ประชาไท | Prachatai3.info |
- อียิปต์ชุมนุมไล่ ปธน. วันที่ 4 ขณะที่รถถังจำนวนมากเคลื่อนเข้าไคโร
- กลุ่มคัดค้านยื่นฎีกาลบล้าง ยัน‘เขื่อนคลองช้าง’กระทบชุมชน
- กลุ่มคัดค้านยื่นฎีกาลบล้าง ยัน‘เขื่อนคลองช้าง’กระทบชุมชน
- ของเล่น (?): ประเทศไทย
- 15 ปี คดีทอผ้า: สังคมไทยได้อะไร? กับค่าทดแทนที่เป็นธรรม
- องค์กรสิทธิร่วมประณามเหตุระเบิดรถยนต์ชาวบ้านเสียชีวิต 9 ราย
- ไชยวัฒน์เผยจะจับมือเสื้อแดงไล่นายก ธิดาปัดไม่ขอร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ
- วิกฤตด้านสุขภาพในพม่า ตอนที่ 1: แฉรัฐบาลพม่าเมินดูแลสาธารณสุข ทำสถิติโรคภัยพุ่ง
- ใบตองแห้งออนไลน์: มาเอาใจช่วย พธม.กันเหอะ (ฮิฮิ)
- นิวยอร์กไทม์: การสืบสวนเรื่องความรุนแรงของไทยไร้ความคืบหน้า
- รบ.อียิปต์ตัดสัญญาณเน็ตทั่วประเทศ-แบล็กเบอร์รี่-SMS โดนด้วย
- ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "เกมในบ้าน"
อียิปต์ชุมนุมไล่ ปธน. วันที่ 4 ขณะที่รถถังจำนวนมากเคลื่อนเข้าไคโร Posted: 28 Jan 2011 11:17 AM PST สถานีโทรทัศน์อัลจาซีร่า แพร่ภาพผู้ชุมนุมในอียิปต์เข้าไปเผาทำลายที่ทำการพรรคประชาธิปไตยแห่งชาติ ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ขณะที่ล่าสุดกองกำลังพิทักษ์ประธานาธิบดีได้เคลื่อนรถถังไปที่สถานีโทรทัศน์ของรัฐบาล Fresh protests erupt in Egypt, ที่มา: AlJazeeraEnglish, January 28, 2011 Protesters in Suez call for regime change, ที่มา: AlJazeeraEnglish, January 28, 2011 Egyptian police hold fire during prayer, ที่มา: AlJazeeraEnglish, January 28, 2011 Egyptians renew protests after curfew, ที่มา: AlJazeeraEnglish, January 28, 2011
ภาพการชุมนุมในอียิปต์เมื่อวันที่ 28 ม.ค. จากสถานีโทรทัศน์อัลจาซีร่า โดยล่าสุดในช่วงกลางดึก มีการเผยแพร่ภาพ กองกำลังพิทักษ์ประธานาธิบดี เคลื่อนรถถังไปยังสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาล ขณะที่ประชาชนยังคงฝืนประกาศเคอร์ฟิวออกมาประท้วงในช่วงกลางคืน
ชุมนุมอียิปต์เป็นวันที่ 4 เสียชีวิตแล้ว 7 ทางการประกาศเคอร์ฟิว ภายหลังจากที่ประชาชนตูนีเซียสามารถขับไล่ประธานาธิบดีเบน อาลี ได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้ขณะนี้สถานการณ์ประท้วงขยายตัวไปยังประเทศข้างเคียงในภูมิภาคแอฟริกาเหนือ โดยสถานการณ์ล่าสุด วานนี้ (28 ม.ค.) 28 ม.ค. 2554 - มีประชาชนหลายหมื่นคนมารวมตัวกันบนท้องถนนเพื่อขับไล่ประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารัค เป็นวันที่ 4 นับตั้งแต่เริ่มการชุมนุมในวันอังคาร ทำให้ทางโทรทัศน์ช่องรัฐบาลประกาศเคอร์ฟิวช่วงตั้งแต่เวลา หกโมงเย็นวันนี้ไปจนถึงเจ็ดโมงเช้าวันพรุ่งนี้ตามเวลาท้องถิ่น ขณะเดียวกันก็มีการนำกำลังเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมบนท้องถนนโดยฝ่ายทหารมีการนำกำลังรถทหารออกมาตามท้องถนน ช่วงที่มีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับตำรวจ มีการใช้แก็สน้ำตาและกระสุ ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่า ราวยา ราเกห์ รายงานสถานการณ์ว่ามีผู้ประท้ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามี ขณะที่ทางรัฐบาลอิยิปต์ระบุว่ ก่อนหน้าที่จะมีการบล็อกอิ ส่วนในเหตุปะทะนั้น เมื่อวันที่ 27 มีผู้ประท้วงขว้างระเบิดเพลิงใส่ ด้านฮิวแมนไรท์วอทช์ บอกว่าตำรวจอิยิปต์ได้เพิ่มระดั ขณะที่ บารัค โอบาม่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกมาขอให้ทั้งฝ่ายรัฐบาลและผู้
ผู้ชุมนุมเผาที่ทำการพรรครัฐบาล ขณะที่มีรถถังเคลื่อนเข้ามาในไคโร ขณะที่สถานการณ์ล่าสุด ช่วงกลางดึกของวันศุกร์ (28 ม.ค.) สถานีโทรทัศน์อัลจาซีร่า แพร่ภาพผู้ชุมนุมในอียิปต์ยังคงฝ่าฝืนเคอร์ฟิวออกมาชุมนุมในกรุงไคโร และเมืองใหญ่หลายเมืองอียิปต์ ที่ไคโรประชาชนฝืนเคอร์ผิวยังคงออกมาชุมนุม และมีผู้เข้าไปเผาทำลายที่ทำการพรรคประชาธิปไตยแห่งชาติ (NDP) ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล พร้อมขโมยสิ่งของภายในที่ทำการพรรค นอกจากนี้สถานีโทรทัศน์อัลจาซีร่า ได้เผยแพร่ภาพ กองกำลังพิทักษ์ประธานาธิบดี (Presidential Guard) ได้เคลื่อนรถถังไปที่สถานีโทรทัศน์ของรัฐบาล โดยทหารที่ออกมาในกรุงไคโรได้รับคำสั่งให้ออกมาเสริมกำลังช่วยตำรวจปราบจลาจล ล่าสุด (29 ม.ค. 54 เวลา 02.30 น. ตามเวลาประเทศไทย) สถานีโทรทัศน์อัลจาซีร่า รายงานว่า นายโมฮัมเหม็ด เอลบาราได เจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพ แกนนำผู้สนับสนุนการชุมนุม ถูกรัฐบาลควบคุมตัวและกักบริเวณภายในบ้านพักแล้ว นอกจากนี้พาหนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ใกล้กับพรรค NDP ได้ถูกผู้ชุมนุมชุดไฟเผา ขณะที่มีผู้ชุมนุมจำนวนมากออกมาล้อมพิพิธภัณฑ์ในกรุงไคโรเอาไว้เป็นโล่มนุษย์ เนื่องจากมีเพลิงไหม้เกิดขึ้นในอาคารใกล้เคียงกับพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว และเพื่อป้องกันไม่ให้มีการปล้นสะดมพิพิธภัณฑ์ เวลา 03.50 น. ของวันที่ 29 ม.ค. ตามเวลาประเทศไทย สถานีโทรทัศน์อัลจาซีร่า รายงานด้วยว่า รถถังที่เคลื่อนออกมาในกรุงไคโรขณะนี้ยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจน ว่าจะปฏิบัติการสนับสนุนรัฐบาลหรือผู้ชุมนุม ในขณะที่ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่าประชาชนตะโกนคำขวัญว่า ทหารกับประชาชนเป็นพวกเดียวกัน นอกจากนี้ ยังรายงานด้วย ว่ารถถังจำนวนมากที่เคลื่อนออกมานั้น เพื่อไปอารักขาสถานทูตของต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในกรุงไคโร
ที่มา: แปลและเีรียบเรียงจาก Fresh protests erupt in Egypt , 28-01-2011, Aljazeera สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กลุ่มคัดค้านยื่นฎีกาลบล้าง ยัน‘เขื่อนคลองช้าง’กระทบชุมชน Posted: 28 Jan 2011 09:08 AM PST กลุ่มคัดค้านเขื่อนคลองช้างยื่นฎีกาลบล้างความต้องการอ่างเก็บน้ำ อ้างสตูลไม่ขาดน้ำ กรรมการสิทธิฯ ชี้โครงการกระทบชุมชน พื้นที่ทำกิน เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2554 นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ในฐานะประธานอนุกรรมการสิทธิชุมชน พร้อมคณะประกอบด้วย นายชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ ดร.อาภา หวังเกียรติ นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี ลงพื้นที่บ้านโตน ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล เพื่อรับฟังปัญหาและสำรวจอาณาเขตโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองช้าง (เขื่อนทุ่งนุ้ย) หลังจากได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านว่า โครงการนี้อาจส่งผลกระทบกับป่าต้นน้ำและพื้นที่ชุมชน นายแพทย์นิรันดร์ เปิดเผยต่อไปว่า โครงการอ่างเก็บน้ำคลองช้างส่งผลกระทบสิทธิชุมชนและสิทธิต่อการมีชีวิต รวมถึงวิถีชีวิตในการทำมาหากิน เศรษฐกิจและวัฒนธรรมชุมชน เนื่องจากพื้นที่โครงการ 18,000 ไร่ เป็นสวนยางพารา สวนผลไม้และพื้นที่เกษตร มีคนใช้ประโยชน์ในพื้นที่กว่า 1,000 ครอบครัว ที่ทำมาหากินเป็นร้อยปี นายแพทย์นิรันดร์ เปิดเผยอีกว่า พื้นที่โครงการเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ อีกทั้งยังเป็นป่าต้นน้ำอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นการสร้างอ่างเก็บน้ำ โดยอ้างว่าเพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้งในอำเภอควนโดน อำเภอควนกาหลงและอำเภอเมือง จังหวัดสตูล จึงไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่ถูกต้องนัก เพราะในจังหวัดสตูล มีคลองประมาณ 20 สาย จึงเป็นโครงการที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของพื้นที่ที่ไม่ได้ขาดแคลนน้ำ นายแพทย์นิรันดร์ เปิดเผยด้วยว่า นอกจากการสำรวจข้อมูลในพื้นที่แล้ว คณะอนุกรรมการฯ ยังต้องตรวจสอบไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น กรมชลประทาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง ขณะเดียวกันจะต้องตรวจสอบใบถวายฎีกาต่อสำนักพระราชวังของนายไซนาฮำซ๊ะ แสงนวล กรรมการลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกด้วย เนื่องจากอ้างว่า จังหวัดสตูลมีความแห้งแล้ง ต้องการอ่างเก็บน้ำ โดยจะดูเหตุผลซึ่งเป็นมติจากคณะกรรมการลุ่มน้ำฯ ในเรื่องนี้อย่างไร “ผมจะทำหนังสือสอบถามไปยังสำนักพระราชวังว่า เรื่องนี้มีข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เพราะบ่อยครั้งที่เราพบว่า โครงการต่างๆ มีการแอบอ้างว่าเป็นโครงการในพระราชดำริ และเป็นโครงการที่ส่งผลกระทบกับชาวบ้าน แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน อาจกระทบถึงสถาบันพระมหากษัตริย์” นายแพทย์นิรันดร์ กล่าว นายสุกรี เศษระนำ กรรมการเครือข่ายประชาชนรักษ์คลองช้าง ตำบลทุ่งนุ้ย เปิดเผยว่า ทางเครือข่ายฯจะยื่นถวายฎีกาต่อสำนักพระราชวังด้วยเช่นกันว่า ชาวบ้านไม่ต้องการอ่างเก็บน้ำ เพื่อแสดงเจตจำนงลบล้างฎีกาของนายไซนาฮัมซ๊ะ “พื้นที่โครงการเป็นพื้นที่เศรษฐกิจของชาวบ้าน มีสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้และการเกษตรอื่นๆ เป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีสมุนไพรนานาชนิด มีสมเสร็จ นิ่ม ลิง ค่าง นกเงือกและสัตว์ป่าหลายชนิด” นายสุกรี กล่าว นายไซนาฮัมซ๊ะ แสงนวล กล่าวว่า ตนได้ยื่นถวายฎีกาพร้อมแนบรายชื่อชาวบ้าน 4 หมู่บ้านในตำบลทุ่งนุ้ย รวม 100 คนไปยังสำนักพระราชวังเมื่อปี 2552 เพื่อให้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำที่จังหวัดสตูล เนื่องจากชาวบ้านหมู่ที่1, 7, 10, 12 ตำบลทุ่งนุ้ย ไม่มีน้ำในการทำนา สำหรับโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองช้าง เป็นโครงการของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อยู่ระหว่างการจัดทำโครงการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำคลองช้าง ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2554 ชาวบ้านได้รวมตัวต่อต้านการลงพื้นที่สำรวจที่ตั้งโครงการของคณะทีปรึกษา จนต้องล้มเลิกการลงพื้นที่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กลุ่มคัดค้านยื่นฎีกาลบล้าง ยัน‘เขื่อนคลองช้าง’กระทบชุมชน Posted: 28 Jan 2011 09:08 AM PST กลุ่มคัดค้านเขื่อนคลองช้างยื่นฎีกาลบล้างความต้องการอ่างเก็บน้ำ อ้างสตูลไม่ขาดน้ำ กรรมการสิทธิฯ ชี้โครงการกระทบชุมชน พื้นที่ทำกิน เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2554 นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ในฐานะประธานอนุกรรมการสิทธิชุมชน พร้อมคณะประกอบด้วย นายชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ ดร.อาภา หวังเกียรติ นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี ลงพื้นที่บ้านโตน ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล เพื่อรับฟังปัญหาและสำรวจอาณาเขตโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองช้าง (เขื่อนทุ่งนุ้ย) หลังจากได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านว่า โครงการนี้อาจส่งผลกระทบกับป่าต้นน้ำและพื้นที่ชุมชน นายแพทย์นิรันดร์ เปิดเผยต่อไปว่า โครงการอ่างเก็บน้ำคลองช้างส่งผลกระทบสิทธิชุมชนและสิทธิต่อการมีชีวิต รวมถึงวิถีชีวิตในการทำมาหากิน เศรษฐกิจและวัฒนธรรมชุมชน เนื่องจากพื้นที่โครงการ 18,000 ไร่ เป็นสวนยางพารา สวนผลไม้และพื้นที่เกษตร มีคนใช้ประโยชน์ในพื้นที่กว่า 1,000 ครอบครัว ที่ทำมาหากินเป็นร้อยปี นายแพทย์นิรันดร์ เปิดเผยอีกว่า พื้นที่โครงการเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ อีกทั้งยังเป็นป่าต้นน้ำอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นการสร้างอ่างเก็บน้ำ โดยอ้างว่าเพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้งในอำเภอควนโดน อำเภอควนกาหลงและอำเภอเมือง จังหวัดสตูล จึงไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่ถูกต้องนัก เพราะในจังหวัดสตูล มีคลองประมาณ 20 สาย จึงเป็นโครงการที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของพื้นที่ที่ไม่ได้ขาดแคลนน้ำ นายแพทย์นิรันดร์ เปิดเผยด้วยว่า นอกจากการสำรวจข้อมูลในพื้นที่แล้ว คณะอนุกรรมการฯ ยังต้องตรวจสอบไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น กรมชลประทาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง ขณะเดียวกันจะต้องตรวจสอบใบถวายฎีกาต่อสำนักพระราชวังของนายไซนาฮำซ๊ะ แสงนวล กรรมการลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกด้วย เนื่องจากอ้างว่า จังหวัดสตูลมีความแห้งแล้ง ต้องการอ่างเก็บน้ำ โดยจะดูเหตุผลซึ่งเป็นมติจากคณะกรรมการลุ่มน้ำฯ ในเรื่องนี้อย่างไร “ผมจะทำหนังสือสอบถามไปยังสำนักพระราชวังว่า เรื่องนี้มีข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เพราะบ่อยครั้งที่เราพบว่า โครงการต่างๆ มีการแอบอ้างว่าเป็นโครงการในพระราชดำริ และเป็นโครงการที่ส่งผลกระทบกับชาวบ้าน แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน อาจกระทบถึงสถาบันพระมหากษัตริย์” นายแพทย์นิรันดร์ กล่าว นายสุกรี เศษระนำ กรรมการเครือข่ายประชาชนรักษ์คลองช้าง ตำบลทุ่งนุ้ย เปิดเผยว่า ทางเครือข่ายฯจะยื่นถวายฎีกาต่อสำนักพระราชวังด้วยเช่นกันว่า ชาวบ้านไม่ต้องการอ่างเก็บน้ำ เพื่อแสดงเจตจำนงลบล้างฎีกาของนายไซนาฮัมซ๊ะ “พื้นที่โครงการเป็นพื้นที่เศรษฐกิจของชาวบ้าน มีสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้และการเกษตรอื่นๆ เป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีสมุนไพรนานาชนิด มีสมเสร็จ นิ่ม ลิง ค่าง นกเงือกและสัตว์ป่าหลายชนิด” นายสุกรี กล่าว นายไซนาฮัมซ๊ะ แสงนวล กล่าวว่า ตนได้ยื่นถวายฎีกาพร้อมแนบรายชื่อชาวบ้าน 4 หมู่บ้านในตำบลทุ่งนุ้ย รวม 100 คนไปยังสำนักพระราชวังเมื่อปี 2552 เพื่อให้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำที่จังหวัดสตูล เนื่องจากชาวบ้านหมู่ที่1, 7, 10, 12 ตำบลทุ่งนุ้ย ไม่มีน้ำในการทำนา สำหรับโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองช้าง เป็นโครงการของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อยู่ระหว่างการจัดทำโครงการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำคลองช้าง ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2554 ชาวบ้านได้รวมตัวต่อต้านการลงพื้นที่สำรวจที่ตั้งโครงการของคณะทีปรึกษา จนต้องล้มเลิกการลงพื้นที่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Posted: 28 Jan 2011 08:57 AM PST Toy Thailand from joerg on Vimeo. หมายเหตุ “Toy Thailand” (http://vimeo.com/17942063) เป็นผลงานวิดีทัศน์ของ Joerg Daiber ถ่ายทำที่กรุงเทพฯ ภูเก็ต และ กระบี่ (หาดต้นไทรและอ่าวไรเลย์) ดนตรีประกอบ Air on the G String ประพันธ์โดย Johann Sebastian Bach บรรเลงโดย USAF Strings “ของเล่น (?): ประเทศไทย” เป็นเพียงความเห็นส่วนตัว (พร้อมบรรณานุกรม) ของวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ของเล่น (?): ประเทศไทย บ้านร่มเย็น เหลื่อมหลังคา คุ้มอาราม ศาลทรงสิทธิ สถิตย์กราบ ท่ามกฎไม้ บ้านสร้างโบก โยกสลับ คอยนับวัน บรรณานุกรม 1. กรณีวัดปทุมวนาราม http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1294320440&grpid=00&catid&subcatid http://www.prachatai.com/journal/2010/12/32440 http://www.nytimes.com/2011/01/25/world/asia/25iht-thai25.html?_r=1&ref=asia http://www.bangkokpost.com/news/local/217419/25-protest-deaths-explained http://www.facebook.com/photo.php?fbid=1459244295265&set=a.1451758068114.59976.1658153850 2. ข้อสังเกตวิธีจัดการปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯ 3. ประสิทธิภาพการบริหาร BTS http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9480000145291 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1295955754&grpid=03&catid&subcatid 4. กรณียึดที่ชาวบ้านเพื่อเพิ่มสวนสาธารณะ http://www.banmuang.co.th/sport.asp?id=226577 http://www.thaivisa.com/forum/topic/24663-royal-bangkok-sports-club/ 5. ศาลไทยสถิตย์ท่ามกลางกฎหมาย 6. แฟชั่นนักท่องเที่ยว 7. หนึ่งคืนของแท็กซี่กรุงเทพฯ 8. เสียงประชาชนกับเสียงเครื่องบิน 9-11. กรณีปะการังฟอกขาว http://www.cnngo.com/bangkok/visit/closure-18-dive-sites-413619 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
15 ปี คดีทอผ้า: สังคมไทยได้อะไร? กับค่าทดแทนที่เป็นธรรม Posted: 28 Jan 2011 08:02 AM PST “ไม้ซีกน้อยด้อยแรงงัดแต่ถ้ามัดกันแล้วมุ่ง รวมใจงัดไม้ซุงมีหรือมิเคลื่อนไป วันที่ 23 มกราคม 2554 ช่วงที่เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายจ้างกันนั้น พวกเราจะถูกทักท้วงด้วยคำพูดนี้เสมอว่า จะเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุงหรือไง ? ผู้ป่วยเกือบ 200 คนต้องถูกนายจ้างฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยของกองทุนเงินทดแทน ที่ว่าพวกเราป่วยเป็นโรคบิสซิโนซิสจากการทำงาน ทั้งๆที่เราทุกคนได้รับการวินิจฉัย กับ พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล คลินิกแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม รพ.ราชวิถี ว่าพวกเราป่วยเป็นโรคบิสซิโนซิส ปอดอักเสบจากฝุ่นฝ้ายเนื่องจากการทำงาน ต้องกินยามื้อหนึ่งเกือบ 10 เม็ด 3 มื้อก็ตก 30 เม็ดต่อวันพวกเราทรมานด้วยอาการป่วย มีเจ็บคอ คอแห้ง มีเสมหะพันคอ มีไข้ ไอมากไม่หยุด จนเจ็บซี่โครง เสียวลึกๆในปอด หายใจไม่สะดวก จะนั่ง ยืน เดิน หรือ นอนก็เหนื่อยหายใจไม่เต็มอิ่ม 9 พฤษภาคม 2538 คนป่วยโรคบิสซิโนซิสจากการทำงาน 37 คนนี้ จึงเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายจ้างโดยแต่ละคนเรียกค่าสินไหมทดแทนคนละ 1 -2 ล้านบาท คิดจากค่ายาค่ารักษาตกเดือนละ 2-3 พันบาท ค่าขาดโอกาสในการประกอบอาชีพเดือนละ 5 พันบาท ค่าภาระเลี้ยงดูบุตร บิดามารดาเดือนละ 3 พันบาท ค่าสูญเสียสมรรถภาพปอดตลอดชีวิตประเมินค่ามิได้ เพราะปอดเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายในการผลิตเลือดไปสู่หัวใจและหล่อเลี้ยงร่างกาย โดยทนายยื่นฟ้องบริษัทฐานที่เป็นผู้ก่อมลพิษทำการประมาทเลินเล่อ ปล่อยให้มลพิษฝุ่นฝ้ายอยู่ในอากาศจนเข้าสู่ร่างกายเป็นอันตรายต่อสุขภาพจนพวกเรา เกิดปอดอักเสบและเสื่อมสมรรถภาพไปอย่างถาวรตลอดชีวิต ระยะเวลาเนิ่นนานผ่านไปด้วยการที่โจทก์จำเลย นำพยาน มาสืบต่อศาลต้องดินขึ้นลงศาลตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ต้องเจอกับสถานการณ์ ที่ทำร้ายกระทบกระเทือนจิตใจ ผู้ป่วยอย่างพวกเราตลอดเวลา ด้วยฝ่ายนายจ้างผู้ ก่อมลพิษปฏิเสธต่างๆนา ท้าให้พวกเราต้องไปตรวจพิสูจน์กับแพทย์ท่านอื่น ซึ่งเราคิดว่าเป็นวิธีคิด ที่ไม่เคารพกัน มองว่าฝ่ายคนงานที่เจ็บป่วยเป็นฝ่ายผิดที่ฟ้องร้องนายจ้าง ถึงต้องทำการตรวจพิสูจน์ ซึ่งเราก็คิดว่าทำไมไม่ท้าไปตรวจพิสูจน์โรงงานบ้าง หลายคนต้องลาออกจากงานเพราะทนแรงกดดันไม่ไหว ทนเจ็บป่วยแล้วทำงานต่อไปไม่ไหว และมีหลายคนที่ถูกปลดออกจากงาน ชีวิตคนป่วยต้องตกระกำลำบาก เจ็บป่วยกายแล้วก็ยังเจ็บป่วยใจ รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง แต่ก็ไม่เลิกราที่จะต่อสู้คดี เพื่อพิสูจน์ว่าการเจ็บป่วยเกิดจากการทำงานจริงๆ ตามที่นายจ้างมองว่าพวกเราไม่ได้ป่วย แกล้งป่วย ??? จนกระทั่งเวลาผ่านไป 8 ปี 4 เดือน ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีวันที่ 30 กันยายน 2546 ให้นายจ้างมีความผิดฐานประมาทเลินเล่อ ปล่อยฝุ่นฝ้ายทำให้พวกคนงานป่วยเป็นโรคบิสซิโนซิสปอดอักเสบจากฝุ่นฝ้ายเนื่องจากการทำงานจนปอดเสื่อมสมรรถภาพการทำงานของปอดอย่างถาวรตลอดชีวิต โดยให้ได้รับเงินสินไหมทดแทนคนละ 1 แสน -2 แสนบาทพร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 / ปี แต่โรงงานใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลฎีกา ช่วงนี้เองที่คนป่วยส่วนใหญ่ก็เริ่มมีอาการเจ็บป่วยมากขึ้น หลายคนใช้วัดเป็นที่พึ่งทางใจ หลายคนต้องหาเงินเลี้ยงชีพด้วยการไปรับจ้างเขา ด้วยพละกำลังที่ป่วย เพราะมีภาระมีลูกที่ยังเล็ก มีพ่อแก่แม่เฒ่าต้องดูแล และคนป่วยจึงพยายามปกปิดตัวเองไม่ให้ใครรู้ว่าป่วยอยู่ มีคดีในศาล เพราะเกรงว่าสังคมไม่เข้าใจจะรังเกียจ คนป่วยเริ่มมีอาการป่วยแทรกซ้อนมากขึ้น ทั้งปอดอักเสบ เสื่อม เป็นหวัดบ่อย เป็นไข้บ่อย โรคความดัน โรคเครียด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ที่สำคัญ คือโรคกระดูก ซึ่งเป็นกันเกือบทุกคน คงเป็นเพราะว่ากินยาระยะยาวนาน และปอดที่สำคัญเสื่อมสมรรถภาพในการทำงาน จึงพาให้ร่างกายสุขภาพมีโรครุมเร้า ผลจากการที่ต้องต่อสู้ระยะยาวทำให้คนป่วยโรคบิสซิโนซิสไม่เพียงแต่เป็นผู้สูญเสียสุขภาพเท่านั้น หลายคนต้องเป็นผู้สูญเสียสภาพจิตใจไปด้วย คือ คนป่วยจะเก็บตัว ไม่เข้าสังคม ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย เครียด นอนไม่ค่อยหลับ หลงๆลืมๆ เบลอๆ เป็นผลให้ไม่สามารถประกอบอาชีพอะไรได้ ทุกคนต้องเป็นหนี้เป็นสิน บางคนถึงขั้นเคยคิดฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหาและเกิดความเบื่อหน่ายชีวิต ที่จะอยู่ในโลกอันเลวร้ายนี้ เวลาผ่านไปเป็น 11 ปี ศาลแรงงานกลางนัดฟังคำพิพากษาของศาลฎีกาในวันที่ 14 พฤษภาคม 2549 ทุกคนไปฟังคำพิพากษาฎีกา กันอย่างพร้อมเพียงด้วยหัวใจจดจ่อหวังว่าคดีคงสิ้นสุดคราวนี้แน่แล้ว แต่เมื่อฟังคำฎีกา มีคำสั่งว่าคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางยังฟังข้อเท็จจริงๆไม่เพียงพอจึงยกคำพิพากษาครั้งแรก และให้ศาลแรงงานกลางสืบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมใหม่กับโจทก์ทั้ง 37 คนใน 3 ประเด็น ดังนี้ 1.ผ้าปิดจมูกที่จำเลยจัดให้ลูกจ้างใช้ในโรงงานได้มาตรฐานตามที่หน่วยราชการกำหนดหรือไม่ วันนั้นจึงไม่ต้องบอกว่าคนที่ไปศาลจะเห็นอะไร ? น้ำตาผู้ป่วยไงคะ ที่มันไหลรินออกมา แทบหมดกำลังล้มทั้งยืน มีบางคนแอบคิดสั้น “ นี่ 11 ปีแล้วนะ!! ข้อมูลพยานหลักฐานต่างๆคนป่วยก็ยื่นส่งศาลไปหมดกันครบถ้วนแล้วทำไมต้องมาสืบใหม่ ? การสืบใหม่ครั้งนี้ต้องใช้ระยะเวลานานเท่าใด ? ผลจะเป็นอย่างไร ถ้าหากตัดสินให้คนป่วยชนะจะต้องมีอุทธรณ์ฎีกาอีกไหม ? และถ้าหากแพ้จะทำอย่างไร ? ในใจคนป่วยทุกคนมีแต่คำถาม เคยมีคดีแบบนี้บ้างไหม ? ระหว่างรอคำฎีกาจากศาลก็มีหมายจากกรมบังคับคดีมาถึงโจทก์ทุกคนว่าขณะนี้นายจ้างกำลังล้มละลาย จึงขอให้ศาลล้มระลายกลางมีคำสั่งให้เข้าฟื้นฟูกิจการ โดยให้พวกเราคนป่วยไปร้องเป็นเจ้าหนี้กับบริษัท ช่วงนี้คนป่วยต้องลงมาจากต่างจังหวัด มาประชุมมาทำใบมอบอำนาจ ซึ่งก็มีอยู่ 3-4 รายที่จะสละสิทธิไม่สู้ต่อ และจะไม่มอบอำนาจ แต่สุดท้ายทุกคนก็พร้อมใจกันเหมือนเดิม ระหว่างการเจรจาเพื่อชำระหนี้ทางนายจ้างก็มาต่อรองว่าจะให้เงินคนละ 100,000 บาทโดยไม่ต้องรอคำพิพากษาฎีกา แล้วที่เหลือก็ยกประโยชน์ให้กับโรงงานไปแต่มีข้อแม้ว่าจะต้องไปขอระงับการพิจารณาคดี ซึ่งที่ประชุมคนป่วย ก็ไม่ยินยอมกันที่จะให้ไประงับคำพิพากษาฎีกา แต่สุดท้ายผลจากคำพิพากษาศาลล้อมระลายกลางพิพากษาว่าทางโรงงานไม่ได้ล้มระลายจริง จึงไม้ต้องเข้าข่ายฟื้นฟูกิจการแต่อย่างใด และนี่ก็เป็นจุดแข็งของกลุ่มคนป่วยที่ทุกคนร่วมกันตัดสินใจ ไม่ได้ใช้ความคิดของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น การติดตามคำพิพากษาฎีกาก็มีอยู่เป็นระยะๆโดยทางกลุ่มออกหนังสือไปถึงเลขาธิการประธานศาลฎีกาก็ผู้ป่วยไปยื่น ได้รับคำตอบทุกครั้งว่า คดีกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา ในใจผู้ป่วยหลายคน เริ่มมีความคิดว่าผลคดีสุดท้ายจะเป็นอย่างไร ? เริ่มมีความรู้สึกว่า ความเป็นธรรมนี่หนา ช่างบางเบาเหมือนปุยฝ้ายจริงๆ ล่องลอยไปเรื่อยๆจนพวกเราคนป่วยไขว่คว้าหยิบจับแทบไม่ได้ มองแทบไม่เห็น พี่ๆป้าๆมาบ่นเสมอว่า “สมบุญ ป้าจะอยู่ถึงคำพิพากษาไหมหนอ ? สามวันดี สี่วันไข้ อยู่อย่างนี้ บางคนก็บ่นว่าพี่ไม่มีเงินเลย”...บางคนก็เจ้าหนี้ทวง ต้องขายบ้านขายช่องหนีเจ้าหนี้ ไม่มีบ้านซุกหัวนอน ทางกลุ่มก็ต้องคอยให้กำลังใจกันไปหากิจกรรมให้คนป่วยทำไม่ให้ต้องเครียด พาไปร่วมกิจกรรมตามที่กลุ่มจัดในที่ต่างๆอย่างสม่ำเสมอตามกำลังที่จะสามารถทำได้เพื่อไม่ให้คนป่วยเครียด ย่างเข้าปีที่ 15 ปี 6 เดือน คุณอุไร ไชยุชิต เป็นหนึ่งเดี่ยวที่ได้รับหมายศาลจากศาลแรงงานกลางให้ไปฟังคำพิพากษาฎีกาในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมากๆ โจทก์ 37 คนแต่ได้รับหมายเพียงคนเดียว ทางสภาเครือข่ายฯ ต้องนำเอกสารหมายศาลฉบับนี้ถ่ายสำเนา แล้วส่งไปแจ้งคนป่วยทั้ง 37 คนที่อยู่กันคนละทิศละทาง แต่ถึงวันตัดสินจริงๆทุกคนกลับทำใจได้ว่าผลจะเป็นอย่างไร ? ขอเพียงแต่ให้คดีสิ้นสุดเสียทีเถอะจะได้นอนตายตาหลับสักที เพราะเครียดมามากแล้ว ต่อสู้มายาวนานแล้ว ยังโชคดีที่ยังมีชีวิตไปฟังคำพิพากษาศาล ถึงกระนั้นก็ยังมีอยู่ 2-3 รายที่เมื่อรับแจ้งแล้วไม่เชื่อว่าศาลตัดสินแล้ว แน่นอนผลคดีออกมายืนตามศาลชั้นต้น(ศาลแรงงานกลาง)ทุกคนจึงดีใจ กับชัยชนะที่ขาวสะอาด และการได้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์กลับคืนมา ว่าเรื่องทั้งหมดทั้งมวลนี้พวกเราป่วยจริง เราต่อสู้เพื่อความจริง เพื่อให้สังคมได้รู้ว่าเราไม่ได้อยากได้เงิน แต่เราอยากได้รับชัยชนะ(ได้รับคำฎีกานี้)เพื่อเป็นบรรทัดฐานให้กับสังคมผู้ใช้แรงงานได้รับรู้ ถึงสิทธิอันพึงมีพึงได้ตามกฎหมาย แต่ก็อยากฝากว่าการต่อสู้คดีเจ็บป่วยจากการทำงานนี้น่าจะมีความรวดเร็ว เป็นธรรมในเรื่องค่าสินไหมทดแทน และให้ทันกับสถานการณ์การเจ็บป่วย ที่จะต้องได้รับการเยียวยารักษาฟื้นฟูสุขภาพทุกวันอย่างต่อเนื่อง ขอให้คดีนี้เป็นบทเรียนแรกและสุดท้ายของการต่อสู้เพื่อสิทธิด้านสุขภาพของคนงานเถอะค่ะ จึงอยากฝากความคิดตรงนี้ว่า สิทธิที่ได้รับกับจากกองทุนเงินทดแทนนั้น มันเป็นสิทธิขั้นต่ำสุดของกฎหมายหากจะขยับขยายวงเงิน การทดแทนค่ายาค่ารักษาพยาบาล ให้มันเพียงพอดีกับชีวิตคนป่วยที่พอจะอยู่ได้ในสังคม มันควรจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ? หรือจะปล่อยให้คนป่วยพิการจากการทำงานเหล่านี้ต้องเผชิญชะตากรรมที่ตนเองไม่ได้ก่อแต่เพียงลำพังผู้เดียวต่อไปแบบนี้หรืออย่างไร? “ หากจะถามว่าคนป่วย ได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ ดิฉันก็อยากตอบว่าความเป็นธรรมที่ผู้ป่วยได้รับถ้าเปรียบดั่ง ผลไม้ ก็คงเป็นผลไม้ ที่ถูกหนอนชอนไช กินเนื้อที่หอมหวานไปหมดแล้ว สิ่งที่เหลือให้คนป่วยได้รับก็คงมีแต่เม็ดที่เกือบจะเน่าเท่านั้น ดังนั้น ความล่าช้า แห่ง คดี คือ ความไม่เป็นธรรม อย่างหนึ่ง ต่อแต่นี้ชีวิตของคนป่วยโรคบิสซิโนซิส ปอดอักเสบและเสื่อมสมรรถภาพอย่างถาวร ก็คงต้องดำเนินชีวิตต่อไป จนกว่าจะสิ้นสุดลมหายใจสุดท้าย ซึ่งพวกเราเอง ก็ยังไม่รู้ว่าชีวิตจะต้องตกระกำลำบากต่อไปอีกมากน้อยแค่ไหน..?
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
องค์กรสิทธิร่วมประณามเหตุระเบิดรถยนต์ชาวบ้านเสียชีวิต 9 ราย Posted: 28 Jan 2011 07:14 AM PST มูลนิธิผสานวัฒนธรรม มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ และกลุ่มด้วยใจ จังหวัดสงขลา ร่วมแถลงการณ์ประณามระเบิดรถกระบะของประชาชนจากพื้นที่สะบ้า ย้อยจังหวัดสงขลา เรียกร้องรัฐบาลควบคุมจัดสรรอาวุธปืน และตรวจสอบการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ แถลงการณระบุด้วยว่าการโต้ตอบกันด้วยความรุนแรง ไม่สามารถสร้างความชอบธรรมในการเรียกร้องความเป็นธรรมและทางการเมืองได้ ยังแต่สร้างความโกรธแค้นชิงชัง และไม่นำพาซึ่งการรักษาไว้ซึ่งความสงบและสันติในพื้นที่ท้องถิ่นของตน อีกทั้ง การกระทำดังกล่าวของผู้ใช้ความรุนแรงถือว่า เป็นการขัดขวางกับการสร้างสันติภาพ ส่งผลต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ และสร้างความสูญเสียความเชื่อมั่นต่อการรักษาความปลอดภัยของฝ่ายรัฐ ทั้ง ๆ ที่มีความพยายามของทุกภาคส่วน ที่เรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติความรุนแรง และแสวงหนทางยุติความรุนแรงและความขัดแย้งโดยสันติวิธี 000 แถลงการณ์ร่วมจาก มูลนิธิผสานวัฒนธรรม มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ และกลุ่มด้วยใจ จังหวัดสงขลา ส่งต่อโดย คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission) ประเทศไทย: ร่วมกันแสดงจุดยืนคัดค้านการก่อเหตุความรุนแรงทุกรูปแบบ ไม่ว่าฝ่ายใด แถลงการณ์ร่วม เผยแพร่วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554 ประณามเหตุร้ายระเบิดรถยนต์ชาวบ้านเสียชีวิต 9 ราย เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2554 เกิดเหตุระเบิดรถกระบะของประชาชนจากพื้นที่สะบ้า ย้อยจังหวัดสงขลา ที่เดินทางไปยังพื้นที่ ต.บาโร๊ะ อ.ยะหา จ.ยะลา เหตุเกิดบนถนนสาธารณะระหว่าง อ.ยะหา และ อ.กาบัง จ.ยะลา แรงระเบิดอานุภาพสูงทำให้รถกระบะขาดสองท่อน มีผู้เสียชีวิตทันทีเจ็ดคน และต่อมาเสียชีวิตที่โรงพยาบาลอีกสองคน อีกทั้ง ยังมีผู้บาดเจ็บสาหัสกำลังรักษาพยาบาลอีกสองคน รวมเสียชีวิต 9 ราย และบาดเจ็บสาหัสสองราย และมีเหตุระเบิดสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินเกิดขึ้นในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง องค์กรตามรายนามนี้ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อญาติผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ ในเหตุการณ์ครั้งนี้ และต่อทุกครอบครัวของผู้สูญเสีย และขอประณามการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบก่อเหตุร้าย สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การโต้ตอบกันด้วยความรุนแรง ไม่สามารถสร้างความชอบธรรมในการเรียกร้องความเป็นธรรมและทางการเมืองได้ ยังแต่สร้างความโกรธแค้นชิงชัง และไม่นำพาซึ่งการรักษาไว้ซึ่งความสงบและสันติในพื้นที่ท้องถิ่นของตน อีกทั้ง การกระทำดังกล่าวของผู้ใช้ความรุนแรงถือว่า เป็นการขัดขวางกับการสร้างสันติภาพ ส่งผลต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ และสร้างความสูญเสียความเชื่อมั่นต่อการรักษาความปลอดภัยของฝ่ายรัฐ ทั้ง ๆ ที่มีความพยายามของทุกภาคส่วน ที่เรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติความรุนแรง และแสวงหนทางยุติความรุนแรงและความขัดแย้งโดยสันติวิธี องค์กรตามรายนามนี้ ต่อต้านการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ ไม่ว่าฝ่ายใด และขอให้รัฐยึดมั่นในหลักนิติธรรม หลักสิทธิมนุษยชน และการมีส่วนรวมของประชาชน ในการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชาชนและภาคประชาสังคม ทั้งในพื้นที่และในประเทศไทย ไม่ต้องการให้ความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง กลายเป็นความชาชิน องค์กรตามรายนามนี้ ขอเสนอแนะมาตรการ ดังนี้ 1) ให้รัฐกำหนดมาตรการลดอาวุธปืน ทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ที่เป็นรูปธรรม มาตรการควบคุมจัดสรรอาวุธให้ประชาชน และการตรวจสอบการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อย่างเคร่งครัด 2) ให้รัฐกำหนดมาตรการตรวจค้น การห้ามการซื้อขายอาวุธปืน สารตั้งต้นระเบิด และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบระเบิดอื่นๆ อย่างเด็ดขาด 3) ให้รัฐกำหนดมาตรการในการป้องกันและปราบปรามให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยสมดุลกับการใช้งบประมาณแผ่นดินเพิ่มสูงขึ้น การพัฒนาระบบการรักษาความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นมืออาชีพ และเป็นอิสระ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่อย่างจริงจัง เพื่อลดความสูญเสียจากเหตุการณ์ก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้น ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ไชยวัฒน์เผยจะจับมือเสื้อแดงไล่นายก ธิดาปัดไม่ขอร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ Posted: 28 Jan 2011 06:56 AM PST ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ เผยคุยกับแกนนำเสื้อแดงในคุกร่มกันต่อสู้ขับไล่นายก จะขอแรงกลุ่มเสื้อแดงมาปักหลักที่สะพานอรทัย ล้อมทำเนียบ ขณะที่สมณะโพธิรักษ์ เจ้าสำนักสันติอโศก ไม่เห็นด้วย ด้าน อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการแกนนำ นปช. ปัด เป็นไม่ได้ เว็บไซตค์ข่าวเดลินิวส์รายงานว่า หลังออกจากเรือนจำ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ได้ร่วมเคลื่อนไหวกับเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติทันที โดยกล่าวว่า วันนี้ ม.ล.วัลวิภา จรูญโรจน์ หนึ่งในแกนนำฯ จะลงพื้นที่ดูจุดที่ 7 คนไทยถูกจับกุม ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งนี้ ได้รับการอำนวยความสะดวก เพราะนายกรัฐมนตรีลงนามอนุญาต อย่างไรก็ตาม จะเร่งรวบรวมข้อมูลยื่นให้กับศาลกัมพูชา เพื่อช่วยต่อสู้คดีให้กับนายวีระ สมความคิด ส่วนแนวทางการเคลื่อนไหวนั้น นายไชยวัฒน์ กล่าวว่า ขณะอยู่ภายในเรือนจำ ได้หารือกับแกนนำเสื้อแดงให้ร่วมกันต่อสู้ โดยตนจะอยู่ประตู 4 ของทำเนียบรัฐบาล พันธมิตรฯ จะปักหลักที่ถนนราชดำเนิน และจะขอแรงกลุ่มเสื้อแดงมาปักหลักที่สะพานอรทัย ซึ่งแกนนำเสื้อแดงขอหารือกับแนวร่วมก่อนจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ไทยรัฐรายงานว่า เมื่อเวลา 18.15 น. นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต่านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้กล่าวยืนยันกลุ่ม นปช. ไม่ขอร่วมชุมนุมปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล เพื่อกดดันรัฐบาลร่วมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตามที่ นายไชยวัฒน์ กล่าวอ้าง เนื่องด้วยเห็นว่าถือว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ดังนั้น การชุมนุมร่วมกันเป็นไปไม่ได้ แต่ยอมรับมีการหารือระหว่าง ทั้ง 2 ฝ่ายอยู่โดยตลอด ทั้งนี้ นางธิดา ยังคงยืนยันว่า ถึงแม้เงื่อนไข และ เวลาเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากนี้ ก็ยากที่ผู้ชุมนุมทั้ง 2 กลุ่มจะร่วมกันได้ ขณะที่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บนเวทีปราศรัยสะพานมัฆวานรังสรรค์ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แกนนำบนเวทีได้กล่าวว่า กลุมพันธมิตรฯ และสมณะโพธิรักษ์ เจ้าสำนักสันติอโศก ไม่เห็นด้วยกับ นายไชยวัฒน์กรณีที่เชิญชวนให้กลุ่มนปช. ให้เข้าร่วมชุมนุมกดดันรัฐบาลกับกลุ่มพันธมิตรฯ ที่มา: http://www.dailynews.co.th, http://www.thairath.co.th สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
วิกฤตด้านสุขภาพในพม่า ตอนที่ 1: แฉรัฐบาลพม่าเมินดูแลสาธารณสุข ทำสถิติโรคภัยพุ่ง Posted: 28 Jan 2011 06:02 AM PST บุคลากรการแพทย์พม่าเผยผลวิจัยภาวะสุขภาพด้านชายแดนพม่าเข้าขั้นวิกฤต เผยสงครามทำสถิติประชากรพม่าด้านตะวันออกมีอายุสั้นเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นของประเทศ ขณะที่แพทย์ชายแดนระบุโรคบางอย่างที่ไม่เคยพบในไทยมาหลายสิบปีเริ่มกลับมาระบาด การสัมมนา "ภัยพิบัติจากมือมนุษย์: นัยยะของวิกฤตด้านสุขภาพในพม่าต่อประเทศไทย" ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 27 ม.ค. ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 27 ม.ค. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการชั้น 4 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการสัมมนาหัวข้อ "ภัยพิบัติจากมือมนุษย์: นัยยะของวิกฤตด้านสุขภาพในพม่าต่อประเทศไทย" โดย ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) เป็นผู้กล่าวเปิดและแนะนำวิทยากรบรรยาย ดร.ชยันต์ กล่าวว่า ประชาชนในพื้นที่ชายแดนพม่าประสบกับหายนะที่เกิดขึ้นโดยน้ำมือมนุษย์ อย่างไรก็ตามยังมีผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่พยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว
โดย นพ.วิทย์ สุวรรณวนิชกิจ จากศูนย์เพื่อสาธารณสุขและสิทธิมนุษยชน วิทยาลัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกิน (Center for Public Health & Human Right, John Hopkins Bloomberg School of Public Health) วิทยากรบรรยาย เริ่มกล่าวถึงโรคบางชนิด เช่น โรคเท้าช้าง (Filariasis) ซึ่งเกิดจากพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย ซึ่งมียุงเป็นพาหะนำโรค ทำให้อวัยวะเช่น ขา แขน บวมโตผิดปกติ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการเตือนว่าประเทศไทยจะมีโรคนี้เข้ามา โดยย้อนกลับไปในปี 2004 ในประเทศไทยมีการพบแรงงานจากพม่า 2 รายเป็นโรคเท้าช้าง ซึ่งเมื่อใช้ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง แสดงว่ายังมีผู้ป่วยโรคนี้อีกมากยังไม่โผล่มา การพบผู้ป่วยโรคเท้าช้าง 2 ราย จึงเป็นสัญญาณเตือน ดังนั้น 2 รายสำหรับผมถือเป็นการระบาดแล้ว อย่างไรก็ตามรัฐบาลพม่าบอกกับองค์การอนามัยโลกว่า ในพม่าไม่มีโรคนี้ระบาดแล้ว นพ.วิทย์ ชี้ให้เห็นว่า ประเทศพม่ามีปัญหาด้านการบริการด้านสาธารณสุข แม้หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของรัฐบาล มักจะตีพิมพ์ข่าวแสดงความก้าวหน้าด้านการบริการสาธารณสุข ลงรูปโรงพยาบาลที่เพิ่งก่อสร้างใหม่ แต่คำถามคือ ทำไมลงแต่ภาพอาคาร ภาพโรงพยาบาลที่ปราศจากคนไข้ นพ.วิทย์ แสดงข้อมูลเปรียบเทียบสถิติด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศสิงคโปร์ จีน ไทย และพม่า โดยอัตราการรอดของมารดาหลังคลอดบุตร ต่อประชากร 1,000 คน ซึ่งพม่ามีอัตราการตายสูงกว่าประเทศที่นำมาเทียบเคียง การเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ต่อประชากร 1,000 คน โดยประเทศสิงคโปร์อยู่ที่ 2 ต่อ 1,000 คน จีนอยู่ที่ 18 ต่อ 1,000 คน ไทยอยู่ที่ 13 ต่อ 1,000 คน ขณะที่พม่าตัวเลขสูงมากคือ 71 ต่อ 1,000 คน นพ.วิทย์ ยังแสดงสถิติค่าใช้จ่ายของรัฐด้านสาธารณสุขต่อประชากรรายหัวต่อปี สิงคโปร์อยู่ที่ 469 เหรียญสหรัฐต่อคน จีนอยู่ที่ 68 เหรียญสหรัฐต่อคน ไทยอยู่ที่ 122 เหรียญสหรัฐต่อคน ส่วนพม่าอยู่ที่ 1 เหรียญสหรัฐต่อคน สำหรับงบประมาณสาธารณสุขเทียบกับงบประมาณของรัฐบาล พบว่าสิงคโปร์อยู่ที่ร้อยละ 8.2 จีนอยู่ที่ร้อยละ 9.9 ไทยอยู่ที่ร้อยละ 14.1 ส่วนพม่ามีเพียงร้อยละ 0.9 ต่องบประมาณของรัฐบาล โดยส่วนใหญ่ของงบประมาณรัฐบาลกลับอยู่ที่การทหาร พบโรคระบาดที่สูญไปแล้วในไทย กลับระบาดเพิ่มด้านชายแดน ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรเปรียบเทียบระหว่างพม่ากับไทย พบว่าในประเทศไทยสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรอยู่ที่โรคมะเร็ง อุบัติเหตุ เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเอชไอวี ขณะที่พม่า สาเหตุการเสียชีวิตกลับเป็นโรคที่สามารถรักษาได้เช่น มาลาเรีย ท้องร่วง นพ.วิทย์ ยังกล่าวถึงผลกระทบจากนโยบายสาธารณสุขของพม่าต่อประเทศเพื่อนบ้านด้วยว่า นอกจากโรคเท้าช้างที่ยกตัวอย่างไปแล้ว การระบาดของไข้มาลาเรียในประเทศไทย ยังสัมพันธ์กับชายแดนด้านทิศตะวันตก ซึ่งติดกับพม่าด้วย โดยพื้นที่ระบาดของมาลาเรียในไทย กลับเป็นพื้นที่ด้าน จ.แม่ฮ่องสอน จ.ตาก จ.กาญจนบุรี มากกว่าพื้นที่อื่นของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบการระบาดของวัณโรค และอหิวาตกโรค ในชุมชนแรงงานข้ามชาติในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่าด้วย ทั้งนี้มีแนวโน้มที่จะมีโรคระบาดชนิดอื่นอีก แม้แต่โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โดย นพ.วิทย์ กล่าวในช่วงท้ายด้วยว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนพม่าประสบวิกฤตภาวะสุขภาพ ไม่เพียงแค่นโยบายด้านสาธารณสุขที่รัฐบาลพม่าไม่ให้ความสำคัญแล้ว รัฐบาลพม่ายังไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากหน่วยงานเอกชนเข้าไปทำงานในพื้นที่ๆ มีการระบาดของโรคด้วย เช่น ที่ผ่านมา รัฐบาลทหารไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าไปทำงานในพื้นที่ซึ่งมีปัญหาการระบาดของไข้มาลาเรีย บุคลากรการแพทย์พม่าเผยผลวิจัยภาวะสุขภาพด้านชายแดนพม่าเข้าขั้นวิกฤต ภาพปกรายงาน “ผลวินิจฉัยขั้นวิกฤต: ภาวะสุขภาพและสิทธิมนุษยชนในภาคตะวันออกของประเทศพม่า” (Diagnosis Critical: Health and Human Rights in Eastern Burma) ซึ่งสมาคมการแพทย์แห่งพม่า และองค์กรด้านการแพทย์ในพื้นที่ชายแดนพม่า ร่วมกันวิจัยและได้เผยแพร่เมื่อเดือนตุลาคมปี 2553 นายซอ เน ทู จากสมาคมการแพทย์แห่งพม่า (Burma Medical Association) กล่าวถึงรายงาน “ผลวินิจฉัยขั้นวิกฤต: ภาวะสุขภาพและสิทธิมนุษยชนในภาคตะวันออกของประเทศพม่า” (Diagnosis Critical: Health and Human Rights in Eastern Burma) ซึ่งเผยแพร่เมื่อเดือนตุลาคม 2553 [อ่านข่าวย้อนหลังที่นี่] กล่าวถึงดัชนีชี้วัดสุขภาพของพม่าเทียบกับประเทศไทย โดยในปี 2552 พม่าเกินดุลการค้า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เอามาใช้ด้านสาธารณสุขร้อยละ 1.8 ของงบประมาณ คิดเป็นประมาณ 7 เหรียญต่อหัวประชากร ถือว่าต่ำที่สุดในโลก ซอ เน ทู กล่าวถึงพื้นที่ที่รายงานเข้าไปทำการศึกษาดังกล่าวว่า เป็นพื้นที่ด้านตะวันอกของพม่าที่ยังมีการสู้รบอยู่ มีผู้อพยพภายในประเทศราว 4-5 แสนคน นับเป็นภูมิภาคได้รับผลกระทบจากสงครามมากที่สุด โดยการวิจัยครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากร 5,700 ครัวเรือนใน 21 อำเภอของพม่า เปิดสถิติประชากรพม่าด้านตะวันออกมีอายุสั้นเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นของประเทศ
กราฟที่ ซอ เน ทู นำเสนอ จะเห็นว่าประชากรที่อยู่ในภาคตะวันออกของพม่า (บนสุด) มีอายุสั้นกว่าพื้นที่อื่นของพม่า (ล่างสุด) โดยฐานของกราฟจะเป็นฐานกว้าง และยอดแหลม แสดงว่าคนอายุมากมีจำนวนน้อย ขณะที่ประชากรเพศชายมีน้อยอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากถูกเกณฑ์ไปทำสงคราม โดยลักษณะด้านประชากรของพม่าในภาคตะวันออก มีลักษณะคล้ายกับลักษณะประชากรในประเทศเซียร์ราลีโอน ในแอฟริกาตะวันตก (ที่มาของกราฟ: งานวิจัย Diagnosis Critical: Health and Human Rights in Eastern Burma หน้า 21)
เมื่อเทียบกับข้อมูลเชิงประชากรทั่วพม่า ข้อมูลเชิงประชากรเฉพาะในภาคตะวันออกของพม่า จะพบว่า ประชาชนที่อยู่ในภาคตะวันออกของพม่า ลักษณะของกราฟจะเป็นกราฟฐานกว้างมียอดแหลม ซึ่งต่างจากกราฟของประชากรทั่วพม่า หมายความว่า คนที่อยู่จนถึงอายุสูงๆ มีน้อย ส่วนมากจะตายเสียก่อน ส่วนที่มีฐานกว้างคือมีอัตราการเกิดสูง และพบว่าคนอายุเกิน 45 ปีมีน้อย โดยเฉพาะผู้ชาย เพราะถูกเกณฑ์ไปทำสงคราม เรื่องอัตราการเสียชีวิตในประเทศพม่า นับเป็นดัชนีที่เลวร้ายที่สุดในโลก โดยอัตราการเสียชีวิตของแม่ เทียบกับประเทศต่างๆ เทียบกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก หรือซูดาน โดยโรคมาลาเรีย เป็นสาเหตุหลักแห่งการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ร้อยละ 41 ของเด็กอยู่ในภาวะทุโภชนาการ กว่าร้อยละ 13 อยู่ในภาวะขาดสารอาหารระดับกลางจนถึงรุนแรง จะเห็นว่า ภาวะขาดสารอาหารเป็นปัญหาใหญ่ในพม่า หมายความว่าน่าจะมีเด็กที่ป่วยเป็นขาดสารอาหารรุนแรงร้อยละ 10-15 โดยเฉลี่ยสำหรับเด็กทั่วไป ในเรื่องของอนามัยเจริญพันธุ์ 1 ใน 5 ของผู้หญิงในภาวะเจริญพันธุ์ป่วยเป็นโรคขาดสารอาหาร ไม่สามารถเข้าถึงการวางแผนครอบครัว ชี้ครอบครัวที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน มีอัตราเสี่ยงประสบปัญหาด้านสุขภาพสูง นอกจากนี้นี้ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายๆ รัฐ โดย 1 ใน 3 ของคนที่สำรวจ บอกว่าเคยเจอกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรอบปีที่ผ่านมา และมักพบว่าครอบครัวไหนที่สำรวจแล้วบอกว่าเคยเจอกับการละเมิดสิทธิ จะมีอัตราเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาด้านสุขภาพสูงกว่าครอบครัวที่ไม่เจอการละเมิดสิทธิ เช่น มีอัตราการเสียชีวิตของทารกสูงกว่าทั่วไปถึง 1.5 เท่า ทั้งนี้ จากการวิจัย ทำให้พบดัชนีชี้วัดว่าพม่ามีภาวะสุขภาพต่ำสุดในโลก มีสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคที่น่าจะรักษาได้ โดย ซอ เน ทู เสนอวิธีแก้ไขปัญหาวิกฤตด้านภาวะสุขภาพของพม่าว่า เนื่องจากในพื้นที่ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข ประชาชนในชุมชนต้องพัฒนาขึ้นมาเอง ทั้งนี้ ชุมชนมีบทบาทในการดูแลเรื่องสาธารณสุขด้วยตนเองเป็นอย่างมาก เพราะรัฐบาลไม่ได้จัดสรรอะไร คนในชุมชนต้องช่วยเหลือตัวเอง อย่างไรก็ตามชุมชนยังประสบปัญหาขาดทรัพยากรในการดูแลด้านสาธารณสุข และยังประสบการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐบาลทหาร โดยเขาเสนอว่าต้องยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นสาเหตุของวิกฤตด้านสุขภาพในพื้นที่ด้วย ทั้งนี้จำนวนผู้อพยพช่วงที่มีการปะทะระลอกใหม่ในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยงนี้ เพิ่มสูงกว่าหมื่นคนแล้ว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ใบตองแห้งออนไลน์: มาเอาใจช่วย พธม.กันเหอะ (ฮิฮิ) Posted: 28 Jan 2011 03:15 AM PST เสื้อแดงจัดชุมนุมเมื่อวันอาทิตย์ ตำรวจประเมินว่ามีมวลชน 27,000 คน แต่ไทยรัฐบอกขบวนยาวเป็นกิโล พันธมิตรจัดชุมนุมหญ่ายเมื่อวันอังคาร ถ่ายภาพมุมกว้างดูยังไงก็ไม่เกิน 5,000 (ตอนค่ำนะ ไม่ใช่ตอนเช้าที่เลขศูนย์หายไปตัวนึง) เห็นแล้วใจหาย สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม น่าสังเกตว่า ม็อบเสื้อเหลืองครั้งนี้ มีแต่ชาวสันติอโศกกับแฟนพันธุ์แท้จังหวัดละหยิบมือ ผู้นำที่อยู่ประจำม็อบก็มีแต่ลุงจำลอง น้าปานเทพ ส่วนสนธิ ลิ้ม พี่พิภพ ธงไชย โผล่หน้ามาแวบๆ อ.สมเกียรติได้ข่าวว่าสุขภาพไม่ดี แต่สมศักดิ์ โกศัยสุข ไม่รู้หายไปไหน ยะใสก็เอาแต่พูดอยู่วงนอก ยิ่งกว่านั้น ขาเก่า NGO ไฮโซไฮซ้อ คุณพ่อคุณแม่สหภาพรัฐวิสาหกิจ คอลัมนิดคอลัมหน่อย หรือนักวิชาการที่เคยเป็นกองเชียร์ก็หายจ้อย (กลายเป็นอธิการรองอธิการกันหมด) แหม มันน่าน้อยใจจริงๆ ไม่มีใครรักชาติเล้ย กระทั่งกษิต ภิรมย์ ที่เคยด่าฮุนเซนเป็นกุ๊ย ก็เปลี่ยนสีแปรพักตร์ไปสวามิภักดิ์ลูกหลานพระยาละแวกซะแล้ว ที่เหลืออยู่ก็เลยมีแต่คอเดียวกันระดับฮาร์ด เช่น พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน สุนันท์ ศรีจันทรา เป็นต้น ที่สะพานมัฆวานน่าจะติดประกาศตามหาคนหายนะครับ พี่น้องเอ๊ย กลับมาด่วน! ชาติต้องการ เพราะถ้าวันเสาร์อาทิตย์นี้ พี่น้องเอ๊ยยังไม่คืนสู่เหย้าละก็ ลุงจำลองคงหาทางกลับบ้านไม่ถูก คงต้องรอความปรานีจากศาลเขมร ถ้าวันที่ 1 ก.พ.นี้ตัดสินปล่อยตัววีระ สมความคิด พันธมิตรขาลงก็ยังพอมีทางลง หยอดกล่องบริจาคให้วีระ แล้วกลับบ้านใครบ้านมัน แต่ถ้าไม่ล่ะ จะดิ้นทุรังไปทางไหนต่อ แหม นั่งดู พธม.กับ ปชป.ล่อกันเอง ดูกษิต-ปานเทพ ประปาก ดูพี่เปี๊ยกขุดเรื่อง อ.ปรีดีมาด่าโคตรเหง้าประชาธิปัตย์ แล้วจะไม่ให้ “สะใจ” ได้ไงล่ะ พี่น้องเอ๊ย เรื่องสนุกของผมก็คือเปิดหนังสือพิมพ์อ่านคอลัมนิดคอลัมหน่อยที่เคยแซ่ซ้องร้องเชียร์พันธมิตรยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน แล้วกาหัวว่าใครบ้างพันธ์แท้ พันธุ์ทาง เอาใจออกห่าง กลับหัวกลับหาง พลิกลิ้นแผล็บๆ แต่แหม มันน่าน้อยใจดังว่า เพราะใครต่อใครก็ดูเหมือนจะยกตนเป็นผู้รักชาติอย่างมีสติ มีเหตุผล กันไปหมด ปล่อยให้ พธม.ถูกหาว่าคลั่งชาติอยู่หยิบมือเดียว (แล้วตอนนั้นใครวะ บอกว่าพื้นดินใต้ปราสาทพระวิหารยังเป็นของไทย) แน่นอนว่า ฝ่ายประชาธิปไตยอย่างเราๆ คงไม่สนับสนุน พธม.หรือเพ้อฝันแบบ “เหลือง-แดง สมานฉันท์” แต่มันก็เป็นวโรกาสอันดีงาม ที่ควรทำใจให้สนุกสนานเพลิดเพลิน นั่งดูฝ่ายตรงข้ามรบรากันเอง พร้อมกับศึกษาวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีของทั้งสองข้าง รวมทั้งแยกแยะขุมกำลัง ว่าใครเปลี่ยนขั้วไปอยู่ข้างไหน และในฐานะที่พันธมิตรเป็นฝ่ายที่มีขุมกำลังอ่อนด้อยกว่า ผมก็อดไม่ได้ตามนิสัยคนไทย คือชอบเชียร์มวยรอง แบบว่าให้ยืนซดกันได้นานๆ หน่อย (จะได้บอบช้ำมากๆ หน่อย ฮิฮิ) Hidden Agenda ถามว่าพันธมิตรยื่นข้อเรียกร้องอะไร ก็คือข้อเรียกร้องที่รัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งพันธมิตรรู้อยู่แล้ว แต่เราจะไปสนใจทำไมกับข้อเรียกร้องของพันธมิตร จำได้ไหมว่าข้อเรียกร้องของพวกเขาเมื่อปี 51 คืออะไร คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พอรัฐบาลยอมไม่แก้ ก็ยังเปลี่ยนไปเรื่อย จนชุมนุมอยู่ได้ 193 วัน ย้อนไปปี 49 ก่อนรัฐประหาร ทักษิณยุบสภาแล้ว พันธมิตรก็ยังเรียกร้องให้ทักษิณลาออก เป็นข้อเรียกร้องที่ไม่เคยมีในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ไหนในโลก ฉะนั้น ข้อเรียกร้องของพันธมิตรจึงมี hidden agenda ตลอด (แม้แต่ข้อเสนอมาตรา 7) ครั้งนี้ก็เช่นกัน พธม.พยายามเรียกม็อบมาตั้งแต่คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งได้วีระ สมความคิด (และนายตายแน่ มุ่งมาจน กับพวก) เป็นวีรชนพลีชีพ จูง ส.ส.ปชป.เข้าไปให้ทหารเขมรจับ เป็นเรื่องเป็นราวเป็นหอกย้อนแทงอภิสิทธิ์และกษิต ที่พยายามพลิกลิ้นการทูต ตลบถ้อยคำที่ตัวเองเคยพูดไว้สมัยเป็นฝ่ายค้าน เพื่อกลับไปญาติดีกับ “กุ๊ย” พธม.จึงได้โอกาสพิสูจน์ตัวเองว่าเรา “ขวาแท้” และ “ขวากว่า” กลับมาชูอุดมการณ์ราชาชาตินิยม ปลุกระดมลูกหลาน “พระองค์ดำ” ให้เอาเอฟ 16 ไปช่วยวีระ จับพระยาละแวกตัดหัวเอาเลือดล้างเท้า เพียงเสียดายที่ “สังคมไทย” (อันได้แก่สื่อ นักวิชาการ คนกรุงคนชั้นกลาง) กลับมามีเหตุผลอย่างไร้เหตุผล ทีตอนนี้ละก็เห็นด้วยว่าควรใช้สันติวิธี ไม่ใช่ชาตินิยม อย่าทำสนามการค้าให้เป็นสนามรบ แม้เอาใจช่วยให้เขมรปล่อย 7 คนไทย แม้ไม่พอใจฮุนเซ็นอยู่มั่ง แต่ก็ไม่วายบ่นอุบอิบว่ามันเดินเข้าไปให้เขาจับทำไมวะ ทีสมัยสมัคร-นพดลละก็ จะเป็นจะตาย ช่วยกันปลุกวิญญาณชาตินิยม ทวงคืนปราสาทพระวิหาร อ้างไปได้เรื่อย ที่แท้ก็เพื่อไล่รัฐบาล (แต่รัฐบาลนี้มันถูกจริตกรูนี่หว่า เลยเก็บชาตินิยมเข้าลิ้นชัก) งานนี้ พธม.จึงเสียเปรียบตั้งแต่ยกแรก เพราะถูกขวัญใจจริตนิยมช่วงชิงมวลชนไปเกือบหมด (ขณะที่ส่วนหนึ่งก็เป็นมวลชน ปชป.มาแต่ต้น) แต่อย่าประมาทไปนะครับ เพราะพวกเขามีความเชี่ยวชาญทางยุทธวิธี ในการก่อม็อบยืดเยื้อ แล้วสามารถทำเรื่องไม่เป็นเรื่องให้มันเป็นเรื่องขึ้นมาได้ จนเปลี่ยนประเด็นไปได้เรื่อยใน 193 วัน โดยเฉพาะปาก ปชป.นี่แหละสำคัญ ถ้ายั่วถูกจุดเข้าหน่อย ดูอย่างกษิตพูด ก็ปลุกพี่น้องเอ๊ยให้คึกคักขึ้นมาไม่น้อย ยื้อไปเหอะ ให้ไอ้เทือกไอ้ไทหลุดออกมาซักคนละคำสองคำ เดี๋ยวเป็นเรื่อง นอกจากนี้ ผมยังคาดว่าพันธมิตรจะใช้ความผูกพัน ที่มีกับมวลชนเดิมๆ ออดอ้อนให้ซื้อบัตรซื้อตั๋วมาร่วมงานคืนสู่เหย้ากันหน่อย (ซึ่งอาจมีบ้างในช่วงเสาร์อาทิตย์) รวมถึงความผูกพันที่มีกับสื่อ นักวิชาการ ซึ่งอย่างน้อยๆ ก็ไม่กล้าจิกหัวม็อบเสื้อเหลืองเหมือนที่ทำกับม็อบเสื้อแดง จนเดินเกมของพวกเขาไปได้ระยะหนึ่ง แต่จะลงตรงไหนก็ขึ้นกับ hidden agenda เป็นสำคัญ แน่นอนว่า agenda ของพันธมิตร ไม่ใช่ MOU ปี 43 หรือข้อเรียกร้อง 3 ข้อนั่น แต่น่าจะเป็นความพยายามต่อรอง แย่งชิงอำนาจ ไม่ให้ตัวเองเป็นเพียงนั่งร้าน hidden agenda ของพันธมิตร ถ้าดูตามคำพูดสนธิ จำลอง ก็มีนัยเรียกหารัฐประหาร-รัฐบาลแห่งชาติ แต่ถามว่ามันเป็นจริงได้หรือ แม้แกนนำพันธมิตรเองก็คงรู้ดีว่า มีโอกาส ไม่ถึงกับ 0% เสียทีเดียว มีโอกาส แต่เป็นจริงได้ยาก พวกเขาเพียงแค่พยายามขยายโอกาสเท่านั้น ในสภาพที่เป็นอยู่ขณะนี้ “อำนาจพิเศษ” กองทัพ ตุลาการ พึงพอใจกับการอยู่เบื้องหลังรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งปูทางไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งใหม่ กุมอำนาจได้อย่างน้อยอีก 2 ปีข้างหน้า คนที่ไม่พึงพอใจกับสภาพเช่นนี้มีแต่พันธมิตร ซึ่งยิ่งรัฐบาล “มาร์ค-เนวิน” เข้มแข็ง พันธมิตรยิ่งไม่มีที่ยืน พ่อยกแม่ยกหายหมด และหมดอำนาจต่อรอง มองเห็นคุกอยู่ข้างหน้า เหมือนที่ไชยวัฒน์ สมบูรณ์ ลิ้มรสมาแล้ว หลังมาร์คได้ “ใบอนุญาตฆ่า” ม็อบเสื้อแดง จากมวลชนเฟซบุค คนกรุงคนชั้นกลาง พันธมิตรก็เริ่มหมดความหมาย แม้จะมีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ดึงเอา mentor ของพันธมิตรสาย NGO อย่างหมอประเวศเข้าไปบัญชาการ แต่ต่อมาก็แว่วเสียงบ่นจากแกนนำพันธมิตรว่า “อภิสิทธิ์ไม่จริงใจ” มันคงมีอะไรในกอไผ่ละครับ ที่แสดงออกในเรื่องมาบตาพุด กระทั่งคำตัดสินจำคุก 85 นักรบศรีวิชัยบุก NBT เหนือสิ่งอื่นใด หลับตานึกภาพไม่ออกว่า ถ้ามาร์คชนะเลือกตั้งกลับมากุมอำนาจมั่นคงอีกอย่างน้อย 2 ปี หรือเผลอๆ 4 ปี พันธมิตรจะอยู่อย่างไร (พรรคการเมืองใหม่สู้ๆ-ฮา) นั่นแหละพวกเขาจึงต้องดิ้น เพื่อรักษาสถานภาพ แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะดิ้นไปแบบไหน อย่างเก่ง วุ่นวายนัก อภิสิทธิ์ก็ยุบสภา ให้มหาจำลองคุยได้ว่า ไล่รัฐบาลสำเร็จอีกครั้ง แล้วกลับบ้านใครบ้านมัน (อย่าลืมหยอดกล่องบริจาคนะพี่น้อง) เหลืองแดงรวมกันไม่ได้ ปรากฏการณ์ที่คนสองสีลุกฮือกระหนาบรัฐบาลอภิสิทธิ์ ทำให้มีคนเพ้อฝัน “เหลือง-แดง สมานฉันท์” แต่ความจริงมันเป็นไปไม่ได้ แม้ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ จะไปลงนวมซ้อมมวยกับณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ในคุก หรือกลุ่มเส้นทางสีแดง แวะไปเยี่ยมม็อบคนไทยหัวใจรักชาติ นี่เป็นแค่ “จุดตัด” ของกระแสมวลชนสองสาย ที่หลังจากนี้ก็จะต่างคนต่างไป ส่วนใครจะเดินไปสู่เอวัง ไม่อยากพูด (แค่อ้าปากคนอ่านก็รู้ทัน อิอิ) อันที่จริงผมก็เคยเพ้อฝันอยู่เหมือนกันว่าซักวัน เพื่อนพ้องน้องพี่สีเหลืองแดงอาจรวมกันได้ เพราะถ้ายึดอุดมการณ์ที่เสื้อแดงต้องการประชาธิปไตยสมบูรณ์ เสื้อเหลืองต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น ในหลักการก็ไม่ได้มีอะไรขัดแย้งกัน แต่บังเอิ๊ญ ผมลืมไปว่า พันธมิตรไม่มีหลักการ! พันธมิตรทิ้งอุดมการณ์ประชาธิปไตยไปแล้ว ทิ้งความเชื่อที่ว่ามีแต่ความเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์เท่านั้นที่จะขจัดลดทอนทุจริตคอรัปชั่น เพราะประชาชนจะตื่นตัวช่วยกันตรวจสอบทุกฝ่ายโดยไม่เว้น พันธมิตรนำมวลชนคิดตัดตอนเพียงว่าการเลือกตั้งคือการซื้อเสียงและนำไปสู่การถอนทุน ฉะนั้นจึงต้องพึ่งประชาธิปไตยที่มีการเซ็นเซอร์ มีอำนาจพิเศษคอยกำกับดูแล หันไปยกย่องเชิดชูอำนาจพิเศษ แกล้งหลับตาข้างหนึ่ง ไม่มองว่าระบอบอุปถัมภ์ของอำนาจพิเศษซึ่งตรวจสอบไม่ได้ก็เป็นที่มาของการทุจริตคอรัปชั่นเช่นกัน ไม่พูดความจริงว่าขุนนางอำมาตย์ ทหาร ตุลาการ ที่อวดอ้างว่าจงรักภักดี สัตย์ซื่อถือคุณธรรม ที่แท้ก็มีเรื่องเน่าเฟะปกปิดอยู่มากมาย แต่สาธารณชนไม่ได้รับรู้เท่านั้นเอง ถ้าย้อนไปดูคำสัมภาษณ์ของสุริยะใส กตะศิลา ในโพสต์ทูเดย์ เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน เรื่อง “วันหนึ่งพี่น้องจะเข้าใจ พธม.ขาลง?” ยะใสบอกว่า “ถ้าแดงแท้ประกาศปลดแอกจากทักษิณได้ตรงนี้อาจจะเป็นการเกิดใหม่ของ นปช. และสุดท้ายอาจโคจรไปจับมือกับ พธม.ก็ได้ ทั้ง 5 แกนนำ พธม.มีความคิดนี้เสมอ คุณสนธิก็เคยสัมภาษณ์ไม่รู้กี่รอบว่าไม่เคยมองเสื้อแดงเป็นศัตรู ลุงจำลอง (ศรีเมือง) ก็พูดเช่นกัน หลายเรื่องคิดเหมือนกันโดยเฉพาะเรื่องสองมาตรฐานความไม่เป็นธรรม” แต่ถามว่า “แดงแท้” ของยะใสคืออะไร ก็คือคนเสื้อแดงที่ “ปลดแอก” จากทักษิณและพรรคเพื่อไทย ไม่ได้เคลื่อนไหวเพื่อทักษิณ แต่สู้เพื่อความเป็นธรรมจริงๆ โดยมีแค่ 10% เท่านั้นในแดงทั้งหมด พูดไปก็เป็นแค่การตีฝีปาก เพราะกระทั่ง บก.ลายจุด ยะใสยังดิสเครดิตว่าไม่ใช่ของแท้ แต่เป็นพวกสร้างกระแสแบบไม่ลงทุน คอยแต่หยิบชิ้นปลามัน เพราะการเคลื่อนไหวยังผูกกับจตุพร “แดงแท้” ของยะใส คงหมายความว่าถ้าการเคลื่อนไหวอะไรที่ทักษิณ พรรคเพื่อไทย หรือ 3 เกลอมีส่วนร่วม ต้องห้ามเข้าร่วมโดยเด็ดขาด ห้ามสนับสนุน ห้ามส่งเสียงเชียร์ ต้องไปเคลื่อนไหวด้วยตัวเองอยู่ที่ปลายโคกโน้น แม้กระทั่งใครจะเคลื่อนไหวให้แก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น เช่น ล้ม สว.ลากตั้ง ยะใสก็คงบอกว่าเป็นการแก้ไขเพื่อให้ทักษิณกลับมา นั่นคือจุดยืนที่ไม่มีทางร่วมกันได้ชัดเจน เพราะในฐานะนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แม้เราจะต้องต่อสู้คัดค้านไม่ให้ทักษิณเป็นผู้นำ ไม่ให้ทักษิณกลับมา แต่เราต้องถือว่าทักษิณเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ในฐานะที่ทักษิณเป็นผู้ถูกกระทำอย่างไม่ยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการต่อสู้เพื่อให้กฎกติกาเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ให้บ้านเมืองมีความยุติธรรมมาตรฐานเดียว ถ้ามันจะเอื้อให้ทักษิณได้อานิสงส์ เราก็ต้องพร้อมยอมรับ พูดไปทำไมมี พันธมิตรอ้างว่าพวกเขาดึง “อำนาจพิเศษ” เข้ามาทั้งที่รู้ว่าเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย เพราะพวกเขาเชื่อว่า “อำนาจพิเศษ” นั้นเปรียบเหมือนอาทิตย์ใกล้อัสดง เดี๋ยวก็หมดพลังแล้ว (แล้วตอนนี้เป็นไงล่ะ) ถ้าเราบอกว่า ณ วันนี้ ทักษิณยิ่งกว่าอาทิตย์อัสดงล่ะ และมันไม่ใช่แค่นั้น เพราะทักษิณเป็นเรื่องตัวบุคคล แต่นั่นคือเรื่องของระบอบและหลักการ ที่เอาการรัฐประหารมาทำลายประชาธิปไตย ชูวัฒนธรรมระบอบอุปภัมภ์กลับมาครอบงำสังคม ปิดกั้นย่างก้าวไปสู่ความมีเสรี พันธมิตรกับนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงไม่มีวันรวมกันได้ เพราะเราไม่ใช่ลิเกย้ายวิก ไม่ใช่นักการเมืองย้ายพรรค ไม่ใช่มาร์ค-เนวิน หรือ “พี่บรรหาร” กับ ปชป.ด่าพ่อล่อแม่แล้วยังร่วมรัฐบาลกันได้ เพราะความ “อดอยากปากแห้ง” สำคัญกว่า เพียงแต่ตอนนี้ คงไม่ผิดอะไร ที่เราจะเอาใจช่วยพันธมิตร ให้ยืนซดกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ครบสิบยก (จะได้น่วมๆ หน่อย ฮิฮิ) ขออย่างเดียว อย่าเป็นมวยล้มต้มคนดูก็แล้วกัน ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็เตรียมเสียงโห่ได้เลย เอ้า...หุย.... ใบตองแห้ง 28 ม.ค.54 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
นิวยอร์กไทม์: การสืบสวนเรื่องความรุนแรงของไทยไร้ความคืบหน้า Posted: 28 Jan 2011 01:35 AM PST กรุงเทพฯ - ผู้ดูแลสวนสัตว์คนหนึ่งถูกยิงและเสียชีวิตขณะที่กำลังจะออกจากที่ทำงาน ผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลอีกคนหนึ่งที่หลบภัยในวัดแล้วถูกยิงห้าครั้งแต่รอดชีวิตซึ่งอาจเป็นเพราะเหรียญในย่ามของเขาช่วยสะท้อนกระสุน ทหารคนหนึ่งที่รีบรุดไปช่วยเพื่อนที่ล้มลงจากเหตุระเบิด ได้รับบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรงเมื่อเกิดระเบิดครั้งที่สอง เรื่องราวของผู้เสียชีวิตและ ผู้บาดเจ็บจากความรุนแรงทางการเมืองเมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ.2553) ในกรุงเทพฯสามารถบันทึกเป็นหนังสือได้หลายเล่ม แต่เรื่องเหล่านี้ไม่ได้เข้าไปอยู่ในเอกสารการพิจารณาคดีของศาลไทยเลย แปดเดือนหลังจากกำลังทหารเคลื่อนพลผ่านกรุงเทพฯ และขับไล่ผู้ชุมนุมออกจากแหล่งชุมนุมที่มีแนวป้องกัน ผ่านไปแล้ว การสอบสวนว่าใครมีส่วนรับผิดชอบต่อผู้เสียชีวิต 90 ศพ และผู้บาดเจ็บราว 2,000 คน ก็ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด คณะกรรมการอิสระ ตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป. - ผู้แปล) หน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยรัฐบาลเพื่อสอบสวนความรุนแรง ก็กล่าวว่าทหารและตำรวจปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือ สมชาย หอมลออ กล่าวว่า “เราจำเป็นต้องสัมภาษณ์ทหารหลายคนที่อยู่ในพื้นที่ เราได้ส่งจดหมายหลายฉบับ แต่ไม่ได้รับการตอบกลับจากพวกเขาเลย” คณะกรรมการดังกล่าวที่เพิ่งเลื่อนการพบปะที่ได้วางแผนกันไว้ว่าจะมีออกรายงานชั้นต้นออกไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ในคราวนี้ก็กล่าวว่าพวกเขาไม่แน่ใจว่ารายงานจะพร้อมเมื่อใด สมชายกล่าวว่า หน่วยงานนิติวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลไม่ตอบสนองต่อคำขอให้มีการผ่าศพ และบริษัทโทรศัพท์เอกชนทั้งหลายไม่ให้ความร่วมมือเพราะพวกเขาไม่ต้องการ “ถูกดึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดี” เหยื่อหลายคนจากความรุนแรงครั้งนั้นยังอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่มาก วสันต์ ศรีทองเอี่ยม ลูกจ้างขององค์การด้านไฟฟ้าของรัฐบาล (เมื่อตรวจสอบข้อมูลจากข่าวในประเทศไทยแล้วพบว่าวสันต์เป็นลูกจ้างของการไฟฟ้านครหลวง-ผู้แปล) ซึ่งถูกยิงระหว่างเดินกลับจากการทำงานเมื่อเดือนพฤษภาคมกล่าวว่า “ผมยังหวังว่าจะมีความยุติธรรม ผมต้องการรู้ว่าทำไมผมถึงถูกยิงและใครเป็นคนทำ” พันเอก สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกของทางฝ่ายทหารกล่าวว่าตัวแทนฝ่ายทหารได้พบกับคณะกรรมการค้นหาความจริง (คอป.) เมื่อปีที่แล้วสองครั้ง และได้ให้ “ทุกสิ่งที่เรามี” เขากล่าวว่าเขาไม่ทราบเรื่องคำขอข้อมูลเพิ่มเติมจากคณะกรรมการ พันเอกสรรเสริญกล่าวว่า “ในเรื่องที่เกี่ยวกับผู้เสียชีวิตในระหว่างการปะทะกันนั้น จุดยืนของเราชัดเจนคือจะให้กระบวนการยุติธรรมทำงานไป เราไม่สามารถสั่งใครในนั้นได้” กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งเทียบเคียงได้กับ FBI (หน่วยงานสืบสวนกลางของสหรัฐอเมริกา – ผู้แปล) มีความกระตือรือร้นในการติดตามคดีที่เกี่ยวข้องกับแกนนำการชุมนุมที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ขณะที่การสืบสวนบทบาทของทหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น ทางกรมฯ บอกว่าพวกเขากำลังอยู่ในขั้นตอนสืบสวนอยู่ ความไม่พอใจหลักๆ อย่างหนึ่งของกลุ่มผู้ชุมนุมคือการที่ประเทศไทยขาดความยุติธรรม ฉะนั้น ความล่าช้าในการสืบสวนยิ่งจะเป็นการขัดขวางความพยายามปรองดองในหมู่ผู้มีสิทธิออกเสียงที่แบ่งขั้วกันมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะในหมู่ผู้ออกเสียงชาวชนบททางภาคอีสานที่แสดงความไม่พอใจเรื่องสองมาตรฐาน ระหว่างพวกชนชั้นนำกับคนส่วนที่เหลือในประเทศ นักวิจารณ์หลายคนกล่าวหาว่ารัฐบาลยื้อเวลาการสอบสวนเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง อย่างเช่น ธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์ด้านกฎหมายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในกรุงเทพฯ กล่าวว่าผู้นำทหารกลัว ที่จะต้องเผชิญกับเสียงโจมตีจากสาธารณชนหากยอมรับว่าทหารฆ่าพลเรือน ธีระกล่าวว่า “รัฐบาลกำลังมุ่งที่จะเอาชนะการเลือกตั้งซึ่งจะต้องมีขึ้นในปลายปีนี้ รัฐบาลจึงต้องยื้อเวลาเรื่องนี้เอาไว้” ความรุนแรงโกลาหลในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคมนั้นโหดร้ายและยากที่จะถอดรหัสอย่างยิ่ง เนื่องจากมีส่วนของการลุกขึ้นสู้ปนอยู่ด้วย มีกลุ่มลึกลับปะปนอยู่กับผู้ประท้วง ซึ่งคนกลุ่มนี้มีระเบิดมือและอาวุธอย่างอื่นได้ทำการต่อสู้กับทหาร แพทย์ต้องทำการรักษาแผลซึ่งปกติแล้วพวกเขาควรจะอยู่ในสมรภูมิรบ ไม่ใช่ในการประท้วงตามท้องถนน พันโท นพสิทธิ์ สิทธิพงศ์โสภณ ผู้บังคับการหน่วยทหารหน่วยหนึ่งที่เข้าทำการสลายผู้ชุมนุม (จากการตรวจสอบพบว่าเขาเป็นผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ในช่วงระหว่างการล้อมปราบผู้ชุมนุมในเดือนเมษายน-ผู้แปล) กล่าวว่ากำลังพลในหน่วยของเขา 21 นาย จากทั้งหมด 24นายได้รับบาดเจ็บในระหว่างการประท้วง และมีนายหนึ่งถูกฆ่า พันโท นพสิทธิ์กล่าวว่า “ทหารไม่ต้องการเข้ามายุ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราอยากจะนอนอยู่บ้านมากกว่าอย่างยิ่ง” เขาเองได้รับบาดเจ็บจากแรงระเบิดซึ่งอาจเกิดขึ้นจากระเบิดมือ นักวิเคราะห์ทางการเมืองเห็นตรงกันว่าทหารปฏิบัติการในสภาพที่ยากลำบากอย่างยิ่ง แต่ยอดการตายที่ไม่สมดุล --ทหาร 9 คนเสียชีวิต เมื่อเทียบกับพลเรือนซึ่งเสียชีวิตถึง 80 คน หลายคนในที่นี่เป็นเพียงผู้สัญจรไปมา -- และภาพวิดีโอที่ทหารยิงอย่างบ้าคลั่งไปยังทิศทางที่มีผู้ชุมนุมบ่งชี้ว่าทางกองทัพละเมิดกฎของตนเองเกี่ยวกับการยิงพลเรือนเฉพาะในกรณีป้องกันตนเองเท่านั้น รายงานที่รั่วไหลออกมาจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ดูเหมือนจะสรุปไปในทางเดียวกัน โดยทหารมีส่วนรับผิดชอบต่อการการเสียชีวิตอย่างน้อย 13 ศพ ตามเอกสารที่รายงานในหนังสือพิมพ์ไทย เดอะเนชั่น (The Nation) ในกรณีหนึ่ง ผู้สอบสวนสรุปว่า นายมานะ อาจราญ ผู้ดูแลสวนสัตว์ในกรุงเทพซึ่งมีหน้าที่ป้อนอาหารเต่า “น่าจะ” ถูกสังหารโดยทหารบนรถกระบะที่แล่นผ่านมาและเกิดอาการตื่นตระหนก ทหารวิ่งเข้าไปในสวนสัตว์และยิงนายมานะ ซึ่งในภายหลังถูกพบว่าเสียชีวิตพร้อมกับรอยกระสุนที่ด้านหลังศีรษะ ตามที่รายงานที่รั่วไหลออกมาสรุปไว้ รายงานอีกฉบับมาจากรอยเตอร์อ้างถึงเอกสารภายในของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่กล่าวว่าช่าง ภาพของรอยเตอร์ซึ่งถูกสังหารในวันที่ 10 เมษายนว่า “ทรุดลงเมื่อแสงไฟจากปืนสว่างวาบขึ้นจากทางทิศทางฝั่งทหาร” ช่างภาพคนดังกล่าวคือนายฮิโระ มุราโมโตะมาจากญี่ปุ่น และเจ้าหน้าที่ทางการญี่ปุ่นรู้สึกขัดเคืองใจที่คดีไม่มีความคืบหน้า พวกเขาได้กดดันรัฐบาลไทยให้ปล่อยข้อมูลเกี่ยวกับการเสียชีวิตของเขาออกมามากขึ้น ทางการไทยตอบสนองโดยบอกว่าพวกเขายังคงสอบสวนอยู่ จรัญ โฆษณานันท์ อาจารย์ด้านกฎหมายประจำมหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพฯ กล่าวว่า “กระบวนการยุติธรรมมีความล่าช้าผิดปกติ อำนาจทางการเมืองบ่อนทำลายกฎหมายในประเทศไทย” การที่ทหารปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือในการสอบสวนเน้นย้ำให้เห็นอำนาจอิทธิพลของทหารในประเทศไทย งบประมาณของทหารและอิทธิพลโดยรวมต่อการเมืองของพวกเขาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ พ.ศ.2549 เมื่อทหารเข้ายึดอำนาจโดยการรัฐประหารเพื่อล้มล้างทักษิณ ชินวัตร และทำให้ผู้สนับสนุนเขาหลายล้านคนโกรธแค้น รัฐบาลกล่าวหา ทักษิณ ชินวัตรว่าสนับสนุน “ผู้ก่อการร้าย” ซึ่งซ่อนตัวอยู่ในหมู่ผู้ชุมนุมเมื่อปีที่แล้วและอาจมีส่วนรับผิดชอบในการโจมตีทหารและตำรวจ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานนั้น ในหมู่ผู้ได้รับบาดเจ็บจากการประท้วง 1,898 คน มีทหารประมาณ 400 คน ส่วนที่เหลือเป็นพลเรือนทั้งหมด ผู้ได้รับบาดเจ็บบางคนกลับไปทำงานโดยแผลจากกระสุนและสะเก็ดระเบิดมีรอยแผลเป็นปกคลุม ในขณะที่คนอื่นต้องเดินเข้าออกโรงพยาบาลและศูนย์บำบัดฟื้นฟูอย่างอ่อนแรงและ ยังคงสั่นสะท้านด้วยคำพยากรณ์โรคของแพทย์ที่ว่าพวกเขาอาจจะไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตในแบบปกติได้อีก แพทย์หลายคนบอกกับเสกสิทธิ์ ช้างทอง วัย 28ปี อดีตคนขับรถจักรยานยนต์รับจ้างว่า เขาจะต้องใช้ชีวิตที่เหลือโดยมีกระสุนฝัง อยู่หลังตาของเขา เสกสิทธิ์ผู้ซึ่งตาบอดจากการถูกยิงด้วยปืนในระหว่างการชุมนุมรู้สึกขมขื่น “ผมรู้สึกเสียใจที่ผมสูญเสียการมองเห็น แต่ผมเสียใจยิ่งกว่ากับประเทศไทยเพราะว่าที่นี่ไม่มีความยุติธรรม” หมายเหตุ : ปรับปรุงแก้ไขบางส่วนจาก Note ใน Facebook ของ "สลักธรรม โตจิราการ" โดยเจ้าตัวอนุญาตให้เผยแพร่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
รบ.อียิปต์ตัดสัญญาณเน็ตทั่วประเทศ-แบล็กเบอร์รี่-SMS โดนด้วย Posted: 27 Jan 2011 11:44 PM PST
ความคืบหน้าเหตุการณ์ความไม่สงบในอียิปต์ ที่ประชาชนออกมาประท้วงประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ซึ่งอยู่ในตำแหน่งมายาวนาน 29 ปี โดยกลุ่มผู้ประท้วงได้ใช้สื่อออนไลน์แลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างกว้างขวาง หลังจากอียิปต์สั่งบล็อคทวิตเตอร์ เฟซบุ๊กและกูเกิลไปก่อนหน้านี้ ล่าสุดรัฐบาลอียิปต์สั่งตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศแล้ว รายงานยืนยันว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) ใหญ่ 3 รายคือ TEDATA, Vodafone, Egynet ไม่สามารถใช้งานได้ รวมถึงแบล็กเบอร์รี่ และข้อความสั้น (SMS) ด้วย รวมถึงมีข่าวว่าโทรศัพท์บ้านเริ่มใช้การไม่ได้แล้วเช่นกัน
เรียบเรียงจาก สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "เกมในบ้าน" Posted: 27 Jan 2011 10:49 PM PST |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น