โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

Electrolux กับภูมิศาสตร์แห่งการขูดรีด

Posted: 12 Mar 2013 03:26 PM PDT

ในเดือนกันยายน 2005 (พ.ศ. 2548) เมื่อโรงงาน Electrolux ในเมืองกรีนวิลล์ (Greenville) มิชิแกน (Michigan) สหรัฐอเมริกา ถูกปิดตัวลง คนงาน 2,700 คนต้องกลายเป็นคนตกงาน ที่ไม่รู้อนาคตตัวเอง[i]

นักการเมืองท้องถิ่นทำได้เพียงก้มหน้ารับ "ภาวะจำยอม" เมื่ออ้างคำพูดของ Electrolux ที่ว่าโรงงานจ่ายคนงานในเม็กซิโกเพียง $2 ต่อชั่วโมงเท่านั้น เมื่อเทียบกับ $13$-$15ต่อชั่วโมงสำหรับคนงานกรีนวิลล์[ii]

การปิดโรงงานลงในลักษณะนี้ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความรู้สึกสิ้นหวังกับคนงาน หลายต่อหลายครั้งยังก่อให้เกิดการต่อต้านจากชุมชน  ในปีก่อนหน้านั้น (พ.ศ. 2547)  เมื่อชุมชนได้รับทราบข่าวว่า Electrolux จะย้ายฐานการผลิตจากกรีนวิลล์  จิม ริงค์ (Jim Rinck) กรรมการคนหนึ่งของโรงเรียนในท้องถิ่นเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการโรงเรียนให้ปฏิเสธการเสนอประมูลจัดซื้อวัสดุจาก Electrolux ของโรงเรียน[iii]

จิมให้สัมภาษณ์กับ Grand Rapids หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นว่า "บริษัทจำนวนมากกำลังจัดจ้างคนงานภายนอก แต่การกระทำของ Electrolux เผยให้เห็นว่า (บริษัท) เป็นแค่พวกคนชั้นต่ำที่โลภมากกลุ่มหนึ่ง" เขากล่าวเสริม "พวกเราต้องยืนขึ้นร่วมกันคน (งาน) กรีนวิลล์และสนับสนุนพวกเขา"

ข้อเสนอของเขาได้รับการตอบรับอย่างดีจากที่ประชุม หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่บริหารของโรงเรียนทำได้เพียงซื้ออะไหล่เพื่อทดแทนเครื่องใช้ที่มีอยู่เดิม ในกรณีที่อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการมีเพียง Electrolux เท่านั้นที่ผลิต กรรมการโรงเรียนจะลงมติเกี่ยวกับการจัดซื้อเป็นเรื่องๆ

ในปีที่แล้ว (พ.ศ. 2555) โรงเรียนดังกล่าวได้รับเลือกเป็นหนึ่งใน 48 โรงเรียนจากทั่วสหรัฐ เพื่อรับเงินทุน $100,000 จากห้าง Target ผ่านทางรายการ   The Ellen DeGeneres Show หลังจากผู้บริหารส่งเรื่องราวการต่อสู้ของชุมชนในกรณีการปิดตัวของ Electrolux เข้าไปในรายการ[iv] อันที่จริง เงินก้อนดังกล่าวเป็นรางวัลปลอบใจที่ไม่น้อย สำหรับความกล้าหาญของโรงเรียนเล็กๆ ที่พยายามแสดงออกถึงความไม่พอใจต่อความละโมภของบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่อย่าง Electrolux  

อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับต้นทุนทางสังคมที่เกิดขึ้นกับชาวกรีนวิลล์ และต้นทุนในรูปตัวเงินที่ Electrolux สามารถประหยัดลงไป โดยการย้ายฐานการผลิตแล้ว เงินก้อนดังกล่าวแทบจะเรียกได้ว่าน้อยนิด

ในระหว่างปี 2002 -2005 (พ.ศ. 2545 – 2548) นักวิชาการ 2 คนจากมหาวิทยาลัย Western Australia คือ Rob Lambert และ Michael Gillan ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้อยู่อาศัยในเมืองออเรนจ์ (Orange) นิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) ประเทศออสเตรเลีย เกี่ยวกับผลกระทบต่อชุมชนหลังจาก Electrolux เข้าซื้อโรงงานผลิตตู้เย็นในเมืองออเรนจ์ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานถึง 65 ปีและมีการจ้างงานคนในชุมชนถึง 1,800 ตำแหน่ง[v]

ในบทความวิชาการของทั้งสองคน พวกเขาได้วิเคราะห์ถึงกลยุทธ์ทางด้านภูมิศาสตร์ที่ Electrolux ใช้ในการหาประโยชน์จากค่าแรงถูกในภูมิภาคต่างๆ  และแนวโน้มระยะยาวของการย้ายฐานการผลิตจากสหรัฐฯ และยุโรป หรือประเทศชั้นในเช่น สวีเดน อิตาลี เยอรมัน ไปยังประเทศชั้นนอก คือ เม็กซิโก โรมาเนีย ฮังการี รวมทั้งจีนและไทย ตามลำดับ

ผลิตภาพส่วนเกินจากการผลิตในประเทศอุตสาหกรรมตั้งแต่ทศวรรษ 1970s  เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้บรรษัทข้ามชาติเหล่านี้ ขยายตลาดรวมทั้งฐานการผลิตออกไปในเอเชียและลาตินอเมริกา โดยมี General Electric Appliance เป็นต้นแบบในการนำกลยุทธ์ด้านภูมิศาสตร์มาใช้ในสเกลระดับโลก

ทั้งนี้ การศึกษาของนักวิชาการทั้งสองเปิดเผยให้เห็นว่า  Electrolux เป็นผู้นำในการนำกลยุทธ์ของการปิดโรงงาน (รวมทั้งข่มขู่ว่าจะปิดโรงงาน) และการลดขนาดโรงงานมาใช้ในการเพิ่มอัตรากำไรของบริษัท โดยแนวโน้มนี้ปรากฎให้เห็นตั้งแต่ช่วงปี 1997-98 (พ.ศ. 2540-41)  และปรากฎให้เห็นชัดเจนหลังปี 2002 (พ.ศ. 2545)

วิธีการที่เป็นแบบฉบับเฉพาะของ Electrolux ก็คือ การกดดันให้สหภาพแรงงานยอมต่อรองข้อตกลงในสัญญาการจ้างในระยะสั้น เช่น เป็นรายปี เพื่อให้บริษัทนำเรื่องการปิดโรงงานมาใช้เป็นข้ออ้างในการบังคับใช้เงื่อนไขที่เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท ขณะเดียวกัน บริษัทจะทำการลดขนาดโรงงานลงเรื่อยๆ เพื่อขยับขยายโอกาสในการแสวงหาแหล่งที่ตั้งใหม่ที่มีค่าแรงถูกกว่า นอกจากนี้ Electrolux  ยังมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนย้ายจากประเทศที่มีค่าแรงสูงและสหภาพแรงงานเข้มแข็ง ไปยังประเทศที่ค่าแรงถูก รวมทั้งสหภาพแรงงานยังไม่เกิดขึ้นหรือไม่เข้มแข็งนัก

นอกจากนี้ ข้อสังเกตที่น่าสนใจจากการศึกษาผลกระทบต่อชุมชนในออสเตรเลียดังกล่าว คือ กลยุทธ์ของ Electrolux มีส่วนทำลายความรู้สึกผูกพันกับสถานที่ (place) ของคนงาน ในระดับบุคคล ยังส่งผลต่อความเชื่อมั่น ความรู้สึกความปลอดภัยในทางเศรษฐกิจและอำนาจต่อรองของคนงาน ส่วนในแง่ของชนชั้นนั้น ยังทำลายความเป็นหนึ่งเดียวกันและจิตสำนึกร่วมกันของคนงาน เพราะกลยุทธ์ดังกล่าวเป็นอุปสรรคในการจัดตั้งคนงานในระยะยาว

ขณะที่กำลังเขียนบทความนี้ คนงานอิเล็คโทรลักซ์กว่าร้อยชีวิตที่ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมโดย Electrolux Thailand ใน จ. ระยอง ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ยังคงรอคอยคำตอบจากบริษัทที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ถึงแม้ข่าวล่าสุด (28 มีนาคม)  ว่าบริษัทจะรับคนงานทั้งหมดกลับเข้าทำงาน แต่เมื่อคนงานเดินทางไปยังโรงงานด้วยตนเอง ฝ่ายบริหารกลับปฏิเสธข่าวดังกล่าวนั้น อาจกลายเป็นเพียงการซื้อเวลาให้นายจ้างได้มองหาทำเลใหม่สำหรับโรงงานแห่งต่อไป[vi]




References

[i] Julia Bauer / The Grand,Rapids Press. (2005, Sep 03). The big goodbye ; 829 electrolux workers walk out of plant in first wave of layoffs. The Grand Rapids Press, pp. 0-B.1.

[ii] Bailey, R. L. (2004, Mar 06). Manufacturing workers' rally fights job flight. Knight Ridder Tribune Business News, pp. 1-1.

[iii] Dave Murray / The Grand,Rapids Press. (2004, Feb 02). Boycott proposal gets cool reception ; grand rapids school board member jim rinck suggests shunning electrolux products. The Grand Rapids Press, pp. 0-D3.

[iv] http://www.mlive.com/news/grand-rapids/index.ssf/2012/01/west_michigan_principal_says_b.html

[v] Lambert, R., & Gillan, M. (2007). "Spaces of hope"? fatalism, trade unionism, and the uneven geography of capital in white goods manufacturing. Economic Geography, 83(1), 75-95.

[vi]อ่านข่าว Electrolux สนใจลงทุนในฟิลิปปินส์ได้ที่ "Swedish firms keen to invest in the Philippines." BusinessWorld. (March 5, 2013 Tuesday ): 238 words. 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Zero Dark Thirty ผลิตซ้ำอุดมการณ์ อเมริกัน Hero(in)

Posted: 12 Mar 2013 03:05 PM PDT

สองสามประเด็นที่ดูจบแล้ว ชวนให้ขบคิด 

อันแรกเลยคือ คาดหวังไว้มากก่อนเข้าไปดูเพราะรางวัลหนังยอดเยี่ยมจากสมาคมนักวิจารณ์นิวยอร์ค (The New York Film Critics 2012) และอื่นๆมากมายรวมทั้งเข้าชิงหนังยอดเยี่ยมออสการ์ ทำให้คิดว่าน่าจะมีมุมมองแปลกใหม่ในการนำเสนอ ความขัดแย้งของอเมริกากับประเทศอื่นๆบ้าง  อย่างน้อยผู้กำกับหญิงอาจจะมีมุมมองผู้หญิงที่นึกไม่ถึง   ซึ่งก็มีจริงๆ แต่ก็น่าชวนให้คิดย้อนไปถึงอุดมการณ์ที่มากับ Spy-themed entertainment  บางประการ

ประเด็นแรก  ที่ชวนคิดคือการใช้ตัวละครหญิงนำ ในสิ่งที่ผู้ชายเคยนำ และแถม Kathryn Bigelow ผู้กำกับเป็นผู้หญิงด้วย  มีหลายฉากหลายตอนที่หนังทำได้แค่  การเชิดชูผู้หญิงคนเดียวโดดๆ  ที่สามารถทำได้แบบผู้ชาย  กลายเป็นเฟมินิสต์ขั้นไร้สติ  เช่น ฉากที่นางเอกอยู่ท่ามกลางหน่วยรบซีลกล้ามโตทั้งหลายจนดูโดดเด่น (เนื่องจากมุมกล้องและการจัดแสง)  ฉากรอดูความสำเร็จและเดินเข้าไปตรวจศพ  ฉากอีกหลายฉากที่เน้นความเป็นฮีโร่หญิง เชื่อมั่น เด็ดเดี่ยว ฉลาด  ไม่มีความอ่อนแอ อ่อนโยนใดๆ  ใช้ภาษาแบบผู้ชาย  ทั้งมุมกล้องและการเคลื่อนกล้องก็ส่งให้นางเอกกลายเป็นฮีโร่ขึ้นมา  ทั้งที่ในความเป็นจริง การทำงานลักษณะนี้น่าจะต้องเป็นทีมอยู่มาก แต่หนังก็ทำให้บรรดาผู้ชายทั้งหมดกลายเป็นผู้ช่วยของเธอได้  ดูไร้ความสามารถ  ป่าเถื่อน  โหดร้าย  โง่มากบ้างน้อยบ้างคละกันไป 

อย่างไรก็ตาม  ฉากที่ใช้เป็นมุมมองความเป็นหญิงได้สะเทือนใจ คือ ฉากท้ายๆของการไล่ล่าบินลาเดน  ที่หน่วยซีลก็ฆ่าไม่ละเว้นแม้แต่ผู้หญิง ซึ่งผู้กำกับน่าจะจงใจให้ฉากเหล่านี้ชัดเจน และสะเทือนใจ  ว่ามันเป็นการฆ่าที่ไร้เหตุผล ไร้มนุษยธรรม และไม่มีความชัดเจนด้วยซ้ำว่าเป้าหมายอยู่ไหน  คือใคร  แม้จะต้องเสี่ยงฆ่าเด็กและผู้หญิงไปบ้างก็ตาม

ประเด็นที่สอง  ความลักลั่นของหนังที่ผู้กำกับอาจจะจงใจ ไม่ตัดสินนำเสนออะไรให้ชัดเจนว่า ขีดคั่นทางศีลธรรมหรือความชอบธรรมโน้มเอียงไปทางใด  ทำให้การตีความก็เป็นไปตามบริบทของคนดูอย่างหลากหลายมาก  

ความจริงโดยส่วนตัวคิดว่า  บิเกโลว์ ไม่ใช่คนที่จะมีมุมมองธรรมดาของการเอาชนะบิน ลาเดนแบบสำนักข่าว CNN หรือฝ่ายซีไอเอกรอกหูผ่านสื่อหลายๆอย่าง  ส่วนตัวคิดว่า บิเกโลว์ต้องการให้เห็น การไล่ล่าศัตรูของชาติที่ไม่มีเหตุผล  ไร้ตรรกะหรือความชอบธรรมใดๆ  อคติที่อยู่เหนือมนุษยธรรม ความชอบธรรมในการทรมานมนุษย์  และถึงที่สุด  การตัดสินใจถล่มบ้านใครคนหนึ่งเพื่อหมายจะฆ่าศัตรู  ก็ยังไม่แน่ใจด้วยซ้ำไปว่า  มันใช่ เป้าหมาย"หรือไม่  เพียงแค่สงสัย  ก็ฆ่าไว้ก่อนแล้ว ขนาดฆ่าเอาศพมาแล้วยังไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่าใช่ "เป้าหมาย"หรือไม่  เป็นตลกร้ายที่ขำไม่ออก   

แม้จะเชื่อว่าบิเกโลว์พยายามจะสื่อสิ่งเหล่านี้   แต่หนังก็ไม่อาจนำพาไปสู่การตั้งคำถามต่อสิ่งเหล่านี้อย่างมีพลัง  ตรงข้ามอาจจะมีหลายฉากที่ส่อให้เห็นถึง  การสนับสนุนให้คนดูคิดว่า พวกมุสลิมที่อยู่ในข่ายต้องสงสัยสมควรตายหรือได้รับโทษ  และปฏิบัติการในช่วง Zero dark thirty  หรือ 30 นาทีหลังเที่ยงคืน ก็เต็มไปด้วยความองอาจ เก่ง เด็ดเดี่ยว  ไฮเทค  กล้าหาญ  ที่สามารถช่วยปลิดชีพฆาตกรโลก (ในความหมายของอเมริกัน) ได้อย่างเรียบร้อย  

ที่สุ่มเสี่ยงที่สุดคือ  ตรรกะ Narrative แบบสูตรสำเร็จ ที่ขึ้นต้นด้วยดราม่าคนใกล้ตายช่วงถล่มตึกเวิล์ดเทรดในวัน 9/11 ตามด้วยการทรมานนักโทษมุสลิม  การฆ่าซีไอเออเมริกันซ้ำเพื่อย้ำถึงความชอบธรรมในการทำสงครามกับฝ่ายศัตรู  การทรมานนักโทษซ้ำๆกันจนความลับเปิดเผย  ขั้นตอนการทำงานอันเฉลียวฉลาดของซีไอเอหญิง นำมาสู่การปลิดชีพบิน ลาเดนในที่สุด  การวาง Narrative เช่นนี้นำไปสู่ความเข้าใจได้ไม่ยากว่า  "คนผิด" (ในความหมายของซีไอเอ ณ ยูเอส) จะได้รับการทรมานจนกว่าจะได้รับโทษตายในที่สุด

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  การให้ตัวเอก มายา ซึ่งเป็นผู้หญิงเริ่มต้นอาการเห็นการถูกทรมานด้วยความคับข้องใจ แต่แล้วก็พัฒนาให้โหดขึ้นเรื่อยๆ  จนกลายเป็นคนทรมานนักโทษเสียเอง  ภายใต้รหัสเก๋ๆ ของC.I.A.ว่า  "enhanced interrogation techniques" และได้ผลดีเสียด้วย  นักโทษชายต่างเชื้อชาติ  ต่างอุดมการณ์แรงกล้าทั้งหลาย  ต่างยอมจำนนและคายความลับออกมา  จนนำไปสู่การสังหารบุคคลที่ต้องการได้   การเล่าเรื่องและใช้ฉากเหล่านี้นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ขนาดนักเขียนรางวัล Pulitzer Prize-  Steve Coll ก็โดดมาร่วมวงด้วย

ประการหนึ่งที่คนดูหนังต้องรู้ไว้ก่อนเลยคือ  คือโดย Concept ของหนัง มันสร้างอยู่บน "อุดมการณ์" ที่ถูกกำหนดไว้ก่อนแล้ว(อย่างไม่รู้ตัว)ว่า  ผู้สมควรตายคือบิน ลาเดน  และ "อุดมการณ์" ที่ว่าผู้ก่อการร้ายต่างเชื้อชาติก็โหดร้ายพอที่จะระเบิดพลีชีพจนอเมริกันตายไปอีกหลายศพ จนนำพานางเอกมาสู่อารมณ์พลุ่งพล่านแก้แค้นแทนเพื่อนร่วมงาน  นอกเหนือจากสั่งสมความรักชาติ แบบซีไอเอไว้เต็มเหนี่ยวแล้ว  ฉะนั้น  หนังจึงไม่สามารถขุดราก ตั้งคำถามในเชิงความชอบธรรมต่างๆ และลุ่มลึกพอเกี่ยวกับแง่มุมของอคติ การกดขี่  ผลประโยชน์ที่มีด้วยกันทั้งสองฝ่ายหรือสามฝ่ายในสงครามนี้

แม้หนังจะจบด้วย  ความสับสน  ว่างเปล่าของตัวมายา  เพราะหนังทำได้ชัดในฉากสุดท้ายว่า ที่สุดแล้วหลังการสังหารศัตรูเธอก็ไม่รู้จะไปไหนทำอะไร  เพราะตลอดชีวิตเธอคือการไล่ล่าคนๆหนึ่ง  ทั้งชีวิตเธอทุ่มเทให้กับการเฝ้าสังเกตศัตรูของชาติ (ที่ถูกกล่อมเสมอว่าเป็นภัยคุกคามโลก)  จนเมื่อภารกิจเสร็จสิ้นแล้ว  เธอก็ไม่รู้ว่า  ชีวิตจะไปไหน ทำอะไรต่อ หรือเอาเข้าจริง อาจเป็นไปได้ว่า เธอก็ไม่รู้ว่าภารกิจที่ทำไปมันถูกต้องหรือไม่ และไล่ล่าสังหารบิน ลาเดนไปทำไม  ในส่วนนี้หนังทำได้ดี  แต่ความสุ่มเสี่ยงอีกหลายประเด็นของหนัง เช่น  รวมทั้งภาพตัวแทนต่างๆของโลกอาหรับ   ก็ชวนให้คนดูอีกมากตีความไปได้ว่า  การทำงานหนักเพื่อการสังหารคนๆหนึ่ง  น่าจะเป็นเรื่องที่น่าจับตามอง ยิ่งเป็นผู้หญิงด้วยแล้วยิ่งน่ายกย่องในความอดทน กล้าหาญ เฉลียวฉลาด และเข้มแข็ง

เพราะในโลกแห่งความจริง  หลังจากบิน ลาเดนถูกสังหาร  ความระอุของความขัดแย้งก็ไม่ได้จบสิ้นลงไปได้ง่ายๆ  ในโลกของหนัง  นางเอกเป็นภาพตัวแทนของ "ฮีโร่แบบ Entertainment"  ที่ไม่ต่างจากยุคสงครามเย็นที่ฮอลลีวู้ดโจมตีรัสเซียมากนัก  การจัดวาง "ที่ทางแห่งความจริง" ของสงคราม  ยังคงอยู่ในมือของผู้กุมอำนาจสื่อโลก ที่คนดูเพลิดเพลินด้วยการเล่าเรื่องแบบ Spy-themed entertainment

 และผลิตซ้ำความเป็นฮีโร่  ซึ่งย้ายจาก ชาย  มาเป็น หญิง เท่านั้นเอง 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สตรีลาวเริ่มขยายบทบาทในแวดวงธุรกิจและการเมือง

Posted: 12 Mar 2013 02:54 PM PDT

ธนาคารโลกระบุว่า ประมาณ 40% ของบรรดาผู้ประกอบกิจการรายใหม่ในประเทศลาวเป็นสตรี และความเสมอภาคระหว่างหญิง-ชาย คือหัวใจสำคัญที่จะนำพาการพัฒนาลาวให้พ้นจากความยากจน

ธนาคารโลกเสนอรายงานในโอกาสวันสตรีสากล ครบรอบ 103 ปี ในวันที่ 8 มีนาคม ว่า ประเทศลาวเป็นประเทสหนึ่งที่สตรีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ โยเฉพาะในภาคเอกชนของลาว ซึ่งมีผู้ประกอบกิจการรายใหม่ที่เป็นหญิงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบัน ปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจรุ่นใหม่ในลาวเป็นสตรีมากถึง 40% และมีทีท่าว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับอีกด้วย

ธนาคารโลกยังระบุอีกว่า สตรีลาวมาบทบาทเพิ่มขึ้นทั้งในด้านสังคมและการเมือง แม้ว่าจะยังไม่เทียบเท่าผู้ชายก็ตาม แต่ก็ถือเป็นการพัฒนาที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเห็นได้จากบทบาทของสตรีลาวในฐานะสมาชิกสภาแห่งชาติที่เพิ่มขึ้นในระดับสูงกว่า 20% นับแต่ปี 1990 เป็นต้นมา

อย่างไรก็ตาม ธนาคารโลกได้เน้นย้ำว่า การพัฒนาความเสมอภาคระหว่างหญิง-ชาย จะต้องกระทำต่อเนื่องกันไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพราะจะเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาให้ลาวหลุดจากความยากจนและพ้นจากสภาพประเทศด้อยพัฒนาอย่างแท้จริง

ด้านนางสีใส ลือเดดมูนสอน ประธานสหพันธ์แม่หญิงลาว ก้ได้แถลงยืนยันว่า เป้าหมายสำคัญที่สุดของสหพันธ์แม่หญิง ก็คือการสร้างความเสมอภาคระหว่างหญิง-ชาย ในลาวให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายนั้น สหพันธ์แม่หญิงลาวก็จะดำเนินตามแผนงาน 6 แผนและ 32 โครงการ ตั้งแต่ปัจจุบันไปจนถึง 2015 และเชื่อมั่นว่าจะสามารถเสริมสร้างบทบาทของสตรีลาวให้มากขึ้นในทุกๆ ด้าน เพราะในทุกวันนี้บทบาทสตรีลาวก็ได้โดดเด่นอย่างเห็นได้ชัด โดยท่านนางสีใสยืนยันว่า

"การมีส่วนร่วมของสตรีในแขนงงานต่างๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ทั้งมีบทบาทโดดเด่นในเวทีการเมืองทั้งภายในประเทศและสากล สหพันธ์แม่หญิงลาวก้ได้ทำหน้าที่ภาระบทบาทของตนในการปลุกระดมเสริมสร้างความสามัคคีแก่สตรีลาวทุกชนเผ่า ร่วมเข้าภารกิจปกปักรักษาและสร้างสรรค์พัฒนาประเทศชาติ ผลักดันส่งเสริมสิทธิเสมอภาคระหว่างหญิง-ชาย ทั้งในครอบครัวและสังคม"

โดยสำหรับด้านเศรษฐกิจนั้น สตรีลาวเข้าเป็นแรงงานในภาคการผลิตถึง 52% ของจำนวนแรงงานทั้งหมดในระบบ ส่วนทางการเมือง สตรีลาวได้รับเลือกตั้งเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาแห่งชาติลาว ชุดที่ 7 ถึง 29 คน จากจำนวน 115 คน คิดเป็น 25%

ยิ่งไปกว่านั้น ประธานสภาแห่งชาติลาวคนปัจจุบันก็เป็นผู้หญิง และยังเป็นสตรีคนแรกที่ได้เป็นกรรมการกรมการเมือง ศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว นอกจากนี้ ยังมีสตรีลาวอีกไม่น้อยที่ได้เป็นกรรมการศูนย์กลางพรรค รัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ห้วหน้ากรม(เทียบอธิบดี) รองเจ้าแขวง(เทียบรองผู้ว่าราชการจังหวัด) เจ้าเมือง(เทียบนายอำเภอ) รองเจ้าเมือง(เทียบรองนายอำเภอ) นายบ้าน(เทียบผู้ใหญ่บ้าน) ในทั่วประเทศ โดยถึงแม้ว่าจะยังคิดเป็นอัตราที่ต่ำว่าผู้ชายอยู่มาก แต่สหพันธ์แม่หญิงลาวก็เชื่อว่า สภาพการณ์จะดีขึ้นในระยะต่อไป

อย่างไรก็ดี ยังมีช่องว่างทางการศึกษาระหว่างหญิงกับชายอยู่ โดยสหพันธ์แม่หญิงลาวอ้างถึงรายงานของกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา ที่ระบุอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ชายลาวได้เรียนจนจบประถมถึง 83% ขณะที่ผุ้หญิงลาวมีเพียง 63% เท่านั้นที่ได้เรียนจนจบชั้นประถมศึกษา

 

 

แปลและเรียบเรียงจาก http://lao.voanews.com


เกร็ดภาษาลาวจากข่าว

ແມ່ຍິງ (แม่ยิง) : ผู้หญิง, สตรี, Woman, female

8 มี.ค. วันสตรีสากลเป็นวันหยุดของ สปป. ลาว เรียก ວັນແມ່ຍິງສາກົນ โดยลาวมีองค์กรที่สนับสนุนบทบาทสตรี คือ สหพันธ์แม่หญิงลาว ສະຫະພັນແມ່ຍິງລາວ

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อวัตถุศึกษากับอธิป: คนเล่น ‘ซิมซิตี้’ จี้ยกเลิกระบบล็อคลิขสิทธิ์ - เกาหลีเหนือเปิด ‘ที่ลี้ภัย’ ให้ไพเรตเบย์

Posted: 12 Mar 2013 11:30 AM PDT

ประมวลข่าวสารด้านทรัพย์สินทางปัญญากับ 'อธิป จิตตฤกษ์' สัปดาห์นี้พบกับข่าวเกาหลีเหนือเปิด 'ทางเข้า' ให้ 'ไพเรตเบย์', บาห์เรนแบนการนำเข้าหน้ากาก 'Guy Fawkes', คดีฟ้องร้องลิขสิทธิ์มายากลในอเมริกา ฯลฯ

 

Immaterial Property Research Center ตั้งขึ้นในวันที่ 18 มกราคม หรือ "วันเสรีภาพอินเทอร์เน็ต" เพื่อเป็นศูนย์ข่าว ศูนย์ข้อมูล และศูนย์วิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุ (หรือที่เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าทรัพย์สินทางปัญญา) ต่างๆ อย่างสัมพันธ์กับระบบกฎหมาย ระบบเศรษฐกิจ และระบบการเมืองในโลก ทางศูนย์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานของศูนย์ฯ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพย์สินที่ไม่เป็นวัตถุที่เอื้อให้เกิดเสรีภาพในเชิงบวกไปจนถึงความเท่าเทียมกันของผู้คนในโลก

 

Week 8

05-03-2013

หลังจาก The Pirate Bay โดนไล่ล่า "ทางเข้า" จากสวีเดน และนอร์เวย์ ทาง Pirate Bay ก็ได้ตอบรับการเป็น "ทางเข้า" ให้จากเกาหลีเหนือ

หากตามข่าวคงจะทราบว่า "พันธมิตรสิทธิ" นั้นไล่บี้จะฟ้อง Pirate Party สวีเดนฐานเป็นโฮสต์ "ทางเข้า" ให้ The Pirate Bay ในช่วงกลางเดือนกุมพาพันธ์ที่ผ่านมาก ส่งผลให้ Pirate Party สวีเดนหยุดเป็นโฮสต์ "ทางเข้า" เพื่อถอยไปตั้งหลักก่อนฟ้องพันธมิตรสิทธิกลับ และพร้อมกันนั้น Pirate Party ของนอร์เวย์และสเปนก็อาสาไปเป็นโฮสต์ "ทางเข้า" ให้แทน

ปรากฎว่าในระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านทาง Pirate Party สเปนยังไม่พร้อม มี Pirate Party นอร์เวย์อย่างเดียวที่เป็นโฮสต์ให้ ทาง Pirate Party นอร์เวย์ก็โดนขู่จะฟ้องจนต้องถอนการเป็นโฮสต์เช่นเดียวกับ Pirate Party สวีเดน จนส่งผลให้ The Pirate Bay "ดาวน์" หรือเข้าไม่ได้ไปพักใหญ่

ไม่น่าหลังจากนั้น The Pirate Bay ก็กลับมาอย่างยิ่งใหญ่ด้วยการเปิดตัวโฮสต์ทางเข้าใหม่จากเกาหลีเหนือ โดยมีถ้อยแถลงจากทางเว็บว่าพวกเขาได้รับการติดต่อจากผู้นำเกาหลีเหนือมาสักพักแล้วและก็คุยๆ กันอยู่ สุดท้ายก็เลยได้เกาหลีเหนือเป็น "ที่ลี้ภัยเสมือน"

ทาง The Pirate Bay หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการที่เกาหลีเหนือเป็นโฮสต์ให้จะเป็นโอกาสให้ชาวเกาหลีได้เข้าถึง The Pirate Bay และบรรดาศิลปวัฒนธรรมในนั้น

และเรื่องทั้งหมดก็น่าตลกสิ้นดีที่เกาหลีเหนือกลับมาเป็นผู้ป้องกัน "เสรีภาพทางการแสดงออก" จากเว็บไซต์ตะวันตกที่โดนไล่ล่าจากดินแดนแห่งเสรีภาพทางการแสดงออกอย่างอเมริกาเอง

ทั้งนี้เกาหลีเหนือเป็นแค่โฮสต์ทางเข้าเท่านั้น ที่ตั้งจริงๆ ของ The Pirate Bay ก็ยังกระจายอย่างลึกลับผ่าน Cloud Server ทั่วโลก

News Source: http://torrentfreak.com/the-pirate-bay-moves-to-north-korea-gets-virtual-asylum-130304/ , http://falkvinge.net/2013/03/04/the-pirate-bay-offline-norways-pirate-party-cuts-rope-following-threats/ , http://falkvinge.net/2013/03/04/after-being-cut-from-norway-the-pirate-bay-returns-from-north-korea/

 

บาห์เรนแบนการนำเข้าหน้ากาก Guy Fawkes แล้ว

News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130228/23213922162/bahrain-bans-import-guy-fawkes-masks.shtml

 

06-03-2013

นักมายากลฟ้องนักมายากลอีกคนฐานละเมิดลิขสิทธิมายากล

ทั้งนี้นักมายากลที่เป็นโจทก์คือ Teller แห่งคณะ Penn & Teller โดยเขาฟ้องนักมายากลนาม Gerard Dogge ฐานขโมยกลของเขา

ทั้งนี้ Teller ก็ได้อ้างว่าเขาไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์มายากลของเขาตั้งแต่ปี 1983 แล้ว แต่ปัญหาคือมันก็ไม่เคยมีคดีมาก่อนว่ามายากลนั้นเป็นสิ่งที่ได้รับการคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์หรือไม่ ซึ่งถ้าคดีนี้ไปถึงชั้นศาลจริงก็น่าจะมีประเด็นน่าสนใจจำนวนมากเกี่ยวกับหลักการคุ้มครองลิขสิทธิ์ผุดขึ้นมาก

อย่างไรก็ดีตอนนี้ก็ยังหาตัว Dogge ไม่ได้เพราะเขาก็หายตัวไปอย่างลึกลับสมเป็นนักมายากล

News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130304/03161322186/magician-sued-teller-copyright-infringement-has-tried-disappearing-act-response.shtml , http://www.hollywoodreporter.com/thr-esq/teller-learns-why-not-easy-424577

 

รายงานจาก Policy Bandwidth ระบุว่าบรรดาบรรษัทที่มีธุรกิจบนฐานของทรัพย์สินทางปัญญาส่วนใหญ่ในโลกไม่ใช่บริษัทอเมริกัน

ดังนั้นในแง่หนึ่งแล้วการพยายามจะยืนยันของฝ่ายอุตสาหกรรมลิขสิทธิ์อเมริกันในการผลักดันให้มีการคุ้มครองลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเข้มข้นในโลกเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทอเมริกันเองจึงไม่เที่ยงตรงนัก

ทั้งนี้ก็ดูจะปฏิเสธได้ยากพอสมควรว่าอุตสาหกรรมทรัพย์สินทางปัญญาที่โดดเด่นสุดของอเมริกัน คืออุตสาหกรรมภาพยนตร์ ซึ่งก็ไม่แปลกที่อุตสาหกรรมนี้จะเป็นปากเสียงใหญ่ในการผลักดันการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์โดยรวมในปัจจุบัน

News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130304/02123822183/so-much-protecting-us-interests-most-big-ip-intensive-firms-are-foreign-owned.shtml

 

07-03-2013

อเมริกาเริ่มมีกฎหมายห้ามนายจ้างขอ Password ของ Account ในเว็บ Social Media ของผู้สมัครงาน

ในปัจจุบันนายจ้างจำนวนมากเริ่มทำการขอ Password ของ Account เว็บ Social Media ของผู้สมัครงานมากขึ้น อย่างไรก็ดี นี่ถือเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้สมัครงานมาก

บางรัฐในอเมริกาได้ออกกฎหมายเพื่อป้องการกันละเมิดความเป็นส่วนตัวนี้มาแล้ว เช่น แคลิฟอร์เนีย และรัฐอื่นๆ อีก 28 รัฐก็กำลังพิจารณากฎหมายแบบเดียวกันนี้อยู่

News Source: https://www.eff.org/deeplinks/2013/03/stand-headline-social-media-blog-post

 

08-03-2013

แคลิฟอร์เนียผ่านกฎหมายที่ให้อำนาจผู้ปกครองในการควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสูงสุด

กฎหมายที่ว่าคือ Online Privacy Protection Act ของแคลิฟอร์เนีย ภายใต้กฎหมายนี้ผู้ปกครองจะมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเด็กอายุต่ำกว่า 18 ตามเว็บไซต์ได้ถ้าทำการเรียกร้อง และผู้ปกครองมีสิทธิ์ในการห้ามเด็กใช้บางเว็บไซต์ได้ด้วยซ้ำ

ซึ่งนี่เป็นเรื่องตลกเล็กน้อย เพราะภายใต้กฎหมายแคลิฟอร์เนีย การปรากฎของกฎหมายนี้หมายความว่าเด็กมีสิทธิ์ทำแท้งโดยที่ผู้ปกครองไม่รู้ แต่ไม่มีสิทธิ์จะเล่น Facebook ได้โดยผู้ปกครองไม่รู้

News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130302/02285622177/proposed-california-bill-would-require-sites-to-hand-over-private-info-kids-to-their-parents.shtml

 

09-03-2013

รัฐเท็กซัสเริ่มพิจารณากฎหมายให้ส่งพวกเอกสารทางกฎหมายเช่นหมายฟ้อง หมายศาล ทางเว็บเครือข่ายสังคม

ทั้งนี้ปัญหาของกฎหมายนี้ก็คือประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวของการรับเอกสารทางกฎหมาย เช่นถ้ามีการ Tweet ให้คนโดนฟ้องคลิกไปอ่านหมายฟ้องที่เป็น pdf มันก็เป็นยิ่งกว่าการไปให้เอกสารเหล่านี้ในที่สาธารณะอย่างห้างสรรพสินค้า ซึ่งก็สร้างความอับอายให้แก่ผู้รับได้มาก

News Source: http://www.techdirt.com/articles/20130307/18414322247/texas-legislator-introduces-bill-that-would-allow-legal-papers-to-be-served-to-peoples-social-media-accounts.shtml

 

อดีตนางแบบเครื่องสำอางค์ Revlon ฟ้องซีรี่ส์ Mad Men ฐานที่ในฉากเปิดซีรีส์นำรูปจากโฆษณาเก่าของเธอมาใช้อย่างไม่ได้รับอนุญาต

ทั้งนี้ภาพดังกล่าวเป็นภาพจากโฆษณาเครื่องสำอางค์ Revlon ในศตวรรษที่ 1950 โดยภาพนั้นปรากฎเป็นลายของตึกในฉากเปิดเรื่องของ Mad Men

News Source: http://www.businessinsider.com/gita-hall-may-sues-mad-men-2013-3 , http://www.jdsupra.com/legalnews/youre-getting-sued-for-what-an-eo-ody-66646/

 

ศาลชั้นต้นอเมริกาตัดสินว่าการ "ลอก" คำฟ้องนั้นไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ทั้งนี้ศาลไม่ได้กล่าวเหตุผลชัดเจน แต่จำเลยก็แก้ต่างในศาลว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการทำซ้ำเอกสารของศาลที่ปรากฎต่อสาธารณะ ดังนั้นมันจึงเป็นการใช้โดยชอบธรรม ไม่ใช่การละเมิดลิขสิทธิ์

News Source: http://www.jdsupra.com/legalnews/creative-but-perhaps-too-creative-lawy-41691/

 

10-03-2013

เทศกาลดนตรี South by South West 2013 (เรียกย่อว่า SXSW 2013) ครั้งที่ 9 ปล่อยเพลงของบรรดานักดนตรีที่มาเล่นในเทศกาลซึ่งไม่มีการล็อคลิขสิทธิ์ใดๆ กว่า 1200 เพลงซึ่งมีความจุกว่า 7 GB ให้โหลดฟรีอย่างถูกต้องทาง Bittorrent

ทั้งนี้เทศกาลนี้ ได้ปล่อยเพลงฟรีของบรรดานักดนตรีที่เข้าร่วมให้ดาวน์โหลดมาตั้งแต่ครั้งแรกในปี 2005 และก็เป็นเทศกาลที่จัดและปล่อยเพลงให้ดาวน์โหลดอย่างต่อเนื่องทุกปีจนเพลงตั้งแต่ปีแรกยันปีล่าสุดนี่ก็มีความจุรวมกันกว่า 45 GB เข้าไปแล้ว

ซึ่งเทศกาล SXSW 2013 ปีนี้จัดที่ Austin รัฐ Texas ในวันที่ 12-17 มีนาคม 2013 นี้

News Source: http://torrentfreak.com/sxsw-2013-on-bittorrent-7-39-gb-of-free-music-130310/

 

SimCity ภาคล่าสุดเปิดตัวอย่างฉาวโฉ่กับระบบล็อคลิขสิทธิ์ใหม่ที่แม้แต่เล่นคนเดียวก็ต้อง "เชื่อมต่อ" กับเซิร์ฟเวอร์ออนไลน์ตลอดเวลา

ปัญหาคือเซิร์ฟเวอร์ไม่มีศักยภาพพอที่จะเชื่อมต่อผู้เล่นได้หมด ผู้เล่นจำนวนมากที่ซื้อเกมอย่างถูกต้องตามกฎหมายลิขสิทธิ์ก็ไ่มสามารถจะเล่นได้ ก่อให้ผู้เล่นทั่วโลกลุกฮือกันล่ารายชื่อให้ทาง EA Games ยกเลิก DRM หรือการล็อคลิขสิทธิ์เกมนี้เสีย (ดูที่ https://www.change.org/petitions/electronic-arts-inc-remove-always-online-drm-from-simcity-and-future-games)

ทั้งนี้ประสบการณ์อันไม่พึงประสงค์ของการเชื่อมต่อไม่ได้นี้ ได้ทำคะแนวรีวิวเกมที่บรรดาเกมเมอร์จำนวนมากรอเป็นเวลานาน ทำให้หลายๆ เว็บไซต์ให้คะแนนเกมนี้ต่ำมาก และนี่ยังไม่รวมเสียงก่นด่าการล็อคลิขสิทธิ์ที่กระจายไปทั่วอินเทอร์เน็ต ที่ยิ่งถูกกระตุ้นด้วยการขยายตัวของข่าวฉาวนี้ที่เริ่มลงในสื่อใหญ่ๆ จนทำให้นี่อาจเป็นกรณีการล็อคลิขสิทธิ์ที่ฉาวโฉ่ที่สุดในระดับโลกนับแต่อุตสาหกรรมดนตรีหยุดล็อคลิขสิทธิ์บน CD เนื่องจากไม่ช่วยให้ยอดขายดีขึ้น และยิ่งกระตุ้นให้คนไปโหลดแบบเถื่อนที่ไม่มีการล็อคลิขสิทธิ์

News Source: https://www.eff.org/deeplinks/2013/03/tale-simcity-users-struggle-against-onerous-drm , http://www.techdirt.com/articles/20130307/14574822243/simcity-backlash.shtml

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แรงงานสะท้อน รัฐให้ 300 นายจ้างปล้นคืน-4 สหภาพประสบปัญหา เตรียมร้อง 3 สถานทูต

Posted: 12 Mar 2013 11:09 AM PDT

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เตรียมเคลื่อนเรียกร้องสิทธิแรงงาน ที่สถานทูตออสเตรเลีย สหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ พรุ่งนี้ (13 มี.ค.)


(12 มี.ค.56) ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย แถลงข่าวเรื่อง "300 บาทรัฐจัดให้ แต่นายจ้างปล้นคืน" โดย ชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า หลังรัฐบาลมีนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยได้รับเรื่องร้องเรียนหลายกรณี โดยเฉพาะความกดดันจากสถานประกอบการ ให้คนงานต้องยอมรับการเปลี่ยนสภาพการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง และนำมาสู่การเลิกจ้างในพื้นที่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

โดยล่าสุด มี 4 กรณีที่ประสบปัญหาหลังยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนสภาพการจ้าง ได้แก่

- กรรมการและสมาชิกสหภาพแรงงานอีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย ถูกเลิกจ้าง 129 คน หลังยื่นข้อเสนอขอปรับค่าจ้างตามนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ให้สอดคล้องกับฐานเงินเดือนและอายุการทำงานของลูกจ้าง และการบรรจุพนักงานเหมาค่าแรงที่มีอายุงาน 6 เดือนขึ้นไป ให้มีสิทธิสอบบรรจุเป็นพนักงานประจำ รวมถึงการปรับขึ้นเงินเดือนประจำปีและโบนัส

- สหภาพแรงงานเจนเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย ถูกยื่นข้อเรียกร้องสวนกลับ ภายหลังจากที่ยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัท โดยบริษัทยื่นข้อเรียกร้องเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน จากเดิมพนักงานทำงาน 5 วัน ต่อสัปดาห์ หยุดวันเสาร์ และวันอาทิตย์ เปลี่ยนเป็นให้ทำงาน 6 วัน ต่อสัปดาห์ หยุดวันอาทิตย์เพียงวันเดียว โดยอัตราค่าจ้างยังเท่าเดิม ทั้งนี้ในระหว่างที่การเจรจายังไม่ยุติ มีการนำสภาพการจ้างงานแบบใหม่มาใช้กับพนักงานที่กำลังจะบรรจุเป็นพนักงานประจำ หรือพนักงานที่กำลังจะเลื่อนตำแหน่งงานเรียบร้อยแล้ว เพื่อกดดันลูกจ้าง โดยเฉพาะที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ยังไม่รับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

- สมาชิกสหภาพแรงงานขนส่งแห่งประเทศไทย ในฐานะลูกจ้างบริษัทลินฟ๊อกซ์ ทรานสปอร์ตแห่งประเทศไทย จำนวน 50 คน ถูกเลิกจ้าง ภายหลังจากที่ลูกจ้างได้รวมตัวกันหยุดงาน เพื่อเจรจาให้บริษัทมีการจัดสวัสดิการ วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดประจำปี 13 วัน ให้แก่พนักงาน รวมถึงขอให้มีการจ่ายเงินค่าทำงานในวันหยุดให้แก่พนักงานที่ต้องทำงานด้วย แต่ทางบริษัทไม่ได้ตอบรับข้อเรียกร้องดังกล่าว และบอกเลิกสัญญาจ้างพนักงานที่มารวมตัว 

- สหภาพแรงงานเอ็นเอ็กซ์พี แมนูแฟคเจอริ่ง ที่นายจ้างยื่นข้อเรียกร้องสวนกลับ ภายหลังจากที่สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องขอปรับสวัสดิการให้สอดคล้องกับสถานการณ์การจ้าง โดยบริษัทได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง รวม 4 ข้อ คือ (1) เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน เวลาทำงานปกติ งานล่วงเวลาและการคิดค่าจ้างรายชั่วโมง วันลา ยกเลิกโครงสร้างตำแหน่งงาน โครงสร้างค่าจ้าง และตารางการขึ้นค่าจ้างจากการประเมินผลงาน (2) การเลื่อนตำแหน่งของพนักงานรายวันออกจากข้อตกลงสภาพการจ้าง (3) การยกเลิกเงินช่วยเหลือพนักงานที่ประสบภัยธรรมชาติ และ (4) ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้มีกำหนดเวลา 3 ปี   ทั้งนี้ ลูกจ้างเห็นว่าเป็นสภาพการจ้างที่ไม่เป็นธรรม

ชาลี กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา มีการยื่นข้อเรียกร้องต่อกระทรวงแรงงานหลายครั้ง แต่ปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยจึงความจำเป็นต้องยกระดับการต่อสู้อย่างถึงที่สุดเพื่อให้คนงานได้รับความเป็นธรรม โดยในวันพรุ่งนี้ (13 มีนาคม 2556) เวลา 08.30 น. คนงานกว่า 600 คน จะเดินทางไปยังสถานทูตของบริษัทที่มาลงทุนในประเทศไทย คือ สถานทูตออสเตรเลีย (ลินฟ้อกซ์) สถานทูตอเมริกา (จีเอ็ม) และสถานทูตเนเธอร์แลนด์ (เอ็นเอ็กซ์พี) เพื่อให้สถานทูตดังกล่าวรับทราบว่าคนของประเทศตนเองมาทำกับแรงงานในไทยอย่างไร โดยสาเหตุที่ไม่ได้ไปสถานทูตสวีเดน เพราะล่าสุด สถานทูตสวีเดนและสหภาพอีเลคโทรลักซ์ที่สวีเดนได้เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ย จึงอยู่ระหว่างรอผล ขณะที่ช่วงเย็น ขบวนการแรงงานจะเดินทางไปร่วมชุมนุมกับพี่น้องแรงงานที่อยู่หน้าทำเนียบรัฐบาลและจะประกาศแนวทางการต่อสู้ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ชาลี ประเมินว่า คนงานที่ได้รับผลกระทบนั้น น่าจะมีประมาณหนึ่งหมื่นกว่าคนจากทั้งสี่สถานประกอบการ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้กระทบกับครอบครัวของคนเหล่านั้นอีก 2-3 คนด้วย ฉะนั้น จึงน่าจะกระทบไม่น้อยกว่า 30,000-40,000 คน และแม้ว่านายจ้างจะได้รับผลกระทบด้วย แต่เนื่องจากสายป่านยาวกว่า ลูกจ้างจึงได้รับผลกระทบก่อน

ยงยุทธ เม่นตะเภา กรรมการ คสรท.และประธานที่ปรึกษาสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ระยะหลัง สังเกตว่าปัญหาที่เกิดมาจากทุนข้ามชาติขนาดใหญ่ โดยเฉพาะยุโรป ทุนเริ่มก้าวร้าวค่อนข้างมาก มีการยื่นข้อเรียกร้องสวนกับลูกจ้างตลอดโดยไม่สนใจว่าชีวิตความเป็นอยู่ของลูกจ้างจะเป็นอย่างไร กรณีเจนเนอรัล มอเตอร์ส ซึ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา การเปลี่ยนสภาพการจ้างโดยไม่สนใจข้อเรียกร้องของลูกจ้างจะส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนงานในบริษัทผลิตชิ้นส่วนอีกหลายพันบริษัท รวมถึงขณะนี้ที่มีการปิดงาน ไม่ได้ผลิต บริษัทที่ทำชิ้นส่วนอื่นๆ ก็ย่อมได้รับผลกระทบไปด้วย นอกจากนี้ รัฐเองก็เกรงใจทุนค่อนข้างมาก ส่งเสริมการลงทุนผ่านบีโอไอ โดยไม่สนใจว่าคนงานจะอยู่อย่างไร ในอนาคตไทยจะพัฒนาสู่จุดไหน

ยงยุทธ กล่าวว่า การที่ประเทศไทยเป็นดีทรอยต์ส่งออกรถมาตรฐานเดียวกับทั่วโลก แต่มาตรฐานชีวิตคนงานกลับแตกต่างกัน คนงานจีเอ็มในสหรัฐฯ ทำงานได้ 4,000-5,000 บาทต่อวัน แต่คนงานจีเอ็มที่ระยองทำงานวันละ 300 บาท นี่คือความเหลื่อมล้ำที่ชัดเจนค่อนข้างมาก และรัฐยังปล่อยให้มีทหารนอกรีตมาข่มขู่ทำร้ายคนงาน ให้คนงานต้องรับสภาพ ขณะที่กฎหมายแรงงานที่มีก็ไม่เป็นธรรม จำกัดสิทธิ จนคนงานไม่สามารถต่อรองในภาพใหญ่ได้เลย

ยงยุทธ กล่าวว่า นโยบาย 300 บาทไม่ใช่ไม่ดี ยังไม่พอด้วยซ้ำ แต่นายจ้างขนาดใหญ่ที่ได้ประโยชน์มากจากการช่วยเหลือของรัฐบาล เช่น ลดภาษี  ขอคืนค่าใช้จ่าย กลับมาเอาประโยชน์จากคนเล็กคนน้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ เพราะต้นทุนรถยนต์หนึ่งคันนั้นเพียง 2% การขึ้นค่าจ้าง 300 บาทจึงไม่กระทบอุตสาหกรรมยานยนต์อยู่แล้ว ทั้งนี้ กังวลว่า หากที่หนึ่งทำแบบนี้ได้ ต่อไปที่อื่นก็คงเอาคนงานเป็นเครื่องมือในการแข่งขันแบบเดียวกัน


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

Posted: 12 Mar 2013 11:04 AM PDT

"ถ้าเราไม่มีเสรีภาพให้พูดได้เต็มที่ เราบอกไม่ได้หรอกว่าจริงๆ แล้วความเห็นจริงๆ มันเป็นอย่างไร"

12 มี.ค.56 ในรายการ ตอบโจทย์ฯ กับประเด็น "สถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ"

จดหมายถึงนายกฯ ครบ 8 ปี 'ทนายสมชาย': ต้องไม่ให้มีวัฒนธรรมปล่อยผู้กระทำผิดลอยนวล

Posted: 12 Mar 2013 10:22 AM PDT

 

จดหมายเปิดผนึก
โดยมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
ส่งต่อโดยคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย 

10 มีนาคม 2556 
 
เรียน  ท่านนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
 
ดิฉัน นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยานายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความสิทธิมนุษยชนที่ให้ความช่วยเหลือทางคดีแก่ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถูกลักพาตัวโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2547 หลังจากที่นายสมชายได้ร้องเรียนเรื่องการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจซ้อมทรมานผู้ต้องหา ภายหลังการหายตัวไปของนายสมชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ยอมรับว่านายสมชาย นีละไพจิตรเสียชีวิตแล้ว และกรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับคดีสมชายไว้เป็นคดีพิเศษตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2548 โดยได้มอบหมายให้พล.ต.อ.สมบัติ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษในขณะนั้นเป็นผู้รับผิดชอบคดี จนถึงปัจจุบันผ่านมา 8 ปีคดีสมชาย นีละไพจิตร ภายใต้ความรับผิดชอบของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่ปัจจุบันมีนายธาริต เพ็งดิษ เป็นอธิบดีและท่านนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการคดีพิเศษไม่ปรากฏความก้าวหน้าใดๆในทางการสืบสวนสอบสวน
 
ที่ผ่านมา ดิฉันได้เคยเรียนถามท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก ถึงความก้าวหน้าคดีสมชาย ซึ่งท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้มอบเอกสารสรุปคดีสมชายจากกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นกระดาษ 1 แผ่น สรุปความได้ว่า ไม่ปรากฏความก้าวหน้าใดๆในการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำผิด ทั้งที่กรมสอบสวนคดีพิเศษรับดำเนินการคดีสมชาย นีละไพจิตร เป็นระยะเวลา 8 ปี 
 
ท่านนายกรัฐมนตรีอาจไม่ทราบว่า คดีสมชายเป็นคดีการบังคับบุคคลให้สูญหายคดีแรกของประเทศไทยที่เหยื่อสามารถต่อสู้จนคดีถูกนำขึ้นสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรม คดีสมชาย นีละไพจิตร มิได้เป็นที่รับรู้เฉพาะในประเทศ แต่คดีนี้ถือเป็นคดีสาธารณะที่ส่งผลต่อประเด็นเรื่องความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม สิทธิมนุษยชน และหลักนิติธรรมของประเทศไทย คดีสมชายได้รับความสนใจจากองค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่ให้ความสนใจและติดตามอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งองค์การสหประชาชาติ และองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีการลักพาตัวและบังคับบุคคลากรในกระบวนการยุติธรรมให้สูญหาย ซึ่งเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งนอกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นายที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีแล้ว ยังมีผู้ที่เกี่ยวข้องที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงอีกหลายนายที่รัฐยังไม่สามารถนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้  
 
อย่างไรก็ดี ดิฉันต้องขอชื่นชมรัฐบาลภายใต้การนำของท่านนายกรัฐมนตรี ที่ได้ลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนมิให้สูญหายโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) ขององค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 ซึ่งการลงนามในอนุสัญญาฯถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญยิ่งอีกครั้งหนึ่งของประเทศไทยในการคุ้มครองบุคคลจากการสูญหายโดยถูกบังคับ อีกทั้งเมื่อเดือนกันยายน 2555 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้เยียวยาเพื่อมนุษยธรรมครอบครัวสมชาย นีละไพจิตร เป็นจำนวนเงิน 7.5 ล้านบาท รวมถึงครอบครัวผู้ถูกบังคับสูญหายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เชื่อได้ว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐอีก 30 ครอบครัว เป็นจำนวนเงิน 500,000 – 7.5 ล้านบาท 
 
ดิฉันขอแสดงความชื่นชมอย่างจริงใจ ที่รัฐบาลของท่านมีมติให้เยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงกรณีการบังคับสูญหายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะการเยียวยาเป็นสิทธิสำคัญประการหนึ่งของเหยื่อ นอกเหนือจากสิทธิในการเข้าถึงความจริง ความยุติธรรมและการสร้างหลักประกันว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าวจะไม่เกิดซ้ำ แต่การเยียวยาด้วยเงินเพียงอย่างเดียวไม่อาจขจัดความทรงจำบาดแผลของเหยื่อให้หมดสิ้นไปได้ ดิฉันเชื่อว่าเฉพาะการเข้าถึงความจริง และความยุติธรรมเท่านั้นที่จะเป็นการคืนศักดิ์ศรีให้กับเหยื่อและจะสามารถนำสู่การให้อภัยและการปรองดองอย่างยั่งยืน
 
ดิฉันมีหนังสือฉบับนี้มายังท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะที่ท่านเป็นผู้บริหารสูงสุดของประเทศ และเป็นผู้กำกับดูแลกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อเรียนให้ท่านทราบถึงความไร้ประสิทธิภาพและความไม่เต็มใจในการคลี่คลายคดี สมชาย นีละไพจิตร ของรัฐบาลและกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพราะย่อมเป็นที่ประจักษ์แก่สังคมว่า ปัจจุบันกรมสอบสวนคดีพิเศษมุ่งเน้นและให้ความสำคัญในการทำคดีการเมืองโดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม แต่ละเลย เลือกปฏิบัติ และไม่ให้ความสำคัญแก่คดีที่ประชาชนสามัญตกเป็นเหยื่อจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ในฟากรัฐบาล
 
ท้ายนี้ ดิฉันหวังอย่างยิ่งว่า ท่านในฐานะนายกรัฐมนตรีจะยินดีที่จะรับฟังเสียงคนสามัญที่ถูกละเมิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกิดขึ้นในรัฐบาลของท่านในอดีต จะรับผิด และรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น จะไม่เลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย และจะไม่ปล่อยให้วัฒนธรรมผู้กระทำผิดลอยนวลยังคงเกิดขึ้นในสังคมไทย
 
ขอแสดงความนับถือ
นางอังคณา นีละไพจิตร

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักอนุรักษ์เฮ...ส่อชนะคดีขยายถนนขึ้นเขาใหญ่

Posted: 12 Mar 2013 10:08 AM PDT

นายศรีสุวรรณ  จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า วันนี้เวลา 14.30 น. ที่ศาลปกครองกลาง ถ.แจ้งวัฒนะ ตุลาการศาลปกครองกลางได้เปิดศาลนัดพิจารณาคดีเป็นครั้งแรก ในคดีหมายเลขดำที่ 903/2553 ระหว่างสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนกับชาวบ้านที่รักและหวงแหนต้นไม้จำนวน 130 คน ได้ยื่นฟ้องกรมทางหลวง และกระทรวงคมนาคม เป็นคดีต่อศาลปกครอง กรณีกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายตัดต้นไม้ขยายถนนสาย 2090 (ถนนธนะรัตน์) ขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นระยะทางเกือบ 10 กิโลเมตร ทำให้ต้นไม้ขนาดใหญ่สองข้างทางที่ขึ้นเป็นซุ้ม "อุโมงค์ต้นไม้" ถูกตัดฟันไปนับหมื่นต้น เป็นการกระทบต่อความรู้สึกของนักอนุรักษ์และผู้ที่ชื่นชอบต้นไม้และธรรมชาติเป็นอย่างมาก โดยคดีนี้ชาวบ้านและสมาคมฯได้ร่วมกันยื่นฟ้องมาตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2553 ใช้ระยะเวลาในการต่อสู้คดีกันมาอย่างยาวนาเกือบ 3 ปีมาแล้ว

นายประพจน์  คล้ายสุบรรณ ตุลาการผู้แถลงคดีได้แถลงต่อองค์คณะซึ่งมีนายเสน่ห์  บุญทมานพ เป็นตุลาการหัวหน้าคณะในศาลปกครองกลางและเป็นตุลาการเจ้าของสำนวนในวันนี้ความว่า การกระทำของหน่วยงานรัฐผู้ถูกฟ้องคดี ได้ทำการตัดฟันต้นไม้ไปก่อนที่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไม่ได้เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียมารับรู้ รับทราบการดำเนินการดังกล่าวก่อนที่จะดำเนินโครงการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนพ.ศ.2546 จึงเป็นการดำเนินการที่ขัดหรือแย้งต่อขั้นตอนของกฎหมายที่ถูกต้อง จึงแถลงชี้ให้หน่วยงานผู้ถูกฟ้องคดีนำต้นไม้ตามขนาด ชนิด และจำนวนต่าง ๆ ที่ถูกตัดฟันหรือโค่นล้มไป นำกลับมาปลูกทดแทนตลอดแนวถนนดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน

คดีนี้เข้าข่ายเป็น "คดีโลกร้อนภาคประชาชน" ที่ประชาชนใช้สิทธิฟ้องรัฐที่ตัดต้นไม้ทำให้เกิดโลกร้อน หลังจากที่รัฐโดยกรมอุทยานฯเคยฟ้องประชาชนเป็นคดีโลกร้อนมาแล้วเป็นจำนวนมาก และถือว่าเป็นคดีสิ่งแวดล้อมอีกคดีหนึ่ง ที่สะท้อนให้เห็นถึงพฤติการณ์หรือการกระทำของหน่วยงานรัฐที่อ้างความเร่งด่วนในการดำเนินโครงการ โดยเพิกเฉยต่อกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมายที่ถูกต้อง ซึ่งน่าจะใช้เป็นบทเรียนให้หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ใช้เป็นต้นแบบในการพิจารณาว่าการจะดำเนินโครงการขนาดใหญ่ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น โครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน พึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่เช่นนั้นก็จะเกิดการคัดค้านจากภาคประชาชนจนโครงการเดินต่อไปไม่ได้

อนึ่งคดีนี้ตุลาการเจ้าของสำนวนและองค์คณะจะนัดหมายเพื่อกำหนดวันอ่านคำพิพากษาต่อไปในเร็ว ๆ นี้นายศรีสุวรรณ  กล่าวในที่สุด

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวฟอล์กแลนด์ เทคะแนนประชามติร้อยละ 99.8 ยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษ

Posted: 12 Mar 2013 10:07 AM PDT

หลังเกิดกรณีพิพาทเรื่องสิทธิ์เหนือหมู่เกาะระหว่างอังกฤษและอาร์เจนติน่า ล่าสุดชาวฟอล์กแลนด์ได้ลงประชามติยอมรับให้หมู่เกาะยังคงเป็นพื้นที่ของสหราชอาณาจักรร้อยละ 99.8 โดยมีผู้ลงคะแนนไม่เห็นด้วยเพียง 3 รายจากผู้ลงมาใช้สิทธิ 1,517 คน แต่ทางอาร์เจนติน่าเคยอ้างไม่ยอมรับเรื่องหลักการการตัดสินใจด้วยตนเองโดยประชาชนฟอล์กแลนด์

วันที่ 12 มี.ค. 2013 สำนักข่าว The Independent ของอังกฤษรายงานผลการลงประชามติของประชาชนในหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ พื้นที่ทางตอนใต้ของมหาสุมทรแอตแลนติก หลังเกิดข้อพิพาทระหว่างอังกฤษและอาร์เจนติน่าในเรื่องกรรมสิทธิในการปกครองหมู่เกาะ ซึ่งผลออกมาว่าร้อยละ 99.8 โหวตให้หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ยังคงถือเป็นพื้นที่อาณาเขตของสหราชอาณาจักร จากผู้มาใช้สิทธิ์คิดเป็นร้อยละ 92 ของผู้มีสิทธิ์ลงประชามติทั้งหมด 1,649 ราย

เดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษกล่าวภายหลังประกาศผลการลงประชามติเสร็จสิ้นว่า ผลคะแนนในครั้งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าชาวฟอล์กแลนด์ยังคงต้องการเป็นประชาชนของอังกฤษ และขอให้ทางฝ่ายอาร์เจนติน่าเคารพในผลการลงประชามติครั้งนี้

"ชาวเกาะฟอล์กแลนด์ได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่าพวกเขายังต้องการเป็นคนอังกฤษ และทุกฝ่ายควรเคารพการแสดงความเห็นในครั้งนี้ รวมถึงประเทศอาร์เจนติน่าด้วย" เดวิด คาเมรอนกล่าว

ในจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ทั้งหมด 1,517 ราย มีผู้โหวต 'ไม่เห็นด้วย' กับการคงอยู่ภายใต้อาณาเขตของอังกฤษเพียง 3 ราย เท่านั้น The Independent กล่าวว่าน่าจะเป็นเพราะชุมชนชาวฟอล์กแลนด์ยังคงจดจำกรณีในปี 1982 ที่เกิดการรุกรานของอาร์เจนติน่าจนกระทั่งอังกฤษเข้าปลดปล่อยในสงครามสามสัปดาห์

ในพอร์ตสแตนลี่ย์ ที่ถนนติดกับเวลล์โบนอาร์ช (Whalebone Arch) หรือซุ้มกระดูกปลาวาฬที่ตั้งขึ้นเพื่อรำลึกถึงการปกครองเกาะฟอล์กแลนด์ของอังกฤษ มีประชาชนชาวฟอล์กแลนด์พากันจัดงานเฉลิมฉลอง และพากันร้องเพลง "God Save the Queen" ซึ่งเป็นเพลงชาติอังกฤษ และเพลง "Sailing" ของร็อด สจ๊วต ศิลปินชาวอังกฤษ

อลิซ คลาค ผู้อาศัยที่พอร์ตสแตนลีย์กล่าวถึงผลการลงประชามติว่า เป็นผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมและอัตราส่วนของผลการคะแนนในครั้งนี้เป็นการสื่อที่มีพลัง

อย่างไรก็ตาม คริสติน่า เคิร์ชเนอร์ ประธานาธิบดีอาร์เจนติน่าเคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะไม่ยอมรับผลการลงประชามติโดยอ้างว่าไม่เป็นไปตามกฏหมาย ซึ่งทางอาร์เจนติน่าได้เรียกร้องให้มีการนั่งโต๊ะเจรจากับอังกฤษกรณีหมู่เกาะฟอล์กแลนด์โดยยืนกรานว่าชาวฟอล์กแลนด์ไม่มีสิทธิในการเข้าร่วม ซึ่งทางอังกฤษปฏิเสธการนั่งโต๊ะเจรจา

เดวิด คาเมรอน กล่าวตอบโต้ในกรณีนี้ว่า ชาวฟอล์กแลนด์มีสิทธิ์ในการตัดสินใจด้วยตนเอง

"เกาะฟอล์กแลนด์อาจจะอยู่ห่าง (จากอังกฤษ) ออกไปกลายพันไมล์ แต่พวกเขาอย่างไรก็เป็นชาวอังกฤษ และนั่นทำให้พวกเขายังอยากคงอยู่เช่นเดิม ประชาชนควรรู้ว่าพวกเราจะคอยปกป้องพวกเขาตลอดไป" เดวิด คาเมรอนกล่าว

โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติของเกาะฟอล์กแลนด์จะนำผลการลงประชามติไปเสนอเพื่อจูงใจรัฐบาลต่างประเทศในที่ประชุมซึ่งจะมีการจัดขึ้นในสหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐฯ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีความเข้มงวดต่อการยอมรับรัฐบาลโดยพฤตินัยของอังกฤษในหมู่เกาะฟอล์กแลนด์และไม่ยอมรับการตัดสินใจด้วยตนเองของประชาชนชาวฟอล์กแลนด์

แบร์รี่ เอลสบี หนึ่งในสมาชิกสภานิติบัญญัติจากการเลือกตั้งของชาวฟอล์กแลนด์กล่าวว่า "การลงประชามติในครั้งนี้ไม่ใช่เป็นการแสดงความรู้สึกของชาวหมู่เกาะ แต่เป็นการส่งสารถึงโลกภายนอก อาร์เจนติน่าบอกกับโลกว่าพวกเราไม่มีตัวตนอยู่ แต่ในค่ำคืนนี้พวกเราแสดงความคิดเห็นของพวกเราอย่างชัดเจนหนักแน่นที่สุดเท่าที่จะทำได้"

"อาร์เจนติน่ากลัวการลงประชามติในครั้งนี้เพราะมันจะแสดงให้เห็นว่าเราสามารถส่งเสียงออกไปได้ในระดับนานาชาติ" แบร์รี่กล่าว


ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องข้อพิพาท

กรณีพิพาทเรื่องดินแดนหมู่เกาะฟอล์กแลนด์เกิดขึ้นเมื่ออาร์เจนติน่าบุกรุกหมู่เกาะจนทำให้เกิดสงครามฟอล์กแลนด์ขึ้นในปี 1982 ซึ่งในตอนนั้นอาร์เจนติน่าถูกปกครองโดยกลุ่มเผด็จการทหาร โดยหลังจากสงครามในครั้งนั้นอังกฤษก็ได้เพิ่มกำลังแน่นหนาขึ้นในหมู่เกาะ และมีการตรากฏหมายสัญชาติอังกฤษสำหรับเกาะฟอล์กแลนด์ปี 1983 หรือ "British Nationality (Falkland Islands) Act 1983" ขึ้นเพื่อให้ชาวฟอล์กแลนด์ทั้งหมดมีสัญชาติเป็นชาวอังกฤษ อีกทั้งยังมีการเชื่อสัมพันธ์ด้วยการส่งบุคคลระดับสูงอย่าง มาร์กาเร็ต แทชเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษสมัยนั้น เจ้าชายแห่งแคว้นเวลส์ เจ้าหญิงอเล็กซานดรา ไปเยือนหมู่เกาะด้วย

ขณะที่ความขัดแย้งครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่ออาร์เจนติน่าอ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะอีกครั้งในปี 2006 โดยอ้างถึงสิทธิ์ในการใช้ทรัพยากรอย่างการประมงและน้ำมันปิโตรเลียม ต่อมาในปี 2010 อาร์เจนติน่าก็ตอบโต้การวางแผนขุดเจาะน้ำมันของอังกฤษด้วยการอ้างว่าเรือทุกลำที่เดินทางมายังหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (รวมถึงเซาธ์ จอร์เจีย และเซาธ์ แซนด์วิช) ต้องขออนุญาติการใช้อาณาเขตน่านน้ำอาร์เจนติน่าก่อน ซึ่งรัฐบาลอังกฤษและรัฐบาลฟอล์กแลนด์ปฏิเสธว่าข้อห้ามดังกล่าวไม่หมายรวมถึงน่านน้ำโดยรอบเกาะ

ทั้งอาร์เจนติน่าและอังกฤษต่างมีข้ออ้างหลายข้อในการถือสิทธิ์เหนือหมู่เกาะ เช่นฝ่ายอาร์เจนติน่าอ้างว่า อำนาจอธิปไตยของฟอล์กแลนด์ถูกส่งผ่านจากสเปนมาสู่อาร์เจนติน่าหลังจากอาร์เจนติน่าประกาศอิสรภาพจากสเปนตามหลักการ 'uti possidetis juris' ซึ่งอังกฤษได้ละทิ้งการตั้งถิ่นฐานไปในปี 1776 ซึ่งเป็นการประกาศยกเลิกอำนาจเหนือหมู่เกาะตามสนธิสัญญา Nootka Sound Convention และทางอาร์เจนติน่าได้รับอำนาจเหนือหมู่เกาะหลังจากนั้นและไม่เคยประกาศยกเลิกอำนาจ อาร์เจนติน่าอ้างอีกว่าหลักการเรื่องการตัดสินใจด้วยตนเองไม่สามารถนำมาใช้ได้เนื่องจากผู้อาศัยในฟอล์กแลนด์ปัจจุบันไม่ใช่ชาวหมู่เกาะโดยตั้งเดิมแต่เป็นการทีอังกฤษนำประชากรมาอาศัยอยู่แทนชาวอาร์เจนติน่าในช่วงปี 1833 ซึ่งอาร์เจนติน่าถือว่าการขับไล่ชาวอาร์เจนติน่าในครั้งนั้นเป็น "การใช้กำลัง"

ขณะที่อังกฤษอ้างว่าพวกเขามีสิทธิเหนือหมู่เกาะมาตั้งแต่ปี 1690 และไม่เคยยกเลิกอำนาจ อีกทั้งชาวอังกฤษยังเข้ามาอยู่อาศัยที่หมู่เกาะก่อนหน้าอาร์เจนติน่า และการที่อาร์เจนติน่าพยายามยึดหมู่เกาะเป็นอาณานิคมในช่วงปี 1820-1833 นั้นไม่ถือเป็นผล อีกทั้งหลักการ 'uti possidetis juris' ก็ไม่ได้มีการยอมรับตามหลักการของกฏหมายนานาชาติ


เรียบเรียงจาก

Falklands referendum: David Cameron hails 'clear result' as 99.8 per cent of islanders vote to remain British, The Independent, 12-03-2013

http://en.wikipedia.org/wiki/Falkland_Islands_sovereignty_dispute

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความอยุติธรรม คือรากแก้วของการทุจริต

Posted: 12 Mar 2013 09:57 AM PDT

          การที่ลือกันว่าเงินง้างได้ทุกสิ่งนั้น นอกจากจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าถึงผลลัพธ์ของการทุจริตแล้ว ยังส่งผลต่อการสร้างวัฒนธรรมการทุจริตในสังคมกันอย่างถึงรากลึก เพราะจะยิ่งทำให้ผู้คนยิ่งเร่งขวนขวายหาเงินและอำนาจ (โดยไม่เลือกวิธีใช้) เพราะเงินใช้อำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดี

          กรณีข่าวดังที่เกิดขึ้นกับคนที่มีฐานะดีแล้วได้รับการผ่อนหนักเป็นเบา หรือรอดเงื้อมมือกฎหมายไปได้ มีให้เห็นอยู่เนือง ๆ จนกลายเป็นความชาชินไป เช่น

          1. อาจารย์มหาวิทยาลัยดังใช้ไม้ตีภริยาเสียชีวิต

          2. พระเอกดังเมาขับชนแท็กซี่จนมีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บสาหัส 1 ราย

          3. นักร้องสาวสุดดังขับรถชนคนตาย แล้วหนีไป ก่อนออกมามอบตัวภายหลัง

          4. นักศึกษาไฮโซใช้ก้อนหินทุบใบหน้าคนขับรถเมล์และขับรถพุ่งชนผู้บนทางเท้า มีผู้เสียชีวิต 1 รายแล้วอ้างว่าวิกลจริต

          5. พระเอกดังอีกคน ขับรถชนหญิงที่มีอาชีพรับซื้อของเก่าริมถนนเสียชีวิต

          6. พิธีกรดังที่ยังเป็นทั้งดาราและดีเจ ขับรถที่ตกแต่งเลียนแบบรถตำรวจ ชนแล้วหนี สุดท้ายค้นในรถพบอาวุธและของผิดกฎหมายหลายรายการ

          7. นักศึกษาสาวนามสกุลดังขับรถพุ่งชนรถตู้บนทางด่วน มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

          8. นักศึกษาหนุ่มทายาทเศรษฐีขับรถสปอร์ตชนหญิงจนร่างขาด 2 ท่อน

          9. ลูกชายนักธุรกิจหมื่นล้านขับชนตำรวจเสียชีวิตคาที่ ผ่านไป 1 วัน มีคนออกมารับสารภาพแทน

          ในกรณีเหล่านี้ โทษที่พวกเขาได้รับอาจน้อยจนดู "ขัดสายตา" ของประชาชน  แต่พวกเขาก็ไม่ได้ตั้งใจที่จะเป็นอาชญากรจริงๆ  บางทีสังคมก็อาจควรเข้าใจพวกเขาบ้าง  ไหนๆ ผู้เสียหายก็ตายไปไม่อาจฟื้นคืนได้แล้ว!  นอกจากกรณีข้างต้นแล้ว ยังอาจมีคนใหญ่คนโตคนมีเงินอีกมากมายที่ยังลอยนวลกันอยู่  บางรายหนีคดีนับสิบปี พอถูกจับได้ก็ยังได้รับการอะลุ่มอล่วยเป็นอย่างดี

          อย่างไรก็ตามถ้าเป็นชาวบ้านทั่วไปที่ไม่มีเงิน ก็คงประสบความลำบากมาก  ประชาชนทั่วไปคงยากที่จะได้รับโอกาสเยี่ยงนี้  บางคนอาจเสียเวลาไปครึ่งค่อนชีวิตในคุก เสียคนในคุก ออกจากคุกมาก็ได้แต่ใช้ชีวิตที่เหลือไปวัน ๆ  บางคนก็ยังต้องตายคาคุกแม้ป่วยไข้  แม้แต่ข้าราชการบางคนก็ยังถูกกลั่นแกล้งกระทั่งออกจากราชการก็ยังมี  บางคนหาทางออกจากความอยุติธรรมไม่ได้ สุดท้ายต้องปลิดชีพตัวเอง เป็นต้น

          กรณีการผ่อนหนักเป็นเบาของคนมีเงิน มีฐานะในสังคมเหล่านี้ทำให้ประชาชนเข้าใจไปว่าเงินง้างได้ทุกอย่าง  และทำให้ทุกคนต้องเร่งหาเงินโดยไม่เลือกวิธีที่ใช้เพื่อนำมาเป็นหลักประกันว่าหากเกิดอะไรขึ้นกับตน จะได้นำมาเป็นทรัพยากรผ่อนหนักเป็นเบาหรือรอดพ้นเงื้อมมือของกฎหมายไปเลย  นี่จึงเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมการทุจริตที่ทับถมยิ่งขึ้น

          ดังนั้นหากสังคมมุ่งหวังจะขจัดการทุจริตให้สิ้น ทางราชการทุกภาคส่วนต้องแสดงให้ประชาชนเห็นถึงการสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นจริงในสังคม เพื่อที่ประชาชนจะสามารถวางใจในกระบวนการยุติธรรมทุกระดับได้  และไม่ต้องไปติดสินบน  ทำให้สังคมมั่นใจได้ว่าทุกคนในสังคมมีความเท่าเทียมกันในทางกฎหมาย ไม่ว่าคนๆ นั้นจะเป็นคนจนหรือคนรวยก็ตาม

          เมืองไทยเราเจริญไม่ได้มาก ไม่ใช่เพราะคุณภาพคนไม่ดี แต่เป็นเพราะมีพวกนายทุน ขุนศึก ศักดินาที่ใหญ่คับฟ้า  คนดีมีความสามารถอยู่ยาก  ข้าราชการจะเจริญก้าวหน้าได้ต่างต้องขึ้นอยู่กับ "ดวง" ซึ่งไม่ใช่แปลว่าดวงดีหรือไม่ดี แต่เป็นคำย่อมาจาก "ด.เด็กใคร ว.วิ่งหรือไม่ และ ง.เงินถึงหรือไม่" นั่นเอง  ที่เรียกร้องกันให้สุจริต ไม่ทุจริตกันจึงเป็นเพียงแค่การเล่น "ปาหี่" ตราบที่ในสังคมยังมีอภิสิทธิชนใหญ่คับฟ้าอยู่เช่นนี้

          ดังนั้นการสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนว่าทุกคนเท่าเทียมกันตามกฎหมาย จึงเป็นหนทางที่สำคัญที่สุดในการปราบปรามการทุจริต และทำให้ทุกคนตระหนักถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่อยู่อย่างแบ่งชั้นวรรณะเช่นทุกวันนี้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหภาพ Electrolux ยืนยันขอกลับเข้าทำงาน แต่ไม่รับเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมจากบริษัท

Posted: 12 Mar 2013 07:32 AM PDT

สหภาพแรงงาน Electrolux เผยลงรายมือชื่อ 109 ยืนยันขอกลับเข้าทำงานให้บริษัทแล้ว แต่ไม่รับเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมจากบริษัทที่ระบุว่าอายุงานจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่เริ่มกลับมาทำงานตามสัญญาจ้างใหม่, ให้คนงานทดลองงานใหม่อีก 119 วัน และการขออนุญาตศาลแรงงานเลิกจ้างกรรมการสหภาพฯ

 
 
สหภาพแรงงานอีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทยยื่นหนังสือขอแสดงเจตนากลับเข้าทำงานกับบริษัทอีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย จำกัด แต่ไม่รับเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมของบริษัท ตั้งแต่วันที่ 5 มี.ค. 56 ที่ผ่านมา
 
12 มี.ค. 56 - สหภาพแรงงานอีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย แจ้งข่าวว่าตั้งแต่ที่คนงานได้รับรู้ถึงข้อเสนอการแจ้งเงื่อนไขในการกลับเข้าทำงานใหม่ของบริษัท (อ่านเพิ่มเติม: สหภาพอีเลคโทรลักซ์กังขาเงื่อนไขกลับเข้าทำงานใหม่ของบริษัท) คนงานจึงได้เข้าชื่อกัน 109 คนทำหนังสือขอแสดงเจตนากลับเข้าทำงานกับบริษัทอีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย จำกัด แต่ต้องอยู่ภายใต้ข้อตกลงเบื้องต้นที่บริษัทได้ทำการตกลงกับผู้แทนสหภาพแรงงานอีเลคโทรลักซ์ ประเทศสวีเดนและผู้แทนจาก Industri All Global Union เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 56 ที่ผ่านมา (อ่านเพิ่มเติม: สหพันธ์แรงงานสวีเดนเจรจา บริษัทตกลงรับคนงาน Electrolux กลับเข้าทำงาน-คงสภาพการจ้างเดิม) ซึ่งสหภาพแรงงานได้ไปยื่นหนังสือหน้าบริษัทตั้งแต่วันที่ 5 มี.ค. 56 ที่ผ่านมาแล้ว
 
โดยรายละเอียดของหนังสือขอแสดงเจตนากลับเข้าทำงานกับบริษัทอีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย จำกัด มีดังต่อไปนี้ ... 
 
 

 

ที่ สร.อ.ล/2556
5 มีนาคม 2556
เรื่อง ขอกลับเข้าทำงาน
เรียน กรรมการผู้จัดการบริษัทอีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย จำกัด
 
อ้างถึงการประชุมระหว่างตัวแทนผู้บริหารบริษัทอีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย จำกัด กับผู้แทนสหภาพแรงงานอีเลคโทรลักซ์ ประเทศสวีเดนและผู้แทนจาก Industri All Global Union เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 ดังมีข้อตกลงในรายละเอียดจำนวน 8 ข้อดังนี้
 
1.  ทบทวนข้อเท็จจริง รายละเอียด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นำเสนอโดยบริษัท
 
2.  IF Metall แจ้งให้ฝ่ายบริหารทราบว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ตรงกับที่เขาได้รับแจ้งจากสหภาพแรงงาน
 
3.  ตกลงกันในหลักการว่า ถึงแม้จะมีความแตกต่างในด้านข้อมูลการนำเสนอจากทั้งสองฝ่าย แต่จะไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรองดอง
 
4.  ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมมือและฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพแรงงานและบริษัทโรงงานระยอง
 
5.  ตกลงกันว่าคนงานที่ถูกเลิกจ้างทั้งหมดสามารถกลับเข้าสู่การทำงานที่บริษัท Electrolux สภาพการจ้างเดิมเหมือนกับก่อนถูกเลิกจ้าง  ตำแหน่งงานอาจจะเปลี่ยน (ตามสภาพงานที่มีอยู่) แต่ไม่ได้หมายความว่าอนุญาตให้บริษัทโอนย้ายไปทำงานอะไรก็ได้ที่อาจเห็นได้ว่าเป็นการกลั่นแกล้ง หรือลงโทษพนักงาน 
 
6. ในกระบวนการกลับเข้าทำงาน พนักงานต้องไปแจ้งความจำนงเพื่อกลับเข้าทำงานภายใน 14 วัน ซึ่งบริษัทจะขอให้พนักงานยอมรับเงื่อนไขบางประการ ก่อนการเริ่มงาน ซึ่ง IF Metall จะได้รับแจ้งและสามารถวิพากษ์วิจารณ์เงื่อนไขที่บริษัทเสนอต่อพนักงาน คณะกรรมการสหภาพแรงงานทั้ง 8 คน กลับเข้าทำงานในสภาพการจ้างเดิม 
 
7.  ได้มีการพูดถึงการสร้างแรงงานสัมพันธ์ต่อไปในอนาคตเพื่อทำให้แรงงานสัมพันธ์ที่โรงงานระยองสอดคล้องกับกฎหมายแรงงานไทย  คณะกรรมการสหภาพแรงงานทั้ง 8 คนซึ่งปัจจุบันถูกพักงานจะเข้าร่วมในการประชุมเพื่อการสร้างแรงงานสัมพันธ์ การประชุมนัดนี้จะจัดขึ้นที่สำนักงานแรงงานจังหวัดระยองวันที่ 29 มีนาคม 2556  
 
8.  IF Metal และ Electrolux สำนักงานใหญ่จะทำงานอย่างต่อเนื่องในการติดตามและจัดประชุม สัมมนา ร่วมกันกับ Electrolux ประเทศไทยและสหภาพแรงงาน Electrolux Thailand Workers Union เพื่อการสร้างแรงงานสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้จะมีการปรึกษาหารือกันถึงเรื่องการปฏิบัติตามข้อตกลงสากล
 
ดังนั้น คณะกรรมการและสมาชิกสหภาพแรงงานผู้มีรายชื่อและลายมือชื่อท้ายนี้ขอแสดงเจตนากลับเข้าทำงานกับบริษัทอีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย จำกัด ตั้งแต่วันที่  ….. มีนาคม  2556
 
 
ทั้งนี้ในทางสหภาพฯ ระบุว่าในการเจรจาในวันที่ 14 มี.ค. 56 ที่รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้ทำการประสานไว้ให้มีการเจรจากันที่ทำเนียบรัฐบาล ทางบริษัทฯ จะส่งตัวแทนผู้บริหารที่มีอำนาจการตัดสินใจเข้าร่วมเจรจากับสหภาพแรงงาน
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสวนา: วิกฤตไฟฟ้า วิกฤตพลังงาน เรื่องจริงหรืออิงมายา

Posted: 12 Mar 2013 05:42 AM PDT

'ปิยสวัสดิ์' จวกรัฐฯ ทำตื่นตระหนก 'ขาดแคลนไฟฟ้า' ชี้รู้ล่วงหน้าทั้งบวกค่าใช้จ่ายในค่าไฟ ตั้งแต่ ม.ค.แล้ว แจง 'จำกัดโควตา' – ออกใบ 'รง.4' ช้า อุปสรรค์ 'พลังงานหมุนเวียน' ด้านนักวิชาการพลังงานชี้ 'วิกฤติธรรมาภิบาล' ปัญหาแท้จริงของ 'วิกฤติพลังงาน'

 
ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) จัดเสวนาพิเศษ หัวข้อ 'วิกฤตไฟฟ้า วิกฤตพลังงาน เรื่องจริงหรืออิงมายา' ล้อมวงตั้งคำถามต่อ 'ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์' อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ 'ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน' ผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้าและพลังงานถึงสถานการณ์วิกฤตพลังงาน จากกรณีพม่าหยุดจ่ายก๊าซจากแหล่งยาดานาและเยตะกุนส่งผลให้การผลิตไฟฟ้าหายไปจากระบบ เมื่อวันที่ 11 มี.ค.56
 

'อดีต รมว.พลังงาน' จวกรัฐฯ ทำตื่นตระหนก 'ขาดแคลนไฟฟ้า'

 
"เรื่องของไฟตก ไฟดับ ผมไม่เห็นว่ามีประเด็นที่อยู่นอกเหนือความสามารถของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) และ ปตท.ที่จะบริหารจัดการได้ ไม่เห็นว่าเป็นประเด็นอะไรที่จะต้องหยิบยกมาให้ประชาชนตกใจ" ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้ความเห็น
 
ปิยสวัสดิ์ กล่าวให้ข้อมูลว่า ความจริงแล้วการซ้อมท่อก๊าซและเครื่องขุดเจาะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้ว โดยไทยพึงก๊าซในการผลิตไฟฟ้า 70 เปอร์เซ็นต์มานานแล้วนับ 10 ปี และที่ผ่านมามีการปิดซ้อมบำรุงรักษาอยู่อย่างต่อเนื่องซึ่งก็ไม่มีปัญหาอะไร แม้แต่ในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติที่ก๊าซถูกตัดกะทันหันระบบไฟฟ้าก็สามารถผลิตต่อไปได้ตามปกติ ประชาชนไม่ได้รับรู้เลยว่ามีไฟตก ไฟฟ้าดับ เพราะโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซสามารถใช้น้ำมันดีเซล (โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม) หรือน้ำมันเตา (โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน) เข้ามาทดแทนได้ เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉิน แต่ผลกระทบเรื่องค่าไฟเป็นอีกประเด็นหนึ่ง
 
สมมติไฟฟ้าหายไปจริง ซึ่งก็เคยเกิดขึ้นเมื่อกำลังไฟฟ้าสำรองไม่พอกับความต้องการจริงๆ เช่นเมื่อประมาณปี 2530-2531 ซึ่งต่างจากครั้งนี้ที่กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองมีเหลือเฟือ อีกทั้งยังมีมาตรการปกติที่สามารถหยิบมาใช้ได้เลย โดยให้ผู้ใช้ไฟรายใหญ่ลดการใช้ ในส่วนผู้ที่หยุดการใช้ไฟได้ทันที กระบวนการผลิตไม่เสียหาย เช่น โรงงานซีเมนต์ โรงงานทำโซดาไฟ ซึ่งหยุดครั้งหนึ่งประหยัดไฟได้นับ 100 เมกกะวัตต์ หรือมาตรการที่ให้ประชาชนหรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีเครื่องผลิตไฟฟ้าสำรองเดินเครื่องทำการผลิต ฯลฯ
 
มาตราเหล่านี้ได้เตรียมไว้อยู่แล้ว แต่ไม่เคยเกิดวิกฤติที่ต้องนำมาใช้ และมาตรการที่มีอยู่แล้วนี้ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการดับไฟเป็นเขตๆ เหมือนที่มีในบางประเทศเช่นพม่า ซึ่งมีปัญหากำลังการผลิตไฟสำรองไม่พอ
 
"เหตุผลในการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาบอกก่อนเกิดเหตุการณ์เพียง 2 เดือน ทั้งที่รู้ล่วงหน้ามาเป็นปีแล้ว ตรงนี้ผมคิดว่าต้องไปถามรัฐบาล ต้องไปถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนปัจจุบันว่า ตกลงว่าเรื่องราวมันเป็นอย่างไร มันมาจากการที่การบริหารจัดการไม่ดี หรือเป็นเรื่องที่รัฐมนตรีฯ เพิ่งจะรู้มาไม่กี่วัน ทั้งๆ ที่คนอื่นเขารู้มาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม" อดีต รมว.กระทรวงพลังงาน กล่าว
 
 

ชี้รู้ล่วงหน้า 'พม่า' หยุดส่งก๊าซ - บวกค่าใช้จ่ายในค่าไฟ ตั้งแต่ ม.ค.

 
ปิยสวัสดิ์ กล่าวถึงเรื่องการหยุดส่งก๊าซจากประเทศพม่าว่าเป็นที่รับรู้มานานแล้ว แม้กระทั่งในส่วนของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. (เรกูเลเตอร์) และได้มีการนำราคาน้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลที่จะใช้เพิ่มในช่วงนี้บวกเข้าไปในค่าไฟฟ้าตั้งแต่เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมาแล้ว
 
ต้นทุนในการบริหารจัดการนี้ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอะไร ก็เป็นประเด็นที่ประชาชนต้องรับอยู่แล้ว ไม่ว่าจะในประเด็นของการลดใช้ไฟฟ้า หรือการจ่ายค่า FT หรือหากมีการปิดไฟเป็นเขตๆ ประชาชนก็จะเป็นผู้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นมา
 
 

แจง 'จำกัดโควตา' – ออกใบ 'รง.4' ช้า อุปสรรค์ 'พลังงานหมุนเวียน'

 
ปิยสวัสดิ์ กล่าวต่อมาสิ่งที่จะมาชดเชยความต้องการได้คือพลังงานหมุนเวียน แต่มีอุปสรรค์สกัดกั้นซึ่งมีมาไม่นานโดยเฉพาะในส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) ที่ประสบปัญหากับขึ้นตอนการขออนุญาตเยอะมากอย่างไม่เคยมาก่อน จากเดิมที่ใครทำได้ก็ทำไป สามารถขายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในราคาที่รัฐบาลประกาศ ต่อมามีการให้ส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน ทำให้เกิดการลงทุนพลังงานหมุนเวียนจำนวนมาก และขั้นตอนการขออนุญาตก็กลายเป็นสิ่งที่ยากขึ้น ยุ่งยากสลับซับซ้อน
 
ปิยสวัสดิ์ กล่าวด้วยว่า การที่กระทรวงพลังงานการกำหนดเป้าหมายพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ที่ 2,000 เมกะวัตต์ ซึ่งแทนที่จะเป็นจำนวนขั้นต่ำที่ช่วยส่งเสริม กลับกลายเป็นเพดานขึ้นมา ทำให้มีการกำหนดโควตา ดังนั้นคนที่ได้รับสัญญาซื้อขายไฟฟ้าไปแล้วและไม่ต้องการที่จะพัฒนาโครงการต่อมีสิทธิเอาสัญญานั้นไปขาย
 
ส่วนการเปลี่ยนแปลงสัญญาต้องขออนุญาตคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ตั้งขึ้นมาใหม่ กลายเป็นด่านที่ทำให้ต้องมีการวิ่งเต้นเจรจาเปลี่ยนสัญญา โดยมีการเลือกปฏิบัติ และนำไปสู่การฟ้องร้อง อีกทั้ง คนที่ได้สัญญาไปแล้วไม่ทำก็กลายเป็นการกันท่าคนอื่นๆ
 
อปสรรค์ต่อมาคือ กระทรวงอุตสาหกรรมในเรื่องการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) ซึ่งต้องได้ก่อนไปขอใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงานจากเรกูเลเตอร์ ทั้งที่ในอดีตไม่เคยมีปัญหา และไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะโรงไฟฟ้าเท่านั้นแต่เป็นปัญหาสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปด้วย ทำให้ต้องมีการวิ่งเต้นเกิดขึ้น
 
รง.4 กำหนดว่า ในกรณีโรงไฟฟ้าให้โรงไฟฟ้าขนาดเกิน 5 แรงม้า หรือกำลังการผลิตประมาณ 3.6 กิโลวัตต์ จะต้องขอใบอนุญาต รง.4 ซึ่งเป็นปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่ต่ำและถ้าบ้านขนาดใหญ่หรือโรงงานอุตสาหกรรมต้องการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ก็ต้องขอใบอนุญาตโรงงาน หรือหากไม่ถึง 3.6 กิโลวัตต์ ก็จะไปติดมติคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งทำหน้าที่ตรงข้ามกับการส่งเสริมอย่างสิ้นเชิง คือถ้าไม่เอาส่วนเพิ่มค่าไฟก็ทำไม่ได้
 
"ประเทศไทยมีบ้านอยู่ตอนนี้ประมาณ 15 ล้านหลังคาเรือน ถ้าเราได้เซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านแค่ 1 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนละ 2 กิโลวัตต์ มันก็ 2,000 เมกะวัตต์เข้าไปแล้ว ถ้าสิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นได้ มันเดินไปได้ ปัญหาวิกฤติไฟฟ้าครั้งนี้จะไม่รุนแรงจากนี้เลย" อดีต รมว.กระทรวงพลังงาน กล่าว
 
ปิยสวัสดิ์ กล่าวต่อมาว่า ปัจจุบันมีผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กมาก ที่ยังติดปัญหาต่างๆ เหล่านี้อีก 600 โครงการ กำลังผลิตรวม 4,000 เมกะวัตต์ หากสามารถยกเลิกอุปสรรคดังกล่าวได้ เชื่อว่าจะผลิตไฟฟ้าเข้าระบบได้อีกอย่างน้อย 1,000 เมกะวัตต์ เลยทีเดียว
 
การแก้ปัญหาพลังงานหมุนเวียนทำได้ง่าย คือยกเลิกคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และต้องยกเลิกมติที่กำหนดโคตา ให้เปิดเสรีแล้วทุกอย่างจะเดินไปได้ เพราะพลังงานหมุนเวียนนั้นมาตรการส่งเสริมมีอยู่แล้วขอเพียงอย่าสร้างอุปสรรค์เท่านั้นเอง และจะเดินไปได้จนถึงขนาดที่ว่าจะสามารถนำไปทบทวนแผน PDP ได้
 
 

ดันไฟฟ้าแสงอาทิตย์ เชื่อต้นทุนผลิตในอนาคต ถูกกว่า LNG

 
อดีต รมว.กระทรวงพลังงาน กล่าวด้วยว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจากการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีการลงทุนมากขึ้นในโซลาร์ฟาร์ม และต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ถูกลงมากจากเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว อยู่ที่ประมาณ 16 บาทต่อหน่วย ขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 5-6 บาทต่อหน่วย ซึ่งใกล้เคียงกับก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และต้นทุนจะลดลงเรื่อยๆ เพราะมีการเพิ่มประสิทธิภาพขึ้น ดังหากบอกว่าพลังงานแสงอาทิตย์แพง นั้นไม่จริง
 
หากเทียบราคาพลังงานแสงอาทิตย์อาจแพงกว่าก๊าซฯ ในอ่าวไทย แต่ในขณะนี้ก๊าซฯ ใหม่ๆ ที่เข้ามาในระบบคือ LNG และสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าโดย LNG จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าจะมีสัดส่วนถึงร้อยละ 50 ของปริมาณก๊าซฯ ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งหากใช้ก๊าซฯ มากขึ้นอาจทำให้ราคาไฟฟ้าแพงขึ้น จากราคาเฉลี่ยของก๊าซที่ใช้ผลิตฟ้าในโรงไฟฟ้าปัจจุบัน 300 บาทต่อล้านบีทียู ส่วนราคา LPG นำเข้าอยู่ที่ประมาณ 560 บาทต่อล้านบีทียู
 
 

เห็นด้วย "เชื้อเพลิงหลากหลาย" มีถ่ายหินร่วม แต่นิวเคลียร์อีกยาว

 
ปิยสวัสดิ์ กล่าวถึงการรับมือวิกฤตพลังงานในระยะยาวด้วยว่า เห็นด้วยกับการกระจายเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าที่หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยง อย่าพึ่งก๊าซมากเกินไป และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจะเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมาก สามารถปรับใส่ลงไปใน PDP ได้มากกว่าเดิม แต่สำหรับนิวเคลียร์ขณะนี้คงเป็นไปไม่ได้ เพราะต้องใช้ระยะเวลาสำหรับการเตรียมการ เตรียมคน ออกกฎหมาย ตั้งองค์กรกำกับดูแล มีขั้นตอนในการดำเนินการใช้เวลา 13-15 ปี ซึ่งเป็นพลังงานในระยะยาว
 
ส่วนถ่านหินก็ควรจะมีเข้ามาในระบบ ซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมในบริเวณใกล้เคียงไม่เป็นห่วงเพราะมีเทคโนโลยีที่จะดูแลได้อยู่แล้ว ในกรณีแม่เมาะนั้นถือเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี หากต้องการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสิ่งแรกที่ต้องทำคือการแก้ปัญหาของชาวบ้านแม่เมาะให้จบไป เลิกเลี้ยงไข้
 
นอกจากนั้นสิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการใช้ถ่านหินคือเรื่องโลกร้อน หากเชื่อว่าจะเกิดปัญหาและโลกต้องลดภาระการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง โรงไฟฟ้าถ่านหินที่เกิดขึ้นใหม่ต้องติดตั้งระบบป้องกันการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นด้วย สำหรับไฟฟ้าจากพม่า-ลาว เรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนต้องดูให้ดี
 

นักวิชาการพลังงานชี้ 'วิกฤติธรรมาภิบาล' ปัญหาแท้จริงของ 'วิกฤติพลังงาน'

 
"อย่างที่เห็นวิกฤติที่เรากำลังต้องเผชิญ มันไม่ได้เป็นเรื่องวิกฤติของไฟไม่พอ แต่มันเป็นเรื่องวิกฤติธรรมาภิบาลที่มีการสมยอมกันทังระบบ โดยมีการผลักภาระให้ผู้บริโภค โดยที่ผู้บริโภคไม่ได้มีส่วนต่อการดำเนินงานที่ไร้ประสิทธิภาพ แต่ต้องมาเป็นผู้แบบกรับต้นทุน" ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน ผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้าและพลังงานกล่าว
 
ชื่นชม ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาการซื้อขายก๊าซฯ จากแหลงก๊าซฯ ยาดานาว่า มีเงื่อนไขระบุการดูแลชดเชยผลกระทบในกรณีที่ผู้รับสัมปทานไม่สามารถจัดส่งก๊าซฯ ได้จากการหยุดซ่อม ซึ่งแบ่งเป็น 3 กรณี คือ 1.กรณีวางแผนล่วงหน้าป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต แม้จะอยู่ระหว่างซ่อมต้องนำส่งก๊าซฯ อย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ของก๊าซปกติ 2.กรณีหยุดซ่อมแบบพิเศษ เช่น หยุดเพื่อเชื่อมต่อท่อจากแหล่งก๊าซฯ ใหม่ และ 3.กรณีหยุดซ่อมเมื่อเกิดเหตุสุดวิสัย เช่น ภัยธรรมชาติ สงคราม การเมือง ฯลฯ
 
กรณีที่เกิดขึ้นขณะนี้เรารู้ล่วงหน้ากันมานาน เป็นการวางแผนธรรมดา เข้าข่ายการหยุดซ่อมปกติ ซึ่งหากที่ผู้รับสัมปทานไม่สามารถจัดส่งก๊าซฯ ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ไม่ว่ากรณีไหน มีขอกำหนดไว้ในสัญญาข้อ 15.2 ว่า ปตท.มีสิทธิที่จะได้รับส่วนลดราคาก๊าซฯ ในส่วนที่หายไป ในราคาที่ต่ำกว่าปกติ 25 เปอร์เซ็นต์ คำถามคือที่ผ่านมา ปตท.ได้เรียกร้องส่วนลดดังกล่าวหรือไม่
 
ทั้งฝากประเด็นไปยัง กกพ.ในฐานะองค์กรกำกับดูแลให้ช่วยตรวจสอบในส่วนนี้ด้วย รวมถึงเรื่องการเจรจากำหนดเวลาปิดซ้อมว่าทำไมไม่เลือกช่วงที่มีความเสียงน้อยกว่า ทำไมกระทรวงพลังงานออกมาสร้างกระแสว่าไฟจะตก ไฟจะดับทั้งที่สามารถมีมาตรการเตรียมการตั้งแต่ทราบข้อมูลเมื่อปีที่ผ่านมา อีกทั้ง การตรวจสอบสัญญาการซื้อขายไฟฟ้าและก๊าซฯ เพื่อดูว่าผลประโยชน์ผู้บริโภคให้ได้รับการดูแลดีเพียงใด
 
 

เสนอยกเลิก '2 คณะกรรมการ' คอขวดทำพลังงานหมุนเวียนไม่คืบ

 
ชื่นชม กล่าวด้วยว่าคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการทำพลังงานหมุนเวียน คือ คณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ภายใต้กระทรวงพลังงาน มีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน และคณะกรรมการกลั่นกรองการพิจารณาอนุญาตโรงงานบางประเภทที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม ทำให้การดำเนินโครงการพลังงานหมุนเวียนเกิดการติดขัด เนื่องจากไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการพิจารณาอนุมัติอนุญาต
 
ตรงนี้จึงไม่ใช่เพียงเรื่องต้นทุนพลังงานหมุนเวียนสูง แต่มีเรื่องช่องทางในการดำเนินซึ่งมีปัญหาการขาดธรรมาธิบาลรวมอยู่ด้วย ดังนั้น ข้อเรียกร้องโดยส่วนตัวคือ คณะกรรมาธิการทั้ง 2 ชุด เมื่อตั้งขึ้นมาแล้วไม่ได้แก้ปัญหาใดๆ ก็ขอให้มีการยกเลิกเสียจะดีกว่า
 
 

จี้ทบทวน 'นโยบายบริหารพลังงาน' หยุดล็อกสเปกโรงไฟฟ้า

 
ชื่นชม กล่าวด้วยว่า ในเรื่องการประมูลโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) ก็มีการปิดกั้น ไม่มีธรรมาภิบาลเช่นเดียวกัน เนื่องจากการประมูล IPP 5,400 เมกกะวัตต์ (ตาม PDP 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3) กำหนดให้เป็นการประมูลโรงไฟฟ้าก๊าซฯ ทั้งหมด ขณะที่ก๊าซฯ ในประเทศไม่เพียงพอ ต้องมีการนำเข้า LNG ซึ่งมีต้นทุนสูงมาก ทำให้เกิดคำถามว่าทำไมต้องมีการล็อกสเปกเฉพาะโรงไฟฟ้าก๊าซขนาดใหญ่ ทำไมไม่เปิดให้มีทางเลือกที่หลากหลาย
 
ตรงนี้รวมทั้งเรื่องเทคโนโลยีการผลิต การส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และวัตถุดิบที่หลากหลาย โดยนิวเคลียร์-ถ่านหินก็สามารถเข้ามาได้ ภายใต้เงื่อนไขการแข่งขันเรื่องต้นทุนของสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่าหากมีการรวมต้นทุนสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความเสียงต่างๆ แล้ว นิวเคลียร์มีต้นทุนผลกระทบมาก สู้ไม่ได้กับพลังงานหมุนเวียนหรือการประหยัดพลังงาน
 
"เราพึงพาก๊าซมากเกินไปแล้ว และเรากำลังนำมาสู่ข้อสรุปว่าเราควรจะต้องมีการทบทวนแนวนโยบายการบริหารพลังงาน ทำไมคุณไม่ชะลอการประมูล IPP ไว้ก่อน ทำให้ชัดเจนว่าคุณจะเดินไปทางไหน แล้วค่อยเปิดประมูลใหม่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่มีการล็อกสเปกให้กับก๊าซธรรมเพียงอย่างเดียว เป็นไปได้ไหมที่เราจะสรุปบทเรียนการพึ่งพาก๊าซจากครั้งนี้ นำไปสู่วิธีคิดแบบใหม่ๆ ที่นำมาสู่ทางเลือกของพลังงานที่หลากหลาย" ชื่นชม กล่าว
 
 

แนะปรับเกณฑ์ราคาค่าไฟ หวังออกจากวังวนธุรกิจพลังงาน

 
ชื่นชม กล่าวด้วยว่า ตอนนี้ ก๊าซในส่วนของ IPP ได้จัดสรรแล้ว 5,400 เมกกะวัตต์ โดย ปตท.เป็นผู้จัดหา แต่ในแผนธุรกิจของ ปตท.เองก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่ที่ธุรกิจก๊าซ ตอนนี้ขยายการลงทุนไปธุรกิจถ่านหิน และการลงทุนในการสร้างเขื่อนในประเทศเพื่อนบ้านซึ่งหนีไม่พ้นที่จะขายกลับมายังประเทศไทยผ่าน กฟผ.ซึ่งตรงนี้แสดงให้เห็นว่าแผนนโยบายพลังงานของประเทศค่อนข้างถูกกำหนดโดยแผนการขยายธุรกิจของบริษัทพลังงานต่างๆ ของประเทศไทยเอง โดยไม่มีการถ่วงดุลที่เพียงพอ
 
ทั้งนี้ เนื่องจากโครงสร้างการกำกับดูแลเป็นปัญหา เป็นระบบที่ยิ่งลงทุนมากยิ่งกำไรมาก ในกรณีการไฟฟ้าผลตอบแทนจากเงินลงทุนถูกใช้เป็นเกณฑ์หลักในการกำหนดค่าไฟ หมายความว่าหาก กฟผ.อยากมีกำไรมากก็ต้องลงทุนมาก ดังนั้นหากเราจะแก้ให้หลุดไปจากวังวนนี้ จะต้องทบทวนเกณฑ์การเงินในการกำหนดราคาค่าไฟใหม่ ไม่เชนนั้นจะเป็นเช่นนี้เรื่อยไป เพราะทุกๆ หน่วงงานที่เกี่ยวข้องได้ผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสิ้นจากการขยายการลงทุนของระบบไฟฟ้าและพลังงาน
 
 

ชี้มุ่งสร้าง 'โรงไฟฟ้า' อาจเป็นตัวถ่วงเศรษฐกิจ หนุนสร้าง 'ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน'

 
ชื่นชม กล่าวว่า อยากใช้วิกฤติครั้งนี้เป็นโอกาสในการเรียนรู้ร่วมกันในสังคมว่า วิกฤติครั้งนี้เป็นวิกฤติเรื่องธรรมาภิบาลไม่ใช้วิกฤติพลังงาน การที่ไฟฟ้าจะดับ โดย กฟผ.บอกว่าโรงไฟฟ้าที่ลงทุนไปแล้วใช้ไม่ได้ เป็นไปได้ไหมที่จะมีการสถานการณ์ที่ศูนย์ควบคุมในวันที่จะเกิดวิกฤติ เพื่อให้เห็นว่าโรงไฟฟ้าไหนใช้ได้ใช้ไม่ได้ เพราะโรงไฟฟ้าเหล่านี้ล้วนอยู่ในต้นทุนที่เราต้องจ่าย
 
เพื่อนำไปสู่บทเรียนว่าหากจะลงทุนสร้างต่อไป ต้องสร้างโรงไฟฟ้าแบบไหน อย่างไร เพื่อให้เกิดการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด หรือหากพบว่าการที่โรงไฟฟ้าใช้ไม่ได้เพราะการบริหารจัดการไร้ประสิทธิภาพก็ควรจะไปแก้ที่จุดนั้น ก่อนที่จะนำมาสู่ข้อสรุปที่ว่า ไฟฟ้าไม่พอ แล้วต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่
 
ส่วนการประมูล IPP ควรมีการเปิดเผยข้อมูล เปรียบเทียบต้นทุนการผลิตบนฐานที่เป็นธรรม ทั้งการผลิต ส่ง จำหน่าย รวมทั้งผลกระทบในอนาคต และอย่าล็อกสเปกกำหนดเฉพาะก๊าซหรือถ่านหิน
 
พร้อมเสนอ เปิดโอกาสให้การลงทุนในเรื่องประสิทธิภาพพลังงานได้เข้ามาร่วมด้วย เพราะตรงนี้เป็นสิ่งที่ทั่วโลกพิสูจน์มาแล้วว่าเป็นทางเลือกของการจัดหาพลังงานที่ถูกที่สุด แต่ประเทศไทยกำลังปิดกันไม่ให้เป็นทางเลือกของการลงทุน ไม่มีการดำเนินการอย่างเต็มที่ ทั้งที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการสร้างโรงไฟฟ้าต่างๆ ทำไมเราไม่ทำตรงนี้ให้เต็มที่ก่อนแล้วค่อยนำมาสู่การหาทางออกร่วมกันในส่วนที่จำเป็นต้องจัดหาเพิ่มเติม
 
ชื่นชม กล่าวต่อมาถึงแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี ว่าเป็นแผนที่ดีมาก มีการตั้งเป้าไว้ชัดเจนและได้มีการอนุมัติงบประมาณแล้ว 29,500 ล้านบาท หวังว่าตรงนี้จะทำออกมาได้จริง และต้องมีการติดตามต่อไปว่าทำไปได้แค่ไหนและมีผลออกมาอย่างไร เพราะจุดอ่อนของเราคือเรื่องข้อมูล เนื่องจากวัฒนธรรมการเปิดเผยข้อมูลที่ค่อนข้างแย่ อีกทั้งต้องมีการลงทุนในระบบตรวจวัดติดตาม เพื่อตรวจวัดผลการลงทุนเรื่องการประหยัดพลังงาน
  
สำหรับก้าวต่อไป ชื่นชม กล่าวว่า ประเทศไทยมีทางเลือกทรัพยากรที่หลากหลาย รวมทั้งมีเรื่องการประหยัด เรื่องประสิทธิภาพพลังงาน เพราะที่ผ่านมามุ่งเน้นแต่การสร้างขณะที่ประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่ำมากเมื่อเทียบกันประเทศอื่น ซึ่งตรงนี้จะกลายเป็นตัวฉุดให้ระบบเศรษฐกิจไม่สามารถแข่งขันได้กับประเทศอื่นๆ การบริโภคพลังงานกลายเป็นภาระของระบบเศรษฐกิจไม่ใช่ตัวช่วย ตรงนี้ต้องเปลี่ยนวิธีการคิด ซึ่งการลงทุนในเรื่องประสิทธิภาพพลังงานทำได้เยอะมา โดยไม่ควรยึดติดเฉพาะเบอร์ 5 ซึ่งการสนับสนุนส่วนลดตรงนี้ กลายเป็นส่งเสริมการขาย ทำให้ใช้ไฟมากขึ้นด้วยซ้ำ
 
 

ข้อเสนอ 'กระจายอำนาจ' ทำให้ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมในระบบไฟฟ้า

 
ชื่นชม เสนอเรื่องการกระจายอำนาจด้วยว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะให้ระบบไฟฟ้า-สายส่งจะเป็นของประชาชนจริงๆ โดยมี กฟผ.เป็นผู้ดูแล โดยใครๆ ก็เข้าถึงได้ ทำให้คนตื่นตัวในการจัดการ ถือเป็นการติดอาวุธทางความคิดด้วย จากเดิมมีความคิดเป็นเพียงผู้บริโภครับไฟแล้วจ่ายเงิน ในเชิงความสัมพันธ์เป็นผู้ถูกกระทำ แต่หากมองว่าพลังงานไฟฟ้าเป็นเรื่องของเราไม่ได้เป็นแค่เรื่องผู้กำหนดนโยบาย สามารถมีส่วนร่วมการเรื่องจัดการ เรื่องการผลิต ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างได้
 
กระจายอำนาจทำได้โดยให้ชุมชนหรือท้องถิ่นที่มีความพร้อมเข้าร่วมในการจัดการ เช่น คนในนครเมืองเชียงใหม่ที่ตื่นตัวขอใช้บริการสายส่งจากการไฟฟ้าและขอใช้สิทธิซื้อไฟฟ้าจาก กฟผ.ในราคาขายส่งและนำมาบริการจำหน่ายให้กับคนในนครเมืองเชียงใหม่ หรือหากคนในนครเมืองเชียงใหม่อยากลงทุนเรื่องการประหยัดพลังงานมากกว่าการลงทุนของรัฐก็สามารถที่จะทำได้ ตรงนี้เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ
 
ตัวอย่างรัฐวอชิงตัน มีการไฟฟ้าที่เป็นสหกรณ์ที่ผู้ใช้ไฟเข้าไปนั่งเป็นบอร์ดบริหาร และมีสิทธิ์ร่วมกำหนดทิศทางของการไฟฟ้าได้ บางพื้นที่อยู่ในรูปแบบเอกชน บางพื้นที่รัฐจัดการ ซึ่งระบบของอเมริกาเป็นระบบที่หลากหลาย ไม่ได้ผูกติดว่าเมื่อมีระบบสายส่งที่เป็น Economies of scale แล้วจะต้องผูกขาดว่ารัฐเป็นผู้บริหารจัดการ
 
"เรื่องการกระจายอำนาจ เทคโนโลยีไม่ได้เป็นข้อจำกัด ขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่ามีความพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและการจัดการพลังงานมากน้อยแค่ไหน" ชื่นชมกล่าว      
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหภาพ GM หวั่นถูกสลายชุมนุมข้างทำเนียบ

Posted: 12 Mar 2013 03:54 AM PDT

 

12 มี.ค. 56 -  สหภาพแรงงานเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย แจ้งข่าวว่าตั้งแต่เมื่อวานที่ผ่านมา (11 มี.ค.) เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้ามาพูดคุยให้สหภาพแรงงานย้ายการชุมนุมจากข้างทำเนียบไปยังกระทรวงแรงงาน และในวันนี้ (12 มี.ค.) เวลาประมาณ 17.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เตรียมกำลังมาหนึ่งคันรถบัสเพื่อมากดดันการชุมนุมของสหภาพฯ
 
ทางตัวแทนของสหภาพแรงงานเจนเนอรัลมอเตอร์ส ประเทศไทย ระบุว่าได้ย้ายการชุมนุมจากระยองมายังข้างทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่วันที่ 5 มี.ค. ที่ผ่านมาและรอการเจรจาในวันที่ 14 มี.ค. นี้ที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งการปักหลักชุมนุมอยู่ที่ข้างทำเนียบรัฐบาลก็เป็นไปโดยสงบ และทางสหภาพจะขอรอให้ถึงวันเจรจาในวันที่ 14 มี.ค. นี้ก่อน จึงจะตัดสินใจกันอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อนุ กก.คุ้มครองผู้บริโภค โดดขวาง AIS เรียกเก็บค่ารักษาเลขหมายวันละบาท

Posted: 12 Mar 2013 12:39 AM PDT

อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม จวกเอไอเอส เล็งเอาเปรียบผู้ใช้บริการพรีเพดอีก หลังขอให้กำหนดเวลาได้ 30 วัน ยังเดินหน้าขอ กทค. เก็บค่ารักษาเลขหมาย 30 บาทต่อเดือนหากไม่ใช้บริการ


(11 มี.ค.56) ศิริศักดิ์ ศุภมนตรี อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมว่า ขณะนี้ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ได้มีหนังสือมายังคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ขอความเห็นชอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพรีเพด โดยบริษัทฯ จะเก็บค่าบริหารจัดการเลขหมายในระบบ กรณีผู้ใช้บริการไม่มีการใช้บริการใดๆ ที่ต้องชำระค่าบริการให้แก่บริษัทฯ ภายในระยะเวลา 30 วัน ติดต่อกัน ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ใช้บริการมีเงินคงเหลือในระบบ บริษัทฯ จะเก็บค่าบริหารจัดการเลขหมายในอัตราวันละ 1 บาท จนกว่าจะมีการใช้บริการ ทั้งนี้ผู้ใช้บริการจะถูกยกเลิกบริการจัดเก็บค่าบริหารจัดการเลขหมายเมื่อไม่มีจำนวนเงินเหลืออยู่และหลังจากนั้นบริษัทฯ จะนำเลขหมายนั้นมาเข้าสู่กระบวนการจัดเก็บเพื่อเตรียมการจัดจำหน่ายต่อไป

รศ.ศิริศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมมีความเห็นร่วมกันว่า ข้อเสนอดังกล่าวของบริษัท เอไอเอส อาจเข้าข่ายการค้ากำไรเกินควร และเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค เพราะปัจจุบันบริษัทจ่ายค่าธรรมเนียมเลขหมายให้กับ กสทช. เพียง 2 บาทต่อเดือน อีกทั้งจากราคาตลาดโดยเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการอีก 2 ราย คือ บริษัท โทเทิ่ลแอดเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) คิดค่าบริการโดยให้ซื้อวันได้ราคา 2 บาทต่อ 30 วัน ขณะที่ ทรูมูฟ จำกัด คิดค่าบริการโดยให้ซื้อวันได้ราคา 3 บาทต่อ 30 วัน รวมถึงในการใช้บริการโทรคมนาคมโดยปกตินั้น ย่อมมีทั้งบริการที่ผู้ใช้บริการต้องจ่ายค่าบริการและไม่เสียค่าบริการควบคู่กันไป เช่น การโทรออก-รับสาย การส่ง-รับ SMS แม้การใช้บริการที่ผู้บริโภคมิได้จ่ายเงินให้บริษัท เช่น การรับสายโทรเข้า บริษัทฯ ก็ยังได้ประโยชน์ คือ ได้รับค่าเชื่อมต่อโครงข่ายจากบริษัทผู้ให้บริการที่โทรเข้ามา ดังนั้น หากผู้บริโภคยังมีการใช้งาน แม้เป็นบริการที่ไม่ต้องชำระค่าบริการ บริษัทฯ ก็ไม่ควรที่จะคิดค่าบริหารจัดการเลขหมาย

"ค่ายอื่น 1 เดือน 2 บาท อีกค่ายเก็บ 1 เดือน 3 บาท แสดงว่าต้นทุนจริงต่ำกว่านั้น ถ้าดูราคาตลาดก็รู้ว่า บริษัทอื่นให้บริการไม่เกิน 3 บาทต่อเดือน แต่เอไอเอสคิดค่าบริการเท่ากับ 30 บาท สูงกว่าบริษัทอื่นถึง 10 เท่า เก็บสูงกว่าต้นทุนจริงมากขนาดนี้ เข้าข่ายเอาเปรียบผู้บริโภค เป็นการค้ากำไรเกินควร เมื่อต้นเดือนมกราคมบริษัทเพิ่งเสนอให้มีการกำหนดระยะเวลาการใช้บริการพรีเพดไปแล้ว จากที่ไม่มีการกำหนดระยะเวลากลายเป็นเติมเงินเท่าไหร่ก็ใช้ได้ 30 วัน ผ่านมาไม่ถึง 2 เดือน ก็มาเสนอจะเรียกเก็บค่ารักษาเลขหมายเพิ่มเติมอีก และการจะอนุมัติเรื่องนี้จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ข้อ 14 ของประกาศอัตราขั้นสูงของค่าบริการ พ.ศ. 2549 ดังนั้น คณะอนุกรรมการเชื่อว่า กทค.คงไม่เห็นชอบในข้อเสนอนี้ เนื่องจากจะส่งผลกระทบกับผู้บริโภคจำนวนมาก" ศิริศักดิ์กล่าว

ศิริศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อจัดทำ (ร่าง) การกระทำซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคอยู่ และเห็นว่า ข้อเสนอของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เข้าข่ายการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคด้วย ซึ่งคณะอนุกรรมการฯจะเร่งจัดทำ(ร่าง) ดังกล่าวเสนอต่อ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมเร็วๆ นี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คปก.เสนอยกเลิก ม.7 ทวิ วรรค 3 คืนสิทธิเด็กไร้สัญชาติ หวั่นขัดหลักสิทธิมนุษยชน

Posted: 12 Mar 2013 12:18 AM PDT

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเสนอยกเลิก มาตรา 7 ทวิ วรรค 3 ใน พ.ร.บ.สัญชาติ ที่ถือว่าบุคคลที่เกิดในไทย-ไม่ได้สัญชาติไทย เป็นผู้เข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต ชี้ขัดหลักสิทธิมนุษยชน-สากล เพราะไปถือว่าผิดมาตั้งแต่เกิด


(12 มี.ค.56) คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ลงนามในหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรไทยของผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย พ.ศ. .... เสนอต่อนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่ง คปก.เคยเสนอความเห็นให้ชะลอการพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวไปแล้วเมื่อ 18 มกราคม 2556

ในข้อเสนอแนะฉบับล่าสุดนี้ เห็นว่าควรให้ยกเลิกมาตรา 7 ทวิ วรรค 3 ของ พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2551 ซึ่งบัญญัติให้ถือว่าบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยเป็นผู้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง บทสันนิษฐานเรื่องสิทธิเข้าเมือง (Right to enter) ในมาตรานี้ เป็น บทสันนิษฐานที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและหลักการสากล เป็นการไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะถือว่าบุคคลดังกล่าวมีความผิดมาตั้งแต่เกิด และยังขัดต่อหลักให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลไม่มีความผิดในคดีอาญา ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ยังเห็นว่ามาตรา 7 ทวิ วรรค 3 ไปยกเว้นการกำหนดเกี่ยวกับสิทธิอาศัย (Right to reside) ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดการอยู่อาศัยของบุคคลต่างด้าวเป็นการทั่วไปเอาไว้อยู่แล้ว

นอกจากนี้ มาตรา 7 ทวิ วรรค 3 ยังกำหนดกรอบอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในการออกกฎกระทรวงโดยคำนึงถึงความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและหลักการด้านสิทธิมนุษยชนประกอบกัน โดยเห็นว่าการรับรองสิทธิอาศัยอย่างเป็นระบบตามกฎหมายทะเบียนราษฎรย่อมเป็นการสร้างความโปร่งใสชัดเจน และมีระบบตรวจสอบชัดเจน เป็นการสร้างความมั่นคงยิ่งกว่าการให้บุคคลดังกล่าวมีฐานะเป็นผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการความมั่นคงและไม่เป็นผลดีต่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต ขณะเดียวกันหลักการด้านสิทธิมนุษยชน การกำหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรไทยของบุคคลกลุ่มนี้ ต้องเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human dignity) และหลักความเสมอภาค ตลอดจนพันธกรณีระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กซึ่งไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อ 17 มีนาคม 2556

สำหรับร่างกฎกระทรวงฯ คปก.มีความเห็นว่า ควรยกเลิกร่างกฎกระทรวงข้อ 1 และข้อ 2 ซึ่งกำหนดข้อสันนิษฐานที่ให้ถือว่าเข้าเมืองมาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เนื่องจากขัดต่อทฤษฎีลำดับชั้นของกฎหมาย (Hierarchy of law) ของหลักกฎหมายปกครองและขัดต่อหลักนิติธรรม กฎหมายอาญา รัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศด้วย นอกจากนี้ คปก.ยังเห็นควรยกเลิกข้อความที่ไม่ชัดเจนซึ่งเปิดช่องให้ใช้ดุลยพินิจในการกำหนดฐานะการอยู่อาศัยในราชอาณาจักรไทยตามบิดามารดาในลักษณะที่เป็นโทษต่อเด็กและเยาวชนมากกว่าเป็นคุณ ขัดต่อมาตรา 22 พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กและข้อ 3 ข้อย่อย 1 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งรับรองผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก (the best interest of the child)

ดังนั้น คปก.จึงเห็นว่า ร่างกฎกระทรวงนี้ยังละเลยต่อเด็กกำพร้าที่ไม่ปรากฏบิดามารดา จึงเสนอให้เพิ่มเติมโดยให้สอดคล้อกับหลักการของ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 และหลักการขอแปลงสัญชาติไทยให้แก่บุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีภูมิลำเนาในประเทศ โดยกำหนดฐานะการอยู่อาศัยให้เป็นไปตามผู้อุปการะหรือครอบครัวหรือสถานสงเคราะห์ นอกจากนี้ การกำหนดการสิ้นสุดฐานะการอาศัยที่กำหนดเพียงว่า "เป็นอันสิ้นสุด" ตามเหตุข้อ 4(ก)(ข)(ค)หรือ (ง) ยังไม่ชัดเจน ดังนั้น ตามข้อ 4 ของร่างกฎกระทรวงฯ ควรกำหนดให้เป็นคำสั่ง ทางปกครอง โดยให้มีเหตุเพิกถอนฐานะการอยู่อาศัยในราชอาณาจักรไม่ใช่การสิ้นสุดโดยอัตโนมัติ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น