โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

รายงานพิเศษ: “28 กุมภา” กระบวนการพูดคุยสันติภาพ หรือ กระบวนการพูดคุยประนีประนอม

Posted: 17 Mar 2013 07:52 AM PDT

ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา คำว่า "การลงนามเจรจาสันติภาพ" กลายเป็นหัวข้อพาดข่าวยอดฮิตในมุมของสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือก ในการนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระบวนการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยโดยผ่าน พลโท ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. กับขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานีที่มีชื่อว่า BRN แต่เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ค่อยมีความชัดเจนมากนัก
 
ข้อเท็จจริงต่างๆที่สื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือก พยายามโหมกระแสตลอดระยะเวลาสองสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น คงไม่สามารถตอบโจทย์ให้กับคนระดับรากหญ้าอย่างเราๆที่ได้รับผลกระทบโดยตรงผ่านเงื่อนไขการลงนามเจรจาของตัวแทนจากทุกฝ่ายหลังจากนี้ว่าตกลงแล้ว การลงนามเพื่อตกลงที่จะเจรจาสันติภาพนั้นเป็นเรื่องจริง หรือ จัดฉากเหมือนเคย หรือไม่? อย่างไร? ตัวแทน BRN นั้นเป็นตัวจริงหรือไม่? อย่างไร? กระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพจริงๆแล้วมีกี่ขั้นตอน? แล้วตอนนี้อยู่ขั้นตอนที่หนึ่ง หรือ ขั้นตอนที่เท่าไรแล้ว? ใครได้ประโยชน์? ใครเสียประโยชน์? และเราได้อะไรจากการพูดคุยของพวกเขาในครั้งนี้และครั้งต่อๆไป? และคำถามอีกมากมายที่ไม่สามารถหาคำตอบได้
 
 
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2556 เวลา 13.30 น. – 16.00 น. สำนักสื่อ Wartani ร่วมกับเครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ [INSouth] ได้จัดวงเสวนาวิเคราะห์ข้อมูลข้อข้องใจในเวที Bicara Patani หรือ เสวนาปาตานี ในหัวข้อ "28 กุมภา...กระบวนการพูดคุยสันติภาพ หรือ กระบวนการพูดคุยประนีประนอม" ณ ศูนย์ประสานงาน INSouth หรือ บ้าน INSouth ซ.ปินัง ถ.โรงเหล้า (สาย ก.) จ.ปัตตานี
 
โดยมีนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ ร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐไทยกับ BRN เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมาว่าจะสอดคล้องกับกระบวนพูดคุยสันติภาพที่เป็นมาตรฐานสากลหรือไม่ ? อย่างไร ? และจะนำไปสู่การเพิ่มเงื่อนไขสันติภาพ หรือ เพิ่มเงื่อนไขสงครามยืดเยื้อหรือไม่ ? อย่างไร ? ในฐานะภาคประชาสังคมและภาคประชาชนควรมีบทบาทในการประนีประนอมหรือสร้างสันติภาพหรือไม่ ? อย่างไร ? เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการตอบข้อสงสัยใคร่รู้ของผู้คนจำนวนมาก
ตูแวดานียา บิน ตูแวอิสมาอีล ตูแวแมแง รองผู้อำนวยการ สถาบันเยาวชนเพื่อสันติภาพและการพัฒนา [YDA] ตั้งข้อสังเกตว่า การลงนามเซ็นสัญญาตกลงให้เกิดสันติภาพนั้น ตกลงมันเป็นตัวผลักดันให้เกิดสันติภาพจริงหรือไม่ ? หรือเป็นแค่เพียงภาพที่จะทำให้สถานการณ์ในพื้นที่ผ่อนคลายลงไปบ้าง ? จากเวทีการลงนามเมื่อวันที่ 28 กุมภา ทำให้เกิดข้อสงสัยและพยายามตั้งข้อสังเกตมาหลายประเด็น ผ่านบทความ "28 กุมภา ณ กรุงกัวลาลุมโปร์ : เพิ่มเงื่อนไขสันติภาพ หรือ เพิ่มเงื่อนไขสงครามยืดเยื้อ ?"
 
ข้อมูลอ้างอิงจากเวทีอบรมกระบวนการสันติภาพ โดยศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ [DSW] ร่วมกับมูลนิธิเบิกร์ออฟ สามารถเป็นคำตอบให้พอสมควรสำหรับหลายๆประเด็น
 
ประเด็นที่ 1 คือ การเปิดตัวของอุซตาสฮาซัน ตอยิบ ในนามรองเลขาธิการและหัวหน้าฝ่ายการเมืองของ BRN อ้างอิงจากข้อมูลที่สื่อได้นำเสนอก่อนหน้านี้มา ซึ่งเป็นข้อสังเกตที่คิดว่า "คนที่มีอำนาจเชิงโครงสร้างและมีอิทธิพลในการต่อสู้กับรัฐไทยมาเป็นตัวแทนพูดคุยกับตัวแทนของรัฐไทยที่มีอำนาจเพียงแค่เลขาธิการ สมช. หากจะเทียบเชิงโครงสร้างอำนาจ ระดับเลขาธิการ สมช. ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเป็นที่สิ้นสุด" เพราะเป็นเพียงแค่องค์กรที่รวบรวมข้อมูลจากทุกภาคส่วนและแปลงเป็นนโยบายสู่การปฏิบัติเท่านั้น
 
ประเด็นที่ 2 คือ ตัวอย่างการพูดคุยเพื่อสันติภาพในโลกสากลที่เกิดความขัดแย้งนั้นก่อนที่จะมีการตกลงและกำหนดเงื่อนไขในการพูดคุย จะต้องมีการสร้างบรรยากาศความไว้วางใจเกิดขึ้นเสียก่อน แต่วันนี้ยังไม่เห็นการสร้างบรรยากาศความไว้วางใจเกิดขึ้น ดั่งที่ทุกคนรับรู้มาว่าก่อนหน้าที่จะมีการลงนามในวันที่ 28 กุมภา เราจะเห็นการก่อเหตุที่อุกอาจและสร้างความสลดใจต่อสังคมในพื้นที่มาก อย่างเหตุการณ์เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556 นักศึกษาถูกสื่อกล่าวหาว่ามีส่วนเชื่อมโยงกับกลุ่มขบวนการ BRN และเหตุการณ์อื่นๆที่ชี้ให้เห็นว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่น่าจะเป็นการสร้างบรรยากาศของความไว้วางใจไปสู่เวทีการเจรจาลงนามเมื่อวันที่ 28 กุมภา เสียเลย
 
คิดว่าการพูดคุยในครั้งนี้ไม่ควรที่จะมีเงื่อนไขที่เป็นเงื่อนไขปิด เพื่อให้ผู้สนทนา หรือคู่ขัดแย้งหลักมีความเสียเปรียบหรือได้เปรียบ แต่ในวันดังกล่าวมีการกำหนดจุดยืนที่เป็นเงื่อนไขที่แข็งมากโดยรัฐไทยกำหนดในเอกสารลงนามว่า "ต้องคุยภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" เท่านั้น
 
ประเด็นที่ 3 ผู้อำนวยการพูดคุย [Facilitator] ซึ่งมีความหมายชัดเจนอยู่แล้วว่า มีบทบาทในการอำนวยความสะดวกในการพูดคุย ต้องสร้างความไว้วางใจ อย่าให้คู่ขัดแย้งหลักมีความรู้สึกว่าผู้อำนวยการพูดคุยโน้มเอียงหนักไปข้างใดข้างหนึ่ง แต่ในวันที่ 28 กุมภา ผู้อำนวยการพูดคุยก็มีเงื่อนไขที่แข็งเช่นเดียวกันว่า "ทางรัฐมาเลเซียไม่สนับสนุนให้เกิดการแบ่งแยกดินแดนของ BRN"
 
ซึ่งกลายเป็นว่าโดยภาพรวมในการพูดคุยที่ผ่านมานั้น BRN เป็นฝ่ายที่เสียเปรียบ ทำให้ผมเกิดข้อสงสัยว่ามันน่าจะมีลับลมคมในหรือเปล่า ? จากหลายประเด็นที่ดูแล้วมันไม่ค่อยชอบมาพากล ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าการพูดคุยเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ณ กัวลาลัมเปอร์ นั้น BRN มีความสมัครใจอย่างเต็มใจหรือถูกบังคับให้สมัครใจหรือไม่   
 
สำหรับผมแล้วกระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพครั้งนี้ ไม่ใช่กระบวนการพูดคุยสันติภาพ แต่มัน คือ กระบวนการพูดคุยประนีประนอม โดยรัฐใช้มาตรา 21 มารองรับไว้ ซึ่งหากเราสังเกตดูแล้วจะเห็นได้ว่าวิธีการของรัฐครั้งนี้มันคล้ายคลึงกันมากกับวิธีการที่รัฐเคยใช้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศ (พคท.) เมื่อปี พ.ศ.2523 เพื่อให้เกิดความขัดแย้งภายในระหว่างนักต่อสู้ที่ก้าวหน้ากับนักต่อสู้ที่อนุรักษ์นิยม นำมาสู่ช่องทางตามมาตรา 21 ที่รัฐขุดไว้ล่ออยู่ก่อนแล้ว
 
ดังนั้น ตลอดระยะเวลาการสู้รบมาจนถึงวันนี้ พื้นที่ทางการเมืองมันเกิดขึ้นแล้ว สำหรับวันนี้มันมีเงื่อนไขสำคัญที่ภาคประชาชนในฐานะผู้ที่จะกำหนดชะตากรรมของตนเองอย่างแท้จริงจะใช้โอกาสกำหนดเองได้ แต่มันขึ้นอยู่กับการกำหนดอนาคตของตนเองว่ามันจะอยู่บนฐานของการชี้เป้าที่ถูกต้องและชัดหรือเปล่า ? จะชี้เป้าในสามแยกที่มันเกิดขึ้นหรือเปล่า ?
 
สถานการณ์ตอนนี้มันมีแนวทางอยู่ 3 แยกด้วยกัน ทางแยกที่ 1 คือ คลอดก่อนกำหนด ทางแยกที่ 2 คือ คลอดตามกำหนด และทางแยกที่ 3 คือ การทำแท้ง ซึ่งถ้าผลของพื้นที่ทางการเมืองที่มันคลอดออกมาครบกำหนดแน่นอนมันต้องแข็งแรง แต่ทางแยกที่ผมเป็นห่วงคือมันมีกลิ่นอายของความไม่ชอบมาพากลอยู่มาก ผมกลัวว่าความหวังดีในการเกิดของพื้นที่ทางการเมืองครั้งนี้คือการแท้ง มันคือการเกิดแล้วตาย ซึ่งถ้าเราไปหวังให้ทารกที่ตายไปให้มันฟื้นชีพขึ้นมาใหม่นั้นมันคงไม่สมเหตุสมผล ส่วนพื้นที่ทางการเมืองที่เป็นผลพวงของการคลอดก่อนกำหนดนั้น แน่นอนอาการของมันก็จะเจ็บไข้ได้ป่วยง่ายมาก ต้องมีการดูแลรักษาฟื้นฟูเป็นอย่างดี และคงต้องใช้เวลานานพอสมควรที่กว่าจะหายป่วยได้
 
ดังนั้นถ้าหากเราเดินไปอย่างมั่วๆมันคงเป็นการใช้อารมณ์ความรู้สึกมากไป ซึ่งมันไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง เพราะการตัดสินใจมันต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นจริงและชัดเจน
 
ชินทาโร ฮารา นักวิชาการชาวญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ.ปัตตานี เปิดเผยว่า แรกที่เห็นข่าวตามสื่อต่างๆผมรู้สึกได้เลยว่าเหตุการณ์นี้อุปโลภขึ้นมา มันไม่ใช่ความจริงแน่นอน คิดว่าเป็นแผนการทางการเมืองของทั้งสองประเทศเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน
 
ข้อมูลจากเพื่อนที่เป็นนักข่าวในมาเลเซียเล่าให้ฟังว่า "อุซตาสฮาซัน ตอยิบ เสมือนผู้หญิงคนหนึ่งที่ถูกทางรัฐบาลมาเลเซียควบคุมตัว และรัฐบาลไทยเดินทางมาข่มขืน" ฉะนั้นเหตุการณ์ครั้งนี้ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการ "ข่มขืนทางการเมือง"
 
สำหรับประเด็นการเลือกตั้งในประเทศมาเลเซียนั้น ปัจจุบันเสียงสนับสนุนจากประชาชนที่มีต่อนายกฯนาจิบ ราซัก นั้นค่อนข้างจะน้อยมาก และหลังจากนี้ฝ่ายค้านอาจจะชนะเสียงในการเลือกตั้งแทนพรรคเก่านี้ เนื่องจากวันนี้ประชาชนเริ่มไม่ค่อยไว้วางใจต่อผู้นำของรัฐบาลพรรค UMNO ที่มีนายกฯนาจิบ ราซัก เป็นผู้นำของพรรค ระยะต่อไปพรรคนี้อาจจะพ่ายแพ้กันไป
 
สุดท้ายผมขอแสดงความไม่พอใจต่อความไม่จริงใจของรัฐบาลไทยในประเด็นที่เกิดขึ้นหลังจากลงนามเซ็นสัญญาตกลงเจรจาเมื่อวันที่ 28 กุมภา นั้นก็คือเหตุการณ์ระเบิดที่นราธิวาสและยะลา แต่นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวว่า "มันเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องธรรมดา"  "แต่อย่าลืมว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่ทำลายชีวิตของผู้คน" ขอยกตัวอย่างในทำนองเดียวกัน ถ้าหากเหตุการณ์เช่นนี้มันเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น แล้วนายกฯออกมากล่าวว่า "เป็นเรื่องธรรมดา" นายกฯคนนั้นต้องลาออกจากตำแหน่ง ณ วันและเวลานั้นทันที มันคือสปีริตในความรับผิดชอบ ถ้ามีนายกฯหรือผู้นำที่พูดอย่างนี้ผมคนหนึ่งที่ยอมรับไม่ได้กับนายกฯคนนั้น
 
อาเต๊ฟ โซะโก หัวหน้าฝ่ายการต่างประเทศ สถาบันเยาวชนเพื่อสันติภาพและการพัฒนา [YDA] ตั้งข้อสังเกตว่า ปรากฏการณ์ที่เราเห็นตามสื่อหรือที่เราได้ฟังกันตามร้านน้ำชา ซึ่งหากได้อ่านหนังสือ ดูทีวีแล้ว มันเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยพบเจอในโลกนี้มาก่อน แต่สิ่งที่เราควรตั้งข้อสังเกต คือ ใครได้ประโยชน์ และใครเสียประโยชน์จากการที่ได้มานั่งคุยกันในครั้งนี้ ?
 
ฝ่ายที่ 1 คือ "BRN" สิ่งที่ BRN ได้ประโยชน์คือ มีพื้นที่หรือสถานะทางการเมืองในสังคมชุมชนระหว่างประเทศได้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ตั้งแต่มีการก่อตั้ง BRN ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา
 
ในส่วนที่ BRN เสียประโยชน์ คือ เป็นครั้งแรกเช่นเดียวกันที่ BRN เซ็นยอมรับที่จะพูดคุยภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญแห่งงราชอาณาจักรไทย ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้จริงองค์กรของคุณคงเป็นองค์กรที่แย่มาก
 
ฝ่ายที่ 2 คือ "รัฐบาลไทย" เป็นตัวละครที่ได้ประโยชน์มากกว่า BRN หากมองดูแล้วรัฐบาลไทยชุดนี้เป็นรัฐบาลที่น่าชื่นชมอย่างยิ่งที่สามารถดึงคนที่มีอุดมการณ์ต่างจากรัฐมาพูดคุยกัน ซึ่งภาพที่ออกมาโดยทั่วไป โลกจะมองเห็นว่ารัฐไทยเป็นรัฐที่เปิดโอกาสให้ผู้เห็นต่างมาคุยกัน
 
แต่อาจจะดูมีปัญหาภายในเกิดขึ้นเล็กน้อย ฝ่ายทหารอาจจะไม่เห็นด้วยสักทีเดียว และฝ่ายความมั่นคงหรือที่คนเสื้อแดงเรียกว่า "อำมาตย์" นั้น อาจจะไม่พอใจ แต่ก็ถือว่าเป็นแค่ปัญหาเล็กๆน้อยๆเท่านั้น
 
ฝ่ายที่ 3 คือ "รัฐบาลมาเลเซีย" ดูแล้วเป็นฝ่ายที่ได้ประโยชน์มากที่สุด ผลที่สามารถเห็นได้ชัด คือ ถ้าหากการลงนามเซ็นสัญญาเมื่อวันที่ 28 กุมภา เป็นความจริง รัฐบาลที่เป็นพรรคหลักใน Barisan Nasional [BN] อย่างพรรค UMNO คงจะได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนเชื้อชาติปาตานีที่เป็นพลเมืองในประเทศมาเลเซียจำนวนประมาณอาจจะหลักล้านคนอย่างมากเลยทีเดียว
 
เราต้องมองทุกฝ่ายแบบไม่ได้แยกส่วนจากสังคม ผมไม่อยากพูดถึง BRN เพราะถ้าพูดถึง BRN ทุกคนก็จะบอกว่า BRN เข้าถึงยาก ซึ่งความจริงแล้วชาวบ้านเข้าถึงได้มากกว่าเรา ฉะนั้นในเรื่องการคิดต่างจากรัฐอย่างเรื่องเอกราช ทุกคนก็เห็นด้วยและสนับสนุนเขา ที่นี้เมื่อเกิดความเพลี่ยงพล้ำในกระบวนการเจรจาเขาก็เลยเป็นเดือดเป็นร้อนไปด้วย ก็เสมือนกับผู้คนที่เลือกพรรคไทยรักไทยจำนวน 15 ล้านเสียง พวกเขาก็เห็นด้วยทุกอย่างกับสิ่งที่พรรคไทยรักไทยทำ และเรื่องไหนที่มันเป็นเรื่องชี้เป็นชี้ตายเกี่ยวกับเขา ทุกคนก็ต้องทุ่มเทและเชื่อใจพร้อมให้กำลังใจพรรคไทยรักไทย ฉะนั้นตามระบอบประชาธิปไตยเราจะค้านเสียงส่วนใหญ่ที่เลือกพรรคไหนมากกว่ากันไม่ได้
 
ซึ่ง BRN ก็เช่นเดียวกัน ถ้าประชาชนมีจุดร่วมและเป้าหมายเดียวกันกับ BRN กระบวนการเจรจาที่มันเพลี่ยงพล้ำแบบนั้นมันต้องล้มด้วยซ้ำไป ถ้าไม่ล้มก็หมายความว่าเราเองก็ไม่เข้าใจว่าองค์กรในสังคมที่จะเคลื่อนไหวในประเด็นอะไรก็ตาม มันมีส่วนที่เชื่อมโยงกับสังคม ไม่อย่างนั้นมันคงอยู่ไม่ได้ ถ้าเราปิดตัวเองแล้วมันจะปฏิบัติการได้อย่างไร ? บางครั้งเราก็ต้องมองจากความจริงบ้าง แล้วความจริงแบบไหนล่ะ หรือถ้าผมบอกว่าผมมีความจริง แต่อีกคนบอกว่าผมมีความจริงมากกว่า สรุปคือความจริงทุกความจริงมันก็เป็นความจริง บางทีไม่มีใครรู้ทุกอย่าง แต่สิ่งที่เรารู้บางอย่างมันมาจากการพูดคุยว่าคนที่รู้นั้นมันรู้มากแค่ไหน ? ไม่อย่างนั้นมันไม่เป็นธรรมสำหรับคนพูดจริงที่มีเป้าหมายและเห็นด้วยกับ BRN
 
ฉะนั้นวันนี้หน้าที่ของเราคือ หาข้อมูลข้อเท็จจริง ถ้าการลงนามครั้งนี้เป็นการอุปโลกน์ขึ้นมา ก็แสดงว่าเขาโกหกทุกคน และถ้าเรายอมรับในเวทีที่เขาอุปโลกน์ขึ้นมานั้น ก็แสดงว่าเราก็โกหกประชาชนเช่นเดียวกัน ดังนั้น หากเรารู้ชัดเจนแล้วว่าเป็นเวทีโกหกนั้น เราจะต้องยกเลิกเวทีเหล่านี้ให้ได้ นั้นคือหน้าที่ของเราในวันนี้
 
รอมฎอน บิน ซาการียา ปัญจอร์ ผู้ปฏิบัติการ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ [DSW] เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 กุมภา ข้อมูลที่ได้จากสำนักข่าวอัลจารีซ่า อุซตาสฮาซัน ตอยิบ ซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่าย BRN ได้กล่าวไว้ว่า "อินชาอัลลอฮฺ เราจะพยายามทำให้ดีที่สุดเพื่อที่จะแก้ไขปัญหานี้" และ "เราจะพูดคุยกับประชาชนของเราให้ช่วยกันทำงานเพื่อที่จะแก้ปัญหานี้" ซึ่งเป็นคำพูดที่สำคัญมาก คิดว่านี้คือท่าทีของฝ่าย BRN เพราะมีคำพูดว่า
 
1.    "เขาจะแก้ปัญหา"
2.    "เขาจะแก้ปัญหานี้ให้ดีที่สุด"
3.    "เขาจะบอกและสื่อสารกับประชาชน"
 
ส่วนท่าที่ของฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐไทยพบเยอะมาก อย่างบทสัมภาษณ์ของ พลโท ภราดร พัฒนถาบุตร และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ในรายการตอบโจทย์ ที่พยายามทำความเข้าใจกับสังคมไทยว่า ตอนนี้พวกเขากำลังทำอะไรอยู่
 
คือ ผมจะพยายามชี้ให้เห็นว่าตกลงเราสามารถมองเวทีเมื่อวัน 28 กุมภา ที่ผ่านมาได้อย่างไรบ้าง ?
 
กระบวนการสันติภาพจริงๆแล้วไม่ได้เดินแบบเส้นตรง ไม่ได้เดินแบบจากหนึ่งไปสอง จากสองไปสาม ไม่ได้ยืนอยู่บนความสมบรูณ์แบบทั้งหมด แต่มันเป็นกระบวนการทางการเมือง ฉะนั้น มันจึงมีความไม่แน่นอน มันแล้วแต่ว่าช่วงเวลานั้นว่าคุณจะสามารถต่อรองได้อย่างไร ? แบบไหน ? แต่ความไม่แน่นอนอย่างนี้มันดีกว่าการใช้ความรุนแรง เพราะมันยิ่งไม่แน่นอนกันใหญ่ มันสามารถควบคุมได้ยากมากกว่า
 
ซึ่งกระบวนการทางการเมืองมันก็ไม่ต่างจากหลายที่ที่มันพลิกและเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์นั้นๆ มันขึ้นอยู่กับข้อมูล มันขึ้นอยู่กับจุดยืน มันขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ และมันขึ้นอยู่กับความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถตอบได้
 
แต่สิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากมัน คือ จากกรณีของอุซตาสฮาซัน ตอยิบ และ มะรอโซ จันทรวดี ที่ทำให้เราเห็นระหว่างกิจกรรมทางการทหารและกิจกรรมทางการเมืองที่มันปรากฏขึ้นต่อสาธารณะ มันเปลี่ยนสถานการณ์ความขัดแย้งในการรับรู้ของสังคมไทย และสังคมมลายูปาตานี ซึ่งมันสามารถทำให้เราเห็นว่า "การต่อสู้เพื่อปลดปล่อยเอกราชปาตานีมันมีอยู่จริง"
 
และประเด็นที่ผมอยากจะเปลี่ยนวันนี้มีอยู่ 2 ประเด็นด้วยกัน ประเด็นที่ 1 BRN ใช้การทหารมากเกินไป มากจนไม่สามารถที่จะขายไอเดียให้คนอื่นเห็นด้วยกับแนวทางการต่อสู้ของตนเอง วันนี้เราก็ไม่รู้ว่าเขาคิดอย่างไร ? ฉะนั้นการประเมินร่วมกันบนพื้นฐานความไม่รู้นั้นมันสุ่มเสี่ยง เท่ากับความไม่รู้ว่ารัฐไทยคิดอย่างไร ? รัฐไทยเป็นอย่างไร ? สังคมไทยเป็นอย่างไร ? การเปลี่ยนผันของรัฐไทยเป็นอย่างไร ? และศูนย์กลางของอำนาจรัฐไทยตอนนี้เป็นอย่างไร ? การไม่รู้สภาพแบบนี้ในบริบทคุณไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้
 
ประเด็นที่ 2 ผมรู้สึกว่าในสถานการณ์ที่มันมีการเปลี่ยนผ่านแบบนี้ ข้อมูลและความรู้เป็นเรื่องที่สำคัญ อย่างเรื่องการพูดคุยนั้น มีการเตรียมพร้อม มีการวางฉากข้างหลังมากมาย แต่การที่ต้องปกปิดในสถานการณ์ที่มันยังไม่พร้อมนั้นถือว่ามันเป็นเรื่องจำเป็น ฉะนั้นการรู้ข้อมูลมันใช้บ่งบอกถึงความเป็นจริง  
 
ดังนั้น การเมืองของการรู้ข้อมูล คือ คนที่รู้มันมีความชอบธรรมที่จะบอกหรือจะเสนออะไรก็ได้ ยิ่งถ้าหากรู้อย่างลึก ลับ จริง มาก ข้อเสนอและข้อคิดเห็นของเขาจะยิ่งมีความชอบธรรมสูงและสามารถกำหนดให้คนอื่นเชื่อตามได้ง่ายในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแบบนี้ เพราะฉะนั้นทุกคนจะต้องระวังด้วย
 
ทุกคนพูดถึงประชาชน ทุกคนรู้ว่าการสื่อสารกับประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ ทุกคนรู้ถึงทิศทางที่ตนเองกำหนดไปนั้นมันเป็นเรื่องสำคัญ โลกวันนี้มันต้องโยงกับประชาชน สำหรับคนที่อยู่ตรงกลาง อย่างนักศึกษา สื่อมวลชน นักวิชาการและนักประชาสังคม หน้าที่ของมันคือต้องพูดกับประชาชนว่ากระบวนการสันติภาพนั้นมันเป็นอย่างไร ? และท้ายที่สุดจะต้องขยายพื้นที่ให้ชาวบ้านได้พูดในสิ่งที่เขาต้องการว่ามันคืออะไร ? ต้องเอาเสียงของชาวบ้านขึ้นมา
 
เพราะเสียงของชาวบ้านมันจะชี้นำประเด็นที่คุยกันในวงเจรจา ถ้าวงเจรจาไม่ได้ฟังเสียงของชาวบ้าน แน่นอนในอนาคตมันคงไม่มีความยั่งยืน เพราะต่อให้เจ้าหน้าที่ไป แต่ถ้าชาวบ้านไม่ชอบมันก็ไม่ได้ ฉะนั้นวันนี้สิ่งที่ชาวบ้านต้องการนั้นมันคืออะไร ? วันนี้บรรยากาศและพื้นที่ทางการเมืองมันเปิดแล้ว ถ้าอยากได้เอกราชแล้วหน้าตาเอกราชมันจะเป็นอย่างไร ? อย่าปล่อยให้เงื่อนไขที่กำลังเปิดตอนนี้เป็นของตัวจริงหรือตัวปลอมข้างบน แต่ต้องทำให้ข้อเสนอที่มันเกิดจากข้างล่างมันตื่นขึ้นมาให้ได้ จะทำอย่างไรก็ได้ให้สังคมไทยทั้งสังคมรู้ว่าพื้นที่นี้มันต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว เพราะคนมันอยู่กับความรุนแรงแบบนี้ไม่ได้ คนมันอยู่กับการกดขี่แบบนี้ไม่ได้
 
ดังนั้น คุณจะเอาเสียงของชาวบ้านขึ้นมาอย่างปลอดภัยและเป็นระบบพอที่จะบอกคนอื่นได้ว่าชาวบ้านเขาต้องการอย่างนี้ แล้วไปพูดกับรัฐบาลไทย พูดกับ BRN ว่าสิ่งที่เราต้องการคือแบบนี้ ส่วนเรื่องที่คุณมีจิตใจต่อสู้ คุณมีความรู้สึกร่วม คุณมีความรู้สึกเจ็บปวดอะไรต่อประวัติศาสตร์หรือเปล่านั้นมันได้ข้อสรุปไปแล้ว ดังนั้นวันนี้ประเด็นอยู่ที่ว่าเราจะเดินไปอย่างไร ?  
 
เปิดประเด็นแลกเปลี่ยนผู้เข้าร่วม
 
ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ
 
อับดุลอาซิซ ตาเดอินทร์ ประธานฝ่ายสิทธิมนุษยชน สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย (ยมท.) วิเคราะห์ว่า เวทีลงนามเจรจาสันติภาพทำให้ผมได้ตั้งคำถามว่า ขบวนการถูกหลอกหรือเปล่า ? มันเป็นไปได้หรือเปล่า ? เป็นสภาโจ๊กหรือเปล่า ? เป็นสภาที่ไม่มีเสถียรภาพหรือเปล่า ? แล้วรัฐบาลไทยได้อะไร ? รัฐบาลมาเลเซียได้อะไร ? ขบวนการได้อะไรไปหรือเปล่า ? เป็นคำถามที่ผมพยายามวิเคราะห์
 
ประเด็นที่ 1 ความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาในพื้นที่สำหรับ "เอกราช" ผมยังมองไม่เห็นแสงสว่างของมันเลยและคิดว่ามันค่อนข้างจะยากมากในกรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่ง BRN เสียเปรียบตั้งแต่เข้ามาอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญไทยแล้ว
 
ประเด็นที่ 2 จะเห็นได้ว่ารัฐบาลมาเลเซียทุ่มกับเวทีนี้สุดตัว มีทั้งระดับรัฐมนตรี ระดับฝ่ายความมั่นคง และระดับ สมช. ที่ได้รับฉันทานุมัติจากรัฐบาล ฉะนั้นหากการนำตัวอุซตาสฮาซัน ตอยิบ เป็นเรื่องที่ผิดตัวหรือเป็นตัวปลอม รัฐบาลมาเลเซียคงเสียอย่างมหาศาลเลยทีเดียว
 
ฉะนั้นการตั้งข้อสังเกตของผมคือ ปรากฏการณ์ของมะรอโซ และเวทีลงนามการเจรจาสันติภาพครั้งนี้คุณว่ามันสอดคล้องกันหรือเปล่า ? ซึ่งระยะเวลามันห่างกันไม่มากนัก เหมือนกับมีผู้กำกับคนเดียวกัน ตัวแสดงก็อยู่ในลายเดียวกัน มันรู้สึกไม่ชอบมาพากล เพราะฉะนั้นนอกจากที่เราสามารถมาวิเคราะห์วิจารณ์แล้ว เรายังสามารถมีส่วนร่วมในแก้ปัญหานี้ได้อย่างไรบ้าง ?
 
การเสียเปรียบหรือไม่นั้นผมมองว่ามันยังไม่มีใครเสียเปรียบใคร เนื่องจากครั้งนี้มันเป็นเพียงแค่การลงนามตกลงที่จะเจรจาเฉยๆ เป็นแค่เบื้องต้นในการพูดคุยกัน เพียงแค่รัฐบาลมาเลเซียเรียกตัวมาคุยกันเฉยๆ คุณจะคุยหรือไม่ก็แล้วแต่คุณ แต่ใช่ว่ามีการเจรจากันแล้ว ฉะนั้นเราไม่ต้องมาวิตกกังวลก่อนว่ามันจะมีอะไรเกิดขึ้น
 
 
ความเป็นไปได้
 
แซนดี บิน อับดุลรอเซะ ดือราแม คณะทำงาน ศูนย์ประสานงานโครงการบูรณาการคนหนุ่มสาวเพื่อศักยภาพชุมนุมชน [YICE] กล่าวว่า "วาทกรรม "เอกราช" ความเป็นไปได้กับความเป็นไปไม่ได้ อันที่จริงการที่เราจะเดินเคลื่อนไหวไปข้างหน้ามันจะต้องมีความเป็นไปได้อยู่แล้ว"
 
เขาถูกจับ ถูกขัง และถูกบังคับ
 
วันอับดุลเราะห์มาน บิน วันฮุสเซ็น ผู้จัดการ องค์กรสันติภาพโลกประจำประเทศมาเลเซีย [Global Peace Mission Malaysia] สังกัดอาบิม [Angkatan Belia Islam Malaysia [ABIM]] กล่าวว่า ผมภูมิใจที่ทุกคนพยายามตั้งคำถามถึงบทบาทของมาเลเซียระหว่าง "ผู้อำนวยการพูดคุย [Facilitator]" กับ "คนกลาง [mediator]" ในฐานะที่ผมเป็นพลเมืองของประเทศมาเลเซีย ผมเองก็ยังรู้สึกสงสัยกับบทบาทของรัฐบาลมาเลเซียเช่นเดียวกัน
 
แต่สำหรับคำถามที่ว่า ใครคือ อุซตาสฮาซัน ตอยิบ ? ที่เปิดตัวตามสื่อต่างๆในวันที่ 28 กุมภาที่ผ่านมานั้น จะบอกว่าช่วงวันเดือนปีนั้นผมอยู่ที่ปาตานีและในวันที่ 1 ผมบินกลับไปที่กัวลาลัมเปอร์ ประมาณหนึ่งอาทิตย์หลังจากนั้นมีตัวแทนทหารมาเลเซีย ตัวแทนพรรค UMNO และตัวแทนพรรค PAS มาถามว่า "รู้จักอุซตาสฮาซัน ตอยิบ หรือเปล่า ?"
 
หลังจากนั้นอุซตาสฮาซัน ตอยิบ ก็ถูกจับตัวไปที่รัฐตรังกานูและส่งตัวมายังกัวลาลัมเปอร์ด้วยแฮลิคอปเตอร์ เพื่อพาไปขังในคุกโรงเรียนนายร้อย แต่ไม่ใช่ขังตัวในโรงแรม ซึ่งไม่มีใครสามารถขอพบเจอตัวเขาได้ นอกเสียจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างการนำตัว อุซตาสฮาซัน ตอยิบ ไปพบเจอ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เก็นติ้ง ไฮแลนด์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถเช็คและตรวจสอบได้
 
ความจริงเป็นอย่างไร
 
ชารีฟ บิน มุสตอฟา สะอิ เลขาธิการ เครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ [INSouth] ตั้งคำถามว่า เราทำงานในพื้นที่มาหลายปีพอสมควร ก็รู้สึกกังวลกับเหตุการณ์ครั้งนี้เราเองก็ไม่มีข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนว่ามีความเป็นมาอย่างไร ? แต่ถ้าหากเป็นไปตามที่วันอับดุลเราะห์มาน ได้เล่าให้ฟังว่า อุซตาสฮาซัน ตอยิบ ถูกจับกุมและบังคับให้เซ็นสัญญาจริงมันก็น่าเป็นห่วง แต่ด้วยวิธีการเหล่านี้ไม่ทราบว่ามันยังใช้ได้อยู่หรือไม่ ? อย่างไร ?
 
และขอฝากคติกับทุกคนว่า "สัจธรรมต้องศึกษาและค้นหา พลังและอำนาจต้องวางแผนและมั่นใจในแนวทาง"
 
สู้อย่างเท่าเทียม
 
ฮาดีย์ บิน อับดุลลาเตะ หะมิดง นักเคลื่อนไหวอิสระ ตั้งคำถามว่า จากเวทีเมื่อ 28 กุมภา มีคำถามอยู่ 2 ประเด็นด้วยกัน
 
ประเด็นที่ 1 จะเห็นได้ว่าเวทีครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ทางรัฐบาลมาเลเซียออกมามีส่วนร่วมในการพูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งในระยะยาวมันจะมีผลกระทบต่อขบวนการในการพูดคุยต่อไปหรือไม่ ? หรือมันจะกระทบต่อความสงบสุขและสันติสุขในพื้นที่มากแค่ไหน ?
 
ประเด็นที่ 2 BRN เสียท่าอย่างมากเลยเดียว อนาคตจะเป็นอย่างไร ? และจะจบแบบไหนก็ไม่สามารถบอกได้ แต่ BRN พอจะมีกลยุทธ์ [Tactics] ที่พอจะสู้แบบสมน้ำสมเนื้อกัน หรือเท่าเทียมกันหรือไม่ ?
 
ชาวบ้านรู้และมีวิจารณญาณพอที่จะคาดเดาได้
 
สะรอนี บิน มาห์มูด ดือเระ บรรณาธิการ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ [DSJ] ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าหากอุซตาสฮาซัน ตอยิบ ไม่ใช่ตัวจริงมันก็เกิดการพ่ายแพ้กันไป เพราะแต่ละฝ่ายมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน ผมเองก็ไม่สามารถบอกได้ว่าใช่ตัวจริงหรือไม่ ? แต่ถ้าเราดูก่อนหน้านี้หน่วยงานฝ่ายความมั่นคงพูดอยู่เสมอว่า "จะไม่เจรจาเด็ดขาด" เพราะการเจรจาคือการยอมรับสถานะของกลุ่มโจรเหล่านี้ว่ามันมีอยู่จริง แต่อยู่ๆมันก็เกิดขึ้นมา  ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางการเมืองที่ใหญ่ และผมเชื่อว่าชาวบ้านเขารับรู้และพอจะมีวิจารณญาณในการรับรู้ว่ามันกำลังเกิดอะไรขึ้น ?
 
กระบวนการสันติภาพต้องเป็นไปตามความต้องการของประชาชน
 
อัซฮาร์ บิน อับดุลฮาดี สารีมะเจ๊ะ กรรมการ สภาองค์การมุสลิมแห่งประเทศไทย ตั้งข้อสังเกตว่า ทั้งอุซตาสฮาซัน ตอยิบ และมะรอโซ จันทรวดี เป็นตัวแสดงหน้าฉากที่เป็นตัวแทนของอุดมการณ์ชิ้นหนึ่งและมีประชาชนส่วนหนึ่งมีความเห็นร่วมด้วย ฉะนั้นคิดว่าการเจรจาน่าจะยังไม่ใช่ความต้องการของกลุ่มขบวนการ หรือกลุ่มติดอาวุธ
 
จากการที่ได้ติดตามและศึกษาถึงกระบวนการสร้างสันติภาพอยู่พอสมควร จะเห็นได้ว่าท้ายที่สุดแล้วมันก็ต้องมาสู่โต๊ะเจรจา ฉะนั้นความสำเร็จของการเจรจามันก็คงไม่ได้เป็นไปตามความต้องการของใครคนใดคนหนึ่งเลย นอกจากเป็นความต้องการของประชาชนโดยรวม หรือเป็นความต้องการของคนที่มีผลกระทบจากเหตุการณ์ต่างๆ
 
ฉะนั้นหลังจากนี้ไปอาจจะต้องเป็นการยกระดับโต๊ะเจรจาหรือกระบวนการเจรจา ให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน ไม่ใช่ให้เป็นไปตามความต้องการของ BRN หรือรัฐไทย หรือรัฐบาลมาเซียด้วยซ้ำไป หมายความว่า ถ้าเป็นไปตามความต้องการของทั้งสามฝ่ายนี้แล้ว มันเหมือนกับว่าเวทีนี้เป็นเวทีที่หลอกหลวงหรือเปล่า ? สิ่งนี้เป็นสิ่งที่พวกเราจะต้องทำอย่างเร่งด่วน จะต้องช่วยกันทำให้มันเป็นจริงมากขึ้น แต่การเจรจารอบนี้ความรู้สึกแรกทำให้เราเห็นความหวัง คิดว่าส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญมากขึ้น
 
ดังนั้น เวทีต่อไปจะยกระดับการเจรจาอย่างไรให้เป็นไปตามที่ประชาชนต้องการ ? เมื่อถึงวันนั้นหากมีคนที่จะมาทำลายหรือล้มกระดานกระบวนการสันติภาพตามที่ประชาชนเขาต้องการนั้น ความชอบธรรมของการเจรจามันจะมีผลอย่างไร ?
 
เสียงประชาชนล้ำค่า
 
ซอลาหุดดีน บิน ฮัสบุลเลาะห์ กริยา คณะทำงานสำนักพิมพ์ Awan Book กล่าวว่าตั้งแต่เกิดเวทีเมื่อวันที่ 28 กุมภา เราจะเห็นว่าปรากฏการณ์เสียงของประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในส่วนขององค์กร มันสะท้อนให้เห็นว่า "ความกล้าหาญที่จะแสดงออกในความคิดต่าง" ณ วันนี้เสียงมันเริ่มเบ่งบานขึ้น
 
ในส่วนของภาครัฐเองเริ่มที่จะคลี่คลายความเข้มงวดลง และเขาจะไปอบรมให้กับขบวนการอย่างไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่สำหรับประชาชนซึ่งเป็นผู้ที่รับมาโดยตรงจะต้องมีเสียงของประชาชนเอง เสียงที่ประชาชนจะสะท้อนออกมานั้นเป็นอย่างไร ? หรือประชาชนจะวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการสันติภาพนี้อย่างไร ? ซึ่งเสียงของประชาชนบางครั้งก็เป็นเสียงที่ล้ำค่าสำหรับพวกเขา ฉะนั้นจะถกเถียงกันอย่างไร ? ในเมื่อข้อมูลชั้นความลับนั้นเราเข้าไปไม่ถึง แต่เราสามารถที่จะพูดในสิ่งที่เราเห็นและเข้าใจได้ ดังนั้นข้อมูลของเรานั้นไม่จำเป็นที่จะต้องถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง แต่หลายเสียงของประชาชนคือความต้องการที่แท้จริง อย่าลืมว่าสันติภาพมันเกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง   
 
ต้องลบพื้นที่ความกลัวให้ได้
 
กริยา บิน วันอาห์หมัด มูซอ เลขาธิการ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ [PERMAS] กล่าวว่า วันนี้ทุกคนไม่ได้ต้องการสิ่งที่ดีที่สุดหรอก แต่ทุกคนต้องการสิ่งที่จริงที่สุด และต้องการข้อเท็จจริงที่จริงที่สุด ผมมีอยู่ 2 ประเด็นที่อยากจะแลกเปลี่ยนคือว่า
 
ประเด็นที่ 1 คือ คิดว่าคนในพื้นที่เขาไม่ได้ต้องการกระบวนการเจรจาที่ดีที่สุด แต่คิดว่าเขาคงต้องการกระบวนการเจรจาที่จริงที่สุด และคิดว่าสิ่งที่เราควรจะขับเคลื่อนในวันนี้ให้ได้ก็คือ พื้นที่ความกลัวที่มีอยู่ในวันนี้ เราต้องลบมันให้ได้
 
ประเด็นที่ 2 วันนี้ถ้าเราจะลบความกลัวออกไปและความปลอดภัยที่เราจะต้องสร้างขึ้นมานั้นมันควรเป็นอย่างไร ? ฉะนั้นกระบวนการที่เราควรพูดคุยในวันนี้คือ กระบวนการ Safety หรือกระบวนการความปลอดภัย ถ้าหากเราต้องฟังเสียงของประชาชน สิ่งที่เราจะต้องเดินอย่างเต็มรูปแบบและเป็นรูปธรรมมากที่สุดคือ กระบวนการความปลอดภัย เพราะวันนี้ชาวบ้านเกิดคำถามมากว่า "การเจรจาคืออะไร ?" ชาวบ้านเขาอยากจะรู้แต่เขากลัวที่จะถามดังๆ เราก็สามารถอธิบายข้อเท็จจริงได้เพียงแค่นิดหน่อยเท่านั้นจากข่าวลือที่เราได้มา ฉะนั้นกระบวนการสันติภาพมันจะเกิดขึ้นได้บนพื้นฐานความปลอดภัยและความมั่นใจเท่านั้น  
 ป็นโครงสร้างอันยิ่งใหญ่ของ กลัวที่มีอยู่ในวันนี้ เราต้องลบมันให้ได้
 
จากการตั้งข้อสังเกต วิเคราะห์ และเปิดประเด็นแลกเปลี่ยน Wartani หวังว่าคงจะเป็นข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่สามารถจะเป็นคำตอบสำหรับผู้ใคร่รู้จำนวนมากที่ไม่สามารถตอบโจทย์ข้อสงสัยที่ผ่านมาได้ อาจจะไม่สามารถตอบได้ทุกคำถาม แต่อย่างน้อยก็พอที่จะเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่น่าจะสามารถไปประติปะต่อเป็นจิ๊กซอได้ Wartani ขอเป็นสื่อทางเลือกหนึ่งที่จะค้นหาคำตอบให้กับประชาชนที่ใคร่รู้ในเรื่องชะตากรรมของตนเองที่ถูกคนบนเก้าอี้ และห้องแอร์ กำหนดให้มาตามใจตนเองปรารถนา หลังจากวันนี้เป็นต้นไปเราคงจักต้องติดตามเวทีที่จะเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 28 มีนาคม 2556 ว่ามันจะออกมาในรูปแบบไหน ? อย่างไร ?   
 
 
 
ดูวิดีโอเสวนาได้ที่:
Bicara Patani 11.03.2013 : " 28 FEB : Peace Process Dialogue or compromise Process Dialogue 
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยาสรี คาน (Yasri Khan) กับบทบาทเยาวชนฟาฏอนีย์พลัดถิ่นในยุโรป

Posted: 17 Mar 2013 07:36 AM PDT

เปิดใจลูกชายแกนนำพูโล ยาสรี คาน (Yasri Khan) กับบทบาทเยาวชนฟาฏอนีย์พลัดถิ่นในยุโรปและงานด้านสันติวิธี ชี้ความหวังสันติภาพชายแดนใต้อยู่ที่คุณภาพของเยาชนมุสลิมมลายูในพื้นที่

ยาสรี คาน (Yasri Khan) ประธานองศ์กรมุสลิมเพื่อสันติภาพและยุติธรรมแห่งประเทศสวีเดน (Swedish Muslim For Peace and Justice)

ยาสรี คาน (Yasri Khan) ประธานองศ์กรมุสลิมเพื่อสันติภาพและยุติธรรมแห่งประเทศสวีเดน (Swedish Muslim For Peace and Justice) วัย 27 ปี ผู้มีบทบาทสำคัญในการรณรงค์ด้านสันติวิธีในประเทศสวีเดนและทำงานในโครงการพระราชดำริของและกษัตริย์สวีเดน โดยเป็นที่ปรึกษาในส่วนกิจกรรมเยาวชน

ยาสรีเป็นลูกชายของแกนนำคนสำคัญในขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชฟาฏอนีย์ คือขบวนการพูโล (PULO) พลัดถิ่น โดยยาสรีเกิดและเติบโตที่ประเทศสวีเดน ซึ่งเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2556 ที่ผ่านมา เขาได้ร่วมกับคณะของ Mehmet Kaplan ประธานพรรคฝ่ายค้านของประเทศสวีเดน เดินทางมายังจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นทางการ

การเดินทางมาประเทศไทยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพบปะพูดคุยกับทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐ ทั้งฝ่ายความมั่นคง ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) ตลอดจนองศ์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเก็บข้อมูลและศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาในพื้นที่ ในช่วงก่อนที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมานตรี จะเดินทางไปเยือนประเทศสวีเดนในช่วงที่ผ่านมา

 

ตัวแทนคนฟาฏอนีย์พลัดถิ่นในยุโรป

ยาสรี เล่าว่า ปัจจุบันคนฟาฏอนีย์ที่อพยพไปอยู่ในยุโรปมีประมาณ 2,000 กว่าคน แม้พวกเขาจะอยู่ที่นั่นอย่างสุขสบาย แต่พวกเขามีความห่วงใยต่อญาติพี่น้องที่อยู่ในฟาฏอนีย์อย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงที่ยังเกิดความไม่สงบในพื้นที่ ซึ่งคนฟาฏอนีย์ในยุโรปจำนวนหนึ่งได้ส่งเงินไปให้แก่ญาติพี่น้องของตนเองที่อยู่ในฟาฏอนีย์ด้วย

คนฟาฏอนีย์ในสวีเดนได้ก่อตั้งองศ์กรเครือข่ายขึ้นมาและมีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน โดยเน้นกิจกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมและภาษามลายู เพื่อปกป้องไม่ให้ภาษาและวัฒนธรรมมลายูสูญหายไป

นอกจากนี้ยังมีการก่อตั้งทีมฟุตบอลของเยาวชนมลายูฟาฏอนีย์ โดยใช้ชื่อทีมว่า Patani Fc ซึ่งขณะนี้ทีมฟุตบอล Patani Fc อยู่ในลีกที่ 7 ของการแข่งขันฟุตบอลสโมสรในประเทศสวีเดน ซึ่งได้เลื่อนขั้นจากลีกที่ 8 เมื่อปีที่ผ่านมา

การตั้งทีมฟุตบอลเพื่อที่จะให้คนรุ่นใหม่ได้มีเวลาพบปะกัน มีโอกาสได้สื่อสาร โดยจะพยายามใช้ภาษามลายูในการพูดคุย และยังเป็นการเปิดโอกาสให้บุตรหลาน คนรุ่นใหม่ๆ ได้แลกเปลี่ยนเรื่องสถานการณ์ในพื้นที่ ตลอดจนเรื่องของประวัติศาสตร์ฟาฏอนีย์ระหว่างกัน การก่อตั้งองศ์กรของคนรุ่นใหม่นี้จะไม่ใช่เป้าหมายเรื่องของการแบ่งแยกดินแดนเหมือนสมัยคนก่อน

นอกจากนี้คนฟาฏอนีย์ในประเทศสวีเดนได้สร้างโรงเรียนเพื่อที่เป็นสถานที่เรียนศาสนา วัฒนธรรม และภาษามลายู โดยเรียนทุกวันเสาร์และอาทิตย์ โดยในช่วงเช้าจะเป็นช่วงของคนรุ่นใหม่ ส่วนช่วงบ่ายเป็นของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จะเน้นเรียนเรื่องของฟิกฮุ (ศาสนบัญญัติ) ทั้งนี้ส่วนใหญ่คนฟาฏอนีย์ในประเทศสวีเดนจะอยู่ในเมือง Stockholm กับเมือง Kalma

 

บทบาทการทำงานด้านสันติวิธี

ในฐานะที่ยาสรีทำงานในองค์กรที่เชื่อมต่อกับกับกลุ่มองค์กรและขบวนการในพื้นที่ และมีบทบาทเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลสวีเดนที่ทำงานในแนวทางสันติ จึงได้พยายามเสนอแนวทางการต่อสู้ในแนวทางอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการใช้อาวุธหรือแนวทางการต่อสู้ที่ไม่ใช้ความรุนแรง ซึงจากที่ได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงของรัฐในส่วนกลาง เขาได้เสนอถึงแนวทางในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ ในหลายแนวทางด้วยกัน เช่น

ตลอดระยะเวลาของความขัดแย้ง รัฐบาลคงไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การก่อความไม่สงบ การก่อเหตุได้ บางช่วงรัฐก็สามารถควบคุมการก่อเหตุของฝ่ายขบวนการก่อความไม่สงบได้ แต่บางช่วงรัฐก็ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากความขัดแย้งพื้นที่ไม่ใช่เพิ่งเกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 แต่เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเมื่อ 200 กว่าปี่ที่แล้ว

หากรัฐบาลปล่อยให้ความขัดแย้ง ความรุนแรงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ รัฐบาลไทยอาจจะต้องสูญเสียงบประมาณมหาศาลไปกับกองกำลังของรัฐที่ต้องปฏิบัติการในพื้นที่ ในขณะที่ฝ่ายขบวนการใช้งบประมาณในการก่อเหตุไม่มากนัก

แนวทางการแก้ปัญหาในระยะยาว รัฐบาลและฝ่ายขบวนการจะต้องมีการพูดคุยกัน เพื่อหาทางออกของของความขัดแย้งให้มากยิ่งขึ้น และทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องมีการเคารพซึ่งและกัน

ยาสรีกล่าวถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ว่า ดูเหมือนมีบางช่วงมีการแข่งขันและการร่วมมือระหว่างกันของกลุ่มขบวนการ หากวิเคราะห์ความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่า กลุ่มขบวนการก่อความไม่สงบต่างๆ ในพื้นที่ มีการร่วมมือมากขึ้น ทำให้โครงสร้างของขบวนการก่อความไม่สงบขยายตัวมากยิ่งขึ้นและมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

เขากล่าวว่า แนวทางการต่อสู้ของขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จับอาวุธอย่างเดียว ไม่สามารถที่จะทำให้พื้นที่ตรงนี้มีความเจริญได้ เนื่องจากโครงสร้างของสังคมต้องมีองค์ประกอบหลายๆ อย่างด้วยกัน เช่น ต้องมีแพทย์ ต้องมีทนายความ ต้องมีภาคธุรกิจและภาคอื่นๆ ที่เป็นของคนในพื้นที่ด้วย 

 

ฝากความหวังไว้กับเยาวชนฟาฏอนีย์

ในฐานะเยาวชนที่มีโอกาสได้ร่วมงานกับองค์กรเครือข่ายในยุโรป และเป็นเยาวชนรุ่นใหม่ของฟาฏอนีย์พลัดถิ่น ยาสรี บอกว่า บทบาทของเยาวชนมีความสำคัญมาก ที่จะต้องที่เป็นคนดูแลพื้นที่ตรงนี้ต่อไปในอนาคต ดังนั้นเยาวชนในพื้นที่ต้องมีการพัฒนา มีความเจริญ และมีความก้าวหน้าทางความคิดตามแบบที่อิสลามสอนไว้

คนยุโรปเขาจะถือคำสุภาษิตที่ว่า "คนที่ไม่รู้จักประวัติศาสตร์ของตัวเอง คนนั้นไม่สามารถที่กำหนดโชคชะตาตัวเองในอนาคตได้"

"ดังนั้นสิ่งที่สำคัญเราจะทำคือ สนับสนุนให้เยาวชนรุ่นใหม่ๆให้มีการศึกษาในระดับที่สูงๆ เพี่อที่จะผลิตเยาวชนที่มีคุณภาพ พร้อมๆกับการสร้างความเป็นผู้นำ ที่มีความเสียสละมีความซื่อสัตย์ และที่สำคัญต้องสร้างผู้นำที่ไม่มีการคอรัปชั่น และจะต้องทำให้เป็นวัฒนธรรมด้วย"

"ไม่ว่าเราจะมีอาชีพอะไร เราต้องไม่ลืมตัวเองว่า เราเป็นใคร มาจากไหน เป็นคนที่ชาติพันธุ์ใด เราต้องมีความภาคภูใจที่เราเกิดมาเป็นคนมลายู จากตัวอย่างที่ผมได้สอบถามพนักงานมลายูมุสลิมคนหนึ่ง ในโรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ด้วยภาษามลายู แต่เขากลับตอบมาด้วยภาษาไทย ผมรู้สึกว่าเหมือนกับว่าเราอยู่ภายใต้อาณานิคม แสดงว่าเราไม่มีความภาคภูมิใจในความเป็นมลายู"

ยาสรี กล่าวว่า คนในพื้นที่จะต้องปรับตัวเองในเรื่องของวัฒนธรรมของการทำงาน ต้องเป็นบุคคลมีความกล้าและอย่าอายในสิ่งที่ถูกต้อง ต้องทำให้เป็นตัวอย่างกับคนอื่นว่า เราสามารถที่ทำสิ่งต่างๆให้ประสบความสำเร็จได้ คนที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น ที่จะมีความน่าเชื่อถือและคนอื่นจะปฏิบัติตามให้ความเชื่อมั่นและให้ความเคารพ

"ผมเป็นคนยุโรป ซึ่งเวลาทำงานต้องเปิดกว้างวิพากษ์วิจารณ์ได้ ที่นี่ก็เช่นกัน เราต้องการคนที่มีใจกว้างในการทำงาน รับฟังทุกความเห็นที่มีคนเสนอไว้ เพราะสิ่งเหล่านี้มีส่วนสำคัญที่จะทำให้เราเป็นคนมีความฉลาดในการทำงาน เราต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมแบบเก่าที่ทำให้เรามีความมีล้าหลัง"

 

 

บันทึกบทสนทนา "ยาสรี" กับกลุ่มเยาวชนปัตตานี

เป็นบทสนทนาของยาวรี กับกลุ่มเยาวชนและภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อครั้งเดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2556 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี เนื้อหาในส่วนนี้เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 3 มีนาคม 2556 โดยอภิวัจ สุปรีชาวุฒิพงศ์

กลุ่มเยาวชน : คิดว่าปัตตานีจะได้เอกราชหรือไม่

ยาสรี : คำตอบอยู่ที่ประชาชน หากว่าอัตลักษณ์ของประชาชนไม่เข้มแข็งก็จะอยู่อย่างนี้ตลอดไป ในสวีเดน มีทีมฟุตบอลปัตตานีที่สร้างคน เยาวชนเหล่านี้มีโอกาสเลือกว่าเขาอยากเป็นอะไร และไม่กลัวคนอื่น ก่อนที่จะให้คนอื่นเชื่อเราต้องเชื่อตัวเองก่อน

กลุ่มเยาวชน : ถ้าจะได้เอกราช จะต้องทำอะไรก่อน ถ้าประชาชนต้องการทำอย่างไรให้ได้ เอกราช  จับอาวุธหรือว่ามีทางอื่นอยู่ไหม

ยาสรี : การพูดเรื่องเอกราชไม่ได้พูดในเชิงของการตัดสิน แต่เราต้องมองเรื่องสันติภาพ และจะต้องมีความยุติธรรม ถ้าไม่มีสันติภาพจะมีปัญหาเรื่องความยุติธรรม

ถ้าฝ่ายขบวนการทำงานไม่ดีก็ไม่ควรสนับสนุน  ถ้าไม่มาจากภาคประชาสังคมก็นำไปสู่สันติภาพไม่ได้ ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาทางการเมือง  คนก็จะจับอาวุธต่อสู้  การเข้าสู่กระบวนการสันติภาพมีพลวัตออยู่ตลอด และได้รับการยอมรับมากขึ้น จากที่แต่ก่อนไม่ได้รับการยอมรับ

ต้องมี model ที่ทำให้คนฉลาดเพื่อที่จะต่อสู้กับอำนาจ ถ้าไม่มี model ก็ต้องยกตัวเองขึ้นมาเป็น model

กลุ่มเยาวชน : ถ้าได้เอกราชจะกลับมาปัตตานีไหม

ยาสรี : กลับมา ผมไม่เหมือนลูกหลานปัตตานีในที่สวีเดนแบบคนอื่นๆ พวกนั้นสบายแล้ว แต่เราเองสบายเพราะมีคนที่ช่วยเหลือเรา เราเองจึงอยากช่วยเหลือคนอื่นต่อ ผมอยากมาคุยกับคนที่นี่ กับคนที่มีประสบการณ์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะมา ส่วนตัวเขา แต่ผมมีความเชื่อมั่นว่าคนปัตตานีจะสร้างความเจริญได้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผอ.ไทยพีบีเอสแจงเหตุชะลอ‘ตอบโจทย์’ไม่มีแรงกดดันจากสถาบัน-หน่วยงานใด

Posted: 17 Mar 2013 07:18 AM PDT

แจงเหตุชะลอ "ตอบโจทย์ตอน 5" เผยบรรยากาศการเจรจาต่อรองกับผู้ประท้วงไม่ได้ผลส่อเค้าจะบานปลาย ตัดสินใจนาทีสุดท้ายลดการเผชิญหน้า ยันไม่มีแรงกดดันจากสถาบันหรือหน่วยงานใด ไม่ว่าภายในหรือภายนอกและยืนยันเดินหน้ารายการตอบโจทย์ต่อ แม้ไม่มี "ภิญโญ" ที่ประกาศยุติบทบาท

นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผอ.ไทยพีบีเอส

17 มี.ค. 56 เว็บไซต์สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส รายงานคำแถลงประเด็นการชะลอการออกอากาศรายการตอบโจทย์ ตอน 5 ที่มีกำหนดออกเมื่อคืนวันที่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา โดย นายสมชัย สุวรรณบรรณ  ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) กล่าวถึงลำดับเหตการณ์ที่จำเป็นต้อง ตัดสินใจชะลอการออกอากาศเทปรายการดังกล่าวว่า "เราต้องถือว่า ผู้ร้องเรียนเป็นผู้ชมผู้ฟังจำนวนหนึ่ง ที่เราต้องฟังเสียงเหมือนกัน ภายใต้สถานการณ์นี้เราขอเวลาที่จะตั้งสติว่าจะทำเรื่องนี้อย่างไรจึงนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการรับและ พิจารณาเรื่องร้องเรียนจากประชาชน ซึ่งเป็นกลไกตามกฎหมายของไทยพีบีเอสที่มีองค์ประกอบมาจากตัวแทนภายในและบุคคลภายนอกซึ่งเป็นองค์กรทางสังคมทั้งจากสมาคมนักข่าววิทยุฯ สภาการหนังสือพิมพ์ นักวิชาการ นักกฎหมาย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ผู้ทรงคุณวุฒิและ ตัวแทนสภาผู้ชมผู้ฟังด้วย เราคงต้องให้กลไกนี้พิจารณา เพื่อให้เกิด ความรอบคอบ ดังที่เคยเกิดกรณีคล้ายๆ กันนี้ในอดีต..."  

ทั้งนี้ตามเงื่อนไขของเวลาในวันดังกล่าว นายสมชัยกล่าวว่าเป็นการตัดสินใจตามสถานการณ์ที่เลื่อนไหลไปจนเสี้ยวนาทีสุดท้ายก่อนออกอากาศที่ฝ่ายบริหารและตัวแทนฝ่ายข่าว ที่ลงไปเจรจา กับผู้ประท้วงได้ประเมินร่วมกันว่า หากออกอากาศมีโอกาสที่จะนำไปการประจันหน้าและ เหตุ รุนแรง สุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัยของพนักงานองค์กร เนื่องจากเวลา 14.00  น. กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการนำเสนอประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์ในรายการตอบโจทย์ประเทศไทยเริ่มทยอยมาร้องเรียนที่สถานีซึ่งโดยปรกติทางสถานีจะจัดพื้นที่รองรับประชาชนที่มาแสดงความคิดเห็นบริเวณนอกอาคารสำนักงานเพื่อป้องกันเหตุที่ไม่คาดคิดแต่ในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดฝนตกลมแรงฝ่ายดูแลอาคาร  จึงเชิญผู้ร้องเรียนเข้ามาหลบฝนข้างในอาคาร โดยมีฝ่ายบริหารลงมาดูแลประสานงานอำนวยความสะดวกตามปรกติ

ในช่วงเวลานั้น มีการประชุมคณะกรรมการนโยบาย นายสมชัยจึงนำประเด็นร้องเรียนไปรายงาน ให้ที่ประชุมรับทราบ ที่ประชุมกรรมการนโยบายได้หารือและให้ความเห็นเป็นส่วนใหญ่ว่าสมควรให้ ออกอากาศเทปดังกล่าวได้ ทั้งนี้มิได้มีการลงเป็นมติคณะกรรมการนโยบายแต่อย่างใด ดังนั้นผู้บริหารไทยพีบีเอสจึง ยืนยันจุดยืนที่จะทำหน้าที่สื่อสาธารณะ โดยออกอากาศรายการตอบโจทย์ประเทศไทยตอนที่ 5 และจะเปิดพื้นที่การสื่อสารเพิ่มเติมสำหรับความคิดเห็นที่แตกต่างเพิ่มขึ้นอีก  โดยมีการชี้แจงแนวทางดังกล่าวผ่านช่วงข่าวค่ำไทยพีบีเอสเพื่อให้ผู้ประท้วง ได้ชมพร้อมกันด้วย และส่งตัวแทนไปเจรจากับผู้ประท้วง แต่สถานการณ์เริ่มตึงเครียดอีกครั้ง เนื่องจากผู้ร้องเรียนไม่พอใจกับคำชี้แจงหรือข้อเสนอการเปิดพื้นที่เพิ่มเติม และยืนยันที่จะให้ถอด รายการให้ได้ อีกทั้งประกาศว่าจะรวมตัวกันต่อที่สถานีพร้อมจะกระจายข่าวเรียกผู้สนับสนุนมาชุมนุมเพิ่มเติมโดยพวกตนจะนอนค้างคืนในอาคาร ซึ่งจะทำให้เกิดบรรยากาศการเผชิญหน้ากัน

"กระทั่งเวลาล่วงไปถึงประมาณ 21.00 น. ในช่วงที่หน้าจอเป็นรายการที่นี่ไทยพีบีเอส ทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวและฝ่ายบริหาร 10 กว่าคนที่เข้าไปเจรจาพูดคุยกับผู้เรียกร้อง   ได้มาประชุมกับผมอีกครั้ง เพื่อประเมินสถานการณ์ว่ามีแนวโน้มจะตึงเครียดขึ้นอีกเพราะมีข่าวว่าจะใช้ Social Media ระดมคนมาชุมนุมที่สถานีเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งที่ประชุมเห็นเป็นส่วนใหญ่ว่า หากมีการเติมคนมากขึ้นและทางเราไม่ถอย สื่ออาจกลายเป็นคู่ขัดแย้งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น ถือเป็นการตัดสินใจเสี้ยวนาทีสุดท้าย ซึ่งตอนนั้นในฐานะที่ตนเคยเป็นบรรณาธิการข่าวมาก่อน เคยได้รับการอบรมมาว่า "ไม่มีข่าวไหนที่สำคัญกว่าความปลอดภัยของคนทำข่าว"และในฐานะผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ มีหน้าที่ ที่ต้องปกป้องรักษาทรัพย์สินของราชการจึงจำเป็นต้องตัดสินใจที่จะชะลอการออกอากาศ เพื่อลดการเผชิญหน้าและนำเข้าสู่การพิจารณาตามกลไกที่เรามีคือคณะอนุกรรมการรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากประชาชนโดยผลการพิจารณาคาดว่าคงจะออกมาในวันจันทร์หรือวันอังคารที่ 18 - 19 มีนาคมนี้ และผมยืนยันว่าไม่มีการแทรกแซงจากภายในหรือภายนอก อย่างที่มีปรากฎในสื่อฯ"

นายสมชัยย้ำว่า ไทยพีบีเอสยังรักษาจุดยืนการทำรายการตอบโจทย์ต่อไป  ส่วนกรณีที่นายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ที่ตัดสินใจยุติบทบาทการเป็นพิธีกรรายการอย่างกระทันหัน ก็ต้องเคารพการตัดสินใจ ซึ่งก็น่าเสียดาย เพราะนายภิญโญและทีมงานของเขาได้ทุ่มเทให้กับการทำงานตลอดมา จนทำให้ราย การเป็นที่รู้จักกว้างขวางเป็นเครดิตของนายภิญโญ ทั้งนี้ นายสมชัย ยืนยันว่ารูปแบบเนื้อหารายการ จะยังต้องดำเนินต่อไป โดยกำหนดให้เป็นพื้นที่กลางในการนำเสนอความคิดหลากหลายและเป็น พื้นที่แลกเปลี่ยนในประเด็นสำคัญๆอย่างตรงไปตรงมาของสังคมไทยต่อไป

 

ยันไม่มีแรงกดดันจากสถาบันหรือหน่วยงานใด

วานนี้ เว็บไซต์สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส รายงานคำชี้แจง 3 ข้อของนายสมชัย สุวรรณบรรณ ถึงการตัดสินใจชะลอการออกอากาศเทปรายการตอบโจทย์ ตอน "สถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ" เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตอนที่ 5 ว่า

1.เป็นการตัดสินใจโดยไม่มีแรงกดดันจากสถาบัน หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น ภายใต้สถานการณ์ที่ตึงเครียด และมีปัจจัยอื่นแวดล้อม อันอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยของทีมงาน ทีมผู้บริหารจึงตัดสินใจชะลอการออกอากาศรายการตอบโจทย์ ตอนที่ 5 เพื่อทบทวนให้เกิดความรอบด้าน และพิจารณาความเหมาะสมรวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

2.เพื่อให้เกิดกระบวนการพิจารณาอย่างรอบด้าน ผู้บริหารจึงนำเสนอเรื่องร้องเรียนดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการพิจารณา ของคณะอนุกรรมการรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากประชาชน ซึ่งเป็นกลไกตามกฎหมาย

3.ไทยพีบีเอสยืนยันในภารกิจของสื่อสาธารณะ ที่ต้องเปิดให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งการนำเสนอประเด็นดังกล่าวมีเป้าหมาย เพื่อเปิดให้ประชาชนได้เกิดมิติการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง และถกเถียงในจุดยืนที่หลากหลาย ทั้งมุ่งหวังเพื่อพัฒนาด้านความคิดในการสื่อสารทางปัญญาของประเด็นที่ถูกถกเถียงในสังคมวงกว้าง แต่ถูกจำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะในมุมมืด ภายใต้รูปแบบของรายการที่ให้แต่ละภาคส่วนที่มีความเห็นต่าง โดยเฉพาะประเด็นที่ละเอียดอ่อนได้ใช้เวทีสนทนาสาธารณะด้วยเหตุและผล แม้สังคมจะไม่เข้าใจในระยะเริ่มต้นก็ตาม แต่จะเชื่อมั่นว่าน่าจะสร้างความมั่นคงให้กับสังคมและประชาชนในระยะยาว

 

กลุ่ม "คนไทยผู้รักชาติ" 20 คน ร้องให้ยุติรายการตอบโจทย์ฯ

กลุ่ม "คนไทยผู้รักชาติ" ราว 20 คน นั่งเจรจากับผู้บริหารไทยพีบีเอส

ข่าวสดรายวัน รายงานด้วยว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากทั้งแรงกดดันภายนอกและความขัดแย้งภายในสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเอง เริ่มจากการที่มีกลุ่ม "คนไทยผู้รักชาติ" ราว 20 คน เดินทางมาที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถนนวิภาวดี รังสิต กทม. ในช่วงบ่าย เพื่อเรียกร้องให้ยุติรายการตอบโจทย์ฯ โดยทันที ซึ่งไม่ว่าฝ่ายบริหารสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสจะส่งใครไปเจรจาก็ไม่เป็นผล ทำให้มีการนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเพื่อหาทางออกอย่างเร่งด่วน ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า คณะกรรมการนโยบายได้เรียกทีมงานของรายการตอบโจทย์ฯ มาชี้แจง ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า ตอนสถาบันพระมหากษัตริย์ฯ มีการบันทึกเทปทั้งหมด 5 ตอน มีแขกรับเชิญที่หลากหลาย ทั้งนายสุรเกียรติ พล.ต.อ.วสิษฐ นายสมศักดิ์ และนายสุลักษณ์ ซึ่งหากได้ดูครบทั้ง 5 ตอนก็จะเห็นภาพรวมว่าประเทศไทยยังจำเป็นต้องมีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ต่อไป หลังรับฟังคำชี้แจงคณะกรรมการนโยบายก็เห็นว่า ยังไม่มีความจำเป็นต้องยุติการออกอากาศ แต่เพื่อให้เนื้อหาการออกอากาศของสถานีมีความสมดุลมากขึ้น จึงแนะนำให้มีการทำรายการพิเศษ ออกอากาศในวันเสาร์ที่ 16 มี.ค. โดยคิดรูปแบบไว้คร่าวๆ ว่าอาจมีการนำเทปรายการตอบโจทย์ฯ ตอนเก่าๆ ที่สัมภาษณ์บุคคลที่อยู่ใกล้ชิดสถาบันพระมหากษัตริย์ อาทิ นายอานันท์ ปันยารชุน ดร.สุรเกียรติ์ พล.ต.อ.วสิษฐ์ ฯลฯ มาทำเป็นสกู๊ปข่าว ผลการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายเป็นที่มาของคำชี้แจงผ่านเว็บไซต์ไทยพีบีเอส ในเวลา 20.21 น. วันที่ 15 มี.ค.

รายงานข่าวระบุด้วยว่า ก่อนรายการตอบโจทย์ฯ จะออกอากาศในเวลา 21.45 น. มีพนักงานของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ระดับบรรณาธิการ 3-4 คน เดินทางไปพบกับนายสมชัย เพื่อขอให้ยุติการออกอากาศรายการตอบโจทย์ฯ ตอนดังกล่าวโดยทันที เป็นสาเหตุให้นายสมชัยโทรศัพท์สั่งการให้ยุติการออกอากาศ ก่อนถึงกำหนดออกอากาศในเวลา 21.45 น. เพียง 15 นาทีเท่านั้น โดยอ้างมาตรา 46 ของพ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพ.ศ.2551

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วัดอุณหภูมิ “สันติภาพฟาฏอนีย์” ในฝั่งมาเลย์ ผ่านนักข่าวอาวุโส “อัศโตรา ชาบัต”

Posted: 17 Mar 2013 07:15 AM PDT

สัมภาษณ์นักข่าวอาวุโส "อัศโตรา ชาบัต" 30 ปีในมาเลเซีย สะท้อนความเคลื่อนไหวและข้อถกเกียงภายในของกลุ่มนักสู้เพื่อเอกราชฟาฏอนีย์ในฝั่งมาเลย์ มั่นใจไม่ใช่ละครตบตา ย้ำทั้งไทยและมาเลย์ต้องสร้างภาสะที่เอื้อต่อการพูดคุย เพื่อแก้ปัญหา มิฉะนั้นก็จะต่อสู้กันไปอีกนานเท่านาน

การลงนามเพื่อริเริ่มกระบวนการพูดคุยสันติภาพเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา ระหว่าง พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กับนายฮัซซัน ตอยิบ ผู้แทนของขบวนการบีอาร์เอ็น ที่เปิดเผยต่อสาธารณะชน ส่งผลให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งในแง่มุมที่เป็นบวกต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรง และในแง่มุมที่เป็นลบจากการตั้งข้อสงสัยต่อความน่าเชื่อถือและความยั่งยืนของกระบวนการดังกล่าวจากหลายภาคส่วน

กว่าสองสัปดาห์ที่ผ่านมา การวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวได้รับการส่งเสียงผ่านช่องทางสื่อสารและวงพูดคุยทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ แต่เสียงที่เราไม่ค่อยได้ยินมากนัก คือเสียงสะท้อนและข้อถกเถียงภายในกลุ่มขบวนการที่เคลื่อนไหวเพื่อเอกราชฟาฏอนีย์โดยเฉพาะบรรยากาศในประเทศมาเลเซีย

ในช่วงที่ผ่านมา มีโอกาสสัมภาษณ์ "อัศโตรา ชาบัต" ผู้สื่อข่าวอาวุโส ที่ระบุว่าหลังวันลงนามในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ไม่กี่วัน เขาได้เดินทางข้ามแดนไปสนทนากับบรรดาผู้ที่เคลื่อนไหวและเคยเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อปลดปล่อยฟาฏอนีย์หลายกลุ่มในฝั่งมาเลเซีย โดยอาศัยสายสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นคนชายแดนใต้ ที่ไปประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนในมาเลเซียร่วม 30 ปี

"คนที่ผมไปคุยด้วยมีหลายกลุ่ม มีทั้งขบวนการบีอาร์เอ็น ทั้งบีอาร์เอ็น โคออดิเนต และบีอาร์เอ็น คองเกรส ซึ่งตอนนี้ก็รวมกันเป็นบีอาร์เอ็น (BRN) เฉยๆ กลุ่มพูโล บีไอพีพี ซึ่งหลายคนในที่นี้ได้เลิกเคลื่อนไหวแล้ว บางคนหันไปทำงานด้านศาสนา ไม่ยุ่งกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองก็มี"

 

คนที่อยู่ในมาเลย์ยังระแวง

อัศโตรา ซึ่งเพิ่งเขียนรายงาน "สะสางความสับสนหัวหน้าขบวนการต่างๆ ที่มาเลเซีย" ตีพิมพ์ในวารสาร "มติชนสุดสัปดาห์" ฉบับล่าสุดอธิบายว่า คนที่เคยต่อสู้เหล่านี้ที่ย้ายไปอยู่ประเทศมาเลเซียนั้นมีทั้งที่ยังเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในพื้นที่ชายแดนใต้และอีกจำนวนหนึ่งที่เป็นเพียงอดีตนักต่อสู้ที่ปักหลักทำมาหากินในมาเลเซียอยู่ในปัจจุบันและไม่คิดจะกลับบ้านอีกแล้ว"

"คนในกลุ่มหลังนี้ก็เหมือนกันคนในพื้นที่ ซึ่งมีทัศนะต่อการลงนามดังกล่าวด้วยความสงสัยและหวาดระแวง เพราะในอดีตนั้น พวกเขาก็มีประสบการณ์ในการพูดคุยกับรัฐไทยมาแล้วหลายครั้ง และมีบทเรียนว่า สุดท้ายก็มีการจับกุมตัว หรือถูกทางการมาเลเซียควบคุมตัวและส่งข้ามแดนมาให้ฝ่ายไทยหลายครั้ง"

"อย่างกลุ่มพูโลที่เคยเข้าร่วมพูดคุยเจรจากับรัฐไทยมาแล้ว แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่งก็มีคนเข้าไปคุยด้วยแล้วกลับเจอกับปัญหา กลับถูกจับตัว อย่างเช่น อิสมาแอ ท่าน้ำ และ ฮัจญีดาโอ๊ะ ท่าน้ำ บางคนก็ถูกอุ้มฆ่า คนที่อยู่ในมาเลเซียก็จะกลัวว่าจะเป็นอย่างนั้นอีก"

แม้ว่าจะมีความหวั่นเกรงอยู่ แต่ดูเหมือนว่าพวกเขาเองก็ไม่มีทางเลือกมากนัก สำหรับพวกหัวแข็งหน่อย อัศโตราบอกว่า คนกลุ่มนี้จะไม่ยอมรับการพูดคุยกับรัฐไทย พวกเขาต้องการกลับบ้านอย่างภาคภูมิใจ แต่สำหรับคนที่ปักหลักอยู่ที่มาเลเซียนั้น เป็นกลุ่มที่ง่ายต่อการถูกกดดันจากทางการมาเลเซียอยู่แล้ว พวกเขาต้องทำตามแรงบีบ แต่ถึงเป็นอย่างนั้น หากรัฐบาลไทยจริงใจและรัฐบาลมาเลเซียตั้งใจจริงก็อาจทำให้กระบวนการเดินหน้าต่อไปได้ แต่ในทางกลับกันหากใช้กำลังเข้ากดดัน ปัญหาก็อาจจะไม่จบเช่นกัน

ส่วนท่าทีของคนในกลุ่มแรก ซึ่งยังเป็นกลุ่มคนที่ยังเกี่ยวโยงกับการเคลื่อนไหวในปัจจุบันก็มีความคิดเห็นต่อกรณีการลงนามในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่แตกต่างกันอยู่เช่นกัน อัศโตรา ให้ภาพว่า ในบีอาร์เอ็นก็มีทั้งสายเหยี่ยวและสายพิราบ คนกลุ่มแรกมองว่าการพูดคุยเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ในขณะที่สายพิราบนั้นกลับมองว่าการพูดคุยกับรัฐบาลไทยน่าจะเป็นวิธีการที่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาได้

เขาประเมินว่า คนที่มีความคิดในสายพิราบนั้น น่าจะมีจำนวนมากกว่า โดยที่ ฮัซซัน ตอยิบ เองก็ถือเป็นคนที่มีความคิดออกไปในทางสายพิราบ แม้แต่คนที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการทหารในพื้นที่บางคนก็มีแนวคิดโน้มเอียงในสายพิราบที่มองเห็นความจำเป็นของการพูดคุยกัน

 

คนในสายเหยี่ยวจะติดตามการพูดคุยต่อไป

ส่วนท่าทีของคนในสายเหยี่ยว เท่าที่พูดคุยมา อัศโตราบอกว่า ในตอนแรกพวกเขาอาจจะยังระแวงอยู่บ้าง แต่ในตอนนี้หลังจากพิจารณาว่า ทั้งรัฐบาลไทยและรัฐบาลมาเลเซียออกแรงสนับสนุนกระบวนการนี้อย่างเต็มที่ก็ทำให้พอประเมินได้ว่า การพูดคุยดังกล่าวไม่น่าจะเป็นละครการเมือง ท่าทีของพวกเขาในตอนนี้คือไม่ถึงกับคัดค้าน แต่เฝ้าดูกระบวนการหลังจากนี้ต่อไป

"หากเป็นละคร ความน่าเชื่อถือของรัฐไทย รวมทั้งมาเลเซียก็จะหมดไปแน่นอน" อัศโตราอ้างถึงเหตุผลของพวกเขา

อัศโตรา ระบุต่อไปว่า แม้ ฮัซซัน ตอยิบ จะเป็นคนที่มีแนวคิดสายพิราบ แต่เขาก็ไม่ได้เป็นผู้นำระดับสูงสุด ตนไม่แน่ใจว่าฮัซซันจะมีอิทธิพลทางความคิดต่อขบวนการเคลื่อนไหวมากน้อยเพียงใด แต่สิ่งที่ต้องเข้าใจก่อนก็คือ บีอาร์เอ็นไม่ได้นำโดยตัวผู้นำสูงสุด แต่ตัดสินใจโดย DPP หรือ Dewan Pimpinan Parti หรือสภาองค์กรนำที่มีอยู่หลายคน กล่าวคือยังมีคนที่อยู่เหนือขึ้นไปจากฮัซซันอีก

"ฮัซซันเป็นเพียงคนที่รัฐไทยรวมทั้งมาเลเซียเข้าถึงได้เท่านั้น ถ้าหากกระบวนการพูดคุยล้มเหลวหรือนายฮัสซันคนนี้ถูกเล่นงาน เขาก็จะถูกตัดออกไปจากขบวนการทันที เขาก็จะกลายเป็นคนธรรมดา ดังนั้น สถานะของนายฮัสซันจึงมีความเสี่ยงมาก"

แต่ทั้งหมดนี้ก็อยู่ที่พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการ สมช.ว่าจะมีความจริงใจมากน้อยเพียงใด หากมีความจริงใจ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นก็จะหยุดเอง แต่ถ้าไม่จริงใจกระบวนการทั้งหมดก็จะถูกตัดทิ้ง รัฐก็ต้องมาเริ่มใหม่อีกครั้ง ซึ่งไม่รู้ว่าอีกเมื่อไหร่ หรือจนกว่ารัฐไทยจะหาจุดที่สามารถเริ่มกระบวนการพูดคุยต่อไปได้อีกครั้ง

อัศโตรา ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ท่าทีที่แตกต่างระหว่างสายเหยี่ยวกับสายพิราบในบีอาร์เอ็นอีกเรื่องหนึ่งในขณะนี้ก็คือ ระดับของการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ในมุมของฝ่ายพิราบนั้น พวกเขาต้องการให้การเจรจาต่อรองนั้นเป็นเรื่องของรัฐไทยกับประชาชนปาตานี ไม่ใช่เพียงแต่บีอาร์เอ็นเท่านั้น

"ประชาชนในที่นี้ มีที่มาจากหลากหลายกลุ่มในพื้นที่ ซึ่งมีฐานคิดมาจากการมองว่า การต่อสู้ในขณะนี้ไม่ใช่เป็นสงครามกองโจร แต่เป็นสงครามของแนวร่วม (Partisan Warfare) ดังนั้นจึงต้องให้บทบาทกับกลุ่มประชาชนในพื้นที่ที่ไม่ใช่กลุ่มบีอาร์เอ็นได้แสดงบทบาทด้วยเช่นกัน"

พวกเขาคิดว่าบีอาร์เอ็นอาจเป็นเพียงตัวกลางที่ทำให้รัฐกับประชาชนได้พูดคุยกันเท่านั้น หากประชาชนยอมรับให้มีการหยุดยิง ก็จะสามารถหยุดยิงได้จริง แม้ว่าจะมีมือที่สามเข้ามาสร้างสถานการณ์ก็ตาม

"แต่ข้อเสนอนี้ยังมีปัญหาอยู่ เพราะคนที่อยู่ในสายเหยี่ยวต้องการให้เป็นการเจรจาระหว่างรัฐกับคนของขบวนการบีอาร์เอ็นเท่านั้น"

 

มั่นใจไม่ใช่ละครตบตา

อัศโตรา ย้ำว่า ตนมีความมั่นใจว่า การพูดคุยสันติภาพในครั้งนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องการหลอกลวง เพราะมั่นใจในบทบาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นผู้ประสานงานในเรื่องนี้ และมั่นใจว่าทางการมาเลเซียมีความตั้งใจจริงที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

ตนมองว่า หากมาเลเซียไม่มีส่วนช่วยเหลือก็จะประสบกับปัญหาต่อไป มาเลเซียเองต้องการให้เกิดความสงบ รวมทั้งเงื่อนไขที่จะเกิดการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนที่ไม่ต้องการความขัดแย้งแบบนี้ รวมไปถึงท่าทีของสหรัฐอเมริกาที่ไม่ต้องการให้ดินแดนในแถบนี้กลายเป็นแหล่งบ่มเพาะการก่อการร้าย ซึ่งที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาเองก็ทุ่มเทงบประมาณจำนวนมากเพื่อพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ ส่วนประเทศในสหภาพยุโรปเองก็ไม่ต้องการให้มีการใช้กำลังอย่างที่เป็นอยู่เช่นกัน

ส่วนประเด็นที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า การเข้าสู่การพูดคุยของฝ่ายบีอาร์เอ็นนั้นเป็นการบังคับฝืนใจ ซึ่งอาจส่งผลให้การพูดคุยสันติภาพไม่มีความยั่งยืนนั้น อัศโตรา อธิบายว่า เท่าที่เขาทราบ คนที่เข้าร่วมกระบวนการพูดคุยครั้งนี้ไม่ได้ถูกบังคับทุกกลุ่ม

แต่แม้จะมีการบีบบังคับก็ถือเป็นเรื่องที่ธรรมดา เพราะการเริ่มต้นพูดคุยในลักษณะนี้ก็เป็นเหมือนความขัดแย้งในหลายๆ ที่ เช่นในกรณีของอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าต่อจากนี้หากประเทศมาเลเซียและประเทศไทยไม่สร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อให้กับการพูดคุย (conducive) กระบวนการก็จะไม่สามารถทำให้กลุ่มต่างๆ ยอมรับได้ ปัญหาก็จะยังไม่จบ การสู้รบก็จะทำกันต่อไป คนที่ออกมาพูดคุยในครั้งนี้ก็จะตกเป็นแพะรับบาปในที่สุด

"การลงนามในครั้งนี้อาจเป็นการเริ่มต้นที่ไม่ดีเท่าไหร่ แต่ถ้ามีสภาวะที่ดี ที่เอื้อ กระบวนการมันก็เดินไปได้" ผู้สื่อข่าวอาวุโสตั้งข้อสังเกต

 

ออโตโนมี เป็นเรื่องที่ยอมรับได้

ส่วนเงื่อนไขที่ว่าการพูดคุยจะต้องอยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญไทยนั้นส่งผลให้เกิดคำถามในบรรดาผู้ที่เคลื่อนไหวในมาเลเซียหรือไม่อย่างไร อัศโตรา อธิบายว่า คนในขบวนการรู้เรื่องรัฐธรรมนูญไทยเป็นอย่างดี

เท่าที่เขาทราบ คนที่เคลื่อนไหวเหล่านี้รับได้ในเรื่องการปกครองพิเศษตามรัฐธรรมนูญ เพราะเป้าหมายของขบวนการนั้นมี 3 เป้าหมายหลัก เป้าหมายสูงสุด คือ เอกราช เป้าหมายที่สอง คือรวมกับมาเลเซียในฐานะรัฐหนึ่ง ซึ่งเป้าหมายนี้เป็นไปไม่ได้อยู่แล้วในปัจจุบัน

"เป้าหมายที่สาม คือ ออโตโนมี ซึ่งถูกต้องแล้วที่รัฐไทยจะให้ตรงนี้ แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีข้อเสนออะไร คำว่าออโตโนมีไม่ได้หมายความว่าต้องแยกรัฐออกไป แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าคำๆ นี้ยังเป็นคำแสลงสำหรับสังคมไทยเท่านั้นเอง"

อย่างไรก็ตาม อัศโตรา กล่าวด้วยว่า หากฝ่ายขบวนการยังไม่รับรูปแบบดังกล่าว รัฐไทยก็มีกำลังพอที่จะสามารถสู้รบกันไปได้อีกนานเท่านาน ส่วนฝ่ายขบวนการก็ไม่มีปัญหา เพราะสามารถสู้รบกันต่อไปได้เช่นกัน แต่ปัญหาก็จะไม่จบ

ในฐานะนักสังเกตการณ์ อัศโตรา เสนอว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งรัฐไทยและขบวนการจะต้องใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา เพื่อที่จะให้มีการพูดคุยเจรจากันต่อไป โดยต้องไม่คิดว่าเป็นการเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่ง หรือคิดว่าฝ่ายตรงข้ามจะต้องแพ้ แต่ให้เป็นการแก้ปัญหาที่สามารถจะชนะทั้งสองฝ่าย (win - win) แม้ว่าอาจจะต้องใช้เวลานาน

ในขณะเดียวกัน ก็เรียกร้องให้ภาคประชาสังคมมีบทบาทในกระบวนการสันติภาพมากยิ่งขึ้นเนื่องจากเรากำลังเข้าสู่ยุคใหม่ของการแก้ปัญหา ส่วนจะเป็นไปในรูปแบบไหนนั้น ก็จะต้องช่วยกันคิดและร่วมกันทำงาน

อัศโตรายังเตือนสังคมไทยด้วยว่าอย่ามองเรื่องนี้เป็นเรื่องการเมืองเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่เรื่องการเมืองของกรุงเทพเท่านั้นแต่ต้องพยายามมองในมุมบวก เพราะไม่มีใครต้องการให้ปัญหาคงอยู่ตลอดไป แม้แต่ฝ่ายขบวนการเองที่จับอาวุธต่อสู้ พวกเขาก็มีเป้าหมายเพื่อสันติภาพด้วยเช่นกัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวอัฟกานิสถานชุมนุมเรียกร้องให้สหรัฐฯ ถอนทัพหน่วยรบพิเศษในพื้นที่วาร์ดัก

Posted: 17 Mar 2013 06:49 AM PDT

หลังจากที่เกิดกรณีคนหาย 9 คน และข้อกล่าวหาเรื่องการใช้อำนาจในทางที่ผิดของหน่วยรบพิเศษสหรัฐฯ ในพื้นที่เขตปกครองวาร์ดัก ประชาชน 200-300 คน ก็เดินทางมาชุมนุมประท้วงที่กรุงคาบูล ขณะที่ปธน.คาไซ เรียกร้องให้สหรัฐฯ ถอนทัพก่อนหน้านั้นแล้ว

เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2013 ประชาชนผู้อาศัยอยู่ในเขตปกครองวาร์ดัก หลายร้อยคน พากันมาประท้วงที่หน้าอาคารรัฐสภาในกรุงคาบูลประเทศอัฟกานิสถาน เพื่อเรียกร้องให้กองทัพสหรัฐฯ ถอนกำลังหน่วยรบพิเศษออกจากพื้นที่เขตวาร์ดักตามคำสั่งของประธานาธิบดี ฮามิด คาไซ

ผู้กำกับการตำรวจหน่วยสืบสวนอาชญากรรมของกรุงคาบูล เปิดเผยว่า ผู้ประท้วงราว 200-300 คน จากวาร์ดัก ยังได้เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวคนในท้องถิ่น 9 คน ที่พวกเขาเชื่อว่าถูกควบคุมตัวโดยกองทัพสหรัฐฯ

ทางด้าน นายพล โมฮาเม็ด ซาฮีร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของอัฟกานิสถานกล่าวว่าการประท้วงเป็นไปอย่างสงบ แต่ก็มีการตะโกนคำขวัญต่อต้านสหรัฐฯ

เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดี ฮามิด คาไซ ได้เรียกร้องให้มีการถอนกำลังหน่วยรบพิเศษของสหรัฐฯ ออกจากพื้นที่ จากกรณีที่มีการกล่าวหาเรื่องการใช้อำนาจในทางที่ผิด ของกองทัพสหรัฐฯ และ 'กองกำลังนอกแบบ' ของอัฟกันที่ทำงานร่วมกับกองทัพสหรัฐฯ

แถลงการณ์จากทำเนียบประธานาธิบดีเมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมาอ้างว่า กรณีที่ชาวบ้านในพื้นที่ 9 คน "หายตัวไปโดยปฏิบัติการลึกลับของกองทัพที่น่าสงสัย" เมื่อเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว เป็นตัวอย่างหนึ่งในการใช้อำนาจในทางที่ผิด โดยผู้หายสาบสูญทั้ง 9 รายเป็นคนขับรถบรรทุก 7 ราย และเป็นครู 2 ราย

แถลงการณ์ฉบับเดียวกันเมื่อเดือน ก.พ. ยังได้กล่าวถึงอีกเหตุการณ์หนึ่งคือนักเรียนถูกพาตัวจากบ้านในตอนกลางคืนและอีก 2 วันต่อมาพบว่ากลายเป็นศพอยู่ใต้สะพานโดยมีร่องรอยถูกทรมานและถูกปาดคอ

และไม่กี่วันหลังจากที่สั่งให้สหรัฐฯ ถอนกองกำลังพิเศษออกจากพื้นที่วาร์ดัก คาไซก็ให้เวลา 3 เดือนก่อนการบังคับให้กลุ่มกองกำลังนอกแบบของอัฟกันที่ถูกจัดตั้งโดยนาโต้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลเพื่อเป็นการเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบ


เรียบเรียงจาก

Afghans protest US forces in restive province, Aljazeera, 16-03-2013
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

WORK AND LIFE BALANCE: สมดุลระหว่างงานกับชีวิต

Posted: 17 Mar 2013 05:48 AM PDT

ประเด็นความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work and Life Balance) ได้รับความสนใจมากขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก และได้รับการกล่าวถึงทั้งในแวดวงวิชาการ หรือแม้แต่กระทั่งในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป เราก็คงเคยได้รับฟัง หรืออาจได้เคยร่วมวงสนทนากับการตั้งคำถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนฝูงเกี่ยวกับการสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิต

 
ความสุขในชีวิตของคนเรานั้นคืออะไร 
การทำงานหนัก และทุ่มเททั้งชีวิตไปเพื่อการทำงานนั้น นำมาซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตจริงหรือ
คำถามเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายคนสงสัย
และพยายามหาคำตอบ
คนจำนวนไม่น้อยเริ่มค้นพบว่า การสร้างสมดุลระหว่างหน้าที่การงานและชีวิตเราเป็นสิ่งสำคัญ
แม้ว่าจะตระหนักว่า การสร้างสมดุลนั้นมีความสำคัญ
แต่กระนั้นก็ยังมีคำถามตามมา
ความสมดุลนั้นอยู่ตรงไหน….
และเราจะสร้างสมดุลได้อย่างไร….
 
ช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา  ประเด็นความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work and Life Balance) ได้รับความสนใจมากขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก และได้รับการกล่าวถึงทั้งในแวดวงวิชาการ หรือแม้แต่กระทั่งในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป เราก็คงเคยได้รับฟัง หรืออาจได้เคยร่วมวงสนทนากับการตั้งคำถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนฝูงเกี่ยวกับการสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิต
 
ข้อเท็จจริงพื้นฐานก็คือว่าคนเรานั้น ไม่ว่าจะสูงวัยหรือเยาว์วัย จะรวยหรือจะจน สิ่งหนึ่งที่คนเราทุกคนมีเหมือนกัน ก็คือ จำนวนชั่วโมงในแต่ละวันที่มีอยู่ 24 ชั่วโมงเท่ากัน อย่างไรก็ดี แม้ว่าคนเราทุกคนบนโลกใบนี้จะมีเวลาในแต่ละวันเท่ากัน แต่เราก็แบ่งการใช้เวลาของเราไปกับกิจกรรมที่หลากหลายด้วยเวลาที่แตกต่างกัน  การแบ่งหรือจัดสรรเวลานี้เองที่เป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อความอยู่ดีมีสุข (wellbeing) ของคนเรา
 
ความสมดุลระหว่างการงานและชีวิต หมายถึง จุดดุลยภาพระหว่างการทำงานของบุคคลและชีวิตส่วนตัว (ตามคำนิยามของ European Foundation for the Improvement of Living and Working Conditions)   การทำงานที่น้อยเกินไปอาจทำให้คนเรามีรายได้ไม่เพียงพอที่จะอยู่ได้ภายใต้มาตรฐานการครองชีพหนึ่งๆ  ในขณะที่ การทำงานที่มากเกินไปก็อาจเกิดผลในทางลบของคนได้ ทั้งผลต่อด้านสุขภาพหรือชีวิตส่วนตัว ดังจะเห็นได้ว่าในประเทศญี่ปุ่นมีการบัญญัติถึงปรากฎการณ์ที่คนทำงานหนักจนตายมาแล้ว หรือที่เรียกว่าโรคคาโรชิ (ทั้งที่ในอดีต คนญี่ปุ่นไม่ได้ทำงานหนักขนาดนี้)  การสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของความอยู่ดีมีสุขของคนเราเลยทีเดียว
 
สำหรับครอบครัวหนึ่งๆ แล้ว การสร้างสมดุลระหว่างหน้าที่การงาน ความสัมพันธ์ในครอบครัว ชีวิตส่วนตัวเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากต่อความอยู่ดีมีสุขสำหรับสมาชิกในครัวเรือน และยังส่งผลต่อเนื่องถึงสังคมโดยรวมอีกด้วย โดยเฉพาะหากสามารถจัดสรรเวลาที่เพียงพอในการเข้าสังคมและการมีส่วนร่วมในชุมชน
 
ในทางวิชาการเองก็ได้มีความพยายามอธิบายในเรื่องราวการสร้างสมดุลของชีวิตเช่นกัน โดยในรายงานการศึกษาของ OECD  (2011a) ได้นำเสนอดัชนีชี้วัดเพื่ออธิบายถึงการใช้เวลาของคนเราระหว่างการทำงาน การใช้เวลากับครอบครัว การสื่อสาร การพักผ่อน และการดูแลเรื่องส่วนตัว  การสร้างสมดุลระหว่างกิจกรรมการทำงานและกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการงานนั้นได้รับความสนใจและเกิดการเปลี่ยนแปลงไปมากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับประโยชน์ที่ได้จากการพักผ่อนและการลดเวลาทำงานลงมากยิ่งขึ้น
 
การให้ความสนใจกับการสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวที่มีมากขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากแนวโน้มด้านประชากร สังคม และเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการที่ผู้หญิงทำงานนอกบ้านมากขึ้น หรือคนทำงานมีอายุเฉลี่ยมากขึ้น
 
ในประเด็นเรื่องเพศนั้น แม้ว่าเพศหญิงจะทำงานนอกบ้านมากขึ้น แต่ภาระหน้าที่การทำงานภายในครอบครัว ก็ยังมีการกระจายงานภายในครอบครัวโดยได้รับอิทธิพลเรื่องเพศแบบเดิมอยู่ โดยผู้ชายมีแนวโน้มที่จะทำงานเป็นเวลานานจากการทำงานที่ได้รับเงินเป็นค่าตอบแทน (paid work) ในขณะที่ผู้หญิงยังคงต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อไปในงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน (unpaid work) ที่บ้าน  ในขณะที่ความไม่สมดุลทางเพศยังคงถูกกำหนดโดยปัจจัยเชิงวัฒนธรรมอีกด้วย
นอกจากนี้ ความอยู่ดีมีสุขของเด็กก็เป็นเรื่องที่ได้รับผลกระทบจากการจัดสรรเวลาที่ไม่เหมาะสมของผู้ปกครองเช่นกัน โดยกลุ่มเด็กได้รับผลกระทบจากการที่พ่อแม่ผู้ปกครองของตนเองทำงานหนักและมีเวลาให้กับเด็กๆ น้อยเกินไป  ทั้งที่การดูแลเด็กของพ่อแม่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเล็ก
 
การวัดความสมดุลระหว่างงานและชีวิต
 
การวัดสมดุลชีวิตการทำงานเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก  เพราะการแบ่งแยกระหว่างคำว่า "มากเกินไป" และ "น้อยเกินไป" จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละคนจะให้ค่าลำดับความสำคัญกับสถานการณ์ของแต่ละครอบครัวที่แตกต่างกัน นอกเหนือจากการจัดสรรเวลาในการจัดกิจกรรมต่างๆ แล้ว   ปัจจัยสำคัญคือการดูว่าคนมีประสบการณ์  "time crunch"  หรือ ความรู้สึกเครียดที่มีเวลาไม่เพียงพอในการต้องทำสิ่งต่างๆ ในแต่ละวันหรือไม่  มากน้อยแค่ไหน   การวัดความสมดุลของชีวิตการทำงานในทางวิชาการมักมาจากผลการสำรวจการใช้เวลา การสำรวจเหล่านี้ให้รายละเอียดแสดงภาพว่าคนใช้เวลาของเขาในกิจกรรมที่แตกต่างกันอย่างไร 
ดัชนีชี้วัดที่ใช้กันทั่วไปคือ
 
•           ชั่วโมงทำงาน
•           เวลาสำหรับการพักผ่อนและการดูแลส่วนบุคคล
•           เวลาในการเดินทาง
•           ความพึงพอใจกับการจัดสรรเวลา
•           อัตราการจ้างงานของมารดาที่มีเด็กอยู่ในวัยเรียนภาคบังคับ
 

 

 
The quality of work-life balance indicators
 
 
จากการสำรวจ OECD พบว่า ในประเทศส่วนใหญ่ที่ทำการสำรวจมีเพียพนักงานไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ทำงานเป็นเวลานานเกินไป (มากกว่า 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) โดยแม้ว่าสัดส่วนของพนักงานประจำทำงานมากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์มีจำนวนมากอย่างมีนัยสำคัญ แต่สัดส่วนของคนทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมง มีขนาดไม่มากนัก มีขนาดไม่มากนัก โดยประเทศตุรกี ถือเป็นประเทศที่มีสัดส่วนคนทำงานที่ทำงานเป็นเวลานานมากกว่า 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์สูงถึงเกือบครึ่งหนึ่งของพนักงานรวม    ตามด้วยประเทศเม็กซิโกและอิสราเอล ที่มีคนทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ประมาณหนึ่งในห้าของคนทำงานทั้งหมด
 
Percentage of employees working 50 hours or more per week
 
 
Sources: OECD Labour Force Statistics database; and Swiss Federal Statistical Office.
 
ในประเทศกลุ่ม OECD คนทำงานใช้เวลาต่ำกว่า 15 ชั่วโมงต่อวันเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและชีวิตส่วนตัว  (หมายถึงทำงานอย่างน้อย 9 ชั่วโมงต่อวัน)  โดยในทุกประเทศ คนส่วนใหญ่ได้ใช้เวลาเพื่อชีวิตส่วนตัวมากกว่าการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าแปลกใจ เพราะคนเราต้องมีการนอนเฉลี่ยประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มที่จะใช้เวลาในการรับประทานอาหารอย่างเดียว
 
ประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน  นอกจากนี้จากการสำรวจในกลุ่ม OECD พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว คนทำงานใช้เวลาประมาณ 38 นาทีต่อวัน ในการเดินทาง (ในขณะที่คนกรุงเทพต้องเดินทางมากกว่า 1-2 ชั่วโมงต่อวัน) ทั้งนี้ในประเทศกลุ่มยุโรป  กว่าสามในสี่ของคนทำงานไม่พอใจกับบางแง่มุมของสมดุลชีวิตการทำงานของพวกเขา
 
Time devoted to leisure and personal care
Hours per day, persons in full-time employment
 
 
โดยสรุป ความสมดุลของงานและกิจกรรมที่ไม่ใช่งานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากช่วงทศวรรษที่ผ่านมา  โดยในปัจจุบันมีการคำนึงถึงความสุขหรือประโยชน์จากการพักผ่อนและการลดชั่วโมงทำงานโดยรวมลงมากยิ่งขึ้น ที่ทำงานแบบใหม่ๆ เลยให้คุณค่ากับความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตมากขึ้น บางแห่งไปไกลถึงขนาดให้ความสำคัญของความยืดหยุ่นในการทำงาน (Work-Life Flexibility) ที่ทำให้คนทำงานสามารถเลือกและค้นจุดสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวได้ตลอดเวลา เช่น เราอาจขอลาหยุดไปปฏิบัติธรรม หรือเดินทางท่องโลกได้ช่วงหนึ่ง หรือสามารถใช้ที่ทำงานในการทำงานอย่างหนักในบางช่วง โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมสรรพ โดยไม่จำเป็นต้องทำงานแบบ 9.00 – 5.00 อันเป็นมรกดตกค้างของวิธีคิดหลังปฏิวัติอุตสาหกรรมมาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับโลกยุคหลังที่เน้นการทำงานโดยใช้ความรู้และการให้ค่ากับสิทธิของมนุษย์
 
หากเราต้องการให้ "ความอยู่ดีมีสุข" (Wellbeing) เป็นเป้าหมายทั้งในส่วนบุคคลและประเทศชาติ เราคงต้องคิดกันให้มากขึ้นถึงระบบการทำงานในปัจจุบัน การจัดสรรเวลาของคน สวัสดิการในการทำงาน ความยืดหยุ่นในการทำงาน เวลาที่เสียไปกับเรื่องไร้สาระและการเดินทางที่ยาวนานเกินไป และอีกหลายๆ มิติในชีวิตการทำงาน    เพราะรากฐานของการพัฒนาประเทศก็อยู่ที่การที่คนแต่ละคนสามารถทำงานได้เต็มศักยภาพ อย่างมีความสุข และมีเวลามากพอสำหรับการใช้ชีวิตส่วนตัวเพื่อพักผ่อน เรียนรู้ เดินทาง และสร้างสรรค์ชีวิตอย่างรื่นรมย์ตามวิถีทางของแต่ละคน ประเทศที่น่าอยู่คงไม่ใช่ประเทศที่ทำงานหนักเกินไปหรือทำงานน้อยเกินไป แต่น่าจะเป็นประเทศที่เอื้อให้เราทำงานได้อย่างชาญฉลาด และมีโอกาสได้ใช้เวลาอย่างเหมาะสม ให้คุ้มค่ากับการได้ "เวลา" ที่มาเป็นของขวัญคนละ 24 ชั่วโมงต่อวันอย่างเท่าเทียมกัน
 
 
เอกสารอ้างอิง
OECD  (2011a) HOW'S LIFE? MEASURING WELL-BEING 2011, OECD Publishing, Paris.
OECD (2011b), Doing Better for Families, OECD Publishing, Paris.
 
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิธิ-วรเจตน์ : มากกว่าแก้ กม. ต้องแก้โครงสร้าง-วัฒนธรรมวงการตุลาการ

Posted: 17 Mar 2013 05:02 AM PDT

'วรเจตน์' เสนอมากกว่าแก้กฎหมาย ต้องแก้โครงสร้าง วัฒนธรรม และอุดมการณ์ผู้พิพากษาตุลาการ 'นิธิ' เสนอปฏิรูปความเชื่อสังคมไทยเรื่องผู้เชี่ยวชาญ


(17 มี.ค.56) ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการเสวนา หัวข้อ ศาล ในฐานะกลไกของระบอบ... ? ร่วมเสวนา โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติราษฎร์ ดำเนินรายการโดย พวงทอง ภวัครพันธุ์
 

วรเจตน์ : มากกว่าแก้กฎหมาย ต้องแก้โครงสร้าง วัฒนธรรม และอุดมการณ์ผู้พิพากษาตุลาการ

การมาร่วมงานในวันนี้ น่าจะเป็นการจัดงานที่พูดถึงเรื่องศาลและระบบยุติธรรมในเมืองไทยที่ชัดเจนที่สุด ไฮไลท์ของงานอยู่ที่รายการท้ายสุด คือ จดหมายเปิดผนึกจากอดีตรองประธานศาลฎีกา เรื่องนี้สำคัญมากๆ และจะอยู่ในประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งในอนาคต

เรื่องศาลกับกลไกใน "ระบอบ..." ผู้พิพากษาอาจมานั่งฟังทัศนะของนักวิชาการว่าวิจารณ์อย่างไร ขอเรียนว่าเป็นเรื่องธรรมดา ในทางกลับกันถ้าผู้พิพากษาศาลต่างๆ จะวิจารณ์นักวิชาการ ผมก็ยินดี มันเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในระบอบประชาธิปไตย

เป้าหมายเราในวันนี้ไปอยู่ที่ผู้พิพากษาที่มีอุดมการณ์ขัดกับระบอบประชาธิปไตยหรือไม่

ปัญหาสำคัญอันหนึ่ง ก่อนหน้านี้เราพูดถึงปัญหาการใช้ การตีความกฎหมาย มาตรา 112 คำถามอันหนึ่งที่ผุดมา คือ ทำไมจึงเกิดแนวตีความแบบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลัง 19 กันยา 2549 อะไรผลักดันให้ศาลมีบทบาททางการเมืองอย่างมากอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน การจะตอบคำถาม ไม่อาจมองศาลแบบสถิตหยุดนิ่งในปัจจุบัน แต่ต้องมองย้อนไปทั้งระบบรวมถึงการศึกษานิติศาสตร์ ได้คำตอบแล้วยังต้องทำต่อว่าทำอย่างไรจะเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์เช่นนี้

เวลาใครเป็นจำเลย ศาลเป็นคนกลางในการตัดสินคดี ต้องมีการยุติของคดี จำเลยอาจหลั่งน้ำตาได้ในการฟังคำพิพากษาของศาล แต่ต้องหลั่งน้ำตาโดยจำนนในเหตุผลที่ศาลให้ ไม่ใช่หลั่งน้ำตาเพราะความคับแค้นในความอยุติธรรม

บทบาทของศาลหลัง 19 กันยา 2549 เราพบคำพิพากษา-วินิจฉัย จำนวนหนึ่งที่ถูกวิจารณ์อย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในวงวิชาการ สภาพแบบนี้ย้อนกลับไปดูจะพบว่า ไทยทำรัฐประหารหลายหน แต่ไม่มีครั้งใดเลยที่ กระบวนการยุติธรรมไปผูกโยงกับรัฐประหารด้วย เพราะโลกเปลี่ยนแปลง การใช้กำลังทหารอย่างเดียวไม่อาจบรรลุผลให้คนยอมรับ องค์กรที่ทรงพลานุภาพอีกองค์กรจึงต้องรับภารกิจอันนี้มา ศาลอาจไม่เต็มใจรับภารกิจอันนี้ แต่เราปฏิเสธไม่ได้ว่า ในการตัดสินคดี เมื่อคณะรัฐประหารสิ้นอำนาจแล้ว ก็ปฏิเสธไม่ใช้กฎหมายของคณะรัฐประหารได้ แต่ศาลก็ยังใช้

มันไม่ใช่ปัญหาในระดับปกติธรรมดา แต่เป็นปัญหาระดับอุดมการณ์ ทัศนะ ดำรงอยู่ในวงการกฎหมาย วิชาชีพกฎหมาย ในหมู่ผู้พิพากษา ตุลาการ

ย้อนไปช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลายท่านอาจไม่ได้คิดว่าเปลี่ยนอะไรบ้าง เปลี่ยนฝ่ายนิติบัญญัติ เปลี่ยนฝ่ายบริหาร แต่ไม่ได้เปลี่ยนตุลาการเลย รับโครงสร้างเดิมเข้าสู่ระบอบใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย เพราะบทบาทของศาลไทยเมื่อก่อนอยู่ในข้อพิพาทของเอกชนกับเอกชน ไม่ได้สนใจสำหรับสาธารณะ ถึงมีการวิจารณ์ก็น้อยมาก ไม่เคยมีการตรวจสอบการทำงานของศาลอย่างจริงจัง เป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากในวงการกฎหมาย คนเกรงว่าจะเป็นการดูหมิ่นศาลถ้าวิจารณ์ ศาลก็มีข้ออ้างสำคัญว่าตัดสินในพระปรมาภิไธย ซึ่งไม่ถูกต้อง

การไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของศาลนั้นเป็นแค่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งคือ วัฒนธรรมที่ฝังรากในผู้พิพากษาไทย ใครเคยอ่านคำฟ้อง คำร้องของศาล จะพบคำลงท้ายว่า "ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด" หมายความว่า เป็นคำที่รับต่อมา การให้ความยุติธรรมจึงเป็นเรื่องที่แล้วแต่จะโปรด การเรียกขานศาลในอดีต มีการเรียกใต้เท้า แต่ปัจจุบันไม่ค่อยมี การไม่เปลี่ยนรากฐานแบบนี้ มันส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดต่อคนในวงการตุลาการ เสนอให้เปลี่ยนเป็น "จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาพิพากษาไปตามกฎหมายและความยุติธรรม"

ทำไมเป็นแบบนี้ ทำไมความคิดนี้ฝังอยู่ เวลาศาลสร้างบัลลังก์ของศาล เวลาท่านยื่นเอกสาร คนตัวเล็กต้องเอื้อมจนสุดแขน ทั้งที่ความจริง ระบอบประชาธิปไตย ศาลเป็นเพียงองค์กรหนึ่งที่ใช้อำนาจซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วเป็นของประชาชน ไม่ใช่อำนาจอื่นใดเลย แต่ความรู้สึกนึกคิดแบบนี้ไม่เป็นที่ตระหนักในหมู่ผู้พิพากษา เห็นได้จากการอบรมบ่มเพาะในวิชาชีพ ยกตัวอย่าง ทุกวันที่ 7 ส.ค.ของทุกปี เป็นวันรำลึกถึงพระบิดาแห่งกฎหมายไทย จะมีการวางพวงมาลาที่รูปปั้นของพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ รุ่นพี่ก็จะบอกรุ่นน้องให้ไปร่วมงานนี้ ไม่อย่างนั้นอาจจะสอบตก ผมไม่เคยร่วมงานนี้ และไม่เคยสอบตก ที่พูดเพื่อชี้ให้เห็นว่ามีการปลูกฝังความคิดแบบนี้ในหมู่นักศึกษา สมัยก่อนคนสอนกฎหมายก็เป็นผู้พิพากษาเท่านั้น เขาก็รับเอาทัศนะ วิธีคิด แบบตุลาการมาสอนในวงวิชาการ ถูกจำกัดกรอบอยู่ในวิธีคิด แบบศาลเป็นใหญ่ วันนี้เวลาจะวิจารณ์ศาล ผู้พิพากษา อาจารย์ผู้ใหญ่บางคนจึงมองอย่างไม่เข้าใจ ทำไมไม่มีครู เป็นคนเนรคุณ

เวลาเราพูดเรื่องนี้ว่า ศาลตัดสินคดีแบบนี้ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม ตีความแบบนี้ คำพิพากษามีเหตุมีผล แต่จะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงแนวทางในการใช้กฎหมายของผู้พิพากษา ตราบเท่าที่อุดมการณ์ที่ใช้กฎหมายยังดำรงอยู่
ข้อเรียกร้องแก้มาตรา 112 รวมถึงยกเลิกก็ตาม เป็นข้อเรียกร้องที่เพียงแต่บรรเทาปัญหา  เพราะหากตัวอุดมการณ์การตีความกฎหมายไม่เปลี่ยน เขาก็จะพยายามตีความเพื่อรับใช้ระบอบที่แปลกปลอมไปจากอุดมการณ์ประชาธิปไตยจนได้

มันไม่ใช่แค่เปลี่ยนกฎหมาย ได้รัฐธรรมนูญ เปลี่ยนโครงสร้างของศาล แต่ต้องมากไปกว่านั้น ต้องสะท้อน ทำให้อุดมการณ์ประชาธิปไตยฝังลงในสำนึกของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายทุกคน ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพที่เกิดขึ้นได้

ยกตัวอย่าง การปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหามาตรา 112 ถ้าไปอ่านคำที่ศาลปฏิเสธการปล่อยตัวชั่วคราว ที่ว่า คดีโทษสูง คดีสะเทือนใจประชาชน ขณะที่รัฐธรรมนูญรับรองสิทธิปล่อยตัวชั่วคราว สิทธิในรัฐธรรมนูญผูกพันองค์กรของรัฐในการใช้และตีความกฎหมายทั้งปวง แต่ตัวบทแบบนี้มันเป็นหมัน เป็นตัวบทที่ตาย ตราบเท่าที่อุดมการณ์ที่ใช้และกำกับการตีความของผู้พิพากษา ยังไม่เป็นไปตามประชาธิปไตยและนิติรัฐ

ถามว่าเปลี่ยนอย่างไร เป็นคำถามที่ตอบได้ยากมาก หลังปี 2540 คงทราบว่า มีการเอาหน่วยธุรการที่แต่เดิมขึ้นกับฝ่ายบริหารไปไว้กับตุลาการ ตัวประธานศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด ยังทรงอำนาจการบริหารหน่วยธุรการด้วย เพราะเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของราชการ ระบบถ่วงดุลอำนาจที่เคยวางไว้ว่าฝ่ายธุรการอยู่กับบริหาร ศาลทำหน้าที่แค่ตัดสินคดีไป เปลี่ยนแปลงนี้อาจไม่เสียหายมากนัก ถ้าอำนาจศาลเชื่อมโยงหลักการประชาธิปไตย แต่เมื่อไม่เชื่อมศาลจึงมีอำนาจสูงมาก

ช่วงหนึ่งมีการปรับเงินเดือนผู้พิพากษาใหม่ มันสะท้อนรูปการจิตสำนึกแบบใหม่ ผู้พิพากษาตุลาการยกระดับขึ้นกลายป็นอีกชนชั้นหนึ่ง ด้วยเงินเดือนที่แตกต่างกับข้าราชการอื่นๆ แล้วใครอยากจะเปลี่ยน การมุ่งหวังให้เกิดการปลี่ยนแปลงจากภายในจึงเป็นเรื่องยาก เปลี่ยนจากภายนอกก็ไม่ง่าย เมื่อสิ่งเหล่านี้ก่อร่างสร้างตัวเป็นระบบกฎหมายแล้ว ท่านเหนื่อย จะเจอแรงต้าน หาว่าแทรกแซงอำนาจตุลาการ แต่การปรับเปลี่ยนนี้จำเป็นอย่างยิ่ง หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อให้ตัวอุดมการณ์เปลี่ยนด้วย แต่ก็ทำเชิงโครงสร้างอย่างเดียวไม่พอ ต้องทำในการอบรมบ่มเพาะด้วย แต่การฝ่าเรื่องนี้ไม่ง่าย

หลายคนบอกว่าปัญหาอาจไม่ใช่ปัญหาในเชิงอุดมการณ์อย่างเดียว เป็นเรื่องความรู้ความสามารถของผู้พิพากษาตุลาการบางท่านด้วย อาจเป็นความคิดว่า ชนชั้นผู้พิพากษาเป็นชนชั้นบริสุทธิ์ ไม่ควรถูกตรวจสอบโดยประชาชนธรรมดาที่ไม่เชี่ยวชาญกฎหมาย สะท้อนให้เห็นจากอดีตผู้พิพากษา ซึ่งเป็นกรรมการ ป.ป.ช. เคยกล่าวในที่สัมมนาว่า ผู้พิพากษาเกือบจะเป็นพระอรหันต์อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องถูกตรวจสอบ

เราจะออกจากโครงสร้างแบบนี้ได้อย่างไร การพยายามแก้กฎหมาย เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่มันไม่พอ ผมคิดว่าการเปลี่ยนความคิด วัฒนธรรมที่ฝังอยู่ในวงการตุลาการเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ ถ้าท่านเปลี่ยนตรงนี้ได้ แม้ตัวบทกฎหมายเป็นอย่างที่มันเป็นอยู่ แต่ผู้พิพากษามีจิตใจที่เป็นประชาธิปไตย เคารพหลักนิติรัฐ เขาสามารถตีความกฎหมยได้ ใช้ศิลปะในการตีความกฎหมาย เพื่ออำนวยความยุติธรรมได้ แม้ตัวกฎหมายจากรัฐสภายังบกพร่องอยู่ แต่ถ้าอุดมการณ์เป็นแบบนี้ เขาก็จะใช้และตีความไม่สอดคล้องกับประชาธิปไตย

ในศาลก็สะกดให้คนกลัว ไม่กล้าวิจารณ์ ระเบียบวิธีปฏิบัติ การออกแบบศาล ไม่ใช่วัตถุประสงค์รักษาความสงบในศาลซึ่งจำเป็น แต่เป็นการสะกดไว้ ไม่ให้หือกับอำนาจตุลาการ สิ่งเหล่านี้จะต้องเปลี่ยนแปลงทั้งหมด

ศาลรัฐธรรมนูญเคยตัดสินคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย ในเดือน ธ.ค.ที่มีการยึดสนามบิน ไม่นานนี้ ประธานศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าที่ตัดสินแบบนั้นเพราะเกรงว่าบ้านเมืองจะเกิดความวุ่นวาย ถามว่าท่านไม่ต้องสนใจใช่ไหมว่ากฎหมายเขียนอย่างไร จำเลยทำผิดต้องตรงตามกฎหมายหรือไม่ ดูแค่นั้นใช่ไหม แบบนี้หรือที่เรียกว่าให้ความยุติธรรมกับคนที่เป็นคู่ความในคดี

บางคดี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกมายอมรับว่า การทำงานของศาลมีความผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น นำข้อกฎหมายขึ้นก่อนข้อเท็จจริง แต่นั่นไม่สำคัญ ที่สำคัญมากคือ เวลามีการตัดสินคดี มีฝ่ายธุรการร่างคำพิพากษามา และร่างมาหลายๆ แนว เมื่อร่างแล้วเอาเข้าที่ประชุม แล้วผู้พิพากษาตุลาการจะเลือก มีที่ไหนที่ดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วใช้ลักษณะแบบนี้ ทำแบบนี้เท่ากับคุณจะออกซ้ายก็ได้ ขวาก็ได้ เพราะเตรียมคำวินิจฉัยหลายแนวทางแล้ว ทั้งที่จริงต้องประชุมปรึกษากัน มีตุลาการรับผิดชอบทำสำนวนให้องค์คณะพิจารณาดีเบตกัน

ปัญหาที่เราเห็นในระบบศาลไทย มันจึงมากไปกว่าที่สะท้อนให้เห็นผ่านผลคำพิพากษาบางคดี ที่มากไปกว่านั้นคือ ผู้พิพากษา อุดมการณ์ที่กำกับการใช้และตีความกฎหมายของผู้พิพากษา ต้องแก้ตรงนี้และปรับเปลี่ยนโครงสร้างตุลาการ เมื่อไรที่ศาลรู้สึกยึดโยงประชาชน เมื่อนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมภายในองค์กร เปลี่ยนวิธีปฏิบัติในองค์กร คนรุ่นใหม่ๆ ก็จะซึมซาบวิธีแบบใหม่ มีความคิดรับใช้อุดมการณ์ประชาธิปไตย นิติรัฐ ปัญหาก็จะหมดไป

ต่อกรณีที่นิธิเสนอให้โรงเรียนกฎหมายปฏิรูปตนเองด้วยว่า จากสถานการณ์ที่พบเห็นอยู่ ตอบได้เลยว่า เขาไม่พร้อมปฏิรูปตัวเอง ผมคิดว่าคนประกอบวิชาชีพกฎหมาย เขาตัดสินไป บางทีอาจไม่รู้สึกเลยว่าขัดกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยหรือไม่ นี่เป็นเรื่องยากมาก วันนี้เรากำลังส่งเสียงไปยังผู้พิพากษาตุลาการทุกคนว่า ท่านเป็นผู้พิพากษาตุลาการในระบอบประชาธิปไตย ถ้าศรัทธาระบอบการปกครองอื่น ไม่สามารถใช้กฎหมายปัจจุบันไปตัดสินคดีได้ ต้องออกจากระบอบประชาธิปไตยนิติรัฐ

หลังๆ พูดเรื่องปัญหาอุดมการณ์มากเป็นพิเศษ ขอเล่าเรื่องให้ฟังว่า ประวัติศาสตร์เยอรมัน เปลี่ยนระบอบการปกครองในปี 1918 จากระบอบกษัตริย์เป็นประธานาธิบดี เกิดรัฐธรรมนูญ 1919 ต่อมาปี 1923 เกิดกบฏ คนหนึ่งที่เป็นผู้นำยึดอำนาจ ชื่อว่า อดอร์ฟ ฮิตเลอร์ โดยความพยายามทำรัฐประหารนั้นล้มเหลว เขาถูกจับ แล้วนำตัวขึ้นศาล พูดกันตามมาตรฐานทั่วไป ตามกฎหมาย ฮิตเลอร์ต้องถูกลงโทษอย่างน้อยสุดคือ จำคุกตลอดชีวิต เพราะได้กระทำอาชญากรรมที่รุนแรงที่สุดคือ ล้มล้างอำนาจรัฐ แต่ในการพิพากษา ผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีมาจากระบอบเดิม เขาเป็นพวกกษัตริย์นิยม รับไม่ได้ที่เยอรมันเปลี่ยนระบอบ ผู้พิพากษาปล่อยฮิตเลอร์ โดยแถลงคดีในศาลยืดยาวมากๆ โหมความรักชาติมาพูด สุดท้ายเขาตัดสินว่า ที่ฮิตเลอร์ทำไปทั้งหมด เป็นการ "ตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน" แล้วฮิตเลอร์ถูกลงโทษสถานเบา นำตัวไปกักกัน ไม่กี่เดือนก็พ้นโทษ ยังผลให้อีกหลายปีต่อมาขึ้นครองอำนาจได้ ผู้พิพากษาที่ตัดสินได้ถูกโปรโมตเป็นท่านผู้นำในการเมืองเยอรมัน
จะเห็นว่า กฎหมายเปลี่ยนแล้ว แต่ผู้พิพากษากลับชอบอีกระบอบ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ

ในวงนิติศาสตร์ มีทฤษฎีหนึ่งว่า อำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของกษัตริย์กับประชาชนร่วมกัน ยามใดเกิดรัฐประหาร อำนาจอธิปไตยจะกลับคืนสู่กษัตริย์แต่เพียงพระองค์เดียวทันที ความคิดแบบนี้ครอบงำวงการกฎหมาย ทำให้อุดมการณ์ในการใช้และตีความกฎหมายเป็นอย่างที่เราเห็น เราไม่มีทางอื่น นอกจากต่อสู้ส่งเสียงให้เกิดการปรับเปลี่ยนอุดมการณ์เหล่านี้ ไม่ทราบว่าต้องใช้เวลาอีกแค่ไหน การถอดรื้ออุดมการณ์แบบนี้เป็นเรื่องยาก แต่ถ้าต้องการให้ประเทศ เป็นประชาธิปไตย ให้ผู้พิพากษาเกาะเกี่ยวราษฎร และตัดสินคดีตามกรอบประชาธิปไตย เราไม่มีทางเลือกอื่น



นิธิ : ปฏิรูปความเชื่อสังคมไทยเรื่องผู้เชี่ยวชาญ

"ศาล ในฐานะกลไกของระบอบ... ?" เป็นหัวข้อสำคัญมาก เกินความรู้ความสามารถ แต่เราก็ต้องมาคุยกัน ในเมืองไทยมักเข้าใจว่าความยุติธรรมลอยมาจากฟ้า มีของมันอยู่แล้ว แล้วศาลเป็นคนไปเรียนรู้และหยิบความยุติธรรมมาตัดสินคนนู้นคนนี้ นี่เป็นเรื่องโกหกทั้งเพ ความยุติธรรมในโลกนี้ไม่ได้อยู่ลอยๆ แต่มันขึ้นกับว่าคุณตีความมันตามระบอบอะไร หลายคำพิพากษาที่เรารู้สึกตะขิดตะขวงใจหรือขยะแขยง ถ้าย้อนกลับไปในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถือว่ามีเหตุมีผลเลย และยุติธรรม แต่หากเอามาใช้ในระบอบประชาธิปไตยจะมีปัญหาทันที

ขอนอกเรื่อง ตอนตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์ อยากได้นักกฎหมายจำนวนมาก นักกฎหมายที่ไม่ใช่ช่างตัดผม ระบอบใหม่ต้องมีนักกฎหมายที่เข้าใจหลักการประชาธิปไตย ไม่ใช่แบบเก่าที่ถูกฝึกให้เป็นช่างตัดผมที่ชำนาญในรูปทรงของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่คณะราษฎรก็มีกำลังน้อย ไม่สามารถทำได้ แต่ก็มีการเชิญผู้พิพากษาฝรั่งเศสมาสอนที่นี่ด้วย สอนภาษาฝรั่งเศส มีถนัด คอมันตร์ ฟังแล้วแปลเป็นไทยเพื่อขายให้นักศึกษา เมอซิเออร์ เอกูต์ บรรยายกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยไม่ได้อธิบายมาตรา แต่อธิบายหลักการสำคัญ เมื่อประยุกต์ใช้กฎหมายแล้วแปลว่าอะไร

ยกตัวอย่างเช่น  วิธีอธิบายว่า ทำไมใช้กฎหมายย้อนหลังไม่ได้ เอกูต์บอก ถ้าใช้กฎหมายย้อนหลังเมื่อไหร่ หลักเสรีภาพที่ประกันไว้ในรัฐธรรมนูญจะเป็นศูนย์ เพราะคุณไม่มีทางรู้ว่าเสรีภาพในวันนี้จะมีปัญหาในวันหน้าหรือไม่  คำอธิบายเรื่องนี้ทำได้หลายอย่าง แต่ถ้าต้องการฝึกนักกฎหมายที่อยู่ในกรอบความคิดประชาธิปไตย ต้องอธิบายให้ได้ว่ากระทบสิทธิเสรีภาพคนอย่างไร สุดท้าย เอกูต์ก็ไม่ถูกจ้างอีกต่อไป

ในแง่นี้ถ้าจะพูดประเด็นนี้ต้องไล่ถึงโรงเรียนกฎหมายในเวลานี้เลย  โรงเรียนกฎหมายพร้อมปฏิรูปตัวเองที่จะกลับมาฝึกและสร้างนักกฎหมาย ตั้งแต่ทนายความถึงผู้พิพากษาผที่เคารพและอ่านกฎหมายจากกรอบของประชาธิปไตยไหม และเข้าใจชีวิตในโลกประชาธิปไตย

กลับเข้าเรื่อง ศาลในฐานะกลไกของระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ระบอบห่าเหวอะไรก็ได้ อย่างที่เราเรียนหน้าที่พลเมือง มันเป็นหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตย ต้องถามว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของใคร ต้องขีดเส้นใต้หลายเส้นว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน  ศาลจึงไม่ได้ลอยอยู่เฉยๆ แต่เรามักคิดว่า ศาลเป็นผู้เชี่ยวชาญ ศาลต้องมาจากประชาชน ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม หลายประเทศในโลก ศาลไม่ได้ปิดประตูห้องแล้วแต่งตั้งอธิบดีศาลกันอัตโนมัติ อย่างน้อยต้องให้สภารับรอง เราไม่ต้องการให้ผู้พิพากษาไปประจบนักการเมือง เล่นการเมือง ท่านต้องเป็นอิสระ แต่มันมีวิธีการในหลายประเทศที่จะให้ศาลอิงกับอำนาจประชาชน แต่พอแต่งตั้งแล้วเขาจะเป็นอิสระ เช่น ศาลสูงของสหรัฐฯ ต้องได้รับการรับรองจากวุฒิสภา แต่พอรับรองแล้วเป็นจนตาย นักการเมืองจะมาใช้อิทธิพลบังคับการวินิจฉัยของศาลสูงอเมริกันไม่ได้

ถ้าเราพยายามจะสร้างกลไกต่างๆ ที่จะทำให้ผู้พิพากษาอิสระในการทำงาน แต่ไม่ใช่หลุดลอยจากประชาชน ไม่อย่างนั้นก็ไม่ได้เป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยของประชาชน จะสร้างกลไกการต่อรองกันระหว่างสภาและที่ประชุมผู้พิพากษาอย่างไรก็สร้างไป แต่ต้องอิงอำนาจประชาชน แต่เมืองไทยชอบคิดว่า ศาลคือนักตัดผมที่เก่งที่สุดด้านกฎหมาย เป็นที่ประชุมที่ตัดสินของผู้เชี่ยวชาญที่ลอยมาจากไหนไม่ทราบ อาศัยสถานะผู้เชี่ยวชาญ ตัดสินชีวิตคนได้ ความคิดเรื่องผู้พิพากษาเป็นผู้เชี่ยวชาญสูงสุด เป็นความคิดที่มีเสน่ห์มาก เราถูกสอนให้ดูถูกรังเกียจนักการเมือง แล้วสร้างอะไรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ แล้วลอยมาจากไหนไม่ทราบ มาคุมคนที่เราเลือกเข้าไป รัฐธรรมนูญ 50 ชัดเจนว่าสร้างเทวดาหลายกลุ่มเข้ามาแทรกแซง ความคิดนี้มีอยู่ในวัฒนธรรมไทยพอสมควรไม่เฉพาะในกลุ่มผู้ร่างรัฐธรรมนูญ

อัยการเวลานี้ก็เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการฟ้องร้องคดี องค์กรอิสระจำนวนมากก็เช่นกัน แม้แต่มหาเถรสมาคมก็เป็นคนแก่จำนวนหนึ่งที่เป็นพระมานาน แล้วก็คุมชีวิตของพระเป็นแสนรูป เราเชื่อว่าท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญเลยมีอำนาจ

อำนาจของผู้เชี่ยวชาญเป็นอำนาจที่น่ากลัวที่สุด เราจะจัดการอำนาจนอกระบบทั้งหลายในเมืองไทย อย่าเชื่อผู้เชี่ยวชาญ มันไม่มีหรอก มึงจะเชี่ยวชาญขนาดไหน มันชีวิตกู

นั่นคือเหตุที่ระบบศาลของเมืองไทยพัฒนาไปถึงระบบลูกขุนไม่ได้

ศาลอาจคุมกระบวนการพิจารณาคดี รู้กฎหมายอย่างดีที่จะปรับโทษหลังรู้ผิดรู้ถูก แต่จะผิดหรือถูก พูดแบบฝรั่งคือ พระเจ้าเท่านั้นที่รู้ ดังนั้น เขาจึงใช้มนุษย์ขี้เหม็นด้วยกันฟังเรื่องมาให้ตลอด เช่น กรณีอากง ระบบลูกขุนจะให้คน 13 คนมานั่งฟังแล้วมาบอกว่าผิดหรือถูก ไม่จำกัดเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ

การพัฒนาไปไม่ได้เพราะโดยวัฒนธรรมเราเชื่อผู้เชี่ยวชาญ ไม่เชื่อความเป็นมนุษย์ด้วยกันเอง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย เพียงแค่นี้ ก็ไม่เป็นกลไกของระบอบประชาธิปไตยแล้ว เพราะโดยเริ่มต้นก็ไม่เคารพความเป็นมนุษย์ของกันและกันเพียงพอ

ถ้าเราไม่เลิกเชื่อผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกลาง เป็นคนดี ไม่มีกิเลส นี่เป็นความคิดแบบเพลโต ซึ่งเชื่อว่าการปกครองที่ดีที่สุดคือการเอาคนดีกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า "กษัตริย์นักปราชญ์" มาปกครอง ตัวอย่างผู้สมาทานแนวคิดนี้คนสำคัญคือ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ที่คิดว่าเพลโตเป็นนักประชาธิปไตย และปัจจุบันเป็นองคมนตรี ความคิดแบบนี้มีอยู่ในวัฒนธรรมของเรา และนำสู่ระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

การที่เรามีระบบตุลาการ หน้าที่อีกอย่างของมันคือต้องถ่วงดุลกันเอง หลังรัฐประหาร 49 ถามว่าฝ่ายตุลาการถ่วงดุลฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติไหม ถ่วง แต่ทางตรงกันข้าม นิติบัญญัติ บริหารไม่ได้เข้ามาถ่วงดุลตุลาการเลย  

ตัวอย่าง อย่างที่กล่าวไปว่า ผู้พิพากษาบางตำแหน่งควรได้รับการรับรองจากสภาที่มาจากประชาชน เป็นต้น

เวลานี้เราให้อำนาจตุลาการ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ถ่วงดุลฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ในทางกลับกันไม่มีการถ่วงดุล ตัวระบบสร้างไว้เลยแต่ต้นว่าจะให้ศาลไม่ถูกตรวจสอบจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทั้งสิ้น อย่าว่าแต่ชาวบ้านธรรมดาอย่างเรา

ฉะนั้น ถ้าคิดว่าศาลในฐานะกลไกของระบบประชาธิปไตย สิ่งที่สำคัญที่สุดของศาลคือ มันจะต้องเป็นผู้ประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของประชาชน ในการทำหน้าที่ของตุลาการ คุณจะต้องมองกฎหมายทุกอัน คำพิพากษาทุกอันว่ากระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนหรือไม่

เราจะเป็นประชาธิปไตยก็เพื่อจะได้มีสิทธิเสรีภาพ สามฝ่ายละเมิดเราไม่ได้

แต่เดิมมา ทางการพิพากษาคดีความต่างๆ เป็นบริการผูกขาดของผู้ปกครอง ไม่เฉพาะในเมืองไทย แต่เป็นมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์ ผู้นำมักต้องป้องกันศัตรู และให้บริการด้านความยุติธรรม ดังนั้น 2475 ทำได้เพียงตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความคิดได้ ปล่อยให้ตุลาการคิดว่าตัวเป็นส่วนหนึ่งของพระมหากษัตริย์ในการให้บริการพื้นฐานแก่สังคม ไม่ได้คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตยของประชาชน และปกป้องเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญประกันไว้แล้ว ภาษาฝรั่งใช้คำว่า สิทธิที่ล่วงละเมิดไม่ได้ เช่น สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น 

ยกตัวอย่างในทางปฏิบัติ เช่น การที่ฝ่ายตุลาการไม่เคารพในเสรีภาพที่ประกันในรัฐธรรมนูญ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญตีความมาตรา 8 ตามที่ปิยบุตรเล่า มันก็ขัดกับหมวดสิทธิเสรีภาพในรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน ถ้าถามผม มาตรา 8 ต้องยกเลิก ถ้ามันแปลว่าละเมิดอะไรไม่ได้เลยสักอย่าง วิจารณ์ไม่ได้ เพราะสิทธิเสรีภาพสำคัญที่สุดในรัฐธรรมนูญ

หลัง 2475 เราแก้กฎหมายอาญาในระดับพื้นฐานไหม ไม่ได้แก้ แก้เป็นส่วนๆ แต่หลักพื้นฐานไม่ได้แก้ คณะราษฎรมีกำลังน้อยเกินไปที่จะสามารถยกร่างประมวลกฎหมายอาญาใหม่กันหมด ลองไปดูดีๆ จะเจออีกจมที่ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย ไม่ใช่เพียงมาตรา 112

กรณีที่บอกว่า คำพิพากษาในพระปรมาภิไธย อย่างนี้ก็อย่างที่บอกว่า กษัตริย์ผูกขาดการให้บริการความยุติธรรม ผู้พิพากษาเข้าใจผิด ถ้าจะเข้าใจมันตามหลักประชาธิปไตย พระปรมาภิไธยคือตัวแทนประชาชน คือตัวแทนอำนาจประชาธิปไตย 

เราไม่สามารถตีความกฎหมายพ้นกรอบสิทธิเสรีภาพได้ ประชาชนหายไปจากการตีความกฎหมายไม่ได้

อีกประเด็นที่พูดกันเยอะ คือ เรื่องหมิ่นศาล ผมเข้าใจว่ามันแปลว่า ทำอะไรก็แล้วแต่ที่กระทบกระเทือนกระบวนการพิจารณาคดีที่อยู่ในศาล ถามว่าการนั่งไขว่ห้างนั้นกระทบกระบวนตรงไหน แต่ผู้พิพากษากลับไปคิดว่าเป็นการหมิ่นตัวเขา บางคนไปไกลหาว่า หมิ่นตัวเขาเท่ากับหมิ่นกษัตริย์ กระบวนการพิจารณาคดีที่ควรเคารพ เช่น โกหกไม่ได้ อันนี้คือหมิ่นศาล หมิ่นกระบวนการของศาล

แน่นอนไม่ใช่เฉพาะเวลาพิพากษาคดี คดีเสร็จแล้ว ทนายฝ่ายจำเลยออกมาบอกว่าผู้พิพากษากินเงินของโจทก์หรือของใครก็ตามโดยไม่สามารถพิสูจน์ข้อกล่าวหาได้ อย่างนี้หมิ่นศาลและหมิ่นประมาท

มีอีกหลายอย่างในไทยที่แตะต้องไม่ได้ แล้วก็ปล่อยให้ตีความกันตามใจชอบโดยไม่ย้อนมาคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน วลีที่ว่า "ประเพณีและศีลธรรมอันดีของประชาชน" เรามักได้ยินเสมอ แปลว่าอะไร คนหนุ่มสาวในไทยเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว กบฏกับพ่อแม่ ไม่ยอมให้จับคลุมถุงชน ทำไมไม่รู้สึกว่า คลุมถุงชน เป็นประเพณีอันดี ใครจะเป็นคนตัดสิน ไม่มีใครตัดสินได้ แต่ต้องมีหลักสิทธิเสรีภาพ อย่าลืมเป็นอันขาดเรื่องสิทธิเสรีภาพเป็นเรื่องสำคัญมาก

กษัตริย์เป็นศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือเปล่า ในฐานะนักเรียนประวัติศาสตร์ ถ้ามอง ร.5 ในมุมที่ไม่ค่อยดีนัก ทำได้ไหม? ยกเป็นตัวอย่างว่า คำว่าศีลธรรมอันดีของประชาชน มันปิดปากเราหลายเรื่อง พุทธ พระสงฆ์ เราพูดได้แค่ไหน

ประเด็นสุดท้าย มาตรา 112 โดยตัวกฎหมาย มีปัญหาอะไรพูดมามากแล้ว แต่มีสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็น ความไม่อินังขังขอบ ไม่เห็นแก่ความเป็นธรรมในวงกว้าง

ในยามปกติ ปีหนึ่งมีคดีนี้ไม่เกิน 10 คดี หลังอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ และเกิดเหตุสังหารประชาชน ใน 53 ปีหนึ่งถูกฟ้องมา 200 กว่าคดี ในที่สุด ก็มาถึงศาล ในการทำงานของศาลมันต้องมีใครสักหน่วยงานหนึ่งในกลุ่มศาลที่สามารถตั้งข้อสังเกตความผิดปกติอันนี้ได้ ว่า ทำไมจากไม่ถึงสิบ มาเป็น 200 กว่าคดี ในภาษิตโรมันบอกว่า คุณไปศาลด้วยมือสกปรกไม่ได้  แสดงให้เห็นว่า มันเป็นไปได้มากเลยว่า คนเหล่านี้ถูกนำตัวขึ้นศาลด้วยมือสกปรก  หน่วยงานต้อง alert ได้ว่ามันมีอะไรผิดปกติ อาจต้องแจ้งสภาด้วย คณะอันหนึ่งที่น่าเสียดายมาก ผู้ตรวจการรัฐสภา กลายเป็นทำหน้าที่ซ้ำซ้อนศาลปกครอง โดยส่วนตัวอยากให้ผู้ตรวจการรัฐสภาทำหน้าที่ประเมินกฎหมายของรัฐสภาว่าส่งผลอย่างไรต่อประชาชน ทำให้ ส.ส.ได้เห็นปัญหาถึงกฎหมายที่ทำออกมา 


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จี้รัฐบาลเร่งออก พ.ร.บ.องค์การอิสระฯ ให้ทันในสมัยการประชุมรัฐสภานี้

Posted: 17 Mar 2013 04:18 AM PDT

 

เอ็นจีโอชี้ประธานกรรมาธิการร่วม ยื้อ ไม่ยอมนัดประชุมกรรมาธิการเพื่อพิจารณารายงานการประชุมเพื่อส่งร่างกฎหมายให้รัฐสภาพิจารณา พร้อมเตรียมร้องกรรมาธิการกิจการสภาให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ รวมทั้งเรียกร้อง รัฐบาลเร่งออก พ.ร.บ.องค์การอิสระฯ ให้ทันในสมัยการประชุมรัฐสภานี้ 

 
ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์-เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2556 รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ กล่าวว่า ในการประชุมสมัชชาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคครั้งที่ 3 ได้มีการนำเสนอผลงานวิชาการในการคุ้มครองผู้บริโภค กรณีสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัย แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการปัญหาสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัย และพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ระหว่างวันที่ 13-15 มีนาคม และมีมติให้เสนอข้อเรียกร้องไปยังรัฐสภาและรัฐบาล ให้เร่งดำเนินการ 4 เรื่องคือ 1)รัฐสภาและรัฐบาล เร่งดำเนินการออกพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคให้ทันสมัยประชุมรัฐสภานี้ 2)คณะรัฐมนตรี สนับสนุนนโยบายสาธารณะที่พัฒนาจากสมัชชาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภค ครั้งที่ 3 ใน 5 ประเด็น คือ อาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ, บริการสาธารณะ, การเงิน/ธนาคาร, สินค้าและบริการทั่วไป และสื่อสารและโทรคมนาคม 3) คณะรัฐมนตรีเร่งกำหนดนโยบายในการคุ้มครองผู้บริโภคจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยในประชาคมอาเซียน ภายใต้หลักการ"เมื่อประเทศหนึ่ง ห้ามใช้สินค้าใด ต้องห้ามใช้ในทุกประเทศ" (One Ban, All Ban Policy) และ 4)คณะรัฐมนตรีและรัฐสภา พิจารณาเนื้อหาข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี อย่างรอบคอบบนฐานวิชาการ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคและนโยบายสาธารณะของประเทศ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 190
นายไพโรจน์ พลเพชร คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า กรรมาธิการร่วมต้องรีบนัดประชุม เพราะกรรมาธิการร่วมพิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ที่สำคัญรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีภายใน 1 ปี กฎหมายฉบับนี้อยู่ในกระบวนการรัฐสภานานมากกว่า 4 ปีแล้ว และที่สส.บางท่านกังวลว่าขัดรัฐธรรมนูญ ก็สามารถส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาได้ถึงแม้จะมีกฎหมายแล้ว เพราะสส.ไม่ได้มีหน้าที่ในการพิจารณาว่า กฎหมายฉบับนี้ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ 
 
รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวต่ออีกว่า นอกจากนี้ ในการประชุมสมัชชาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภค ครั้งนี้ ยังได้ ได้มีการจัดประกวดผลงานสปอตโฆษณา มาตรา 61 องค์การอิสระเพื่อผู้บริโภค ชิงเงินรางวัลกว่า 100,000 บาท ซึ่งมีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวดทั้งหมด 84 ผลงาน โดยคณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ผลงานเรื่อง "อย่าให้การถูกเอาเปรียบเป็นเรื่องเคยชิน จากทีม BU ไฝดำ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ชนะเลิศการประกวด ได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท ส่วนรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งได้แก่ผลงานเรื่อง Guinness Van จากทีม SWEET KID ได้รับเงินรางวัล30,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ผลงานเรื่อง หยุดเอาเปรียบฉัน จากทีมลูกหมาสามตัว ประชาชนทั่วไป ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท และรางวัลป๊อบปูล่าโหวตได้แก่ผลงานเรื่องการคิดอยู่ในใจไม่มีผู้ประกอบการรายใดได้ยิน จากทีม BU ไฝดำ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท
 
นายธานัส เกศวพิทักษ์ รองประธานศาลฎีกา กล่าวว่า อยากให้ประชาชนทุกคนช่วยกันผลักดันกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อหยุดยั้งการเอารัดเอาเปรียบของผู้ประกอบการและนายทุนทันที " ตัวอย่างบัตรเติมเงินที่ถูกตัดวัน คนจนส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือระบบเติมเงินทั้งนั้น ไม่รู้เอาสมองส่วนไหนคิด ทำไมจึงมีข้อกำหนดเช่นนี้ อีกธุรกิจนี้เอาเปรียบประชาชนคือธุรกิจธนาคาร ที่เก็บค่าธรรมเนียมอย่างเอารัดเอาเปรียบ แต่เมื่อไม่มีองค์การอิสระฯ จึงมีแต่ภาคประชาชนที่ผลักดันการแก้ไขเป็นเรื่อง ๆ ไป ทั้งที่น่าจะทำให้มีการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคอย่างจริงจัง " ทั้งนี้รองประธานศาลฎีกายังระบุว่า มีกฎหมายการดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) ที่จะสร้างการตรวจสอบผู้ประกอบการต่างๆ ก็ถูกขัดขวางเช่นเดียวกับ พ.ร.บ.องค์การอิสระฯ นี้
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รัฐบาลพม่ามีแผนตั้ง "เมืองหมู่เจ้" ทางเหนือของรัฐฉานเป็นเมืองทันสมัย

Posted: 17 Mar 2013 04:03 AM PDT

 

17 มี.ค. 56 - สำนักข่าว Mizzima รายงานว่า เมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีด้านหอการค้าของพม่าได้ออกมาเปิดเผยต่อรัฐสภาว่า รัฐบาลพม่ามีแผนที่จะตั้งเมืองหมู่เจ้ ทางภาคเหนือของรัฐฉาน ซึ่งมีชายแดนติดกับจีนเป็นเมืองที่ทันสมัยและตั้งเป็นเขตอุตสาหกรรม 
 
นายวินมิ้น รัฐมนตรีด้านหอการค้าของพม่าได้กล่าวต่อในสภาว่า ขณะนี้รัฐบาลเริ่มทำงานในหลายโครงการที่เกี่ยวกับภาคสังคม เช่นโครงการก่อสร้างโกดังเก็บสินค้า โครงการสร้างบ้านเรือนที่ทันสมัย รวมไปถึงโครงการสร้างสนามบินและถนนที่ได้มาตรฐาน ขณะเดียวกันรัฐบาลยังมีแผนที่จะนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในเขตอุตสาหกรรมเมืองหมู่เจ้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การค้าขายในพื้นที่มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
 
นายวินมิ้นกล่าวอีกว่า โครงการพัฒนาเหล่านี้จะสร้างโอกาสและการสร้างงานให้กับชาวเมืองหมู่เจ้ ทั้งนี้พบว่า เมืองหมู่เจ้ เป็นประตูการค้าสำคัญสู่ประเทศจีนและเป็นเส้นทางการลักลอบนำสินค้าผิดกฎหมายระหว่างพม่าและจีนมาอย่างยาวนาน
 
อีกด้านหนึ่ง ทางการพม่าเปิดเผยว่า มูลค่าการค้าขายตรงชายแดนหมู่เจ้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีมูลค่าการค้าขายเกือบ 189 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่าส่งออกสินค้าสู่จีนอยู่ที่ 86.4 ล้านดอลลาร์ และมูลค่าสินค้านำเข้าจากจีนอยู่ที่ 102.2 ล้านดอลลาร์ โดยสินค้าขายหลักระหว่างทั้งสองประเทศได้แก่ ข้าว สินค้าการประมง ป่าไม้ แร่ เนื้อสัตว์ เป็นต้น ขณะที่พม่าเองได้นำเข้าสินค้าอย่าง รถยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ โทรทัศน์ รวมไปถึงสินค้าบริโภคจากจีน
 
 
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/
 
"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ไม่มีอคติ เป็นกลาง’ หมายถึงการต่อสู้เพื่อเปิดพื้นที่วิจารณ์ให้สมดุลกับพื้นที่ประชาสัมพันธ์สถาบันกษัตริย์

Posted: 17 Mar 2013 03:26 AM PDT

การแบนรายการตอบโจทย์ที่เสนอการดีเบตหัวข้อ "สถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ"  ระหว่างสุลักษณ์ ศิวรักษ์ กับสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล สะท้อนอย่างชัดเจนถึงปัญหาที่สมศักดิ์เรียกร้องให้ปัญญาชน นักวิชาการริเริ่มการอภิปรายประเด็นสถานะ อำนาจ บทบาทของสถาบันกษัตริย์กับประชาธิปไตยอย่างจริงจัง หากปัญญาชนหรือนักวิชาการเหล่านั้นยังพูดเรื่องการเมือง ประชาธิปไตย หรือยืนยันสิทธิ เสรีภาพในทางใดๆ

เพราะการแบนรายการใน "ทีวีสาธารณะ" ที่ใช้ภาษีของประชาชนเสนอการดีเบต "ปัญหาสถาบันกษัตริย์กับความเป็นประชาธิปไตย" ด้วยเหตุผล ย่อมเป็นการ "ตอกย้ำ" ให้เราเห็นว่าปัญหาที่สมศักดิ์เสนอนั้นเป็นปัญหาที่สำคัญมากที่สุดจริงๆ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่สังคมไทยต้องระดมสติปัญญาอภิปรายถกเถียงกันอย่างจริงจัง หากต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นประชาธิปไตย เป็นเรื่องยากที่ปัญญาชน นักวิชาการ สื่อมวลชนจะปฏิเสธความรับผิดชอบ เพราะคนเหล่านี้มีองค์ความรู้ มีความสามารถ มีเวทีที่จะริเริ่มอภิปรายปัญหานี้ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย และมีความเสี่ยงต่อการต้องคดี 112 น้อยกว่าชาวบ้านทั่วๆไป

ยิ่งกว่านั้น การแบนครั้งนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่า การที่ปัญญาชน นักวิชาการ สื่อมวลชน หรือใครๆ ชอบอ้างพระราชดำรัสที่ว่า "คิงทำผิดได้ วิจารณ์ได้" มาตลอดนั้น อาจจะต้องทบทวนให้ชัดเจนว่า สมควรที่จะอ้างตามๆ กันต่อไปอีกหรือไม่ เพราะการดีเบตระหว่างสุลักษณ์ กับสมศักดิ์เป็นเพียงการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ด้วยเหตุผลล้วนๆ ต่อสถานะ อำนาจ บทบาทของ "สถาบันกษัตริย์" เท่านั้น ยังไม่ได้วิจารณ์ "คิง" ในฐานะตัวบุคคลเลย รายการดีเบตก็ถูกแบนเสียแล้ว

นี่สะท้อนความกลัวเกินจนเหตุของผู้บริหารสื่อ ซึ่งที่จริงสื่อต่างๆ นั่นเองที่เป็นผู้สร้างความหมายที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของผู้คนในสังคมว่า "ประเด็นสถาบันกษัตริย์เป็นเรื่องละเอียดอ่อน" หรือ "การแก้ไข/ยกเลิก 112 เป็นประเด็นละเอียดอ่อน" แล้วก็สร้างความกลัวใน "ความหมายอันกำกวม" ของคำว่า "ละเอียดอ่อน" นั้น จนแม้การพูดถึงด้วยเหตุผลก็ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง และหรือเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ในพื้นที่สื่อสาธารณะ

ที่แย่ยิ่งกว่านั้นคือ การหลอกตัวเองอย่างสุดๆ ของคนในวงวิชาการ วงการสื่อมวลชนในสถานการณ์ความขัดแย้ง 5-6 ปีมานี้ ด้วยการเรียกร้อง "ความไม่มีอคติ ความเป็นกลาง ความเป็นมืออาชีพ" ราวกับว่าก่อนรัฐประหาร 19 กันยา 49 ตลอดมานั้น วงวิชาการ วงการสื่อตั้งมั่นในความไม่มีอคติ มีความเป็นกลาง เป็นมืออาชีพมาโดยตลอดระยะเวลาอันยาวนานแล้ว หากเป็นเช่นนั้นจริง ทำไมช่วงระยะเวลาสั้นๆ หลัง 19 กันยาถึงปัจจุบันจึงทำลาย "ความไม่มีอคติ ความเป็นกลาง ความเป็นมืออาชีพ" ที่เคยเป็นมาให้พังทลายลงได้ง่ายๆ

แท้ที่จริงแล้ว หากนักวิชาการ สื่อ จะยืนยัน "ความไม่มีอคติ ความเป็นกลาง ความเป็นมืออาชีพ" ในสภาพการณ์ที่มีการประชาสัมพันธ์ความดีงามของสถาบันกษัตริย์อย่างล้นเกิน ทั้งในพื้นที่สื่อ สถาบันการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ขณะที่แทบไม่มีพื้นที่ให้กับการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์เลย (โดยเฉพาะไม่มีใน "สื่อหลัก" เลย) การยืนยันนั้นจะมีความหมายก็ต่อเมื่อนักวิชาการ สื่อ ได้ต่อสู้อย่างเข้มข้นเพื่อให้เปิดพื้นที่ของการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ให้ "สมดุล" กับพื้นที่ประชาสัมพันธ์สรรเสริญสถาบันกษัตริย์เท่านั้น

ฉะนั้น การที่ใครก็ตามบอกว่ารายการตอบโจทย์มี "อคติ" ที่ให้เวลาแก่สมศักดิ์กับสุลักษณ์ มากกว่าสุรเกียรติ เสถียรไทย และวสิษฐ เดชกุญชร จึงเป็นเรื่องตลกที่หัวเราะไม่ออก เพราะในความเป็นจริงท่ามกลางพื้นที่ประชาสัมพันธ์ยกย่องคุณงามความดีของสถาบันกษัตริย์แทบทุกตารางนิ้วในประเทศนี้ การดีเบตระหว่างสุลักษณ์กับสมศักดิ์เป็นเพียงครั้งแรกที่สื่อหลักเปิดพื้นที่ให้ แต่ก็ถูกแบนอย่างไม่เคารพเสรีภาพการในแสดงออกที่รัฐธรรมนูญรับรอง

ปรากฎการณ์แบนดีเบตครั้งนี้ จึงท้าทายต่อมโนสำนึกของบรรดาสื่อ นักวิชาการ (และสังคมไทยทั้งสังคม) ให้ต้องตระหนักตามเป็นจริงว่า "ความไม่มีอคติ ความเป็นกลาง ความเป็นมืออาชีพ" ของปัญญาชน นักวิชาการ สื่อมวลชนจะมีทางเป็นไปได้ ก็ต่อเมื่อเขาเหล่านั้นต่อสู้อย่างจริงจังเพื่อให้แวดวงสื่อ แวดวงวิชาการ หรือสังคมไทยโดยรวมเปิดพื้นที่ให้กับการตั้งคำถามวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์อย่าง "สมดุล" กับพื้นที่ประชาสัมพันธ์สรรเสริญคุณงามความดี

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปาฐกฯปัญญาชนสยาม สามัคคีวิจารณ์ ส.ศิวรักษ์ โดยไชยันต์ สุธาชัย

Posted: 17 Mar 2013 03:04 AM PDT

ไชยันต์ชี้ปัญหาปัญญาชนแปลกแยกจากมวลชน ไม่มีสองมาตรฐานเป็นแค่อุดมคติ สุธาชัยชี้สุลักษณ์ต้านเผด็จการแต่บางด้านไม่เป็นประชาธิปไตย วิจารณ์เจ้าแต่เป็นอนุรักษ์นิยม กรณีทักษิณ ประเด็นของสุลักษณ์ ไม่ต่าง เจิมศักดิ์ หรือ ASTV

 
17 มีนาคม 2556 มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป / ปาจารยสาร / ป๋วยเสวนาคาร / สถาบันสันติประชาธรรม / เสมสิกขาลัย ร่วมจัดงานปาฐกถาปาจารยสาร "สังคมสยามตามทัศนะของปัญญาชนไทยหมายเลข ๑๐"เนื่องในโอกาส อายุ 80 ปี สุลักษณ์ ศิวรักษ์
 
สุลักษณ์  ศิวรักษ์ กล่าวปาฐกถา เรื่องสังคมสยามตามทัศนะ ของปัญญาชนไทยหมายเลข 10
 
สุลักษณ์เริ่มต้นปาฐกถาถึงความเป็นอนิจจลักษณะของสังคมไทย โดยระบุว่า สยามในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นสมัยใหม่ที่เริ่มต้นจากรัชกาลที่ 5 ว่าเป็นช่วงเวลาที่ความศิวิไลของสยามลอกแบบฝรั่งมาหยาบๆ โดยยกตัวอย่างวัดราชบพิตร ที่เอาหินอ่อนมาทำพระอุโบสถ นอกจากพระราชวังของพระองค์ วังของพระราชโอรสก็ต้องตระการตาแบบฝรั่งทั้งนั้น แต่อนิจจะลักษณะก็แสดงให้เนวฝ่าบรรดาเจ้าในสมัยนั้น ต้องนิราศร้างไปจากวังนั้นๆ จนวังนั้นๆ ปราศจากเจ้านายไปในช่วงเวลาสั้นๆ และราชวงศ์จักรี ก็สิ้นความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2475 
 
ในรัชกาลที่ 4 มีเพียงพระสยามเทวาธิราช แต่ในรัชกาลที่ 5 มีพระสยามินทร์ที่เป็นยอดมนุษย์เหนือมนุษย์อื่น ขณะที่ชาวไร่ชาวนาที่เคยภาคภูมิในตนเองต้องรู้สึกด้อยลงเมื่อมีการศึกษาสมัยใหม่ 
 
สุลักษณ์ กล่าวถึงหลัก 6 ประการ ได้แก่ ประการหนึ่งคือ ความมีเอกราชสมบูรณ์ แต่เมื่อพิจารณาถึงเอกราชด้านความยุติธรรม ของไทย เขาตั้งคำถามว่า เวลานี้คนในขบวนการยุติธรรมมีสำนึกในเอกราชด้านศาลบ้างหรือไม่ โดยระบุว่าโฆษกศาลฎีกา ที่มาให้ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สัมภาษณ์ผ่านรายการตอบโจทย์เมื่อ 16 ม.ค. 2556 โดยอ้างว่าเสรีภาพของศาลมาจากพระบารมีของเจ้านายสามพระองค์แต่ไม่พูดถึงปรีดี พนมยงค์เลย ทั้งๆ ที่หากปราศจากปรีดี สิทธิสภาพนอกอาณาเขตก็จะยังดำรงอยู่ไปอีกยาวนาน 
 
เขากล่าวว่า การเรียนกฎหมายในปัจจุบันแทบไม่มุ่งเรื่องความยุติธรรม การแต่งตั้งผู้พิพากษามาจากการสอบแข่งขันไม่มีประสบการณ์ว่าความ "พอนั่งบัลลังก์ก็อ้าขาผวาปีก ไม่สัมผัสคนทุกข์ยาก ทั้งที่ในเรือนจำเต็มไปด้วยความฉ้อฉลนานัปการ ศาลไม่ตระหนัก และถ้าทำให้ศาลมีความยุติธรรมไม่ได้ สังคมนั้นก็สิ้นหวัง "
 
เมื่อกล่าวถึงหลักสิทธิเสมอภาค เขาระบุว่า สิทธิเสรีภาพนั้นเป็นประการที่สำคัญอย่างยิ่ง แต่ถูกระบบศักดินาขัตติยาธิปไตยทำลายลง โดยระบบการศึกษาและสื่อมวลชนก็ได้ช่วยกันทำลายลงไปด้วย
 
สุลักษณ์ กล่าวต่อว่า เสรีภาพจะมีได้ก็ต้องกล้าท้าทายความศักดิ์สิทธิ์ และศักดินาทุกรูปแบบ ต้องเน้นการอภิปราย การวิพากษ์วิจารณ์การรับฟังจากอีกฝ่าย แม้จะไม่เห็นด้วยก็ต้องเคารพทัศนคติ นักการศึกษาผู้มีเกียรติล้วนหลอกตัวเองว่าตัวเองมีเสรีภาพ ทั้งที่ตัวเองยอมไกล่เกลี่ยกับความกึ่งจริงกึ่งเท็จ เช่น มีใครกล้าเอ่ยถึงไหมว่าการสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ถ้าอยากรู้ไปดูเฟซบุ๊กของนักข่าวฝรั่งที่ลี้ภัย แม้แต่เจ้าชายสี่องค์ที่เป็นพระเจ้าหลานเธอในรัชกาลปัจจุบัน ก็ไม่มีใครรู้ กรณีของเจริญ วัดอักษร ก็ไม่มีคนสนใจ ลืมความยุติธรรมทางสังคมไปเสียสนิท นี่หรือการมีเสรีภาพในการแสดงออก พูดไปทำไมมี ตั้งแต่นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ต้องลี้ภัยไปเสรีภาพก็สิ้นไปแต่นั้น ตอนนี้เรามีแต่เสรีภาพปลอม 
 
หลักประการที่หก การศึกษาในเวลานี้คือการมอมเมาคนดีๆ นั่นเอง  สอนให้ไต่เต้าแสวงหา ทุกมหาวิทยาลัยล้มเหลวในการผลิตมนุษย์ที่เอื้ออาทรต่อคนอื่น 
 
การแก้ไขสังคมสยามหรือสังคมโลก ต้องเริ่มที่การศึกษาเป็นประการแรก ต้องรู้จักตัวเองก่อนเพราะการเรียนตะวันตกเรารู้จักแต่ภายนอก ไม่รู้จักใช้หัวใจ 
 
เขากล่าวว่า การเรียนรู้จากผู้ยากไร้เป็นสิ่งที่สำคัญ หากเป็นชนชั้นกลาง ต้องเรียนรู้จากคนชั้นล่าง เรียนรู้กันอย่างเป็นกัลยาณมิตร เพื่อคงสถานะความเป็นมนุษย์ เขากล่าวถึงสังคมจีนว่าคนรุ่นใหม่แสวงหาสัจจะมากขึ้น กล้าท้าทายอำนาจรัฐที่ฉ้อฉลมากขึ้น
 
สุลักษณ์ วิพากษ์วิจารณ์ถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่นายทุน และฝรั่งต่างชาติเข้ามามีอิทธิพลเหนือกว่าคนยากคนจน "สำนักงานทรัพย์สินเป็นเจ้าของที่ดินประมาณสามสิบเปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ในกรุงเทพฯ ไล่คนจนคนทำกินออกไป ให้ต่างชาติและนายทุนมาใช้แสวงหาประโยชน์ อย่างนี้เป็นทิศทางถูกต้องหรือ" เขากล่าวต่อไปว่า ถ้าเราเรียนรู้จากขบวนการประชาชนของอินเดีย เราต้องไม่ลืมว่ารัฐบาลพลัดถิ่นนั้นสำคัญนัก อย่างนายปรีดี พนมยงค์ก็พยายามตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น รัฐบาลพลัดถิ่นของชาร์ล เดอโกลด์ ก็พยายามตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นและกอบกู้ประเทศฝรั่งเศสได้ ต้องไม่ลืมว่าเศรษฐกิจกระแสหลักกำลังจะอัปปาง เช่นเดียวกับการเมืองการปกครองกระแสหลัก 
 
เขากล่าวถึงการกลับไปหาหลักหกประการของคณะราษฎร แล้วแปลความหมายให้สอดคล้องกับปัจจุบัน พร้อมเสนอให้เปิดโอกาสให้กับสามัคคีวิจารณ์เพื่อการหาทางออกให้กับสังคมปัจจุบัน
 
**************************************************
 
ในเวที เสวนาสามัคคีวิจารณ์ 80 ปี สุลักษณ์ ศิวรักษ์ มีวิทยากรเข้าร่วมสามคนได้แก่ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล คณะศิลปศาสตร์ มธ. ไชยันต์ ไชยพร คณะรัฐศาสตร์ จุฬา และ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ จากคณะ อักษรศาสตร์ จุฬา เป็นวิทยากรร่วมอภิปราย
 
เนื้อหาในส่วนของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ติดตามอ่านได้ที่ สมศักดิ์อัดสุลักษณ์ วิพากษ์สถาบันจากจุดยืนศีลธรรม

 

 
ไชยันต์ ไชยพร ระบุว่าสิ่งที่ต้องระวังสำหรับปัญญาชนคือ การเป็นปัญญาชนมีลักษณะแปลกแยกกับมวลชนและมีความเป็นซึ่งเขาเห็นว่าทั้ง สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นั้นเป็นคนที่มีอุดมคติสูงทั้งคู่ และเป็นปัญญาชนที่ชอบอวดอ้างมวลชน การไม่มีสองมาตรฐานเลยเป็นอุดมคติ เพราะสองมาตรฐานเป็นเรื่องที่อยูกับเราตลอดเวลา ปัญญาชนสาธารณะจะออกมาด่าห้าง ศูนย์การค้า วิถีชีวิตชนชั้นกลาง แต่กลับไปอ้างมวลชนตลอดเวลา และอ้างว่าต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย 
 
แต่ถ้าถามว่าจุดที่ดีของประชาธิปไตยคืออะไร แม้แต่ในอเมริกาหรือยุโรปต่างก็เรียกร้องเสรีภาพมากขึ้นเรื่อยๆ มันมีจุดพอดีหรือเปล่า บางคนบอกว่า เสรีภาพต้องเต็มที่ เขากล่าวว่า ดีใจที่อาจารย์สมศักดิ์พูดถึงเขาว่าเป็น ดร. แล้วบอกว่า โง่ เพราะถ้าเป็นคนฉลาดแล้วต้องรับผิดชอบเยอะ
 

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ กล่าวว่า สุลักษณ์ เป็นปัญญาชนที่ผลิตหนังสือออกมาเป็นจำนวนมากกว่า 200 เล่ม แต่ก็มีลักษณะสองด้านในตัวเอง คือเป็นคนหนึ่งเสนอวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์มากที่สุดแต่ก็อ้างตัวเองว่าเป็นรอยัลลิสม์
 
สุลักษณ์ต้านเผด็จการ แต่ก็มีลักษณะที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ด้านหนึ่งวิจารณ์เจ้าแต่ก็เป็นอนุรักษ์นิยม และชื่นชมเจ้าในบางลักษณะ เป็นปัญญาชนผ้าม่วงซึ่งก็มีพื้นฐานจากการบวชเรียน จากนั้นสุลักษณ์ต่อต้านจีน ต่อต้านคอมมิวมิสต์ แต่ขณะเดียวก็ต่อต้านทหาร
 
เมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมไทยอย่างมาก อาจารย์สุลักษณ์เปลี่ยนจุดยืนกรณีของนายปรีดี พนมยงค์
 
จากนั้นสุลักษณ์มีจุดยืนในการต่อต้านทุน ต่อต้านโลกาภิวัตน์ แต่ก็ยังคงวิพากษ์ศักดินา สนับสนุนการต่อสู้ของสมัชชาคนจน ต่อต้านท่อก๊าซไทย-พม่า และเป็นคนรู้ไส้ศักดินาอย่างถึงกึ๋น หลายเรื่องน่าตื่นเต้นอัศจรรย์ พูดถึงร. 5 ได้น่าสนใจมากและมีหนังสือแนะนำให้อ่านคือ "ลอกคราบเสด็จพ่อ ร. 5" ซึ่งแม้จะมีจุดยยืนอยู่ที่การวิจารณ์ด้านศีลธรรมแต่น่าสนใจ
 
นอกจากนี้ สุลักษณ์ยังมีบทบาทมากในการหาเงินสนับสนุนจากต่างประเทศมาสนับสนุนงานเคลื่อนไหวของเอ็นจีโอ อย่างไรก็ตามในที่สุดปี 2549 อ.สุลักษณ์ก็อยูในกระแสเดียวกับเอ็นจีโอ ต่อต้านทักษิณเพราะเป็นการตัวการทำลายสังคมไทย ทำลายชนบท เป็นทุนโลกาภิวัตน์ แต่จริงๆ การต่อต้านทักษิณนั้นไม่ผิด เพราะนักการเมืองต่างๆ นั้นต่อต้านได้ วิพากษ์ได้ แต่การต่อต้านนั้นมีขอบเขตแค่ไหน ซึ่งเขาเห็นว่าควรอยู่ในขอบเขตที่ไม่รื้อระบบ ไม่ดึงทหารเข้ามาจัดการ เอารถถังมาล้มและฉีกรัฐธรรมนูญ ซึ่งที่สุดเอ็นจีโอทั้งหลายก็เชียร์การรัฐประหารและอธิบายว่าแม้รัฐประหารจะไม่ดีที่สุดแต่เป็นความจำเป็น แม้วิธีการชั่วร้ายสักหน่อยแต่กจำเป็น ที่สุดที่ตามมาคือการสร้างผีทักษิณ การโจมตีทักษิณกล่าวร้ายทักษิณ กลายเป็นเรื่องทำได้ รวมถึงเรื่องทักษิณล้มเจ้า ซึ่งเขาเห็นว่าแม้ทักษิณจะมีความชั่วร้ายมากมากมหาศาล แต่เรื่องล้มเจ้านั้นเขาคิดว่าไม่มี เป็นการให้เครดิตทักษิณมากเกินไปดังที่สมศักดิ์กล่าว และไม่มีข้อมูลอะไรสนับสนุนเลย เหลวไหล ทั้งเรื่องต้องการเป็นประธานาธิบดี ทุจริตเชิงนโยบาย การขายหุ้นไม่เสียภาษี
 
เขากล่าวว่าทักษิณกลายเป็นมายาคติอันใหญ่ที่ถูกสร้างให้โตเกินจริง ทำให้การฉีกรัฐธรรมนูญชอบธรรม การรัฐประหารชอบธรรม คำตัดสินบ้าบอคอแตกกลายเป็นความชอบธรรมไปหมด ที่พูดนี้เกี่ยวข้องกับสุลักษณ์อย่างยิ่งเพราะนี่เป็นประเด็นใหญ่ที่สุลักษณ์และเครือข่ายไม่มองไม่ทะลุ มองทักษิณใหญ่เกินจริงและที่สุดก็กลายเป็นการให้เครดิตทักษิณมาก และการกล่าวว่าทักษิณล้มเจ้าเป็นการให้ข้อมูลเท็จในประเด็นนี้อ.สุลักษณ์ไม่ต่างกับเจิมศักดิ์ ปิ่นทองหรือเอเอสทีวี
 
สุธาชัยกล่าวว่าหากไม่เห็นด้วยกับทักษิณในเชิงนโยบายอะไรก็ตามเป็นเรื่องทำได้ แต่การใส่ร้ายป้ายสี วาดภาพใหญ่โตเกินจริงนั้นเป็นเรื่องไม่ถูก
 
เขาทิ้งท้ายว่าก่อนหน้านี้สุลักษณ์เคยเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับปรีดี พนมยงค์ วันนี้สุลักษณ์อายุแปดสิบปี เขาอยากเห็นการเปลี่ยนความคิดอีกสักครั้ง พิจารณารัฐบาลทักษิณอย่างเป็นวิทยบาศาสตร์ บนหลักฐานข้อมูลที่เป็นจริง 
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้สังเกตการณ์คดี 112 ถกข้อบกพร่องในกระบวนการ-เส้นทางผู้พิพากษา

Posted: 17 Mar 2013 02:32 AM PDT

เสวนา ศาลกับ "ความยุติธรรม" ในคดีมาตรา 112 โดย วาด รวี คณะนักเขียนแสงสำนึก สาวตรี สุขศรี คณะนิติราษฎร์ ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติราษฎร์ และยิ่งชีพ อัชฌานนท์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน ดำเนินรายการโดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน ผู้สังเกตการณ์การสืบคดี 112
เริ่มต้นโดยกล่าวถึงที่มาของผู้พิพากษาว่า ต้องสอบเนติบัณฑิต ซึ่งเป็นการเรียนซ้ำอีกรอบ เรียน 1 ปี ท่องจำฎีกาเป็นหลัก ว่าเคยมีคำพิพากษาเรื่องไหนว่าอย่างไร แม้จะตอบถูกแต่ตอบเหตุผลผิดก็ไม่ได้คะแนน หนึ่งปีในการอ่านเพื่อสอบ คนกว่าจะผ่านเนติบัณฑิตได้ ต้องอุทิศชีวิตในการท่องคำพิพากษาฎีกาจำนวนมาก จนลืมตั้งคำถามว่า คำพิพากษายุติธรรมต่อแต่ละคดีหรือไม่ มันเยอะมาก เยอะเกินกว่ามนุษย์จะจำได้หมด เขาจะต้องตัดต่อมของความคิดในส่วนตั้งคำถามไปก่อนเพื่อจำให้ได้

นอกจากนี้ยังเป็นทนายความสองปีแล้ว ต้องว่าความครบ 20 คดี โดยอายุเกิน 25 ปีจึงจะสอบได้ เมื่อต้องเตรียมสอบด้วย วิธีที่ง่ายกว่าคือ เอาชื่อฝากสำนักงานทนายความ แล้วให้รับรองให้หน่อย ขอไปนั่งในศาลเป็นเพื่อนเขา แล้วก็ยื่นเอกสารให้เซ็น เขาไม่ผิดที่ทำอย่างนี้ เพราะข้อสอบยาก ต้องการการอ่านหนังสือ ถ้าอ่านไปทำงานไป แทบจะเป็นไม่ได้ที่จะสอบผ่าน

โดยสรุป หลังเรียนจบปริญญาตรี สอบเนติบัณฑิตให้ได้ ไม่ต้องทำงานจริงเอาชื่อฝาก อ่านหนังสือตลอดสองปี อายุครบพอดี ก็สอบเป็นผู้พิพากษา จึงไม่แปลกที่จะได้ผู้พิพากษาที่ไม่มีประสบการณ์ชีวิตอะไรเลยนอกจากการเรียน

เราอาจได้คนเก่งที่จำหนังสือได้เยอะกว่าคนอื่น แต่คนที่จะมาชี้ว่าใครต้องผิด ถูก อาจต้องมีประสบการณ์ชีวิตมากกว่านั้นหรือเปล่า

ร้ายกว่านั้น แข่งกันเป็นหมื่น เอาไม่กี่สิบ ก็มี "สนามเล็ก" คนที่สอบได้ต้องจบโท และมี "สนามจิ๋ว" คนที่จะสอบได้คือต้องจบโทเมืองนอก 2 ปี  สนามเล็ก สอบพันได้ร้อย ส่วนสนามจิ๋ว สอบกี่คนได้เกือบทั้งหมด หมายความว่า ผู้พิพากษาส่วนหนึ่งไปเรียนเมืองนอกกลับมาก็สอบได้โดยไม่ยากเย็นโดยไม่ต้องผ่านประสบการณ์อะไรเลย

คนที่ไม่มีฐานะมากพอที่จะต่อโทด้วยเงินตัวเอง ก็เป็นผู้พิพากษาแทบไม่ได้ ผมไม่ถึงกับขอให้ตุลาการต้องชุมนุมเสื้อแดงก่อน หรือต้องผ่านการทำคดี แต่น่าจะมีประสบการณ์ อาจจะได้รับการยอมรับมากกว่านี้

ประสบการณ์ที่สังเกตการณ์ในศาล มีเพื่อนทีมงานช่วยทำหลายคน เลือกมาพูดถึง 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 
1. ปัจจุบันกฎหมายบอกว่าใครรับสารภาพจะลดโทษให้ครึ่งหนึ่งทันที มีปัญหาว่า บางทีจูงใจให้คนที่ไม่ได้ทำความผิดรับสารภาพดีกว่า ถ้าตกอยู่ในสภาพที่ไม่มีทนายเก่งๆ คนกลุ่มนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ไม่ได้ทำจริงๆ แต่ไม่รู้จะสู้อย่างไร อีกกลุ่ม เขาทำแต่รู้สึกว่าสิ่งที่เขาทำไม่ได้เป็นความผิด กลุ่มนี้ควรได้รับสิทธิจะต่อสู้ แต่บางทีเขาไม่รู้จะสู้อย่างไรถูกจำกัด เป็นเหตุจูงใจให้เขารับสารภาพ อีกเรื่องคือ ถ้าคนที่อยากจะขอพระราชทานอภัยโทษ ว่ากันว่า "ต้องรับสารภาพก่อน" จึงจะได้รับอภัยโทษ

เช่น อากง ยืนยันมาตลอดว่าไม่ได้ทำ เขาอยากได้ศักดิ์ศรี แต่ถ้าเราอยากให้อากงออกจากคุก เราต้องบีบให้อากงรับสารภาพก่อน อีกกรณีคือ โจ กอร์ดอน เขาไม่ได้อยากรับสารภาพ เขาพูดว่า "ผมไม่ขอต่อสู้คดี" เนื่องจากเป็นมาตรา 112 ใครๆ ก็บอกไม่มีทางชนะ เพราะมันมาจากทัศนคติด้วย แต่ศาลไม่ยอมให้ใช้คำนั้น สุดท้ายโจต้องพูดว่ารับสารภาพ

2.ศาลไม่ค่อยให้จำเลยนำสืบเนื้อหา ในยุคหนึ่ง หลายคดี ถ้าสู้กันจริงๆ ในเนื้อหาอาจจะไม่ผิดก็ได้ แต่ช่วงหนึ่งศาลอาจมีความรู้สึกว่า เรื่องพวกนี้อย่าขุดขึ้นมาเลย ไม่ให้อธิบาย จะให้นักวิชาการมาช่วยกันตีความ ศาลก็ไม่อนุญาตโดยเห็นว่า การตีความอะไรหมิ่น ไม่หมิ่น เป็นปัญหาข้อกฎหมายเป็นดุลยพินิจของศาล สุดท้ายศาลต้องวินิจฉัยเองอยู่แล้ว แต่อย่างน้อยที่สุด ควรต้องอนุญาตให้จำเลยนำสืบก่อน ต่อสู้อย่างเต็มที่ก่อน

3.มีแนวโน้มเรื่องการพิจารณาคดีลับ คดีดา ตอร์ปิโด หรือ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล เป็นคดีแรก ไม่ให้ใครเข้าเลย เรื่องนี้ไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งบอกว่าชอบแล้ว เพราะเป็นเรื่องความมั่นคง หลังจากนั้น มีคดีทหารอากาศ และล่าสุด ปลายเดือนที่แล้ว ที่ปัตตานี ศาลสั่งพิจารณาคดีลับอีกครั้ง การที่ศาลยิ่งทำอะไรปิดลับ มันก็ยากที่คนธรรมดาจะเข้าใจถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เราอาจเห็นด้วยกับการลงโทษใครบางคนก็ได้ แต่เราควรจะรู้ก่อนว่าข้อความที่เขาพูดคืออะไร นอกจากนี้ การพิจารณาคดีลับ ยังยากต่อการตรวจสอบ คดีมาตรา 112 ไม่มีความจำเป็นต้องปิดลับ เราเดินทางกันมาไกลแล้ว เราให้สาธารณชนร่วมกันตรวจสอบได้

อย่างไรก็ตาม ตั้งข้อสังเกตว่า ช่วงหลังมานี้ ศาลเองก็เริ่มปรับตัวบ้าง มีการทำคำพิพากษาฉบับย่อแจกนักข่าว มีการตอบคำตอบนักข่าว ขอให้พวกเราจับตากระบวนการทำงานของกระบวนการยุติธรรมต่อไป  ขอเชิญชวนให้ไปร่วมสังเกตการณ์คดี เราจะพูดกันในเรื่องข้อเท็จจริงและด้วยความเคารพและสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้พิพากษาท่านทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ และจะร่วมวิพากษ์วิจารณ์เมื่อเห็นข้อบกพร่อง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมศักดิ์วิพากษ์ ส.ศิวรักษ์ วิพากษ์สถาบันจากจุดยืนศีลธรรม เสี่ยงสองมาตรฐาน

Posted: 17 Mar 2013 02:08 AM PDT

ชี้ หัวใจของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยคือความยินยอมพร้อมใจจากผู้ถูกปกครองจากการเลือกตั้ง และการวิพากษ์วิจารณ์บนพื้นฐาของศีลธรรมเป็นปัญหาในสังคมสมัยใหม่ท้าไชยยันต์ฉีกบัตรเรียกร้องความเป็นธรรมให้ ชิต บุศย์ เฉลียว รื้อใครฆ่า ร. 8?

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในเวทีเสวนา บทสามัคคีวิจารณ์ เพื่อก้าวต่อไปของสังคมไทย ในงานปาฐกถาปาจารยสาร "สังคมสยามตามทัศนะของปัญญาชนไทยหมายเลข ๑๐"

ที่ได้จัดขึ้นเมื่อ 17 มีนาคม 2556 ณ มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีปว่ า  รายการตอบโจทย์ตอนที่5  ภิญโญ ไตรสุริยะธรรมา พิธีกรรายการ ได้ถามถึงประเด็นที่กว้างออกไปถึงการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และเขาจึงได้สรุปข้อเสนอ 8 ข้อที่เคยเสนอไปแล้ว คือเลิกพระราชกรณียกิจต่างๆ เลิกข่าวภาคค่ำ เลิกสถาบันองคมนตรี ฯลฯ ตอนแรกก็รู้สึกดีใจที่การเสนอเรื่องนี้ได้ออกฟรีทีวี แต่เรื่องนี้การระงับมาจากภายในไทยพีบีเอสเอง และเป็นเรื่องน่าเศร้าน่าเสียใจว่าคนระดับ บ.ก. ไทยพีบีเอสไม่เข้าใจคอนเซปท์ของสังคมสมัยใหม่เลย


และกรณีนายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ ที่มุ่งเจาะจงมาที่เขาว่าถ้าเทียบต้นทุนระหว่างวศิษฐ์ และอาจารย์สุลักษณ์ว่าต่างกันราวฟ้ากับเหว แต่เขาบอกว่า การมีราคามันวัดกันง่ายๆ เพียงการตอบคำถามคือ  คุณจะพิสูจน์ข้ออ้างเรื่องสถาบันกษัตริย์ ดีวิเศษที่โฆษณากันตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงอย่างไร คุณพิสูจน์อย่างไร ข้อเสนอของผมง่ายๆ คือมันพิสูจน์ไม่ได้เพราะไม่ได้เปิดโอกาสให้พิสูจน์


น่าเสียดายที่คนทำงานสื่อระดับ บ.ก.ข่าวการเมือง ผมท้าเลยว่าคุณเสริมสุข คุณณาตยา คุณณัฎฐา ไปเปิดตำราเลย ว่าจะมีตำราเล่มไหนบอกว่าการโฆษณาสถาบันกษัตริย์ปัจจุบันนี้ไม่ใช่โฆษณาชวนเชื่อ แล้วคนทำสื่อที่ไม่รู้เรื่องนี้ไม่ควรจะทำสื่อเลย

 

เรื่องที่มันตลกร้ายคือคนที่มีการศึกษาสูงกลับเชื่อเรื่องพวกนี้ขณะที่ไปด่าชาวบ้านว่าโง่ อย่าง อ.ไชยันต์  ที่ไม่กี่ปี่ก่อนเขียนบทอาเศียรวาทเสียจนผมคิดว่า ใม่ต้องให้คนระดับด็อกเตอร์เขียน ให้เสมียนกรมประชาสัมพันธ์เขียนก็ได้ คนที่คิดว่าตัวเองฉลาดกลับอภิมหาบรมโง่เลย คือไปเชื่อโฆษณาล้างสมอง เวลาพูดถึงโครงการพระราชดำริทั้งหลายแหล่ มีการตรวจสอบไหม ไม่เคย บทบาทสถาบันกษัตริย์กรณีสวรรคต ร. 8 ,กรณี  6 ตุลา มีการตรวจสอบไหม ? ไม่เคย แต่คนมีการศึกษากลับเลือกจะเชื่อข้อมูลล้างสมอง ขณะที่ชาวบ้านกลับไม่เชื่อ เห็นว่านี่เป็นการโฆษณาล้างสมอง .

เขากล่าวย้ำว่านี่คือสาเหตุที่เขาเรียกร้องให้ปัญญาชนทั้งหลายแสดงบทบาทในการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ภายใต้ภาวะสังคมไทยเช่นนี้ต้องพยายามปลดล็อก
 

เขากล่าวว่า เขาเห็นว่าสุลักษณ์ยังเป็นปัญญาชนที่มีด้านที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แอนตี้ประชาธิปไตยด้วยซ้ำ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นฝ่ายปฏิกริยา และวิจารณ์เจ้าบนจุดยืนที่ต่างจากเขา คือปฏิรูปสถาบันกษํตริย์ให้เป็นประชาธิปไตย แต่เป็นจุดยืนด้าน Moral Fundamentalism คือการวิจารณ์จากคุณธรรมอะไรบางอย่าง เป็นภาพว่าเจ้าที่ดีต้องเป็นแบบนี้ (Ideal Type) แม้ว่าในรายละเอียดของการวิจารณ์เช่นสำนักงานทรัพย์สิน และประเด็นอื่นๆ คล้ายคลึงกัน


เขากล่าวว่า การวิจารณ์จากสุลักษณ์ส่วนใหญ่มาจากแนวทางนี้ และทำไมสุลักษณ์ถึงเกลียดทักษิณมาก เป็นคุณที่ไม่มีคุณธรรม แต่ปัญหาการวิจารณ์จากจุดยืนนี้เขาเห็นว่าเป็นปัญหาทั่วโลก แต่การวิจารณ์บนพื้นฐานศีลธรรมนั้นเป็นปัญหา และเป็นปัญหาเป็นพิเศษในกรณีของสังคมไทยคือ การวิจารณ์บนพื้นฐานศีลธรรมนั้นถึงที่สุดแล้วหลีกเลี่ยงความเป็นคนสองมาตรฐานได้ยาก


เขายืนยันว่าข้อเสนอ 8 ข้อของเขานั้นจะทำให้การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์มั่นคงกว่า และเป็นการปกปักรักษาสถาบันมากกว่า แต่เขาไม่อยากพูดเรื่องการปกปักรักษาสถาบันเพราะไม่อยากให้พูดอยูในรูปแบบเดียว


สำหรับประเด็นเรื่องทักษิณ เรื่องที่ตลกร้ายเกี่ยวกับข้อกล่าวหาว่าทักษิณทำลายสถาบันกษัตริย์ คือการให้เครดิตทักษิณมากเกินไป การบอกว่าทักษิณต้องการล้มเจ้า คือการให้เครดิตมากเกินไป สิ่งที่ทักษิณต้องการคือต้องการกลับไปปี 2544-2548 คือช่วงเวลาที่สถาบันกษัตริย์ Friendly กับเขาและไม่มายุ่งกี่ยวกับการบริหารบ้านเมืองและการเมือง


การวิจารณ์จากมาตรฐานศีลธรรมนั้นหลีกเลี่ยงการเป็นคนสองมาตรฐานและตลบแตลงตอแหลไม่ได้ แต่ต่อให้ใช้บรรทัดฐานศีลธรรมเองก็ตาม สถาบันกษัตริย์....อันนี้ผมพูดไม่ได้แล้ว ต้องระวังและพูดช้าๆ ผมท้าเลยว่าถ้าใคร apply หลักการแบบนี้ อย่าง อ.ไชยันต์ ไปฉีกบัตรเลือกตั้ง แล้วมีคนบอกว่ามีคุณธรรมมากเลย แล้วทำไมไม่เรียกร้องให้คุณชิต บุศย์ เฉลียว ไม่เรียกร้องว่าใครฆ่า ร. 8


หัวใจของสังคมสมัยใหม่และสังคมประชาธิปไตย หัวใจของมันคือ อำนาจที่มาจากการยินยอมพร้อมใจของผู้ถูกปกครอง เวลาด่าทักษิณว่าเหี้ย คนเลือกทักษิณเหี้ยด้วยหรือเปล่า คนที่เลือกทักษิณเป็นควาย อย่างพันธมิตรฯ ด่าคนที่เลือกนักการเมืองเป็นควายอย่างคงเส้นคงวา แต่อย่างอาจารย์สุลักษณ์จะอธิบายยังไง คนจน ชาวบ้านไม่ได้มีแต่คนอย่าง เจริญ วัดอักษร นะ แต่คนจน ชาวบ้านจำนวนมากที่เลือกทักษิณ พวกนี้เป็นเหี้ย เป็นควายหรือ นี่คือปัญหาแหล่งที่มาของอำนาจ ในโลกสมัยใหม่ หัวใจไม่ได้อยู่ที่การอ้างศีลธรรม Morality ต้องยอมรับความเป็นจริงว่าในสังคมสมัยใหม่คนล้านคนอาจจะมีวิธีคิดเกี่ยวกับศีลธรรมล้านแบบก็ได้ แต่เขามีความยินยอมพร้อมใจเลือก และใครอยากด่าใคร ล้อเลียนใครก็ทำไป


คุณบอกไม่ได้หรอกว่าอำนาจสถาบันกษัตริย์เป็นอำนาจที่มาจากความยินยอมพร้อมใจของประชาชน แต่นักการเมืองที่ว่าเหี้ยๆ ทั้งหลายแหล่ เขามีจุดที่ชอบธรรมคือได้อำนาจมาจากความยินยอมพร้อมใจของคนที่เลือกเขามา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปิยบุตร วิเคราะห์คำวินิจฉัยศาล รธน. กรณีม. 112 ดูจากรากคำวินิจฉัยส่วนตัวตุลาการ

Posted: 17 Mar 2013 01:52 AM PDT

เสวนา ศาลกับ "ความยุติธรรม" ในคดีมาตรา 112 โดย วาด รวี คณะนักเขียนแสงสำนึก สาวตรี สุขศรี คณะนิติราษฎร์ ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติราษฎร์ และยิ่งชีพ อัชฌานนท์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชนดำเนินรายการโดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปิยบุตร แสงกนกกุล

ชี้แจงกติกาและคำเตือน ว่าจำเป็นต้องอ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญบางท่อน มีหลายท่อนที่ยอพระเกียรติกษัตริย์ เวลาอ่านอย่าโห่ร้อง ภายใต้ระบอบปัจจุบัน การจะแสดงออกในที่สาธารณะทุกเรื่องเป็นเรื่องลำบาก การอภิปรายนี้เป็นการอภิปรายภายใต้ข้อจำกัด มาตรา 112

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 28-29/2555 ผู้ต้องหาคดี 112 สมยศ พฤกษาเกามสุข และเอกชัย หงส์กังวาน โต้แย้งไปที่ศาล รัฐธรรมนูญว่า มาตรา 112 ขัดมาตรา 3 ซึ่งเป็นหลักนิติธรรม ขัดมาตรา 25 ประกอบมาตรา 29 กระทบกับเสรีภาพมากจนเกิดไป

ตุลาการมีสองชุด ชุดหนึ่งตุลาการรัฐธรรมนูญแบบกษัตริย์นิยม และแบบประชาธิปไตยซึ่งตัดสินคดีไม่เหมือนกัน ถ้าเป็บแบบแรก ผลลัพธ์จะเห็นตามที่เห็น

เวอร์ชั่นแรก
คำวินิจฉัยฉบับนี้ ยาวประมาณ 10 หน้า ให้เหตุผลโดยนำสถาบันกษัตริย์ไปโยงกับความมั่นคงของชาติ และอธิบายลักษณะพิเศษ ลักษณะเฉพาะ และเอามาตรา 112 ไปผูกกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 8 ที่เขียนว่า "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่ เคารพสัก การะผู้ใดจะละเมิดมิได้ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระ มหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้" แล้ววินิจฉัยออกมาว่า มาตรา 112 ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ เพราะเหตุผลดังกล่าว ดังนั้นโทษที่สูงเช่นนี้จึงไม่เกินกว่าเหตุ

ทำไมแบบนี้เป็นแบบกษัตริย์นิยม เหตุผลในคำวินิจฉัยชัดแจ้งว่า กษัตริย์มาก่อนสิทธิเสรีภาพ มาก่อนทุกอย่างในประเทศนี้ การแสดงความสำคัญของกษัตริย์ ในคำวินิจฉัย บรรยายยืดยาวไปหมดแต่ไม่ใช่เหตุผลในทางกฎหมาย เป็นการยอพระเกียรติ พบได้ในหนังสืออาเศียรวาท แบบเรียนมาตรฐานไทย

แม้ศาลรัฐธรรมนูญไทยพยายามโฆษณาว่า ตนเองมีบทบาทสนับสนุนเรื่องสิทธิและเสรีภาพ เห็นหลายกรณี เช่น การแจ้งภาษีของคู่สมรส ไม่เสมอภาค, การจดทะเบียนสามารถใช้นามสกุลตัวเองได้, คุณสมบัติผู้สอบอัยการ ผู้พิพากษา แต่สิทธิเสรีภาพเหล่านี้ที่พยายามคุ้มครอง จะหยุดลงทันทีเมื่อเจอกับกฎหมายที่สร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของสถาบันกษัตริย์

มันเหมือนหัวสมองของตุลการศาลรัฐธรรมนูญมีสวิทช์เปิดปิด ถ้าเจอกับสถาบันกษัตริย์ สวิทช์เสรีภาพจะปิดลง

เวลาวิจารณ์ศาล โดยพูดทั้งองค์คณะจะเป็นการเหมารวม ศาลรัฐธรรมนูญมีองค์คณะ 9 ท่าน ซึ่งต้องทำความเห็นส่วนตัว เราไปค้นมาแล้วลองพิจารณาดู

วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ทำความเห็นโดยสรุปว่า กษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ เป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทยต้องพิทักษ์รักษาไว้ กฎหมายกำหนดสถานะไว้ให้เป็นประมุข และมอบสถานะพิเศษให้แก่ตำแหน่งใกล้เคียงอย่างพระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ การละเมิดต่อประมุขของประเทศย่อมกระทบความมั่นคงของประเทศด้วย กษัตริย์นอกจากจะทรงเป็นประมุขแล้วยังเป็นศูนย์รวมจิตใจ อาจมีจำนวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ไม่มีความรู้สึกดังกล่าว ถ้าไม่กำหนดโทษไว้สูงกว่าอาจเกิดชนวนขัดแย้งก่อให้เกิดการแก้แค้นล้างแค้น

ด้านความเห็นของจรัญ ภักดีธนากุล สรุปได้ว่า มาตรา 112 กำหนดบทลงโทษไว้ กายกรรมและวจีกรรมของประชาชนที่ล่วงละเมิด เป็นพฤติกรรมที่ทำร้ายจิตใจของชาวไทยอย่างกว้างขวางและรุนแรง จำเป็นต้องปราบปรามอย่างจริงจัง

จรูญ อินทจาร มีความเห็นโดยสรุปว่า ตีความมาตรา 8 ว่า ห้ามมิให้ฟ้องร้อง กล่าวหา ลบหลู่ดูหมิ่นพระองค์ (เขียนขึ้นมาเอง ม.8 ไม่ได้พูดแบบนี้) ประชาชนไทยผูกพันกับกษัตริย์ทุกพระองค์ ทุกพระองค์มีหลักทศพิธราชธรรม มีโครงการพระราชดำริต่างๆ เป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของไทย ที่มีกษัตริย์เป็นประมุขแม้มีการปกครองประชาธิปไตยเหมือนกันก็ตาม การหมิ่นกษัตริย์เป็นความผิดพิเศษ เพราะเป็นประมุขถาวร เป็นศูนย์รวมคนในชาติ

ความเห็นของ เฉลิมพล เอกอุรุ โดยสรุประบุว่า กษัตริย์สูงส่งทั้งทางศาสนาและสังคม โดยเฉพาะองค์ปัจจุบัน กษัตริย์ไทยทรงเป็นพ่อที่คนไทยรัก ผูกพันมากกว่าประเทศอื่นที่ผูกพันกับประมุขตัวเอง หลักนิติธรรมไม่ใช่การปกครองโดยกฎหมายเท่านั้น แต่ต้องเป็นไปโดยความถูกต้องโดยธรรม การกระทำความผิดตามมาตรา 112 กระทบต่อความมั่นคง การกำหนดโทษจึงเป็นไปเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม เป็นไปตามหลักนิติธรรมของกฎหมาย

ความเห็นของ ชัช ชลวร โดยสรุประบุว่า พระเกียรติคุณของกษัตริย์ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ ความจงรักภักดีอยู่ในจิตวิญญาของปวงชนชาวไทย สืบทอดมารุ่นสู่รุ่น หากกระทำการหมิ่นประมาท ย่อมเกิดความเกลียดชังกันระหว่างหมู่ชน เกิดความแตกแยก

ความเห็นของ นุรักษ์ มาประณีต และ บุญส่ง กุลบุปผา แสดงความเห็นคล้ายกัน โดยย้อนไปตั้งแต่ก่อนรัตนโกสินทร์ พูดถึงเรื่องเอกราช และเรื่องโครงการพัฒนาต่างๆ พร้อมระบุว่า มาตรา 112 เป็นมาตรการปกป้องสถาบันที่เหมาะสมแล้ว

ความเห็นของ สุพจน์ ไข่มุกด์ โดยสรุประบุว่า กษัตริย์มีบทบาทสำคัญยิ่ง ศูนย์รวมความรัก สามัคคี ไม่ควรที่บุคคลใดจะละเมิด เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ

อุดมศักดิ์ นิติมนตรี ทำความเห็นโดยสรุปว่า กษัตริย์มีสถานะแตกต่างจากบุคคลธรรมดา หากให้วิจารณ์จะเป็นการเปิดช่องให้เกิดการวิจารณ์กระทบต่อพระเกียรติ เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ เป็นผลร้ายต่อสังคมไทย วัฒนธรรมไทย กระทบต่อสถาบันซึ่งรัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครอง


ปิยบุตร กล่าวว่า สิ่งเหล่านี้เป็นอุดมการณ์ที่เสมือนอยู่ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราช หากตนเองเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตย จะวินิจฉัยว่า มาตรา 112 มีผลจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งรัฐธรรมนูญรับรอง กฎหมายที่จะจำกัดสิทธิเสรีภาพได้ตามที่รัฐธรรมนูญระบุ ต้องเขียนไปว่า จำกัดเพื่ออะไร และจำกัดให้สมควรแก่เหตุ มาตรา 112 จำกัดสิทธิเสรีภาพเพื่อคุ้มครองเกียรติยศ ชื่อเสียงของบุคคลอื่นเช่นเดียวกับการหมิ่นประมาทบุคคล การจะจำกัดต้องเท่าที่จำเป็นห้ามกระทบกระเทือนต่อหลักเสรีภาพ

เขาจะต้องวินิจฉัยว่า การจำกัดเสรีภาพ บรรลุวัตถุประสงค์เพราะคุ้มครองผู้อื่น แต่เกินความจำเป็น กระทบกระเทือนต่อสาระของเสรีภาพ เพราะเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นหัวใจสำคัญของประชาธิปไตย ทั้ง 4 ตำแหน่งเป็นตำแหน่งที่เป็นสถาบันการเมือง เป็นบุคคลสาธารณะ หลีกเหลี่ยงไม่ได้ที่ต้องถูกวิจารณ์บ้าง การลงโทษบุคคลที่เผยแพร่ความเห็น แล้วต้องเอาคนเหล่านั้นไปติดคุก ถือเป็นโทษที่มากจนเกินไปเมื่อเทียบกับการกระทำความผิด เป็นการจำกัดเสรีภาพมากจนเกินไป อัตราโทษ 3-15 ปี ระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์โทษยังน้อยกว่านี้ แสดงว่าระบอบประชาธปไตยจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็นเพื่อคุ้มครองสถาบันกษัตริย์ มากเสียกว่าระบอบเก่าเสียอีก และเกินความจำเป็น

นอกจากนี้ กฎหมายนี้ยังจำกัดเสรีภาพ ไม่สอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบันที่แต่ละคนต้องอดทนอดกลั้นต่อการถูกวิจารณ์ได้

สุดท้าย การวินิจฉัยว่า มาตรา 112 ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ขัด ถ้าเป็นแบบประชาธิปไตยก็ว่าขัด แบบกษัตริย์นิยมก็ว่าไม่ขัด ดังนั้น มันจึงแล้วแต่ศาลที่มีความคิดแบบไหน เป็นศาลระบอบอะไร

"คำวินิจฉัยนี้เป็นการเปลือยแก้ผ้าให้เห็นว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งเก้าท่านว่ามีความคิดแบบใด ความสามารถในการใช้และตีความรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยคดีเพื่อคุ้มครองเสรีภาพบุคคล จะสิ้นสุดลงทันที ไร้ความสามารถทันที เมื่อเจอกับกฎหมายที่คุ้มครองสถาบันกษัตริย์"

ปิยบุตรอ่านคำปฏิญญาการรับตำแหน่งตุลาการ พร้อมระบุว่า นี่อาจเป็นคำตอบของปัญหาทุกวันนี้

ปิยบุตร กล่าวต่อว่า มาตรา 112 กลายเป็นภาพแทนของสภาวะของระบอบนี้ ไม่ใช่แค่กฎหมายธรรมดา ไม่ใช่ความผิดอาญาทั่วๆ ไป เพราะท่านสามารถตีความแตกต่างกันได้ทุกเรื่อง แต่พอเรื่องนี้ มันหยุดทันที เป็น exception (ข้อยกเว้น) ตลอดเวลา เลยไปถึงโครงสร้างของสถาบันกษัตริย์ในสถานการณ์ปัจจุบันด้วย

คนที่เคยมีเหตุผล เคยวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างได้ แต่วิธีคิด ชุดเหตุผล มันหยุดลงทันทีเมื่อท่านเจออะไรก็ตามเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้คนซึ่งมีสติ มีเหตุผล มีความผิด หยุดคิดทันทีเมื่อเจอกับประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์

กฎหมายไม่สามารถทำให้คนหนึ่งรักอีกคนหนึ่งได้ คุกไม่สามารถทำได้ เขียนให้ประหารชีวิต เอาคนอีกเป็นแสนติดคุกก็ไม่มีทางทำได้ ด้วยความปรารถนาดีต่อกัน ถ้าหยุดใช้ มันอาจกลับมาเคารพอยู่ด้วยกันได้ แต่ถ้าใช้ต่อไป นอกจากไม่รักแล้วอาจจะยิ่งบานปลายเตลิดเปิดเปิงไปได้มากกว่านี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สาวตรี สุขศรี เปิดคำพิพากษา 112 ที่ขัดหรือแย้งหลักกฎหมาย

Posted: 17 Mar 2013 12:57 AM PDT

เสวนา ศาลกับ "ความยุติธรรม" ในคดีมาตรา 112 โดย วาด รวี คณะนักเขียนแสงสำนึก สาวตรี สุขศรี คณะนิติราษฎร์ ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติราษฎร์ และยิ่งชีพ อัชฌานนท์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
ดำเนินรายการโดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สาวตรี สุขศรี คณะนิติราษฎร์
คำพิพากษาของศาล เตรียมมาหลายประเด็น อาจไม่ได้เจาะจงคดีใดคดีหนึ่ง จะมุ่งเน้นตัวความหมายของกฎหมาย งานวันนี้เกิดขึ้นเพราะใน พ.ศ.นี้ ภายหลังมีตุลาการภิวัตน์ เราต้องยอมรับกันตรงๆ ว่า บทบาทและการทำหน้าที่ของตุลาการต้องถูกตั้งคำถาม คุณธรรมความดีทั้งหลายที่ยกขึ้นอ้างเสมอไม่ว่าสถานการณ์ใด วันนี้ถูกท้าทายแล้ว ว่าความดีที่พูดถึงมันสอดคล้องหรือเปล่ากับอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ ความท้าทายนี้ไม่ได้เกิดจากประชาชนอย่างเดียว แต่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมขององค์กรตุลาการเองที่ทำตัวเอง ก่อให้เกิดการตั้งคำถามต่อจริยธรรมและการใช้หลักกฎหมายในการตัดสินคดี

ปัญหาที่จะพูดถึง จะแบ่งเป็น 5 ประเด็น
ประเด็นที่ 1 คำพิพากษา หลายคดีถูกตั้งคำถามว่าขัดหรือแย้งกับหลักกฎหมายที่สำคัญหรือไม่
คงยังจำกันได้ มีคดีใหญ่ก่อนคดีสมยศ คือ คดีของอากง (อำพล ตั้งนพกุล)  ประเด็นในคดีนี้มีปัญหาทางกฎหมายค่อนข้างมาก ในทางอาญามีหลักใหญ่ที่บอกว่า จะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาว่าเขาเป็นผู้มีความผิด หลักนี้นำสู่หลักอื่นที่คุ้มครองผู้กระทำ มาตรา 227 ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น การที่ศาลจะลงโทษใครในทางอาญา โจทก์จะต้องพิสูจน์จนสิ้นสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด แต่ในคดีของอำพล มีหลายประเด็นที่ยังไม่สิ้นสงสัย และมีลักษณะพิพากษาไปโดยขาดไร้ประจักษ์พยาน คดีเทคโนโลยีไม่มีประจักษ์พยาน แต่จะลงโทษ 20 ปี จะต้องมี "พยานแวดล้อมกรณี" ที่หนักแน่นพอที่จะพิสูจน์อย่างสิ้นสงสัยได้ว่าบุคคลผู้นี้กระทำความผิด แต่พยานแวดล้อมไม่มีเลย ที่จะชี้ว่า อำพลเป็นผู้กดส่งด้วยตัวเอง เป็นการขัดหรือแย้งกับหลักกฎหมายอาญา  ที่พูดถึงสิทธิของจำเลย

ความสงสัยนี้เช่นเดียวกับคดีสมยศ เราบอกว่าคนเขียนตีความแบบนี้ ศาลและโจทก์จะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าคนอ่านแล้วจะตีความอย่างคนเขียน มีลักษณะการไม่สิ้นสงสัย ถ้าหยิบคำพิพากษาสมยศมาดู จะมีการเชิญพยานโจทก์และจำเลยมาสืบสู้กัน ในคำพิพากษาประมาณ 20 กว่าหน้า ประมาณเกือบ 10 หน้าจะพูดถึงพยานฝ่ายโจทก์ว่าอ่านบทความแล้วรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร ฝ่ายจำเลยนำพยานผู้เชี่ยวชาญมาสืบบ้าง ในคำพิพากษาเขียนไว้ 5 บรรทัดที่กล่าวชัดๆ ว่าพยานฝ่ายจำเลย มีปิยบุตร แสงกนกกุล สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ด้วย ซึ่งให้การตีความแตกต่าง แสดงถึงความไม่เท่าเทียมกันในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานระหว่างฝ่ายโจทก์และจำเลย นำสู่คำตัดสินทำนองว่า สันนิษฐานไว้เลยว่า เมื่อคุณเป็นบรรณาธิการย่อมต้องรู้ความหมายของผู้เขียน

ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้นสำหรับการตีความ การที่ศาลจะลงโทษสมยศได้ต้องเกิดในกรณีที่ชี้ชัดได้เท่านั้นว่าสมยศเห็นข้อความทั้งหมด และมีพยานแวดล้อมอื่นที่ตีความได้ว่าอ่านแล้วเห็นเป็นเช่นเดียวกันกับคนเขียน ลักษณะเช่นนี้ยังพอจะชี้เจตนาเผยแพร่บทความได้ สุดท้ายศาลลงโทษ 10 ปี น่าจะขัดกับหลักพิสูจน์พยานจนสิ้นสงสัย

ถ้าเปิดดูคำพิพากษา "แม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบแสดงให้เห็นได้ชัดแจ้งว่า จำเลยเป็นผู้ส่งข้อความ แต่ก็เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะสืบด้วยประจักษ์พยาน เนื่องจากผู้ทำผิดลักษณะร้ายแรงดังกล่าว ย่อมต้องปกปิดการกระทำของตนไม่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ และจะอาศัยโอกาสกระทำเมื่อไม่มีผู้ใดรู้เห็น" เหมือนกับจะผลักภาระการพิสูจน์ให้จำเลย นอกจากขัดกับเรื่องพิสูจน์จนสิ้นสงสัยแล้ว ยังขัดกับหลักที่ว่า ในคดีอาญา ฝ่ายโจทก์มีภาระการพิสูจน์ความผิดของจำเลยให้ศาลเห็นจนสิ้นสงสัย เมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ ศาลมีเหตุสงสัยตามสมควร ศาลต้องยกประโยชน์ให้จำเลย

ประเด็นที่ 2 กระบวนการพิจารณา เช่น กรณีการตัดพยาน ที่จะพูดถึงคือ กระบวนการที่จะให้สิทธิจำเลยได้ต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ มาตรา 40 (7) ของรัฐธรรมนูญ ระบุว่า ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องได้รับการพิสูจน์อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ถามว่ากระบวนการดำเนินคดี มาตรา 112 มีใครบ้างที่ได้รับการปล่อยตัว มีแต่ผู้มีชื่อเสียง

สมยศ ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว 13 ครั้ง โจ กอร์ดอน 9 ครั้ง  คดีคุณสุรภักดิ์ ถูกฟ้องแล้วตัดสินยกฟ้อง เพราะยังไม่สิ้นสงสัย แต่คุณสุรภักดิ์ติดอยู่ในเรือนจำหนึ่งปีกว่าๆ คดีอำพล ทำคำร้องขอปล่อยชั่วคราว รวม 8 ครั้ง, ครั้งแรกที่ขอขอชั้นสอบสวน ตำรวจปล่อย แต่ในชั้นพิจารณา ศาลเรียก คุณอำพลมา แต่กลับสั่งขัง แล้วภายหลังอย่างน้อย 7 ครั้งศาลไม่ปล่อย โดยอ้างว่า เป็นคดีความผิดร้ายแรง, เกรงว่าจำเลยจะหลบหนี, เป็นคดีสะเทือนจิตใจกับประชาชน เหตุผลนี้มีอยู่ตลอด อันหนึ่งที่มีอยู่สม่ำเสมอ คือ กระทบกระเทือนจิตใจประชาชน อย่างนี้เป็นเหตุในการไม่ปล่อยตัวได้ไหม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 ระบุว่า การส่งไม่ปล่อยชั่วคราวจะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งต่อไปนี้  1.ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี 2.จะยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน จะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่มีความน่าเชื่อถือ การปล่อยชั่วคราวจะก่ออุปสรรคให้เกิดกความเสียหายต่อการดำเนินคดี ไม่มีที่เขียนว่า "สะเทือนขวัญประชาชน" ถ้ามีคำแบบนี้ คดีฆ่าคนตายไม่ได้ประกันทั้งนั้น เพราะล้วนเป็นเหตุสะเทือนขวัญ

ท่านก้าวล่วงไปในอำนาจนิติบัญญัติโดยกำหนดเหตุแห่งการปล่อยตัวชั่วคราวขึ้นมาเอง เป็นการบัญญัติกฎหมาย บัญญัติเหตุขึ้นมาเอง

ประเด็นที่ 3 การตีความและการให้ข้อสันนิษฐานที่ถูกตั้งคำถามได้ว่าไม่สอดคล้อง กับอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ 
มาตรา 112 "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี" คำว่า หมิ่นประมาทและดูหมิ่น ต้องตีความตามกฎหมาย เช่นเดียวกับกฎหมายที่ใช้กับประชาชนคนธรรมดา แต่มีหลายกรณีคำพิพากษามีการตีความเกินกว่ากฎหมาย เช่น คดีเจ๋ง ดอกจิก หรือ ยศวริศ ชูกล่อม ทำท่าทางหนึ่ง คือ ปิดปาก ตัวเองเพราะบอกว่าพูดไม่ได้ แล้วชี้มือขึ้นไป ศาลตีความว่า สิ่งนี้หมายถึงใครไม่ได้เลย อีกคดีหนึ่ง คดีนางสาวปภัชนันท์ ที่เขียนคำว่า "พระองค์ท่าน..." แล้วอีกบรรทัด เขียน "พล.อ.เปรม ...." เขียนติดที่โลงศพจำลองแล้วนำไปเผา เกิดที่ จ.โคราช คำว่าพระองค์ท่านแปลเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ ลักษณะแบบนี้ เป็นเรื่องการตีความเกินไปจากตัวบท สิ่งที่ควรจะเป็น จากนี้ไปไม่ใช่แค่ดูหมิ่น หมิ่นประมาท แต่เพียงแสดงความไม่เคารพ ก็จะถูกฟ้องคดีด้วย

ทำไมตีความแบบนี้ เพราะผู้พิพากษาใช้อุดมการณ์การตีความแบบยุคที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย ใช้อุดมการณ์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในการตีความสิ่งเหล่านี้

อีกอันหนึ่ง ตอนหลังกฎหมายหลายฉบับ พยายามบัญญัติให้องค์คณะประทับตราอะไรบางอย่าง เพื่อจะบอกว่าดุลยพินิจของเจ้าพนักงานของรัฐเป็นเรื่องถูกต้องไม่สามารถโต้แย้งอะไรได้ กรณีที่เกิดกับนิติราษฎร์เอง มีบทความหนึ่งถูกปิดกั้น คำปิดกั้นนี้มาจากไอซีที ปิดกั้นประกาศคณะราษฎรที่เปลี่ยนประเทศไทยจากสมบูรณาญาสิทธิราชสู่ประชาธิปไตย โดยให้เหตุผลว่า ขัดต่อความมั่นคง ตาม มาตรา 20 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ศาลสั่งปิดกั้นหน้านี้ คำถามคือ ศาลเป็นคนประทับตราสั่งปิดกั้น เท่ากับศาลบอกว่าเจ้าพนักงานมีดุลยพินิจเรื่องการขัดความมั่นคง มียูอาร์แอลทั้งหมด 175 เว็บเพจเป็นลิสต์ยาว นิติราษฎร์อยู่ลำดับที่ 111 แล้วทั้ง 175 ยูอาร์แอลก็ถูกปิดกั้น โดยคำสั่งศาลฉบับเดียวกันนั้นเอง สรุปแล้ว ประกาศคณะราษฎรขัดต่อความมั่นคงหรือ

ถ้าไปดูภายหลังที่นิติราษฎร์ถูกปิด แล้วเสิร์ชหาประกาศคณะราษฎร ยังมีอีกมากมายหลายร้อยเว็บที่ประกาศฉบับนี้แสดงอยู่ หมายความว่า กฎหมายที่ต้องการให้ศาลกลั่นกรองดุลยพินิจของเจ้าพนักงานนั้นไม่ได้ผล ไม่ได้ช่วยกลั่นกรองเลยแม้แต่น้อย

สุดท้าย  ศาลถูกตั้งคำถามดังกล่าวมา อีกอันหนึ่งที่น่าสนใจคือ เราตั้งคำถามกันตามประสาประชาชน เราทำอะไรได้ไม่มากเพราะศาลมีกฎหมายคุ้มครอง มาตรา 198 ลงโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี เขามีสิ่งนี้คุ้มครองไว้ แต่ว่าต้องดูดีๆ เขาไม่ได้คุ้มครองให้ตัดสินแบบขัดกับหลักกฎหมาย เขาคุ้มครองให้ท่านทำหน้าที่โดยอิสระเท่านั้น มีหลายคนคิดผิดพลาดไป ความเป็นอิสระไม่ได้หมายความว่าตรวจสอบไม่ได้ ศาลต้องถูกตรวจสอบได้

ขอยกคดีนี้ปิดท้าย คดีนานแล้ว ฎีกา 1650/2514 เกี่ยวกับมาตรา 198 ว่าด้วยการดูหมิ่นผู้พิพากษา ตัดสินลงโทษจำเลย คดีนี้ จำเลยถูกฟ้องคดีอาญา ชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ จำเลยพิมพ์กล่าวถึงพฤติกรรมของอธิบดีผู้พิพากษาทำให้คดีรวบรัด ว่า "ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย โดยไม่คำนึงถึงหลักกฎหมาย ความยุติธรรม ประชาชนที่เดือดร้อนจะวิ่งไปขอความยุติธรรมต่อศาลเพื่อให้สิ้นเปลืองเงินทองเพื่อประโยชน์อันใด"

พูดแบบนี้ศาลลงโทษ มาตรา 198 อย่างนี้เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ ถ้าตัดสินแบบนี้ ที่ขึ้นมาเวทีวันนี้โดนหมด นี่คือลักษณะของการตีความเพื่อจะคุ้มครององค์กรของตนเอง พูดกันตรงๆ

นอกจากนี้ กรณีการแบนรายการตอบโจทย์ ส่วนตัวคิดว่า ถึงแม้ผู้บริหารจะออกมาบอกว่าไม่มีใครอยู่เบื้องหลัง ไม่มีคำสั่งศาล ทหารไม่ได้ตบเท้า ทางวังไม่ได้ยุ่งอะไรทั้งสิ้น เป็นการเซ็นเซอร์ตัวเอง แต่อยากตั้งประเด็นว่า ในประเทศที่มีบรรยากาศประชาธิปไตยจริงๆ การเซ็นเซอร์ตัวเองจะไม่เกิดขึ้น สิ่งที่ตอบโจทย์เอามาพูดหลายตอน เป็นนักกฎหมายตอบว่าไม่มีอะไรผิดกฎหมายเลย เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ปกติ  ประเทศเราอยู่ในบรรยากาศของความกลัว ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น บรรยากาศแบบนี้จึงเกิดการเซ็นเซอร์ตัวเองขึ้น
 
ถามว่าบรรยากาศแบบนี้มาจากไหน ไม่ได้มาจากสื่อ แต่ส่วนสำคัญมาจากบรรดาคำพิพากษาของศาลแบบที่เราวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ มาจากทหารที่จะตบเท้าตลอดเวลา มาจากรัฐบาลที่ไม่กล้าจะแตะต้องมาตรา 112 เลย แม้ประชาชนเรือนหมื่นจะเข้าชื่อแก้ไข สิ่งเหล่านี้มันสะสมมา กลายเป็นบรรยากาศไม่เป็นประชาธิปไตย การเซ็นเซอร์ของสื่อจึงเกิดขึ้น แม้จะบอกว่าเป็นการเซ็นเซอร์ตัวเอง แต่บรรดาสถาบันการเมืองทั้งหลายก็ไม่พ้นไปจากความรับผิดชอบต่อการแบนเรื่องนี้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น