โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

กองทัพพม่าเสริมกำลังเผชิญหน้ากองทัพรัฐฉานเหนือ-ใต้

Posted: 07 Mar 2013 12:28 PM PST

กองทัพพม่าส่งกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์หนักเข้าสู่พื้นที่กองทัพรัฐฉาน SSA "เหนือ" และ "ใต้ ส่งสัญญาณปราบ หลังจากเปิดศึกกำชัยชนะกองกำลังคะฉิ่น KIA ได้ระดับหนึ่ง ขณะที่นักสังเกตการณ์เผย กองทัพพม่าส่งสัญญาณโจมตีกองกำลังว้า UWSA

มีรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์มาจนถึงปัจจุบัน กองทัพรัฐบาลพม่าได้มีการเสริมกำลังทหารเข้าไปในพื้นที่เคลื่อนไหวของกองทัพรัฐฉาน SSA ทั้งกลุ่ม SSA "เหนือ" (บก.บ้านไฮ) และกลุ่ม SSA "ใต้" (บก.ดอยไตแลง) อย่างต่อเนื่อง โดยมีการนำอาวุธยุทโธปกรณ์ทั้งปืนใหญ่และรถหุ้มเกราะเข้าไปด้วย ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากกองทัพพม่าส่งกำลังปราบกองกำลังคะฉิ่น KIA และล่าสุดเปิดฉากโจมตีกองกำลังไทใหญ่ SSA "เหนือ" เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา

ด้านเว็ปไซท์ Taifreeedom สื่อกระบอกเสียงสภากอบกู้รัฐฉาน กองทัพรัฐฉาน RCSS/SSA รายงานอ้างแหล่งข่าวในพื้นที่ว่า เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทหารพม่ามีการเคลื่อนกำลังพลและอาวุธหนักด้วยรถบรรทุกของกองทัพจำนวน 14 คัน เข้ามาในพื้นที่กิ่ง อ.หัวเมือง (อดีตที่มั่นของขุนส่า) อยู่ตรงข้ามจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยข้ามแม่น้ำสาละวินที่ท่าสบเต็ง ซึ่งอาวุธหนักที่ทหารพม่านำมาประกอบด้วยปืนใหญ่ขนาด 105 มม. อย่างน้อย 4-5 กระบอก รวมถึงกระสุนปืนใหญ่ด้วย

ชาวบ้านในพื้นที่เชื่อว่า การเคลื่อนกำลังทหารพม่าครั้งนี้ อาจเป็นการส่งสัญญาณเตรียมบุกโจมตีกองกำลังไทใหญ่ SSA ของสภากอบกู้รัฐฉาน RCSS ภายใต้การนำของพล.ท.เจ้ายอดศึก หรือไม่ก็กองทัพสหรัฐว้า UWSA เนื่องจากกองกำลังทั้งสองกลุ่มเคลื่อนไหวใกล้กับหัวเมือง

มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมา กองทัพพม่าได้ส่งหนังสือถึงสภากอบกู้รัฐฉาน กองทัพรัฐฉาน RCSS/SSA โดยระบุให้ถอนกำลังทหารออกฐานที่มั่น 2 แห่ง 1 แห่งในพื้นที่กิ่ง อ.หัวเมือง และอีก 1 แห่งในเขตพื้นที่กิ่ง อ.เมืองทา โดยกำหนดวันสิ้นสุดในวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ทางฝ่าย RCSS/SSA ได้ตอบปฏิเสธว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่พัฒนาตามสัญญาที่สองฝ่ายลงนามกันไว้

ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของทหารพม่าดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากเมื่อวันที่ 19 ก.พ. ที่ผ่านมา พล.อ.โซวิน รอง ผบ.สส. และผบ.กองทัพบกพม่า พร้อมด้วย พล.ต.อ่องตานทุต ผบ.ยุทธการพิเศษในรัฐฉาน, แม่ทัพภาคตองจี และแม่ทัพภาคตะวันออกกลาง (โขหลำ) เดินทางมาตรวจเยี่ยมกำลังพลในพื้นที่กิ่ง อ.หัวเมือง ซึ่งมีรายงานว่า ได้มีการพบหารือกับ ผบ.ยุทธการพม่าประจำกิ่ง อ.หัวเมืองนานหลายชั่วโมง ก่อนนั่งเฮลิคอปเตอร์เดินทางต่อไปยังอำเภอเมืองปั่น

อีกด้านหนึ่งมีรายงานว่า กองทัพพม่ามีการเสริมกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์มุ่งหน้าสู่เขตพื้นที่เคลื่อนไหวกองกำลังไทใหญ่ SSA "เหนือ" ของพรรครัฐฉานก้าวหน้า SSPP โดยระหว่างวันที่ 27-28 ก.พ. ที่ผ่านมา มีรถบรรทุกทหารพม่าหลายคันซึ่งรวมถึงรถหุ้มเกราะ 2 คัน และรถถังอีก 2 คัน จากเมืองล่าเสี้ยว (รัฐฉานภาคเหนือ) มุ่งหน้าเข้าไปในเขตพื้นที่เมืองต้างยาน พื้นที่เคลื่อนไหวของ SSPP/SSA ซึ่งในพื้นที่นี้ทหารทั้งสองฝ่ายเพิ่งเปิดศึกสู้รบกันไปหลายระลอก ระหว่างวันที่ 18-22 ก.พ.ที่ผ่านมา

แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ SSPP/SSA เปิดเผยว่า ปัจจุบันรอบพื้นที่เคลื่อนไหวของ SSPP/SSA มีกำลังทหารพม่าถูกส่งเข้าไปเคลื่อนไหว 6 กองพัน และอีก 7 กองร้อย ได้แก่ กองพันทหารราบ 291,136, 33, 22 กองพันทหารราบเบา (เคลื่อนที่เร็ว) 326, 322 กองร้อย 131, 525, 575, 295, 513, 577 และ 574

ด้านนักสังเกตการณ์หลายคนมองว่า การเคลื่อนกำลังทหารพม่าเข้าไปในพื้นที่ภาคเหนือรัฐฉานครั้งนี้ อาจมีเป้าประสงค์ไปที่กำลังว้า UWSA มากกว่า เพราะกำลังว้า เป็นกองกำลังที่เข้มแข็งทีสุดในบรรดากลุ่มติดอาวุธทั้งหลาย ขณะที่กองกำลังกลุ่มต่อต้านที่ถือว่ามีความเข้มแข็งอีกลุ่ม คือกองกำลังเอกราชคะฉิ่น KIA ได้ถูกกองทัพพม่ากำชัยชนะได้แล้วในส่วนใหญ่ เหตุที่กองทัพพม่าเสริมกำลังมุ่งหน้าไปทางกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSPP/SSA เพราะว่ามีพื้นที่เป็นกันชนให้กองกำลังว้า UWSA ในขณะที่ SSPP/SSA กับกองกำลังว้า UWSA เป็นพันธมิตรกัน

 

 


ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ถก ‘วิกฤติพลังงาน’ ไทย ‘ไฟฟ้า’ ไม่พอใช้จริงหรือ

Posted: 07 Mar 2013 12:07 PM PST

'นพพร' แนะระยะยาวใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ หนุนระบบ Smart Grid ระยะสั้นเสนอขอ ก.ศึกษา หยุดทำงานปิดเทอมช่วงวิกฤติไฟฟ้า 'ชื่นชม' เปิดสัญญาซื้อขายก๊าซฯ ตั้งข้อสังเกตพม่าหยุดจ่ายก๊าซ ปตท.เคยร้องลดราคาซื้อก๊าซ 25 เปอร์เซ็นต์ มาลดค่าไฟไหม

 
จากกระแสวิพากษ์วิจารณ์ และความหวั่นเกรงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากวิกฤตพลังงานในกรณีบริษัทผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานาของพม่า แจ้งหยุดซ่อมบำรุงเนื่องจากปัญหาการทรุดตัวของแท่นผลิต ระหว่างวันที่ 5-13 เม.ย.2556
 
วันที่ 7 มี.ค.56 นพพร ลีปรีชานนท์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยด้านการวางแผนระบบไฟฟ้าและนโยบายพลังงาน ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวในการเสวนา 'วิกฤติพลังงาน ไทยจะประสบปัญหาไฟไม่พอใช้จริงหรือ?' ระบุว่า ประเทศไทยยังมีความเสี่ยงเกิดปัญหาไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับ ในช่วงที่พม่าหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ
 
แม้รัฐบาลจะพยายามดำเนินการแก้ปัญหา ทั้งการปรับเชื่อเพลิงที่ใช้ในการผลิต หรือแม้จะได้รับความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรมในการลดการใช้ไฟฟ้าลง เนื่องจากความสามารถในการผลิตไฟใกล้เคียงกับความต้องการใช้สูงสุด และยิ่งหากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นก็ยิ่งมีความเสียง
 
อย่างไรก็ตาม นพพรแสดงความเห็นว่า อีกหน่วยหนึ่งของการใช้ไฟฟ้าที่สำคัญคือส่วนราชการอย่างกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศ พร้อมเสนอให้ขอความร่วมมือไปยังกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงปิดภาคเรียน โดยขอความร่วมมือให้หยุดการทำงาน ในช่วงวันที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด 1-3 วัน ซึ่งจะช่วยลดความต้องการในการใช้ไฟฟ้าลงได้อีก
 
 
ส่วนระยะยาว ไทยควรพิจารณาการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงที่หลากหลาย เช่นพลังงานหมุนเวียน ไม่ใช่เพียงแค่ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หรือนิวเคลียร์ และอีกแนวทางหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญคือ การควบคุมความต้องการใช้ไฟฟ้า จากเดิมที่มีแต่คิดเปิดโรงไฟฟ้าเพื่อรองรับความต้องการใช้ ซึ่งนั่นหมายความว่าจะต้องจัดหาพลังงานมาเพิ่มเรื่อยๆ ยกตัวอย่าง การใช้เทคโนโลยี องค์ความรู้ มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ซึ่งจะลดการใช้พลังงานลงไปได้
 
อีกทั้ง ในเรื่องระบบส่งไฟฟ้าซึ่งเป็นอีกปัญหาหนึ่ง นพพร เสนอให้ส่งเสริมระบบ Smart Grid (โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ) ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร (TCT) มาบริหารจัดการ ควบคุมการผลิต ส่ง และจ่ายพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะสนองตอบต่อแนวคิดส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน โดยมีการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานเข้ามาในระบบมากขึ้น
 
ตรงนี้เมื่อร่วมกับการทำนโยบายส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนให้เป็นระบบจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานหมุนเวียนลดลงในเวลาอันสั้น เพราะปัจจุบันมีราคาแพงเพราะคนใช้กันน้อย และทำให้ค่าไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสามารถแข่งขันกับเชื้อเพลิงจากฟอสซิลได้ในที่สุด แต่คำถามคือภาครัฐมองไกลขนาดไหน
 
นพพร กล่าวถึงข้อเสนอต่อมาว่า ควรมีการออกกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติที่ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนให้เข้ามาในระบบอย่างจริงจัง โดยตัวอย่างในประเทศมาเลเซียได้กฎหมายนี้เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งส่งผลต่อภาคการผลิต การติดตั้ง การจ้างงาน และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ เกิดการลงทุนในกิจการใหม่ๆ รวมถึงเป็นประโยชน์ในระดับผู้บริโภคด้วย
 
 
แต่ประเทศไทยกลับไม่มีการพูดถึงพลังงานหมุนเวียนอย่างเป็นเรื่องเป็นราว เพียงแต่ระบุไว้ในกฎหมายบางฉบับ ทั้งที่พระราชบัญญัติออกมากำกับเพื่อให้การดำเนินการเดินหน้าไปได้ ดังนั้นพลังงานหมุนเวียนที่ปัจจุบันกำหนดให้อยู่ในระบบ 25 เปอร์เซ็นต์ จึงมีอยู่จริงแค่ประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์
 
"วิกฤติตรงนี้สามารถใช้ปรับ PDP ใหม่ให้สะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น ใช้ปรับกำลังการผลิตสำรองด้วยดัชนที่ปลอดภัยอย่างแท้จริงได้" นพพร กล่าว
 
ต่อข้อสังเกตที่ว่าการตีปี๊บวิกฤติพลังงานนั้นเพื่อผลักดันการใช้ถ่านหิน นพพร กล่าวว่า ส่วนตัวเขาไม่ได้คัดค้านเชื้อเพลิงถ่านหิน เพราะปัจจุบันมีการพูดถึงการใช้เทคโนโลยีสะอาด แต่ถ่านหินควรจะเป็นทางเลือกสุดท้ายในการดำเนินการ เนื่องจากยังมีทางเลือกอื่นๆ โดยเฉพาะการลดใช้ไฟฟ้าของทุกภาคส่วน ซึ่งจากงานศึกษาเกี่ยวกับแผนอนุรักษ์พลังงาน เมื่อดูเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบันและปริมาณการใช้ไฟ หากบริหารจัดการอย่างจริงจังจะลดการใช้ได้อีกไม่ต่ำกว่า 20 เปอร์เซ็นต์  
 
                                                         
ด้าน ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซ่น นักวิชาการอิสระ ผู้ช่วยวิจัยด้านการวางแผนระบบไฟฟ้าและนโยบายพลังงาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า ตามสัญญาซื้อขายก๊าซฯ ระหว่าง ปตท. กับผู้รับสัมปทานแหล่งก๊าซยาดานา ระบุว่า การหยุดซ่อมแท่นขุดเจาะก๊าซฯ จะมีการกำหนดไว้ล่วงหน้าทุกปี ครั้งละไม่เกิน 15 วัน แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือน
 
อย่างไรก็ตาม ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหยุดซ่อมช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด และควรหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้กระทบความมั่นคงของระบบและเพิ่มภาระค่าไฟฟ้ามาขึ้น ทั้งนี้ ควรเลื่อนการซ่อมแซมมาอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม ซึ่งมีความต้องการไฟฟ้าไม่สูง ต่างจากช่วงเดือนเมษายนที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงจากอากาศร้อน
 
นอกจากนี้ สัญญาดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ระหว่างการซ่อมแซมจะต้องจัดส่งก๊าซธรรมชาติไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณจัดส่งตามสัญญา และหากไม่สามารถนำส่งก๊าซฯ ได้ ก็มีบทลงโทษ คือ ฝ่าย ปตท.จะได้สิทธิ์ซื้อก๊าซฯ เฉพาะส่วนที่ขาดหายไปได้ภายหลังในราคาลดลง 25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งที่ผ่านมา ปตท.ได้เรียกร้องสิทธิ์นี้และนำส่วนลดที่ได้มาช่วยลดค่าไฟหรือไม่ เพราะช่วงหลายปีที่ผ่านมาแหล่งก๊าซฯ ในพม่าหยุดเพื่อปิดซ่อมทุกปี
 
 
ชื่นชม กล่าวต่อมาถึงปัญหาของตัวเลขจำนวนการผลิตติดตั้งของโรงไฟฟ้าในประเทศ ซึ่งในการผลิตจริงกลับไม่ได้ตามนั้น ทำให้เกิดความคาดเคลื่อนในการรับรู้ข้อมูลปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ได้และปริมาณไฟฟ้าสำรองในระบบ โดยเสนอต่อสื่อมวลชนให้ติดตามข้อมูลจากศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า เขตบางกรวย ในวันที่ 5 เม.ย.56 ซึ่งจะทำให้ทราบสถานการณ์ผลิตที่แท้จริงของโรงไฟฟ้าแต่ละโรง เพื่อพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสในการรับทราบข้อเท็จจริงของข้อมูลทางพลังงาน 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักสิทธิอังกฤษถูกโรงงานสับปะรดไทยฟ้องหมิ่นประมาท เรียก 300 ล้าน

Posted: 07 Mar 2013 11:22 AM PST

'อานดี้ ฮอลล์' นักรณรงค์เพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ ถูกโรงงาน 'เนเชอรัล ฟรุต' ฟ้องคดีหมิ่นประมาทเรียก 300 ล้านบาท เหตุตีพิมพ์รายงานเรื่องสภาพการทำงานของคนงานพม่า-กัมพูชาในโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋องโดยระบุว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน 

7 มี.ค. 56 - อานดี้ ฮอลล์ นักรณรงค์ชาวอังกฤษเพื่อสิทธิแรงงานพม่าในไทย ถูกบริษัทผลิตสับปะรดกระป๋อง 'เนเชอรัล ฟรุต' ฟ้องหมิ่นประมาททางแพ่งและอาญา พร้อมเรียกค่าเสียหาย 300 ล้านบาท หลังฮอลล์เผยแพร่รายงานตีแผ่เรื่องสภาพการทำงานของแรงงานข้ามชาติในโรงงานดังกล่าว ซึ่งระบุว่ามีการใช้แรงงานเด็ก การกดค่าจ้างที่ต่ำกว่ากำหนด และการยึดหนังสือเดินทางของคนงาน โดยทางโรงงานเนเชอรัล ฟรุต ฟ้องกลับว่าเป็นการเผยแพร่ความเท็จและทำให้เกิดความเสียหาย 

ทั้งนี้ อานดี้ ฮอลล์ เป็นนักเคลื่อนไหวและรณรงค์เพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติในเมืองไทยมาแล้วกว่า 10 ปี เคยทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชนหลายแห่ง อาทิ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา และเคยเป็นนักวิจัยให้กับมหาวิทยาลัยมหิดลเรื่องการย้ายถิ่น 
 
โดยเมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา ฮอลล์ได้ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวรายงาน "Cheap has a High Price" ขององค์กรวิจัย Finnwatch ที่วิจัยเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมส่งออกในประเทศไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตทูน่าและสับปะรดกระป๋อง และในฐานะนักวิจัยหลัก เขาได้เก็บข้อมูลจากโรงงาน 3 แห่งในจังหวัดสมุทรสาครและประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างเดือนต.ค.-ธ.ค. 55 และพบว่ามีการใช้แรงงานข้ามชาติที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จ่ายค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด จ้างแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้จดทะเบียน และมีการยึดพาสปอร์ตรวมถึงใบอนุญาตทำงานของคนงาน 
 

อานดี้ ฮอลล์ แถลงข่าวเปิดตัวรายงานขององค์กร Finnwatch ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย
 

การแถลงข่าวดังกล่าว จัดขึ้นที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย และมีสื่อมวลชนและผู้สนใจเข้าฟัง ต่อมาได้มีการตีพิมพ์เนื้อหาเกี่ยวกับรายงานดังกล่าวในเว็บไซต์ข่าวประชาไท (www.prachatai.com) และเว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น (www.nationmultimedia.com) รวมถึงมีการเผยแพร่รายงานในเว็บไซต์ขององค์กร finnwatch (www.finnwatch.com) ทำให้บริษัทเนเชอรัล ฟรุต ฟ้องฮอลล์ด้วยพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ควบคู่ไปกับข้อหาหมิ่นประมาท โดยระบุว่าเป็นการใส่ความเท็จและสร้างความเสียหายจากสาธารณะ 

หากฮอลล์ถูกตัดสินว่าผิดจริงในข้อหาดังกล่าว เขาอาจถูกจำคุกสูงสุดเป็นเวลา 2 ปี และปรับอีก 300 ล้านบาท 

ฮอลล์กล่าวว่า เขายืนยันในวิธีวิจัยและข้อมูลที่รวบรวมจากการสัมภาษณ์คนงานและเอกสารต่างๆ ว่าถูกต้อง และชี้ว่า ก่อนหน้านี้ ได้เคยพยายามติดต่อทางเจ้าหน้าที่ของโรงงานแล้ว แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ

"การฟ้องทางแพ่งและอาญาในทางการเมืองนี้ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่ก้าวร้าวและกว้างขวางในการปิดปากผมและเพื่อนร่วมงาน เป็นการทำลายเสรีภาพการแสดงออกในเมืองไทย และเพื่อหันเหให้ผมออกจากการทำงานเพื่อพิทักษ์สิทธิแรงงานข้ามชาติและลดการกดขี่ที่เป็นระบบ" ฮอลล์กล่าว และเสริมว่า แม้หลังจากการเผยแพร่รายงานดังกล่าว จะมีการปรับปรุงสภาพการทำงานในโรงงานบ้าง แต่โดยรวมแล้วยังมีเรื่องที่ละเมิดกฎหมายอยู่

ทั้งนี้ บริษัท เนเชอรัลฟรุต จำกัด เป็นโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋อง ตั้งอยู่ที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีวิรัช ปิยพรไพบูลย์  ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดประคีรีขันธ์ และนายกสมาคมอุตสาหกรรมสับปะรดไทย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยจากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง เผยว่า นายวิรัช เป็นพี่ชายของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  

ข้อมูลระบุว่า บริษัทดังกล่าว มีทุนปัจจุบัน 104 ล้านบาท และมีลูกจ้างราว 500 คน 

 

อานดี้ ฮอลล์ กับนางออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านของพม่า ที่บ้านรับรองของนางออง ซาน ซูจี ในย่างกุ้ง 
ทั้งนี้ระหว่างการมาเยือนไทยของซูจีเดือนพ.ค. ปีที่แล้ว ฮอลล์มีบทบาทสำคัญในการประสานงานให้ซูจีเยือนต.มหาชัย จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นเขตที่แรงงานพม่าราว 2 แสนคนทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมอาหารทะเล
 
 

 

AttachmentSize
Cheap has a high price_exec summary_FINAL.pdf102.5 KB
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now

One Women: บทเพลงสำหรับวันสตรีสากล จาก UN Women

Posted: 07 Mar 2013 10:16 AM PST


มณฑิรา นาควิเชียร เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสาร ของ UN Women ประจำภาคพื้นเอเชีย มณฑิรา นาควิเชียรเจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กร ยูเอ็นวีเมน ภาคพื้นเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก อธิบายว่า เพลง One Woman เป็นเพลงที่องค์กรขอมอบเป็นของขวัญให้ผู้หญิงทุกคนในโลก

เดิมเพลงนี้ได้ถูกนำมาแสดงในวันที่ 1 มกราคม 2555 ซึ่งเป็นวันแรกของการเปิดตัว UN Women ที่นิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกาให้เป็น "องค์กรเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาติ" ผู้ประพันธ์ คือ เกรแฮม ไลล์ และ เบธ แบลท์ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากงานขององค์กรที่ทำในอดีตครั้งยังเป็น UNIFEM และหน่วยงานอื่นภายใต้สำนักงานของเลขาธิการสหประชาชาติ และที่สำคัญที่สุด คือ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมภารกิจข้างหน้าของ UN Women รวมถึงงานกับภาคีภาครัฐ ประชาสังคม ภาคเอกชน และสื่อมวลชน

หลังจากที่เพลงนี้ได้รับความนิยม UN Women นำเพลงนี้มา remix ใหม่ และขับร้องโดยศิลปินทั่วโลกกว่า 25 คน ถูกนำมาเปิดตัวที่ประเทศไทย จีน ฟิจิ และประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในงานวันสตรีสากล 8 มีนาคม ด้วยความร่วมมือ และสนับสนุนจากบริษัทไมโครซอฟท์ และใช้เพื่อการสื่อสารต่อไปอย่างกว้างขวาง เพื่อให้เกิดความรับรู้ในภาระกิจขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นในงาน 1) การเพิ่มบทบาทการเป็นผู้นำและการมีส่วนร่วมของผู้หญิง 2) การยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง ว่าเราสามารถป้องกันความรุนแรงได้ แม้จะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ตาม 3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานเกี่ยวกับวาระด้านผู้หญิง สันติภาพ และความมั่นคง 4) การเพิ่มพลังทางเศรษฐกิจของผู้หญิง และ 5) การส่งเสริมให้ความเสมอภาคระหว่างเพศเป็นประเด็นสำค้ญในระดับชาติและระดับ ท้องถิ่น รวมทั้งในการวางแผนและการจัดทำงบประมาณ

สำหรับบทเพลงนี้มีศิลปิน 5 คนจากภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิก คือ Anoushka Shankar (India); Yuna (Malaysia); Charice (Philippines); Zhang Liangying (China); Vanessa Quai (Vanuatu)

ในวันสตรีสากลปีนี้ รัฐบาล 2 ประเทศในอาเซียน คือ ไทย และเวียดนามประกาศ COMMIT ต่อ UN Women หรือให้พันธะสัญญาว่าจะดำเนินนโยบายเพื่อมุ่งต่อการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง และเด็กหญิง

สำหรับเนื้อหาของเพลงนั้นกล่าวถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของผู้หญิงทั่วโลก ซึ่งตื่นขึ้น สร้างทางเลือก เปล่งเสียง ร่วมแบ่งปันทุกข์สุขและความหวัง แม้จะมีความแตกต่างหลากหลายแต่ก็เชื่อมโยงกันได้ด้วยความเป็นผู้หญิงหนึ่งเดียวกัน

In Kigali, she wakes up,
She makes a choice,
In Hanoi, Natal, Ramallah.
In Tangier, she takes a breath,
Lifts up her voice,
In Lahore, La Paz, Kampala.
Though she's half a world away
Something in me wants to say …

We are One Woman,
You cry and I hear you.
We are One Woman,
You hurt, and I hurt, too.
We are One Woman,
Your hopes are mine.
We shall shine.

In Juarez she speaks the truth,
She reaches out,
Then teaches others how to.
In Jaipur, she gives her name,
She lives without shame
In Manila, Salta, Embu.
Though we're different as can be,
We're connected, she with me

We are One Woman,
Your courage keeps me strong.
We are One Woman,
You sing, I sing along.
We are One Woman,
Your dreams are mine.
And we shall shine.
We shall shine.

And one man, he hears her voice.
And one man, he fights her fight.
Day by day, he lets go the old ways,
One Woman at a time.
Though she's half a world away,
Something in me wants to say.

We are One Woman,
Your victories lift us all.
We are One Woman,
You rise and I stand tall.
We are One Woman,
Your world is mine
And we shall shine.
Shine, shine, shine.
We shall shine
Shine, shine, shine.
We shall shine.
Shine, shine, shine.
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'สถาบันการสื่อสารระหว่างประเทศ' เปิดสาขาในไทย หวังเพิ่มพื้นที่ถกเถียงนโยบายสื่อสาร

Posted: 07 Mar 2013 09:34 AM PST

สถาบันการสื่อสารระหว่างประเทศ (IIC) เปิดสาขาในไทย เชื่อไทยมีศักยภาพเป็นผู้นำ แต่ยังมีความไม่ชัดเจนเรื่องนโยบาย-บาง กม.ที่ต่างกับประเทศอื่นมากไป ส่งผลคนลงทุนลำบากขึ้น

(6 มี.ค.56)  ในงาน Digital Agenda Thailand ครั้งที่ 7 ณ โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการจัดร่วมกันระหว่างสถาบันวิชาการนโยบายกิจการสาธารณะกับธุรกิจและการกำกับดูแล (APaR) มหาวิทยาลัยหอการ ค้าไทย สถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ และ บริษัท แอ๊บโซลูท คอมมิวนิเคชั่น แอนด์ อีเวนท์ส (ACE) มีการเปิดตัว Thailand Chapter ของสถาบันการสื่อสารระหว่างประเทศ (International Institute of Communications: IIC) ซึ่ง Thailand Chapter จะเป็นสาขาของ IIC ลำดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อจากสิงคโปร์ และเป็นลำดับที่ 3 ในทวีปเอเชีย

สำหรับ IIC ก่อตั้งขึ้นในพ.ศ. 2512 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยเป็นเวทีที่พูดถึงนโยบายระดับโลกเพื่อให้สมาชิกมีโอกาสได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประเทศต่างๆที่กำลังมีความสำคัญ และทราบถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายตามปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ผ่านการประชุมประจำปีของสถาบัน เวทีประชุมของหน่วยงานกำกับดูแลระหว่างประเทศ และเวทีที่เกี่ยวกับโทรคมนาคมสื่อ

แอนเดีย มิลล์วูด ฮาร์เกรฟ ผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่ IIC กล่าวว่า สาเหตุที่เลือกเปิดสาขาในประเทศไทย เพราะไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพจะเป็นผู้นำ โดยมีประชากรเกือบ 70 ล้านคน มีการใช้สื่อหลายแพลตฟอร์ม มีโครงสร้างการกำกับดูแลที่ทันสมัยอย่าง กสทช. เรียกว่ามีสภาพที่ไม่ใช่แค่มีพลวัต (dynamic) แต่เป็นการระเบิดออก (explode) อย่างไรก็ตาม ยังมีความไม่ชัดเจนเรื่องนโยบาย ซึ่งหวังว่าจะได้นำมุมมองจากประเทศต่างๆ มาแลกเปลี่ยน

เมื่อถามถึงอุปสรรคของไทยต่อการเป็นผู้นำ เธอกล่าวว่า หากไทยสร้างอุปสรรคต่อการลงทุนมากเกินไป มีกฎหมายที่มีความแตกต่างจากประเทศอื่นมากไป เช่น กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กฎหมายหมิ่นประมาท ผู้ที่สนใจก็จะเข้ามาลงทุนได้ลำบากขึ้น ดังนั้น การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องสำคัญในการทำความเข้าใจและหาจุดตรงกลางร่วมกัน


เชื่อผู้บริโภคควบคุม 'สื่อเลือกข้าง' ได้
ด้านวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาเรื่อง "บทบาทของสื่อมวลชนในประเทศไทย" ว่า ขณะนี้ บทบาทของสื่อนั้นเกี่ยวข้องกับคนไทยตลอด 24 ชั่วโมง เทียบกับสิบกว่าปีก่อนแล้ว การแข่งขันสูงขึ้นมาก ประชาชนบริโภคสื่อตลอดทั้งวัน ทั้งในรูปแบบภาพ เสียง ข้อความและทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก อย่างไรก็ตาม เมื่อการแข่งขันของธุรกิจสื่อสูงขึ้น ทำให้มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง และอาจส่งผลต่อการทำผิดจรรยาบรรณ อย่างไรก็ตาม มองว่าสื่อไทยมีองค์กรตรวจสอบกันเอง ซึ่งเป็นที่ยอมรับ

ส่วนประเด็นเรื่องการเลือกข้างของสื่อนั้น วรากร กล่าวว่า สื่อเป็นองค์กรสำคัญในการชี้นำสังคมพอสมควร แม้จะบอกว่าสังคมไทยคนมีการศึกษามากขึ้น สามารถใช้วิจารณญาณได้ด้วยตัวเอง แต่ผู้บริโภคสื่ออาจไม่ได้ทบทวนข้อมูล หรือได้รับข้อมูลซ้ำๆ ส่งผลให้ได้รับข้อมูลแบบไม่ถูกต้องก็ได้ ดังนั้น การทำหน้าที่ของสื่อจึงสำคัญ แต่เชื่อว่า สื่อในไทยยังมีกลุ่มที่มีความเป็นกลางมากกว่าที่ไม่เป็นกลาง หากสื่อทำหน้าที่อย่างไม่ตรงไปตรงมา เลือกข้างด้วยความรู้สึกอย่างไม่มีเหตุผลจะเป็นอันตรายได้ อย่างไรก็ตาม สื่อเหล่านี้ก็จะถูกควบคุมโดยองค์กรต้นสังกัด และผู้บริโภคซึ่งจะปฏิเสธการรับสื่อนั้นโดยปริยาย หากผู้บริโภคเห็นว่าไม่ถูกต้อง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เฟซบุ๊ก “รัฐสภาไทย” สอบถามความเห็นการ ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

Posted: 07 Mar 2013 08:43 AM PST

เฟซบุ๊ก "รัฐสภาไทย" โพสต์ข้อความสอบถามความเห็นว่า "ท่านเห็นด้วยกับการ ออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมหรือไม่" โดยมีช่องให้ผู้ที่สนใจแสดงความเห็น 2 ช่อง ประกอบด้วย เห็นด้วย และ ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ยังมีผู้แสดงความเห็นท้ายการสำรวจจำนวนมาก

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โพลล์ผู้ว่า กทม.

Posted: 07 Mar 2013 08:37 AM PST

หลายปีก่อนผู้เขียนเคยศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีชื่อเสียงในการทำโพลล์แห่งหนึ่ง และผู้เขียนก็เคยทำโพลล์มาก่อน แต่โพลล์ที่ผู้เขียนทำในครั้งนั้นเป็นโพลล์ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง จากการชักชวนของเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัย
 
ในครั้งนั้นเพื่อนของผู้เขียนรับแบบสอบถามมาจาก "นายหน้า" ซึ่งหักค่า "หัวคิว" จนเหลือถึงผู้เขียนแบบสอบถามละ 300 บาท แต่ผู้เขียนก็ยินดีทำ เพราะเป็นรายได้ที่น่าพอใจ จะได้เอาไว้เป็นค่าขนมไปมหาวิทยาลัย
 
โพลล์ในครั้งนั้นเป็นการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์สบู่เหลวยี่ห้อหนึ่ง นายหน้าให้แบบสอบถามและตัวอย่างผลิตภัณฑ์สบู่เหลว ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในขวดพลาสติกขนาดเล็กคล้ายขวดสบู่เหลวในโรงแรมที่บริการให้กับลูกค้า แต่ขวดของผลิตภัณฑ์ที่ผู้เขียนได้รับเหล่านี้ไม่มีการติดยี่ห้อไว้ที่ข้างขวด เพื่อนของผู้เขียนบอกว่า ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ยังไม่เคยมีการจำหน่ายในประเทศไทยมาก่อน จึงยังไม่อยากเปิดเผยยี่ห้อในตอนนี้ (ทุกวันนี้ผู้เขียนก็ยังไม่รู้ว่า ผลิตภัณฑ์สบู่เหลวนี้ยี่ห้ออะไร)
 
การสำรวจเริ่มด้วยการกำหนดจำนวนแบบสอบถาม โดยแต่ละคนจะได้รับแบบสอบถามคนละ 5 ชุด เพื่อให้การสำรวจกระจายออกไป
 
ผู้เขียนต้องนำแบบสอบถามไปหาผู้ที่จะมาตอบแบบสอบถาม นายหน้ากำหนดว่า จะต้องเป็น "ผู้หญิง" เท่านั้น เพราะสบู่เหลวนี้ใช้กับ "จุดซ่อนเร้น" ผู้เขียนเลยอดทดลองใช้ตัวเอง ตอนแรกผู้เขียนนำไปให้แม่ของผู้เขียนใช้ แต่แม่ของผู้เขียนปฏิเสธ ผู้เขียนจึงต้องนำไปให้เพื่อนที่มหาวิทยาลัยใช้แทน หลังนั้นยังต้องติดตามผลความพึงพอใจอีก 1 สัปดาห์ ก่อนที่จะส่งแบบสอบถามคืนให้กับนายหน้า
 
การทำโพลล์ครั้งนั้นเป็นการทำโพลล์ทางธุรกิจจึงได้รายได้ค่อนข้างดี แต่ก็ยุ่งอยากไม่ใช่น้อย เพราะต้องไปสำรวจจากเพื่อนผู้หญิง ผู้เขียนเชื่อว่า ถ้าผู้เขียนไม่รู้จักกับเพื่อนผู้หญิงเหล่านี้คงไม่มีผู้หญิงคนไหนยอมตอบแบบสอบถามเป็นแน่
หลายคนอาจคิดว่า ทำไมผู้เขียนไม่ "เต้าข้อมูล" ขึ้นมาเองล่ะ บริษัทไม่มีทางรู้หรอก ผู้เขียนขอบอกเลยว่า "ยากมาก" เพราะนายหน้ากำหนดให้ต้องใส่เบอร์โทรศัพท์ของผู้ตอบแบบสอบถามด้วย เพื่อที่เขาจะได้สุ่มตรวจสอบ 
 
การทำโพลล์ครั้งนั้นถือเป็นการทำโพลล์จริงๆครั้งแรกของผู้เขียน ถ้าไม่นับโพลล์ในคณะบริหารธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้เขียนมักจะ "เต้าข้อมูล" มากกว่าจะออกสำรวจจริง
 
การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 54 ผลการประเมินจำนวน ส.ส. ทั่วประเทศของ 2 พรรคการเมืองใหญ่ก่อนการเลือกตั้งของทุกสำนักโพลล์มีความแม่นยำแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ทุกสำนักโพลล์ฟันธงว่า เพื่อไทยจะได้จำนวน ส.ส. มากที่สุด ทั้งในส่วนของ ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาปรากฎว่า เพื่อไทยได้ ส.ส. แบบแบ่งเขต 204 ที่นั่ง และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 61 ที่นั่ง รวมทั้งสิ้น 265 ที่นั่ง มากที่สุดในบรรดาพรรคการเมืองทั้งหมด ซึ่งใกล้เคียงกับผลการประเมินของหลายสำนักโพลล์
 
ในครั้งนั้นผลการสำรวจจำนวน ส.ส. เฉพาะกรุงเทพมหานครของ 2 พรรคการเมืองใหญ่ก่อนการเลือกตั้งปรากฎว่า เพื่อไทยได้จำนวน ส.ส. มากกว่าประชาธิปัตย์ บางสำนักโพลล์ระบุว่า เพื่อไทยจะได้ ส.ส. ในกรุงเทพถึง 30 ที่นั่งจาก 33 ที่นั่งเลยทีเดียว
 
แต่เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาเล่นเอาสำนักโพลล์ทั้งหลาย "หน้าแตก" ไปตามๆกัน เพราะเพื่อไทยได้เพียง 10 ที่นั่ง ส่วน ปชป. ได้ไป 23 ที่นั่ง สำนักโพลล์ทั้งหลายจึงต้องออกมาแก้เกี้ยวว่า ผู้ตอบแบบสอบถามไม่ตอบตามความจริง
หลายคนอาจสงสัยว่า เกิดอะไรขึ้นทำไมสำนักโพลล์ที่มีชื่อเสียงและประสบการณ์เหล่านี้ถึงสำรวจผิดพลาดเหมือนกันหมด ผู้เขียนขอใช้ประสบการณ์ของผู้เขียนวิเคราะห์ถึงสาเหตุของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น
 
การตอบแบบสอบถามเมื่อตอนที่ผู้เขียนยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย ผู้เขียนและเพื่อนของผู้เขียนเลือกที่จะสอบถาม "คนใกล้ชิด" ก่อน เพราะง่ายและใกล้ตัว สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทุกสำนักโพลล์รู้ดี แต่ไม่มีสำนักโพลล์แห่งไหนให้ความสนใจ เพราะผู้จ้างส่วนใหญ่ต้องการทราบผลสำรวจโดยรวมเท่านั้น ไม่เจาะจงพื้นที่ที่ทำการสำรวจแต่อย่างใด
 
แต่สำหรับการทำโพลล์เลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ถือเป็นการทำโพลล์แบบ "เฉพาะพื้นที่" ซึ่งถือเป็นสิ่งที่แตกต่างจากการทำโพลล์โดยทั่วไป โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งแตกต่างจากจังหวัดอื่นในแง่ของประชากร เนื่องจากคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพกว่า 10 ล้านคน มีถึงครึ่งหนึ่งที่ไม่ได้มีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพ 
 
การสำรวจในครั้งนั้นไม่มีความรัดกุมในแง่ของการกำหนดผู้ตอบแบบสอบถามที่จะต้องเป็นคนที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพเท่านั้น ทำให้ผู้ทำโพลล์ใช้ความสะดวกด้วยการสอบถามจากคนใกล้ชิดก่อนโดยไม่สนใจว่า คนเหล่านั้นมีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพหรือไม่ อีกทั้งทุกสำนักโพลล์ต่างแข่งขันกันนำเสนอผลโพลล์อย่างรวดเร็ว ทำให้การสุ่มตรวจสอบความถูกต้องทำได้อย่างจำกัด ผลสำรวจจึงออกมาเป็นเช่นนั้น
 
จากประสบการณ์ความผิดพลาดในครั้งนั้น ทำให้การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครในครั้งนี้ทุกสำนักโพลล์มีความรัดกุมมากขึ้นในการกำหนดให้ผู้ทำโพลล์ต้องสอบถามเฉพาะผู้ที่มีทะเบียนบ้านในกรุงเทพเท่านั้น แต่แล้วการทำโพลล์ในครั้งนี้ก็ยังเกิดความผิดพลาดในทุกสำนักโพลล์อีก แม้ว่าจะลดลงมากกว่าครั้งที่แล้วก็ตาม 
 
วันเลือกตั้ง 3 มี.ค. ที่ผ่านมา ผู้เขียนออกไปเลือกตั้งเวลา 8.30 น. ซึ่งเป็นเวลาที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่อแถวยาวเหยียดเพื่อเลือกตั้ง แต่ผู้เขียนไม่พบมีผู้ทำ Exit Poll แม้แต่สำนักเดียวมายืนรอสอบถามผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเหล่านี้ ต่อมาเมื่อผู้เขียนเดินออกมาดูหน่วยเลือกตั้งอีกครั้งในเวลา 11.00 น. ผู้เขียนเห็นนักศึกษาหญิง 2 คนยืนแอบอยู่หลังตู้ไปรษณีย์พยายามเชิญชวนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งที่เพิ่งเดินออกจากหน่วยเลือกตั้งเพื่อสอบถาม ผู้เขียนสังเกตอยู่หลายนาที และพบว่า แม้พวกเธอจะพยายามเชิญชวนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเหล่านี้ แต่ก็มีผู้ให้ความร่วมมือค่อนข้างน้อย
 
การทำ Exit Poll ในวันนั้น ผู้เขียนสังเกตว่า นักศึกษาหญิงทั้ง 2 คนใช้วิธีถามผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง และกรอกคำตอบลงในกระดาษเอง โดยที่ผู้ใช้สิทธิไม่ต้องเขียนอะไรเลย การสอบถามแบบนี้เป็นสิ่งที่ง่ายและรวดเร็ว แต่ขาดความแม่นยำ เพราะเป็นการทำที่ไม่เป็น "ความลับ" หลายผู้ตอบแบบสอบถามไม่กล้าหรือไม่อยากตอบความจริงต่อหน้าคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีคนรู้จักที่ไม่ได้ชอบผู้สมัครคนเดียวกับผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ใกล้ๆด้วย
 
ในวันรุ่งขึ้น (4 มี.ค. 56) ที่ปากซอยของผู้เขียนมีการจับกลุ่มคุยกันถึงผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในกลุ่มมีผู้สนับสนุนผู้สมัครฯที่ได้รับคะแนนสูงสุดทั้ง 2 คน เมื่อมีผู้ใดถามว่า มีใครเลือกใครบ้าง กลับไม่มีแม้แต่คนเดียวที่ตอบ อาจเป็นเพราะพวกเขารู้จักกัน แต่ไม่อยากเปิดเผยทัศนคติทางการเมืองของตนเอง เพราะไม่อยากทำให้เพื่อนที่มีทัศนคติทางการเมืองแตกต่างกันไม่พอใจ
 
ผู้เขียนเห็นว่า การทำโพลล์ควรจะเป็น "ความลับ" เช่นเดียวกับการเลือกตั้งที่มีการแจกบัตรเลือกตั้งให้กับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งไปกรอกในคูหาก่อนหย่อนบัตรลงในกล่องรับบัตรเลือกตั้ง การที่ Exit Poll ใช้วิธีถามตรง-ตอบตรงต่อหน้าคนมากๆนั้นมีผลทำให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งอาจไม่ได้ตอบตามความเป็นจริงได้
 
กรุงเทพถือเป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งทางการเมืองสูง อีกทั้งยังมีประชากรแฝงที่ไม่ได้มีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพเป็นจำนวนมาก การรักษาความลับของผู้ตอบแบบถามถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำโพลล์ ไม่ใช่เป็นเพราะผู้ใช้สิทธิเหล่านี้กลัวสำนักโพลล์ แต่เป็นเพราะผู้ใช้สิทธิเหล่านี้ไม่อยากแสดงทัศนคติของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ หากสำนักโพลล์ไม่เข้าใจตรงจุดนี้ และมองการทำโพลล์ทางการเมืองเป็นเหมือนการทำโพลล์ธุรกิจทั่วไป ผู้เขียนเชื่อว่า ไม่ว่าจะใช้วิธีไหนๆก็คงยากที่จะได้รับข้อมูลที่แม่นยำ
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยูเอ็น-ฟิลิปปินส์เรียกร้องกลุ่มกบฏซีเรียปล่อยตัวจนท. ที่ถูกจับเป็นตัวประกัน

Posted: 07 Mar 2013 08:28 AM PST

ยูเอ็นและรัฐบาลฟิลิปปินส์เรียกร้องให้กลุ่มกบฏซีเรียปล่อยตัวเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพชาวฟิลิปปินส์หลังจากถูกจับเป็นตัวประกัน ฝ่ายกบฏชี้แจงว่าพวกเขากลัวเจ้าหน้าที่ยูเอ็นเข้ามาช่วยเหลือกองกำลังรัฐบาลที่กำลังสู้รบอย่างหนักแถบหมู่บ้านใกล้ๆ กับ ที่ราบสูงโกลัน และเป็นจับตัวโดยไม่มีการปะทะกัน

7 มี.ค. 2013 - สหประชาชาติและรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้เรียกร้องให้กลุ่มกองกำลังกบฏในซีเรียปล่อยตัวเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพ (Peacekeeper) หลังเกิดเหตุกลุ่มกบฏ 30 คน ในที่ราบสูงโกลันจับตัวเจ้าหน้าที่ชาวฟิลิปปินส์ที่ไม่มีอาวุธ 21 คนเป็นตัวประกัน เมื่อวันพุธที่ผ่านมา

อัลเบิร์ท เดล โรซาริโอ รัฐมนตรีต่างประเทศของฟิลิปปินส์แถลงว่า "รัฐบาลฟิลิปปินส์เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพที่เป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังสังเกตการณ์การสงบศึก (UNDOF) ในที่ราบสูงโกลัน" โดยผู้ที่ถูกจับเป็นตัวประกันเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยรักษาสันติภาพของฟิลิปปินส์ 300 คน

โรซาริโอกล่าวอีกว่า "การจับกุมตัวและกักขังเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของฟิลิปปินส์อย่างผิดกฏหมายถือเป็นการละเมิดกฏหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง"

หลังจากเกิดสงครามโยมคิปปูร์ (Yom Kippur) ในปี 1973 ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างอียิปต์ ซีเรีย กับอิสราเอล ก็มีการก่อตั้งหน่วยงาน UNDOF ขึ้นในปี 1947 เพื่อตรวจสอบการปลดอาวุธของทั้งกองทัพอิสราเอลและกองทัพซีเรีย รวมถึงคอยควบคุมการหยุดยิงระหว่างสองฝ่าย

ทางด้านฝ่ายกบฏแย้งว่ากลุ่มเจ้าหน้าที่ได้เข้ามาที่ในหมู่บ้านของซีเรียซึ่งอยู่ใกล้กับที่ราบสูงโกลันซึ่งอิสราเอลยึดครองอยู่ โดยเป็นอาณาเขตที่เจ้าหน้าที่ไม่ควรเข้ามา อีกทั้งยังเป็นเขตที่มีการต่อสู้อย่างดุเดือดระหว่างฝ่ายกบฏกับกองกำลังรัฐบาล ฝ่ายกบฏสงสัยว่าเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพพยายามให้ช่วยเหลือศัตรูของพวกเขาคือปธน.บาชาร์ อัล อัสซาด

ทางสหประชาชาติชี้แจงว่าเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพที่ถูกจับไปแค่เข้าไปปฏิบัติการจัดส่งเสบียงตามปกติ ขณะเดียวกันก็บอกว่าพวกเขากำลังส่งทีมเข้าไปช่วยแก้ไขสถานการณ์ โดยวิตาลี เชอร์กิน เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำยูเอ็นและประธานคณะมนตรีความมั่นคงฯ คนปัจจุบันกล่าวว่าเจ้าหน้าที่ยูเอ็นกำลังเข้าไปเจรจากับฝ่ายกบฏ

นายพล อาร์นูลโฟ เบอร์กอส โฆษกกองทัพฟิลิปปินส์กล่าวให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่าว่าหน่วยรักษาสันติภาพที่ถูกจับตัวไปยังปลอดภัยดีและได้รับการปฏิบัติเหมือนแขกผู้มาเยือนจากฝ่ายนักรบกบฏซีเรีย

สำนักข่าว CNN เปิดเผยว่าฝ่ายกบฏได้อัพโหลดวีดิโอขึ้นยูทูบสองคลิปเพื่อนำเสนอมุมมองของฝ่ายกบฏในเรื่องนี้

ในวีดิโอหนึ่งฝ่ายกบฏบอกว่าพวกเขาขอจับหน่วยรักษาสันติภาพไว้จนกว่ากองกำลังรัฐบาลซีเรียยอมล่าถอยออกจากหมู่บ้านอัล-จามลาห์ซึ่งมีการต่อสู้อย่างหนักหน่วง และร้องขอให้สหรัฐฯ, ยูเอ็น และคณะมนตรีความมั่นคงฯ เข้าแทรกแซงเพื่อให้กองกำลังของรัฐบาลออกจากพื้นที่ สำนักข่าวอัลจาซีร่าระบุตัวผู้พูดว่าเป็นโฆษกของกลุ่ม Martyrs of Yarmouk Brigades ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มกบฏต่อต้านรัฐบาลซีเรีย

วีดิโออีกคลิปหนึ่งนำเสนอภาพกลุ่มกบฏเดินอยู่ใกล้ๆ กับรถบรรทุกของยูเอ็น และอ้างว่ากองกำลังของยูเอ็นเข้ามาในพื้นที่หมู่บ้านเพื่อช่วยเหลือกองกำลังรัฐบาลซีเรียโดยอ้างว่าจะมายุติการต่อสู้

ประธานคณะมนตรีความมั่นคงฯ เปิดเผยว่า ไม่มีการต่อสู้ระหว่างฝ่ายกบฏกับฝ่ายเจ้าหน้าที่ยูเอ็น โดยเข้าใจว่าฝ่ายกบฏได้เข้ามายึดรถบรรทุกที่มีเจ้าหน้าที่ของ UNDOF โดยสารอยู่

อย่างไรก็ตามเชอร์กินกล่าวว่าการจับตัวเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพ เป็นการกระทำที่แปลกประหลาดและยอมรับไม่ได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ UNDOF ไม่มีอาวุธและภารกิจของพวกเขาก็ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งภายในของซีเรีย

บันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ รวมถึงสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงฯ ต่างประณามการจับเจ้าหน้าที่เป็นตัวประกันในครั้งนี้


เรียบเรียงจาก

Syria rebels urged to release UN peacekeepers, Aljazeera, 07-03-2013

U.N. demands Syrian rebels release peacekeepers, CNN, 07-03-2013
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บัณฑิต ไกรวิจิตร :สื่อในความรุนแรงชายแดนใต้

Posted: 07 Mar 2013 08:19 AM PST

 

ส่วนหนึ่งของปัญหาก็คือ "การรับรู้" และ "ความเข้าใจ" ที่มีต่อเหตุการณ์ ซึ่งถูกจำกัดผ่าน "การสื่อสารมวลชน" อันมีความนิ่งในระดับหนึ่ง ประชาชนไม่ได้ขาดการรับรู้ แต่อัดแน่นด้วยข่าวสารในชีวิตประจำวันจนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เกิดความเคยชินกับคำต่างๆที่ถูกนำมาใช้ และสามารถเข้าใจตามตรรกที่มาจากการรับรู้อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น "ความไม่สงบ" "โจรใต้" "ผู้ก่อการร้าย" "การแบ่งแยกดินแดน" "ผู้หลงผิด" และ "แนวร่วม" ฯลฯ
 
คำต่างๆเหล่านี้ แผ่บรรยายกาศอันน่าสะพรึงกลัว และทำให้เกิดความหวาดระแวง  และเมื่อแผ่ขยายปกคลุมอาณาเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เราผู้อาศัยในพื้นที่สามารถรับรู้ได้ถึงความรู้สึกว่าถูกคุกคาม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสลดหดหู่มากๆ เมื่อเรามองรอบตัว เราพบว่าทุกสิ่งรอบตัวสามารถคุกคามเราได้ ไม่ว่าจะหน้าตา การแต่งกาย ศาสนาที่นับถือ ขึ้นอยู่กับว่า "เรายืนอยู่ใกล้กับใคร"
 
ในพื้นที่สามจังหวัดถูกปกคลุมด้วยบรรยากาศลักษณะนี้ ผมคิดว่าพื้นที่มหาวิทยาลัย จากตัวอย่างของมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ บรรยากาศดีกว่าภายนอกมากนัก และเรามีความสัมพันธ์กันภายใน เช่น ระหว่างนักศึกษากับนักศึกษา และนักศึกษากับอาจารย์ เราได้เห็นการเติบโตพัฒนาการของสภาพแวดล้อมและเราที่ต่างมีพัฒนาการไปด้วยกัน ที่อยู่บนเงื่อนไขที่ว่ารู้สึกว่าปลอดภัยเมื่ออยู่ภายในมหาวิทยาลัย
 
การรายงานข่าวของไทยพีบีเอส คือ อะไร ?
 
ประการแรก ที่ถูกวิจารณ์มากที่สุดคือการอธิบายแบบเหมารวมจากการนำเสนอข้อมูลด้านเดียว ข้อมูลด้านเดียวคืออะไร ก็คือ ข้อมูลจากแหล่งข่าวที่มา จากการมองผ่านคำต่างๆ เช่น คำว่า  "ความไม่สงบ" "โจรใต้" "ผู้ก่อการร้าย" "การแบ่งแยกดินแดน" "ผู้หลงผิด" และ "แนวร่วม"  ซึ่งถูกส่งออกมาเพื่อจัดประเภทคนต่างๆ ทีนี้ ไทยพีบีเอส ทำหน้าที่ขยายเขตแดนจากภายนอกมหาวิทยาลัยแผ่คลุมเข้ามาในมหาวิทยาลัยฯ จากข้อมูลที่วาดภาพเป็นผัง "....." ทำให้เกิด "ภาพตัวแทน" ว่ากิจกรรมนักศึกษามีความสัมพันธ์ ตามแผนผังแนวร่วม ผู้หลงผิด ก่อการร้าย เพื่อแบ่งแยกดินแดน และเป็นโจรใต้ นักศึกษากลายเป็น "สิ่ง" ที่ถูก "เฝ้าระวัง" และ "ถูกระแวง" เสียเอง จากแต่เดิมการเข้ามาอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยสามารถแสดงความคิดเห็นได้อิสระกว่าอยู่ภายนอก สามารถอภิปรายทางการเมือง แสดงความคิดเห็น เรียนรู้จากการปฏิบัติ หรือปลดโซ่ตรวนของตัวเองจากความกังวลทำให้กลายมาเป็น เสรีภาพ กลับกลายเป็นว่า สถานที่นี้กลายเป็น ตราประทับ "โจรใต้" และลามไปถึง ประเพณีปฏิบัติของมหาวิทยาลัย การรับน้อง การจัดพิธีการส่งรุ่นพี่ซึ่งสำเร็จการศึกษา และทางศาสนา. สิ่งที่ช่วยปลดปล่อยกลับกลายเป็นสิ่งคุมขังพวกเขาไว้ภายใต้คำ "ความไม่สงบ" "โจรใต้" "ผู้ก่อการร้าย" "การแบ่งแยกดินแดน" "ผู้หลงผิด" และ "แนวร่วม"ที่มาจากการนำเสนอข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเพียงไม่กี่นาที
 
หากผมพูดไม่ผิด ยังไม่เคยมีการเสนอข่าวที่รุกล้ำและสร้างผลกระทบกับสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสามจังหวัดภาคใต้ เท่าที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสกระทำมาก่อน
 
ประการที่สอง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เป็นเครื่องมือให้แก่ยุทธศาสตร์การใช้กำลังทางทหารที่จะเข้า มาจัดการกับพื้นที่มหาวิทยาลัย ซึ่งด่วนสรุปว่า นักศึกษา คือ แนวร่วม/ผู้กระทำการ ซึ่งเป็นภัย คือ "ผู้ก่อความไม่สงบ" "โจรใต้" "ผู้ก่อการร้าย" "ผู้แบ่งแยกดินแดน" "ผู้หลงผิด"
 
สำหรับประเด็นนี้ ในวันนี้ไม่มีข้อมูล และผมก็ยังไม่สรุป แต่หากพิจารณาจากการกระทำก็คือ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ใช้ข้อมูลจากแหล่งข่าวที่อ้างให้ประชาชนทั้งประเทศโน้มเอียงไปเช่นนั้น หากได้ชมข่าว ก็จะเห็นได้ถึงความตั้งใจที่จะชี้นำเช่นนั้น ทำไม? ไทยพีบีเอส จึงนำเสนอเช่นนั้น หากไม่ใช่กระทำการเป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่น่าหวาดหวั่น หากตัดเหตุผลข้อดังกล่าวไปเนื่องจากมีแต่ผู้บริหารข่าวไทยพีบีเอสเท่านั้นที่ทราบ ผมไม่ทราบจึงขอเสนอว่า เนื่องจากเนื้อหาข่าวไม่มีการเสนอจากฝ่ายที่ถูกพาดพิงและถูกกล่าวหา ทั้งหมดมาจากเจตนาของกองบรรณาธิการข่าว และผู้ผลิตข่าว ซึ่ง เป็นเรื่องที่น่าสงสัยถึง ประสบการณ์ในการทำข่าวมาตลอดระยะเวลาหนึ่งไม่ได้ช่วยให้ไทยพีบีเอส ดีกว่าหรือแตกต่างจากสำนักข่าวที่ด้อยคุณภาพ ไม่เป็นมืออาชีพ ขาดความรับผิดชอบต่อผลกระทบจากการนำเสนอ และไม่สามารถดึงความรู้ความสามารถขององกรค์ของตนเอง เพื่อนำเสนอข่าวที่เป็นมืออาชีพได้ และขาดจรรยาบรรณ จึงมีผลให้การเสนอข่าวของไทยพีบีเอสคือการกระทำซ้ำเติมสถานการณ์ความรุนแรงให้เลวร้ายไปกว่าเดิม เช่น การสร้างความรู้สึกหวาดระแวงและหวาดกลัว ในรั้วมหาวิทยาลัย
 
การนำเทคโนโลยีการควบคุมประชาชน เช่น การสร้างสภาวะกระอักกระอ่วน จากภายนอกเข้าสู่มหาวิทยาลัย การสร้างตราบาปติดตัวว่า "นักศึกษาคือโจรใต้" และ พวกผม ก็คงเป็น "อาจารย์ของโจร" ที่ผมพูดนั้นไม่ใช่โวหารพาไปและ ไม่ได้เล่นคำจนเกินเลยกว่าประสบการณ์ที่ได้รับรู้และให้คำปรึกษา เมื่อนักศึกษาฝึกงานหรือเดินทางไปทำกิจกรรมนอกพื้นที่สามจังหวัด หลายคนถูกเรียกว่า "ลูกโจร" ภาพตัวแทนที่ทำงานผ่านสื่อมวลชนหลายสำนักผลิตซ้ำ ตอกย้ำ ความหมายแสดงแทนเยาวชนที่มีที่มาจากสามจังหวัดภาคใต้ จนพวกเขาเองไม่สามารถอธิบายแทนตัวเองอย่างที่เขาเป็น มีแต่เสียงที่พูดออกมาได้น้อยนิดว่า "เขาไม่ได้อย่างที่พวกคุณคิด"  "เราแค่คิดแตกต่างออกไป" สิ่งที่ไม่สามารถสร้างให้เกิดความหมายแทนตัวเองสู่สาธารณะได้ก็คือ พวกเขาต้องการสันติภาพ ต้องการความสงบปลอดภัย ต้องการให้เกิดความยุติธรรมสำหรับประชาชน ซึ่งพวกเขาเชื่อมั่นว่า หากมีความยุติธรรมเกิดขึ้น สิ่งที่หวังก็จะตามมา
 
ประการที่สาม ภายหลังจากมีการร้องเรียนและนำเสนอกับสื่อมวลชนทางเลือก อื่นๆ เช่น โดยอาจารย์เอกรินทร์ ต่วนศิริ และตัวแทนนักศึกษา ได้ทำหนังสือเปิดผนึกถึง ผอ. สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และเผยแพร่ในสำนักข่าวประชาไท ปาตานี ฟอรั่ม ได้เกิดการเผยแพร่ส่งต่อกันในวงกว้าง และการให้สัมภาษณ์จากอาจารย์คณบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา จึงมีการติดต่อกลับมาโดยนัยว่า เป็นการเสนอข่าวที่ผิดพลาด แต่ข่าวที่เสนอต่อมาโดยสัมภาษณ์นักศึกษาซึ่งมีเสียงเล็กน้อยมาก ออกมาภายใต้สภาพแวดล้อมของข่าวที่ตอกย้ำการเสนอไปแล้วว่า "นักศึกษาคือแนวร่วม" และตัวแทนนักศึกษาได้ออกมาเรียกร้องถึงความเสียหายจากการถูกเปิดเผย และเหมือนเป็นการแก้ตัวว่า "นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอย่างที่คุณคิด" ไม่มีคำขอโทษ และสรุปยังอ้างอิงข่าวไทยพีบีเอสที่ได้เสนอไปแล้วเป็นการตอกย้ำ
 
ประการที่สี่ เราได้เรียนรู้อะไรบ้างที่เรียกว่าความฉลาดหลังจากเหตุการณ์
ผมเห็นการกระทำที่เป็นการคุกคามต่อเสถียรภาพของชีวิตคน การกดทับจากการสื่อสารที่นอกเหนือจากอำนาจรัฐ เป็นการกระทำโดยเอกชนซึ่งเสริมภาพที่แช่แข็งของชีวิตชายแดนใต้ เห็นการเสริมอำนาจให้แก่ความน่าสะพลึงกลัว และองคาพยพ เช่น เครื่องมือสำหรับลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่ติดตามมากับ คำว่า แนวร่วม โจรใต้และลูก การสร้างสภาวะและการตอกย้ำจากสื่อ ทำให้เกิดเผด็จการของสัญญะ  ซึ่งไม่ได้แยกแยะ ซึ่งก็คือ "ตราประทับ"
 
 
 
ที่มา: PATANI FORUM
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สำรวจเส้นทาง 'ผู้หญิง' สู่ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด

Posted: 07 Mar 2013 07:45 AM PST

8 มีนาคม 2556 เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ปี 2013 ธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน (The Grant Thornton International Business Report: IBR) เผยผลสำรวจล่าสุดว่าในขณะนี้ ทั่วโลกมีสตรีที่กำลังก้าวเข้าสู่บทบาทผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา โดย 24% ของตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงนั้น มีสตรีเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจาก 21% เมื่อปี 2012 และ 20% เมื่อปี 2011

อย่างไรก็ดี ประเทศกลุ่ม G7 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและมีสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงเวลาที่ผ่านมา
มีความคืบหน้าของบทบาทสตรีในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงช้ากว่าเอเชียและตะวันออกไกลซึ่งเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวสูง ทั้งนี้ แกรนท์ ธอร์นตัน สนับสนุนให้ธุรกิจในกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วก้าวตามให้ทันกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ และควรเล็งเห็นผลประโยชน์จากการที่มีสตรีในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากยิ่งขึ้น
 
ข้อมูลจาก IBR ระบุว่า 24% ของตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงทั่วโลกมีสตรีเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจาก 21% เมื่อปี 2012 และ 20% เมื่อปี 2011 อย่างไรก็ตาม ประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจ G7 อยู่รั้งท้ายประเทศอื่นๆ โดยมีสตรีที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงเพียง 21% เปรียบเทียบกับ 28% ในกลุ่มเศรษฐกิจ BRIC และ 32% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจน 40% ในกลุ่มประเทศบอลติก
 
สุมาลี โชคดีอนันต์ กรรมการอาวุโสส่วนงานตรวจสอบบัญชีของ แกรนท์ ธอร์นตันประเทศไทย กล่าวว่า "กลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ซึ่งมีการขยายตัวของเศรษฐกิจสูง มีทีมงานผู้บริหารระดับสูงที่มีความหลากหลาย โดยอาเซียนและเอเชียแปซิฟิกมีสตรีในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก หรือ 32% และ 29% ตามลำดับ ส่วนประเทศไทยนั้นอยู่ในระดับที่สูงยิ่งกว่า โดยอยู่ที่ 36% ทั้งนี้ สตรีกำลังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และนำมาซึ่งความสมดุลในขั้นตอนการตัดสินใจ ตลอดจนความราบรื่นในการบริหารองค์กร เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว กลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศกลุ่ม G7 ก็ยังต้องก้าวตามให้ทันและยอมรับบทบาทของสตรี ตลอดจนเสริมทรัพยากรบุคคลที่สำคัญนี้ให้แก่องค์กรเพื่อให้เกิดการเติบโตในระยะยาวและความสามารถในการทำกำไร"
 
ในการนี้ ประเทศญี่ปุ่น (มีสตรีดำรงผู้บริหารระดับสูง 7% ซึ่งอยู่ในอัตราต่ำที่สุดในทั่วโลก), สหราชอาณาจักร (19%) และสหรัฐอเมริกา (20%) อยู่รั้งท้าย 8 ประเทศที่มีสตรีในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงน้อยที่สุด นอกจากนี้ กลุ่มเศรษฐกิจเหล่านี้ยังมีระดับการขยายตัวของเศรษฐกิจต่ำสุด โดย GDP ในประเทศญี่ปุ่น (1.9%) ในสหราชอาณาจักร (-0.1) และในสหรัฐอเมริกา (2.2%) เมื่อปี 2012 นั้นมีการเติบโตในระดับต่ำ ในทางกลับกัน ประเทศที่มีสตรีดำรงผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากที่สุดคือประเทศจีน ซึ่งอยู่ที่ 51% ส่วนการขยายตัวของ GDP เมื่อปี 2012 คาดว่าอยู่ระหว่าง 7-8%
 
ส่วนประเทศที่ติดอันดับ 10 ประเทศที่มีสตรีดำรงผู้บริหารระดับสูงจำนวนมากที่สุดยังรวมถึงลัตเวีย เวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวสูง 
 
สถานการณ์ดังกล่าวนั้นมีความชัดเจนยิ่งขึ้นหากพิจารณาจากภาพรวมของคณะกรรมบริษัท โดยกลุ่มประเทศ G7 มีคณะกรรมการบริษัทที่เป็นสตรีเพียง 16% เปรียบเทียบกับ 26% ในกลุ่มเศรษฐกิจ BRIC และ 38% ในกลุ่มประเทศบอลติก
นอกจากนี้ รายงาน IBR ยังเปิดเผยเกี่ยวกับสายงานที่นำเสนอโอกาสที่ดีที่สุดและด้อยที่สุดสำหรับสตรีในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งในคณะกรรมการบริษัทและจุดสูงสุดของหน้าที่การงาน
 
สายงานที่นำเสนอโอกาสที่ดีที่สุ
รายงาน IBR นำเสนอว่าสายงานที่สตรีจะมีโอกาสก้าวเข้าสู่ตำแหน่งสูงสุดได้แก่ตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (Chief Finance Officer) ของธุรกิจด้านสุขภาพ (Healthcare) ในประเทศจีน
 
• ในจำนวนธุรกิจที่มีสตรีในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ตำแหน่งในคณะกรรมการบริษัทที่สตรีมีโอกาสสูงที่สุดที่จะดำรง ตำแหน่งคือตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (31%)
• กลุ่มธุรกิจที่มีอัตราส่วนของสตรีตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงมากที่สุดได้แก่ธุรกิจด้านสุขภาพ (45%)
• ประเทศที่มีอัตราส่วนของสตรีตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงมากที่สุดได้แก่ประเทศจีน (51%)
 
สายงานที่นำเสนอโอกาสที่ด้อยที่สุด
ในทางกลับกัน รายงาน IBR เปิดเผยว่าสายงานที่สตรีจะมีโอกาสน้อยที่สุดในการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งสูงสุดได้แก่ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูล (Chief Information Officer) ของธุรกิจเหมืองแร่หรือการก่อสร้างในประเทศญี่ปุ่น
 
• ในจำนวนธุรกิจที่มีสตรีในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ตำแหน่งในคณะกรรมการบริษัทที่สตรีจะมีโอกาสที่ดำรงตำแหน่งน้อยที่สุดคือตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูล (6%)
 
• กลุ่มธุรกิจที่มีอัตราส่วนของสตรีตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงต่ำที่สุดได้แก่ธุรกิจเหมืองแร่หรือการก่อสร้าง (19% ทั้ง สองกลุ่มธุรกิจ)
 
• ประเทศที่มีอัตราส่วนของสตรีตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ต่ำที่สุดได้แก่ประเทศญี่ปุ่น (7%)
 
จุฬาภรณ์ นำชัยศิริ ผู้อำนวยการด้านธุรกิจการเงิน (Corporate Finance) แกรนท์ ธอร์นตัน ประเทศไทย กล่าวว่า "ปัจจุบัน ประเทศจีนเป็นเพียงประเทศเดียวจากทั่วโลกที่กว่าครึ่งของตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงทั้งหมดนั้นมีผู้บริหารสตรีดำรงอยู่ และสิ่งที่น่าประทับใจยิ่งไปกว่านั้นคือในปี 2011 ประเทศจีนมีสตรีที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงเพียง 34% เท่านั้น
 
"ในช่วงสัปดาห์ที่เราเฉลิมฉลองวันสตรีสากล รายงานของเรายังได้นำเสนอข้อเท็จจริงว่าหลายประเทศยังไม่ค่อยมีความคืบหน้าในเรื่องการยอมรับบทบาทของสตรี โดยประเทศญี่ปุ่นอยู่รั้งท้ายประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งเป็นมาเช่นนี้ตั้งแต่ที่เรา
ริเริ่มการสำรวจ IBR มาตั้งแต่ปี 2004 ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยนานับประการที่ขวางกั้นสตรีในประเทศญี่ปุ่นให้ก้าวข้ามอุปสรรคและขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจญี่ปุ่นมีทีมงานผู้บริหารระดับสูงที่ขาดความสมดุลและความหลากหลายที่จำเป็นต่อการผลักดันให้เกิดการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน"
 
นอกจากนี้ รายงาน IBR ยังนำเสนอว่าอัตราส่วนของสตรีในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในแต่ละกลุ่มธุรกิจนั้นมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงที่ดำรงโดยผู้บริหารสตรีในธุรกิจด้านสุขภาพ (45%) นั้นมีจำนวนมากกว่าธุรกิจก่อสร้างหรือเหมืองแร่ (19%) ถึงกว่าสองเท่า 
 
เมเลยา ครูซส์ กรรมการส่วนงานภาษีของ แกรนท์ ธอร์นตันประเทศไทย กล่าวว่า "การที่มีสตรีจำนวนมากขึ้นที่มีความก้าวหน้าในสายงานธุรกิจด้านสุขภาพ มากกว่าสายงานการก่อสร้างหรือเหมืองแร่ซึ่งมีสตรีทำงานอยู่น้อยอาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ เพราะว่าการที่มีสตรีดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงควรมีความสำคัญยิ่งกว่าการนับจำนวนสตรีที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เนื่องจากสตรีควรได้รับผลตอบแทนในเรื่องความสามารถ และแม้ว่าเส้นทางที่จะก้าวสู่จุดสูงสุดในหน้าที่การงานในบางกลุ่มธุรกิจและบางภูมิภาคนั้นยากลำบากยิ่งกว่าเส้นทางอื่น แต่ทุกธุรกิจย่อมจะได้รับประโยชน์จากการที่มีความหลายหลายยิ่งขึ้นในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ประเทศไทยเองก็นำประเทศอื่นๆ ทั่วโลกในเรื่องนี้ด้วยเช่นเดียวกัน เมื่อพิจารณาตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง สำหรับธุรกิจในประเทศไทยแล้วจะพบว่าตำแหน่งที่มักจะมีสตรีเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบคือตำแหน่ง CEO โดยอยู่ที่ 49% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทั่วโลก" 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายเอฟทีเอ ฉะเดือด สภาธุรกิจไทย-อียู และ กกร.

Posted: 07 Mar 2013 06:14 AM PST

ขอให้โปรดพิจารณาพฤติกรรมของตัวเองอย่างถ้วนถี่และเร่งด่วนว่า พวกท่านและองค์กรของท่านกำลังใช้อิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองทำการคอรัปชั่นเชิงนโยบายหรือไม่ และกำลังทำลายประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนหรือไม่

ตามที่ ดร.ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ประธานกรรมการร่วมสภาธุรกิจไทย-สหภาพ ยุโรป(อียู) ได้ให้สัมภาษณ์กับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า "ในวันที่ 12เมษายน 2556 จะได้หารือกับศ.น.พ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส และประธานกรรมการสมัชชาปฏิรูป เพื่อให้ช่วยเจรจากับองค์กรพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอที่เป็นห่วงการเจรจาเอฟที เอไทย-อียูในหลายเรื่องว่าอย่าเพิ่งโจมตี หรือทำอะไรที่รุนแรง และในวันที่ 28 เมษายนทางสภาธุรกิจฯจะเปิดเวทีระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียเพื่อเสนอ ให้รัฐบาลใช้เป็นจุดยืนในการเจรจาต่อไป" นั้น

พวกเราถือว่า การกล่าวหาของประธานกรรมการร่วมสภาธุรกิจไทย-สหภาพยุโรปที่ว่า ผู้ที่จับตาการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรปจะใช้ความรุนแรงนั้น เป็นข้อกล่าวหาที่น่ารังเกียจและไร้ความจริงอย่างที่สุด เพราะการติดตามตรวจสอบการเจรจาเอฟทีเอและการจัดกิจกรรมตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีของเราไม่เคยใช้ความรุนแรงเลย

'สภาธุรกิจไทย-สหภาพยุโรป' และคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) อันประกอบด้วยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย มักอ้างตัวว่า เป็นแกนนำสำคัญของภาคีต่อต้านคอรัปชั่นที่เน้นการสร้างธรรมาภิบาล ความโปร่งใส การรู้รับผิดรับชอบ และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย แต่โดยแท้จริงแล้ว คือ กลุ่มธุรกิจผูกขาดขนาดใหญ่ ที่ยังมุ่งสร้างผลกำไรเพิ่มเติมโดยการเปิดเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ เพื่อหวังส่งออกสินค้าบางอย่างของตน ทั้งที่ไม่เคยสร้างงานที่เป็นธรรมหรือมีวิถีการผลิตที่ยั่งยืนแต่อย่างใด

ขอให้โปรดพิจารณาพฤติกรรมของตัวเองอย่างถ้วนถี่และเร่งด่วนว่า พวกท่านและองค์กรของท่านกำลังใช้อิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองทำการคอรัปชั่นเชิงนโยบายหรือไม่ และกำลังทำลายประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนหรือไม่

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ประชาชาติสูงขึ้น และภาคเอกชนไทยก็มีศักยภาพในการครองตลาดหลายสินค้าในสหภาพยุโรปเกินกว่า 17.5% ซึ่งไม่เข้าข่ายการได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) จากสหภาพยุโรปและสหรัฐฯนานแล้ว แต่เราไม่เคยเห็นว่า กลุ่มธุรกิจที่ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าว จะพยายามปรับตัวให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืน ที่ไม่เป็นเพียงแค่การขอให้รัฐบาลทำอะไรก็ได้ หรือแลกกับอะไรก็ได้ ในเวลาที่เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

เช่น ในกรณีเอฟทีเอกับอียู จะให้เจรจา 7 รอใบนระยะเวลาแค่ปีครึ่ง ทั้งที่เป็นเอฟทีเอที่เนื้อหามากที่สุดเท่าที่ไทยเคยเจรจามาเพื่อให้สิทธิพิเศษเหล่านั้นคงอยู่ ดังนั้น การเจรจาอย่างเร่งรัดเพื่อให้ได้ต่อสิทธิ GSP ที่จะหมดภายในสิ้นปี 2557 จะทำลายอำนาจการต่อรองและการเจรจาของไทยอย่างสิ้นเชิง

พวกเราขอทราบจุดยืนของ คณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.): สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ หากผลประโยชน์ที่ธุรกิจไทยต้องการได้จากสหภาพยุโรป หรือสหรัฐฯที่กำลังจะมีในอนาคต จะต้องแลกด้วยสวัสดิการพื้นฐาน ด้านสาธารณสุข การศึกษา การมีชีวิตที่ดีของคนในสังคมนี้ และทรัพยากรชีวภาพของแผ่นดิน ทาง กกร.ใช้หลักใดในการตัดสินใจให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลที่แสดงให้เห็นว่าเป็นไป เพื่อประโยชน์แก่เศรษฐกิจและสังคมของชาติโดยรวมตามหลักจรรยาบรรณของทั้ง 3 องค์กร

และนี่คือคำประกาศของเรา ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 

คำแนะนำ: โปรดอ่านซ้ำไปซ้ำมาจนขึ้นใจ

พวกเราเครือข่ายประชาชนต่างๆ จำนวน 1,500 คน มาแสดงพลังร่วมกันในวันนี้ เพื่อบอกกับรัฐบาล คณะเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป และประชาชนทั้งหลายว่า การเจรจาการค้าเสรีนั้น ต้องไม่ก่อผลกระทบต่อชีวิต วิถีการทำมาหากินของประชาชนคนส่วนใหญ่ เนื่องจากผลกระทบเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจเยียวยา

เรายืนยันและจะยืนหยัดร่วมกัน ติดตาม ตรวจสอบ และมีส่วนร่วมในการกำหนดท่าทีเจรจาอย่างจริงจัง ถึงที่สุด พวกเราจะกลับไปสื่อสารบอกกล่าวกับพี่น้อง เพื่อนมิตร ที่ชุมชนของเรา เพื่อที่จะได้รวมกำลังที่มากขึ้น กลับมาทวงความรับผิดชอบของรัฐบาลให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน คนส่วนใหญ่ เหนือกลุ่มธุรกิจบางกลุ่ม
 

เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย
เครือข่ายองค์กรงดเหล้า 
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก 
สมัชชาคนจน
เครือข่ายสลัม 4ภาค 
ชมรมเพื่อนโรคไต 
เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง 
มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
มูลนิธิสุขภาพไทย 
คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์
มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 
กลุ่มเพื่อนแรงงาน 
มูลนิธิเภสัชชนบท
ชมรมเภสัชชนบท 
กลุ่มศึกษาปัญหายา
มูลนิธิชีววิถี 
มูลนิธิบูรณะนิเวศ 
เครือข่ายความมั่นคงด้านอาหารคาบสมุทรสทิงพระ 
เครือข่ายอิสระภาพทางพันธุกรรม
มูลนิธิชีวิตไท
องค์กรชาวบ้านบัวใหญ่บัวลาย จ.นครราชสีมา 
โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา
เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์
เครือข่ายชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากแอลกอฮอล์ 
เครือข่ายชุมชนเฝ้าระวังภัยแอลกอฮอล์ กทม. 
เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่
เครือข่ายคนทำงานด้านการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด (12D)
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ
เครือข่ายพันธมิตรเพื่อการควบคุมยาสูบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATCA)
กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)


อ้างอิงจากข่าว 
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=172502%3A2013-03-06-03-29-46&catid=87%3A2009-02-08-11-23-26&Itemid=423

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปฏิกิริยาสื่อต่างประเทศ ต่อการเสียชีวิตของ 'ชาเวช'

Posted: 07 Mar 2013 03:38 AM PST

สื่อต่างประเทศได้นำเสนอข่าว บทความและบทวิเคราะห์แสดงมุมมองต่อการเสียชีวิตของอูโก้ ชาเวซ ผู้นำคนสำคัญของเวเนซุเอลล่าไว้หลากหลายแง่ รวมถึงผลกระทบต่อต่างประเทศทั้งด้านการเมืองและด้านเศรษฐกิจอย่างน้ำมัน และมรดก 'การปฏิวัติโบลิวาร์' ที่ชาเวซทิ้งไว้จะทำให้เวเนซุเอลล่าเดินไปในทิศทางใดต่อไป

6 มี.ค. 2013 - หลังจากที่อูโก้ ชาเวช ประธานาธิบดีเวเนซุเอลล่าเสียชีวิตจากอาการป่วยโรคมะเร็งด้วยอายุ 58 ปี เมื่อวันที่ 5 มี.ค. ที่ผ่านมา สื่อต่างชาติต่างให้ความสนใจเหตุการณ์มรณกรรมในครั้งนี้อย่างมากและได้สะท้อนความเห็นเกี่ยวกับประธานาธิบดีผู้เต็มไปด้วยสีสันผู้นี้ไว้หลากหลาย รวมถึงประเมินอนาคตของประเทศเวเนซุเอลล่าที่ปราศจากชาเวช ว่าจะดำเนินไปในทิศทางใด

สื่อ BBC ของอังกฤษ ได้รวบรวมคำที่สื่อต่างๆ ใช้เรียกอูโก้ ชาเวช โดยมีตั้งแต่ 'นักปลุกระดม' , 'จอมเผด็จการ' , 'คนอีโก้จัด' ไปจนถึง 'สัญลักษณ์แห่งการต่อต้านอเมริกันผู้เต็มไปด้วยสีสัน'

The Times กล่าวถึงชาเวซว่าเขาเป็นผู้ที่เปลี่ยนตัวเองจากนักยั่วโมโหตัวเล็กๆ ที่อยู่ชายขอบการเมืองเวเนซุเอลลาให้กลายเป็นบุคคลสำคัญผู้มีบารมีและมีผู้ชื่นชมติดตามเขาจนเกือบกลายเป็นศาสนา The Times บอกอีกว่าจากการที่ชาเวซเคยเดินทางไปยังอิรักและอิหร่าน ทั้งยังเคยสนับสนุนกัดดาฟี อดีตผู้นำลิเบีย ทำให้พวกเขาคิดว่าชาเวซมองตัวเองเป็นผู้นำของประเทศโลกที่สามในระดับนานาประเทศ

 

Telegraph : ชาเวซเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านอเมริกันผู้เต็มไปด้วยสีสัน

ทางด้าน The Daily Telegraph เรียกชาเวซว่าเป็น 'นักปฏิวัติสังคมนิยมผู้มีสไตล์เป็นของตัวเอง' และเป็นผู้นำเวเนซุเอลลาที่กลายเป็น 'สัญลักษณ์แห่งการต่อต้านอเมริกันผู้เต็มไปด้วยสีสัน'

นอกจากนี้ Telegraph ยังได้นำเสนอการออกมาแสดงความเศร้าโศกเสียใจของประชาชนชาวเวเนซุเอลลา และกล่าวว่าชาเวซเป็นผู้ที่คอยกล่าวประณามสหรัฐฯ ว่าเป็นประเทศจักรวรรดิ์นิยม ซึ่งทำให้ชาเวซกลายเป็นนักวิจารณ์สหรัฐฯ อย่างฉะฉานและเป็นศัตรูที่คอยสร้างความขุ่นเคืองต่อสหรัฐฯ


The Guardian : ผู้เป็นทั้งฮีโร่ของคนจนและนักปลุกระดมให้เกิดความเกลียดชัง

หนังสือพิมพ์ The Guardian ของอังกฤษได้เล่าประวัติการต่อสู้ของชาเวซซึ่งเริ่มจากความไม่พอใจในระบบการเมืองของเวเนซุเอลล่ารวมถึงปัญหาการคอร์รัปชั่นและการละเมิดสิทธิมนุษยชน และหลังจากชาเวซขึ้นสู่อำนาจเขาก็ได้ปฏิรูปประเทศในหลายด้าน ซึ่งการนำเสนอของ The Guardian แสดงให้เห็นทั้งด้านบวกและด้านลบ

"การถกเถียงยังคงดำเนินต่อไปว่าจริงๆ แล้วชาเวซจะถูกเรียกว่าเป็นผู้นำเผด็จการได้หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ เขาไม่น่าถูกเรียกว่าเป็นนักประชาธิปไตย ชาเวซเป็นวีรบุรุษโดยเฉพาะในหมู่คนจน จากโครงการแนวประชานิยมของเขา แต่ขณะเดียวกันก็เป็นผู้พยายามปลุกระดมให้เกิดความเกลียดชังในระดับชนชั้น และใช้อำนาจควบคุมฝ่ายตุลาการในการดำเนินคดีและกุมขังศัตรูทางการเมือง มีหลายคนที่ถูกสั่งเนรเทศ" The Guardian กล่าว

The Guardian กล่าวอีกว่าในระดับนานาชาติ ชาเวซแสดงตัวเป็นผู้ที่คอยสนับสนุนช่วยเหลือผู้ที่มีอุดมการต่อต้านจักรวรรดิ์นิยมด้วยกัน เขาเคยกล่าวอ้างว่าเวเนซุเอลล่าจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยโลกจากทุนนิยมอันชั่วร้าย และเคยเรียกจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ว่าเป็น 'ปีศาจ'

"...ชาเวซทำได้ดีในบางส่วน แต่ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจในเวเนซุเอลล่า และความสัมพันธ์ที่ดำเนินไปอย่างราบเรียบกับเผด็จการอย่างโรเบิร์ต มูกาเบ (ปธน.ซัมบับเว) และมุมมาร์ กัดดาฟี ก็ทำให้ความน่าชื่นชมของเขาลดลง แม้แต่กับฝ่ายซ้ายนานาชาติ" The Guardian กล่าว

ในแง่การเสียชีวิตของชาเวซในอีกข่าวหนึ่งของ The Guardian ได้กล่าวถึงว่า การเสียชีวิตของผู้นำทำให้การปฏิวัติสังคมนิยมในเวเนซุเอลล่าเกิดความไม่แน่นอนในอนาคต แต่คาดว่างานพิธีศพของชาเวซจะต้องยิ่งใหญ่ไม่แพ้ของเอวิต้า (อีวา เปรอง ภรรยาคนที่สองของอดีตผู้นำอาร์เจนติน่า ฮวน เปรอง)

 

The Independent : การเสียชีวิตของชาเวซจะยิ่งทำให้เวเนซูเอล่าแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางการเมือง

ขณะที่ The Independent เปิดเผยว่า แม้การเสียชีวิตของชาเวซจะทำให้สูญญากาศทางการเมืองที่เกิดขึ้นมาหลายเดือนและสร้างความไม่แน่ใจให้กับประเทศเวเนซุเอลลาและประเทศฝ่ายซ้ายพรรคพวกของเขาจบลง แต่อนาคตของประเทศเวเนซุเอลล่าที่เป็นประเทศแหล่งน้ำมันชั้นนำก็จะมีการต่อสู้แบ่งขั้วทางการเมืองเกิดขึ้น โดยที่ The Independent เรียกชาเวซว่าเป็นผู้นำที่ 'อีโก้จัด' , 'จอมคุยโว' และเป็น 'ผู้ทำให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย'

The Independent กล่าวอีกว่า ช่วงที่ชาเวซหายหน้าไปก็ได้สร้างความตึงเครียดมาก่อนแล้ว โดยเฉพาะช่วงที่เข้าไม่สามารถขึ้นพิธีสาบานตนเมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมาได้ และแม้ฝ่ายต่อต้านชาเวชจะไม่พอใจแต่ฝ่ายรัฐบาลก็ยืนยันมาตลอดว่าชาเวซยังคงบริหารประเทศผ่านเตียงคนไข้ในโรงพยาบาลได้ แต่ประเด็นนี้รวมถึงเรื่องการขาดข้อมูลก็ทำให้ความอดทนของฝ่ายต่อต้านลดลงเรื่อยๆ

การเลือกตั้งของเวเนซุเอลลาจะมีขึ้นภายใน 30 วัน ซึ่ง The Independent วิเคราะห์ว่า รองประธานาธิบดีนิโคลาส มาดูโร ผู้ประกาศข่าวการเสียชีวิตของชาเวซ คงใช้ประโยชน์จากความเห็นใจของประชาชนในการลงสมัครเลือกตั้งอย่างแน่นอน แม้ว่ามาดูโรจะให้คำมั่นว่าจะขายผลสิ่งที่เรียกว่า 'การปฏิวัติโบลิวาร์' ต่อไป แต่พวกเขาก็มีคู่แข่งที่น่ากลัว คือเฮนริค คาปริเลส ผู้ว่าราชการจากพรรคฝ่ายค้านผู้ที่สร้างฐานเสียงไว้ตั้งแต่การเลือกตั้งปธน.ครั้งก่อน


The New York Times : ไม่ว่าจะดีหรือร้าย แต่ชาเวซก็ได้เปลี่ยนการมองตัวเองของเวเนซูเอล่าไปแล้ว

The New York Times เริ่มต้นด้วยการนำเสนอความคิดเห็นจาก พิเนดา ผู้ที่รอคอยให้ชาเวซช่วยเหลือฟื้นฟูบ้านเกิดจากภัยโคลนถล่มในปี 1999 มาตลอด 13 ปี ซึ่งก็ยังไม่ได้รับช่วยเหลือ แต่พิเนดาก็ยังสนับสนุนชาเวซเพราะเชื่อว่าเขาเป็นคนที่ทำให้เวเนซุเอลลาก้าวหน้า และเป็นคนที่อยู่ข้างเดียวกับผู้ที่ขาดแคลน

จากนั้นจึงมีการแสดงความเห็นจาก จอย โอลซัน ผู้อำนวยการ WOLA กลุ่มสนับสนุนด้านสิทธิในละตินอเมริกาของสหรัฐฯ โดยบอกว่าชาเวซได้ทำให้ประชาชนเวเนซุเอลล่ารู้สึกว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งก่อนหน้านี้พวกเขาไม่เคยรู้สึกเช่นนั้นมาก่อน และในหลายประเทศรวมถึงสหรัฐฯ คนจนก็ไม่รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของระบอบ

The New York Times กล่าวอีกว่า ชาเวซเป็นเหมือน 'กิ้งก่าเปลี่ยนสี' ในเชิงอุดมการณ์โดยปรับเปลี่ยนโครงการหรือนโยบายตามที่คิดว่าเหมาะกับตน เช่นการบอกว่าตนเป็นนักสังคมนิยมผู้ยึดทรัพย์สินและวิสาหกิจมาเป็นของรัฐแต่ก็ฉวยโอกาสสร้างความร่ำรวยให้ตนเอง พูดถึงอิสรภาพทางเศรษฐกิจโดยให้ทุนตั้งร้านขายของชำแต่ก็ละเลยภาคการเกษตรทั้งยังนำเข้าอาหารจำนวนมาก วิจารณ์สหรัฐฯ แต่ก็พึ่งพาสหรัฐฯ ในฐานะผู้ซื้อน้ำมัน

รายงานของ The New York Times นำเสนออีกว่าการบริหารของชาเวซแสดงให้เห็นการพัฒนาของกรุงการากัสในหลายๆ ด้าน ชื่นชมนโยบายเช่นการรักษาพยาบาลฟรีและลดกำแพงการเข้าถึงการศึกษาระดับสูงว่า แต่ก็มีบางส่วนดำเนินการล่าช้าและขาดประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตามจากการสัมภาษณ์ แพทย์ประจำโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเวเนซุเอลลาก็บอกว่าชาเวซเป็นผู้เปลี่ยนแปลงจิตสำนึกของชาวเวเนซุเอลล่า ทำให้ประชาชนอย่างพวกเขารู้สึกมีคุณค่า


Granma (สื่อรัฐบาลคิวบา) : ชาเวซเป็นเสมือนลูก และคอมมานดันเตผู้กล้า

ด้านสื่อรัฐบาลคิวบา ประเทศพันธมิตรสำคัญประเทศหนึ่งสำหรับชาเวซได้นำเสนอแถลงการณ์จากคณะรัฐบาลปฏิวัติของคิวบา แสดงความเศร้าโศกเสียใจต่อการจากไปของชาเวซ รวมถึงแสดงความเห็นใจต่อครอบครัวและประชาชนชาวเวเนซุเอลล่า

แถลงการณ์กล่าวอีกว่าพวกเขาจะยังให้การสนับสนุนการปฏิวัติโบลิวาร์ และเหล่าผู้นำทางการเมืองและการทหารของโบลิวาร์ผู้เปรียบเสมือนสหาย (compañeros) และชาเวซก็เป็นดั่งคอมมานดันเต (comandante) เป็นนักสู้ผู้กล้าที่เปรียบได้กับวีรบุรุษโบลิวาร์กลับชาติมาเกิดและสามารถสานต่อในสิ่งที่โบลิวาร์ไม่อาจทำให้สำเร็จได้

นอกจากนี้ยังกล่าวชื่นชมการที่ชาเวซเป็นนักสู้ที่ต่อสู้กับจักรวรรดิ์นิยมและเป็นผู้ปกป้องคนจน แรงงาน และประชาชนชาวคิวบา

"ชาวคิวบารู้สึกว่าเขาเป็นหนึ่งในลูกชายดีเด่น และรู้สึกชื่นชมเขา ติดตามเขา รักเขาเสมือนลูกแท้ๆ ชาเวซก็ถือเป็นชาวคิวบาเช่นกัน!" รัฐบาลคิวบากล่าวในแถลงการณ์ "เขาเคยร่วมกับฟิเดลประหนึ่งลูกแท้ๆ และมีมิตรภาพใกล้ชิดกับราอูล (คาสโตร) มาก"

"แบบอย่างของชายผู้นี้จะนำเราไปสู่การต่อสู้ที่กำลังจะมาถึง" รัฐบาลคิวบากล่าวในแถลงการณ์


จอน ลี แอนเดอสัน : การปฏิวัติที่ไม่มีผู้สืบต่อ

นักเขียนชีวประวัติ จอน ลี แอนเดอสัน ได้เขียนประวัติของชาเวซลงในเว็บบล็อกของ New Yorker โดยเล่าถึงประสบการณ์ที่เคยพบชาเวซในช่วงปี 1999 หลังชาเวซได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีเวเนซุเอลล่าได้ไม่นาน ในตอนที่ชาเวซขึ้นกล่าวอบรมในมหาวิทยาลัยในประเทศคิวบา ซึ่งขณะนั้นนำโดยฟิเดล คาสโตร ผู้นำสังคมนิยมต่อต้านอเมริกาคนสำคัญอีกคนหนึ่ง

จอนกล่าวว่า ชาเวซอ่อนกว่าคาสโตรเกือบ 30 ปี ซึ่งคาสโตรเปรียบเสมือนบิดาผู้ที่ชาเวซเดินรอยตาม และคาสโตรก็มองชาเวซเสมือนลูกหรือไม่ก็ผู้สืบทอด

จอนยังเคยตั้งคำถามเกี่ยวกับการนำแนวทางสังคมนิยมมาใช้ในปี 2005 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการที่ชาเวซขึ้นสู่อำนาจหลายปี ซึ่งชาเวซตอบจอนว่า เขารู้ดีว่าเขามาช้าเกินไปในเรื่องนี้ ช้าในแบบที่ทั้งโลกเลิกใช้แนวคิดนี้หมดแล้ว แต่ชาเวซบอกว่าเขาเริ่มเห็นด้วยกับสังคมนิยมหลังจากที่เขาอ่านเรื่อง 'เหยื่ออธรรม' ของวิกเตอร์ ฮูโก้

นอกจากนี้ จอน ยังได้เปรียบเทียบชาเวซกับผู้นำฝ่ายซ้ายประชานิยมอีกท่านหนึ่งคือ ปธน. ลุลา ของบราซิลซึ่งดำเนินนโยบายโดยเน้นที่คนจนเช่นกัน แต่ทางบราซิลมีระบบการบริหารที่ดีกว่าและประสบความสำเร็จมากกว่า และสิ่งที่ชาเวซขาดอีกหย่างหนึ่งคือการสืบต่อด้านการบริหาร

"จากนี้ไปจะมีแต่ความสิ้นหวังและความกังวล เพราะไม่มีใครที่เหมือนชาเวซตามมาหลังจากนี้" จอนกล่าว

"แน่นอนว่าแนวทาง 'ชาเวซนิยม' ยังคงไม่ลุล่วง และมาดูโรจะพยายามสืบต่อการปฏิวัติต่อไป แต่ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขกำลังร่ำร้อง แล้วเชื่อได้ว่าถัดจากนี้อีกไม่นาน ชาวเวเนซุเอลล่าที่โศกเศร้ากับการสูญเสียผู้นำจะโศกเศร้ากับการปฏิวัติที่ยังไม่เสร็จสิ้นของเขาด้วย"


คาร์ล มีแชม (CSIS) : ผู้นำในภูมิภาครวมถึงสหรัฐฯ ควรหนุนให้มีการเปลี่ยนผ่านอย่างสันติ

ในแง่สุญญากาศทางการเมืองของเวเนซุเอลล่าหลังชาเวซเสียชีวิต คาร์ล มีแชม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ระดับนานาชาติของสหรัฐฯ (CSIS) ได้เขียนบทความลงใน CNN กล่าวว่า นิโคลาส มาดูโร ผู้ที่เปรียบเสมือนผู้สืบทอดของชาเวซอาจต้องเผชิญกับความแตกแยกทั้งจากในพรรคสังคมนิยม (United Socialist Party of Venezuela) และความแตกแยกในหมู่กองทัพัเวเนซุเอลล่า โดยความขัดแย้งนี้จะเป็นตัวชี้วัดว่าเวเนซุเอลล่าจะมีการเปลี่ยนผ่านทางอำนาจอย่างสันติได้หรือไม่ หรืออาจนำไปสู่ความรุนแรงหากหลายฝ่ายมีการล็อบบี้เพื่อขึ้นสู่อำนาจ

คาร์ล วิเคราะห์ว่า รองปธน. มาดูโรอาจไม่มีแรงสนับสนุนจากประชาชนมากเท่าชาเวซ แต่เขาจะเป็นผู้นำพรรคด้วยอิทธิพลที่มีอยู่พอสมควร ขณะที่ตัวแปรสำคัญจะกลายเป็นปฏิกิริยาจากกองทัพเวเนซุเอลล่า

โดยกองทัพจะแบ่งออกเป็นสามค่าย คือหนึ่ง ค่ายที่เน้นความเป็นกองทัพในเชิงสถาบัน ค่ายนี้เน้นด้านประสิทธิภาพไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยส่วนใหญ่

ค่ายที่สอง คือกองทัพค่ายที่เน้นกฏหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งหลังจากชาเวซเสียชีวิตแล้ว ดิออสดาโด คาเบลโล ประธานรัฐสภาจะเป็นผุ้ดูแลประเทศในช่วงก่อนการเลือกตั้ง 30 วันข้างหน้า ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าคาเบลโล อดีตทหารเวเนซุเอลล่าผู้เคยร่วมการพยายามทำรัฐประหารในปี 1992 กับชาเวซมีแรงสนับสนุนจากในกองทัพมากกว่าและอาจถูกดันให้ขึ้นเป็นผู้สมัครปธน.อีกราย

ค่ายที่สามคือกองทัพที่อยู่ข้างชาเวซซึ่งมีพันธกิจเรื่องการปฏิวัติ มีแนวโน้มจะสานต่ออุดมการณ์ของชาเวซและผลักดันให้มาดูโรเป็นผู้นำ

ในเรื่องเศรษฐกิจ คาร์ลก็บอกว่ายังน่าเป็นห่วงเมื่อวัดจากอัตราการเติบโตที่ต่ำกว่าประเทศละตินอเมริกาประเทศอื่นๆ และบริษัทน้ำมันของรัฐก็ขาดเงินทุนในการดำเนินการผลิตในฐานปัจจุบันหรือการขยายฐานไปยังที่อื่น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศพันธมิตรที่ได้รับการสนับสนุนด้านน้ำมันจากเวเนซุเอลล่าด้วย เนื่องจากในสมัยชาเวซประเทศที่เขาถือว่าเป็นมิตรจะได้รับส่วนลดและสิทธิในการแลกเปลี่ยนอื่นๆ ซึ่งยังไม่แน่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่หลังสมัยชาเวซ

ขณะเดียวกันในแง่การต่างประเทศ ประเทศในแถบภูมิภาคอาจรู้สึกสูญเสียอิทธิพล รวมถึงประเทศอย่างอิหร่านที่สูญเสียผู้สนับสนุนใหญ่ในแถบภูมิภาคละตินอเมริกา และแม้ว่าจะมีการสานสัมพันธ์ต่อแต่พงกเขาจะไม่ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนของชาเวซอีก ทางด้านรัฐบาลรัสเซียซึ่งได้รับผลประโยชน์จากการซื้ออาวุธของเวเนซุเอลล่า ก็ดูจะสูญเสียฐานในละตินอเมริกาไปเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีผู้นำประเทศอื่นๆ เช่น บาชาร์ อัล-อัสซาด ของซีเรีย และรัฐบาลเกาหลีเหนือซึ่งน่าจะรู้สึกว่าการเสียชีวิตของชาเวซมีผลกระทบต่อพวกเขา

คาร์ล เปิดเผยว่าสหรัฐฯ เองก็อาจได้รับผลกระทบในแง่ที่เวเนซุเอลล่ายังเป็นผู้จัดหาน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับที่ 4 สำหรับสหรัฐฯ และหากการเปลี่ยนผ่านอำนาจเกิดความรุนแรงและการส่งออกลดลง ผู้บริโภคน้ำมันในสหรัฐฯ ก็จะประสบกับภาวะน้ำมันขึ้นราคา และการเติบโตทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย

อีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นมากในช่วงที่ชาเวซดำรงตำแหน่งคือปัญหาการค้ายาเสพย์ติด และทางสหรัฐฯ ก็เคยระบุว่ามีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเวเนซุเอลล่าเข้าข่ายเจ้าพ่อยาเสพย์ติดรายใหญ่ด้วย คาร์ลกล่าวว่า การต่อสู้แย่งชิงอำนาจที่ชื้อเยื้อจะยิ่งทำให้ผู้ค้ายามีช่องทางมากขึ้นในเวเนซุเอลล่า

คาร์ลเสนอว่า ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้กลุ่มผู้นำประเทศในภูมิภาค รวมถึงประเทศอย่างสหรัฐฯ เม็กซิโก บราซิล โคลัมเบีย และแคนาดา ควรช่วยกันสนับสนุนให้เกิดการเลือกตั้งอย่างถูกต้องและเสรี เพื่อช่วยให้การเปลี่ยนผ่านของเวเนซุเอลล่าเป็นไปอย่างสงบและเป็นประชาธิปไตย ซึ่งแม้ว่าเวเนซุเอลล่าจะยังคงมีการแบ่งฝ่ายกันไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร แต่การเลือกตั้งที่โปร่งใสจะช่วยให้เวเนซุเอลล่าปฏิรูปเพื่อปัญหาต่างๆ ได้

ความรู้สึกของผู้นำประเทศอื่นๆ

ผู้นำของประเทศอื่นก็มีความรู้สึกหลากหลายต่อการเสียชีวิตของชาเวซ มีทั้งที่แสดงความเศร้าและรู้สึกยินดี เช่น เอ็ด รอยซ์ นักการเมืองพรรครีพับลิกันผู้เป็นประธานคณะกรรมการกิจการต่างประเทศของสหรัฐฯ บอกว่า "อูโก้ ชาเวซเป็นทรราชย์ผู้ที่ใช้อำนาจทำให้ประชาชนเวเนซุเอลลาตกอยู่ภายใต้ความกลัว" ขณะที่ คริสตินา เคิร์ชเนอร์ ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา กล่าวว่ารัฐบาลอาร์เจนติน่าจะหยุดกิจกรรมทุกอย่างชั่วคราวเพื่อเป็นการไว้อาลัยแก่ชาเวซ

The Independent วิเคราะห์ด้วยว่า คริสติน่า เคิร์ชเนอร์ ผู้เป็นพันธมิตรกับชาเวซน่าจะกลายเป็นผู้นำตัวแทนละตินอเมริกาคนต่อไปที่จะคอยเป็นไม้เบื่อไม้เมากับสหรัฐฯ

ทางด้านดิลมา รูสเซฟฟ์ ประธานาธิบดีของบราซิลกล่าวถึงชาเวซว่า "เขาเป็นคนที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อต่อประชาชนในทวีปผู้ที่ต้องการเขา" ขณะที่ประธานาธิบดี บารัก โอบาม่า ของสหรัฐฯ ได้กล่าวแถลงการณ์ในเชิงไมตรีว่า "ในช่วงเวลาที่ท้าทายจากการจากไปของประธานาธิบดีฮิวโก้ ชาเวซ ทางสหรัฐอเมริกายังคงยืนยันการสนับสนุนประชาชนชาวเวเนซุเอลลา และการพัฒนาความสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์กับรัฐบาลเวเนซุเอลลา"

ขณะที่ไมค์ โรเจอร์ นักการเมืองพรรครีพับลิกันประธานคณะกรรมการฝ่ายงานข่าวกรองของสหรัฐฯ หวังว่าการเสียชีวิตของชาเวซจะเป็นโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐฯ และเวเนซุเอลลา

แต่ โฮเซ่ เซอร์ราโน นักการเมืองพรรคเดโมแครทจากเขตเดอะบร็องซ์ ซึ่งเป็นย่านที่ยากจนที่สุดในนิวยอร์กซิตี้กล่าวชื่นชมชาเวซฝ่านทวิตเตอร์ว่าเขาเป็นผู้นำที่เข้าใจความต้องการของคนยากจน และมีพันธกิจในการส่งเสริมผู้ที่ไม่มีอำนาจ


เรียบเรียงจาก

Papers reflect on Hugo Chavez's life, BBC, 06-03-2013

Hugo Chávez obituary, The Guardian, 05-03-2013

After Chávez's funeral, who gets Venezuela's poisoned chalice?, The Guardian, 05-03-2013

Death of Venezuelan President Hugo Chavez leaves tears - and a nation divided, The Independent, 06-03-2013

Hugo Chavez dies, leaving Venezuela in turmoil, The Telegraph, 06-03-2013

For Good or Ill, Chávez Altered How Venezuela Views Itself, The New York Times, 06-03-2013

Statement from Revolutionary Government, Granma, 06-03-2013

POSTSCRIPT: HUGO CHÁVEZ, 1954-2013, The New Yorker, 05-03-2013
After Chavez, a power vacuum, Carl Meacham, CNN, 06-03-2013


ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จำคุก 2 ชาวบ้านคดีขัดแย้ง ‘สวนป่าโคกยาว’ กองทุนยุติธรรมฯ หอบเงินแสนประกันตัว

Posted: 07 Mar 2013 03:20 AM PST

ปมขัดแย้งสวนป่าโคกยาว ศาลจังหวัดภูเขียวอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3  ยืนตามศาลชั้นต้นตัดสินจำคุก 2 พ่อลูก 4 เดือนข้อหารุกป่า ไม่รอลงอาญา ตั้งวงเงินประกัน 2 แสนต่อคน กองทุนยุติธรรมจังหวัดชัยภูมิหอบเงินแสนประกันตัว

 
 
เมื่อวันที่ 6 มี.ค.56 ศาลจังหวัดภูเขียว จ.ชัยภูมิ นัดอ่านนัดอ่านฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในคดีบุกรุกสวนป่าโคกยาว ซึ่งมีนายทอง กุลหงส์ อายุ 72 ปี และนายสมปอง กุลหงส์ อายุ 48 ปี สองพ่อลูกชาวบ้าน ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ เป็นจำเลยในความผิดข้อหาบุกรุก แผ้วถาง ก่นสร้าง และทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม โดยมีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
 
คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นตัดสินเมื่อวันที่ 13 มิ.ย.55 ลงโทษให้จำคุก 4 เดือน โดยไม่รอลงอาญา พร้อมกำหนดหลักทรัพย์ประกันตัวจากรายละ 100,0000 บาท ต่อมาเพิ่มเป็นรายละ 200,000 บาท ทำให้ชาวบ้านต้องนำหลักทรัพย์ในศาลชั้นต้นของทั้ง 2 ราย มารวมกัน เพื่อประกันตัวลูกชายออกมาก่อน เนื่องจากมีปัญหาบกพร่องทางสมอง ส่วนพ่อต้องถูกจำคุก กระทั่งนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ได้ใช้ตำแหน่งประกันตัวออกมาเมื่อ 28 มิ.ย.55
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลกำหนดหลักทรัพย์ประกันตัว รายละ 200,000 บาท แต่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นชาวบ้าน ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และหาเก็บเห็ด หน่อไม้ เพื่อยังชีพไปวันๆ ไม่สามารถจ่ายได้ ส่วนเงินที่ชาวบ้านช่วยเหลือรวบรวมกันมาได้ก็ไม่พอจ่าย อย่างไรก็ตามในช่วงบ่าย ชาวบ้านในนามเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน ได้ประสานไปยังกองทุนยุติธรรม จังหวัดชัยภูมิ ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และได้รับความช่วยเหลือในการประกันตัว เพื่อสู้คดีในชั้นฎีกาต่อไป
 
ทั้งนี้ กรณีพื้นที่สวนป่าโคกยาว ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ดินทำกิน นับแต่มีการประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม เมื่อปี 2516 และมีโครงการปลูกสวนป่าด้วยการนำไม้ยูคาฯ มาปลูกในพื้นที่เมื่อปี 2528 จนเกิดเป็นกรณีพิพาทที่ชาวบ้านเคยทำกินในพื้นที่มาก่อน กระทั่งเมื่อวันที่ 1 ก.ค.54 เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ตำรวจ ประมาณ 200 นาย โดยการนำของนายอำเภอคอนสาร บุกเข้ามาจับกุมชาวบ้านรวม 10 ราย
 
พร้อมทั้งมีการฟ้องร้องดำเนินคดีกับชาวบ้าน ในข้อหาร่วมกันบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม โดยเจ้าหน้าที่ป้องรักษาป่าที่ ชย.4 คอนสาร เป็นโจทก์ โดยแยกเป็น 4 คดี ทั้งหมดถูกนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของศาลจังหวัดภูเขียว อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ล่าสุดศาลชั้นต้นพิพากษาไปทั้ง 4 คดีแล้ว
 
คดีแรก เมื่อ 22 พ.ค.55 ศาลพิพากษานายคำบาง กองทุย อายุ 65 ปี และนางสำเนียง กองทุย อายุ 61 ปี (สามี-ภรรยา) จำคุก 4 เดือน ไม่รอลงอาญา
 
คดีที่ 2 เมื่อ 13 มิ.ย.55 ศาลพิพากษานายทอง กุลหงส์ อายุ 72 ปี และนายสมปอง กุลหงส์ อายุ 48 ปี สองพ่อลูกจำคุก 4 เดือน ไม่รอลงอาญา
 
คดีที่ 3 วันที่ 9 ส.ค.55 ศาลพิพากษานายสนาม จุลละนันท์  อายุ 59 ปี จำคุก 6 เดือน ไม่รอลงอาญา
 
คดีที่ 4 วันที่ 28 ส.ค.55 ศาลพิพากษานายเด่น คำแหล้ อายุ 60 ปี (จำเลยที่ 1) และนางสุภาพ คำแหล้ อายุ 57 ปี (จำเลยที่ 4) ตัดสินจำคุก 6 เดือน ไม่รอลงอาญา ส่วนจำเลย อีก 3 ราย คือนายบุญมี วิยาโรจน์ อายุ 51 จำเลยที่ 2 , นางหนูพิศ วิยาโรจน์ อายุ 70 ปี (ภรรยานายบุญมี) จำเลยที่ 5 และนางเตี้ย ย่ำสันเทียะ อายุ 54 ปี ศาลยกฟ้อง
 
ศรายุทธ ฤทธิพิณ สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน กล่าวว่า ชีวิตของชาวบ้านนั้นยากลำบากอยู่แล้ว แล้วยังถูกซ้ำเติมด้วยการที่หน่วยงานภาครัฐประกาศเขตป่าฯ ทับที่ทำกิน พร้อมกับอาศัยกลไกกระบวนการยุติธรรม มาตั้งข้อกล่าวหาว่าชาวบ้านบุกรุกพื้นที่ และหลายต่อหลายครั้งคำพิพากษามักตกอยู่ที่ชาวบ้านเป็นผู้กระทำผิด
 
ทั้งนี้ คำพิพากษากรณีความขัดแย้งเรื่องที่ดินทำกินถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะกระบวนการยุติธรรมเปรียบเสมือนเป็นผู้ตัดสิน กุมชะตากรรมของชาวบ้านที่เรียกร้องความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งกระบวนการยุติธรรมควรสะท้อนให้สังคมได้รับรู้และเข้าใจปัญหาที่ดินทำกินด้วยว่า กลุ่มผู้ถูกคดีและผู้ต้องหาเป็นเพียงเกษตรกรและคนยากจนในสังคม เป็นชุมชนและชาวบ้านที่มีวิถีการดำเนินชีวิตด้วยการพึ่งพาฐานทรัพยากรธรรมชาติ และต้องการเรียกร้องให้รัฐแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและจัดสรรที่ดินให้อย่างเป็นธรรม 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ขอบคุณทุกความกลัวที่เทให้

Posted: 07 Mar 2013 12:08 AM PST

ใจ อึ๊งภากรณ์: ฮูโก ชาเวซ

Posted: 07 Mar 2013 12:03 AM PST

ฮูโก ชาเวซ ซึ่งพึ่งเสียชีวิตไป ประกาศตัวเป็น "นักสังคมนิยม" แต่เราต้องประเมินว่าเขาสร้างพรรค และสามารถปลุกระดมให้ประชาชนยึดอำนาจเพื่อปกครองตนเองและเป็นใหญ่ในแผ่นดินแค่ไหน อย่างไรก็ตาม เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเขาเป็นผู้นำที่ให้ความหวังมากมายกับคนจนในลาตินอเมริกาและที่อื่น

ต้นกำเนิดของรัฐบาล ฮูโก ชาเวส
เวเนซุเอลา เป็นประเทศในลาตินอเมริกาที่ร่ำรวยเพราะมีน้ำมัน แต่ในอดีต ผลประโยชน์ตกอยู่กับอำมาตย์อภิสิทธิ์ชนไม่กี่คน โดยมีการเอาใจกรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจน้ำมัน ซึ่งได้ส่วนแบ่งบ้าง รัฐวิสาหกิจน้ำมันนี้เดิมเสมือน "รัฐอิสระ" ที่ให้ประโยชน์กับคนส่วนน้อย โดยเกือบจะไม่จ่ายเงินเข้าคลังของรัฐเลย นอกจากนี้มีการ "จัดการ" ระบบเลือกตั้งให้พรรคของพวกอภิสิทธิ์ชนชนะเสมอ และสื่อทั้งหมดอยู่ในมือของกลุ่มนายทุนผู้มีอำนาจอีกด้วย ผลคือ ประชาชนที่เหลือยากจนและอาศัยอยู่ในสลัม

พอถึงปี ค.ศ.1989 ประชาชนทนไม่ไหว มีการลุกฮือครั้งใหญ่ในเมืองหลวงคาราคัส เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่า "การลุกฮือ คาราคาโซ (Caracazo)" ปรากฏว่า รัฐบาลอำมาตย์ฆ่าประชาชนตาย 2,000 คนเพื่อปราบปรามอย่างเลือดเย็น

ฮูโก ชาเวซ เป็นสมาชิกกลุ่มนายทหารหนุ่มที่ไม่พอใจกับระบบการปกครองของอำมาตย์ พวกเขาต้องการพัฒนาสังคมและำรายได้จากน้ำมันมาสร้างความเป็นธรรม เขามองด้วยว่า จักรวรรดินิยมสหรัฐมีอิทธิพลในประเทศเขามากเกินไป ในปี 1992 ชาเวซจึงพยายามทำรัฐประหารล้มรัฐบาล แต่ไม่สำเร็จ เลยติดคุกสองปี แต่ประชาชนที่เจ็บปวดจากการปราบปรามของรัฐบาลในปี 1989 หันมาสนใจชาเวซ

ในปี1998 ชาเวซลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี และชนะด้วย 58% ของคะแนนทั้งหมด หนึ่งปีหลังจากนั้น เขาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น มีกลไกตรวจสอบนักการเมือง มีการเพิ่มงบประมาณรัฐให้โรงเรียนและลดบทบาทสถาบันศาสนาคริสต์ที่เคยสนับสนุนอำมาตย์ สตรีมีสิทธิเลือกทำแท้ง มีมาตราเพื่อปฏิรูปสื่อและปฏิรูปอุตสาหกรรมน้ำมัน ปรากฏว่า 71% ของประชาชนสนับสนุนรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับนี้

ต่อมาในปี 2000 ชาเวซ ชนะการเลือกตั้งอีกรอบด้วยคะแนน 59% คราวนี้มีการออกกฎหมายเพื่อบังคับเพิ่มเงินที่บริษัทน้ำมันต้องจ่ายให้รัฐ และมีการนำเงินนี้มาเพิ่มงบประมาณการศึกษาและสาธารณสุขสำหรับประชาชน รวมถึงมีการปฏิรูปที่ดินด้วย

อย่างไรก็ตาม ในปี 2002 ทหารฝ่ายขวาทำรัฐประหารโดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ และชาเวซถูกจับเข้าคุก ไม่มีใครในกองทัพช่วย แม้แต่เพื่อนเก่าก็ไม่ทำอะไร แต่เมื่อประชาชนคนจนออกมาต่อต้านเผด็จการบนท้องถนนเป็นแสน รัฐประหารฝ่ายขวาก็ล้มเหลว และชาเวซถูกปล่อยตัว จึงกลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง เราจะเห็นได้ชัดว่าพลังมวลชนเป็นพลังชี้ขาด

ในปี 2004 ชาเวซจัดให้มีประชามติเพื่อดูว่า ประชาชนอยากให้เขาดำรงตำแหน่งต่อจนครบวาระหรือไม่ ตามกติกาใหม่ที่เขาเคยเสนอเพื่อให้ประธานาธิบดีต้องฟังเสียงประชาชน ชาเวซชนะด้วยเสียง 58.3% และในการเลือกตั้งครั้งต่อไปในปี 2006 ก็ชนะอีกด้วยเสียง 62% ล่าสุดชาเวซชนะการเลือกตั้งในปี 2012 ด้วยคะแนน 55%

ปัญหาของรัฐ
ปัญหาใหญ่สำหรับชาเวซ และประชาชนเวเนซูเอลาคือ ถึงแม้ว่าชาเวซจะได้รับการสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่ในประเทศซึ่งเป็นคนจน และมวลชนพร้อมจะออกมาปกป้องเขา แต่โครงสร้างรัฐอำมาตย์เก่ายังอยู่ และพยายามทุกวิธีที่จะคัดค้านนโยบายรัฐบาล นอกจากนี้นายทุนฝ่ายค้านก็คุมสื่อส่วนใหญ่นอกจากสื่อของรัฐบาลเอง และมีการประโคมข่าวเท็จด่ารัฐบาลอย่างต่อเนื่อง

ในระดับหนึ่ง ชาเวซพยายามสร้างรัฐใหม่คู่ขนานกับรัฐเก่า เช่น มีการสร้างสภาชุมชนที่ประกอบไปด้วยคนรากหญ้า มีธนาคารชุมชนเพื่อเน้นการลงทุนสำหรับคนจน มีการตั้งสหภาพแรงงานใหม่ที่ไม่สนับสนุนอำมาตย์ และในบางสถานที่มีการทดลองให้กรรมกรคุมการผลิตเอง ทั้งหมดนี้เพื่อจะลดการพึ่งพาอาศัยข้าราชการและกลุ่มอำนาจเก่า แต่ในขณะเดียวกันไม่ได้รื้อถอนรัฐเก่าอย่างเป็นระบบเลย

ยิ่งกว่านั้น ชาเวซมองว่า เผด็จการ "คอมมิวนิสต์" ของคิวบา เป็นแม่แบบในการสร้างสังคมใหม่ ซึ่งในรูปธรรมหมายความว่า ชาเวซจะเน้นการนำพรรคพวกของเขาเข้าไปเป็นข้าราชการในโครงสร้างรัฐเก่า แทนที่จะเน้นพลังมวลชนในการรื้อถอนทำลายรัฐเก่าและสร้างรัฐใหม่ และข้าราชการหลายคนของชาเวซกลายเป็นคนโกงกินที่ประชาชนตรวจสอบไม่ได้ ช่วงนี้ ชาเวซ สร้างพรรคสังคมนิยมของตนเองขึ้นมา และกลายเป็นพรรคมวลชน แต่คำถามสำคัญคือ ชาเวซสร้างพรรคนี้เพื่อผลักดันการปฏิวัติมวลชน หรือเพื่อควบคุมมวลชนกันแน่?

การทำการปฏิวัติสังคมแค่ครึ่งทาง โดยไม่ทำลายรัฐเก่า และไม่ยึดปัจจัยการผลิตทั้งหมดจากนายทุนเพื่อให้ประชาชนบริหารเองมีปัญหามากและอันตราย  เพราะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่มีอำนาจเต็มที่ในการบริหารประเทศ และไม่สามารถพัฒนาสภาพชีวิตของคนจนได้ตามความต้องการของประชาชน นอกจากนี้การแปรรูปสถานประกอบการต่างๆ เพื่อให้มีการบริหารเองโดยคนงาน ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ผ่านการออกกฏหมายอย่างเดียว ต้องมีการปลุกระดมมวลชนให้กระตือรือร้น และต้องมีการยึดสถานที่ทำงานโดยมวลชนกรรมาชีพเอง ผลของการทำการปฏิวัติครึ่งทางคือ เริ่มมีคนจนที่ผิดหวังกับผลงานของชาเวซ และในเดือนธันวาคม 2007 ชาเวซแพ้ประชามติเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ก้าวหน้ามากขึ้น อันนี้น่าจะเป็นสัญญาณเตือนภัย

ชาเวซประกาศว่า ตนเองเป็นผู้นำที่ต่อต้านจักรวรรดินิยมตะวันตก ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่ในการต่อต้านจักรวรรดินิยม เขาไปจับมือกับเผด็จการในคิวบาและอิหร่านซึ่งเกลียดสหรัฐ และเคยชมกาดาฟี่ในลิเบียอีกด้วย แต่ถ้าจะมีการปลดแอกประชาชนภายใน เวเนซูเอลา ก็ต้องสนับสนุนประชาชนที่กำลังสู้กับเผด็จการทั่วโลก

ฝ่ายซ้ายหลายกลุ่มในเวเนซูเอลา เช่น กลุ่ม "ต่อสู้ชนชั้น" และกลุ่ม Por Nuestras Luchas (กลุ่ม "โดยการต่อสู้ของเราเอง") เสนอว่า ต้องมีการปลุกระดมมวลชนชั้นล่าง กรรมกร เกษตรกร และคนพื้นเมือง เพื่อปฏิวัติอย่างถาวร และเขามองว่าต้องปฏิวัติภายในกระแสที่สนับสนุนชาเวซ

หลังจากที่ชาเวซจากโลกนี้ไป เครื่องชี้วัดว่า เขาเปลี่ยนสังคมเวเนซูเอลาได้อย่างจริงจังหรือไม่ คือความสามารถของมวลชนและพรรคสังคมนิยมที่จะนำการเมืองต่อไป และสร้างสังคมใหม่โดยไม่พึ่งพาวีรบุรุษคนเดียว

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น