โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

‘ตุลาการผู้แถลงคดี’ ชี้ EIA ท่อก๊าซฯ ไทย-มาเลฯ มิชอบ แต่ซ่อมได้!

Posted: 26 Mar 2013 10:34 AM PDT

ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาคดีครั้งแรก คดีเพิกถอนมติ คชก. และใบอนุญาตก่อสร้างท่อส่งก๊าซไทย-มาเลเซีย ตุลาการผู้แถลงคดี ระบุ คชก.เห็นชอบรายงาน EIA โครงการท่อส่งก๊าซฯ แต่ละเว้นด้านสังคม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลใบอนุญาตก่อสร้างฯ ไม่ชอบด้วย แต่แก้ไขได้ ด้านทนายชี้ภารกิจชาวบ้านเดินหน้าต่อ ติดตามผลตัดสินคดี

ชาวบ้านจะนะนับร้อย ร่วมฟังศาลปกครองสูงสุดพิจารณาคดีครั้งแรก

วันนี้ (26 มี.คม.56) เมื่อเวลา 9.30 น.ศาลปกครองสูงสุดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ในคดีหมายเลขดำที่ 43/2547 คดีเพิกถอนมติคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ และใบอนุญาตก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย อ.จะนะ จ.สงขลา ที่นายกิตติภพ สุทธิสว่าง ที่ 1 กับพวกรวม 17 คน ฟ้องกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโครงสร้างพื้นฐานและอื่นๆ (คชก.) และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นจำเลยที่ 1-3 ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 1 ศาลปกครองสูงสุด
 
จากรณีที่ บริษัททรานส์ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ดำเนินโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย โดยการวางท่อก๊าซจากในทะเลบริเวณอ่าวไทยเชื่อมต่อกับบนบก มีจุดขึ้นฝั่งบริเวณ ต.ตลิ่งชันและ ต.สะกอม อ.จะนะ จ.สงขลา ได้ยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เข้าสู่การพิจารณาของ คชก.
 
ต่อมา คชก.มีมติให้ความเห็นชอบรายงาน EIA โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย ในประเด็นเทคนิควิชาการ โดยยกเว้นประเด็นด้านสังคม ซึ่งรายงาน EIA นั้นถูกนำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาเพื่อการออกใบอนุญาตปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำของโครงการฯ ในใบอนุญาตเลขที่ 09/2546 ลงวันที่ 13 มี.ค.46 ของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี
 
ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นประชาชนในพื้นที่ เห็นว่าการที่กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีออกใบอนุญาตให้แก่บริษัททรานส์ไทย-มาเลเซียฯ เพื่อดำเนินโครงการฯ และมติให้ความเห็นชอบ EIA ของ คชก.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และดำเนินการฟ้องร้องให้มีการเพิกถอน
 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการพิจารณาคดีครั้งนี้ มีชาวบ้านในนามเครือข่ายคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย กว่า 100 คน จาก อ.จะนะ จ.สงขลา เดินทางมาศาลปกครองสูงสุดเพื่อร่วมรับฟังพิจารณาคดีครั้งแรก โดย นายนาซอรี หวะหลำ อุซตาซ (ครูสอนศาสนา) บ้านปากบาง ต.สะกอม อ.จะนะ จ.สงขลา เป็นตัวแทนผู้ฟ้องคดีแถลงข้อเท็จจริงต่อศาลถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่
 
นายนาซอรี กล่าวว่า ตั้งแต่ทราบข้อมูลการทำ EIA โครงการดังกล่าว ได้สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในชุมชน จากความเห็นที่แตกต่างกัน ส่วนผลกระทบทางทะเล ก็ทำให้อาชีพประมง การหาปลาชายฝั่งที่เต็มไปด้วยทรัพยากรทั้งทางบกและทางน้ำได้รับความเสียหาย ขณะที่การกระบวนการอนุญาตและให้ความเห็นชอบอย่างไม่เป็นธรรม ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญก็มีการติดตามโดยกลุ่มชาวบ้านมาโดยตลอด
 
นอกจากนั้น ยังมีปัญหากรณีที่ดินวะกัฟ ซึ่งเป็นเส้นทางสาธารณะตามหลักศาสนาอิสลามเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ (ไม่สามารถยกให้ใครคนใดคนหนึ่งครอบครอง จำหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนใดๆ ได้) กลับถูกใช้เป็นแนววางท่อส่งก๊าซ จึงถือได้ว่ากระบวนการอนุมัติอนุญาตไม่ชอบธรรมทั้งโดยหลักกฎหมายของประเทศและข้อกฎหมายของอิสลาม ดังนั้นชาวบ้านจึงร้องเรียนเพื่อเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าว
 
"ขอร้องเรียนต่อศาล ต่อจากนี้จะมีคดีประเภทนี้อีก คดีที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อชุมชน อยากให้เห็นใจชาวบ้าน โดยขอให้คดีนี้เป็นคดีบรรทัดฐานต่อไป" นายนาซอรี กล่าว
 

ตุลาการผู้แถลงคดีชี้กระบวนการผ่าน EIA ผิดพลาดได้ -ชาวบ้านใช้สิทธิฟ้องแทนรัฐ

ด้านนายภานุพันธ์ ชัยรัตน์ ตุลาการผู้แถลงคดี เสนอความเห็นต่อองค์คณะตุลาการเจ้าของสำนวน สรุปความได้ว่า รายงาน EIA จัดทำขึ้นตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 เป็นเอกสารสำคัญในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการป้องกันไว้ก่อน เพื่อป้องกันภาวะมลพิษที่มีผลกระทบต่อสุขอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน และการรักษาดุลยภาพของธรรมชาติ
 
หากจะนำไปใช้ประกอบการขออนุญาตโครงการหรือกิจการใด ต้องได้รับความเห็นจาก คชก.โดยหากผ่านการเห็นชอบแล้ว รายงาน EIA ดังกล่าวจะถือเป็นเอกสารมหาชนที่ประชาชนสามารถตรวจดูได้ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารราชการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวม เนื่องจากรายงาน EIA และมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นเอกสารที่ต้องตรวจสอบความถูกต้องจากสังคมโดยทั่วไป เพื่อให้เกิดผลตามเจตนารมณ์ของหลักการป้องกันไว้ก่อน
 
นายภานุพันธ์กล่าวด้วยว่า รายงาน EIA ที่ผ่านความเห็นชอบจาก คชก.แล้วอาจเป็นรายงานที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงซึ่งหากนำไปอ้างอิงหรือนำไปประกอบการพิจารณาอนุญาตประกอบกิจการโครงการใดๆ จะส่งผลเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมได้
 
ยกตัวอย่าง กรณีรายงาน EIA ของโครงการโรงไฟฟ้าที่ขออนุญาตก่อสร้างบริเวณชายฝั่งทะเลของ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่ง EIA ฉบับดังกล่าวที่ผ่านการเห็นชอบของ คชก.ได้ระบุข้อมูลบริเวณอ่าวที่ทำการศึกษาว่าไม่มีแนวปะการัง และในท้องทะเลแถบนั้นไม่มีสัตว์ทะเลหายาก ไม่มีสัตว์เศรษฐกิจ และมีความสมบูรณ์ไม่มากนัก ถูกโต้แย้งข้อเท็จจริงโดยผู้เชียวชาญด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลและชาวชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณอ่าวดังกล่าว จึงนำมาสู่การตรวจสอบข้อเท็จจริงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี โดยตั้งคณะทำงานศึกษาและรวบรวมข้อมูลใหม่ ผลคือรายงาน EIA ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ทำให้มีคำสั่งยกเลิกรายงาน EIA ของโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าว และเพิกถอนใบอนุญาตผู้ได้รับใบอนุญาตทำการศึกษารายงาน EIA ที่จัดทำรายงานฉบับดังกล่าว  
 

ชี้ มติ คชก.เห็นชอบ EIA – ใบอนุญาตก่อสร้างฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่แก้ไขได้

นายภานุพันธ์กล่าวต่อมาว่า การที่ คชก.มีมติเห็นชอบรายงาน EIA โครงการท่อส่งก๊าซฯ ที่จะดำเนินโครงการในพื้นที่ที่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 17 คนตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพ ดังนั้นผู้ฟ้องคดีจึงเป็นผู้ที่อาจได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการมีมติเห็นชอบต่อรายงาน EIA ดังกล่าว และมีสิทธิฟ้องคดีต่อ คชก.นอกจากนี้ยังเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ที่มีการจัดทำรายงาน EIA ถือเป็นผู้เสียหายที่ฟ้องคดีทางปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแทนรัฐเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของส่วนร่วม
 
ส่วนประเด็นที่ คชก.ให้ความเห็นชอบรายงาน EIA โครงการท่อส่งก๊าซฯ เฉพาะในประเด็นเทคนิควิชาการแต่ยกเว้นด้านสังคมนั้น ตุลาการผู้แถลงคดีเห็นว่า ถือเป็นการให้ความเห็นชอบต่อเนื้อหาในรายงาน EIA ดังกล่าว โดยครบถ้วนตามที่กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนดไว้ ดังนั้น มติ คชก.ในการประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบรายงาน EIA โครงการท่อส่งก๊าซฯ เมื่อวันที่ 14 พ.ย.44 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
 
อย่างไรก็ตาม การเพิกถอนมติ คชก.นั้น ในสำนวนคดียังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่แสดงว่าการกระทำของ คชก.ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้เกิดจากการบิดเบือนข้อเท็จจริงในการปฏิบัติราชการหรือโดยทุจริต แต่เป็นการทำตามอำนาจหน้าที่โดยไม่พิจารณารายงาน EIA โครงการท่อส่งก๊าซฯ ในประเด็นด้านสังคม ถือเป็นการใช้ดุลพินิจที่ผิดพลาด ทำให้รายงาน EIA ดังกล่าวมีข้อบกพร่องเนื้อหาไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่กรณีดังกล่าวสามารถแก้ไขข้อบกพร่องให้ครบถ้วนได้
 
สำหรับประเด็น ที่กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี นำ รายงาน EIA โครงการท่อส่งก๊าซฯ ซึ่งเนื้อหาไม่ครบถ้วนไปพิจารณาออกใบอนุญาตเลขที่ 09/2546 ลงวันที่ 13 มี.ค.46 ให้บริษัท ทรานส์ไทย-มาเลเซียฯ ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำประเภทวางท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้น ถือเป็นการออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเกิดจากข้อเท็จจริงที่ใช้ประกอบการตัดสินใจมีข้อบกพร่อง และข้อเท็จจริงดังกล่าวดำเนินการโดย คชก.ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจเห็นชอบตามกฎหมาย และกฎหมายกำหนดให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีนำไปประกอบการออกคำสั่ง ไม่ได้อยู่ในอำนาจของผู้มีอำนาจออกคำสั่งโดยตรง
 
ดังนั้น ศาลจึงไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวที่กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีออกให้บริษัท ทรานส์ไทย-มาเลเซียฯ ในทันที
 
อีกทั้ง ท่อก๊าซธรรมชาติในโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซียแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ท่อส่งก๊าซส่วนที่อยู่ในทะเล และท่อส่งก๊าซส่วนที่อยู่บนบก ซึ่งการออกใบอนุญาตฯ ให้บริษัท ทรานส์ไทย-มาเลเซียฯ ครอบคลุมเฉพาะโครงการท่อส่งก๊าซฯ ส่วนที่อยู่ในทะเลและบริเวณชายหาด ซึ่งตามข้อเท็จจริงผู้ฟ้องคดีไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับการฝังท่อก๊าซในทะเลและบริเวณชายหาดจะทำให้เกิดผลกระทบด้านสังคมที่ไม่อาจแก้ไขได้ ประกอบกับการพิเคราะห์ถึงหลักการคุ้มครองความเชื่อมั่นต่อคำสั่งทางปกครองภายใต้ระบบนิติรัฐ และการที่กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีได้ออกใบอนุญาตล่วงเลยมาเป็นเวลานานแล้ว
 
หากศาลมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตในทันที ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อบุคคลภายนอกจำนวนมาก ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้านการเงิน การพาณิชยกรรม การอุตสาหกรรม และการลงทุนระหว่างประเทศอย่างกว่างขวาง
 
นายภานุพันธ์ กล่าวแสดงความเห็นว่า ศาลปกครองควรมีคำพิพากษา ให้ คชก.พิจารณาประเด็นด้านสังคมและให้ความเห็นต่อเนื้อหาประเด็นด้านสังคมในรายงาน EIA รวมทั้งเสนอผลการพิจารณาผลกระทบประเด็นด้านสังคม มาตรการการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านสังคม โดยให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงาน EIA ฉบับสมบูรณ์ (รายงานหลัก เดือน ม.ค.45) เพื่อให้รายงานดังกล่าวมีเนื้อหาถูกต้องครบถ้วน
 
จากนั้นให้ สผ.แจ้งความเห็นชอบดังกล่าวต่อกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีเพื่อเพิ่มเติมเนื้อหาดังกล่าวลงในใบอนุญาตเลขที่ 09/2546 ลงวันที่ 13 มี.ค.46 จากนั้นให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี แจ้งให้บริษัท ทรานส์ไทย-มาเลเซียฯ รับทราบและปฏิบัติตาม
 
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา หากดำเนินการไม่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ให้เพิกถอนใบอนุญาตเลขที่ 09/2546 ลงวันที่ 13 มี.ค.46 ตั้งแต่วันพ้นกำหนด 180 วัน    
 

ทนายชี้ภารกิจชาวบ้านเดินหน้าต่อ ติดตามผลคดี –ชาวบ้านพร้อมสู้

ด้านนายสุรชัย ตรงงาม กล่าวว่า หากศาลพิพากษาตามแนวทางของตุลาการผู้แถลงคดี นั่นคือศาลเห็นว่ารายงาน EIA นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่สามารถซ่อมได้โดยพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนผลกระทบด้านสังคม เท่ากับว่าชาวบ้านในพื้นที่สามารถเข้าร่วมในการเสนอความเห็นว่ากระทบด้านสิ่งแวดลอมที่เกิดขึ้นมาแล้วบ้าง ถือเป็นอีกวาระหนึ่งในการมีส่วนร่วมเสนอความเห็นเข้าสู่การพิจารณาและนำไปสู่การแก้ไขได้
 
อย่างไรก็ตาม ทนายความย้ำว่า คำแถลงของตุลาการผู้แถลงคดีไม่ใช้การตัดสินคดี ชาวบ้านจะต้องรอผลคำพิพากษาที่จะมีการส่งไปอ่านที่ศาลปกครองสงขลาต่อไป
 
ส่วน น.ส. ส รัตนมณี พลกล้า กล่าวว่า คำแถลงของตุลาการผู้แถลงคดีวันนี้ได้ชี้ว่า EIA เป็นเอกสารมหาชน สามารถแก้ไขได้ และการให้พิจารณาเพิ่มเติมในเรื่องผลกระทบด้านสังคมนี้ เป็นแนวทางเดียวกับ SIA หรือ การประเมินผลกระทบทางสังคมใหม่ ซึ่งหากศาลมีคำพิพากษาตามแนวทางดังกล่าวก็ถือเป็นภารกิจของชาวบ้านในพื้นที่ที่ต้องติดตามต่อไปว่าใครจะมาเป็น คชก.ที่พิจารณาในเรื่องนี้
 
นอกจากนี้ ยังมีภาระในการติดตามความคืบหน้าของคดีต่อไป เพราะขณะนี้ผลกระทบที่จะนะจากท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย ได้เกิดขึ้นแล้ว เพราะไม่มี EIA ทางด้านสังคม ทั้งความขัดแย้ง และผลกระทบที่ชาวบ้านไม่สามารถทำกินได้จริง ซึ่งหากรวมแล้วผลกระทบที่ผ่านมานับ 10 ปี กับผลกระทบระยะยาวที่จะเกิดขึ้นอาจทำให้โครงการฯ ล้มเลิกไปได้ ต้องติดตามต่อว่าศาลจะพิพากษาเพื่อเยียวยา หรือจะมีคำสั่งเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
 
 
ขณะที่นางจันทิมา ชัยบุตรดี หนึ่งในแกนนำชาวบ้านระบุว่า ขณะนี้คดียังไม่ตัดสิน ต้องดูต่อไปว่าท้ายที่สุดทางตุลาการจะตัดสินคดีออกมาอย่างไร และสำหรับคำแถลงของตุลาการผู้แถลงคดีวันนี้ รู้สึกดีใจที่คนในกระบวนการยุติธรรมมองเห็นชาวบ้านว่าเป็นผู้รักษา ปกป้องสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรของประเทศแทนรัฐ
 
"เราต่อสู้มานานแล้ว ก็ต้องสู้กันต่อไป" นางจันทิมากล่าว
 
นางจันทิมากล่าวว่า หลังรู้ว่ามีใบอนุญาตออกมาชาวบ้านก็ยืนฟ้องคดี ตั้งแต่เมื่อปี 2547 จนโรงแยกก๊าซเปิดทำงาน และมีโรงไฟฟ้าเกิดขึ้นมาในชุมชนอีก 2 แห่ง ซึ่งก็ทำให้เกิดผลกระทบมากมาย ทั้งเกิดความขัดแย่งในชุมชน ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพประมง รวมทั้งด้านการเกษตรด้วย และตอนนี้กำลังจะมีท่าเรือเกิดขึ้นในพื้นที่ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดให้อุตสาหกรรมทะลักเข้ามาในชุมชนอย่างไม่อาจต้านทานไว้ได้
 
"จะเกิดอะไรขึ้น มันก็คือมาบตาพุดดีๆ นี่เอง แผนพัฒนาของรัฐ เขาวางเอาไว้แล้ว อนาคตจะนะคือพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม" นางจันทิมากล่าว 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าหลังฟังการพิจารณาคดีครั้งแรกของศาลปกครองสูงสุดกลุ่มชาวบ้านเครือข่ายคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย ที่เดินทางมาจาก ต.ตลิ่งชันและ ต.สะกอม อ.จะนะ จ.สงขลา ได้จัดแถลงข่าว "อีไอเอ เป็นพาหะนำสู่สิ่ง ฮารอม (เป็นบาปใหญ่)" โดยมี ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิชาการ อดีต คชก.ด้านสังคม ที่ไม่ร่วมลงนามเห็นชอบรายงาน EIA โครงการท่อส่งก๊าซฯ และนางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) เดินทางมาร่วมพูดคุยให้กำลังใจในการต่อสู้กับโครงการพัฒนาขนาดใหญ่
 
 
นางสุนี กล่าวว่า โครงการที่ดำเนินการไปแล้วนั้น สามารถแก้ไขได้เพียงเล็กน้อยก็ต้อง แต่ก็น่าเศร้าว่าจะนำไปสู้อะไรได้บ้าง เพราะถึงขณะนี้แล้วคงไม่สามารถยอนคืนไปสู่จุดเริ่มต้นเมื่อต่อคัดค้านโครงการได้ อย่างไรก็ตามต้องชื่นชมชาวบ้านที่ต่อสู่กันมาอย่างยาวนาน และเข้มแข็ง อีกทั้งปัจจุบันโครงการระหว่างประเทศเกิดขึ้นมากมาย เป็นทิศทางการพัฒนาที่เราจะก้าวต่อไป ซึ่งการที่สังคมยังจับตาคดีท่อก๊าซฯ ไทย-มาเลเซีย จะนำไปสู่การพูดคุยกันถึงโครงการพัฒนาภาคใต้ และโครงการพัฒนาที่เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนต่อไป
 
ทั้งนี้  ในคดีดังกล่าว ศาลปกครองสงขลาได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 3 เม.ย.51 ให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่ากระบวนการออกใบอนุญาตเลขที่ 09/2546 ลงวันที่ 13 มี.ค.46 ของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ที่อนุญาตให้บริษัท ทรานส์ไทย-มาเลเซียฯ และเอกสารประกอบการอนุญาตถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย ไม่ได้ออกใบอนุญาตโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการพิจารณารายงาน EIA ของ คชก.ต่อมากลุ่มชาวบ้านผู้ฟ้องคดีจึงมีการยื่นอุทธรณ์
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สัมภาษณ์ ‘จตุรงค์ ธีระกนก’ ประธานอนุฯ ราง วุฒิสภา ความพร้อมในการลงทุนระบบราง

Posted: 26 Mar 2013 09:36 AM PDT

เว็บไซต์ข่าวรัฐสภาถึงประชาชน สัมภาษณ์ นพ.จตุรงค์ ธีระกนก วุฒิสมาชิก จ.ร้อยเอ็ด และประธานอนุกรรมาธิการการคมนาคมทางราง วุฒิสภา ถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาการคมนาคมระบบรางในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 56 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... โดยกฎหมายดังกล่าว กำหนดให้กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีสามารถกู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำมาลงทุนโครงการต่างๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ 1.ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า 2.อำนวยความสะดวกการเดินทางสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ พร้อมเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน 3.ปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว และแผนงานที่กำหนดไว้ในบัญชีท้าย พ.ร.บ.ในวงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ภายในวันที่ 31 ธ.ค.2563 และคาดว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะเข้าสู่การพิจารณาขอรัฐสภาปลายเดือนมีนาคมนี้

 

 

การคมนาคมทางรางมีมากว่าร้อยกว่าปีแล้ว แต่ไม่ค่อยถูกพูดถึง กระทั่งวันนี้ ทำไมสังคมไทยจึงต้องหันกลับมาสนใจเรื่องนี้

ผมว่าสถานการณ์ทั่วโลกมันเปลี่ยน นานาประเทศก็เริ่มใช้ระบบรางทำงาน ประการหนึ่งคือ เรามีวิกฤติทางพลังงาน ถ้ายังใช้รถยนต์ต่อไปเมื่อเทียบกับการขนส่ง การขนคนแล้ว ต่อคันต่อระยะทาง รถยนต์แพงกว่า 4-7 เท่า ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพของรถด้วย เมื่อมีวิกฤติพลังงานจึงต้องมาคิดว่าจะขนส่งอย่างไรให้มันถูกลง เมื่อโลจิสติกส์ มันถูกลง กระบวนการแข่งขันในเรื่องการค้าก็จะดีขึ้น ประเด็นที่สอง การคมนาคมทางรางสร้างความรู้สึกว่าปลอดภัยมากกว่า ดังนั้น ก็จะลดเรื่องของอุบัติเหตุบนทางหลวงมากขึ้น ตรงนี้ก็มีส่วนให้คนหันกลับมาสนใจเรื่องของระบบราง

จากการศึกษาของอนุกรรมาธิการการคมนาคมทางราง วุฒิฯ ตอนนี้มีโมเดลหรือรูปแบบที่น่าจะนำมาปรับใช้กับประเทศไทยไหม

เราศึกษาแต่เอามาใช้เลยไม่ได้ ตอนนี้ที่วุฒิฯกำลังดูอยู่อย่างเรื่องระบบการบริหารจัดการของ JR ญี่ปุ่นที่เขาแบ่งเป็นตะวันออก ตะวันตก ซึ่งมีทั้งระบบการบริหารทางรางและในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องของทรัพย์สิน

ในมาเลเซียเอง เราก็ไปดู เขามองว่าระบบสาธารณูปโภคเป็นสาธารณะ คือให้การบริการเพื่อที่จะให้ประชาชนสามารถเดินทางได้ด้วยความปลอดภัยแล้วก็เซฟก็คือราคาถูก ในจีนเอง เป็นประเทศใหญ่ประชากรมาก ก็จำเป็นต้องมีระบบตรงนี้เพื่ออำนวยความสะดวก การขนส่งมากขึ้น

ที่นี้ในบ้านเรา ทำแบบไหน ที่จะมีขึ้นไม่ว่าจะเป็นไฮสปีดความเร็วสูงหรือระบบรางคู่ที่จะเกิดของ รฟท.(การรถไฟแห่งประเทศไทย) กระทั่งการเดินรถในกรุงเทพฯและปริมณฑล หรือในเขตเมืองทั้งหลาย สิ่งต่างๆเหล่านี้คงต้องมีระบบอะไรบางอย่างเข้ามาบริหารจัดการ จะมองถึงระบบการลงทุน จะมองถึงระบบการคืนทุน จะมองถึงระบบการบริการสาธารณะ จะมองถึงระบบความปลอดภัยหรือมาตรฐานความปลอดภัย ตรงนี้อนุฯกำลังวางกรอบเพื่อช่วยกันศึกษาดูว่า ถ้าเรากล้าลงทุนเป็นล้านๆ เราก็ควรต้องมีระบบเข้ามาดูแล ไม่ว่าระบบการตรวจสอบ ระบบการวางแผนผังทั้งหมด ระบบการเชื่อมโยง นี่ก็เป็นเป้าประสงค์หนึ่งที่อนุฯคมนาคมทางรางกำลังคุยกันว่าควรจะเอารูปแบบ ประสบการณ์ในแต่ละประเทศไม่ว่าจะญี่ปุ่น มาเลเซีย อเมริกาหรือยุโรป รวมทั้งความเห็นจากที่ปรึกษาต่างๆมาทำให้เป็นบริบทของบ้านเรา

เวลานี้เราพูดถึงไฮสปีดซึ่งงบประมาณ 2.2ล้านล้าน เหมือนจะให้ความสำคัญตรงนี้มาก จะไปตัดราคากันเองกับสายการบินต้นทุนต่ำ หรือราคาที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไหร่ที่คนสามารถใช้ชีวิตได้จริงมาใช้ระบบนี้

นี่คือสิ่งที่เราเป็นห่วงเหมือนกัน การลงทุนถ้าใช้รายรับจากการขนส่งผู้โดยสารอย่างเดียวคือสิ่งที่เราเป็นห่วง ไฮสปีดการลงทุนค่อนข้างสูง อัตราการคืนทุนก็คงใช้เวลายาว เพราะฉะนั้นถ้าต้องการการคืนทุนที่เร็วอัตราค่าบริการก็คงต้องแพง เมื่อแพงก็คงต้องเกิดแน่นอนสนามบินเรามีเกือบทั่วประเทศ  โลว์คอส (สายการบินต้นทุนต่ำ) เข้ามามากขึ้นฉะนั้นก็แข่งขันกัน แต่ส่วนหนึ่งโดยหลักการแล้ว รถไฟหรือไฮสปีดอัตราค่าโดยสารจะถูกกว่าอัตราเครื่องบินอยู่ประมาณ 20-30% แต่ข้อดีคือระยะเวลาของการเดินทางอาจจะสั้นกว่า คือ เครื่องบินจะไปเสียเวลาในการเช็คอินเช็คเอาท์ ในขณะเดียวกันรถไฟออกจากสถานีแล้วเข้าสู่กลางเมืองได้เลยนี่คือข้อได้เปรียบของรถไฟประการที่สอง ความรู้สึกถึงความปลอดภัยรถไฟจะดีกว่าก็คงมีส่วนในการดึงลูกค้าเป็นตัวหลักๆ

แต่เมื่อถามว่าคุ้มไหม เราก็มามองว่าเป็นเรื่องของการขนส่งสาธารณะหรือไม่ เป็นสาธารณะประโยชน์ไหม ในส่วนหนึ่งรัฐเองจะต้องซัพพอร์ต ในอีกส่วนรัฐคงจะต้องมีรายได้จากส่วนอื่นที่เกี่ยวกับในระบบราง ที่เราพูดกันในวันนี้ (ในการประชุมของคณะอนุกรรมาธิการวันที่ 18 มี.ค.56) ก็คือเรื่องของทรัพย์สิน เรื่องของการบริหารจัดการที่ดินของการรถไฟ ซึ่งการรถไฟจะเอาเรื่องนี้เข้ามาร่วมด้วยไหม หรือจะเอาตัวเองรอด ผมคิดว่าถึงระยะเวลาหนึ่งจะรอดด้วยตัวเองได้

บทเรียนการขาดทุนของระบบรถไฟไทยก็คือการซ่อมบำรุงรถไฟซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง (ทำให้ไม่ค่อยได้รับการผ่านงบประมาณลงมา) ในการศึกษามองเห็นการกันงบประมาณของรัฐในส่วนนี้หรือไม่

แน่นอน เวลาคิดต้องคิดเรื่องบำรุงรักษาด้วย บ้านเราแต่เดิมหารายได้เพื่อดูแลตัวเอง แต่บางครั้งในการเริ่มต้นใหม่ๆ การทุ่มทุนตรงนี้มันเกิด การบำรุงรักษาก็ต้องมีส่วนนี้วางเอาไว้ ผมคิดว่าเขาต้องคิดอย่างนี้เหมือนกัน เหมือนทำธุรกิจจะต้องมีทุนสำรองที่จะพัฒนาปรับปรุงแก้ไขต่างๆ ประเด็นก็คือต้องมีการวางแผนอย่างต่อเนื่อง เมื่อเกิดอย่างนี้ขึ้นมาแล้ว เมื่อรถไฟเริ่มวิ่งแล้ว ของบางอย่างเราไม่สามารถที่จะสั่งวันนี้ได้วันนี้ แต่สั่งวันนี้อาจจะได้อีก 2 ปี เพราะฉะนั้นการวางแผนเรื่องนี้จะต้องเกิดขึ้น การเฝ้าระวังเพื่อเป็นแผนจัดการอย่างต่อเนื่องได้ จึงอยากฝากเรื่องนี้ไว้ตรงนี้ บางครั้งบ้านเราอาจจะขาดตรงนี้ไป ที่ขาดอาจจะเป็นเพราะเรื่องระบบการเงินการคลังที่เข้ามาผูกพันในการที่จะทำเรื่องนี้ทั้งที่เรามองไม่เห็น ทำให้บางทีเราก็ลืมไป

คิดว่าอุปสรรคอะไรที่จะทำให้แผนอนาคตของระบบรางที่วางไว้ตรงนี้ไม่สำเร็จ และมีข้อเสนอแนะอะไรถึงรัฐบาลไหม

คิดว่าเราจะกล้าลงทุนหรือไม่เท่านั้นเอง ถ้าเรามองว่าสิ่งต่างๆที่เราลงทุนตรงนี้ไปมันทำให้ประเทศก้าวไปข้างหน้าได้เร็วและไปทันเขา เราต้องกล้าลงทุน อุปสรรคมันอยู่ตรงนี้เพราะมันคงจะมีปัญหาเรื่องการลงทุนเท่านั้นเอง

สองคือการเลือกเทคโนโลยีที่จะคุ้มทุนจะเอามาใช้ก็มีความสำคัญ ปัญหาสำคัญน่าจะอยู่ตรงนี้ กล้าไหม กล้าที่จะลงทุนตรงนี้เพื่อก้าวไปข้างหน้า สองเมื่อกล้าแล้วการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม คุ้มค่า เกิดผลประโยชน์น่าจะเป็นปัจจัยหลักที่ต้องคิดให้หนัก

ทีนี้ถ้าเกิดลงมาแล้ว เราพูดไปแต่แรกแล้วว่า หนึ่งโลจิสติกส์ดีขึ้น การขนส่งสินค้า การบริการ ความรวดเร็วผู้โดยสาร ความปลอดภัย มันก็ยิ่งดีขึ้น การใช้ทางหลวงก็ลดน้อยลง อุบัติเหตุก็ลดน้อยลง ความสึกหรอของทางหลวงก็ลดน้อยลง ตรงนี้มันเป็นสิ่งที่จะกลับเข้ามา แต่ระบบรางก็ต้องมีการซ่อมบำรุงเหมือนกันแต่ตรงนี้ผมคิดว่ามันจะเป็นการถ่ายผู้โดยสาร ถ่ายของในปริมาณที่มากในเวลาอันสั้น
 

ที่มา : เว็บไซต์ข่าวรัฐสภาถึงประชาชน



 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครม.คงเบี้ยเลี้ยงแพทย์ แต่ปรับตามความเหมาะสม แพทย์ชนบทเผาหุ่นไล่ รมว.

Posted: 26 Mar 2013 09:08 AM PDT

ชมรมแพทย์ชนบทชุมนุมขับไล่ รมว.สาธารณสุข สาเหตุเตรียมยกเลิกเบี้ยเลี้ยงแบบเหมาจ่ายบุคลากรทางการแพทย์ ขณะที่ที่ประชุม ครม.วันนี้ ไม่ยกเลิกเบี้ยเลี้ยงแพทย์ แต่ปรับตามความเหมาะสม

วันนี้ (26 มี.ค.56) น.พ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวหลังประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติให้นำเบี้ยเลี้ยงตอบแทนค่าเหมาจ่ายของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเดิมอยู่ในงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข ให้มาอยู่ในส่วนงบประมาณของสำนักงานหลักประกันแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อให้เกิดความมั่นคงในค่าตอบแทน และอนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุข ปรับปรุงระเบียบการจ่ายเงินค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ของกระทรวงจำนวน 3 พันล้านบาทในปีนี้ โดยยังคงมีค่าเหมาจ่ายเช่นเดิมในพื้นที่ทุรกันดารและมีความจำเป็นต่างๆ แต่มีการปรับลดลงมาบางส่วนให้เหมาะสม พร้อมทั้งปฏิเสธว่าไม่ได้มีการยกเลิกเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายต่างๆ ตามที่ชมรมแพทย์ชนบทระบุ

ในวันเดียวกัน ที่ด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล มีการชุมนุมของสมาชิกชมรมแพทย์ชนบท นำโดย นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีธรรมราช และอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท ประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงจะไม่ร่วมสังฆกรรมใดๆ กับกระทรวงสาธารณสุข และจะแต่งดำไว้ทุกข์ให้กับ นพ.ประดิษฐ จนกว่าจะพ้นจากตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข ทั้งนี้ ทางกลุ่มฯ ยืนยันว่าจะกลับมาชุมนุมอีกครั้งหากข้อเรียกร้องไม่ได้รับการตอบสนอง จากนั้น กลุ่มผู้ชุมนุมได้จุดไฟเผาหุ่น นพ.ประดิษฐ พร้อมกับพากันตะโกนโห่ร้อง ก่อนที่จะสลายการชุมนุม

เรียบเรียงจาก (1) (2)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 19-25 มี.ค. 2556

Posted: 26 Mar 2013 08:14 AM PDT

แรงงานขานรับห้ามขายเหล้าในโรงงานทำคุณภาพชีวิตดีขึ้น

19 มี.ค. 56 - นายสมภพ ปราบณรงค์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดนครปฐม กล่าวภายหลังจากงานเสวนา "ไม่ดื่ม ไม่ขายเหล้าเบียร์ในโรงงาน ผลได้มากกว่าเสีย?" โดยจัดขึ้นที่โรงแรมเวล จังหวัดนครปฐมว่า ตั้งแต่มีการบังคับใช้กฎหมาย ห้ามขายห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานประกอบการโรงงานมาได้ระยะหนึ่ง ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงาน จากที่เคยขาดลามาสายก็พบน้อยลง สุขภาพดีขึ้น เพราะก่อนหน้านี้อาจเสียเงินทอง ซื้อสุรามาดื่ม ทำให้สุขภาพย่ำแย่ เป็นสาเหตุของการทะเลาะวิวาทในโรงงานบ่อยครั้ง และอาจนำไปสู่การก่อคดีอาชญากรรมได้ ที่ผ่านมายังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของแรงงานโดยตรงเหมือนกฎหมาย ดังกล่าวและจากการบังคับใช้

"กฎหมายนี้ถือว่า ช่วยจำกัดพื้นที่ของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานประกอบการ ซึ่งแต่เดิมจะเป็นเพียงระเบียบข้อปฏิบัติของสถานประกอบการบางแห่ง แต่คราวนี้เมื่อมีกฎหมายออกมารองรับและบังคับใช้กับสถานประกอบการทุกแห่ง จึงเชื่อว่าจะไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลแต่อย่างใด และผู้ประกอบการลูกจ้างต่างเห็นด้วย ทั้งนี้ สวัสดิการและแรงงานสังคม ได้จัดกิจกรรม "โรงงานสีขาว ปลอดยาเสพติด" ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2544 สำหรับที่ จ.นครปฐม มีโรงงานสีขาวจำนวน 454 แห่ง ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับกฎหมายดังกล่าวได้ นอกจากนี้สวัสดิการฯ ยังได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการ และแรงงานได้รู้ถึงกฎหมายอย่างต่อเนื่อง" นายสมภพ กล่าว

ด้าน พ.ต.ท.ธงชัย เนตรสขาวัฒน์ รองผู้กำกับการป้องกันและปราบปรามของ สภ.พุทธมณฑล กล่าวว่า การมีกฎหมายฉบับนี้ในโรงงานเป็นเรื่องที่ดี และตนก็เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว 100% เพราะว่า การดื่มเหล้าในโรงงานจะมีผลทำให้แรงงานขาดประสิทธิภาพ เป็นสาเหตุของการทะเลาะวิวาท ซึ่งบางครั้งนำไปสู่การก่อคดีอาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ ส่วนผลดีกับคนงานคือ มีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่าย ผลประโยชน์ที่ได้รับก็ตกไปอยู่ที่ตัวเจ้าของโรงงานและคนงานผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำงานง่ายขึ้น

"สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ตัวกฎหมายดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมไปถึงแคมป์ที่พักของคนงาน ซึ่งส่วนตัวแล้วตนอยากจะให้ครอบคลุมไปถึงแคมป์ที่พักคนงาน ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล จากการทำงานที่ผ่านมาพบว่า ในแคมป์ของคนงานมีการดื่มเหล้าเป็นประจำ ส่งเสียงดัง ทะเลาะวิวาท หรือการก่อคดีต่างๆ" พ.ต.ท.ธงชัย กล่าว

พ.ต.ท.ธงชัย กล่าวว่า ปัญหาหรืออุปสรรคของการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว คือ ผู้ประกอบการโรงงานที่มีการหลบซ่อนสิ่งผิดกฎหมาย เช่น แรงงานต่างด้าว การผลิตสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ มักจะไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตรวจสอบ นอกจากนี้ทาง สภ.พุทธมณฑล ยังจัดให้มีการอบรมให้ความรู้เรื่องของกฎหมายต่างๆ ที่ออกมาใหม่แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นประจำ หากโรงงานใดในพื้นที่ต้องการให้ไปอบรมให้ความรู้เรื่องกฎหมาย ทาง สภ.พุทธมณฑล ยินดีที่จะให้บริการ

(ไทยรัฐ, 19-3-2556)

 

ปี 55 ผู้ประกันตน 2 มาตราขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรกว่า 6,600 ล้านบาท

19 มี.ค.- นายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า การใช้สิทธิประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนกรณีคลอดบุตร ในปี 2555 มีผู้ประกันตนใช้สิทธิคลอดบุตรจำนวน 300,075 ราย แบ่งเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 246,566 ราย และจ่ายเงินประโยชน์ทดแทนกว่า 5,598 ล้านบาท และเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 53,509 ราย และจ่ายเงินประโยชน์ทดแทนกว่า 1,028 ล้านบาท รวมปี 55 จ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรทั้งสิ้นกว่า 6,627 ล้านบาท

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนมีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนคลอดบุตร ซึ่งสามารถคลอดบุตรที่ใดก็ได้ จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่าย กรณีคลอดบุตรในอัตรา 13,000บาท ต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง โดยผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมา จ่ายในอัตราร้อยละ50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน และกรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตร รวมกันได้ไม่เกิน 4 ครั้ง โดยมีสิทธิเบิกได้คนละ 2 ครั้ง

อย่างไรก็ตาม ควรใช้สิทธิของผู้ประกันตนหญิงก่อน เนื่องจากสามารถเบิกเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรได้จำนวน 3 เดือน ในอัตราร้อยละ 50 จาก สปส.และอีกร้อยละ 50 จากบริษัทที่ทำงานอยู่ สำหรับเงินสมทบ 4 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และเสียชีวิต ทั้งสิ้นกว่า 19,292 ล้านบาท เป็นเงินสมทบสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวนกว่า 18,424 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 95.50และผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวนกว่า 867 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.50 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาอัตราประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรต่อเงินสมทบ 4 กรณี พบว่า การจ่ายประโยชน์ทดแทนสูงกว่าเงินสมทบที่รับมาคิดเป็นร้อยละ 34.35

(สำนักข่าวไทย, 19-3-2556)

 

คุก 15 ปี หนุ่มเจียงฮายตุ๋นเหยื่อขายแรงงานในเกาหลี

( 20 มี.ค.) ที่ห้องพิจารณา 708 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาคดีฉ้อโกงแรงงาน หมายเลขดำ  อ.182/55 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 9  เป็นโจทก์ฟ้องนายศิราดล หรือฟู่ ดาวรุ่งเรืองทรัพย์  อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 4 / 5 ม. 6 ต.สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เป็นจำเลยในความผิดฐานหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถจัดหางานในต่างประเทศได้เพื่อ ให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยทุจริต และฉ้อโกงผู้อื่น  ตามฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 55 ระบุความผิดสรุปว่า

เมื่อระหว่างปลายเดือน เม.ย. 52 -  พ.ค. 53  ต่อเนื่องกัน จำเลยได้บังอาจหลอกลวงผู้เสียหาย  ชายหญิง  5 รายด้วยข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยสามารถจัดหาให้ผู้เสียหายทำงานในฟาร์มไก่ และ คนงานเกษตร ที่ประเทศเกาหลีใต้ ได้รับค่าจ้างเดือนละ 28,000  -  30,000 บาท  แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวน  65,000 – 170,000 บาท  ผู้เสียหายทั้งห้า  หลงเชื่อ ยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยรวม 5.4 แสนบาท ทั้งที่ความจริงแล้วจำเลยไม่มีเจตนา และไม่สามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายได้
 
เหตุเกิดที่ อ.เมือง จ.ชัยภูมิ และที่อื่นเกี่ยวพันกัน ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้า มนุษย์(ปคม.) จับกุมได้  ในชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ แต่ให้การรับสารภาพในชั้นศาล

พิพากษาว่า จำเลยกระทำผิดจริง ตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91ตรี  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341  เป็นความผิดหลายกรรมให้ลงโทษทุกกรรม ฐานหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถจัดหางานได้ฯ ซึ่งเป็นบทหนักสุด  5 กระทงจำคุกกระทงละ 3 ปี  เป็น จำคุก 15 ปี  คำรับสารภาพเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุกจำเลยไว้ 7 ปี 6 เดือน  โดยไม่รอลงอาญา  และให้จำเลยชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหายที่ยังคงค้างอีก  507,000 บาทด้วย.

(เดลินิวส์, 20-3-2556)

 

"เผดิมชัย" ชี้ผลกระทบ 300 บ. ไม่รุนแรง หลังลงพื้นที่คุยเอสเอ็มอี 11 จังหวัด

นายเผดิมชัย  สะสมทรัพย์ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงแรงงานได้จัดโครงการแรงงานสัญจรสนับสนุนค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทในช่วงเดือนมีนาคม โดยที่ผ่านมาตนและผู้บริหารกระทรวงแรงงานได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถาน ประกอบการใน  11  จังหวัดได้แก่  พะเยา   ลำปาง  นครปฐม  ราชบุรี   กาญจนบุรี   สุพรรณบุรี   ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และสงขลา พบว่ามีจังหวัดที่มีการเลิกจ้างแรงงาน 4 จังหวัด มีสถานประกอบการ 9 แห่ง เช่น ขายของชำ  นาฬิกา ยา  น้ำดื่ม ผลิตอะลูมิเนียม การพิมพ์  เลิกจ้างแรงงานรวม 209 คน ได้แก่  พะเยามีสถานประกอบการ 5 แห่งเลิกจ้าง 8 คน สงขลามีสถานประกอบการ 1 แห่งเลิกจ้าง 79 คน  สุพรรณบุรีมีสถานประกอบการ 1 แห่งเลิกจ้าง  8  คนและร้อยเอ็ดมีสถานประกอบการ 2 แห่งเลิกจ้าง 114 คน

 "จากการสรุปข้อมูลโดยภาพรวมการปรับขึ้นค่าจ้างไม่ได้ส่งผลกระทบ รุนแรง   ส่วนใหญ่สถานประกอบการเลิกจ้างเพราะขาดทุนสะสมมานาน ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่มียอดสั่งซื้อสินค้า  จึงไม่สามารถสู้ต้นทุนการผลิตสินค้าที่สูงขึ้นได้ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเรื่อง ของค่าจ้างที่ต้องปรับขึ้นด้วย  นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังประสบปัญหาต่างๆ เช่น การขาดแคลนแรงงาน การขาดสภาพคล่องทางการเงิน  การเข้าไม่ถึงแหล่งเงินกู้เพื่อช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีโดยปัญหาใดที่อยู่ ในความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงาน ก็จะแก้ปัญหาให้แก่สถานประกอบการในทันที" นายเผดิมชัย กล่าว

นายเผดิมชัย กล่าวว่า กระทรวงแรงงานจะส่งรายงานผลสรุปข้อมูลปัญหาและข้อเสนอความช่วยเหลือของสถาน ประกอบการในจังหวัดต่างๆให้แก่นายนิวัฒน์ธำรง  บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วย เหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นระยะ โดยเบื้องต้นจะรายงานสรุปผลใน  11 จังหวัดก่อน เพื่อให้คณะกรรมการฯและกระทรวงที่เกี่ยวข้องนำปัญหาและข้อเสนอไปพิจารณาให้ ความช่วยเหลือแก่สถานประกอบการ  หลังจากนี้ในวันที่ 22 มีนาคมไปจนถึงช่วงสิ้นเดือนมีนาคมนี้  ผู้บริหารกระทรวงแรงงานจะลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยมสถานประกอบการอีก  7 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร  นครพนม มุกดาหาร  หนองคาย   บึงกาฬ  สุรินทร์ และศรีสะเกษ  เพื่อรับฟังปัญหาจากสถานประกอบการ ซึ่งกระทรวงแรงงานจะให้ความช่วยเหลือในส่วนที่รับผิดชอบ และจะส่งรายงานผลสรุปไปให้นายนิวัฒน์ธำรงต่อไป

(มติชนออนไลน์, 20-3-2556)

 

กสอ.พร้อมใช้5มาตรการ อุ้ม SME รับพิษ 300 บาท

นายโสภณ ผลประสิทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.) กล่าวว่า การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการปรับตัวกับฐานค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท นั้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มี 5 แนวทางในการส่งเสริมดังนี้

1.มาตรการเพื่อเสริมสภาพคล่อง เพิ่มวงเงิน ลดต้นทุนทางการเงิน โดยผ่านกระบวนการให้สินเชื่อ 2.มาตรการลดต้นทุนผู้ประกอบการ โดยผ่านกระบวนการทางภาษีและเงินสมทบ ได้แก่ มาตรการการลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม มาตรการการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล มาตรการการนำส่วนต่างของค่าจ้างที่จ่ายเพิ่มขึ้นจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี พ.ศ.2555 เป็นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท มาหักเป็นค่าใช้จ่ายก่อนชำระภาษี มาตรการการนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานมาหักลดหย่อนภาษี มาตรการการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และ มาตรการการหักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร เป็นต้น

3.มาตรการเพิ่มผลิตภาพแรงงานให้ผู้ประกอบการ ได้แก่ มาตรการการให้กู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.1 4. มาตรการเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการโดยการทบทวนค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ได้แก่ มาตรการการปรับเพิ่มอัตราค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมสัมมนาของส่วนราชการ?? 5. มาตรการกระตุ้นและส่งเสริมการขายโดยผ่านการบริโภค ได้แก่ มาตรการการจัดคาราวานสินค้าราคาถูกไปจำหน่ายให้ลูกจ้างในสถานประกอบการ

ทั้งนี้ รัฐบาลยังตั้งเป้าในการเพิ่มสัดส่วนเอสเอ็มอีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จี ดีพี)ให้มากกว่าร้อยละ 40 ต่อจีดีพีภายในระยะเวลาประมาณ 10 ปี โดยปัจจุบัน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ถือเป็นกลไกหลักในการเสริมสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยปัจจุบันมีจำนวนจำนวนทั้งสิ้น 2,652,854 ราย จำแนกเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน 2,646,549 ราย จำแนกเป็นวิสาหกิจขนาดย่อม จำนวน 2,634,840 ราย วิสาหกิจขนาดกลางจำนวน11,709 ราย และเป็นวิสาหกิจขนาดใหญ่ จำนวน 6,253 ราย โดยเอสเอ็มอีมีสัดส่วนถึงร้อยละ 99.76 ของวิสาหกิจทั้งหมด

(แนวหน้า, 21-3-2556)

 

ร้องแรงงานหยุดหนุน 'เพื่อไทย' หลังปัดตก กม.ประกันสังคมของภาคประชาชน

(21 มี.ค.56) น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ในฐานะประธานคณะทำงานขับเคลื่อนและผลักดันร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ ฉบับภาคประชาชน เผยว่า รู้สึกผิดหวังและเสียใจที่สภาผู้แทนราษฎรปฏิเสธร่างกฎหมายของประชาชนซึ่งใช้ เวลาดำเนินการถึง 3 ปี และคิดว่ามติครั้งนี้เป็นมติประวัติศาสตร์ที่รัฐบาลที่นำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรปฏิเสธการมีส่วนร่วมของประชาชน โดย ส.ส.พรรคเพื่อไทยไม่ได้ลงคะแนนให้แม้แต่คะแนนเดียว
 
การแสดงความเห็นดังกล่าว สืบเนื่องจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 21 มี.ค.56 ได้มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... จำนวน 4 ฉบับ ต่อจากเมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วย ฉบับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ฉบับของนายเรวัต อารีรอบ ส.ส.ภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ ฉบับของ น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 14,264 คน และฉบับของนายนคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้เสนอ
 
โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้รับหลักการในวาระที่หนึ่งจำนวน 2 ฉบับคือ ฉบับของ ครม.และฉบับของนายเรวัต ทั้งนี้ ที่ประชุมสภาฯ มีมติไม่รับหลักการใน 2 ฉบับคือ ฉบับของนายนคร และฉบับของภาคประชาชน
 
"ไม่น่าเชื่อเลยนะ ว่าจะปฏิเสธชั้นการพิจารณาในสภาฯ แล้วถามว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญให้ช่องทางไว้แบบนี้ แต่สภาผู้แทนราษฎรที่มีเสียงส่วนใหญ่ปฏิเสธกฎหมายภาคประชาชน ไม่เคารพสิทธิภาคประชาชนแม้แต่สิทธิขั้นพื้นฐาน แล้วเราจะไปพึ่งใครได้ เพราะรัฐบาลยังปฏิเสธ" น.ส.วิไลวรรณ กล่าว
 
น.ส.วิไลวรรณ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาแม้เนื้อหาร่างกฎหมายฉบับประชาชนฉบับอื่นๆ จะแตกต่างจากรัฐบาล ก็ยังมีการรับหลักการและนำไปถกเถียงกันในชั้นกรรมาธิการฯ แต่ทำไมรัฐบาลเพื่อไทยกลับปฏิเสธร่างกฎหมายฉบับของประชาชน ทั้งที่ที่ผ่านมารัฐบาลประกาศนโยบายที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมและลดความ เหลื่อมล้ำ ซึ่งตรงนี้สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลและสภาฯ ชุดนี้ไม่ยอมรับสิทธิและกฎหมายของภาคประชาชน และไม่มีความจริงใจต่อการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน
 
อีกทั้งยังเชื่อว่ารัฐบาลไม่ต้องการให้มีการตรวจสอบการบริหารจัดการกอง ทุนประกันสังคมที่มีปัญหาการทุจริต ให้เกิดการปฏิรูปหรือจัดให้มีการดำเนินงานอย่างโปร่งใส และต้องการหมกปัญหาไว้ต่อไป
 
น.ส.วิไลวรรณ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาสำนักงานกองทุนประกันสังคมมีปัญหามากมาย เช่น การใช้งบประมาณไปกับการดูงานต่างประเทศและเพื่อการประชาสัมพันธ์จำนวนมาก อีกทั้งยังมีข้อสงสัยต่อการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุน และกรณีปัญหาโครงการจัดซื้อคอมพิวเตอร์หลายพันล้านบาท ขณะที่คณะกรรมการประกันสังคมยังคงเป็นชุดเดิม จึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปตามกฎหมายเพื่อทำให้เกิดการมีส่วนร่วม ปรับโครงสร้างของสำนักงานประกันสังคม
 
พร้อมเรียกร้องไปยังผู้ใช้แรงงานและผู้ประกันตนทั้งประเทศกว่า 9 ล้านคนว่า การพิจารณาผู้สมัครรับเลือกตั้งในคราวต่อไปไม่ว่าในส่วนท้องถิ่นหรือระดับ ประเทศ ให้เลือกบุคคลที่มีความรู้มาทำหน้าที่แทนประชาชน ไม่เลือกผู้แทนที่ไม่ให้ความสำคัญกับกฎหมายของผู้ใช้แรงงาน ปฏิเสธกฎหมายของภาคประชาชน และพิจารณาว่าพรรคเพื่อไทยสมควรได้มาเป็นผู้แทนของผู้ใช้แรงงานอีกหรือไม่
 
น.ส.วิไลวรรณ กล่าวอีกว่า ส่วนตัวขอประณามการกระทำของพรรคเพื่อไทย และขอปฏิเสธจะไม่ร่วมเป็น กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายในส่วนภาคประชาชนตามที่มีการเสนอชื่อ เพราะร่างที่ผ่านไม่ตรงกับความมุ่งหมายที่ต้องการให้สำนักงานประกันสังคม เป็นองค์กรอิสระ โปร่งใส และตรวจสอบได้ อีกทั้งการที่มีตนเองเข้าไปเพียง 1 คนไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้ แต่จะกลายเป็นการสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาล
 
ทั้งนี้ ประชุมสภาฯ ได้ให้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ... ในวาระที่ 2 โดยนำร่าง พ.ร.บ. 2 ฉบับที่ผ่านความเห็นชอบในวาระที่ 1 มาพิจารณาเนื้อหาและนำเสนอในวาระที่ 3 ต่อสภาฯ ซึ่ง กมธ.วิสามัญฯ มีทั้งหมด 31 คน ประกอบด้วยตัวแทนกระทรวงแรงงาน 5 คน พรรคเพื่อไทย 13 คน พรรคประชาธิปัตย์ 8 คน พรรคภูมิใจไทย 2 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน พรรคชาติพัฒนาและพรรคพลังชล รวมกัน 1 คน และภาคประชาชน 1 คน ซึ่งนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มีการเสนอ น.ส.วิไลวรรณ เป็น กมธ.วิสามัญฯ ในส่วนนี้ด้วย
 
สำหรับการเคลื่อนไหวต่อไป น.ส.วิไลวรรณ กล่าวว่า เครือข่ายภาคประชาชนและแรงงานกลุ่มต่างๆ ได้มีการนัดหมายกันในวันที่ 26 มี.ค.นี้ ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยเพื่อร่วมพูดคุยกำหนดท่าทีและแนวทางต่อกรณีที่เกิด ขึ้นนี้ จากนั้นจะมีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน นอกจากนั้นเธอยังได้เรียกร้องให้เครือข่ายประชาชนออกมาร่วมแถลงข่าวต่อ สถานการณ์ที่ไม่ควรนิ่งดูดายกับการเมืองที่ไม่ยอมรับสิทธิขั้นพื้นฐานของ ประชาชน
 
"ถ้ากลไกรัฐสภาปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานในการเสนอกฎหมายของภาคประชาชน นั่นหมายถึงว่า มันไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยนะ มันกลายเป็นระบอบเผด็จการของคนเสียงข้างมาก ในการปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้แรงงานอย่างสิ้นเชิง" น.ส.วิไลวรรณ กล่าว
 
ส่วนความแตกต่างของร่างกฎหมายดังกล่าว น.ส.วิไลวรรณ กล่าวว่า ร่างกฎหมายฉบับของรัฐบาลและฉบับของนายเรวัต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน ขณะที่ ร่างพ.ร.บ.ฉบับประชาชนนั้นต้องการขยายความคุ้มครองไปยังทุกภาคส่วน ทั้งลูกจ้างชั่วคราวในส่วนราชการ ลูกจ้างทำงานบ้าน และผู้รับงานไปทำที่บ้าน และให้มีคณะกรรมการประกันสังคมที่บริหารงานได้อย่างอิสระ ภายใต้กระทรวงแรงงานในการกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี
 
ให้คณะกรรมการประกันสังคมโดยเฉพาะเลขาและประธานนั้นเป็นบุคคลที่มีความ รู้ความสามารถที่มาจากการสรรหา ส่วนคณะกรรมการฯ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างจะต้องมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกกองทุนประกัน สังคม ส่วนคณะกรรมการการลงทุนและคณะกรรมการตรวจสอบควรต้องมาจากการสรรหา อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการโดยตำแหน่งจากกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องยังคงเดิม
 
และมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ของประกันสังคม โดยขยายช่วงเวลาการสงเคราะห์บุตรจาก 6 ปี เป็น 20 ปี แรงงานที่เข้าเป็นผู้ประกันตนตั้งแต่วันแรกหากเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารับ การรักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาลและสถานพยาบาลที่เป็นเครือข่ายประกันสังคม โดยไม่ต้องจ่ายเงินสำรองไปก่อน และสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรคเช่นเดียวกับบัตรทอง รวมไปถึงการปรับอัตราคำนวณสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนทุกกรณีในลักษณะขั้น บันได โดยอิงตามระยะเวลาการส่งเงินสมทบ
 
อีกทั้งให้มีการเปิดเผยข้อมูลการบริหารจัดการ การลงทุนของกองทุนประกันสังคม เพื่อให้ตัวแทนของผู้ประกันตนได้มีสิทธิรับรู้

(ประชาไท, 21-3-2556)

 

แรงงานย้ายงาน 20% หลังจากนายจ้างสั่งงานเพิ่ม เพื่อให้คุ้มค่าจ้าง 300 บาท

นายประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศักษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยถึงผลสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการ ปี 55/56 ว่า ขณะนี้มีอัตราการย้ายเข้าและการย้ายออกของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเฉลี่ยที่ 20.33% ของปริมาณแรงงานทั้งหมด เนื่องจากผลกระทบจากนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างวันละ 300 บาทศของรัฐบาล ส่งผลให้นายจ้างจำนวนมาก ต้องเร่งรัดการเพิ่มศักยภาพให้พนักงานทำงานคุ้มค่ากับค่าจ้างที่ปรับเพิ่ม ส่งผลให้เกิดการย้ายออก รวมถึงแรงงานต้องการย้ายไปทำงานที่มีผลตอบแทนหรือสวัสดิการที่ดีกว่า และมีปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน เป็นต้น

"หลังจากการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทไป ทำให้ผู้จำเป็นต้องปรับฐานเงินเดือนให้แรงงานที่มีวุฒิการศึกษาระดับปวช.จาก ปีก่อนถึง 28.94% ปรับเพิ่มระดับปวส.  ปรับเพิ่ม 21.41% เพื่อให้ค่าจ้างของแรงงานทั้งสองกลุ่มห่างจากค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้นายจ้างงานต้องป้อนงานให้พนักงานเพิ่ม ส่วนแรงงานที่มีวุฒิปริญญาตรี ปรับเพิ่มเพียง 4.55% ซึ่งถือว่าน้อยมาก เพราะที่ผ่านมา มีค่าจ้างห่างจากวุฒิปวช. และ ปวส. อยู่แล้ว"

นายประพันธ์ กล่าวว่า ค่าจ้างในปี 55-56 โดยรวมสำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์พบว่า ผู้ที่จบวุฒิการศึกษาระดับ ปวช. ได้รับเฉลี่ยที่ 8,934 บาทต่อเดือน โดยสาขาคหกรรมศาสตร์ ได้รับสูงสุดเฉลี่ยที่ 9,372 บาท เนื่องจากธุรกิจบริการอยู่ในช่วงขาขึ้น สาขาบริหารธุรกิจได้รับต่ำสุดเฉลี่ย 8,938 บาท, วุฒิปวส. ได้รับเฉลี่ย 9,718 บาทต่อเดือน โดยสาขาออกแบบและสถาปัตย์ ได้รับมากสุด 10,220 บาท สาขาบริหารธุรกิจ น้อยสุด 9,676 บาท, วุฒิปริญญาตรี ได้รับเฉลี่ยที่ 12,863 บาท โดยสาขาวิศวกรรมศาสตร์ สูงสุด 15,588 บาท  สาขาเกษตรศาสตร์ได้น้อยสุด 11,867 บาท

"หากพิจารณาเป็นรายอุตสาหกรรมพบว่า ระดับการศึกษาปวช. นั้นกลุ่มพลังงานจ่ายเฉลี่ยสูงสุด 10,242 บาท กลุ่มปูนซิเมนต์ จ่ายต่ำสุด 8,300 บาท, วุฒิปวส. กลุ่มเครื่องจักรกลและโลหะการ จ่ายสูงสุด 10,778 บาท กลุ่มเฟอร์นิเจอร์จ่ายน้อยสุด 9,189 บาท, วุฒิปริญญาตรี พบกว่ากลุ่มแก้วและกระจก จ่ายสูงสุด 15,708 บาท กลุ่มอัญมณี จ่ายต่ำสุด 11,013 บาท"

นอกจากนี้ หากพิจารณาการจ่ายค่าจ้างเปรียบเทียบระหว่างนายจ้างที่เป็นต่างชาติกับนาย จ้างที่เป็นคนไทยพบว่า วุฒิปวช. ได้รับค่าจ้างจากต่างชาติเฉลี่ย 9,252 บาท นายจ้างคนไทยจ่าย 8,833 บาท, วุฒิปวส. นายจ้างต่างชาติจ่าย 10,070 บาท นายจ้างคนไทยจ่าย 9,570 บาท และวุฒิปริญญาตรีนายจ้างต่างชาติจ่าย 14,268 บาท และนายจ้างคนไทยจ่าย 12,567 บาท ส่วนค่าจ้างของผู้บริหารระดับสูงพบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่จ่ายค่าจ้างสูงสุด เป็นกลุ่มเคมี เฉลี่ยที่ 182,210 บาท กลุ่มที่จ่ายน้อยสุดคือกลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ 24,597 บาท.

(เดลินิวส์, 22-3-2556)

 

ดึงแรงงานนอกระบบออมเพิ่ม-เล็งยกเลิกกอช. คลังจ่อแก้กม.ดูดเงินประกันสังคม

23 มี.ค. 56 - นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังเปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) แก้ไขกฎหมายกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า โดยการแก้กฎหมายครั้งนี้จะไม่ทำให้สมาชิก กบข. ที่ตัดสินใจออกจากบำเหน็จ บำนาญ แล้วมาอยู่กบข.ได้รับผลตอบแทนน้อยกว่าระบบเดิม แต่รายละเอียดต้องรอให้ครม.พิจารณา และต้องเสนอให้สภาพิจารณาเห็นชอบต่อไป

นอกจากนี้ ยังมีการแก้กฎหมาย กบข. ในส่วนของเงินที่รัฐบาลต้องสมทบ 20% ของเงินที่สมาชิกจ่าย เพื่อเข้ากองทุนการจ่ายบำนาญข้าราชการ กบข. ให้มากขึ้นกว่าเดิม เพราะเห็นว่ามีสัดส่วนน้อยเกินไป ทำให้ในอนาคตจะไม่พอจ่ายให้กับข้าราชการที่เกษียณอายุ ซึ่งจากการประเมินเบื้องต้นพบว่าในปี 2578 มีภาระต้องจ่ายให้กับสมาชิกที่เกษียณอายุถึง 7-8 แสนล้านบาท ดังนั้น ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 จะมีการจ่ายเงินสมทบมากกว่าปีละ 1 หมื่นล้านบาท และจะจ่ายเพิ่มขึ้นทุกปีเพื่อให้มั่นใจได้ว่าในอนาคตจะมีเงินเพียงพอที่จะ จ่ายเงินบำนาญให้กับสมาชิก กบข. ได้อย่างไม่มีปัญหา

ส่วนเรื่องกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ที่กฎหมายมีผลบังคับแล้ว และต้องดำเนินงานตั้งแต่กลางปี 2555 ที่ผ่านมานั้น แต่รัฐบาลชุดนี้เห็นว่าการทำงานของกอช.ซ้ำซ้อนกับกองทุนประกันสังคม มาตรา 40 ของกระทรวงแรงงาน จึงไม่เดินหน้ากอช.ต่อ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาภายหลังเหมือนกบข. ทั้งนี้ กองทุนประกันสังคม มาตรา 40 เปิดทางเลือกให้แรงงานอิสระสามารถเข้าระบบประกันสังคมได้ 2 แนวทาง คือ 1.จ่ายเงิน 100 บาท โดยรัฐจ่ายให้ 30 บาท เพื่อดูแลกรณีที่เจ็บป่วย และ 2.จ่ายเงิน 150 บาท โดยรัฐจ่ายให้ 50 บาท แบ่งเป็นกรณีเจ็บป่วย 30 บาท และช่วยเงินออมเพื่อการเกษียณอายุ 20 บาท แต่พบว่าแรงงานนอกระบบที่เข้ามาเป็นสมาชิกทั้ง 2 แนวทางแค่ 1.7 ล้านคน ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับแรงงานนอกระบบ 30 ล้านคน

นายกิตติรัตน์กล่าวว่า กระทรวงการคลังและกระทรวงแรงงานได้หารือร่วมกันและได้ข้อสรุปว่าจะเสนอ ครม.ภายในเดือนเม.ย.นี้ เพื่อแก้กฎหมายกองทุนประกันสังคม เพิ่มทางเลือกที่ 3 ให้แรงงานนอกระบบได้เลือก โดยรัฐจะช่วยจ่ายเงินเพื่อการออมมากขึ้น ตรงนี้น่าจะส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามาใช้ในระบบนี้เพิ่มขึ้น โดยมีลักษณะคล้ายกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่นายจ้างจ่ายสมทบไม่น้อยกว่าเงิน ที่ลูกจ้างจ่าย ส่วนจะเสนอให้ยกเลิกกอช.หรือไม่นั้นคงต้องพิจารณาอีกครั้งเพราะกฎหมายกว่าจะ ผ่านสภาไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

(ข่าวสด, 23-3-2556)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสวนาปาตานี: กรณี 28 ก.พ. บวกหรือลบต่อสันติภาพปาตานี

Posted: 26 Mar 2013 08:03 AM PDT

มุมมองต่อกรณีแถลงข่าวเห็นชอบการเจรจาระหว่างรัฐและฝ่ายขบวนการเมื่อ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยนักศึกษา นักเคลื่อนไหว สื่อมวลชน ภาคประชาสังคม และประชาชนชายแดนใต้ ร่วมอภิปราย 

จากเวทีการพูดคุยระหว่างรัฐไทยและ BRN ที่ผ่านมาและที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 28 มีนาคม 2556 นี้ ภาคประชาสังคมและภาคประชาชนควรจะมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง โดยเฉพาะภาคประชาชนผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียมากที่สุด

เมื่อวันเสาร์ ที่ 23 มีนาคม 2556 เวลา 13.00 น.-16.30 น. ณ หอประชุมสำนักงานอธิการบดี (สนอ.) มอ.ปัตตานี จัดโดย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ [PERMAS] ร่วมกับ สำนักสื่อ Wartani

และองค์กรร่วมภาคีอีก 8 องค์กร อาทิเช่น สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันสลาตัน [Media Selatan], เครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ [INSouth], มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม [MAC], เครือข่ายอาสาสมัครผู้ช่วยทนายความมุสลิมศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ [SPAN], สมาคมสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสันติภาพ [Deep Peace], มูลนิธิศูนย์ประสานงานตาดีกาจังหวัดชายแดนใต้ [PERKASA] เครือข่ายส่งเสริมสิทธิและเข้าถึงความยุติธรรม (HAP) และห้างหุ้นส่วนจำกัดยะลาเคเบิ้ลเน็ตเวิร์ค [YCN] ร่วมกันจัดเวทีเสวนาปาตานี หรือ Bicara Patani ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ "28 ก.พ. : สัญญาณบวกหรือลบต่อกระบวนการสันติภาพปาตานี" หรือ "28 Feb : Petanda Baik atau Buruk Proses Damai Patani" ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่สร้างการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนในพื้นที่ เพื่อเรียนรู้ในเรื่องหลักการ เงื่อนไข และขั้นตอนของกระบวนการเจรจาสันติภาพตามหลักสากลที่แท้จริง ผ่านมุมมองของนักวิชาการ นักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ทั้งคนในและนอกพื้นที่ อีกทั้งยังมีนักวิชาการ นักเคลื่อนไหวรับเชิญจากต่างประเทศ อาทิเช่น นักวิชาการจากประเทศญี่ปุ่น และนักเคลื่อนไหวจากอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น โดยมีนักศึกษาและประชาชนเข้าร่วมประมาณ 7,000 กว่าคน

เริ่มเปิดงานด้วยประธานโครงการชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของงานโดย นายอิสมาอีล ฮายีแวจิ เปิดเผยว่า "เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่ปาตานี อยู่ในช่วงที่ประชาชนชาวปาตานีสับสน เราในฐานะบัณฑิตและนักศึกษาที่เป็นคนในพื้นที่เกิดความตระหนักในบทบาท จึงเกิดแนวคิดที่ต้องสร้างความตระหนักต่อประชาชน เพื่อให้ความจริงได้ประกฎเกิดขึ้นในสังคมมลายูปาตานีต่อไป"

กิจกรรมต่อมา "การแสดงมินิคอนเสิร์ตบรรเลงเพลงเพื่อสันติภาพ" โดยวง Madu Band ซึ่งเป็นบทเพลงที่สะท้อนถึงความรู้สึกของคนในพื้นที่ และยังสะท้อนถึงภารกิจของนักต่อสู้ปาตานีที่เสียสละแม้กระทั่งชีวิตของตนเอง

อับดุลเลาะ หวันมามะ นักเขียน นักกวี จากสำนักพิมพ์ Awan Book และผู้แต่งเนื้อเพลงในครั้งนี้กล่าวถึงแรงบันดาลใจของตนเองว่า "ส่วนตัวเป็นคนที่ชอบเขียนอยู่แล้ว มองดูดวงจันทร์ ก็เห็นดวงจันทร์กำลังยิ้ม มองดูต้นไม้ก็จะเห็นต้นไม้กำลังขยับตัว เป็นต้น ซึ่งอารมณ์ที่เป็นแรงบันดาลใจจากการแต่งเนื้อเพลง 13 Feb นี้เขียนขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์ที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสผ่านไปหนึ่งวัน ผมเขียนเนื้อเพลงนี้เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 ผมพยายามจะถ่ายทอดถึงการเสียสละของเหล่าวีรชนเหล่านั้นขึ้นมาผ่านการเขียนกวี หลังจากมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่คนในพื้นที่ยกย่องว่าพวกเขาคือ "นักรบของประชาชน"" อับดุลเลาะ กล่าว

ซูกิฟลี กาแม หรือที่รู้จักกันในนาม Budu Little นักร้อง จากสำนักสื่อ Wartani กล่าวว่า "บทเพลงที่ผมร้อง เป็นบทเพลงหนึ่งที่จะพยายามสะท้อนถึงความรู้สึกของคนในพื้นที่ผ่านบทเพลงที่ชื่อว่า "Sebalik Kegelapan" ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "เบื้องหลังความมืดมน" ต่อด้วยเพลง "13 FEB" หรือ "13 กุมภา" ซึ่งเป็นเพลงที่ผู้แต่งพยายามจะเล่าเรื่องถึงบทบาทการเสียสละของเหล่านักรบประชาชนปาตานีที่เสียสละได้แม้กระทั้งชีวิตของตนเอง" ซูกิฟลี กล่าว

ต่อด้วย "การกล่าวปาฐกถา" โดย ทนายอนุกูล อาแวปูเต๊ะ ประธานศูนย์ทนายความมุสลิม ประจำจังหวัดปัตตานี [MAC] กล่าวว่า "การพูดคุยเจรจาเพื่อสันติภาพคงไม่ใช่เป็นเรื่องของคน 2 คน แต่การเจรจาสันติภาพเบื้องหลังของมัน คือ ชะตากรรมของคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้" อนุกูล กล่าว

และกิจกรรมที่เป็นไฮไลท์ในงานครั้งนี้คือ Baicara Patani (เสวนาปาตานี) เป็นการเสวนาที่ทางผู้จัดงานพยายามเปิดพื้นที่สร้างการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนในพื้นที่โดยเฉพาะประชาชนผู้ที่ได้รับการสูญเสียมากที่สุดท่ามกลางการทำสงครามระหว่างรัฐไทยกับกองกำลังติดอาวุธเพื่อเอกราชปาตานี


ชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการ มูลนิธิศักยภาพชุมชน หนึ่งในวิทยากรเปิดเผยว่า การเจรจาเป็นทางออก หากแต่ว่าการเจรจาต้องเป็นการเจรจาที่บริสุทธิ์ หากเป็นเช่นนั้นจริงการเจรจาย่อมเป็นผลบวกเพื่อให้เกิดสันติภาพ แต่เมื่อกลับมองดูด้านลบแล้วอาจจะมีมากกว่าด้านบวก เพราะวันนี้เราไม่แน่ใจว่าการเจรจาเป็นการเจรจาที่บริสุทธิ์หรือไม่ ?

ชินทาโร ฮารา นักวิชาการชาวญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ.ปัตตานี เปิดเผยว่า ในหนังสือที่มีการลงนามเพื่อสันติภาพเมื่อวันที่ 28 กุมภา ซึ่งมีสามฝ่ายด้วยกัน แต่การร่างหนังสือนั้นร่างโดยรัฐไทยเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ส่วนฝ่าย BRN และรัฐมาเลเซียไม่ได้มีส่วนในการร่างหนังสือการลงนามนั้นเลย

มีข้อความสำคัญข้อความหนึ่งในหนังสือการลงนามนั้นว่า "รัฐไทยต้องการพูดคุยกับผู้ที่คิดเห็นและอุดมการณ์ที่แตกต่างจากรัฐ" ดังนั้นก็หมายความว่ารัฐต้องการพูดคุยกับผู้ที่มีความคิดที่แตกต่างไปจากรัฐที่ไม่ใช่ฝ่าย BRN เท่านั้น แต่ประชาชนทั่วไปที่คิดต่างจากรัฐนั้นก็ต้องพูดคุยด้วย

ชินทาโร เปิดเผยต่อว่า หากรัฐเลือกที่จะพูดคุยกับผู้ที่คิดต่างจากรัฐอย่าง BRN เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่รวมประชาชนด้วย ประชาชนที่คิดต่างจากรัฐก็ต้องสนับสนุน BRN เพื่อให้เกิดกระบวนการสันติภาพที่แท้จริง BRN จะอยู่ไม่ได้หากประชาชนคนในพื้นที่ไม่สนับสนุน

 

 ตูแวดานียา บิน ตูแวอิสมาอีล ตูแวแมแง รองผู้อำนวยการ สถาบันเยาวชนเพื่อสันติภาพและการพัฒนา [YDA] เปิดเผยว่า มีเพียงแค่สองเหตุผลเท่านั้น ที่เป็นสาเหตุให้ ฮาซัน ตอยิบ ยินยอมลงนามด้วย คือ ถ้าเขาเป็นผู้นำระดับสูงของ BRN จริง การตัดสินใจเข้าโต๊ะพูดคุยและลงนามยอมสู้ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญไทยครั้งนี้ เหตุผลที่หนึ่ง คือ ฮาซัน ตอยิบ หรือ BRN ได้เปลี่ยนอุดมการณ์เพื่อการปฏิวัติ เป็นการต่อสู้เพื่อการปฏิรูปแทน เหตุผลที่สอง คือ ฮาซัน ตอยิบ ถูกบีบบังคับโดยตำรวจสันติบาลมาเลเซียให้ลงนามแบบขืนใจเพื่อให้สาธารณชนเข้าใจว่า BRN ได้ยอมจำนนสู้ภายใต้กรอบความเป็นพลเมืองไทยแล้ว

ยูวันด้า จามาล เลขาธิการใหญ่ Aceh Baru [New Aceh] เปรียบเทียบการลงนามเจรจาครั้งนี้ว่า ในขณะที่พวกเราอยู่กลางทะเลทราย เมื่อเรามองดูไกลๆ เราจะเห็นหยดน้ำกำลังไหลลงมา แต่พอเราเดินไปถึงที่เป้าหมายความจริงหยดน้ำที่เราเห็นนั้นไม่มีสักหยดหนึ่งเลย

ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้ว่า เมื่อเรามองจากข้อมูลด้านเดียว การลงนามเจรจาคือ สัญญาบวกที่รัฐไทยได้เปิดพื้นที่ในการเจรจา แต่หากเรามองลึกลงไปอีกจะเห็นได้ว่าการลงนามเจรจาเมื่อวัน 28 กุมภานั้น ไม่ใช่การลงนามเจรจาเพื่อสันติภาพอย่างแท้จริง

เปิดประเด็นแลกเปลี่ยนผู้เข้าร่วม

ชารีฟ บิน มุสตอฟา สะอิ เลขาธิการ เครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ [INSouth] ตั้งคำถามว่า สิ่งที่วิทยากรได้อธิบายทั้งหมดนั้นมันเกี่ยวข้องกับพวกเราอย่างไร ? แล้วหลังจากนี้พวกเราควรทำอย่างไรต่อไป ?

รุชฎา บินตี ชาฟีอี วาบา เจ้าหน้าที่สมาคมสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสันติภาพ [Deep Peace] และนักเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ยะลา กล่าวว่า ที่ผ่านมาเมื่อไรก็ตามที่เราคิดต่างจากรัฐจะถูกประณามเป็นโจรทันที ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน เมื่อการเจรจาถูกหยิบยื่นมาก็มีการตั้งกรอบว่า ใครที่ไม่ต้องการให้มีการเจรจาหรือต้องการล้มโต๊ะเจรจา คนๆนั้นคือคนที่ไม่ต้องการสันติภาพ

เอาเข้าจริงแล้วคนในพื้นที่หรือคนที่ได้รับผลกระทบไม่ว่าจะเป็นผู้ชายที่เชื่อว่าถูกจับกุม ถูกซ้อมทรมาน และไม่สามารถอยู่บ้านได้ และฝ่ายหญิงอีกหลายต่อหลายคนที่เป็นหญิงหม้าย มีลูกกำพร้าเต็มไปหมด ซึ่งคนเหล่านี้กระหายในเรื่องสันติภาพมากกว่าคนอื่นด้วยซ้ำไป แต่แล้วทำไมคุณถึงกล้าพูดว่า พวกเขาไม่ต้องการสันติภาพกับเพียงแค่พวกเขาไม่สามารถยอมรับการเจรจา ซึ่งเราค่อนข้างจะชัดเจนว่ามันเป็นการเจรจาที่ไม่ได้มีซึ่งความจริงใจที่จะให้เป็นวาระของประชาชนด้วยซ้ำไป จะเป็นอะไรไปถ้าเราจะพูดให้ชัดเจนว่า "เราไม่ต้องการ" การเจรจาที่ไม่สามารถทำให้เกิดสันติภาพได้อย่างแท้จริง

ไลลา เจ๊ะซู ข้าราชครู จังหวัดนราธิวาส ตั้งคำถามว่า มีกระบวนการหรือวิธีการไหนบ้างที่จะทำให้ประชาชนกล้าที่จะออกมาเรียกร้องเพื่อกำหนดชะตากรรมของตนเอง ในเมื่อบรรยากาศยังไม่เอื้ออำนวย ยังไม่มีกระบวนการการสร้างความไว้วางใจเกิดขึ้น ?

มูฮำหมัดอาลาดี บิน ซาการียา เด็งนิง ผู้เข้าร่วมงาน ตั้งคำถามว่า เราพอจะมีวิธีการไหนบ้างที่จะสามารถกำหนดชะตากรรมของพวกเราเองได้ ? และหลังจากที่เรามีแนวทางแล้วจะได้ไหมหากพวกเราจะเสนอให้ท่านวิทยากรทั้งหลายเป็นตัวแทนให้กับพวกเรา เพื่อสื่อให้รัฐรู้ว่าความต้องการของเราต่อการเจรจาครั้งนี้เป็นอย่างไร ?

และกิจกรรมสุดท้ายเป็นการทำ "ฉันทามติ" โดยประชาชนผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งเป็นข้อเสนอจากคนในพื้นที่ เพื่อยื่นให้แก่รัฐบาลทั้งสองประเทศ อาทิเช่นรัฐบาลไทยและมาเลย์ โดยมีผู้ดำเนินรายการเสวนา อาเต๊ฟ โซะโก ถามผู้เข้าร่วมงานว่า "ถ้าหากพวกเราจะเป็นตัวแทนยื่นหนังสือเพื่อตั้งคำถามต่อรัฐไทยและรัฐมาเลย์ว่าความจริงของการลงนามเจรจาครั้งนี้มันเป็นอย่างไร ?  ทุกคนในหอประชุมนี้ยินดีมอบให้พวกเราเป็นตัวแทนของทุกคนหรือไม่ ?"

ปรากฏว่าผู้เข้าร่วมงานทั้งในและนอกหอประชุมทุกคนยกมือพร้อมตอบมาอย่างดังว่า "ด้วยความยินดี !"

ทั้งนี้ภายในงานยังมีการถ่ายทอดสดผ่านทาง www.deepsouthwatch.org  ผ่านทางwww.ycncabletv.net และทางเคเบิ้ลปัตตานี ยะลา เบตง อีกทั้งยังถ่ายทอดผ่านวิทยุออนไลน์ คลื่นวิทยุ FM 91.50 Mhz FM 96.25 Mhz และ FM 101.75 Mhz จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น

จะเห็นได้ว่างานในครั้งนี้คงมีจำนวนผู้ชมมากกว่า 7,000 คนอย่างแน่นอน เพราะจำนวนเหล่านั้นหาใช่ว่าเป็นผู้เข้าร่วมงานเท่านั้น แต่คงยังมีผู้ชมทางบ้านที่ติดตามผ่านการถ่ายทอดสดอีกเป็นร้อยพันคน เสียงประชาชนปาตานี หรือเสียงของคนในพื้นที่เหล่านี้จะได้รับการพิจารณาจากรัฐหรือไม่ ? อย่างไร ? คงต้องติดตามต่อไปว่า ละครเรื่องนี้จะจบลงอย่างไร ?


ข่าวและวีดีโอที่เกี่ยวข้อง
Bicara Patani ครั้งที่ 2 "28 ก.พ. : สัญญาณบวกหรือลบต่อกระบวนการสันติภาพปาตานี" 

13 Feb.| Budu Little Live! @Bicara Patani II

"Serah tak kepada saya" | Atef Sohko (มอบให้พวกเราเป็นตัวแทนหรือไม่ | อาเต๊ฟ โซะโก)

"รัฐต้องทบทวน ประชาชนต้องปรับตัว" ทัศนะนักกฎหมายมุสลิมต่อการพูดคุยสันติภาพ
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คิดใหม่ ... สร้างสาธารณูปโภคโดยไม่ต้องใช้เงินกู้

Posted: 26 Mar 2013 06:38 AM PDT

ตามที่รัฐบาลจะก่อสร้างสาธารณูปโภคโดยใช้เงินกู้วงเงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาสาธารณูปโภคเหล่านี้ได้โดยไม่ต้องใช้เงินกู้เลย

โครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่หรือ (Megaproject) เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่มากและเป็นที่สนใจของสาธารณะมากเพราะอาจส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และงบประมาณแผ่นดิน โครงการเช่นนี้มีทั้งสะพาน อุโมงค์ ทางหลวง ทางรถไฟ สนามบิน ท่าเรือ โรงไฟฟ้า (นิวเคลียร์) เขื่อน โครงการน้ำเสีย เขตเศรษฐกิจพิเศษ โครงการขุดเจาะน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงการสำรวจอวกาศ ระบบอาวุธ และโครงการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ เป็นต้น

แนวทางแรกที่สามารถดำเนินการได้ก็คือความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ เช่น ในกรณีรถไฟความเร็วสูง อาจร่วมมือกับรัฐบาลจีนดำเนินการ โดยให้รัฐบาลจีนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง และรัฐบาลไทยเป็นผู้ลงทุนด้านที่ดินตามระบบราง และทั้งสองฝ่ายร่วมเป็นผู้รับผลประโยชน์ในระยะเวลาที่กำหนด เช่น 30-50 ปี  การนี้เชื่อว่ารัฐบาลจีนยินดีกระโดดเข้ามาดำเนินการอย่างแน่นอน ประเด็นสำคัญอยู่ที่การทำสัญญาให้รัดกุม มีทางหนีทีไล่ที่ดี จะได้ไม่เกิดปัญหาเรื่องอธิปไตยหรือผลประโยชน์ใดๆ

แนวทางที่สองก็คือการให้สัมปทาน (Concession) โดยมีอายุสัมปทานโดยเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบด้านการลงทุนการจัดการ และการปฏิบัติงานในทรัพย์สินที่รัฐให้สัมปทาน ตามระยะเวลาสัมปทาน เช่น 30 ปี ทั้งนี้รูปแบบสัมปทานมีหลายแบบ เช่น

1. BOT (Build-Operate-Transfer) เป็นรูปแบบที่เอกชนผู้รับสัมปทาน เป็นผู้ออกแบบ-ก่อสร้าง-บริการจัดการ และเมื่อครบกำหนดสัญญาแล้วก็โอนกิจการและทรัพย์สินคืนแก่รัฐบาล

2. BOOT (Build-Operate-Own-Transfer) มีรูปแบบเหมือนกับ BOT แทบทุกประการ เพียงแต่ตามระยะเวลาในสัญญานั้น เอกชนได้รับสิทธิ์ความเป็นเจ้าของกิจการอย่างเต็มที่โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากหน่วยงานรัฐที่ทำสัญญาด้วย

3. BTO (Build-Transfer-Operate) เอกชนผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง เมื่อเสร็จแล้วก็ยกให้รัฐ และรับสิทธิไปดำเนินการตลอดอายุสัมปทาน

แนวทางที่สามก็คือการตั้งบริษัทมหาชนขึ้นมา แล้วทำการกระจายหุ้นให้กับประชาชน โดยผู้ลงทุนย่อมต้องแบกรับความเสี่ยงในการดำเนินการในโครงการสาธารณูปโภคนั้น ๆ แทนที่จะเป็นการกู้ยืมเงินโดยตรงจากประชาชน  ดังนั้นในแต่ละโครงการโดยเฉพาะระบบขนส่งมวลชน ควรใช้วิธีการนี้ตั้งบริษัทขึ้นมา อย่างไรก็ตามในแต่ละบริษัทที่ดำเนินการแต่ละเส้นทาง ต้องสามารถประสานร่วมกันด้วย

แนวทางที่สี่ การร่วมทุนกับภาคเอกชน (Joint Venture with Strategic Partners) เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลกับบริษัทเอกชนที่มีประสบการณ์ในกิจการนั้นๆ อยู่แล้ว เป็นการช่วยขยายขอบข่ายการบริการของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นการเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ ๆ ด้วย

สำหรับการกู้เงินนั้น มีความเสี่ยงด้านค่าเงินที่ผันผวน จะทำให้ประเทศประสบปัญหาได้ รวมทั้งในหลายโครงการในหลายหน่วยงานที่อาจมีการทุจริต การให้หน่วยงานนั้น ๆ รับผิดชอบเงินงบประมาณอีก ก็อาจทำให้เกิดการทุจริตได้มากขึ้น ดังนั้นการกู้เงินจึงอาจมีจุดอ่อนอยู่หลายประการ

ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลสามารถจัดตั้งองค์กรบริหารการพัฒนาที่ดิน หรืออาจจัดเก็บภาษีจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าเมื่อมีรถไฟฟ้า โดยทั้งนี้ ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส เคยประเมินไว้ว่าจากการศึกษาของศูนย์ฯ ราคาที่ดินบริเวณใกล้เคียงกับสถานีรถไฟฟ้า 112 สาย ราคาเฉลี่ยคือ 392,955 บาทต่อตารางวา  ในที่นี้ที่ดินติดถนนในรัศมี 500 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้า 2 ข้าง และลึกจากถนนใหญ่ระยะทาง 200 เมตร หรือรวมพื้นที่ 250 ไร่ มีผลต่อราคาที่ดินสูงสุด ที่ดินส่วนนี้จะมีขนาดประมาณ 250 ไร่ รอบสถานี

อาจประมาณการราคาที่ดินเป็นเงินตารางวาละ 192,548 บาท หรือเท่ากับที่ดินที่ดินถนนใหญ่ระยะ 500 เมตรมีค่าเท่ากับ 60% ของราคาแปลงที่ดินที่ดินถนนใหญ่ที่ตั้งอยู่ติดถนน และหากเฉลี่ยกับที่ดินที่อยู่ในซอยอีกไม่เกิน 200 เมตรเป็นเท่ากับ 60% ของที่ดินทั้งผืน (392,955 x 70% x 70%) หรือตกเป็นเงินไร่ละ 77.019 ล้านบาท เมื่อรวม 250 ไร่ และ 112 สถานี ก็จะเป็นเงิน 2.157 ล้านล้านบาท ที่ดินนี้หากเทียบกับเมื่อปี 2541 จะมีค่าเป็น 339% หรือเท่ากับเพิ่มขึ้น 1.438 ล้านล้านบาท

หากที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการเก็บภาษีมูลค่าจากอสังหาริมทรัพย์เพิ่มมูลค่า (Land Value Increment Tax) จากการที่ราคาที่ที่ดินเพิ่มขึ้นเองโดยมิได้ลงแรงลงทุน (unearned increment of land value) ณ อัตราประมาณ 20% ของการเพิ่มขึ้นของมูลค่า ประเทศไทยก็สามารถมีภาษีจากผลของระบบรถไฟฟ้าถึง 287,538 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอที่จะสร้างระบบรถไฟฟ้าขึ้นใหม่ทั้งหมด หรือเพิ่มปริมาณรถไฟฟ้าได้อีกนับเท่าตัว

ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลสามารถนำแนวคิดการร่วมพัฒนาที่ดินโดยรอบรถไฟฟ้าด้วยแนวคิดการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. 2547 โดยอาศัยความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ที่มีจำนวนประชาชนและขนาดที่ดินรวมกันเป็นส่วนใหญ่เกินกว่า 2 ใน 3 การจัดรูปที่ดินโดยนำที่ดินรอบสถานีรถไฟฟ้ามาพัฒนาใหม่จะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีเพราะมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าเศษในระยะเวลา 15 ปี

ดังนั้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศไทย จึงอาจใช้วิธีการต่าง ๆ แทนการกู้เงิน ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นคงทางการคลังแก่รัฐบาลในระยะยาว และการให้สัมปทานต่าง ๆ ก็สามารถทำได้ด้วยดี หากมีการเขียนสัญญาที่รัดกุม และป้องกันการทุจริตของข้าราชการที่อาจนำไปสู่การ "เสียค่าโง่" เช่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"ประชาสังคมปาตานี" เรียกร้อง รบ.ไทยฟังเสียงประชาชน-หนุนสร้างสันติภาพแท้จริง

Posted: 26 Mar 2013 05:19 AM PDT

เครือข่ายภาคประชาสังคมปาตานี ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีหนุนสร้างสันติภาพแท้จริง และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยอมรับว่า BRN คือคู่เจรจาไกล่เกลี่ย ที่ต้องมีคนกลาง ไม่ใช่คู่สนทนาคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างพลเมืองไทยกับเจ้าหน้าที่รัฐภายใต้รัฐธรรมนูญ และอย่านำข้อเรียกร้องที่เป็นของภาคประชาชนไปเป็นข้อต่อรองกับทาง BRN

หลังมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยผ่านสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติปาตานี หรือ BRN (Barisan Revolusi Nasional) เมื่อวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียนั้น ล่าสุดวันนี้ (26 มี.ค.) "เครือข่ายภาคประชาสังคมปาตานี" ได้มอบหมายให้สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (PERMAS) และองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ เดินทางมายื่นจดหมายเปิดผนึก "วาระประชาชนแสดงเจตจำนงสนับสนุนการสร้างสันติภาพปาตานีที่แท้จริง" ถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี โดยยื่นผ่าน พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)

ส่วนการเจรจาระหว่าง สมช. และ BRN รอบล่าสุดนั้น ไทยรัฐออนไลน์ รายงานคำกล่าวของ พล.ท.ภราดร ที่ระบุว่า ขณะนี้ได้รายชื่อคณะทำงานที่จะเดินทางไปพูดคุยเรื่องสันติภาพกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่ประเทศมาเลเซียในวันที่ 28 มี.ค. ครบทั้ง 15 คนแล้ว และไม่ต้องเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอีก เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการไว้แล้ว โดยในทางปฏิบัตินั้นตัวเขาจะรายงานต่อนายกรัฐมนตรีเป็นระยะๆ

โดยรายละเอียดของจดหมายเปิดผนึก ซึ่งจะมีการยื่นถึงรัฐบาลมาเลเซีย ผ่านสถานทูตมาเลเซีย ประจำกรุงเทพฯ ด้วยนั้น มีรายละเอียดดังนี้

000

จดหมายเปิดผนึก

เรื่อง วาระประชาชนแสดงเจตจำนงสนับสนุนการสร้างสันติภาพปาตานีที่แท้จริง
เรียน นายกรัฐมนตรีประเทศไทย

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ณ เมืองหลวงกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ได้มีการพูดคุยลงนามตกลงเพื่อแสดงเจตนารมณ์เพื่อสันติภาพระหว่างรัฐไทยโดยผ่านเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กับ ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติปาตานี หรือ BRN ซึ่งมีรัฐมาเลเซียโดยผ่านเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้อำนวยการพูดคุย (Facilitator)

โดยทางรัฐไทยมีเงื่อนไขว่าต้องพูดคุยภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย และทางรัฐมาเลเซียมีเงื่อนไข 3 ข้อด้วยกันคือ

1. ไม่สนับสนุนเอกราชของชาวปาตานี
2. ไม่สนับสนุนวิธีการต่อสู้ด้วยการจับอาวุธ
3. ไม่สนับสนุนแหล่งพักพิงหรือที่หลบภัย

อย่างไรก็ตามถือได้ว่าการพูดคุยลงนามเพื่อสร้างสันติภาพในครั้งนี้ เป็นแรงเหวี่ยงต่อทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ภาครัฐ และภาคประชาชน ทั้งในและต่างประเทศ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสันติภาพ โดยเฉพาะการสร้างสันติภาพที่มาจากคู่ขัดแย้งหลัก แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของทั้งสองฝ่ายที่เป็นคู่ขัดแย้งหลัก นั่นคือรัฐไทยกับ BRN

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตามเนื้อหาข้อตกลงเพื่อพูดคุยสันติภาพนั้น ได้สร้างข้อกังขาใจต่อสาธารณชนพอสมควร โดยเฉพาะสังคมสาธารณะในพื้นที่เกิดข้อสงสัยในเรื่องของความบริสุทธิ์ใจต่อสันติภาพที่แท้จริง ซึ่งคาบเกี่ยวกับบทบาทและท่าทีของทั้งสามฝ่ายคือประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย และ BRN

ซึ่งโดยภาพรวมแล้วนั้น ผลลัพธ์ของการลงนามครั้งนี้ ได้เกิดภาพอนาคตสันติภาพปาตานีว่า BRN นั้นต้องยอมจำนนสู้ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญไทยเท่านั้น ถึงจะได้สันติภาพในความหมายที่แปลว่า ยุติสงคราม ซึ่งภาพอนาคตสันติภาพแบบนี้กับความเป็น BRN ที่โดยทั่วไปแล้วรับทราบเป็นอย่างดีว่า BRN เป็นองค์กรปฏิวัติที่มีมวลชนให้การสนับสนุน คงไม่ยอมจำนนง่ายๆแน่นอน แต่ภาพที่เห็นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 นั้น นายฮาชัน ตอยิบ เป็นที่ยอมรับและการันตีร่วมกันระหว่างรัฐไทยกับรัฐมาเลเซียว่า เป็นตัวจริงที่ได้รับฉันทานุมัติจากองค์กรนำแล้ว

ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการบั่นทอนบรรยากาศของการเกิดพื้นที่ทางการเมืองอย่างมีสถานะที่ได้ยกระดับจากการพูดลับๆ มาพูดกันอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วโลกและนำไปสู่การลดเงื่อนไขการสู้รบสู่การเพิ่มเงื่อนไขการเจรจาได้ในที่สุดนั้น ทางเครือข่ายภาคประชาชนปาตานี ซึ่งมาจากหลากหลายองค์กรภาคประชาชนได้มีฉันทามติร่วมกันโดยผ่านงาน BICARA PATANI (เสวนาปาตานี) ครั้งที่ 2ในหัวข้อ "28 กุมภา : สัญญาณบวกหรือลบต่อกระบวนการเจรจาสันติภาพที่ปาตานี" จัดขึ้นโดยสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (PERMAS) และสำนักสื่อ WARTANI เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2556 ณ หอประชุมอาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งมีจำนวนผู้เข้าร่วมที่หลากหลายกลุ่มเป้าหมายของภาคประชาชนในจำนวน 7,000 กว่าคน

มีฉันทามติว่าจะนำเสนอความเห็นด้วยวาระภาคประชาชนปาตานีไปยังรัฐบาลของทั้งสองประเทศคือประเทศไทยและประเทศมาเลเซียผ่านหนังสือเปิดผนึกฉบับนี้ โดยได้มอบฉันทานุมัติให้สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (PERMAS) และองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ ที่ซื่อสัตย์ต่อประชาชน เพื่อให้การพูดคุยเพื่อสันติภาพที่ได้ริเริ่มขึ้นแล้วนั้น จะสามารถดำเนินการต่ออย่างมีพัฒนาการแบบเข้าร่องเข้ารอยสอดคล้องตามมาตรฐานของกระบวนการสันติภาพตามหลักสากลและไม่เป็นการเพิ่มเงื่อนไขของสงครามยืดเยื้อ อันเนื่องมาจากความผิดพลาดทางกระบวนการ

เครือข่ายภาคประชาชนปาตานีจึงมีข้อเรียกร้องเพื่อให้กระบวนการสร้างสันติภาพได้พัฒนาไปอย่างต่อเนื่องจนถึงขั้นสามารถเกิดการเจรจาไกล่เกลี่ยกันได้จริงๆระหว่างคู่ขัดแย้งหลักนั่นคือ รัฐไทย กับ BRN แล้วจากนั้นก็มารับฟังเสียงประชาชนปาตานีว่าต้องการกำหนดอนาคตตนเองอย่างไรดังนี้

1. รัฐไทยต้องยอมรับว่า BRN นั้น คือคู่เจรจาไกล่เกลี่ยที่จำเป็นต้องมีคนกลาง (Mediator) ไม่ใช่คู่สนทนาคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งระหว่างพลเมืองไทยกับเจ้าหน้าที่รัฐภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ

2. รัฐไทยต้องอย่าเอาข้อเรียกร้องที่เป็นของภาคประชาชนไปเป็นข้อต่อรองกับทาง BRN เช่น ขอให้ยกเลิกการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ ขอให้ถอนทหารออกจากพื้นที่ เป็นต้น เพราะเมื่อเป็นข้อเรียกร้องของภาคประชาชน รัฐก็ควรที่จะต้องมาพูดคุยต่อรองกับภาคประชาชน

เครือข่ายภาคประชาชนปาตานี
26 มีนาคม 2556

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปธ.อนุฯคุ้มครองผู้บริโภค โต้ AIS ยันเงื่อนไขบริการเป็นสิ่งต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ

Posted: 26 Mar 2013 03:31 AM PDT

สารีโต้เอไอเอส กรณีเผยข้อมูลที่เอไอเอสขอ กทค.เก็บค่าบริหารเลขหมายวันละบาท  ยืนยันเงื่อนไขการให้บริการเป็นสิ่งที่บริษัทต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ และควรรับฟังความเห็นจากผู้บริโภค ไม่ใช่คิดปิดบังงุบงิบ ระบุระเบียบโทรคมนาคมที่บริษัทอ้างนั้นถูกยกเลิกไปแล้ว


จากกรณีที่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ได้มีหนังสือถึง กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เรื่องขอความอนุเคราะห์กำกับดูแลการเปิดเผยข้อมูลความลับทางการค้า ในกรณีที่คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมได้เปิดเผยข้อมูลต่อสื่อมวลชน เรื่อง (ร่าง) หลักเกณฑ์การกระทำที่เป็นการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม โดยระบุว่า กรณีที่บริษัทฯได้ขอให้ กทค.อนุมัติให้สามารถเรียกเก็บค่าบริหารเลขหมายวันละ 1 บาทกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชำระค่าบริการล่วงหน้าว่าเป็นการกระทำที่เข้าข่ายเอาเปรียบผู้ใช้บริการนั้น 

สารี อ๋องสมหวัง ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมกล่าวว่า กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากคณะอนุกรรมการฯได้รับหนังสือจาก กสทช. เพื่อขอให้คณะอนุกรรมการฯให้ความเห็นต่อเรื่องนี้เพื่อประกอบในการพิจารณาข้อเสนอของบริษัทฯ

นอกจากนี้การแต่งตั้งจาก กสทช. ตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯปี 2553 โดยมีอำนาจหน้าที่ 9 ประการ และหนึ่งในนั้นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงการให้ความเห็นและคำปรึกษา รวมถึงเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม คณะอนุกรรมการฯจึงได้ทำหน้าที่ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายและแต่งตั้งไว้เท่านั้น

ส่วนกรณีที่ บริษัทฯอ้างว่า ภารกิจจากการที่คณะอนุกรรมการฯ เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวนั้น ขัดต่อระเบียบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2550 รวมถึงระเบียบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยมาตรการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศ พ.ศ. 2548 นั้น จึงขอเรียนให้ทราบว่า ระเบียบดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปแล้วตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2556 ลงนามโดย พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย ภายใต้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นฯ 2553

"บริษัทชำระค่ารักษาเลขหมายให้กับ กสทช.เพียง 2 บาทต่อเดือน แต่กลับคิดเรียกเก็บจากผู้บริโภคถึง 30 บาทต่อเดือน คณะอนุกรรมการฯ จึงพิจารณากันแล้วว่า การกระทำดังกล่าวจึงอาจเข้าข่ายเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค และอนุกรรมการฯ ก็มีหน้าที่ในการให้ความเห็น และเปิดเผยข้อมูลเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค อีกทั้งตามประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญา 2549 ข้อ 11 ก็ระบุไว้ชัดเจนว่า การให้บริการโทรคมนาคมแบบชำระค่าบริการล่วงหน้านั้น การกำหนดเงื่อนไขการให้บริการได้นั้น ควรจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริโภคด้วย แต่บริษัทกลับคิดปิดบังเงื่อนไขดังกล่าวซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง" สารีกล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ: รถไฟรางคู่ 'ชวน' เริ่ม แต่ชะงักเพราะ 'ทักษิณ' เอาเงินไปทำประชานิยม

Posted: 26 Mar 2013 02:31 AM PDT

เรียกร้องรัฐบาลจริงใจแก้ปัญหาประชาชน ไม่ใช่หาเสียงเกินจริง แต่สุดท้ายทำไม่ได้ ระบุรถไฟความเร็วสูง ถนนสี่เลน มอเตอร์เวย์ไปทวาย รัฐบาลประชาธิปัตย์อนุมัติไว้หมดแล้ว รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ เป็นแผนแม่บทประชาธิปัตย์ เล็งตรวจสอบโฆษณารถไฟความเร็วสูงเกินจริงหรือไม่ เพราะถึงแค่หัวหิน ไม่ถึงปาดังเบซาร์

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปราศรัยที่ จ.ชัยนาท เมื่อ 23 มี.ค. (ที่มา: facebook.com/Abhisit.M.Vejjajiva)

 

เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ เผยแพร่คำปราศรัยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่กล่าวบนเวที "เดินหน้า ผ่าความจริง สจฺจํ เว อมตา วาจา ความจริงไม่มีวันตาย" ที่ จ.ชัยนาท เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ที่ผ่านมา

 

เรียกร้องรัฐบาลจริงใจแก้ปัญหาประชาชน ไม่ใช่หาเสียงเกินความเป็นจริง แต่สุดท้ายทำไม่ได้

โดยตอนหนึ่งนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าที่รัฐบาลอ้างว่าจะกระชากค่าครองชีพลงมานั้น รัฐบาลเป็นคนพูดเองว่าจะทำให้น้ำมันถูก วันนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกไม่ได้ต่างจากวันที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล และวันนี้ค่าเงินบาทแข็งแต่คนไทยซื้อน้ำมันแพงขึ้นทุกตัวครับพี่น้องครับ แล้วผมมีข่าวดีจากรัฐบาลมาฝาก หลังจากสิ้นเดือนนี้ 31 มีนาคม เขาจะขึ้นค่าแก๊สหุงต้มเป็นของขวัญให้กับพี่น้องอีก

"แก๊สหุงต้มที่พรรคประชาธิปัตย์ เป็นคนยืนยันหลักการมาโดยตลอดว่าแก๊สเป็นทรัพยากรของคนไทยทั้งประเทศ คนไทยควรจะได้ใช้ในราคาที่สมเหตุ สมผล ไม่มีเหตุผลต้องมาลอยตัว มาขึ้น อย่ามาบอกว่า ปตท. อย่ามาบอกว่ารัฐบาลไม่มีกำลังที่จะช่วยดูแลความเป็นอยู่ของพี่น้องตรงนี้ เพราะทุกวันนี้ ปตท. ก็กำไรเยอะ และที่สำคัญ กำลังไปดำเนินธุรกิจหลายแห่ง ซึ่งเรากำลังติดตามตรวจสอบว่ามีความไม่ชอบมาพากลหรือไม่รวมถึงการเดินทางในปัจจุบันของนายกรัฐมนตรีที่ไปที่ ปาปัว นิวกีนี"

 

บ้านเมืองจะหลุดพ้นปัญหาได้ ไม่ใช่เพราะมีรถไฟความเร็วสูง จวกรัฐบาลไม่เอาใจใส่การศึกษา สาธารณสุข

นายอภิสิทธิ์กล่าวเรียกร้องต่อรัฐบาลว่าให้มีความจริงใจต่อพี่น้องประชาชนที่จะมาดูแลแก้ไขปัญหา ดูแลทุกข์สุข อย่างแท้จริงครับ ไม่ใช่โฆษณาหาเสียงเกินความเป็นจริง วาดฝัน แต่สุดท้ายไม่ได้ทำอย่างที่พูด

"วันนี้มาใหม่ครับ ที่บอกว่า เงิน 2 ล้านล้าน .. จากการเป็นประเทศระดับรายได้ปานกลาง เศรษฐกิจจะเติบโตมากมายมหาศาล กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศที่ร่ำรวย เชื่อมั้ยครับ ผมบอกได้เลยว่า เงิน 2 ล้านล้าน ที่รัฐบาลอ้างว่าจำเป็นจะต้องไปกู้ เกือบทั้งหมดลงทุนอยู่ที่กระทรวงๆ เดียวคือกระทรวงคมนาคม 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ อยู่ที่กระทรวงคมนาคม มีอีกกระทรวงเดียว ที่จะใช้เงิน 2 ล้านล้าน คือกระทรวงการคลัง ได้ไปประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์ คือไปปรับปรุงด่านศุลกากรบริเวณชายแดน"

"ผมจะพูดเรื่องรถไฟ เรื่องถนน เรื่องคมนาคมต่อไป แต่ผมจะบอกกับรัฐบาล และผมยืนยันแทนพี่น้องประชาชนได้ บ้านเมืองนี้จะเจริญ จะหลุดพ้นจากปัญหาต่างๆ ไม่ใช่แค่เรามีรถไฟความเร็วสูง หรือรถไฟที่วิ่งเร็วกว่าปัจจุบันเท่านั้นครับ วันนี้มีอีกหลายเรื่องที่รัฐบาล ไม่สนใจ ไม่เอาใจใส่ เช่นการศึกษา การสาธารณสุข ความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน และที่สำคัญที่สุดทำให้บ้านเมืองมีกติกาเหมือนบ้านเมืองที่เจริญแล้ว ไม่ปล่อยให้คนโกง กิน คอร์รัปชั่น ทำผิดกฎหมาย ลุแก่อำนาจ สิ่งเหล่านี้ไม่อยู่ใน 2 ล้านล้านเลยครับ ถามว่าเงิน 2 ล้านล้านมากแค่ไหน เคยเห็นมั้ยครับเงิน 2 ล้านล้าน 2 ล้านยังแทนไม่เคยเห็นกันเลยใช่มั้ยครับ ล้านนึงก็ยังไม่เคยเห็นเลยใช่มั้ยครับแสดงว่าไม่เคยแทงหวย ตามรถนายกฯ"

"ผมกราบเรียนพี่น้องว่า เงิน 2 ล้านล้านนั้น เท่ากับเงินงบประมาณทั้งปี ทุกปี ที่เราใช้อยู่ในขณะนี้นะครับ ประมาณ 2 ล้านล้าน เท่ากับว่า ปกติรัฐบาลมีเงินเก็บภาษีจากพี่น้องเท่าไหร่ แต่ละปี วันนี้รัฐบาลจะไปกู้เงินแล้วใช้เงินเพิ่มเป็นเท่าตัวจากงบประมาณยอดนั้น เพราะงบประมาณที่เขากำลังจะเสนอปี 57 ก็ประมาณ 2 ล้านล้าน แต่อยู่ดีๆ บอกว่า ต้องมากู้เงิน 2 ล้านล้าน อ้างว่าจำเป็นจะต้องกู้มา เพื่อที่จะมาลงทุนในโครงการทั้งหลาย เช่นรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ เวลานี้เขาพยายามจะสร้างความเข้าใจว่า กฎหมายฉบับนี้ซึ่งจะเข้าสภาอาทิตย์หน้านี้ ส่งถึงประธานสภาวันศุกร์ ประธานสภาบรรจุระเบียบวาระ วันพุธเขาจะเสนอเลื่อนให้พิจารณาวันพฤหัสฯ ที่จะถึงนี้ รีบร้อนมากครับ"

 

รถไฟความเร็วสูง รัฐบาล ปชป. อนุมัติไว้แล้ว รถไฟรางคู่ริเริ่มโดยชวน หลีกภัย แต่ชะงักเพราะทักษิณ

"ถามว่าขณะนี้เขาสร้างความเข้าใจว่าอย่างไร เขาไปสร้างความเข้าใจว่า ใครค้าน โครงการเงินกู้ 2 ล้านล้าน ไม่เห็นด้วยที่จะให้พี่น้องประชาชน ได้มีรถไฟความเร็วสูง ได้มีรถไฟทางคู่ ได้มีมอเตอร์เวย์ ได้มีรถไฟฟ้า ที่จริงไม่ใช่หรอกครับ ผมไล่ดูโครงการเกือบทั้งหมดใน 2 ล้านล้าน ที่เขาพูด แล้วเขาไปจัดนิทรรศการมาแล้วที่ศูนย์ราชการ ผมไปดูด้วยตัวเอง โครงการเกือบทั้งหมดเป็นโครงการที่มีอยู่ในแผนของหน่วยงานของราชการซึ่งรัฐบาลในอดีต โดยเฉพาะรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้อนุมัติไว้แล้ว"

"ถนน 4 ช่องจราจร รถไฟรางคู่ ใครเป็นคนคิด ใครเป็นคนเริ่ม ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีที่มาจากพี่น้องประชาชน และพรรคประชาธิปัตย์ รัฐบาลชวน 1 ชวน 2 ทำมาแล้ว ถามว่าทำไมวันนี้มันยังไม่เต็มพื้นที่ทั่วทั้งประเทศ คำตอบเพราะโครงการเหล่านี้หยุดชะงักลง วันที่มีนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ ทักษิณ ชินวัตร"

"เอาเงินไปทำประชานิยม ถนนทั่วประเทศทรุดโทรม ก็สมัยทักษิณ ชินวัตร เงินแม้แต่จะซ่อมแทบไม่มีครับพี่น้องครับ วันนี้จะหยิบโครงการเหล่านี้ขึ้นมา ไม่ต้องโฆษณาหรอกครับว่าเป็นต้นคิดเพราะรถไฟทางคู่ ถนน 4 ช่องจราจร แม้แต่มอเตอร์เวย์หลายเส้น รวมทั้งที่จะเชื่อมโยงไปที่ท่าเรือทวาย เป็นแนวคิดที่พรรคประชาธิปัตย์คิดมาก่อนทั้งสิ้น รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ สายสีเขียว สีแดง สีม่วง สีชมพู สีส้ม เริ่มต้นแผนแม่บทก็สมัยรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ทำไว้ครับ"

 

สมัยเป็นนายกรัฐมนตรีเคยไปหารือเรื่องรถไฟความเร็วสูงกับจีน

"รถไฟความเร็วสูงนี่ ผมจะบอกให้ว่า สมัยผมเป็นนายกรัฐมนตรี ผมเดินทางไปประเทศจีน ผมเห็นจีนเร่งสร้างรถไฟความเร็วสูงไปทั่วประเทศของเขา มีเทคโนโลยี แล้วเขาก็ให้ผมนั่งรถไฟความเร็วสูงของเขา วิ่งที 300 เกือบจะ 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แล้วเขาก็บอกว่า เขาพร้อมที่จะมาร่วมมือกับประเทศไทย เขาสร้างแล้วไปร่วมมือกับลาวเรียบร้อยแล้ว ตกลงเรียบร้อย กำลังจะดำเนินการก่อสร้าง และผมก็เป็นคนที่ผลักดันเรื่องการเชื่อมโยงในอาเซียน บอกว่า เราควรจะมีรถไฟที่วิ่งมาจากตอนใต้ของจีน ไปจนถึงสิงคโปร์ คนที่ไปเร่งดำเนินการเรื่องนี้ ก็อยู่ตรงนี้ด้วยครับ สุเทพ เทือกสุบรรณครับ ผมมอบหมายไปเพราะว่า หน้าตาเป็นจีนน้อยที่สุดในรัฐบาลผม จะได้ไม่สับสนเวลาเจรจาว่าอยู่ฝ่ายไหน"

"ผมกราบเรียนพี่น้องครับ รถไฟความเร็วสูงที่เราพูดถึงก็ต้องเชื่อมมาจากจีน เขามาถึงลาว ถึงเวียงจันทน์ ก็ต้องมาหนองคาย จากหนองคาย ก็มากรุงเทพฯ จากกรุงเทพฯ ก็ลงไปถึงชายแดนไทย – มาเลเซีย ต่อไปถึงสิงคโปร์ แล้วเราก็พูดถึงเส้นทางอื่นด้วย กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ กรุงเทพฯ – อุบลฯ กรุงเทพฯ – ตราด ผมไม่เชื่อเลยครับว่า อาทิตย์ที่แล้วรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไปออกโทรทัศน์บอกกับพี่น้องประชาชนบอกว่า ที่พรรคประชาธิปัตย์พูดว่าโครงการเหล่านี้เป็นโครงการเหล่านี้ เป็นโครงการเก่า เขาบอกว่าเขาไปตรวจสอบแล้วไม่ปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ดำเนินการอะไร อันนี้ไม่ใช่โกหกสีขาวครับ โกหกเฉยๆ เลยครับ"

"เพราะอะไรครับ อย่างรถไฟความเร็วสูงนี่ ได้มีการทำการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ความคุ้มค่าทางธุรกิจ มีการนำเสนอกรอบการเจรจากับจีนเข้าสู่การประชุมของรัฐสภาด้วย เป็นการดำเนินการที่ชัดเจนเหมือนกับรถไฟที่ไม่ใช่ความเร็วสูง แต่เป็นทางคู่ ที่ผมประกาศไว้ว่าต้องวิ่งเร็วกว่าปัจจุบัน 2 เท่า มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น คณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลที่แล้ว ก็อนุมัติไปหมดแล้ว แต่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยมองว่าจะทำเรื่องเหล่านี้ได้ อยู่ดีๆ จะต้องมาออกกฎหมายเงินกู้ เพิ่มขึ้น 2 ล้านล้านบาท และผมไม่เชื่อเลยครับว่า รัฐบาลนี้กล้าที่จะทำเรื่องนี้ กล้าที่จะทำเรื่องนี้ ผมไปไล่ดูครับ สมัยพวกผมเป็นรัฐบาล ไม่รู้รัฐมนตรีกี่คนในรัฐบาลชุดนี้ ลุกขึ้นอภิปรายในสภา ด่าผม ด่ากรณ์ จาติกวนิช ว่า เก่งแต่กู้ ซึ่งสมัยนั้นจำเป็นต้องกู้เพราะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจฟุบ รายได้ของประเทศตก รายได้ภาษีอากร ตกชัดเจนเป็นหลายแสนล้าน เราก็จำเป็นที่จะต้องกู้เงินมาประคับประคองให้เศรษฐกิจฟื้นโดยเร็วและเราทำสำเร็จครับพี่น้องครับ ทุกวันนี้โรงเรียน โรงพยาบาลเกือบทั่วประเทศ ได้รับประโยชน์จากการกู้ครั้งนั้น และมีถนนหนทางหลายสายที่เกิดขึ้น แต่เวลาเขาไปหาเสียง เขาบอกว่า รัฐบาลประชาธิปัตย์เก่งแต่กู้ สร้างแต่หนี้ แล้วเขาก็ไปสัญญาเยอะแยะไปหมดในการหาเสียง ตอนนั้นพวกผมก็ถามเขาครับ บนเวทีปราศรัยบอกคุณจะเอาเงินมาจากไหน ทีมเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย บอกว่า รับรองได้ว่าจะไม่ต้องมีการกู้เงินแม้แต่บาทเดียว"

 

ถ้ากู้ 2 ล้านล้าน แสดงว่าโง่กว่ารัฐบาลก่อน 5 เท่า ยันวงเงินเท่านี้ ใช้งบประมาณประจำปีได้

"เอาเข้าจริงๆ ยังไม่ต้องพูดถึงกฎหมาย 2 ล้านล้าน เลยครับ จากวันเริ่มต้นรัฐบาลยิ่งลักษณ์มาจนถึงวันนี้ ก็กู้มากกว่ารัฐบาลที่แล้ว ไปแล้วครับ กู้ 3 แสน 5 หมื่นล้าน มาทำเรื่องน้ำ ยังไม่ไปถึงไหนเลยครับ ผมไปเห็นคลิปตอนหาเสียง มีคนที่หาเสียงคนหนึ่งชื่อณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ปราศรัยว่าไงครับ ปราศรัยบอกว่า ไอ้ที่ถามว่าจะเอาเงินมาจากไหน ณัฐวุฒิบอกว่าไม่จำเป็นต้องกู้หรอก เพราะว่าถ้าโง่เท่ารัฐบาลประชาธิปัตย์จะไม่อาสามาเป็นรัฐบาล ผมก็มานั่งคิดในใจว่า พอมาวันนี้ 3 แสน 5 หมื่นล้าน ผมยกให้ เกิดภัยพิบัติ แต่รัฐบาลที่แล้วนี่ด้วยความจำเป็น ด้วยเหตุผลเศรษฐกิจโลก กู้ 4 แสนล้านใช่มั้ยครับ รัฐบาลนี้ไม่มีความจำเป็นเลย กู้รวดเดียว 2 ล้านล้าน ผมคำนวณตัวเลขแล้ว ต้องโง่กว่าพวกผมอย่างน้อย 5 เท่า"

"ผมยืนยันว่าโครงการรถไฟทั้งหลายนี้เราสนับสนุนครับ แต่เรายืนยันว่า ถ้าจะต้องใช้เงิน 2 ล้านล้าน เวลา 7 ปี 2556 ถึง 2563 7 ปี คำนวณง่ายๆ ก็คือปีนึง ใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นประมาณ 3 แสนล้าน เอาคร่าวๆ 3 แสนล้านบริหารอยู่ในระบบงบประมาณปกติได้หรือไม่ ผมยืนยันเลยว่าได้ เพราะเพดานเงินกู้ในระบบงบประมาณตอนนี้ รัฐบาลสามารถขาดดุลได้ 4 แสนล้าน 5 แสนล้าน ได้ครับ แต่รัฐบาล กำลังจะบอกว่าจะลดการขาดดุลงบประมาณลง ปีนี้จะขาดดุลแค่ 2 แสนกว่า ปีหน้าเหลือ 1 แสน ปีต่อๆ ไปจะไม่ขาดดุลงบประมาณแต่จะแอบไปกู้ 2 ล้านล้านอยู่นอกงบประมาณ ทำไมต้องทำอย่างนั้นล่ะครับ"

"ผมยืนยันเลยว่าถ้าต้องการเงินเพิ่ม 3 แสนล้าน ใส่เข้าไปในงบประมาณทุกปี ทำได้แน่ เพราะนอกจากตัวเพดาน ที่อนุญาตให้กู้เงินนี้เรายังไปไม่ถึง ข้อเท็จจริงก็คือว่า รัฐบาลลดรายจ่ายได้มากมาย จำนำข้าว ทุกปีทำมาแล้ว แต่ละปีเงินถึงชาวนาประมาณ 1 แสนล้าน แต่รัฐบาลใช้เงินขาดทุน ปีละเท่าไหร่ครับ 2 แสน 5 หมื่นล้านได้ครับ ฉะนั้นถ้าเลิกโครงการจำนำ เอาเงินแสนล้านให้ชาวนาเหมือนเดิม ก็มีเงินมาทำโครงการพวกนี้อีกปีละประมาณ แสนห้าหมื่น ถึง 2 แสนล้าน นี่โครงการเดียวครับพี่น้องครับ"

"เชื่อมั้ยครับ ถ้าไม่ไปทำโครงการรถคันแรก เอาเงินตรงนั้นมาสร้างรถไฟฟ้าได้เกือบทุกสายในพรบ. เงินกู้ ฉะนั้นอาทิตย์หน้าที่พรรคประชาธิปัตย์จะไปพูดในสภา อย่าให้ใครไปเที่ยวบอกว่าประชาธิปัตย์ขัดขวางเรื่องรถไฟ ไม่ขัดขวางหรอกครับ แต่เรายืนยันว่า ทั้งหมดทำได้ ไม่ต้องกู้แบบนี้แม้แต่บาทเดียว ใช้ระบบงบประมาณตามปกติได้ ถ้าไม่เชื่อ เอาพวกผมไปเป็นรัฐบาลสิ จะทำให้ดู"

 

เล็งตรวจสอบโฆษณาเกินจริงหรือไม่ เพราะรถไฟความเร็วสูงถึงแค่หัวหิน ไม่ถึงภาคใต้

"ผมบอกได้เลยว่า โครงการขณะนี้ผมกำลังไล่ตรวจสอบว่า ที่โฆษณานี่ก็ยังโฆษณาเกินจริงหรือไม่ ผมปราศรัยเวทีฝ่าความจริงอาทิตย์ก่อน สองอาทิตย์ก่อน ผมบอกว่าไอ้รถไฟความเร็วสูงนี่ จีนเขาอุตส่าห์สร้างมาถึงลาว มาเลเซีย กับสิงคโปร์กำลังจะทำ เส้นรถไฟความเร็วสูงระหว่างสิงค์โปร์ กับมาเลเซียนี่ ผมเพิ่งคุยกับผู้หลักผู้ใหญ่ของประเทศเหล่านั้นมา แต่ประเทศไทยสมัยที่คุณสุเทพ คุณกอร์ปศักดิ์ ไปเจรจานั้น เราบอกว่ารถไฟความเร็วสูงต้องรีบสร้างจากหนองคาย มาถึงกรุงเทพฯ จากกรุงเทพฯ ไปปาดังเบซาร์ ชายแดนมาเลเซีย อย่างงี้คนขึ้นรถไฟความเร็วสูงจากตอนใต้ของจีน ก็จะวิ่งไปจนถึงสิงคโปร์ได้"

"แต่ที่รัฐบาลจะกู้ 2 ล้านล้าน ใช้เวลา 7 ปี ก่อสร้าง ปรากฏว่า กรุงเทพฯ – หนองคาย สร้างถึงแค่โคราช ไอ้ที่จะไปมาเลเซีย หยุดอยู่ที่หัวหิน จะไปอีกสักนิดก็ไม่ได้ นี่ยังไม่ถึงภาคใต้นะครับ ถึงแค่ประจวบคีรีขันธ์ ไม่รู้มันแสลงใจอะไร ทำอะไรให้คนใต้ไม่ได้เลยหรือยังไง"

"เพราะฉะนั้นที่นิทรรศการของรัฐบาลบอก กำลังจะเอาเงิน 2 ล้านล้าน มาเชื่อมไทยสู่โลก ผมก็จะชี้ให้พี่น้องเห็นว่า เชื่อมโลกของรัฐบาลนี้ ใครไปขึ้นรถไฟความเร็วสูง ที่ทางใต้ของจีน มาถึงชายแดนไทย – ลาว ต้องลงจากรถไฟความเร็วสูง เปลี่ยนรถไฟมาขึ้นเพื่อนั่งรถไฟไทยมาถึงโคราช แล้วก็ขึ้นรถไฟความเร็วสูงจากโคราชมาถึงกรุงเทพฯ แล้วลงไปที่หัวหิน แล้วก็ต้องลงจากรถไฟความเร็วสูงอีก มาขึ้นรถไฟไทยจากหัวหินไปถึงชายแดนไทย - มาเลเซีย แล้วค่อยเปลี่ยนกลับไปขึ้นรถไฟความเร็วสูงไปสิงคโปร์ แล้วมันเชื่อมโลกยังไง มาปรับมาเปลี่ยนแผนตรงนี้เพราะอะไร ผมถึงอยากจะบอกกับพี่น้องนะครับว่า ในสัปดาห์หน้า พวกผมก็จะชี้ให้เห็นว่าทั้งหมดที่ทำนี้ มันไม่ใช่เรื่องจะมาทำรถไฟ มันไม่ใช่เรื่องที่จะมาเชื่อมโลก แต่ทั้งหมดที่ทำต้องการทำอย่างเดียวครับ 2 ล้านล้าน ซึ่งควรจะอยู่ในระบบงบประมาณ จะถูกหยิบออกมาใช้นอกระบบงบประมาณ"

 

จะเป็นการใช้เงินนอกงบประมาณ เลี่ยงไม่ให้สมาชิกสภาตรวจสอบ

"แปลว่าอะไรนอกระบบงบประมาณ ผมสมมติว่า ถ้าทำแบบปกติ เวลาจะเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงมาขอเงินไปทำ ต้องเสนอโครงการนี้มาที่สภา สภาก็จะตรวจสอบว่า โครงการนี้เหมาะสมมั้ย เหมาะสมแล้ว เงินที่ใช้ในแต่ละเส้นทางควรจะเป็นเท่าไหร่ ถ้าสูงไป ก็จะมีการขอแปรญัตติตัดงบประมาณ แต่พอมาอยู่ในกฎหมายเงินกู้ เขาจะมีบัญชีแนบท้ายกฎหมาย เขียนสั้นๆ ครับ เช่น จะมีการไปก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงมูลค่าประมาณ 1 ล้านล้านบาท สส. สว. ไม่สามารถจะไปตรวจสอบดูได้ ไม่สามารถไปลดทอนจำนวนเงินตรงนี้ได้ เพราะไม่อยู่ในตัวกฎหมาย กฎหมายเขียนแต่ว่าให้อำนาจรัฐบาลไปกู้ 2 ล้านล้าน มาทำ นี่ก็เป็นการเลี่ยงระบบงบประมาณ เพื่อไม่ให้สมาชิกสภา ตัวแทนของประชาชนไปตรวจสอบในขึ้นที่ 1"

"ถัดมาครับ ถ้าอยู่ในระบบงบประมาณ จัดงบประมาณไปที่หน่วยงานไหนแล้ว การโยกย้ายข้ามกรม เปลี่ยนโครงการจะทำได้ยากครับเพราะถือว่าทุกโครงการผ่านความเห็นชอบของตัวแทนประชาชนมาแล้ว แต่พอเป็นกฎหมายกู้เงิน การจะโยกย้ายเงินจากโครงการหนึ่ง ไปอีกโครงการหนึ่ง ไม่มีตัวที่จะมาบีบบังคับ เพราะเป็นตัวเลขกลมๆ ใหญ่ๆ ตามหมวดต่างๆ อย่างที่ผมได้บอกแล้ว"

"และประการสำคัญ ประการที่ 3 พอออกไปอยู่นอกระบบงบประมาณ ผมฟันธงไว้ล่วงหน้า หลังจากกฎหมายกู้เงินผ่าน ครม.จะมีมติเหมือนกับที่ทำตอนกู้ 3 แสน 5 หมื่นล้าน เรื่องน้ำว่าจะมีการยกเว้นกฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง ที่ใช้ในราชการทั้งหมดครับพี่น้องครับ"

"เพราะฉะนั้นเงิน 2 ล้านล้านนี้ เวลามีการประมูล เวลามีการตัดสินใจ จัดซื้อ จัดจ้าง ราคาเท่าไหร่ อย่างไร จะไม่อยู่ภายใต้ระเบียบของราชการ เรื่องน้ำนี่ครับ 3 แสน 5 หมื่นล้านจนถึงทุกวันนี้ ที่บอกไปเชิญเอกชนต่างๆ เข้ามาแล้ว ส่วนใหญ่ที่ได้ไปคือต่างชาตินะครับ มีกลุ่มของเกาหลี มีกลุ่มของจีน มีกลุ่มของญี่ปุ่น เสนอมาแล้ว จะทำลุ่มน้ำนั้น จะทำลุ่มน้ำนี้ ข้อเท็จจริงก็คือ ตัวโครงการยังระบุไม่ได้เลยครับ ว่าจะทำโครงการไหน ไม่ทำโครงการไหน เพราะยังไม่ผ่านขั้นตอน อย่างเช่นการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลายโครงการ แล้วผมถามพี่น้องครับ อย่างโครงการน้ำ พี่น้องคิดว่าคนญี่ปุ่น คนเกาหลี คนจีน รู้สภาพลุ่มน้ำดีเท่าคนไทยมั้ยครับ"

"สุดท้ายฟันธงอีก บริษัทที่เป็นต่างชาติเหล่านี้ ก็ต้องมาจ้างคนไทยให้ไปทำ แต่เราเสียเงินเพิ่มขึ้น แพงโดยใช่เหตุ ด้วยวิธีพิเศษ ด้วยวิธีพิสดารแบบนี้ครับพี่น้องครับ นี่เป็นสิ่งที่รัฐบาลคิดจะทำในขณะนี้ แทนที่จะทำทุกอย่างให้โปร่งใส แทนที่จะบังคับตัวเองให้มีวินัยทางการเงิน การคลัง ผมจึงบอกว่า เราต้องให้พี่น้องช่วยกันจับตาดู เขาไปสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ประชาชนประมาณ 70 กว่าเปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าไงครับ เชื่อว่าเงิน 2 ล้านล้านงานนี้มีโกง แน่นอน นี่แหละครับคือสิ่งที่รัฐบาลอยากจะเดินหน้าทำ เอาเรื่องดีๆ มาบังหน้า เหมือน 3 แสน 5 หมื่นล้าน ปีที่แล้วจำได้มั้ยครับ บอกว่าต้องออกเป็นกฎหมายเร่งด่วน ป้องกันไม่ให้น้ำท่วม ถ้าไม่รีบทำเดี๋ยวปี 2555 น้ำจะท่วม พวกผมไปศาลรัฐธรรมนูญบอกพวกผมไม่เชื่อว่ารัฐบาลมีปัญญาที่จะทำทันน้ำมาปี 2555"

"ถึงวันนี้พิสูจน์แล้วครับ จนจะถึงฤดูที่น้ำจะมาปี 2556 โครงการเหล่านี้ก็ยังไม่ได้ทำครับพี่น้องครับ นี่คือข้อเท็จจริง แต่เรื่องนี้ก็ยังดีนะครับ ถ้าอยากจะขยับ อยากจะเคลื่อนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อย่างน้อยก็มีประโยชน์สำหรับพี่น้องประชาชน เพียงแต่พวกผมบอกว่า ไม่จำเป็นต้องกู้ แล้วกู้มากขนาดนี้ ใช้เวลาใช้หนี้ 50 ปี เมื่อกี้คุณสาธิต ไม่ค่อยดี บอกว่านายกฯ จะอยู่ไม่ถึง 50 ปี ผมอายุมากกว่านายกฯ นิดหน่อย ผมว่า ผมอยู่ถึงนะ แต่ผมไม่อยากจะต้องมาใช้หนี้ ผมไม่ขัดข้องถ้าหากว่าเก็บภาษีผมไปตามปกติ ขอผู้แทนประชาชน อยากจะสร้างรถไฟ สร้างอย่างไร ใช้เงินเท่าไหร่ ทำไปเถอะครับ แต่อย่าให้พวกผมเป็นหนี้ เพราะพวกคุณต้องการจะโกง เรื่องนี้ก็จะได้ติดตามต่อไป"

 

เล็งตรวจสอบ หากรัฐบาลยื่นแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 68 – 190

ในช่วงท้ายของการปราศรัยนายอภิสิทธิ์กล่าวด้วยว่า อีก 3 สัปดาห์ข้างหน้า สมัยประชุมสภาจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เพื่อตัดสิทธิ์ไม่ให้ประชาชนสามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ให้ยื่นถึงอัยการได้เท่านั้น ซึ่งเท่ากับว่าถ้ายื่นแล้ว อัยการไม่ทำอะไร ประชาชนก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นที่จะแก้มาตรา 68 จึงมีคนตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าแก้สำเร็จ ผ่านไปแล้ว สิ่งที่ตามมาคืออะไร ย้อนกลับไปรื้อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพราะรู้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะไม่มีโอกาสมาพิจารณาเรื่องนี้อีก

นอกจากนี้ยังการเล็งแก้ไขมาตรา 190 ด้วย โดยนายอภิสิทธิ์กล่าวว่า หากมีการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ก็จะเป็นการลดทอนอำนาจผู้แทนประชาชนในการตรวจสอบการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ มาตราที่เกี่ยวกับวุฒิสภา ก็จะมีการแก้ไขให้มีการเลือกตั้ง ก็ว่ากันไปครับ

 

ยันไม่สนใจเรื่องนายกฯ สำรอง ถ้าอยากปรองดองต้องถอนกฎหมายนิรโทษกรรมทั้ง 5 ฉบับ

"แต่ที่ต้องจับตาดูด้วยก็คือว่า อาทิตย์หน้าเงินกู้ อาทิตย์ถัดไปรัฐธรรมนูญ เหลืออีก 1 อาทิตย์ มีข่าวออกมาแล้วว่าจะลองแหย่เรื่องนิรโทษกรรมหน่อย กฎหมายเดิมมีอยู่ 4 ฉบับ ตอนนี้ก็เสนอเข้าไปเป็นฉบับที่ 5 แล้วก็มีลีลาเยอะมากครับ บอกว่า เดี๋ยวจะเลื่อนขึ้นมา เวลาถูกเสื้อแดงกดดัน ก็บอกจะต้องทำ จะต้องรีบทำช่วยเหลือพี่น้องเสื้อแดง พอมีเสียงคนคัดค้านมากๆ วิปรัฐบาลก็บอกว่า คงจะยังชะลอไว้ก่อน กลับไปกลับมาๆ คนเป็นนายกฯ ก็บอกว่าแล้วแต่สภา ผมก็จึงตอบไม่ได้หรอกครับว่า เขาจะทำหรือไม่ทำในสมัยประชุมนี้ แต่จุดยืนของพวกผมชัดเจนวันนี้ ถอนกฎหมาย 5 ฉบับออกไปอย่างเดียว ถ้าอยากให้ความปรองดองเกิดขึ้นในประเทศ"

"แล้วก็ฝากไปถึงนายกฯ ยิ่งลักษณ์ เพราะว่าวันนี้ผมเห็นพาดหัวหลายฉบับ บอกว่า รู้สึกน้อยใจ ที่มีการพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนตัวนายกฯ มีนายกฯ สำรองที่จะเกิดขึ้น ผมบอกว่า อย่าน้อยใจเลยครับ ถ้าอยากเป็นนายกฯ ตัวจริง ก็แสดงให้เห็นสิครับ เป็นนายกฯ ตัวจริง สั่งพรรคเพื่อไทย ถอนกฎหมาย 5 ฉบับออกไป แสดงให้เห็นสิครับว่าเป็นนายกฯ ตัวจริง ไม่ได้เกรงใจนายกฯ ที่อยู่ต่างประเทศ เพราะที่มาพูดเรื่องนายกฯ สำรอง เรื่องอะไรทั้งหลายนั้น มันไม่ใช่เรื่องที่มาจากพรรคประชาธิปัตย์เลย เป็นเรื่องของพี่น้องว่ากันเอง ผมยืนยันวันนี้พวกผมไม่สนใจหรอกครับ พี่น้องจะเห็นตรงกัน เห็นต่างกันหรือไม่ แต่คนที่เป็นนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ดูแลประเทศ ไม่ใช่ดูแลพี่ชาย"

 

บ้านเมืองเป็นของประชาชน ไม่ใช่ของครอบครัวใด วอนอย่าสร้างความวุ่นวายเลย

"ถ้ายืนยันจะนำประเทศไปข้างหน้าต้องตัดตรงนี้ ให้จบ ให้ขาด แล้วเดินหน้าแก้ปัญหาให้กับประชาชน ผมว่าถ้ากล้าทำเนี่ย อาจจะอยู่ได้ครบ 4 ปี อาจจะอยู่ได้นานกว่านั้นด้วย แต่ถ้าอยู่เพื่อที่จะต้องตามใจพี่ชาย มีแต่ความวุ่นวายที่รอคอยอยู่ข้างหน้า ดังนั้นวันนี้ สส. ลูกพรรคผมหลายคน รู้สึกไม่ทันไร ชวนพวกเราไปหน้าสภาแล้ว รังสิมา ไม่ต้องมาทำหน้างง ผมเห็นเมื่อกี้รีบชวนไปหน้าสภาแล้ว ผมบอกว่า พี่น้องติดตามข่าวสารก่อน เราไม่อยากให้บ้านเมืองมีปัญหา แต่เราก็ต้องส่งสัญญาณให้ชัดว่าบ้านเมืองที่ไม่มีปัญหา ต้องเป็นบ้านเมืองที่เป็นของประชาชน ไม่ใช่ตระกูลใด หรือครอบครัวใด หรือคนใดคนหนึ่ง อย่าสร้างความวุ่นวายให้กับบ้านเมืองเลยครับ" อภิสิทธิ์กล่าวตอนหนึ่งของการปราศรัย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แรงงานเตรียมชุมนุม 3 เม.ย.นี้ ยันหนุนร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉ.คนงานที่ถูกปัดตก

Posted: 25 Mar 2013 11:41 PM PDT

'สมานฉันท์แรงงานไทยเตรียมชุมนุมหน้ารัฐสภา 3 เม.ย. ยืนยันหนุนร่าง พรบ.ประกันสังคมฉบับคนงานที่ถูกปัดตกไปเมื่อพฤ. ถามรัฐบาลไหนว่าจะฟังเสียงประชาชน ชี้ร่างใหม่เน้นความเป็นอิสระของสำนักงานประกันสังคม ครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่ม หวังแก้ปัญหาผู้ประกันตนเข้าไม่ถึงสิทธิ



สืบเนื่องจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ลงมติในวาระที่ 1 ไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่...) พ.ศ....ของวิไลวรรณ แซ่เตีย ร่วมกับประชาชนจำนวน 14,264 คน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มี.ค. ส่งผลให้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวตกไปจากการพิจารณาตามกระบวนการนิติบัญญัติไทย

(26 มี.ค.56) ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) โดยวิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธาน คสรท. แถลงข่าวประณามการไม่รับร่างฯ ครั้งนี้ พร้อมระบุว่า คสรท.จะชุมนุมในวันพุธที่ 3 เม.ย.นี้หน้ารัฐสภา ตั้งแต่เวลา 9.00น. เพื่อยืนยันสนับสนุนร่างกฎหมายดังกล่าว  ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับนี้เป็นกฎหมายแรงงานฉบับแรกของประเทศที่เสนอสู่รัฐสภา หลังจากรัฐธรรมนูญให้สิทธิประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย เป็นการใช้อำนาจอธิปไตยทางตรงของประชาชน แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากประชาธิปไตยทางอ้อม กลับใช้อำนาจของตัวทำลายอำนาจของประชาชน สะท้อนว่าหากกฎหมายฉบับใดที่ประชาชนร่างขึ้นแล้ว ส.ส.ไม่ถูกใจ กฎหมายดังกล่าวก็จะไม่ถูกพิจารณาในรัฐสภาทันที ถือเป็นการกีดขวางการมีส่วนร่วมของประชาชน

รองประธาน คสรท. กล่าวต่อว่า ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับประชาชนเข้าชื่อเสนอนั้น ถูกบรรจุในวาระการพิจารณาในสภาผู้แทนฯ ตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค.54 ขณะที่ร่างฉบับคณะรัฐมนตรีและร่างที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยตรงนั้น เพิ่งบรรจุวาระเมื่อ ม.ค.และ มี.ค.ที่ผ่านมาตามลำดับ แต่นับแต่ ธ.ค.54 คสรท.ต้องเป็นฝ่ายติดตามความก้าวหน้าของกระบวนการนิติบัญญัติด้วยตัวเอง ภาครัฐขาดการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการนิติบัญญัติอย่างโปร่งใส  ในการจัดทำร่างกฎหมาย มีการดึงถ่วงขั้นตอน ไม่เอาใจใส่ และอ้างความล่าช้าอยู่ตลอดเวลา แสดงถึงเจตนาแอบแฝงในการไม่ให้ความสำคัญกับร่างกฎหมายที่เสนอโดยผู้ใช้แรงงาน นอกจากนี้ยังเห็นถึงข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญ ที่ไม่มีการบัญญัติให้ร่างที่เสนอโดยภาคประชาชนต้องได้รับการพิจารณาจากที่ประชุมสภาฯ ในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่ชักช้าด้วย

วิไลวรรณ กล่าวว่า สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับดังกล่าว อยู่ที่ความเป็นอิสระของสำนักงานประกันสังคม โดยให้เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมมาจากการเลือกตั้งจากคณะกรรมการ ไม่ใช่ข้าราชการอย่างในปัจจุบัน พร้อมเปลี่ยนองค์ประกอบคณะกรรมการให้มีผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นมืออาชีพ มีความเป็นอิสระ ปราศจากกลุ่มผลประโยชน์ ทั้งยังเสนอให้มีการเลือกตัวแทนแรงงาน โดยครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่ม เพื่อแก้ปัญหาผู้ประกันตนเข้าไม่ถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ การปฏิเสธร่างดังกล่าวของ ส.ส. จึงแสดงถึงความไม่เข้าใจความทุกข์ยากของผู้ประกันตน รวมถึงไม่พยายามแก้ปัญหาที่มีมายาวนานด้วย

วิไลวรรณ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวขอปฏิเสธการเข้าร่วมเป็น กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายในส่วนภาคประชาชนตามที่มีการเสนอชื่อ เนื่องจากไม่ต้องการมีส่วนร่วมกับรัฐสภาเผด็จการเสียงข้างมาก ซึ่งฉ้อฉลและไม่สนใจกฎหมายประชาชน นอกจากนี้ เสนอด้วยว่าในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป ขอให้คนงานเลือกผู้แทนฯ ที่เห็นหัวคนจน คำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง

ยงยุทธ เม่นตะเภา กล่าวว่า คนงานพยายามเรียกร้องเรื่องการมีส่วนร่วมคัดเลือกผู้บริหารกองทุนประกันสังคมมาโดยตลอด เวลาที่ไปยื่นหนังสือร้องเรียน รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานก็ออกมารับ ให้ความหวังว่าข้อเรียกร้องคนงานจะได้รับการพิจารณา รัฐบาลเองก็บอกว่าจะฟังเสียงประชาชน แต่สุดท้าย ร่างกฎหมายของประชาชนกลับถูกปัดตก

สัมพันธ์ ฉลองวรกร เลขานุการเครือข่ายแรงงานนอกระบบ กล่าวถึงข้อดีของร่างกฎหมายที่ตกไปว่า ที่ผ่านมา แม้แรงงานนอกระบบจะมีนายจ้างที่ชัดเจน แต่กลับไม่สามารถเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ของกฎหมายประกันสังคมที่ใช้อยู่ได้ ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับของคนงานนี้ นับรวมแรงงานนอกระบบให้เข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ด้วยเพราะถือว่ามีนายจ้างจริง ซึ่งจะช่วยให้แรงงานนอกระบบได้สิทธิประโยชน์เหมือนกับแรงงานคนอื่นๆ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนไทยกับปัญหาการหมุดตรึงความหมายของความดี

Posted: 25 Mar 2013 10:22 PM PDT

 

เกริ่นนำ

ท่าทีของรัฐและประชาชนที่หมุดตรึง (Fixed) วาทกรรมบางอย่าง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นสม่ำเสมอในประวัติศาสตร์ และในหลายๆ ประวัติศาสตร์แห่งการหมุดตรึงนั้น แม้ว่า จะมีลักษณะที่ไม่เป็นระเบียบนัก แต่วาทกรรมที่ประกอบสร้างขึ้นผ่านพิธีกรรมแห่งอำนาจ ได้ส่งผลรุนแรงต่อเหตุการณ์ที่จะตามมาในภายหลัง โดยที่ยังไม่ต้องให้คุณค่าเชิงศีลธรรมล่วงหน้าว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป ดี หรือ เลว เรากลับรู้ได้อย่างหนึ่งว่า ที่ใดมีการหมุดตรึงความหมายของคำ หรือ มีการสถาปนาวาทกรรมขึ้น ที่นั่นมักมีการปลดปล่อยที่มีสัดส่วนความรุนแรงที่อาจจะมากกว่าอำนาจที่กดขี่ด้วยซ้ำไป เป็นต้น การอภิวัฒน์ในฝรั่งเศส หรือ ขบวนการคอมมิวนิสต์ในหลายประเทศ สิ่งนี้เป็นผลมาจากความสับสนปนอึดอัดของประชาชนในรัฐที่เริ่มจะเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่มีความหลากหลาย และถ้ารัฐไม่มีกลไกที่ดีในการจัดการปัญหาแบบใช้หลักเสรีภาพและความเท่าเทียม ส่วนมากแล้วไม่นานนักหลังจากรัฐดำเนินวิธีการอย่างผิดพลาด การปลดปล่อยจะเกิดขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง สำคัญกว่านั้น การปลดปล่อยอาจขับเคลื่อนอย่างโหดร้ายทารุณ ตามสภาพที่ประชาชนเคยถูกรัฐกดขี่ ซึ่งปรากฏการณ์นี้ก็เป็นเรื่องที่สังเกตจากโฉมหน้าของประวัติศาสตร์ได้ไม่ยากนัก

เนื้อหา

วาทกรรม (Discourse) ที่ประกอบสร้างขึ้นต้องมีลักษณะเบียดเบียน เบียดบัง วาทกรรมอื่น เพื่อที่จะได้สถาปนาตัวเองเป็นกระแสหลัก ให้ตัวเองเป็นหนทางเดียวและความเที่ยงแท้ ส่วนมากในประวัติศาสตร์ วาทกรรมของผู้ปกครองรัฐจำเป็นต้องอ้างถึงความชอบธรรม (สากล) บางอย่างเพื่อให้มีอำนาจเหนือผู้ถูกวาทกรรมครอบงำโดยสมบูรณ์ เช่น กฎหมายนี้พระเจ้าเป็นผู้ประทานมา จะเห็นว่า มีการอ้างอำนาจเทวสิทธิ์ (Divine Authority) เพื่อการันตีความชอบธรรมของกฎหมายนี้  กล่าวอย่างโหดร้ายสำหรับศตวรรษที่ 21 คือ ตัวบทหรือบริบทจะเป็นอย่างไรไม่จำเป็นต้องสน ขอเพียงระบุตามตัวอักษรมาเช่นนี้ และมีการตีความที่ชอบธรรมเช่นนี้ เป็นอันกระทำได้ไม่ผิด ไม่ถือเป็นความชั่วร้าย เรื่องนี้เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ยุคกลาง เช่น มัลเลอูส มัลเลฟีการุม (Malleus Maleficarum) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "ตำราล่าแม่มด" ซึ่งภายหลังเมื่อวิเคราะห์วรรณกรรม (Bibliography) แล้วพบว่า หนังสือเล่มนี้ทำให้ผู้ใช้ (นักล่าแม่มด) มั่นใจ เพราะมีการอ้างอำนาจเทวสิทธิ์ของพระคัมภีร์และนักปราชญ์ศาสนจักรคนสำคัญ อย่างโธมัส อากวีนูส การันตีความชอบธรรมของหนังสือเล่มนี้ จึงกลายเป็นว่า จะทำทารุณกรรมกับใครก็ได้ไม่มีความผิด และควรรู้ว่า หนังสือเล่มนี้ถูกประทับตรารับรองจากสันตะปาปา นั่นคือ ผลสำเร็จของการถูกสถาปนาเป็นวาทกรรม เช่นนี้ เรากล่าวได้ว่า มีการหมุดตรึงความหมายเกิดขึ้น และสิ่งใดที่ผิดจากความหมายนี้เป็นอันนอกรีตไปเสียหมด สำหรับยุคกลางการจัดการสิ่งที่ผิดจากความหมายกระแสหลัก คือ ฆ่าและทารุณกรรม แต่ในปัจจุบัน กฎหมายมีเจตนารมณ์คุ้มครองชีวิต จึงวิธีการจัดการอาจเปลี่ยนแปลงเป็น การห้ามมิให้พูด หรือ แสดงความคิดเห็น ซึ่งในศตวรรษที่ 21 การห้ามมิให้พูด หรือ แสดงความคิดเห็น เป็นเรื่องที่ไม่อาจควบคุมได้อีกต่อไป เนื่องจากมีช่องทางในการสื่อสารมากมาย เช่น อินเตอร์เน็ต

การหมุดตรึงความหมายไม่ได้ตื้นเขินอีกต่อไปในยุคนี้ เพราะเทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่ก้าวหน้า ใครก็ตามที่อยากจะหมุดตรึงความหมายของพรรคพวกตนล้วนต้องพึ่งพาสื่อ ฉะนั้น การ "ผลิตซ้ำ" (Reproduce) ชุดความหมายและภาพลักษณ์ย่อมเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ ค่อยๆ ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น รัฐบาลออกมาประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอเรื่องน้ำมันแพงว่า ที่จริงจำเป็นต้องแพง เช่นนี้ เราอาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลกำลังใช้กระบวนการผลิตซ้ำ และอีกแง่หนึ่ง ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับคำแถลงของรัฐบาลก็อาจใช้วิธีการเดียวกันในการบอกกับสังคมว่า รัฐบาลโกหกเรื่องนี้ และนั่น เป็นการขับเคี่ยวกันตามปกติธรรมดาของโลกที่เต็มไปด้วยความแตกต่างทางความคิด ถ้าไม่นำเรื่องเทวสิทธิ์ (Divine Authority) เข้ามาเกี่ยวข้อง

เพราะสังคมไทยเชื่อเรื่องเทวสิทธิ์ เป็นต้นเรื่อง หลักเมือง พระเสื้อเมืองทรงเมือง วิญญาณบรรพบุรุษที่เคยปกป้องเอกราชของประเทศ ซึ่งเรื่องนี้เป็นความเชื่อเฉพาะถิ่น ควรทำให้พ้นจากวังวนเรื่องผลประโยชน์ เช่น การให้คุณให้โทษกับผู้ที่คิดต่าง แต่แล้ว ตามพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงนักของประเทศไทย เรื่องเทวสิทธิ์ถูกนำไปใช้ในลักษณะช่วยการันตีความชอบธรรมของพรรคพวกตน เป็นต้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ท้าทายกันให้ไปสาบานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (พระแก้วมรกต) หรือจะเป็นการผลิตซ้ำวาทกรรมเชิงสาปแช่งโดยอ้างอำนาจเทวสิทธิ์ ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกต่อสังคมแบบนี้ทำให้เกิดความลักลั่นระหว่างความเป็นชาวพุทธในนิกายเถรวาทที่ไม่สนับสนุนเรื่องเหนือธรรมชาติ กับ ความเป็นชาวไทยพื้นถิ่นซึ่งมีความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ หลายครั้งก็เป็นเพียงแต่การแสดงบทบาทสมมติเพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือให้กับพรรคพวกตนเอง หรือที่เรียกกันว่า ปาหี่

อย่างไรก็ตาม เทวสิทธิ์เป็นปัจจัยหลักที่หมุดตรึงความหมายของความดีในสังคมไทย เรื่องนี้จะไม่เป็นปัญหาเลย ถ้าการหมุดตรึงดังกล่าวเหลือพื้นที่ว่างให้กับการตีความแบบอื่นในสังคมบ้าง แต่ทว่า ใครก็ตามที่วางแผนใช้เทวสิทธิ์นี้มาอ้าง กลับยึดครองพื้นที่ในการสื่อสารทุกช่องทาง เพื่อผลิตซ้ำความหมายของความดีในสังคมไทย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้เกิดการกดขี่ทางความคิดและเสรีภาพ รวมถึง เป็นการจงใจปล่อยปละละเลยให้เกิดการกระทบกระทั่งกันระหว่างผู้ที่เห็นด้วยกับเห็นต่าง ซึ่งผลเลวร้ายที่สุด คือ เมื่อการปลดปล่อยเกิดขึ้น เทวสิทธิ์ ในฐานะสิ่งที่ถูกอ้างอาจถูกทำลายลงด้วย เพื่อป้องกันอย่างเข้มมิให้ถูกใช้เป็นข้ออ้างได้อีก เป็นต้น แนวคิดเรื่องศาสนา คือ ยาฝิ่น ของ มาร์กซ และจะไม่มีผู้อ้างเทวสิทธิ์คนใดกล้าออกมารับผิดชอบต่อความเสียหายของเทวสิทธิ์ในฐานะสิ่งถูกอ้างเลย กลายเป็นว่า เทวสิทธิ์ซึ่งพ้นจากภาระหน้าที่ในการปกครองมนุษย์ไปนานแล้ว กลับต้องมารับเคราะห์ เพราะถูกนำไปใช้ในการเคลื่อนไหวที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณ ทั้งที่ ในความเป็นเทวสิทธิ์เอง มิได้ปฏิเสธความแตกต่างของความหมายเลยแม้แต่น้อย เป็นต้น ความขัดแย้งกันเองในตัวบทของคัมภีร์ การมีพระเจ้าหลายองค์ การผสมผสานกับศาสนาโบราณ เพียงแต่ว่า มนุษย์ผู้ใช้อำนาจจำเป็นต้องผูกขาดอำนาจเทวสิทธิ์กับตัวไว้ เพื่อสถาปนาอำนาจเทวสิทธิ์ตามความหมายของตัวเสียใหม่ หรือไม่ก็ปฏิเสธความเป็นเทวสิทธิ์เดิมเสีย แล้วสถาปนาสิ่งที่คล้ายกับความเป็นเทวสิทธิ์ เช่น วาทกรรมเงินคือพระเจ้า วาทกรรมคนมีเงินทำอะไรก็ไม่น่าเกลียด เป็นต้น

ชนชั้นกลางต้องยอมรับว่าเป็นผู้เข้าถึงเทคโนโลยีมากสุด ฉะนั้น จึงเป็นกลุ่มที่ผลิตซ้ำความหมายของความดีที่การันตีโดยเทวสิทธิ์จนกลายเป็นการหมุดตรึงในที่สุดด้วย โดยความไม่รู้หรือรู้ตัวก็ตาม การหมุดตรึงความหมายในสังคมจำลอง อย่างอินเตอร์เน็ตได้เริ่มต้นขึ้น มีกระแสหลักบางอย่างที่แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า ข้อความแบบนี้เท่านั้นคือความดี และข้อความอื่นๆ ไม่ใช่ความดี ซึ่งการหมุดตรึงความหมายเช่นนี้ เป็นการทำให้ภาษาซึ่งมีธรรมชาติเลื่อนไหลทางความหมายบิดเบี้ยวไป ที่สุดแล้ว จะมีแต่การผลิตซ้ำ ซึ่งเป็นแต่คำซ้ำๆ ที่สำคัญ การอธิบายขยายความ หรือ การสร้างจุดยืนใหม่จะกลายเป็นสิ่งที่แปลกประหลาด นอกรีต สังเกตได้ว่า หลายคนปรารถนาจะเป็นนักล่าแม่มดด้วยซ้ำไป เพราะความดี-ความชั่ว มีการแบ่งข้างที่ชัดเจนแล้ว ขาดแต่ผู้ที่ทำผลงานในฐานะอัศวินแห่งความดีงาม แต่โลกใบนี้ เป็นร้อยปีแล้วที่มีนักคิดมากมายเสนอว่า ไม่จำเป็นต้องมีการแบ่งความดี-ความชั่วที่ชัดเจนตายตัวเช่นนั้น แต่เรื่องนี้ ยังใหม่เสมอสำหรับสังคมไทยที่ให้คุณค่าอย่างสับสนระหว่างเทวสิทธิ์กับอำเภอใจของตัวเอง ซึ่งผู้ที่อ้างระบบนี้จะได้รับผลประโยชน์เสมอ และไม่เคยรับผิดชอบด้วยหากระบบเทวสิทธิ์จะถูกทำลายไป อาจกล่าวได้ว่า ชนชั้นกลางมัวแต่ทำมาหากินและค่อนข้างล้าหลังในการติดตามแนวคิดเหล่านี้

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในศตวรรษที่ 21 การหมุดตรึงและผูกขาดความหมายอาจทำได้ด้วยทุน เช่น การที่อเมริกามีข้ออ้างในการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพไปยังบางประเทศ แต่ ในประเทศไทยยังสามารถทำได้ทั้งทุนและเทวสิทธิ์ ที่สำคัญการผูกขาดแบบไทย เป็นการหมุดตรึงในลักษณะที่ไม่ปล่อยให้มีการให้ความหมายอื่นแม้แต่น้อย อาจกล่าวได้ว่า การให้ความหมายแบบอื่นถูกตัดสินไปล่วงหน้าแล้วว่า ดีหรือชั่ว เช่นนี้แล้ว การปะทะกันทางความคิดอย่างรุนแรงและป่าเถื่อนอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าฝ่ายหนึ่งอ้างอำนาจเทวสิทธิ์และอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอำนาจทุนซึ่งเป็นเทวสิทธิ์ใหม่ อาจทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงได้ในที่สุด ถ้าทั้งสองฝ่ายมุ่งมั่นที่จะจับจองพื้นที่ทั้งหมดของอีกฝ่าย เราสังเกตได้จากความไม่รู้ตัวของชนชั้นกลางที่ผลิตซ้ำวาทกรรมแห่งความเกลียดชังในเรื่องนี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นเป็นนัยว่า อย่างไรก็ตาม อีกฝ่ายจะต้องได้รับโทษ เรื่องนี้ค่อนข้างล้าหลังอีกเช่นกัน ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เพราะโลกยุคปัจจุบันไม่ได้เป็นเช่นนั้น อาจกล่าวในแง่ร้ายว่า มันมีพัฒนาการไปไกลกว่านั้นไม่ว่าจะดีหรือชั่วก็ตาม

สรุป     

โลกสมัยใหม่เรียกร้องการจำแนกแยกแยะที่ละเอียดลออ กล่าวโดยง่ายว่า ยิ่งคุณใช้เทคโนโลยีที่ละเอียดซับซ้อนมากขึ้นเท่าไร คุณอาจต้องจ่ายด้วยชีวิตที่ต้องจำแนกแยกแยะให้ละเอียดซับซ้อนยิ่งขึ้น และในเมื่อเทวสิทธิ์ควรถูกทำให้อยู่คนละประเด็นกับผลประโยชน์อย่างจริงจัง เพราะมีประวัติศาสตร์เป็นบทเรียนแล้ว ประกอบกับมีการถอดบทเรียนมาแล้วว่าการผลิตซ้ำความหมายของความดีโดยอ้างเทวสิทธิ์จะกลายเป็นการผูกขาดและหมุดตรึงความหมายซึ่งไม่เคยทำให้อะไรดีขึ้น ซ้ำร้ายจะทำให้ทุกอย่างเลวร้ายมากขึ้นหากมีการปลดปล่อยจากรากหญ้า จะดีกว่าหรือไม่ ที่จะช่วยกันสร้างพื้นที่การให้ความหมายใหม่ๆ ในสังคม ซึ่งจะเป็นการปลดปล่อยความคับข้องใจและข้อสงสัยที่แต่เดิมไม่อาจพูดได้ ให้กลายเป็นแบบฝึกหัดสำหรับการเสวนากันทางความคิด เพราะหากยืนกรานที่จะหมุดตรึงความหมายของความดีเช่นนี้แล้ว ประเทศไทยจะไม่มีโจทย์อะไรใหม่ให้ตอบ เพราะทุกโจทย์มีเฉลยอยู่แล้ว หน้าที่ของประชาชนไทยคือคัดลายมือตามที่ครูสั่ง เพื่อว่า "ลายมือนั้นคือยศ" ได้สักวัน 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใบตองแห้ง: 'หมอเจ็บ' กับ รมต.หมอ

Posted: 25 Mar 2013 10:03 PM PDT

กระทรวงสาธารณสุขชิงจัดม็อบแพทย์พยาบาล รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป ให้กำลังใจหมอประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข ก่อนถูกแพทย์ชนบทขับไล่ในวันนี้

ความขัดแย้งในกระทรวงสาธารณสุข อันที่จริงก็เป็นงูกินหาง แบ่งข้างไม่ถูก อย่างที่ผมเคยเขียนหลายครั้งว่า นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคของพรรคไทยรักไทย ประสบความสำเร็จได้เพราะทักษิณเป็นพ่อ แพทย์ชนบทและเครือข่ายหมอประเวศ หมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์, หมอวิชัย โชควิวัฒน์, หมอมงคล ณ สงขลา เป็นแม่ผู้ให้กำเนิด

ส่วนคนที่ต่อต้าน 30 บาท ก็คือผู้บริหารกระทรวง ซึ่งถูกตัดอำนาจ ตัดงบประมาณ ไปอยู่ สปสช.เกือบหมด และพวกแพทย์ บุคลากร ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (ขอเรียกง่ายๆ ว่า รพ.จังหวัด) เนื่องจากนโยบาย 30 บาทปฏิรูประบบสาธารณสุข ยกเลิกการจ่ายงบให้โรงพยาบาลต่างๆ ตามขนาด แต่จ่ายให้ตามรายหัวประชากรที่รับผิดชอบ จึงกลายเป็นปัญหาหนักสำหรับ รพ.ใหญ่ที่มีแพทย์พยาบาลเยอะ ให้ต้องลดหรือไม่รับบุคลากรเพิ่ม

ถ้าย้อนอดีตไป คงจำกันได้ว่า พวกแพทย์พยาบาล รพ.จังหวัดนี่แหละที่แต่งดำเป็นหมอ "ประชุมเพลิง" ประท้วงรัฐบาลไทยรักไทย

แต่ขั้วก็พลิกไปเมื่อเครือข่ายหมอประเวศกลายเป็นแกนสำคัญในขบวนการไล่ทักษิณ กระทั่งรัฐประหาร หมอมงคล ณ สงขลา เข้าไปเป็นรัฐมนตรีสาธารณสุข แต่อีกด้านหนึ่ง พวกแพทย์พยาบาลที่ต่อต้าน 30 บาทก็ไม่ใช่เสื้อแดงที่ไหน ก็ไล่ทักษิณด้วยกันนั่นแหละ ไปดูตาม รพ.ใหญ่ๆ สมัยนั้น เปิด ASTV กันเอิกเกริก

เพียงแต่เมื่อพรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทยขึ้นมาเป็นรัฐบาล ไม่ทราบว่าเพราะอะไร กลับไปเข้ากับพวกผู้บริหารในกระทรวง และแพทย์ รพ.จังหวัด เปิดศึกกับเครือข่ายหมอประเวศและแพทย์ชนบทมาตลอด (อาจเป็นเพราะผู้บริหารกระทรวงสนองความต้องการของฝ่ายการเมืองได้เสมอ)

นี่เป็นประเด็นที่ผู้รักประชาธิปไตย เกลียดชังรัฐประหารทั้งหลาย ซึ่งหมั่นไส้ "ลัทธิประเวศ" จะต้องแยกแยะให้ดีว่าอะไรเป็นผลประโยชน์กับประชาชน เป็นประโยชน์กับ "ประชาธิปไตยกินได้" (ซึ่ง 30 บาทอยู่ในนั้น) โดยไม่เลือกข้างรัฐบาลและรัฐมนตรีไว้ก่อน

 

อะไรคือเบี้ยเหมาจ่าย

แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร ที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยของรัฐ มีสถานะแตกต่างจากบัณฑิตทั่วไป คือเป็น "นักเรียนทุน ก.พ." เพราะรัฐต้องลงทุนผลิตแพทย์แต่ละคน 3-4 ล้านบาท เมื่อจบแล้วจึงต้องใช้ทุนโดยรับราชการ 3 ปี ส่วนใหญ่ก็จะไปประจำในชนบท

ถามว่าคุ้มไหม อันที่จริงไม่คุ้มนะครับ ครบ 3 ปี แพทย์ ทันตแพทย์ ก็มีสิทธิโบยบินไป รพ.เอกชน ซึ่งตักตวงเอาบุคลากรที่รัฐผลิต โดยใช้เงินภาษีประชาชน ไปทำกำไรกันสบายใจเฉิบ

ตั้งแต่ปี 2514 รัฐกำหนดให้มี "เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย" เป็นแรงจูงใจแพทย์ที่อยู่ใน รพ.ชุมชน 3 ปีแรก เดือนละ 2,000 บาท ปีที่ 4 เป็นต้นไป เดือนละ 2,200 บาทจนเกษียณอายุ

อัตรานี้ใช้มาจนปี 2551 ตั้งแต่สมัยทองคำบาทละ 400 หมอจบใหม่เงินเดือน 4,000 ไม่เคยเปลี่ยน

เพียงแต่รัฐเพิ่มเงินช่วยเหลือค่าไม่ทำคลินิกหรือ รพ.เอกชนให้คนละ 10,000 บาท เงินเพิ่มพิเศษ 5,000 บาท ได้เท่ากันทั้งแพทย์ รพ.จังหวัดและ รพ.ชุมชน ฉะนั้นหมอจบใหม่ที่ปัจจุบันได้เงินเดือนราว 16,000 บาท ก็จะมีรายได้รวม 31,000 บาท ถ้าอยู่ รพ.ชุมชนได้ 33,000 บาท

ฟังดูเหมือนมาก แต่ถ้าครบ 3 ปี ไปอยู่เอกชน หรือไปเรียนแพทย์เฉพาะทาง รายได้เดือนหลายแสนนะครับ แพทย์เฉพาะทางบางสาขา เช่น อายุรศาสตร์ฉุกเฉิน ขาดแคลนมาก หมอบางคนยังไม่ทันเรียนจบ รพ.เอกชนจองตัว เดือนละ 3.5 แสนบาท

ตามตัวเลขของชมรมแพทย์ชนบท เมื่อปี 2551 ประเทศไทยมีแพทย์ 3 หมื่นกว่าคน อยู่ในกระทรวงสาธารณสุขราว 1 หมื่นคน ที่เหลือทำเอกชน หรืออยู่ใน รพ.มหาวิทยาลัย (หรือขายเฟอร์นิเจอร์-ฮา)

รพ.ชุมชนซึ่งมี 723 แห่งทั่วประเทศ ดูแลประชากร 40 ล้านคน มีแพทย์อยู่เพียง 2,767 คน รวมแพทย์ใช้ทุน (3 ปีแรก) ในจำนวนนี้เป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป 2,566 คน แพทย์เฉพาะทาง 201 คน

อย่าลืมว่าหมอ 3 หมื่นกว่าคนนี่ 3 ปีแรกต้องผ่าน รพ.ชุมชนมาทั้งสิ้น แต่ตอนนี้ไม่มีเหลือ

ชมรมแพทย์ชนบทจึงเสนออัตราเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใหม่ กับรัฐมนตรีในสมัยนั้น โดยถามว่า "อยากทำเรื่องที่ยิ่งใหญ่ไหม"

ได้เลย รัฐมนตรีขวัญใจแพทย์ชนบทไม่ใช่ใครที่ไหน "พ่อไอ้ปื๊ด" เอ๊ย "หมอเหลิม" นี่เองครับ ที่ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 4 กำหนดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายให้แพทย์ชนบท รวมทั้งทันตแพทย์ เภสัชกร และต่อมาก็รวมพยาบาลและบุคลากรทั้งหมด

เบี้ยเหมาจ่ายไม่ใช่การเอาเงินฟาดหัวแพทย์ให้มาอยู่ชนบท เพราะยังไงก็เงินเดือนต่ำกว่าเอกชนอยู่ดี เพียงแต่ลดช่องว่างให้น้อยลง เพิ่มแรงจูงใจให้กับคนที่มีอุดมการณ์ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ไม่ต้องไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง

ฟังอย่างนี้บางคนอาจร้องอ้าว เป็นหมอธรรมดาไม่ดักดานหรือ ความจริงหมอที่เราขาดแคลนก็คือหมอเวชปฏิบัติทั่วไปนี่แหละครับ ในประเทศไทย มีสัดส่วนแพทย์เฉพาะทางสูงมาก เพราะทำเงินดีกว่า แต่ในประเทศที่พัฒนาระบบสาธารณสุขได้ดีอย่างอังกฤษ เขามีแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวเยอะมาก อยู่ในท้องถิ่น รู้จักผู้คนในพื้นที่ เห็นหน้าค่าตาก็รู้ว่าบ้านอยู่ไหน ลูกหลานใคร มีประวัติทางการแพทย์อย่างไร ให้การรักษาได้ถูกต้อง เรียบง่าย เช่น เป็นไข้หวัดก็บอกให้กินน้ำเยอะๆ พักผ่อนเยอะๆ อย่างเก่งให้กินพารากับวิตามินซี แต่คนไทยเราชอบไปหาหมอที่สั่งจ่ายยาแก้อักเสบ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ ฯลฯ เพื่อจะได้เสียเงินเยอะขึ้น ไม่งั้นไม่สบายใจ

อังกฤษใช้ระบบเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายให้กับแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว โดยแบ่งเวลาให้เป็นช่วงๆละ 7 ปี คือ 7 ปีแรกไม่ได้ 7 ปีที่สอง ได้เดือนละ 400 ปอนด์ 7 ปีที่สาม พุ่งขึ้นเป็น 2,500 ปอนด์ และตั้งแต่ปีที่ 22 ขึ้นไป 5,000 ปอนด์ อังกฤษจึงดึงแพทย์ไว้เป็นแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวได้ถึง 55% ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ก็เอาระบบนี้ไปใช้เช่นกัน

แพทย์ชนบทเอาระบบนี้มาใช้ โดยคิดคำนวณร่วมกับขนาดของโรงพยาบาล คือเล็ก กลาง ใหญ่ แล้วบวกด้วยเบี้ยเสี่ยงภัยหรือทุรกันดาร ซึ่งแบ่ง รพ.เป็น 3 ระดับคือ ปกติ เสี่ยงภัยหรือทุรกันดารระดับ 1 เสี่ยงภัยหรือทุรกันดารระดับ 2 โดยก่อนหน้านี้ รพ.เสี่ยงภัยหรือทุรกันดารจะได้เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายอยู่แล้ว 5,000-10,000 บาทตามระดับ

ทำไมต้องคิด รพ.ใหญ่ กลาง เล็ก ก็ต้องย้อนไปด้วยว่าทำไมให้เฉพาะ รพ.ชุมชน ไม่ให้ รพ.จังหวัด ก็เพราะแพทย์ส่วนใหญ่ย่อมอยากอยู่ในตัวจังหวัดที่เจริญกว่า สะดวกสบายกว่า โรงพยาบาลมีเครื่องมืออุปกรณ์พรั่งพร้อมกว่า  ถ้าไม่ได้ตัวจังหวัด ก็ต้องอยากอยู่ รพ.อำเภอที่ใหญ่กว่า เพราะ รพ.อำเภอขนาดกลางและเล็ก บางแห่งก็ไม่มีให้แม้แต่บ้านพัก

ทำไมต้องให้หมอที่อยู่นานได้เบี้ยเหมาจ่ายมาก เพราะไม่เช่นนั้นก็จะมีแต่มือใหม่หัดขับ มาเอาคนชนบทเป็นหนูลองยา

สูตรที่แพทย์ชนบทเสนอ และหมอเหลิมอนุมัติ คือ ในพื้นที่ปกติ แพทย์ที่อยู่ใน รพ.ชุมชน 3 ปีแรก ไม่ว่าขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ได้เท่ากัน 10,000 บาท ปีที่ 4-10 เล็ก กลาง ใหญ่ ได้ 30,000 บาท 25,000 บาท และ 20,000 บาทตามลำดับ ปีที่ 11-20 ได้ 40,000 บาท 30,000 บาท และ 25,000 บาท ตามลำดับ 21 ปีขึ้นไป ได้ 50,000 บาท 40,000 บาท และ 30,000 บาทตามลำดับ

ในพื้นที่ทุรกันดารระดับ 1 เพิ่มให้อีก 10,000 บาท ระดับ 2 เพิ่มให้อีก 20,000 บาท

ฉะนั้นแพทย์ที่อยู่ใน รพ.ชุมชน พื้นที่กันดารระดับ 2 พอประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 4 ออกมา ก็ได้เบี้ยเลี้ยงเพิ่มทันที 70,000 บาท

ฟังเหมือนมากนะครับ แต่จริงๆ แล้วได้แค่ 6 คน ตัวอย่างเช่น หมอสมชาย ศรีสมบัณฑิต ผอ.รพ.ตากใบ นราธิวาส, พ.ญ.จิรพรรณ โง้วเชียง ผอ.รพ.ทุ่งหัวช้าง จ.น่าน แต่รายหลังอยู่ได้ปีเดียว คุณพ่อป่วย ต้องย้ายกลับภูมิลำเนา ก็ลดเบี้ยเหมาจ่ายลงตามพื้นที่ที่ไปอยู่

สูตรนี้ไม่ใช่ได้แล้วได้เลยนะครับ เพราะถ้าย้ายจาก รพ.เล็กไป รพ.ใหญ่ก็ต้องลดเบี้ยลง ย้ายไป รพ.จังหวัดก็ปิ๋วเลย แต่ถ้าย้ายกลับมา รพ.ชุมชนก็จะนับช่วงเวลาต่อให้ หมอบางคนเคยทำ รพ.ชุมชน 9 ปี ย้ายไปอยู่ รพ.ศูนย์ 5 ปี ขอกลับมาอยู่ รพ.ชุมชนใหม่ ก็จะนับเป็น 9 ปี ต้องอดใจรออีกปีถึงจะเข้าเกณฑ์ช่วงอายุที่ 3

ขณะที่การกำหนดพื้นที่ก็ไม่ได้ตายตัวเช่นกัน เพราะมีมติคณะรัฐมนตรีกำกับว่าให้ปรับเปลี่ยนทุก 2 ปี เช่น ร.พ.เกาะพงัน ล่าสุดเปลี่ยนจากทุรกันดารระดับ 2 เป็นระดับ 1 น.พ.ดำริห์ พุทธิพงษ์ ผอ.รพ.ที่เป็น 1 ใน 6 ของคนได้เบี้ยเหมาจ่าย 70,000 บาท ก็จะลดลงเหลือ 60,000 บาท ขณะที่ รพ.ชุมชนใน 3 จังหวัดภาคใต้เปลี่ยนเป็นเสี่ยงภัยระดับ 2 ทั้งหมด

ฉะนั้นที่กระทรวงสาธารณสุขออกมาอ้างว่าบางพื้นที่เจริญแล้ว ใช้เกณฑ์วัดว่ามีร้านเซเว่นอีเลเว่นไหม ฯลฯ เพื่อจะยกเลิกเบี้ยเหมาจ่ายนั้น ความจริงก็อยู่ในเกณฑ์เดิมอยู่แล้ว

ประกาศกระทรวงฉบับที่ 4 ยังให้ค่าตอบแทนพิเศษแพทย์บางสาขา ที่ขาดแคลน และไม่ใช่สาขาทำเงิน เช่น พยาธิแพทย์ ผู้ตรวจชิ้นเนื้อ หรือแพทย์นิติเวช ซึ่งไม่รู้จะเก็บตังค์ลูกค้าที่ไหน

ต่อมายังมีประกาศกระทรวงฉบับที่ 6 เพิ่มเบี้ยเหมาจ่ายให้กับพยาบาลและบุคลากรใน รพ.ชุมชนในอีกอัตรา

แน่นอน แพทย์และบุคลากรใน รพ.จังหวัดย่อมรู้สึกไม่พอใจ อยู่ๆ เพื่อนได้เบี้ยเลี้ยงหล่นใส่ 70,000 บาท (ความจริงได้แค่ 6 คน แต่เวลาพูดกันปากต่อปาก ก็เว่อร์อยู่แล้ว) จึงมีการเรียกร้องต่อรองจนกระทรวงออกประกาศฉบับที่ 5 และ 7 ตามมา ฉบับที่ 5 กำหนดให้เพิ่มค่าตอบแทน ค่าให้บริการ ค่าผ่าตัด ค่าทำงานล่วงเวลา อีก 30-50% ฉบับที่ 7 เพิ่มเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายให้แพทย์ใน รพ.จังหวัด 3 ปีแรก 10,000 บาท ปีที่ 4 เป็นต้นไป 15,000 บาท

แต่ประกาศฉบับที่ 7 นี้เองเป็นปัญหา เมื่อถูก สตง.ท้วงติงว่าไม่เป็นไปตามหลักการ ในเมื่อประกาศฉบับที่ 4 และ 6 ต้องการสร้างแรงจูงใจให้แพทย์และบุคลากรไปอยู่ รพ.เล็ก พื้นที่กันดาร ทำไม รพ.จังหวัดจึงกำหนดเท่ากันหมด เพราะ รพ.จังหวัดบางแห่ง เช่น รพ.ศรีสังวาลย์ แม่ฮ่องสอน อยู่ในพื้นที่กันดาร ทำไมได้เท่า รพ.จังหวัดใหญ่ๆ ที่มีความเจริญ

แต่ปรากฏว่าแทนที่กระทรวงสาธารณสุขจะไปแก้ไขเพิ่มความเป็นธรรมให้แพทย์ ร.พ.จังหวัด กลับพาลจะยกเลิกเบี้ยเหมาจ่ายทั้งหมดแล้วไปใช้ระบบ "คิดแต้ม" หรือ P4P แทน

 

ทำไมไม่เพิ่มสองฝ่าย

เมื่อรวมเบี้ยเหมาจ่ายทั้งหมด กระทรวงต้องเพิ่มงบประมาณราวปีละ 3 พันล้านบาท ฟังดูอาจจะมาก แต่นี่หมอนะครับ

ทักษิณยังเคยพูดไว้สมัยเป็นนายกฯ (ก่อนที่ไม่มีแผ่นดินจะอยู่) ว่า ทำไมผู้พิพากษาได้เงินเดือนมากกว่าหมอ ทั้งที่ตอนสอบเอนทรานซ์ คนสอบติดหมอต้องเก่งกว่า เรียนก็หนักกว่า เป็นคนหัวไบรท์ของประเทศ (ดันพูดในงานสัมมนาผู้พิพากษาซะด้วย)

เบี้ยเหมาจ่ายนี้ไม่ได้มาก เช่นหมอเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลกิจ ประธานชมรมแพทย์ชนบท อยู่ รพ.ชุมชนมา 26 ปี เดิมอยู่ภูกระดึง ได้ 50,000 บาท ย้ายมาชุมแพ รพ.ใหญ่ เหลือ 30,000 บาท ถามว่าหมอที่ไปทำงานเอกชน 20 กว่าปีได้เท่าไหร่

จะให้ชัดเจนต้องดูตัวเลข เมื่อผ่านไป 4 ปี ปัจจุบันปี 2555 รพ.ชุมชนมีแพทย์เพิ่มขึ้นจาก 2,767 คนเป็น 4,056 คนหรือ 47% มีแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป 3,281 คน เพิ่มขึ้น 715 คน แพทย์เฉพาะทางที่เคยมี 201 คนตอนนี้เพิ่มเป็น 775 คน

ขณะที่แพทย์ใน รพ.จังหวัดก็เพิ่มเช่นกัน จากไม่ถึง 7 พันคนเป็น 8,737 คน

การมีแพทย์เพิ่มใน รพ.อำเภอหมายถึงชีวิตคนนะครับ เพราะอาการป่วยบางโรค ถ้าถึงมือหมอช้าก็ช่วยไม่ทัน บางคนอ้างว่าชาวบ้านเขาไม่ไป รพ.อำเภอหรอกเพราะผ่าตัดอะไรก็ไม่ได้ ไปจังหวัดดีกว่า แต่ถ้าคุณมีอาการฉุกเฉิน เดินทางไกลไปอีกเป็นชั่วโมง ก็จบเห่

และที่บอกว่า รพ.อำเภอรักษาอะไรไม่ค่อยได้ ก็แพทย์ไม่พร้อมนี่ครับ แต่ตอนนี้เมื่อมีทั้งแพทย์เวชปฏิบัติแพทย์เฉพาะทาง เขาก็รักษาได้มากขึ้นแล้ว

อย่างหมอเกรียงศักดิ์คุยว่า รพ.ชุมแพมีหมออายุรศาสตร์ 4 คน ตอนนี้เปิดฟอกไต ไม่ต้องเข้าจังหวัด แถมรับคนไข้ที่เส้นเลือดสมองอุดตัน นับเฉพาะ 6 เดือน 24 ราย ช่วยได้ 23 ราย เพราะเส้นเลือดอุดตันต้องฉีดยาละลายลิ่มเลือดภายใน 3 ชั่วโมง ถ้ามัวแต่ส่งต่อ แล้วส่งไม่ทัน ไม่ตายก็เป็นเจ้าชายนิทรา

ที่พูดนี่ไม่ใช่ว่าผมเห็นด้วยกับแพทย์ชนบททั้งหมด เพราะผมคิดว่าแพทย์ รพ.จังหวัดก็น่าเห็นใจเหมือนกัน ถ้าเขารับราชการอยู่ 20-30 ปี ก็ควรคิดเกณฑ์เพิ่มเงินให้เขา ไม่ใช่แค่ 10,000 กับ 15,000 ตายตัว แพทย์ รพ.จังหวัดควรได้ใช้เกณฑ์ 4 ช่วงเวลาเหมือนกัน ซึ่งถ้าไปเพิ่มให้อย่างนั้น แพทย์ชนบทก็ใช่ว่าจะคัดค้าน

ขอเพียงให้ได้ต่ำกว่า รพ.ชุมชนระดับหนึ่ง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ไปอยู่ รพ.ชนบท

ยกตัวอย่างนะครับ กระทรวงอ้างว่า รพ.เสาไห้ สระบุรี อยู่ห่าง รพ.จังหวัดแค่ 7 กิโล แต่ได้เบี้ยเหมาจ่าย อ้าว! ถามกลับว่าถ้าไม่ให้เบี้ยเหมาจ่ายเลย ใครจะอยากไปอยู่ รพ.เสาไห้ ฉะนั้นถ้าจะยกระดับเป็นพื้นที่ชุมชนเมือง ลดเบี้ยเหมาจ่าย ก็ไม่เป็นไร แต่ไม่ใช่ยกเลิกหมด แล้วมาใช้ P4P ซึ่งถูกท้วงติงว่ามีปัญหา เพิ่งเริ่มทดลองใช้ใน รพ.บางแห่ง ทำให้หมอทะเลาะกันก็มี

P4P อธิบายง่ายๆ คือระบบคิดแต้ม ให้เงินเพิ่มตามผลงาน แต่ถามว่าคุณจะวัดผลงานหมออย่างไร ถ้านับครั้งการผ่าตัด อาจคิดง่าย ถ้านับครั้งที่ตรวจคนไข้ อาจคิดง่าย แต่ลงไปในรายละเอียดแต่ละโรคซับซ้อนต่างกัน แล้วงานด้านอื่นๆ ล่ะ P4P ยังไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจน

โอเค คุณอาจจะเอา P4P มาใช้ได้ ถ้าทดลองไปอีกระยะ มีความพร้อมกว่านี้ แต่ประเด็นคือ ถ้าใช้เกณฑ์ P4P เหมือนกันหมด ไม่มีความแตกต่างระหว่าง รพ.ชุมชนกับ รพ.จังหวัด หมอก็เลือกไปอยู่ รพ.จังหวัดดีกว่าสิครับ แล้วที่ทำมาทั้งหมด เท่ากับสูญเปล่า

แนวคิดของกระทรวงตามที่ปลัดพูดไว้เมื่อวันที่ 12 มี.ค.คือ จะค่อยๆ ปรับลดเบี้ยเหมาจ่ายลง 3 ระยะ พร้อมกับการปรับเปลี่ยนพื้นที่ โดยเพิ่มพื้นที่ รพ.ชุมชนเขตเมือง (แบบเสาไห้) 33 แห่ง ซึ่งเป็นเป้าที่จะถูกตัดเบี้ยเหมาจ่าย

ระยะที่ 1 เริ่มต้นเดือนเมษายนนี้ เปลี่ยนเกณฑ์การนับช่วงเวลาทำงานเหลือเพียง 3 ช่วง ยกเลิกช่วง 21 ปีขึ้นไป โดยอ้างว่าส่วนใหญ่เป็นซี 9 แล้วต้องได้เงินประจำตำแหน่ง (แต่แพทย์ชนบทเขาก็มองว่า ลึกๆ แล้วนี่คือแนวคิดว่าหมอที่รับราชการมา 20 ปี ถึงจะถูกลดเบี้ยเหมาจ่ายอย่างไรก็คงไม่ลาออก)

ขณะเดียวกันก็จะลดเบี้ยเหมาจ่ายแต่ละช่วงลง 5,000-10,000 บาท สำหรับ รพ.ชุมชนพื้นที่ปกติแต่พื้นที่กันดารเสี่ยงภัยยังไม่ลด

ระยะที่ 2 เดือนตุลาคม 2556 ลดเบี้ยเหมาจ่ายลงครึ่งหนึ่ง แล้วใช้ระบบ P4P อ้างว่าจะจ่ายอย่างเหมาะสมให้ได้ไม่น้อยกว่าเดิม ขณะที่ รพ.ชุมชนเขตเมืองยกเลิกเบี้ยเหมาจ่ายไปแล้ว

ระยะที่ 3 เดือนตุลาคม 2557 กำหนดพื้นที่ รพ.ชุมชนพื้นที่เฉพาะ ที่จะยังจ่ายเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ที่เหลือยกเลิก ให้ใช้ระบบ P4P เหมือน รพ.จังหวัด

เพียงแต่ต่อมาเมื่อถูกต่อต้าน กระทรวงก็ไม่พูดอีกว่าหลังตุลาคม 2557 จะยกเลิกหมด

 

อย่าหยามอุดมการณ์

ผมไม่ได้มองแง่ลบเสียหมดประเภทว่า รมว.สาธารณสุขมาจากพ่อค้า รับนโยบายมาทำลายระบบสาธารณสุข เพื่อให้สมองไหล แพทย์ออกไปทำงานเอกชน ซึ่งตอนนี้กำลังเปิด Medical Hub กับคับคั่ง รับการเปิด AEC ซึ่งยังมีข้อตกลงให้นักลงทุนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาถือหุ้น รพ.เอกชนตามชายแดนได้ถึง 70%

แต่ถ้ามายกเลิกเบี้ยเหมาจ่ายแบบนี้ ไม่ได้ตั้งใจก็ให้ผลอย่างเดียวกัน คือเตะหมูเข้าปากหมา

พูดแล้วก็จั๊กจี้ใจนะครับ เวลาเห็นตึก Medical Hub ของศิริราชทีไร ได้ข่าวว่าจะมีห้องพักคืนละ 7 หมื่น มีอ่างจาคุซซีไว้ต้อนรับเศรษฐีต่างชาติ ทั้งที่ศิริราชสร้างมาด้วยเงินภาษี บวกกับเงินบริจาคของประชาชน คนละเล็กละน้อย 5 บาท 10 บาท ด้วยความเคารพศรัทธาต่อสมเด็จพระบรมราชชนก (โหนเจ้าบ้าง) ถ้าเปิดมาแล้ว ผมก็ไม่รู้ว่าศิริราชจะสอนนิสิตแพทย์เรื่องจรรยาบรรณ ความเสียสละ เห็นอกเห็นใจช่วยเหลือประชาชนที่ยากจน ในแบบไหนกัน ในเมื่ออาจารย์แพทย์คงจะฟันเงินจากเศรษฐีต่างชาติกันอื้อ และลดเวลาออกตรวจคนจนลง

เอาละ Medical Hub เป็นเรื่องที่ต้องส่งเสริม เพื่อหารายได้เข้ารัฐ แต่ไม่ใช่ไปส่งเสริม รพ.เอกชนกอบโกยกำไรโดยรัฐไม่ได้อะไรเลย แถมยังเสียบุคลากรที่ใช้งบประมาณสร้างขึ้นมาอีกต่างหาก ฉะนั้นในขณะที่ส่งเสริม Medical Hub ก็ต้องเอารายได้มาเพิ่มค่าตอบแทนให้บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อดูแลคนยากจน

แต่รัฐบาลไม่ได้เตรียมการเรื่องนี้เลย กลับออกนโยบายที่เป็นผลร้ายเสียอีก

มองโลกในแง่ดี หมอประดิษฐอาจเชื่อหลักการ "จ่ายตามผลงาน" จึงเอาระบบ P4P มาใช้เหมือนการบริหารธุรกิจ แต่อย่าลืมว่าเบี้ยเหมาจ่ายตามระบบเดิมคือการ "ซื้อใจ" หมอ ซึ่งจริงๆ แล้วเทียบไม่ได้หรอก กับค่าจ้างภาคเอกชน เขาต้องมีอุดมการณ์ด้วยจึงมารับเงินที่รวมๆ แล้วอาจจะแสนกว่าบาท เพื่อตรวจคนไข้วันละเป็นร้อย แทนที่จะไปรับเงินเดือน 3 แสนตรวจคนไข้วันละสิบในกรุงเทพฯ

ปัญหาคือในการสื่อสาร คำพูดของ รมว.สาธารณสุขสะท้อนความคิดที่ดูเหมือนจะตั้งแง่ว่า แพทย์ชนบทไม่ต้องมีผลงาน ไม่ต้องวัดประสิทธิภาพการทำงาน ก็ได้เบี้ยเหมาจ่ายไปสบายๆ

"ผมเป็นเพื่อนแพทย์เหมือนกันจะตัดสิทธิทำไม และยิ่งเป็นนักการเมือง ถ้าหางบให้ได้ก็ได้คะแนนเสียง แต่สิ่งที่ทำเพราะอยากให้ระบบมันอยู่ได้มั่นคงและมีศักดิ์ศรี ไม่ใช่ให้คนอื่นมาว่าแพทย์ได้ ค่าตอบแทนในอนาคตก็ต้องใช้งานแลกมาอย่างเหมาะสม และหากระบบมีปัญหาก็ต้องแก้ไขร่วมกัน ซึ่งระบบต่างๆ ที่วางไว้ ไม่ได้อยากเปลี่ยนแปลงองค์กร แต่อยากให้ทุกฝ่ายเปลี่ยนแปลงบทบาท เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานและอยู่อย่างมั่นคงเท่านั้น"

คำพูดนี้ต้องถามว่าเบี้ยเหมาจ่ายไม่มีศักดิ์ศรีตรงไหน ใครมาว่า ทำไมต้องใช้งานแลกมาอย่างเหมาะสม คุณคิดว่าหมอชนบทไม่ได้ทำงานอย่างนั้นหรือ ที่ผ่านมาทำงานไม่มีประสิทธิภาพหรือ แค่ไปอยู่ รพ.ชุมชน นั่งๆ นอนๆ ก็ได้เงิน 70,000 แบบนั้นหรือ

สงสัยหมอประดิษฐจะฟังความอีกข้างหนึ่งมากไป

"การปรับวิธีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นแบบตามภาระงาน (P4P : Pay for Performance) จะดำเนินการ 2 ระยะ ซึ่งจะมีการประเมินผลในทุกระยะเพื่อให้ระบบเกิดความมั่นคง รูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนสอดคล้องกับหลักวิชาชีพ และลดความเหลื่อมล้ำระหว่างวิชาชีพและภายในวิชาชีพ ที่สำคัญแพทย์ในส่วนต่างๆ ตามภาระงานที่แตกต่างกันก็จะได้แรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น ทำให้รัฐบาลสามารถตอบประชาชนได้ว่า ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างชัดเจนในการจ่ายงบประมาณที่เพิ่มขึ้น"

ยิ่งพูดยิ่งเข้าเนื้อ หมอประดิษฐมองว่าการจ่ายเบี้ยเหมาจ่ายประชาชนไม่ได้ประโยชน์ชัดเจน แถมยังอ้างความเหลื่อมล้ำ (ที่แพทย์ รพ.จังหวัดไม่ได้) ก็เลยจะทำให้เท่าเทียม โดยไม่มองว่าความเหลื่อมล้ำนั้นคือแรงจูงใจให้แพทย์อยู่ รพ.ชุมชน

คือถ้าจะปรับเรื่องพื้นที่เจริญ หรือจะปรับเพิ่มเงินให้แพทย์ รพ.จังหวัด หรือจะเอา P4P มาคิดร่วม (ถ้าทดลองระบบจนแน่ใจแล้ว) ก็ไม่เป็นไรหรอกครับ แต่ต้องยืนยันหลัก 2 ประการคือ แพทย์ที่อยู่ รพ.เล็กต้องได้แรงจูงใจมากกว่า รพ.ใหญ่ และแพทย์ที่อยู่ชนบทนาน ต้องได้มากกว่าแพทย์ที่อยู่ใหม่

นี่จะให้เท่าเทียมกันหมด แล้วบอกว่าแรงจูงใจ

ถ้าคิดว่าแพทย์ชนบทไม่ทำงานเอาแต่เงิน ขอให้ดู นพ.วัฒนา พาราสี ผอ.รพ.ท่าบ่อ หนองคาย ที่ติดป้ายต่อต้านรัฐมนตรีสิครับ นี่คือหมอที่ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีด้วยวิธีส่องกล้อง มามากที่สุดในประเทศไทย เชี่ยวชาญจนมีชื่อเสียงเลื่องลือ ทูตไทยในลาวยังข้ามมาผ่าที่ท่าบ่อ ไม่เข้ากรุงเทพฯ ตอนนี้ได้เบี้ยเหมาจ่าย 40,000 เพราะทำงานมา 20 กว่าปี อยู่ รพ.ปกติ ขนาดกลาง แต่วันที่ 1 เมษายนนี้จะเหลือ 25,000 วันที่ 1 ตุลาเหลือ 15,000 แล้ว 1 ตุลาปีหน้าเหลือศูนย์

แล้วจะให้จ่ายตามผลงาน เอ้า ผ่าตัดครั้งหนึ่ง จะจ่ายให้เขาเท่าไหร่ อัตราราชการ 300,500 เดือนหนึ่งต้องผ่านับร้อยรายถึงจะได้เท่า 40,000

แต่ประเด็นสำคัญไม่ใช่เงิน มันเสียความรู้สึกต่างหาก มันรู้สึกว่าถูกลบหลู่ศักดิ์ศรีต่างหาก เพราะถ้าเห็นแก่เงิน เขาลาออกไปนานแล้ว อย่างหมอวัฒนาออกเมื่อไหร่รวยเมื่อนั้น

สิ่งที่หมอประดิษฐพลาดอย่างที่สุดคือ ไม่เข้าใจและมองไม่เห็นความเสียสละ มีอุดมการณ์ ของแพทย์ชนบท ที่เขาอดทนทำงานมา 20-30 ปีท่ามกลางความยากลำบาก ก่อนปี 51 ก็ไม่เคยได้อะไรเลย นอกจากเบี้ยเหมาจ่าย 2,200 บาท

หมอประดิษฐ์ต้องเข้าใจว่า การใช้คำว่า "เพื่อนแพทย์" เนี่ย แพทย์ชนบทฟังแล้วขำกลิ้ง เพราะหมอประดิษฐ์เป็นลูกเศรษฐี ขับบีเอ็มไปเรียน เรียนจบแล้วไม่รู้มียาดีอะไร ไม่ต้องไป รพ.ขุขันธ์ รพ.ปางมะผ้า กลับได้อยู่ รพ.ธัญญรักษ์ ใกล้แค่เนียะ แล้วถูกขอตัวมาช่วยงานหน้าห้อง นพ.วิทุร แสงสิงแก้ว ปลัดกระทรวงอีกต่างหาก พอครบ 3 ปีก็ไปเรียนฮาวาร์ด กลับมาทำธุรกิจ ทิ้งวิชาแพทย์ที่เป็นทุน ก.พ.รัฐส่งเสียให้เรียน เหมือนกรูเรียนเก่งเลยสอบเข้าหมอโก้ๆ เท่านั้น

วันนี้หมอประดิษฐ์กลับมาเป็น รมว.สาธารณสุข แล้วจะมาใช้ระบบบริหารธุรกิจ จัดระเบียบแพทย์ชนบท "จ่ายตามผลงาน" แทนระบบเดิมซึ่งเป็นการ "ซื้อใจ" หมอที่มีอุดมการณ์ (ไม่ใช่การจ้างหรือเอาเงินฟาดหัว)

หมอประดิษฐ์ไม่เข้าใจจริงๆ หรือว่าหมอที่รักษาคนจนมา 20-30 ปีเขาจะมองคุณอย่างไร เมื่อไปใช้ทัศนคติแบบนี้กับเขา (นี่ยังไปใช้คำว่า "แจกเงิน" อีกต่างหาก)

ทบทวนตัวเองหน่อยนะครับ

 

                                                                                    ใบตองแห้ง

                                                                                    26 มี.ค.56

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ข้อเสนอให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควบคุมตัวแทนการจำคุกผู้ต้องขัง

Posted: 25 Mar 2013 09:40 PM PDT

การใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้ถูกจำกัดหรือผู้ซึ่งศาลมีคำสั่งให้จำคุกโดยวิธีการอื่นที่สามารถจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้นั้น (electronic monitoring of prisoners) ตาม กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจำคุกโดยวิธีการอื่น ที่สามารถจำกัด การเดินทางและอาณาเขต พ.ศ. 2556 มิใช่เรื่องใหม่สำหรับการบริหารงานยุติธรรมของสากลแต่ประการใด หากแต่หลายประเทศ ได้อาศัยเทคโนโลยีจากเครื่องอุปกรณ์รับส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องมือใดๆ ที่ใช้ติดตามตัวนักโทษหรือผู้เคยต้องโทษ รวมไปถึงผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมประพฤติ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับงานราชฑัณฑ์หรืองานคุมประพฤติ สามารถติดตามพฤติกรรมของนักโทษหรือผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมประพฤติตามเงื่อนไขหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้

ตัวอย่างเช่น กระทรวงยุติธรรมของประเทศอังกฤษได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการฝังไมโครชิปในร่างกายของนักโทษหรือผู้ถูกคุมประพฤติ (microchip implanting) โดยไมโครชิปดังกล่าวมีระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency Identification - RFID) ที่บรรจุข้อมูลส่วนตัวและประวัติอาชญากรรมของนักโทษและผู้ถูกคุมประพฤติ รวมไปถึงผู้ที่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการปล่อยตัวในกรณีอื่นๆ และไมโครชิปยังมีระบบการทำงานที่สอดรับกับเทคโนโลยีติดตามความเคลื่อนไหวนักโทษหรือผู้ถูกคุมประพฤติผ่านระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RFID  prisoner tracking technology) อันทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และเจ้าหน้าที่คุมประพฤติสามารถตรวจสอบประวัติอาชญากรรมและติดตามความเคลื่อนไว้ของนักโทษได้จากเครื่องมือดังกล่าวจากระบบเทคโนโลยีบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก (Global Positioning System - GPS) จากดาวเทียมได้ เป็นต้น

ทั้งนี้ การใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้ถูกจำกัดหรือผู้ซึ่งศาลมีคำสั่งให้จำคุกโดยวิธีการอื่นที่สามารถจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้นั้นนอกจากจะส่งผลดีต่อผู้ถูกจำกัดหรือผู้ซึ่งศาลมีคำสั่งให้จำคุกโดยวิธีการอื่นที่สามารถจำกัดการเดินทาง และอาณาเขต ที่เข้าเงื่อนไขหรือเหตุแห่งความจำเป็นสี่ประการที่กฎกระทรวงกำหนดไว้ ได้แก่ ผู้ซึ่งต้องจำคุกจะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำคุก ผู้ซึ่งต้องจำคุกจำเป็นต้องเลี้ยงดูบิดา มารดา สามี ภริยา หรือบุตร ซึ่งพึ่งตนเองมิได้และขาดผู้อุปการะ ผู้ซึ่งต้องจำคุกเจ็บป่วยและต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และผู้ซึ่งต้องจำคุกมีเหตุควรได้รับการทุเลาการบังคับให้จำคุกด้วยเหตุอื่น ๆ การใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวยังเป็นส่งผลดีต่อการลดจำนวนนักโทษให้เรือนจำ อันทำให้เป็นการลดความแออัดของเรือนจำ (prison overcrowding) ภายใต้เงื่อนไขหรือเหตุที่กฎหมายได้กำหนดไว้

ภาพที่ 1 อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้ถูกจำกัดที่สวมใส่ไว้ที่ข้อเท้าในประเทศบราซิล (electronic monitoring anklets)                                                    

ที่มา http://infosurhoy.com/cocoon/saii/xhtml/en_GB/features/saii/features/main/2011/05/17/feature-02

 

ภาพที่ 2 อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้ถูกจำกัดที่สวมใส่ไว้ที่ข้อมือของประเทศอิสราเอล (electronic monitoring bracelets)

ที่มา http://www.haaretz.com/print-edition/news/fearing-budget-cuts-israeli-prisons-dump-electronic-bracelets-1.404225


อย่างไรก็ดี อาจมีข้อวิพากษ์บางประการเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ ได้แก่ ประเด็นแรก การตรวจสอบการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้ถูกจำกัด ย่อมอาจสร้างภาระงานที่ยุ่งยากสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และเจ้าหน้าที่คุมประพฤติที่เกี่ยวข้องกับกฎกระทรวงฉบับนี้ นอกจากนี้ อาจเป็นการยากที่จะพิสูจน์ในกรณีที่มีการดัดแปลง ทำให้เสียหาย ทำลาย เคลื่อนย้าย หรือถอดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะในความเป็นจริงแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และเจ้าหน้าที่คุมประพฤติไม่ได้อยู่ร่วมสังเกตพฤติกรรมของผู้ถูกจำกัดตามกฎกระทรวงตลอดเวลา ซึ่งเจ้าหน้าที่ดังกล่าวทำได้เพียงแค่ตรวจสอบผู้ถูกจำกัดตามสมควร ได้แก่ การตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ถูกจำกัดฝ่าฝืนเงื่อนไข หรือสอบถามบุคคลที่อยู่ในที่นั้น ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ อุปนิสัย และความประพฤติของผู้ถูกจำกัด รายงานข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเป็นเหตุควรแก้ไขเปลี่ยนแปลงการจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้ถูกจำกัดแก่เจ้าพนักงานทราบเพื่อดำเนินการต่อไป สอบถาม แนะนำ ช่วยเหลือผู้ถูกจำกัดตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรในเรื่องความประพฤติและการประกอบอาชีพ และตรวจสอบการดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติ เงื่อนไข และแผนดำเนินการที่ศาลให้ ความเห็นชอบ

ประเด็นที่สอง ในปัจจุบันยังมีข้อสงสัยทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพว่าการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้ถูกจำกัดหรือผู้ซึ่งศาลมีคำสั่งให้จำคุกโดยวิธีการอื่นที่สามารถจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้นั้น จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตหรือไม่ เพราะผู้ถูกจำกัดจำเป็นต้องสวมใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตลอดเวลาตามที่ศาลได้มีคำสั่งให้จำคุกโดยวิธีการอื่น ที่สามารถจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้ซึ่งต้องจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในกฎกระทรวง (โปรดดูเพิ่มเติมใน Dodgson, K. et al. (2001). Home Office Research Study 222 Electronic monitoring of released prisoners: an evaluation of the Home Detention Curfew scheme. London: Home Office, p7)

นอกจากนี้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาจหมายความรวมถึง การฝังไมโครชิปในร่างกายของผู้ถูกจำกัดได้ เพราะกฎกระทรวง ข้อ ๑ ได้ให้นิยามของ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาจหมายความรวมทั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้ถูกจำกัดได้ ซึ่งรัฐสภาของหลายประเทศได้แสดงความวิตกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานอุปกรณ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทไมโครชิปในร่างกายกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง (risks to cancer) ต่อตัวผู้ถูกจำกัด (โปรดดูเอกสารของรัฐสภาสก็อตแลนด์ได้ในเอกสาร The Scottish Parliament PUBLIC PETITION NO. PE1251. Public Petitions Committee)

ประเด็นที่สาม การใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้ถูกจำกัดหรือผู้ซึ่งศาลมีคำสั่งให้จำคุกโดยวิธีการอื่นที่สามารถจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้นั้น อาจกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคล (privacy rights) เพราะระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้ถูกจำกัดได้ ย่อมทำให้ผู้ถูกจำกัดโดนตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องตลอดเวลา อย่างไรก็ดี หากข้อมูลส่วนตัวและประวัติต่างๆของของผู้ถูกจำกัดโดนจารกรรมก็ย่อมอาจกระทบต่อข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล รวมไปถึงสวัสดิภาพส่วนบุคคล โดยผู้ถูกจำกัดอาจถูกตามล่าตัวจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่สามารถล้วงข้อมูลติดตามความเคลื่อนไว้ของนักโทษได้จากเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสะดวก

การใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้ถูกจำกัดหรือผู้ซึ่งศาลมีคำสั่งให้จำคุกโดยวิธีการอื่นที่สามารถจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้นั้นแม้ว่าจะมีผลดีต่อการลดปริมาณผู้ต้องขังในเรือนจำหรือการช่วยให้ผู้ซึ่งต้องจำคุกที่มีเหตุจำเป็นในเรื่องของสุขภาพ อนามัยและภาระเลี้ยงดูครอบครัวสามารถกลับไปรับการรักษาตัวหรือดูแลครอบครัวได้ ซึ่งในอนาคต กระทรวงยุติธรรมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรออกระเบียบหรือประกาศ เพื่อกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางและอาณาเขตของผู้ถูกจำกัด หน่วยงานที่รับผิดชอบ หรือเงื่อนไขอื่นใด เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎกระทรวง โดยศึกษาผลดีและผลเสียให้รอบด้าน ที่อาจเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎกระทรวงฉบับนี้

 

 

จากชื่อบทความเดิม "วิพากษ์กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจำคุกโดยวิธีการอื่น ที่สามารถจำกัด การเดินทางและอาณาเขต พ.ศ. 2556"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น