โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 10 - 16 มิ.ย. 2555

Posted: 16 Jun 2012 02:10 PM PDT

สรส. บุกทำเนียบฯขอขึ้นเงินเดือน 5% / ชงปรับเงินพนักงานมหาวิทยาลัยเพิ่มสวัสดิการเทียบเท่าข้าราชการ / สร.ขสมก.บุกคมนาคม จี้ถามการปรับขึ้นค่าแรง-เงินเดือน
 
โรงงานใหม่ทิ้งไทยหนีค่าแรงแพง 
 
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยจำนวนผู้ได้รับอนุญาตให้เปิดโรงงานใหม่เดือน พ.ค. อย่างไม่เป็นทางการจำนวน278 ราย มูลค่าลงทุน 6,113 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการลงทุนกว่า 2.39 หมื่นล้านบาทลดลง 400% โดยเหตุหลักมาจากนักลงทุนชะลอแผนการสร้างโรงงานในไทย และเปลี่ยนไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อหลีกเลี่ยงนโยบายปรับขึ้นค่าจ้าง ขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ที่จะมีผลวันที่ 1 ม.ค. 2556 ซึ่งมีผลมากกับอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ 
 
อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและอุตสาหกรรมอาหาร โดยประเด็นดังกล่าวรัฐบาลยังมองว่าไม่น่ากังวลใจ เพราะโรงงานบางประเภทต้องปรับแผนไปลงทุนประเทศเพื่อนบ้านเพื่อหาแหล่งต้นทุน การผลิตที่ต่ำกว่า และประเทศไทยไม่มีค่าจ้างแรงงานในระดับที่ต่ำอีกแล้ว แต่ยังมีอีกหลายประเทศและหลายอุตสาหกรรมที่สนใจมาลงทุนในไทย หลังจากรัฐบาลไปโรดโชว์ต่างประเทศ เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่นอินเดีย และกลุ่มยุโรป เพราะไทยยังเป็นตัวเลือกฐานการผลิต 
 
เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ดีที่สุด มีความได้เปรียบทั้งสถานที่ตั้ง บุคลากร และวัตถุดิบ 
 
(บ้านเมือง, 10-6-2555)
 
สปส.เตรียมจัดติวเข้มแกนนำเครือข่าย สปส.รองรับ ม.40 วันพุธนี้ 
 
11 มิ.ย. 55 - สำนักงานประกันสังคมเตรียมจัดอบรมโครงการพัฒนาสมรรถนะแกนนำเครือข่ายประกัน สังคมและเจ้าหน้าที่ สปส.ที่ทำหน้าที่ขยายการขึ้นทะเบียนประกันสังคม ม.40 เพื่อให้ความรู้ด้านประกันสังคมตามมาตรา 40 พร้อมพัฒนาทักษะการสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์และการสร้างเครือข่ายจูงใจให้ แรงงานนอกระบบสมัครเป็นผู้ประกันตน ม.40 
 
นายเผดิมชัย  สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ในระหว่างวันที่ 12-13 มิถุนายนนี้ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะจัดการประชุมและมอบนโยบายโครงการอบรมพัฒนาสมรรถนะแกนนำเครือข่ายประกัน สังคมและเจ้าหน้าที่ประกันสังคมที่ทำหน้าที่ขยายการขึ้นทะเบียนประกันสังคม มาตรา 40 ที่โรงแรมอุบลบุรี รีสอร์ท จ.อุบลราชธานี ทั้งนี้ สืบเนื่องจากนโยบายด้านแรงงานของนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับชีวิตความเป็น อยู่ของผู้ใช้แรงงาน เริ่มตั้งแต่การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน การให้ประชาชนทั่วไป ข้าราชการ และผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินหรือประสบอุบัติเหตุเข้ารักษาพยาบาลที่โรง พยาบาลใดก็ได้ ในส่วนของประชาชนที่เป็นแรงงานนอกระบบ รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานเร่งดำเนินการให้มีการประกันสังคมตามมาตรา 40 เพื่อให้มีหลักประกันที่มั่นคงแก่แรงงานกลุ่มนี้ โดยตั้งเป้าหมายรับสมัครผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จำนวน 1,200,000 คน ภายในเดือนกันยายนนี้ 
 
“การประชุมฯ ครั้งนี้เป็นการประชุมสำคัญที่จะทำให้แกนนำเครือข่ายประกันสังคมตามมาตรา 40 ผู้ปฏิบัติงานที่เป็นข้าราชการ และพนักงานของสำนักงานประกันสังคมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และได้เรียนรู้เทคนิคในการจูงใจและการโน้มน้าวใจเพื่อส่งเสริมการทำงานให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมทั้งเป็นการชี้แจงความรู้ความเข้าใจแก่พี่น้องประชาชนให้เห็นความสำคัญ ของการมีประกันสังคม และเป็นการเชิญชวนให้สมัครเข้าเป็นสมาชิกประกันสังคมมาตรา 40 ให้มากขึ้น  ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 ได้มีผู้สนใจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แล้ว  จำนวน 824,255 คน” นายเผดิมชัย กล่าว            
 
สำหรับโครงการอบรมพัฒนาสมรรถนะแกนนำเครือข่ายประกันสังคม จะมีการจัดอบรม 5 ครั้ง โดยครั้งนี้จัดเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 12-13 มิถุนายน 2555 ณ โรงแรมอุบลบุรี รีสอร์ท จ.อุบลราชธานี และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 18-19 มิถุนายน 2555 ณ โรงแรมเวคัมจอมเทียม บีชพัทยา จ.ชลบุรี ส่วนครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2555 ณ โรงแรมทวิน โลตัส จ.นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 6-7 สิงหาคม 2555 ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ และครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 20-21 สิงหาคม 2555 ที่โรงแรมเจริญธานี จ.ขอนแก่น. 
 
(สำนักข่าวไทย, 11-6-2555)
 
สรส. บุกทำเนียบฯขอขึ้นเงินเดือน 5% 
 
12 มิ.ย. 55 - ที่ประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีออกมารับหนังสือร้องเรียนจากนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) แทนนายกรัฐมนตรี ?ซึ่งหนังสือดังกล่าวเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาแก้ไขข้อเรียกร้องของ ผู้ใช้แรงงาน ที่ให้ปรับอัตราเงินเดือนให้แก่พนักงาน รัฐวิสาหกิจเช่นเดียวกับข้าราชการและเป็นไปตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐ วิสาหกิจสัมพันธ์(ครส.) ในอัตราร้อยละ5 เท่ากันทุกตำแหน่ง สืบเนื่องจากมติครม.รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้กำหนดไว้ว่าให้ปรับเงินเดือนร้อยละ 5 แต่ไม่เกิน5หมื่นบาท โดยมติดังกล่าวถือว่าไม่เคารพหลักการไตรภาคี และเลือกปฏิบัติส่งผลกระทบต่อโครงสร้างเงินเดือนและขวัญกำลัง ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิมรับปากที่จะผลักดันเรื่องนี้เข้าที่ประชุมกลั่นกรองคณะ 4 ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลังเป็นประธานให้พิจารณาต่อไป 
 
(แนวหน้า, 12-6-2555)
 
ชงปรับเงินพนักงานมหาวิทยาลัยเพิ่มสวัสดิการเทียบเท่าข้าราชการ 
 
นายสุมิตร สุวรรณ ประธานเครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา เปิดเผยว่า จากการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลของพนักงานมหาวิทยาลัยที่มี ผู้แทนจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ที่ประชุมได้เสนอแนวทางปฏิบัติ/เกณฑ์กลางในการบริหารงานบุคคลสำหรับการ บริหารพนักงานมหาวิทยาลัยดังนี้ 
 
สวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูลไม่น้อยกว่าของระบบข้าราชการพลเรือนใน มหาวิทยาลัยที่เคยได้รับ โดยอาจปรับเปลี่ยนรูปแบบ ได้แก่ การประกันสังคม การประกันสุขภาพกลุ่ม ค่ารักษาพยาบาลบิดามารดา คู่สมรสและบุตร ปีละ 50,000 บาท ให้สะสมได้ การตรวจสุขภาพประจำปี เงินค่าเล่าเรียนบุตร เงินช่วยเหลือค่าทำศพ เงินตอบแทนพิเศษประจำปี (โบนัส) การเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง ครั้งละร้อยละ 3 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานสะสมร้อยละ 4-8 มหาวิทยาลัยสมทบร้อยละ 8 กองทุนสวัสดิภาพบุคลากร การให้เงินกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย/หอพัก/ค่าเช่าบ้าน ทุนการศึกษาและการฝึกอบรม การลาศึกษาต่อ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 
 
นอกจากนั้นยังเสนอปรับโครงสร้างค่าตอบแทน/อัตราเงินเดือนแรกบรรจุของ พนักงานมหาวิทยาลัยดังนี้ ในระยะ 2 ปีแรก 1.ให้จ้างพนักงานสายวิชาการในอัตราไม่ต่ำกว่า 1.5 เท่าของเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ 2.ให้จ้างพนักงานสายสนับสนุนวิชาการในอัตราไม่ต่ำกว่า 1.3 เท่าของเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ ส่วนระยะ 2 ปีถัดมา 1.ให้จ้างพนักงานสายวิชาการในอัตราไม่ต่ำกว่า 1.6 เท่าของเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ 2.ให้จ้างพนักงานสายสนับสนุนวิชาการในอัตราไม่ต่ำกว่า 1.4 เท่าของเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ 
 
3.การได้รับเงินประจำตำแหน่งแบ่งเป็น สายวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 5,600 บาท บวกเงินค่าตอบแทน 5,600 บาท รองศาสตราจารย์ จำนวน 9,900 บาท บวกเงินค่าตอบแทน 9,900 บาท ศาสตราจารย์ ระดับ 10 จำนวน 13,000 บาท บวกเงินค่าตอบแทน 13,000 บาท ศาสตราจารย์ ระดับ 11 จำนวน 15,600 บาท บวกเงินค่าตอบแทน 15,600 บาท 
 
ส่วนสายสนับสนุนวิชาการ ชำนาญการ 3,500 บาท ชำนาญการพิเศษ 5,600 บาท บวกเงินค่าตอบแทน 5,600 บาท เชี่ยวชาญ 9,900 บาท บวกเงินค่าตอบแทน 9,900 บาท เชี่ยวชาญพิเศษ 13,000 บาท บวกเงินค่าตอบแทน 13,000 บาท สำหรับเรื่องการออกจากงานกรณีพนักงานสัญญาจ้างทดลองงาน 1 ปี สัญญาต่อไปจนถึง 60 ปี แต่สามารถยกเลิกสัญญาจ้างได้ถ้าไม่ผ่านการประเมิน ให้ใช้วิธีการประเมินแบบ 360 องศา หรือคณะกรรมการเป็นผู้ประเมิน 
 
นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปเบื้องต้นโดยมอบหมายให้ ทปอ. ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย และที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ไปศึกษารายละเอียดและความเป็นไปได้ของหลักเกณฑ์ตามที่เครือข่ายพนักงาน มหาวิทยาลัยเสนอ เพราะการบริหารจัดการต่างๆขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาไม่มีอำนาจไปบังคับ และหากได้ข้อสรุปอย่างไรจะต้องเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) พิจารณาอีกครั้ง หาก ก.พ.อ. เห็นชอบ จะต้องออกเป็นประกาศ ก.พ.อ. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป 
 
(โลกวันนี้, 14-6-2555)
 
สร.ขสมก.บุกคมนาคม จี้ถามการปรับขึ้นค่าแรง-เงินเดือน 
 
นายวีระพงศ์ วงแหวน เลขาธิการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแล ขสมก. โดยมีวาระสำคัญ 4 ข้อ คือ 1. การปรับโครงสร้างเงินเดือนให้พนักงาน ซึ่งคณะกรรมการบริหาร ขสมก.ไม่ได้ดำเนินการตามมติของคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจของพนักงานมาก 2. การปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ให้กับพนักงาน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล 3. การปรับระเบียบการดำเนินการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้มีสิทธิ์เท่าเทียมกับ กองทุนบำเหน็จบำนาญ และ 4. แผนการจัดซื้อรถเมล์ NGV 3,183 คัน ที่ควรมีการเร่งรัดการดำเนินการ เนื่องจากรถเมล์บางคันมีอายุการใช้งานถึง 18 ปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลการประกอบกิจการของ ขสมก. 
 
อย่างไรก็ตาม เลขาธิการสหภาพฯ ขสมก.กล่าวเสริมว่า จากข้อเรียกร้องทั้งหมดข้างต้น ได้เคยเสนอให้คณะกรรมการ ขสมก.หลายครั้งแล้ว แต่คณะกรรมการไม่เคยมีการดำเนินการตามข้อเรียกร้องดังกล่าวแล้ว และคิดว่าคณะกรรมการควรพิจารณาถึงข้อบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง 
 
ทั้งนี้ ในวันที่ 19 มิถุนายนนี้ เวลา 09.00 น. พนักงาน ขสมก.ไม่ต่ำกว่า 500 คน จะเดินทางมายังกระทรวงคมนาคม เพื่อฟังคำชี้แจงจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 14-6-2555)
 
คนทำงานบ้านแฉยังไม่ได้รับการคุ้มครองตามอนุสัญญา 189 
 
16 มิ.ย. 55 - ครบ 1 ปี หลังรับรองอนุสัญญา 189 ว่าด้วยการคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้าน แรงงานไทย เผยยังคงถูกนายจ้างเอาเปรียบ ได้ค่าจ้างต่ำ-ไม่มีวันหยุด ด้าน ก.แรงงาน เผยอยู่ระหว่างให้กฤษฎีกาตีความกฎหมาย ก่อนออกเป็นกฎกระทรวงบังคับใช้   
 
ในงานเสวนาเรื่อง “การคุ้มครองแรงงานลูกจ้างทำงานบ้าน : 1 ปีหลังอนุสัญญา” จัดโดยมูลนิธิ ฟรีดริค เอแบร์ท มีบรรดาเครือข่ายลูกจ้างผู้ทำงานบ้านจากทั่วประเทศ รวมถึงผู้แทนจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์ของผู้ทำงานในบ้านทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งในวงเสวนายังพบว่าลูกจ้างประเภทนี้ยังเป็นกลุ่มแรงงานที่มีความอ่อนแอ มากที่สุด และมากกว่าครึ่งของลูกจ้างทำงานบ้านทั่วโลก ยังคงต้องทำงานโดยไม่มีวันหยุด ขณะที่ร้อยละ 36 ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองว่าด้วยสิทธิในการตั้งครรภ์ 
 
นางสมจิตร ครบุรี ตัวแทนลูกจ้างทำงานบ้าน ระบุว่า แม้ประเทศไทยจะรับรองอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 189 ว่าด้วยสิทธิในการคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้าน มาครบ 1 ปี แต่ปัจจุบันลูกจ้างทำงานบ้านในไทยยังคงถูกนายจ้างเอารัดเอาปรียบ ได้รับค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม และทำงานมากกว่า 16 ชั่วโมงต่อวัน แลกกับค่าจ้างเพียงเดือนละ 5,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ และต่ำกว่าค่าจ้างที่แรงงานต่างด้าวได้รับ 
 
ด้านนายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงแรงงานอยู่ระหว่างรอการพิจารณาร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้ม ครองแรงงานของลูกจ้างทำงานบ้าน ซึ่งล่าสุดอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา หลังผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยสาระสำคัญของกฎกระทรวงดังกล่าว จะทำให้ลูกจ้างทำงานบ้านมีวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดราชการ และได้รับค่าแรงที่เป็นธรรม. 
 
(สำนักข่าวไทย, 16-6-2555)
 
บอร์ด ขสมก.ยอมสหภาพฯ รับหมด4ข้อ 'เลื่อนขั้น-เพิ่มเงิน′ ขู่หากเบี้ยวเจอ พนง.ชุมนุมไล่ 
 
นายวีระพงศ์ วงแหวน เลขาธิการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน นายสมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ขสมก. และนายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการ ขสมก.ได้เรียกสหภาพฯเข้าหารือกรณีสหภาพฯยื่นหนังสือถึงนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ที่กำกับดูแล ขสมก. เมื่อวันที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อให้สั่งบอร์ด ขสมก.ดำเนินการ 4 ข้อ คือ 1.ให้ปรับเลื่อนขั้นพนักงานที่มีอัตราเงินเดือนขั้นต้น ประจำปี 2.ให้ปรับเพิ่มเงินสมทบและเงินชดเชยกรณีสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อ เกษียณอายุราชการตามมติคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ 3.ให้จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ 4.ให้เร่งรัดดำเนินการจัดหารถใหม่แทนรถเก่า 
  
นายวีระพงศ์กล่าวว่า จากการหารือร่วมกันบอร์ดยืนยันที่จะดำเนินการตามที่สหภาพฯเรียกร้อง แต่ที่ยังไม่ได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา เพราะก่อนหน้านี้กระบวนการแต่งตั้งบอร์ดมีความล่าช้าส่งผลให้การพิจารณา เรื่องต่างๆ ล่าช้าไปด้วย เมื่อบอร์ดเข้ามาทำหน้าที่แล้วจะผลักดันทุกเรื่องให้เป็นไปตามกระบวนการต่อ ไป โดยเฉพาะการเลื่อนขั้นพนักงาน การเพิ่มเงินสมทบ และจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน สำหรับการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีใหม่นั้น บอร์ดได้ชี้แจงว่าอยู่ระหว่างขั้นตอนการตั้งอนุกรรมการเข้ามาดำเนินงาน ทั้งนี้สหภาพฯเห็นว่าควรจะเร่งการจัดซื้อรถใหม่มาให้บริการโดยเร็ว เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและยังจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของ รถเมล์ ขสมก.มากยิ่งขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม วันที่ 18 มิถุนายนนี้ สหภาพฯจะหารือร่วมกับฝ่ายบริหาร เพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ยื่นเสนอไปทั้งหมดอีกครั้ง จากนั้นจะนำเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ดต่อไป 
  
"ในวันที่ 19 มิถุนายนนี้ สหภาพฯจะหยุดการเคลื่อนไหวกดดันบอร์ดไปก่อน เพราะบอร์ดรับปากแล้วแต่หากไม่ได้รับความจริงใจไม่ทำตามที่รับปากไว้ สหภาพฯจะออกมากดดันเพื่อขับไล่บอร์ดออกจากตำแหน่งแน่นอน" 
 
(มติชนออนไลน์, 16-6-2555)
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนร้ายยิงระเบิด M- 79 ใส่ฐานทหาร ดับ 3 เจ็บ 6

Posted: 16 Jun 2012 12:57 PM PDT

คนร้ายยิงระเบิด  M-79 ใส่ฐานกองร้อยทหารในโรงเรียนที่อ.กรงปีนัง ขณะเจ้าหน้าที่กำลังเตะตะกร้อ ลูกเดียวดับ 3 เจ็บ 6 
 
พ.ต.อ.ลำเนียง ลือเจียงดำ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรกรงปีนัง อ.กรงปีนัง จ.ยะลา เปิดเผยว่าเมื่อเวลา 17.25 น.วันที่ 16 มิถุนายน 2555 คนร้ายได้ยิงระเบิดเอ็ม 79 จำนวนหนึ่งลูกเข้าไปยังโรงเรียนบ้านตะโละซูแม หมู่ที่ 4 ต.กรงปีนัง อ.กรงปีนัง จ.ยะลา ซึ่งเป็นฐานของชุดปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยโรงเรียน กองร้อยทหารราบที่ 1413 หน่วยเฉพาะกิจยะลา 13  
 
เหตุเกิดขณะเจ้าหน้าที่ทหารกำลังเล่นกีฬาตะกร้อภายในโรงเรียน โดยยิงมาจากด้านหลังโรงเรียนในลักษณะวิถีโค้ง ซึ่งหากยิงแบบวิถีตรงจะเข้าไปไม่ได้เพราะติดอาคาร ลูกระเบิดตกตรงกลางวงตะกร้อพอดีทำให้เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต 3 บาดเจ็บ 6 นาย พ.ต.อ.ลำเนียงกล่าว
 
รายงานจากศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้าให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกันว่าเจ้าหน้าที่ทหารกำลังรับฟังคำชี้แจงแนวทางการปฏิบัติและรายงานสถานการณ์ประจำวันอยู่ที่บริเวณหน้าเสาธงภายในโรงเรียนในขณะเกิดเหตุและระเบิดเป็นชนิดขว้างไม่ทราบขนาด
 
รายงานจากศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินฯ แจ้งว่ารายชื่อเจ้าหน้าที่ทหารที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ ได้แก่ จ.ส.อ.ชวนากร วงศ์ตระ พลทหารอานนท์ หาญกิจอุดมสุข  พลทหารสมบัติ ไม้มะตาม ส่วนเจ้าหน้าที่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บ ส.ท.คมสัน ใจปันตา ส.ท.ณัฐพงษ์ เสือทะจิตร พลทหารสหรัฐ ใจตั้ง พลทหารเอกพล คาแดง พลทหารไพรสิฐ จันทร์สุข พลทหารพิพัทร รัตนเสถียร รายงานฯ ระบุว่า เป็นการกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แกรมมี่-ทรูแก้ "จอดำยูโร" ถกยูฟ่ารู้ผล 19 มิ.ย.‎ โพลล์ชี้เกมผลประโยชน์

Posted: 16 Jun 2012 08:37 AM PDT

แกรมมี่ ลุยเคลียร์ปัญหา จอดำยูโร บินด่วนเจรจายูฟ่าวันนี้ หวังจานดำ-จานทึบ-ทรูวิชั่นส์ ได้ถ่ายสด รอผลอังคารนี้ (19 มิ.ย.‎ ) ผนึกทรูเยียวยาสมาชิกทั้ง 2 ค่าย ดุสิตโพลชี้ “ทรูวิชั่นจอดำ” เกิดจากเรื่องผลประโยชน์ แนะหันหน้าเข้าหากัน‎

เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่าเมื่อวานนี้ (15 มิ.ย. 55) นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้กำกับดูแลคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้เรียกผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012 ซึ่งประกอบด้วย บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) สถานีโทรทัศน์ ฟรีทีวีที่ร่วมถ่ายทอดสด คือ ช่อง 3 ,5 และ 9 ,บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ,แพลตฟอร์มจานและกล่องรับสัญญาณดาวเทียมระบบซีแบนด์ “พีเอสไอ” ระบบเคยู แบนด์ “ไอพีเอ็ม” มาร่วมหารือเพื่อแก้ปัญหา “จอดำ” เนื่องจากผู้ชมฟรีทีวี ทางทรูฯ และจานดาวเทียมไม่สามารถรับชมได้

นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากภาครัฐมีความห่วงใยกลุ่มประชาชนที่ไม่สามารถรับชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012 ที่เริ่มการแข่งขันตั้งแต่วันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทางช่องฟรีทีวีได้นั้น เนื่องจากการถ่ายทอดสดยูโร ผ่านช่องทางฟรีทีวี ต่างๆ จะต้องอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ที่ยูฟ่า เจ้าของสิทธิกำหนด และแกรมมี่ จะต้องแจ้งรายชื่อทุกช่องทางการแพร่ภาพให้ยูฟ่าพิจารณาอนุญาตก่อน

โดยแพลตฟอร์มฟรีทีวี ที่ได้รับอนุญาตจากยูฟ่า ให้ถ่ายทอดสดตามที่แกรมมี่ได้เสนอรายชื่อไปแล้ว คือ ฟรีทีวีภาคพื้นดิน ช่อง 3 ,5 และช่อง 9 ,เคเบิลทีวีท้องถิ่นกลุ่มซีทีเอช และกล่องรับสัญญาณดาวเทียม จีเอ็มเอ็ม แซท และกล่องดีทีวี รุ่นเอชดี ที่มีการซื้อลิขสิทธิ์จากแกรมมี่ 15 ล้านบาท ขณะที่แพลตฟอร์มอื่นๆ ไม่มีการติดต่อเพื่อขอลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกับบริษัทแต่อย่างใด

ส่งทีมบินด่วนถกยูฟ่ารู้ผล “อังคาร” นี้

อย่างไรก็ตาม เพื่อร่วมกับภาครัฐในแก้ปัญหา “จอดำ” ในช่องทางการรับชมช่องฟรีทีวี ผ่านจานดาวเทียมและทรูวิชั่นส์ ตั้งแต่คืนวันพฤหัส (14 มิ.ย.) ที่ผ่านมา ได้ส่งทีม จีเอ็มเอ็ม สปอร์ต เดินทางไปยังประเทศโปแลนด์ พร้อมกับหนังสือที่ออกโดย สคบ.ถึงจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โดยระบุถึงปัญหาที่ประชาชนไทยไม่สามารถรับชมการถ่ายทอดฟุตบอลยูโรในครั้งนี้ได้ ไปแสดงให้ยูฟ่าพิจารณา

ทั้งนี้ ทีมแกรมมี่ ได้มีการนัดหารือกับบอร์ดยูฟ่าในวันเสาร์นี้ ตามที่ สคบ. ต้องการให้แกรมมี่ดำเนินการ คือ การขอเพิ่มช่องทางการถ่ายทอดสด การแข่งขันยูโร 2012 ผ่านฟรีทีวี ในแพลตฟอร์มจานรับสัญญาณดาวเทียม ซีแบนด์และเคยูแบนด์ ที่มีระบบเข้ารหัสสัญญาณ เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณแพร่ภาพฟุตบอลยูโร 2012 ล้นไปยังประเทศอื่น รวมทั้งแพลตฟอร์ม “ทรูวิชั่นส์”

ทั้งนี้ แพลตฟอร์มจานและกล่องรับสัญญาณดาวเทียมระบบซีแบนด์ และเคยูแบนด์ ที่ต้องการรับสัญญาณฟรีทีวีแพร่ภาพการถ่ายทอดสดยูโร ให้ส่งเอกสารรูปแบบการดำเนินงานของแต่ละบริษัท มายังแกรมมี่ ภายในเวลา 19.00 น. ของวานนี้ (15 มิ.ย.) เพื่อเสนอรายชื่อแพลตฟอร์มต่างๆ รวมทั้งทรูวิชั่นส์ ไปทางอีเมล ให้ยูฟ่าพิจารณาในวันเสาร์นี้ โดยจะชี้แจงว่าเป็นความห่วงใยของรัฐบาลไทยที่ต้องการช่วยเหลือประชาชน ที่มีปัญหาจอดำอยู่ในขณะนี้

“คาดว่าหลังจากทีมจีเอ็มเอ็ม สปอร์ต หารือและชี้แจงกับยูฟ่าแล้ว ยูฟ่าน่าจะตอบกลับผลการพิจารณาว่าอนุญาตหรือไม่ภายในวันอังคารที่ 19 มิ.ย.นี้ แม้ขณะนี้ จะมีสัญญาณว่าน่าจะเป็นข่าวดี เพราะว่ายูฟ่ารับที่จะพิจารณาเรื่องนี้โดยเร่งด่วน เพราะว่าสามารถปฏิเสธไม่รับเรื่องได้เช่นกัน แต่ก็ไม่อยากให้คนไทยคาดหวังสูง และต้องเตรียมใจไว้ด้วยเช่นกัน แต่แกรมมี่ยืนยันว่าจะพยายามทำให้ดีที่สุด” นายไพบูลย์กล่าว

ยันไม่เก็บค่าลิขสิทธิ์ถ่ายยูโร

นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า หากยูฟ่า อนุญาตให้แกรมมี่แพร่ภาพการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012 เพิ่มเติมตามแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ได้เสนอชื่อให้พิจารณา คือ จานดำ จานทึบ และทรูวิชั่นส์ ที่มีระบบเข้ารหัสสัญญาณ แกรมมี่จะไม่มีการเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดยูโร กับทุกแพลตฟอร์มดังกล่าว “ดีทีวี” ซึ่งจ่ายค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดยูโรทางช่องเอชดี ให้แกรมมี่มาแล้ว 15 ล้านบาท ได้อนุญาตให้แกรมมี่ดำเนินการดังกล่าว เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาจอดำให้ประชาชน โดยไม่ติดใจค่าลิขสิทธิ์ที่ได้จ่ายให้แกรมมี่มาแล้ว

อย่างไรก็ตาม ปัญหาจอดำยูโร ที่เกิดขึ้น เป็นกรณีศึกษาให้ผู้ประกอบการไทย ประชาชน และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารและจัดการคอนเทนท์ ที่มีลิขสิทธิ์ ภายใต้กฎหมายของต่างประเทศร่วมกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้นอีกในอนาคต

พร้อมกันนี้ ต้องการเสนอให้ กสทช. เข้ามากำกับดูแลคอนเทนท์ ระดับโลกที่อยู่ในความสนใจของประชาชน และนำเสนอผ่านช่องทางฟรีทีวี โดยจะต้องไม่มีการผูกขาดคอนเทนท์ ไม่เลือกปฏิบัติในการแพร่ภาพผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ มีการกำกับดูแลด้านการซื้อ-ขาย คอนเทนท์ พร้อมทั้งเสนอให้ จัดตั้งหน่วยงานกลาง เพื่อไปประมูลลิขสิทธิ์คอนเทนท์ที่มีราคาแพง และอยู่ในความสนใจของประชาชน เพื่อนำมาร่วมกันทำตลาดในช่องทางต่างๆ

ทรูฯ พร้อมยิงสดทันทีหลังยูฟ่าเปิดทาง

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัญหาจอดำยูโรที่เกิดขึ้นกับสมาชิกทรูวิชั่นส์ในครั้งนี้ เป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของทรูฯ ที่คิดว่าสัญญาณการถ่ายทอดสดการแข่งขันยูโร 2012 ทางช่องฟรีทีวี ทรูฯ สามารถถ่ายทอดสัญญาณได้ตามปกติ (Pass through) ผ่านแพลตฟอร์มทรูฯ ได้เหมือนรายการอื่นๆ ทางฟรีทีวี ที่ดำเนินการเช่นนี้มาตลอด 20 ปี ของการประกอบธุรกิจ ทำให้ไม่มีการเจรจาเรื่องลิขสิทธิ์การถ่ายทอดกับแกรมมี่ผู้ได้สิทธิในปีนี้

แต่หลังจากทราบว่าต้องมีการเจรจาเรื่องลิขสิทธิ์ เพื่อให้ยูฟ่าอนุญาตการถ่ายทอดผ่านทางทรูฯ จึงได้ร่วมกับแกรมมี่ดำเนินการโดยเร่งด่วน ซึ่งยูฟ่าได้มีหนังสือปฏิเสธที่จะอนุญาตในครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม สำหรับการไปขอให้ยูฟ่าพิจารณาเพิ่มช่องทางการถ่ายทอดสดทางฟรีทีวี ผ่านจานดาวเทียมและทรูฯ อีกครั้ง หากได้รับอนุญาตจากยูฟ่า ทรูฯ พร้อมที่จะถ่ายทอดสดทางช่องฟรีทีวี ที่แพร่ภาพในรูปแบบ Pass through หรือการเปิดช่องรายการใหม่ เพื่อรับสัญญาณการถ่ายทอดสดยูโร 2012 ในทันที

แกรมมี่-ทรูฯ จับมือเยียวยาลูกค้า

นายไพบูลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่ทรูฯ อยู่ในสภาพจอดำที่ผ่านมา ถือว่าไม่ใช่ความผิดของทรูฯ แต่ถือเป็นการสื่อสารที่ผิดพลาดระหว่างผู้เจรจาหารือของทั้งสองฝ่าย เกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์การถ่ายทอด อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้หากยูฟ่า อนุญาตให้ถ่ายทอดสดยูโรเพิ่มเติมทางจานดาวเทียม และทรูวิชั่นส์

ทั้งทรูฯ และแกรมมี่ จะร่วมกันออกมาตรการเยียวยาลูกค้าทั้ง 2 ฝ่ายที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ โดยเฉพาะลูกค้าที่ซื้อกล่องจีเอ็มเอ็ม แซท ที่มีการโฆษณาว่ารับชมยูโร 2012 ผ่านกล่องจีเอ็มเอ็ม แซท และดีทีวี รุ่นเอชที เท่านั้น

ด้านนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ภาครัฐเห็นว่าการหารือของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกรณีจอดำฟุตบอลยูโร ในครั้งนี้ มีบรรยากาศที่ดี และน่าจะมีทางออกให้กับทุกฝ่าย โดยภาครัฐยืนยันว่าต้องการแก้ปัญหาให้ประชาชน ที่ไม่ได้สิทธิในการรับชมทางฟรีทีวี และไม่มีเจตนาจะบังคับให้เอกชนต้องละเมิดสัญญาหรือกฎหมายลิขสิทธิ์แต่อย่างใด

ดุสิตโพลชี้ “ทรูวิชั่นจอดำ” เกิดจากเรื่องผลประโยชน์ แนะหันหน้าเข้าหากัน

ด้านสยามธุรกิจรายงานว่าจากกรณีพิพาทระหว่างทรู และ แกรมมี่ เรื่องลิขสิทธิ์การถ่ายทอดฟุตบอลยูโร ส่งผลให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่สนใจติดตามชมฟุตบอลบางกลุ่มไม่สามารถรับชมได้ ในขณะที่หลายหน่วยงานได้เริ่มเข้ามาดูแลและตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อหาแนวทางแก้ไขและยุติเรื่องนี้โดยเร็ว เนื่องจากประชาชนเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ที่สนใจติดตามข่าวนี้และติดตามการแข่งขันฟุตบอลยูโรที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,076 คน ระหว่างวันที่ 11-15 มิถุนายน 2555 สรุปผลได้ดังนี้

1.ประชาชนคิดอย่างไร? กรณี “ทรูวิชั่นจอดำ” ไม่สามารถถ่ายทอดฟุตบอลยูโร 2012 ได้

อันดับ 1 เป็นเรื่องของผลประโยชน์ทางธุรกิจ และมีเรื่องของลิขสิทธิ์ที่จะต้องปฏิบัติตาม 37.43%

อันดับ 2 เป็นการผลักภาระมายังผู้บริโภค /เอาเปรียบผู้บริโภค/ประชาชนตกเป็นเครื่องมือ 22.35%

อันดับ 3 รู้สึกเสียอารมณ์และผิดหวังที่ต้องมาเจอกับปัญหาเช่นนี้ /กลายเป็นเรื่องใหญ่โต 19.55%

อันดับ 4 ควรมีการศึกษาข้อมูลรายละเอียดต่างๆที่ทางยูฟ่ากำหนดอย่างรอบคอบ 15.64%

อันดับ 5 ไม่ได้รับความสะดวกในการชม ต้องไปดูที่อื่น เช่น บ้านเพื่อน ร้านอาหาร เป็นต้น 5.03%

2.ประชาชนคิดว่า ทางออก/วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดในขณะนี้ คือ

อันดับ 1 ถอยคนละก้าว หันหน้าเข้าหากันและช่วยกันแก้ปัญหานี้ให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว / คิดถึงส่วนรวมโดยเฉพาผู้บริโภคเป็นสำคัญ 32.07%

อันดับ 2 ระหว่างรอทั้ง 2 บริษัทแก้ปัญหาอยู่ แฟนบอลที่อยากดูการแข่งขันจะต้องหาทางแก้ปัญหาด้วยตัวเองก่อน เช่น ซื้อกล่องมาติด หนวดกุ้ง หรือเสาอากาศ เป็นต้น 26.16%

อันดับ 3 เรื่องนี้ควรทำไปตามขั้นตอนทางกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมา ปฏิบัติตามกฎกติกาที่ยูฟ่ากำหนด 16.45%

อันดับ 4 หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กสทช. สคบ. DSI กมธ.กีฬา จะต้องเข้ามาดูแลตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมแนวทางป้องกันแก้ไข 15.19%

อันดับ 5 ทางทรูและแกรมมี่ต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะประชาชนที่ได้รับผลกระทบ /ทางทรูจะต้องมีการชดเชยที่เหมาะสมให้แก่ลูกค้า 10.13%

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยูโร 2012: เผยนักกิจกรรมเฟมินิสต์ของกลุ่ม FEMEN หายตัวลึกลับ

Posted: 16 Jun 2012 07:21 AM PDT

หายตัวลึกลับ  Alexandra Shevchenko, Yana Zhadanova และ Anna Bolshakova นักกิจกรรมของกลุ่ม FEMEN หายตัวไปอย่างลึกลับก่อนเกมการแข่งขันระหว่างยูเครนกับฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ที่ผ่านมา (ที่มาภาพ: http://www.facebook.com/Femen.UA)

นักกิจกรรมด้านสิทธิสตรีในนามกลุ่ม FEMEN ของยูเครนออกมาระบุว่านักกิจกรรมของกลุ่ม 3 คนคือ Alexandra Shevchenko, Yana Zhadanova และ Anna Bolshakova ได้หายตัวไปอย่างลึกลับ โดย Shevchenko ขาดการติดต่อเป็นคนแรกในช่วงเวลาประมาณ 16.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของยูเครน เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ก่อนที่ Zhadanova และ Bolshakova จะหายตัวไปในอีก 1 ชั่วโมงถัดมา 

FEMEN ระบุว่าทั้ง 3 สาวอาจถูกลักพาตัวโดยกลุ่มชายประมาณ 15 คน ที่ติดตามพวกเธอมายังเมือง Donetsk ก่อนเกมระหว่างยูเครนกับฝรั่งเศส (15 มิ.ย.)

เจ้าหน้าที่ตำรวจเมือง Donetsk ก็ได้ออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับการหายตัวครั้งนี้ แต่ FEMEN ยังระบุว่าหน่วยงานตำรวจลับของยูเครนอย่าง SBU อยู่เบื้องหลัง และกดดันให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเมือง Donetsk ให้ข้อมูลแก่สารธารณะชนไม่กระจ่างนัก

ทั้งนี้นักกิจกรรมทั้ง 3 คนเคยถูกตำรวจลับของเบรารุสลักพาตัวไปทรมานและข่มขู่ เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา จากการที่พวกเธอบุกไปเปลือยอกประท้วงประธานาธิบดีจอมเผด็จการอย่าง Alexander Lukashenko ที่กรุง Minsk ประเทศเบรารุส

อนึ่ง FEMEN เป็นกลุ่มนักกิจกรรมรณรงค์ปกป้องสิทธิสตรีที่สำคัญกลุ่มหนึ่งในยูเครน ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 และมีการแพร่ขยายออกไปในอีกหลายประเทศ โดยสมาชิกส่วนใหญ่ที่ร่วมก่อตั้งเป็นปัญญาชนและนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งนี้ FEMEN ได้ออกแคมเปญรณรงค์ “FUCK EURO 2012” เพื่อต่อต้านการกระตุ้นอุตสาหกรรมการค้าบริการทางเพศ ที่มาพร้อมกับทริปเซ็กส์ทัวร์ของแฟนบอลต่างชาติที่หลั่งไหลเข้ามายังยูเครนในช่วงการแข่งขัน

*เพิ่มเติม เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. เฟซบุ๊คของกลุ่ม FEMEN ได้แจ้งว่าได้พบนักกิจกรรมทั้ง 3 คนแล้ว โดยทั้ง 3 กำลังจะเดินทางไปยังกรุง Kiev โดย FEMEN ระบุว่าจะแจ้งรายละเอียดต่อกรณีนี้ในภายหลัง

ที่มาข่าว:

Feminist activists reported to have been kidnapped in Ukraine (guardian.co.uk, 15-6-2012)
http://www.facebook.com/Femen.UA (เข้าดูเมื่อ 16-6-2012)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประชาธรรม: แอมเนสตี้ -นิติมช.เปิดวงเสวนา นิรโทษกรรม คนผิดลอยนวลหรือลบล้างรัฐประหาร

Posted: 16 Jun 2012 04:16 AM PDT

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จับมือนิติมช.จัดงาน "แถลงรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ประจำปี 2555สัญจรเชียงใหม่" เผยประเด็นการละเมิดสิทธิฯในไทยห้าประการ พร้อมเปิดวงเสวนา"นิรโทษกรรม : คนผิดลอยนวลหรือลบล้างรัฐประหาร" เสนอแนวทางปรองดองอย่างเป็นธรรมในยุคสังคมเปลี่ยนผ่าน

สำนักข่าวประชาธรรมรายงานว่าเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2555 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดงาน "แถลงรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ประจำปี 2555สัญจร ณ จังหวัดเชียงใหม่" และเสวนาในหัวข้อ "นิรโทษกรรม : คนผิดลอยนวลหรือลบล้างรัฐประหาร"

รายงานที่แอมเนสตี้ฯแถลงฉบับนี้ได้รวบรวมสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนตลอดปี 2554 โดยให้ทั้งภาพรวมของห้าภูมิภาคและข้อมูลของแต่ละประเทศจากทั้งหมด 155 ประเทศ รายงานชี้ให้เห็นว่าการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนยังดำเนินต่อไปอย่างเข้มแข็งใน ทุกมุมโลก  สำหรับประเทศไทยมีหลายประเด็นที่น่าห่วงใยเช่น การขัดแย้งกันด้วยอาวุธภายในประเทศ การลอยนวลพ้นผิด เสรีภาพในการแสดงออก  ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเข้าเมือง และโทษประหารชีวิต ((อ่านรายงานฉบับเต็ม))

 

แอมเนสตี้เผยไทยมีการละเมิดสิทธิฯห้าประเด็น

นส.ปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล ผู้อำนวยการองค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า งานศึกษาวิจัยสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทยของนักวิจัยอิสระจากแอมเนสตี้ พบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทย 5 ประเด็น ประเด็นแรก สถานการณ์จังหวัดชายแดนใต้ยังมีความขัดแย้งกันด้วยอาวุธในประเทศเช่นเดียวกับอดีตที่ผ่านมา ผู้ที่ถูกสังหารในระหว่างการขัดแย้งกันด้วยอาวุธในภาคใต้ของไทย ส่วนใหญ่แล้วยังคงเป็นพลเรือน โดยมากกว่าครึ่งเป็นชาวมุสลิม ผู้ก่อการได้เริ่มใช้ระเบิดชนิดแสวงเครื่องมากขึ้น โดยพุ่งเป้าทำร้ายพลเรือนหรือโจมตีโดยไม่แยกแยะ การโจมตีเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามสร้างความหวาดกลัวในบรรดาประชาชน

ประเด็นที่สอง มีการลอยนวลพ้นผิด โดยเฉพาะสองสถานการณ์ หนึ่ง คือ สามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งนับเป็นปีที่แปดติดต่อกันที่ไม่มีการลงโทษเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานความมั่นคงในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรา 17 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯที่คุ้มครองเจ้าหน้าที่ที่กระทำการละเมิดสิทธิในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

ส่วนอีกสถานการณ์หนึ่ง คือ เหตุการณ์ความขัดแย้ง รุนแรงในเดือนพฤษภาคมเมื่อปี 2553 ซึ่งแม้ว่าจะดูเหมือนมีความก้าวหน้าในการดำเนินคดีบางคดี แต่ก็ยังไม่มีการลงโทษเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานความมั่นคงที่ละเมิดสิทธิฯจากเหตุการณ์นั้น

ประเด็นถัดไป เป็นประเด็นเรื่องของ "เสรีภาพในการแสดงออก" ในรายงานฉบับนี้ระบุว่า เสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทยยังคงถูกปราบปรามต่อไป ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือมาตรา 112 (ประมวลกฎหมายอาญา) และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมถึงยังมีการคุกคามสื่อมวลชน ผู้ที่ถูกควบคุมตัวถูกตั้งข้อกล่าวหาและ/หรือถูกตัดสินลงโทษตามกฎหมายสองฉบับนี้ แอมเนสตี้ถือได้ว่าเป็นนักโทษด้านมโนธรรมสำนึก(หมายถึงผู้ที่ถูกจับกุมคุมขังเพียงเพราะว่าเขาลุกขึ้นมาเรียกร้องอย่างสงบสันติ ด้วยความเชื่อและความคิดเห็นที่ต่างจากภาครัฐ) ซึ่งเราก็จะเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข

ประเด็นที่สี่ ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเข้าเมือง ปีที่แล้วรัฐบาลไทยได้ให้สัญญาระหว่างการทบทวนสิทธิมนุษยชนตามวาระว่าจะสนับสนุนพันธกิจของนานาชาติเพื่อที่จะหยุดยั้งไม่ให้ส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับไปยังสถานที่ที่บุคคลดังกล่าวจะต้องถูกข่มขู่คุกคาม

อย่างไรก็ตามจนถึงปลายปีที่แล้ว ผู้ลี้ภัยเกือบ 150,000 คนอาศัยอยู่ตามค่ายผู้อพยพติด และชายแดนไทย-พม่า เนื่องจากเป็นเวลาห้าปีติดต่อกันที่รัฐบาลไม่ได้กำหนดระเบียบปฏิบัติในการคัดกรองผู้แสวงหาที่หลบภัย เป็นเหตุให้ผู้ที่ลี้ภัยเหล่านี้ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน เพราะฉะนั้นตัวเลขทางการของภาครัฐจะต่ำกว่าตัวเลขนี้มาก เพราะไม่ได้ขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ

 

อีกทั้งทางการไทยไม่สนับสนุนให้จัดอาหารและสิ่งช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอื่นๆ ให้กับผู้พักพิง และยังคงมีการจับกุมผู้แสวงหาที่หลบภัยข้ามชาติ มีการควบคุมตัวโดยไม่มีกำหนดและการส่งกลับ หรือบังคับส่งกลับไปยังประเทศที่เสี่ยงจะถูกคุกคาม

ประเด็นสุดท้าย ยังมีโทษประหารชีวิต แม้ว่าในปีที่แล้วเราจะไม่มีการประหารชีวิตนักโทษเลย แต่ว่ายังมีการลงโทษประหารชีวิตประมาณ 40 กรณี แม้ว่ารัฐบาลจะมีแผนแม่บทสิทธิมนุษยชนที่จะยกเลิกโทษประหารชีวิตละเปลี่ยนเป็นจำคุกตลอดชีวิตแทนก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆในประเด็นนี้ นอกจากนี้ นักโทษในแดนประหารยังคงถูกล่ามโซ่ตรวนที่ขาตลอดการควบคุมตัว แม้ว่าศาลจะมีคำสั่งเมื่อปี 2552 ว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่ก็อยู่ระหว่างการอุทธรณ์คำสั่งนี้อยู่

 

แอมเนสตี้ร้องรัฐบาลไทยแก้ม.112  เลิกโทษประหาร

นส.ปริญญา กล่าวอีกว่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องต่อรัฐบาลไทยหลายประเด็น ในประเด็นกฎหมายจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็น โดยเฉพาะมาตรา 112 เราเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพื่อให้สอดคล้องมาตรฐานสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะข้อบัญญัติที่อนุญาตให้บุคคลใดๆก็ตาม สามารถฟ้องร้องได้  รวมถึงขอให้มีการทบทวนเรื่องอัตราโทษที่สูงมาก และให้ชะลอการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จนมีกว่าจะมีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว และก็ให้มีการยุติการเซ็นเซอร์เว็บไซต์โดยอ้างว่าเป็นไปเพื่อคุ้มครองกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

สำหรับประเด็นโทษประหารชีวิต เราเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศอย่างเป็นทางการในการที่จะยุติการประหารชีวิตโดยทันที อีกทั้งเปลี่ยนแปลงกฎหมายจากการลงโทษประหารชีวิตมาเป็นจำคุกตลอดชีวิตแทนตามแผนแม่บทสิทธิมนุษยชนฉบับที่สอง ที่รัฐบาลได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2552 รวมทั้งให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่สองของกติการะหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 

ส่วนประเด็นสามจังหวัดชายแดนใต้ เราเรียกร้องให้ดำเนินการสอบสวนโดยทันที อย่างมีประสิทธิภาพ และอย่างไม่ลำเอียงกรณีการสังหารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทุกกรณี โดยเฉพาะในส่วนที่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงมีส่วนเกี่ยวข้อง และให้นำตัวผู้ถูกกล่าวหาเข้ารับการไต่สวนตามกระบวนการยุติธรรมที่

ยุติการสนับสนุนและการให้เงินอุดหนุนการจัดซื้ออาวุธขนาดเล็ก และให้เข้มงวดต่อการบังคับใช้ระเบียบที่เกี่ยวกับการครอบครองอาวุธปืน รวมทั้งให้มีการแก้ไขกฎอัยการศึก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือกฎหมายอื่นๆ ที่จำกัดสิทธิเสรีภาพ โดยเฉพาะเสรีภาพจากการปลอดพ้นการควบคุมตัวโดยพลการ เสรีภาพในการแสดงความเห็น  การรวมตัว และการชุมนุมโดยสงบ และเสรีภาพในการเดินทาง

ยุติการจับกุมตัวโดยพลการรวมทั้งประกันว่าผู้ที่ถูกควบคุมตัวทุกคน จะเข้าสู่กระบวนการไต่สวนตุลาการที่เป็นอิสระและเป็นธรรม อีกทั้งต้องประกันว่าผู้ถูกควบคุมตัวสามารถเข้าถึงทนายความ ญาติพี่น้อง และได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเหมาะสม

ให้หาทางสืบหาและแจ้งให้ทราบถึงที่อยู่ของทนายสมชาย นีลไพจิตรและบุคคลอื่นที่ถูกบังคับให้สูญหาย เพื่อประกันว่าจะมีการนำตัวผู้ที่รับผิดชอบต่อการสูญหายมาลงโทษ

รวมทั้งให้สัตยาบันรับรองต่ออนุสัญญาสากลว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลสูญหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) และดำเนินการที่จำเป็นเพื่อบังคับใช้อนุสัญญาในระดับประเทศโดยทันทีหลังมี การให้สัตยาบัน

สำหรับเหตุการณ์พฤษภาฯ 53 เราเรียกร้องให้มีการประกันว่าจะมีการสอบสวนข้อเรียกร้องว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง อย่างรอบด้านและอย่างเป็นอิสระ และ ให้ประกันว่าผู้เสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนและครอบครัวได้รับการเยียวยาช่วยเหลืออย่างเต็มที่

ด้านประเด็นผู้ลี้ภัยและผู้เข้าเมืองนั้น อยากให้รัฐบาลเคารพต่อหลักการไม่ส่งกลับ รวมทั้งให้มีการสอบสวนกรณีการบังคับขับไล่ชาวโรฮิงญาจนทำให้ถึงแก่ชีวิต และให้ยุติการควบคุมตัวผู้ลี้ภัยอย่างไม่มีเวลากำหนดและโดยพลการ รวมทั้งให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาว่าด้วยสถานะของผู้ลี้ภัย  ยุติการละเมิดใดๆ ที่กระทำต่อคนงานพลัดถิ่น ทั้งการค้ามนุษย์และการรีดไถ

 

 

 "สิทธิมนุษยชน" ในมุมที่เข้าใจได้ไม่ง่าย

ในช่วงการเสวนาในหัวข้อ "นิรโทษกรรม : คนผิดลอยนวลหรือลบล้างรัฐประหาร" รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า เวลาพูดถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน เรามักจะเห็นด้วยกับคำนี้เสมอ เช่นเดียวกับคำว่า "สิ่งแวดล้อม" และ "การพัฒนา"  ซึ่งสามคำนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้ในโลกสมัยใหม่ มันจึงทำให้ดูราวกับว่าง่าย แต่ความจริงแล้วมันมีความยุ่งยาก ซับซ้อน

ขอยกกรณีตัวอย่างเรื่องเล่าสองเรื่องที่แสดงให้เห็นว่า "สิทธิมนุษยชน" ไม่ใช่เรื่องง่าย เรื่องแรก เกิดขึ้นในประเทศอิหร่านมีวิศวกรหญิงชาวอิหร่านชื่อว่า Ameneh Bahrami ถูกชายหนุ่มสาดน้ำกรดใส่เป็นเหตุให้ตาบอดและเสียโฉม โดยชายดังกล่าวเป็นคนที่หลงรักและมาสู่ขอ แต่เธอได้ปฏิเสธที่จะแต่งงานด้วย

สิ่งที่เกิดขึ้นคือผู้หญิงคนนี้ผ่านการผ่าตัดมาแล้ว 17 ครั้ง แต่ยังคงมีร่องรอยอยู่ เรื่องที่ต้องคิด คือ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2547 ต่อมา พฤษภาคม 2554 ศาลอิหร่านตัดสินโดยให้สามทางเลือก หนึ่ง ให้จำเลยชดใช้ผู้เสียหาย 40,000 ยูโร(ประมาณ 2 ล้านบาท) ถ้าผู้หญิงรับเงินทั้งหมดก็ถือว่าลงโทษเสร็จสิ้น สอง ถ้ารับเงินครึ่งหนึ่งมีสิทธิทำให้ผู้ชายตาบอดข้างหนึ่ง และสาม ถ้าไม่รับเงินเลยแต่มีสิทธิทำให้ผู้ชายตาบอดสองข้างด้วยการหยอดน้ำกรดข้างละ 5 หยด

คำถาม คือ ถ้าเป็นเราจะเลือกแบบไหน นี่คือสิ่งที่จะทดสอบแนวคิดเรื่อง "สิทธิมนุษยชน" ได้เป็นอย่างดี กรณีนี้ถูกผิดไม่รู้ แต่ในตอนแรกผู้หญิงคนนี้ตัดสินใจที่จะทำให้ผู้ชายตาบอดสองข้าง ขณะที่ผู้หญิงกำลังตัดสินใจ เกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องของคนนอกประเทศบอกว่าการลงโทษแบบนี้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ผู้หญิงคนนี้จึงตัดสินใจเลือกคำตัดสินแรก เพื่อไม่ให้ประเทศอิหร่านเสื่อมเสียชื่อเสียงจากการถูกกล่าวหาว่าล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน

เรื่องที่สอง ชาวโรฮิงยา ชนกลุ่มน้อยในพม่า หลังจากประเทศพม่าได้รับเอกราชชนกลุ่มนี้ถูกกดขี่อย่างมาก ต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างมาก จึงอพยพออกมาเรื่อยๆ ปีที่แล้วชาวโรหิงยาลอยเรือลำเล็กเข้าสู่น่านน้ำในประเทศไทย ทหารเรือไทยไปพบเข้า คำถามคือ เราจะทำอย่างไรกับชาวโรหิงยา ด้วยเหตุผลอะไร

มีเรื่องซุบซิบกันว่า ตอนแรก ทหารเรือไทยจะลากชาวโรหิงยาไปทิ้งไว้ในเขตทะเลหลวง แต่บังเอิญเรื่องนี้ไปเข้าหูนักข่าวบีบีซี(สำนักข่าวจากอังกฤษ) ทหารเรือจึงลากชาวโรหิงยาเข้ามาในเขตไทย เพื่อแสดงให้เห็นว่า ทหารเรือไทยมีมนุษยธรรม

 

ที่ยกสองเรื่องมาพูดเพราะ เวลาเราพูดถึง "สิทธิมนุษยชน" ในหลายเรื่องไม่ใช่เรื่องที่เราจะสามารถเห็นพ้องกันไปทั้งหมดในสังคม บางเรื่องเรามีความรู้สึกเห็นด้วยบางส่วน บางเรื่องเห็นด้วยไม่ทั้งหมด บางเรื่องอาจจะไม่เห็นด้วยเลย สิ่งที่สำคัญ คือ มันมีเหตุผลที่รองรับการกระทำที่ดูราวกับละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน และมันทำให้การกระทำเหล่านั้นสามารถเกิดขึ้นได้ สิทธิมนุษยชนจึงไม่ใช่เรื่องห่างไกล ความคิดความเชื่อของแต่ละคนมีส่วนที่ทำให้การละเมิดแบบนั้นเกิดขึ้นได้

"เราคงต้องคิดและไตร่ตรอง หลายเรื่องมันปะทะ หลายเรื่องมันขัดแย้งกับความเชื่อความเข้าใจเรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติ เรื่องของความเจ็บแค้น อะไรต่อมิอะไรมันมีเหตุผลรองรับอยู่"

 

นิรโทษกรรม : เงื่อนไขและความเป็นไปได้

รศ.สมชาย กล่าวอีกว่า คนกลุ่มหนึ่งที่เสนอกฎหมายนิรโทษกรรม บอกว่าเป็นการลบล้างผลพวงจากการรัฐประหาร อีกฝ่ายหนึ่งบอกว่าเป็นการช่วยเหลือคนผิด ฉะนั้น นิรโทษกรรมเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเมืองจึงย่อมทำให้บางคนได้ บางคนเสีย

ตนมีประเด็นจะพูดอยู่ 4 ประเด็น หนึ่ง เงื่อนไขของการนิรโทษกรรม สอง นิรโทษกรรมกับกลักการทางกฎหมาย สาม ข้อถกเถียงในการนิรโทษกรรม สี่ ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมในสังคมไทย

ประเด็นที่หนึ่ง นิรโทษกรรมมีเงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมอย่างไร ในโลกนี้ หลายประเทศออกกฎหมายนิรโทษกรรมมาแล้วประเทศ ไทยจึงไม่ใช่ประเทศแรกที่มีกฎหมายนิรโทษกรรม การนิรโทษกรรมจะเกิดขึ้นในสังคมช่วงเปลี่ยนผ่าน(transitional period)  หมายถึงสังคมที่กำลังเปลี่ยน คือ มีความขัดแย้งชุดใหญ่ทางอุดมการณ์ปรากฏขึ้น และนำไปสู่การทำผิดกฎหมายโดยกลุ่มคนจำนวนมาก(Mass violation)  เช่น ในอเมริกาเคยมีการเถียงกันว่า "จะเอาคนดำไว้เป็นทาสอยู่รึเปล่า" คนครึ่งหนึ่งเห็นว่าควรมี อีกครึ่งหนึ่งเห็นว่าไม่ควรมี เถียงกันจนกระทั่งกลายเป็นสงครามกลางเมืองจนคนตายเป็นแสน หลังจากเรื่องนี้เกิดขึ้น ฝ่ายที่เห็นด้วยกับการมีทาสชนะ แต่จะจับกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยเป็นล้านก็ทำไม่ได้ จะเห็นว่า สังคมที่มีการเปลี่ยนผ่านหรือมีความขัดแย้งทางอุดมการณ์ชุดใหญ่มักจะนำไปสู่ปัญหาแบบนี้ และนิรโทษกรรมจะถูกนำมาใช้ในสถานการณ์แบบนี้ ฉะนั้นการนิรโทษกรรมจึงไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด

"อยากให้เวลา เราเถียงกันเรื่องนิรโทษกรรม...อย่าเพิ่งอกสั่นขวัญแขวนว่า บัดนี้เรากำลังจะปล่อยคนผิดลอยนวล ให้ใจเย็นไว้ก่อน"

ประเด็นที่สอง นิรโทษกรรมและหลักการทางกฎหมาย นิรโทษกรรมโดยทั่วไป คือการกำหนดให้การกระทำบางอย่างบางสถานการณ์ไม่เป็นความผิดหรือไม่ต้องรับโทษ ทั้งที่ตามปกติเป็นความผิด ในแง่นี้จึงสั่นคลอนต่อความสม่ำเสมอ (consistency)ของระบบกฎหมาย เพราะหมายถึงการยกเว้นบางคน ทำให้เกิดความไม่เสมอภาคทางกฎหมาย แต่หากไม่มีการนิรโทษกรรมจะทำให้สังคมตกอยู่ในภาวะที่ไม่ปกติ หรือไม่อาจจะเดินหน้าต่อไปได้ ในทางกฎหมายใช้คำว่า Doctrine of Necessity หลักว่าด้วยความจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ทำให้ต้องมีการนิรโทษกรรม

ประเด็นที่สาม ข้อถกเถียงบางประการเกี่ยวการนิรโทษกรรม คือ ความผิดประเภทไหนที่ควรได้รับการนิรโทษกรรม เฉพาะความผิดทางอาญาหรือความผิดทางการเมือง (ความผิดทางการเมือง คือ การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีอุดมการณ์นำหน้า) เช่น ชุมนุมขับไล่รัฐบาล  ระหว่างชุมนุมเรียกร้องแล้วเกิดมีคนตาย คนที่ทำให้คนตายต้องรับโทษหรือไม่

ข้อถกเถียงที่ตามมา คือ ความเป็นธรรมในทางสังคม ระหว่างผู้กระทำความผิดกับผู้ที่ถูกกระทำ ถ้ามีการนิรโทษกรรมเกิดขึ้น เราจะพูดถึงความเป็นธรรมกับญาติพี่น้องของคนที่เสียชีวิตจากการกระทำอย่างไร  

นิรโทษกรรมอาจสร้างวัฒนธรรมทางกฎหมายบางอย่าง เช่น ในรวันดา มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้สอบถามคนที่ลงมือฆ่าว่า "ทำไมถึงฆ่าอีกฝ่าย ไม่กลัวถูกโทษหรือ" คนที่ฆ่าคนตายบอกว่าเขาไม่กลัวเพราะรู้ว่าจะมีการนิรโทษกรรมเกิดขึ้น เป็นต้น นิรโทษกรรมบ่อยๆ จึงเป็นปัญหา เพราะมีความเข้าใจเรื่อง "ทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ"

ประเด็นที่สี่ ข้อพิจารณาสำหรับสังคมไทย สังคมไทยไม่ใช่ไม่เคยมีนิรโทษกรรม มีบ่อยครั้งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากการรัฐประหาร แต่เป็นการนิรโทษกรรมแบบอำนาจนิยม หมายความว่ารัฐประหารเสร็จก็ออกกฎหมายนิรโทษกรรมเลย ไม่เปิดโอกาสให้มีการถกเถียง

เรื่องที่เถียงกันว่าถ้าจะนิรโทษกรรม ใครบ้างที่อยู่ในขอบเขตของการนิรโทษกรรม ซึ่งจำแนกออกมาได้สามกลุ่ม คือ หนึ่ง ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหารและกระบวนการที่ติดตามมาได้แก่ ทักษิณ และนักการเมือง  สอง แกนนำการเคลื่อนไหวทั้งสองสี เหลือง และแดง ได้แก่ สนธิ ลิ้มทองกุล สุริยะใส กตะศิลา จตุพร พรหมพันธุ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ฯลฯ สาม มวลชนที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวทั้งเหลืองและแดง

ตนคิดว่าควรจำแนกให้ชัดเจน เพราะถ้าเหมารวมจะทำให้เกิดการถกเถียงแบบไม่ชัดเจน อย่างกลุ่มที่สองแกนนำเหลืองและแดงต่างประกาศชัดว่าพร้อมพิสูจน์ ก็สามารถปล่อยขึ้นศาลได้ กรณีถ้าจะนิรโทษกรรมกลุ่มที่หนึ่งแบบสามารถประนีประนอมได้ต้องมีเงื่อนไขตามมาว่า ไม่ตัดสิทธิที่จะนำคดีที่คนกลุ่มนี้เคยทำขึ้นศาลใหม่

กลุ่มที่ควรจะนิรโทษกรรมก่อนคือ กลุ่มที่สาม มวลชนที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวทั้งเหลืองและแดง ซึ่งไม่ได้ทำความผิดทางอาญาอย่างชัดเจน

"สิ่งที่ต้องระมัดระวัง นิรโทษกรรมมิใช่การลืมโดยไม่ค้นหาความจริงว่าอะไรเกิดขึ้น ต้องค้นหาความจริงว่าอะไรเกิดขึ้น อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะสังคมไทยที่ผ่านมา เราไม่เคยได้ข้อเท็จจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีความรุนแรงของรัฐกับประชาชน เราไม่เคยมีข้อมูลว่าอะไรเกิดขึ้น พอนิรโทษกรรมเกิดขึ้นส่วนใหญ่ก็เลิกกันไป พอเลิกกันไป มันทำให้เราไม่รู้เลยว่า การใช้อำนาจ หรือใช้ความรุนแรงของรัฐต่อประชาชนเกิดขึ้นที่ใคร เกิดขึ้นที่นักการเมือง เกิดขึ้นที่ผบทบ. เกิดขึ้นที่นายทหารระดับล่างยิงกันมั่วซั่ว หรือเกิดขึ้นจากการที่ผู้ชุมนุมใช้ความรุนแรงก่อน เราไม่รู้อะไรเลย ถ้าเกิดเรารู้มันจะทำให้เรามองต่อไปได้ เช่น ถ้าเรารู้ว่าความรุนแรงเกิดขึ้นโดยรัฐ โดยนักการเมือง หรือโดยทหารก็ตาม จะทำให้เรามองหากลไกที่จะจัดการความรุนแรงอันนั้นได้ ถ้าเราไม่รู้ว่าความรุนแรงนั้นเกิดขึ้นโดยใคร ด้วยปัจจัยอะไร มันทำให้เรายังต้องเผชิญกับความรุนแรงของอำนาจรัฐอยู่เนือง เนือง"

 

อาจารย์มหิดลเสนอหกแนวทาง สร้างยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน ก่อนปรองดอง

นส.ขวัญระวี วังอุดม สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เวลาเราพูดถึงเรื่องนิรโทษกรรม จะมีประเด็นถกเถียงว่า จะนิรโทษกรรมใครบ้าง หากลองดูพ.ร.บนิรโทษกรรมสี่ฉบับที่เสนอในรัฐสภาก็จะพบว่ามีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป

หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการรัฐประหาร 18 ครั้ง และทุกครั้งหลังจากการรัฐประหารก็จะตามมาด้วยการนิรโทษกรรมทุกครั้ง

ในเหตุการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา อย่างเช่น 6 ตุลาฯ 19 พฤษภาฯ 35  พฤษภาฯ 53 หรือแม้แต่เหตุการณ์ในภาคใต้ เราจะเห็นว่ามันไม่ได้มีความแตกต่างกันเลย คือมักจะมีการสร้าง "วาทกรรม" "ความชอบธรรม" เพื่อจะเป็นเหตุผลรองรับการใช้ความรุนแรงเหล่านั้น

อย่างเหตุการณ์พฤษภาฯ 53 มีการตั้งข้อหาล้มเจ้า โดยมีการประกาศผังล้มเจ้าขึ้นมา คนจำนวนมากก็ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะคนเสื้อแดงที่ถูกคนในสังคมมองว่า ต้องการล้มล้างสถาบันฯ แต่เมื่อไม่นานมานี้ ดีเอสไอซึ่งเป็นคนออกผังนี้เพิ่งจะออกมาปฏิเสธว่าแผนผังนี้ไม่มีจริง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือเหตุผลนี้ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของการปราบปรามประชาชน

ร่างพ.ร.บนิรโทษกรรม ที่พูดถึงกัน ฉบับแรกเสนอโดยสนธิ บุญยรัตกลิน โดยให้นิรโทษกรรมทุกฝ่ายรวมทั้งตัวเองที่เป็นคนทำรัฐประหารด้วย ส่วนของคุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ให้นิรโทษกรรมเฉพาะผู้ชุมนุมที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมาแต่ไม่ให้นิรโทษกรรมคนที่สั่งทำร้ายประชาชน ทั้งสองฉบับบนี้มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน

เวลาที่สังคมเกิดความขัดแย้งรุนแรง หรือช่วงเปลี่ยนผ่านของสังคม ในประเทศอื่นเขาจัดการกับปัญหานี้อย่างไร ความท้าท้ายอันนี้ส่วนใหญ่จะตกอยู่กับรัฐบาลที่เข้ามาบริการประเทศใหม่ คือไม่ใช่รัฐบาลที่ทำการละเมิดสิทธิ แต่มีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่แล้ว  ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่มีคำตอบสำเร็จรูปให้แต่ละประเทศ อย่างเช่น บางประเทศถ้ามีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดมีเป็นจำนวนมาก อาจจะไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ใช่แค่รัฐบาล แต่เป็นคนในสังคม จะเรียกร้องความยุติธรรมจากใคร ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

มีนักวิชาการที่รวบรวมข้อมูล การจัดการปัญหาความขัดแย้ง(ความยุติธรรม)ในประเทศที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน เขาก็สรุปได้ว่าอย่างน้อย การเปลี่ยนระบอบการเมืองและการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดที่จะได้มาซึ่งความยุติธรรม

จุดมุ่งหมายของความคิดเรื่อง "ยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน" มีอยู่ สองอย่าง คือ หนึ่ง การแก้ไขโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในอดีต ชดเชยเยียวยาให้กับผู้สูญเสีย นอกจากนี้ต้องมีการป้องกันไม่ให้ความรุนแรงเกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่สอง แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุด (สอง) คือ ต้องสถาปนาความจริงให้สังคมได้รับทราบว่าที่ผ่านมามันเกิดอะไรขึ้น ต้องสถาปนาหลักนิติรัฐ สิทธิมนุษยชน ให้ลงหลักปักฐานในสังคม

แนวทางที่นำมาใช้ในเรื่อง "ยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน" มีอยู่ หกหลักใหญ่  แนวทางแรกดำเนินคดีอาญา หมายความว่าเราต้องนำผู้กระทำผิด ผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนมาลงโทษ เพราะจะนำมาสู่การสร้างบรรทัดฐานให้สังคมรู้ว่า ไม่มีใคร(แม้แต่รัฐเอง)สามารถใช้อำนาจล่วงเกินละเมิดสิทธิของประชาชนได้อีก นอกจากนี้ยังช่วยเยียวยาทางจิตใจให้กับผู้สูญเสีย อีกทั้งยังเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยแสวงหาความจริงได้

แนวทางที่สองคือ การแสวงหาความจริง ส่วนใหญ่ประเทศที่มีความขัดแย้งรุนแรงเกิดขึ้น พอเหตุการณ์ผ่านไปแล้วจะมีการตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อเปิดโปงข้อเท็จจริงเบื้องต้นจนนำไปสู่การถกเถียงกันในสังคมว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้าง และใครเป็นผู้ใช้ความรุนแรงนั้น ซึ่งแนวทางนี้อาจจะไม่ตอบโจทย์ทั้งหมด แต่เป็นหนทางหนึ่ง อาจจะต้องให้ศาลเข้ามีส่วนร่วมด้วยในการแสวงหาข้อเท็จจริง

แนวทางที่สาม ชดเชยเยียวยา ซึ่งควรดำเนินการทันที ทั้งในแง่ของการเยียวยาทางจิตใจ และเงินชดเชย

แนวทางที่สี่ ต้องมีการปฏิรูปสถาบันและกลไกอื่นๆของรัฐ เพราะว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ มันเกิดจากประเทศที่มีระบอบเผด็จการ โดยเฉพาะเผด็จการทหาร ถ้าต้องการก้าวพ้นความรุนแรงต้องปฏิรูปองค์กรเหล่านี้ ประเทศที่นำแนวทางนี้มาใช้และได้ผลดีที่สุดคือประเทศอาร์เจนติน่า ซึ่งหลังสิ้นสุดยุครัฐเผด็จการทหารแล้ว มีการปฏิรูปกองทัพให้เล็กลง มีการลดงบประมาณของกองทัพ  สามารถตรวจสอบได้

แนวทางที่ห้า ปลดคนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรงที่ผ่านมา ถ้าเป็นข้าราชการก็ไม่สามารถที่จะมาทำงานในตำแหน่งหน้าที่นั้นได้อีก เพราะเขาเชื่อว่าคนเหล่านี้ ถ้าสามารถกลับเข้ามาได้ก็ยังคงอำนาจนั้นไว้ ประเทศส่วนใหญ่ที่นำแนวคิดนี้ไปใช้คือ ในยุโรปตะวันออก หลังการล่มสลายของระบอบการปกครองคอมมิวนิสต์ แต่แนวทางนี้ก็ยังมีปัญหา คือ หลังจากรัฐบาลใหม่ที่ขึ้นมาก็ออกกฎหมายไล่ข้าราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งเป็นการกระทำที่เหวี่ยงแหเกินไป ไม่สามารถแบ่งได้ว่าใครเกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้กำลังเกินกว่าเหตุหรือไม่

แนวทางสุดท้ายคือ การนิรโทษกรรม ประเทศไทยใช้บ่อยมาก และจะเห็นว่าแนวทางที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ ประเทศไทยไม่เคยใช้เลย ใช้อย่างเดียวคือ การนิรโทษกรรม เพื่อเริ่มต้นกันใหม่ ซึ่งมันทำให้สังคมไทยไม่เคยเรียนรู้

เวลาประเทศไทยนำโมเดลนิรโทษกรรมของแอฟริกาใต้มาใช้ มักจะบอกว่าเป็นแนวทางที่ดีสุดแล้ว แต่มันไม่ใช่ เพราะจริงๆแล้วมันเป็นการนำโมเดลของแอฟริกามาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของตนเองในการที่จะให้ตนเองดำรงอยู่ในอำนาจนั้นต่อไปได้

นอกจากนี้กระบวนการที่มาของคณะกรรมการค้นหาความจริงก็ไม่ชอบธรรมแบบแอฟริกาใต้ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเสนอชื่อ แต่ของไทยรัฐบาลคู่ขัดแย้งเลือกกันเอง  มันจึงทำให้ประเทศไทยยังไม่แสวงหาความยุติกรรมได้จริง

ในแอฟริกาใต้คณะกรรมการมีอำนาจที่จะเรียกให้ทุกคนมาให้การข้อเท็จจริง ถ้าไม่มาถือว่ามีความผิดทางอาญา แต่ในประเทศไทยไม่ได้มีสิทธิแบบนั้นมันจึงเป็นอุปสรรคในการที่คอป.จะเรียกทั้งฝ่ายทหารมาให้การ ฝ่ายคนเสื้อแดงก็ไม่วางใจคอป.เพราะมาจากการเลือกของรัฐ

"สิ่งเหล่านี้มันจึงเป็นอุปสรรคที่ทำให้เราอยู่กับคนที่พูดเพียงแค่ว่า ปรองดอง ปรองดอง แต่ว่ามันไม่ได้เป็นการปรองดองที่มุ่งไปสู่ความยุติธรรมที่แท้จริง ความยุติธรรมที่แท้จริงต้องเปิดเผยความจริง"

"อยากจะฝากคำกล่าวของทนายอาร์เจนติน่าคนหนึ่งชื่อ ฌอน เมนเดช เป็นทนายชาวอาร์เจนติน่าที่ต่อสู้เรื่องสิทธิมนุษยชน และสิทธินักโทษการเมือง...ว่า การปรองดองที่แท้จริงไม่สามารถถูกบังคับยัดเหยียดด้วยกฎหมายหรือคำสั่งใดๆ มันต้องสร้างขึ้นมาในจิตใจของมวลหมู่สมาชิกในสังคม ผ่านกระบวนการตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคน การปรองดองต้องการความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เราไม่อาจเรียกร้องหรือคาดหวังถึงการอภัย เว้นเสียแต่ว่าคนที่ถูกเรียกร้องให้ทำการให้อภัยนั้นได้รับรู้อย่างถ่องแท้แล้วว่าพวกเขาและเธอกำลังจะให้อภัยต่อสิ่งใด การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ภายหลังจากที่มีการแก้ไข และชดเชยให้กับเหยื่อในสิ่งที่พวกเขาสูญเสียไปแล้ว มันจะเป็นการสร้างความอยุติธรรมรอบใหม่ให้กับอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในอดีต หากเราไปเรียกร้องการให้อภัยจากเหยื่อในขณะที่บรรดาคนที่ได้รับผลประโยชน์จากการให้อภัยนั้นไม่เคยแสดงออกหรือสำนึกผิด หรือยอมรับในความผิดที่พวกเขาได้กระทำลงไปเลยแม้แต่น้อย"

 

อาจารย์มช.เชื่อให้สัตยาบันศาลอาญาระหว่างประเทศ ปลดล๊อควิกฤต  ช่วยให้เกิดความเป็นธรรม

นายทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สิ่งที่มีการถกเถียงกันมากและไม่จบสิ้น บนพื้นฐานที่ว่ามันยังไม่มีการทำให้ข้อเท็จจริงชัดเจน ว่าอะไรเป็นอะไร

เหตุการณ์พฤษภาคม 2553 ที่เกิดขึ้นมาแล้วสองปี ยังไม่มีการยอมรับว่าใครเป็นผู้กระทำผิด มีความชอบธรรมที่จะฆ่าหรือไม่ฆ่าหรือไม่

เวลาเราพูดถึง เรื่อง สิทธิมนุษยชน ไม่ได้หมายความว่า ทุกเรื่องที่มีการละเมิดสิทธิสามารถตีคลุมว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเช่น มีคนกล่าวอ้างว่า คนที่ไปใช้สิทธิในการชุมนุมทางการเมืองบางส่วนใช้ความรุนแรงต่อประชาชนทั่วไป ซึ่งอันนี้จะเรียกว่าเป็นการละเมิดสิทธิทั่วไป คือ มีปัจเจกชนคนหนึ่งละเมิดสิทธิคนอื่น มีการแจ้งความต่อรัฐ ข้อกล่าวหานี้เกิดขึ้นกรณีที่มีการยิงเอ็ม  79  ประเด็นนี้มักมีคนจำนวนมาก บอกว่า คนที่ทำนายว่าจะมีเอ็ม 79 ลงมา มันเป็นส่วนหนึ่งของผู้ชุมนุมเสื้อแดง ฉะนั้นเสื้อแดงละเมิดสิทธิฯ สิ่งที่เสื้อแดงโดนมันสมควรแล้ว อันนี้จึงเป็นปัญหามาก เพราะไม่มีใครมาจัดให้ชัดเจนว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของประชาชนหรือปัจเจกชนถูกละเมิดสิทธิโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจ ไม่ใช่กรณีเอกชนละเมิดสิทธิเอกชน ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า คนยิงเอ็ม 79 ไม่ผิด แต่มันมีความหมายอีกนัยหนึ่ง คือ รัฐมีหน้าที่หาว่าใครเป็นคนทำ เพราะถ้ารัฐไม่สามารถหาได้ว่าใครเป็นคนทำ จะมีปัญหาตามมาว่า ตกลงแล้ว ผู้ที่มาชุมนุมเป็นอาชญากรทั้งหมดหรือไม่

มันจึงนำมาสู่คำถามถัดมาว่า คนจำนวนหนึ่งรู้สึกตกใจกับการที่มีการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม หรือกฎหมายปรองดองเพราะเขามีความคิดชุดหนึ่ง ชุดเดียวกันว่าคนเสื้อแดงที่มาชุมนุมเมื่อปี 2553 เป็นส่วนหนึ่งของอาชญากรหรือผู้ก่อการร้าย เพราะฉะนั้นไม่ควรนิรโทษกรรม ซึ่งเป็นการแบบเหมารวม

ที่กล่าวถึงประเด็นนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า ใครบ้างที่ต้องรับผิด แบบที่ไม่ควรละเว้นโทษ ละเว้นความผิด ในทางกฎหมายสิทธิมนุษยชน ผู้ที่มีอำนาจและสามารถเลือกที่จะใช้อำนาจประหารประชาชนหรือไม่ใช้ แต่กลับเลือกที่จะใช้อำนาจนั้นประหารประชาชน บุคคลเหล่านั้นไม่ควรได้รับการยกเว้นโทษและยกเว้นความผิด

ธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศจะให้ลักษณะบางอย่างของการกระทำที่เรียกว่า ไม่ว่าใครเป็นคนทำหรือทำเมื่อไหร่ก็ตาม จะถือว่าเป็นความผิดตลอดเวลา ซึ่งถือว่าเป็นอาชญากรรมระหว่างประเทศ ได้แก่ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ทำลายล้างชาติพันธุ์ การก่ออาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ

สิ่งที่ถูกพูดถึงมาก คือ อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ เพราะกินความหมายค่อนข้างกว้าง กินความตั้งแต่ความขัดแย้งในช่วงสงคราม จนถึงความขัดแย้งที่ไม่ต้องเป็นสงครามก็ได้ อย่างในบ้านเราไม่มีสงครามอย่างชัดเจน แต่มีความขัดแย้ง และละเมิดสิทธิ และการละเมิดสิทธิเกิดจากผู้ที่มีอำนาจ ซึ่งสามารถเลือกได้ที่จะไม่ใช้อำนาจแต่กลับใช้อำนาจในการสังหาร จนก่อให้เกิดอาชญากรรม

ลักษณะเหตุการณ์ของประเทศไทยที่เข้าข่าย อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ มีสองเหตุการณ์ใหญ่(ซึ่งสองเหตุการณ์นี้ได้มีคนทำรายงานถึงสหประชาชาติ) คือ หนึ่ง สงครามยาเสพติดสมัยรัฐบาลทักษิณ ซึ่งมีคนตายไปกว่า 2,000 คน สอง การแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีคนตายจำนวนหนึ่ง

ประเด็นคือ มีความขัดแย้ง ความสูญเสีย มีคนเจ็บปวด โกรธแค้นเกลียดชังกันอยู่ สิ่งหนึ่งที่มันจะเกิด คือ การถกเถียง เหมือนสังคมไทยตอนนี้ คือเถียงไปเรื่อยๆ แบบไม่มีข้อสรุป ซึ่งคนที่ได้ประโยชน์จากการถกเถียงแบบนี้ คือ ผู้มีอำนาจสั่งฆ่า เพราะ คดีมีอายุความ

ฉะนั้นจึงเห็นว่า รัฐไทยควรให้สัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศ เพื่อทำให้คนที่กระทำความผิดต้องรับผิดและต้องรับโทษ

การเรียกร้องให้รัฐไทยซึ่งได้ลงนามในธรรมนูญไปแล้ว ดำเนินการให้สัตยาบันเพื่อให้มีผลกับรัฐไทย จะมีผลดีดังต่อไปนี้

หนึ่ง ทำให้คดีรัฐบาลทักษิณสั่งทำสงครามยาเสพติด จนมีคนตายกว่า 2,700 คนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม (สำหรับคนไม่ชอบทักษิณ)

 

สอง ทำให้คดีทักษิณทำสงครามต่อต้านโจรก่อการร้าย จนมีคนตายกว่า 2,000 คน รวมถึงทนายสมชาย เข้าสู่กระบวนการ

สาม การใช้กำลังผ่านมาตรการของรัฐบาลทั้งหลาย ที่สร้างความเสียหายต่อผู้ชุมนุมทางการเมืองทุกครั้ง สามารถนำเข้าสู่กระบวนการเยียวยาได้ มิต้องพะวงว่าจะประกาศนิรโทษกรรม อาทิเช่น พฤษภาทมิฬ  10 เมษฯ พฤษภาฯ 53ฯลฯ

สี่ ในอนาคตถ้าเกิดความแย้งที่มีลักษณะใกล้เคียงกันอีก ผู้ที่มีอำนาจในตอนนั้นจะระมักระวังตัวเองว่าจะถูกดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศไทย หลักประกันนี้จะทำให้ผู้มีอำนาจจำต้องใช้มาตรการที่คำนึงถึงชีวิตของประชาชนมากขึ้น

ห้า อาชญากรตกอยู่ในเขตอำนาจศาลสากล แม้ผู้กระทำความผิดจะหนีไปอยู่ที่ไหน ก็นำเข้าสู่กระบวนการได้ โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ในเขตอำนาจศาล ก็สามารถส่งไปขึ้นศาลได้ทันที หากรัฐนั้นๆ ยังไม่เข้าร่วม ก็อาจอาศัยความร่วมมือทางอาญาระหว่างประเทศ หรือมติคณะมนตรีความมั่นคงบีบให้ส่งขึ้นศาลได้

หก มวลชนที่สนับสนุนผู้นำอาชญากรคนนั้นหมดข้อกังขาต่อกระบวนการยุติธรรม ที่จะนำมาดำเนินคดีต่อผู้นำรัฐทั้งหลาย เนื่องจากมิใช่ศาลภายในที่อาจมีเรื่องการสลับขั้วทางการเมือง ทำให้ประชาชนทุกฝ่ายยอมรับผลการตัดสินได้ โดยมิอาจอ้างเรื่อง "อคติ" ของศาล

เจ็ด ประชาชนทุกกลุ่มจะได้รับการคุ้มครองมิว่ากลุ่มใดสีใด หรือมีความแตกต่างหลากหลายอย่างไร เนื่องจากรัฐบาลใดหากละเมิดสิทธิของประชาชน ก็ถือเป็นอาชญากรเฉกเช่นเดียวกัน และประชาชนก็มีสิทธิในการส่งเรื่องไปฟ้องคดียังศาลเช่นกัน

แปด รัฐสามารถปรับปรุงแนวทางในการจัดการปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย ที่กระทบกระเทือนความมั่นคงของรัฐ ที่ชอบธรรมอ้างได้ทั้งในและต่างประเทศ หากเป็นไปตามกรอบของธรรมนูญนี้ ส่วนผู้ปฏิบัติการในสถานการณ์ก็จะมีหลักประกันที่ชอบธรรมในการไม่ทำตามคำสั่งประหัตประหารของผู้บังคับบัญชา หากตนจะต้องตกอยู่ในฐานะอาชญากรระหว่างประเทศ ดังปรากฏว่าทหารในหลายประเทศ อาจปฏิเสธคำสั่งที่มิชอบต่อกฎหมายได้ และนำไปสู่การปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมทหารให้สอดคล้องในหลายประเทศ

เก้า ความเปลี่ยนแปลงนี้จะนำไปสู่การปฏิรูปฝ่ายความมั่นคงและสงบเรียบร้อยของรัฐ ให้มีลักษณะคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากขึ้น เนื่องจากเมื่อเหยื่อใช้กระบวนการเยียวยาภายในจนหมดสิ้นแล้ว ก็ยังสามารถมุ่งสู่การเยียวยาในศาลอาญาระหว่างประเทศได้ ทำให้รัฐมิอาจประกาศกฎหมายภายในมานิรโทษกรรมตนเองให้รอดพ้นจากกระบวนการยุติธรรมในศาลอาญาระหว่างประเทศ

สิบ การสร้างหลักประกันผ่านกระบวนการนี้ จะนำไปสู่การปฏิรูปทางการเมืองที่ประชาชนตัวเล็กๆ จะได้มีหลักประกันว่าจะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองได้โดยไม่ถูกประหัตประหารจากอำนาจรัฐ หรือมวลชนฝั่งตรงข้ามโดยการเพิกเฉยของรัฐอีกต่อไป เนื่องจากมีหลักประกันระหว่างประเทศมาเพิ่มเติม

"ถ้าเรารู้สึกว่าการออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรม มันจะปล่อยคนผิด ปล่อยคนที่ควรจะได้รับการลงโทษ หรือเราไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการนิติบัญญัติในประเทศไทย จนทำให้พ.ร.บ ปรองดองฉบับใด ฉบับหนึ่งที่ออกมาไปยกเว้นความผิด หรือยกเว้นโทษให้กับคนที่เราคิดว่าควรได้รับโทษ มันยังไม่หมดสิ้นหนทางตลอดกาล มันยังเหลืออยู่"

"การให้สัตยาบันศาลอาญาระหว่างประเทศ ไม่ใช่เพื่อดึงต่างประเทศเข้ามาแทรกแซงกิจการภายใน แต่เพื่อสร้างหลักประกันสุดท้ายว่า กระบวนการภายในที่มันหมดสิ้นเสียแล้ว เรายังมีกระบวนการระหว่างประเทศรองรับอยู่ เป็นหลักประกันอีกกระบวนการหนึ่ง".

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผยพบอีกเพียบ เอกสารปาตานีในต่างแดน รวมธงชาติ-เหรียญตรา

Posted: 16 Jun 2012 03:50 AM PDT

นักวิชาการเผย ร้อยเอกสารประวัติปาตานี พบอีกเพียบในต่างแดน รวมธงชาติ-เหรียญตรา ชีกว่าจะได้ข้อมูลต้องใช้ความไว้ใจสูง

เอกสารปาตานี - ตัวอย่างเอกสารสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ปาตานี ที่จัดแสดงในนิทรรศการในงานเสวนาวิชาการ เรื่อง “ปาตานี ในมิติประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม” ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี เมื่อ 15 มิถุนายน 2555

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 15 มิถุนายน 2555 ที่สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับวารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วารสารรูสะมิแล และสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ จัดเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ปาตานี ในมิติประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม” เพื่อนำเสนอและเผยแพร่งานวิจัย ซึ่งส่วนหนึ่งรวบรวมอยู่ในวารสารวิชาการด้านเอเชียศึกษา “รุไบยาต” โดยมีเข้าร่วมประมาณ 200 คน

ภายในงานมีนิทรรศการเกี่ยวกับ 100 เอกสารประวัติศาสตร์ปาตานี รวมถึงโปสเตอร์ Patani Timeline ซึ่งเป็นการนำเสนอประวัติศาสตร์ปาตานีในความสัมพันธ์กับสยามและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านเส้นทางกาลเวลา อีกทั้งยังมีการจัดแสดงหนังสือเก่าในสมัยอดีตจำนวนมาก และรูปถ่ายบรรดาอูลามาอ์ (นักปราชญ์) ที่สำคัญๆ ของปาตานีหรือมีเชื้อสายปาตานี

นายนิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน อาจารย์ประจำภาควิชาภาษามลายู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ ม.อ. วิทยาเขตปัตตานี กล่าวในช่วงแนะนำโครงการ “ร้อยเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ปาตานี” ว่า เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของปาตานี ไม่ได้มีแค่เพียง 100 เอกสารเท่านั้น แต่ยังมีอีกจำนวนมากที่ไม่ได้นำมารวบรวมในรายชื่อเอกสารสำคัญ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเอกสารสำคัญมีเพียง 100 เอกสารเท่านั้น แต่สามารถหามาได้ 200 เอกสารก็ยังได้ หากได้รับความไว้วางใจจากเจ้าของเอกสาร 

นายนิอับดุลรากิ๊บ เปิดเผยว่า ตนได้เดินทางไปตามหาเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของปาตานีในหลายประเทศแถบมลายูพบปัญหาหลายอย่างโดยเฉพาะหากเดินทางไปด้วยกันหลายคน เช่น การเดินทางไปที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในมาเลเซีย ซึ่งพบตู้เอกสารที่ระบุว่าเป็นตู้เก็บหนังสือ “Hikayat Patani” แต่เจ้าหน้าที่ระบุว่า กุญแจหายไม่สามารถไขตู้ได้ แต่หลังจากนั้นเมื่อตนเดินทางไปคนเดียว เจ้าหน้าที่ได้นำหนังสือดังกล่าวมาให้ดู ซึ่งหมายความว่า การหาเอกสารบางชิ้นต้องใช้ความไว้วางใจสูง

นายนิอับดุลรากิ๊บ เปิดเผยอีกว่า นอกจากเอกสารแล้ว ยังพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปาตานีอื่นๆ อีกหลายชิ้น เช่น ตนพบธงปาตานีที่บ้านหลังหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งพบว่าธงชาติปาตานีมีหลายแบบ แต่ละกลุ่มขบวนการกู้เอกราชของปาตานีก็มีธงชาติของปาตานีในรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งหากได้รับเอกราชแล้ว ปัญหาความขัดแย้งที่จะตามก็คือจะเอาธงของใครมาเป็นธงประจำชาติก็อาจเป็นได้

นอกจากธงชาติปาตานีแล้ว ยังพบเหรียญตราประจำหัวเมืองต่างๆของปาตานีในสมัยที่แบ่งเป็น 7 หัวเมืองด้วย ซึ่งแต่ละหัวเมืองจะมีเหรียญเป็นของตัวเอง

นายอาหมัด ฟัตฮี อัล – ฟาตานี (Mr.Ahmad Fathy Al-Fatani) นักวิชาการอิสระจากรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ได้กล่าวปาฐกถาเรื่อง “Patani : Dari Negara Darul Salam Sampai Changwat Pattani" ("ปาตานี": จากประเทศนิวาสสถานแห่งสันติสุข สู่จังหวัด "ปัตตานี") ซึ่งอธิบายถึงประวัติศาสตร์ของรัฐปาตานีตั้งแต่ยุครุ่งเรืองมาจนกระทั่งแพ้สงครามและตกเป็นของสยาม โดยเฉพาะในยุคที่อังกฤษเข้ามายึดครองพื้นที่แหลมมาลายา ซึ่งขณะนั้นอังกฤษมองว่าปาตานีเป็นส่วนหนึ่งของสยาม บวกความสามารถในทางการทูตของสยามที่เหนือกว่าปาตานี ทำให้ปาตานีตกเป็นของสยามไปในที่สุด

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดตัวเสียงผู้หญิงภาคมลายู อีกหนึ่งรายการวิทยุของเหยื่อไฟใต้

Posted: 16 Jun 2012 03:14 AM PDT

เปิดตัวรายการวิทยุเสียงผู้หญิงชายแดนใต้ภาคมลายู 2 ก.ค.เริ่มออกอากาศ รวม 47 ตอน เพิ่มอีกช่องทางสร้างโอกาสให้ผู้ได้รับผลกระทบ “สุภิญญา กลางณรงค์” กรรมการ กสทช. ชี้ เสียงผู้หญิงเป็นปัจจัยสำคัญของการปฏิรูปสื่อ

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 15 มิถุนายน 2555 ที่ห้องประชุมเช็คดาวุด อัลฟาฎอนี วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้หญิงภาคประชาสังคมเปิดตัวรายการวิทยุ“เสียงจากผู้หญิงชายแดนภาคใต้” ภาคภาษามลายู และพบปะเสวนากับเครือข่ายสื่อวิทยุ สนับสนุนโดย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี Oxfam และสหภาพยุโรป

โซรยา จามจุรี หัวหน้าโครงการผู้หญิงภาคประชาสังคมชายแดนใต้ 

นางโซรยา จามจุรี หัวหน้าโครงการผู้หญิงภาคประชาสังคมชายแดนใต้ เปิดเผยว่า รายการวิทยุ “เสียงจากผู้หญิงชายแดนใต้”ภาคภาษามลายูมีเรื่องที่ออกอากาศทั้งหมด 47 ตอน ระยะเวลา 2 เดือน จะเริ่มออกอากาศในวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 ผ่าน 14 สถานีและ 3 เว็บไซต์ ได้แก่ www.civicwoman.com www.exten.pn.psu.ac.th และ www.deepsouthwatch.org แต่ละตอนยาวประมาณ 17 นาที โดย 15 นาที เป็นเนื้อหาภาษามลายู ส่วนอีก 2 นาทีเป็นสรุปภาษาไทย

นางโซรยา เปิดเผยอีกว่า รายการเสียงจากผู้หญิงชายแดนภาคใต้ภาคภาษามลายู มาจากเสียงสะท้อนผ่านรายการวิทยุ เสียงผู้หญิงชายแดนใต้ภาคภาษาไทยเมื่อปีที่ผ่านมา จากการประเมินพบว่า ประชาชนในพื้นที่ต้องการให้จัดรายการเป็นภาษามลายูด้วย ปีนี้เครือข่ายผู้ภาคประชาสังคมชายแดนใต้จึงทำรายการภาคภาษามลายูขึ้นมา โดยจะใช้ภาษามลายูท้องถิ่น

นางโซรยา เปิดเผยด้วยว่า ส่วนเนื้อหาของรายการ มีการนำผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาพูดในรายการ ซึ่งจากการที่เขาต้องสูญเสียสามีหรือลูก หรือสามีอยู่ในเรือนจำ มาสะท้อนถึงความยากลำบากที่ตัวเองได้รับและสะท้อนถึงการก้าวข้ามความยากลำบากของผู้ที่ผู้ดำเนินรายการ

นางโซรยา เปิดเผยว่า นอกจากนี้ทางรายการจะนำผู้หญิงที่เป็นชาวประมง มาสะท้อนถึงปัญหาจากการประกอบอาชีพประมงหรือการที่ชาวบ้านต้องสูญเสียอาชีพและสูญเสียทรัพยากรในทะเล ส่วนผู้หญิงที่อยู่สังคมที่มีการระบาดของยาเสพติด มานำเสนอวิธีการต่อสู่กับปัญหายาเสพติดในชุมชน

“รายการวิทยุ “เสียงประชาสังคมชายแดนภาคใต้” ยังเป็นรายการที่มีการเยียวยาระหว่างที่เป็นผู้ดำเนินรายการกับผู้ฟังรายการนี้ด้วย อีกทั้งยังเป็นเยียวยาคนไทยพุทธและมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” นางโซรยา กล่าว

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดพิธีว่า รายการนี้เป็นรายการวิทยุที่เหมาะสมที่สุดที่จะเปิดโอกาส หรือเป็นปากเป็นเสียงให้กับผู้ที่เดือดร้อน ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม และผู้ที่ไม่ได้รับโอกาส จะได้มีช่องทางสั้น เร็วและง่ายที่สุด เพื่อให้ได้รับโอกาสหรือความเป็นธรรม เพราะใช้ภาษาเดียวกันกับที่ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ใช้

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวในการปาฐกถาเรื่อง“ศักยภาพผู้หญิง และวิทยุในชุมชนท้องถิ่นชายแดนใต้กับการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ”  ว่า ประเด็นของกลุ่มผู้หญิงประชาสังคมชายแดนใต้ที่จัดรายการวิทยุ เป็นปัจจัยสำคัญของการปฏิรูปสื่อ เพราะเสียงผู้หญิงหรือเสียงของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเสียงที่ไม่เคยได้ยินมานาน

นางสาวสุภิญญา กล่าวอีกว่า เพราะฉะนั้นหน้าที่ของการปฏิรูปสื่อหรือหน้าที่ของรัฐ คือส่งเสริมให้กลุ่มประชาชนที่ถูกหลงลืมมาตลอด สามารถมีพื้นที่ในการแสดงออก ความคิด ความต้องการ เพราะว่าการที่ให้กลุ่มประชาชนที่ถูกหลงลืมได้แสดงออก จะทำให้เราให้เห็นปัญหาที่แท้จริงได้ 

สำหรับสถานีวิทยุที่รายการวิทยุ“เสียงจากผู้หญิงชายแดนใต้” ภาคภาษามลายที่จะออกอากาศในวันที่ 2 กรกฎาคม 2555ใน 14 สถานีวิทยุ ได้แก่



ลำดับ


สถานีวิทยุ สถานีวิทยุชุมชนและสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา


คลื่นความถี่


1


สถานีวิทยุ ม..ปัตตานี


F.M. 107.25 MHz


2


สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา


F.M. 100.75 MHz


3


สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา


F.M. 90.25 MHz


4


สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สุไหงโก-ลก


F.M. 106.50 MHz


5


สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน สลาตันปัตตานี


F.M. 91.50 MHz


6


สถานีวิทยุ SUWARA MAJIS


F.M. 93.75 MHz


7


สถานีวิทยุสาส์นคุณธรรม (อัรรีซาละห์)


F.M. 97.25 MHz


8


สถานีวิทยุชมชนคนนิบง


F.M. 107.50 MHz


9


สถานีวิทยุ คลื่นฟ้าใสหัวใจเรียนรู้


F.M. 100.75 MHz


10


สถานีวิทยุชุมชน ยี่งอ เรดิโอ ( วิทยุรวมเกล้า)


F.M. 99.75 MHz


11


สถานีวิทยุชมชนรือเสาะเรดิโอ


F.M. 107.00 MHz


12


สถานีวิทยุอัรตัรเรดิโอ


 


13


รายการหน้าต่างสังคมทางวิทยุ อสมท.จชต


 


14


สถานีวิทยุศอ.บต.


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Status: เหวง โตจิราการ แฉขบวนการหากินกับผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย

Posted: 16 Jun 2012 12:50 AM PDT

แกนนำ นปช. สส.พรรคเพื่อไทย อดีตกรรมการสำรอง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย บอกเล่าถึงที่มาของการออกเคลื่อนไหวปกป้องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ของกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย 

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

เพื่อนๆครับ ผมขอพูดอะไรหน่อยเกี่ยวกับ ผรท.นะครับ ที่จริง ผรท.(ผู้ร่วมพัฒนาชาติ ไทย)เป็นตราบาปของพคท.(พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) ที่พวกชนชั้่นปกครองปฏิกิริยามอบให้  กล่าวคือในภาวะที่ พคท.เพลี่ยงพล้ำอย่างรุนแรง ชนชั้นปฏิกิริยาฉลาดพอที่จะใช้่นโยบายหลอกลวงเพื่อแยกสลายกองกำลังของพคท. โดยให้คำมั่นสัญญาในการตอบแทนผลประโยชน์ทางวัตถุให้กับ ผรท.เพียงแค่พอมีชีวิตอยู่ได้ คือ ให้ควาย5ตัวที่ดิน5ไร่บ้านเล็กๆหนึ่งหลัง(อาจจะมีเงินจำนวนหนึ่งไม่เกินสองหมื่น)

แต่พวกปกครองปฏิกิริยาไม่จริงใจใน"การให้"ดังกล่าว พวกมันจึงให้ผรท.จำนวนน้อยมาก ส่วนที่เหลือ ปล่อยปละละเลยทิ้งๆขว้างๆมาโดยตลอด และอาศัยบางส่วนงานของกองทัพภาค2มาดำเนินการหลอกลวงด้วยคำมั่นสัญญาลมๆแล้งๆมาโดยตลอด อาจจะให้บ้างคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ไม่ถึง10%ของจำนวนที่ให้ตามสัญญาและจำนวนคนที่ได้ 

จากนั้ืนก็ปล่อยทิ้งไว้อย่างเหี้ยมโหด เพราะพวกเขา"เป็นฝ่ายชนะขาด ให้พวกคุณมีชีวิตอยู่โดยไม่จับติดคุกก็ดีเท่าไรแล้ว"พอมีความขัดแย้งทางการเมืองแหลมคม พวกมันก็เอาเหยื่อมาล่อ ผรท.อีก อย่างเช่น พลเอก.สุรยุทธ์ จุฬานนท์ สิ่งแรกที่ทำหลังรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็คือไปหา ผรท.ที่อิสานเหนือก่อนแล้วค่อยไปหาที่อิสานใต้และภาคเหนือ เพื่อให้คำมั่นสัญญาลมๆแล้งๆอีกเช่นเคย อาจจะให้ผลประโยชน์ทางเงินทองสิ่งของบ้างแต่ก็เล็กน้อยมาก เพื่อแยกสลายผรท.ไม่ให้เป็นพวก"เสื้อแดง"

ต่อมาในสมัยอภิสิทธิ์เวชชาชีวะก็เช่นเดียวกัน ตอนหลัง ให้"สินบนเพื่อย้อมใจ"มากถึงหลักสองแสนบาท แต่ก็ไม่ได้ทุกคน ในช่วงนี้เอง ทหารบางคนของ ภาค2 ก็ทำมาหากินกับผรท.มีการติวเพื่อให้เข้าเกณฑ์การเป็นผรท.เช่นสอนให้ท่องจำ"วินัย10 ข้อของ ทปท. ให้รู้จักปืนพกประจำกายของฝ่ายนำ อาหารการกินของพลพรรค เป็นต้น" แต่นี่ก็เรียกเก็บเงินค่าติว เพื่อให้สามารถผ่านเข้าเป็น ผรท.ของกองทัพภาค2ได้ ในตอนหลัง พวกหากินในหมู่ผรท.บางคน ก็เรียกเก็บเงินจำนวนมากบ้างน้อยบ้างเพื่อแลกกับคำมั่นสัญญาว่า จะได้เข้าเกณฑ์"การเป็น ผรท."เพื่อเรียกรับเงินราชการได้ ในคราวหลังสุดพวกเขาเรียกเงินสูงถึง6แสนบาท และอ้างว่าเป็น "กลุ่มสนับสนุน เป็นกลุ่มแนวร่วม เป็นกลุ่มลูกหลาน" เพราะเวลาผ่านมากว่า30ปีแล้ว(นับจากปีที่ พคท.ล่มในปี25)

ดังนั้นทหารบางคนของกองทัพภาค2จึงใช้เรื่อง "เงินผรท."มาอ่อยเหยื่อ "ผู้ที่หวังจะได้"ทั้งๆที่ไม่มีความขอบธรรมใดๆที่จะได้เลย และนี่ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นความเสื่อมทรามทางด้านอุดมการณ์โดยสิ้นเชิง แม้จะเห็นใจเข้าใจและให้อภัยยอมรับได้เนื่องจากมีความจำเป็นในการดำรงชีวิต แต่ต้องไม่ถึงขั้น "ขายจิตวิญญาณ ขายอุดมการณ์ให้กับชนชั้นปกครองปฏิกิริยาที่เป็นศัตรูทางอุดมการณ์ของตนเสียโดยสิ้นเชิงเช่นนี้"

เหตุการณ์ชุมนุมของ ผรท.ภาคอีสานสองครั้ง ครั้งแรกที่ขอนแก่น ครั้งสองที่อุดร สะท้อนให้เห็นชัดถึงการที่ ฝ่ายนำของผรท.บางคน ยอมตนเป็นข้ารับใช้(ในสมัยอดีตเขาเรียกสุนัขรับใช้ปัจจุบันผมขอใช้แค่เป็นสมุนบริวารรับใช้ก็พอ)ของทหารบางคนของกองทัพภาค2

การเคลื่อนไหวยิ่งฟ้องให้เห็นชัดว่า ยอมก้มกายถวายชีวาให้กับฝ่ายอนุรักษ์นิยมจารีตนิยมหรืออำมาตย์โดยสิ้นเชิง เพราะการสนับสนุนศาลรัฐธรรมนูญเท่ากับเป็นการสนับสนุนการละเมิด รธน.ใช้อำนาจเหนือ รธน.หรือเหยียบย่ำ รธน.นับเป็นพฤติกรรมที่ล้าหลังอย่างที่สุด ปฏิกิริยาอย่างที่สุด 

การเคลื่อนไหวของ ผรท.ทั้งสองหน จึงไม่ได้เป็นไปอย่างที่ ฝ่า่ยนำบางคนของผรท.ต้องการจะให้เป็นคือ "ปลดแอกประชาชน"ตรงข้าม กลับเป็นการ "ใส่แอกของอำมาตยาธิปไตยให้กับประชาชนเสียด้วยซ้ำไป

จึงขอเตือนมายังผู้นำการเคลื่อนไหวของ ผรท.ทั้งสองครั้งขอให้กลับเนื้อกลับตัวกลับใจเสียใหม่ และขอโทษประชาชนสำรวจตนเองวิจารณ์ตนเองอย่างเคร่งครัด และร่วมกับประชาชนโค่นล้มอำมาตยาธิปไตย ดีกว่าที่จะทำตัวเป็นสมุนบริวารรับใช้พวกอำมาตยาธิปไตย เสียตั้งแต่ตอนนี้ ก่อนที่มันจะสายเกินไป

 

 

ที่มา: facebook ของ นพ.เหวง โตจิราการ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสวนา “ปรัชญาในบทกวี : บทกวีกับปรัชญา”

Posted: 15 Jun 2012 11:12 PM PDT

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2555 ณ ร้านหนังสือบูคู จังหวัดปัตตานี มีการจัดเสวนาปรัชญาในร้านหนังสือขึ้นเป็นครั้งแรก ในหัวข้อ “ปรัชญาในบทกวี : บทกวีกับปรัชญา” โดยได้รับเกียรติ ซะการีย์ยา อมตยา กวีเจ้าของรางวัลซีไรท์ปี 2553 และ ดร.อับดุลรอนิง สือแต จากวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี เป็นผู้นำการเสวนา และดำเนินรายการโดยอันธิฌา แสงชัย อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา มอ.ปัตตานี การเสวนาเริ่มต้นด้วยการอ่านบทกวีภาษามลายูชื่อ Bahasa Ku (ภาษาของฉัน) ของ อัฮหมัด อับดุลกอดีรฺ โดย มูฮาหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ จากบุหงารายานิวส์

 

เปิดประเด็น

อันธิฌา แสงชัย : ประเด็นในวันนี้เป็นหัวข้อที่ค่อนข้างมีความสำคัญในวงการศึกษาปรัชญา แต่อาจจะยังไม่ค่อยถูกพูดถึงนักในภาคภาษาไทย ขอยกตัวอย่างความคิดของนักปรัชญากรีกท่านหนึ่งคือเพลโต เพลโตไม่ให้ความสำคัญกับบทกวีหรือกวีนิพนธ์เท่าใดนักเนื่องจากในความคิดของเพลโตกวีนิพนธ์เป็นสิ่งที่กระตุ้นเร้าให้เกิดความรู้สึกที่รุนแรง ซึ่งลักษณะเช่นนั้นมันไปทำลายสิ่งที่เรียกว่าเหตุผล และเพลโตเชื่อว่ามีแต่เหตุผลที่ทำให้มนุษย์เข้าถึงความมีปัญญาหรือเข้าถึงความจริง ด้วยวิธีมองแบบนี้ทำให้กวีนิพนธ์เป็นเรื่องไม่มีคุณค่า ในทางตรงข้าม เพลโตให้ความสำคัญกับปรัชญาเพราะปรัชญาสามารถนำมนุษย์ไปสู่ความจริงบางอย่าง

แต่ขณะเดียวกันก็มีนักปรัชญาอื่นๆที่เห็นต่างจากเพลโต อย่างอริสโตเติล เขาเขียนงานชิ้นหนึ่งที่ชื่อว่า Poetry ในทัศนะของอริสโตเติล บทกวีเป็นสิ่งที่จำลองความจริง ถ่ายทอดความจริงออกมาผ่านภาษาและมนุษย์เข้าใจได้ และยังมีนักปรัชญาตะวันออกเช่นขงจื่อ ขงจื่อมองว่าบทกวีเป็นสิ่งที่สามารถกล่อมเกลาให้มนุษย์กลายเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ บทกวีเป็นจุดเริ่มต้นการเรียนรู้ที่สำคัญของมนุษย์ด้วยซ้ำไป ในทัศนะของขงจื่อ ถึงขนาดกล่าวว่าใครที่ไม่ร่ำเรียนกวีนิพนธ์เป็นคนที่ไม่อาจเสวนาด้วยได้ จะเห็นได้ว่านักปรัชญามีข้อถกเถียงเกี่ยวกับบทกวีมากมาย

ส่วนอีกประเด็นหนึ่งก็คือ หลายคนมองว่าปรัชญากับงานกวีนิพนธ์นั้นแท้จริงแล้วมีความคล้ายคลึงกันมาก เช่น ปรัชญาและกวีนิพนธ์ต่างสนใจความเป็นจริงบางอย่างเกี่ยวกับชีวิต และมีเป้าหมายสูงสุดในงานสร้างสรรค์ของตัวเองคือการค้นพบความจริงบางอย่าง แต่อาจจะด้วยวิธีการที่แตกต่าง และนี่คือสองประเด็นที่เราจะพูดกันในวันนี้ ปรัชญาในบทกวี และ บทกวีกับปรัชญา

 

ซะการีย์ยา อมตยา

มีปรัชญาในบทกวีหรือไม่?

ซะการีย์ยา อมตยา : จริงๆผมไม่เคยมองว่างานผมเป็นงานที่มีปรัชญา แต่ว่าเป็นคนอื่นมองอีกทีหนึ่ง เวลาผมเขียนก็ไม่ได้คิดว่าจะต้องใส่ปรัชญา แต่พอบรรณาธิการได้อ่านงานผม ก็ได้เขียนคำตาม และได้ชี้ให้เห็นว่าในงานของผมมีปรัชญา ตอนที่ได้อ่านคำตาม ผมต้องกลับมาอ่านงานเขียนของผมใหม่ ผมไม่เคยรู้สึกว่าผมทำในสิ่งนี้ โดยมีปรัชญาอยู่ในหัว ผมกลับมาอ่านอีกรอบแล้วเห็นว่ามันจริงอย่างที่บรรณาธิการบอกไว้ จริงๆผมก็สนใจเรื่องพวกนี้อยู่ หมายถึงว่าเรื่องปรัชญา ศาสนาและเทววิทยา ผมคิดว่าไม่ใช่กวีทุกคนต้องเขียนงานที่มีปรัชญา บทกวีก็มีความหลากหลาย บางครั้งมันอาจจะไม่มีความเป็นปรัชญาเลยก็ได้ แต่ว่าถ้ามันมีปรัชญา อ่านแล้วก็อาจจะทำให้รู้สึกว่าบทกวีเป็นสิ่งที่ยาก ปรัชญาเป็นสิ่งที่ชวนให้ครุ่นคิดต่อ ชวนคิดให้มาก และบางทีมันไม่มีคำตอบ มันเป็นการแสวงหาคำตอบในคำถาม ซึ่งก็มีกวีระดับโลกหลายๆท่านเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจเพราะเขามีความสนใจอยู่แล้วหรือต้องการค้นหาความหมายของบางอย่าง หรือรู้สึกว่าตัวเองยังไม่พบทางอะไรด้วย

อับดุลรอนิง สือแต : ผมคิดว่าปรัชญากับการมีชีวิตอยู่เป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก เพียงแต่ว่าเรามองเห็นมันหรือไม่เท่านั้นเอง บางครั้งในบทกวี มันอยู่ที่ว่าคนเขียนเขาจับประเด็นอะไร ตัวประเด็นคือสิ่งที่ทำให้มันมีความลึกซึ้งหรือตื้น แต่ทีนี้เวลาเรากล่อมเกลามัน เรากล่อมเกลาด้วยความรู้สึก เราหลอมมันด้วยความรู้สึก บางทีหลักเหตุผลตรงๆนี่มันด้าน แต่ถ้าเรากล่อมเกลามันด้วยความรู้สึกด้วยอารมณ์จะทำให้มันมีความงดงามอยู่ในตัว มันมีพลัง มันตอบโจทย์ในสิ่งที่กวีเขียนได้ มันจึงอยู่ที่ว่าปรัชญานี่ใครจะคว้าหรือใครจะเขียนออกมาเท่านั้นเอง

อย่างที่กวีบอกว่าตัวเองไม่ได้นึกถึงปรัชญาเลยเวลาเขียน แต่ว่าในสิ่งที่เขาบรรยายที่เขาเขียนมันกำลังบอกถึงสิ่งที่เขาคิดและตั้งคำถามต่อสิ่งที่หลายๆคนก็รู้ว่ามันอยู่ในใจของเรา แต่เราไม่ตั้งคำถาม ตรงนี้เองเมื่ออ่านงานกวีมันจึงเป็นสิ่งที่ปิ๊งขึ้นมา

เวลาเราอ่านงานเชิงปรัชญาเราจึงรู้สึกได้ถึงความแตกต่าง เราอ่านงานของยิบราน ของฐากูร ของอิกบาน เราจะเห็นว่ามันพูดถึงความรักที่มีต่อมนุษย์ พูดถึงความรักที่เขามอบตัวเองให้กับพระผู้เป็นเจ้า ผมอ่านแล้วรู้สึกว่าเขากำลังบอกถึงปรัชญาของการเป็นมนุษย์คนหนึ่ง แต่เขาไม่ได้บอกตรงๆแบบการบรรยายว่าต้องอย่างนี้นะ ต้องอย่างนั้น โดยส่วนใหญ่คนเขียนงานทางปรัชญาจะไม่พูดว่าต้อง เขาจะใช้การกล่อมเกลาผ่านบทกวีนี่แหละ บทกวีจึงทำให้ปรัชญาซึมซาบเข้าไปในใจของเรา ดังนั้นผมจึงมองว่าบทกวีที่ไม่มีปรัชญามันจึงไม่มีสีสันและไม่มีประเด็นที่จะทำให้ถึงแก่นของมันจริงๆ เพราะฉะนั้นเวลาเราอ่านสิ่งที่กวีเขียนถึงบางสิ่งบางอย่าง อย่างความรัก คนทั่วไปก็เขียนถึงความรักเหมือนกัน แต่ทำไมความรักที่เขียนโดยกวีมันจึงมีคำตอบหลายทาง แล้วคนก็หามาอ่าน และนำไปจุดประกายต่อได้อีกจากสิ่งที่กวีเขียนเพียงสามสี่บรรทัด แต่คนเขียนต่อจากมุมมองเหล่านี้ได้อีกเป็นร้อยๆเล่มให้เราอ่าน ผมจึงมองว่าปรัชญาเหล่านี้เป็นสมบัติของพระผู้เป็นเจ้าที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่ในตัวแต่ว่าไม่ถูกนำออกมาถ่ายทอด 

แท้จริงแล้วตัวบทกวีเองก็คือการเขียนปรัชญาออกมาอย่างมีสุนทรียภาพ?

อับดุลรอนิง สือแต : ในทัศนะผม แน่นอนมันเป็นอย่างนั้น และมันทำให้รู้สึกว่าปรัชญาเป็นสิ่งหอมหวาน มันน่ารื่นรมย์ กับการที่เราอ่านปรัชญาตรงๆอย่างผมเป็นนักรัฐศาสตร์ ปรัชญาการเมืองแบบแห้งๆยิ่งตอนที่เป็นนักศึกษามันค่อนข้างที่จะน่าเบื่อชวนหลับ เพราะมันเป็นสิ่งที่ต้องคิด แต่ถ้าเรากล่อมเกลาด้วยบทกวี การถ่ายทอดของกวีมันเชื่อมกันด้วยความรู้สึก ด้วยคำที่มีความสละสลวย เชื่อมกับจินตนาการทำให้เราเกิดภาพในใจ มันสามารถสร้างภาพให้เกิดขึ้นกับคนที่อ่าน ผมว่ามันเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ เพราะฉะนั้นงานของกวีจึงเป็นงานที่ค่อนข้างจะต้องสะสมทีละเล็กทีละน้อยแล้วก็มองผ่านช่องแว่นที่ละเอียด อย่างกล้องเดี๋ยวนี้มันยี่สิบล้านพิกเซลแต่สำหรับสายตาของกวีนี่มันต้องเป็นร้อย เขาละเอียดอ่อนมาก

 

อับดุลรอนิง สือแต

บทกวีกับปรัชญาเกี่ยวโยงกันอย่างไร?

อันธิฌา แสงชัย : ฟังแล้วก็เกิดคำถามขึ้นมาอันหนึ่ง ดูเหมือนงานของกวีนิพนธ์มันพ้นไปจากตัวอักษรนะคะ สุดท้ายแล้วพ้นไปจากตัวนักเขียน พ้นไปจากตัวบุคคลที่เป็นกวีเองด้วย เป็นไปได้ไหมว่าเป้าหมายสุดท้ายของการเขียนบทกวีคือการพยายามสื่อสารบางอย่างที่มันอาจจะเป็นเรื่องสากล อย่างเช่นเรื่องความรัก ความรักที่ไม่มีบริบทเฉพาะ คุณสามารถรับสารนี้ได้ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวัฒนธรรมไหน ภาษาอะไร ซึ่งมันอาจจะมีวิธีการบางอย่างที่สอดคล้องกับวิธีการของปรัชญา?

ซะการีย์ยา อมตยา : ผมคิดว่าบทกวีกับปรัชญากำลังแสวงหาบางอย่างที่เหมือนกันคือ “ความจริง“ แต่ว่าวิธีการของปรัชญาอาจจะไม่มีสุนทรียะเท่ากับบทกวี จริงๆในตอนต้นที่อาจารย์พูดถึงเพลโต้ ผมก็ได้เตรียมมา ผมขออ่านนิดนึงนะฮะ

มีปราชญ์ท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่าบทกวีคือภาษาแม่ของมนุษย์ เพราะมนุษย์ไม่ว่าจะมีอารยธรรมสูงสุดหรือว่าเป็นเพียงชนเผ่าเล็กๆ ในดินแดนอันรกร้างห่างไกล ต่างก็มีบทกวีของตัวเอง ว่ากันว่าปรัชญาจากยุคโบราณที่มีความยากในการทำความเข้าใจมากที่สุดเป็นของปราชญ์เฮราคริตุส ความยากทั้งหมดไม่ได้มาจากถ้อยคำ เพราะถ้อยคำของเขาเป็นถ้อยคำสามัญ เช่น ไฟ น้ำ ธรรมชาติ หรือความรู้ หากความยากนั้นมาจากนัยที่เขาได้สอดแทรกไว้ในข้อเขียนของเขา ความหมายที่เคลื่อนไหวในปรัชญาของเฮราคริตุสก็เป็นดั่งไฟ อันเป็นธาตุที่เขาเชื่อว่าเป็นรากฐานของสรรพสิ่ง และเป็นดังบทกวีที่ทำให้เกิดนัยทับซ้อนเข้าไปในประโยคเดียวกัน นี่เป็นความหมายอีกด้านที่ทำให้กวีนิพนธ์ไม่เป็นเพียงการประชุมรวมถ้อยคำที่งดงามแต่เป็นแก่นแกนที่เชื่อมโยงระหว่างกวีนิพนธ์และปรัชญา ผมคิดว่าทุกท่านในที่นี้อาจจะเคยรู้จักหรือเคยได้อ่านงานของเพลโตที่ชื่อว่า Republic ซึ่งตำราปรัชญาเล่มนี้ได้อุทิศหน้ากระดาษจำนวนหนึ่งเพื่อวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของกวี ซึ่งก็เป็นอย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่าเพลโตนั้นไม่ค่อยนิยมในบทกวีหรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวกวีเอง ซึ่งความไม่นิยมดังกล่าวได้ถูกนำมาขยายและคลี่คลายอีกครั้งในงานเฟดรัส (Phaedrus) ซึ่งทำให้เราได้เข้าใจว่าเพลโตนั้นไม่เชื่อในการเขียนเพราะเขาไม่เชื่อว่ามันจะนำไปสู่ความจริงได้ ซ้ำร้ายข้อเขียนบางชิ้น หากตกอยู่ในมือของผู้อ่านบางคนเขาอาจถูกลวงให้หลงทางไปไกลยังโลกที่ไม่จริง ด้วยเหตุนี้เองกระมังที่ทำให้เพลโตจึงไม่ค่อยเชื่อในงานของเฮราคริตุส เพราะเฮราคริตุสเขียน ขณะที่โสเครติสไม่เคยเขียน

สำหรับกวีนิพนธ์แล้ว การเขียนเป็นเพียงเครื่องมือชนิดหนึ่งในการถ่ายทอด และผมเคยพูดหลายครั้งในเวทีเสวนา ต่อให้เราไม่สามารถจะเขียนเราก็สามารถจะพูดบทกวีของเราออกมาได้ เพียงแต่ว่าความจริงของกวีไม่ได้ตั้งอยู่ที่ใดเป็นการเฉพาะหากมันมักไหลเลื่อนเคลื่อนไหวอยู่ในถ้อยคำ ในความคิดของกวี หรือในความตระหนักรู้ของผู้อ่าน และนี่คือข้อที่ทำให้กวีแตกต่างจากนักปรัชญา

ความจริงของบทกวีเป็นเช่นใด ผมอยากตอบโดยการยกเอาคำกล่าวของนักเขียนท่านหนึ่งมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ว่า “เบื้องหน้าของคุณ คือความเท็จ แต่ผม คือความจริง เพราะผมยังมีชีวิต ผมเป็นคนเขียน”

อ.อับดุลรอนิง : ส่วนตัวผมคิดว่าปรัชญาเป็นวิธีการแสวงหาคำตอบสำหรับชีวิต คำถามของปรัชญาคือคำถามที่พยายามแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ของเราว่ามาจากไหน เมื่อไหร่ จะไปไหน ชีวิตเราในตอนนี้คือชีวิตที่จริง หรือหลังจากที่เราตายไปแล้วเราจึงจะมีชีวิตที่แท้จริง มันเป็นสิ่งที่เราต้องค้นหามัน แล้วคำตอบมันไม่ได้หาง่าย หลายคนพยายามหา ทำให้ศาสนาเองก็พยายามอธิบายสิ่งเหล่านี้แล้วทุกศาสนาก็พยายามจะอธิบายเช่นเดียวกัน บทกวีเองมันมีความคิดที่ไม่มีขอบเขตและก็แฝงอยู่ด้วยสิ่งที่สวยงาม ก็คือคำพูดที่สวยงามของกวี ตรงนี้ผมว่ามันสามารถตอบสิ่งที่ปรัชญาพยายามจะตอบด้วยวิธีการที่สวยงามกว่า

ตรงนี้ถ้าหากว่าเราไปดูคัมภีร์อัลกุรอานเอง ก็ถือว่าเป็นคัมภีร์ที่มีภาษาที่สละสลวยที่สุดแล้วก็อยู่ในยุคที่มีภาษาอาหรับที่ดีที่สุด ข้อพิสูจน์ก็คืออัลกุรอานยังถือว่าเป็นภาษากวีที่ดีที่สุดในกลุ่มของบทกวีที่ปรากฏอยู่ในยุคนั้น ในช่วงของบทกวีที่อัลกุรอานปรากฏนั้นเวลาเขาเขียนภาษาอาหรับนี่เจ้าสำบัดสำนวน เมื่อมีใครเขียนบทกวีสักบทหนึ่งเขาก็เอาไปแขวนไว้ที่กะบะห์ มีคนมาล้อมอ่าน ถ้าหากว่าบทกวีนี้ไม่เป็นที่ยอมรับก็จะถูกทิ้งไป ถ้าบทกวีไหนที่คนอ่านแล้วชอบใจแล้วก็เห็นว่ามันดีก็จะถูกตั้งไว้ตรงนั้น เป็นที่รู้กันว่าอาหรับนี้ใช้อารมณ์ความรู้สึกแม้กับสัตว์เลี้ยง แม้กับอูฐที่เขาเลี้ยงไว้ เขาถ่ายทอดความรักที่มีต่ออูฐ แต่ด้วยความรักที่มีต่อผู้หญิงที่เขารัก เขายินดีที่จะเชือดอูฐตัวนั้นให้ผู้หญิงได้มีน้ำที่อยู่ในท้องของอูฐกินเพื่อที่จะรักษาตัวผู้หญิงเอาไว้ นี้คือสิ่งที่กวีเขียนไว้แล้วแขวนเอาไว้ที่กะบะห์ก่อนหน้าที่อัลกุรอานจะปรากฏด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้นตัวศาสนาเอง เช่นอิสลามถ้าเรามองที่ตัวคัมภีร์ก็จะเห็นว่าเป็นการถ่ายทอดบทกวีที่สวยงาม ภาษาที่ดีเยี่ยม ซึ่งสามารถตอบโจทย์คำถามที่มนุษย์สงสัยมาตลอด ดังนั้นผมจึงมองว่าทั้งปรัชญาและบทกวีก็คือความพยายามของมนุษย์ที่จะตอบโจทย์คำถามเกี่ยวกับชีวิต.
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น