โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

จูด ฮาวเวลล์ : เอ็นจีโอในทุกวันนี้ยังหมาะกับบทบาทรณรงค์เรียกร้องอยู่หรือไม่

Posted: 27 Mar 2013 02:20 PM PDT

บทความของ ผ.อ.โครงการวิจัยปฏิบัติการสาธารณะฯ จากอังกฤษ ตั้งคำถามเกี่ยวกับเอ็นจีโอที่เอาตัวเองไปผูกกับรัฐหรือองค์กรธุรกิจ รวมถึงมีตำแหน่งในนั้น ทำให้ต้องแลกกับความอิสระและน่าสงสัยว่ายังคงทำหน้าที่ปกป้องภาคประชาสังคมอยู่ได้จริงหรือไม่

เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2013 ศาตราจารย์ จูด ฮาวเวลล์ ผู้อำนวยการโครงการวิจัยปฏิบัติการสาธารณะจากกลุ่มที่ไม่ใช่รัฐ ของ วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ลอนดอน ได้เขียนบทความในเว็บไซต์เดอะ การ์เดียน ซึ่งตั้งคำถามว่า องค์กรเอ็นจีโอเป็นผู้ที่เหมาะสมกับบทบาทในการเรียกร้องและรณรงค์หรือไม่

เจ้าของบทความเริ่มตั้งคำถามดังกล่าวในวันเดียวกับที่มีเวิร์ลโซเชียลฟอรั่ม หรือการประชุมสมัชชาสังคม ในกรุงตูนิส ซึ่งเป็นการเน้นย้ำความสำคัญขององค์กรภาคประชาสังคมที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและทางการเมือง

จูดกล่าวถึงขบวนการต่อต้านการค้าทาสที่มีบทบาทสำคัญในการร่างกฏหมายเลิกทาสในช่วงศตวรรษที่ 19 ขณะที่ขบวนการสหภาพแรงงานในทั่วโลกก็มีบทบาทสำคัญเบื้องหลังการเรียกร้องสิทธิขั้นต่ำของแรงงานและการปรับปรุงสภาพการทำงาน ขบวนการต่อต้านการเหยียดสีผิวก็ทำให้ระบอบการปกครองแบ่งแยกสีผิวล่มสลายลงไปได้ในแอฟริกาใต้ในช่วงปี 1990s ทางด้านขบวนการผู้หญิงในหลายยุค หลายบริบท ก็สามารถเรียกร้องกฏหมายที่สร้างความเท่าเทียมกันทางเพศได้

"แต่ขณะเดียวกัน ไม่ใช่ขบวนการเคลื่อนไหวทั้งหมดจะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ หรือบางครั้งความสำเร็จก็ไม่ได้มาจากขบวนการเคลื่อนไหวเพียงอย่างเดียว" จูดกล่าว "การเป็นพันธมิตรกับกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองและทางเศรษฐกิจกลุ่มอื่นๆ รวมถึงการประสานงานกับสื่อและบุคคลทั่วไปก็เป็นสิ่งสำคัญ"

บทความกล่าวถึงกลุ่มประชาสังคมและกลุ่มเอ็นจีโอว่าเป็นกุญแจสำคัญในการท้าทายระบบให้กับคนที่เป็นเสียงส่วนน้อยมากกว่าเสียงข้างมาก และให้สิทธิกับคนที่ไม่มีสิทธิมีเสียง แต่จูดก็ตั้งคำถามว่าสิ่งเหล่านี้ยังใช้กับปัจจุบันได้หรือไม่ กลุ่มเอ็นจีโอยังคงเหมาะสมกับหน้าที่นี้จริงหรือ?

จูดกล่าวว่า มีเหตุผลมากมายที่คนจะคิดว่าเอ็นจีโอไม่มีเครื่องมือที่ดีสำหรับการเรียกร้องและรณรงค์ จากที่ในปัจจุบันมีฝ่ายรณรงค์และหาทุน ขณะเดียวกันกลุ่มมืออาชีพ ผู้มีคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์ และคนที่รู้ทางสื่อ ก็เป็นทีมงานที่มีบทบาทในการเรียกร้อง ทั้งนี้เนื่องจากมีการสื่อสารโทรคมนาคมที่ถูกและดี อย่างโซเชียลมีเดียกับอินเตอร์เน็ต ทำให้แม้แต่กลุ่มการกุศลที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักก็สามารถเข้าถึงข้อมูล, รูปภาพ, เรื่องราวจากภาคสนาม และทำให้มันกลายเป็นการรณรงค์ที่สื่อไปถึงผู้รับสารได้

"กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานเป็นระบบ และเชื่อมต่อกับเครื่องมือได้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน แตกต่างจากกลุ่มเคลื่อนไหวสิทธิสตรี กลุ่มต่อต้านการค้าทาส กลุ่มต่อต้านการเหยียดผิวที่ทำงานหละหลวมกว่า ช้ากว่า และ 'เป็นมืออาชีพ' น้อยกว่า" จูดกล่าว "แต่นั่นทำให้นักรณรงค์ในยุคปัจจุบันมีประสิทธิภาพมากขึ้นจริงหรือ และทั้งหมดนี้เพียงพอแล้วจริงหรือ"

บทความของจูดกล่าวไว้ว่า แค่ความเป็นมืออาชีพอาจจะยังไม่เพียงพอ ความสำเร็จของการเคลื่อนไหวในอดีตมาจากการมีผู้เข้าร่วมที่มีความตั้งใจอย่างแรงกล้า มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจากความเชื่อ, ค่านิยม และวิสัยทัศน์ พวกเขาเป็นอิสระจากรัฐบาล พวกเขาไม่เคยพยายามหาเงินเกื้อหนุนจากรัฐ นอกจากนี้บางครั้งยังถูกจับตามองจากรัฐ การทำข้อตกลงใดๆ ก็ตามกับรัฐถือเป็นเรื่องที่ต้องใช้กลยุทธอย่างมาก

จูดเปรียบเทียบว่ากลุ่มขบวนการในอดีตแตกต่างจากปัจจุบันที่มีมืออาชีพมากขึ้น มีผู้เชี่ยวชาญพิเศษในระบบราชการ ผู้ชำนาญการที่มีทักษะและฝีมือ ทำให้พวกเขามีโอกาสได้ฝึกงานแฃะพัฒนาอาชีพตัวเอง มีลูกจ้างหลายคนออกจากองค์กรเอ็นจีโออีกแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง วันนี้ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม อีกวันหนึ่งทำงานด้านเยาวชน บางครั้งก็ย้ายที่จากรวันดา ต่อไปก็ไปเวียดนาม นักรณรงค์เอ็นจีโอยุคใหม่บางคนก็ย้ายสายงานไปสู่งานรัฐบาลหรืองานธุรกิจ แล้วก็กลับมาเป็นเอ็นจีโออีก กลายเป็นช่างฝีมือที่มีประสบการณ์การทำงานหลากหลาย การทำงานกับเอ็นจีโอกลายเป็นอาชีพหนึ่งซึ่งเป็นทางเลือกใหม่จากภาคส่วนของรัฐหรือเอกชน

ในบทความระบุว่า การทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาลโดยที่เอ็นจีโอเป็นผู้ของบจากรัฐ กลายเป็นรองผู้อำนวยการด้านสวัสดิการ การพัฒนา และงานด้านความมั่นคง ก็เป็นเรื่องชวนให้ตีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นอิสระและจุดยืนทางการเมือง จูดเปิดเผยว่ามีเหตุการณ์สองเหตุการณ์เมื่อไม่นานมานี้ที่แสดงให้เห็นข้อจำกัดและความถูกต้องของนักเรียกร้องมืออาชีพที่กลายเป็นตัวหลักของเอ็นจีโอในทุกวันนี้

จูดกล่าวถึงเหตุการณ์แรกคือ มาตรการพิเศษที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ ที่ทำให้คนมองเรื่องการกุศลที่ดูมี)ระโยชน์และไม่เป็นพิษเป็นภัยต่างจากเดิม โดยการที่นักการเมืองอาศัยความกลัวหลังเหตุการณ์ 9/11 เพื่อเชื้อชวนให้รู้สึกสงสัยต่อโครงการการกุศล  เช่นในเดือน ต.ค. 2006 รัฐมนตรีกระทรวงการคลังในสมัยนั้นคือกอร์ดอน บราวน์ กล่าวอย่างมั่นใจว่า "การกุศลและผู้บริจาคหลายรายเคยหรือกำลังตกเป็นเครื่องมือของการก่อการร้าย" ทำให้การกุศลของอิสลามได้รับผลกระทบจากข้อกล่าวหานี้

"ในสหรัฐฯ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ตกเป็นเป้าองค์กรต้องห้ามหลัง 9/11 มีแต่องค์กรการกุศลของอิสลาม รวมถึงองค์กรใหญ่อย่าง มูลนิธิโฮลี่แลนด์" จูดกล่าว "และในหนังสือที่ฉันได้ร่วมเขียน คือ 'Counter-terrorism, aid and civil society' ฉันได้ศึกษาวิจัยข้อมูลพบว่า เอ็นจีโอในสหรัฐฯ อังกฤษ และหลายส่วนของยุโรปโดยส่วนใหญ่ออกมาปกป้องกลุ่มการกุศลของอิสลามช้ามาก ที่สำคัญกว่านั้นคือช้ามากที่จะออกมาปกป้องพื้นที่ของภาคประชาสังคม เพราะว่าเรื่องความมั่นคงในชาติกลายเป็นสิ่งที่บดขยี้เสรีภาพที่ได้มาในประวัติศาสตร์"

จูดเปิดเผยว่าการขาดปฏิบัติการของเอ็นจีโอในแง่นี้เป็นเรื่องซับซ้อน แต่ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มองข้ามไปไม่ได้คือเรื่องความกลัวว่าจะสูญเสียความสัมพันธ์กับรัฐบาลที่เป็นแกนหลักในการจัดหาทุน ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงนี้ยิ่งทำให้เรื่องนี้เห็นชัด

ผู้เขียนบทความได้กล่าวถึงการประชุมอภิปรายอิสระ (Independent Panel) ในช่วงเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา มีหลักฐานว่าความเป็นอิสระของภาคส่วนงานอาสาสมัครกำลังอยู่ในอันตราย ในการอภิปรายมีการนำเสนอว่า "องค์กรหลายองค์กรกลัวเรื่องการอยู่รอด การเซนเซอร์ตัวเองจึงกลายเป้นปัญหาสำคัญ สำหรับคนที่กล้าพูดออกมาก็จะมีบรรยากาศของการแสดงความเห็นคัดค้านกิจกรรมรณรงค์การกุศลของพวกเขา"

"เกิดอะไรขึ้นกับการปกป้องอิสรภาพของภาคประชาสังคม การปกป้องเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการชุมนุม รวมถึงการปกป้องสิทธิของชนกลุ่มน้อย เกิดขึ้นอะไรกับความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของภาคประชาสังคม เอ็นจีโอในทุกวันนี้ออกเริ่มตีตัวห่างจากการเคลื่อนไหวในอดีตที่มีความอิสระ ความตั้งใจแรงกล้า และความไม่หวั่นเกรง แต่พวกเขาจะกอบกู้สถานการณ์เช่นนี้ได้หรือไม่" จูดกล่าว

จูดกล่าวว่า บางที่แล้วควรจะต้องมีการพิจารณาตนเองอย่างจริงจังในประเด็นหลักๆ เรื่องความอิสระและเรื่องจุดยืน ภาคส่วนเอ็นจีโอจะต้องตอบคำถามจำพวกว่า เอ็นจีโอมีเป้าหมายอะไรในการแข่งขันแย่งชิงแหล่งทุนจากรัฐบาลหรือจากภาคธุรกิจโดยเสี่ยงต่อการต้องสูญเสียคุณค่าซึ่งเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรและวาระของตนเอง เอ็นจีโอจะตะลุมบอนแย่งชิงทรัพยากรกันมากแค่ไหนทั้งที่ควรจะมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและมีการรณรงค์ร่วมกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้พวกเขาต้องสูญเสียพันธกิจในการปกป้องชนกลุ่มน้อยและคุ้มครองพื้นที่ของภาคประชาสังคมไปหรืออย่างไร

"...ในฐานะที่ได้กลายเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการในด้านสวัสดิการ, การพัฒนา และความมั่นคง เอ็นจีโอในตอนนี้อาจจะยังมีอะไรเหลือจะให้เสีย" จูดกล่าว "แต่ในระยะยาวแล้ว หากพวกเขาไม่ได้เผชิญกับความท้าทายพวกนี้ตรงๆ บทบาทของพวกเขาในฐานะผู้เปลี่ยนแปลงสังคมอย่างอิสระจะถูกทำลายลงไป จริงๆ แล้วความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรื่องพวกนี้ก็ดูจะกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงแล้ว"


เรียบเรียงจาก

Are NGOs fit for the purpose of advocacy and campaigning?, The Guardian, 26-03-2013
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สวีเดนถอดศัพท์ใหม่ 'ungoogleable' ออก หลังกูเกิลจี้ให้เปลี่ยนนิยาม

Posted: 27 Mar 2013 02:20 PM PDT

สวีเดนตัดสินใจลบคำว่า 'ungoogleable' ออกจากบัญญัติศัพท์ใหม่ ยุติสงครามภาษากับกูเกิล หลังบรรษัทอ้าง 'ลิขสิทธิ์' ขอเปลี่ยนนิยามใหม่ คณะกรรมการภาษาระบุว่า ลบออกไม่ได้หมายความว่าเลิกใช้ ชี้ภาษาเป็นเรื่องของผู้ใช้ ไม่ใช่บรรษัทข้ามชาติ

คำว่า  ungoogleable หรือ ogooglebar ในภาษาสวีเดน หมายถึง "ไม่สามารถค้นหาได้ผ่านเว็บค้นหา"

ทุกปี คณะกรรมการภาษาจะตีพิมพ์คำใหม่ 10 อันดับแรก ซึ่งเป็นที่นิยมในสวีเดน เพื่อแสดงให้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมและภาษา

Ann Cederberg ประธานคณะกรรมการภาษาของสวีเดน ระบุว่า คำดังกล่าวถูกบรรจุเป็นศัพท์ใหม่เมื่อเดือนธันวาคมปี 55 แต่ทันทีที่ลิสต์ศัพท์ใหม่นี้เผยแพร่ออกไป กูเกิลก็ส่งอีเมลมาถึงเธอ เรียกร้องให้เปลี่ยนคำจำกัดความใหม่ ให้หมายถึงเว็บกูเกิลเท่านั้น โดยอ้างถึงข้อสงวนสิทธิ์ว่า Google เป็นเครื่องหมายการค้า

ต่อมา คณะกรรมการภาษาตัดสินใจถอดคำดังกล่าวออกไปแทน Ann Cederberg ระบุว่า การแลกเปลี่ยนอีเมลยาวๆ กับทนายความของกูเกิลนั้นเสียเวลางานมากเกินไป องค์กรจึงตัดสินใจลบคำดังกล่าวออก ทั้งนี้ นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของคณะกรรมการภาษาที่มีการตัดคำออกจากลิสต์ประจำปี

เธอบอกว่า คณะกรรมการภาษานั้นไม่มีเวลา ไม่อยากเข้าสู่กระบวนการที่ยืดยาวที่กูเกิลพยายามจะเริ่ม และจะไม่ประนีประนอมหรือเปลี่ยนความหมายของคำตามที่บริษัทต้องการ

"กูเกิลอาจจะลืมไปอย่างหนึ่งว่า พัฒนาการของภาษาไม่สนใจการปกป้องตราสินค้า" เธอกล่าว

อย่างไรก็ตาม เธอบอกว่า ถึงจะลบออก ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการใช้คำนี้ในภาษาสวีเดนอีก

"ถ้าเราต้องการจะมีคำว่า 'ogooglebar' ในภาษาของเรา เราก็จะใช้มัน และมันก็เป็นการใช้ของเรา ที่ทำให้เกิดความหมาย ไม่ใช่เพราะความพยายามกดดันของบรรษัทข้ามชาติ คำพูดต้องเป็นอิสระ!" เธอกล่าว

แถลงการณ์ของคณะกรรมการภาษาของสวีเดน ซึ่งลงวันที่ 26 มี.ค. ระบุว่า "ใครตัดสินภาษา? ผู้ใช้ภาษาอย่างเราไง เราตัดสินใจร่วมกันว่ามันควรจะเป็นคำไหนและมันจะมีความหมาย มีวิธีใช้ และสะกดอย่างไร"

ด้านโฆษกของกูเกิลออกมาระบุว่า  "ถึงแม้ว่ากูเกิลจะเป็นเช่นบริษัทอื่นๆ ในแง่ที่ต้องปกปองเครื่องหมายการค้าของตัวเอง แต่เราก็ยังมีความยินดีที่ผู้ใช้กูเกิลนั้นเชื่อมโยงชื่อของเราเข้ากับความหมายของการค้นหาข้อมูลที่ได้ผลยอดเยี่ยม"

 

 

แปลและเรียบเรียงจาก

Google gets ungoogleable off Sweden's new word list
http://www.bbc.co.uk/news/world-europe-21944834

'Ungoogleable' removed from list of Swedish words after row over definition with Google
http://www.independent.co.uk/news/world/europe/ungoogleable-removed-from-list-of-swedish-words-after-row-over-definition-with-google-8550096.html

Google and Sweden in war of words over ogooglebar
http://www.guardian.co.uk/technology/2013/mar/27/google-sweden-ogooglebar

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ร่าง พ.ร.บ. 2.2 ล้านล้านบาท "คำนูณ" ชี้ระบบประชาธิปไตยต้องมีการตรวจสอบการใช้งบ

Posted: 27 Mar 2013 12:40 PM PDT

27 มี.ค. 56 -  ที่ห้องรับรอง 1-2 อาคารรัฐสภา 2 คณะอนุกรรมการเสริมสร้างความรู้ในวงงานนิติบัญญัติในคณะกรรมการวิชาการของวุฒิสภา จัดเสวนาในหัวข้อ "มุมมองวุฒิสภา : ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท" 

 
นางพรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดชัยภูมิ กล่าวถึงการจัดงานในวันนี้ ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท (ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ....) นั้นสมาชิกวุฒิสภาให้ความสนใจมาก เพราะเป็นการใช้จ่ายเงินขนาดมหาศาลของประเทศ และอยากให้ตัว ส.ว.มีการนำข้อมูลไปประกอบการอภิปรายและติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลในโครงการนี้ ซึ่งหากร่าง  พ.ร.บ. นี้ผ่าน ส.ว. ก็จะต้องติดตามผลและตรวจสอบว่ารัฐบาลได้นำเงินไปใช้บรรลุผลตามที่ได้แถลงไว้หรือไม่
 
นายตวง อันทะไชย สมาชิกวุฒิสภาสรรหา กล่าวว่าหัวใจหลักของร่างพระราชบัญญัตินี้อยู่ที่หมวด 2 ว่าด้วยการเสนอและการบริหารจัดการโครงการ ซึ่งมองดูว่าเป็นการตัดตอนเรื่องขั้นตอนการครวจสอบและให้อำนาจฝ่ายบริหารเต็มที่ ซึ่งอาจจะขัดกับหมวด 8 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งโครงการนี้สังคมเองก็มีความกลัวว่าจะมีการคอรัปชั่นหรือไม่ จะมีการตรวจสอบได้อย่างไร และเกิดคำถามอาทิ ไม่มีทางเลือกอื่นแล้วหรือ เช่น งบขาดดุล ทำไมถึงไม่ใช้วิธีการตั้งงบประมาณแบบอื่น และหลังจากนี้ไปรัฐบาลชุดต่อๆ ไปจะมีงบประมาณในการพัฒนาประเทศหรือไม่ รวมทั้งกลไกในการตรวจสอบโครงการนี้จะเป็นแบบวิธีใด
 
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่าคประเทศไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เลย ทั้งนี้การปรับปรุงการคมนาคมและลอจิสติกส์ เป็นสิ่งสำคัญของประเทศ และเราก็ได้ใช้กลไกงบประมาณแบบปกติมาตลอด แต่ถ้าหากเราจะต้องการสิ่งที่เรียกว่าพลิกประเทศนั้นก็อาจจะต้องใช้กลไกแบบพิเศษในกรณีนี้
       
เมื่อถามว่าการกู้เงินให้อยู่ในงบประมาณประจำปีได้หรือไม่ ก็จะทำได้ในแต่ละปี ในลักษณะการตั้งงบประมาณขาดดุลและใส่เม็ดเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเข้าไป แต่ก็จะทำให้เห็นภาพชัดใหญ่ที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงและการลงทุนของประเทศไม่ชัด ดังนั้น เพื่อให้เห็นว่าไทยมีความพร้อมในการเป็นศูนย์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าสภาผ่านกฎหมายนี้เมื่อไหร่จะเกิดภาพใหญ่ที่เกิดขึ้นทันที และเมื่อต่างชาติเห็นภาพนี้แล้วการลงทุนจากต่างชาติจะเกิดขึ้นทันที และการเจริญเติบโตเศรษฐกิจจะเป็นไปอย่างยั่งยืน
       
นายอารีพงศ์ยังกล่าวว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตลอด 7 ปีจะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศจะโตเฉลี่ย 4.5% ภายใต้วินัยการเงินการคลัง ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้คำนวณถึงภาระหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยการกู้เงินไม่ได้ทำทันทีทั้งหมด แต่เป็นการทยอยกู้ตามความจำเป็นต้องใช้เท่านั้น อย่างในการกู้เงินช่วงแรกยังจะไม่ถึง 1 แสนล้านบาทด้วยซ้ำ ทำให้หนี้สาธารณะไม่เกิน 50% ต่อจีดีพี ส่วนการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะไม่เกิน 1.9% อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.3% โดยจะสามารถประหยัดการนำเข้าน้ำมันได้กว่าแสนล้านบาท และช่วยให้ต้นทุนการขนส่งลดลง ส่วนวิธีการใช้จ่ายเงินจะเป็นไปตามระบบจัดซื้อจัดจ้างปกติ จะไม่มีวิธีพิเศษใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างทุกโครงการจะนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ และขณะนี้ได้วางระบบเอาไว้แล้ว
       
ในด้านการคำนวณหนี้สาธารณะที่ไม่เกิน 50% มาจากการคำนวณตัวเลขทุกตัวจาก พ.ร.บ.งบประมาณและ พ.ร.ก.ทุกฉบับบนพื้นฐานที่เรามีความมั่นใจ แต่อย่างไรก็ตาม หากเกิดเหตุการณ์คาดไม่ถึงอย่างกรณีเศรษฐกิจไม่โตจากการดำเนินการ หรือเกิดภาวะช็อกขึ้นมา เราก็ยังมีศักยภาพในการกู้เงินได้อีก เพราะหนี้สาธารณะยังไม่ถึง 60% หรือไม่ก็ชะลอการกู้เงินไปเลยเพื่อบริหารสถานการณ์
 
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย, ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึงจากทีดีอาร์ไอ กล่าวว่าในส่วนตนเห็นว่าโครงการเงินกู้ 2.2 ล้านล้านนี้สามารถพลิกประเทศไทยและเห็นด้วยว่าการต่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเชื่อว่าไม่มีใครคัดค้าน กอรปกับจังหวะการลงทุนในเวลานี้มีความเหมาะสมเพราะโลกเกิดปัญหาเศรษฐกิจในหลายประเทศ และรัฐบาลแต่ละประเทศได้ทำมาตรการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน (Quantitative Easing - QE) จำนวนมาก ส่งผลให้จะมีเงินทุนไหลเข้าประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีผลให้ต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ รวมทั้งค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ก็จะช่วยให้การนำเข้าเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจะมีต้นทุนที่ต่ำไปในตัว 
 
ทั้งนี้มีข้อกังวลในรายละเอียด คือ สภาพบังคับทางกฎหมายของบัญชีของ พ.ร.บ. หมายความว่า ถ้าบัญชีแนบท้ายไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมาย หากในอนาคตรัฐบาลดำเนินการไม่ตรงกับบัญชีดังกล่าวจะถือเป็นเช็คเปล่า (Blank Check) หรือไม่ และฝ่ายนิติบัญญัติจะมีอำนาจแค่ในการตรวจสอบการใช้เงินกู้ที่เป็นเงินนอกงบประมาณเหมือนกับที่มีอำนาจในการตรวจสอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้หรือไม่ เพราะถ้าบัญชีแนบท้ายไม่เป็นสภาพบังคับสภาก็ตรวจสอบอะไรไม่ได้ แม้ว่าในร่าง พ.ร.บ.จะกำหนดให้ต้องรายงานสภาฯ แต่ในความเป็นจริงก็ไม่มีสภาพบังคับรัฐบาลให้ดำเนินการได้
       
รวมทั้งข้อสงสัยว่ากระทรวงการคลังโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) มีการคำนวณตัวเลขหนี้สาธารณะอย่างไร โดยกระทรวงการคลังคำนวณได้ประมาณ 50% แต่ทีดีอาร์ไอคำนวณได้ผลว่าระดับหนี้สาธารณะจะอยู่ที่ 60% ดังนั้น การคำนวณเรื่องนี้ควรคำนวณในแง่ร้ายที่สุดเพื่อประเมินความเสี่ยงของประเทศ ทั้งนี้ถ้าหากได้รายละเอียดข้อมูลต่างๆ ที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะใช้คำนวณ ทางทีดีอาร์ไอก็ยินทีที่จะประเมินตัวเลขนี้ใหม่
       
นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภาสรรหา ในฐานะกรรมาธิการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา ระบุว่า โครงการนี้ตัวเลขที่แท้จริงแล้วไม่ใช่ 2.2 ล้านล้านบาท โดยจากการชี้แจงของกระทรวงคมนาคมยืนยันว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะมีจำนวนทั้งสิ้น 4.24 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกู้ตาม พ.ร.บ.จำนวน 2 ล้านล้านบาท และเงินลงทุนในงบประมาณประจำปีของแต่ละหน่วยงานในอีก 7 ปี จำนวน 2.24 ล้านบาท 
 
ทั้งนี้ตนไม่ใช่คนขวางโลก แต่ที่ต้องออกมาคัดค้านเพราะต้องการให้ประชาชนเห็นว่าการกู้เงินยังมีปัญหาอีกด้านอยู่ การพลิกโฉมประเทศไทยที่แท้จริงจะต้องให้เกิดการถ่วงดุลของฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย หากการใช้เงินกู้แบบนี้เท่ากับว่าไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและวิธีการงบประมาณที่มีเจตนารมณ์ให้การใช้เงินงบประมาณของประเทศเป็นไปอย่างรอบคอบ จึงยืนยันได้เลยว่าจะขอเสียง ส.ว.ให้ครบ 65 คนเพื่อยื่นเรื่องนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยให้เกิดบรรทัดฐานอย่างแน่นอน
       
ทั้งนี้ การพิจารณากฎหมายงบประมาณประจำปีมีเอกสารเป็นลัง ถ้าใครเป็นกรรมาธิการติดต่อกัน 3 ปีแทบจะต้องสร้างบ้านใหม่เพื่อเก็บเอกสาร แต่ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทที่มีเม็ดเงินเท่าๆ กับงบประมาณประจำปี กลับมีเพียง 7 หน้า ต่อให้รัฐบาลจะชี้แจงมีเอกสาร 286 หน้า หรือบอกว่ามี 2,000 หน้าก็ไม่ได้มีผล เพราะเอกสารที่รัฐบาลอ้างนั้นไม่มีสภาพบังคับตามกฎหมาย แต่บัญชีแนบท้ายที่เขียนไว้อย่างกว้างๆ เพียงไม่กี่หน้าต่างหากที่มีสภาพบังคับตามกฎหมาย
       
นายคำนูณกล่าวว่า ยุทธศาสตร์จะทำให้ในอนาคตรัฐบาลตลอด 7 ปีข้างหน้าจะมีอำนาจบริหารงบประมาณลงทุนในแต่ละปีประมาณ 7 แสนล้านบาทต่อเนื่อง 7 ปี จากงบลงทุนตามเงินกู้ 3 แสนล้านบาท และงบลงทุนในงบประมาณประจำปีอีก 4 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าพรรคเพื่อไทยจะต้องทำให้ตัวเองเป็นรัฐบาลต่อไป
 
 
 
 
ที่มา: 
กองบรรณาธิการเว็บไซต์ข่าวรัฐสภาถึงประชาชน ภาพ/ข่าว/เรียบเรียง
ที่มาข่าวบางส่วนจาก ASTV ผู้จัดการออนไลน์
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ต่อสายคุยกับจำเลยที่ 1 ‘จอน อึ๊งภากรณ์’ ก่อนพิพากษาวันนี้ ‘คดีปีนสภา’ ยุคสนช.

Posted: 27 Mar 2013 11:40 AM PDT

คุยกับจอน อึ๊งภากรณ์ หนึ่งใน 10 เอ็นจีโอซึ่งเป็นจำเลยในคดีปีนสภาในยุคสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อยับยั้งการออกกฎหมาย 10 ฉบับ ถามถึงเหตุผลเบื้องหลัง แรงจูงใจ ศาลนัดพิพากษาวันนี้ 10.00 น.

 
"คดีปีนสภา" ที่เอ็นจีโอ 10 คน ถูกฟ้องฐาน ยุยงให้ประชาชนกระด้างกระเดื่อง มั่วสุมก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้าย จากการปีนรั้วรัฐสภาเมื่อวันที่ 12 ธ.ค.50 เพื่อคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก่อนการเลือกตั้งเพียง 11 วัน กำลังจะมีคำพิพากษาในช่วงเช้าวันที่ 28 มี.ค.นี้ ณ ห้องพิจารณาคดี 801 ศาลอาญา รัชดาภิเษก
 
คดีดังกล่าว ศาลรับฟ้องเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.53 เป็นคดีดำที่ อ.4383/2553 โดยจำเลยทั้ง 10 คน ในคดีนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นนักกิจกรรม นักเคลื่อนไหวทางสังคมที่ได้รับการยอมรับ
 
 
ประชาไท มีโอกาสต่อสายพูดคุยกับ 'จอน อึ๊งภากรณ์' เอ็นจีโอและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน เจ้าของรางวัลแมกไซไซสาขาบริการภาครัฐเมื่อปี 2548 ในฐานะจำเลยที่ 1 ในคดี ซึ่งถูกคาดการณ์ว่าอาจต้องเป็นผู้ต้องรับโทษสูงสุด ด้วยเหตุแห่งว่าตำแหน่งที่รับผิดชอบในการชุมนุมวันนั้นคือเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ผู้จัดการชุมนุม เพื่อให้ทราบถึงแนวความคิดหลักของประชาชนนับพันที่มาร่วมชุมนุม และร่วมปฏิบัติการปีนสภาในวันนั้น ก่อนจะไปลุ้นระทึกกับการตัดสินคดีต่อไป
 
อย่างไรก็ดี นอกจากจอนแล้ว จำเลยอีก 9 คนในคดีนี้ประกอบด้วย ไพโรจน์ พลเพชร กรรมการปฏิรูปกฎหมาย, สารี อ๋องสมหวัง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, สุภิญญา กลางณรงค์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อนิรุทธ์ ขาวสนิท เกษตรกรนักเคลื่อนไหว, สาวิทย์ แก้วหวาน แกนนำสหภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อดีตแกนนำรุ่นที่สองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย, ศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) อดีตแกนนำรุ่นที่สองของกลุ่มพันธมิตรฯ, พิชิต ไชยมงคล กรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่ นัสเซอร์ ยีหมะ อดีตหัวหน้าสำนักงานพรรคการเมืองใหม่, อำนาจ พละมี รองเลขาธิการสมาพันธ์แรงรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)
 
000
 
 
คดีนี้ที่ผ่านมามีการต่อสู้ในประเด็นไหนบ้าง ?
 
เราต่อสู้ว่า ประการแรก การที่พวกเราบางส่วนปีนรั้วสภาเข้าไปนั่งในห้องโถงหน้าห้องประชุม สนช.นั้น เราไม่ได้มีการกระทำที่ใช้ความรุนแรงแต่ประการใด ไม่ได้ทำความเสียหายแก่ทรัพย์สินของทางราชการ ไม่ได้มีการยุยงให้ผู้ที่มาร่วมชุมนุมปีนรั้ว แต่อยู่ในลักษณะการตัดสินใจของแต่ละคนเองในการที่จะปีนเข้าไป เป็นการตัดสินใจของแต่ละคน ไม่ได้มีการขึ้นไปกล่าวบนเวทีให้ผู้ชุมนุมรวมกันปีนรั้วสภา
 
ที่สำคัญ เราต่อสู้ในประเด็นว่า การชุมนุมนี้รวมถึงการไปนั่งชุมนุมกันอย่างสงบหน้าห้องประชุมของ สนช.เป็นการกระทำที่มีความชอบธรรมภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ สิ่งที่เราทำเป็นเรื่องผลประโยชน์ของประเทศชาติและสาธารณะ เพื่อผลประโยชน์ในการคัดค้านการเร่งรีบออกกฎหมายอย่างไม่ระมัดระวังของ สนช.ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ขณะนั้นกำลังใช้กลไกนิติบัญญัติกฎหมายที่จะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างร้ายแรงหลายฉบับ เช่น กฎหมายการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย พ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร ฯลฯ
 
และกฎหมายอีกหลายฉบับที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต แทนที่ สนช.จะรอให้สภาที่มาจากการเลือกตั้งพิจารณา ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ไม่มีความจำเป็นต้องออกมาบังคับใช้ในขณะนั้น แต่ สนช.ก็เดินหน้าออกกฎหมายอย่างเร่งรีบ อย่างไม่รอบครอบ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญก็ได้มีการวินิจฉัยว่าในหลายๆ ครั้งที่มีการผ่านกฎหมายที่ประชุม สนช.ก็ไม่ครบองค์ประชุม
 
เพราะฉะนั้นการที่เราไปประท้วงกันอย่างสงบ แม้ว่าเป็นการปีนรั้วก็ตาม แต่การชุมนุมกันอย่างสงบหน้าห้องประชุม สนช.ก็อยู่ในรอบที่กระทำได้ตามรัฐธรรมนูญโดยเราไม่ได้มีเจตนาที่จะฝ่ายฝืนกฎหมาย แต่เรามีเจตนาที่จะยับยั้งการกระทำที่ค่อนข้างร้ายแรงของ สนช.ซึ่งไม่ใช่ตัวแทนของปวงชนชาวไทย
 
 
ทำไมคิดว่าการปีนรั้ว หรือการเข้าไปในอาคารรัฐสภาถือเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมาย?
 
คืออย่างนี้ อาจารย์กิตติศักดิ์ ปรกติ และอาจารย์อีกหลายท่าน รวมทั้ง อาจารย์โคทม อารียา ซึ่งเป็นพยานในฝ่ายเราได้อธิบายว่า บางครั้งมีความจำเป็นที่จะต้องฝ่าฝืนกฎหมายเล็กเพื่อรักษากฎหมายใหญ่ ก็เป็นเรื่องที่ชัดเจนแล้วก็เข้าใจได้ เพราะฉะนั้น การที่อาจจะบอกว่าในทางเทคนิคเราได้บุกรุกเข้าไปในบริเวณรัฐสภา แต่ว่าในการกระทำของเรานั้นก็เพื่อเป็นการหยุดผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำที่ผิด ที่ไม่ถูกต้องของสนช.ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ไม่ฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของสังคม และเดินหน้ารีบชิงออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มต่างๆ ซึ่งกลุ่มที่เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของ สนช. ได้แก่ หน่วยราชการต่างๆ รีบชิงออกกฎหมายก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งจะเข้ามา จริงๆ ในขณะที่เร่งออกกฎหมายเหล่านั้น วันหนึ่งออกกฎหมายไปหลายสิบฉบับ ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ถ้ารออีกประมาณ 10 กว่าวัน ก็จะสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งเกิดขึ้น อันนี้แสดงเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ของ สนช.ในขณะนั้น
 
 
ถึงปัจจุบันกฎหมายที่ภาคประชาชนคัดค้านในวันนั้น มีการดำเนินการต่อไปหรือเป็นอย่างไรแล้วบ้าง? ได้มีการติดตามหรือไม่?
 
กฎหมายที่เราคัดค้าน หลังจากที่เราประท้วงในวันนั้นและเราก็ได้ประท้วงในวันอื่นๆ ถัดจากนั้นมา กฎหมายบางฉบับก็ได้ผ่าน สนช.โดยเราไม่สามารถทัดทานได้ ได้แก่ กฎหมาย พ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักรก็ฉบับหนึ่ง พ.ร.บ.ที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการการกระจายเสียง การแพร่ภาพและกระจายเสียงก็ออกมา เข้าใจว่ากฎหมายบางฉบับที่เกี่ยวกับการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยก็ผ่าน
 
แต่กฎหมายบางฉบับที่เราคัดค้าน แม้จะผ่าน สนช.แล้ว แต่ปรากฏว่าในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นการออกกฎหมายโดยองค์ประชุมไม่ครบ ก็กลายเป็นโมฆะไปในบางฉบับ แต่บางฉบับก็ไม่มีหลักฐาน พิจารณาจนออกมาเป็นกฎหมาย ก็ถือว่า สนช.ผ่านไปส่วนหนึ่ง โดยฉบับที่ผ่านที่มีผลกระทบมากที่สุดก็คือ พ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร ที่ปรากฏว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันก็เอามาใช้ในการจัดการผู้ชุมนุมโดยสงบที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร (กรณีการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม ประกาศ วันที่ 22-30 พ.ย.55) 
 
 
ตัวอย่างกฎหมาย เช่น การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ในรัฐบาลชุดปัจจุบันก็มีการพิจารณาและมีท่าทีที่จะผ่านกฎหมายนี้เหมือนกัน มองว่าอย่างไร?
 
โดยหลักการพวกเราที่ประท้วงเราก็คัดค้านกฎหมายมหาวิทยาลัยออกนอกระบบทุกรูปแบบ แต่อย่างไรก็ตาม การพิจารณากฎหมายมหาวิทยาลัยออกนอกระบบในรัฐสภาปัจจุบันจะมีโอกาสที่จะรอบคอบมากกว่าในบริบทของสนช. เพราะว่าขณะนี้เรามี 2 สภา คือสภาผู้แทนราษฎรและมีวุฒิสภา
 
ในสมัยผมซึ่งมีวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งก็มีกฎหมายมหาวิทยาลัยออกนอกระบบผ่านเหมือนกัน แต่พวกผมก็ได้แปรญัตติแก้ให้ผลกระทบจากการออกนอกระบบนั้นเบาลงได้สำเร็จในบางส่วน เช่น ใส่เงื่อนไขว่ามหาวิทยาลัยจะไม่รับบุคคลเข้าเรียนเนื่องจากบุคคลนั้นไม่มีค่าเล่าเรียนที่จะจ่ายนั้นทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นแม้ว่าในรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งก็มีการผ่านกฎหมายมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ แต่ผมคิดว่าการพิจารณาจะรอบคอบกว่า และมีความชอบธรรมมากกว่าการออกโดย สนช.ซึ่งเป็นสภาที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร
 
 
จากขบวนของเราที่คัดค้านการออกกฎหมายในสมัยของ สนช.จนมาเป็นคดีความถึงปัจจุบัน ถือเป็นบทเรียนอะไรของการเคลื่อนไหวภาคประชาชนได้บ้าง?
 
มันสรุปยากว่าเป็นบทเรียนอย่างไร คือมันก็เป็นรูปแบบการต่อสู้ ผมไม่ได้คิด ผมไม่ได้มองว่าการที่เราต่อสู้คดีหรือถูกดำเนินคดีในคดีนี้เราทำผิดพลาด แต่ผมคิดว่าเราทำถูกต้องแล้ว เราทำถูกต้องตามความเชื่อของเราในการคัดค้านสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
 
เมื่อในการกระทำนั้นผลมันออกมาเป็นว่าต้องมาต่อสู้คดีอาญา ตรงนี้ก็จะเป็นคำต่อสู้ในคดีอาญานั้น แล้วในการต่อสู้เราก็ได้พยายามแสดงว่าการกระทำของเราไม่ได้มีเจตนาที่จะทำผิดกฎหมาย แต่เรามีเจตนาที่จะต้องมีการกระทำในลักษณะของการประท้วงเพื่อที่จะแสดงออกความรู้สึกของเรา ว่าการออกกฎหมายโดย สนช.ก่อความเสียหายแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก
 
ถ้าเป็นสภาที่มาจากการเลือกตั้งอย่างในปัจจุบัน เราก็คงไม่ได้ใช้วิธีนี้ เพราะว่าในแง่หนึ่งเราต้องเคารพการตัดสิน แม้ว่าชาวบ้านอย่างเราอาจจะไม่เห็นด้วยกับกฎหมายที่ออก ซึ่งเราสามารถที่จะชุมนุมประท้วงได้ แต่เราก็คงไม่ถึงขั้นที่จะไปปีนรั้ว เพราะว่าเราก็ต้องเคารพความเห็นของสภาที่ประชาชนของประเทศเลือกเข้ามา แต่ในกรณีของสนช.ไม่ได้เป็นเช่นนั้น
 
 
หากมองในส่วนคดีความ คิดว่าอะไรคือความท้าทายของการพิจารณาคดีในครั้งนี้ และจะสามารถสร้างบรรทัดฐานหรือแนวความคิดบางอย่างได้หรือไม่?
 
เรากำลังต่อสู้กับหลักการบางอย่างที่เกี่ยวกับความมุ่งหมายของรัฐธรรม สิ่งที่ท้าทายตอนนี้ก็คือดูว่าผลของคดีนั้น ไม่ว่าจะเป็นผลของศาลชั้นต้น หรือว่าในกรณีหากเราจำเป็นต้องมีการอุทธรณ์หรือฎีกา ผลในที่สุด ระบบศาลถ้าจะยอมรับในเจตนาของเราที่จะทำในสิ่งที่อาจมองได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายในบางฉบับ แต่ว่าในขณะเดียวกันเราก็ทำตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ในการที่จะสามารถแสดงออกได้โดยสันติ
 
 
รวมไปถึง 'การชุมนุมอย่างสงบ' ด้วย?
 
ข้อกล่าวหาต่อเราในคดีนี้รุนแรงมากนะ มีการกล่าวหาว่าเราใช้กำลังประทุษร้าย เรามีลักษณะของการยุยงให้ผู้ชุมนุมบุกเข้าไปและใช้กำลังประทุษร้าย อันนี้เราปฏิเสธต่อข้อกล่าวหาเหล่านี้ คือจริงๆ ในทางปฏิบัติ พยานของเราได้อธิบายว่า ทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย แต่ในบางครั้งศาลพอจะยกเว้น เห็นใจได้
 
ยกตัวอย่างเช่น ถึงตรงนี้ตามกฎหมายจะใช้เครื่องขยายเสียงก็ต้องขออนุญาต ถ้าผู้ชุมนุมใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ขออนุญาตก็อาจจะถูกดำเนินคดีได้ แต่ถ้าเทียบความผิดอันนั้นกับหลักประกันที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ว่าคุณสามารถที่จะชุมนุมได้ และในการชุมนุมมันมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องขยายเสียง เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม โดยที่ทุกคนได้มีความเข้าใจร่วมกัน ก็จะเห็นได้ว่าบางครั้งในศาลหรือกฎหมายมันก็มีเหตุผลที่น่าจะรับฟังได้    
 
 
การที่จะมีคำตัดสนคดีในวันที่ 28 มี.ค.นี้ มีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
 
ก็เตรียมหลักประกันที่จะต้องนำมาประกันตัว โดยคาดว่าถ้าศาลมีการลงโทษ ผมคงเป็นคงที่ได้รับโทษสูงสุดในบรรดาจำเลยทั้ง 10 คน และจะมีการเตรียมเรื่องการยื่นขอประกันตัวในวันนั้นหากจะต้องมีการอุทธรณ์คำตัดสิน
 
ส่วนจะสู้คดีกันอีกยาวหรือไม่ ยังไม่อยากจะทำนาย เพราะทุกอย่างจะเกิดก็ต้องเกิด
 
ถ้าเกิดโทษที่จะต้องได้เป็นผู้ต้องขังก็คงจะต้องประกันตัวระหว่างขออุทธรณ์ คือโดยหลักการ หากว่าศาลวินิจฉัยว่าเรามีความผิด ก็เป็นเรื่องที่มีแนวโน้มอาจจะต้องอุทธรณ์อยู่แล้ว เพราะการสู้ของเราเป็นการต่อสู้เรื่องของหลักการ คือถ้าเรื่องที่เราต่อสู้ได้สำเร็จ มันก็จะมีความหมายที่เป็นประโยชน์ต่อการเคลื่อนไหว ยกตัวอย่างก็เคยมีกรณีคล้ายๆ เราเกิดขึ้น เช่น กลุ่มสมัชชาคนจน ซึ่งมายื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล แต่รัฐบาลไม่สนใจไยดี สมัชชาคนจนจึงมีการปีนรั้วของทำเนียบรัฐบาล ก็ไม่ได้มีการดำเนินคดี
 
 
เคยมี 'การปีนรั้ว' ลักษณะเดียวกันนี้ของสมัชชาคนจนมาแล้ว?

เคยมี แต่เขาไม่ได้โดน คิดว่าที่เราโดนเพราะความไม่พอใจของผู้ใหญ่ใน สนช.ขณะนั้น ที่มอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาแจ้งความดำเนินคดีกับพวกเรา
 
อีกอย่างที่อยากจะพูดคือ มีความรู้สึกว่านโยบายของสำนักงานอัยการสูงสุดในการดำเนินคดีกับเรานั้น มันเปลี่ยนแปลงไปตามรัฐบาลหรือตามยุคสมัย เพราะในระยะแรก ช่วงที่เราต้องไปรายงานตัวที่สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นประจำทุกเดือน เราได้รับทราบจากเจ้าหน้าที่ว่ามีแนวโน้มว่าข้อกล่าวหาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นจะถูกลดลงในชั้นของสำนักงานอัยการสูงสุด แต่มาภายหลังมีการเปลี่ยนรัฐบาล และจากนั้นสำนักงานอัยการสูงสุดได้สั่งตำรวจให้หาข้อมูลเพื่อตั้งข้อหาเพิ่มขึ้น เป็นข้อหาที่ใหญ่ขึ้นต่อพวกเรา จึงรู้สึกว่ามีการดูกระแสทางการเมืองในการพิจารณาข้อหาที่ตั้งต่อเรา

ผมค่อนข้างเข้าใจว่า ไม่ว่าเป็นระบบอัยการหรือระบบศาลในปัจจุบันนี้ จะถือว่าเหตุการณ์หรือกระแสต่างๆ ไม่มีอิทธิพลเลย คงอาจเป็นไปได้ยากในความรู้สึกของผม
 
 
คิดว่านับแต่ยุค สนช.ที่ภาคประชาชนร่วมคัดค้านกฎหมายบางฉบับ หรือการดำเนินการทำหน้าที่ของ สนช.ที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน สนช.ได้ทิ้งบาดแผลหรือปัญหาอะไรไว้กับสังคมบ้าง?

มรดกที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งที่สังคมดำรงอยู่ในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าเป็นบทบาทในด้านการออกกฎหมาย โดยกฎหมายบางฉบับก็ถูกเอามาใช้เป็นเครื่องมือในการปราบปรามประชาชนในปัจจุบัน เช่น พ.ร.บ.ความมั่นคงภายใน หรือกฎหมายที่มีผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออก เช่น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็เป็นกฎหมายที่ออกโดย สนช.ซึ่งถูกเอามาใช้ในลักษณะที่ไม่ยุติธรรมต่อสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่ออินเทอร์เน็ตหลายส่วน การปิดเว็บไซต์ ซึ่งโดยข้อเท็จจริง บางครั้งเนื้อหาในเว็บไซต์เหล่านั้นไม่น่าจะผิดกฎหมาย แต่กลับถูกปิดไป 

ปัญหาของ สนช.นั้น นอกจากจะไม่ได้เป็นตัวแทนประชาชนแล้ว ปรากฏว่าสมาชิก สนช.จำนวนมากเป็นข้าราชการประจำหรือคนที่มีหน้าที่การงานประจำ ไม่มีเวลาที่จะมาพิจารณากฎหมายโดยละเอียดรอบคอบ และไม่ค่อยรับฟังความเห็นจากประชาชน ในฐานะที่ไม่ได้เป็นตัวแทนก็จะไม่ได้รับรู้ว่าประชาชนรู้สึกอย่างไรต่อกฎหมายเหล่านั้น หรือจะได้รับผลกระทบอย่างไร เหล่านี้ก็เป็นปัญหาที่เกิดจาก สนช.
 
 
000
 
 
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องว่า ผู้ชุมนุมละเมิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 กระทำการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล สร้างความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน, มาตรา 215 มั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง, มาตรา 362 เข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น, มาตรา 364 เข้าไปในเคหะสถานโดยไม่มีเหตุอันควรและไล่ไม่ยอมออก, มาตรา 365 ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่ว่าจะประทุษร้ายในการกระทำตามมาตรา 362, 364
 
เมื่อวันที่ 21 ก.พ.55 ศาลนัดสืบพยานโจทก์ ครั้งแรกโดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช.  เข้าเบิกความต่อศาลเป็นคนแรก ต่อมาศาลได้ยกเลิกนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย ที่เหลืออีก 12 วัน ไปสืบต่อในช่วงวันที่ 15 ม.ค.-15 มี.ค.56
 
ทั้งนี้ สามารถติดตามอ่านคำย่อการสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งหมด 51 ปาก พร้อมบันทึกการสืบพยานคดีฉบับเต็มของพยานบางปาก ได้ที่โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw และติดตามข้อมูลคดีได้ใน http://freedom.ilaw.or.th/th/case/468#detail
 
 

ประมวลเหตุการณ์ประวัติศาสตร์

12 ธ.ค.50
 
เวลา 7.00 น. ภาคประชาชนจากเครือข่ายต่างๆ อาทิ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) สภาเครือข่ายองค์กรประชาชนแห่งประเทศไทย (สค.ปท.) เครือข่ายสลัม 4 ภาค สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย และเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครู สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และเครือข่ายพันธมิตรองค์กรประชาชน รวมทั้งนักศึกษาและประชาชนทั่วไปประมาณกว่า 1,000 คน ชุมนุมบริเวณหน้าอาคารสภา เพื่อปิดสภาไม่ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทำหน้าที่อีกต่อไป
 
เวลาประมาณ 9.00 น. ผู้ชุมนุมนำรถเครื่องเสียงเคลื่อนขบวนไปขวางทางเข้าออกสภาทั้ง 3 ทาง ปิดสภาโดยประชาชนอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ดี แม้จะปิดประตูทางเข้าทั้ง 3 ทางได้สำเร็จ แต่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติยังสามารถเข้าสู่ภายในอาคารรัฐสภาได้ผ่านทางประตูพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติช้างต้น (ติดกับพระที่นั่งวิมานเมฆ) ซึ่งเป็นประตูที่ไม่ค่อยได้เปิดใช้ เว้นแต่มีกิจกรรมพิเศษ ทำให้สมาชิกสภานิติบัญญัติสามารถเปิดสภาพิจารณากฎหมายต่อไปได้ตามปกติ
 
 
ประชาชนประกาศปิด 'สนช.'
 
หลังปิดประตูทางเข้าสภา 3 ทาง นายจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) กล่าวว่า วันนี้มาปิดสภาโดยวิธีอารยะ ด้วยสันติวิธี เพื่อให้สภาทราบว่า ประชาชนจำนวนมากรับไม่ได้กับการทิ้งทวนผลักดันกฎหมาย เช่น การเอากฎหมาย 40-60 ฉบับมาพิจารณาให้เสร็จภายใน 1-2 วัน เพื่อเอาอำนาจข้าราชการมาปกครองแทนที่จะเสริมอำนาจประชาชน
 
นายจอน กล่าวด้วยว่า เสียใจที่ที่ผ่านมา สนช.ได้ผ่านกฎหมายละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่ทำให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นถูกทำลาย ในขณะที่กฎหมายที่ร้ายที่สุดกำลังจ่ออยู่ในสภา คือ พ.ร.บ. ความมั่นคง (พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ...) ที่จะสถาปนาอำนาจทหารคู่รัฐบาลพลเรือนตลอดไป
 
นายจอน ยังกล่าวอีกว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ควรจะเปลี่ยนชื่อจาก สนช. เป็น สนด. คือ สภาหน้าด้าน การมาแสดงพลังวันนี้เพื่อให้เห็นว่า รับไม่ได้กับการออกกฎหมายละเมิดสิทธิประชาชน โดยเฉพาะในขณะที่กำลังจะมีการเลือกตั้งในไม่กี่วันนี้ พร้อมกับเรียกร้องให้สมาชิก สนช. ที่เห็นแก่ประชาชนลาออกจากตำแหน่งด้วย จากนั้นจึงอ่านคำประกาศปิดสภานิติบัญญัติแห่งชาติรักษาการ
 
ประกาศ 'ปิดสภานิติบัญญัติรักษาการ หยุดการละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน'
 
ด้วยปรากฏเป็นที่แน่ชัดว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติที่มาจากการแต่งตั้งของทหาร ที่ยึดอำนาจการปกครองมาจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ได้กระทำการออกกฎหมายเพื่อเพิ่มอำนาจให้ระบบราชการและเพื่อประโยชน์ให้นายทุน แต่กลับทำลายสิทธิเสรีภาพของประชาชนและชุมชน และกำลังจะนำพาสังคมไทยถอยหลังไปสู่ระบบอำมาตยาธิปไตย แทนที่การสร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตย เช่น การผลักดันร่างกฎหมายการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร เพื่อให้ทหารมีอำนาจครอบงำรัฐและสังคม ร่างกฎหมายป่าชุมชนและร่างกฎหมายทรัพยากรน้ำ เพื่อเพิกถอนสิทธิชุมชน ร่างกฎหมายประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้หน่วยราชการผูกขาดเป็นเจ้าของคลื่นวิทยุและโทรทัศน์ ร่างกฎหมายว่าด้วยเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การแปลงสภาพรัฐวิสากิจ เพื่อแปรรูปรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตให้แก่กลุ่มทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ร่างกฎหมายมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ 6 มหาวิทยาลัย เพื่อแปรรูปมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เป็นการบริหารโดยอาศัยกลไกตลาดที่ปิดกั้นผู้ยากไร้ให้ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา และร่างกฎหมายประกอบกิจการขนส่ง เพื่อโอนกิจการขนส่งให้นายทุน
 
พวกเรา มีความเห็นว่าการออกกฎหมายหลายฉบับดังกล่าว ย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนและระบอบประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้ง โดยที่สภานิติบัญญัติชุดนี้ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนสำหรับผลที่บังเกิดขึ้นแต่ประการใด ภายหลังจากพ้นตำแหน่ง
 
พวกเราเชื่อว่า หากสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ยังคงทำหน้าที่ออกกฎหมายต่อไปก็จะเป็นการทำร้ายสังคมไทยจนยากต่อการแก้ไขเยียวยา ประกอบกับเวลาที่เหลืออยู่เพียง 13 วัน นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปก็จะมีการเลือกตั้ง เพื่อคืนอำนาจให้แก่ประชาชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้จึงไม่ควรทำหน้าที่อีกต่อไป
 
พวกเราในฐานะพลเมืองของประเทศไทย จึงขอใช้สิทธิประกาศ 'ปิดสภานิติบัญญัติรักษาการ เพื่อหยุดการละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน'
 
ประกาศ วันที่ 12 ธันวาคม 2550
 
ณ บริเวณหน้ารัฐสภา
 
 
'สุรพล' โต้พวกเกลียดตัวกินไข่
 
รศ.ดร.สุรพล นิตไกรพจน์ สมาชิก สนช.ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมว่า หากผู้ที่มาชุมนุมจะบอกว่าสภานี้ไม่มีความชอบธรรมเพราะมาจากคณะรัฐประหาร นั้นก็แสดงว่าไม่มีความชอบธรรมแต่ต้น แต่ขอถามว่า การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น กฎหมายออกมาจากไหน สนช.ชุดนี้เป็นผู้ผ่านกฎหมายให้มีการเลือกตั้ง สังคมไทยต้องมีคนมาทำหน้าที่นิติบัญญัติ ไม่ใช่ไม่พอใจกฎหมายบางฉบับแล้วออกมาบอกว่า สนช.ไม่ชอบธรรม การพูดเช่นนี้เหมือนเกลียดตัวกินไข่ อย่างไรก็ตาม การประท้วงของภาคประชาชนในครั้งนี้ก็เป็นไปด้วยดี ไม่ได้มีความรุนแรงอะไร
 
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ที่ประชุม สนช.จะพิจารณากฎหมายฉบับต่างๆ น.ส.พจนีย์ ธนวราณิช รองประธานคนที่ 1 ซึ่งเป็นประธานการประชุมได้แจ้งแก่สมาชิกว่า รศ.สุริชัย หวันแก้ว ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิก สนช.แล้วตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค.โดยประธานการประชุมไม่ได้แจ้งเหตุผลของ รศ.สุริชัย ต่อที่ประชุมแต่อย่างใด
 
ขณะที่ประวิตร โรจนพฤกษ์ นักข่าวหนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น กล่าวว่า ในกรณีการลาออกของ รศ.สุริชัย นั้นยังไม่เพียงพอ แต่ควรขอโทษต่อประชาชนที่ไปเป็นส่วนสร้างความชอบธรรมให้คณะรัฐประหาร เป็นน้ำมันหล่อลื่นให้กับเผด็จการ พร้อมกับเรียกร้องให้บริจาคเงินเดือนที่ได้รับในการดำรงตำแหน่ง สนช.เข้ากองทุนวนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ เนื่องจากเป็นภาษีของประชาชน
 
 
ปีนรั้วสภา ไปบอก 'สนช.' ว่า 'วันนี้ไม่มีประชุมสภา'
 
เวลาประมาณ 11.30 น. นายจอนและแกนนำเครือข่ายต่างๆ อาทิ สารี อ๋องสมหวัง (มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค), สุภิญญา กลางณรงค์ (เลขาธิการ คปส.), วสันต์ สิทธิเขตต์ (เครือข่ายศิลปิน), นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ (กลุ่มเพื่อนประชาชน), นายไพโรจน์ พลเพชร (ส.ส.ส.), นายสาวิตย์ แก้วหวาน (สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์) รวมทั้งผู้มาร่วมชุมนุมได้นำบันไดไม้ไผ่มาพาดรั้วเพื่อพยายามปีนข้ามเข้าไปในสภา
 
โดยชุดแรกที่ปีนข้ามไปได้ประมาณ 20 คนได้วิ่งตรงเข้าไปหน้าอาคารสภาอย่างรวดเร็ว เจ้าหน้าที่เฝ้าประตูจึงรีบวิ่งไล่ตามทำให้บริเวณรั้วไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแลมากนัก ผู้ชุมนุมชุดต่อๆ มาจึงปีนเข้าไปในสภาได้สำเร็จประมาณ 60 คน
 
แกนนำระบุว่าการปีนรั้วเข้าไปในสภาครั้งนี้ต้องการเข้าไปบอกแก่ สนช. ว่า 'วันนี้ไม่มีประชุมสภา'
 
ขณะที่ภายในห้องประชุมในระหว่างที่มีการประชุม นางเตือนใจ ดีเทศน์ สนช.ได้ขอหารือถึงสถานการณ์การชุมนุมว่า ค่อนข้างรุนแรง จึงขอให้ปิดประชุมก่อนจนกว่าจะมีการเจรา ซึ่ง น.ส.พจนีย์ ธนวราณิช รองประธานคนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานได้ตอบว่า ไม่ทราบว่า ใครเป็นคนไปเจรจา เรายังทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ระบุว่า สนช.ต้องทำหน้าที่เป็น ส.ส.และ ส.ว.และต้องประชุมไปจนกว่าจะมีการเปิดประชุมรัฐสภา
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการสอบถามความเห็นที่ประชุมว่าควรจะเปิดประชุมต่อไปหรือพักการประชุมไว้ก่อน ที่ประชุมก็ลงมติว่าให้เลื่อนการประชุมออกไป หลังจากที่ภายนอกผู้ประท้วงได้ปักหลักชุมนุมหน้าห้องประชุมแล้วกว่า 10 นาที
 
 
'ครูหยุย' รับประสานประธานสภา ยันอยู่มีประโยชน์กว่าลาออก
 
ในระหว่างการประท้วงด้านนอกห้องประชุม นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สนช. ออกมาหารือกับแกนนำผู้ชุมนุมเพื่อทำความเข้าใจว่าไม่เห็นด้วยกับกฎหมายอะไร ซึ่งนายจอนได้ให้รายละเอียด ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมตะโกนเรียกร้องให้นายวัลลภลาออกจากตำแหน่งสมาชิก สนช.
 
นอกจากนี้ผู้ชุมนุมยังถามถึงองค์ประชุมว่าครบหรือไม่ นายวัลลภยืนยันว่าครบ มีผู้มาประชุม 140 กว่าคน และตนได้เสนอให้ประธานสภาเลื่อนการประชุมออกไปเพราะสถานการณ์ตึงเครียด นอกจากนี้ยังเสนอด้วยว่าไม่ควรพิจารณากฎหมายใหม่ที่เข้ามาเป็นวาระแรกจำนวน 15 ฉบับ แต่ให้พิจารณากฎหมายที่ยังค้างวาระ 2 และ 3 เท่านั้น
 
ส่วนเรื่องที่ภาคประชาชนเสนอให้ สนช. ลาออกนั้นเป็นคนละเรื่องกัน ถึงลาออกก็ไม่มีประโยชน์ แต่เห็นด้วยว่ากฎหมายหลายฉบับเป็นเรื่องใหญ่ที่ควรต้องถกเถียงกันกว้างขวาง ไม่ควรเร่งพิจารณา
 
นายวัลลภรับจะเป็นสะพานเชื่อมนำข้อเรียกร้องต่างๆ เข้าหารือกับประธานสภา
 
 
'ครูแดง' เสนอส่งตัวแทนเจรจา 'จอน' ยอมถ้าถอน 'พ.ร.บ. ความมั่นคง'
 
นอกจากนี้ นางเตือนใจ ดีเทศน์ สนช. ได้ออกมาเยี่ยมผู้ชุมนุม และกล่าวว่า อยากให้มีการคุยกันระหว่างภาคประชาชนกับ สนช. เพราะเห็นว่าข้อเรียกร้องของภาคประชาชนมีเหตุผล สนช.เองก็พิจารณากฎหมายในช่วงใกล้เลือกตั้งมากเกินไป โดยมีกฎหมายบางฉบับที่ภาคประชาชนห่วงกังวลอย่างยิ่ง ดังนั้นจะเสนอสมาชิกเพื่อให้เกิดกระบวนการเจรจากับตัวแทนผู้ชุมนุม
 
เมื่อสื่อมวลชนถามถึงข้อเรียกร้องภาคประชาชนที่ต้องการให้สมาชิก สนช. ลาออกเพื่อแสดงสปิริต นางเตือนใจตอบว่า การลาออกไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะถึงลาออกองค์ประชุมก็ยังทำงานต่อไปได้ แต่ถ้ายังอยู่จะสามารถผลักดันกฎหมายดีๆ ที่เป็นประโยชน์ได้ เช่น พ.ร.บ.สัญชาติ หรือ พ.ร.บ.ทะเบียนราษฎร ซึ่งผ่านการพิจารณามาอย่างรอบครอบแล้ว
 
ขณะที่นายจอน อึ๊งภากรณ์ ตอบประเด็นข้อเสนอในการเจรจาว่า ไม่รู้จะเจรจาอะไรกับ สนช.เพราะเราเรียกร้องให้ สนช. ปิดหรือยุติบทบาท และที่สำคัญคือภาคประชาชนรู้ดีว่าที่ประชุม สนช.ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงนี้ก็เพราะต้องการผลัก พ.ร.บ.ความมั่นคงออกมา ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนรับไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการประกาศถอน พ.ร.บ. ความมั่นคงจากการพิจารณาอย่างเป็นทางการต่อสาธารณะชน ก็จะยอมเจรจา
 
 
'มีชัย' แถลงยัน 'สนช.' ต้องทำหน้าที่ต่อตาม รธน.กำหนด
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช. ที่อยู่ระหว่างการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลได้โทรศัพท์สอบถามเหตุการณ์ตลอดเวลา จากนั้นได้รีบเดินทางเข้ามาที่รัฐสภา พร้อมกับเรียกประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น นางสุวิมล ภูมิสิงหราช เลขาธิการ สนช. ผู้อำนวยการอาคารสถานที่ของ สนช.และสภาผู้แทนราษฎร นายวิษณุ เครืองาม สนช. พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 พล.ต.ท.วัชพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วย ผบ.ตร. พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ตำรวจกองปฏิบัติการพิเศษ 191 พ.ต.อ.ปรัชญ์ชัย ใจชาญสุขกิจ ผู้กำกับการ สน.ดุสิต เพื่อหาทางรับมือกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งการประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียด โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง
 
ในที่ประชุมนายมีชัย เสนอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากบริเวณอาคารรัฐสภา เพื่อเปิดประชุมต่อในเวลา 13.30 น. แต่มีผู้ท้วงติงว่า อาจเกิดการกระทบกระทั่งจนบานปลายได้ ในที่สุดนายมีชัยได้ตัดสินใจเปิดแถลงข่าวต่อผู้สื่อข่าว ขอเลื่อนการประชุมไปโดยไม่มีกำหนด
 
ระหว่างการแถลงข่าว นายมีชัย ฤชุพันธุ์ กล่าวแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์วุ่นวายที่เกิดขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ และยืนยันว่าในวันนี้จะไม่มีการประชุม สนช.ต่อไป ส่วนจะมีการประชุมอีกเมื่อใดนั้น ไม่สามารถระบุได้ โดยต้องพิจารณาไปตามภารกิจ
 
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการทำหน้าที่ของ สนช.ในการพิจารณากฎหมาย เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ สนช.ต้องทำหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีการเปิดประชุมสภาใหม่ และที่ผ่านมาไม่ได้มีการเร่งรัดการพิจารณากฎหมาย หรือตั้งเป้าในการพิจารณากฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งเป็นพิเศษ
 
ส่วนข้อเรียกร้องที่ให้ สนช.ลาออกนั้น เห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อการตั้งรัฐบาลใหม่ เพราะมีผลผูกพันหน้าที่เอาไว้ตามรัฐธรรมนูญ แต่เห็นว่าหากกฎหมายใดที่มีความไม่พอใจ ก็สามารถให้รัฐบาลใหม่ยกเลิกหรือแก้ไขได้
 
 
สำเร็จชั่วคราว 'ปิดสภา' 1 วัน
 
หลังจากเครือข่ายภาคประชาชนปักหลักชุมนุมกดดันต่อตลอดช่วงบ่าย จนนายมีชัยแถลงยืนยันการปิดการประชุมในวันนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมที่เข้าไปประท้วงประชิดห้องประชุมได้กลับออกมาด้านนอก
 
นายจอน อึ๊งภากรณ์ ขึ้นแถลงบนเวทีปราศรัยหน้าสภาว่า เราประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่กดดันจน สนช.ไม่มีการประชุมในวันนี้ แต่ไม่ใช่ความสำเร็จในขั้นสุดท้าย คือ การปิด สนช.ถาวร อย่างไรก็ตาม ประชาชนได้เรียนรู้ว่าสามารถทำให้เขาปิดประชุมได้ด้วยความจริงใจของพวกเราที่รับไม่ได้กับกฎหมายอุบาทว์ และครั้งนี้ถือเป็นประวัติศาสตร์ที่สามารถบุกเข้าได้ถึงห้องประชุมสภา
 
นายจอน กล่าวด้วยว่าสำหรับข้อเรียกร้องให้สมาชิก สนช.ลาออกนั้นคือจุดที่จะบอกว่าใครอยู่ข้างประชาชน ใครอยู่ข้างเผด็จการ และอย่างน้อยการที่ รศ.สุริชัย หวันแก้ว ประกาศลาออก (11 ธ.ค.50) ก็เป็นการแสดงออกว่าอยู่ข้างประชาชน แต่ใครที่ไม่ลาออกแสดงว่ามีจิตใจเผด็จการ และเราจะสู้ต่อไป
 
ทั้งนี้ รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และนายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เชิญนายจอนเข้าพบที่ทำเนียบในช่วงบ่ายวันพรุ่งนี้ (13 ธ.ค.56) เนื่องจากกังวลว่าการประท้วงอาจลุกลามเกิดความรุนแรง และอาจเป็นเงื่อนไขที่จะส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 23 ธ.ค.นี้
 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จากทนายสมชายสู่อ้ายสมบัด 'อังคณา' ขอนานาชาติกระตุ้น รบ.ลาวเร่งหาความจริง

Posted: 27 Mar 2013 09:38 AM PDT

ครบ 100 วันการหายตัวไปของ 'สมบัด สมพอน' นักกิจกรรมลาว - 'อังคณา นีละไพจิตร' ชี้ข้ออ่อนปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน ไม่อาจคุ้มครองคนใน ขอนานาชาติช่วยกระตุ้นรัฐบาลเร่งหาความจริง เพื่อนร่วมงาน 'สมบัด' เชื่อไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แต่เชือดไก่ให้ลิงดู


วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ-อังคณา นีละไพจิตร-ประทับจิต นีละไพจิตร

 

27 มีนาคม 56 ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กองทุนรางวัลสมชาย นีละไพจิตร ร่วมกับ มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง (TERRA) และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดเสวนาหัวข้อ "สิทธิมนุษยชนในประชาคมอาเซียน กรณีศึกษาการสูญหายของสมบัด สมพอน และสมชาย นีละไพจิตร มีผู้ร่วมเสวนาคือ นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ภรรยาของนายสมชายผู้ถูกบังคับให้หายตัวไป ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2547 และนายวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ นักพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมผู้เคยร่วมงานกับสมบัด และผู้อำนวยการเครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาในลุ่มน้ำโขง ดำเนินรายการ โดย ประทับจิต นีละไพจิตร

ช่วงเริ่มต้นการเสวนา มีการอ่านแถลงการณ์ของนางอ๋อง ชุย เม็ง ภรรยาของนายสมบัด นักพัฒนาชาวลาว ผู้ถูกบังคับหายตัวตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม  2555 นางอ๋อง ชุย เม็ง สื่อสารมาว่า ตนเองมีความทุกข์ทรมานต่อการหายตัวไปของสามีอย่างมาก และขอแสดงความเสียใจต่อนางอังคณา พร้อมทั้งแสดงความเคารพต่อความเข้มแข็งกล้าหาญในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม การหายตัวไปของสมบัดนั้น นางอ๋อง ชุย เม็งเห็นว่าเกิดขึ้นโดยการรับรู้ของตำรวจและเป็นหน้าที่ที่รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบ ให้เขากลับมาอย่างปลอดภัย  แม้ในภายหลัง รัฐบาลได้ยืนยันว่าตำรวจพยายามหานายสมบัดอย่างดีที่สุดแล้ว แต่ไม่พบ ตนเองก็จะยังเชื่อมั่นในการทำงานของรัฐต่อไป เพราะไม่มีทางเลือกอื่นอีก

นางอ๋อง ชุย เม็ง เห็นว่า การทำให้บุคคลสูญหายไป เป็นการสร้างความหวาดกลัวให้แก่บุคคลในชาติซึ่งมีความคิดความเชื่อ หรือทำกิจกรรมเพื่อต่อต้านความอยุติธรรมในสังคม โดยอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากกลุ่มอาชญากรรม แต่อาจมาจากรัฐเอง เพื่อจะปิดปากพลเมืองที่ทำตัวมีปัญหากับรัฐ  การหายตัวไปของนายสมบัดทำให้เชื่อว่า เราไม่สามารถละเลยการละเมิดสิทธิ์ดังกล่าว เพราะคิดว่าเป็นเพียงเรื่องโชคร้ายของใครบางคน หากต้องยอมรับว่า การสูญหายโดยไม่สมัครใจเป็นอาชญากรรม ละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นการกระทำที่ยังไม่ถูกลงโทษ ทั้งที่เป็นการปรามาสต่อหลักนิติรัฐ

ในการเสวนา นางอังคณากล่าวถึงการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียนว่า การเปิดอาเซียนจะทำให้คนที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจได้รับผลประโยชน์มาก แต่คนกลุ่มอื่นจะได้อะไร คนธรรมดา คนชนชั้นล่างๆ จะได้อะไรบ้าง นางอังคณามองว่า ภูมิภาคอาเซียนมีสิ่งงดงามอยู่ในสังคม ที่หาซื้อจากไหนไม่ได้ นั่นคือ ความเกื้อกูลแบ่งปัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน แต่เมื่อพูดถึงเรื่องสิทธิ์ การเข้าถึงความยุติธรรม ถือว่ายังเป็นรองภูมิภาคอื่นๆ

อย่างไรก็ตามแม้ว่า สมาชิกอาเซียนจะได้รับรองปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนไปแล้วตั้งแต่ปี 2555 แต่ในหลายๆข้อของปฏิญญาฯ ก็ยังไม่สอดรับกับหลักการสิทธิมนุษยชนสากล เช่น มาตรา 5 ระบุว่า "คนทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการเยียวยาจากการกระทำอันละเมิดต่อสิทธิ์ซึ่งตนได้รับจากรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและมีผลบังคับ อันกำหนดโดยศาล เจ้าหน้าที่หรือองค์กรรัฐที่มีอำนาจ จึงไม่ได้หมายความว่า บุคคลจะได้รับการเยียวยาจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ"  อาจจะทำให้มองได้ว่า ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้กระทำ ก็เป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างปัจเจกบุคคล รัฐไม่ต้องรับผิดชอบใช่หรือไม่ 

มาตรา 7 ระบุว่า "สิทธิมนุษยชนทั้งมวลมีความเป็นสากลไม่สามารถแบ่งแยก พึ่งพาซึ่งกันและกัน และมีความสัมพันธ์ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานทั้งมวลในปฏิญญานี้ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมเท่าเทียมตลอดจนมีทิศทางเดียวกัน และการเน้นย้ำที่เท่ากัน ในขณะเดียวกัน การตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนต้องได้รับการพิจารณาในบริบทของภูมิภาคและของประเทศโดยคํานึงถึงความแตกต่างของภูมิหลังทางการเมืองเศรษฐกิจ กฎหมาย สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และศาสนา" ทั้งที่จริงๆ แล้วไม่ว่าคนจะมีความเห็นต่างกันในทางการเมืองหรือศาสนา ทุกคนก็ต้องมีสิทธิในความเป็นมนุษย์ที่เท่ากัน

นอกจากนี้ยังมีมาตรา 8 ระบุว่า "สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของทุกคนจะได้รับการปฏิบัติโดยคํานึงถึงสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้อื่น สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของทุกคนต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด โดยกฎหมายเพื่อวัตถุประสงค์ในการยอมรับสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้อื่น และเพื่อตอบสนองความมั่นคงของชาติ ระเบียบสาธารณะ สาธารณสุข ความปลอดภัยสาธารณะ ศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้งสวัสดิการทั่วไปของประชาชนในสังคมประชาธิปไตยเท่านั้น"  ซึ่งข้อนี้พูดเรื่องความมั่นคงของชาติ แต่ไม่พูดเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนจึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะคุ้มครองคนอาเซียนได้จริงหรือไม่

นางอังคณากล่าวถึงกรณีการถูกบังคับให้สูญหายของนายสมชายว่าเป็นกรณีแรกที่นำคดีขึ้นไปถึงศาลยุติธรรม เป็นคดีที่ทั้งเหยื่อและผู้สูญหายต่างเป็นบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม แต่การสอบสวนมีความไม่โปร่งใส ถูกแทรกแซงตั้งแต่แรก รัฐบาลก็ไม่เต็มใจที่จะค้นหาความจริง นางอังคณาจึงเห็นว่า ความช่วยเหลือระหว่างประเทศเป็นเรื่องสำคัญมากต่อการที่ประเทศนั้นๆ จะตรวจสอบดูแลการถูกบังคับให้สูญหายของบุคคลซึ่งกระทำโดยรัฐ สหภาพยุโรปควรตั้งคำถามต่อรัฐบาลลาว เช่นเดียวกับที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาเคยหารือกับรัฐบาลไทยในกรณีนายสมชาย ไทยได้รับคำแนะนำจากหลายๆ ประเทศเรื่องนักสิทธิมนุษยชนถูกบังคับให้สูญหาย ก็เป็นการกระตุ้นให้รัฐบาลต้องลงมือทำเพื่อแสดงความโปร่งใส เพราะรัฐเองก็ไม่อยากมีความกังวลหรืออับอายต่อนานาประเทศ

นายวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ เล่าถึงบริบทสังคมการเมืองของลาวในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุให้นายสมบัดหายตัวไป ว่า โดยปกติแล้วเกิดมาจากความขัดแย้งสี่ด้าน คือ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ คนที่ต่อสู้เพื่อส่วนรวมตกเป็นเป้าหมายและถูกฆ่าตาย แต่คนบงการฆ่าหลุดรอดไป เรื่องที่สองคือกลุ่มชาติพันธุ์ ที่รัฐพยายามเข้าไปเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเกิดจากนโยบายเพื่อการพัฒนาหรืออะไรก็ตาม สาม คือความขัดแย้งของขั้วอำนาจในสังคม  และสี่ เป็นความขัดแย้งเรื่องการแย่งชิงทรัพยากรข้ามรัฐ เช่น โครงการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง นอกจากนี้แล้วประเทศลาวเองยังได้รับอิทธิพลทางเศรษฐกิจการเมืองทั้งจากเวียดนาม จีน และไทย ซึ่งรัฐบาลลาวขายทรัพยากรให้ทั้งสามชาตินี้เข้าไปใช้ได้รวมถึงส่งออกมา เพื่อให้ทุนไหลเข้าประเทศลาว ในขณะที่การใช้ทรัพยากรเหล่านั้นก็ส่งผลกระทบต่อคนท้องถิ่น ต้องอพยพจากที่ทำกิน นี่จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้สมบัดซึ่งรณรงค์เรื่องที่สวนทางกับการพัฒนาของรัฐต้องหายตัวไป

นายวิฑูรย์ระบุว่า แม้ว่าสมบัดจะไม่ได้พูดประเด็นใหญ่ๆ ที่ท้าทายอำนาจรัฐมากนัก เช่น ทำเรื่องการศึกษา การปรับวิถีชีวิต เรื่องความสุขมวลรวม เน้นความสุขมากกว่าเศรษฐกิจดี แต่ก็เป็นนักพัฒนาที่ได้รับการยอมรับของภาคประชาสังคมลาว อีกทั้งในเดือนพฤศจิกายน 2555 ซึ่งมีการประชุมเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) ในลาว ซึ่งมีการประชุมภาคประชาสังคมที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลลาวเกิดขึ้นเป็นคู่ขนานไปด้วย สมบัดก็เป็นประธานในการประชุม ตามโรงแรมต่างๆ ในลาวตอนนั้นเต็มไปด้วยบรรยากาศของการประชุม และในการถกเถียงนี้ก็มีการพูดถึงบทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเผ็ดร้อน จนในที่สุดหัวหน้าองค์กรเอ็นจีโอจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ถูกยื่นคำขาดให้ออกจากประเทศลาวใน 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ก็เพราะเขามีข้อคิดเห็นในลักษณะที่ไม่เชื่อมั่นในทิศทางการพัฒนาของลาว เพราะฉะนั้นนายวิฑูรย์จึงเห็นว่า การหายตัวไปของนายสมบัดไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แต่เป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู ทำให้คนที่ทำเพื่อสังคมเกิดความกลัว จนอาจไม่กลับมาทำงานภาคประชาสังคมอีก

นายวิฑูรย์เห็นว่า แม้ขณะนี้ความสนใจของประชาคมโลกกำลังมุ่งไปที่ลาว แต่เราก็ไม่มีข้อเท็จจริงใดๆ เลย นอกจากการปฏิเสธว่าไม่รู้ของรัฐบาลลาว จึงไม่มีความคืบหน้า ไม่รู้ว่าสมบัดยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ อยู่ที่ไหน ถูกใครควบคุมไว้ เราจึงเหมือนถูกปิดกั้นด้วยกำแพงหนาทึบให้มองไม่เห็นอะไรเลย ณ วันนี้ อย่างน้อยที่สุดจึงอยากให้รัฐบาลลาวตอบคำถามได้ว่า ไม่ใช่ผู้ต้องสงสัย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ดีเอสไอเดินหน้าหาตัวคนเผาเซ็นทรัลเวิลด์ หลังศาลยกฟ้อง 2 เสื้อแดง

Posted: 27 Mar 2013 08:44 AM PDT

27 มี.ค. 56 – สำนักข่าวไทย รายงาน ว่า นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงกรณีศาลยกฟ้อง 2 เสื้อแดงคดีเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ว่า ยังไม่เห็นคำพิพากษาเต็ม ต้องรอคำพิพากษาทั้งหมดก่อน แต่เบื้องต้นเท่าที่ดูจากสื่อมวลชน เห็นเพียงว่าศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยคือพยานโจทก์ไม่ชัดเจนเพียงพอจึงสั่งยกฟ้อง หลังจากนี้ดีเอสไอมีหน้าที่หาตัวผู้กระทำความผิดต่อไป ซึ่งต้องพิจารณาจากผลคำวินิจฉัยของศาลด้วยว่ามีคำวินิจฉัยบ่งชี้ไปในกลุ่มใดที่เข้าข่ายหรือไม่  เนื่องจากฝ่ายพิสูจน์หลักฐานได้พิสูจน์ออกมาแล้วว่าเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์

โดยคดีดังกล่าวศาลอาญากรุงเทพใต้ ได้พิพากษายกฟ้อง นายสายชล แพบัว และ พินิจ จันทร์ณรงค์ เมื่อวันที่ 25 มี.ค. ที่ผ่าน ในคดีความผิดร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นซึ่งเป็นโรงเรือนที่เก็บสินค้าจนเป็นเหตุให้นายกิตติพงษ์ สมสุขซึ่งอยู่ในอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ถึงแก่ความตาย เหตุเกิดช่วงบ่ายวันที่ 19 พ.ค.53 ซึ่งมีการสลายการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวเนื่องกับกรณีผู้ต้องหา 2 คนที่เป็นเยาวชนซึ่งศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้พิพากษายกฟ้องไปแล้ว เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.55 เช่นกัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กองเรือจีนเคลื่อนกำลังใกล้น่านน้ำมาเลเซียในทะเลจีนใต้

Posted: 27 Mar 2013 07:46 AM PDT

กองเรือจีน 4 ลำลาดตระเวนในทะเลจีนใต้จนถึง "สันดอนเจมส์" ซึ่งห่างชายฝั่งมาเลเซีย บริเวณรัฐซาราวักเพียง 80 กม. และได้ทำพิธีปฏิญาณตนว่าจะ "ปกป้องอธิปไตยของประเทศ" นับเป็นการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้รอบล่าสุดของจีน

ที่มา: CCTV

ที่มา: เรียบเรียงจาก Google Maps

มีรายงานว่า กองเรือจีนได้เคลื่อนกำลังมาบริเวณทะเลจีนใต้ เพื่อจัดพิธีปฏิญาณตนว่าจะปกป้องอธิปไตยของชาติ โดยสำนักข่าวซินหัว รายงานว่ากองเรือของจีน ซึ่งประกอบด้วยเรือ 4 ลำ นำโดยเรือจิ่งกังซาน ได้จัดการฝึกซ้อมและลาดตระเวนในน่านน้ำทะเลจีนใต้เป็นเวลานานกว่า 8 วัน และเมื่อวันอังคารที่่ผ่านมา (26 มี.ค.) ได้เข้าสู่สันดอนเจมส์ (James Shoal) ซึ่งจีนเรียกว่าแนวหินโสโครกเซิงมู่ (Zengmu Reef) ซึ่งจีนอ้างว่าเป็นน่านน้ำด้านใต้สุดของจีน โดยจุดดังกล่าวห่างจากชายฝั่งมาเลเซีย บริเวณรัฐซาราวัก 80 กม. ห่างจากชายฝั่งบรูไน 200 กม. และห่างจากแผ่นดินใหญ่ 1,800 กม.

ทั้งนี้ในเวลา 8.30 น. ลูกเรือของกองเรือได้สาบานตนบริเวณดาดฟ้าเรือ โดยบริเวณที่ทำการสาบานตนตั้งอยู่ละติจูดที่ 3.58 องศาเหนือ และลองติจูดที่ 112.17 องศาตะวันออก

โดยพิธีดังกล่าว กำลังพลและเจ้าหน้าที่ปฏิญาณตนว่า จะมุ่งปกป้องอธิปไตยของประเทศ ด้วยภารกิจหน้าที่ของพวกเขาในทะเลจีนใต้

ทั้งนี้เรือรบทั้ง 4 ลำ มาจากกองเรือหนานไห่ ของกองทัพเรือจีนซึ่งออกจากท่าเรือที่ตำบลซานย่า ตอนใต้สุดของเกาะไหหนาน หรือไหหลำ เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ที่ผ่านมา และระหว่างวันที่ 23 - 25 มี.ค. กองเรือจีนดังกล่าวได้ลาดตระเวนเกาะหนานชา ซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดซานชา จังหวัดใหม่ของจีน ซึ่งเพิ่งตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคมปีก่อน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ทั้งนี้หลายชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งเวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย ต่างอ้างกรรมสิทธิ์ในหมู่เกาะและน่านน้ำในทะเลจีนใต้ โดยเวียดนาม และฟิลิปปินส์ มีการประท้วงจีนบ่อยครั้ง หลังจากที่จีนเข้ามาอ้างกรรมสิทธิ์บริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ และหมู่เกาะพาราเซล และล่าสุดคือการเข้ามาตั้งจังหวัดซานชา กลางทะเลจีนใต้

โดยสำนักข่าวซินหัว รายงานด้วยว่า ขณะนี้กองเรือจีนดังกล่าวได้มุ่งไปทางมหาสมุทรแปซิฟิกทิศตะวันตก เพื่อข้ามช่องแคบบาชี (Bashi Channel) ซึ่งเป็นช่องแคบระหว่างเกาะไต้หวัน และเกาะลูซอนของฟิลิปปินส์ เพื่อฝึกในน่านน้ำสากล

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 4 ก.พ. ที่ผ่านมา ข่าวกองทัพเรือ ของกองทัพเรือไทย รายงานด้วยว่า กองเรือทะเลเหนือ ของกองทัพเรือจีน ประกอบด้วย เรือฟริเกต Yantai เรือฟริเกต Yancheng และ เรือพิฆาต Qingdao ทำการฝึกในทะเลจีนใต้ เช่นกัน โดยผ่านช่องแคบบาชี หวังทดสอบขีดความสามารถในการลาดตระเวน ความสามารถในการรบ และป้องกันตัวเอง และใช้เฮลิคอปเตอร์ที่ประจำการอยู่บนเรือ ทำหน้าที่ชี้เป้าทั้งทางอากาศและทางทะเลก่อนส่งข้อมูลกลับไปที่หมู่เรือเพื่อโจมตีเป้าหมายด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน: แกะรอยกระบวนการสันติภาพปาตานีที่กัวลาลัมเปอร์ พูดคุยหรือเจรจา?

Posted: 27 Mar 2013 07:42 AM PDT

 

การลงนามทั่วไปเพื่อแสวงหาสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ สันติภาพปาตานีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาทันทีหลังจากทีมีกระแสข่าวว่าการลงนามดังกล่าวไม่เป็นไปตามกระบวนการพูดคุยที่ไม่โปร่งใสและยุติธรรมสำหรับขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชปาตานีโดยการนำของนายฮาซัน ตอยิบ ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกระดับสูงของบีอาร์เอนอูลามาฮฺ เนื่องจากมีกาแพร่ข่าวว่าการลงนามในครั้งนี้เป็นการบังคับให้ลงนามและที่สำคัญคือทำไมองค์กรบีอาร์เอนที่ประกาศมาตลอดว่าจะไม่เจรจากับรัฐบาลไทยแต่ต้องมาลงนามการพูดคุยที่ลดระดับการต่อสู้จากเอกราชเป็นการพูดคุยภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญไทยมาตรา 1

เรื่องนี้ยิ่งบานปลายเมื่อกลุ่มสื่อสำนักข่าวWARTANI ได้จัดเวลาเสวนาปาตานี หรือ Bicara Patani ครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มีนาคม  ซึ่งการเสวนาในครั้งนี้มีตัวแทนจากประเทศมาเลเซียเข้าร่วมฟังและแสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนทำให้กระแสข่าวการลงนามที่ไม่โปร่งใสและถูกบังคับได้ขยายในวงกว้างทั้งในสื่อทางเลือกและสื่อออนไลน์

และเมื่อวันที่ 22 มีนาคม Bicara Patani ได้จัดขึ้นอีกครั้งที่ศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทยที่ กรุงเทพมหานครแต่มีผู้เข้าร่วมไม่มากเท่าทีควร จนถึงวันที่ 23 มีนาคม ที่ ห้องประชุม มอ.ปัตตานีห้องประชุมดังกล่าวแน่นขนัดด้วยคลื่นประชาชนที่มาจากทั่วสารทิศจนล้นห้องประชุมและเต็นท์ที่เตรียมไว้สองด้านของห้องประชุม ซึ่งในการนำเสนอในครั้งนี้ยังคงพูดถึงประเด็นการลงนามทีไม่โปร่งใสและขาดความเป็นสากลทำให้การพูดคุยกับตัวแทนของ บีอาร์เอนจะไม่เป็นผลดีต่อกระบวนการสร้างสันติภาพที่ปาตานี

นายกริยา บิน วันอาห์หมัด มูซอ เลขาธิการ PERMAS กล่าวว่า "หากการพูดคุยในครั้งนี้ไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศเข้ามาควบคุมหรือดูแลการพูดคุยสิ่งที่ประชาชนในพื้นที่เป็นห่วงคือการก่อเหตุความรุนแรงระลอกใหม่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นหรือเปล่า หากเราดูประสบการณ์จากอาเจะห์และมินดาเนาจาการลงนามสถานการณ์จะลดลง แต่ทำไมการลงนามที่ผ่านมาเกิดเหตุป่วนจังหวัดยะลาเกือบทั้งจังหวัดถามว่านี้คือสัญญาณอะไรหรือเปล่า"การียา กล่าว

จากเวที Bicara Patani ครั้งที่ 2  ทำให้ตัวแทนสมาพันธ์นักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ยื่นข้อเสนอแสดงเจตจำนงสนับสนุนการสร้างสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่แท้จริง มิใช่เป็นเพียงแค่การจัดฉาก โดยส่งถึง เลขาธิการ ศอ.บต. กงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา สถานเอกอัครทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย กรุงเทพมหานคร และต่อนายก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทีทำเนียบรัฐบาลเพื่อให้ชีแจ้งข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้

 

แกนำ BRN –Coordinate  และ PULO ยืนยันไม่เข้าร่วมการพูดคุยสันติภาพที่กัวลาลัมเปอร์ 28 มี.ค. นี้

แกนำนบีอาร์เอน โคออดิเนท คนหนึ่งที่เป็นชาวอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ที่มีบทบาทและมีกองกำลังที่เคลื่อนไหวในพื้นที่ ร่วมกับแกนนำพูโล ซึ่งเป็นองค์กรหลักที่ต่อสู้และก่อเหตุในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้การยืนยันว่าจะไม่เข้าร่วมในการพูดคุยที่มาเลเซียเป็นคนอำนวยความสะดวกที่จะมีขึ้นในกัวลาลัมเปอร์ในวันที่ 28 มีนาคมนี้อย่างแน่นอน โดยให้เหตุผลว่าการลงนามเพื่อแสวงหาสันติภาพทีมีนายฮาซัน ตอยิบ กับตัวแทนของรัฐบาลไทยโดย สมช.ไม่เป็นเป็นตามหลักสากลและไม่ใช่แนวทางการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน

"นายฮาซัน ตอยิบ เป็นคนที่ไม่มีจุดยืน เป็นคนที่ต้องการเงินมากกว่าสิ่งอื่นๆ เขาไม่รู้ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย  ผมจึงถือว่านายฮาซัน ตอยิบ และพวกเป็นคนทำลายขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชปาตานี  "  แหล่งข่าวที่อ้างตัวว่าเป็นแกนนำบีอ์เอ็นที่ไม่อนุญาตให้เอ่ยชื่อจริงกล่าว

นอกจากนั้นเขายังกล่าวอีกว่าการลงนาในครั้งนี้เป็นความต้องการของนายฮาซันเอง ซึ่งเขาต้องการสิ่งนี้มานานแล้ว เขาเป็นคนเดียวกันกับที่เคยเขียนหนังสือถึงพลเอกชาวลิต ยงใจยุทธ เมื่อหลายปีก่อนที่บอกว่าพร้อมที่จะพูดคุยและสถานการณ์จะดีขึ้น  

"รัฐบาลไทยไม่เคยประกาศว่าจะเจรจาสันติภาพกับกลุ่มขบวนการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาตานีเลยในประวัติศาสตร์ เนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการพูดคุยธรรมดา ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง เช่นที่ลังกาวี ที่โบโกล และอีกหลายๆ ครั้ง เป็นเพียงการพูดคุยที่รัฐบาลไทยกำหนดขึ้นมาเองไม่ใช่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากทั้งสองฝ่าย เหตุการณ์ลงนามที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมาเป็นการหลอกชาวโลกว่ารัฐบาลไทยได้เจรจากับขบวนการ บีอาร์เอ็น ที่เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวหลักอยู่ในขณะนี้ โดยที่ไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าคนที่ลงนามนั้นไม่ได้มีอำนาจใดๆ ในองค์กรและการลงนาที่ผ่านมาก็ไม่ได้ผ่านมติจากสภาของบีอาร์เอ็น วันนี้กลุ่มที่ก่อเหตุในพื้นที่ไม่ใช่สมาชิกของ บีอาร์เอ็นเพียงกลุ่มเดียวแต่เราใช้ระบบบูรณาการ รวมกลุ่มต่างๆ ในนามของ Pejuang Pembebasan Patani การต่อสู้เป็นสิ่งที่วายิบ (จำเป็น) สำหรับคนมลายูปาตานีทุกคนแต่การเข้าสังกัดเป็นสมาชิกขององค์กรใดองค์กรหนึ่งไม่ได้บังคับแต่การที่มีต้นสังกัดเพื่อเป็นการง่ายต่อการควบคุมและกำหนดทิศทางการต่อสู่เท่านั้น"  แหล่งข่าวคนเดิมกล่าว

เขายังกล่าวอีกว่าจะมีเหตุการณ์ในช่วงการพูดคุยเพื่อส่งสัญญาณถึงผู้เกี่ยวข้องว่าขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชปาตานีไม่เห็นด้วยการพูดคุยที่เกิดขึ้นแต่ไม่ได้ระบุว่าจะเกิดอะไรที่ไหนและเมื่อไร

ทางด้านแกนนำพูโลให้การยืนยันผ่าน Social Network อีกครั้งว่าจะไม่กลับมาเข้าร่วมพูดคุยในครั้งนี้และจะไม่เดินทางกลับมายังภูมิภาคเพราะเกรงว่าจะถูกมองจากฝ่ายมาเลเซียว่าเป็นตัวป่วนการพูดคุยในครั้งนี้

พรุ่งนี้จะเริ่มพูดคุยในเวลาประมาณ 10 โมงเวลาในประทศมาเลเซีย โดยใช้สถานที่เดิมพูดคุยลับระหว่างทั้งสองฝ่าย

           

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

งานวิจัยแพทย์อังกฤษเผย เด็กดูทีวีมากไม่มีผลด้านลบต่อพัฒนาการ

Posted: 27 Mar 2013 07:39 AM PDT

สภาวิจัยทางการแพทย์ของอังกฤษสำรวจกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ดูทีวี พบว่ามีอยู่ร้อยละ 1.3 เท่านั้น ที่แสดงพฤติกรรมด้านลบออกมา ซึ่งน้อยเกินกว่าจะบ่งชี้ความเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญได้ ขณะเดียวกันก็มีความเป็นไปได้ที่ปัจจัยทางครอบครัวอื่นๆ จะส่งผลต่อพฤติกรรมด้านลบเองด้วย

26 มี.ค. 2013 สภาวิจัยทางการแพทย์ (MRC) ของอังกฤษเปิดเผยผลการวิจัยว่าการที่เด็กดูโทรทัศน์หรือเล่นวีดิโอเกมทุกวันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก อีกทั้งไม่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องปัญหาทางอารมณ์หรือเรื่องอาการอยู่ไม่นิ่ง

ทีมวิจัยสำรวจโดยอาศัยกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุ 5 ปี จำนวนมากกว่า 11,000 คน ผลปรากฏว่ามีอยู่ร้อยละ 1.3 เท่านั้นที่แสดงพฤติกรรมที่เป็นปัญหาออกมาเมื่ออายุได้ 7 ปี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่าเมื่อพิจารณาจากผลการวิจัยแล้ว ความเกี่ยวข้องระหว่างทั้งสองเรื่องนี้อ่อนเกินไปจนไม่มีนัยสำคัญ พวกเขายังบอกอีกว่าอิทธิพลด้านอื่นๆ เช่น สไตล์การเลี้ยงลูก น่าจะเป็นตัวบ่งชี้ความเกี่ยวข้องดังกล่าวมากกว่า

การวิจัยดังกล่าวพบว่าเด็กอายุ 5 ปี จำนวนสองในสาม (ร้อยละ 65) ของกลุ่มตัวอย่างดูทีวี 1-3 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่ ร้อยละ 15 ดูทีวีมากกว่า 3 ชั่วโมง และร้อยละ 2 ไม่ได้ดูทีวีเลย โดยมีการตั้งสมมุติฐานว่าการดูทีวีมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวันจะทำให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมเช่น การใช้กำลัง, การโกหก, การรังแกคนอื่น มากกว่ากลุ่มตัวอย่างอื่นๆ แต่จากปากคำของแม่พวกเขาพบว่าเด็กที่อายุ 7 ปีในกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวแสดงพฤติกรรมด้านลบมากขึ้นเพียงเล็กน้อย ขณะที่การเล่นวีดิโอเกมไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเลย

นอกจากนี้แล้วยังพบว่าเวลาในการดูทีวีไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง หรือปัญหาด้านปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน

งานวิจัยชิ้นนี้ขัดแย้งกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ของสหรัฐฯ ที่บอกว่าการให้เด็กอายุน้อยดูทีวีจะทำให้เกิดปัญหาด้านสมาธิเมื่อเด็กอายุได้ 7 ปี โดยงานวิจัยดังกล่าวของสหรัฐฯ ทำการสำรวจกับเด็กอายุ 1 ปี และอายุ 3 ปี พบว่าร้อยละ 10 เกิดปัญหาด้านสมาธิ ซึ่งทางคู่มือกุมารแพทย์ของสหรัฐฯ แนะนำว่าเด็กควรจำกัดชั่วโมงการดูทีวีเหลือ 2 ชั่วโมงต่อวัน และให้เป็นรายการเชิงการศึกษาที่ไม่มีฉากรุนแรง

ดร.อลิสัน พาร์กส์ หัวหน้าหน่วยงานฝ่ายสุขภาวะและสังคมของ MRC ในเมืองกลาสโกว์กล่าวว่าการโทษทีวีเมื่อเกิดปัญหาสังคมเป็นเรื่องผิด

"พวกเราพบว่า เวลาในการดูทีวีไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อปัญหาสังคมและปัญหาเชิงพฤติกรรมส่วนใหญ่ที่เราประเมินไว้ และมีเพียงปัญหาพฤติกรรมเช่นการใช้กำลังหรือการรังแกกันเกิดขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น" พาร์กส์กล่าว

"ผลการวิจัยของพวกเราทำให้เห็นว่าการจำกัดเวลาที่เด็กใช้ตอนอยู่หน้าทีวีเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ทำให้การปรับตัวทางด้านจิตใจและสังคมดีขึ้น" พาร์กส์กล่าว

อย่างไรก็ตามส่วนหนึ่งของปัญหาในการวิจัยเช่นนี้คือปัจจัยทางสังคมในครอบครัวก็มีผลต่อเวลาในการดูทีวีของเด็กด้วยเช่นกัน อย่างเช่นในครอบครัวที่ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเด็กๆ ก็จะใช้เวลาดูทีวีหรือเล่นวีดิโอเกมมากกว่า

พาร์กส์บอกวา หากทีมวิจัยสามารถควบคุมปัจจัยของครอบครัวที่มีอิทธิพลได้ พวกเขาก็อาจจะไม่ค้นพบผลกระทบร้อยละ 1.3 เลยด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตามทีมวิจัยให้คำแนะนำว่าควรมีการจำกัดเวลาดูทีวีเนื่องจากการใช้เวลาอยู่หน้าจอทีวีมากเกินไปอาจทำให้เด็กมีเวลาทำกิจกรรมที่สำคัญอย่างอื่นเช่นการเล่นกับเพื่อนและการทำการบ้านน้อยลง

ศาตราจารย์ ฮิวจ์ เพอร์รี่ ประธานบอร์ดฝ่ายสุขภาพจิตและประสาทวิทยาของ MRC กล่าวว่า ปัจจุบันเราอยู่ในโลกที่สื่อบันเทิงอิเล็กโทรนิคมีอิทธิพล จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่พ่อแม่จะรู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดกับเด็ก และงานวิจัยชิ้นล่าสุดนี้แสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะกับทีวีและวีดิโอเกมมีความซับซ้อน รวมถึงมีปัจจัยด้านสังคมและสภาพแวดล้อมเข้ามามีส่วนด้วย

เรียบเรียงจาก

TV time 'does not breed badly behaved children' , BBC, 26-03-2013

Watching TV for three hours a day will not harm your children, parents told, The Independent, 26-03-2013
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตามผล 1 เดือน จี้หัวหน้าทีมเจรจา FTA ไทย-อียู โปร่งใสอย่างรับปาก

Posted: 27 Mar 2013 06:21 AM PDT

 

สืบเนื่องจากวันที่ 28 ก.พ.56 ประชาชนและองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ ได้ชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อแสดงความกังวลต่อกรอบการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย -สหภาพยุโรป (Thai-EU FTA) และเรียกร้องกระบวนการเจรจาที่มีธรรมาภิบาลและโปร่งใส โดยผลจากการหารือระหว่างตัวแทนผู้ชุมนุมและ ดร. โอฬาร ไชยประวัติ หัวหน้าคณะเจรจาฯ ดร.โอฬาร ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะส่งเสริมการมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใส เช่น การที่คณะเจรจาฯ จะรายงานผลความคืบหน้าการเจรจาในแต่ละรอบให้กับผู้มีส่วนได้เสียและภาคประชาสังคม พร้อมกับรับฟังความคิดเห็นเพื่อเตรียมการเจรจารอบต่อไป และจัดตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆอย่างสมดุล เพื่อให้คำปรึกษาและเสนอแนะท่าทีการเจรจาในภาพรวม

กลุ่มศึกษาเขตการคาเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) และเครือข่ายระบุว่า ขณะนี้เป็นระยะเวลาเกือบ 1 เดือนเต็มแต่ยังไม่มีความคืบหน้าในประเด็นที่ได้มีสัญญาประชาคมไว้อย่างชัดเจน  ภาคประชาสังคมจึงขอส่งจดหมายเปิดผนึก ทวงถาม ดร.โอฬาร ไชยประวัติ หัวหน้าคณะเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป, นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, และ นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ขอให้ให้ความกระจ่างในเรื่องนี้กับสาธารณะโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งจัดให้มีการแจ้งความคืบหน้าเพื่อรับฟังความเห็นตามข้อตกลงสัญญาประชาคมในทันที

 

รายละเอียดมีดังนี้

 

วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

 

เรื่อง    กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป

เรียน    ดร.โอฬาร ไชยประวัติ

          หัวหน้าคณะเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป 

สำเนาเรียน        นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

สื่อมวลชน

                       

ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ประชาชนและองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ ได้ชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อแสดงความกังวลต่อกรอบการเจรจาฯ และเรียกร้องกระบวนการเจรจาที่มีธรรมาภิบาลและโปร่งใส  หลังจากที่ตัวแทนผู้ชุมนุมได้เข้าหารือกับดร.โอฬาร ไชยประวัติ หัวหน้าคณะเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป โดยมีนางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมหารือด้วย  ผลการหารือ ดร.โอฬาร ไชยประวัติได้ให้คำมั่นสัญญาไว้ว่าจะส่งเสริมการมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใส โดยมีรายละเอียดซึ่งได้มีการเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน ดังนี้

1.      จะมีการรายงานผลความคืบหน้าการเจรจาในแต่ละรอบการเจรจาให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นักวิชาการ และภาคประชาสังคมที่ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด รวมถึงผู้แทนหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับรับฟังความคิดเห็นเพื่อเตรียมการสำหรับการเจรจาในครั้งต่อไป

2.      จะตั้งคณะกรรมการที่จะให้คำปรึกษาและเสนอแนะท่าทีการเจรจาในภาพรวม ที่ประกอบไปด้วยตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ อย่างสมดุล ก่อนสิ้นเดือนมีนาคม

3.      จะให้มีการตั้งอนุกรรมการหรือคณะทำงานเฉพาะประเด็นที่มีความอ่อนไหวตามที่ภาคประชาสังคมนำเสนอ (ทรัพย์สินทางปัญญาเรื่องยาและพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ สินค้าสุราและยาสูบ การลงทุนในภาคเกษตรและทรัพยากรทางธรรมชาติ และการคุ้มครองการลงทุน) เพื่อสนับสนุนข้อมูลและให้คำแนะนำท่าทีการเจรจาเฉพาะประเด็นในเชิงลึก

จนถึงวันนี้ เป็นระยะเวลาเกือบหนึ่งเดือนเต็มแล้ว รวมถึงทางคณะเจรจาก็ได้เดินทางกลับจากการพบปะพูดคุยกับฝ่ายสหภาพยุโรปในรอบแรกเป็นเวลานานแล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้าในประเด็นที่ได้มีสัญญาประชาคมไว้  ภาคประชาสังคมได้ใช้ความพยายามในการสอบถามและติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นฝ่ายเลขาฯ ให้กับคณะเจรจา และดร.โอฬาร ไชยประวัติได้แจ้งว่าจะเป็นผู้ประสานในเรื่องนี้  แต่กลับได้รับคำตอบที่ไม่ชัดเจนและมีความสับสน ข้อมูลเพียงประการเดียวซึ่งได้รับอย่างไม่เป็นทางการมีว่า รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหนึ่งชุด แต่ทางภาคประชาสังคมไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับประเด็นที่กล่าวมามากน้อยเพียงไร ซึ่งหากจะเกี่ยวก็จะเป็นเฉพาะในกรณีข้อ 2. เท่านั้น

จึงขอเรียกร้องให้ผู้รับผิดชอบให้ความกระจ่างในเรื่องนี้กับสาธารณะโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งจัดให้มีการแจ้งความคืบหน้าเพื่อรับฟังความเห็นตามข้อ 1. ในทันที

ภาคประชาสังคมยังมีความเชื่อมั่นในรัฐบาลและดร.โอฬาร ไชยประวัติ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเจรจากับสหภาพยุโรปนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างรัฐบาลและภาคส่วนต่างๆ เพื่อจะนำมาซึ่งผลการเจรจาที่มีประโยชน์สูงสุดและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

 

 

ขอแสดงความนับถือ 

(ผศ. ภญ. สำลี ใจดี) 

กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)

เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย, เครือข่ายองค์กรงดเหล้า, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, สมัชชาคนจน, เครือข่ายสลัม ๔ ภาค, ชมรมเพื่อนโรคไต, เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง, คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์, มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิเภสัชชนบท, ชมรมเภสัชชนบท, กลุ่มศึกษาปัญหายา, มูลนิธิชีววิถี, มูลนิธิบูรณะนิเวศ, มูลนิธิสุขภาพไทย, กลุ่มเพื่อนแรงงาน, เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์, เครือข่ายชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากแอลกอฮอล์, เครือข่ายชุมชนเฝ้าระวังภัยแอลกอฮอล์ กทม., เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่, เครือข่ายคนทำงานด้านการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด (12D), โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา, ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ, เครือข่ายพันธมิตรเพื่อการควบคุมยาสูบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATCA), และโครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อวัตถุศึกษากับอธิป: เว็บโป๊ญี่ปุ่นในไต้หวันรอดคดีละเมิดลิขสิทธิ์

Posted: 27 Mar 2013 06:12 AM PDT

ประมวลข่าวสารลิขสิทธิ์กับ 'อธิป จิตตฤกษ์': รายงานอียูระบุโหลดเพลงเถื่อนไม่กระทบงานดนตรี, เว็บหนังโป๊ละเมิดลิขสิทธิ์รอดคดี, สุลต่านโอมานอภัยโทษพลเมืองเน็ต

 

Immaterial Property Research Center ตั้งขึ้นในวันที่ 18 มกราคม หรือ "วันเสรีภาพอินเทอร์เน็ต" เพื่อเป็นศูนย์ข่าว ศูนย์ข้อมูล และศูนย์วิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุ (หรือที่เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าทรัพย์สินทางปัญญา) ต่างๆ อย่างสัมพันธ์กับระบบกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจ และระบบการเมืองในโลก ทางศูนย์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานของศูนย์ฯ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุที่เอื้อให้เกิดเสรีภาพในเชิงบวกไปจนถึงความเท่าเทียมกันของผู้คนในโลก

 

19-03-2013

รายงานของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปชี้ว่าการโหลดเพลงเถื่อนไม่ได้ส่งผลใดๆ กับการฟังและโหลดเพลงออนไลน์อย่างถูกกฎหมาย

โดยสรุปแล้วรายงานชี้ว่าการโหลดเพลงเถื่อนนั้นไม่ใช่สิ่งที่มาทดแทนการซื้องานดนตรีถูกกฎหมาย เพราะถ้าไม่มีการโหลดอย่างถูกกฎหมายแล้ว คนก็จะไม่โหลดแบบเถื่อนๆ มาฟังอยู่ดี นอกจากนี้หลังจากทำการประเมินยังพบว่าถ้าไม่มีการโหลดเถื่อนแล้ว ยอดการเข้าเว็บไซต์ดนตรีถูกกฎหมายนั้นจะลดลงกว่าที่เป็นอยู่ด้วยซ้ำ

นี่เป็นการตอกย้ำความล้มเหลวของหน่วยงานปราบการสำเนาเถื่อนออนไลน์ชื่อก้องโลกของฝรั่งเศสอย่าง HATOPI ที่แม้ว่าจะอ้างว่าการดำเนินงานของตนจะทำให้การทำสำเนาเถื่อนลดลง แต่ก็กลับไม่มีหลักฐานที่จับต้องได้ใดๆ ว่าการลดลงของการทำสำเนาเถื่อนนั้นจะนำมาสู่การเพิ่มขึ้นของยอดการบริโภคงานดนตรีถูกกฎหมาย

ทั้งนี้รายงานนี้ศึกษาคน 16,000 คน ในชาติยุโรป 5 ชาติด้วยกัน

News Source: http://torrentfreak.com/online-piracy-is-not-hurting-music-revenues-european-commission-finds-130318/, http://www.digitalmusicnews.com/permalink/2013/20130318study

 

เว็บการ์ตูนถูกลิขสิทธิ์ออนไลน์ JManga กำลังจะปิดเว็บ พร้อมลบการ์ตูนออนไลน์ในบัญชีผู้ใช้ที่ลูกค้าทุกคนได้ซื้ออ่านไปแล้ว และไม่ให้โอกาสผู้ใช้ดาวน์โหลดเพื่อเก็บไว้ด้วย

ทั้งนี้ เว็บนี้ตั้งขึ้นภายใต้การสนับสนุนของสมาคมการ์ตูนญี่ปุ่นดิจิทัลที่มีสมาชิกกว่า 36 สำนักพิมพ์ด้วยกันในปี 2011 และจะปิดตัวอย่างถาวรในวันที่ 30 พฤษภาคมนี้

News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130317/16534822353/drm-strikes-again-digital-comics-distributor-jmanga-closing-down-deleting-everyones-purchases.shtml

 

20-03-2013

คดี "แบบเรียนมือสอง" สิ้นสุดแล้ว ด้วยการที่ศาลสูงอเมริกาตัดสินให้ สุภาพ เกิดแสงชนะคดีนำเข้าแบบเรียนมือสองจากเอเชียไปขายในอเมริกา

ศาลสูงตัดสินด้วยคะแนน 6 ต่อ 3

สรุปคร่าวๆ เกี่ยวกับคดีนี้ คือที่สู้กันมาถึงตรงนี้ เถียงกันแค่ว่า "หลักการขายครั้งแรก" มันสามารถใช้ได้กับของที่ผลิตถูกลิขสิทธิ์นอกอเมริกาหรือไม่

คดีนี้แพ้ในศาลชั้นต้นกับอุทธรณ์แพ้มาตลอด แต่คนก็ให้ความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มาตลอดเช่นกัน

ในคำตัดสินที่ของคดีนี้บรรดาผู้พิพาษาศาลสูงเถียงกันถึงคำว่า "Under" ใน "Legally Made Under This Title" อันเป็นประโยคที่เป็นปัญหาในกฎหมายนี่แปลว่าอะไร (ประโยคนี้อยู่ที่ 17 USC § 109 ของประมวลกฎหมายอเมริกา ซึ่งเป็นส่วนข้อยกเว้นในการละเมิดลิขสิทธิ์)

สุดท้ายผู้พิพากษาส่วนใหญ่ก็มองว่า "Under This Title" ไม่ได้มีขอบเขตอยู่แค่อเมริกา

รายละเอียดคำพิพากษาส่วนที่ศาลชี้ให้เห็นปัญหาของกรณีที่ "Under This Title" ไม่ครอบคลุมของที่ผลิตนอกอเมริกาก็น่าสนใจ โดยศาลยกตัวอย่างกรณีของรถที่ผลิตต่างประเทศที่มีซอฟท์แวร์ติดมาด้วย ศาลบอกว่าถ้า First Sale Doctrine ไม่ Apply แล้ว การซื้อขายรถมือสองที่มีซอฟท์แวร์ติดอยู่จะละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น

ผู้พิพากษาส่วนใหญ่ยังชี้อีกว่า ที่ทางคู่กรณีอย่าง Wiley ชี้ว่าถ้า First Sale Doctrine ใช้กับของต่างประเทศได้ บรรดาผู้ผลิตของมีลิขสิทธิ์จะมีปัญหาในการตั้งราคาที่ต่างกันไปในแต่ละประเทศ ซึ่งจะทำให้ผลกำไรลดลง นั้นก็เป็นสิ่งที่จริง แต่ปัญหาคือไม่มีสิทธิใดๆ ภายใต้ลิขสิทธิ์ที่จะให้สิทธิ์เจ้าของลิขสิทธิ์ตั้งราคาที่ต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น บรรดาผู้ร่างรัฐธรรมนูญทั้งหลายไม่ได้มีเจตนาแบบนี้แน่ๆ

แน่นอนว่าฝ่ายอุตสาหกรรมลิขสิทธิ์จะเตรียมแก้กฎหมายนี้ ซึ่งก็ท้าทายอยู่เพราะโลกตอนนี้ไม่เหมือนปี 1998 ที่กฎหมายลิขสิทธิ์ถูกแก้ไปครั้งล่าสุด การแก้กฎหมายคราวนี้คงเจอการรณรงค์ต่อต้านอย่างหนักผ่านโลกอินเทอร์เน็ตแน่นอน

News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130319/08094922377/supreme-court-gets-it-right-kirtsaeng-you-can-resell-things-you-bought-abroad-without-infringing.shtml

 

"Sweet Brown" ผู้หญิงคนดำเจ้าของวลี "Ain't Nobody Get Time For That" พยายามจะฟ้องสถานีวิทยุและ iTunes ที่เผยแพร่เพลงที่เอาคำพูดของเธอมาใส่ Autotune พร้อมใส่จังหวะและดนตรีลงไป

ดูคลิปต้นฉบับของ Sweet Brown ที่ถูกทำให้เป็นมีมได้ที่: http://youtu.be/uM6co-uHFTs

ฟังเพลงที่โดนฟ้องได้ที่: http://youtu.be/po3jPq5LT0g

News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130317/23555222357/sweet-brown-has-her-voice-autotuned-sues-itunes-others-15-million.shtml

 

Isohunt เว็บทอร์เรนต์สัญชาติแคนาดาแพ้คดีละเมิดลิขสิทธิ์ในระดับศาลอุทธรณ์ในอเมริกาแล้ว

News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130321/12104822407/isohunt-still-guilty-contributory-infringement.shtml , http://torrentfreak.com/isohunt-loses-appeal-against-the-mpaa-keyword-filter-remains-130321/

 

24-03-2013

ศาลไต้หวันประกาศว่าจะไม่ดำเนินคดีต่อบรรดาเว็บหนังโป๊ญี่ปุ่น "ละเมิดลิขสิทธิ์" ทั้งหลาย

จริงๆ แล้วตั้งแต่ปี 1999 บริษัทหนังโป๊ญี่ปุ่นพยายามจะเล่นงานเว็บโป๊ใต้หวันมานานแล้ว และก็ดำเนินไปจนถึงศาลสูงที่ตัดสินว่าหนังโป๊นั้นเป็นสิ่งอุจาดที่ไม่สมควรได้รับการคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ กล่าวคือกฏหมายลิขสิทธิ์ไต้หวันไม่คุ้มครองหนังโป๊

ล่าสุดบริษัทหนังโป๊ญี่ปุ่นก็เลยหันมาเล่นงานด้วยการฟ้องว่าพวกเว็บโป๊เหล่านี้ (ที่เผยแพร่หนังโป๊ญี่ปุ่นเอง) กำลังเผยแพร่สิ่งที่เป็นอันตรายต่อเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นสิ่งผิดกฎหมายใต้หวัน

แต่ศาลก็ตัดสินอีกว่าบรรดาเว็บพวกนี้ไม่ได้ทำผิดอะไร เพราะก็มีระบบป้องกันเด็กเข้าเว็บและมีการใส่คำเตือนที่เหมาะสมแล้ว

News Source: http://torrentfreak.com/websites-can-legally-pirate-porn-movies-prosecutors-rule-130123/ , http://focustaiwan.tw/ShowNews/WebNews_Detail.aspx?Type=aALL&ID=201303210044

 

Microsoft ออกรายงานการขอข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้จากภาครัฐเพื่อความโปร่งใสมาแล้ว

เว็บไซต์บล็อกนัน เว็บข่าวไอที รายงานว่า ไมโครซอฟท์ บริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก เปิดเผยจำนวนการขอข้อมูลส่วนบุคคลจากรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลกในปี 2555 ที่ผ่านมา โดยรวมแล้วมีการขอข้อมูล 70,665 ครั้ง รวมเป็นผู้ใช้ทั้งหมด 122,015 คน

ประเทศที่ขอข้อมูลมากที่สุด คือ สหรัฐฯ ขอข้อมูล 11,073 ครั้งรวมผู้ใช้ 24,565 คน อันดับสองคือตุรกี 11,434 ครั้ง ฝรั่งเศส 8,603 ครั้ง, เยอรมนี 8,419 ครั้ง และไต้หวัน 4,381 ครั้ง

ส่วนข้อมูลของไทยนั้น มีการขอข้อมูลไปทั้งสิ้น 83 ครั้ง รวมผู้ใช้ 105 คน และไมโครซอฟท์เคยส่งข้อมูลให้รวม 73 ครั้ง อีกสิบครั้งนั้นไมโครซอฟท์ไม่พบข้อมูล

ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตด้วยว่า สำหรับไทยน่าแปลกใจว่า รายงานของกูเกิลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันยังไม่มีการขอข้อมูลผู้ใช้มากนัก แม้จะมีการขอให้ปิดกั้นข้อมูลจากประเทศไทยก็ตามที ขณะที่ฝั่งไมโครซอฟท์ กลับเป็นการขอข้อมูลโดยตรง

อ่านสรุปและดาวน์โหลดได้ที่: http://www.microsoft.com/about/corporatecitizenship/en-us/reporting/transparency/

News Source: https://www.eff.org/deeplinks/2013/03/victory-transparency-microsoft-releases-report-law-enforcement-requests-user-data, http://prachatai.com/journal/2013/03/45894

 

สเปนกำลังจะร่างกฎหมายลิขสิทธิ์ใหม่ที่จะทำให้การแชร์ไฟล์และการขายโฆษณาให้เว็บสำเนาเถื่อนทั้งหลายผิดกฎหมาย

ทั้งนี้ในกฎหมายปัจจุบัน การแชร์ไฟล์ในสเปนยังไม่ผิดกฎหมาย และรัฐก็มีวิธีการทดแทนผู้ผลิต "เนื้อหา" ต่างๆ ด้วยการเก็บ "ภาษีสื่อเปล่า" ตั้งแต่ CD, DVD ยันฮาร์ดดิสค์ต่างๆ อยู่ แต่สเปนก็อยู่ในแบล็คลิสค์ของประเทศที่ละเมิดลิขสิทธิ์อเมริกาสูงในปีที่แล้ว และกฎหมายนี้ก็เป็นการพยายามจะหลุดจากแบล็คลิสต์ดังกล่าวนี่เอง

News Source: http://www.digitalmusicnews.com/permalink/2013/20130322spanish

 

Crunchyroll เว็บสตรีมการ์ตูนญี่ปุ่นสัญชาติอเมริกามียอดคนจ่ายเงินค่าสมาชิกกว่า 2 แสนคนแล้ว

ทั้งนี้ ทางเว็บมียอดคนจ่ายเงินค่าสมาชิกเมื่อเปิดมาเพียง 6 เดือนในเดือนกันยายาน 2012 ถึง 1 แสนคน และตอนนี้เว็บก็ขยายธุรกิจไปสตรีมบรรดาซีรี่ส์เกาหลี และบรรดาละครเอเชียทั้งหลายแล้ว

News Source: http://paidcontent.org/2013/03/25/crunchyroll-200000-subscribers/

 

สุลต่านโอมาน "ประทานอภัยโทษ" แก่บรรดาพลเมืองเน็ตที่ติดคุกเพราะวิจารณ์เขาบน Facebook และบล็อกต่างๆ

ทั้งนี้ สุลต่านผู้นี้ปกครองโอมานมา 43 ปีแล้ว และพลเมืองเน็ตที่ติดคุกไปก็มีอย่างต่ำๆ 50 คน ซึ่งโทษจำคุกสูงสุดที่พวกเขาได้รับคือ 1 ปีครึ่ง

News Source: https://www.eff.org/deeplinks/2013/03/omans-sultan-qaboos-pardons-activists-and-netizens , http://www.reuters.com/article/2013/03/22/us-oman-sultan-pardon-idUSBRE92L0BE20130322
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วอนรัฐไทยดูแลความปลอดภัยผู้ปฏิบัติฝ่าหลุนกง

Posted: 27 Mar 2013 05:50 AM PDT



 

สืบเนื่องจากกรณี จริยา ผู้ปฏิบัติฝ่าหลุนกง อายุราว 70 ปี ถูกทำร้ายโดยชายแปลกหน้า ขณะปฏิบัติฝ่าหลุนกง บริเวณหน้าบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ตรงข้ามสถานทูตจีน ถ.รัชดาภิเษก เมื่อวันที่ 8 มี.ค. ที่ผ่านมา  วันนี้ (27 มี.ค.56) จริยายังคงเดินทางไปปฏิบัติฝ่าหลุนกงตามปกติ  โดยเธอมองว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่สันติ ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ทั้งนี้ นับแต่วันที่เกิดเรื่อง มีผู้ปฏิบัติฝ่าหลุนกงชาวจีนมานั่งสมาธิอยู่ด้วยเป็นครั้งคราว

ด้าน ไพฑูรย์ สุริยะวงศ์ไพศาล กลุ่มผู้ฝึกฝ่าหลุนกง กล่าวว่า ที่ผ่านมา จริยาเคยถูกทำร้ายร่างกายหลายครั้งแล้ว เหตุการณ์เช่นนี้คล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียกร้องความเป็นธรรมที่หน้าสถานทูตจีนทั่วโลก ที่ไปเรียกร้องให้รัฐบาลจีนยุติการปราบปรามที่ผิดศีลธรรมและรัฐธรรมนูญจีนเอง

เขากล่าวว่า ทางกลุ่มเห็นด้วยกับการกระทำของเธอ เพราะเป็นสิทธิในการแสดงออกอย่างสันติ ชอบด้วยกฎหมาย

"เป็นความสมัครใจของป้าเอง หลายคนเคยห้าม เพราะเป็นห่วงความปลอดภัย แต่เขายังคิดว่าถนัดทำอย่างนี้" ไพฑูรย์กล่าวและว่า ต่อหน้าอิทธิพลมืดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ถ้านิ่งเฉย ฝ่าหลุนกงคงหายไปจากโลก

ไพฑูรย์ ระบุว่า เมื่อก่อน เคยมีตำรวจสันติบาลไปสังเกตการณ์ แต่หลังๆ เมื่อเห็นว่าไม่กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และไม่ได้ทำให้คนเดินเท้าเดือดร้อน จึงไม่ได้ไปดูแล้ว ซึ่งก็ทำให้เกิดช่องโหว่เรื่องความปลอดภัย ทั้งนี้ เรียกร้องว่ารัฐควรคุ้มครองการแสดงออกอย่างสันติและชอบด้วยหลักศีลธรรมนี้ด้วย 


อนึ่ง "ฝ่าหลุนกง" อธิบายตัวเองว่าเป็นการฝึกจิตบำเพ็ญธรรม เผยแพร่ในจีนเมื่อปี 2535 ต่อมา ทางการจีนเกรงว่าฝ่าหลุนกงจะเป็นภัยคุกคามต่อรัฐบาล ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม ปี 2542 ผู้นำในพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีคำสั่งให้จับกุมผู้ฝึกฝ่าหลุนกง รวมถึงมีการออกข่าวโจมตี ผู้ฝึกฝ่าหลุนกงหลายแสนคนถูกส่งไปควบคุมตัวในเรือนจำ ค่ายสัมมนา ค่ายใช้แรงงานของรัฐบาล ส่งผลให้ผู้ฝึกฝ่าหลุนกงจำนวนมากต้องหลบหนีออกนอกประเทศ หนึ่งในนั้นคือประเทศไทย โดยในกรุงเทพฯ มีการรวมตัวของผู้ปฏิบัติฝ่าหลุนกงในรูปแบบการออกกำลังกาย ที่สวนลุมพินี


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรณีเพลิงไหม้ค่ายผู้ลี้ภัยขุนยวม องค์กรบรรเทาทุกข์แนะต้องใส่ใจระยะยาว เพราะการฟื้นฟูใช้เวลา

Posted: 27 Mar 2013 05:40 AM PDT

องค์กรด้านมนุษยธรรมซึ่งให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย จัดเสวนาที่สมาคมนักข่าวฯ ขอบคุณทุกฝ่ายที่ช่วยเหลือกรณีไฟไหม้ค่ายผู้ลี้ภัยที่ขุนยวม แนะจัดระบบของบริจาคให้กระจายได้ทั่วถึง และเตรียมตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจระดมกำลังฟื้นฟูค่ายผู้ลี้ภัยเร่งด่วน ชี้หลายครั้งเวลาเกิดภัยพิบัติคนจะสนใจเฉพาะช่วงแรก แต่การเยียวยา-ฟื้นฟูต้องอาศัยเวลา และต้องทำงานร่วมกัน

วันนี้ (27 มี.ค.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยนี้ องค์กรอินเตอร์เนชั่นแนลเรสคิวคอมมิตตี (IRC)  องค์กรเดอะบอร์เดอร์คอนซอร์เทียม (TBC)  และผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากพม่า จัดเวทีเสวนาในหัวข้อ "โศกนาฏกรรมเพลิงไหม้ค่ายผู้หนีภัยการสู้รบแม่สุริน : จากช่วยเหลือเยียวยาสู่การพัฒนาฟื้นฟู (Black Friday)"

สืบเนื่องจากกรณีที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่สุริน  อ.ขุนยวม จังหวังแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นค่ายของผู้ลี้ภัยการสู้รบกลุ่มชาติพันธ์กะเหรี่ยง คะเรนนี ที่อพยพการสู้รบระหว่างรัฐบาลพม่าและกองกำลังชาติพันธ์มาอยู่ที่ประเทศไทย  จนทำให้มีผู้ลี้ภัยเสียชีวิตจำนวน 37 ศพ ซึ่งในส่วนของการช่วยเหลือนอกจากการช่วยเหลือในเรื่องปัจจัยสี่แล้ว การช่วยเหลือระยะยาวและการพัฒนาฟื้นฟูถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก องค์กรที่มีบทบาทด้านการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยมาอย่างยาวนานจึงได้จัดงานครั้งนี้ขึ้น

แฟ้มภาพเหตุเพลิงไหม้ค่่ายผู้ลี้ภัยแม่สุริน อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อ 22 มี.ค. 56

คริสทีน เพทรี่ ผู้อำนวยการอินเตอร์เนชั่นแนลเรสคิวคอมมิตตี (IRC)

 

ผู้อำนวยการ IRC ชี้สังคมสนใจภัยพิบัติช่วงแรกเท่านั้น แนะให้สนใจระยะยาว เพราะการฟื้นฟูต้องใช้เวลา

โดย น.ส.คริสทีน เพทรี่ ผู้อำนวยการอินเตอร์เนชั่นแนลเรสคิวคอมมิตตี (IRC) กล่าวว่า ค่ายแม่สุรินเป็นค่ายที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้หนีภัยจากการสู้รบกลุ่มชาติพันธ์กะเหรี่ยง คะเรนนี มาพักอาศัย ก่อนที่สถานการณ์ในประเทศพม่าจะสงบ ซึ่งปัจจุบันมีผู้หนีภัยจำนวน 3,600 คน แต่เป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) 1,675 คน แบ่งเป็นผู้หญิงร้อยละ 49 และผู้ชายร้อยละ 51  ส่วนเด็กอายุ 0-5 ขวบร้อยละ 12 , อายุ 18 ปีขึ้นไปร้อยละ 49  โดยผลกระทบจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 37 คน บาดเจ็บ 200 คน บ้านเสียหาย 400 หลัง รวมมีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 2,300 คน ซึ่งในจำนวนนี้มี 900 คนที่ไม่มีที่อยู่อาศัย และเรื่องที่น่าเสียใจมากคืออาสาสมัครบริการทางด้านสาธารณสุขของ IRC ก็เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย

สิ่งที่อยากให้แน่ใจที่สุดคือความปลอดภัยในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ต้องแน่ใจว่าบุคคลเหล่านี้จะได้รับการคุ้มครองและได้รับการบริการเหมือนค่ายพักพิงเดิม โดยจะต้องเข้าถึงความสะอาด ระบบสาธารณสุข อนามัยสิ่งแวดล้อม สิ่งอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ IRC ได้เปิดคลินิกชั่วคราว ให้การบริการทางการแพทย์เบื้องต้น และการบาดเจ็บเล็กน้อย และมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้หนีภัยสามารถเข้าไปรับบริการได้ โดยจะมีหน่วยบริการสาธารณสุข 4 ทีมเข้าไปในค่ายทุกวัน ทำงานร่วมกับอาสาสมัครซึ่งเป็นผู้หนีภัยที่มีความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน และมีแพทย์ประจำศูนย์เพื่อให้มั่นใจเรื่องการควบคุมโรค และสุขาภิบาลต่างๆ  อย่างไรก็ตามการดูแลขณะนี้ได้แบ่งคนเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มคนที่หนีเหตุการณ์ไฟไหม้ และกลุ่มที่สูญเสียครอบครัวและบ้าน ซึ่งจากปัญหาที่เกิดขึ้น เราได้จัดตั้งศูนย์รับมือภาวะวิกฤต (Crisis Center) เพื่อเป็นศูนย์ที่รับปรึกษาปัญหาต่างๆ และทำงานร่วมกับนักจิตวิทยาจากกระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ที่จะมาเยียวยาจิตใจผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งจากการประเมินในเบื้องต้น ผู้หนีภัยที่ประสบเหตุอยู่ในช่วงทำความเข้าใจกับความรู้สึกและการรับมือ เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเร็ว และหลายคนก็สูญเสียอะไรหลายอย่างในชีวิต

"ประเด็นที่เราเป็นกังวลคือจะทำอย่างไรให้เกิดบริการกลางที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วเทียม  และในส่วนของการบริจาคอยากให้บริจาคกับองค์กรที่ทำงานผู้หนีภัยการสู้รบพม่ามากว่า 22 ปี ซึ่งจะมีองค์กรเฉพาะที่จัดตั้งเป็นเครือข่าย Committee for Coordination of Services to Displaced Persons in Thailand (CCSDPT) โดยองค์กรจะต้องไปขึ้นทะเบียน และทำงานโดยที่กระทรวงมหาดไทยรับรู้ มีการส่งแผนการทำงาน ดังนั้นกลไกเหล่านี้จะทำให้แน่ใจว่าการช่วยเหลือไม่ซ้ำซ้อนและโปร่งใส สำหรับสิ่งที่หลายหน่วยงานต้องการขณะนี้มากกว่าปัจจัย 4 คือการฟื้นฟูระบบโครงสร้างพื้นฐานในค่ายผู้หนีภัยให้กลับฟื้นขึ้นมาโดยเร็ว อาทิ โรงเรียน โบสถ์ วัด คลินิก ศูนย์เลี้ยงเด็ก อาคารอเนกประสงค์ ที่พักอาศัย ซึ่งการฟื้นฟูดังกล่าวจะต้องใช้งบประมาณในจำนวนมหาศาล และนอกจากงบประมาณก็ต้องมีความเข้าใจในชุมชน ต้องทำงานร่วมกับชุมชนด้วยความเข้าใจ นอกจากนี้ในหลายครั้งที่มีการเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติจะได้รับความสนใจในวันแรกๆ เท่านั้น แต่สำหรับการเยียวยาและการฟื้นฟูจะต้องอาศัยระยะเวลานานที่ต้องทำงานร่วมกันจากหลากหลายฝ่าย และต้องทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง" ผู้อำนวยการอินเตอร์เนชั่นแนลเรสคิวคอมมิตตี (IRC) กล่าว

 

หน่วยงานบรรเทาทุกข์ชายแดนขอบคุณทุกฝ่ายที่ช่วยเหลือ แนะมองไปข้างหน้าไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอย

ขณะที่ น.ส.แซลลี่ ทอมสัน ตัวแทนองค์กรเดอะบอร์เดอร์คอนซอร์เที่ยม (TBC) กล่าวว่า ทางองค์กรให้ความช่วยเหลือด้านอาหารและที่พักพิงกับผู้หนีภัยในประเทศไทยมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2527  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายครั้งใหญ่ที่สุดให้กับผู้หนีภัยในรอบ 28 ปี  โดยการจากการลงพื้นที่สำรวจเบื้องต้นมีผู้หนีภัยกว่า 60 เปอร์เซ็นต์สูญเสียที่พัก ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ขององค์กรเราและหลากหลายองค์กรที่ทำงานด้านนี้ต้องเร่งให้ความช่วยเหลือ โดยเบื้องต้นเราได้มีการเตรียมเคลียร์พื้นที่เพื่อจัดสร้างที่พัก ซึ่งได้มีการจัดตั้งครัวชุมชนขึ้นมาเพื่อประกอบอาหารให้ผู้หนีภัยการสู้รบที่ได้รับผลกระทบ โดยการช่วยเหลือเป็นไปอย่างดีมาก แต่โจทย์สำคัญที่เราต้องควรคิดร่วมกันคือจะช่วยเหลืออย่างให้ยั่งยืนในระยะยาวเพราะสิ่งบริการพื้นฐานในชุมชนเสียหายไปมาก อาทิ โรงเรียน คลินิก ระบบน้ำดื่ม น้ำใช้ สุขภัณฑ์ วัด โบสถ์   สำหรับการทำงานในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้นจะอยู่ภายใต้กระทรวงมหาดไทย เมี่อมีเหตุการณ์แบบี้เกิดขึ้นองค์กรพัฒนาเอกชนก็จะรวมตัวกันในรูปแบบของคณะกรรมการ CCSDPT  นอกจากนี้การให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นอีกเรื่องก็คือเงินบริจาคที่จะสามารถนำมาจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และสิ่งของจำเป็นให้ตรงตามความต้องการของผู้หนีภัยการสู้รบซึ่งน่าจะใช้เงินอย่างต่ำ 13 ล้านบาทในการฟื้นฟู ซึ่งหากท่านใดสนใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยฟื้นฟูให้ตรงตามความต้องการของผู้ลี้ภัยสามารถดูรายละเอียดให้กับองค์กรต่างๆ ได้ตามเว็บไซด์ของเครือข่าย  http://www.ccsdpt.org/links.htm

ที่สำคัญคือเราต้องมองไปข้างหน้าว่าจะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเดิมขึ้นอีกซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากเพราะสภาพแวดล้อมของผู้หนี้ภัยจะพักอาศัยอยู่ติดกันมีพื้นที่จำกัดทำให้ไฟลามได้ง่าย ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือการฝึกให้ความรู้เรื่องการหนีไฟ และการป้องกันตัวเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น

ตัวแทนองค์กรเดอะบอร์เดอร์คอนซอร์เที่ยม (TBC) กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เราต้องขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่ได้เข้ามาให้การช่วยเหลือผู้หนีภัยการสู้รบที่ประสบเหตุ และเป็นพระมหากรุณาธิคุณกับผู้หนีภัยการสู้รบเป็นอย่างยิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานถุงยังชีพมาให้ผู้ลี้ภัยที่ประสบเหตุ  นอกจากนี้แล้วยังต้องขอขอบคุณรัฐบาลไทยด้วยที่ได้ให้การช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและทันท่วงที

 

โคเออร์เผยเตรียมเยียวยาจิตใจเด็กผู้ลี้ภัยซึ่งสูญเสียพ่อแม่ และติดตามเด็กหาย 10 คน

ด้านนายเบน เมนโดซ่า ผู้อำนวยการองค์กรคณะกรรมการคาทอลิคสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย (โคเออร์) ระบุว่า  จากการที่โคเออร์ได้เข้าไปให้ความชวยเหลือผู้หนีภัยจากการสู้รบในครั้งนี้เราพบว่ามีเด็กที่อยู่ในศูนย์พักพิงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งแบ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี 245 คน อายุ 5-18 ปี 807 คน ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีเด็กที่พลัดพรากจากพ่อแม่ 159 คน ซึ่ง 60 คนสูญเสียพ่อแม่จากการสู้รบไปแล้วและได้อยู่ในการดูแลของศูนย์ดูแลเด็กในค่ายพักพิงซึ่งก็เสียหายไปจากเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งนี้ด้วย  นอกจากนี้ยังมีรายงานด้วยว่ามีเด็กพลัดหลงจากไฟไหม้ในครั้งนี้จำนวน 10 คน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังติดตามถึงจำนวนของเด็กที่หายไปต่อไป ส่วนการช่วยเหลือระยะยาวเริ่มแรกเราต้องประเมินก่อนว่าเด็กๆ ต้องการอะไร และทำอย่างไรให้เด็กกลับคืนสภาวะปรกติได้มากที่สุด รวมถึงการได้รับการเยียวยาทางด้านจิตใจ ซึ่งเราก็ได้ประสานการทำงานร่วมกับองค์ภาคีเครือข่ายหลากหลายแห่ง อาทิ องค์กร Save the Children กระทรวงสาธารณสุข นอกจากนี้สิ่งทีเราต้องทำต่อไปคือการค้นหาผู้ที่ด้อยโอกาสที่พลัดหลงจากครอบครัว รวมทั้งจัดกิจกรรมและสร้างพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อเยียวยาจิตใจ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่สามารถสอบคำร้องเสร็จใน 30 วัน มติ กกต.รับรอง ‘สุขุมพันธ์’ เป็นผู้ว่าฯกทม.

Posted: 27 Mar 2013 05:36 AM PDT

กกต.มติเสียงข้างมาก 4 ต่อ 1 ประการศรับรอง ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม.เนื่องจากยังไม่สามารถสอบสวนคำร้องให้เสร็จได้ภายใน 30 วัน เจ้าตัวประกาศเดินหน้าสานต่อนโยบายทันที ขณะที่ เสื้อแดง ประท้วง กกต. ก่อนรับรองผลเลือกตั้ง

วันที่ 27 มี.ค.56 มติชนออนไลน์ รายงาน ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเสียงข้างมาก 4 ต่อ 1 ประการศรับรอง ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม. เนื่องจากยังไม่สามารถสอบสวนคำร้องให้เสร็จได้ภายใน 30 วัน

นาย ภุชงค์ นุตราวงศ์  เป็นเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เปิดเผยว่า จากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่ผ่านมา มีคำร้องเรียนทั้งหมด 30 คำร้อง ซึ่งทางคณะ กรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร (กกต.กทม.) ส่งคำร้องมายัง กกต.กลางแล้ว 4 คำร้อง ซึ่งมี 1 คำร้อง เข้าที่ประชุม กกต. คือ คำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ แต่หลังจากพิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้ว ที่ประชุมพบว่าคำร้องดังกล่าวยังทำสำนวนไม่เรียบร้อย จึงได้ส่งให้ กกต.กทม. กลับไปแก้ไขใหม่

เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวต่อไปว่า หนึ่งในเสียงที่ไม่รับรอง (ไม่เปิดเผยชื่อ) นั้น ไม่ใช่ว่าจะไม่รับรองผลการเลือกตั้ง แต่อยากให้การทำสำนวนคำร้องเสร็จสิ้นทั้งหมดเสียก่อน ซึ่งคาดว่าจะเเล้วเสร็จในวันที่ 1 เมษายน

ทั้ง นี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีเวลา 1 ปี เพื่อสอบสวนคำร้องให้แล้วเสร็จ ซึ่งนายภุชงค์ กล่าวว่า โดยส่วนตัวคาดว่าไม่เกิน 2-3 เดือน

 

'สุขุมพันธุ์' เล็งถือฤกษ์เข้าทำงาน 29 มี.ค.นี้

ข่าวสดออนไลน์  รายงานด้วยว่า เมื่อเวลา 15.00 น.  ที่ศาลาว่าการกทม. รายงานข่าวจากศาลาว่าการกทม. เผยว่า หากวันนี้กกต.มีมติรับรองม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯกทม. กำหนดการเบื้องต้นที่คาดว่าม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ จะดำเนินการนั้น ในวันพรุ่งนี้(28 มี.ค.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ จะเดินทางไปรับหนังสือรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ จากนั้นในวันที่ 29 มี.ค. จะเข้าทำงานที่ศาลาว่าการกทม. โดยจะมาทำงานตามเวลาราชการ แต่อาจจะมาก่อนเวลาทำงานเล็กน้อย เพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจำศาลาว่าการกทม. โดยสาเหตุที่เลือกเข้าทำงานในวันที่ 29 มี.ค.นั้น เนื่องจากเป็นวันศุกร์ ซึ่งตามความหมายแล้ว วันศุกร์ถือว่าเป็นวันดี

หลังทราบผล พร้อมที่เดินหน้าสานต่อนโยบายทันที

เฟซบุ๊กแฟนเพจ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร  โพสต์ข้อความเมื่อ 17.32 น. หลังทราบผลมติ กกต. ว่า "กกต. มีมติ 4 ต่อ 1 รับรองผมเป็นผู้ว่าฯ กทม. แล้วครับ ผมพร้อมที่จะเดินหน้าสานต่อนโยบายทันที ขอขอบคุณทุกคนที่ติดตามข่าวและเป็นกำลังใจให้ผม ขอบคุณจากใจครับ"

 

เสื้อแดง ประท้วง กกต.ก่อนรับรองผลเลือกตั้ง

14.00 น. ASTVผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า ขณะที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำลังประชุมเพื่อพิจารณาสำนวนร้องเรียนการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ กกต.กทม.มีมติเสนอรวม 2 สำนวน และการพิจารณาประกาศรับรองผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้รับเลือกตั้ง ได้มีกลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 50 คนนำโดยนายเล็ก บ้านดอน ประธานกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) มาชุมนุมบริเวณหน้าสำนักงาน กกต.เพื่อยื่นหนังสือต่อ กกต.ขอทราบมาตรฐานการพิจารณาวินิจฉัยกรณีดังกล่าว

เนื่องจากเห็นว่าการปราศรัยช่วย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ขอให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่เลือกผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ที่มาจากพรรคที่เผาบ้านเผาเมืองนั้น เป็นการใส่ร้าย พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครและพรรคเพื่อไทยอย่างชัดเจน เพราะศาลอาญามีคำพิพากษาในคดีการชุมนุมที่บริเวณแยกราชประสงค์เมื่อปี 53 แล้วว่ากลุ่มคนเสื้อแดงที่ชุมุนมไม่มีใครเป็นผู้เผาเซ็นทรัลเวิร์ด ดังนั้น การที่ กกต.จะบอกว่าพิจารณาสอบสวนไม่ทัน ต้องประกาศรับรองผลไปก่อนแล้วค่อยสอยภายหลัง เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง จึงอยากให้พิจารณาให้ชัดเจนไปเลยว่าการปราศรัยลักษณะดังกล่าวผิดหรือไม่ ถ้าไม่ผิดก็จึงค่อยประกาศรับรองผล เพื่อสร้างมาตรฐานว่าต่อไปเมื่อมีการเลือกตั้งผู้สมัครสามารถปราศรัยใส่ร้ายใครก็ได้

ทั้งนี้ หลังการยื่นหนังสือต่อ น.ส.สุรณี ผลทวี ผู้อำนวยการสำนักเลขานุการ กกต.แล้ว กลุ่มเสื้อแดงยังได้แสดงออกเชิงสัญลักษณ์โดยมีการรดน้ำดำหัว กกต.ทั้ง 4 คนที่มาจากการแต่งตั้งของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ยกเว้นนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น กกต.ด้านการมีส่วนร่วมที่ได้รับการแต่งตั้งโปรดเกล้าฯ ถูกต้อง ก่อนเทศกาลสงกรานต์ ด้วยการนำน้ำหวานสีแดงที่เปรียบเหมือนเลือดสาดใส่ภาพใบหน้า กกต.ทั้ง 4 คนด้วย

ขณะเดียวกันก็ได้มีผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. คือ นายวรัญชัย โชคชนะ ผู้สมัครหมายเลข 2 และนายสุขุม วงประสิทธิ์ ผู้สมัครหมายเลข 19 เข้ายื่นหนังสือคัดค้านการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ต่อ กกต.ด้วย โดยนายวรัญชัยไม่เห็นด้วยที่ กกต.จะประกาศรับรองผลไปก่อนแล้วสอยภายหลัง เพราะเห็นว่าการกล่าวหาเรื่องเผาบ้านเผาเมืองเป็นการใส่ร้ายที่ผิดกฎหมายเลือกตั้งชัดเจน ขณะที่นายสุขุมก็เห็นว่าปัญหาเรื่องการนับคะแนนที่ตนเองได้ยื่นไว้ก่อนหน้านี้ กกต.ยังไม่มีการวินิจฉัย อีกทั้งหลังการเลืออกตั้งแล้วยังพบว่ามีการพา ส.ก., ส.ข.ไปทัวร์ต่างประเทศ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มประเทศแอฟริกากลางเตรียมส่งทหารพันนายเพื่อปกป้องช้าง

Posted: 27 Mar 2013 04:25 AM PDT

ประเทศต่างๆ ในแถบแอฟริกากลาง เตรียมส่งทหารถึง 1,000 นาย และเจ้าหน้าที่รักษากฏหมาย เพื่อร่วมกันปฏิบัติการทางทหารปกป้องช้างโขลงสุดท้าย ในทุ่งหญ้าสะวันนา ซึ่งตกเป็นเป้าของพรานป่าชาว ซูดาน และการสังหารหมู่ พร้อมเชิญชวนประชาคมโลกสนับสนุน

ยาอุนเด, แคเมอรูน - กองทุนคุ้มครองสัตว์ป่าโลก หรือ WWF ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (23 มี.ค.) ประเทศต่างๆ ในแถบแอฟริกากลางกล่าวว่าจะส่งทหารถึง 1,000 นาย และเจ้าหน้าที่รักษากฏหมาย เพื่อร่วมในปฏิบัติการทางทหารในการปกป้องช้างโขลงสุดท้าย ในทุ่งหญ้าสะวันนา ที่กำลังเสี่ยงจะตกเป็นเป้าของพรานป่าชาว ซูดาน และการสังหารหมู่ในทันที

"เราแนะนำให้มีการขับเคลื่อนกองกำลังป้องกันและกองกำลังด้านความมั่นคงในประเทศที่ได้รับผลกระทบ" เพื่อหยุดยั้งพรานป่ากลุ่มนี้ โดย 8 ประเทศ จาก 10 ประเทศกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐในแอฟริกากลาง (ECCAS) ระบุในแถลงการณ์ร่วมหลังการประชุมฉุกเฉินระดับรัฐมนตรีเพื่อต่อต้านการล่าสัตว์ ที่จัดขึ้นเป็นเวลาสามวัน ณ กรุงยาอุนเด เมืองหลวงประเทศแคมเมอรูน ระหว่างวันที่ 21-23 มีนาคม

การประชุมในระดับสูงจัดขึ้นเพื่อหยุดยั้งเหตุการณ์ที่ ECCAS กล่าวถึงกลุ่มนายพรานติดอาวุธหนักชาวซูดาน 300 คน ขี่ม้าไล่ล่าช้างในทุ่งสะวันนาของแคเมอรูน, สาธารณรัฐแอฟริกากลาง และชาด

กลางดึกของวันที่ 14 - 15 มีนาคมในพื้นที่ภาคใต้ของชาด นายพรานกลุ่มนี้สังหารช้างอย่างน้อย 89 ตัวในคืนเดียว นับตั้งแต่ช่วง ต้นปีที่ผ่านมา พรานกลุ่มนี้ยังได้สังหารช้างอย่างน้อยสามสิบตัวในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง และเชื่อว่าคนกลุ่มนี้ เป็นผู้รับผิด ชอบการฆ่าหมู่ช้าง 300 ตัว ในอุทยานแห่งชาติบูบา จิดาของแคเมอรูน เมื่อช่วงต้นปี 2555 ซึ่งทำให้แคเมอรูนต้องส่งกำลัง ทหารชั้นแนวหน้า 600 นาย เพื่อป้องกันพรมแดนประเทศจากนักล่ากลุ่มนี้

เป็นการยากที่จะระบุถึงตัวเลขที่ชัดเจนของประชากรช้างสะวันน่าในประเทศเช่น สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ประเทศที่ครั้งหนึ่ง เคยมีช้างสะวันนาจำนวนมากที่สุดในภูมิภาค แต่เชื่อว่าจำนวนช้างที่นี่ลดลงจากราวๆ 80,000 ตัวเมื่อสามสิบปีก่อน เหลือเพียง ไม่กี่ร้อยตัวในปัจจุบัน

มีการประมาณการณ์ว่าแผนฉุกเฉินนี้ต้องใช้งบประมาณมากราวๆ 1.8 ล้านยูโร หรือประมาณเกือบ 70 ล้านบาท เพื่อใช้ในการ สนับสนุนปฏิบัติการทางอากาศ, ยานพาหนะทางบก, การจัดซื้อโทศัพท์ดาวเทียม, การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการณ์ร่วมทางทหาร รวมทั้งระบบแบ่งปันและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียล-ไทม์ รวมทั้งภารกิจทางการทูตไปยังซูดานและซูดานใต้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นประเทศ ต้นทางของนายพรานกลุ่มนี้

แม้ในแถลงการณ์จะระบุว่า ประเทศในกลุ่ม ECCAS จะร่วมกันสนับสนุนเงินทุนในปฏิบัติการนี้เอง แต่พวกเขาก็ได้เรียกร้อง ไปยังประชาคมโลกให้ "ร่วมระดมและจัดหาเงินทุนเสริม" เพื่อสร้างความต่อเนื่องความพยายามนี้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

"ข่าวนี้เป็นข่าวที่ดีอย่างยิ่ง ทั้ง ECCAS และชาติสมาชิก ควรได้รับการแสดงความยินดีต่อความมุ่งมั่นที่จะหยุดยั้ง กลุ่มนักฆ่าช้างกลุ่มนี้ ให้ได้อย่างเด็ดขาด" บาส ฮุจเบรกส์ หัวหน้าโครงการต่อต้านการลักลอบค้าสัตว์ป่า สาขาแอฟริกากลาง ของ WWF กล่าว

"ตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเทศผู้ซื้อ โดยเฉพาะจีนและไทย ที่จะแสดงให้เห็นว่าพวกเขามีความกล้าหาญ และมุ่งมั่นเท่าเทียมกับ ประเทศในแถบแอฟริกากลางเหล่านี้" เขากล่าวเสริม

ในแถลงการณ์ ประเทศกลุ่ม ECCAS แสดงความยินดีต่อการตัดสินใจของประเทศไทย เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ในการสั่งห้ามการ ค้างาช้างในประเทศ และเรียกร้องให้ไทยเร่งปฏิบัติตามการตัดสินใจครั้งนี้

ในแถลงการณ์ยังระบุด้วยว่า ผู้ซื้องาช้างเอง "ก็ต้องเข้าใจถึงผลกระทบ" จากความต้องการงาช้างของพวกเขา และกล่าวเสริมว่า "ประเทศปลายทางควรต้องมีมาตรการในการลดความต้องการงาช้างเช่นกัน"

ในตอนสุดท้าย แถลงการณ์ยังระบุเพิ่มเติมด้วยว่า ประเทศในกลุ่ม ECCAS จะต้องดำเนินการเพื่อปรับปรุงกฏหมายของประเทศ เพื่อให้การล่าและค้างาช้างเป็นการกระทำความผิด "เทียบเท่าการก่ออาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบอื่นๆ" เช่น การลักลอบ ขนยาเสพย์ติด หรืออาวุธเบา

หลังการประกาศเจตนารมณ์ นายโรเบิร์ต แจ๊คสันเอกอัคราชทูตสหรัฐประจำแคเมอรูน กล่าวว่าเข้า "รู้สึกพอใจกับการประชุม และแผนที่ออกมาก็เป็นแผนการที่ดี" 

"แต่การปฏิบัติตามแผนก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ผมมีความกังวลว่าในแถลงการณ์ฉบับนี้ ไม่มีการกล่าวถึงการคอร์รัปชัน เนื่องจากนี่เป็นปัญหาโดยตรงที่ก่อให้เกิดปัญหาลักลอบล่าและค้าสัตว์ป่า" เขากล่าว

นิโคลัส เบอร์ลังกา มาร์ติเนซ หัวหน้าคณะความร่วมมือคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ก็เป็นอีกคนที่แสดงความยินดีต่อ โครงการริเริ่มของ ECCAS โดยเขาบอกว่า "การรับรองมาตรการนี้ นับเป็นความทะเยอทะยานที่มีประสิทธิภาพเพียงพอจะ รับมือกับความเร่งด่วนของสถานการณ์ และผมจะให้ความสนใจต่อการปฏิบัติตามแผนการณ์ฉุกเฉินนี้ ร่วมกับพันธมิตรอื่นๆ"

"ผมยังขอแสดงความยกย่องต่อข้อเสนอที่จะเพิ่มความร่วมมือระหว่างกระทรวงต่างๆที่รับผิดชอบในการต่อสู้กับการลักลอบล่า และค้าสัตว์ป่า และยังอยากจะเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจรับผิดชอบเหล่านี้ สร้างความเชื่อมั่นว่า มีการใช้เงินบริจาคจากพันธมิตร อย่างเหมาะสม" เขากล่าวต่อ

ในแถลงการนี้ ประเทศในกลุ่ม ECCAS เน้นย้ำถึงคำมั่นที่จะปกป้องช้าง ซึ่งพวกกล่าวว่า "เป็นสมบัติทางธรรมชาติร่วมกันของ มนุษยชาติ"

"ประชาคมโลกจะยืนเคียงข้างแอฟริกากลาง" ฮุจเบรกส์ แห่งกองทุนคุ้มครองสัตว์ป่าโลก หรือ WWF กล่าว "และตอนนี้ทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับภูมิภาคนี้แล้ว" เขากล่าวปิดท้าย

ในท้ายแถลงการณ์ของ WWF ระบุด้วยว่า จะร่วมรณรงค์เพื่อเพิ่มการปกป้องสายพันธุ์สัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เช่น แรด, เสือและช้าง ในความพยายาม ที่จะรักษาสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์เหล่านี้ ประเทศต้นทาง ทางผ่าน และปลายทาง จะต้องปรับปรุงการบังคับใช้ กฏหมาย การตรวจศุลกากร และระบบยุติธรรม WWF ยังขอเรียกร้องให้รัฐบาลในประเทศผู้บริโภค ใช้ความ พยายามเพื่อลดความต้องการ เพื่อลดการใช้ผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์เหล่านี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น