โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

"วรวุฒิ วิชัยดิษฐ์" นำเสื้อแดงร้องมาร์คเอาผิด "เปรม-สิทธิ-อานันท์" หมิ่นเบื้องสูง

Posted: 06 Jan 2011 08:57 AM PST

วานนี้ (6 ม.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ(นปช.) ได้เดินทางมายังทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ดำเนินคดีกับบุคคลที่เข้าข่ายกระทำความผิดต่อองค์รัชยาท ประกอบด้วย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองค์มนตรี , พล.อ.อ.สิทธิ เศวศิลา องค์มนตรี และนายอนันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่าจากข้อมูลจากเวบไซต์ วิกิลีกส์ได้เผยแพร่เนื้อหาโทรเลขของสถานฑูตอเมริกา ที่ส่งไปยังกระทรวงการต่างประเทศ ของประเทศสหรัฐ ซึ่งเป็นบทสนทนาระหว่างบุคคลทั้งสามกับนายอิริค จอห์น อดีตเอกอัคราราชฑูตสหรัฐ โดยมีความจงใจพาดพิงต่อองค์รัชยาทเข้าข่ายความผิดร้ายแรง

โดยกลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 50 คนดังกล่าว ได้ปักหลักบริเวณประตูทางเข้าทำเนียบรัฐบาล ฝั่งสะพานชมัยมรุเชฐ เพื่อยื่นหนังสือต่อรัฐบาลขอให้ปล่อยตัว หรือประกันตัว 7 แกนนำกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้ปักหลักอยู่ก่อนหน้านี้ โดยมีระยะห่างกัน ประมาณ 200 เมตร

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักอนุรักษ์แนะจับตา “เอพีพีซี” จ่ายค่าลอดใต้ถุนเหมืองโปแตชอุดร เสมือนปิดปาก

Posted: 06 Jan 2011 06:18 AM PST

บริษัทเอพีพีซีมอบเงิน “ค่าลอดใต้ถุน” ให้ชาวบ้านไร่ละพัน ในพื้นที่ทำเหมืองโปแตซ แต่มีผู้มารับค่าลอดใต้ถุน 450 ไร่ จากพื้นที่ขอประทานบัตร 27,000 ไร่ ด้านกลุ่มอนุรักษ์ชี้จ่ายค่าลอดใต้ทุนไม่มีระบุในกฎหมาย เป็นเรื่องแยกแยะใครหนุน/ค้าน เหมือง แนะให้ดู “พิจิตร” เป็นตัวอย่าง รับค่าลอดใต้ถุนเหมืองท้อง แล้วบริษัทห้ามโวยหากมีเรื่อง

เมื่อวันที่ 6 ม.ค.54 ที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์ บริษัท เอเชีย แปซิฟิค โปแตช คอเปอร์เรชั่น จก. หรือ เอพีพีซี. บ้านหนองตะไก้ ต.หนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี นายวิสุทธิ์ จิราธิยุติ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอพีพีซี. ลุงทุนบินมาจากกรุงเทพฯ เพื่อเป็นประธานมอบเงิน “ค่าลอดใต้ถุน” ครั้งที่ 1 จำนวนไร่ละ 1,000 บาท แก่ประชาชนเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน พื้นที่ในเขตประทานบัตร โครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี พร้อมแถลงข่าวและเชิญสื่อมวลชนทุกแขนงมาทำข่าว โดยใช้เวลาแถลงและเปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวซักถามประมาณครึ่งชั่วโมง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศกลับค่อนข้างซบเซาเนื่องจากมีเจ้าของที่ดินเฉพาะในเขต อ.เมือง จ.อุดรธานี จำนวนเพียง 64 รายเท่านั้น มารับมอบค่าลอดใต้ถุน โดยคิดเป็น450 ไร่ๆละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 454,240 บาท ทั้งๆ ที่มีพื้นที่ขอประทานบัตรมากถึง 27,000 ไร่ ผจก.ใหญ่ เอพีพีซี. ยอมรับไม่ตรงตามเป้าเหตุมีอุปสรรค

โดยนายวิสุทธิ์ จิราธิยุติ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเอพีพีซี กล่าวว่า พื้นที่เขตเหมือง (ใต้ดิน) โปแตชมีกว่า 27,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ ต.โนนสูง ต.หนองไผ่ อ.เมือง, ต.นาม่วง ต.ห้วยสามพาด อ.ประจักษ์ศิลปาคม “ค่าลอดใต้ถุน” เป็นค่าตอบแทนพิเศษที่ เอพีพีซี. ได้มอบให้ผู้มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเหนือเหมืองไร่ละ 1 พันบาทเป็นการเบื้องต้น เป็นเจตนาของ เอพีพีซี มอบให้ไม่ผูกพันกับในทุกกรณี และเป็นเงินให้เปล่าที่ไม่มีระเบียบบังคับ โดยยังไม่มีการสำรวจว่าผู้มีกรรมสิทธิ์ที่ดินกี่ราย หรือกี่ไร่ เป็นการแจ้งให้ผู้มีสิทธิมาขึ้นทะเบียน ซึ่งขณะนี้มีมาขึ้นทะเบียน 300 ราย

เจ้าของที่ดินมาขึ้นทะเบียนตอนแรกน้อย จึงสามารถตรวจสอบได้เพียง 64 ราย ในช่วงก่อนเทศกาลปีใหม่ แต่ก็มีมาขึ้นทะเบียนมากเมื่อไม่กี่วัน เราพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมีหลายประการ ทั้งเจ้าของที่ดินเดินทางไปทำงานต่างจังหวัดและต่างประเทศ, เอกสารสิทธินำไปจำนองที่สถาบันการเงิน โดยไม่ได้เก็บสำเนาไว้จำนวนพื้นที่เป็นแปลงเล็กๆ จำนวนเงินที่จะได้รับไม่มากนัก และการเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเรามาซื้อที่ดินเพียงไร่ละไม่กี่บาท แต่คงไม่ใช่การต่อต้านของคนในพื้นที่” นายวิสุทธิ์ กล่าว

กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอพีพีซี ยังกล่าวด้วยว่า สำหรับความคืบหน้าของโครงการ หลังจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ทำการรังวัดขึ้นรูปแผนที่แล้ว ก็จะเดินหน้าตามที่ กพร.แนะนำ และจะทำตามรัฐธรรมนูญ ปี 50 ม.67 วรรคสอง ทุกประการอย่างเคร่งครัด โดยกำลังคัดเลือกที่ปรึกษาเข้ามาจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม, สังคม, สุขภาพ หรือแม้กระทั่งเศรษฐกิจ เพื่อให้การศึกษาครอบคลุมครบถ้วน รวมไปถึงการว่าจ้างที่ปรึกษาจากต่างประเทศในส่วนที่ เอพีพีซี ขาดความชำนาญ เร็วที่สุดปีหน้าน่าจะสามารถก่อสร้างได้

ด้านนางจันทา สัตยาวัน ชาวบ้านหนองตะไก้ และมีกรรมสิทธิ์ที่ดินกว่า 100ไร่ อยู่ภายในเขตการขอประทานบัตรของ เอพีพีซี แต่ไม่ได้ไปยื่นเอกสารเพื่อขอรับค่าลอดใต้ถุนกับบริษัทฯ และได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า การจัดฉากจ่ายเงินค่าลอดใต้ถุนของบริษัทฯ ไม่ได้รับความสนใจจากชาวบ้านก็เพราะชาวบ้านตระหนักดีว่าผลกระทบจากการทำเหมืองที่จะเกิดขึ้นนั้นมันมหาศาล และชั่วลูกชั่วหลาน ซึ่งบริษัทฯจะใช้เงินมาซื้อชีวิตชาวบ้าน พวกเขาจึงไม่เห็นด้วย   

“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทฯ พยายามจะสร้างภาพเพื่อให้คนข้างนอกเห็นว่าเขาเข้ากับชุมชนได้ ชุมชนยอมรับ โดยใช้วิธีการเอาเงินหว่าน แต่ไม่เคยให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงกับชาวบ้าน ซึ่งพวกเราเห็นว่าจำนวนเงินที่ได้มานั้นใช้แล้วก็หมดไป แต่เหมืองจะอยู่กับพวกเราไปจนถึงลูกหลาน และที่ดินของพวกเราก็สามารถใช้ทำมาหากินได้ตราบนานเท่านาน เมื่อเหมืองเกิดขึ้นมีผลกระทบ ดินเค็ม น้ำเค็ม ที่ดินทำกินไม่ได้ ลูกหลานเจ็บไข้แล้วเมื่อนั้นเราจะอยู่กันอย่างไร ซึ่งมันไม่คุ้ม” นางจันทากล่าว

ขณะที่นายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ที่ปรึกษากลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ตนอยากตั้งคำถามกับบริษัทฯ ว่าบริษัทฯ แจกเงินเพื่ออะไร เพราะการจ่าย “ค่าลอดใต้ถุน” ไม่ได้มีการระบุเอาไว้ในกฎหมาย แต่ตนเห็นว่าบริษัทฯ มีเป้าหมาย เพื่อต้องการแบ่งแยกชาวบ้านให้เห็นว่าใครคัดค้าน ใครเห็นด้วยกับโครงการฯ มากกว่า ซึ่งก็มีบทเรียนให้เห็นแล้วในพื้นที่อื่น

“เอพีพีซี กำลังจับชาวบ้านเป็นตัวประกัน เพราะการจ่ายเงินค่าลอดใต้ถุนจะเป็นการผูกมัดชาวบ้าน ถึงแม้ว่าบริษัทฯ จะบอกว่าไม่ได้มีเงื่อนไขใดๆ แต่มีประสบการณ์ให้เห็นแล้วกรณีชาวบ้านในพื้นที่เหมืองทองคำ จ.พิจิตร ซึ่งบริษัทได้จ่ายเงินให้กับชาวบ้านในลักษณะคล้ายๆ กันนี้โดยให้ชาวบ้านเอาเอกสารสำคัญเกี่ยวกับที่ดินมายืนยัน แล้วบริษัทจ่ายเงินให้พร้อมกับสลักหลังเอกสารว่า ห้ามชาวบ้านลุกขึ้นมาต่อต้านหรือคัดค้านบริษัทอีก” นายสุวิทย์กล่าว

นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า การจ่ายเงินค่าลอดใต้ถุนจะเพิ่มความขัดแย้งให้กับพื้นที่มากยิ่งขึ้น เพราะชาวบ้านที่ไปขึ้นทะเบียนขอรับเงินกับบริษัทฯ ก็จะออกมาต่อต้านและกล่าวหากลุ่มอนุรักษ์ฯ ว่าขัดขวางการได้เงินของพวกเขาเหล่านั้น นายสุวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แอมเนสตี้ห่วงกฎหมายควบคุมสื่อฉบับใหม่ของฮังการีจะคุกคามเสรีภาพในการแสดงความเห็น

Posted: 06 Jan 2011 05:47 AM PST

แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลเตือน กฎหมายสื่อฉบับใหม่ที่ผ่านการรับรองในฮังการี จะส่งผลให้มีการควบคุมจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง

วันนี้ (6 ม.ค. 53) แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล เผยแพร่รายงานระบุว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยสื่อและเสรีภาพของสื่อมวลชน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2554 นั้น เป็นมาตรการที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศในสหภาพยุโรป และจะส่งผลให้มีการควบคุมจำกัดเนื้อหาของสื่อทุกประเภท ทั้งสื่อกระจายเสียงทางวิทยุและโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ หรืออินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือของเอกชนก็ตาม ทั้งยังให้อำนาจอย่างกว้างขวางกับหน่วยงานสื่อของรัฐที่จัดตั้งขึ้นใหม่ที่จะสามารถบังคับใช้มาตรฐานด้านกฎหมายที่ไม่มีการนิยามอย่างชัดเจน

ขอบเขตการควบคุมจำกัดเนื้อหาสื่อ การขาดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการ และการที่หน่วยงานควบคุมแห่งใหม่มีอำนาจมากมาย ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการควบคุมเสรีภาพในการแสดงความเห็นในฮังการี” John Dalhuisen รองผู้อำนวยการโครงการแห่งยุโรปและเอเชียกลาง (Europe and Central Asia Deputy Programme Director) กล่าว

หน่วยงานรัฐแห่งใหม่ได้แก่คณะกรรมการสื่อสารและสื่อมวลชนแห่งชาติ (National Media and Communications Authority - NMHH) จะมีอำนาจกำหนดค่าปรับมากถึง 35,000 ยูโรสำหรับสื่อที่ออกเป็นรายปักษ์ และมากถึง 730,000 ยูโรสำหรับสื่อที่ออกอากาศทางวิทยุหรือโทรทัศน์ กรณีที่พบว่ามีเนื้อหาขัดต่อ “ประโยชน์สาธารณะ” “ศีลธรรมจรรยาของประชาชน” และ “ความสงบเรียบร้อยของประเทศ” และยังอาจกำหนดค่าปรับสำหรับการรายงานข่าวที่ “ไม่สมดุล” ด้วย

กฎหมายที่มีอยู่ไม่ได้กำหนดนิยามของถ้อยคำเหล่านี้อย่างชัดเจน ปล่อยให้การตีความอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการสื่อสารและสื่อมวลชนแห่งชาติ และหน่วยงานแห่งนี้ยังมีอำนาจสั่งปิดสำนักข่าวได้ด้วย

มีข้อกังวลด้วยถึงความเป็นอิสระด้านการเมืองของคณะกรรมการสื่อสารและสื่อมวลชนแห่งชาติ เนื่องจากคณะกรรมการทั้งห้าคนได้รับการแต่งตั้งจากพรรค Fidesz ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล โดยไม่มีการปรึกษาหารืออย่างกว้างขวาง หรือไม่มีการตรวจสอบจากรัฐสภา

ตามสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ มีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะมีการบังคับใช้กฎหมายโดยพลการ และมีการแทรกแซงทางการเมืองต่อหลักการบรรณาธิการข่าวของสื่อมวลชน” John Dalhuisen กล่าว

มีความกังวลอย่างจริงจังว่ากฎหมายใหม่ฉบับนี้จะส่งผลให้เกิดการเซ็นเซอร์ของรัฐและการเซ็นเซอร์ตัวเองของสื่อ”

เพียงสองถึงสามชั่วโมงหลังมีการรับรองกฎหมายสื่อฉบับใหม่ ผู้สื่อข่าววิทยุคนสำคัญในรายการวิทยุสาธารณะภาคเช้าของสถานี MR1 ก็ได้สงบนิ่งเป็นเวลาหนึ่งนาทีเพื่อประท้วงกฎหมายฉบับใหม่ ตัวผู้ดำเนินรายการและบรรณาธิการได้ถูกสถานีวิทยุสั่งพักงานในเวลาต่อมา

ไม่กี่สัปดาห์ก่อนจะมีการรับรองกฎหมาย ทางสถานีวิทยุ MR1 ก็ได้สั่งถอดรายการสัมภาษณ์ที่มีการบันทึกเสียงล่วงหน้ากับนาย Balázs Dénes ผู้อำนวยการสมาคมสิทธิและเสรีภาพแห่งฮังการี (Hungarian Civil Liberties Union) เนื่องจากมีถ้อยคำวิพากษ์วิจารณ์ร่างกฎหมายสื่อฉบับนี้อย่างรุนแรง

ที่ผ่านมา หน่วยงานระหว่างรัฐบาลและองค์กรพัฒนาเอกชนได้วิจารณ์กฎหมายสื่อฉบับใหม่อันเนื่องมาจากมาตรการควบคุมจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็น

ฮังการีจะทำหน้าที่เป็นประธานสหภาพยุโรปในเดือนมกราคม 2554 ท่ามกลางข้อกังวลมากมายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนทั้งในยุโรปและระหว่างประเทศเลย” จอห์น ดาลฮูเซ็นกล่าว

หน่วยงานของฮังการีจะต้องให้หลักประกันว่าจะมีการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ และดำเนินมาตรการเพื่อประกันว่าการบังคับใช้กฎหมายจะเป็นไปด้วยความเคาพอย่างเต็มที่ต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็น”

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์เจรจาข้อเรียกร้องปี 2553 - คนทำงาน ธันวาคม 2553

Posted: 06 Jan 2011 03:59 AM PST


Published under a Creative Commons License By attribution, non-commercial

"ใบตองแห้ง"ออนไลน์:2554 ปีแห่งการยกระดับ

Posted: 05 Jan 2011 08:00 PM PST

2554 เป็นปีแห่งการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงกลางปีหรือปลายปีก็ตาม แต่การเลือกตั้งได้ลดความหมายต่อชัยชนะของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยลงไปแล้ว 

การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคร่วมรัฐบาลจะชนะ แต่ไม่ได้มีนัยสำคัญชี้ขาดการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพราะถ้ามองกลับกัน หากทักษิณและพรรคเพื่อไทยชนะ พ่อไอ้ปื๊ด เจ๊ใหญ่ เจ๊แดง ออกมาลอยหน้าลอยตา ไม่ว่าจะได้เจ๊มิ่งหรือเจ๊ยิ่งเป็นนายกฯ ก็ไม่ได้แปลว่าฝ่ายประชาธิปไตยชนะซักหน่อย จริงไหม 

การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยยังต้องคดเคี้ยวและใช้เวลา ใช้สถานการณ์ให้การศึกษาประชาชน เพราะเป้าหมายของประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่ใช่แค่โค่นล้มรัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่เป็นการ “ปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย” ครั้งใหญ่ เพื่อนำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอย่างแท้จริง ลดอำนาจนอกระบบ อำนาจศาล ทหาร รัฐราชการ ที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน

นี่เป็นการต่อสู้ที่จะต้องสู้กันทุกปริมณฑล ทั้งความคิด ทฤษฎี กฎหมาย รัฐธรรมนูญ ข้อมูลข่าวสาร หลักการ ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม พร้อมไปกับการช่วงชิงมวลชน ทำให้มวลชน “ตาสว่างทั้งแผ่นดิน” แต่ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ “เลยธง”

ปัจจัยของการต่อสู้วันนี้ขึ้นอยู่กับ 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ขบวนเสื้อแดง คนชั้นกลางฝ่ายสองไม่เอา กับความอ่อนแอเน่าในของระบอบอุปถัมภ์ที่ค้ำจุนรัฐบาลอภิสิทธิ์ (โชคชะตาฟ้าดินไม่นับ อย่าไปฝากความหวัง) โดยมีคนชั้นกลางชาวกรุงเป็นตัวแปรอันโลเล และมวลชนส่วนที่เหลือเป็นเป้าหมายให้ช่วงชิง

เหตุการณ์พฤษภาอำมหิต ส่งผลต่อการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทั้งด้านบวกและลบ ด้านบวกคือ มวลชนเสื้อแดงพัฒนาการเรียนรู้ “ตาสว่าง” ผนึกพลังเหนียวแน่น แสดงจิตใจกล้าต่อสู้ถึงที่สุด ไม่ว่าถูกปราบถูกจับกุมคุมขังอย่างไร ก็ยังมีมวลชนหลายหมื่นคนพร้อมออกมาชุมนุม นี่คือขบวนการที่มีพื้นฐานมวลชนเข้มแข็งที่สุด ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย (แต่ก็มีหัวขบวนห่วยแตกที่สุดในประวัติศาสตร์เช่นกัน)

ด้านลบคือการแสดงพลังของ “ไพร่แดง” ซึ่งระเบิดออกมาด้วยอารมณ์ร้อนแรง และได้แรงสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากคนจนคนชั้นล่างในกรุงเทพฯ ได้สร้างความหวาดกลัวและตื่นตระหนก ต่อคนกรุงคนชั้นกลาง นักธุรกิจ ซึ่งหวาดกลัวว่าถ้า “กองทัพไพร่แดง” ชนะ ถ้าแท็กซี่ สามล้อ มอเตอร์ไซค์ แม่บ้าน คนขับรถ ฯลฯ ชนะ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างถอนรากถอนโคน โดยไม่ทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตความเป็นอยู่ สถานะของตนเอง คนเหล่านี้จึงผนึกกำลังเป็น “แนวร่วม” กับระบอบอภิสิทธิ์ สนับสนุนรัฐราชการ โดดเดี่ยวเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทย ทั้งยังพร้อมใจกันปกป้องเชิดชู “สัญลักษณ์จารีตนิยม” ทั้งที่ความจริงก็ไม่ได้ผูกพันอะไรนักหนา แต่ถือเป็น “ยันต์” กันเสื้อแดงและทักษิณ ซึ่งทำให้ฝ่ายจารีตนิยมฉวยโอกาสขยายอำนาจบารมีมากขึ้น

การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีเนื้อหาสาระ นำเสนออุดมการณ์ประชาธิปไตยที่แท้จริง ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของทั้งคนชั้นกลางและชั้นล่างร่วมกัน ลดอำนาจชนชั้นนำ รัฐราชการ ขุนนางอำมาตย์ ที่เป็นตัวขัดขวางการพัฒนาประเทศ เบียดบังผลประโยชน์และลิดรอนสิทธิเสรีภาพของทั้งคนชั้นกลางชั้นล่าง
  

เสื้อแดง-แดงเข้ม
เหตุการณ์พฤษภาส่งผลให้มวลชนเสื้อแดงเรียนรู้และพัฒนาไปอีกระดับ แต่ก็ยังมีปัญหาบางประการ

ในแง่การต่อสู้ มวลชนได้เรียนรู้แล้วว่านี่จะเป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อยาวนาน จากเดิมพวกเขาคิดเพียงว่าเรียกร้องให้ยุบสภา แล้วพรรคเพื่อไทยจะชนะ ทักษิณจะกลับมา (หรือคิดเพียงว่ามาม็อบกันมากๆ เกิดความรุนแรง แตกหัก แล้วจะได้ชัยชนะ) ณ วันนี้เขารู้แล้วว่าการต่อสู้ไม่ได้ง่ายดายปานนั้น พวกเขาจะต้องต่อสู้กับอำนาจแฝงนอกระบบ สถาปนาระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง จึงจะได้ชัยชนะ

เป้าหมายการต่อสู้ของมวลชนที่ยกระดับขึ้น ทำให้พวกเขา “ก้าวข้าม” ทักษิณและพรรคเพื่อไทยโดยอัตโนมัติ แม้มวลชนพื้นฐานยังรักและผูกพันทักษิณ แต่ตราบใดที่ทักษิณไม่ต่อสู้ถึงที่สุด ยังคิดแต่จะต่อรอง “ปรองดอง” เพื่อผลประโยชน์ตัวเอง มวลชนก็ไม่เอาด้วย

ซึ่งแกนนำระดับกลางและมวลชนจำนวนหนึ่ง ก็มองเห็นกระจ่างแจ้งในเหตุการณ์พฤษภาอำมหิตแล้วว่า ทักษิณคิดแต่จะใช้มวลชนเป็นเครื่องต่อรอง

แม้แต่พรรคเพื่อไทยก็เช่นกัน ส.ส.ของพรรคที่ดูแลรับผิดชอบมวลชนเสื้อแดง จะยังได้รับแรงสนับสนุนอย่างแข็งขัน แต่ ส.ส.ที่ทอดทิ้งมวลชน เหินห่าง หรือไม่จริงใจ ก็มีข่าวว่าแกนนำเสื้อแดงในบางพื้นที่จะผละไปเข้าพรรคขัตติยะธรรม ซึ่งแม้มองไม่เห็นทางชนะเลือกตั้ง ไม่ต่างจากพรรคการเมืองใหม่ แต่หากยึดเอาพรรคการเมืองเป็นฐานในการสร้างขบวนการประชาชน ก็ยังมีอนาคตกว่าพรรคการเมืองใหม่

การที่แกนนำ นปช.ถูกกวาดเข้าคุก ทำให้มวลชนเสื้อแดงอยู่ในสภาพไร้หัว แต่ก็ส่งผลดีคือทำให้แกนนำระดับกลางเติบโต มวลชนเริ่มต่อสู้อย่างเป็นตัวของตัวเอง เชื่อมต่อข้ามสายกันเป็นเครือข่าย “แกนนอน” ผ่านโทรศัพท์มือถือ อีเมล์ เว็บไซต์

หลังพฤษภาอำมหิต มวลชนเสื้อแดงไม่ขยายตัว และสูญเสียแนวร่วมไปบางส่วน แต่ในหมู่มวลชนที่เชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหว พบว่า “นิวเคลียส” ของเสื้อแดงขยายตัวอย่างรวดเร็ว ภายใน 7-8 เดือน มวลชนจำนวนมากได้เปลี่ยนจากสีแดงหรือชมพูกลายเป็นแดงเข้ม ด้วยการสื่อสารทางมือถือ อีเมล์ เว็บไซต์ ซีดี หรือถ่ายเอกสารข่าว “วิกิลีกส์” แจกกันไปทั่ว

ปรากฏการณ์นี้มีทั้งด้านบวกและลบ ด้านบวกคือมวลชน “ตาสว่าง” ได้รับ “การศึกษา” อย่างลึกซึ้งจากสถานการณ์ที่เป็นจริง พร้อมจะต่อสู้ถึงที่สุด แต่ก็มีแรงผลักดันจากความคั่งแค้น ซึ่งทำให้เป้าหมายของการต่อสู้ “เลยธง” ไปจากการปฏิรูปประชาธิปไตย แน่นอนว่าเป็นธรรมดาของคนเพิ่งตื่นตัวใหม่ๆ จะ “เลยธง” แต่ถึงระดับหนึ่งต้องพัฒนาไปสู่ความมีสติ มีเหตุผล กำหนดเป้าหมายที่เหมาะสม เพราะมวลชนส่วนใหญ่ก็น่าจะเข้าใจแล้วว่า อารมณ์ฮาร์ดคอร์ คิดแต่จะแตกหัก ทำให้พ่ายแพ้ในเหตุการณ์พฤษภา

ขบวนเสื้อแดงจึงจำเป็นต้องรีบกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน เสนอแนวทาง “ปฏิรูประบอบประชาธิปไตย” อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้เป็นกระแส ชูให้เป็นคำขวัญ และนำไปสู่การเคลื่อนไหวในเชิงเนื้อหา อาทิเช่น การเคลื่อนไหวเพื่อแก้รัฐธรรมนูญทีละประเด็น การเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิเสรีภาพ (ที่ไม่เฉพาะสิทธิเสรีภาพของเสื้อแดง) การเรียกร้องรัฐสวัสดิการ (ที่ไม่ใช่ประชาวิวัฒน์) การกระจายอำนาจ และอำนาจตัดสินใจของชุมชน (ที่ไม่ใช่ลัทธิประเวศ)

อ.ธิดาน่าจะมีบทบาทในเชิงวิชาการเช่นนี้มากกว่าเป็นแกนนำเย้วๆ นัดชุมนุมเอาผิดคนก้าวล่วงสถาบัน เพราะไม่ใช่แนวทางของฝ่ายประชาธิปไตยที่จะต้องไปห้อยโหนตามอย่างพันธมิตร

ขบวนเสื้อแดงจะต้องนำเสนอเป้าหมาย “ปฏิรูปประชาธิปไตย” ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทุกฝ่าย จากนั้นก็ต้องทำงานแนวร่วม และขยายมวลชน เพราะสภาพปัจจุบันขบวนเสื้อแดงหยุดการเติบโตทางปริมาณ แต่ “ขยายนิวเคลียส” ดังกล่าว ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา จะให้พัฒนาทั้งสองด้านตามทฤษฎีเป๊ะๆ ไม่ได้ แต่จากนี้ไปต้องมุ่งทำงานความคิด ดึงคนเข้าร่วม ด้วยกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่เปิดกว้าง กำหนดประเด็นหลากหลาย ไม่หมกมุ่นอยู่เฉพาะประเด็นของตัวเอง

การกำหนดเป้าหมายและการเคลื่อนไหวเชิงเนื้อหา จะต้องทำให้ได้ก่อนการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งคาดว่าพรรคร่วมรัฐบาลชนะแน่นอน การมีเป้าหมายที่ชัดเจนและการเคลื่อนไหวที่ทรงพลัง จะทำให้มวลชนไม่ท้อแท้ไปกับความพ่ายแพ้ของพรรคเพื่อไทย เปลี่ยนไปตั้งความหวังกับการสร้างขบวนการประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ เพื่อรอรับความเปลี่ยนแปลงผันผวนในภายหน้า

เพราะเป็นที่คาดว่าแม้พรรคร่วมรัฐบาลชนะ อภิสิทธิ์เป็นนายกฯอีก แต่ก็อยู่ไม่ครบ 4 ปี เนื่องจากกลางปี 2555 นักการเมืองบ้านเลขที่ 111 จะพ้นพันธนาการ ปลายปี 2556 บ้านเลขที่ 109 จะพ้นพันธนาการ นักการเมืองเหล่านี้ส่วนใหญ่ปัจจุบันไม่ได้อยู่พรรคเพื่อไทย แต่อยู่ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาล เพิ่งเห็นหน้ากันหลัดๆ สุวัจน์ พินิจ ไพโรจน์ ปรีชา นักการเมืองที่มี “มลทิน” ตามคำตัดสินของตุลาการภิวัตน์ทั้งนั้น เข้าไปอวยพรปีใหม่ประธานองคมนตรี (นี่ไงสังคมไทย)
 

คนชั้นกลางตัวแปร(ปรวน)
การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไม่อาจปราศจากคนชั้นกลาง (อันที่จริงมวลชนเสื้อแดงจำนวนมากก็เป็นคนชั้นกลางเกิดใหม่ในชนบท) เพียงแต่เราคงไม่ยึดทฤษฎีเดิมๆ หวังพึ่งพลังคนชั้นกลางอันฉาบฉวย เฮโลสาระพาไปตามกระแสสื่อ คนชั้นกลางในที่นี้จึงได้แก่นักวิชาการ นักคิด นักเขียน ฝ่ายสองไม่เอา ซึ่งมีภารกิจสำคัญคือต้องพยายามสร้างกระแสประชาธิปไตยที่มีสติ มีเหตุผล พร้อมกับพยายามโน้มน้าวเหนี่ยวนำมวลชนเสื้อแดงเข้าสู่การต่อสู้อย่างมีเป้าหมายที่เป็นจริงและเป็นไปได้ 

แนวทางปฏิรูปประชาธิปไตยดังกล่าวข้างต้น ก็คงจะต้องกำหนดมาจากนักคิดนักวิชาการฝ่ายสองไม่เอา เพราะลำพังพรรคเพื่อไทยและแกนนำเสื้อแดง ยังไม่มีนักคิดนักวิชาการที่จะทำงานนี้ได้ (ทักษิณและพรรคเพื่อไทย อาจจะพยายามกีดกันฝ่ายสองไม่เอา แต่ถ้ามีการเสนอวาระที่ชัดเจน เข้าถึงมวลชน พวกเขาก็ขัดขวางยาก)

ภาระทั้งสองด้านหนักหน่วงไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะการสร้างกระแสประชาธิปไตยที่มีสติ มีเหตุผล แต่ก็ยังพอมีช่องทาง หลังการล้มละลายของพันธมิตรประชาชนเพื่ออุดมการณ์ราชาชาตินิยมสุดขั้วสุดโต่ง

พันธมิตรคือปรากฏการณ์ของกระแสอารมณ์ความรู้สึกคนชั้นกลาง ที่เตลิดเปิดเปิงไปจนไร้สติ ไร้เหตุผล สิ่งที่เรียกว่า “กระแสสังคม” ของคนชั้นกลางก็คืออารมณ์ที่บ่มเพาะสั่งสมมาจากความไม่พอใจ ต่อความไม่เป็นธรรม ความไม่ยุติธรรม ความไม่เป็นประชาธิปไตย หรือผู้นำไม่ฟังเสียงประชาชน ซึ่งมีพื้นฐานจากความเป็นจริง มีเหตุผล แต่ยังไม่ตกผลึก ไม่เป็นระบบ ยังใช้อารมณ์ความรู้สึกชี้นำ ปะทุขึ้นมาด้วยจุดสะเทือนใจ เช่น “เสียสัตย์เพื่อชาติ” “ขายชินขายชาติ” “ขายหุ้นไม่เสียภาษี” หรือแจก สปก.ให้เครือญาติ โดยมีสื่อ ฝ่ายค้าน หรือนักเคลื่อนไหว เป็นผู้กระพือกระแส ปกติจะมีนักวิชาการคอยประมวลยกระดับอารมณ์ความรู้สึกขึ้นเป็นเหตุผล ประคับประคองให้มีสติ แต่กรณีไล่ทักษิณ นักวิชาการกลับแปลงร่างเป็นนักเคลื่อนไหวไปด้วย

กระแสของคนชั้นกลางถ้าเปรียบเทียบกรณี “ล่าแม่มดอายุ 16” ก็เห็นได้ชัด พื้นฐานมีเหตุผลคือสาธารณชนเกรงว่าเป็นทายาทตระกูลใหญ่ ผู้ตายผู้เสียหายจะไม่ได้รับความยุติธรรม จุดสะเทือนใจอยู่ที่ภาพเล่น BB หลังชนคนตาย 9 ศพ แต่พอก่อกระแสขึ้นมาได้ก็โน้มเอียงสร้างความเกลียดชังจนสุดขั้ว กรณีนี้ครอบครัวเธอเข้าใจเกม ถ้าต้านกระแส ถ้าออกมาโวยวายว่าไม่ให้ความเป็นธรรม ก็จะถูกบดขยี้ นี่พวกเขาใช้วิธีขอโทษขอโพยอ่อนน้อมถ่อมตน (โดยไม่ได้ยอมรับว่าผิด) จะให้ลูกไปบวชชี ฯลฯ ถ้าทำให้กระแสโทรมลงได้ ก็จะเข้าสู่กระบวนการประนีประนอมอลุ่มอล่วยลูบหน้าปะจมูกแบบไทยๆ (แล้วส่งลูกไปเรียนเมืองนอก)

แต่ผู้นำทางการเมืองมักเลี่ยงกระแสไม่พ้น ถ้าไม่ยอมแพ้ตัดไฟแต่ต้นลม ยิ่งดิ้นยิ่งถูกบดขยี้ ทักษิณเป็นกรณีพิเศษ เพราะเป็นผู้นำจากการเลือกตั้งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย กระแสคนชั้นกลางจึงปะทะกับฐานเสียงมวลชนในชนบท เมื่อไม่ชนะ อารมณ์เกลียดชังก็ยิ่งเตลิดเปิดเปิงกระทั่งไร้สติไร้เหตุผล จนออกบัตรเชิญรัฐประหาร สนับสนุนตุลาการภิวัตน์ ทำลายหลักนิติรัฐ ทำลายหลักการประชาธิปไตย ทำทุกอย่างไม่เลือกวิธีการเพื่อไปให้ถึงชัยชนะสถานเดียว โดยขายฝัน “การเมืองใหม่ใสสะอาดปราศจากคอรัปชั่น” เป็นเป้าหลอก เพื่อปฏิเสธอำนาจจากการเลือกตั้ง

แต่หลังจากฉุดกระชากลากถู ยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน Chaos จนเหนื่อยหน่าย พอได้ชัยชนะระดับหนึ่ง เมื่ออำมาตย์และกองทัพอุ้มประชาธิปัตย์สมสู่เนวิน คนชั้นกลางก็พอใจ ทั้งที่เป็นการเมืองเก่าเน่าสุดๆ ถอยหลังยิ่งกว่ายุคชวนกับงูเห่า ข่าวคอรัปชั่นฉาวโฉ่ยิ่งกว่า “ระบอบทักษิณ” เมื่อเปรียบเทียบกันใน 2 ปีแรก แต่คนชั้นกลางก็ช่วยกันปกป้อง

อภิสิทธิ์เข้าใจจริตคนชั้นกลางและรู้จักเล่นกับกระแส จึงช่วงชิงคนชั้นกลางไปจากพันธมิตร ทิ้งให้พันธมิตรหัวเน่า สื่อ นักวิชาการ ซึ่งเคยแซ่ซ้องเป็นกองเชียร์ แยกตัวไปเป็นสมุนรัฐบาล พันธมิตรยิ่งดิ้นยิ่งเข้าสู่จุดอับ เช่น ความพยายามเรียกร้องให้ยกเลิก MOU ปี 43 หรือปฏิบัติการ “ตายแน่ มุ่งมาให้จับ” เพราะจริงๆ แล้วอุดมการณ์ชาตินิยมสุดขั้วขายไม่ได้ กรณีปราสาทพระวิหารเป็นแค่เครื่องมือของความเกลียดชังสมัคร ทักษิณ นพดล เท่านั้น

ภาวะล้มละลายของพันธมิตร จึงเปิดช่องให้กับการโต้แย้งเชิงหลักการ เพื่อ “ขอคืนพื้นที่” ให้กับความมีสติมีเหตุผล และค่อยๆ ก่อกระแสตีโต้กลับ ผมจึงชูคำขวัญว่า “การเย้ยหยันพันธมิตรคือพันธกิจของเรา” ฝ่ายสองไม่เอาต้อง “กระชับพื้นที่” พันธมิตรในเชิงหลักการ ซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะแกนนำ 5-6 คน แต่รวมถึงสื่อและนักวิชาการ ที่เคยเป็นกองเชียร์ให้ท้ายพันธมิตร แต่ตอนนี้กลับไปรับใช้ระบอบอภิสิทธิ์ อย่างไร้ยางอายยิ่งกว่า

นักคิดนักวิชาการฝ่ายสองไม่เอาอาจมีจำนวนน้อยนิด เมื่อเทียบกับคอกพันธมิตร แต่มีพื้นที่กว้างขวางทางหลักการและเหตุผล ในปี 2554 อภิสิทธิ์อาจยังขี่กระแสคนชั้นกลางจริตนิยม แต่กระแสอีกด้านกำลังเริ่มก่อตัวขึ้น โดยเฉพาะหลังคดี(ไม่)ยุบพรรค ซึ่งโพลล์คนชั้นกลางยกให้เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ยอดแย่แห่งปี

รัฐบาลจะชนะการเลือกตั้ง แต่จะเต็มไปด้วยข้อกังขา และได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรสองมาตรฐาน หลังจากนั้นพวกเขาอาจเต้นแร้งเต้นกาตีปีกได้ขณะหนึ่งว่า เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเต็มภาคภูมิ แต่ไม่นานก็เข้าสู่จุดเสื่อม ทั้งจากความไร้ประสิทธิภาพ และการแย่งชิงผลประโยชน์ในพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งบรรดานักการเมืองบ้านเลขที่ 111 ที่คนชั้นกลางเกลียดนักเกลียดหนาจ่อคิวกลับมา

ถ้าปรับขบวนเสื้อแดงได้ ถ้าสามารถเสนอแนวทางปฏิรูปประชาธิปไตยที่เข้าถึงคนชั้นกลาง ถึงตอนนั้นเราอาจจะเห็นความเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพระดับหนึ่ง

 

                                                                                    ใบตองแห้ง
                                                                                    6 ม.ค.2554

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นปช.แดงทั้งแผ่นดินกับโทรเลขวิกิลีกส์ ฉบับวันที่ 25 มกราคม 2553

Posted: 05 Jan 2011 06:50 PM PST

เมื่อวานนี้ (5 มกราคม 2554) อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ และแกนนำรักษาการณ์ของ "นปช แดงทั้งแผ่นดิน" ตัดสินใจที่จะนำเนื้อหาในโทรเลขวิกิลีกส์ ฉบับลงวันที่ 25 มกราคม 2553 มาเป็นประเด็นเคลื่อนไหวทางการเมือง ด้วยการยื่นหนังสือถึงรัฐบาลให้ดำเนินการทางกฎหมายกับ เปรม ติณสูลานนท์, อานันท์ ปัญญารชุน และสิทธิ เศวตศิลา ที่ในโทรเลขวิกิลีกส์ฉบับดังกล่าว ได้พูดคุยอภิปรายเกียวกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (และความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับทักษิณ) โดยแกนนำ นปช ได้อ้างว่า การพูดคุยในลักษณะดังกล่าว "เป็นการหมิ่นเหม่ต่อการทำลายสถาบันเบื้องสูงของเรา" (นาทีที่ 3:54 ในวิดีโอคลิป) 

ผม ยืนยันมาโดยตลอดว่า ข้อหา "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" เป็นข้อหาที่ไม่ชอบธรรม ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตยอย่างถึงราก ไม่ว่ากรณีใด ไม่สมควรที่ผู้ที่อ้างว่ารักเสรีภาพประชาธิปไตย จะสนับสนุนให้ดำเนินการทางกฎหมายกับใครทั้งสิ้นในข้อหานี้ เพราะจะเท่ากับเป็นการตอกย้ำให้การใช้ข้อหาที่ผิดนี้ มีความ "ชอบธรรม" ยิ่งขึ้น ไม่ว่าคนที่เกี่ยวข้องจะเป็นใคร (สนธิ ลิ้มทองกุล หรือ เปรม ติณสูลานนท์) 

เฉพาะ ในกรณีโทรเลขวิกิลีกส์นี้ สิ่งที่ควรจะเคลื่อนไหว คือการชี้ให้เห็นลักษณะไม่ถูกต้อง ของการที่บุคคลในแวดวง "ชนชั้นสูง" อย่าง เปรม, อานันท์, สิทธิ สามารถอภิปรายปัญหาสถาบันกษัตริย์ได้อย่างตรงไปตรงมา แม้่กระทั่งกับตัวแทนรัฐบาลต่างประเทศ แต่ต่อสาธารณะ บุคคลเหล่านี้ กลับปกป้อง "วาทกรรม" เรื่อง "ความจงรักภักดี" และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อปิดปากประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศที่แท้จริง โทรเลขวิกิลีกส์ ได้เปิดโปงให้ลักษณะ "ปากว่าตาขยิบ" "หน้าไหว้หลังหลอก" และความเป็น "อภิสิทธิชน" ของบุคคลในแวดวงชนชั้นสูงเหล่านี้ 

ประเด็นสถาบันกษัตริย์ รวมทั้งเรื่องการสืบราชสันตติวงศ์ ความจริงเป็นประเด็นสาธารณะที่ประชาชนทุกคนควรต้องมีสิทธิและเสรีภาพที่จะอภิปรายได้อย่างตรงไปตรงมา นี่คือสิ่งที่ นปช ที่ต้องการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ควรนำมา "ไฮไลต์" (ทำให้เด่นชัด) ในเรื่องทีเกี่ยวกับโทรเลขวิกิลีกส์นี้ ไม่ใช่ไปผลิตซ้ำ ข้อกล่าวหาเรื่อง "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" 

ในการแถลงข่าวเมื่อวานนี้ แกนนำ นปช ได้พูดหลายตอนที่ ไม่ถูกต้องเลย (นอกเหนือจากประโยคที่ผมยกมาในย่อหน้าแรก เรื่อง "ทำลายสถาบันเบื้องสูงของเรา") เช่น นาทีที่ 6:30 อ.ธิดา กล่าวว่า 

"การ ที่วิกิลีกส์ และ นสพ.การ์เดี้ยน ได้เผยแพร่ข้อความ อันอาจจะทำให้เกิดปัญหาของประเทศชาติ แต่การทีรัฐบาลและผู้กุมกลไกอำนาจรัฐในสังคมไทย อยู่เฉยๆกับข้อมูลของวิกิลีกส์ ในขณะที่มันเผยแพร่ไปทั่วโลก อันนี้เนี่ย มันเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ..." 

ผมฟังแล้วก็งงว่า "การเผยแพร่ข้อความ" ของวิกิลีกส์-เดอะการ์เดี้ยน "ทำให้เกิดปัญหาของประเทศชาติ" ได้อย่างไร? 

อ.ธิดา ได้กล่าวต่อไปถึงเรื่อง "คนที่ทำผิด ไม่ว่าอยู่ในฐานะสูงส่งใดๆ จำต้องรับผิดชอบต่อคำพูดและการกระทำ" นี่เป็นหลักการที่ถูกต้อง แต่ในฐานะขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ก่อนอื่นต้องดูว่ากฎหมายที่กำลังใช้อยู่เป็นกฎหมายที่ถูกต้องชอบธรรม ขัดกับหลักการประชาธิปไตยหรือไม่ ถ้ากฎหมายนั้นขัดกับหลักการประชาธิปไตย โดยเฉพาะที่ขัดอย่างถึงรากเช่นกฎหมาย "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" นี้ สิ่งที่ควรทำ ไม่ใช่สนับสนุนให้ยิ่งมีการใช้กฎหมายนั้นเพิ่มขึ้น แต่ควรเรียกร้องให้ยุติการใช้กฎหมายนั้นหรือเลิกกฎหมายนั้นมากกว่า ลองเปรียบเทียบกับการใช้ พรก.ฉุกเฉิน เล่นงานคนเสื้อแดง คนเสื้อแดงควรที่จะสนับสนุนให้เพิ่มการใช้กฎหมายนี้ยิ่งขึ้นหรือ? 

โดยเฉพาะกรณีกฎหมาย "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" นี้ อ.ธิดา ย่อมทราบดีว่ามีความสำคัญต่ออนาคตของประชาธิปไตยไทยเพียงใด และย่อมทราบว่าที่ผ่านมากฎหมายนี้ถูกใช้เล่นงานคนเสื้อแดงอย่างหนักเพียงใด แทนที่ อ.ธิดากับคณะ จะเรียกร้องให้ยุติการใช้กฎหมายนี้เล่นงานคนเสื้อแดงและประชาชนผู้รักความเป็นธรรมทั่วไป (ซึ่งน่าเสียดายว่า นปช. กระแสหลักไม่เคยทำเลย) กลับมาส่งเสริมการใช้กฎหมายนี้เพิ่มขึ้น คำพูดอย่างประโยคที่ยกมาข้างต้น เรื่อง "หมิ่นเหม่ต่อการทำลายสถาบันเบื้องสูงของเรา" ที่ อ.ธิดาและคณะใช้ในการแถลงข่าวนั้น เป็น "วาทกรรม" ประเภทเดียวกับที่กำลังใช้เล่นงานคนเสื้อแดงและประชาชนผู้รักความเป็นธรรม ทั่วไปในตอนนี้ และจะยังคงใช้ต่อๆไปอีก เหตุใด อ.ธิดาและคณะจะมาส่งเสริม "วาทกรรม" ประเภทนี้อีกเล่า?

อ.ธิดา กล่าวว่า (นาทีที่  7:40)

"คน เสื้อแดงต่างหากทีต้องการให้ประเทศนี้มีความมันคงจริงๆ ไม่ใช่ความมั่นคงหลอกๆแบบทีเป็นอยู่ ก็คือไม่ยอมรับความจริงใดๆทั้งสิ้น ความจริง คือยุทธวิธีและอาวุธของคนเสื้อแดง คนเสื้อแดงจึงมีหน้าที่ ทีจะต้องเปิดเผยความจริง ในทุกกรณี เพื่อทีให้ประเทศนี้ เป็นสังคมทีปกติสุขได้ ไม่ใช่ปิดบังความจริงอย่างทีเป็นมา"

การ ที่ อ.ธิดาเรียกร้องให้ใช้กฎหมาย "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" นี้ จะถือเป็นการทำ "หน้าที่" ในการ "เปิดเผยความจริง" ได้อย่างไรครับ? กฎหมาย "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ที่ อ.ธิดากำลังเรียกร้องให้ใช้นี้ ไมใช่กฎหมายที่ "ปิดบังความจริง" ที่สำคัญที่สุดหรือ?

 

หมายเหตุ:อ่านรายงานการแถลงข่าวของ นปช ได้ที่

นปช.ประกาศชุมนุมใหญ่ 9 ม.ค. จี้มาร์คเอาผิด 3 บุคคลสำคัญ ก้าวล่วงสถาบัน

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น