โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

รายงาน: ล่าแม่มดออนไลน์ จากหน้าจอถึงเรือนจำ [คลิป]

Posted: 10 Jun 2012 01:52 PM PDT

 

สำรวจปรากฏการณ์การควบคุม/คุกคาม ทางอินเตอร์เน็ตที่เกิดขึ้นในช่วง 3-4 ปี ผ่านกลุ่มผู้เล่นภาคประชาชนสำคัญๆ ที่มีบทบาทในการตรวจตราการแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์และส่งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่รัฐ ก่อเกิดคดีเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และมาตรา 112 ซึ่งกำลังเป็นที่ร้อนและถูกจับตาจากทั่วโลก


ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์: 'พรรคเพื่อไทย' บน 'ประชาธิปไตยสามแพร่ง'

Posted: 10 Jun 2012 10:19 AM PDT

สัปดาห์ที่ผ่านมา มี “ความชัดเจน” เพียงพอแล้วว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ “รับคำร้อง” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ก็ดี หรือออกเอกสารที่อ้างว่าเป็น “คำสั่ง” ก็ดี (ซึ่งแท้จริงศาลเขียนหัวเอกสารว่า “หนังสือเรียกเอกสาร หลักฐาน หรือบุคคล” ดูได้ที่ http://bit.ly/JhTXln ) นั้น ถือว่า “ขัดต่อรัฐธรรมนูญ” หรือไม่

นอกจากคำอธิบายทางหลักวิชา หรือบันทึกของ ส.ส.ร. หรือความเห็นของอัยการสูงสุดแล้ว ยังมีหลักฐานสำคัญอีกชิ้นที่ควรนำมาเปิดเผย คือ “คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 12/2549” (สมัย รัฐธรรมนูญฯ 2540 ก่อนการรัฐประหาร) ซึ่งศาลในเวลานั้น ได้วางหลักอย่างชัดเจนว่า กรณีตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 63 วรรคสอง ณ เวลานั้น (ซึ่งมีหลักการเดียวกันกับ มาตรา 68 วรรคสอง ในปัจจุบัน ดังที่ท่านวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ และท่านจรัญ ภักดีธนากุลต่างยอมรับ) ผู้ที่จะยื่นคำร้องต่อศาลได้ มีเพียง“อัยการสูงสุด” เท่านั้น!

 

ภาพหลักฐาน:

 


หากบัดนี้ผู้ใดจะยังถกเถียงต่อว่า สิ่งที่ศาลทำไปนั้น “ถูก” หรือ “ผิด” ก็คงไม่มีประโยชน์ที่จะอธิบาย “ข้อกฎหมาย” เพิ่มเติม เพราะความเห็นที่ต่างกันนั้น ไม่ได้อยู่ที่ข้อกฎหมาย แต่แท้จริงแล้วกลับอยู่ที่ “ความคิดรากฐานในทางประชาธิปไตย” ที่แตกต่างกัน ณ เวลาปัจจุบันของสังคม 

ดังนั้น มาถึงสัปดาห์นี้ คำถามที่ควรจะถกกันต่อ จึงไม่ใช่เรื่อง “ข้อกฎหมาย” อีกต่อไป แต่เป็นคำถามที่ว่า หากศาลไม่ยอมถอย  “พรรคเพื่อไทย” ในฐานะผู้มีเสียงข้างมากในสภา จะเดินหน้าพาบ้านเมืองต่อไปอย่างไร ให้เหมาะสมกับ“ความคิดรากฐานในทางประชาธิปไตย” ที่ควรเป็น ?

ผู้เขียนเองเห็นว่า “ความคิดรากฐานในทางประชาธิปไตย”  ที่ควรเป็น อย่างน้อยต้องยึดกฎหมายและประชาชนเป็นใหญ่ แต่ก็มิใช่หลับหูหลับตาใช้กฎหมายและเสียงข้างมากโดยไม่คำนึงถึงบริบททางสังคม ผู้เขียนจึงขอเปิดสัปดาห์ใหม่โดยการวิเคราะห์ “ทางสามแพร่ง” ของ “พรรคเพื่อไทย” ดังนี้

 

1. ทางแรก: รอให้ศาลมีคำวินิจฉัย 
ทางเลือกนี้อาจมีข้อดีว่า หากสุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า “สภา” สามารถเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ได้ ก็จะ “ดูเหมือน” ว่าปัญหาได้จบโดยดี

 แต่หากมองให้ดี ทางเลือกนี้ จะสร้างปัญหาตามมาหลายข้อ

 1.1 ประชาชนที่เป็นฐานเสียงของพรรค จะเกิดความสับสนว่า “จุดยืนของพรรค” เป็นอย่างไร เหตุใดจึงรอให้ศาลใช้อำนาจทั้งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

 1.2 เมื่อสภาไม่คาดคิดว่าศาลจะรับคำร้องได้ แต่ก็รับได้ แล้วหากสุดท้ายศาลมีคำวินิจฉัย “สั่งห้ามการกระทำแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ” ก็จะยิ่งโต้แย้งผลทางกฎหมายยากขึ้น (เพราะเป็นถึง “คำวินิจฉัย” มิใช่ “คำสั่ง”) และเป็นการยอมให้เกิดบรรทัดฐานที่ถูกนำมาใช้กับการล่วงละเมิดอำนาจอื่นของคณะรัฐมนตรี รัฐสภา หรือแม้แต่องค์กรอิสระในอนาคต

1.3  สุ่มเสี่ยงต่อการดึงไปสู่การยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมือง

สรุปคือ หาก “พรรคเพื่อไทย” รอศาล ปากว่าอย่าง แต่ทำอีกอย่าง ก็อาจเจ็บตัวทั้งจากมวลชนที่ไม่พอใจ และทั้งจากคำวินิจฉัยของศาลซ้ำอีก

2. ทางที่สอง: เดินหน้าลงมติ “วาระที่ 3” ทันที
ข้อดีของทางเลือกนี้ คือ ทำได้เร็ว ได้ใจมวลชน และ “หาก” ศาลเคารพหลักกฎหมาย ศาลย่อมต้อง “จำหน่ายคำร้อง” ตามข้อกำหนดวิธีพิจารณาข้อที่ 23 ของศาล กล่าวคือ ศาลต้องยุติคดี เพราะ มาตรา 68 ให้อำนาจศาลวินิจฉัย “สั่งห้ามการกระทำ” เท่านั้น แต่เมื่อการกระทำ คือ การแก้ไข มาตรา 291 ได้เสร็จสิ้นไปแล้ว ศาลจึงไม่มีวัตถุแห่งคดีหรือประโยชน์ในการพิจารณาต่อไป เพราะศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้ยกเลิกการกระทำย้อนหลัง 

แต่ทางเลือกนี้ก็มีปัญหาเช่นกัน เพราะในเวลานี้ ไม่มีสิ่งใดที่ประกันว่า ศาลจะ “จำหน่ายคำร้อง” ซ้ำร้าย จะทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายเรื่อง เช่น

2.1 อาจมีผู้แอบอ้างประเด็น “การลงพระปรมาภิไธย” เพื่อประโยชน์ทางการเมือง และหากเกิดปัญหาจริง ก็จะมีมวลชนบางกลุ่มกดดันให้สภาใช้เสียงข้างมากยืนยัน “ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม” ตาม มาตรา 291 (7) ประกอบกับ มาตรา 151ซึ่งก็จะยิ่งที่เกิดแรงกดดันสูงขึ้นอีก และอาจมีผู้ไม่หวังดีสร้างสถานการณ์โดยข้ออ้างเดิมๆ ที่ว่าไม่จงรักภักดี แทรกแซงตุลาการ หรืออ้างมวลชนตีกัน ฯลฯ มาทำลายประชาธิปไตยในที่สุด

2.2 แม้หากไม่รุนแรงเท่า ข้อ 2.1  ก็อาจมีผู้อ้างการลงมติเป็นเหตุให้มีการ “เข้าชื่อถอดถอน” หรือ “ดำเนินคดีอาญา”ซึ่งปัญหาไม่ได้อยู่ที่ีว่า จะถูกถอดถอนหรือเอาผิดได้หรือไม่ แต่ปัญหา คือ อาจเกิดกรณีตาม “รัฐธรรมนูญ มาตรา 272 วรรค 4” ซึ่งเพียง ป.ป.ช. ทำการ "ชี้มูล" ความผิด ก็จะทำให้สมาชิกรัฐสภาที่ถูกกล่าวหา “ถูกห้ามไม่ให้ปฏิบัติหน้าที่”จนกว่า ป.ป.ช. อัยการ และวุฒิสภาจะดำเนินการจบ ซึ่งหากใช้เวลา ก็จะกระทบต่อจำนวนเสียงในสภา และสร้างอุปสรรคต่อ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” ในที่สุด

2.3 แม้หากไม่รุนแรงเท่า ข้อ 2.1 และ 2.2  ก็จะยังมีคนไปยื่นคำร้องขอให้ศาลใช้อำนาจ ตาม มาตรา 68 “สั่งห้ามการกระทำที่เกี่ยวกับ ส.ส.ร.” ซ้ำซ้อน อีก เช่น สั่งห้าม ก.ก.ต. ดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส.ร. หรือ สั่งห้ามองค์กรที่เกี่ยวข้องทำการเสนอชื่อ ส.ส.ร. ฯลฯ ซึ่งปัญหาก็จะยิ่งแก้ยาก เพราะองค์กรเหล่านั้นไม่ใช่รัฐสภา และอาจยอมปฏิบัติตามศาลก็เป็นได้ 

สรุปคือ แม้ “พรรคเพื่อไทย” จะเดินหน้าลงมติทันที ปัญหาก็จะยังไม่จบ และก็จะเพิ่มตามมาเรื่อยๆ

3. ทางที่สาม: สภา “หาทางลง” ให้กับศาล เพื่อประโยชน์มหาชน
วิธีการนี้ “พรรคเพื่อไทย” ทำได้ โดยการประกาศจุดยืนให้ชัดเจนว่า ศาลนั้นได้ใช้อำนาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ และสิ่งที่ศาลอ้างว่าเป็น คำสั่ง” นั้นย่อมไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย รัฐสภาจึงชอบที่จะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ 

แต่เพื่อให้สังคมไม่ต้องมาสุ่มเสี่ยงกับปัญหาที่อาจตามมา “พรรคเพื่อไทย” ซึ่งมีเสียงข้างมาก จะร่วมกับฝ่ายค้านและ ส.ว. ประกาศ “คำสัตย์” ต่อปวงชนว่า เมื่อสภาได้ลงมติวาระที่ 3 ไปเสร็จสิ้นจนมีรัฐธรรมนูญ “หมวดใหม่”  เพิ่มมาแล้ว สภาก็จะทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้งทันที แต่จะแก้ไขเพียงจุดเดียวเท่านั้น คือ สภาจะ “ยินยอม” ให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถร่วมตรวจสอบ “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” ที่ ส.ส.ร. จะได้ยกร่างขึ้นหลังดำเนินการไปในระยะเวลา 240 วัน

ทั้งนี้ สภาจะ “ยินยอม” ให้ศาลจะตรวจสอบได้เฉพาะ 3 ประเด็นที่กำหนดไว้เท่านั้น คือ ตรวจสอบว่า “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” ได้ “เปลี่ยนแปลงการปกครองฯ” “เปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ” หรือ “เปลี่ยนแปลงหมวดว่าด้วยพระมหากษัตริย์” หรือไม่ ซึ่งหากสภาจะกำหนดให้ศาลต้องวินิจฉัยด้วย “คะแนนเสียงเอกฉันท์” หรือ โดยสัดส่วนพิเศษ ก็ย่อมชอบธรรมที่จะกำหนดได้ ไม่ต่างจากกรณีการตรวจสอบพระราชกำหนด ซึ่งเป็นกฎหมายเล็กกว่ารัฐธรรมนูญเสียอีก

หาก “พรรคเพื่อไทย” แสดงภาวะความเป็นผู้นำในทางประชาธิปไตยแบบนี้  ศาลรัฐธรรมนูญย่อมต้องมี “วุฒิภาวะ” เพียงพอที่จะ “จำหน่ายคำร้อง” ออกจากศาล เพราะวันนี้ศาลประกาศชัดเจนว่า ศาลไม่ได้ห้ามการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ศาลเพียงจะตรวจสอบดูว่า แก้ไปแล้ว “พลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน” หรือไม่ ดังนั้น หากศาลสามารถมีโอกาสตรวจสอบได้ “หลัง ส.ส.ร. ยกร่างเสร็จ” จึงเข้าลักษณะตาม “ข้อกำหนดวิธีพิจารณาของศาลฯ ข้อที่ 23” และศาลต้อง “จำหน่ายคำร้อง” เพื่อยุติคดี และผู้ใดจะนำเหตุคล้ายกันมาเริ่มต้นคดีใหม่ต่อกระบวนการ ส.ส.ร. ก็ย่อมไม่อาจทำได้

คงมีผู้ย้อนถามถึงข้อเสนอนี้ว่า เหตุใดต้องให้ “พรรคเพื่อไทย” เป็นฝ่ายมาพยายามแก้ปัญหา ผู้เขียนก็อาจตอบเพียงว่า ผู้ที่สร้างปัญหาก็มิได้มีความสามารถแก้ปัญหาที่ตนสร้างเสมอไป และบางครั้ง ผู้ที่แก้ปัญหาได้แต่ไม่ยอมแก้ ก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเสียเอง  

การเลือกทางเดินในทางประชาธิปไตย มิใช่การเลือกระหว่างเสียงข้างมากและเสียงข้างน้อยเท่านั้น แต่เป็นการเลือกทางเดินเพื่อให้ฝ่ายที่ต้องยอมเดินตาม ไม่รู้สึกถูกทอดทิ้ง

กรณีปัญหาของ มาตรา 68 ในวันนี้ จึงมิได้เป็นเพียงปัญหาเชิงกฎหมายระหว่าง “รัฐสภา” และ “ศาลรัฐธรรมนูญ” แต่จะเป็นความท้าทายให้ “พรรคเพื่อไทย” ได้ค้นพบและพิสูจน์ “ความคิดรากฐานในทางประชาธิปไตย” ของพรรคนั้น เป็นเช่นไร

 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณี มาตรา 68 ดูได้ที่ http://bit.ly/JhTXln

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Anonymous อินเดีย ประท้วงการบล็อกเว็บแชร์ไฟล์ในประเทศ

Posted: 10 Jun 2012 10:03 AM PDT

กลุ่ม Anonymous ในอินเดียออกมาประท้วงกันในหลายเมืองเพื่อต่อต้านการปิดกั้นเว็บไซต์แชร์ไฟล์ และเว้บทอร์เรนท์ อ้างละเมิดลิขสิทธิ์หนัง ด้านนักไอทีมองการประท้วงด้วยการแฮ็คเว็บจะยิ่งส่งผลทางลบต่อขบวนการมากกว่าผลดี

เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2012 กลุ่มแฮ็กเกอร์ Anonymous ได้ออกมาชุมนุมประท้วงใน 16 เมืองทั่วประเทศอินเดีย เพื่อต่อต้านสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าเป็นการเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ตในประเทศอินเดีย

ที่ลานกีฬา อาซัด ไมแดน ของเมืองมุมไบ ซึ่งปกติแล้วจะมีเด็กๆเล่นคริกเก็ตกัน แต่ในวันที่ 9 มิ.ย. ที่ผ่านมามีคนสวมหน้ากากกาย ฟอกส์ จำนวนมากพากันมารวมตัวประท้วง
 
การแต่งกายด้วยหน้ากากกาย ฟอกส์ กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของกลุ่มแฮกเกอร์นักกิจกรรม หรือ 'แฮ็กทีวิสท์' ที่ชื่อกลุ่มว่า Anonymous พวกเขาจัดการประท้วงขึ้นในหลายเมืองของอินเดียรวมถึงมุมไบ
 
"ฉันมาที่นี่เพื่อเสรีภาพอินเตอร์เน็ต มีการจำกัดการแสดงความเห็นในโลกออนไลน์ นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมฉันถึงมาที่นี่" อามิชา กล่าว เธอเป็นนักศึกษาอายุ 19 ปี หนึ่งในผู้ประท้วงราว 100 คน ในมุมไบ
 
ผู้ประท้วงถือป้ายเรียกร้องให้ไม่มีการเซ็นเซอร์ พวกเขากำลังประท้วงต่อต้านกฏหมายอินเตอร์เน็ตของอินเดีย
 
"อินเดียกำลังเดินรอยตามจีนและอิหร่าน พวกเขาไม่ต้องการให้ข้อมูลที่ถูกต้องไปถึงประชาชน" นิชันท์ นักศึกษาอายุ 20 กล่าว
 
"มีบางเว็บไซต์ที่พวกเขาบล็อกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพวกเรา ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศนี้" เขากล่าวต่อ
 
สมาชิกของกลุ่ม Anonymous ของอินเดียกล่าวให้สัมภาษณ์ต่อ BBC ผ่านห้องแช็ทว่า พวกเขาเป็นตัวแทนของ 'ปุถุชน' และเป็นแค่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตธรรมดาๆ เท่านั้น
 
ปฏิบัติการแฮ็คเว็บ ประท้วงเว็บแชร์ไฟล์ถูกบล็อก
กลุ่ม Anonymous อินเดียจัดการประท้วง Occupy เพื่อต่อต้านการบล็อกและแบนเว็บไซต์แชร์ไฟล์ โดยผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISPs) ของอินเดียอย่าง Reliance Communications และ Airtel ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่""ยุติธรรม
 
"พวกเราขอประท้วงการใช้อำนาจตามอำเภอใจ และเซ็นเซอร์โดยใช้อำนาจศาล โดยที่แม้แต่รัฐบาลก็ไม่ได้รับรู้ หรือสนใจ ว่าใครเป็นผู้ควบคุม" ผู้ใช่บัญชีชื่อ @anamikanon จากห้องแช๊ทของกลุ่ม Anonymous กล่าว
 
เมื่อเดือนที่แล้ว ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตของอินเดียบล็อกการเข้าถึงเว็บไซต์แชร์ไฟล์อย่าง Vimeo, Pastebin, Piratebay และ Dailymotion ตามคำสั่งของศาลในประเด็นเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ทางอินเตอร์เน็ต
 
Copyrightlabs บริษัทภาพยนตร์ในเชนนายเรียกร้องให้ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตรายใหญ่ ได้แก่ Reliance Communications, MTNL และ BSNL ในการปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ซึ่งให้ผู้ใช้สามารถดูภาพยนตร์บอลลิวู้ดสองเรื่องเต็มๆ ได้อย่างผิดกฏหมาย อย่างเรื่อง Three หรือ Dhammu
 
คำสั่งศาล หรือที่รู้จักกันในนาม คำสั่ง อโชค คูมาร์ ก็เหมือนสิ่งที่เรียกว่คำสั่งของจอห์น โด ในสหรัฐฯ ที่ออกมาเพื่อปกป้องลิขสิทธิ์เพลง ภาพยนตร์ และสื่ออื่นๆ
 
การบล็อกเว็บไซต์แชร์ไฟล์และเว็บไซต์ทอร์เรนท์ ยิ่งทำให้กลุ่ม Anonymous อินเดีย พากันแฮ็กเข้าไปใน 15 เว็บไซต์ รวมถึงเว็บของศาลสูงอินเดีย, พรรคการเมืองสองพรรค และเว็บผู้ให้บริการโทรคมนาคมอินเดีย
 
กลุ่มนี้ได้โจมตีด้วยวิธีการ การขัดขวางหรือก่อกวนระบบเครือข่าย (DDOS หรือ Denial of Service) ซึ่งทำให้ไม่สามารถเข้าเว็บไซต์ได้ชั่วคราว
 
พวกเขาอ้างอีกว่าสามารถเข้าไปในระบบเครือข่ายของ Reliance Communications ได้ และในการแถลงข่าวเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาก็แสดงให้เห็นลิสท์รายชื่อของเว็บไซต์แชร์ไฟล์ที่เสี่ยงต่อการถูกจำกัดการเข้าถึง
 
Reliance Communications ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นหรือยอมรับว่าพวกเขาเป็นผู้จำกัดการเข้าถึงเว็บไซต์ แต่ก็เน้นย้ำกับ BBC ให้ดูแถลงการณ์เมื่อวันที่ 26 ที่บอกว่า บริษัทพวกเขามีระบบความปลอดภัยด้านไอทีที่แข็งแกร่งที่สุดในการป้องกันปัญหาการโจมตีจากภายนอก พวกเขาบอกอีกว่าระบบเครือข่ายของพวกเขาไม่สามารถถูกแฮ็กได้
 
บก. บล็อกไอทีมอง แฮ็คเว็บไม่ส่งผลดี ยิ่งชวนให้รบ.ออกกฏหนักขึ้น
กลุ่ม Anonymous กล่าว่วา พวกเขาไม่ได้สนับสนุนการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่มีเว็บแชร์ไฟล์จำนวนมากที่ใช้อย่างถูกกฏหมาย เช่นเว็บที่แชร์รูปภาพหรือโค้ดซอฟท์แวร์
 
"การแชร์ไฟล์เป็นสายชูชีพของอินเตอร์เน็ต นั่นคือเหตุผลว่าทำไมมันถึงมีชีวิต" ผู้ใช้ชื่อ tomgeorge จากกลุ่ม Anonymous กล่าวผ่านห้องแช็ท
 
นอกจากนี้แล้ว กลุ่มผู้ประท้วงยังได้ต่อต้านกฏหมายการควบคุมทางไอทีของรัฐบาลอินเดียที่มีผลบังคับใช้เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งทำให้เว็บไซต์ต้องนำโพสท์ที่ดูน่ารังเกียจออก จนทำให้มีการต่อว่าตามมา
 
มีกลุ่มผู้รณรงค์ทางอินเตอร์เน็ตบางคนที่เห็นด้วยว่าอินเตอร์เน็ตในอินเดียถูกจำกัดมากเกินไป แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของ Anonymous ที่มีการโจมตีเว็บไซต์
 
"เราเข้าใจว่า พวกเขาต้องการออกมาเคลื่อนไหว เพราะว่าพวกเขาคงรู้สึกไร้หนทางอื่น แล้วก็ต้องมีความระแวดระวังมากขึ้นด้วย แต่ยังไงเราก็ไม่เห็นด้วยกับการทำเว็บไซต์ล่ม" นีคิล ปาห์วา บรรณาธิการของมีเดียนามา เว็บล็อกที่รายงานเรื่องอุตสาหกรรมดิจิตอลในอินเดียกล่าว
 
"มีบางหน่วยงานที่พยายามทำให้รัฐบาลเข้าใจผลลัพธ์ด้านลบที่เกิดจากกฏของพวกเขาเอง แต่เมื่อคุณเริ่มโจมตีใส่เว็บไซต์ของรัฐบาลแล้ว มันก็ทำให้เกิดผลกระทบด้านลบไปด้วย"
 
ปาห์วา กล่าวว่าเขาเชื่อว่าการโจมตีเว็บไซต์เหล่านั้นไม่ก่อให้เกิดผลดี เนื่องจากจะกลายมาเป็นข้ออ้างสำหรับนักการเมืองในการออกกฏที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งถือเป็นการผิดจากวัตถุเดิมของพวกเรา
 
รัฐบาลอินเดียยังยืนยันความเชื่อของพวกเขาว่าเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการควบคุมดูแล เพื่อที่จะไม่มีการโพสท์ข้อความเชิงก้าวร้าวหยาบคาย สำหรับเรื่องลิขสิทธิ์นั้น รัฐบาลก็ยืนยันว่าคำสั่งศาลออกมาเพื่อปกป้องคนทำภาพยนตร์จากการถูกละเมิดลิขสิทธิ์
 
แต่ทางสมาชิกของ Anonymous ก็บอกว่าพวกเขาจะยังคงเคลื่อนไหวต่อไปจนกว่าจะมีการยกเลิกการปิดกั้น
 
"รัฐบาลไม่สามารถหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นในประเทศโดยการแบนเว้บไซต์ได้ นี่คือประเทศที่มีคนขายซีดีเถื่อนกันบนรถไฟ ตามท้องถนน มันมากเกินกว่าจะคาดหวังได้" ผู้ใช้ชื่อว่า Anon3x3Kalki หนึ่งในสมาชิกกลุ่ม Anonymous กล่าว
 
 
 
ที่มา
Hacking group Anonymous takes on India internet 'censorship', Rajini Vaidyanathan, BBC, 09-06-2012
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เยียวยาไฟใต้ ทนายสมชาย ตากใบ สะบ้าย้อย 7.5 ล้าน กรือเซะ 4 ล้าน

Posted: 10 Jun 2012 09:24 AM PDT

 

กก.เยียวยาไฟใต้มีมติจ่าย 7.5 ล้าน 85 ศพตากใบ และ 19 ศพ สะบ้าย้อย ทนายสมชาย กรณีกรือเซะ 32 ศพ ได้ 4 ล้าน ปรับเพิ่มกรณีเหยื่อไฟใต้ ตาย-พิการ รับ 5 แสน

 

10 มิ.ย. การประชุมคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 5/2555 โดยมี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ประธานคณะกรรมการฯเป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พิจารณาขออนุมัติเงินให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ 3 เหตุการณ์ คือ วันที่ 28 เม.ย. 2547 1. เหตุการณ์กรือเซะ และ 2. เหตุการณ์สะบ้าย้อย และเหตุการณ์เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2547 เหตุการณ์ตากใบ โดยที่ประชุมมีมติ ดังนี้

1. เหตุการณ์ที่ตากใบ ที่มีผู้เสียชีวิต 85 รายจะได้รับการเยียวยารายละ 7.5 ล้านบาท กรณีที่มีการเยียวยาไปแล้ว 42 ราย รายละประมาณ 300,000-400,000 บาทก่อนหน้านี้ ให้นำมาหักในจำนวน 7.5 ล้านบาท โดยจะหักเป็นเงินสดงวดแรกที่จ่ายให้ 2. เหตุการณ์ที่สะบ้าย้อย ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 19 ราย จะได้รับการเยียวยารายละ 7.5 ล้านบาท และ 3. เหตุการณ์กรือเซะ ที่มีผู้เสียชีวิต 32 ราย จะได้รับเงินเยียวยารายละ 4 ล้านบาท

ส่วนกรณีการสูญหายของบุคลทั้งหมด 24 คน โดยแยกเป็น 2 กลุ่ม 1. กลุ่มที่ยังไม่สรุปการสูญหายมี 12 คน และ 2. กลุ่มที่สรุปการสูญหายแล้ว 21 บวก 1 (ทนายสมชาย นีละไพจิตร) นั้น ที่ประชุมมีมติออกเป็น 2 กรณี คือ (1. กรณีที่พิสูจน์ได้ว่าการสูญหายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ เช่น เชิญตัวไปสอบแล้วหายตัวไป จะได้รับการเยียวยารายละ 7.5 ล้านบาท (2. กรณีที่ไม่สามารถสรุปได้ว่าหายตัวไปจากการกระทำของเจ้าหน้าที่จะได้รับการเยียวยารายละ 4 ล้านบาท ซึ่งกรณีกลุ่มที่มีการสรุปว่าสูญหายแล้ว กรณีพิเศษคือ ทนายสมชาย ซึ่งหายไปในขณะที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัด แต่ก็เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ เนื่องจากเรื่องยังอยู่ในชั้นศาล ที่ประชุมโดย พล.ต.อ.ประชา มีมติให้ได้รับการเยียวยา 7.5 ล้านบาท

นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยทนายสมชาย ได้หารือในที่ประชุมกรณีคดีการฟ้องร้องทางแพ่งยังอยู่ในศาลฎีกา หากได้รับการเยียวยา 7.5 ล้านบาทแล้ว คดียังเดินหน้าต่อไปได้หรือไม่ ได้ข้อสรุปว่ากรณีของทนายสมชาย แม้จะได้รับเงินเยียวยา 7.5 ล้านแล้ว ก็จะไม่ตัดสิทธิในการฟ้องร้องทางแพ่ง ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป

นอกจากที่ประชุมยังได้สรุปการเยียวยาของผู้สำหรับประชาชนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบ จากเดิมที่ได้รับการเยียวยาจำนวนเงิน 100,000 บาท ปรับเป็น 500,000 บาท ส่วนผู้พิการจากเหตุการณ์ความไม่สงบเดิมได้รับการเยียวยาจำนวนเงิน 80,000 บาท ปรับเป็น 500,000 บาทเช่นกัน

 

 

ที่มา: เรียบเรียงจาก ASTV ผู้จัดการออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เยียวยาไฟใต้ ทนายสมชาย ตากใบ สะบ้าย้อย 7.5 ล้าน กรือเซะ 4 ล้าน

Posted: 10 Jun 2012 09:24 AM PDT

กก.เยียวยาไฟใต้มีมติจ่าย 7.5 ล้าน 85 ศพตากใบ และ 19 ศพ สะบ้าย้อย ทนายสมชาย กรณีกรือเซะ 32 ศพ ได้ 4 ล้าน ปรับเพิ่มกรณีเหยื่อไฟใต้ ตาย-พิการ รับ 5 แสน

10 มิ.ย. การประชุมคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 5/2555 โดยมี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ประธานคณะกรรมการฯเป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พิจารณาขออนุมัติเงินให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ 3 เหตุการณ์ คือ วันที่ 28 เม.ย. 2547 1. เหตุการณ์กรือเซะ และ 2. เหตุการณ์สะบ้าย้อย และเหตุการณ์เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2547 เหตุการณ์ตากใบ โดยที่ประชุมมีมติ ดังนี้

1. เหตุการณ์ที่ตากใบ ที่มีผู้เสียชีวิต 85 รายจะได้รับการเยียวยารายละ 7.5 ล้านบาท กรณีที่มีการเยียวยาไปแล้ว 42 ราย รายละประมาณ 300,000-400,000 บาทก่อนหน้านี้ ให้นำมาหักในจำนวน 7.5 ล้านบาท โดยจะหักเป็นเงินสดงวดแรกที่จ่ายให้ 2. เหตุการณ์ที่สะบ้าย้อย ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 19 ราย จะได้รับการเยียวยารายละ 7.5 ล้านบาท และ 3. เหตุการณ์กรือเซะ ที่มีผู้เสียชีวิต 32 ราย จะได้รับเงินเยียวยารายละ 4 ล้านบาท

ส่วนกรณีการสูญหายของบุคลทั้งหมด 24 คน โดยแยกเป็น 2 กลุ่ม 1. กลุ่มที่ยังไม่สรุปการสูญหายมี 12 คน และ 2. กลุ่มที่สรุปการสูญหายแล้ว 21 บวก 1 (ทนายสมชาย นีละไพจิตร) นั้น ที่ประชุมมีมติออกเป็น 2 กรณี คือ (1. กรณีที่พิสูจน์ได้ว่าการสูญหายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ เช่น เชิญตัวไปสอบแล้วหายตัวไป จะได้รับการเยียวยารายละ 7.5 ล้านบาท (2. กรณีที่ไม่สามารถสรุปได้ว่าหายตัวไปจากการกระทำของเจ้าหน้าที่จะได้รับการเยียวยารายละ 4 ล้านบาท ซึ่งกรณีกลุ่มที่มีการสรุปว่าสูญหายแล้ว กรณีพิเศษคือ ทนายสมชาย ซึ่งหายไปในขณะที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัด แต่ก็เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ เนื่องจากเรื่องยังอยู่ในชั้นศาล ที่ประชุมโดย พล.ต.อ.ประชา มีมติให้ได้รับการเยียวยา 7.5 ล้านบาท

นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยทนายสมชาย ได้หารือในที่ประชุมกรณีคดีการฟ้องร้องทางแพ่งยังอยู่ในศาลฎีกา หากได้รับการเยียวยา 7.5 ล้านบาทแล้ว คดียังเดินหน้าต่อไปได้หรือไม่ ได้ข้อสรุปว่ากรณีของทนายสมชาย แม้จะได้รับเงินเยียวยา 7.5 ล้านแล้ว ก็จะไม่ตัดสิทธิในการฟ้องร้องทางแพ่ง ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป

นอกจากที่ประชุมยังได้สรุปการเยียวยาของผู้สำหรับประชาชนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบ จากเดิมที่ได้รับการเยียวยาจำนวนเงิน 100,000 บาท ปรับเป็น 500,000 บาท ส่วนผู้พิการจากเหตุการณ์ความไม่สงบเดิมได้รับการเยียวยาจำนวนเงิน 80,000 บาท ปรับเป็น 500,000 บาทเช่นกัน

ที่มา: เรียบเรียงจาก ASTV ผู้จัดการออนไลน์

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: ความยุติธรรมในบริบทของเศรษฐศาสตร์(ตอนจบ)

Posted: 10 Jun 2012 08:27 AM PDT

หลังจากอธิบายคร่าวๆในทางด้านทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ในการกระจายทรัพยากรอย่างยุติธรรมและ เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์แล้ว ในตอนนี้เราจะมาดูนโยบายสาธารณะในประเทศไทยที่ผ่านมาที่เกี่ยวกับการกระจายทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งปัจจุบันประเทศต่างๆนิยมใช้นโยบายของสำนัก Equalizing of resoureces หรือ Equalizing of opportunity โดยในประเทศภาคพื้นยุโรปที่เป็นรัฐสวัสดิการมักนิยมใช้นโยบายบนฐานของ Equalizing of opportunity มากกว่า

เครื่องมือของรัฐบาลที่ทำให้เกิดการกระจายทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกันคือ ภาษีอากรและงบประมาณนโยบายสาธารณะ โดยภาษีอากรทำหน้าที่เก็บเกี่ยวทรัพยากรในรูปตัวเงินจากเอกชนซึ่งถ้ามีนโยบายภาษีที่ดีแล้วการกระจายรายได้ย่อมมีความเท่าเทียมกันสูง เมื่อเก็บภาษีได้แล้วจะถูกแปรเป็นวบประมาณนโยบายสาธารณะเพื่อกระจายทรัพยากรต่างๆให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมโดยอาจเป็นรูปตัวเงิน เช่นเงินช่วยเหลือ หรือในรูปไม่ใช่ตัวเงิน เช่นการบริการสาธารณสุขเป็นต้น

สำหรับประเทศไทยในอดีตการกระจายทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกันวางอยู่บนฐานความคิดเสรีนิยม(liberalisme) เป็นหลักและมีผลต่อสังคมไทยจนถึงปัจจุบัน การกระจายทรัพยการอย่างเท่าเทียมกันอาศัยการกระทำโดยเอกชนและรัฐไม่เข้าไปแทรกแซง เราจะเห็นได้ว่าในประเทศไทยนิยมการทำบุญกันมาก ทั้งนี้อาจมีผลมาจากความเชื่อทางศาสนาด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามการกระทำโดยเอกชนอาจไม่เพียงพอต่อการกระจายรายได้อย่างยุติธรรมและจำเป็นต้องให้รัฐมีนโยบายต่างๆ แต่ถึงกระนั้นนโยบายรัฐหลายๆอย่างก็ดูจะเหมือนไม่ได้อิงแนวความคิด Egalitarisme แต่เป็นนโยบายเพื่อจูงใจให้เอกชนทำบุญบริจาคมากขึ้น เช่น นโยบายการลดหย่อนภาษีนิติบุคคล การลดหย่อนภาษีให้บริษัทต่างๆที่บริจาคเงินเพื่อการกุศล นโยบายการลดหย่อนภาษีนิติบุคคลกรณีที่ดูแลสมาชิกในครอบครัวที่แก่ชรา เป็นต้น นโยบายรัฐเพื่อกระตุ้นการบริจาคของเอกชนไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าจะให้เกิดความยุติธรรมในการกระจายทรัพยากรได้ดีขึ้น เราไม่สามารถทราบได้ว่าเงินที่เอกชนบริจาคไปให้เอกชนรายอื่นนั้นเป็นคนที่ลำบากจริงๆหรือมีรายได้น้อยจริงๆ ซึ่งถ้าคนที่ได้รับไม่ได้เป็นผู้รายได้น้อยจริงย่อมจะเกิดผลเสียหายมากกว่า เพราะ 1.)รัฐไม่สามารถเก็บภาษีได้ตามปกติกับผู้บริจาค จากการลดเว้นภาษีทำให้รัฐขาดรายได้เพื่อใช้จ่ายนโยบายสาธารณะอื่นๆเพื่อให้ผู้ลำบากเข้าถึงทรัพยากรได้ง่ายขึ้น 2.) เกิดการสะสมเงินบริจาคมาขึ้นของผู้รับโดยผู้รับไม่ต้องเสียภาษีจาการรับบริจาคอีกด้วย ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนในสังคมกว้างขึ้น

นอกจากการลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นการบริจาคแล้ว การที่สังคมไทยไม่มีกฎหมายภาษีมรดกนั้นเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการไม่ให้ความสำคัญของฐานความคิด Equalizing of opportunity เลย โดยฐานคงามคิดของ Equalizing of opportunityนั้นปัจเจกชนจะได้ทรัพยากรหรือสวัสดิภาพมากกว่าคนอื่นๆได้ก็ต้องมาจากตัวแปรที่ชอบธรรม เช่นการทำงานจากน้ำพักน้ำแรงตัวเอง แต่กลายเป็นว่าคนที่ร่ำรวยจากการสืบทอดความมั่งคั่งนี้ต่อไปได้เพียงแค่โชคดีเกิดมาในครอบครัวมีอันจะกิน และการส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อๆไปเรื่อยๆย่อมเกิดการสะสมทุนความมั่งคั่งและก่อให้เกิดกลุ่มชนชั้นนำทางสังคมที่ผูกขาดกันแค่ไม่กี่ตระกูลในสังคมไทย ดังนั้นในประเทศที่มีการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียมกันมากกว่าจึงมีกฎหมายภาษีมรดกซึ่งรวมถึงประเทศเสรีนิยมเข้มข้นอย่างอเมริกาก็มีภาษีมรดกเช่นกัน

ในด้านนโยบายสาธารณะเพื่อการกระจายทรัพยากร ในอดีตก็วางอยู่บนฐานเสรีนิยมเช่นกัน ที่เห็นชัดเจนที่สุดคือนโยบายบริการสาธารณะสุข ก่อนที่มีนโยบายสามสิบบาทรักษาทุกโรค ปัจเจกชนต้องรับผิดชอบต่อความเจ็บป่วยของตนเอง คนป่วยต้องจ่ายเงินรักษาเองไม่ว่าเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนหรือโรงพยาบาลรัฐ สำหรับคนยากจนที่ไม่มีปัญญาจ่ายค่ารักษาก็ไม่ได้รับการดูแล ต้องนอนรอความตายหรือรอความเมตตาจากเอกชนรายอื่นๆ เช่นจากองค์กรการกุศล หรือจากความช่วยเหลือทางวัดวาอาราม ซึ่งการรอความใจบุญก็เหมือนซื้อลอตเตอรี ต้องรอจนกว่ามีผู้ใจบุญมาพบเจอ
และเนื่องจากหลายๆรัฐบาลจากอดีตถึงปัจจุบันมุ่งเน้นแต่การเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลักมากกว่าความเท่าเทียม นโยบายสาธารณะหลายๆอย่างจึงวางอยู่บนรากฐานของ Utilitarisme รัฐบาลมองเฉพาะผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศกว้างๆโดยไม่มองรายละเอียดของคนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย รัฐบาลพร้อมที่จะแทรกแซงสิทธิเอกชนในนามของผลประโยชน์ส่วนรวม เพื่อเปลี่ยนประเทศจากภาคเกษตรเป็นหลักให้กลายเป็นภาคอุตสาหกรรมเป็นหลักอย่างรวดเร็ว นโยบายภาษีต่างๆให้อานิสงค์แก่ภาคอุตสาหกรรม ภาคตลาดการเงินและอสังหาริมทรัพย์ นโยบายการงดเว้นภาษีต่างๆในภาคอุตสาหกรรม เช่น การงดเว้นภาษีปัจจัยการผลิต เครื่องจักรบางอย่าง การงดเว้นภาษีช่วงระยะแรกๆ การไม่มีภาษีรถยนต์ส่วนบุคคลที่เกินความจำเป็น นโยบายด้านการตลาดการเงิน เช่นการงดเว้นภาษีซื้อขายหุ้นเพื่อดึงดูดนักลงทุนชาวไทยและต่างชาติ นโยบายด้านอสังหาริมทรัพย์เช่นการเก็บภาษีที่ดินในอัตราต่ำ การไม่มีอัตราภาษีก้าวหน้าสำหรับผู้ถือครองที่ดินมากกว่าอยู่อาศัย เป็นต้น ผลของการลดเว้นภาษีข้างต้นทำให้นักลงทุนและผู้ประกอบการได้กำไรมากขึ้น ในขณะที่ภาครัฐเก็บภาษีได้น้อยลงและมีงบประมาณจำกัดเพื่อใช้จ่ายนโยบายสาธารณะอื่นๆ รัฐจึงต้องเก็บภาษีทางตรงอื่นๆเพิ่มขึ้นแทน เช่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาระต่างๆจึงตกมาที่ประชาชนมากกว่าผู้ประกอบการ

ในด้านนโยบายสาธารณะที่วางรากฐานอยู่บนUtilitarismeนั้น นโยบายสาธารณสุขในอดีตก็เห็นภาพได้ชัดเจน รัฐบาลไทยให้สิทธิประโยชน์รักษาพยาบาลแก่กลุ่มข้าราชการเป็นอันดับแรกก่อนกลุ่มอื่นๆในสังคม สวัสดิการข้าราชการเริ่มมีตั้งแต่ปี 1971 ซึ่งข้าราชการเท่านั้นที่ได้ผลประโยชน์จากสวสดิการนี้แต่กลับนำภาษีของประชาชนทั้งประเทศมาเป็นค่าใช้จ่าย การใช้ภาษีสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลเลือกที่จะอุ้มกลุ่มคนข้าราชการในสังคมไทยมากกว่ากลุ่มคนอื่นๆ ประชาชนทั้งประเทศต้องเสียสละเพื่อให้ข้าราชการได้ประโยชน์

ส่วนประกันสังคมเพิ่งเริ่มมีเมื่อปี 1992 และเฉพาะลูกจ้างที่มีเงินเดือนเท่านั้นที่มีสิทธิประโยชน์ พวกแรงงานนอกระบบไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ และนี่ก็สะท้อนอีกเช่นกันว่านโยบายสาธารณะให้ความสำคัญกับพวกทำงานในระบบมากกว่าคนทำงานนอกระบบตลาดแรงงาน อย่างไรก็ตามสิ่งที่แตกต่างคือเงินจากกองทุนประกันสังคมไม่ได้มาจากภาษีอากรร้อยเปอร์เซนต์แต่มาจากนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล

ในปัจจุบันสังคมไทยเริ่มมีนโยบายสาธารณะบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการกระจายทรัพยากรอย่างยุติธรรม หลายๆนโยบายที่ถูกตราว่าเป็นนโยบายประชานิยมนั้นเมื่อวิเคราะห์แล้ว กลับเป็นนโยบายสาธารณะที่วางอยู่บนฐานความคิด Equalizing of resoureces

นโยบายสามสิบบาทรักษาทุกโรคเป็นนโยบายที่ชัดเจนที่สุด รัฐบาลทำหน้าที่จัดหาบริการสาธารณสุขเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อสินค้าสาธารณสุขเป็นสินค้าพื้นฐานสำหรับทุกๆคนในฐานะมนุษย์เพื่อซ่อมแซมและส่งเสริมสุขภาพของประชาชนทุกคนที่มีสิทธิในการมีชีวิตอยู่ ทุกๆคนจะได้รับแพกเกจการรักษาขั้นพื้นฐานที่เหมือนกันทุกคนตามสภาพความเจ็บป่วย อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็ไม่ได้ห้ามประชาชนที่มีความพยายามขวนขวายมากกว่าในการหาประกันสุขภาพเอกชนเพิ่มเติมที่ถูกใจกับรสนิยมของคนซื้อประกันนั้นๆ อย่างไรก็ตามสิ่งที่สามารถยืนยันได้ว่านโยบายสามสิบบาทวางอยู่ยนรากฐานของ Equalizing of resoureces มากกว่า Equalizing of opportunity คือ การเข้าถึงการรักษาเฉพาะทางได้อย่างยากลำบาก นโยบายสามสิบบาทให้บริการสาธารณสุขกับประชาชนเฉพาะเป็นแพกเกจที่กำหนดให้โดยส่วนกลางของรัฐ สิ่งที่อยู่นอกเหนือจากบัญชีที่กำหนดไว้ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงได้ถึงแม้จะมีความจำเป็นมากเท่าใดก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น บัญชียาจะกำหนดรายชื่อยาที่โรงพยาบาลสามารถขอเบิกจ่ายเงินคืนจากส่วนกลางได้ สิ่งที่อยู่นอกเหนือจากนั้นโรงพยาบาลไม่สามารถเบิกเงินคืนได้ แต่ถ้ามีคนป่วยที่ร่างกายไม่ตอบสนองกับตัวยาในบัญชีดังกล่าวและต้องใช้ตัวยาอื่นราคาแพงที่อยู่นอกบัญชียาจึงสามารถส่งผลดีต่อร่างกายได้ และถ้าผู้ป่วยเป็นคนยากจนไม่มีปัญญาจ่ายค่ายาแพงๆแล้ว คนป่วยย่อมไม่สามารถเข้าถึงการรักษาที่ถูกต้องกับความจำเป็นของตนเอง และไม่มีโอกาสเท่ากับคนอื่นๆในการมีสุขภาพดีขึ้น

ส่วนนโยบายสาธารณะที่วางรากฐานอยู่บนฐาน Equalizing of opportunity ซึ่งเป็นที่นิยมในรัฐสวัสดิการนั้น ยังเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยจะปรากฏในสังคมไทย ซึ่งความคิดนี้มุ่งเน้นเพื่อให้คนทุกคนมีโอกาสอย่างเท่าเทียมกันที่จะได้สวัสดิภาพอย่างเท่าเทียมกัน สิ่งที่เห็นชัดเจนคือ ตามสถานที่สาธารณะต่างๆยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการ ไม่ว่าจะเป็นทางลาด บันไดเลื่อน หรือลิฟท์ต่างๆหรืออุปกรณ์ต่างๆเพื่อให้คนพิการไปไหนมาไหนได้ตามใจตนเองเหมือนคนอื่นๆ โดยที่พึ่งตนเองได้และไม่ต้องพึ่งคนอื่นตลอดเวลา

ถ้าสังคมไทยมีความเท่าเทียมกันทางโอกาสกันทุกคนจริง คงไม่มีรายการประเภท คนจน คนพิการ ออกมาร้องขอความสงสารอย่างที่ปรากฏอยู่ในรายการโทรทัศน์เช่นปัจจุบัน
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตื่นเสียทีจากความเท็จของ “ว่าด้วยอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ โดย กิตติศักดิ์ ปรกติ”

Posted: 10 Jun 2012 08:24 AM PDT

จากบทความ “ว่าด้วยอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ของ กิตติศักดิ์ ปรกติ”[1 ] ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์มติชนออนไลน์ ปรากฏความเท็จจะโดยจงใจหรือไม่ก็ดี จึงสมควรต้องอธิบาย “ความจริง” ว่าอันที่จริงแล้ว “อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” นั้น เป็นอย่างไร โดยสังเขป

 

'อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแบบแก้ไขเพิ่มเติม' (Pouvoir constituent dérivé) เป็นอำนาจในการเปลี่ยนแปลง“องค์กรที่ได้รับมอบมาจาก 'อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแบบดั้งเดิม'” (Pouvoir constitué) อันได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ และ 'อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแบบแก้ไขเพิ่มเติม' ก็เป็นอำนาจที่ต่อเนื่องของ 'อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแบบดั้งเดิม' (Pouvoir constituant originaire‎)นั่นเอง อาจสืบสาวไปยังข้อความคิดที่ว่า เจตจำนงของคนในยุคก่อตั้งรัฐธรรมนูญแบบดั้งเดิม ไม่อาจไปผูกมัด เจตจำนงของคนในรุ่นถัด ๆ ไปได้ นั่นเอง

 

ตามหลักการแล้ว "กิตติศักดิ์" จึงไม่อาจกล่าวได้ว่า : "แม้ตามรัฐธรรมนูญจะอนุญาตให้ทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ก็เป็นที่เข้าใจกันว่าได้แต่เพียงแก้ไขเล็กน้อยตามกรอบวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่เท่านั้น จะแก้ไขขนานใหญ่ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ”" [กิตติศักดิ์]

 

ควรเข้าใจด้วยว่า อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ 'แบบดั้งเดิม' และ 'แบบแก้ไขเพิ่มเติม' นั้น เป็น อำนาจที่ต่อเนื่องกันและมีสถานะในทางกฎหมายที่เท่าเทียมกัน เพราะเป็นอำนาจก้อนเดียวกัน

 

องค์กรผู้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแบบ 'แก้ไขเพิ่มเติม' ก็คือ ผู้ทรงอำนาจจัดให้มีรัฐธรรมนูญ และเป็นใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญประเภทหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ 'ผู้ทรงอำนาจจัดให้มีรัฐธรรมนูญแบบแก้ไขเพิ่มเติม' จึงหาใช่มีสถานะในทางกฎหมายเป็นเพียง "อำนาจที่ได้รับมอบมาจากรัฐธรรมนูญดั้งเดิม" (Pouvoir constitué) ไม่ 

 

คำอธิบายอันเป็นผลจากการไม่มีฐานคิดของ "กิตติศักดิ์" ปรากฏในข้อความเชิงตั้งข้อสงสัยที่ว่า : "ผู้เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสภาผู้แทนราษฎร หรือเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น เมื่อตัวเกิดมีขึ้นตามรัฐธรรมนูญแล้ว จะไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญได้อย่างไร" [กิตติศักดิ์]

 

จะสังเกตได้ว่า "กิตติศักดิ์" นำเอา 'วิธีการ' และ 'องค์กรในการยกร่างรัฐธรรมนูญ' ไปปะปนกับ 'อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ', 'องค์กรจัดให้มีรัฐธรรมนูญ' และ 'อำนาจที่ได้รับมาจากรัฐธรรมนูญ' รวมเป็นก้อนเดียวกัน ซึ่งเป็นความสับสนอย่างยิ่ง นัยเป็นความพยายามบิดเบือนลากจูงไปว่า ในเมื่ออำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแบบดั้งเดิม ซึ่งอยู่เหนือกว่าอำนาจนิติบัญญัติ หากยินยอมให้องค์กรที่รัฐธรรมนูญตั้งขึ้น คือ รัฐสภา สามารถขยายอำนาจตนเหนืออำนาจอื่นได้โดยไม่มีที่สิ้นสุด จะทำลายตัวรัฐธรรมนูญ หรือตลอดจนสถาบันกษัตริย์ไปได้ในที่สุด นั่นเอง

 

จากข้อสงสัยดังกล่าว (ที่กิตติศักดิ์ พยายามยกอ้าง) ในระบบกฎหมายเอง รัฐธรรมนูญจึงมี "ระบบป้องกันตนเอง" ขึ้น เช่น บัญญัติวิธีและกระบวนการสถาปนารัฐธรรมนูญแบบแก้ไขเพิ่มเติม แยกจากการแก้ไขกฎหมายธรรมดา และอาจบรรจุข้อสงวนไว้บางประการ เช่น ห้ามเปลี่ยนระบอบการปกครอง ห้ามเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ เป็นต้น ผ่านฐานคิดที่จำแนกระหว่าง รัฐสภาซึ่งใช้อำนาจนิติบัญญัติ กับ รัฐสภาซึ่งใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแบบแก้ไขเพิ่มเติม ออกจากกันเสียก่อน

 

หลังจากนั้นพิจารณาต่อไปว่า ในเมื่อ ‘อำนาจนิติบัญญัติ’ เป็นคนละประเภทกับ อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ 'แบบแก้ไขเพิ่มเติม' จึงไม่อาจนำองค์กรและวิธีการเดียวกันในการออกกฎหมายธรรมดา มาใช้กับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ จึงต้องมีระบบแก้ไขรัฐธรรมนูญแยกออกมาเป็นพิเศษ โดยมี "วิธีการ" (เช่น ต้องใช้เสียงข้างมากพิเศษ,  ต้องประชุมร่วมกันทั้งสองสภา, ต้องประชามติ เป็นต้น) และ "มีสภาพขององค์กรในทางกฎหมาย" ที่ต่างไปจาก องค์กรที่ใช้อำนาจตรากฎหมายธรรมดา

 

ด้วยเหตุนี้ เมื่อใด "รัฐสภาใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแบบแก้ไขเพิ่มเติม" แล้ว รัฐสภาในการนั้น หาใช่ สภานิติบัญญัติ ไม่ ในทางทฤษฎีจึงถือว่า รัฐสภาในสภาวะดังกล่าวกลายเป็น Convention (กงวังซิออง) โดยสภาพ ด้วยเหตุนี้ รัฐสภาในสถานะดังกล่าว จึงไม่อาจถูกจำกัดอำนาจได้ ในฐานะ "ผู้ทรงอำนาจสูงสุดในการก่อตั้งองค์กรทางการเมือง" และบรรดาการควบคุมบงการของ "องค์กรที่ได้รับอำนาจที่ก่อตั้งมาจากรัฐธรรมนูญ" (Pouvoir constitué) เช่น ประมุขรัฐ, องค์กรตุลาการ, องค์กรบริหาร, องค์กรนิติบัญญัติ ใดๆ ไม่อาจกระทำได้เลย เพราะมีสถานะต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ กล่าวเป็นรูปธรรม ในเมื่อ รัฐธรรมนูญ เป็นผู้สร้างองค์กรเหล่านี้ รัฐธรรมนูญจึงมีสถานะอยู่เหนือองค์กรที่ถูกสร้าง และเมื่อ “ผู้สถาปนารัฐธรรมนูญแบบแก้ไขเพิ่มเติม” สามารถเข้าไปแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ เพราะเป็นการใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ จึงมีลำดับชั้นในทางกฎหมายสูงกว่าองค์กรที่ถูกสร้างโดยรัฐธรรมนูญอีกถ่ายหนึ่งไปด้วยโดยสภาพ

 

สำหรับ “ระบบป้องกันตนเอง” ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติขึ้น เช่น ห้ามเปลี่ยนระบอบการปกครอง, ห้ามเปลี่ยนรูปของรัฐ เป็นต้น จะถูกควบคุมตรวจสอบโดยวิธีใดนั้น ในรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ก็ดี รัฐธรรมนูญไทย ก็ดี ตลอดจนรัฐธรรมนูญเยอรมัน ก็ดี หาได้บัญญัติ “องค์กรผู้มีอำนาจตรวจสอบระบบป้องกันตนเอง” ไม่ ด้วยเหตุนี้ จึงถือว่าองค์กรที่ได้รับอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญแบบแก้ไขเพิ่มเติมนั่นเองที่เป็นผู้มีอำนาจตรวจสอบ อย่างไรก็ดี ในประเทศเยอรมัน ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ฯ ตีความคำว่า “ร่างกฎหมาย” อันเป็นวัตถุแห่งคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญอาจตรวจสอบได้ ให้หมายรวมถึง การตรวจสอบ ‘รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม’ ก่อนประกาศใช้ด้วย เพราะ "ร่างรัฐธรรมนูญ" ก็คือ "ร่างกฎหมาย" ชนิดหนึ่ง แต่การตีความดังกล่าวยังคงเป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์ในวงการนิติศาสตร์เยอรมันตราบทุกวันนี้ต่อการตีความอำนาจดังกล่าวของศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันเอง แต่ไม่ว่าจะในทางใดก็ตาม เป็นที่ยุติว่า การควบคุมตรวจสอบในกรณีเยอรมันเอง จะต้องเกิด “รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม” ขึ้นมาแล้ว และก่อนประกาศใช้ ย่อมเป็นวัตถุแห่งคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันอาจตรวจสอบได้ตามนัยการตีความดังกล่าว และในระหว่างที่ยังเป็น “ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม” (ยังอยู่ในกระบวนการใช้อำนาจขององค์กรจัดทำรัฐธรรมนูญ) ย่อมไม่อาจเป็นวัตถุแห่งคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ฯ จะเข้าไปตรวจสอบได้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเป็นการขัดต่อ “บทบัญญัติอันเป็นนิรันดร์” (Eternity clause) หรือไม่ ควรกล่าวด้วยว่า ในฝรั่งเศส และในไทย รัฐธรรมนูญหาได้เปิดโอกาสให้ตีความได้เช่นนั้น ในฝรั่งเศสเอง คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ไม่มีอำนาจก้าวล่วง “การใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” อย่างเด็ดขาด และในไทย รัฐธรรมนูญก็ไม่เปิดโอกาสให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความโดยขยายความในการตรวจร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมได้เลย (กระทั่งแม้แต่เยอรมัน ศาลก็ยังไม่มีอำนาจตรวจสอบในขณะที่ยังเป็น “ร่าง” หรือ “อยู่ในกระบวนการจัดทำ” เพราะยังไม่เกิดวัตถุแห่งคดี)ในรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้บัญญัติองค์กรผู้มีอำนาจชี้ขาด โดยหลักการต้องถือว่าองค์กรผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญนั่นเอง ที่มีอำนาจชี้ขาด (ถ้าประชาชนลงประชามติเพื่อให้มีผลบังคับใช้ เช่นนี้ ประชาชนก็คือองค์กรผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ)

 

อีกทั้ง อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ, ผู้จัดทำรัฐธรรมนูญ, ผู้สถาปนารัฐธรรมนูญ กับระบอบการปกครองรัฐ ก็เป็นคนละเรื่องกัน แต่ "กิตติศักดิ์" พยายามสร้างภาพหลอน หรือสร้างปีศาจขึ้นมา ในทางที่ว่า อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ อาจก่อให้เกิด “จอมเผด็จการที่ใช้ทำลายประชาธิปไตยลงในที่สุด” ขึ้นมา (พยายามอ้าง เหตุการณ์ประหารชีวิต หลุยส์ที่ ๑๖, ยุคแห่งความกลัวของ โรเบสปิแอร์, การสถาปนาตนเองของนโปเลียน, เผด็จการฮิตเล่อร์ ฯลฯ ขึ้นมาพรรณนาหลอกหลอนผู้อ่าน ให้เข้าใจไปว่า ทฤษฎีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ เป็นทฤษฎีปีศาจ)ทั้งๆ ที่สังคมใด จะปกครองในระบอบการปกครองใดนั้น (ไม่ว่าจะ ประชาธิปไตย หรือ เผด็จการ) ก็หาได้เกี่ยวข้องกับทฤษฎีนี้แต่อย่างใด ในการเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองใดครั้งหนึ่ง ๆ ย่อมต้องอาศัยปัจจัยต่างร่วมกันทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ประกอบกันหลายปัจจัย หาได้เกิดขึ้นเพราะการดำรงอยู่ของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญไม่ ดังที่ “กิตติศักดิ์” พยายามนำเสนอ อันเป็นการบิดพลิ้วเจือปนทฤษฎีบริสุทธิ์ให้มัวหมองเป็นอย่างยิ่ง โดย “กิตติศักดิ์” นำความมุ่งหมายทางการเมืองของตนชักจูง “ปลุกผี” ให้คนหวาดกลัวอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ แล้ววิ่งหนีไปหาศาลรัฐธรรมนูญในที่สุด ตามมูลเหตุจูงใจทางการเมืองของ “กิตติศักดิ์” ถึงขนาด “บิดผัน – เจือปน” ทฤษฎี – ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าละอายยิ่งนัก

 

ควรกล่าวด้วยว่า ข้อความคิดเรื่องอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ซึ่ง 'ซีเยส์' เป็นผู้ริเริ่มใช้คำอธิบายนี้ เป็นแนวคิดที่มีสภาพบริสุทธิ์ ใช้อธิบายในการก่อตั้งระบบกฎหมายของรัฐ เพราะการก่อตั้งระบบกฎหมายของรัฐ ไม่อาจ "ก่อตั้ง" โดยฐานของ 'อำนาจดั้งเดิม' ได้ มิเช่นนั้นก็มิใช่ "การก่อตั้ง" ระบบกฎหมาย แต่เป็นเพียง"การสืบทอด" เท่านั้น อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญจึงเป็นอำนาจที่ใช้เชื่อมต่อระหว่าง การเมืองในทางข้อเท็จจริงกับกฎหมาย แล้วจัดตั้งระบบกฎเกณฑ์มูลฐานในระดับรัฐธรรมนูญขึ้นภายหลังจากสภาวะว่างเปล่าของระบบกฎหมายหรือสังคมที่ยุ่งเหยิง ให้เกิดระเบียบมูลฐานใหม่ขึ้น แนวคิดในเรื่องอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นแบบนี้.

 

 

____________________________

 

เชิงอรรถ

 

[1] โดยดู มติชนออนไลน์, “กิตติศักดิ์ ปรกติ : ว่าด้วยอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” ในhttp://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1339239753&grpid=03&catid&subcatid 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประกาศ: ประมวลจริยธรรม 'ประชาไท'

Posted: 10 Jun 2012 08:01 AM PDT

หลักการพื้นฐาน
ประชาไท : สื่ออิสระที่วางใจได้เพื่อประชาธิปไตย

ประชาไทดำเนินการภายใต้มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน

คุณค่าของประชาไทคือ ความมุ่งมั่นที่จะเป็นสื่อสารมวลชนที่มีความเป็นอิสระ มุ่งนำเสนอข่าวสารข้อมูลเพื่อพัฒนาสังคมประชาธิปไตยที่ก้าวหน้า ประชาไทเป็นสื่อออนไลน์ ซึ่งนำเสนอข่าวสาร ข้อมูล วิเคราะห์ วิจารณ์และแสดงความคิดเห็นเพราะเรื่องนั้นมีความสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตย

ประชาไทเป็นสื่อเพื่อความเป็นประชาธิปไตยที่ไม่ปิดบังจุดยืนทางการเมืองของตนเอง หากแต่จะแสดงออกอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา การใดอันจะเป็นปรปักษ์ต่อประชาธิปไตย ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย จะต้องได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ติติงอย่างเข้มแข็ง

ประชาไทไม่ได้เป็นสื่อสังกัดกลุ่มการเมืองใด หรือเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองของกลุ่มใด ข่าวสาร ข้อมูล ความเห็นที่ปรากฏผ่านสื่อของประชาไท ย่อมเป็นอิสระและปราศจากการครอบงำของกลุ่มอิทธิพลใดๆ

องค์ประกอบสำคัญของความเป็นประชาธิปไตยคือ สิทธิและเสรีภาพ ประชาไทมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเชิดชูไว้ซึ่งเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ในทุกด้าน ประชาไทจะคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสื่อสารเพื่อสร้างความเสมอภาค เป็นธรรมทางสังคมประชาไทจะเปิดโอกาสให้คนได้แสดงความคิดเห็น รวมทั้งจะคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเช่นว่านั้น แม้ว่าประชาไทจะไม่เห็นด้วยกับความเห็นนั้นก็ตาม

 

หมวด 1 นิยามศัพท์
ประชาไท หมายถึง องค์กรที่ดำเนินงานเผยแพร่ข่าวสาร ผ่านสื่อออนไลน์และชนิดอื่น 

บรรณาธิการ หมายถึง ผู้มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลควบคุมการดำเนินงาน รับผิดชอบแก้ไขปรับปรุงข่าว บทความ ข้อเขียน ภาพ และเสียง สั่งการกำหนดทิศทางข่าว ข้อเขียน บทความต่างๆ

กองบรรณาธิการ หมายถึง บรรณาธิการ บรรณาธิการข่าว ผู้สื่อข่าว เว็บมาสเตอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและเผยแพร่

ผู้สื่อข่าว มีหน้าที่ผลิตข่าว บทความ บทวิเคราะห์ เพื่อเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ

บุคลากรอื่นๆ หมายรวมถึง เจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการ การเงิน และธุรกิจ

 

หมวด 2 หลักปฏิบัติแห่งวิชาชีพ
ข้อ 1 หลักปฏิบัติแห่งวิชาชีพนี้ใช้บังคับกับกองบรรณาธิการ ผู้สื่อข่าว และบุคลากรอื่น ซึ่งบุคลากรของประชาไททั้งหมดต้องยึดถือและปฏิบัติตาม

ข้อ 2 การรายงานข่าวจะต้องระบุแหล่งข่าวโดยชัดแจ้ง การเผยแพร่ข้อความ หรือบทความที่เขียนโดยผู้ใช้นามปากกา หรือนามแฝง ย่อมกระทำได้ ตราบเท่าที่บุคคลนั้นติดต่อและเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงกับกองบรรณาธิการ หรือบรรณาธิการโดยตรง 

การเข้าถึงแหล่งข่าว ข้อมูลใดๆ ย่อมกระทำโดยชัดแจ้ง และโปร่งใส

ข้อ 3 การนำเสนอข่าวสาร ข้อมูล โดยปกปิดแหล่งข่าว และแหล่งข้อมูลนั้น จะกระทำเพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยของแหล่งข่าวเท่านั้น  

เพื่อประโยชน์ของความปลอดภัยและสวัสดิภาพของแหล่งข่าว การเปิดเผยแหล่งข่าวและข้อมูล เช่นว่านั้นย่อมกระทำมิได้ เว้นแต่จะโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือคำสั่งศาล

ข้อ 4 ผู้สื่อข่าว มีดุลพินิจในการเปิดเผยชื่อ ฐานะ ตำแหน่ง ของแหล่งข่าว หรือบุคคลในข่าว แต่การใช้ดุลพินิจเช่นว่านั้น ให้คำนึงถึงความปลอดภัย ในชีวิต ทรัพย์สิน และสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลนั้นเป็นสำคัญ

ข้อ 5 การเปิดเผยถิ่นที่อยู่และความเป็นส่วนตัวของบุคคลหรือข้อมูลส่วนตัว เช่น อายุ ฐานะสมรส รสนิยมทางเพศ หมายเลขโทรศัพท์ ความเชื่อทางศาสนา ในข่าว โดยปราศจากความยินยอมของบุคคลนั้นย่อมกระทำมิได้ 

กองบรรณาธิการมีดุลพินิจในการพิจารณาเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามความในวรรคก่อน เมื่อพิจารณาว่าเป็นสาระสำคัญของเรื่อง

ข้อ 6 การอ้างข้อความใดๆ จากผู้ให้สัมภาษณ์หรือเอกสาร จะต้องกระทำอย่างเที่ยงตรง และถูกต้องตามบริบทของเรื่อง การอ้างอิงคำพูดใดๆ นอกบริบทจะกระทำมิได้ การเขียนแต่งเติมคำพูดของผู้ให้สัมภาษณ์ย่อมกระทำมิได้ ข้อความที่ปรากฏอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศต้องเป็นของผู้พูดทุกถ้อยคำ

ข้อ 7 หากปรากฏความผิดพลาดในการนำเสนอข่าว ข้อมูลใด จะต้องแก้ไขโดยไม่ชักช้า หากความผิดพลาดนั้นสร้างความเสียหายแก่บุคคลใด จะต้องมีคำขออภัยปรากฏให้เห็นเด่นชัด

ข้อ 8 บรรณาธิการจะสั่งยุติการเผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล ที่พบว่าผิดพลาดร้ายแรงโดยทันที ข่าวหรือข้อมูลที่ผิดพลาดเล็กน้อยแต่มีความสำคัญอาจจะพิจารณาพักการเผยแพร่เพื่อทำการแก้ไขก่อนได้

ข้อ 9 หากมีการร้องเรียนจากผู้อ่าน หรือผู้ได้รับผลกระทบจากการนำเสนอข่าวหรือบทความการแสดงความคิดเห็นต่างๆ หรือร้องเรียนว่า บุคลากรหรือผู้สื่อข่าว เจ้าหน้าที่คนใดฝ่าฝืนหลักจรรยาบรรณนี้ ประชาไทจะทำการสืบสวนโดยเร็วและด้วยความเป็นธรรม รวมทั้งแจ้งผลการตรวจสอบและดำเนินการแก้ไขให้แก่ผู้ร้องเรียนทุกราย เท่าที่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้

ในการพิจารณาเรื่องร้องเรียน กองบรรณาธิการจะจัดตั้งคณะบุคคล เพื่อทำการตรวจสอบพิจารณา ซึ่งจะไม่มีผู้ถูกร้องเรียนมีส่วนร่วมพิจารณาด้วย ทั้งนี้ จะมีการแต่งตั้งบุคคลภายนอกที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนร่วมด้วยก็ได้

ข้อ 10 การเผยแพร่เรื่องความขัดแย้ง จะต้องคำนึงถึงความมีดุลยภาพระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่มีความเห็นแตกต่างกัน

ข้อ 11 การนำเสนอข่าว ความเห็น จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และสิทธิของเด็กและเยาวชน เป็นพิเศษ

เด็กและเยาวชน ที่ได้รับความคุ้มครองตามวรรคก่อน คือบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี

ข้อ 12 การเปิดเผยรูปพรรณสัณฐานของเด็กที่ถูกกระทำ หรือตกเป็นเหยื่อ ของเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าโดยภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว การบรรยายโดยคำพูด การเขียน ย่อมกระทำมิได้

ข้อ 13 ข้อเขียน รายงานข่าว หรือความเห็นใด ที่แสดงออกถึงการดูถูกเหยียดหยามทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้น การศึกษา จะไม่ได้รับความยินยอมให้มีการเผยแพร่

ข้อ 14 การล้อเลียนบุคลิกภาพ ความพิการ ไม่ว่าโดยข้อความ ภาพ เสียง จะกระทำมิได้

ข้อ 15 ภาษาหลักที่ใช้ในการสื่อสารคือ ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ การแปลความระหว่างสองภาษาหรือชื่อเฉพาะจากภาษาอื่นๆ จะต้องกระทำโดยต้องตรงกันอย่างที่สุด

ข้อ 16 การรายงานข่าว และข้อเขียนใดๆ จะต้องใช้ภาษาสุภาพตามบริบทของเรื่องและวัฒนธรรมของสังคม ตามความเหมาะสมแห่งยุคสมัย

ข้อ 17 กองบรรณาธิการจะไม่เผยแพร่ข้อความ ภาพและเสียง อันเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคล นิติบุคคลหรือสถาบัน

ข้อ 18 ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือ ข่าวสารข้อมูลในรูปแบบอื่นใด ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือ สิทธิอื่นใดตามกฎหมาย จะไม่ได้รับการเผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางการพาณิชย์จากประชาไท

ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือข่าวสารข้อมูลในรูปแบบใดๆ ที่ปรากฏในประชาไท จะไม่มีการสงวนสิทธิสำหรับผู้ที่จะนำไปเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาเรียนรู้และประโยชน์สาธารณะทั้งปวง แต่ไม่รวมถึงการเผยแพร่ต่อเพื่อผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ ผู้เผยแพร่ต้องอ้างอิงประชาไทว่าเป็นแหล่งที่มา

ข้อ 19 บรรดาบทความ ข้อเขียน ภาพ บทกวี หรือ ข่าวสาร ข้อมูลในรูปแบบอื่นใด หากมิได้ปรากฏว่าผลิตโดยบุคลากรประจำของประชาไทแล้ว ย่อมเป็นลิขสิทธิ์ของเจ้าของผู้ผลิต

ข้อ 20 ประชาไทเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะเสนอข่าวสาร ข้อมูล ความเห็นผ่านสื่อประชาไท บรรดาบทความ หรือ ข้อเขียนใด ที่มิได้เกิดจากความริเริ่มของกองบรรณาธิการ จะไม่มีค่าตอบแทน  

การแสดงความเห็นท้ายข่าว บทความ หรือข้อความใดๆ ย่อมกระทำได้โดยเสรี พึงหลีกเลี่ยงการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น ยกเว้น เป็นความประสงค์ของผู้เขียนบทความหรือข้อเขียนนั้น หรือเพื่อการป้องกันมิให้ใช้การแสดงความคิดเห็นดังกล่าวไปเพื่อเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือละเมิดต่อบุคคลอื่น หรือเพื่อการโฆษณาสินค้า

ข้อ 21 การเผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล ข้อเขียนใดๆ ย่อมกระทำโดยชัดแจ้ง ไม่คลุมเครือ หรือ ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัย การปกปิด หรือตัดทอน จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นผลแห่งบทบัญญัติของกฎหมาย

ข้อ 22 ภาพและหรือข่าว อาชญากรรมสะเทือนขวัญ การกระทำที่แสดงออกถึงความโหดเหี้ยม ป่าเถื่อน ซึ่งบรรณาธิการใช้ดุลพินิจแล้วว่าไม่ก่อประโยชน์ใดๆ ต่อสาธารณะจะไม่ได้รับการเผยแพร่

 

หมวด 3  ผลประโยชน์ขัดกัน
ข้อ 23 กองบรรณาธิการเป็นอิสระจากฝ่ายธุรกิจ และปราศจากการครอบงำทางอำนาจและผลประโยชน์ใดๆ  

ข้อ 24  ภารกิจของกองบรรณาธิการและฝ่ายธุรกิจจะต้องกำหนดขอบเขตเพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระของกองบรรณาธิการ การโอนย้ายบุคลากรระหว่างฝ่าย อาจกระทำได้แต่ต้องปรากฏการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่โดยชัดเจน   (ย้ายข้อและเพิ่มเติมเนื้อหา)

ข้อ 25 ข่าวสารข้อมูล แหล่งข่าว ที่หาได้ระหว่างการเป็นพนักงานประชาไท ถือเป็นทรัพยากรขององค์กรที่กองบรรณาธิการใช้ร่วมกันได้ สมาชิกกองบรรณาธิการจะเก็บทรัพยากรเช่นว่านั้นไว้อย่างเหมาะสม จะรักษาไว้ซึ่งบรรดาข้อมูลลับที่ได้มาระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สื่อข่าว การนำไปเปิดเผยควรได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ

ข้อ 26 สมาชิกกองบรรณาธิการที่เป็นสมาชิกองค์กรการเมือง หรือองค์กรอื่นใด ไม่พึงเผยแพร่ข้อความใดเกี่ยวกับองค์กรที่ตัวสังกัดในลักษณะการโฆษณาเพื่อผลประโยชน์ให้กับองค์กรนั้นๆ ในสื่อของประชาไท 

สมาชิกกองบรรณาธิการแพร่ข้อความใดโดยมุ่งหวังอามิสสินจ้างเป็นการส่วนตัว ถือเป็นความผิดร้ายแรง 

ข้อ 27 ข้อเขียนใดอันเป็นการอวดอ้างถึงสมาชิกกองบรรณาธิการหรือบุคลากรอื่นใดในประชาไทจะไม่ได้รับการเผยแพร่

บรรณาธิการมีดุลพินิจในการนำเสนอข่าวกรณีที่สมาชิกกองบรรณาธิการหรือบุคลากรอื่นใดของประชาไทตกอยู่ในเหตุการณ์หรือมีการกระทำใดที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณะหรือเพื่อประโยชน์ของการพัฒนาประชาธิปไตย

 ข้อ 28 ประชาไทจะเปิดเผยแหล่งสนับสนุนทางด้านเงินทุน

ประชาไทรายงานการเงินแก่มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน และเผยแพร่รายงานทางการเงินต่อสาธารณะ

 

หมวด 4  พฤติกรรมส่วนบุคคล
ข้อ 29 สมาชิกของบรรณาธิการและบุคลากรอื่นใดของประชาไท ย่อมมีเสรีภาพทางการเมือง ความเชื่อ ศาสนา การศึกษา รสนิยมทางเพศ สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรหรือทำกิจกรรมใดๆ ตามความเชื่อของตนได้

ทั้งนี้การดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยผลประโยชน์ขัดกัน

ข้อ 30 การหารายได้พิเศษของบุคลากรประชาไทไม่ใช่สิ่งต้องห้าม เว้นเสียแต่ว่าการทำงานพิเศษดังกล่าวส่งผลเสียหายต่อหน้าที่ประจำ หรือเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงต่อการปฏิบัติหน้าที่ หรือมีผลประโยชน์ขัดกันกับการปฏิบัติหน้าที่ประจำ

ข้อ 31 สมาชิกกองบรรณาธิการ หรือบุคคลอื่นใดที่ทำงานให้ประชาไท ไม่ว่าจะรับค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม จักอ้างชื่อประชาไทเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ใดๆ มิได้

หากบุคลากรประจำของประชาไทพบเห็นการกระทำเช่นว่านั้น ให้แสดงตัว ปฏิเสธ และแจ้งให้บรรณาธิการทราบโดยไม่ชักช้า

ข้อ 32 การรับของขวัญ ของกำนัล ย่อมทำได้ตามฐานานุรูปแห่งตนและวัฒนธรรมสังคม เว้นเสียแต่ว่าการรับเช่นว่านั้นเป็นไปเพื่อหวังจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งขัดกับหลักจริยธรรมนี้ 

 

ประกาศ ณวันที่ 10 มิถุนายน 2555

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลยะลานัดฟังคำสั่งคดีไต่สวน 5 ปี หลังคดีเสียชีวิตระหว่างควบคุมตัว

Posted: 10 Jun 2012 07:15 AM PDT

วันที่ 11 มิถุนายน เวลา 2555 09.00 น. ศาลจังหวัดยะลา  นัดฟังคำสั่งคดีไต่สวนชันสูตรพลิกศพนายอัสฮารี สะมะแอ  เสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่  ในคดีหมายเลขดำที่ ช.13/2552  เพื่อให้ไต่สวนถึงสาเหตุและพฤติการณ์ของการเสียชีวิตของนายอัสฮารี สะมะแอ ที่ได้เสียชีวิตลงหลังจากเจ้าหน้าที่ทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ 1 หน่วยเฉพาะกิจที่ 13 จังหวัดยะลา ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา ได้อาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึก จับและควบคุมตัวนายอัสฮารีกับพวก ระหว่างการควบคุมตัวนั้นนายอัสฮารีและเพื่อนที่ถูกควบคุมตัวด้วยกันได้ถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกาย เป็นเหตุให้นายอัสฮารีเสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัว คดีนี้ใช้ระยะเวลาในการไต่สวนเป็นระยะเวลานานเกือบ 3 ปีแล้ว  จึงขอเชิญท่านที่สนใจร่วมฟังคำสั่งศาลตามวันและเวลาดังกล่าวข้างต้น

อนึ่ง ระหว่างที่มีการดำเนินคดีคดีชันสูตรพลิกศพอยู่นั้น  นางแบเดาะ สะมะแอ มารดาของผู้เสียชีวิตได้เป็นยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสงขลา เรียกค่าเสียหายทางละเมิดจากกระทรวงกลาโหม กองทัพบก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจที่กระทำละเมิดทำร้ายร่างกายนายอัสฮารีจนถึงแก่ความตายใยระหว่างการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก

ต่อมาวันที่ 30 มกราคม  2555 ศาลปกครองสงขลาได้มีคำสั่งให้สำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดของกอ.รมน.ชดใช้ค่าเสียหายแก่นางแบเดาะ สะมาแอ ผู้ฟ้องคดี เนื่องจากไม่เชื่อว่าบาดแผลที่เกิดขึ้นตามร่างกายของนายอัสฮารีจะเกิดขึ้นเองโดยไม่ถูกทำร้ายร่างกายและเกิดขึ้นในขณะเจ้าหน้าที่จับกุมและควบคุมตัว และเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีคำสั่งให้กอ.รมน.ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีชดใช้ค่าเสียหายแก่มารดาของนายอัสฮารี เป็นเงินกว่า 500,000 บาท แต่สำนักนายกรัฐมนตรีอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองสงขลา ต่อศาลปกครองสูงสุด คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จี้ สธ.หยุดทำร้ายนวดไทยหลังออกประกาศสอบนวด

Posted: 10 Jun 2012 07:12 AM PDT

มูลนิธิสุขภาพไทยยื่นจดหมายร้องวิทยาหยุดทำร้ายนวดไทย หลังออกประกาศด่วนให้หมอนวดที่สอบผ่านข้อเขียนเพื่อขึ้นทะเบียนรับใบประกอบโรคศิลปะแพทย์แผนไทยให้ไปสอบปฎิบัติโดยให้เลือกว่าจะสอบนวดแบบพื้นบ้านหรือเชลยศักดิ์ ซึ่งเป็นวิชาการนวดที่ไม่อยู่ในหลักสูตรตามกฎหมาย ทำให้คนตาบอดที่สอบผ่านข้อเขียนไม่สามารถสอบได้เพราะออกหลักสูตรที่ไม่ได้เรียนมา เผยไม่มีกฎหมายระเบียบข้อไหนกำหนดว่า วิชานวดไทยต้องเป็นพื้นบ้านหรือราชสำนัก ชี้เป็นการละเมิดกฎหมาย ทำลายภูมิปัญญาการนวดไทย จี้ออกประกาศใหม่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่ดำเนินการหมอนวดตาบอดจะเข้าพบรมว.สธ.

นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ เลขาธิการมูลนิธิสุขภาพไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา มูลนิธิสุขภาพไทยและมูลนิธิพัฒนาการแพทย์แผนไทย ได้ยื่นจดหมายถึงนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ยุติการละเมิดกฎหมายการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 โดยเร่งด่วน อันเนื่องมาจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ ได้ออกประกาศด่วนผ่านทางเวบไซต์ www.mrd.go.th เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.55 และให้ตอบกลับภายในวันที่ 10 มิ.ย.55 สั่งให้หมอนวดผู้ที่สอบทฤษฎีผ่านสำหรับการขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประเทศการนวดไทยภาคปฏิบัติประจำปี 2555 ให้แจ้งเพื่อมาสอบภาคปฏิบัติ โดยต้องระบุว่าจะเข้าสอบนวดไทยภาคปฏิบัติแบบไหน โดยให้เลือก 1.แบบทั่วไป เช่น เชลยศักดิ์ พื้นบ้าน หรือ2.แบบราชสำนัก ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยมีประกาศกำหนดเรื่องนวดแบบเชลยศักดิ์หรือแบบราชสำนักในกฎระเบียบใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น กฎกระทรวงว่าด้วยการอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ ประกาศ ระเบียบ และหลักสูตรวิชาการนวดไทย ซึ่งมี 14 รายวิชา ก็ไม่มีวิชาการนวดแบบเชลยศักดิ์หรือราชสำนัก

“ประกาศนี้จึงเท่ากับว่า ออกประกาศในสิ่งที่ผู้สอบไม่ได้เรียน เหมือนเป็นการกำหนดหลักสูตรการเรียนอีกแบบ แต่เมื่อสอบกลับใช้หลักสูตรที่ผู้สอบไม่ได้เรียน ซึ่งไม่สามารถสอบนวดแบบดังกล่าวได้แน่นอน ที่สำคัญ องค์ความรู้การนวดไทยมีแหล่งที่มาสำคัญ คือ ศิลาจารึกแผนนวดวัดโพธิ์ สมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ.2375 ก็ไม่มีการระบุการนวดแบบเชลยศักดิ์ พื้นบ้าน หรือแบบราชสำนัก และขณะนี้ศิลาจารึกวัดโพธิ์ได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกด้วย ”

นายวีรพงษ์ กล่าวต่อว่า มูลนิธิพัฒนาการแพทย์แผนไทยและมูลนิธิสุขภาพไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าประกาศด่วนในเวลาที่รวบรัด ดังกล่าว เป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมายการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 มาตรา 5 และ มาตรา 33 (1) (ก) ออกประกาศในสิ่งที่ไม่ได้ระบุในกฎหมาย เป็นการทำลายภูมิปัญญาไทย และทำร้ายผู้มีสิทธิ์สอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้พิการสายตา ซึ่งสามารถสอบผ่านภาคทฤษฎีจำนวน 33 คน แต่ต้องมาสอบภาคปฏิบัติการนวดไทยตามประกาศด่วนดังกล่าว โดยไม่เป็นไปตามกฎหมายและภูมิปัญญาไทย ตลอดจนองค์ความรู้ที่ได้เรียนมา

“จึงขอเรียกร้องให้รมว.สธ. ยุติการทำลายภูมิปัญญาไทย หยุดทำร้ายนวดไทย และยุติการละเมิดกฎหมายดังโดยด่วน และให้เร่งดำเนินการให้มีการจัดทำประกาศที่ถูกต้องและเป็นไปตามพ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 มาตรา 33 (1) (ก) เพื่อร่วมกันสร้างหมอนวดไทยทั้งผู้พิการสายตาและสายตาปกติให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไทยที่มีมาตรฐานและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และหากไม่มีการดำเนินการใดทางหมอนวดที่พิการทางสายตาจะประท้วงที่สธ.เพื่อให้รมว.สธ.แก้ไขโดยเร็ว” เลขาธิการมูลนิธิสุขภาพไทย กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้ป่วยเอดส์ไตเสนอรัฐทำ 3 กองทุนสุขภาพรักษาเหมือนกัน

Posted: 10 Jun 2012 07:08 AM PDT

เครือข่ายเอดส์และไตหนุนรัฐบาลเดินหน้าลดเหลื่อมล้ำ เสนอทุกระบบใช้ยาต้านและมีแนวทางรักษาเหมือนกัน ส่วนไต แนะให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมเลือกวิธีรักษา และให้ร่วมจ่ายไม่เกินครั้งละ 300 บ. ด้านแพทย์โต้สปส.เหตุยื้อรักษามะเร็งปากมดลูก จี้ สปส.เลิกหากินกับแรงงาน ชี้แม้แต่รักษาง่ายสุดยังต้องส่งต่อ สะท้อน รพ.สปส.ไม่มีมาตรฐาน

นายสุดใจ ตะภา ตัวแทนเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย กล่าวถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ใน 3 กองทุนสุขภาพว่า ความแตกต่างของแต่ละระบบทำให้คุณภาพชีวิตต่างกัน ดังนั้นในส่วนของเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ จึงมีข้อเสนอต่อรัฐบาลดังนี้ 1.ทั้งสามระบบให้ใช้ระบบฐานข้อมูลอันเดียวกัน คือ NAP เพื่อให้การเคลื่อนย้ายผู้มีสิทธิเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีสิทธิเดียวกัน 2.ให้ทุกคนมีมาตรฐานการรักษาเดียวกัน 3.มีแนวทางการอนุมัติปรับเปลี่ยนสูตรยาแบบเดียวกัน 4.มีการใช้ระบบการจัดการ และสำรองยาต้านไวรัสสูตรดื้อยาแบบเดียวกัน 5.ให้ทั้งสามกองทุนร่วมกันรับผิดชอบในเรื่องการป้องกันการติดเชื้อฯของทุกคน

นายสหรัฐ ศราภัยวานิช ตัวแทนผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังในขณะนี้ได้แก่ แต่ละระบบยังมีสิทธิประโยชน์ที่ต่างกันมาก รวมถึงแนวทางการดูแลบำบัดทดแทนไตที่แต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อด้อยต่างกันไป ซึ่งข้อเสนอของชมรมเพื่อนโรคไตในการลดความเหลื่อมล้ำ 3 กองทุน ได้แก่ 1.การเลือกแนวทางการรักษาสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ควรยึดเหตุผลทางการแพทย์ของคนไข้เป็นเหตุผลหลัก 2.สปสช.ควรสนับสนุนการพัฒนาระบบให้ข้อมูลคนไข้ที่รอบด้านเพื่อให้มีส่วนร่วมการรักษาและเลือกแนวทางได้ 3.คนไข้ล้างหน้าท้องต้องฟรีในทุกระบบรวมถึงการวางสาย ปัจจุบันคนไข้ประกันสังคมยังต้องร่วมจ่ายในการล้างหน้าท้อง 4.คนไข้ฟอกเลือดรายเก่า รายใหม่ที่ต้องการฟอกเลือดในทุกระบบร่วมจ่ายไม่เกิน 300บาทต่อครั้งและไม่จำกัดจำนวนครั้ง รวมทั้งไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเตรียมเส้นสำหรับฟอก 5.ทั้งสามกองทุนต้องวางมาตรการการควบคุมคุณภาพการฟอกเลือดด้วยเครื่อง การติดเชื้อจากเพื่อนที่อาจเป็นเหตุให้ติดโรคอื่นๆ เช่น ตับอักเสบบี และซี และเอชไอวีได้ 6.ให้กรมการค้าภายในควบคุมค่าบริการทางการแพทย์ ค่าฟอกเลือด การเตรียมเส้นเลือด

ต่อกรณีการเปิดเผยข้อมูลว่ารพ.ตามสิทธิประกันสังคมไม่สามารถรักษาผู้ประกันตนจากโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสปสช.ได้นั้น นพ.พูลชัย จิตอนันตวิทยา ที่ปรึกษาภาคีหมออนามัยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ประเด็นที่สปส.ไม่ได้ตอบคือ ทีมงานประสานงานกับสปส.มาตลอดก่อนหน้าที่เรื่องนี้จะเป็นข่าว ที่เป็นข่าวเพราะสปส.ไม่เคยแก้ปัญหาได้  การทำงานตรงนี้ไม่ใช่หน้าที่ของโครงการตรวจคัดกรอง  ผู้บริหารสปส.ทราบเรื่องนี้ดี เราร้องเรียนมาตลอดหลายเดือน แต่ทางสปส.เพิ่งออกมาบอกว่าขอตรวจสอบก่อนว่าการรักษาขั้นต้นนี้เป็นเรื่องจำเป็นของแพทย์สูตินรีเวชหรือไม่ ซึ่งนับว่าเป็นการรู้ตัวที่ช้ามาก ทุกอย่างที่สปส.ทำตรงข้ามกับยุทธศาสตร์สวยหรูของสปส.ทั้งสิ้น

“สปส.ต้องหยุดเอาผู้ป่วยเป็นตัวประกันและเลิกหากินกับแรงงานได้แล้ว เหตุการณ์นี้เป็นหลักฐานที่สะท้อนซ้ำๆว่าสปส.ไม่มีศักยภาพที่จะทำเรื่องการรักษาพยาบาลได้เลย สำนักงานที่มีหมอแค่ 2 คน แต่ต้องมาดูเรื่องรักษาพยาบาลให้คน 10 ล้านคน ระบบสปส.ถึงได้เละเทะแบบนี้ อุปกรณ์ที่จะรักษาผู้ป่วยมะเร็งขั้นพื้นฐาน จัดหาได้ไม่ยาก ประเด็นคือรักษาระยะแรกซึ่งสูญเสียน้อยทำไม่ไม่ทำให้แล้วเสร็จ การรักษาง่ายที่สุดยังต้องส่งต่อ แบบนี้จะเรียกว่ามีมาตรฐานตรงไหน และหากรพ.จะตรวจซ้ำ ก็อาจจะทำได้ แต่ขณะที่ผู้ประกันตนมารพ.ในฐานะผู้ป่วย รพ.ไม่ควรเก็บเงินซ้ำอีก ทั้งที่จ่ายสมทบทุกเดือน แบบนี้จะมีสิทธิประกันสังคมทำไม เมื่อยังต้องจ่ายซ้ำซ้อนอีก ถ้าเช่นนั้นผมก็ขอทวงเงินคืนให้กับทุกคนด้วย เพราะไม่เป็นธรรม คนไทยใต้รัฐธรรมนูญเดียวกัน แต่ผู้ประกันตนกลับเป็นกลุ่มเดียวที่ถูกเลือกปฏิบัติแบบไม่เป็นธรรมอย่างนี้”นพ.พูลชัย กล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พมจ.ชัยภูมิ ร่วมเดินหน้า ผลักดัน “กองทุนสวัสดิการชุมชน”

Posted: 10 Jun 2012 04:49 AM PDT

เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนชัยภูมิจัดเวทีสมัชชา หารือการแก้ปัญหา “กองทุนสวัสดิการชุมชน”-เสนอแนวทางการพัฒนา พร้อมร่วมประกาศเจตนารมณ์ ชูคำขวัญพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน สู่ความมั่นคง เข้มแข็ง และยั่งยืน

 
 
วันที่ 8 มิ.ย.55  เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัดชัยภูมิ จัดเวทีสมัชชา “เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชน คนชัยภูมิลูกหลานพญาแล” ณ อาคารศูนย์เยาวชนเทศบาลเมืองชัยภูมิ โดยกิจกรรมช่วงเช้า ได้มีการเปิดเวทีเสวนาบทเรียนสวัสดิการชุมชนสร้างความเข้มแข็งอย่างยืน โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา อาทิ นายมนตรี ชาลีเครือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายประจวบ แต่งทรัพย์ ผู้แทนขบวนสวัสดิการชุมชน นายสยาม นนท์คำจันทร์ ผู้แทนฝ่ายวิชาการ นางสาวประไพ ครามวุฒิ ผู้แทนพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชัยภูมิ (พมจ.ชัยภูมิ) รวมทั้งพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชัยภูมิ และผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนกว่า 500 คน
 
นายประจวบ กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดงานครั้งนี้ว่า เพื่อเป็นการรายงานสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ให้สมาชิกเกิดความเข้าใจและรับทราบ รวมทั้งเพื่อเป็นการเรียนรู้แลกเปลี่ยน ถึงปัญหา ที่มีทั้งจุดเด่น และจุดด้อย แตกต่างกันไป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นเพื่อนำความเข้าใจร่วมกัน ถึงปัญหาอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้เกิดมีการจัดตั้งการบริหารกองทุนสวัสดิการ ที่ชุมชนจะจัดการตนเองในการดำเนินงานต่อไป และนำข้อเสนอที่เกิดจากการระดมความคิด มาเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทางเครือข่ายกองทุนฯ ได้มีการดำเนินการทางด้านสวัสดิการต่อชุมชน นั้นๆ ต่อไป
 
ผู้แทนขบวนสวัสดิการชุมชน กล่าวต่อว่า กองทุนสวัสดิการชุมชนจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องมาจากความร่วมมือ รวมใจของประชาชนในพื้นที่ ที่ทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของด้วยความสมัครใจ ในการที่จะร่วมดูแลซึ้งกันและกันบนพื้นฐานในการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของสมาชิก เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงยั่งยืน และสามารถดูแลจัดการกันเองได้ทุกเพศ  ทุกวัย  ทุกประเภทตั้งแต่เกิดจนตาย ขยายแกนนำให้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการ
 
“ปัจจัยสำคัญในระยะเริ่มต้นก็คือแกนนำ ซึ่งจะต้องมีอย่างกว้างขวางทั้งในระดับพื้นที่หมู่บ้าน โซน คุ้มบ้าน หรืออาจเป็นแกนนำจากกลุ่มกิจกรรมที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนมีการยกระดับกองทุนสวัสดิการชุมชนจากฐานสมาชิกเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้มีการขยายสมาชิกให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกตำบล ในจังหวัด ภายในปี 2557เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถดูแลสมาชิกได้อย่างทั่วถึง” นายประจวบ กล่าว
 
ด้านนางสาวประไพ ให้ความเห็นว่า กองทุนสวัสดิการชุมชน ที่ดีนั้น จะสามารถเกิดขึ้นจากการที่ชุมชนมาร่วมกันคิด ร่วมกันสร้างระบบ ร่วมกันบริหารจัดการให้สามารถเป็นกองทุนที่ทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของ เพราะฉะนั้นรูปแบบเงินกองทุนสวัสดิการชุมชน  จึงได้มาจากการร่วมสมทบของสมาชิกในรูปแบบที่กองทุนแต่ละแห่งกำหนดขึ้นมา  เช่น การออมสัจจะวันละบาท เป็นการระดมทุน เพื่อสร้างกองทุนในการจัดสวัสดิการในชุมชน  เน้นการส่งเสริมด้านสัจจะและวินัยการออม  และพึ่งตนเอง โดยเริ่มมาแต่ปี 2550 ถึงปัจจุบันมีกว่า 48 ตำบล โดยในจังหวัดชัยภูมิ มีทั้งสิ้น 124 ตำบล เป้าหมายต่อไปจะทำการขยายอีก 76 ตำบล ให้ครบทุกพื้นที่ ภายใน ปี 2556 นี้
 
ทั้งนี้ สมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนจะได้รับสวัสดิการตามที่สมาชิกร่วมกันกำหนด โดยมีคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชาวบ้านที่สมาชิกเลือกขึ้นมาเป็นผู้บริหาร เพื่อจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกตั้งแต่เกิดจนตาย  โดยสมาชิกจะได้รับสวัสดิการ ต่างๆ เช่นสวัสดิการผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพ สวัสดิการเกิด การเจ็บป่วย เป็นต้น นอกจากนี้เงินกองทุนออมวันละ 1 บาท ยังสามารถนำมาช่วยเหลือสังคม สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกได้อีกด้วย
 
“ที่ผ่านมาในแต่ละตำบลนั้น ต้องกลับไปทบทวนในแต่ละพื้นที่ว่า มีจุดอ่อน จุดแข็ง อย่างไรบ้าง แล้วนำแผนพัฒนาในแต่ละท้องที่มาขยายให้เกิดความเข้าใจ โดยจำเป็นต้องมีการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อทบทวนบทเรียนที่ผ่านมาในแต่ละโซนของตัวเองเสียก่อน เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดชัยภูมิ จะให้ความร่วมมือ เพื่อหนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งในงานพัฒนา นำพาไปสู่จังหวัดจัดการตนเองได้ในโอกาสอันเร็ว ต่อไป” ผู้แทน พมจ.ชัยภูมิ กล่าว
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประมาณ 14.30 น. ภายหลังที่กลุ่มย่อยทั้ง 4 โซน ในส่วนของแต่ละอำเภอในจังหวัดได้นำเสนอผลการสรุปในแต่ละกลุ่มย่อย เพื่อนำเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น ได้ประกาศเจตนารมณ์ของ เครือข่ายสวัสดิการชุมชนคนชัยภูมิลูกหลานพระยาแล ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานภาครัฐจังหวัดชัยภูมิ เพื่อดำเนินงานด้านการพัฒนาชีวิตของประชาชนจังหวัดชัยภูมิ อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็ง อยู่ดีกินกินดี และสามารถจัดการตนเองได้ โดยคำประกาศดังกล่าว ดังนี้
 
สมัชชากองทุนสวัสดิการชุมชนคนชัยภูมิลูกหลานพระยาแล ขอร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ในหารส่งเสริมและพัฒนายกระดับกองทุนสวัสดิการชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สามารถเป็นหลักประกันความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยมีรายละเอียดข้อเสนอ ดังนี้ 1.พัฒนาคุณภาพกองทุนสวัสดิการชุมชน 2.สร้างเครือข่ายความร่วมมือการทำงานร่วมกับท้องถิ่น ท้องที่ ภาคีพัฒนา 3.จะร่วมมือกับทุกฝ่าย เพื่อยกระดับการทำงานร่วมกัน โดยใช้พื้นที่จังหวัดชัยภูมิเป็นตัวตั้ง ทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกองค์กร ร่วมกันเป็นเจ้าของกองทุน
 
4.ยกระดับกองทุนสวัสดิการชุมชนจากฐานสมาชิกเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้มีการขยายสมาชิกให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกตำบล ในจังหวัด ภายในปี 2557 5.เพิ่มการจัดสวัสดิการชุมชน จากเรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย สู่การแก้ปัญหาที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในจังหวัดชัยภูมิ 6.รัฐบาลกำหนดนโยบายในการสมทบ และให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชนที่ต่อเนื่องทุกตำบล/เทศบาล และ 7.ยกระดับกองทุนสวัสดิการชุมชนสู่นโยบาย “รัฐสวัสดิการ”
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสวนา: การแก้ไขรัฐธรรมนูญกับการวางรากฐานประชาธิปไตย

Posted: 10 Jun 2012 01:43 AM PDT

จาตุรนต์หวั่นศาล รธน.แทรกแซงนิติบัญญัติ ลามถึงตีความเนื้อหา รธน.-ยุบพรรค สิริพรรณ เสนอ 5 ประเด็นท้าทายร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ศิโรตม์ชี้หลัง 49 การตีความถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ต้องออกแบบให้ศาล รธน.ตรวจสอบได้ พรสันต์ย้ำทำความเข้าใจม.68 ก่อนกลายเป็นอภิมหาบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญไทย

 

จาตุรนต์หวั่นศาลรัฐธรรมนูญแทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติ

(10 มิ.ย.55) ในการเสวนา การแก้ไขรัฐธรรมนูญกับการวางรากฐานประชาธิปไตย ที่โรงแรมสยามซิตี้ จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย กล่าวว่า ขณะนี้จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งหวังกันว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ที่มาจากประชาชน ผ่านการเลือก ส.ส.ร.และลงประชามติ แต่กระบวนการนี้กำลังอยู่ในจุดวิกฤตคือ ทางสองแพร่งระหว่างการแก้และได้รับรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยกับการเกิดการล้มการร่างรัฐธรรมนูญโดยศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านการตีความมาตรา 68 ในลักษณะที่บิดเบือนจากสาระของรัฐธรรมนูญ ทั้งโดยการตีความภาษาและตีความโดยไม่รับรู้บรรทัดฐานที่เคยสร้างไว้ในมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญ 40 ซึ่งมีเนื้อความแบบเดียวกันในมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ 50 ที่ตีความว่า การยื่นคำร้องต้องยื่นต่ออัยการสูงสุด เพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ

จาตุรนต์ กล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมักถือคำพิพากษาศาลฎีกาว่าด้วยรัฏฐาธิปัตย์เสมอๆ เพื่อรองรับการรัฐประหาร แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญด้วยกันเองในมาตราที่มีเนื้อหาเดียวกันทุกประการกลับไม่ถือ ซึ่งจะนำสู่ตีความผิดและใช้ผิดต่อไปอีก

ทั้งนี้ เขาชี้ว่า หากรัฐสภาไม่รีบลงมติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในวาระ 3 โดยเร็ว ศาลรัฐธรรมนูญจะเข้ามาตีความเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเท่ากับเข้ามาก้าวก่ายอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติอย่างชัดแจ้ง และอาจตามมาด้วยการยุบพรรคการเมืองที่เสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อไป และนำไปสู่วิกฤตของประเทศที่จะยืดเยื้อจนยากจะแก้ไขได้

จาตุรนต์กล่าวด้วยว่า ประเด็นที่สำคัญคือ หากเกิดการล้มการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญขึ้น จะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดที่จะตัดสินว่าจะแก้รัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ซึ่งเท่ากับทำลายหลักการอำนาจสูงสุดที่อยู่ที่ฝ่ายนิติบัญญัติคือรัฐสภา มาเป็นฝ่ายตุลาการคือศาลรัฐธรรมนูญแทน

5 ประเด็นท้าทายร่างรัฐธรรมนูญใหม่

สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัญหาสำคัญของรัฐธรรมนูญไทยคือ ความไม่ศักดิ์สิทธิ์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยมาก เราจะครบ 80 ปีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิ.ย.นี้ เรามีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 18 ฉบับ เท่ากับทุก 4 ปีจะมีรัฐธรรมนูญ 1 ฉบับ และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง หลักการสำคัญเปลี่ยนแปลงตลอด บางครั้งให้อำนาจฝ่ายบริหารเข้มแข็ง บางครั้งให้ตรวจสอบฝ่ายบริหารได้ง่าย บางครั้งเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกตั้ง และมีความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการโค่นทั้งฉบับ คือรัฐประหาร ดังนั้น ทั้งความศักดิ์สิทธิ์และหลักการพื้นฐานจึงถูกท้าทาย

สิริพรรณ ชี้ว่า ความท้าทายของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งส่วนตัวยังมองว่าควรจะร่างได้ แบ่งเป็น 5 ข้อ ได้แก่

หนึ่ง หลักการ civilian supremacy คือหลักการที่บอกว่าผู้นำฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้ง มีอำนาจสูงกว่ากองทัพ นั่นหมายถึงการแต่งตั้งโยกย้าย งบประมาณของฝ่ายกองทัพ ต้องได้รับความเห็นชอบ ยินยอมจากผู้นำจากการเลือกตั้ง มากไปกว่านั้น ตั้งคำถามว่า จะทำลายหลักคำพิพากษาศาลฎีกาที่ว่าผู้นำรัฐประหารเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์อย่างไร ทั้งนี้ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรมาตลอด แต่ก็มีรัฐธรรมนูญจารีตแฝงเร้นอยู่ตลอดเช่นกัน และหลายครั้งรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมของผู้ปกครอง ก็มาครอบงำรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร

สอง constitutional supremacy คือ รัฐธรรมนูญควรมีอำนาจเหนือและเป็นกฎหมายสูงสุดเหนืออื่นใดในโลกนี้ เรื่องนี้แม้จะดูง่ายๆ แต่ไม่เป็นเช่นนั้น รัฐธรรมนูญบอกว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนควรได้รับการคุ้มครอง แต่อำนาจหรือสิทธิของประชาชนในรัฐธรรมนูญทุกฉบับกลับถูกท้าทายโดยกฎหมายที่มีฐานะต่ำกว่าเช่น มาตรา 112 ที่ผู้ถูกกล่าวหาผิดตั้งแต่ถูกกล่าวหา ไม่สามารถใช้สิทธิประกันตัวได้ ไม่ได้รับการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผย

สาม การวางรากฐานระบบการตรวจสอบถ่วงดุล เสนอว่าควรจะหลุดจากพันธนาการของวิธีคิดแบบระบบรัฐสภาเดิม โดยกล่าวถึงข้อเสนอที่เคยเสนอไปว่า ให้สามารถเลือกตั้งนายกฯ ตรงได้ แต่ถ้ากลัวว่าจะท้าทายอำนาจสถาบันกษัตริย์ ก็ให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งนายกฯ หลังการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งนายกฯ ตรงไม่ได้จำเป็นว่าต้องมาเป็นประมุขของประเทศ โดยยังเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร เพราะทุกวันนี้ ฝ่ายบริหารที่ต้องทำงานภายใต้การต่อรองของกลุ่มก๊วนทางการเมือง มีอยู่สูงมาก บางครั้งพบว่าทำอะไรได้ไม่มากเพราะต้องทำงานภายใต้แรงกดดันของการต่อรอง

นอกจากนี้ เสนอให้ผู้ที่จะเป็นนายกฯ เสนอตัวพร้อมทีมบริหาร 35 คน เพื่อที่สื่อจะเข้าไปขุดคุ้ยทั้ง 36 คนอย่างถึงพริกถึงขิง เพื่อให้เห็นความชัดเจนและโปร่งใสของคนที่จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยชี้ว่าที่ผ่านมา ไทยเราเลียนแบบรัฐสภาของอังกฤษ แต่ฝ่ายบริหาร เราไม่เหมือน เราให้ใครก็ได้มาเป็นรมต. ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งด้วย ส่วนใหญ่ คนที่มาเป็น ไม่ได้ผ่านการเห็นชอบของนายกฯ ด้วยซ้ำ แต่ถูกเสนอโดยหัวหน้าพรรค แม้แต่การปรับ ครม. นายกฯ จะปรับได้ภายใต้พรรคที่ตัวเองเป็นหัวหน้า การตรวจสอบถ่วงดุลในระบบนี้จึงเกิดขึ้นไม่ได้เลย เพราะหัวหน้าฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง

ส่วนองค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น เสนอให้พิจารณาบทบาทขององค์กรเหล่านี้ว่าทำอะไรบ้าง คุ้มกับเงินภาษีของประชาชนหรือไม่ และยกเลิกองค์กรที่มีบทบาทซ้ำซ้อนกัน อาทิ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับผู้ตรวจการแผ่นดิน จะเก็บไว้แค่องค์กรเดียวได้หรือไม่ เพราะนอกจากซ้อนกันเองแล้ว บางส่วนยังซ้อนกับศาลปกครองด้วย

ด้านที่มาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและศาล มองว่าไม่มีความยึดโยงกับประชาชน โดยเมื่อพูดถึงการแบ่งแยก อำนาจตุลาการทุกวันนี้ได้แสดงบทบาทนำในการตรวจสอบอีกสองฝ่ายอย่างชัดเจน หรือบางคนอาจจะบอกว่าล้ำเส้น ทั้งที่มาจากการแต่งตั้ง วิธีแก้ยังไม่มีคำตอบชัดเจน แต่ยกตัวอย่าง กรณีสหรัฐฯ ที่ศาลสูงสุดมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี ซึ่งอาจได้คนที่มีอุดมการณ์คล้ายกันมา แต่โอกาสที่จะเลือกอยู่กับจังหวะที่มีศาลเสียชีวิต-ลาออกหรือไม่ ไม่ได้กำหนดเองได้ หรือฝรั่งเศส มีศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นฝ่ายการมืองมาจากอดีตประธานาธิบดี ซึ่งมีความชัดเจนว่า เป็นคนที่เคยผ่านการเลือกตั้งสองรอบและได้เสียงข้างมากเด็ดขาด

ประเทศเรามีปัญหาที่ทางของฝ่ายบริหารที่หมดวาระ เช่น นายกฯ ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายบริหาร แต่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลแล้ว หลายท่านยังกลับมาเป็น ส.ส. ไม่รู้จะจัดวางตัวเองไว้ที่ไหน ทำให้สถาบันนายกฯ ขาดความศักดิ์สิทธิ์ ปัญหานี้อาจแก้โดยการหาที่ทางให้ในตำแหน่งศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนที่มาของ กกต.อาจมาจากการเสนอของแต่ละพรรคการเมือง เพื่อคานอำนาจกัน เช่นเดียวกับในสหรัฐอเมริกา

สี่ การเพิ่มประสิทธิภาพของประชาชน รัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับล้วนแต่เป็นรัฐธรรมนูญที่ประทานมาจากผู้นำทั้งสิ้น ต้องเพิ่มประสิทธิภาพของประชาชนโดยให้ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้ ในระบบเลือกตั้ง ระบบบัญชีรายชื่อ เลือกนายกฯ ได้ตรง ให้ประชาชนมีส่วนร่วมเสนอกฎหมายโดยแท้จริง ไม่ใช่มีสิทธิเสนอ แต่ไปจบที่สภาเช่นในปัจจุบัน โดยยกตัวอย่าง สวิตเซอร์แลนด์ ที่ให้ประชาชนหนึ่งแสนชื่อเสนอกฎหมาย และให้ประชาชนลงมติกันเอง

นอกจากนี้ ในการถอดถอนองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ 50 นั้นเป็นไปไม่ได้เลย โดยการถอดถอน ศาลรัฐธรรมนูญ ต้องให้วุฒิสภาวินิจฉัย ซึ่งครึ่งหนึ่งของวุฒิสภาก็มาจากการสรรหาโดยศาลเอง ทั้งนี้เสนอให้มีการเลือกตั้งถอดถอน (recall election) โดยให้ประชาชนลงคะแนนเสียงว่าจะถอดถอนหรือไม่ เพื่อลดความหวาดกลัวในการลงชื่อถอดถอนลง

ห้า การตัดทอนอำนาจนอกระบบ แม้ในหมวด 2 สถาบันกษัตริย์ มาตรา 14-15 จะพูดเรื่องอำนาจหน้าที่ขององคมนตรี แต่หลายครั้ง จะเห็นว่าองคมนตรีออกมาให้ความเห็น มีบทบาททางการเมือง เช่น กรณีแป๊ะเจีย ต้องระบุให้ชัดว่า องคมนตรีมีบทบาทหน้าที่แค่ไหน ทำอะไรได้ไม่ได้ การแสดงความเห็นทำได้หรือไม่ ซึ่งรวมถึงการสัมภาษณ์ความเห็นผู้นำกองทัพ ที่สื่อต้องไม่ให้ความสำคัญกับบุคคลเหล่านี้ และการที่นายทหารจำนวนมากไม่ควรเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจด้วย

สิริพรรณ เสนอว่าอยากให้มี the great compromise คือต่างยอมประนีประนอมบางประการเพื่อให้รัฐธรรมนูญเกิดขึ้นได้ เราอาจไม่ได้ทุกอย่างที่อยากเห็น แต่ให้เลือกหลักการที่สำคัญก่อน และมี the smart accommodation คือให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมโดยเฉพาะฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย

สำหรับการแก้ไข "เผด็จการรัฐสภา" ในต่างประเทศใช้วิธีทำให้เสียงข้างมากไม่ธรรมดา เช่น super majority คือ เสียงข้างมากเด็ดขาด ใช้ 400 เสียงจากสภา 500 ทำให้พรรคเดียวไม่พอ ต้องขอความร่วมมือจากฝ่ายตรงข้าม "เผด็จการรัฐสภา" จะลดลง มีความชอบธรรมสูง เพราะได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย

ความเห็นต่อการตีความเรื่องมาตรา 68 โดยฐานะนักรัฐศาสตร์ มองว่าศาลรัฐธรรมนูญกำลังพิจารณาเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ทั้งที่มีการยืนยันด้วยซ้ำไปว่าจะไม่มีการแก้หมวด 2 นี่จึงเป็นใช้อำนาจเกินขอบเขตจริงๆ อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่า การผ่านวาระสาม คงทำได้ โดยรัฐสภาควรจะยืนยันถึงขอบเขตอำนาจของตัวเอง และไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลหลายคนก็พูดเองว่าไม่มีสิทธิพิจารณา ขณะเดียวกัน ย้ำว่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปรองดองหรือการแก้รัฐธรรมนูญ ก็อย่าให้เป็นการประนีประนอมเฉพาะชนชั้นนำอีก แต่ควรให้สาธารณชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
 
 

ชี้ "การตีความ" ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ต้องออกแบบให้ศาล รธน.ตรวจสอบได้

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระรัฐศาสตร์ กล่าวว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้หลายท่านไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องรัฐธรรมนูญเลย โดย 6 จาก 9 คน เติบโตมาทางสายศาลฎีกา คดีแพ่ง คดีอาญา ขณะที่อีกสามคนเชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ สายกฎหมายระหว่างประเทศ การพิจารณาจึงตกในมือคนที่ไม่ได้ทำเรื่องรัฐธรรมนูญเลย จะต้องปฏิรูปให้มีผู้ที่เชี่ยวชาญด้านรัฐธรรมนูญมากกว่านี้

ศิโรตม์เสนอว่า ในการร่างรัฐธรรมนูญ หนึ่ง ควรคิดว่า จะทำอย่างไรให้ประชาธิปไตยเป็นปึกแผ่นมั่นคง โดยชี้ว่า ตั้งแต่การรัฐประหาร 2549 ประชาธิปไตยไม่มั่นคงจากการที่มีพลังต่อต้านประชาธิปไตยอยู่จริงๆ โดยบางพลังมีอำนาจรัฐ บางพลังมีสื่อ ทั้งหมดแชร์ความคิดว่าอำนาจอธิปไตยไม่ใช่ของประชาชน แต่อยู่ที่อื่น ตั้งคำถามว่าเราจะทำอย่างไรกับกลุ่มที่ไม่เชื่อเรื่องประชาธิปไตยเลย และนอกจากมีพลังฝ่ายที่ไม่เชื่อเรื่องประชาธิปไตยยังมีการดำรงอยู่ของคำสั่งและกฎหมายจำนวนมาก ที่ขัดหลักประชาธิปไตยอย่างมาก เช่น พ.ร.บ.ความมั่นคง กฎอัยการศึก ที่ให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจพิเศษมาก สอง ทำอย่างไรที่จะให้รัฐมีอำนาจน้อยลง ประชาชนมีอำนาจมากขึ้น เช่น ให้มีการกระจายอำนาจให้รัฐมีขนาดเล็กลง องค์กรอิสระต่างๆ ที่แทบจะเป็นองค์กรเหนือรัฐไปแล้ว ต้องถูกตรวจสอบจากประชาชนได้มากขึ้น และสาม จะต้องคิดผ่านกรอบว่าสังคมไทยกำลังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน จะออกแบบอย่างไรให้ตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของสังคม

ทั้งนี้ เพื่อตอบโจทย์ทั้งสามข้อ ศิโรตม์ชี้ว่า การเขียนรัฐธรรมนูญต้องสะท้อนเจตจำนงการเมืองของประชาชน ต้องวางอยู่บนหลักอำนาจอธิปไตยปวงชน และเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากกว่านี้ สอง ในความขัดแย้งหลัง 2549 รัฐธรรมนูญหรือการตีความถูกใช้เป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมืองมากขึ้น และการใช้อำนาจอย่างเด็ดขาดของศาลรัฐธรรมนูญก่อให้เกิดปัญหา ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงควรถูกควบคุมโดยสังคมให้มากขึ้น โดยให้ตรวจสอบ ถกเถียง และล้มล้างคำตัดสินได้ ทั้งนี้ วิจารณ์ว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงการยุบพรรคออกมาทั้งที่ไม่มีช่องกฎหมายที่จะทำได้ รวมถึงการตีความที่ผ่านมานั้น เป็นความมั่นใจเกินไปของศาลรัฐธรรมนูญว่าสิ่งที่ตัวเองตีความกลายเป็นกฎหมายสูงสุดไปแล้ว สาม อำนาจเด็ดขาดในการตีความจะต้องออกแบบให้มีความเชื่อมโยงรัฐสภามากขึ้น

เสนอทำความเข้าใจม. 68 ก่อนกลายเป็นอภิมหาบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญไทย

พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย นักวิชาการอิสระด้านนิติศาสตร์ กล่าวว่า การรับคำร้องและมีคำสั่งระงับยับยั้งการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถือเป็นคำสั่งขององค์กรตุลาการที่ขัดกับหลักสถาปนารัฐธรรมนูญ เนื่องจากตัวบทรัฐธรรมนูญไม่มีบทบัญญัติใดให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามาตรวจสอบ สั่งระงับยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญของสภาเลย นอกจากนี้ ยังเปรียบได้กับการที่ "ลูกฆ่าแม่" ด้วยเนื่องจากเป็นการจะใช้อำนาจของศาลเข้ายับยั้งอำนาจของตัวแม่ที่ก่อตั้งศาลขึ้นมาด้วย

นอกจากนี้ การใช้อำนาจขององค์กรตุลาการถูกออกแบบเพื่อใช้อำนาจควบคุม ไม่ให้ใช้อำนาจเกินไปกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ถ้าเห็นว่าฝ่ายการเมืองใช้อำนาจไม่ชอบธรรม ก็ต้องใช้องค์กรทางการเมืองตรวจสอบเอง ส่วนอะไรที่เป็นทางกฎหมายจึงให้องค์กรตุลาการเข้ามาตรวจสอบได้ ทั้งนี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องการเมืองโดยแท้ เพราะในเชิงหลักการเรื่องการเมือง คือเรื่องที่นิติบัญญัติต้องดำเนินการตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ทำ การพิจารณาการร่างรัฐธรรมนูญในวาระที่สามนั้นยังเป็นอำนาจของฝ่ายรัฐสภา ดังนั้น โดยหลักวิชาการแล้ว ศาลจะเข้ามาระงับยับยั้งใช้อำนาจล่วงล้ำเขตแดนฝ่ายการเมืองไม่ได้

ในด้านข้อกฎหมาย พรสันต์มองว่า การตรวจสอบแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่เกี่ยวกับมาตรา 68 ซึ่งเป็นการตรวจสอบการกระทำใดๆ ให้ได้มาซึ่งอำนาจด้วยวิถีทางนอกรัฐธรรมนูญ และเกี่ยวข้องกับมาตรา 291 เท่านั้น เพราะเป็นเรื่องขั้นตอนและการเสนอ ไม่ได้มีเนื้อหาเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ เช่น จากราชอาณาจักร เป็นสาธารณรัฐ จึงไม่เห็นว่าจะขัดรัฐธรรมนูญหรือล้มล้างประชาธิปไตยอย่างไร

เขาชี้ว่า ถึงที่สุด หากจะใช้มาตรา 68 จริงๆ ก็จะยังติดที่กระบวนการยื่นผิดขั้นตอนอยู่ดี เนื่องจากแม้ว่าศาลจะบอกว่าสามารถบอกยื่นได้สองทาง แต่ในตอนยกร่างรัฐธรรมนูญ 2540 มีการถกเถียงกันถึงมาตรา 63 ซึ่งเป็นต้นแบบของมาตรา 68 นี้ว่ามาตรานี้ใช้เพื่อป้องกันการกระทำร้ายแรง ที่ล้มล้างระบอบการปกครอง จึงต้องมีองค์กรกลั่นกรองตรวจสอบก่อนส่งศาลรัฐธรรมนูญ และล่าสุด อัยการสูงสุดแถลงแล้วว่า คดีไม่มีมูล และไม่สั่งฟ้อง จึงเริ่มมีการตั้งคำถาม ว่าถ้าใช้สามัญสำนึก หากยื่นได้สองทาง ถ้าทางหนึ่งบอกว่ามีมูล ทางหนึ่งบอกไม่มีมูลจะเกิดอะไรขึ้นในทางหลักวิชา จะกลายเป็นว่า การตีความกฎหมายให้ศาลรับได้โดยตรงเป็นการตีความที่ก่อให้เกิดผลอันแปลกประหลาด ขัดแย้งกันในการทำงานเชิงองค์กร ขณะที่ถ้ายื่นได้สองทางและเห็นว่ามีมูลหรือมีความเห็นตรงกัน ถามว่า แล้วจะมีอัยการไว้ทำไม ฉะนั้น สะท้อนว่าการตีความแบบนี้ทำให้เกิดการทำงานซ้ำซ้อน

ทั้งนี้ เขาย้ำว่า ต้องทำความเข้าใจมาตรา 68 ให้ชัดเจนว่าใช้อย่างไร มีเจตนารมณ์อย่างไร ถ้าไม่เคลียร์สังคม ต่อไปมาตรา 68 อาจกลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง เป็นอภิมหาบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญไทย ให้ศาลสามารถสั่งยับยั้งการกระทำองค์กรอื่นๆ ด้วยก็ได้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดจดหมายนักโทษผู้ใกล้ชิด “อากง” ลำดับการจากไป ในวาระครบ 1 เดือน

Posted: 09 Jun 2012 10:56 PM PDT

 

ผู้เขียน: ธันย์ฐวุฒิ หรือหนุ่ม ผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ชื่อเรื่องเดิม: “จากเพื่อนร่วมชะตากรรมต่างวัย ถึงเพื่อนที่ล่วงลับจากไปชื่ออำพล”

เผยแพร่ครั้งแรก: เว็บไซต์สำนักราษฎรประสงค์

 

ในวาระครบรอบ 1 เดือน (8 พ.ค.) การเสียชีวิตของนายอำพล หรือ อากง ‘ประชาไท’ ขอนำเสนอจดหมาย 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นของนักโทษคดีเดียวกันผู้คอยดูแลอากงมาแต่วันแรกของการอยู่ในเรือนจำ เขาเขียนเพื่อไว้อาลัยและต้องการให้โลกภายนอกได้รับรู้ลำดับอาการของชายชราผู้นี้ รวมทั้งนิสัยใจคอและความเป็นอยู่ที่ผ่านมา แม้จะสุ่มเสี่ยงและไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะส่งเรื่องราวเหล่านี้ออกมา

อีกฉบับหนึ่งเป็นของอดีตผู้ต้องขังคดีการเมือง ซึ่งพ้นโทษออกมาแล้วและเคยอยู่แดนเดียวกับอากง เขาสะท้อนถึงความยากลำบากในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลในเรือนจำของผู้ต้องขัง

 

 ---------------------------------

 หนุ่มแดงนนท์                           

8 พฤษภาคม 2555

 

“อำพล ตั้งนพกุล, อำพล ตั้งนพกุล ติดต่อที่ทำการแดนครับ ปล่อยตัว!!” เสียงประกาศผ่านไมค์ดังก้องไปทั่วแดน 8 ผมร้องขอให้เพื่อนช่วยประกาศให้เพื่อปลดปล่อยดวงวิญญาณของอากงให้เป็นอิสระ ท่ามกลางความแปลกใจ ตกใจ กับการจากไปอย่างกะทันหันของชายชราคนหนึ่ง ที่พวกเขาเห็นอยู่ทุกวัน ผม หมี สุริยันต์ ไมตี้ วุฒิชัย สายชล ทองสุข รวมถึงเพื่อนๆ ของอากง เดินเกาะกลุ่มกันไปยังประตูทางออกแดน 8 ที่เป็นประตูลูกกรงหนาแน่นบานใหญ่สูงตระหง่าน เราเปิดประตูทางออกแดนอย่างช้าๆ และต่างคนต่างกล่าวคำล่ำลากันให้กับอากง “บ๊ายบายนะอาเจ็ก ค่อยๆ เดินนะ เขาให้เจ็กกลับบ้านแล้ว ป้าอุ๊คอยอยู่ตรงโน้น เจ็กไปหาเขานะ !!” ผมกล่าวออกมาเหมือนเป็นการลาครั้งสุดท้ายในความว่างเปล่า และจินตนาการไปว่า เห็นอากงค่อยๆ เดินอย่างช้าๆ ไปทางประตู 4 ที่เป็นทางออกเรือนจำ

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้อากงจากพวกเราไปเร็วขนาดนี้นะ เมื่ออาทิตย์ก่อนพวกเรายังใช้ชีวิตด้วยกันอยู่เลย นี่คือคำถามที่ผมอยากรู้มากๆ ในตอนนั้น มันไม่น่าเกิดขึ้นได้เลย มันไม่ควรเกิดขึ้นเลยจริงๆ


ลำดับเหตุการณ์ อาการป่วย ก่อนถึงวันจากไป

ผมกับอากงและเพื่อนๆ มักจะชวนกันออกกำลังกายด้วยกันทุกเช้า ผมกับอากงเราจะแกว่งมือด้วยกัน วันละประมาณ 15-30 นาที ก่อนกินข้าวเช้า ราวๆ ต้นเดือนเมษายน อากงมาบ่นให้ผมฟังว่าแกปวดท้องน้อยบริเวณเหนือสะดือ ค่อนไปทางซ้ายหรือขวาผมจำไม่ได้ ผมเลยคิดว่าอาการน่าจะปวดกล้ามเนื้อท้องเนื่องมาจากการออกกำลังกาย ผมจึงบอกให้อากงหยุดแกว่งแขวนไปก่อนจนกว่าจะหายปวด เพราะก่อนหน้านี้ราวๆ เดือนมกราคม ก็เคยมีอาการแบบนี้ หยุดแกว่งแขนก็หาย ครั้งนี้ก็คงเหมือนกับครั้งก่อนละมั้ง อากงจึงหยุดแกว่งแขนเพื่อรอดูอาการตั้งแต่วันนั้น

1 สัปดาห์ผ่านไป อากงยังคงมีอาการเจ็บอยู่ ผมจึงให้แกทำเรื่องออกสถานพยาบาลภายในเรือนจำ (พบ.) ในวันจันทร์, 23 เมษายน แต่วันนี้อากงไม่ได้รับการตรวจ เพราะช่วงเช้าทางสมาคมทนายความมาขอพบ และป้าอุ๊มาเยี่ยมพอดี จึงทำให้ต้องเลื่อนไปในวันถัดไป

อังคาร, 24 เมษายน อากงออก พบ.แต่เช้า แต่ไม่ได้รับการตรวจใดๆ อากงบอกว่า เขาถามว่าเป็นอะไร อากงก็ตอบว่าปวดท้อง พวกเขาก็บอกกลับได้ แล้วจะจัดยาไปให้ วันนั้นอากงก็กลับมาที่แดนและได้รับยา 1 ชุดในตอนเย็น ผมไม่แน่ใจว่าเป็นยาอะไร แต่บอกว่าให้ลองกินดู ไม่หายค่อยทำเรื่องออกไปใหม่ ระยะนี้อากงก็มีลักษณะภายนอกเหมือนปกติทุกวัน กินข้าวได้ เดินเหินได้ปกติ

หลังจากกินยาชุดนี้ได้ 3-4 วัน อาการก็ยังไม่ดีขึ้น ยังคงเจ็บท้องอยู่ และมีอาการท้องใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย และกดดูแล้วก็แข็ง เนื่องจากอากงเป็นคนมีพุงอยู่แล้ว เลยไม่มีใครคิดว่าเป็นอาการผิดปกติ ผมจึงทำเรื่องให้อากงออกไป พบ.อีกครั้ง ในวัน จันทร์,30 เมษายน อากงเล่าให้ฟังหลังจากกลับมาจาก พบ.ว่า วันนี้พวกเขาก็ทำเหมือนเดิม คือ ถามว่าเป็นอะไร แล้วก็ไล่กลับ แต่ครั้งนี้อากงทนไม่ไหวจึงโวยวายออกไปว่า “ตรวจอั๊วด้วยสิ อั๊วเจ็บท้องหลายวันแล้ว กินยาก็ไม่หาย ไม่ตรวจดูจะรู้ได้ยังไงว่าเป็นอะไร !!” จึงทำให้อากงได้รับการตรวจ และเย็นนั้นจึงได้ยามาอีก 1 ชุด

หลังจากกินยาชุดที่สองนี้แล้ว อาการเจ็บท้องก็ยังไม่หาย และท้องก็ใหญ่ขึ้น ตึงขึ้น และแข็งมาก จนพี่สมยศทักอากงว่าเป็นอาการเกี่ยวกับตับหรือเปล่า? เพราะพี่สมยศเคยมีประสบการณ์กับโรคตับมาก่อน เมื่อได้ฟังเช่นนี้แล้ว อากงจึงเกิดอาการวิตกกังวลอย่างเห็นได้ชัด จนอากงร้องไห้กับผมแล้วบอกว่า “ทำไมไม่หายซักที ผมแย่แล้ว ให้ผมตายเหอะ !!” พูดอยู่หลายครั้ง ผมจึงได้ปลอบใจว่าอากงไม่เป็นไรหรอกน่า เดี๋ยวอาทิตย์นี้ก็ไปโรงพยาบาลราชทัณฑ์แล้ว อดทนอีกหน่อยเถอะนะ พร้อมทั้งให้กำลังใจแกเหมือนทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะข่าวการช่วยแร่งรัดขออภัยโทษให้แก และเพื่อนๆ คดี 112 ทั้งหมดที่ทางคุณอานนท์มาแจ้งให้เราทราบในวัน พุธ, 2 พฤษภาคม ในวันนี้คุณอานนท์ยังทักว่าอากงดูไม่ค่อยดี ผมจึงขอให้คุณอานนท์ช่วยแจ้งอาจารย์หวาน ช่วยประสานให้อากงออกโรงพยาบาลราชทัณฑ์ (รพ.รท) โดยด่วน คุณอานนท์รับปากและได้ช่วยประสานงานให้ โดยเราเชื่อว่าที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์จะมีหมอเก่งๆ ช่วยรักษาให้อากงหายเจ็บได้

พฤหัส, 3 พฤษภาคม อากงเริ่มมีอาการทรุดลงอย่างเห็นได้ชัด และปฏิเสธโจ๊กที่พวกราสั่งซื้อให้แกกินอยู่ทุกวัน ผมจึงให้แกกินนมไวตามิลค์ เพื่อให้แกกินยา จากนั้นแกก็นอน อากาศเวลานั้นร้อนมากๆ ผมทายาหม่องให้แกที่หน้าอก หลัง คอ เพื่อให้หายใจสะดวก และคอยพัดให้แกอยู่เรื่อยๆ แกนอนรอป้าอุ๊มาเยี่ยมอย่างเช่นทุกวัน แต่วันนี้แปลกตรงที่ว่า พอมีเสียงประกาศเยี่ยมญาติของอากง ทุกทีแกจะรีบกุลีกุจอแทบจะวิ่งไปรับใบเยี่ยมญาติ แต่ครั้งนี้เราต้องพยุงแกขึ้นมา อากงหันมามองหน้าผม ทำเหมือนจะร้องไห้แล้วพูดว่า “หนุ่มไปด้วยนะ ไปกับผมด้วย ผมเดินไม่ไหว” ผมไม่เคยได้ยินคำพูดและน้ำเสียงแบบนี้ของแกมาก่อนตลอดเวลาที่อยู่ด้วยกันมาเกือบ 2 ปี ผมจึงขออนุญาตเจ้าหน้าที่ออกไปส่งแกที่จุดเยี่ยมญาติเพื่อพาแกมาหาป้าอุ๊ และผมได้กำชับแกโดยเขียนลงกระดาษให้แกบอกป้าอุ๊ว่าให้โทรบอกอาจารย์หวานเรื่องการส่งอากงไปโรงพยาบาลอีกครั้ง รวมถึงให้ป้าอุ๊ซื้อนมเปรี้ยวและผลไม้ที่ย่อยง่ายๆ ให้ด้วย เพราะอากงจะได้กินในช่วงที่ป่วยอยู่นี้

เยี่ยมเสร็จผมกับอากงได้เจอป้าอุ๊ไกลๆ ที่ช่องรับของฝาก ผมทำสัญลักษณ์มือที่กางนิ้วก้อยกับนิ้วโป้งและยกขึ้นข้างหู ให้ป้าอุ๊กับป้าน้อย (ภรรยาอาจารย์สุรชัย) เพื่อส่งภาษาใบ้ว่าอย่าลืมโทร (หาอาจารย์หวาน) ด้วยนะ ป้าอุ๊ก็พยักหน้าเข้าใจ แล้วผมก็ชี้นิ้วไปที่อากง แล้วโบกมือไปมาแทนความหมายว่า ไม่ต้องเป็นห่วง (อากง) นะ จากนั้นเราก็เดินกลับแดน

ใครจะรู้ว่าการพบกันในวันนั้นของอากงกับป้าอุ๊ จะเป็นการพบกันเป็นครั้งสุดท้ายของสามีภรรยาคู่นี้ที่ต่างเฝ้าประคับประคองจิตใจกันมาอย่างยาวนาน

เช้าวันศุกร์, 4 พฤษภาคม หลังจากอาบน้ำตอนเช้าด้วยกันแล้ว อากงก็หลบไปนอนในโรงอาหารอีก และไม่ยอมกินโจ๊กเหมือนเมื่อวาน ผมจึงปล่อยแกนอน โดยเตรียมนมไวตามิลค์ไวให้ วันนี้มีประกาศชื่ออากงให้ออกโรงพยาบาลราชทัณฑ์แต่เช้า ผมจึงดีใจเพราะวันนี้อากงจะได้ออกไปหาหมอเสียที เสียงประกาศชื่ออากงอีกครั้งเวลา 9.00 น. ผมปลุกแกให้ตื่นเพื่อให้แกกินนม และใส่เสื้อเพื่อเตรียมตัวไปโรงพยาบาล อากงกินได้ไม่ถึงครึ่งกล่องก็บอกว่ากินไม่ลงแล้ว ผมจึงพยุงแกลงมาจากโรงอาหาร ตอนนี้ผมสังเกตเห็นดวงตาของแกค่อนข้างเหลืองมาก ท้องก็ยังโตและแข็งอยู่เหมือนเดิม ผมขอให้อากงนั่งรถเข็นออกไปเพราะแกเดินไม่ไหวแล้ว อากงถูกเข็นออกไปอย่างช้าๆ และนี่เป็นภาพสุดท้ายที่ผมได้เห็นอากง โดยไม่เคยคิดว่าการจากกันครั้งนี้จะเป็นการจากกันตลอดไปโดยไม่ได้พบกันอีกเลย

ชายชราผู้ไม่จงรักภักดี ?

จากการพูดคุยกันตลอดเวลาที่ผ่านมา ผมยืนยันได้เลยว่าอากงไม่ใช่ทั้งเหลืองทั้งแดง ไม่สลิ่มด้วย แกเล่าให้ผมฟังว่าแกชอบไปตามงานชุมนุมต่างๆ เพราะสนุกดี และบางครั้งก็มีของให้กินฟรีๆ ด้วย แกเริ่มไปงานชุมนุมครั้งแรกก็คือชุมนุมพันธมิตร ที่แกยังได้รับแจกเสื้อเหลืองพร้อมลายเซ็นจำลอง ศรีเมือง ติดไม้ติดมืดกลับบ้านด้วย หลังจากนั้นก็ไปงานชุมนุมของเสื้อแดงที่แกก็ได้เสื้อแดง ผ้าโพกหัวกลับบ้านมา โดยไม่ต้องเสียเงินเช่นกัน อากงมักจะใช้เวลาหลังจากรับหลานๆ กลับจากโรงเรียน แล้วช่วยงานบ้านป้าอุ๊เสร็จแล้วค่อยไปงานชุมนุม เมื่อหายเบื่อแล้ว 2-3 ชั่วโมงก็นั่งรถกลับบ้าน

อากงไม่มีพื้นฐานความรู้ทางการเมืองใดๆ เลย อยู่บ้านทีวีเสื้อแดงก็ไม่รู้จัก ไม่เคยเปิดดู หนังสือพิมพ์ก็ไม่อ่าน เพราะสายตาไม่ดี ลำพังแค่เลี้ยงหลานอย่างเดียวก็หมดเวลาแล้ว ดังนั้น เวลาพวกผมคุยกันเรื่องการเมืองแกจะตั้งใจฟัง แล้วมีคำถามมาถามเราอยู่บ่อยๆ

ที่น่าสนใจคือ กับข้อหาที่แกโดนข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กับการกระทำโดยธรรมชาติของแกมันขัดแย้งกันมาก เช่น แกจะยกมือไหว้พระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงที่ตั้งอยู่ที่แดน 8 ทุกครั้งที่เดินผ่าน ผมแน่ใจว่าแกทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ อีกทั้งเรื่องที่อากงเล่าให้ฟังว่า แกพาหลานๆ ของแกไปลงนามถวายพระพรในหลวงที่ศิริราชอยู่หลายครั้ง เวลาไปช็อปปิ้งกับหลานๆ แล้วเห็นโต๊ะที่เปิดให้มีการลงนามถวายพระพร ตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ อากงจะชวนหลานๆ ร่วมลงนามถวายพระพรทุกครั้ง ผมจึงแทบไม่เชื่อว่าชราคนนี้จะถูกกล่าวหาไม่จงรักภักดีต่อสถาบัน

บุคลิกลักษณะภายนอกของอากง ใครเห็นก็จะรู้ว่าเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ยิ้มเก่งไหว้เก่ง และที่ชัดที่สุดคือ ร้องไห้เก่ง โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าอากงเป็นคนอ่อนแอทางจิตใจมากคนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่แกถูกจับเข้ามาอยู่ในคุก แกยิ่งแสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจน ช่วงแรกที่อากงถูกจับเข้ามาและได้รับการประกันตัวออกไป แตกต่างจากครั้งที่แกถูกจับเข้ามาอีกครั้งมากในเรื่องกำลังใจ ผมว่าแกโชคดีที่มีพวกเราหลายคนคอยให้กำลังใจแกอยู่ตลอดเวลา นอกจากคนที่โดนคดีเสื้อแดงแล้วอากงยังได้รับความรักและเขาใจจากผู้ต้องขังอื่นๆ ด้วย เป็นเรื่องจริงที่ผมมักจะบอกกับอากงว่า แกเหมือนเป็นพวกแบตเตอรี่เสื่อม เวลาห่อเหี่ยว ท้อแท้ เราคุยให้กำลังใจแก แกก็จะกลับมายิ้ม และชูกำปั้น “สู้” ได้อีกครั้ง แต่พอผ่านไปไม่ถึงชั่วโมงแกก็จะนั่งหน้าเศร้าอีก เราเลยต้องชาร์จกันใหม่ๆ เรื่อยๆ ผลัดกัน ช่วยกันไป พวกเราต่างคิดว่าอากงเป็นญาติพี่น้องของเราจริงๆ ดังนั้น เราจึงดูแลกันด้วยดีตลอดมา

อากงจึงอยู่ในคุกได้ด้วยกำลังใจล้วนๆ กำลังใจหลักคือมาจากป้าอุ๊ รองลงมาคือจากพวกเรา เพื่อนๆ ที่อยู่ร่วมแดนกันและกำลังใจจากมวลชนที่แวะเวียนมาให้กำลังใจ นึกไม่ออกเลยว่า 4 วัน 4 คืนในโรงพยาบาลราชทัณฑ์ที่ขาดซึ่งกำลังใจใดๆ เลย อากงจะทนทุกข์ทรมานมากเพียงใด และเป็นไปได้หรือเปล่าที่สาเหตุของการจากไปอย่างกะทันหันของแก ส่วนหนึ่งมาจากการขาดกำลังใจ......

ความอยุติธรรมของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์บางคนที่มอบให้กับอากง
โดยอ้างว่าตัวเอง “รักเจ้า”

ผมคิดอยู่หลายรอบว่าจะเขียนเรื่องนี้ดีหรือเปล่า ท้ายสุดก็คิดว่าควรต้องเขียน เพราะมันคือความจริงที่เกิดขึ้นกับอากง จากการตั้งใจกลั่นแกล้งของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์บางคนในช่วงที่ข้อหาล้มเจ้าของคนเสื้อแดงกำลังถูกโหมโรงจากสื่อกระแสนหลักอย่างกว้างขวาง ผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ หลายคนจึงตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน คือการโดนข่มขู่ ทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ และถูกกลั่นแกล้งต่างๆ นานา ไม่ยกเว้นชายชราหรือ “อากง” คนนั้น ซึ่งผมและสุริยันต์ คือหนึ่งในนั้นตามข่าวที่ปรากฏไปบ้างแล้วจากสื่อทางเลือก เรื่องนี้ผมจึงคิดว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่คนภายนอกจะได้รู้ว่าอากงโดนปฏิบัติอย่างไรบ้าง (ผมขอรับผิดชอบในสิ่งที่ผมเขียนทุกคำ พร้อมให้ตรวจสอบ) 

แต่ก่อนอื่นผมต้องขอออกตัวก่อนว่า ปัจจุบันแดน 8 เป็นแดนที่ดีที่สุด แตกต่างจากแต่ก่อนฟ้ากับเหว เพราะได้มีการเปลี่ยนตัวหัวหน้าฝ่ายคนใหม่ที่เป็นนักพัฒนาที่มีความเป็นกลาง มีความยุติธรรมกว่าคนเดิมที่ผมจะเล่าถึงการกระทำของเขาที่กระทำต่ออากง ซึ่งมีเรื่องราวดังนี้

อากงถูกจำแนกเข้ามาที่แดน 8 ภายหลังที่ผมและสุริยันต์โดนทำร้ายร่างกายด้วยความตั้งใจของหัวหน้าฝ่ายคนเก่าไปแล้ว และนอกจากผู้ต้องขังคดีหมิ่นฯ จะโดนทำร้ายแล้ว ผู้ต้องหาคดีเสื้อแดงที่ตอนนั้นถูกจับเข้ามา ถ้าถูกจำแนกมาแดน 8 ก็จะโดนเก็บยอดทุกคนโดยการตบต่อยที่ใบหน้า ร่างกาย จากนักโทษที่ได้รับสัญญาณมา และถูกด่าอย่างหยาบคายว่าเป็นพวกเผาบ้านเผาเมือง แต่อากงโชคดีที่เป็นคนแก่จึงได้รับการยกเว้น ไม่ถูกประทุษร้ายทางร่างกาย แต่ถูกกลั่นแกล้งให้ทำงานอย่างหนักแทน

ด้วยภาพของอากงและวัยที่มากแล้ว โดยมนุษยธรรมและความเมตตา ควรได้รับการยกเว้นให้ทำงานอย่างคนหนุ่มเขาทำกัน แต่อากงคือผู้ที่ถูกเลือกด้วยความตั้งใจให้มาอยู่แดน 8 ของหัวหน้าฝ่ายคนก่อน (ที่ปัจจุบันย้ายไปประจำอยู่ใต้ถุนศาลรัชดา) เพื่อสะดวกในการทำอะไรบางอย่าง

วันแรกที่เข้ามาอากงถูกสั่งให้เข้าไปอยู่ในกองงานปั่นถ้วย และรับยอดเติมในทันที คือวันละ 5 กิโล หรือ 2,500 ใบ อากงทำไม่ได้แน่นอน แต่ก็ถูกบังคับให้ทำ จนผู้ต้องขังด้วยกันทนไม่ได้ต่างเข้ามาช่วยแบ่งงานอากงไปทำ คนละนิดคนละหน่อยจนเสร็จ อากงต้องทำงานอย่างนี้มาโดยตลอดจนกระทั่งประกันตัวออกไปในครั้งแรก

อากงกลับเข้ามาอีกครั้ง แต่ครั้งนี้หัวหน้าฝ่ายคนนี้คงเข็ดที่จะเอาคดี 112 มาไว้อีก อากงจึงถูกจำแนกไปแดน 3 โดยหวังว่าจะแยกผมออกจากอากง ปรากฏว่าด้วยความเหลือจากผู้ใหญ่ข้างนอกโดยผ่านคุณอานนท์ จึงทำให้อากงถูกย้ายมาอยู่แดน  8 กับผมอีกครั้ง ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับหัวหน้าฝ่ายคนนี้อย่างมาก อากงจึงถูกคำสั่งให้ไปปั่นถ้วยอีก แล้วครั้งนี้ก็เหมือนเดิม ผู้ต้องขังก็ช่วยเหลืออากงเหมือนเดิม เพราะทนเห็นการถูกกลั่นแกล้งของหัวหน้าฝ่ายไม่ได้ ท้ายสุดแล้ว ด้วยความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่โดยผ่านคุณอานนท์เช่นเดิม จึงมีคำสั่งสายฟ้าแลบให้ย้ายอากงมาอยู่กองงานห้องสมุด โดยไม่ต้องให้แกทำอะไรเลย งานนี้ทำให้หัวหน้าฝ่ายคนนี้เสียหน้าอย่างมากทีเดียว เพราะไม่สามารถทำอะไรได้ตามอำเภอใจอีกแล้วกับคนเสื้อแดง

หากการเสียชีวิตของอากง เลขาอภิสิทธิ์ ผู้พิพากษา ตำรวจผู้จับกุม ควรต้องรับผิดชอบแล้ว หัวหน้าฝ่ายควบคุมแดน 8 คนนี้ (ที่ไม่ใช่คนปัจจุบัน) ก็ควรต้องถูกประณามด้วยเช่นกัน

สุดท้ายนี้ ผมขอไว้อาลัยกับการจากไปของเพื่อนต่างวันของผมคนนี้ที่ผมรักและห่วงใยเสมือนญาติแท้ๆ ของผมคนหนึ่ง แน่นอนการจากไปของเขาจะต้องไม่เสียเปล่า ขอให้อากงหรืออาเจ็กที่ผมเรียก อย่าได้เป็นห่วงผมและเพื่อนๆ ทุกคนจะทำหน้าที่แทนอาเจ็กเองในการดูแลป้าอุ๊และหลานๆ ที่น่ารักของอาเจ็กให้มีความสุขตลอดไป และหากชาติหน้ามีจริงขอให้เราได้กลับมาเจอกันอีกครั้ง...ผมรักเจ็กนะครับ!! ขอให้เจ็กหลับให้สบายและอย่าได้กังวลอะไรอีกเลย.

 

 

 

 

 

 

------------------------------------

ผู้เขียน: (ผู้เขียนขอสงวนชื่อนามสกุล)

เผยแพร่ครั้งแรก : เฟซบุ๊คของ Nithiwat Wannasiri

 

กระผม อดีตนักโทษชายเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เป็นผู้หนึ่งซึ่งได้ร่วมชะตากรรมกับอากง ในเวลาที่ผมใช้ชีวิตในนั้น ได้เห็นการให้การรักษาพยาบาลในเรือนจำ ซึ่งจะมียาวิเศษอยู่หนึ่งตัว ชื่อ พาราเซตาม่อน ซึ่งยาขนานนี้ใช้รักษาโรคได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น ปวดท้อง ท้องเสีย หรือแม้กระทั่งเบาหวานหรือโรคหัวใจ

ซึ่งหลังจากขึ้นเรือนนอนแล้ว ถ้านักโทษเจ็บป่วย อาการหนัก รับรองได้ว่า รุ่งเช้าจะได้ยินเสียง"ประกาศปล่อยตัว"อย่างเช่นอากงแน่นอน ซึ่งการปล่อยตัวจะเป็นไปอย่างพิเศษมากๆ คือคุณไม่ต้องเดิน แต่ต้องลอยตามกลิ่นธูปออกมา

ในช่วงที่กระผมได้อยู่ในเรือนจำนั้น เคยมีนักโทษสูงอายุ น่าจะรุ่นราวคราวเดียวกับอากง แกเป็นคนใต้ แกป่วยอยู่หลายโรค ซึ่งหลังจากขึ้นเรือนนอนแล้ว ประมาณสองทุ่มกว่าๆ ได้มีเสียงเคาะ ซึ่งเป็นสัญญาณว่ามีคนป่วยอยู่ในห้อง ซึ่งอาการของลุงคนนั้น ผมไม่แน่ใจว่าเป็นโรคหอบหืดหรือว่าโรคหัวใจ ซึ่งกว่าที่ผู้คุมจะขึ้นมาก็ประมาณ 10 นาที และก็ให้ยาพาราเป็นขั้นแรก หรือว่าก็ให้รอหมอแป๊บหนึ่ง ก็ประมาณ 30 - 60 นาที แต่พอหมอมาถึง คุณลุงคนนั้นก็ได้เสียชีวิตแล้ว แต่ผมไม่แน่ใจ ว่าเป็นผู้คุมหรือหมอ ที่ออกปากถามว่า ตายหรือยัง ทั้งๆที่ยังไม่ถึงประตูห้อง

คุณลุงคนนี้ถูกขังอยู่ที่ห้อง 10 ซึ่งห้อง 10 จะอยู่ชั้น 2 แต่ผมอยู่ชั้น 3 จึงมองไม่เห็น ซึ่งห้องเบอร์ 10 นี้ คุณก่อแก้ว และคุณขวัญชัย ก็เคยอยู่ ถ้าคิดจะออกไปพบหมอ ถ้าเป็นชาวต่างด้าว หรือบุคคลไร้ญาติ ก็ยากหน่อย ก็จะได้คำตอบว่า "กินพารา เดี๋ยวก็หาย" เมื่อมาถึงหมอ ก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง คือ ถ้าคุณไม่ได้ถูกหามออกมาในสภาพหมดสติ ก็หมดสิทธิที่จะนอนรอดูอาการ ก็ต้องกลับไปนอนซมอยู่ในแดนตามเดิม

นี่หรือ ที่คุณบอกว่ามาตรฐานไม่ต่างกัน...?

-------------------------------------

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ท้าชน‘กฟผ.ดีเบตโรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง จวกรัฐเผด็จการพลังงาน ลักไก่ PDP 2010

Posted: 09 Jun 2012 07:38 PM PDT

ท้าชน กฟผ.ดีเบตโรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง จวกรัฐเผด็จการพลังงาน ลักไก่ PDP2010 ฉบับ 3 ชี้เดินตามแผนอนุรักษ์ฯ ไม่ผุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน-นิวเคลียร์ ลดโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ-การนำเข้าการผลิตไฟฟ้าเขื่อน 16 โรง นักวิชาการสหรัฐฯ มึนผลกระทบซับบิทูมินัส เทคโนโลยีสมัยใหม่ไม่ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อม เผย กฟผ.เลือกตรังเพราะมีท่าเรือขนส่ง-เทคโนลียีโรงไฟฟ้าต้องใช้น้ำมาก

 

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 9 มิถุนายน 2555 ที่ห้องประชุมดุสิตตรัง อาคารดุสิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต  ศูนย์ตรัง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง  เครือข่ายคนตรัง ประกอบด้วย เครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาจังหวัดตรังยั่งยืน มูลนิธิหยาดฝน มูลนิธิอันดามัน โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา สภาอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง เครือข่ายผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดตรัง ฯลฯ จัดเวทีเสวนา “นโยบายพลังงานหมุนเวียนกับโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง” โดยมีชาวบ้านในจังหวัดตรังเข้าร่วมประมาณ 100 คน และมีการตั้งกล่องรับบริจาคเพื่อการจัดเวทีเรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานในเวทีต่อไป

นายศุภกิจ  นันทะวรการ นักวิชาการพลังงาน มูลนิธินโยบายสุขภาวะ ชี้แจงว่า เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณาเห็นชอบแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า 2555-2573 (PDP2010) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 โดยไม่ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2555 ระหว่างเวลา 08.30 -12.30 น. ทั้งไม่มีเปิดเผยข้อมูลล่วงหน้าในหนังสือเชิญวันที่ 30 พฤษภาคม 2555  

นายศุภกิจ ชี้แจงต่อไปว่า  การจัดทำแผน PDP2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 มีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งได้ให้ความเห็นชอบแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี 2554 – 2573 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554 ที่ได้กำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานไว้ที่ 96,653 ล้านหน่วย ในปี 2573 ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อราคาเชื้อเพลิงที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต แต่กระทรวงพลังงานกลับกำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานไว้ในร่างแผน PDP ฉบับนี้เพียงร้อยละ 20 หรือ 3,494 เมกะวัตต์ภายใน 20 ปี ของเป้าหมายที่ครม.ให้ความเห็นชอบ

นายศุภกิจ ชี้แจงอีกว่า แผน PDP2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าความร้อนร่วมก๊าซธรรมชาติ 25,451 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4,400 เมกะวัตต์ ไฟฟ้าซื้อจากต่างประเทศ 6,572 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าระบบพลังงานร่วม Co-generation 6,374 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 9,516 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส 750 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2,000 เมกะวัตต์ 

นายศุภกิจ ชี้แจงอีกว่า ทางเลือกและทางออกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง อยู่ที่แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ.2554 – 2573) ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีมติคณะรัฐมนตีเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554 เห็นชอบเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงาน 17,470 เมกะวัตต์ ภายใน 20 ปี หากเพิ่มประสิทธิภาพตามแผนอนุรักษ์พลังงาน ก็สามารถตัดพลังงานนิวเคลียร์ 2,000 เมกะวัตต์ ถ่านหิน 4,400 เมกะวัตต์ เท่ากับไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เลยสักโรงเดียว ทั้งลดโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ และการนำเข้าการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนได้อีก 16 โรง 9,500 เมกะวัตต์ ซึ่งจะลดต้นทุนค่าไฟฟ้าอย่างน้อย 400,000 ล้านบาทและสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับระบบพลังงานของประเทศ

นายศุภกิจ  ระบุว่า แผนพัฒนาพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี พ.ศ.2555-2564 ของกระทรวงพลังงาน สามารถพัฒนาด้านพลังงานจากเปอร์เซ็นต์การทดแทนฟอสซิล 25% ไม่รวม NGV กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 9,201 เมกะวัตต์ ปริมาณความร้อน 9,335 ktoe เชื้อเพลิงชีวภาพ 39.97 ล้านลิตรต่อวัน เปอร์เซ็นต์ทดแทนน้ำมัน 44% สำหรับด้านเศรษฐกิจสามารถลดการนำเข้าน้ำมัน 5.74 แสนล้านบาท ส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน 4.42 แสนล้านบาท ด้านสิ่งแวดล้อม การลด CO2 จำนวน 76 ล้านตันต่อปี ในปี 2564 รายได้ที่เกิดขึ้นจากการขายคาร์บอนเครดิต 2.3 หมื่นล้านบาท ด้านการพัฒนางานนวัตกรรมและเทคโนโลยี แผนงานวิจัยมีแผนปฏิบัติการชัดเจน ปี 2555-2559

นายศุภกิจ  ชี้แจงว่า จากรายงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วสหรัฐอเมริกา ของอาจารย์มหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด ยังไม่สามารถอธิบายถึงผลกระทบจากถ่านหินซับบิทูมินัสที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็กจนมองไม่เห็นด้วยด้วยตาเปล่า เทคโนโลยีทันสมัยในสหรัฐอเมริกาไม่สามารถดักจับฝุ่นเหล่านี้ได้ ไม่นับรวมสารปรอทจำนวน 1 พันกิโลกรัม/ปี สารซัลเฟอร์ไดออกไซต์ 2 หมื่นตัน/ปี ฝุ่น 1,900 ตัน/ปี ขณะที่ประเทศไทยยังมีช่องโหว่เกี่ยวกับกฏหมายสิ่งแวดล้อมอย่างมาก

 “ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีระบบเผด็จการข้อมูลด้านพลังงาน เห็นได้จากการนำแผนพีดีพีฉบับใหม่เข้าพิจารณาเห็นชอบโดยใช้เวลาเพียง 9 วันเท่านั้นท่ามกลางวิกฤติทางการเมือง เราต้องค้นคว้าหาความรู้เพื่อสู้กับข้อมูลของกระทรวงพลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดังนั้นผมสนับสนุนเป็นอย่างยิ่งที่คนจังหวัดตรังลุกขึ้นมาศึกษาเกี่ยวกับพลังงานเพื่อความยั่งยืนของจังหวัดตรัง” นายศุภกิจ กล่าว 

นายชัยพร จันทร์หอม กรรมการสมัชาสุขภาพแห่งชาติ เสนอว่า ควรให้มีการจัดเวทีดีเบตเกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ด้วยการเชิญเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นักวิชาการด้านพลังงาน และชาวบ้านในโอกาสต่อไป

นายวุฒิชัย หวังบริสุทธิ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายชุมชนรักษ์บ้านเกิด กล่าวว่า ก่อนหน้าเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2555 ตนเคยเชิญกฟผ.ร่วมให้ข้อมูลแก่ชาวบ้านในเวทีสาธารณะ “ร่วมปกป้องแผ่นดินเกิดรักษาฐานทรัพยากรชุมชน หยุด!โรงไฟฟ้าถ่านหิน” ที่วัดวารีวง ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง แต่ได้ถูกปฏิเสธว่าไม่ว่าง แต่กลับผลเจ้าหน้าที่ของกฟผ.มาสังเกตการณ์ในบริเวณงาน แต่เมื่อชาวบ้านขอให้ขึ้นเวทีชี้แจงกลับวิ่งหนี ตนคนหนึ่งเสนอตัวขอท้าดีเบตด้วย หากเชิญเจ้าหน้าที่ของกฟผ.

นายอำนาจ  คงทอง พลังงานจังหวัดตรัง กล่าวว่า ตนเคยถามกฟผ.ว่าทำไมจึงเลือกตั้งในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน กฟผ.บอกว่าเป็นไปตามแผน PDP 2010 ซึ่งพื้นที่ที่มีศักยภาพสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่แถบบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้เนื่องจากเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าถ่านหินต้องใช้นำจำนวนมากจากทะเล และเพื่อความสะดวกในการขนส่งถ่านหินทางเรือ ซึ่งจังหวัดตรังมีท่าเรือขนส่งปูนซีเมนต์อยู่แล้ว

“ถ้างั้นผมจะรับไปประสานงานกับทางกฟผ.เพื่อจัดเวทีดีเบตเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง และทิศทางพัฒนาพลังงานตรังยั่งยืน” นายอำนาจ กล่าว

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น