โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

กต.เผยผลสอบ 7 คนไทยล้ำเเดนกัมพูชาจริง

Posted: 02 Jan 2011 06:24 AM PST

กต.เผยผลสอบ 7 คนไทยล้ำเเดนกัมพูชาจริง ระบุมี 2 แนวทางช่วย ไชยวัฒน์ระบุชุมนุม 4 ม.ค. ที่ จ.สระแก้ว ร้องปล่อย 7 คนไทย

2 ม.ค. 54 - เว็บไซต์คมชัดลึกรายงานว่าเมื่อเวลา 11.00 น.ที่บริเวณประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล  กลุ่มเครือข่ายประชาชนหัวใจรักชาติ นำโดยนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ กรรมการเครือข่ายฯ  ม.ล.วัลวิภา จรูญโรจน์ กรรมการเครือข่ายฯ นายการุณ ใสงาม ที่ปรึกษาเครือข่ายฯ ได้ร่วมกันแถลงข่าวกรณีคนไทย 7 คนถูกทหารกัมพูชาจับกุมเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2553 ที่ผ่านมาว่า เป็นการนำเสนอพยานบุคคลและเอกสารการครอบครองที่ดินของคนไทยเป็นเอกสาร หนังสือรับรองสิทธิ์ในที่ดินทำกิน ( นส. 3 ก.) โดยยืนยันว่า คนไทยที่ถูกทหารกัมพูชาจับกุมในพื้นที่เขตแดนไทยในการลงพื้นที่สำรวจตามคำ ร้องเรียนของประชาชนว่า ถูกบุกรุกพื้นที่เขตแดนไทยจากทหารกัมพูชา รมถึงการเดินทางไปยื่นหนังสือกับทางกองทัพภาคที่ 1 เพื่อประสานการเปิดพื้นที่ให้กลุ่มเครือข่ายได้ชุมนุมเรียกร้องด้วย
 
นายไชยวัฒน์ กล่าวว่า การที่สมเด็จฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ออกมาระบุว่า คนไทย 7 คน หนึ่งในนั้นมีนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส. กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะตัวแทนรัฐสภา ซึ่งเป็น 1 ใน 30 คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา หรือเจบีซี 3 ฉบับ และ 6 ประชาชนคนไทยที่ถูกทหารกัมพูชาจับกุมตัวไป เนื่องจากมีการรุกล้ำดินแดนไม่เป็นความจริง  วันนี้เราเจอพยานบุคคล ที่มีเอกสารยืนยันว่า ประชาชนคนไทยที่ถูกทหารกัมพูชาคุมตัวไป  เป็นพื้นที่เขตแดนของประเทศไทย เอกสารที่ประชาชนได้มาก็มีตั้งแต่ยุคนายธานินทร์ กรัยวิเชียร  เป็นนายกรัฐมนตรี มีการเสียภาษีให้กับท้องที่ตลอดมา เเละกลุ่มเครือข่ายประชาชนหัวใจรักชาติจะมีการยกระดับการเคลื่อนไหวให้แกนนำ เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติทุกภาค  ระดมประชาชนแล้วให้ทุกคนมุ่งไปถนนศรีเพ็ญจ.สระแก้ว   และเปิดเวทีปราศรัยในวันที่ 4 ม.ค. 2554 โดยจะมีการรวมตัวเคลื่อนไหวจากบริเวณประตู 4 ข้างทำเนียบ  รัฐบาล ในวันที่ 3 ม.ค. 2554 เวลา 12.00 น. แล้วร่วมกันเดินทางไปชุมนุมที่ถนนศรีเพ็ญ จ.สระแก้ว เพื่อร่วมชุมนุมด้วยกันเรียกร้องให้มีการปล่อยตัว 7 คนไทย นอกจากนี้เรายังได้รับรายงานมาแล้วว่า จะมีประชาชนเดินทางไปรอร่วมชุมนุมในพื้นที่แล้วประมาณ 5 พันคน
 
ด้าน นายการุณ กล่าวว่า เหตุที่คนไทยถูกกุมตัว เพราะมีประชาชนร้องมายังกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย และนายกรัฐมนตรีว่า ประชาชนไม่สามารถไปออกโฉนด เอกสารสิทธิ์ในการครอบครองที่ดินทำกิน ทั้งที่เขามีการถือหนังสือรับรองเป็นนส.3ก.หรือประชาชนที่ได้เสียภาษีใน ที่ดินทำกินให้กับรัฐ (ภทบ. 5 ) เป็นเอกสารตั้งแต่ปี 2484 เเละปี 2490 โดยเจ้าหน้าที่รางวัดบอกกับประชาชนว่า ทหารกัมพูชายึดครองพื้นที่ไม่สามารถไปทำการรางวัดออกโฉนดได้ หรือแม้แต่ครั้งที่กัมพูชามีสงคราม 3 ฝ่าย ทางองค์การสหประชาชาติก็เคยได้รับรองหมู่บ้านอพยพชาวเขมรให้กับทางรัฐบาลไทย ดังนั้นเอกสารที่มีอยู่ได้รับการรับรองย่อมเป็นดินแดนของคนไทย

กต.เผย2แนวทางช่วย 7 คนไทยเขมรจับ

นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศ ได้เตรียมแนวทางการให้ความช่วยเหลือต่อ นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นายวีระ สมความคิด แกนนำเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ และพวกรวม 7 คนที่ถูกกัมพูชาจับกุมตัว เพื่อให้ได้รับการปล่อยตัวกลับประเทศไทยโดยเร็ว

นอกจากนี้สถานเอกอัครราชทูตได้เตรียมให้ความสะดวกแก่ภรรยาของนายพนิช ที่จะเข้าเยี่ยมนายพนิช ที่เรือนจำไปรซอร์ในวันพรุ่งนี้ ในส่วนการสู้คดีขึ้นอยู่กับทนายความจะปรึกษาหารือกับนายพนิชว่าจะดำเนินการ ต่อไป โดยต้องรอศาลนัดไตร่สวนคดีในวันที่ 4 ม.ค.54 อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงการต่างประเทศได้ให้การดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปตามกระบวนการกฎหมายของกัมพูชา

นายธานี กล่าวด้วยว่า   กระบวนการตรวจสอบพื้นที่เสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมแผนที่ทหาร และกระทรวงการต่างประเทศได้ลงพื้นที่ตรวจสอบแล้ว พบว่า เส้นทางที่คณะนายพนิชใช้ได้รุกล้ำในเขตพื้นที่กัมพูชาจริง แต่ไม่ได้เจตนา อย่างไรก็ตาม กระทรวงการต่างประเทศจะชี้แจงกับกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ทราบต่อไป
 
มีรายงานว่า แนวทางที่กระทรวงการต่างประเทศเตรียมไว้ให้การช่วยเหลือ คือ การเจรจาระดับสูงกับทางการกัมพูชา ควบคุมไปกับการเข้าสู่กับกระบวนการของศาลกัมพูชา ซึ่งสามารถเป็นไปได้ 2 ทาง คือ การยื่นขอประกันตัว หรือการเร่งรัดให้ดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมให้เร็วที่สุด เพื่อขอลดหย่อนผ่อนโทษ โดยให้คำนึงถึงความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาเป็นสำคัญ

ฟันธง"พนิช"โดนจำคุกศาลรธน.วินิจฉัยได้

นายคมสัน โพธิคง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า กรณีที่หากนายพนิชถูกศาลกัมพูชาพิพากษา ว่า มีความผิดและไม่ได้รับการประกันตัวจะทำให้หมดสมาชิกภาพการเป็นส.ส. คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)สามารถที่จะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยเพิกถอนสมาชิกภาพได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91 และ 106 

ส่วนข้อโต้แย้งที่ว่ารัฐธรรมนูญจำกัดเฉพาะศาลในประเทศไทยนั้น แม้เรื่องนี้ไม่เคยเกิดขึ้นแต่เจตนารมณ์การร่างรัฐธรรมนูญมาตรานี้มุ่งไปที่ การป้องกันไม่ให้คนที่มีมลทินมาทำหน้าที่ผู้แทนปวงชน โดยไม่จำกัดว่าจะเกิดที่ใด เช่น หากส.ส.ไปขโมยของในสหรัฐ แล้วถูกพิพากษาจำคุก หรือเข้าประเทศญี่ปุ่นผิดกฎหมาย ถูกตัดสินจำคุกที่ญีปุ่น ก็ถือว่าสิ้นสภาพความเป็นส.ส.ไปด้วย อย่างไรก็ตาม หากมีการส่งเรื่องถึงศาลรัฐธรรมนูญ นายพนิช อาจยกประเด็นการจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นต่อสู้ได้ เพราะจากที่ตรวจสอบนายพนิช ถูกจับในดินแดนของไทย

องอาจยัน 7 คนไทยไม่มีเจตนารุกเขมร

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเร่งช่วยเหลือกลุ่มคนไทย 7 คนที่ถูกทางการกัมพูชาจับกุมตัว ว่า รัฐบาลพยายามใช้หลายช่องทางในการให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้ได้รับความยุติธรรม เพราะเชื่อว่ากลุ่มคนไทยไม่มีเจตนารุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ของกัมพูชา ขณะที่ยืนยันว่า ความสัมพันธ์กับประเทศกัมพูชาขณะนี้ยังเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งหากสิ่งใดที่เป็นปัญหาจะทำความเข้าใจกันมากขึ้น รวมถึงเรื่องข้อพิพาทปราสาทพระวิหาร

ด้าน นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ประธานคณะกรรมการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ตั้งขอสังเกตถึงเจตนาการลงพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณ จ.สระแก้ว ของกลุ่มคนไทยทั้ง 7 คน ที่ขาดการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จนทำให้มีปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ และถูกควบคุมตัวในที่สุด ซึ่งมองว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนอกจากส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชามากขึ้น แล้ว ยังอาจส่งผลในทางการเมือง โดยเฉพาะการออกมาชุมนุมเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่จะ มีขึ้นในวันที่ 22 มกราคมนี้ ขณะเดียวกันรัฐบาลควรเร่งสร้างความชัดเจนถึงการปักปันเขตแดนในพื้นที่ต่างๆ ที่มีความล่าช้า ทั้งที่ จ.สระแก้ว หรือพื้นที่บริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหารและในอ่าวไทย

ร้อยละ 89 เชื่อเป็นเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ

นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า วันนี้ภรรยาของนายพนิช ได้เดินทางไปประเทศกัมพูชาเพื่อเยี่ยมสามี คาดว่าจะเข้าพบได้วันนี้หรือวันพรุ่งนี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กำชับว่า ให้ช่วยโดยเร็ว
 
ด้านสวนดุสิตโพล ระบุว่า ร้อยละ 89 เชื่อว่า การจับกุมคนไทยทั้ง 7 คน เป็นเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันยังกังวลว่า จะกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียว ทำให้กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังนั้นรัฐบาลควรจะเร่งเจรจาให้มีการปล่อยตัว และหาข้อยุติในการแบ่งเส้นแดนไทย-กัมพูชาให้ชัดเจน

พท.ชี้คำพูดรัฐบาลอาจเป็นพยานมัดตัว"พนิช"ติดคุกเขมร

เมื่อเวลา 10.30 น. ที่พรรคเพื่อไทย นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงถึงกรณีที่นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ถูกกัมพูชาจับกุม ว่า ตนไม่คิดว่าส.ส. ที่เป็นอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเสียทางมวยจนถูกจับ กุม ก่อนหน้านี้พรรคเพื่อไทยได้เตือนแล้วว่าไม่เหมาะสมที่จะเดินทางรุกล้ำเข้าไป ในเขตกัมพูชา เพราะนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ยังมีปัญหาคาใจคนในรัฐบาลกัมพูชาอยู่ แต่สถานการณ์ดูเหมือนรุนแรงขึ้นเพราะนายกษิตยอมรับว่าบุคคลทั้ง 7 ลุกล้ำแผ่นดินกัมพูชาจริง และยังยอมรับว่ามีคลิปเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยทั้งๆ ที่ในทางการทูตหากเจรจาไม่สำเร็จควรจะระบุว่าอยู่ในขั้นตอนการเจรจาจะได้ไม่ เป็นพยานหลักฐานไปเพิ่มน้ำหนักให้ศาลลงโทษได้เต็มที่   ซึ่งคณะกรรมการติดตามการทำงานรัฐบาล (คตร.) ของพรรคเพื่อไทยบางคนยังตกใจที่รัฐมนตรีปากไว

นายจิรายุ กล่าวอีกว่า พรรคเพื่อไทยมองว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพรรคการเมืองใหม่ และกลุ่มพันธมิตรฯ รวมทั้งคนของพรรคประชาธิปัตย์น่าจะเป็นดินเนื้อเดียวกัน เพราะขณะที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พยายามจะสานสัมพันธ์กับกัมพูชา แต่ทางหนึ่งกลับสั่งการให้ส.ส.ของพรรคไปดำเนินการบางอย่างร่วมกับกลุ่ม พันธมิตรฯ อย่างไรก็ตาม พรรคเพื่อไทยได้ตั้งคณะทำงานติดตามกรณีความขัดแย้งและความคืบหน้าในการแก้ ปัญหากรณีพื้นที่ทับซ้อนและเขาพระวิหารของรัฐบาลอภิสิทธิ์ด้วยว่า ได้ดำเนินการตามที่เคยโจมตีพรรคเพื่อไทยในสมัยพรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน หรือไม่ ส่วนกรณีการให้ความช่วยเหลือในคดีนี้นั้น พรรคเพื่อไทยแม้จะมีสายสัมพันธ์อันดีกับกัมพูชา แต่โดยมารยาทต้องปล่อยให้รัฐบาลแสดงฝีมือก่อน แต่ถ้าไม่ไหวก็ขอให้รัฐบาลร้องขอมา พรรคยินดีจะจัดให้ เพื่อให้คนไทยทุกคนโดยไม่เกี่ยงว่าเป็นกลุ่มพันธมิตรฯ หรือพรรคประชาธิปัตย์

สำหรับกรณีที่มีข้อสังเกตว่า การกระทำของนายพนิชอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญและสุ่มเสี่ยงต่อสมาชิกภาพส.ส.นั้น   นายจิรยุกล่าวว่า แกนนำพรรคเพื่อไทยได้หารือกันและเห็นว่า ควรเตรียมความพร้อมในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อมส.ส.กทม.เขต 6 ได้เลย ทั้งนี้ในการประชุมพรรคเพื่อไทยสัปดาห์นี้พรรคจะหารือถึงกลยุทธ์ การหาเสียง และตัวผู้สมัครด้วยหากกกต.ระบุว่าต้องมีการเลือกตั้งซ่อมเกิดขึ้น

ที่มาข่าว: คม ชัด ลึก

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักวิชาการชี้ ปี 54 เป็นปีแห่งสงครามสิทธิเสรีภาพ

Posted: 02 Jan 2011 06:15 AM PST

นักวิชาการจุฬาฯ ชี้ประเทศไทยยังต้องใช้เวลาอีกนาน กว่าจะกลับเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตย ที่การเลือกตั้งมีบทบาทสำคัญ ระบุปี 54 จะเป็นปีแห่งสงครามสิทธิเสรีภาพ หากรัฐบาลยังคง พ.ร.บ.ความมั่นคง มีความเป็นไปได้สูง ที่สื่อเสื้อแดงจะกลับมา

2 ม.ค. 54 - สำนักข่าวไทยรายงานว่านายพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์สถานการณ์ประชาธิปไตย ในปี 2554 ว่า จากสถานการณ์ปัจจุบัน คงต้องใช้เวลาอีกนาน กว่าประเทศไทยจะเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตย ที่มีระบบการเลือกตั้งเป็นกลไกสำคัญ และเราคงไปถึงจุดนั้นช้า ตราบเท่าที่ยังมีอำนาจที่อยู่นอกรัฐสภา และเห็นว่า การคงไว้ซึ่ง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ก็เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้เห็นว่า เรายังไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ถ้ามองในแง่ดี การยกเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้ข้อถกเถียงในทางประชาธิปไตยคืบหน้าขึ้น โดยปี 2554 แม้ตัวประชาธิปไตย ในแง่ของกระบวนการ อาจไม่สมบรูณ์ แต่การถกเถียงในประเด็นประชาธิปไตยจะดีมากขึ้น โดยจะถกเถียงกันในเรื่องที่เป็นรากฐานสำคัญของประชาธิปไตย ในประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพ

“ผมเชื่อว่า ในปี 2554 สิ่งที่ต้องเผชิญ คือ การถกเถียงเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เมื่อสังคมถูกปกปิด ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารรอบด้าน ภายใต้กฎหมายความมั่นคง โอกาสที่สื่อเสื้อแดงจะกลับมาจะมีสูง ประชาธิปไตยไม่ใช่การเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว การที่รัฐบาลจะอยู่ได้ รัฐบาลต้องโปร่งใส และยืนหยัดกับสิ่งที่ตัวเองเชื่อ โดยยอมเปิดเผยข้อมูลข่าวสารทั้งหมด สื่อกระแสหลักบทบาทจะน้อยลง สื่ออื่น โดยเฉพาะโซเชียล มีเดีย ที่จะมีบทบาทมาก ปี 2554 จะเป็นปีแห่งสงครามสิทธิเสรีภาพ” นายพิชญ์ กล่าว และว่า รัฐบาลไม่ใช่รัฐบาลเผด็จการ รัฐบาลต้องอยู่ได้ ต้องทำงานต่อ รัฐบาลต้องเคลียร์ตัวเองหลายเรื่อง ขณะที่ สื่อจะต้องทำงานหนักต่อไป

เมื่อถามว่า จะบอกกับคนไทยให้อยู่กับประชาธิปไตย แบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างไร นายพิชญ์ กล่าวว่า คนไทยต้องรู้เท่าทันสื่อ ฟังสื่อมาก ตรวจสอบได้ เชื่อเป็น หมดยุคการดูทีวีช่องเดียว ให้คำตอบได้หมด ต้องดูทีวีหลายช่อง แล้วดูว่าเขามีจุดยืนอย่างไร เรามีจุดยืนอย่างไร มุมมองเช่นนี้จะเป็นเรื่องสำคัญ

ที่มาข่าว: สำนักข่าวไทย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน พื้นที่ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี

Posted: 02 Jan 2011 06:08 AM PST

กอ.รมน.ภาค 4 ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี

2 ม.ค. 54 - พันเอก บรรพต  พูลเพียร โฆษก กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘ และได้มีการประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อใช้มาตรการต่างๆ ที่บัญญัติไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ เข้าดำเนินการในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งของรัฐและประชาชน ภายในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงนั้น

โดยปรากฏว่า ในปัจจุบันสถานการณ์อันเป็นเหตุให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี อยู่ในภาวะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐสามารถใช้มาตรการต่างๆ เข้าควบคุม ระงับยับยั้ง และแก้ไขปัญหาได้ตามปกติแล้ว

จึงให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ รายละเอียดตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๕๑ ง หน้า ๘ ลง ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๓
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

4 วัน ตาย 234 เจ็บ 2,656

Posted: 02 Jan 2011 12:25 AM PST

2 ม.ค.53 - นายแพทย์ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนน วันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันที่ 4 ในช่วงรณรงค์ 7 วันอันตราย พบว่าเกิดอุบัติเหตุรวม 777 ครั้ง เสียชีวิต 83 คน บาดเจ็บ 845 คน
      
ทั้งนี้ยังได้สรุปตัวเลขการเกิดอุบัติเหตุสะสมตลอด 4 วัน คือตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2553 - 1 มกราคม 2554 ว่ามีจำนวนการเกิดอุบัติเหตุรวม 2,473 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 234 คน ผู้บาดเจ็บ 2,656 คน โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด คือ จ.เชียงราย 86 ครั้ง รองลงมาคือ จ.เชียงใหม่ 79 ครั้ง ขณะที่ จ.ลพบุรี มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด จำนวน 12 คน รองลงมาคือ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 10 คน และจังหวัดที่มีผู้ประสบอุบัติเหตุสูงสุด คือ จ.เชียงราย 92 คน รองลงมาคือ จ.เชียงใหม่ และ จ.พิษณุโลก จังหวัดละ 82 คน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สัมภาษณ์วรเจตน์ ภาคีรัตน์:การสร้างพลเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตยไทย

Posted: 01 Jan 2011 09:52 PM PST

เมื่อเราถูกสอนให้เชื่อว่าคนไทยไม่เข้าใจ/ไม่มีความรู้เรื่องประชาธิปไตย ปชต.เป็นปัญหา เราจะหลุดพ้นจากความเชื่อนั้นได้อย่างไร โปรดติดตามอ่าน..

จุลนิติ : หลักการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยของนานาอารยประเทศในโลกนี้ได้วางหลัก การพื้นฐานอันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยไว้อย่าง ไร

รศ. ดร. วรเจตน์ฯ : คำว่า “ประชาธิปไตย” หมายถึงการปกครองโดยประชาชนเป็นใหญ่ เป็นรูปแบบหนึ่งของระบอบการปกครอง (Regime of Government) เราคงทราบว่าในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาตินั้น ได้ผ่านรูปแบบการปกครองมาแล้วหลายรูปแบบด้วยกัน โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้นประเด็นที่นับว่าเป็นคำถามที่สำคัญที่สุด คือ “อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยควรเป็นของใครหรือควรอยู่ที่ใคร” ซึ่งในที่สุดแล้วพัฒนาการของแนวความคิดทางด้านการเมืองโดยเฉพาะในยุคสมัย ใหม่เป็นต้นมา ได้ให้การยอมรับและถือว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ “ควรเป็นของประชาชน”

ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้ว หลักการพื้นฐานหรือหัวใจที่มีความจำเป็นต้องพิจารณาและคำนึงถึงคือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศนั้นเป็นของใคร ฉะนั้น ถ้าหากว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของพระเจ้าหรือผู้แทนของพระเจ้า บนพื้นพิภพ หรือเป็นของพระมหากษัตริย์ หรือเป็นของนักวิชาการหรือนักปราชญ์แล้ว การปกครองในรูปแบบนั้นไม่ถือว่าเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศต้องเป็นของประชาชน หลักการนี้คือหลักการพื้นฐานอันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญหรือนิยามที่สั้นที่ สุดของการปกครองระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ ให้พิจารณาในแง่ของตัวผู้ที่เป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศว่า เป็นใคร อย่างไรก็ตามการแสดงออกซึ่งอำนาจของประชาชนนั้นอาจเป็นไปได้ในหลายลักษณะ ดังนั้นการใช้อำนาจสูงสุดจึงอาจมีรูปลักษณ์แตกต่างกันไปได้ เช่น การออกเสียงเลือกตั้ง การออกเสียงประชามติ การให้องค์กรของรัฐที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยเป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นต้น

จุลนิติ : ในทัศนะของอาจารย์มีความเห็นว่าปัจจุบันประชาชนชาวไทยมีความรู้ความเข้าใจในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด

รศ. ดร. วรเจตน์ฯ : เดิมสมัยที่ผมเป็นนักศึกษาและเรียนหนังสืออยู่ในมหาวิทยาลัย ผมถูกสอนให้เชื่อหรือเข้าใจเหมือนกับที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันว่า ประชาชนของประเทศไทยยังไม่มีความรู้ความเข้าใจว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตย คืออะไร หรือยังไม่มีความเข้าใจว่าตนเองเป็นผู้ที่ทรงอำนาจหรือเป็นเจ้าของอำนาจ อธิปไตยอย่างไร และผมถูกสอนให้เชื่ออีกว่าสาเหตุที่ทำให้ระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยมี ปัญหานั้น สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยคณะราษฎร2. เป็นการชิงสุกก่อนห่าม เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยกลุ่มนักเรียนนอกหรือกลุ่มบุคคลซึ่ง เป็นคนหัวก้าวหน้าและได้รับอิทธิพลแนวความคิดมาจากตะวันตก พอกลับมาประเทศไทยจึงรีบร้อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยที่ประชาชนของประเทศยังไม่มีความรู้ความเข้าใจว่าการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยคืออะไร จนส่งผลทำให้เกิดเป็นปัญหาของประเทศมาจนถึงปัจจุบันนี้

แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ผมได้ตระหนักแล้วว่าสิ่งที่ผมเคยรับรู้มานั้นน่าจะเป็นแนวความคิดที่ผิด และถ้า หากถามผม ณ ปัจจุบันนี้ว่าประชาชนชาวไทยโดยส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในหลักการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด ผมเชื่อว่าในปัจจุบันนี้ประชาชนชาวไทยโดยส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจดี อย่างน้อยที่สุดก็ตระหนักรู้ในสิทธิในเสียงของตนเอง ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากพัฒนาการในทางการเมือง โดยเฉพาะในช่วง ๓ ถึง ๔ ปี ที่ผ่านมานี้ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนในฝ่ายใดหรือสีใดก็ตาม ผมเชื่อว่าเขามีความเข้าใจและตระหนักดีว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศแท้ จริงแล้วมันเป็นอำนาจของเขา เพียงแต่วิธีการในการแสดงออกหรือการใช้อำนาจและแนวความคิดบางอย่างอาจจะไม่ ตรงกันเท่านั้น และบางส่วนอาจจะยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการเคารพเสียงข้างมากอย่างพียง พอ คือคิดว่าเสียงข้างน้อย (ที่ได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นนำ) ถูกต้อง เมื่อถูกต้องเสียแล้วจึงมีความชอบธรรมที่จะทำอะไรแม้แต่จะกระทบกับแก่นของ ประชาธิปไตยก็ได้เป็นความคิดที่ผิด

จุลนิติ : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรนั้นเกิดจากสาเหตุใด และกระบวนการในการสร้างประชาธิปไตยโดยเฉพาะการสร้างจิตสำนึกของประชาชนให้ ได้มีโอกาสเข้าถึงวิถีชีวิตแบบสังคมประชาธิปไตยที่ถูกต้องนั้นควรมีแนว ทางอย่างไร

รศ. ดร. วรเจตน์ฯ : สำหรับคำถามประเด็นนี้อาจจะตอบยาก เพราะว่าปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยใน ประเทศไทยไม่ประสบผลสำเร็จเป็นปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบการ เมืองของไทยในปัจจุบัน กล่าวคือ กลุ่มชนชั้นนำของสังคมไทยในปัจจุบันยังมีการโต้เถียงกันว่าแท้จริงแล้ว ประชาชนชาวไทยมีความพร้อมหรือมีความเข้าใจในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย หรือไม่ ฝ่ายหนึ่งมีความเห็นว่ายังไม่พร้อม เนื่องจากการเลือกตั้งที่ผ่านมาทำให้ได้นักการเมืองเข้ามาทุจริตคอร์รัปชั่น และกระบวนการในการเลือกตั้งยังมีการซื้อเสียง รวมทั้งมีความเชื่อว่านักธุรกิจที่เข้าสู่ระบบการเมืองอาจจะผูกขาดอำนาจทาง การเมืองโดยผ่านกลไกพรรคการเมือง และอาจจะนำไปสู่ระบบเผด็จการนายทุนได้ ดังนั้น จึงทำให้มีความเข้าใจหรือความเชื่อว่าประชาชนชาวไทยยังไม่พร้อมกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย

สำหรับในมุมมองของผม ในเบื้องต้นจะต้องมีความเข้าใจว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองซึ่ง มองว่ามนุษย์ทุกคนในสังคมล้วนแล้วแต่มีผลประโยชน์ในทางการเมืองทั้งสิ้น เป็นเรื่องปัจเจกของบุคคลแต่ละคนหรือของกลุ่มบุคคลแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ ชาวไร่ชาวนา คนขับรถแท็กซี่ ข้าราชการ หรือทุกคนที่อยู่ในระบบนี้ ล้วนแล้วแต่มีผลประโยชน์ในทางการเมืองทั้งสิ้น ดังนั้น ระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นระบอบที่พยายามจัดสรรผลประโยชน์ในทางการเมืองให้มีความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายภายใต้หลักนิติรัฐ

หากถามว่าเพราะเหตุใดประเทศไทยยังคงมีปัญหาเรื่องนี้อยู่ในปัจจุบัน ผมคิดว่ามีสาเหตุ สำคัญมาจากความไม่ลงตัวของดุลอำนาจหรือความไม่ลงตัวของโครงสร้างการเมืองการ ปกครอง นับตั้งแต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ กล่าว คือ ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของพระมหา กษัตริย์ แต่ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่พระมหา กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของ ประชาชนทั้งหลาย ซึ่งหากพิจารณาในทางหลักการแล้วอาจจะมีการเปลี่ยน แปลง แต่หากพิจารณาในแง่ของดุลอำนาจจริง ๆ แล้ว ผมมีความเห็นว่าอาจจะไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยเท่าใดนัก

อย่างไรก็ตาม ในช่วงประมาณ ๑๕ ปีแรก ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองอาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ระบบกำลัง ดำเนินไปในทิศทางของประชาธิปไตยเป็นลำดับ แต่ก็มาสะดุดเอาเมื่อมีการทำรัฐประหารในปี พ.ศ. ๒๔๙๐3.  และนับแต่นั้นเป็นต้นมาอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศแทบจะไม่ได้ตกมาอยู่ในมือหรือเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะเหตุที่มักจะมีกระบวนการที่พยายามสกัดกั้นพัฒนาการของประชาธิปไตยมาโดยตลอด นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เรื่อยมา และ ส่งผลทำให้ประเทศไทยเข้าสู่วงจรการทำรัฐประหาร การยึดอำนาจ ฉีกทำลายรัฐธรรมนูญ จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ และสุดท้ายก็มีการยึดอำนาจ เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

สาเหตุประการหนึ่งซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยไม่ประสบผลสำเร็จคือ ความล้มเหลวหรือความพ่ายแพ้ของคณะราษฎรในการสถาปนาอุดมการณ์ประชาธิปไตยหรือนิติรัฐให้เป็นอุดมการณ์ของสังคม กล่าวคือ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรไม่สามารถที่จะทำให้อุดมการณ์ประชาธิปไตยหรือนิติรัฐแทรกซึมผ่าน เข้าไปในกลุ่มคนหรือองค์กรที่มีอำนาจในทางวินิจฉัยชี้ขาดหรือตัดสินปัญหา สำคัญ ๆ ของประเทศได้ เราอาจพูดถึงองค์กรได้หลายองค์กร แต่อาจจะยกตัวอย่างให้เห็นเด่นชัดได้ เช่น กองทัพหรือองค์กรตุลาการ หากกล่าวเฉพาะองค์กรตุลาการ เราจะเห็นว่าองค์กรตุลาการเป็นองค์กร ที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นน้อยที่สุดภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เนื่องจากได้รับเอาโครงสร้างขององค์กรตุลาการเดิมก่อนมีการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองมาเกือบทั้งหมด รวมทั้งมีบทบาทในการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนหรือมีส่วน ในการพัฒนาประชาธิปไตยน้อยมาก ดังนั้น พลังในการที่จะผลักหรือขับเคลื่อนประชาธิปไตยในช่วงเวลานั้นจึงอ่อนแรงลง ประกอบกับการต่อสู้กันของกลุ่มชนชั้นนำหรือกลุ่มอำนาจเดิมก่อนมีการเปลี่ยน แปลงการปกครองซึ่งมีความชาญฉลาดในการที่จะดึงอำนาจกลับคืนมาทีละเล็กทีละ น้อยผ่านบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จนทำให้อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศไม่ได้เป็นของประชาชน อย่างแท้จริง นี่ยังไม่ต้องพูดถึงกองทัพที่แทบจะไม่มีอุดมการณ์ในเรื่องการรักษาคุณค่าของ ระบอบประชาธิปไตยหรือการพิทักษ์คุ้มครองรัฐธรรมนูญเลย

ความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นของคณะราษฎรอาจมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งภายในคณะราษฎรเอง กล่าวคือ ภายหลังจากที่ได้อำนาจมา นอกจากจะต้องต่อสู้กับกลุ่มอำนาจเก่าแล้ว ในคณะราษฎรเองความคิดเห็นบางอย่างยังไม่ลงรอยกัน และความคิดเห็นที่ไม่ลงรอยกันนี้ทำให้เกิดการต่อสู้กัน จนมาถึงจุดที่ทำให้สถานการณ์ผันแปรไป คือภายหลังเหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ ๘ และเป็นเหตุที่ทำให้ ศ. ดร. ปรีดี  พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม แกนนำของคณะราษฎรฝ่ายก้าวหน้า ผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์ดังกล่าวและต้องได้รับผลร้ายจนเป็นเหตุให้ต้องลี้ภัยการเมืองไปยัง ต่างประเทศและเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทางการเมือง เหตุการณ์ดังกล่าวนับว่า เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในทางประวัติศาสตร์ในความคิดเห็นของผม เพราะถ้าไม่มีเหตุการณ์หรือจุดเปลี่ยนตรงนั้น ปัจจุบันนี้ประชาธิปไตยของประเทศไทยอาจมีพัฒนาการไปอีกระดับหนึ่งแล้ว

ปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้สร้างกลไกให้รัฐบาลมีความเข้มแข็งและมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น และรัฐบาลที่มีความเข้มแข็งดังกล่าวเป็นรัฐบาลชุดที่มีนโยบายและการทำงานถูก ใจประชาชนส่วนใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลชุดดังกล่าวได้ถูกกล่าวหาหรือมีข้อครหาเกี่ยวกับการ ทุจริตคอร์รัปชั่นและผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้นำ ในที่สุดปัญหาหรือแนวความคิดในสองด้านนี้ได้มาปะทะกัน และคนในสังคมไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าปัญหาเรื่องใดเป็นเรื่องหลัก ปัญหาเรื่องใดเป็นเรื่องรอง จึงได้ยกเอาเรื่องที่เป็นเรื่องรองกลายมาเป็นเรื่องหลัก กล่าวคือ ยกเอาเรื่องการจัดการกับอดีตนายกรัฐมนตรีมาเป็นเรื่องหลัก ซึ่งภายใต้แนวความคิดแบบนี้จึงเป็นต้นเหตุในการทำลายอุดมการณ์ประชาธิปไตยโดยไม่รู้ตัว เพราะอดีตนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งภายใต้หลักเกณฑ์ของประชาธิปไตย ในส่วนของข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นและผลประโยชน์ทับซ้อนนั้น ต้องดำเนินการหรือจัดการไปตามระบบหรือกลไกของประชาธิปไตย ซึ่งผมไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าต้องใช้เวลานานเพียงใด เพราะขึ้นอยู่กับตัวระบบที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง ถ้าเราเชื่อในระบบหรือกลไกของประชาธิปไตย  แต่ถ้าหากเราไม่เชื่อว่าระบบหรือกลไกของประชาธิปไตยจะสามารถแก้ไขปัญหาด้วย ตัวเองได้ แล้วเราจะมาเรียกร้องประชาธิปไตยกันทำไม

ดังนั้น ผมจึงอยากให้พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าต้นเหตุที่ทำให้การพัฒนาการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยในประเทศไทยไม่ประสบผลสำเร็จอยู่ตรงไหน ต้นเหตุของปัญหาอยู่ที่ประชาชนจริงหรือไม่ สำหรับผมแล้วผมคิดว่าเราคงไม่สามารถกล่าวได้ว่าประชาชนไทยทุกคนหรือแม้ กระทั่งในโลกนี้มีวิจารณญาณในการตัดสินใจที่เท่ากัน ตอนที่ผมเรียนหนังสืออยู่ในเยอรมัน ผมได้ศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศเยอรมัน ทำให้ทราบว่ารัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งของประเทศเยอรมันได้วางหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการเลือกตั้งไว้ค่อนข้างสลับซับซ้อน และผมลองถามชาวบ้านเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ว่ามีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอย่างไรบ้าง ชาวบ้านตอบว่าไม่รู้และไม่มีทางที่จะรู้ได้ เพราะว่าเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนมาก แต่อย่างน้อยชาวบ้านรู้ว่ามีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งและรู้ว่าอำนาจ สูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของเขา ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องในทางเทคนิคที่จะต้องดำเนินการตามกฎหมาย

สำหรับประเทศไทย ผมมีความเห็นว่าปัจจุบันนี้กลุ่มชนชั้นนำของสังคมไทยหรือกลุ่มคนที่อยู่ใน ระดับผู้นำของประเทศน่าจะยังมีความไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองมา เป็นระบอบประชาธิปไตยซึ่งอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชนอย่าง แท้จริง เพราะอาจกลัวว่าจะมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของตนเอง และกลัวว่าประชาชนจะถูกหลอกโดยนักการเมืองฉ้อฉล ด้วยความกลัวดังกล่าวจึงทำให้คนกลุ่มนี้ รวมทั้งนักวิชาการและข้าราชการระดับสูง ได้พยายามแสวงหาวิธีการหรือระบอบการปกครองในอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่การปกครองระบอบประชาธิปไตย ถึงแม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน มาตรา ๒ และมาตรา ๓ จะได้วางหลักการไว้ว่าประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยก็ตาม แต่หากพิจารณาลึกลงไปในทางเนื้อหาของรัฐธรรมนูญแล้ว จะเห็นว่ามีกลไกบางประการที่ไม่สอดคล้องกับหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย เช่น หลักการเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการ เมืองซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยกับการกระทำความผิด เพราะเท่ากับไปทำลายการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงเจตจำนงในทางการเมืองของประชาชน อีกทั้งหลักการดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แต่ประการใด หรือหลักการที่กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามีที่มาจากการสรรหาส่วนหนึ่ง หรือการกำหนดให้ตุลาการมีบทบาทและอำนาจเพิ่มมากขึ้นโดยที่ไม่สามารถที่จะ วิพากษ์วิจารณ์ได้หรือวิพากษ์วิจารณ์ได้ด้วยความยากลำบาก เป็นต้น

โดยสรุปแล้วปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การพัฒนาการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยในประเทศไทยไม่ประสบผลสำเร็จ คือ การที่อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศยังไม่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ดังนั้น วิธีการหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ง่ายที่สุด คือการยอมรับกันในหลักการเบื้องต้นก่อนว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยอำนาจ สูงสุดในการปกครองประเทศจะต้องเป็นของประชาชน หากประชาชนตัดสินใจอย่างใด ต้องยอมรับในการตัดสินใจนั้น และการแก้ไขปัญหาจะต้องแก้ไขไปตามระบบ นักการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชั่นจะต้องมีการจัดการตามระบบของกฎหมาย มิใช่พอเห็นว่ามีปัญหาเกิดขึ้นก็นำกำลังทหารออกมายึดอำนาจ ซึ่งเท่ากับทำให้พัฒนาการของประชาธิปไตยสะดุดหรือหยุดชะงักลง สิ่งนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาธิปไตยของประเทศไทยไปไม่ถึงไหน

จุลนิติ : เมื่อสักครู่อาจารย์ได้กล่าวว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้การพัฒนาการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยในประเทศไทยไม่ประสบผลสำเร็จ คือ ความล้มเหลวหรือพ่ายแพ้ของคณะราษฎรในการสถาปนาอุดมการณ์ประชาธิปไตยหรือนิติ รัฐให้เป็นอุดมการณ์ของสังคม ดังนั้น หากสามารถย้อนเวลากลับไปในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้ และอาจารย์เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมกับคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อาจารย์จะดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร

รศ. ดร. วรเจตน์ฯ : ในฐานะที่ผมเป็นนักนิติศาสตร์ ผมคงจะทำได้ในแง่ของการจัดโครงสร้างของระบบกฎหมาย ซึ่งแน่นอนว่าการดำเนินการเพียงแค่นี้อาจจะไม่เป็นการเพียงพอ เนื่องจากการ สถาปนาอุดมการณ์ประชาธิปไตยหรือนิติรัฐให้เป็นอุดมการณ์ของสังคมนั้น ไม่ได้อาศัยเพียงเฉพาะตัวบทกฎหมายที่เป็นตัวหนังสือดำ ๆ บนแผ่นกระดาษเท่านั้น เพราะยังหมายถึง สำนึก วิธีคิด อุดมการณ์ และความเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม ดังนั้น การปลูกฝังระบอบประชาธิปไตยให้เป็นอุดมการณ์ของสังคมจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการในหลาย ๆ ด้านไปพร้อม ๆ กัน

ดังนั้น ส่วนหนึ่งที่ผมจะทำคือการจัดวางโครงสร้างของระบบกฎหมายให้มีความสอดคล้องหรือรองรับกับอุดมการณ์ในทางประชาธิปไตย รวมทั้งในทางวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจด้วย สำหรับกฎเกณฑ์ในทางรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าสิ่งที่จะต้องทำคือจัดการความสัมพันธ์ของโครงสร้างอำนาจในทางรัฐธรรมนูญให้รับกับตัวระบบ หมาย ความว่า อำนาจของรัฐทุกอำนาจที่ใช้จะต้องมีความเชื่อมโยงกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของ อำนาจ ทั้งในด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ตลอดจนความสัมพันธ์ของอำนาจเหล่านี้กับประมุขของรัฐหรือพระมหากษัตริย์ด้วย โดยจะต้องจัดวางให้ได้ดุลยภาพภายใต้หลักการของความรับผิดชอบต่อประชาชน นั่นหมายความว่าองค์กรของรัฐองค์กรใดมีอำนาจโดยขาดความเชื่อมโยงในทาง ประชาธิปไตยกับประชาชนหรือใช้อำนาจโดยไม่ต้องรับผิดชอบกับการใช้อำนาจนั้น จะต้องปรับเปลี่ยนการมีและการใช้อำนาจในลักษณะเช่นนั้นเสีย ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าในช่วงประมาณ ๑๕ ปีแรก ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นช่วงเวลาที่ระบบกำลังดำเนินไปในทิศทางของประชาธิปไตยเป็นลำดับ โดยเฉพาะการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ ซึ่งผมมีความเห็นว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่มีความก้าวหน้ามาก โดยได้วางหลักการเกี่ยวกับอำนาจนิติบัญญัติไว้ค่อนข้างดี และถ้าผมมีส่วนในการยกร่าง คงจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมหลักการในบางประการ เช่น ทำให้อำนาจของตุลาการมีความเชื่อมโยงกับประชาชน ให้มีผู้ตรวจการทหารซึ่งรัฐสภาแต่งตั้งทำหน้าที่ตรวจสอบกองทัพ เป็นต้น อย่างไรก็ตามนี่เป็นการตอบบนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญในช่วงสิบห้าปีแรกหลัง เปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ถ้าถามถึงรัฐธรรมนูญในปัจจุบันนี้คงจะมีจุดที่ต้องปรับเปลี่ยนเยอะกว่า นี้มาก เรียกว่าต้องยกเครื่องใหม่ทีเดียว

จุลนิติ : การพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งมั่นคงและยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง ตามหลักการที่ว่าเป็น “การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” นั้นควรจะต้องมีการพัฒนาอย่างไรจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้

รศ. ดร. วรเจตน์ฯ : วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการทำให้กลุ่มชนชั้นนำของสังคมไทยหรือกลุ่มคนที่ อยู่ในระดับผู้นำของประเทศมีความตระหนักและควรรู้ว่าในที่สุดจะไม่สามารถ ทัดทานกระแสประชาธิปไตยได้ เพราะแนวความคิดทางด้านการเมืองการปกครองของโลกได้พัฒนามาถึงจุดสุดท้ายแล้ว หรืออาจกล่าวได้ว่าประชาธิปไตยคือคำตอบสุดท้าย ส่วนที่เหลือที่จะต้องมีการพัฒนาต่อไปเป็นเพียงรายละเอียดในแง่ของรูปแบบ ประชาธิปไตยเท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันผมยังมองไม่เห็นว่ามีระบอบการปกครองใดที่จะดีไปกว่าระบอบ ประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ระบอบการปกครองในโลกนี้ไม่ว่าระบอบใด ต่างก็มีปัญหาด้วยกันทั้งนั้น ระบอบประชาธิปไตยก็มีปัญหาในตัวเอง แต่การมีปัญหาของระบอบประชาธิปไตยยังมีข้อดีคือ การเปิดโอกาสหรือการมีเสรีภาพในการที่จะวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความเห็นได้ ซึ่งถือเป็นคุณค่าสำคัญของระบอบประชาธิปไตย

ดังนั้น สิ่งที่ผมอยากจะเน้นย้ำมากที่สุดในการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งมั่นคงและยั่งยืน ตามหลักการที่ว่าเป็น “การ ปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” นั้น คือการทำให้อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชน และประชาชนสามารถที่จะใช้อำนาจนั้นได้อย่างแท้จริง ต้องเคารพการใช้อำนาจของประชาชน และการแสดงออกซึ่งอำนาจของประชาชนที่มีความชัดเจนที่สุดคือการเลือกตั้งกับ การออกเสียงประชามติ ถึงแม้การเลือกตั้งอาจจะไม่ใช่ทั้งหมดของประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยในโลกปัจจุบันนี้เกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีการเลือกตั้ง หรืออาจกล่าวได้ว่าการเลือกตั้งมิใช่คำตอบทุกคำตอบของประชาธิปไตย แต่เป็นสาระสำคัญของประชาธิปไตย หากใครปฏิเสธการเลือกตั้งเท่ากับเป็นการปฏิเสธประชาธิปไตยในบั้นปลาย และโดยส่วนตัวผมมีความเห็นว่าปัญหาในการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยอยู่ที่ชนชั้นนำ ปัญหาไม่ได้อยู่ทีประชาชน แน่นอนว่าในรายละเอียดคงจะต้องพูดถึงเรื่องการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น ของประชาชน เรื่องการกระจายอำนาจอะไรเหล่านี้ แต่สิ่งนี้มาทีหลัง ดังนั้นเวลาพูดว่าประชาชนไม่พร้อมเพราะยังไม่มีการศึกษา ต้องให้การศึกษากับประชาชน ซึ่งเป็นคำพูดมาตรฐานเวลาพูดถึงปัญหาประชาธิปไตยไทย ผมว่าอาจจะต้องพูดถึงการให้การศึกษาเรื่องประชาธิปไตยและการปลูกจิตสำนึก ประชาธิปไตยให้กับคนที่มีการศึกษาเสียก่อน  ส่วนประเด็นเรื่องนักการเมืองไม่ดี พรรคการเมืองไม่ดี ปัญหาพวกนี้ค่อยๆแก้ไขไปได้ ซึ่งการวางระบบกฎหมายรัฐสภา กฎหมายพรรคการเมืองที่ดีก็จะช่วยได้ส่วนหนึ่ง

จุลนิติ : บทสรุปส่งท้ายและข้อเสนอแนะอื่นๆ

รศ. ดร. วรเจตน์ฯ : การปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นของประชาชน ประชาชนจะต้องตระหนักและรู้ว่าตนเองเป็นเจ้าของอำนาจนั้น ดังนั้น หน้าที่สำคัญของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยคือการไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือการ ไปออกเสียงประชามติ อันเป็นการแสดงออกซึ่งอำนาจของตน

สำหรับในส่วนของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น ผมมีความเห็นว่าควรมีการเพิ่มเติมสิทธิบางประการให้แก่ประชาชน เช่น สิทธิในการถอนคืนตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายในเขตเลือกตั้ง ใน กรณีที่ปรากฏว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นประพฤติหรือปฏิบัติตนไม่เหมาะสมที่ จะทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกต่อไป แม้การกระทำดังกล่าวจะไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายก็ตาม แต่หากประชาชนมีความรู้สึกว่าถ้าให้ทำหน้าที่ต่อไปจะก่อให้เกิดความเสียหาย ได้ และเมื่อผ่านช่วงระยะเวลาหนึ่งไปควรมีกลไกให้ประชาชนในเขตเลือก ตั้งมีสิทธิเข้าชื่อกันเพื่อถอนคืนตำแหน่งแล้วเลือกคนใหม่เข้าไปทำหน้าที่ แทน ดีกว่าการให้วุฒิสภามีอำนาจในการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง เป็นต้น และควรมีการจัดความสัมพันธ์ของโครงสร้างอำนาจในทางรัฐธรรมนูญให้มีความสอด คล้องกับหลักการประชาธิปไตย โดยเฉพาะวิธีการในการเข้าสู่ตำแหน่งผู้พิพากษาตุลาการในศาลสูงควรที่จะให้มี ความเชื่อมโยงกับประชาชน เช่น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา (ที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย) ก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง กำหนดระบบการถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยเคารพหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ตุลาการ และจะต้องมีกลไกในการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจดังกล่าวได้ เช่นการมีผู้พิพากษาสมทบที่เป็นประชาชนธรรมดาในศาลระดับล่าง การกำหนดหลักการประกาศองค์คณะให้ประชาชนทราบตัวผู้พิพากษาที่จะตัดสินคดีใน แต่ประเภทคดีในแต่ละปีการการตัดสินคดี การมีกฎหมายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กฎหมายรัฐมนตรีซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์การแสดงออกซึ่งอำนาจรัฐและการรับผลตอบแทน การขจัดประโยชน์ที่ได้รับมาโดยไม่สมควร เป็นต้น

ตามที่กล่าวมาในเบื้องต้น เป็นสิ่งหรือกลไกที่จะต้องมีการคิดและเพิ่มเติมไว้ในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง แต่สังเกตว่ากลไกที่ต้องเพิ่มเติมดังกล่าวส่วนใหญ่แล้วจะไปลดทอนอำนาจของชน ชั้นนำทั้งนั้น ประเด็นปัญหาจึงมีว่าจะสามารถทำได้สำเร็จหรือไม่ในสถานการณ์การเมืองที่ ต่อสู้และแย่งชิงกันในปัจจุบัน ดังนั้น สถานการณ์ในปัจจุบันจึงอาจกล่าวได้ว่าสังคมไทยได้เดินมาถึงจุดซึ่งเป็นทางเดินสองทางที่แยกออกจากกัน และไม่มีวันที่จะมาบรรจบกันได้ เราจะต้องเลือกเดินไปในทางใดทางหนึ่ง ระหว่างทางที่เป็นประชาธิปไตยจริง ๆ กับทางที่เป็นประชาธิปไตยปลอม ๆ หากถามว่าแนวโน้มในปัจจุบันสังคมไทยจะเดินไปในทิศทางใด ผมมีความเชื่อว่าในที่สุดแล้วสังคมไทยจะเดินไปสู่สังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง ซึ่งในระหว่างทางที่เดินนี้หากสามารถที่จะประนีประนอมกันได้ความรุนแรงอาจจะ มีไม่มาก เช่น ในประเทศอังกฤษซึ่งเขาก็มีการต่อสู้และประนีประนอมกัน เนื่องจากในปัจจุบันสภาขุนนาง (House of Lords)4.  ของอังกฤษ ยังประกอบด้วยสมาชิกประเภทขุนนางสืบตระกูล (Hereditary Peers) ซึ่งมีที่มาจากการสืบทอดตำแหน่งทางสายโลหิตอยู่ แต่สมาชิกประเภทนี้จะค่อย ๆ ถูกลดจำนวนให้น้อยลงจนในที่สุดผมเชื่อว่าจะเลิกไป เพราะประเทศอังกฤษรู้ว่าระบบแบบนี้มีความไม่สอดคล้องกับประชาธิปไตยจึงต้อง มีการปฏิรูประบบการปกครองให้ไปในทิศทางประชาธิปไตยมากขึ้น เป็นต้น

ดังนั้น จึงพิจารณาเห็นได้ว่าปัจจุบันทุกประเทศมีแนวโน้มที่จะเดินไปในทิศทางนี้หมด อย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยอาจจะนำมาซึ่งปัญหาใหม่ ๆ เช่น ปัญหาการใช้ทรัพยากรที่เกินขนาดและนำมาสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น แต่ว่าปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขและจัดการได้ภายใต้ระบอบ ประชาธิปไตยที่มีโครงสร้างและมีกลไกที่ดีและยอมรับว่าอำนาจสูงสุดเป็นของ ประชาชน

นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีการพูดถึงรัฐสวัสดิการ (Welfare state)5. รวมทั้งมีความพยายามที่จะปฏิรูปประเทศเนื่องจากมีความเห็นว่าสังคมไทยมี ปัญหาความเหลื่อมล้ำ หรือการกระจายรายได้ไม่เป็นธรรมนั้น ผมมีความเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่สามารถที่จะสำเร็จได้ตราบใดที่โครง สร้างของประเทศยังไม่เป็นประชาธิปไตยก่อน เพราะการที่จะปฏิรูปประเทศไปสู่รัฐสวัสดิการหรือสังคมแบบนั้นได้จะต้องผ่านสังคมที่มีความเป็นประชาธิปไตยก่อนทั้งสิ้น การจัดทำกฎหมายว่าด้วยภาษีที่ดินจะสำเร็จได้อย่างไรถ้าชนชั้นนำของประเทศยัง ถือครองที่ดินจำนวนมหาศาลอยู่ ใครจะยอมให้มีกฎหมายแบบนี้มาบังคับใช้ เพราะคนที่กุมอำนาจในการกำหนดนโยบายของประเทศไม่ใช่ประชาชนที่แท้จริง พรรคการเมืองใดที่คิดจะทำนโยบายในลักษณะนี้จะต้องถูกขัดขวางจากกลุ่มที่เป็น ชนชั้นนำของประเทศที่ถือครองที่ดินอยู่ เพราะนโยบายดังกล่าวจะกระทบกับผลประโยชน์ของคนกลุ่มนี้โดยตรง ดังนั้น ในการที่จะไปสู่รัฐสวัสดิการหรือปฏิรูปประเทศสิ่งที่จะต้องดำเนินการก่อนใน เบื้องต้นคือการทำให้โครงสร้างของประเทศเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงก่อน โดยต้อง เริ่มต้นทำให้อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง รวมทั้งการทำให้สถาบันการเมืองหรือสถาบันในรัฐธรรมนูญทุกสถาบันอยู่ใน ตำแหน่งแห่งที่ที่ตนจะต้องอยู่ไม่มาก้าวก่ายกัน และแสดงบทบาทเท่าที่เป็นบทบาทที่อยู่ในรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย หากมีปัญหาเกิดขึ้นต้องมีการแก้ไขปัญหาไปตามระบบ ให้ระบบค่อย ๆ ปรับตัวเอง แล้วในที่สุดจะไปสู่รัฐสวัสดิการอย่างที่ต้องการได้

 

------------------------------------------------------------------------

1. Doctor der Rechte (summa cum laude) Universität Göttingen ประเทศเยอรมัน, ปัจจุบันเป็นอาจารย์ภาควิชากฎหมายมหาชน ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

2. “คณะราษฎร” เกิดขึ้นจากการรวมตัวของกลุ่มนักเรียนไทยซึ่งเป็นนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง ในประเทศฝรั่งเศสเป็นแกนนำ และต่อมาได้ร่วมมือกับกลุ่มนายทหารในประเทศไทยอีกจำนวนหนึ่งก่อตั้งเป็นคณะ ราษฎรขึ้น โดยคณะราษฎรได้ทำการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับ เรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๐ ณ หอพักแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในถนนซอมเมอราร์ด กรุงปารีส โดยมีสมาชิกเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ จำนวน ๗ คน ได้แก่ ๑) นายปรีดี  พนมยงค์ ๒) ร้อยโท ประยูร  ภมรมนตรี ๓) ร้อยโท แปลก  ขีตตะสังคะ ๔) ร้อยตรี ทัศนัย  มิตรภักดี ๕) นายตั้ว  ลพานุกรม ๖) หลวงศิริราชไมตรี และ ๗) นายแนบ  พหลโยธิน ซึ่งต่อมาคณะราษฎรได้ชักชวนนายทหารในประเทศ ๔ นาย ซึ่งได้รับสมญานามว่า “สี่ทหารเสือ” เข้าร่วมกลุ่มด้วย ได้แก่ ๑) พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา  (พจน์  พหลโยธิน)  ๒) พันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ  พันธุมเสน)  ๓) พันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ  เอมะศิริ) และ ๔) พันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน  ชูถิ่น).

3. การรัฐประหารเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นการยึดอำนาจโดยคณะทหารบก ซึ่งผู้นำส่วนใหญ่เป็นนายทหารนอกประจำการ โดยมีพลโท ผิน  ชุณหะวัณ เป็นผู้นำ และประกอบด้วย นาวาเอก กาจ  กาจสงคราม, พันโท ก้าน  จำนงภูมิเวท, พันเอก สวัสดิ์  สวัสดิเกียรติ, พันเอก สฤษดิ์  ธนะรัชต์ และพันเอก เผ่า ศรียานนท์  ได้นำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลของพลเรือตรี ถวัลย์  ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นให้ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อทำการรัฐประหารได้สำเร็จ คณะรัฐประหารได้สนับสนุนให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม  ขึ้นเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร และแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย  และได้ประกาศยุบสภาและยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ โดยได้นำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๔๙๐ หรือ “รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม” ร่างโดยนาวาเอก กาจ  กาจสงคราม ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ในรัฐธรรมนูญฯ ฉบับดังกล่าว มาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๗ ได้กำหนดให้รัฐสภาประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร โดยพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือกตั้ง และได้มอบหมายให้นายควง  อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งรัฐบาลต่อไป.

4.  สภาขุนนาง (House of Lords) หมายถึง สภาสูงของสหราชอาณาจักร ประกอบไปด้วยสมาชิกที่เรียกว่า ลอร์ดส (Lords) หรือ เพียร์ส (peers) ประมาณ ๗๐๐ กว่าคน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด โดยแบ่งเป็น ๔ ประเภท คือ

(๑) ขุนนางชั่วชีพ (Life Peers) มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี และจะดำรงตำแหน่งไปตลอดชีวิต ปัจจุบันสมาชิกของเฮาส์ออฟลอร์ดสจำนวนมากอยู่ในประเภทนี้

(๒) ขุนนางสืบตระกูล (Hereditary Peers) มาจากการสืบทอดตำแหน่งทางสายเลือด ในสมัยก่อนนั้นเฮาส์ออฟลอร์ดสมีเฉพาะสมาชิกประเภทนี้เท่านั้น แต่ปัจจุบันถูกลดจำนวนเหลือเพียงแค่ ๙๒ คน โดย Parliament Act ๑๙๙๙ ซึ่ง ๙๐ คนมาจากการเลือกตั้งโดย Hereditary Peers ด้วยกัน และอีกสองคนเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งซึ่งเกี่ยวเนื่องกับรัฐสภาโดยตรงอยู่ก่อน แล้ว ได้แก่ Great Lord Chamberlain และ Earl Marshall

(๓) ขุนนางศาสนา (Spiritual Peers) มาจากตัวแทนของศาสนา เช่น บิชอปและอาร์คบิชอปต่าง ๆ

(๔) ขุนนางนิติ (Law Lords) เป็นสมาชิกที่มีความรู้ด้านกฎหมาย และทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาศาลสูงสุดของสหราชอาณาจักรด้วย ประกอบไปด้วยผู้พิพากษาจำนวน ๒๖ คน (ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org).

5. รัฐสวัสดิการ (Welfare state) เป็นระบบทางสังคมที่รัฐให้หลักประกันแก่ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันใน ด้านปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น หลักประกันด้านสุขภาพ ที่ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับบริการป้องกันและรักษาโรคฟรี หลักประกันด้านการศึกษา ที่ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาตามความสามารถโดยได้รับทุนการศึกษาฟรีจนทำงาน ได้ตามความสามารถในการเรียน หลักประกันด้านการว่างงาน ที่รัฐต้องช่วยให้ทุกคนได้งานทำ ใครยังหางานไม่ได้รัฐต้องให้เงินเดือนขั้นต่ำไปพลางก่อน หลักประกันด้านชราภาพ ที่รัฐให้หลักประกันด้านบำนาญสำหรับผู้สูงอายุทุกคน หลักประกันด้านที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน เป็นต้น

ประเทศที่มีระบบรัฐสวัสดิการจะใช้ระบบการเก็บภาษีแบบก้าวหน้า คือเก็บภาษีจากคนรวยในอัตราต่อรายได้สูงกว่าคนจนมาก เก็บจากชนชั้นกลางในระดับพอประมาณ และเก็บจากคนจนน้อยหรือไม่เก็บเลย นอกจากนั้นอาจมีการเก็บเบี้ยประกันสังคมจากคนที่มีงานทำตามอัตราเงินเดือน เงินที่เก็บได้ทั้งหมดรัฐก็จะนำมาใช้จ่ายสำหรับบริการทางสังคมทั้งหมดในระบบ รัฐสวัสดิการ ระบบนี้จึงเป็นการ “เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข” คนที่มีรายได้ดีต้องช่วยจ่ายค่าบริการทางสังคมส่วนหนึ่งแก่คนที่ยากจนกว่า (ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org).

 

ที่มา:นิติราษฎร์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สัมภาษณ์วรเจตน์ ภาคีรัตน์:การสร้างพลเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตยไทย

Posted: 01 Jan 2011 09:51 PM PST

เมื่อเราถูกสอนให้เชื่อว่าคนไทยไม่เข้าใจ/ไม่มีความรู้เรื่องประชาธิปไตย ปชต.เป็นปัญหา เราจะหลุดพ้นจากความเชื่อนั้นได้อย่างไร โปรดติดตามอ่าน..

จุลนิติ : หลักการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยของนานาอารยประเทศในโลกนี้ได้วางหลัก การพื้นฐานอันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยไว้อย่าง ไร

รศ. ดร. วรเจตน์ฯ : คำว่า “ประชาธิปไตย” หมายถึงการปกครองโดยประชาชนเป็นใหญ่ เป็นรูปแบบหนึ่งของระบอบการปกครอง (Regime of Government) เราคงทราบว่าในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาตินั้น ได้ผ่านรูปแบบการปกครองมาแล้วหลายรูปแบบด้วยกัน โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้นประเด็นที่นับว่าเป็นคำถามที่สำคัญที่สุด คือ “อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยควรเป็นของใครหรือควรอยู่ที่ใคร” ซึ่งในที่สุดแล้วพัฒนาการของแนวความคิดทางด้านการเมืองโดยเฉพาะในยุคสมัย ใหม่เป็นต้นมา ได้ให้การยอมรับและถือว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ “ควรเป็นของประชาชน”

ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้ว หลักการพื้นฐานหรือหัวใจที่มีความจำเป็นต้องพิจารณาและคำนึงถึงคือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศนั้นเป็นของใคร ฉะนั้น ถ้าหากว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของพระเจ้าหรือผู้แทนของพระเจ้า บนพื้นพิภพ หรือเป็นของพระมหากษัตริย์ หรือเป็นของนักวิชาการหรือนักปราชญ์แล้ว การปกครองในรูปแบบนั้นไม่ถือว่าเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศต้องเป็นของประชาชน หลักการนี้คือหลักการพื้นฐานอันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญหรือนิยามที่สั้นที่ สุดของการปกครองระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ ให้พิจารณาในแง่ของตัวผู้ที่เป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศว่า เป็นใคร อย่างไรก็ตามการแสดงออกซึ่งอำนาจของประชาชนนั้นอาจเป็นไปได้ในหลายลักษณะ ดังนั้นการใช้อำนาจสูงสุดจึงอาจมีรูปลักษณ์แตกต่างกันไปได้ เช่น การออกเสียงเลือกตั้ง การออกเสียงประชามติ การให้องค์กรของรัฐที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยเป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นต้น

จุลนิติ : ในทัศนะของอาจารย์มีความเห็นว่าปัจจุบันประชาชนชาวไทยมีความรู้ความเข้าใจในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด

รศ. ดร. วรเจตน์ฯ : เดิมสมัยที่ผมเป็นนักศึกษาและเรียนหนังสืออยู่ในมหาวิทยาลัย ผมถูกสอนให้เชื่อหรือเข้าใจเหมือนกับที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันว่า ประชาชนของประเทศไทยยังไม่มีความรู้ความเข้าใจว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตย คืออะไร หรือยังไม่มีความเข้าใจว่าตนเองเป็นผู้ที่ทรงอำนาจหรือเป็นเจ้าของอำนาจ อธิปไตยอย่างไร และผมถูกสอนให้เชื่ออีกว่าสาเหตุที่ทำให้ระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยมี ปัญหานั้น สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยคณะราษฎร2. เป็นการชิงสุกก่อนห่าม เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยกลุ่มนักเรียนนอกหรือกลุ่มบุคคลซึ่ง เป็นคนหัวก้าวหน้าและได้รับอิทธิพลแนวความคิดมาจากตะวันตก พอกลับมาประเทศไทยจึงรีบร้อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยที่ประชาชนของประเทศยังไม่มีความรู้ความเข้าใจว่าการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยคืออะไร จนส่งผลทำให้เกิดเป็นปัญหาของประเทศมาจนถึงปัจจุบันนี้

แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ผมได้ตระหนักแล้วว่าสิ่งที่ผมเคยรับรู้มานั้นน่าจะเป็นแนวความคิดที่ผิด และถ้า หากถามผม ณ ปัจจุบันนี้ว่าประชาชนชาวไทยโดยส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในหลักการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด ผมเชื่อว่าในปัจจุบันนี้ประชาชนชาวไทยโดยส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจดี อย่างน้อยที่สุดก็ตระหนักรู้ในสิทธิในเสียงของตนเอง ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากพัฒนาการในทางการเมือง โดยเฉพาะในช่วง ๓ ถึง ๔ ปี ที่ผ่านมานี้ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนในฝ่ายใดหรือสีใดก็ตาม ผมเชื่อว่าเขามีความเข้าใจและตระหนักดีว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศแท้ จริงแล้วมันเป็นอำนาจของเขา เพียงแต่วิธีการในการแสดงออกหรือการใช้อำนาจและแนวความคิดบางอย่างอาจจะไม่ ตรงกันเท่านั้น และบางส่วนอาจจะยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการเคารพเสียงข้างมากอย่างพียง พอ คือคิดว่าเสียงข้างน้อย (ที่ได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นนำ) ถูกต้อง เมื่อถูกต้องเสียแล้วจึงมีความชอบธรรมที่จะทำอะไรแม้แต่จะกระทบกับแก่นของ ประชาธิปไตยก็ได้เป็นความคิดที่ผิด

จุลนิติ : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรนั้นเกิดจากสาเหตุใด และกระบวนการในการสร้างประชาธิปไตยโดยเฉพาะการสร้างจิตสำนึกของประชาชนให้ ได้มีโอกาสเข้าถึงวิถีชีวิตแบบสังคมประชาธิปไตยที่ถูกต้องนั้นควรมีแนว ทางอย่างไร

รศ. ดร. วรเจตน์ฯ : สำหรับคำถามประเด็นนี้อาจจะตอบยาก เพราะว่าปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยใน ประเทศไทยไม่ประสบผลสำเร็จเป็นปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบการ เมืองของไทยในปัจจุบัน กล่าวคือ กลุ่มชนชั้นนำของสังคมไทยในปัจจุบันยังมีการโต้เถียงกันว่าแท้จริงแล้ว ประชาชนชาวไทยมีความพร้อมหรือมีความเข้าใจในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย หรือไม่ ฝ่ายหนึ่งมีความเห็นว่ายังไม่พร้อม เนื่องจากการเลือกตั้งที่ผ่านมาทำให้ได้นักการเมืองเข้ามาทุจริตคอร์รัปชั่น และกระบวนการในการเลือกตั้งยังมีการซื้อเสียง รวมทั้งมีความเชื่อว่านักธุรกิจที่เข้าสู่ระบบการเมืองอาจจะผูกขาดอำนาจทาง การเมืองโดยผ่านกลไกพรรคการเมือง และอาจจะนำไปสู่ระบบเผด็จการนายทุนได้ ดังนั้น จึงทำให้มีความเข้าใจหรือความเชื่อว่าประชาชนชาวไทยยังไม่พร้อมกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย

สำหรับในมุมมองของผม ในเบื้องต้นจะต้องมีความเข้าใจว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองซึ่ง มองว่ามนุษย์ทุกคนในสังคมล้วนแล้วแต่มีผลประโยชน์ในทางการเมืองทั้งสิ้น เป็นเรื่องปัจเจกของบุคคลแต่ละคนหรือของกลุ่มบุคคลแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ ชาวไร่ชาวนา คนขับรถแท็กซี่ ข้าราชการ หรือทุกคนที่อยู่ในระบบนี้ ล้วนแล้วแต่มีผลประโยชน์ในทางการเมืองทั้งสิ้น ดังนั้น ระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นระบอบที่พยายามจัดสรรผลประโยชน์ในทางการเมืองให้มีความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายภายใต้หลักนิติรัฐ

หากถามว่าเพราะเหตุใดประเทศไทยยังคงมีปัญหาเรื่องนี้อยู่ในปัจจุบัน ผมคิดว่ามีสาเหตุ สำคัญมาจากความไม่ลงตัวของดุลอำนาจหรือความไม่ลงตัวของโครงสร้างการเมืองการ ปกครอง นับตั้งแต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ กล่าว คือ ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของพระมหา กษัตริย์ แต่ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่พระมหา กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของ ประชาชนทั้งหลาย ซึ่งหากพิจารณาในทางหลักการแล้วอาจจะมีการเปลี่ยน แปลง แต่หากพิจารณาในแง่ของดุลอำนาจจริง ๆ แล้ว ผมมีความเห็นว่าอาจจะไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยเท่าใดนัก

อย่างไรก็ตาม ในช่วงประมาณ ๑๕ ปีแรก ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองอาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ระบบกำลัง ดำเนินไปในทิศทางของประชาธิปไตยเป็นลำดับ แต่ก็มาสะดุดเอาเมื่อมีการทำรัฐประหารในปี พ.ศ. ๒๔๙๐3.  และนับแต่นั้นเป็นต้นมาอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศแทบจะไม่ได้ตกมาอยู่ในมือหรือเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะเหตุที่มักจะมีกระบวนการที่พยายามสกัดกั้นพัฒนาการของประชาธิปไตยมาโดยตลอด นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เรื่อยมา และ ส่งผลทำให้ประเทศไทยเข้าสู่วงจรการทำรัฐประหาร การยึดอำนาจ ฉีกทำลายรัฐธรรมนูญ จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ และสุดท้ายก็มีการยึดอำนาจ เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

สาเหตุประการหนึ่งซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยไม่ประสบผลสำเร็จคือ ความล้มเหลวหรือความพ่ายแพ้ของคณะราษฎรในการสถาปนาอุดมการณ์ประชาธิปไตยหรือนิติรัฐให้เป็นอุดมการณ์ของสังคม กล่าวคือ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฎรไม่สามารถที่จะทำให้อุดมการณ์ประชาธิปไตยหรือนิติรัฐแทรกซึมผ่าน เข้าไปในกลุ่มคนหรือองค์กรที่มีอำนาจในทางวินิจฉัยชี้ขาดหรือตัดสินปัญหา สำคัญ ๆ ของประเทศได้ เราอาจพูดถึงองค์กรได้หลายองค์กร แต่อาจจะยกตัวอย่างให้เห็นเด่นชัดได้ เช่น กองทัพหรือองค์กรตุลาการ หากกล่าวเฉพาะองค์กรตุลาการ เราจะเห็นว่าองค์กรตุลาการเป็นองค์กร ที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นน้อยที่สุดภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เนื่องจากได้รับเอาโครงสร้างขององค์กรตุลาการเดิมก่อนมีการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองมาเกือบทั้งหมด รวมทั้งมีบทบาทในการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนหรือมีส่วน ในการพัฒนาประชาธิปไตยน้อยมาก ดังนั้น พลังในการที่จะผลักหรือขับเคลื่อนประชาธิปไตยในช่วงเวลานั้นจึงอ่อนแรงลง ประกอบกับการต่อสู้กันของกลุ่มชนชั้นนำหรือกลุ่มอำนาจเดิมก่อนมีการเปลี่ยน แปลงการปกครองซึ่งมีความชาญฉลาดในการที่จะดึงอำนาจกลับคืนมาทีละเล็กทีละ น้อยผ่านบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จนทำให้อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศไม่ได้เป็นของประชาชน อย่างแท้จริง นี่ยังไม่ต้องพูดถึงกองทัพที่แทบจะไม่มีอุดมการณ์ในเรื่องการรักษาคุณค่าของ ระบอบประชาธิปไตยหรือการพิทักษ์คุ้มครองรัฐธรรมนูญเลย

ความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นของคณะราษฎรอาจมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งภายในคณะราษฎรเอง กล่าวคือ ภายหลังจากที่ได้อำนาจมา นอกจากจะต้องต่อสู้กับกลุ่มอำนาจเก่าแล้ว ในคณะราษฎรเองความคิดเห็นบางอย่างยังไม่ลงรอยกัน และความคิดเห็นที่ไม่ลงรอยกันนี้ทำให้เกิดการต่อสู้กัน จนมาถึงจุดที่ทำให้สถานการณ์ผันแปรไป คือภายหลังเหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ ๘ และเป็นเหตุที่ทำให้ ศ. ดร. ปรีดี  พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม แกนนำของคณะราษฎรฝ่ายก้าวหน้า ผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์ดังกล่าวและต้องได้รับผลร้ายจนเป็นเหตุให้ต้องลี้ภัยการเมืองไปยัง ต่างประเทศและเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทางการเมือง เหตุการณ์ดังกล่าวนับว่า เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในทางประวัติศาสตร์ในความคิดเห็นของผม เพราะถ้าไม่มีเหตุการณ์หรือจุดเปลี่ยนตรงนั้น ปัจจุบันนี้ประชาธิปไตยของประเทศไทยอาจมีพัฒนาการไปอีกระดับหนึ่งแล้ว

ปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้สร้างกลไกให้รัฐบาลมีความเข้มแข็งและมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น และรัฐบาลที่มีความเข้มแข็งดังกล่าวเป็นรัฐบาลชุดที่มีนโยบายและการทำงานถูก ใจประชาชนส่วนใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลชุดดังกล่าวได้ถูกกล่าวหาหรือมีข้อครหาเกี่ยวกับการ ทุจริตคอร์รัปชั่นและผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้นำ ในที่สุดปัญหาหรือแนวความคิดในสองด้านนี้ได้มาปะทะกัน และคนในสังคมไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าปัญหาเรื่องใดเป็นเรื่องหลัก ปัญหาเรื่องใดเป็นเรื่องรอง จึงได้ยกเอาเรื่องที่เป็นเรื่องรองกลายมาเป็นเรื่องหลัก กล่าวคือ ยกเอาเรื่องการจัดการกับอดีตนายกรัฐมนตรีมาเป็นเรื่องหลัก ซึ่งภายใต้แนวความคิดแบบนี้จึงเป็นต้นเหตุในการทำลายอุดมการณ์ประชาธิปไตยโดยไม่รู้ตัว เพราะอดีตนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งภายใต้หลักเกณฑ์ของประชาธิปไตย ในส่วนของข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นและผลประโยชน์ทับซ้อนนั้น ต้องดำเนินการหรือจัดการไปตามระบบหรือกลไกของประชาธิปไตย ซึ่งผมไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าต้องใช้เวลานานเพียงใด เพราะขึ้นอยู่กับตัวระบบที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง ถ้าเราเชื่อในระบบหรือกลไกของประชาธิปไตย  แต่ถ้าหากเราไม่เชื่อว่าระบบหรือกลไกของประชาธิปไตยจะสามารถแก้ไขปัญหาด้วย ตัวเองได้ แล้วเราจะมาเรียกร้องประชาธิปไตยกันทำไม

ดังนั้น ผมจึงอยากให้พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าต้นเหตุที่ทำให้การพัฒนาการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยในประเทศไทยไม่ประสบผลสำเร็จอยู่ตรงไหน ต้นเหตุของปัญหาอยู่ที่ประชาชนจริงหรือไม่ สำหรับผมแล้วผมคิดว่าเราคงไม่สามารถกล่าวได้ว่าประชาชนไทยทุกคนหรือแม้ กระทั่งในโลกนี้มีวิจารณญาณในการตัดสินใจที่เท่ากัน ตอนที่ผมเรียนหนังสืออยู่ในเยอรมัน ผมได้ศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศเยอรมัน ทำให้ทราบว่ารัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งของประเทศเยอรมันได้วางหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการเลือกตั้งไว้ค่อนข้างสลับซับซ้อน และผมลองถามชาวบ้านเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ว่ามีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอย่างไรบ้าง ชาวบ้านตอบว่าไม่รู้และไม่มีทางที่จะรู้ได้ เพราะว่าเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนมาก แต่อย่างน้อยชาวบ้านรู้ว่ามีหน้าที่ต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งและรู้ว่าอำนาจ สูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของเขา ส่วนที่เหลือเป็นเรื่องในทางเทคนิคที่จะต้องดำเนินการตามกฎหมาย

สำหรับประเทศไทย ผมมีความเห็นว่าปัจจุบันนี้กลุ่มชนชั้นนำของสังคมไทยหรือกลุ่มคนที่อยู่ใน ระดับผู้นำของประเทศน่าจะยังมีความไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองมา เป็นระบอบประชาธิปไตยซึ่งอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชนอย่าง แท้จริง เพราะอาจกลัวว่าจะมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของตนเอง และกลัวว่าประชาชนจะถูกหลอกโดยนักการเมืองฉ้อฉล ด้วยความกลัวดังกล่าวจึงทำให้คนกลุ่มนี้ รวมทั้งนักวิชาการและข้าราชการระดับสูง ได้พยายามแสวงหาวิธีการหรือระบอบการปกครองในอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่การปกครองระบอบประชาธิปไตย ถึงแม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน มาตรา ๒ และมาตรา ๓ จะได้วางหลักการไว้ว่าประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยก็ตาม แต่หากพิจารณาลึกลงไปในทางเนื้อหาของรัฐธรรมนูญแล้ว จะเห็นว่ามีกลไกบางประการที่ไม่สอดคล้องกับหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย เช่น หลักการเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการ เมืองซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยกับการกระทำความผิด เพราะเท่ากับไปทำลายการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงเจตจำนงในทางการเมืองของประชาชน อีกทั้งหลักการดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แต่ประการใด หรือหลักการที่กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามีที่มาจากการสรรหาส่วนหนึ่ง หรือการกำหนดให้ตุลาการมีบทบาทและอำนาจเพิ่มมากขึ้นโดยที่ไม่สามารถที่จะ วิพากษ์วิจารณ์ได้หรือวิพากษ์วิจารณ์ได้ด้วยความยากลำบาก เป็นต้น

โดยสรุปแล้วปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การพัฒนาการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยในประเทศไทยไม่ประสบผลสำเร็จ คือ การที่อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศยังไม่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ดังนั้น วิธีการหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ง่ายที่สุด คือการยอมรับกันในหลักการเบื้องต้นก่อนว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยอำนาจ สูงสุดในการปกครองประเทศจะต้องเป็นของประชาชน หากประชาชนตัดสินใจอย่างใด ต้องยอมรับในการตัดสินใจนั้น และการแก้ไขปัญหาจะต้องแก้ไขไปตามระบบ นักการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชั่นจะต้องมีการจัดการตามระบบของกฎหมาย มิใช่พอเห็นว่ามีปัญหาเกิดขึ้นก็นำกำลังทหารออกมายึดอำนาจ ซึ่งเท่ากับทำให้พัฒนาการของประชาธิปไตยสะดุดหรือหยุดชะงักลง สิ่งนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาธิปไตยของประเทศไทยไปไม่ถึงไหน

จุลนิติ : เมื่อสักครู่อาจารย์ได้กล่าวว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้การพัฒนาการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยในประเทศไทยไม่ประสบผลสำเร็จ คือ ความล้มเหลวหรือพ่ายแพ้ของคณะราษฎรในการสถาปนาอุดมการณ์ประชาธิปไตยหรือนิติ รัฐให้เป็นอุดมการณ์ของสังคม ดังนั้น หากสามารถย้อนเวลากลับไปในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้ และอาจารย์เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมกับคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อาจารย์จะดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร

รศ. ดร. วรเจตน์ฯ : ในฐานะที่ผมเป็นนักนิติศาสตร์ ผมคงจะทำได้ในแง่ของการจัดโครงสร้างของระบบกฎหมาย ซึ่งแน่นอนว่าการดำเนินการเพียงแค่นี้อาจจะไม่เป็นการเพียงพอ เนื่องจากการ สถาปนาอุดมการณ์ประชาธิปไตยหรือนิติรัฐให้เป็นอุดมการณ์ของสังคมนั้น ไม่ได้อาศัยเพียงเฉพาะตัวบทกฎหมายที่เป็นตัวหนังสือดำ ๆ บนแผ่นกระดาษเท่านั้น เพราะยังหมายถึง สำนึก วิธีคิด อุดมการณ์ และความเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม ดังนั้น การปลูกฝังระบอบประชาธิปไตยให้เป็นอุดมการณ์ของสังคมจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการในหลาย ๆ ด้านไปพร้อม ๆ กัน

ดังนั้น ส่วนหนึ่งที่ผมจะทำคือการจัดวางโครงสร้างของระบบกฎหมายให้มีความสอดคล้องหรือรองรับกับอุดมการณ์ในทางประชาธิปไตย รวมทั้งในทางวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจด้วย สำหรับกฎเกณฑ์ในทางรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าสิ่งที่จะต้องทำคือจัดการความสัมพันธ์ของโครงสร้างอำนาจในทางรัฐธรรมนูญให้รับกับตัวระบบ หมาย ความว่า อำนาจของรัฐทุกอำนาจที่ใช้จะต้องมีความเชื่อมโยงกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของ อำนาจ ทั้งในด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ตลอดจนความสัมพันธ์ของอำนาจเหล่านี้กับประมุขของรัฐหรือพระมหากษัตริย์ด้วย โดยจะต้องจัดวางให้ได้ดุลยภาพภายใต้หลักการของความรับผิดชอบต่อประชาชน นั่นหมายความว่าองค์กรของรัฐองค์กรใดมีอำนาจโดยขาดความเชื่อมโยงในทาง ประชาธิปไตยกับประชาชนหรือใช้อำนาจโดยไม่ต้องรับผิดชอบกับการใช้อำนาจนั้น จะต้องปรับเปลี่ยนการมีและการใช้อำนาจในลักษณะเช่นนั้นเสีย ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าในช่วงประมาณ ๑๕ ปีแรก ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นช่วงเวลาที่ระบบกำลังดำเนินไปในทิศทางของประชาธิปไตยเป็นลำดับ โดยเฉพาะการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ ซึ่งผมมีความเห็นว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่มีความก้าวหน้ามาก โดยได้วางหลักการเกี่ยวกับอำนาจนิติบัญญัติไว้ค่อนข้างดี และถ้าผมมีส่วนในการยกร่าง คงจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมหลักการในบางประการ เช่น ทำให้อำนาจของตุลาการมีความเชื่อมโยงกับประชาชน ให้มีผู้ตรวจการทหารซึ่งรัฐสภาแต่งตั้งทำหน้าที่ตรวจสอบกองทัพ เป็นต้น อย่างไรก็ตามนี่เป็นการตอบบนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญในช่วงสิบห้าปีแรกหลัง เปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ถ้าถามถึงรัฐธรรมนูญในปัจจุบันนี้คงจะมีจุดที่ต้องปรับเปลี่ยนเยอะกว่า นี้มาก เรียกว่าต้องยกเครื่องใหม่ทีเดียว

จุลนิติ : การพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งมั่นคงและยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง ตามหลักการที่ว่าเป็น “การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” นั้นควรจะต้องมีการพัฒนาอย่างไรจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้

รศ. ดร. วรเจตน์ฯ : วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการทำให้กลุ่มชนชั้นนำของสังคมไทยหรือกลุ่มคนที่ อยู่ในระดับผู้นำของประเทศมีความตระหนักและควรรู้ว่าในที่สุดจะไม่สามารถ ทัดทานกระแสประชาธิปไตยได้ เพราะแนวความคิดทางด้านการเมืองการปกครองของโลกได้พัฒนามาถึงจุดสุดท้ายแล้ว หรืออาจกล่าวได้ว่าประชาธิปไตยคือคำตอบสุดท้าย ส่วนที่เหลือที่จะต้องมีการพัฒนาต่อไปเป็นเพียงรายละเอียดในแง่ของรูปแบบ ประชาธิปไตยเท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันผมยังมองไม่เห็นว่ามีระบอบการปกครองใดที่จะดีไปกว่าระบอบ ประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ระบอบการปกครองในโลกนี้ไม่ว่าระบอบใด ต่างก็มีปัญหาด้วยกันทั้งนั้น ระบอบประชาธิปไตยก็มีปัญหาในตัวเอง แต่การมีปัญหาของระบอบประชาธิปไตยยังมีข้อดีคือ การเปิดโอกาสหรือการมีเสรีภาพในการที่จะวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความเห็นได้ ซึ่งถือเป็นคุณค่าสำคัญของระบอบประชาธิปไตย

ดังนั้น สิ่งที่ผมอยากจะเน้นย้ำมากที่สุดในการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งมั่นคงและยั่งยืน ตามหลักการที่ว่าเป็น “การ ปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” นั้น คือการทำให้อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชน และประชาชนสามารถที่จะใช้อำนาจนั้นได้อย่างแท้จริง ต้องเคารพการใช้อำนาจของประชาชน และการแสดงออกซึ่งอำนาจของประชาชนที่มีความชัดเจนที่สุดคือการเลือกตั้งกับ การออกเสียงประชามติ ถึงแม้การเลือกตั้งอาจจะไม่ใช่ทั้งหมดของประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยในโลกปัจจุบันนี้เกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีการเลือกตั้ง หรืออาจกล่าวได้ว่าการเลือกตั้งมิใช่คำตอบทุกคำตอบของประชาธิปไตย แต่เป็นสาระสำคัญของประชาธิปไตย หากใครปฏิเสธการเลือกตั้งเท่ากับเป็นการปฏิเสธประชาธิปไตยในบั้นปลาย และโดยส่วนตัวผมมีความเห็นว่าปัญหาในการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยอยู่ที่ชนชั้นนำ ปัญหาไม่ได้อยู่ทีประชาชน แน่นอนว่าในรายละเอียดคงจะต้องพูดถึงเรื่องการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น ของประชาชน เรื่องการกระจายอำนาจอะไรเหล่านี้ แต่สิ่งนี้มาทีหลัง ดังนั้นเวลาพูดว่าประชาชนไม่พร้อมเพราะยังไม่มีการศึกษา ต้องให้การศึกษากับประชาชน ซึ่งเป็นคำพูดมาตรฐานเวลาพูดถึงปัญหาประชาธิปไตยไทย ผมว่าอาจจะต้องพูดถึงการให้การศึกษาเรื่องประชาธิปไตยและการปลูกจิตสำนึก ประชาธิปไตยให้กับคนที่มีการศึกษาเสียก่อน  ส่วนประเด็นเรื่องนักการเมืองไม่ดี พรรคการเมืองไม่ดี ปัญหาพวกนี้ค่อยๆแก้ไขไปได้ ซึ่งการวางระบบกฎหมายรัฐสภา กฎหมายพรรคการเมืองที่ดีก็จะช่วยได้ส่วนหนึ่ง

จุลนิติ : บทสรุปส่งท้ายและข้อเสนอแนะอื่นๆ

รศ. ดร. วรเจตน์ฯ : การปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นของประชาชน ประชาชนจะต้องตระหนักและรู้ว่าตนเองเป็นเจ้าของอำนาจนั้น ดังนั้น หน้าที่สำคัญของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยคือการไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือการ ไปออกเสียงประชามติ อันเป็นการแสดงออกซึ่งอำนาจของตน

สำหรับในส่วนของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น ผมมีความเห็นว่าควรมีการเพิ่มเติมสิทธิบางประการให้แก่ประชาชน เช่น สิทธิในการถอนคืนตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายในเขตเลือกตั้ง ใน กรณีที่ปรากฏว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นประพฤติหรือปฏิบัติตนไม่เหมาะสมที่ จะทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกต่อไป แม้การกระทำดังกล่าวจะไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายก็ตาม แต่หากประชาชนมีความรู้สึกว่าถ้าให้ทำหน้าที่ต่อไปจะก่อให้เกิดความเสียหาย ได้ และเมื่อผ่านช่วงระยะเวลาหนึ่งไปควรมีกลไกให้ประชาชนในเขตเลือก ตั้งมีสิทธิเข้าชื่อกันเพื่อถอนคืนตำแหน่งแล้วเลือกคนใหม่เข้าไปทำหน้าที่ แทน ดีกว่าการให้วุฒิสภามีอำนาจในการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง เป็นต้น และควรมีการจัดความสัมพันธ์ของโครงสร้างอำนาจในทางรัฐธรรมนูญให้มีความสอด คล้องกับหลักการประชาธิปไตย โดยเฉพาะวิธีการในการเข้าสู่ตำแหน่งผู้พิพากษาตุลาการในศาลสูงควรที่จะให้มี ความเชื่อมโยงกับประชาชน เช่น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา (ที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย) ก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง กำหนดระบบการถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยเคารพหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ตุลาการ และจะต้องมีกลไกในการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจดังกล่าวได้ เช่นการมีผู้พิพากษาสมทบที่เป็นประชาชนธรรมดาในศาลระดับล่าง การกำหนดหลักการประกาศองค์คณะให้ประชาชนทราบตัวผู้พิพากษาที่จะตัดสินคดีใน แต่ประเภทคดีในแต่ละปีการการตัดสินคดี การมีกฎหมายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กฎหมายรัฐมนตรีซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์การแสดงออกซึ่งอำนาจรัฐและการรับผลตอบแทน การขจัดประโยชน์ที่ได้รับมาโดยไม่สมควร เป็นต้น

ตามที่กล่าวมาในเบื้องต้น เป็นสิ่งหรือกลไกที่จะต้องมีการคิดและเพิ่มเติมไว้ในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง แต่สังเกตว่ากลไกที่ต้องเพิ่มเติมดังกล่าวส่วนใหญ่แล้วจะไปลดทอนอำนาจของชน ชั้นนำทั้งนั้น ประเด็นปัญหาจึงมีว่าจะสามารถทำได้สำเร็จหรือไม่ในสถานการณ์การเมืองที่ ต่อสู้และแย่งชิงกันในปัจจุบัน ดังนั้น สถานการณ์ในปัจจุบันจึงอาจกล่าวได้ว่าสังคมไทยได้เดินมาถึงจุดซึ่งเป็นทางเดินสองทางที่แยกออกจากกัน และไม่มีวันที่จะมาบรรจบกันได้ เราจะต้องเลือกเดินไปในทางใดทางหนึ่ง ระหว่างทางที่เป็นประชาธิปไตยจริง ๆ กับทางที่เป็นประชาธิปไตยปลอม ๆ หากถามว่าแนวโน้มในปัจจุบันสังคมไทยจะเดินไปในทิศทางใด ผมมีความเชื่อว่าในที่สุดแล้วสังคมไทยจะเดินไปสู่สังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง ซึ่งในระหว่างทางที่เดินนี้หากสามารถที่จะประนีประนอมกันได้ความรุนแรงอาจจะ มีไม่มาก เช่น ในประเทศอังกฤษซึ่งเขาก็มีการต่อสู้และประนีประนอมกัน เนื่องจากในปัจจุบันสภาขุนนาง (House of Lords)4.  ของอังกฤษ ยังประกอบด้วยสมาชิกประเภทขุนนางสืบตระกูล (Hereditary Peers) ซึ่งมีที่มาจากการสืบทอดตำแหน่งทางสายโลหิตอยู่ แต่สมาชิกประเภทนี้จะค่อย ๆ ถูกลดจำนวนให้น้อยลงจนในที่สุดผมเชื่อว่าจะเลิกไป เพราะประเทศอังกฤษรู้ว่าระบบแบบนี้มีความไม่สอดคล้องกับประชาธิปไตยจึงต้อง มีการปฏิรูประบบการปกครองให้ไปในทิศทางประชาธิปไตยมากขึ้น เป็นต้น

ดังนั้น จึงพิจารณาเห็นได้ว่าปัจจุบันทุกประเทศมีแนวโน้มที่จะเดินไปในทิศทางนี้หมด อย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยอาจจะนำมาซึ่งปัญหาใหม่ ๆ เช่น ปัญหาการใช้ทรัพยากรที่เกินขนาดและนำมาสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น แต่ว่าปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขและจัดการได้ภายใต้ระบอบ ประชาธิปไตยที่มีโครงสร้างและมีกลไกที่ดีและยอมรับว่าอำนาจสูงสุดเป็นของ ประชาชน

นอกจากนี้ ในปัจจุบันมีการพูดถึงรัฐสวัสดิการ (Welfare state)5. รวมทั้งมีความพยายามที่จะปฏิรูปประเทศเนื่องจากมีความเห็นว่าสังคมไทยมี ปัญหาความเหลื่อมล้ำ หรือการกระจายรายได้ไม่เป็นธรรมนั้น ผมมีความเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่สามารถที่จะสำเร็จได้ตราบใดที่โครง สร้างของประเทศยังไม่เป็นประชาธิปไตยก่อน เพราะการที่จะปฏิรูปประเทศไปสู่รัฐสวัสดิการหรือสังคมแบบนั้นได้จะต้องผ่านสังคมที่มีความเป็นประชาธิปไตยก่อนทั้งสิ้น การจัดทำกฎหมายว่าด้วยภาษีที่ดินจะสำเร็จได้อย่างไรถ้าชนชั้นนำของประเทศยัง ถือครองที่ดินจำนวนมหาศาลอยู่ ใครจะยอมให้มีกฎหมายแบบนี้มาบังคับใช้ เพราะคนที่กุมอำนาจในการกำหนดนโยบายของประเทศไม่ใช่ประชาชนที่แท้จริง พรรคการเมืองใดที่คิดจะทำนโยบายในลักษณะนี้จะต้องถูกขัดขวางจากกลุ่มที่เป็น ชนชั้นนำของประเทศที่ถือครองที่ดินอยู่ เพราะนโยบายดังกล่าวจะกระทบกับผลประโยชน์ของคนกลุ่มนี้โดยตรง ดังนั้น ในการที่จะไปสู่รัฐสวัสดิการหรือปฏิรูปประเทศสิ่งที่จะต้องดำเนินการก่อนใน เบื้องต้นคือการทำให้โครงสร้างของประเทศเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงก่อน โดยต้อง เริ่มต้นทำให้อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง รวมทั้งการทำให้สถาบันการเมืองหรือสถาบันในรัฐธรรมนูญทุกสถาบันอยู่ใน ตำแหน่งแห่งที่ที่ตนจะต้องอยู่ไม่มาก้าวก่ายกัน และแสดงบทบาทเท่าที่เป็นบทบาทที่อยู่ในรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย หากมีปัญหาเกิดขึ้นต้องมีการแก้ไขปัญหาไปตามระบบ ให้ระบบค่อย ๆ ปรับตัวเอง แล้วในที่สุดจะไปสู่รัฐสวัสดิการอย่างที่ต้องการได้

 

------------------------------------------------------------------------

1. Doctor der Rechte (summa cum laude) Universität Göttingen ประเทศเยอรมัน, ปัจจุบันเป็นอาจารย์ภาควิชากฎหมายมหาชน ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

2. “คณะราษฎร” เกิดขึ้นจากการรวมตัวของกลุ่มนักเรียนไทยซึ่งเป็นนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง ในประเทศฝรั่งเศสเป็นแกนนำ และต่อมาได้ร่วมมือกับกลุ่มนายทหารในประเทศไทยอีกจำนวนหนึ่งก่อตั้งเป็นคณะ ราษฎรขึ้น โดยคณะราษฎรได้ทำการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับ เรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๐ ณ หอพักแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในถนนซอมเมอราร์ด กรุงปารีส โดยมีสมาชิกเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ จำนวน ๗ คน ได้แก่ ๑) นายปรีดี  พนมยงค์ ๒) ร้อยโท ประยูร  ภมรมนตรี ๓) ร้อยโท แปลก  ขีตตะสังคะ ๔) ร้อยตรี ทัศนัย  มิตรภักดี ๕) นายตั้ว  ลพานุกรม ๖) หลวงศิริราชไมตรี และ ๗) นายแนบ  พหลโยธิน ซึ่งต่อมาคณะราษฎรได้ชักชวนนายทหารในประเทศ ๔ นาย ซึ่งได้รับสมญานามว่า “สี่ทหารเสือ” เข้าร่วมกลุ่มด้วย ได้แก่ ๑) พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา  (พจน์  พหลโยธิน)  ๒) พันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ  พันธุมเสน)  ๓) พันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ  เอมะศิริ) และ ๔) พันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน  ชูถิ่น).

3. การรัฐประหารเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นการยึดอำนาจโดยคณะทหารบก ซึ่งผู้นำส่วนใหญ่เป็นนายทหารนอกประจำการ โดยมีพลโท ผิน  ชุณหะวัณ เป็นผู้นำ และประกอบด้วย นาวาเอก กาจ  กาจสงคราม, พันโท ก้าน  จำนงภูมิเวท, พันเอก สวัสดิ์  สวัสดิเกียรติ, พันเอก สฤษดิ์  ธนะรัชต์ และพันเอก เผ่า ศรียานนท์  ได้นำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลของพลเรือตรี ถวัลย์  ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นให้ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อทำการรัฐประหารได้สำเร็จ คณะรัฐประหารได้สนับสนุนให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม  ขึ้นเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร และแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย  และได้ประกาศยุบสภาและยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ โดยได้นำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๔๙๐ หรือ “รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม” ร่างโดยนาวาเอก กาจ  กาจสงคราม ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ในรัฐธรรมนูญฯ ฉบับดังกล่าว มาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๗ ได้กำหนดให้รัฐสภาประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร โดยพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือกตั้ง และได้มอบหมายให้นายควง  อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งรัฐบาลต่อไป.

4.  สภาขุนนาง (House of Lords) หมายถึง สภาสูงของสหราชอาณาจักร ประกอบไปด้วยสมาชิกที่เรียกว่า ลอร์ดส (Lords) หรือ เพียร์ส (peers) ประมาณ ๗๐๐ กว่าคน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งทั้งหมด โดยแบ่งเป็น ๔ ประเภท คือ

(๑) ขุนนางชั่วชีพ (Life Peers) มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี และจะดำรงตำแหน่งไปตลอดชีวิต ปัจจุบันสมาชิกของเฮาส์ออฟลอร์ดสจำนวนมากอยู่ในประเภทนี้

(๒) ขุนนางสืบตระกูล (Hereditary Peers) มาจากการสืบทอดตำแหน่งทางสายเลือด ในสมัยก่อนนั้นเฮาส์ออฟลอร์ดสมีเฉพาะสมาชิกประเภทนี้เท่านั้น แต่ปัจจุบันถูกลดจำนวนเหลือเพียงแค่ ๙๒ คน โดย Parliament Act ๑๙๙๙ ซึ่ง ๙๐ คนมาจากการเลือกตั้งโดย Hereditary Peers ด้วยกัน และอีกสองคนเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งซึ่งเกี่ยวเนื่องกับรัฐสภาโดยตรงอยู่ก่อน แล้ว ได้แก่ Great Lord Chamberlain และ Earl Marshall

(๓) ขุนนางศาสนา (Spiritual Peers) มาจากตัวแทนของศาสนา เช่น บิชอปและอาร์คบิชอปต่าง ๆ

(๔) ขุนนางนิติ (Law Lords) เป็นสมาชิกที่มีความรู้ด้านกฎหมาย และทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาศาลสูงสุดของสหราชอาณาจักรด้วย ประกอบไปด้วยผู้พิพากษาจำนวน ๒๖ คน (ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org).

5. รัฐสวัสดิการ (Welfare state) เป็นระบบทางสังคมที่รัฐให้หลักประกันแก่ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันใน ด้านปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น หลักประกันด้านสุขภาพ ที่ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับบริการป้องกันและรักษาโรคฟรี หลักประกันด้านการศึกษา ที่ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาตามความสามารถโดยได้รับทุนการศึกษาฟรีจนทำงาน ได้ตามความสามารถในการเรียน หลักประกันด้านการว่างงาน ที่รัฐต้องช่วยให้ทุกคนได้งานทำ ใครยังหางานไม่ได้รัฐต้องให้เงินเดือนขั้นต่ำไปพลางก่อน หลักประกันด้านชราภาพ ที่รัฐให้หลักประกันด้านบำนาญสำหรับผู้สูงอายุทุกคน หลักประกันด้านที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน เป็นต้น

ประเทศที่มีระบบรัฐสวัสดิการจะใช้ระบบการเก็บภาษีแบบก้าวหน้า คือเก็บภาษีจากคนรวยในอัตราต่อรายได้สูงกว่าคนจนมาก เก็บจากชนชั้นกลางในระดับพอประมาณ และเก็บจากคนจนน้อยหรือไม่เก็บเลย นอกจากนั้นอาจมีการเก็บเบี้ยประกันสังคมจากคนที่มีงานทำตามอัตราเงินเดือน เงินที่เก็บได้ทั้งหมดรัฐก็จะนำมาใช้จ่ายสำหรับบริการทางสังคมทั้งหมดในระบบ รัฐสวัสดิการ ระบบนี้จึงเป็นการ “เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข” คนที่มีรายได้ดีต้องช่วยจ่ายค่าบริการทางสังคมส่วนหนึ่งแก่คนที่ยากจนกว่า (ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org).

 

ที่มา:นิติราษฎร์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ส.ศิวรักษ์-เสวนาพุทธศาสนากับปัญหาสังคมและการเมือง:ความกล้ากับการท้าทายโครงสร้างทางสังคมอันอยุติธรรม

Posted: 01 Jan 2011 09:31 PM PST


ส.ศิวรักษ์:
ท่านได้ฟังสองทัศนคติไปแล้วนะครับ ศิโรตม์เค้ามองศาสนาเหมือนอย่างคนส่วนใหญ่มอง คือ ไปมองที่พระสงฆ์ แต่จริงๆแล้วพระภิกษุสงฆ์นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพระศาสนา พระศาสนาคือตัวพุทธธรรมคำสอน และพระพุทธองค์ฝากพุทธธรรมคำสอนไว้กับพุทธบริษัทสี่ ซึ่งมีทั้งภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ และทางมหายานก็ถือว่ามี อุบาสกสงฆ์ และอุบาสิกาสงฆ์ จะมองเห็นว่ามีแต่พระอย่างเดียวนั้นไม่ได้ และจะเอาความเห็นของพระรูปเดียวมาตัดสินนั้นก็ไม่ได้ ที่ว่าผู้หญิงมีประจำเดือน แล้วแปรปรวนจึงบวชไม่ได้ นั่นถือเป็นเรื่องความคิดของพระรูปเดียว ซึ่งก็ไม่ใช่พระที่ฉลาดเฉลียวอะไรนัก
 
เนื้อหาสาระคำสอนของพุทธศาสนานั้น ผู้หญิงผู้ชายเท่าเทียมกันหมด ผู้หญิงตรัสรู้ได้เท่ากับผู้ชาย ภิกษุณีสงฆ์เท่ากับภิกษุสงฆ์ และเวลานี้เมืองไทยก็ลองมีภิกษุณีสงฆ์แล้ว และสำหรับคนที่ศึกษาเรื่องศาสนาพุทธในเมืองไทย ต้องเข้าใจเลยนะว่า ที่วัดป่าบ้านตาด ที่เค้ายกย่องกันว่าพระอาจารย์มหาบัวเป็นพระอรหันต์นั้น มีแม่ชีเขียวซึ่งดูแลโยมมารดาของอาจารย์มหาบัว แล้วที่อุดรฯ เค้าเชื่อเลยว่าแม่ชีเขียวนั้นตรัสรู้เป็นพระอรหันต์เท่ากับอาจารย์มหาบัว ผิดถูกไม่รู้หรอก แต่อย่างน้อยเค้าเชื่อ และยังมีสถูปด้วย และแม่ชีเขียวเวลาตาย เผาแล้ว อัฐิแกกลายเป็นพระธาตุ เหมือนกับอาจารย์มั่น อาจารย์เสาร์ ที่เค้านับถือกันเป็นพระอรหันต์ เพราะฉะนั้นที่มาบอกว่าผู้หญิงผู้ชายไม่เท่ากันอะไรต่างๆนั้น มันไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า มันเป็นคำสอนของคนบางคน แล้วสิ่งที่วิจักขณ์พูด ก็เป็นในทางที่เข้ามาหาปรัชญาและสาระของศาสนาพุทธ ซึ่งมีประโยชน์มาก
 
แต่ผมจะพูดให้ท่านทั้งหลายฟังง่ายๆว่า ศาสนาพุทธหรือคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เป็นคำสั่งสอนที่ให้ประโยชน์แก่แต่ละบุคคลด้วย และให้ประโยชน์แก่สังคมด้วย และให้ประโยชน์แก่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติด้วย ครบทั้งองค์สาม สิกขาบทโดยเฉพาะศีลห้านั้น เป็นการช่วยแต่ละบุคคลให้มีบทบาทในสังคมที่ถูกต้อง ลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ไม่ให้มีเอารัดเอาเปรียบกัน และเอื้ออาทรต่อธรรมชาติ
 
แต่คำสอนทั้งหมดมีจุดอ่อนเรื่องการเมือง พระพุทธเจ้าหลีกออกมาจากการเมือง มาตั้งสังคมใหม่ เป็นสังคมสงฆ์ สังคมสงฆ์ถือเป็นสังคมอุดมคติซึ่งไม่เกี่ยวกับการเมือง กล่าวคือไม่มีอำนาจ แต่สังคมสงฆ์นั้นเป็นสังคมที่เปิดโอกาสให้มีความเสมอภาค ภราดรภาพ และเข้าถึงเสรีภาพจากความโลภ โกรธ หลง จึงเป็นสังคมที่ประเสริฐที่สุด แต่ไม่ใช่สังคมการเมือง เพราะไม่มีอำนาจ ต้องเข้าใจให้ชัดเลยนะครับ
 
แต่ถ้าเอารูปแบบของสังคมสงฆ์มาใช้ในทางการเมืองเนี่ย จะได้ผลมาก  เอ็มเบดการ์คนที่เขียนรัฐธรรมนูญอินเดีย อินเดียตั้งมาหกสิบกว่าปีแล้ว ยังไม่เคยมีรัฐประหารล้มรัฐธรรมนูญเลย และเอ็มเบ็ดการ์เป็นคนมาถือพุทธ เอ็มเบดการ์เกิดเป็นจัณฑาล จัณฑาลเป็นวรรณะที่ต่ำที่สุด เขาไม่รับศาสนาฮินดูเป็นเหตุให้เขาขัดกับมหาตมะ คานธี แล้วมาถือศาสนาพุทธ เพราะเขามองว่าศาสนาพุทธให้โอกาสทุกคนเท่าเทียมกันหมด แล้วเขาถือว่าประชาธิปไตยครั้งแรกเกิดขึ้นตอนที่พระพุทธเจ้าสอน และเกิดสังฆะขึ้น ซึ่งถือประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะว่าคนที่เข้าสู่สังฆะ ไม่ว่าจะชนชั้นสูงขนาดไหน ชนชั้นต่ำขนาดไหน เข้ามาได้เสมอกันหมด มีภราดรภาพเป็นพื้นฐาน และปฏิบัติชีวิต เพื่อเอาชนะความโลภ โกรธ หลง ให้เข้าถึงเสรีภาพ นี่เป็นคำของเอ็มเบดการ์ที่มีอิทธิพลมากนะครับ เพราะที่ฝรั่งว่าประชาธิปไตยมาจากอังกฤษอะไรนั่นตอแหลทั้งนั้น
 
แต่คณะสงฆ์เป็นสังคมซึ่งไม่ใช่การเมือง แต่ท้าทายการเมืองกระแสหลัก และชี้นำให้สังคมเดินทางนี้ ส่วนคำสอนที่เกี่ยวกับการเมืองนั้น ศาสนาพุทธสอนในทางอุดมคติ ทำได้ไม่ได้นั้นอีกเรื่อง เช่น ทศพิธราชธรรมมีประโยชน์มากกับชนชั้นปกครอง แต่อยากถามว่ามีคนในราชวงศ์กี่คนที่ทำตามนี้ จักรวรรดิวัตรเป็นแนวทางที่ให้ประโยชน์มาก คือคนที่ตั้งตนเป็นจักรพรรดินั้นจะต้องมีประเทศราชารองลงไป เพราะจักรพรรดิต้องถือจักรวรรดิวัตร ให้ประเทศราชาถือทศพิธราชธรรม ซึ่งโดยหลักฐานในทางประพฤติปฏิบัติ ก็มีประโยชน์พอสมควร เช่น พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาถือว่าเป็นพระจักรพรรดิ หรือพระราชาธิราช พระเจ้าเชียงใหม่เป็นประเทศราชา หรือประเทศราช พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาจะไม่ไปก้าวก่ายพระเจ้าเชียงใหม่เป็นอันขาด ไม่ไปก้าวก่ายวัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่ไปก้าวก่ายการปกครองของเขา นี่คือถือหลักจักรวรรดิวัตร แล้วมาประยุกต์ใช้
 
แต่ตามความเป็นจริงทางการเมืองนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้ามีความล้มเหลวมากกว่าความสำเร็จ ผมว่าเราต้องยอมรับความจริงนะครับ พระเจ้าแผ่นดินองค์แรกที่มาถือพุทธ คือ พระเจ้าพิมพิสาร ยกที่ดินถวายเป็นวัดแห่งแรก คือ วัดเวฬุวัน แต่พอมาถือพุทธแล้วแหยเลยครับ ถูกลูกฆ่าตาย ถือพุทธแล้วแหยครับ พระเจ้าอชาตศัตรู ที่แย่งราชสมบัติพ่อได้ เพราะไปเข้ากับเทวทัต ไม่ได้เข้าหาพระพุทธเจ้า พระเจ้าโกศลก็เหมือนกันนะครับ นับถือพระพุทธเจ้าในเรื่องส่วนตัว เช่น ท่านเสวยมากไป พระพุทธเจ้าบอกเสวยให้น้อยลง ก็ดี แต่ท่านก็เป็นคนบ้าสมภารไปตลอดชีวิต พระเจ้าอโศกเองมานับถือพุทธ ทำดีมากเลย แต่พระเจ้าอโศกเองก็ล้มเหลว ถูกแย่งราชสมบัติภายในรัชกาลพระองค์เอง อีกนัยหนึ่ง บทบาทคำสอนศาสนาพุทธในทางการเมืองมีความล้มเหลวมาโดยตลอด หรือผู้มีอำนาจเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าไปใช้เพื่อประโยชน์ของตัวเองในทางการเมืองยิ่งกว่าในทางศาสนา
 
ตรงนี้พวกเราไม่รู้เรื่องกันแล้วครับ เพราะเมืองไทยที่ว่าเถรวาท ที่วิจักขณ์พูดไปเมื่อตะกี๊ เถรวาทของไทยมาจากทางลังกา ผมอาจจะเป็นรุ่นสุดท้ายนะครับ คนรุ่นนี้คงไม่รู้เรื่องแล้ว พงศาวดารสยามนั้นกลับไปหาลังกาทวีป หนังสือมหาวงศ์พงศาวดารมันถอยไปถึงพระพุทธเจ้า แล้วมหาวงศ์นั้นชัดเลยครับ พระบอกเลยครับ พระเจ้าแผ่นดินสิงหลฆ่าไอ้พวกทมิฬเท่ากับฆ่าครึ่งมนุษย์เท่านั้นเอง  พระเลวร้ายสุดๆมาตั้งแต่สมัยโน้นแล้ว เล่นการเมืองมาตั้งแต่สมัยโน้นแล้ว  สยบกับอำนาจมาตั้งแต่สมัยโน้นแล้ว ไม่ใช่มาสยบกับอำนาจเมื่อพระจอมเกล้าฯ แต่พระจอมเกล้าฯนั้นเอาศาสนามาอยู่ใต้อาณาจักรที่สุดเลย แล้วพระก็เลวร้ายยิ่งกว่าพระเจ้าแผ่นดิน อยากรับสมณศักดิ์จนตัวสั่น ฉลองกันชิบหายวายป่วงหมด ติดสินบนกันด้วย เลอะถึงขนาดนี้ แล้ววิจักขณ์ยังฝันหวาน จะเห็นเถรวาทกลับมา เออ ก็ไม่เป็นไร..ฝันไป
 
ผมอยากจะเน้นนะครับ ศาสนาพุทธมีบทบาทในทางแต่ละปัจเจกบุคคลและสังคม แต่พอไขว้เขวทางสังคม ศาสนาพุทธจะมามีบทบาทในทางปัจเจกบุคคล โดยเฉพาะสังคมไทยปัจจุบันเป็น “สังคมผิดปกติ” คนที่มีความรู้ คนที่มีสติปัญญา คนที่มีเงินมีทอง จะแสวงหาศาสนาพุทธในทางปัจเจก อีกนัยหนึ่ง คือ ทิ้งสังคม อย่างมหาขทิรวัน ที่หัวหินนั่นก็เป็นแห่งหนึ่งให้หนีไป หมู่บ้านพลัมที่จะมาใหม่ก็เป็นอีกแห่งให้หนีไป แต่ไปได้เฉพาะคนรวยเท่านั้นนะ คนจนอย่าได้ไปเชียว แล้วคนรวยก็ชอบ เพื่อประโยชน์ส่วนตัวครับ กลับมาก็ยังรีดไถสังคมตามเดิม อยู่กับระบบทุนนิยมตามเดิม เอาเปรียบแรงงานตามเดิม  
 
อีกนัยหนึ่ง ศาสนาพุทธจะได้ผลจริงๆจังๆ คนปฏิบัติศาสนธรรมจะต้องปฏิบัติไม่ใช่เพื่อปัจเจกบุคคล แต่เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติด้วย เมื่อได้จุดนี้แล้ว จึงจะตีประเด็นไปที่การเมืองให้ชัดเจน และการตีประเด็นไปที่การเมืองให้ชัดเจน ไม่จำเป็นต้องไปเป็นนักการเมือง อย่างที่ผมพยายามทำ Engaged Buddhism มา ๒๐ปี ผมชี้ให้เห็นจุดนี้เลย เพราะถ้าไปทำการเมืองโดยตรงแล้วไม่แม่น ไม่แม่นในการรู้เท่าทันตัวเอง ไม่แม่นในการรู้เท่าทันสังคม จะถูกการเมืองมันดึงไป เพราะการเมืองมันเป็นศูนย์แห่งโทสจริต หรือการแย่งอำนาจ และโทสจริตนั้นผนวกกับโลภจริต เพราะบรรษัทข้ามชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง มีอภิมหาอำนาจคือจีนและอเมริกาเข้ามาเกี่ยวข้อง และมีความคิดกระแสหลักของตะวันตกเข้ามาเกี่ยวข้อง ความคิดกระแสหลักของตะวันตกทั้งหมดเป็นโมหจริต โมหจริตให้หลง ที่ว่าศาสนาพุทธสอนให้แต่ละคนแหย นั่นไม่ใช่ศาสนาพุทธครับ ศาสนาพุทธไม่มีตรงนี้เลย เราไม่มีบาปกรรมติดตัวที่ไหนเลย ศาสนาพุทธถือว่าทุกคนมีพุทธภาวะ มีตถาคตครรถ์ ไม่มีใครด้อย ไม่มีใครเหลว ไม่มีใครแหย ทุกคนเท่ากัน ที่ไม่เท่ากันเพราะศาสนาพุทธในเมืองไทยกลายเป็นขัตติยา-ศักดินาธิปไตย ไม่ใช่ศาสนาพุทธที่แท้ ไม่มีที่เจ้าดีกว่าไพร่หรือไพร่ดีกว่าเจ้า แต่ที่จริงมันเท่ากัน
 
ประเด็นผมอยู่ตรงนี้ครับ ศาสนากับการเมืองต้องตีประเด็นให้ชัด เมื่อตีประเด็นไม่ชัดก็ไม่กล้า แล้วพวกพระที่คุณโจมตีอะไรดังกล่าว พวกนี้ไม่มีความหมายอะไรเลย พระที่ควรจะโจมตีมากๆ คือ พระที่มีบทบาททางการเมืองหลังฉาก ไม่ใช่ว.ออกมาพูดฆ่าเวลาฆ่าอะไร ว.นั่นมันตัวเล็ก... ตัวใหญ่นั้นอยู่หลังฉาก
 
ศาสนาพุทธนั้นมีบทบาททางส่วนตัว สังคม และสิ่งแวดล้อม และมีบทบาทที่ด้อยมากทางการเมืองในสองพันห้าร้อยปีที่แล้วมา แต่จะว่าสองพันห้าร้อยปีก็เป็นภวตัณหา ศาสนาพุทธสอนว่าอยู่ในปัจจุบัน ประพฤติปฏิบัติธรรมให้ดีที่สุด ดีกว่าอยู่เป็นร้อยปี สองร้อยปี แล้วประพฤติอธรรม พุทธศาสนากับปัญหาสังคมเวลานี้ คำสอนเนื้อหาสาระนั้น ผมว่ามีประโยชน์กับแต่ละบุคคลและสังคมแน่นอน โดยเฉพาะฝ่ายเถรวาทที่ประพฤติปฏิบัติในเมืองไทย ลังกา พม่า มอญ นั้น มีประโยชน์กับสังคมเกษตรกรรมที่เรียบง่าย การใช้ทาน ศีล ภาวนา เหมาะสมที่สุดกับสังคมที่เรียบง่าย
 
ที่นี้สังคมไทยเวลานี้เป็นสังคมที่พลิกผันมากเลย คุณจะโทษตะวันตกหรือไม่โทษก็แล้วแต่ แต่โดยเฉพาะกรณีเมืองไทยนั้น อเมริกันมันกำหนดทุกอย่างให้เปลี่ยนเป็นสังคมอุตสาหกรรม ชนบทเราจึงพังหมด และสังคมอุตสาหกรรมนั้น ศาสนาพุทธยังไม่มีคำตอบให้กับปัญหาสังคมเลย นี่ชัดเจนเลยนะครับ ถ้าไม่ตีประเด็นนี้ ไม่ต้องพูดกันต่อไป สังคมอุตสาหกรรมมันมีอะไรครับ มันมีโครงสร้างทางสังคมที่อยุติธรรมและรุนแรง ผมเชื่อเลยว่าหลักสูตรมหาจุฬาฯ มหาเปรียญอะไรเนี่ย ไม่ได้พูดเรื่องนี้เลย เพราะฉะนั้นผมเห็นว่าจำเป็นต้องตีประเด็นไปที่ โครงสร้างทางสังคมอันอยุติธรรมและรุนแรง คือ การไม่ฆ่าสัตว์เนี่ย มันเป็นเรื่องของสังคมที่เรียบง่ายได้ แต่ตอนนี้เราไม่ฆ่าครับ เราปล่อยให้คนอื่นฆ่า ให้บริษัทซีพีมันฆ่า เราไม่รู้สึกเลย แล้วพระก็ไม่รู้สึกเลยครับ คนเขาเอาของมาถวาย พระไม่รู้ ไม่เห็น ไม่สงสัย ไอ้รังนกที่กินๆกันนั่นมันเลวร้ายที่สุดเลย นกเหล่านั้นมันต้องขาดเสลดออกมา เป็นเสมหะ เป็นเลือดเลย แต่คนที่ไปเอามามันร่ำรวยมโหฬาร เอาของพวกนี้มาหลอกขาย ประเด็นพวกนี้มันสะท้อนถึงสังคมอันอยุติธรรมและรุนแรง กรณีเสื้อแดงก็เอาทหารออกมาฆ่า ออกพรก.ฉุกเฉินอนุญาตให้ฆ่า สิ่งต่างๆเหล่านี้มันเป็นความรุนแรงที่อยู่ในโครงสร้าง ถ้าตีประเด็นนี้ไม่แตก ไม่มีคำตอบให้กับสังคมได้ นี่เราพูดเรื่องศีลข้อที่ ๑  ศีลข้อที่ ๒ เช่นเดียวกัน ไม่ต้องขโมยครับ เราปล่อยให้ธนาคารทั้งหมดมันขโมยเราโดยถูกกฎหมาย ตีประเด็นนี้ไม่แตก ไม่ต้องพูดเรื่องอทินนาทาน
 
อีกนัยหนึ่ง การประยุกต์ศีลมาใช้ เราต้องรู้จักสังคมอันอยุติธรรมและรุนแรง และจะต้องโยงไปถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย เมื่อตีศาสนาพุทธมาที่สังคมได้ชัด จึงค่อยเข้าไปถึงการเมือง เพราะการเมืองมันมีอำนาจหวงอยู่ นักการเมืองไม่ปล่อยง่ายๆ และตอนนี้นักการเมืองก็ใกล้ชิดกับบรรษัทข้ามชาติ ใกล้ชิดกับอภิมหาอำนาจ โดยเฉพาะจีนนั้นคุมเราอยู่ตลอด เวลานี้แม้แต่กระเทียมก็ต้องสั่งเข้ามา คนไทยผลิตกระเทียมขายไม่ได้แล้ว แม่น้ำโขงเจ๊กมันกั้นทั้งหมดแล้ว ทะไลลามะเสด็จเมืองไทยไม่ได้ เพราะรัฐมนตรีไทยกลัวเจ๊กกันหมดครับ เราต้องทำความเข้าใจว่าโครงสร้างทางสังคมเหล่านี้ จึงจะเท่าทัน และรู้ว่าจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างไร
 
ทีนี้จะทำยังไงครับ หนึ่งเราจะต้องรู้เท่าทัน เจริญโยนิโสมนสิการ ไม่ใช่แค่รู้เท่าทันตัวเอง ลดกิเลส ลดอัตตา แต่จะต้องรู้เท่าทันโครงสร้างทางสังคมอันอยุติธรรมเหล่านั้น จึงจะรู้ว่าจะไปมีบทบาททางสังคมอย่างไร สองต้องแสวงหากัลยาณมิตร เพื่อนฝูง ศึกษาเรียนรู้ และทำงานร่วมกัน ร่วมกันท้าทายความรุนแรงเชิงโครงสร้างเหล่านั้น ไม่ได้ทำง่ายๆนะครับ ดูอย่างพม่า อองซานซูจี พระพม่าออกมาท้าทายรัฐบาลเผด็จการทหาร ท่านถูกฆ่า ท่านถูกจับสึก ท่านถูกกระทืบ แต่ท่านเจริญเมตตากรณียสูตรตลอดเวลาเลย แสดงว่า เนี่ย ศาสนาพุทธทำให้ท่านมั่นคงแข็งแรง ท่านไม่ได้ไปเกลียดชังคนที่รังแกท่าน การเมืองคืออย่างนี้ครับ ธิเบตเค้าก็ทำกันแบบนี้ และผมเชื่อว่าวันหนึ่งคนไทยจะทำแบบนี้  พระเสื้อแดงจำนวนมากมาหาผมครับ บอกอาจารย์เป่ากระหม่อมหน่อย เราจะไปสู้กับพวกอำมาตย์ ผมบอกโยมจะไปเป่ากระหม่อมพระได้ไง ท่านบอกไม่เป็นไร ส.ศิวรักษ์เป่า ศักดิ์สิทธิ์ ผมก็เป่ากระหม่อมพระ แต่ขอพระคุณเจ้าอย่าใช้ความรุนแรงนะ ถ้าเผื่อพระเสื้อแดงรวมตัวกันแล้วไม่ใช้ความรุนแรง เรียนจากพระพม่า เรียนจากพระลาว พระธิเบต โอ้โห.. เมืองไทยจะเปลี่ยนเลย นี่คือมิติทางการเมือง
 
จากแต่ละปัจเจกบุคคล ทำความเข้าใจโครงสร้างทางสังคมอันอยุติธรรมและรุนแรง เมื่อมีความเชื่อมั่น มีความกล้าหาญทางจริยธรรม รวมกันเป็นพลัง นั่นจะเป็นการเมือง
 
 

 

 
สรุปเนื้อหางานเสวนา "พุทธศาสนากับปัญหาสังคมและการเมือง" มีทั้งหมด 5 ตอน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น