โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

บันทึกจำเลย เพชร แสงมณี: 'ระหว่างทางกลับบ้าน' พ.ค. 53 แรงงานกัมพูชาในคุกไทย

Posted: 04 Mar 2013 09:25 AM PST

 

เพชร แสงมณี เกิดปี 2526 เป็นชาวโมงรืซเซ็ย (Moung Ruessie) จ.พระตระบอง ประเทศกัมพูชา ตามหลักการเขียนชื่อ-นามสกุลของชาวกัมพูชาจะเอานามสกุลขึ้นก่อนชื่อ แต่เจ้าหน้าที่ไม่ทราบจึงเรียกชื่อเขาผิด ชื่อของเขาคือ "แสงมณี" นามสกุล "เพชร" เขาสามารถอ่าน-เขียนได้ทั้งภาษากัมพูชา, ไทย และอังกฤษ แต่ไม่คล่องนัก

ปี 2540 เขาต้องเดินทางไป-มาผ่านชายแดนกัมพูชา-ไทยเกือบทุกวันเพื่อรับจ้างเข็นรถขนของ แถวตลาดแห่งหนึ่งใน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ เขาต้องเช่ารถจากเจ้าของรถวันละ 300 บาท และเช่าพื้นที่จอดรถหน้าตลาดอีกเดือนละ 1,500 บาท
เกือบทุกวันเขาต้องตื่นตั้งแต่เวลา 4.00 น. เพื่อมารอข้ามแดนที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองซึ่งจะเปิดตอนเวลา 6.00 น. และต้องกลับกัมพูชาทุกวันก่อนเวลา 18.00 น. เขาต้องเสียค่าผ่านแดนฝั่งละ 20 บาท เมื่อมีคนมาจ้างเขาเข็นของ หากเป็นการเข็นของภายในตลาด (ไม่ต้องข้ามชายแดน) เขาจะคิดค่าเข็นประมาณครั้งละ 100-200 บาท (ค่าเข็นรถ+ค่ายกของ) แต่ถ้าเป็นการเข็นของข้ามฝั่งไปกัมพูชาราคาจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 เท่าตัวขึ้นอยู่กับระยะทาง (เขาต้องเสียค่าข้ามแดนไป 20 บาท และข้ามแดนกลับอีก 20 บาท)
 


 

แม้เขาจะมีรายได้วันละ 500-600 บาท แต่เป็นงานที่หนักมากสำหรับเด็กอายุ 14 ปีทำให้เขาต้องหยุดพักเป็นระยะๆ แต่ละเดือนเขาจึงทำงานได้เพียงกว่า 20 วันเท่านั้น เขาต้องเช่าบ้าน (ฝั่งกัมพูชา) และส่งเงินกลับบ้าน โดยผ่านนายหน้า ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายร้อยละ 5

ผ่านไปหลายเดือนเขาตัดสินใจที่จะเปลี่ยนงานจึงทำหนังสือผ่านแดนชั่วคราว (Temporary Border Pass) เพื่อสามารถพำนักอยู่ในประเทศไทยได้ 7 วัน โดยเสียค่าใช้จ่าย 1,500 บาท และเดินทางเข้ากรุงเทพเพื่อมาหางานทำ ตั้งแต่เขาเข้ามาในกรุงเทพ เขาไม่เคยติดต่อกลับบ้านอีกเลย

เขาทำงานเป็นกรรมกรก่อสร้างในโครงการหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง แถวรังสิต คลอง 3 โดยได้ค่าแรงวันละ 190 บาท ค่าแรงจะออกสัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีที่พัก-อาหารให้ แต่ค่าอาหารจะหักออกจากค่าแรง โครงการนี้มีคนทำงานกว่า 1,000 คน มีทั้งชาวไทย, ลาว, พม่า และกัมพูชา

3 สัปดาห์แรกเขาได้รับค่าแรงตามปกติ แต่หลังจากนั้นเขาก็ไม่ได้อีกเลย เจ้าของโครงการอ้างว่ายังไม่มีเงินจ่าย ส่งผลให้คนทำงานทยอยลาออกไปเรื่อยๆ แต่เขายังทนทำงานอยู่อีกนานกว่า 7 เดือน ในที่สุดเมื่อไม่ได้รับค่าแรงเขาจึงตัดสินใจออกไปหางานใหม่ทำ ตลอดเวลาของการทำงานที่นี่เขาได้รับค่าแรงเพียงกว่า 3,000 บาทเท่านั้น

เขาย้ายมาทำงานที่ร้านขายโรตีสายไหมในตลาดแห่งหนึ่งแถวบางกะปิ โดยได้รับเงินเดือน 5,000 บาท พร้อมอาหารและที่พัก เขาชื่นชมเจ้านายของเขาว่าเป็นคนใจดีมาก เจ้านายของเขาพาเขาไปขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวจึงทำให้เขากลายเป็นแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย

ผ่านไป 5 ปีน้องชายของสามีของเจ้านายเขาเปิดสาขาใหม่ในตลาดแห่งหนึ่งแถวคลองเตย เขาจึงถูกย้ายไปช่วยงานที่สาขาคลองเตย แต่ในใจของเขาอยากทำงานที่เดิมมากกว่า บางครั้งเขาจึงเดินทางไปหาเจ้านายของเขาที่สาขาบางกะปิ

19 พ.ค. 53 เขาเดินทางมาที่สาขาบางกะปิ แต่ขากลับต้องเดินเท้าจากสาขาบางกะปิกลับมาที่สาขาคลองเตย เนื่องจากในวันดังกล่าวไม่มีรถประจำทางวิ่งบนถนน เขาเดินบน ถ.สุขุมวิท 77 (ปรีดี พนมยงค์) ซึ่งอยู่เยื้องกับ ธ.กรุงเทพ สาขาพระโขนง ขณะนั้นมีกลุ่มผู้ชุมนุมหลายร้อยคนชุมนุมอยู่หน้าธนาคารดังกล่าว เมื่อรถตำรวจเดินทางมาถึงหน้าธนาคารดังกล่าว และเปิดเสียงไซเรน กลุ่มผู้ชุมนุมทั้งหมดจึงวิ่งหนีเข้าไปใน ถ.ปรีดี พนมยงค์ และชนกับเขาซึ่งกำลังเดินอยู่จนล้มลงกับพื้น
กลุ่มผู้ชุมนุมเดินผ่านไป ด้วยความกลัวเขาจึงเดินข้ามถนนไปยังอีกฝั่งของถนน ชายคนหนึ่งเดินเข้ามาจับกุมตัวเขาทางด้านหลัง

"จับผมทำไม"

ชายที่จับเขาไม่พูดอะไร เขาพยายามขัดขืน แต่ชายที่จับเขาล็อกตัวเขาไปหาตำรวจที่ยืนรออยู่หน้าธนาคารดังกล่าว เมื่อมาถึงหน้าธนาคารดังนั้น ตำรวจจับกุมเขาพร้อมใส่กุญแจมือ และพาเขาไปยืนถ่ายรูปที่หน้าธนาคารดังกล่าว เขาสังเกตเห็นกระจกหน้าธนาคารดังกล่าวแตกอยู่ มีเศษกระจกกองอยู่กับพื้น เขายืนยันว่า เวลานั้นธนาคารดังกล่าวยังไม่เกิดเพลิงไหม้

ชายที่จับเขาบอกกับตำรวจหลายคนที่ยืนอยู่ว่าให้เอาตัวเขาไปก่อนแล้วค่อยสอบสวนทีหลัง หลายนาทีผ่านไปรถกระบะตำรวจมาจอดที่หน้าธนาคารดังกล่าว เขาถูกควบคุมตัวไปนั่งเก้าอี้เบาะหลัง โดยมีตำรวจ 2 คนนั่งขนาบด้านข้าง รถกระบะพาเขาไป สน.คลองตัน

เมื่อถึง สน.คลองตัน เขาถูกพาตัวเข้าห้องสอบสวนทันที ในห้องสอบสวนมีตำรวจอยู่กว่า 10 คน เขาสังเกตเห็นว่า ภายในห้องมีสิ่งของหลายอย่างวางอยู่บนโต๊ะ เช่น ไฟแช็กก๊าซ, ผ้าชุมน้ำมัน และสติ๊กเกอร์ เขาถูกค้นตัว และถูกยึดเงินสดที่อยู่ในกระเป๋ากางเกงของเขาเกือบ 400 บาท เขาถูกจับนั่งลงกับพื้น

ตำรวจถามเขาว่า "ใครจ้างมึงเผา"  เขาได้แต่ตอบปฏิเสธไม่รู้เรื่อง เพราะเพิ่งกลับจากที่ทำงาน ตำรวจกระทืบเขาที่ตัวและใบหน้าของเขาหลายครั้งจนเขาต้องยกมือไหว้ขอชีวิต บางครั้งตำรวจนำผ้าดำมาคลุมศีรษะของเขา และใช้ปืนจ่อเพื่อบังคับให้รับสารภาพ เขายังคงปฏิเสธ

ตำรวจถามว่า "เนวินจ้างมึงหรอ" เขาตอบว่าไม่รู้จัก จากนั้นตำรวจบังคับให้เขายืนชี้ของกลางบนโต๊ะเพื่อถ่ายรูป แต่เขาปฏิเสธ แต่ก็โดนข่มขู่ว่าถ้าไม่รับจะ "โดน" อีก ในที่สุดเขาก็ยอมรับชี้ไปที่ของกลางเพื่อถ่ายรูป เขาถูกทำร้ายจากตำรวจหลายชั่วโมง แต่เขาก็ใจแข็งพอที่จะไม่ยอมรับสารภาพ ในที่สุดตำรวจนำกระดาษเปล่า 1 แผ่นมาให้เขา แล้วพูดว่า "ไหนลองเขียนชื่อตัวเองดูซิ"  เขายอมเขียนชื่อของตัวเองบนกระดาษเปล่าเป็นภาษากัมพูชาด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการ หลังจากนั้นเขาก็ถูกส่งตัวเข้าห้องขัง วันนั้นเขาไม่ได้กินอะไรเลย

2.00 น. ของวันถัดมาเขาถูกนำตัวออกมาสอบสวนอีกครั้ง โดยตำรวจชุดใหม่ซึ่งเข้ามาถามคำถามเดิมว่า "ใครจ้างมึงมาเผา" เมื่อปฏิเสธก็โดนกระทืบร่างกายหลายครั้ง แต่มี 1 ครั้งที่เตะเข้าที่ชายโครงด้านขวาของเขาอย่างรุนแรง เขาถูกส่งตัวเข้าห้องขังอีกครั้

7.00 น. เขาถูกนำตัวออกจากห้องขังอีกครั้ง และถูกกระทำเช่นเดียวกับ 2 ครั้งที่ผ่านมา ตำรวจอ้างว่า เขาลงลายชื่อให้การรับสารภาพแล้ว ตอนนั้นเขาถึงเพิ่งรู้ว่า ชื่อภาษากัมพูชาที่เขาถูกหลอกให้เขียนก่อนหน้านี้ถูกนำมาปลอมเป็นลายมือชื่อในเอกสารรับสารภาพ เขาถูกเตะที่ปลายคางจนสลบไปเกือบ 2 ชั่วโมง

9.00 น. เขาถูกปลุกให้ตื่น และถูกส่งฟ้องที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ เขาถูกส่งตัวเข้าไปเรือนจำพิเศษกรุงเทพ คืนนั้นเขารู้สึกเจ็บชายโครงที่ถูกเตะอย่างมากจนไอเป็นเลือด และแทบจะกินอะไรไม่ได้ ต่อมาเขาถูกย้ายไปแดน 4

1 สัปดาห์ผ่านไปแพทย์ในเรือนจำ ตรวจอาการของเขา และบอกว่า เขาไม่เป็นไร ตอนนั้นเขารู้สึกไม่พอใจ และบอกเพิ่มเติมว่า เขามีอาการไอเป็นเลือด แต่แพทย์ในเรือนจำก็ให้เพียงยาแก้อับเสบกับเขาเท่านั้น หลายวันผ่านไปอาการของเขาไม่ดีขึ้น ยาที่ได้รับมาจากแพทย์ในเรือนจำไม่ได้ผล

เพื่อนนักโทษในเรือนจำแนะนำให้เขาหยุดกินยาที่แพทย์ในเรือนจำให้ แต่ให้เก็บสมุนไพรชนิดหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่ริมกำแพงมาเคี้ยวกินแทน หลังจากกินไป 1 สัปดาห์อาการของเขาดีขึ้น เขาจึงกินต่อเกือบ 1 เดือนจนในที่สุดอาการของเขาก็หายเป็นปกติ

20 ก.ย. 54 ศาลพิพากษายกฟ้องข้อหาก่อการร้าย แต่ลงโทษจำคุกฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ 6 ปี, ฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 4 เดือน และฐานเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด 4 เดือน แต่จำเลยให้การรับสารภาพในข้อหานี้จึงมีเหตุให้บรรเทาโทษลงกึ่งหนึ่ง คงเหลือโทษจำคุก 2 เดือน รวมโทษจำคุก 6 ปี 6 เดือน

เขาตัดสินใจที่จะไม่อุทธรณ์คดีนี้ เพราะหวังที่จะได้รับการลดโทษจาก พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ 2554 และ พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ 2555 แต่ความหวังก็ต้องดับสิ้นลง เมื่ออัยการอุทธรณ์ในข้อหาก่อการร้าย ทำให้เขาพลาดโอกาสในการรับการลดโทษ

5 ก.พ. 56 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องในข้อหาก่อการร้าย ส่วนข้อหาอื่นไม่มีการอุทธรณ์จึงไม่มีการพิจารณา

เขาบอกว่า เขาเห็นด้วยกับการนิรโทษกรรม รัฐบาลชุดนี้ควรให้ความสำคัญกับนักโทษทางการเมือง โดยเฉพาะผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ รัฐบาลควรให้การเยียวยามากกว่าผู้ที่เสียชีวิต ขณะนี้ครอบครัวของผู้ถูกคุมขังกำลังลำบาก

เขายืนยันที่ไม่อยากจะกลับกัมพูชา และไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับสถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยอีก เขาเชื่อว่า การที่กัมพูชายื่นมือเข้าช่วยเขาในช่วงนี้เป็นเพียงเกมการเมืองเท่านั้น เช่นเดียวกับกรณีของ วีระ สมความคิด และ ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ที่เป็นเพียงเกมการเมืองของทั้ง 2 ประเทศ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อวัตถุศึกษากับอธิป: ญี่ปุ่นบุกจับหลายสิบฐานโหลดไฟล์เถื่อน / บ.จีนรับจ้างเซ็นเซอร์คอมเมนต์

Posted: 04 Mar 2013 08:10 AM PST

ติดตามประมวลข่าวสารลิขสิทธิ์ กับ 'อธิป จิตตฤกษ์' นำเสนอข่าวตำรวจญี่ปุ่นบุกจับคนฐานโหลดไฟล์เถื่อน, วาติกันลบทวีตโป๊บเบเนดิกท์เกลี้ยง, ศาลนิวซีแลนด์กลับคำตัดสิน-ส่งผู้ก่อตั้ง 'Megaupload' ขึ้นศาลสหรัฐ

 

Immaterial Property Research Center ตั้งขึ้นในวันที่ 18 มกราคม หรือ "วันเสรีภาพอินเทอร์เน็ต" เพื่อเป็นศูนย์ข่าว ศูนย์ข้อมูล และศูนย์วิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุ (หรือที่เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าทรัพย์สินทางปัญญา) ต่างๆ อย่างสัมพันธ์กับระบบกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจ และระบบการเมืองในโลก ทางศูนย์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานของศูนย์ฯ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุที่เอื้อให้เกิดเสรีภาพในเชิงบวกไปจนถึงความเท่าเทียมกันของผู้คนในโลก

 

26-02-2013

หลังจาก Pirate Party สวีเดนโดนกลุ่ม "พันธมิตรสิทธิ" ขู่จะฟ้องฐานเป็นโฮสต์ให้ The Pirate Bay ทาง Pirate Party สวีเดนก็ละบทบาทนี้แล้วส่งต่อให้ Pirate Party นอร์เวย์ และ Pirate Party สเปนรับบทบาทต่อแทน

ทั้งนี้กรณีคล้ายกันก็เกิดขึ้นกับ Pirate Party อังกฤษที่โดนกลุ่มลิขสิทธิ์ชื่อดัง BPI ขู่ฟ้อง ฐานเปิด Proxy ให้ The Pirate Bay ซึ่งเรื่องจบลงด้วยการที่ Pirate Party อังกฤษหยุดให้บริการ Proxy เพื่อหลีกเลี่ยงการฟ้อง และ Pirate Party อาร์เจนตินา และ Pirate Party ลักเซมเบิร์ก ก็เปิด Proxy มาแทน Proxy ของ Pirate Party อังกฤษที่หยุดให้บริการไป

News Source:  http://torrentfreak.com/the-pirate-bay-departs-sweden-and-sets-sail-for-norway-and-spain-130225/

 

นักการเมืองจอร์เจียอ้างว่าการสร้างความขำขันกับผู้คนไม่ใช่สิ่งที่จะได้รับการคุ้มครองภายใต้หลัก Free Speech ในรัฐธรรมนูญ หลังจากที่เขาโดนตัวต่อหัวไปใส่ในรูปโป๊ในบล็อกการเมืองท้องถิ่นแห่งหนึ่ง

News Source:  http://www.techdirt.com/articles/20130218/03414722014/georgia-lawmaker-claims-making-fun-someone-isnt-protected-speech-seeks-to-outlaw-vulgar-photoshopping.shtml , http://news.cnet.com/8301-17852_3-57569287-71/politician-moves-to-make-vulgar-photoshopping-illegal/

 

28-02-2013

Donald Trump ฟ้อง Bill Maher ฐานไม่ยอมจ่ายเงิน 5 ล้านดอลลาร์หลังจาก Maher เล่นมุกล้อเลียนข้อเรียกร้องของ Trump กับประธานาธิบดีโอบามาออกรายการ Late-Night Show

เรื่องมีอยู่ว่า Bill Maher พิธีกรและตลกชื่อก้องของสหรัฐเล่นมุกในรายการ Late-Night Show ว่าจริงๆ แล้ว นักบริหารระดับ "เซเล็บ" อย่าง Donald Trump นั้นเป็นลูกอุรังอุตัง แม่ Trump ของไปเอากับอุรังอุตัง หลักฐานคือสีผมของ Trump กับสีขนของอุรังอุตังนั้นดูจะเป็นเพียงสองสิ่งที่มีสีเหมือนกันในธรรมชาติ และ Maher ก็เสริมกว่าถ้า Trump แสดงสูติบัตรมา เขาจะให้เงิน 5 ล้านดอลลาร์กับ Trump เพื่อให้ Trump เอาไปบริจาคกับองค์กรการกุศลใดก็ได้ที่เขาต้องการ ซึ่งข้อเรียกร้องนี้ Trump ก็เคยประกาศแบบเดียวกันเป๊ะว่าจะให้เงิน 5 ล้านกับการกุศลที่ประธานาธิบดีโอบามาต้องการหากประธานธิบดีโอบามาเปิดเผยเอกสารการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยและเอกสารขอพาสปอร์ตของเขา

วันรุ่งขึ้นทนายของ Trump ก็เขียนจดหมายถึง Maher พร้อมแนบสูติบัตรมาให้และเรียกร้อง Maher ให้จ่ายเงิน 5 ล้านดอลลาร์  แต่ Maher ไม่ใส่ใจ Trump จึงฟ้องเพื่อเรียกค่าเสียหาย 5 ล้านดอลลาร์กับ Maher

หลังจากการฟ้อง Maher ก็ได้กล่าวใน Late-Night Show เป็นการตอบกลับการฟ้องว่า Trump ต้องเข้าใจ "ว่าอะไรคือตลก อะไรคือสัญญา" และอธิบายว่าการล้อเลียนคืออะไร พร้อมเอาจดหมายของทนาย Trump มาอ่านให้ผู้ชมฟังสดๆ ในรายการพร้อมสำทับว่า "พวกโง่นี่จะรู้มั้ยว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่คนจะมีลูกกับอุรังอุตัง"

นักกฎหมายเห็นว่า Maher น่าจะชนะคดีนี้ และยังไม่พอทนายของ Maher ยังน่าจะจะฟ้องกลับบนฐานของกฎหมาย Anti-SLAPP (Anti-Strategic lawsuit against public participation) หรือกฎหมายต่อต้านการฟ้องร้องที่ขัดขวางการมีส่วนร่วมของสาธารณะตามกฎหมายของแคลิฟอร์เนียได้อีกด้วย

News Source: http://www.jdsupra.com/legalnews/donald-trump-sues-bill-maher-for-monkeyi-55247/

 

01-03-2013

ตำรวจญี่ปุ่นบุกสถานที่กว่า 124 แห่งและจับกุมคน 27 ฐาน "โหลด" ไฟล์เถื่อน

สืบเนื่องจากกฎหมายญี่ปุ่นที่ออกมาเมื่อเดือนตุลาคมที่แล้ว มีการระบุว่าการดาวน์โหลดและอัปโหลดไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษทั้งจำทั้งปรับ โดยการดาวน์โหลดมีโทษจำคุกสูงสุด 2 ปี หรือปรับ 2 ล้านเยน (ประมาณ 640,000 บาท) และการอัปโหลดมีโทษจะคุกสูงสุด 10 ปีและปรับ 10 ล้านเยน (ประมาณ 3,200,000 บาท)

กฎหมายนี้สร้างความสั่นสะเทือนมากเพราะโทษหนักมาก และยกระดับอย่างก้าวกระโดด จากที่การกระทำเหล่านี้ไม่มีโทษในกฎหมายเก่า และก็ไม่มีที่ไหนจะปราบปรามกันหนักแบบนี้ ประเทศที่ว่าเข้มงวดมากอย่าง เกาหลี ฝรั่งเศส หรือล่าสุดก็อเมริกา การกระทำอย่างการ "โหลดเพลง" ก็จะส่งผลให้ถูกตัดเน็ตอย่างหนักที่สุด (ซึ่งคนก็โวยวายกันแล้ว) และก็โดนฟ้องทางแพ่ง (ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ)

แต่โดยทั่วไป จะไม่มีการใช้กำลังตำรวจของรัฐไปบุกจับคนที่กระทำผิดแค่โหลดไฟล์เถื่อนเท่านั้น

สิ่งที่ญี่ปุ่นทำหลังกฎหมายบังคับใช้ไป 5 เดือนที่เอาตำรวจไปบุกบ้านคนดาวน์โหลดและอัปโหลดไฟล์เถื่อน จึงน่าจะเป็นการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ที่รุนแรงมากๆ (หรืออาจใช้คำว่าป่าเถื่อนก็ได้ด้วยซ้ำ)

ทั้งนี้ต้องเข้าใจด้วยว่าในกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านโปรแกรมบิตทอร์เรนต์นั้น ผู้ "โหลด" ไฟล์บิตทอร์เรนต์นี่ถือว่าทั้งทำการ "ดาวโหลด" และ "อัปโหลด" ไปพร้อมกันด้วย ดังนั้นในทางเทคนิคแล้วการโหลดบิตในญี่ปุ่นก็อาจทำให้ตำรวจมาบุกบ้าน ยึดคอมพิวเตอร์ จับกุม และการดำเนินคดีอาจจะไปจบที่การจำคุก 10 กว่าปี และโดนปรับไปอีกหลายล้านบาทได้

ซึ่งนี่เรากำลังพูดถึง 1 การละเมิดเท่านั้น ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะนับโทษการละเมิดย่อยๆ หรือไม่ เช่น ถ้าเราโหลดเพลงผ่านบิตทอร์เรนต์มา 1 อัลบั้มมี 10 เพลง ก็ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ ว่าโทษจะเป็น 10 เท่าของที่ว่ามาหรือไม่

หรือตอนนี้เราอาจจะกำลังอยู่ในโลกที่การโหลดเพลงมา 1 อัลบั้มทำให้ถูกจำคุกตลอดชีวิตไม่ใช่แค่เรื่องตลกอีกต่อไปแล้วก็ได้

News Source: http://torrentfreak.com/japanese-police-arrest-27-file-sharers-in-nationwide-show-of-force-130228/

 

วาติกันลบ Tweet ของสันตปาปา Benedict ทั้งหมดแล้ว

ทั้งนี้ทางวาติกันก็มีการเก็บ Tweet ไว้ในคลังจดหมายเหตุออนไลน์ของตน ซึ่งก็ทำให้หลายฝ่ายงงว่าจะลบไปทำไม

News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130228/11413522158/vatican-deletes-all-pope-benedicts-tweets.shtml

 

ผู้กำกับ Game of Thrones ออกมายืนยันว่าเขาต่อต้านการทำสำเนาเถื่อนภายหลังจากที่เขาบอกว่าการทำสำเนาเถื่อนช่วยให้ซีรีย์ของเขาได้รับความนิยมและอยู่ได้

ทั้งนี้ Game of Thrones ก็เป็นซีรีส์ที่ถูก "โหลด" แบบเถื่อนมากที่สุดในปีที่แล้ว ซึ่งเหตุผลที่หลายๆ ฝ่ายเห็นตรงกันก็คือการที่โชว์นี้ภายอย่างถูกต้องในท้องถิ่นของตนช้าเกินไป ไม่มีใครอยากจะรอดู ซึ่งนี่ก็เป็นปัญหาเดียวกับการดูภาพยนตร์สำเนาเถื่อนทั้งหลายในช่วงก่อนๆ ที่นักดูหนังจำนวนมากก็ไม่ได้อยากจะได้ดูหนังดังๆ ช้ากว่าอเมริกาเป็นเวลาหลายเดือน และก็อาจจะอธิบายการดูการ์ตูนญี่ปุ่นรายสัปดาห์จำพวก Scanlation ที่ทำให้คนทั่วโลกได้อ่านการ์ตูนตอนใหม่ล่าสุดในเวลาใกล้เคียงกับญี่ปุ่นได้ด้วย

News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130227/08153622137/game-thrones-director-im-100-opposed-to-piracy-i-just-said-helps-my-show-survive.shtml

 

ศาลอุทธรณ์นิวซีแลนด์พลิกคำตัดสินศาลชั้นต้นและยืนยันว่าสามารถส่ง Kim Dotcom ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Megaupload เป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปสหรัฐฯ ได้

ทั้งนี้ตอนแรกศาลชั้นต้นตัดสินว่าจะไม่มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนถ้าทางสหรัฐฯ ไม่ยอมแสดงหลักฐานความผิดของ  Dotcom เพิ่ม แต่ศาลอุทธรณ์บอกว่าเท่าที่สหรัฐฯ แสดงหลักฐานมานั้นเพียงพอแล้ว

ทั้งนี้ Dotcom ก็ยืนยันจะสู้คดีให้ถึงที่สุดในระดับศาลสูงต่อไป

News Source: http://torrentfreak.com/u-s-government-wins-appeal-in-kim-dotcom-extradition-battle-120301/

 

03-01-2013

จีนมีบริษัทรับจ้าง "เซ็นเซอร์" คอมเมนต์บนอินเทอร์เน็ตที่ทำลายภาพลักษณ์บริษัทต่างๆ แล้ว

ทั้งนี้บริการแบบนี้ก็เป็นธุรกิจขนาดใหญ่กว่า 50 ล้านหยวน (235 ล้านบาท) ทีเดียว บริษัทที่เป็นหัวเรือใหญ่มีนามว่า Yage Time ซึ่งก่อตั้งโดยอดีตลูกจ้างของ Baidu บริษัทเซิร์ชเอ็นจินชื่อดังของจีน

ลูกค้าของ Yage Time มีตั้งแต่ Pizza Hut ยันร้าน Yoshinoya ซึ่งบริษัทเหล่านี้ก็จ่ายเงินให้ Yage Time ไปติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อให้ใช้กลไกการเซ็นเซอร์เน็ตระดับสุดยอดของจีนลบความเห็นที่ทำลายภาพลักษณ์บริษัทออกไปจากอินเทอร์เน็ต

นอกจากนี้ที่ร้ายกว่านั้นพวกสิ่งพิมพ์รัฐบางสื่อก็ทำเงินจากการลงข่าวภาคธุรกิจในแง่ลบ และทำเงินซ้ำจากการรับสินบนจาก Yage Time เพื่อลบข่าวดังกล่าวอีก

ทั้งนี้ปัญหาใหญ่ของการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตโดยรัฐก็คือกระบวนการเหล่านี้ไม่มีความ "โปร่งใส" เพราะ ไม่ว่าจะเป็นจีน ไทย ยันอังกฤษ และออสเตรเลียก็ไม่เคยมี Transparency Report แบบ Google มาสร้างความโปร่งใส่ว่าตนนั้นได้เซ็นเซอร์อะไรบนอินเทอร์เน็ตไปบ้าง ซึ่งเมื่อไม่ต้องโปร่งใส ก็ไม่ต้องตอบคำถามว่าเพราะเหตุใดถึงต้องเซ็นเซอร์สิ่งต่างๆ เหล่านั้น

News Source: https://www.eff.org/deeplinks/2013/02/chinas-internet-censors-sale

 

กฎหมาย "ลิขสิทธิ์การอ้างอิงบทความ" ของเยอรมันผ่านแล้ว ส่งผลให้บรรดาเสิร์ชเอ็นจินต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้บรรดาหนังสือพิมพ์ถ้าจะแสดงรายละเอียดข่าวในผลการค้นหาของตน

ทั้งนี้กฎหมายนี้ดูจะเป็นผลการล็อบบี้ของบรรดาสิ่งพิมพ์เยอรมันในการสร้างความชอบธรรมในการเรียกเงินค่าลิขสิทธิ์จากบริษัทอเมริกันอย่าง Google

โดยจากถ้อยคำของกฎหมายระบุอย่างคลุมเครือว่าการอ้างอิง "เพียงคำเดียว หรือข้อความที่ตัดมาอย่างน้อยที่สุด" เท่านั้นที่ไม่ต้องการใบอนุญาตในการใช้สิทธิในการอ้างอิง

News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130301/07433222171/german-newspaper-snippet-law-passes-watered-down-still-stupid.shtml , http://gigaom.com/2013/03/01/german-parliament-passes-google-tax-law-forcing-royalty-payments-for-news-snippets/

 

Amanda Palmer เสนอ "ปรัชญาแห่งการขอ" ในฐานะทางออกของนักดนตรียุคปัจจุบันที่ TED talks

Amanda Palmer เคยโด่งดังในฐานะนักร้องวงดูโอ Dark Cabaret ชื่อก้องโลกนาม The Dresden Dolls และหลังจากที่วงแดก Palmer ก็โด่งดังอีกครั้งเมื่อโครงการระดมทุนทำอัลบั้มเดี่ยวของ Palmer เป็นโครงการทางดนตรีระดมทุนได้มากที่สุดจากเว็บระดมทุนแบบ Crowdsourcing อย่าง Kickstarter

ในการพูด Palmer ก็พูดถึงภูมิหลังและประสบการณ์ของตัวเองหลายๆ เรื่องที่นำมาสู่แนวคิดที่ว่าหัวใจของการอยู่รอดของนักดนตรีในยุคปัจจุบันคือการมีกลุ่มแฟนเพลงเล็กๆ ที่เหนียวแน่น เข้าถึงพวกเขา และกล้าที่จะขอความช่วยแหลือและการสนับสนุนจากพวกเขา ซึ่งนี่เป็นวิธีคิดที่ต่างจากการขยายฐานแฟนเพลงให้กว้างที่สุดเพื่อให้อัลบั้มขายได้มากที่สุด เพื่อให้ได้เล่นคอนเสิร์ตที่ใหญ่ที่สุด อันเป็นแนวคิดนักดนตรีแบบ "เซเล็บ" ที่ Palmer ไม่เห็นด้วย

ทั้งนี้ Palmer ได้สรุปว่า "ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ในประวัติศาสตร์มนุษย์ นักดนตรีและศิลปินเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน พวกเขาเป็นผู้เชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันและเปิดโลกให้กับผู้คน พวกเขาไม่ใช่ดาราที่แตะต้องไม่ได้ การเป็นเซเล็บมันหมายถึงการที่ผู้คนจะรักคุณจากระยะไกล แต่อินเทอร์เน็ตและงานของเราที่แบ่งเป็นบนอินเทอร์เน็ตได้ก็กำลังจะนำเรากลับมาที่เดียว มันกลับมาเป็นภาวะที่คนจำนวนน้อยรักคุณอย่างใกล้ๆ และการมีแค่คนเหล่านั้นมันก็เพียงพอแล้ว"

ดูคลิป TED Talk ของ Amanda ได้ที่ http://youtu.be/xMj_P_6H69g

News Source: http://www.techdirt.com/blog/casestudies/articles/20130301/11211222172/amanda-palmer-true-nature-connecting-with-fans-its-about-trust.shtml
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์' รับตำแหน่งนายกสมาคมนักข่าว

Posted: 04 Mar 2013 07:41 AM PST

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เลือก 'ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์' จากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์รับตำแหน่งนายกสมาคมฯ และเลือกคณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมับที่ 14 ดำรงตำแหน่งระหว่าง 4 มีนาคม 2556 - 4 มีนาคม 2557 โดยมีรายชื่อ ดังนี้


นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ (บางกอกโพสต์)

กรรมการบริหาร สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
นายวันชัย วงศ์มีชัย (แนวหน้า) อุปนายกฝ่ายบริหาร สมาคมฯ
นายเสด็จ บุนนาค (คมชัดลึก) อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ
นายอนุชา เจริญโพธิ์ (บางกอกโพสต์) อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ
นายพริษฐ์ เอี่ยมพงษ์ไพบูลย์ (เดลินิวส์) อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ
นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ (ไทยรัฐ) เลขาธิการ สมาคมฯ
นายเชษฐ์ สุขสมเกษม (ไทยรัฐ) รองเลขาธิการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ
นายสุทธิรักษ์ อุฒมนตรี (กรุงเทพธุรกิจ) รองเลขาธิการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ
นางสาวชุติมณฑน์ ศรีขำ (บ้านเมือง) เหรัญญิก สมาคมฯ
นายไพรัช มิ่งขวัญ (แนวหน้า) นายทะเบียนและสวัสดิการ สมาคมฯ
นางสาวบุษดี พนมภู (บ้านเมือง) สมาชิกสัมพันธ์ สมาคมฯ
นายสนธยา พิกุลทอง (สยามรัฐ) กรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมฯ
นางสาวกรชนก รักษาเสรี (เดอะเนชั่น) กรรมการฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ
นายยุทธนา นวลจรัส (เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน) กรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ
นายคมสัน นันทจักร (เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน) กรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมฯ

กรรมการจริยธรรรม
นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ (เอเอสทีวีผู้จัดการ)
นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล (เดอะเนชั่น)
นายบุตรดา ศรีเลิศชัย (เดลินิวส์)
นายสวิชย์ บำรุงสุข (สยามรัฐ)
นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง (อีคอนนิวส์)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บริหารคดีไต่สวนการตาย ‘ฮิโรยูกิ-วสันต์-ทศชัย’ ใหม่เลื่อนไป กลางปีนี้

Posted: 04 Mar 2013 07:15 AM PST

นัดไต่สวนการตายคดี "ฮิโรยูกิ-วสันต์-ทศชัย" เหยื่อกระสุน 10 เมษา 53 ใหม่ เลือนไป 18 มิ.ย.นี้ "จรูญ-สยาม" 2 ศพ ในเหตุการณ์เดียวกันไต่สวนนัดแรก 12 มี.ค.นี้

"ฮิโรยูกิ-วสันต์-ทศชัย"

วันนี้(4 มี.ค.56) เวลา 9.00 น. ที่ห้องพิจารณา 403 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ เป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ชันสูตรพลิกศพนายฮิโรยูกิ มูราโมโต้(ผู้ตายที่ 1) สัญชาติ ญี่ปุ่น ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) ที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถ.ราชดำเนิน เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 รวมทั้ง นายวสันต์ ภู่ทอง(ผู้ตายที่ 2)  อายุ 39 ปี และนายทศชัย เมฆงามฟ้า(ผู้ตายที่ 3) อายุ 44 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิต ในเวลาและบริเวณใกล้เคียงกัน จากการขอคืนพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร

โดยพนักงานอัยการผู้ร้อง ทนายความญาติผู้ตายที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 แถลงร่วมกันว่าเดิมผู้ร้องประสงค์จะนำนางพรรณงาม ศิริสูตร เข้าเบิกความในวันนี้ แต่ได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวนว่านางพรรณงาม ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่บริเวณที่เกิดเหตุ แต่ปัจจุบันไม่ได้พักอาศัยอยู่ที่ในบ้านดังกล่าวและไม่สามารถเดินทางมาเบิกความต่อศาลได้ และพยานที่เหลือที่จะนำเข้าไต่สวนยังคงเหลือกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และเป็นพยานเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นผู้เชียวชาญการตรวจพิสูจน์และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในการชุมนุมและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นพนักงานสอบสวน รวมกันแล้วเหลือไม่เกิน 20 ปาก แล้วผู้ร้อง ทนายความญาติผู้ตายที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 แถลงร่วมกันขอเลื่อนการไต่สวนคำร้องการตายออกไป

ทั้งนี้ศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่ากรณีนี้มีเหตุจำเป็น จึงให้เลื่อนการไต่สวนการตาย แต่เพื่อให้การดำเนินกระบวนการพิจารณาเป็นไปโดยรวด จึงเห็นควรนำคดีนี้เข้าสู่ศูนย์นัดไต่สวนการตายแบบต่อเนื่อง โดยให้นัดไต่สวนการตายจำนวน 7 นัด ซึ่งภายหลังพนักงานอัยการผู้ร้องและทนายญาติผู้ตายได้นัดที่ศูนย์ฯ แล้วผลคือ จะมีการนัดไต่สวนต่อไปในวันที่ 18 และ 19 มิ.ย.56 ซึ่งจะเป็นพยานฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหารเข้าเบิกความ หลังจากนั้นจะเป็นวันที่ 16, 17 และ 24 ก.ค. และ 6, 7 ส.ค. 56

จรูญ ฉายแม้น และ สยาม วัฒนนุกูล

สำหรับคดีที่เกี่ยวกับเหตุการณ์คืนวันที่ 10 เม.ย.53 บริเวณหน้า ร.ร.สตรีวิทยา ถ.ดินสอ นั้น นอกจาก 3 ศพ นี้แล้ว ยังมีนายจรูญ ฉายแม้น ถูกยิงเข้าที่อกขวา กระสุนปืนฝังในกระดูกสันหลังส่วนเอว กระสุนปืนทำลายปอดและตับ เสียชีวิต และนายสยาม วัฒนนุกูล เสียชีวิตจากบาดแผลกระสุน อาวุธปืนสงคราม ที่ทรวงอกด้านหลังทะลุหลอดเลือดแดงใหญ่ช่องอกและเสียโลหิตปริมาณมาก ซึ่งทั้งคู่เสียชีวิตในเหตุการณ์และบริเวณเดียวกันคดีได้เข้าสู่กระบวนการไต่สวนการเสียชีวิตแล้วเช่นกัน โดยวันที่ 12 มี.ค.นี้ ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 504 ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิตของนายจรูญเป็นนัดแรก โดยอัยการได้กล่าวด้วยว่าพยานและหลักฐานส่วนมากจะเป็นชุดเดียวกันกับคดีของ ฮิโรยูกิ, วสันต์  และทศชัย เนื่องจากเป็นเหตุการณ์เดียวกัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พันธุ์อาจ ชัยรัตน์: ปี 2560 ความท้าทายกับพันธสัญญาของผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่

Posted: 04 Mar 2013 06:11 AM PST

อีก 4 ปีข้างหน้า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหาครคนที่ 16 ควรจะทำอะไรให้เมืองมหานครแห่งนี้บ้าง

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา ประชากรชาวกทม. ได้รับรู้ถึงผลการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 16 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผลออกมาคือ จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,244,465 คน มีผู้มาใช้สิทธิ 2,715,640 คิดเป็น 63.98 เปอร์เซ็นต์ โดยมีบัตรเสีย 37,000 ใบ (1.37%) บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 47,448 ใบ (1.75%) โดยผู้ได้รับคะแนนเสียง อันดับ 1 คือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 16 คะแนน 1,256,349 คะแนน (47.75%) อันดับ 2 พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ พรรคเพื่อไทย หมายเลข 9 คะแนน 1,077,899 คะแนน (40.97%) อันดับ 3 พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวช หมายเลข 11 คะแนน 166,582 คะแนน (6.13%) อันดับ 4 นายสุหฤท สยามวาลา ผู้สมัครอิสระ หมายเลข 17 คะแนน 78,825 คะแนน (3.00%) อันดับ 5 นายโฆสิต สุวินิจจิต ผู้สมัครอิสระ หมายเลข 10 คะแนน 28,640 คะแนน (1.09%) จะเห็นได้ว่า สองอันดับแรก ได้รับคะแนนเสียงไปถึง 88.72% ซึ่งที่เหลือก็เป็นคะแนนของผู้สมัครอิสระอีกสามท่าน [1]

คุณชายสุขุมพันธ์ ได้กล่าวว่า "ผมจะเป็นผู้ว่ากรุงเทพฯ ของทุกคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ จะดูแลทุกข์สุขของทุกคนและขอชวนทุกนร่วมสร้างกรุงเทพด้วยกัน" หลังจากประสบชัยชนะในการเลือกตั้ง แน่นอน นี่คือพันธะสัญญาที่ให้ไว้ต่อหน้าสื่อและ "ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน กทม." มิใช่แค่เพียงผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือผู้ที่นิยมชมชอบในตัวของคุณชายฯ หรือ พรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น ต่อไปนี้ หากผู้บริหารและลูกพรรคของท่านออกมาแบ่งเขาแบ่งเราอีกก็คงจะไม่เป็นไปตามอย่างที่คุณชายได้กล่าวไว้ สิ่งนี้คงเป็นการบ้านอีกข้อของท่านผู้ว่าฯ คนใหม่ คงต้องรับไปทำด้วยความยากลำบากไม่น้อย

ที่นี้ลองย้อนกลับมาดูนโยบาย "รักกรุงเทพฯ...ร่วมสร้างกรุงเทพฯ" ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้หาเสียงและได้ให้ "พันธะสัญญา" แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง นโยบายมี 6 ข้อหลัก คือ [2]

 

1. มหานครแห่งความปลอดภัย ประกอบด้วย

1.1 ขยายเครือข่ายกล้อง CCTV 50,000 ตัว โดยเชื่อมโยงกับเครือข่ายเอกชน 200,000 ตัว

1.2 ติดตั้งไฟส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ นำร่อง 10 เส้นทางริมคลอง และสถานที่เอกชนที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

1.3 ขยายโครงการ "ชุมชนร่วมใจ ระวังภัยยาเสพติด" ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ

1.4 จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการภัยพิบัติเร่งด่วน (OEM) เพื่อป้องกัน แจ้งเตือน ลดความเสียหายจากอัคคีภัย อุทกภัย และแผ่นดินไหว

1.5 เพิ่มประสิทธิภาพดับเพลิงอาคารสูง พร้อมชุดปฏิบัติการดับเพลิงขนาดเล็กสำหรับชุมชน และ

1.6 สร้างเพิ่ม อุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำ 6 แห่ง พร้อมระบบตรวจสภาพและเตือนภัยน้ำท่วม

 

2. มหานครแห่งความสุข เน้นสองมิติสำคัญคือ

2.1 การเดินทางสะดวก และจราจรคล่องตัว

2.1.1 เพิ่มเส้นทางรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง (Light Rail / Monorail) เชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนทุกประเภท

2.1.2 สร้างอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟ และปรับปรุงถนนจุดตัดทางแยก ตรอก ซอย ทางลัด 100 สาย

2.1.3 เพิ่มทางเลือกการเดินทางด้วยเรือโดยสาร เริ่มที่คลองภาษีเจริญ

2.1.4 เพิ่ม 30 เส้นทางจักรยาน เพิ่มจักรยานให้เช่า 10,000 คัน

2.1.5 เพิ่มจุดจอดและจร (Park & Ride) 4 มุมเมือง

2.1.6   ตรวจสอบฟรี สภาพจราจรที่เป็นปัจจุบัน ด้วยระบบ BMA Live Traffic Application

 

2.2 สุขภาพ

2.2.1 ไม่ป่วยทั้งปี รับฟรี 1,000 บาท แถมตรวจสุขภาพ ฟรี

2.2.2 ดูแลผู้สูงอายุครบวงจร

2.2.3   ยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน

2.2.4 เพิ่มบริการสุขภาพ 24 ชม. ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ ทุกพื้นที่ และ

2.2.5 สร้างศูนย์กีฬาทันสมัยครบวงจร 4 มุมเมือง พร้อมยกระดับลานกีฬาเดิม 200 แห่ง

 

3. มหานครสีเขียว

3.1 เพิ่มพื้นที่สีเขียวอีก 5,000 ไร่ พร้อม 10 สวนสาธารณะใหญ่

3.2     สร้างสวนลอยน้ำแห่งแรก สร้างสวนสุนัข (Dog Park) 4 มุมเมือง

3.3     ส่งเสริมสวนบนอาคารสูง (Green Roof) และแนวกำแพงอย่างต่อเนื่อง

3.4     เพิ่มระบบจัดการขยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่จัดเก็บ ขนถ่าย จนถึงเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีทันสมัยและสะอาด

3.5     สร้างเพิ่ม โรงงานบำบัดน้ำเสีย 5 แห่ง พร้อมวางแผนขยายการบำบัดน้ำเสียครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ

3.6     ปรับภูมิทัศน์ถนนสายหลัก นำสายไฟฟ้าลงดิน 3 เส้นทาง และย้ายสายโทรศัพท์-เคเบิ้ล ลงดิน

3.7     สร้างห้องน้ำสาธารณะสะอาด ครอบคลุมจุดเชื่อมต่อการเดินทางและพื้นที่ท่องเที่ยว

 

4. มหานครแห่งการเรียนรู้

4.1 เรียนฟรี 2.0 / นักเรียนโรงเรียน กทม."อิ่มท้อง สมองดี มีวินัย โตไปไม่โกง"

4.2     นักเรียนโรงเรียน กทม. ภาษาอังกฤษแข็งแรง พร้อมรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

4.3     กวดวิชาให้นักเรียน ม.3 และ ม.6 ครบทุกโรงเรียน โดยสถาบันกวดวิชาชื่อดัง

4.4     ฟรี รถรับ-ส่งนักเรียนโรงเรียน กทม. ในพื้นที่เดินทางไม่สะดวก

4.5     พร้อมบริการหมวกกันน็อค สำหรับนักเรียนโรงเรียน กทม.

4.6     ส่งเสริมศักยภาพของมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครในการผลิตบัณฑิต สอนหลักสูตรต่อเนื่อง และร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ

4.7     ส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน เปิดห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้มิติใหม่อีก 10 แห่ง เพิ่มจำนวนบ้านหนังสือให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และสร้างศูนย์เยาวชนมิติใหม่เพิ่ม 5 แห่ง

4.8     ส่งเสริมการอ่าน ตามโครงการ UNESCO "กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก 2556"

4.9     ติดตั้ง ฟรี Hi-Speed Wi-Fi 4 MB 5,000 จุด เน้นที่โรงเรียน ห้องสมุด สวนสาธารณะ และสถานที่อื่นๆ ของ กทม.

4.10 เพิ่มโรงเรียนรองรับนักเรียนความสามารถพิเศษ รวมถึงเด็กออติสติก อีก 100 โรงเรียน

 

5. มหานครแห่งโอกาสของทุกคน

5.1 ให้ภาคประชาชนร่วมเสนอความคิดเห็น และตรวจสอบการบริหารงานของ กทม. ผ่านระบบ i-Bangkok

5.2     ส่งเสริมความสามารถและความสนใจของคนรุ่นใหม่ โดยสร้างโรงเรียนดนตรี และโรงเรียนกีฬา

5.3     เปิดศูนย์กีฬามิติใหม่และ Extreme Sports 4 มุมเมือง

5.4     เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ สร้างตลาดสำหรับคนรุ่นใหม่ Young Designer Market ทั้งแบบถาวร และแบบครั้งคราว และเปิดเว็บไซต์เพื่อคนรุ่นใหม่ ขยายช่องทางสื่อสารงานสร้างสรรค์

5.5     เปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่ม พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ฝึกอาชีพ เรียนคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ จีน และมลายู ฟรี

5.6     ขยายปริมาณและมูลค่าเศรษฐกิจภาคกลางคืน เช่น การขนส่งและกระจายสินค้า และการท่องเที่ยว

 

6. มหานครแห่งอาเซียน

6.1 เปิดโอกาสและส่งเสริมอาชีพในการผลิตและจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์ฮาลาล

6.2     เพิ่มและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเชิงอนุรักษ์ ทั้งฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี

6.3     ศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรมอาเซียน

6.4     จัดตั้งสภามหานครอาเซียน ส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง กทม. และองค์กรในอาเซียน

6.5     จัดตั้งศูนย์ส่งเสริม SMEs อาเซียน และจัดทำ BMA SMEs ASEAN Data Bank

6.6     ร่วมมือกับโรงพยาบาลรัฐ มหาวิทยาลัย และเอกชน เพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการบริการด้านการแพทย์และการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ ของอาเซียนและของโลก

6.7     จัดทำแผนที่ ป้ายบอกทาง ป้ายรถประจำทาง และจุดให้ข้อมูล เป็นภาษาอังกฤษ ทั่วกรุงเทพฯ

6.8     ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ให้สื่อสารภาษาอังกฤษได้

และให้บริการที่ประทับใจ เช่น คนขับรถแท็กซี่และรถโดยสารสาธารณะ

คุณชายกล่าวว่า งานหลายอย่างรอไม่ได้ ซึ่งก็ดีครับที่ออกตัวอย่างขยันขันแข็ง

ผมอยากช่วยมองอนาคตบนพื้นฐานของนโยบาย "สร้าง กทม. สู่ ปี พ.ศ. 2560" ข่้างต้น โดยอีกสี่ปี คุณชายคงจะอยู่ครบเทอมที่ 2 ภาพอนาคตในแต่ล่ะปีควรเป็นอย่างไร และควรมีเป้าหมายอย่างไรบ้าง

 

ภาพที่ 1: กทม พ.ศ. 2557 - มหานครแห่งความปลอดภัยและสีเขียว

หลังจาก กรุงเทพมหานครต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ เช่น ความรุนแรงในการประท้วง ภัยพิบัติจากธรรมชาติ (ภาวะโลกร้อนและอุทกภัย) ความผันผวนทางเศรษฐกิจ และอื่น ๆ ซึ่งมีแนวโน้มจะทวีความซับซ้อน รุนแรง และเพ่ิมความถี่มากยิ่งขึ้น กทม. จึงได้ร่วมมือกับรัฐบาลและทุกภาพส่วนอย่างไร้รอยต่อ ตามนโยบายของท่านผู้ว่าคนใหม่ เพื่อสร้าง กทม. ไปสู่ เมืองมหานครสำหรับทุกคน ภายในปี พ.ศ. 2560 จึงเป็นปีแห่งการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ที่อยู่อาศัยและทำงานใน กทม. เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยและการสร้างเมืองมหานครสีเขียวที่มีมาตรฐานไม่ต่างจากเมืองมหานครชั้นนำของโลก

 

ปัจจัยเร่งและหน่วง

- การขยายเครือข่ายกล้องและระบบบริหารจัดการ CCTV เป็นไปได้ด้วยดี แต่อาจเกิดความเสี่ยงจากอาชญกรรมไซเบอร์

- ระบบไฟส่องสว่างครบถ้วน แต่ไม่สามารถช่วยประหยัดพลังงานได้ดีและมีความเสียหายบ่อยครั้ง

- ศูนย์บริหารจัดการภัยพิบัติเร่งด่วน (OEM) ได้ถูกจัดตั้งขึ้น แต่ขาดแคลนบุคคลากรในการทำงานได้อย่างเป็นระบบ

- เส้นทาจักรยานที่มีการเรียกร้องมาอย่างยาวนาน เสร็จสมบูรณ์ แต่มีหาบเร่แผงลอย รถโดยสารสาธารณะและรถตู้เข้ามาขวางเส้นทางเดินรถจักรยาน

- ปัญหายาเสพติดลดลงอย่างต่อเนื่องจากการทำโครงการต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่เยาวชนและคนที่พึ่งพารายได้จากการค้ายาเสพติด ประสบปัญหาในด้านโอกาศและการเข้าถึงสังคมโดยรวม

- แม้ว่ากทม จะมีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น แต่การเข้าถึงและรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในแต่ล่ะเขตไม่เอื้อต่อการใช้ประโยชน์จากพื้่นที่สาธารณะเหล่านั้น อาจต้องกมีการปรับปรุงและสร้างแคมเปญในการใช้ประโยชน์ในพื่นที่

- ระบบบริหารเพลิงภัยขนาดเล็กมีประสิทธิภาพดี ชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

 

ภาพที่ 2: กทม พ.ศ. 2558 - มหานครแห่งการเรียนรู้และโอกาสของทุกคน

หลังจากประสบความสำเร็จในการสร้างระบบโครงสรางพื้นฐานใหม่ที่สามารถนำพา กทม. ไปสู่การใช้ชีวิตสีเขียว ด้วยการปรับปรุงและยกระดับความปลอดภัยและภูมิทัศน์ของเมืองมหานครแล้ว ในปีนี่้ กทม. ได้นำเสนอ นวัตกรรมการเรียนรู้และการศึกษา (Educational and learning innovations) แก่โรงเรียนในสังกัด ชุมชน และสำหรับประชาชนที่อาศัยอยู๋ในกทม. เพื่อเรียนรู้และปรับรูปแบบการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานใหม่ที่ได้ทำไว้ในปีที่แล้ว และที่กำลังจะตามมาอย่างเป็นระบบ เพื่อยกระดัมาตรฐานการครองชีพ และการใชัชีวิตแก่คนที่อาศัยอยู๋ใน กทม. ประชากรในเมืองมหานครแห่งนี้คือ ประชากรที่ใฝ่รู้และเปิดกว้างสำหรับทุกคน ทุกเชื้อชาติ และทุกความเชื่อ เพื่อเตรียมรับ มหานครแห่ง AEC นั่นเอง

 

ปัจจัยเร่งและปัจจัยหน่วง:

- ผลจากการดำเนินการณรงค์หลังจาก "กรุงเทพเมืองหนังสือโลก 2556" และการเพิ่มโอกาศในการเข้าถึงพื้นที่สีเขียว ทำให้ คน กทม. อ่านหนังสือมากขึ้น แต่เนื่องจากพฤติกรรมการอ่านเปลี่ยนไปสู่การใช้ อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ ระบบการจ่ายไฟและความเร็วของอินเตอร์เนตสาธารณะจึงกลายมาเป็นปัญหาใหม่

- มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครมีหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาวที่เน้นมิติของเมืองมหานครมากขึ้น ประชนชนให้ความสนใจไปเรียนรู้ในเวลาว่างมากขึ้น

- นักเรียนในสังกัด กทม. สามารถอ่าน พูด และเขียน ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้เป็นอย่างดี และมีจริยธรรม

- หลังจากโครงการรถรับส่งนักเรียนได้ดำเนินการไปพร้อมกับการยกระดับความสามารถในการเรียนการสอน ทำให้จำนวนนักเรียนที่ต้องเดินทางไปเรียนในโรงเรียนต่างเขต ลดลง แต่มีความต้องการ ห้องสมุดชุมชนที่ดีมากขึ้นแทน

- iBangkok สามารถให้บริหารู้อยู่อาศัยในเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังต้องขยายการบริการไปสู่คนต่างชาติที่อยู่อาศัยใน กทม. ซึ่งยังคงติดปัญหาทางระบบราชการอยู่

 

ภาพที่ 3: กทม พ.ศ. 2559 - มหานครแห่งอาเซียน [3]

ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community, AC) ทีได้กำเนิดขึ้นมาในปลายปี พ.ศ. 2558 ได้นำ กทม. ไปสู่เมืองมหานครที่รองรับความหลากหลายทางเชื่้อชาติและวัฒนธรรมของประชากรที่อพยพมาอยู่อาศัยใน กทม. เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative economy) และชนชั้นสร้างสรรค์ (Creative class) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างใช้ กทม. เป็นเมืองหลักในการดำเนินธุรกิจและใช้ชีวิต วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่เน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์และองค์ความรู้ ย้ายมาเปิดกิจการในกทม มากขึ้่น ในขณะที่วิสาหกิจสังคม (Social enterprise, SE) ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเนื่องจาก เห็นโอกาสธุรกิจสังคม (Social business) จากการเปลี่ยนแปลงเมืองมหานครนี้ไปสู่ เมืองสีเขียว (Green city) เมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning city) และเมืองสำหรับทุกคน (Inclusive city) ไม่ว่าจะเป็นเมืองสีรุ้ง (Rainbow city) ของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ เมืองสีเทา (Grey city) ของกลุ่มผู้ชรา และเมืองของกลุ่มคนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนักปั่นจักรยาน กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เป็นต้น อิทธิพลของความหลากหลายทางเชื่้อชาติและอัตลัษณ์มีมากขึ้น จนไปเจือจางความขัดแย้งด้านความเชื่่อทางการเมืองและแบ่งขั่วที่ได้ดำเนินมาต่อเนื่องในระดับหนึ่ง ทำให้มีพัฒนาการความขัดแย้งและการผสมผสานของคนต่างขัั่ว ความคิด ความเชื่อ และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป

 

ปัจจัยเร่งและปัจจัยหน่วง:

- การเพิ่มขึ้นของประชากรกลุ่มต่าง ๆ และชาวต่างชาติ ทำให้ กทม. กลายเป็น มหานครมะม่วงใหญ่ (Big Mango) อย่างแท้จริง

- กทม. กลายเป็นศูนย์การของการแลกเปลี่ยนทางศิลปะวัฒนธรรม แต่คนส่วนใหญ่กลับให้ความสำคัญต่อกิจกรรมดังกล่าวน้อย เนื่องจากมุ่งเน้นไปในการทำงานและเดินทางมากกว่า จึงต้องเพิ่มช่องทางการเข้าถึงศิลปะในรูปแบบต่าง ๆ มากกว่าพิพิธภัฑณ์และงานกิจกรรมต่าง ๆ

- การจัดตั้งสภามหานครอาเซียน (ASEAN Urban League) [4] เป็นไปได้ด้วยดี โดยให้เป็นองค์กรภายใต้อาเซียนที่เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำงานร่วมกันในด้านการพัฒนาเมือง

 

ภาพที่ 4: กทม. พ.ศ. 2560 - มหานครแห่งความสุข

ความขัดแย้งทางการเมืองยังคงมีอยู่ แต่ได้ลดระดับลงไป เนืองจาก กทม ได้ดำเนินการสร้าง "สังคมฐานความรู้" (Knowledge society) ขึ้น เพื่้อสร้าง มหานครสำหรับทุกคนไปในช่วงเริ่มต้นการทำงานในสมัยที่สองของผู้ว่าราชการที่ได้รับการเลือกตั้งมาในต้นปี 2556 หลังจากปรับปรุงและเปลี่ยน กทม ไปสู่เมืองคาร์บอนต่ำ (Low Carbon City) แล้ว โครงการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนและระบบการจัดการน้ำขนาดใหญ่ก็เริ่มเห็นเป็นรูปร่าง ประชาชนมีความใส่ใจในสุขภาพจิตและสุขภาพใจ ดูเหมือนว่า มหานครแห่งความสุขกำลังจะกำเนิดขึ้่น กทม. กำลังจะเข้าสู่การเลือกผู้นำคนใหม่ในไม่ช้า

 

ปัจจัยเร่งและปัจจัยหน่วง

- รถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย 5 เส้นทาง สามารถใช้งานได้ในบางเส้นทาง เนื่องจากสามารถปิดโครงการได้ก่อนกำหนด

- อุโมงค์ยักษ์ 6 แห่งสร้างเสร็จและใช้งานได้จริง

- ระบบสาธาณะสุขของกทม. มีความพร้้อมในการรับมือกับสังคมวัยวุฒิและประชากรต่างชาติที่อาศัยใน กทม มากขึ้นเป็นทวีคูณ

 

ภาพอนาคต (Scenarios) เหล่านี้จะไม่ใช่เป็นเพียงแค่ความฝันจากนโยบายที่ให้ไว้แก่ประชาชน ถ้าท่านได้ลงมือทำงานอย่างเป็นระบบและร่วมมือกับทุกคนอย่างแท้จริง ภาพอนาคตเหล่านี้ดูสวยงาม แต่ถ้าต้องการให้เกิดขึ้นจริง ผู้ว่าราชการฯ มีระยะเวลาทำงาน 4 ปี ภาพอนาคตกรุงเทพมหานครในอีก 4 ปี ข้างหน้า จึงต้อเป็นหน้าที่ของผู้นำท้องถิ่นท่านนี้ในการสร้างภาพดังกล่าว และฉายภาพนี้ให้แก่บุคคลากรของพรรค กรุงเทพมหานคร และประชาชนเห็นอย่างชัดเจน ดังนั้น คงต้องฝากความหวังไว้ที่ ท่านผู้ว่าฯ หม่อมราชวงค์สุขุมพันธ์ บริพัตร แล้วครับ

 

เชิงอรรถ:

[1] http://www2.ect.go.th/home.php?Province=bangkok

[2] http://www.sukhumbhand.com/policy.php

[3] http://issuu.com/noviscape/docs/10\_bangkok\_policy

[4] http://issuu.com/noviscape/docs/bkk2030\_18\_city\_innovations\_en

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศูนย์ศึกษา 'พนัน' เผยสื่อทีวีตัวดี ทำคนพนันบอล

Posted: 04 Mar 2013 05:40 AM PST

เผยยิ่งมีการถ่ายทอดสดมากเท่าใด การซีบซับการเล่นพนันฟุตบอลยิ่งเพิ่ม  ด้านเครือข่ายภาคประชาชน เสนอรัฐควรออกกฎหมายควบคุมสื่อทีวีห้ามเสนออัตราการต่อรองและการทายผลกีฬาฟุตบอล

สืบเนื่องจากวันที่ 5 มีนาคมที่จะถึงนี้ เป็นวันนักข่าว ซึ่งอาชีพสื่อมวลชนนั้นเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะมีหน้าที่คอยเฝ้าระวัง และเป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม อย่างไรก็ตามได้มีงานวิจัยหลากหลายชิ้นที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวกีฬาฟุตบอล ที่อาจจะส่งผลให้เกิดการเข้าถึงการพนันที่มากขึ้นของประชาชน

โดยศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน (Center for Gambling Studies)  ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลซึ่งเป็นการวิจัยกรณีการเล่นพนันฟุตบอลในประเทศไทย พบว่า เพศชายร้อยละ 90.2 อายุระหว่าง 21-30 ปี เป็นกลุ่มที่เล่นการพนันฟุตบอลมากที่สุด นอกจากนี้ในการนำเสนอกีฬาฟุตบอลต่างประเทศนั้นสื่อโทรทัศน์เป็นสื่อที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสนใจเป็นอันดับแรก เนื่องจากมีการแพร่ภาพสัญญาณการถ่ายทอดสด ทำให้ผู้ชมได้รับชมเกมกีฬา และมีส่วนในการเล่นการพนันฟุตบอลได้อย่างทันที  และยิ่งมีการถ่ายทอดสดฟุตบอลทางฟรีทีวีมากขึ้นเท่าใด จำนวนการเล่นพนันฟุตบอลก็จะมากขึ้นเป็นทวีคูณ ส่วนการเลือกเล่นการพนันฟุตบอลนั้นส่วนใหญ่ผู้เล่นจะเลือกเล่นการพนันเฉพาะคู่ที่มีการถ่ายทอดสด และมั่นใจในทีมที่ตัวเองเชียร์  โดยดูผลงานจากการแข่งขันนัดที่ผ่านมา ทั้งนี้สื่อโทรทัศน์ยังทำให้ผู้ชมตัดสินใจเล่นการพนันได้ง่ายขึ้น และทำให้ซึมซับการเล่นการพนันอย่างไม่รู้ตัว  ซึ่งอีกประเด็นที่น่ากังวลคือ เมื่อมีการเล่นพนันฟุตบอลชนะ ผู้เล่นการพนันได้เงินมาก็จะนำเงินไปติดเคเบิ้ลทีวี และดูการถ่ายทอดฟุตบอลจากเคเบิ้ลทีวี ทำให้จำนวนการดูฟุตบอลเพิ่มมากขึ้น เพิ่มอัตราการเข้าถึงได้มากขึ้น ส่งผลสามารถเล่นการพนันได้มากขึ้นตามไปด้วย

ส่วนสื่อหนังสือพิมพ์มีการเอื้อต่อการเล่นการพนัน คือเป็นสื่อที่จะให้ข้อมูลสถิติ อัตราต่อรอง ผ่านทัศนะของคอลัมน์นิสต์และสายด่วนเซียนบอล โดยส่วนใหญ่ผู้ที่เล่นการพนันฟุตบอลจะซื้อหนังสือพิมพ์กีฬาเป็นประจำ ส่วนสื่ออินเตอร์เน็ตถือเป็นสื่อที่ทำให้ทราบข่าวด้านต่างๆ เกี่ยวกับกีฬาฟุตบอลมากขึ้น เป็นสื่อที่รายงานสดผลการแข่งขัน โดยข่าวสารทางอินเตอร์เน็ตจะทันสมัยอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งยังสามารถดาวน์โหลดข้อมูลและสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทางเว็บไซต์ต่างๆ ได้อีกด้วย

ด้านนายพงศธร จันทรัศมี ผู้จัดการโครงการขับเคลื่อนสังคมและนโยบายสาธารณะเพื่อลดปัญหาการพนัน มูลนิธิสดศรี-สฤษดิวงศ์ กล่าวว่า ในวันนักข่าวที่จะถึงนี้ อยากฝากถึงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนว่าควรจะมีจรรยาบรรณในการนำเสนอข่าวสาร และควรคำนึงถึงเยาวชน อีกทั้งผู้ปกครองเองก็ควรสอดส่องและดูแลบุตรหลานของตนเองให้ดีที่สุด พร้อมทั้งสร้างทัศนคติและเจตคติที่ดีต่อกีฬาฟุตบอล และชี้ให้เห็นถึงโทษของการพนันที่จะเกิดขึ้นว่าหากก้าวเข้าสู่วงจรของการพนันฟุตบอลว่าจะเป็นอย่างไร อีกทั้งภาครัฐควรออกกฎหมายควบคุมสื่อในการนำเสนอข่าวกีฬาที่มีผลต่อการเล่นกีฬาฟุตบอลด้วย เช่น การห้ามลงราคาอัตราต่อรองในสื่อหนังสือพิมพ์ และต้องมีบทลงโทษที่ลงแรงต่อผู้ที่กระทำผิดกฎหมายดังกล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สรุปเหตุไม่สงบ 1 เดือนก่อนลงนามพูดคุยสันติภาพ สมช.- BRN

Posted: 04 Mar 2013 05:32 AM PST

สรุปเหตุไม่สงบ 1 เดือน ก่อนลงนามพูดคุยสันติภาพระหว่างสภาความมั่งคงแห่งชาติ กับขบวนการ BRN–Coordinate ที่ประเทศมาเลเซีย พบมีมากกว่า 50 เหตุการณ์ ตายรวม 43 คน ส่วนวันลงนามไม่มีเหตุการณ์ เช่นเดียวกับอีก 5 วัน

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 อาจถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของการแก้ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย เพราะเป็นวันที่มีการลงนามในสัญญาร่วมระหว่างรัฐบาลไทย โดยสภาความมั่นคงแห่งชาติกับขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ (BRN) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อการริเริ่มในการพูดคุยเพื่อสันติภาพ อันจะนำไปสู่การสร้างความสงบสุขในพื้นที่ในอนาคต

โดยฝ่ายไทยมี พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นผู้ลงนาม ส่วนฝ่ายขบวนการ BRN มีนายฮัสซัน เจ๊ะหลง หรือ Ustaz Hassan Taib โดยมี Datuk Mohamed Thajudeen bin Abdul Wahab เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมาเลเซียลงนามในฐานะสักขีพยาน

แต่ก่อนที่จะถึงวันลงนามดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 – 28 กุมภาพันธ์ 2556 พบว่า มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และบางส่วนของจังหวัดสงขลามากกว่า 50 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิตถึง 43 คน บาดเจ็บไปกว่า 60 คน

โดยในรอยเดือนกุมภาพันธ์ 2556 มีเหตุการณ์สำคัญๆ คือเหตุโจมตีฐานทหารหน่วยนาวิกโยธินที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ที่กลุ่มก่อความไม่สงบเสียชีวิตไปถึง 16 คน แต่ก่อนหน้านั้นมีเหตุการณ์ยิงครูชาวนาที่อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เสียชีวิต 2 ราย เหตุยิงพ่อค้ารับซื้อผลไม้ที่อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา เสียชีวิต 4 ราย และเหตุระเบิดเจ้าหน้าที่ทหารชุดรักษาความปลอดภัย รับ-ส่ง คนงานฟาร์มตัวอย่าง เสียชีวิต 5 นาย ที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

หลังจากเหตุโจมตีฐานทหารหน่วยนาวิกโยธิน มีเหตุการณ์สำคัญๆ ได้แก่ เหตุลอบวางระเบิดและวางวัตถุต้องสงสัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 9 จุด และเหตุลอบวางระเบิดใกล้วงเวียนหอนาฬิกาอำเภอเมืองปัตตานี ทำให้อาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) เสียชีวิต 3 ราย ชาวบ้านบาดเจ็บ 16 ราย รวมทั้งเหตุก่อกวนพร้อมกันหลายจุดในจังหวัดปัตตานี เป็นต้น

ต่อไปนี้ เป็นข้อมูลสรุปเหตุการณ์ไม่สงบระหว่างวันที่ 1 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งสรุปจากรายงานของศูนย์ปฏิบัติการร่วมทางยุทธวิธี กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ดังนี้

1 กุมภาพันธ์ 2556
-คนร้ายกราดยิงครูชาวนาจากจังหวัดสุพรรณบุรีและสิงห์บุรี หมู่ที่ 2 ต.บาโลย อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี มีผู้เสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บ 11 คน

4 กุมภาพันธ์ 2556
-คนร้ายใช้อาวุธสงครามยิงใส่รถกระบะของนายพิศาล อาแว นายอำเภอมายอ จ.ปัตตานี ที่หมู่ที่ 4 ต.ระแว้ง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี กระสุนพลาดไปถูกชาวบ้านบาดเจ็บ 1 ราย

5 กุมภาพันธ์ 2556
-คนร้ายใช้อาวุธสงครามและอาวุธปืนพก ยิงพ่อค้ารับซื้อผลไม้เสียชีวิต 4 ราย ที่หมู่ที่ 7 ต.กรงปินัง อ.กรงปินัง จ.ยะลา

-คนร้ายใช้ปืนลูกซอง ยิงนายคลั่ง วังร่ม อายุ 57 ปี ขณะขับรถจักรยานยนต์ไปกรีดยาง กระสุนถูกแขนขวา เกิดเหตุบนถนนข้างโรงเรียนวัดคงคาสวัสดิ์บ้านท่าแมงลัก หมู่ที่ 5 ต.สะกอม อ.เทพา จ.สงขลา

-คนร้ายยิงนายอดุลย์ รอแม อายุ 30 ปี เสียชีวิต บนถนนสาย 4058 บ้านกูแบบาเดาะ หมู่ที่ 7 ต.มะรือโบตก อ.ระแงะ จ.นราธิวาส

6 กุมภาพันธ์ 2556
-คนร้ายยิงนายนิซาปลี เจะดือเระ อายุ 33 ปี พนักงานขับรถดับเพลิงของ องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลิมอ(อบต.) อ.ระแงะ จ.นราธิวาส กระสุนถูกข้อมือซ้าย บาดเจ็บเล็กน้อย เหตุเกิดที่ประตูทางเข้า อบต.ตันหยงลิมอ หมู่ที่ 1 บ.ดามาบูเวาะห์ ต.ตันหยงลิมอ

-คนร้ายยิงนายอาดีนันณ์ สาแม อายุ 38 ปี เสียชีวิต เหตุเกิดบนถนนภายในหมู่บ้านสันติสุข บ้านโคกกาเปาะ หมู่ที่ 5 ต.เกาะสะท้อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส

7 กุมภาพันธ์ 2556
-คนร้ายยิงนายสมชัย ศรีละมุน อายุ 57 ปี คนงานบริษัท แปรรูปไม้ยาง ห้างหุ้นส่วนจำกัด 3 ดาว(หจก.) พาราวู๊ด ขณะใช้เลื่อยโซ่ยนต์ตัดไม้ยางพาราเสียชีวิต ข้างถนนสายเขื่อน – บ้านดาแลแป ม.6 ต.เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา

-คนร้ายยิงนายมะซัมปรี ดอเลาะ อายุ 25 ปี กระสุนถูกบริเวณสะโพก เกิดเหตุบนถนนภายในหมู่บ้านบาตูปูเต๊ะ หมู่ที่ 6 ต.บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา

-คนร้ายขับขี่รถจักรยานยนต์ 2 คัน ใช้ปืนยิงใส่ บ้านเลขที่ 88/1 บ้านนาพร้าว หมู่ที่ 2 ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ของ ส.ต.อ.อนุชา อินทร์กาญจน์ จนท.ร้อย.ตชด.444 แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ พบใบปลิวเขียนโจมตีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 6 แผ่น

-คนร้ายยิงนายสุลกิบลี ตาเย๊ะ อายุ 28 ปี อาสาสมัครรักษาดินแดนอำเภอเมืองยะลาเสียชีวิต ที่บ้านดูซงปาแย หมู่ที่ 2 ต.เมาะมาวี อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

9 กุมภาพันธ์ 2556
-คนร้าย 2 คน ขับรถจักรยานยนต์ ยิง ร.ต.ต.ปราโมทย์ ธารรัตน์ อายุ 57 ปี ตำแหน่ง รอง สวป.สภ.ยะหา ที่หมู่ที่ 5 ต.บาโร๊ะ อ.ยะหา จ.ยะลา กระสุนถูกบริเวณแขนซ้ายบาดเจ็บ

10 กุมภาพันธ์ 2556
-คนร้ายลอบวางระเบิดรถยนต์ 6 ล้อของเจ้าหน้าที่ทหารชุดรักษาความปลอดภัย รับ-ส่ง คนงานฟาร์มตัวอย่าง มว.ปล.ที่ 1 ร้อย.ร.15233 หน่วยเฉพาะกิจ (ฉก.) ยะลาที่ 12 ทำให้ทหารเสียชีวิต 5 นาย เหตุบนถนนสายท่าธง – บ้านสาเมาะ บ้านโต๊ะพราน หมู่ที่ 1 ต.ท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา โดยคนร้ายนำระเบิดซุกซ่อนไว้ในรถกระบะจอดไว้ริมถนน ขณะเกิดเหตุคนร้ายโปรยตะปูเรือใบและตัดต้นไม้ใหญ่ขวางถนน 4 จุด หลังก่อเหตุคนร้ายนำอาวุธปืน M-16 A2 จำนวน 3 กระบอก, เสื้อเกราะ และซองกระสุนปืนหลบหนีไปด้วย

11 กุมภาพันธ์ 2556
-คนร้ายลอบวางระเบิดชุดรักษาความปลอดภัยตำรวจสถานีตำรวจภูธรยะหา (ชป.ตร.สภ.) จ.ยะลา 3 นาย ขณะเดินทางด้วยรถกระบะของทางราชการ เพื่อไปพบพยานพยานคดีคนร้ายลอบยิง ร.ต.ต.ปราโมทย์ ธารรักษ์ ผบ.หมู่(ป) สถานีตำรวจภูธรยะหา พื้นที่เทศบาลตำบลยะหา เหตุเกิดบนถนนหลังเทศบาลตำบลยะหา หมู่ที่ 2 ต.ยะหา อ.ยะหา จ.ยะลา รถกระบะเสียหายเล็กน้อย

-เจ้าหน้าที่เข้าปิดล้อมตรวจค้นบ้านเลขที่ 34/4 หมู่ที่ 2 ต.มะกรูด อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ซึ่งมีนายมะรูดิง ยูโซะ อายุ 23 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับ ป.วิอาญา 2 หมาย และหมาย พ.ร.ก. 1 หมาย หลบซ่อนอยู่ ขณะเข้าตรวจค้นเกิดการปะทะกัน ทำให้ตำรวจได้รับบาดเจ็บ 1 นาย ส่วนนายมะรูดิง ถูกยิงเสียชีวิต เจ้าหน้าที่ยังควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย 3 คน ตรวจยึดวัตถุ 10 รายการ เช่น อาวุธปืนพก กระสุนปืนพก 35 นัด

12 กุมภาพันธ์ 2556
-นายดุลบารี เกาะ อายุ 21 ปี ใช้ปืนปืนปากกายิง ส.ท.สุทัศน์ แวมายิ อายุ 31 ปี สังกัด ร้อย.ทพ.4511 ฉก.ทพ.45 กระสุนถูกบริเวณท้ายทอยได้รับบาดเจ็บ หลังจากทะเลาะกัน เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวนายดุลบารีไว้ได้

-คนร้ายยิงนายมะรูดิง สาแม อายุ 21 ปี เสียชีวิตขณะขับรถกระบะกลับจากซื้อไม้ยางพาราเหตุเกิดบนถนนสาย อ.ศรีสาคร – อ.ระแงะ บ้านไอร์ตุย หมู่ที่ 1 ต.ศรีบรรพต อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส

13 กุมภาพันธ์ 2556
-เวลาประมาณ 01.00 น. กลุ่มชายฉกรรจ์ประมาณ 50 คน บุกเข้าโจมตีฐานปฏิบัติการ ร้อยปืนเล็กที่ 2 หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาสที่ 32 หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินทหารเรือ ซึ่งตั้งฐานปฏิบัติการอยู่บริเวณบ้านยือลอ หมู่ที่ 3 ต.บาเร๊ะเหนือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส โดยแต่งกายคล้ายทหาร สวมชุดลายพราง ชุดดำ เสื้อเกราะ มีผ้าพันคอสีขาว ขับรถกระบะ 3 คัน และรถจักรยานยนต์ 2 คัน ใช้อาวุธสงครามยิงโจมตีฐานปฏิบัติการ ร้อยปืนเล็กที่ 2 แต่ถูกเจ้าหน้าที่ในฐานยิงตอบโต้และเกิดการยิงปะทะกันประมาณ 10-15 นาที ก่อนกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงจะล่าถอยไป

พบกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงเสียชีวิตบริเวณข้างฐาน 14 คน หนึ่งในนั้นคือนายมะรอโซ จันทรวดี อายุ 31 ปี และเสียชีวิตบริเวณถนนสาย 42 บ้านยะลูตง หมู่ที่ 2 ต.กาเยาะมาตี อ.บาเจาะ จ.นราธิวาสอีก 2 คน จากการปะทะกับเจ้าหน้าที่ชุดสกัดกั้น ส่วนฝ่ายเจ้าหน้าที่ปลอดภัย

หลังก่อเหตุกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงได้ตัดต้นไม้ขวางถนน วางวัตถุต้องสงสัย โปรยตะปูเรือใบ เพื่อป้องการติดตามของเจ้าหน้าที่ เวลา 05.20 น.เกิดเหตุลอบวางเพลิงโรงเรียนบ้านบือเร๊ะ หมู่ที่ 1 ต.บาเระใต้ อ.บาเจาะ เสียหายเล็กน้อย คาดว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจ เวลา 06.13 น. เจ้าหน้าที่ชุด EOD สามารถเก็บกู้วัตถุระเบิดแสวงเครื่องบรรจุในถังแก๊สที่ฝังไว้ใต้พื้นผิวถนนบริเวณหัวสะพานบ้านบือแนปีแย หมู่ที่ 1 ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ

เจ้าหน้าที่ตรวจยึดอาวุธยุทโธปกรณ์หลายรายการ เช่น ระเบิดขว้างแบบมาตรฐาน 3 ลูก ระเบิดแสวงเครื่องบรรจุในกระป๋องปลากระป๋อง 3 ลูก อาวุธปืนยาว 13 กระบอก ได้แก่ ปืน M-4 จำนวน 5 กระบอก ปืน M-16 จำนวน 4 กระบอก ปืน AK-47 จำนวน 2 กระบอก อาวุธปืน AK-102 จำนวน 2 กระบอก ปืนพก 3 กระบอก ได้แก่ ปืนพกขนาด 11 มม. 1 กระบอก ปืนพกขนาด 9 มม. 1 กระบอก ปืนพกขนาด .38 นิ้ว 1 กระบอก รถกระบะยี่ห้อโตโยต้า วิโก้ สีบรอนซ์ 1 คัน เป็นรถที่ถูกปล้นมาจากพื้นที่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2555 รถจักรยานยนต์ 2 คัน และเลื่อยโซ่ยนต์ 1 เครื่อง

-คนร้าย 2 คน ขับรถจักรยานยนต์ยิงนายทองแดง ฐาบุญมี อายุ 57 ปี และนางจอน โครตนุกูล อายุ 58 ปี สามีภรรยาอาชีพขายส้มตำ ขณะกำลังขายส้มตำที่ร้านริมถนนปากน้ำบริเวณคานเรือสิริอุดม ต.สะบารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี ได้รับบาดเจ็บ

-เจ้าหน้าที่ปิดล้อมตรวจค้นบ้านเลขที่ 12 บ้านกูบู หมู่ที่ 6 ต.ไพรวัน อ.ตากใบ ได้เชิญตัวนายรอฟา หะยีอับดุลเล๊าะ อายุ 32 ปื มาซักถามกรณีเกี่ยวข้องกับรถยนต์เก๋งยี่ห้อนิสสันซันนี่ สีบรอนซ์ - เทา ของนายชลธี เจริญชล ข้าราชการครูโรงเรียนบ้านตันหยง ที่ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิตเมื่อ 23 มกราคม 2556

14 กุมภาพันธ์ 2556
-คนร้ายลอบวางระเบิดชุดรักษาความปลอดภัย.ร้อย.ร.3111 หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาสที่ 37 ขณะเดินลาดตระเวนบริเวณคอสะพานบ้านลาเวง หมู่ที่ 3 ต.เชิงคีรี อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส พบเป็นระเบิดแสวงเครื่องบรรจุในแท่งเหล็ก จุดชนวนด้วยวิทยุสื่อสาร

-หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 32 เข้าตรวจสอบบริเวณสวนยางบ้านแบรอ หมู่ที่ 2 ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส พบอุปกรณ์อุปกรณ์ประกอบระเบิด และสิ่งของต่างๆ ได้แก่ ถังแก๊สปิกนิกสีส้ม 2 ถัง ซองกระสุนปืน M-16 ชนิดบรรจุ 30 นัด 1 ซอง ซองกระสุนปืน HK แบบยาว 1 ซอง กระสุนปืน ขนาด 5.56 มม. 67 นัด แผงโซล่าเซลล์ 2 แผ่น เปลสนาม 1 ผืน ผ้าปันโจ 1 ผืน และเหล็กเส้นตัดท่อน 1 ถุง

-เจ้าหน้าที่เข้าปิดล้อมตรวจค้น บ้านเลขที่ 105/3 หมู่ที่ 5 ต.คลองใหม่ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ควบคุมตัวนายอูเซ็ง โต๊ะโย๊ะ เป็นผู้ต้องหาคดีลอบวางระเบิด โรงแรมลีการ์เด้นส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พร้อมยึดโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง

-เจ้าหน้าที่เข้าปิดล้อมตรวจค้นบ้านเลขที่ 1 บ้านปุโรง หมู่ที่ 2 ต.ปุโรง อ.กรงปินัง จ.ยะลา ควบคุมตัวนายคอเละ เจ๊ะอาแซ อยู่บ้านเลขที่ 156 หมู่ที่ 1 ต.ผดุงมาตร อ.จะแนะ จ.นราธิวาส ผู้ต้องหาตามหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ ฉฉ.232/49 ลง 13 เมษายน 2549 พร้อมตรวจยึดโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง

16 กุมภาพันธ์ 2556
-เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดและวางวัตถุต้องสงสัยในเขต อ.เมือง จ.ปัตตานี จำนวน 9 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 พบวัตถุต้องสงสัยหน้าร้านไพศาล (ร้านขายของชำ) บ้านเลขที่ 23 ซ.ตลาดโต้รุ่ง ถ.พิพิธ พบเป็นระเบิดเพลิงจุดชนวนด้วยนาฬิกาข้อมือแบบดิจิตอล ตั้งเวลาระเบิดไว้ที่ 23.58 น.

จุดที่ 2 พบวัตถุต้องสงสัยหน้าวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี พบเป็นกล่องกระดาษเปล่า จุดที่ 3 เกิดเหตุระเบิดหน้าร้านบัวขาว ซ.ปั๊มน้ามันเอสโซ ถ.รามโกมุท ส่งผลให้นายปอล ชุมพล อายุ 41 ปี บาดเจ็บเล็กน้อย จุดที่ 4 ห่างจากจุดที่ 3 ประมาณ 10 เมตร พบระเบิดแสวงเครื่องบรรจุในถังแก๊ส น้ำหนักประมาณ 50 กก. จุดชนวนด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และมีแกลลอนน้ามันเชื้อเพลิง 8 แกลลอน โดยคนร้ายนามาวางบนรถจักรยานยนต์แบบพ่วงข้าง มาจอดทิ้งไว้ เจ้าหน้าที่ EOD เก็บกู้ได้

จุดที่ 5 พบวัตถุต้องสงสัยบริเวณหน้าวัดตานีนรสโมสร พบเป็นระเบิดเพลิงจุดชนวนระเบิดด้วยนาฬิกาข้อมือแบบดิจิตอลตั้งเวลา จุดที่ 6 พบวัตถุต้องสงสัยบริเวณร้านรุ่งเรืองการค้า ถ.ฤดี พบเป็นระเบิดเพลิงจุดชนวนระเบิดด้วยนาฬิกาข้อมือแบบดิจิตอลตั้งเวลา จุดที่ 7 เกิดเหตุระเบิดภายในร้านไดอาน่ามินิมาร์ท ถ.อุดมวิถี ส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ร้านค้าได้รับความเสียหาย

จุดที่ 8 เมื่อ เกิดเหตุระเบิดภายในร้านเมืองไทย (ร้านขายอะไหล่และอุปกรณ์ก่อสร้าง) แยกสุวลัย เสียหายเล็กน้อย เนื่องจากเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมเพลิงไว้ได้ จุดที่ 9 เกิดเหตุระเบิดภายในร้านขายเครื่องครัว ถ.สุวรรณมงคล ส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ได้รับความเสียหายเล็กน้อย โดยเจ้าของร้าน สามารถควบคุมเพลิงไว้ได้

17 กุมภาพันธ์ 2556
-คนร้ายลอบวางเพลิงและทำลายกล้องวงจรปิด CCTV และเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบ AIS ใน อ.ยะรัง จ.ปัตตานี 3 จุด ทำให้กล้องวงจรปิด CCTV เสียหาย 4 ตัว และเสาส่งสัญญาณเสียหาย 1 ต้น

-คนร้ายลอบวางระเบิดบริเวณข้างร้านลูกหมอ ตรงข้ามร้านบิ๊กเบ็นคอฟฟี่ ใกล้วงเวียนหอนาฬิกา ถ.หนองจิก ต.สะบารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี ทำให้อาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) อ.เมือง จ.ปัตตานี เสียชีวิต 3 ราย และชาวบ้านบาดเจ็บ 16 ราย

-กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ได้รับรายงานตัวบุคคลที่มีหมาย พ.ร.ก. 5 ราย

18 กุมภาพันธ์ 2556

-คนร้าย 2 คน แต่งกายชุดดาวะห์ ขับรถจักรยานยนต์ ยิงนายอับดุลเล๊าะ สาและ อายุ 27 ปี ตำแหน่ง ผรส. บาดเจ็บสาหัส เหตุเกิดหน้าบ้านเลขที่ 115 บ้านต้นซ้าน หมู่ที่ 7 ต.แม่ลาน อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี คนร้ายนำอาวุธปืนลูกซองของนายอับดุลเล๊าะหลบหนีไปด้วย

-คนร้ายใช้อาวุธปืน ยิงชายไม่ทราบชื่อ อายุประมาณ 35-40 ปี กระสุนถูกบริเวณกกหูขวา ริมถนนสายชนบท บ้านตะโละโต๊ะโน หมู่ที่ 6 ต.ปากู อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี

-คนร้ายขับรถกระบะ ใช้ปืนสงครามประกบยิงนายสมาน อีซอ อายุ 55 ปี กระสุนปืนถูกท้องและข้อมือขวา ขณะที่นายสมานขับรถกระบะกลับจากดื่มน้าชาที่บ้านปุลากง หมู่ที่ 1 ต.ปุลากง อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เหตุเกิดบนถนนภายในหมู่บ้านเปาะพูแม หมู่ที่ 2 ต.ตะโล๊ะ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี โดยนายสมานพักอาศัยอยู่กับนายมะกะตา อาแว นายก อบต.ตะโล๊ะ

19 กุมภาพันธ์ 2556
-คนร้าย 2 คน ขับรถจักรยานยนต์ประกบยิงนายสมศักดิ์ สุรสิทธิ์ อายุ 44 ปี ตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายรักษาความสงบ หมู่ที่ 4 ต.มะกรูด อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เสียชีวิตบนถนนสายบ้านดอนเค็ด - บ้านนาค้อใต้ หมู่ที่ 3 ต.ป่าบอน อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

-คนร้าย 2 คน ขับจักรยานยนต์เป็นพาหนะ ขว้างระเบิดขว้าง M-26 ใส่เจ้าหน้าที่ ร้อย.ร.5032 หน่วยเฉพาะกิจยะลาที่ 11(ฉก.) ที่กำลังเล่นฟุตบอลอยู่ภายในวัดหลักห้า ซึ่งเป็นที่ตั้งฐานปฏิบัติการ ร้อย.ร.5032 ฉก.ยะลา 11 หมู่ที่ 2 ต.สะเตงนอก อ.เมือง จ.ยะลา ส่งผลให้เจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 9 ราย ขณะเกิดเหตุเจ้าหน้าที่เวรรักษาการบริเวณป้อมหน้าฐานปฏิบัติการใช้อาวุธปืนยิงตอบโต้ คนร้ายจึงวิ่งขึ้นรถจักรยานยนต์ขับหลบหนีไป

-เจ้าหน้าที่ปิดล้อมตรวจค้นพื้นที่บ้านบาโงมือลือบา บ้านย่อยบ้านมือและห์ หมู่ที่ 1 ต.สาวอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ควบคุมตัวนายอาสี บากา สมาชิกกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงระดับปฏิบัติการตามหมายจับ ป.วิอาญา ที่ จ.381/51 ลง 10 ตุลาคม 2551 พร้อมตรวจยึดสิ่งของหลายรายการ เช่น อาวุธปืนพก 1 กระบอก กระสุน 25 นัด เป็นต้น

ต่อมาเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวนายไอร์สือมาล เจ๊ะหะมะ อายุ 33 ปี เป็นบุคคลตามหมายจับ พ.ร.ก. 1หมาย และหมายจับ ป.วิอาญา 2 หมาย หลบซ่อนตัวอยู่ใต้กรงนก พร้อมตรวจยึดสิ่งของต่างๆ เช่น  กระสุนปืนขนาด.22 จำนวน 7 นัด เป็นต้น

-เจ้าหน้าที่ปิดล้อมตรวจค้นร้านขายของชำบ้านลูโบ๊ะกายี หมู่ที่ 6 ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส หลังจากชุดเครื่องมือพิเศษจับสัญญาณเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้ติดต่อกับนายมะรอโซ จันทรวดี และนายสุไฮดี ตาเห สมาชิกกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง สามารถควบคุมตัวนายบัดรี ลาเตะ อายุ 25 ปี

20 กุมภาพันธ์ 2556
-คนร้ายลอบวางระเบิด ชป.อส.อ.เมือง จ.ยะลา ขณะลาดตระเวนรักษาความปลอดภัยครูและเส้นทางด้วยรถจักรยานยนต์ 2 คัน ระหว่างทางบนถนนสายชนบท บ้านบ่อเจ็ดลูก หมู่ที่ 6 ต.ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา เจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 2 ราย พบเป็นระเบิดแสวงเครื่องจุดชนวนด้วยโทรศัพท์มือถือ

-คนร้ายลอบวางระเบิด ชป.อส.อ.เมือง จ.ยะลา ขณะลาดตระเวนรักษาความปลอดภัยครูและเส้นทางสาย 418 ด้วยรถจักรยานยนต์ 4 คัน เจ้าหน้าที่ 8 นาย ส่งผลให้เจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 2 ราย พบเป็นระเบิดแสวงเครื่องจุดชนวนด้วยโทรศัพท์มือถือ วางไว้บริเวณกองทรายริมถนน

-เกิดเหตุเพลิงไหม้บริษัท เซาท์แลนด์รับเบอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัททำยางพาราแผ่นรมควัน ตั้งอยู่เลขที่ 99/9 บ้านท่าสาป หมู่ที่ 1 ถ.เพชรเกษม ต.ท่าสาป อ.เมือง จ.ยะลา โรงรมยางแผ่นได้รับความเสียหายหลายโรง

21 กุมภาพันธ์ 2556
-ศพชาวบ้านบริเวณใต้ต้นมะพร้าว ห่างจากถนนบ้านคลองขุด – บ้านตันหยงเปาว์ ประมาณ 500 เมตร ทราบชื่อ นายลาเต๊ะ สะมะแอ อายุ 64 ปี อยู่บ้านเลขที่ 175/4 บ้านตันหยงเปาว์ หมู่ที่ 4 ต.ท่ากาชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี สภาพศพถูกปิดปากด้วยผ้าเทปสีนาตาล มีผ้าสีขาวผูกรอบลาคอ และมีร่องรอยถูกยิงด้วยอาวุธปืนที่ศีรษะ 1 นัด ข้างศพพบรถจักรยานยนต์จอดอยู่

-คนร้ายยิงนายฟาริด จันทร์เจียม อายุ 38 ปี อยู่บ้านเลขที่ 8 บ้านยารอ หมู่ที่ 10 ต.จะแนะ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส เสียชีวิต ขณะพักผ่อนอยู่ภายในบ้านพักของภรรยา

22 กุมภาพันธ์ 2556
-คนร้ายลอบวางระเบิด ชป.ลว.เส้นทาง และ รปภ.ครู มว.ปล.ที่ 2 ร้อย.ร.15322 ฉก.ปัตตานี 25 ขณะลาดตระเวนรักษาความปลอดภัยครูและเส้นทางด้วยการเดินเท้า ที่เกิดเหตุบนถนนสาย 4060 ตะโละดือรามัน - สายบุรี เสารั้วข้างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละดือรามัน บ้านกาหยี หมู่ที่ 3 ต.ตะโละดือรามัน อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ พบเป็นระเบิดแสวงเครื่องบรรจุในกล่องเหล็กสี่เหลี่ยมขึ้นรูป น้ำหนักประมาณ 4 กิโลกรัม จุดชนวนด้วยวิทยุสื่อสาร

22 กุมภาพันธ์ 2556
-คนร้ายลอบวางระเบิด ชป.รปภ.ครู ร้อย.ร.2514 ฉก.ปัตตานี 24 ขณะกำลังพล 8 นาย เดินไปที่ศาลาที่พักภายในโรงเรียนบ้านเกาะตา ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เพื่อตรวจสอบการเดินทางมาปฏิบัติงานของครูและตรวจสอบความเรียบร้อยรอบๆโรงเรียน ได้รับบาดเจ็บ 3 นาย พบเป็นระเบิดแสวงเครื่อง บรรจุในกล่องเหล็ก น้ำหนักประมาณ 5 กก. จุดชนวนด้วยโทรศัพท์มือถือ ซุกซ่อนไว้บริเวณกองทรายใกล้โคนเสาโรงเก็บของที่กำลังก่อสร้าง

จากการตรวจสอบซิมการ์ดโทรศัพท์ที่คนร้ายนำมาก่อเหตุเป็นของนายประเสริฐ ทองอ่อน ที่ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิตและนางละมัย ทองอ่อน ภรรยาได้รับบาดเจ็บ เมื่อ 31 มกราคม 2556 ในพื้นที่บ้านโหนด อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา

-คนร้ายยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม. 3 นัด ใส่สถานีตำรวจภูธรกะพ้อ(สภ.) ขณะตำรวจกำลังเล่นกีฬาอยู่บริเวณลานกีฬาหน้า สภ.กะพ้อ คนร้าย กระสุนปืนตกบริเวณลานกีฬา เจ้าหน้าที่ถูกสะเก็ดระเบิด  ได้รับบาดเจ็บ 6 นาย

-คนร้ายใช้อาวุธปืนพกขนาด 11 มม. และอาวุธปืนขนาด .22 นิ้ว ยิงนายวิชิต ใหม่เจริญ อายุ 42 ปี เจ้าหน้าที่ อส.อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี และนายวิสิทธิ์ เจริญสุข อายุ 48 ปี กระสุนปืนถูกศีรษะ เสียชีวิต

-ฉก.ปัตตานี 25 ได้รับรายงานตัวบุคคลที่มีหมาย พ.ร.ก. เข้ามารายงานตัว 1 ราย คือ นายมะการิม เจ๊ะมุ อายุ 31 ปี

23 กุมภาพันธ์ 2556
-เกิดเหตุระเบิดบริเวณตู้โทรศัพท์สาธารณะ หน้าธนาคารออมสิน เขตเทศบาลบันนังสตา ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา ทำให้ตู้โทรศัพท์สาธารณะเสียหาย 1 ตู้ แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ

-คนร้าย 2 คน ขับรถจักรยานยนต์ประกบยิงนายหาญ ราชเจริญ อายุ 44 ปี อาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง และนางสุพรรณี วาดแสง อายุ 40 ปี ได้รับบาดเจ็บ เหตุเกิดบนถนนสาย 42 บ้านดอนรัก หมู่ที่ 1 ต.ดอนรัก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

-คนร้ายลอบวางระเบิดบริเวณ ถนนนาเกลือ ซอย 2 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี ขณะตำรวจเข้าตรวจสอบ หลังจากรับแจ้งจากชาวบ้านว่ามีกลุ่มวัยรุ่นขับรถจักรยานยนต์ นำวัตถุต้องสงสัยเป็นถุงขยะสีดำ มาวางไว้ในถังขยะใกล้กับธนาคารอิสลาม แรงระเบิดส่งผลให้ตำรวจบาดเจ็บ 3 นาย

-เกิดเหตุก่อกวนส่วนใหญ่เป็นการเผายางรถยนต์บนถนนในพื้นที่ จ.ปัตตานี 21 จุด ได้แก่ ใน อ.หนองจิก 4 จุด อ.เมืองปัตตานี 5 จุด โดยมีการลอบวางเพลิงเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือ (ดีแทค) บริเวณหน้าโรงเรียนบ้านปาเระ หมู่ที่ 2 ต.บาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี เสียหายเล็กน้อย พื้นที่ อ.สายบุรี 6 จุด

ส่วน อ.ยะหริ่ง 6 จุด โดยมีการยิงหม้อแปลงไฟฟ้าหน้าโรงเรียนบ้านตาแกะ หมู่ที่ 2 ต.ตาแกะ อ.ยะหริ่ง ลอบวางเพลิงอาคารองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงดาลอ (อบต.) และรถดับเพลิง ซึ่งจอดอยู่ภายในที่ทำการอบต.เสียหายประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ลอบวางเพลิงบ้านร้างชาวไทยพุทธ ติดกับโรงเรียนบ้านท่าด่าน หมู่ที่ 3 ต.ตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง และลอบวางเพลิงโรงเรียนบ้านท่าด่าน อาคารปูน 2 ชั้นเสียหายประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์

-เกิดเหตุลอบวางระเบิด ชป.อส.เมืองปัตตานี ขณะเดินทางด้วยรถกระบะหุ้มเกราะตามถนนสาย 42 เหตุเกิดหน้าบริษัทหาดทิพย์ ต.ตะลุโบะ อ.เมือง จ.ปัตตานี ซึ่งเป็นจุดกลับรถ เจ้าหน้าที่บาดเจ็บเล็กน้อย 7 ราย รวมทั้งนายเอกสิทธิ์ สองเมือง ปลัด อ.เมืองปัตตานี พบเป็นระเบิดแสวงเครื่อง

-เกิดเหตุลอบวางระเบิด หน้าร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น เขตเทศบาลตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ โดยคนร้ายนำวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง มาซุกซ่อนไว้ภายในถังขยะ

ต่อมาขณะเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ ได้เกิดระเบิดขึ้นอีก 1 ลูก มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 6 ราย เป็น เจ้าหน้าที่ 4 นาย และชาวบ้าน 2 ราย หนึ่งในนั้นเป็นเด็กอายุ 1 ขวบ ชื่อ ด.ช.อัฟฮาล เจ๊ะแน ถูกสะเก็ดระเบิดบริเวณลาตัว พบเป็นระเบิดแสวงเครื่องซุกซ่อนในรถจักรยานยนต์

24 กุมภาพันธ์ 2556
-เวลา 21.00 น. คนร้ายยิงนายอัยมาน สะนิ อายุ 29 ปี เสียชีวิต เหตุเกิดขณะนายอัยมานขับรถจักรยานยนต์บนถนนภายในหมู่บ้านกูวิง หมู่ที่ 4 ต.บาโลย อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

 -เวลา 23.00 น. คนร้ายยิงนายฮาซัน เจ๊ะดาโอ๊ะ อายุ 18 ปี บาดเจ็บ ขณะที่นายฮาซันขับรถจักรยานยนต์ โดยมีนายมะยา ยาโก๊ะ อายุ 17 ปี นั่งมาด้วย เหตุเกิดบนถนนสายดุซงญอ – บ้านแมะแซ หมู่ที่ 2 ต.ดุซงญอ โดยระหว่างทางคนร้ายจอดรถกระบะซุ่มอยู่ก่อนใช้ปืนพกขนาด 9 มม. ยิงใส่ 2 นัด

26 กุมภาพันธ์ 2556
-เวลา 19.55 น. ได้ยินเสียงดังคล้ายกับระเบิดดังขึ้น 1 ครั้ง บริเวณ ถนนเพชรเกษมสาย 42 บ้านบลูกา หมู่ที่ 3 ต.ตะปอเยาะ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ต่อมาเวลา 06.30 น. วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพบเสาไฟฟ้าถูกแรงระเบิดหักได้รับความเสียหาย 2 ต้น และพบเศษเหล็กคาดว่าน่าจะเป็นชิ้นส่วนภาชนะบรรจุระเบิดแสวงเครื่อง เจ้าหน้าที่จึงได้เก็บไว้เป็นหลักฐานเพื่อตรวจพิสูจน์ต่อไป

27 กุมภาพันธ์ 2556
-เวลา 09.10 น. หน่วยเฉพาะกิจปัตตานีที่ 25 รับรายงานตัวนายรุสมาน ลีเยาะ อายุ 28 ปี เป็นบุคคลตามหมายจับของศาลจังหวัดปัตตานี ป.วิอาญา ที่ 237/2554 ลงวันที่ 7 ก.ย. 2554 พื้นที่สถานีตำรวจภูธรปะนาเระ จ.ปัตตานี

-เวลา 12.17 น. เกิดเหตุระเบิดบริเวณข้างรั้วกำแพงโรงเรียนบ้านท่าด่าน หมู่ที่ 3 ต.ตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี พบเป็นระเบิดแสวงเครื่อง

-เวลา 12.00 น. เกิดเหตุระเบิดบริเวณบ้านร้างเลขที่ 120/1 บ้านท่าด่าน หมู่ที่ 3 ต.ตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ของนายพิภพ จันทร์หาญ ขณะเกิดเหตุไม่มีผู้ใดพักอาศัยอยู่ โดยปล่อยทิ้งร้างมาแล้วประมาณ 2 ปี พบเป็นระเบิดแสวงเครื่องบรรจุในถังน้ำยาเคมีดับเพลิง น้ำหนักประมาณ 15 กก. จุดชนวนด้วยโทรศัพท์มือถือ

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จดหมายถึง ผู้ว่าฯกทม. คนใหม่คนเดิม เรื่องของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ

Posted: 04 Mar 2013 05:23 AM PST

หลังจากทราบผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แม้ว่าผลจะเป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ก็ตาม แต่ในฐานะที่ทำงานภาคสังคมโดยเฉพาะกับกลุ่มคนยากไร้ที่สุดในประเทศไทย และในกรุงเทพมหานคร อดที่จะวิตกกังวลกับผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นไม่ได้ เนื่องมาจาก ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งอีกครั้งหนึ่ง ไม่มีคณะทำงานที่มีความเข้าใจและเชี่ยวชาญด้านปัญหาสังคมอย่างแตกฉานเลยแม้แต่คนเดียว

ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ ปลายปี 2545 มาจนถึงปัจจุบัน ที่อิสรชน เริ่มขยับเข้าพื้นที่เพื่อเตรียมตัวทำงานในพื้นที่ สนามหลวง และเริ่มลงทำงานอย่างจริงจังในปลายปี 2547 พบว่า การทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ โดยเฉพาะพื้นที่ สนามหลวง คลองหลอด และปริมณฑล คำตอบไม่ใช่ การหาที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว หากแต่ว่าคำตอบมีมากกว่านั้นมากมาย แต่กว่าจะได้มาซึ่งคำตอบนั้นจำเป็นต้องมีวิธีการทำงานเพื่อค้นหาคำตอบจากผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะอย่างเข้มข้นและลงลึก

โดยการทำงานในช่วงเวลาที่ผ่านมาในระหว่างการดำรงตำแหน่งของอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากพรรคประชาธิปัตย์ 2 ท่าน สามวาระ อิสรชน ได้ติดตามการทำงานในภาคสังคม โดยเฉพาะกับกลุ่มคนยากไร ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ และได้ทดลองและริเริ่มรูปแบบกิจกรรมเพื่อค้นหารากเหง้าของปัญหาร่วมกับคนสนามหลวงอย่างหลากหลายวิธี ที่พอจะสรุปได้ ได้แก่

  1. การลงพื้นที่สำรวจข้อมูล
  2.  การสร้างความคุ้นเคยเบื้องต้น
  3. การคุยกลุ่มย่อยในพื้นที่
  4. การคุยกลุ่มย่อยนอกพื้นที่
  5. การทำประชาคมเพื่อระดมความคิดเห็นในพื้นที่
  6. การให้บริการพื้นฐานเฉพาะหน้า
  7. การออกหน่วยให้คำปรึกษาแบบเคลื่อนที่เร็ว
  8. การตั้งหน่วยบริการให้คำปรึกษาแบบประจำจุด

การลงพื้นที่ในแต่ละครั้ง พบว่า ปัญหาพื้นที่ ที่คนสนามหลวงต้องการเป็นการเร่งด่วน คือ การยืนยันสถานภาพบุคคลทางทะเบียนราษฎร เพื่อยืนยันความเป็นพลเมืองไทย และ นำไปสู่การได้รับสิทธิอื่น ๆ ที่พลเมืองไทยพึงได้จากรัฐธรรมนูญ รวมไปถึงการสร้างความมั่นใจในการหางานทำเพื่อพัฒนาตนเองในโอกาสต่อไป

รูปแบบการให้บริการเชิงรับเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ
จากการทำงานประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบกลุ่มผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ที่ภาครัฐเรียกว่า คนไร้ที่พึ่ง พบว่า สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ ที่รัฐมีอยู่ ยังไม่สามารถรองรับสภาพปัญหาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะได้อย่างแท้จริง กล่าวคือ สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ ของรัฐที่มีอยู่ มีเงื่อนไขที่ค่อนข้างขาดความยืดหยุ่น ไม่สามารถให้บริการ ครอบครัวผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ครอบครัวเร่ร่อนไร้บ้านได้ โดยฌฉพาะการแยกการให้การดูแลครอบครัวผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะออกจากกัน แม้จะมีในบางกรณีที่สามารถให้แม่เด็กและเด็กอยู่ด้วยกันได้ แต่ก็แยกผู้เป็นสามีออกจากครอบครัว จากการทำงานพบว่า เกือบจะ 100% ของครอบครัวผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ที่ได้รับการเชิญตัวเข้ารับการสงเคราะห์ในรูปแบบเดิม จากรัฐ จะกลายเป็นครอบครัวแตกในที่สุด เพราะเมื่อสามีหัวหน้าครอบครัว สามารถหาทางออกจากสถานแรกรับ หรือสถานสงเคราะห์มาได้ก่อน ภรรยามักจะมีครอบครัวใหม่ และเมื่อภรรยาเก่าออกมาพบ ก็เกิดการทะเลาะวิวาทกันในพื้นที่อยู่เป็นประจำ ยังไม่รวมการที่เด็กเมื่อได้รับการแยกให้การสงเคราะห์ออกไปมักจะได้รับการทอดทิ้งจากครอบครัว เป็นภาระของรัฐที่ต้องดูแลเด็กในฐานะเด็กถูกทอดทิ้ง

อิสรชน มีแผนการดำเนินการเปิด สถานพัฒนาคุณภาพชีวิตและฟื้นฟูผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ(บ้านปั้นปูน) เพื่อเป็นทางเลือกในการให้บริการด้านการสงเคราะห์เบื้องต้น แก่ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ โดยเปิดโอกาสให้สามารถอยู่ได้ในรูปแบบของครอบครัว โดยจะมีนักสังคมสงเคราะห์ ,นักพัฒนาคุณภาพชีวิต ประจำอยู่ในบ้านดังกล่าว เพื่อคอยให้คำแนะนำและประสานงานหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ หรือ ภูมิลำเนาของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ กรณีมีความต้องการจะกลับภูมิลำเนา และ จัดให้มีการฝึกอาชีพเบื้องต้นในรูปแบบของการฝึกอบรมระยะสั้น เพื่อเสริมศักยภาพของ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ก่อนจะดำเนินการส่งต่อ หรือ ส่งกลับภูมิลำเนา โดยพยายามบริหารกรอบเวลาให้สามารถทำงานได้อย่างครอบคลุมปัญหาให้มากที่สุด

การระดมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อร่วมกันบรรเทาปัญหา
การแก้ไข หรือบรรเทาปัญหา ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ คนไร้ที่พึ่ง คนเร่ร่อนไร้บ้าน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมไปถึงภาคองค์กรธุรกิจด้วย เพื่อขยายพื้นที่การดูแลพลเมืองในสังคมอย่างทั่วถึงและสร้างทางเลือกให้ได้มากที่สุด

ในส่วนของภาครัฐมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนองค์กรภาคเอกชน องค์กรประชาสังคม ที่แสดงความจำนงจะเข้ามาช่วยแก้ไขและบรรเทาปัญหานี้ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รวมถึงการพัฒนากลไกเดิมที่มีอยู่ในสอดรับสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา

รัฐโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครต้องสร้างแรงจูงใจให้แก่องค์กรภาคธุรกิจให้ออกมาร่วมสนับสนุนทั้งงบประมาณวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนการเปิดโอกาสให้ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะได้เข้าทำงาน เพื่อเป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ อันจะนำไปสู่การยุติการใช้ชีวิตในที่สาธารณะอย่างถาวรในอนาคต

ข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติ 
1.การตั้งหน่วยคัดกรอง (Drop In) ในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเป็นสถานที่พักพิงชั่วคราวแก่ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ทุกกลุ่ม โดยปราศจากเงื่อนไข ข้อจำกัด เพื่อให้เขารู้สึกถึงความปลอดภัยในการเข้ารับบริการ โดยรูปแบบเป็นการทำงานผสมผสานกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน  โดยภายในหน่วยคัดกรอง จะมีบริการพื้นฐานเบื้องต้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการ พูดคุยกับ ผู้รับบริการ

2.การมีเจ้าหน้าที่ภาคสนามนอกเวลาราชการ เพื่อเป็นหน่วยเดินเท้าลงไปสร้างความคุ้นเคยชักชวนให้ ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเต็มใจเข้ารับบริการในหน่วยคัดกรอง เพื่อประสานงานส่งต่อในการรับสวัสดิการด้านอื่น ๆ ต่อไป

3.จัดให้มีหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ ในการส่งต่อไปยังหน่วยงานบริการด้านสวัสดิการอื่น ๆ ของรัฐ รวมถึงการส่งกลับครอบครัว

4.จัดให้มีการประชุมสรุปบทเรียน ระหว่างการดำเนินการ หน่วยคัดกรองดังกล่าว ควรเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีบทบาทในการให้บริการ ด้วยการกำหนดเวลา หรือวันในการให้บริการของแต่ละหน่วยบริการ ตลอดจนจัดให้มีการประชุมสรุปบทเรียนเป็นระยะ ๆ เพื่อค้นหารูปแบบการทำงานที่หลากหลายอยู่ตลอดเวลา

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 26 ก.พ. - 4 มี.ค. 2556

Posted: 04 Mar 2013 02:06 AM PST

 

ถกขยายตลาดแรงงานไปโอมาน

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน หารือร่วมกับ นายพรชัย ด่านวิวัฒน์ เอกอัครราชทูต ณ สาธารณรัฐโอมาน เกี่ยวกับแนวทางการทำความตกลง (เอ็มโอยู) ด้านแรงงาน ระหว่างประเทศไทยกับโอมาน เนื่องจากประเทศดังกล่าวมีแนวคิดในการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศ เป็นโอกาสในการขยายตลาดแรงงานของไทย โดยแนวทางการจัดทำเอ็มโอยูกับโอมาน แบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ 1. การจัดส่งแรงงานระดับกึ่งฝีมือและระดับฝีมือ โดยเฉพาะภาคการก่อสร้างและการขุดเจาะน้ำมัน

ทั้งนี้แม้ทางโอมานจะกำหนดสัดส่วนให้ต้องจ้างแรงงานโอมานอย่างน้อย 70% แต่ตลาดแรงงานที่นั่นก็ยังต้องการจ้างงานแรงงานต่างชาติอีกจำนวนมาก โดยค่าจ้างขั้นต่ำของโอมานจะมีการปรับในเดือน ก.ค.ที่จะถึงนี้ จาก 1.6-1.7 หมื่นบาท/เดือน เป็น 2.5หมื่นบาท/เดือน

2.การพัฒนาฝีมือแรงงาน ทางโอมานต้องการให้กระทรวงแรงงานจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงาน การส่งผู้ผ่านการฝึกอบรมให้ตามที่ต้องการ หรือส่งวิทยากรของไทยไปดำเนินโครงการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานให้กับคน ท้องถิ่น

นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า การอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้กับคนท้องถิ่นโอมาน จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนำไปสู่ความสัมพันธ์ทางการค้าในระยะยาวต่อ ไป อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันแรงงานในประเทศไทยยังขาดแคลนอยู่มากจึงต้องส่งเสริมการจ้างงาน ภายในประเทศด้วย แต่หากการเดินไปทำงานที่โอมานทำให้แรงงานมีรายได้ที่ดีว่าก็พร้อมจะสนับสนุน

ขณะที่นายพรชัย กล่าวว่า การร่างเอ็มโอยูจะมีการสืบค้นตัวอย่างการทำเอ็มโอยูด้านแรงงานที่โอมานเคยทำ กับประเทศต่างๆ  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน และเห็นควรประสานการจัดตั้งคณะทำงานยกร่างเอ็มโอยูของฝ่ายไทยและฝ่ายโอมาน โดยในส่วนของฝ่ายไทยอาจประกอบด้วยด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งของกระทรวง การต่างประเทศและกระทรวงแรงงาน อาทิ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และกรมการจัดหางาน โดยมีสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมัสกัต และฝ่ายแรงงานฯ ณ กรุงอาบูดาบีเป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ

(โพสต์ทูเดย์, 27-2-2556)

 

สธ.รณรงค์ตรวจเลือดป้องกันเอดส์กลุ่มแรงงานในโรงงานนำร่อง 50 แห่ง

สธ.27 ก.พ.- นพ.พรเทพ  ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมการป้องกันและบริหารจัดการด้าน เอดส์ในสถานประกอบกิจการ ว่า ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อเอดส์ในไทย ประมาณ 1.2 ล้านคน  ประมาณร้อยละ 85 ของผู้ป่วย  มีอายุระหว่าง 15-45 ปี  ซึ่งถือเป็นวัยแรงงาน และเป็นทรัพยากรหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ส่วนปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวีเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ถึงร้อยละ 85 และ มีแนวโน้มพบผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 15-24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยรุ่น เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มชายรักชาย ที่มีอัตราการติดเชื้อร้อยละ 8.83

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค ได้ร่วมกับสถานประกอบการภาคธุรกิจ มูลนิธิศาสตราจารย์นพ.สมบูรณ์วัชโรทัย กระทรวงแรงงาน สมาคมแนวร่วมภาคธุรกิจไทยต้านภัยเอดส์ รณรงค์ให้มีการเจาะเลือดตรวจ รู้ผลเบื้องต้นใน 1 ชั่วโมง ในกลุ่มแรงงาน ในโรงงานนำร่อง 50 แห่ง ทั้ง กทม.และนนทบุรี เพื่อป้องกันโรค  ดังสโลแกน "เอดส์ รู้ก่อน รู้ทัน ป้องกันและรักษาได้"  และยังเป็นประโยชน์ต่อการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)รวมถึงสังคมประเทศชาติส่วนรวมในอนาคต

(สำนักข่าวไทย, 27-2-2556)

สธ.เล็งใช้วิธีเก็บเงินต้นทาง หลังไทยแบกภาระค่ารักษาต่างด้าวปีละ 250 ล.

(28 ก.พ.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายสาธารณสุขระหว่างประเทศ ว่า ที่ประชุมมีการหารือเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพคนต่างด้าว โดยกลุ่มต่างด้าวประเภทเช้าไปเย็นกลับ หรือประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านที่ข้ามฝั่งมารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลตามแนว ชายแดน จนส่งผลให้ไทยต้องรับภาระค่ารักษาพยาบาลส่วนนี้ราว 250 ล้านบาทต่อปี จะแก้ปัญหาในระยะสั้นด้วยการเก็บค่ารักษาพยาบาล ส่วนระยะยาวจะประสานองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือธนาคารโลก (World Bank) ให้กระตุ้นประเทศเหล่านี้มีหลักประกันสุขภาพ อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถเก็บค่ารักษาได้ อาจต้องแสดงเป็นงบประมาณด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของประเทศแทน หรือพิจารณาเบิกเก็บจากประเทศต้นทาง ซึ่งจะเสนอเป็นกรอบพิจารณาในการเจรจากรอบอาเซียน
      
"ที่ต้องใช้ระบบเก็บเงินต่างด้าวแบบเช้าไปเย็นกลับ เพราะระบบประกันสุขภาพจะได้ผลดีต้องมีทั้งคนสุขภาพดีและไม่ดีมาแชร์กัน แต่คนต่างด้าวจะมีเฉพาะคนที่เป็นโรคเท่านั้นที่มาซื้อประกัน จึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับคนต่างด้าวกลุ่มนี้" รมว.สาธารณสุข กล่าว

 นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สำหรับประเภทแรงงานต่างด้าว ยกเว้นแรงงานในระบบประกันสังคม จะใช้ระบบประกันสุขภาพทั้งหมด โดยจะขยายระบบครอบคลุมทั้งแรงงาน ผู้ติดตามและลูก คาดว่าภายในต้นเดือน พ.ค.2556 จะสามารถดำเนินการให้หลักประกันสุขภาพกับเด็กต่างชาติด้วย ภายใต้ระบบประกันสุขภาพ คือต้องซื้อประกันสุขภาพในราคาที่ถูกมาก เบื้องต้นมีแนวคิดจะเก็บค่าประกันสุขภาพสำหรับเด็กต่างด้าววันละ 1 บาท ซึ่งไม่ใช่จำนวนเงินที่มากเมื่อเทียบกับครอบครัวที่มีรายได้วันละ 200-300 บาท แต่จะใช้เป็นแรงจูงใจให้เด็กกลุ่มนี้ได้รับการดูแล หรือเก็บเป็นรายครอบครัวที่มีสมาชิก 3 คน 10 บาทต่อวัน แยกเป็นพ่อ 5 บาท แม่ 4 บาท และลูก 1 บาท คิดเป็นเงิน 3,600 บาทต่อปี หรือคนละ 1,200 บาทต่อปี โดยจะส่งผลให้ช่วยลดปัญหาสาธารณสุขของประเทศลงได้ส่วนหนึ่ง ป้องกันโรคระบาด เท้าช้าง วัณโรค และซิฟิลิส เป็นต้น หากไม่ดำเนินการตรวจโรคและรักษาก็จะเกิดการระบาดในประเทศไทย เพราะคนต่างด้าวทั้งใต้ดินและบนดินมีประมาณ 3-4 ล้านคน มีทั้งผู้ที่สุขภาพแข็งแรงดีและไม่ดี
      
"มติ ครม.ให้สิทธิ สธ.รักษาสุขภาพคนต่างด้าวได้ทั้งหมด ไม่เฉพาะที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมายเท่านั้น ซึ่งจะทำให้กลุ่มคนเหล่านี้กล้าที่จะออกมาซื้อประกันและเข้ารับบริการสุขภาพ เพราะในการรักษาพยาบาลจะมุ่งเน้นการรักษาและป้องกันโรค สธ.ไม่มีหน้าที่ถามว่าคุณมาในฐานะอะไร เพราะถ้าถามว่าเข้าเมืองมาผิดกฎหมายหรือไม่ ก็ต้องรายงานตำรวจ แพทย์ก็ไม่ต้องทำงาน ผู้ป่วยหนีหมด ทั้งนี้ สามารถซื้อประกันได้ที่โรงพยาบาล เบื้องต้นอาจเริ่มจากผู้หญิงต่างด้าวที่มาฝากครรภ์ โดยอาจจะถามว่าซื้อประกันสุขภาพให้ลูกหรือไม่ วันละ 1 บาท จากนั้นจะออกเป็นบัตรประจำตัวเด็กที่มีสีแตกต่างกันระหว่างเด็กที่ซื้อและ ไม่ซื้อประกัน หรือใช้วิธีการประทับตรา โดยสิทธิประโยชน์และค่ารักษาพยาบาลจะเท่ากับคนไทย" รมว.สาธารณสุข กล่าว
      
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพคนต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทยจะให้ครอบคลุมทั้งหมด อาจจะต้องให้มีการซื้อประกันสุขภาพนักท่องเที่ยว สำหรับกลุ่มประเทศที่ต้องใช้วีซ่าเดินทางเข้าประเทศ เพราะประเทศที่ไม่ได้ใช้วีซ่าเป็นประเทศที่มีระบบประกันสุขภาพของประเทศอยู่ แล้วสามารถข้ามมาใช้ในประเทศไทยได้ ไม่ให้กระทบกระเทือนต่อการท่องเที่ยว เนื่องจากประเทศที่ต้องใช้วีซ่ามักจะเป็นประเทศซึ่งมีปัญหาในการเข้ามา ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและพิจารณาตัวเลขว่ามีจำนวนผู้ใช้บริการสุขภาพที่ เป็นนักท่องเที่ยวมาจากกลุ่มนี้เท่าไหร่ที่มาใช้บริการฟรีในประเทศไทย

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 28-2-2556)

 

สาวใช้ต่างด้าวเตือนนายจ้างตรวจประวัติ

จากกรณีที่แรงงานไทยไม่นิยมทำอาชีพแม่บ้าน จนทำให้นายจ้างต้องหาแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติคือ พม่า ลาว และกัมพูชา เข้ามาทำงานแทนคนไทย เนื่องจากในสมัยก่อนแรงงานเหล่านี้มีอัตราค่าจ้างถูกโดยเฉลี่ย 4,000-5,000 บาทต่อเดือน แต่ปรากฏว่าในปัจจุบันค่าจ้างอาชีพแม่บ้านในกลุ่มแรงงานต่างด้าวทั้ง 3 ประเทศนี้กลับมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นถึงเดือนละ 8,000-9,000 บาท
   
ถ้าเป็นแรงงานที่คุณสมบัติความสามารถหลากหลายด้าน เช่น รีดผ้า ซักผ้า ทำงานบ้าน เลี้ยงเด็ก ดูแลสุนัข พูดภาษาไทย และเอกสารการทำงานถูกต้องครบถ้วน ก็จะมีเงินเดือนสูงเกิน 10,000-15,000 บาทขึ้นไป ซึ่งนับว่าสูงกว่านักศึกษาปริญญาตรีจบใหม่ อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวยังตรวจสอบพบด้วยว่า มีบริษัทจัดหางานหรือนายหน้าหัวใสเปิดให้นายจ้างเข้ามาค้นหาข้อมูลประวัติ แรงงานต่างด้าว เพื่อติดต่อจ้างงานผ่านทางเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างเฟซบุ๊ก ซึ่งพบว่ามีสมาชิกเกือบ 4,000 ราย
   
ส่วนในด้านผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ทั้งปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม หลังจากที่แรงงานต่างด้าวเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่รัฐบาลได้ประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน และการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน หรือประชาคมอาเซียนในอนาคตข้างหน้า
   
นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า การเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะส่งผลกระทบต่อจำนวนแรงงานต่างด้าวในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ชาติเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าจะเป็นกลุ่มแรงงานที่มีทักษะฝีมือและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น แพทย์ พยาบาล วิศวกรและอาจารย์ ฯลฯ มากกว่ากลุ่มแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือทั้ง 3 สัญชาติ เพราะเป็นกลุ่มที่ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายโดยไม่เกี่ยวข้องกับการ เปิดเสรีประชาคมอาเซียนแต่อย่างใด
   
ผอ.สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กล่าวอีกว่า เรื่องการสกัดกั้นและจับกุมแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย นั้น ทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองซึ่งมีหน้าที่โดยตรงจะเป็นผู้สกัดกั้นการเข้ามา ของแรงงานกลุ่มนี้ตั้งแต่บริเวณชายแดน และจะทำการผลักดันกลับประเทศต้นทางต่อไป ส่วนกระทรวงแรงงานก็ต้องทำตามมติคณะรัฐมนตรีคือ ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวทั้ง 3 สัญชาติที่ลักลอบทำงานอยู่กับนายจ้างให้มาขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องภายในวัน ที่ 16 มีนาคม 2556
   
ด้าน พล.ต.ต.รณศิลป์ ภู่สาระ ผู้บังคับการกองบังคับการสืบสวนสอบสวน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ผบก.สส.สตม.) กล่าวว่า ตำรวจเตรียมพร้อมรับมือผลกระทบด้านปัญหาสังคมหลังจากการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน เพราะจะมีแรงงานต่างด้าวเดินทางเข้าออกประเทศได้อย่างอิสระ นำมาซึ่งปัญหาต่างๆ มากมาย ทั้งยาเสพติด อาชญากรรม โรคติดต่อ ชุมชนแออัด และปัญหาคนไร้สัญชาติ ทั้งนี้ ตำรวจกำลังเร่งหามาตรการที่จะป้องกันปัญหาเหล่านี้
   
"ผู้ประกอบการหรือนายจ้างนั้นควรที่จะตรวจสอบประวัติแรงงานต่างด้าวที่ ท่านจะรับเข้ามาทำงานอย่างละเอียดเสียก่อน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นได้ รวมถึงการพาแรงงานต่างด้าวไปขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจะได้ง่ายต่อการตรวจสอบต่อไป" ผบก.สส.สตม.กล่าว.
(ไทยโพสต์, 28-2-2556)

 

ประกันสุขภาพคนต่างด้าวเริ่ม พ.ค.นี้

นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศว่า ที่ประชุมได้หารือกรณีที่มีประชากรจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาใช้ บริการด้านสาธารณสุขไทย โดยเฉพาะตามจุดผ่านแดน ส่งผลให้ประเทศไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขกับคนกลุ่มนี้ปีละประมาณ 250 ล้านบาท สธ.จึงได้หาแนวทางแก้ปัญหา เท่าที่ศึกษาคาดว่าจะไม่ทำในลักษณะของการประกัน เนื่องจากกลุ่มที่ทำประกันคงมีแต่กลุ่มที่เจ็บป่วยเท่านั้น ดังนั้นจะใช้วิธีการเรียกเก็บเงินแทน เรื่องนี้ต้องดูรายละเอียดและความเหมาะสมอีกครั้ง นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือเรื่องการดูแลแรงงานต่างด้าวครอบคลุมทั้งครอบครัว โดยจะจัดทำระบบประกันสุขภาพเด็ก เรียกเก็บเงินวันละ 1 บาทตามความสมัครใจ หรือประมาณปีละ 360 บาทต่อคน โดยไม่เลือกว่าผู้ที่ทำจะเป็นแรงงานที่เข้ามาถูกหรือผิดกฎหมาย โครงการดังกล่าวจะแล้วเสร็จต้นเดือน พ.ค.นี้ ทั้งนี้ยังหารือถึงโครงการดังกล่าวว่าจะดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งครอบครัว แบ่งเป็นพ่อ 5 บาท แม่ 4 บาท และลูกอีก 1 บาท หรือครอบครัวละ 3,600 บาทต่อปี ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสาธารณสุขของประเทศลงได้เพราะคนต่างด้าวทั้งใต้ดินและบน ดินมี 3-4 ล้านคน

รมว.สาธารณสุขกล่าวด้วยว่า มติ ครม.ให้สิทธิ สธ.รักษาสุขภาพคนต่างด้าวได้ทั้งหมด ไม่เฉพาะที่เข้ามาถูกกฎหมายเท่านั้น ซึ่งจะทำให้กลุ่มคนเหล่านี้กล้าซื้อประกัน เบื้องต้นอาจเริ่มจากผู้หญิงต่างด้าวที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล โดยสอบถามความสมัครใจในการซื้อประกันสุขภาพให้ลูก เพื่อรับสิทธิประโยชน์และค่ารักษาพยาบาลเท่าคนไทย.

(ไทยรัฐ, 28-2-2556)

 

ภาครัฐ-เอกชนถกปัญหาค้ามนุษย์ เผย เร่งแก้ปัญหาแรงงาน-ขอทาน-ค้าประเวณี

ภาครัฐ-เอกชน ร่วมประชุมแก้ปัญหาค้ามนุษย์ เร่งแก้ปัญหาแรงงาน-ขอทาน-ค้าประเวณี เนื่องจากสหรัฐอเมริกาจะมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้านการค้ามนุษย์ทั่ว โลกในเดือนเมษายนนี้ วันนี้(1 มี.ค.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ สั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศ จัดประชุมหารือกับองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อรับฟังข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับภาคประชาสังคมที่ทำงาน ด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ และเพื่อเป็นการนำไปสู่การจัดงานวันสตรีสากล โดยในส่วนของตร. ซึ่งเป็นหน่วยที่มีส่วนในการปราบปรามในเรื่องที่เกี่ยวกับสตรี การค้าประเวณี โสเภณีด้วยนั้น ทางผบ.ตร.ได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ที่ปรึกษา(กม1) เข้าร่วมประชุมด้วย และมีหน่วยงานภาครัฐด้านการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ องค์กรพัฒนาเอกชน และกลุ่ม NGO ร่วมประชุม จำนวน 60 คน

พล.ต.อ.ชัชวาลย์ เปิดเผยภายหลังว่า จากการหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชน เกี่ยวกับการต่อต้านการค้ามนุษย์ ที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่า ปัญหาการค้าประเวณี และขอทาน ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องร่วมกันแก้ไข ควบคู่กับปัญหาการบังคับใช้แรงงาน ซึ่งไทยต้องเร่งแสดงให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นถึงความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหา อย่างเต็มที่ผ่านแผนปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ประจำปี 2555 ที่จะส่งให้ประเทศสหรัฐอเมริกา พิจารณาจัดอันดับความน่าเชื่อถือของไทย โดยปัจจุบันไทยถูกจัดอันดับอยู่ในระดับ 2 เฝ้าระวังมาตั้งแต่ปี 2553 โดยในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะเน้นดูแลเรื่องการป้องกัน

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 2-3-2556)

 
พนักงานเอ็นเอ็กซ์พีประท้วงขอขึ้นค่าแรง 


กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) รายงานสภาพการจราจร ช่วงเช้าวันนี้ ( 4 มีนาคม 2556 )ถนนรามอินทรา ขาออก มีสภาพรถติดขัด ท้ายแถวอยู่ กม.5 หลัง มีพนักงานบริษัท เอ็นเอ็กซ์พี ประท้วงเรื่องค่าแรงไม่เป็นธรรม จำนวน 300 คน โดยนั่งบนผิวจราจร 1 ช่องทาง บริเวณ ด้านหน้า ม.ราชภัฏพระนคร ทำให้รถเคลื่อนตัวได้ช้า

(โพสต์ทูเดย์, 4-3-2556)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหภาพแรงงานสายการบิน Iberia หยุดงานประท้วงแผนลดพนักงาน

Posted: 04 Mar 2013 01:41 AM PST

สายการบิน Iberia ของสเปนอาจต้องงดเที่ยวบินประมาณ 1,300 เที่ยวบิน เนื่องจากสหภาพแรงงานจะทำการหยุดงานประท้วงเป็นครั้งที่ 2 (ตามกำหนด 3 ครั้ง) เพื่อประท้วงการลดพนักงาน โดยการประท้วงหยุดงานครั้งนี้อาจจะกินเวลาถึง 5 วัน

 
คลิปวีดีโอการประท้วงครั้งแรกเมื่อวันที่ 18-22 กุมภาพันธ์ 2013 ของสหภาพแรงงานสายการบิน  Iberia
 
4 มี.ค. 56 - สายการบิน Iberia ของสเปนอาจต้องงดเที่ยวบินประมาณ 1,300 เที่ยวบิน เนื่องจากสหภาพแรงงานจะทำการหยุดงานประท้วงเป็นครั้งที่ 2 เพื่อประท้วงการลดพนักงานและค่าจ้าง โดยการประท้วงหยุดงานครั้งนี้อาจจะกินเวลาถึง 5 วัน
 
แต่ตามข้อบังคับของรัฐบาลสเปน ได้บัญญัติว่าด้วยการบริการขั้นต่ำสุด จะเป็นสิ่งรับประกันการบินให้บริการของ Iberia ไม่ต่ำกว่า 90% ของเที่ยวบินระยะไกล 61% ของเที่ยวบินระยะกลาง และ 46% ของเที่ยวบินภายในประเทศ
 
สหภาพแรงงานซึ่งประกอบไปด้วย ตัวแทนพนักงานภาคพื้นดินและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน มีกำหนดตอบโต้ด้วยการหยุดงานประท้วง 3 ครั้ง ครั้งแรก 18-22 กุมภาพันธ์ ครั้งที่สอง 4-8 มีนาคม และครั้งที่สาม 18-22 มีนาคม
 
ทั้งนี้ในการหยุดงานประท้วงเป็นปฏิกริยาหลังจากที่บริษัทมีนโยบายที่จะเลิกจ้างพนักงานถึง 3,807 ตำแหน่ง และในการประท้วงหยุดงานครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตัวแทนบริษัทได้กล่าวว่าสามารถหาที่นั่งโดยสารทดแทนจากสายการบินอื่น ให้ผู้โดยสารเกือบทั้งหมด ที่จองตั๋วเดินทางกับ Iberia ไว้แล้วราว 70,000 คน
 
อนึ่งจากข้อมูลของวิกิพีเดียสายการบิน Iberia (ในภาษาสเปน: Iberia Líneas Aéreas de España) เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในสเปน มักเรียกสั้น ๆ ว่า "Iberia" ให้บริการหลักอยู่ที่มาดริดและบาร์เซโลนา มีเส้นทางบินไปยัง 105 จุดหมายปลายทาง ใน 40 ประเทศ
 
 
ที่มาข่าวบางส่วน:
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'มาลินา' ศิลปินกราฟฟิตี้ชาวอัฟกัน ผู้ลี้ภัยจากบ้านเกิดไปยังอินเดีย

Posted: 04 Mar 2013 12:23 AM PST

มาลินา สุลิมาน หญิงชาวอัฟกานิสถานผู้วาดภาพบนกำแพง แสดงความวิพากษ์วิจารณ์สหรัฐฯ และกลุ่มตอลิบาน หนีไปอยู่โรงเรียนสอนศิลปะที่มุมไบหลังถูกกลุ่มตอลิบานข่มขู่ ซึ่งเธอได้เข้าเรียนในชั้นเรียนศิลปะที่นั่น และหวังว่าวันหนึ่งบ้านเกิดของเธอจะมีความเท่าเทียมกันทางเพศสภาพภายใต้สังคมอิสลาม

3 มี.ค. 2013 สำนักข่าว BBC รายงานเรื่องราวของ มาลินา สุลิมาน หญิงชาวอัฟกานิสถานที่ถูกกลุ่มตอลิบานข่มขู่หลังจากวาดภาพกราฟฟิตี้บนฝาผนังในเมืองกันดาฮาร์ และได้หลบหนีไปยังเมืองมุมไบประเทศอินเดีย

ก่อนหน้าที่จะลี้ภัย มาลินา สุลีมาน ได้วาดภาพบนกำแพงเป็นภาพโครงกระดูกสวมบุรกา และภาพของชาวอัฟกันที่เป็นประชาชนธรรมดาถูกพันยุ่งเหยิงอยู่ระหว่างเนคไทของอเมริกันกับผ้าโพกหัวของตอลิบาน

มาลินา อายุ 23 ปี เป็นน้องสาวคนสุดท้องในครอบครัวที่มีพี่น้อง 8 คน เธอเป็นคนที่ต่อต้านกลุ่มตอลิบานเสมอมา แต่งานศิลปะของเธอก็ทำให้เธอถูกข่มขู่ จนกระทั่งเมื่อมีการข่มขู่บ่อยครั้งขึ้นเรื่อยๆ และพ่อของเธอก็ถูกทำร้ายจนขาหัก ทำให้เธอต้องหนีออกจากเมืองไปเมื่อราวสองเดือนที่แล้วเพื่อลี้ภัยไปยังมุมไบ

"เมื่อฉันจะวาดภาพกราฟฟิตี้ลงบนก้อนหินและบนกำแพง แล้วพวกเขาก็อาจจะขว้างปาก้อนหินใส่ฉันและสาปแช่งฉัน เมื่อฉันย้ายไปอยู่ในพื้นที่อื่น พวกเขา" มาลินากล่าว

นอกจากกราฟฟิตี้แล้ว มาลินายังได้สร้างงานศิลปะจำพวกประติมากรรม ซึ่งทำให้กลุ่มตอลิบานและกลุ่มมุสลิมหัวอนุรักษ์ไม่พอใจ พวกเขาบอกว่าผลงานของมาลินาเทียบได้กับการบูชารูปเคารพ ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามตามหลักศาสนา และเตือนให้เธอเลิกทำโดนทันที

ครอบครัวของมาลินาไม่รู้เรื่องที่เธอพ่นกราฟฟิตี้บนกำแพงเมือง บนก้อนหิน และเรื่องที่เธอสร้างงานประติมากรรม จนกระทั่งได้รับคำขู่จากกลุ่มตอลิบาน ทำให้ครอบครัวของเธอสั่งห้ามเธอสร้างผลงาน มาลินาบอกว่าเธอถูกกักบริเวณ ไม่ให้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และไม่อนุญาตให้พูดคุยกับคนภายนอก ซึ่งทำให้เธอรู้สึกแย่มาก

ภาพกราฟฟิตี้ของมาลินาจึงเป็นความพยายามต่อต้านทั้งครอบครัวเธอและกลุ่มตอลิบาน

"ในช่วงที่ฉันถูกกักตัวอยู่ที่บ้าน มีความรู้สึกมากมายเอ่อล้นท่วมตัวฉัน ฉันรู้ว่าน่าจะมีผู้หญิงคนอื่นที่เจอปัญหาเดียวกับฉันอยู่ ถ้าให้ฉันวาดภาพอยู่บ้านก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น ฉันจึงต้องการส่งสารให้กับผู้หญิงทุกคนที่อยู่ในสภาพเดียวกับฉัน ว่าอย่าได้กลัวและจงแสดงความคิดของตัวเองออกมาต่อหน้าผู้คน" มาลินากล่าว


ความเท่าเทียมทางเพศสภาพ

ข่าวเรื่องความกล้าหาญของมาลินาแพร่ออกไปจนกระทั่งเธอถูกเชิญไปที่ทำเนียบประธานาธิบดีของอัฟกานิสถาน ซึ่งเธอสามารถแสดงความสามารถทางศิลปะได้

แต่มาลินาก็ไม่พอใจที่รัฐบาล 'ดีแต่พูด' ในเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิง เธอบอกว่าถ้าหากพบผู้ชายผู้หญิงจับมือกันในที่สาธารณะพวกเขาจะถูกจับเข้าคุกและบอกให้พ่อแม่พวกเขารับรู้

"พวกเราไม่ได้ต้องการเสรีภาพแบบตะวันตก แต่พวกเราแค่ต้องการความเท่าเทียมกันทางเพศสภาพภายใต้สังคมอิสลาม" มาลินากล่าว

มาลินากล่าวรำพึงรำพันอีกว่าคนส่วนใหญ่ในอัฟกานิสถาน แม้ว่าไม่ใช่ทั้งหมดที่เป็นกลุ่มตอลิบาน แต่พวกเขาก็มีความคิดแบบเดียวกับตอลิบาน

มาลินากล่าวถึงผลงานโครงกระดูกภายใต้บุรกา โดยบอกว่ามันเป็นภาพแทนตัวเธอเอง

"เมื่อฉันออกไปวาดภาพบนฝากำแพง ฉันสวมบุรกาคลุมทั้งตัว แต่ผู้คนก็ยังมองฉันอย่างดูแคลน บางคนด่าว่าฉันบอกว่าฉันควรอยู่ที่บ้าน พวกเขาถึงขั้นหาว่าฉันเป็นสายลับจากต่างชาติ" มาลินากล่าว

ขณะเดียวกัน ในมุมไบก็มีวิทยาลัยศิลปะเจเจเป็นแหล่งรองรับความคิดสร้างสรรค์จากคนหนุ่มสาวชาวอัฟกันผู้ลี้ภัยจากประเทศตนเข้ามา

ในตอนนี้มาลินากำลังสร้างผลงานรูปกุญแจขนาดใหญ่เท่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เธอบอกว่ากุญแจเป็นธีมที่เธอมักจะนำมาใช้ในงานศิลปะ เพราะมันเป็นสัญลักษณ์แทนการเปิดประตูสู่ความสำเร็จและการเปิดใจที่ถูกปิดกั้นไว้

ในชั้นเรียนมาลินาดูสงบ แต่ก็ยังมีความกังวลเรื่องอนาคตอยู่ลึกๆ เธอบอกว่าเธอต้องการเป็นอิสระทั้งจากทางบ้านและในโลกภายนอก เธอต้องการอาศัยอยู่ที่มุมไบ "เวลาที่ฉันเห็นชายหญิงทำงานด้วยกันเป็นทีมที่นี่แล้วฉันมีความสุข ฉันอยากให้มีอิสระแบบนี้บ้างในอัฟกานิสถาน"


เรียบเรียงจาก

Afghan graffiti artist makes her mark in India, Zubair Ahmed, BBC, 03-03-2013
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หนึ่งเสียงวิทยุชุมชน 'กสทช.สอบไม่ผ่าน'

Posted: 04 Mar 2013 12:16 AM PST

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา กสทช.ได้มอบใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง หรือ วิทยุชุมชน ให้กับผู้ประกอบการจำนวน 515 สถานี ซึ่งพ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช.และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ระบุว่า นี่เป็นครั้งแรกที่มีใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงภาคประชาชนภายใต้กฎ กติกา ตามที่กฎหมายกำหนด โดยการแจกใบอนุญาตครั้งนี้จะมีผลนำไปสู่การประเมินเพื่อให้ใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงของจริงในปีถัดไปด้วย

ขณะที่องค์กรกำกับดูแล มองว่านี่คือก้าวสำคัญ แต่ "วิชาญ อุ่นอก" เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ มองว่า 1 ปีที่ผ่านมา ต้องถือว่า กสทช.ลงมาทำงานวิทยุชุมชนน้อย เพิ่งมามีบทบาทช่วงท้ายปี เพราะมีปัญหาเรื่อง 3G ทีวีดิจิตอลซึ่งเป็นเรื่องใหญ่พอสมควร

เขามองว่า เหตุผลที่ กสทช.ไม่ยอมแตะ "วิทยุชุมชน" เพราะพอแตะหรือจัดระเบียบที่ไม่ชอบกับบางกลุ่ม ก็จะมีมวลชนมากดดัน ทำให้ กสทช.ไม่อยากออกระเบียบจริงจัง เช่น กรณีให้ 7,000 กว่าสถานีลดกำลังส่งเหลือ 500 วัตต์ ลดความสูงเสาลงเหลือ 60 เมตร และลดรัศมีกระจายเสียงเหลือ 20 กม. สายวิทยุเสียงธรรม กับวิทยุขนาดใหญ่ก็ไม่ยอม ก็เจอล็อบบี้ การพยายามไม่แตะของ กสทช. จึงทำให้สถานีวิทยุขนาดเล็กมีปัญหามาก เพราะพอไม่ลงมา ก็ทำให้วิทยุขนาดเล็ก 7,000 กว่าสถานีไม่มีการจัดการ

วิชาญมองย้อนไปเมื่อต้นปีก่อน เขาตั้งข้อสังเกตว่า ใครที่มีเงินเยอะ ก็จะซื้อเครื่องส่งขนาดใหญ่มาใช้ ทำให้วิทยุขนาดเล็กโดนคลื่นทับตลอด ออกอากาศไม่ได้ นอกจากนี้ พวกวิทยุขนาดใหญ่ยังมีโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภค ทำให้ภาพลักษณ์เสียมาถึงวิทยุขนาดเล็ก

"ตอนนี้ 7,000 กว่าสถานี มีวิทยุชุมชนจริงๆ คือ ไม่มีโฆษณา ไม่เกิน 100 สถานี" 

วิชาญบอกว่า ที่ผ่านมา ตั้งแต่สมัย กทช.ชุดเดิม วิทยุขนาดเล็กไปลงทะเบียนมาสามรอบแล้ว ทุก 300 วันจนคนที่เคยไปยื่นเอกสารก็เริ่มเบื่อ เพราะ กสทช.ไม่ยอมทำอะไร

เขาบอกว่า ต่อมาเมื่อ กสทช. ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการ พ.ศ.2555 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย.2555 ซึ่งให้กลุ่มผู้ที่ได้รับสิทธิทดลองออกอากาศ ในลักษณะชั่วคราว กลุ่มผู้รับใบอนุญาตตามประกาศ กทช. และกลุ่มผู้ยื่นคำขอใบอนุญาตตามประกาศ กทช. (เดิม) ทั่วประเทศ ยื่นขออนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงภายใน 120 วัน ปรากฏว่าใกล้ปิดรับการพิจารณาแล้ว มีคนยื่นแค่ 1,000 กว่าสถานี กสทช.จึงจูงใจด้วยการจะพิจารณาให้เร็วขึ้น ซึ่งผลปรากฏว่ามีการให้ใบอนุญาตทดลองออกอากาศฯ ไป 515 สถานี พบว่า ใน 44 สถานีที่ได้ไป มีไม่เกิน 10 แห่งที่เป็นวิทยุชุมชนจริงๆ ที่เหลือ เป็นกลุ่มธุรกิจที่หนีค่าธรรมเนียม

ประกาศดังกล่าวแบ่งวิทยุชุมชนออกเป็นสามกลุ่ม คือ หนึ่ง กลุ่มวิทยุชุมชน ซึ่งห้ามโฆษณา ไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง วิจารณ์การเมืองได้ ค่าธรรมเนียม 500 บาท สอง บริการธุรกิจ โฆษณาได้ ต้องจดเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ค่าธรรมเนียม 10,000 บาท สาม บริการสาธารณะ เป็นสมาคมนิติบุคคล ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท

เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ เล่าว่า ก่อนหน้านี้เคยคุยกับ กสทช. ว่าถ้าจะให้ใบอนุญาตกับวิทยุรายใหม่ นอกจากเอกสารแล้ว ควรต้องตรวจสอบกลับไปที่พื้นที่ด้วย  ซึ่งก็อาจทำให้ได้ใบอนุญาตช้า แต่จะแม่นยำขึ้น ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดที่สังคมมองวิทยุชุมชนทั้งหมดแบบเหมารวม วิทยุชุมชนถูกมองในแง่ลบ มองว่าปลุกปั่น โฆษณาชวนเชื่อ จะได้วิจารณ์ถูก ว่าจริงๆ แล้วเป็นวิทยุประเภทไหน

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงออกมา แต่วิชาญมองว่า โดยเนื้อหาแล้ว ก็ไม่ต่างกันกับการได้สิทธิทดลองออกอากาศชั่วคราวที่เคยมีก่อนหน้านั้น โดยมองว่า นี่เป็นความต้องการมีผลงานของ กสทช. ซึ่งที่ผ่านมา โดนวิจารณ์ว่าทำงานไม่คืบหน้า

ถามว่าการมอบใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงนั้น แตกต่างจากการทดลองออกอากาศเดิมอย่างไร วิชาญมองว่า ครั้งนี้เป็นการแยกประเภทว่าใครเป็นใคร และกำหนดกำลังส่งให้เท่ากัน 500 วัตต์ กำหนดให้ต้องเอาเครื่องไปเช็คใน 1 ปี แต่ก็ยังหวั่นว่าจะเป็นเหมือนเดิม คือไม่มีการตรวจสอบ

อย่างไรก็ตาม วิชาญมองเห็นข้อดีอยู่บ้างว่า ในทางหลักการ การได้ใบอนุญาตทดลองออกอากาศ จะทำให้วิทยุขนาดเล็กด้วยกันมีสิทธิร้องเรียนได้ หากมีใครออกอากาศเกิน 20 กม.ตามที่ประกาศกำหนด ซึ่งตรงนี้ก็จะช่วยลดเรื่องกำลังส่งตีกันกับของวิทยุเชิงธุรกิจขนาดใหญ่ได้ นอกจากนี้ ยัง สามารถของบสนับสนุนจากกองทุน กสทช.ได้ เพราะผู้ที่จะขอได้ ต้องได้ใบอนุญาตแล้วเท่านั้น

โดยสรุป โดยพฤตินัย ไม่มีอะไร ไม่มีการพัฒนาต่อ หรือกำกับดูแลจริงๆ ที่ผ่านมา พยายามเสนอการกำกับดูแลกันเองของแต่ละจังหวัด ให้ตรวจสอบดำเนินการกันเอง แต่ กสทช.ไม่เอา ส่วนของสหพันธ์ฯ ซึ่งมีสมาชิกประมาณ 150 สถานี มีร่างจริยธรรมซึ่งเตรียมจะนำมาใช้ในอนาคตแล้ว

เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ เสนอว่า หนึ่ง ต่อไปต้องมีการสนับสนุนวิทยุชุมชน สื่อชุมชน ให้มีการพัฒนา เพราะไม่ใช่สื่อธุรกิจที่จะปล่อยให้เกิดและดูแลตัวเอง ตามกฎหมายแล้ว สื่อชุมชนโฆษณาไม่ได้ หางบไม่ได้ ดังนั้น กสทช.จะต้องอุดหนุนจริงจัง ทั้งในด้านงบประมาณและความรู้

สื่อธุรกิจ ภาคธุรกิจดูแล สื่อของรัฐ รัฐหนุน ส่วนสื่อชุมชน รัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องจัดสรร 20% ของคลื่นทั้งหมดให้สาธารณะ แต่ กสทช.ไม่ทำเลย และเมื่อกฎหมายก็ห้ามหารายได้ สื่อชุมชนจึงไม่พัฒนา 10 ปีที่ผ่านมา พิสูจน์แล้วว่า สื่อชุมชนอยู่ไม่ได้ โดยมีรายได้จากการระดมทุน 50% เท่านั้น ดังนั้น รัฐและ กสทช. ต้องหนุน

สอง ส่งเสริมให้สื่อชุมชนกำกับดูแลกันเอง ที่ผ่านมา กสทช.กับตำรวจ ร่วมมือกันไล่จับวิทยุชุมชน จะทำให้ไม่โต ไปซูฮก ทำตามบอกเหมือนสื่อของรัฐ ฉะนั้น ต้องให้สื่อชุมชนมีองค์กรกำกับกันเอง เหมือนที่สื่อหลักก็มีการรวมกลุ่มกัน มีจริยธรรมของตัวเอง ไม่ใช่เห็นว่าผิดก็ไปจับ

สาม ควรแบ่งประเภทสื่อขนาดเล็กให้เป็นจริง เพราะกังวลกันว่าใบอนุญาตที่ออกให้ไปตอนนี้ หากไม่ตามไปกำกับดูแล ก็จะผิดประเภทเหมือนเดิมอีก

ทั้งนี้ วิชาญย้ำด้วยว่า กฎระเบียบต่างๆ ที่มีอยู่ตอนนี้นั้นโอเคแล้ว แต่ กสทช.ซึ่งเป็นองค์กรกำกับดูแลต้องปฏิบัติตามระเบียบและเอาจริงด้วย ไม่ใช่ว่า มีโฆษณาเกินจริง กำลังส่งเกิน ก็ไม่ทำอะไร แต่มาเอาจริงในช่วงการเมือง เช่น ใครพูดไม่เข้าหูรัฐบาลก็จะโดนเล่นงาน สุดท้าย คนที่จะลำบากก็คือคนเล็กคนน้อย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสวนา ‘โจรใต้ กบฎแบ่งแยกดินแดน นักรบญีฮาด ในสายตาสื่อไทย’

Posted: 03 Mar 2013 11:27 PM PST

1 มี.ค.56 กลุ่ม Media Inside Out ได้จัดเสวนาหัวข้อ "โจรใต้ กบฎแบ่งแยกดินแดน นักรบญีฮาด ในสายตาสื่อไทย" ผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ ปกรณ์ พึ่งเนตร บรรณาธิการศูนย์ข่าวภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา, วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวสายทหารจากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ (Bangkok Post), เอกรินทร์ ต่วนศิริ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยเขตปัตตานี และผู้ร่วมก่อตั้งปาตานี ฟอรั่ม (Patani Forum), สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ จากหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น (The Nation) และดำเนินการเสวนาโดย พิณผกา งามสม บรรณาธิการข่าว หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท

 

เสวนา 'โจรใต้ กบฎแบ่งแยกดินแดน นักรบญีฮาด ในสายตาสื่อไทย' ตอน 1 (คลิปวีดีโอ Media Inside Out)

เสวนา 'โจรใต้ กบฎแบ่งแยกดินแดน นักรบญีฮาด ในสายตาสื่อไทย' ตอน 2 (คลิปวีดีโอ Media Inside Out)

 

เอกรินทร์ ต่วนศิริ ตั้งข้อสังเกตว่า นักข่าวมักเสนอข่าวจากมุมของทหาร เวลาลงไปทำข่าวในพื้นที่ก็มักติดไปกับรถทหาร รวมถึงมีทหารนั่งอยู่ข้างๆ ตอนที่คุยกับชาวบ้านด้วย ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าพูดสิ่งที่พวกเขาคิดจริงๆ ว่าเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร

"เราต้องตั้งคำถามว่าสื่อทำข่าวที่ไม่เอียงข้างแล้วหรือ?...คุณอาจได้แต่ภาพ แต่ไม่ได้ความจริงของเขาทั้งหมด" เอกรินทร์กล่าว

วาสนา นาน่วม ยอมรับว่ามีจุดอ่อนในการเป็นนักข่าวสายทหาร และรายงานข่าวจากมุมมองของทหาร แต่บางครั้งเป็นความต้องการของหัวหน้าข่าว "บางครั้งหัวหน้าโต๊ะข่าว ต้องการให้เขียนเรื่องยุทธวิธีทางทหาร ตัวเองรู้มา แต่ต้องจำกัดตนเอง เพื่อนำไปสู่ความสงบ"

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี มองว่าสื่อเองยังถูกครอบงำทางความคิดจากรัฐ ถูกสั่งสอนเรื่องดินแดนความเป็นไทย คนต่อต้านรัฐหรือจับอาวุธสู้ จึงเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ ทั้งที่การแบ่งแยกดินแดนเป็นเรื่องธรรมดา มีมานานและเกิดขึ้นทั่วโลก

"นักข่าวที่ไปจากกรุงเทพ หากไม่ปิดหูปิดตา ชาวบ้านจะอธิบายสิ่งที่พวกเขาทำ ว่าพวกเขาทำเพราะเหตุใด ในสังคมใต้มีทั้งสื่อพุทธ สื่ออิสลามที่อยู่ด้วยกันได้" สุภลักษณ์กล่าว

ส่วน ปกรณ์ พึ่งเนตร บรรณาธิการศูนย์ข่าวภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา เล่าว่า การเป็นนักข่าวพุทธจากกรุงเทพฯ ลงไปทำข่าวใน 3 จังหวัดชายแดนใต้นั้นมีข้อจำกัดมาก แม้จะผ่านด่านทหารได้ง่าย แต่การเข้าไปคุยกับผู้นำในพื้นที่กลับทำได้ยาก และคุยกับชาวบ้านก็ได้ข้อมูลไม่ลึก แต่อยากให้เข้าใจว่าสื่อสังคมกระแสหลักมีข้อจำกัด

"อยู่ที่กรุงเทพธุรกิจผมก็ต่อสู้มานานกว่าจะไม่ใช้คำว่าโจรใต้ สื่อชอบใช้คำสั้นเพราะกระชับและเข้าใจง่าย" ปกรณ์ กล่าว

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ http://mediainsideout.net/cafe/2013/03/113

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สนามกอล์ฟ ดอกเห็ดที่โรยรา : วัฒนธรรม-ความคิด-และการกำเนิดใหม่

Posted: 03 Mar 2013 08:38 PM PST

ข้าพเจ้าไม่มีตัวเลขว่า ช่วงที่ผ่านมามีสนามกอล์ฟในประเทศไทยเจ๊งหรือปิดตัวเยอะไปขนาดไหน มันอาจจะไม่ลดลงไปมากเท่าไหร่ก็ได้ แต่อยากจะเดาว่ามีแนวโน้มที่จะต้องลดลงไปเรื่อยๆ แน่ๆ
 
คนไทยไม่มีเงิน? ชาวต่างชาติไม่มีบินเข้ามาเล่น? 
 
มีแน่ๆ และมีมาอยู่เรื่อยๆ ทีเดียวล่ะ จากเศรษฐกิจที่ผ่าน ก็พอมองออกว่าคนไทยก็มีเงินกันเยอะขึ้นเรื่อยๆ แต่สิ่งที่กำลังเปลี่ยนไป คือวิธีคิดเกี่ยวกับการพักผ่อนต่างหาก และการเล่นกอล์ฟซึ่งเป็นหนึ่งในการพักผ่อนยอดนิยมของคนรวย ก็น่าจะโดนผลกระทบชิ่งไปด้วย
 
ข้าพเจ้าไม่ค่อยแน่ใจอีกเช่นกันว่า คนไทยส่วนใหญ่ เล่นกอล์ฟด้วยเหตุผลอะไร แต่อยากจะเดาว่าส่วนใหญ่ ไม่ได้เล่นเพราะมีใจรักจริงๆ จังๆ มากนัก ส่วนใหญ่เล่นเพราะเข้าสังคม การติดต่อธุรกิจ เป็นหน้าเป็นตา และคิดว่ามันคือความหรูหรา ที่จะยกระดับตัวเองได้
 
กอล์ฟ เป็นกีฬาที่มีแง่มุมอะไรน่าสนใจพอสมควร ข้าพเจ้าคิดว่า มันเป็นกีฬาที่ต้องนิ่งมากๆ เป็นการแข่งขันที่ต้องใช้สมาธิสูงกีฬาหนึ่ง ใครสมาธิไม่นิ่งก็เป๋ไปทุกราย หวดไม่แม่นบ้าง วงสวิงไม่ดีบ้าง ต้องแข่งกับจิตใจตนเองให้มากกว่าแข่งกับคู่แข่ง รับแรงกดดันให้ดี นักกอล์ฟเองก็บอกว่ากีฬาของเค้ามันมีความเป็นศิลปะอยู่สูงมาก ดูไปดูมาก็ไม่ต่างอะไรเลยกับกีฬาเชิงจิตวิญญาณของประเทศฝั่งเอเชียอย่าง มวยจีน ยูโด คาราเต้ ที่เน้นการแข่งกับจิตใจตนเองก่อน จะไปแข่งกับคู่ต่อสู้
 
กอล์ฟ มีความเป็นกีฬาตะวันออก หรือเอเชียสูงมากจนแอบแปลกใจนิดๆ ว่ามันถือกำเนิดที่ยุโรปได้ยังไง กอล์ฟ ไม่ใช่กีฬาเดียวของชาวยุโรปที่ต้องใช้สมาธิสูง ถ้าเราลองไล่นับดู กีฬาอย่าง ยิงธนู เปตอง สนุกเกอร์ หรือเทนนิส (ที่ใช้สมาธิสูงมาก จนการเงียบกริบในสนามของคนดูกลายเป็นมารยาทสำคัญ ไม่ต่างจากโรงหนัง) ก็ใช้สมาธิสูงเหมือนกัน
 
[ ถึงตรงนี้ มีข้อสังเกตชวนคิดต่อ ว่าแต่เดิมกีฬาอย่างเทนนิส มันก็คงเริ่มมาจาก การหวดใส่คู่ต่อสู้อย่างบ้าพลัง โชว์ความเหนือกว่าทางพลังกำลัง ไม่ต่างจากกีฬาเน้นกำลังอื่นๆ ในยุโรป หรือเปล่า? แต่มีการพัฒนาระดับขึ้นมากเรื่อยๆ จนเป็นกีฬาที่ต้องใช้สมาธิ และวอนขอกำลังใจจากคนดูด้วยการหุบปากเงียบแทน ยิ่งลองคิดว่า กีฬานี้แต่เดิมมีการเล่นเฉพาะในวงชนชั้นสูงของยุโรป ซึ่งความนิ่งสงบเยือกเย็นเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของผู้ดียุโรปด้วยแล้ว ก็อาจเป็นไปได้ -- กีฬาเกือบทุกชนิดในปัจจุบันเช่น ฟุตบอล รักบี้การฝึกสมาธิเป็นส่วนหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ไปแล้ว ทั้งๆ ที่แต่แรกดั้งเดิมมันอาจจะแค่ห้ำหั่นเข้าสู้อย่างเดียว โดยไม่ต้องใช้สมาธิใดๆ ก็ได้]
 
ความจริงแล้วกีฬากอล์ฟ น่าจะถือว่าเป็นกีฬาที่ไม่ต้องมีการนับคะแนนเพื่อมาตัดสินว่าตัวเองชนะหรือแพ้คู่แข่งก็ได้ มันสามารถเล่นได้ตามลำพัง โดยไม่ต้องสนใจใคร และไม่ต้องมีคู่แข่ง แข่งกับตัวเองเป็นพอ ข้าพเจ้าแอบคิดพาดพิงเล่นๆ ว่า ดีที่กีฬากอล์ฟ ไม่ได้พัฒนามาในแนวทางเอเชียจนต้องมีจ้าวสำนักนั่น สำนักนี่ อย่างกีฬา มวยจีน ยูโด ที่มักจะมีจ้าวสำนัก และเน้นการฝึกจิตอย่างเข้มข้นตามแบบฉบับศาสนาในเอเชีย ไม่งั้นถ้าจ้าวตำรับสำนัก (นึกหน้าชายแก่ เคราขาว หัวล้านๆ เอาไว้) มาเห็นการพัฒนากีฬากอล์ฟอย่างปัจจุบัน คงมีลุกจากหลุมศพขึ้นมาตบฉาดหัวลูกศิษย์เป็นแน่ 'โว้ย เอ็งจะนับคะแนนแข่งกับคนอื่นทำไม จะมีคนดูมามุงจ้าวเจี้ยวทำไม เราฝึกให้เอ็งพัฒนาจิตใจเพื่อช่วยผู้อื่น ไม่ได้ฝึกให้มาเป็นเซเลป (ดารา)'
 
แต่ก็เพราะการที่มันต้องนำคะแนนมาตัดสินแข่งกับผู้อื่นทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นเนี่ยแหล่ะ ที่ทำให้กอล์ฟกลายเป็นเกมส์ไว้เข้าสังคม เหมือนๆ กับกีฬาอื่นๆ ที่ต้องมีการปะทะกับคู่แข่งและมีปฏิกิริยาซึ่งกันและกันของมนุษย์ขึ้นมาเป็นปกติอยู่แล้ว (เช่น ฟุตบอล ถ้าเราชนคู่แข่งล้มเราก็จะขอโทษขอโพยดึงมือคู่แข่งลุกขึ้นมา ทั้งๆ ที่เค้าเป็นคู่แข่งและเราอาจไม่ได้อยากทำด้วยซ้ำ แต่กอล์ฟจะไม่มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กันอย่างว่าเลย) เพื่อจะได้พูดคุยกับคู่แข่งบ้าง โดยไม่เปลี่ยวเหงาเกินไป ได้สร้างสังคมใหม่ขึ้นมา โดยไม่ต้องปลีกวิเวก อย่างรำไทเก๊กฉบับดั้งเดิม (ที่ไม่เหมือนปัจจุบันที่มีกลุ่มอาแปะ อาม่า มารำกันเป็นหมู่และสร้างสังคมเพื่อสุขภาพอย่างทุกวันนี้) และเหมาะจะไว้ให้ชนชั้นสูง ไฮโซมาสังสรรค์เฮฮา ติดต่อธุรกิจกันแคบๆ เฉพาะหมู่ตนอย่างยิ่ง
 
เป็นที่รู้กันดีว่า ประเทศไทยเรามีสนามกอล์ฟเยอะมาก โดยเฉพาะช่วงที่เศรษฐกิจบูมเติบโตจนสามารถจะเป็นเสือตัวที่ 5 แห่งเอเชียได้อยู่รอมร่อ จนเข้ามาสู่ยุควิกฤติต้มยำกุ้งอย่างไม่มีใครคาดฝัน คำว่า 'ผุดขึ้นราวดอกเห็ด' ในตอนนั้น นอกจากหมายถึงบ้านจัดสรรและคอนโดฯ (ที่สร้างไม่เสร็จร้างค้างเติ่งเป็นซากมาจนทุกวันนี้) มันก็เอาไว้หมายถึงสนามกอล์ฟเนี่ยแหล่ะ
 
มีคำถาม ขึ้นตรงนี้ว่า ประเทศเราหลงใหลคลั่งไคล้กีฬากอล์ฟกันจริงๆ หรือ? เราคงได้เคยเห็นภาพกีฬากอล์ฟจากข่าวทางทีวีมามากมาย ในรายการแข่งขันกอล์ฟระดับโลกอย่าง PGA Tour หรือ Ryder Cup นั้นเราสามารถเห็นฝูงชนจำนวนมากแห่กันเข้ามาดูถึงขอบสนาม ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าเค้ามาดูกันจริงๆ จังๆ หรือเป็นหน้าม้า แต่ที่ทราบคือเราไม่มีทางเห็นภาพฝูงชนเยอะๆ แห่กันมาดูกอล์ฟในเมืองไทยแน่ๆ
 
สำหรับข้าพเจ้าแล้ว กีฬากอล์ฟ เป็นกีฬาที่ดูยาก กติกาที่ซับซ้อนแต่พองามไม่สำคัญเท่า ระยะเวลาการแข่งขันที่ช่างยาวนานมากเหลือเกิน จนข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่าจะมีสมาธิดูจนจบได้อย่างไร (แม้แต่ติดตามดูในทีวีก็เถอะ) โดยไม่หมดความอดทนเสียก่อน
 
สำหรับฝรั่งเค้าคงมีวัฒนธรรมและความอดทนที่สร้างต่อๆ กันมาจนสามารถสร้างผู้ชมให้ตั้งใจติดตามได้ไม่รู้เบื่อ แต่ข้าพเจ้าค่อนข้างเชื่อว่าจะไม่เกิดกับสังคมไทย เพราะข้าพเจ้ารู้สึกเรามีความนิ่งกันค่อนข้างน้อย การจัดศูนย์อบรมนั่งสมาธิตามวัดต่างๆ (หลายๆ แห่งแต่ไม่ทุกแห่ง) หลังจากท่านเจ้าอาวาสเริ่มนำนั่งได้สัก 5-10 นาที ก็จะเริ่มมีคนลุกนั่ง เข้าๆ ออกๆ ไปห้องน้ำบ้าง ไปแก้เมื่อยบ้าง จนข้าพเจ้าแน่ใจว่า คนที่ตั้งใจมาจริงๆ คงจะได้ฝึกความอดทนและตบะที่เป็นเลิศกว่าประเทศใดๆ ประเทศเรานั้นมีความ 'อดทน' เป็นเลิศพอสมควร แต่ไม่ได้มีความ 'นิ่ง' อยู่กับความเงียบสงบสงัด เท่าไหร่นัก
 
ฉะนั้นแล้ว การที่กีฬากอล์ฟบูมขึ้นในสังคมไทย จนธุรกิจนี้สร้างกำไรได้มหาศาลเป็นกอบเป็นกำอาจเป็น 'กระแสชั่วคราว' ข้าพเจ้าไม่ปฏิเสธว่ามีคนอยู่จำนวนไม่น้อยที่ชอบเล่นและรักมันอย่างจริงๆ จังๆ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ส่วนใหญ่แล้วเล่นเพราะเป็นค่านิยมมากกว่า และค่านิยมนี้ก็อาจจะอยู่ไปอีกนาน ถ้าไม่มีค่านิยมใหม่เข้ามาแทน
 
แต่โลกทุกวันนี้ โดยเฉพาะหลังมีการพัฒนา คอมพิวเตอร์ มือถือ ถือว่าหมุนเปลี่ยนไวมากอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ สิ่งที่ฮิตในวันนี้ ปีหน้าก็อาจล้าสมัยอย่างรวดเร็ว กีฬากอล์ฟเอง ก็ดูจะหลีกหนีไม่พ้นเช่นกัน
 
กอล์ฟนั้น ถ้าจะว่ากันเฉพาะในเมืองไทย ส่วนมากจะเล่นกันในหมู่ไฮโซชั้นสูง นักธุรกิจ ข้าราชการระดับสูง เพื่อหน้าตา และความหรูหรามีระดับ ซึ่งกีฬากอล์ฟเหมาะเหม็งมากกับความมีระดับคู่ควรในยุคนั้นทีเดียว ความหรูหราในยุคนั้นก็เลียนแบบมาจากวงไฮโซผู้ดีฝรั่งนั่นแหล่ะ ที่ต้องการความนุ่มลึกเนิบช้า ดูเท่ห์ดูสง่าประชันกับเพื่อนในวงไฮโซด้วยกัน (ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม) ภาพลักษณ์ของการมีสตางค์จ่ายค่าเล่น การมีแคนดี้คู่ใจ (คนถือไม้กอล์ฟ) ที่เดินทอดน่องช้าๆ เคียงคู่ไปกับเจ้านายในสนามกอล์ฟ ค่อยเป็นค่อยไปค่อยๆ คิด ก็ดูสอดคล้องกับความหรูหราฉบับอุ่ยอ่าย แต่มีภูมิฐาน ในยุคนั้นดีเหลือเกิน แต่ความหรูหรานั้นก็พังทลายลง เมื่อโลกมันได้เปลี่ยนไปแล้ว
 
ในโลกยุค Facebook และ มือถือ iPhone ถ้าจะมามัวอุ้ยอ้ายค่อยๆ คิดเนิบช้าเดินช้า ตามแบบฉบับความหรูหราของผู้ดียุคก่อน ก็คงไม่ทันหากินกาลใดๆ ไม่แปลกใจที่เวลานี้วงการไฮโซ นักการเมือง เวลาจะเรียกนักข่าวมาทำข่าวโปรโมตความสัมพันธไมตรีของตัวเองจะต้องให้ไปที่สนามฟุตบอล เพื่อไปดูพวกเค้าแข่งฟุตบอลกันแทน จะแข่งกอล์ฟกันแบบเมื่อก่อนแล้ว
 
ถ้าพูดในเชิงเศรษฐกิจ กลุ่มลูกค้าที่มีเงินหนาในยุคก่อนก็คงจะเป็น ไฮโซ คนมีฐานะ ที่ชอบความอุ่ยอ่ายเนิบคิดเนิบช้านั่นแหล่ะ จึงต้องจัดกิจกรรมเกี่ยวกับกอล์ฟเอาไว้เพื่อเอาใจลูกค้ากลุ่มนี้ แต่มาในยุค Facebook และ มือถือ iPhone เศรษฐกิจประเทศไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว คนชั้นกลาง-ชั้นล่าง ลำดับถัดๆ มาต่างหากที่กลายมาเป็นผู้ถือเงินมากไม่แพ้กัน และพวกนี้แหล่ะที่นักธุรกิจ ข้าราชการ ต้องหันไปให้ความสนใจ และต้องสร้างภาพลักษณ์หากิจกรรมทำกับคนหมู่นี้ไว้ให้มาก และกีฬาที่ลูกค้ากลุ่มใหม่ชินและชื่นชอบเอามากๆ คือฟุตบอล
 
ฟุตบอล โดยเฉพาะสนามเล็กที่เรียกอีกอย่างว่า ฟุตซอล นั้น มีภาพลักษณ์ที่เปรี้ยว ฉับไว ทันสมัยและดูตอบรับกับกระแสชีวิตยุค Facebook และ มือถือ iPhone เอามากๆ ถ้าพอจะสังเกตเห็น เราจะพบว่ามีคนใส่เสื้อกีฬาฟุตบอลออกมาเที่ยวนอกบ้านมากขึ้น โดยไม่ได้เป็นแค่เสื้อนอนหรือผ้าขี้ริ้วอีกต่อไป บางโอกาสก็ยกระดับตัวเองเป็นเสื้อที่เป็นทางการจนถึงสุภาพเอาได้เลย (รายการอ่านข่าวของสรยุทธนั่นเป็นไง) และสนามฟุตซอลนั้นมักเตะกันตอนกลางคืน มีสปอตไลท์ส่องฉาย จนคนขับรถผ่านไปมาอดสงสัยไม่ได้ว่า 'มันมาเตะบ้าอะไรกันตอนเที่ยงคืน' ก็พุดขึ้นมาราวดอกเห็ดไม่แพ้กันกับสนามกอล์ฟในยุคก่อนหน้านั้น
 
ความจริงมีสาเหตุอื่นๆ ปลีกย่อยอีกมากมาย แต่ก็เพียงพอแล้วละ ที่พอจะอธิบายได้ว่า สนามกอล์ฟ เข้าสู่ช่วง 'ดอกเห็ดที่โรยรา' เสียแล้ว
 
อันที่จริง เรื่องความโรยราของกีฬาของชนชั้น 'มีเงิน' ก็เคยมีปรากฎมาแล้วในประวัติศาสตร์ไม่น้อย เท่าที่ข้าพเจ้าพอจะนึกออก ก็เห็นจะเป็น กีฬาขี่ม้าโปโล ถ้าใครเคยดูหนังฮอลลี่วู้ดบ่อยๆ คงจะนึกภาพออก โดยเฉพาะในหนังที่สื่อถึงความเป็นผู้ดีอังกฤษยุควิคเตอเรีย ที่มักจะได้เห็นกีฬาขี่ม้าโปโล เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความหรูหราในยุคนั้นอยู่เสมอ และก็เช่นเดียวกับกีฬากอล์ฟที่กำลังโรยราไป เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน ความคิดของคนเกี่ยวกับความหรูหราก็โดนเปลี่ยน
 
ในยุคนั้น สมัยที่ยังไม่มีรถไฟหรือรถยนต์ส่วนตัว ยานพาหนะที่เร็วมากๆ อันหนึ่ง ก็คือม้า นอกจากวิ่งได้เร็วแล้วก็ยังดูเท่ห์ชะมัดยาก ดูมีภูมิฐาน หนักแน่น มีศักดิ์ศรี ยิ่งพันธุ์ที่ดีๆ ฉลาด สวยงามแล้วราคาแพงมาก ไม่ใช่ใครจะมีกันง่ายๆ ก็ไม่ต่างจากสมัยนี้ ที่เรามีรถเบนซ์ บีเอ็ม กันนั่นแหล่ะ และแน่นอนเมื่อโลกใบนี้ผลิตรถยนต์ส่วนตัวขึ้นได้ ความเปลี่ยนแปลงก็มาถึง ม้ากลายเป็นพาหนะที่เชื่องช้าไปทันตา บวกกับปัจจัยอีกหลายอย่างคนอังกฤษก็ค่อยๆ เริ่มมองเห็นว่ากีฬาขี่ม้าโปโล เป็นกีฬาที่ไม่เท่ห์เฟี้ยวฟ้าวอีกต่อไปแล้ว
 
แต่กีฬาขี่ม้าโปโลก็ยังคงอยู่ เช่นเดียวกับสนามกอล์ฟนั่นแหล่ะ ยังไงก็ยังมีคนเล่นอยู่แน่ๆ แม้จะน้อยลงมาก ในฐานะของความหรูหราในอดีต ที่คอยให้คนมีสตางค์ทุ่มเทมากพอไปโหยหาเสน่ห์ของมันอีกครั้ง
 
 
 
 
 
หมายเหตุท้ายเรื่อง : น่าสนใจมากว่า กีฬากอล์ฟ ในแง่ยุคสมัยใหม่ที่มีการรณรงค์กันเรื่องโลกร้อนกันอย่างหนาหูแล้ว มันเป็นกีฬาที่สิ้นเปลื้องเอามากๆ ทีเดียว ไหนจะพื้นที่ในยุคใหม่ ที่ต้องแบ่งสรรเพื่อประโยชน์ส่วนสาธารณะ ไหนจะการบำรุงที่ต้องใช้ทรัพยากรมหาศาลเพื่อคนไม่กี่คน (แม้จะบอกว่าเป็นเงินของคนมาเล่นก็เถอะ) ก็ถือเป็นอีกหนึ่งการปรับตัวนอกเหนือจาก 'วิกฤตโรยราของสนามกอล์ฟ' ที่น่าสนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ข้อสังเกตกรณี “พระธรรมทูตไทย”ในอเมริกา

Posted: 03 Mar 2013 08:27 PM PST

 
กาลมาฆะบูชาปี 2556 ที่เพิ่งผ่านมาได้ไม่นาน ทำให้คิดว่า น่าที่จะมองกันถึงบทบาทโดยทั่วไปของพระสงฆ์ไทยในอเมริกา ซึ่งท่านเหล่านี้ส่วนใหญ่น่าจะถูกเรียกตามบทบาทหน้าที่ว่า "พระธรรมทูต" เพราะมีหน้าที่ในการเผยแผ่หลักพุทธธรรมของพุทธศาสนา ควบคู่ไปกับการฝึกฝนตนเองตามหลักธรรมวินัย 
 
ความจริงแล้วหากจะพูดกันเรื่อง(งาน)พระธรรมทูตในอเมริกาแล้วย่อมเป็นเรื่องที่หลากหลายมาก ภาพการมององค์กรสงฆ์ในต่างประเทศ โดยเฉพาะองค์กรสงฆ์ในอเมริกาของคนไทยที่อยู่เมืองไทยและไม่เคยมาสัมผัสชีวิตประจำวันในอเมริกา อาจนึกไม่ออกมา "ชีวิตพระไทย" ในต่างแดนอย่างอเมริกามีความเป็นอยู่อย่างไร
 
ผมคิดเองว่า คนไทยในเมืองไทยส่วนมากจินตนาการชีวิตอเมริกันในแง่ของความอลังการด้านความเป็นอยู่เชิงวัตถุ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งก็ไม่น่าจะผิดนัก แต่แล้วพระไทย ซึ่งมี "วัตรปฏิบัติเป็นการเฉพาะ" อยู่ได้ด้วยธรรมวินัย ในวิถีนักบวชจะอยู่กับสังคมหรือชุมชนอเมริกันอย่างไร  อย่างน้อยๆ ก็น่าจะเกิดความสงสัยขึ้นว่า "พระไทยในอเมริกาออกบิณฑบาตกันหรือไม่?"
 
นอกเหนือไปจากความเป็นอยู่แล้ว สิ่งสำคัญที่ผมเชื่อว่า ชาวพุทธทั่วไปไม่ว่าที่ไหนก็ตามเป็นห่วง คือ วัตรปฏิบัติ(ปฏิปทา)ของพระสงฆ์ในต่างประเทศเป็นอย่างไร ดำรงตนอย่างเหมาะสมกับสมณสารูปมากน้อยขนาดไหน สามารถปฏิบัติในธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด หรือว่าต้องหลิ่วตาตามวัฒนธรรมฝรั่งในกรอบกฎหมายอเมริกัน 
 
กฎหมายอเมริกันกำหนดให้วัดหรือองค์กรสงฆ์เป็นประเภทองค์กรไม่หวังผลกำไร(nonprofit organization) และรัฐไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวในการกำหนดนโยบายด้านศาสนา(secular state)  แต่ปล่อยให้เป็นเรื่องที่อยู่ในกรอบของกฎหมายองค์กรไม่หวังผลกำไรทั่วไปเหมือนกับองค์กรไม่หวังผลกำไรอื่นๆ กฎหมายอเมริกันถือว่าการนับถือลัทธิศาสนาเป็นเรื่องของปัจเจก จึงให้สิทธิเสรีภาพเต็มที่ เพียงแต่อย่าไปละเมิดสิทธิคนอื่นหรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเป็นพอ ดังนั้น วัดไทยแต่ละวัด ก็คือ หนึ่งองค์กรไม่หวังผลกำไรองค์กรหนึ่งนั่นเอง 
 
คงไม่สามารถระบุจำนวนวัดไทยในอเมริกาอย่างชัดเจนได้  เนื่องจาก  3  สาเหตุหลัก  คือ 1) การจัดตั้งวัดในอเมริกาเป็นเรื่องเอกเทศ ใคร(กลุ่ม)ใดก็สามารถจัดตั้งตามกฎหมายได้  2) มีการจัดตั้งวัดหรืออ้างว่าเป็นวัดไทย เชิงองค์กรเถื่อนจำนวนหนึ่ง(ไม่จดทะเบียนองค์กรตามกฎหมายอเมริกัน) และ 3) การจัดตั้งวัดไทยจำนวนไม่น้อย ไม่ขึ้นต่อการบริหารและกำกับของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา(The council of Thai Bhikkhus in the U.S.A.) ซึ่งเป็นองค์กรดูแลวัดไทยและพระไทยอย่างเป็นทางการ(และเป็นองค์กรอย่างเป็นทางการที่เชื่อมไปยังสายการบริหารคณะสงฆ์ในเมืองไทย โดยมีแกนหลักอยู่ที่มหาเถรสมาคม) ทำให้ข้อมูลตัวเลขจำนวนวัดไทยที่แท้จริงไม่สามารถเก็บรวบรวมได้ทั้งหมด (ตัวเลขของวัดไทยในอเมริกา ซึ่งรวบรวมโดยสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ประกอบด้วยวัดฝ่ายมหานิกาย จำนวนประมาณ 91 วัด และฝ่ายธรรมยุตนิกาย จำนวนประมาณ 25 วัด- ดูใน ทำเนียบวัดไทยในต่างประเทศ: คณะมหานิกาย และคณะธรรมยุต ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม )
 
ที่สำคัญ ประเด็นดังกล่าวกลับมีความซับซ้อนลงไปกว่านี้อีก เพราะวัดไทยและพระไทยทั้งหมดอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายอเมริกัน ซึ่งเป็นคนละเรื่องเดียวกันกับ "การปฏิบัติตามวินัยสงฆ์" ไม่เหมือนกฎหมาย(พ.ร.บ.)คณะสงฆ์ขอ'ไทยที่เชื่อมโยงอำนาจรัฐกับองค์กรสงฆ์ ,กฎหมายอเมริกันเกี่ยวข้อง(บังคับ)ต่อองค์กรไม่หวังผลกำไรในส่วนของกฎระเบียบ(bylaw)ขององค์กรที่ต้องร่างขึ้นมาเท่านั้น ซึ่งสำหรับความเป็นองค์กรสงฆ์ที่สมบูรณ์ในบริบทเถรวาท(แบบไทย)ที่ยึดถือวินัยสงฆ์เป็นหลักแล้วถือว่า กฎระเบียบ(bylaw)นี้มีนัยสำคัญต่อการปฏิบัติตามกรอบวินัยสงฆ์น้อยมาก และเป็นเหตุให้ความเป็นองค์กรกลางดูแลกำกับพระสงฆ์ในอเมริกา ของสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ไม่ต่างอะไรจาก "เสือกระดาษ"
 
เมื่อเป็นดังนี้ (หากคิดตามมุมมองของเถรวาทไทย) จึงทำให้เกิดปัญหาในดูแลและบริหารจัดการวัดและคณะสงฆ์ในอเมริกาอย่างเป็นเอกภาพ ซึ่งคณะสงฆ์ดังกล่าว ย่อมหมายถึง"พระธรรมทูต" ที่ส่วนใหญ่ถูกส่งไปจากเมืองไทย  จึงขอตั้งข้อสังเกตต่อความเป็นไปของพระธรรมทูตไทยในอเมริกา ดังนี้
 
1.พระธรรมทูตไทยส่วนหนึ่ง(และน่าจะเป็นส่วนมากด้วยซ้ำ)ไม่สามารถปรับตัวเชิงการเรียนรู้วัฒนธรรมอเมริกัน โดยเฉพาะในเรื่องของวัฒนธรรมภาษา เรื่องนี้นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.)เองเคยยอมรับว่า ภาษาที่จะใช้ในการสื่อสารกับประชาชนในประเทศนั้นๆ ทำให้เกิดปัญหาต่อการเผยแผ่พุทธศาสนา โดยประเด็นหลักๆ ของมาตรฐานความรู้ของพระธรรมทูต คือต้องมีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะการเผยแผ่พุทธศาสนา ต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี ทั้งมีความรู้เรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศต่างๆด้วย(ดูใน ไทยรัฐ: สำนักพุทธฯเสนอกรอบมาตรฐานพระธรรมทูตต่างแดน)
 
2.ปัญหาจากการกำหนดมาตรฐานความรู้ คุณสมบัติของพระธรรมทูตที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศยังไม่ชัดเจน และถึงแม้การกำหนดมาตรฐานความรู้และคุณสมบัติของพระธรรมทูตจะชัดเจนเพียงใดก็ตาม แต่ก็ยังมีปัญหาในการดูแลควบคุมพระธรรมทูตที่ประพฤตินอกลู่นอกทางวินัยสงฆ์อยู่ดี เพราะคณะสงฆ์อยู่ในระบบกฎหมายอเมริกัน(ในประเทศอเมริกา) ขณะที่กฎหมายไทยและระเบียบบังคับของสมัชชาสงฆ์ไทยฯ ไม่สามารถเอื้อมถึง การณ์จึงเป็นเพียงการขอความร่วมมือจากพระสงฆ์เท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือบ้าง ไม่ได้รับความร่วมมือบ้าง(ส่วนใหญ่ใช้ได้เพียงมาตรการเดียวคือ การไม่ออกหนังสือรับรองการต่อวีซ่าให้พระสงฆ์รูปที่ไม่ให้ความร่วมมือนั้น)
 
3.พระธรรมทูตส่วนหนึ่ง มุ่งหวังสถานะการเป็นผู้มีถิ่นฐานถาวรในอเมริกา(บุคคลผู้ถือใบเขียว-permanent resident/green card) ซึ่งจะเป็นใบเบิกทางสู่การใช้ชีวิตในอเมริกาอย่างถาวร ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเป็นพลเมืองอเมริกันต่อไป ซึ่งเป็นพฤติกรรมการอาศัยสถานภาพสงฆ์ เป็นใบเบิกทางสู่ผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าที่จะเกื้อกูลต่อการเผยแผ่พุทธศาสนาจริงๆ ส่วนใหญ่พระธรรมทูตประเภทนี้เมื่อสมประสงค์แล้วก็สิกขาลาเพศออกไปเป็นฆราวาสประกอบอาชีพการงานต่างๆ นับเป็นการสูญเสียทรัพยากรทั้งในส่วนของคณะสงฆ์และส่วนของรัฐที่มีการลงทุนสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นพระธรรมทูต  
 
4.มีวัดไทยในอเมริกาที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไร(วัดเถื่อน)อยู่เป็นจำนวนหนึ่ง โดยเกิดขึ้นจากความประสงค์ของพระธรรมทูตเองที่แยกตัวออกไปจากวัดที่ตนเองเคยสังกัด อีกกรณีหนึ่งเกิดจากแรงศรัทธาจากชาวพุทธฆราวาส พระธรรมทูตจำนวนหนึ่งโดยการสนับสนุนของญาติโยม ได้ดัดแปลงบ้านเป็นสำนักสงฆ์ กระทำกันเองด้วยความรู้เท่าหรือไม่รู้เท่า โดยไม่ได้คำนึงถึงภาพลักษณ์ขององค์กรสงฆ์โดยรวม เกิดเป็นสำนักสงฆ์เถรวาท(ไทย) ยากแก่การกำกับควบคุมโดยสมัชชาสงฆ์ไทยฯ หรือแม้แต่การดูแลจากสงฆ์ด้วยกันเอง
 
5.จากประวัติศาสตร์ขององค์กรสงฆ์ไทยในอเมริกา การที่พระธรรมทูตได้สถานะการมีใบเขียว(green card) หรือเป็นพลเมืองอเมริกัน ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่า จะเป็นเครื่องช่วยอำนวยความสะดวกในการเผยแผ่พุทธศาสนาเสมอไป หากแต่พระสงฆ์กลุ่มนี้จำนวนหนึ่งกลับมีแนวโน้มสิกขาลาเพศ เพื่อใช้สิทธิการทำงานและสิทธิความเป็นพลเมืองอเมริกันอย่างเต็มรูปแบบ
 
6.พระธรรมทูตที่ไปจากเมืองไทยมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ หนึ่ง  กลุ่มที่เดินทางไปโดยการสนับสนุนหรือไปโดยภายใต้การอำนวยการของหน่วยงานของคณะสงฆ์ไทยและของรัฐบาล เช่น มหาเถรฯ กองงานพระธรรมทูต เป็นต้น   กับ สอง คือกลุ่มพระสงฆ์ที่เดินทางไปโดยการสนับสนุนหรือการอำนวยการของสำนัก(วัด)ต่างในประเทศไทยเป็นผู้จัดส่งไป ทั้งหมดแม้ได้ชื่อว่าเป็นพระธรรมทูตเหมือนกัน แต่ในแง่ของการกำกับดูแลขององค์กรสงฆ์อย่างสมัชชาสงฆ์ไทยฯแล้ว กระทำได้ยากยิ่งขึ้น เพราะมีที่มาและสายการบังคับบัญชาที่แตกต่างกันไป
 
7.พระธรรมทูตไม่มีการปฏิบัติต่อวินัยสงฆ์อย่างเป็นมาตรฐานกลาง เนื่องจากสภาพแวดล้อมด้านต่างๆในอเมริกาไม่เหมือนเมืองไทย  เช่น วัฒนธรรม ภูมิอากาศ ทำให้วัตรปฏิบัติด้านวินัยของสงฆ์บางอย่างที่ปกติใช้กันอยู่ในเมืองไทย ไม่สามารถใช้ได้ในอเมริกา เช่น การบิณฑบาต การครองจีวร การปฏิสัมพันธ์กับสีกา การขับรถ การฉันตามบ้าน เป็นต้น การณ์จึงเป็นไปในลักษณะของการที่พระธรรมทูตแต่ละรูปเลือกปฏิบัติเอาแล้วแต่สะดวกโดยไม่มีมาตรฐาน(เกณฑ์) กลางกำหนดเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงามในอันที่จะเรียกศรัทธามหาชน  
 
8. พระธรรมทูตไทยส่วนใหญ่การไม่ได้มีส่วนร่วมปฏิสัมพันธ์กับชุมชนอเมริกัน แต่กลับขลุกอยู่กับชุมชนไทยเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งความเป็นอยู่ในลักษณะดังกล่าว ไม่น่าจะถือว่าเป็นไปตามเจตนารมณ์การเผยแผ่พระสัทธรรมในต่างประเทศ แม้ข้อดีจะเป็นในแง่การเผยแผ่และอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย แต่เป้าประสงค์หลักในการนำเสนอหลักพุทธธรรมต่อชุมชนอเมริกันได้ถูกเบี่ยงเบนออกไปเหลือแค่วงแคบๆ คือ ในชุมชนไทย-ลาวเท่านั้น ขณะที่การเผยแผ่ศาสนาของชาวพุทธฝ่ายวัชรยานได้ผลมากกว่า เพราะเข้าถึงชุมชนอเมริกัน (ส่วนหนึ่งดูใน สัมภาษณ์อดีตพระสันติกโร โดยพระไพศาล วิสาโล)
 
9.เมื่อระบบการเมืออเมริกันแยกรัฐออกจากศาสนา ความสนใจ ศึกษาและปฏิบัติในลัทธินิกายต่างๆ ย่อมเป็นไปอย่างกว้างขวางและเสรี ,พุทธศาสนานิกายเถรวาท(แบบไทย) เป็นเพียงหนึ่งในหลายลัทธินิกายนั้น รวมถึงในบรรดาพุทธนิกายด้วยกัน
 
10.ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของพระสงฆ์และองค์กรสงฆ์ไทยในฐานะของการทำหน้าที่พระธรรมทูตในอเมริกาเชิงการประเมินผลว่าได้ผลมากน้อยอย่างไร มีอุปสรรคอย่างไรบ้าง และทางออกควรเป็นอย่างไร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น