ประชาไท | Prachatai3.info |
- ภาคภูมิ แสงกนกกุล: กระบวนการคัดกรองผู้บริจาคโลหิต
- ความเชื่อมโยงกรณีชาวอังกฤษถูกถอนสัญชาติพลเมือง และถูกสังหารด้วยเครื่องบินโดรน
- ศาลสั่งเทเวศประกันภัยจ่ายเซ็นทรัลเวิลด์กว่า 3 พันล้าน ชี้ 19 พ.ค. 53 ไม่ใช่ก่อการร้าย
- สำนักข่าวทั่วโลกรายงาน “การริเริ่มกระบวนการพูดคุยสันติภาพปาตานี”
- เปิดเอกสารข้อตกลงริเริ่ม “peace dialogue” รัฐไทย – BRN
- ตัวแทนยูเอ็นเตือนประเทศกำลังพัฒนาเจรจาเอฟทีเอลักษณะนี้ กระทบเข้าถึงยา
- เสนอให้จัดทำเป็นมติคณะรัฐมนตรี สร้างบรรยากาศสันติภาพในชายแดนภาคใต้
- ภาคประชาสังคมค้านแก้ไข พ.ร.บ.พันธุ์พืชเอื้อประโยชน์บริษัทเมล็ดพันธุ์
- คปก.หนุนออก กม.ป้องกันทารุณกรรมสัตว์
- 'พรสวรรค์ พรแสวง' ประโยคที่ไอน์สไตน์ไม่ได้พูด และคนไทยไม่เคยเข้าใจ
- Alienation: การสร้างสภาวะแปลกแยกโดยระบบทุนนิยม (ตอนที่ 2)
- พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.- ศึกชิงเมืองหลวง
- ลาว-พม่าสร้างสะพานข้ามน้ำโขงแห่งแรก ขณะสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 เตรียมเปิดใช้
ภาคภูมิ แสงกนกกุล: กระบวนการคัดกรองผู้บริจาคโลหิต Posted: 01 Mar 2013 07:09 AM PST ประวัติศาสตร์การแพทย์ได้บันทึกการรักษาด้วยวิธีการถ่ายเลือดระหว่างสิ่งมีชีวิตมานานแล้วโดยเชื่อว่าการถ่ายเลือดครั้งแรกในมนุษย์เริ่มขึ้นเมื่อปี 1667 โดย Jean Baptiste Denis หมอส่วนตัวของ Louise XIV ได้ทำการถ่ายเลือดครั้งละ 3 ออนซ์ ของเด็กอายุ 15 ที่มีอาการไข้ กับเลือดของแกะครั้งละ 9 ออนซ์ และประสบความสำเร็จในการรักษา[1] อย่างไรก็ตามการถ่ายเลือดระหว่างมนุษย์ด้วยกันกลับไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากพบว่าผู้รับเลือดบางคนเกิดสภาวะเม็ดเลือดแดงแตกและเสียชีวิตตามมา การถ่ายเลือดระหว่างมนุษย์ประสบความสำเร็จโดนไม่มีปฏิกริยาเม็ดเลือดเงแตกครั้งแรกเมื่อปี 1818 โดยสูตินรีแพทย์ James Blundell โดยเป็นการประสบความสำเร็จก่อนที่จะทราบถึงกลไกการทำงานดังกล่าวและกรุ๊ปเลือด ตราบจนปี 1901 Karl Landsteiner ได้ค้นพบกรุ้ปเลือด ABO และในปี 1937 Alexander Weiner ค้นพบกรุ้ปเลือด Rhesus ซึ่งส่งพ้นให้ความรู้ด้านการถ่ายเลือดพัฒนาอย่างมากและเกิดการตรวจเลือดคัดกรองก่อนว่ากรุ้ปเลือดผู้ให้เข้ากับผู้รับได้หรือไม่และป้องกันการเสียชีวิตเนื่องจากการถ่ายเลือดได้เป็นอย่างดี ผลของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสองทำให้ความต้องการเลือดเพื่อใช้ในการรักษาทหารที่บาดเจ็บในสนามรบเพิ่มมากขึ้น และเทคโนโลยีการให้เลือดเก็บรักษาเลือดและเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยของผู้ให้และผู้รับก็พัฒนามากขึ้นจนถึงปัจจุบันเช่นกัน เช่นเทคโนโลยีการแยกพลาสมา ออกจากเลือด เทคโนโลยีการตรวจจับเชื้อซิฟิลิสในเลือด ตรวจจับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ไวรัส เฮชไอวีเป็นต้น รวมถึงเทคโนโลยีในการใช้ส่วนประกอบของเลือดเพื่อการรักษา เช่น การนำเกร็ดเลือดเข้มข้นรักษาผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย เทคโนโลยีที่พัฒนามากขึ้นช่วยให้สามารถเพิ่มความสามารถคัดกรองเลือดผู้บริจาคที่อาจเป็นอันตรายกับผู้รับ คงไม่มีผู้รับเลือดคนใดที่หลังจากการรักษาแล้วอยากป่วยด้วยโรคที่ติดต่อจากกระแสเลือดตามมา การบริจาคเลือดจึงต้องคำนึงถึงควมปลอดภัยทั้งของผู้บริจาคและผู้รับบริจาค การคัดกรองเลือดกลายมาเป็นหัวข้อสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อมีการแพร่ระบาดของเชื้อ เอชไอวี ในช่วงทศวรรษ 1980-1990 ในหลายๆประเทศพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียติดเชื้อเอชไอวีและเชื้อไวรัสตับอักเสบเป็จขำนวนมาก ทั้งนี้เกิดจากบริษัทยาที่เกี่ยวข้องรับบริจาคเลือดและซื้อเลือดจากกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ชายกลุ่มรักร่วมเพศ นักโทษในคุกเป็นต้น[2] โดยเลือดจากบริษัทดังกล่าวได้ถูกขายออกไปทั่วโลก การคัดกรองโดยทั่วไปมีสองขั้นตอนคือ การคัดกรองด้วยแบบสอบถามก่อนการบริจาคเลือด และการคัดกรองด้วยผลตรวจเลือดบริจาคจากห้องปฏิบัติการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อความปลอดภัยของผู้ให้และผู้รับเลือด สำหรับความปลอดภัยของผู้ให้เลือดจะเป็นการกำหนดเกณฑ์สุขภาพขั้นต่ำของผู้ให้เพื่อป้องกันว่าหลังจากให้เลือดแล้วจะไม่เป็นอันตราย เช่น การกำหนดน้ำหนักตัวขั้นต่ำ การถามในแบบสอบถามถึง โรคประจำตัว หรือโรคที่อาจได้รับผลเสียจาการให้เลือด เป็นต้น สำหรับความปลอดภัยของผู้รับเลือด คือการตรวจคัดกรองเลือดบริจาคที่สามารถส่งผลเสียให้กับผู้รับออกไป ซึ่งการคัดกรองก่อนการบริจาคได้แก่ การใช้แบบสอบถามและการตรวจสุขภาพทั่วไปของผู้ให้เลือด การคัดกรองก่อนการบริจาคนอกจากเพื่อความปลอดภัยของผู้รับแล้วยังสามารถช่วยลดต้นทุนจาก ลดค่าใช้จ่ายในการเจาะเลือดและรักษาเลือดที่เป็นอันตรายไม่สามาถถ่ายให้ผู้อื่น การคัดกรองด้วยแบบสอบถามเป็นการคัดกรองที่มีต้นทุนถูกที่สุด (กระดาษแผ่นเดียว) แต่มีประสิทธิภาพในการคัดกรองสูงถ้าผู้ตอบแบบสอบถามตอบตามความเป็นจริง โดยในแบบสอบถามจะถามถึงข้อมูลในระดับปัจเจกชนที่มีความเสี่ยงสูงว่าเลือดของผู้บริจาคอาจเป็นอันตรายต่อผู้รับ เช่น ข้อมูลการเจ็บป่วย ข้อมูลพฤติกรรมทางเพศ ข้อมูลการเดินทางไปยังประเทศที่มีโรคระบาดเป็นต้น การตรวจร่างกายทั่วไปที่ไม่ใช้ห้องปฏิบัติการเป็นอีกวิธีที่คัดกรองก่อนบริจาคเลือด เช่น ตรวจอาการไข้ของผู้ป่วยก็อาจคัดกรองสงสัยก่อนได้ว่าผู้ป่วยมีเชื้อมาเลเรีย เป็นต้น อย่างไรก็ตามการใช้แบบสอบถามก็มีข้อเสียคือ ผู้บริจาคเลือดสามารถปิดบังข้อเท็จจริงได้โดยที่อีกฝ่ายไม่สามารถอ่านใจได้ หรือบางกรณีที่ผู้บริจาคไม่รู้ข้อมูลส่วนตัวดังกล่าว เช่น ข้อมูลพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัว กรณีคำถามว่าคู่รักของท่านเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่ ผู้บริจาคอาจปิดบังข้อมูลที่เป็นจริง หรือไม่อาจทราบได้จริงๆว่าคู่รักของตนเป็นโรคดังกล่าวจริงหรือเปล่า ดังนั้นแบบสอบถามจึงไม่เพียงพอและต้องการผลตรวจจากห้องปฏิบัติการควบคู่อีกครั้งเพื่อยืนยันถึงความปลอดภัยของเลือดบริจาค อย่างไรก็ตามการใช้ผลตรวจทางห้องปฏิบัตอการก็มีราคาแพงและขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้ว่ามีความถูกต้องสูงในการตรวจเจอสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผู้รับหรือไม่ อย่างไรก็ตามการใช้ผลตรวจจากห้องปฏิบัติการถึงแม้ไม่พบสิ่งที่เป็นอันตรายก็ไม่สามารถยืนยันได้ร้อยเปอร์เซนต์ว่าปลอดภัยในทุกกรณี เช่น ช่วง Silence period การตรวจเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือดในช่วงต้นของการติดเชื้อเข้าร่างกาย เราอาจจะตรวจไม่พบผลบวก ดังนั้นการคัดกรองผู้บริจาคด้วยการใช้แบบสอบถามจึงทำหน้าที่เติมเต็มในการช่วยกรองกลุ่มผู้มีความเสี่ยงออกก่อนในระดับหนึ่ง และต้องใช้แบบสอบถามและผลจากห้องปฏิบัติการควบคู่กันไป และเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาและตรวจห้องปฏิบัติการมีราคาแพง ในบางกรณีจึงมีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงออกก่อนโดยใช้ข้อมูลทางสถิติเป็นตัวชี้วัด ซึ่งข้อมูลสถิติเป็นข้อมูลระดับกลุ่มประชากรโดยมิใช่ข้อมูลระดับปัจเจกชน ข้อมูลความชุกเป็นการแสดงถึงจำนวนของคนที่เป็นโรคในแต่ละกลุ่มประชากรที่แตกต่างกันเป็นอย่างไร เช่น การเปรียบเทียบความชุกของผู้ที่มี Seropositive ในกลุ่มประชากรรักเพศเดียวกันและกลุ่มประชากรรักต่างเพศ เป็นข้อมูลระดับกลุ่มประชากรที่ไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าแต่ละคนมีพฤติกรรมเพศเสี่ยงมากน้อยอย่างไร มีการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยอย่างไร เป็นต้น ในประเทศฝรั่งเศสความชุกของผู้มีเชื้อเอชไอวีในกลุ่มประชากรที่รักต่างเพศคือ 6 ใน 100 000คน ในขณะที่ประชากรรักเพศเดียวกันมีความชุกของเชื้อเอชไอวีที่ 758 ใน 100 000คน ความเสี่ยงของชายรักเพศเดียวกันในการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่ากลุ่มคนที่มีเพศสัมพันธ์ต่างเพศหรือกลุ่มผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์ด้วยกันถึง 200 เท่า[3] อย่างไรก็ตามถึงแม้มีตัวชี้วัดถึงความเสี่ยงของกลุ่มชายรักร่วมเพศในฝรั่งเศส และคัดกรองกลุ่มดังกล่าวในการให้บริจาคเลือดออกไปก็ตาม การกระทำดังกล่าวได้ถูกตีความหมายว่าเป็นการเลือกปฏิบัติและมีการเรียกร้องเดินขบวนเพื่อสิทธิในการบริจาคเลือดของผู้รักเพศเดียวกัน Alexander Marcel ชายรักร่วมเพศได้ทำการอดอาหารประท้วงกรณีการปฏิเสธการบริจาคเลือดของกลุ่มรักเพศเดียวกัน[4] และส่งผลให้รัฐมนตรีสาธารณสุข Marisol Tourraine ประกาศว่าการบริจาคเลือดของกลุ่มรักเพศเดียวกันจะไม่เป็นข้อห้ามในประเทศฝรั่งเศส[5]
[1] http://www.ints.fr/SangTransfHitoric.aspx [2] http://en.wikipedia.org/wiki/Contaminated_haemophilia_blood_products [3] http://www.dondusang.net/rewrite/article/4271/les-dons-de-sang/les-contre-indications-au-don-du-sang/pourquoi-les-rapports-sexuels-entre-hommes-sont-une-contre-indication-au-don-de-sang.htm?idRubrique=980 [4] http://www.20minutes.fr/article/342323/France-Un-homosexuel-en-greve-de-la-faim-pour-pouvoir-donner-son-sang.php [5] http://www.20minutes.fr/article/953461/gays-pourront-bientot-donner-sang
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ความเชื่อมโยงกรณีชาวอังกฤษถูกถอนสัญชาติพลเมือง และถูกสังหารด้วยเครื่องบินโดรน Posted: 01 Mar 2013 06:44 AM PST ทีมข่าวสืบสวนของ The Independent รายงานเรื่องการถอนสัญชาติของชาวอังกฤษสองสัญชาติที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวโยงกลุ่มก่อการร้าย อาจมีการสมคบคิดกับสหรัฐฯ กรณีการจับกุมและจู่โจมบุคคลเหล่านี้ในเวลาต่อมา และมีสองรายที่ถูกจู่โจมด้วยเครื่องบินไร้คนบังคับหรือโดรน วันที่ 28 ก.พ. สำนักข่าว The Independent นำเสนอรายงานพิเศษกรณีที่รัฐบาลอังกฤษได้ดำเนินโครงการถอนสัญชาติอังกฤษจากประชาชนบางส่วนโดยอ้างเรื่องความมั่นคงของชาติ จนทำให้ในเวลาต่อมามีสองคนที่ถูกปลดสัญชาติถูกสังหารโดยเครื่องบินรบไร้คนขับหรือโดรนของสหรัฐฯ จากการสืบสวนโดยหน่วยงานข่าวสืบสวนสอบสวนของ The Independent ทำให้ทราบว่าตั้งแต่ปี 2010 เทเรซ่า เมย์ รัฐมนตรีดูแลกิจการภายในประเทศของอังกฤษ (Home Secretary) ได้ยึดพาสปอร์ตของบุคคล 16 คนซึ่งหลายคนในนั้นต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อการร้ายหรือกลุ่มติดอาวุธ มีนักวิจารณ์เตือนว่าโครงการถอนสัญชาติเป็นการที่รัฐบาลอังกฤษสามารถทำให้ตนเองพ้นจากการครหาได้ กรณีที่หากผู้ต้องสงสัยก่อการร้ายซึ่งถูกถอนสัญชาติอาจจะโดนทรมานและถูกกุมขังอย่างผิดกฏหมาย นอกจากนี้หากคนที่ถูกถอนสัญชาติถูกสังหารแล้ว รัฐบาลอังกฤษก็ไม่ต้องมีภาระในการเข้าแทรกแซงด้วย The Independent ระบุว่า มีคนสัญชาติอังกฤษที่ถูกถอนสัญชาติอย่างน้อย 5 ราย เกิดในประเทศอังกฤษ และมีรายหนึ่งอาศัยอยู่ในประเทศมาเกือบ 50 ปี การถอนสัญชาติเป็นเหตุให้พวกเขาเสียสิทธิในการเข้าประเทศอังกฤษและมีความยากลำบากในการอุทธรณ์ต่อรองการตัดสินใจของฝ่ายกิจการภายในฯ โดยเมื่อคืน 27 ก.พ. ที่ผ่านมา รองหัวหน้าพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยของอังกฤษ ไซมอน ฮิวจ์ส ได้เขียนคำร้องต่อเทเรซ่า เมย์ เรียกร้องให้มีการทบทวนการใช้กฏหมายเกี่ยวกับการถอนสัญชาติอย่างเร่งด่วน กฏหมายดังกล่าวผ่านร่างไปในปี 2002 อนุญาตให้ฝ่ายกิจการภายในฯ สามารถถอนสัญชาติบุคคลที่ถือสัญชาติพร้อมกันสองสัญชาติที่กระทำการ "สร้างความเสียหายร้ายแรง" ต่ออังกฤษ แต่ก็มีการบังคับใช้กฏหมายนี้น้อยครั้งมากก่อนการดำรงตำแหน่งของรัฐบาลปัจจุบัน นักกฏหมายสิทธิมนุษยชนวิจารณ์การบังคับถอนสัญชาติ แกเรธ เพียส ทนายความนักสิทธิมนุษยชนกล่าวว่าสถานการณ์การถอนสัญชาติอังกฤษในปัจจุบันเปรียบได้กับการเนรเทศในยุคกลางมีทั้งความโหดร้ายและการใช้อำนาจตามอำเภอใจเท่าๆ กัน "พลเมืองชาวอังกฤษกำลังถูกขับไล่ออกจากประเทศของตัวเอง ถูกถอนสิ่งที่สำคัญต่อการระบุตัวตนของพวกเขาโดยไม่มีคำอธิบายใดๆ และถูกให้ต้องออกไปเสี่ยงภัย" เพียสกล่าว เอียน แมคโดนัล คิวซี ประธานสมาคมนักกฏหมายผู้อพยพ กล่าวว่าการบังคับใช้กฏหมายนี้เป็นเรื่องชั่วร้าย และเป็นการใช้อำนาจบริหารในทางที่ผิด เอียนวิจารณ์รัฐบาลอังกฤษว่าพวกเขาเป็นรัฐบาลปิด และควรจะมีการเปิดโปง แมคโดนัลกล่าวอีกว่า การถอนสัญชาติทำให้รัฐบาลอังกฤษไม่ต้องมีส่วนรับผิดชอบเวลาหน่วยงานความมั่นคงให้ข้อมูลเรื่องเป้าหมายสังหารด้วยโดรนแก่สหรัฐฯ
กรณีของ บีลัล อัล-เบอยาวี ทางหน่วยข่าวสืบสวนสอบสวนสามารถระบุตัวตนและทราบความเป็นไปของผู้ถูกถอนสัญชาติ 17 รายจากทั้งหมด 21 ราย มีอยู่สองรายที่สามารถอุทธรณ์สำเร็จ มีรายหนึ่งในนั้นถูกส่งไปอยู่สหรัฐฯ มีหลายรายที่ไม่สามารถเปิดเผยชื่อผ่านสื่อได้เนื่องจากยังอยู่ภายใต้การดำเนินคดี หน่วยข่าวสืบสวนยังได้ค้นพบหลักฐานว่ารัฐบาลอังกฤษได้ดำเนินการในช่วงที่บุคคลเหล่านี้อยู่นอกประเทศ โดยมีอยู่สองครั้งที่ดำเนินการช่วงวันหยุด ก่อนที่จะทำการยึดพาสปอร์ตและปลดสัญชาติพวกเขา มีอยู่รายหนึ่งชื่อ บีลัล อัล-เบอยาวี ชาวเลบานอน-อังกฤษ ผู้ที่มาอยู่อังกฤษตั้งแต่ยังเป็นทารกและเติบโตมาในลอนดอน แต่ก็ออกเดินทางไปโซมาเลียในปี 2009 พร้อมกับ โมฮาเหม็ด ซัคร์ เพื่อนสนิทที่กำเนิดในอังกฤษแต่ถือสัญชาติอียิปต์ด้วย โดยทั้งสองคนนี้ต่างก็ถูกจับตามองโดยหน่วยสืบราชการลับของอังกฤษ และหน่วยงานความมั่นคงก็กังวลว่าพวกเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการก่อการร้าย โดยมีการสันนิษฐานว่าทั้งสองคนได้เข้าร่วมกับกลุ่มนักรบติดอาวุธ อัล-ชาบับ ซึ่งเบอยาวีได้รับตำแหน่งระดับสูงในองค์กรและมีเพื่อนชาวอียิปต์ของเขาเป็น "มือขวา" โดยในปี 2010 เทเรซ่า เมย์ ก็ได้ถอนสัญชาติอังกฤษจากทั้งสองคนและในเวลาต่อมาทั้งคู่ก็กลายเป็นเป้าสังหารการไล่ล่าของสหรัฐฯ ในเดือน มิ.ย. 2011 เบอยาวีก็ได้รับบาดเจ็บจากปฏิบัติการโจมตีด้วยเครื่องบินโดรนเป็นครั้งแรกของสหรัฐฯ ในโซมาเลีย และในปี 2012 เขาก็ถูกสังหารโดยการจู่โจมของโดรนเช่นกัน เขาถูกสังหารเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่โทรศัพท์ไปแสดงความยินดีกับการที่ภรรยาของเขาได้ให้กำเนิดลูกชายคนแรก ครอบครัวของเบอยาวีกล่าวว่าทางสหรัฐสามารถระบุตำแหน่งที่อยู่ของเขาได้โดยการตรวจสอบจากตำแหน่งโทรศัพท์ที่เขาโทรหาภรรยาในอังกฤษ ส่วนซัคร์ถูกสังหารโดยเครื่องบินโจมตีของสหรัฐฯ ในเดือน ก.พ. 2012 โดยที่สัญชาติอังกฤษของเขาเพิ่งได้รับการเปิดเผยออกมาเมื่อไม่นานนี้เอง ซากีร์ ฮุสเซน อดีตทนายของซัคร์บอกว่ามีความเกี่ยวข้องกันระหว่างการถอนสัญชาติโดยฝ่ายกิจการภายในฯ ของอังกฤษและปฏิบัติการโจมตีของสหรัฐฯ "ดูเหมือนว่ากระบวนการถอนสัญชาติจะทำให้สหรัฐฯ วางตัวซัคร์ให้เป็นข้าศึกฝ่ายศัตรูได้ง่ายชึ้น ซึ่งทางอังกฤษเองก็ไม่ต้องแสดงความรับผิดชอบใดๆ ด้วย" ซากีร์ ฮุสเซนกล่าว
พวกเราก็ 'เป็นคนอังกฤษ' มากเท่าๆ กับคนอื่น กลุ่มนักรณรงค์ CagePrisoners ได้เข้าหาครอบครัวของผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมาก อะซิม คูเรชี ผู้อำนวยการ CagePrisoners เปิดเผยว่าสิ่งที่หน่วยข่าวสืบสวนสอบสวนค้นพบเป็นสิ่งที่ขวนให้ชาวอังกฤษที่มีพื้นเพเป็นชนกลุ่มน้อยรู้สึกกังวลอย่างมาก "พวกเรารู้สึกว่าพวกเรา 'เป็นคนอังกฤษ' มากเท่าๆ กับคนอื่น แต่ว่าเพราะแค่พ่อแม่ของพวกเรามาจากประเทศอื่น พวกเราก็อาจถูกใช้อำนาจเกินเลยทำให้เราไม่กลายส่วนหนึ่งของประเทศนี้ต่อไป" คูเรซีกล่าว "ผมคิดว่านี้เป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะมันได้ทำให้ผู้คนหวาดกลัวว่าพวกเขาถูกรัฐบาลของตนเองมองอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพวกเขามาจากบางภูมิภาคของโลก" ไซม่อน ฮิวจ์ส กล่าวว่า แม้เขาจะยอมรับในเรื่องการคำนึงถึงความมั่นคง เขาก็กังวลว่าผู้บริสุทธิ์ที่ถูกกล่าวหาจากหน่วยงานกิจการภายในฯ อาจต้องประสบภาวะถูกทอดทิ้งทางสภาบันและการเมือง ฮิวจ์ส บอกอีกว่าเขากังวลเรื่องที่มีประชาชนที่ต้องสูญเสียชาติจำนวนมากขึ้น และการบังคับใช้กฏหมายนี้ก็มีการขยายตัวมากขึ้นด้วย
The Independent เปิดเผยอีกว่า บางครั้งครอบครัวของผู้ถูกถอนสัญชาติก็ได้รับผลกระทบ โดยตัวพ่อแม่ของผู้ถูกถอนสัญชาติจะต้องเลือกว่าจะให้ลูกของพวกเขาอยู่ในอังกฤษหรือไปอยู่กับพ่อในต่างประเทศ มีกรณีหนึ่งซึ่งรู้จักในชื่อ L1 ชายชาวซูดาน-อังกฤษ พาลูกๆ ของเขา 4 คนและภรรยา ไปเที่ยววันหยุดในซูดาน โดยที่ภรรยาของเขามีจำนวนครั้งจำกัดในการเดินทางออกประเทศไม่เช่นนั้นจะทำให้สิทธิในการอยู่ในอังกฤษหมดลง อีก 4 วันถัดมา เทเรซ่า เมย์ ก็ตัดสินใจถอนสัญชาติของชายผู้นี้ ทำให้ผุ้เป็นพ่อถูกห้ามเข้าประเทศอังกฤษ และผู้เป็นแม่ก็ไม่มีสิทธิในการอยู่ในประเทศอย่างถาวร ทำให้ลูกๆ ของพวกเขาซึ่งมีอายุระหว่าง 13 เดือนถึง 8 ปี ไม่สามารถเติบโตในอังกฤษได้ ทางศาลอังกฤษเองก็บอกว่าแม้ลูกๆ ของพวกเขาจะสามารถเติบโตในอังกฤษได้ แต่การที่พ่อเขาถูกถอนสัญชาติความเป็นพลเมืองก็มีน้ำหนักมากกว่าสิทธิของลูกๆ พวกเขา ในอีกกรณีหนึ่งเป็นกรณีของชายที่เติบโตในนิวคาสเซิลเมื่อปี 1963 และลูกๆ ของพวกเขาที่เกิดในลอนดอนทั้ง 3 คนก็ถูกถอนสัญชาติเมื่อสองปีที่แล้วขณะอยู่ในปากีสถาน มีผู้เชี่ยวชาญพยายามร้องเรียนต่อศาลอุทธรณ์พิเศษของผู้อพยพ (SIAC) ว่าสถานการณ์ของครอบครัวผู้ถูกถอนสัญชาติอาจอยู่ในภาวะเสี่ยงจากรัฐบาลในประเทศและจากกลุ่มติดอาวุธ แต่ทาง SIAC ก็อ้างว่าทางประเทศอังกฤษไม่มีพันธะใดๆ ต่อการกระทำที่เกิดจากรัฐปากีสถานและจากผู้กระทำที่ไม่ใช่รัฐในปากีสถาน ผู้เป็นแม่ในกรณีล่าสุดเป็นชาวอังกฤษโดยกำเนิดกำลังต้องการกลับประเทศเนื่องจากเป็นห่วงลูกชายคนสุดท้องที่มีความต้องการตามหลักพัฒนาการ แม้ว่าเขาจะอยู่ในวัย 15 ปี แต่ก็ยังต้องพึ่งพาแม่และพ่อของเขาในเรื่องการสนับสนุนทางอารมณ์และความช่วยเหลือต่างๆ ผู้เป็นแม่บอกอีกว่าลูกของเธอไม่สามารถศึกษาต่อได้ในปากีสถาน และตัวเธอเองยังเป็นเบาหวานและปัญหาด้านการเคลื่อนไหวขึงไม่สามารถกลับไปด้วยตัวคนเดียวได้ ผู้พิพากษามิตติง ได้มีคำสั่งตัดสินยกฟ้องคำอุทธรณ์ในกรณีโดยบอกว่า แม้จะยอมรับว่าการถอนสัญชาติผู้เป็นพ่อในครอบครัวส่งผลให้เกิดปัญหาต่อภรรยาและลูกชายคนเล็ก แต่ผู้เป็นพ่อก็มีภัยต่อความมั่นคงของชาติ และคิดว่าผลกระทบที่เกิดต่อบุตรและภรรยาของเขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้นเป็นเรื่องที่มีความชอบธรรม โฆษกของฝ่ายกิจการภายในกล่าวไว้ว่า "การถือสัญชาติพลเมืองเป็นสิทธิพิเศษ (privilege) ไม่ใช่สิทธิพื้นฐาน (right) ฝ่ายกิจการภายในมีอำนาจในการถอดถอนสัญชาติจากบุคคลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ผู้ที่ถูกถอดถอนสามารถยื่นคำร้องอุทธรณ์ได้" เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่ามีการให้ข่าวสารด้านความมั่นคงแก่รัฐบาลต่างประเทศหรือไม่ ทางโฆษกก็ปฏิเสธจะตอบคำถามเรื่องงานข่าวความมั่นคง และบอกว่าการจู่โจมด้วยโดรนเป็นเรื่องของทางฝั่งสหรัฐฯ เรืองราวของมาห์ดี ฮาชีและ โมฮาเหม็ด ซัคร์ ทาง The Independent ยังได้นำเสนอเรื่องราวชีวิตของมาห์ดี ฮาชี และโมฮาเหม็ด ซัคร์ ก่อนปละหลังจากที่พวกเขาถูกถอนสัญชาติ ในกรณีของฮาชี เขาเคยถูกทาบทามให้ไปทำงานในหน่วยงานความมั่นคงของอังกฤษ แต่ตอนนี้เขาต้องถูกทางการสหรัฐฯ จับกุมและขังในคุกที่มีการรักษาความปลอดภัยระดับสูงเนื่องจากถูกกล่าวหาว่าทำงานร่วมกับกลุ่มก่อการร้าย อัล-ชาบับ ฮาชีเล่าว่าก่อนหน้านี้เขาได้เห็นการทรมานนักโทษในคุกแอฟริกา จากนั้นเขาจึงถูกจับส่งตัวให้ซีไอเอและถูกบังคับให้เซ็นต์รับคำสารภาพ โดยทางอังกฤษเองก็ตัดหางปล่อยวัดเขาโดยการยกเลิกสัญชาติเขาในช่วงที่เขาหายตัวไปในโซมาเลียเมื่อช่วงฤดูร้อนปีที่ผ่านมา ทางหน่วยงานต่างประเทศก็ไม่สามารถช่วยเหลือครอบครัวเขาได้โดยอ้างว่าฝ่ายกิจการภายในได้ถอดสัญชาติอังกฤษเขาไปแล้ว The Independent กล่าวว่า กรณ๊นี้ชวนให้สงสัยว่าอังกฤษอาจสมรู้ร่วมคิดกับสหรัฐฯ โดยถอนสัญชาติเขาเนื่องจากทราบว่าเขาจะถูกจับในแอฟรืกา และก่อนหน้านี้ในปี 2009 ฮาชีเคยให้สัมภาษณ์กับ The Independent ว่า หน่วยงาน ความมั่นคงของอังกฤษหรือเอ็มไอไฟว์ (MI5) พยายามขอให้เขาช่วยทำงาน โดยที่เขาถูกกักตัวในสถานกักกันของสนามบินในแอฟริกากว่า 16 ชั่วโมง และเมื่อเขากลับมายังอังกฤษแล้วเอ็มไอไฟว์ก็บอกว่าเขาจะอยู่ในสถานะผู้ต้องสงสัยก่อการร้ายจนกว่าเขาจะยอมทำงานให้เอ็มไอไฟว์ ซึ่งงานดังกล่าวคือการสืบข้อมูลจากเพื่อนๆ โดยกระตุ้นให้พูดเกี่ยวกับจีฮาด ในกรณีของซัคร์ เขาถูกสังหารโดยปรากฏในข่าวของแอฟริกาที่รายงานเมื่อเดือน ก.พ. 2012 ว่า 'กลุ่มติดอาวุธต่างชาติ 4 ราย' ถูกสังหารจากการจู่โจมทางอากาศด้วยเครื่องบินโดรนทางตอนใต้ของกรุงโมกาดิชู เมืองหลวงโซมาเลีย หนึ่งวันหลังจากที่นายกรัฐมนตรีเรียกร้องให้มีการจู่โจมางอากาศกับกลุ่มก่อการร้าย อัล-ชาบับ ในเวลาเดียวกันสื่อตะวันตกนำเสนอข่าวการโจมตีดังกล่าวโดยอ้างอิงคำพูดของเจ้าหน้าที่ว่า หนึ่งในผู้เสียชีวิตนั้นเป็น "ชาวอียิปต์" ซึ่งจริงๆ แล้วเขาไม่ได้เกิดในอียิปต์ บอกว่าเป็นชาวอังกฤษผู้ต้องสงสัยก่อการร้ายที่เคยทำธุรกิจร้านล้างรถในลอนดอนจะตรงกว่า ซัคร์เริ่มกลายมาเป็นที่สนใจของหน่วยงานข่าวกรองอังกฤษเมื่อเขาเดินทางไปเยือนซาอุดิอารเบีย, อียิปต์ และดูไบ ในปี 2007 หลังจากนั้นเขาก็ตกเป็นเป้าของเจ้าหน้าที่ต่อต้านการก่อการร้ายมาตลอด 2 ปี ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่ทำให้เขาหนีออกจากประเทศไปโซมาเลียในปลายปี 2009 The Independent ตั้งข้อสงสัยทิ้งท้ายในกรณีของซัคร์ว่า กฏหมายของอังกฤษอนุญาตให้ถอนสัญชาติเขาได้นับตั้งแต่เขาเดินทางออกจากอังกฤษ แต่การถอนสัญชาติเกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลปัจจุบันของอังกฤษเข้าสู่ตำแหน่ง เวลาผ่านไปราวปีครึ่งก่อนที่เขาจะถูกสังหาร เรียบเรียงจาก British terror suspects quietly stripped of citizenship… then killed by drones, The Independent, 28-02-2013 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศาลสั่งเทเวศประกันภัยจ่ายเซ็นทรัลเวิลด์กว่า 3 พันล้าน ชี้ 19 พ.ค. 53 ไม่ใช่ก่อการร้าย Posted: 01 Mar 2013 06:25 AM PST หลังเทเวศประกันภัยปฏิเสธจ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ 'เซ็นทรัลเวิลด์' 19 พ.ค.53 โดยอ้าง เพลิงไหม้เกิดจากการก่อการร้ายกรมธรรม์ไม่คุ้มครอง วันนี้ศาลเเพ่ง ส่งจ่ายกว่า 3 พันล้าน ชี้เหตุดังกล่าวไม่ใช่การก่อการร้าย 1 มี.ค.56 คมชัดลึกออนไลน์ รายงานว่า ศาลเเพ่ง ถนนรัชดาภิเษกมีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ ผบ.4326/2554 ที่กองทุนรวมธุรกิจไทย 4 และบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัดผู้ประกอบการศูนย์การค้าค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กับพวก รวม 4 ราย ยื่นฟ้อง บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด(มหาชน) เป็นจำเลย คดีคุ้มครองผู้บริโภค เรื่องประกันภัย เพื่อให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 3,838,296,969 บาท พร้อมดอกเบี้ย เนื่องจาก บ.เทเวศ ฯ ปฏิเสธจ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ศูนย์ค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ช่วงเหตุการณ์กระชับพื้นที่การชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ( นปช.) เมื่อเดือน พ.ค.53 ที่ผ่านมา โดย บ.เทเวศ ฯ อ้างเหตุว่าเพลิงไหม้ เกิดจากการก่อการร้าย ซึ่งกรมธรรม์ไม่คุ้มครอง ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว เห็นว่า บ.เทเวศ ฯ ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมตามกรมธรรม์ โดยเหตุเพลิงไหม้จากเหตุการณ์เดือน พ.ค.53 ไม่ใช่กรณีก่อการร้ายหรือกรณีอื่นที่อยู่ในข้อยกเว้นของกรมธรรม์แต่อย่างใด จึงพิพากษา ให้ บ.เทเวศ ฯ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นค่าเสียหายต่อทรัพย์สินจำนวน 2,719,734,979.29 บาท และค่าความเสียหายต่อธุรกิจหยุดชะงักจำนวน 989,848,850.01 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันที่ 31 มี.ค.54 จนกว่าจะชำระเสร็จ และให้จำเลยชดใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ด้วยอีก 60,000 บาท สำหรับคดีเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์นั้น มีจำเลย 4 คน แบ่งเป็น เยาวชน 2 คนซึ่งได้รับการประกันตัวและต่อมาศาลเยาวชนได้พิพากษายกฟ้องไปเมื่อ 12 ธ.ค. 55 (อ่านที่ศาลยกฟ้อง 2 เยาวชน จำเลยคดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์ เจ้าตัววอนเยียวยา "เรียนและงาน") ส่วนอีก 2 คนเป็นผู้ใหญ่ คือ สายชล แพบัว และ พินิจ จันทร์ณรงค์ ซึ่งทั้งคู่ไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว และถูกคุมขังในเรือนจำมาเกือบ 3 ปีแล้วนั้น ปัจจุบันกระบวนการพิจารณาคดีได้แล้วเสร็จแล้ว และศาลได้นัดพิพากษา 25 มี.ค.นี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สำนักข่าวทั่วโลกรายงาน “การริเริ่มกระบวนการพูดคุยสันติภาพปาตานี” Posted: 01 Mar 2013 05:59 AM PST
รายงานความเคลื่อนไหวในหน้าสื่อทั้งในและต่างประเทศ รายงานข่าวนายกฯ ไทย เยือนมาเลย์ สู่การพูดคุยสันติภาพกับขบวนการ "เป็นความประสงค์ของพระเจ้า, เราจะทำให้ดีที่สุดในการแก้ปัญหา...เราจะบอกให้ประชาชนของเราให้ร่วมกันแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วย" สำนักข่าว Al-jazeera อ้างคำกล่าวของ ฮัสซัน ตอยิบ เมื่อเช้าวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ในการเผยแพร่ข่าวการลงนามในข้อตกลงเบื้องต้นระหว่างตัวแทนขบวนการเคลื่อนเพื่อปลดปล่อยปาตานีกับตัวแทนทางการไทยเพื่อผลักดันกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพร่วมกัน โดยแทบจะเป็นสำนักเดียวที่อ้างคำพูดของเขา ผู้ที่หลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นผู้ที่บทบาทสำคัญในขบวนการ BRN ซึ่งเป็นกลุ่มหลักที่มีปฏิบัติการทางทหารในพื้นที่ เช้าวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 สำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนักเกาะติดนาทีต่อนาทีเพื่อรายงานข่าวการประชุมร่วมแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้กับผู้นำรัฐบาลมาเลเซีย และเริ่มต้นกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพเพื่อยุติความขัดแย้งที่มีการใช้ความรุนแรงมาตั้งแต่ปี 2547 โดยเว็บไซต์หนังสือพิมพ์จาการ์ต้า โพสต์ ของอินโดนีเซีย พาดหัวว่า "ทางการไทยเล็งพูดคุยสันติภาพกับผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้" (Thailand eyes peace talks with southern insurgents) โดยมีเนื้อหาว่า "หัวหน้าฝ่ายความมั่นคงประเทศไทย กล่าวว่า รัฐกำลังเร่งดำเนินเพื่อการพูดคุยสันติภาพกับกบฏ (มุสลิม) ผู้อยู่เบื้องหลังที่ความไม่สงบในภาคใต้ของไทยในรอบทศวรรษที่ผ่านมา" พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวว่า ไทยและมาเลเซียกำลังเตรียมในการพูดคุยกับหัวหน้าขบวนการ และมาเลเซียจะเป็นผู้อำนวยการเพื่อนำขบวนการมาขึ้นโต๊ะเจรจา ซึ่งฝ่ายดังกล่าวอาศัยอยู่ในมาเลเซียไม่ถึง 1,000 คน สำนักข่าวเอบีซีนิวส์ของออสเตรเลียรายงานว่า ทางการไทยกับกองกำลังติดอาวุธมุสลิมเห็นพ้องร่วมพูดคุยสันติภาพ Thailand, Muslim Militants Agree to Peace Talks โดยระบุว่า พล.ท.ภราดร และตัวแทนอาวุโสของฝ่ายบีอาร์เอ็น ได้ลงนามข้อตกลงที่จะเริ่มต้นการพูดคุยเพื่อสันติภาพในกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงประเทศมาเลเซีย ก่อนหน้าที่จะมีการพบกันระหว่างผู้นำของสองประเทศ ที่มา http://abcnews.go.com/International/wireStory/thailand-muslim-militants-agree-peace-talks-18614304 สำนักข่าวอัล-จาซีรา ของการ์ต้า รายงานโดยอ้างคำพูด ฮัสซัน ตอยิบ ว่าทางการไทยและกลุ่มกบฏเห็นพ้องพูดคุยสันติภาพ (Thailand and rebels agree to peace talks) "เป็นความประสงค์ของพระเจ้า,เราจะทำให้ดีที่สุดในการแก้ปัญหาชายแดนใต้...เราจะบอกให้ประชาชนของเราทำงานร่วมกันแก้ปัญหาชายแดนใต้" ฮัสซัน กล่าว อนึ่ง การรายงานข่าวระหว่างสำนักข่าวในประเทศและต่างประเทศยังมีความแตกต่างในการเรียกตัวแสดงหลักของคู่ขัดแย้ง ที่มา http://www.aljazeera.com/news/asia-pacific/2013/02/201322822925178206.html
ขณะที่สำนักข่าวเบอร์นามา ของมาเลเซีย ได้เปลี่ยนหัวข้อข่าวจากเดิมคือ "Kerajaan Thailand, Pemberontak Islam Thailand Tandatangani perjanjian Hasil Inisitif Malaysia" แปลว่า "รัฐบาลไทย และกลุ่มปฏิวัติมุสลิมร่วมลงนามข้อตกลงที่เป็นผลมาจากการริเริ่มโดยมาเลเซีย"เป็น "Kerajaan Thailand, Pejuang Pembebasan Islam Thai Tandatangani Perjanjian Hasil Inisiatif Malaysia" แปลว่า "รัฐบาลไทย และนักรบเพื่อการปลดปล่อยมุสลิมไทยร่วมลงนามข้อตกลงที่เป็นผลมาจากการริเริ่มโดยมาเลเซีย"
ที่มา : http://www.deepsouthwatch.org/dsj/3974 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เปิดเอกสารข้อตกลงริเริ่ม “peace dialogue” รัฐไทย – BRN Posted: 01 Mar 2013 05:51 AM PST
เปิดเอกสารข้อตกลงริเริ่ม "peace dialogue" รัฐไทยกับตัวแทนขบวนการ BRN Coordinate ระบุ เป็นฉันทามติทั่วไป ว่าด้วยกระบวนการสานเสวนาสันติภาพ ไม่ใช่การเจรจา
รูป – ฉันทามติทั่วไป ว่าด้วยกระบวนการสานเสวนาสันติภาพ หลังจากมีการเผยแพร่ข่าวการลงนามในข้อตกลงเบื้องต้นระหว่างตัวแทนขบวนการเคลื่อนเพื่อปลดปล่อยปาตานีกับตัวแทนทางการไทยเพื่อผลักดันกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพร่วมกัน เมื่อเช้าวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ที่หกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ได้มีการเผยแพร่ข้อตกลงฉบับริเริ่ม Peace dialogue process ผ่านสื่อสังคมออนไลน์กันอย่างแพร่หลาย โดยเป็นเอกสารลงนามข้อตกลงริเริ่มพูดคุยสันติภาพ ระหว่างตัวแทนรัฐไทยกับตัวแทนขบวนการบีอาร์เอ็น โดยมีข้อความระบุบนหัวกระดาษว่า "GENERAL CONSENSUS ON PEACE DIALOGUE PROCESS" หรือ ฉันทามติทั่วไป ว่าด้วยกระบวนการสานเสวนาสันติภาพ ในเอกสารดังกล่าวได้ปรากฏลายมือชื่อคู่กรณีหลักคือ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พร้อมประทับตราครุฑ ตราประจำแผ่นดินของไทย ส่วนอีกฝ่ายคือนายฮัสซัน เจ๊ะหลง หรือ Ustaz Hassan Taib พร้อมตราประทับประจำพรรค BRN-coordinate (Barisan Revolusi Nasional) และ Datuk Mohamed Thajudeen bin Abdul Wahab ตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมาเลเซีย เป็นสักขีพยาน ข้อตกลงดังกล่าว เป็นข้อตกลงเพื่อยินยอมริเริ่มการพูดคุยสันติภาพ เพื่อหาทางแก้ปัญหาชายแดนใต้อย่างสันติ ไม่ใช่การลงนามเพื่อเจรจาสันติภาพตามที่สื่อออนไลน์ประโคมข่าว แต่อย่างใด เนื้อหาในเอกสารดังกล่าว แปลเป็นภาษาไทยดังนี้
ฉันทามติทั่วไป ว่าด้วยกระบวนการสานเสวนาสันติภาพ รัฐบาลแห่งประเทศไทยได้แต่งตั้งให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (ต่อแต่นี้จะเรียกว่าฝ่าย A) เป็นหัวหน้าคณะสนับสนุนให้เกิดสภาพแวดล้อมอันเอื้ออำนวยแก่การเสริมสร้างสันติภาพในเหล่าจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เรายินดีที่จะร่วมสานเสวนาสันติภาพกับผู้คนที่มีความคิดเห็นและอุดมการณ์ที่แตกต่างจากรัฐ (ต่อแต่นี้จะเรียกว่าฝ่าย B) ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายหนึ่งในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญไทย ขณะที่มาเลเซียจะคอยอำนวยความสะดวก จะมีการจัดหามาตรการรักษาความปลอดภัยแก่บรรดาสมาชิกคณะทำงานร่วมตลอดกระบวนการนี้ ทำและลงนามในกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013
สำหรับฝ่าย A สำหรับฝ่าย B
(พลโทภราดร พัฒนถาบุตร) (อุสตาช ฮัสซัน ตอยิบ)
สักขีพยาน
(ดาโต๊ะโมฮัมเหม็ด ทายุดดิน บิน อับดุล วาฮับ) เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งมาเลเซีย
หมายเหตุ บทแปลเอกสารชื่อ GENERAL CONSENSUS ON PEACE DIALOGUE PROCESS บทนี้ คัดลอกมาจาก เฟสบุ๊ค ของ ดร.เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มา : http://www.deepsouthwatch.org/dsj/3975#sthash.pPy2A7QF.dpuf
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ตัวแทนยูเอ็นเตือนประเทศกำลังพัฒนาเจรจาเอฟทีเอลักษณะนี้ กระทบเข้าถึงยา Posted: 01 Mar 2013 05:43 AM PST 1 มี.ค. 56 - ที่สมาคมนักข่าวต่างประเทศ กรุงเทพฯ เครือข่ายประชาสังคมได้ร่วมกันแถลงข่าวต่อกรณีที่นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีกำหนดที่จะเดินทางไปร่วมเปิดการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรปรอบแรก ณ กรุงบรัสเซลประเทศเบลเยี่ยม โดยมีกำหนดที่จะเจรจาในวันที่ 6 มีนาคมนี้ สืบเนื่องจากรัฐสภาได้ผ่านกรอบการเจรจาเอฟทีเอระหว่างไทย-สหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งมีเนื้อหาการเจรจาที่ยังมีความไม่ชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องข้อตกลงทางทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งได้กำหนดไว้อย่างกว้างขวางและไม่มีความชัดเจนต่อท่าทีของรัฐบาลต่อประเด็นดังกล่าว ประกอบกับการที่รัฐบาลประกาศว่าจะเจรจาให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาหนึ่งปีครึ่ง หรือเพียง 10 รอบเท่านั้น ส่งผลให้เกิดความกังวลต่อภาคประชาสังคม นายจักรชัย โฉมทองดี จากโครงการศึกษาและปฎิบัติการงานพัฒนา(โฟกัส) ได้กล่าวว่า " สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนในการเตรียมการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรปในครั้งนี้ พบว่ารัฐบาลไทยไม่ได้มีการเตรียมการที่ดีพอ จะเห็นว่าทีมเจรจาเองยังไม่สามารถตอบรายละเอียดต่างๆที่ภาคประชาสังคมมีความห่วงใยได้" ทั้งนี้มีประเด็นที่น่าห่วงใยหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกำหนดให้มีการคุ้มครองเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่มากไปกว่าข้อตกลงในองค์การการค้าโลก หรือในประเด็นด้านการลงทุนที่กำหนดให้มีการคุ้มครองนักลงทุนอย่างเข้มงวดซึ่งจะมีผลกระทบต่อนโยบายรัฐทั้งที่มีอยู่แล้วและที่อาจจะเกิดขึ้นแม้ว่าจะเป็นแนวนโยบายที่จะปกป้องคุ้มครองประชาชนก็ตาม นายจักรชัยกล่าว นอกจากนี้แม้ว่าตามรัฐธรรมนูญไทยจะมีการกำหนดให้รัฐบาลไทยหากจะต้องมีการได้ทำข้อตกลงใดๆระหว่างประเทศ ต้องมีการชี้แจง และเห็นชอบจากรัฐสภาไทยตามมารตรา 190 แต่เนื่องจากกฏหมายลูกยังมีความไม่ชัดเจนและมีรายละเอียดในกฏหมายที่เป็นรายละเอียดสำคัญแต่ไม่ได้ถูกนำมาดำเนินการแต่อย่างใด ด้านนายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย กล่าวว่า "รู้สึกผิดหวังอย่างมากต่อท่าทีและข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปที่เรียกร้องให้มีการเจรจาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่มีแนวโน้มว่าจะเกินไปกว่าการตกลงในองค์การการค้าโลก" ทั้งนี้นายอภิวัฒน์ได้แสดงความเห็นว่า "แม้สหภาพยุโรปจะได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพแต่กลับมีท่าทีในการเจรจาเอฟทีเอกับไทยอย่างที่ไม่คำนึงถึงชีวิตของประชาชนไทยที่จะได้รับผลกระทบจากการเจรจาครั้งนี้ โดยเฉพาะในเรื่องการเข้าถึงยา" "เราขอยืนยันว่าเราจะสู้แค่ตาย และจะมีการรณรงค์ต่อสังคมให้มีการบอยคอตสินค้าจากยุโรป รวมทั้งจะสื่อสารไปยังประชาชนในสหภาพยุโรปให้รู้ว่า สินค้าที่คนยุโรปซื้อไม่ว่าจะเป็นกุ้ง ไก่ หรือสินค้าจิวเวอรี่แลกมาด้วยชีวิตของคนไทย" นายอภิวัตน์กล่าว ด้าน ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม ได้ให้ข้อมูลจากงานวิจัยที่พบว่า หากรัฐบาลยอมรับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่มากไปกว่าที่ตกลงไว้ในองค์การการค้าโลก จะส่งผลต่อราคายาที่จะแพงขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการคุ้มครองข้อมูลทางยา(Data Exclusivity) จะส่งผลให้ยาชื่อสามัญไม่สามารถออกตลาดแข่งขันกับยาต้นแบบได้ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านยากว่า 80,000 ล้านบาทต่อปี ทางด้านนายชิบ้า พูราไรพุม จากเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เอเชียแปซิฟิก (APN+) ได้กล่าวว่า "ที่ผ่านมาเรามีประสบการณ์ที่เห็นเพื่อนผู้ติดเชื้อเอชไอวีฯต้องเสียชีวิตลงมากมายเนื่องจากเข้าไม่ถึงยารักษาโรค แต่ภายหลังเมื่ออินเดียสามารถผลิตยาชื่อสามัญและสามารถส่งออกไปขายได้ทั่วโลก ทำให้เพื่อนของเราเข้าถึงยาและได้รับการรักษาจนมีชีวิตอยู่ได้" ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีนโยบายที่ดีมากในเรื่องการมีหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุมประชาชนในประเทศ ถือเป็นตัวอย่างที่น่าทึ่ง แต่หากไทยยอมรับข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาก็จะส่งผลต่อระบบหลักประกันสุขภาพของไทยได้" นายชีบ้ากล่าว ด้านนายพอล คอร์ธอร์น ผู้ประสานงานโครงการเข้าถึงยาจากองค์การหมอไร้พรมแดน กล่าวว่า"องค์การหมอไร้พรมแดนมีความเป็นห่วงกังวลอย่างมาก ต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการเข้าถึงยาของประชาชนในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งประเทศไทยในระยาว และมองว่าการรีบเร่งเจรจาของรัฐบาลไทยในครั้งนี้ น่าจะเกิดจากการถูกกดด้านจากหลายด้านจนทำให้ละเลยที่จะคิดถึงผลกระทบด้านการเข้าถึงยาของประชาชนไทย โดยได้ยกตัวอย่างการเจรจาของอินเดียที่รัฐบาลอินเดียมีควากล้าหาญที่จะปฎิเสธ ไม่ยอมที่จะเจรจาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญากับสหภาพยุโรป" นอกจากนี้นายพอล ยังได้เรียกร้องให้สหภาพยุโรปประกาศจุดยืนให้ชัดเจนว่าจะไม่นำเรื่องทรัพยสินทางปัญญาที่เกินไปกว่าข้อตกลงในองค์การการค้าโลกมาเจรจา" ด้านผู้แทนองค์การอนามัยโลกในประเทศไทยได้กล่าวว่า "จากเอกสารของ UNDP ก็ได้มีข้อแนะนำที่ชัดเจนต่อประเทศกำลังพัฒนาว่าควรต้องระมัดระวังหากจะมีการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีลักษณะนี้ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่จำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการเข้าถึงยาจำเป็นของประชาชน" ทั้งนี้เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ผ่านมาภาคประชาสังคมไทยกว่าหนึ่งพันคนได้มารวมตัวกันที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลและผู้แทนเจรจาออกมาชี้แจงจุดยืนของรัฐบาลต่อการเจรจาเอฟทีเอ แม้จะมีการรับปากที่จะดำเนินการตามข้อเรียกร้อง เช่นการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างภาคประชาสังคมและรัฐ หรือจัดให้มีกระบวนการชี้แจงรายงานการเจรจาที่จะเกิดขึ้นทุกรอบ และแม้ว่าหัวหน้าคณะเจรจา ดร.โอฬาร ไชยประวัติจะเป็นผู้ออกมารับจดหมายและกล่าวยืนยันต่อหน้าพี่น้องที่มาร่วมชุมนุม แต่ภาคประชาสังคมเองก็ยังมีความกังวลและไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะดำเนินการตามที่ได้รับปากไว้หรือไม่อย่างไร และจะจับตา ติดตาม อย่างต่อเนื่อง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เสนอให้จัดทำเป็นมติคณะรัฐมนตรี สร้างบรรยากาศสันติภาพในชายแดนภาคใต้ Posted: 01 Mar 2013 05:36 AM PST
มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมและมูลนิธิผสานวัฒนธรรมสนับสนุนการเจรจาเพื่อสร้างบรรยากาศสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เสนอให้จัดทำเป็นมติคณะรัฐมนตรี 1 มี.ค. 56 - มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมและมูลนิธิผสานวัฒนธรรมที่ทำงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการเข้าถึงความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนใต้รวมกับองคกรในพื้นที่ ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเรื่อง ขอสนับสนุนการเจรจาเพื่อสร้างบรรยากาศสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีข้อเสนอให้ให้ฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรีจัดทำแนวทางการเจรจาสันติภาพให้เป็นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจที่ตรงกันตามแนวทางดังกล่าว และจัดให้มีการรับฟังความเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมไทยเกี่ยวกับแนวทางสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งจะต้องสื่อสารกระบวนการสันติภาพและความคืบหน้าของการเจรจาไปยังประชาคมโลกถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในนำไปสู่การแก้ไขปัญหาประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในระดับนานาประเทศ โดยมีเนื้อหาในจดหมายเปิดผนึกดังนี้ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ได้ปรากฎเป็นข่าวว่ามีการลงนามข้อตกลงร่วมกันสามฝ่ายระหว่างเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประเทศไทยหรือ สมช. ในฐานะตัวแทนของรัฐบาลไทย กับ "ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี" หรือ"บีอาร์เอ็น" (Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani) และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมาเลเซีย เพื่อนำไปสู่การเจรจาหาแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งทางอาวุธที่ยืดเยื้อกว่า 10 ปี ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากความรุนแรงไปกว่า 5,000 คน โดยมีเนื้อหาที่สำคัญคือ รัฐบาลไทยได้แต่งตั้งให้เลขาธิการสมช. เป็นหัวหน้ากลุ่มสนับสนุนการสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้ และผู้ลงนามทั้งสามฝ่ายยินยอมร่วมกันว่าจะสนับสนุนการเจรจาสันติภาพกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญไทย ขณะที่ประเทศมาเลเซียจะเป็นผู้ทำหน้าที่อำนวยการเพื่อให้เกิดมาตรการความปลอดภัยสำหรับคณะทำงานร่วมทั้งหมดที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการเจรจาสันติภาพ มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมและมูลนิธิผสานวัฒนธรรมที่ทำงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการเข้าถึงความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนใต้รวมกับองคกรในพื้นที่ขอสนับสนุนความริเริ่มดังกล่าวของฝ่ายต่างๆ และขอแสดงความชื่นชมต่อการการตัดสินใจและความเป็นผู้นำของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ ในการกำหนดนโยบายแนวทางสันติวิธีในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางอาวุธจนนำไปสู่ลงนามข้อตกลงริเริ่มการเจรจาสันติภาพกับกลุ่มผู้ที่มีความเห็นและอุดมการณ์ที่แตกต่างจากรัฐไทยกลุ่มหนึ่ง ซึ่งหากการเจรจาได้รับความสำเร็จในการแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็อาจนำไปสู่การเจรจากับกลุ่มอื่นๆเพื่อร่วมกันสร้างเสริมสันติภาพในพื้นที่ดังกล่าวภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ซึ่งทุกฝ่ายรอคอยต่อไป มูลนิธิฯ ขอแสดงความขอบคุณชื่นชมต่อความร่วมมือและการอำนวยความสะดวกในการเจรจาสันติภาพจากรัฐบาลมาเลเซียที่ได้จัดเวทีพูดคุยเพื่อให้หลายฝ่ายเกิดความเชื่อมั่นและความสะดวกในการประสานงานทั้งที่ผ่านมาและในอนาคต ทั้งนี้จะเป็นการเพื่อสร้างให้เกิดพื้นที่ปลอดภัยในจังหวัดชายแดนใต้อันเป็นการเตรียมการไปสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้ แม้ว่าการลงนามร่วมกันในครั้งนี้จะยังไม่ก่อให้เกิดผลในทางปฎิบัติ และอาจจะยังไม่สามารถยุติความรุนแรงทางอาวุธได้อย่างทันที ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ปกติในห้วงระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านจากความขัดแย้งทางอาวุธสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาโดยแนวทางสันติวิธี หากแต่แนวทางการเจรจาสันติภาพ ยังคงต้องการการสนับสนุนอย่างเป็นทางการโดยเฉพาะความร่วมมือจากองค์การของรัฐในระดับต่าง ๆ และจากภาคส่วนต่าง ๆในประเทศไทย ดังนี้ทางมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมและมูลนิธิผสานวัฒนธรรมขอเรียกร้องให้ฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรีจัดทำแนวทางการเจรจาสันติภาพให้เป็นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจที่ตรงกันตามแนวทางดังกล่าว และจัดให้มีการรับฟังความเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมไทยเกี่ยวกับแนวทางสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกทั้งจะต้องสื่อสารกระบวนการสันติภาพและความคืบหน้าของการเจรจาไปยังประชาคมโลกถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในนำไปสู่การแก้ไขปัญหาประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในระดับนานาประเทศ อนึ่ง ทางมูลนิธิฯ หวังว่า ผลของการเจรจาตามข้อตกลงดังกล่าวข้างต้นจะนำไปสู่สันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเป็นสันติภาพที่ถาวรที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเคารพ ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนของทุกคน ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ ศาสนา เพศ ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม หรือความเชื่อถือทางการเมืองใด โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ภาคประชาสังคมค้านแก้ไข พ.ร.บ.พันธุ์พืชเอื้อประโยชน์บริษัทเมล็ดพันธุ์ Posted: 01 Mar 2013 05:31 AM PST
ผอ.มูลนิธิชีววิถี (BioThai) ระบุการแก้ไข พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ.2542 เอื้อประโยชน์บรรษัทเมล็ดพันธุ์และละเมิดสิทธิเกษตรกรอย่างร้ายแรง 1 มี.ค. 56 - จากการที่กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการเพื่อให้มียกเลิก พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 และให้มีการยกร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ โดยได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 ที่กรมวิชาการเกษตรแล้วนั้น นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผอ.มูลนิธิชีววิถี (BioThai) กล่าวว่าการยกเลิกกฎหมายดังกล่าวโดยมีการเสนอร่างกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชฉบับใหม่นั้นทำให้ประเทศชาติและเกษตรกรรายย่อยเสียประโยชน์มหาศาล เพราะร่าง พ.ร.บ.พันธุ์พืชฉบับใหม่เขียนขึ้นเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ของบรรษัทเมล็ดพันธุ์ยักษ์ใหญ่ โดยการลดทอนสิทธิของเกษตรกร และมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของกฎหมายหลายประการที่ทำให้เกิดการผูกขาดด้านเมล็ดพันธุ์โดยบรรษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติ "ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชที่กรมวิชาการเกษตรเผยแพร่ในการประชุมรับฟังความคิดเห็นนั้นมีสาระเช่นเดียวกับการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ตามสนธิสัญญายูพอฟ (UPOV1991) ซึ่งนอกจากจะเป็นความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ที่การเข้าร่วมในสนธิสัญญาระหว่างประเทศจำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ยังเป็นการร่างกฎหมายที่เอื้อปะโยชน์อย่างมากต่อบริษัทเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่จากต่างชาติเพื่อที่จะผูกขาดเมล็ดพันธุ์ด้วย โดยข้อเรียกร้องให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในสนธิสัญญายูพอฟนี้เป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญในการเจรจาเอฟทีเอระหว่างประเทศไทยกับสหภาพยุโรปซึ่งจะเริ่มเจรจาอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ ที่หากประเทศไทยยอมจะทำให้เสียประโยชน์อย่างมาก จุดยืนของประเทศไทยจึงต้องไม่ยอมรับการแก้ไขกฎหมายระบบการคุ้มครองพันธุ์พืชที่ไม่เป็นไปตามความตกลงทริปส์และไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพแม้จะถูกกดดันอย่างมากจากบริษัทเมล็ดพันธุ์และกระบวนการเจรจา FTA Thai-EU" นายวิฑูรย์กล่าวต่อว่า ภาคประชาสังคมที่ตระหนักถึงอันตรายของการผูกขาดเมล็ดพันธุ์ขอเรียกร้องให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทบทวนการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว โดยแทนที่จะร่างกฎหมายขึ้นใหม่ทั้งฉบับ ก็ควรบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ให้ได้เต็มที่ก่อน เพราะปัญหาหลักของกฎหมายฉบับนี้อยู่ที่กรมวิชาการเกษตรใช้เวลานานเกินไปในการออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป พันธุ์พืชป่า และพันธุ์พืชเฉพาะชุมชน และกระทรวงเกษตรฯ ควรนำหลักการและแนวทางการคุ้มครองสิทธิเกษตรกรของกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชและสิทธิเกษตรกร (Protection of Plant Varieties and the Farmers' Rights Act) ของประเทศอินเดียที่รับรองสิทธิของเกษตรในพันธุ์พืชมาพิจารณาเพื่อปรับใช้กับกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของไทย "ทั้งนี้เพื่อสร้างความโปร่งใสในกระบวนการแก้ไขกฎหมาย และทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติแทนที่จะเอื้อประโยชน์แก่บริษัทเมล็ดพันธุ์เหมือนดังที่ปรากฎในสาระของร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้ก็ควรจะมีการแต่งตั้งนักวิชาการอิสระ ตัวแทนองค์กรสาธารณประโยชน์ที่เคยร่วมร่างกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ตัวแทนของเกษตรกรรายย่อยจากเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก และนักวิชาการกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ศึกษาการแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างน้อย 5 คน เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการเพื่อแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าวเพิ่มเติมเพื่อให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่กับพันธุ์พืชพื้นเมือง และบริษัทเมล็ดพันธุ์กับเกษตรกรรายย่อย" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คปก.หนุนออก กม.ป้องกันทารุณกรรมสัตว์ Posted: 01 Mar 2013 05:24 AM PST
คปก.หนุนออก กม.ป้องกันทารุณกรรมสัตว์ ตั้งข้อสังเกตทารุณกรรมสัตว์โดยเหตุสมควรไม่ชัด หวั่นตีความบิดเบือน 1 มีนาคม 2556 - นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้ลงนามในหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเรื่อง ร่างพ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. .... เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา โดยสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณา คปก.เห็นด้วยที่ต้องมีการตราพ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ขึ้นมาเพื่อเป็นการส่งเสริมจริยธรรมต่อการพัฒนาสังคมคุณภาพชีวิตสัตว์และมนุษย์ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศที่ปรากฏต่อนานาอารยประเทศ ทั้งนี้ คปก.มีข้อสังเกตใน 3 ประการ คือ องค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว คปก.เห็นว่า ควรลดจำนวนข้าราชการในระดับปลัด และอธิบดีจากกระทรวงที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ลง (เดิมกำหนดให้มีถึง 11 คน) และเพิ่มสัดส่วนองค์ประกอบของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ(เดิมกำหนดไม่เกิน 4 คน) โดยการกำหนดให้มีตัวแทนองค์กรเอกชนที่ทำงานด้านนี้ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสัดส่วนที่เหมาะสมและให้กรรมการผู้คุณวุฒิมาจากกระบวนการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหากรรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่ามาจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรี เพื่อให้ได้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และความเหมาะสมอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้ง ประเด็นต่อมา คปก.เห็นว่า ร่างมาตรา 17 ที่บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร" ยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอซึ่งอาจเป็นประเด็นในการตีความจึงตีความได้ว่า หากกระทำการใดเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยมีเหตุอันสมควร การกระทำนั้นย่อมไม่ผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะกำหนดได้ว่ากรณีใดเป็นการกระทำอันเป็น "การทารุณกรรมสัตว์โดยมีเหตุสมควร" ซึ่งความไม่ชัดเจนของข้อความดังกล่าวจะเป็นช่องว่างในทางกฎหมาย และอาจถูกนำมาใช้หรือตีความไปในทางที่บิดเบือนหลักการของกฎหมายได้ นอกจากนี้คปก.มีความเห็นว่า ควรเพิ่มบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาเร่งรัดในการตรากฎหมายลำดับรอง หรือหลักเกณฑ์ วิธีการต่าง ๆ ในร่างพ.ร.บ.นี้ เพื่อประโยชน์ในการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาความล่าช้าหรือไม่ได้มีการดำเนินการกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในเรื่องการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ในกฎหมายลำดับรอง ซึ่งมักเกิดขึ้นภายหลังจากที่กฎหมายนั้น ๆ ประกาศใช้บังคับไปแล้ว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'พรสวรรค์ พรแสวง' ประโยคที่ไอน์สไตน์ไม่ได้พูด และคนไทยไม่เคยเข้าใจ Posted: 01 Mar 2013 03:36 AM PST
'อัจฉริยะเกิดจาก พรสวรรค์ 1% และ พรแสวง 99%' คิดว่าหลายต่อหลายคนคงได้เคยฟังประโยคนี้มาตั้งแต่เด็ก บ่อยบ้าง นานๆ ครั้งบ้าง เพื่อเป็นข้อคิดเตือนใจไว้ให้เรารู้จักฮึกเหิมพยายาม และเราก็อ้างคำพูดนี้มาโดยตลอด โดยหารู้ไม่ว่า พอมาดูต้นฉบับภาษาดั่งเดิมจริงๆ มันกลับถูกเขียนว่า 'Genius is 1% inspiration 99% perspiration' perspiration แปลว่า การขับเหงื่อ ซึ่งจะอุปมาแปลว่าความพยายามก็ได้แต่ inspiration มันแปลว่า แรงบันดาลใจมิใช่หรือ ? แม้ภาษาอังกฤษของข้าพเจ้าจะค่อนข้างอ่อนด้อยสักปานไหน แต่ดูยังไง๊ยังไงข้าพเจ้าก็ไม่เห็นว่ามันจะแปลเป็น 'พรสวรรค์' ไปได้ ข้าพเจ้าพอเดาไปได้ว่าอาจเกิดจากความหลากเลื่อนของความหมาย (ซึ่งคนที่รู้ศัพท์ภาษาอังกฤษมามากพอสมควรจะรู้ดีว่าภาษาไทยที่เราแปลกันใน dictionary มักจะไม่ค่อยตรงข้ามหมายจริงๆ เท่าใดนัก เพราะคำต่างๆ ในแต่ละภาษาก็มีประวัติศาสตร์บริบทสิ่งแวดล้อมมากมายที่เวลาแปลมาเป็นอีกภาษาหนึ่งแล้ว ความหมายมันจะได้ไม่ครบถ้วนเวลาสื่อออกไป) ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงไปเช็คกับ Dicฯ อังกฤษ-อังกฤษ ให้แน่ใจอีกที แต่แปลแล้วแปลอีกอย่างไร ก็ไม่เห็นตรงไหนจะแปลเป็น 'พรสวรรค์' ไปได้เลย ข้าพเจ้าคิดว่า ประโยคนี้มันน่าจะแปลออกมาได้ว่า 'อัจฉริยะเกิดจากแรงบันดาลใจ 1% และ ความพยายาม (หรือพรแสวงก็ได้) 99%' เสียมากกว่า ข้าพเจ้าลองท่องโลกอินเตอร์เพื่อจะดูว่าคนไทยแปลประโยคสุดคลาสสิคนี้ออกมาอย่างไรบ้าง ก็พบว่ามีคนแปลตามความหมายที่ข้าพเจ้าคิดไม่น้อยเลยทีเดียว แล้วที่มีคนเคยอ้างอิงว่ามันแปลว่า 'อัจฉริยะเกิดจากพรสวรรค์1% และ พรแสวง 99%' นั้นมันมาจากไหนกันหรือ? ถ้าให้ท่านเลือกระหว่างการแปลสองสำนวนนี้ โดยไม่ต้องสนใจความหมายดั่งเดิม ท่านจะถูกใจประโยคไหนมากกว่ากัน ข้าพเจ้าเชื่อว่าเกือบ 90 % เลือกที่จะชอบแปล inspiration ว่า พรสวรรค์มากกว่าแน่ๆ มันช่างลื่นหูและสอดคล้องลงตัวกับ คำว่าพรสวรรค์ที่จะยกพ่วงมาต่อท้ายเสียเหลือเกิน สำหรับคนไทย (โดยเฉพาะคนแก่ๆ) แล้วเราไม่เคยรู้สึกเลยว่า 'แรงบันดาลใจ' จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จต่างๆ นาๆ ได้อย่างไร (ถ้าคนรุ่นใหม่ ก็อีกเรื่อง) ประเทศชาติเราไม่เคยเข้าใจ idea หรือตรรกะของคำว่า 'แรงบันดาลใจ' จริงๆ เพราะคำๆ นี้มันเป็นแนวคิดของฝรั่งที่ได้ถูกถ่ายถอดมายังเมืองไทยเมื่อสมัยหลังๆ นี้เอง ตั้งแต่โบราณมาเราไม่เคยมีแรงบันดาลใจอะไรหน้าไหนเป็นส่วนประกอบของความสำเร็จทั้งสิ้น เวลาเราเห็นใครประสบความสำเร็จอะไรนอกจากคำว่า 'พยายาม' ซึ่งเป็นส่วนน้อยมากแล้ว เรามักจะโบ้ยว่า 'ทำบุญมาดี ดวงดี ศาลเจ้าพ่อช่วย หรือฟ้าประทาน' เสียมากกว่า เราไม่เคยบอกว่าที่คนนั้นคนนี้ประสบความสำเร็จเพราะมันมี 'แรงบันดาลใจที่แรงกล้าจริงเชียว' คำว่าแรงบันดาลใจเราจะบอกว่ามันเป็นเรื่องของ โชค บุญ ฟ้าประทาน ก็ได้แต่ก็ไม่ใช่เสียเลยทีเดียว เพราะแรงบันดาลต้องเกิดจากการออกแรงในการคิดเสียก่อน เราต้องชอบที่จะวิเคราะห์ครุ่นคิดอย่างหนักคิดไม่ออกก็จะไม่ยอมกินข้าว เสมือนตาลุงนักวิทยาศาสตร์หัวหงอก ที่ชอบแบกหนังสือเล่มหนาๆ เดินครุ่นคิดไปมาทั้งวันจนเราต้องกล่าวหาว่าเขาเพี้ยน พูดอีกอย่างคือ การจะได้แรงบันดาลใจนั้นเราต้องมีความมานะอุตสาหะในการสะสมความรู้หรือความคิดมามากมายอยู่ก่อนแล้ว เสมือนบัวใกล้โผล่โพ้นน้ำขึ้นมา แต่แค่รอเพียงมีอะไรมาสะกิดอีกนิดเดียว ก็จะหาคำตอบได้ทันที ส่วนคำว่า โชค บุญ ฟ้าประทานหรือพรสวรรค์นั้น เราไม่ต้องมีความพยายามอะไรเลยมาก่อนทั้งสิ้น แต่อยู่ดีๆ ความคิดมันก็พลันเข้ามาเสมือน มีเงินหล่นทับมาให้โดยไม่ต้องออกแรงทำงาน หรือเหมือนคนที่พูดภาษาอังกฤษขั้นเทพได้โดยไม่ต้องฝึกพูดมาก่อน จากเหตุผลที่ร่ายยาวมานี้มันจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมในวัฒนธรรมภาษาของชาติไทยเราจึงไม่มีคำว่า แรงบันดาลใจ มาก่อน นั่นก็น่าจะเป็นเพราะบรรพบุรุษชาติเราแต่เดิมทีคิดวิเคราะห์กันน้อยมาก ชาติเราเป็นชาติที่ค่อนข้างอยู่สุขสบายในแง่การกิน ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ปลูกข้าวค่อนข้างจะขึ้นตลอดทั้งปี ไม่ต้องมีการวางแผนหรือพินิจคิดอะไรซับซ้อนมากนักในการประกอบหน้าที่การงานในแต่ละวัน (หรือใครจะเสริมว่าเป็นเพราะชนชั้นปกครองกดไม่ให้คิดก็ตามแต่) เราเป็นชาติที่ 'ไม่ชอบคิด' อะไรที่ซับซ้อน ซึ่งแตกต่างไปจากวัฒนธรรมของฝรั่ง ที่ชีวิตไม่สุขสบายเหมือนเรานัก เพราะอากาศค่อนข้างแปรปรวนเป็นอุปสรรคต่อการปลูกพืชผักหรือหาอาหารเลี้ยงชีพจึงต้องมีการคิดวางแผนรอบครอบในแต่ละวัน มิฉะนั้นจะไม่สามารถอยู่รอดได้ แล้ววัฒนธรรมในการคิดซับซ้อนนี้ก็มีผลทำให้ฝรั่งสามารถผลิตอัจฉริยะแห่งการประดิษฐคิดค้นมาได้มากมายดั่งที่เราเห็นในปัจจุบัน ฉะนั้นแล้วสำหรับคนไทย เราจึงมีแนวโน้มที่จะเข้าใจ สำนวนแปลอันที่หนึ่งที่ว่า 'อัจฉริยะเกิดจากพรสวรรค์ 1% และ พรแสวง 99%' มากกว่า สำนวนแปลอันที่สองที่ว่า 'อัจฉริยะเกิดจาก แรงบันดาลใจ 1% และความพยายาม 99%' ซึ่งน่าจะเป็นความหมายที่ถูกต้องมากกว่า อย่างไรเสียข้าพเจ้าจะไม่ขอร่วมวงถกเถียงว่าจริงหรือไม่ แต่ขอปล่อยให้เป็นเรื่องของนานาจิตตัง ใครจะว่าอย่างไรก็แล้วแต่ความคิดความเชื่อของแต่ละคน แต่อยากให้ข้อสังเกตอันหนึ่งว่า คำพูดหรือ speech นี้ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อัจฉริยะแห่งโลกฟิสิกส์ไม่ได้เป็นคนพูดดั่งที่เราเข้าใจกันมาโดยตลอด แต่เป็นคำพูดของ โทมัส อัลวา เอดิสัน อัฉริยะนักประดิษฐ์ผู้บ้างาน ต่างหาก (อ้างอิงจากนิตยสาร Harper's Monthly ฉบับ September ปี 1932) ก็ไม่น่าแปลกใจที่เอดิสัน จะเป็นคนพูด เพราะถ้าใครได้อ่านชีวประวัติของแกจะรู้ว่าแกเป็นคนที่บ้างานเอาเสียมากๆ สามารถควบคุมการงีบช่วงกลางวันของตัวเองได้อย่างลื่นไหล ตื่นขึ้นมาก็ลุกทำงานต่อได้เลยโดยไม่มีอาหารเซื่องซึม และเป็นที่น่าสนใจมากว่า คนไทยดูจะรักใคร่นักฟิสิกส์ชื่อก้องที่ชื่อ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เสียเหลือเกิน ถ้าลองเอาประโยคเท่ห์ๆ เจ๋งๆ แนวๆ จากใครก็ได้ มาให้ ลุงไอน์สไตน์ สวมรอยอ้างแทน ก็มักดูดี และสามารถสะกดให้คนไทยเชื่อได้เสมอว่าเค้าเป็นคนพูดจริงๆ ส่วนเอดิสัน ถ้าได้มาเห็นประโยคอันแสนเท่ห์ของแกในเมืองไทย ถูกตัดหน้าไปโดย ไอน์สไตน์ แล้วก็คง เสียใจไม่น้อย แต่ก็คงไม่สามารถทำให้แกเสีย Self ได้มากนัก เฉกเช่นความพยายามของแกต่อชิ้นงานในโลกแห่งการประดิษฐ์ เพราะเอดิสันนั้นดูเหมือนแกจะท่องคาถาแต่เพียงอย่างเดียวว่า 'จงพยายามๆๆๆๆ ต่อไป ' ส่วนไอน์สไตน์ นั้นกลับกล่าวถึงชิ้นงานฟิสิกส์อันลื่อลั่นของแกอย่างถ่อมตัวว่า 'ทฤษฎีต่างๆ ที่ผมค้นพบถ้าผมไม่ได้ค้นพบในวันนี้ พรุ่งนี้ก็ต้องมีคนค้นพบอยู่ดี' ฉะนั้นแล้วสำหรับไอน์สไตน์เค้าเชื่อว่า บุญหรือโชคช่วยก็มีความสำคัญต่อความสำเร็จของเค้าไม่น้อย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Alienation: การสร้างสภาวะแปลกแยกโดยระบบทุนนิยม (ตอนที่ 2) Posted: 01 Mar 2013 03:26 AM PST รัฐทุนนิยมกับการสร้างสภาวะแปลกแยก จากตอนที่ 1 อธิบายถึงการสร้างสภาวะแปลกแยกในโครงสร้างทางเศรษฐกิจของระบบทุนนิยม และในตอนที่ 2 นี้เชื่อมโยงโครงสร้างทางการเมืองระดับบนหรือระบบรัฐว่าสัมพันธ์กับโครงสร้างระดับฐานอย่างไร รัฐเป็นตัวสร้างสภาวะแปลกแยกเหินห่างจากความเป็นมนุษย์ และปัญหาความขัดแย้งทางชนชั้นอย่างไร จากการที่ระบบทุนนิยมเป็นระบบที่คอยสัญญากับประชาชนว่า ประชาชนจะมีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิต แต่เมื่อมองไปรอบๆ ตัว ช่างดูห่างไกลคือ เราเห็นอัตราการหย่าร้าง ครอบครัวแตกแยก การกดขี่ผู้หญิงและเด็ก การค้าหญิงบริการทั่วไป การใช้ความรุนแรง การติดยาเสพติด ปัญหาโรคติดต่อ ความเครียด เสียสุขภาพจิตและความรู้สึกแปลกแยก ความหดหู่ของผู้คนจำนวนมาก ดังนั้นสิ่งที่มากไปกว่าความสำเร็จในชีวิต คือ คนจำนวนมากกำลังเผชิญกับความแปลกแยก ในขณะที่มีคนหลายคนไม่รู้สึกแปลกแยก แต่อาจมีแนวโน้มที่จะหลอกตัวเองในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง บางทีมีความรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า มีความหมายเพราะมีมายาคติเกี่ยวกับบริบท/สภาพแวดล้อมและตัวตนของตัวเอง ทำไมระบบทุนยังคงผลิตซ้ำสังคมแบบชนชั้นได้ จวบมาถึงยุคสมัยใหม่ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ข้างต้นเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วโลก ความแปลกแยกของมนุษย์ยังคงฝังรากลึกในสังคมชนชั้น (เออร์เนส แมนเดลและจอร์ช โนแว็ค. The Marxist Theory of Alienation. New York: Pathfinder Press. 2nd edition, 1973, น.7) ที่ชนชั้นแรงงานถูกทำให้ไร้อำนาจในการตัดสินใจผลิตและเป็นเจ้าของผลผลิตร่วมกัน ส่วนชนชั้นนายทุนผูกขาดอำนาจการบริหารปกครองในภาคการผลิต และเป็นอภิสิทธิชน ทั้งนี้มีรัฐ ชนชั้นผู้ปกครองช่วยรักษาสถาบัน ระเบียบ กฎหมายที่ให้อำนาจแก่ชนชั้นนายทุน สร้างความชอบธรรมและส่งเสริมการปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพในการผลิต และเพิ่มอัตราการขูดรีดผู้ใช้แรงงานมากขึ้นด้วย ระบบรัฐทุนนิยมเกี่ยวข้องกับสภาวะแปลกแยกอย่างไร รัฐสมัยใหม่ประกอบด้วยสถาบันทางการเมือง สถาบันที่เกี่ยวข้องกับพลเมือง วัฒนธรรมและความเชื่อ แต่ยังประกอบด้วยระบบความสัมพันธ์ของกลุ่มพลังทางสังคมที่พยายามถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ต่อสู้กันและผลผลิตของการต่อสู้ก็อยู่ในระบบรัฐสมัยใหม่ ซึ่งรัฐสมัยใหม่เป็นรัฐทุนนิยม เพราะมีกลไกอุดมการณ์ ความคิดความเชื่อที่ครอบงำแรงงานให้มีรูปการจิตสำนึกผลิตซ้ำระบบทุนนิยม แม้จะมีการต่อสู้กันระหว่างชนชั้น แต่ก็มีการประนีประนอมกันได้เป็นช่วงๆ จากรูปธรรม รัฐต้องการเงินภาษีจากนายทุน และมีผลประโยชน์ของตัวเอง เพราะรัฐก็ผลิต หาเงิน สะสมทุนด้วย จึงมีกฎหมาย สถาบันค้ำจุนระบบทุนนิยม และไปเสริมสร้างสภาวะแปลกแยกให้แก่พลเมืองมากขึ้น เนื่องจากรัฐใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตของพลเมืองมากเกินไป เสริมสร้างระบบการแบ่งงานกันทำ ใช้ระบบการจ้างงานยืดหยุ่น คนทำงานขาดความมั่นคง สังคมขาดการคุ้มครอง คนตกงาน ได้รับผลกระทบเมื่อเกิดวิกฤตมากกว่าพวกนายทุน นอกจากนี้รัฐทุนนิยมยังส่งเสริมระบบเศรษฐกิจที่สร้างลัทธิบูชา/คลั่งสินค้า (Commodity fetishism) และความเชื่อบางอย่าง ที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์แปลกแยกเหินห่างซึ่งกันและกัน ทั้งนี้อยู่ภายใต้ฐานเศรษฐกิจแบบแบ่งงานกันทำ แบ่งเป็นสาขาวิชา ข้อมูลถูกแยกส่วน ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ แรงงานสมอง แรงงานไร้ฝีมือ ที่ทำให้สังคมมองแรงงานเป็นแค่เครื่องมือการผลิต แต่ไม่ใช่ผู้มีอำนาจตัดสินใจในระบบการผลิต จากนั้นความเป็นอยู่ของทุนกับแรงงานก็แตกต่างเหลื่อมล้ำกันจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันนั่นเอง ลัทธิบูชาสินค้า คือ การแปลงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ที่มีรากมาจากการค้าขายสินค้าในระบบตลาด ด้วยวิธีที่ความสัมพันธ์ทางสังคมของคนถูกแสดงออกมาในลักษณะเป็นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ/วัตถุบริโภค เป็นความสัมพันธ์ในเชิงแลกเปลี่ยนระหว่างเงินและสินค้า ผู้ซื้อกับผู้ขาย นั่นคือ การแปลงลักษณะอัตวิสัย/นามธรรมของมูลค่าทางเศรษฐกิจไปเป็นตัววัตถุ สิ่งของที่คนเชื่อว่ามีค่าอยู่ในตัวอยู่แล้ว (โดยไม่ต้องไปสืบค้นหาที่มาของการสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ ซึ่งจริงๆ มาจากการทำงานของแรงงาน) พูดง่ายๆ คือ คนมักสัมพันธ์กันในระบบการซื้อขาย แลกเปลี่ยนในตลาด สนใจแต่เรื่องมูลค่าแลกเปลี่ยนหรือราคาตลาด แต่ไม่สนใจว่าสินค้าหรือบริการนั้นถูกสร้างให้มีมูลค่าในระบบการผลิตอย่างไร ด้วยเหตุนี้การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในตลาดจึงคอยบดบังลักษณะทางเศรษฐกิจที่แท้จริง (Real economy) ที่เป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์ในระบบการผลิต ความสัมพันธ์ระหว่างทุนกับแรงงานคือแก่นสารของระบบทุนนิยมนั่นเอง ลัทธิบูชาสินค้า: ในระบบตลาด ผู้ผลิตและลูกค้ารับรู้ร่วมกันว่าจะต้องทำการแลกเปลี่ยนกันระหว่างเงินกับสินค้า (ที่มาเว็บวิกีพีเดีย http://en.wikipedia.org/wiki/Commodity_fetishism ) การที่รัฐเข้าไปค้ำจุนระบบทุนนิยม และตอกย้ำสภาวะแปลกแยกให้แก่ชนชั้นแรงงานและความแตกแยกทางชนชั้นมากขึ้น คือ การกีดกันประชาชนออกไปจากการมีส่วนร่วมในการเมือง การบริหาร การปกครอง การทำให้เป็นพลเมืองชั้นสอง การทำให้เป็นชายขอบ เพื่อไม่ให้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ ทรัพยากร ปัจจัยการผลิตในการดำรงชีพและพัฒนาระบบการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย และรัฐยังมีบทบาทในการประนีประนอมการต่อสู้ระหว่างทุนกับแรงงาน อีกทั้งจัดตั้งและใช้กลไกปราบปราม (คุก ศาล ทหาร ตำรวจ) ในการจัดการ ทำลายขบวนการประชาธิปไตย งานของอันโตนิโอ กรัมชี่ ได้อธิบายรัฐว่าเป็นระบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มพลังทางสังคมหรือชนชั้น ที่ประกอบด้วย 2 ชนชั้นคือ ชนชั้นปกครองและชนชั้นผู้ถูกปกครอง (ชนชั้นปกครองหรือผู้มีปัจจัยการผลิต ประกอบด้วยนายทุนใหญ่ เจ้าที่ดินและนายทุนน้อยหรือนายทุนในชนบท ซึ่งครอบครองปัจจัยการผลิต และชนชั้นผู้ถูกปกครองคือ ชาวนาและกรรมาชีพในความหมายที่กว้างคือทั้งคนงานในโรงงาน ช่างฝีมือ นักบวชและกลุ่มปัญญาชนด้วย) แต่ชนชั้นปกครองเข้าถึงการใช้อำนาจบังคับ สร้างความยินยอมพร้อมใจเหนือผู้ถูกปกครอง และครอบงำด้วยอุดมการณ์ และไม่ต้องการที่จะถูกท้าทายจากกลุ่มพลังอื่นๆ นั่นหมายความว่า ในระบบรัฐเต็มไปด้วยนายทุน (ผู้บังคับบัญชา) มากกว่าแรงงาน (ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา) นายทุนในคราบนักการเมืองรวยๆ ในพรรคการเมืองที่ใช้นโยบายเอื้อให้เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ผลิต และสะสมทุนต่อไปได้ รวมทั้งองค์กร หน่วยงานรัฐที่ประกอบการ ข้าราชการถือหุ้นรัฐวิสาหกิจ บรรษัท ไต่เต้าและสะสมความมั่งคั่งเช่นกัน แต่สิ่งนี้ถูกทำให้ชอบธรรม บดบัง บิดเบือนได้ด้วยกระบวนการกล่อมเกลา อบรมทางสังคม ด้วยความคิดความเชื่อทางอุดมการณ์อยู่เบื้องหลัง กลไกทางอุดมการณ์ของรัฐทุนนิยม "อุดมการณ์" (Ideology) หรือ ทัศนคติ/มุมมอง/กรอบในการมองโลก ซึ่งความคิดและสัญลักษณ์ต่างๆที่ประกอบขึ้นมาเป็นอุดมการณ์โดยทั่วไปจะถูกกำหนดขึ้นมาจากชนชั้นปกครอง สิ่งที่ถูกสั่งสอนกันมาในระบบทุนนิยม คือ การยอมรับระบบกรรมสิทธิ์เอกชน ความยากจนและการกดขี่เป็นเรื่องธรรมดา รัฐและพรมแดนเป็นเรื่องธรรมชาติ สถาบันกษัตริย์ ศาสนาเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ผลประโยชน์ที่คนบางกลุ่มได้รับเป็นผลประโยชน์ของทุกคน หรือผลประโยชน์ของชาติคือผลประโยชน์ของทุกคน ที่เข้ากันได้กับแนวคิดลัทธิชาตินิยม กษัตริย์นิยม ที่วางกรอบคิดระบบรัฐรวมศูนย์การปกครองไว้ที่ส่วนกลาง ในขณะเดียวกัน รัฐก็จะขจัดมุมมองที่ว่า เรามีความแตกต่างทางชนชั้น บดบังร่องรอยการแบ่งแยก ความขัดแย้ง การลุกขึ้นสู้ของชนชั้นผู้ถูกปกครอง เช่น ข่าวสารในสื่อของรัฐมักจะถูกขัดเกลาซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากอุดมการณ์ของชนชั้นปกครอง กล่าวคือ มีการนำเสนอข่าวสารแต่เฉพาะนักการเมืองระดับสูง ภาพความร่วมมือระหว่างผู้นำภาคธุรกิจ และความสามัคคีปรองดองกันระหว่างกลุ่มทางสังคมและชนชั้นต่างๆ ส่วนภาคการเมืองการต่อสู้ของประชาชนถูกทำให้เลือนลาง ทว่า รัฐกลับก่อให้เกิดรอยร้าวระหว่างสองชนชั้นมากกว่าความปรองดอง รอยร้าว ความแตกแยกระหว่างความสัมพันธ์ของกลุ่มพลังทางสังคม/ชนชั้น 2 ชนชั้นนี้ แสดงออกมาในรูปแบบการทำสงครามกัน 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ สงครามแย่งชิงพื้นที่ทางความคิด ที่ชนชั้นที่ถูกกดขี่ท้าทายการครองอำนาจของชนชั้นปกครอง และสงครามปะทะกัน ที่มักเกิดขึ้นในสังคมที่เปราะบาง ทว่าเป็นการต่อสู้ที่ไม่ยั่งยืนเพราะไม่สามารถครองใจคนได้นาน เนื่องจากเน้นการใช้กำลังบังคับฝ่ายตรงข้าม กรัมชี่เสนอให้ชนชั้นกรรมาชีพใช้รูปแบบทำสงครามยึดพื้นที่ทางความคิดในประชาสังคม การบ่อนเซาะวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองในสถาบันต่างๆ ซึ่งเป็นกลไกทางอุดมการณ์ของชนชั้นนำ เช่น โรงเรียน สถาบันศาสนา สื่อมวลชน แม้แต่ในสหภาพแรงงาน และสร้างความรับรู้ใหม่ โลกใบใหม่ที่คนเท่าเทียมกันและเอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่เพื่อสร้างดุลยภาพทางอำนาจให้เหนือกว่ากับชนชั้นปกครอง ในขณะที่ชนชั้นปกครองก็มีวิธีการสร้างดุลยภาพของอำนาจให้เหนือกว่า คือ การปฏิวัติเงียบเพื่อให้เกิดการปฏิรูปจากบนลงล่างโดยกีดกันคนส่วนใหญ่ออกไปจากอำนาจในระบบการเมืองเศรษฐกิจ ทั้งนี้เพราะถูกท้าทายจากสังคม หรืออยู่ในภาวะวิกฤตศรษฐกิจ จึงต้องหาทางเอาตัวรอดจากการถูกต่อต้าน ด้วยการประนีประนอม แต่ก็พยายามรักษาและสืบทอดอำนาจทางการเมืองของตัวเอง ด้วยการลดทอน ขัดขวาง ทำลายความเป็นเอกภาพของชนชั้นที่ถูกปกครองด้วย (วัชรพล พุทธรักษา. กลุ่มพลังทางสังคม: อันโตนิโอ กรัมชี่กับตัวแสดงทางการเมือง. ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ไม่ระบุปีที่พิมพ์) แต่ กรัมชี่ก็เสนอว่า หากชนชั้นผู้ถูกปกครองต้องการเอาชนะ มีอำนาจเหนือกว่า ต้องต่อต้านการปฏิวัติเงียบหรือแนวคิดปฏิรูปของชนชั้นปกครองนี้ ด้วยการทำงานแนวร่วม ทำงานทางความคิดกับประชาชนกลุ่มต่างๆ ให้มากที่สุด สรุปตรงนี้คือ เมื่อรัฐทุนนิยมถูกชนชั้นนายทุนเข้ามาใช้เพื่อปกป้องตัวเอง รักษาผลประโยชน์ในระยะยาว และเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงเองก็แสวงหาความมั่งคั่ง รัฐจึงทำหน้าที่สลายความขัดแย้งทางชนชั้น บิดเบือน ป้องกันการเกิดการรวมตัวเคลื่อนไหวของชนชั้นกรรมาชีพที่จะเป็นอันตรายต่อระบบทุนนิยม และเมื่ออยู่ในสภาวะความขัดแย้ง ผู้มีอำนาจรัฐมักจะทำตัวเป็นกลางคอยไกล่เกลี่ย และบิดเบือนการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพ อย่างไรก็ตาม รัฐไม่สามารถครอบครองจิตใจของคนได้อย่างเบ็ดเสร็จ เป็นเวลานานๆ เพราะในความเป็นจริงมีการต่อสู้ต่อต้านของประชาชนทั้งในระดับชีวิตประจำวันและระดับการเมือง การครองใจผ่านสภาวะแปลกแยก เมื่อมีการต่อสู้ทางชนชั้น แต่ทำไมกรรมาชีพยังไม่สามารถเอาชนะได้ทั้งหมด เหตุหนึ่งคือ การถูกทำลายเอกภาพด้วยความคิด ความเชื่อ ความคลั่งที่ปลูกฝังกล่อมเกลามาอย่างยาวนานและเป็นประจำ แล้วทำไมประชาชนจำนวนมากถึงเชื่อนิยายของชนชั้นปกครอง ทำไมเขาครองใจคนจำนวนมากได้ ทำไมคนเชื่อว่า "ตลาด" มีพลังหรือชีวิตของมันเองที่เราต้องจำนนต่อ ทั้งๆ ที่ตลาดเป็นแค่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทำไมคนลืมว่ามนุษย์สร้างพระพุทธรูปด้วยมือของตนเองเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของศาสนา แต่หันมาเชื่อว่าพระพุทธรูปมีอำนาจศักดิ์สิทธิ์วิเศษหลังจากที่ถูกสร้างขึ้นมา (ลั่นทมขาว. รากฐานและรูปแบบของ"อำนาจ". เว็บไซด์องค์กรเลี้ยวซ้าย. 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555. http://turnleftthai.blogspot.com/2012/07/blog-post_18.html ) แล้วทำไมคนจำนวนมากในไทยเชื่อเรื่องความดีสูงสุดของกษัตริย์และราชวงศ์ ซึ่งการครองใจชนชั้นผู้ถูกปกครองดำรงอยู่ได้ เพราะด้วยสภาวะแปลกแยกที่ชนชั้นกรรมาชีพกำลังทุกข์ทรมานกับการถูกลดทอนศักดิ์ศรี อำนาจในระบบเศรษฐกิจการเมืองของลัทธิทุนนิยม/เสรีนิยม ให้เสรีภาพ สิทธิพิเศษ อำนาจการต่อรองแก่นายทุนมากกว่า งานของจอร์ช ลูคักส์ ว่าด้วยปรากฏการณ์ของจิตสำนึกจอมปลอมผ่านกระบวนการสร้างรูปธรรมจอมปลอม (Reification) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการสร้างสภาวะแปลกแยก สภาวะแปลกแยกดังเช่นกรณีการแบ่งแรงงานสมองออกจากแรงงานมือเพื่อแบ่งแยกและปกครองเพื่อง่ายต่อการคิดคำนวณมูลค่าและค่าจ้างจากการผลิต แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถแบ่งได้เพราะสมองกับสองมือเมื่อถูกแยกจะไม่เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ หรือการมุ่งสู่เป้าหมายแสวงหากำไรสูงสุดของนายทุนมากเกินไป แต่ไม่ใส่ใจวิธีการ กระบวนการที่นำไปสู่เป้าหมายว่าได้ไปกดขี่ขูดรีดผู้ผลิตหรือไม่ และมองมนุษย์ลูกจ้างเป็นเพียงแค่ปัจจัย/เครื่องมือการผลิตที่ถูกใช้เพื่อเป้าหมายของตัวเองหรือไม่ การที่ลูกค้ามุ่งสนใจแต่สินค้า โดยละเลยที่จะเข้าไปดูกระบวนทำงานและสภาพการจ้างงานของแรงงานว่าเป็นอยู่อย่างไร การสร้างรูปธรรมจอมปลอมใส่ไปในหัวสมองของชนชั้นแรงงาน คือการที่ทุนทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นความสัมพันธ์กันในเรื่องของการค้า การตลาด หรือทำให้ความสัมพันธ์ของคนอยู่บนฐานของเรื่องเกี่ยวกับวัตถุที่ค้าขายแลกเปลี่ยนกัน เป็นกระบวนการแยกต้นกำเนิดออกไป แล้วแทนที่ด้วยปรากฏการณ์ภายนอก แยกเปลือกออกจากแก่นแท้ ซึ่งเป็นการบิดเบือนจิตสำนึกของคนจากความเดียงสาไปสู่ความเพี้ยนสุดๆ รูปธรรมจอมปลอมเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์รับรู้ไปในทางที่ผิดเพี้ยนเกี่ยวกับ "ข้อเท็จจริงของธรรมชาติ, ผลลัพธ์ของกฎจักรวาล หรือการแสดงเจตจำนงของเทพ รวมถึงการสร้างความต้องการที่จอมปลอม สร้างภาพว่าสินค้านั้นเป็นที่ต้องการที่มาจากภายในตัวมนุษย์ ที่ระบบกฎหมายของรัฐทุนนิยมสันนิษฐาน ทึกทักเอาเองว่าคนต้องการสินค้าจริงๆ และการร่างกฎหมายอนุญาตให้ผู้ประกอบการสร้างสินค้าเช่นนั้น และดังที่คาร์ล มาร์คซ์อธิบายศักยภาพของการสร้างรูปธรรมจอมปลอมว่า ดอกเบี้ยที่เกิดจากทุน การบูชาสินค้าอย่างอัตโนมัติ มูลค่าสร้างได้ด้วยตัวมันเอง เงินสร้างเงิน เหล่านี้ถูกดึงออกมาให้อยู่ในสภาวะบริสุทธิ์ และตัดขาดออกจากผู้สร้างมัน ราวกับว่ามันสร้างตัวเองได้ ด้วยเหตุนี้ ความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้คนจึงถูกกลืนไปในความสัมพันธ์ของสิ่ง วัตถุ เงิน แทนที่ของการผันเงินไปเป็นทุน เรามองเห็นแต่รูปแบบที่ไม่มีเนื้อหา มีแต่เปลือกหุ้ม เพราะการผันเงินเป็นทุนเป็นคุณลักษณะของเงินที่ก่อให้เกิดมูลค่าและดอกเบี้ย ราวกับว่ามันเป็นลักษณะของต้นลูกแพร์ที่ออกเป็นลูกแพร์ และผู้ที่ให้ยืมเงินขายเงินของเขา พอๆกับที่ดอกเบี้ยสร้างสิ่งต่างๆ แต่ว่าไม่ใช่ทั้งหมด การทำงานของทุนอย่างที่เราเห็นมาตลอด นำเสนอตัวเองว่าเป็นแสงสว่างที่สร้างดอกเบี้ย แต่จริงๆ แล้วทุนในตัวมันเองคือ ทำให้เงินกลายเป็นทุนเพื่อใช้ประกอบการต่อไป เมื่อดอกเบี้ยเป็นแค่ส่วนหนึ่งของผลกำไร ของมูลค่าส่วนเกิน ที่นายทุนดูดออกมาจากแรงงาน แต่ในทางตรงข้าม ดอกเบี้ยเป็นผลผลิตจำเพาะของทุน เป็นสิ่งพื้นฐานแรกเริ่ม ส่วนกำไรของผู้ประกอบการเป็นผลผลิตของกระบวนการผลิตซ้ำ ดังนั้น เมื่อเราเสพติดรูปแบบของเงินต่อเงิน เราจะไร้ความหมาย ดังนั้น ความวิปริตผิดเพี้ยนและการทำให้ความสัมพันธ์ทางการผลิตของคนถูกละเลยและเน้นเรื่องวัตถุ เป็นรูปแบบการทำงานของทุน เป็นการสร้างมายาภาพของนายทุน และทุนก็จะถูกสะสม ผลิตซ้ำ สร้างให้ตัวเองมีอยู่อย่างอิสระ ตัดขาดจากกระบวนการผลิต/การทำงานของแรงงาน ทั้งๆที่เงิน กำไร ไม่ได้อยู่อย่างลอยตัว ผลลัพธ์ของกระบวนการผลิตแบบทุนเช่นนี้ คือ การแยกออกจากกระบวนการ และสร้างตัวตนที่อิสระ (Georg Lukacs. History & Class Consciousness : Reification and the Consciousness of the Proletariat ที่มา : http://www.marxists.org/archive/lukacs/works/history/hcc05.htm ) พูดง่ายๆ คือ กำไร ดอกเบี้ย ค่าเช่าถูกทำให้เป็นเรื่องธรรมชาติว่าเป็นผลตอบแทนของทุนและการลงทุน และค่าจ้างเป็นผลตอบแทนของแรงงาน ทุนจึงมองว่าไม่ได้ไปเอาเปรียบแรงงาน เพราะทุนสร้างผลตอบแทนเหล่านี้ขึ้นมาเอง ลองนึกถึงภาพของธุรกิจการเงิน การเก็งกำไร ที่หลุดออกไปจากฐานเศรษฐกิจที่แท้จริงระดับราก เงินต่อเงินกลายเป็นทุน เป็นรูปแบบที่ผลิตซ้ำเพื่อนำไปสู่การขยายกิจการต่อไป การสร้างรูปธรรมจอมปลอมเพื่อให้เกิดจิตสำนึกจอมปลอมของผู้คนร่วมสมัยแปลกแยกเพราะการผลิตที่มาจากผู้สร้างที่ได้รับเพียงค่าจ้างแต่ทว่าน้อยกว่ามูลค่าที่ตัวเองสร้าง นั่นคือ มูลค่าส่วนเกินเป็นที่มาของกำไร ดอกเบี้ย ค่าเช่า ที่ทุนได้ขูดรีดเอามาจากกระบวนการทำงานของแรงงาน ดังนั้น แรงงานต่างหากที่เป็นผู้สร้างทุน ไม่ใช่กำไร ดอกเบี้ย ค่าเช่าด้วยตัวมันเอง แรงงานสร้างมูลค่าที่มาจากการผลิตล้วนๆ เครื่องจักรสมัยใหม่ถ้าไม่มีคนทำงานกดปุ่ม บังคับก็ผลิตอะไรไม่ได้ ถึงจะอัตโนมัติเพียงใดก็ตาม แม้จะเอาหุ่นยนต์มาซ่อมแซมก็ต้องมีคนไปบังคับหุ่นยนต์อีกทีหนึ่ง จากความสามารถในการสร้างรูปธรรมจอมปลอมของทุนคือ การทำให้ตัวเองแลดูมีบทบาทสำคัญกว่าใครในการสร้างมูลค่า ความร่ำรวย ความเจริญ ความรู้สมัยใหม่ให้แก่ประชาชน ประเทศชาติ จึงเป็นฐานคิดของทุนในการสร้างอำนาจเหนือกว่าแรงงาน ชนชั้นทุนจึงสร้างระบบรัฐ กฎหมายให้สอดคล้องกับความต้องการและเป็นหนึ่งเดียวกับโครงสร้างของทุน อีกทั้งโครงสร้างรัฐและทุนค่อนข้างคล้ายคลึงกันโดยพื้นฐานคือ มีรูปแบบความสัมพันธ์ทางธุรกิจเป็นรากฐานของรัฐสมัยใหม่ เพื่อให้เข้ากันได้กับระบบโรงงาน เห็นได้จากระบบเวลาเข้า-ออกโรงเรียนมาจากระบบโรงงาน ในทำนองเดียวกัน ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในวงธุรกิจก็เป็นแบบเดียวกันในรัฐสมัยใหม่ และเช่นเดียวกับในอดีตอำนาจของช่างฝีมือครัวเรือน ของชาวนาเจ้าของที่ดิน พระ อัศวินและศักดินาอยู่บนฐานความจริงที่ว่าเขาเองเป็นเจ้าของเครื่องมือ สินค้า แหล่งทุน เงิน หรืออาวุธเพราะเกื้อหนุนมาจากสิ่งที่เขาประสบความสำเร็จในการทำงานในกองทัพ ในสถาบันการเมืองและในระบบเศรษฐกิจ หรือได้จากการทำงานในหน้าที่ ส่วนการพึ่งพาระดับบนของแรงงาน เสมียน ผู้ช่วยด้านเทคนิค ผู้ช่วยในสถาบันวิชาการและเจ้าหน้าที่รัฐ ทหารระดับล่าง ก็เทียบเคียงกันได้ คือ เครื่องมือ สินค้า แหล่งการเงินที่จำเป็นของทั้งสองฝ่ายเป็นไปเพื่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจ เพราะความอยู่รอดทางเศรษฐกิจอยู่ในมือของผู้ประกอบการ ผู้มีอำนาจทางการเมือง ดังนั้น รัฐทุนนิยมจึงมีบทบาทแบ่งแยกชนชั้นระหว่างทุนกับแรงงาน และแรงงานกับรัฐให้แหลมคมขึ้น วิกฤตความเหลื่อมล้ำจึงเกิดขึ้นในรัฐรูปแบบนี้ การสร้างรูปธรรมจอมปลอมทำให้คนมีจิตสำนึกจอมปลอมอยู่ในหัวของชนชั้นกรรมาชีพผู้ถูกปกครอง ทำให้ขาดความมั่นใจที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมชนชั้น ลูคักส์จึงเสนอให้รวมตัวเป็นกลุ่มก้อน สูงสุดคือการสร้างพรรคการเมืองเพื่อต่อสู้กับอุดมการณ์ของชนชั้นปกครอง กรัมชี่เสนอให้ต่อสู้ในชีวิตประจำวันเพื่อบั่นทอนรูปธรรมจอมปลอมและเอาจิตสำนึกจอมปลอมออกไปจากหัว เพราะวัตถุ สินค้าไม่ใช่ตัวแทนของการดำรงอยู่ของสังคมแต่อย่างใด การดำรงอยู่ของสังคมแท้จริงคือ การเคารพศักดิ์ศรีของคนทำงานเพื่อให้เขามีอำนาจในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจและการเมือง และคือการคำนึงถึงสิทธิแห่งความเป็นคนที่เท่าเทียมกัน ซึ่งจะเป็นฐานคิดสำหรับปรับปรุงรูปแบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง (สังคมนิยม) ต่อไป. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.- ศึกชิงเมืองหลวง Posted: 01 Mar 2013 03:20 AM PST ผลของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ในครั้งนี้จึงขึ้นอยู่กับว่า คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ที่เฉื่อยชาทางการเมือง จะถูกกระตุ้นให้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยได้จำนวนมากพอที่จะเอาชนะ "คะแนนจัดตั้ง" บวก "คะแนนเกลียดชัง" ของพรรคประชาธิปัตย์ได้หรือไม่ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในวันที่ 3 มีนาคม 2556 นี้ เป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นกรุงเทพฯ ที่มีลักษณะพิเศษยิ่งกว่าครั้งที่ผ่าน ๆ มา เพราะไม่ใช่เป็นเพียงการตัดสินว่า ใครจะได้เป็นผู้บริหารระดับสูงสุดของกรุงเทพฯ และกรุงเทพฯในอีกหลายปีข้างหน้าจะพัฒนาไปในทิศทางใด การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ครั้งนี้เกี่ยวพันอย่างแนบแน่นกับวิกฤตการเมืองระดับชาติที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2548 ถึงปัจจุบัน ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของคนกรุงเทพฯส่วนใหญ่คือ เฉื่อยชาไม่สนใจใยดีในการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น พวกเขาส่วนใหญ่ไม่เคยต้องพึ่งพานักการเมืองในพื้นที่ เพราะถึงอย่างไร ทั้งรัฐบาลกลางและผู้บริหารกรุงเทพมหานครก็ต้องทุ่มเทงบประมาณและกำลังคนมาให้ในทุก ๆ ด้านอยู่แล้ว ผลงานของสมาชิกสภาเขต สมาชิกสภากรุงเทพฯ หรือผู้ว่าราชการ แทบไม่มีนัยโดยตรงต่อชีวิตของคนพวกนี้เลย นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กรุงเทพฯเป็นจังหวัดที่มีอัตราการใช้สิทธิ์เลือกตั้งต่ำที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย สำหรับพวกเขาแล้ว แม้แต่วันอาทิตย์ที่เป็นวันเลือกตั้งระดับชาติหรือเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ก็เหมือนวันอาทิตย์อื่น ๆ คึอ พักผ่อนอยู่กับบ้าน หรือออกมากินเที่ยวเตร่ อันเป็นกิจกรรมหาความสุขส่วนตัวที่สำคัญยิ่งกว่าการไปเลือกผู้บริหารกทม.หรือเลือกรัฐบาลระดับชาติ ที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์อาศัยประโยชน์จากความเฉื่อยชาของคนกรุงเทพส่วนใหญ่ ด้วยการสร้างเครือข่าย "คะแนนจัดตั้ง" เป็นพื้นฐานในทุกเขตของกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขตกรุงเทพฯชั้นใน ฝังรากลึกมายาวนานหลายสิบปี เป็นคะแนนเสียงเลือกตั้งขั้นต่ำที่จะต้องได้ทุกครั้ง ทำให้พรรคประชาธิปัตย์สามารถชนะเลือกตั้ง เข้ายึดกุมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระดับชาติ สภาเขต สภากรุงเทพฯ และเก้าอี้ผู้ว่าราชการได้อย่างเหนียวแน่นตลอดมา คนกรุงเทพฯที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง แต่ไม่นิยมพรรคประชาธิปัตย์ จึงเป็น "คะแนนเสียงข้างน้อย" ในกรุงเทพฯแทบทุกครั้ง วิธีการ "คะแนนจัดตั้ง" นี้จะใช้ไม่ได้ผลก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ที่กระตุ้นให้คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ เกิดความสนใจและหันมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งเฉพาะในครั้งนั้นๆ โดยมีจำนวนมากพอที่จะรวมกับ "คะแนนเสียงข้างน้อย" ในอดีตของกรุงเทพฯ แล้วเอาชนะ "คะแนนจัดตั้ง" ของพรรคประชาธิปัตย์ได้ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นเมื่อครั้งเลือกตั้งนายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งครั้งนี้ คะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์นอกจากจะมาจาก "คะแนนจัดตั้ง" เดิมของตนแล้ว ยังจะได้คะแนนเสียงจากคนกรุงเทพฯชั้นกลาง-คนรวยกลุ่มใหญ่ ซึ่งนิยมเผด็จการ บูชาพวกจารีตนิยม เกลียดชังพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลพรรคเพื่อไทยอีกด้วย คนพวกนี้ชอกช้ำอย่างหนักจากการพ่ายแพ้เลือกตั้งใหญ่ 3 กรกฎาคม 2554 และปลอบใจตนเองแต่เพียงว่า อย่างน้อยก็เหลือกรุงเทพฯเป็น "ป้อมปราการด่านสุดท้าย" ของพวกเขา สภาวะทางจิตวิทยาของคนพวกนี้เป็นเสมือนผู้ที่พ่ายศึกในสนามรบ ต้องถอยหนีมาติดอยู่ภายในค่ายหอรบของตน ถูกปิดล้อมไปด้วย "พวกโจร" ที่พร้อมจะเข้าตีและยึดค่าย โดยพวกเขาไม่เห็นหนทางที่จะแหวกวงล้อมออกมาทำศึกให้ชนะได้อีก จึงตกอยู่ในสภาพสิ้นหวังและท้อแท้ในที่ตั้งของตน จึงไม่น่าแปลกใจที่จะได้เห็นผู้มีชี่อเสียงหลายคน ออกมาแสดงความรู้สึกดังกล่าวออกมาอย่างชัดเจนในลักษณะอับจนหนทาง เช่น ประกาศให้พรรคเพื่อไทยและฝ่ายประชาธิปไตยเป็น "ข้าศึกศัตรู" ที่จะเข้ามายึดเมืองหลวงของพวกตน หรือให้ "กรุงเทพฯเป็นปราการด่านสุดท้าย" ต่อต้านทักษิณและพรรคเพื่อไทย หรือประกาศต่อต้านการเข้าตีเปลี่ยนกรุงเทพฯจากเมืองหลวงไปเป็น "เมืองขึ้น" เป็นต้น สำหรับคนพวกนี้แล้ว การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ไม่ใช่การเลือกตั้งท้องถิ่นเพื่อให้ได้ผู้บริหารที่มีความสามารถมาพัฒนากรุงเทพฯ แต่เป็นความต่อเนื่องของการต่อสู้ระหว่างพวกเขากับฝ่ายประชาธิปไตยที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นตัวแทน เป็นความต่อเนื่องของวิกฤตการเมืองในระดับชาติที่ยังไม่สิ้นสุด ดังนั้น แม้พวกเขาหลายคนจะมิได้นิยมในพรรคประชาธิปัตย์ แต่พวกเขาก็ยินดีทุ่มเทคะแนนเสียงของตนเป็น "คะแนนเกลียดชัง" ร่วมกับ "คะแนนจัดตั้ง" ของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อ "ต่อต้านการเข้าตีปราการด่านสุดท้าย" โดยฝ่ายประชาธิปไตย ผลของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ในครั้งนี้จึงขึ้นอยู่กับว่า คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ที่เฉื่อยชาทางการเมือง จะถูกกระตุ้นให้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยได้จำนวนมากพอที่จะเอาชนะ "คะแนนจัดตั้ง" บวก "คะแนนเกลียดชัง" ของพรรคประชาธิปัตย์ได้หรือไม่ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯในครั้งนี้จึงมีนัยและผลสะเทือนถึงการเมืองระดับชาติ และจะเป็นดัชนีชี้ถึงอนาคตของการต่อสู้ระหว่างฝ่ายจารีตนิยมกับฝ่ายประชาธิปไตย ว่าจะพัฒนาไปอย่างไรอีกด้วย ถ้าคนกรุงเทพฯ ส่วนที่เคยเฉื่อยชาทางการเมืองออกมาใช้สิทธิ์จำนวนมากและส่วนใหญ่ลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยจนชนะเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯได้ ก็จะเกิดผลสะเทือนทางการเมืองที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นการแสดงออกว่า พวกเขาเบื่อหน่ายที่จะอยู่ภายใต้ร่มเงา "คะแนนจัดตั้ง" ของพรรคประชาธิปัตย์และเครือข่ายอีกต่อไป และนี่จะเป็นการพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ครั้งสำคัญยิ่งของพรรคประชาธิปัตย์และพวกจารีตนิยม ไม่น้อยกว่าการแพ้เลือกตั้งระดับชาติปี 2554 อีกด้วย นัยต่อความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันคือ ฝ่ายประชาธิปไตยอาจได้รับชัยชนะในขั้นสุดท้ายในอนาคตอันใกล้เมื่อฝ่ายจารีตนิยมตกอยู่ในสถานะโดดเดี่ยวทางการเมืองมากยิ่งขึ้น แต่หากคนกรุงเทพฯเหล่านี้ยังคงเฉื่อยชาต่อไป และออกมาใช้สิทธิ์ไม่มากพอ จนทำให้ "คะแนนจัดตั้งบวกคะแนนเกลียดชัง" ชนะเลือกตั้งได้อีกครั้ง ก็นับเป็นความเพลี่ยงพร้ำที่สำคัญยิ่งของฝ่ายประชาธิปไตย จากความพยายามสร้างผลงานมาเกือบสองปีที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล ก็ยังไม่สามารถดึงเอาผู้คนที่เฉื่อยชาให้ออกมาสนับสนุนมากพอในครั้งนี้ได้ การต่อสู้ระหว่างฝ่ายเผด็จการกับฝ่ายประชาธิปไตยก็จะต้องยืดเยื้อต่อไปอีกนาน หมายเหตุ:ตีพิมพ์ครั้งแรกใน "โลกวันนี้วันสุข" ฉบับวันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ลาว-พม่าสร้างสะพานข้ามน้ำโขงแห่งแรก ขณะสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 เตรียมเปิดใช้ Posted: 28 Feb 2013 05:35 PM PST ทางการลาวกับพม่าเริ่มลงมือก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งแรกเพื่อเชื่อมต่อกันให้ได้ภายในปี 2015 ส่วนสะพานแห่งที่ 4 ระหว่างลาว-ไทย จะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายนศกนี้ พิธีวางศิลาฤกษ์เพื่อเริ่มลงมือก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งแรกระหว่างลาวและพม่า ไม่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อไม่นานมานี้ โดยมีท่านสมมาด พนเสนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่งของลาวเป็นประธานในพิธีร่วมกับท่าน จอ ลิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงก่อสร้างของพม่า พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งแรกระหว่างลาวกับพม่าดังกล่าวนี้ ตั้งอยู่ในเขตบ้านห้วยกุ่ม เมืองลอง แขวงหลวงน้ำทา ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับบ้านเซียงลาย เมืองท่าขี้เหล็ก เขตรัฐฉานของพม่า โดยสะพานจะมีความยาว 691.6 เมตร กว้าง 10.9 เมตร ซึ่งจะมีทางรถ 2 ช่องทางจราจร กว้าง 8.5 เมตร และทางเดิน 2 ฝั่ง ฝั่งละ 1.2 เมตร และสูง 12 เมตร สามารถรองรับรถบรรทุกสินค้าหนัก 75 ตัน และเรือขนส่งสินค้าที่มีขนาดระวาง 500 ตันล่องลอดใต้สะพานไปได้ กับทั้งยังสามารถทนทานต่อแผ่นดินไหวระดับ 7 ริกเตอร์ ได้อีกด้วย สะพานดังกล่าวนี้ จะใช้เงินทุนมูลค่ารวม 18 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นงบประมาณของรัฐบาลลาวกับพม่าฝ่ายละ 50% และดำเนินการก่อสร้างโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างสองประเทศ เพื่อให้แล้วเสร็จใน 30 เดือน ภายในวันที่ 15 สิงหาคม ปี 2015 อันเป็นกำหนดการที่ทางการทั้งสองฝ่ายจะทำพิธีเปิดใช้อย่างเป็นทางการ โดยสะพานดังกล่าวนี้จะเชื่อมต่อการคมนาคม-ขนส่ง ทางบกระหว่างทางหลวงหมายเลข 17E ของลาว กับทางหลวงหมายเลข 4 ของพม่า และยังถือเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการเชื่อมต่อคมนาคม-ขนส่งจากเขตภาคเหนือลงไปสู่ภาคใต้ในเขตลุ่มน้ำโขงอีกด้วย ในส่วนความคืบหน้าเกี่ยวกับการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ระหว่างลาวกับไทย ที่เชื่อมต่อจากเมืองห้วยทรายของลาว ไปยังอำเภอเชียงของในจังหวัดเชียงรายของไทยนั้น ก็จะแล้วเสร็จและทำพิธีเปิดใช้อย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายนศกนี้ เนื่องจากสะพานดังกล่าวจะเป็นการเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งระหว่างลาว จีน และไทย จึงทำให้เชื่อได้ว่าจะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขยายการค้าระหว่าง 3 ประเทศให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังที่ท่านเฉลิมพล พงษ์ฉบับนภา พาณิชย์จังหวัดเชียงรายของไทย ได้ให้การยืนยันว่า"ภายในเดือนมิถุนายนนี้ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ที่เชียงของ-ห้วยทราย ก็จะแล้วเสร็จเปิดทำการอย่างเป็นทางการได้ ทำให้การสัญจรไปมาสะดวกขึ้น และทำให้ผู้ประกอบการค้าสนใจขยายตัว เพิ่มมูลค่าการค้ามากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากตัวเลขการค้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ที่ถนนภายในลาวเชื่อมต่อกับจีนได้ ก็มีการค้าการลงทุนเพิ่มมากขึ้น" สะพานข้ามแม่น้ำโขงระหว่างลาว-ไทยแห่งที่ 4 ดังกล่าว ใช้งบประมาณการก่อสร้างรวมกว่า 40 ล้านดอลลาร์ โดยรัฐบาลไทยและจีนเป็นผู้ออกทุนฝ่ายละ 50% เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา โดยเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งจากแคว้นยูนนานของจีน ลงมาทางทางหลวงหมายเลข 3 ในแขวงหลวงน้ำทา มาประเทศไทย ตามแผนการเชื่อมต่อเหนือ-ใต้ ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง
แปล-เรียบเรียงจาก: http://lao.voanews.com
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น