรือนจำระหว่างที่รอดำเนินคดี โดยไม่เคยได้รับการประกันตัวตั้งแต่ปลายเมษายน ปี 2554

นอกจากนายสมยศแล้ว ยังมีผู้ต้องหาและนักโทษทางการเมืองและความมั่นคงอีกจำนวนมากไม่ได้สิทธิใน การได้รับการประกันตัวในระหว่างการสู้คดี ทั้งๆ ที่ปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนก็ระบุไว้ว่า “บุคคลที่ถูกกล่าวหาด้วยความผิดทางอาญ มีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ จนกว่าจะจะมีการพิสูจน์ว่า มีความผิดตามกฎหมาย ในการพิจารณาโดยเปิดเผย ณ ที่ซึ่งตนได้รับหลักประกันทั้งหมดที่จำเป็นในการต่อสู้คดี” เช่นเดียวกันกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 39 ที่ว่า ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อ บุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ และมาตรา 40 เองในเรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น แต่สิทธิเหล่านี้กลับถูกละเลยและลดทอนโดยข้ออ้างเพียงการเกรงว่าจะหลบหนี การเข้าไปยุ่งกับพยานหลักฐานหรือการเป็นคดีที่กระทบกระเทือนจิตใจต่อคนจำนวน มาก การไม่ให้สิทธิประกันตัวเป็นเข้าข่ายการทรมาน และเป็นการลงโทษล่วงหน้าซึ่งยังไม่ได้กระทำความผิด

โดยนอกจากปณิธาน พฤกษาเกษมสุข และผุสดี งามขำ ที่ได้มีการอดอาหารครบ 112 ชม. เพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวของคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ไปแล้ว ยังมีนายฤทธิพงษ์ มหาเพชร ที่เริ่มอดอาหารเพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวนายนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ และนักโทษทางการเมืองคนอื่นๆ อีกเป็นเวลา 1 วันแล้วนั้น เราขอสนับสนุนความเสียสละของบุคคลดังกล่าวและขอเรียกร้องต่อกระบวนการ ยุติธรรมและสังคม ให้คำนึงถึงหลักมนุษยธรรมและหลักประกันความยุติธรรมนี้ว่า

1. ขอให้กระบวนการยุติธรรมให้สิทธิการประกันตัวแก่ผู้ต้องหาทางการเมืองทั้งหมด ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนและเป็นหลักประกันความยุติธรรมที่เขาเหล่านั้นพึงได้ รับ

2. ขอให้สังคมตระหนักถึงหลักประกันความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนในเรื่องสิทธิ การได้รับการประกันตัวดังกล่าว และแสดงออก รวมทั้งสนับสนุนการเรียกร้องในสิทธิเหล่านี้

เพื่อมนุษยธรรมและหลักประกันความยุติธรรม

16 กุมภาพันธ์ 2555

กลุ่มเพื่อนักโทษการเมืองไทย, องค์กรสร้างสรรค์ประชาธิปไตยเพื่อสันติภาพ, 

สมัชชาสังคมก้าวหน้า, กลุ่มประกายไฟ, เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย, 

กลุ่มเสรีปัญญาชน, สำนักงานกฎหมายราษฎรประสงค์, กลุ่มเสรีภาพนอกบ้าน 

และกลุ่มแนวร่วมยุโรป SM เยอรมัน

(ประชาไท, 16-2-2555)

 

พัลลภ ค้านแก้รธน.มาตรา 112 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติ

16 ก.พ. 55 - พลเอกพัลลภ ปิ่นมณี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการทำงานของกองทัพร่วมกับรัฐบาล ว่าสามารถทำงานได้โดยไม่มีปัญหาอะไรเพราะกองทัพต้องทำงานตามนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว และมั่นใจว่าจะไม่เกิดการรัฐประหารเพราะสถานการณ์ในขณะนี้ไม่มีเงื่อนไข ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ การทุจริตคอร์รัปชั่น และความแตกแยกของคนในชาติ ซึ่งเคยเป็นเหตุผลในการรัฐประหารทุกครั้งที่ผ่านมา ส่วนความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้นส่วนตัวไม่เห็นด้วย และเมื่อทุกฝ่ายไม่เห็นด้วยก็ควรยุติเรื่องนี้ 

ส่วนเหตุระเบิด 3 จุดในกรุงเทพมหานคร ว่า คงไม่ใช่ความพกพร่องด้านการข่าวเพราะเป็นการก่อเหตุเล็กๆ ที่สามารถเล็ดลอดได้ และสามารถวางใจได้เพราะทางตำรวจได้ดูแลสถานการณ์อยู่ ทั้งนี้จะต้องมีการเข้มงวดตรวจสอบการเดินทางเข้าออกประเทศมากขึ้น

(ฐานเศรษฐกิจ, 16-2-2555)

 

หมอตุลย์ที่ FCCT แจงทำไมห้ามแก้ ม. 112

16 ก.พ. 55 - นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแกนนำเครือข่ายราษฎรอาสาปกป้องสถาบัน หรือกลุ่มเสื้อหลากสี ได้รับเชิญเป็นวิทยากรอภิปราย ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยหรือ FCCT ซึ่งบรรยายในหัวข้อ “The Case for 112” โดยมีผู้สื่อข่าวต่างประเทศสนใจถามคำถามในประเด็นดังกล่าวจำนวนมาก โดย นพ.ตุลย์ใช้เวลาอภิปรายและตอบคำถามผู้สื่อข่าวราว 2 ชั่วโมงเศษ โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันจันทร์ (13 ก.พ.) FCCT ได้เชิญ ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์มาอภิปรายเช่นกัน

ในการอภิปราย นพ.ตุลย์ เสนอว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องจากเกรงว่าหากมีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์แล้ว อาจทำให้การหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์มีสูงขึ้นมากกว่าเดิม จึงมีข้อเสนอว่า ควรเปิดให้มีการจัดเวทีระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข ม.112 ในเชิงวิชาการและสันติ พร้อมทั้งให้มีการตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการสั่งฟ้อง ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย นอกจากนี้ เขากล่าวว่า ควรมีการนิยามข้อบังคับกฎหมายดังกล่าวให้ชัดเจนมากกว่าเดิมด้วย

แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี อธิบายว่า การหมิ่นสถาบันฯ ในระยะหลังๆ ได้เพิ่มขึ้นสูงมาก เนื่องมาจากความไม่หวังดีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่อยู่ภายใต้การควบคุมของนักการเมืองโดยเฉพาะอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ที่มุ่งจะเปลี่ยนแปลงประเทศและเข้าแทรกแซงกระบวนการต่างๆ ของไทย ทั้งตุลาการ ศาล และสถาบัน ทำให้ประชาชนที่อยู่ในชนบทและขาดการศึกษาตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง

นพ. ตุลย์ กล่าวว่า กลุ่มที่รณรงค์แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เช่น นิติราษฎร์ กลุ่ม ครก. 112 หรือกลุ่มที่รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ ที่มุ่งจัดเวทีให้ความรู้ความเข้าใจในจังหวัดต่างๆ นั้น แท้จริงแล้วมีเบื้องหลัง และอาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในแง่มุมต่างๆ และอาจส่งผลเสียตามมาต่อประเทศไทยได้ เขาจึงไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของนิติราษฎร์

ทั้งนี้ เขาระบุว่า เขาเองยินดีที่จะร่วมเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนและถกเถียงกับกลุ่มที่เสนอให้แก้ไข ม. 112 เช่น นิติราษฎร์ ตราบใดที่การพูดคุยนั้นเป็นอย่างสันติและเชิงวิชาการ อย่างไรก็ตาม นพ.ตุลย์กล่าวว่า ไม่ต้องการที่จะร่วมพูดคุยในประเด็นดังกล่าวออกอากาศทางโทรทัศน์ เนื่องจากเป็นเรื่องอ่อนไหวและอาจถูกกลุ่มผู้ไม่หวังดีเอาไปโจมตีได้

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เห็นด้วยหรือไม่ที่ฝ่ายเสนอให้แก้ม. 112 ชี้ว่าจำเป็นต้องปฏิรูปกฎหมายเพื่อเป็นการรักษาสถาบันฯ นพ.ตุลย์ตอบว่า นั่นเป็นเพียงการกล่าวอ้างและ “โฆษณาชวนเชื่อ” เท่านั้น เพราะตนเชื่อว่าไม่เกี่ยวกับการรักษาสถาบันแต่อย่างใด หากแต่เป็นเรื่องของผลประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น นอกจากนี้ยังชี้ว่า กลุ่มนิติราษฎร์เป็นเพียงกลุ่มทางวิชาการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการโฆษณาชวนเชื่อ และไม่ได้ศึกษาข้อกฎหมายอย่างรอบด้าน

“ปกติแล้ว ถ้าอาชญากรรมนั้นมีเพิ่มสูงขึ้น การลงโทษก็ต้องเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยเพื่อที่จะหยุดยั้งมัน หากแต่ข้อเสนอจากดุษฎีบัณฑิตทางด้านกฎหมายอย่างวรเจตน์ ที่บอกว่า ต้องลดบทลงโทษ เพื่อที่จะให้คดีหมิ่นฯ ลดน้อยลงนั่น ผมจินตนาการไม่ออกเลย ยังไงผมก็ไม่เห็นด้วย ผมเองเป็นหมอ และหากว่าผมมีไข้หรือเจ็บป่วย ผมก็ต้องใส่ยาที่แรงขึ้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหยุดให้ยาหรือให้น้อยลง” นพ. ตุลย์กล่าว

เมื่อผู้สื่อข่าวต่างประเทศให้ความคิดเห็นว่า หากยังมีการพยายามปิดกั้นพื้นที่ในการถกเถียงเรื่องสถาบันฯ ในสังคมไทย โดยอ้างว่ากลัวความวุ่นวาย อาจจะเป็นอันตรายมากขึ้นในระยะยาวได้ นพ.ตุลย์ชี้ว่า สังคมไทยยังไม่พร้อมในการถกเถียงทางวิชาการที่สันติ เนื่องจากคนไทยยังขาดการศึกษาอยู่มาก

นอกจากนี้ นพ.ตุลย์ยังเชื่อว่า กรณีการตัดสินจำคุกอากง 20 ปี และโจ กอร์ดอน เป็นการจัดฉากขึ้น เพื่อให้กลุ่มที่ต้องการแก้ไข ม. 112 ใช้เป็นข้ออ้าง และเป็นแผนการของทักษิณ ชินวัตร

ในช่วงท้าย นิรมล โฆษ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์ของสิงคโปร์ตั้งข้อสังเกตว่า นพ.ตุลย์มักใช้คำว่า “ชาวไทย” “คนไทย” บ่อยครั้ง จึงอยากทราบว่า นพ.ตุลย์หมายถึงใครบ้าง เพราะคนอย่าง นพ.ตุลย์และคนเสื้อแดง ก็เป็นผลผลิตจากสังคมเดียวกัน

แกนนำเสื้อหลากสีจึงได้ตอบว่า เราทั้งหมดเป็นคนไทยด้วยกัน บ้างเป็นอิสระ บ้างตกอยู่ในพันธนาการของนักการเมืองที่ต้องการอำนาจ ตอนนี้นักการเมืองทุกคนต้องสังกัดพรรคการเมือง นี่ต่างจากประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ

“สภาพจริงๆ ตอนนี้เหมือนเกษตรพันธะสัญญา หัวหน้าหมู่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อย่าง “หัวคะแนน” ผมไม่แน่ใจภาษาอังกฤษเรียกอะไร คือคนที่ได้รับเงินแล้วเอาไปจ่ายเพื่อให้ประชาชนที่ยากจนมาสนับสนุน ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ พวกเขาก็จะเลือกตามหัวคะแนน ดังนั้นพวกเขาไม่ใช่เสรีชน เขาเป็นคนไทย เป็นคนไทยที่ยากจน ครอบครัวของผมก็เหมือนคนเหล่านี้ ปู่ย่าตายายผมเป็นชาวนา แต่พวกเขาสามารถหาเลี้ยงตัวเองได้ พวกเขาไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ ดังนั้น สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงต่างจากประเทศอื่น”

ผมเสียใจ ผมรู้ และผมเกลียดสถานการณ์เช่นนี้มาก ผมอยากให้ทุกคนเป็นอิสระเหมือนอย่างผม หาเลี้ยงตัวเองได้ แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น นี่เป็นธรรมชาติของผมเลยนะ ถ้าพวกเขาเป็นเสรีชนและพวกเขาเสนอแบบนี้ (เสนอแก้ไข ม.112) ผมเห็นด้วยกับเขาเลย ถ้าข้อเสนอบางอย่างไม่ทำให้ประเทศชาติตกอยู่ในภาวะอันตราย ผมเห็นด้วยกับพวกเขา แต่ตอนนี้เหมือนสถานการณ์ถูกชักใยโดยนักธุรกิจ นักการเมือง นี่ไม่ใช่ประชาธิปไตยเลย ถ้าคุณพิจารณาดีๆ นี่ไม่ใช่ประชาธิปไตยเลย ตอนนี้เป็นเผด็จการโดยทหาร เผด็จการโดยนักการเมือง พวกเขาโหวตทุกเรื่องเพื่อเปลี่ยนทุกเรื่องในสภา และเราก็จับตาพวกเขา เฝ้าดูว่าพวกเขากำลังทำอะไรในสภา และผมกลัวว่าในอนาคตอันใกล้ประเทศจะตกอยู่ในภาวะล้มละลายเหมือนที่เกิดขึ้นกับบางประเทศ ผมไม่พูดชื่อประเทศนะ ก็ประเทศอย่างที่พวกคุณรู้

“พวกเขาเปลี่ยนแปลงทุกอย่างโดยใช้อำนาจที่ได้มาจากคนจน 15 ล้านคะแนน แล้วพวกเขาบอกว่าชนะเลือกตั้ง เขาสามารถจะทำได้ทุกเรื่อง นี่คือประชาธิปไตยหรือ?” นพ.ตุลย์กล่าว

(ประชาไท, 17-2-2555)

 

ฮิวโก้ จุลจักร จักรพงษ์ สัมภาษณ์เรื่อง ม.112 

17 ก.พ. 55 - ไทยรัฐออนไลน์สัมภาษณ์ จุลจักร จักรพงษ์ นักดนตรี นักวิพากษ์ ราชนิกุลหนุ่ม ในกรณี ม.112 เขากล่าวว่าว่า ส่วนตัวไม่ได้รู้สึกอยากจะลุกขึ้นมาต่อต้านอะไรเหมือนกับรัฐบาลตอนนั้น เนื่องจากเขามาจากการเลือกตั้ง แต่สิ่งที่ไม่เห็นด้วยก็คือ การแตะต้องระบบกษัตริย์ เนื่องจากวัฒนธรรมเมืองไทย ผูกพันกับระบบนี้มานาน ซึ่งก็ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงในเร็วๆ นี้ ที่สำคัญยังมีปัญหาเร่งด่วนอีกมากมายที่ต้องแก้ไขแต่ถูกละเลย

“ผมว่าเรื่องแก้ ม.112 ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน ม.112 เป็นเรื่องของกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องพระมหากษัตริย์ เราต้องแยกแยะ หลายคนเอาหลายเรื่องมาปนกัน “คนเสื้อแดงไม่ได้แปลว่าคุณไม่รักในหลวง คนเสื้อเหลืองก็ไม่ได้แปลว่าเป็นตัวแทนในหลวง” หลายคนอาจออกตัวแรงไปนิดหนึ่ง หรืออย่างเรื่องกลุ่มนิติราษฎ์ที่ออกมาจัดระเบียบสถาบัน (สถาบันศาล และกองทัพ) แต่ถูกคนห้ามพูด จริงๆผมรู้สึกว่าเขามีสิทธิ์ที่จะพูดนะ “แม้ผมจะไม่เห็นด้วยทุกอย่าง” แม้ผมเองจะไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำมันเป็นประโยชน์ต่อเขาหรือใคร แต่เขามีสิทธิ์จะพูด จะแสดงออก ถึงแม้ว่าเราจะมองว่าสิ่งที่เขาพูด มันบ้าแค่ไหนก็ตาม”

ทั้งนี้ นักวิพากษ์ และนักเคลื่อนไหวการเมืองยังฝากไปถึงนักการเมืองไทยที่จ้องจะแก้ระบบนั่น แก้ระบบนี่ โดยไม่เคยสำรวจตัวเองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายในบ้านเมือง วันนี้นักการเมืองไทยทั้งระบบต้องทบทวนตัวเองจริงๆ ว่าพวกคุณแค่ 25 % คือรากเหง้าปัญหาของคนทั้งประเทศ ซึ่งแทนที่นักการเมืองถูกเลือกเข้ามารับใช้ประชาชน แต่นี่ผิดวัตถุประสงค์เล่นการเมืองเพื่อไปสู่เส้นทางสู่ความร่ำรวย และสร้างอิทธิพลให้กับตัวเองและพวกพ้อง 

“สมมติถ้าฝากอะไรไปถึงอดีตผู้นำได้ ผมอยากจะบอกว่า คุณอย่าเอาประเทศไทยเป็นตัวประกัน คุณเป็นนักการเมืองที่เก่งที่สุดที่ประเทศไทยเคยมี แต่ไม่ใช่ว่าคุณเป็นนักการเมืองคนเดียวที่จัดการประเทศนี้ได้ บางคนเรียกร้องให้เขากลับมา ผมกลัวว่าเขาคนเดียวจะไม่พอแล้ว ตอนนี้มันไปไกลกว่าจุดนั้นแล้ว  วันนี้คนก็ยังเชียร์เขาก็เยอะ ก็ว่ากันไปตามความกฎหมายและความถูกต้อง” 

ฮิวโก้บอกและย้ำเสียงเข้มว่า พูดแบบนี้โปรดอย่าเหมารวมว่าตนอยู่เสื้อสีไหน เพราะวันนี้ตนเองไม่มีสีใดๆ แค่เป็นคนที่หวังดีต่อประเทศไทยเหมือนกับประชาชนทั่วไปเท่านั้นเอง

(ไทยรัฐออนไลน์, 17-2-2555)

 

“คนรักในหลวง”บุกยื่นหนังสือผู้ว่าฯพิษณุโลก-มทภ.3 ต้านแก้ ม.112

17 ก.พ. 55 - ชมรมคนรักในหลวงจังหวัดพิษณุโลกประมาณ 200 คน นำโดยนางจุฑาทิพย์ สิทธิวงศ์ ประธานชมรมฯ พร้อมใจกันสวมเสื้อสีชมพู เดินทางเข้ายื่นหนังสือขอปกป้องสถาบันและคัดค้านการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ต่อนายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เพื่อส่งต่อไปยังนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงเจตจำนงไม่เห็นด้วยกับกลุ่มบุคคลที่มีการเคลื่อนไหวให้มีการแก้ไขกฎหมายมาตราดังกล่าวอยู่ในขณะนี้

สำหรับหนังสือดังกล่าว มีเนื้อหาระบุว่า มีบุคคลบางกลุ่มได้สร้างความแตกแยกให้กับประชาชนในประเทศ โดยพยายามดำเนินการขอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งเป็นการบั่นทอนพระราชอำนาจประมุขของชาติ ชมรมฯไม่เห็นด้วย และขอคัดค้านการกระทำของกลุ่มบุคคลดังกล่าวทุกกรณี รวมทั้งขอแสดงเจตจำนงอันแน่วแน่ ที่จะขอปกป้องเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ด้วยชีวิต

พร้อมกันนี้ชมรมคนรักในหลวงจังหวัดพิษณุโลก ได้ยื่นหนังสืออีกฉบับ ซึ่งมีเนื้อหาและข้อความเดียวกันถึง พล.ท.วรรณทิพย์ ว่องไว แม่ทัพภาคที่ 3 ผ่านทาง พล.ต.บรรยงค์ สิรสุนทร รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดพิษณุโลกอีกด้วย

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 17-2-2555)

 

ผลโหวต MThai SMS ระบุ ปชช. 53.68% ไม่กังวลว่าความเห็นต่างกรณี ม.112 จะบานปลาย

17 ก.พ. 55 – จากการที่ MThai SMSโพล สำรวจความคิดเห็นผ่านมือถือในประเด็น “คุณกังวลว่าความเห็นต่างกรณี ม.112 จะบานปลายหรือไม่”

ผลสรุปว่า ประชาชน 53.68% ไม่กังวลว่าความเห็นต่างกรณี ม.112 จะบานปลาย ขณะที่อีก 46.32 % กังวลว่าความเห็นต่างกรณี ม.112 จะบานปลาย

ทั้งนี้ โพลดังกล่าวมีสมาชิกร่วมแสดงความเห็นผ่านทางโทรศัพท์มือถือทั้งสิ้น 257เบอร์ เริ่มสำรวจความคิดเห็นตั้งแต่วันที่ 21ม.ค. – 17 ก.พ. 2555

(MThai, 17-2-2555)

 

บ้านโป่งฮือต้าน ครก.112 แจ้งความคนแจกใบปลิวอาจเข้าข่ายผิด ม.112

18 ก.พ. 55 - นายบริบูรณ์ เกียงวรางกูร พร้อมด้วยชาวบ้านกว่า 20 คน เดินทางเข้าแจ้งความกับ พ.ต.ท.นที จันทร์จิรานุวัฒน์ พนักงานสอบสวน สภ.บ้านโป่ง ให้ดำเนินคดีกับผู้ที่เดินแจกใบปลิว ซึ่งมีข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และอาจทำให้ประชาชนเกิดความสับสน

ทั้งนี้ ชาวบ้านใน อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ได้ออกมาเดินขบวน พร้อมกับยื่นหนังสือต่อ นายสมบูรณ์ ศิริเวช นายอำเภอบ้านโป่ง ขอ ให้ใช้อำนาจหยุดกลุ่มนิติราษฎร์ ที่มีการจัด เสวนาในหัวข้อ "วิพากษ์นิติราษฎร์ 4 ประ เด็นร้อน จริงหรือเท็จ" โดยคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112  ในวันที่ 18 ก.พ. ภายในโรงแรมไทยนำโฮเต็ล พร้อมกับแจกใบปลิวให้ประชาชนออกมาร่วมกันต่อต้านกลุ่มนิติราษฎร์

ด้าน พ.ต.ท.นทีรับปากว่าเบื้องต้นจะรับแจ้งความและรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อออกหมายเรียกมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

(ไทยโพสต์, 19-2-2555)

 

สู้เพื่อสามีและลูก "เมีย"อากง และ"แม่"สุรภักดิ์ อดอาหารเรียกร้องสิทธิ์ประกันตัว ลุ้นผล 20 ก.พ. นี้

19 ก.พ. 55 - นางอุ๊  ตั้งนพกุล  อายุ 61 ปี ภรรยานายอำพล  ตั้งนพกุล จำเลยในคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) มาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อดอาหารวิงวอนขอสิทธิในการประกันตัวสามี   ที่หน้าศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก กทม. ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ เป็นเวลา 1 วัน โดยในช่วงเช้าของวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ นี้ จะมีการยื่นประกันตัวสามีต่อไป 

นางอุ๊  กล่าวว่า   เหตุที่เลือกวิธีการอดอาหาร เพื่อขอเรียกร้องสิทธินี้  ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก นายปณิธาน พฤกษาเกษมสุข  บุตรชาย นายสมยศ  พฤกษาเกษมสุข   จำเลยคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  ที่ได้ออกมาอดอาหารเพื่อเรียกร้องสิทธิขอประกันตัว ไปก่อนหน้านี้แล้ว 

หากในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ สามียังไม่ได้รับการประกันตัว นางอุ๊ กล่าวว่า "ก็ยังงงๆ อยู่ ยังไม่รู้ว่าจะทำยังไง แต่ถ้าจะทำ ก็จะต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย"

นอกจากนี้ นางอุ๊ ยังได้พูดถึงสามีอีกว่า จนถึงขณะนี้ไม่ได้ตรวจเช็คสุขภาพ  ไม่มีสัญญาณแสดงออกว่า สุขภาพดีขึ้นหรือเลวลง จึงรู้สึกเป็นห่วงมาก 

ทางด้าน  นายคาร์ล  แองเกอร์ วัย 43 ปี  นักข่าวอิสระ เวบไซต์ข่าวการเมืองไทยจากประเทศเยอรมนี หนึ่งในผู้ร่วมอดอาหารด้วย กล่าวว่า จุดประสงค์ที่มาร่วมอดอาหารเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย และสิทธิมนุษชนในประเทศไทย ประชาธิปไตยในประเทศไทยมีปัญหามาก โดยหลักการแล้ว รัฐบาลถูกทหารสั่งไม่ได้  แต่ปัจจุบัน ดูเหมือนว่า ทหารสั่งรัฐบาล ซึ่งเป็นหลักที่ขัดอย่างยิ่งต่อระบอบประชาธิปไตย ไม่มีที่ไหนที่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยที่เป็นแบบนี้ ไม่มีที่ไหนในโลกที่ทหารจะออกมาสั่งว่า ต้องทำหรือไม่ทำอะไร   

นอกจากนี้ยังบอกอีกว่า ปัญหาใหญ่ของประเทศไทยขณะนี้คือ เสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็น  นี่เป็นพื้นฐานสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ถ้าไม่มี ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย 

ส่วน นางแต้ม  ภูชัยแสง  วัย 78 ปี มารดาของนายสุรภักดิ์ ภูชัยแสง  จำเลยในคดีความผิดตาม ป.อาญา ม. 112 ที่ถูกจำคุกอยู่ในขณะนี้  กล่าวว่า ตนมีอาชีพทำไร่ ทำนา อยู่ที่จังหวัดบึงกาฬ  มาเยี่ยมลูกชายบ้างที่มีโอกาส    และมาร่วมอดอาหารเพื่อขอความเห็นใจ ในการประกันตัวลูกชายออกมา  

"อดแค่วันเดียว เพราะแก่แล้ว อดมากไม่ได้ พรุ่งนี้จะยื่นประกันตัวต่อศาลแล้ว แต่ศาลท่านว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่" นางแต้ม กล่าว

ในขณะที่ นายฤทธิพงษ์  มหาเพชร  วัย 37 ปี  ลูกศิษย์ของนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือนายสุรชัย แซ่ด่าน นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่มาร่วมอดอาหารด้วยที่หน้าศาลอาญา  ถนนรัชดาภิเษก โดยเริ่มอดอาหารไปถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ กล่าวว่า ได้แรงบันดาลใจจากนายปณิธาน  ที่ทำเพื่อคุณพ่อของนายปณิธานเอง ตนเองจึงต้องการทำให้กับนายสุรชัยบ้าง เพื่อเป็นกำลังใจ

"แม้ผมอยากจะทำให้อาจารย์สุรชัย แต่อาจารย์คงอยากให้ผมทำเพื่อทุกคนมากกว่า  เพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวผมมีเพื่อน มีน้อง มีใครมากมายที่ต้องโทษจำคุก คือผมอยากจะบอกกับสังคมว่า มีปัญหาในจุดนี้จริงๆ" นายฤทธิพงษ์ กล่าว 

ส่วน นายอภิวัฒน์  เกิดนอก วัย 31 ปี อดีตนักโทษคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อปี 2553 และถูกศาลตัดสินจำคุก 1 ปี ก็มาร่วมอดอาหารด้วย โดยจะอดไปจนถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ เช่นกัน เพื่อต้องการให้ศาลเห็นใจนักโทษการเมือง และอนุญาตให้ประกันตัว 

"สำหรับผมแล้ว คิดว่านี่เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะเป็นวิธีที่สันติ" นายอภิวัฒน์ กล่าว

(มติชนออนไลน์, 19-2-2555)

 

หมอตุลย์ปลุกม็อบต้านแก้รธน. 23 ก.พ.หน้าสภา

20 ก.พ. 55 - นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มหลากสี กล่าวว่า กลุ่มเสื้อหลากสีขอนัดหมายประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ให้ออกมารวมตัวกันที่หน้าอาคารรัฐสภา ในวันที่ 23 ก.พ. เวลา 09.00 น. ซึ่งจะเป็นวันที่สภาจะพิจารณา เพื่อยื่นหนังสือต่อประธานรัฐสภาคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 และเป็นการแสดงพลังว่าประชาชนไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองบางกลุ่ม พร้อมกันนี้จะยื่นรายชื่อประชาชน 2.5 หมื่นรายชื่อต่อประธานสภา เพื่อคัดค้านการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วย

(เนชั่นทันข่าว, 20-2-2555)

 

ภรรยา "อากง" และแม่นักโทษการเมืองอดอาหารครบ 24 ชม. เตรียมขอประกัน-เยี่ยมลูก

20 ก.พ. 55 - เวลา 8.00 น. นางรสมาลิน (สงวนนามสกุล) ภรรยานายอำพล หรือ "อากง" และนางแต้ม ภูชัยแสง อายุ 67 ปี มารดานายนายสุรภักดิ์  จำเลยในคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ได้ยุติการอดอาหารหลังเพื่อเรียกร้องขอสิทธิประกันตัวผู้ต้องหาความผิดอาญาที่เกี่ยวข้องกับการเมือง หลังอดอาหารมาครบ 24 ชั่วโมง โดยนางแต้มได้เดินทางไปเยี่ยมนายสุรภักดิ์ บุตรชาย ส่วนนางรสมาลินเดินทางไปเตรียมตัวยื่นประกันอากงต่อไปในช่วง 13.00 น.

ในช่วงดึกวานนี้ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยปฏิเสธให้นางรสมาลินและนางแต้มใช้ห้องน้ำของศาลอาญา โดยแจ้งว่าให้เดินไปใช้ห้องน้ำที่มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมซึ่งมีระยะทางกว่า 500 เมตร ทำให้ผู้ร่วมอดอาหารและผู้มาให้กำลังใจต้องพาทั้งคู่เดินหาห้องน้ำกลางดึกเป็นเวลาเกือบครึ่งชั่วโมง

(ประชาไท, 20-2-2555)

 

ทนายยื่นอุทธรณ์คดี "อากง" พร้อมขอประกันตัวใช้ตำแหน่ง 7 นักวิชาการ

20 ก.พ. 55 - ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เวลา 13.00 น. ทนายความจะยื่นอุทธรณ์ในคดีที่นายอำพล ต. หรือที่รู้จักในชื่อ "อากง" ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 20 ปี ในข้อหาส่งข้อความสั้น 4 ข้อความไปยังโทรศัพท์ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์และพระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

คดีดังกล่าวมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 เป็นเลขคดีแดงที่ อ.4726/2554 คำพิพากษาศาลชั้นต้นชี้ว่า ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ที่ได้จาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ดีแทค) และบริษัท ทรู มูฟ จำกัดนั้น มีความน่าเชื่อถือ เพราะหากจัดเก็บไม่ถูกต้องจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือและอาจเสียประโยชน์ทางธุรกิจ และชี้ว่าประเด็นต่อสู้ของจำเลยที่ว่า เลขอีมี่เปลี่ยนแปลงได้ แต่จำเลยกลับไม่สามารถหาตัวผู้เชี่ยวชาญมายืนยันได้ ศาลยังชี้ว่านายอำพลรับว่าใช้โทรศัพท์เครื่องนี้อยู่ผู้เดียว และเชื่อว่าผู้กระทำผิดใช้ซิมการ์ดสองเลขหมาย เลขหมายหนึ่งเป็นของนายอำพล อีกเลขหมายหนึ่งเป็นหมายเลขที่ปรากฏว่าส่งข้อความไปยังโทรศัพท์ของนายสมเกียรติ ทั้งนี้ ประวัติการใช้งานชี้ว่าซิมการ์ดทั้งสองถูกใช้งานเวลาใกล้เคียงกัน แต่ไม่เคยถูกใช้งานเวลาที่ซ้ำกัน ทั้งยังส่งจากย่านที่จำเลยพักอาศัย

นอกจากนี้ศาลยังระบุว่า แม้โจทก์ไม่สามารถสืบพยานให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า จำเลยเป็นผู้ส่งข้อความจริง แต่เพราะเป็นการยากที่จะสามารถนำสืบได้ด้วยประจักษ์พยาน เนื่องจากจำเลยเป็นผู้กระทำผิดจึงย่อมปกปิดการกระทำของตน การพิพากษาคดีจึงจำต้องอาศัยประจักษ์พยานแวดล้อมที่โจทก์นำสืบเพื่อชี้ให้เห็นเจตนาที่อยู่ภายใน

สำหรับการยื่นอุทธรณ์ของทนายความจะย้ำประเด็นที่ว่า เพียงลำพังหมายเลขอีมี่ ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานพิสูจน์ความผิดได้ เพราะสามารถแก้ไขได้ง่าย อีกทั้งจากพยานเอกสารของโจทก์ยังปรากฏชัดว่า ระบบการเก็บข้อมูลการส่งข้อความสั้นของบริษัทดีแทค ไม่สามารถตรวจสอบหมายเลขอีมี่ได้ ซึ่งมิได้เป็นไปตามที่พยานโจทก์มาเบิกความ และในชั้นอุทธรณ์นี้ ทนายความได้ยื่นคำร้องขอสืบพยานเพิ่มเติม โดยอ้างความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านโทรศัพท์มือถือจากประเทศเยอรมนี

นอกจากนี้ กระบวนการสอบสวนยังมีข้อพิรุธ เพราะลำดับของวันที่ในเอกสารสลับกันไปมา ไม่เป็นไปตามขั้นตอนการสืบสวนดังที่เจ้าหน้าที่สืบสวนเบิกความไว้ จึงแสดงให้เห็นว่าเป็นการสืบสวนที่มุ่งเป้ามาที่ตัวจำเลย ไม่ได้สืบสวนจากพยานหลักฐานตามเหตุตามผล โจทก์จึงไม่สามารถพิสูจน์ให้สิ้นสงสัยได้อย่างแน่ชัดว่า จำเลยเป็นผู้กระทำผิด ซึ่งตามหลักวิธีพิจารณาความอาญาต้องยกประโยชน์ความสงสัยให้จำเลย และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง

ทั้งนี้ นายอำพลถูกจับกุมตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2553 และถูกคุมขัง 2 เดือนก่อนศาลจะอนุญาตให้ประกันตัว แต่เมื่อนายอำพลไปรายงานตัวเพื่อรับทราบคำสั่งฟ้องของอัยการในวันที่ 18 มกราคม 2554 ศาลก็ไม่อนุญาตให้ประกันตัวอีก ด้วยเหตุที่ว่าเกรงจำเลยจะหลบหนี โดยในวันยื่นอุทธรณ์วันที่ 20 กุมภาพันธ์นี้ ทนายความจะยื่นขอประกันตัวอีกครั้ง โดยมีนักวิชาการจำนวน 7 คนเป็นนายประกัน ประกอบด้วย ผศ.บุญส่ง ชัยสิงห์กานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น พร้อมกับเงินสดจำนวนหนึ่งจากกองทุนยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

(มติชนออนไลน์, 20-2-2555)

 

ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาต "สมยศ พฤกษาเกษมสุข" ได้รับสิทธิประกันตัว

20 ก.พ. 55 - เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ที่ศาลอาญา  ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งให้ยกคำร้องปล่อยตัวชั่วคราว ที่นายปณิธาน พฤกษาเกษมสุข บุตรชายนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนา เพื่อประชาธิปไตย และบรรณาธิการนิตยสาร วอยซ์ ออฟ ทักษิณ จำเลยคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามมาตรา 112  ประมวลกฎหมายอาญา ยื่นคำร้องอุทธรณ์พร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสดจำนวน 1.6 ล้านบาท 

โดยองค์คณะผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ความผิดที่ถูกกล่าวหามีอัตราโทษสูง ทั้งพฤติการณ์แห่งคดีกระทบต่อความรู้สึก และศีลธรรมอันดีงามของประชาชน หากปล่อยชั่วคราวไปจำเลยอาจหลบหนี หรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ยกคำร้อง

ด้านนายคารม พลพรกลาง ทนายความนายสมยศ กล่าวว่า  หลังจากนี้คงต้องใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212  โดยนำคำสั่งยกคำร้องของศาลอุทธรณ์ไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยต่อไปว่าการที่จำเลยไม่ได้รับการประกันตัวทั้งที่เคยยื่นขอปล่อยชั่วคราวมาแล้วถึง 6 ครั้ง เป็นการขัดต่อสิทธิจำเลยตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา นายปณิธาน บุตรชายนายสมยศ ได้อดอาหาร และโกนศีรษะประท้วง ที่บิดาไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวบริเวณหน้าศาลอาญา จนครบกำหนด 112 ชั่วโมง เมื่อช่วงสายวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากนั้นก็ยื่นคำร้องอุทธรณ์ขอปล่อยชั่วคราวให้บิดา ที่สุดแล้วศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาต ทำให้นายสมยศยังคงถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯต่อไป

(มติชนออนไลน์, 20-2-2555)

 

“กนก” ชี้การแก้ไข ม.112 ไม่เหลือเปอร์เซ็นต์เป็นไปได้แล้ว ซัดถ้านิติราษฎร์ยังดันทุรังอีก มีปัญหาแน่

22 ก.พ. 55 - ASTV ผู้จัดการออนไลน์เผยแพร่บทสัมภาษณ์กนก รัตน์วงศ์สกุล  สอบถามถึงกรณีที่ก่อนหน้านี้ที่ “กนก” มีการเคลื่อนไหวร่วมกับศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแนวร่วมรวมพลังปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และได้มีการนัดประชุมเพื่อกำหนดท่าทีในการต่อต้านกลุ่มนิติราษฎร์ ที่ออกมาเสนอขอแก้ไข ม.112 นั้น เจ้าตัวก็แจงว่า….

“112 ก็จบไปแล้วครับ ตัวผมก็ไม่มีอะไรแล้ว สำหรับผม ผมถือว่าผมหยุดแล้ว เพราะผมดูแล้ว คือว่าก็ไม่มีใครที่จะไปร่วมนับ 2-3-4 กับการเปลี่ยนแปลงนั้น แม้กระทั่งรัฐบาลเองเขาก็บอกแล้ว เขาก็เปิดเผยชัดเจนว่าเขาไม่เอา สภาฯเขาก็บอกแล้วว่าส่งมาเขาก็ไม่เอา ก็จบแล้ว มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว”

“ถ้าจะมีเข้ามาอีกผมว่าไม่น่าจะมีโผล่มาแล้วล่ะ มันเหมือนว่าคุณหิวข้าวคุณอยากจะกินข้าว แต่ว่าร้านนี้มันปิดไปแล้ว จะบอกไม่ได้ฉันจะไปกิน ถามหน่อยว่าจะไปทำไมในเมื่อร้านเขาปิด ก็ไม่รู้จะทำเพื่ออะไร ผมว่าทั้งหมดอาจจะเป็นการหยั่งกระแสเท่านั้นเอง แต่ว่าความเป็นไปได้มันไม่เหลือเปอร์เซ็นต์เลย ถ้าออกมาก็มีปัญหาแน่นอน”

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 22-2-2555)

 

"เมียสมยศ-ญาติสุรชัย แซ่ด่าน" ร้องกมธ.กฎหมายช่วยประกันตัวสู้คดี ม.112

22 ก.พ. 55 - ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และ สิทธิมนุษยชน (กมธ.)สภาผู้แทนราษฎร ที่มี .ต.อ.วิรุฬ  ฟื้นเสน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เป็นประธาน ได้พิจารณาศึกษาและตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการปฏิบัติต่อนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องหาคดีดำหมายเลข 02936/2554 ทำให้ต้องทุกข์ทรมานและไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในการประกันตัวและกรณีความไม่เป็นธรรม และในคดีของนายสุรชัย (แซ่ด่าน) ด่านวัฒนานุสรณ์  โดยเชิญนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกมธ.การต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร , นายวีระชัฎฐ์ จันทรสะอาด ญาติของนายสุรชัย และ นางสุกัญญา พฤกษาเกษมสุข ภรรยานายสมยศ เข้าชี้แจง

นายสุนัย กล่าวว่า  2 คดีนี้ถือว่าเป็นคดีตัวอย่างจากหลายคดีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางการเมือง เพราะกระบวนการยุติธรรมมีแนวโน้มละเมิดหลัก ว่าด้วยอนุสัญญาการทรมานทั้งหมด เช่นกรณีนายสมยศ มีการเดินทางไปสอบพยานโจทย์ที่ จ.สงขลา โดยรถขนนักโทษ ห้ามเข้าห้องน้ำ  พอไปถึงพยานก็ไม่ได้มา และขณะนี้เรือนจำมีนักโทษอยู่แน่นมาก เยี่ยมก็ไม่ได้ โดยเฉพาะคดี มาตรา 112 ในต่างจังหวัด และการตีตรวนล่ามโซ่ ก็ไม่มีเชือกให้ เข้าใจว่าเป็นนักโทษแต่ก็เป็นมนุษย์  ตนจึงได้เสนอเรื่องรถติดแอร์  ส่วนเรื่องการประกันตัวก็เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน แต่ก็อยู่ที่อำนาจศาล เราไม่ก้าวก่าย  แต่คดีนี้เมื่อเปรียบเทียบกับคดี อื่น อย่างเช่นคดีก่อการร้าย มีโทษหนักกว่า ยังอนุญาตให้มีการไต่สวน

ด้านนางสุกัญญา กล่าวว่า คดีของนายสมยศขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการสืบพยานโจทย์ ซึ่งต้องเดินทางไปต่างจังหวัด โดยล่าสุดได้เดินทางไป จ.สงขลา ไปกลับกว่า 28 ชั่วโมง เดินทางรถกรงขัง เป็นความทุกข์ทรมาน ที่ได้รับ ซึ่งนายสมยศ ถูกดำเนินคดี 1 คดี ถูกจับกุมตั้งแต่ เม.ย.54 และได้ยื่นประกันตัวไปแล้วจำนวน 7 ครั้ง ล่าสุดคือวันที่ 16 ก.พ.ที่ศาลอุทธรณ์ แต่ก็ไม่เคยได้รับการประกันตัวตั้งแต่ชั้นสอบสวน

ขณะที่นายวีระชัฎฐ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นวันครบรอบ 1 ปีที่นายสุรชัยถูกจับกุม โดยถูกดำเนินคดีทั้งหมด 6 คดี ในมาตรา 112  แต่ได้ทำหนังสือร้องเรียนให้กรมราชทัณฑ์ ให้รวมคดี และอัยการได้รวมคดีให้ แต่ก็เหลืออีก 1 คดีที่ไม่ได้รวม และจะมีการตัดสินในวันที่ 28 ก.พ.โดยที่นายสุรชัย ไม่สู้คดี  แต่ก็ยังไม่ได้รับการประกันตัว   และตนอยากฝากไปยังกมธ.ว่า ขณะนี้มีผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างการพิจาณารอการประกันตัวประมาณ 8 หมื่นคน และยังมีนักโทษที่อายุเกิน 70 ปี ที่จะได้รับการอภัยโทษ แต่ก็ยังพบอยู่ในคุกอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน

ทั้งนี้กรรมาธิการฯ ได้แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย  โดยเห็นว่า เรื่องสิทธิพื้นฐานของนักโทษ เรื่องรถติดแอร์ การตีตรวน ถือว่ามีความจำเป็นที่ต้องมีการแก้ไข และปฏิบัติกับทุกคนไม่เฉพาะกรณีนี้  ส่วนเรื่องการประกันตัวถือว่าเป็นดุลพินิจของศาล  แต่แนวทางในการช่วยเหลือ ต้องมาช่วยกันคิดว่า  จะเสนอแนวทางอย่างไรที่จะไม่เป็นการละเมิดอำนาจศาล  เรื่องการช่วยเหลือกมธ.สามารถเป็นพี่เลี้ยงได้ โดยมีการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งทนายความ  ผู้รู้ด้านกฎหมาย หรือญาติ มาร่วมหารือ ว่าจะยื่นคำร้องในการประกันใหม่อย่างไร   และต้องมาดูกระบวนการยุติธรรมว่า นักโทษโดนกลั่นแกล้งหรือแทรกแซงหรือไม่  โดย ต้องศึกษาภาพรวมเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนและกระบวนการยุติธรรม

ด้านพล.ต.อ.วิรุฬ กล่าวว่า เราต้องศึกษาและดำเนินการในเรื่องนี้ หรือมีตั้งคณะทำงานพิเศษขึ้นมา  เพื่อศึกษาระบบการประกันตัว ระบบการใช้เครื่องพันธนาการ ระบบการพิจารณาการประกันตัวระหว่างรอการพิจารณา  ให้เป็นไปตามหลักการ  สอดคล้องกับการปฏิบัติของโลก และสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ  และความเห็นในการศึกษา น่าจะนำเสนอกับกระบวนการบริหารของศาลได้ อาทิ สำนักงานศาลยุติธรรม

(ข่าวสด, 22-2-2555)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ยกขบวนยื่นหมื่นชื่อเสนอ ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมฯ ภาคประชาชน

Posted: 23 Feb 2012 02:24 AM PST

เครือข่ายชาวบ้าน-องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม นำ 11,219 รายชื่อจากทั่วประเทศ ยื่นเสนอร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งผลักดัน

 
 
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 ชาวบ้านจากหลายพื้นที่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และตัวแทนองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมกว่า 200 คน รวมตัวกันบริเวณด้านหน้าอาคารรัฐสภาเพื่อยื่นรายชื่อประชาชนที่เข้าชื่อกันเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ฉบับภาคประชาชน และเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าว
 
นายสุพจน์ ส่งเสียง จากกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง อำเภอบางสะพาน กล่าวปราศรัยว่า ตอนนี้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากโครงการขนาดใหญ่ จะปล่อยให้รัฐกับนายทุนร่วมกันเขียนกฎหมายอีกต่อไปไม่ได้ จึงต้องลุกขึ้นมาเขียนกฎหมายกันเอง ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นสิ่งเดียวในตอนนี้ที่ชาวบ้านจะยึดถือเพื่อปกป้องสุขภาพของตนเองได้
 
เวลาประมาณ 9.00 น. ตัวแทนชาวบ้านประมาณ 20 คนและตัวแทนผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ได้แก่ นางสุนทรี เซ่งกิ่ง นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ นายวีรวัฒน์ ธีรประสาธน์ ฯลฯ เข้าไปในบริเวณอาคารรัฐสภา พร้อมด้วยรายชื่อประชาชนทั้งหมด 11,219 รายชื่อ ที่รวบรวมมาจากทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพื่อยื่นรายชื่อทั้งหมดและร่างกฎหมายให้รัฐสภานำไปพิจารณา
 
 
นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 เดินทางมารับมอบรายชื่อประชาชนจากตัวแทนการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เขากล่าวว่า ทางสภาได้รับแล้วและจะรีบตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อประชาชนผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย แนวปฏิบัติเดิมจะใช้เวลา 90 วัน แต่ตนจะพยายามลดระยะเวลาให้เหลือ 45 วัน เพราะใกล้จะปิดสมัยประชุมนิติบัญญัติแล้วกลัวจะไม่ทัน และเรายังมีเรื่องค้างคาการตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่
 
นายเจริญแนะนำกับตัวแทนผู้เสนอกฎหมายด้วยว่า ถ้าอยากให้การผลักดันข้อเสนอเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วน่าจะใช้วิธีติดต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 20 คนเพื่อให้เสนอกฎหมายให้ วิธีการนี้จะช่วยให้เร็วขึ้น เรื่องก็จะมาที่ประธานสภาเลย ซึ่งนายเจริญจะลองปรึกษาดูว่ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านไหนสนใจเรื่องนี้บ้าง 
 
นางสุนทรี กล่าวว่า มีเรื่องต้องกังวลเพราะหากใช้ช่องทางเช่นนั้น ก็จะไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นกฎหมายที่เสนอโดยภาคประชาชน และจะต่างกับการเสนอรายชื่อหนึ่งหมื่นชื่อที่ตัวแทนประชาชนผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายจะได้เป็นกรรมาธิการพิจารณากฎหมายจำนวนอย่างน้อย 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งหมด
 
นายเจริญตอบว่าการจะได้พิจารณาเร็วหรือช้าอยู่ที่วิปรัฐบาลที่ต้องทำให้วาระเข้าสู่การพิจารณาก่อนและเมื่อเข้าไปแล้วในชั้นการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการก็ยังสามารถให้คนภายนอกเข้าไปเป็นกรรมาธิการได้ ตัวอย่างเช่น การพิจารณาร่างพระราชบัญญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.... (พ.ร.บ. กสทช.) ก็มีการแต่งตั้งบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นกรรมาธิการ แต่ถ้าจะใช้วิธีการนี้ก็จะใช้เวลา 90 วัน
 
นางสุนทรีกล่าวว่า หากในขั้นตอนของทางสภาเห็นว่าควรใช้วิธีการใด ก็เรียนเชิญ แต่ทางภาคประชาชนได้เลือกแล้วว่าควรใช้วิธีการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยภาคประชาชน
 
นายวีรวัฒน์ ธีรประสาธน์ หนึ่งในตัวแทนผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย กล่าวว่า ถ้านับตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญฉบับ2540 เป็นต้นมา ก็ 15 ปีแล้วที่กฎหมายฉบับนี้ยังค้างอยู่ กฎหมายฉบับนี้ควรจะไปสู่การพิจารณาโดยเร็วที่สุด เพราะเคยเข้าไปถึงขั้นตอนของวุฒิสภาแล้วแต่รัฐบาลชุดใหม่ไม่รับรอง จึงขอฝากให้เร่งรัดด้วย
 
นอกจากนี้ ตัวแทนชาวบ้านจากพื้นที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใช้โอกาสนี้ยื่นหนังสือต่อนายเจริญ จรรย์โกมล เพื่อขอให้ดำเนินการบังคับใช้ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ มาตรา 25 ในพื้นที่อำเภอบางสะพานกับนายทุนที่มาบุกรุกพื้นที่ป่าด้วย นายเจริญได้ลงนามรับหนังสือต่อหน้าทุกคนในที่นั้นด้วย
 
 
อนึ่ง ความพยายามจัดตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2540 ที่กำหนดให้มีองค์กรลักษณะดังกล่าวขึ้นมาทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบก่อนการจัดทำโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ด้วยความพยายามผลักดันจากภาคส่วนต่างๆ ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเคยถูกนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาสมัยที่แล้ว และผ่านการเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรไปสู่ชั้นการพิจารณาของวุฒิสภาแล้ว แต่เนื่องจากมีการประกาศยุบสภาเสียก่อนในปี 2554 และรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ไม่ได้ร้องขอให้นำกฎหมายฉบับนี้กลับมาพิจารณาต่อ ทำให้กฎหมายฉบับนี้ตกไป ภาคประชาชนจึงต้องใช้วิธีการเข้าชื่อกันให้ครบหนึ่งหมื่นชื่อเพื่อเสนอกลับเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาอีกครั้ง
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ยิ่งลักษณ์มอบหมายฟ้องหมิ่น ส.ส.ปชป. แล้ว-โพสต์ FB ตอบคำถาม 'ไร้สาระ' กรณี 'ว.5'

Posted: 23 Feb 2012 01:41 AM PST

 23 กุมภาพันธ์ มติชนออนไลน์ รายงานว่า เวลา 13.00 น. ที่ สน.ลุมพินี นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย พร้อมนายพิชิฏ ชื่นบาน และนายสมหมาย กู้ทรัพย์ ทีมทนายความพรรคเพื่อไทย เข้าแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน สน.ลุมพินี กรณี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ออกมากล่าวหาวิพากษ์วิจารณ์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่เดินทางไปโรงแรมโฟซีซั่นส์ โดยนำหลักฐานเป็นข่าวการให้สัมภาษณ์ และซีดีบันทึกรายงานให้สัมภาษณ์รายการแห่งหนึ่งทางช่องทีวีดาวเทียมบลูสกายนิวส์ โดยมี พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รอง ผบช.น. พ.ต.อ.ศรัญญู ชำนาญราช รอง ผบก.น.5 พ.ต.อ.ชนิน วชิรปราณีกุล ผกก.สน.ลุมพินี ร่วมรับเรื่องร้องเรียน

 นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้มอบหมายให้ตนพร้อมทีมทนายมาแจ้งความกับพนักงานสอบสวน สน.ลุมพินี ซึ่งเป็นพื้นที่เกิดเหตุ เพื่อดำเนินคดีจำนวน 3 คดี โดยคดีแรกเป็นกรณีที่ นายศิริโชค โสภา นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และเจ้าของทีวีดาวเทียมบลูสกายนิวส์ ที่มีการสัมภาษณ์หมิ่นประมาทในรายการ "สายล่อฟ้า" เมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา กล่าวหานายกรัฐมนตรีกรณีเดินทางไปโรงแรมโฟซีซั่นส์ว่าผิดจริยธรรม

คดีที่ 2 กรณีที่นายชวนนท์ ที่ออกมาให้สัมภาษณ์ตามสื่อต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 15-21 ก.พ. กล่าวหาว่าการเดินทางไปโรงแรมโฟซีซั่นส์ของนายกรัฐมนตรีนั้นมีผลประโยชน์ทับซ้อนในการบริหารงานแผ่นดิน และคดีที่ 3 น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่ออกมากล่าวหา หมิ่นนายกรัฐมนตรีว่าไม่มีความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งนายกฯ และในฐานะผู้เป็นแม่ซึ่งทั้งหมดถูกแจ้งในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์

ทั้งนี้เมื่อเวลา 15:27 น. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความตอบคำถามกรณีการเดินทางไปพบกลุ่มบุคคล ณ โรงแรม โฟร์ซีซั่นส์ เมื่อวันพุธที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ผ่านทางเฟสบุ๊ค Yingluck Shinawatra ระบุเป็นการเดินทางไปเพื่อการรับฟังสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสถานการณ์บ้านเมือง ทั้งเป็นการรับฟังข้อเสนอแนะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีรายละเอียด ดังนี้...

 

 

ขอชี้แจงกรณี การเดินทางไปโรงแรมโฟร์ซีซั่นส์
เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

จากที่มีการโจมตีกล่าวหาดิฉันกรณีการเดินทางไปพบกลุ่มบุคคล ณ โรงแรม โฟร์ซีซั่นส์ เมื่อวันพุธที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ นั้น ดิฉันขอโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริงดังนี้ 

๑. ประเด็นต่อข้อกล่าวหาเรื่อง “หนีการประชุมสภา ไม่รับผิดชอบต่องานสภา”
ดิฉันขอเรียนชี้แจงว่า ดิฉันทราบดีและภูมิใจเสมอที่พี่น้องประชาชนได้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ดิฉันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ด้วยอีกสถานะหนึ่งประชาชนก็ได้ให้ความไว้วางใจภายใต้ระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาให้ดิฉันเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ดังนั้นในแง่ของการทำงานดิฉันถือเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารราชการแผ่นดิน ที่ต้องทำหน้าที่บริหารให้ได้รับประโยชน์สูงสุดตามหลักการของการบริหารราชการที่ดี การใดที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดินเป็นเรื่องที่ต้องกระทำ แต่ใช่ว่าจะไม่เคารพสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นประกอบด้วยตัวแทนประชาชนเช่นเดียวกับดิฉัน

สำหรับข้อกล่าวหาต่อดิฉันว่าหนีการประชุมสภาฯและไม่รับผิดชอบต่องานสภาฯนั้น ไม่เป็นความจริง ดิฉันขอชี้แจงว่าการประชุมสภาฯ เมื่อวันพุธที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ทราบว่าในวันดังกล่าวมีวาระรับทราบในเรื่องต่างๆ แต่ไม่มีประเด็นที่นายกรัฐมนตรีต้องเข้าประชุมเพื่อชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และในวันดังกล่าว เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจในฐานะนายกรัฐมนตรีที่มีการนัดหมายไว้ก่อนหน้าแล้ว ดิฉันก็ได้เดินทางมาที่อาคารรัฐสภา เพื่อร่วมรับฟังและสอบถามเกี่ยวกับประเด็นที่มีการอภิปรายอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ทั้งยังได้ลงชื่อในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในเวลาประมาณ ๑๖.๑๖ น. ด้วย

๒. ประเด็นต่อข้อกล่าวหาเรื่อง “ไม่มาตอบกระทู้ของ ส.ส.รังสิมา รอดรัศมี”
กระทู้ถามของ ส.ส.รังสิมา รอดรัศมี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เป็น การตั้งกระทู้ถามสดซึ่งในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๕ เวลา ๑๑.๐๐ น. ดิฉันอยู่ในระหว่างการปฏิบัติภารกิจในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ต่อเนื่องจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัย และการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวมีความต่อเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่มาตั้งแต่วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ดังที่สื่อมวลชนได้ติดตามรายงานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้น อย่างไรก็ดี เมื่อทราบว่ามีผู้ตั้งกระทู้ถามสดเกี่ยวกับตัวดิฉันในฐานะนายกรัฐมนตรี ดิฉันได้มอบหมายให้ พลเอกยุทธศักดิ์  ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตอบกระทู้ถามสดแทนตัวดิฉัน ซึ่งเป็นสิ่งที่พึงกระทำได้ตามข้อบังคับของสภาฯ

๓. ประเด็นต่อข้อกล่าวหาเรื่อง “การเดินทางไปโรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ เป็นเรื่องส่วนตัว กระทำผิดจริยธรรม และมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน”

ดิฉันขอเรียนว่าในวันดังกล่าวดิฉันได้ไปพบกับกลุ่มนักธุรกิจภาคเอกชนจำนวนหลายคนที่ชั้น ๗ ซึ่งเป็น Executive Club ของโรงแรมดังกล่าว เป็นสถานที่เปิดเผย และเป็นการเดินทางไปเพื่อการรับฟังสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสถานการณ์บ้านเมือง ทั้งเป็นการรับฟังข้อเสนอแนะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารราชการแผ่นดิน โดยในการเดินทางไปครั้งนี้มีผู้พบเห็นเหตุการณ์จำนวนมากไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของโรงแรม พนักงานบริการ หรือหน่วยรักษาความปลอดภัย อย่างไรก็ตามด้วยผู้ที่มาพบหารือไม่ต้องการที่จะปรากฏเป็นข่าว กำหนดการนี้จึงไม่มีการแจ้งสื่อมวลชนแต่ประการใด

ในวันนั้น ไม่มีการพูดจาเรื่องธุรกิจส่วนตัว ไม่มีการพูดถึงการเวนคืนที่ดินเพื่อเป็นที่รับน้ำหรือเป็นพื้นที่น้ำผ่าน ที่เรียกว่า ฟลัดเวย์ (Flood Way) พื้นที่แก้มลิงและอ่างเก็บน้ำ การชะลอการประเมินราคาที่ดิน หรือเรื่องอื่นเรื่องใดที่จะเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ใดโดยเฉพาะตามที่มีการกล่าวหา

ดิฉันใคร่ขอชี้แจงด้วยว่า ที่ดิฉันไม่ได้โต้ตอบข้อกล่าวหาที่ไร้สาระนี้แต่ต้น เพราะดิฉันเห็นว่าเป็นเกมการเมืองซึ่งดิฉันไม่ถนัด  ดิฉันอาสาประชาชนมาเพื่อทำงาน และดิฉันเป็นนักบริหารที่เชื่อว่าผลงานจะเป็นบทพิสูจน์ความจริงใจ ทั้งนี้ขอยืนยันอีกครั้งว่า ดิฉันจะไม่ทำการใดๆอันเป็นการหาผลประโยชน์ส่วนตน เอื้อประโยชน์ใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทุกอย่างที่ดิฉันทำก็เพื่อความผาสุกที่ยั่งยืนของพี่น้องประชาชนทุกคน

                                                                             นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร
                                                                             นายกรัฐมนตรี
                                                                             ๒๓  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๕

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลนราฯนัดไต่สวนคดีญาติร้องซ้อมทรมาน

Posted: 23 Feb 2012 01:26 AM PST

ศาลจังหวัดนราธิวาสเรียกเจ้าหน้าที่ผู้ออกหมายจับตาม พรก.ฉุกเฉินฯ และผู้ถูกควบคุมตัวตัวมาไต่สวนตามคำร้องคัดค้านการควบคุมตัวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 ศาลจังหวัดนราธิวาส ได้เรียกญาติของนายซุลกพลี ซิกะ ชาวบ้านจังหวัดนราธิวาส ซึ่งได้ยื่นคำร้องคัดค้านการควบคุมตัวเนื่องจากมีการซ้อมทรมานนายซุลกิพลี ระหว่างที่มีการควบคุมตัวตามกฎหมายพิเศษ มาไต่สวนโดยญาติได้ให้การยืนยันว่านายซุลกิพลีได้ถูกเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายพิเศษ ซ้อมทรมานเพื่อให้รับสารภาพในข้อกล่าวหา

นอกจากนี้ญาติยังได้ให้ข้อมูลว่า ไม่ได้รับอนุญาตให้เยี่ยมในวันแรกของการควบคุมตัว และเมื่อได้รับอนุญาตให้เยี่ยมแล้วก็พบว่านายซุกิพลีได้ถูกเจ้าหน้าที่ผู้บังใช้กฎหมายพิเศษซ้อมทรมานเพื่อให้รับสารภาพ และในการเยี่ยมนั้น ญาติไม่ได้รับความสะดวกในการเยี่ยมผู้ถูกควบคุมตัวได้เป็นส่วนตัว ทำให้ยากต่อการพูดคุยและบางครั้งผู้ถูกควบคุมตัวก็ไม่กล้าร้องเรียนกับญาติ ภายหลังจากการไต่สวนญาติผู้ร้องคัดค้านแล้ว ศาลได้มีคำสั่งเรียกเจ้าหน้าที่ผู้ออกหมายจับตามพรก.ฉุกเฉินฯ พร้อมทั้งนำตัวซุลกิพลี มาไต่สวนให้ได้ว่าการควบคุมตัวมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ มาให้ศาลไต่สวนในวันที่ 24 กพ. เวลา 10.00 น.

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ประกัน ‘อากง’ – อัยการขยายอุทธรณ์รอบ3 คดี ‘โจ กอร์ดอน’

Posted: 23 Feb 2012 01:07 AM PST

23 ก.พ.55 นางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความของนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรือ อากง ผู้ต้องโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แจ้งว่าศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเมื่อวันที่ 22 ก.พ.ให้ยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวนายอำพล ซึ่งครั้งนี้นับเป็นการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวเป็นครั้งที่ 2 ในชั้นศาลอุทธรณ์ หลังยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นแล้วหลายครั้ง โดยในครั้งนี้ใช้ตำแหน่งของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ รวม 7 คน

ทนายความระบุอีกว่า คาดว่าทีมทนายความจะยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวต่อศาลฎีกาในสัปดาห์หน้า ขณะที่นักกิจกรรม ประชาชนที่สนใจและร่วมติดตามผลการประกันที่บริเวณศาลอาญาต่างแสดงความผิดหวังต่อคำสั่งศาลอุทธรณ์ในครั้งนี้

ทั้งนี้ ศาลอุทธรณ์ระบุเหตุผลในการยกคำร้องว่า

"พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีกับพยานหลักฐานที่ศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วนับว่าร้ายแรง ประกอบกับข้อที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ยังไม่มีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด หากให้ปล่อยตัวชั่วคราวไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะไม่หลบหนี และที่จำเลยอ้างเหตุความเจ็บป่วยไม่ปรากฏว่าถึงขนาดจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ ทั้งทางราชการก็มีโรงพยาบาลที่จะรองรับให้การรักษาจำเลยได้อยู่แล้ว จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้องและแจ้งเหตุการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวให้จำเลยและผู้ขอประกันทราบโดยเร็ว"

ภาพจากเฟซบุ๊ค Nithiwat Wannasiri

อัยการยังดึงยาว คดี โจ กอร์ดอน หลังรับสารภาพ

ขณะที่อานนท์ นำภา ทนายความของนายเลอพงษ์ (ขอสงวนนามสกุล) หรือ โจ กอร์ดอน ผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมเดชานภาพ สัญชาติไทย-อเมริกัน ผู้แปลหนังสือ The King Never Smiles แจ้งว่า พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ยื่นขอขยายเวลาอุทธรณ์ต่อศาลเป็นครั้งที่ 3  (ครั้งละ 30 วัน) มีกำหนดถึงวันที่ 8 มี.ค.นี้ หลังโจ กอร์ดอน รับสารภาพและศาลตัดสินลงโทษเมื่อวันที่ 8 พ.ย.54 ให้จำคุก 5 ปี สารภาพลดโทษเหลือกึ่งหนึ่ง 2 ปี 6 เดือน ส่งผลให้คดีของโจ กอร์ดอน ยังไม่ถึงที่สุด จำเลยยังคงต้องอยู่ในเรือนจำโดยที่ยังไม่สามารถทำเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษได้ ทั้งนี้ ทนายระบุด้วยว่าอัยการสามารถขอขยายเวลาอุทธรณ์ไปได้เรื่อยๆ ไม่มีกำหนด

ขณะที่ผู้ใกล้ชิดจำเลยกล่าวว่า จำเลยรู้สึกถูกกลั่นแกล้งให้ต้องจำคุกยาวนานโดยไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้เพราะคดีไม่ถึงที่สุดเสียทีทั้งที่ได้รับสารภาพไปแล้ว อย่างไรก็ตาม สถานทูตสหรัฐอเมริกาก็ยังเข้าเยี่ยมจำเลยและติดตามเรื่องนี้อยู่อย่างใกล้ชิด

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

KNU ชี้การเจรจาสันติภาพจะดำเนินต่อได้พม่าต้องถอนทหาร

Posted: 23 Feb 2012 01:05 AM PST

สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU แถลงข่าวระบุชนชาติต่างๆ ต้องการสันติภาพที่อยู่บนความเท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ พร้อมเรียกร้องให้พม่าถอนทหารออกจากพื้นที่ชนกลุ่มน้อย ยุติปฏิบัติการทางทหาร เพื่อให้การเจรจาสันติภาพในขั้นต่อไปสามารถดำเนินได้ ขณะเดียวกันเกิดเหตุเพลิงไหม้ค่ายผู้ลี้ภัยอุ้มเปี้ยม อ.พบพระ จ.ตาก ด้วย

กองกำลังปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง KNLA ภายใต้สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU (ที่มา: แฟ้มภาพ/สาละวินโพสต์)

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (22 ก.พ. 55) องค์กร Burma Partnership แจ้งว่าสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU (Karan National Union - KNU) จัดแถลงข่าวที่จังหวัดผาอัน รัฐกะเหรี่ยง โดยก่อนหน้านี้

โดยในการแถลงข่าว KNU ได้อ้างถึง 4 ขั้นตอนที่จะทำให้เกิดสันติภาพที่แท้จริงและยั่งยืนในพม่า ที่อธิบายโดยประธานาธิบดีเต็ง เส่งแห่งพม่าในวันสหภาพ เมื่อ 12 ก.พ. ซึ่งประกอบด้วย 1.การหยุดยิงขั้นต้น 2.การหยุดยิงถาวร 3.การเจรจาทางการเมืองในชั้นต้น หาทางออกให้กับพื้นฐานของปัญหาทางการเมือง และให้มีกระบวนการปรองดองแห่งชาติ และ 4.การมีส่วนร่วมทางการเมือง

ขั้นตอนดังกล่าวจะทำให้เกิด "สันติภาพอย่างยั่งยืน" ตามที่เต็ง เส่งอธิบายในสุนทรพจน์เนื่องในวันสหภาพ เมื่อ 12 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งเต็ง เส่ง ระบุว่า "การมีส่วนร่วมจากประชาชนทั้งประเทศมีความจำเป็นอย่างมากที่จะทำให้ความขัดแย้งภายในโดยการใช้กำลังยุติ และทำให้เกิดสันติภาพอย่างยั่งยืน ทำให้เกิดความอุตสาหะในการสร้างชาติ" KNU ยังอ้างอิงถ้อยแถลงของเต็ง เส่ง ที่ระบุว่าการหยุดยิงแต่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดสันติภาพอย่างยั่งยืน

โดยนาง นอ ซิปโปร่า เส่ง เลขาธิการสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU แถลงว่า "KNU ตอบรับถ้อยแถลงดังกล่าวของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เนื่องในวันสหภาพ อย่างไรก็ตาม กลุ่มชนชาติต่่างๆ ต้องการสันติภาพที่อยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันในชาติ และสิทธิในการกำหนดอนาคตของตนเอง ก่อนหน้านี้ ข้อตกลงในการหยุดยิงไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากพวกเขา (รัฐบาลพม่า) ไม่ระบุถึงความต้องการของพวกเขาต่อประชาชนชาติพันธุ์"

ทั้งนี้สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU เชื่อว่าการเมือง ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องลดกำลังอาวุธอย่างเดียวเท่านั้น จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เกิดสันติภาพอย่างมั่นคง แต่สันติภาพจะประสบผลขึ้นได้ก็ด้วยการเจรจาอย่างแท้จริง ระหว่างสภาสหพันธ์สหชาติพันธุ์ หรือ  the United Nationalities Federal Council (UNFC) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และฝ่ายรัฐบาลพม่า

รัฐบาลพม่าจะต้องยอมรับสิทธิของประชาชนกะเหรี่ยงในอันที่จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อสิ่งที่จะมีผลกระทบกับพวกเขาอย่างแท้จริง" ซอว์ ละ งวย เลขาธิการร่วม KNU กล่าว "นี่เป็นหลักการพื้นฐานที่จำเป็นที่สุด เพื่อทำให้สิทธิในการกำหนดอนาคตของตนเอง การพัฒนาในทุกๆ ด้าน สังคมที่เป็นธรรม เกิดขึ้นอย่างแท้จริง"

สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ยอมรับว่า ข้อตกลงหยุดยิงที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ต้องทำก่อน เพื่อเริ่มต้นไปสู่ขั้นตอนการเจรจา และแท้จริงแล้ว ความพยายามในการดำเนินมาตรการทางทหารของทั้งสองฝ่ายก็จะเป็นกำแพงขวางการหาทางออกอย่างสันติ ในรัฐกะเหรี่ยง ดังนั้น   ด้วยเจตนารมย์ในการที่จะสร้างความไว้วางใจและเป้าหมายในการสร้างชาติร่วมกัน สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU มีเรียกร้องเร่งด่วนไปยังรัฐบาลพม่าดังนี้คือ

1.ถอนทหารทั้งหมดซึ่งอยู่ใกล้กับหมู่บ้านซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของ KNU

2.ลดกำลังทางทหาร ลดการเพิ่มกำลังทหารและยุทธปัจจัยเข้ามาในพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์

3.ปล่อยตัวสมาชิก KNU และสมาชิกชุมชนกะเหรี่ยงทั้งหมดที่ถูกคุมขังอย่างนักโทษการเมือง และยุติการปฏิบัติการทางทหารในเขตที่มีการสู้รบ รวมทั้งพื้นที่รัฐคะฉิ่น

4.มาตรการรูปธรรมเหล่านี้ จะทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่ KNU จะเริ่มต้นการเจรจาทางการเมืองกับรัฐบาล บนเส้นทางที่จะนำไปสู่สันติภาพอย่างยั่งยืนในรัฐคะฉิ่น และทั่วทั้งพม่า

อนึ่งก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 12 ม.ค. ที่ผ่านมา คณะเจรจา 19 คนของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union) หรือเคเอ็นยู ได้เจรจากับคณะผู้แทนจากรัฐบาลนำโดยรัฐมนตรีการรถไฟ อ่อง มิน (Aung Min) ที่เมืองผาอัน รัฐกะเหรี่ยง เพื่อเจรจาเรื่องข้อตกลงหยุดยิง (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) โดยผลการเจรจาทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ และวางแผนจะเจรจาร่วมกันอีกในอนาคต

ขณะเดียวกัน มีรายงานว่าในวันนี้ (23 ก.พ. 55) เกิดเหตุเพลิงไหม้ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านอุ้มเปี้ยม ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึ่งมีผู้ลี้ภัยรวมกัน 15,000 คน ขณะเกิดเหตุมีผู้ลี้ภัยและเจ้าหน้าที่ อส. ช่วยกันควบคุมเพลิง แต่ไม่สามารถควบคุมได้

 

 

ที่มา: แปลจากเอกสารเผยแพร่โดย Burma Partnership

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

'หมอตุลย์' นำเสื้อหลากสียื่น 3 หมื่นรายชื่อคัดค้านแก้รธน.- ม.112

Posted: 23 Feb 2012 01:01 AM PST

หมอตุลย์ แกนนำเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน ยื่นหนังสือพร้อมรายชื่อ 3 หมื่นคนต่อสภา ค้านการแก้ไขม. 291 - ม.112 ระบุ หากแก้แล้วจะทำให้มีคนหมิ่นสถาบันมากและรุนแรงขึ้น

23 ก.พ. 55 - เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. ที่อาคารรัฐสภา นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดินหรือกลุ่มเสื้อหลากสี พร้อมประชาชนกว่า 20 คน เดินทางมายื่นหนังสือพร้อมทั้งรายชื่อประชาชน จำนวน 30,000 รายชื่อต่อสภาฯ เพื่อคัดค้านการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม.112 ไม่ให้พิจารณารับรองข้อเสนอดังกล่าวจากคณะนิติราษฎร์หรือกลุ่มใดก็ตาม โดยมีนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ เดินทางมารับหนังสือ

นพ.ตุลย์ กล่าวว่า ตามที่คณะนิติราษฎร์ได้เสนอให้มีการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา ม.112 ให้มีการลดโทษจำคุก แยกออกจากหมวดความมั่นคงของชาติ และให้สำนักราชเลขาธิการเท่านั้นเป็นผู้ฟ้องคดีแทนประชาชนทั่วไป โดยอ้างว่าเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการวิพากษ์สถาบันกษัตริย์มากขึ้น และเป็นการปกป้องสถาบันกษัตริย์นั้น ทางเครือข่ายเห็นว่าเป็นข้ออ้างที่ไม่สมเหตุผล ไม่ตรงตามสถานการณ์ที่เป็นจริงในปัจจุบัน 

แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสีชี้ว่า หากมีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม.112 ตามที่เสนอมา จะทำให้มีการหมิ่นประมาทอาฆาตมาดร้ายสถาบันกษัตริย์มากขึ้นและรุนแรงขึ้น แม้จะมีบทลงโทษจำคุก 3 – 15 ปี ก็ยังมีผู้หมิ่นและใส่ร้ายพระองค์ท่านอย่างรุนแรงอยู่แล้ว อันเป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท และสะเทือนใจพสกนิกรผู้จงรักภักดีทั่วประเทศ การอ้างว่าการใช้ ม.112 กลั่นแกล้งใส่ร้ายฟ้องร้องผู้บริสุทธิ์ให้ได้รับโทษ เป็นเพียงข้ออ้าง เพราะผู้ที่ถูกดำนินคดีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ล้วนแต่จงใจทำผิดซ้ำซาก และเป็นกลุ่มบุคคลที่เจตนาล้มล้างสถาบันกษัตริย์

ด้านนายเจริญ กล่าวว่า ในฐานะที่รับผิดชอบการบรรจุวาระการประชุม ขณะนี้ยังไม่มีใครเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายดังกล่าว มีเพียงการเสนอขอแก้ ม.291 เท่านั้น ดังนั้นหากมี ส.ส.หรือประชาชนขอยื่นเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายดังกล่าว ตนจะได้นำเอกสารและรายชื่อที่เครือข่ายฯ เสนอมา ส่งให้ ส.ส.เพื่อเป็นข้อมูลประการพิจารณาต่อไป  ส่วนจะมีความเห็นเป็นอย่างไรนั้นขอให้เป็นดุลยพินิจของทางสภาฯ

ไม่เห็นด้วยแก้ไขม.291 -ตั้งส.ส.ร. ชี้เป็นการให้อำนาจมาล้มล้างรธน. 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น นพ.ตุลย์เดินทางไปยื่นหนังสือคัดค้านการแก้ไข ม.291 ต่อทางวุฒิสภา โดยมี พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภารับหนังสือ โดย นพ.ตุลย์ กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ส.ส.และประชาชน ได้เสนอร่างแก้ไข ม.291 เพื่อเสนอให้มีการตั้ง ส.ส.ร.เพื่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทดแทนฉบับปัจจุบัน โดยอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ไม่เป็นประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันผ่านการลงประชามติ รับรองการประกาศใช้มาแล้ว ขณะที่เจตนารมณ์ของ ม.291 เดิม ก็ให้อำนาจกลุ่มบุคคลสามารถเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาได้อยู่แล้วทั้งนี้ ตนไม่ได้คัดค้านการแก้ไขรับธรรมนูญ แต่ตนไม่เห็นด้วยกับการตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมาก็ไม่รู้ว่าเป็นกลุ่มบุคคลใด มาจากไหน อีกทั้งก็ไม่รู้ว่าจะแก้ไขมาตราใดบ้าง เท่ากับว่าเป็นการให้อำนาจ ส.ส.ร.เข้ามาฉีกและล้มล้างรัฐธรรมนูญปี 50

ทางกลุ่มเสื้อหลากสี ยังประกาศนัดหมายให้ผู้ที่เห็นด้วยกับการคัดค้านดังกล่าวไปรวมตัวกันอีกครั้ง 25 ก.พ. ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ตั้งแต่เวลา 16.00 น.เป็นต้นไป เพื่อแสดงพลังคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 และการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112

ในเวลาเดียวกัน มีรายงานว่า กลุ่มคนเสื้อแดงทับทิมประมาณ 50 คน ได้เดินทางมาชุมนุมสนับสนุนการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญบริเวณหน้าอาคารรัฐสภา โดยมีการเตรียมจัดสถานที่ตั้งเวทีปราศรัยบริเวณทางเท้าด้านหน้าถนนอู่ทองใน ทางเข้าสวนสัตว์ดุสิต และอยู่ในบริเวณแนวแผงเหล็ก ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำมาติดตั้งตลอดแนวทางเดินฝั่งตรงข้ามอาคารรัฐสภา

 

ที่มา: เรียบเรียงจาก ข่าวสด, RYT9

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" โพสต์ภาพ "สมชาย หอมลออ" ในเหตุการณ์ 6 ตุลา

Posted: 22 Feb 2012 07:31 PM PST

เป็นการโต้หลังกรรมการ คอป. ให้สัมภาษณ์มติชนยกเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553 เทียบ "ผัวเมียทะเลาะกัน"

ตามที่วานนี้ (22 ก.พ.) มติชนออนไลน์ ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์นายสมชาย หอมลออ หนึ่งในคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง โดยตอนหนึ่งมีมติชนอ้างคำพูดนายสมชายต่อกรณีการสลายการชุมนุมในปี 2553 ว่า

"ผัวเมียทะเลาะกัน บางทีมันก็ผิดทั้งคู่ แต่อีกฝ่ายมักจะโทษอีกฝ่าย ฉันถูก-คุณผิด โทษว่าอีกฝ่ายเริ่มก่อน ทั้งที่หากเรามาสำรวจตัวเอง ไม่ใช่มัวแต่โยนความผิดให้อีกฝ่าย ผมคิดว่าการปรองดองก็จะง่ายขึ้น"

ต่อมาในเช้าวันนี้ (23 ก.พ.) นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เขียนบันทึกในเฟซบุค และโพสต์ภาพในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 พร้อมเขียนคำบรรยายใต้ภาพว่า

"ภาพ "พี่สมชาย หอมละออ" [คนซ้ายในภาพที่กำลังบาดเจ็บ เลือดอาบ] ในเหตุการณ์ประเภท "ผัวเมียทะเลาะกัน" เมื่อวันที่ 6 ตุลา 19

เช้าวันนั้น "พี่สมชาย" ถูกอันธพาลการเมืองรุมตีปางตาย โชคดีที่รอดชีวิตมาได้

ตามที่แกเล่าให้พวกผมฟังตอนอยู่ในคุกด้วยกัน เช้าวันที่ 6 ตุลา ความจริง แกไม่ได้ค้างคืนในธรรมศาสตร์ แกไปร่วมดูเหตุการณ์จากทางด้านนอกมหาวิทยาลัย แล้วเดินเข้าไปด้วย เดินเข้าไปถึงแค่ตรงแถวหน้าคณะนิติ พวกอันธพาลมันเห็นท่าทางเป็นนักศึกษา นึกว่าเป็น "พวกข้างในธรรมศาสตร์" (ซึ่งจริงๆ พี่สมชาย แกก็ใช่แหละ "ตัวสำคัญ" มากด้วย แต่ผมไม่ขอเล่าในที่นี้ เพียงแต่ว่า วันนั้น ตามที่แกบอก แกไม่ได้อยู่ข้างใน เพียงเดินเข้าไปดูพร้อมๆกับม็อบฝ่ายขวาที่บุกเข้าไป) มันก็เลยรุมทำร้ายเอา

ความจริง มีภาพที่แกกำลังถูกรุมตี รุมเตะ ที่ชัดกว่านี้ แต่ผมไม่มีเก็บไว้ หลายคนคงเคยเห็น ภาพตรงด้านข้างตึกคณะนิติ ที่หันออกมาทางประตูใหญ่ ที่มีติดชื่อ "คณะนิติศาสตร์" น่ะ ในภาพ พี่สมชาย กำลังถูกอันธพาล 4-5 คน บางคนถือไม้ รุมเตะ รุมตี เป็นภาพที่มีการเผยแพร่กันมากพอสมควร"

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สองนักข่าวตะวันตกถูกสังหารในการปะทะที่ซีเรีย

Posted: 22 Feb 2012 06:50 PM PST

นักข่าวของซันเดย์ไทมื กับช่างภาพข่าวชาวฝรั่งเศสผู้ได้รับรางวัลช่างภาพดีเด่นจากภาพข่าวลิเบีย เสียชีวิตขณะทำข่าวเหตุรุนแรงในเมืองฮอมของซีเรีย ซึ่งยังเป็นพื้นที่ที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธหนักอย่างต่อเนื่อง

22 ก.พ. 2012 - เว็บไซต์วอลล์สตรีทเจอนัล รายงานว่ามีนักข่าวชาวยุโรป 2 คนที่เข้าไปทำข่าวในพื้นที่ประเทศซีเรียถูกสังหารเมื่อวันพุธ (22) ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายแรกเป็นช่างภาพข่าวชาวฝรั่งเศส ชื่อ เรมี โอชิลิค อีกรายหนึ่งคือมารี โคลวินเป็นนักข่าวสงครามจากสื่ออังกฤษผู้มีชื่อเสียง ทั้งสองเสียชีวิตจากการโจมตีด้วยกำลังอาวุธในเมืองฮอม ของซีเรีย ซึ่งเป็นจุดปะทะที่สำคัญในช่วงที่มีการลุกฮือต่อสู้กับประธานาธิบดี บาชาร์ อัล อัสซาด ของซีเรีย

โฆษกรัฐบาลฝรั่งเศส วาเลรี เปเครสเซ ประกาศว่านักข่าวที่เสียชีวิตในเมืองฮอม ประเทศซีเรียคือ มารี โคลวิน ชาวสัญชาติอเมริกันที่ทำงานเป็นนักข่าวให้กับซันเดย์ไทม์ของอังกฤษ และเรมี โอชิลิค ช่างภาพข่าวสงครามที่ถูกสังหารในการโจมตีเมืองฮอม

ฟิลิปเป เลอแกรนด์ ผู้อำนวกการฝ่ายการตลาดของนิตยสารรายสัปดาห์ 'ปารีส แมทช์' ที่โอชิลิคเป็นทีมงานอยู่ เปิดเผยว่า ในตอนแรกโอชิลิคเข้าไปทำข่าวให้กับนิตยสารปารีส แมทซ์ ในซีเรีย แต่ในตอนที่ถูกโจมตีเขาไม่ได้ทำงานให้กับนิตยสารอีกแล้ว เนื่องจากว่าทางกองบรรณาธิการได้ตัดสินใจสั่งให้โอชิลิคและเพื่อนร่วมงานที่เป็นผู้สื่อข่าวออกจากประเทศด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยไปแล้ว แต่โอชิลิคผู้เป็นช่างภาพยังเลือกจะอยู่ต่อเอง

ขณะที่บรรณาธิการของซันเดย์ไทม์ จอห์น วิทเธอโรว์ ก็ได้ออกแถลงการแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของมารี โคลวิน โดยกล่าวว่าการจากไปของโคลวินเป็นเรื่องน่าสะเทือนใจ "มารีเป็นคนพิเศษสำหรับซันเดย์ไทม์ มีแรงปรารถนาในการทำข่าวสงครามด้วยความเชื่อว่าสิ่งที่เธอทำอยู่จะส่งผลให้เกิดอะไรได้บ้าง เธอเชื่ออย่างมากว่าการรายงานข่าวจะช่วยลดพฤติกรรมความโหดเหี้ยมของเผด็จการลงได้ และทำให้ประชาคมนานาชาติหันมาสนใจ"

รัฐมนตรีต่างประเทศของฝรั่งเศส อลัน จุปเป ได้เรียกตัวทูตซีเรียในฝรั่งเศสมาเข้าพบหลังการเสียชีวิตของนักข่าว เพื่อเรียกร้องให้มีการเปิดเส้นทางปลอดภัยสำหรับการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ผู้ได้รับบาดเจ็บ

ทางด้านสำนักข่าว Huffinton Post ของอังกฤษรายงานเพิ่มเติมโดยอ้างแหล่งข่าวท้องถิ่นว่ามีผู้สื่อข่าวอีกหนึ่งรายได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีในซีเรีย

อาบู บาคร์ นักข่าวพลเมืองผู้ที่เห็นเหตุการณ์การโจมตีในเมืองฮอมเล่าว่า ตัวเขาหนีออกจากบ้านหลังหนึ่งที่ถูกโจมตีเพื่อข้ามถนนไปยังบ้านอีกหลังหนึ่ง มีการยิงดจมตีอย่างต่อเนื่องและร่างของผู้สื่อข่าวยังคงนอนอยู่บนพื้น พวกเขาไม่สามารถนำร่างผู้สื่อข่าวออกมาจากพื้นที่ได้เนื่องจากมีการระดมยิงอย่างหนัก แม้ว่าพวกเขาจะอยู่ห่างจากร่างของนักข่าวไม่กี่เมตรก็ตาม

ด้านกลุ่ม Avaaz ที่เป็นกลุ่มเครือข่ายผู้ประท้วงยืนยันว่ามีการโจมตีโส่ศูนย์ของผู้สื่อข่าวและโรงพยาบาลใกล้เคียงโดยตรง ทางกลุ่ม Avaaz กล่าวอีกว่า การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการฝ่าฝืนกฏด้านมนุษยธรรมทุกข้อ

อลิส เจย์ ผู้อำนวยการด้านการรณรงค์ของ Avaaz กล่าวว่า เรื่องราวความน่าหวาดผวาที่รายงานโดยผู้สื่อข่าวผู้กล้าหาญจากเมืองในซีเรีย เป็นสิ่งที่ท้าทายต่อความโหดเหี้ยมของอัสซาดอย่างที่สุด

"จากการที่พวกเขา (รัฐบาลซีเรีย) สั่งห้ามสื่อต่างประเทศ ทาง Avaaz ก็ได้ช่วยให้ผู้สื่อข่าว 45 คนเข้าไปในเขตสู้รบเพื่อนำความจริงออกมา" เจย์กล่าว

ผลงานชิ้นสุดท้ายของโคลวิน นักข่าวขาลุย

มารี โคลวิน เป็นผู้สื่อข่าวที่ทำงานในพื้นที่ตะวันออกกลางมากว่า 2 ทศวรรษแล้ว เธอยังเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในช่วงที่ทำงานในศรีลังกา ซึ่งเธอได้รับบาดเจ็บและสูญเสียดวงตาไปข้างหนึ่ง

ก่อนหน้าข่าวการเสียชีวิตของโคลวินหนึ่งวัน เธอก็ได้ถ่ายทำวีดิโอให้กับสำนักข่าว BBC พูดถึงเด็กที่กำลังเสียชีวิตจากการโจมตีในเมืองฮอม ขณะที่ผลงานชิ้นสุดท้ายของโคลวืนที่ได้ตีพิมพ์ลงในซันเดย์ไทม์เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเปิดเผยว่าประชาชนในเมืองฮอมได้แต่ "รอคอยการกสนสังหารหมู่"

"เมืองนี้เป็นโศกนาฎกรรมระดับใหญ่โต ผู้คนที่อาศัยอยู่ต่างก็อยู่ภายใต้ความกลัว แทบทุกครอบครัวต่างก็ต้องมีคนที่รักเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ" โคลวินเขียนไว้ในซันเดย์ไทม์

โอชิลิค ช่างภาพดีเด่นผู้ถ่ายเหตุการณ์ในลิเบีย

ส่วน เรมี โอชิลิค เป็นช่างภาพและผู้สื่อข่าวชาวฝรั่งเศสอายุ 28 ปี ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเขาได้ทำข่าวเรื่องความขัดแย้งในตูนีเซีย,  อียิปต์, ลิเบีย รวมถึงเหตุรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในซีเรีย

โดยเมื่อไม่นานมานี้เอง โอชิลิคก็เพิ่งได้รับรางวัลช่างภาพข่าวดีเด่น (World Press Photo Awards) สาขาข่าวทั่วไป จากภาพข่าวที่เขาถ่ายในลิเบีย

 

ที่มา (เรียบเรียงจาก)

Two Western Journalists Killed in Syria, The Wall Street Journal, 22-02-2012 http://online.wsj.com/article/SB10001424052970203918304577238683705379896.html

Marie Colvin Dead: Sunday Times Journalist Killed In Homs, Syria, Huffington Post, 22-02-2012 http://www.huffingtonpost.co.uk/2012/02/22/marie-colvin-sunday-times-syria-homs-remi-ochlik_n_1292908.html

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น