ประชาไท | Prachatai3.info |
- ส.ส. ตั้งกระทู้เรื่องรถไฟความเร็วสูง (เมื่อ 15 ปีก่อน) สุเทพ เทือกสุบรรณ รมว.คมนาคมตอบ
- 75 ปี การรับรองวันปีใหม่กะเหรี่ยงเป็นวันหยุดประจำชาติของสหภาพพม่า
- หน้ากากสมยศบุกศูนย์สิริกิติ์
- ผู้ชุมนุมอียิปต์ปะทะกันในเหตุขัดแย้งรอบใหม่
- สหภาพ Electrolux แจ้งผลการเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงต่อศาลแรงงาน
- ฝุ่นละอองขนาดเล็ก สร้างปัญหามลพิษขนาดใหญ่
- ชาวบ้านท่าตูมโวยทางการขุดลอกลำห้วยระวีรุกที่นา
- เกาหลีเหนือประกาศภาวะสงครามกับเกาหลีใต้
- โพลล์เผยพนักงานมหาวิทยาลัยไม่มีความพึงพอใจในสถานภาพ
- เสวนา ร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม ชี้ทางออกขอ กมธ. 1 ใน 3
- พิจารณาร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน มติสภา 284:152 รับหลักการ
ส.ส. ตั้งกระทู้เรื่องรถไฟความเร็วสูง (เมื่อ 15 ปีก่อน) สุเทพ เทือกสุบรรณ รมว.คมนาคมตอบ Posted: 30 Mar 2013 12:47 PM PDT ค้นราชกิจจานุเบกษากลับไปที่ พ.ศ. 2541 เมื่อ ส.ส.เพชรบูรณ์ ตั้งกระทู้ถามว่าจะมีนโยบายสร้างรถไฟความเร็วสูงหรือไม่ ถ้ามีจะดำเนินการได้เมื่อใด และคำตอบจาก รมว.คมนาคมในขณะนั้น เอี่ยม ทองใจสด และ สุเทพ เทือกสุบรรณ (ที่มา: วิกิพีเดีย) รถไฟความเร็วสูง TGV ของฝรั่งเศส (ที่มา: วิกิพีเดีย/แฟ้มภาพ) เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2541 หรือเมื่อ 15 ปีที่แล้ว นายเอี่ยม ทองใจสด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.เพชรบูรณ์ พรรคความหวังใหม่ ได้ตั้งกระทู้ถามที่ 082 ร. เรื่อง โครงการรถไฟความเร็วสูง ถามสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น โดยขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวคมนาคมตอบ และลงในราชกิจจานุเบกษา โดยมีข้อเสนอให้สร้างรถไฟความเร็วสูงไปทั้ง 4 ภาค ภาคละ 1 เส้นทาง เพื่อจะช่วยลดปัญหาจราจร การเกิดอุบัติเหตุและลดการนำเข้าน้ำมัน และมีการถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมดังนี้ 1.รัฐบาลมีนโยบายสร้างรถไฟความเร็วสูงหรือไม่ ถ้าไม่มีเพราะเหตุใด ถ้ามีจะดำเนินการได้เมื่อใด
โดยตอนหนึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ได้ตอบกระทู้ดังกล่าว และตอนหนึ่งระบุว่า "โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง แม้จะได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 และกระทรวงคมนาคมโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ทำการศึกษาแผนแม่บทรถไฟความเร็วสูงไว้แล้วก็ตาม แต่โดยที่สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยต่อการก่อสร้าง กระทรวงคมนาคมจึงได้ระงับโครงการรถไฟความเร็วสูงไว้ก่อน และให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งพัฒนาโครงการก่อสร้างทางคู่ และขยายทางรถไฟให้ครบทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ตลอดจนขนส่งสินค้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศโดยส่วนรวมมากกว่า"
15 ปีต่อมา ในยุคที่สภาเพิ่งมีการผ่าน พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน คมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ... วาระแรก เห็นชอบรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจ กระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศ ทั้งนายเอี่ยม และนายสุเทพ ยังคงโลดเล่นอยู่ในการเมืองไทย เพียงแต่สลับกันเป็นฝ่ายค้าน-ฝ่ายรัฐบาล โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้าน ส่วนนายเอี่ยม เป็น ส.ส.พรรคเพื่อไทย พรรครัฐบาล สำหรับรายละเอียดของกระทู้ถามดังกล่าว มีดังต่อไปนี้ 000 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 48 ก. วันที่ 18 สิงหาคม 2541 เรื่อง โครงการรถไฟความเร็วสูง กราบเรียน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ข้าพเจ้าขอตั้งกระทู้ถาม ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ดังต่อไปนี้ สภาพปัญหาการจรจาจรปัจจุบันนับวันจะยิ่งรุนแรงขึ้น เนื่องจากปริมาณการใช้รถยนต์เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับปริมาณการจราจรสูงกว่าขีดความสามารถของระบบถนนที่จะรองรับได้ ทำให้เกิดปัญหาจราจรติดขัด ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเกิดมลภาวะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสาเหตุที่ทำให้จราจรติดขัดและเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นมาจากผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนใหญ่ฝ่าฝืนกฎจราจร ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย จากสถิติคดีจราจรทางบกของกรมตำรวจปี 2539 พบว่ามีคดีจราจรทางบกทั่วประเทศรวม 88,556 คดี โดยเฉลี่ยรับแจ้งวันละ 243 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 55,044 คน มีผู้ถึงแก่ความตาย 14,405 คน ส่วนสถิติการเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ปี 2540 พบว่าทุกๆ 1 ชั่วโมง มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 6 ราย แพทย์และพยาบาลประจำหน่วยงานอุบัติเตุและฉุกเฉิน ยังมีไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ประสบอุบัติเหตุได้รับการช่วยเหลือล่าช้า จึงมีแนวโน้มการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น และจากปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นทำให้การนำเข้าน้ำมันมีเพิ่มขึ้นด้วย โดยน้ำมันทุกๆ 100 ตัน ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศถึง 83 ตัน ถ้าลดปริมาณการใช้น้ำมันลงได้อย่างน้อย ร้อยละ 5 ของปริมาณการใช้ในปี 2540 จะช่วยประหยัดเงินได้ถึงปีละ 10,000 ล้านบาท จากสภาพปัญหาข้างต้น เพื่อจะช่วยลดปัญหาจราจร การเกิดอุบัติเหตุและลดการนำเข้าน้ำมัน จึงควรมีการดำเนินการเกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อสัญจรไปมาสู่ปลายทางในทุกภาคของประเทศ โดยให้มีเส้นทางไปสู่ทั้ง 4 ภาค ภาคละ 1 เส้นทาง เพื่อเป็นการรองรับความต้องการของประชาชน และเป็นการสนองนโยบายในการจัดระบบจราจร ซึ่งข้อดีของรถไฟความเร็งสูงคือ ประหยัดเวลาในการเดินทาง ลดปัญหามลภาวะเป็นพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนและจะทำให้หมดปัญหาในการขาดแคลนเลือด รวมทั้งแพทย์ทางด้านศัลยกรรมเฉพาะทางด้วย จากเหตุผลดังกล่าว จึงขอเรียนถามว่า 1.รัฐบาลมีนโยบายสร้างรถไฟความเร็วสูงหรือไม่ ถ้าไม่มีเพราะเหตุใด ถ้ามีจะดำเนินการได้เมื่อใด 2.การรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีการศึกษาถึงความคุ้มทุนของรถไฟความเร็วสูงหรือไม่ ขอทราบรายละเอียด 3.การรถไฟแห่งประเทศไทย มีโครงการบริการรถขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นที่มีประสิทธิภาพสูงอีกหรือไม่ ขอทราบรายละเอียด
ขอให้ตอบในราชกิจจานุเบกษา ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง 000 คำตอบกระทู้ถามที่ 082 ร. เรื่อง โครงการรถไฟความเร็วสูง ข้าพเจ้า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขอตอบกระทู้ถามของท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ ดังนี้ คำถาม 1. รัฐบาลมีนโยบายสร้างรถไฟความเร็วสูงหรือไม่ ถ้าไม่มีเพราะเหตุใด ถ้ามีจะดำเนินการได้เมื่อใด คำตอบ โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง แม้จะได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 และกระทรวงคมนาคมโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ทำการศึกษาแผนแม่บทรถไฟความเร็วสูงไว้แล้วก็ตาม แต่โดยที่สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยต่อการก่อสร้าง กระทรวงคมนาคมจึงได้ระงับโครงการรถไฟความเร็วสูงไว้ก่อน และให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งพัฒนาโครงการก่อสร้างทางคู่ และขยายทางรถไฟให้ครบทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ตลอดจนขนส่งสินค้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศโดยส่วนรวมมากกว่า คำถาม 3. การรถไฟแห่งประเทศไทยมีโครงการบริการรถขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นที่มีประสิทธิภาพสูงอีกหรือไม่ ขอทราบรายละเอียด คำตอบ นอกเหนือจากการศึกษาและพิจารณาระบบรถไฟความเร็วสูง ทั้งระบบที่ใช้ไฟฟ้า (Shinkansen ของญี่ปุ่น, TGV ของฝรั่งเศส และ ICE ของเยอรมัน) และระบบรถไฟแม่เหล็ก (Magnetic Levitation) แล้ว ในระบบรถไฟปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทยกำลังพิจารณาด้านเทคนิคของรถไฟโดยสารระบบ Push-Pull Train ที่มีความคล่องตัวและสะดวกในการใช้งาน ขณะเดียวกันได้พิจารณานำระบบรถไฟฟ้ามาใช้ โดยระยะแรกจะดำเนินการในเส้นทางสายกรุงเทพฯ - ฉะเชิงเทราก่อน และได้จัดทำเป็นโครงการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 แล้ว สำหรับด้านสินค้า ได้ทำการพิจารณาร่วมกับภาคเอกชนถึงความเป็นไปได้ในการนำระบบการขนส่งมวลชนด้วย Road - Railer มาใช้ในกิจการรถไฟ ซึ่งได้มีการนำตัวรถ Road - Railer มาทดลองวิ่งแล้ว ปรากฏได้ผลเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง หากจะดำเนินการ การรถไฟแห่งประเทศไทยและผู้ลงทุนจะต้องพิจารณาจัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์เพิ่มเติม ณ สถานีต้นทาง - ปลายทาง แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ไม่เอื้ออำนวยให้ลงทุน การดำเนินการดังกล่าวจึงหยุดชะงักไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
75 ปี การรับรองวันปีใหม่กะเหรี่ยงเป็นวันหยุดประจำชาติของสหภาพพม่า Posted: 30 Mar 2013 10:02 AM PDT หลังการเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลพม่าจนได้ข้อสรุปเบื้องต้นในการหยุดยิงเพื่อนำไปสู่การเจรจาสันติภาพในก้าวต่อๆไป ส่งผลให้สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง หรือ KNU ได้เริ่มคิดเรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนขึ้นจากเดิมที่ต้องสู้รบกับรัฐบาลทหารพม่ามายาวนานกว่า 64 ปี กลายเป็นหนึ่งในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชที่ยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เมื่อศึกสงครามทางอาวุธยุติ สถานการณ์การถูกกดดันภายใต้กฎแห่งสงครามจึงผ่อนคลายลงบ้าง ทำให้ราษฎรในพื้นที่มีอิสระในการทำมาหากินมากขึ้น เรื่องการเดินทางเพื่อติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกทำได้สะดวกขึ้น ทุกปีหลังฤดูการเก็บเกี่ยวข้าว คนกะเหรี่ยงจะมีพิธีกรรมกินข้าวใหม่ ประมาณกลางเดือนธันวาคม – สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ในอดีตมีการกระจายทำพิธีกรรมตามแต่ละชุมชน ต่อมาเมื่อชุมชนใหญ่ขึ้นมีการติดต่อปะทะสังสรรค์รวมตัวกันเป็นเครือข่ายมากขึ้น จึงได้มีการจัดรวมกันมากขึ้นทำให้งานใหญ่ขึ้นในที่สุดกลายเป็นงานประจำปีของชนชาวกะเหรี่ยงในสหภาพพม่า ในยุคสมัยที่อังกฤษได้ปกครองพม่า แกนนำปัญญาชนกะเหรี่ยงกลุ่มหนึ่งจึงได้เรียกร้องให้มีการประกาศให้วันกินข้าวใหม่ของคนกะเหรี่ยงนี้เป็นวันหยุดทำการ ในนามของวันปีใหม่กะเหรี่ยง เพื่อให้คนกะเหรี่ยงได้มีโอกาสเฉลิมฉลองงานกินข้าวใหม่ได้อย่างเต็มที่ ปีนี้การประกาศให้ปีใหม่ปกาเกอญอเป็นวันหยุดทางการได้เวียนมาครบ 75 ปี (แม้ว่ารัฐบาลทหารพม่าได้ยกเลิกในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา) จึงได้มีการเฉลิมฉลองที่ใหญ่กว่าทุกปีที่ผ่านมา นัยยะแรกนอกจากจะเป็นการเฉลิมฉลองการเจรจาหยุดยิงสำเร็จแล้ว ความพิเศษของปีนี้อีกนัยยะหนึ่งเป็นการเฉลิมฉลอง 75 ปี (Diamond Anniversary) การรับรองปีใหม่กะเหรี่ยงเป็นวันหยุดทางการงานได้จัดขึ้น ณ ชุมชนพาประ อำเภอหว่อรอ จังหวัดผาอัน ในเขตพื้นที่กองพลที่ 6 ในเขตการปกครองของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU คืนวันที่ 11 มกราคม ชนชาวกะเหรี่ยงได้หลั่งไหลกันมาอย่างคับคั่งนับหมื่นคน ทำให้ชุมชนพาประแห่งนี้ ดูเล็กลงทันที กิจกรรมบนเวทีเน้นหนักที่การแข่งขันรำตง ซึ่งมีทีมละ 45 คน มากกว่า 50 ทีม เคยเห็นแต่การรำตงที่ประกอบด้วยสมาชิกเพียงทีมละ 25 คน แต่พอเจอ 45 คน ทำให้ทึ่งเหมือนกัน นอกจากได้มีโอกาสได้ขึ้นเวทีแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนกะเหรี่ยงจากประเทศไทยแล้ว ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนพูดคุยกับผู้นำบางคนเกี่ยวกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหลังจากการเจรจาสงบศึก "ตอนนี้ไม่ยิงกันแล้ว แต่ยังต้องคุยกันในรายละเอียดของข้อตกลงต่อ ความต้องการบางอย่างของเรา เขา(รัฐบาล) ยังไม่รับของเรา ในที่สุดเราจะไว้วางใจเขาทั้งหมดไม่ได้ เราต้องเตรียมตัวพร้อมเสมอ" ผู้นำคนหนึ่งเล่าให้ฟัง "พอเจราจาสงบศึกแล้วยิงกันไม่ได้ แต่ทางรัฐบาลได้ส่งทหารเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ในพื้นที่ของเรา เพิ่มอาวุธ พัฒนาฐานที่มั่น ขุดหลุดหลบภัย ทำ Banger ให้แน่นหนามากขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ทางเราไม่สามารถเชื่อในความจริงใจของรัฐบาลได้สนิทใจ การสร้างสันติภาพนั้นทั้งสองฝ่ายต้องมีความจริงใจ ถ้าจริงใจที่จะให้เกิดสันติภาพรัฐบาลต้องยุติส่งกองกำลังพิ่มในพื้นที่ของเรา" ผู้บัญชาการทหารเขตหว่อรอเล่าให้ฟัง รุ่งเช้าวันที่ 12 มกราคม เสียงปี่เขาควายดังขึ้นแต่เช้ามึด เสียงสับเท้าดังขึ้นเหมือนขบวนเดินสวนสนามของกองทัพ เมื่อชโงกหน้ามองดูหน้าบ้าน เห็นมวลชนเคลื่อนตัวเดินลงสู่พื้นที่จัดงาน ต่างใส่ชุดกะเหรี่ยงหลากสีทั้งสีแดง สีขาว สีดำ สีน้ำเงิน ทั้งเสื้อ ทั้งซิ่น และโสร่ง เวทีจัดงานประดับประดาด้วยดอกไม้และมีธงประจำชนชาติสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงเป็นฉากหลัง พิธีกรรมเริ่มต้นจากการเชิญธงแห่งชนชาติกะเหรี่ยงขึ้นสู่ยอดเสา มีการร้องเพลงประจำชนชาติกระหึ่มลานทุ่งกลางหุบเขา ฟังแล้วขนลุกซู่ กับเผ่าพันธุ์ที่มีธงประจำชนชาติของตนเอง มีเพลงประจำชนชาติของตนเอง มีเขตแดนในการปกครองของตนเอง มีพลเมืองมากกว่า 7 ล้านคน มีการต่อสู้มากกว่าครึ่งทศวรรษ แต่ไม่มีประเทศ ทว่ายังคงยืนหยัดเพื่อการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์ จากนั้นผู้ดำเนินรายการได้ให้มวลชนย้ายขบวนไปที่แท่นปูนขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานการรำลึก 75 ปี แห่งการยอมรับปีใหม่กะเหรี่ยงเป็นวันหยุดทางการ อนุสรณ์สถานได้ปรากฏรูปของแกวหรือปี่ โกละหรือกลองมโหรทึก และปิ๊หรือแคน มีการจารึกที่มาและความหมายของปีใหม่กะเหรี่ยงในแท่นปูน ตลอดจนเรื่องราวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นอนุสรณ์สถานแบบ modern art ชิ้นแรกของชุมชนรัฐกะเหรี่ยงในทศวรรษนี้ อนุสรณ์สถานนี้มาจากแนวคิดของผู้นำที่เป็นผู้อาวุโส และออกแบบสร้างสรรค์โดยลูกหลานที่เป็นคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ กำหนดการที่ทุกคนรอคอยอยู่ที่การกล่าวสุนทรพจน์ของ พันโทเต็ง ไหล่ ว่าที่ผู้บัญชากองพล 6 ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำรุ่นใหม่ในกองทัพกะเหรี่ยงที่มีความโดดเด่นมากคนหนึ่ง มีความครบเครื่องทั้งยุทธศาสตร์ในการสู้รบและการพัฒนาชุมชน สามารถพูดทั้งภาษากะเหรี่ยงโปว์ จอก์ และภาษาพม่าได้อย่างแคล่องแคล่วคมคาย อีกทั้งเป็นผู้ที่มีลูกทีเด็ดที่ขาดในยามต้องตัดสินใจเลือกกำหนดทิศทางอนาคตของชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบได้อย่างมีจุดยืนเสมอ เริ่มต้นด้วยการเกริ่นด้วยภาษากะเหรี่ยงจอก์ ก่อนที่จะภาษากะเหรี่ยงโปว์ เป็นภาษาหลักในการสุนทรพจน์ "75 ปี ไร้ความหมายถ้าคนกะเหรี่ยงไม่มีความสามัคคี ไม่มีความปรองดอง ไม่มีความจริงใจต่อกัน ไม่มีความซื่อสัตย์เผ่าพันธุ์ เหล่าผู้นำของเรา (กะเหรี่ยง) ได้ทำงานหนักเพื่อให้คนกะเหรี่ยงได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่มั่นคง ปลอดภัยยิ่งขึ้น" พันเอกเต็ง ไหล่ได้กล่าวเริ่มต้น เรื่องทิศทางการขับเคลื่อนชีวิตชนเผ่ากะเหรี่ยงหลังจากนี้ไปเป็นโจทย์ใหญ่ในการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งนี้ โดยเฉพาะการอยู่ท่ามกลางยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) แต่ยังดำรงความเป็นกะเหรียงได้อย่างไร ดำรงศักดิ์ศรี ดำรงอำนาจในการตัดสินใจเลือกทิศทางชีวิตของตนเองบนฐานความเป็นคนกะเหรี่ยง พันเอกเตไล ได้ให้แนวทางในการดำเนินชีวิตแก่คนร่วมงานในมหกรรมปีใหม่ครั้งนี้ทั้งหมด 4 อย่าง คือ หนึ่ง อย่าขี้เกียจทั้งในเรื่องการทำมาหากิน การแสวงหาความรู้เพิ่มเติมโดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับโลกออนไลน์ สอง อย่าขี้ขลาด เมื่อโลกเปิดชุมชนไม่สามารถปิดกั้นตนเองได้ จะมีหลายสิ่งหลายอย่างเข้ามาในชุมชน อย่าขี้ขลาดที่จะปกป้องชุมชนตนเองจากความชั่วร้าย สาม อย่าชักช้าในสถานการณ์ที่ชนเผ่าต้องก้าวเดินหน้าเพื่อสร้างความสุขแก่มวลชนคนกะเหรี่ยง ขอให้ทุกคนอย่างชักช้าเร่งเท้าก้าวไปให้เท่าทันคนอื่น เท่าทันข่าวสาร เท่าทันเลห์เลี่ยม เท่าทันเทคโนโลยี เท่าทันยุคสมัย ยกระดับเผ่าพันธูกะเหรี่ยงให้เท่าทันโลก ประการสุดท้าย อย่าเชื่อ ถ้ายังไม่เห็นคำตอบเป็นรูปธรรม อย่าเชื่อที่เขาว่า อย่าเชื่อที่เขาลือ จนกว่าเราจะสามารถพิสูจน์ให้เห็นคำตอบที่แน่ชัดว่าสิ่งนั้นเป็นจริง สิ่นนั้นมีอยู่จริง" นี่คือสุนทรพจน์ของว่าที่ผู้บัญชาการกองพล 6 แห่งสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง ผู้นำที่เป็นอีกหนึ่งความหวังของคนกะเหรี่ยง หลังหยุดการเจรจาหยุดยิง สงครามการสู้รบด้วยอาวุธอาจปิดฉากอย่างถาวรหรือไม่นั้นยังมิอาจรู้ได้ แต่สงครามใหม่ที่เปิดฉากคือ สงครามทางด้านเศรษฐกิจหรือการค้า(Economic War) ที่คนกะเหรี่ยงต้องรับมือกับกองทัพนายทุนทั้งในและนอกที่เริ่มบุกมาในพื้นที่ปกครองของรัฐกะเหรี่ยงมากขึ้น นี่เป็นอีกบททดสอบที่ท้าทายอนาคตความอยู่รอดของคนกะเหรี่ยงในสหภาพพม่าอย่างน่าติดตามท่ามกลางการก้าวสู่ความเป็นชุมชนอาเซียนในมิช้านี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 30 Mar 2013 07:43 AM PDT "ป่วนวัฒนธรรม"สวมหน้ากาก บ.ก. นิตยสาร Voice of Thaksin และ Red Power ผู้ต้องขังคดี ม.112 รณรงค์เสรีภาพในการอ่าน เขียน พิมพ์ พูด เผยแพร่ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ วันนี้ (30 มีนาคม 2556) เวลาประมาณ 16.00น. ที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กลุ่มคนเสื้อลายขวางจำนวนประมาณ 10 คนได้ปรากฏตัวภายใต้หน้ากากใบหน้าของสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระมหากษัตริย์ตามมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยปะปนอยู่กับผู้เข้าร่วมงานสัปดาห์หนังสือที่คับคั่งทั่วพื้นที่จัดงาน การป่วนวัฒนธรรม (culture jamming) ครั้งนี้ ผู้ริเริ่มกิจกรรมได้เชิญชวนผู้เข้าร่วมผ่านทางเฟซบุค "สมยศเที่ยวงานสัปดาห์หนังสือฯ" โดยมีเป้าหมายหลักคือการส่งสารเรื่องเสรีภาพในการอ่าน เขียน พิมพ์ พูด เผยแพร่" โดยใช้กรณีที่สมยศ พฤกษาเกษมสุข ถูกดำเนินคดีตาม ม.112 ในฐานะบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Thaksin และ Red Power เป็นสัญลักษณ์ในการขับเคลื่อน คล้ายกับการใช้หน้ากากสมยศเคลื่อนไหวในลักษณะป่วนวัฒนธรรมที่เคยมีกลุ่มกิจกรรมอื่นทำไว้ก่อนหน้า พบว่าผู้พบเห็นกิจกรรมจำนวนพอสมควรแสดงความสนใจ เข้าใจ และเห็นด้วยกับสารที่กลุ่มคนเสื้อลายขวางต้องการสื่อ มีผู้พบเห็นบางรายเข้ามาขอถ่ายภาพด้วย ในจำนวนนี้มีปราบดา หยุ่น นักเขียนรางวัลซีไรท์ด้วย กิจกรรมนี้ดำเนินไปอย่างสงบได้ประมาณ 1 ชั่วโมง จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ของงานสัปดาห์หนังสือฯ พร้อมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอีก 3 นายได้มาสกัดมิให้กลุ่มทำกิจกรรมต่อ กลุ่มคนเสื้อลายขวางจึงได้แยกย้ายสลายตัวกันไป โดยกลุ่มกิจกรรมนี้ไม่ได้โต้ตอบกับฝั่งเจ้าหน้าที่แต่ประการใด แต่ทางกลุ่มยืนยันว่า จะยังไม่หยุดทำกิจกรรมเช่นนี้ โดยจะทำอย่างต่อเนื่องตามความสะดวก และเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ทำได้เช่นกัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ผู้ชุมนุมอียิปต์ปะทะกันในเหตุขัดแย้งรอบใหม่ Posted: 30 Mar 2013 06:17 AM PDT เกิดเหตุปะทะในสองเมืองของอียิ เมื่อวันศุกร์ (29 มี.ค.) ที่ผ่านมา เกิดการปะทะกันหลังวจากที่มี ในเมืองอเล็กซานเดรีย มีกลุ่มคนไม่ระบุตัวตนหลายร้ แม้มอร์ซีจะเป็นประธานาธิบดีที่ เหตุการณ์ปะทะอีกแห่งหนึ่งเกิ ในกรุงไคโรมีชาวอียิปต์หลายร้ กลุ่มผู้ประท้วงที่กรุงไคโรพากั วาเกห์ อับเดล-ซาลาม หนึ่งในผู้ชุมนุมกล่าวว่ ออกหมายจับนักกิจกรรม เมื่อวันจันทร์ (24 มี.ค.) ที่ผ่านมา อธิบดีกรมอัยการของอียิปต์ได้ โฆษกการต่างประเทศของสหรัฐฯ วิกเตอเรีย นูแลนด์ กล่าวแสดงความเป็นห่วงเรื่ เหตุการณ์รุนแรงดังกล่าวมี ด้านปธน. มอร์ซี กล่าววิพากษ์วิจารณ์กลุ่มต่อต้ "ไม่มีประเทศละแวกใกล้เคี เรียบเรียงจาก Morsi supporters and opponents clash in Egypt, Aljazeera, 29-03-2013 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สหภาพ Electrolux แจ้งผลการเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงต่อศาลแรงงาน Posted: 30 Mar 2013 04:41 AM PDT ตัวแทนนายจ้างอ้างว่าไม่ทราบข้อตกลงที่ผู้บริหาร-สหภาพจากสวีเดนประชุมร่วมกันให้รับกลับคณะกรรมการสหภาพ ชี้ผู้บริหารไม่ได้รับเอกสารหรือเมล์ผลการเจรจาจากทางสวีเดน เลื่อนไกล่เกลี่ยเป็น 5 มิ.ย. 56 คนงาน 44 คนยังไม่ได้ลงชื่อกลับเข้าทำงาน แต่รอกลับพร้อมกรรมการสหภาพแรงงาน 30 มี.ค. 56 - สหภาพแรงงานอิเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย ได้เปิดเผยว่าวันที่ 29 มีนาคม 2556 เวลา 09.00น. สหภาพแรงงานอีเลคโทรลักซ์ได้เดินทางไปที่ศาลแรงงานกลางภาค 2 จังหวัดระยอง โดยมีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง, ผู้แทนฝั่งนายจ้าง และกรรมสหภาพแรงงานอิเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย โดยนายไพรวรรณ์ เมทา ประธานสหภาพแรงงานอิเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย ได้ชี้แจงไปว่าที่มาในวันนี้ทางสหภาพแรงงานเข้าใจว่าเป็นการนัดเจรจาตามข้อตกลงระหว่างผู้แทนจากสหภาพแรงงานอีเลคโทรลักซ์ที่สวีเดนและผู้แทนจาก IF Metall มีการประชุมกับผู้บริหาร Electrolux ที่สำนักงาน IF Metall สวีเดนในวันที่ 27 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมาโดยมีเนื้อหาในที่ประชุมดังต่อไปนี้ -ข้อตกลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 ระหว่าง IF Metall และฝ่ายบริหารเป็นข้อตกลงที่มีผลบังคับใช้ และนำไปสู่การปฏิบัติ - ฝ่ายบริหาร Electrolux มีความตั้งใจที่จะรับกลับพนักงานที่ถูกเลิกจ้างรวมถึงผู้แทนสหภาพแรงงานทั้ง 8 คนโดยเร็วที่สุด (ตามกรอบเวลาที่ตกลงกันเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์) - ฝ่ายบริหารยืนยันรับกลับ 46 คน ที่ลงชื่อกลับเข้าทำงานภายในวันที่ 22 มีนาคม และผู้แทนสหภาพแรงงาน 8 คนกลับเข้าทำงาน ฝ่ายบริหารที่สวีเดนย้ำไม่ได้เลิกจ้างคณะกรรมการ แม้แต่กรณีไพร์วรรณ์แค่ส่งกลับบ้าน แต่ไม่ได้เลิกจ้าง - เรื่องการรับกลับนี้ สหภาพแรงงานไทยจะได้รับการยืนยันในวันที่ 29 มีนาคม ซึ่งผู้บริหารที่สวีเดนแจ้งผู้แทน IndustriALL ว่าการประชุมที่ศาลวันที่ 29 มีนาคมจะเหมือนกันกับการจัดที่สำนักงานแรงงานจังหวัด - พนักงานอีก 44 คนที่ยังไม่ได้ลงชื่อกลับเข้าทำงาน แต่รอกลับพร้อมกรรมการสหภาพแรงงาน 8 คน ฝ่ายบริหารที่สวีเดนตอบว่ารับกลับเช่นกัน ดังนั้นในวันที่ 29 มีนาคม ที่กรรมการสหภาพแรงงานจะพบกับผู้บริหารที่ศาลระยองให้ทำข้อตกลงเรื่องการกลับเข้าทำงานของพนักงานทั้ง 44 คนด้วย ฝ่ายบริหารที่สวีเดนจะแจ้งมายังฝ่ายบริหารที่ระยองด้วยว่าให้รับกลับ ด้านฝ่ายตัวแทนนายจ้างอ้างว่าไม่ทราบถึงข้อตกลงที่ทางผู้บริหารได้มีการประชุมร่วมกัน ในวันที่ 27 มีนาคม 2556 เพราะผู้บริหารไม่ได้รับเอกสารหรือเมล์ผลการเจรจาจากทางสวีเดน และยังได้ระบุต่ออีกว่าถ้าทางสหภาพแรงงานมีหลักฐานเอกสารที่มีลายเซ็นของผู้บริหารให้นำมายืนยันว่ามีผู้บริหารบริษัทอีเลคโทรลักซ์ที่มีการเซ็นรับทราบการประชุมและตกลงหารือร่วม นอกจากนี้ยังได้ชี้แจงต่อว่าการที่มาในวันนี้ไม่ได้มาในประเด็นวันที่ 27 มีนาคม 2556 แต่มาในประเด็นการขออำนาจศาลเลิกจ้างโดยให้แยกคดีและจะสอบข้อเท็จจริงเป็นรายบุคคล ด้านผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง ได้บอกกับทางสหภาพแรงงานว่าจะให้สอบข้อเท็จจริงในวันนี้เป็นรายบุคคลซึ่งทางสหภาพแรงงานก็ได้ขอเวลาไปปรึกษาหารือร่วมกันและได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะขอเลื่อนนัดการให้ข้อเท็จจริงและขอรวมคดีให้เป็นคดีเดียวกันหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จากศาลแรงงานภาค 2 ได้แจ้งว่าขอเลื่อนการไกล่เกลี่ยครั้งนี้ออกไปก่อนและจะนัดอีกรอบในวันที่ 5 มิถุนายน 2556 เวลา 09.00น. ซึ่งศาลได้แจ้งให้กรรมการสหภาพแรงงานทั้ง 8 คน ยื่นคำให้การก่อนถึงวันศาลนัดอย่างน้อย 7 วัน นอกจากนี้สหภาพแรงงานอีเลคโทรลักซ์ประเทศไทย ยังได้แจ้งข้อเท็จจริงไปยัง IF Metall เพื่อทราบ และโปรดพิจารณาดำเนินการดังต่อไปนี้ 1. ดำเนินการให้บริษัทอีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย ปฏิบัติตามข้อตกลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 2. ให้บริษัทอีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย เริ่มจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานที่ไปแสดงเจตจำนงขอกลับเข้าทำงานในวันที่ 5 มีนาคม 2556 จนถึงปัจจุบัน 3. ทุกครั้งที่ ผู้แทนจาก IF Metall มีการเจรจากับผู้บริหารของบริษัทอีเลคโทรลักซ์ฯ ขอให้มีการลงบันทึกให้ชัดเจนและลงลายมือชื่อร่วมกันทั้งสองฝ่าย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ฝุ่นละอองขนาดเล็ก สร้างปัญหามลพิษขนาดใหญ่ Posted: 30 Mar 2013 01:00 AM PDT ปัญหามลพิษทางอากาศนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมหนึ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากมลพิษทางอากาศเป็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญต่อสุขภาพอย่างมาก ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขอนามัยของประชาชน มีผลต่อการลดอายุขัยเฉลี่ยของประชาชนลง อีกทั้งยังเป็นที่มาของการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลอันเนื่องมาจากอาการเจ็บป่วยต่างๆ เกิดภาระของการรักษาโรคจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และโรคมะเร็งปอด เป็นต้น นอกจากนี้ยังสร้างความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอีกด้วย ในปีหนึ่งๆ มีประชากรที่ต้องเสียชีวิตเนื่องจากมลพิษทางอากาศหรือเสียเงินค่ารักษาสุขภาพจากอากาศเจ็บป่วยเป็นจำนวนไม่น้อย โดยมลพิษทางอากาศที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยนั้นเกิดขึ้นได้ทั้งมลพิษทางอากาศภายในอาคาร (Indoor air pollution) และมลพิษทางอากาศภายนอกอาคาร (outdoor air pollution) หรือมลพิษอากาศตามท้องถนนที่เรามักประสบพบเจอในชีวิตประจำวันนั่นเอง World Health Organization ได้ประมาณการว่า มลพิษทางอากาศภายในอาคารทำให้คนเสียชีวิตก่อนวัยอันควรประมาณ 2 ล้านคน โดยส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และจำนวนการเสียชีวิตเหล่านี้เกือบครึ่งหนึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากอาการโรคปอดบวมในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในขณะที่คาดการณ์ว่ามีประชากรที่เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศภายนอกอาคารในชุมชนเมืองมีประมาณ 1.3 ล้านคนทั่วโลกต่อปี ดังนั้นการลดระดับมลพิษทางอากาศลงจะช่วยลดจำนวนผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ มลพิษทางอากาศเป็นปัญหาที่หลายประเทศให้ความสนใจมากในขณะนี้ เพราะมลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสุขภาพประจำปีเป็นจำนวนเงินที่สูง ตัวอย่างเช่นในกรณีของประเทศอังกฤษ ค่าใช้จ่ายสุขภาพของประชากรชาวอังกฤษสูงถึง 1.5 หมื่นล้านปอนด์ มลพิษทางอากาศส่วนหนึ่งเกิดจากธรรมชาติ อาทิ ไฟป่าธรรมชาติ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว อย่างไรก็ตาม กิจกรรมของมนุษย์เกือบทุกอย่างก็ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเราอาจจำแนกแหล่งกำเนิดมลพิษได้เป็น 3 ประเภทคือ 1) แหล่งกำเนิดอยู่กับที่ (point sources) เช่น การปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ไอระเหยจากคลังน้ำมัน และสถานีบริการน้ำมัน 2) แหล่งกำเนิดเคลื่อนที่ (mobile sources) ได้แก่ มลพิษจากยานพาหนะประเภทต่าง ๆ เช่น มลพิษที่ถูกปล่อยออกจากรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก เรือ เครื่องบิน และ 3) มลพิษทางอากาศที่ไม่มีแหล่งกำเนิดแน่นอน (non-point sources) เช่น การเผาพื้นที่การเกษตร การเผาป่า การเผาขยะ ฝุ่นละอองจากพื้นดินที่ถูกพัดพาโดยลม เป็นต้น เมื่อพิจารณาสาเหตุของมลพิษทางอากาศ อาจกล่าวได้ว่า มีกิจกรรมหลายอย่างที่ก่อให้เกิดมลพิษได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการขนส่งและการสร้างพลังงาน ซึ่งล้วนแล้วแต่นำไปสู่การเกิดมลพิษทางอากาศทั้งในระดับท้องถิ่นเอง และส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ดังนั้นในการวางแผนพัฒนาทางด้านการขนส่งหรือพลังงานจึงจำเป็นต้องพิจารณาความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายเหล่านี้กับผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจตามมา รวมทั้งหาวิธีบริหารจัดการเพื่อลดการก่อมลพิษทางอากาศลงให้เหลือน้อยที่สุดด้วย อย่างไรก็ตาม ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นปัญหาที่ลำพังเพียงประชาชนคนใดคนหนึ่งหรือประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถแก้ไขให้ลุล่วงได้ ปัจจุบันหลายประเทศให้ความสำคัญกับการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งนับได้ว่าเป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อการสร้างให้เกิดโอกาสที่ดีต่อเรื่องมลพิษทางอากาศและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในกรณีของประเทศอังกฤษ ได้กำหนดภาระผูกพันที่จะสร้างเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (low carbon economy) ตามที่กำหนดไว้ใน UK and Scottish Climate Change Acts เพื่อลดมลพิษทางอากาศ การกำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมก็เป็นนโยบายที่ช่วยลดมลพิษทางอากาศ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มเติมไปด้วย หรือคิดเป็นตัวเงินมีมูลค่าสูงถึง 2.4 หมื่นล้านปอนด์ (มูลค่าปัจจุบันสุทธิ) ภายในปีค.ศ. 2050 นอกจากนี้ อังกฤษได้ให้ความสำคัญกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมนี้ โดยคำนึงถึงการบูรณาการกันระหว่างการปฏิบัติการในระดับนานาชาติ ในสหภาพยุโรป ในระดับภูมิภาค และในระดับท้องถิ่นเพื่อประโยชน์สูงสุดโดยรวม และเพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายของการลดมลพิษทางอากาศลงได้ในอนาคต การเปรียบเทียบต้นทุนที่เกิดจากการขนส่งในเขตเมืองในประเทศอังกฤษ พบว่า คุณภาพอากาศที่ไม่ดีก่อให้เกิดเป็นภาระต้นทุนที่ต้องรับผิดชอบสูงถึงหนึ่งในสี่ โดยประมาณการอันตรายของมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์คิดเป็นเงินประมาณ 5 พันล้านปอนด์ถึง 1.1 หมื่นล้านปอนด์ต่อปี Comparison of the wider cost of transport in English urban areas (£ billion per annum, 2009 prices and values). Note: The air quality estimate is based on the 2005 estimate of the harm to human health from manmade PM2.5. The pale blue colour represents the uncertainty of the figures, i.e. the range of £5-11 billion in the case of air quality. ที่มา: Department for Environment, Food and Rural Affairs. นโยบายอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจของประเทศอังกฤษคือ การมุ่งดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และปัญหามลพิษทางอากาศไปด้วยกันให้ได้ในปี 2020 อนึ่ง การดำเนินนโยบายหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคส่วนอื่นๆ ด้วย ดังนั้นในการตัดสินใจเชิงนโยบายจึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน ตัวอย่างเช่น การส่งเสริมการพัฒนาทางด้านคมนาคมขนส่งที่นอกจากจะมีประสิทธิภาพในทางขนส่งแล้ว ยังมีผลกระทบในทางที่ดีหนุนเสริมกับเองคุณภาพอากาศ เช่นการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า (Electric cars) รถยนต์พลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen fuel-cell cars) ในขณะที่เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) อาจจะก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrogen Oxides : NOx) และ สารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic compounds (VOCs) ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อคุณภาพอากาศได้ Policy choices for delivering climate change targets for 2020-2050 Green = measure is positive for air quality. Amber = measure can be positive and negative, or is uncertain. Red = measure is likely to be negative. Two colours indicates a likely impact between two classifications. อังกฤษจึงได้สร้างทางเลือกนโยบาย โดยได้สร้างทางเลือกภาพสถานการณ์ทั้ง กรณีที่ดีที่สุดและสถานการณ์กรณีที่เลวร้ายที่สุด เพื่อแสดงให้เห็นว่าการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 2050 เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งประโยชน์ในการเพิ่มคุณภาพอากาศ โดยภาพสถานการณ์ที่พึงปรารถนา ทุกฝ่ายจะต้องช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การใช้นโยบายการบริหารจัดการด้านอุปสงค์ การใช้รถยนต์ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ การใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน การใช้พลังงานลม แสงอาทิตย์ เป็นต้น Policy map displaying air quality/climate change interactions
ในปัจจุบัน ทวีปเอเชียเองก็ประสบปัญหามลพิษทางอากาศอยู่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างประเทศจีน ที่กำลังมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง หลังจากที่กรุงปักกิ่งเผชิญกับปัญหามลพิษในระดับรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ปัจจุบันรัฐบาลจีนจึงมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างจริงจัง สำหรับสาเหตุที่ทำให้ระดับมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศจีน และเป็นเหตุให้คุณภาพอากาศไม่ดีขึ้น มีสาเหตุเนื่องมาจากการบริโภคพลังงานมากเกินไป ปริมาณรถยนต์เพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมพึ่งพาถ่านหินมีจำนวนมาก รวมทั้งขาดมาตรการควบคุมมลพิษอย่างเพียงพอ สำหรับประเทศไทย มลพิษทางอากาศเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งปัญหาหนึ่งในเขตเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากมลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย โดยเฉพาะผลกระทบต่อสุขภาพที่เกี่ยวกับระบบหายใจ และระบบหัวใจและปอด จากการตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศ 5 ชนิด ที่เป็นตัวแทนคุณภาพอากาศของประเทศไทย ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ ฝุ่นขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน และโอโซน ในปี 2555 สารมลพิษทางอากาศที่เป็นปัญหาหลักของประเทศ คือ ฝุ่นขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน พบปริมาณสูงกว่า ค่ามาตรฐานมาก รองลงมาคือ ก๊าซโอโซน ซึ่งพบปริมาณสูงกว่าค่ามาตรฐานไม่มากนัก แต่สูงกว่าค่ามาตรฐานในเกือบทุกพื้นที่ และมีแนวโน้มที่จะเป็นปัญหามากขึ้นในอนาคต สำหรับมลพิษทางอากาศอีก 3 ชนิด อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากนี้ ยังมีการตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) และฝุ่นขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบางพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยง ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ยังคงเป็นปัญหาหลักเช่นเดียวกับในปีที่ผ่านมา โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ฝุ่น PM10 และพื้นที่ที่เกินเกณฑ์มาตรฐานมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการควบคุมฝุ่นจากการก่อสร้าง การปรับเปลี่ยนมาตรฐานยานพาหนะใหม่ และการควบคุมการเผาในที่โล่ง อย่างไรก็ตามก็ยังมีหลายพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงอยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน เช่น สระบุรี กรุงเทพมหานครและจังหวัดในปริมณฑล โดยแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนส่วนใหญ่เกิดจากยานพาหนะ อุตสาหกรรม สิ่งก่อสร้าง การเผาในที่โล่ง และมลพิษจากหมอกควันข้ามแดนในบางพื้นที่ พื้นที่ที่มีปัญหาคุณภาพอากาศมาก ได้แก่ สระบุรี ทั้งนี้เนื่องจากในเขตจังหวัดสระบุรีมีอุตสาหกรรมโรงโม่ บดหิน รองลงมา คือ จังหวัดในกลุ่มภาคเหนือตอนบนในช่วงสถานการณ์หมอกควัน และกรุงเทพมหานครและจังหวัดในปริมณฑล ได้แก่ สมุทรปราการ นนทบุรี สมุทรสาคร เนื่องจากการจราจร โรงงานอุตสาหกรรม และการก่อสร้าง ทั้งนี้ สถานการณ์หมอกควันในภาคเหนือที่เป็นปัญหามากในขณะนี้ (และเกิดขึ้นในทุกปี) จากผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ภาคเหนือในเดือนมีนาคม 2556 พบคุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมงบางพื้นที่มีค่าสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน บางพื้นที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงถึง 300 ไมไครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กและสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อด้านสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนในพื้นที่ อาทิ เด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ แม้กระทั่งประชาชนทั่วไปควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมในพื้นที่ที่มีหมอกควันปกคลุม หรือในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ควรจะต้องสวมหน้ากากหรือใช้ผ้าปิดจมูก ในช่วงหลังมานี้ ประเทศไทยประสบกับปัญหาสถานการณ์หมอกควันจากไฟป่าและการเผาในที่โล่งเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดหมอกควัน ฝุ่นละออง เขม่าควันออกสู่บรรยากาศ ทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ส่งผลกระกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมทั้งบดบังทัศนวิสัยการจราจรทั้งทางบกและทางอากาศ บางครั้งสายการบินจำเป็นต้องยกเลิกเที่ยวบินเพราะไม่สามารถบังคับเครื่องบินให้ขึ้นลงได้เนื่องจากเกรงว่าจะอันตรายจากทัศนวิสัยที่ไม่ดี ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นต่อเนื่องในระยะหลายปีที่ผ่านมา จำเป็นต้องหาทางแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ติดตาม เฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันกันอย่างจริงจัง สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็ก มลพิษทางอากาศ.. เป็นปัญหาที่ไม่เล็กสำหรับประเทศไทยอีกต่อไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องดำเนินมาตรการควบคุมการเผาในพื้นที่ชุมชน พื้นที่เกษตร การเผาริมทาง และพื้นที่ป่าอย่างจริงจัง หรือมีมาตรการลงโทษที่ชัดเจน และดำเนินการอย่างเข้มงวด รวมทั้งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจ สร้างความตระหนักให้กับทุกภาคส่วน และประชาชนร่วมมือกันในการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ ในขณะที่ภาครัฐ นักการเมืองและผู้ตัดสินใจเชิงนโยบายจะต้องมีความรอบคอบในการออกนโยบายต่างๆ มากขึ้น เพราะการกำหนดนโยบายพัฒนาภาคการขนส่ง หรือด้านพลังงานก็ดี ล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีจะเป็นกำลังสำคัญด้านหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงอนาคตของประเทศไทยให้ก้าวต่อไปอย่างยั่งยืน เอกสารอ้างอิง กรมควบคุมมลพิษ. สถานการณ์และการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง 2554 . กรุงเทพมหานคร . กรมควบคุมมลพิษ.2556. (ร่าง) รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2555. กรุงเทพมหานคร . Department for Environment, Food and Rural Affairs. 2010. Air Pollution: Action in a Changing Climate. Defra Publications ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชาวบ้านท่าตูมโวยทางการขุดลอกลำห้วยระวีรุกที่นา Posted: 30 Mar 2013 12:39 AM PDT ชาวบ้าน อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ร้องเรียนได้รับผลกระทบและได้รับความเดือนร้อนจากโครงการขุดลอกห้วยระวี โดยมีกรมทรัพยากรน้ำเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ เผยการขยายลำห้วยทับที่ดินของประชาชน เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 56 ที่ผ่านมานักข่าวพลเมืองประจำ จ.สุรินทร์ ได้รับการร้องเรียนจากราษฏรบ้านเฉนียง ต.บะ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ว่าได้รับความเดือนร้อนจากการขุดลอกห้วยระวี มีการขุดลอกรุกที่นาขอชาวบ้านกว่า 30 ราย นอกจากนี้ยังมีราษฏร ต.หนองเมธี อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ได้รับผลกระทบอีกเป็นจำนวนมาก จึงได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้องเท็จจริง พบว่า โครงการขุดลอกห้วยระวี ตลอกแนวลำห้วย จากบ้านเฉนียง ม.8 ยง ต.บะ อ.ท่าตูม ไปจนถึงเขตท้องที่ของอำเภอเมืองสุรินทร์ โดยมีกรมทรัพยากรน้ำเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และมี หจก.สินเจริญสนม เป็นผู้รับจ้าง จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ามีชาวบ้านได้รับผลกระทบและได้รับความเดือนร้อน เพราะมีการขยายลำห้วยทับที่ดินของราษฏรจริง นางพรนภา แก้วกล้า อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 3 ม.8 บ้านเฉนียง ต.บะ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ กล่าวว่า พวกเราไม่อยากต่อสู้กับทางการ เพราะรู้ว่าต่อสู้ไปก้ไม่มีทางชนะ แต่ก็ต้องสู้เพราะทางการมาเอาที่ดินของพวกเราไปหมด แล้วพวกเราจะมีที่ดินที่นาที่ไหนไวทำมาหากิน เมื่อมาขุดลอกลำห้วยระวีทับที่นาของพวกเรา ก็น่าจะมีการจ่ายค่าชดเชยเป็นค่าเวนคืนที่ดินให้พวกเราบ้าง นายรมย์ ซ่อนกลิ่น อายุ72 ปี อยู่บ้านเลขที่ 20/1บ้านเฉนียง ต.บะ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ กล่าวว่า การขุดลอกลำห้วยระวี ผู้รับเหมาได้ขุดดินขึ้นมาทิ้งบนที่นาและโค่นต้นไม้ออกไปหมดเลย ทั้งที่ที่นาของชาวบ้านมีกรรมสิทธิ์ถือครองเป็นโฉนดที่ดิน และ นส.3 กันทุกคน ทำไมทางการและผู้รับเหมามาทำร้ายและรักแกชาวบ้านกันอย่างนี้ แถมยังมีพระครูสุขุมธรรมโชติ หรือหลวงพ่อชื่น เจ้าอาวาสวัดศรีสว่างทุ่งโก ต.หนองเมธี อ.ท่าตูม มาคอยดูแลและบ่งการการขุดลอกลำห้วยระวี ถ้ามีการรุกที่ชาวบ้าน หลวงพ่อชื่นจะเป็นคนมาเคลียร์เอง ส่วนต้นไม้ที่ถูกตัดบนที่นาของชาวบ้านก็ขนเอาไปไว้ที่วัดเกือบหมด อยากถามว่า พระมายุ่งเกี่ยวอะไรด้วยกับเรื่องนี้ มันไม่ใช่กิจของสงฆ์ จากนั้นชาวบ้านผู้ได้รับความเดือนร้อนและผลกระทบจากการขุดลอกลำห้วยระวี ได้พาผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจความเสียผืนนาที่ถูกบุกรุก มีพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ ตลอดแนวลำห้วยระวี พบต้นไม่ถูกตัดโค่นโล่งเตียน มูลดินที่เกิดจากการลอกลำห้วยระวีถูกนำมาทิ้งบนที่นาของชาวบ้านตลอดแนว นางสำรวย ลักขษร อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 16 ม.8 บ้านเฉนียง ต.บะ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ กล่าวว่า แต่เดิมตนมีที่นาติดลำห้วยระวี จำนวน 6 ไร่ พอมีโครงการขุดลอกลำห้วยระวีขึ้นมา ที่นาของตนจำนวน 6 ไร่กลับหายไปหมด และตนจะเอาที่นาที่ไหนมาทำมาหากิน ทางการจะช่วยพวกเราได้อย่างไร (การกราบไหว้ของชาวบ้านต่อพระแม่ธรณีบนผืนนาของตนเองแล้วพูดเป็นภาษาเขมร แปลความได้ว่า หลวงมาเอาที่นาของพวกตนไปหมด แล้วจะเอานาที่ไหนมาทำกิน) ที่วัดศรีสว่างทุ่งโก ต.หนองเมธี อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ซึ่งมีป้ายติดบนศาลาการเปรียญ มีข้อว่า "สำนักงานสนามโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำห้วยระวี" ซึ่งผู้ดูแลสำนักแห่งนี้คือ พระครูสุขุมธรรมโชติ หรือหลวงพ่อชื่น เจ้าอาวาสวัดศรีสว่างทุ่งโก พบว่ามีกองไม้จำนวนมากตรงตามที่ชาวบ้านบอกทุกประการ ขณะที่หลวงพ่อชื่นกลับไม่อยู่ภายในวัดและไม่มีเจ้าหน้าที่สำนักงานสนามโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำห้วยระวีอยู่แม้แต่คนเดียว มีเพียงพระลูกวัด 2-3 รูป จากการสอบถามก็ไม่มีใครทราบว่าหลวงพ่อชื่นไปไหน นายทรงพล อารมณ์ชื่น ปลัดอาวุโสอำเภอท่าตูม กล่าวว่า ตามที่ราษฏรบ้านเฉนียง ต.บะ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ มาร้องเรียนว่าได้รับความเดือนร้อนจากการขุดลอกห้วยระวี ซึ่งมีการขุดลอกรุกที่นาขอชาวบ้านกว่า 30 ราย อำเภอลงพื้นที่ตรวจสอบแล้วพบว่ามีการรุกล้ำที่นาของชาวบ้านจริง โดยมีกรมทรัพยากรน้ำ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ และมี หจก.สินเจริญสนม เป็นผู้รับจ้าง ในวงเงินงบประมาณ 246 ล้านบาท และได้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยโดยผู้รับจ้าง ยินดีที่จะนำดินบริเวณที่ทับที่ดินของราษฏรออกให้ แต่ราษฏรไม่ยินยอม และขอให้มีการชดเชยเป็นค่าเสียหายแทน เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือนร้อนของราษฏร จึงขอให้สำนักทรัพยากรน้ำภาค 5จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่สุรินทร์ ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ปัญหาให้ราษฏรโดยด่วนต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เกาหลีเหนือประกาศภาวะสงครามกับเกาหลีใต้ Posted: 30 Mar 2013 12:29 AM PDT สำนักข่าวกลางของเกาหลีเหนือเผยเกาหลีเหนือประกาศภาวะสงครามกับเกาหลีใต้แล้วในวันนี้ สถานีโทรทัศน์ KCTV ของเกาหลีเหนือ วันนี้ (30 มี.ค.) เผยแพร่ภาพคิม จอง อึน หารือ "ภารกิจด่วน" กับนายทหารจากหน่วยยุทธการขีปนาวุธ ที่ฐานบัญชาการแห่งหนึ่งในกรุงเปียงยาง (ที่มา: KCTV)
30 มี.ค. 56 - สำนักข่าวกลางของเกาหลีเหนือ หรือ "KCNA" รายงานว่า เกาหลีเหนือประกาศภาวะสงครามกับเกาหลีใต้แล้วในวันนี้ สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า เกาหลีเหนือ ระบุในแถลงการณ์พิเศษว่า เกาหลีเหนือจะทำการรบอย่างเต็มรูปแบบ ที่เหนือกว่าการรบในพื้นที่ หากเกาหลีใต้ และสหรัฐยังคงทำกิจกรรมทางทหารรอบๆเขตปลอดทหารระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ขณะที่สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เกาหลีเหนือ ระบุในแถลงการณ์ว่า ทุกเรื่องราวระหว่างเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้จะถูกจัดการตามเงื่อนไขในภาวะสงคราม KCNA ระบุว่า ในที่สุดสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีที่อยู่ในภาวะสงครามก็ไม่ใช่สันติภาพก็ไม่เชิงมานานได้ยุติลงแล้ว ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โพลล์เผยพนักงานมหาวิทยาลัยไม่มีความพึงพอใจในสถานภาพ Posted: 30 Mar 2013 12:00 AM PDT 30 มี.ค. 56 - ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานภาพของพนักงานมหาวิทยาลัยโดยผู้ตอบแบบสอบถามคือพนักงานมหาวิทยาลัย โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากพนักงานมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 485 คน เก็บข้อมูลในวันที่ 29 - 30 มีนาคม 2556 ซึ่งการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ใช้การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจออนไลน์ นายสิงห์ สิงห์ขจร อาจารย์ประจำสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์การในฐานะประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ทางศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานภาพของพนักงานมหาวิทยาลัยโดยผู้ตอบแบบสอบถามคือพนักงานมหาวิทยาลัย เนื่องจาก "พนักงานมหาวิทยาลัย" มีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดจ้างพนักงานทดแทนอัตราข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการออกนอกระบบในปี พ.ศ. 2545 โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่มากกว่าฐานเงินเดือนของข้าราชการในปัจจุบัน คือ เพิ่มขึ้น 1.7 เท่า สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ และเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน แต่ในความเป็นจริงพนักงานมหาวิทยาลัย ได้รับเงินเดือนไม่เต็ม 1.5-1.7 เท่าตามมติคณะรัฐมนตรีปีพ.ศ. 2542 ไม่มีสวัสดิการแบบระบบราชการ มีการใช้สัญญาจ้างที่สั้น 1-3, 1-5 ปี ไม่มีระยะยาวถึงอายุ 60 ปี ทำให้พนักงานมหาวิทยาลัยไม่มีความมั่นคงในอาชีพ ไม่มีสวัสดิการ ทั้งๆที่ ในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศมีบุคลากรที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยมากกว่า 100,000 คน สิ่งที่แปลกใจมากกว่านั้นพนักงานมหาวิทยาลัย ในแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นมีอัตราเงินเดือน สัญญาจ้าง และสวัสดิการที่แตกต่างกัน ทั้งๆที่ได้รับงบประมาณจากรัฐเหมือนกัน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 5% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 กลุ่มตัวอย่าง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เสวนา ร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม ชี้ทางออกขอ กมธ. 1 ใน 3 Posted: 29 Mar 2013 11:47 PM PDT
ผ่าทางตันร่าง กม.ประกันสังคม นักวิชาการเสนอทางออก ขอกมธ.1 ใน 3 – หนุนที่มาคณะกรรมการฯร่างฯ เรวัต ภาคประชาชนถอนกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ประกาศไม่ร่วมสังฆกรรม ด้านประกันสังคมแจงร่างฯ รัฐบาลเพิ่มสิทธิผู้ประกันตน เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 56 - คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคมในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.)จัดเวทีสาธารณะเรื่อง ร่างกฎหมายประกันสังคมฉบับใหม่ กับจุดเปลี่ยนสำคัญ: อิสระ..ครอบคลุม..โปร่งใส..? ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คปก.ออกจมเปิดผนึก คว่ำร่างฯปชช. เสี่ยงขัดรธน. นางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เปิดเผยว่า คปก.ได้ออกจดหมายเปิดผนึก เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานวุฒิสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร สิทธิการเข้าชื่อโดยคปก.เห็นว่า การเสนอกฎหมายมีผลผูกพันการใช้อำนาจในการตรากฎหมายของสภาผู้แทนราษฎรการไม่รับหลักการร่างกฎหมายที่เสนอโดยประชาชน ไม่เพียงแต่เป็นการปฏิเสธสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองทางการเมืองโดยตรงของประชาชนเท่านั้น ยังเป็นการใช้อำนาจที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังเป็นการกระทำที่อาจไม่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยอีกด้วยทั้งนี้หากพิจารณาร่างกฎหมายประกันสังคมที่เสนอโดยนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 14,264คน พบว่า มีหลักการและสาระสำคัญเป็นการการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ให้ครอบคลุมแก่คนทำงานที่มีการขยายตัวอย่างกว้างขวาง การปรับปรุงและพัฒนาการบริหารกองทุนประกันสังคมให้มีความเป็นอิสระ มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ มีระบบการตรวจสอบที่เข้มแข็ง และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง เป็นการสะท้อนความต้องการของประชาชนผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายที่ต้องการปฏิรูปกฎหมายประกันสังคมเพื่อให้สมประโยชน์แก่ประชาชนผู้เข้าสู่ระบบประกันสังคม นางสุนี กล่าวว่า แม้ว่าร่างกฎหมายประกันสังคมที่เสนอโดยรัฐบาลร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และร่างกฎหมายที่เสนอโดยประชาชน จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ด้วยกระบวนพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎรที่มีขั้นตอนในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญสามารถเปิดโอกาสให้ความเห็นที่แตกต่างกันสามารถถกเถียงกันด้วยเหตุด้วยผลอย่างสร้างสรรค์และโดยสันติบนพื้นฐานของผลประโยชน์ของประชาชน ถือเป็นวิถีประชาธิปไตยที่ยึดถือปฏิบัติกันเสมอมา ด้วยเหตุดังกล่าวการมีมติไม่รับหลักการร่างกฎหมายที่เสนอโดยประชาชน จึงเป็นการปิดกั้นโอกาสไม่ให้ผู้แทนประชาชนได้เสนอเหตุผลเพื่อหาข้อสรุปที่ยอมรับกันได้ในการแก้ไขกฎหมายประกันสังคมให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนให้มากที่สุด "ดังนั้น คปก.จึงเห็นว่า เมื่อรัฐธรรมนูญได้รับรองให้ผู้แทนประชาชนที่เข้าชื่อเสนอกฎหมายเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด ย่อมแสดงให้เห็นว่าเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในกระบวนการและขั้นตอนการพิจารณาร่างกฎหมายที่เสนอโดยประชาชนของสภาผู้แทนราษฎรอย่างยิ่งยวด ดังนั้นการพิจารณาลงมติไม่รับหลักการร่างกฎหมายที่เข้าชื่อโดยประชาชนที่ไม่เป็นไปตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 163 อาจทำให้ร่างกฎหมายดังกล่าวไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และอาจทำให้ประชาชนขาดความเชื่อถือต่อสถาบันรัฐสภา" นางสุนี กล่าว ประกันสังคมแจง ร่างฯรัฐบาลเพิ่มสิทธิผู้ประกันตน นายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้อำนวยการกองนิติการ สำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า จุดแข็งของร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม คือ 1.ขยายความคุ้มครองจากเดิมที่คุ้มครองเฉพาะลูกจ้างส่วนราชการที่ทำงานรายวัน 2.ขยายสิทธิไปยังแรงงานนอกระบบ ที่เป็นลูกจ้างอิสระให้มาอยู่ในมาตรา 40 ตรงนี้รัฐไม่จ่ายเงินสมทบ เราจึงเห็นว่ารัฐควรจ่ายเงินสมทบให้กับลูกจ้างกลุ่มนี้ด้วย นอกจากนี้ประกันสังคมยังขยายความคุ้มครองให้กับลูกจ้างขอรับทุพพลภาพ จากเดิมต้องสูญเสียอวัยวะเกิน 50% ได้มีการแก้ไขกรณีที่สูญเสียหรือทุพพลภาพให้เป็นไปตามประกาศของการแพทย์ นอกจากนี้ยังขยายการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคส่วนกรณีเสียชีวิต ได้แก้ไขให้ผลประโยชน์ตกแก่ทายาทอื่นได้เพราะให้เห็นว่าเงินจำนวนนี้ควรตกแก่ผู้ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังกำหนดกรณีว่างงาน กรณีเกิดภัยพิบัติที่นายจ้างไม่สามารถจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างได้ ตรงนี้ได้แก้ไขให้จ่ายเงินให้กับลูกจ้างในกรณีด้วย นักวิชาการเสนอทางออก ขอกมธ.1 ใน 3 – หนุนที่มาคณะกรรมการฯร่างฯเรวัต นายกิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ คณะวิจัย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษา แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า มีทางออกอย่างน้อย 2 ทางคือ 1.อาจจะต้องต่อสู้ในเรื่องของสัดส่วนกรรมาธิการวิสามัญจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ในเมื่อรัฐธรรมนูญได้รับรองให้ผู้แทนประชาชนที่เข้าชื่อเสนอกฎหมายเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด ดังนั้นการพิจารณาไม่รับหลักการร่างกฎหมายที่เข้าชื่อโดยประชาชนที่ไม่เป็นไปตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 163 อาจทำให้ร่างกฎหมายดังกล่าวไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ2.ร่วมกันพิจารณาร่างฯของนายเรวัต อารีรอบ ส.ส.ผู้เสนอร่างฯฉบับที่สภารับในหลักการแล้ว ยังมีช่องทางสนับสนุนในประเด็นเรื่องคณะกรรมการฉะนั้นมีโอกาสจะไปแก้ไขตรงจุดนั้นได้ และขอเน้นย้ำว่า สิ่งที่รัฐบาลทำอาจะเป็นปัญหาที่ทิ้งไว้ในอนาคตได้ "สิ่งที่เราเสนออยู่ภายใต้ฐานวิชาการ โดยเสนอจัดตั้งให้เป็นองค์กรมหาชน หรืออาจจะแก้ไขทั้งฉบับ ซึ่งจากการสำรวจพบว่าในเรื่องความต้องการภายในองค์กรนั้น เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่อยากให้เป็นองค์กรมหาชน เหตุผลความเป็นอิสระจึงยอมรับได้ในทางวิชาการ แต่ที่เห็นคือร่างฯฉบับรัฐบาลกลับไม่ได้แก้ไขในจุดนี้ ไม่ได้แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ หากปล่อยไปอาจจะเกิดปัญหาในภายหลัง กองทุนก็จะมีปัญหาที่จะต้องจ่ายเงินไปในอนาคต สิ่งที่รัฐบาลสนใจกลับไม่ได้เป็นหัวใจ แต่เป็นเรื่องอื่นๆ เป็นสิ่งที่น่าเสียดาย ทั้งหมดนี้จะย้อนกลับมาที่ประโยชน์ของประเทศและประชาชน"นายกิตติพงศ์ กล่าว ภาคประชาชนถอนกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ประกาศไม่ร่วมสังฆกรรม นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ผู้แทน พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ...กล่าวว่า ตนขอปฏิเสธการเป็นกรรมาธิการวิสามัญในครั้งนี้ เนื่องจากมองว่าเป็นเสียงข้างน้อยไม่อาจทำอะไรได้ จึงไม่ร่วมสังคกรรมครั้งนี้ทั้งนี้หากพิจารณาสภาพปัญหาพบว่า สำนักงานประกันสังคมถูกแทกแซงได้ง่ายจากฝ่ายการเมือง ขณะเดียวกันพบว่ารัฐบาลยังค้างจ่ายเงินประกันสังคมจำนวนมาก โอกาสจะเกิดการคอรัปชั่นมีสูง จากสาเหตุที่มีการนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ,การให้อำนาจคณะกรรมการมีอำนาจในการตัดสินใจได้เองขณะที่เจ้าของเงินไม่มีการตัดสินใจเอาเงินไปใช้และยังพบด้วยว่ามีการเบิกจ่ายเงินเพื่อไปดูงานต่างประเทศจำนวนเงินกว่า 30 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาดังนั้นถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปลี่ยนองค์กรประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ เพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกันตนอย่างแท้จริง นางสาววิไลวรรณ กล่าวว่า ร่างฯฉบับประชาชนมีข้อเปรียบต่างอยู่หลายประเด็นคือ การให้ความคุ้มครองทุกภาคส่วน สำหรับคณะกรรมการประกันสังคมเน้นกระบวนการในการสรรหาให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เพื่อให้ได้มืออาชีพในการบริหารจัดการ สิทธิประกันตนก็มีโอกาสจะเพิ่มขึ้น จึงถึงเวลาแล้วที่ประกันสังคมจะเป็นองค์กรอิสระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่ต่างกันมากที่สุด คือ สิ่งที่เรียกร้องไม่ว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์ ต้องการให้มีการรักษาพยาบาลให้ครอบคลุมทุกโรค ทุกโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาของภาครัฐ กรณีผู้ประกันตนที่มีอายุ 55 ปี ควรได้รับสิทธิการว่างงานได้ด้วย เช่นเดียวกันในกรณีการสูญเสียอวัยวะอย่างใดอย่างหนึ่งก็สามารถได้รับการคุ้มครองด้วย ปชป.กังขา รัฐบาลจ้องฮุบผลประโยชน์กองทุนฯ นายนคร มาฉิม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ผู้เสนอร่า งพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่..)พ.ศ.... กล่าวว่า รัฐบาลไม่มีความจริงใจต่อประชาชน และรัฐบาลมีผลประโยชน์แอบแฝงในเรื่องการบริหารเงินกองทุน หรือไม่ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้รัฐบาลและเสียงส่วนใหญ่ในสภาไม่รับในหลักการร่างฯครั้งนี้ เพราะไม่ต้องการให้สำนักงานประกันสังคมมีความเป็นอิสระ รัฐบาลต้องการกำกับดูแลให้อยู่ในการควบคุมของรัฐบาลโดยตรง ขณะเดียวกันตั้งคำถามถึงผู้แทนแรงงานด้วยว่ามีความเป็นเอกภาพมากน้อยแค่ไหนที่จะขับเคลื่อนผลักดันเจตนารมณ์ของร่างฯฉบับนี้ เพราะหากขาดความเป็นเอกภาพจะทำให้รัฐบาลใช้เป็นข้ออ้างได้ "กรรมาธิการที่สภาตั้งไว้มีจำนวน 31 คนในจำนวนดังกล่าวมีส.ส.พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.)จำนวน 8 คน หากนางสาววิไลวรรณ ปฏิเสธการเป็นกรรมาธิการในครั้งนี้สภาฯก็ต้องเลือกแทนตำแหน่งที่ว่างลง ส่วนปชป.จะร่วมเป็นกรรมาธิการหรือไม่จะขอนำเรื่องนี้หารือกันภายในพรรคก่อนที่จะมีท่าทีอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา" นายนคร กล่าว นายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ กรรมการการแพทย์ คณะกรรมการประกันสังคม กล่าวว่า กฎหมายประกันสังคมมีมิติทางประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานจำนวนมากที่กว่าจะได้กฎหมายฉบับนี้ทำให้ผู้ใช้แรงงานมีความรู้สึกว่ามีความเป็นเจ้าของสูง ดังนั้นการไม่รับหลักการร่างฯประกันสังคมฯครั้งนี้อาจเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่จะหมิ่นเหม่ขัดต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญหรือไม่ ขณะเดียวกันปัญหาของประกันสังคมที่สำคัญที่สุดคือหลักการของระบบประกันสังคมที่ยึดเรื่องของการสร้างความมั่นคงของกองทุนเป็นหลัก ซึ่งแท้ที่จริงระบบประกันสังคมควรจะยึดหลักความมั่นคงของผู้ประกันตนเป็นหลัก ตรงนี้คิดว่าเป็นหัวใจ ควรจะเปลี่ยนจากหลักเดิมยึดเอาผู้ประกันตนเป็นศูนย์กลาง "ข้อเสนอในแง่เนื้อหาจะต้องเปลี่ยนแนวคิดระบบประกันสังคมให้เกิดความเท่าเทียมกัน เช่น จะเก็บเงินก็ต้องเก็บเงินให้หมด และต้องเปลี่ยนจุดมุ่งหมายของประกันสังคมที่เน้นผู้ประกันตนเป็นศูนย์กลาง สำนักงานควรจะเป็นองค์กรอิสระ รวมถึงสิทธิประโยชน์ควรขยายครอบคลุมมากขึ้น มีการจัดบริการที่ได้มาตรฐาน ดังนั้นโดยรวมสำหรับกฎหมายใหม่ที่กำลังจะออกมาควรเพิ่มเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชน ,การคุ้มครองสิทธิ ,การควบคุมให้ได้มาตรฐาน" นายแพทย์ประทีป กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พิจารณาร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน มติสภา 284:152 รับหลักการ Posted: 29 Mar 2013 11:27 PM PDT สภาฯ มีมติ 284:152 เห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านวาระแรก ตั้งกรรมาธิการวิสามัญ 36 คนพิจารณา ประชุมนัดแรก 2 เม.ย. 29 มี.ค. 56 - ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติ 284 เสียง ต่อ 152 เสียง งดออกเสียง 21 ไม่ลงคะแนน 7 เสียง ให้ความเห็นชอบในหลักการวาระแรก ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ พ.ศ….. และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณา 36 คน แปรญัตติภายใน 30 วัน โดยนัดประชุมวันแรก 2 เม.ย. นี้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ รมว.คลัง กล่าวก่อนลงมติว่า การลงทุนครั้งนี้เป็นการวางรากฐานครั้งสำคัญของประเทศ ขณะนี้จีดีพีของประเทศมีขนาด 12 ล้านล้านบาท ซึ่งการลงทุน 2 ล้านล้านบาท นี้ไม่ได้กู้ทีเดียว แต่ตามแผนจะสิ้นสุดปี 2563 หรืออีก 7 ปีเศษ ซึ่งขณะนี้ เศรษฐกิจของประเทศมีฐานะการเงินเข้มแข็ง มีเงินทุนสำรองอยู่ประมาณ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีสภาพคล่องส่วนเกินมากกว่า 3 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบเป็นคนซึ่งมีสภาวะแข็งแรงและตัดสินใจกู้เงินมาซื้อบ้าน เปรียบเทียบกับอีกคนที่ไม่ซื้อ แต่เก็บหอมรอมริบหลายปี หลายทศวรรษผ่านไป ก็ไม่อาจซื้อบ้านเป็นของตัวเองเหมือนคนแรกได้เพราะบ้านจะมีแนวโน้มขยับสูงขึ้น อาจจะต้องจ่ายค่าเช่าบ้านแทน เหมือนกับประเทศไทย หากไม่จ่ายค่าดอกเบี้ยจากการกู้เงินก็จะต้องเสียโอกาสที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ การขนส่งลงทุน นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ในเรื่องความโปร่งใสยืนยันว่าจะใช้หลักเกณฑ์คำนวนราคากลางใหม่ และปฏิบัติตามกฎหมายที่จะเปิดเผยราคากลาง มีความโปร่งใส โดยจะมีการเตรียมความพร้อม มีหน่วยงานกำกับ กลั่นกรอง และยืนยันจะกู้เงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งจะเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยหนี้สาธารณะเทียบกับจีดีพีไม่เกินจะไม่เกิน 50% ที่มาข่าว : โพสต์ทูเดย์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น