ประชาไท | Prachatai3.info |
- ร่วมสุนทรียะสนทนากับผู้หญิงจากโลกมุสลิม (ตอนจบ)
- ร่วมสุนทรียะสนทนากับผู้หญิงจากโลกมุสลิม (ตอนจบ)
- ช้างป่าลาวข้ามมาไทย และปัญหาสัตว์ป่าสงวนทวีความรุนแรงในลาว
- ร่าง พ.ร.บ.ม.เกษตรฯ ผ่านสภาฯ วาระ 1 นศ.สวนเปรียบ 'ยุคเผด็จการ คมช.'
- ภาคภูมิ แสงกนกกุล: สิทธิการบริจาคเลือดของกลุ่มชายรักเพศเดียวกัน
- เรือมนุษย์ “โรฮิงญา” พวกเขาถูกจัดประเภทว่า “คนไร้รัฐ?”
- พระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ ความหวังและอนาคตของพระศาสนจักร?
- โดนทั่วหน้า กกต.กทม.รับคำร้องสอบ ‘นายกฯ -แกนนำ ปชป.’หาเสียงผู้ว่าฯ
- มีเดีย อินไซด์เอาท์ เสวนา "อวสานตอบโจทย์ ศึกนอกหรือศึกใน"
- ศาลสูงนิวยอร์กให้ 'สุภาพ เกิดแสง' ชนะคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ขายหนังสือมือสอง
- สังคมสยามตามทัศนะของปัญญาชนไทยหมายเลข 10
- ภาคประชาสังคมหนุน TPBS ฉาย ‘ตอบโจทย์’ เปิดพื้นที่ถกเถียงประเด็นสถาบันฯ
- 'จิตตนาถ'ขอบคุณ'ภิญโญ'ในไมตรีหวังจิบชา ยินดีได้เจอ-แต่ชาติบ้านเมืองจำเป็นต้องพูด
- ตอบโจทย์ เรื่อง 'ตอบโจทย์': ทีวีสาธารณะกับพื้นที่สาธารณะในสังคมไทย
ร่วมสุนทรียะสนทนากับผู้หญิงจากโลกมุสลิม (ตอนจบ) Posted: 20 Mar 2013 11:27 AM PDT "ถึงแม้ว่าเรามาจากประเทศที่ต่างกัน (ซาอุดิอาระเบีย, จอร์แดน และปาเลสไตน์) และถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่แต่งตัวเหมือนผู้หญิงมุสลิมคนอื่นๆ ที่เขาคลุมผมหรือปิดหน้า ถึงแม้ว่าจะมีนิกายที่แตกต่างกัน (ซุหนี่, ชีอะห์) แต่เรามีเป้าหมายร่วมเดียวกัน คือ ต้องการสิทธิให้ผู้หญิง (Women Rights) ต้องการให้ผู้หญิงมุสลิมมีการศึกษามากขึ้น เราทำเช่นนี้เพื่อหวังว่าคนในรุ่นอนาคตจะได้มีชีวิตที่ดีกว่าเดิม" Samar, Rana และ Wafa กล่าวเป็นเสียงเดียวกันในงาน สุนทรียะสนทนา ผู้นำหญิงจากอาหรับ ณ ประเทศออสเตรเลีย (Australian Arab Women Leaders' Dialogue) ณ National Press Club เคนเบอร่า ออสเตรเลีย วันพุธที่ 20 มีนาคม 2553 ประโยคดังกล่าว ทำให้ผู้เขียนนึกไปถึงว่า ผู้หญิงจากโลกอาหรับ นอกจากจะมีความสามารถในการก้าวข้ามความแตกต่างกันในกลุ่มมุสลิมด้วยกันเอง แล้วยังสามารถก้าวข้ามความเป็นพรมแดนของประเทศ นิกาย และความแตกต่างทางวัฒนธรรม อันนำไปสู่การสร้างจุดร่วมเพื่อชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้หญิงมุสลิมให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเธอมาจากโลกอาหรับ เป็นประเทศเปรียบเสมือนจุดศูนย์กลางของวัฒนธรรมอิสลามที่เผยแผ่ไปทั่วโลกไม่เว้นแต่ประเทศไทย งานสุนทรียะสนทนาในครั้งนี้ ยังได้เชิญท่านฑูตจากประเทศต่างๆ เช่น จอร์แดนและลิเบีย เข้าร่วมรับฟังด้วย ผู้ดำเนินรายการเล่าว่า จุดเริ่มต้นของสุนทรียะสนทนา มาจากผู้หญิงชาวออสเตรเลีย 2 คน มีความเชื่อว่า "การพูด" สามารถเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้
ภาพ: บรรยากาศ สุนทรียะสนทนา ณ National Press Club เคนเบอร่า ออสเตรเลีย วันพุธที่ 20 มีนาคม 2553
ผู้นำการสุนทรียะสนทนามี 3 คน คือ Ms Samar Fatany จากประเทศซาอุดิอาระเบีย Ms Rana Hussein จากประเทศจอร์แดน และ Ms Wafa' Abdel Rahman จากประเทศปาเลสไตน์ และมีนักข่าวจากสถานีโทรทัศน์ ABC ชื่อ Virginia Haussegger เป็นผู้ดำเนินรายการ
Ms Rana Hussein จากประเทศจอร์แดน
Rana เล่าว่า เมื่อเริ่มต้นที่เธอจับเรื่อง อาชญากรรมเพื่อศักดิ์ศรี (honour crimes: เป็นเรื่องของวัฒนธรรมที่เชื่อว่า ครอบครัวสามารถฆ่าผู้หญิงโดยอ้างว่าเพื่อรักษาศักดิ์ศรีของครอบครัวไม่ให้มัวหมอง) การขยับเรื่องนี้ในครั้งแรกๆ ไม่มีใครสักคนสนับสนุนเธอเลย แถมยังบอกด้วยว่า "เสียเวลา" แต่หลังจากที่ได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย ทำให้เรื่องที่เธอทำได้รับความสนใจจากสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะคนในระดับรัฐบาล ทั้งยังขยายผลนำไปสู่เรื่องอื่นๆ ได้แก่ การทำแท้ง การรักษาความบริสุทธิ์ของผู้หญิง การให้ผู้หญิงมีสิทธิในการตัดสินใจ แต่หนทางทุกย่างก้าวก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ มีอุปสรรคมากมายจากสิ่งที่เธอทำ เช่น การถูกซักถามในที่ประชุมด้วยคำหยาบคาย แต่สำหรับการร่วมประชุมสุนทรียะสนทนาในประเทศออสเตรเลียครั้งนี้ มีความแตกต่างกัน เธอรู้สึกอบอุ่นและได้รับเกียรติอย่างสูงในการนำเสนอสิ่งที่เธอทำ
Ms Samar Fatany จากประเทศซาอุดิอาระเบีย "สื่อมีบทบาทสำคัญสำหรับผู้หญิง ในการสร้างวาทกรรมให้กับสังคม" Samar กล่าว เธอยังเล่าอีกว่า กิจกรรมด้านการสื่อสารความหลากหลายทางวัฒนธรรมและนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับผู้หญิงในประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้ถูกแรงต้านจากสังคมที่ไม่สนับสนุนให้ผู้หญิงสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ ดังนั้นสื่อจึงเป็นทางเลือก ที่จะริเริ่มการหาจุดร่วม เพื่อสนับสนุนผู้หญิงในสังคมมุสลิม โดยการนำเสนอการตีความใหม่ๆ จากเดิมที่มองบทบาทของผู้หญิงว่า "ไม่เป็นอิสลาม" ได้แก่ การไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขับรถ ทำงาน หรือมีตำแหน่งทางการเมือง ชุดความคิดในลักษณะเช่นนี้ ล้วนแล้วแต่สร้างข้อจำกัดให้ผู้หญิง ดังนั้น โครงการที่สนับสนุนผู้หญิงที่เธอกำลังดำเนินการ ณ ปัจจุบันนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จมาก โดยเฉพาะโครงการให้ทุนการศึกษา เพื่อการสนับสนุนและสร้างการตระหนักเกี่ยวกับสิทธิผู้หญิง โดยทุนดังกล่าว ได้ทำให้ผู้หญิงมุสลิมจากประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้เดินทางศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศแล้ว กว่า 13,000 คน!! หลายคนตอนนี้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำ และยังได้สานต่อกิจกรรมเกี่ยวกับผู้หญิงผ่านทางสื่อในโลกออนไลน์และสื่อโทรทัศน์ เพื่อสนับสนุนผู้หญิงด้วยกัน และที่สำคัญ พวกเธอกลับมาสมัครงาน หางานทำ กลายเป็นผู้หญิงทำงาน! ประเด็นต่อมาของสุนทรียะสนทนาคือ ผู้หญิงอาหรับตอบสนองอย่างไรในยุคของโลกาภิวัตน์? พวกเธอกล่าวว่า โลกาภิวัตน์ โลกแห่งการติดต่อสื่อสาร เป็นตัวช่วยให้ผู้หญิงเห็นโลกที่แตกต่างจากตัวเอง เห็นผู้หญิงด้วยกันมีความเข้มแข็งและมีการเคลื่อนไหวเหมือนพวกเธอ ทำให้เธอรู้ว่า สิ่งที่กำลังทำอยู่ ไปถูกทิศทาง และต้องมีการขับเคลื่อนต่อไป อีกทั้งยังสามารถนำเสนอ "เสียง" ไม่จำกัดอยู่แค่การประท้วงเพื่อสิทธิสตรีบนท้องถนนเท่านั้น แต่ยังสามารถนำเสนอผ่าน facebook ได้อีกด้วย
Ms Wafa' Abdel Rahman จากประเทศปาเลสไตน์
Wafa กล่าวว่า กิจกรรมที่เธอทำที่ปาเลสไตน์โดยเฉพาะด้านสื่อ ยังเปิดพื้นที่ให้กับเยาวชนและผู้หญิง ถ้านับเฉพาะ facebook อย่างเดียวก็มีผู้ติดตามไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน แต่การก้าวเข้าสู่โลกโลกาภิวัตน์ของผู้หญิงก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เธอยังถูกคุกคามอยู่ Rana กล่าวว่า โดยเฉพาะกลุ่มอิสลามบางกลุ่มที่ต่อต้านประเด็น "สิทธิของผู้หญิง" ประเด็นที่ถูกนำเสนอโดยผู้หญิง ดังนั้น โลกแห่งการสื่อสารจึงช่วยให้ผู้หญิงสามารถนำเสนอความเป็นตัวของตัวเอง รวมทั้งความคิดเห็นของผู้หญิงว่า ผู้หญิงต้องการอะไร? ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ การเริ่มต้นสนทนา ต้องมีการปฏิบัติการบางอย่าง และการเริ่มต้นว่า ผู้หญิงทำอะไรได้บ้าง? นำไปสู่การสร้างความตระหนักของสังคมเกี่ยวกับผู้หญิง การพิสูจน์ตัวเอง และสร้างความเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ
ผู้หญิงมุสลิมกับกระบวนการความเป็นทันสมัย (Modernization) ที่ไม่ใช่ กระบวนการทำให้เป็นตะวันตก (Westernization) [Modernization ≠ Westernization] "เราเป็นมุสลิมสายกลาง" Samar กล่าว และเราต้องการสร้างพื้นที่สุทรียะสนทนาจากวัฒนธรรมต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันแต่ตระหนักสิ่งเดียวกันด้วยศาสนาอิสลาม เราได้ยกระดับประเด็นทางด้านวัฒนธรรมขึ้นมา นักเรียนของเราหลายคนได้มีโอกาสไปเรียนต่อ ณ ต่างประเทศ และมีตำแหน่งหน้าที่การงานในสังคม เราได้พยายามเปลี่ยนแปลงอย่างระมัดระวัง เราเชื่อว่ากระบวนการก้าวไปสู่ความเป็นทันสมัยของเราไม่ใช่การทำให้เป็นตะวันตก ผู้หญิงในโลกอาหรับ ยังต้องเผชิญกับสิทธิสตรีอีกหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็น การไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขับรถ จัดตั้งบริษัท หรือลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง Wafa เสริมประเด็นว่า ในทางทฤษฎีสตรีนิยม (Feminist) นั้นอาจจะไม่สำคัญเท่ากับ สิ่งที่เรากำลังปฏิบัติอยู่ในแง่ของวิถีชีวิตจริงๆ และทฤษฎีสตรีนิยมก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่ก็เป็นแนวทางที่เราใช้ในการมองโลก เรามองโลกอย่างครอบคลุมรอบด้านที่แตกต่างจากภาพหรือโลกของผู้ชาย เรามองทุกอย่างเป็นประเด็นของผู้หญิง และนั้นคือ ประเด็นด้านการเมือง ผู้ชายอาจจะไม่ค่อยทะเลาะกันเท่าไหร่ เพราะโลกทางการเมืองมีพื้นที่ มีเก้าอี้ให้นั่งมากมาย บางทีกว่า 100 ที่นั่งสำหรับผู้ชาย แต่ผู้หญิงต้องคิดเยอะกว่า เพราะพื้นที่เหล่านั้นอาจมีเพียง 1 ที่นั่ง เพื่อนำเสนอเรื่องราวของผู้หญิง ถึงแม้ว่าการแต่งตัวของเราจะเหมือนตะวันตก เช่น การแต่งตัวที่มีการใส่สูท แต่การที่ผู้หญิงมุสลิมอีกหลายๆ คน อาจจะสวมฮิญาบ มีผ้าปิดหน้า ก็มีวิธีคิดไม่ได้แตกต่างจากเรา เรามีเป้าหมายเดียวกัน คือ การสร้างพื้นที่ให้ผู้หญิงมีสิทธิมากขึ้น มีการศึกษาสูงขึ้นเพื่อคนรุ่นต่อไป การกลายเป็นตะวันตก ถือว่าเป็นภาพเหมารวม (stereotype) ที่มองไม่เห็นความแตกต่างหลากหลายของผู้หญิงมุสลิม ว่าต่างก็มีวัฒนธรรมไม่เหมือนกัน และมาจากบริบทที่แตกต่างกัน Rana เสริมว่า ถึงแม้ว่าตัวฉันเองจะไม่ชอบการแต่งตัว (แบบมีผ้าคลุมผม) แต่ฉันก็ภูมิใจในความเป็นมุสลิมของฉัน มันก็เป็นความเหมือนในความต่าง แต่การถูกถามว่า เป็นตะวันตกหรือไม่นั้น บางทีฉันก็รู้สึกว่า เราถูกมองด้วยอคติจากโลกตะวันตก จากสื่อสิ่งพิมพ์ตะวันตก โดยเฉพาะภาพที่มักถูกนำเสนอว่า โลกอาหรับมีแต่น้ำมันกับการพนัน และผู้หญิงมักจะทนทุกข์ทรมานจากการถูกผู้ชายกดขี่ ผู้หญิงถูกตีตราไปแล้วว่าต้องเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ แต่สิ่งเหล่านี้ ไม่จริงเอาเสียเลย และเราผู้หญิง ได้รับผลกระทบจากภาพที่ถูกสร้างจากโลกตะวันตก ผู้ชายอาหรับมีภาพของการกลายเป็นนักฆ่า เป็นพวกคนป่าเถื่อน โดยภาพดังกล่าวมีมากในช่วงสงครามอิรักจวบจนถึงปัจจุบัน ในช่วงสุดท้าย Rana พูดถึงการให้การศึกษากับผู้หญิงมุสลิมเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการสร้างให้ผู้หญิงมีวิธีคิดแบบวิพาษ์วิจารณ์ ส่วน Samar เสริมว่า ในประเทศของเราถึงแม้เป็นมุสลิมที่แตกต่างนิกาย ได้แก่ สุหนี่และชีอะห์ แต่ทั้งสองนิกายก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ ไม่มีปัญหาความขัดแย้งด้านการเมือง ทั้งยังสามารถแต่งงานกันได้ และที่สำคัญเราต้องทำงานกับผู้ชายที่อยู่ข้างเรา มาเป็นพวกของเรา โดยเราจะต้องพิสูจน์ตัวเองไปพร้อมกัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ร่วมสุนทรียะสนทนากับผู้หญิงจากโลกมุสลิม (ตอนจบ) Posted: 20 Mar 2013 11:26 AM PDT "ถึงแม้ว่าเรามาจากประเทศที่ต่างกัน (ซาอุดิอาระเบีย, จอร์แดน และปาเลสไตน์) และถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่แต่งตัวเหมือนผู้หญิงมุสลิมคนอื่นๆ ที่เขาคลุมผมหรือปิดหน้า ถึงแม้ว่าจะมีนิกายที่แตกต่างกัน (ซุหนี่, ชีอะห์) แต่เรามีเป้าหมายร่วมเดียวกัน คือ ต้องการสิทธิให้ผู้หญิง (Women Rights) ต้องการให้ผู้หญิงมุสลิมมีการศึกษามากขึ้น เราทำเช่นนี้เพื่อหวังว่าคนในรุ่นอนาคตจะได้มีชีวิตที่ดีกว่าเดิม" Samar, Rana และ Wafa กล่าวเป็นเสียงเดียวกันในงาน สุนทรียะสนทนา ผู้นำหญิงจากอาหรับ ณ ประเทศออสเตรเลีย (Australian Arab Women Leaders' Dialogue) ณ National Press Club เคนเบอร่า ออสเตรเลีย วันพุธที่ 20 มีนาคม 2553 ประโยคดังกล่าว ทำให้ผู้เขียนนึกไปถึงว่า ผู้หญิงจากโลกอาหรับ นอกจากจะมีความสามารถในการก้าวข้ามความแตกต่างกันในกลุ่มมุสลิมด้วยกันเอง แล้วยังสามารถก้าวข้ามความเป็นพรมแดนของประเทศ นิกาย และความแตกต่างทางวัฒนธรรม อันนำไปสู่การสร้างจุดร่วมเพื่อชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้หญิงมุสลิมให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเธอมาจากโลกอาหรับ เป็นประเทศเปรียบเสมือนจุดศูนย์กลางของวัฒนธรรมอิสลามที่เผยแผ่ไปทั่วโลกไม่เว้นแต่ประเทศไทย งานสุนทรียะสนทนาในครั้งนี้ ยังได้เชิญท่านฑูตจากประเทศต่างๆ เช่น จอร์แดนและลิเบีย เข้าร่วมรับฟังด้วย ผู้ดำเนินรายการเล่าว่า จุดเริ่มต้นของสุนทรียะสนทนา มาจากผู้หญิงชาวออสเตรเลีย 2 คน มีความเชื่อว่า "การพูด" สามารถเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้
ภาพ: บรรยากาศ สุนทรียะสนทนา ณ National Press Club เคนเบอร่า ออสเตรเลีย วันพุธที่ 20 มีนาคม 2553
ผู้นำการสุนทรียะสนทนามี 3 คน คือ Ms Samar Fatany จากประเทศซาอุดิอาระเบีย Ms Rana Hussein จากประเทศจอร์แดน และ Ms Wafa' Abdel Rahman จากประเทศปาเลสไตน์ และมีนักข่าวจากสถานีโทรทัศน์ ABC ชื่อ Virginia Haussegger เป็นผู้ดำเนินรายการ
Ms Rana Hussein จากประเทศจอร์แดน
Rana เล่าว่า เมื่อเริ่มต้นที่เธอจับเรื่อง อาชญากรรมเพื่อศักดิ์ศรี (honour crimes: เป็นเรื่องของวัฒนธรรมที่เชื่อว่า ครอบครัวสามารถฆ่าผู้หญิงโดยอ้างว่าเพื่อรักษาศักดิ์ศรีของครอบครัวไม่ให้มัวหมอง) การขยับเรื่องนี้ในครั้งแรกๆ ไม่มีใครสักคนสนับสนุนเธอเลย แถมยังบอกด้วยว่า "เสียเวลา" แต่หลังจากที่ได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย ทำให้เรื่องที่เธอทำได้รับความสนใจจากสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะคนในระดับรัฐบาล ทั้งยังขยายผลนำไปสู่เรื่องอื่นๆ ได้แก่ การทำแท้ง การรักษาความบริสุทธิ์ของผู้หญิง การให้ผู้หญิงมีสิทธิในการตัดสินใจ แต่หนทางทุกย่างก้าวก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ มีอุปสรรคมากมายจากสิ่งที่เธอทำ เช่น การถูกซักถามในที่ประชุมด้วยคำหยาบคาย แต่สำหรับการร่วมประชุมสุนทรียะสนทนาในประเทศออสเตรเลียครั้งนี้ มีความแตกต่างกัน เธอรู้สึกอบอุ่นและได้รับเกียรติอย่างสูงในการนำเสนอสิ่งที่เธอทำ
Ms Samar Fatany จากประเทศซาอุดิอาระเบีย "สื่อมีบทบาทสำคัญสำหรับผู้หญิง ในการสร้างวาทกรรมให้กับสังคม" Samar กล่าว เธอยังเล่าอีกว่า กิจกรรมด้านการสื่อสารความหลากหลายทางวัฒนธรรมและนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับผู้หญิงในประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้ถูกแรงต้านจากสังคมที่ไม่สนับสนุนให้ผู้หญิงสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ ดังนั้นสื่อจึงเป็นทางเลือก ที่จะริเริ่มการหาจุดร่วม เพื่อสนับสนุนผู้หญิงในสังคมมุสลิม โดยการนำเสนอการตีความใหม่ๆ จากเดิมที่มองบทบาทของผู้หญิงว่า "ไม่เป็นอิสลาม" ได้แก่ การไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขับรถ ทำงาน หรือมีตำแหน่งทางการเมือง ชุดความคิดในลักษณะเช่นนี้ ล้วนแล้วแต่สร้างข้อจำกัดให้ผู้หญิง ดังนั้น โครงการที่สนับสนุนผู้หญิงที่เธอกำลังดำเนินการ ณ ปัจจุบันนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จมาก โดยเฉพาะโครงการให้ทุนการศึกษา เพื่อการสนับสนุนและสร้างการตระหนักเกี่ยวกับสิทธิผู้หญิง โดยทุนดังกล่าว ได้ทำให้ผู้หญิงมุสลิมจากประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้เดินทางศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศแล้ว กว่า 13,000 คน!! หลายคนตอนนี้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำ และยังได้สานต่อกิจกรรมเกี่ยวกับผู้หญิงผ่านทางสื่อในโลกออนไลน์และสื่อโทรทัศน์ เพื่อสนับสนุนผู้หญิงด้วยกัน และที่สำคัญ พวกเธอกลับมาสมัครงาน หางานทำ กลายเป็นผู้หญิงทำงาน! ประเด็นต่อมาของสุนทรียะสนทนาคือ ผู้หญิงอาหรับตอบสนองอย่างไรในยุคของโลกาภิวัตน์? พวกเธอกล่าวว่า โลกาภิวัตน์ โลกแห่งการติดต่อสื่อสาร เป็นตัวช่วยให้ผู้หญิงเห็นโลกที่แตกต่างจากตัวเอง เห็นผู้หญิงด้วยกันมีความเข้มแข็งและมีการเคลื่อนไหวเหมือนพวกเธอ ทำให้เธอรู้ว่า สิ่งที่กำลังทำอยู่ ไปถูกทิศทาง และต้องมีการขับเคลื่อนต่อไป อีกทั้งยังสามารถนำเสนอ "เสียง" ไม่จำกัดอยู่แค่การประท้วงเพื่อสิทธิสตรีบนท้องถนนเท่านั้น แต่ยังสามารถนำเสนอผ่าน facebook ได้อีกด้วย
Ms Wafa' Abdel Rahman จากประเทศปาเลสไตน์
Wafa กล่าวว่า กิจกรรมที่เธอทำที่ปาเลสไตน์โดยเฉพาะด้านสื่อ ยังเปิดพื้นที่ให้กับเยาวชนและผู้หญิง ถ้านับเฉพาะ facebook อย่างเดียวก็มีผู้ติดตามไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน แต่การก้าวเข้าสู่โลกโลกาภิวัตน์ของผู้หญิงก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เธอยังถูกคุกคามอยู่ Rana กล่าวว่า โดยเฉพาะกลุ่มอิสลามบางกลุ่มที่ต่อต้านประเด็น "สิทธิของผู้หญิง" ประเด็นที่ถูกนำเสนอโดยผู้หญิง ดังนั้น โลกแห่งการสื่อสารจึงช่วยให้ผู้หญิงสามารถนำเสนอความเป็นตัวของตัวเอง รวมทั้งความคิดเห็นของผู้หญิงว่า ผู้หญิงต้องการอะไร? ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ การเริ่มต้นสนทนา ต้องมีการปฏิบัติการบางอย่าง และการเริ่มต้นว่า ผู้หญิงทำอะไรได้บ้าง? นำไปสู่การสร้างความตระหนักของสังคมเกี่ยวกับผู้หญิง การพิสูจน์ตัวเอง และสร้างความเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ
ผู้หญิงมุสลิมกับกระบวนการความเป็นทันสมัย (Modernization) ที่ไม่ใช่ กระบวนการทำให้เป็นตะวันตก (Westernization) [Modernization ≠ Westernization] "เราเป็นมุสลิมสายกลาง" Samar กล่าว และเราต้องการสร้างพื้นที่สุทรียะสนทนาจากวัฒนธรรมต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันแต่ตระหนักสิ่งเดียวกันด้วยศาสนาอิสลาม เราได้ยกระดับประเด็นทางด้านวัฒนธรรมขึ้นมา นักเรียนของเราหลายคนได้มีโอกาสไปเรียนต่อ ณ ต่างประเทศ และมีตำแหน่งหน้าที่การงานในสังคม เราได้พยายามเปลี่ยนแปลงอย่างระมัดระวัง เราเชื่อว่ากระบวนการก้าวไปสู่ความเป็นทันสมัยของเราไม่ใช่การทำให้เป็นตะวันตก ผู้หญิงในโลกอาหรับ ยังต้องเผชิญกับสิทธิสตรีอีกหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็น การไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขับรถ จัดตั้งบริษัท หรือลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง Wafa เสริมประเด็นว่า ในทางทฤษฎีสตรีนิยม (Feminist) นั้นอาจจะไม่สำคัญเท่ากับ สิ่งที่เรากำลังปฏิบัติอยู่ในแง่ของวิถีชีวิตจริงๆ และทฤษฎีสตรีนิยมก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่ก็เป็นแนวทางที่เราใช้ในการมองโลก เรามองโลกอย่างครอบคลุมรอบด้านที่แตกต่างจากภาพหรือโลกของผู้ชาย เรามองทุกอย่างเป็นประเด็นของผู้หญิง และนั้นคือ ประเด็นด้านการเมือง ผู้ชายอาจจะไม่ค่อยทะเลาะกันเท่าไหร่ เพราะโลกทางการเมืองมีพื้นที่ มีเก้าอี้ให้นั่งมากมาย บางทีกว่า 100 ที่นั่งสำหรับผู้ชาย แต่ผู้หญิงต้องคิดเยอะกว่า เพราะพื้นที่เหล่านั้นอาจมีเพียง 1 ที่นั่ง เพื่อนำเสนอเรื่องราวของผู้หญิง ถึงแม้ว่าการแต่งตัวของเราจะเหมือนตะวันตก เช่น การแต่งตัวที่มีการใส่สูท แต่การที่ผู้หญิงมุสลิมอีกหลายๆ คน อาจจะสวมฮิญาบ มีผ้าปิดหน้า ก็มีวิธีคิดไม่ได้แตกต่างจากเรา เรามีเป้าหมายเดียวกัน คือ การสร้างพื้นที่ให้ผู้หญิงมีสิทธิมากขึ้น มีการศึกษาสูงขึ้นเพื่อคนรุ่นต่อไป การกลายเป็นตะวันตก ถือว่าเป็นภาพเหมารวม (stereotype) ที่มองไม่เห็นความแตกต่างหลากหลายของผู้หญิงมุสลิม ว่าต่างก็มีวัฒนธรรมไม่เหมือนกัน และมาจากบริบทที่แตกต่างกัน Rana เสริมว่า ถึงแม้ว่าตัวฉันเองจะไม่ชอบการแต่งตัว (แบบมีผ้าคลุมผม) แต่ฉันก็ภูมิใจในความเป็นมุสลิมของฉัน มันก็เป็นความเหมือนในความต่าง แต่การถูกถามว่า เป็นตะวันตกหรือไม่นั้น บางทีฉันก็รู้สึกว่า เราถูกมองด้วยอคติจากโลกตะวันตก จากสื่อสิ่งพิมพ์ตะวันตก โดยเฉพาะภาพที่มักถูกนำเสนอว่า โลกอาหรับมีแต่น้ำมันกับการพนัน และผู้หญิงมักจะทนทุกข์ทรมานจากการถูกผู้ชายกดขี่ ผู้หญิงถูกตีตราไปแล้วว่าต้องเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ แต่สิ่งเหล่านี้ ไม่จริงเอาเสียเลย และเราผู้หญิง ได้รับผลกระทบจากภาพที่ถูกสร้างจากโลกตะวันตก ผู้ชายอาหรับมีภาพของการกลายเป็นนักฆ่า เป็นพวกคนป่าเถื่อน โดยภาพดังกล่าวมีมากในช่วงสงครามอิรักจวบจนถึงปัจจุบัน ในช่วงสุดท้าย Rana พูดถึงการให้การศึกษากับผู้หญิงมุสลิมเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการสร้างให้ผู้หญิงมีวิธีคิดแบบวิพาษ์วิจารณ์ ส่วน Samar เสริมว่า ในประเทศของเราถึงแม้เป็นมุสลิมที่แตกต่างนิกาย ได้แก่ สุหนี่และชีอะห์ แต่ทั้งสองนิกายก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ ไม่มีปัญหาความขัดแย้งด้านการเมือง ทั้งยังสามารถแต่งงานกันได้ และที่สำคัญเราต้องทำงานกับผู้ชายที่อยู่ข้างเรา มาเป็นพวกของเรา โดยเราจะต้องพิสูจน์ตัวเองไปพร้อมกัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ช้างป่าลาวข้ามมาไทย และปัญหาสัตว์ป่าสงวนทวีความรุนแรงในลาว Posted: 20 Mar 2013 10:58 AM PDT ช้างป่าจำนวน 3-4 เชือก ได้พากันอพยพข้ามลำน้ำโขงจากฝั่งลาวไปยังฝั่งไทย โดยเชื่อว่ามีสาเหตุสำคัญมาจากการลักลอบสัตว์ป่าเพื่อการค้าอย่างผิดกฎหมายในลาวที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เจ้าหน้าที่ชั้นสูงในจังหวัดนครพนมของไทย ให้การยืนยันว่า ช้างป่าจำนวนอย่างน้อย 3 ตัว ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงจากแขวงบอลิคำไซของลาว เข้าไปยังเขตอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย นับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคมเป็นต้นมาแล้ว และในขณะนี้ช้างป่าจำนวนดังกล่าวก็ได้เข้าไปอยู่ในเขตวนอุทยานภูลังกา ซึ่งเป็นเขตอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดนครพนมกับจังหวัดบึงกาฬ สาเหตุที่ทำให้ช้างป่าจำนวนดังกล่าวนี้อพยพข้ามแม่น้ำโขงจากฝั่งลาวไปหาไทยนั้น ก็ยังไม่ชัดแจ้งว่าเป็นสาเหตุใดแน่นอน หากแต่เจ้าหน้าที่ชั้นสูงในจังหวัดนครพนมของไทยเชื่อว่า เกิดขึ้นเรื่องจากช้างป่าถูกล่าอยู่ในลาว ดังที่ได้ให้ปากคำว่า "เจ้าหน้าที่อุทยานก็ได้เฝ้าระวังจับตา ก่อนที่ช้างโขลงดังกล่าวจะเดินทางต่อไปทางอำเภอบึงโขงหลง และต่อไปทางอำเภอบุ่งคล้า ตามที่ได้ข่าวว่ามีคนไล่ล่าช้างกลุ่มดังกล่าวอยู่ ช้างจึงหนีข้ามแม่น้ำมาฝั่งไทย แต่ความจริงนั้นก็ยังไม่แน่ชัดเนื่องจากเป็นเพียงคำเล่าลือกันไปมาเท่านั้น" ทางด้านเจ้าหน้าที่วนอุทยานแห่งชาติภูลังกาของไทย ยังเปิดเผยว่า ช้างตัวที่ใหญ่ที่สุดเป็นช้างพลายเพศผู้ สูงถึงสามเมตร และหนักกว่าสามตัน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า งวงของช้างดังกล่าวนี้มีบาดแผลคล้ายกับรอยลูกปืน จึงมีความเป็นไปได้ว่า ช้างป่าเหล่านี้ได้พากันอพยพข้ามแม่น้ำโขงจากฝั่งลาวมายังไทยเพราะถูกกลุ่มพรานล่าสัตว์ป่าในลาวนั่นเอง ก่อนหน้านี้ องค์การอนุรักษ์ช้างเอเชีย (Elefant Asia) รายงานว่าจำนวนประชากรช้างในลาวยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยการเก็บข้อมูลครั้งล่าสุด ประเมินได้ว่า ในปัจจุบันยังมีประชากรช้างบ้านที่เหลืออยู่ในลาวไม่เกิน 470 ตัวเท่านั้น ส่วนประชากรช้างป่าก็เชื่อว่าเหลือน้อยกว่าช้างบ้านอย่างแน่นอน เนื่องจากช้างป่ายังต้องเผชิญกับการถูกล่าโดยกลุ่มลักลอบค้าสัตว์ป่าอยู่ตลอด ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อประกอบกับปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าอย่างหนักหน่วงทั่วประเทศลาว ทำให้ถิ่นที่อยู่และแหล่งอาหารของช้างป่าถูกทำลาย ซึ่งก็ได้ส่งผลต่อระบบนิเวศและการผสมพันธุ์ของสัตว์ป่าอีกด้วย ถ้าหากว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ก็เชื่อได้ว่าช้างป่าในลาวจะสูญพันธุ์ไปภายใน 50 ปีนี้อย่างแน่นอน ทางด้านองค์การคุ้มครองสัตว์ป่า (WCS) ที่ให้การช่วยเหลือรัฐบาลลาวในการอนุรักษ์เสือโคร่งในเขตป่าสงวนแห่งชาติน้ำแอด-พูเลียในภาคเหนือของลาวนั้น ก็รายงานว่า ปัจจุบันมีประชากรเสือโคร่งในเขตป่าสงวนดังกล่าวเหลือเพียงไม่เกิน 30 ตัว และยังมีแนวโน้มว่าจะลดจำนวนลงเรื่อยๆ เนื่องจากการลักลอบล่าเสือโคร่งในลาวเพื่อส่งออกไปต่างประเทศยังดำรงอยู่เรื่อยมา โดยถึงแม้ว่า WCS จะร่วมมือกับทางการลาดตระเวนในเขตป่าสงวนแห่งชาติน้ำแอด-พูเลีย ตั้งแต่ปี 2010 มาแล้วก็ตาม หากแต่ก็ยังไม่สามารถทำได้ทั่วถึง และปัญหานี้ก็เกิดกับกับเขตป่าสงวนแห่งชาติทุกแห่งอีกด้วย นอกจากปัญหาประชากรช้าง เสือ และสัตว์ป่าอื่นลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่องแล้ว ก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับประชากรปลาบึกในแม่น้ำโขงที่ลดลงเช่นเดียวกัน ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ทำให้ทางสหรัฐอเมริกา นำโดยท่านคาเรน บี. สจ๊วต เอกอัครรัฐทูตสหรัฐอเมริกาประจำสปป.ลาว ได้ส่งมอบอุปกรณ์ติดตั้งสัญญาณติดตามการเคลื่อนไหวของปลาบึกในแม่น้ำโขง ทั้งนี้เนื่องจากประชากรปลาบึกได้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
แปล-เรียบเรียงจาก http://lao.voanews.com/lao-elephants-across-mekong-river-to-thailands-northeastern-provinces/ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ร่าง พ.ร.บ.ม.เกษตรฯ ผ่านสภาฯ วาระ 1 นศ.สวนเปรียบ 'ยุคเผด็จการ คมช.' Posted: 20 Mar 2013 10:21 AM PDT สภาผู้แทนราษฎรรับร่าง พรบ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วาระ 1 ตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา แปรญัตติในเวลา 7 วัน นศ.ค้าน ม.นอกระบบ ผิดหวัง สภาฯ จากการเลือกตั้ง แต่ทำเหมือนยุคเผด็จการ คมช. ไม่ฟังเสียงของนิสิตนักศึกษาที่คัดค้าน เตรียมยกระดับการเคลื่อนไหว วันนี้(20 มี.ค.56) ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้ลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. .... วาระที่ 1 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 386 คน ที่เห็นด้วยรับร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีเพียง 1 คน ที่ไม่เห็นด้วย มีผู้ไม่ลงคะแนนเสียง 1 คน โดยมีสมาชิกฯ เข้าประชุม 388 คน หลังจากนั้นสภาได้แต่งตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว 31 คน เพื่อแปรญัตติในเวลา 7 วัน โดยมีสัดส่วน ประกอบด้วยตัวแทนรัฐบาล 5 คน ซึ่งมีรองอธิการบดี ม.เกษตรศาสตร์ รวมอยู่ด้วย จากพรรคเพื่อไทย 14 คน พรรคประชาธิปัตย์ 8 คน พรรคภูมิใจไทย 2 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน และพรรคชาติพัฒนาพลังชล 1 คน นศ.ค้าน ม.นอกระบบ ผิดหวัง สภาฯ จากการเลือกตั้ง แต่ทำเหมือนยุคเผด็จการ คมช. ด้านนายนิพิฐพนธ์ คำยศ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และแกนนำแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้าน ม.นอกระบบ กล่าวหลังทราบมติดังกล่าวว่า รู้สึกผิดหวังกับ ทั้งรัฐบาล และฝ่ายค้าน ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่กลับทำเหมือนยุคเผด็จการ คมช. ที่นำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ โดยไม่ฟังเสียงของนิสิตนักศึกษาที่คัดค้าน กลุ่มแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้าน ม.นอกระบบ เคยยื่นหนังสือหลายครั้งต่อท่านนายกรัฐมนตรี ให้ชะลอการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบก่อน และให้ทบทวน เป็นคนกลางจัดเวทีระดมความคิดจากหลายๆฝ่ายหาข้อสรุปเรื่องนี้ แต่ก็กลับเพิกเฉย หรือแม้แต่ทางกลุ่มก็เคยเข้าไปพบ ท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาเพื่อหารือเรื่องนี้ท่านรัฐมนตรีเองก็รับทราบถึงปัญหากระบวนการให้ข้อมูลของมหาวิทยาลัยที่ไม่จริงใจและไม่เป็นธรรม นายนิพิฐพนธ์ กล่าวด้วยว่า ฝ่ายค้านที่พูดอภิปรายว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้ มีปัญหา ให้อำนาจผู้บริหารมากเกินไป ควรกลับไปทบทวน สุดท้ายผลออกมา เห็นด้วยเกือบทั้งหมดทั้งสองฝ่าย แสดงให้เห็นกระบวนการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแย่ทั้งกระบวนการตั้งแต่ในสภามหาวิทยาลัยจนมาถึงสภาระดับประเทศ ไม่ได้ดีไปกว่ายุคเผด็จการ คมช. เลย สำหรับการเคลื่อนไหวต่อไป แกนนำแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้าน ม.นอกระบบ เปิดเผยว่า ในวันที่ 21 มี.ค. นี้ ทางกลุ่มจะมีเวทีสรุปถอดบทเรียนการเคลื่อนไหว เพื่อวางแผนกำหนดทิศทางที่ชัดเจนและงานเคลื่อนไหว ให้ยกระดับมากขึ้น นิพิฐพนธ์ คำยศ ขณะยื่นหนังสือประท้วงสภาฯ เมื่อวันที่ 13 ที่ผ่านมา ร่างระบุสาระสำคัญ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง, อิสระคล่องตัวและความเป็นเลิศทางวิชาการ สำหรับการลงมติในวันนี้ของสภาฯ นั้น เป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24 ปีที่ 2 ครั้งที่ 22 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เมื่อ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยในวันนั้น จากสรุปผลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยสุพัตรา พรหมศร สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา ระบุว่า ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว โดย มีสาระสำคัญในตัวร่างเพื่อปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบกับแนวนโยบายของรัฐบาลได้มีการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยของรัฐพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับของรัฐ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการที่เป็นอิสระและมีความคล่องตัวสามารถจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะต้องคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการ จึงมีการปรับปรุงร่าง กฎหมายให้เป็นตามแนวทางนี้ ร่างฯนี้สมาชิกได้อภิปรายทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในการออกนอกระบบของครั้งนี้ของมหาวิทยาลัย โดยมีความกังวลในหลายประการอาทิ ประเด็นการกำหนดค่าหน่วยกิต การหารายได้เข้ามหาวิทยาลัยในแนวทางที่เหมาะสม คุณธรรม จริยธรรมของผู้บริหารองค์กรในการดูแลบุคลากร ด้านคุณภาพทางวิชาการให้ สอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัตน์กับความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัย หลังการอภิปรายนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ตอบต่อข้อสังเกตในการอภิปรายของสมาชิกฯว่า ตามที่สมาชิกฯได้อภิปรายในความเป็นห่วงด้านบุคลากรของมหาวิทยาลัยว่าจะถูกลดหย่อนค่าตอบแทนหรือไม่ตรงนี้ในบทเฉพาะกาลในตัวร่างนี้ได้กำหนดไว้แล้วว่า ในกรณีไม่ต้องการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือออกนอกระบบก็ให้ได้รับค่าตอบแทนเหมือนเดิมของรัฐ แต่ถ้าอยากเปลี่ยนสถานะเป็นพนักงานของรัฐหรือออกนอกระบบก็ให้ได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการไม่น้อยกว่าเงินเดือนก่อนที่จะออกนอกระบบ สำหรับประเด็นการประกันคุณภาพและการประเมินนั้นทำไมไม่ดูมหาวิทยาลัยอื่นที่ออกนอกระบบแล้ว ส่วนนี้ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็มีแบบประเมินของมหาวิทยาลัยตามร่างนี้แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถปรับได้ในคณะกรรมาธิการที่จะตั้งขึ้นภายหลังร่างฯรับหลักการในวาระที่ 1 ด้านคุณภาพการศึกษาถ้าออกนอกระบบก็จะดีขึ้น ด้านการจัดการศึกษารัฐสามารถสนับสนุนการศึกษาได้ระดับหนึ่งในระดับอุดมศึกษาโดยมีกระบวนการจัดหลักสูตรพิเศษขึ้นมากมายเช่นการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตามค่าเล่าเรียนทั้งหมดโดยภาพรวมมหาวิทยาลัยที่ได้ออกนอกระบบไปแล้วนั้นก็มองว่าปัจจุบันยังไม่สูงมากเกินไปไม่ว่าจะเป็นในกำกับของรัฐหรือออกนอกระบบ ซึ่งถ้ามหาวิทยาลัยใดจะขึ้นค่าหน่วยกิตก็ต้องขึ้นอย่างมีเหตุมีผลที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ในความเหมาะสม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ภาคภูมิ แสงกนกกุล: สิทธิการบริจาคเลือดของกลุ่มชายรักเพศเดียวกัน Posted: 20 Mar 2013 09:30 AM PDT
การที่มีกลุ่มชายรักชายตระหนักถึงสิทธิตนเองมากขึ้นย่อมเป็นสัญญาณที่ดี อย่างไรก็ตามการบริจาคเลือดต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้รับด้วยเช่นกัน จากเหตุการณ์การปฏิเสธการบริจาคเลือดของกลุ่มชายรักร่วมเพศเมื่อสองสามสัปดาห์ก่อนในประเทศไทยส่งผลให้เกิดคำถามกับสังคมว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติกับกลุ่มชายรักเพศเดียวกันหรือเปล่า ซึ่งการคัดกรองเลือดที่อาจเป็นอันตรายกับผู้รับเป็นหลักการปฏิบัติทั่วไปที่ทุกประเทศปฏิบัติซึ่งประกอบด้วยการสอบถามประวัติและการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ จะแตกต่างในรายละเอียดแต่ละประเทศในเรื่องการกำหนดกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงและกำหนดระยะเวลาการแบนห้ามการบริจาคเลือด (deferral period) แตกต่างกันไป เช่น ในประเทศฟิลิปปินส์กำหนดให้ผู้ที่เป็นชายรักชายจะไม่สามารถบริจาคเลือดตลอดชีวิต ประเทศญี่ปุ่นกำหนดให้ผู้ที่เป็นชายรักชายจะไม่สามารถบริจาคเลือดภายในระยะเวลาหนึ่งปีหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด ในขณะที่ประเทศอิตาลีไม่มีการแบนกลุ่มชายรักชาย[1] ระบบการตรวจคัดกรองเลือดและการกำหนดระยะเวลาการแบนการให้เลือด โดยเฉพาะกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อเอดส์เริ่มต้นที่อเมริกาโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (US Centers for disease control and prevention, CDC) และ องค์การอาหารและยา (Food and Drug Administration (FDA))ในปี 1983 ซึ่งการจะเข้าใจถึงการเกิดได้ก็จำเป็นที่ต้องเข้าใจสภาพการณ์ในอดีตเมื่อปี 1981 ซึ่งอเมริกาเป็นประเทศแรกของโลกที่ตระหนักถึงการมีอยู่และแพร่ระบาดของโรคเอดส์ โดยเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 1981 ได้พบเคสชายหนุ่มอายุ 20 ปีป่วยด้วยโรค Kaposi Sarcoma ซึ่งเป็นโรคมะเร็งที่พบเฉพาะในคนแก่ นอกจากนี้คนไข้มีโรคแทรกซ้อนฉวยโอกาสเช่น Pneumonia Carinii ซึ่งเป็นโรคพบในบุคคลที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ และที่น่าประหลาดคือพบผู้ป่วยที่มีลักษณะเดียวกันถึง 5 เคสในลอสแองเจลิส และทั้งหมดเป็นชายรักชาย นอกจากนี้ยังมีรายงานผู้ป่วยลักษณะเดียวกัน 5 ถึง 6 รายต่อสัปดาห์ทั่วประเทศ ซึ่งในขณะนั้นทางการแพทย์ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ไม่สามารถหาตัวเชื้อไวรัสสาเหตุของโรคได้และเรียกโรคดังกล่าวว่า โรคมะเร็งของชาวเกย์ (gay cancer) จนกระทั่งปี1982 จึงมีการบัญญัติชื่อใหม่ว่ากลุ่มโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) นอกจากนี้ยังมีรายงานจากผู้ป่วยลักษณะเดียวกันอีกในกลุ่มประชากรที่เป็นโรคฮิโมฟิเลีย กลุ่มผู้อพยพชาวเฮติ กลุ่มผู้ใช้สารเสพติดผ่านทางฉีดยาเข้าเส้นเลือด เนื่องจากไม่สามารถพบสาเหตุได้ชัดเจนและพบมากในบางกลุ่มประชากร จึงมีการตีพิมพ์ในสื่อต่างๆว่าเป็นโรคของ 4H (Homosexuals, Heroin addicts, Haemophiliacs, Haitians) และส่งผลให้หมิ่นเหม่ที่จะเกิดการเลือกปฏิบัติกับกลุ่มเสี่ยงขึ้นในสังคม นักวิทยาศาสตร์เองในขณะนั้นก็ไม่สามารถพบเส้นทางและวิธีการแพร่กระจายเชื้ออย่างแน่ชัด และสันนิษฐานว่าน่าจะมาจาก การมีเพศสัมพันธ์และการถ่ายทอดจากเลือดของผู้ติดเชื้อ นอกจากนี้ในปี 1983 มีเคสเด็กอายุยี่สิบเดือนตายเนื่องจากการติดเชื้อทางมารดายิ่งสร้างความโกลาหลให้กับสังคมมากขึ้นและยืนยันสมมติฐานว่าการแพร่เชื้อเอดส์สามารถผ่านทางกระแสเลือด และพบเคสผู้ป่วยโรคเอดส์ถึง 3,064 คน และมีผู้เสียชิวตถึง 1,292 คน ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ทาง CDC กำหนดมาตรการในการบริจาคเลือดในปี 1983 โดยแบนกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงรวมถึงกลุ่มชายรักชายโดยเป็นการแบนตลอดช่วงชีวิต นอกจากนี้ในปี 1985 รัฐบาลโรนัลด์ เรแกนกลับเลือกใช้นโยบายห้ามผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าประเทศอีกยิ่งสะท้อนการเลือกปฏิบัติมากขึ้นอีก การตรวจคัดกรองเลือดและการกำหนดช่วงเวลาการแบนของผู้บริจาคที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเป็นการกระทำที่วางอยู่บนฐานของหลัการระวังภัยล่วงหน้า (Precautionary Principle) ซึ่งเป็นวิธีการจัดการความเสี่ยงสังคมรูปแบบหนึ่งที่วางอยู่บนฐานของการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นถึงแม้ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดทางวิทยาศาสตร์แต่มีความน่าจะเป็นที่จะมีความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายร้ายแรงและเป็นความเสียหายที่กลับคืนมาไม่ได้ ซึ่งในสถานการณ์ช่วงปี 1983 เป็นไปตามสถานการณ์ดังกล่าว และส่งผลต่อเนื่องถึงปัจจุบันในการเฝ้าระวังภัยล่วงหน้าก่อนการบริจาคเลือด ถึงแม้การให้เลือดของกลุ่มชายรักชายจะไม่จำเป็นเสมอไปว่าทุกเคสจะเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งหมด แต่การที่มีผู้บริจาคเลือดที่มีเชื้อเอชไอวีเพียงเคสเดียวก็สร้างความเสียหายแบบกลับคืนมาไม่ได้ อย่างไรก็ตามการกำหนดระยะเวลาในการแบนกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูงก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น และตามระบาดวิทยาของโรคเอดส์ที่เปลี่ยนไป ในปี 1985 องค์กรกาชาดอเมริกัน ได้ใช้เทคนิค Enzyme Immunoassays ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองเลือดที่ติดเชื้อเอชไอวี และในปี 1999 องค์กรกาชาดอเมริกันได้ใช้เทคนิค Nucleic Acid ซึ่งช่วยลดข้อด้อยของวิธีเดิมซึ่งไม่สามารถตรวจพบเชื้อในช่วงระยะ Shadow Period ให้เหลือเพียงสิบสองวัน ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องเพื่อลดช่วงเวลาการแบนกลุ่มชายรักชายจากเป็นตลอดชีวิตเหลือเป็นระยะเวลาจำนวนปีภายหลังมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด เช่น ในปี 2008สมาคมแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Medical Association) ได้ทำรายงานแนะนำว่าควรลดระยะการแบนเป็น 5 ปี นอกจากนี้ความต้องการเลือดเพื่อการรักษาที่สูงขึ้นในขณะที่มีผู้บริจาคน้อยลง การกีดกันผู้บริจาคโดยใช้หลักการระวังภัยล่วงหน้าส่งผลให้ประชากรทั้งกลุ่มถูกคัดออกจากระบบอุปทานเลือด รวมถึงกลุ่มชายรักร่วมเพศที่มีสุขภาพแข็งแรงซึ่งเป็นการสูญเสียทรัพยากรโดยไม่จำเป็น และผู้สนับสนุนให้มีการทบทวนนโยบายการแบนกลุ่มเสี่ยงในการบริจาคเลือดได้ให้เหตุผลว่า นโยบายดังกล่าวไม่อิงอยู่กับวิทยาศาสตร์และข้อมูลสถิติทางระบาดวิทยา เช่น จากข้อมูลความชุกในกลุ่มชายรักชายสูงกว่าชายปกติ 44 เท่า และมีการกำหนดช่วงระยะเวลาการแบนตลอดชีวิต (ยกเว้นกลุ่มชายรักชายที่มีเพศสัมพันธ์ก่อนปี 1977) ในขณะที่ความชุกของกลุ่ม Afro American ก็สูงเช่นกันแต่ไม่มีการกำหนดระยะเวลาของการแบน การดำรงอยู่ของระบบแบนผู้บริจาคเลือดซึ่งถูกสร้างมาตั้งแต่ ปี 1983 ภายใต้สภาวะที่มีการระบาดของโรคเอดส์ และความหวาดกลัวในสังคม อาจจะไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีคัดกรองเลือดประสิทธิภาพสูง มีการให้การศึกษาป้องกันโรคเอดส์ และมีความต้องการเลือดและการขาดแคลนเลือดที่สูงขึ้น ในทางตรงกันข้ามการยกเลิกการแบนกลุ่มชายรักชายโดยมีการควบคุมความเสี่ยงของการคัดกรองเลือดให้เหลือน้อยที่สุดโดยใช้เทคโนโลยีและแบบสอบถามที่ดี และความซื่อตรงต่อการตอบคำถามของผู้บริจาค จะส่งผลดีต่อระบบอุปทานเลือดอเมริกัน บทเรียนประเทศไทย การที่มีกลุ่มชายรักชายตระหนักถึงสิทธิตนเองมากขึ้นย่อมเป็นสัญญาณที่ดี อย่างไรก็ตามการบริจาคเลือดต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้รับด้วยเช่นกัน การจะทำให้เกิดสิทธิของชายรักชายในการบริจาคเลือดต้องอาศัยการต่อสู้ทางความคิดทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนความคิดเก่าที่มีอยู่ปัจจุบัน ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลทางวิทยาศาตร์ การพัฒนาเทคโนโลยีการคัดกรองเลือดในปัจจุบันของประเทศไทยว่ามีประสิทธิภาพดีพอหรือยัง สร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนได้หรือยัง ข้อมูลทางระบาดวิทยาสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่ ผลได้ผลเสียที่จะตามมาของการยกเลิกหลักการระวังภัยล่วงหน้าในการคัดกรองเลือดเป็นต้น การต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิใดๆต้องมีการต่อสู้และวางแผนเป็นระบบ และมีความน่าเชื่อถือ
เชิงอรรถ http://www.avert.org/aids-history-america.htm http://www.isnare.com/wp/MSM_blood_donor_controversy
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เรือมนุษย์ “โรฮิงญา” พวกเขาถูกจัดประเภทว่า “คนไร้รัฐ?” Posted: 20 Mar 2013 09:07 AM PDT ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมาข่าวคราวเกี่ยวกับการอพยพทางทะเลของชาวโรฮิงยาปรากฏออกมามากมายในโลกของสื่อมัลติมีเดียได้เกิดการถกเถียงของหลายๆฝ่ายถึงความเหมาะสมว่าควรหรือไม่ที่ประเทศไทยจะให้ที่พักพิงชั่วคราวแก่ชาวโรฮิงญาหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบโดยตรงต่อการอพยพเข้าหรือผ่านประเทศทางทะเล คือ กองทัพเรือ และ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้ออกมาแถลงตอบคำถามต่อข้อสงสัยและข้อกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่รัฐได้ทำการปฏิบัติคุกคามต่อสิทธิในความเป็นมนุษย์ต่อชาวโรฮิงญา ซึ่งหนีภัยจากความรุนแรงภายในประเทศของตนเองคือประเทศเมียนมาร์ รัฐอารากัน เมื่อมาถึงประเทศไทยหน่วยงานรัฐจัดประเภทโดยทางการว่า "ผู้หลบหนีเข้าเมือง" ทั้งนี้ทาง กอ.รมน. รายงานว่า ตั้งแต่เดือน ต.ค.55 ถึงปัจจุบัน ตรวจพบชาวโรฮิงญาที่หลบหนีเข้าเมือง 48 ครั้ง มีจำนวน 5,899 คน และกระทรวงการต่างประเทศได้ประชุมเมื่อ วันที่ 25 ม.ค. 2556 มีมติเห็นชอบให้คงใช้หลักปฏิบัติและแนวทางการปฏิบัติต่อผู้หลบหนีเข้าเมืองทางทะเล ในการแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทางทะเลชาวโรฮิงญา จะทำการรวบรวมชาวโรฮิงญาเพื่อจัดระเบียบ หาสถานที่พักให้ดูแลความเป็นอยู่ให้เหมาะสมตามหลักมนุษยธรรมโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณไปยังรัฐบาล ผ่านสภาความมั่นคงแห่งชาติ (ไทยรัฐ 2556) มติที่ออกมาหมายถึงว่าไม่ยอมรับให้ชาวโรฮิงญาอยู่อาศัยแบบชั่วคราวและแบบถาวร โดยแนวทางแก้ไขปัญหาของราชการก็คือ ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการขอให้ประเทศพม่าออกเอกสาร "กำหนดสถานะความเป็นพลเมือง" ให้แก่ชาวโรฮิงญา เพื่อส่งกลับประเทศ และประเทศที่สามเพื่อการแก้ปัญหา โดยทำการเจรจากับองค์การระหว่างประเทศ พร้อมทั้งสำทับว่า "ไทยไม่มีนโยบายในการจัดพื้นที่พักพิงชั่วคราว" เพื่อรับรองชาวโรฮิงญา และขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ "ช่วยเป็นหูเป็นตาสอดส่องดูแล" เมื่อเห็น "การหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฏหมาย" ขอให้แจ้งได้ที่เจ้าหน้าที่ทันที (ไทยรัฐ 18 มีนาคม 2556) ข้อเสนอของ กอ.รมน. สอดคล้องกับคำให้การของ ผู้บัญชาการทหารเรือ ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติในภาคสนามและเป็นผู้ควบคุมอธิปไตยทางทะเล พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ กล่าว่า "ผมยืนยันว่าทหารเรือไม่มีเหตุผลหรือสาเหตุที่จะสังหารชาวโรฮิงญา เขาไม่ใช่ศัตรู แต่น่าสงสาร ไม่มีใครสังหารพวกเขาได้ลงคอหรอก แค่ผลักดันออกไปก็น่าสงสารมากแล้ว แต่เมื่อนโยบายคือการผลักดันออก เราก็ให้การช่วยเหลือมนุษยธรรม ให้อาหาร น้ำดื่มที่พอเพียง ยารักษาโรค และเติมน้ำมันไปให้ด้วย ก่อนที่จะให้เขาออกเดินทางต่อไป" (ผู้จัดการออนไลน์ 13 มีนาคม 2556) คำอธิบายของแม่ทัพเรือตอบโต้กับกรณีข้อกล่าวหาร้ายแรงจากสำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ (UNHCR) ซึ่งได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยตรวจสอบและสอบสวน กรณีมีผู้อ้างว่าเป็นชาวโรฮิงญาที่รอดชีวิตจากการถูกทหารเรือของไทยยิงในเขตจังหวัดพังงา ก่อนลากออกไปทิ้งในทะเล เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 18 มีนาคม 2556) การกล่าวหาเกิดขึ้นเมื่อ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2556 ที่ นิวยอร์ค นายแบรด อาดัมส์ ผู้จัดการ ฮิวแมนไรท์วอช (Human Rights Watch) ประจำภาคพื้นเอเชีย ได้แถลงข่าว กล่าวหากองทัพเรือว่าได้ทำการยิงใส่ผู้ลี้ภัย "มนุษย์เรือ" (boat people) กลุ่มชาติพันธุ์โรฮิงญา จนเสียชีวิตอย่างน้องสองคน นายแบรดเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทำการสืบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวโดยทันที และกองทัพเรือจะต้องใช้กำลังกระทำการให้อยู่ในมาตรฐานสากล "ชาวโรฮิงญาซึ่งหนีจากประเทศพม่า จะต้องได้รับการปกป้อง ไม่ใช่ยิงใส่" เหตุการณ์สังหารชีวิตชาวโรฮิงญาโดยกองทัพเรือดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธุ์ 2556 บริเวณชายฝั่งใกล้กับจังหวัดพังงา (Human Rights Watch, March 13 2013) ประเด็นปัญหา "โรฮิงญา" ในประเทศไทยมาจากข้อกังวล คือ เกรงว่าคนจากที่อื่นจะเข้ามาสร้างปัญหาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย และเกรงว่าคนจากที่อื่นจะเข้ามาแย่งชิงทรัพยากรในการจัดบริการสาธารณะของรัฐ ทำให้เกิดทัศนะต่อโรฮิงญาว่าเป็นภัยของประเทศไทยประเภทหนึ่ง รัฐบาลไทยมีกรอบคิดต่อชาว "โรฮิงญา" จากคำนิยาม "สถานะของบุคคลตามกฎหมาย" ว่าไม่ใช่ "ผู้ลี้ภัย" เพราะจากการย้ายถิ่นข้ามชายแดนประเทศ ไม่ได้มาจากการถูก "การประหัตประหาร" โดยรัฐบาลหรือกลุ่มกองกำลังภายในประเทศพม่าโดยตรง จึงไม่ยอมรับ "สิทธิเพื่อลี้ภัย" รัฐจึงไม่ให้สิทธิในฐานะ "ผู้ลี้ภัย" คำถามที่จะตามมาจึงเป็นการแสวงหาขอบเขตว่ารัฐไทยมีกรอบหน้าที่ในการจัดการปัญหาของชาวโรฮิงญาอยางไร "สิทธิใดบ้างที่ชาวโรฮิงญาต้องได้รับการคุ้มครอง" และ "สิทธิใดบ้างที่แม้แต่คนต่างด้าวหรือไร้สัญชาติพึงได้รับการคุ้มครอง" ชาวโรฮิงญา ถือเป็นมนุษย์และบุคคลตามนิยามของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ที่ต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิต่างๆ ตามที่กฎบัตรรับรองแน่นอน รัฐไทยในฐานะที่มีพันธกรณีอยู่กับกฎบัตรสิทธิมนุษยชนย่อมมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและงดเว้นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาวโรฮิงญา แต่ชาวโรฮิงญามิใช่พลเมืองสัญชาติไทย ถึงแม้ชาวโรฮิงญาไม่ใช่พลเมืองไทยและมีปัญหาทางเอกสารยืนยันในความเป็นสัญชาติพม่า แต่การจัดการปัญหาผู้อพยพชาวโรฮิงญาจะต้องไม่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ รัฐที่มีกฎหมายเป็นเครื่องมือสูงสุดในการปกครองประเทศตามหลัก "นิติรัฐ" จะต้องใช้กระบวนการแก้ไขปัญหาโดยไม่ขัดกับหลักความยุติธรรมของกฎหมาย คือ แนวทางที่นำไปสู่การสร้างบรรทัดฐานในการจัดการปัญหาคนต่างด้าว คนไร้สัญชาติ โรฮิงญาคือชนกลุ่มน้อยผู้นับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษา "เบงกาลี" คล้ายๆ กับภาษาในพืนที่ "จิตตากอง" ของประเทศบังคลาเทศ ชาวโรฮิงญาอาศัยอยู่ทางทิศตะวันตกของพม่าถูกรัฐบาลปฏิเสธที่จะให้สัญชาติเป็นพลเมืองของประเทศ จากการสำรวจข้อมูลขององค์กรนิรโทษกรรมฯ พบว่าสาเหตุที่ชาวโรฮิงญาพยายามหนีย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยสืบเนื่องมาจากการไม่ได้รับสัญชาติ ถูกทางการพม่ากดขี่รีดไถภาษีอย่างไม่มีกฎเกณฑ์ การถูกยึดทรัพย์และจากการถูกขับไล่เนรเทศ ถูกทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัยถูกบังคับใช้แรงงานในค่ายทหาร แรงงานทำถนน ทั้งหมดนี้รุนแรงเห็นได้ชัดในช่วงเวลา 10 ปีมานี้ พม่าพยายามที่จะไม่รับความมีลักษณะเฉพาะของโรฮิงญาในเชิงชาติพันธ์ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งแตกต่างกับชาว "ราคินนี" หรือเรียกอีกชื่อว่า "อารกัน" ที่ถึงแม้มีเชื้อสายเดียวกันแต่นับถือศาสนาแต่งต่างคือชาวราคินนีนับถือ "ศาสนาพุทธ" แต่โรฮิงญานับถือศาสนาอิสลาม มีประชากรเพียงร้อยละ 5 จึงเป็นชนกลุ่มน้อย จากการกดขี่ภายในประทศ ในปี ค.ศ. 1997 องค์การนิรโทษกรรมสากลได้รายงานว่าชาวโรฮิงญาได้อพยพลี้ภัยไปที่ประเทศบังคลาเทศอย่างต่อเนื่อง และรวมไปถึงประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียด้วย การปฏิบัติจากหน่วยงานรัฐที่มีต่อโรฮิงญา เช่น การประสานงานไปยังรัฐบาลพม่าเพื่อให้รับรองสิทธิความเป็นพลเมืองของผู้อพยพ การไม่ให้ใช้สิทธิสากลเพื่อยอมรับสิทธิเป็น "ผู้ลี้ภัย" สื่อความหมายว่าโรฮิงญาอพยพปัจจุบันไม่มีรัฐควบคุม ปกครอง ในทางวิชาการเรียกพวกเขาว่า "คนไร้รัฐ" (stateless peoples) และเรียกลักษณะปัญหานี้ว่า "สภาพไร้รัฐ" (statelessness) คือบุคคลที่ไม่รู้ว่าเป็นพลเมืองของรัฐใด ดังนั้นจึงไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายของรัฐที่พวกเขาเข้าไปขออาศัยหรือซ่อนตัว ซึ่งนักปรัชญาชาวอิตาลีชื่อ กิออริโอ อากัมเบน (Giorgio Agamben) เรียกคนประเภทนี้ว่า "ชีวิตอันเปลือยเปล่า" คือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครอง อากัมเบนเปรียบให้เห็นกลุ่มคนเหล่านี้เสมือนเป็นผู้ที่ไม่มีอาภรณ์เสื้อผ้าห่มหุ้มร่างกาย ผู้เขียนขอขยายความว่าคือคนเปลือยที่รู้สึกอับอาย หวาดกลัวรู้สึกหนาวจากความหนาวเย็นของอากาศและร้อนรุ่มจากแดดแผดเผา คืออาการของคนที่ต้องการซักสิ่งหนึ่งเพื่อยึดเหนี่ยวหากไม่ได้ก็ขออำพรางร่างกายหลบร้อนหลบหนาว (Agamben 1998) เป็นต้น ประเด็นสำคัญต่อการพิจารณาเรื่องชีวิตที่เปลือยเปล่าจากอำนาจรัฐจากมุมมองของอากัมเบนนั้นเท่ากับยอมรับว่ามีสภาพไร้อำนาจรัฐที่จะบังคับให้คุณให้โทษต่อผู้อพยพซึ่งผลในท้ายที่สุดแล้วจากสภาวะอันเปลือยเปล่าผู้อพยพอาจจะถูกสังหารหรือทำร้ายก็ได้เพราะรัฐเมินที่จะมองมายังบุคลที่เปลือยหรือคนที่ไร้รัฐ แต่ปัญหาก็คือ ผู้อพยพโดยเฉพาะโรฮิงญานั้นไร้รัฐจริงหรือ พวกเขาคือคนไร้รัฐจริงหรือ เพราะจริงๆแล้ว พวกเขาถูกระงับสิทธิในการเป็นพลเมือง ถูกขับไล่หรือหนีตายออกจากประเทศบ้านเกิด นักวิชาการสองคน คือ จูดิจ บัทเลอร์ และกายาตริ จักรราโวรตรี สพิวัค (Judith Butler and Gayatri Chakravorty Spivak) อธิบายอย่างแตกต่างกับอากัมเบนว่า เหล่าคนที่ถูกเรียกว่าคนไร้รัฐนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร? เพราะพวกเขาคือคนที่อยู่อาศัยในประเทศที่รัฐของตนเองไม่ให้สัญชาติ ย้ายอยู่เพราะถูกขับไล่เนรเทศ หรือหนีออกจากประเทศบ้านเกิดกลายเป็นผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นมาจากรัฐกระทำทั้งสิ้น บัทเลอร์เธอได้อธิบายว่าเพราะ 1. รัฐที่บ้านเกิดเลือกเองที่จะสร้างรัฐของเขาขึ้นมาโดยไม่ยอมให้สัญชาติแก่คนบางคนหรือบางกลุ่มทั้งๆ ที่อยู่มาก่อนที่จะเกิดการสร้างรัฐปกครองตนเอง หรืออาจจะถอนสัญชาติขับไล่คนที่เคยเป็นพลเมืองให้ออกนอกประเทศ 2 รัฐจากประเทศปลายทางเลือกที่จะไม่รับคนเหล่านั้นไว้ในสถานภาพใดสถานภาพหนึ่งที่เป็นคนมีศักดิ์ศรีมีที่มา (Butler and Spivak. 2007) สองประการนี้ไม่สามารถอธิบายในกรอบของ "คนไร้รัฐ" ได้ พวกเขาไม่ได้ "ไร้รัฐ" แต่รัฐต่างหากที่เลือกเขามากักเก็บไว้ในกลุ่มคนที่ไม่ใช่พลเมือง ไม่ให้สัญชาติ ไม่ให้โอกาสทางเศรษฐกิจ หรือไม่เช่นนั้นไล่เขาออกไปจากประเทศเพื่อให้ไปถูกเก็บไว้ในอีกรัฐหนึ่งว่าเป็นคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ในกรณีดังกล่าวจึงเป็นไปไม่ได้ว่ามี "ที่ว่างเหลืออยู่" ที่ไม่มี "รัฐ" ให้เป็น "คนไร้รัฐ" จากอำนาจรัฐและทางการทหารนั่นเอง ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ได้ไร้รัฐ ผู้เขียนต้องการอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า นอกจากรัฐจะมีความรับผิดชอบต่ออาณาเขตประเทศ แต่รัฐก็มีหน้าที่ที่จะต้องรักษาความมีมนุษยธรรม คุณธรรมด้วย กรณีโรฮิงญาให้คำอธิบายในหลายประเทศที่ต่อเนื่องจากการเร่ร่อนบนเรือมนุษย์จากพม่าถึงอันดามันฝั่งไทยและถูกผลักไสให้แล่นเรือออกไปตายเอาดาบหน้า ครั้นเมื่อถึงมาเลเซียและอินโดนีเซียก็ถูกประกาศว่าจะไม่รับพวกเขาไว้เช่นกัน สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากการปฏิเสธที่จะมีความเมตตาและท้าทายกับปัญญาความสามารถของรัฐทั้งสามรัฐนี้อย่างชัดเจนในการจัดการปัญหา "โรฮิงญา" ถูกปฏิเสธที่จะให้เข้าฝั่งแม้ว่าสิทธิขั้นพื้นฐานทางกฎหมาย คือยอมรับเขาเข้ามาในสถานะของผู้หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย พวกเขาก็ไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว ดังนั้นชาวโรฮิงญา นอกจากจะถูกไล่ออกหรือไม่รับให้มีสัญชาติจากรัฐตน หรือรัฐปลายทางไม่ยอมรับเข้าประเทศ ไม่ยอมรับให้เป็นแรงงาน ไม่ยอมรับให้เป็นผู้ลี้ภัยที่จะได้สิทธิขั้นต่ำจากสหประชาชาติ (The UN) ไม่แม้แต่จะยอมรับว่าเป็นผู้เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ชาวโรฮิงญากลายเป็นคนที่ไม่มีข้อมูล ไม่มีอายุ ไม่มีเพศ ไม่มีศาสนา คือไม่รับรู้อะไรเลย และถูกผลักให้ไปตายที่อื่น พวกเขาถูกปฏิบัติต่อมนุษย์ด้วยกับเหมือนกับว่าเขาเป็นผี หรือซากศพที่ลอยน้ำมาถึงท่าน้ำที่บ้านต่างก็ผลักดันออกไปให้ไกลๆ ให้พ้นภาระที่ตนเองหรือรัฐจะต้องจัดการ ประเด็นปัญหาโรฮิงญาจึงไม่ใช่แค่ปัญหาในระดับปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ดูแลชายฝั่งระดับเล็กๆ แต่เป็นปัญหามนุษยธรรมแห่งรัฐต้นทางและรัฐปลายน้ำ ว่าจะตกลงร่วมกันอย่างไรที่จะทำไม่ให้น้ำเน่าทั้งแม่น้ำหรือผืนทะเล การยอมรับว่ามีสภาพไร้รัฐ ทั้งจากแนวคิดอากัมเบน และแนวคิดของรัฐไทยผ่านคำอธิบายโดย กอ.รมน. (ไทยรัฐ 2556) และ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผู้จัดการออนไลน์ 13 มีนาคม 2556) ปฏิบัติการภายใต้นโยบายของกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งสองแนวคิดนี้แนบกันได้เกือบสนิท และทำให้สภาพของชาวโรฮิงยากลายเป็นผู้ที่ไม่สามารถรับสิทธิความเป็นมนุษย์ในกฏหมายนานาชาติสากลได้ รัฐบาลไทยลอยตัวออกมาจากปัญหา และสามารถผลักให้ชาวโรฮิงญาไปตายที่อื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทย การกระทำโดยการผลักให้ไปตายข้างหน้าคือ "อาชญากรรม" ไม่ใช่แค่ขาดความรับผิดชอบแต่เป็น "การฆาตกรรม" ประเภทหนึ่ง เป็นการตั้งใจที่จะเมินเฉยในเงื้อมมือของรัฐซึ่งมีอธิปไตยและมีที่นั่งในชุมชนนานานชาติ รัฐพม่าเป็นเหตุผลหนึ่งที่ใช้อำนาจรัฐสังหาร ขับไล่ ไม่ยอมรับสิทธิความเป็นพลเมือง และรัฐไทยก็เป็นอีกรัฐหนึ่งที่สังหารคนที่เข้ามาพึ่งพาอาศัย ดังนั้น ชาวโรฮิงญาไม่ได้อยู่ในสภาวะที่ไร้รัฐ ไม่ได้เปลือยเปล่าจากอำนาจรัฐ แต่พวกเขามีอำนาจรัฐที่หลากหลายกระทำต่อชีวิตทำให้หดหู่สิ้นหวังและกระทั่งตายจากความหิวโหย หรือถูกยิงจากเจ้าหน้าที่รัฐผู้ปฏิบัติตามนโยบายต่อคนที่พวกเขาจัดประเภทให้ว่า "เป็นคนไร้รัฐ" และดังนั้นความเป็นคนไร้รัฐไม่ได้เกิดจากการที่เขาไร้รัฐ แต่มาจากการจัดประเภทเพื่อจัดการกับชีวิตชาวโรฮิงญา เรื่องที่เศร้าสะเทือนใจก็คือ การตายและความทรมาณเกิดขึ้นจากรัฐกระทำแท้ๆ (ไทย, พม่า, มาเลเซีย, สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และ ศรีลังกา) แต่ทุกประเทศกลับเรียกเขาว่า "คนไร้รัฐ" บรรณานุกรม Agamben, Giorgio 1998 Homer Sacer: Sovereign Power and Bare Life. Palo Alto: Stanford University Press. Butler, Judith, and Gayatri Chakravorty Spivak. 2007 Who Sings The Nation-State. London and New York: Seagull Book. Human Rights, Watch March 13, 2013 Thailand: Fleeing Rohingya Shot in Sea by Navy: Investigate Deadly Shooting at 'Boat People' During 'Push Back': Human Rights Watch. http://www.hrw.org/news/2013/03/13/thailand-fleeing-rohingya-shot-sea-navy. March 19, 2013. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 2556 UNHCR เรียกร้องไทยสอบสวนกรณีโรฮิงญา, Vol. 16 มีนาคม 2556. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20130316/495363/UNHCR-เรียกร้องไทยสอบสวนกรณีโรฮิงญา.html วัันทีี่่ 18 มีีนาคม ไทยรัฐ 2556 'โรงฮิงญา' ทะลักเข้าไทยเกือบ6พันคนแล้ว, Vol. 18 ธันวาคม 2556. กรุงเทพฯ: ไทยรัฐออนไลน์ สืบค้นจาก http://www.thairath.co.th/content/region/325162 วันที่ 18 มีนาคม 2556. ผู้จัดการออนไลน์ 2556 "ทัพเรือ" ย้ำเป็นไปไม่ได้สังหารชาวโรฮิงญา ยันเน้นช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม. Volume 13 มีนาคม 2556. กรุงเทพฯ: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ สืบค้นจาก http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000031142. 18 มีนาคม 2556. ภาพประกอบ ภาพประกอบแปลงภาพวีดีโอเป็นภาพนิ่งจาก DESLATAN [1] อาจารย์แผนกวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เผยแพร่ครั้งแรกที่ PATANI FORUN ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ ความหวังและอนาคตของพระศาสนจักร? Posted: 20 Mar 2013 08:40 AM PDT
แม้จะเป็นคนนอก แต่ด้วยความสนใจในศาสนาต่างๆ ประกอบกับตัวเองสอนเรื่องศาสนาในสังคมปัจจุบัน ผมจึงติดตามข่าวการเลือกพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ต่อจาก สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ซึ่งทรงสละตำแหน่งด้วยเหตุผลทางพระพลานามัยอย่างกระตือรือร้นและใกล้ชิด เพราะจริงๆแล้ว แม้แต่การที่พระสันตะปาปาทรงตัดสินพระทัยสละตำแหน่ง ก็นับว่าเป็นเรื่องชวนให้ตืนเต้นและครุ่นคิดแล้ว ผมยังจำได้ว่าสมัยที่สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 สิ้นพระชนม์ ขณะนั้นมีกระแสบางฝ่ายลุ้นว่า พระศาสนาจักรจะได้พระสันตะปาปาพระองค์ใหม่เป็น "โป๊บดำ"ที่ว่ากันว่ามาจากคำทำนายของนอสตราดามุสไหม บางท่านก็ตีความว่าโป๊บพระองค์ใหม่จะมาจากคนผิวดำหรือเอเชีย หรือตีความกันว่า พระสันตะปาปาพระองค์ใหม่จะทรงมีทัศนคติและอุดมการณ์ผิดแผกแตกต่างจากองค์ที่แล้วๆมาอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่อที่ประชุมเลือกพระคาดินัลรัสซิงเจอร์จากเยอรมันขึ้นมาเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่16 หลายเสียงสะท้อนว่า พระองค์ไม่ได้แตกต่างจากสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอลที่สองเลยในแง่ความเป็น "นักอนุรักษ์นิยม" และทรงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนจากนโยบายและคำสอนของพระศาสนาจักรที่ยังคงความอนุรักษ์แบบเดิมไว้ (และดูเหมือนว่าจะยิ่งเข้มข้นขึ้นด้วย) นอกจากนี้ยังทรงรื้อฟื้นธรรมเนียมอะไรอีกหลายสิ่งหลายอย่าง ที่ศาสนิกชนบางคนอาจคิดว่าพ้นสมัยและสะท้อนท่าทีแบบอนุรักษ์ของพระองค์ เช่น การรื้อฟื้นมิสซาจารีตลาติน(ใช้ภาษาลาตินแทนภาษาพื้นเมือง) รวมทั้งศาสนอุปกรณ์เก่าๆต่างๆที่ทรงนำมาใช้ในพระสมณสมัยของพระองค์ ดังที่ทราบกันว่า ในสมณสมัยของสมเด็จพระสันตปาปาจอห์นปอลที่สอง คือช่วงเวลาแห่งการก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โลกกำลังเผชิญความเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน เศรษฐกิจทุนนิยมและบรรษัทข้ามชาติ การเติบโตของชุมชนเมืองและระบบอุตสาหกรรม ปัญหาความยากจน เพศที่สามที่เรียกร้องการยอมรับในหลายมิติ สิทธิสตรี การแพร่ขยายของโรคเอดส์ ฯลฯ มีการเรียกร้องให้พระศาสนจักรปรับตัว เช่น การเรียกร้องให้คุมกำเนิด ทำแท้งถูกกฏหมาย การยอมให้สตรีรับศีลบวช(แบบเดียวกับนิกายแองกลิกัน) การแต่งงานของรักร่วมเพศ ฯลฯ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่สอง แม้จะทรงเปี่ยมไปด้วยบุคลิคภาพแห่งความเป็นมิตรและอบอุ่นอันเป็นที่ประทับใจสำหรับชาวคาทอลิค ชาวคริสต์นิกายอื่นๆและคนต่างศาสนา รวมทั้งการเสด็จเยือนสถานที่ต่างๆและการเข้าพบผู้นำทั้งทางโลกและทางศาสนาอย่างมากมายผิดไปจากพระสันตปาปาพระองค์ก่อน แต่ก็ทรงยืนยันปฏิเสธในประเด็นเรียกร้องเหล่านี้อย่างแข็งขันตลอดพระสมณสมัย จากขวา สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นปอลที่ 2 กลางภาพ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส และซ้าย สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่16 สามพระองค์ที่ทรงมีท่าทีอนุรักษ์นิยมเช่นเดียวกัน เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนผ่านไปสู่การเลือกพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ หลังการสิ้นพระชนม์ของพระสันตะปาปาจอห์นปอลที่ ที่สอง คงไม่ใช่แค่ความตื่นเต้นจากคำพยากรณ์ของนอสตราดามุส แต่เป็นความตื่นเต้นของคนทั่วโลกที่จะลุ้นว่า พระศาสนจักรอันเก่าแก่และเคยทรงอำนาจที่สุดในโลกแห่งหนึ่งจะได้ผู้นำใหม่ที่อาจพาพระศาสนจักรไปสู่โลกที่ต่างไปจากเดิมและปัญหาที่ซับซ้อนกว่าเดิมไหม ทว่าเมื่อได้พระสันตะปาปาพระองค์ใหม่แล้ว หลายคนคงยอมรับว่าผิดหวัง สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ได้ขึ้นครองสมณบัลลังค์ โดยมีภารกิจสำคัญคือการจัดการปัญหาที่บ่อนทำลายพระศาสนจักรของพระองค์ เช่น ปัญหาการละเมิดทางเพศของบาทหลวง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา มากกว่าปัญหาของโลก และการประสานพระศาสนจักรกับโลกยุคใหม่ แต่เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่16 ทรงประกาศสละพระราชบัลลังค์ นี่กลายเป็นสิ่งที่ชาวโลกตื่นเต้นและจับตาดูว่า พระศาสนจักรโรมันคาทอลิคอันเกริกไกรกำลังจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด อย่างน้อยที่สุด ทรงได้รับคำยกย่องมากมายในการตัดสินพระทัยครั้งนี้ ซึ่งเป็นผลดีต่อพระศาสนจักรเองด้วย เมื่อพระคาดินัล ฮอร์เก้ เบร์โจโญ่ จากอาร์เจนติน่าได้รับการเลือกเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ ชวนให้เกิดความตื่นเต้นอย่างยิ่งต่อชาวโลกอีกครั้ง แม้ว่าพระองค์จะทรงเคยเป็นแคนดิเดตมาแล้ว ในสมัยหลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่สอง แต่ครั้งนี้ หลายคนวิเคราะห์ว่า พระองค์เป็น "ม้ามืด" เพราะในครั้งแรกของการลงคะแนนพระองค์ไม่ทรงอยู่ในห้าอันดับแรกเลย พระองค์ยังทรงเป็นพระสันตปาปาพระองค์แรกจากละิตินอเมริกา โลกที่สามที่เผชิญปัญหาความยากจนและความไม่มีเสถียรภาพทางสังคมการเมือง ไม่เพียงเท่านี้ พระองค์ทรงเป็นพระสันตะปาปาพระองค์แรกที่มาจากคณะเยสุอิต คณะนักบวชที่ก่อตั้งโดยนักบุญอิกญาซิโอในสเปน คณะนักบวชเยสุอิต มีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในเรื่องความมีระเบียบวินัย การศึกษา และการแพร่ธรรมไปทั่วโลก ตัวอย่างเช่น นักบุญฟรานซิสเซเวียร์ ผู้นำคริสตศาสนาไปเผยแพร่ยังเอเชียเป็นท่านแรกๆ และสิ้นชีพในจีน แม้แต่ในสมัยอยุธยาของบ้านเราเอง ก็มีนักบวชคณะเยสุอิตอยู่ในกรุงศรีอยุธยาจำนวนไม่น้อย เมื่อทรงรับสมณาภิเษกแล้ว ทรงแสดง "สัญญาน"อะไรหลายอย่างต่อชาวโลก เช่นการที่ทรงเลือกพระนาม "ฟรานซิส" ซึ่งคงหมายถึงนักบุญฟรานซิสแห่งอัสซีซี นักบุญผู้มีความโดดเด่นเรื่อง การถือความยากจน ความกรุณาต่อสรรพสัตว์ และความอ่อนน้อมอย่างยิ่ง อีกทั้งเป็นนักบุญอันเป็นที่รู้จักภายนอกแวดวงคริสตศาสนาด้วย ทรงเลือกที่จะไม่ใช้ "แหวนชาวประมง" (ซึ่งหมายถึงแหวนตำแหน่งพระสันตะปาปารูปนักบุญเปโตรอัครสาวกและพระสันตะปาปาพระองค์แรก) ที่ทำจากทองคำตามแบบพระสันตะปาปารุ่นก่อน รวมทั้งกางเขนประจำพระองค์ก็ไม่ใช้ทองคำอีกด้วย ทรงสวมรองเท้าหนังเก่าๆสีดำเช่นเดียวกับบาทหลวงทั่วๆไป (ในพระประวัติก็เน้นว่า แม้เมื่อทรงเป็นพระคาดินัล ก็ทรงอยู่อพาร์ทเมนท์แทนที่อยู่โดยตำแหน่งที่หรูหรากว่า ทรงทำอาหารเอง และขึ้นรถประจำทางในการเดินทาง) เมื่อทรงรับตำแหน่งแล้วก็ยังทรงทำพระองค์สบายๆ เช่น ที่ฮืออาคือทรงออกมาทักทายจับมือกับประชาชนที่มาเฝ้าอย่างไม่เป็นทางการ ทรงประทับรถร่วมกับพระคาดินัลอื่นๆ ทรงลงจากรถมาจุมพิตให้พรแก่คนพิการและเด็กๆ ภาพวาดล้อในสื่อว่า เมื่อทรงรับตำแหน่งแล้วก็ยังทรงไปทำงานโดยขึ้นรถเมล์อย่างเดิม ฉลองพระบาทที่ยังทรงใช้แบบเรียบง่ายเช่นบาทหลวงทั่วๆไป ภาพเหล่านี้ทำให้เกิดความประทับใจต่อศาสนิกชนมากมายทั่วโลก รวมทั้งผู้เขียนเองด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องไม่ลืมคือ ในทางนโยบาย เดาว่าพระองค์น่าจะยังสืบทอดนโยบาย "อนุรักษ์นิยม"จากสมเด็จพระสันตะปาปาสองพระองค์ก่อนอย่างเหนียวแน่น ดูจากพระประวัติที่ทรงเคยทำงานมา ไม่ว่าจะเป็นประเด็นรักร่วมเพศ การคุมกำเนิดและการทำแท้ง การบวชนักบวชสตรี จะไม่เปลี่ยนไปจากเดิมแน่ๆ ถ้าพระสันตะปาปา คือตัวแทนทิศทางแห่งพระศาสนจักร(เพราะทรงถูกเลือกจากพระคาดินัลทั่วโลก) พระสันตะปาปาฟรานซิส กำลังแสดงให้เราเห็นว่า พระศาสนจักรยังคงมีท่าทีอนุรักษ์นิยมเหมือนเช่นเดิม ซึ่งสำหรับผม มันจะต้องเป็นเช่นนั้น โดยเฉพาะในปัจจุบัน และคิดว่าพระศาสนจักรได้ไตร่ตรองแล้วเป็นอย่างดี เพราะในท่ามกลางโลกทัศน์ใหม่ๆและข้อโต้แย้งจำนวนมากต่อข้อปฏิบัติอันถูกมองว่า "เร่อร่าล้าสมัย" ผมคิดว่าพระศาสนจักรในโลกยุคใหม่ต้องยืนยัน "จุดยืน" ของตนเองไว้อย่างเหนียวแน่นที่สุด แม้ว่าจุดยืนนั้นจะเป็นตัวก่อความเสียหายหรือเป้าโจมตีต่อพระศาสนจักรเองก็ตาม โดยเฉพาะ ข้อปฏิบัติที่มีมิติทางศีลธรรม เช่นการทำแท้ง หากมองจากแง่มุมความเป็นศาสนา ข้อปฏิบัติเหล่านี้ย่อมจะประนีประนอมไม่ได้ การประนีประนอมเหล่านี้เท่ากับยอมอ่อนข้อต่อโลกฆราวาสที่มีรากฐานทางศีลธรรมต่างจากศาสนา ในสนามแห่งการต่อสู้เชิงอุดมการณ์ทางศีลธรรม ผมเดาว่าพระศาสนจักรเองก็รู้ว่าการยืนยันท่าทีแบบอนุรักษ์นิยมเป็นความเสี่ยงและมีราคาแพงที่ต้องจ่าย แต่นี่อาจเป็นอัตลักษณ์เชิงคุณค่าที่หลงเหลืออยู่เท่าที่พระศาสนจักรจะรักษาไว้ได้ และอาจถือเป็นทางเลือกของอุดมการณ์ทางจริยธรรมแบบอนุรักษ์นิยมในท่ามกลางอุดมการณ์ทางจริยธรรมที่หลากหลาย แม้กระนั้นเราก็ควรต้องคิดว่า ในประเด็นที่ต่างออกไป (ที่มีมิติทางจริยธรรมที่อ่อนกว่า)เช่นการรักร่วมเพศ การคุมกำเนิดและการใช้ถุงยางอนามัย(ในภาวะการระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์)พระศาสนจักรควรจะต้องปรับตัวหรือไม่ และนี่คือโจทย์ใหญ่ของสมเด็จพระสันตปาปาพระองค์นี้ นอกจากท่าทีเดิมแล้ว สิ่งหนึ่งที่อาจสร้าง "ความหวัง"สำหรับศาสนิกและชาวโลก คือ "สัญญาน"แห่งจิตวิญญานความยากจน ที่สมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิสทรงแสดง ผ่านภูมิหลัง วิถีชีวิตและสิ่งที่พระองค์ทำ พระเยซูคือต้นแบบของการถือความยากจน และความยากจนคือจริยธรรมอันสูงส่งในคริสตศาสนา หากพระศาสนจักรได้รื้อฟื้นจิตวิญญานแห่งความยากจน ความเห็นอกเห็นใจต่อคนยากไร้ "พระเยซูเจ้าผู้สถิตในพี่น้องที่ยากจนของท่าน" พระศาสนจักรจะมีความหมายต่อชาวโลก พระศาสนจักรจะมีบทบาทที่สำคัญ เป็น โบสถ์แห่งความเมตตากรุณาอย่างที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ อีกสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนไปแล้วโดยสิ้นเชิง ที่ผู้เขียนเห็นผ่านสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส คือพระสถานภาพของพระสันตะปาปาในโลกยุคใหม่ นับตั้งแต่ สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่หก ที่ทรงยกเลิกการทำพิธีราชาภิเษก(ในสมัยโบราณ พระสันตะปาปา ทรง อยู่ในฐานะกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งปวง)และทรงเลิกการใช้มงกุฏพระสันตะปาปา ในปีคศ.1963 หลังจากการสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ซึ่งเริ่มต้นในพระสมณสมัยของสมเด็จพระสันตปาปาจอห์นที่ 23 นับตั้งแต่นั้นมาไม่มีการสวมมงกุฏของพระสันตะปาปาสืบมาอีกเลย แม้การสละตำแหน่งของสมเด็จพระสันตปาปาพระองด์ก่อนก็ส่อแสดงว่า ตำแหน่งสมเด็จพระสันตะปาปาไม่ใช่ สถานภาพแห่งกษัตริย์อีกต่อไป เพราะพระองค์เป็นเพียงผู้แทนของพระศาสนจักรในโลก การที่พระสันตะปาปาฟรานซิส ทรงยกเลิกพิธีรีตองต่างๆและทรงเป็นกันเอง ยิ่งตอกย้ำ ความไม่เป็นกษัตริย์ของพระสันตะปาปาขึ้นไปอีก แต่ทรงเป็นผู้นำทางจิตวิญญานและศีลธรรม ภาพการที่ทรงก้มศีรษะเมื่อทรงขอให้สัตบุรุษในจตุรัสเซนต์ปีเตอร์ในวันที่ทรงออกพระบัญชร คงเป็นภาพที่ประทับในใจใครมากมาย พระองค์กลายเป็น "บิดาผู้ใจดี"สำหรับคริสตชน เช่นเดียวกับสมเด็จพระสันตปาปาจอห์นที่ 23 ภายในชั่วข้ามคืน ถ้าพระองค์จะได้ทรงนำพระศาสนจักรไปสู่ จิตวิญญานแห่งความยากจนเยี่ยงพระเยซู และแน่นอนจะต้องทรงเผชิญปัญหามากมาย ผู้เขียนก็ขอถวายกำลังใจแด่พระองค์ไว้ ณ ที่นี้ด้วยความเคารพยิ่ง บทความเล็กๆนี้มาจากความเป็นคนนอก ซึ่งอาจมิได้มีความเข้าใจลึกซึ้งมากนัก จึงขออภัยต่อท่านผู้อ่านในความผิดพลาดไว้เป้นอย่างสูง ทรงทักทายผู้มาเฝ้าอย่างเป็นกันเอง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โดนทั่วหน้า กกต.กทม.รับคำร้องสอบ ‘นายกฯ -แกนนำ ปชป.’หาเสียงผู้ว่าฯ Posted: 20 Mar 2013 08:38 AM PDT 20 มี.ค.56 เว็บไซต์คม ชัด ลึก รายงานว่า พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร (กกต.กทม.) แถลงว่าที่ประชุม กกต.กทม.มีมติเอกฉันท์เรื่องร้องเรียนคัดค้านการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.จำนวน 2 เรื่องคือเรื่องร้องเรียนที่นายุริยะใส กตะศิลา กรณีนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจหน้าที่มิชอบ หาเสียงให้ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. หมายเลข 9 พรรคเพื่อไทย ที่กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ โดยมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่มาต้อนรับ ซึ่ง กกต. รับเรื่องเมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังรับเรื่องร้องคัดค้านของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ กรณีแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ หาเสียงช่วย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัครหมายเลข 16 พรรคประชาธิปัตย์ หาเสียงฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่นมาตรา 57(5) โดยจะเร่งพิจารณาสืบสวนสอบสวนก่อนส่ง กกต.กลางพิจารณา ทั้งนี้หากไม่แล้วเสร็จภายในวันที่ 2 เม.ย. ก็สามารถขอขยายเวลาออกไปอีก 2 ครั้ง ครั้งละ 15 วัน อย่างไรก็ตามเมื่อ กกต.กลางเห็นว่าเป็นเรื่องด่วน ก็สามารถหยิบไปพิจารณาเองได้ พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ กล่าวว่า การรับเรื่องร้องเรียนของสองพรรคการเมืองใหญ่ อาจกระทบกระเทือนถึงตัวผู้สมัครและผู้สนับสนุนตามข้อกฎหมาย ส่วนการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ถ้อยคำนั้นได้ประสานไปยังนายทหารที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ต้องรอดูระเบียบต้นสังกัดก่อน เนื่องจากแต่ละหน่วยงานมีเงื่อนไขแตกต่างกัน จึงไม่สามารถหาเวลาที่ชัดเจนได้ ทั้งนี้มีเรื่องคัดค้านการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ทั้งหมด จำนวน 24 เรื่อง ซึ่งเรื่องที่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพียง 7 เรื่อง โดยไม่รับคำร้อง 12 เรื่อง และส่งให้ กกต.พิจารณาไว้แล้วจำนวน 2 เรื่อง ส่วนกรณีกระแสข่าวการลาออกจากประธาน กกต. กทม.นั้น พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ กล่าวยืนยันว่า ไม่ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานเพียงแต่ต้องการให้บุคคลมาทำหน้าที่ต่อ ตามข้อกลงที่เคยทำร่วมกันก่อนหน้านี้ โดยคนที่จะมาทำหน้าที่แทนคือ นายสุพจน์ ไพบูลย์ กกต. กทม.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
มีเดีย อินไซด์เอาท์ เสวนา "อวสานตอบโจทย์ ศึกนอกหรือศึกใน" Posted: 20 Mar 2013 08:26 AM PDT ใบตองแห้งวิพากษ์การเมืองในไทยพีบีเอส กรณี "ชะลอ" รายการตอบโจทย์ จอม เพชรประดับ ชี้จุดกำเนิดสถานีมาจากรัฐประหาร และต่อต้านทักษิณ ห่วงภิญโญ ถูกผลักกลายเป็นพวกล้มเจ้า ประวิตร โรจนพฤกษ์ระบุน่าเป็นห่วงที่คนไทยไล่เซนเซอร์คนอื่น
จอมห่วง ภิญโญถูกผลักเป็นพวก 'ล้มเจ้า' กระทบการประกอบวิชาชีพ นอกจากนี้ จอมยังกล่าวถึงการก่อตั้งของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีในอดีตด้วยว่า กว่าจะเริ่มออกอากาศได้ คนทำงานต้องเปลี่ยนวิธีคิด เพราะขณะนั้น อุตสาหกรรมโทรทัศน์อยู่ภายใต้กรอบของรัฐบาลมาตลอด ใช้เวลาทบทวนออกแบบกันถึงหกเดือนว่าจะเป็นทีวีเสรีได้อย่างไร จะทำข่าวแตกต่างจากช่องอื่นอย่างไร มีการเปลี่ยนวิธีการทำงาน เอาประชาชนเป็นตัวตั้ง นำเสนอข่าวประชาชนก่อนนักการเมือง เห็นข้อจำกัดของการส่งนักข่าวไปประจำในที่ต่างๆ ซึ่งอาจทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของที่นั่น ซึ่งเขามองว่าขณะนั้นถือว่าไอทีวีประสบความสำเร็จในการปฏิรูปทีวี แต่หลังจากนั้นประสบปัญหาเศรษฐกิจ และทักษิณเข้ามาซื้อหุ้นในที่สุด จอม กล่าวต่อว่า ขณะที่ไทยพีบีเอสนั้นเกิดจากอุบัติเหตุทางการเมืองหลังรัฐประหาร เพื่อกำจัดไอทีวีของทักษิณ ที่ผ่านมา จะเห็นว่าไม่มีอุดมการณ์ทีวีสาธารณะที่แท้จริง ไม่ได้ทำตัวรักษาผลประโยชน์ทุกกลุ่ม มีเพียงภาคประชาชน แต่ไม่มีนักธุรกิจ ข้าราชการ คนอีกหลายกลุ่ม ช่องนี้พยายามบอกให้เกลียดระบบทุน ให้พอเพียง เป็นคนดีมีศีลธรรม สะท้อนว่าไม่เข้าใจความเป็นทีวีสาธารณะว่าต้องตอบโจทย์คนทุกกลุ่ม มีอคติ ยังคงเป็นคนทำสื่อช่องต่างๆ เป็นเจ้าของความดีความจริง แต่ไม่กระจายพื้นที่สื่อให้กับทุกกลุ่ม จอมชี้ด้วยว่า ความเข้มแข็งของทีวีสาธารณะจะต้องขึ้นกับความหลากหลายที่เป็นภาพสะท้อนของคนในสังคม ต้องมีความคิดของคนทุกกลุ่มในความคิดของคนไทยพีบีเอส และต้องอยู่ร่วมกันให้ได้ ไม่ใช่เห็นต่าง ลงโทษและปิดกั้น อย่างกรณีภิญโญที่เห็นต่างจากคนอื่นก็อยู่ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม จอมเสนอว่า ไทยพีบีเอสควรพลิกวิกฤต ทบทวนตัวเองจากกรณีนี้ เพื่อเป็นสังคมต้นแบบของคนทำสื่อและคนในสังคม ทำให้เห็นว่ามีความเห็นต่างแล้วยังอยู่ร่วมกันได้ทั้งนี้ เห็นด้วยกับการตัดสินใจของไทยพีบีเอสที่รับฟังคนที่มาทักท้วง โดยชี้ว่าไม่ว่ากี่คนก็ต้องสนใจ ให้ความเป็นธรรม เช่น กรณีนี้มีการปรับปรุงเพิ่มสกู๊ปแล้วจึงนำมาออกอากาศ อย่างไรก็ตาม ย้ำว่า อย่าหยุดออกอากาศ เพราะจะกลายเป็นความเสียหายในความเป็นทีวีสาธารณะอย่างที่สุด นอกจากนี้เสนอด้วยว่า ในฐานะที่ทุกคนต่างก็เป็นเจ้าของไทยพีบีเอส จึงน่าจะมีผู้ลุกขึ้นมาตั้งองค์กร ตรวจสอบงบประมาณและทัศนคติของคนทำงานด้วย จอม กล่าวว่า ถ้าถามว่าถึงเวลาต้องคุยกันเรื่องสถาบันกษัตริย์หรือยัง มองว่า ถึงเวลาแล้ว สถาบันกษัตริย์ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในระยะสิบปีที่ผ่านมา ประชาชนที่มีความผูกพันทั้งที่จงรักภักดีหรือตั้งคำถาม ต่างก็ติดตามเรื่องนี้อยู่ตลอด อย่าปฏิเสธความจริงว่าคนที่รักจะไม่อ่านคำวิจารณ์ ยิ่งปัจจุบันมีการพูดถึงทั้งจากสมศักดิ์ คณะนิติราษฎร์ และในสื่อออนไลน์ก็ต้องคุยและพูดให้ชัด ถามว่าเมื่อเสนอเรื่องอ่อนไหว ต้องปูพื้นความเป็นมาก่อนไหม ส่วนตัวมองว่ารูปแบบรายการที่ออกไปนั้นรับได้ เพราะประเด็นนี้มีการถกเถียงพูดคุยมานานแล้ว จอม กล่าวว่า ถ้าถามว่า ทำไมคนไทยงอแง ถ้าจะพูดแบบตรงๆ คำถามใหญ่ที่สุด อาจไม่เกี่ยวกับมาตรา 112 การหมิ่นสถาบัน หรือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แต่คือเมื่อไม่มีพระองค์ท่านแล้ว องค์ต่อไปคือใคร นี่ต่างหากที่ทำให้งอแง เพราะไม่มีใครให้ความชัดเจน เนื่องจากพระองค์ทรงสร้างมาตรฐานกษัตริย์ไว้สูงมาก จึงเกิดคำถามว่าองค์ต่อไปจะทำได้แค่ไหน
'ประวิตร' ชี้กรณี้นี้สะท้อนภาวะน่าห่วง คนออกมาเซ็นเซอร์คนอื่นและเซ็นเซอร์ตัวเองได้ ประวิตร เสนอว่า เมื่อสถานีตัดสินใจออกอากาศตอบโจทย์แล้ว แปลว่าภิญโญไม่ได้ทำผิดอะไร ก็อยากเห็นผู้อำนวยการไทยพีบีเอสออกมาแสดงเจตนารมณ์ในที่สาธารณะ เชิญภิญโญกลับไปทำงาน ทั้งนี้จากเหตุการณ์ตอบโจทย์ ทำให้เห็นปรากฏการณ์หลายอย่าง เช่น แนวคิดดูถูกประชาชนส่วนใหญ่ว่าโง่ เช่น ในบทความ ตอบโจทย์ พ่อง(พ่อมึง)เหรอ! ของจิตตนาถ ลิ้มทองกุล มีคนไทยที่เชื่อว่าตัวเองมีการศึกษาจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศนี้โง่ คิดเองไม่เป็น ส่วนตัวมองว่าหากดูถูกประชาชนขนาดนี้ ก็ควรไปทำงานประชาสัมพันธ์ที่ปวารณาตัวให้ข้อมูลด้านเดียว ไม่ควรมาทำสื่อ และถ้าเชื่อว่าประชาชนคิดไม่เป็น ก็ควรให้เขาเริ่ม สังคมต้องเรียนรู้ ถ้าสิ่งที่ตอบโจทย์จัด ซึ่งเป็นข้อมูลเพียงเศษเสี้ยว ยังรับไม่ได้ สังคมจะมีวุฒิภาวะได้หรือ โดยเฉพาะที่ยังมีการยึดกับตัวบุคคล ในยุคปลายรัชกาล จะอยู่กันอย่างไรในสิบปีข้างหน้า นอกจากนี้ ประวิตรกล่าวว่า ที่น่าละอายคือ กรณีที่พนักงานอาวุโสในไทยพีบีเอส แสดงความเห็นตั้งคำถามกับการให้พื้นที่นำเสนอ โดยมองว่า สิทธิวิพากษ์วิจารณ์นั้นทำได้ แต่ควรเชื่อในความเห็นที่หลากหลาย นี่เป็นครั้งแรกที่สมศักดิ์ได้ออกทีวีกระแสหลัก ทั้งที่แสดงความเห็นเท่าทันเจ้ามา 20 ปีแล้ว คนเหล่านี้กลับบอกว่าไม่แฟร์ ทั้งที่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ประชาชนควรมีสิทธิแสดงความเห็นต่าง ประวิตร กล่าวว่า กรณีภิญโญที่ถูกหาว่าล้มเจ้า เหมือนถูกทำร้ายแบบไม่ให้มีแผ่นดินอยู่ และอาจส่งผลต่อการทำงานในอนาคต สังคมไทยต้องให้กำลังใจ ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า ต้องเห็นด้วยกับที่เขาพูด ขณะเดียวกันเรียกร้องต่อคนเสื้อแดง หรือคนที่เท่าทันต่อสถาบันด้วยว่า "โจทย์ใหญ่ของสังคม อยู่ที่ว่าสังคมไทยจะสร้างที่ยืนสำหรับความเห็นที่หลากหลายได้อย่างไร โดยไม่ต้องปิดปาก เกลียดชัง หรือฆ่ากัน เป็นภาระของสื่อทุกองค์กรที่อ้างตนว่ายืนหยัดเพื่อประชาธิปไตยและสังคมไทย มิเช่นนั้นสังคมไทยจะไม่มีทางสงบ มีวุฒิภาวะ ถ้าต้องคอยเกลียดชัง ปิดปาก จำกัดคนเห็นต่าง" ประวิตรกล่าวและว่า "ปัญหาไม่ใช่แค่สื่อ ไม่ต้องมี 112 พ.ร.บ.คอมฯ ก็มีคนรักพ่อภาคปฏิบัติจัดให้ ที่น่ากลัวคือมีประชาชน เซ็นเซอร์คนอื่น และตัวเองโดยไม่มีใครสั่ง" นอกจากนี้ ประวิตร กล่าวด้วยว่า การมีกรรมการนโยบายและอนุกรรมการรับเรื่องร้องเรียนของไทยพีบีเอสเป็นเรื่องที่ดี ถ้าไม่มีโครงสร้างนี้ คงไม่มีการนำเสนอรายการตอบโจทย์ตอนที่ 5 ในวันจันทร์ พร้อมยกตัวอย่าง นสพ.วอชิงตันโพสต์ ที่มีระบบผู้ตรวจการซึ่งจะเชิญคนนอกที่ได้รับการยอมรับว่าไม่อยู่ใต้อิทธิพลของสื่อนั้น ให้มีพื้นที่ในสื่อเพื่อแสดงความเห็นวิพากษ์การทำงานของสื่อ ตำหนิและฟังฟีดแบก ซึ่งในไทยยังไม่มี
'ใบตองแห้ง' วิพากษ์สมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์สองมาตรฐาน นอกจากนี้ยังมีความขัดแย้งภายใน จากการที่ที่ผ่านมา สมชัย สุวรรณบรรณซึ่งเพิ่งเข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวยการ พยายามจัดระเบียบฝ่ายข่าวใหม่ เพราะระบบในไทยพีบีเอสยุ่งเหยิง มีเจ้ากรมอิสระ ต่างคนต่างมา มีที่มาแบบองค์กรเอ็นจีโอคือเป็นพรรคพวกกัน มีการสร้างเครือข่ายซึ่งกันและกัน มีปัญหาด้านการบริหาร มีทัศนะชี้นำ ทำให้สมชัยอยากจะปฏิรูปโดยเริ่มที่รายการตอบโจทย์ แต่เมื่อสมชัยตัดสินใจพลาดโดยชะลอออกอากาศเมื่อวันศุกร์ และเสียภิญโญไปแล้ว ก็ยังสงสัยว่าสมชัยจะทำอย่างไรต่อไป ทั้งนี้ส่วนตัว มองว่าแม้สมชัยจะมีจุดยืนทางการเมืองที่ตรงข้ามกับตนเอง แต่ก็เป็นคนที่เปิดกว้างต่อทัศนะที่แตกต่าง ใบตองแห้ง กล่าวต่อว่า กรณีสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยออกแถลงการณ์ชื่นชมการตัดสินใจระงับการออกอากาศ ชื่นชมผู้ที่ไปกดดัน และตำหนิรายการตอบโจทย์ฯ นั้น สมควรแล้วที่ อรพิน จะขอลาออกจากการเป็นอุปนายกด้านสิทธิเสรีภาพ เพราะปกป้องเสรีภาพของรายการไม่ได้ ทั้งนี้ อรพินเองตอนที่นักข่าวไทยพีบีเอสถูกตำรวจตีในม็อบเสธ.อ้าย ก็เป็นผู้ไปต่อสู้ให้ แต่กับกรณีนี้ สมาคมกลับเงียบกริบ พอสุดท้าย กลับออกแถลงการณ์เช่นนี้ ตั้งคำถามว่าสองมาตรฐานไหม กรณีที่ จ.เจตน์ไปพบกนก รัตน์วงศ์สกุล ยังไม่รุนแรงเท่านี้ ที่คน 20 กว่าคนไปบอกว่าหากไม่ถอดรายการจะไม่กลับ ถามว่า ต่อไปถ้ามีใครไปกดดันวิสุทธิ์ (คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย) ที่คลื่น 96.5 จะชื่นชมไหม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ศาลสูงนิวยอร์กให้ 'สุภาพ เกิดแสง' ชนะคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ขายหนังสือมือสอง Posted: 20 Mar 2013 08:17 AM PDT
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สังคมสยามตามทัศนะของปัญญาชนไทยหมายเลข 10 Posted: 20 Mar 2013 08:07 AM PDT I คำว่า ปัญญาชน นั้น ใครจะเป็นผู้บัญญัติศัพท์ขึ้น ข้าพเจ้าไม่ทราบ ทราบแต่ว่ามีคนมามอบยี่ห้อให้ข้าพเจ้าเป็นปัญญาชนสยาม ยังสายชล สัตยานุรักษ์ ซึ่งได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) ก็ได้กำหนดขอบเขตปัญญาชนแต่อดีตจนปัจจุบันไว้ ๑๐ คน โดยมีข้าพเจ้าเป็นคนที่ ๑๐ และเป็นคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงขอเอาหมายเลขนี้มาเป็นชื่อปาฐกถาสำหรับวันนี้ โดยไม่มีอะไรพาดพิงไปถึงรัชกาลที่ ๑๐ ด้วยประการใดๆทั้งสิ้น คำว่า ปัญญาชน นั้น เรากำหนดขึ้นจากภาษาอังกฤษ Intellectual ดังมีข้อเขียนของ T.R. Fyvel เรื่อง Intellectual Today ตีพิมพ์ขึ้นแต่ ค.ศ.๑๙๖๘ (โดยสำนักพิมพ์ Chattos Windus) ดังขอแปลความมาตอนหนึ่งว่า "ปัญญาชนเป็นแต่คนที่สร้างสรรค์ในทางนฤมิต (creative) เท่านั้น พวกนี้ได้แก่ คนที่ติดใจในแนวความคิดวงกว้างและต้องการให้ความคิดนั้นๆ น่าสนใจ และมีอิทธิพลเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ถ้าจะแปลความกันอย่างกว้างๆ (ดังที่พวกคอมมูนิสต์มักจะนิยาม) แล้วปัญญาชนย่อมได้แก่ ศัพท์ที่ใช้ในวงวิชาชีพ สำหรับข้าราชการชั้นสูง ที่เป็นนักวิชาการ นักวิทยาศาตร์ ศาสตราจารย์ นักวิจัย นักบริหาร นักเขียน นักพูดวิทยุกระจายเสียงและนักสื่อสารมวลชนอื่นๆ หรือนัยหนึ่ง ปัญญาชนคือ Technical Intelligentsia นั่นเอง" เมื่อพูดมาถึงเพียงนี้แล้ว ก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องแปลคำว่า Intelligentsia ให้กระจ่างไปด้วย เพราะคาบเกี่ยวอยู่กับคำว่า Intellectual มิใช่น้อย ในที่นี้ จะขอใช้บทความของเซอร์ ไอไซอะ เบอร์ลิน เป็นหลัก (Isiah Berlin's "The Role of Intelligentsia" The Listener 2 May 1968) ท่านผู้นี้เล่าว่าคำดังกล่าวเกิดขึ้นที่รัสเซียเมื่อประมาณร้อยปีมานี้เอง คนที่เรียกตัวเองว่า Intelligentsiya (ภาษารัสเซีย มาจากภาษาอิตาเลียนว่า Intelligenza ก็คือ Intelligence ในภาษละตินนั่นเอง) นั้นได้แก่ คนกลุ่มน้อยซึ่งได้โอกาสรับวัฒนธรรมตะวันตก พวกนี้มักจะอ่านภาษาฝรั่งต่างๆอย่างสบาย แล้วรู้สึกว่าตนเองถูกตัดออกจากมหาชน จนเหมือนกับว่าตนเป็นคนต่างชาติในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ในบรรดาคนเหล่านี้ ผู้มีมโนธรรมละเอียดอ่อน เห็นว่าตนควรมีความรับผิดชอบในอันที่จะต้องช่วยชนชาติเดียวกันที่ยังล้าสมัยกว่าตน และได้รับความสุขน้อยกว่าตน คนพวกนี้ค่อยๆตั้งตัวเป็นกลุ่มๆขึ้นมา และถือเป็นหน้าที่ว่าต้องพูดในที่สาธารณะ ต้องแสดงปาฐกถา ต้องเขียน นี้คือกิจจำเป็นอันพวกเขาต้องถือเป็นวัตรปฏิบัติ ทั้งนี้ก็เพราะระบบการปกครองรัสเซียเวลานั้นไม่ยอมให้มีการปฏิรูปใดๆ อันคนส่วนใหญ่จะขึ้นมาเสวยสุขเท่าเทียมกับชนชั้นปกครอง จากคำนิยามของไอไซอะ เบอร์ลิน จะเห็นได้ว่าการคัดค้าน ไม่ว่าจะถูกต้องหรือไม่ มิได้ส่อให้เห็นว่าผู้ค้านจะต้องเป็น อินเตลลิเยนเซีย การคัดค้านนั้นจะต้องประกอบไปด้วยความเชื่อว่าถ้าไม่ทำเช่นนั้น ต้องหันมาทำเช่นนี้ และการกระทำดังนี้ตั้งอยู่บนรากฐานของเหตุผล หรือความเชื่ออันมีเหตุผลสนับสนุน เมื่อทำแล้วย่อมเป็นไปในทางวัฒนะ ไม่ใช่หายนะ ผู้ที่ให้เหตุผลย่อมเป็นผู้มีความหวังดีอย่างแท้จริงต่อสังคม หาใช่บุคคลประเภทเยาะเย้ยถากถางสังคม เพื่อแสดงว่าในทางพุทธิปัญญา ตัวอยู่เหนือคนอื่นๆ แต่แล้วก็ปฏิรูปสังคมในทางสร้างสรรค์ อย่างหนึ่งอย่างใดมิได้ บุคคลประเภทนี้ เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า พวก Cynic หรือ อย่างที่เรียกกันในภาษาไทยว่าประเภทมือไม่พายฯ เขาจะคอยแต่จับผิดคนที่ทำการ และเขาจะมองแต่กลับไปในทางข้างหลัง โดยไม่มีหวังในทางข้างหน้า เวลานี้เรามีบุคคลประเภทนี้อยู่ แต่ อินเตลลิเยนเซีย (ตามคำนิยามของเบอร์ลิน) เราไม่มี (นี่หมายถึงในปี ๑๙๖๘) ด้วยเหตุฉะนี้ดอกกระมัง นายเฮอเบิร์ต ฟิลิปส์จึงว่าเมืองไทยมีก็แต่ ลิเตอราตี (Literati) คือคนที่อย่างเก่งก็กลับไปมองหาความไพบูลย์จากอดีต ยิ่งกว่าจะคิดสร้างสรรค์ในทางอนาคต สถาบันต่างๆก็หันไปมองทางข้างหลัง ยิ่งกว่าจะมุ่งหวังทางข้างหน้า (ดู "The Culture of Siamese Intellectuals" by H.P.Phillips ซึ่งตีพิมพ์ใน Aspects of Culture in Thailand and Laos: Homage of Lauriston Sharp (Vol 1,1969) แต่ถ้าเรามองดูอดีตจริงๆแล้ว ขณะที่เกิด อินเตลลิเยนเซีย ที่รัสเซียนั้น ก็มีบุคคลประเภทนี้ที่กรุงสยาม ดังเอกสารเรื่อง เจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลถวายความเห็น จัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดินร.ศ. ๑๐๓ เป็นพยานอยู่ (ปัญญาชนสยาม , สำนักพิมพ์สยาม พ.ศ.๒๕๑๒ หน้า ๕๔-๕๗)
ถ้าจะถือว่าท่านที่ลงพระนามและนามในหนังสือกราบบังคมทูลในปีร.ศ.๑๐๓ นั้น เป็นปัญญาชนรุ่นแรกของสยาม ก็คงเข้ากับคำนิยามของ Fyvel ว่า ท่านนั้นๆเป็น Technical Intelligentsia โดยที่ต่อๆมา แต่ละท่านก็ปรับตัวเข้ากับระบอบราชาธิปไตยไปตามๆกัน จนกลายเป็นขุนนางข้าราชการที่เดินตามพระราชาธิบดีอย่างเซื่องๆทุกท่านทุกคน จะมียกเว้นก็แต่เพียงพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เท่านั้น ที่ถึงกับต้องหนีราชภัยไปทรงผนวชอยู่ที่ลังกาทวีปจนสิ้นรัชกาลที่ ๕ และเมื่อกลับมากรุงสยามในรัชกาลที่ ๖ ก็ทรงกลายเป็นบุคคลชายขอบอันไม่เป็นที่พึงปรารถนาของชนชั้นปกครองอีกต่อไป จะว่าเทียนวรรณและกศร.กุหลาบเป็นปัญญาชนคนสามัญในรัชกาลที่ ๕ ก็ได้ ทั้งคู่นี้ถูกรัฐบาลสยามลงโทษมาด้วยกันแล้ว โดยที่ชนชั้นบนไม่ยอมรับฟังถ้อยคำของเขาเอาเลย
II ที่จริง คำว่า สยาม นั้น ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางราชการก็เมื่อเริ่มรัชกาลที่ ๔ นี่เอง และความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในรัชกาลนั้น คือการเปิดประเทศให้ฝรั่งเข้ามามีอิทธิพลเหนือราชอาณาจักร แม้คนไทยทั่วๆไปจะนิยมชมชอบว่าเรารักษาอิสระอธิปไตยไว้ได้ แต่เราก็มักเมินข้อเท็จจริงที่ว่าเราเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตไป ทั้งทางเศรษฐกิจและทางศาล แม้การบริหารบ้านเมือง ก็ถูกสะกดให้เดินตามทางของมหาอำนาจในตะวันตก แม้พระจอมเกล้าฯจะทรงพระปรีชาสามารถ แต่ก็ทรงได้รับการยกย่องอย่างเกินความจริงมากไป เพราะความสำเร็จและความล้มเหลวในการเปิดประเทศคราวนี้ ถ้าขุนนางคนสำคัญของฝ่ายตระกูลบุนนาคไม่เห็นดีเห็นงามด้วย ย่อมเป็นไปไม่ได้ และว่าไปทำไม ก็เพราะคนสำคัญในสกุลนี้ นี่แล ที่เป็นตัวกำหนดให้เชิญเสด็จเจ้าฟ้าพระมงกุฎ วชิรญาณเถระ มาเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ ๔ ความข้อนี้ พระองค์ท่านก็ทรงทราบเป็นอย่างดี ดังมีพระราชดำรัสว่า "ข้าพเจ้าจึงตั้งเป็นกฎไว้ ข้อหนึ่งว่า ถ้าต้องการจะทำอะไร ประการแรกต้องถามความเห็นของที่ปรึกษาชั้นสูงก่อน ถ้าเขาเห็นดีด้วย ข้าพเจ้าจึงจะทำ ข้าพเจ้าจะไม่ทำอะไรตามใจตนเองโดยขัดกับคำแนะนำของที่ปรึกษานั้นเลย" แปลจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยลอนดอนของน.ส.นิออน สนิทวงศ์ พ.ศ.๒๕๐๔ อนึ่ง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ พระหัตถ์ขวาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โดยเฉพาะในช่วงปลายรัชกาล และผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในตอนต้นรัชกาลที่ ๕ ได้ปรารภกับเทาน์สเอน แฮริส ราชทูตอเมริกันว่า"พระเจ้าแผ่นดินที่อ้างพระสถานะโดยพระชาติวุฒินั้น มักลืมตนว่ากำพืดเดิมก็มาจากประชาชนนั้นเอง แล้วเลยถือตนว่าสูงส่งกว่าคนอื่น จนไม่ฟังเสียงในเรื่องความทุกข์ยากจากพสกนิกรของพระองค์ ด้วยเหตุฉะนี้ ราชวงศ์หนึ่งๆ จึงมักอยู่ได้เพียง ๔ ชั่วคน" (แล้วก็ต้องเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่) แปลจาก Journal of Townsend Harris ed by Consenza (NY 1930) (สถาบันพระมหากษัตริย์กับอนาคตของประเทศไทย ของ ส.ศิวรักษ์, มูลนิธิเสฐียรโกเศศฯ พ.ศ.๒๕๔๐ หน้า ๕๒-๕๓) พระจอมเกล้าฯทรงคับแค้น ขัดข้องพระหฤทัยอย่างไรหรือไม่ ที่ไม่ทรงมีพระราชอำนาจอย่างเด็ดขาด ความข้อนี้ไม่มีเอกสารยืนยัน แต่การที่ทรงหมกมุ่นในทางกามคุณจนมีพระราชโอรสธิดาถึง ๘๘ พระองค์ ในขณะที่เมื่อเสวยราชย์นั้น หลังทรงผนวชแล้วถึง ๒๗ พรรษา และสวรรคตเมื่อพระชนม์ ๖๔ เท่านั้นเอง นี่เป็นการหนีจากการแสดงพระราชอำนาจในทางโทสจริตไปหาราคจริตแทนจะได้ไหม และถ้าเจ้าจอมคนไหนขัดขืนพระราชปรารถนา ก็ทรงลงพระราชอาญาอย่างป่าเถื่อนเอาเลย ดังกรณีของเจ้าจอมทับทิม ที่แหม่มแอนนา ลีโอโนเวนส์เขียนบรรยายไว้ แล้วฝ่ายไทยปฏิเสธข้อเท็จจริง แต่ความจริงก็มีอยู่ไว้ให้ผู้ที่สนใจใฝ่รู้จะแสวงหาเอาได้ ถ้าพระราคจริตจะเป็นข้อด้อยของพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ (ซึ่งก็ตกทอดมาถึงพระองค์ถัดไป) แต่พระอัจฉริยภาพทางด้านการศึกษานั้น ควรแก่การก้มหัวให้ แม้ศิษย์ผู้เป็นฆราวาสของพระองค์ยังเรียบเรียงเรื่อง กิจจานุกิจ ขึ้นมาใช้อย่างนำสมัยยิ่งนัก จนถึงกับปฏิเสธโลกทัศน์เดิมจาก ไตรภูมิพระร่วง เอาเลย และเรื่องนี้แลที่นายอาลาบาสเตอร์นำไปแปลและตีพิมพ์ในอังกฤษแต่ปี ค.ศ. ๑๘๗๑ ในชื่อว่า The Wheel of The Law ดังอาจถือได้ว่านี่เป็นการเผยแผ่พุทธศาสนาไปยังนานาประเทศเป็นครั้งแรก ยังคณะธรรมยุติที่ทรงก่อตั้งขึ้นแต่สมัยทรงผนวช ก็ช่วยให้คณะมหานิกายปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ถูกที่ควรมากขึ้น หากพุทธทัศนะที่ถือว่าต้องเป็นไปตามวิสัยของวิทยาศาสตร์กระแสหลักของตะวันตกในเวลานั้น อาจปราบอคติของพวกมิชชันนารีได้มิใช่น้อย แต่การที่ถือตามวิทยาศาสตร์มากไป ทำให้พุทธศาสนิกที่หัวก้าวหน้าหมดความเชื่อในเรื่องโลกนี้โลกหน้า ในเรื่องเทวดาอารักษ์ และในเรื่องนรกสวรรค์ ซึ่งพิสูจน์ไม่ได้ในทางวิทยาศาสตร์กระแสหลัก นี้นับว่าเป็นโทษยิ่งกว่าเป็นคุณ ยิ่งเมื่อพระราชโอรสซึ่งทรงมาบัญชาการคณะสงฆ์อย่างสิทธิขาดในรัชกาลที่ ๖ โดยทรงรับจัดการศึกษาของคณะสงฆ์แต่รัชกาลที่ ๕ ด้วยแล้ว ทรงเน้นเฉพาะแต่ในทางคันถธุระ โดยไม่คำนึงถึงวิปัสสนาธุระเอาเลย เป็นเหตุให้การศึกษาของคณะสงฆ์ขาดจิตสิกขาไปอย่างน่าเศร้า ทั้งการเรียนการสอนในวงการศาสนา ก็เอาอย่างทางโลก โดยเน้นที่หัวสมอง ให้สอบไล่ได้สูงๆขึ้นไปเพื่อเจริญสมณศักดิ์ หรือเพื่อสึกหาลาเพศไปรับราชการด้วยแล้ว คณะสงฆ์ก็เริ่มอ่อนแอลง การศึกษาของพระสงฆ์เป็นการไต่เต้าให้สูงส่งขึ้น โดยขาดมิติในทางโลกุตระไปอย่างน่าเสียดาย โดยที่คณะสงฆ์นั้นเป็นตัวแทนของธรรมจักร ซึ่งเคยคานอำนาจอาณาจักรไว้มาแต่ไหนแต่ไร แม้ในรัชกาลที่ ๔ พระราชาจะรู้สึกพระองค์ว่าทรงรอบรู้ดีกว่าพระภิกษุสงฆ์ส่วนใหญ่ แต่ก็ทรงรับคำเตือนจากพระสังฆเถระที่เป็นปราชญ์ทั้งทางโลกทางธรรมอย่างสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง เป็นต้น โดยที่ก่อนหน้านี้ เรามีพระสังฆเถระผู้เป็นมโนธรรมสำนึกของพระราชามาแทบทุกรัชกาล ดังสมเด็จพระวันรัต วัดโพธิ์กับรัชกาลที่ ๑ สมเด็จพระญาณสังวร (ศุข) วัดพลับกับรัชกาลที่ ๒ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดท้ายตลาด กับรัชกาลที่ ๓ เป็นตัวอย่าง โดยไม่จำต้องเอ่ยถึงสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (จี่) วัดประยูรวงศ์ และพระธรรมอุดม (ถึก)วัดโพธิ์ ก็ยังได้ ครั้นมาถึงรัชกาลที่ ๕ นับเป็นครั้งแรก ที่โปรดให้ศาสนจักรอยู่ใต้อาณาจักรอย่างแนบสนิทเอาเลย ดังพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ เป็นพยาน และใช่แต่ทรงเอาชนะพระภิกษุสงฆ์เท่านั้นก็หาไม่ แม้นี่จะเป็นอนันตริยกรรมก็ตามที หากทรงต้องพระราชประสงค์จะทรงเอาชนะขุนนาง ข้าราชการ ที่เคยอุ้มชูพระราชามหากษัตริย์และประคับประคองพระราชวงศ์มาแต่ต้นรัชกาลที่ ๓ จนต้นรัชกาลที่ ๕ ความข้อนี้กลับไม่พอพระหฤทัยเอาเลย และทรงวางแผนทุกอย่างทุกประการ จนทรงสามารถเลิกตำแหน่งวังหน้าเสียได้ และเมื่อสิ้นบารมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์แล้ว ก็ทรงสถาปนาความเป็สมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นได้สมพระราชปณิธาน การเมืองการปกครองที่ว่านี้คือการเอาอย่างราชาธิปไตยในยุโรป โดยเฉพาะก็รัสเซีย และปรัสเซีย ซึ่งสถาปนาเป็นจักรวรรดิเยอรมันขึ้นมาด้วยแล้ว พร้อมกันไปกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ออสเตรีย โดยไม่ทรงตระหนักเลยหรือว่าราชาธิปไตยที่ว่านี้ กำลังเสื่อมทรามและปลาสนาการไปหลังรัชกาลของพระองค์ท่านอีกไม่นานเท่าไร แม้สหราชอาณาจักรที่โปรดปรานมากนัก ก็ไม่เข้าพระทัยเอาเลยหรือว่าพระมหากษัตริย์เป็นเพียงสัญญลักษณ์ ในขณะที่อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่รัฐบาลและรัฐสภา การเสด็จยุโรปทั้งสองครั้งในปีร.ศ.๑๑๖ และ ๑๒๖ ทรงได้รับความรู้ทางเศรษฐกิจ การเมือง การปกครองน้อยมาก หากทรงพระสำราญกับราชสำนักต่างๆ ดังทรงเข้าพระทัยไปว่าได้ทรงเป็นพระราชาที่เสมอกันกับเจ้าฝรั่งนั้นๆ ไม่ทรงเห็นเลยว่าการที่จักรวรรดิอังกฤษยึดครองเอาอินเดีย แม้จนพม่า ไปเป็นเมืองขึ้นนั้น เป็นความผิดอย่างอุกฤษ กลับทรงเห็นว่าชนชั้นปกครองในประเทศนั้นๆโง่เขลาเบาปัญญาอย่างเทียบกับฝรั่งผู้เป็นนายไม่ได้ หน้าที่ของเราคือต้องให้เจ้าไทย แม้จนคนไทยที่มีแววว่าจะเป็นนักปกครองต่อๆไป ได้เรียนรู้เท่าทันฝรั่ง นั้นแลคือทางออกของสยาม ทรงกำหนดพระหฤทัยไว้อย่างแน่วแน่ว่าบรรดาพระราชโอรส จำต้องทรงได้รับการศึกษาจากยุโรปทุกพระองค์ แม้โอรสองค์โตของพระอนุชาก็จะได้รับสิทธิในทำนองนี้ด้วยเกือบทุกองค์ ทรงหวังว่าเจ้านายเหล่านี้จะค้ำจุนราชบัลลังก์และธำรงรักษาสยามรัฐสีมาอาณาจักรให้ดำรงมั่นในทรงสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต่อๆไปชั่วกาลนาน แม้คนนอกราชตระกูลจำนวนน้อยที่มีแววก็โปรดให้ไปเรียนเมืองนอกด้วยเช่นกัน แต่แล้ว Mr. Scott ซึ่งเป็นคนอังกฤษ ที่อยู่เมืองไทยมานาน ก็กราบทูลสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อเสด็จลี้ภัยพาลไปประทับ ณ เกาะปีนัง ว่า "พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชของเราได้ทรงทำคุณประโยชน์ประทานแก่ประเทศชาติของพระองค์อย่างล้นเหลือ ไม่มีสิ่งไรเปรียบพระองค์ได้ ทรงทำผิดแต่เพียงส่งเด็กไปเรียนต่างประเทศแต่ยังเล็กเกินไปอย่างเดียวเท่านั้น ควรหรือสิ่งเดียวเท่านั้นแหละ กลับมาเป็นเหตุให้ลบล้างสิ่งที่ประเสริฐสุดของพระองค์ท่านจนหมดสิ้น" (ความคิดที่ขัดขวางและส่งเสริมประชาธิปไตยของไทย,ส.ศิวรักษ์,อักษรสาส์น ธันวาคม ๒๕๒๙) ขอให้ย้อนมาดูกรุงเทพฯซึ่งโปรดให้ขยายไปจากเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ทางด้านสวนดุสิต ก็จะเห็นได้ถึงความศรีวิไลของสยาม ที่ลอกแบบฝรั่งมาอย่างจะๆ แม้วัดในทางพุทธศาสนาก็ต้องมีพระอุโบสถซึ่งทำด้วยหินอ่อน ดังพระที่นั่งอนันตสมาคมก็เช่นกัน สมกับคำละตินที่ว่า เมื่อพระจักรพรรดิออกัสตัสเสวยราชย์นั้น กรุงโรมเต็มไปด้วยอาคารอิฐ ครั้นเมื่อตอนสวรรคต เต็มไปด้วยอาคารหินอ่อน นอกจากพระราชวังของพระองค์เอง และของมเหสีเทวีแล้ว วังของพระราชโอรสแต่ละพระองค์ก็ตระการตาอย่างอาคารฝรั่งด้วยกันทั้งนั้น แต่แล้วพระอนิจลักษณะก็เข้าแสดงบทบาทให้เห็นได้ไม่ยาก ว่าบรรดาเจ้าของวังนั้นๆ เกือบทุกพระองค์ต้องสิ้นพระชนม์ไปในชั่วคนเดียวหรือมีอันเป็นให้ต้องนิราศร้างไปจากวังนั้นๆ จนวังนั้นๆปราศจากเจ้านายไปในชั่วระยะเวลาอันสั้น ดังที่ราชววงศ์จักรีก็ได้สิ้นความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้นแล III แม้คำว่า สยาม จะเริ่มใช้อย่างเป็นทางราชการในรัชกาลที่ ๔ แต่ความเป็นสยามมาปรากฎตัวอย่างชัดเจนก็ในรัชกาลที่ ๕ ดังถึงกับลงพระปรมาภิไธยว่า สยามินทร์ ในขณะที่ในรัชกาลที่ ๔ ทรงเรียกพระองค์ในทางภาษาละตินว่า Rex Siamensis เท่านั้น ในรัชกาลที่ ๕ นั้นเป็นครั้งแรก ที่มีการปลุกความสำนึกของราษฎรให้เห็นความสำคัญขององค์พระสยามินทร์ หากในรัชกาลที่ ๔ เรามีแต่พระสยามเทวาธิราช ซึ่งไม่ใช่มนุษย์ ส่วนในรัชกาลที่ ๕ นั้น พระสยามินทร์เป็นยอดของคนสยามและประเทศสยาม สมดังคำสรรเสริญพระบารมี ที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์ขึ้นว่า ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน นบพระภูมิบาล บุญดิเรก เอกบรมจักริน พระสยามินทร์ พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล ผลพระคุณธรักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์ ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด จงสฤษฎ์ดัง หวังวรหฤทัย ดุจจะถวายไชย ฉะนี้ (รัชกาลที่ ๖ ทรงแก้ ฉะนี้ เป็น ไชโย) นับได้ว่านี่เป็นคำโฆษณาชวนเชื่ออย่างอุกฤษ ดังระบบการศึกษาสมัยใหม่ ที่เริ่มในรัชกาลที่ ๕ ก็ยกย่องพระราชามหากษัตริย์อย่างสุดๆ ซึ่งไม่เคยมีมาแต่ก่อน เพราะในทางพุทธศาสนา ถือว่าพระราชาเป็นตัวแทนของอกุศลมูล ในชาดกแทบทุกเรื่องที่พระแต่งขึ้น พระราชามักเป็นตัวเลวร้ายด้วยเสมอไป ไม่ว่าจะนิบาตชาดก ที่มาจากชมภูทวีป หรือปัญญาสชาดกที่มาจากเชียงใหม่ ทั้งนี้เพื่อเตือนพุทธศาสนิก ไม่ให้เข้าไปใกล้ชิดกับอำนาจหรือหลงใหลได้ปลื้มกับทรัพย์ศฤงคาร ชาวไร่ชาวนาพอใจกับความเป็นคนธรรมดาสามัญที่มีศักดิ์ศรี โดยไม่ต้องการอ้าขาผวาปีกไปเป็นเศรษฐีหรือเป็นขุนนาง จอห์น ครอเฟิร์ด ซึ่งเป็นผู้แทนลอร์ดเฮสติ้ง ที่อินเดีย และเข้ามาเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้บันทึกไว้ว่า "คนพวกกึ่งเปลือยกาย ราวกับคนป่าและเป็นทาสพวกนี้ บังอาจจะกล้ารู้สึกตัวว่าเป็นชาติที่สูงสุดในโลก และถือว่า การที่รับใช้ชาวต่างประเทศอย่างคนใช้ในทางใดๆ ก็ดี เป็นการเสียเกียรติอย่างที่สุด" เขายังโกรธเคืองอีก เมื่อเขียนว่า "ตลอดเวลาที่เราพักอยู่ในสยาม ไม่ว่าเราจะอ้อนวอนหรือสัญญาว่า จะให้ค่าจ้างอย่างดีเพียงใด ก็ไม่สามารถจะได้คนไทยมารับจ้างทำงานแม้แต่ในระหว่างคนชั้นต่ำที่สุด" เขาเขียนอีกว่า "คนไทยชาวนาที่ต่ำต้อยที่สุดถือตัวว่ามีฐานะสูงกว่าคนสำคัญชั้นสูงใหญ่โตที่สุดของชาติอื่นๆ" (เจ้าชีวิต , พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ , ริเวอร์บุ๊กส์ พ.ศ.๒๕๕๔ หน้า ๑๒๙)
การรวมศูนย์อำนาจในรัชกาลที่ ๕ และการศึกษาอย่างใหม่ที่เริ่มในรัชกาลนั้น เป็นต้นตอที่มาให้คนในชนบทรู้สึกว่าด้อยกว่าคนในกรุง ทั้งยังแลเห็นว่าชนชั้นสูงมีสถานะอันควรแก่การยกย่องและเอาเยี่ยงอย่าง เพราะพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้นและพระเจ้าน้องยาเธอที่จัดการศึกษาทางโลกและจัดการปกครองบ้านเมืองอย่างใหม่ เช่น กรมหลวงดำรงราชานุภาพ และที่จัดการศึกษาทางธรรม และการปกครองคณะสงฆ์อย่างใหม่ เช่น กรมหลวงวชิรญาณวโรรส ล้วนเสนอแนวคิดว่าบ้านเมืองที่ดี ต้องมีพระราชธิบดีที่ทรงคุณธรรมและความสามารถ ให้ทุกๆคนพากันจงรักภักดี นี้แลคือความเป็นไทย พระราชาที่ทรงคุณวิเศษย่อมทรงพระเมตตาปรานีพระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนาง ข้าราชการ ตลอดจนสมณพราหมณาจารย์ รวมถึงราษฎรทุกหมู่เหล่า ให้ทุกๆคนอยู่ดีกินดีตามสถานะของตนในลำดับของชนชั้นนั้นๆ เช่น เด็กทุกคนเมื่อเข้าเขตแห่งการเป็นวัยรุ่น ย่อมต้องโกนจุก ถ้าปราศจากทรัพย์ศฤงคารที่จะโกนจุกที่บ้านไม่ได้ ก็ไปโกนจุกได้ที่โบสถ์พราหมณ์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งยังได้รับพระราชทานเงินทำขวัญคนละสลึงอีกด้วย ในขณะที่หม่อมเจ้านั้นได้เกษากันต์ พระองค์เจ้าโสกันต์ และเจ้าฟ้าต้องมีเขาไกรลาศเป็นพิเศษออกไป อย่างสิ้นเปลืองเป็นอันมาก ความข้อนี้ ไม่มีใครเห็นว่าขาดความชอบธรรม ดังพระราชาคณะถือพัดยศยอดแหลม พระครูถือพัดยศไม่มียอด พระเปรียญถือพัดยศหน้านาง ก็ถือว่านั่นเป็นเรื่องของยศถาบรรดาศักดิ์ ดังขุน หลวง พระ พระยา ต้องขยับกันขึ้นไปเป็นขั้นๆนั้นแล ศักดินาขัตติยาธิปไตยที่ว่านี้ เคยมีแต่ในวังและกับพระที่เข้าวัง แทบไม่มีนอกกรุงออกไป เว้นแต่กรุงเก่า ซึ่งมีเจ้าคณะเป็นถึงพระธรรมราชานุวัตร โดยที่เมืองต่างๆซึ่งห่างไกลออกไป พระรับสมณศักดิ์จากชาวบ้านให้เป็นครูบา ให้เป็นซา เป็นสมเด็จ การเรียนคันถธุระและวิปัสสนาธุระก็ตามสายของครูบาอาจารย์ โดยไม่เกี่ยวข้องกับเมืองกรุงด้วยประการทั้งปวง ครั้นกรุงแผ่อำนาจออกไปทั้งทางการปกครองและการศึกษา รวมถึงทางเศรษฐกิจ ย่อมกระทบกับการปกครองตนเองของหัวเมืองต่างๆอยู่เองเป็นธรรมดา จนเกิดกบฎผีบุญขึ้นที่อุบลราชธานี กบฎเงี้ยวเมืองแพร่ และกบฎแขกเมืองปัตตานี เป็นต้น นี่เป็นการมองจากแง่มุมของชนชั้นปกครองในกรุงเทพฯทั้งสิ้น ดังกบฎเจ้าอนุในรัชกาลที่ ๓ ก็เช่นกัน ถ้ามองในแง่มุมของฝ่ายตรงกันข้าม ย่อมแลเห็นได้ไหมว่า เขาไม่ต้องการกินน้ำใต้ศอกและต้องการปกครองตนเองอย่างไปพ้นการครอบงำของศักดินาขัตติยาธิปไตยจากกรุงเทพฯ ถ้าความข้อนี้แก้ให้ตกไปไม่ได้ แม้ในบัดนี้แล้ว เราย่อมไม่มีทางที่จะเติบโตเต็มที่สมกับความเป็นมนุษย์ และไม่อาจจัดการบ้านเมืองให้เป็นไปในทางสันติประชาธรรมได้ นี่ไม่เพียงแต่ที่สามสี่จังหวัดภาคใต้เท่านั้นห สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดจักรวรรดิ เคยเล่าให้ฟัง ว่าท่านอยากลงมาเรียนที่กรุงเทพฯ ตอนปลายรัชกาลที่ ๕ ต่อรัชกาลที่ ๖ ทั้งๆที่ท่านอยู่แค่ปักธงไชยนี่เอง ชาวบ้านยังขอร้องไม่ให้ท่านจากบ้านจากวัดไป เพราะกรุงเทพฯมียุงและน้ำก็ไม่สะอาด อาจเป็นโรคห่าตายได้ง่ายๆ ดังท่านพุทธทาสเข้าไปกรุงเทพฯจากไชยา เมื่อปลายรัชกาลที่ ๖ ต่อรัชกาลที่ ๗ แล้ว โดยท่านเห็นต่างไปจากสมเด็จธีร์อย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ในขณะที่เจ้าคุณสมเด็จยอมรับสถานภาพอย่างใหม่ของกรุงสยามที่ครอบงำไปถึงคณะสงฆ์แล้ว พระคุณท่านจึงตั้งใจเรียนภาษาบาลีตามระบบจนสอบได้ประโยค ๙ และรับสมณศักดิ์เป็นขั้นๆจนถึงได้เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ทั้งๆที่ท่านก็แลเห็นว่าคณะสงฆ์อ่อนแอลงเรื่อยๆ ความขัดกันในบรรดาผู้นำหมู่สงฆ์ และการสยบยอมให้กับนักการเมือง แม้จนเผด็จการอย่าง ส.ธนะรัชต์ ได้เข้ามาปู้ยี่ปู้ยำคณะสงฆ์ โดยเริ่มแต่หัวหน้าคณะรัฐประหาร กับวัดสามพระยามาเอาเลยด้วยซ้ำไป แม้ท่านพุทธทาสจะได้มีโอกาสพบผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ ๘ และสนทนากันเป็นเอกเทศถึง ๔ ครั้ง โดยต่างก็ตั้งความหวังไว้ทางด้านธรรมิกสังคมนิยมกับสังคมสงฆ์และสังคมโลกของสยามใหม่ แต่พระคุณท่านก็หันหลังให้เมืองกรุง ด้วยการกลับไปตั้งสวนโมกข์ขึ้นที่ไชยา โดยที่นี่น่าจะเป็นความหวังให้สังคมสยาม ในขณะที่ความหวังของคณะราษฎรแต่พ.ศ.๒๔๗๕ ได้ปลาสนาการไปแล้วกับการรัฐประหาร ปี ๒๔๙๐ IV เมื่อเกิดการอภิวัฒน์ขึ้นในกรุงสยาม เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้น คณะราษฎรได้ประกาศหลัก ๖ ประการ ดังนี้ ๑.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง ๒.จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก ๓.จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก ๔.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่) ๕.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวข้างต้น ๖.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร นี่กว่า ๘๐ ปีล่วงไปแล้ว น่าจะต้องถามดูว่าข้อความในหลักทั้ง ๖ นั้น มีอะไรก้าวหน้าหรือถอยหลังไปอย่างไร ๑.เอกราชในทางการเมืองและในทางศาลนั้น รัฐบาลคณะราษฎรได้แก้ไขสิทธิสภาพนอกอาณาเขตได้สำเร็จในปี ๒๔๘๑ ดังมีเพลงที่ร้องกันอย่างแพร่หลายในสมัยนั้นว่า ๒๔ มิถุนา ยนมหาสวัสดิ์ ปฐมฤกษ์ของรัฐ ธรรมนูญของไทย เริ่มระบอบแบบอา รยะประชาธิปไตย เพื่อราษฎรไทย ได้สิทธิเสรี สำราญสำเริง รื่นเริงเต็มที เพราะชาติเรามี เอกราชสมบูรณ์ เวลานี้ เรายังมีเอกราชสมบูรณ์อยู่อีกหรือเปล่า หรือว่าอิสรภาพของรัฐไทยและคนไทยอยู่ภายใต้ฉายาของจักรวรรดิอเมริกันและจักรวรรดิจีน มิใยต้องเอ่ยถึงบรรษัทข้ามชาติ ตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๗๕ มาแล้ว ที่ราษฎรไทยได้สิทธิเท่าเทียมกันอย่างเลิกชนชั้นทางกฎหมายด้วยประการทั้งปวง ศาลไทยที่เคยพยายามให้ความยุติธรรม เพราะเกรงว่าอารยประเทศจะดูแคลนขบวนการยุติธรรม อันจะทำให้เราไม่ได้อิสรภาพในทางศาล ได้สร้างบรรทัดฐานทางการพิจารณาคดีอย่างควรแก่การก้มหัวให้ แม้เมื่อหมดสภาพนอกอาณาเขตไปแล้ว ศาลไทยก็ยังเป็นที่น่าเชื่อถือ ถึงจะเกิดเผด็จการขึ้น ก็ต้องตั้งศาลพิเศษหรือศาลทหารสำหรับชำระคดีนักโทษการเมือง แต่แล้วศาลก็เริ่มเอนเอียงมาแต่เกิดกรณีคดีสวรรคตเรื่อยมา ดังคำแถลงปิดคดีของข้าพเจ้าต่อศาลอาญาคราวที่สุจินดา คราประยูรกล่าวหาข้าพเจ้า ขออ่านถ้อยคำดังกล่าวให้ฟัง ดังนี้ รัฐบาลใช้พยานเท็จปั้นแต่งขึ้นในเรื่องคดีสวรรคต จนผู้บริสุทธิ์ ๓ คนต้องถูกประหารชีวิตไป คือนายเฉลียว ประทุมรส นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน แม้จะขึ้งถึงศาลฎีกาแล้วก็ตาม ทั้งๆที่ทั้งหมดนี้กระทำไปเพียงเพื่อกำจัดศัตรูทางการเมืองคือนายปรีดี พนมยงค์ และก็สมดังคำของนายปรีดีที่ว่า คดีดังกล่าวเป็นโมฆะ เพราะมีการสืบพยานโจทก์ปากสำคัญโดยไม่มีจำเลยหรือทนายจำเลยร่วมฟังอยู่ด้วยเลย ผลก็คือผู้บริสุทธิ์ทั้ง ๓ นายตายเปล่า นายตี๋ ศรีสุวรรณ พยานปากสำคัญนั้น ต่อมาได้ไปบวชพระ และยอมสารภาพผิดว่าตนได้เป็นพยานเท็จ แต่ก็ไม่อาจช่วยชีวิตของผู้บริสุทธิ์ทั้ง ๓ นั้นได้แล้ว ดังคดีของข้าพเจ้าคราวนี้ ก็มีพยานเท็จอย่างเห็นได้ชัด แสดงว่ากรมตำรวจแต่สมัยพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ จนบัดนี้ จะมีวี่แววที่ดีขึ้นก็หาไม่" (ผจญมาร รสช. ของ ส.ศิวรักษ์, สถาบันสันติประชาธรรม ๒๖ มิถุนายน ๒๕๓๘) ในบัดนี้ มีใครในแวดวงตุลาการเห็นคุณค่าของการเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตจนศาลไทยได้รับอิสรภาพเต็มที่ในปี ๒๔๘๑ บ้างไหม โฆษกของศาลที่ออกมาให้ภิญโญ ไตรสุริยะธรรมา สัมภาษณ์เมื่อคืนวันที่๑๑-๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เรื่องการทุบอาคารศาลฏีกา พูดว่าการเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตนั้น มาจากบารมีของพระเจ้าแผ่นดิน ๓ พระองค์ คือในหลวงรัชกาลที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗ ซึ่งออกกฎหมายมาให้ฝรั่งรับรอง โดยไม่ยอมเอ่ยถึงบทบาทของคณะราษฎรเอาเลย โดยที่ถ้าไม่มีปรีดี พนมยงค์ สิทธิสภาพนอกอาณาเขตจะยืนยาวไปอีกนานเท่าไร ในขณะที่นายปรีดีเทอดทูนกรมหมื่นเทววงศ์วโรทัยด้วยที่ทรงช่วยในแง่นี้ แต่คนสมัยนี้ลืมบุญคุณคนกันง่ายๆ แล้วจะมีนิมิตรหมายแห่งความเป็นคนดีได้อย่างไร อย่างน้อย อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา คนปัจจุบันก็ยอมรับว่า "รัฐธรรมนูญปี ๕๐ มากำหนดบทบาทศาลต่างๆ เช่น ให้มีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ หรือให้ไปคัดเลือกองค์กรอิสระ ก็เลยเอาศาลเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองและความขัดแย้งโดยที่ไม่ถูกต้องเลย ทำให้ภาพลักษณ์ศาลเสียหายมาก ต้องยอมรับ ปฏิเสธไมได้เลย พอไปยุ่งเกี่ยวกับองค์กรอิสระ มันก็เป็นเรื่องการเมือง มีคนได้คนเสีย หรือการมีศาลฎีกาฯ ที่เป็นศาลเดียวยิ่งทำให้ทุกอย่างพุ่งมาที่ศาลโดยตรง ถ้าแบ่งเป็น ๓ ศาล หรือจะเริ่มต้นที่ศาลอุทธรณ์แล้วไปจบที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา มันก็ยังดี กระบวนการมันยาวหน่อย แต่แบบนี้ศาลเดียว มันรวดเร็วมาก ก็ทำให้ฝ่ายที่ไม่อยากเห็นบทบาทของศาลก็ยิ่งโต้แย้ง ยิ่งหากผลคำตัดสินไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง ก็ยิ่งไปใหญ่ ก่อนหน้านี้ศาลจะเข้าไปเมื่อมีคดีความเท่านั้น การมอบหมายให้ศาลเอาสถาบันทั้งสถาบัน ซึ่งไม่เคยมีการทำมาก่อน พอมาทำแบบนี้ มันเลยเป็นเรื่องใหญ่ แทนที่จะเกิดผลดี กลับเกิดผลเสีย ถูกวิจารณ์ทั้งลบและบวก" (แทบลอยด์ ไทยโพสต์ No 744 ประจำวันที่ ๑๗-๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖) ข้อความที่ยกมานี้ อย่างน้อยก็แสดงว่า อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาในปัจจุบันกล้าพูดความจริงบางประการ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านี้ ก็คือการเรียนกฎหมายในสถาบันต่างๆ แทบไม่มุ่งที่ความยุติธรรมเอาเลย แถมการแต่งตั้งผู้พิพากษา ก็เลือกเอาจากการสอบแข่งขัน โดยที่บุคคลนั้นๆแทบไม่เคยมีประสบการณ์ทางด้านการว่าความมาก่อนเอาเลยด้วยซ้ำ พอขึ้นถึงบัลลังก์ก็มักอ้าขาผวาปีก แสดงอำนาจราชศักดิ์ว่าตนสูงส่งกว่าคนอื่นๆ ยิ่งจะให้ตนเองยอมเข้าไปสัมผัสกับทุกข์ยากของคนในเรือนจำซึ่งแน่นเกินไป และเต็มไปด้วยความฉ้อฉลนานับประการ ย่อมเป็นไปไม่ได้เอาเลย ถ้าแก้ไขให้ศาลเป็นอิสระเสรีและมีความยุติธรรมอย่างประกอบไปด้วยการุณยธรรมไม่ได้ สังคมย่อมไม่มีความหวัง ดังระบบเศรษฐกิจของสังคมสยามก็ล้มเหลวไปแล้ว แต่เมื่อรัฐบาลไม่ยอมรับ เค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ยิ่งบัดนี้มีบรรษัทข้ามชาติและจักรวรรดิอเมริกันและจักรวรรดิจีนเข้ามาปู้ยี่ปู้ยำระบบเศรษฐกิจของเราอีกด้วย แค่ปลดแอกอันนี้ไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่สังคมสยามจะคงความเป็นไทไว้ได้ ๒.ความปลอดภัยในบ้านเมืองเวลานี้ มีน้อยกว่าเมื่อ ๘๐ ปีก่อนยิ่งนัก ทั้งนี้เพราะระบบราชการล้มเหลวและผู้พิทักษ์สันติราษฎร์กลายเป็นผู้ทำลายสันติราษฎร์ไปแล้ว โดยขบวนการยุติธรรมทั้งหมดก็สั่นคลอนรวนเร ยังสื่อสารมวลชนกระแสหลักก็เน้นในทางโทสจริต ราคจริต และโลภจริต โดยมีโมหจริตเป็นเจ้าเรือน ซึ่งรวมถึงระบบการศึกษาอีกด้วย มิใยต้องเอ่ยถึงว่า ระบบเจ้าขุนมูลนายได้คืนกลับมา โดยเฉพาะก็แต่ส.ธนะรัชต์ยึดอำนาจ ๓. ดังได้กล่าวแล้วว่า การบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจนั้น คณะราษฎรล้มเหลวแต่เมื่อไม่รับเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมมาพิจารณานั้นแล้ว และคำอ้างของทักษิณ ชินวัตรที่ว่าจะเกื้อกูลคนยากคนจนนั้น เป็นถ้อยคำที่หลอกลวงอย่างมีอันตรายยิ่งนัก ใช่แต่เท่านั้น การที่เราเชื่ออเมริกันว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น เพราะอาศัยสังคมอุตสาหกรรม ทำให้เราทิ้งเกษตรกรรมอันเป็นเนื้อหาสาระเดิมของวัฒนธรรมสยามไปอย่างน่าเศร้าสลดที่สุด ดังคำว่า พัฒนา ได้เข้ามาทำลายธรรมชาติ และเอาเปรียบชาวไร่ชาวนา ตลอดจนวิถีชีวิตอันเรียบง่ายตามชนบทอย่างเลวร้ายยิ่ง รวมถึงการทำลายพุทธศาสนาอย่างถอนรากถอนโคน โดยคนส่วนใหญ่ไม่แลเห็นเอาเลย ๔. สิทธิอันเสมอภาคกันนั้นเป็นคุณภาพที่สำคัญยิ่งของระบอบประชาธิปไตย และมีอยู่ในคณะสงฆ์ของพระพุทธเจ้ามาก่อนแล้ว หากถูกระบอบศักดินาขัตติยาธิปไตยทำลายลง และระบบการศึกษาในปัจจุบันก็ช่วยทำลายลงอีกด้วย แม้จนสื่อมวลชนกระแสหลักก็เน้นไปทางด้านความเหลื่อมล้ำต่ำสูง และวัฒนธรรมแห่งการมอมเมา อันโยงไปถึงไสยเวทวิทยา ผนวกไปกับลัทธิทุนนิยม บริโภคนิยม อย่างน่ารังเกียจยิ่งนัก ๕. เสรีภาพจะมีได้ก็ต้องกล้าท้าทายความศักดิ์สิทธิ์มหัศจรรย์ และศักดินาขัตติยาธิปไตยในทุกรูปแบบ ผู้คนต้องมีความกล้าหาญทางจริยธรรม ต้องเน้นที่สัจจะ อย่างไม่สยบยอมให้กับนายทุน ขุนศึก หรือเจ้าเหนือหัวใดๆทั้งสิ้น ต้องเน้นการอภิปราย การวิพากษ์วิจารณ์ การรับฟังจากอีกฝ่ายแม้จะไม่เห็นด้วย ก็ควรเคารพทัศนคติที่ต่างไปจากเรา นักการศึกษาและนักสื่อสารมวลชน ตลอดจนคนที่ถือตนว่ามีเกียรติ และมีทรัพย์ศฤงคารทั่วๆไป ล้วนหลอกตัวเองแทบทั้งนั้นว่าตนมีเสรีภาพ ทั้งๆที่ตนเองยอมไกล่เกลี่ยกับความกึ่งจริงกึ่งเท็จ อย่างไม่กล้าแสวงหาสัจจะกันอย่างจริงจัง เช่นมีใครกล้าเอ่ยถึงการสวรรคตของรัชกาลที่ ๘ อย่างจังๆบ้างไหม แม้เจ้าชาย ๔ องค์ที่เป็นหลานเธอในรัชกาลปัจจุบันซึ่งอยู่นอกประเทศ ยังไม่กล้าเอ่ยถึง ยังการที่คนเล็กคนน้อยอย่างเจริญ วัดอักษร ที่ถูกฆ่าตายอย่างเป็นปริศนานั้นเล่า มิใยต้องเอ่ยถึงคนอื่นๆที่ถูกเอารัดเอาเปรียบอีกเป็นอันมาก โดยเฉพาะก็ชนกลุ่มน้อย และคนปลายอ้อปลายแขม เราก็ลืมความอยุติธรรมในสังคมไปเสียได้อย่างสนิท แล้วนี่หรือคือการมีเสรีภาพในการแสดงออก ให้สมกับคนที่มีอิสรภาพ พูดไปทำไมมี จำเดิมแต่นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ ลี้ภัยไปอยู่เมืองจีนนั้นแล้ว ที่สื่อมวลชนของเราขาดอิสรภาพ เสรีภาพเรื่อยมา ดังความกล้าหาญทางจริยธรรมในแวดวงของโทรทัศน์ ก็มีอยู่เพียงคนเดียวก็ว่าได้คือนายสรรพสิริ วิริยะสิริ เรามีเสรีภาพปลอมจากคนอย่างคึกฤทธิ์ ปราโมช จนตราบเท่าทุกวันนี้ ๖. การศึกษาในเวลานี้ คือการมอมเมาเราดีๆนี่เอง สอนให้คนอยากไต่เต้าเอาดีในทางทรัพย์ศฤงคารและอำนาจวาสนา ยิ่งกว่าการแสวงหาสัจจะ โดยสอนไม่ได้ในทางจริยธรรมด้วยประการทั้งปวง ทุกมหาวิทยาลัยล้มเหลว ผลิตคนให้เป็นยนตรกรรม ยิ่งกว่าการเป็นมนุษย์ที่เอื้ออาทรต่อคนอื่น สัตว์อื่นและธรรมชาติทั้งหมด ควรต้องมองไปยังการศึกษาทางเลือก ให้เกิดไตรสิกขาอย่างสมกับกาลสมัยแล้วละกระมัง ในที่นี้ ขอแนะนำเรื่อง ความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการพื้นฐานของประเทศไทย ซึ่งอภิวัฒน์ รัตนวราหะเป็นบรรณาธิการ(คณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ ๒๕๕๖) ซึ่งชี้แจงแสดงความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในหลายปริบท นับว่าน่าอ่านนัก V การแก้ไขสังคมสยามหรือสังคมโลก รวมถึงตัวเราแต่ละคน ต้องเริ่มที่การศึกษานั้นแลเป็นประการแรก เราต้องรู้จักตัวเราเองก่อน เพราะการเรียนตามแบบตะวันตก เรารู้จักแต่ภายนอก เราใช้แต่หัวคิด cogito เราไม่รู้จักใช้หัวใจ ทั้งๆที่การหายใจนั้นสำคัญสุดสำหรับการดำรงชีวิต เราแต่ละคนต้องการหายใจฉันใด สรรพสัตว์ และธรรมชาติ ก็ต้องการหายใจฉันนั้น ถ้าเรารู้จักหายใจอย่างรู้ตัวทั่วพร้อม หายใจเอาความสงบเข้าไป (สมถะ) แล้วเดินลมหายใจจนรู้จักตรวจตราตัวเราอย่างไม่ติดยึด (วิปัสสนา) รู้ข้อบกพร่องและจุดอ่อนของเรา แล้วแก้ไขให้เกิดความอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างจริงใจ พร้อมทั้งแลเห็นว่าอัตตาเป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ หากเรียนรู้ที่จะโยงใยถึงคนอื่น สัตว์อื่น อย่างต่อเนื่องกันไปทางอิทัปปัจจยตา อย่างแลเห็นบุญคุณของคนอื่น สัตว์อื่น แม้ศัตรูที่มุ่งร้ายต่อเรา เขาก็มีบุญคุณ ที่อุดหนุนให้เรารู้ตัวทั่วพร้อม ฝึกฝนที่จะไม่เกลียดเขา ไม่โกรธเขา โดยรู้จักแปรความเกลียดให้เป็นความรัก แปรความโลภให้เป็นการให้ และแปรความหลงให้เป็นความรู้อย่างเป็นองค์รวม พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก ปู่ย่าตายายเราสวดเมตตากรณียสูตรเป็นนิจ เมื่อเร็วๆนี้ พระพม่าก็สวดบทนี้ ขณะที่ท่านท้าทายอำนาจรัฐอันเป็นเผด็จการ แม้ทหารและตำรวจจะตีท่าน ทรมานท่าน เปลื้องจีวรท่าน ท่านก็สวดบทนี้ตลอดไป ดังจะถือว่าท่านเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้พม่าหันมาทางประชาธิปไตยในบัดนี้ จะได้ไหม บทสวดนั้น ตอนหนึ่งแปลได้ความว่า "มารดาถนอมบุตรคนเดียวของตนด้วยชีวิต ฉันใด บุคคลพึงเจริญเมตตาจิตไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวง ฉันนั้น" และพระสูตรนี้ขึ้นต้นด้วยความว่า "ผู้ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ประสงค์จะบรรลุแดนสงบ พึงอบรมสิกขาสาม ผู้นั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ เป็นคนตรง แน่วแน่ ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่ถือตัว" มาฝึกตนให้เป็นคนที่มีคุณลักษณะดังกล่าวนี้ได้ไหม ถ้าเรารู้จักปรับเปลี่ยนตัวเราได้ นี่คือปฐมฐานแห่งการศึกษา โดยอาศัยกัลยาณมิตรเป็นเสียงแห่งมโนธรรมสำนึกจากภายนอก ที่คอยบอกเรา คอยเตือนเรา ด้วยถ้อยคำที่เราไม่อยากฟัง แต่ถ้าฟังแล้วเกิดสำนึก ก็จะช่วยปรับปรุงตัวเราให้ดีขึ้น ความเป็นกัลยาณมิตรของกันและกัน จะช่วยให้มนุษย์งอกงามขึ้น มีศักยภาพยิ่งๆขึ้น และถ้าเราเป็นชนชั้นกลาง ควรออกไปหากัลยาณมิตรจากชนชั้นล่าง ซึ่งจะช่วยให้เราเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ให้ได้แลเห็นว่าเขาเหล่านั้นถูกโครงสร้างทางสังคมเอาเปรียบในทุกๆทาง ในนามของการพัฒนา ชนชั้นบนกล่าวหาว่า พวกเขาล้าหลังและไร้การศึกษา ทั้งยังเกียจคร้านและยากจน ทั้งๆที่เขารวยน้ำใจและส่วนใหญ่ขยันหมั่นเพียร ทั้งพวกเขายังใกล้ชิดกับธรรมชาติ โดยวิถีชีวิตของเขาก็อยู่กันอย่างเป็นชุมชน ที่มีศักดิ์ศรีดีกว่าชนชั้นกลางและชนชั้นสูง แม้พวกเขาจะถูกท้าทายและถูกปู้ยี่ปู้ยำมามิใช่น้อย แต่เขาก็ยังมีศักดิ์ศรีและเขารวมตัวกันเป็นสมัชชาคนจนเอย เป็นกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างที่เมืองกาญจน์เอย เป็นกลุ่มต่อต้านเหมืองโปแตสอย่างที่อุดรเอย ต่อต้านท่อแก๊สอย่างที่สงขลาเอย รวมถึงชุมชนที่รักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชนและศักดิ์ศรีของผู้คนดังที่บ่อนอกและบ้านกรูดเอย ผู้คนในชั้นรากหญ้าเหล่านี้แลคือคำตอบของสังคมสยาม ดังเราอาจโยงใยผู้คนเช่นนี้ไปที่ลาว เขมรและพม่า ก็จะเห็นได้ว่า ราษฎรต่างก็มีศักยภาพปานๆกัน แม้จะโดนเผด็จการหรือนายทุนคุกคาม เขาก็ต่อสู้อย่างน่าชื่นชม ศาสนธรรมและวัฒนธรรมประจำถิ่น มีความสำคัญสำหรับพวกเขา ดังทัศนคติในทางบวกและการให้ยิ่งกว่าการรับของชุมชนพวกนี้น่ายินดีปรีดานัก เราควรดูไปที่ลาดั๊กกับเกเรร่าในอินเดีย และภูฐาน เป็นต้น แม้วัฒนธรรมในดินแดนนั้นๆจะถูกทำให้สั่นสะเทือนไปมากแล้ว แต่ Gross National Happiness ก็ยังมีค่าและน่าสมาทานยิ่งนัก Gross National Product เป็นไหนๆ แม้ในทางตะวันตก ซึ่งเน้นไปทางวิทยาศาสตร์กระแสหลัก และเทคโนโลยี่ ตลอดจนระบบเศรษฐกิจที่ผนวกไปกับโลภจริต ระบบการเมืองที่ผนวกไปกับโทสจริต และระบบการ เรียนรู้ที่ผนวกไปกับโมหจริต แต่แม้ในดินแดนนั้นๆอย่างสหรัฐและยุโรป ก็มีชุมชนทางเลือกมากยิ่งขึ้นทุกที เยาวชนคนรุ่นใหม่ แม้ในสถาบันการศึกษากระแสหลัก ก็มีเวลาภาวนาให้รู้จักใช้ลมหายใจมาสะกดให้หัวสมองเชื่อง ให้ลดความเห็นแก่ตัว เพื่อมุ่งความสุขของผู้อื่น และสัตว์อื่นยิ่งกว่าตน โดยที่เยาวชนคนเหล่านี้ยังมีโอกาสได้เรียนรู้จากผู้ยากไร้ในดินแดนต่างๆอีกด้วย ดูนี่จะเป็นความหวังที่สำคัญ ถ้าชาวสยาม แม้ไม่ใช่คนไทย มองให้กว้างไกลออกไปยังเพื่อนบ้าน ทั้งที่ใกล้และไกล โดยเรียนรู้จากกันและกัน อย่างเป็นกัลยาณมิตรกัน นั่นจะพยุงสถานะของความเป็นมนุษย์ให้เราทุกๆคน แม้เมืองจีน ซึ่งมีพรรคคอมมูนิสต์อย่างเป็นเผด็จการ ผู้คนก็เริ่มแสวงหาสัจจะมากยิ่งๆขึ้น และคนรุ่นใหม่เกิดความกล้าหาญทางจริยธรรมยิ่งๆขึ้น กล้าท้าทายอำนาจรัฐอันฉ้อฉลมากยิ่งขึ้น โดยที่รัฐบาลอเมริกันซึ่งอ้างว่าเป็นประชาธิปไตย สมัยบุชเรืองอำนาจมาสองรัชกาล ก็มีความเป็นเผด็จการอย่างฉ้อฉลมิใช่น้อย คล้ายกับรัชสมัยของแทตเชอร์และแบลร์ ที่อังกฤษ แต่แล้ว ผู้คนก็เริ่มตื่นขึ้นยิ่งๆขึ้นแล้ว และรัฐบาลต่างๆก็หมดความชอบธรรมยิ่งๆขึ้นด้วยแล้วเช่นกัน แม้อำนาจนิยม ทุนนิยม และบริโภคนิยม คงจะไม่ปลาสนาการไปได้ง่ายๆ แต่ถ้ามีการกล้าท้าทายอย่างถูกวิธี โดยมีการตีไปที่โครงสร้างทางสังคมอันอยุติธรรมและรุนแรงอย่างจังๆ โดยใช้สัจจะและอหิงสา นี้น่าจะเป็นคำตอบ รัชกาลที่ ๕ เสด็จไปอินเดียในปีสุดท้ายที่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงเรียนรู้อย่างฉกรรจ์มาจากบริติชราชย์ ๓ ประการ คือ (๑) ต้องใช้การศึกษามอมเมาให้ผู้คนสยบยอมกับชนชั้นปกครอง (๒) ต้องรวบอำนาจมาไว้ที่ส่วนกลาง (๓) ต้องมีกองทหารที่สามารถ ไว้ปราบปรามพวกที่ขัดขวางการรวบอำนาจดังกล่าว* *ดู ลอกคราบเสด็จพ่อ ร.๕ ของ ส.ศิวรักษ์ ประกอบ โทษสมบัติทั้งสามประการนี้ ยังมีอยู่กับชนชั้นปกครองของเราจนตราบเท่าทุกวันนี้ เราไม่เคยมองไปที่อินเดียเลยว่า รัฐธรรมนูญของเขานั้นร่างโดยคนจัณฑาล ที่หันมาถือพุทธและรัฐธรรมนูญดังกล่าวยังดำรงคงอยู่ตลอดมา โดยไม่มีการเลิกล้มไป ยังคนจัณฑาลที่หันมาสมาทานพุทธศาสนาก็มีเป็นล้านๆคน อย่างน่าสนใจยิ่ง แต่คนไทยที่ไปอินเดียไม่ได้ตระหนักถึงความข้อนี้เอาเลย เพียงแต่ไปสังเวชนียสถานอย่างเป็นนักทัศนาจร ที่อ้างว่าไปแสวงบุญเท่านั้นเอง ยิ่งขบวนการสรรโวทัยของคานธี ตลอดจน สัตยาเคราะห์ และ ไฮน์สวาราช ของท่าน ก็ไม่ได้เข้ามาสู่ญาณของชนชั้นนำในเมืองไทยเอาเลย ยิ่งในบัดนี้ ขบวนการที่ราชาโคปาลปลุกมโนธรรมสำนึกของชุมชนรากหญ้าทั่วภารตประเทศให้ตื่นขึ้นมา เพื่อท้าทายอำนาจรัฐอย่างสันติวิธี โดยเรียกร้องต้องการให้ทุกๆคนมีที่ทำมาหากินอย่างมีศักดิ์ศรี กำลังได้ผลอย่างน่าเอาเยี่ยง ถ้าผู้นำในขบวนการเสื้อแดงและเสื้อเหลืองหันมาหาราษฎรส่วนใหญ่ โดยลงไปเรียนรู้จากชุมชนรากหญ้านั้นๆ และรวมพลังกันเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานของราษฎร นี่ย่อมเป็นไปได้ ในขณะที่ราษฎรไร้ที่น่าคาที่อยู่ แต่นายทุนมีที่ทิ้งไว้อย่างเป็น absentee landlords เป็นจำนวนมาก นี่มีความชอบธรรมละหรือ ในขณะที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของที่ดินราวๆ ๓๐% ของที่ดินทั้งหมดในเมืองกรุง แล้วไล่คนเช่าที่เดิมออกไปอย่างไร้มนุษยธรรมเพื่อให้นายทุนและบรรษัทข้ามชาติเข้ามาเช่าอยู่ในอาคารอย่างใหม่ นี่ถูกต้องแล้วละหรือ ในขณะที่คนอย่างนายเจริญ สิริวัฒนภักดีมีที่ดินมากยิ่งๆขึ้นทุกที รวมทั้งการสร้างคอนโดมิเนียมที่ขยายไปเรื่อยๆ โดยคนเล็กคนน้อยถูกเอาเปรียบด้วยประการต่างๆนั้น เราจะปล่อยให้สภาพเช่นนี้ดำรงคงอยู่ต่อไป อีกละหรือ ถ้าเราเรียนรู้จากขบวนการประชาชนของคนอินเดีย เราก็ควรเรียนรู้จากรัฐบาลธิเบตในประเทศนั้นบ้างก็ยังได้ โดยเราต้องไม่ลืมว่ารัฐบาลพลัดถิ่นสำคัญนัก ดังนายปรีดี พนมยงค์ก็พยายามตั้งรัฐบาลไทยพลัดถิ่น สมัยญี่ปุ่นยึดครองบ้านนี้เมืองนี้ และรัฐบาลพลัดถิ่นของนายพลเดอโกลด์ก็กู้ชาติฝรั่งเศสให้ได้เป็นอิสระเสรีขึ้นมาได้ โดยเราเข้าใจใช่ไหมว่ารัฐบาลธิเบตพลัดถิ่น ก็อาจได้อำนาจในการปกครองตัวเอง แม้จะไม่ได้เป็นเอกราชอันสมบูรณ์ก็ตาม รัฐบาลธิเบตนอกประเทศอาจไม่มีความหมายสำหรับคนที่ติดอยู่กับอำนาจและการเมืองการปกครองในกระแสหลัก โดยเราต้องไม่ลืมว่าเศรษฐกิจกระแสหลักก็กำลังถึงซึ่งความอับปาง ดังการเมืองการปกครองกระแสหลักด้วยเหมือนกัน แม้ธิเบตจะถูกจีนปู้ยี่ปู้ยำมา กว่าครึ่งศตวรรษแล้ว หากการต่อสู้ด้วยสัจจะและอหิงสาของธิเบตอาจได้รับความสำเร็จก็ได้ ดังขบวนการของคานธี ถ้าเนห์รูไม่รีบรวบอำนาจเร็วเกินไป จนเขาเองกลายเป็นตัวแทนของจักรวรรดิอังกฤษไปภายหลังได้รับเอกราช สัตยาเคราะห์ และ ไฮน์สวาราช ของคานธี อาจจะเป็นคำตอบให้อินเดียและโลกก็ได้ แทนที่อินเดียจักกลายไปอยู่ใต้จักรวรรดิอเมริกันอย่างในปัจจุบัน โดยที่ไทยเราได้อยู่ใต้จักรวรรดิอเมริกันเป็นมาก่อนอินเดียเกือบกึ่งศตวรรษ และบัดนี้เรายังเพิ่มการอยู่ใต้อาณัติของจักรวรรดิจีนและบรรษัทข้ามชาติเข้าไปอีกด้วย ถ้าเราจะปลดแอกให้ตัวเราเอง เราต้องหาอิสรภาพให้ตัวเราดังได้กล่าวมาแล้ว และถ้าเราจะมองหาแบบอย่างสำหรับสยามในอนาคต น่าจะลองมองไปที่ลาดั๊กและที่ภูฐาน ตลอดจนรัฐบาลธิเบตพลัดถิ่น นี่อาจเป็นนิมิตหมายที่ดีกว่าชนชั้นนำในสมัยราชาธิปไตยของสยามที่มองไปยังเมืองแก้ว อันกล่าวแล้วคือสหราชอาณาจักรอังกฤษ ทั้งๆที่ชนชั้นนำนั้นๆก็เข้าใจอังกฤษได้ไม่ตลอด หรือในสมัยหลังๆมานี้ เรามองไปที่สหรัฐอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์เอาเลย ถ้าจะมองไปที่รัฐบาลธิเบตพลัดถิ่น เพียงดูนโยบายของเขา ก็น่าเอามาปรับใช้ได้บ้างดอกกระมัง ๑.รัฐบาลธิเบตอุดหนุนให้ผู้คนประกอบสัมมาชีพ แม้การเลี้ยงสุกรและเป็ดไก่ รัฐก็ไม่สนับสนุน มิใยต้องเอ่ยถึงการผลิตอาวุธ ยาพิษ ยาบ้า ฯลฯ แล้วธนาคารเล่า ควรลดการเอาเปรียบคนฝากเงินได้อย่างไรบ้าง ๒.กิจกรรมใดๆ ควรเป็นไปในทางที่เป็นคุณกับโลกสีเขียว ในทุกๆทาง ๓.การพัฒนาต้องเป็นไปในทางด้านความยั่งยืนทุกอย่าง ทุกประการ ความข้อนี้ ภิกขุ ปยุตฺโตได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนมาก ในเรื่อง การพัฒนาที่ยั่งยืน ของพระคุณท่าน ดังหนังสือภาษาอังกฤษเล่มใหม่ของข้าพเจ้า ก็มีชื่อว่า The Wisdom of Sustainbility : Buddhist Economics for the 21st Century ๔.กิจการใดๆที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ยากไร้ ต้องไม่ดำเนินไป อะไรๆที่เป็นไปเพื่อลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ควรได้รับการสนับสนุน สี่ข้อนี้น่าจะเป็นอุทธาหรณ์สำหรับพวกเรา ดังเราควรกลับไปหาหลักหกประการของคณะราษฎร แล้วแปลความหมายมาให้สมสมัยอีกด้วย ๔ บวก ๖ เท่ากับ ๑๐ จากปัญญาชนหมายเลข ๑๐ จึงควรยุติคำบรรยายลงได้ด้วยประการฉะนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ภาคประชาสังคมหนุน TPBS ฉาย ‘ตอบโจทย์’ เปิดพื้นที่ถกเถียงประเด็นสถาบันฯ Posted: 20 Mar 2013 07:15 AM PDT ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ออกแถลงการณ์กรณี 'รายการตอบโจทย์' ชื่นชมผู้บริหารฯ ตัดสินใจให้รายการแพร่ภาพ แนะทำหน้าที่สื่อสาธารณะรับใช้คนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ส่วนผู้ประสานงานฯ ชี้รายการฯ-พิธีกร กล้าเปิดพื้นที่การถกเถียงประเด็นสถาบันฯ ต่อสาธารณะ วันนี้ (20 มี.ค.56) ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ พีมูฟ ออกแถลงการณ์ 'ประเทศไทยประชาธิปไตย สื่อสารอย่างเสรี เสรีวิพากษ์อย่างสร้างสรรค์' กรณีที่มีการชะลอการออกอากาศ และต่อมามีการออกอากาศของรายการตอบโจทย์ ชุด "สถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ" ตอนที่ 5 ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (TPBS) ซึ่งทำให้เกิดการวิพากษ์ ทั้งช่วงระหว่างการชะลอการออกอากาศ และหลังการออกอากาศ แถลงการณ์ ระบุว่า ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงความเติบโตของกระบวนการทางสังคม ทั้งการวิพากษ์วิจารณ์ และการทำหน้าที่ของคณะผู้บริหารองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการแสดงความรับผิดชอบร่วม ตามความคิดเชื่อ ความเข้าใจ และบทบาทหน้าที่ของแต่ละส่วนของโครงสร้างทางสังคมอย่างเต็มที่ อันเป็นความงอกงามของสังคมประชาธิปไตยของประเทศไทย ทั้งยังระบุด้วยว่า ขปส.ในฐานะขบวนการภาคประชาสังคมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางสังคม มีข้อเสนอต่อ ส.ส.ท. ดังนี้ 1.ต้องทำหน้าที่ในการเป็นสื่อสาธารณะ ที่ตอบสนองและรับใช้คนทุกกลุ่มในสังคมอย่างเท่าเทียม 2.ต้องมีความกล้าที่จะนำเสนอปัญหาของสังคมอย่างอิสระ รอบด้าน เพื่อผลประโยชน์ของคนทุกส่วนในสังคม 3.ผู้บริหาร ส.ส.ท.ต้องมีความกล้า ความเป็นกลาง และความเป็นอิสระ จากทุน และกลุ่มการเมือง ซึ่งต้องมีความหนักแน่นและมั่นคง และ 4.สังคมไทยยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีสื่อสาธารณะ ซึ่ง ส.ส.ท.ทำหน้าที่นี้ดีอยู่แล้ว และควรทำให้ดีมากกว่านี้ นอกจากนี้ ขปส.ยังระบุจะทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบการทำหน้าที่ของ ส.ส.ท.เพื่อให้เป็นสื่อสาธารณะที่รับใช้ประชาชนและสังคมไทย ขณะเดียวกันก็ชื่นชมผู้บริหาร ส.ส.ท.ต่อการตัดสินใจในครั้งนี้ ไพจิต ศิลารักษ์ ผู้ประสานงานขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) กล่าวว่าแถลงการณ์ในครั้งนี้ ขปส.ไม่ได้มองที่ตัวผู้บริหาร แต่มองในองค์รวมที่สังคมต้องมีสื่อสาธารณะเพื่อเปิดพื้นที่ในการถกเถียงเรื่องสถาบันฯ ซึ่งจากกรณีที่เกิดขึ้นกับรายการตอบโจทย์นี้มีการรับฟังความคิดเห็น กลไกของสื่อสาธารณะทั้งในส่วนผู้บริหาร และสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการรวมตัดสินใจให้รายการกลับมาฉายได้ ถือเป็นการทำหน้าที่ได้ค่อนข้างดี ส่วนการที่ ขปส.ให้ความสนใจกับกรณีรายการตอบโจทย์นั้น ไพจิต กล่าวว่า ขปส.ติดตามข้อถกเถียงสาธารณะในหลายๆ เรื่อง และประเด็นเรื่องสถาบันนั้นมีการวิพากษ์วิจารณ์โดยมีความไม่ถูกต้องอยู่ ดังนั้น การนำมาออกอากาศต่อสาธารณะถือเป็นการเปิดพื้นที่ เพื่อให้เกิดการรับรู้ข้อมูลและนำไปสู่การถกเถียงได้ นอกจากนั้น ขปส.ไม่ได้ติดตามเฉพาะในสื่อโทรทัศน์ แต่ในส่วนบทบาทของภาคประชาชนก็มีการร่วมวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง การดึงประเด็นสถาบันออกมาเปิดในสาธารณะถือเป็นความกล้าที่จะเปิดเผย ภาคประชาชนมีความสนใจประเด็นการวิจารณ์รัฐบาล สถาบันฯ กฎหมายมาตรา 112 และข้อถกเถียงสาธารณะต่างๆ โดยมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง ส่วนการออกแถลงการณ์หรือมีท่าทีอะไรนั้นต้องมีมติที่เป็นเอกฉันท์ สำหรับรายการตอบโจทย์ ไพจิตกล่าวว่า ตัวรายการนั้นทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี และควรมีรายการอย่างนี้ในสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ส่วนภิญโญ ไตรสุริยธรรมา พิธีกรรายการตอบโจทย์นั้นชื่นชมเป็นการส่วนตัว ในฐานะคนที่ตั้งใจจริงที่จะเปิดพื้นที่การถกเถียงต่อสาธารณะ ตั้งแต่ได้เดินทางไปสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ดูไบ (รายการตอบโจทย์ ปี 2554) จนต้องหยุดจัดรายการไปช่วงหนึ่ง ซึ่งตนเองอยากให้มีสื่ออย่างนี้ต่อไป ไพจิต ให้ข้อมูลต่อมาถึงการเคลื่อนไหวต่อไปของ ขปส.ภายหลังกรณีดังกล่าวว่า ขปส.ได้มีการตั้งทีมติดตามการทำงานของสื่อสาธารณะ โดยเฉพาะเรื่องหลักการความโปร่งใส ตรงไปตรงมา รวมทั้งติดตามในส่วนองค์รวมของรายการต่างๆ ว่าตอบสนองรับใช้ประชาชนและสังคมจริงหรือไม่ ซึ่งเมื่อมีการแสดงท่าทีตรงนี้ในแถลงการณ์แล้วก็ต้องติดตามผลกันต่อไป ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสทำหน้าที่ได้ดีในการนำเสนอปัญหาของภาคประชาชน และมีช่องทางของนักข่าวพลเมืองที่นำเสนอปัญหาจากในพื้นที่ด้วย อนึ่ง ขปส.หรือ พีมูฟ ประกอบไปด้วย เครือข่ายสลัม 4 ภาค สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.) เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.) สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา เครือข่ายสิทธิสถานะบุคคล และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล รายละเอียดแถลงการณ์ดังกล่าว มีดังนี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'จิตตนาถ'ขอบคุณ'ภิญโญ'ในไมตรีหวังจิบชา ยินดีได้เจอ-แต่ชาติบ้านเมืองจำเป็นต้องพูด Posted: 20 Mar 2013 06:03 AM PDT ระบุจะให้สถาบันฯ เป็นเหมือนอังกฤษหรือประเทศตะวันตก ต้องดูคุณภาพของประชากรก่อน ยืนยันคนไทยยังไม่พร้อมเรื่องวิจารณ์สถาบันฯ และแม้แต่เรื่องประชาธิปไตย เพราะยังไหว้ลูกแมวในไส้กรอก ระบุอย่าประเมินสถาบันฯ ต่ำเกินไป มีการปรับตัวให้เข้ากับสังคมไทยตลอดเวลาอยู่แล้ว และไม่ได้เป็นปัญหาต่อประชาธิปไตย จิตตนาถ ลิ้มทองกุล (ซ้าย) และภิญโญ ไตรสุริยธรรมา (ขวา) หลังจากที่เมื่อวันที่ 18 มี.ค. ที่ผ่านมา นายจิตตนาถ ลิ้มทองกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือเอเอสทีวีผู้จัดการ บุตรชายนายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้เขียนบทความ "ตอบโจทย์ พ่อง(พ่อมึง)เหรอ!" ถึงนายภิญโญ ไตรสุริยธรรม ผู้ดำเนินรายการ "ตอบโจทย์ประเทศไทย" ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และต่อมาในเพจ "ตอบโจทย์ประเทศไทย" ได้มีการโพสต์บทความ "จิตตนาถ ลิ้มทองกุล ที่ผมรู้จัก" ลงชื่อท้ายบทความว่า "ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา อดีตบรรณาธิการนิตยสาร OPEN" และระบุท้ายบทความว่าเป็นการ "ส่งไมตรีมาถึงเพื่อนเก่า" และชวนนายจิตตนาถจิบชารำลึกความหลังโดยเขียนว่า "เมื่อถึงเวลาฟ้าสว่าง เราต่างออกจากความขัดแย้ง ผมจะมีโอกาสได้นั่งจิบชากับคุณจิตตนาถรำลึกความหลัง โดยไม่ต้องมีความเชื่อที่เรายึดถืออยู่เป็นหัวโขน" (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
"จิตตนาถ" ตอบโจทย์ "ภิญโญ" ระบุไม่กล้าเชื่อว่าภิญโญเป็นรอยัลลิสต์ เพราะเพื่อนของภิญโญเป็นซ้าย ล่าสุดเมื่อคืนวันที่ 19 มี.ค. เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า นายจิตตนาถ ลิ้มทองกุล ได้กล่าวในรายการ "คนเคาะข่าว" ดำเนินรายการโดยนายเติมศักดิ์ จารุปราณ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV นายจิตตนาถได้กล่าวว่าเนื้อหาของรายการดังกล่าวไม่ได้มีอะไรเลย เป็นเพียงการตอบสนองแนวคิดในการจำกัดบทบาทของสถาบันฯ ต้องการทำให้เป็นเพียงสัญลักษณ์ เราจะเห็นได้ว่ารายการตอบโจทย์เอาประเด็นของสถาบันฯ มาพูดบ่อยมาก แล้วก็เอานักวิชาการที่จะเสนอให้มีการเปลี่ยนหรือแก้ไขมาตรา 112 มาออกบ่อยมากเมื่อเทียบกับประเด็นการเมืองประเด็นอื่น นายจิตตนาถกล่าวต่อว่า ตนเป็นเพื่อนเก่าของนายภิญโญ จะรู้ว่าแวดวงของนายภิญโญประกอบไปด้วยใครบ้าง และเขาจะสนิทกับนักคิดนักเขียนมากหน้าหลายคน ซึ่งนายภิญโญก็ออกมาแก้ตัวผ่านทางเฟซบุ๊กว่านักคิดนักเขียนก้าวหน้าทั้งหลายมองนายคุณภิญโญเป็นรอยัลลิสต์ แต่ตนไม่กล้าที่จะเชื่อสิ่งที่พูด เพราะว่าแนวคิด วิธีคิดของกลุ่มเพื่อนนายภิญโญค่อนข้างที่จะสนับสนุนการแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายมาตรา 112 รวมถึงคอนเนกชันที่มีกับสำนักพิมพ์สายมติชน ฉะนั้นแวดวงของนายภิญโญเป็นกลุ่มที่มีความคิดซ้ายค่อนข้างเยอะพอสมควร การที่บอกว่าพวกหัวก้าวหน้ามองว่าเขาเป็นรอยัลลิสต์ อาจจะเพราะพวกหัวก้าวหน้าไม่ต้องการให้มีสถาบันกษัตริย์เลย แต่ของนายภิญโญอาจจะเป็นในลักษณะที่ต้องการให้ลดบทบาทลง เหลือเป็นแค่สัญลักษณ์ อีกทั้งความสัมพันธ์ของนายภิญโญ กับนายสมชัย สุวรรณบรรณ ผอ.ไทยพีบีเอส ว่ามีความคิดใกล้เคียงกัน ชอบไปดูงานกันที่ประเทศอังกฤษ เรื่องของราชวงศ์ จนกระทั่งมีข่าวมาว่าถูกอกถูกใจกัน ขนาดที่ว่าให้งบถึงเดือนละประมาณ 3 ล้านบาท เพื่อมาทำรายการเองเลย และสุดท้ายเนื้อหาของรายการตอบโจทย์มันไม่ใช่การดีเบต แต่มันคือการเสวนาที่มีธงเดียวกัน ระหว่างนายสมศักดิ์ เจียมธีรสุกล กับ อาจารย์ ส. ศิวรักษ์
คนไทยยังไม่พร้อมเรื่องประชาธิปไตยและวิจารณ์สถาบัน เพราะยังไหว้ลูกแมวในไส้กรอก "มันเหมือนกับว่าถ้าเรายังไม่มีความพร้อมที่เราจะ ที่สังคมไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะไปถึงจุดตรงนั้นแล้วเราไปทำอะไร ที่มันข้ามสเต็ปไป ซึ่งบางที่มันอาจไม่จำเป็นต้องมีสเต็ปนั้นเลยด้วยซ้ำไปนะครับ มันก็เป็นผลเสียมากกว่าผลดี ยกตัวอย่างเช่นอะไรครับ ผมจะพูดเป็นข้อๆ ผมให้มา 5 ข้อ ถูกไหมครับ ข้อแรกเลยคือว่าคุณอยากจะให้สถาบันกับสังคมไทยเป็นเหมือนอังกฤษ หรือประเทศตะวันตก คุณก็ต้องดูคุณภาพของประชากรก่อน แม้แต่ญี่ปุ่นเอง ผมไม่ได้ดูถูกนะ แต่เป็นความจริง คุณภาพของคนไทยกับคนญี่ปุ่นกับคนอังกฤษ หรือทางคนตะวันตก แค่การเข้าถึงการศึกษา หรือว่าระดับการศึกษาก็ต่างกันแล้ว คนไทยเองอ่านหนังสือปีละแค่ 4 บรรทัดเท่านั้นเอง คนไทยยังไปไหว้ลูกแมวในแหนมอยู่เลย มันยังไม่พร้อมแม้กระทั่งไม่ใช่เรื่องของการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันนะ แม้แต่กระทั่งเรื่องของประชาธิปไตย คนไทยยังไม่พร้อม คนไทยก็แค่กำนันมาบอกว่า เลือกคนนี้ไปแล้วกันเขาว่าดี เดี๋ยวเขาก็จะมาทำอะไรให้ทีหลัง แห่กันไป คนไทยไม่ได้มีแนวคิดที่เป็นตัวของตัวเอง หรือแม้แต่การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ แบบนี้คือโอเค นั้นคือเป็นเรื่องการรับไม่ได้ของคนกรุงที่ไม่ต้องการคนเผาบ้านเผาเมือง" "ในที่สุดเนื้อหาสาระของการเลือกตั้ง มันก็ไปอีกแบบ คนกรุงไม่ได้ผิดอะไรนะครับ ผมเคารพทุกอย่างก็เห็นด้วย ว่าคนกรุงตัดสินเพียงเห็นว่า ชนบทเป็นแบบนี้ คนกรุงเทพฯ ก็จะโดนปั่นแบบนี้ เทียบกับที่คุณสนธิพูดตลอดว่า สังคมในสหรัฐอเมริกา สังคมยุโรป คนจะสู้เพื่อสิทธิของตัวเอง แต่คนไทยไม่มีตรงนี้ พอคนไทยไม่มีตรงนี้ มันก็เลยเกิดการปลุกปั่นได้ ถ้าเกิดว่ามันจะมีการปลุกปั่น แล้วปัจจุบันมันก็มีการปลุกปั่นอยู่แล้ว ซึ่งเดี๋ยวจะท้าวต่อไปว่า โอเคมันปลุกปั่นกันยังไง อันนี้คือข้อแรก" นายจิตตนาถกล่าว
พื้นที่วิจารณ์สถาบันฯ อย่างไม่เป็นทางการมีอยู่ในเฟซบุค อย่างเป็นทางการคือคำตัดสินของศาล นายจิตตนาถกล่าวอีกว่า รายการตอบโจทย์พยายามบอกว่าประเทศไทยไม่มีพื้นที่สำหรับการวิจารณ์สถาบันฯ ถือเป็นการทำลายสถาบันฯ ในทางอ้อม ตนไม่เห็นด้วย ถึงขั้นรายการออกอากาศได้ถึง 5 เทปในฟรีทีวีที่คนดูได้ทั้งประะทศ แบบนี้เรียกว่าไม่มีพื้นที่ได้อย่างไร อีกทั้งการดีเบตแบบไม่เป็นทางการก็เกิดขึ้นตลอดเวลาอยู่แล้ว อย่างในเฟซบุ๊กก็มีเต็มไปหมด ส่วนที่เป็นสาธารณะและอย่างเป็นทางการ ก็คือคำตัดสินของศาล ส่วนวาทกรรมที่ตนไม่เห็นด้วย คือ เขามองว่าถ้าจะปฏิรูปประเทศไทยต้องมีการปฏิรูปสถาบันฯ ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่ใช่ ประเทศไม่เคยมีปัญหาเพราะสถาบันฯ แล้วการที่บอกว่าควรโอนสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้รัฐบาลดูแล ทำไมคุณไม่เอาทรัพย์สินของตัวเองไปให้คนอื่นดูแลบ้าง แบบนี้เวลาสถาบันฯ จะทำอะไรก็ต้องให้การเมืองอนุมัติหรือ แบบนี้มันไม่แฟร์ และที่น่ากลัวที่สุดเขามองว่าสถาบันฯ เป็นปัญหาของประชาธิปไตย ทั้งที่จริงๆ แล้วปัญหาคือคนไทยยังไม่พร้อมกับระบอบประชาธิปไตย และตัวนักการเมืองเอง ควรแก้ที่ตรงจุดนี้มากกว่า พระองค์ท่านไม่เคยไปยุ่มย่าม แต่เกิดการแปดเปื้อนก็เพราะโดนวังวนของการเมืองทำให้ท่านโดนเข้าใจแบบผิดๆ และการที่ไม่ต้องการให้มีพระราชดำรัสโดยตรงต่อประชาชน ตนขอถามว่าแบบนี้ไม่เป็นการละเมิดสิทธิของสถาบันฯ หรือ แต่ตนเห็นด้วยกับที่ ส.ศิวลักษณ์ เคยพูดไว้ว่าพวกโหนเจ้าเป็นคนทำให้สถาบันฯ เสียหาย ซึ่งฝ่ายการเมืองทุกวันนี้มีสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งต้องการล้มเจ้าชัดเจน อีกฝ่ายหนึ่งก็โหนเจ้า ชอบปล่อยข่าวลือต่างๆ นานาว่าเจ้าสนับสนุน แต่ไม่รู้หรอกว่ามันมีผลกระทบกลับมายังสถาบันฯ ถ้าพรรคการเมืองนั้นทำงานไม่ดี
นับถือและขอบคุณที่ภิญโญมีไมตรีหวังจิบชา ยินดีจะได้เจอ แต่ชาติบ้านเมืองจำเป็นจึงต้องพูด เมื่อถามถึงการข้อเขียนของนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ในหัวข้อ "จิตตนาถ ลิ้มทองกุล ที่ผมรู้จัก" นายจิตตนาถได้กล่าวว่า ตนนับถือนายภิญโญและขอบคุณที่มีจิตไมตรีให้ตน ที่บอกว่าหวังจะได้จิบชากัน ตนก็ไม่ได้ข้องใจ ขอยืนยันไม่ได้โกรธ ยินดีเจอ เพราะเราไม่ได้จะฆ่ากัน แต่เรื่องชาติบ้านเมืองมีความจำเป็นที่ตนต้องพูด "ผมกำลังจะบอกว่าเรื่องของชาติบ้านเมือง ผมมีความจำเป็นที่ผมต้องพูด เรื่องของชาติบ้านเมืองมันไม่มีเพื่อน ไม่มีพี่ ไม่มีน้อง เราไม่จำเป็นต้องฆ่ากัน แต่ว่าเรื่องอะไรที่ต้องพูดเราก็ต้องพูด ผมไม่ใช่คนที่เอาพวกพ้องเป็นหลัก ผมเอาชาติบ้านเมืองเป็นหลัก" ส่วนเจตนาของนายภิญโญก็ให้สังคมดูเอาเองจากข้อเขียนที่ผ่านมา หรือการที่รายการเชิญนายสมศักดิ์มาถึง 3 ครั้ง ทุกอย่างมีคำตอบในตัวของมันเองอยู่แล้ว แล้วที่บอกว่าไม่เคยพาดพิงผู้จัดการ นายภิญโญยังเคยเตือนสตินายสนธิเลย ตอนที่หนุน พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะยังไม่เห็นธาตุแท้ แม้จะเป็นลูกน้องแต่นายภิญโญทำขึ้นปกหนังสือโอเพ่นเลยว่า "ผู้จัดการเปลี่ยนไป หรือสนธิเปลี่ยนไป" ซึ่งตนก็มองว่าเป็นสิทธิ์ที่สามารถเตือนกันได้ แต่วันนี้กลับกัน นายภิญโญถึงขั้นไปสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณถึงเมืองนอก มันสมควรหรือที่เอานักโทษหนีคดีมาออกทีวีสาธารณะ เท่ากับว่านายภิญโญไม่เคารพกฎหมายบ้านเมือง จะเขียนอะไรหวานๆ ก็เขียนได้ แต่อยากให้ดูที่พฤติกรรม ถ้านายภิญโญต้องการหาทางออกให้สังคมจริงอย่างที่ว่า ตนมองว่ามันไม่เหมาะสมด้วยกาลและเวลา
เชื่อสถาบันฯ ปรับตัวมานานแล้ว และกษัตริย์ภูฏานมาศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง "คุณภิญโญอาจต้องการหาทางออก แต่ผมก็มองว่ามันไม่เหมาะสมด้วยกาลและเวลา และอีกอย่างพวกคุณกำลัง Under estimate ประเมินสถาบันต่ำไปเปล่า ผมเชื่อว่าสถาบัน ปัจจุบันตั้งนานมาแล้ว ก็มีการปรับตัวในเข้ากับสังคมไทยตั้งนานมาแล้ว ไปดูสิครับพระราชาธิบดีจิกมี่ท่านประธานประชาธิปไตยชาวภูฏาน พระราชาธิบดีจิกมีศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง พระราชาธิบดีจิกมีมีแนวคิด GHP - Gross Happiness Product ออกมาวัด เมื่อสังคมไทยมันพร้อมมากขึ้นเมื่อมันไม่มีสถานการณ์อะไรบางอย่างที่เป็นอยู่อย่างนี้ เมื่อทุกอย่างมันถึงจุดที่พร้อมมากขึ้น คุณก็จะเห็นว่าสถาบันจะมีการปรับตัวที่ใกล้ชิดมากขึ้น โดยที่คุณไม่ต้องมานั่งเรียกร้องอะไรที่มันงี่เง่าแบบนี้เลย" นายจิตตนาถกล่าว นายจิตตนาถกล่าวด้วยว่าส่วนพวกที่เรียกตัวเองว่าหัวคิดก้าวหน้า คุณกำลังประเมินสถาบันฯ ต่ำไปหรือเปล่า สถาบันฯ ปรับตัวให้เข้ากับสังคมไทยตลอดเวลาอยู่แล้ว เพียงแต่คุณไม่ยอมรับความจริง วันหนึ่งเมื่อสังคมพร้อมมากขึ้น เมื่อไม่ได้มีสถานการณ์แบบทุกวันนี้ จะเห็นว่าสถาบันฯ ก็ปรับตัวให้ใกล้ชิดประชาชนมากขึ้น ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ตอบโจทย์ เรื่อง 'ตอบโจทย์': ทีวีสาธารณะกับพื้นที่สาธารณะในสังคมไทย Posted: 20 Mar 2013 04:59 AM PDT นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาเรื่อง "ตอบโจทย์ เรื่อง 'ตอบโจทย์': ทีวีสาธารณะกับบทบาทพื้นที่สาธารณะในสังคมไทย" ผอ. ไทยพีบีเอสแจงจะเดินหน้า 'ตอบโจทย์' ต่อไป ในขณะที่ 'ปริญญา' ระบุ ไม่ควรเอาแรงกดดันมาทำให้วิชาชีพสื่อมวลชนไขว้เขว 20 มี.ค. 56 - ที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดงานเสวนาเรื่อง "ตอบโจทย์ เรื่อง 'ตอบโจทย์': ทีวีสาธารณะกับบทบาทพื้นที่สาธารณะในสังคมไทย" โดยมีวิทยากรอาทิ นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, รองศาสตราจารย์จุมพล รอดคำดี ผู้อำนวยการสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/ นักวิชาการอิสระ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการโดย พิจิตรา สึคาโมโต้ อาจารย์จากคณะเทศศาสตร์ จุฬาฯ จากซ้ายไปขวา: จุมพล รอดคำดี, ปริญญา เทวานฤมิตรกุล, พิจิตรา สึคาโมโต้, สมชัย สุวรรณบรรณ, นที ศุกลรัตน์ 'สมชัย' ย้ำไม่ยุติ 'ตอบโจทย์' สมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวว่า ปัญหาเฉพาะหน้าในตอนนี้ คือตอนนี้ทำอย่างไรให้รายการ 'ตอบโจทย์ประเทศไทย' ดำเนินต่อไป อย่างเมื่อคืนก็ยังฉายอยู่ ยังไม่ได้ยุบตามที่เข้าใจกัน เพราะเป็นรายการของสถานีดำเนินการ แต่ยังอยู่ในระหว่างปรับปรุงรูปแบบรายการใหม่ ผอ.ไทยพีบีเอสกล่าวว่า การที่ไทยพีบีเอสดำเนินอยู่มาเป็น 4-5 ปี อาจถือว่าเป็นเรื่องใหม่ในประเทศ แต่ในประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ เช่นในยุโรปล้วนมีทีวีสาธารณะกันหมดแล้ว ทีวีสาธารณะเป็นดัชนีชี้ประชาธิปไตยว่ามีสุขภาพประชาธิปไตยดีแค่ไหน โดยไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีทีวีสาธารณะอย่างไทยพีบีเอส และเป็นโมเดลที่หลายประเทศในภูมิภาคใช้เป็นตัวอย่าง เรื่องของรายการตอบโจทย์ มีคำถามว่าการออกอากาศในตอนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นเร็วเกินไปหรือเหมาะสมหรือไม่ ตนคิดว่า การที่อยู่ตำแหน่งผู้อำนวยการมา 4 ปี มองว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง และถ้ารอให้หมดวาระไปแล้วก็ไม่รู้จะได้ทำไหม ตอนนี้แน่นอนว่ามีความแตกแยกในสังคม มีการพูดคุยเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์กันมากทั้งในอินเทอร์เน็ต มีการคุยอย่างใส่ร้ายป้ายสีในกลุ่มใต้ดิน เอาข้อมูลผิดๆ มาบิดเบือน แต่ถ้าเอาเรื่องการโต้เถียงมาอยู่บนดินมันเป็นเรื่องที่พูดคุยกันได้และตรวจสอบกันได้ เข้าใจว่าตอนนี้ก็มีการพูดโดยนักวิชาการในต่างประเทศ ในประเทศไทยก็น่าจะมีคุยกันได้ เพราะถ้ามีคุยในต่างประเทศก็อาจมีการใส่สีใส่ไข่ นักวิชาการต่างชาติทำเรื่องเมืองไทยไม่เท่าไหร่ไม่ทราบทำไมเอาไปพูด ตนก็คิดว่าถ้าไปเปิดเวทีที่อื่นได้ ก็ควรจัดให้มีการพูดคุยในประเทศแบบเปิดเผยบ้าง ต่อคำถามที่ว่า การนำเอาเรื่องนี้มานำเสนอซึ่งเป็นเรื่องร้อนแรงขึ้นมา คิดว่ามันก็เป็นธรรมชาติของวาระข่าว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพรบ. นิรโทษกรรม, กม. 112 โดยเฉพาะในขณะนี้กำลังมีการผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของสภา เรื่องนี้จึงมีความเกี่ยวข้องกันและเป็นเรื่องที่สำคัญ "ฉะนั้น จะทำอย่างไรที่ให้มีการคุยกันอย่างมีเหตุมีผล ให้มีการพูดคุยหักล้างกันบนเวที มากกว่าให้มีการพูดกันในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะพวกนั้นตรวจสอบไม่ได้" สมชัยกล่าว เขากล่าวต่อว่า การที่ไม่ได้ออกอากาศรายการตอบโจทย์ ตอนสถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ตอนที่ 5 เมื่อวันที่ 15 มี.ค. ก็ถือว่าไม่ได้เป็นการงด เพียงแต่เป็นการชะลอเท่านั้น เนื่องจากในฐานะเป็นผู้บริหารองค์กรและบรรณาธิการ เป็นหน้าที่ของตนที่ต้องดูแลความปลอดภัยและทรัพย์สินของสถานที่ราชการ ไม่ให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย และในฐานะอีกหมวก ก็คือบรรณาธิการที่ต้องรักษาความเป็นอิสระ ก็ต้องมาถามว่าต้องใช้หมวกไหนคืนไหน สำหรับในคืนนั้น ขอใช้หมวกผู้บริหารองค์กร เพื่อการรักษาความปลอดภัยและไม่ให้มีการเผชิญหน้า เพราะทราบว่าในขณะนั้น ในโซเชียลมีเดียเองก็มีระดมคนเข้ามาเรื่อยๆ และมีการใช้คำพูดที่ข่มขู่รุนแรง ในขณะที่เกิดการเจรจา กลุ่มที่กดดันได้เข้ามาขอดูเทปก่อนด้วย แต่นั่นเป็นเรื่องที่ผิดหลักการสื่อสารมวลชน ตนจึงให้กลุ่มดังกล่าวไปดูทั้งห้าเทปก่อนเพื่อให้เกิดความเข้าใจทั้งหมด ในโซเชียลมีเดียก็มีเอาโคว้ทมาใช้นอกบริบททำให้เกิดความเข้าใจผิดกันมาก จึงต้องสร้างความเข้าใจในตอนนั้น 'ปริญญา' ชี้ การชะลอตอน 5 เป็นเรื่อง 'ชอบกล' ทางกฎหมาย ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ม. ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เมื่อมองในแง่กฎหมาย จากการไปสอบถามกรรมการนโยบายของไทยพีบีเอส ก็พอได้ข้อเท็จจริงว่า เทปที่ชะลอการออกอากาศ มีการดูและอนุมัติแล้วจากฝ่ายบริหาร แต่เนื่องจากมีเสียงสะท้อนจากกลุ่มที่ไม่พอใจจากการพูดถึงเรื่องสถาบัน ไม่เพียงแค่ในประเด็นแต่ยังเรื่องบุคคลเรื่องความสมดุลด้วย ผู้อำนวยการจึงเชิญกรรมการฝ่ายนโยบายมาดู และเห็นว่าออกอากาศได้ แต่เสนอว่าหากยังมีความคิดเห็นไม่พอใจอยู่ ก็อาจออกเทปชี้แจงเพิ่มเติมได้ ซึ่งจุดนี้ ปริญญามองว่า แม้ความคิดเห็นดังกล่าวไม่ได้เป็นมติอย่างเป็นทางการ แต่ในฐานะความเห็น ก็มีความผูกมัดอยู่ระดับหนึ่ง แต่เพียงสิบนาทีก่อนเวลา ก็มีการเปลี่ยนแปลงไม่ให้ออกอากาศ จากเหตุผลสำคัญก็คือเรื่องผู้ชุมนุม ซึ่งผอ. ไทยพีบีเอส มองว่า ความปลอดภัยของนักข่าวเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เมื่อตนไปสอบถามจึงพบว่ามีผู้เข้ามาชุมมีราว 20-50 คน จึงตั้งคำถามว่ารปภ. มีน้อยกว่าหรือ เหตุใดจึงหามาตรการมาแก้ปัญหาตรงนี้ไม่ได้ จากจุดยืนทางวิชาชีพของสื่อมวลชน เมื่อเกิดความขัดแย้งในการตัดสินใจ ต้องมองว่าอะไรมาก่อน คิดว่าน่าจะมีมาตรการอื่นในการรองรับการตัดสินใจทั้งสองอย่างด้วย เรื่องความปลอดภัยก็เป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ก็ควรดำเนินการให้วิชาชีพสื่อสารมวลชนดำรงอยู่ได้ เขากล่าวว่า ตามแถลงการณ์ของผู้บริหารได้อ้างมาตรา 46 ของพ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ว่าด้วยหลักปฏิบัติตามหลักจริยธรรม ในการชะลอการออกอากาศ แต่ตามกระบวนการตามกฎหมาย จะเห็นว่า คณะอนุกรรมการได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน และได้ส่งต่อให้คณะกรรมการนโยบายพิจารณาเทปดังกล่าว ซึ่งเห็นว่าสามารถออกอากาศได้แต่เสนอให้ทำตอนเพิ่มเติม แต่เมื่อผอ. ตัดสินใจไม่ออกอากาศเทปดังกล่าว ในทางกฎหมายจึงฟังดูเป็นเรื่อง "ชอบกล" ในขณะที่แถลงการณ์ของกรรมการนโยบายระบุว่า การตัดสินใจชะลอการออกอากาศเป็นการผิดข้อบังคับส.ส.ท. ว่าด้วยจริยธรรมของวิชาชีพ เกี่ยวกับการผลิตและการเผยแพร่รายการ พ.ศ.2552 ข้อ 6.1 "ผู้บริหารหรือพนักงานต้องเป็นอิสระอย่างแท้จริง จากรัฐบาล กลุ่มและพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มเคลื่อนไหวกดดัน เพื่อให้สาธารณชนเชื่อมั่นในความเป็นอิสระและความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย" ปริญญาจึงเห็นว่าเป็นคนละประเด็นกัน ปริญญามองเรื่องรายการตอบโจทย์ว่า ไม่ได้เกี่ยวกับว่าคุยเรื่องสถาบันได้หรือไม่ แต่มองว่าคุยเรื่องนี้ได้อย่างไร เพราะเป็นการใช้หลักสิทธิเสรีภาพที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ต้องใช้อย่างมีขอบเขต ซึ่งมากับความรับผิดชอบ เพราะเราอยู่ในสังคมระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ต้องเป็นการพูดคุยกันบนพื้นฐานของการรับฟังกัน โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความอ่อนไหว ต้องทำให้เกิดความสมดุลมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ซึ่งเราต้องมีพื้นที่สาธารณะที่ต้องเอามาคุยกัน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและมีความขัดแย้ง จุมพล: หากตัดสินใจฉายแล้วต้องยืนหยัดในหลักการ จุมพล รอดคำดี ผู้อำนวยการสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า สื่อมวลชนสาธารณะมีหน้าที่นำเสนอ และดูแลเรื่องประเด็นสาธารณะต่างๆ มาสร้างความเข้าใจในปัญหาต่างๆ อย่างถ่องแท้ แต่คงต้องดูในแง่การหยิบประเด็นด้วยว่ามีความเหมาะสมแค่ไหน สำหรับประเด็นที่มีความละเอียดอ่อน ควรต้องแน่ใจว่า ถ้าตัดสินใจแล้ว ต้องยืนอยู่บนหลักการของการมีเสรีภาพในการนำเสนอสื่อ ทำหน้าที่ที่ปราศจากการครอบงำในประเด็นที่เป็นประโยชน์สาธารณะ และก็ต้องยืนยันในการตัดสินใจนั้น "ในประเด็นที่มีความขัดแย้งสูง เมื่อเลือกแล้วก็ต้องพร้อมจะเดินหน้า ถ้าเลือกทำงานด้านสื่อแล้ว ก็ไม่ต้องหวั่นไหวในหลักการ เพื่อเป็นการสร้างศรัทธาและความมั่นใจให้กับสังคมว่าเราจะทำหน้าที่ตรงนี้ให้ดีที่สุด" จุมพลกล่าว ในเรื่องของความกดดันที่มาจากภายนอก เป็นหน้าที่ของสื่อที่จะต้องสร้างความสมดุล แต่ว่าประชาชนจะชอบหรือไม่ชอบนั้นก็เป็นเรื่องที่บอกไม่ได้ เป็นเรื่องที่ต้องมีการโต้แย้งในสังคมอยู่แล้ว เป็นเรื่องของประชาชนที่จะต่างคนต่างคิดและมีความเห็นต่างได้ และเมื่อสื่อเอามานำเสนอ ก็ถือว่าเป็นการหยิบเรื่องนี้มาขยาย ให้มาอยู่ที่สว่าง นี่เป็นเรื่องที่สื่อต้องทำหน้าที่ โดยเฉพาะหน้าที่ของสื่อสาธารณะ กสทช. ระบุผอ. มีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจยุติการฉาย พันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กล่าวว่า เนื่องจากผู้อำนวยการไทบพีบีเอสเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่ออกอากาศ เช่นหากว่ามีการฟ้องร้อง ผอ. จะต้องเป็นจำเลยที่หนึ่ง ท่านจึงมีอำนาจสูงสุดในการยุติหรือไม่ยุติการออกอากาศรายการ ส่วนการให้คณะกรรมการนโยบายชมเทปดังกล่าว เป็นการขอความคิดเห็นเท่านั้น ในแง่ที่เกี่ยวข้องผังรายการ หากจะยุติรายการ มีข้อกำหนดให้ยุติล่วงหน้าเจ็ดวันและต้องแจ้งให้กสทช. ทราบ หรือถ้าในกรณีสถานการณ์พิเศษต้องยุติกะทันหัน ก็สามารถยุติเลยได้และต้องแจ้งกสทช. แต่ถ้าออกอากาศไปแล้ว ต้องถามว่าเนื้อหาดังกล่าวเหมาะสมอยู่ในกรอบกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องของคณะอนุกรรมการกสทช. ด้านผังรายการและเนื้อหาที่ต้องพิจารณาต่อไป นทีกล่าวว่า ทั้งในกรณีของการงดฉายละครเหนือเมฆตอนสุดท้าย และรายการตอบโจทย์ จะถือว่าเป็นเรื่องที่ตั้งมาตรฐาน และเป็นกรณีศึกษาให้กสทช. ต่อไป เรื่องความละเอียดอ่อนก็ต้องมาวางกรอบว่าอะไรบ้างที่เหมาะสม ในแต่ละประเทศก็มีเรื่องการกำหนดเรื่องต้องห้ามไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละประเทศด้วย ตั้งคำถามเรื่องความเป็นกลางของ TPBS เหตุมาจากการรัฐประหาร อุเชนทร์ เชียงแสน หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา แสดงความคิดเห็นว่า เรื่องการพูดคุยในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องสถาบันกษัตริย์ไม่ว่าจะในอินเทอร์เน็ต ในกลุ่มต่างๆ ที่สมชัยเรียกว่า "ใต้ดิน" ผู้พูดหรือผู้พิมพ์ก็ต้องมีความรับผิดชอบกับสิ่งที่พิมพ์อยู่แล้ว ด้วยกฎหมายพรบ. คอมพิวเตอร์และประมวลกฎหมายอาญาม. 112 เหตุใดต้องพูดราวกับว่าสื่อมวลชนหรือนักวิชาการสามารถใช้เหตุผลหรือเรียบเรียงการนำเสนอได้ดีกว่าคนอื่นในพื้นที่สาธารณะอื่นๆ สำหรับเรื่องที่ปริญญากล่าวถึงฉันทามติในการก่อตั้งทีวีสาธารณะ ตนไม่เห็นด้วย เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่ามาจากการรัฐประหาร 2549 โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ออกพรบ. ก่อตั้งไทยพีบีเอส ถ้าหากพรบ. ดังกล่าวออกมาจากกระบวนการทางรัฐสภาที่ปรกติ ก็คงพอยอมรับได้ ตนจึงมองว่า กระบวนการที่ออกจากรัฐประหาร จึงทำให้ไทยพีบีเอสมีปัญหาเรื่องความเป็นกลาง จะเห็นจากกรณีล่าสุดเรื่องการนำเสนอข่าวเรื่องกลุ่มนักศึกษาสนนท. ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ ซึ่งตนมองว่าเป็นการนำเสนอที่ไม่รับผิดชอบ ต่อเรื่องของการพูดคุยเรื่องสถาบันกษัตริย์ มองว่าต้องยอมรับว่าในสังคมไทยมีคนที่รักและไม่รักสถาบันอยู่ และก่อนหน้านี้คิดว่า ไทยพีบีเอส กำลังสร้างโอกาสให้เรื่องนี้สามารถพูดเรื่องนี้ในทีวีสาธารณะ แต่จากเหตุการณ์ต่างๆ เมื่อเร็วๆ นี้ ทั้งการออกมาพูดของประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. หรือความคิดเห็นของส.ว. สรรหาที่จะเรียกผู้ผลิตรายการมาชี้แจง ก็ทำให้โอกาสนั้นมันก็จบลงไปแล้ว ซึ่งก็คิดว่าการอภิปรายเรื่องสถาบันกษัตริย์ในทีวีระดับชาติคงเกิดขึ้นไม่ได้อีกในรัชกาลนี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น