ประชาไท | Prachatai3.info |
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 27 พ.ค. - 2 มิ.ย. 2555
- มูบารัคถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ฐานร่วมสังหารประชาชน
- อภิสิทธิ์ ปราศรัยต้านพ.ร.บ.ปรองดอง เรียกร้องรัฐบาลปิดสมัยประชุมเดี๋ยวนี้
- เลือกตั้งซ่อมเชียงใหม่ เพื่อไทยชนะประชาธิปัตย์
- "ทักษิณ" โฟนอินเผยอ่านบทความ "สมศักดิ์" ขอแดงอย่าแตกแยก เตรียมรับมือสถานการณ์ไม่ปกติ
- เลขาธิการสมาพันธ์นศ.ยะลาถูกควบคุมตัว ล่าสุดปล่อยตัวแล้วแต่ยังคุมตัวไว้อีกหนึ่ง
- งดประชุมรัฐสภา-สภาฯ 5-7 มิ.ย. พธม.ประกาศเลื่อนชุมนุมตาม
- Unseen Thailand ว่าด้วยนักโทษการเมือง...มนุษย์ล่องหนของคนอื่นๆ
- ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ภาค 2
- วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ : “รัฐสภา” ปฏิเสธคำสั่ง “ศาลรัฐธรรมนูญ” ได้หรือไม่ ?
- อดีตคณบดีนิติ มธ. ชี้ ตุลาการ รธน. ละเมิดรธน. เสียเอง เสนอเข้าชื่อถอดถอน
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 27 พ.ค. - 2 มิ.ย. 2555 Posted: 02 Jun 2012 10:54 AM PDT สศช.เผยภาวะสังคมไตรมาสแรกปีนี้ว่างงานแฝงมากขึ้น 28 พ.ค. 55 - เลขาฯ สศช.แถลงภาวะสังคมไตรมาส 1 ปีนี้ พบการว่างงานแฝงมากขึ้น ผู้ประกอบการมีแนวโน้มย้ายฐานการผลิต หนี้สินครัวเรือนเพิ่มหลังน้ำท่วม คนไทยเครียดมากขึ้น เป็นโรคจากภัยบุหรี่ ซึ่งรัฐมีค่าใช้จ่ายดูแลมากกว่าภาษีบุหรี่ เตือนประชากรผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่แรงงานทดแทนลดลง ต้องเร่งวางแผนกำลังคน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไตรมาส 1 ปี 2555ว่า ภาพรวมการจ้างงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่เริ่มทยอยเรียกแรงงานให้กลับเข้าทำงานมา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ อัตราการว่างงานต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีผู้ว่างงาน 285,150 คน แต่พบการว่างงานแฝงมีมากขึ้นจำนวน 557,540 คน จำนวนนี้เป็นแรงงานรอฤดูกาล 445,785 คน แม้ค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 แต่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.4 ทำให้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 นอกจากนี้เริ่มมีแนวโน้มผู้ประกอบการย้ายฐานการลงทุนไปจังหวัดที่อยู่ติดชาย แดน หรือไปประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ ดังนั้นรัฐบาลต้องหามาตรการเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการ นายอาคม กล่าวว่า หนี้สินครัวเรือน ปี 2555 มีตัวบ่งชี้หลายอย่างที่แสดงว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากหลังน้ำท่วมมีครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ จำเป็นต้องซ่อมแซมบ้านเรือนและสินค้าจำเป็น ส่วนด้านการศึกษา ปัญหาเร่งด่วนคือคุณภาพการศึกษา ที่ผลคะแนนโอเน็ต ปี 2551-2554 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักไม่ถึงร้อยละ 50 จะเป็นปัญหาและอุปสรรคในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เมื่อดูด้านสุขภาพพบว่าคนไทยมีแนวโน้มโรคเครียดเพิ่มขึ้น คนไทยปรึกษาด้านปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะปัญหาโรคเครียด 124,984 คน และยังพบว่าคนไทยใช้ยาเกินความจำเป็น นางสุวรรณี คำมั่น รองเลขาฯ สศช.กล่าวถึงคดียาเสพติดว่า เริ่มลดลง แต่คดีประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงจะถูกทำร้ายร่างกายเพิ่มขึ้นจากคู่สมรสและแฟน เฉลี่ยทุก ๆ 1 ชั่วโมงจะมีผู้หญิงถูกทำร้าย 3 คน มีรายงานค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ในประเทศไทยกับ รายรับของรัฐ พบว่าค่าใช้จ่ายเพียง 3 โรค ได้แก่ มะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจและหลอดเลือด มีแนวโน้มสูงกว่ารายรับจากภาษีบุหรี่ เทียบสัดส่วนปี 2546 รายรับ 33,582 ล้านบาท ขณะที่รวมค่าใช้จ่าย 3 โรค 46,800 ล้านบาท นางสุวรรณี กล่าวอีกว่า ในปี 2553 ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.9 เป็นร้อยละ 25.1 ในปี 2573 ขณะที่วัยเด็กและวัยแรงงานลดลง ส่งผลให้วัยแรงงานต้องรับภาระดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น การลดลงของประชากรวัยเด็กที่จะทำให้นักเรียนใน 10 ปีข้างหน้าลดลงทุกระดับชั้น จะเป็นโอกาสในการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนได้อย่างเข้มข้นมาก ขึ้น เพื่อให้คุณภาพคนที่สูงขึ้นช่วยทดแทนกำลังแรงงานที่ลดลง รัฐบาลต้องเร่งกำหนดทิศทางพัฒนาประเทศในอนาคต เปิดโอกาสการจ้างงานสตรีและผู้สูงอายุมากขึ้นเพื่อสร้างรายได้ ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต. (สำนักข่าวไทย, 28-5-2555) ภูเก็ตยันถูกโรงแรมดังเลิกจ้างมีงานทำแน่นอน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 55 น.ส.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยภายหลังการประชุมประจำเดือนหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานของ จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 5/2555 ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ว่าเป็นการประชุมเพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน โดยเฉพาะกรณีการเลิกจ้างพนักงานของโรงแรมดิเอวาซอน อ.เมืองภูเก็ต กับโรงแรมลากูน่าบีช อ.ถลาง ซึ่งสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้รายงานให้ทราบแนวทางการช่วยเหลือแรงงาน ให้มีงานทำ และมาตรการช่วยเหลือของจัดหางาน โดยเฉพาะจากการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไปประชุมร่วมกับนายจ้าง ที่มาเก๊าทราบว่ามีความต้องการแรงงานจำนวนประมาณ 300 ตำแหน่ง ประกอบกับตำแหน่งงานว่างของจังหวัดภูเก็ตซึ่งมีอยู่ประมาณ 5,000 ตำแหน่ง โดยจะได้มีการแจ้งผ่านทาง SMS ให้กับพนักงานที่ถูกเลิกจ้างของทั้งสองโรงแรมให้ได้รับทราบ นอกจากนี้ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดภูเก็ตได้มีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนา ทักษะให้กับแรงงานอยู่แล้ว โดยผู้ว่างงานสามารถจะไปรับการฝึกอบรมและนำมาประกอบอาชีพอิสระได้ "ภาพรวมสถานการณ์แรงงานของจังหวัดภูเก็ตภาพรวมในปัจจุบันถือว่ายังขาด แคลนแรงงานค่อนข้างมาก โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะและมีความชำนาญ แต่การที่จะทำให้นายจ้างกับลูกจ้างพบกันและได้ความพอใจในการจ้างงานค่อนข้าง ยาก เนื่องจากอาจจะยังขาดจุดเชื่อมระหว่างกัน" ส่วนกรณีสถานประกอบการอ้างว่าประสบกับปัญหาขาดทุนและมีการขายกิจการให้ กับผู้ประกอบการรายใหม่ และมีความจำเป็นจะต้องเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด ถือเป็นเทคนิคของผู้ประกอบการหรือไม่ ซึ่ง น.ส.สมหมาย กล่าวว่า หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ มีการสอบถามและตรวจสอบข้อมูลว่าเป็นจริงตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ โดยขณะนี้ที่เป็นปัญหามี 2 แห่ง คือ โรงแรมดิเอวาซอน พบว่าประสบกับปัญหาขาดทุนจริงๆ จึงเลิกจ้าง ขณะที่โรงแรมลากูน่าบีชนั้นก็มีการเปลี่ยนผู้บริหารใหม่จริง ซึ่งในเรื่องของการประกอบธุรกิจการเปลี่ยนมือผู้บริการเป็นเรื่องธรรมดา แม้จะเป็นเช่นนั้น แต่ก็ยังคงมีการติดตามว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น คืออะไรกันแน่เพื่อจะสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด ส่วนตัวเชื่อว่าสถานประกอบการลักษณะดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้น ด้วยสถานการณ์แรงงานที่มีปัญหาขาดแคลน ในส่วนของนายจ้างยังมีความต้องการลูกจ้างแต่ก็ต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ และมีทักษะ ขณะที่นายนพดล พลอยอยู่ดี จัดหางานจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงานของมาเก๊า มีให้เลือกทั้งในคาสิโน โรงแรมและรีสอร์ท จำนวนรวมประมาณ 300 ตำแหน่งให้ผู้ว่างงานได้รับทราบแล้ว และมีการเปิดให้ผู้สนใจลงทะเบียนสมัครทางอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2555 นี้ และจะมีเรียกสัมภาษณ์โดยหน่วยงานส่วนกลางที่กรุงเทพ และผู้ประกอบการในมาเก๊าจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่ผู้ที่ได้ รับการบรรจุเข้าทำงาน นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งงานว่างในจังหวัดภูเก็ตอีกประมาณ 5,000 กว่าตำแหน่ง แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เห็นได้จากการเปิดนัดพบแรงงานย่อยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยผู้ที่ประสบปัญหาถูกเลิกจ้างจากทั้งสองโรงแรมมายื่นใบสมัครประมาณ 20-30 รายเท่านั้น จากจำนวนทั้งหมดประมาณ 400-500 คน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดได้อย่างหนึ่งว่า ภูเก็ตมีคนตกงานน้อยแต่ความต้องการแรงงานมีสูง ส่งผลให้ ผู้ประกอบการต้องดึงแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรง งานในสถานประกอบการ (คมชัดลึก, 29-5-2555) "เจ็ทสตาร์" ฉาวหน่วยงานออสซี่เตรียมฟัน-กดค่าแรงแอร์โฮสเตสไทย สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 29 พ.ค.ว่า หน่วยงานผู้ตรวจการการทำงานอย่างเป็นธรรมของออสเตรเลีย เตรียมยื่นเรื่องเพื่อดำเนินคดีต่อสายการบิน"เจ็ทสตาร์"ภายหลังพบว่า สายการบินมีพฤติกรรมจ้างแอร์โฮสเตสสัญชาติไทยซึ่งถูกกดค่าแรง โดยได้รับค่าแรงเพียงครึ่งหนึ่ง ของแอร์โฮสเตสชาวออสเตรเลีย โดยหน่วยงานฯเตรียมจะเรียกร้องให้ศาลรัฐบาลกลางงกลางเลิกจ่ายค่าแรงต่ำกว่า เกณฑ์ดังกล่าว รายงานระบุว่า คดีนี้เกี่ยวข้องกับตัวแทนจ้างงาน 2 แห่ง คือ บริษัท"วาลูแอร์"และทัวร์อีสต์"ยูไนเต็ด ของไทย ซึ่งเป็นผู้จัดหาแอร์โฮสเตสให้ทำงานพิเศษในเที่ยวบินภายในประเทศของสาย การบินเจ็ทสตาร์ซึ่งเป็นสายการบินประหยัด โดยหน่วยงานผู้ตรวจการฯต้องการให้วาลูแอร์ และทัวร์ อีสต์ ชำระเงินคืนให้แก่ลูกจ้างเจ็ทสตาร์ 8 ราย ซึ่งเป็นแอร์โฮสเตสชาวไทย เป็นเงินกว่า 7,500 ดอลลาร์ ที่พวกเขาติดค้างการชำระเงินแก่แอร์ฯเหล่านี้ รวมทั้งเตรียมใช้บทลงโทษต่อเจ็ทสตาร์ด้วย อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา โฆษกของเจ็ทสตาร์กล่าวว่าสายการบินไม่ได้ใช้พนักงานแอร์ฯออสเตรเลียล้วน ๆ ในเที่ยวบินภายในประเทศ แต่ใช้แอร์โฮสเตสรวมจากประเทศอื่น ๆ และแอร์โฮสเตสเหล่านี้จะได้รับค่าแรงตามเงื่อนไขของเกณฑ์ค่าแรงที่พวกเธอได้ รับภายในประเทศของตัวเอง (ข่าวสด, 29-5-2555) แรงงานมอลลิเก้ร้องกระทรวง นายจ้างตัดสวัสดิการ อ้างเหตุขึ้นค่าแรง 300 30 พ.ค. 55 - สหภาพแรงงานมอลลิเก้เฮลท์แคร์ มีการประชุมปรึกษาหารือ ในกรณีที่ผู้บริหารโรงงานออกมาตรการปรับเปลี่ยนสภาพการจัดจ้างหรือโบนัส ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนงานเป็นจำนวนมาก โดยได้ข้อสรุปว่า จะรวมตัวกันไปยื่นหนังสือให้รัฐบาลรับทราบความเดือดร้อนในวันที่ 31 พ.ค. 55 เวลา 9.00 น. ณัฐปภัสร์ แก้วทอง ประธานสหภาพแรงงาน กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ในวันที่26 มี.ค. 55 บริษัทได้ออกประกาศขอปรับเปลี่ยนสภาพการจัดจ้างมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ทางสหภาพก็ได้เจรจาและขอให้ยกเลิกไปตั้งแต่วันที่ 26 เม.ย. 55 ทว่าเมื่อถึงวันที่ 2 พ.ค. 55 บริษัทก็ได้ออกประกาศใหม่อีกรอบหนึ่ง โดยอ้างเหตุผลว่า บริษัทได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐบาลที่ให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้นอีกถึง40% เมื่อนำมาตรการมาใช้ก็มีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่งคนงาน ลดสวัสดิการ คนงานได้รับความเดือดร้อนมากขึ้น เนื่องจากมีรายได้ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นแรงงานที่ทำงานมานาน เช่น บางคนได้ค่าแรงเกือบ 300 บาท เมื่อบริษัทขึ้นค่าแรงให้ถึง 300 บาทตามนโยบายรัฐ แต่กลับไปตัดโบนัสลงมากๆ เช่น เคยได้โบนัส 6000 บาท ถูกตัดเหลือ 1000 บาท ก็ถือว่าไม่ได้อะไรเพิ่ม แล้วยังเสียประโยชน์อีกด้วย แต่ทางด้านแรงงานที่เพิ่งเริ่มงาน และมีรายได้น้อยกว่าเมื่อได้ขึ้นค่าแรงถึง 300 บาท ก็จะได้ประโยชน์ กลายเป็นว่า แรงงานใหม่หรือเก่าก็ได้ค่าจ้างเท่ากัน อย่างไรก็ตาม ณัฐปภัสร์เห็นว่านโยบายค่างแรงขั้นต่ำ 300 บาทของรัฐบาลนั้นเป็นสิ่งที่น่าพอใจแล้ว ซึ่งทางบริษัทไม่ควรจะนำมาเป็นข้ออ้างในการตัดลดสวัสดิการคนงานด้านอื่นๆ ไม่เช่นนั้นก็เท่ากับว่า คนงานไม่ได้ผลประโยชน์อะไรเพิ่มขึ้นมาเลย ณัฐปภัสร์กล่าวว่า การหารือของทางสภาพในระยะนี้ยังเป็นไปด้วยความลำบากพอสมควร เนื่องจากถูกแทรกแซงจากบริษัทโดยตลอด บริษัทใช้วิธีการเจรจาแบบรายบุคคล เรียกพนักงานไปพูดคุยเป็นการส่วนตัว มีการบังคับข่มขู่คนงาน บังคับให้เซ็นยอมรับเงื่อนไขที่ทางบริษัทเสนอ ถ้าไม่เซ็นก็จะโยกย้าย หรือพักงาน โดยไม่มีการบังคับให้ออก แต่ก็มีพนักงานหลายคนที่ทนไม่ไหวลาออกไปเอง นอกจากนี้บริษัทยังยื่นข้อเสนอว่าให้ทางสหภาพยอมรับเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นมา เพราะไม่สามารถหามาตรการที่ดีกว่านี้ ดังนั้นทางสหภาพแรงงานจึงจะไปยื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือไม่ให้ บริษัทเปลี่ยนแปลงสภาพการจัดจ้าง เพราะก่อนหน้านี้เคยยื่นหนังสือกับทางแรงงานจังหวัดแล้วก็ไม่มีความคืบหน้า (ประชาไท, 30-5-2555) เผยมหาอุทกภัยปี 54 ทำแรงงานในกรุงเก่าถูกเลิกจ้างนับหมื่น 30 พ.ค. 55 - นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดเวทีเสวนา เรื่อง ความร่วมมือในการช่วยเหลือและฟื้นฟูแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแกรนด์ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีนายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย นายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์ยานยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดเวทีเสวนาในครั้งนี้ นายอนุสรณ์ กล่าวว่า จากวิกฤตการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศไทย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหาย และผลกระทบกับทุกภาคส่วน รวมทั้งภาคแรงงานซึ่งเป็นกำลังหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป็นอีกภาคส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างกว้างขวาง วิกฤตอุทกภัยดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบแต่สถานประกอบการ หรือนายจ้างเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อลูกจ้างในฐานะผู้ใช้แรงงานที่เป็นกำลังผลิตสำคัญต่างได้ รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า เมื่อสถานประกอบการต้องปิดตัวลง การหยุดงานเป็นเวลานาน ความไม่ชัดเจนของการจ่ายค่าจ้าง หรือแม้กระทั่งการเลิกจ้างเหล่านี้ ล้วนเป็นปัญหาที่รุมเร้าแรงงานตลอดช่วงที่เกิดอุทกกัย ทางกระทรวงก็ทราบดี แต่ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่กระทรวง แต่อยู่ที่กฎหมายที่บังคับใช้ ซึ่งผู้ปฏิบัติก็อยากจะช่วยเหลือแรงงานที่เดือดร้อนอย่างเต็มที่ แต่ก็ลำบากใจในการที่จะเบิกจ่ายเพื่อช่วยเหลือแรงงาน เพราะกฎหมายได้กำหนดไว้แค่นั้น อันนี้ก็ต้องมาแก้ไขกฎหมายกันอีกที ทางกระทรวงแรงงานไม่ได้นิ่งนอนใจเพราะตระหนักถึงความเดือดร้อนของผู้ใช้แรง งานเป็นอย่างดี จึงได้เร่งเข้าไปช่วยเหลือบรรเทาเยียวยา เพื่อให้ความเดือดร้อนที่พี่น้องแรงงานได้รับผ่อนคลาย และดีขึ้น รวมทั้งมีการดำเนินการตามมาตรการต่างๆ เช่น โครงการป้องกันและบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง โดยให้สถานประกอบการที่ปิดกิจการชั่วคราวเนื่องจากอุทกภัย ได้ลงนามทำข้อตกลงกับกระทรวงแรงงานว่าจะไม่มีการเลิกจ้าง ขณะเดียวกัน ระหว่างที่หยุดพักกิจการ ก็ให้สถานประกอบการจ่ายเงินเดือนให้แก่ลูกจ้าง 75% ของอัตราค่าจ้างที่ได้รับอยู่ ซึ่งในส่วนนี้ก็จะมีงบประมาณจากรัฐบาลมาจ่ายช่วยเหลือสมทบให้ลูกจ้างอีก 2,000 บาท โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน โดยให้กระทรวงแรงงานประสานกับทางผู้ประกอบการในพื้นที่ที่ยังไม่ประสบ อุทกภัยที่มีตำแหน่งงานว่าง และสามารถรับลูกจ้างเข้าไปทำงานได้ ให้ช่วยรับลูกจ้างที่สถานประกอบการประสบอุทกภัย ให้เข้ามาทำงานเป็นการชั่วคราว จนกว่าสถานประกอบการพื้นที่อุทกภัยสามารถดำเนินกิจการได้แล้ว โครงการผู้ประกันตนในกรณีอุทกภัย โดยจัดสรรเงินให้ลูกจ้างผู้ประกันตนกู้เงินเพื่อไปซ่อมแซมบ้านเรือนของตนเอง หรือบ้านพ่อแม่ที่เสียหายจากเหตุอุทกภัยรายละไม่เกิน 50,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.5 ต่อปี คงที่ 2 ปี มหาอุทกภัยครั้งนี้ ทำให้สถานประกอบการบางแห่งไม่สามารถเปิดกิจการได้ มีลูกจ้างที่ยังไม่ได้รับกลับเข้าทำงานอีกจำนวนมาก ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีแรงงานถูกเลิกจ้างหลักหมื่น กระทรวงแรงงานตระนักถึงความทุกข์ของแรงงาน และหาทางบรรเทาความเดือดร้อนตามสถานกาณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้จัดเวทีเสวนาขึ้นในวันนี้ เรื่องความร่วมมือในการช่วยเหลือ และฟื้นฟูแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม เพื่อสร้างความร่วมมือในการแก้ปัญหาร่วมกับผู้ใช้แรงงานในฐานะผู้ประสบปัญหา (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 31-5-2555) ล็อกซเล่ย์แห้วรปภ.แอร์พอร์ตลิงก์ พิษขอขึ้นค่าแรง 300 บาท บ.โนเนมเสนอราคาถูกกว่า นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดประกวดราคาเพื่อคัดเลือกบริษัทรักษาความปลอดภัยภายในรถไฟฟ้า แอร์พอร์ตลิงก์ปรากฏว่าบริษัทที่ชนะการประกวดราคา คือ บริษัท ว.วัชระ ซิเคียวริตี้ จำกัด ร่วมกับบริษัท อินทรีย์ โกลด์ จำกัด โดยเสนอราคาที่ 3 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 15 ล้านบาท ตลอดอายุสัญญา 5 เดือน ต่ำกว่าถึง 11.7% เทียบกับบริษัท เอเชีย ซิเคียวริตี้ เมเนจเม้นท์ จำกัด (เอเอสเอ็ม) ในเครือบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นคู่สัญญาเดิมที่เสนอราคา 17 ล้านบาท โดยบริษัท ว.วัชระ ซิเคียวริตี้ฯ จะเริ่มเข้าดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน-31 ตุลาคม 2555 ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องเปิดประมูลใหม่เนื่องจากเอเอสเอ็มขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้ กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตามนโยบายรัฐบาล จาก 210 บาท เป็น 300 บาทต่อวัน จึงทำให้ค่าจ้างรวมเพิ่มขึ้นจาก 2.62 ล้านบาทต่อเดือน เป็น 3.3 ล้านบาทต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้น 39.5% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากทำให้บริษัทไม่สามารถปรับขึ้นราคาให้ได้ เพราะถึงแม้ค่าจ้างบริษัทใหม่จะมากกว่าเดิม แต่ก็ยังต่ำกว่าที่เอเอสเอ็มขอปรับขึ้นมาก ขณะเดียวกันยอมรับว่าคุณภาพของบริษัท ว.วัชระฯ อาจจะด้อยกว่าเอเอสเอ็ม เพราะเป็นบริษัทเล็ก แต่จะพยายามควบคุมและประเมินประสิทธิภาพการทำงานตามสัญญาที่กำหนดอย่างต่อ เนื่อง เชื่อว่าจะไม่มีปัญหาการให้บริการแน่นอน "สำหรับค่าจ้างที่ยังค้างจ่ายเอเอสเอ็มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554-เมษายน 2555 นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาตามเงื่อนไขสัญญา ซึ่งมีประเด็นเรื่องของหายที่ต้องตีความในสัญญาว่าใครจะรับผิดชอบ และต้องมีการเสนอขออนุมัติไปที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะบริษัทแม่ด้วย ทำให้ขั้นตอนค่อนข้างล่าช้า ล่าสุดงวดเดือนพฤศจิกายน 2554-กุมภาพันธ์ 2555 ผ่านการพิจารณาแล้วอยู่ระหว่างการจ่ายเงินค่าจ้าง 10.5 ล้านบาท ส่วนงวดเดือนมีนาคม และเมษายน 2555 ผ่านการตรวจสอบแล้วเช่นกัน" นายกาญจน์ ทองใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ เอเอสเอ็ม กล่าวว่า ราคาที่เอเอสเอ็มเสนอไป ประเมินจากค่าแรงที่ปรับขึ้น รวมถึงประสิทธิภาพการให้บริการ เนื่องจากหลักเกณฑ์ของงานรักษาความปลอดภัยจะเน้นคุณภาพการทำงานมากกว่าราคา เมื่อไม่ได้รับการคัดเลือกก็ไม่เป็นไร ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เอเอสเอ็มเคยเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทตามนโยบายของรัฐบาล ที่เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา แต่ทางแอร์พอร์ตลิงก์ไม่สามารถดำเนินการให้ได้ โดยให้เหตุผลว่า ยังไม่มีหนังสือยืนยันจากกระทรวงการคลังให้หน่วยงานราชการปรับขึ้นค่าแรง ขั้นต่ำ ขณะเดียวกันทางบริษัทก็ยังไม่มีบอร์ดเข้ามาดำเนินงาน จึงยังไม่สามารถพิจารณาให้ได้ (มติชนออนไลน์, 1-6-2555) คนงาน "มอลลิเก้" บุกกระทรวงจี้รัฐ คุยนายจ้าง อย่าอ้าง "300" ตัดสวัสดิการ (1 มิ.ย.55) คนงานสหภาพแรงงานมอลลิเก้ เข้าพบ สาโรจน์ ศิรวัชรินทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและข้อขัดแย้ง และ สมภพ มาลีแก้ว นักวิชาการแรงงานชำนาญการพิเศษ สำนักแรงงานสัมพันธ์ เพื่อร้องเรียนปัญหานายจ้างลดสวัสดิการ รวมถึงเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างโดยพลการ ณัฐปภัสร์ แก้วทอง ประธานสหภาพแรงงานมอลลิเก้เฮลท์แคร์ กล่าวว่า ความเดือดร้อนนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยนายจ้างทำหนังสือเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้าง ซึ่งมีการลดการจ่ายโบนัสและค่าตัดชิ้นงาน มาให้พนักงานแต่ละคนเซ็น โดยให้เหตุผลว่า นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทนั้นทำให้บริษัทต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 40% จึงต้องลดสวัสดิการคนงานลง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างดังกล่าวทำโดยไม่ได้คุยกับสหภาพแรงงานโดย ตรง สหภาพฯ จึงได้ทำหนังสือคัดค้านและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรง งานสมุทรปราการเข้ามาไกล่เกลี่ย ทำให้บริษัทยกเลิกประกาศดังกล่าวไป แต่ต่อมายังคงมีความพยายามกดดัน ข่มขู่พนักงานเป็นรายบุคคลให้เซ็นยินยอมรับการตัดลดค่าจ้างสวัสดิการ ทั้งยังมีการย้ายพนักงาน 13 คนที่ไม่ยอมเซ็นไปอยู่ในตำแหน่งงานที่ไม่ตรงกับทักษะ ณัฐปภัสร์ กล่าวว่า สหภาพแรงงานฯ จึงเรียกร้องให้รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานเร่งพูดคุยกับนายจ้าง เพื่อให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยหยุดเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง หยุดกลั่นแกล้งพนักงานที่ไม่ยอมลงลายมือชื่อด้วยการโยกย้ายให้ไปทำงานในจุด ต่างๆ และหยุดสร้างแรงกดดันด้วยวิธีการเรียกเข้าพบ ข่มขู่ คุกคาม เลือกปฏิบัติ "เอกสาร ของบริษัทได้รายงานว่าในปี 2553 บริษัทมีรายได้จากผลประกอบการทั่วโลก 949 ล้านยูโร จ่ายค่าจ้างให้กับพนักงานทั่วโลกทุกระดับเพียง 156 ล้านยูโร จากพนักงาน 7,000 คน ที่มีอยู่ทั่วโลก" แถลงการณ์ของสหภาพฯ ระบุ เยาวภา ดอนเส จากสหพันธ์แรงงานนานาชาติกิจการเคมีภัณฑ์, พลังงาน, เหมืองแร่, แรงงานทั่วไปในประเทศไทย กล่าวว่า อยากเรียกร้องให้กระทรวงแรงงานคุยกับนายจ้างให้เคารพกฎหมายไทย พร้อมชี้ว่า มอลลิเก้เป็นบริษัทอันดับ 5 ของโลกในกิจการเสื้อผ้าห้องผ่าตัด และมีโรงงานผลิตใน 9 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ เบลเยี่ยม สาธารณรัฐเช็ค โปแลนด์ ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส มาเลเซีย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ซึ่งล้วนแต่มีค่าจ้างสูงกว่าประเทศไทยทั้งสิ้น นอกจากนี้ อยากเรียกร้องให้หยุดกดดันคนงานด้วย เพราะที่ผ่านมา มีการกดดันโดยย้ายงาน อาทิ จากแผนกบรรจุหีบห่อไปทำแผนกซ่อมบำรุง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการทำงานได้ ก่อน หน้านี้ เวลา 9.00น. คนงานจากสหภาพแรงงานมอลลิเก้กว่า 30 คนได้เดินขึ้นอาคารกระทรวงแรงงานไปจนถึงชั้น 6 ซึ่งเป็นที่ทำการสำนักรัฐมนตรี เพื่อขอพบนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานได้เจรจาให้หยุดการใช้เสียง โดยอ้างว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่หวงห้าม ต่อมา 10.55 น. ทางสหภาพตัดสินใจส่งตัวแทนเข้าร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานที่ เกี่ยวข้อง สำหรับ บริษัทมอลลิเก้ เฮลท์ แคร์ (ประเทศไทย) จำกัด ทำการผลิตเสื้อคลุมแพทย์ผ่าตัด ผ้าคลุมผ่าตัด แขนเสื้อชนิดพิเศษ กางเกงชุดผ่าตัด มีพนักงานประจำราว 1,500 คน เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน 600 คน (ประชาไท, 1-6-2555) ขอนแก่นพร้อมปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท นายสมชาย วงษ์ทอง รองอธิบดีกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยในการเป็นประธานการอบรมหลักสูตรที่ปรึกษาด้านแรงงานสัมพันธ์ รุ่นที่138 ที่โรงแรมประตูน้ำ จ.ขอนแก่น ว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนให้แรงงานมีรายได้ไม่น้อยกว่าวันละ 300 บาท โดย จ.ขอนแก่น ได้ปรับค่าจ้างจากวันละ 167 บาท ปรับเป็นวันละ 233 บาท มีผลตั้งแต่เดือน เม.ย. 2555 เป็นต้นมา นั้น ปรากฏว่ามีลูกจ้างได้รับผลกระทบจากสถาบันประกอบกิจการบางแห่งอาจมีการลด หรือ เลิกจ้าง และจัดสวัสดิการแรงงานบางประเภท โดยไม่ได้รับการยินยอมจากลูกจ้าง จึงทำให้เกิดการร้องเรียน หรือ หยุดงาน เกิดภาพลักษณ์ในเชิงลบแก่จังหวัดขอนแก่นและภาคอุตสาหกรรมในการส่งเสริมให้ นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเข้าลงทุนในอนาคต ดังนั้นเพื่อลดลดความขัดแย้งจึงได้มีการสร้างกิจกรรมส่งเสริมแรงงาน สัมพันธ์ให้แก่นายจ้างและลูกจ้างโดยการใช้ระบบทวิภาคีในการเจรจาต่อรอง แก้ไขปัญหา ตลอดจนให้ความสำคัญในระบบแรงงานสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำ ในจังหวัดขอนแก่นปรับอยู่ที่ วันละ 233 บาท ส่วนการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 300 บาทต่อวัน นั้น คาดว่า ในส่วน จ.ขอนแก่น จะเริ่มปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำในต้นปีหน้าแน่นอน (แนวหน้า, 2-6-2555) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
มูบารัคถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ฐานร่วมสังหารประชาชน Posted: 02 Jun 2012 09:13 AM PDT ศาลอียิปต์ตัดสินให้ อดีตปธน. มูบารัค และอดีตรมต. มหาดไทย ของอียิปต์ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต ฐานมีส่วนร่วมในการสังหารประชาชนผู้ประท้วงเมื่อปี 2011 แต่ก็มีคนสงสัยว่าเหตุใดถึงไม่มีใครที่ถูกดำเนินคดีฐาน 'ออกคำสั่ง' 2 มิ.ย. 2012 - สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า ศาลทางการของอียิปต์ได้ตัดสินให้อดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค มีโทษจำคุกตลอดชีวิต ฐานมีส่วนร่วมในการสังหารผู้ชุมนุมในช่วงที่มีการชุมนุมโค่งล้มเขาเมื่อปีที่แล้ว ขณะเดียวกัน อดีตรมต.หมาดไทยสมัยมูบารัค ฮาบิบ เอล-แอดลี ก็ถูกสั่งจำคุกตลอดชีวิตจากข้อหาเดียวกัน ส่วนอดีตผู้บัญชาการตำรวจอีก 6 นาย ที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ถูกตัดสินให้ไม่มีความผิด ด้านลูกชายสองคนของมูบารัค คืออะลา และ กามาล ที่ต้องคดีทุจริตคอร์รัปชั่น ล่าสุดคดีก็มีการยกฟ้องแล้ว ในช่วงที่มีการประท้วง 18 วัน ในอียิปต์ มูบารัคได้กระทำผิดฐานสั่งให้สังหารประชาชนผู้ประท้วงอย่างน้อย 800 คน จนกระทั่งในวันที่ 11 ก.พ. 2011 มูบารัคก็ถูกโค่นล้ม จนกระทั่งเขาต้องขึ้นเฮลิคอปเตอร์หนี อย่างไรก็ตาม ฮอสซัม บากัท อัยการจากองค์กรเคลื่อนไหวด้านสิทธิส่วนบุคคลในอียิปต์กล่าวต่ออัลจาซีร่าว่าคดียังดูจะไม่จบง่ายๆ มีความเป็นไปได้ที่คำขออุทธรณ์จะเป็นผล ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่า เชอรีน ทาดรอส รายงานจากศาลอียิปต์ว่าสภาพความผิดของมูบารัคยังไม่แน่ชัด และผู้คนภายนอกศาลก็กำลังพูดกันว่ามันเป็นเรื่องง่ายเพียงใดที่จะสามารถอุทธรณ์ลดโทษตลอดชีวิตนี้ได้ เพราะการตัดสินในครั้งนี้ดูเป็นการเมืองมากกว่าการตัดสินตามหลักการกฏหมาย ส่วนกรณีที่มีการยกป้องคดีของสองลูกชายมูบารัคนั้นศาลกล่าวว่าเป็นเพราะคดีเลยอายุความมาแล้ว การก่อคดีของทั้งสองคนนี้เกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ใครล่ะ...ที่ออกคำสั่งสังหาร? จามาล เอลเชยาล นักข่าวอัลจาซีร่าอีกราย รายงานจากอเล็กซานเดรียบอกว่ามีความไม่พอใจอย่างมากเกิดขึ้นในการตัดสินคดีวันนี้ เนื่องจากไม่มีใครเลยที่ถูกตัดสินให้มีความผิดในฐานะคนออกคำสั่งให้มีการสังหารประชาชน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ก็ถูกตัดสินไม่ให้มีความผิด ด้านมูบารัคกับอดีตรมต. ก็เป็นความผิดฐาน 'มีส่วนร่วมในการสังหาร' เท่านั้น "...คำถามคือ...แล้วใครล่ะที่ออกคำสั่งให้สังหารประชาชน" จามาล ตั้งข้อสังเกต มีการวิจารณ์ว่าการสืบสวนคดีนี้เป็นไปอย่างเร่งรีบและขอไปที อย่างไรก็ตามการดำเนินคดีที่มาจากการนำหลักฐานปะติดปะต่อ อาจทำให้มูบารัคพ้นโทษได้ในระดับชั้นอุทธรณ์ ญาติๆ ของผู้สูญเสียมารวมตัวกันที่จัตุรัสทาห์เรียเพื่อรับฟังคำตัดสิน พวกเขาหวังว่าการตัดสินคดีจะไม่ทำให้มีการใช้อำนาจในทางที่ผิดอีกในอนาคต โมฮาเม็ด คาเล็ด ญาติผู้เสียชีวิตรายหนึ่งกล่าวว่า เขาสงสัยว่าอาจมีการยกโทษให้กับมูบารัค เนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านของอียิปต์ดูจะทำให้ไว้ใจทหารไม่ได้สักเท่าไหร่ ที่มา: Mubarak given life term for protester deaths, Aljazeera, 02-06-2012 http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2012/06/20126211352816938.html ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อภิสิทธิ์ ปราศรัยต้านพ.ร.บ.ปรองดอง เรียกร้องรัฐบาลปิดสมัยประชุมเดี๋ยวนี้ Posted: 02 Jun 2012 08:26 AM PDT อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปราศรัยที่ลานคนเมือง ระบุถ้ายอมรับพ.ร.บ. ปรองดองจากนี้ก็ไม่มีกติกาในการต่อสู้ทางการเมือง แซวยิ่งลักษณ์ เป็นนายกหนึ่งปี เปลี่ยนเสื้อผ้าเยอะกว่าตัวเองที่เล่นการเมือง 20 ปี ชวนคนเสื้อแดงคิดถ้าปชป. ฆ่าประชาชนจะค้านพ.ร.บ. ปรองดองทำไม บอกประชาชนจับตาต่อไป พร้อมเรียกร้องปิดสมัยประชุมปิดทางพิจารณาร่างฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นปราศรัยที่ลานคนเมือง ยืนยันต้านพ.ร.บ.ปรองดอง เมื่อเวลา 21.00 น. โดยก่อนปราศรัยได้เปิดคลิปของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในการปราศรัยกับคนเสื้อแดงหลายครั้งก่อนจะกล่าวว่าตามประเพณีหนังไทยก่อนพระเอกออกมาก็ให้ผู้รายแสดงให้เต็มที่ จากนั้นกล่าวขอบคุณพี่น้องประชาชนที่มาฟังควมจริงเกี่ยวกับกฎหมายล้างผิดคนโกง มีความพยายามผลักดันกฎหมายทำลายชาติ ล้างความผิดคืนสิทธิให้คนโกงกำลังเดินหน้าอย่างเต็มที่ และได้แสดงความคาระต่อจิตใจอันแนวแน่มั่นคงของประชาชที่ได้ร่วมชุมนุมต่อต้านกฎหมายปรองดอง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าการที่รัฐบาลต้องรีรอต้องเลื่อนหรือถอยนั้นไม่ใช่เพราพรรคประชาธิปัตย์ แต่ต้องขอบคุณพี่น้องประชาชนทุกคนทุกกลุ่มที่ออกไปต่อสูในช่วงหลายวันที่ผ่านมา และกล่าวขอบคุณพันธมิตรประชาชนเพือประชาธิปไตย และกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่าเสื้อหลากสี แฟนๆ รายการสายล่อฟ้า และอีกหลายต่อหลายกลุ่มซึ่งผนึกกำลังกันต่อสู้กับความไม่ถูกต้องที่กำลังเกิดขึ้น “ผมยืนยันว่าที่เรามาพูดมาจากันวันนี มันไม่ใช่อย่างที่เขาพยายามสร้างเรื่องสร้างกระแสอย่างที่เขากล่าวหากันรอบใหม่ วันนี้มีอีกรายการหนึ่งที่เขาจัดกันที่เมืองทอง มีนักเล่านิทานอีกหลายคนพยายามบอก ขู่กับประชาชนว่าพรรคประชาธิปัตย์กำลังก่อการกบฏ ผมก็เพิ่งเคยเห็นเนี่ยครับว่าเขาก่อการกบฏด้วยการปาข้อบังคับใส่ประธานสภา ที่สำคัญพวกคนที่บอกว่าประชาธิปัตย์กำลังการกบฏด้วยการปข้อบังคับด้วยการลากเก้าอี้ประธานสภา คนเหล่านี้ละครับคือคนที่ชวนคนมาเผา ชวนคนมาบอกว่าติดอาวุธแล้วก็ให้มาล้มล้างรัฐบาล ถ้าไม่รู้จักกบฏกลับไปส่องกระจกดูครับ “ผมยืนยันกับพี่น้อง ผมประกาศมาหลายครั้ง พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความมุ่งหมายในการล้มล้างรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ พี่น้องจะชอบหรือมไม่ชอบ แต่เราต้องเคารพกระบวนการของการเลือกตั้งและระบอบประชาธิปไตยและกติกาของเรา ผมก็เห็นว่าหลายสิ่งหลายอย่างที่รัฐบาลทำอยู่หลายเรื่องเสียหาย แพงทั้งแผ่นดิน พืชผลตกต่ำ ความจริงถ้าพูดไปเรื่อยๆ เดี๋ยวจะยาวหลายชั่วโมง แล้วหลายคนก็หงุดหงิด หงุดหงิดว่าผู้นำประเทศพูดผิดพูดถูกแต่ผมถือว่าเมื่อได้รับเลือกตั้งมาก็ให้ทำหน้าที่ไป ส่วนเข้าใจหน้าที่เป็นอย่างไร ก็เป็นความเห็นต่าง บางเรื่องผมก็สู้นายกยิ่งลักษณ์ไม่ได้ครับ ผมเล่นการเมืองมา 20 ปี ผมว่ายังเปลี่ยนชุดไม่บ่อยเท่านายกยิ่งลักษณ์ปีเดียว และให้ผมบินไปตำส้มตำที่ออสเตรเลียผมก็ทำไม่เป็นเหมือนกัน "แต่อยากให้รัฐบาลสบายใจ ผมประกาศแล้วว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองในระบบรัฐสภา เมื่อคุณมีเสียงข้างมาก คุณมีสิทธิบริหารประเทศ แต่เสียงข้างมากที่บริหารประเทศไม่ใช่ทำอะไรผิดกฎหมายหรือทำลายชาติบ้านเมืองได้ “หลายเดือนที่ผ่านมา เขาสร้างวาทกรรม เขาบอกประชาธิปัตย์ค้านทุกเรื่องไม่จริงหรอกครับ ท่านประธานวิปอยู่ตรงนี้ท่าจะบอกได้เลยว่าเกือบหนึ่งปีที่ผานมา เป็นยุคที่ฝ่ายค้านยกมือสนับสนุนกฎหมายของรัฐบาลที่เยอะที่สุดยุคหนึ่งครับ เรื่องไหนจำเป็นเรื่องไหนเป็นประโยชน์กับประเทศทำไปเถอะครับ แต่เรื่องไหนที่ไม่ถูกต้องเราก็ค้าน วันนี้สิ่งที่เราบอกว่าตลอดตั้งแต่วันแรกที่รัฐบาลแถลงนโยบายก็คือพี่น้องคาดหวังให้เข้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจปัญหาปากท้องของประชาชน เดินหน้าตามคำมั่นสัญญาที่บอกจะลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ จะขึ้นค่าแรงขึ้นเงินเดือน เราบอกว่าให้เดินหน้าอย่างจริงจังตามคำสัญญา แต่เราบอกตั้งแต่ต้น ผมยืนยอมรับความพ่ายแพ้ในวันเลือกตั้งที่ลานพระแม่ธรณี ผมบอกว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีความชอบธรรมที่จะทำทุกอย่างตามนโยบายที่สัญญาไว้กับประชาชน แต่พวกผมไม่ยอมรับว่าเสียงข้างมากที่เลือก เลือกให้ท่านมาทำเพื่อคนๆ เดียว และพวกผมพูดตั้งแต่ต้นว่าถ้ามีเรื่องนิรโทษกรรม ถ้ามีเรื่องการคืนทรัพย์สินสี่หมื่นหกพันล้าน พวกผมจะต่อสู้ทุกวิถีทางภายใต้กฎหมาย” นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าอยากให้พี่น้องดูว่าทำไมประชาชนคนทั้งประเทศไม่ว่าจะเลือกพรรคเพื่อไทยหรือเลือกพรรคประชาธิปัตย์มีความชอบธรรมที่จะต่อต้านกฎหมายล้างผิดให้คนโกงเหล่านี้ เพราะได้มีการให้คำมั่นสัญญากับประชาชนซึ่งบัดนี้กลายเป็นการโกหกคำโต ชี้ ถ้าพ.ร.บ. ปรองดองผ่าน จะทำให้บ้านเมืองไม่มีกติกา จากนั้นนายอภิสิทธิ์เปิดคลิปสัมภาษณ์ นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่าพรรคเพื่อไทยให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และไม่ได้มีนโยบายเรื่องการนิรโทษกรรม เพราะเพื่อไทยต้องทำเพื่อผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชน และนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ ว่าพรรคเพื่อไทยไม่เคยมีนโยบาย ไม่เคยพูดจากหัวหน้าพรรค จะนิรโทษกรรมหรือไม่อยู่ที่กรรมการพรรค และได้อ้างถึงข้อความที่ตนเคยเขียนเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2554 ว่า พี่น้องเสื้อแดงต้องไปถามยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยว่านิรโทษจะทำอย่างไรกับ 91 ศพ นิรโทษกรรมแลกเงินสี่หมื่นหกพันล้านหรือ และเป็นไปไม่ได้ที่กฎหมายนิรโทษกรรมจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้อกับการนิรโทษกรรมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์รัฐประหารมากมาย เมื่อนิรโทษกรรมแล้ว 91 ศพจบ เขาสังหรณ์ใจว่าคุณทักษิณจะให้เงินผู้เสียชีวิตในการเยียวยาค่อนข้างสูงแทนที่จะค้นหาความจริง ที่สำคัญคือเงินที่จะเยียวยาคือเงินภาษีประชาชนไม่ใช่เงินของทักษิณที่บอกว่าจะดูแลพี่น้องประชาชนอย่างดี ที่ผ่านมามีใครบ้างที่ได้รับการดูแลนอกจากแกนนำ และย้ำว่าบทความนี้จบลงที่ว่าถ้าพี่น้องเสื้อแดงไม่เห็นด้วยก็ต้องไปถามน.ส.ยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย เขากล่าวต่อไปว่า แล้วหลังจากเขียนจดหมายก็ไปปราศรัยที่ราชประสงค์ ยืนยันว่ารรคเพื่อไทยเตรียมเข้ามาเป็นรัฐบาลวาระสำคัญคือนิรโทษกรรมกับคืนเงินให้ทักษิณ พอหลังจากนั้น 1 วันพรรคเพื่อไทยก็ออกแถลงการณ์ว่าพรรคประชาธิปัตย์คิดไปเอง เหมือนที่พี่น้องประชาชนคิดไปเองว่าของแพง “ออกแถลงการณ์ปฏิเสธแล้วหัวหน้าพรรคเพื่อไทยก็ไปดีเบตในเวทีกับผม บอกว่าเรื่องนี้ไม่ใช่นโยบายของพรรคเพื่อไทย จะไม่ทำ ถ้าทำต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการบริหารพรรค ผมถามพี่น้องประชาชนวันนี้ ผมเห็นพรรคเพื่อไทยมาทำเป็นประเด็นใหญ่เรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นในสภา ผมยอมรับครับว่าผมก็ไม่อยากให้ภาพอย่างนั้นเกิดขึ้นในสภา เราไม่อยากทำละครับ แต่ว่าที่ทำไปทั้งหมดผมบอกได้เลยว่ามันเกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่บีบค้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การประชุสภาพที่จะตัดสิทธิสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะอภิปรายตั้งคำถาม จะเสนอข้อคิดเห็นท้วงติงอะไรก็ไม่ได้ แม้แต่การขอให้ประธานสภาหรือรัฐสภาปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มันไม่เคยเกิดน่ะครับ “ผมจึงคิดว่าใครที่เห็นเหตุการณ์โดยตลอดแล้วเข้าใจว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ผมคิดว่าจะมีความเข้าใจการกระทำของสมาชิกของพรรคพมากขึ้น ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นผมยืนยันครับ พรรคประชาธิปัตยไม่ประสงค์ให้เป็นการเสียหายของสภาในฐานะสถาบัน เพราะสถาบันรัฐสภาต้องรักษาไว้ และผมยืนยันอีกครั้งเรามาวันนี้หรือเคลื่อนไหวครั้งนี้ไม่มีเรื่องไปเชื้อเชิญใครมาทำรัฐประหาร พรรคประชาธิปัตย์ไม่ที่แนวทางนั้นครับพี่น้องครับ “แต่ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นกับภาพลักษณ์ของพรรคปชป. ผมก็ต้องยอมรับและปฏิสํไม่ได้ เพราะเป็นการกระทำของคนของพรรคและใครจะด่าว่าผมอย่างรไผมก็ยอมรับถ้าว่พรรคเสียภาพลักษณ์แต่สกัดกั้นกฎหมายทำลายชาติได้พรรคก็ต้องยอม ผมต้องมาย้ำอีกครั้ง หลายท่านพูดไปความจริงค่อนข้างสมบูรณ์ว่าทำไมกฎหมายสี่ฉบับเป็นกฎหมายทำลายชาติ สี่ฉบับนั้น สามฉบับก็เสนอโดยคนของพรรคเพื่อไทยนั่นเอง หนึ่งฉบับแรกที่เสนอ เสนอโดยพลเอกสนธิ ร่างนี้ ถือว่าเป็นฉบับบังหน้า เอาคำว่าปรองดองมาบังหนาการล้างผิด เอาบิ๊กบังมาบังหน้าพรรคเพื่อไทย เนื้อหาสาระเป็นอย่างไรเดี๋ยวอธิบาย แต่ว่าฉบับบังหน้ามันไม่แนบเนียน เสนอมาแล้ว มีสมาชิกที่ลงชื่อเสนออยู่พรรคชาติไทยพัฒนา พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ให้สัมภาษณ์มาจากเมืองนอกว่าเซ็นชื่อนี่ไม่ได้เซ็นให้มาเสนอกฎหมายแบบนี้เพราะฉะนั้นปัญหานี้จะเป็นปัญหาใหญ่ต่อไปว่าการเสนอกฎหมายฉบับนี้มันถูกต้องหรือไม่ นั่นจึงคือที่มาของการเสนอกฎหมายฉบับที่สอง ของพรรคเพื่อไทยมีนายสามารถ แก้วมีชัยเป็นคนเซ็นชื่อคนแรก ปรากฏว่าฉบับนี้กับฉบับแรกเนื้อหาเหมือนกันคำต่อคำ ฉบับนี้คือฉบับสำรอง คือกลัวว่าฉบับแรกมีปัญหาก็เอาฉบับนี้แทน ส่วนฉบับที่สามเสนอโดยคุณนิยม วรปัญญา ชื่อว่าฉบับร่วมด้วยช่วยเสนอ เนื้อหาสาระก็อ่านแล้วก็ค่อนข้างสับสนแบบไปแนวเดียวกัน ส่วนฉบับสุดท้าย เสนอโดยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ฉบับนี้เดี๋ยวผมอธิบายชื่อว่าฉบับแก้เกี้ยวรับใช้นาย” จากนั้นนายอภิสิทธิ์ กล่าววิจารณ์เนื้อหาของการการนิรโทษกรรม ประเด็นแรกคือ การระบุว่า การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ตั้งแต่ปี 2548 มาจนถึงพฤษภาปีที่แล้ว เป็นการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองนั้นไม่ให้ถือว่าเป็นการกระทำความผิด ซึ่งรับได้ แต่ที่เป็นปัญหาคือ การขยายไปถึงความผิดต่อแผ่นดิน เช่น การเผาบ้านเผาเมือง การปล้นห้างสรรพสินค้า และว่า หาก พ.ร.บ.ดังกล่าวผ่าน จะทำให้ประเทศนี้ไม่มีกติกาในการต่อสู้ทางการเมือง ใครชนะก็ทำอะไรได้ทุกอย่าง “ ไอ้การกระทำที่ว่าเนี่ยครับ เขาบอกว่าเป็นการกระทำทั้งหลายของบุคคลที่เกิดจากการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง ก็คือการชุมนุมหรือทำอะไรก็ตามที่อ้างว่าเป็นการแสดงออกทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายการชุมนุม เป็นส่วนที่เบาที่สุดของกฎหมายนี้เพราะเวลาที่เหตุการณ์วุ่นวายผ่านไปจะไปไล่ดำเนินคดีกับคนทุกคนมันไม่เกิดประโยชน์ แต่หลังจากนั้นไม่หยุดแค่นั้นในอดีตเขาจะหยุดแค่นี้ว่าถ้ามาชุมนุมแล้วชุลมุนนิดหน่อย ยื้อยุดเจ้าหน้าที่บาดเจ็บเล็กน้อยก็ยกโทษกันไป แต่มันต่อเล็กน้อยว่าการกล่าววาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีใดเพื่อเรียกร้องให้มีการต่อต้านรัฐ หรือขัดขืนเจ้าหน้าที่รัฐ หรือการประท้วงด้วยวิธีใดๆ ที่แสดงทั้งบนเวที ที่คู่ขนานในการก่อเหตุในที่ตางๆ เช่น การบอกด้วยวาจา โฆษณาด้วยวิธีใด กุเรื่องโกหกกล่าวร้ายใครหรือแม่แต่หมิ่นสาถบันเบื้องสูง ถ้าทำไปเพื่อต่อต้านรัฐ ต่อสู้การดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐก็กลายเป็นไม่ต้องรับผิด ยอมได้ไหมครับแบบนี้ "ผมไม่เข้าใจว่าทำไมจะต้องไปบอกว่าการกระทำทั้งหลายที่เลวร้ายเหล่านี้ทุกประการไม่ต้องรับผิดทั้งๆ ที่บางกรณีกระทบกระเทือนกับจิตใจของคนทั้งประเทศ และที่เขียนว่าการประท้วงด้วยวิธีใดๆ นี่เป็นครั้งแรกที่เราไม่เคารพเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ คือถ้าชุมนุมเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญบอกว่าการชุมนุมต้องเป็นไปโดยสงบปราศจากอาวุธ แต่ถ้าประท้วงโดยวิธีใดๆ ยิงเอ็ม 79 ก็ได้ ยิงอาร์พีจีก็ได้ เผาศาลากลางก็ได้ เผาศูนย์การค้าก็ได้ ฆ่าคนก็ได้ แล้วเราจะมีกติกาไว้ในบ้านเมืองไว้ทำไม” ถามคนเสื้อแดง คิดดูให้ดี ถ้าประชาธิปัตย์ฆ่าประชาชน จะต่อต้านปรองดองทำไม “อยากให้คนเสื้อแดงฉุกคิดว่าใครฆ่าประชาชน ทำไมถ้าประชาธิปัตย์ฆ่าประชาชนขึงค้านกฎหมายฉบับนี้ แต่ทำไมทักษิณกับพวกอยากให้ผ่านกฎหมายฉบับนี้ ผมเคยบอกในสภาว่าให้ระวังให้ดีว่าหัวหน้าผู้ก่อการร้ายกับฆาตรกรนั้นคนๆ เดียวกัน “ผมกราบเรียนพี่น้องว่าที่เราไม่เห็นด้วยมันไม่ใช่เรื่องความอาฆาตมาดร้ายความผิดทั้งหลายที่ทำที่เขียนอยูนี่มันไม่ได้ทำกับผม ไม่ได้ทำกับคุณสุเทพไม่ได้ทำกับพรรคประชาธิปัตย์ในฐานที่เป็นพรรครัฐบาลขณะนั้นแต่เป็นความผิดต่อแผ่นดินทั้งสิน คุณชำนิถึงได้พูดเมื่อตอนเย็นไงครับว่าเมื่อเป็นความผิดต่อแผ่นดินต่อรัฐถ้าจะเสนอเรื่องนี้เป็นนโยบายกล้าๆ หน่อยๆ คนเป็นรัฐบาล คนเป็นนายกเซ็นเองสิครับ มันธุระอะไรของบิ๊กบัง มันธุระอะไรของส.ส. เพื่อไทย ส.ส. ชาติไทยพัฒนา "ความผิดต่อแผ่นดิน วันนี้รัฐบาลหัวหน้ารัฐบาลมีหน้าที่ต่อแผ่นดินคุณต้องตัดสินใจ ผมจึงอยากจะบอกว่าประการแรก เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องลืม-ไม่ลืม อาฆาต-ไม่อาฆาต แต่พวกเราทุกคนอาศัยแผ่นดินนี้อยู่ เกิดความเสียหายต่อแผ่นดินต้องปกป้องผลประโยชน์ต่อแผ่นดิน และใครมาทำความเสียหายจะยกโทษให้ต้องมีเหตุอย่างชัดเจน ผมเคยบอก ผมเคยพูดมาตลอดถ้าผิดเล็กน้อยหรือเพื่ออุดมการณ์เข้าใจได้ แต่ไม่ใช่ฆ่าคนลักทรัพย์เผาบ้านเผาเมืองก่อการร้าย ทำลายสถานที่สำคัญของประเทศ หมิ่นเบื้องสูงเพราะถ้าใช้มาตรฐานมันจะสิ้นสุดที่ไหน "ผมถึงแปลกใจเวลาชาวบ้านที่เป็นคนทั่วไปมาตำหนิส.ส. ปชป. ที่ทำเกินเลยไปในสภา ผมยังเข้าใจได้ แต่คนที่ไม่มีสิทธิพูดเลยคือพรรคเพื่อไทย ทำไมละครับ เพราะการกระทำของคุณรังสิมา การกระทำของหมอวรงค์ไม่มีเรื่องส่วนตัว เท่าที่ผมทราบคุณรังสิมาไม่มีอะไรโกรธเคืองเป็นการส่วนตัวกับเก้าอี้ของประธานสภา แต่ว่าก็ทำไปเพราะเป็นการแสดงออกทางการเมืองเหมือนกันเพราฉะะนั้นผมจึงถามว่าพวกคุณมีสิทธิมาเรียกร้องอะไรบอกให้ขอโทษ ให้นายอภิสิทธิ์ลาออก พวกคุณทำถึงขั้นเผาบ้านเผาเมืองก่อการร้ายจราจล แล้วยังยอมรับว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายแล้ว วันนี้ยังหน้าไม่อายมาเสนอนิรโทษกรรมพวกตัวเอง” “คนที่ขโมยของที่เซ็นทรัลเวิร์ลด์ วันข้างหน้า การต่อสู้ทางการเมืองมีกติกาเดียวคือใครชนะคนน้นทำได้ทุกอย่าง ต่อไปใครจะชกต่อยใครก็บยอกว่าไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ไม่ชอบกันทางการเมือง ไปทำอะไรกับพวกหนังสือพิมพ์ที่รับใช้ทักษิณก็บอกไม่มีอะไรเป็นเรื่องส่วนตัว แต่เป็นเรื่องการเมือง นี่เป็นกฎหมายที่อันตรายมาก อันตรายอย่างยิ่งเพราะเท่ากับว่าต่อไปนี้ไม่มีอะไรทีเป็นกติกากับการต่อสู้ทางการเมือง ปล้นแบงก์ไม่ได้อยากได้เงินแต่ต่อต้านทุนนิยม ผมถึงบอกว่ามันไม่ใช่คุณจะต่อสู้ทางการเมือง คุณก็เองอยู่ภายใต้กติกากฎหมายรัฐธรรมนูญ ถ้าไม่ใช่ก็คือเรากำลังทำลายระบบนิติรัฐ นิติธรรมและระบอบประชาธิปไตย บอกผู้สนับสนุนอย่างตายใจ เรียกร้องรัฐบาลปิดสมัยประชุมสภาเดี๋ยวนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญ 2550 ว่าหากอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเป็นพิษย่อมให้ผลที่เป็นพิษ ถ้าเช่นนั้นรัฐบาลที่ชนะการเลือกตั้งก็ย่อมต้องเป็นพิษ แล้วจะอยู่กันอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงกรณีที่ตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้สภาผู้แทนราษฎรระงับการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนว่าอาจจะมีคนชอบใจหรือไม่ชอบใจ แต่ถามว่าการระงับไว้ก่อนสร้างความเดือดร้อนไหม กระทบปากท้องประชาชนไหม “ผมเห็นคลั่งอยู่คนเดียวคือที่อยู่ที่ดูไบ โทรมากล่าวหารุนแรงว่าศาลรธน. จะปล้นอำนาจ ก็โชคดีว่าเงื่อนไขความขัดแย้งนั้นถูกพักไว้ก่อน แต่เรื่องกฎหมาย 4 ฉบับ ต้องบอกว่า อย่าตายใจ” จากนั้นได้เรียกร้องนายกยิ่งลักษณ์ต้องเสนอพระราชกฤษฎีกาปิดสมัยประชุมเดี๋ยวนี้ และรอเปิดสภาอีกทีในเดือนสิงหาคม เพื่ออภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่ถ้ายังไม่เปิดสมัยประชุม ก็อย่าไว้วางใจ ย้ำบ้านเมืองต้องมีขื่อแป ปฏิวัติหลายครั้งไม่เคยมีแนวคิดล้มล้างอำนาจตุลาการ สุดท้ายเขากล่าวว่า การสร้างกระแสของแกนนำเสื้อแดงให้ระวังการปฏิวัตินั้นเป็นเรื่องผิดปกติ และนายจตุพร พรหมพันธ์กล่าวว่าจะมีการอุ้มนายกหายไป โดยเขาบอกว่าไม่เชื่อ เพราะ 1 ปีที่ผ่านมา นายกหายไปหนเดียว คือ ว. 5 โฟร์ซีซั่น แต่เขาเห็นว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือจะมีการสร้างเงื่อนไขเพื่อล้างผิดให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรคนเดียว ทั้งนี้ เขาย้ำว่าประชาธิปัตย์เป็นนักประชาธิปไตยต้องการให้บ้านเมือง ระบบสภา และประชาธิปไตย เดินหน้า และเริ่มต้นที่นักการเมืองต้องไม่สร้างเงื่อนไข และแม้จะมีการรัฐประหารหลายครั้งก็ไม่เคยมีการล้มล้างอำนาจตุลาการเช่นที่กำลังเกิดขึ้น “แต่ความเลวร้ายจากการรัฐประหารที่เคยเกิดขึ้นหลายยุคหลายสมัยฉีกรัฐธรรมนูญล้มรัฐบาล แต่ไม่เคยมีการคิดล้มล้างอำนาจตุลาการ แต่กฎหมาย 4 ฉบับที่พูดถึงอยู่นี้ ไม่ใช่การรัฐประหาร แต่เป็นการประหารรัฐ เหมือนหนึ่งบ้านเมืองไม่มีขื่อมีแป บ้านเมืองไม่มีกฎหมายบ้านเมืองขึ้นอยู่กับอำเภอใจของคนมีอำนาจ และถ้าเรามีบ้านเมืองอย่างนี้อนาคตของประเทศ อนาคตของลูกหลายมืดมน ผมจึงต้องย้ำกับพี่น้องว่า การต่อสู้ของพี่น้องทุกคนในวันนี้เป็นการต่อสู้ที่มีความสำคัญ ไม่มีเรื่องผลประโยชน์ของพวกเราเองเลย ไม่มีเรื่องไปแย่งชิงอำนาจเลย เราขอเพียงว่าคนมีอำนาจอย่าลุแก่อำนาจทำลายชาติบ้านเมืองและอนาคต วันนี้ จึงเป็นเพียงช่วงเริ่มต้นเท่านั้นของการต่อสู้พวกเราทุกคนต้องเหนื่อยอีกมากและหลายคนที่ขึ้นมาพูดบนเวทีนี้ได้ให้กำลังใจกับพี่น้องทุกคน ผมก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ขอให้กำลังใจพี่น้องที่จะต่อสู้เพื่อความถูกต้องและผมจะยืนยันว่าพรรคปชป. จะก้าวเดินไปกับพี่น้องในการต่อต้านกฎหมายทำลายชาติฉบับนี้ ยืนยันคำเดิมไม่นิรโทษกรรมคนจงใจทำผิดทางอาญา ไม่คืนทรัพย์สินให้ทักษิณ สี่หมื่นหกพันล้าน พี่น้องสู้ไม่สู้ สู้ไม่สู้ สู้ไม่สู้ ถ้าพี่น้องสู้ประชาธิปัตย์จะสู้กับพี่น้อง ขอขอบคุณครับ” นายอภิสิทธิ์ กล่าวส่งท้ายกับประชาชน จากนั้นเวทีปราศรัยจึงจะยุติลง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เลือกตั้งซ่อมเชียงใหม่ เพื่อไทยชนะประชาธิปัตย์ Posted: 02 Jun 2012 05:24 AM PDT ผลคะแนนเลือกตั้งซ่อม สส. เชียงใหม่ อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อไทยชนะขาดทิ้งห่างประชาธิปัตย์ 2 มิ.ย. 55 - โพสต์ทูเดย์รายงานว่าผลการนับคะแนนเลือกตั้งซ่อม สส. เขต 3 จ.เชียงใหม่ อย่างไม่เป็นทางการของหลายหน่วยเลือกตั้ง ปรากฎว่า นายเกษม นิมมลรัตน์ ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย ยังมีคะแนนนำ นางกัลยากรณ์ เจียมกิจวัฒนา ผู้สมัครจาก พรรคประชาธิปัตย์ ทิ้งห่างกว่า 50,000คะแนน โดยเมื่อเวลา ประมาณ 18.00 น. คะแนนอย่างไม่เป็นทางการจากวิทยุสื่อสารของตำรวจ แจ้งว่า คะแนน ที่นำเป็นอันดับ 1 ตอนนี้คือ พรรคเพื่อไทย โดยมีคะแนน 71,782 คะแนน ส่วนคะแนน ของพรรคประชาธิปัตย์นั้น มีคะแนน 18,685 คะแนน ทิ้งห่างกว่า 50,000 และอันดับ3 เป็น พรรคเพื่อแผ่นดิน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
"ทักษิณ" โฟนอินเผยอ่านบทความ "สมศักดิ์" ขอแดงอย่าแตกแยก เตรียมรับมือสถานการณ์ไม่ปกติ Posted: 02 Jun 2012 04:53 AM PDT "ทักษิณ" โฟนอินขอโทษ"เสื้อแดง" ลั่นไม่คิดย่ำยี เผยอ่านบทความ "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" ยอมรับหลายสิ่งที่พูดเป็นเรื่องที่จริงบางเรื่องก็พุดไม่ได้ วอนเสื้อแดงอย่าแตกแยกกับพรรคเพื่อไทย เตรียมรับมือสถานการณ์ไม่ปกติ 2 มิ.ย. 55 - มติชนออนไลน์รายงานว่าที่ ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี ระหว่างการจัดงาน "ครึ่งทศวรรษ ความจริงวันนี้" เมื่อเวลา 16.50 น. วันที่ 2 มิถุนายน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โฟนอินสดข้ามประเทศ มายังเวทีรายการ พูดคุยกับกลุ่มแนวร่วมประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ท่ามกลางการต้อนรับของ นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำนปช. ผู้ดำเนินรายการความจริงวันนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ โฟนอินสวัสดี พี่น้องคนเสื้อแดง พร้อมระบุ วันนี้สัญญาณไม่ดี ไม่รู้เป็นอะไร มีแต่เสียง อุตส่าห์แต่งตัวหล่อ จะไปโชว์ ที่เมืองไทยให้พี่น้องเสื้อแดงได้เห็นว่า ยังสบายดีอยู่ หลังจากโดนแล้วโดนอีก พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวกับนายณัฐวุฒิ อย่าเป็นหมูให้เขาหลอก แต่บางทีก็ต้องร้องเพลง ถึงเขาหลอกก็เต็มใจให้หลอก... บางทีบางครั้งก็โง่จริงบ้าง โง่ปลอมบ้าง ก็ว่ากันไป พร้อมบอกว่า พยายามลดโทนให้ไม่เครียดเกินไป กำลังฝึกอยู่ ถ้าได้กลับเมืองไทย ไม่ว่าจะได้กลับตอนไหนตอน 85 หรือตอน 63 ก็ไม่รู้ ยังไงก็ต้องกลับ นอกจากนี้ อดีตนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวแบบอารมณ์ดีว่า วันนี้อยากจะใช้คำพูดเบาๆ แบบอารมณ์ดีบ้าง เพราะวันก่อนมีคนท้วงว่า อารมณ์เสียเกินไป และเห็นโน้ส อุดม ออกเดี่ยวมาหลายรอบแล้ว ก็อยากจะออกแฝดบ้าง เป็นโน้สกับแม้ว ก่อนจะเข้าเนื้อหาโฟนอิน ดังนี้ "คนร้ายเวลาทำแผนประทุษกรรมเหมือนๆ กันหมด เวลานี้แผนประทุษกรรมเหมือนกันมากสมัยล้มผม มาตอนนี้เริ่มอาการออกแล้ว แต่วันนั้นต้องอ่านหนังสือแบบเรียนเรื่องเรณูปัญญา ตอนนั้นคนเรายังโง่อยู่ แต่วันนี้ไม่โง่แล้วนะครับ วันนี้รู้แล้วอะไรเป็นอะไร กระบวนการโค่นอำนาจประชาชนเริ่มอีกแล้ว เมื่อวานนี้ (1 มิ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน...ถ้าคนเข้าใจกฎหมาย จะรู้ว่าระเบียบต้องอ่อนกว่ากฎหมาย กฎหมายจะเหนือกว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้เพราะเป็นกฎหมายสูงสุด รองจากกฎหมาย เป็นกฤษฎีกา ซึ่งก็ต้องออกตามกฎหมาย ออกนอกกฎหมายไม่ได้ ระเบียบก็ต้องออกตามกฤษฎีกา หรือกฎหมายนั้นๆ แต่วันนี้เอาระเบียบมาอยู่เหนือกฎหมาย วันนี้กติการบ้านเมืองไม่เหลือแล้ว คนรักษากฎกติกาขาดคุณธรรมมันถึงได้เป็นอย่างนี้จะใช้สองมาตรฐาน มันถึงไม่มีทางเลิกแตกแยกกันได้ ตราบใดที่กระบวนการไม่มีคุณธรรมในการรักษากติการับรองเลยว่าความแตกแยกบ้านเมืองจะเลวร้ายมากขึ้น เราก็คิดว่า ขนาดมีนายกฯ ผู้หญิง (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ไม่ทะเลาะกับใคร ขนาดคนที่มีความเป็นผู้ชายแต่เป็นผู้หญิงมากกว่าชวนทะเลาะ ยังไม่ทะเลาะด้วยก็คิดว่าบ้านเมืองจะสงบสักที แต่ปรากฎว่าไม่สงบ เพราะไม่ถูกใจ ถ้าขืนยังเล่นกันอย่างนี้ กระบวนการโค่นอำนาจ ก็ต้องบอกประชาชนว่าเราจะปล่อยให้โค่นหรือ อำนาจของประชาชนเป็นอำนาจสูงสุด ขอให้ช่วยกันดู สภาฯก็ต้องพิจารณาว่า ตกลงจะยอมรับอำนาจที่ไม่มีอำนาจหรือเปล่า ต้องไปหารือ พี่น้องความขัดแย้งในบ้านเมืองนึกว่าจะจบทำยังไงดี อุตส่าห์กลืนเลือดคนละหยด สองหยด คนละปี๊บ สองปี๊บ หวังจะมีการปรองดองในเมืองไทย แต่เห็นภาพในสภาฯ กระชากเก้าอี้ เริ่มตั้งรัฐธรรมนูญแล้ว ก็แปรญัตติไม่มีอะไรกลัวทักษิณ กลัวผีทักษิณยังไม่ทันตาย ไม่รู้เป็นอะไร มาถึงกฎหมายปรองดอง ทีนี้ลากเก้าอี้ประธานเลย ไม่รู้พรรคประชาธิปัตย์จะเปลี่ยนชื่อเลย วันนี้รัฐบาลเพื่อไทยกำลังตั้งใจทำงานไปสร้างความเชื่อมั่นในประเทศต่างประเทศเต็มที่ เศรษฐกิจเริ่มฟื้น มีการปล่อยข่าวเรื่องปฏิวัติเล่นๆ เผื่อมีความขัดแย้ง วันนี้ เราไว้ใจอะไรไม่ได้เพราะกติกาไม่เป็นกติกา คนรักษากติกา ไม่มีคุณธรรม ไม่รักษากติกา พรรคเพื่อไทยถือว่า การทำร้ายนักการเมืองพรรคเพื่อไทย ความจริงแล้วมันส่งผ่านเป็นการทำร้ายประชาชน เพราะพรรคเพื่อไทยเป็นตัวแทนประชาชน เป็นตัวแทนที่ประชาชนเลือกมา ตามระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเลือกมาด้วยเสียงส่วนใหญ่ แต่เขามาทำอำนาจแทนประชาชน การลงโทษแบบนี้ คือการทำร้ายประชาชน โครงการต่างๆของรัฐบาลกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี ประชาชนกำลังกินดีอยู่ดี เงินกำลังสู่ระบบ ทั้งจำนำข้าว รถคันแรก บ้านหลังแรก เครดิตการ์ดเกษตรกร ค่าแรงงาน 300 บาทเริ่มแล้ว ทุกอย่างกำลังดำเนินไป พวกนี้ออกมาเพ่นพ่านอีกแล้ว เพราะฉะนั้นพี่น้อง เรารักษากฎหมาย เป็นกฎหมาย กติกาต้องเป็นกติกา เกมการเมืองวันนี้ ถ้าเราเล่นเกมในรูปแบบเพราะประชาชนเลือกมา แต่เกมนอกรูปแบบเราไม่มีตัวช่วย เราต้องเล่นเกมที่ถูกต้องตามกติกา ตามหลักสากล เราไม่เล่นมวยวัด เราไม่มีตัวช่วยเรา ทำผิดให้เป็นถูก เราต้องปฏิบัติตามกติกาเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นเราจะเหนื่อย หวังว่า เจ้าหน้าที่รัฐ รัฐมนตรีทั้งหลายต้องทำหน้าที่โดยเคร่งครัด ตามกติกา ไม่มีหย่อน วันนี้พรรคประชาธิปัตย์ ประกาศดับเครื่องชน พูดอยู่คำเดียว 46,000 ล้าน พี่น้องครับ ต้องไปถามพล.ต.จำลอง (ศรีเมือง แกนนำ พันธมิตรฯ) ที่มายืนประท้วงผม วันที่มาเชิญไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พรรคพลังธรรม เมื่อปี 2537 เมื่อ 18 ปีที่แล้ว วันนั้นผมประกาศมีทรัพย์สินอยู่ 46,000 ล้าน ผมมีตังค์ ค้าขายรวยมาก่อน ไม่ใช่เป็นคนที่ไปต้มใครมาก่อน แล้วมาเป็นนักการเมืองมีตังค์ เด็กรุ่นหลังคิดว่ามารวยตอนเข้าการเมือง ผมมาเข้าการเมืองมีแต่เงินหายไป เงิน 46,000 ล้านเป็นเงินที่ไม่ได้ปล้นใครมา แต่เขาปล้นผมไป ต้องการให้เข้าใจว่าเป็นเงินของผม ของครอบครัว ที่ถูกขโมยไป ปล้นไป ผมทำมาหากินมาก่อน ประชาธิปัตย์ดับเครื่องชน เล่นทั้งในสภา และนอกสภาฯ ตกลงเป็นพรรคที่ถูกต้องตามกฏหมายจริงๆ หรือเปล่า ไม่แน่ใจว่า พรรคที่มีอายุ 60 ปี ทำไมเล่นการเมืองแบบนี้ ในสภาฯ ไม่เคยมีภาพที่น่าเกลียดแบบนี้ในประเทศไทย ก็เพิ่งมามีคราวนี้ กระทำโดยพรรคที่เก่าแก่ที่สุดของไทย และวันนั้น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ไปรอพบอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านในพม่า นึกว่า อองซาน ซูจี จะสอนว่าต้องอดทนนะ กว่าจะได้ประชาธิปไตย ไม่ใช่ถึงเวลาเลือกตั้งแล้วได้เสียงข้างน้อยก็ต้องให้ทหารมาช่วย ให้เป็นนายกรัฐมนตรีมันไม่ถูก แต่คราวนี้คงไม่ง่ายแล้ว เพราะประยุทธ์ (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก) จบ จปร. 5 ปี ไม่เหมือนกับอนุพงศ์ (พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา อดีต ผบ.ทบ.) จบจปร.แค่ 3 ปี แล้วไปต่อปริญญาตรีที่ ม.รามคำแหง ถึงไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะฉะนั้น ประยุทธ์ ฉลาดกว่า คงไม่ทำอะไรในสิ่งที่ไม่ถูกต้องนัก ผมคงจะต้องพูดอีกทีหนึ่ง ได้ข่าวว่า พี่น้องเสื้อแดงบางคนโกรธผม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ขอประทานโทษ ไหว้อย่างงามๆ เลย ว่า ไม่เคยคิดย่ำยีพี่น้องคนเสื้อแดงเลย วันนั้นสัญญาณไม่ค่อยดี เพราะผมไปอยู่บ้านนอกของประเทศจีน สัญญาณมือถือขาดๆ หายๆ เลยพุดไม่ครบทุกประเด็น จริงๆ อยากจะบอกว่า ผมเป็นคนรู้สำนึกในบุญคุณพี่น้องเสื้อแดง ไม่เคยทอดทิ้ง ไม่เคยลืม วันนี้ก็ส่งคนไปคอยดูแลตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็น การเยี่ยมเยียนผู้ต้องขังคดี พยายามจะช่วยทุกคน อาจจะทั่วถึงบ้าง ไม่ทั่วถึงบ้าง ก็ต้องอาศัยแกนนำด้วย ผมสนับสนุน สั่งการช่วยเหลือทุกอย่าง หวังว่าพี่น้องคนเสื้อแดง เราหัวใจเดียวกัน เราไม่ทิ้ง ไม่ลืมกันเด็ดขาด แต่วันนี้ที่พูดถึงปรองดองอยากเห็นบ้านเมืองเดินหน้าได้ ไม่ใช่ว่าได้ดิบได้ดีอะไร เราเห็นแล้วว่า พี่น้องติดคุก โดนคดีอยู่ 5 พันกว่าคน ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญบอกว่า คดีอาญาต้องให้ประกันตัว แต่ศาลสุดท้ายก็ไม่ได้ประกัน หลายคนถูกจำคุกทั้งที่ไม่ผิด คดีอากงเป็นตัวอย่าง สิ่งนี้ทำให่พวกเราช้ำกันพอสมควร เราต้องไม่ทะเลาะกันเอง ไม่น้อยใจกันเอง หนักนิดเบาหน่อย ขอให้บอกเลยว่า ผมไม่เคยทอดทิ้ง พี่น้องครับ ผมได้อ่านบทความของอาจารย์สมศักดิ์ (สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ) ต้องขอบคุณ อ่านแล้ว ยอมรับ หลายสิ่งที่พูดเป็นเรื่องที่จริง บางเรื่องก็พุดไม่ได้ แต่ผมก็ขอบคุณในความห่วงใยและปรารถนาดี วันนี้เราต้องช่วยกันเอาประชาธิปไตยกลับสู่ประเทศไทยให้ได้ ถึงแม้จะมีนักไม่ใช่ประชาธิปไตยทั้งหลาย หรือบางคนเป็นนักเลือกตั้ง ก็มี วันนี้เราต้องฝ่าตรงนี้ ให้เกิดประชาธิปไตยให้ได้ อองซาน ซูจี ยังพูดเลยว่า การปฏิรูปเข้าสู่ประชาธิปไตยต้องเดินหน้าอย่างเดียว ถอยหลังไม่ได้ แต่ผมกลัวประเทศไทยจะถอยหลังอย่างเดียวหรือเปล่า เป็นบาปกรรมอะไรหรือเปล่า พอพม่าพ้นเราจะเป็นหรือเปล่า ขอให้อย่าเป็นอย่างนั้นเลย ขอให้เห็นใจพี่น้องคนไทยเถอะ เพราะคนไทยเป็นคนที่รักษาเสรีภาพ มีสันติ ประชาธิปไตยเท่านั้นที่รักษากฎกติกา และคนที่รักษากติกา จะทำให้ประเทศเราก้าวหน้าได้ อยากเห็นประชาธิปไตยได้รับการผลักดัน พวกเราเป็นนักสู้ประชาธิปไตย เราจะไม่ถอย แม้จะเจ็บปวดกันบ้าง รับรองว่า เที่ยวนี้ความสามัคคีพวกเราจะเป็นปึกแผ่น เราจะประสานงาน เราจะพูดคุยกัน กำลังตั้งใจว่า กลับบ้าน จะทำอะไรที่ตอบแทนเสื้อแดง ที่เป็นคนน่ารัก เป็นคนรักประชาธิปไตย รักประชาธิปไตย นั่นคิดเรื่องเดียว ไม่ได้คิดเรื่องอื่นเลย ตอนนี้อยากจะพูดอะไรให้พี่น้องสบาย ใจ มีความสดชื่น พร้อมบอกว่ารักและคิดถึงพี่น้องเสื้อแดงทุกคน ภายหลังจากที่พ.ต.ท.ทักษิณ โฟนอินจบ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ บอกว่า ฝ่ายตรงข้ามพยายามให้คนเสื้อแดงกับพ.ต.ท.ทักษิณห่างกัน ตนก็เลยอยากประกาศว่า "เขาผลักทักษิณ เราจะกอดทักษิณเอาไว้ เขาจะไล่ทักษิณออกไป เราจะเอาทักษิณกลับมา เขาเกลียดทักษิณ เราก็จะบอกว่าเรารักทักษิณ เขาอาจจะคิดว่าเรารู้ว่าซ่อนอยู่ตรงไหน เราก็บอกว่า เรารู้ว่าไผเป็นไผ" ซึ่งได้รับเสียงเฮและเสียงปรบมือจากคนเสื้อแดงอย่างล้นหลามอย่างมาก คลิปทักษิณโฟนอินวันที่ 2 มิ.ย. 55 โดย reduniverse reduniverse ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เลขาธิการสมาพันธ์นศ.ยะลาถูกควบคุมตัว ล่าสุดปล่อยตัวแล้วแต่ยังคุมตัวไว้อีกหนึ่ง Posted: 02 Jun 2012 04:27 AM PDT เลขาธิการสมาพันธ์นศ.ยะลาพร้อมกับเพื่อนอีกสองราย ถูกควบคุมตัวหลังจากถูกทหารบุกค้นที่พัก ล่าสุด เลขาฯ และเพื่อนถูกปล่อยตัวแล้ว แต่อีกคนยังถูกควบคุมอยู่ในค่ายทหารพรานยะลา 2 มิ.ย. 55 - มีรายงานว่า เมื่อค่ำวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (31 พ.ค) เลขาธิการสมาพันธ์นักศึกษายะลา นายซะการีย์ เป๊ะ นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายราชภัฎยะลา ถูกทหารจากหน่วยเฉพาะกิจ 11 จังหวัดยะลา บุกค้นที่พักพร้อมควบคุมตัวพร้อมกับเพื่อนนักศึกษาอีกสองคน โดยล่าสุดนายซะการีย์และเพื่อนได้รับการปล่อยตัวแล้วเมื่อตอนเย็นของวันศุกร์ ส่วนอีกหนึ่งคนยังถูกควบคุมตัวอยู่ที่ค่ายทหารพรานที่ 41 บ้านวังพญา นายอิสมาแอ๊ะ เตะ เลขานุการเครือข่ายส่งเสริมสิทธิและเข้าถึงความยุติธรรม เจ้าหน้าที่ที่ทำงานเรื่องสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ ให้สัมภาษณ์ว่า ในขณะเกิดเหตุ มีทหารราว 4 คันรถ เดินทางมายังหอพักบริเวณใกล้มหาวิทยาลัย และเข้าบุกค้นห้องพักนักศึกษา โดยใช้กฎอัยการศึก และพ.ร.ก. ฉุกเฉิน เพื่อเชิญตัวนักศึกษาทั้งสามคนไปสอบปากคำ โดยอ้างว่าเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง โดยเขามองว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับการจัดงานวันกาชาดในอำเภอเมือง จังหวัดยะลา ที่มีขึ้นระหว่างวันที่ 25 พ.ค. -4 มิ.ย. ทั้งนี้ เขาตั้งข้อสังเกตว่า หมายจับที่ออกตามพ.ร.ก. ฉุกเฉิน ออกมาตั้งแต่ปี 2551 แล้ว ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทางเฟซบุ๊กของสมาพันธ์นักศึกษาจังหวัดยะลา ได้เผยแพร่รูปถ่ายของกลุ่มนักศึกษาซึ่งเดินทางไปยังหน่วยเฉพาะกิจยะลา 11 เพื่อทักท้วงการจับกุมดังกล่าวด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
งดประชุมรัฐสภา-สภาฯ 5-7 มิ.ย. พธม.ประกาศเลื่อนชุมนุมตาม Posted: 02 Jun 2012 04:20 AM PDT 2 มิ.ย. 55 - นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 เปิดเผยว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ตัดสินใจสั่งงดการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 5 มิถุนายน และงดการประชุมสภาฯ วันที่ 6-7 มิถุนายน เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ “ผมจะนัดประชุมตัวแทนฝ่ายค้านและรัฐบาล วันอังคารที่ 5 มิถุนายน เพื่อหาทางออก โดยหากประเด็นร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ยังมีปัญหา ก็อาจหยิบยกร่างกฎหมายอื่นๆ มาพิจารณาก่อน” ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การที่ประธานสภาฯ สั่งงดการประชุมดังกล่าวว่าถือเป็นการลดความกดดัน ดังนั้น ถ้าจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ช้าหรือเร็ว ก็ไม่ใช่ปัญหา แต่จะให้ ส.ส. ไปทำความเข้าใจกับประชาชน โดยย้ำว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับการคืนเงิน 4.6 หมื่นล้านบาทให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และยืนยันว่า ไม่ได้เร่งรัดเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว พธม.ประกาศเลื่อนชุมนุมหลัง "สมศักดิ์" สั่งงดประชุมสภา 5-7 มิ.ย. แต่ให้พร้อมมาทันทีที่มีแถลงการณ์ โดยหลังจากที่นายนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนฯ ตัดสินใจมีคำสั่งงดการประชุมสภาฯในวันที่ 5-7 มิถุนายนนี้ เนื่องจากเกรงปัญหาการชุมนุมของกลุ่มพันธมติรและกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆจะบานปลาย และจากการกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญให้สภาชะลอการพิจารณายกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 2 มิถุนายน 2555 แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 5/2555 เห็นควรให้เลื่อนการชุมนุมออกไปก่อน แต่ยังขอให้ผู้ชุมนุมพันธมิตรเตรียมความพร้อมเฝ้าระวังในที่ตั้ง และพร้อมเคลื่อนมวลชนโดยทันทีที่มีแถลงการณ์ ทั้งนี้โดยเนื้อหาของแถลงการณ์ดังกล่าวมีดังนี้ ตามที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 4/2555 เรื่องคัดค้านกฎหมายล้างผิดให้กับระบอบทักษิณ ลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยกำหนดให้นัดหมายในการปรับระดับการชุมนุมโดยให้พี่น้องประชาชนมาชุมนุมแบบปักหลักพักค้างที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป และพร้อมเคลื่อนย้ายมวลชนไปทุกที่ตามสถานการณ์ที่เหมาะสมต่อไปนั้น บัดนี้ได้ปรากฏว่าประธานสภารัฐสภาได้สั่งงดการประชุมสภาร่วมในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 และให้งดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 6-7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยแจ้งให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านให้ทราบแล้ว แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีความเห็นว่าการงดการประชุมสภาร่วมและการงดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรระหว่างวันที่ 6-7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 นั้น มาจากสาเหตุ 3 ประการคือ ประการแรก เป็นผลมาจากความสำเร็จในการสำแดงพลังการเคลื่อนไหวกดดันของพี่น้องประชาชนผู้เข้าร่วมการชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในช่วงระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา ประการที่สอง เป็นผลมาจากแรงกดดันจากแถลงการณ์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยฉบับที่ 4/2555 ที่จะชุมนุมแบบปักหลักพักค้างที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ประการที่สาม เป็นผลมาจากการรับคำร้องของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในกรณีที่นักการเมืองกระทำการฉีกล้มล้างรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่มาจากการลงประชามติด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ย่อมแสดงให้เห็นว่าหากทุกองค์กรที่มีหน้าที่ได้กระทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพจะสามารถหยุดยั้งไม่ให้เกิดวิกฤติการณ์ในบ้านเมืองนี้ได้ อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยยังไม่มีกำหนดชัดเจนในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไปเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาตินั้น ทำให้ไม่สามารถไว้วางใจสถานการณ์ได้ว่าจะมีการพิจารณาเพื่อออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับผู้กระทำความผิดทุจริต ทำลายบ้านเมืองอีกเมื่อใด ดังนั้นพันธมิตรประชาชนเพื่อพระประชาธิปไตยจึงเห็นสมควรกำหนดแนวทางการเคลื่อนไหวต่อไปดังต่อไปนี้ 1. เห็นควรให้เลื่อนการชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ออกไปก่อน 2. ขอให้พี่น้องประชาชนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและประชาชนชาวไทยผู้รักชาติ เตรียมความพร้อมเฝ้าระวังในที่ตั้ง และสร้างกิจกรรมและพร้อมเคลื่อนมวลชนโดยทันทีที่มีแถลงการณ์ของแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: สำนักข่าวไทย, มติชนออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Unseen Thailand ว่าด้วยนักโทษการเมือง...มนุษย์ล่องหนของคนอื่นๆ Posted: 02 Jun 2012 03:40 AM PDT ภาพโปรไฟล์ของเพื่อนบางคนในเฟซบุ๊กหายไปและเหลือไว้แต่รอยสีขาวๆ กระตุ้นต่อมอยากรู้ มันเล่นอะไร? นี่เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมศิลปะ "เรื่องเล่าของมนุษย์ล่องหน" โดยผู้จัดได้ชวนให้ผู้ที่สนใจ เปลี่ยนรูปโปรไฟล์เป็นมนุษย์ล่องหน "เรื่องราวของนักโทษการเมือง กลุ่มคนที่อยู่ใจกลางความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งเป็นปัญหาร่วมสมัยในสังคมไทยในปัจจุบัน เรื่องราวของคนกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นเสมือน "ต้นทุน" ที่สังคมไทยต้องแลกให้ได้มาซึ่งระบบการเมืองที่พึงปรารถนาของคนส่วนใหญ่ กลับไม่ได้รับการพูดถึงและสุ่มเสี่ยงต่อการถูกลืมเลือนไปในฐานะอุบัติเหตุทางประวัติศาสตร์ที่ไม่ควรค่าต่อความทรงจำ "เส้นทางของ "พวกเขา" และ "พวกเรา" อาจจะเคยทับซ้อนกัน ณ จุดใดจุดหนึ่งหรืออาจจะขนานกันอย่างที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อนก็เป็นได้" คำบรรยายบนหน้ากิจกรรมในเฟซบุ๊กระบุไว้ กิจกรรมนี้จะมีขึ้นในวันที่ 2-22 มิ.ย.นี้ ที่ Book Republic, แกลเลอรี See Scape, แยกฟ้าธานี ถนนศิริมังคลาจารย์ และอีกหลายๆ จุดในเมืองเชียงใหม่ เด็ด จงมั่นคง หนึ่งในผู้ร่วมจัดบอกว่า ไอเดียเริ่มแรกมาจากเกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร นักวิชาการกลุ่มทุนนิยาม และ Emily Hong นักกิจกรรม ที่ชวนกันจัดงานศิลปะเกี่ยวกับนักโทษการเมืองที่ถูกคนในสังคมเหยียบย่ำ ซ้ำเติมและตัดขาด ในฐานะผู้ร่วมจัด เด็ดบอกว่า ประเด็นเรื่องกฎหมายอาญา มาตรา 112 เรื่องนักโทษการเมือง มีหลายคนที่หยิบมาพูดถึงแล้วในหลายทาง เขาซึ่งคุ้นเคยกับงานด้านวัฒนธรรม ก็อยากลองพูดมันจากมุมนี้บ้าง ทำหลายๆ ทางเหมือนป่าล้อมเมือง เบื้องต้น หวังเพียงอยากให้คนที่ไม่เคยได้รับรู้เรื่องนี้ได้รู้ ได้เห็น หรือตั้งคำถามว่า นักโทษการเมืองคืออะไร ผลของมันอาจไม่เกิดเร็วๆ นี้และเป็นสิ่งที่ยากจะเกิดขึ้น แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะไม่ทำ เด็ดบอก ---ทดลอง--- ที่ Book Re: Public เขาลองเอางานศิลปะแบบที่ต้องตีความไปให้ไกลมาจัดวาง ขณะที่เลือกเอาภาพถ่ายที่สะท้อน "ความจริงในสังคม" ไปวางในอาร์ตแกลลอรี่ ที่ที่ไม่ค่อยมีใครพูดเรื่องนี้กันนัก เด็ดบอกว่า ถ้ามันอยู่สลับที่กัน จะเป็นสิ่งที่คุ้นเคยกว่า แต่เขาอยากทดลอง เช่นเดียวกับการจัดฉายภาพเคลื่อนไหวที่ริมถนนที่ผู้คนเดินไปมาขวักไขว่ "จะทดลองว่าจะสื่อสารกับคนได้ไหม" เขาบอก
////////////////////////////////////////// ((((รายละเอียดกิจกรรม)))) เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ วันที่ 2 -22 มิถุนายน 2555 ที่ร้าน Book Republic และ See Scape Galley ตารางกิจกรรม พร้อมกับรับชมงานศิลปะของหลากหลายศิลปินได้ในบริเวณงาน วันที่ 7 มิถุนายน วันที่ 16 มิถุนายน 18.00 น. กิจกรรมภาพเคลื่อนไหวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ “เรื่องเล่าของมนุษย์ล่องหน” รายชื่อศิลปิน
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/unseenthai ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 02 Jun 2012 03:36 AM PDT ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ต้นหญ้าแตกยอดตามรอยแยกถนนคอนกรีต แทรกใบเรียวเขียวขึ้นรับแสงอาทิตย์ เบียดรากแทงลึกลงบนผืนดินแล้งร้าย รอคอยล้อรถถังแล่นบดขยี้ย่อยยับ
แดดเดือนมิถุนาร้อนลวกเผาผิวกาย แต่สายลมกลับหนาวเหน็บเสียดกระดูก ผู้คนจริตวิกลต่อสู้กับฟ้าฝนวิปริต จับนางแมวตัวดำบูชายัญ..หวังเทพเจ้าพึงใจ ท้องฟ้าเทาหม่นดั่งดวงตาชายชราตาบอด นางแมวตาเบิกโพลง..แข็งตัวตายอยู่ในกรงไม้ไผ่
ซากศพของใคร..ถมทับเป็นทางฝุ่นสีแดง น้ำตาของใคร..ไหลบ่าท่วมท้องมหาสมุทร ความตายของใคร..ถูกหลงลืมไปอย่างหมดจด ฝูงวัวควายจินตนาการถึงหญ้าอ่อนสดใหม่ ขณะที่ปากเคี้ยวเอื้องเศษฟางแห้งสากบาดลิ้น
ฝนฟ้ายังไม่ตกต้องตามฤดูกาล ลมยังไม่พัด..แต่ใบไม้พลันไหวระริก ทรุดตัวลงจูบตีนฆาตกรผู้เป็นที่รักเถิด แล้วสูดกลิ่นคาวเลือดให้เต็มสองรูจมูก! .... ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ : “รัฐสภา” ปฏิเสธคำสั่ง “ศาลรัฐธรรมนูญ” ได้หรือไม่ ? Posted: 02 Jun 2012 02:48 AM PDT 1 มิถุนายน 2555 เป็นวันประวัติศาสตร์ที่ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ได้อ้างอำนาจตาม “รัฐธรรมนูญ มาตรา 68” เพื่อรับคำร้องมาวินิจฉัยว่า การดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 โดยรัฐสภาและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องนั้น เป็นกรณีที่ศาลจะสั่งการให้ “เลิกการกระทำ” ได้หรือไม่ นอกจากนี้ ศาลได้มี “คำสั่ง” ไปยังเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเพื่อแจ้งให้รัฐสภารอการดำเนินการดังกล่าวจนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย โดยข้อมูลจากรายงานข่าวนั้น ไม่ชัดเจนว่าศาลได้สั่งไปยัง “สมาชิกรัฐสภา” โดยเจาะจง หรือเป็นเพียงการสั่งไปยัง “เลขาธิการ” เพื่อ “แจ้งสภาให้ทราบ” เท่านั้น ( http://on.fb.me/LQrM7w ) ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ผู้เขียนขออาศัยวันเดียวกันเขียนเชิญชวนให้เรา โดยเฉพาะ “บรรดาผู้แทนของเรา” ร่วมกันใคร่ครวญว่า “รัฐสภา” ในฐานะ “ผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติแทนปวงชนชาวไทยเพื่อถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหารและตุลาการ” นั้น จะสามารถ “ปฏิเสธคำสั่ง” ของศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ? และที่สำคัญ คือ มาตรา 122 ซึ่งบัญญัติว่า คำถามแรก: ศาลใช้อำนาจ “เกินกรอบ” มาตรา 68 หรือไม่ ?
รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคแรก บัญญัติว่า
“บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้”
ถ้อยคำของ มาตรา 68 ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเฉพาะการกระทำที่เป็นการ “ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ” เพื่อล้มล้างการปกครอง...ฯ เท่านั้น ซึ่ง “การใช้สิทธิเสรีภาพ” ย่อมเป็นคนละเรื่องกับ “การใช้อำนาจหน้าที่” เช่น การลงมติสนับสนุนหรือเห็นชอบการแก้ไข มาตรา 291
ลักษณะสำคัญของ “การใช้สิทธิเสรีภาพ” คือ ผู้กระทำได้อ้าง “สิทธิเสรีภาพ” เพื่อประโยชน์ของตนตามที่ตนปราถนาโดยปลอดจากสภาพบังคับ และจะใช้หรืออ้าง “สิทธิเสรีภาพ” หรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างการกระทำที่อาจเข้าข่าย มาตรา 68 อาจมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การดำเนินนโยบายพรรคการเมืองเพื่อยุยงให้ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ การนัดชุมนุมเพื่อทำให้คณะรัฐมนตรี รัฐสภาหรือศาลไม่อาจทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
แต่ “การใช้อำนาจหน้าที่” นั้น หมายถึง ผู้กระทำมิอาจเลือกได้อย่างอิสระว่า ตนจะกระทำหรือไม่กระทำเพื่อประโยชน์ของตนตามที่ปราถนาโดยปลอดจากสภาพบังคับ แต่เป็นกรณีที่ผู้กระทำถูกกำหนดให้กระทำไปเพราะมีอำนาจหน้าที่ต้องกระทำหรือต้องใช้ดุลพินิจกระทำไปในฐานะส่วนหนึ่งของกลไลตามรัฐธรรมนูญ
เช่น การที่สมาชิกรัฐสภาจะเสนอญัตติ หรือออกเสียงลงคะแนน หรือกระทำการอื่นที่เกี่ยวกับการแก้ไข มาตรา 291 ก็ถือเป็น “การใช้อำนาจหน้าที่” ซึ่งการใช้ดุลพินิจย่อมไม่อิสระ แต่อยู่ภายใต้ มาตรา 122 กล่าวคือ จะอ้างว่ามีเสรีภาพใช้ดุลพินิจเพื่อตนเองหรือผู้ใดผู้หนึ่งไม่ได้ และจะสงวนการใช้สิทธิเสรีภาพว่าขอละเว้น ไม่รับรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการทำหน้าที่ในสภาก็ไม่ได้ เช่นกัน เป็นต้น
ข้อที่สำคัญกว่านั้น คือ หากมี “การตีความปะปน” ว่า “การใช้อำนาจหน้าที่” ตามรัฐธรรมนูญ กลายเป็น “การใช้สิทธิเสรีภาพ” ตาม มาตรา 68 ไปเสียแล้ว ก็จะส่งผลแปลกประหลาดทำให้ ศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นองค์กรที่มีเขตอำนาจล้นพ้น สามารถรับเรื่องมาวินิจฉัยการใช้อำนาจหน้าที่ได้มากมาย
เช่น การใช้อำนาจของคณะองคมนตรีในการเสนอชื่อผู้สมควรเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตาม มาตรา 19 การใช้อำนาจของรัฐสภาในการเห็นชอบการประกาศสงครามตาม มาตรา 189 การใช้อำนาจของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาในการเลือกผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตาม มาตรา 204 ก็อาจล้วนถูกศาลตรวจสอบได้ เป็นต้น
หรือแม้แต่การเสนอ ร่าง พ.ร.บ. ปรองดอง หากมีผู้อ้างว่าเป็นการ “ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ” เพื่อล้มล้างการปกครอง...ฯ ก็จะกลายเป็นว่า สามารถถูกตรวจสอบโดยศาลได้ โดยไม่ต้องรอให้มีการพิจารณาตามวาระของรัฐสภาเสียด้วยซ้ำ และอาจนำไปสู่การยุบพรรคหรือตัดสิทธิทางการเมืองได้อีกด้วย !
ยิ่งไปกว่านั้น หาก “สิทธิการยื่นคำร้อง” ตามมาตรา 68 ถูกตีความอย่างพร่ำเพรื่อ เช่น อ้างอำนาจตุลาการมายับยั้งการใช้ดุลพินิจของผู้แทนปวงชนได้ทุกกรณีแล้วไซร้ “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” นี้เองอาจกลับกลายมาถูกนำมาใช้ในทางที่เป็น “ปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ” ทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจ และขัดต่อหลักการใช้สิทธิตาม มาตรา 28 อีกด้วย
(อนึ่ง ผู้เขียนน้อมรับหากมีผู้เห็นต่างเรื่องสิทธิหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและการแยกแยะสถานะของ “เอกชน” และ “รัฐ” ซึ่งก็หวังว่าจะได้แลกเปลี่ยนในทางวิชาการต่อไป)
คำถามที่สอง: ศาลใช้อำนาจ “ข้ามขั้นตอน” อัยการสูงสุดหรือไม่ ? รัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว” ศาลตีความว่า ผู้ที่จะนำคดีมาสู่ศาล จะเสนอเรื่องผ่านอัยการสูงสุดให้ยื่นคำร้องต่อศาลก็ได้ หรือ จะยื่นคำร้องเองโดยตรงต่อศาลเลยก็ได้ ดังนั้น ศาลจึงรับคำร้องได้โดยไม่ต้องรออัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน ผู้เขียนไม่ปฏิเสธเลยว่าการแก้ไข มาตรา 291 มีปัญหาและความไม่สง่างามหลายประการ แต่นั่นคือปัญหาที่รัฐสภาเสียงข้างมากต้องรับผิดชอบทางการเมือง และประชาชนก็ต้องจ่ายราคาของประชาธิปไตยที่จะอดทนเรียนรู้และตัดสินใจได้ดีขึ้นในครั้งต่อไป แต่ประชาชนจะไม่มีวันเรียนรู้โดยตัวเองเลย หากเราปล่อยให้มีเสียงข้างน้อยที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งนำมาตรฐานจริยธรรมและความพึงพอใจทางการเมืองส่วนตนมาลากประชาชนไปสู่ทางออกที่ตนยังไม่ทันได้เข้าใจ
ดังนั้น หาก “รัฐสภา” พิจารณาได้ว่า “คำสั่ง” ของศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการใช้อำนาจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นเพราะ “เกินกรอบ” และ “ข้ามขั้นตอน” ตามตามที่อธิบายมาก็ดี หรือ เพราะขัดหลักนิติธรรม หรือหลักการแบ่งแยกอำนาจ หรือ หลักอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญก็ดี (หรือสภาเห็นช่องทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องการอนุโลมกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ศาลกำหนดขึ้นเอง “ระหว่างรอกฎหมาย” จากรัฐสภาก็ดี!) “รัฐสภา” ย่อมมี “หน้าที่” ที่จะต้องปฎิเสธและไม่ปฏิบัติตาม “คำสั่ง” ดังกล่าว เพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญแทนปวงชนชาวไทย อีกทั้งต้องร่วมต่อต้าน ดำเนินการตรวจสอบ รวมทั้งพิจารณาถอดถอนผู้ใดที่จงใจใช้อำนาจนอกวิถีรัฐธรรมนูญ
แต่หากประธานรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภาปฏิบัติตาม “คำสั่ง” อันขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย อีกทั้งยัง “ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่” เมื่อพ้นเวลา 15 วันตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้แล้วไซร้ ก็พึงสังวรว่า กลับเป็นประธานและสมาชิกรัฐสภาหรือไม่ ที่ร่วมลงมือละเมิดรัฐธรรมนูญของประชาชน และอาจต้องโทษอาญาเสียเอง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อดีตคณบดีนิติ มธ. ชี้ ตุลาการ รธน. ละเมิดรธน. เสียเอง เสนอเข้าชื่อถอดถอน Posted: 01 Jun 2012 10:41 PM PDT พนัส ทัศนียานนท์ – ปิยบุตร แสงกนกกุลชี้ ตุลาการรัฐธรรมนูญสั่งสภาผู้แทนราษฎรระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อน เป็นคำสั่งที่ละเมิดรัฐธรรมนูญเสียเองและขัดต่อหลักแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย เสนอล่าชื่อถอดถอน ด้านพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล แจงวุฒิสมาชิกลงคะแนน 3 ใน 5 ถอดตุลาการรัฐธรรมนูญได้ ภายหลังตุลาการรัฐธรรมนูญ มีมติ 5 ต่อ 4 รับคำร้องพิจารณาว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่สภาผู้แทนราษฎรกำลังดำเนินนั้นมีลักษณะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งยังมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแจ้งรัฐสภาระงับการดำเนินเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนจนกว่าศาลมีคำวินิจฉัยด้วย โดยนายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยนายสมฤทธิ์ ไชยวงศ์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ ได้ร่วมกันแถลงว่า “เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณา ศาลมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแจ้งรัฐสภาระงับการดำเนินเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนจนกว่าศาลมีคำวินิจฉัย นอกจากนี้ ให้ ครม. , รัฐสภา, พรรคเพื่อไทย, พรรคชาติไทยพัฒนา, นายสุนัย และนายภราดร มีหนังสือชี้แจงต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งสำเนาคำร้องและนัดคู่กรณีไต่สวนวันที่ 5-6 ก.ค.2555 เวลา 09.30 น. ซึ่งตุลาการจะเป็นการออกนั่งบัลลังก์ และหากไต่สวนได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนแล้ว คณะตุลาการก็อาจนัดวันฟังคำวินิจฉัยได้เลย แต่หากข้อเท็จจริงยังไม่ครบถ้วนก็อาจไต่สวนเพิ่มเติมได้" ปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ แสดงความเห็นต่อกรณีดังกล่าวว่า คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ ส่งผลสะเทือนต่อระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างน้อย 3 ประการคือ 1 ต่อไปนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้กุมชะตากรรมของ "การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ" ทุกครั้ง 2 ลำดับชั้นของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ อำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญ จะเสียไปทั้งหมด 3 การสั่งให้สภาระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ชั่วคราว ไม่มีรัฐธรรมนูญเขียนไว้เลย แต่ศาลรัฐธรรมนูญยังสามารถไปเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ นั่นหมายความว่า อนาคตอาจมีอีก “ปัญหาอยู่ที่ว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ ที่รัฐธรรมนูญสร้างขึ้นมาเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ กลับเป็นองค์กรที่ละเมิดรัฐธรรมนูญเอง แล้วจะทำอย่างไร?” นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ตั้งคำถาม ขณะที่นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้ง แสดงความเห็นว่าการวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการละเมิดต่อรัฐธรรมนูญของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และเสนอให้รวบรวมรายชื่อเพื่อถอดถอน และได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กในคืนวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมาว่า “การที่ศาลรธน.มีคำสั่งให้สภาผู้แทนราษฎรระงับการพิจารณาร่างแก้ไข รธน.มาตรา 291 ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการก้าวก่ายการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตุลาการที่ออกคำสั่งดังกล่าวจึงมีลักษณะเข้าข่ายที่อาจถูกถอดถอนตามบทบัญญัติมาตรา 270 ได้ ฉะนั้น จึงขอเสนอให้มีการรณรงค์เพื่อร่วมกันเข้าชื่อถอดถอนตามกระบวนการที่รธน.บัญญัติไว้” “รัฐสภาคือตัวแทนอำนาจสูงสุดของประชาชน จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในหมวดที่ว่าด้วยเรื่องอำนาจกนิติบัญญัติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด ตามหลักการประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของอังกฤษ ซึ่งเราถือเป็นแบบอย่าง เขาถือว่ารัฐสภามีอำนาจสูงสุดตามหลัก Supremacy of Parliament” อย่างไรก็ตาม นายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล นักศึกษากฎหมายได้แสดงความเห็นว่า คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเสียเองนั้นย่อมไม่มีผลผูกพันบรรดาองค์กรต่างๆ ของรัฐ และเห็นว่าจะต้องแสดงความไม่ยอมรับต่อคำวินิจฉัยดังกล่าว ไม่เช่นนั้นจะเป็นการทำลายระบบในระยะยาว โดยผู้มีอำนาจในการถอดถอนตุลาการัฐธรรมนุญนั้นทำได้โดยวุฒิสภา ด้วยเสียง 3 ใน 5 ตามมาตรา 209 (6) ประกอบมาตรา 274 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.พ.ศ. 2550 "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ" ตามมาตรา 216วรรคห้า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ย่อมหมายถึงเฉพาะ 'คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ' เท่านั้นครับ หากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญขัดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเสียเองแล้ว ย่อมเป็น "คำวินิจฉัย" ที่ปราศจากฐานรองรับตามรัฐธรรมนูญ (unconstitutional actions) เช่นนี้ "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเช่นว่านั้น" ย่อมไม่ผูกพัน 'บรรดาองค์กรใดๆของรัฐ' ตามมาตรา 216 วรรคห้า ซึ่งการไม่ผูกพันสามารถแสดงออกโดยผ่านวิธี "เพิกเฉย" (ignored) ต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเช่นว่านั้น ไม่ยอมบังคับผูกพันต่อคำวินิจฉัยที่ขัดรัฐธรรมนูญ นี่เป็นวิธีกระทำต่อตัวคำวินิจฉัย (นอกไปจากวิธีลบล้างโดยอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ) (efficacy as condition of validity) แต่ถ้ากระทำต่อตัว 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' ก็ต้องถอดถอนโดยวุฒิสภา ตามมาตรา 209 (6) ประกอบมาตรา274 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” “นี่เป็นวิธีการอย่างเร็วในการยับยั้งอำนาจศาลรัฐธรรมนูญนะครับ ถ้าไป "รับตามคำบังคับ" มันจะเป็นคำสั่งที่จะดำรงอยู่ในระบบกฎหมายต่อไป และระบบจะไม่เป็นระบบ จะไม่สามารถอธิบายในทางหลักวิชาได้เลย และทำลายโครงสร้างทั่วไปของ รัฐธรรมนูญในที่สุดครับ” ที่มาของมติตุลาการรัฐธรรมนุญมาจากคำร้องของ 1.พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม และกลุ่ม 40 ส.ว. 2.นายวันธงชัย ชำนาญกิจ 3.นายวิรัตน์ กัลยาศิริ 4. นายวรินทร์ เทียมจรัส 5.นายบวร ยสินทร และคณะ ที่ยื่นหนังสือให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 กรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) รัฐสภา พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา นายสุนัย จุลพงศธรและคณะ และนายภราดร ปริศนานันทกุล และคณะได้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีผลทำให้เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 โดยคำร้องดังกล่าวขอให้ตุลาการวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ สำหรับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน เป็นคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดที่ 3 ของไทย จัดตั้งขึ้นตามความในมาตรา 300 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญชุดแรกถูกยุบไปภายหลังจากที่มีจากการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ภายหลังจากการรัฐประหาร ได้มีการตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาเป็นชุดที่ 2 โดยมีอำนาจตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และต่อมามีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ซึ่งมาตรา 300 ได้กำหนดให้ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็น ศาลรัฐธรรมนูญ จนกว่าจะมีการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ภายหลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 หมายเหตุ รัฐธรรมนูญ มาตรา 209 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ภายใต้บังคับมาตรา 216 รัฐธรรมนูญมาตรา 274 สมาชิกวุฒิสภามีอิสระในการออกเสียงลงคะแนนซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา ผู้ใดถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหรือให้ออกจากราชการนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ถอดถอน และให้ตัดสิทธิผู้นั้นในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลาห้าปี มติของวุฒิสภาตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด และจะมีการร้องขอให้ถอดถอนบุคคลดังกล่าวโดยอาศัยเหตุเดียวกันอีกมิได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อ่านเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ไทยโพสต์: ล้มการปกครอง! มติ5:4รอวินิจฉัยชำเรารัฐธรรมนูญโหวตวาระ3สะดุด
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น