ประชาไท | Prachatai3.info |
- อภิสิทธิ์ให้ใช้กฎหมายปกติคุมแม่ลาน คาดได้แนวปฏิบัติตาม พ.ร.บ.มั่นคง 1 มี.ค.
- เครือข่ายผู้หญิงฯ ค้านกม.ความเท่าเทียมระหว่างเพศฉบับกระทรวงฯ
- กระทรวงเกษตรฯ แจ้งระงับการส่งออกพืชผัก 5 กลุ่มไปยุโรป
- การปรับปรุงตลาดชาวเขา : บทสะท้อนความถนัดของระบบราชการไทยในการแก้ปัญหาเชิงเทคนิค
- ครม.อนุมัติ 837 ล้านบาท ซ่อม-สร้างศาลากลางถูกเผา
- ผบ.ทบ.ลั่นสละชีพเพื่อชาติ-ชงรบ.แจงงบศอฉ.
- ครม.ไฟเขียว แรงงานนอกระบบจ่าย 100 บาท รับบำเหน็จชราภาพ
- มายาคติที่ (ยัง) สวมทับคนเสื้อแดง
- ครม.อนุมัติตั้งงบกลาง 1.1 แสนล้านบาท - ต่อ กม.ฉุกเฉิน 3 จว.ชายแดนใต้อีก 3 เดือน
- สหภาพแรงงานในกัมพูชา โวยกฏหมายใหม่จำกัดสิทธิสหภาพฯ
- คุยกับสมัชชาสังคมก้าวหน้า: "ฝ่ายซ้าย" ยังคงสู้เพื่อความยุติธรรม
- รายงาน: เปิดชีวิตครอบครัวผู้ต้องหา ผลกระทบจากคดีหมิ่นสถาบัน
- เตรียมจัดงานประชุมเพลิงศพ "หลวงพ่อปัญญา" อดีตที่ปรึกษาสงฆ์ไทใหญ่ในประเทศไทย
- กองกำลังไทใหญ่ SSA ซุ่มโจมตีรถทหารพม่าเจ็บหลายราย
- ผบ.ตร. สั่งแบนหนังสือวิเคราะห์การเมืองของ "ใจ อึ๊งภากรณ์"
อภิสิทธิ์ให้ใช้กฎหมายปกติคุมแม่ลาน คาดได้แนวปฏิบัติตาม พ.ร.บ.มั่นคง 1 มี.ค. Posted: 18 Jan 2011 09:51 AM PST อภิสิทธิ์ให้ใช้กฎหมายปกติคุมแม่ลาน จังหวัดปัตตานีไปก่อน หลังยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ “ถาวร” คาดได้แนวปฏิบัติตาม พ.ร.บ.มั่นคง 1 มีนาคมนี้ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะเดินทางไปที่ศูนย์ราชการอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี เพื่อเป็นประธานในพิธีกดปุ่มโอนเงินเข้าธนาคารหมู่บ้านตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนระดับหมู่บ้าน หรือ โครงการพนม. ให้ 2,248 หมู่บ้าน ในจังหวัดสตูล สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา หมู่บ้านละ 228,000บาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น 512,544,000 บาท นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์หลังเป็นประธานในพิธีว่า รัฐบาลมีความพร้อมที่จะประกาศยกเลิกการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกพื้นที่ แต่ต้องทยอยประกาศเป็นอำเภอๆ เพราะการประกาศยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของพื้นที่นั้นๆ ว่า จะสงบจริงๆ นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า คาดว่า แนวปฏิบัติตามมาตรา 21 ของพ.ร.บ.ความมั่นคง ที่จะให้ผู้กระทำผิดเข้ารับการอบรมแทนการถูกดำเนินคดี จะออกมาในวันที่ 1 มีนาคม 2554 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เครือข่ายผู้หญิงฯ ค้านกม.ความเท่าเทียมระหว่างเพศฉบับกระทรวงฯ Posted: 18 Jan 2011 09:12 AM PST มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 18 มกราคม ที่โรงแรมเวียงใต้ เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย พร้อมด้วยเครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ และเครือข่ายภาคประชาชน จัดสัมนาเรื่อง "ร่างกฏหมายความเท่าเทียมระหว่างเพศ... ส่งเสริมหรือซ้ำเติม" โดยมีองค์กร ภาคีเครือข่ายสตรีที่ขับเคลื่อนการทำงานเพื่อความก้าวหน้าของผู้หญิงร่วมสัม นา นางวิระดา สมสวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2553 เตรียมส่งร่าง พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.... ฉบับของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกา เข้าสู่สภาในสมัยประชุมต่อไปนั้น ปรากฎว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวกำหนดคำนิยามการเลือกปฏิบัติโดยมีข้อยกเว้นให้สามารถเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ในกรณีที่มีเหตุผลทางวิชาการ ทางศาสนา หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ เท่ากับเปิดช่องให้มีการเลือกปฏิบัติระหว่างเพศ ที่สำคัญร่าง พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ ยังขาดการกำหนดมาตรการด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคระหว่างเพศอย่างแท้จริง ร่างพ.ร.บ.ความเท่าเทียมฯ ฉบับกระทรวงพม.จึงยังขาดหลักประกันว่า จะมีการดำเนินงานส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคทางเพศได้อย่างมีประสิทธิภาพ นางวิระดา กล่าวอีกว่า เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย จึงได้จัดทำร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ ฉบับประชาชนขึ้นมา โดยกำหนดคำนิยามการห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศในทุกรูปแบบที่ สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนสากล โดยไม่มีเงื่อนไขข้อยกเว้น โดยจะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในทุกภูมิภาค ก่อนจะนำเสนอร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมโอกาสฯ ฉบับประชาชน ให้รัฐสภาพิจารณาในวาระสอง พร้อมกับร่างพ.ร.บ.ฉบับกระทรวงพม. และขอเรียกร้องให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับประชาชน รวมทั้งขอให้มีการแต่งตั้งตัวแทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยต้องคำนึงถึงสัดส่วนของสตรี และสตรีมุสลิมเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
กระทรวงเกษตรฯ แจ้งระงับการส่งออกพืชผัก 5 กลุ่มไปยุโรป Posted: 18 Jan 2011 08:15 AM PST รมช.เกษตรฯ เผยระงับส่งออกพืชผัก 5 กลุ่มรวม 16 อย่าง ไปยุโรป ตั้งแต่ กะเพรา โหระพา พริกขี้หนู มะเขือ ฯลฯ ยันมะระ โดยไทยออกมาตรการระงับเอง ก่อนที่สหภาพยุโรปหรือ “อียู” จะออกกฎห้ามนำเข้าผักผลไม้จากไทย หลังเมื่อปีที่แล้วอียูออกรายงานพบศัตรูพืชติดปนกับพืชผักไทยที่นำเข้า โดยกระทรวงเกษตรฯ ยันจะลงโทษอย่างหนักหากมีการลักลอบส่งออก เชื่ออีก 3-6 เดือนจะกลับสู่ภาวะปกติ เว็บไซต์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 12 ม.ค. ที่ผ่านมา นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงถึงปัญหาสุขอนามัยพืชสินค้าผักสดส่งออกไปสหภาพยุโรป และการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาว่า จากกรณีที่สหภาพยุโรปตรวจพบศัตรูพืชกักกันติดไปกับสินค้าพืชผักส่งออกจาก ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยศัตรูพืชที่ตรวจพบ ได้แก่ แมลงหวี่ขาว หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ และแมลงวันผลไม้ ซึ่งทั้งหมดเป็นศัตรูพืชกักกันของสหภาพยุโรปที่ห้ามติดไปกับสินค้า นอกจากนี้ยังพบว่ามีการลักลอบส่งออกสินค้าที่ไม่แจ้งและไม่ผ่านการตรวจสอบ ของเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชฝ่ายไทย ไม่มีใบรับรองสุขอนามัยพืชแนบไปกับสินค้าตามข้อตกลงระหว่างประเทศ นายศุภชัย แถลงว่า ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขระบบการผลิต การควบคุม การตรวจสอบรับรองเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง จากสาเหตุดังกล่าวสหภาพยุโรปได้มีหนังสือแจ้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง การตัดสินใจออกมาตรการระงับนำเข้าพืชผักไทยที่พบปัญหาศัตรูพืชติดไปมาก จากสาเหตุดังกล่าวสหภาพยุโรปได้มีหนังสือแจ้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง การตัดสินใจออกมาตรการระงับนำเข้าพืชผักไทยที่พบปัญหาศัตรูพืชติดไปมาก ได้แก่ พืชสกุล Ocimum spp. (เช่น กะเพรา โหระพา แมงลัก ยี่หร่า) พืชสกุล Capsicum spp. (เช่น พริกหยวก พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู) พืช Solanum melongena (เช่น มะเขือเปราะ มะเขือยาว มะเขือม่วง มะเขือเหลือง มะเขือขาว มะเขือขื่น) พืช Momordica charantia (เช่น มะระจีน มะระขี้นก) พืช Eryngium foetidum (เช่น ผักชีฝรั่ง) โดยกรมวิชาการเกษตรได้เจรจาขอผ่อนผันโดยประเทศไทยจะหยุดส่งออกสินค้าพืชผัก ชนิดดังกล่าวเป็นการชั่วคราว โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป ทั้งนี้จะออกประกาศเพื่อชะลอการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชผักทั้ง 5 กลุ่มที่จะส่งออกไปยังสหภาพยุโรป เพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามรุนแรงถึงระดับสหภาพยุโรปออกกฎหมายห้ามนำเข้าจากไทย ซึ่งอาจกระทบต่อภาพลักษณ์สินค้าเกษตรไทยโดยรวมได้ นายศุภชัย กล่าวว่า จากปัญหาดังกล่าว กรมวิชาการเกษตรได้ประชุมหารือกับตัวแทนภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2553 กรมวิชาการเกษตรได้เดินทางไปเจรจากับหน่วยงาน Health and Consumer (DG-SANCO) สหภาพยุโรป เพื่อขอผ่อนผันมาตรการห้ามนำเข้าพืชผักไทย ผลการเจรจาสรุปได้ว่า สหภาพยุโรปไม่สามารถผ่อนผันการห้ามนำเข้า แต่ไม่ขัดข้องหากประเทศไทยจะขอหยุดการส่งออกสินค้าชั่วคราวจนกว่าจะสามารถ ปรับปรุงแก้ไขปัญหา โดยขอให้มีหนังสือเป็นทางการจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แจ้งเรื่องการขอระงับการส่งออกชั่วคราวถึง Commissioner, Health and Consumer Policy ภายในเดือนมกราคม 2554 ทั้งนี้ หากประเทศไทยไม่ระงับการส่งออกพืชผักสด 5 กลุ่มดังกล่าว สหภาพยุโรปก็จะดำเนินการตามกระบวนการออกกฎหมายห้ามนำเข้าผักไทย ซึ่งจะต้องมีการตีพิมพ์และประกาศแจ้งต่อสาธารณะ ส่งผลต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของสินค้าจากประเทศไทย และส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการอารักขา พืชสากล (International Plant Protection Convention; IPPC) ซึ่งแต่ละประเทศมีหน้าที่ในการป้องกันตรวจสอบไม่ให้ศัตรูพืชกักกันติดไปกับ สินค้าส่งออกหรือเข้ามาในประเทศของตน สหภาพยุโรปอาศัยการควบคุมรับรองของประเทศผู้ส่งออกเป็นสำคัญไม่สามารถขอยก เว้นไม่ดำเนินการมาตรการเป็นรายกรณี นายศุภชัย แถลงต่อว่า ทั้งนี้ การระงับการส่งออกโดยฝ่ายไทยเป็นผลดีในการขอยกเลิกมาตรการ เนื่องจากขั้นตอนการเสนอขอยกเลิกสามารถทำได้เร็วกว่าการที่สหภาพยุโรปออก เป็นกฎหมายห้ามการนำเข้าผักสดจากไทย เมื่อประเทศไทยแจ้งการระงับการส่งออก และปรับปรุงแก้ไขระบบการผลิตและการควบคุมรับรองแล้ว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถแจ้งหน่วยงานรับผิดชอบของสหภาพยุโรปให้มาตรวจ ประเมิน และหากพบว่าสอดคล้องกับกฎระเบียบก็ขอยกเลิกการระงับการส่งออกได้ โดยสามารถเสนอให้มีการพิจารณาผ่อนผันเป็นราย ผู้ส่งออกที่สามารถผลิตและควบคุมได้ตามมาตรฐาน ทั้งนี้ ไทยต้องให้ความสำคัญกับพืชอื่นๆ ที่จะส่งออกไปสหภาพยุโรปว่า จะต้องไม่มีศัตรูพืชติดไปกับสินค้า และไม่ลักลอบส่งออกสินค้าต้องห้าม หรือส่งออกสินค้าโดยไม่ผ่านการตรวจสอบหรือไม่มีใบรับรองสุขอนามัยพืชแนบไป ด้วย เรื่องสำคัญอย่างยิ่ง คือ ต้องไม่มีการส่งออกสินค้าผัก 5 กลุ่มระหว่างการระงับการส่งออก รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยด้านสารตกค้างและการปนเปื้อนเชื้อ จุลินทรีย์ของสินค้าผักผลไม้ ควบคู่ไปด้วย โดยในเรื่องนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทำหนังสือแจ้งนายกรัฐมนตรีเพื่อรับทราบปัญหาดังกล่าว และได้หารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เข้าใจเรื่องมาตรการ ต่างๆที่กระทรวงเกษตรฯจะดำเนินการ ทั้งนี้ หากไทยไม่มีการระงับการส่งออกหรือมีมาตรการอย่างเข้มงวดในการตรวจสอบพืชดัง กล่าวแล้วก็จะมีผลกระทบกับพืชอื่นๆ ของไทยที่จะส่งออกไปอียูด้วย สำหรับมาตรการการแก้ไขปัญหา กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมาอาทิ มาตรการตรวจสอบศัตรูพืช การออกใบรับรองสุขอนามัยพืช การให้ความรู้ด้านศัตรูพืช กับผู้ประกอบการและเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้ยังมีมาตรการระบบการตรวจรับรองและติดตามการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อ บังคับด้านพืช รวมถึงการอบรมชี้แจงเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความรู้ในขั้นตอนปฏิบัติที่ถูกต้อง โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ด่านกักพืช ที่ท่าอากาศยานสนามบินสุวรรณภูมิ อย่างไรก็ตาม ทางกรมวิชาการเกษตรได้พยายามเจรจาต่อรองกับทางสหภาพยุโรปเพื่อขอผ่อนผันการ ส่งออก ในกรณีที่สินค้าของบริษัทหรือผู้ประกอบการรายใดที่มีผลงานดีมาตลอดและไม่มี การพบปัญหาศัตรูพืช ซึ่งน่าจะได้ข้อสรุปในวันนี้ อย่างไรก็ดี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะดำเนินการตามมาตรการต่างๆ อย่างเร่งด่วน โดยก่อนวันที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมานี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะทำหนังสือถึงสหภาพยุโรปพร้อมกับแนบมาตรการต่างๆที่ประเทศไทยได้ดำเนินการ ไปให้ทางสหภาพยุโรปได้รับทราบ โดยวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 กรมวิชาการเกษตรจะดำเนินการตรวจสอบระบบและมาตรฐานการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งหากบริษัทใดหรือผู้ประกอบการใดได้เข้าสู่มาตรฐานแล้วจะประสานงานทาง สหภาพ ยุโรปเพื่อจัดส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบและประมาณตามเกณฑ์ของการส่งออกต่อไป คาดว่าประมาณ 3- 6 เดือนทุกอย่างจะกลับเข้าสู่ปรกติ ในส่วนของบทลงโทษและมาตรการของกรมวิชาการเกษตรกรณีเมื่อมีการตรวจพบศัตรูพืช ในพืชผักของไทยที่ส่งออกไปสหภาพยุโรปที่ผ่านมา ได้มีการแจ้งเตือนในรอบแรก หากตรวจพบในรอบที่ 2 จะระงับการส่งออก และเมื่อมีประกาศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 แล้ว จะมีมาตรการลงโทษอย่าเข้มงวดมากขึ้นตั้งแต่ปรับและทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งจะดำเนินการจากเบาไปหาหนัก โดยเฉพาะหากพบมีการลักลอบส่งออก
ที่มาของข่าว: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ http://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=4950
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
การปรับปรุงตลาดชาวเขา : บทสะท้อนความถนัดของระบบราชการไทยในการแก้ปัญหาเชิงเทคนิค Posted: 18 Jan 2011 08:00 AM PST ช่วงเวลาผ่านไปยังไม่ทันจะครบชั่วโมง ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ในฐานะประธานที่ประชุมก็กล่าวสรุปและชิงปิดประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้ค้าขายในตลาดชาวเขาดอยมูเซอ ขณะที่ชาวบ้านที่เกี่ยวข้องจำนวนมากยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นให้ผู้ว่าฯ ได้รับฟัง ความโกลาหลย่อย ๆ จึงเกิดขึ้นจากความไม่พอใจของชาวบ้านหลายร้อยคนจาก 7 หมู่บ้าน การประชุมดังกล่าว มีที่มาจากการมีเสียงคัดค้านจากชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการปรับปรุงตลาดชาวไทยภูเขา (เก่า) ซึ่งงบประมาณดำเนินงานนั้นผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้วจำนวนกว่า 7 ล้านบาท แต่เดิมนั้น ตลาดชาวไทยภูเขา (เก่า) จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของชาวเขาในพื้นที่ดอยมูเซอ มาตั้งแต่ปี 2521 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สร้างรายได้เสริมจากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร เป็นการลดพื้นที่ปลูกฝิ่น รวมทั้งลดการบุกรุกทำลายป่า ฯลฯ ซึ่งในระยะหลังได้มีพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยพื้นราบจำนวนมากมาจับจองพื้นที่จำหน่ายสินค้า ส่งผลกระทบต่อการค้าขายของชาวบ้านในพื้นที่เป็นอันมาก ทั้งในแง่การบดบังพื้นที่จำหน่ายเดิมและการรุกเข้าครอบครองพื้นที่เดิมของชาวบ้าน ในแง่การปรับปรุงตลาดฯ นั้น ชาวบ้านมีบทเรียนจากในอดีตเมื่อคราวที่ อบต.ด่านแม่ละเมา ได้มาดำเนินการปรับปรุงและจัดระเบียบตลาดชาวไทยภูเขา (เก่า) แต่การดำเนินการนั้นก็มิได้เอื้อประโยชน์ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ ในทางตรงกันข้ามการดำเนินการดังกล่าวกลับเอื้อประโยชน์ให้ชาวไทยพื้นราบที่ขึ้นมาค้าขายเสียเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้น ชาวบ้านทราบข้อมูลมาว่า ตลาดที่จะปรับปรุงใหม่นั้น ไม่สอดคล้องกับความต้องการและไม่สอดรับกับการแก้ปัญหาของชาวบ้านในพื้นที่ เช่น การลดขนาดของแผงวางจำหน่ายสินค้า การจำกัดจำนวนแผงซึ่งมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของชาวบ้าน ฯลฯ ..... ในช่วงเริ่มต้นของการประชุม ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก กล่าวถึงที่มาของโครงการฯ ที่จะต้องมีการปรับปรุงตลาดว่า ได้รับการร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวถึงความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ความสกปรกรกรุงรัง ความไม่สะอาดปลอดภัยของสินค้า ฯลฯ และกล่าวเลยไปถึงว่ามีอดีตแกนนำบางคนไปพูดคุยกับชาวบ้านให้มาร่วมกันไม่ให้ยอมรับโครงการปรับปรุงตลาด และได้กล่าวในช่วงท้ายว่าการประชุมวันนี้เป็นเวทีพูดคุยรับฟังความคิดเห็น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้าขายในตลาดฯ ที่ได้ส่งหนังสือเชิญมาราว 200 กว่าคน จะพือ หรือ จักรพงษ์ มงคลคีรี ชาวลาหู่แกนนำชาวบ้านจากบ้านห้วยปลาหลด ได้พยายามอธิบายต่อจากท่านผู้ว่าฯ ว่า การที่พวกเขารวมตัวกันนั้น มิได้ตั้งใจมาคัดค้านหรือต่อต้านโครงการฯ แต่อยากให้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหาได้จริง พวกเขาได้รวมตัวกันขอเข้าพบผู้ว่าฯ เพื่อชี้แจงความคิดเห็นและข้อเสนอแต่ก็ไม่ได้รับโอกาสให้เข้าพบพบ และได้อธิบายถึงความเชื่อมโยงระหว่างการทำมาค้าขายในตลาดฯ กับการดำเนินวิถีชีวิตและการรักษาป่าว่า ตลาดฯ แห่งนี้ มีส่วนอย่างยิ่งในการบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านที่มีที่ดินจำกัด ซึ่งการประกอบอาชีพค้าขายนี้ มีส่วนช่วยยับยั้งการบุกรุกทำลายป่าเป็นอันมาก ทำให้ยังคงผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งนี้ จะพือ ได้นำภาพถ่ายทางอากาศมาแสดงยืนยันให้เห็นว่าชาวบ้านใช้พื้นที่ปลูกพืชผักมาจำหน่ายในบริเวณที่ลุ่มเชิงเขาจำนวนเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ผืนป่าส่วนใหญ่ยังอุดมสมบูรณ์ แต่ยังมิทันที่จะอธิบายความได้อย่างครบถ้วน และใช้เวลาไปไม่มากนัก ท่านผู้ว่าฯ ก็กล่าวขึ้นถามถึงข้อเสนอที่ต้องการ จะพือบอกว่า ขณะนี้ปริมาณของชาวบ้านมีเพิ่มมากขึ้น แต่พื้นที่ทำกินมีอยู่จำกัด จะไปทำงานนอกพื้นที่ก็ลำบาก การปรับปรุงตลาดบนพื้นที่เดิมไม่เพียงพอต่อความต้องการ รวมทั้งแผงวางจำหน่ายสินค้าที่จะจัดสร้างใหม่นั้นก็เล็กและแคบเกินไป จึงเสนอให้จัดสร้างอาคารแห่งใหม่ในพื้นที่ที่ติดกับพื้นที่เดิมขึ้นไป ซึ่งมีพื้นที่เพียงพอที่จะรองรับกับความต้องการของชาวบ้านได้ และได้บอกเพิ่มว่าชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างงานของหน่วยงานราชการในพื้นที่ รวมทั้งชาวบ้านที่มีความยากลำบากในการประกอบอาชีพก็จะได้รับการบรรเทาความเดือดร้อนด้วย และได้เสนอเงื่อนไขว่าหากเขาได้ใช้พื้นที่ขยายตลาดซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช ชาวบ้านจะรวมตัวกันไปปลูกและดูแลป่าให้เติบใหญ่สมบูรณ์ให้ในพื้นที่อุทยานฯ ในบริเวณที่ป่าไม่สมบูรณ์ ท่านผู้ว่าฯ กล่าวในทำนองเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว แต่ท่านก็บอกว่านั่นจะเป็นโครงการในอนาคต สามารถดำเนินการได้ในระยะต่อไป ซึ่งจะต้องมีการขออนุญาติใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้เสียก่อน สำหรับขณะนี้ควรจะทำการปรับปรุงของเดิมเสียก่อน ตามการออกแบบของสำนักงานโยธาธิการจังหวัดตาก และได้ให้โยธาธิการจังหวัดตากชี้แจงข้อมูลต่อที่ประชุม อาคารที่ทางจังหวัดออกแบบนั้น เป็นอาคารโล่งชั้นเดียว หลังคาสูงโปร่ง ลดหลั่นเป็น 3 ระดับ ภายในมีแผงวางจำหน่ายสินค้าจำนวน 256 แผง ขนาดความกว้าง 1 เมตร ยาว 1.20 เมตรต่อหนึ่งแผง มีทางเดินระหว่างแถว 1.50 เมตร ด้านหน้าอาคารเป็นลานโล่งสำหรับจอดรถ มีห้องน้ำจำนวน 6 ห้องอยู่ด้านหลังอาคาร มีการประดับประดาด้วยไม้ดอก ท่านผู้ว่าฯ ให้ข้อมูลเสริมว่าท่านได้มอบนโยบายการก่อสร้างว่าให้ดำเนินการโดยรีบด่วนภายในเวลาราว 3 เดือน เพื่อไม่ให้ชาวบ้านเดือดร้อนจากการไม่มีสถานที่วางจำหน่ายสินค้า ชาวบ้านที่มาร่วมประชุมบางส่วนพยายามซักถามข้อสงสัยเพิ่มเติม เช่น สิทธิของผู้ค้ารายเดิม ขนาดของแผงวางจำหน่ายสินค้า ฯลฯ คำตอบแบบขอไปทีทำให้ชาวบ้านไม่พอใจ และยิ่งมีการนำเสนอตัวเลขจากการสำรวจผู้ค้าของหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริงก็ทำให้บรรยากาศการประชุมตึงเครียดขึ้น กระทั่งท่านผู้ว่าต้องตัดบทปิดประชุมไป ..... “...ผู้ว่าฯ ไม่ยอมฟังพวกเราเลย...” “...ผมต้องเลี้ยงลูกเลี้ยงเมีย ต้องผ่อนรถ จะให้แผงผมแค่เมตรกว่า ๆ มันจะได้อย่างไร...” “...ตัวเลขไม่ถูกต้อง บ้านของผมมีเยอะกว่านี้ แล้วที่หมู่บ้านนี้ไม่ใช่มีคนมาขายเยอะขนาดนี้...” “...ไม่ให้เราขายของจะให้เราไปทำอะไร จะให้ไปบุกป่า หรือจะให้ไปขายยาบ้าหรืออย่างไร...” “...นักท่องเที่ยวเขาไม่อยากไปเดินซื้อของในอาคารหรอก ดูที่ตลาดใหม่สิ ไม่เห็นมีนักท่องเที่ยวเดินเข้าไปซื้อของในอาคารเลย...” “...เงินตั้งเจ็ดล้านกว่า ทำได้แค่นี้เองเหรอ...” เสียงพูดคุยกันเองของชาวบ้านหลังปิดการประชุม ซึ่งเกือบทั้งหมดแสดงสีหน้าและอาการไม่พอใจกับการประชุมที่ผ่านไป พ่อค้าชาวลาหู่คนหนึ่งยืนกรานว่า “...ตลาดแห่งนี้ พ่อแม่ผมเป็นคนสร้าง ใครจะมารื้อไม่ได้ ใครมารื้อผมจะแจ้งความ...” หลังสิ้นสุดการประชุม ตัวแทนชาวบ้านจากแต่ละแห่งมาร่วมหารือกัน และมีความเห็นร่วมกันว่าเขาจะคัดค้านโครงการดังกล่าวจนถึงที่สุด
..... ความพยายามในการอธิบายปัญหา และการหาทางออกจากปัญหาของชาวบ้านที่อยู่อาศัยในพื้นที่ดอยมูเซออย่างเป็นระบบไม่ได้รับการรับฟังจากผู้ว่าราชการจังหวัดรวมทั้งหน่วยงานราชการที่รายล้อมท่านอยู่ในขณะนั้น ดูเหมือนว่าท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและบรรดาผู้ติดตามทั้งหลายมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะผลักดันให้เกิดการปรับปรุงตลาดในวงเงินกว่า 7 ล้านบาท ซึ่งหากดำเนินการไปตามนั้น ปัญหาอุดจาดตาต่าง ๆ อาทิ ความไม่เป็นระเบียบ ความสกปรกรกรุงรัง ซึ่งเป็นปัญหาของคนมาท่องเที่ยวก็จะถูกจัดการให้หมดสิ้นไป (ซึ่งปัญหาเหล่านี้มิได้ทำให้ยอดจำหน่ายสินค้าของชาวบ้านลดลงแต่ประการใด และไม่แน่ใจว่าเป็นปัญหาในทัศนะของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่หรือไม่) แต่ปัญหาพื้นฐานของชาวบ้านในพื้นที่ก็จะยังถูกซุกเก็บไว้ รวมทั้งความขัดแย้งซึ่งจะเป็นปัญหาใหม่ที่ชาวบ้านคาดการณ์กันไว้จะก่อตัวขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ภายใต้อาคารหลังใหม่ที่เบียดเสียดยัดเยียดสภาพไม่ต่างจากตลาดสด อย่างไรก็ตามหากท่านผู้ว่าฯ อดทนฟังต่ออีกนิด ซึ่งจะได้รับฟังข้อมูลเพิ่มเติมจากคนในพื้นที่ อย่างน้อยก็ให้สมดุลกับข้อมูลที่เอียงกระเท่เร่จากบรรดาหน่วยงานที่รายล้อม ท่านก็จะได้เข้าใจสภาพปัญหาที่แท้จริง และจะสามารถแก้ปัญหาได้มากกว่าการแก้ในเชิงเทคนิค และก็จะเห็นความเดือดร้อนของชาวบ้านในพื้นที่มากกว่าความสะดวกสบายที่จะได้รับของนักท่องเที่ยว ท่านควรจะรับทราบปัญหาว่า บัดนี้ชาวบ้านในพื้นที่ดอยมูเซอซึ่งมีอยู่ถึง 7 หมู่บ้าน ซึ่งยังมิรวมถึงชาวบ้านในหมู่บ้านที่ลึกเข้าไปข้างในอีกหลายหมู่บ้านมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ทำกินก็มีอยู่เท่าเดิม การบุกรุกป่าทำได้ยากขึ้นด้วยความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ รวมทั้งสำนึกในการอนุรักษ์ผืนป่าของชาวบ้านก็มีเพิ่มมากขึ้น (ดังจะเห็นได้ในบางหมู่บ้านที่สามารถดูแลรักษาป่าจนฟื้นความอุดมสมบูรณ์ถึงขนาดได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ซึ่งเป็นรางวัลระดับประเทศ) นอกจากนั้นยังมีชาวบ้านอีกจำนวนมากที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นลูกจ้างของหน่วยงานราชการในพื้นที่ เมื่อคราวหน่วยงานเลิกจ้าง อีกทั้งชาวบ้านหลายสิบครอบครัวที่อพยพมาจากเชียงใหม่เพื่อเป็นคนงานปลูกป่าของกรมป่าไม้ ซึ่งภายหลังการเลิกจ้างก็มิได้มีการรองรับให้ชาวบ้านสามารถประกอบอาชีพอื่นใด ชาวบ้านเหล่านี้ก็ประสบความยากลำบากด้วยไม่มีทางเลือกอื่นในการทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว หลายครอบครัวจึงต้องส่งลูกหลานไปทำงานในเมือง ทั้งนี้มีบางรายที่หลงผิดเข้าไปสู่วงจรการค้าขายยาเสพติด ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่สามารถจัดการให้หมดสิ้น แต่ก็สามารถบรรเทาลงได้ด้วยการปรับปรุงตลาดให้รองรับและสอดรับสภาพปัญหาที่ชาวบ้านพยายามสะท้อน ชาวบ้านมีคิดออกว่าการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการทำมาหากินที่สอดคล้องกับการรักษาป่าที่ร่อยหรอลงไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาในเชิงระบบ แต่ส่วนราชการมุ่งที่จะแก้ปัญหาเพียงในเชิงเทคนิค แค่ทำให้ตลาดดูดีเป็นหน้าเป็นตาเพื่อต้อนรับและได้รับความประทับใจจากนักท่องเที่ยว แต่มิได้สนใจปัญหาที่แท้จริงของชาวบ้านในพื้นที่ เพราะขีดจำกัดใดที่ทำให้ส่วนราชการมองไม่เห็นการแก้ปัญหาในเชิงระบบ จะเป็นเพราะปริมาณของงบประมาณในการก่อสร้าง 7 ล้านกว่าบาท เป็นเพราะขีดจำกัดในการเร่งใช้งบประมาณ หรือเพราะเห็นปัญหาของนักท่องเที่ยวสำคัญกว่าปัญหาของชาวบ้านในพื้นที่ ใครก็ได้ช่วยตอบที 000
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ครม.อนุมัติ 837 ล้านบาท ซ่อม-สร้างศาลากลางถูกเผา Posted: 18 Jan 2011 07:23 AM PST นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกรัฐบาล แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมัติงบประมาณ เงินสำรองจ่ายฉุกเฉิน ซ่อมแซม บูรณะศาลากลางจังหวัดและบ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัด และทรัพย์สินของทางราชการที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมืองในช่วง วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 มีศาลากลาง จ.อุดรธานี ขอนแก่น มุกดาหาร และอุบลราชธานี บ้านพักผู้ว่าฯ และปลัดจังหวัดเชียงใหม่ และทรัพย์สินของทางราชการอีกหลายรายการที่ได้รับความเสียหายจากการวางเพลิง พร้อมการจัดซื้อครุภัณฑ์วงเงิน 837 ล้านบาท โดยอนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยเบิกจ่ายจากงบประมาณกลาง ประจำปี 2554 กรณีสำรองจ่ายฉุกเฉิน เป็นจำนวนเงิน 221 ล้านบาทเศษ ในการก่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัด มีมูลค่ารวม 724 ล้านบาทเศษ นอกจากนี้ยังจัดให้มีค่าครุภัณฑ์ต่างๆ ด้วย นายศุภชัยกล่าวว่า ภายใต้กรอบอนุมัติวงเงินงบฯดังกล่าว เป็นค่าก่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัด (รายการผูกพันข้ามปีงบประมาณ) 4 จังหวัด รวม 724,867,400 บาท ได้แก่ จ.ขอนแก่น วงเงิน 147,330,000 บาท จ.มุกดาหาร วงเงิน 145,519,800 บาท จ.อุดรธานี วงเงิน 147,439,100 บาท จ.อุบลราชธานี วงเงิน 284,578,500 บาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 108,730,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 616,137,400 บาท ให้เสนอขอตั้งงบประมาณ ปี 2555-2556 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ผบ.ทบ.ลั่นสละชีพเพื่อชาติ-ชงรบ.แจงงบศอฉ. Posted: 18 Jan 2011 07:20 AM PST "พลเอกประยุทธ์" นำทหารถวายสัตย์ปฏิญาณ"วันกองทัพบก" ประกาศพร้อมเสียสละปกป้องอธิปไตย ระบุส่งข้อมูลให้รัฐบาลชี้แจงการใช้งบ ศอฉ.ต่อฝ่ายค้าน
18 ม.ค. 2554 - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่า เมื่อเวลา 13.00 น. ที่กองบัญชาการกองทัพบก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) เป็นประธานในพิธีทางศาสนาเนื่องในวันกองทัพบก ประจำปี 2554 มีพิธีสักการะพระชัยมงคลภูมิถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ให้กำเนิดการทหารสมัยใหม่และพิธีสงฆ์เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษที่ สละชีพเพื่อชาติ จากนั้นในเวลา 15.30 น. พลเอกประยุทธ์เดินทางไปกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) เพื่อร่วมพิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพลของหน่วยทหารในเขตจังหวัด ทหารบกกรุงเทพฯ ประจำปี 2554 พลเอกประยุทธ์ให้โอวาทแก่กำลังพลของกองทัพบกว่า วันนี้เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย และยังเป็นวันที่ทหารใหม่ทุกนายได้กระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพลอัน ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้แก่หน่วยทหาร เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวร้อยรวมจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ธงชัยเฉลิมพลเป็นธงที่มีความหมายถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ทหารใหม่ทุกนายจะแสดงถึงความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ อุทิศตนด้วยยึดมั่นในอุดมการณ์ของทหารอาชีพมีความซื่อสัตย์ สุจริต กล้าหาญ อดทน มีความสามัคคีกันอย่างแน่นแฟ้น พร้อมจะเสียสละตนเพื่อปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ ผบ.ทบ.เผยส่งข้อมูลให้รัฐบาลแจงงบ ศอฉ. "งบประมาณ ศอฉ.ใช้ไปไม่ได้มากมายอะไรขนาดนั้น กองทัพเตรียมตอบคำถามทุกข้อ ดังนั้น ทุกอย่างเรียบร้อยดีไม่มีปัญหา เรื่องทุกอย่างสามารถตรวจสอบได้ไม่ต้องกังวล" ผบ.ทบ. ระบุ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ครม.ไฟเขียว แรงงานนอกระบบจ่าย 100 บาท รับบำเหน็จชราภาพ Posted: 18 Jan 2011 06:57 AM PST (18 ม.ค. 54) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลั สำหรับสาระสำคัญของร่าง พรฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราจ่ 2.จ่ายสมทบ 150 บาทต่อเดือน ประชาชนจ่าย 100 บาท รัฐอุดหนุน 50 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกั สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
มายาคติที่ (ยัง) สวมทับคนเสื้อแดง Posted: 18 Jan 2011 06:35 AM PST นักปรัชญาชายขอบ เสนอให้คนเสื้อแดงสลัดพ้นมายาคติสำหรับการต่อสู้ และเสนอ "วาระที่เป็นรูปธรรม" ในการป้องกันไม่ให้อำนาจนอกระบบมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ความชอบธรรมในการต่อสู้ทางการเมืองของมวลชนคือ การสามารถอธิบายได้ว่าเป็นการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม และ/หรือประชาธิปไตย แน่นอนว่าถ้าใช้เกณฑ์นี้ตัดสิน การต่อสู้ของพันธมิตรย่อมหมดความชอบธรรมไปแล้วตั้งแต่เรียกร้องพระราชอำนาจและรัฐประหาร ในทำนองเดียวกัน พรรคการเมืองที่ก้าวขึ้นมามีอำนาจรัฐด้วยอาศัย “เส้นสนกลใน” ของฝ่ายจัดการอำนาจที่ประกอบด้วยอำมาตย์ พันธมิตร และกองทัพย่อมเป็นรัฐบาลที่ไร้ความชอบธรรมตั้งแต่แรกเช่นกัน แต่สังคมนี้ยังช่วยกันสร้าง “มายาคติความชอบธรรม” ให้กับรัฐบาลเช่นนี้ แม้เมื่อหลังสลายการชุมนุมที่มีคนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก โดยเฉพาะคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ “ปัญญาชนแถวหน้า” ยังเข้าร่วมชูธง “มายาคติความชอบธรรม” แก่รัฐบาลที่เสวยอำนาจบนความตายของประชาชนอย่างหน้าตาเฉย เรียกว่าโจมตี “โครงสร้างอำนาจอันอยุติธรรม” มาตลอด แต่ก็ไม่รังเกียจที่จะเข้าไปร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการยืดอายุโครงสร้างอำนาจอันอยุติธรรมนั้น แถมยังชูวาทกรรมสวยหรูด้วยว่า จะปฏิรูประเทศเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และสร้างระบบรองรับอำนาจต่อรองทางการเมืองที่เท่าเทียมและเป็นธรรม (อย่างไรครับ?) ในสภาวการณ์ที่สังคมยังคงเคลิ้มไปกับ “มายาคติความชอบธรรม” ของรัฐบาลที่ค้ำยันโครงสร้างอำนาจอันอยุติธรรม คนเสื้อแดงก็ถูกสวมทับด้วย “มายาคติความไม่ชอบธรรม” ที่ถูกสวมทับมาแต่เดิมก็ยังเปลื้องไม่ออก และยังสวมทับซ้ำลงไปอีกทั้งโดยการกระทำของฝ่ายอื่นและทำตัวเอง มายาคติความไม่ชอบธรรมที่สวมทับคนเสื้อแดงมาแต่เดิม คือเรื่อง “การสู้เพื่อทักษิณ” ระยะเวลาที่ผ่านมาพิสูจน์ได้ชัดแล้วว่าคนเสื้อแดงไม่ใช่ม็อบรับจ้าง แต่ประเด็น “ข้ามพ้นทักษิณ” หรือไม่ยังเป็นมายาคติที่ 1) มีคนอื่น ฝ่ายอื่นอยากให้คนเสื้อแดงข้ามพ้นทักษิณจริงๆ และพยายามโฆษณาชวนเชื่อ (หลอกสังคม) ว่า การข้ามไม่พ้นทักษิณไม่ใช่การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย 2) คนเสื้อแดงพยายามบอกกับสังคมว่าพวกตนข้ามพ้นทักษิณไปแล้ว แต่ภาพมันฟ้องว่า “อาจจะ” ยังไม่ใช่ อันที่จริงความพยายามบอกกับสังคมใน 2) ไม่จำเป็นเลย ถ้าคนเสื้อแดงไม่หลงมายาคติใน 1) เพราะว่าความสัมพันธ์ระหว่างการต่อสู้ทางการเมืองของคนเสื้อแดงกับคุณทักษิณสามารถอธิบายได้สองแบบ แบบแรก ถ้าคนเสื้อแดงสู้เพื่ออำนาจและผลประโยชน์ทางการเมืองของคุณทักษิณล้วนๆ หรือสู้เพื่อประชาธิปไตยแต่ผูกติดกับเงื่อนไขว่า คุณทักษิณต้องกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีเท่านั้น การต่อสู้ของคนเสื้อแดงย่อมขาดความชอบธรรม แบบที่สอง ถ้าคนเสื้อแดงสู้เพื่อต่อต้านอำนาจนอกระบบการเลือกตั้ง ยืนยันอำนาจตามระบบการเลือกตั้ง หรือยืนยันเสรีภาพและอำนาจในการปกครองตนเองของประชาชน และถือว่าคุณทักษิณเป็นแนวร่วมหนึ่งในฐานะที่เขามาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนแล้วถูกอำนาจนอกระบบล้มไป การต่อสู้เพื่อเสรีภาพและอำนาจในการปกครองตนเองของประชาชนย่อมเป็นความชอบธรรม และการปกป้องคุณทักษิณ (หรือใครก็ตาม) ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากอำนาจนอกระบบย่อมเป็นความชอบธรรม ฉะนั้น หากการต่อสู้ของคนเสื้อแดงเป็นแบบที่สองก็ไม่จำเป็นต้องพูดถึงการก้าวข้ามหรือก้าวไม่ข้ามทักษิณอีกต่อไป ระยะเวลากว่า 5 ปีที่ผ่านมาพิสูจน์อะไร พิสูจน์การต่อสู้แบบแรกหรือแบบที่สอง? ถ้าระยะเวลาที่ผ่านมาพิสูจน์ว่าคนเสื้อแดงต่อสู้แบบที่สอง ปัญหาคือคนเสื้อแดงไปสวมมายาคติให้กับตัวเองอีกทำไม ด้วยการไปแจ้งข้อหาหมิ่นพระบรมราชานุภาพกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และพวก ถ้าเราจะต่อสู้เพื่อเสรีภาพของประชาชน แต่ยังไปยอมรับกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพประชาชน นี่เป็นมายาคติที่แย่ที่สุด มันลดทอนความชอบธรรมในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของตนเองยิ่งกว่าข้อกล่าวหาว่าสู้เพื่อทักษิณด้วยซ้ำ สู้เพื่อทักษิณยังอธิบายได้ว่า ทักษิณมาจากการเลือกตั้งของประชาชน แล้วถูกทำรัฐประหาร และถูกดำเนินการทางกฎหมายโดยไม่ชอบธรรมหรือไม่ใช้กระบวนการอันเหมาะอันควร (due process) การปกป้องทักษิณ (หรือใครก็ตาม) ที่ถูกกระทำเช่นนั้นย่อมเป็นการปกป้องหลักการประชาธิปไตยและหลักความเป็นธรรมตามกฎหมาย แต่การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย (ที่มีความหมายสำคัญว่าสู้เพื่อเสรีภาพ ความเสมอภาค ความเป็นธรรมในอำนาจต่อรองทางการเมือง) โดยการใช้กฎหมายหมิ่นฯ กับฝ่ายตรงข้ามไม่มีทางอธิบายได้ว่าวิธีสู้แบบนี้จะได้มาซึ่งประชาธิปไตยอย่างไร? ความจริงแล้ว คนเสื้อแดงน่าจะก้าวข้ามมายาคติเหล่านี้ไปได้แล้ว เราพูดกันเรื่อง “ตาสว่าง” ทำไมเราไม่เสนอวาระที่เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นว่า เมื่อตาสว่างแล้วจะมีวิธีแก้ปัญหาโครงสร้างอำนาจที่ไม่เป็นธรรมอย่างไร จะทำอย่างไรบ้างเพื่อป้องกันไม่ให้อำนาจนอกระบบมาแทรกแซงการเมืองได้อีกต่อไป จะเอาอำมาตย์ เอาทหารออกไปจากการเมืองได้อย่างไร พันธมิตรสายอุดมการณ์ (ถ้ามี) อย่างพิภพ ธงไชย ยังพูดย้ำแล้วย้ำอีกว่า “ทักษิณต้องกลับเข้ามาสู่การเมืองอีกไม่ได้” ช่วงส่งท้ายปีเก่าเขาก็พูด ราวกับว่าอุดมการณ์ของพันธมิตรคือ “สู้เพื่อไม่ให้ทักษิณกลับเข้าสู่การเมือง” ชัดเจนไหม! วาระการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของคนเสื้อแดง ก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากการต่อสู้เพื่อให้อำนาจนอกระบบการเลือกตั้งออกไปจากการเข้ามา “จัดการอำนาจปกครองประเทศ” ถ้าใครจะเข้ามาสู่การเมือง (ไม่ว่าทักษิณหรือใคร) ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยเท่านั้น ยุติการปฏิวัติรัฐประหารโดยสิ้นเชิง นี่คือวาระการต่อสู้ที่ชอบธรรมอย่างแท้จริงของคนเสื้อแดง คือถ้าคนเสื้อแดงดำรงจุดยืนที่ชัดเจนนี้ สู้ต่อไปเรื่อยๆ ด้วยแนวทางสันติวิธีจนกว่าจะบรรลุผล ก็สุดยอดแล้ว ปัญหาอื่นๆ (เช่นทุนนิยมอุปถัมภ์) สังคมก็ต้องช่วยกันแก้ คนเสื้อแดงไม่ใช่ผู้วิเศษที่จะแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง (และไม่ควรแส่ไปทุกเรื่องเหมือนพันธมิตร) ฉะนั้น ก้าวต่อไป คนเสื้อแดงต้องสลัดมายาคติทิ้งไป และเสนอ “วาระที่เป็นรูปธรรม” ในการป้องกันไม่ให้อำนาจนอกระบบมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง! สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ครม.อนุมัติตั้งงบกลาง 1.1 แสนล้านบาท - ต่อ กม.ฉุกเฉิน 3 จว.ชายแดนใต้อีก 3 เดือน Posted: 18 Jan 2011 06:29 AM PST 18 ม.ค. 2554 - มติชนออนไลน์รายงานว่า นาง อัญชลี วานิช เทพบุตร เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 18 มกราคม มีมติอนุมัติตั้งงบกลางปี 2554 จำนวนไม่เกิน 1.1 แสนล้านบาท เพื่อนำไปใช้ใน 3 ภารกิจสำคัญ ประกอบด้วย 1.ชดเชยเงินคงคลัง 84,000 ล้านบาท 2.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 6,000 ล้านบาท 3.สำหรับการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยในปี 2553
นอกจากนั้นมีมติให้ต่ออายุการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีก 3 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม-20เมษายน ยกเว้นที่ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ที่ยกเลิกไปแล้ว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
สหภาพแรงงานในกัมพูชา โวยกฏหมายใหม่จำกัดสิทธิสหภาพฯ Posted: 18 Jan 2011 06:10 AM PST เมื่อวันที่ 17 ม.ค. ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์พนมเปญโพสท์รายงานเรื่องกรณีที่มีการประกาศกฏหมายฉบับใหม่ของกัมพูชาเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน จนเป็นเหตุให้กลุ่มประชาสังคมและตัวแทนสหภาพฯ ในกัมพูชาแสดงความวิตกกังวลในเรื่องดังกล่าว Moeun Tola หัวหน้าโครงการแรงงานประจำศูนย์การศึกษากฏหมายชุมชน กล่าวว่าร่างกฏหมายฉบับล่าสุดนั้นแย่กว่าเดิมในแง่ของการการจำกัดสิทธิการจัดตั้งตนเองของกลุ่มแรงงาน "ผมอยากย้ำว่าเสรีภาพของสหภาพแรงงานในตอนนี้กำลังอยู่ในอันตราย" Moeun กล่าว เขาบอกอีกว่ากฏหมายฉบับนี้จะทำให้สหภาพฯ มีความยากลำบากมากขึ้นในการจดทะเบียนกับกระทรวงแรงงาน และหากมีการผ่านร่างกม.ฉบับนี้ พวกเขาจะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของสหภาพฯ ได้อย่างอิสระ เพราะพวกเขาจะ "ถูกยุบเมื่อไหร่ก็ได้ตามคำสั่งศาลหรือกระทรวงแรงงาน" เสียงวิพากษ์วิจารณ์กฏหมายฉบับนี้เริ่มตั้งแต่เดือนมิ.ย. ปีที่แล้ว (2553) โดยนักวิจารณ์แสดงความกังวลต่อบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการแต่งตั้ง "ตัวแทนสูงสุด" ของสหภาพฯ ซึ่งจะมี "สิทธิพิเศษ" ในการต่อรองแทนคนงานในอุตสาหกรรมทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการวิจารณ์เรื่องข้อบังคับที่ระบุให้สหภาพฯ ต้องรายงานทางการเงินต่อรัฐบาลทุกปี บางส่วนก็แสดงความเป็นห่วงว่าร่างกฏหมายฉบับนี้ที่สั่งห้ามการประท้วงหยุดงาน "อย่างผิดกฏหมาย" อาจทำให้นักสหภาพฯ บางคนถูกฟ้องดำเนินคดี Rong Chhun หัวหน้าสมาพันธ์สหภาพแรงงานกัมพูชาแสดงความไม่พอใจหลังจากการหารือเรื่องกฏหมายในวันนี้ (17 ม.ค.) โดยกล่าวว่า ข้อเสนอที่แกนนำสหภาพฯ ร่วมกันเสนอในปีที่แล้วไม่มีอยู่ในข้อกฏหมายล่าสุดนี้เลย "ผมอ่านร่างกฏหมายฉบับนี้แล้วไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลยหลังจากที่เราเสนอให้พวกเขาเปลี่ยนแปลงบางจุดไปแล้ว" Rong กล่าว "ผมคิดว่าจะต้องมีการเคลื่อนไหวจากสหภาพหรือจากคนงานเรียกร้องให้แก้ไขกฏหมายฉบับนี้แน่" Rong เสริมว่ากฏหมายฉบับนี้จะไร้ประโยชน์ต่อแรงงานและตัวแทนของพวกเขาหากกระทรวงแรงงานไม่ยอมรับข้อเสนอของพวกเขา "ผมคิดว่าเสรีภาพของสหภาพฯ จะหมดลงเมื่อมีการผ่านร่างกฏหมายนี้ หากมันไม่ได้รับการปรับปรุงผ่านทางข้อเสนอของนักสหภาพฯ" Ken Loo เลขาธิการสหพันธ์ผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มกล่าวถึงการหารือในวันนี้ว่าพบเห็นการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ มาตราอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับร่างฉบับที่ใช้หารือในปีที่แล้ว (2553) และคิดว่าร่างกฏหมายฉบับล่าสุดนี้ไม่เหมาะสม และเขาอยากเสนอให้ตัวกฏหมายมีการคุ้มครองทั้งแรงงานและนายจ้างให้ดีกว่านี้ ขณะเดียวกัน Huon Soeur รักษาการผู้อำนวยการกรมพิพาทแรงงาน กระทรวงแรงงานของกัมพูชา กล่าวว่าสัปดาห์นี้จะเป็นโอกาสสุดท้ายที่ตัวแทนจากสหภาพฯ หน่วยงานอุตสาหกรรม และภาคประชาสังคม จะร่วมหารือเรื่องกฏหมายกับภาครัฐ เขาบอกอีกว่าพวกเขาได้ยอมรับข้อเรียกร้องของฝ่ายสหภาพฯ ที่เรียกร้องให้มีการหารือร่วมกันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ขณะเดียวกันเขาก็ปฏิเสธจะให้ความเห็นเรื่องว่าจะนำข้อเสนอของนักสหภาพฯ บรรจุเข้าไปในกฏหมายหรือไม่ รวมถึงไม่ทราบแน่ชัดว่าร่างกฏหมายฉบับนี้จะเสร็จสิ้นเมื่อใด ทางด้าน John Ritchotte ผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงานสัมพันธ์จากองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) บอกว่ายังเร็วเกินไปที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้ แต่ทาง ILO จะมีการเสนอความเห็นต่อกระทรวงแรงงานกัมพูชาอย่างเป็นทางการในกรณีนี้ภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า "ทางกระทรวง(แรงงานกัมพูชา) เองก็บอกกับทาง ILO แล้วว่าพวกเขาขอความเห็นอย่างเป็นทางการจาก ILO" John กล่าว "เป็นกระบวนการมาตรฐานของ ILO ในการเสนอความเห็นต่อร่างกฏหมายหากมีการร้องขอมาจากประเทศสมาชิกภาพของ ILO" David Welsh ผู้อำนวยการศูนย์สมานฉันท์แรงงานนานาชาติของสหรัฐฯ ประจำประเทศกัมพูชา ให้ความเห็นว่าความเข้มงวดของกฏหมายสหภาพฯ จะเป็นตัวช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการประท้วงนัดหยุดงนในวงกว้างเช่นที่เกิดขึ้นเมื่อเดือน ก.ย. ปีที่ผ่านมา (2553) ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไม่เป็นไปตามที่สหภาพฯ เรียกร้อง ที่มา
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
คุยกับสมัชชาสังคมก้าวหน้า: "ฝ่ายซ้าย" ยังคงสู้เพื่อความยุติธรรม Posted: 18 Jan 2011 05:56 AM PST
บ่อยครั้งที่ฝ่ายซ้ายกลุ่มเล็กๆ อย่าง "สมัชชาสังคมก้าวหน้า" ถูกปล่อยไว้นอกตัวละครทางการเมืองตัวใหญ่ๆ อย่างกลุ่มการเมืองเสื้อเหลืองและเสื้อแดง และไม่ค่อยถูกพูดถึงในสื่อเท่าใดนัก แม้ว่าพวกเขาจะมีอุดมการณ์ที่ชัดเจนก็ตาม เสาวลักษณ์ โพธิ์งาม หนึ่งในสมาชิกของกลุ่มพูดคุยกับประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวเดอะเนชั่น ว่าด้วยเรื่องฝ่ายซ้ายและการเมือง ประวิตร: จุดยืนของกลุ่มสมัชชาสังคมก้าวหน้าคืออะไร ดูเหมือนกลุ่มซ้ายทางการเมืองจำนวนมากเลือกไปอยู่ในมุมของขบวนการคนเสื้อแดงเกือบหมดตอนนี้ คุณคิดอย่างไรในเรื่องนี้ จุดยืนของกลุ่มสมัชชาสังคมก้าวหน้าต่อขบวนการคนเสื้อแดงเป็นอย่างไร จริงๆ แล้วแยกแยะกันออกไหม แล้วมีการแยกแยะระหว่างขบวนการคนเสื้อแดงกับคุณทักษิณ (ชินวัตร) หรือคุณสมบัติ (บุญงามอนงค์) คุณสมยศ (พฤกษาเกษมสุข) หรือไม่ ส่วนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นจะมีลักษณะนิสัยไม่ดี ไม่น่ารัก หรืออะไรก็ต่างๆ ก็ใช้กระบวนการเลือกตั้ง หรือกระบวนการจัดการที่มันสามารถเป็นไปได้ตามวิถีระบอบ ประชาธิปไตย กลุ่มสมัชชาสังคมก้าวหน้าเอง หลายคนก็ไม่ได้ชอบทักษิณ ชินวัตร อาจจะวิจารณ์ทักษิณด้วยซ้ำไป แต่ในขณะเดียวกัน เราก็มองว่าสิ่งที่ทักษิณ ชินวัตรทำ เป็นประโยชน์กับประชาชนมากกว่าพรรคการเมืองในรอบ 70 ปี บางคนที่อยู่ในกลุ่มเราก็ชอบทักษิณก็มี บางคนไม่ชอบก็มี จริงๆ แล้วในความเห็นคุณ คนเสื้อแดงที่เป็นฝ่ายซ้ายทางการเมืองมีน้อยเพียงไร กี่เปอร์เซ็น มีบางคนมองว่ากลุ่มซ้ายหลอกใช้คนเสื้อแดงเพื่อผลักดันอุดมการณ์ตัวเอง หรือไม่ก็มีคนวิจารณ์ว่า กลุ่มซ้ายบางคนหลงผิดคิดว่าแดงเป็นฝ่ายซ้าย ซึ่งอาจจะไม่ใช่ ตรงนี้มองว่าอย่างไร คิดอย่างไรที่ในประเทศไทยหรือตามรัฐธรรมนูญแล้ว ประชาชนไม่สามารถตั้งพรรคคอมมิวนิสต์หรือพรรคสังคมนิยมอย่างแท้จริงได้ ในขณะที่ประเทศอย่างญี่ปุ่นซึ่งมีกษัตริย์และเป็นระบอบประชาธิปไตยยังสามารถตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ได้ ทุกวันนี้ดูเหมือนพื้นที่ในการยืนที่สังคมมีให้กับกลุ่มซ้ายอย่างกลุ่มพวกคุณมันมีน้อยมาก สื่อกระแสหลักแทบไม่ให้ความสนใจเลย ตรงนี้คุณรู้สึกอย่างไรและคิดว่าจะแก้ปัญหานี้ได้หรือไม่ในอนาคต ในฐานะที่เป็นคนที่มีอุดมการณ์ฝ่ายซ้ายทางการเมืองและอยู่ในเมืองไทยปี 2553 คุณรู้สึกแปลกแยกหรือโดดเดี่ยวหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่อาจจะอ้างว่าการต่อสู้ทางอุดมการณ์จบสิ้นไปแล้ว แม้กระทั่งประเทศอย่างจีนก็กลายเป็นประเทศทุนนิยมเผด็จการ ไม่ใช่สังคมนิยมอย่างที่เคยอ้างว่าเป็น อ่านภาคภาษาอังกฤษที่ http://www.nationmultimedia.com/home/Social-Move-Leftists-still-fighting-for-justice-30145979.html สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
รายงาน: เปิดชีวิตครอบครัวผู้ต้องหา ผลกระทบจากคดีหมิ่นสถาบัน Posted: 18 Jan 2011 05:40 AM PST
อำพล และภรรยา อาศัยอยู่ย่านสำโรงในห้องเช่าราคาเดือนละ 1,200 บาท โดยอาศัยเงินจากลูกๆ ที่ส่งให้คนละเล็กคนละน้อย เพราะสองลุงป้าไม่ต้องการเป็นภาระกับลูกซึ่งแยกย้ายกันไปมีครอบครัวแล้ว และที่สำคัญ ล้วนแต่หาเช้ากินค่ำกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม เขาทั้งคู่ยังมีภาระต้องเลี้ยงดูหลาน 3-4 คน ซึ่งเป็นผลิตผลที่ลูกบางคนทอดทิ้งไว้อีกด้วย ส่วน ‘ปุ้ย’ เป็นซิงเกิลมัม แต่สามียังช่วยส่งเสียลูก 2 คน ปัจจุบันปุ้ยกลายเป็นหัวเรือหลักในการดูแลแม่และดำเนินการเรื่องคดีพ่อ เธอมีอาชีพเป็นคนงานในโรงงานผลิตโฟมแถวบ้าน ได้ค่าจ้างตามค่าแรงขั้นต่ำ ทำงานวันละ 12 ชั่วโมง วันนี้เธอสลับกะกับเพื่อนเพื่อส่งพ่อสูงวัยมารายงานตัวที่ศาลตั้งแต่เช้า และรอจนฟ้าเกือบมืดเพื่อฟังคำสั่งศาลซึ่งไม่ให้ประกันตัวพ่อของเธอ อากงถูกดีเอสไอบุกจับกุมเมื่อวันที่ 4 ส.ค.53 และถูกควบคุมตัวในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ อยู่ราว 2 เดือน จนได้รับอนุญาตให้ประกันตัวได้ในที่สุด สำหรับชาวบ้านธรรมดาหาเช้ากินค่ำ เรื่องราวของการที่ตำรวจเกือบ 20 นายพร้อมกองทัพนักข่าวบุกเข้าบุกค้นบ้านพักและทำการจับกุมในวันนั้นถือเป็นสิ่งที่กระทบกระเทือนความรู้สึกของภรรยาและหลานๆ อย่างไม่รู้ลืม “มันเหมือนเราเป็นอาชญกรร้ายแรง เหมือนเราแปลกแยกกับคนอื่น เขาเข้ามาค้นทุกอย่าง ถ่ายรูปทุกอย่าง แม้แต่รูปหลานๆ ตัวเล็กๆ ที่ร้องกันกระจองงอแง มันน่ากลัว อย่าให้เกิดอีกเลย มันจะไม่มีแบบนั้นแล้วใช่มั้ย” ป้าอุ๊เล่าเรื่องไป ถามหาคำตอบไป พาดหัวข่าววันต่อมาปรากฏข่าวจับกุมลุงอำพล พร้อมระบุว่าเป็นฮาร์ดคอร์เสื้อแดง มันทำให้ครอบครัวตั้งนพกุลหวาดระแวงกับนักข่าวตั้งแต่นั้น เพราะพวกเขายืนยันว่าอากงเป็นเพียงคนแก่ๆ ที่มีอาชีพหลักคือ อยู่บ้านเลี้ยงหลาน และด้วยความที่มีเวลาว่างมากในช่วงกลางวัน แกจึงมักจะเดินทางไปสังเกตการณ์กิจกรรมทางการเมืองหรืองานต่างๆ ที่จัดขึ้นเสมอ “สมัยเสื้อเหลืองแกก็ไป ตอนในหลวงท่านป่วยช่วงแรกๆ แกก็ไปถวายพระพรที่โรงพยาบาลศิริราช พอมาสมัยเสื้อแดงแกก็ไปดูอีก แต่ยังไงๆ แกก็ต้องกลับมาให้ทันรับหลานกลับจากโรงเรียน” ภรรยาอากงเล่า อำพลให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และยืนยันว่าตัวเองไม่ใช่ผู้กระทำการ เพราะเพียงจะส่ง sms ยังส่งไม่เป็น เขาเคยกล่าวกับภรรยาว่าอย่างไรก็จะยืนยันเช่นนี้ จะฆ่าจะแกงแกก็ยอม ป้าอุ๊ยังเล่าถึงความยากลำบากภายหลังอากงถูกจับว่า ทั้งครอบครัวระส่ำระสาย เพราะไม่มีเงินว่าจ้างทนายความ ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป และเป็นห่วงอากงมาก กระทั่งได้เจอกลุ่มทนายอาสาที่เข้าให้ความช่วยเหลือ แม้คดีความเพิ่งถึงชั้นศาล และยังศาลยังไม่ได้พิพากษา แต่สำหรับคดีเช่นนี้ สังคมไทยพิพากษาแล้วแต่แรก มันทำให้ป๊าอุ๊และหลานๆ ไม่สามารถอาศัยอยู่ห้องเช่าเดิมได้ ต้องหอบข้าวหอบของมานอนแออัดอยู่ที่ห้องเช่าของปุ้ย เพราะแม้แต่หลานตัวเล็กๆ ยังถูกกระแนะกระแหน ด่าว่า จากคนรอบข้าง ลูกชายคนเล็กต้องลาออกจากโรงงานเพราะถูกกดดันจากเรื่องคดีของพ่อ และลูกสาวถูกล้อเลียนในโรงงานว่าเป็นลูกฮาร์ดคอร์ “คนที่เข้าใจก็มี แต่กับคนที่ไม่เข้าใจเขาก็มาทำให้เราเจ็บปวดอยู่เสมอ คดีนี้ถึงที่สุดแล้วต่อให้ไม่ผิด ไม่ติดคุก สังคมก็ตัดสินเราไปแล้ว” ป๊าอุ๊ว่า เธอกล่าวว่า เธอเชื่อว่าสามีของเธอไม่ได้กระทำการอย่างที่ยืนยัน แต่แม้ถ้าสามีกระทำการอย่างนั้นก็ไม่ควรลงทัณฑ์เลยมาถึงครอบครัว “เป็นห่วงหลานๆ มากที่สุด ไม่อยากให้พวกเขาต้องลำบาก แค่ลำพังแค่พวกเราคนแก่ไม่เป็นไร เดี๋ยวเราก็ตายกันแล้ว ป้าอยากให้หลานๆ เปลี่ยนนามสกุลใหม่ เขาจะได้ไม่ต้องมีปัญหากับเรื่องแบบนี้ มีชีวิตใหม่” ป้าอุ๊น้ำตาเอ่อ ในชั้นสอบสวนของตำรวจ หลังอากงติดคุกอยู่ราว 2 เดือน ในที่สุดศาลอุทธรณ์ก็อนุญาตให้ประกันตัวในวันที่ 4 ต.ค.53 โดยให้เหตุผลว่าหลักประกันน่าเชื่อถือ หลังจากก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นให้เหตุผลที่ไม่อนุญาตให้ประกันว่าเป็นคดีร้ายแรงกระทบกระเทือนจิตใจคนไทย เกรงจะหลบหนี อย่างไรก็ตาม การปล่อยก็ทำให้ลุงอำพลได้ออกมารักษาแผลผ่าตัดมะเร็งใต้โคนลิ้นที่กำเริบจนลิ้นบวมคับปากได้ทันการณ์ จากนั้นวันที่ 18 ม.ค. อัยการจึงมีคำสั่งฟ้องและต้องประกันตัวอีกครั้งในชั้นพิจารณาคดี ทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ใช้โฉนดที่ดินเป็นหลักประกัน ระหว่างรอคำสั่ง ลุงอำพลถูกคุมตัวไว้ในคุกใต้ถุนศาลไม่ยอมกินข้าวกินปลา เช่นเดียวกับป้าอุ๊ที่แม้อยู่นอกกรงขังก็ไม่ยอมกินข้าวเช่นเดียวกัน รอกว่า 8 ชั่วโมง จึงได้รับทราบคำสั่ง ก่อนที่ลุงอำพลจะถูกนำตัวไปไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ที่เพิ่งจากมาอีกครั้ง เย็นย่ำ แม่ลูกกระเตงกันขึ้นรถเมล์ไปซื้อของใช้จำเป็นรีบมาฝากให้อากง เสียงป้าอุ๊ที่ปลายสายสั่นเครือ ขณะที่เสียงปุ้ยก็อ่อนแรง แต่เธอต้องรีบจัดการทุกอย่างให้เรียบร้อยเพื่อไปเข้ากะทำงานตอนหนึ่งทุ่มวันนี้ ออกกะเจ็ดโมงเช้าในวันพรุ่งนี้แล้วรีบพาแม่มาฟังผลอุทธรณ์ขอประกันตัวอีกครั้ง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เตรียมจัดงานประชุมเพลิงศพ "หลวงพ่อปัญญา" อดีตที่ปรึกษาสงฆ์ไทใหญ่ในประเทศไทย Posted: 18 Jan 2011 05:29 AM PST พระสงฆ์ร่วมศรัทธาในอ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ เตรียมจัดงานประชุมเพลิงศพ หลวงพ่อปัญญา อดีตเจ้าอาวาสวัดเวียงแหง และอดีตที่ปรึกษาสงฆ์ไทใหญ่ในประเทศไทย มีรายงานว่า คณะศรัทธาวัดเวียงแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ประกอบด้วยสมณะศรัทธา มหามูลศรัทธา คณะศิษยานุศิษย์ ทั้งชาวไทยและไทใหญ่ ในอ.เวียงแหง ได้ประชุมเห็นพ้องต้องกันจะจัดงานประกอบพิธีประชุมเพลิงศพ พระอธิการปัญญา ปัญญาวโร หรือ หลวงพ่อปัญญา อดีตเจ้าอาวาสวัดเวียงแหง ที่มรณภาพไปเมื่อ 4 เดือนที่ผ่านมา โดยวางกำหนดการจัดงานในวันที่ 20 – 23 มกราคม นี้ หลวงพ่อปัญญา เป็นอดีตพระที่ปรึกษาชมรมสงฆ์ไทใหญ่ในประเทศไทย และเป็นพระมีพรรษามากสุดในบรรดาพระสงฆ์ไทใหญ่ในไทย ได้มรณภาพลงด้วยโรคชราที่วัดเวียงแหง เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 53 ขณะมีอายุได้ 82 ปี 61 พรรษา โดยศพหลวงพ่อปัญญา ถูกตั้งบำเพ็ญกุศลไว้ภายในวิหารวัดเวียงแหง มีการเปิดทำบุญแสดงพระธรรมเทศนาและสวดพระอภิธรรมทุกวันอาทิตย์ ตามประวัติหลวงพ่อปัญญา เกิดที่บ้านน้ำเหม็น ต.บ้านแห้ง เมืองลายค่า รัฐฉานตอนใต้ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 10 ขวบ ที่วัดบ้านแห้ง เมืองลายค่า หลังอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ 2 ปี (ปี 2507) เดินทางเข้าประเทศไทยมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ในปี 2509 ได้ย้ายไปอยู่วัดเวียงแหง และหลังจากเจ้าอาวาสวัดเวียงแหงลาสิกขา หลวงพ่อปัญญาได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นเจ้าอาวาสเรื่อยมากระทั่งมรณภาพรวมระยะ เวลา 42 ปี ซึ่งตลอดช่วงชีวิตในเพศบรรพชิต หลวงพ่อปัญญาไม่เคยสิกขาสักครั้ง โดยหลวงพ่อเป็นที่เคารพนับถือของพระสงฆ์และศรัทธาในอำเภอเวียงแหงมาก ในโอกาสนี้ทางคณะศรัทธาเจ้าภาพจึงขอเจริญพรเรียนเชิญพุทธศาสนิกชนนักศีล นักบุญ ไปร่วมงานประชุมเพลิงศพหลวงพ่อปัญญา ตามวันเวลาดังกล่าว ณ สถานที่ เมรุชั่วคราว วัดเวียงแหง สำหรับผู้ประสงค์ทราบรายละเอียด หรือมีจิตศรัทธาร่วมทำบุญงานประชุมเพลิงศพหลวงพ่อปัญญา สามารถติดต่อได้ที่ พระครูธีรกิจโกศล เจ้าคณะตำบลเปียงหลวง (ประธานชมรมสงฆ์ไทใหญ่ในประเทศไทย) ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 089-8554567
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
กองกำลังไทใหญ่ SSA ซุ่มโจมตีรถทหารพม่าเจ็บหลายราย Posted: 18 Jan 2011 05:13 AM PST ทหารกองทัพรัฐฉาน SSA ซุ่มโจมตีรถบรรทุกทหารพม่า ในพื้นที่ อ.เมืองโต๋น รัฐฉาน ตรงข้ามจ.เชียงใหม่ ผลทหารพม่าและชาวบ้านนั่งมาด้วยเจ็บ 3 ราย ขณะที่กองทัพพม่าส่งกำลังเสริมในพื้นที่เพิ่ม มีรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. วานนี้ (17 ม.ค.) ทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA จำนวน 5 นาย สังกัดกองพลน้อยที่ 727 ได้ซุ่มโจมตีรถยนต์บรรทุกทหารพม่าคันหนึ่ง บริเวณใกล้กับบ้านแม่แกน อ.เมืองโต๋น จ.เมืองสาด ตรงข้ามชายแดนไทยด้านบ้านอรุโณทัย ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ส่งผลให้ทหารพม่าถูกยิงได้รับบาดเจ็บ 1 นาย เป็นนายทหารยศร้อยเอก นอกนั้น มีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นนางพยาบาล 1 คน และชาวบ้านเผ่าลีซออีก 1 คนซึ่งนั่งมาในรถคันเดียวกัน แหล่งข่าวเผยว่า รถยนต์ที่ถูกโจมตีเป็นของชาวลาหู่ ชาวบ้านน้ำฮูขุ่น ซึ่งกลับจากไปส่งหญิงตั้งครรภ์คลอดบุตรที่เมืองโต๋น ระหว่างทางได้มีทหารพม่าจำนวน 6-7 นาย โบกขอนั่งมาด้วย และขณะมาถึงบริเวณทางแยกไปบ้านนาป่าก๋าว ก่อนถึงบ้านแม่แกน ห่างประมาณ 3 กม. ถูกทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA ซุ่มโจมตี ทั้งนี้ ตลอดช่วง 2 เดือนมานี้ในพื้นที่อ.เมืองโต๋น จ.เมืองสาด ได้เกิดเหตุปะทะกันระหว่างทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA และทหารพม่าอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม กองกำลังไทใหญ่ SSA จำนวน 15 นาย สังกัดกองพัน 404 กองพลน้อยที่ 727 ได้ซุ่มโจมตีขบวนรถทหารพม่า ที่บริเวณใกล้กับบ้านลาหู่ เก้าหลัก ทิศเหนือของเมืองโต๋น ผลรถบรรทุกทหารพม่าถูกยิงเสียหาย 6 คัน ทหารพม่าได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนหนึ่ง หนึ่งในผู้บาดเจ็บเป็นรองผบ.ยุทธการทหารพม่า ต่อมาวันที่ 19 ธ.ค. 53 ได้เกิดการปะทะกันอีกระหว่างทหารพม่ากับทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA บริเวณทิศเหนือบ้านแม่แกน ห่างจากบ้านแม่แกนประมาณ 2 กิโลเมตร ฝ่ายทหารพม่ามีกำลังพลราว 60 นาย ฝ่าย SSA มี 15 นาย สังกัดกองพลน้อยที่ 727 โดยการปะทะกินเวลากว่า 1 ชั่วโมง ผลทหารพม่าเสียชีวิต 3 นาย ได้รับบาดเจ็บอีก 3-4 นาย นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 53 ทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA กำลังพล 10 นาย ได้ปะทะกับทหารพม่าไม่ทราบสังกัด บริเวณระหว่างบ้านน้ำฮูขุ่นและบ้านอองล่อง ทิศตะวันออกของบ้านปุ่งป่าแขม เขตอำเภอเมืองโต๋น จุดปะทะอยู่ห่างชายแดนไทย ประมาณ 10 กม. ผลฝ่ายทหารพม่าเสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บ 2 นาย และฝ่ายกองกำลังไทใหญ่ SSA เสียชีวิต 1 นาย อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า หลังเกิดเหตุทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA ปะทะทหารพม่าอย่างต่อเนื่อง ทางกองทัพพม่าได้ส่งกำลังมาเสริมในพื้นที่อำเภอเมืองโต๋นเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับมีการจับกุมสอบสวนชาวบ้านส่วนหนึ่งด้วย ขณะที่เมื่อวานนี้ (17 ม.ค.) มีผู้พบเห็นรถบรรทุกทหารพม่าจำนวน 26 คัน บรรทุกทหารเต็มทุกคันจากพื้นที่ฝั่งตะวันตกแม่น้ำสาละวิน ข้ามสะพานท่าซาง มุ่งหน้ามายังพื้นที่เมืองสาด เมืองโต๋น ซึ่งคาดว่า จะเข้าไปเสริมในพื้นที่เมืองโต๋น หรือไม่ก็เข้าไปในพื้นที่เมืองทา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กองทัพพม่าจะจัดตั้งเป็นเมืองใหม่ ตามคำกล่าวของพล.ต.ตานทุนอู แม่ทัพภาคสามเหลี่ยม ก่อนหน้านี้
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ผบ.ตร. สั่งแบนหนังสือวิเคราะห์การเมืองของ "ใจ อึ๊งภากรณ์" Posted: 18 Jan 2011 05:09 AM PST ผบ.ตร.สั่งห้ามนำเข้าหนังสือ Thailand's Crisis and the Fight for Democracy ของ "ใจ อึ๊งภากรณ์" ระบุมีเนื้อหาพาดพิงสถาบันเบื้องสูง
เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์รายงานว่า ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ คำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 702/2553 เรื่อง ห้ามสั่งเข้าหรือนำเข้าสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในราชอาณาจักร คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุว่า ด้วยปรากฏว่าสิ่งพิมพ์จากต่างประเทศ คือ Thailand's Crisis and the Fight for Democracy, Giles Ji Ungpakorn มีข้อความที่มีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท อาศัยอำนาจตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 ห้ามสั่งเข้า หรือนำเข้าเพื่อเผยแพร่ในราชอาณาจักร รวมทั้งให้ริบและทำลายซึ่งสิ่งพิมพ์ดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553 พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทั้งนี้ สื่อสิ่งพิมพ์ดังกล่าว เขียนโดยนายใจ อึ๊งภากรณ์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แปลความหมายเป็นภาษาไทยว่า "ภาวะวิกฤตของประเทศไทยและการต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตย" แบ่งเป็น 6 บท ประกอบด้วย บทที่ 1 เสื้อแดง vs เสื้อเหลือง บทที่ 2 พันธมิตรฯ เอ็นจีโอและขบวนการประชาชน บทที่ 3 วิกฤตของสถาบันกษัตริย์ บทที่ 4 การเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของไทย บทที่ 5 สงครามกลางเมืองในภาคใต้ และบทที่ 6 บันทึกส่วนตัว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น